Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 116

รายชื่อคณะกรรมการผู้รีวิวหนังสือ

1. คุณทศสิริ พูลนวล ผู้อ�ำนวยการศูนย์สุขคิดเพื่อการพัฒนาเด็ก

2. คุณพิมพ์อนงค์ ริมสินธุ บรรณาธิการอิสระ

3. พ.ต.หญิง ดร.พรรณพงา จุฬานนท์ อาจารย์ส่วนการศึกษา


โรงเรียนนาย ร้อยพระจุลจอมเกล้า

4. คุณนรมนต์ มหาศิริมงคล นักอ่านผู้รักแมว

5. คุณภรณี ศรีกงพาน พยาบาลนักอ่าน

6. “กุหลาบคิดถึง”
หนังสือติดดาว
Fiction
การเดินทางเที่ยวสุดท้ายของเรือปีศาจ (The Last Voyage of the Ghost Ship)
Gabriel García Márquez เขียน

แดนอรัญ แสงทอง แปล


พิมพ์ครั้งแรก ไม่ระบุปี โดยส�ำนักพิมพ์ปาปิรัส (ชื่อเล่ม คนจมน�้ำตายที่รูปหล่อ
ที่สุดในโลก ในนามผู้แปล เชน จรัสเวียง)
พิมพ์ครั้งที่สอง มีนาคม 2553
พิมพ์ครั้งที่สาม ตุลาคม 2559
ส�ำนักพิมพ์ สามัญชน
ISBN 978-616-7474-51-9

“...ข้าพเจ้าขโมยเรื่องสั้นเก้าเรื่องของท่านมาแปล ทุกเรื่องที่กล่าวถึงนี้ แทบ


จะพูดได้ว่าใช้ฉากที่เมืองไทยได้หมด คือ อ่านแล้วก็คลับคล้ายคลับคลา ว่ามันน่า
จะเกิดขึ้นที่ไหนสักแห่งในเมืองไทย ตัวละครที่เป็นชาวบ้านของท่านก็คล้าย ๆ ชาว
บ้านไทย เพียงแต่อาจจะฝันเฟื่องมากกว่าสักหน่อย แต่ยากไร้พอ ๆ กัน รักสนุกพอ
ๆ กัน ลามกอานาจารพอ ๆ กัน ที่เป็นนักการเมืองก็กระแดะพอ ๆ กัน จัดเจนกับ
ศิลปะของนักลวงโลกพอ ๆ กัน...”
ข้อความข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของจดหมายเปิดผนึกของแดนอรัญ แสงทอง
นักเขียนรางวัลซีไรต์ปี 2557 และนักเขียนผู้ได้รับอิสริยาภรณ์จากรัฐบาลฝรั่งเศส
ชั้น Chevalier du Arts et Lettre ในปี 2551 ที่ปรากฏอยู่ในรวมเรื่องสั้น การเดิน
ทางเที่ยวสุดท้ายของเรือปีศาจ เรื่องสั้นทั้ง 9 เรื่องนับได้ว่างานที่เผยให้เห็นชั้นเชิง
ทางด้านการประพันธ์ของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกช ทีม่ ไิ ด้มเี พียงกลวิธหี รือลีลาเล่า
เรื่องอย่างมีลักษณะเฉพาะตัวในแบบที่เรียกกันว่า Magical Realism เพื่อประโยชน์
ส�ำหรับผูส้ นใจการประพันธ์เท่านัน้ หากดัง่ ถ้อยค�ำทีส่ ำ� นักพิมพ์ได้โปรยไว้ หากยังเพือ่
‘ความรื่นรมย์ทางการอ่าน’ อีกด้ว
การฟื้นตื่นของเอ็ดน่า (The Awakening)
Kate Chopin เขียน

พันทิพา บูรณมาตร์ แปล


ไอดา อรุณวงศ์ บทกล่าวตาม
ปฐมพงศ์ น�้ำใจดี ออกแบบปก
พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ พ.ศ.2543 ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ. 2555 ส�ำนักพิมพ์ สมมติ
ISBN 978-616-7196-17-6

“...ถ้ามองจากหลักศีลธรรมจรรยาที่ฉันคุ้นเคยมาตลอดชีวิต ฉันก็เป็น
ตัวอย่างของหญิงคนชั่วคนหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ไม่รู้เป็นอย่างไร ฉันไม่ยักคิดว่าฉันเป็น
คนชั่วอย่างที่ใครๆ คิด...”
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ เขียนไว้ค�ำน�ำฉบับพิมพ์ครั้งแรกว่า “...อาจเป็นด้วยว่า
โลกนัน้ ชอบเล่นตลกกับชีวติ กระมัง แม้ชอื่ ของนวนิยายเล่มนีจ้ ะมีนยั หมายถึงการฟืน้
ตืน่ แต่ทงั้ หนังสือและชีวติ การเขียนหนังสือของโชแปงกลับถูกฆ่าหลังจากลืมตาดูโลก
ได้ไม่นาน ทั้งยังเป็นการถูกกลบฝังชนิดไม่ให้ผุดให้เกิด...”
หากพิจารณาจากบางส่วนของนวนิยายและสิ่งที่ชูศักดิ์เขียนไว้ในค�ำน�ำ ข้อที่
ควรพิจารณาต่อไป คือ ท�ำไมหนังสือเล่มนี้ถึงถูกกลบฝังชนิดไม่ให้ผุดให้เกิดถึงเพียง
นัน้ การฟืน้ ตืน่ ของเอ็ดน่า เล่าเรือ่ งราวของนางและนายปองติเยร์ ทีเ่ ดินทางไปพักผ่อน
และควรจะมีความสุขเฉกเช่นที่ครอบครัวมั่งมีทั้งเงินและลูกควรมี ทว่าลึกๆ ในหัวใจ
ของเอ็ดน่า ปองติเยร์ หล่อนตระหนักอยู่เสมอว่าตัวเองไม่ได้เกิดมาเพื่อท�ำหน้าที่คน
เป็นแม่ และภรรยาที่จงรักของสามี กระนั้นเมื่อหล่อนพบรักกับโรเบิร์ต ชายหนุ่มผู้
เปรียบเสมือนสายลมอิสระพัดพาหัวใจของเอ็ดน่าไปได้ไกลเท่าทีใ่ จปรารถนา กระนัน้
เคท โชแปง กลับพาเรื่องราวของความรักกับหญิงสาวไปได้ไกลกว่าแค่เรื่องราวของผู้
หญิงที่ต้องการแหวกกรงขังแห่งจารีต แต่ยังหมายถึงกรงขังแห่งความเป็นหญิงในตัว
เองอีกด้วย
เช่นนี้แล้ว การเกิดขึ้นของ การฟื้นตื่นของเอ็ดน่า จึงไม่เพียงเป็นการฟื้นตื่น
ของสังคมวรรณกรรมอเมริกันปลายศตวรรษ 19 เท่านั้น แต่ยังเป็นการฟื้นตื่นของ
ความเป็นหญิงที่ต้องใช้เวลาอีกร้อยปีนับจากที่วรรณกรรมถูกกลบฝังอีกด้วย
การมาเยือนของนายแพทย์
Anton Chekhov เขียน

กชวรรณ ฉายะวรรณ, คณาพร แก้วแกมจันทร์, จรรยา เกรียงสมุทร, ณัฐชยา


หิรัญญสมบัติ, ธัญพิสิษฐ์ วาณิชยเศรษฐกุล, ปิติศักดิ์ บุญใส่, ภูษณิศา เขมะเสวี,
รินดา ลดาลลิตสกุล, สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน, อิสรียา สุนทราวงศ์ แปล
ส�ำนักพิมพ์ ก�ำมะหยี่
พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2561
ISBN 978-616-7591-74-2

ความเป็นเอกลักษณ์ของเชคอฟอยูท่ กี่ ารเป็นผูเ้ ริม่ ใช้วธิ เี ขียนทีเ่ รียกว่า “การ


เขียนตามกระแสส�ำนึก” (stream of consciousness writing) ที่ต่อมาน�ำมาใช้โดย
เจมส์ จอยซ์ และนักเขียนแนวแบบวรรณกรรมสมัยใหม่นิยม (modernist litera-
ture) คนอื่นๆ รวมกับการไม่ยอมสรุปความเห็นทางด้านจริยธรรม ตามธรรมเนียม
โครงสร้างของการเขียนวรรณกรรมก่อนหน้านั้น
ไม่นับความเป็น “ยักษ์ใหญ่” ในฐานะนักเขียนของโลกแล้ว มีเหตุผลใดบ้าง
ที่ควรอ่านงานของเชคอฟ และถ้าเลือกจะอ่านแล้ว ควรอ่านเล่มไหน? ค�ำตอบ คือ
การมาเยือนของนายแพทย์ จัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์กำ� มะหยี่ ซึง่ เป็นหนังสือรวมเรือ่ ง
สั้น 21 เรื่องของเชคอฟที่ยังคงคลาสสิก มีประเด็นร่วมสมัยที่ท�ำให้หวนกลับมามอง
ดูสภาวะภายในตัวเองไม่มากก็นอ้ ย ทัง้ ประเด็นการประหารชีวติ หรือการจ�ำคุกตลอด
ชีวิต ความรักหรือความเป็นจริง ความเขลาหรือความซื่อ ความอาภัพหรือการเอาแต่
ใจ โอกาสหรือศีลธรรม ประชาชนกับอ�ำนาจรัฐ การฝืนทนอยู่หรือหลบลี้หนีไป ดั่ง
ค�ำโปรยปกหลังที่ยั่วเร้าให้เปิดสู่เนื้อหาภายใน
ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งสัน้ รักนัน้ เป็นไฉน ทีต่ งั้ ความรักต่อความรักของคนสองคน
ที่ไม่อาจสลัดยึดโยงกับสังคมรอบตัว ตลอดจนทัศนคติภายในได้ หรือแม้แต่การท�ำดี
เพื่อคนอื่นมากมายใน เจ้าหญิง ที่แท้แล้วกลับซ่อนความชิงชังที่มีต่อเพื่อนมนุษย์เอา
ไว้ด้วยฐานันดรที่แตกต่าง กระทั่งในเรื่องสั้น การมาเยือนของนายแพทย์ ซึ่งบอกเล่า
ถึงการไปดูอาการเจ็บป่วยของลูกสาวเจ้าของโรงงานแห่งหนึ่ง หากแต่ช่วงเวลาที่นาย
แพทย์ถูกขอให้พักค้างคืน เขากลับรู้สึกว่าโรงงานเป็นสถานที่ไม่ต่างจากคุกที่คุมขัง
ซึ่งเขารอให้ยามเช้ามาถึงเพื่อจะได้ชื่นชมอาทิตย์ยามเช้า
ส�ำหรับชีวติ ของมนุษย์เราแล้ว นัน่ อาจเป็นสิง่ เดียวทีเ่ ราได้รบั อนุญาตให้ชนื่ ชม
โดยไม่มีสิ่งใดมาพรากไปได้
ขุมทรัพย์สุดปลายฝัน (The Alchemist)
Panlo Coelho เขียน

กอบชลี และ กันเกรา แปล


พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2547
พิมพ์ครั้งที่ 7 กันยายน 2558
จัดพิมพ์โดย A Novel ในเครือนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์
ISBN 978-616-04-2170-1

เปาโล คูเอลญู เขียนไว้ในค�ำน�ำว่า “...ชีวิตของผมตลอดสิบปี ผมศึกษาการ


เล่นแร่แปรธาตุ ความคิดง่ายๆ ของการเปลี่ยนโลหะให้เป็นทองค�ำ หรือการค้นพบ
‘ยาอายุวฒ ั นะ’ เป็นเรือ่ งทีน่ า่ ทึง่ เกินกว่าทีผ่ เู้ ริม่ เรียนเรือ่ งอ�ำนาจวิเศษ ไม่วา่ คนใด จะ
ปล่อยไปเฉยๆ โดยไม่ให้ความสนใจ...”
ถ้าพิจารณาเพียงตรงนี้ เราก็อาจเข้าใจได้ไม่ยากว่า ขุมทรัพย์สดุ ปลายฝัน จึง
เป็นเรือ่ งราวของนักเล่นแร่แปรธาตุทเี่ ดินตามความฝันตัวเองเหมือนดังทีเ่ ปาโลเขียนไว้
ในบทเริม่ ต้นว่า “...ชายนักเล่นแร่แปรธาตุหยิบหนังสือทีใ่ ครคนหนึง่ ในกองคาราวานน�ำ
ติดตัวมาขึ้นมาดู เป็นหนังสือไม่มีปก แต่เขาสามารถระบุชื่อผู้แต่งได้ว่า คือ ออสการ์
ไวลด์...” ขณะเดียวกัน จุดมุ่งหมายในการเขียนหนังสือก็ไม่ได้มีเพียงแต่การบอกเล่า
เรื่องราวของความสนใจส่วนตัวของเปาโลเองเท่านั้น แต่ยังเป็นการตั้งค�ำถามที่เขาได้
เขียนไว้อีกว่า “...คนเราจะยอมรับความจริงก็ต่อเมื่อตอนแรกเราปฏิเสธมันก่อนจาก
เบือ้ งลึกแห่งจิตใจของเรา ได้เรียนรูว้ า่ เราไม่ควรหลีกหนีชะตาชีวติ ของตัวเราเอง และ
พระหัตถ์ของพระเจ้าช่างเมตตากรุณาไม่มีที่สิ้นสุด...”
เช่นนี้แล้ว จึงอาจกล่าวได้ว่า ขุมทรัพย์สุดปลายฝัน อาจจะเป็นเรื่องราวของ
นักเล่นแร่แปรธาตุ ในยุคสมัยทีค่ วามเชือ่ เหล่านีย้ งั เป็นจริง แม้ในชนบทห่างไกล และ
ความฝัน แม้จะอยู่สุดปลาย แต่การได้ฝัน และการได้ท�ำตามความฝัน อาจเป็นเรื่อง
ที่ส�ำคัญที่สุดเท่าที่ชีวิตหนึ่งของคนเราได้เกิดมา
คนขี่เสือ
ภวานี ภัฏฏาจารย์ เขียน

จิตร ภูมิศักดิ์ แปล


วสันต์ สิทธิเขตต์ วาดภาพประกอบ
พิมพ์ พ.ศ. 2558
ส�ำนักพิมพ์ แม่ค�ำผาง
ISBN 978-974-9747-42-1

“เสือ” เป็นสัตว์ที่อยู่บนห่วงโซ่ของอาหาร เป็นสัตว์นักล่า และถูกนับว่าเป็น


สัญลักษณ์ของอ�ำนาจมาเนิ่นนาน ในขณะเดียวกันด้วยความเป็นสัตว์ป่า เสือ จึงถูก
มองว่าเป็นสัญลักษณ์สองด้านของอ�ำนาจนั้น คือ หากไม่ประคับประคองให้ดีแล้ว
(ใครบ้างที่ท�ำได้?) อ�ำนาจก็อาจกลับมาเล่นงานผู้ครอบครอง
เฉกเช่นผู้ที่อยู่บนหลังเสือ เมื่อถึงคราวต้องลงจากอ�ำนาจเช่นเดียวกัน
“คนขี่เสือ” หรือ He Who Rode A Tiger เป็นวรรณกรรมส�ำคัญของอินเดีย
ประพันธ์โดย ภวานี ภัฏฏาจารย์ นัยยะของหนังสือเล่มนี้ หากจะว่าไปแล้ว ไม่ได้ซับ
ซ้อนและเกินการตีความนัก แต่ดว้ ยความทีไ่ ม่ได้ซบั ซ้อน และบอกเล่าอย่างตรงไปตรง
มาต่อสัญลักษณ์ของสัตว์ที่ถูกแทนในฐานะของอ�ำนาจแล้วนั้น เรื่องราวของ กาโล ก็
คือเรือ่ งราวตัวแทนของชนชัน้ ล่างของสังคมทีย่ งั มีลำ� ดับชัน้ ทางวรรณะอย่างเช่นอินเดีย
ทีถ่ กู เหวีย่ ง ถูกกระแสพัดพาให้พาตัวเองและ จันทรเลขา ลูกสาวเข้าสูเ่ มืองทีเ่ ต็มผูค้ น
ที่จ้องจะเอารัดเอาเปรียบ กระทั่งกล่าวได้ว่า จ้องจะ “กิน” เขาและลูกสาวในฐานะผู้
ด้อยกว่าทางสังคมนั่นเอง
จวบจนกระทั่งเมื่อ จันทรเลขา ถูกท�ำร้าย จวบจนเมื่อศักดิ์ศรีของความเป็น
มนุษย์ ที่แม้จะอยู่ในวรรณต�่ำศักดิ์ถูกหยามหมิ่น คนเช่นกาโล จึงจ�ำเป็นต้องขึ้นหลัง
เสือ แม้โดยตระหนักดีว่าอ�ำนาจที่ตนมาถือครองนั้น สักวันหนึ่ง จะหันมาท�ำร้ายตน
เข้าสักวัน และเสือก็คือเสือ
ค�ำถาม คือ เราหรือ ‘มัน’ จะเป็นฝ่ายถูกกิน?
นั่นจึงเป็นค�ำถามที่วรรณกรรมเล่มนี้ทิ้งไว้ข้ามกาลเวลามาอย่างยาวนาน
ความจงรักภัคดี และเรื่องสั้นอื่นๆ (LOYALTY and Other Stories)
Ryunosuke Akutagawa เขียน

วาด รวี แปล


กฤตผล วิภาวีกุล บรรณาธิการต้นฉบับ
ปฐมพงศ์ น�้ำใจดี ออกแบบปก
พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2560 ส�ำนักพิมพ์สมมติ
ISBN 978-616-7196-71-8

มีนกั ประพันธ์ในโลกตะวันออกและตะวันตกไม่กคี่ นทีต่ ลอดชีวติ บรรจุไว้แต่


งานประเภทเรื่องสั้นจวบจนจบชีวิต ริวโนะสุเกะ อะคุตะงะวะ เป็นหนึ่งในนั้น!
เรื่องสั้นแต่ละเรื่องของราชาเรื่องสั้นญี่ปุ่นผู้นี้แนบสนิทไปกับอัตชีวประวัติที่
รวดร้าวจากสภาวะภายในตัวเองที่หมกมุ่นในเรื่อง ‘เชื้อร้าย’ ของความป่วยไข้จากผู้
เป็นมารดา ท�ำให้อะคุตะงะวะเชื่อว่าตนเองมีเชื้อนั้นอยู่ในตัว จึงส่งผลให้เรื่องสั้นขอ
งอะคุตะวะเต็มไปด้วยบรรยากาศแปลกประหลาด สั่นสะท้านอารมณ์ ของผู้คนที่มี
ความวิกลจริตอยู่ภายใน กระทั่งหมายรวมไปถึงการพยายามค้นหาความสงบ
ซึ่งรวมถึงในรวมเรื่องสั้น LOYALTY ความจงรักภัคดี และเรื่องสั้นอื่นๆ เล่มนี้
ด้วยเช่นกัน
ไม่นบั ความแปลกประหลาดแล้ว เรือ่ งสัน้ ทัง้ 8 ในเล่มนีย้ งั เจือกลิน่ อายของความ
เป็นนิทานพื้นบ้านและเรื่องเล่าโบราณของญี่ปุ่นควบรวมไปกับฐานความเชื่อ หรือ
เราอาจจะกล่าวรวมเลยไปถึงความเข้าใจที่อะคุตะงะวะมีต่อศาสนาคริสต์และศาสนา
พุทธ จากการที่อะคุตะงะวะเริ่มอ่านคัมภีร์ไบเบิ้ลในช่วงมัธยม ซึ่งเกิดขึ้นจากการเริ่ม
ต้นเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในญี่ปุ่น อาจเพราะเหตุนี้ หรือสุดแล้วแต่จะรู้ได้ ยกเว้นแต่
เพียงตัวอะคุตะงะวะเอง ที่ท�ำให้เรื่องสั้นแต่ละเรื่องมีความ paradox บนโลกตะวัน
ออกที่มีความเป็นตะวันตก
และในเมือ่ เราไม่อาจตามไปสืบค้นเค้นความจริงจากตัวผูป้ ระพันธ์ซงึ่ ลาจากโลก
นี้ไปแล้วได้ จึงเหลือแค่เพียงหนทางเดียว นั่นคืออ่านงานเขียนที่นักประพันธ์ผู้นั้นได้
ทิ้งเอาไว้ เช่นเดียวกับ LOYALTY ความจงรักภัคดี และเรื่องสั้นอื่นๆ
ความรักใจจะไม่ปวดร้าว
ชวนหนี เขียน

พระราชนิพนธ์แปล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


โกศล ทองด้วง วาดภาพประกอบ
พิมพ์ครั้งที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559
พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2561
บริษัท นานมีบุ๊คส์ จัดพิมพ์
ISBN 978-616-04-3185-4

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระปรีชาสามารถยิง่
ด้านอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์งานเขียนหลากหลายประเภททีเ่ ปีย่ มด้วยรส
ถ้อยทางภาษา เนื้อหาสาระ และความงามในเชิงวรรณศิลป์ พระราชนิพนธ์แปลด้าน
วรรณกรรมจีนทีท่ รงคุณค่าหลายเรือ่ งล้วนเป็นประจักษ์พยานแห่งอัจฉริยภาพด้านการ
ประพันธ์และการแปล
ค�ำน�ำผู้จัดพิมพ์
นวนิยายรักเรื่องนี้ เริ่มต้นด้วยการตั้งค�ำถามกับค่านิยมเก่าที่บูชาเทิดทูนความ
รัก ทั้งความรักของพ่อแม่ ความรักของหนุ่มสาว ความรักของเพื่อน และจบลงอย่าง
ชาญฉลาด ด้วยการตระหนักรู้ของตัวละครเอกว่า ไม่มีความรักใดจะไม่ปวดร้าว แต่
ผู้จะเปลี่ยนความปวดร้าวนี้เป็นปีติสุขได้นั้นก็คือ ผู้มีความรักนั่นเอง
สิรินทร
(พระราชนิพนธ์ค�ำน�ำ)
ความรักใดจะไม่ปวดร้าว จากผลงานเขียนของ ชวนหนี นักเขียนหญิงจีนร่วม
สมัย เป็นสมาชิกพรรคปลดแอดประชาชน บอกเล่าเรือ่ งราวของ ‘หมิน่ มิน’ จากความ
รักที่เคยหวานชื่นกับ ‘หยู่ตง’ ผู้เป็นสามี แปรผันไปสู่ความจืดจางจนกลายเป็นความ
ชิงชังในที่สุด ซึ่งในส่วนของพระราชนิพนธ์ค�ำน�ำได้ทรงตั้งค�ำถามกับนิยามความรักที่
สะท้อนให้เป็นปัญหาของสังคมสมัยใหม่จากการที่ตัวละครหมิ่นมินต้องยินยอมสละ
ตนเองในด้านต่างๆ เพื่อด�ำรงไว้ซึ่งความรักต่อผู้เป็นสามี จนที่สุดกลับกลายเป็นหอก
ทีห่ นั กลับมาทิม่ แทงตัวเธอเองให้ตอ้ งปวดร้าว สมดัง่ ชือ่ ในภาคภาษาไทยทีไ่ ด้ทรงพระ
ราชนิพนธ์แปลไว้ ความรักใดจะไม่ปวดร้าว
ความรื่นรมย์ครั้งสุดท้าย รวมเรื่องสั้นรัสเซียก่อนปฏิวัติถึงรัฐสังคมนิยมล่มสลาย
สุชาติ สวัสดิ์ศรี แปล

พิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม 2532 โดย สโมสรถนนหนังสือ


พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ.2536 โดย ดวงกมลวรรณกรรม
พิมพ์ครั้งที่สาม มีนาคม 2547 ส�ำนักพิมพ์ สามัญชน
ISBN 974-7607-58-1

รวมเรื่องสั้นรัสเซีย ‘ชั้นดี’ ที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือก ถ่ายทอดเป็นภาษา


ไทยให้เราได้อ่านกัน ซึ่งจะว่าไปแล้ว ก็นับเป็นการบ่งบอกรสนิยมเรื่องสั้นในแบบ
ของสุชาติ สวัสดิ์ศรี อย่างปฏิเสธไม่ได้ อย่างไรก็ตาม หากจะด่วนสรุปว่า ผู้แปลมี
จิตปฏิพทั ธ์ตอ่ เรือ่ งสัน้ รัสเซียเป็นพิเศษ ก็คงจะไม่ถกู ต้องเท่าใดนัก เพราะโดยข้อเท็จ
จริงแล้ว ยังมีผลงานของนักเขียนนักประพันธ์ชาติอื่นๆ อีกไม่น้อยที่สุชาติ สวัสดิ์ศรี
ได้แปลเอาไว้ เพียงแต่ในแง่ของการรวมเล่มนั้นได้มีความพยายามที่จะจัดแบ่งหมวด
หมู่เพื่อประโยชน์ทางการอ่านและการศึกษาเป็นส�ำคัญ
หากกล่าวเอาตามค�ำน�ำ 10 ประการ ซึง่ ปรากฏอยูใ่ นเนือ้ หาของหนังสือรวม
เรื่องสั้นรัสเซียก่อนปฏิวัติถึงรัฐสังคมนิยมล่มสลายในชื่อ ความรื่นรมย์ครั้งสุดท้าย
จากฝีมือแปลของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี ผู้มีคุณูปการอย่างมากมายต่อวงการวรรณกรรม
ไทยก็คงจะพอย่นย่อให้เหลือเพียงการรับรู้ และความสามารถอันมีอยู่จ�ำกัดที่ตัวผู้
แปลได้เขียนเอาไว้ว่าการรวบรวมเรื่องสั้นของรัสเซียแต่ละเรื่องในเล่มนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่
กับทฤษฎีทางวรรณกรรมใดๆ ของโลก แต่ขึ้นอยู่กับความรื่นรมย์ ความมีชีวิตชีวา
เสรีภาพเฉาพะตัว การมีเพื่อนและคนรัก การมีเงินในกระเป๋า หรือแม้แต่การเริ่มต้น
แปลเรื่องสั้นแต่ละเรื่องเกิดขึ้นหลัง ‘เหตุการณ์ 14 ตุลาคม’ ที่ผู้แปลได้ไปใช้ชีวิตอยู่
กับผู้หญิงคนหนึ่ง
และสุดท้าย เรือ่ งสัน้ รัสเซียต่างๆ ทีป่ รากฏขึน้ เป็นเล่มล้วนผ่าน ‘ความพึงใจ’
ของตัวผู้แปลมาระดับหนึ่งแล้ว ดังนั้นถ้ามีเรื่องสั้นเรื่องที่ท่านไม่พึงใจ – สุชาติ สวัสดิ์
ศรี ได้เขียนไว้แล้วว่า ไม่เป็นไร – เก็บความไม่รื่นรมย์ของท่านเอาไว้กับตัว เพราะ
ส�ำหรับเราในฐานะคนอ่านแล้ว นี่ไม่ใช่ความรื่นรมย์ครั้งสุดท้าย – อย่างแน่นอน
ค�ำอธิษฐานของโอดูบอน (Audubon’s Prayer)
Kotaro Isaka เขียน

กนกวรรณ เกตุชัยมาศ แปล


สนพ.ก�ำมะหยี่
พิมพ์ครั้งที่ 1 มิถุนายน 2559
ISBN 978-616-7591-53-7

หากคุณต้องตื่นมาบนเกาะที่มีแต่ผู้คนพิลึกพิลั่นแสนประหลาด ทั้งจิตรกรผู้
กล่าวค�ำโกหกตลอดเวลา นักฆ่ารูปงามผู้หลงใหลในบทกวี เด็กหญิงผู้แนบหูกับพื้น
เพื่อฟังเสียงหัวใจของตนเอง และหุ่นไล่กาที่นอกจากจะพูดได้แล้ว ยังท�ำนายอนาคต
ได้อีกด้วย คุณจะท�ำเช่นไร?
เรื่องราวใน ค�ำอธิษฐานของโอดูบอน บอกเล่าชีวิตของอิโต เนิร์ดหนุ่มไอที
วัย 28 ปี ผู้ใช้ชีวิตตามค�ำท�ำนายของยายผู้ล่วงลับว่าเขาจะต้องหนีไว้ก่อนเมื่อเผชิญ
กับสถานการณ์ยากล�ำบาก ทว่า ชีวติ มนุษย์บอ่ ยครัง้ ทีเ่ ราคิดว่าเราควบคุมได้ เราคาด
เดาสถานการณ์ได้ กระนั้น แม้แต่ค�ำท�ำนายของหมอดูก็ยังไม่มีอะไรรับประกันว่าจะ
เกิดขึ้นเช่นนั้นเสมอไป ส่วนมากประโยคที่เคยคุ้น มักได้ยินกัน คือ หมอดูไม่ได้บอก
อนาคต แค่ให้คุณรับฟังไว้เสมือนเป็นค�ำเตือนสติ
จึงไม่แปลกที่ท�ำไมอิไตถึงจดจ�ำอะไรไม่ได้เมื่อตนเองตื่นขึ้นมาบนเกาะที่ถูก
ปิดตายไปร้อยปี แล้วเจอะเจอผู้คนแสนประหลาดทั้งหลายแหล่ จนเมื่อเกิดเหตุ
ฆาตกรรมขึ้นที่เป็นเหมือนการท�ำให้แกนสมดุลของความเป็นเกาะที่ถูกปิดตาย และ
บางค�ำถามที่ได้แต่ลอยฟ่องในอากาศถูกกลับไปรื้อถางเพื่อหาค�ำตอบที่สมควรมีให้
ได้อีกครั้ง
หากจะบอกว่าเรื่องราวของผู้คนบนเกาะไม่ต่างจากชีวิตของมนุษย์เราๆ ทุกคน
ก็คงไม่ผิดนัก
เราเลือกเกิดได้ไหม?
เราเลือกให้บางสิ่งในชีวิตหายไปได้หรือเปล่า?
เราหนีจากชีวิต หรือเกาะที่มีผู้คนอันแปลกประหลาดได้ไกลสักแค่ไหน?
เหล่านี้ คือ ค�ำถามที่เรายังต้องค้นหา เหมือนเรื่องราวในนวนิยายเล่มนี้
คีตาญชลี
รพินทรนาถ ฐากูร รจนา

กรุณา – เรืองอุไร กศุนาลัย แปล


พิมพ์ครั้งที่ 10 พ.ศ. 2555
ส�ำนักพิมพ์ แม่ค�ำผาง
ISBN 978-974-9747-18-6

ความส�ำคัญของกวีชาวอินเดียผูไ้ ด้รบั การเรียนขานในฐานะ ‘คุรเุ ทพ’ กระทัง่


มีการจัดงานฉลองวันเกิดให้อย่างยิง่ ใหญ่ให้ชอื่ ว่า “รพินทรชยันตี” อาจบอกกล่าวความ
ส�ำคัญของ รพินทรนาถ ฐากูร ได้เป็นอย่างดี
แล้วความส�ำคัญของหนังสือ คีตาญชลี นั้นเล่า?
หมุดหมายของวรรณคดีเล่มนีอ้ ยูต่ ำ� แหน่งแห่งทีใ่ ด? นอกเหนือจากการท�ำให้
มหากวีชาวอินเดียผู้นี้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมในปี พ.ศ.2456
กล่าวอย่างตรงไปตรงมา หนังสือเล่มนี้ รพินทรนาถ ฐากูร รจนาขึ้นด้วย
ตามขนบของวรรณคดีอนิ เดีย นับตัง้ แต่ ‘มหาภารตะ’ คือ การเคารพบูชาทวยเทพใน
ศาสนาฮินดู หากทว่าคีตาญชลี ท�ำหน้าที่ไปไกลกว่านั้น แม้โดยกรอบหรือโครงสร้าง
ของเรื่องราวในคีตาญชลียังคงได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีโบราณของอินเดีย แต่
‘แนวคิด’ ในคีตาญชลี ล�้ำหน้ากว่านั้น ทั้งการขับขานถึงอิสรภาพ ทั้งการน�ำเสนอ
แนวคิดในเรือ่ งโซ่ตรวนทีม่ นุษย์เราสร้างขึน้ มาพันธนาการตัวเอง หรือแม้แต่ตงั้ ค�ำถาม
กับทวยเทพเอง
ข้าแต่พระผู้เป็นที่พึ่งของข้าน้อย! พระองค์ทรงปรารถนาที่จะคอยเสวยพระ
สุธารสทิพย์ชนิดใดจากสุพรรณภาชน์ที่ล้นไหลแห่งชีวิตของข้าน้อยเล่าพระเจ้าข้า?
เช่นนี้แล้ว ไยเราถึงไม่สดับรับฟัง คีตาญชลี ?
ฆาตกรรมบนรถด่วนโอเรียนท์เอกซ์เพรส (Murder on the Orient Express)
อกาธา คริสตี้ เขียน

โสภา เชาว์วิวัฒน์กุล แปล


พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2558
พิมพ์ครั้งที่ 2 สิงหาคม 2560
พิมพ์ครั้งที่ 3 พฤศจิกายน 2560
พิมพ์ครั้งที่ 4 มกราคม 2561
พิมพ์ครั้งที่ 5 มกราคม 2561
พิมพ์ครั้งที่ 6 มกราคม 2561
พิมพ์ครั้งที่ 7 มกราคม 2561
แพรวส�ำนักพิมพ์
ISBN 978-616-18-0439-8

ด้วยจ�ำนวนผลงานที่ขายได้มากกว่าสองพันล้านเล่ม เป็นรองแต่เพียงงาน
เขียนของวิลเลียม เชกสเปียร์ และคัมภีร์ไบเบิล นั่นอาจจะพอบอกได้ถึงความยอด
เยีย่ มในชัน้ เชิงความสามารถในการผูกโยงเรือ่ งราวทีไ่ ม่วา่ จะผ่านเวลาไปนานนับร้อย
ปี งานเขียนของ อกาธา คริสตี้ ก็ยังคงถูกอ่านซ�้ำ และอ่านซ�้ำในภาษาต่างๆ มากกว่า
ร้อยภาษา (รวมถึงภาษาไทย) อาจด�ำรงอยูย่ าวนานไปจนกว่าหนังสือจะไม่ได้รบั ความ
สนใจอีกต่อไป หรือมนุษย์เราไม่ต้องการเสพความรื่นรมย์จากเรื่องแต่งอีกแล้ว
หนึ่งในผลงานที่สร้างชื่อให้กับ อกาธา คริสตี้ คือ เรื่องราวของนักสืบนาม
แอร์กลู ปัวโรต์ ทีไ่ ขคดีสบื สวนต่างๆ จากเก้าอีน้ วมของเขาจนแทบไม่ตอ้ งลุกจากเก้าอี้
ไปยังสถานทีเ่ กิดเหตุแต่อย่างใด ด้วยสติปญ ั ญาอันเฉียบแหลมในการมองขาดเรือ่ งราว
ต่างๆ ยกเว้นแต่ในคดีหนึง่ ซึง่ เกิดขึน้ บนรถด่วนทอรัส ซึง่ ปัวโรต์จะต้องท�ำการสืบสวน
ในสถานที่เกิดเหตุ หาใช่จากเก้าอีน้ วมตัวโปรดของตนอย่างทีเ่ คยเป็นมาอีกต่อไป ซึง่
เหตุสืบสวนในครั้งนี้ ถูกถ่ายทอดลงมาอยู่ในเรื่อง ฆาตกรรมบนรถด่วนโอเรียนท์เอก
ซ์เพรส ทีไ่ ม่เพียงแต่แสดงชัน้ เชิงการสืบสวนอันยอดเยีย่ มของปัวโรต์เท่านัน้ แต่ความ
สนุกสนานและความตื่นเต้นลุ้นระลึกไปกับเงื่อนเวลาที่งวดเข้าเพราะเมื่อรถไฟหยุด
หากคดียังไม่ถูกไข นั่นหมายความถึงโอกาสลอยนวลของคนร้ายไปในที่สุด
กระนั้น การค่อยๆ อ่านเรื่องนี้ไปทีละหน้าก็เปรียบได้กับการฝึกสมองอย่าง
หนึง่ เช่นเดียวกับค�ำพูดของปัวโรต์เองทีก่ ล่าวไว้ในตอนหนึง่ ว่า “เราอย่าไปเร็วนัก และ
อย่าทึกทักเกินกว่าอะไรที่เรารู้จริงๆ”
ชีวิตอยู่หนอื่น (La vie est ailleurs)
Milan Kundera เขียน

อธิชา มัญชุนากร กาบูล็อง แปล


สนพ.ก�ำมะหยี่
ISBN 978-616-7591-54-4

“...วันรุง่ ขึน้ เขาหยิบเครือ่ งพิมพ์ดดี ของคุณตา เขาคัดลอกบทกวีบนกระดาษ


พิเศษ และเขารู้สึกว่าบทกวียิ่งสวยงามมากกว่าตอนที่เขาอ่านมันเสียงดัง...”
มากกว่าหนึ่งครั้งที่ชีวิตมักจะลากเราไปสู่ค�ำถามที่ว่า “หรือจริงๆ แล้วชีวิต
ของเราอยู่ที่ใดสักแห่งที่ไม่ใช่ที่นี่?”
หากจะบอกว่านวนิยายของมิลาน คุนเดอรา มักจะตั้งค�ำถามกับชีวิตใน
ลักษณะของ What If หากไม่เป็นเช่นนั้นจะเป็นเช่นไรอยู่เสมอๆ แม้แต่ใน ชีวิตอยู่
หนอืน่ ซึง่ ล�ำพังเพียงชือ่ ก็บง่ บอกสถานะของค�ำถามทีช่ วี ติ ของเราสักครัง้ มักจะเกิดขึน้
แล้ว การออกแบบปกให้ดูเหมือนรูปรูกุญแจที่ไขสู่บานประตูอีกบานก็สื่อความหมาย
ของเปิดและปิดจากชีวิตหนึ่งสู่อีกชีวิต
หากแต่ชีวิตจริงๆ ของเราอยู่ที่ใดกัน?
ชีวิตของความเป็นกวีที่เพียงการคัดลอกก็สวยงามกว่าในตอนที่ได้อ่านออก
เสียงแล้วของจาโรมิลและแม่ของเขาผู้หลงรักจิตรกร ซึ่งลงท้ายด้วยความผิดหวังของ
การรอคอยจากพ่อ ผูเ้ ป็นหัวหน้าครอบครัวอยูท่ ใี่ ดกันแน่? หรือแม้แต่ชวี ติ ของซาวิเยรฺ
ผู้ไม่ได้มีชีวิตเพียงชีวิตเดียว แต่ก�ำลังเดินลงบันไดไปยังชั้นใต้ดินที่มีประตูหลายบาน
ประตู ซึ่งอาจจะพาไปสู่ชีวิตหนอื่น หรือที่แท้เพียงพบว่าชีวิตจริงๆ ของเรา
ไม่ได้อยู่ที่ใดสักแห่งเลย
เด็กสาวและชายยิปซี (The Virgin and the Gipsy)
D.H.Lawrence เขียน

พินทิพา บูรณมาตร์ แปล


ปฐมพงศ์ น�้ำใจดี ออกแบบปก
พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2560 ส�ำนักพิมพ์สมมติ
ISBN 978-616-7196-81-7

โลกทัศน์ทหี่ อ่ หุม้ ยุคสมัยไม่อาจแยกขาดต่อมุมมองในการชีวติ ของเราๆ ผูถ้ กู


บรรยากาศเหล่านั้นครอบง�ำไว้อีกที ทั้งโดยรู้ตัว (และตระหนักรู้) หรือไม่รู้ตัว (และ
ยินยอม) หรือไม่ก็ตาม, เช่นเดียวกันกับโลกทัศน์ของ D.H.Lawrence นักประพันธ์
ชาวอังกฤษผู้เฝ้ามองปรากฏการณ์การ ‘ตีกรอบ’ ผู้หญิงไว้ภายใต้อาภรณ์ของข้อ
ก�ำหนดทางศีลธรรมจรรยา และจารีตประเพณี โลกทัศน์เช่นนี้ส่งผลให้งานเขียนของ
ลอว์เรนซ์กา้ วไปไกลกว่าขีดจ�ำกัดทีส่ งั คมอังกฤษในยุควิคตอเรียนได้กำ� หนดไว้ โดยไม่
เพียงแต่การมองผู้หญิงในฐานะปัจเจกชนคนหนึ่งเท่านั้น แต่ยังขยายพรมแดนความ
คิดไปยังเรือ่ งเพศเดียวกัน ซึง่ ล้วนเป็นข้อห้ามชนิดรุนแรงของสังคมอังกฤษในยุคสมัย
นั้นทั้งสิ้น
รวมถึง เด็กสาวและชายยิปซี เล่มนี้ด้วย ดี.เอช.ลอว์เรนซ์ ไม่เพียงจ�ำลอง
โลกทัศน์ที่เขาประสบพบผ่านลงไปในนวนิยายขนาดสั้นที่เล่าเรื่องราวของลูกสาวของ
บาทหลวงกับความลุม่ หลงในตัวชายยิปซี ทีถ่ กู มองอย่างหยามหมิน่ จากสังคมอังกฤษ
ในฐานะ ‘ชนชั้นล่าง’ เท่านั้น แต่ลอว์เรนซ์ ยังช�ำแรกไปยังความคิดในเรื่องชนชั้น
กระทัง่ ความเชือ่ ในพระคัมภีรเ์ ก่าของศาสนาคริสต์จากเหตุการณ์นำ�้ ท่วมโลกทีน่ ำ� มาตี
ความในลักษณะกลับหัวกลับหางจากสิ่งที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์
แหละแน่นอนว่า แม้นวนิยายขนาดสั้นจะมีบริบท กระทั่งความคิดความเชื่อ
จากโลกทัศน์ของผู้ประพันธ์ที่แตกต่างไปจากบริบทของสังคมไทย แต่ไม่มากก็น้อย
เมื่ออ่านไปจนจบ ในฐานะผู้อ่านเราอาจเงยหน้าขึ้นจากหนังสือ แล้วพบว่าเอาเข้าจริง
สังคมไทยในปัจจุบันก็เริ่มมีบรรยากาศไม่แตกต่างอย่างใด
เดอะ ไทม์ แมชชีน (The Time Machine) H.G.Wells เขียน
ประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล แปล

วิษณุ โชลิตกุล บทกล่าวตาม


ปฐมพงศ์ น�้ำใจดี ออกแบบปก
พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2554 ส�ำนักพิมพ์ สมมติ
ISBN 978-616-7196-08-4

[…]นักท่องเวลา(เรียกเช่นนีก้ เ็ พือ่ ความสะดวกในการกล่าวถึงเขา) ก�ำลังอธิบาย


รายละเอียดเรื่องหนึ่งที่พวกเราต้องไต่บันไดฟัง[...]
ดูเป็นบทเปิดเรื่องในนวนิยายชิ้นส�ำคัญของ เอช.จี.เวลล์ หนึ่งในสองนักเขียนผู้
ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของนวนิยายวิทยาศาสตร์ ในเรื่องราวการเดินทางข้าม
กาลเวลาที่กว่าจะเดินทางมาถึงฉบับแปลในภาษาไทยก็ใช้เวลาร่วมร้อยกว่าปี ไม่นับ
ถ้อยค�ำที่หากเมื่อมองดูในบริบทปัจจุบันจะเห็นความข�ำขันในเชิงเสียดสีที่มีประโยค
‘ต้องไต่บนั ไดฟัง’ เนือ่ งจากมันมีนยั หมายถึงการต้องใช้ความพยายามในการท�ำความ
เข้าใจเรื่องยากต่างๆ ทั้งในด้านวิชาการและในด้านศิลปะ
นั่นรวมถึงศิลปะการประพันธ์เอาไว้ด้วย
กล่าวเช่นนี้มิได้หมายความว่าเรื่องราวใน ไทม์ แมชชีน นั้นยากต่อการเข้าใจ
หากแต่เอาเข้าจริงแล้ว ‘สาร’ ที่เอช.จี.เวลล์ ต้องการบอกเล่าต่างหาก แม้จะซื่อตรง
และให้ความหมายอย่างชัดเจนโดยแทบไม่ตอ้ งตีความอะไร (ยิง่ ในกาลเวลาทีผ่ า่ นมา
ร้อยกว่าปีนี้ด้วยแล้ว การตีความนวนิยายเรื่องนี้คงปรุจนแทบไม่เหลือ) กระนั้น ตัว
‘สาร’ ก็ยังปรากฏอยู่ในสังคมมนุษย์ปัจจุบันที่ราวกับว่ากาลเวลาไม่ได้เคลื่อนไปข้าง
หน้าเลยแต่อย่างใด
ต�ำนานนิรันดร์ (The Immortal Story)
Isak Dinesen เขียน

อรจิรา โกลากุล แปล


พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2560
ส�ำนักพิมพ์ เม่นวรรณกรรม
ISBN 978-616-7831-17-6

“...เรือ่ งราวของมิสเตอร์เคลย์ เศรษฐีชรา ผูเ้ ชือ่ มัน่ ในอ�ำนาจและอิทธิพลของ


ตน ด้วยความนิยมข้อเท็จจริงที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้มากกว่าเรื่องเล่ายกเมฆหลอก
ลวง มิสเตอร์เคลย์จงึ ได้วางแผนเปลีย่ นต�ำนานทีเ่ ล่าขานกันในหมูก่ ะลาสีเรือให้กลาย
เป็นความจริง เพื่อให้กะลาสีเรือคนหนึ่งบนโลกสามารถ ‘เล่าเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ
พร้อมรายละเอียดทุกประการที่ได้เกิดขึ้นกับเขาจริงๆ’...”
ค�ำโปรยปกหลัง
ชีวติ ของมนุษย์เรา หากพิจารณาจริงๆ แล้ว ต่างมีชวี ติ ทีโ่ ลดแล่นราวกับเรือ่ ง
แต่งของนักเขียนที่หลายหนหลายครากลับมีความน่าสนใจเสียยิ่งกว่าเรื่องแต่งจริงๆ
ขณะเดียวกัน หลายคราหลายหนเช่นกันที่เรื่องราวในชีวิตจริงกลับดูน่าสนใจเสียยิ่ง
กว่า กระทั่งบางเรื่องในกลายเป็นต�ำนาน และดั่งค�ำกล่าวที่ว่า เมื่อเป็นต�ำนานแล้ว
เรื่องราวนั้นจะถูกเล่าขานอยู่อย่างไม่รู้จักจบ
ทว่าต�ำนานไหน คือ เรือ่ งจริง? และ/หรือกระทัง่ จ�ำเป็นเพียงใดทีต่ ำ� นานต้อง
เล่าขานเรื่องของคนหนึ่งคนด้วยเรื่องเดียวกัน?
นั่นเป็นค�ำถามที่ปรากฏอยู่ในนวนิยายขนาดสั้นผลงานของ Isak Dinesen
จากฝีมือการแปลของอรจิรา โกลากุล ในชื่อ ต�ำนานนิรันดร์ เล่มนี้ ซึ่งบอกเล่าเรื่อง
ราวของมิสเตอร์เคลย์ เศรษฐีชราชาวจีนผู้ใช้ชีวิตโดดเดี่ยว ลึกลับ จนแทบจะเรียกได้
ว่าเป็นความหลงใหลในความมัน่ คงปลอดภัยและการอยูต่ ามล�ำพัง กระนัน้ ค�ำถามทีน่ า่
สนใจ และดึงดูดเราให้ตามติดเรื่องราวของมิสเตอร์เคลย์ คือ เหตุใดชายที่รักสันโดษ
จึงปรารถนาให้เรื่องราวของตนเองถูกเล่าขาน จนกระทั่งกลายเป็นต�ำนานที่จะคงอยู่
ไปชั่วนิรันดร์
เราอาจรู้ค�ำตอบเมื่ออ่านจบ หรือไม่อาจรู้อะไรเลยมากขึ้นกว่าแค่ว่ามิสเต
อร์เคลย์เป็นเศรษฐีชราชาวจีน หากทว่านัน่ ไม่สำ� คัญ เพราะเมือ่ เป็นต�ำนานแล้ว เรือ่ ง
เล่าของผู้นั้นจะไม่ถูกลืม
ต�ำนานรักทุ่งสีเพลิง (Red Sorghum)
Mo Yan เขียน

ประเทืองพร วิรัชโภคี แปล


รศ.ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร ค�ำนิยม
พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2557
จัดพิมพ์โดย A Novel ในเครือนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์
ISBN 978-616-04-2125-1

ประวัตศิ าสตร์ในช่วงสมัยสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ทีก่ องทัพญีป่ นุ่ รุกรากแผ่นดิน


จีน จนเกิดเป็นโศกนาฏกรรมที่สุดแสนอื้อฉาวที่นานกิง เป็นประวัติศาสตร์บาดแผล
ทีป่ ระชาชนชาวจีนโดยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะลูกหลานของผูท้ ไี่ ด้รบั ผลกระทบจากการ
รุกรานของทหารญี่ปุ่นในยุคสมัยนั้น ยังเจ็บปวด และยังไม่มีหนทางอื่นที่จะเยียวยา
บาดแผลนั้นได้
แต่กค็ งเหมือนค�ำกล่าวทีว่ า
่ หากไม่อาจหลีกหนีความจริง ก็จงเผชิญแล้วบอก
เล่ามันออกมา ซึง่ บางครัง้ การบอกเล่าก็ไม่สำ� คัญว่าจะเป็นการบอกเล่าในเชิงความจริง
เพียงประการเดียว หรือความจริงที่สอดแทรกลงไปในเรื่องแต่งเหมือนใน ต�ำนานรัก
ทุ่งสีเพลิง ผลงานของนักเขียนสัญชาติจีนที่ได้รางวัลโนเบลในปี 2012 เล่มนี้
ต�ำนานรักทุ่งสีเพลิง บอกเล่าเรื่องราวผ่านลูกหลานรุ่นที่สามของวีรชนคน
เถื่อนแห่งเกามี่ตงเป่ย ดินแดนบ้านเกิดที่ทุ่งข้าวฟ่างสีเพลิงทอดยาวสุดลูกหูลูกตา
มั่วเหยียน ถ่ายทอดวีรกรรมเหลือของคนในยุคสมัยต่อต้านทหารญี่ปุ่นเพื่อแสดงให้
เห็นว่า ความรักและจิตวิญญาณของผู้คนในท้องทุ่งนี้โชติช่วงร้อนแรงไม่ต่างจากสี
แดงเพลิงของข้าวฟ่างที่ชูช่องดงามที่แม้ต่อให้ประวัติศาสตร์บาดแผลนั้นยังไม่อาจได้
รับการเยียวยา แต่อย่างน้อยการปรากฏตัวของ ต�ำนานรักทุ่งสีเพลิง ก็เป็นการบอก
กล่าวต่อสังคมจีนรุน่ หลัง และสังคมโลกว่า คนจีนยังจดจ�ำเรือ่ งราวของวีรชนเหล่านัน้
ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเพียงไร
ใต้เงาแห่งสายลม (The Shadow of the Wind)
Carlos Ruiz Zafon เขียน

จิรวลี แปล
พิมพ์ครั้งที่ 1 มิถุนายน 2558
จัดพิมพ์โดย A Novel ในเครือนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์
ISBN 978-616-04-2579-2

มาตาฟิกชัน (Metafiction) คือ ศิลปะการประพันธ์ที่เล่าเรื่องในตัวเอง กล่า


ให้ชัดกว่านั้น ใต้เงาแห่งสายลม นวนิยาย โดย การ์โลส รุยซ์ ซาฟอง เล่าเรื่องราว
ของ ดาเนียล ผู้ได้รับหนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อ ใต้เงาแห่งสายลม มาจากสุสานหนังสือ
ที่ถูกลืม ซึ่ง ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ได้เขียนไว้ในค�ำนิยมว่า “...นวนิยายเรื่องนี้เล่าถึง
ชายผู้หนึ่งติดตามหาพ่อที่แท้จริงที่เขาไม่เคยรู้จัก เป็นการผจญภัยอันยาวนาน น่าสะ
พรึงกลัว บีบคั้นจิตใจ และมีเรื่องราวซับซ้อนอยู่เป็นชั้นๆ...”
โดยแม้วา่ เรือ่ งราวใน ใต้เงาแห่งสายลม จะวางซ้อนเป็นชัน้ ๆ ด้วยรูปแบบการ
ประพันธ์ที่เรียกว่า มาตาฟิกชัน ผ่านเรื่องราวของ ดาเนียลที่พบเจอหนังสือในใต้เงา
แห่งสายลม ซึ่งถูกเขียนโดยคูลิอัง การากซ์ ผู้เสียโฉมจากการพยายามเผาหนังสือที่
ตนแต่งขึน้ เมือ่ ค้นพบความจริงบางประการทีข่ อ้ งเกีย่ วกับคนรัก ท�ำให้คลู อิ งั การากซ์
มีสภาพไม่ตา่ งจากปีศาจไร้หน้า ซึง่ ถูกตามล่าโดยต�ำรวจผูเ้ ป็นเพือ่ นวัยเด็กและหลงรัก
หญิงสาวคนเดียวกับทีก่ ารากซ์รกั โดยภายใต้เรือ่ งราวทีซ่ บั ซ้อนบนความรักสามเส้านี้
สิ่งที่ปรากฏและโดดเด่นเคียงคู่ไปกับเรื่องราวใน ใต้เงาแห่งสายลม คือ ความหลงรัก
ในหนังสือของผูเ้ ขียน การ์โลส รุยซ์ ซาฟอง ทีห่ ยิบยกเอาวรรณกรรมต่างๆ ของสเปน
ในอดีตมาบอกเล่าผ่านน�ำ้ เสียงของดาเนียลเพือ่ ให้วรรณกรรมเหล่านีย้ งั ถูกขับขานไม่
หลงลืมไปในกาลเวลา ซึง่ ถูกพัดพาด้วยสายลมของการเปลีย่ นแปลง ทีถ่ งึ จุดหนึง่ แล้ว
หนังสืออาจกลายเป็นเพียง ‘สุสานแห่งหนังสือที่ถูกลืม’ และเราในรุ่นปัจจุบัน ท�ำได้
เพียงส่งต่อมรดกทางปัญญา จิตนาการเหล่า และสุนทรียศิลป์แห่งการประพันธ์นี้ให้
ยังด�ำรงอยู่สืบไป หรืออาจเผาผลาญให้สิ้นซากไป
บางทีค�ำตอบนั้น อาจมีอยู่แล้วใน ใต้เงาแห่งสายลม
แท็ง หุ่นยนต์เพื่อนรัก (A Robot in the Garden)
Deborah Install เขียน

นรา สุภัคโรจน์ แปล


พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2560
จัดพิมพ์โดย บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จ�ำกัด (มหาชน)
ISBN 978-974-228-341-4

มนุษย์เป็นสัตว์สงั คม ค�ำกล่าวทีไ่ ด้ยนิ จนคุน้ ตาและคุน้ หูมาเนิน่ นาน อาจเป็น


ค�ำอธิบายที่ดีที่สุดในการนิยามว่าท�ำไมเราถึงต้องมีเพื่อน มีสังคม มีครอบครัว มีคน
รัก และมีลูก
ค� ำ นิ ยามนี้ อยู่คู่กับ มนุษย์มาเนิ่นนานพอๆ กับการสอดแทรกลงไปใน
วรรณกรรมเรื่องแต่งนับเนื่องเป็นร้อยๆ ปี ที่ว่าด้วยการมีเพื่อน และคุณค่าความ
หมายในการด�ำรงอยู่ของการมีเพื่อน ทว่าในโลกสมัยใหม่ นิยามค�ำว่ามิตรภาพ ได้
แปรเปลีย่ นจากทีเ่ คยด�ำรงอยูใ่ นความเป็นมนุษย์ (ซึง่ แปรเปลีย่ นไปตามอารมณ์ และ
ไม่อาจคาดเดา กระทัง่ ท�ำให้เราเจ็บช�ำ้ ได้) ก็เปลีย่ นมาเป็นมิตรภาพระหว่างมนุษย์กบั
สัตว์
จนกระทั่งมาถึงมนุษย์กับหุ่นยนต์
แท็ง หุ่นยนต์เพื่อนรัก เป็นเรื่องราวของเบน และเอมี กับหุ่นยนต์ตัวหนึ่งที่
จู่ๆ ก็ปรากฏตัวอยู่ในสวน ซึ่งแปลมาจาก A Robot in the Garden จากผลงานเขียน
ของ Deborah Install ซึ่งเริ่มต้นด้วยประโยคเรียบง่ายแต่กระตุ้นเร้าให้น่าสนใจ “มี
หุ่นยนต์ตัวหนึ่งในสวนแน่ะ”
เบนจะท�ำเช่นไรกับหุ่นยนต์ที่จู่ๆ ก็ปรากฏตัว และท�ำไมหุ่นยนต์ตัวหนึ่งจึง
กลายมาเป็นเพื่อนรักได้ นวนิยายตั้งค�ำถามง่ายๆ ทว่าแยบคาย เชื้อเชิญให้เราใคร่
อ่านไปจนจบเพื่อจะตอบค�ำถามให้ได้ว่าท�ำไมหุ่นยนต์ตัวหนึ่งจึงมาปรากฏตัวในสวน
บันทึกของคนเสื้อขาว (Doctor Glas)
Hjalmar Sodenrberg เขียน

ประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล แปล


ค�ำ ผกา บทกล่าวตาม
ปฐมพงศ์ น�้ำใจดี ออกแบบปก
พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2554
ISBN 978-616-7196-06-0

บันทึกของคนเสื้อขาว เป็นเรื่องราวของ ดอกเตอร์ทีโค กาเบรียล กลาส


อาศัยอยู่ในเมืองสตอกโฮล์ม ผู้เขียนบันทึกบอกเล่าความรู้สึกจากสิ่งที่ได้ประสบพบ
เจอในแต่ละวัน ดอกเตอร์กลาส ผู้มีทั้งความเป็นกวี ปัญญาชน ขณะเดียวกันก็มีทั้ง
ความเย็นชาในชะตากรรมของเพื่อนมนุษย์จากบรรดาคนไข้ทั้งหลายแหล่ที่แวะเวียน
มาให้รักษาจนกลายเป็นความรู้สึกเคยชิน กระทัง่ หงุดหงิดในบรรดาใบหน้าที่ซ่อนลึก
ลงไปภายใต้ความรวดร้าวเจ็บป่วยไข้
จนเราอาจตั้งค�ำถามว่าเอาเข้าจริง กลาสเคยมองหนึ่งใบหน้าที่มองข้ามไป
หรือไม่?
นั่นคือ ใบหน้าของเขาเอง
ค�ำ ผกา เขียนไว้ในค�ำกล่าวตามถึง บันทึกของคนเสื้อขาว “...หลังจากอ่าน
ไดอารี่ของคุณแล้ว มันยิ่งท�ำให้ฉันตระหนักในความอ่อนแอของมนุษย์ ไม่เพียงแต่
ความระอาในความอ่อนแอของมนุษย์ ฉันยังระอาในความอยากได้ใคร่มีในความดี
งามที่ออกมาในรูปแบบของการปฏิเสธความดีงาม ช่วยไม่ได้เลยที่ในบางครั้งฉันรู้สึก
ว่า คนอย่างคุณ ช่างน่าสมเพช...”
ฝันสีด�ำ (The Blind Owl)
Sadegh Hedayan เขียน

แดนอรัญ แสงทอง แปล


พิมพ์ครั้งแรก 2525 ส�ำนักพิมพ์ วลี (นามผู้แปล ‘มายา’)
พิมพ์ครั้งที่สอง กรกฎาคม 2530 ส�ำนักพิมพ์ วลี (นามผู้แปล ‘อรัญวาสี’)
พิมพ์ครั้งที่สาม พฤศจิกายน 2531 ส�ำนักพิมพ์ แม่น�้ำ
พิมพ์ครั้งที่สี่ ไม่ระบุปีจัดพิมพ์ ส�ำนักพิมพ์ ปาปิรัส
พิมพ์ครั้งที่ห้า แปลใหม่ มีนาคม 2559 ส�ำนักพิมพ์ สามัญชน
ISBN 978-616-7474-41-0

ในปี ค.ศ.1938-1939 ซอร์เดก เฮดอร์ยตั (Sadegh Hedayan) นักเขียนชาว


อิหร่านต้องหนีไปอยู่อินเดีย ในช่วงดังกล่าวนี้ เฮดอร์ยัต ได้ตีพิมพ์ The Blind Owl
ในฉบับอัดส�ำเนา มีอักษรประทับหราอยู่ที่หน้าปกว่า ‘ห้ามวางจ�ำหน่ายในประเทศ
อิหร่านโดยเด็ดขาด’
ท�ำไมหนังสือเล่มหนึ่งถึงถูกห้ามจ�ำหน่ายในประเทศบ้านเกิดตัวเองชนิดที่
เรียกว่าโดยเด็ดขาด!??
เหตุผลนัน้ มีมากมาย และมีหนังสืออีกมากเล่มทีใ่ นกาลเวลาของอดีตเคยถูกสัง่
ห้ามจ�ำหน่าย หนึง่ ในหนังสือมากเล่มนัน้ มี The Blind Owl หรือ ฝันสีดำ� รวมอยูด่ ว้ ย
ตอนที่หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้น มันไม่ได้ถูกเขียนด้วยภาษาอิหร่าน หรือภาษา
เปอร์เซียสมัยใหม่ แต่ถูกเขียนด้วยภาษาเปอร์เซียโบราณ หากนั่นยังนับว่าน่าสนใจ
ไม่พอ หนังสือเล่มนี้ยังมีแก่นกลางของเรื่องเล่าอยู่ที่หลักอริยสัจผ่านสายตาของนัก
เขียนอิหร่านที่เป็นมุสลิม
กล่าวให้ชดั คือ การบอกเล่าหลักใจความส�ำคัญของศาสนาพุทธผ่านมุมมองของ
มุสลิมของศาสนาอิสลามนั่นเอง
และด้วยเหตุนนั้ ฝันสีดำ� จึงอุดมไปด้วยมุมมองอันแปลกประหลาด เพือ่ จะบอก
เล่าถึงสภาวะแปลกแยกอันโดดเดีย่ วของวิญญาณขบถผ่านภาพฝันร้ายลึกล�ำ้ ทีท่ า้ ทาย
การตีความในทุกครัง้ ทีอ่ า่ นซ�ำ้ มันอาจเป็นบันทึกของคนวิจริตพอๆ กับเป็นคัมภีรข์ อง
นักแสวงหา ระหว่างทัง้ สองมุมมองนี้ อยูท่ เี่ ราเลือกทีจ่ ะหยิบขึน้ มาอ่านหนังสือ ซึง่ ครัง้
หนึ่งเคยท�ำให้หนุ่มสาวในอิหร่านฆ่าตัวตาย เล่มนี้ไหม?
พิษรักสั่งตาย
ฮิงาชิโนะ เคโงะ เขียน

ธนัญ พลแสน แปล


พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2561
จัดพิมพ์โดย ส�ำนักพิมพ์ ไดฟุกุ-ลิท (Daifuku-LIT)
ISBN 978-616-104-0292-1

จากที่เคยตีพิมพ์มาแล้วกับส�ำนักพิมพ์ JBOOK ในชื่อ ‘รักต้องฆ่า’ ผลงาน


เขียนของฮิงาชิโนะ เคโงะ ถูกน�ำกลับมาตีพมิ พ์อกี ครัง้ โดยการจัดพิมพ์ของส�ำนักพิมพ์
ไดฟุกุ-ลิท (Daifuku-LIT) ในชื่อ พิษรักสั่งตาย คงอาจบอกได้ดีถึงความนิยมจากผู้
อ่านที่มีต่อผลงานของฮิงาชิโนะ และตัวละคร ‘ยุกาว่า’ หนุ่มนักวิทยาศาสตร์ฟิสิกซ์
ผู้ต้องท�ำหน้าที่นักสืบจ�ำเป็นตามค�ำขอร้องของต�ำรวจให้มาช่วยคลี่คลายปริศนาคดี
ฆาตกรรมต่างๆ ซึง่ จุดเด่นของยุกาว่าอยูท่ เี่ ขามีทงั้ ความเป็นนักวิทยาศาสตร์ และความ
ละเอียดอ่อนในการมองรายละเอียดต่างๆ ผสมผสานไปกับความลึกซึ้งของเหตุผล
ตรรกะสมฉายา “กาลิเลโอ”
หากพิจารณาจากโครงเรือ่ งทัง้ หมด อาจมองอย่างผิวเผินได้วา ่ พิษรักสัง่ ตาย
เป็นเรื่องราวของความรักที่แปรเปลี่ยนกลายเป็นความแค้นที่บันดาลให้คนเราฆ่าคน
ที่รักได้อย่างไม่เสียใจและเสียดายในวันเวลาที่เคยมีร่วมกันมาอีกต่อไป แต่อันที่จริง
นวนิยายเล่มนีย้ งั สอดแทรกประเด็นร่วมสมัยของสังคมญีป่ นุ่ ในเรือ่ งการให้ความส�ำคัญ
กับเป้าหมายการท�ำงานจนลืมเลือนสิ่งส�ำคัญของชีวิตคู่ไปจนหมดสิ้น ไม่นับประเด็น
ในเรือ่ งความเป็นผูช้ ายทีแ่ ต่ไหนแต่ไรมาถูกมองอย่างมีคา่ มากกว่าผูห้ ญิงมาโดยตลอด
ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า เราสามารถอ่าน พิษรักสั่งตาย ทั้งในแง่ที่เป็น
นวนิยายสืบสอบ-สอบสวนชั้นดี สนุกสนาน และมีปม มีปริศนา และการลุ้นระทึก
สมกับความเป็นนวนิยายสืบสวน ในขณะเดียวกันก็กลับสะท้อนภาพร่วมสมัยของ
สังคมที่เอาแต่ค�ำนึงถึงหน้าที่การงานจนลืมแม้กระทั่งความรัก และด้วยเหตุนั้น พิษ
รักจึงต้องสั่งตาย
ฟอลคอนแห่งอยุธยา (Le minister des moussons)
Claire Keefe-Fox เขียน

กล้วยไม้ แก้วสนธิ แปล


พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2546
พิมพ์ครั้งที่ 2 ตุลาคม 2558
พิมพ์ครั้งที่ 3 มีนาคม 2561
จัดพิมพ์โดย A Novel ในเครือนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์
ISBN 978-616-04-2948-6

เรือ่ งราวของเจ้าพระยาวิไชเยนทร์จะว่าไปแล้วก็มเี รือ่ งราวไม่ตา่ งจากต�ำนานที่


เต็มไปด้วยค�ำถามระหว่างความเป็นจริง กับ เหตุใดคนๆ หนึ่งถึงกลายเป็นคนส�ำคัญ
ของราชอาณาจักรอยุธยาไปได้ แต่ดว้ ยเอกสารชัน้ ต้นต่างๆ รวมไปถึงการค้นคว้าของ
ตัวผู้เขียน แคลร์ คีฟ-ฟอกซ์ เองก็มากพอให้ค�ำถามแรกบนความเป็นจริงเป็นอันตก
ไป กระนั้นค�ำถามประการต่อมายังคงอยู่ และด้วยค�ำถามนี้เองที่เราคงพออนุมานได้
ว่าเป็นสาเหตุทที่ ำ� ให้แคลร์ คีฟ-ฟอกซ์ รังสรรค์เรือ่ งราวของ ฟอลคอนแห่งอยุธยา ขึน้
มา
กระนั้น ตัวแคลร์ คีฟ-ฟอกซ์เองก็เขียนไว้ในบทน�ำว่า เรื่องนี้ไม่นับเป็น
นวนิยายทีเดียวนัก ทุกสิง่ ทุกอย่างหรือเกือบจะทัง้ หมดทีผ่ เู้ ขียนเล่ามาได้เกิดขึน้ จริงๆ
และตัวละครทุกตัวมีตัวตนจริงๆ โดยตัวแคลร์เพียงแต่เพิ่มเติมบางตอนที่บันทึกทาง
ประวัติศาสตร์ละเลยไปและได้ตั้งชื่อให้พวกทาส คนรับใช้ หรือนางบ�ำเรอ ซึ่งเป็นก
ลุ่มคนที่มีความส�ำคัญน้อยเสียจนประวัติศาสตร์ไม่อยากจดจ�ำ แต่เป็นผู้มีบทบาท
ส�ำคัญซึ่งมีตัวตนอยู่ในจิตรกรรมฝาผนังอันมีสีสัน ไม่นับการที่ตัวแคลร์เองใช้บันทึก
จากผู้ที่อยู่ร่วมสมัยกับฟอลคอนในยุคนั้นมาเป็นข้อสังเกตในเชิงตั้งค�ำถามในใจต่อผู้
อ่าน ทั้งในส่วนบันทึกของผู้ที่มองฟอลคอนอย่างหยามเหยียด และผู้ที่มองฟอลคอน
อย่างชื่นชม เพื่อให้ผู้อ่านพิจารณาดูว่าฉบับไหนคือของจริง ฉบับไหนคือของปลอม
ส่วนเรา, ในฐานะคนอ่าน ค�ำถามเรื่องจริง/ปลอม อาจไม่ใช่ประเด็นส�ำคัญ
เท่ากับว่าเอาเข้าจริงแล้วเราเคยมองเจ้าพระยาวิไชเยนทร์ดว้ ยสายตาทีแ่ ตกต่างไปจาก
ประวัติศาสตร์ที่คุ้นเคยหรือไม่? และนั่นอาจเป็นสิ่งส�ำคัญที่สุดของ ฟอลคอนแห่ง
อยุธยา
มนต์ปีศาจ
Leo Tolstoy เขียน

คันธา ศรีวิมล แปล


พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2528 ส�ำนักพิมพ์อะคาเดมียะ
พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ. 2523 ส�ำนักพิมพ์แสงดาว
พิมพ์ครั้งที่สาม พฤษภาคม พ.ศ. 2534 ส�ำนักพิมพ์แสงดาว
พิมพ์ครั้งที่สี่ พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 ส�ำนักพิมพ์บ้านหนังสือ
พิมพ์ครั้งที่ห้า มีนาคม พ.ศ. 2543 ส�ำนักพิมพ์บ้านหนังสือ
พิมพ์ครั้งที่หก มีนาคม พ.ศ. 2557 ส�ำนักพิมพ์สามัญชน
ISBN 978-616-7474-18-2

‘นวนิยายว่าด้วยสงครามในใจก่อนน�ำไปสู่ทางเลือก’ โปรยปกสั้นๆ ของนัก


เขียนนามอุโฆษของรัสเซียผู้โด่งดังจากเรื่อง ‘สงครามและสันติภาพ’ อาจชี้ชวนให้
นึกถึงสงครามในความหมายที่ตรงตัว หากแต่เรื่องราวใน มนต์ปีศาจ หาได้เป็นเช่น
นั้นไม่!
ทว่าเรื่องราวในนวนิยายเล่มนี้เปรียบไปแล้วเหมือนบันทึกสั้นๆ ของลีโอ
ตอลสตอย ในวัยหนุ่มที่มีวงจรการประพฤติตัวเหลวไหล จากนั้นเสียใจ ตามด้วยการ
ก่นด่าวิจารณ์ตวั เองรุนแรง เพราะเรือ่ งเพศเป็นเรือ่ งทีก่ ดั กินตอลสตอยตลอดชีวติ ยิง่
เมือ่ พิจารณาจากเนือ้ หาของ มนต์ปศี าจ ทีต่ วั เอกได้รบั มรดกเป็นบ้านไร่ทตี่ อ้ งกลับไป
ดูแลตั้งแต่ยังหนุ่มด้วยแล้ว ในชีวิตจริงของตอลสตอยเองก็เคยมีสัมพันธ์กับหญิงคน
งานในไร่ตัวเองจนมีลูกชายด้วยกัน
กล่าวอีกแบบ คือ นวนิยายขนาดสั้นที่เล่าถึงความก�ำหนัดเล่มนี้ ไม่เพียง
แต่เป็นนวนิยายที่ได้รับการกล่าวขานในฐานะเรื่องราวเปลือยด้านมืดในใจมนุษย์ได้ดี
ที่สุดเล่มหนึ่งเท่านั้น หากไม่ใช่เพราะตัวผู้ประพันธ์เองมีประสบการณ์ตรงแล้ว คงไม่
อ่านจ�ำลองภาพสะท้อนของ มนต์ปีศาจ ได้ลึกซึ้งเช่นนี้
มหาสมุทรของโกดี
ทาจิมะ ชินจิ เขียน

ถนอมวงศ์ สุกโชติรัตน์ ล�้ำยอดมรรคผล แปล


คาซูโกะ ทาจิมะ ภาพประกอบ
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2537
พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ.2553
พิมพ์ครั้งที่สาม พ.ศ.2557
จัดพิมพ์โดย ส�ำนักพิมพ์กระดาษสา
ISBN 978-616-9054-00-9

เราจะตระหนักในความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติได้มากน้อยแค่ไหน? และเรา
จะตระหนักในความส�ำคัญของสิง่ มีชวี ติ ทีอ่ าศัยอยูใ่ นธรรมชาติเหล่านัน้ มากน้อยเพียง
ไร?
เป็นค�ำถามที่ปรากฏระหว่างบรรทัดของนวนิยายส�ำหรับเยาวชนที่บอกเล่า
เรื่องราวของเต่าที่ชื่อ โกดี ซึ่งเป็นเต่าที่มีชีวิตอยู่ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น�้ำ ก่อนจะออก
มาท่องโลกกว้างในมหาสมุทร พบพานกับการผจญภัยต่างๆ เพื่อเรียนรู้สิ่งส�ำคัญสิ่ง
หนึ่งที่ทาจิมะ ชินจิ ผู้แต่งเรื่อง มหาสมุทรของโกดี ได้กล่าวไว้ในค�ำน�ำ นั่นคือ “ทุก
คนมีต้นไม้แห่งชีวิต เราทุกคนรักษาความหวังไว้ในหัวใจ”
แรงบันดาลใจในการแต่งเรื่องราวของเต่าทะเลของทาจิมะเกิดขึ้นจากความ
ที่ตัวเขาเติบโตขึ้นในเมืองที่อยู่ห่างจากตัวเมืองฮิโรชิมาที่ถูกระเบิดปรมาณูสมัย
สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งนับว่าห่างไกลจากประสบการณ์รับรู้ของเขา จนกระทั่งเกิด
เหตุการณ์ในตอนที่ก�ำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมฯ ปีที่ 4 เมื่อได้ชมภาพยนตร์เกี่ยวกับ
เหตุการณ์ ไดโกะ ฟุคุริว มารู ซึ่งเล่าเรื่องราวของลูกเรือประมง 23 ชีวิตที่ได้รับ
ผลกระทบจากการทดลองระเบิดไฮโดรเจน ส่งผลให้เกิดการท�ำลายสิ่งแวดล้อมและ
สัตว์น้อยใหญ่ กลายเป็นความเศร้าที่ทาจิมะรู้สึกต่อความโหดร้ายที่มนุษย์กระท�ำต่อ
โลก จนในตอนแรกเขานึกอยากเขียนเรื่องราวในเต่าโกดีก�ำลังจะตาย และนึกเสียใจ
ทีอ่ อกมาจากพิพธิ ภัณฑ์สตั ว์นำ�้ แต่ความตัง้ ใจนัน้ เปลีย่ นไป เพราะทาจิมะรูส้ กึ ว่าโลก
ยังต้องการความหวัง และชีวิตยังต้องการต้นไม้แห่งการด�ำรงอยู่เพื่อยืนต้นอยู่ต่อไป
และทั้งหมดนี้ปรากฏอยู่ใน มหาสมุทรของโกดี
มองกลับ (Looking Backward)
Edward Bellany เขียน

พันทิพา บูรณมาตร์ แปล


กิจโชติ นันทนสิริวิกรม บทกล่าวตาม
ปฐมพงศ์ น�้ำใจดี ออกแบบปก
พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2554 ส�ำนักพิมพ์ สมมติ
ISBN 978-616-7196-09-1

หาก ‘1984’ เป็นโลกที่อยู่คู่ตรงข้ามกับโลกใน ‘ยูโทเปีย’


โลกใน ‘มองกลับ’ ก็อาจเป็นโลกที่มองย้อนกลับไปถึงสังคมในอนาคตที่ควร
เป็นจากสายตาของคนในอดีตที่วาดหวังถึงโลกในฝัน
คงไม่อาจปฏิเสธว่างานเล่มนีข้ องเอ็ดเวิรด์ เบลลามี เล่มนี้ ซึง่ ตีพมิ พ์ในปี ค.ศ.
1888 มีร่องรอยและอิทธิพลจากงานของโธมัส มอร์ เล่มนั้น ในบทกล่าวน�ำที่เขียน
โดย กุลวุฒิ วิภาวิกุล ระบุว่า “...ความมุ่งมั่นเพื่อสร้างสังคมอุดมคติ สังคมยูโทเปีย
ที่ทุกคนอยู่กันอย่างมีความสุข เสมอภาค และเท่าเทียมกันนั้น ยังคงอยู่ในใจของเบล
ลามีเสมอ ทฤษฎียูโทเปียในอดีตซึ่งเป็นมรดกทางปัญญาจากเซอร์ โทมัส มอร์ แม้
จะเป็นแบบแผนของสังคมในอุดมคติที่อยู่กันอย่างเท่าเทียม เป็นการเล่าเรื่องเกี่ยว
กับเมืองซึง่ ถูกค้นพบ แต่กไ็ ม่ได้ระบุถงึ การก่อร่างสร้างตัวของระบบสังคมเอาไว้อย่าง
ชัดเจน กล่าวได้วา่ ยูโทเปียของโทมัส มอร์อาจตีความได้สองแบบ คือ ความหมายตรง
ตัวตามรากศัพท์ในภาษากรีกว่า ‘good place’ หรือความหมายในเชิงย้อนแย้งว่า ‘no
place’…”
แน่นอนเมื่อพิจารณาเช่นนี้ โลกใน ‘มองกลับ’ จึงถูกกล่าวถึงว่าเป็นงานที่
สมจริง และใกล้เคียงกับผู้คนในยุคสมัยที่เบลลามีเขียนขึ้นมามากกว่า หากแต่ในยุค
สมัยปัจจุบนั นี้ เรายังจ�ำเป็นต้อง ‘มองกลับ’ เพือ่ ให้เห็นสังคมในอุดมคติทมี่ อี ยูซ่ งึ่ ไม่ใช่
สังคมทีไ่ ม่มอี ยูจ่ ริงอยูห่ รือไม่? เหมือนเช่นบางส่วนจากนวนิยายเล่มนีท้ เี่ บลลามีเขียน
ไว้ว่า
“...ฟังนะ บ้านของพวกเขาอยู่ใกล้บ้านคุณแค่นี้เอง จนกระทั่งถ้าคุณหยุด
หัวเราะสักนิด คุณก็จะได้ยินเสียงแห่งความระทมทุกข์ของพวกเขา...”
มาจากทางสายเปลี่ยว (รวมความเรียงว่าด้วยศิลปะและชีวิตด้านใน)
Hermann Hesse เขียน

พจนา จันทรสันติ แปล


พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2528 ส�ำนักพิมพ์ตถตา
พิมพ์ครั้งที่สอง 2533 ส�ำนักพิมพ์คณาธร
พิมพ์ครั้งที่สาม ตุลาคม 2556 ส�ำนักพิมพ์ สามัญชน
ISBN 978-616-7474-24-3

จุดเด่นในงานเขียนทุกชิ้นของแฮร์มันน์ เฮสเสอะ คือ ท่วงท�ำนองของภาษา


ที่งดงามราวบทกวี ยิ่งเมื่อได้ส�ำนวนแปลของพจนา จันทรสันติ ยิ่งขับเน้นให้ถ้อยค�ำ
แต่ละค�ำ แต่ละประโยคจากความเรียงทั้ง 16 ชิ้น ที่ร้อยเรียงมาจาก My Belief :
Essays on Life and Art ซึ่งรวบรวมความเรียงตั้งแต่ปี ค.ศ.1904-1961 รวมทั้งสิ้น
74 ชิน้ ด้วยกัน กลายเป็นเหมือนบทบันทึกของนักเขียนรางวัลโนเบลผูน้ จี้ ากด้านนอก
สะท้อนกลับมาสูด่ า้ นใน แล้วสะท้อนออกมาเป็นผลงานเขียนในเชิงความเรียงทีง่ ดงาม
หากทว่าหนักแน่นด้วยแก่นแกนทางความคิด ไม่วา่ จะเป็นแง่มมุ ต่อศิลปินทางด้านการ
ประพันธ์ด้วยกัน
[...]ข้างฝ่ายศิลปิน ซึ่งมีเรื่องต้องบ่นว่าประชาชนเหล่านี้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าที่เขา
โดนวิพากษ์วิจารณ์ กลับต้องบากบั่นเพื่อค้นหา และเรียนรู้ภาษาใหม่ส�ำหรับการถูก
เหยียดหยามและความขมขื่นของตนเอง[...]
หรือบทสะท้อนต่อชีวิต
[...]ดังนั้นชีวิตของมนุษย์จึงเหวี่ยงตัวเองกลับไปกลับมาอยู่ระหว่างขั้วทั้งสองนี้
นัน่ ก็คอื การจับยึดแนบแน่นอยูก่ บั สิง่ ทีไ่ ด้มาแล้ว กับการสลัดสิง่ ทีไ่ ด้มาแล้วทิง้ ไป[...]
เช่นนีแ้ ล้วจึงอาจกล่าวได้วา ่ มาจากทางสายเปลีย่ ว เล่มนี้ จึงไม่เพียงควรค่าอ่าน
เพือ่ เข้าใจความคิดของนักเขียนคนส�ำคัญของเยอรมันเท่านัน้ หากยังเพือ่ เข้าใจอารมณ์
ความรู้สึกด้านในของเราทุกผู้อีกด้วย
มาริโอกับนักมายากล (Mario und dez Zauberer)
Thomas Mann เขียน

อารดี แก้วสัมฤทธิ์ แปล


อธิคม คุณาวุฒิ บทกล่าวตาม
ปฐมพงศ์ น�้ำใจดี ออกแบบปก
พิมพ์ครั้งแรก 2552 ส�ำนักพิมพ์ สมมติ
ISBN 978-611-7196-03-4

ปฏิเสธไม่ได้ว่าแม้จะเต็มไปด้วยปัจจัยที่หนุนเสริมให้ประเทศเยอรมนีหนุน
เสริมฮิตเลอร์ก้าวขึ้นสู่อ�ำนาจ แล้วน�ำโลกเข้าสู่หายนะของสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่
สัดส่วนที่ส�ำคัญ คือ การที่ประชาชนชาวเยอรมัน ‘ยินยอม’ ยกประเทศให้จอม
เผด็จการครองอ�ำนาจโดยเชื่อในสัญญาที่ว่าฮิตเลอร์จะน�ำความมั่งคั่งกลับคืนสู่ชาว
เยอรมัน
โธมัส มันน์ เป็นนักเขียนคนส�ำคัญของเยอรมนีที่อยู่ในช่วงสงครามโลกครั้ง
ที่ 2 ได้เห็นและมองดูการขึ้นสู่อ�ำนาจของฮิตเลอร์ด้วยสายตาของนักเขียนที่สะท้อน
ผ่านออกมาใน มาริโอกับนักมายากล เพื่อจะบ่งบอกประเด็นส�ำคัญในการ ‘ควบคุม’
และการ ‘ล่อหลอก’ ผ่านค�ำสัญญาและความเชือ่ ทีฮ่ ติ เลอร์มใี ห้กบั ประชาชนเยอรมัน
ไม่ต่างจากชิปอลล่ากับ ‘การแสดง’ ที่เขามีต่อผู้ชมในโรงละคร ไม่นับประเด็นเสียดสี
ทีน่ กั มายากลมีตอ่ คนด้อยการศึกษา และความต่างทางชาติพนั ธุ์ ซึง่ ไม่ตา่ งจากระบบ
ของฮิตเลอร์ที่กีดกันคนเชื้อชาติอื่น กระทั่งน�ำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เพื่อคงความ
บริสุทธิ์ของสายเลือดอารยันไว้
พูดอีกแบบ การจะอ่าน มาริโอกับนักมายากล คุณไม่อาจมองข้ามบริบทของ
สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ครอบง�ำเยอรมนีในห้วงเวลานั้นได้โดยเด็ดขาด ทั้งนี้ ไม่ใช่
เพื่อเข้าใจสารที่โธมัส มันน์ สื่อให้ถึงแก่น แต่ยังมองข้ามให้เห็น ‘ความจริง’ ไปยัง
‘การแสดง’ ของ ‘นักมายากล’
เมตามอร์โฟซิส (Die Verwandliung)
Franz Kafka เขียน

ถนอมนวล โอเจริญ แปล


พิมพ์ครั้งแรก 2536 ส�ำนักพิมพ์ดวงกมล
พิมพ์ครั้งที่สอง มีนาคม 2550 ส�ำนักพิมพ์ สามัญชน
พิมพ์ครั้งที่สาม ตุลาคม 2559 ส�ำนักพิมพ์ สามัญชน
ISBN 978-616-7474-52-6

เช้าวันหนึ่ง เมื่อเกรเกอร์ ซามซาตื่นขึ้นมาจากความฝันอันสับสน เขาพบว่า


ตนเองได้กลายเป็นแมลงยักษ์ไปเสียแล้ว...
บทเปิดเรื่องของหนึ่งในวรรณกรรมเอกของโลกแห่งศตวรรษที่ 20 ของฟรัน
ซ์ คาฟคา นักเขียนชาวเช็ก ผู้ตลอดชีวิตไม่เคยมีผลงานตีพิมพ์ จนกระทั่งเมื่อลาลับ
โลกนี้ไป วงการวรรณกรรมโลกจึงจะได้รับอนุญาตให้รู้จักผลงานเขียนอันแสนหม่น
เศร้า และคลุมเครือจนกลายเป็นเสน่ห์ในงานทุกชิ้นของคาฟคา จนกล่าวได้ว่าหาก
ต้องการอ่านงานของฟรันซ์ คาฟคาให้ได้อรรถรส จ�ำต้องรู้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติชีวิต
ของเขา
เรื่องราวใน เมตามอร์โฟซิส นี้ก็เช่นเดียวกัน แม้งานเขียนของคาฟคาจะ
ไม่ใช่บันทึกอัตชีวประวัติ แต่ก็ไม่เกินเลย หากจะกล่าวว่าเรื่องราวในนวนิยายขนาด
สั้นเล่มนี้ คาฟคาได้แปรเอาประสบการณ์ทางอารมณ์จากมรสุมชีวิตจริงมาถ่ายทอด
ผ่านภาวะและชะตากรรมของตัวละครจ�ำพวกไร้ค่า ไม่มีความสลักส�ำคัญในสายตา
ใครก็ไม่ผิดนัก
กล่าวอีกแบบ การกลายเป็นแมลงยักษ์ของเกรเกอร์ ซามซา โดยเนื้อแท้แล้ว
หาใช่อนื่ ใด นอกจากภาวะความเป็นอืน่ ทีร่ สู้ กึ อยูต่ ลอดชีวติ ของฟรันซ์ คาฟคา นัน่ เอง
เมืองทดสอบบาป (The Devil & Miss Prym)
Panlo Coelho เขียน

กอบชลี และ กันเกรา แปล


พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2546
พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2548
พิมพ์ครั้งที่ 3 กันยายน 2548
พิมพ์ครั้งที่ 4 ตุลาคม 2552
พิมพ์ครั้งที่ 5 ตุลาคม 2558
จัดพิมพ์โดย A Novel ในเครือนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์
ISBN 978-616-04-2892-2

อย่างที่เราคุ้นเคยกันดี เรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลระบุว่าพระเจ้าทรงสร้าง
โลกในเวลา 6 วัน วันที่ 7 พระองค์ทรงพักผ่อน และธรรมเนียมนี้ได้ถูกยึดถือปฏิบัติ
ให้วนั พระอาทิตย์กลายเป็นวันแห่งการพักผ่อน และการเข้าโบสถ์เพือ่ ระลึกถึงพระเจ้า
กระนั้น เวลา 7 วันก็ยังเป็นกรอบที่เราคุ้นเคย และคุ้นชินเมื่อวันอาทิตย์มาถึง และ
วันจันทร์ที่หมายถึงการเริ่มต้นใหม่ได้เวียนมาอีกครั้ง
เรื่องราวเกี่ยวกับเลข 7 ยังถูกกล่าวถึงไว้ในบทกวีของดันเตที่ว่าด้วยบาป 7
ประการของมนุษย์ ซึ่งไม่ว่าเรื่องราวใน เมืองทดสอบบาป ของ เปาโล คูเอลญู จะ
ยึดโยงอยูก่ บั ความเชือ่ ทัง้ สองประการนีห้ รือไม่ แต่สงิ่ ทีป่ รากฏอยูใ่ นนวนิยายเรือ่ งนีม้ ี
แก่นกลางอยูท่ ี่ “เมือ่ ความดีและความชัว่ มายืนตรงหน้าให้ตดั สินใจเลือก โดยมีของมี
ค่าตอบแทนส�ำหรับการท�ำชัว่ คนเราจะเลือกอะไร” ผ่านการด�ำเนินเรือ่ งภายใน 7 วัน
ในเมืองทีช่ อื่ วิสคุส ซึง่ ไม่เพียงเป็นการตัง้ ค�ำถามต่อความเชือ่ ศรัทธาในแง่ศาสนา แต่
ยังเป็นตั้งค�ำถามต่อความเป็นมนุษย์เรา ว่า สุดแท้แล้วหากมีโอกาสเราจะเลือกท�ำสิ่ง
ใด ระหว่างความดีกับความชั่วกันแน่?
เหมือนที่เปาโลได้เขียนไว้ว่า “...นับแต่ถือก�ำเนิดมา มนุษยชาติถูกลงโทษให้
เคลื่อนไหวอยู่ภายใต้การแบ่งฝ่ายตลอดกาล ระหว่างขั้วสองขั้วที่ตรงกันข้าม พวก
เราจึงอยู่ที่นี่ มีข้อสงสัยเดียวกันกับบรรพบุรุษของเรา หนังสือเล่มนี้มีจุดประสงค์ที่
จะกล่าวถึงเรื่องนี้...”
ซึ่งคงไม่เกินเลย หากจะกล่าวว่าข้อสงสัยนี้อาจไม่มีวันจบสิ้น ตราบที่มนุษย์ยัง
ต้องถูกทดสอบจากความชั่วและความดีในจิตใจตัวเอง
แม่
แมกซิม กอร์กี้ เขียน

จิตร ภูมิศักดิ์ แปล


พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2521 ส�ำนักพิมพ์ เกิดใหม่
จัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ แม่ค�ำผาง พ.ศ.2554
ISBN 978-616-7562-01-8

นวนิยายเรื่อง “แม่” นี้ กอร์กี้ได้เขียนขึ้นจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เป็นจริง


จากการเดินขบวนของคนงานรัสเซียในซอร์โมโวเนื่องในวัยเมย์เดย์ ค.ศ.1902 การ
เคลือ่ นไหวต่อสูข้ ององค์การจัดตัง้ ของพรรคสังคมประชาธิปไตย (ภายหลังเป็นพรรค
บอลเซวิค)
ค�ำกล่าวข้างต้นเป็นของ “ทวีปวร” นามปากกาอันเป็นที่รู้จักดีของ จิตร ภูมิ
ศักดิ์ นักคิดนักเขียนคนส�ำคัญของประเทศไทย ซึ่งตลอดทั้งชีวิตของจิตรอุทิศให้กับ
การคิด การเขียน และการต่อสู้ให้กับชนชั้นล่างของสังคมมาโดยตลอด ตราบจนลม
หายใจสุดท้าย “แม่” ในทรรศนะของจิตร จึงไม่ได้ถึงแค่แม่ที่มีความหมายในฐานะ
วันส�ำคัญของชาติ แต่ยังหมายถึง “แม่” ที่ถือก�ำเนิดขึ้นจากระบอบปกครองที่กดขี่
ประชาชนเหมือนที่เขาเขียนไว้ว่า “แม่” เป็นผู้หญิงคนงานธรรมดาๆ ภายใต้แอก
ของระบอบเก่า ซึ่งไม่ได้แตกต่างไปจากแม่ของคนงานทั้งหลายนับหมื่นนับแสน ต้อง
ตรากตร�ำท�ำงานทั้งในฐานะคนงานและในฐานะที่ต้องถูกกดขี่ทางเพศ
และแม้กาลของวรรณกรรมเล่มส�ำคัญของโลกเล่มนีใ้ นกาลเวลาทีม่ นั ถูกผลิต
ขึ้นจะผ่านมาเนิ่นนานนับร้อยปี แต่ใช่หรือไม่ว่าในกาลเวลาปัจจุบัน แอกของระบอบ
กดขี่ทางสังคมที่มีต่อผู้หญิงในฐานะคนเป็น “แม่” ยังคงอยู่ การอ่านวรรณกรรมเล่ม
นี้ จึงไม่เพียงเสพรสในฐานะของวรรณกรรมของโลกเท่านั้น แต่ยังเพื่อหวนกลับมา
มองความเป็นแม่ในสังคมไทยว่าโดยแท้แล้ว ได้มคี วามหมายมากกว่าแค่คำ� วันส�ำคัญ
ของชาติเท่านั้นหรือไม่?
ยูโทเปีย (Utopia)
Sir Thomas More เขียน

สมบัติ จันทรวงศ์ แปลและบทกล่าวตาม


ปฐมพงศ์ น�้ำใจดี ออกแบบปก
พิมพ์ครั้งที่สี่ ตุลาคม 2551 ส�ำนักพิมพ์ สมมติ
พิมพ์ครั้งที่ห้า กรกฎาคม 2555 ส�ำนักพิมพ์ สมมติ
พิมพ์ครั้งที่หก ตุลาคม 2557 ส�ำนักพิมพ์ สมมติ
ISBN 978-616-7196-43-5

งานแปลชิน้ ส�ำคัญของนักคิด นักวิชาการด้านปรัชญาการเมืองคนส�ำคัญ และ


เป็นผู้บุกเบิกงานด้านปรัชญาการเมืองขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย จนได้รับฉายาว่า
‘เพลโตเมืองไทย’ สมบัติ จันทรวงศ์ เขียนในค�ำน�ำฉบับพิมพ์ครั้งที่ห้า เมื่อปี 2555
ไว้วา ่ “..แรงบันดาลใจในการแปลส่วนหนึง่ เริม่ มาจากความรูส้ กึ ของข้าพเจ้าทีว่ า ่ ตนเอง
ก�ำลังจะได้เห็นการเปลีย่ นแปลงไปสูส่ งิ่ ทีด่ กี ว่าของสังคมไทย และเฉกเช่นเดียวกันกับ
ทีใ่ นประกาศราษฎรเมือ่ วันที่ 24 มิถนุ ายน พ.ศ.2475 มีการกล่าวถึงสังคมในอนาคต
ทีเ่ ปรียบได้กบั ‘โลกพระศรีอาริย’์ ข้าพเจ้าก็ปรารถนาจะให้สงั คมไทยได้รจู้ กั กับสังคม
ยูโทเปียของโลกตะวันตกบ้าง...”
ยูโทเปีย ชื่อนี้ส�ำหรับผู้ที่สนใจเรื่องการเมือง คงเคยได้ยิน และเข้าใจอยู่บ้าง
ว่ายูโทเปีย คือ ภาพแทนความหมายของค�ำว่าโลกทีส่ มบูรณ์แบบ โลกทีท่ กุ คนมีความ
สุข ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความแตกต่างทางชนชั้น สังคม และฐานันดรศักดิ์ โลกใน
ยูโทเปียที่เปรียบเสมือนโลกพาฝันที่พาคนอ่านไปสู่การมองโลกที่เป็นไปได้ กระทั่ง
กลายเป็นคัมภีร์ในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในระดับโลก
ความส�ำคัญของยูโทเปีย จากผลงานของ เซอร์ โธทัส มอร์ เล่มนี้ ไม่เพียง
พาคนอ่านไปตั้งค�ำถามถึงโลกที่ด�ำรงอยู่ของเรา ในฐานะมนุษย์ (หรืออาจจะกล่าว
เฉพาะในยุคของมอร์ คือ จักรวรรดิอังกฤษ) แต่มอร์ยังสลายตัวเองลงไปในเนื้อเรื่อง
กลายเป็นหนึ่งในตัวละครเพื่อจะยืนกรานความจริงในความไม่จริง เพื่อจะเปิดทางให้
แก่ค�ำถามอันส�ำคัญยิ่งกว่าเนื้อเรื่องในยูโทเปีย นั่นคือ การด�ำรงอยู่ของความเป็นจริง
คงไม่เกินเลยนัก หากจะกล่าวว่าเพียงค�ำถามนี้ ยูโทเปียก็ควรค่าต่อการอ่าน
ซ�ำ้ และอ่านซ�ำ้ ไปอย่างไม่รจู้ บแล้ว ตามเท่าทีโ่ ลกทุกวันนี้ ค�ำว่ายูโทเปียทุกวันนีย้ งั เป็น
แค่อีกความหมายของค�ำว่า ‘เพ้อฝัน’
ระบ�ำชีวิต (Zoya)
Danielle Steel เขียน

เสาวนีย์ นิวาศะบุตร แปล


พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2552
จัดพิมพ์โดย บริษัทเรือนปัญญา
ISBN 978-974-7477-27-6

“...ถ้าเป็นนกชีวิตไม่สิ้นก็ต้องบินกันไป ถ้าเป็นปลาย่อมแหวกว่ายธาราจน
ตาย...”
ระบ�ำชีวิตเป็นเรื่องราวของนักเต้นสาวสวยคนหนึ่งที่ชีวิตถูกลิขิตให้ร่วงหล่น
จากฟากฟ้ามาสูด่ นิ เพราะวิกฤตการเมือง ทว่าชีวติ ในความเป็นนักเต้นของเธอก็ยงั ต้อง
เต้นต่อไป เพราะเธอเกิดมาเพื่อเต้นระบ�ำ ทั้งระบ�ำปลายเท้า ระบ�ำชีวิต และระบ�ำที่
ต้องเต้นเพื่อชีวิตรอด บนปลายเท้าของ โศญา ผู้มีชีวิตอยู่ในแวดวงชนชั้นสูง ซึ่งข้อง
เกี่ยวกับราชวงศ์โรมานอฟของรัสเซีย ก่อนการปฏิวัติที่น�ำโดยเลนิน
โศญาผูร้ ตู้ วั ว่ามีพรสวรรค์ทางด้านการเต้นมาตัง้ แต่อายุหา้ ขวบ แต่กต็ ระหนัก
เช่นกันว่าในสังคมชนชัน้ สูงของตัวเองนัน้ ไม่ใคร่มคี วามชอบพอทีจ่ ะเห็นคนจากชนชัน้
ตัวเองไปเป็นนักเต้นระบ�ำในคณะบัลเลต์ เท่าไหร่นัก แม้ที่สุดจะได้เป็นนักเต้นสมใจ
ทว่าลมพัดทางการเมืองก็พัดพาให้โศญาประสบกับโศกนาฏกรรมของชีวิตที่สักครั้ง
เราต่างต้องเคยผ่านประสบการณ์เช่นว่านี้ เร็วหรือช้าเท่านั้น และส่วนมากแล้ว ชีวิต
มักไม่เคยมีสญ ั ญาณบอกกล่าวต่อความเปลีย่ นแปลงใดๆ กระนัน้ โศญาก็ยงั เลือกทีจ่ ะ
เต้นแม้ในวันที่เธอได้รับเชิญจากเจ้าชายวลาดิเมียร์ ค�ำตอบของโศญาจึงไม่เพียงแต่
เป็นการตอบปฏิเสธอย่างรักษาน�ำ้ ใจ แต่ยงั เป็นการยืนกรานในความมุง่ มัน่ ของตัวเอง
ที่ว่า “ฉันไม่มีเวลาให้เรื่องพวกนี้ดอกค่ะ เจ้าชายวลาดิเมียร์ ถ้าคณะบัลเลต์ยังจ้างอยู่
ฉันก็ต้องฝึกซ้อมทั้งกลางวันกลางคืนให้ทันคนอื่นเขา”
ราโชมอนและเรื่องสั้นอื่นๆ (Rashomon and Other Stories)
Ryunosuke Akutagawa เขียน

มณฑา ทิพย์ทอง และคณะ แปล


(ศศมน วิริยศิริ แปล ราโชมอน, มณฑา ทิพย์ทอง แปล ในป่าละเมาะ-ใยแมงมุม,
ชมนาด ศีติสาร แปล จมูก, ปิยะจิต ทาแดง แปล ฉากนรก)
อนุสรณ์ ติปยานนท์ และ วาด รวี บทกล่าวตาม
ปฐมพงศ์ น�้ำใจดี ออกแบบปก
พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2551 ส�ำนักพิมพ์สมมติ
พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2554 ส�ำนักพิมพ์สมมติ
พิมพ์ครั้งที่สาม กันยายน 2560 ส�ำนักพิมพ์สมมติ
ISBN 978-616-7196-10-7

ฆอร์เก ลุยส์ บอร์เฆส นักเขียนชาวอาร์เจนติน่า กล่าวใน Kappa : Los En-


grnadajes (1959) ว่า “เป็นเรือ่ งยากทีจ่ ะแบ่งแยกความเป็นตะวันตกหรือตะวันออก
ในงานของอะคุตะงะวะ” ด้วยเหตุทวี่ า่ โครงสร้างของนิทานหรือเรือ่ งสัน้ ทีเ่ ขาประพันธ์
ขึ้นมา ที่แม้จะเป็นเรื่องราวในโลกตะวันออกแท้ๆ แต่มุมมองและวิธีการสร้างปฏิทร
รศน์ (paradox) ในเรื่องกลับแลดูเป็นตะวันตกอย่างมาก
บางส่วนของค�ำน�ำ อาจเพียงพอในการกระตุ้นในน่าสนใจใคร่รู้ต่อไปว่า งาน
ที่มีความเป็นปฏิทรรศน์ หรือพูดให้ชัด มีความย้อนแย้งในตัวเองของ ริวโนสุเกะ อะ
คุตะงะวะ เล่มนี้ คือ อะไรกันแน่?
ซึง่ การตัง้ ค�ำถามเช่นนีเ้ อง อาจเป็นส่วนส�ำคัญในการพิจารณาเรือ่ งสัน้ แต่ละเรือ่ ง
ของอะคุตะงะวะที่มีจุดร่วมอยู่ที่การตั้งค�ำถามต่อความจริงที่ปรากฏ โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งในเรื่อง ป่าละเมาะ และ ราโชมอน ที่กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้กับภาพยนตร์
ราโชมอน ที่ก�ำกับโดย อะกิระ คุโรซาวะ ผู้ก�ำกับชาวญี่ปุ่นที่ได้รับรางวัลออสการ์
หรือแม้แต่บทละครเรื่อง ราโชมอน เช่นเดียวกันโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จน
กลายเป็นค�ำเรียกขาน ‘ความจริง’ อันหลากหลายในนามของปรากฏการณ์ราโชมอน
มากกว่าจะจดจ�ำ ราโชมอน ในฐานะเรือ่ งสัน้ เรือ่ งหนึง่ ของอะคุตะงะวะ ผูไ้ ด้ชอื่ ว่าเป็น
‘ราชาเรื่องสั้นญี่ปุ่น’
ความจริงอันหลากหลายใน ‘ราโชมอน’ นั้นทอดตัวอยู่ใน ‘ป่าละเมาะ’ ดุจ ‘ใย
แมงมุม’ ที่กางขึงอยู่เบื้องหน้า ‘ฉากนรก’ ที่อยู่ใต้ ‘จมูก’ เราในฐานะหนังสือเล่มนี้
นั่นเอง
เรื่องเล่าชาววิกล (Winesburg, Ohio)
Sherwood Anderson เขียน

ประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล แปล


เวียง-วชิระ บัวสนธ์ บทกล่าวตาม
ปฐมพงศ์ น�้ำใจดี ออกแบบปก
พิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม 2552 ส�ำนักพิมพ์สมมติ
ISBN 978-611-7196-04-1

เชอร์วูด แอนเดอร์สัน กล่าวไว้สั้นๆ ว่า ผมเป็นนักรัก แต่ไม่เคยเจอสิ่งที่


ผมรัก และแม้บ่อยครั้งที่ผู้อ่านจะตระหนักดีว่าตัวละครแต่ละครแต่ละตัวที่ออกมา
โลดแล่นบนหน้ากระดาษให้ได้อ่านกันนั้น ล้วนมาจากประสบการณ์ การหยั่งคาดใน
ความลึกของจิตใจความเป็นมนุษย์ในตัวผู้ประพันธ์แทบทั้งสิ้น เช่นเดียวกันกับเรื่อง
ราวของจอร์จ วิลลาร์ด นักหนังสือพิมพ์หนุ่ม ผู้ท�ำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวของผู้คน
ต่างๆ ในเมือง ไวน์สเบิร์ก, โอไฮโอ ซึ่งในฐานะผู้อ่านยากที่จ�ำแนกลงไปในชัดเจนว่า
งานเขียนเล่มนี้ของแอนเดอร์สัน เป็นนวนิยายหรือรวมเรื่องสั้นที่มีตัวละครเกี่ยวร้อย
โยงใยภายใต้เมืองเดียวกัน—กันแน่?
และคงมีคำ� กล่าวใดทีเ่ หมาะไปกว่าการหยิบยืมบทกล่าวตามของ เวียง-วชิระ
บัวสนธ์ ที่กล่าวถึงงานชิ้นนี้ไว้ว่า “...เรื่องเล่าชาววิกล เป็นผลงานอันน่าสรรเสริญใน
ส่วนที่พยายามส�ำรวจตรวจสอบลึกลงไปยังภูมิประเทศด้านในแห่งจิตใจมนุษย์ เพื่อ
ฉุดรัง้ ให้คนเรารูจ้ กั เห็นอกเห็นใจกันมากขึน้ โกรธกันน้อยลง หากแต่องค์ประกอบทัง้
ปวงทีห่ น่วงเหนีย่ วเกีย่ วโยงไปกระตุกเตือนให้เราอดไม่ได้ทจี่ ะรูส้ กึ เป็นระยะๆ ระหว่าง
ท่องไปในเมืองไวน์สเบิร์ก ภายใต้การน�ำของมัคคุเทศก์ ซึ่งเปี่ยมด้วยวิฒิภาวะอย่าง
เชอร์วูด แอนเดอร์สัน จนถึงขั้นต้องหันมาทบทวนถามไถ่ตัวเองในท�ำนองที่ว่า บางที
เราอาจเป็นหนึง่ ในชาวไวน์สเบิรก์ ด้วยเหมือนกัน นัน่ ไม่ถอื เป็นฝีมอื ระดับเทพของเชอ
ร์วูด แอนเดอร์สัน ก็ไม่รู้จะเรียกอะไรให้ใกล้เคียงได้อีกแล้ว...”
แรงใจและไฟฝัน (Great Expectations)
Charles Dickens เขียน

รังสิมา ดีสวัสดิ์ แปล


พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2554
ฟรีฟอร์ม ส�ำนักพิมพ์
ISBN 978-616-7147-69-7

หลายคนอาจรู้จัก Great Expectations จากภาพยนตร์ในชื่อเดียวกันที่ออก


ฉายในปี 1998 จากฝีมือก�ำกับของ Alfonso Cuarón ผ่านการแสดงของ Ethan
Hawke และ Gwyneth Paltrow โดยที่ไม่เคยรู้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับแรงบันดาล
ใจมาจากผลงานของ Charles Dickens ที่ถูกถ่ายทอดออกมาในภาษาไทยผ่านฝีมือ
การแปลของรังสิมา ดีสวัสดิ์ในชื่อ แรงใจ และไฟฝัน
เรื่องราวในนวนิยายที่ข้ามผ่านกาลเวลามานับร้อยปีเล่มนี้ บอกเล่าเรื่องราว
ความรักทีพ่ พิ เด็กชายยากจนทีห่ ลงรักเอสตาลา เด็กหญิงผูส้ งู ศักดิ์ ผูท้ ำ� ให้สายตาใน
การสภาพสังคมที่ครั้งหนึ่งเคยเรียบง่าย แม้จะยากจนของตัวเองต้องเปลี่ยนไปกลาย
เป็นความรู้สึกอับอายที่ปรารถนาอยากจะยกระดับตัวเองขึ้นไปให้ดีเทียมเท่ากับเอส
ตาลา เพื่อที่จะได้หัวใจเธอมาครอบครอง
กระทั่งแม้ในวันที่เอสตาลาทิ้งทุกอย่างที่เป็นความทรงจ�ำร่วมกันระหว่างพิพ
วัยเด็กให้บา้ นทีพ่ วกเขาเคยวิง่ เล่นกันกลายเป็นเพียงบ้านร้าง พิพก็ยงั คงรักเธอไม่เสือ่ ม
คลาย จนอาจจะหยิบยืมค�ำโปรยปกหลังของนวนิยายเล่มนี้มากล่าวได้ว่า “...ส�ำหรับ
คนรุ่นเรานี้ เมื่อพูดถึง Great Expectations ของ ชาร์ลส์ ดิกเกนส์ นักเขียนชาว
อังกฤษชื่อก้องโลกคนนี้ เราอาจจะได้ยินเสียงเพลง Lift in Mono ล่องลอยเข้ามาใน
หัวเหมือนภาพฝัน[…]ทั้งหมดนี้เป็นภาพจ�ำฝังตรึงที่สวยงามแล้ว ยอดเยี่ยมมากแล้ว
ส�ำหรับประสบการณ์หนึ่งของคนเราที่มีต่อภาพยนตร์หรือนวนิยายเรื่องหนึ่ง...”
ลวง (Souls Embracing)
โหวเหวินหย่ง เขียน

อนุรักษ์ กิจไพบูลทวี แปล


พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2559
จัดพิมพ์โดย ส�ำนักพิมพ์ แมงมุมบุ๊ก ในเครือบริษัท แมงมุม คัลเจอร์ จ�ำกัด
ISBN 978-616-92580-0-1

เรือ่ งราวทีเ่ กือบจะไม่ตา่ งจาก Misery ผลงานอันโด่งดังของสตีเฟ่น คิง ราชา


นวนิยายสยองขวัญของสหรัฐอเมริกา แต่ถูกเล่าขานในบริบทของสังคมไต้หวันสมัย
ใหม่ ในเรื่องราวของ อี๋ว์ นักเขียนหนุ่มผู้โด่งดัง และมีแฟนคลับมากมายคอยติดตาม
ผลงาน หนึง่ ในแฟนคลับเหล่านัน้ เป็นหญิงสาวลึกลับผูเ้ ริม่ ต้นท�ำความรูจ้ กั กับอีว๋ ด์ ว้ ย
ประโยคค�ำถาม “คุณอี๋ว์คะ คุณเชื่อในสัจธรรมไหม” ก่อนผู้เขียนโหวนเหวินหย่งจะ
แนะน�ำให้เรารู้จักตัวตนอีกด้านของเธอในอีกไม่กี่หน้าต่อมา ซึ่งซ่อนโทสะอันน่ากลัว
ไว้ แค่เพียงเมื่อนักเขียนที่เธอชื่นชอบปฏิเสธการให้เบอร์โทรศัพท์ส่วนตัว แฟนคลับ
สาวก็ออกอาการทันที
จนกระทั่ง เมื่ออี๋ว์พบว่ามีใครสักคนบนโลกอินเทอร์เน็ตเขียนบทความในแง่มุม
ของความรักที่สรุปประเด็นออกมาได้หยาบชุ่ยมากในมุมมองของเขา แต่บทความนี้
กลับโด่งดัง กระทัง่ กระทรวงศึกษาธิการท�ำจดหมายมาขออนุญาตเพือ่ น�ำไปบรรจุใส่ใน
แบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ และนัน่ เอง จึงเป็นเหมือนการตัง้ ค�ำถามต่อความ
เย้ายวนใจในชื่อเสียงที่รู้ทั้งรู้ว่าตนเองไม่ได้เป็นคนสร้างขึ้นมา แต่ไยถึงกลับคว้าไว้
มากกว่านัน้ คือ ค�ำถามทีท่ งั้ ผูอ้ า่ นและอีว๋ จ์ ะต้องค้นหาเพือ่ หาค�ำตอบให้ได้วา่ ภาย
ใต้การลวงนี้ ใครกันที่อยู่เบื้องหลัง และท�ำไม? นี่คือผลงานเขียนที่ได้รับการยกย่อง
ในไต้หวัน ซึ่งท้าทายให้อ่าน!
ล�ำน�ำกระเทียม (The Garlic Ballads)
Mo Yan เขียน

มนตรี เจียมจรุงยงศ์ แปล


รศ.ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร ค�ำนิยม
พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2557
จัดพิมพ์โดย A Novel ในเครือนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์
ISBN 978-616-04-3121-2

ค�ำนิยม จาก รศ.ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร ล�ำน�ำกระเทียม เป็นนวนิยายแนว


ประวัติศาสตร์แบบมหากาพย์ (epic historical novel) โดย มั่วเหยียน นามปากกา
ของ Guan Moye นักเขียนสัญชาติจีนคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล ซึ่งบอกเล่าเรื่อง
ราวของคนตัวเล็กที่ต่อสู้กับอ�ำนาจรัฐและประเพณีอันล้าหลังที่ยังฝังลึกอยู่ในสังคม
แม้ว่ารัฐบาลสังคมนิยมจะประกาศยกเลิกประเพณีเหล่านี้แล้ว แต่ชาวไร่กระเทียมผู้
ยากไร้ยังคงต้องต่อสู้กับการกดขี่อย่างน้อยสองชั้น
โดยในชั้นแรก เป็นการถูกกดขี่จากข้าราชการและผู้มีอ�ำนาจในท้องถิ่นอย่าง
ไร้เหตุผล และในชั้นที่สองเป็นการต่อสู้กับขนบประเพณีล้าหลังของสังคมชนบทจีน
ระหว่างเกาหม่า ชาวไร่กระเทียมผู้ประกาศต่อหน้าผู้คุมว่าตนไม่ได้เกลียดระบอบ
สังคมนิยม แต่เกลียดพวกเจ้าหน้าที่ฉ้อฉล กับ จิจี๋ว์ สาวคนรักที่ถูกบังคับให้แต่งงาน
กับชายทีต่ นไม่ได้รกั แม้จะถูกเฆีย่ นตี จนกระทัง่ เลือกการฆ่าตัวตายเพือ่ หลีกหนีจาก
การคลุมถุงชน กระนั้น แม้แต่ศพของเธอก็ยังไม่ได้อิสรภาพ ทว่าถูกจับแต่งงานใน
สภาพที่กลายเป็นศพไปแล้วตามธรรมเนียมประเพณีอันล้าหลังอยู่นั่นเอง จนเราอาจ
จะได้แต่คิดว่าดีเพียงใดแล้วที่เรื่องราวเหล่านี้เป็นเพียงล�ำน�ำขับขานเหมือนในชื่อภาค
ภาษาอังกฤษที่ว่า The Garlic Ballads ซึ่งแม้จะเป็นการหยิบยืมในใช้ขนบล�ำน�ำจีน
มาบอกเล่า แต่แก่นแกนของนวนิยายก็ยืนหยัดอยู่บนสิ่งส�ำคัญของมนุษย์ ไม่ว่าจะ
เชื้อชาติใด นั่นคือ อิสรภาพ เช่นนี้แล้ว เราไม่ควรสดับด้วยการผ่านมหากาพย์ของ
ชาวไร่กระเทียมนี้ดอกหรือ?
โลกียชน (Tortilla Flat)
จอห์น สไตน์เบ็ค เขียน

ประมูล อุณหธูป แปล


พิมพ์ครั้งแรก 2504 ส�ำนักพิมพ์ก้าวหน้า
พิมพ์ครั้งที่สอง 2518 ส�ำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น
พิมพ์ครั้งที่สาม 2525 ส�ำนักพิมพ์ดวงตา
พิมพ์ครั้งที่สี่ 2535 ส�ำนักพิมพ์หมึกจีน
พิมพ์ครั้งที่ห้า 2546 ส�ำนักพิมพ์มติชน
พิมพ์ครั้งที่หก 2556 ส�ำนักพิมพ์สามัญชน
ISBN 978-616-7474-20-5

นี้คือเรื่องราวของแดนนี่ เรื่องของเพื่อน ๆ ของแดนนี่ และเรื่องของบ้านของ


แดนนี่ เรือ่ งนีจ้ ะบรรยายถึงว่าอย่างไร เรือ่ งทัง้ สามเรือ่ งดังกล่าวจึงได้เกีย่ วพันกระสัน
เข้าเป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน จนถึงกับว่าหากท่านไปเอ่ยถึงแดนนีข่ น้ึ ในละแวกตอร์ตญ ี า

แฝล็ตก็จะไม่ได้หมายเลยว่า ท่านพูดถึงสิ่งปลูกสร้างซึ่งประกอบด้วยแผ่นไม้และทา
ปูนขาวคร�่ำเครอะ
นี้คือเรื่องราวที่บอกเล่าวิถีชีวิตและก้นบึ้งจิตใจของเหล่าสหายเมรัยนิยม--ที่
เป็นคนกักขฬะ หยาบกร้าน หากแต่มีความจริงใจ หยิ่งและรักในศักดิ์ศรี แม้ยากไร้,
นี้คือเรื่องราวของ ‘โลกียชน’ ของ จอห์น สไตน์เบ็ค ที่เข้าถึงน�้ำเนื้อของปุถุชนได้ถึง
แก่นใน และประมูล อุณหธูปก็ถอดความด้วยภาษาเพริศแพร้วทีจ่ ะยืนอยูท่ งั้ มือ้ นีแ้ ละ
มื้อหน้าตลอดกาลตามที่ณรงค์ จันทร์เรืองกล่าว และ...นี้คือเรื่องราวที่อาจินต์ ปัญจ
พรรค์ มอบค�ำนิยมไว้ว่า ผมสามารถอ้อยอิ่งอยู่กับทุกประโยค ที่คุณมูลแปลเรื่องนี้
อย่างอภิรมย์ในภาษาไทยของคุณมูลผู้จ�ำแลงแฝงกายเข้าไปอยู่ใน ‘ตอร์ตีญ่า แฝล็ต’
ได้อย่างสง่าผ่าเผย
กล่าวอย่างถึงที่สุด นี้คือเรื่องราวของเสี้ยวส่วนหนึ่งของชีวิตของจอห์น ส
ไตน์เบ็คเอง ผู้ไม่ยอมพ่ายให้กับผลตอบรับจากนวนิยายที่ตีพิมพ์ออกมาสี่เล่มในช่วง
เศรษฐกิจถดถอย จนกระทั่งเมื่อ ‘โลกียชน’ ได้ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1935 ยังผลให้ส
ไตน์เบ็คประสบความส�ำเร็จ สร้างชื่อให้กับตัวสไตน์เบ็ค และเรื่องราวของผองเพื่อน
แดนนี่เอง
นี้คือเรื่องราวที่เราควรอ่านสักครั้ง และในภาษาอันเพริศแพร้วของครูภาษา
ผู้ได้รับฉายา ‘ตัดไม้ทั้งป่า เพื่อเอามาท�ำเก้าอี้ตัวเดียว’ เท่านั้น
วี (WE)
Yevgeny Zamyatinl เขียน

ประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล แปล


ไชยันต์ รัชชกูล บทน�ำ
ปฐมพงศ์ น�้ำใจดี ออกแบบปก
พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2558 ส�ำนักพิมพ์สมมติ
ISBN 978-616-7196-49-7

“...แม้ผเู้ ขียนไม่ปฏิเสธว่า WE สามารถอ่านเป็นนิยายวิทยาศาสตร์กไ็ ด้ เป็น


วรรณกรรม Anti-Utopia ก็ได้ เป็นงานล้อเลียน (จิกกัด) การปฏิวัติรัสเซียก็ได้ เป็น
วรรณกรรมการเมืองแนวขวางความคิด Modernism ก็ได้ ฯลฯ ทัง้ นีย้ อ่ มขึน้ กับสีแว่น
ของแต่ละคน...”
ไม่ใช่เรือ่ งง่ายเลยทีจ่ ะพิจารณานวนิยายเล่มนีใ้ นฐานะประเภทใดประเภทหนึง่
ในกระแสธารของวรรณกรรม แต่อย่างที่ ไชยันต์ รัชชกูล เขียนไว้ในส่วนค�ำน�ำว่าเรา
สามารถอ่าน WE ในฐานะใดก็ได้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่เคียงคู่ไปกับเหตุการณ์ /
ปรากฏการณ์ / ประสบการณ์ของผู้อ่าน ไม่เพียงแต่เท่านั้น ไชยันต์ ยังเขียนไว้อีกว่า
“...งานชิน้ เอกของซามียาตินนีอ้ าจเป็นหมุดหมายหนึง่ บนถนนความคิดนี้ ซึง่ ไม่ใช่เป็น
งานอ่านเล่นยามว่าง และไม่ใช่เพียงมีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ที่แหวกแนวชวนฉงน แต่
เป็นนิยายยุคทีโ่ ซเวียตยังไม่ตายไปกับระบอบการปกครองแบบโซเวียต ทัง้ เป็นดอกไม้
งามวางคู่กับบรรดาวรรณกรรมโดยนักเขียนรัสเซียอีกหลายต่อหลายเล่ม...”
ส�ำหรับผู้ที่สงสัยว่าแท้แล้ว WE เป็นนวนิยายประเภทใดแน่ หรือค�ำถามที่
ชัดเจนไปกว่านัน้ ฉันจะอ่านหนังสือเล่มนีไ้ ด้รเู้ รือ่ งหรือไม่? เช่นนีแ้ ล้ว เราอาจท�ำความ
เข้าใจง่ายๆ เบื้องต้นก่อนว่า ศิลปะการประพันธ์นั้น โดยแท้แล้ว คือ “ศิลปะการเล่า
เรื่อง” แต่จะเล่าอย่างไร? หาใช่สารัตถะอันส�ำคัญไม่ หากแต่อ่านแล้ว เราคิดและ
รู้สึกเช่นไรต่อเรื่องราวที่ได้อ่านผ่านตาไปมากกว่า ซึ่งก็เหมือนเรื่องอื่นๆ ในชีวิตที่ไม่
ได้ตระหนักรูห้ รือเข้าใจในทุกเรือ่ ง และเราพอจะท�ำความเข้าใจได้ และพอจะเชือ่ มโยง
สิ่งที่อ่านเข้ากับสิ่งอื่นๆ ในบริบทรอบตัวได้ ‘เรา’ และ WE อาจมีความหมายอย่าง
ย่นย่อและง่ายที่สุดเพียงเท่านั้น
กระนั้นอยู่ที่คุณผู้อ่านเองจะอ่านเพื่อรู้ว่า WE นั้น คือ สิ่งใดแน่ส�ำหรับแต่ละ
คนหรือไม่...เท่านั้น
เสื้อโค้ต (The Overcoat)
Nikolai GoGol เขียน

ไชยันต์ รัชชกูล แปล และบทความท้ายเรื่อง


วาด รวี บทกล่าวตาม
ปฐมพงศ์ น�้ำใจดี ออกแบบปก
พิมพ์ครั้งแรก 2523 ส�ำนักพิมพ์ ดวงกมล
พิมพ์ครั้งที่สอง 2525 หนังสืองานศพ ม.ล.อุดม สนิทวงศ์
พิมพ์ครั้งที่สาม 2532 ส�ำนักพิมพ์ อ่านไทย
พิมพ์ครั้งสี่ ตุลาคม 2555 ส�ำนักพิมพ์ สมมติ
ISBN 978-616-7196-16-9

ดอสโตเยฟสกี้ หนึ่งในนักเขียนคนส�ำคัญของรัสเซีย เคยกล่าวไว้ว่า เราทั้ง


ผองล้วนโผล่ออกมาจากเสื้อโค้ตของโกโกล เพียงค�ำกล่าวเช่นนี้อาจพอยืนยันได้ถึง
ความยิง่ ใหญ่ของเรือ่ งสัน้ ทีด่ ที สี่ ดุ ของนิโคไล โกโกล ท�ำไมเรือ่ งราวใน เสือ้ โค้ต ทีบ่ อก
เล่าชีวิตของ อคาคี อคาคีเยวิช ผู้ปรารถนาจะมีเสื้อโค้ตเพื่อแสดงภูมิฐานของความ
เป็นชนชั้นราชการที่แม้จะต�่ำต้อยของเขาถึงส�ำคัญขนาดนั้น?
กุลวุฒิ วิภาวีกุล เขียนไว้ในบทกล่าวน�ำว่า วิสซาเรียน เบลินสกี (Vissarion
Belinsky 1811-1848) นักวิจารณ์วรรณกรรมคนส�ำคัญเห็นว่า […] มุมมองแบบโร
แมนติกที่เน้นความส�ำคัญของตัวละครเอก และเน้นภาพลักษณ์แบบ ‘วีรบุรุษ’ นั้น
ถูกปรับเปลี่ยนไปสู่มุมมองแบบสัจนิยม ซึ่งท�ำให้ตัวละครเอกกลายเป็น ‘คนธรรมดา
สามัญ’ เป็น ‘คนตัวเล็กๆ’ และเป็น ‘ผู้แพ้ในสังคม’ ดังเช่นตัวละครที่ชื่อ อคาคี อ
คาคีเยวิช ใน เสื้อโค้ต...”
ขณะเดียวกัน วาด รวี กล่าวไว้อย่างน่าสนใจในบทกล่าวตามต่องานของโก
โกลทีม่ ผี ลต่อวงการวรรณกรรมไทย ในลักษณะด้านกลับ กล่าวคือ วงการวรรณกรรม
รัสเซียและวรรณกรรมโลกถือว่าโกโกลคือสะพานเชือ่ มจากโรแมนติกไปสูส่ จั นิยม ซึง่
เป็นความก้าวหน้าทางวรรณกรรม ทว่าในการน�ำเข้างานวรรณกรรมของโกโกลในโลก
ภาษาไทยนั้น นัยหนึ่งคือการต่อต้านสัจสังคมนิยม ซึ่งเป็นผลผลิตของสัจนิยม และ
ผลก็คือ วรรณกรรมไทยเดินไปสู่โรแมนติกนิยม
บางทีในฐานะผูเ้ สพ เราอาจจ�ำเป็นต้องมุดกลับเข้าไปใน เสือ้ โค้ต ของโกโกล
เพื่อมองหาสัจนิยมที่ควรเป็นของสังคมในยุคโรแมนติกแบบไทยๆ
แสบ (Dangerous Mind)
โหวเหวินหย่ง เขียน

อนุรักษ์ กิจไพบูลทวี แปล


พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2560
จัดพิมพ์โดย ส�ำนักพิมพ์ แมงมุมบุ๊ก ในเครือบริษัท แมงมุม คัลเจอร์ จ�ำกัด
ISBN 978-616-92580-1-8

“...ข้อดีของอินเทอร์เน็ตคือ ท�ำให้คนเรากลับคืนร่างเดิมได้ง่าย ถึงแม้คุณไม่


สามารถรูอ้ ย่างแน่ชดั ว่าคนคนนัน้ เป็นใคร แต่คณ ุ รูด้ วี า่ ภูตผีจอมมารทัง้ หมดสุมหัวกัน
อยู่ที่นี่ ต่อให้ห้องเรียนเราดูสุภาพอ่อนน้อมนิสัยดี ได้รางวัลระเบียบวินัยดีเด่น ความ
สะอาดดีเด่นประจ�ำสัปดาห์ มีภาพลักษณ์ใสๆ ร่าเริง สุขภาพดี มีชีวิตชีวา แต่นั่นเป็น
เพียงเปลือก...”
ความโดดเด่นในการเขียนของ โหวเหวินหย่ง นักเขียนชาวไต้หวัน อยูท่ กี่ ารหยิบ
ฉวยเรื่องราวที่แทบจะแสนเป็นเรื่องธรรมดา ทว่ากลับผูกโยงเรื่องราวให้สนุกสนาน
ชวนติดตาม โดยไม่ลืมสอดแทรกประเด็นอันหนักแน่นทางสังคมลงไปด้วยอย่าง
แยบยล เช่นเดียวกันกับเรื่อง แสบ หรือ Dangerous Mind ที่บอกเล่าเรื่องราวของ
เสีย่ วเจีย๋ เด็กนักเรียนชัน้ มัธยม 3 ทีก่ อ่ เรือ่ งก่อราวตามประสาวัยรุน่ ตอนต้นโดยไม่รู้
เลยว่าจะกลายเป็นผลกระทบระดับชาติ
ซึง่ หากจะพิจารณาเพียงเท่านี้ ก็อาจจะมองได้แค่วา ่ แสบ เป็นเรือ่ งของเด็กซนๆ
คนหนึง่ ทว่าแท้จริงแล้วกลับสอดแทรกประเด็นร่วมสมัยของครอบครัว ความทีพ่ อ่ แม่
ต่างโทษกันไปมาในปัญหาของการไม่มีเวลาดูแลลูก และระบบการศึกษาที่โหวเหวิน
หย่งตัง้ ค�ำถามผ่านน�ำ้ เสียงของเสีย่ วเจีย๋ ทีไ่ ม่มากก็นอ้ ย อดไม่ได้ทเี่ ราจะกลับมาเทียบ
เคียงกับระบบการศึกษาในประเทศไทย
ขาดเพียงแต่เรายังไม่มีนวนิยายที่เล่าเรื่องราวกระทบกระเทียบได้อย่างที่นัก
เขียนชาวไต้หวันผู้นี้ท�ำไว้ใน แสบ เล่มนี้
หงส์ป่า (Wind Swans)
Jung Chang เขียน

จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล แปล


พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2539
พิมพ์ครั้งที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559
จัดพิมพ์โดย A Novel ในเครือนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์
ISBN 978-616-04-3188-5

ในยุคสมัยที่ประเทศจีนยังไม่ได้เป็นมหาอ�ำนาจทางเศรษฐกิจอย่างที่เป็นใน
ปัจจุบัน ความเป็นจีนยังถูกมองว่าลึกลับ และเป็นโลกที่อยู่สุดฟากตะวันออกจาก
การรับรู้ของโลกตะวันตก ซึ่งประเทศไทยที่มีฐานะเป็นมิตรกับมหาอ�ำนาจตะวันตก
มาอย่างยาวนาน ปฏิเสธไม่ได้ว่าการรับรู้เกี่ยวกับจีนในช่วงทศวรรษ 1950 เป็นต้น
มากลายเป็นการรับรูท้ ผี่ า่ นการกลัน่ กรองจากตะวันตกอีกทอด หนึง่ ในการกลัน่ กรอง
จากตะวันตก ซึง่ ถือได้วา่ เป็นการส่งออกทางวัฒนธรรมจากจีนก็คอื ศิลปวัฒนธรรม ที่
มีนวนิยายเป็นหนึ่งในนั้น
หงส์ป่า นับเป็นนวนิยายที่บอกเล่าเรื่องราวของหญิงชาวจีนสามชั่วอายุคนที่
ท�ำให้ตะวันตกกระหายใคร่รเู้ รือ่ งราวในประเทศจีนยุคสมัยทีย่ งั ถูกมองว่าโลกทีป่ ดิ ตัว
เองจากภายนอกอยู่ จึงส่งผลให้นวนิยายเรื่องนี้ได้รับความสนใจอย่างมหาศาล และ
ถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ ไปมากกว่า 30 ภาษา ซึ่งล�ำพังการเปิดเผยเรื่องราวในสังคม
ปิดอย่างประเทศจีนก็น่าสนใจแล้ว แต่สิ่งที่ท�ำให้งานเขียนเล่มนี้ของ Jung Chang
คงไม่ใช่แต่เพียงเรื่องราวในประเทศที่เคยถูกมองว่าปิดตัวเองอย่างจีนในยุคสมัยหนึ่ง
เท่านั้น แต่เรื่องราวในหงส์ป่า หากกล่าวอย่างถึงที่สุดแล้วหาได้แตกต่างอันใดจาก
วรรณกรรมระดับโลกอย่าง สงครามและสันติภาพ เป็นประวัติศาสตร์ของครอบครัว
ชาวจีน ที่ไม่ได้แตกต่างอันใดกับประวัติศาสตร์ความขัดแย้งในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
ดังนี้เอง จึงไม่เป็นการเกินเลย หากนวนิยายเล่มนี้ยังถูกอ่านซ�้ำครั้งแล้ว
ครั้งเล่า แม้ในวันที่จีนกลายเป็นประเทศเปิดแล้วอย่างในปัจจุบัน และแทบทุกเรื่องที่
อยากรูเ้ กีย่ วกับจีนไม่เป็นความลับดัง่ ทีเ่ คยเป็นในอดีตอีกต่อไป นัน่ ก็เพราะความเป็น
วรรณกรรมอันยอดเยี่ยมที่เริงระบ�ำอยู่ได้ด้วยลีลาของหงส์ป่าผู้ทระนงข้ามผ่านกาล
เวลามาอย่างยาวนานนั่นเอง
หญิงสาวผู้ฝันถึงกวี และเรื่องสั้นอื่นๆ (An Imaginative Woman and Other
stories)
Thomas Hardy เขียน

ประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล แปล


สุธิดา วิมุตติโกศล บทกล่าวตาม
ปฐมพงศ์ น�้ำใจดี ออกแบบปก
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2555
ส�ำนักพิมพ์ สมมติ
ISBN 978-616-7196-20-6

บทกล่าวตามในหนังสือรวมเรื่องสั้น 3 เรื่องของ โธมัส ฮาร์ดี้ ในชื่อ หญิง


สาวผู้ฝันถึงกวี และเรื่องสั้นอื่นๆ เล่มนี้ สุธิดา วิมมุติโกศล ได้เขียนไว้ว่า “...ภาพ
ที่เป็นเหมือนตัวแทนของหญิงสาวในอุดมคติก็คือภาพจากบทกวีเรื่องเล่าของกวีชาว
อังกฤษ โคเวนทรี แพทมอร์ ที่ว่าด้วยคุณสมบัติของความเป็นแม่และภรรยาผู้อุทิศ
ชีวิตให้แก่ครอบครัว[…]มีความสงบเสงี่ยม สงวนวาจาและท่าที ทั้งยังพร้อมจะส�ำนึก
ในความบกพร่องในหน้าที่ภรรยาของตัวเองได้ตลอดเวลา...”
“กรอบ” ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยบทกวีในยุคสมัยวิคตอเรียนเหล่านี้ได้สร้างความ
เป็นหญิงและภรรยาในลักษณะของการถูกกักขังด้วยจารีต และการยอมจ�ำนนเพียง
ฝ่ายเดียว อาจจะด้วยเหตุผลนั้น หรืออาจจะด้วยสายตาของทั้งความเป็นกวีและนัก
เขียนที่เฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ทางสังคมของตัวโธมัส ฮาร์ดี้ เอง เรื่องราวใน “ชั่ว
เวลาคั่น” “แขนนาง” และ “หญิงสาวผู้ฝันถึงกวี” จึงมีประเด็นร่วมหลักของการเป็นก
ระบอกเสียงแทนหญิงสาวในฐานะภรรยาที่ถูกจ�ำกัดให้อยู่แต่ในกรอบที่สุธิดาเรียก
กว่าเป็น “นางฟ้า” ประจ�ำบ้าน และเรียกขานงานของฮาร์ดี้ว่าเป็นงานที่ท�ำการ “ฆ่า”
นางฟ้าแห่งสังคมวิคตอเรียนเหล่านั้น
อย่างไร? และท�ำไม? ค�ำตอบนั้นอยู่ที่พลิกเปิดหน้าหนังสือเล่มนี้ อ่านให้ได้
รสของวรรณคดีที่งดงามไพเราะก็ได้ แต่หากอ่านให้ได้ประเด็นในสิ่งที่โธมัส ฮาร์ดี้
ต้องการสื่อสารก็จะได้ครบในสิ่งที่เอาเข้าจริงแล้ว เมื่อหวนพิจารณาสังคมไทย ผู้อ่าน
อาจตกใจว่านี้เราอยู่ในยุคร่วมสมัยวิคตอเรียนหรืออย่างไร?
หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984)
George Orwell เขียน

รัศมี เผ่าทองเหลือง และ อ�ำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์ แปล


ธงชัย วินิจจะกูล บทกล่าวตาม
ปฐมพงศ์ น�้ำใจดี ออกแบบปก
พิมพ์ครั้งที่สี่ ตุลาคม 2557 ส�ำนักพิมพ์สมมติ
ISBN 978-616-7196-44-2

ความโด่งดังของนวนิยายเล่มนีใ้ นช่วงหลังปี 2557 อาจบอกกล่าวความนัยที่


เราไม่จำ� เป็นต้องพูดถึง ‘พีเ่ บิม้ ’ ในความหมายของออร์เวลล อีกต่อไป หากทว่าโลกใน
นวนิยายเล่มนี้ ซึง่ ถูกเปรียบให้เป็นโลกด้านตรงข้ามของโลกใน ‘ยูโธเปีย’ คงจะเหมือน
ที่ธงชัย วินิจจะกูล เขียนไว้ในบทกล่าวตามที่ว่า “...มีผู้ประกาศให้ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่
จบชีวิต หมดความส�ำคัญ ไร้ความหมาย มาแล้วหลายครั้ง แต่จนแล้วจนรอด ปีศาจ
ตนนี้ก็ยังคงหลอกหลอนเราอยู่ทุกวันนี้ และดูเหมือนว่าจะยังคงอยู่กับสังคมใหม่ไป
อีกนาน ตั้งแต่แรกหนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ในปี 1949…” มากกว่า
1984 บอกเล่าเรื่องราวของวินสตัน สมิธ ข้าราชการหนุ่ม ซึ่งซ่อนปรารถนา
และค�ำถามประดามีต่อบรรดาค�ำโฆษณาชวนเชื่อ รายการทางทีวี ชื่อกระทรวงที่
ท�ำงานทีใ่ ห้ความหมายของค�ำว่าชัยชนะ ทีเ่ ราอาจตัง้ ค�ำถามตามไปด้วยว่า ชัยชนะของ
ใครล่ะ? และแน่นอน กระทั่ง สายตาของ ‘พี่เบิ้ม’ ผู้น�ำสูงสุด ซึ่งเขียนไว้ว่า พี่เบิ้ม
ก�ำลังจับตาดูคุณ หรือ BIG BROTHER IS WATCHING YOU ซึ่งประโยคเรียบง่าย
ทว่าทรงพลังทัง้ ในเชิงความหมายและความนัยทีต่ วั บทต้องการน�ำเสนอต่อผูอ้ า่ น รวม
ไปถึงสังคมที่ก้าวข้ามจากอังกฤษในยุคสมัยที่ออร์เวลลเขียนขึ้นมา จนมากระทบใจผู้
อ่านในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย เป็นเพราะสิ่งที่ปรากฏใน 1984 ไม่เพียง
แต่เป็นการจับจ้องเท่านั้น แต่ยังเป็นจับผิดลงไปถึงระดับความคิดที่ไม่อาจจับต้องได้
และมีแต่เราเท่านั้นที่ล่วงรู้ด้วยซ�้ำ
เหมือนทีร่ ศั มี เผ่าทองเหลือง หนึง่ ในผูแ้ ปลร่วมในเขียนไว้ในค�ำน�ำฉบับพิมพ์
ครั้งที่สามว่า “...สมองของคุณไม่ได้เป็นของคุณ มันเป็นของพรรค...”
ซึง่ นี่ คือ ประเด็นส�ำคัญที่ 1984 ตัง้ ค�ำถามกับคนอ่านมาโดยตลอดจนมายุค
สมัยใหม่ว่าโดยแท้แล้ว เราหรือรัฐกันแน่ที่เป็นเจ้าของตัวเรา ตั้งแต่ร่างกายไปจนถึง
ความคิด
หฤทัยแห่งอันธการ (Heart of Darkness)
Joseph Conrad เขียน

เกียรติขจร ชัยเธียร แปล พร้อมบทน�ำและบทวิเคราะห์


ปฐมพงศ์ น�้ำใจดี ออกแบบปก
พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2559 ส�ำนักพิมพ์สมมติ
ISBN 978-616-7196-63-3

เรื่องราวของการตามหาบางสิ่งที่ค้นลึกเข้าไปในป่าลึกของแอฟริกาที่ยิ่งเดิน
ทางเข้าไปมากเท่าใด การตามหาที่แท้จริงของคณะเดินทางกลับกลายเป็นการค้นลึก
กลับเข้ามาในหัวจิตหัวใจของความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในหัวใจทีค่ วามแตก
ต่างด้านชาติพันธุ์ สีผิว ใดๆ ไม่อาจมากีดกางขวางกั้น หากจะท�ำให้หัวใจนั้นด�ำมืด
ลง เหตุผลนั้นหาใช่จากสีผิวของคนชนเผ่า แต่เป็น ‘อันธการ’ ในหัวใจที่ลืมสิ้นแล้ว
ซึ่งเหตุผลในด�ำรงอยู่ของความเป็นมนุษย์เรา
นวนิยายชิ้นเอกของ โจเซฟ คอนราด ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นแรงบันดาล
ใจให้กับภาพยนตร์ Apocalypse Now ในปี 1979 ของ ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโป
ล่า ผู้ซ่ึงตัดทอนรายละเอียดต่างๆ ในนวนิยายลงไปเหลือเพียงต้นเค้าของแก่นแกน
ที่ว่าด้วย “...การเดินทางภายใต้ภาวการณ์ที่น�ำไปสู่ความมืดมิดในจิตวิญญาณของ
มนุษย์ ที่ส�ำแดงออกมาเป็นความโหดเหี้ยมที่ยากจะคิดได้ว่า คนคนหนึ่งจะสามารถ
ท�ำสิ่งเลวร้ายออกมาได้...” ตามค�ำน�ำของผู้แปล ไม่เพียงแต่กลายเป็นแรงบันดาลใจ
ให้กับภาพยนตร์เท่านั้น หากแต่ก่อนหน้า งานเขียนของคอนราดได้เป็นแสงส่องทาง
ดุจประภาคารส่องน�ำชาวเรือให้กับนักเขียนในชั้นหลัง ไม่ว่าจะเป็น ที.เอส.เอลเลียต,
เออร์เนสต์ เฮมิ่งเวย์, วิลเลียม โกลดิง, กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ อัลแบร์ กามูส์
หรือแม้แต่ จอร์จ ออร์เวลล์
และหากจะมีนิยามสั้นๆ ใดที่เหมาะ (แม้ไม่อาจกล่าวได้อย่างครอบคลุม)
ต่อนวนิยายชิ้นนี้ คงไม่พ้นสิ่งที่คอนราดได้เขียนเอาไว้ใน หฤทัยแห่งอันธการ เล่มนี้
ที่ว่า “...โลกดูเหมือนวิปลาสไปทั้งหมด เราคุ้นเคยกับการมองโลกเหมือนดั่งอสุรกาย
ทีถ่ กู ก�ำราบโซ่ตรวนเอาไว้—แต่ทนี่ —
ี่ ทีค่ ณ
ุ ก�ำลังมองอยูน่ ี้ คือสิง่ ทีเ่ หมือนอสุรกายทีย่ งั
คงเป็นอิสระ มันวิปลาส และมนุษย์ก็เป็นเช่นนั้น...”
หวนคืนสู่บาบิลอน และเรื่องสั้นอื่นๆ (Babylon Revisited and Other Stories)
F.Scott Fitzgerald เขียน

พินทิพา บูรณมาตร์ แปล


กฤตผล วิภาวีกุล บทกล่าวตาม
ปฐมพงศ์ น�้ำใจดี ออกแบบปก
พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2560 ส�ำนักพิมพ์สมมติ
ISBN 978-616-7196-72-5

หากนั บ เอาชี วิ ต ส่ ว นตั ว ของ เอฟ.สก๊ อ ตต์ ฟิ ต ซ์ เ จอรั ล ด์ หลั ง สิ้ น สุ ด


สงครามโลกครั้งที่ 1 และการประสบความส�ำเร็จอย่างคาดไม่ถึงจากนวนิยายเรื่อง
This Side of Paradise เป็นตัวตั้ง และเอาตัวเลขปี ค.ศ. 1920 เป็นตัวจบ เราอาจ
จะขีดเส้นชีวติ ของนักประพันธ์เลืองชือ่ ชาวอเมริกนั ผูเ้ ป็นเพือ่ นกับเออร์เนสต์ เฮมิง่ เวย์
ไว้เหมือนที่กฤตผล วิภาวีกุล ผู้เขียนบทกล่าวตามได้ระบุไว้ว่า “...ทศวรรษ 1920
เป็นช่วงเวลาที่ชาวอเมริกันและสก๊อตต์ ฟิตซ์เจอรัล ไม่มีวันลืม มันเป็นยุคที่ดีที่สุด
ในประวัติศาสตร์และไม่มีทางเกิดขึ้นอีกแล้วส�ำหรับทั้งคู่...”
ท�ำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
งานเขียนของฟิตซ์เจอรัลด์แต่ละเล่ม น่าจะให้คำ� ตอบได้ดที สี่ ดุ รวมไปถึงเรือ่ ง
สัน้ ทีบ่ รรจุรวมอยูใ่ น หวนคืนสูบ่ าบิลอน และเรือ่ งสัน้ อืน่ ๆ เล่มนีด้ ว้ ย เรือ่ งเล่าของฟิต
ซ์เจอรัลด์ อุดมไปด้วยบรรยากาศความฟุ้งเฟ้อของชาวอเมริกันชนชั้นกลาง หลังการ
สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 จนกล่าวได้ว่างานของฟิตซ์เจอรัลด์ก่อให้เกิดความเข้าใจ
ในตัวเองและต่อโลกของชาวอเมริกันชน และถึงแม้ตลอดชีวิตของเอฟ.สก๊อตต์ ฟิตซ์
เจอรัลด์ เขาอาจไม่เคยเข้าใกล้ค�ำว่า นักเขียนชั้นยอด ในฐานะของนักเขียนชั้นรองผู้
ท่องไปในเงาสลัวของยุคสมัยทีป่ กคลุมบรรยากาศของอเมริกาเอาไว้รวมถึงตัวเขาเอง
กระนั้น เมื่อพิจารณางานเขียนของอเมริกาในยุคร่วมสมัยเดียวกับเฮมิ่งเวย์แล้ว ฟิต
ซ์เจอรัลด์ คือ ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจมองข้าม และปฏิเสธ แม้เขาจะเคยเปรียบเปรยตัว
เองในฐานะผีเสื้อที่งดงาม แต่เทียบไม่ได้กับเฮมิ่งเวย์ ซึ่งเป็นโคหนุ่มที่มีตัวตน และ
มีอยู่จริง สมดังค�ำกล่าวที่ว่า “ฟิตซ์เจอรัลด์มีบางสิ่งบางอย่างที่อยากจะเล่า และรู้วิธี
ที่จะเล่ามัน”
อารยชนคนเถื่อน (True Grit)
Charles Portis เขียน

แดนอรัญ แสงทอง แปล


พิมพ์ครั้งแรก ส�ำนักพิมพ์ปาปิรัส ไม่ระบุปีพิมพ์ (ด้วยชื่อเล่ม ยอดคนจริง ในนาม
ผู้แปล เชน จรัสเวียง)
พิมพ์ครั้งที่สอง (แก้ไขปรับปรุงใหม่) มีนาคม 2553 ส�ำนักพิมพ์สามัญชน
ISBN 978-974-9748-71-8

นวนิยายเคาบอยที่ดีที่สุดของนักเขียนอเมริกัน ค�ำโปรยที่ประทับอยู่สันปก
หนังสืออาจเชื้อเชิญท่านผู้อ่านให้เอียงคอพลางเลิกคิ้วฉงนสงสัยว่านวนิยายที่มีเรื่อง
ราวของเด็กสาววัยสิบสี่เป็นตัวเอกในการเล่าเรื่อง มีเคาบอยแก่ๆ อ้วน ลงพุง ที่ยิง
ปืนไม่ค่อยจะแม่น แต่บ้าบิ่น และเอะอะมะเทิ่งเอาเรื่อง กับอีกหนึ่งหนุ่มเคาบอยเจ้า
ส�ำอางค์ควบม้าตะลุยไปตามล่าหาอีกเคาบอยที่ลงมือฆ่าพ่อของเด็กสาววัยสิบสี่ เป็น
นวนิยายเคาบอยที่ดีที่สุดได้อย่างไร?
ก็ด้วยเหตุผลดังที่ว่ามาทั้งหมดนั่นแล, เรื่องราวใน อารยชนคนเถื่อน จะว่า
ไปแล้วก็ไม่ด�ำเนินตามรูปตามรอยของขนบเรื่องเล่าแบบเคาบอยที่คุ้นเคยกันเสียเท่า
ไหร่นัก ที่ต้องมีบุคลิกเงียบขรึม ยิงปืนแม่น และเคล้านารีเป็นว่าเล่น แต่ อารยชน
คนเถื่อน เล่าถึงคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในยุคเมื่อร้อยกว่าปีก่อน สมัยที่หากพูดจาดีไม่ยอม
เจรจาด้วยแล้วไซร้ ก็ต้องว่ากันด้วยปืนเท่านั้น
ยิง่ เมือ่ ได้สำ� นวนแปลของแดนอรัญ แสงทอง ซึง่ พูดก็พดู เถอะ ในอีกแง่ กบฏ
แห่งแวดวงวรรณกรรมไทย ผูน้ กี้ น็ บั เป็นคนเถือ่ นในลักษณาการของภาษาทีไ่ ม่อนิ งั ขัง
ขอบกับความคุน้ เคยตามจารีตของวรรณกรรม-วรรณคดีไทยอันสูงส่งเช่นเดียวกัน ถึง
จุดนี้ ตามภาษานักเลงแล้วชักจะพล่ามมากเกิน แต่หากนิยมชมชอบในเรื่องราวของ
เคาบอย อารยชนคนเถือ่ น คือ หนึง่ ในหนังสือทีไ่ ม่ใช่ไม่ควรพลาด แต่พลาดไม่ได้เลย
ในความหมายอันเคร่งครัด!
เอเรนดีรา ผู้บริสุทธิ์ (Innocent Eréndira)
Gabriel García Márquez เขียน

แดนอรัญ แสงทอง แปล


พิมพ์ครั้งแรก ไม่ระบุปี ส�ำนักพิมพ์แสงดาว
พิมพ์ครั้งที่สอง เมษายน 2538 ส�ำนักพิมพ์สมิต
พิมพ์ครั้งที่สาม ตุลาคม 2558 ส�ำนักพิมพ์ สามัญชน
ISBN 978-616-7474-31-1

มักจะมีขอ้ สงสัย เรือ่ งราวบางเรือ่ งทีแ่ สนเชยราวเทพนิทาน แต่เมือ่ ไปปรากฏ


อยู่ในมือของนักประพันธ์มีฝีมือ กลับสามารถเสกสรรปั้นเรื่องให้ไม่เพียงอ่านสนุก
เท่านั้น แต่ยังสอดแทรกแง่มุมทางสังคมที่หากจะเอาเนื้อหาให้หนักแน่นก็ยังได้ หรือ
แม้แต่จะอ่านให้ได้รสอันสนุกนานก็มีเช่นกัน
เช่นเดียวกันกับเรื่องราวใน เอเรนดีรา ผู้บริสุทธิ์ ที่บอกเล่าเรื่องราวของย่า
ใจยักษ์ผู้ไม่เคยบรรจุความเมตตาปรานีอยู่ในชีวิตกับหลานสาวก�ำพร้าพ่อแม่วัยสิบสี่
ผู้ถูกฝึกให้มีหน้าที่ท�ำความสะอาดบ้านช่อง ตลอดจนรับใช้บริการผู้เป็นย่าราวกับคน
เป็นทาสบริวาร จนกระทั่งฟ้าดินคล้ายยังไม่หน�ำใจในความเหน็ดเหนื่อย ยังบันดาล
ใจเกิดไฟไหม้บ้านในค�่ำคืนหนึ่ง จนย่าใจยักษ์ต้องน�ำหลานสาวผู้น่าเวทนาออกเร่ขาย
บริการ เพราะคนเป็นย่าลงความเห็นว่าหลานสาวต้องเป็นผูช้ ดใช้ในเหตุการณ์นอี้ ย่าง
ไม่อาจเลี่ยง
ปฏิเสธไม่ได้วา่ เรือ่ งราวเช่นนี้ พบได้อยูเ่ ช่นกันในโลกทีส่ ามทีย่ งั ปรากฏสภาวะ
ความเหลื่อมล�้ำทางสังคมสูง จนการน�ำลูกน�ำหลานสาวออกขายบริการเพื่อช�ำระหนี้
หรือแม้กระทั่งเพื่อชดใช้โทษบางอย่าง ไม่ได้เป็นแต่เพียงเรื่องแต่งของนวนิยายพา
ฝันจากอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อนเท่านั้น แต่ยังสะท้อนข้อเท็จจริงที่ว่า เอาเข้าจริงแล้ว
มนุษย์เราๆ ก็ไม่ได้เคลื่อนพาตัวเองจากอดีตเท่าไหร่นัก...นั่นเอง!
หนังสือติดดาว
Non-fiction
ใครเอาเนยแข็งของฉันไป Who Moved My Cheese?
Spencer Johnson, M.D. เขียน

ประภากร บรรพบุตร แปล


พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2544
พิมพ์ครั้งที่ 37 ธันวาคม 2558
พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2560
จัดพิมพ์โดย บริษัทนานมีบุ๊คส์ จ�ำกัด
ISBN 978-616-04-3054-3

เป็นธรรมดาที่มนุษย์เราจะหวาดกลัวความเปลี่ยนแปลง และมักยากต่อการ
ต้านรับเมื่อการเปลี่ยนแปลงมาถึง แต่ไม่ว่าอย่างไร ชีวิตของคนเราล้วนต้องเผชิญกับ
ความเปลี่ยนแปลงไม่มากก็น้อย ใครเอาเนยแข็งของฉันไป หรือ Who Moved My
Cheese? คือ หนังสือที่บอกเล่าถึงการพยายามรับมือความเปลี่ยนแปลงนั้น ผ่าน
อุปมาในเรื่องเนยแข็ง ซึ่งเป็นอาหารโปรดของใครหลายคน เมื่อเนยแข็งหายไป เรา
จึงต้องตัง้ ค�ำ ใครทีเ่ อาไป เอาไปท�ำอะไร ตอนไหน ทัง้ หมดนีอ้ าจดูเป็นค�ำถามไร้สาระ
แต่ทจี่ ริงแล้ว เมือ่ หวนกลับมาดูความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ในชีวติ ค�ำถามส�ำคัญทีเ่ รา
ต้องเผชิญ คือ เราได้สูญเสียสิ่งต่างๆ นั้นไปในตอนไหน?
จนกระทั่งน�ำไปสู่ค�ำถามต่อ ท�ำไมถึงเกิดขึ้นกับฉัน? หรือ ท�ำไมถึงท�ำกับฉัน
แบบนี้?
ทว่า สิ่งที่ผู้เขียน Spencer Johnson, M.D.ก�ำลังบอกคือ ค�ำถามเหล่านั้นไม่
ได้สำ� คัญ เท่ากับความคิดทีเ่ กาะอยูบ่ นไหล่ของเราว่า ยิง่ เห็นเนยแข็งส�ำคัญเท่าไหร่ ก็
ยิ่งคิดยึดติดมากเท่านั้น และไม่ว่าช้าหรือเร็ว วันที่ไม่มีเนยแข็งแล้วจะต้องมาถึง แล้ว
เราจะใช้ชีวิตที่ไม่มีมันอย่างไร?
หนังสือเล่มนีไ้ ม่ได้มอบค�ำตอบ แต่ให้คำ� ถามทีค่ ณ
ุ ผูอ้ า่ นจะต้องค้นหาด้วยตัว
เอง
ชิงบัลลังก์พระนารายณ์
นายพลเดส์ฟาร์จ เขียน

ปรีดี พิศภูมิวิถี แปล


พลตรี หม่อมหลวงศุภวัฒย์ เกษมศรี ค�ำนิยม
พิมพ์ครั้งที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552
พิมพ์ครั้งที่ 2 เมษายน พ.ศ.2561
ส�ำนักพิมพ์ มติชน
ISBN 978-974-02-1610-0

“...เรือ่ งการจลาจลวุน่ วายทีน่ ำ� ไปสูก่ ารปฏิวตั ผิ ลัดแผ่นดินใน พ.ศ.2231 (ค.ศ.


1688) นั้น มีผู้รู้เห็นเหตุการณ์โดยใกล้ชิด หรือบางคนได้รับการบอกเล่า ซึ่งมีทั้งคน
อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา หรือโปรตุเกส บันทึกของคนบางคนเคยมีผู้แปลถ่ายทอด
ไว้เป็นภาษาอังกฤษให้ได้อา่ นหรือศึกษาอยูแ่ ล้วก็มี บางฉบับแปลเป็นภาษาไทยแล้วก็
มี แต่บคุ คลทีเ่ ป็นตัวจักรส�ำคัญในเหตุการณ์ทแี่ ท้จริงก็คอื นายพลเดส์ฟาร์จ ซึง่ ได้ตอ่ สู้
กับฝ่ายไทยอย่างเหนียวแน่นที่ป้อมบางกอดและได้บันทึกเหตุการณ์ต่อสู้ช่วงสุดท้าย
ก่อนออกไปจากสยามไว้ค่อนข้างละเอียด...”
เหตุการณ์ชิงบัลลังก์สมเด็จพระนารายณ์เกิดขึ้นจากความขัดแย้งของสอง
ฝ่าย คือ เจ้าพระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ทีต่ อ้ งการสนับสนุนหม่อม
ปีย์ ราชโอรสบุญธรรมให้ขึ้นครองราชย์ โดยมีกองก�ำลังทหารฝรั่งเศสในบัญชา กับ
ฝ่ายสมเด็จพระเพทราชาที่มีทหารฝ่ายไทย พระสงฆ์ ขุนนาง และพวกฮอลันดาหนุน
หลัง ผู้น�ำกองก�ำลังทหารฝรั่งเศสที่มีบทบาทส�ำคัญในการต่อสู้กับกองทหารไทย คือ
นายพลเดส์ฟาร์จ ซึ่งได้เขียนบันทึกระหว่างการต่อสู้ไว้ตามที่พลตรี หม่อมหลวงศุภ
วัฒย์ เกษมศรี ได้เล่าไว้ในค�ำนิยม และบันทึกนั้นก็กลายมาเป็นหนังสือ ชิงบัลลังก์
พระนารายณ์ เล่มนี้ ซึ่งไม่เพียงเล่าเหตุการณ์ในช่วงที่น่าระทึกที่สุดท่ามกลางจลาจล
แต่ยังฉายให้เห็นภาพของบ้านเมืองในยุคนั้น แง่มุมทางความคิดทั้งของชาวตะวันตก
และคนไทยด้วยกัน อันอาจจะนับได้วา่ เป็นเสีย้ วส่วนของประวัตศิ าสตร์ทนี่ า่ อ่าน และ
น่าศึกษายิ่ง
ชีวิตที่ดีมากๆ Very Good Lives
J.K.Rowling เขียน

Joe Holland ภาพประกอบ


สฤณี อาชวานันทกุล แปล
พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2560
จัดพิมพ์โดย บริษัทนานมีบุ๊คส์ จ�ำกัด
ISBN 978-616-04-3767-2

“...ฉันเชือ่ ว่าสิง่ เดียวทีฉ่ นั อยากท�ำทัง้ ชีวติ คือการเขียนนวนิยาย อย่างไรก็ตาม


พ่อแม่ของฉัน ซึ่งมีพื้นเพมาจากครอบครัวยากจนทั้งคู่ และไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัย
มองว่าจินตนาการที่บรรเจิดเกินไปของฉันเป็นนิสัยเพี้ยนๆ ตลกๆ ส่วนตัวที่ไม่มีวัน
จ่ายค่าผ่อนบ้าน หรือท�ำให้กินบ�ำนาญได้ ดูสิ ตอนนี้มันกลับตาลปัตรเหมือนแก๊กหัก
มุมในการ์ตูนเลย...”
บางส่วนจากสุนทรพจน์ตอ่ นักศึกษาในวันปัจฉิมนิเทศ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์
ดของ เจ.เค.โรว์ลงิ่ บอกเล่าถึงสิง่ ทีผ่ สู้ ร้างโลกของพ่อมดให้โด่งดังไปทัว่ โลก คือ ความ
กล้าทีจ่ ะล้มเหลวและความส�ำคัญของจินตนาการ ทัง้ สองสิง่ ส�ำหรับนักเขียนทีก่ อ่ นจะ
มากลายเป็นนักเขียนขายดีระดับโลกเช่นนี้ เจ.เค.โรว์ลิ่ง เคยถูกปฏิเสธต้นฉบับ แฮร์
รี่ พอตเตอร์ หลายต่อหลายส�ำนักพิมพ์ นั่นนับเป็นความล้มเหลวได้ไหม?
และจะท�ำเช่นไรเพื่อก้าวต่อ? ละทิ้งความฝัน จินตนาการนั้นไป หรือมุ่งมั่น
ท�ำไปจนประสบความส�ำเร็จ
จ�ำนวนพิมพ์ในหลายภาษาทัว่ โลกของ แฮร์รี่ พอตเตอร์ น่าจะเป็นตัวบอกได้
อย่างดี ขณะเดียวกันบนปลายยอดของความส�ำเร็จนั้น สิ่งที่ปรากฏอยู่ในสุนทรพจน์
จนกลายมาเป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ในชื่อ ชีวิตที่ดีมากๆ นี้ คือ การตอกย�้ำในความ
ส�ำคัญของการเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการกล้าที่จะล้มเหลวหรือให้ความส�ำคัญ
กับจิตนาการของชีวิต
ประวัติศาสตร์โลกเล่มเล็ก
เอิร์นสท์ เอช.โกมบริช เขียน

เจนจิรา เสรีโยธิน แปล


ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ค�ำนิยม
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2561
ส�ำนักพิมพ์ ซิลค์เวอร์ม
ISBN 978-616-215-144-6

แรกทีเ่ ห็นหน้าปกหนังสือ ค�ำถามผุดขึน้ ในใจทันทีวา่ ประวัตศิ าสตร์โลกจะยัง


มีอะไรที่เราไม่รู้ หรือมีการค้นพบที่ท�ำให้ต้องกลับไปแก้ไขข้อมูลเก่าๆ อีกหรือ? จน
เมือ่ ได้อา่ น ประวัตศิ าสตร์โลก เล่มเล็ก จึงได้รวู้ า
่ การรับรูใ้ นข้อมูลทีม่ อี ยูแ่ ล้ว เหมือน
กับการดูหนังซ�้ำ การรับประทานอาหารแบบเดิมๆ ในร้านเดิมๆ มันมีบางสิ่งที่แตก
ต่างออกไปเสมอ สิ่งๆ นั้นคือรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่จะเพิ่มเติมให้กับสิ่งที่เรารู้
อยู่แล้วดูมีเสน่ห์ น่าค้นมากขึ้น และยิ่งถูกเล่าด้วยภาษาเรียบง่าย ก็เท่ากับเป็นการ
ย่อยข้อมูลที่ซับซ้อนให้กลายเป็นข้อมูลที่เข้าใจได้ไม่ยาก โดยมีปลายทางอยู่ที่การรู้
ประวัติศาสตร์โลกไม่แตกต่าง
เอิร์นสท์ เอช.โกมบิช บรรยายความเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติตั้งแต่ยุค
มนุษย์ถ�้ำจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้อย่างน่าตื่นเต้น ตรงประเด็น อัดแน่นด้วย
ข้อมูล และทั้งที่เป็นเช่นนั้น ในตอนที่หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1936 พวกนาซี
กลับห้ามอ่านหนังสือเล่มนี้เพียงเพราะว่ามันสงเสริมสันติภาพมากเกินไป!
ถึงจุดนี้ หนังสือที่ข้ามผ่านเวลาจนกลายเป็นหนังสือระดับขึ้นหิ้งที่บอกเล่า
ประวัติศาสตร์โลกที่ใครๆ ก็รู้อยู่แล้วกลายเป็นหนังสือมีคุณค่ามากกว่าให้ความรู้
ประวัติศาสตร์มนุษย์แต่เพียงเท่านั้น แต่ยังสอดแทรกประเด็นร่วมกันของความเป็น
มนุษยชาติเอาไว้ด้วย สิ่งนั้นๆ คือ สันติภาพ ที่จะต้องเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการมีเสรีภาพ
ในการอ่านที่เท่าเทียมของคนทุกระดับชั้น
เฝ้าต้นไม้ รอกระต่าย Watching the Tree to Catch A Hare
Adeline Yen Mah เขียน

นุชนาฏ เนตรประเสริฐศรี แปล


พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2553
ส�ำนักพิมพ์ มิ่งมิตร
ISBN 978-616-7232-08-9

“...ยามรุ่งอรุณรุ่งแห่งสหัสวรรษใหม่ผู้คนทั่วโลกต่างกระหายใคร่รู้จักอยาก
เข้าใจว่าคนจีนคือใคร สังคมจีนอยู่กันอย่างไร ผลที่ตามมาก็คือสังคมตะวันตกสนใจ
ปรัชญาตะวันออกมากขึ้น ประชากรโลกหนึ่งในสี่ใช้ชีวิตบนแผ่นดินจีน ใช้ตะเกียบ
กินอาหาร และพูดภาษาจีน ปรัชญาความเชื่อและภูมิปัญญาจีนอันเป็นผลผลิตของ
อารยธรรมเก่าแก่ทสี่ ดุ ซึง่ ยังด�ำรงอยูค่ รบถ้วนทัง้ ภาษาและวัฒนธรรมนัน้ มีสงิ่ น่าเรียน
รู้มากมาย หนังสือเล่มนี้บอกเล่าปัญญาความคิดจีนและเหตุผลที่ท�ำให้เราคนจีนคิด
และเชื่ออย่างนั้น ฉันสอดแทรกหลายๆ เรื่องราวในชีวิตตัวเองเป็นภาพประกอบให้
เข้าใจแนวคิดจีนที่กล่าวถึงและเล่าถึงสิ่งที่ฉันได้เรียนรู้จากแนวคิดดังกล่าว...”
เฝ้าต้นไม้ รอกระต่าย คือหนังสือที่บอกเล่าถึงภูมิปัญญาจีนโบราณ จาก
สายตาของลูกหลานจีน คนรุ่นใหม่ที่ไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ แล้วใช้มุมมองจาก
การศึกษาเล่าเรียนโลกตะวันตกกลับมามองภูมิปัญญาบ้านเกิดในโลกตะวันออก
ผสมผสานไปกับเรือ่ งราวประสบการณ์ของชีวติ ในวัยเยาว์กบั ครอบครัวทีเ่ กาะฮ่องกง
สะท้อนแง่คิดจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจ�ำวันของคนจีนออกมาเป็นปรัชญา
ในการด�ำรงชีวิตได้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจิบชาของป้าที่คอยพร�่ำสอน
ให้ตั้งใจเรียนก่อนจะมารู้ภายหลังในขณะก�ำลังศึกษาว่าใบชานั้นมีประโยชน์ในทาง
วิทยาศาสตร์อย่างไรบ้าง กระทั่งการใช้ค�ำที่ออกเสียงคล้ายกัน แต่คนจะความหมาย
โดยสิ้นเชิง หากทว่าพอจับมารวมกลับให้ความหมายอันสมบูรณ์ได้
โลกของภูมปิ ญ ั ญาสองโลกที่ อเดลีน เหยียน หม่าบอกว่าความจริงแบบตะวัน
ตกวางอยู่บนแก่นสารและหลักเหตุผล ส่วนความจริงแบบจีนมีจุดส�ำคัญที่ความตรง
ข้ามซึ่งสัมพันธ์กันและคิดอย่างเชื่อมโยง ซึ่งไม่ต่างจากการเฝ้าต้นไม้ รอกระตาย
‘สภาพอีสาน’ The Far Province
Francis Cripps เขียน

“ตุลจันทร” แปล
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2514 ส�ำนักพิมพ์ศึกษิตสยาม
พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 ส�ำนักพิมพ์แม่ค�ำผาง
ISBN 978-974-05-4348-0

ภายใต้บริบท ‘สงครามเย็น’ บนความขัดแย้งระหว่าสองขั้วทางความคิดเสรี


ประชาธิปไตยและสังคมนิยม หนังสือเล่มเล็กๆ เล่มหนึง่ ถูกเขียนขึน้ โดยนักเรียนชาว
อังกฤษวัย 18 ปีที่มีทั้งโอกาสและความสนใจในชนบทของประเทศไทย หนังสือเล่ม
นัน้ เขียนโดยจุดประสงค์เพือ่ ให้ชาวต่างประเทศได้อา่ นในเบือ้ งต้นโดยมีเนือ้ หาเริม่ ต้น
เมื่อปี พ.ศ.2504 ยุคสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยุคที่ไฟฟ้ายังไปไม่ถึงใน
บางหมู่บ้าน ยุคที่การประปาถึงบ้างไม่ถึงบ้างเช่นเดียวกับบริการทางการแพทย์ และ
เป็นการยุคที่การศึกษากระจายทั่วประเทศแล้ว แต่ค�ำถามเรื่องคุณภาพยังมีมาถึงแม้
ในวันเวลาปัจจุบัน
The Far Province ของ Francis Cripps คือ ชื่อของหนังสือเล่มนั้น ได้รับ
การแปลเป็นภาษาไทยโดย ‘ตุลจันทร์’ นามแปลของคุณจันทร์แจ่ม บุนนาค ในชื่อ
ว่า ‘สภาพอีสาน’ เป็นชือ่ ทีเ่ รียบง่าย และเป็นชือ่ ทีถ่ กู ตัง้ ในบริบทของคนเมืองเมือ่ สมัย
เกือบหกสิบปีมาแล้ว ยุคทีค่ ำ� ว่าอีสานยังอยูห่ า่ งไกลจากการรับรู้ และยุคทีค่ ำ� ว่าอีสาน
ถูกใช้อย่างเหมารวมแทนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเกือบทัง้ หมด แม้
เนื้อหาจริงๆ ใน ‘สภาพอีสาน’ จะมุ่งเน้นไปที่บรรยากาศในจังหวัดมหาสารคามเพียง
จังหวัดเพราะเป็นจังหวัดที่ตัวฟรานซิศ คริปส์มาประจ�ำในฐานะครูสอนภาษาอังกฤษ
นักเรียนชั้นประถมฯ ปีที่ 2 เป็นเวลาหนึ่งปี
แม้จะเป็นหนังสือที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ของจังหวัดมหาสารคามในช่วง
หนึ่ง และกล่าวอย่างถึงที่สุดผ่านสายตาของเด็กหนุ่มวัย 18 ย่าง 19 ปีที่ยังไม่ได้
เข้ามหาวิทยาลัยด้วยซ�้ำ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าฟรานซิสมี ‘สายตา’ ในการช่างสังเกต
เรื่องราวที่ผ่านเข้ามา และถ่ายทอดด้วยความเรียบที่ไม่เพียงบอกถึงสภาพชนบทของ
ประเทศไทยเมื่อ 57 ปีมาแล้วเท่านั้น แต่ยังสอดแทรกทัศนะที่น่าครุ่นคิดต่อทั้งระบบ
การศึกษา สภาพสังคม และการเมืองอย่างให้นา่ ใคร่ครวญว่ามุมทีค่ รูฝรัง่ คนหนึง่ มอง
สภาพอีสานไว้เมื่อเกือบหกสิบปีมาแล้วนั้น จนถึงตอนนี้ เหตุใดสภาพนั้นยังคงอยู่?
อมตะวจนะคานธี
กรุณา-เรืองอุไร กศุลาสัย รวบรวม-แปล

พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2553


ส�ำนักพิมพ์ บ้านพระอาทิตย์
ISBN 978-616-536-048-7

อมตะวจนะคานธี เป็นหนังสือรวบรวม ถ้อยค�ำ ของมหาตมา คานธี ภายใต้


หัวข้อใหญ่ต่างๆ ทั้งความเป็น ‘มนุษย์’ ‘ชีวิต กาย ใจ’ ‘ศาสนา’ ซึ่งสอดแทรกแง่มุม
ความคิดที่ครอบคลุมในทุกๆ มิติของชีวิตมนุษย์ แม้แต่ในเรื่องการเมือง เช่น “การ
ขาดความอดทนเป็นอุปสรรคมิให้จิตใจประชาธิปไตยอันแท้จริงเกิดขึ้นได้”
หรือแม้แต่เรือ่ งการให้เกียรติมนุษย์รว่ มกัน เช่น “การกระท�ำสองประการของ
มนุษย์ในขณะเดียวกันย่อมไปด้วยกันไม่ได้ กล่าวคือ บูชาพระเป็นเจ้า แต่ก็เหยียด
หยามเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน”
ด้วยถ้อยค�ำอันเรียบง่าย ผ่านการแปลจากผู้ที่ทั้งมีความศรัทธา และมีความ
รู้ในเรื่องภารตวิทยา และคานธีศึกษายากหาใครเสมอเหมือน เช่น อาจารย์กรุณา-
เรืองอุไร กุศลาศัย จึงท�ำให้หนังสือรวบรวมอมตะวจนะของคานธี เล่มนี้ สามารถ
เปรียบได้ดั่งเข็มทิศน�ำทางชีวิตในหลายๆ ครั้งที่อุปสรรคพัดผ่านเข้ามา หรือแม้แต่
มีค�ำถามบางค�ำถามที่ต้องการค�ำตอบเพื่อเป็นแนวทางต่อไป เหมือนเช่นที่อาจารย์
กรุณา-เรืองอุไรได้เขียนไว้ในส่วนของค�ำน�ำว่า
“...เราเชื่ อ ว่ า เช่ น เดี ย วกั บ อนุ ศ าสน์ ข องศาสดาทั้ ง หลายผู ้ อุ บั ติ ขึ้ น และถึ ง
กาลกิรยิ าไปแล้ว อนุศาสน์ของท่านมหาตมา คานธีจะสามารถบันดาลความ “สะอาด
สงบ สว่าง” ให้แก่ผู้อ่านที่มีมิโยนิโสมนสิการต่ออนุศาสน์เหล่านี้ได้ไม่มากก็น้อย แต่
ทั้งนี้ต้องอาศัยอานิสงส์และบารมีของผู้อ่านแต่ละท่านเป็นองค์ประกอบด้วยอย่าง
แน่นอน...”

You might also like