Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 26

บทที่ 2

แนวทางการดูแลผูปวยทีม่ ีการขาดเลือดไปเลี้ยงขา

2.1 บทนํา
ภาวะที่มีการขาดเลือดไปเลี้ยงขามีทงั้ แบบฉับพลันหรือแบบเรื้อรัง เอกสารประกอบคํา
สอนฉบับนีม้ ีจดุ ประสงคเพื่อชวยใหนักศึกษาแพทยเขาใจในภาวะดังกลาว ทัง้ ดานการวินิจฉัยและ
ดูแลผูปวย หลังจากนักศึกษาไดเรียนเอกสารประกอบคําสอนนี้แลวควรที่จะสามารถ
1.ประเมินผูปว ยทีม่ าดวย acute หรือ chronic limb ischaemia จากประวัติและการตรวจรางกาย
ได
2.สามารถประเมินโรคอื่นทีม่ ักเกิดรวมกัน (comorbid condition)ในผูป วยกลุม นี้
3.สามารถอธิบายกลไกการเกิดของภาวะการขาดเลือดที่ขาได
4.สามารถสงตรวจพิเศษไดอยางถูกตอง
5.สามารถสงตอการรักษาไดอยางเหมาะสมและดูแลผูปวยในระยะแรกไดอยางถูกตอง

2.2 สาเหตุการขาดเลือดไปเลี้ยงที่ขา
2.2.1 การขาดเลือดไปเลีย้ งที่ขาเรื้อรัง (chronic limb ischaemia)
Atherosclerosis เปนภาวะที่มีการหนาตัวขึ้นของผนังหลอดเลือดจากการที่มกี ารสะสม
ของไขมันและเซลล เปนภาวะที่เปนสาเหตุสวนใหญในการขาดเลือดของขาอยางเรื้อรัง
atherosclerosis ทําใหหลอดเลือดเกิดการตีบตันสงผลใหเลือดไปเลี้ยงไมพอ ผูปว ยที่เปนโรคนี้มัก
มีปจจัยเสี่ยงเชน เพศชาย สูงอายุ สูบบุหรี่ เปนโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูงและความดันโลหิต
สูง เปนตน โรคนี้พบบอยทีบ่ ริเวณของ aortoiliac artery, superficial femoral artery ผูปวยทีเ่ ปน
โรคนี้มักไมมีอาการจนกระทัง่ มีการตีบที่รุนแรงเชน มากกวา 80% หรือวาหลอดเลือดตัน เปนตน
Artherosclerotic plaque

Artherosclerotic plaque

2.2.2 การขาดเลือดไปเลีย้ งที่ขาอยางฉับพลัน (acute limb ischaemia)


2.2.2.1 Acute embolism
เปนภาวะทีเ่ กิดจากการที่มกี อน (solid mass) โดยเฉพาะทีพ่ บบอยคือกอนเลือดลอยไป
ตามกระแสโลหิตแลวไปอุดหลอดเลือดทีข่ า ในอดีตกอนเลือดเหลานีม้ าจากหัวใจในผูปวยที่เปน
โรคลิ้นหัวใจผิดปกติจากการติดเชื้อ (Rheumatic heart disease) แตปจจุบันมีสาเหตุสวนมากมา
จากโรคหัวใจขาดเลือดถึง 80% รวมกับมี atrial fibrillation แลวกอนเลือดเหลานี้จะมาหยุดคาง
และอุดตันที่หลอดเลือดที่มีขนาดเล็กกวากอน emboli โดยเฉพาะอยางยิ่งทีห่ ลอดเลือดมีการ
เปลี่ยนแปลงขนาดอยางมากเชน artery bifurcation หรือที่หลอดเลือดมีการตีบอยูแลว

2.2.2.2 Acute thrombosis


เปนภาวะทีม่ ีการเกิด thrombosis ในหลอดเลือดที่มีการอุดตันอยูแลวจาก
atherosclerosis สิ่งนี้มกั จะเกิดในหลอดเลือดที่มี moderate/severe atherosclerotic stenosis
โดยกลไกเกิดจากการมี plaque rupture สงผลใหมกี ารกระตุน clotting factor ทําใหเกิด
thrombosis ได ภาวะนี้กอใหเกิดการขาดเลือดของขา ตําแหนงที่พบภาวะนี้บอยคือ superficial
femoral artery หรือ popliteal artery ภาวะนี้มกั เกิดในผูป วยที่มีโอกาสเกิด thrombosis ไดงาย
รวมดวยไดแก หัวใจวาย หรือภาวะที่มีการเพิ่มความเขมขนของเลือดไปเลี้ยงขาเชน การขาดน้าํ
และ polycythaemia เปนตน

2.3 สิ่งที่ควรทราบกอนทําการรักษาในผูปวยที่มาดวยอาการขาดเลือดไปเลี้ยงขา
แพทยผูดูแลผูป วยที่มาดวยอาการขาดเลือดไปเลี้ยงที่ขาควรตอบ 5 คําถามไหไดชัดเจน
กอนที่จะลงมือรักษาผูปวย คือ
1. การขาดเลือดที่ขาเปนภาวะที่ขาดเลือดฉับพลันหรือเรื้อรัง
2. ตําแหนงของการอุดตัน
3 สภาพของขา
4.สภาพของผูป วย
5.ควรสงตรวจพิเศษใดที่จาํ เปนในการรักษาผูปวย

2.3 1.การขาดเลือดที่ขาเปนภาวะที่ขาดเลือดฉับพลันหรือเรื้อรังและสาเหตุที่เปนไป
ไดมากทีส่ ุดควรเปนโรคอะไร
การขาดเลือดไปเลี้ยงที่ขาสามารถแบงไดเปนสองกลุมคือ acute หรือ chronic ischemia
ทั้งสองภาวะสามารถแยกไดโดย Acute ischaemia เปนภาวะที่ผูปวยสามารถสังเกตุ onset ของ
โรคเปนนาทีหรือชั่วโมง onset มักจะsudden และปวดทุกขทรมานมาก แตภาวะ chronic
ischaemia นีจ้ ะมีอาการนอยโดยที่อาการของโรคมีประวัติเปนเดือนหรือป
อาการของโรคจะมีมากหรือนอยขึ้นอยูกับจํานวนของ collateral vessel บริเวณทีห่ ลอด
เลือดตันมีมากนอยเทาใด ในผูปวยที่มี thrombosis ในหลอดเลือดที่มีการตีบเดิมจาก
atherosclerosis (acute occlusion on top chronic arterial occlusion) จะมีอาการนอยกวา
ผูปวยที่มี arterial embolism ที่ไมเคยมี atherosclerosis หรือปญหาการขาดเลือดเรื้อรังมากอน
ในอดีตเพราะผูปวยในกลุมแรกจะมี collateral vessel มากมากอนทีจ่ ะมีการอุดตันอยางฉับพลัน
ทําใหเมื่อมีการอุดตันฉับพลันเลือดจึงสามารถหาทางลัดไหลเวียนไปได แตในทางตรงกันขามคนที่
ไมเคยมีปญหาหลอดเลือดมากอน เมื่อมีการอุดตันจาก embolism เลือดจึงไมสามารถไหลผานไป
เนื้อเยื่อที่อยูใต (distal) จุดอุดตันไดเพราะไมมี collateral vessel ไวกอนและเชนเดียวกันการมี
เสนเลือดอุดตันที่แขนก็มีโอกาสจะเนานอยกวาขาเพราะแขนมี collateral vessel โดยธรรมชาติ
มากโดยเฉพาะบริเวณรอบหัวไหลและรอบขอศอก

2.3 1.1 อาการของผูปวยทีม่ าดวยเรื่องของ acute ischaemia จะมีอาการดังตอไปนี้ (5P)


Pain
Pallor
Pulselessness
Paralysis
Paresthesia

กลไกการเกิด acute limb ischaemia


สามารถแบงไปไดสองกระบวนการใหญคอื embolism และ thrombosis

Emboli มีหลายชนิดไดแก
- กอนเลือดหรือ Atheromatous emboli (สาเหตุหลัก)
-Amniotic fluid, bone marrow
-Foreign body เชน catheter tip หรือ bullet

Atheromatous emboli หรือ thrombus สามาถเกิดไดจากหลายที่เชน


- Left ventricular wallsหลัง myocardial infarction (MI)
- Left atrium ในผูปวย atrial fibrilation
- Mitral หรือ aortic valve disorder
- Atheromatous disease ใน aorto-iliac artery

การที่จะแยกสาเหตุการเกิดของ acute limb ischaemia ระหวาง embolism กับ


thrombosis สามารถทําไดในบางครั้งเชนใน embolism ผูปวยมักจะไมมีประวัติของโรคหลอด
เลือดมากอนเลย รวมกับการมีโรคที่เปนสาเหตุของ embolism ไดเชน atrial fibrillation หรือ MI
เปนตน

2.3 1.2 อาการของผูปวยทีม่ ีการขาดเลือดเรื้อรังสามารถพบไดดังนี้


Intermittent claudication
Rest pain
Ulceration/gangrene

Chronic Ischaemia เปนการตีบแคบลงของหลอดเลือดอยางคอยเปน คอยไป ใช


ระยะเวลาเปนปกวาจะเกิดอาการ สาเหตุหลักของการตีบแคบลงของหลอดเลือดเกิดจาก
atheromatous disease สวนสาเหตุอื่นเชน Popliteal aneurysm การเปลี่ยนแปลงการดําเนินชีวิต
เชนงดบุหรี่หรือออกกําลังกายก็มีสวนที่จะทําใหอาการทุเลาลงเพราะมีการเพิม่ collateral vessel
แต vessel พวกนี้เกิดชั่วคราวสามารถหายไปไดเมื่อกลับมาสูบบุหรีห่ รือหยุดออกกําลังกาย

Rest pain at night ทําใหผปู วยตองหอยขาออกมานอกเตียงในตอนกลางคืน


Ulcer ซึ่งพบไดในผูปวยที่มภี าวะ chronic arterial occlusion

Digital gangrene ที่พบไดในภาวะ arterial occlusion


2.3.2 ตําแหนงของการอุดตันหลอดเลือด (location of the occlusion)
ในผูปวยที่มาดวย acute ischaemia ตําแหนงของการอุดตันของหลอดเลือดแดงยิ่ง
proximal เทาใดยอมทําใหเกิดอาการและการสูญเสียขามากขึ้นเทานัน้ ใน chronic ischaemia
การเกิดการเนาของเนื้อเยื่อมักไมไดเกิดจากการมีการอุดตันหลอดเลือดแดงตําแหนงเดียวมักมี
หลายตําแหนง กลาวคือถาผูปวยมีเพียงแค aortic หรือ iliac occlusion ตําแหนงใดตําแหนงหนึง่
มักไมทาํ ใหเกิดการเนาของเทาเพราะมักจะมี collateral circulation สวนผูปว ยที่มีการเนาของขา
มักจะมีการอุดตันของหลอดเลือดมากกวาหนึ่งตําแหนงเชนมี calf vessel occlusion (crural
vessel) รวมกับ superficial femoral artery occlusion ดวย การทราบตําแหนงของการอุดตันของ
หลอดเลือดจะสามารถทําใหการรักษาเปนไปไดดีและถูกตอง ตอไปนี้จะกลาวถึงอาการและ
อาการแสดงของโรคตามระดับของโรคและ onset ของโรค

2.3.2.1 Aorto-iliac occlusive disease


ในภาวะขาดเลือดแบบเรื้อรังการอุดตันของ aorta หรือ iliac segment จะทําใหมีอาการ
ในระยะแรกคือปวด เมื่อยที่ Buttock, thigh หรือ calf (claudication) เนื่องจากใน chronic
disease การกําเริบของ atheromatous lesion คอยๆ ลุกลาม ดังนัน้ จึงทําใหมี collateral vessel
เกิดขึ้น ดังนัน้ ผูปวยจะเกิดอาการเมื่อมีการอุดตันมากแลว และในผูช ายจะนําไปสูการเกิด erectile
impotence ซึ่งเรียกภาวะดังกลาววา Leriche’s syndrome ตามชื่อของศัลยแพทยชาวฝรั่งเศส
Rene Leriche ที่เสนอภาวะนี้คนแรก

ในภาวะขาดเลือดแบบฉับพลัน การมี embolus หรือ thrombosis ใน aortoiliac


segment สามารถกอใหเกิดปญหาไดอยางมาก เชนใน aortic occlusion กอใหเกิดอาการขาด
เลือดอยางฉับพลันที่ buttock, perineum และขาสองขาง

2.3.2.2 Common femoral artery occlusive disease


ในผูปวยที่มาดวยการขาดเลือดแบบเรื้อรังการอุดตันตําแหนงนี้กอใหเกิด อาการปวดเมื่อย
ของตนขาและนองเวลาเดิน โดยที่ femoral pulse มักจะคลําไดเบาลง สวนในผูปวยที่มาดวย
อาการขาดเลือดแบบฉับพลันจาก embolism ซึ่งมักจะมาอุดบริเวณของ femoral artery
bifurcation และกอใหเกิดอาการของการขาดเลือดของขาอยางรุนแรงตั้งแตตนขาลงมา
2.3.2.3 Superficial femoral artery occlusive disease
เปนตําแหนงหนึ่งที่มีการอุดตันของหลอดเลือดไดบอยที่สุดในการอุดตันของหลอดเลือดที่
ขาแบบเรื้อรัง โดยเฉพาะในบริเวณ superficial femoral artery (SFA) ชวงวิง่ พุง ไปทางดานหลัง
บริเวณเหนือเขา ในบริเวณนี้ที่ชื่อวา adducator hiatus (Hunter’s canal)
ในผูปวยที่มาดวยเรื่องขาดเลือดแบบเรื้อรังของหลอดเลือด SFA ก็จะเกิดอาการ ปวด
เมื่อยนองเวลาเดิน สวนการอุดตันที่หลอดเลือดนี้ในแบบฉับพลันจะมีโอกาสนอยที่จะกอใหเกิดขา
เนาเพราะมี collateral circulation ผานทาง profunda femoris artery นาสังเกตุวาหลอดเลือด
profunda femoris artery พบมีการอุดตันบอยนอยกวา SFA มาก ถาจะมีการอุดตันก็มกั จะพบ
บริเวณจุดกําเนิดของหลอดเลือดนี้ซึ่งแยกมาจาก common femoral artery

2.3.2.4 Popliteal artery occlusive disease


ในผูปวยที่ขาดเลือดแบบเรื้อรังจะมาดวยอาการปวดเมือ่ ยที่ขา สวนการขาดเลือดแบบ
ฉับพลันของ popliteal artery จะกอใหเกิดการขาดเลือดอยางรุนแรงเพราะ genicular artery ซึ่ง
เปน collateral circulation ที่สําคัญระหวาง profunda femoris artery กับ popliteal artery มา
เลี้ยงตนทางกวาจุดอุดตัน

2.3.2.4 Crural artery occlusive disease


การอุดตันของหลอดเลือดดังกลาวไดแกการอุดตันของเสนเลือด anterior tibial artery,
posterior tibial artery, peroneal artery การอุดตันของหลอดเลือดเหลานี้เพียงเสนเดียวยากทีจ่ ะ
ทําใหเกิดอาการเพราะหลอดเลือดอีกสองเสนสามารถไปเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เหลือไดเพียงพอ แตถา การ
อุดตันยิ่งหลายเสนก็ยิ่งทําใหอาการขาดเลือดยิ่งชัดเจนขึ้น

2.3.3.สภาพของขา(Status of limb)
สภาพของขาที่เปนผลมาจากการขาดเลือดนั้นมีสว นสําคัญมากในการชวยวางแผนการ
รักษา ดวยเหตุผลหลายๆประการ ดังนี้

2.3.3.1 ในกรณี acute ischaemia


2.3.3.1.1.สภาพของขาเปนตัวบงชีว้ า Thrombolysis มีโอกาสจะใชไดหรือไม เนื่องจากการรักษา
โดย Thrombolysisใชเวลาหลายชั่วโมงกวาจะเลือดจะกลับไปเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ขาดเลือด
(revascularisation) ดังนัน้ ขาตองสามารถทนการขาดเลือดไดหลายชั่วโมง เพราะฉะนั้นถาผูปว ยมี
severe ischaemia ของขาจะไมสามารถใช thrombolysis ในการรักษาได
2.3.3.1.2. สภาพของขาเปนตัวบงถึงผลสําเร็จวาจะมีมากนอยเพียงใด เมื่อมีการ
revascularisatrion การที่ขาขาดเลือดหลายๆชั่วโมงแลวมีการปลอยเลือดเขาไปก็อาจเกิดผลอัน
ไมพึงประสงคไดแก การกระจายของ toxic metabolite และ free radical ไปตามกระแสเลือดซึ่ง
กอใหเกิดผลตามมาเชน metabolic acidosis, acute renal failure, myoglobinuria และ MI ซึ่งใน
กรณีนี้การตัดขาตั้งแตครั้งแรก (primary amputation) จะเปนสิง่ ที่ดที สี่ ุดในผูปวยทีม่ ี severe
ischaemia โดยเฉพาะ irreversible limb ischaemia
2.3.3.1.3 สภาพของขาจะเปนตัวกําหนดวาผูปว ยควรรักษาขาไวหรือพิจารณาตัดขา (saving a
viable limb or primary amputation) ในกรณีที่รักษาขาเนาแลว ไมมปี ระโยชนอนั ใดที่จะเก็บไว
การตัดขาและไดรับการฟนฟูที่ดีจะเปนการรักษาที่เหมาะสมที่สุด

การบอกระดับความรุนแรงของการขาดเลือดที่ขาสามารถตัดสินไดจากอาการและอาการแสดง
ดังนี้
- pain ที่นองหรือเทารวมกับการมีการกดเจ็บ (tenderness) มากที่ anterior หรือ posterior
compartment มักจะเปนอาการของ advanced ischaemia และบอยครั้งที่เปน
irreversible ischaemia
- paresthesia อาการนี้เปนไดจากการที่มปี ระสาทรับความรูสึกทีเ่ ปลี่ยนไปจนถึงการ
เจ็บปวดแบบมีเข็มทิ่มแทง (pins and needles) นาสังเกตวาอาการชา (numbness) เปน
อาการของ severe acute critical ischaemia
- pallor อาการเชนนีม้ ักบงถึง severe ischaemia ซึ่งถาหากการขาดเลือดยังดําเนินอยู
ผิวหนังก็จะเปลี่ยนสีเปนมีจา้ํ ๆ (mottling) สีนา้ํ ตาล ดําที่ผิวหนัง แรกๆการกดผิวหนัง
ตําแหนงนี้สจี ะจางหายไป แตเมื่อเวลาผานไปจ้ํานี้กจ็ ะกดไมจางหาย (fixed mottling) ซึ่ง
สภาพของขาที่มีลักษณะเชนนี้มกั จะเก็บไวไมไดแลว (irreversible ischaemia)
- pulselessness จะมีความรุนแรงของการอุดตันของหลอดเลือดมากกวาการคลําชีพจรได
เบาลง
- paralysis การที่ขาจะเคลื่อนไหวไมไดเลยบงบอกถึงวาขาขาดเลือดรุนแรงมากกวาการ
เพียงแคออนแรงของขา

2.3.3.2 ในกรณีการขาดเลือดแบบเรื้อรัง
ในระยะแรกผูป วยจะมีอาการปวดเมื่อยทีน่ องเวลาเดิน (intermittent claudication)หรือ
อาจจะมีอาการตึงแนนขาก็ได แตถาผูปวยมีการอุดตันของหลอดเลือดสวนตนเชน aortoiliac
occlusion อาจจะปวดที่ buttock มากกวา อาการปวดเชนนี้จะเริ่มปวดเวลาเดินไดระยะหนึง่ และ
เมื่อพักสัก 1-2 นาทีอาการดังกลาวก็จะหายไปและจะเกิดอีกเมื่อเดินไปอีกสักพัก การที่อาการปวด
ที่นองหรือขาเวลาเดินเกิดจากบริเวณดังกลาวมีกลามเนือ้ ขนาดใหญอยู จะตองการ oxygen และ
พลังงานมากกวายืนหลายเทา ดังนั้นเลือดจึงเพียงพอสําหรับยืนอยูเฉยๆ แตจะไมพอเมื่อเวลาเดิน
สิ่งที่จะทําใหอาการปวดเปนไดเร็วขึ้นคือเมื่อมีอะไรก็ตามที่ทาํ ใหการเดินตองใชแรงมากขึ้นไดแก
ผูปวยน้ําหนักมาก เดินขึ้นเขา เดินตานลม ถือของหนักในระหวางการซื้อของ (shopping) ถาการ
ขาดเลือดเปนมากขึ้น อาการของ intermittent claudication ก็จะเปนมากขึ้นนัน่ คือเดินไดสั้นลงก
เจ็บปวดขาแลวจนกระทัง่ เดินไดแคสามถึงสี่กาวก็เกิดปวดไดแลวสุดทายก็ลงเอยดวยอาการเจ็บ
ชวงพัก(rest pain) ที่บริเวณเทาหรือนิ้วเทา อาการดังกลาวจะทําใหผปู วยสะดุงตื่นดวยความ
เจ็บปวดที่เทาเวลานอนเพราะเหตุที่เวลานอนความดันจะต่ําลง ดังนัน้ การขาดเลือดจึงกําเริบแลว
ผูปวยกลุม นี้มกั จะตองตื่นในชวงดึกแลวมาเดินเล็กนอยในบานแลวจะดีขึ้นซึ่งวิธีการดังกลาวทําให
เปนการเพิ่มเลือดไปที่เทา ถาผูปวยเปนมากขึ้นผูปวยจะไมสามารถนอนราบไดเพราะชวงนี้การ
ขาดเลือดเปนไปอยางมาก เมื่อนอนราบเลือดจะไปเลี้ยงขาลดลงเพราะไมมี gravity มาชวย ดังนัน้
ผูปวยในกลุมนี้มักจะมาดวยประวัตินอนแลวหอยขาขางที่มีอาการออกนอกเตียงเพือ่ เปนการให
gravity ชวยนําเลือดและบรรเทาอาการ แตในการทําเชนนีก้ ็เปนการทําใหขาที่หอยลงมามีอาการ
บวมได (dependent oedema) ซึ่งสิ่งนีเ้ ปนการทําให microcirculation ของขาแยลงดวย
ในระยะสุดทายคือระยะ gangrene เนื้อเยื่อจะตายซึง่ อาการอาจจะออกมาในรูปของแผล
เรื้อรัง(ulcer)เพราะเมื่อเนื้อเยื่อตายผิวหนังจะหลุดรวงจนเกิดแผลหรือผูปวยอาจมาดวยขาที่แข็ง
เย็นและผิวหนังดํา (gangrene) ซึ่งสามารถแบงไดเปนสองแบบ wet gangrene กับ dry
gangrene

- wet gangreneคือการที่มีเนือ้ ตายรวมกับมีการติดเชื้อในเนื้อที่ตาย ซึง่ ในกลุม นี้ตองการ


ตัดขาดวนเพื่อปองกันการเกิด sepsis เทาในกรณีนี้จะพบผิวหนังดํา เขียว ชืน้ เปยกและมี
กลิ่นเหม็น
- dry gangrene คือการมีเนือ้ ที่ตายมีสีดาํ แข็ง แหงไมคอ ยมีกลิน่ และเหี่ยว นิ้วที่ dry
gangrene สามารถจะขาดและหลุดไปเองไดแลว granulation tissue ก็ขึ้นมาปด ดังนั้น
ในผูปวยที่มีความเสีย่ งในการผาตัดสูง แพทยอาจจะปลอยใหนวิ้ หลุดเองได
(autoamputation)

2.3.4. สภาพของผูปวย (fitness of the patient)


สภาพของผูปว ยก็เปนสิง่ สําคัญในการพิจารณาในการรักษาเชนถาผูปว ยมี severe limb
ischaemia ทีค่ วรไดรับการรักษาเชน Bypass operation ซึ่งก็มีความเสี่ยงในระหวางการผาตัด
แตถาผูปวยมีโรคอัมพาตรุนแรงที่จะไมไดใชขา การทํา revascularisation ก็ไมมีประโยชนอันใด
หรือขณะนั้นผูป วยมี severe MI แลวมี severe limb iscahemia จาก embolism การที่ทํา
embolectomy แลวมี reperfuse อาจทําให MI นี้แยลงจาก toxic metabolite หรือ free radical
ดังนัน้ co-existing disease ที่ผูปวยมีก็ตอ งรวมพิจารณาดวย แพทยตองคํานึงเสมอวาตองรักษา
ผูปวยใหหายจากอาการทุกขทรมาน แตตองไมทําใหผูปว ยไดัรับอันตรายจากการรักษาที่ให
(overtreat)
ภาวะแทรกซอนที่สามารถเกิดไดในระหวางการรักษาผูปว ยทีม่ าดวยโรคขาดเลือดที่ขามี
มากมาย หลักการงายที่ชวยในการจําสามารถแบงประเภทคลายกับการแยกชนิดของ renal
failure กลาวคือ
2.3.4.1 Pre-event causes คือสภาวะที่เกิดกอนหรือพบโดยบังเอิญในขณะที่ผูปวยมีอาการ
ขาดเลือดที่ขาสาเหตุดังกลาวเชน
Cardiac disease
Angina pectoralis, previous MI, cor pulmonale, left ventricular failure
Lung disease
Chronic obstructive pulmonary disease, asthma
Renal disease
Chronic renal failure
Metabolic disease
Diabetes mellitus, malignancy, cachexia

โรคอื่นๆ
ขาบวม แผลทีข่ า และ flexion contracture

2.3.4.2 Per-event causes เหตุนี้สว นมากเปนปจจัยเกือ้ หนุนกอใหเกิดอาการขาดเลือดที่ขา


ไดแก
Dehydration
Acidosis
Uncontrolled diabetes
Organic psychosis
2.3.4.3 post-event causes ผลที่คาดวาจะเกิดหลังจากการรักษาหรืออาจจะเรียกอีกอยางวา
เปนผลจากการรักษา
Myoglobinuria เปนปจจัยซึง่ นําไปสูการเกิด renal failure
Severe acidosis เกิดไดหลังจากการมี revascularisation เขาไปในเนื้อเยื่อที่ขาดเลือด
MI หลังผาตัด
เลือดออกมากหลังจาก thrombolysis

2.3.5 การตรวจวินิจฉัย (investigation)


โรคหลอดเลือดแดงอุดตันสวนมากสามารถวินจิ ฉัยไดหลังจากการถามประวัติและตรวจ
รางกายโดยละเอียด การตรวจพิเศษทุกอยางมีบทบาทเพียงแคมาชวยเสริมการวินจิ ฉัยของ
แพทย ดังนั้นไมมีการตรวจพิเศษอันใดที่มาแทนที่การซักประวัติที่ละเอียดและการตรวจ
รางกายผูปว ยอยางรอบขอบได

2.3.5.1. Clinical examination


ในทางดานโรคหลอดเลือดนอกจากการซักประวัติ การตรวจรางกายโดยละเอียด เปนสิ่ง
สําคัญโดยเฉพาะอยางยิง่ การตรวจ pulse นับวาเปนสิง่ สําคัญมากตองตรวจและบันทึกโดย
ละเอียด

2.3.5.2. การตรวจอื่นๆ
- BUN. Creatinine และ Electrolyte การตรวจในกลุมนี้จะทําใหไดทราบวาผูปว ยมีภาวะ
โรคไตหรือไม ซึ่งภาวะดังกลาวมีผลโดยตรงกับผลลัพธของการผาตัด aorta ควรประเมิน
ในผูปวยที่ตองการผาตัดใหญ (major operation) โดยเฉพาะอยางยิง่ ที่ผูปวยตองการการ
รักษา renal artery disease
- Full Blood Count, plasma viscosity เปนการตรวจหา polycythaemia,
thrombocytosis, hyperviscosity syndrome
- Coagulation study ในผูปวยที่ได anticoagulant หรือโรคอื่นๆที่ทาํ ใหมี coagulation
ผิดปกติเชน liver disease ควรที่จะตรวจเพื่อเปน baseline
- EKG และ chest X-ray ก็บงบอกถึงสภาพของหัวใจและปอดเพื่อการเตรียมตัวในการ
ผาตัดใหไดผลดีที่สุด
2.3.5.3. Fixed wave Doppler examination
การตรวจนีเ้ ครื่อง Doppler จะทํางานโดยสงคลื่นออกจากหัว probe และคลื่นจะไป
สะทอนกับเม็ดเลือดแดงและสะทอนกลับมาทีห่ ัว probe ทําใหสามารถตรวจสอบการไหลเวียนของ
เลือดได การตรวจนี้สําคัญมากในผูปว ยหลอดเลือดทุกคน โดยเฉพาะอยางยิง่ เปนการตรวจวัด
ความดันของหลอดเลือดที่เทา

ภาพการวัด Ankle – Brachial index

2.3.5.4. Treatmill testing


ในผูปวยที่มี Chronic ischaemia การตรวจนี้จะทําใหสามารถประเมินระยะทางที่ผูปว ย
สามารถเดินไดและสามารถชวยในการวินจิ ฉัย arterial occlusion ที่ความดันโลหิตปกติ. การ
ตรวจมักจะทําโดยใหผูปวยเดินที่ชนั เล็กนอยประมาณ 10 องศาและความเร็วของการเดินประมาณ
3 กม/ชัว่ โมง การตรวจนีเ้ ปนวิธที ี่ดี แตบอยครั้งที่ผูปว ยโรคหลอดเลือดไมสามารถทําไดเพราะมีโรค
อื่นรวมดวยเชน Chronic lung disease, Angina pectoralis หรือ ปญหาโรคขอ เปนตน
การตรวจนีย้ ังชวยในการติดตามผลการรักษาไดเชน percutaneous angioplasty หรือ
bypass surgery เพื่อดูวาความสามารถในการเดินมีมากขึ้นหรือไม ซึง่ เปนตัวบงวาการรักษาไดผล
ถาเดินไดมากขึ้น
2.3.5.5.Duplex scan
เครื่องมือนี้ประกอบดวย 2 สวนประกอบ สวนแรกการตรวจทาง ultrasound (B-mode)
เปนการแสดงวามีหรือไมมี abdominal (aorta/iliac) หรือ popliteal aneurysm หรือ rare
aneuysm เชน femoral aneurysm สวนที่สองคือ Doppler scan ซึ่งใชในการตรวจวาหลอดเลือด
มีหลอดเลือดตันหรือไม (occlusive disease) โดยการดูลักษณะของ waveและความเร็วของ flow
ที่ตําแหนงตางๆ ซึ่งชวยบอกความรุนแรงของการตีบตัน (degree of stenosis) การตรวจ duplex
scan ควรถูกใชตรวจเปนอยางแรกในการตรวจผูปวยโรคหลอดเลือดเพราะเปน non-invasive test

ภาพการทํา Duplex scan

2.3.5.6. Contrast arteriography


การที่ฉีด contrast media เขาไปในหลอดเลือดและ x-ray วิธีนี้จะทําใหเห็น lumen ของ
หลอดเลือดโดยฉีดสีเขาหลอดเลือดโดยตรง (conventional arteriography) ในปจจุบันความ
ชัดเจนของ arteriography (resolution-clearity) ก็ดีขึ้นโดยใชเทคนิคใหมที่เรียกวา Digital
subtraction arteriography (DSA) จะมีความคมชัดและเห็นภาพฉีดสีในหลอดเลือดไดชัดเจนขึ้น
เพราะเทคนิค Digital ลบภาพของกระดูกจากภาพ angiogram ทําใหเห็นแตสีที่อยูในหลอดเลือด
ชัดเจนขึ้นโดยไมมีเงาของกระดูกมาบัง
Angiogram = Road map for surgery

2.3.5.7. Computerised Tomographic Angiography


เทคนิคดังกลาวเปนการใช Helical Computerised Tomography(CT) รวมกับฉีดสีเขาไป
ในหลอดเลือดแดง เทคนิคดังกลาวมักใชกบั การตรวจ ทีต่ องการใช CT scan รวมกับการตองการดู
วากอนหรืออวัยวะตางๆ เหลานัน้ มีความสัมพันธกับหลอดเลือดเชนใด การศึกษานี้เมือ่ ทําการ CT
scanและฉีดสี contrast Computer จะทําการสรางภาพสามมิติ ดังนัน้ เราจึงจะเห็นกอนหรือ
อวัยวะที่ตองการศึกษารวมกับหลอดเลือดเชน การศึกษาในผูปวยที่มี Carotid Body Tumor ภาพ
จะแสดงวากอนเนื้องอกมีความใกลชิดหรือวาความสัมพันธกับหลอดเลือด Carotid Artery มาก
นอยเทาใด

2.3.5.8. Magnetic Resonance Arteriography (MRA)


วิธีนเี้ ปนการศึกษาโดยใช Magnetic ในการดูลักษณะของเสนเลือด เทคนิคนี้เปนเทคนิค
ใหมซึ่งผลของการศึกษาในบางครั้งดีจนแทบไมแตกตางจากการตรวจสอบโดยการฉีดสีเขาไปใน
หลอดเลือด (Angiogram) แตขอดีคือ เทคนิคนี้สามารถเห็นหลอดเลือดโดยไมจําเปนตองใชการ
ฉีดสี ดังนัน้ ผูป วยซึง่ ไมสามารถไดรับการฉีดสีหรือสีอาจจะทําใหเกิดอันตรายเชน ผูปวยไตวาย
เรื้อรังเพราะเหตุที่สีที่ใชในการฉีด Angiogram สามารถทําลายเนื้อของไตได ดังนั้นผูป วยซึง่ เปนไต
วายเรื้อรัง เราจึงพยายามหลีกเลี่ยงการฉีดสีในการศึกษาดูหลอดเลือดและนอกจากนัน้ สีที่ใชใน
การฉีด Angiogram ประกอบไปดวย Iodine ดังนัน้ มีผูปว ยจํานวนหนึง่ ซึ่งสามารถแพ Iodine จึงไม
สามารถทําการเห็นของหลอดเลือดโดยการฉีดสีโดยวิธีปกติได นอกจากนัน้ วิธกี ารศึกษา MRA ยัง
ไมใชรังสี X – ray ในการศึกษา แตใชคลื่นแมเหล็กในการศึกษา ดังนัน้ จึงเหมาะสมในผูปวยบาง
กลุม เชน ผูปว ยซึ่งกําลังตัง้ ครรภ แตเทคนิคดังกลาวก็ยงั มีขอจํากัดอยูในหลายแงมุม โดยเฉพาะ
ความชัดเจน ซึ่งคิดวาในอนาคตอันใกลนี้ เทคนิคดังกลาวสามารถพัฒนาไดใหเกิดความชัดเจนได
เทียบเคียงกับการดูหลอดจาก Angiogram ในอนาคตอันใกล

ภาพการทํา MRA
2.4 การรักษา
2.4.1 การรักษาโรคหลอดเลือดอุดตันเรื้อรัง
มีการรักษาไดหลาย ๆ วิธี ซึง่ จะขอกลาวในแตละหัวขอและขอบงชี้ ไปตามหัวขอ
2.4.1.1. การเปลี่ยนแปลงวิถีการดําเนินชีวิต (life style altenation)
ในผูปวยที่มีโรคหลอดเลือดอุดตัน การหยุดบุหรี่เปนสิง่ ทีส่ ําคัญ ไมแพกวาสิง่ อื่นใด รวมถึง
การพยายามหลีกเลี่ยงในสภาวะแวดลอมที่มีควัน หรือไอ (Secondary Smoking) และการ
พยายามแนะนําใหผูปวยออกกําลังกายดวยการเดินมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีอาการเจ็บใหเดิน
ตอไป สิ่งเหลานี้พบวาสามารถเพิ่ม Collateral Vessel ซึ่งจะทําใหอาการขาดเลือดทีข่ าดีขึ้น
นอกจากนี้ การพยายามลดน้ําหนักของคนไข ก็พบวาสามารถเพิ่มระยะการเดินของผูปวยไดมาก
ขึ้น การรักษาโดยการเปลี่ยนวิถีชีวิตดังกลาวขางตน กลาวคือ การหยุดสูบบุหรี่ การพยายามออก
กําลังกาย การลดน้ําหนัก ก็สามารถที่จะรักษาผูปว ยเหลานี้ได ใหหายจากอาการดังกลาวไดถึง
60%

2.4.1.2. Angioplasty
Angioplasty คือเปนการรักษาในทางรังสีวิทยา ทําไดโดยหลังรังสีแพทยสามารถเห็น
ตําแหนงทีม่ ีการตีบของหลอดเลือดแลวก็ใช balloon ไปถางขยายหลอดเลือดที่ตีบ เชน ถามีการ
อุดตันที่ superficial femoral artery รังสีแพทยก็จะใสสายเขาไปในหลอดเลือดนี้โดยเอาสวนที่มี
ลูกโปงไปอยูระหวางบริเวณหลอดเลือดทีม่ ีการตีบตัน ภายใตการเห็นดวยเครื่อง fluroscopy
หลังจากรังสีวทิ ยาแพทย ใสอากาศเขาไปใน balloon แลว balloon ก็จะทําหนาที่ถา งขยายยืด
หลอดเลือดทีอ่ ุดตันใหเปด ไมอุดตันการรักษาเชนนี้เปนการเปดหลอดเลือดวิธีหนึ่งซึง่ นิยมใชไดผล
กรณีที่หลอดเลือดมีการอุดตันเปนสวนสัน้ ๆ
Angioplasty มักจะไดผลในหลอดเลือดใหญเชน aorta หรือ iliac artery แตมักจะไม
ไดผลในกรณีเสนเลือดขนาดเล็กเชน anterior tibial artery หรือ posterior tibial artery และ
นอกจากนัน้ เทคนิคเหลานีจ้ ะทําไดเฉพาะในกรณีของหลอดเลือดตีบแตไมตัน ซึ่งสามารถสังเกตุ
เห็นวาเทคนิคดังกลาวจะตองสอดสายลูกโปงเขาไปครอมจุดที่ตีบ ดังนั้นถาหลอดเลือดตันสาย
เหลานี้ก็ไมสามารถผานไปครอมจุดตีบได
ภาพแสดงกอนและหลังการทํา Angioplasty
2.4.1.3. การทําผาตัด Bypass Surgery
คือเทคนิคทางการผาตัดที่แกปญหาการอุดตันของหลอดเลือดโดยการหาทางนําเลือดลัด
จากบริเวณเหนือตอจุดอุดตันไปตามทอ (conduit) ไปสูบริเวณใตตอจุดอุดตัน
ขอบงชี้ในการทํา Bypass surgery คือ
1. ผูปวยที่มกี ารขาดเลือดแบบ intermittent claudication ที่รุนแรงที่รบกวนการดํารง
ชีวิตประจําวัน
2. ผูปวยที่มี critical limb ischaemia คือผูปวยที่มีอาการของ rest pain, gangrene หรือ chronic
ulcer เปนตน
ทอ (conduit) ที่ดีที่สุดที่ใชใน Bypass Surgery ของหลอดเลือดเล็กหรือขนาดกลาง นัน่
คือหลอดเลือดดําของผูปวยซึ่งโดยทัว่ ไปหลอดเลือด long saphenous vein จะเปนหลอดเลือด
แรกที่พิจารณาใชในการทํา bypass surgery แตในหลาย ๆ กรณีเสนเลือด long saphenous vein
อาจจะถูกใชมากอนเชน การทํา Bypass ทีห่ ัวใจ หรือหลอดเลือดที่มีปญ  หาเชน phebitis หรือ
varicose vein เราก็สามารถนําหลอดเลือดดําจากแขน (arm vein) มาใชได
ภาพ vein graft

ในกรณีทหี่ ลอดเลือดดําไมดีพอที่จะใชในการทํา bypass surgery ก็สามารถใชวัตถุ


สังเคราะหหลอดเลือดเทียมในการทํา bypass surgery โดยทัว่ ไป วิธกี ารทีน่ ํามาทํา Bypass
Surgery มี 2 ชนิด
1. polytetrafluoroethylene (PTFE)
2. polyethylene terephthallate (dacron)
PTFE เกิดจากการปน วัตถุสังเคราะหใหเปนทอ สวน dacron เกิดจากการนําเสนใยมาถัก
เปนทอ ทอ PTFE จะเกิดการกอตัวของลิ่มเลือด
(Thrombosis ไดนอยกวา dacron) ดังนัน้ การตอ
หลอดเลือดทีต่ ่ํากวา inguinal ligament (มี flow
ต่ํา) มักจะใช PTFE มากกวา สวน dacron มักจะใช
ในหลอดเลือดที่ใหญ เชน aorta หรือ iliac artery

รูป Dacron graft


ภาพการทํา Axillofemoral bypass
ภาพแสดงการผาตัดในผูปวยที่ไดรับการทําaxillofemoral bypass

ภาพแสดงการทํา Femorofemoral bypass


ภาพแสดงการทํา Femorotibial bypass โดยใช vein graft

การตัด (Amputation) จะใชในกรณีที่เนื้อเยื่อที่อยูใตจุดอุดตันมีการเนาหรือการผาตัด


หลอดเลือดไมสามารถทําได ถึงแมวาการตัด (amputation) จะดูเหมือนจะเปนการผาตัดที่
คอนขางจะรุนแรง แตในหลายกรณีโดยเฉพาะอยางยิง่ เสนเลือดผูปวยตีบตันอยางรุนแรง
ศัลยแพทยไมสามารถหา outflow ที่เหมาะสมไดและผูปวยเหลานี้มกั จะมีอาการเจ็บปวดทรมาน
อยางรุนแรง การทํา amputationก็สามารถเปนวิธีที่เร็วทีส่ ุดที่สามารถทําใหผูปวยมีชีวิตที่
ปราศจากการเจ็บปวดในระยะเวลาอันสัน้

2.4.1.4 การ amputation


มีไดหลาย ๆ วิธี
1. Digital amputation คือการตัดทิ้งของนิว้ และถาตัดหลายนิว้ พรอมกันเรียกวา Ray
amputation มักจะใชในผูป ว ยทีเ่ ปนโรคเบาหวาน
2. Transmetatarsal amputation คือการตัดผานกระดูก metatarsal ซึ่งมีใชนอยในผูปวยหลอด
เลือด
3.Below knee amputation เปนการตัดทีใ่ ตตอเขา ซึ่งเปนวิธหี นึ่งซึง่ พบบอยที่สุดในผูปวยหลอด
เลือด การตัดบริเวณดังกลาว สามารถใสไดกับขาเทียมซึง่ พบวาผูปว ยเหลานี้สามารถมีการ
เคลื่อนไหวและชวยเหลือตนเองหลังจากมีการผาตัดไดอยางดี
4. Gritti stoke amputation เปนวิธีการตัดโดยผาน Knee joint วิธีการดังกลาวใชในกรณีที่ผูปว ย
ไมคิดวาจะเดินในอนาคตเชนผูปวยเปนอัมพาตอยูแลว ดังนัน้ การเก็บสวนของกระดูก femur ไวให
ยาวจึงสะดวกไวสําหรับการอุมผูปวยจากเตียงหรือยายไปในที่ตาง ๆ
5. Above knee amputation เปนการตัดที่พบไดบอยในคนไขโรคหลอดเลือดเชนกัน แตผูปวย
เหลานี้ มีโอกาสที่จะกลับมามีการเคลื่อนไหวไดไมดีเทา Below knee amputation

ภาพการทํา Below knee amputation แบบ long posterior flap

ผลการรักษา
ผูปวยที่เปนโรคเลือดอุดตันเหลานี้ มีโอกาสเสี่ยงตอการเกิด Stroke และ MI สูง จากสถิติ
พบวา ผูปว ยทีเ่ ปน intermittent claudication มีโอกาสทีจ่ ะเปน critical limb ischaemia
(gangrene, ulcer) ได 2% ตอปและในผูปวยที่เปน critical limb ischaemia จะพบวามีชวี ิตรอด
เหลืออยูประมาณ 50%ในเวลา 5 ป สวนมากตายจากโรคหัวใจหรืออัมพาต
ผลของการทํา Bypass Surgery โดยทั่วไป มีหลักวา การยิ่งตอหลอดเลือดยิ่งตอลงไป
ปลายมาก (distal anastomosis) เทาใดโอกาสทีจ่ ะสําเร็จในระยะยาวก็ยงิ่ นอยลงเทานั้น
ยกตัวอยางเชน การตอหลอดเลือด femoropopliteal bypass ก็ยอมมีความสําเร็จหรือคงทน
(patency) ที่ดีกวาการทํา femoroperoneal bypass เปนตนและผลของการผาตัดก็ขึ้นอยูกับทอที่
ใช โดยเฉพาะอยางยิ่งการตอหลอดเลือดไปที่บริเวณใตเขา การใชหลอดเลือดดําของผูปวย ยอม
ไดผลดีกวาการใช synthetic materials ตัวอยางเชนการทํา bypass จาก femoral artery ไป
posterior tibial artery ถาใชหลอดเลือดดําเปนทอจะพบวาใน 5 ป โอกาสที่ bypass ยังคงทํางาน
อยูประมาณ 50% แตถาใช PTFE โอกาสที่ bypass ยังคงทํางานอยูประมาณ 25%

2.4.2 การรักษาโรคหลอดเลือดอุดตันฉับพลัน
2.4.2.1. การใหยา Heparin
ในผูปวยที่มกี ารอุดตันของเลือดอยางฉับพลัน การให heparin มีความสําคัญมาก เพราะ
heparin จะไปปองกันการขยายตัวของกอนเลือดที่จะเกิดขึ้น กลาวคือ เมื่อมีการอุดตัน ของหลอด
เลือดแลวกอนเลือดก็ขยายตัวมากขึ้นเพราะมีการคั่งของเลือด (stasis) ซึ่งการขยายตัวเชนนี้จะไป
อุดตัน Collateral Vessel ซึ่งถาสามารถที่จะรักษา Collateral Vessel เชนนี้ไดก็จะทําใหอาการ
ของผูปวยไมแยลงและก็สามารถทําใหมีเวลาเพื่อที่จะวินิจฉัยและรักษาผูปวยไดอยางปลอดภัย
การให heparin ในผูปวยดังกลาวก็จะใหในเริ่มแรกดวย ขนาดที่คอนขางจะมากประมาณ 5,000
หนวย (IU) ทางหลอดเลือดดําแลวตามดวยการใหทางหลอดเลือดดําอยางตอเนื่อง ประมาณ 500
– 1,000 หนวย / ชั่วโมง หลังจากนัน้ เราจะตรวจ Actvated Partical Thromboplastin Time
(APTT) ภายใน 2 – 3 ช.ม. หลังจากนั้น เพื่อปรับขนาดการให heparin ใหมีคาของ Actvated
Partial Thromboplastin Time ประมาณ 2 ถึง 3 เทาจาก Control

2.4.2.2. Thrombolysis
Thrombolysis คือการฉีดยาซึ่งจะไปละลายกอนเลือดทีอ่ ยูในหลอดเลือดแดง ในผูปว ยซึง่
เปนโรคหัวใจขาดเลือดยาประเภทนี้มที ี่ใชเปนเวลานาน โดยการใหยาที่ละลายกอนเลือดนั้นจะฉีด
ดวยจํานวนมาก ๆ ทางหลอดเลือดดํา เพือ่ ที่จะไปละลายกอนเลือดทีบ่ ริเวณของหลอดเลือด
Coronary สวนในผูปว ยเปนโรค acute arterial thrombosis ยาซึ่งละลายลิ่มเลือด สามารถฉีดได
โดยตรงไปที่กอ นเลือดอยูโดยอาศัยเทคนิค angiogram เขาชวย ดังนัน้ ขนาดของยาจึงมีปริมาณ
นอยกวาการให ในผูปวย ซึง่ เปนโรคหัวใจ
เทคนิคการละลายลิ่มเลือดจะไดผลมาก ถากอนเลือดซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลาไมนาน
โดยเฉพาะอยางยิง่ 1 – 2 สัปดาหกอน ตัวอยางของยาละลายลิ่มเลือดไดแก streptokinase,
urokinase, tissue thromboplastin เปนตน
ขอหามในการใชยาละลายลิม่ เลือดไดแก ผูปวยซึง่ มีเลือดออกในทางเดินอาหาร ผูปว ยทีม่ ี
การเลือดออกอยางผิดปกติหรือมีอัมพาต วิธีการทําการละลายลิ่มเลือด (Thrombolysis) สามารถ
ทําไดโดยรังสีแพทยหลังจากทีท่ ํา Angiogram แลวก็ใสสายไปอยูบริเวณหลอดเลือดที่มีกอนเลือด
อยูหรืออาจจะใสไปฝงบริเวณที่มีกอนเลือด หลังจากนัน้ จะฉีดยาละลายลิ่มเลือดเขาไปในบริเวณ
นั้น
การละลายลิ่มเลือดในผูปวยที่เปน thrombosis ของหลอดเลือด หลังจากที่ละลายลิม่
เลือดแลวมักจะปรากฏเห็นการตีบตันของหลอดเลือด ซึง่ การรักษาก็ดาํ เนินตอไปไดไมวาโดยการ
ทํา Angioplasty คือ ขยายของหลอดเลือดหรือการทํา bypass operation

2.4.2.3. Embolectomy
วิธีการนี้ก็คือการกําจัด Embolism ที่อยูในหลอดเลือด วิธีการดังกลาวสามารถ
ดําเนินโดยการใสสายที่ชื่อวา Forgarty balloon catherter โดย catherter จะมีลูกโปงทีห่ ุบอยูท ี่
ปลาย การกําจัดกอนเลือดหรือ Embolism ทําไดโดยเปดหลอดเลือด (arteriotomy) หลังจากนัน้
ใสสายเหลานีเ้ ขาไปจนสุดเกินบริเวณกอนเลือดหลังจากนัน้ ก็ใสลมเพื่อให balloon ที่ปลายของ
สายนัน้ ใหโปงออกมาหลังจากนัน้ ก็ดงึ สายเหลานี้ออกมาดวยความระมัดระวังแลว embolus (กอน
เลือด) ก็จะออกมาที่แผล arteriotomy วิธกี ารดังกลาวศัลยแพทยตองระวังไมขยายลูกโปงใหเกิน
ขนาด มิฉะนัน้ ก็สามารถทําใหหลอดเลือดแตกได วิธีการดังกลาวสามารถที่จะนํากอนเลือดออกมา
ได กอนเลือดที่ไดตองสงเพือ่ ไปศึกษาทางการตรวจเชื้อแบคทีเรียและพยาธิวทิ ยา เนื่องจากวา
แหลงของกอนเลือดเหลานี้หลาย ๆ ครัง้ เกิดจากที่ในหัวใจไมวาจะเปนกอนเลือดหลังจากการเกิด
MI หรือลิ้นหัวใจผิดปกติหรือในบางครัง้ สามารถเกิดไดจาก atrial myxoma

2.5 สรุป
โรคหลอดเลือดแดงอุดตันทีข่ าพบไดมากขึ้นเรื่อยๆในสังคมของคนไทย ทัง้ การตีบตันของ
หลอดเลือดอยางฉับพลันหรือเรื้อรัง สิ่งทีต่ องคํานึงอยูในใจของแพทยเสมอคือ โรคเหลานี้สามารถ
พบ โรคอื่น ๆในผูปวยเหลานี้เชน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ดังนั้นการรักษาผูปว ยในกลุมนี้ ตองเกิด
จากการรวมกลุมของผูชํานาญในหลาย ๆ ดาน ทัง้ ศัลยแพทย วิสัญญีแพทย แพทยผชู ํานาญดาน
หัวใจ และแพทยผูชาํ นาญดานการหายใจ
แพทยทุกคนกอนที่จะเริ่มรักษาในผูปว ยโรคหลอดเลือดแดงอุดตันที่ขาควรคิดถึง 5 สิ่ง
กอนที่จะเริ่มตนการรักษาโรคคือ ระยะเวลาการขาดเลือดที่ขา, ตําแหนงของการอุดตัน, สภาพของ
ขา, สภาพของผูปวย และการสงตรวจพิเศษ
บรรณานุกรม
1. Lamont PM, Shearman CP, Scott DJA. Lower limb arterial disease. In: Lamont PM,
Shearman CP, Scott DJA, editors. Vascular Surgery. Oxford: Oxford University
Press; 1998. p. 75-87.
2. Tennant WG. Limb ischaemia. In: Macintyre IM, Smith RC, editors. The RCSE
SELECT Program. Dundee: Dundee University Press; 2000. p. 1-25.
3. Walker AJ. Vascular Trauma. In: Davies AH, Beard JD, Wyatt MG, editors.
Essential Vascular Surgery. London: W.B.Saunders; 1999. p. 304-15.

You might also like