หิโตปเทศวัตถุปกรณั

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 84

หิโตปเทศวัตถุปกรณัม

พิมพ์ในงารพระราชทานเพลิงศพ เจ้าจอมมารดากลิ่น รัชกาลที่ ๔


ท จ ว, รัตน ม ป ร ๓, รัตน จ ป ร ๓,
ณเมรุวัดเทพศิรินทร์ เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๖๙
พิมพ์ที่โรงพิมพ์บารุงนุกูลกิจ ถนนบารุงเมือง ในพระนคร

คำนำ
“หิโตปเทศ” เปนหนังสือซึ่งรู้จักกันทั่วๆ ไปในโลก กาเนิดแลตานานมีมา
ในอินเดียอย่างไร ปรากฎในภาษาไทยหลายแห่งแล้ว ไม่พึงนามากล่าวซา
ในที่นี
หิโตปเทศในภาษาไทยมีหลายรุ่น น่าจะเห็นว่ามีมานานแล้ว แต่หอพระ
สมุด ฯ ยังไม่พบฉบับที่เก่ากว่าเล่มนี
ถ้าจะพูดถึงลักษณที่นาหิโตปเทศมาเปนภาษาไทย ก็อาจแบ่งได้เปน ๒
ประเภท คือแปลตรงความกับภาษาสสกฤตประเภทหนึ่ง แต่งเปนร้อยแก้ว
บ้าง เปนลิลิตบ้าง อีกประเภทหนึ่งจาเอาความมาเล่าตามโวหารของผู้เรียบ
เรียง ไม่เดิรตามรอยหนังสือในภาษาเดิมมากนัก เปนแต่เพียงว่าเมื่ออ่าน
เทียบกันก็พอจับเค้าได้เท่านัน หิโตปเทศที่พิมพ์ในเล่มนีสงเคราะห์เข้าใน
ประเภทหลัง แลมีตอนที่เรียก “มิตรลาภ” ตอนเดียวเท่านัน
ได้ให้เจ้าพนักงารในหอพระสมุด ฯ สอบหนังสือนีเทียบกับฉบับที่แปล
จากสสกฤต รายงารว่านิทานเริ่มต้นแลลงท้ายนัน เนือเรือ่ งเหมือนกัน แต่
นิทานแซกในฉบับนีมีมากกว่าฉบับภาษาสสกฤต แลนิทานที่คล้ายกันแต่
ไม่ตรงกันทีเดียวก็มีบ้าง ส่วนชื่อคนแลสัตว์ที่ตรงกันมีน้อย แต่ข้อสุภาษิต
มีเค้าพอเทียบว่าอย่างเดียวกันได้ อนึ่งเรื่องนาในฉบับนีไม่มีแต่มีนิคมรวบ
ความย่อลงไว้ข้างท้าย วิธีเดียวกับที่อ้างนิคมในพระสูตรต่าง ๆ ฉนัน.
พิทยาลงกรณ์ อุปนายก
หอพระสมุดวชิรญาณ
วันที่ ๒๘ เมษายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๙
นิทำนเริ่ม
บัดนีจะได้กล่าวเนือความในหิโตปเทศวัตถุปกรณัม ว่าในกาลก่อน (อัน
ล่วงลับแล้วแต่ครังหลัง) ยังมีเมืองหนึ่งชื่อกุสาวดีราชธานี เปนที่อาศรัยอยู่
แห่งหมู่กษัตริย์มากหลาย ยังมีกษัตริย์พระองค์หนึ่งทรงพระนามสุทัสสนะ
มหากษัตริย์ ทรงพระคุณพฤฒิมีปรีชาชาญเปรื่องปราชญ์เฉลียวฉลาดกว่า
กษัตริย์เหล่านัน ได้ทรงศึกษารอบรู้ในวิชาการศิลปศาสตร์สาหรับ
พระมหากษัตริย์พร้อมสมบูรณ์ทุกประการ จึงได้ครองสิริราชสมบัติใน
เมืองกุสาวดีนัน
วันหนึ่งหมู่กษัตริย์พวกอามาตย์ราชมนตรีน้อยใหญ่ ขึนไปเฝ้าพระเจ้าสุทัส
สนราชพร้อมกัน ครังนันมีอามาตย์ผู้บัณฑิตคนหนึ่งได้กล่าวคาถาสุภาษิต
ขึนหน้าพระที่นั่ง เนือความในคาถานันว่า ความเคลือบแคลงสงสัยในคดี
ความกะทงใดๆ ก็ดี เนือความแลอธิบายอันลับลีที่ไม่อาจจะชีขาดเหล่าใดก็
ดี ข้อความทังปวงนัน ก็มีนัยแจ้งอยู่ในคัมภีร์ธรรมศาสตร์ทังสิน อันคัมภีร์
ธรรมศาสตร์นีเปนดุจแก้วตาของมนุษย์ทังหลาย กุลบุตรผู้ใดไม่ได้ศึกษา
สดับฟังพระธรรมศาสตร์นีแล้ว กุลบุตรผู้นันเปนดังหนึ่งคนจักษุบอด
เหล่าบุคคลทัง ๔ ชาตินีเล่า ผู้ใดถึงพร้อมด้วยพฤฒิ ๔ ประการ คือเปนคนมี
ชื่อเสียงรูปทรงสง่างาม ๑ มียศบริวารที่นงั่ ที่นอนสมบูรณ์ ๑ มีทรัพย์
สิ่งของอุดมมาก ๑ มีปัญญาหลักแหลมได้ยินได้ฟังมาก ๑ เมื่อถึงพร้อมด้วย
พฤฒิ ๔ ประการนีแล้ว ผู้นันแลควรจะเรียกว่าเปนมนุษย์ได้ ถ้าพร่องไป
ด้วยข้อใดข้อหนึ่งแล้วไซ้ ผลประโยชน์ผู้นันไม่ยั่งยืนได้นาน ถ้าขาดไปทัง
๔ แล้วไซ้ ผู้นันจะจัดว่าเปนมนุษย์ไม่ได้เลย สินเนือความคาถาของ
อามาตย์ผู้นักปราชญ์เพียงนี
พระมหากษัตริย์สุทัสสนราช ได้ทรงสดับคาถาสุภาษิตนันแล้ว จึงทรง
พระราชดาริห์ว่า โอรสของเราทังหลายนี ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนรู้พระคัมภีร์
แลไม่มีความเพียร มีอากัปกิริยาดุจคนบ้าใบ้ เมื่อเราระลึกถึงความประพฤติ
ของโอรสเราฉนีไป ก็เปนเครื่องร้อนใจไม่เปนผาสุกได้ แล้วพระเจ้าสุทัส
สนราชจึงตรัสสอนโอรสทังหลายนันว่า บุตรผู้ใดโฉดเขลาไม่เล่าเรียนให้รู้
พระคัมภีร์ไม่อุตสาหพากเพียรในกิจกังวลน้อยใหญ่อันควรแก่บุรุษจะพึง
ทา แลไม่มีความพยายามในการงารจะเปนที่เกิดทรัพย์สนิ มีอากัปกิริยาก็
ไม่ดี บุตรเช่นนีป่วยการในกิจที่จะเลียงดูไปมีประโยชน์น้อยนัก แม้จะ
เลียงไปเล่า ก็เปนเครื่องจะได้เห็นด้วยตาจะได้ยินด้วยหู ว่าบุตรเพียงนัน ๆ
ผลประโยชน์ก็สันนัก บุตรผู้ใดมีปรีชาเปรื่องปราชญ์ได้เรียนรู้พระคัมภีร์
แลสืบชาติตระกูลของตนให้ยิ่งขึนไปได้ แลได้ปฏิบัติบิดามารดาโดยความ
เคารพ บุตรผู้นันมีผลประโยชน์มากยืดยาวนัก บุตรผู้ใดความรู้เครื่องจะให้
สาเร็จคุณประโยชน์แก่ท่าน เช่นความรู้แห่งบุรุษเหล่าอื่นก็ไม่มีในตนแล
ความประพฤติตนก็ไม่ดีไม่แยบคาย บุตรเช่นนันท่านไม่นับเนื่องในมนุษย์
เลย ย่อมตัดประโยชน์ที่มารดาบิดาได้เลียงตนมานันเสีย ไม่อาจจะรู้คุณจะ
สนองคุณท่านได้ ย่อมผลาญมารดาบิดาให้พินาศไป แม้ตนก็ไม่มีความสุข
สบายเหมือนอย่างผู้อื่นได้ อันสัตว์ทังหลายซึ่งเวียนเกิดเวียนตายอยู่ใน
สังสารวัฏนี สัตว์ที่ได้มาเกิดเปนบุตรในตระกูลมารดาบิดาดีกว่านันหาได้
ง่าย มารดาบิดาที่จะได้บุตรดีกว่าตนขึนไปนันหาได้ยาก กุลบุตรผู้ใดถึง
พร้อมด้วยคุณ ๔ ประการ คือปรีชาเปรื่องปราชญ์ในศิลปศาสตร์ ๑ ได้เล่า
เรียนรู้พระคัมภีร์ ๑ มีเกียรติศัพท์เล่าลือว่าดี ๑ ได้ก่อสร้างสั่งสมการบุญ
การกุศลไว้ ๑ กุลบุตรผู้นันเปนบุตรอย่างดีสามารถจะรักษาชาติตระกูลให้
เจริญได้ เพราะเหตุนันไฉนหนอโอรสของเราเหล่านีจะถึงพร้อมด้วยคุณ
เหล่านันได้
อนึ่ง เหตุเครื่องจะมอบความสุขให้แก่มนุษย์ทังหลายนีมี ๖ ประการ คือ มี
ภรรยาเปนที่รักเต็มใจ ๑ มีบุตรดีสามารถจะสืบวงศให้เจริญขึนไป ๑ มี
ทรัพย์สมบัติมาก ๑ มีปัญญาเฉลียวฉลาด ๑ ถึงพร้อมด้วยเกียรติศัพท์เกียรติ
คุณที่ดี ๑ โรคไม่เบียดเบียฬ ๑ เหตุ ๖ ประการนีแลเปนเครื่องจะมอบ
ความสุขให้แก่มนุษย์ทังปวง เพราะฉนัน จาเราจะต้องตักเตือนประกอบ
โอรสของเรานี ให้บริบูรณ์ด้วยคุณพฤฒิ ให้มีปรีชาเปรื่องปราชญ์ในศิลป
ศาสตร์ต่าง ๆ แลให้ฉลาดรู้ในพระคัมภีร์ไว้จึงจะชอบ บุตรของเราเหล่านี
เพราะได้ทาบุญไว้ในปางก่อน จึงได้มาเกิดในวงศ์บิดามารดาที่ดีเปน
ตระกูลกษัตริย์เช่นนี แม้ในปัจจุบันนีก็อย่าล่วงวิสัยตนที่เปนตระกูลกษัตริย์
เสียจึงจะดี ถ้าล่วงวิสัยตนเสียแล้วไซ้ ก็จะขาดองค์ไป จะเปนดุจหนึ่งว่า
เกวียนที่มีจักรข้างเดียว ไม่อาจจะฉุดลากไปดังประสงค์ได้
อนึ่ง บุรุษทังหลายนีต้องประกอบตนให้สมบูรณ์ด้วยคุณ ๓ ประการ คือ มี
สติ ๑ มีปัญญา ๑ มีความเพียร ๑ คุณ ๓ ประการนีจาจะต้องเจริญไว้ในตน
จึงจะชอบ จะคอยท่าว่าสุดแต่บุญกรรมเช่นนันไม่ได้ ก็โอรสของเราเหล่านี
จะมาสาคัญถือตนว่ามีบุญอยู่แล้วดังนีไม่ควร จาจะฝึกฝนให้มีสติปัญญาแล
ความเพียรขึนไว้ให้จงได้
อนึ่ง ผู้ใดไม่ได้เรียนรู้พระคัมภีร์แลวิชาการศิลปศาสตร์แล้ว ผู้นันเมื่อเข้า
ไปในที่ประชุมผู้มีปรีชา ดูเก้อเขินไม่องอาจไม่มีสง่าเลย ดุจนกยางแลกา
อันเข้าไปปลอมปะปนระคนอยู่ท่ามกลางหงส์ฉนัน เพราะฉนีมารดาบิดา
ควรจะต้องว่ากล่าวตักเตือนบุตรของตน ให้ศึกษาเล่าเรียนให้รู้วิชาการศิลป
ศาสตร์ แลให้รอบรู้พระคัมภีร์ใหญ่น้อยให้มีปัญญาไว้จึงจะชอบ ก็ในหมู่
มนุษย์ทังหลายนี ทรัพย์คือปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์ทังปวง เหตุไฉน
จึงรู้ว่าทรัพย์คือปัญญานันประเสริฐกว่าทรัพย์ทังปวงเล่า ทรัพย์คือปัญญานี
แม้จะแจกจ่ายให้แก่ผู้อื่นก็ไม่รู้สินไม่รู้หมดเลย แม้ผู้อื่นจะมาปล้นสดมภ์
ช่วงชิงฉ้อลักไปก็ไม่ได้ แม้อันตรายต่างๆ จะมาเบียดเบียฬก็ไม่พินาศเลย
ทรัพย์คือปัญญานีไม่อาจจะตีราคาให้เทียบถึงได้ เพราะเหตุนันปัญญาคุณ
นันจะประเสริฐกว่าทรัพย์ทังปวง แลบุคคลที่มีปัญญาได้ฝึกฝนให้เปรื่อง
ปราชญ์หลักแหลมแล้วนัน จะมีประโยชน์มีอานิสงส์ไฉนเล่า เมื่อผู้มีปรีชา
นันใช้กิจปัญญาตริตรองพิจารณาเสาะหาผิดหาชอบหาคุณหาโทษ
ประโยชน์ใช่ประโยชน์ไป ก็ได้รู้เห็นตามจริงสว่างไปในข้อนัน ๆ โดยการ
แยบคายพร้อมด้วยเหตุผล ข้อที่ผิดที่มโี ทษไม่มีประโยชน์ก็จะได้งดเว้นละ
เสีย สิ่งที่ชอบที่มีคุณมีประโยชน์ ก็จะได้ประกอบตนประพฤติตาม ความ
เจริญก็จะมีแก่ผู้นันเปนอันมาก เพราะว่าเมื่อมีปรีชาแล้ว คนเหล่าอื่นต้อง
มาศึกษาวิชานับถือบูชาด้วยสารทรัพย์ ครันมีทรัพย์มากแล้วในปัจจุบันนีก็
จะได้บริโภคใช้สรอยให้เปนสุข แลได้ทาบุญแจกทาน ครันทาการกุศลไว้
แล้วก็จักได้มนุษย์สมบัติแลทิพยสมบัติไม่แคล้วคลาศเลย คนมีปัญญานันมี
อานิสงสผลฉนี ผู้นักปราชญ์ที่เรียนรู้วิชานันเล่าเปนสองสถาน คือเรียนรู้
ในหัตถกิจโกศล ๑ เรียนรู้ความดีในพระคัมภีร์ต่าง ๆ ๑ เปน ๒ ผู้
นักปราชญ์ที่เฉลียวฉลาดในหัตถกิจการช่างนัน เปนผู้ต้องรับใช้สรอยท่าน
ผู้อื่น ตังอยู่ในที่เลวทรามต่าช้า เมื่อมีกาลังยังสามารถจะทาการช่างได้อยู่
แล้ว ก็ยังเปนที่นับถือของชนมาก ครันชราแล้วไม่อาจจะทาการด้วยหัตถ
กิจได้ ก็เปนที่เย้ยหยันหมิ่นประมาทแห่งท่าน ส่วนบัณฑิตที่เรียนรู้ความดี
ในตนรอบรู้ในคัมภีร์ต่าง ๆ นัน เปนที่เคารพนบนอบนับถือบูชาของ
ประชุมชนทังหลายในกาลทังปวง แม้เมื่อจะเข้าไปในท่ามกลางแห่ง
บรรพษัทท่านก็เชือเชิญให้นั่งที่สูง แลบุคคลที่มีปัญญาเฉลียวฉลาดได้เห็น
ได้ฟังมามากรอบรู้ในคัมภีร์ทังปวงนัน ถ้าเปนเชือกษัตริย์แม้เปนเด็กมีอายุ
น้อย ไม่ควรจะหมิ่นประมาทว่าเปนเด็กหามิได้ จะให้ครองราชสมบัติก็
ควร เพราะว่ามีปัญญาคุณสามารถจะประกอบราชกิจใหญ่น้อยให้ถูกต้อง
ตามเยี่ยงอย่างกษัตริย์ได้ อันผู้ไม่มีปัญญาเปนคนโฉดเขลานันแม้จะเปนชน
มีเชือวงศ์สูงอายุก็ดี ไม่ควรจะยกย่องตังไว้ในอิศรฐานมียศมิได้ แลคนชรา
ไม่มีปัญญานัน เปนดุจหนึ่งว่านาเค็มในมหาสมุทร อันนาเค็มในทเลนัน
แม้เปนของเก่ามีมาแต่ต้นกัลปก็ดี เปนแต่นาเค็มอยู่ในทเล ไม่มีใคร
นามาใช้สอยให้สาเร็จกิจแห่งนามีอันดื่มกินเปนต้นได้ บัดนีมนุษย์ทังหลาย
ย่อมใช้สอยนาบ่อแลนาในแม่นาที่เปนนาจืดให้สาเร็จกิจแห่งนาตาม
ประสงค์ฉันใด อันคนที่มีปรีชาเปรื่องปราชญ์ แม้เปนเด็กตังอยู่ในปฐมวัยก็
ดี ไม่ควรจะหมิ่นประมาทว่าเปนเด็ก เปนที่ต้องการใช้สอยของมนุษย์
ทังหลายในกิจทังปวงฉนัน
พระเจ้าสุทัสสนราชได้พระราชทานพระราโชวาทตรัสสอนพระโอรส
ทังหลายดังนี แล้วก็ตรัสสั่งให้หาผู้เปนนักปราชญ์ราชบัณฑิตใหญ่น้อย
ขึนมาที่เฝ้า จึงตรัสว่า โอรสของเราทังปวงไม่ได้เล่าเรียนรู้พระคัมภีร์
นิติศาสตร์ มีอากัปกิริยาดุจคนบ้าใบ้ บัดนีเราประสงค์จะให้ฝึกสอนเล่า
เรียนพระคัมภีร์นิตศิ าสตร์ให้มีปรีชาบ้าง ท่านทังปวงจะเห็นเปนประการ
ใด ครังนันยังมีครูใหญ่ผู้หนึ่งชื่อวิสมานบัณฑิตเปนผู้เปรื่องปราชญ์ใน
ปกรณ์นิติศาสตร์ จึงกราบทูลว่า อันวิสัยมนุษย์ทังหลายนีแม้เกิดในตระกูล
สูงก็ดี เมื่อมาประพฤติต่าตามคนชั่วคบหาสมาคมกับคนชั่วแล้ว ก็คงจะ
ประพฤติตนเปนคนชั่วเปนคนพาลเช่นนันไป ถ้าได้คบหาสมาคมกับท่านผู้
เปนบัณฑิตแล้ว คงจะประพฤติตนเปนบัณฑิตด้วย เมื่อคบหากับท่านที่ดีที่
ประเสริฐแล้ว ก็เปนผู้ดีขึนได้ ก็พระราชกุมารทังหลายเหล่านีได้ทรงพระ
เจริญแล้วในตระกูลอันประเสริฐเปนวงศ์กษัตริย์ ถ้าได้เสพสมาคมกับข้า
พระองค์ทังหลาย ได้ทรงเล่าเรียนพระคัมภีร์นิติศาสตร์แลธรรมศาสตร์ให้
เปรื่องปราชญ์แต่เดิมทีแล้ว ไฉนจะไม่เปนบัณฑิตได้เล่า สิ่งที่ยังไม่ทราบก็
คงจะได้ทราบทังสิน ผู้ใดเมื่อมีกาลังสติปัญญาอยู่แล้ว ถ้าผู้นันไม่ทาตาม
ถ้อยคาของบัณฑิต เปนคนเกียจคร้านไม่อุสาหะสดับฟังเล่าเรียนเขียนอ่าน
ท่องทานไตร่ตรองเนือความโดยแยบคายแล้ว ไหนจะเปนบัณฑิตได้เล่า ผู้
นันเปรียบเหมือนด้วยนกยาง อันนกยางนันแม้บุคคลมาฝึกสอนให้หัดพูด
ภาษามนุษย์ นกยางก็ไม่อาจจะเจรจาภาษามนุษย์ได้ไม่เหมือนตระกูลนก
สาลิกา แลนกสาลิกามีวิสัยเมื่อคนฝึกสอนให้หัดเจรจาภาษาคนแลภาษา
อื่นๆ นกสาลิกาก็พึงสามารถจะเจรจาได้ พระราชกุมารทังหลายนีได้ดารง
ในวงศ์อันประเสริฐก็มีอุปนิสัยเปนดุจหนึ่งนกสาลิกา ถ้าได้ฝึกฝนแต่เดิมที
แล้ว ก็คงจะเปนผู้ดมี ีปัญญารอบรู้พระคัมภีร์ทังปวงได้ เพราะเหตุนันข้า
พระองค์จะขอรับอาสาฝึกสอนพระราชกุมารทังหลายเหล่านีให้มีพระ
ปัญญาเปรื่องปราชญ์ขึนให้จงได้ วิสมานบัณฑิตได้กราบทูลรับอาสาฉนี
พระเจ้าสุทัสสนะจึงตรัสตอบว่า แน่ท่านทังหลาย เหมือนใบไม้แม้เปนของ
ไม่มีกลิ่นเมื่อมาห่อดอกไม้ที่มีกลิ่นอันหอม ก็เปนของมีกลิ่นหอมขึนได้
อนึ่งเหมือนดอกบัวแดงอันตังอยู่บนยอดเขา หันหน้าข้างตวันออก ครัน
พระอาทิตย์ขึนมา ต้องแสงพระอาทิตย์แล้ว สีดอกบัวแดงนันก็ยิ่งแดงมาก
ขึนไป ฉันใด โอรสของเราทังหลายแม้ยังเปนคนน้อยปัญญาอยู่ก็ดี เมื่อ
ท่านทังหลายได้ฝึกฝนให้เรียนพระคัมภีร์แล้ว คงจะมีปัญญาเปรื่องปราชญ์
ได้ ด้วยเหตุนัน ท่านทังหลายช่วยฝึกสอนให้ด้วยเถิด
ครังนันครูวิสมานบัณฑิตจึงได้เชิญพระราชกุมารทังหลายนันออกมาในที่
ฉะเพาะหน้า จึงกล่าวสอนว่า ข้าแต่พระราชกุมารทังหลาย วิสัยบัณฑิตผู้มี
ปรีชาได้ใช้กิจปัญญามักทาการให้ล่วงไปด้วยการกล่าวถ้อยคาสุภาษิต
เครื่องแสดงประโยชน์ตนแลผู้อื่นตามที่มีมาในคัมภีร์ต่าง ๆ ส่วนคนพาล
ไม่มีปรีชานันมักทาการให้ล่วงไปด้วยเหตุ ๔ ข้อ คือ กล่าวถ้อยคาเปนทุ
ภาษิตเครื่องจะให้ถึงความพินาศ ๑ มักยินดีในการนอนหลับ ๑ แลมัก
เพลิดเพลินในการเล่นต่าง ๆ ๑ แลมักเทลาะวิวาทถุ้มเถียงกับท่าน ๑ เหตุ ๔
อย่างเหล่านีแล เปนคติเปนวิสัยของคนพาล เพราะเหตุนนั พระราชกุมาร
ทังหลายพึงคิดอ่านให้แยบคายอย่าประพฤติตนเปนคนพาล พึงกล่าว
ถ้อยคาสุภาษิตเครื่องจะให้รักใคร่เปนไมตรีกัน ให้ถูกต้องตามเยี่ยงอย่างที่
มีมาในพระคัมภีร์ทังหลายเถิด ผู้ใดมีปัญญาหมั่นตริตรองโดยทางแยบคาย
แลไม่ล่อลวงกัน มีใจซื่อตรงเปนที่เชื่อเปนที่วางอารมณ์แก่กันได้ แลรักษา
ความสัตย์มั่นนักทาประโยชน์แก่กันแลกันให้สาเร็จได้ แลมักขวนขวาย
เพื่อจะเปลืองปลดทุกข์ร้อนกิจกังวลของมิตรสหายให้สาเร็จได้ ผู้ที่ถึง
พร้อมด้วยลักษณเช่นนีแล เมื่อใครได้คบหาเปนมิตรสหายไว้แล้ว จึงจะ
เปลืองปลดสรรพทุกข์แห่งกันแลกันให้สาเร็จ แล้วจึงจะได้อยู่เปนสุข
พร้อมกันได้ เหมือนหนึ่งกาแลเต่าแลสมัน ๒ เดียรฉานเหล่านีได้ผูกไมตรี
กัน ได้ขวนขวายปลดเปลืองทุกข์ภัยแห่งกันแลกันให้สาเร็จแล้ว ได้อยูเ่ ย็น
เปนสุขสาราญพร้อมกัน แม้พระราชกุมารทังหลายก็พึงพระพฤติตนให้
เหมือนด้วยสามสัตว์นันจึงจะชอบ พระราชกุมารทังหลายจึงซักถามว่า
สามเดียรฉานเหล่านันเปนไฉนเล่า วิสมานอาจารย์ผู้บัณฑิตจึงได้เล่านิทาน
ว่า

นิทำนเรื่องหนูแลนกพิรำบแลกำ
ในครังก่อนมีแม่นาหนึ่งชื่อโคทาวรี แลที่ริมฝั่งแม่นานัน มีต้นงิวใหญ่ต้น ๑
ซึ่งดาดาดด้วยกิ่งใบเปนพุ่มพวงดูสง่างาม ครันถึงเวลาค่า ฝูงนกทังหลายพา
กันมาอาศรัยนอนอยู่ที่ต้นงิวนัน ก็ในฝูงนกเหล่านันยังมีกาตัว ๑ ชื่อ
ลักขุปตนะ แลพระยานกพิราบตัว ๑ ชื่อจิตรคิวา มีบริวาร ๕๐๐ เศษมาอา
ศรัยอยู่ที่ต้นงิวนันด้วย วันหนึ่งยังมีพรานนกผู้ ๑ เอาข่ายมาตังดักไว้ที่ใกล้
ต้นงิวนัน จึงโปรยปลายเข้าลงไว้แล้วไปแอบเร้นอยู่ในที่รก กาชื่อลักขุปต
นะแลพระยานกพิราบชื่อจิตรคิวาได้เห็นกิริยาของนายพรานเช่นนัน จึงคิด
ว่า สัตว์ทังหลายทังปวงนับด้วยร้อยแลพันเปนอันมาก ซึ่งมาอาศรัยอยู่ที่ต้น
งิวนีจะพากันถึงความตายเปนแท้ ครังนันจิตรคิวาพระยานกพิราบแวดล้อม
ด้วยบริวารเที่ยวเสาะหาภักษาหาร นกพิราบทังหลายซึ่งเปนบริวาร ครัน
เห็นปลายเข้าอันนายพรานโปรยไว้ใต้ต้นงิวนันแล้ว จะใคร่ลงไปบริโภค
เปนภักษาหาร พระยานกพิราบได้ทราบดังนันจึงกล่าวห้ามว่า ดูกรท่าน
ทังหลาย ประเทศที่นีก็มีบ้านเมืองฝูงคนตังเรียงรายอยู่รอบ ปลายเข้าเหล่านี
ก็มีคนมาโปรยไว้ เห็นจะมีเหตุเปนเครือ่ งล่อลวงของมนุษย์ จะแกล้งลวง
หลอกทาอันตรายแก่เราทังหลายเปนแท้ ถ้าใครมีความโลภลโมภต่ออาหาร
แล้ว ผู้นันคงจะต้องถึงความตายเปนแท้ ท่านทังหลายอย่าลงไปกินปลาย
เข้านันเลย ฝูงนกพิราบจึงวิงวอนว่า เมือ่ พบอาหารดีมีรสอยู่แล้ว ท่านมา
ห้ามเราเสียไม่ให้กินนีก็ไม่ควร เราจะลงไปกินปลายเข้านันให้จงได้ พระ
ยานกพิราบจึงกล่าวว่า ถ้าท่านทังหลายไม่เชื่อฟังคาของเรา ขืนลงไปกิน
ปลายเข้านันแล้ว คงจะเปนอันตรายถึงชีวิตเปนแท้ เหมือนบุรุษโฉดเขลาเป
นคนโลภ อันเสือโคร่งได้ลวงหลอกกินเปนอาหารฉนัน ครันนกพิราบ
ทังหลายซักถามว่า เสือหลอกบุรุษผู้โลภนัน เปนไฉนเล่า จิตรคิวาพระยา
นกพิราบจึงเล่านิทานสาธกว่า

นิทำนเรื่องเสือโคร่งกับคนเดิรทำง
ครังก่อนยังมีเสือโคร่งแก่ตัว ๑ หูตึงตามัวมีกาลังกายน้อยจะไปเสาะหา
อาหารที่ไกลๆ ก็ไม่ใคร่จะได้ เสือแก่นันก็คิดจะลวงมนุษย์กินด้วยอุบาย
จึงคาบเอากิ่งไม้ทองคาไปนั่งเซาซุ่มอยูณ่ ที่ใกล้บ่อนา ครังนันยังมีบุรุษเดิร
ทางคนหนึ่งเปนคนโฉดเขลามาถึงที่นนั เสือแก่ได้เห็นหวังว่าจะลวงบุรุษ
นันกิน จึงกล่าวด้วยวาจาอันอ่อนหวานว่า เชิญท่านเข้ามานี่เราจะให้กิ่งไม้
ทองคานีแก่ท่าน ท่านจงมารับเอาไปใช้สรอยตามประสงค์เถิด บุรุษนัน
ปราถนาจะใคร่ได้กิ่งไม้ทองคานัน จึงกล่าวแก่เสือนันว่า เสือกับมนุษย์นี
ย่อมเปนปัจจนึกแก่กัน อันวิสัยท่านผู้เปนเสือนีย่อมกินสัตว์ทังเปนมัก
ผลาญชีวิตสัตว์อื่น เราไม่อาจจะเข้าไปใกล้ท่านได้ ซึ่งท่านเรียกให้กิ่งไม้
ทองคาแก่เรานัน เห็นจะเปนกลอุบายท่านจะลวงกินเรา เสือได้ยินดังนัน
แล้วจึงตอบว่า คาซึ่งท่านว่านันเปนจริงอยู่ เมื่อเราเปนหนุ่มยังมีเรี่ยวแรงอยู่
นัน ย่อมเดิรเหิรเต้นโลดโดดไปมารวดเร็วว่องไวนัก แลมีใจฮึกเหิมห้าว
หาญโลภล้นเหลือประมาณ ได้เที่ยวตะครุบสัตว์กินทังเปนเคยผลาญชีวิต
สัตว์อื่นจริงอยู่ ครันบัดนีเราชรามีกาลังก็ทดถอยหูตาก็ตึงมัวเขียวฟันก็หัก
ร่วง จะไปจะมาก็ไม่ว่องไวเหมือนดังก่อนได้แล้ว แม้ภรรยาของเราต้อง
ตายจากกันไปเสียแล้ว เพราะเช่นนัน เรามีความสลดใจจึงได้ละถิ่นฐานที่
อยู่มานั่งจาศีลอยู่ณที่นี อนึ่งเมื่อก่อนแต่นีเราได้ประสบพบมนุษย์ผู้หนึ่งซึ่ง
มีปรีชาเปรื่องปราชญ์เปนผู้ตังอยู่ในธรรม บุรุษผู้นันกล่าวสอนเราไว้ว่า
ความชอบเปนเครื่องประพฤติของสัตว์ผู้ดีนี มี ๘ ประการ คือได้
สักการบูชาในวัตถุที่ควรจะบูชา ๑ ได้ศึกษาวิชาการต่าง ๆ ๑ ได้ตักเตือน
ท่านบาเพ็ญทานทาการกุศล ๑ ได้จาศีล ๑ มีความสัตย์มั่น ๑ เปนคนซื่อตรง
๑ เปนคนอดทน ๑ มีความปราถนาน้อย ๑ ความชอบ ๘ ประการนี เปนเครื่
องประพฤติของท่านที่เปนผู้ดี แลความชอบ ๘ ประการนัน ๔ ข้อใน
เบืองต้น แม้คนที่น้อยปัญญาก็สามารถจะศึกษาประพฤติตามได้ ๔ ข้อข้าง
ปลายฉะเพาะเปนวิสัยของท่านผู้ดีที่มปี ัญญาจึงจะประพฤติได้ เพราะเหตุ
นัน การชั่วทังปวงเราได้ละเสียสินแล้ว ความดี ๘ ประการที่มีมาในคัมภีร์
อันบุรุษผู้บัณฑิตได้กล่าวสอนไว้นัน เราได้ประพฤติตามมานานแล้ว
เดี๋ยวนีเราได้ตังอยู่ในยุติธรรม ไม่กินสัตว์ที่มีชีวิตย่อมกินหญ้าแลใบไม้เป
นเนืองนิตย์ มีจิตต์เอ็นดูท่าน ยินดีในการจะแจกทานแลจาศีล เมื่อเราได้
เห็นท่านผู้เดิรทางเปนแขกมาถึงสานักเรา เรามีใจเลื่อมใสในท่านหวังว่าจะ
บาเพ็ญทาน เชิญท่านเข้ามาเอากิ่งไม้ทองคาที่เราคาบไว้นเถิ ี ด บุรุษก็มี
ความขยาดไม่อาจจะเข้าไปใกล้ เสือแก่จึงแกล้งกล่าวเปนอุบายว่า ท่านอย่า
กลัวเราเลย ข้อซึ่งมนุษย์ทังหลายได้เล่าลือกันว่า เสือดุร้ายมักจับมนุษย์กิน
เปนอาหารเช่นนีนัน ท่านอย่าเชื่อเลย ตัวเรานีไม่เปนสัตว์ดุร้ายเช่นนัน เรา
ได้ตังอยู่ในธรรมเปนผู้จาศีลอยู่ ถ้าท่านไม่เชื่อเราแล้ว เราก็จะกล่าวบรรยาย
เนือความให้ท่านฟัง อันวิสัยสัตว์ทังหลายนี เมื่อท่านเปนผู้ดีตังอยู่ในสัตย์
ในธรรม ก็ไม่รู้ไม่ได้นับถือว่าดีจริง เมื่อชนเปนอันมากนับถืออย่างไร ก็
พลอยนับถือตามไปด้วย ผู้ที่โฉดเขลาเช่นนันแล จึงได้จับสัตว์อื่นกินเปน
อาหาร แลหมู่พราหมณ์ทังปวงเล่าเขาก็นับถือกันว่าเปนผู้ตังอยู่ในความ
สัตย์ดังนีแล้ว แม้พราหมณ์ที่เปนคนเท็จเปนคนชั่วจะมีบ้าง มนุษน์
ทังหลายก็สาคัญว่าเปนผู้ประเสริฐตังอยู่ในความสัตย์ฉันใด เราทังหลายผู้
เปนเสือนีแม้ตังอยู่ในสัตย์ในธรรมเปนผู้จาศีลให้ทานอยู่ก็ดี คนทังหลายก็
พากันสาคัญเข้าใจว่า เปนสัตว์ดุร้ายเปนไปเช่นนีนี่ ท่านอย่าสาคัญเราตาม
คาเขาเล่าลือเช่นนันเลย แน่บุรุษผู้เดิรทาง ถ้าท่านยังไม่เชื่อเราแล้ว เรา
จะบรรายายความอีกข้อ ๑ ให้ท่านฟังอีก อันวิสัยผู้ดีตังอยูใ่ นธรรมแล้ว เมื่อ
ตัวรักชีวิตตนอย่างไร ก็ต้องรักชีวิตท่านผู้อื่นนันด้วย เมื่อรู้จักเอ็นดูกายตน
ฉันใด ก็ต้องเอ็นดูกายของท่านเหล่าอืน่ ฉันนันด้วย ข้อความเช่นนีมีมาใน
คัมภีร์ที่เปนยุติธรรม เราได้จาไว้แต่บุรุษผู้บัณฑิตนันได้กล่าวสอนไว้
เพราะเหตุนันเรานีจึงมีความปราณีต่อสัตว์ทังหลาย ได้รักชีวิตท่านเอ็นดู
กายของท่านผู้อื่นเสมอด้วยชีวิตตนแลกายของตน ด้วยเหตุนี เราปราถนา
จะสงเคราะห์ท่านผูล้ าบากในทางกันดาร จึงได้เรียกให้กิ่งไม้ทองคาซึ่งเรา
คาบไว้นี หวังว่าจะให้เปนทานจริง ๆ อันการให้ทานนีควรจะให้แก่คน
ยากจนที่เปนคนต้องการด้วยทาน จึงจะดีจะมีผลมีประโยชน์มาก คนที่มั่งมี
แล้วไม่ควรที่จะให้ เปรียบความเหมือนคนไข้ อันธรรมดาคนไข้นันคงจะ
มีความต้องการด้วยยาเครื่องจะบาบัดโรค เมื่อใครได้ให้ยาแก่คนไข้แล้ว
ผลประโยชน์ที่ยืดยาวคงจะมีแก่ผู้นันเปนแท้ คนดีๆ ที่ไม่มีโรคแล้วไม่ควร
จะให้ยาหามิได้ เพราะว่าผู้ไม่เจ็บไข้นนเปนผู
ั ้ไม่ต้องการด้วยยาเลย แม้จะ
ให้ก็มีผลประโยชน์น้อยนัก ข้อนีเราได้ยินมาแต่บุรุษผู้บัณฑิต เราจึงมีจิตต์
กรุณาหวังว่าให้เปนผลประโยชน์ให้ยืดยาว จึงจะให้กิ่งไม้ทองคานีแก่ท่าน
เชิญท่านผู้จะได้รับทานของเราจงลงไปอาบนา ชาระเกล้าที่บ่อนานีให้กาย
สอาดก่อน แล้วแลมารับเอากิ่งไม้ทองคาที่ปากเรานีเถิด บุรุษผู้โฉดเขลาไม่
ตริตรองด้วยปรีชา ครันได้ยินคาเสือกล่าวแทะโลมหลอกหลอนเปนกล
อุบาย เพราะความอยากได้ก็สาคัญเข้าใจว่า เสือจะให้กิ่งไม้ทองคาแก่ตน
จริง ก็รีบเร็วลงไปในบ่อนาด้วยกาลังแรง ก็ไปติดอยู่ที่แปลงอันลึกไม่
อาจจะถอนตัวขึนได้ ในทันใดนันเสือแก่เจ้าอุบายทาอาการดุจหนึ่งมีความ
เอ็นดู แล้วร้องด้วยวาจาอันไพเราะอ่อนหวานว่า เราจะช่วยท่านให้พ้นทุกข์
แล้วก็ค่อยเดิรค่อยย่องมาช้าๆ ทาทีจะช่วย ครันถึงตัวบุรุษนันแล้วก็ฉวย
ขึนมากัดกินเปนอาหาร ครังนันยังมีกระต่ายตัว ๑ เปนผู้มปี รีชาจะลงมากิน
นาที่บ่อนาอันนัน ครันได้เห็นเสือลวงบุรุษผู้โฉดเขลากินเปนภักษาหาร
เช่นนันได้แล้ว กะต่ายจึงบ่นว่าบุรุษคนนีเปนผู้โฉดเขลา ไม่ได้ยินได้ฟังคา
สุภาษิตที่เปนแบบแผน เสือจึงล่อลวงกินได้ ถ้าเปนตัวเราแล้ว ไหนเลยเสือ
แก่จะลวงกินได้เล่า ว่าดังนีแล้วกะต่ายก็วิ่งเข้าป่าไป
จิตรคิวาพระยานกพิราบได้ชักนิทานเทียบให้ฝูงนกพิราบฟังดังนีแล้ว จึง
สาธกเนือความว่า ข้อซึ่งเสือแก่ลวงบุรุษเขลาด้วยอุบาย แล้วแลจับกินเปน
อาหารได้ที่บ่อนาณกาลนัน เราก็ได้เห็นด้วยตาของเรา แม้กะต่ายผู้ฉลาด
นันก็ได้บอกเล่าแก่เรา ด้วยเปนความจริงเช่นนัน ท่านทังหลายอย่าลงไป
กินเข้านันเลย ถ้าขืนจะลงไปกินไซ้ จะเปนเหมือนชายคนโลภต้องเปน
อาหารเสือแก่ฉนัน ท่านทังปวงก็จะต้องเปนอาหารของมนุษย์เปนแท้ อนึ่ง
ท่านทังหลายฟังคาเราก่อน อันธรรมดามนุษย์ทังหลายนี พอใจจะทากิจที่
ลามก ๗ ประการ คือเปนคนมักได้มคี วามปราถนาใหญ่ไม่รู้จบ ๑ มีความ
ริษยามักยุยงท่านให้แตกร้าวกัน ๑ แลมีความล่อลวงฉ้อฉนท่านมาก ๑ มี
ความโกรธกล้า ๑ เปนคนเกียจคร้านไม่มีความเพียร ๑ เปนผู้มักนอนไม่ว่า
กลางวันแลกลางคืน ๑ มีความขลาด ๑ ลามก ๗ ข้อนีเปนเครื่องทับยี
สันดานมนุษย์เสมอในการทังปวง เพราะเหตุนี ท่านทังหลายจงตัดถอน
ความพอใจในความอยากอาหาร แล้วอย่าลงไปกินปลายเข้านันเลย ฝูง
นกพิราบทังหลายจึงกล่าววิงวอนว่า ในประเทศที่อันใดน้อยหนึ่ง มีทรัพย์
อันประเสริฐแลมีของกินประกอบด้วยโอชารส เมื่อได้มาพบปะแล้วแล
ละเลยทิงเสีย เมือ่ ไรจะได้บริโภคของที่ดีๆ นันเล่า ครันกล่าวดังนีแล้ว ฝูง
นกพิราบทังหลายก็พากันลงไปกินที่สถานอันนายพรานได้โปรยปลายเข้า
ไว้นันสิน พระยานกพิราบได้เห็นฝูงนกพิราบทังหลายลงไปเช่นนันแล้ว
จึงคิดว่าบริวารของเราลงไปเสียสินแล้ว ครันเราจะไม่ลงไปเล่า ฝูง
นกพิราบเหล่านันก็จะถึงความพินาศเสียสิน แล้วจึงตามลงไปด้วย ครันฝูง
นกพิราบลงไปมั่วสุมประชุมกันพร้อมแล้ว ข่ายที่นายพรานดักไว้นันก็รวบ
รัดหุ้มห่อฝูงนกพิราบไว้ทังสิน ครันนันจิตรคิวาพระยานกพิราบจึงคิดว่า
เพราะความโลภในอาหาร เราทังหลายนีจึงต้องติดข่ายของนายพรานมิใช่
หรือ ขณะนันนายพรานนกเห็นนกพิราบติดแร้ว ก็รีบเดิรออกมาบ่นด้วย
วาจาพลางว่า อันวิสัยสัตว์ทังหลายเมือ่ มีทุกข์ร้อนกิจกังวลสิ่งใด ผู้เปน
ใหญ่จาจะต้องเปลืองปลดทุกข์ร้อนกิจกังวลนันๆ ให้พ้นจนสาเร็จไปได้ จึง
ควรจะเรียกว่าผู้ใหญ่ดีมีปัญญาควรจะเปนนายท่านได้ ถ้าผู้ใหญ่เปลืองปลด
ไม่สาเร็จได้แล้ว ผู้ใหญ่นันเปนคนโฉดเขลาน้อยปัญญา ความครหาก็จะมี
สรรพทุกข์ร้อนกิจกังวลทังปวงก็เปนภาระตกอยู่แก่ผู้ใหญ่ทีเดียว พระยา
นกพิราบผู้นักปราชญ์ครันได้ยินนายพรานบ่นมาเช่นนัน จึงกล่าวเตือนสติ
นกพิราบทังหลายว่า อันวิสัยสัตว์ทังหลาย เมื่อโทษทุกข์มาถึงแล้ว จาต้อง
ตังสติให้มั่นคงให้พร้อมไปด้วยลักษณ ๕ ประการ คือได้อุสาหะขวนขวาย
ในกิจนันๆ พร้อมกัน ๑ แลฉลาดเจรจากลความในที่ประชุม ๑ ถึงพร้อม
ด้วยความแกล้วกล้าในสมรภูมิสนามรบ ๑ ความฉลาดในที่จะทาเกียรติ
ศัพท์ของตนให้ลือไปเปนสง่า ๑ ความสามารถแก้ไขซึ่งข้อปฤศนาต่าง ๆ
ตามที่มีมาในพระคัมภีร์ ๑ ข้อ ๕ ประการนีเปนเครื่องหมายของท่านผู้
ประเสริฐผู้ควรจะเปนนายท่าน เพราะดังนัน เราทังหลายจาจะต้องตัง
อุตสาหะพร้อมไปด้วยสติแลวิริยะอันแก่กล้า ดูเยี่ยงมดทังหลายเถิด อัน
วิสัยมดทังหลายแม้เปนสัตว์ตัวเล็ก เพราะมีอุตสาหะกล้าพร้อมกัน แม้ของ
ใหญ่ก็สามารถจะยกไปได้ อนึ่งเหมือนกับปอแลเถาวัลย์ทังหลาย เมื่อ
บุคคลมาควบทาให้เปนเกลียวเดียวพร้อมกัน ฟั่นให้เปนเชือกแล้ว แม้ช้าง
สารใหญ่มีกาลังมากก็ผูกคล้องไว้ได้ เพราะฉนัน เราทังหลายจงอุตสาหะ
บินขึนให้พร้อมกันเถิด ฝูงนกพิราบทังหลาย ครันได้ยินโอวาทของจิตรคิ
วาพระยานกพิราบเตือนดังนัน ก็มีอุตสาหะอันกล้าต่างคนต่างบินขึนพร้อม
กัน พาเอาข่ายขึนไปในอากาศได้ ครังนันนายพรานได้เห็นนกพิราบ
ทังหลายบินพาเอาข่ายไปในอากาศเช่นนันแล้ว นายพรานก็เดิรสกดตาม
ไป ด้วยคิดว่าจะตกลงณที่ใดก็จะจับฆ่าเสียทังสิน ครันตามไปไม่ทันแล้ว
นายพรานก็กลับมา ฝูงนกพิราบทังหลายจึงกล่าวว่า เพราะเราทังหลายได้
พร้อมกันพยายามตามถ้อยคาพระยานกพิราบกล่าวเตือน แล้วจึงได้พ้นจาก
เงือมมือของนายพรานมิใช่หรือ เดี๋ยวนีจะทาไฉนจึงจะออกจากข่ายได้อีก
เล่า พระยานกพิราบจึงกล่าวว่า ในหมู่สัตว์ทังหลายนี เหตุเครื่องให้เกิด
ทุกข์ร้อนใจมี ๓ ประการ คือเมือ่ เวลาอันตรายความพินาศจะมาถึง ๑ เมื่อ
เวลาความกลัวอันใหญ่มาถึง ๑ เมื่อเวลาอับจนคับแค้นด้วยเหตุสิ่งใดสิ่ง
หนึ่ง ๑ เหตุ ๓ ประการนี เมื่อถึงตัวแล้วมิตรสหายที่สนิธจึงจะช่วยได้ ก็อัน
สหายนันเล่าก็เปน ๓ จาพวก คือสหายที่เลวต่ากว่าตัว ๑ ทีเ่ สมอกับตัว ๑
วิเศษกว่าตัว ๑ เปน ๓ จาพวกนี มิตรผู้ใดมีคุณไม่สมควรแก่ตนแม้เลวกว่า
เมื่อจะมีกิจกังวลเกิดขึนแล้ว ได้ช่วยขวนขวายตามสมควรแก่กาลังของตน
มิตรผู้นันชื่อว่าเปนมิตรต่ากว่าตน มิตรผู้ใดมีคุณเสมอกัน เมื่อมีกิจกังวล
เกิดขึนแล้ว ก็ช่วยขวนขวายตามสมควรแก่กาลังของตน สหายผู้นันชื่อ
ว่าเปนมิตรเสมอกับตน สหายผู้ใดเปนผู้ยิ่งกว่า แม้มีอานาจฤทธานุภาพ
กาลังเรี่ยวแรงยิ่งกว่าก็ดี เมื่อมีกิจกังวลเกิดขึนแล้ว ก็ช่วยขวนขวายโดย
สมควรแก่กาลังของตน สหายผู้นันชื่อว่าเปนมิตรสูงกว่า แลมิตรสหาย ๓
จาพวกเหล่านันแม้มีลักษณต่างกันดังนีก็ดี เมื่อเวลามีทุกข์ร้อนกิจกังวลมี
ขึนแล้ว ก็คงจะวานกันให้ช่วยปลดเปลืองทุกข์ร้อนนันๆ ได้ทังสิน
อนึ่งมิตรสหายอีก ๓ จาพวก คือมารดา ๑ บิดา ๑ บุตร ๑ สหาย ๓ จาพวกนี
เปนมิตรพัวพันเนื่องกันไปร่วมสุขทุกข์เสมอกัน ย่อมปราถนาจะให้เปนป
ระโยชน์แก่กันอยู่เนืองนิตย์ เรียกว่าเปนมิตรอันสูงสุด แลในสหาย ๓
จาพวกที่แรกนัน เมื่อมีเหตุทุกข์ร้อนเกิดขึนจะพึ่งท่านนันพึงใคร่ครวญดู
ว่าสหายจาพวกใดจะช่วยทุกข์ร้อนตามประสงค์ตนได้ ก็ต้องไปพึ่งพักอา
ศรัยสหายจาพวกนัน ให้ช่วยเปลืองปลดทุกข์ภัยนันจึงจะแยบคาย อย่า
กระนันเลย พระยาหนู ๑ ชื่อหิรัญกะมีฝูงหนูที่เปนบริวารเปนอันมาก ได้
ผูกไมตรีไว้เปนมิตรสหายกับเรามาแต่ก่อน แลพระยาหนูนันอาศรัยอยู่ใน
ถาชื่อจิตรคุต ตังอยู่ริมฝั่งแม่นาชื่อว่าคัณฏนที พระยาหนูนันแลเห็นจะ
สามารถจะกัดซี่ข่ายนีให้ขาด แล้วปลดทุกข์ภัยของเราทังปวงนีให้หลุดพ้น
ไปได้ ครันกล่าวดังนีแล้ว พระยานกพิราบก็ตักเตือนนกพิราบทังหลายให้
มีอุตสาหะพร้อมกันบินพาข่ายนันไปยังถาชื่อจิตรคุต ครันถึงแล้วก็ลงมา
จับอยู่ที่ปากถาพร้อมกัน พระยาหนูหิรัณกะ ครันได้ยินเสียงนกพิราบ
ทังหลายร้องอืออึงอยู่เช่นนัน ก็คิดสงสัยว่าจะมีอันตรายมาจึงแอบมองดูอยู่
ที่ริมประตูถา พระยานกพิราบจึงร้องถามเข้าไปว่า ดูกรหนูหิรัณกะผู้สหาย
รักของเรา เมื่อเรามาถึงที่อยู่ของท่านแล้ว เหตุไฉนท่านจึงไม่ทักทาย
ปราสัยบ้างเลย พระยาหนูจึงตอบว่า แน่สหาย เราเห็นท่านมาคราวนีแปลก
ประหลาดไม่เหมือนยังครังก่อนๆ เราคิดกลัวจะมีภัยอันตรายจึงไม่ได้
ทักทายปราสัยท่านก่อน แล้วจึงถามว่า เหตุไฉนร่างข่ายนีจึงได้พัวพันติด
อยู่ในคอท่าน ได้ความลาบากถึงเพียงนีเล่า พระยานกพิราบจึงตอบว่า ดูกร
สหายในการข้อนันตัวเราไม่รู้ที่จะพูดได้แล้ว อันวิสัยสัตว์ทังหลายทังปวง
นี เมื่อมีเหตุ ๕ ประการ คือความป่วยไข้ ๑ ความคับแค้น ๑ เกิดภัยอันตราย
๑ ต้องผูกมัดจาจอง ๑ ความพินาศ ๑ เมือ่ เหตุ ๕ ประการนีมาทับยีตนนัน ก็
เพราะอกุศลที่ตนได้ทาไว้ในปางก่อนติดตามมาให้ผล สัตว์ทังหลายจึงต้อง
ถึงโทษทุกข์อันใหญ่ แม้ข้าพเจ้าทังหลายนีก็เพราะอกุศลกรรมติดตามมา
ทัน จึงต้องติดร่างข่ายมีความทุกข์ความลาบากเติบใหญ่ถึงเพียงนี ครันพระ
ยาหนูได้ยินนกพิราบร่าไรเช่นนันจึงย้อนตอบว่า เหตุซึ่งท่านว่านันจริงอยู่
ธรรมดาว่าสัตว์ทังหลายเมื่อได้ทากรรมที่เปนกุศลอกุศลไว้แล้ว ผลวิบาก
แห่งกรรมนันๆ ก็ติดตามตนไป ครันกล่าวดังนันแล้ว พระยาหนูก็เข้าไป
ปรารภจะกัดเชือกที่คอพระยานกพิราบ พระยานกพิราบจึงกล่าวว่า ดูกร
สหายถ้าท่านจะอนุเคราะห์ช่วยเราแล้ว จงกัดเชือกที่ติดคอนกพิราบ
ทังหลายที่เปนบริวารของเรานันๆ ก่อนเถิด พระยาหนูจึงกล่าวว่า แน่สหาย
ตัวเรานีชราไปแล้ว มีเรี่ยวแรงก็น้อย ฟันก็ร่วงไปเสียมากแล้ว ด้วยเหตุนัน
เราจะกัดแต่ท่านผู้เดียว แน่พระยานกพิราบ ท่านฟังคาเราก่อน สัตว์
ทังหลายนีเมื่อภัยเกิดขึน ไม่รักตัวไม่ระมัดระวังตัว ไปมัวระวังผู้อื่นที่เป
นบริวารเช่นนันนั่น ไม่เปนที่ชอบใจของบัณฑิตผู้รู้พระคัมภีท์ทังปวง อนึ่ง
เยี่ยงอย่างคนทังหลายจะใคร่ทาให้เปนประโยชน์แก่ผู้อื่นก็ดี เพื่อจะได้ใช้
สอยให้สมบูรณ์เปนสุขแก่ตนก็ดี ต้องอุตสาหะขวนขวายหาทรัพย์สิน เมื่อ
มีทรัพย์แล้วต้องเก็บถนอมใช้สอย จะได้เลียงชีวิตให้อายุยั่งยืน จะได้ทา
กุศลซึ่งเปนประโยชน์อันยืดยาว เมื่อกุศลการชอบมีในตนอยู่แล้ว เปนเหตุ
จะได้จะถึงซึ่งมนุษย์สมบัติแลทิพยสมบัติต่อไปในเบืองหน้า ผู้ใดไม่ระวัง
รักษาชีวิตของตนแล้ว ใครเลยจะมารักษาให้ตนเล่า คนที่ไม่รู้รักชีวิตตน
แล้ว ไหนเลยจะรู้รักชีวิตผู้อื่นเล่า ผู้นันก็คงจะทาบาปผลาญชีวิตผู้อื่นเปน
แท้ คานีผู้มีปัญญาได้ว่าไว้ในพระคัมภีร์ทังหลาย พระยานกพิราบจึงกล่าว
ว่า ดูกรพระยาหนูผู้เปนสหายรัก คาซึ่งท่านกล่าวนีเปนความจริงชอบอยู่
แล้ว แต่ว่าเรานีเมื่อได้เห็นทุกข์ภัยอันตรายเกิดมีแก่นกพิราบทังหลายผู้มา
อาศรัยเราเปนบริวารของเราอยู่เช่นนีแล้ว เรามีใจเอ็นดูเหลือที่จะอดกลัน
ได้ อนึ่งเรานีจะมีใจเอ็นดูแต่ในหมู่นกพิราบมีเชือชาติเสมอกันเพียงนีหา
มิได้ แม้ในหมู่สัตว์เหล่าอื่นเราก็ได้มีใจรักใคร่เอ็นดูทั่วสัตว์ทั่วบุคคลทุก
ประเทศตาบลทั่วไปในการทังปวง ใครที่เปนนายแล้วแลมีใจโอบอ้อม
เอ็นดูบริวารของตนเหมือนเช่นเรานีไม่มีเลย ผู้ใดใจบริสุทธิ์ไม่มัวหมองได้
ก่อสร้างกองการกุศล ผู้นันย่อมได้ลาภยศความสุขที่หมดจดดี แลได้
เกียรติยศเกียรติคุณเล่าลือไปทั่วทิศทังปวง ดูกรสหาย เราทังสองนีในปาง
ก่อนเพราะได้ทาการกุศลด้วยใจหมดจดดี บัดนีเราทังปลายจึงได้มาเปน
นายฝูงนกพิราบแลฝูงหนู มีลาภยศอันบริบูรณ์หมดจดดีมิใช่หรือ ผู้ที่
ปราถนาจะให้เปนประโยชน์แก่ตัวของตนแล้ว ต้องรักษาคุณความดีไว้ให้
มั่นคงให้ยิ่งกว่ารักษารูปกาย เพราะว่ากายนีเมื่อถึงความตายแล้ว ย่อม
พินาศสูญหายไม่ตงอยูั ่นาน เกียรติคุณที่ดีที่ได้ทาไว้นันเขาย่อมเล่าลือต่อๆ
ไปจนสินกัลป์ ด้วยเหตุนัน ถ้าท่านได้แก้ไขกัดเชือกปล่อยนกพิราบเสียได้
แล้ว เกียรติคุณของเราผู้เริ่มการคิดก่อนก็ดี เกียรติคุณของท่านผู้ได้กัด
ปล่อยไปก็ดี จะขึนเปนนิทาน เขาก็จะเล่ากันต่อๆ ไปจนสินกัลป์นี พระยา
หนูก็รับคาว่าดีแล้ว ก็ตรงเข้าไปกัดสายเชือกปล่อยนกพิราบเสียสิน แล้วจึง
กล่าวสอนนกพิราบทังหลายว่า ดูกรฝูงนกพิราบทังหลายผู้เปนสหาย แม้
ช้างสารอยู่ในป่าใหญ่ มนุษย์ทังหลายอาจเอาเชือกคล้องเท้าเอาช้างบ้านเข้า
ชะโลงจับมาใช้สอยได้ แม้ปลาอยู่ในนาก็ดี นกอยู่ในอากาศก็ดี มนุษย์
ทังหลายอาจจับมาฆ่ากินเปนอาหารได้ มนุษย์ทังหลายนีมีกลอุบายมากนัก
เมื่อท่านทังหลายอยู่ในประเทศสถานที่ใดๆ หรือจะเที่ยวหาอาหารในที่
ใดๆ ก็ดี ต้องระมัดระวังตัวให้จงหนัก พระยานกพิราบจึงกล่าวว่า คาซึ่ง
ท่านว่านีชอบแล้ว วิสัยสัตว์ทังหลายนี เมื่อทุกข์ภัยอันตรายจะมาถึงตัวแล้ว
แม้เส้นผมก็บังภูเขาใหญ่ได้ เหมือนพระยาแร้งมีตาเสียดแหลม แม้ชิน
มังสะอยู่ในที่ไกลร้อยโยชน์ก็ดี พระยาแร้งก็อาจเห็นได้ ครันอันตรายจะ
มาถึงตนแล้ว บ่วงแม้ตังอยู่ในที่ใกล้เท้าของตน พระยาแร้งก็ไม่อาจจะเห็น
ได้ฉันใด เราผู้นกพิราบทังหลาย เมื่อความพิบัติอันตรายจะมาถึงตนแล้ว
จึงไม่อาจจะเห็นกลของนายพรานได้ฉนั นัน จิตรคิวาพระยานกพิราบกับฝูง
นกพิราบทังหลายก็พากันนบนอบกราบไหว้พระยาหนูตามวิสัยเดียรฉาน
แล้วก็พากันไปยังที่ที่ตนประสงค์ หิรัณกะพระยาหนูก็กลับเข้าไปในถาที่
อยู่ของตน
จะกล่าวถึงกาลักขุปตนะซึ่งจับอยู่ที่ตน้ งิวใหญ่นันต่อไป ครันเห็นนกพิราบ
ทังหลาย เมื่อลงไปติดข่ายของนายพรานแล้วพาข่ายบินขึนไปในอากาศ
เวลานันก็บินตามไป ด้วยคิดว่านกพิราบเหล่านันสินแรงลงแล้ว จะตกลง
มาณสถานที่ใด เราจะได้กินเนือนกพิราบณที่นัน ครันนกพิราบทังหลาย
พาข่ายลงไปประชุมอยู่ที่ปากถาจิตรคุตนันแล้ว กาก็จับอยู่บนต้นไม้ใกล้
ปากถาคอยแอบมองดู ครันได้เห็นพระยาหนูออกมากัดสายเชือกข่าย
ปล่อยนกพิราบเสียสินแล้ว กาจึงคิดว่า ความที่ได้เปนไมตรีกันนันเปนการ
ดีนัก สัตว์ที่มีเชือชาติเสมอกัน จะได้เปนไมตรีกันกับเราก็ไม่มี ทาไฉน
หนอ เราจะได้มีมิตรสหายบ้าง ก็เหมือนอย่างในมนุษย์ทังหลาย เครื่องที่
จะใช้สอยทากิจให้สาเร็จประโยชน์ได้ก็มีเปนอันมาก เมื่อใครเอาเข็มเครื่อง
เย็บผ้ามาเจาะมาใช้ต่างเหล็กหมาดก็ไม่ควร จะเอาผึ่งมาใช้ต่างขวานก็ไม่
แยบคาย จะเอาพร้ามาใช้สอยต่างดาบก็ไม่แยบคาย หรือจะเอาเหล็กหมาด
มาเย็บผ้าใช้ต่างเข็มก็ไม่บังควร แลจะเอาขวานมาใช้ต่างผึ่งต่างพร้าก็ไม่ได้
เปนต้นเช่นนี คุณเครื่องมือนันๆ ต่างกันอยู่ฉันใด แม้ในฝูงสัตว์ทังหลายนีก็
มีอานาจต่างกัน เหล่าพวกหนูมีฟันอันคมเปนเครื่องมือสาหรับจะได้กัด
เชือกแยบคายกว่าสัตว์เหล่าอื่น เราผู้เปนนกเที่ยวอยู่บนอากาศนีจะได้มี
ฟันเปนเครื่องมือกัดเชือกเหมือนอย่างหนูก็ไม่มีเลย จาเราจะต้องผูกไมตรี
กับพระยาหนูตัวนันจึงจะชอบ ครันคิดดังนันแล้ว กาก็บินลงมาหาพระยา
หนูที่ปากถาจึงร้องเรียกพระยาหนูว่า ดูกรท่านหิรัณกะผู้เปนพระยาแห่ง
หนูทังหลาย ท่านจงรูไ้ ว้เถิดตังแต่วันนีไป เราจะขอผูกไมตรีเปนมิตรสหาย
กับท่านด้วย พระยาหนูจึงร้องถามว่า ท่านนีเปนใคร ชาติเชือตระกูลของ
ท่านเปนอย่างไร กาจึงตอบว่า ข้าพเจ้านีเปนกาเที่ยวอยู่ในอากาศชื่อ
ลักขุปตนะ พระยาหนูจึงว่า แน่ท่านกา มนุษย์เหล่าที่มีปัญญาได้พิจารณาดู
ผู้ใดมีเชือวงศ์ชาติตระกูลแลคุณปัญญา วิชาการศิลปศาสตร์เสมอกัน จึงได้
ผูกไมตรีกันกับผู้นัน ผู้ใดได้เลียงดูกันให้กินอาหารที่มีโอชารสเปนที่ชอบ
ใจ หรือผู้ใดได้ช่วยแก้ไขทุกข์กังวลน้อยใหญ่แห่งกันให้สาเร็จได้ ทา
เหมือนหนึ่งกิจของตน ผู้นัน ๆ จึงชื่อว่ามีคุณต่อกัน คนทีม่ ีคุณต่อกันเช่นนี
จึงจะผูกไมตรีเปนมิตรสหายกันได้ มีมาในคัมภีร์เช่นนี ก็เราทังสองนีมีเชือ
วงศชาติสกุลก็ต่างกัน ทังอาหารการกินอยู่นั่งนอนไปมาก็ไม่เหมือนกัน
ไฉนจึงจะได้มาคบหาสมาคมเปนมิตรสหายกันเล่า กาลักขุปตนะจึงตอบ
อิกว่า ดูกรท่านพระยาหนู เหตุไฉนท่านจึงว่าฉนันเล่า สัตว์ทังหลายนี
ฉะเพาะมีชื่อเสียงเชือวงศ์เสมอกัน จึงจะเปนมิตรสหายกันได้ คาซึ่งท่านว่า
นันไม่ชอบ ด้วยว่าในมนุษย์ทังหลายแม้พระมหากษัตริย์ก็ทรงผูกไมตรี
ด้วยหมู่อามาตย์ราชมนตรีแลโยธาทวยหาญเศรษฐีคฤหบดีเปนที่ปรึกษาแล
ทรงใช้สอยในราชกิจนันๆ ให้เปนราชกาลังมิใช่หรือ อนึ่งแม้ช้างสารถึง
พร้อมด้วยเรี่ยวแรงกาลังมีกายโตใหญ่ ยังต้องเปนมิตรสหายด้วยหนูตัว
น้อยมีกาลังอ่อนมิใช่หรือ ด้วยเหตุนันท่านจงฟังคาเราก่อน เราจะเล่านิยาย
ให้ท่านฟัง

นิทำนเรื่องกำกับสมัน
ณครังก่อนยังมีป่าตาบลหนึ่งชื่อจัมหากาวี เพราะมีต้นจาปามากอยู่ในแขวง
มคธราฐ ก็ในป่านันยังมีกาตัวหนึ่งชื่อปังสุพุทธิ แลสมันตัวหนึ่งชื่อมริจิปา
ลินิ สองสหายนีได้ผูกไมตรีรักใคร่อยู่มาในป่านันสินกาลนาน ครันอยู่มา
วันหนึ่งสมันไปเที่ยวหาภักษาหาร พบสุนัขจิงจอกตัวหนึ่งชื่อจันทรพุทธิ
สุนัขจิงจอกนันเล่า ครันเห็นสมันแล้วอยากจะใคร่กัดกินเปนอาหาร จึงคิด
กลอุบายจะใคร่ลวงสมันนันให้ตายใจก่อน แล้วจึงจะค่อยกัดกิน ครันคิด
ดังนีแล้ว จึงเข้าไปหาสมันทาอากัปกิริยาให้เรียบร้อยสุภาพเปนอันดี จึง
กล่าวด้วยคาอันอ่อนหวานว่า ดูกรสมันผู้สหาย เราได้เห็นท่านแล้วมีใจรัก
ใคร่เอ็นดูมาก อยากผูกไมตรีเปนสหายกันกับท่านด้วย ตังแต่วันนีไปท่าน
จงรู้ไว้เถิด ว่าเรากับท่านได้เปนมิตรสหายกันจักได้ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน
ต่อไป สมันจึงถามว่า ท่านนีชื่อไร มาแต่ตาบลไหน สุนัขจิงจอกจึงบอกว่า
เรานีชื่อจันทรพุทธิอยู่ณป่าตาบลนีแต่ผู้เดียว ไม่มีใครเปนมิตรสหายเปนที่
ปรึกษา เหมือนหนึ่งว่าเปนผู้ตายเสียแล้ว เพราะเหตุนันเราจึงสามิภักดิ์
มาเปนสหายด้วยท่าน เมื่อท่านจะอยู่จะไปณสถานที่ใดๆ เราก็จะติดสอยไต่
ตามท่านไปด้วย ครันเจรจากันเสร็จแล้ว สองสัตว์นันก็พากันมาถึงป่าจัม
ปากาวี ขณะนันกาปังสุพุทธิจับอยู่บนต้นจาปาได้เห็นดังนันจึงถามว่า ดูกร
สมันผู้สหาย ท่านพาใครมาด้วยเล่า สมันจึงบอกว่า จันทรพุทธิสุนัขจิงจอก
อยากเปนมิตรสหายกับเรา จึงได้ติดสอยตามเรามาด้วย กาจึงกล่าวว่า ดูกร
สมันผู้สหาย ท่านมาผูกไมตรีด้วยสุนัขจิงจอกต่างชาติตระกูลกันแลเปน
เชือชาติสัตว์ร้ายเช่นนีนี่ ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่ควรเลย ถ้าท่านขืนคบหาไปแล้ว
โทษทุกข์คงจะมีมาถึงท่านเปนแท้ ก็จะเปนเหมือนกับแร้งแก่คบหาด้วย
แมวตัวหนึ่ง แล้วต้องถึงความตายเพราะแมวนันเปนแท้ สมันจึงถามว่า ก็
เรื่องราวแร้งแก่คบหากับแมวนันเปนอย่างไรเล่า ขอท่านจงเล่าให้ฟังพอ
ให้เปนคติด้วยเถิด กาปังสุพุทธิจึงเล่านิทานว่า

นิทำนเรื่องแร้งกับแมว
ครังก่อนแต่นี ยังมีแม่นาตาบลหนึ่งชื่อภาคิยนที ที่ริมฝั่งแม่นานันมีต้นเสดา
ใหญ่ต้น ๑ ยังมีแร้งแก่ตัวหนึ่งชื่อจลัตถะมีเล็บแลปากทังขนคอก็หลุดร่วง
เสียสินตาก็ไม่เห็น มาอาศรัยอยู่ที่ค่าคบต้นไม้นัน แลบนต้นไม้นันเล่า มีฝูง
นกมาทารังอยู่เปนอันมาก นกเหล่านันครันได้เห็นแร้งแก่ก็มีความเอ็นดู
ปรานี จึงได้เอาอาหารมาให้กินทุกวันๆ ยังมีแมวหนึ่งชื่อทีฆกัณณะมาเห็น
ลูกนกเหล่านัน จะใคร่กินด้วยอุบาย จึงทาอาการขมีขมันวิง่ ขึนไปบน
ต้นไม้ ลูกนกทังหลายครันได้เห็นแมวก็พากันร้องเกรียวกราวขึน แร้งแก่
ได้ยินดังนัน ก็คาดการดูว่า คงจะมีศัตรูมาเปนมั่นคง จึงร้องถามว่า ใครมาที่
ถิ่นฐานของเรานีเล่า แมวจึงตอบว่า ดูกรท่านพระยาแร้ง ข้าพเจ้าแมวชื่อ
ทีฆกัณณะจะขออาศรัยพึ่งท่านอยู่ด้วย เพราะว่าบัดนีศัตรูติดตามไล่ข้าพเจ้า
มาไม่ทันที่จะหนีไปในสถานที่อื่นได้ ข้าพเจ้าจึงวิ่งขึนมาพึ่งท่าน เพื่อจะให้
พ้นจากมรณภัย ขอท่านจงเอ็นดูช่วยชีวิตข้าพเจ้าด้วยเถิด แร้งแก่จึงกล่าวขู่
ว่า แน่แมวมึงรีบหนีไปเสียให้พ้น อย่าขึนมาบนต้นไม้นีเลย ถ้ามึงไม่ไป
แล้วกูจะฆ่ามึงเสียณบัดเดี๋ยวนี แมวจึงวิงวอนว่า ดูกรท่านพระยาแร้ง ไฉน
ท่านจึงกล่าวถ้อยคาหักโหมเช่นนีเล่า ท่านจงฟังคาข้าพเจ้าก่อน อันธรรม
เนียมในมนุษย์ทังหลายเปนเช่นนี เมื่อผู้ใดมีโทษทุกข์ร้อนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เกิดขึนหนีไม่พ้นแล้ว ก็วิ่งไปพึ่งผู้มีปัญญาที่มีกาลังฤทธานุภาพมาก ควร
จะเปนที่พึ่งแก่ตนได้ ก็ผู้มีปัญญามีกาลังนันควรจะต้องไต่ถามดูกอ่ นว่า ผู้
ที่มาพึ่งตนนันผิดหรือชอบดีหรือชั่วเปนประการใด ถ้าผู้นันผิดเปนคนชั่ว
จริง ผู้มีปัญญานันก็ควรจะทาโทษแก่คนชั่วคนผิดนันตามโทษานุโทษ ถ้า
ผู้วิ่งมาพึ่งตนนันเปนคนดีไม่มีความผิด ผู้มีปัญญามีกาลังนันก็ต้องรับ
ถนอมรักษาป้องกันอันตรายเลียงดูไว้ด้วย ผู้มปี ัญญาเช่นนันจึงควรจะกล่าว
ว่า เปนบัณฑิตเปนผู้ดีแท้ แร้งแก่จึงตอบว่า แน่แมว มึงจะว่าอย่างไรจงว่า
ไปเถิด กูจะขอฟังดูก่อน แมวจึงแกล้งเล่าความว่า เมื่อครังเรายังเปนลูกแมว
น้อยอยู่นัน ยังมีฤๅษีตนหนึ่งบริบูรณ์ด้วยศีลแลพรต ไปจงกรมอยู่ณป่าใหญ่
ประพฤติพรตทาตนให้เปนทุกข์ด้วยวิธีข้อปฎิบัติต่างๆ เรานีได้ไปอยู่ใน
สานักแห่งฤๅษีนันๆ ท่านได้เปนอาจารย์ของเรา ท่านได้สอนคัมภีร์
ธรรมศาสตร์แลนิติศาสตร์ให้แก่เรา เราก็ได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ปฏิบัติฤๅษี
นันจนเปนผู้ใหญ่ขึน ท่านจึงให้สมาทานศีล ๕ เราได้รักษาไว้มั่นไม่ให้ด่าง
พร้อยเศร้าหมอง พระฤๅษีผู้อาจารย์ท่านเห็นว่าเรานีดีตังอยู่ในสัตย์ในธรรม
แม้จะอยู่ด้วยลาพังตนก็ได้อยู่แล้ว ท่านจึงไปปล่อยเราเสียในป่าที่ริมฝั่ง
แม่นาคงคา เราได้ลงไปอาบนาชาระเกล้าในแม่นาคงคาเสร็จแล้ว ได้
สมาทานพรตอย่างหนึ่งชื่อจันทรายนะกินอาหารชื่อนิรามิส คือกินลมเป
นของไม่มีอามิสเราได้ประพฤติตามโอวาทพระฤๅษีเช่นนีนานแล้ว เรานี
เปนผู้สอนง่าย เมื่อฤๅษีผู้อาจารย์สอนประการใด เราก็ได้ประพฤติตาม
ถ้อยคาท่านถ้วนถี่ทกุ ประการ เหล่าสัตว์ที่อยู่ในป่านี ท่านพระยาแร้ง
แลเปนผู้มีปัญญามีกาลังฤทธานุภาพมากกว่าผู้อื่น ซึ่งท่านเปนผู้ดีถึงพร้อม
ด้วยคุณเช่นนีแล้ว จะมาฆ่าเราผู้ไม่มีโทษน้อยทรัพย์อับปัญญาดารงอยู่ใน
ศีลในพรตเช่นนีนี่ไม่สมควรเลย อีกข้อหนึ่งธรรมเนียมของมนุษย์ทังหลาย
ที่มีปัญญามีบรรดาศักดิ์บริบูรณ์ด้วยกาลังอานุภาพเปนผู้ดีเหมือนอย่างท่าน
พระยาแร้งนี เมื่อมีแขกมาถึงเรือนของตนก็ต้องต้อนรับตามสมควร ถ้า
แขกนันเปนผู้ดีก็ต้องต้อนรับให้สมควรแก่ผู้ดี ถ้าเปนคนเลวก็ต้องต้อนรับ
ตามคนเลว ถ้าเปนมิตรสหายหรือเปนศัตรูก็ดี ต้องปฏิสัณฐารต้อนรับตาม
สมควรแก่แขกที่เปนมิตรสหายแลศัตรูนันๆ จึงจะชอบจะสมควรแก่คนที่
เปนผู้ดี อย่างนีเปนข้อปฏิบัติของสัตวโลกซึ่งท่านไม่ได้สวนดูก่อน แล้วแล
ลงโทษแก่คนที่เปนแขกมาถึงถิ่นฐานของตนนันไม่สมควรเลย สัตว์
ทังหลายนี เมื่อใครทาดีหรือทาชั่วไว้ก็ดี คุณแลโทษนันๆ ย่อมติดตามผู้นัน
ไป เหมือนเงาติดตามตนไปฉนัน ด้วยเหตุนี ข้อซึ่งท่านพระยาแร้งเปน
ผู้สูงอายุมีปัญญาหลักแหลมแลมีตบะเดชานุภาพมากถึงเพียงนี ไม่ตริตรอง
ดูให้แยบคายก่อนแล้วแลมาลงโทษแก่เราเปนแขกเปนผู้อนาถาซึ่งมาถึง
สานักของท่านเช่นนีนี่ไม่ควรเลย อีกข้อหนึ่ง อันผลไม้นันมีหลายอย่าง
หลายสถาน แต่ผลไม้ ๒ อย่าง คือผลมะเดื่อแลผลขนุน ๒ นีมีลาต้นแลกิ่ง
ใบคล้ายกัน แต่ผลนันแปลกประหลาดต่างกัน ผลมะเดื่อนันข้างนอกดู
เกลียงเกลาแดงสุกสดใส ข้างในเปนหนอนฟอนไม่มีโอชารสไม่เปนเครื่อง
บริโภคได้ อันผลขนุนนันไซ้ภายนอกเปนหนามดูระคายตา ภายในยวง
เหลืองสดใสดุจสีทอง มีโอชารสเปนเครื่องบริโภคของท่านผู้ดีได้ ฉันใด
สัตว์ทังหลายนีดูรูปทรงสัณฐานก็คล้ายกัน แต่สัตว์บางพวกนัน ดูภายนอก
มรรยาทกายแลวาจาสุภาพเรียบร้อยเสงี่ยมงาม แต่ในใจนันมัวหมองคด
โกงเปนเนืองนิตย์ บางพวกนันดูภายนอกมรรยาทกายวาจาไม่เรียบร้อยไม่
สุภาพ แต่ภายในใจนันเปนสัตย์ธรรมนักรู้คุณท่าน แม้สัตว์ทังหลายก็เปน
๒ จาพวก ๒ สถาน ฉันนัน เหมือนท่านพระยาแร้งนีประหนึ่งว่าผลขนุน
โครงกายภายนอกดูรุงรังไม่เกลียงในตาก็จริงอยู่ แต่ภายในใจของท่านนัน
ล้วนประกอบไปด้วยความดีมีปัญญาหลักแหลม มีความเอ็นดูต่อสัตว์ทัง
ปวง แม้ใครจะมาพึ่งพักอาศรัยอยู่ในสานักของท่าน กาลังอานุภาพของ
ท่านอาจคุ้มครองป้องกันภัยอันตราย แล้วแลสงเคราะห์ให้สมบูรณ์ด้วยการ
กินการอยู่ให้เปนสุขสาราญได้ อีกข้อหนึ่ง ในป่าทังหลายนัน ประเทศซึ่ง
เปนที่เกิดเครื่องหอมคือกฤษณากลาพักนันน้อยนักหาได้ยาก ประเทศซึ่ง
เปนที่เกิดแห่งหญ้าแลต้นไม้ไม่มีกลิ่นนันมากหาได้ง่าย ฉันใด ในหมู่สัตว์
ทังหลายก็เหมือนกัน สัตว์ที่เปนผู้ดีมีปัญญามีใจโอบอ้อมเช่นท่านพระยา
แร้งนีมีน้อยหาได้ยาก ในหมู่มนุษย์ทังหลายเล่า คนที่มีปญั ญามีความเอ็นดู
ปรานีต่อท่านผู้อื่นนัน เปนที่ไปมาสมาคมคบหาแลเปนที่พึ่งพักอาศรัยแห่ง
มนุษย์ทังหลาย แม้จะอยู่ในสถานที่ใด คนทังหลายก็มักมั่วสุมประชุมอยู่
ในที่นัน เรือนซึ่งเปนที่อยู่ของผู้นันเปนที่ไปมาแห่งชนทังหลายไม่ขาดเลย
ครึกครืนอยู่ด้วยประชุมชนเปนเนืองนิตย์ อันเรือนของคนพาลไม่มีความ
ปรานีต่อผู้อื่นนัน ไม่มีใครจะไปมาดูเงียบเหงา ปานประหนึ่งว่าเรือนร้าง
ว่างเว้นจากประชุมชน คนพาลโง่เง่านันเปนประหนึ่งว่าดอกผลลาโพง อัน
ดอกผลลาโพงนันไม่มีใครจะกินเปนอาหาร ดอกลาโพงนันเล่า ไม่มีใคร
ทัดทรงประดับประดาเชิดชูไว้บนศีร์ษะหามิได้ แลคนที่มีปรีชาเฉลียว
ฉลาดเล่า เปนเหมือนหนึ่งดอกไม้ที่มีกลิ่นอันหอมเปนที่ชื่นชมยินดีแห่งชน
ทังหลาย เปนเครื่องตกแต่งประดับประดาทัดทรงเชิดชูไว้บนศิรเกล้า
ดอกไม้ที่หอมนันแม้จะเหี่ยวแห้งแล้วก็ดี ชนทังหลายยังเก็บถนอมรักษาไว้
ให้สาเร็จประโยชน์ต่อไปได้ ท่านพระยาแร้งนีประกอบด้วยคุณพฤฒิเปน
ดุจกฤษณาแลกลาพักแลดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเปนที่ชื่นชมยินดีคบหา
สมาคม แลเปนที่พงึ่ พักอาศรัยของสัตว์ที่อนาถาทังหลายได้ อนึ่งคนโฉด
เขลานันไม่รู้ประโยชน์ของตนไม่รู้ความผิดโทษทุกข์มาถึงแก่ตนนันๆ ได้
แลไม่รู้ทาประโยชน์ที่ยืดยาวแก่ตนแลผู้อื่นได้ ท่านที่มีปัญญานันไซ้ แม้จะ
พูดถ้อยคาสิ่งไรได้เหตุผลถูกต้องด้วยเยี่ยงอย่าง ล้วนให้สาเร็จประโยชน์
ตนแลประโยชน์ผู้อื่นได้ เปนที่ยินดีชอบใจแห่งคนทังหลายต่างคนต่างให้
สาธุการทังสิน ด้วยเหตุนัน ท่านที่เปนบัณฑิตนันเปนที่เคารพนบนอบนับ
ถือของชนทุกเพศพรรณภาษาทุกประเทศ เปนดุจดวงพระจันทร์ในวันเพ็ญ
ย่อมจารัสแสงไพโรจน์รุ่งเรืองทั่วไปในสรรพทิศทุกตาบล แม้จะเล็งแลขึน
ไปต่างคนก็ต่างเห็นว่าพระจันทร์นันตังอยู่ตรงตัวของตนๆ ทังสิน คนโง่
กับคนฉลาดนันต่างกันเช่นนี ท่านพระยาแร้งเล่า ก็มีปรีชาเปรื่องปราชญ์ถึง
พร้อมด้วยคุณต่างๆ เหลือล้นพ้นวิสัยทีจ่ ะนับจะประมาณได้ แม้จะ
พรรณนาไปก็ไม่รู้สินรู้สุดเลย เพราะเหตุนัน ข้าพเจ้าจึงได้วิ่งขึนมาพึ่งพัก
อาศรัยท่าน ขอท่านพระยาแร้งผู้มีปรีชามีกาลังอานุภาพเปนอันมาก จงมี
ความปรานีแก่ข้าพเจ้าผู้เปนสัตว์อนาถา แล้วแลเปนที่พึ่งให้ที่อยู่อาศรัยแก่
ข้าพเจ้าด้วยเถิด แร้งแก่ไม่รู้ประมาณตัว ครันได้ยินแมวกล่าวยอคุณให้มี
ในตนยกย่องสรรเสริญเช่นนัน ก็มัวเมาประมาทให้สาคัญวิปลาศเห็นผิด
ทางไป ก็มีจิตต์ชื่นชมเปนกาลัง จึงตอบด้วยวาจาอันไพเราะว่า โอ ท่าน
แมวทีฆกัณณะผู้ฉลาด ข้อความซึ่งท่านกล่าวมานันจริงแล้วชอบแล้วทุก
ประการ แต่ว่าวิสัยแมวทังหลายนันเปนสัตว์เลวต่าช้ามักฆ่าชีวิตท่านผู้อื่น
กินสดๆ เปนธรรมดา อนึ่งที่ต้นไม้นีเล่า ลูกนกทังหลายมาอาศรัยอยู่เปน
อันมาก เกลือกว่าจะเปนอันตรายแก่ลูกนกเหล่านัน เราจึงต้องว่าแก่ท่าน
เช่นนี ใช่ว่าตระหนี่หึงหวงถิ่นฐานที่อยู่หามิได้ แมวทีฆกัณณะครันได้ยิน
พระยาแร้งกล่าวถ้อยคาผ่อนผันอ่อนลงเช่นนัน ก็มีความรื่นเริงบรรเทิงใจ
ยิ่งนัก แส้งทาอาการอ่อนน้อมเคารพนบนอบคลานเข้าไปใกล้หมอบลงที่
ฉะเพาะหน้าแร้งแก่แล้วจึงตอบว่า ข้าแต่พระยาแร้ง ข้อซึ่งท่านว่าแมว
ทังหลายเปนผู้ร้ายกาจฆ่าสัตว์กินสดๆ นันจริงอยู่ เพราะว่าแมวเหล่านัน
เปนชาติแมวพาล ไม่ได้อยู่ในสานักแห่งท่านผู้ทรงศีลสิกขาบท แต่ข้าพเจ้า
นีเปนศิษย์ของพระฤๅษีได้เรียนคัมภีร์ธรรมศาสตร์แลนิติศาสตร์ ได้รักษา
ศีลห้าเปนเนืองนิตย์ ไม่ฆ่าชีวิตท่านกิน ข้าพเจ้าได้สมาทานพรตกินลมอัน
ไม่มีอามิสเปนอาหารเนืองนิตย์ ไม่ได้เบียดเบียฬชีวิตท่าน ด้วยหวังว่าเบือง
หน้าแต่จุติจิตต์แล้วจะได้ไปเกิดในสวรรค์ตามโอวาทที่มีมาในพระคัมภีร์
ใช่ว่าจะแกล้งกล่าวเปนเล่ห์กลหลอกลวงท่านนันหามิได้ จลัตถะแร้งแก่ผู้
โฉดเขลาไม่ตริตรองให้เห็นโดยแยบคาย แล้วหลงเชื่อคาแมวล่อลวงเป
นกลอุบาย ก็สาคัญว่าตนนีมีปัญญามีบรรดาศักดิ์ มีอานุภาพเช่นนันจริง จึง
กล่าวว่า ท่านแมวจะประสงค์อยู่ที่ต้นไม้นี ก็จงไปอยู่ในที่สมควรเถิด แมว
ก็ลาแร้งแก่เข้าไปซ่อนอยู่ที่โพรงไม้เสลานัน แล้วขึนไปจับลูกนกกินทุกๆ
วัน ฝูงนกทังหลายเห็นว่าลูกนกน้อยลงไป ก็มีความสงสัยในแร้งแก่ จึงพา
กันมาดูก็แลเห็นขนแลกระดูกนันเรี่ยรายอยู่ใกล้ที่อยู่แห่งแร้งแก่ ก็สาคัญว่า
แร้งนันกินลูกของตนเสีย แล้วก็กล่าวว่า แร้งแก่นีไม่ตังอยู่ในสัตย์ในธรรม
แม้เราทังหลายได้หาอาหารมาให้กินอิ่มหนาสาราญทุกๆ วัน ยังไม่เต็ม
ความปราถนายังมากินลูกของเราเสียเล่า ฝูงนกทังหลายก็โกรธนัก จึงพา
กันจิกสับแร้งแก่นันจนถึงความตาย แมวได้รู้ความดังนันก็รีบหนีไปจาก
ต้นไม้นัน
เมื่อกาปังสุพุทธิได้ชักนิทานมาสาธกเนือความให้สมันฟังเช่นนี แล้วจึง
กล่าวว่า ดูกรสมันผู้เปนสหายซึ่งท่านจะผูกไมตรีเปนมิตรสหายด้วยสุนัข
จิงจอกผู้มีชาติสกุลต่างกันนีไม่ควรเลย จะเปนเหมือนแร้งแก่ไม่รู้ประมาณ
ตัวมาคบกับแมวเจ้ามายา แล้วก็ต้องถึงความตายเช่นนันเปนแท้
อนึ่งเล่าผู้มีปัญญาเก่า ๆ ท่านกล่าวไว้ว่า สัตว์ ๓ จาพวก คือ เสือ ๑ สุนัข
จิงจอก ๑ แมว ๑ สัตว์ ๓ จาพวกนีมักฆ่าสัตว์กินสด ๆ จะได้มีความปรานี
ต่อชีวิตท่านนันหามิได้ จันทรพุทธิสุนัขจิงจอกได้ยินกาปังสุพุทธิกล่าว
เตือนสติสมันเช่นนันก็มีความเสียใจ จึงกล่าวแก่กาปังสุพุทธิว่า แน่ท่านกา
ตัวท่านกับสมันได้เปนมิตรสหายกันมาช้านานแล้ว ก็ท่านทังสองนีมีชาติ
เชือความประพฤติก็ไม่เหมือนกัน เหตุไฉนจึงได้เปนมิตรสหายคบหากัน
ได้เล่า แน่ท่านกา ท่านจงฟังคาเราว่าก่อน
ในกาลก่อนยังมีไพรตาบลหนึ่งชื่อกัปปุระ ในป่านันมีเสือตัว ๑ ชื่อ วา
ลุพยัคฆะได้เปนมิตรสหายกับเราได้กินอยู่ด้วยกันรักใคร่กันนัก แม้จะไป
หาอาหารก็ไปด้วยกัน ครันได้อาหารแล้วก็มาแบ่งกันกินทุก ๆ วัน เมื่อเสือ
ผู้เปนสหายป่วยไข้ เราก็ปฏิบัติหาอาหารมาให้กิน ครันเราป่วยไข้เล่า เสือผู้
เปนสหายก็ปรนนิบัติหาอาหารมาให้กิน แลเราทังสองนัน เมื่อผู้ใดเกิดการ
วิวาทกับสัตว์เหล่าอื่น ข้างผู้หนึง่ คอยพิทักษ์รักษาห้ามปรามปรานีปรานอม
ไม่ให้เกิดวิวาทได้ เราสองสหายได้อยู่เย็นเปนสุขมาสินกาลนาน ครันเสือ
ผู้สหายเราตายเสียแล้วเรานีก็อ้างว้างอยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีใครเปนมิตรสหาย
เปนที่ปรึกษากัน จึงได้ออกจากป่ากัปปุระเที่ยวมาถึงป่านี ตัวเรานีไม่เคย
ผูกไมตรีกบั สัตว์เหล่าอื่น ได้ทากิจที่เปนประโยชน์แก่มิตรสหายแลได้
แนะนาสั่งสอนสัตว์เหล่าอื่นให้มีปัญญา ให้เปนผู้ดีมาได้มากอยู่แล้ว ท่าน
อย่าสาคัญคิดว่าเรานีเปนผู้เลวทรามต่าช้าเลย วิสัยสัตว์ทังปลายที่เปนผู้ดีมี
ปัญญานัน มีใจเมตตาปรานีต่อสัตว์ จะได้คิดฤทยาพยาบาทต่อท่านผู้หนึ่ง
ผู้ใดหามิได้ อนึ่งวิสัยสัตว์ที่จะเปนไมตรีกันนัน จะมีเชือวงศ์ชาติตระกูลแล
การประพฤติเสมอกันก็ดีต่างกันก็ดีไม่เปนประมาณ ใจที่เอ็นดูรักใคร่ต่อ
กันนันเปนประมาณ เมื่อใจไม่รักใคร่เอ็นดูกันแล้ว แม้มีเชือวงศ์ตระกูลแล
ความประพฤติเสมอเหมือนกันก็ดีหรือเปนมิตรสหายกันก็ดี ปานประหนึ่ง
ว่าเปนศัตรูกันเปนผู้ต่างเชือวงศ์ชาติตระกูลกัน เหมือนท่านกาท่านสมันมี
ชาติตระกูลแลความประพฤติก็ไม่เหมือนกัน ท่านทังสองก็ได้เปนมิตร
สหายกันมานานแล้วไม่ใช่หรือ กาปังสุพุทธิครันได้ยินสุนัขจิงจอกว่า
ดังนัน จึงกล่าวแก่สมันว่า ดูกรสหายเรานีเปนสัตว์มีปีกบินไปในอากาศได้
สัตว์ที่อาศรัยแผ่นดินไม่อาจจะมาทาอันตรายแก่เราได้ แม้อันตรายจะมาถึง
แก่เราท่านสมันผู้เปนสหายจะมาช่วยก็ไม่ได้ เมื่อภัยอันตรายจะมาถึงท่าน
เล่า เราจะช่วยท่านก็ไม่ได้ ตัวท่านเปนสัตว์เดิรดินมีทุกข์ภัยอันตรายมาก
ท่านอย่านอนใจเร่งตรองระวังตัวให้จงดี ท่านจงฟังคาเราเล่าก่อน

นิทำนเรื่องช้ำงกับสุนัขจิ้งจอก
ในกาลก่อนยังมีหนองใหญ่แห่งหนึ่งชื่ออติสระ ทังกว้างลึกสมบูรณ์ด้วยผัก
ปลาอาหารเปนที่อาศรัยของสัตว์ทังหลาย มีช้างสารช้างหนึ่งชื่อกัปปุระมา
อาศรัยอยู่ในป่าใกล้หนองนัน ยังมีสุนัขจิงจอกตัวหนึ่งชื่อสิงค มีบริวารมาก
มาอาศรัยอยู่ที่หนองนันด้วย วันหนึ่งสิงคสุนัขจิงจอกได้เห็นช้างสารนัน
จึงกล่าวแก่สุนัขจิงจอกทังหลายว่า ท่านทังหลายจะใคร่กินช้างสารนีหรือ
เราจะคิดกลฆ่าช้างสารนีให้ท่านทังหลายกิน ให้พอจนตลอดฤดูฝนนีให้จง
ได้ สุนัขจิงจอกทังหลายจึงตอบว่าตัวท่านเปนสัตว์ตัวน้อยเท่าปลายเท้าช้าง
สาร ซึ่งท่านจะคิดอ่านกินช้างสารนัน เห็นจะไม่ได้ดังประสงค์ สิงคสุนัข
จิงจอกจึงกล่าวว่า ที่ตัวโตใหญ่นันไม่เปนประมาณสุดแล้วแต่ปัญญา เมื่อ
ความฉลาดดีมีแล้ว แม้ตัวเล็กก็ดีคงจะคิดฆ่าสัตว์ตัวใหญ่ได้ ถ้าท่าน
ทังหลายทาตามคาของเราแล้ว เราทังหลายคงจะได้กินช้างสารนีเปนแท้
แล้วสิงคสุนัขจิงจอกจึงกันออก ๒ พวก พวก ๑ ให้คอยอยู่ที่หนองใหญ่นัน
พวก ๑ ให้ไปกับตน แล้วสิงคสุนัขจิงจอกจึงไปหาช้างสาร หมอบกรานเข้า
ไปซบเศียรของตนลงที่เท้าช้างสาร แล้วจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระยาช้าง ผูม้ ี
ศักดาเดชานุภาพใหญ่เชิญท่านจงไปเปนนายครอบครองสั่งสอนพวก
ข้าพเจ้าทังหลายเถิด ช้างสารจึงถามว่า ท่านนีชื่อไร เหตุไฉนจึงมาว่าดังนี
เล่า สุนัขจิงจอกจึงตอบว่า ข้าพเจ้านีชือ่ สิงคสุนัขจิงจอก เพราะว่าเหล่าสัตว์
ทังหลายที่อยู่ในป่านีได้ประชุมปรึกษาเห็นพร้อมกันว่า เราทังหลายไม่มี
ใครเปนเจ้านายครอบครองชีขาดตัดสินอรรถคดีปรานีปรานอมสั่งสอน ไม่
มีใครจะเปนใหญ่ อยู่แต่ลาพังเช่นนีไหนเลยจะเปนสุขได้เล่า ในหมู่มนุษย์
ทังหลายก็มีพระเจ้าแผ่นดินครอบครองสั่งสอน จึงได้อยู่เย็นเปนสุขเพราะ
เหตุนัน สัตว์ทังหลายที่อยู่ในป่าใหญ่นีเห็นพร้อมกันว่า ในป่านีท่านพระ
ยาช้างเปนผู้ใหญ่กว่าสัตว์ทังหลาย มีสติปัญญาแลกาลังอานุภาพก็มากกว่า
สัตว์ทังปวงสมควรจะเปนนายได้ จึงใช้ให้ข้าพเจ้ามาเชิญท่านพระยาช้าง
ไปเปนนายครอบครองสั่งสอนสัตว์ทังหลายในป่านีเถิด ช้างผู้พาลครันได้
ยินว่าเขาจะยกตนเปนนายเช่นนัน ก็สาคัญว่าจริง พลางชมชื่นยินดีจึงรับคา
ว่า ถ้าสัตว์ทังปวงในป่านีเห็นพร้อมกันเช่นนันแล้ว เราก็จะรับบังคับบัญชา
สั่งสอนได้อยู่ สิงคสุนัขจิงจอกได้รู้อัธยาศัยแห่งช้างสารว่ายอมเช่นนันแล้ว
ก็มีความดีใจจึงตอบว่า ถ้ากระนันข้าพเจ้าจะลาท่านกลับไปบอกแก่สัตว์ใน
ป่าทังหลายให้ทราบก่อน จะได้ช่วยกันตระเตรียมจัดที่จะได้สมมตท่านขึน
เปนนาย ทังที่กินอยู่ให้สมควรก่อน แล้วสิงคสุนัขจิงจอกก็ให้สุนัขจิงจอก
ทังปลายอยู่ด้วยช้างบ้างไปกับตนบ้าง แล้วรีบกลับมาที่หนองนัน ชวน
สุนัขจิงจอกกึ่งหนึ่งซึ่งแบ่งไว้นันเที่ยวหาที่แยบคายจะได้ลวงช้างกิน
โดยง่าย ก็ได้เห็นเกาะแห่งหนึ่งซึ่งตังอยู่ในกลางหนองใหญ่นัน มีหล่มอัน
ลึกโดยรอบ จึงบอกแก่สุนัขเหล่านันให้ข้ามไปอยู่ที่กลางเกาะ แล้วก็สั่งว่า
เมื่อช้างสารมาถึงแล้ว ท่านทังหลายจงพร้อมกันหอนเห่าร้องให้กึกก้อง
ครึกครืนพร้อมกันขึน แล้วแลประชุมอยู่ในเกาะนีเถิด สิงคสุนัขจิงจอก
ครันจัดการเสร็จแล้ว ก็กลับมาหาช้างสารจึงบอกว่า ข้าแต่พระยาช้างผู้เปน
ใหญ่ บัดนีสัตว์ป่าทังหลายได้ประชุมพร้อมกันอยู่ที่เกาะซึ่งตังอยู่ในกลาง
หนองใหญ่นันแล้ว เกาะนันเปนที่ไชยภูมิเปนที่อยูข่ องสัตว์ผู้ใหญ่มาแต่
ก่อน สมบูรณ์ด้วยต้นไม้แลใบหญ้าทังท่านาก็เรียบราบเปนอันดี หวังว่าจะ
สมมตท่านขึนเปนใหญ่ที่เกาะนัน บัดนีกุศลมาให้ผลแก่ท่านแล้ว ความเปน
ใหญ่ในสมบัตินียากที่สัตว์จะพึงได้ แม้จะหาเงินทองของแก้วพัสดุต่าง ๆ ก็
จะได้ง่ายกว่า เชิญท่านรีบไปโดยเร็วเถิด ช้างได้ยินคาสุนัขจิงจอกมา
หลอกลวงดังนัน ก็สาคัญว่าตัวจะได้เปนใหญ่จริง แล้วรีบมายังหนองใหญ่
สิงคสุนัขจิงจอกกับบริวารก็พากันแวดล้อมแห่ห้อมช้างสารมาโดยรอบ
ครันถึงแล้วสุนัขจิงจอกทังหลายซึ่งคอยอยู่ที่เกาะนัน สิงคสุนัขจิงจอก
ชีบอกว่าเกาะซึ่งตังอยู่ที่กลางหนองโน้น ข้าพเจ้าทังหลายได้ตระเตรียมไว้
จะสมมตท่านขึนเปนใหญ่ในที่นัน ขอเชิญท่านดาเนิรตามข้าพเจ้าลงไปเถิด
แล้วสิงคสุนัขจิงจอกเดิรนาหน้าพาช้างสารลงไปในที่มีหล่มอันลึก ช้างผู้
โฉดเขลาไม่พิจารณาดูโดยแยบคาย ก็ขมีขมันรีบลงไปด้วยความอยากจะ
เปนใหญ่ ก็ลงไปติดอยู่ที่หล่มอันลึกไม่อาจจะถอนตนขึนได้ สิงคสุนัข
จิงจอกจึงร้องบอกแก่บริวารของตนทังหลายว่าท่านทังหลายจงมาเร็ว บัดนี
พระยาช้างผู้เปนนายของเราติดหล่มอยูไ่ ปไม่ได้แล้ว จงลงมาช่วยกันฉุด
เชิญนายของเราขึนไปโดยเร็ว ฝูงสุนัขจิงจอกทังหลายก็ทาอาการปาน
ประหนึ่งว่าจะช่วย บ้างก็หอนอยู่บนเกาะแล้วก็ยื่นหางลงมาร้องบอกว่า
ท่านพระยาช้างจงฉุดหางของข้าพเจ้าขึนมาเถิด บ้างก็ลงมาทาโกยเปือกตม
บ้างก็โดดขึนบนหลังช้างวิ่งขึนไปบนศีร์ษะแล้วก็ถ่ายมูตรรดตาช้างลงทัง
สองข้าง ช้างสารผู้โฉดเขลาก็มีจักษุบอดถึงความตายในที่นันสุนัขจิงจอก
ทังหลายก็ลงมากลุ้มรุมกันกินช้างสารเปนอาหาร
นิทานนีก็มีมาในคัมภีร์เปนตัวอย่าง เพราะเหตุนัน ข้าพเจ้าจึงเตือนท่าน
สมันผู้เปนสหายให้เปนคติไว้ จันทรพุทธิสุนัขจิงจอกได้ยนิ ดังนันจึงตอบ
ว่า แน่ท่านกา คาซึ่งท่านว่ามานันจริงอยู่แล้ว แต่ว่าท่านฟังเราก่อน เหล่า
สัตว์ป่าทังหลายเปนหลายชาติหลายจาพวก ราชสีห์ผู้เปนมฤคราชนัน มี
เชือชาติเปน ๔ พวก คือเกสรสิงห์ ๑ บัณฑุสิงห์ ๑ ติณณสิงห์ ๑ บัณณสิงห์
๑ เปน ๔ พวกเช่นนีมิใช่หรือ ก็สิงห์ ๔ จาพวกนัน มีชาติตระกูลแลความ
ประพฤติก็ต่างกัน เกสรสิงห์นันเปนสัตว์ดุร้ายมีอานาจมากย่อมแผด
สาเนียงให้สัตว์อื่นตาย แล้วกินสมองศีร์ษะทังโลหิตเปนอาหาร ของซึ่ง
เหลือนันก็ทิงเสียไม่กลับมากินอีกเลย แม้จะกินอีกก็ย่อมแผดเสียงฆ่าสัตว์
อื่นอีกต่อไป แต่สิงห์ ๓ จาพวกนอกนี ไม่ฆ่าชีวิตท่านกิน ถึง ๓ จาพวกนัน
เล่าก็ต่างกัน ปัณฑุสิงห์เมื่อพบปะมังสะที่เปนเดนท่านแล้วจึงกิน ถ้าไม่
พบปะแล้วสูอ้ ดหิวไปยังค่า แลติณณสิงห์นันไม่กินเนือสัตว์กินแต่หญ้าเปน
อาหาร แลปัณณสิงห์นันหญ้าสดใบไม้สดก็ไม่กิน กินแต่ใบไม้แห้งเปน
อาหาร แล้วรักษาศีล ๕ เปนเนืองนิตย์ แม้ต่างกันเช่นนีเขาก็เล่าลือว่าวิสัย
สิงห์แล้วย่อมฆ่าชีวิตท่านกินสดๆ ดังนี เมื่อจะว่าที่แท้แล้ว เกสรสิงห์
จาพวกเดียวเปนผู้ฆา่ ชีวิตท่านกิน ข้อความนีฉันใด แม้สุนัขจิงจอกทังหลาย
เล่าก็เหมือนกัน มีชาติตระกูลแลความประพฤติก็แปลกกัน สุนัขจิงจอกบาง
พวกก็ฆ่าชีวิตท่านกิน บางพวกก็กินแต่เนือหนังที่เปนเดนท่าน บางพวกก็
กินหญ้าแลใบไม้เปนอาหารตังอยู่ในศีล ๕ แลสุนัขจิงจอกซึ่งเปนชาติเชือ
ของเรานี ไม่ได้ฆ่าชีวิตท่านกิน ๆ แต่สัตว์ที่ตายแล้วเปนอาหารตังอยู่ในศีล
๕ ประการเปนเนืองนิตย์ อนึ่งชาติตระกูลของเรานีใช่ว่าจะเลวทรามต่าช้า
หามิได้ พระยาสุนัขจิงจอกผู้ได้ชื่อว่าสัปปะตาสะซึ่งได้รู้มนต์มหาปถวี ได้
เปนใหญ่เปนนายราชสีห์ ช้าง เสือ แลสมัน เหล่าสัตว์ป่าทังปวงต้องอยู่ใน
อานาจท่านทังสิน เรานีเปนเหลนของสัปปะตาสะ พระยาสุนัขจิงจอกนัน
แลปู่ของเราก็ดี ตาแลบิดาของเราก็ดี จะได้ฆ่าชีวิตท่านนันหามิได้ เรานี
เปนเชือชาติสุนัขจิงจอกเปนผู้ดีสืบกันมาเช่นนี ตังอยู่ในยุติธรรม ไหนเลย
จะฆ่าชีวิตท่านกินเล่า ท่านกาจงฟังคาเราว่าก่อน มนุษย์ทังหลายมีชาติวงศ์
ชาติตระกูลต่างกัน แลความประพฤติก็แปลกกัน แต่ท่านที่เปนเชือกษัตริย์
นัน เปนผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ทังหลายตังอยู่ในยุติธรรมความสัตย์ เมื่อชาติ
ตระกูลอื่น ๆ ทาผิดลเมิดต่อยุติธรรมแล้วก็ลงโทษตามความผิด ถ้าใครทา
ความชอบก็ปูนบาเหน็จยกย่องขึนตามสมควรแก่ความชอบ ท่านที่เป
นเชือพราหมณ์นันเล่า ก็เปนผู้ประเสริฐในหมู่มนุษย์ตังอยู่ในศีลแลพรต
รักษากายแลวาจาเปนอันดีมีจิตต์ปรานีในสัตว์ทังปวง แลมีสติปัญญาได้
ศึกษาเล่าเรียนวิชามนต์แลพระคัมภีร์ต่าง ๆ สั่งสอนท่านในที่เปนประ
โยชน์ แลมนุษย์ที่เปนเศรษฐีนันเล่าได้ให้ทานเจือจานสงเคราะห์แก่ผู้อื่น
ด้วยพัศดุสิ่งของ ได้ประกอบการค้าขายเลียงชีพ เหล่ามนุษย์ที่เปนไพร่นัน
ได้ทาไร่นาแลเที่ยวจ้างทาการท่านเลียงชีวิต แลมนุษย์จาพวกหนึ่งนัน เปน
เชือเนสาทแลนายประโมง ย่อมฆ่าชีวิตสัตว์มาเลียงตนทังบุตรภรรยาเป
นเนืองนิตย์ แม้มนุษย์ทังหลายเมื่อใครมีเชือวงศ์ชาติตระกูลเปนประการใด
เคยประพฤติอย่างไร ก็ไม่ลาเชือสายแลกิจการที่ตนเคยประพฤตินันๆ เลย
เหล่ามนุษย์ที่เปนนายพรานนายประโมงเคยฆ่าชีวิตท่านมาเลียงชีพตนก็ดี
หรือที่เปนโจรเคยปล้นสดมภ์ลักทรัพย์ท่านมาเลียงชีพก็ดี มนุษย์เหล่านี
เปนผู้หยาบช้าลามก แม้จะแนะนาสั่งสอนชีแจงคุณโทษตักเตือนเท่าไรก็ดี
มักประพฤติตามเชือสายไม่ละปรกติตนเสียได้เลย แน่ท่านกา เราจะเล่า
นิทานสาธกความให้ท่านฟัง

นิทำนเรื่องฤๅษีกับแมลงมุม
ครังก่อนยังมีพรานป่าคนหนึ่งเที่ยวฆ่าสัตว์เลียงชีพของตน แลเลียงบุตร
ภรรยาเปนอาจิณ วันหนึ่งผู้บัณฑิตมากล่าวสอนชีแจงให้เว้นโทษในการฆ่า
สัตว์ พรานป่านันเกิดความเลื่อมใสสลดใจได้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ละ
เครื่องมือสาหรับประหารชีวิตสัตว์เสียแล้ว ก็เข้าไปในป่าดารงเพศเปนฤๅษี
ตังอยู่ในศีลแลพรตเปนอันดีสร้างอาศรมอยู่ในป่าหิมพานต์ ก็ในที่ใกล้
อาศรมนันมีถาตาบลหนึ่ง ซึ่งเปนที่อาศรัยอยู่ของหมู่กินรีเปนอันมาก ใน
ปากถานันมีแมลงมุมใหญ่ตัวหนึ่งชักใยตังดักปากถาไว้ ครันกินรีขึนมาติด
สายใยของตนแล้วก็ฆ่ากินเปนอาหาร วันหนึ่งฤๅษีเที่ยวเสาะแสวงหา
ผลาหารมาถึงปากถา เวลานันพอแมลงมุมไล่จับกินรีที่ปากถา นางกินรีได้
เห็นพระฤๅษีก็วิงวอนให้ช่วย พระฤๅษีเห็นนางกินรีมีรูปโฉมงามดีก็มีใจ
ผูกผันในนางกินรีนัน จึงเอาไม้เท้าไล่ตีแมลงมุมนันตาย แล้วก็พานางกินรี
ไปยังกุฎีของตน ได้อยู่สมัคสังวาสกับนางกินรีนัน นี่แลมนุษย์ทังหลาย
เมื่อใครมีเชือชาติเปนประการใดได้เคยประพฤติอย่างไร ก็ไม่ละเชือสาย
ปรกติของตนได้เลย ใช่แต่เท่านัน

นิทำนเรื่องลูกเศรษฐีกับโจร
ครังก่อนนียังมีเมืองชื่ออมิตปูระ ในเมืองนันมีเศรษฐีคนหนึ่งชื่อมหาวิ
สาละ แลเศรษฐีนันมีบุตรคนหนึ่งถึงพร้อมด้วยคุณทีเ่ ปนความดีพอใจจะ
ให้ทานแลรักษาศีล วันหนึ่งเศรษฐีบุตรนันพาเกวียน ๕๐๐ เล่มไปค้าขาย
ในประเทศอื่น ครันถึงกลางทางโจรทังหลายมาปล้นเอาทรัพย์จับเอาบุตร
เศรษฐีนันไปด้วย แล้วโจรทังหลายก็ไปชักจูงให้ไปเสพย์สุราฆ่าโค แลไป
ปล้นสดมภ์ลักทรัพย์ท่านให้ประพฤติตาม เศรษฐีบุตรจึงกล่าวแก่โจร
เหล่านันว่า เรานีเปนผู้ถือบุญถือบาป ซึ่งท่านทังหลายจะมาชักจูงเราใน
กิจการอันเปนบาปเช่นนัน เราไม่ทาได้ เมื่อท่านเอ็นดูจะปล่อยเราไปก็จง
ปล่อยเสียเถิด หรือจะฆ่าเราเสียก็ตามแต่จะทาเถิด โจรเหล่านันก็คิดเห็นว่า
ถ้าเราจะปล่อยเศรษฐีบุตรไปแล้ว ทุกข์ภัยก็คงจะมาถึงเราเปนแท้จาจะต้อง
ฆ่าเสีย ครันคิดเห็นดังนันแล้วก็ฆ่าบุตรเศรษฐีนันเสีย
นิทานเรื่องนีเราก็ได้รู้ความชัดว่า มนุษยทังหลายถ้ามีเชือสายแลประพฤติ
การเปนประการใด ก็ไม่ละวิสัยของตนได้เลย ดูกรสหายทังสอง ข้าพเจ้านี
ถึงเปนสุนัขจิงจอกก็ดีมีเชือสายเนื่องมาแต่สุนัขจิงจอกอันเปนผู้ดี มารดา
บิดาปู่ย่าตายายของข้าพเจ้านี ท่านได้ตงอยู
ั ่ในยุติธรรมความสัตย์ ได้เคย
เปนนายพวกเดียรัจฉานชาติสัตว์ป่า ได้รักษาศีล ๕ เปนเนืองนิตย์สืบมาก
จนถึงตัวข้าพเจ้านีก็ได้ตังอยู่ในกุศลกิริยกตามวงศ์ของคนมาตังแต่เล็กคุ้ม
เท่าบัดนี ได้รกั ษาศีล ๕ มิได้ด่างพร้อยเศร้าหมอง สหายทังสองอย่าได้
สงสัยในข้าพเจ้าเลย
มริจิปาลินิสมันครันได้ยินคาจันทรพุทธิสุนัขจิงจอกกล่าวเปนยุติธรรม
เช่นนัน ก็สาคัญว่าเปนผู้ซื่อตรงตังอยู่ในยุติธรรมจริง จึงกล่าวแก่กาปังสุ
พุทธิว่า แน่ท่านกาผู้เปนสหาย เรานีก็ได้ฟังถ้อยคาของสุนัขจิงจอกกล่าวแต่
ต้นจนปลายเห็นแยบคายเปนสัตย์เปนธรรมอยู่ ท่านอย่าสงสัยเลย เราทัง ๓
จงผูกไมตรีกันเปนมิตรสหายด้วยกันเถิด เมื่อโทษทุกข์สิ่งไรของใครมีขึน
แล้ว จะได้ช่วยกันเปลืองปลดโทษทุกข์นัน ๆ กาจึงตอบว่า ท่านทัง ๒ ผู้อา
ศรัยแผ่นดินด้วยกันสุดแต่จะเห็นดีเถิด เรานีเปนสัตว์มีปีกบินไปในอากาศ
ได้ ตังแต่นันไปเดียรัจฉานทัง ๓ นันได้ผูกไมตรีเปนมิตรสหายกัน วันหนึ่ง
สุนัขจิงจอกจึงชวนสมันว่า ท่านสมันผู้สหายในสถานที่ใกล้ประเทศนี มี
ป่าหนึ่งสมบูรณ์ด้วยหญ้าแลเข้าสาลีก็อุดมดี เราทัง ๒ พากันไปกินเข้าสาลี
ด้วยกันเถิด ครันสมันรับว่าจะไปแล้ว สุนัขจิงจอกก็พาสมันไป ครันถึง
ประเทศที่นันแล้วสมันก็ลงไปกินเข้าสาลีในทุ่งนาของชายผู้หนึ่ง บุรุษ
เจ้าของเข้าสาลีได้เห็นรอยเท้าสมันจึงดักบ่วงไว้ที่ทางสมันลงไปนัน ครัน
เวลากลางคืนสมันลงไปกินเข้าสาลีกต็ ิดบ่วงของบุรุษนัน สมันร้องบอก
สุนัขจิงจอกว่า ท่านสหายบัดนีตัวเราติดบ่วงอยู่ไม่อาจจะไปได้แล้ว เชิญ
สหายช่วยเปลืองปลดเราให้พ้นจากบ่วงด้วยเถิด สุนัขจิงจอกเห็นสมันติด
บ่วงแน่นหนาเช่นนันแล้ว จึงคิดว่าคราวนีสมความปราถนาของเราแล้ว เรา
จะได้กินเนือสมันนีเปนแท้ แล้วสุนัขจิงจอกเข้าไปซ่อนอยู่ในสุมทุมตาบล
หนึ่งซึ่งมีอยู่ในที่ใกล้ สมันจึงกล่าววิงวอนว่า ท่านสุนัขจิงจอกผู้สหาย เหตุ
ไฉนท่านจึงทาลายทางไมตรีไม่มาช่วยทุกข์ภัยของเราผู้เปนสหายเล่า ดูกร
สุนัขจิงจอก ผู้ที่เปนมิตรสหายกันจะได้รู้ว่าเปนสหายจริงนัน ก็เมื่อเวลา
ทุกข์ภัยอันตรายมาถึงแก่สหายข้างหนึ่งแล้ว ถ้าสหายข้างหนึ่งได้ช่วย
ขวนขวายเปลืองทุกข์นัน ๆ จึงจะรู้ว่าเปนสหายจริง ผู้ที่แกล้วกล้านันเมื่อ
เวลาเข้าไปยังสมรภูมิที่ผจญ จึงจะรู้ว่าเปนผู้กล้าแลผู้ขลาด อนึ่งวิสัยคนที่มี
ภรรยานันเล่า เมื่อเวลาเสื่อจากลาภยศสินทรัพย์สิ่งสินแล้ว จึงจะได้รู้ว่า
ภรรยารักจริงแลรักไม่จริง คานีก็มีมาในคัมภีร์นิติศาสตร์ ข้าพเจ้ากับสุนัข
จิงจอกได้ผูกไมตรีเปนสหายกันมานานแล้วมิใช่หรือ เหตุไฉนท่านจึงไม่
ตังอยู่ในความยุติธรรมความสัตย์ ไม่ช่วยกันแร้วให้ขาดเปลืองทุกข์ของ
ข้าพเจ้าผู้สหายเสียเล่า จันทรพุทธิสุนัขจิงจอกได้ยินสมันกล่าววิงวอน
เช่นนัน จึงแกล้งกล่าวว่า แน่สมันผู้สหาย บ่วงที่ท่านติดอยูน่ ันมั่นคงแน่น
แฟ้นนัก เหลือวิสัยที่เราจะกัดให้ขาดได้แล้ว อนึ่งเรานีได้อาบนาชาระเกล้า
สมาทานพรตตังอยู่ในศีลเปนผู้หมดจดดีแล้ว ซึ่งท่านจะมาให้เรากัดแร้วที่
มีเจ้าของหวงแหนอยู่นัน เราทาไม่ได้แล้ว กลัวศีลจะขาดจะมัวหมองไป
แน่สมันผู้สหายเรานีคิดเห็นว่าแม้จะถึงความตายก็ตามเถิด ศีลคุณที่เปน
การดีนัน จาจะต้องรักษาไว้ให้มั่น เพราะเหตุนันท่านจงอุตสาหะดึงบ่วง
นันให้ขาดด้วยกาลังตนเถิด ครันกล่าวดังนันแล้ว สุนัขจิงจอกก็แอบเข้ามา
อยู่ในที่รกตาบลหนึ่งซึ่งใกล้ที่อยู่แห่งสมัน ด้วยคิดว่า ครันเราจะเข้าไปกัด
สมันกินทังเปนณบัดนี ฝูงสัตว์ทังหลายก็จะครหาได้ ว่าชาติสุนัขจิงจอก
แกล้งลวงหลอกผูกไมตรีแล้วฆ่าสหายกิน หาควรไม่ ภายหน้าต่อไปใคร
เลยเล่าจะมาผูกไมตรีกับเราอีก เราก็จะว่างเว้นอยู่แต่ผู้เดียว แม้เราจะลวง
หลอกสัตว์อื่นกินอีกนันยากที่จะทาได้ อย่ากระนันเลยเมือ่ สมันตายเองแล้ว
เราจึงค่อยกินเถิด ครันคิดดังนันแล้วสุนัขจิงจอกก็หมอบแอบอยู่ณที่รกนัน
ครังนันกาปังสุพุทธิคอยท่าสมันผู้สหายอยู่หลายวันไม่เห็นกลับมา จึง
ราจวญจิตต์คิดเห็นว่าชรอยสหายของเรานัน จะมีเหตุอันตรายสิ่งให้สิ่ง
หนึ่งเปนแม่นมั่น แล้วบินไปเที่ยวเสาะหาสมันผู้สหาย ครันเวลาเช้าได้เห็น
สมันติดบ่วงอยู่ที่ทงุ่ นาเข้าสาลีนัน กาจึงถามว่า ดูกรสหาย ไฉนท่านจึงมา
ติดบ่วงแน่นอยู่เช่นนีเล่า สมันได้ยินเสียงกาปังสุพุทธิก็ค่อยมีจิตต์รื่นเริง
ขึนมาจึงตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้สหายซึ่งเรามาติดบ่วงต้องทุกข์ทรมานกายอยู่
เช่นนี เพราะไม่เชื่อคาสอนสหายผู้มีปัญญา มาเชื่อฟังคาสุนัขจิงจอกผู้เลว
ทรามต่าช้า ซึ่งเปนดังนีนี่เพราะโทษข้าพเจ้าโฉดเขลา ดูกรสหาย วิสัยสัตว์
ทังหลายเมื่ออันตรายจะมาถึงตนแล้ว แม้บัณฑิตจะสั่งสอนเท่าใด ๆ ก็ไม่
ถือตามถ้อยคาของท่านผู้มีปัญญาได้ ไปเชื่อฟังคาของสัตว์ที่ต่าช้ามาหลอก
ตน เพราะเหตุนันจึงต้องถึงความพินาศจากสุขสมบัติของตนไป กาจึงถาม
ว่า บัดนีจันทรพุทธิสุนัขจิงจอกผู้พาลนันมันไปข้างไหนเสียเล่า สมันจึง
บอกว่ามันซ่อนเร้นแฝงอยู่ในที่รกคอยจะกัดกินข้าพเจ้านีเปนอาหาร กาจึง
กล่าวว่า เมื่อก่อนนันเราได้ห้ามท่านแล้ว ว่าอย่าไปคบหากับสุนัขจิงจอกผู้
หินชาติต่าช้านันเลย ท่านก็ไม่เชื่อคาของเรา จึงต้องถึงทุกข์ภัยอันตรายโต
ใหญ่ถึงเพียงนี ดูกรท่านสมันสัตว์เหล่าใดเปนผู้ไม่ซื่อตรงต่อมิตรสหาย
มักล่อลวงประทุษร้ายมิตรสหายก็ดี พูดไม่จริงไม่ถูกต้องด้วยเยี่ยงอย่างให้
ผิดทางไปก็ดี ไม่มีศีลไม่ตังอยู่ในยุติธรรมก็ดี เปนผู้มักได้ก็ดี มีความโกรธ
มาก็ดี ผู้ใดไปผูกไมตรีคบหาด้วยสัตว์ที่ใจบาปเหล่านีไว้เปนมิตรสหายแล้ว
ผู้นันก็จะถึงความพินาศแลทุกข์ภัยอันตรายเปนแท้ กากับสมันได้โต้ตอบ
กันอยู่ดังนี ในทันใดนันบุรุษผู้เจ้าของถือศัสตราแล้วเดิรออกมาจากบ้าน
ครันกาได้เห็นชายผู้นันจึงให้อุบายแก่สมันว่า เมื่อชายนันมาถึงแล้ว ท่านจง
ทาอุบายนอนนิ่งอยูป่ านประหนึ่งว่าท้องขึนตายเสียแล้ว เมือ่ ชายผู้นันแก้
บ่วงแล้วแลไปตัดเถาวัลย์นัน เราจะลงไปจับอยู่ที่ตัวท่านแล้วจะร้องเปน
เสียกาขึน ท่านจงลุกขึนแล้วรีบวิ่งไปเสียให้พ้นเถิด แล้วกาจับอยู่บนต้นไม้
คอยจ้องดูกิริยาชายผู้นัน บุรุษเจ้าของบ่วงเล่า ครันมาถึงแล้วก็เห็นสมัน
นอนกลิงอยู่ มีอาการปานประหนึ่งว่าตาย แล้วคิดเห็นว่าสมันนีติดบ่วง
แล้วแต่เวลาหัวค่าจึงตายเสียแล้ว ก็ตรงเข้าไปตบดูที่ท้องสมัน เห็นว่าท้อง
ขึนแล้วก็สาคัญว่าตายจริงแล้วก็แก้บ่วงออก ถือมีดเดิรไปหวังว่าจะตัด
เถาวัลย์มาผูกจะได้หามเข้าไปบ้าน กาเห็นว่าเปนทีแล้วจึงบินลงมาจับที่ตัว
สมันร้องขึนเปนเสียงกา สมันได้สติขนมาแล้ึ วก็ลุกขึนวิ่งหนีเข้าไปในป่า
รก โดยทางทีส่ ุนัขจิงจอกแอบอยู่นัน บุรุษนันแลมาเห็นว่าสมันวิ่งไปเสีย
ไกล ครันจะไล่ตามไปก็ไม่ทัน จึงเอามีดโต้ที่ถือไว้นันขว้างไปในที่รก ก็
บันดาลให้มีดนันตกลงถูกสุนัขจิงจอก สุนัขจิงจอกผู้ทาลายทางไมตรีก็ถึง
ความตาย กาลักขุปตนะได้ชักนิยายมาสาธกความให้หิรัณกะพระยาหนูฟัง
ดังนันแล้ว จึงกล่าวว่า ดูกรพระยาหนูผู้สหาย ชนผู้ใดคิดจะปองร้ายแก่
ท่านผู้ตังอยู่ในความสัตย์ก็ดี ผู้เปนมิตรสหายกันก็ดี หรือคิดประทุษฐร้าย
แก่บิดามารดาปู่ย่าตายายครูบาอาจารย์แลท่านผู้มีคุณก็ดี แก่สมณะชี
พราหมณ์ที่ตังอยู่ในศีลในสัตย์ก็ดี ชนผู้นันก็แพ้แต่ศัตรู ๘ จาพวกด้วยโทษ
๑๐ ประการอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะมาถึงแก่ผู้นันด้วย ถ้าไม่ถึงในขณะนัน
ไซ้ ในสามวันหรือสามเดือนสามปีก็คงจะมาถึงแก่ผู้ใจบาปไม่รู้คุณท่าน
นันเมื่อไรเมื่อหนึ่งเปนแท้ เหมือนหนึ่งจันทรพุทธิสุนัขจิงจอกผู้ใจบาปคิด
ประทุษฐร้ายสมันมริจิปาลินิผู้เปนสหายตังอยู่ในความสัตย์ โทษทังปวง
นันก็กลับกลายให้ผลแก่ตนเองมิใช่หรือ อนึ่งผู้ใดมีปัญญารู้คุณท่านตังอยู่
ในสัตย์ในธรรมไม่ทาลายมิตรไมตรี ผู้นันจะมีสุขสาราญจะเปนที่
สรรเสริญของบัณฑิตทังปวง เหมือนหนึ่งกาปังสุพุทธิสมันกับมริจิปาลินินี
ได้คบหาเปนมิตรสหายกันไม่ทาลายทางไมตรี ได้พ้นจากทุกข์ภัยแล้วแล
กลับไปอยู่ในป่าจาปากาวี ได้จาเริญทางไมตรีพร้อมกันจึงได้อยู่เย็นเปนสุข
จนสินชีพ ครันตายไปแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ทังสองเปนตัวอย่างมิใช่
หรือ สุนัขจิงจอกนันครันได้เปนมิตรไมตรีกันแล้วก็มาทาผิดทางเสียความ
สัตย์ จึงเกิดอุปัทวันตรายถึงความตายแล้วต้องไปเกิดในนรกใหญ่ ดูกร
พระยาหนูข้อซึ่งเปนมิตรไมตรีกันนันเปนการดี ประโยชน์ก็มาก เพราะว่า
เมื่อจะมีทุกข์ร้อนน้อยใหญ่ก็จะได้ปรึกษากันแล้วจะได้ไปมาหากัน เมื่อมี
กิจการสิ่งหนึ่งแลสิ่งใดจะได้ร่วมสุขร่วมทุกข์กันฉนีจนชัว่ บุตรแลหลาน
สืบกันไป อนึ่งวิสัยคนที่โฉดเขลานันเมื่อไม่รู้ความดีของท่านที่ดีกว่าตน ผู้
ตังอยู่ในธรรมแลความสัตย์ก็ไม่ได้คบหาสมาคมเปนมิตรสหายกับท่าน จึง
ไม่ได้อยู่เปนสุขสาราญมีอายุก็สัน ท่านผู้ดีที่มีปรีชานันได้รอบรู้ความดี
ของท่านที่เปนสัตย์เปนธรรมที่ดีกว่าตน แล้วได้ไปคบหาเปนมิตรสหายกับ
ท่าน ได้ประกอบกิจการสิ่งที่เปนประโยชน์ให้ยิ่งๆ ขึนไปจึงได้อยู่เย็นเป
นสุขสาราญ มีอายุกาลก็ยั่งยืนได้นาน แม้ด้วยเหตุข้อนีเราจึงต้องมาคบหา
ท่านเปนมิตรสหายกับท่าน พระยาหนูจึงตอบว่า แน่ท่านกา ในหมู่สัตว์
เหล่านีสัตว์ ๕ จาพวก คือกา ๑ เสือ ๑ งู ๑ แมว ๑ สุนัขจิงจอก ๑ เหล่านี
เปนผู้ชั่วช้าลามกดุร้าย ถ้าผู้ใดคบหาเปนมิตรสหายให้ชิดชมแล้ว ความฉิบ
หายทุกข์ภัยอันตรายก็คงจะมาถึงผู้นันเปนแท้ บัณฑิตท่านกล่าวมาเช่นนี ก็
กาย่อมเปนปัจจามิตรกับหนูมิใช่หรือ บัดนีท่านกาจะมาผูกไมตรีเปนมิตร
สหายกับเรานัน เราเกรงขามท่านนัก เกลือกจะมีอันตรายณภายหน้า ครัน
กาได้ยินพระยาหนูว่าดังนัน จึงตอบว่าคาซึ่งท่านว่านีจริงอยู่ แต่ว่าท่านจง
ฟังคาเราว่าก่อน ธรรมดาว่าไฟแม้เปนของร้อนนัก เมื่อเอานารดลงให้ดับก็
กลับเย็นลงไปได้ฉนั ใด แม้ผู้ที่เปนศัตรูกันเมื่อผูกไมตรีโดยยุติธรรมปฏิบัติ
ผ่อนผันให้ถกู ต้องตามอัธยาศัยกันแล้ว ก็กลับเปนไมตรีกันไม่ประทุษฐร้าย
ต่อกัน ทาสิ่งที่เปนประโยชน์แก่กันได้อีกฉันนัน อนึ่ง ผู้ใดกอบไปด้วยวิชา
เปรื่องปราชญ์เปนกาลังก็ดี มีอานาจศักดาเดชฤทธานุภาพเรี่ยวแรงเปน
กาลังก็ดี แม้ถึงพร้อมด้วยคุณเช่นนีถ้าไม่มีแยบคายทาผิดวิสัยไปแล้ว ก็ไม่
สามารถจะให้สาเร็จกิจนัน ๆ ได้ เพราะว่าเหมือนหนึ่งเสือมีเรี่ยวแรงว่องไว
ทาการเต็มอานาจได้ก็แต่บนบกซึ่งเปนวิสัยของตน ถ้าในนาผิดวิสัยของตน
เสียแล้ว เสือก็ไม่มอี านาจได้ จรเข้นันเล่าถ้าอยู่ในนาซึ่งเปนวิสัยของตนก็
สามารถจะมีอานาจได้ ถ้าขึนไปบนบกแล้วจรเข้ก็ไม่มีอานาจให้องอาจ
ว่องไวเหมือนเช่นในนาได้ อนึ่งเหมือนเกวียนบันทุกสิ่งของแล้วจะลากไป
บนบกก็อาจจะไปได้ดังประสงค์ ถ้าจะลงไปลากเกวียนในนา ใช่ทางแยบ
คายก็ไม่สาเร็จกิจดังประสงค์ได้ เรือเล่าเมื่อบันทุกของแล้วจะแจวจะถ่อจะ
พายจะแล่นใบไปในนาก็สามารถจะไปได้ดังประสงค์ จะเอาเรือขึนมาลาก
บนบกเช่นเกวียนก็ไม่แยบคาย ใช่วิสัยแห่งเรือ ฉันใดเราท่านทังหลายนีก็
เหมือนกัน แม้จะมีวิชาเปรื่องปราชญ์ก็ดี มีอานาจฤทธานุภาพว่องไวก็ดี ก็
สามารถจะให้สาเร็จกิจในที่แยบคายที่เปนวิสัยของตน ๆ ได้ ฉันนัน (กา
ชื่อลักขุปตนะ ครันได้ยินคาสุภาษิตพระยาหนูกล่าวดังนันแล้วก็ชื่นชม
ยินดี จึงตอบว่า ดูกรพระยาหนู่ คาซึ่งท่านว่าชอบแล้ว เราก็จะใส่ใจจาไว้
แม้คาของเราเล่าท่านก็จงจาไว้ด้วย)
ผู้ใดแม้มีชื่อเสียงเชือวงศ์ชาติตระกูล มีอานาจกาลังอานุภาพพร้อมไปด้วย
ลาภยศบริวาร ถึงพร้อมด้วยโยธาทวยหารก็ดี ถ้าผู้นันไม่ระมัดกายระวัง
วาจาแลทรมานจิตต์ของตนให้ปฏิบัติอยู่ในทางชอบแล้ว ผู้นันก็ชื่อว่าเปน
คนชั่ว ผู้ใดแม้โลกิยคุณเช่นนันไม่มีในสันดานตนก็ดี ถ้าได้ระมัดกายระวัง
วาจารักษาใจไว้ในทางธรรมที่ชอบแล้วผู้นันก็ชื่อว่าเปนผู้ดี ความปรกติใจ
ของคนชั่วนันเปรียบเหมือนหม้อดิน วิสัยหม้อดินนันเปนของแตกง่ายไม่
มั่นคง ครันแตกแล้วแม้จะมาประสานต่อติดจะให้สนิธชิดชมดังเดิมนัน
ยากที่จะทาได้ ฉันใด ก็ปรกติใจของคนพาลนัน แม้จะคบหาสมาคมเปน
มิตรสหายกับใครๆ ก็ดี ไม่ยั่งยืนได้นานไปมักร้าวฉานรวดเร็วฉับพลัน ฉัน
นัน วิสัยปรกติท่านผู้ที่ดีจะได้เปนเช่นนันหามิได้ แม้จะคบหาผูกไมตรีกับ
ใคร ๆ ก็ดีย่อมมีใจโอบอ้อมยั่งยืนนัก ถึงมิตรสหายจะพลังพลาดทาผิดสิ่ง
หนึ่งสิ่งใดก็ดี ไม่ถือโทษไม่เก็บใส่ใจไว้ แม้ร้าวฉานแล้วก็ดีย่อมประสาน
ได้ง่าย อีกข้อหนึ่งธรรมดาของคนพาลนันเปนประหนึ่งว่าผลไม้มีพิษ มีสี
ผิวพรรณภายนอกงามสุกสดใส แต่ภายในนันเต็มไปด้วยพิษ อนึ่งธรรมดา
ของคนพาลนันเปนประหนึ่งปลาเน่าที่ห่อไว้ด้วยใบไม้สด ภายนอกดีพอดู
ได้ ภายในปฏิกูล ความปรกติของบัณฑิตนันเปนดุจผลมะตูม ภายนอก
เกลียงเกลาดีภายในก็ไม่มีพิษ อีกข้อหนึ่งปรกติใจของคนดีนันเหมือนกับ
จันทน์กฤษณากลาภัก แม้จะเอามีดพร้าขวานถากฟัน กลิ่นนันก็หอมติดมีด
ขวานไปได้ ฉันใด ปรกติใจของบัณฑิตนี แม้คนพาลพลังพลาดทาผิด
ประทุษฐร้ายแก่ตนก็ดีมิได้ถือโกรธคิดจะทาตอบ ประกอบด้วยเมตตาแผ่
ไมตรีจิตต์คิดจะให้เปนประโยชน์ฝ่ายเดียว ฉันนัน คนพาลนันมีความหวัง
อยู่ ๒ ประการ คือพอใจจะยกโทษผู้อื่น ๑ มักกลบเกลื่อนความผิดที่มีใน
ตน ๑ บัณฑิตนันมักใช้กิจปัญญาเลือกสรรสิ่งที่ผิดแลชอบ การที่ผิดแล้วละ
เสีย การที่ชอบก็ประกอบตนไป อนึ่งบัณฑิตผู้อื่น ในการที่ชอบที่เปนประ
โยชน์ แลอุดหนุนคาชูสงเคราะห์คนดีที่ประพฤติชอบ แลปฏิบัติตาม
อัธยาศัยมิตรสหายในทางที่เปนประโยชน์แลเลียงชีวิตชอบ ท่านผู้ดีที่
เฉลียวฉลาดย่อมประพฤติตนในกิจที่ชอบที่แยบคายเปนต้น เช่นนีเราเห็น
ว่าท่านพระยาหนูเปนบัณฑิตประกอบกิจการที่ชอบ ต้องด้วยเยีย่ งอย่างของ
บัณฑิตเราจึงได้สวามิภักดิ์มาผูกไมตรีเปนมิตรสหายกับท่าน ตังแต่วันนีไป
ท่านจงจาไว้ว่าข้าพเจ้านีเปนมิตรสหายของท่าน พระยาหนูผู้ปรีชาครันได้
ยินคาสุภาษิตกาเจรจาเช่นนีก็มีความยินดีออกจากปล่องที่อยู่ของตนจึง
กล่าวว่า แน่ท่านกา เราได้ยินคาท่านเจรจามานีแยบคายต้องด้วยลักษณมิตร
สหาย เปนเครื่องเยือกเย็นจิตต์สนิธนัก ปานประหนึ่งว่าต้นพฤกษาที่ดา
ดาษด้วยกิ่งใบมีร่มเงาอันชิด มีบ่อนาอันเย็นสนิธ มีลมพัดเฉื่อยๆ พร้อมไป
ด้วยเครื่องหอมกระแจะจุณจันทน์ แม้บุรุษเดิรทางกันดารร้อนด้วย
แสงแดดมีความลาบากเหน็จเหนื่อยมาก บุรุษนันครันได้เข้าไปพักอาศรัย
ใต้ร่มไม้อาบนาประพรมกายด้วยเครื่องหอมแล้ว ก็รับลมที่พัดเฉื่อยๆ นัน
ความร้อนเหน็ดเหนื่อยก็ระงับหาย ความสุขสาราญก็เกิดขึนณทันใดนัน
ฉันใด โอวาทคาสอนของบัณฑิตนีก็เปนที่รื่นรมย์ท่านผู้ปรีชาสามารถจะ
ระงับความร้อนใจทาจิตต์ของบัณฑิตให้เยือกเย็นสนิธได้ ฉันนัน อนึ่ง
โอวาทคาสอนของบัณฑิตนีเมื่อใครได้สดับฟังแล้วย่อมเปนที่รักใคร่
บันเทิงใจ จะบาบัดความร้อนทุรนทุรายแลความวิตกของผู้นันให้สงบลง
แล้วแลทาใจให้เปนสุขสาราญได้ แน่ท่านกา มิตรสหายที่ชั่วนันมีอยู่ ๓
จาพวก คือสหายผูใ้ ดเมื่อทุกข์ร้อนมีขนแล้
ึ วไม่เปนที่ไว้ใจปรึกษากันได้ ๑
เมื่อมีกิจกังวลเกิดขึนไม่ช่วยกันทา ๑ เปนคนโลภเหลือล้นอยากได้ถ่ายเดียว
๑ มิตรสหายที่ชั่วเช่นนีอย่าได้คบหาไว้เปนมิตรให้ชิดชมกันเลย อนึ่งอัน
วิสัยคนทังหลายนีเมื่อได้ยินถ้อยคาที่ผนู้ ันเจรจามาก็ดี หรือได้เห็น
อากัปกิริยากายที่ผู้นันประพฤติลุกนั่งนุ่งห่มเปนต้นให้เหลือล้นพ้น
ประมาณตนไปก็ดี ผู้มีปรีชาก็ย่อมรู้ว่าผู้นันเปนคนชั่วโฉดเขลาไม่แยบคาย
ด้วยถ้อยคาแลอากัปกิริยาของผู้นันได้ บัดนีเราได้ฟังถ้อยคาของท่านแลได้
เห็นอากัปกิริยาของท่านแต่ล้วนดีชอบแยบคายถึงพร้อมด้วยองค์ลักษณ
แห่งมิตรสหาย ควรจะเปนไมตรีกันได้แล้ว เพราะเหตุนันตังแต่วันนีไป
ท่านกาจงจาไว้เถิดว่าข้าพเจ้านีเปนมิตรสหายของท่าน ข้าพเจ้าก็จะจาไว้ว่า
ท่านกาเปนมิตรสหายของข้าพเจ้าด้วย ตังแต่นันมาพระยาหนูหิรัณกะกับ
กาลักขุปตนะก็ได้ผูกไมตรีเปนมิตรสหายกัน
วันหนึ่งกาจึงชวนพระยาหนูว่าดูกรพระยาหนูผู้สหาย ถิ่นฐานที่อยู่ของเรา
นีคับแค้นขัดสนด้วยอาหารนัก จาเราจะต้องเสาะหาถิ่นอืน่ ที่สมบูรณ์ด้วย
อาหารดีกว่าที่นี่จึงจะชอบ พระยาหนูจึงตอบว่าดูกรสหาย เหตุไฉนท่านจึง
พูดง่ายๆ ว่า ให้ไปอยู่ที่อื่นละที่นเี่ สียเล่า วิสัยผู้มีสติปัญญาเมื่ออยากจะ
แปลงสถานไปอยู่ที่อื่นนัน ย่อมใช้สติปัญญาพิเคราะห์ดูก่อน ถ้าเห็นถิ่นอื่น
ดีกว่าที่เดิมแล้วท่านจึงไป แลถิ่นที่ท่านชวนจะให้ไปอยูน่ ันจะมี
คุณประโยชน์อย่างไร วิเศษดีกว่าถิ่นนีด้วยข้อไรเล่า กาจึงบอกว่ายังมีป่า
ใหญ่ตาบลหนึ่งชื่อว่าคันนะ ตังอยู่ทิศหรดีไกลจากที่นี่ไปประมาณโยชน์
เศษ ในป่านันมีบึงใหญ่แห่งหนึ่งชื่อกัปปุระ มีนาลึกใสสอาดแม้ระดูแล้งก็
ไม่รู้แห้ง ในประเทศริมบึงนันมีของกินผลไม้รากไม้ที่เปรียวหวานก็
สมบูรณ์มาก จะเที่ยวหาก็ได้ง่าย ปราศจากภัยอันตรายไม่มีผู้เปนปัจจามิตร
สหายสนิธของเรามีอยู่ ๒ สหาย คือเต่าชื่อมักขระ ๑ สมันชื่อสาขา ๑ สอง
สหายนีเปนสหายรักของเรา ทังอัธยาศัยก็ดีมีสติปัญญาก็มาก สามารถจะ
พิทักษ์รักษาคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายเราได้ เชิญสหายไปอยู่ที่โน้นเถิด
พระยาหนูจึงตอบว่า ดูกรสหาย เมื่อท่านไม่สมัคอยู่ณที่นีแล้วเราจะขืนอยู่
แต่ผู้เดียวก็ไม่ควร อนึ่งเล่าณถิ่นฐานที่ใดประกอบไปด้วยโทษ ๗ ประการ
คือเพื่อนบ้านไม่สมัคอยู่ ๑ อาหารการกินก็หาได้ยาก ๑ เครื่องเลียงชีวิตก็
ไม่ชอบธรรม ๑ มิตรสหายที่ดีที่ร่วมสุขร่วมทุกข์ได้ก็ไม่มี ๑ ผู้มีสติปัญญา
ก็ไม่มี ๑ อยู่ใกล้โจรผู้ร้ายคนกระด้าง ๑ คนที่เปนอริวิวาทมีมาก ๑ ถิ่น
สถานเช่นนันไม่ควรจะอยู่เลย ประเทศสถานตาบลใดถึงพร้อมด้วยคุณ ๕
ประการ คือผู้เปนใหญ่ในที่นันตังอยู่ในสัตย์ในธรรม ๑ มีแพทย์ผู้ฉลาด ๑
มีบัณฑิตผู้เปนพหูสูต ๑ ผู้สมบูรณ์มั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติอยู่มาก ๑ มีเข้านา
อาหารสมบูรณ์ ๑ ในที่ที่ถึงพร้อมด้วยคุณเช่นนีจึงควรจะอยู่ได้ คาเช่นนีมี
มาในคัมภีร์ แลถิ่นฐานที่เราอยู่นีก็ไม่ถึงพร้อมด้วยคุณเหล่านัน ด้วยเหตุนี
สหายกาจงมีความกรุณาพาเราไปยังสานักเต่าแลสมันที่เปนสหายรักของ
ท่านนันด้วยเถิด เพือ่ จะได้เคารพนับถือผูกไมตรีเปนมิตรสหายกันกับท่าน
ทังสองนันด้วย กาจึงกล่าวว่าดูกรพระยาหนูผู้เปนสหาย เราทังสองได้
ตังอยู่ในสัตย์ในธรรมจึงได้ผูกไมตรีเปนมิตรสหายกัน เมือ่ ท่านมีความ
ประสงค์จะไปแล้วข้าพเจ้าก็จะสงเคราะห์ท่านให้สาเร็จประสงค์ให้จงได้
ครันว่าดังนันแล้วกาลักขุปตนะจึงพาพระยาหนูไปยังบึงชือ่ กัปปุระ สู่
สานักเต่าแลสมันซึ่งเปนสหายรักของตนทังสองนัน ครันถึงแล้วจึงว่าแก่
เต่าแลสมันว่า ดูกรสหายทังสอง วิสัยผู้เปนสหายรักนันเมื่อสหายข้างหนึ่ง
มาถึงที่สานักของตนแล้ว จาจะต้องต้อนรับเชือเชิญนับถือเลียงดูด้วย
อาหารที่มีโอชารสต่างๆ ตามสติกาลังทาให้เปนปานประหนึ่งมารดาบิดา
คาเช่นนีมีมาในเนติปกรณ์ ก็พระยาหนูผู้นีเปนมิตรสหายของเราดีนักตังอยู่
ในสัตย์ในธรรม สหายทังสองพึงปฏิบัติเลียงดูพระยาหนูนีเหมือนพี่น้อง
ต่างมารดาบิดาแลครูอาจารย์เถิด คุณความดีพระยาหนูนี แม้จะสรรเสริญ
ไปสักพันปากก็ไม่รู้สินสุด แล้วกาลักขุปตนะก็เล่าข้อความซึ่งพระยาหนู
ได้กัดข่ายปล่อยพวกนกพิราบจิตรคิวาทังปริวารให้พ้นจากภัยอันตราย
ตังแต่ต้นจนจบ เต่าแลสมันสองสหายนันครันได้ฟังเกียรติคุณความดีพระ
ยาหนูหิรัณกะดังนันก็มีจิตต์ชื่นชมยินดี จึงได้นาผลไม้รากไม้ที่มีโอชารส
ต่างๆ มาให้พระยาหนูกินอิ่มหนาแล้ว พระยาหนูปราถนาเพื่อจะให้ปล่อง
อันเปนที่อยู่ให้แก่ตน แลหนทางที่จะได้ไปมาโดยสดวก จึงว่าแก่กาแลเต่า
แลสมันทัง ๓ สหายนันว่า ดูกรสหายทัง ๓ วิสัยราชสีห์ผู้มฤคราช เมื่อ
ปราถนาเพื่อจะให้เปนสง่าจะได้ข่มขี่สตั ว์ทังปวง แลจะป้องกันอันตรายอัน
จะมีมาแก่ตน จึงได้สร้างสุวรรณคูหาให้เปนที่อยู่ที่อาศรัยให้มั่นคงแน่น
หนา แม้จะไปในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ดี ครันถึงเวลาเย็นราชสีห์ผู้มฤคราชก็
กลับมานอนในสุวรรณคูหาไม่ไปในที่อื่น ครันรุ่งขึนเช้าเมื่อปราถนาจะ
เสาะหาอาหารเล่า ราชสีห์ผู้มฤคราชนันก็ออกจากสุวรรณคูหายืนอยู่ที่ปาก
ถาเปล่งสิงหนาท ๓ ครัง แล้วจึงไปยังโคจรสถานตามประสงค์ สัตว์เหล่า
อื่นที่อยู่ในป่านัน ครันได้ยินเสียงสิงหนาทแลได้เห็นตัวสิงหราช แล้วก็
ตลึงตกใจเกรงกลัวยิ่งนัก ก็วิ่งหนีไปตกห้วยแลเหว สิงห์ผู้มฤคราชครันได้
เห็นสัตว์ทังหลายกลัวเกรงเช่นนันจึงคิดว่า สัตว์เหล่านีเพราะกลัวเราแล
มาถึงอันตรายต่างๆ เช่นนีไม่ควรเลย เมื่อสัตว์เหล่าไรมีความนบนอบยา
เกรงในตนแล้ว สิงหราชก็มีความกรุณาได้ประคับประคองสัตว์นันให้พ้น
ภัยอันตราย เหล่าสัตว์ที่หมิ่นประมาทไม่กลัวเกรงนัน สิงห์ผู้มฤคราชก็
แผดกินเปนภักษาหาร ครันอิ่มสาเร็จแล้วก็กลับมายังสุวรรณคูหาอีก ฉันใด
เยี่ยงอย่างพระราชาเจ้าแผ่นดินก็เหมือนกัน เมื่อปราถนาจะทาศึกสงคราม
ช่วงชิงเอาเขตแดนบ้านเมืองพระราชาเจ้าแผ่นดินอื่น จาจะต้องทรงจัดเมือง
ของตนให้มั่นคงแน่นหนาพร้อมไปด้วยเสบียงอาหารก่อน แล้วจึงไปทา
การสงครามกับเมืองอื่น ๆ ได้ชัยชนะโดยง่าย เพราะว่าเมือ่ ไม่กระเตรียม
เมืองของตนให้มั่นคงไว้ก่อน แล้วไปทาการสงครามด้วยท่านเล่า ถ้าเสียที่
ปราชัยพ่ายแพ้แก่ปัจจามิตรแล้ว เหล่าปัจจามิตรก็จะติดตามมาย่ายี
บ้านเมืองของตนได้ อนึ่ง ครันได้ตระเตรียมอาณาเขตบ้านเมืองของตน
แน่นหนาสมบูรณ์แล้ว ก็จะมีกิตติศัพท์เลื่องลือไปในนานาประเทศ จะเปน
ที่เกรงขามยาเกรงสยดสยองแห่งท้าวพระยาสามนตราชทังปวงได้ ดูกร
สหายทังหลายข้าพเจ้าจะเล่านิทานสาธกความข้อนีให้ฟัง

นิทำนเรื่องพระเจ้ำมหำสมุทรกับพระเจ้ำสิริคุต
ครังก่อนได้ยินว่า ยังมีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า
มหาสมุทรครองสมบัติในเมืองมธุราฐ ยังมีพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์
หนึ่งซึ่งเปนหลานของพระเจ้าสมุทรนัน ทรงพระนามว่าพระเจ้าสิริคุต
ถวัลยราชในวิบูลนคร มีรีพลโยธาทวยหาญช้างม้าก็มาก ทรงพระดาริห์จะ
ยกกองทัพไปตีเมืองมธุราฐ จึงทรงปรึกษากับเสนาบดีชื่อกวีบัณฑิตมหา
อามาตย์นันจึงทูลว่า เยี่ยงอย่างพระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อนเมื่อจะไปทาสงคราม
นัน ย่อมตระเตรียมพระนครไว้ให้มั่นคงแน่นหนาก่อน จึงยกพลไปทาการ
ศึกกับเมืองอื่น ด้วยเหตุนัน ถ้าพระองค์จะไปทาการรณรงค์กับเมืองมธุราฐ
แล้วจงทรงพระดาริห์เตรียมจัดพระนครนีให้มั่นคงไว้ก่อน แล้วจึงค่อยยก
กองทัพไปทาสงครามจึงจะชอบ พระเจ้าสิริคุตจึงตรัสว่า ในเมืองเรานีมีรี
พลช้างม้าโยธาทวยหาญมาก ล้วนแกล้วกล้ากว่าเมืองอื่น จะต้องกลัวใคร
เล่า ท่านรีบจัดจัตุรงคเสนาให้พร้อมบริบูรณ์โดยเร็วเถิด มหาอามาตย์ผู้เปน
เสนาบดีก็กะเกณฑ์กระบวรทัพใหญ่ตามพระราชบัญชา เสร็จแล้วก็ไปทูล
พระเจ้าสิริคุตให้ทรงทราบ พระเจ้าสิริคุตมิได้ฟังคาอามาตย์ผู้บัณฑิต ซึ่ง
กราบทูลเปนการแยบคาย ทรงยกแต่มานะให้เกินประมาณเปนเบืองหน้า
แล้วก็ยกจัตุรงคเสนาแสนยากรไปทาสงครามกับมธุราฐนคร พระ
มหาสมุทรราชได้ทราบข่าวศึกดังนัน ก็ตระเตรียมพระนครของพระองค์
ให้มั่นคงแน่นหนา แล้วยกพลเสนาออกมาจากเมืองได้ผจญทัพพระเจ้าสิริ
คุต กองทัพพระเจ้าสิริคุตต้านทานมิได้ก็แตกกระจายกลับมา พระ
มหาสมุทรราชได้ทีแล้วจัดกระบวรทัพพร้อมกันแล้วก็ตีติดตามกระหนาบ
ไป พระเจ้าสิริคุตจะเข้าไปอาศรัยในเมืองของตนก็ไม่มั่นคง ต้องอพยบ
ครอบครัวหนีเข้าป่าไป พระเจ้ามหาสมุทรก็ยกกองทัพเข้าเมืองวิบูลนครได้
แล้ว ตรัสสั่งให้พวกทหารติดตามไปจับพระเจ้าสิริคุตมาได้ คาอย่างนีได้
ยินท่านเล่ากันต่อ ๆ มา ดูกรสหายทัง ๓ ยังมีนิทานอีกเรื่องหนึ่งว่า

นิทำนเรื่องนกมูลไถกับเหยี่ยว
ครังก่อนแต่นี ยังมีนกมูลไถน้อยตัวหนึ่งมาล่วงถิ่นฐานซึง่ เปนวิสัยของตน
เสีย แล้วบินไปกินนาในบ่อนาตาบลหนึ่ง ขณะเมือ่ นกมูลไถดื่มนาอยู่นัน มี
เหยี่ยวตัวหนึ่งมาโฉบเอาตัวไป นกมูลไถก็โศกเศร้าเสียใจบ่นเพ้อว่า โอ!
เรานีไม่รปู้ ระมาณมาล่วงถิ่นฐานของตน จึงต้องเปนอาหารของท่านหนอ
ถ้าแม้เราอยู่ในที่ของเราแล้ว พอจะคิดอ่านสู้รบลองกาลังได้บ้าง ครัน
เหยี่ยวได้ยินดังนันจึงท้าทายว่า เฮ้ย นกมูลไถน้อยมึงตกอยู่ในเงือมมือของ
กูจะต้องตายด้วยปลายเล็บของกูอยู่แล้วไม่รู้หรือ เหตุไฉนมึงไม่ปลงใจถึง
ความตาย ยังคิดถึงถิ่นฐานของตนมาบ่นเพ้อว่าจะสู้รบลองกาลังอีกเล่า มึง
อยากลองกาลังด้วยกูอีกหรือ นกมูลไถจึงตอบว่า ดูกรท่านเหยี่ยว บัดนี
ข้าพเจ้าตกอยู่ในเงือมมือของท่าน ถ้าแม้ท่านปล่อยข้าพเจ้าให้ไปถึงถิ่นฐาน
ของข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะขอคิดอ่านลองกาลังผจญกับท่านพอจะได้บ้าง
เหยี่ยวจึงตอบว่า เออกูจะปล่อยเองไป เองรีบไปคิดอ่านลองกาลังกับกูให้
เร็วๆ เถิด ถ้ามึงไม่สู้รบกับกูแล้วกูจะกินมึงเสียทัง ๗ ชั่ววงศ์ของมึงให้สิน
ถ้ากูไม่สู้รบกับมึงแล้วมึงจงกินตัวกูเถิด ครันกล่าวดังนันแล้วเหยี่ยวจึง
ปล่อยนกมูลไถไป นกมูลไถก็รีบไปยังหลุมรอยเท้าโคที่มีก้อนดินแห้ง
แตกระแหงอยู่ซึ่งเปนวิสัยที่อยูข่ องตน ครันถึงปากหลุมแล้วจึงร้องท้าทาย
แก่เหยี่ยวว่า แน่ท่านเหยี่ยว ถ้าท่านจะลองกาลังกับเราแล้ว ท่านจงรีบลงมา
เร็วๆ เถิด ครันเหยี่ยวได้ยินดังนัน ก็โกรธนัก ร่อนลงมาด้วยกาลังแรงอัน
กล้าหวังว่าจะโฉบนกมูลไถนันให้ตาย นกมูลไถก็วิ่งไปแอบที่หลุมรอยเท้า
โค ครันเหยี่ยวโฉบลงมาอกก็กระทบก้อนดินระแหงได้ความเจ็บปวดนัก
ก็ยิ่งโกรธมาขึนไปไม่คิดถึงความตายเลย แล้วก็กลับบินขึนไปยังอากาศ
นกมูลไถก็วิ่งออกมาที่ปากหลุมร้องท้าทายขึนไปอีก ครันเหยี่ยวได้ยินก็ยิ่ง
โกรธนัก รีบร่อนลงมาโฉบอีกเปนหลายครัง อกกระทบดินระแหงเหยี่ยวก็
ตาย ทอดกายกลิงอยู่ที่ปากหลุม นกมูลไถไม่ได้ยินเสียงเหยี่ยววิ่งออกมาอีก
ก็เห็นศีร์ษะเหยี่ยวห้อยอยู่ที่ปากหลุม ก็ยังมีความขยาดอยูเ่ กลือกว่าเปนกล
อุบาย ครันพิเคราะห์ดูไปจึงรู้ว่าเหยี่ยวตายเปนแน่ นกมูลไถจึงออกมาเที่ยว
ร้องป่าวพวกเพื่อนมาดูศพเหยี่ยวผู้พาล แล้วก็พากันกินเหยี่ยวนันเปน
อาหาร
นิทานเรื่องนีข้าพเจ้าได้ยินท่านเล่ากันต่อๆ มาเช่นนี กาลักขุปตนะจึงกล่าว
ว่า ดูกรพระยาหนูผู้สหาย ข้อความนิยายซึ่งท่านบรรยายมานีชอบจริง
ไพเราะยิ่งนัก แม้ข้าพเจ้าก็จะขอกล่าวให้ท่านฟังบ้าง วิสัยสัตว์ทังหลายนี
เมื่อแปลกปลอมไปถึงถิ่นฐานผู้อื่นแล้ว ยกแต่มานะถือตัวว่าเปนอิศระมี
กาลังอานุภาพเปนประมาณไม่รู้เจียมตัวแล้ว ก็จะถึงความพินาศไปต่าง ๆ
เราจะขอเล่านิยายเรื่องหนึ่งให้สหายฟัง

นิทำนเรื่องสิงหรำชกับเขียด
ในครังก่อนล่วงลับไปแล้วนาน ยังมีไกรสรสิงหราชตัวหนึ่งเปนอิศระใน
ไพรใหญ่อาศรัยอยู่ในสุวรรณคูหา วันหนึ่งออกจากถาเที่ยวเสาะหา
ภักษาหารตามแนวไพร ก็ไปถึงชายทุ่งใกล้หนองใหญ่ตาบลหนึ่งซึ่งมีกอ
บัวเปนอันมาก ยังมีเขียดน้อยตัวหนึ่งขึนมาเกาะอยู่บนใบบัว เห็นพระยา
สิงหราชมาถึงที่ใกล้จึงร้องถามว่า ท่านนีมีร่างกายโตใหญ่ชื่อเสียงท่าน
อย่างไรเล่า จึงบังอาจเข้ามาในถิ่นของเรานี พระยาราชสีห์จึงตอบว่าเรา
แลเปนพระยาราชสีห์ผู้เปนใหญ่กว่าสัตว์ ๔ เท้าทังปวง เขียดจึงว่า ท่าน
เปนใหญ่ก็แต่ในป่า ท่านอย่าเข้ามาเบียดเบียฬย่าเหยียบถิ่นฐานของเรานีเลย
ไกรสรสีหราชได้ยินดังนันก็มีความโกรธ จึงร้องท้าทายไปว่า เฮ้ย เขียด
มึงเปนแต่สัตว์ผู้น้อย เหตุไฉนจึงบังอาจหมิ่นประมาณห้ามกูดังนีเล่า มึงจะ
ลองกาลังกับกูหรือ เขียดจึงตอบว่า แน่ ท่านสิงหราชท่านเปนใหญ่แต่ใน
ป่าได้เปนนายสัตว์ที่อยู่ในป่า ข้าพเจ้าก็เปนใหญ่ในหนองนี ได้เปนนาย
พวกเขียดทังหลายเหมือนกัน ครันว่าดังนันแล้วก็ขึนไปเกาะอยู่บนใบบัว
สูงกว่าก่อน พระยาสิงหราชครันได้ฟังดังนัน ก็ยิ่งมีความโกรธมากขึนไป
แล้วก็เปล่งสิงหนาทด้วยเรี่ยวแรงอันกล้า เขียดผู้ฉลาดก็โดดลงไปในนา
ครันเสียงสงบเงียบแล้ว เขียดก็กลับขึนมาอยู่บนใบบัวดังเก่า แล้วจึงร้องท้า
ทายไปอีกว่า แน่ท่านสิงหราช ท่านจะสู้รบกับข้าพเจ้าอีกหรือ พระยา
สิงหราชก็ยิ่งโกรธหนักขึนไป แล้วก็แผดเสียงอีกเปนหลายครัง ก็สุดสิน
กาลังอกแตกตาย เขียดจึงไปป่าวร้องให้กบแลเขียดทังหลายมาประชุมกันดู
ศพสิงหราช แล้วก็ชวนกันกินเปนอาหารให้เปนไชยมงคล ดูกรพระยาหนู
ผู้สหาย วิสัยสัตว์ทังหลายนี เมื่อจะอยูห่ ยุดพักอาศรัยในถิ่นฐานตาบลใด ก็
ให้มีที่หลีกหลบซ่อนเร้นให้แยบคาย แลให้มีผู้เปนที่พึ่งแอบอิงอาศรัยด้วย
จึงจะชอบ เพราะว่าเหมือนหนึ่งเขียดแม้เปนสัตว์ตัวน้อย เมื่อมีที่แอบอิงอา
ศรัยแยบคายอยู่แล้ว จึงได้ชัยชนะต่อไกรสรสิงหราชผู้มีอานาจมากมิใช่
หรือ เต่าชื่อว่ามักขระจึงกล่าวขึนว่า ดูกรสหายทัง ๒ เรื่องนิยายซึ่งสหายทัง
๒ ได้กล่าวสาธกเนือความมานีชอบจริงไพเราะยิ่งนัก แม้ข้าพเจ้าก็จะขอ
เล่านิยายให้สหายทัง ๒ ฟังบ้าง

นิทำนเรื่องสีหรำชกับกบ
ครังก่อนโน้นยังมีสีหราชตัวหนึ่งเปนใหญ่ในป่า อาศรัยอยู่ในสุวรรณคูหา
วันหนึ่งปราถนาเพื่อจะแสวงหาอาหาร จึงเที่ยวไปตามลาเนาแนวไพรไป
ถึงประเทศที่ใกล้จอมปลวกตาบลหนึ่ง ซึ่งเปนที่เคยอาศรัยอยู่แหงกบน้อย
ตัวหนึ่ง ครันกบได้เห็นสิงหราชจึงถามขึนว่า ท่านนีเปนสัตว์พรรณไร มา
แต่ไหน สิงหราชจึงตอบว่า เรานีเปนนายแห่งสัตว์ ๔ เท้าทังปวง ท่านจะ
ทาไมเล่า กบน้อยจึงตอบว่า ท่านนีมาถึงถิ่นของเราแล้ว ก็ไม่รู้ประมาณ
กล่าวถ้อยคาขู่รู่เช่นนีไม่ชอบกลเลย เมื่อท่านอยู่ในถาของท่าน ท่านจึงค่อย
ดุดันเช่นนีเถิด ครันสิงหราชได้ยินดังนันก็โกรธนัก จึงท้าทายว่า เฮ้ยกบเอง
ก็เปนแต่สัตว์ตัวน้อย มาว่าขานถ้อยคาอันเฉียบแหลม ไม่รู้จักผู้ดีผู้ใหญ่เลย
มึงจะใคร่สู้รบกับกูหรือ กบจึงตอบว่า แน่ท่านสิงหราช ถ้าท่านปราถนาจะ
ผจญกับเราแล้ว ท่านจงไปลองกาลังกับสิงหราชตัวหนึ่ง ซึ่งเราจับขังไว้ที่
บ่อนาโน้นดูเสียก่อน แล้วท่านจึงค่อยมาสู้รบกับเราเถิด สิงหราชครันได้
ยินดังนันยิ่งโกรธมากขึนไปจึงตอบว่า มึงขังไว้ที่ไหนเล่า จงพากูไปณบัดนี
กบน้อยก็พาสิงหราชไปในที่นัน ครันถึงปากบ่อแล้วกบจึงบอกว่า ท่านจง
หยุดยืนอยู่ที่นีก่อน เราจะไปบอกสิงหราชผู้นันให้รู้ก่อน จะได้ตระเตรียม
ตัวลองกาลังกับท่าน ท่านจงระมัดระวังตัวให้มากเถิด ครันกล่าวดังนันแล้ว
กบน้อยผู้ฉลาดก็โดดลงไปซ่อนตัวอยูณ ่ บ่อนา พระยาไกรสรครันไม่เห็น
กบน้อยขึนมาก็เดิรไปที่ปากบ่อ แล้วก้มลงมองดูได้เห็นเงารูปของตนในนา
ก็สาคัญว่าเปนราชสีห์ตัวอื่นที่กบได้บอกเล่าไว้นัน ยิ่งโกรธมากขึน เพราะ
ความโกรธกลุ้มใจจึงไม่ได้พิเคราะห์ให้รู้ว่าเปนเงารูปของตน แล้วก็เปล่ง
สิงหนาทด้วยเรี่ยวแรงอันกล้า สิงหราชเงานันก็ไม่สเทือนสท้านหวั่นไหว
พระยาไกรสรเห็นดังนันก็ยิ่งโกรธนักขึนไป แล้วก็แผดซาอีกเปนหลาย
คราว สิงหมฤคราชผู้พาลสุดเสียงสินกาลังอกแตกตาย กบน้อยไม่ได้ยิน
เสียงก็เข้าใจว่าราชสีห์นันเห็นจะตายแล้วเปนแน่ แล้วจึงค่อยคลานขึนมาที่
ปากบ่อ ก็ได้เห็นสิงหราชทอดกายตายอยู่ณที่นัน จึงไปร้องป่าวกบ
ทังหลายให้มาศพพระยาไกรสร แล้วก็ชวนกันกินเปนอาหารให้เปนไชย
มงคล นี่แลกบน้อยจ้อยนิดเดียว เพราะมีที่แอบอิงที่ส้อนเร้นอาศรัยจึงได้ชัย
ชนะต่อไกรสรสิงหราช ซึ่งมีกาลังเรี่ยวแรงมากถึงเพียงนันได้มิใช่หรือ
สมันชื่อสาขาครันได้ยินดังนัน จึงกล่าวว่า ดูกรสหายทังหลาย ข้อความแล
นิยายซึ่งท่านทังหลายกล่าวมานีชอบจริงแล้วควรยิ่งนัก ข้าพเจ้าจะขอกล่าว
ให้ท่านทังหลายฟังบ้าง ถึงมนุษย์ทังหลายก็ควรจะจาไว้ให้เปนคติทางข้อ
ปฏิบัติได้ วิสัยสัตว์ทังหลายนี แม้มีปัญญาเฉลียวฉลาดมีกาลังอานุภาพ
ศักดาเดชมาก หรือมียศบริวารทรัพย์สินมากก็ดี ถ้าไม่มีใครเปนที่พาดพิง
พักอาศรัย แลไม่มีถิ่นที่แอบอิงซ่อนเร้นได้แล้ว ผู้นันก็ชื่อว่าเหมือนหนึ่งไม่
มีปัญญาไม่มีอานุภาพไม่มีทรัพย์สินเช่นกัน
พระยาหนูหิรัณกะจึงตอบว่า ดูกรท่านทังหลายผู้เปนสหาย วิสัยมนุษย์
ทังหลายแม้เปนเอกราชมหากษัตริย์เจ้าแผ่นดิน หรือเปนเสนาบดีนายทัพ
ใหญ่แลเปนช่าวเฉลียวฉลาดในวิชาการศิลปศาสตร์ต่างๆ ก็ดี จาต้อง
ใคร่ครวญพิเคราะห์ดูการแลประเทศถิ่นฐานแลฤดูแลโภชนาหารให้แยบ
คายก่อน ถ้าสมบูรณ์ด้วยคุณนันๆ แล้ว จึงสามารถจะประกอบกิจการที่ตน
ปราถนานันๆ ให้สาเร็จตามประสงค์ได้ ถ้าไม่ตรึกตรองประกอบตนให้
สมบูรณ์ด้วยคุณนันๆ แล้ว แล้วจะคิดอ่านทาการสิ่งใดก็ไม่สาเร็จดัง
ประสงค์ได้ ด้วยเหตุนัน บัดนีข้าพเจ้าก็ได้มาอยู่ในถิ่นฐานที่สานักของท่าน
ทังหลายผู้เปนสหายที่รักแล้ว เห็นจะเปนสุขสาราญพ้นภัยอันตราย แล
บาเพ็ญการกุศลตามประสงค์ได้เปนแน่ เมื่อเราอยู่ณถาจิตรคุตถิ่นของเรา
โน้น เราได้จัดไว้แยบคายมั่นคงดี มีประตูปากถาทังทางที่จะไปท่านา แลที่
จะได้เก็บของกินก็มั่นคง ที่นั่งที่นอนก็สาอางสอาดดี ขอท่านผู้เปนมิตร
สหายทังปวงจงตกแต่งจัดถิ่นที่นีให้เหมือนดังที่โน้นด้วย ครังนันพระยา
หนูแลเต่าแลสมันสามสหายจึงพากันไปเที่ยวเสาะหาประเทศที่เปนไชยภูมิ์
ได้สร้างที่อยู่ให้มั่นคงแยบคายได้อยู่พร้อมเพรียงกันเปนสุขสาราญ ได้ไป
มาสมาคมร่วมสุขร่วมทุกข์กันทังกลางวันแลกลางคืนมิได้ขาด
ครันอยู่มากาลวันหนึ่ง สามสหายจึงว่าแก่พระยาหนูว่า ดูกรพระยาหนูผู้
สหาย มนุษย์ทังหลายนันเมื่อใครมีทรัพย์สมบัติยศบริวารมากแล้วก็ทยาน
เย่อหยิ่งถือตัวมากขึน ครันเสื่อมจากลาภยศบริวารนันๆ แล้ว ผู้นันก็เกิด
ความโศกเศร้าร่าไรคับแค้นในใจนัก ลาภยศบริวารนีเปนเครื่องชูใจทาใจ
ของมนุษย์ให้กาเริบนัก พระยาหนูจึงตอบว่า คาซึ่งท่านทังปวงกล่าวนัน
ชอบอยู่แล้ว แต่ว่าข้าพเจ้าจะขอเล่านิยายให้สหายทังหลายฟัง

นิทำนเรื่องฤๅษีกับหนู
ณครังก่อนยังมีเมืองหนึ่งชื่อจาปานคร ในเมืองนันมีฤๅษี ๒ องค์ ชื่อจุฬ
คันธะ ๑ วิตากัณณะ ๑ มาอาศรัยอยู่ณทิศตวันออกแห่งเมืองนัน ไม่ใกล้นัก
ไม่ไกลนัก สองฤๅษีนันได้อาศรัยเที่ยวภิกขาจารในจาปานครนันเปนเนือง
นิตย์ วันหนึ่งจุฬคันธะฤๅษีไปเที่ยวบิณฑบาตได้เข้าสุกมามาก ที่เหลือ
บริโภคนันใส่กระเช้า แล้วก็ไปแขวนไว้ค่าคบพฤกษาต้นหนึ่ง มีหนูตัว
หนึ่งอาศรัยอยู่ที่จอมปลวกซึ่งมีในที่ใกล้อาศรมแห่งฤๅษี หนูนันโดดขึน
กินเข้าสุกที่ฤๅษีแขวนไว้นันทุกๆ วัน วันหนึ่งหนูนันโดดขึนไม่ได้ตกลงที่
แผ่นดิน ณเวลานันวิตากัณณะฤาผู้เปนสหายของจุฬคันธะฤๅษีนันมาหาจุฬ
คันธะฤๅษี แล้วนั่งเจรจากันอยู่ในอาศรม ครันเห็นหนูตกลงมาจึงถามว่า
ดูกรท่านจุฬคันธะฤๅษี เหตุไฉนหนูนีจึงตกลงมาเล่า จุฬคันธะฤๅษีจึงตอบ
ว่า หนูนีโดดขึนไปกินเข้าสุกที่เราแขวนไว้ได้ทุกๆ วัน ครันมาวันหนึ่งขึน
ไปไม่ได้ ตกลงที่แผ่นดิน เช่นนีคงมีเหตุเปนแท้ เหมือนหนึ่งว่าหญิงสาว
น้อยมาเปนภรรยาชายชราต้องทามารยา ปานประหนึง่ ว่ารักผัวชรานันที่สุด
แม้ข้อนีก็มีเหตุอยู่ฉนัน วิตากัณณะฤๅษีจึงย้อนถามว่า ข้อซึ่งว่าหญิงสาว
น้อยแสร้งทามารยาว่ารักผัวชรายิ่งนักนัน เหตุนันเปนไฉนเล่า จุฬคันธะ
ฤๅษีจึงกล่าวว่า เหตุนันใช่อื่นเลยเพราะเห็นแก่ทรัพย์ของผัวผู้ชรา หญิง
สาวน้อยจึงแกล้วทาอาการปานประหนึ่งว่ารักผัวชรายิ่งนัก มีมาในคัมภีร์
เช่นนี เราจะเล่านิทานสาธกความให้ท่านฟัง

นิทำนเรื่องชำยชรำมีภรรยำสำว
ครังก่อนยังมีแว่นแคว้นชื่อโกศลชนบท ก็ในชนบทนันยังมีบุรุษผู้มีทรัพย์
มากคนหนึ่งเปนคนชราแล้ว ภรรยาของบุรุษนันถึงแก่ความตายบุรุษนันได้
นางกุมารีคนหนึ่งชื่อนางวรรณวันตี มีรูปโฉมอันงามมาเปนภรรยาต่อไป
นางกุมารีนันจะได้มีจิตต์รักใคร่ในผัวชรานันหามิได้ มีใจเร่าร้อนปาน
ประหนึ่งว่าถูกต้องด้วยสาผัสแสงพระอาทิตย์ แต่เพราะเห็นแก่ทรัพย์ของ
บุรุษชรานัน จึงทาอาการปานประหนึ่งว่ารักใคร่ยิ่งนัก ครันลับหลังแล้วก็
ทานอกใจไปคบหากับชายหนุ่ม ขณะนันเกิดความอัศจรรย์ให้มัวมืดไปทั่ว
ทิศ มีหญิงชราผู้ฉลาดคนหนึ่งเห็นกิริยานางกุมารีนันแปลกประหลาท จึง
สันนิษฐานลงชัดว่า เหตุข้อนีคงจะมีในนางกุมารีนีเปนแน่ ครันไต่สวน
ด้อมมองดูก็รู้เห็นว่านางกุมารีนันนอกใจสามีชราจริง แล้วหญิงชรานันจึง
สั่งสอนกาชับนางวรรณวันตีเสีย จะไม่ให้ทาการทุจจริตต่อไป ด้วยเหตุนี
จึงรู้ว่าในมนุษย์ทังหลายทรัพย์เปนใหญ่กว่าสิ่งอื่น วิตากัณณะดาบสครัน
ได้ยินคาจุฬคันธะดาบสกล่าวดังนันจึงตอบว่า คาซึ่งท่านว่านีจริงชอบด้วย
เหตุผล แม้เราก็จะขอเล่านิทานสาธกความอีกเรื่องหนึ่ง

นิทำนเรื่องชำยมั่งมีกับหญิงทำสี
ครังก่อนยังมีเมืองหนึ่งชื่อจาปานคร ก็ในเมืองนันมีชายผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก
คนหนึ่งชื่อมหาสาละ ยังมีหญิงน้อยคนหนึ่งชื่อโสมนัสสีเปนทาสีของบุรุษ
มหาสาละ ได้ลงไปทอหูกอยู่ที่ใต้ถุนเรือนทุกๆ วัน แลหญิงน้อยนันเป
นคนใจดีมีกิรยิ าเรียบร้อย แม้ใครจะแกล้งแคะไค้ด่าว่าหยาบคายอย่างไรก็ดี
นางทาสีไม่ได้ตอบถุ้มเถียงวิวาทกับผู้อนื่ เลย มหาสาละได้เห็นดังนันแล้ว
จึงคิดว่า ทาสีน้อยผู้นีเพราะเปนคนยากจนจึงเปนคนใจดี ถ้ามีทรัพย์ขึนแล้ว
จะเปนไฉนหนอ เราจะทดลองดูให้เห็นจริง คิดแล้วมหาสาละชายผู้มั่งคั่ง
นัน จึงเอาทรัพย์ร้อยกหาปณะแกล้งไปฝังไว้ตรงเท้าลงไปที่นางทาสีนั่งทอ
หูกอยู่นัน ครันรุ่งเช้านางทาสีก็ลงไปนั่งทอหูกตามเคย แต่วันนันมีใจ
กระด้างดุดันทังกิริยาก็รื่นเริง ได้ยินคาผู้อื่นพูดโต้ตอบกันก็ออกถุ้มเถียง
ดุดันพาลวิวาทกับผู้นันๆ แปลกกว่าแต่ก่อน มหาสาละจึงรู้ว่าทรัพย์นี
เปนเครื่องชูใจของมนุษย์ทังหลาย ให้มักโกรธให้เย่อหยิ่งถือตัวมัวเมา
ประมาทจริงหนอ ก็นางทาสีน้อยนีเปนแต่ได้นั่งใกล้ได้กลิ่นไปแห่งทรัพย์
ซึ่งยังไม่เปนของตน ก็ยังเย่อหยิ่งขึนได้ถึงเพียงนี แล้วจึงไปขุดเอาทรัพย์
นันกลับคืนมาเสีย นางโสมนัสสีก็กลับเปนคนใจดีมีกิริยาเรียบร้อยอย่าง
เก่า แม้ด้วยเหตุข้อนีข้าพเจ้าเห็นว่าณประเทศเปนที่อยู่ของหนูนันคงจะมี
ทรัพย์เปนแม่นมั่น สองดาบสปรึกษากันเช่นนีแล้วจึงเอาเสียมไปขุดลงที่
ปล่องหนูนัน ก็ได้ทรัพย์เปนอันมาก ประมาณ ๘๐ โกฏิแล้วก็ขนเอามาไว้
ในอาศรมของตนทังสิน ครันภายหลังหนูนันก็มากินเข้าที่แขวนไว้นันอีก
ก็ไม่อาจจะโดดจะปีนขึนไปได้ แล้วก็ค่อยๆ คลานเข้ามาหาฤๅษี มีอาการก็
แปลกกว่าแต่ก่อน ฤๅษีก็ได้ให้เข้าสุกแก่หนูนันกิน ครันกินอิ่มแล้วหนูก็
ค่อยคลานกลับไปยังที่อยู่ของตน เพราะเหตุนันจึงได้รู้ความชัดว่า ทรัพย์นี
เปนเครื่องจะให้เกิดมานะฮึกเหิม แลให้มีกาลังอานุภาพอันยิ่งใหญ่ขึน
พระยาหนูหิรัณยกะจึงว่าแก่เต่าแลสมันว่า ดูกรสหายทังสอง ในหมู่มนุษญ์
ทังหลายความชั่วของสัตรีมี ๕ ประการ คือกินสุรา ๑ นอนเกินประมาณ ๑
มักไปเที่ยวเรือนผู้อนื่ ๑ มักเล่นการตลกคนอง ๑ ไม่รักษาหิริแลโอตัปปะ ๑
เปน ๕ ประการ ถ้าสัตรีผู้ใดไม่เห็นโทษในความชั่ว ๕ อย่างนี ขืนประกอบ
ตนไว้ในความชั่ว ๕ อย่างนันอยู่ แม้บุรุษจะเกิดบุตรด้วยสัตรีนันสักร้อย
คนแล้วก็ดี ก็ให้รีบร้อนสละเสียให้จงได้ ถ้าไม่สละได้ก็จะต้องถึงความฉิบ
หาย ๒ อย่าง คือจะต้องเสียทรัพย์หรือจะถึงความตายอย่างใดอย่างหนึ่ง
เปนแน่ วิสัยท่านผู้มีปรีชาแล้วไม่คบหาสมาคมกับคนชั่วสิบจาพวก คือคน
มักพูดปด ๑ คนคิดล่อลวงท่านให้ผิดแล้วแลทาร้ายท่าน ๑ คนมักโกรธ ๑
คนมักเที่ยว ๑ คนมักพูดลบหลู่คุณท่านผู้มีคุณ ๑ คนมีความปราถนาใหญ่ ๑
คนเสพสุราเกินประมาณ ๑ คนนอนเกินประมาณ ๑ คนเล่นการพนันเกิน
ประมาณ ๑ คนมักหลงในสตรี ๑ คน ๑๐ จาพวกนีพึงเว้นเสียอย่าคบหาเลย
ถ้าขืนคบหาไซ้ในปัจจุบันนีก็จะต้องเสียทรัพย์สินเสื่อมจากสติปัญญาจะ
ไม่ได้ความสุขในโลกเบืองหน้า เพราะเหตุนันคน ๑๐ จาพวกนีผู้มีปัญญา
ท่านจึงไม่คบหาเลย ดูกรสหายทังสอง คนที่มีบุญถึงพร้อมด้วยคุณ ๒
ประการ คือมีปัญญา ๑ มีทรัพย์สินวาสนา ๑ เหล่าคุณทังสองนีทรัพย์สิน
วาสนานันเปนของไม่ถาวรมั่นคง ย่อมมีอันตรายด้วยภัย ๕ ประการ คือ
พระราชา ๑ โจร ๑ ไฟ ๑ นา ๑ คนไม่เปนที่รักใคร่พึงใจ ๑ ย่อมสาธารณ
ทั่วไปด้วยอันตราย ๕ ประการนี อนึ่งเมื่อพลัดพรากจากไปแล้วก็ต้อง
กลับเปนคนยากจนอนาถาน้อยวาสนาอีก ด้วยเหตุนันเล่า ท่านที่มีปัญญาดี
เมื่อเวลาสมบูรณ์ดว้ ยทรัพย์วาสนาอยูน่ ัน ย่อมบริโภคใช้สอยให้เปนสุข
สาราญในปัจจุบัน แลบริจาคทานให้เปนประโยชน์ต่อไปในเบืองหน้า
ทรัพย์คือปัญญานันเปนของยืดยาวยั่งยืนไม่ทั่วไปแก่อันตราย ๕ ประการ
แม้จะให้แก่คนทังหลายก็ไม่สินสุดเลย เมื่อจะไปในสถานที่ใดก็ติดตามตน
ไปได้ แม้จะดับขันธ์ไปก็เปนอุปนิสัยต่อไปในเบืองหน้า เพราะเหตุเช่นนี
หนูนันเมื่อเวลายังมีทรัพย์อยู่นันมีเรี่ยวแรงมาก เมื่อทรัพย์สินไปแล้วก็ถอย
กาลังลง ดาบสทังสองเพราะมีปัญญาจึงได้ทรัพย์มามิใช่หรือ กาเต่าสมัน ๓
สหายได้ยินคาพระยาหนูกล่าวชอบเช่นนัน ก็ให้สาธุการพร้อมกัน ลาดับ
นันกาลักขุปตนะจึงกล่าวว่าข้าพเจ้าจะขอเล่านิทานให้สหายทังหลายฟัง
เรื่อง ๑

นิทำนเรื่องวำนรกับจรเข้
ครังก่อนยังมีวานรตัวหนึ่งใหญ่เท่าโค ลงมากินนาในแม่นาคงคา ขณะนัน
มีนางจรเข้ตัวหนึ่ง ครันเห็นวานรใหญ่แล้วอยากจะใคร่กินตับวานรนัน จึง
ว่าแก่จรเข้ผู้ผัว่าข้าพเจ้าอยากจะใคร่กินตับแลหัวใจวานรใหญ่นี ถ้าไม่ได้
กินแล้วข้าพเจ้านีจะต้องตายจากไปเปนแน่ จรเข้ผู้ผัวจึงกล่าวว่าท่านเปน
สัตว์นามาปราถนาจะกินสัตว์บก ซึ่งมีวิสัยต่างกันนันยากที่จะได้กินอยู่
ท่านจงอดกลันระงับความอยากนันเสียเถิด นางจรเข้จึงว่าท่านเปนตัวผู้มี
สติปัญญามาก แต่ตับวานรตัวเพียงนีจะคิดเอามาให้เรากินยังไม่ได้ ถ้าอย่าง
นันเราก็คงจะตายเปนแน่ แล้วนางจรเข้ก็แกล้งทาอาการประหนึ่งว่าจะตาย
นอนนิ่งอยู่ จรเข้ผู้ผัวจึงว่าท่านอย่าเพ่อเสียใจเลย เราจะคิดลวงเอาตับวานร
นันมาให้ท่านกินให้จงได้ ครันว่าดังนันแล้วจรเข้ผู้ผัวก็ว่ายตรงเข้ามาหา
วานรใหญ่ จึงแกล้งกล่าวเปนอุบายว่า ดูกรวานรผู้ประเสริฐ ท่านอยู่ในต้น
มะเดื่อนีไม่มีประโยชน์เลย อาหารการบริโภคก็ขัดสนนัก ท่านจะขืนอยูไ่ ป
ทาไมเล่า ในคัมภีรท์ ่านกล่าวไว้ว่า ประเทศที่อยูไ่ ม่แยบคายมี ๔ สถาน คือ
ที่ไม่มีญาติเผ่าพันธุ์มิตรสหาย ๑ ที่ไม่อุดม ๑ ที่ไม่มีใครถือตามคติคนเก่า ๑
ที่ไม่มีกิจการจะให้เปนประโยชน์สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ๑ ประเทศที่อยู่ ๔ สถาน
นีไม่ควรจะอยูเ่ ลย แม้ได้อยู่มาแล้วก็จาจะต้องแปลงสถานให้จงได้ ใน
คัมภีร์มีมาเช่นนีมิใช่หรือ เหตุไฉนจึงขืนมาอยู่ในที่ขัดสนเช่นนีเล่า ดูกร
วานรผู้ประเสริฐ ฟากแม่นาคงคาข้างโน้นมีสวนตาบล ๑ เปนที่อุดมมี
ผลไม้รากไม้อันประกอบไปด้วยโอชารสมาก มีดอกไม้หอมขจรอยู่ทุกเมื่อ
แลมีสระนาดาดาษไปด้วยบัว ๕ ประการ ควรจะเปนที่สาราญรื่นเริงชื่น
อารมณ์นัก สวนนันแลควรที่ท่านผู้เปนพระยาวานรจะไปอยู่ ถ้าท่าน
ปราถนาจะไปแล้วเราจะสงเคราะห์ท่านไป อนึ่งเล่าเรานีแม้เปนสัตว์อยู่ใน
นาก็จริง แต่ว่ามีบัณฑิตผู้วิเศษคนหนึ่งมาให้เราสมาทานศีล ๕ แล้วสั่ง
สอนให้เราตังอยู่ในยุติธรรมความสัตย์ ให้ฉลาดในกิจที่จะทาประโยชน์แก่
ผู้อื่น ว่าเปนการกุศลอันประเสริฐ เพราะเหตุนันเราเห็นว่าท่านอยู่ในที่นี
ลาบากขัดสนด้วยอาหารยิ่งนัก เราหวังว่าจะให้เปนบุญเปนกุศล จึงคิดจะ
พาท่านไปอยู่ในที่อนั อุดมดี วานรใหญ่ครันได้ยินอย่างนันไม่ทันจะ
ใคร่ครวญดูก็เชื่อคาจรเข้มาลวงหลอก จึงตอบว่าแน่ท่านจรเข้ซึ่งเราได้มา
พบปะท่านผู้ใจบุญ รู้ทาประโยชน์แก่กันเช่นนีดีนักเปนลาภอันประเสริฐ
ของเราแล้ว ท่านจงสงเคราะห์พาเราไปส่งให้ถึงฝั่งคงคาฟากข้างโน้นด้วย
เถิด จรเข้จึงว่าดีแล้วถ้ากระนันท่านจงลงขี่หลังเราเถิด เราจะพาท่านข้าม
ไปถึงที่อุดมดีนันให้จงได้ แล้ววานรก็ลงไปนั่งบนหลังจรเข้ ๆ ก็รีบว่าย
ออกไปถึงกลางแม่นาคงคาแล้วจึงค่อยจมตัวลง วานรเห็นประหลาทจึงว่า
แน่ท่านจรเข้ท่านรับคาเราไว้ว่าจะไปส่งเราให้ถึงฟากข้างโน้น เหตุไฉน
ท่านจึงมากดตัวให้จมไปในกลางแม่นาเช่นนีเล่า จรเข้จึงขู่ว่าเฮ้ยวานรผู้โง่
เขลาต้องการอะไรที่เราจะไปส่งท่าน เราคิดจะกินตับหัวใจของท่าน จึง
แกล้งลวงท่านออกมากลางแม่นาเช่นนี ตัวท่านนีต้องเปนอาหารของเรา
แล้ว ยังไม่รู้หรือยังมาถามอีกเล่า วานรใหญ่ผู้มีปรีชาว่องไว ครันได้ยิน
ดังนันแล้วก็คิดจะลวงตอบจรเข้นันบ้าง จึงแกล้งกล่าวขึนณทันใดนันว่า
ท่านนีเปนผู้โฉดเขลานัก วิสัยวานรทังหลายเปนผู้เต้นโลดโดดโผนไปมา
บนต้นพฤกษา ถ้าเอาตับแลหัวใจไว้กับตัวแล้วจะมิชาชอกแหลกเหลวไป
เสียหรือ ด้วยเหตุนนเราจึ
ั งเอาตับแลหัวใจแขวนไว้ที่ต้นมะเดื่อเปนนิตย์ ซึ่ง
ห้อยเปนพวกแดงสุกสดอยู่เมื่อกีนันท่านไม่เห็นหรือ โน่นแน่ท่านแลดูเถิด
ซึ่งห้อยเปนพวง ๆ อยู่ที่ต้นมะเดื่อนัน คือตับแลหัวใจของเรา จรเข้แลไป
เห็นผลมะเดื่อมีจริง ก็สาคัญว่าเปนตับแลหัวใจของวานร จึงว่าถ้าท่านให้
ตับแลหัวใจของท่านแก่เราไซ้ เราจะพาท่านไปส่งให้ถึงฝั่ง ครันวานรรับว่า
จะให้แล้ว จรเข้ก็พาวานรกลับเข้ามาส่งถึงฝั่ง วานรก็โดดขึนไปบนต้น
มะเดื่อแล้ว จึงร้องบอกว่าเฮ้ยจรเข้โง่ วิสัยสัตว์ทังหลาย ตัวแลหัวใจนันอยู่
นอกกายมีบ้างหรือ ที่กูว่าจะให้ตับแลหัวใจแก่มึงนันคือผลมะเดื่อนีแลว่า
แล้วก็เก็บผลมะเดื่อโยนลงมา จึงร้องบอกอีกว่าซึ่งกูจะให้มึงนัน กูได้ให้มึง
แล้วตามถ้อยคากูว่าจริงมิใช่หรือ แต่คาซึ่งมึงว่ากะกูไว้นันไม่จริงสักข้อ
หนึ่งเลย มึงเปนคนเท็จกล่าวคาไม่จริง สวนของมึงนันกูไม่ไปแล้ว มึง
กลับไปกินผลไม้ที่สวนของมึงเถิด จรเข้ก็ได้รับความลอายแล้วดานา
กลับไปทังความโศกเศร้าเสียใจ
ข้อซึ่งจรเข้หลอกวานรให้อยู่ในเงือมมือของตนแล้วไม่ได้กินตับแลหัวใจ
วานรตามประสงค์กลับได้ความลอายต้องโศกเศร้าเสียใจเช่นนันนั่น เพราะ
ไม่ฉลาดจริงมิใช่หรือ แต่ข้อซึ่งวานรตกอยู่ในเงือมมือจรเข้ใกล้จะถึงความ
ตายอยู่แล้วกลับแก้ไขเอาตัวรอดได้มีไชยชนะเช่นนันนั่น ก็เพราะมีปัญญา
ฉลาดจริงมิใช่หรือ อันปัญญาซึ่งเกิดด้วยการได้สดับฟังมากนันสามารถที่
จะให้สาเร็จกิจกังวลทังปวงได้ เปนดุจหนึ่งมนต์ชื่อวิชามะยะ แลสามารถ
ให้สาเร็จความปราถนาในโลกิยคุณทังปวงดังประสงค์ได้ เปรียบปาน
ประหนึ่งว่าแก้วสารพัดนึกแลแก้วชื่อว่าโชติรสฉนัน เพราะเหตุฉนีกุลบุตร์
ทังหลายทีเ่ ปนกษัตริย์ พราหมณ์ เสนามาตย์ ราชมนตรี แม่ทัพนายกองทัง
ปวงซึ่งมีปัญญายิ่ง พึงตรึกตรองประกอบกิจการทังปวงให้พร้อมไปด้วย
มารยาแลปริยายแลอุบายนันๆ ตามสมควรเถิด คงสาเร็จดังประสงค์ได้ทุก
ประการ
พระยาหนู เต่า สมัน ครันได้ฟังคาสุภาษิตกาลักขุปตนะกล่าวดังนัน ก็มี
จิตต์ชื่นชมแล้วให้สาธุการพร้อมกัน ในขณะนันจิตรคิวาพระยานกพิราบ
กับบริวารคิดถึงคุณพระยาหนูหิรัณกะผู้ได้ช่วยชีวิตตนไว้ หวังว่าจะสนอง
คุณแล้วก็พากันบินมาหาพระยาหนูณที่นัน กาลักขุปตนะได้เห็นพระยา
นกพิราบจึงถามว่าท่านพระยานกพิราบทังบริวาร พระยาหนูได้ช่วยชีวิตไป
แล้วได้เปนสุขสาราญอยู่ด้วยกันสินหรือ พระยานกพิราบจึงตอบว่าเราทัง
ปวงเปนสุขอยู่สินแล้ว บัดนีเราระลึกถึงคุณพระยาหนูผู้มอี ุปการช่วยชีวิต
เราไว้ เราจึงได้มาบูชาสนองคุณท่าน แล้วพระยานกพิราบจึงให้พรแก่พระ
ยาหนูว่าข้าพเจ้าทังบริวารได้พ้นภัยอันตรายแล้วแลได้อยู่เย็นเปนสุขพร้อม
กันฉันใด ขอให้ท่านพระยาหนูผู้มีคุณทังบริวารจงได้อยู่เย็นเปนสุขสาราญ
ทุกทิพาราตรีกาลฉันนันเถิด พระยาหนูหิรัณกะจึงว่า ดูกรพระยานกพิราบ
วิสัยสัตว์ทังหลายนียากที่จะได้ทาคุณแก่กันได้ แลยากที่จะได้รู้คุณท่านที่
ทาแก่ตนไว้ แลยากที่จะได้ตอบแทนสนองคุณท่าน เพราะว่าหมู่สัตว์
ทังหลายนีอันตัณหามานะทิษฐิเหล่าคาหะทัง ๓ นีปกคลุมหุ้มห่อให้
มืดมนต์มัวเมาอยู่ทั่วทุกสกลสัตว์ อันบุคคลผู้มีความกตัญญูรู้คุณท่านนัน
เปนบัณฑิตมีอายุยั่งยืนพ้นโรคภัยอันตราย มีสุขสมบัติถาวรยั่งยืนยืดยาว
ยิ่งขึนไป ทังฤทธานุภาพศักดาเดชก็ยิ่งใหญ่ขึน ซึ่งจิตรคิวาพระยานกพิราบ
ทังบริวารมีกตัญญูรู้คุณท่านแลได้สนองคุณท่าน ได้มาอวยพรเคารพนบ
นอบนาเครื่องบรรณาการมาให้เช่นนีนี่ยากที่จะทาได้ ควรจะสรรเสริญนัก
แล้วจิตรคิวาพระยานกพิราบก็พากันทังบริวารคานับพระยาหนูผู้มีคุณตาม
วิสัยเดียรฉานแล้วก็กลับไป กา เต่า สมัน สามสหายก็ได้กินของบรรณาการ
อิ่มหนาสาราญ แล้วพระยาหนูจึงว่าแก่สามสหายเหล่านันว่าซึ่งพระยา
นกพิราบมาทาความดีไว้ พระยานกพิราบนีเพราะมีปัญญาจึงได้สั่งสอน
บริวารของตนพร้อมเพรียงกัน จึงได้พ้นภัยอันตรายได้อยูเ่ ย็นเปนสุขพร้อม
กันมิใช่หรือ เพราะเหตุนันวิสัยคนเปนพหูสูตรถึงพร้อมด้วยปัญญาแล้ว
เมื่อใครได้เชื่อฟังถ้อยคาท่านผู้มีปรีชาพร้อมเพรียงกันอยูแ่ ล้ว ก็อาจทา
กิจการกังวลทังปวงให้สาเร็จดังประสงค์ได้ทุกประการ ถ้าไม่เชื่อฟัง
ถ้อยคาท่านผู้มีปัญญาไม่พร้อมเพรียงกันแล้ว ก็ไม่อาจทากิจสิ่งใดให้สาเร็จ
ได้เลย เพราะเหตุนันสหายทังหลายจงตังโสตฟังคาของเรา จะเล่าให้ท่าน
ทังหลายฟังณบัดนี

นิทำนเรื่องนำยสำเภำกับลูกเรือ
ครังก่อนยังมีนายสาเภาคนหนึ่ง ชื่อคุตรวาสี อยู่ในจาปานคร นายสาเภานัน
เอาทรัพย์ ๔ โกฏิลงสาเภาพร้อมด้วยลูกเรือ ๕๐๐ คน แล้วใช้ใบแล่นไปใน
มหาสมุทร์ ก็บันดาลให้เกิดลมมหาระหัสพัดมาเปนพายุใหญ่ นายสาเภาจึง
ว่าแก่ลูกเรือทังหลายว่าบัดนีพายุใหญ่พัดมากล้านัก จาเราจะต้องทอดสมอ
ลดใบหยุดอยู่ในที่นีก่อนเถิด ลูกเรือเหล่านันไม่เชื่อฟังถ้อยคาของนายเรือ
ไม่พร้อมใจกันยังวิวาทถุ้มเถียงกันอยู่ ณทันใดนันพอลมเพ็ชหึงพัดมาถึงก็
ต้องทอดสมอลงในที่ที่ไม่แยบคาย จะลดใบก็ไม่ทัน เกิดคลื่นใหญ่ซัดเอา
สาเภาแตกกระจายไป ทรัพย์ ๔๐ โกฏิก็จมลงในมหาสมุทร์ ลูกเรือ ๕๐๐
คนก็ถึงความตายในทเลทังสิน นายเรือชื่อคุตรวาสี แม้ถึงมีปัญญาเฉลียว
ฉลาดล่วงรู้เหตุผลแยบคายอยู่ก็ดี เมื่อไปลาเดียวกับลูกเรือทังหลายเปนผู้
พาลดือดึงไม่พร้อมเพรียงกัน ไม่เชื่อฟังถ้อยคาของตนแล้วก็ต้องถึงความ
ตายด้วยมิใช่หรือ ด้วยด้วยเหตุนีท่านผู้เปนใหญ่ในสิริราชสมบัติก็ดี ท่านผู้
เปนแม่ทัพใหญ่ก็ดี เมื่อจะประกอบกิจราชการแลจะทาการสงครามก็ดี แม้
มีปัญญารู้เห็นเหตุผลแยบคายแล้วก็ดี จาจะต้องชาระชีแจงให้พร้อมเพรียง
กันได้ก่อนแล้วประกอบกิจราชการ แลทาการสงครามนันๆ โดยอุบายอัน
แยบคายเถิด จะมีผลประโยชน์มากเหมือนฝูงนกพิราบทังหลายได้พร้อม
เพรียงกันเชื่อฟังทาตามคาจิตรคิวาพระยานกพิราบ จึงพ้นภัยอันตรายได้อยู่
เย็นเปนสุขมิใช่หรือ ควรจะเอาเปนตัวอย่างให้จงได้
สามสหายครันได้ยนิ คาสุภาษิตของพระยาหนูกล่าวเช่นนันก็พากันให้
สาธุการว่าดีแล้วชอบแล้ว พระยาหนู กา เต่า สมัน ทัง ๔ สหายได้ผูกไมตรี
กันไม่ได้ทาลายทางไมตรี ได้ไปมาสมาคมพร้อมเพรียงกันทังกลางวันแล
กลางคืน ก็ได้อยู่เย็นเปนสุขสินกาลนาน ครันภายหลังพระยาหนูเกิดความ
ไข้ สหายทัง ๓ ช่วยกันพยาบาลทังกลางวันแลกลางคืนก็ไม่หาย หนูจึง
กล่าวว่าครังนีเราเจ็บมากอยู่เห็นจะไม่คืนได้ จะขอลาสหายทัง ๓ แล้ว ท่าน
ทังหลายจงมีใจรักใคร่ต่อกันอย่าทาลายทางไมตรี อย่าได้มีความกินแหนง
แคลงใจกัน จงปรึกษาการงารให้พร้อมกัน ในมนุษย์ทังหลายมีความเฉลียว
ฉลาดมาก ท่านทังหลายจงระวังตัวให้จงดี ครันกล่าวดังนันแล้ว พระยาหนู
หิรัณกะก็ถึงความตาย เมื่อขณะจะสินใจนันได้ระลึกถึงกุศลกิจที่ได้
ช่วยชีวิตพระยานกพิราบกับทังบริวารมาเปนคตินิมิต ดับจิตต์แล้วไปเกิด
ในสวรรค์ สามสหายก็พากันสักการบูชาศพพระยาหนูตามสมควร ตังแต่
นันมากาลักขุปตนะก็ดี เต่ามักขะระก็ดี สมันสาขาก็ดี สามสหายเหล่านีก็
ได้อาศรัยอยู่ในบึงชื่อกับปุระมีความรักใคร่พร้อมเพรียงกันสินกาลนาน
ครันภายหลังมีนายพรานเนือผู้หนึ่งมาถึงบึงใหญ่นัน ก็ได้เห็นรอยเท้าสมัน
จึงเอาบ่วงดักไว้ตามทางที่สมันเคยไปมานัน ครันถึงเวลาสมันจะมาที่
ประชุมก็ติดบ่วงของนายพราน ขณะนันกาก็มาที่ประชุมด้วย ได้เห็นสมัน
ติดบ่วงของนายพรานอยู่ ก็มีความเสียใจนัก แล้วรีบไปบอกกะเต่าว่าบัดนี
สมันผู้สหายของเราติดบ่วงนายพรานแล้วเชิญท่านรีบไปเร็วๆ เถิด เต่ากับ
กาก็พากันไปที่สมันติดอยู่นัน แล้วจึงช่วยกันพูดจาเล้าโลมเอาใจว่าท่าน
สมันผู้สหายอย่าสดุ้งตกใจกลัวเลย เราทังสองจะช่วยแก้ไขให้ท่านออกจาก
บ่วงให้จงได้ กาจึงว่ากะเต่าว่าท่านเต่าจงกัดเชือกบ่วงนี เราจะเอานามาพ่น
จะให้เชือกอ่อนลงแล้วจะได้กัดง่าย ครันว่าดังนันแล้วกาก็ลงไปอมนาที่บึง
มาพ่นลงที่เชือกนัน เต่าก็กัดไปจนตลอดรุ่ง เชือกก็ขาดได้เพียง ๒ เกลียวยัง
เหลืออีกเกลียวหนึ่ง พอรุ่งขึนเปนเวลาเช้ากาจึงว่ากะเต่าว่าท่านสหายจงรีบ
กัดให้เร็วเถิด รุ่งขึนแล้วจวนเวลานายพรานจะมาถึงแล้ว เราจะขึนไปจับ
อยู่บนยอดไม้จะได้คอยดูนายพรานจะออกมา เมื่อเห็นนายพรานออก
มาแล้วจะร้องให้เสียงให้รู้พร้อมกัน ครันรุ่งเช้านายพรานแบกพร้าโต้
ออกมา กาได้เห็นแล้วก็ร้องบอกว่านายพรานมาแล้ว เต่าก็เร่งกัดยังไม่ทัน
ขาด ในทันใดนันพอนายพรานมาถึง สมันเห็นนายพรานแล้วก็ตลึงตกใจ
ดินโดดด้วยความกลัวจนเชือกขาด แล่นหนีเอาตัวรอดได้ เต่าก็รีบคลานไป
จะลงบึงก็หาทันไม่ นายพรานก็จับเต่าใส่ข้องไว้ ครันกาเห็นว่าพรานจับ
เต่าได้เช่นนันก็มีความเสียใจนัก จึงไปปรึกษากับสมันว่าบัดนีพรานจับเต่า
ผู้สหายของเราไปได้อีกแล้ว เราจะคิดแก้ไขปลดเปลืองกันอย่างไรดี อย่า
กระนันเลย ท่านสมันจงทาอาการปานประหนึ่งว่าขาหักแล้วไปเดิรล่ออยู่
ข้างหน้านายพราน อย่าให้ไกลนักอย่าให้ใกล้นัก เมื่อพรานไล่ตามท่านไป
คงวางเต่าสหายของเราไว้ที่ใดที่หนึ่งเปนแน่ ครันพรานวางเต่าลงเมื่อใดเรา
จะร้องให้เสียงไป ท่านสมันจงรีบตระหลบกลับมาฉวยเอาเต่าผู้สหายของ
เรา แล้ววิ่งหนีเข้าไปในป่าให้จงได้ ครันปรึกษาสัญญากันตกลงเช่นนีแล้ว
สมันก็แกล้งทาอาการปานประหนึ่งว่าขาหักไปเดิรล่ออยูข่ ้างหน้านายพราน
ครันนายพรานเห็นสมันดังนันแล้วจึงบ่นว่าสมันตัวนีติดบ่วงของเราแล้ว
ดินจนเชือกขาดหนีไปหาตลอดไม่ ยังหันกลับมาหาเราอีก กรรมของมัน
แล้ว เราจะไล่จับสมันนีแก้แค้นให้จงได้ แล้วนายพรานก็เอาข้องเต่าแขวน
ไว้ที่ค่าคบไม้ต้นหนึ่ง จึงวิ่งตามสมันไป กาก็บินตามสมันไปด้วย ครันเห็น
ว่าไกลนายพรานจะกลับมาไม่ทัน กาจึงร้องให้เสียงสัญญาขึน สมันก็วิ่ง
ย้อนกลับมาเอาเขาของตนช้อนเอาข้องเต่าที่นายพรานแขวนไว้นันแล้วก็
หนีเข้าป่าไป นายพรานครันกลับเข้ามาจะเอาเต่าก็ไม่ได้มคี วามเสียใจ
กลับไปบ้านของตน แลสัตว์สามสหายนันเพราะรักใคร่พร้อมเพรียงกันจึง
ได้ช่วยกันให้พ้นทุกข์ภัยได้
วันหนึ่งกาจึงว่าแก่สองสหายนันว่าถิ่นฐานที่อยู่ของเรานี มนุษย์มาถึงได้
ใกล้ศัตรูอันตรายนัก ครันจะอยู่นานไปเห็นว่าจะไม่รอดชีวิตได้เปนแน่
ควรเราจะคิดอ่านแปรสถานไปอยู่ที่อื่นจึงจะชอบ เต่ากับสมันจึงตอบว่าถ้า
ท่านกาไม่ช่วยต่อความคิดแล้ว เราทังสองคงจะไม่พ้นอันตรายจริงอย่าง
ท่านว่า กาจึงพาเต่ากับสมันไปอยู่ในป่าอื่นซึ่งมีหนองใหญ่สมบูรณ์ด้วย
อาหารเปนที่ไกลมนุษย์ แม้มนุษย์จะไปก็ไม่ถึง สามสหายก็ได้รักษาทาง
ไมตรีมีความรักใคร่พร้อมเพรียงกันอยู่ในฐานที่นันจนสินชีพ ครันจุติแล้ว
เพราะกุศลที่ตังอยู่ในยุติธรรมความสัจก็ได้พากันไปเกิดในที่ชอบ
นี่แลข้อสุภาษิตพร้อมไปด้วยนิทาน ทังเหตุอุปมาซึ่งมีมาแต่ก่อนอย่างนี
เมื่อพระราชาเจ้าก็ดี อุปราชเจ้าก็ดี เสนามาตย์ราชมนตรีน้อยใหญ่ก็ดี เหล่า
ท่านผู้มีปรีชาก็ดี แลเปนเศรษฐีพ่อค้ามั่งคั่งด้วยทรัพย์สินก็ดี แลหมู่ไพร่
ชาวไร่ชาวนาก็ดี เมื่อได้สดับฟังแล้วพึงจาไว้ให้เปนคติ เปนแบบอย่างไว้
ให้แน่นอนจึงจะชอบ ข้อสุภาษิตเหล่านีได้รวบรวมมาประมวลไว้
พอสมควร
อาจารย์วิสมานะราชบัณฑิตได้ตลบเนือความข้างต้นมาย่นย่อไว้เปนข้อๆ
พอสังเขป กล่าวสอนพระราชกุมารทังหลายนันว่า ข้าแต่พระราชกุมาร
ทังหลาย เรื่องราวซึ่งได้กล่าวมาเหล่านี หวังว่าจะให้พระราชกุมารทังปวง
มีปรีชาญาณเปรื่องปราชญ์ในคัมภีร์นิติศาสตร์ เพื่อจะได้รู้เห็นแบบแผน
เยี่ยงอย่างการคดีโลกตามพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์ผู้เปนพระ
ราชบิดา แลข้อความที่ควรจะจาใส่ใจโดยย่อตามอนุสนธิแต่เบืองต้นนันว่า
จิตร์คิวาพระยานกพิราบ แม้มีปรีชาเปรื่องปราชญ์ล่วงรู้เห็นเหตุผลในเบือง
หน้า เมื่อกล่าวห้ามนกพิราบทังหลายที่เปนบริวารจะไม่ให้ลงไปกินปลาย
เจ้าของนายพรานเพราะกดขี่บริวารไม่อยู่ในถ้อยคาของตนได้ด้วย แล
นกพิราบทังหลายผู้เปนบริวารเพราะไม่ถือคาสอนของพระยานกพิราบผู้มี
ปรีชารอบรู้นันด้วย จึงพากันถึงทุกข์ภัยอันตรายติดข่ายของนายพราน
ทังสินมิใช่หรือ ครันบริวารทังหลายพร้อมใจกันประพฤติตามคาสอนของ
พระยานกพิราบผู้มีปรีชารอบรู้แล้วจึงพ้นจากเงือมมือของนายพรานได้มิใช่
หรือ เพราะเหตุนันพระราชกุมารสิ่งใดๆ จงปรึกษาให้พร้อมกันแล้วจึงทา
เถิด ข้อซึ่งนกพิราบทังหลายติดข่ายอยู่แล้ว เพราะได้ผูกไมตรีกับพระยา
หนูผู้เปนมิตรสหายดีตังอยู่ในความสัตย์มากัดให้ จึงได้พ้นภัยรอดจาก
ความตายได้มิใช่หรือ แม้ด้วยข้อนีถึงพระราชกุมารทังหลายจงผูกไมตรีคบ
หาด้วยมิตรสหายที่ดี ที่มีสติปัญญาตังอยู่ในยุติธรรมความสัตย์ไว้จึงจะ
ชอบ อนึ่งเหมือนพระยาหนู พระยานกพิราบ กา เต่า สมัน สัตว์เดียรฉาน
เหล่านี เมื่อผูกไมตรีกันนันก็ไม่เลือกว่าเชือวงศ์ชาติตระกูลเหมือนกันหรือ
ต่างกันสุดแต่เปนผู้ดีมีสติปัญญาซื่อตรงต่อมิตรสหายจึงได้ผูกไมตรีกัน แม้
พระราชกุมารทังหลายอย่าได้เลือกเชือวงศ์ชาติตระกูลต่าสูง อย่าได้ถือตน
ว่าเปนตระกูลกษัตริย์ พึงเสาะหาคนดีที่มีปัญญาเปรื่องปราชญ์ตังอยู่ใน
ความสัตย์แล้วคบหาไว้เปนมิตรสหายเถิด ข้อหนึ่งเหมือนพระยาหนู พระ
ยานกพิราบ กา เต่า สมัน สัตว์เดียรฉานเหล่านี เมื่อทุกข์ภัยของมิตรสหาย
เกิดมีขึนแล้วก็ไม่อาลัยในชีวิตของตน ช่วยเปลืองปลดโทษทุกข์กิจกังวล
ของมิตรสหายตนให้สาเร็จได้ฉันใด แม้พระราชกุมารทังหลายเมื่อทุกข์ภัย
เกิดขึนแก่มิตรสหายของตนแล้ว อย่าเพิกเฉยละเลยเสีย ต้องขวนขวาย แม้
จะเสียทรัพย์สินชีวติ ตนไปก็ดี จงช่วยปลดเปลืองให้สาเร็จจงได้ฉันนันจึง
จะชอบ วิสัยทรัพย์สินร่างกายทังชีวิตนีจะติดตามตนอยู่ได้แต่ชาติเดียวชั่ว
ชีวิตครองร่างกายเพียงนัน บุญคุณที่ซื่อตรงต่อมิตรสหายซึ่งได้ทาไว้นัน
เปนประโยชน์ยืดยาว แม้จะสินกัลป์ไปก็ไม่รู้สินรู้สุดเลย แลเปนที่
สรรเสริญเปนแบบอย่างแก่ประชุมชนภายหลังจนตลอดกัลปาวสาน
เหมือนจันทรพุทธิสุนักข์จิงจอกผู้พาลเพราะไม่ซื่อตรงต่อมิตรสหายจึงเกิด
วิบัติอันตรายต้องถึงแก่ความตาย เบืองหน้าแต่จุติจิตต์ไปต้องไปทนทุกข์
ในนรกใหญ่อีก เพราะเหตุนันพระราชกุมารทังหลายเมื่อผูกไมตรีเปนมิตร
สหายกับผู้ใด ซึ่งเปนสหายดีมีความสัตย์แล้ว อย่าคิดคดทาลายล้างทาง
ไมตรีคิดประทุษฐร้ายมิตรสหายของตนเลย อนึ่งเมื่อท่านผู้ใดได้ทาคุณแก่
ตนไว้แล้วอย่าลบหลู่คุณท่าน อย่าประทุษฐร้ายท่านผู้มีคุณเลย พระยาหนู
หิรัณกะเพราะเปนพหูสูตรได้สดับฟังมากมีปรีชาญาณเปรื่องปราชญ์ เมื่อ
ได้ฟังคากาลักขุปตนะกล่าวก็ดี แลได้เห็นอากัปกิริยาลุกนั่งก็ดี ได้แลเห็น
อินทรีย์กาลักขุปตนะไม่วิการก็ดี ก็ได้รู้ว่าเปนผู้ดี แม้พระราชกุมาร
ทังหลายพึงเล่าเรียนคัมภีร์นิติศาสตร์ อย่าได้ประมาทอุตสาหะจาใส่ใจซึ่ง
ข้อสุภาษิตแลนิทานต่างๆ ให้แม่นยา อบรมสันดานตนให้เปนคนพหูสูตร
ขึนจงได้จึงจะชอบ อนึ่งวานรใหญ่เพราะมีปรีชาว่องไวเปรื่องปราชญ์
เฉลียวฉลาด แม้จรเข้มาหลอกไปถึงนาลึกอยู่ในเงือมมือจรเข้แล้วก็ดี
เพราะมีปัญญาว่องไวจึงรอดชีวิตได้มิใช่หรือ ถึงพระราชกุมารทังหลายก็
ต้องหัดปรือฝึกฝนปรีชาญาณของตนให้รวดเร็วว่องไวเช่นนันด้วยจึงจะ
ชอบ อนึ่งกัปปุระช้างก็ดี จลัตถะแร้งแก่ก็ดี เพราะมีสุตคุณเปนผู้ไดสดับ
น้อยเหมือนสิงคะสุนักข์จิงจอกแลทีฆกัณณะแมวมาหลอกลวงก็ไม่ตรึก
ตรองเปรียบเทียบด้วยเรื่องราวมีมาแต่ก่อนโดยแยบคาย ไปเชื่อคาสุนักข์
จิงจอกแลแมวก็ถึงแก่ความตาย แลสุนักข์จิงจอกแมวผู้ทาลายชีวิตท่านทัง
สองนันก็ต้องไปทนทุกข์ในนรกใหญ่ แม้พระราชกุมารทังหลายพึงตรึก
ตรองให้เห็นโทษในการเปนผู้ได้สดับฟังน้อยแลงดเว้นเสียจากการฆ่าชีวิต
ท่านให้ห่างไกลเสียจึงจะควร อนึ่งเต่าผู้ตังอยู่ในความสัตย์เพราะกุศลจิตต์
คิดทาประโยชน์แก่มิตรสหาย จึงเข้าไปกัดบ่วง แม้นายพรานจับได้ก็หลุด
พ้นจากเงือมมือนายพรานได้กลับมาอยู่กับมิตรสหายเปนสุขสาราญมีอายุก็
ยั่งยืนนาน อนึ่งพระยาหนู กา เต่า แม้เปนเดียรฉานได้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
คุณได้เกือกูลแก่กันแลกันให้เปนสุขสาราญในปัจจุบัน ครันทาลายขันธ์ก็
ได้ไปเกิดในที่ชอบ แม้พระราชกุมารทังหลายจงศึกษาเล่าเรียนให้พร้อม
ด้วยปริยัติคุณแล้ว แลเกือกลแก่มิตรสหายของตนด้วยจึงจะชอบ อนึ่งเมื่อ
จะประกอบกิจการสิ่งใดๆ ก็ต้องตรึกตรองด้วยปัญญาก่อนแล้วจงประกอบ
กิจนันๆ เถิด ถ้าอยากให้ยาวก็ต้องตัดเสียให้สัน ถ้าอยากใหสันก็ต้องต่อ
ออกไป ถ้าอยากให้ใกล้พึงจากเสียให้ไกล ถ้าอยากให้ไกลพึงเข้าให้ชิด ถ้า
ลึกไซ้พึงหยั่งลงให้ถึงก่อน ถ้าตืนแล้วอย่าหยั่งเลย การไม่ควรคิดเร่งคิดเสีย
คาเหล่านีพระราชกุมารทังหลายพึงจาไว้ให้แม่นยา ความสินก็สินอยู่ ไม่
ควรพบก็พบอยู่ ไม่ให้สินก็ย่อมสินไป ไม่พึงได้ก็ย่อมได้ ไม่ให้ใกล้ก็ย่อม
ใกล้ ของใกล้ไซ้ก็กลับไกลไป ทางไกลไปคดก็ถึงได้ ถ้าไปตรงทางก็ค่อย
เปลืองไป ถ้าไปคดทางช้ายาวไป ถ้าลึกไซ้ที่ลึกก็มี ถ้าตืนแล้วที่ตืนก็มี ถ้า
คดที่คดย่อมมี ถ้าตรงแล้วต้องศึกษา ไม่ควรจะได้ต้องได้ ไม่รักชอบต้องชัง
เสีย ถ้าชังไซ้ต้องทาให้รัก แม้คาเหล่านีพระราชกุมารทังหลายพึงจาเอาไว้
ให้ได้ ข้าแต่พระราชกุมารทังหลายแม้สัตว์เดียรฉานทังหลายยังเปนพหู
สูตร อบรมปัญญาเที่ยวเสาะหามิตรสหายที่ดี ผูกไมตรีคบหาไว้ร่วมสุข
ทุกข์ ให้เปนประโยชน์ในปัจจุบันแลอนาคตกาลข้างหน้า พระราชาเจ้า
แผ่นดินก็ดี พระราชบุตรแลราชวงศานุวงศทังปวงก็ดี แลหมู่อมาตย์มุข
มนตรี แม่ทัพนายกองใหญ่น้องทังปวงก็ดี พึงสาเหนียกศึกษาคัมภีร์
นิติศาสตร์ต่างๆ ทังไตรเพท ธรรมศาสตร์แลคัมภีร์ช้าง คัมภีร์ม้า คัมภีร์พิ
ไชยสงคราม แลตาราแพทย์ ตาราโหร ปกรณ์ทานายนิมิตเปนต้น ให้รู้
เห็นเปนพหูสูตรไว้ให้ถึงพร้อมด้วยคติวิชาการณ์ศิลปศาสตร์นันๆ จึงจะ
ชอบ
----------------------------
อันปกรณ์หิโตประเทศวัตถุนี อาจารย์วิสมานะราชบัณฑิตได้เรียบเรียงมา
สั่งสอนพระราชบุตรทังหลายของพระเจ้ามหาสุทัศนราชเปนต้นเดิมมา
ก่อน

จบเรื่องราวหิโตประเทศวัตถุปกรณ์เพียงนี้

You might also like