Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 48

รายการคํานวณ และแบบรูป

นายสถาพร โภคา รองศาสตราจารย์ คณะบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


ปรับปรุงเมือ่ 1 พฤศจิกายน 2554

1. ทัวไป

บทนี้กล่าวถึงรายการคํานวณ และแบบรูป ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ องคาพยพ
ของรายการคํานวณ และแบบรูปอาคาร (หรือเรียกว่า แบบโครงสร้าง) ลําดับขัน้ ตอน
เตรียมรายการคํานวณ และแบบโครงสร้าง มิติ แนว ระดับ การอ้างอิง สัญลักษณ์ การให้
รายละเอียดเหล็กเสริมคอนกรีตในแบบและอื่น ๆ

2. วัตถุประสงค์ของแบบ และรายการคํานวณ
รายการคํานวณ และแบบ เป็ นผลผลิตสุดท้าย (End product) ของการคํานวณ
ออกแบบอาคาร รายการคํานวณเป็ นการรวบรวมข้อมูล สมมติฐาน วิธี รายละเอียดการ
คํานวณออกแบบอย่างเป็ นลําดับขัน้ ตอน ส่วนแบบเป็ นการแปลผลรายการคํานวณ ให้เกิด
รายละเอียด เพื่อใช้ส่อื ความเข้าใจในการก่อสร้างอาคารให้เกิดเป็ นรูปธรรม ทัง้ รายการ
คํานวณและแบบ เป็ นเอกสารยืนยัน หรือกํากับอาคาร นอกจากจะใช้ย่นื ขออนุ ญาตปลูก
สร้าง หรือเพื่อก่อสร้างแล้ว ยังเป็ นคู่มอื ในการใช้งาน ซ่อมแซม ปรับปรุง หรือแก้ไขอาคาร
ในอนาคต หรือเมื่อจําเป็ น ในเชิงกฎหมายวิชาชีพ รายการคํานวณ และแบบเป็ นผลงาน
ของวิศวกรผูค้ าํ นวณออกแบบ ซึ่งมีภาระหน้าที่ หรือความรับผิดชอบทัง้ ปวงตามกฎหมาย
อาจกล่าวได้วา่ หากการคํานวณออกแบบอาคาร และรายการคํานวณกระทําอย่างครบถ้วน
ถูกต้อง แบบก่อสร้างก็ควรจะต้องครบถ้วนและถูกต้องเช่นกัน ทัง้ นี้ เพื่อป้องกันปญั หา
อุปสรรค หรือความผิดพลาดระหว่างก่อสร้า ง และเพื่อให้ไ ด้อาคารที่ม นคง ั ่ แข็งแรง มี
คุณภาพดี และใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์

3. องคาพยพของรายการคํานวณโครงสร้าง
รายการคํานวณโครงสร้างเตรียมโดยวิศวกรผู้คํานวณออกแบบโครงสร้าง เป็ น
การรวบรวมข้อมูล สมมติฐาน ผลวิเคราะห์คํานวณโครงสร้าง และรายละเอียดอื่น ๆ ซึ่ง

1
จะต้องยื่นขออนุ ญาตควบคู่กบั แบบชุดขออนุ ญาตก่อสร้าง นอกจากนัน้ ยังใช้อ้างอิง หรือ
ตรวจสอบในกรณีจาํ เป็ น เช่น คํานวณตรวจสอบระหว่างขัน้ ตอนก่อสร้าง ซ่อมแซม แก้ไข
หรือก่อสร้างเพิม่ เติม รายการคํานวณทีด่ จี ะต้อง ครบถ้วน ถูกต้อง และตรวจสอบได้แม้ได้
ยื่น ขออนุ ญ าตไปแล้วหากมีค วามจํา เป็ น ที่จ ะต้อ งดัด แปลงแก้ไ ขโครงสร้า ง ก็จ ะต้อ งมี
รายการคํานวณเพิม่ เติม ประกอบการดัดแปลงแก้ไขนัน้ รายการคํานวณมีองคาพยพ
ดังนี้
รายละเอียดที่จะต้องแสดงบนปกรายการคํานวณควรประกอบด้วย ชื่อผู้ว่าจ้าง
หรือเจ้าของโครงการ ชื่อโครงการ หรืออาคารทีอ่ อกแบบ สถานทีต่ งั ้ โครงการ หัวเรื่องของ
รายการคํานวณ (ตัวอย่างเช่น “รายการคํานวณโครงสร้างอาคารทีจ่ อดรถ ค.ส.ล. 5 ชัน้ ”
“รายการคํานวณโครงสร้างโรงอาหาร ป้อมยาม รัว้ และอื่น ๆ” “รายการคํานวณอาคารที่
พักผูโ้ ดยสาร แก้ไขเพิม่ เติม ครัง้ ที่ 1” เป็ นต้น) ชื่อ ทีอ่ ยู่ (หน่ วยงาน หรือองค์กร) ของ
วิศวกรผูค้ าํ นวณโครงสร้าง ออกแบบ เตรียม หรือเสนอรายการคํานวณ วัน เดือน ปี ทีท่ ํา
หรือส่งรายการคํานวณ (รูปที่ 1)
บทสรุปย่อ (Summary or executive summary) ไม่ค่อยพบปรากฏใน
รายการคํานวณทัวไปนั ่ ก เนื่องจากผู้คํานวณออกแบบส่วนใหญ่อาจไม่เห็นความสําคัญ
แต่หากมีสรุปย่อจะเป็ นประโยชน์มาก เพราะผู้อ่นื ที่นอกเหนือจากผูค้ ํานวณออกแบบจะ
สามารถทราบ และเข้าใจเนื้อหาของรายการคํานวณเล่มนัน้ อย่างรวบรัดในเวลาจํากัด
บทสรุปย่อควรประกอบด้วย ชื่อโครงการ สถานที่ตงั ้ ลักษณะของโครงสร้าง กลสมบัติ
ของวัสดุ พารามิเตอร์ออกแบบ สมมติฐาน มาตรฐานออกแบบ และสิง่ อ้างอิงอื่น ๆ เช่น
ผลเจาะสํารวจ และผลวิเคราะห์ดนิ ในห้องปฏิบตั กิ าร แบบรูปทีต่ อ้ งอ่านควบคู่กบั รายการ
คํานวณ ตัวอย่าง ข้อความในบทสรุปย่อ เช่น
“รายการคํานวณนี้ประกอบด้วย แบบจําลอง รายการวิเคราะห์ และคํานวณออกแบบ
โครงสร้างอาคารที่พกั อาศัยคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 4 ชัน้ มีดาดฟ้า อาคารหลังนี้ใช้เสาเข็ม
คอนกรีตอัดแรงสี่เหลี่ยม ขนาด 0.30x0.30x21.0 เมตร นํ้ าหนั กปลอดภัย 40 ตันต่ อต้น
วิเคราะห์โครงสร้างโดยใช้แบบจําลองโครงข้อแข็งสอง มิติ ภายใต้น้ํ าหนักคงที่ นํ้ าหนัก
บรรทุกจร และแรงลม หน่ วยทีใ่ ช้ ประกอบด้วย มิติ เป็ นเมตร นํ้าหนัก หรือแรง เป็ นกิโลกรัม
หน่ วยแรง เป็ นกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร การคํานวณออกแบบใช้วธิ กี ําลัง ตามมาตรฐาน
ACI 318-99 กําลังอัดประลัยของคอนกรีต 240 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เหล็กเสริมชัน้
คุณภาพ SD 40 (ม.อ.ก. 24-2527) รายการคํานวณออกแบบองค์อาคารต่าง ๆ (แผ่นพืน้
บันได คาน เสา ฐานราก และถังเก็บนํ้า ค.ส.ล.) และแสดงผลเจาะสํารวจ และทดสอบดินใน
ห้องปฏิบตั กิ ารไว้ในภาคผนวก รายการคํานวณฉบับนี้อ่านประกอบกับแบบรูปหมายเลข S-
00-15 ถึง S-15-15” เป็ นต้น

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 2


แผนที่ หรือผังอาคาร ปกติ แผนที่ หรือผังอาคาร มักปรากฏในแบบรูป เพราะ
จะต้องให้มตี ามทีก่ ฎหมายอาคารกําหนด แต่อาจปรากฏในรายการคํานวณด้วย (รูปที่ 2)

รูปที่ 1 ตัวอย่างปกรายการคํานวณ

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 3


รูปที่ 2 ตัวอย่างแผนที่ หรือผังอาคาร

ข้อมูลทีใ่ ช้คาํ นวณออกแบบ ซึง่ ควรแสดงในรายการคํานวณมีดงั นี้


นํ้าหนัก หรือแรงทีก่ ระทําต่อโครงสร้าง หรืออาคารในสภาวะใช้งานต่าง ๆ ปกติ
จะใช้ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2527 หรือข้อบัญญัตกิ รุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2544 หรืออื่น ๆ แล้วแต่กรณี โดยหน่ วยนํ้ าหนักที่ระบุในกฎหมายที่กล่าว
ประกอบด้วย นํ้าหนักบรรทุกจรต่อหน่วยพืน้ ที่ (กิโลกรัมต่อตารางเมตร) นอกจากนัน้ ยัง
หมายรวมถึง แรงลม ตัวคูณแรง (Load factors) ส่วนปลอดภัย (Factor of safety)
หรือนํ้าหนักปลอดภัยของดิน และเสาเข็ม เป็ นต้น ตารางที่ 1 ถึง 3 แสดงหน่วยนํ้าหนัก
อัตราการลดหน่วยนํ้าหนักบรรทุกจรบนพืน้ ทีแ่ ต่ละชัน้ และแรงลมตามกฎกระทรวงฉบับที่
6 พ.ศ. 2527
หน่ วยนํ้ าหนัก วัสดุอ่ืน ซึ่งไม่ปรากฏในกฎหมายที่ก ล่าวข้างต้น ได้แก่ หน่ วย
นํ้าหนักคงทีข่ องวัสดุก่อสร้าง เช่น วัสดุก่อ ผนัง ฝ้าเพดาน กระเบือ้ งปูพน้ื กระเบือ้ งมุง
หลังคา วัสดุตกแต่งพืน้ ผิว หรือหน่ วยนํ้ าหนักจรทีใ่ ช้เฉพาะกรณี เช่น นํ้ าหนักอุปกรณ์
เครื่องจักร สินค้า ยวดยานพาหนะ ผูค้ ํานวณออกแบบควรระบุหน่ วยนํ้าหนัก ดังกล่าว
และแหล่ ง ที่ม า ได้แ ก่ มาตรฐานออกแบบเอกสาร ตํา รา คู่ม ือ เอกสาร หรือ คู่ม ือ
สินค้าออกโดยผูผ้ ลิต หรือจําหน่ าย เพื่อแสดงรายละเอียด และข้อมูลจําเพาะของวัสดุ ใน

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 4


กรณีท่ที ราบนํ้ าหนัก อาทิเช่น “เครื่องจักรหนัก 8 ตัน” ก็ควรแสดงขนาดมิตขิ อง
เครือ่ งจักรดังกล่าว และการถ่ายนํ้าหนักรวมดังกล่าวลงสูอ่ งค์อาคาร หรือโครงสร้าง

ตารางที่ 1 นํ้าหนักบรรทุกจรของอาคารแต่ละประเภทตามกฎกระทรวงมหาดไทย
ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2527
ประเภท หรือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร หน่วยนํ้าหนักบรรทุกจร
กิโลกรัมต่อตารางเมตร
1. หลังคา 30
2. กันสาด หรือหลังคาคอนกรีต 100
3. ทีพ่ กั อาศัย โรงเรียนอนุ บาล ห้องนํ้า ห้องส้วม 150
4. ห้องแถว ตึกแถวทีใ่ ช้พกั อาศัย อาคารชุด หอพัก โรงแรม ห้อง 200
คนไข้พเิ ศษของโรงพยาบาล
5. สํานักงาน ธนาคาร 250

6. (ก) อาคารพาณิชย์ ส่วนของห้องแถว ตึกแถวทีใ่ ช้เพือ่ การ 300


พาณิชย์ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน และโรงพยาบาล
(ข) ห้องโถง บันได ช่องทางเดินของอาคารชุด หอพัก โรงแรม 300
สํานักงาน และธนาคาร
7. (ก) ตลาด อาคารสรรพสินค้า หอประชุม โรงมหรสพ 400
ภัตตาคาร ห้องประชุม ห้องอ่านหนังสือในห้องสมุด หรือ
หอสมุด ทีจ่ อด หรือเก็บรถยนต์นงั ่ หรือรถจักรยานยนต์
(ข) ห้อ งโถง บัน ได ช่ อ งทางเดิน ของอาคารพาณิ ช ย์ 400
มหาวิทยาลัย วิทยาลัย และโรงเรียน
8. (ก) คลังสินค้า โรงกีฬา พิพธิ ภัณฑ์ อัฒจันทร์ โรงงาน 500
อุตสาหกรรม โรงพิมพ์ ห้องเก็บเอกสาร และพัสดุ
(ข) ห้องโถง บันได ช่องทางเดินของตลาด อาคารสรรพสินค้า 500
ห้องประชุม หอประชุม โรงมหรสพ ภัตตาคาร ห้องสมุด
หอสมุด
9. ห้องเก็บหนังสือของห้องสมุด หรือหอสมุด 600

10 ทีจ่ อด หรือเก็บรถยนต์บรรทุกเปล่า 800


.

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 5


ตารางที่ 2 อัตราการลดหน่วยนํ้าหนักบรรทุกจรบนพืน้ ทีแ่ ต่ละชัน้
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2527
การรับนํ้าหนักของเพิม่ ขึน้ อัตราการลดหน่วยนํ้าหนักบรรทุกจร
บนพืน้ ทีแ่ ต่ละชัน้ เป็ นร้อยละ
(1) หลังคาหรือดาดฟ้า 0
(2) ชัน้ ทีห่ นึ่งถัดจากหลังคาหรือดาดฟ้า 0
(3) ชัน้ ทีส่ องถัดจากหลังคาหรือดาดฟ้า 0
(4) ชัน้ ทีส่ ามถัดจากหลังคาหรือดาดฟ้า 10
(5) ชัน้ ทีส่ ถ่ี ดั จากหลังคาหรือดาดฟ้า 20
(6) ชัน้ ทีห่ า้ ถัดจากหลังคาหรือดาดฟ้า 30
(7) ชัน้ ทีห่ กถัดจากหลังคาหรือดาดฟ้า 40

(8) ชัน้ ทีเ่ จ็ดถัดจากหลังคาหรือดาดฟาและชัน้ ต่อลงไป 50
หมายเหตุ สํา หรับ โรงมหรสพ ห้อ งประชุ ม หอประชุ ม ห้อ งสมุ ด หอสมุ ด พิพ ิธ ภัณ ฑ์ อัฒจัน ทร์
คลังสินค้าโรงงานอุตสาหกรรม อาคารจอดหรือเก็บรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ให้คดิ หน่ วยนํ้ าหนัก
บรรทุกจรเต็มอัตราทุกชัน้

ตารางที่ 3 หน่วยแรงลมตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2527


หน่วยแรงลมอย่างน้อยกิโลปาสกาล
ความสูงของอาคารหรือส่วนของอาคาร
(กิโลกรัมแรงต่อตารางเมตร)
(1) ส่วนของอาคารทีส่ งู ไม่เกิน 10 เมตร 0.5 (50)
(2) ส่วนอาคารทีส่ งู เกิน 10 เมตร แต่ไม่เกิน 20 เมตร 0.8 (80)
(3) ส่วนของอาคารทีส่ งู เกิน 20 เมตร แต่ไม่เกิน 40 เมตร 1.2 (120)
(4) ส่วนของอาคารทีส่ งู เกิน 40 เมตร 1.6 (160)
หมายเหตุ ตามกฎกระทรวงข้อที่ 17 ในการนี้ยอมให้ใช้ค่าหน่ วยแรงทีเ่ กิดขึน้ ในส่วนต่างๆ ของ
อาคารตลอดจนความต้านทานของดินใต้ฐานรากเกินค่าที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ได้รอ้ ยละ
33.3 แต่ทงั ้ นี้ตอ้ งไม่ทาํ ให้สว่ นต่างๆ ของอาคารนัน้ มีความมั ่นคงน้อยไปกว่าเมือ่ คํานวณตามปกติ
โดยไม่คดิ แรงลม แต่ ตามข้อบัญญัตกิ รุงเทพมหานคร ไม่ระบุขอ้ ความดังกล่าว

มาตรฐานทีใ่ ช้ออกแบบ หรืออ้างอิง ควรระบุเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ หรือ


อ้างอิงภายหลัง หากไม่มเี หตุผล หรือความจําเป็ นอื่นใด ควรใช้มาตรฐานเดียวสําหรับ
การออกแบบนัน้ ๆ หรือใช้มาตรฐานที่เหมือนกันสําหรับโครงการเดียวกันที่มหี ลาย ๆ

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 6


อาคาร หรือผู้คํานวณออกแบบหลายคน ตัวอย่างมาตรฐานออกแบบที่นิยมใช้ อาทิ
มาตรฐานสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิธหี น่วยแรงใช้
งาน พิมพ์แก้ไขปรับปรุง ครัง้ ที่ 2 พ.ศ. 2534 และวิธกี ําลัง พิมพ์แก้ไขปรับปรุง ครัง้ ที่ 2
พ.ศ. 2534 American Concrete Institute (ACI 318 - 99)American Association of
State Highways and Transport Official (AASHTO 1997) และ British Standard (BS
5400 หรือ BS 8110)
กลสมบัตขิ องวัสดุทใ่ี ช้คาํ นวณออกแบบ รวมถึง ชนิด ชัน้ คุณภาพ กลสมบัติ หรือ
มาตรฐานอ้างอิงของวัสดุนนั ้ เสมอ เช่น “ใช้เหล็กชัน้ คุณภาพ SD 40 มอก.24-2536) กําลัง
ครากตํ่าสุด 4,000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ( f y ≥ 4,000 กิโลกรัมต่อตาราง
เซนติเมตร)” และควรแสดงค่าพารามิเตอร์ทใ่ี ช้คาํ นวณออกแบบอย่างชัดเจน แต่ไม่จาํ ต้อง
แสดงวิธคี ํานวณหาพารามิเตอร์ท่สี อดคล้องกับกลสมบัตขิ องวัสดุท่ใี ช้ (เพราะหากแจ้งวิธี
คํานวณออกแบบ หรือมาตรฐานกํากับไว้แล้ว ก็ยอ่ มคํานวณตรวจสอบได้โดยง่าย หรือเป็ น
ทีเ่ ข้าใจกันดีอยูแ่ ล้ว) อาทิ “ n = 10, j = 0.877 R = 13.028 ksc”
กรณีคํานวณออกแบบโดยทฤษฎีอลี าสติก ควรระบุหน่ วยแรงใช้งานไว้ในลําดับ
ต้น ๆ อาทิ หน่ วยแรงทีย่ อมให้ของคอนกรีตในกรณีต่าง ๆ กรณีตา้ นทานแรงอัด แรง
เฉือนแบบคาน แรงเฉือนแบบเจาะทะลุ แรงยึดหน่วง) โมดูลสั แตกร้าว ตัวอย่างเช่น
“ f c' = 0.29 ⋅ f c' (หน่วยแรงเฉือนแบบคาน) หรือ fc' = 0.53 ⋅ f c' (หน่ วยแรงเฉือน
แบบเจาะทะลุ)”
ชนิด ขนาด หรือกําลังปลอดภัยของเสาเข็ม หรือดิน ปกติผคู้ าํ นวณออกแบบจะ
ตัดสินใจเลือก หรือกําหนดฐานราก หรือเสาเข็ม โดยอาศัยผลสํารวจ หรือทดสอบดินใน
สถานทีก่ ่อสร้าง หรือผลวิเคราะห์ หรือทดสอบดินในห้องปฏิบตั กิ าร ผนวกกับข้อจํากัดอื่น
ๆ เช่น สถานทีก่ ่อสร้าง การขนส่ง การทํางาน ผลกระทบจากเสียง หรือความสันสะเทื ่ อน
เป็ น ต้ น ผู้ อ อกแบบต้ อ งระบุ ช นิ ด ขนาด และกํ า ลัง รับ นํ้ า หนั ก ปลอดภัย ให้ช ัด เจน
โดยเฉพาะกําลังรับนํ้าหนักปลอดภัย ไม่ตอ้ งระบุซ้าํ ซ้อนโดยใส่เครือ่ งหมาย ≥ เช่น
“เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงขนาด - 0.35x0.35x26.0 เมตร กําลังiบนํ้าหนัก
ปลอดภัย 40 ตันต่อต้น” หรือ “แรงแบกทานปลอดภัยของดิน 4 ตันต่อตารางเมตร” เป็ นต้น
อนึ่ ง ควรแสดงผลเจาะสํารวจ และวิเ คราะห์ดิน ในห้อ งปฏิบ ตั ิก ารไว้ใ นภาคผนวกของ
รายการคํานวณ
รายการวิเคราะห์โครงสร้าง (Structural analysis) คือรายการคํานวณตรวจสอบ
ผลของแรง หรือนํ้ าหนักที่กระทําต่อโครงสร้าง หรือองค์อาคารที่จะใช้คํานวณออกแบบ
ดังนัน้ รายการวิเคราะห์โครงสร้างประกอบด้วย แบบจําลองโครงสร้าง (Structural model)
ประกอบด้วยรูปร่าง มิตขิ องโครงสร้างอาคาร เช่น โครงข้อหมุน หรือโครงถัก โครงข้อแข็ง

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 7


ระบบพื้นคาน ซึ่งถูกจําลอง หรือแทนด้วยจุดต่อ และแกนศูนย์ (Center line) ของ
โครงสร้าง ผูค้ ํานวณออกแบบควรระบุให้ชดั เจนว่าได้จําลองโครงสร้างมาจากส่วนใดของ
โครงสร้างจริง โดยคํานึงถึงมิติ และแรงกระทําทีเ่ หมือน หรือคล้ายคลึงกัน เช่น โรงงาน
ชัน้ เดียวรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้า โครงสร้างเป็ นโครงข้อแข็งชนิด Gable frame หากผูอ้ อกแบบ
จะวิเคราะห์อย่างง่ายโดยพิจารณาเป็ นโครงข้อแข็งสองมิติ ผูอ้ อกแบบอาจจัดกลุ่มโครงข้อ
แข็งทีจ่ ะต้องวิเคราะห์ และออกแบบเป็ นสองกลุ่ม ได้แก่ โครงข้อแข็งที่อยู่ภายในอาคาร
(Interior frame) และริมหัวท้ายอาคาร (Exterior frame) ทัง้ นี้อาจมีสมมติฐานใน
เบือ้ งต้นว่า โครงข้อแข็งทัง้ สองกลุ่ม ต้านทานแรง หรือนํ้าหนักแตกต่างกันโดยประมาณ
(รูปที่ 3)

รูปที่ 3 ตัวอย่างการอธิบายแบบจําลองโครงสร้าง

สิง่ ที่ต้องระบุประกอบรายการคํานวณคือ คุณสมบัตทิ างกายภาพ และกลสมบัติ


ขององค์อาคาร และรูปหน้าตัด ได้แก่ จุดต่อยึด (Joints) ฐานรองรับ (Supports) ขนาดมิติ
ขององค์อาคาร เช่น พืน้ ทีภ่ าคตัดขวาง โมเมนต์เฉื่อย โมเมนต์เฉื่อยต้านการบิด และ
ความยาว ชนิดของวัสดุ โมดูลสั ยืดหยุ่น โมดูลสั แรงเฉือน สัดส่วนปวั ซองส์ คุณสมบัติ

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 8


เหล่านี้มนี ัยสําคัญต่อแรงในแต่ละองค์อาคาร จึงควรแสดงคุณสมบัตดิ งั กล่าวให้ครบถ้วน
อาทิ “ Ec = 2.0x109 kg/m2 ขนาดเสา 0.30x0.30 m ( A =0.09 m2 , I x = 6.75 x 10-4 m4)
และคาน0.20x0.50 m ( A = 0.10 m2, I x =2.083x10-3 m4)”
นํ้าหนัก หรือแรงกระทําต่อโครงสร้าง ควรจําแนกแรง ชนิด หรือประเภทต่าง ๆ
ออกเป็ นแต่ละกรณี เพื่อประโยชน์ในการ ตรวจสอบ แก้ไข หรือรวมแรง (Combination
of loads) เช่น นํ้าหนักโครงสร้าง (Dead Load: Self weight) นํ้าหนักบรรทุกคงทีส่ ว่ นเพิม่
(Super imposed dead loads) นํ้าหนักบรรทุกจร (Live loads) แรงลม (Wind
pressure) แรงดันของไหล หรือดิน (Fluid or earth pressure) นอกจากนัน้ ควรแสดง
วิธคี าํ นวณแรง หรือนํ้าหนักทีก่ ระทําต่อโครงสร้างอย่างละเอียด ตัวอย่างเช่น นํ้าหนักที่
ถ่ายลงโครงหลังคา ประกอบด้วย “นํ้าหนักบรรทุกคงที่ (นํ้าหนักกระเบือ้ ง และอุปกรณ์ยดึ
15 กิโลกรัมต่อตารางเมตร นํ้าหนักโครงหลังคา 15 กิโลกรัมต่อตารางเมตร นํ้าหนักฝ้า 5
กิโลกรัมต่อตารางเมตร ดังนัน้ นํ้าหนักรวม 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เป็ นต้น และหาก
ช่วงโครงหลังคา (Bay) 5.0 เมตร ดังนัน้ นํ้ าหนักคงทีก่ ระทําต่อโครงหลังคา =
34x2x(5/2) = 175 กิโลกรัมต่อเมตร” ผูค้ ํานวณออกแบบอาจใช้หน่ วยนํ้าหนักนี้ถ่ายลง
โครงสร้างโดยตรง เป็ นหน่ วยนํ้าหนักแบบกระจายสมํ่าเสมอ (Distributed load) หรือ
อาจแปลงนํ้ าหนักดังกล่าว ให้เป็ นนํ้ าหนักที่กระทํา ณ แต่ละ จุดต่อของ (Concentrated
or point load) ณ จุดต่อของโครงข้อหมุน (รูปที่ 4 และรูปที่ 5)

ก. นํ้าหนักแผ่กระจายสมํ่าเสมอ

ข. นํ้าหนักเป็ นจุดทีร่ อยต่อ

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 9


รูปที่ 4 ตัวอย่างการถ่ายนํ้าหนักบนโครงข้อหมุนรับหลังคา

รูปที่ 5 ตัวอย่างการถ่ายนํ้าหนักบรรทุกจร และแรงลมในโครงข้อแข็งหลายชัน้

ควรระบุตวั คูณแรง (Load factor) โดยเฉพาะกรณีทว่ี เิ คราะห์โครงสร้าง หรือรวม


แรงด้ว ยคอมพิว เตอร์ หรือ เพื่อ ป้ องกัน ข้อ สับ สนในการรวมแรง ในขัน้ ตอนวิเ คราะห์
โครงสร้างอาจใช้ตวั คูณแรงทีม่ คี ่าหนึ่งหน่วย (Unit factored loads) แล้วจึงค่อยกําหนด
ตัวคูณแรงในขัน้ ตอนรวมแรง หรือคํานวณออกแบบ เพราะจะเข้าใจ และทราบพฤติกรรม
ของโครงสร้างภายใต้น้ําหนัก หรือแรงกระทําแต่ละกรณี เว้นเสียแต่วา่ ผูค้ าํ นวณออกแบบ
จะมีความชํานาญ หรือประสบการณ์ อนึ่ง ตัวคูณแรง และการรวมแรงทีม่ าตรฐานกําหนด
เป็ นเพียงมาตรการขัน้ ตํ่า (Minimum requirement) เท่านัน้ ผูค้ ํานวณออกแบบอาจใช้
ข้อเท็จจริงทีป่ ระจักษ์ หรือดุลพินิจทีเ่ หมาะสม (Engineering judgment) เลือกใช้ค่าตัวคูณ
แรงผิดแผกไปจากมาตรฐานกําหนดได้ นอกจากนัน้ พึงระมัดระวังว่าจะต้องใช้แรงที่เกิด
ในกรณีเดียวกัน (Corresponding Stress) คํานวณออกแบบองค์อาคาร โดยไม่ใช้แรงสูงสุด
ของแต่ละกรณีรวมกัน (Enveloped) คํานวณออกแบบองค์อาคาร เมื่อไม่สามารถคาดคะเน
ได้ว่าแรงรวมกรณีใดวิกฤติ ก็จะต้องคํานวณออกแบบองค์อาคารโดยใช้แรงทุกกรณีทเ่ี ป็ น
ผลลัพท์จากการวิเคราะห์ หรือรวมแรง หรืออีกนัยหนึ่งคือไม่ว่าจะเกิดแรงตามกรณีใดก็
ตาม องค์อาคารจะต้องมีกําลังต้านทานแรง และปลอดภัยเสมอ แต่หากใช้เฉพาะแรงสูงสุด

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 10


จากแต่ละกรณีมารวมกัน เพื่อคํานวณออกแบบองค์อาคารในคราวเดียวกัน นอกจากจะ
สิน้ เปลือง (เพราะไม่มโี อกาสเกิด หรือกระทําต่อองค์อาคารพร้อม ๆ กัน) แล้ว บางกรณี
กลับ จะไม่ป ลอดภัย ตัว อย่า งเช่ น การคํา นวณออกแบบเสาซึ่ง มีท งั ้ แรงตามแกน และ
โมเมนต์ดดั หากใช้แรงสูงสุดของแต่ละกรณีมารวมกันเพื่อออกแบบ อาจทําให้เห็นว่าเสามี
กําลังต้านทานแรงอย่างปลอดภัยเพียงพอ ทัง้ ทีห่ ากคํานวณออกแบบโดยใช้แรงทีเ่ กิดจริง
ตามกรณีแล้ว เสาอาจไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะเสาทีต่ อ้ งต้านทานโมเมนต์ดดั สูงมาก แต่แรง
ตามแกนมีคา่ ตํ่า
หน่ วยบอกมิติ นํ้าหนัก แรง หรือหน่วยแรงทีน่ ิยมใช้ในประเทศไทย คือหน่ วย SI
หรือหน่วย Metric (ตารางที่ 4)

ตารางที่ 4 หน่วยมิติ นํ้าหนัก แรง หรือหน่วยแรงทีน่ ิยมใช้ในประเทศไทย


วัตถุประสงค์ ความยาว นํ้าหนัก แรงดัด หน่วยแรง
หรือแรง
1) วิเคราะห์โครงสร้าง m kg kg-m kg/cm2 (ksc)
cm kg kg-cm kg/cm2 (ksc)
m ton ton-m kg/cm2 (ksc)
2) คํานวณออกแบบ
2.1 วิธหี น่วยแรงใช้งาน m kg kg-m kg/cm2 (ksc)
2.2 วิธกี าํ ลัง m kN kN-m N/mm2 (MPa)

ผลวิเคราะห์โครงสร้างที่ใช้คํานวณออกแบบ ควรแสดงอย่างชัดเจนว่าใช้เพื่อ
วัตถุประสงค์ใด หรืออย่างไร เช่นระบุว่า “ผลวิเคราะห์แผ่นพืน้ และคานโดยวิธโี ครงข้อแข็ง
เทียบเท่า (Equivalent frame method) ใช้คาํ นวณออกแบบแผ่นพืน้ และคาน” หรือ “ผล
วิเคราะห์โครงอาคารตามแบบจําลองสามมิติ ภายใต้น้ําหนักบรรทุกคงที่ นํ้าหนักบรรทุก
จร และแรงลม ใช้คํานวณออกแบบ ตรวจสอบการแอ่น หรือโก่งตัว (Deflection or
chamfer) การเซ (Sway) ขององค์อาคาร และโครงสร้าง” อนึ่ง หากผูค้ าํ นวณออกแบบจะ
ใช้ผลวิเคราะห์โครงสร้างคํานวณออกแบบเสา และฐานรากให้ระมัดระวังเป็ นพิเศษ
โดยเฉพาะแรงตามแกน (Axial force) เช่น ในโครงสร้างสองมิติ ทัง้ นี้ เพื่อมันใจว่ ่ า
ผลลัพท์เป็ นนํ้ าหนักที่ถ่ายลงเสา และฐานรากอย่างครบถ้วน กลับกัน แม้จะได้วเิ คราะห์
โครงสร้างสามมิติ แต่การถ่ายนํ้ าหนักจากพืน้ ลงสูค่ าน เช่น การถ่ายนํ้าหนักจากแผ่นพืน้
สองทางลงคาน ตามวิธใี นมาตรฐาน ว.ส.ท. มีค่าเกินเลยความเป็ นจริง ดังนัน้ ผูค้ าํ นวณ
ออกแบบควรตรวจสอบแรงตามแกนโดยวิธีง่า ย ๆ ซึ่ง นิ ย มใช้เ พื่อ คํา นวณออกแบบ

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 11


เบือ้ งต้น หรือกําหนดสัดส่วนขององค์อาคาร เช่น พืน้ ทีร่ อบเสา (Projected area)
เปรียบเทียบกับผลวิเคราะห์โครงสร้างก่อนออกแบบเสา และฐานราก ซึง่ นอกจากจะทํา
ได้รวดเร็วแล้วยังถูกต้องเชื่อถือได้
การเคลื่อนตัวของโครงสร้าง ผู้ คํ า นวณออกแบบควรแสดง หรือ ระบุ ร ะยะ
(หรือมุม) ที่โครงสร้างเคลื่อนไปจากตําแหน่ งอ้างอิง ภายใต้แรงต่าง ๆ และสรุป
เปรียบเทียบกับเกณฑ์ยอมรับ เช่น
“ระยะเคลื่อนตัวตามแนวราบทีจ่ ุดยอดบน 2.5 เซนติเมตร เปรียบเทียบกับความสูง
โครงอาคาร ( h ) = 50 เมตร ระยะเคลื่อนตัวสูงสุดทีย่ อมให้ = h/400 หรือ12.5 เซนติเมตร
ดังนัน้ ระยะเคลื่อนตัวตามแนวราบของอาคารหลังนี้น้อยกว่าเกณฑ์กาํ หนด” เป็ นต้น
ในรายการคํานวณ ควรสรุปผลวิเคราะห์โครงสร้างเฉพาะส่วนสําคัญที่ใช้คํานวณ
ออกแบบองค์อาคารต่าง ๆ เช่น คาน เสา ฐานราก และควรอ้างอิงกํากับเสมอว่าองค์อาคาร
เหล่านัน้ อยู่ ณ พิกดั ใดของโครงสร้าง โดยอาจสรุป หรือแสดงเป็ นตาราง หรือรูปภาพ อาจ
เขียน Shear Force Diagram หรือ Bending Moment Diagram หรือ Free Body
Diagram แสดงสมดุลของแรง ณ จุดต่อก็ได้ แต่ไม่ควรพิมพ์ผลวิเคราะห์โครงสร้าง
ทัง้ หมดซึ่ง อาจมีม ากมายโดยเปล่า ประโยชน์ หากมีค วามจํา เป็ น อย่า งยิ่งให้แ สดงใน
ภาคผนวก หรือ แยกเล่มต่างหาก
รายการคํานวณออกแบบองค์อาคาร ตัวอย่างเช่น รายการคํานวณออกแบบ แผ่น
พืน้ บันได (หรือทางลาด) คาน เสา กําแพง และฐานราก ในบางอาคารอาจมีองค์อาคาร
พิเศษ เช่น แป้นหูชา้ ง (Bracket) เชิงยื่น (Corbel) แกงแนง (Bracer) จุดยึดหมุน
(Hinges) ผู้คํานวณออกแบบควรเรียงลําดับรายการคํานวณให้สอดคล้องกับขัน้ ตอน
ออกแบบ กล่าวคือ จากส่วนบนของอาคาร ลงสู่ส่วนล่าง (เพราะอาคารส่วนบน ถ่าย
นํ้าหนักลงสูส่ ว่ นล่างนันเอง)

4. รายการคํานวณออกแบบองค์อาคารแต่ละประเภท
รายการคํานวณออกแบบองค์อาคารแต่ละประเภท มีองค์ประกอบ ลําดับขัน้ ตอน
และข้อแนะนําดังนี้
หลังคา สิง่ ทีต่ อ้ งแสดงในรายการคํานวณออกแบบหลังคาโครงข้อหมุน หรือโครง
ถักได้แก่ องค์อาคารส่วนบน หรือล่าง (Upper or lower chord) ตัวตัง้ (Vertical) หรือ ตัว
ทะแยง (Diagonal) รอยต่อ หรือจุดต่อ (Joints) เช่น รอยเชื่อม หรือสลักเกลียว แท่น
หรือทีร่ องรับ ขนาดของฐานทีร่ องรับ สภาพยึดรัง้ ตรวจสอบการแอ่น หรือโก่งตัว การ
เซ แรงปฏิกริ ยิ าทีถ่ ่ายลงสูอ่ งค์อาคารอื่น (ได้แก่เสา หรือผนัง เป็ นต้น) ส่วนระบบหลังคา

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 12


ค.ส.ล. คํานวณออกแบบเช่นเดียวกับแผ่นพืน้ และคานในชัน้ อื่น ๆ แต่น้ําหนักบรรทุกจร
อาจแตกต่างกัน
แผ่นพืน้ บันได หรือทางลาด จัดรวมกลุ่มกันเนื่องจากแรงปฏิกริ ยิ าของพืน้ บันได
หรือทางลาด ถ่ายลงยังคาน หรือทีร่ องรับอื่น พืน้ ทางเดียวคํานวณออกแบบเช่นเดียวกับ
คานช่วงเดียว ส่วนแผ่นพืน้ สองทางปกติออกแบบโดยพิจารณาเป็ นระบบแผ่นบาง (Plate)
การคํานวณออกแบบมักใช้สมั ประสิทธิ ์ หรือตัวคูณ (Coefficient) ส่วนรายการคํานวณ
ออกแบบทางลาด หรือบันได หลักการส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับแผ่นพืน้ ทางเดียว แผ่นพืน้ ยื่น
หรือแผ่นพืน้ สองทาง แล้วแต่กรณี
มีขอ้ แนะนํ าเกี่ยวแก่รายการคํานวณออกแบบแผ่นพื้น บันได หรือทางลาด คือ
ควรจัดกลุม่ แผ่นพืน้ ก่อนคํานวณออกแบบ อาทิเช่น แผ่นพืน้ ทางเดียวทีม่ นี ้ําหนักบรรทุกจร
หรือแรงกระทําพอ ๆ กัน แต่ความยาวช่วงต่างกันเพียงเล็กน้อย (หรืออีกนัยหนึ่ง โมเมนต์
ดัดไม่แตกต่างกันนัก) ควรเป็ นแผ่นพืน้ ประเภทเดียวกัน ส่วนแผ่นพืน้ สองทางนอกจากจะ
จัดกลุ่มโดยพิจารณาขนาด หรือนํ้ าหนักบรรทุกจรใกล้เคียงกันแล้ว ยังต้องพิจารณาความ
ต่อเนื่อง ณ ทีร่ องรับด้วย
แม้ว่าแผ่นพืน้ ทีม่ ขี นาดใกล้เคียงกัน หรือนํ้าหนักบรรทุกจรใกล้เคียงกัน จะจัดอยู่
ในกลุ่มเดียวกันเพื่อคํานวณออกแบบเพียงครัง้ เดียว และใช้ร่วมกันตามทีก่ ล่าวข้างต้น แต่
การถ่ายนํ้าหนักลงคานทีร่ องรับควรต้องคิดตามจริงเสมอ
ในการคํา นวณออกแบบ ความยาวช่วงของแผ่น พื้น ทางเดีย วปกติจ ะใช้ร ะยะ
ระหว่างทีร่ องรับ (Clear span) หากจะใช้ระยะระหว่างศูนย์กลางทีร่ องรับ (Center-to-
center) ก็ได้แต่ควรเลือกปฏิบตั ใิ ห้เหมือนกันทุกกรณีเพื่อหลีกเลีย่ งความสับสน ส่วนความ
ยาวช่วงของแผ่นพื้นสองทางต้องเปรียบเทียบระหว่างสองกรณีคอื 1) ระยะระหว่าง
ศูนย์กลางของที่รองรับกับระยะขอบของที่รองรับบวกกับสองเท่าของความหนาแผ่นพื้น
หรือ 2) ใช้ระยะระหว่างขอบของทีร่ องรับ ขึน้ อยูก่ บั วิธคี าํ นวณออกแบบ
การคํานวณเหล็กเสริมในแผ่นพื้น (ทัง้ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและระยะเรียง)
จะต้องคํานึงถึงการก่อสร้าง โดยเฉพาะความต่อเนื่องระหว่างแผ่นพืน้ ดังกล่าวกับแผ่นพืน้
อื่น ๆ ทีอ่ ยูใ่ นช่วงถัดไป เหล็กเสริมในแผ่นพืน้ ควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เล็กกว่า 9
มิลลิเมตร เพื่อป้องกันมิให้บดิ เสียรูป หรือคลาดเคลื่อนจากตําแหน่งขณะทํางาน (เช่นขณะ
เทคอนกรีต) ควรกําหนดความยาวของเหล็กเสริมพิเศษให้ลงตัว และคํานึงถึงการตัดเหล็ก
ทีไ่ ม่เหลือเศษ ตัวอย่างเช่น “ใช้ RB 9 x 2.00 m @ 0.20 m แทนทีจ่ ะใช้RB 9 x 1.95 m
@ 0.20 m” ความยาวของเหล็กเสริมพิเศษที่แสดงในแบบ อาจวัดจากขอบของที่
รองรับ หรือศูนย์กลางก็ได้แล้วแต่สะดวก แต่จะต้องเข้าใจว่าระยะความยาวของเหล็กเสริม
พิเศษทีร่ ะบุ หรือแนะนําโดยมาตรฐานต่าง ๆ มักอ้างอิงจากขอบทีร่ องรับ

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 13


คานเป็ นองค์อาคารที่สําคัญ และมีจํานวนมาก การคํานวณออกแบบคานไม่ใช่
เรือ่ งยาก แต่สงิ่ ทีส่ าํ คัญ คือ ทําอย่างไรคานจึงจะแข็งแรง ประหยัด ก่อสร้างง่าย และไม่
เป็ นอุปสรรคต่องานอื่น ๆ อาทิ งานวิศวกรรมระบบ หรือ งานตกแต่งภายในก่อน
วิเคราะห์ หรือคํานวณออกแบบ ควรจัดกลุ่มคาน (Grouping or cataloging) โดยพิจารณา
จากหน้าตัด ความยาวช่วง ทีร่ องรับ หรือความต่อเนื่อง (คานช่วงเดียว คานต่อเนื่อง หรือ
คานยื่น) นํ้ าหนัก หรือแรงทีก่ ระทํา (รูปที่ 6) การจัดกลุ่มคานจะช่วยให้เห็นภาพรวมของ
คานทีจ่ ะออกแบบ อาจใช้ดนิ สอสีต่าง ๆ กันขีดลากลงบนแปลนประณีตสถาปตั ยกรรม หรือ
แปลนร่างของโครงสร้าง แม้ภายหลังการคํานวณออกแบบหากพบว่าคานบางตัวรับนํ้าหนัก
หรือแรงทีผ่ ดิ กันมาก ทําให้รปู หน้าตัด หรือเหล็กเสริมแตกต่างกันมาก ก็อาจแยกเป็ นกลุ่ม
ต่างหาก หรือเปลีย่ นชื่อคาน เช่น ตัวอย่างในรูปที่ 10.6 “คาน B-3 มีสองกรณี คือ B-3
ทีอ่ ยู่รมิ นอก (Exterior) รับนํ้ าหนักผนัง หรือกําแพง และนํ้ าหนักทีถ่ ่ายจากพืน้ S-1
ด้านเดียว อีกกรณีหนึ่ง คาน B-3 ทีอ่ ยูภ่ ายใน รับนํ้าหนักทีถ่ ่ายจากพืน้ S-1 สองด้าน แม้
จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ภายหลังคํานวณออกแบบ หากพบว่ารูปตัด หรือเหล็กเสริม
ต่างกัน ก็อาจเปลีย่ นชื่อตัวใดตัวหนึ่ง อาทิ เปลีย่ นเป็ น B-3’ หรือ B-4”

รูปที่ 6 ตัวอย่างผังพืน้ คาน

ควรกําหนดความกว้างคานให้เป็ นมาตรฐาน หรือสอดคล้องกับความกว้างของ


แบบหล่อคาน ควรใช้ความกว้างของคานให้น้อยขนาดทีส่ ดุ เช่น “กําหนดให้คานหลักทัว่ ๆ

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 14


ไปกว้าง 0.20 เมตร คานซอย หรือคานย่อย กว้าง 0.15 เมตร” เว้นแต่มคี วามจําเป็ นอื่นใด
ได้แก่ คานทีม่ เี หล็กเสริมมากเช่น คานคอดิน หรือต้องการรูปปรากฏทางสถาปตั ยกรรม
ควรกําหนด หรือเลือกใช้ความลึกของคานให้เป็ นมาตรฐาน สอดคล้องกับขนาด
ของแบบหล่อคาน และเลือกใช้ความลึกทีแ่ ตกต่างกันเท่าทีจ่ าํ เป็ น เช่น “ใช้ความลึกคานที่
แตกต่างกันคราวละ 0.10 เมตร เช่น 0.35, 0.40, 0.50 และ 0.60 โดยลําดับ เป็ นต้น” อนึ่ง
ควรระมัดระวังการคํานวณออกแบบคานที่ลกึ มาก ๆ เมื่อเทียบกับความกว้าง หรือความ
ยาวช่วง เพราะคานลึกมีพฤติกรรมแตกต่างจากคานปกติทวไปการคํ ั่ านวณออกแบบ มี
รายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกัน
ควรแยกพิจารณาแรงแต่ละกรณี ถึงแม้จะไม่มคี ่าตัวคูณแรง (Load factor =
1.0) ก็ตาม ทัง้ นี้เพื่อให้ทราบพฤติกรรมภายใต้แรงทีแ่ ท้จริงของคาน ตัวอย่างเช่น “คาน
ปลายยืน่ ทัง้ สองด้าน (Over-hanged beam) ทีม่ รี ะยะยื่นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับความ
ยาวช่วงกลาง บางครัง้ นํ้าหนัก หรือแรงอาจทําให้คานโก่งขึน้ มีแรงดึงให้คานหลุด หรือ
ถอนตัวขึน้ จากทีร่ องรับ”
นอกจากจะแยกกรณีของแรงแล้ว ผูค้ าํ นวณออกแบบควรพิจารณาตําแหน่ง หรือ
รูปแบบทีน่ ้ํ าหนักบรรทุกจรกระทําหลายกรณี (Patterned live load) เพื่อมันใจว่ ่ าได้
วิเคราะห์ หรือเลือกเอาผลวิเคราะห์ท่คี รอบคลุมทุกกรณีแล้ว ตัวอย่างเช่น โมเมนต์ลบ
สูงสุด และโมเมนต์บวกสูงสุดในคานต่อเนื่องหลายช่วง หรือบนโครงข้อแข็ง มิได้เกิดใน
กรณีเดียวกัน ซึ่งมีน้ําหนักบรรทุกจรกระทําอย่างสมํ่าเสมอตลอดทุกช่วงความยาวคาน ผู้
คํานวณออกแบบควรตรวจสอบด้วยการทดลองสลับตําแหน่งของนํ้าหนักบรรทุกจร ทีจ่ ะทํา
ให้เกิดโมเมนต์ลบ หรือโมเมนต์บวกสูงสุด แล้วแต่กรณี
ควรพิถพี ถิ นั การหยุดเหล็ก (Curtailment) หรือความยาวของเหล็กเสริมพิเศษใน
คาน เช่นเดียวกับการออกแบบพื้น เพื่อให้ความยาวของเหล็กเสริมลงตัว และมิให้เหลือ
เศษ
ต้องตรวจสอบให้แน่ ใจว่ารายละเอียดเหล็กเสริมในคาน จะทําให้คานมีสภาพ
หรือเกิดพฤติกรรมตามแบบจําลอง การวิเคราะห์ และออกแบบ โดยเฉพาะการให้
รายละเอียดทีด่ เู สมือนเป็ นเรื่องปลีกย่อย แต่แท้จริงแล้วกลับมีนัยสําคัญ เช่น การยื่นเหล็ก
เสริมเข้าไปในทีร่ องรับ ระยะฝงั เพิม่ การต่อเหล็กเสริม (ต่อทาบ เชื่อม หรือต่อโดยวิธกี ล)
การฝงั ยึดปลายเหล็กเสริม เป็ นต้น
แม้เหล็กเสริมที่มจี ําหน่ ายในท้องตลาดจะมีขนาดระบุหลายขนาด ในทางปฏิบตั ิ
สําหรับอาคารหลังหนึ่ง ๆ ควรเลือกใช้เหล็กให้น้อยขนาดที่สุด หากใช้เหล็กเสริมขนาด
ใกล้เคียงกันในองค์อาคารเดียวกัน ก็จะช่วยป้องกันบรรเทาความผิดพลาดในการทํางาน
และเพื่อประหยัด เช่น “ในคานตัวหนึ่ง อาจใช้เหล็กขนาด 16 มิลลิเมตร เป็ นเหล็กล่าง

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 15


หรือเหล็กบนทีเ่ ดินต่อเนื่องตลอดความยาวคาน และใช้เหล็กขนาด 12 หรือ 16 มิลลิเมตร
เป็ นเหล็กเสริมพิเศษ”

5. องคาพยพของแบบโครงสร้างอาคาร
แบบโครงสร้างอาคารมีลกั ษณะพิเศษเฉพาะ เป็ นแบบที่ต้องคัดลอก หรือลอก
เลียน (Trace) เอาต้นร่าง หรือรายละเอียดบางอย่างมาจากแบบประณีตสถาปตั ยกรรม
เหตุผลเพราะในงานอาคารต่าง ๆ นัน้ จะต้องออกแบบประณีตสถาปตั ยกรรมให้แล้วเสร็จ
บางส่วน หรือทัง้ หมดเสียก่อน จึงจะสามารถเตรียมแบบวิศวกรรมโครงสร้าง และแบบ
วิศวกรรมระบบอื่น ๆ ให้สอดคล้องกันได้ สิง่ ทีแ่ บบโครงสร้างอาคารจะต้องคัดลอกเอามา
จากแบบประณีตสถาปตั ยกรรม ได้แก่ ระบบพิกดั ฉาก (Grid or grid line - ซึง่ ใช้วางผัง
อ้างอิงตําแหน่ งของตัวอาคาร และองค์อาคาร) ตําแหน่ ง มิติ ขององค์อาคาร (เช่น
ความกว้าง และความลึกของคาน ตําแหน่ งการวางคาน กรณีท่หี น้ากว้างคานแคบกว่า
หน้ากว้างเสา จะแสดงการวางคานชิดริมนอกเสา ชิดริมในเสา หรือยึดแนวศูนย์กลางเสา
เป็ นต้น) ระดับ (ได้แก่ความสูงระหว่างชัน้ ระยะลูกตัง้ ลูกนอนของขัน้ บันได ขนาดของ
ช่องเปิดในพืน้ หรือกําแพง) บางกรณีอาจระบุมมุ หรือความลาดชันขององค์อาคาร เช่น
มุมเอียงของหลังคา ความลาดชันของทางลาด แบบโครงสร้างอาคาร เป็ นแบบที่จะต้อง
ยื่นต่อหน่ วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุ ญาตก่อสร้าง ดังนัน้ การจัดเตรียมแบบ
จะต้องยึดถือระเบียบหลักเกณฑ์ท่หี น่ วยงานราชการเหล่านัน้ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ระบุ ไ ว้ อ ย่ า งเคร่ ง ครั ด (พระราชบั ญ ญั ติ ค วบคุ ม อาคาร วิ เ คราะห์ ศ ั พ ท์ "แบบ
แ ป ล น " ห ม า ย ค ว า ม ว่ า แ บ บ เ พื่ อ ป ร ะ โ ย ช น์ ใ น ก า ร ก่ อ ส ร้ า ง ดั ด แ ป ล ง รื้ อ
ถอน เคลื่อนย้าย ใช้ หรือเปลีย่ นการใช้อาคาร โดยมีรปู แสดงรายละเอียดส่วนสําคัญ ขนาด
เครื่อ งหมายวัส ดุ และการใช้ส อยต่ า ง ๆ ของอาคาร อย่ า งชัด เจนพอที่จ ะใช้ ใ นการ
ดําเนินการได้
กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2528) กําหนดองค์ประกอบ และ
รายละเอียดของแบบแปลนไว้ดงั นี้ 1) ให้ใช้มาตราเมตริก 2) ให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1
ใน 100 3) รายละเอียดทีต่ อ้ งแสดง 4) แผนผังบริเวณ 5) ผังคานรับพืน้ ตามจํานวนชัน้ 6)
ผังฐานราก 7) รูปด้านไม่น้อยกว่า 2 ด้าน 8) รูปตัดทางขวาง 9) รูปตัดทางยาว โดยต้องมี
รายละเอียดส่วนสําคัญ ขนาด เครือ่ งหมาย วัสดุ และการใช้สอยต่าง ๆ ของอาคารอย่าง
ชัด เจนเพีย งพอที่จ ะพิจ ารณาตามกฎกระทรวง ข้อ บัญ ญัติท้อ งถิ่น หรือ ประกาศของ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และจะต้องชัดเจนพอที่จะ “คิดรายการ” และ “สอบ
รายการคํานวณ” ได้)

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 16


แบบโครงสร้างอาคาร จะต้องสัมพันธ์สอดคล้องกับแบบประณีตสถาปตั ยกรรม
และแบบวิศ วกรรมระบบอื่น ๆ ตัว อย่า งเช่น รูป ทรง มิติ และตํา แหน่ ง ของเสา คาน
จะต้องเป็ นไปตามแบบสถาปตั ยกรรม เพื่อให้รปู ปรากฏ ตามทีส่ ถาปตั ยกรรมของอาคาร
ขนาดของช่ อ งเปิ ด ในแผ่ น พื้น หรือ ผนั ง จะต้ อ งเป็ น ไปตามที่แ บบวิศ วกรรมระบบ
(สุขาภิบาล ไฟฟ้า เครื่องกล หรืออื่น ๆ) ระบุไว้ เพื่อให้ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ใน
อาคาร อาทิเช่น ท่อนํ้า ท่อไฟฟ้า ท่อปรับอากาศ หรืออุปกรณ์อ่นื ๆ ติดตัง้ หรือลอด
ผ่านได้ เป็ นต้น
แบบโครงสร้างอาคารมีมากกว่าหนึ่งชุด (Version) อาจเหมือนกัน หรือ
แตกต่างกันได้ การเปลี่ยนแปลงอาจเนื่องมาจากผู้ว่าจ้าง สถาปนิก วิศวกรผู้คํานวณ
ออกแบบระบบ หน่ วยงาน ราชการผูม้ อี ํานาจตรวจ และอนุ มตั เิ ห็นชอบแบบขออนุ ญาต
หรือ แม้ก ระทัง่ วิศ วกรผู้ คํ า นวณออกแบบโครงสร้า งเอง สาเหตุ ท่ีเ ปลี่ย นแปลงอาจ
เนื่องมาจากความผิดพลาด หรือไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ว่าจ้าง ไม่เป็ นไป
ตามที่กฎหมายกําหนด มีอุปสรรคความจําเป็ นอื่น ๆ เช่น ความแข็งแรงของโครงสร้าง
การติด ตัง้ ระบบต่ า ง ๆ หรือ เพื่อ ความเหมาะสมในการใช้ง านอาคารนัน้ ปกติแ บบ
โครงสร้างจะมีอย่างน้อย 5 ชุด ตามลําดับก่อนหลังดังนี้ แบบร่าง (Draft or
preliminary drawing) แบบยื่นขออนุ ญาต (Permission drawing)แบบก่อสร้าง หรือ
แบบคูส่ ญั ญา หรือแบบเพือ่ ประมูล (Contract drawing) แ บ บ ข ย า ย ห รื อ แ บ บ
ขยายรายละเอียด (นิยมเรียกทับศัพท์ – Shop drawing) แบบเหมือนสร้าง (As-built
drawing) จัดเตรียมขณะ หรือทันทีภายหลัง ก่อสร้างเสร็จสิน้ แล้ว เป็ นแบบทีต่ อ้ งเก็บ
รัก ษาไว้ตลอดอายุใ ช้งานของอาคารเพื่อ ใช้ป ระโยชน์ ใ นกรณีท่ีจํา ต้องซ่อมแซม แก้ไ ข
ปรับปรุง ดัดแปลง ใช้งาน หรือรือ้ ถอนอาคาร ดังนัน้ ก่อนเตรียมแบบโครงสร้างอาคาร ผู้
คํานวณออกแบบ และผู้เขียนแบบ จะต้องวางแผนอย่างรอบคอบ เพื่อให้แบบยืดหยุ่น
สามารถปรับเปลีย่ นได้ หรือมีผลกระทบน้อยทีส่ ดุ หากต้องปรับเปลีย่ นแปลงแก้ไขดังกล่าว
การเตรียมแบบโครงสร้างอาคารมักมีเวลาจํากัด โดยเฉพาะอาคารซึ่งส่วนใหญ่
เจ้าของโครงการ หรือผูว้ ่าจ้างเป็ น เอกชน จึงเร่งรัดงานคํานวณออกแบบ และเตรียม
แบบ เพื่อ ให้ข นั ้ ตอนการยื่น ขออนุ ญ าตเสร็จ สิ้น โดยเร็ว และอาคารแล้วเสร็จ ทัน ตาม
กําหนดทีไ่ ด้วางแผนไว้เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ ผูค้ ํานวณออกแบบ และผูเ้ ขียนแบบงาน
โครงสร้างอาคารจะต้องเข้าใจสภาพ และพร้อมสําหรับสถานการณ์ดงั กล่าว
ผูค้ าํ นวณออกแบบ และเตรียมแบบต้องรับผิดชอบในแบบ เพราะแบบโครงสร้าง
อาคารทีน่ ําไปก่อสร้างนัน้ หมายถึง ความประหยัดแต่ต้องมันคง ่ แข็งแรง และปลอดภัย
ต่อชีวติ ทรัพย์สนิ สวัสดิภาพ ร่างกายอนามัยของผูอ้ ยูอ่ าศัยในบริเวณข้างเคียง ผูส้ ญ
ั จร
ไปมา ผูก้ ่อสร้างอาคาร และแม้กระทังความรั
่ บผิดชอบในทางกฎหมายของผูอ้ อกแบบเอง

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 17


แบบโครงสร้างอาคาร อาจถูกแยกส่วน (เป็ นสองส่วน หรือมากกว่า) เพื่อนําไปเป็ น
เอกสารประกอบสัญญาจ้างก่อสร้าง ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น เนื่องจากภาวะที่ต้อง
เร่งรัดการก่อสร้าง ดังนัน้ ทันทีท่ผี ่านขัน้ ตอนการขออนุ ญาต โครงการก่อสร้างอาคาร
มากกว่าครึง่ หนึ่งในปจั จุบนั จะแยกสัญญาตอก หรือเจาะเสาเข็ม หรือทํา ฐานรากออก
จากสัญญาก่อสร้างตัวอาคาร โดยจะแยกเอาแบบเกี่ยวข้องกับงานดังกล่าว เช่น แปลน
เสาเข็ม แปลนฐานราก แบบรายละเอียดฐาน และกําแพงกันดิน ไปจัดเตรียมสัญญา
ว่าจ้างผูร้ บั เหมาตอก (หรือเจาะ) เสาเข็ม และก่อสร้างฐานราก ในขณะทีแ่ บบ และงาน
ก่อสร้างส่วนอื่น ๆ ของตัวอาคาร ยังอาจอยูใ่ นขัน้ ตอนการแก้ไข เปลีย่ นแปลง ทบทวน
ประมาณราคา หรือประมูล ดังนัน้ ผูอ้ อกแบบ และผูเ้ ขียนแบบจะต้องพิถพี ถิ นั กับ
แบบเสาเข็ม และฐานรากเป็ น พิเ ศษ โดยแบบดัง กล่า วอาจต้อ งมีร ายละเอีย ดถึง ขัน้
สามารถนําไปใช้ประมาณราคา และก่อสร้างได้ทนั ที ถึงแม้จะเป็ นเพียงขัน้ ตอนการเตรียม
แบบเพื่อยื่นขออนุ ญาต (Permission drawings) ทัง้ นี้เพราะอาจไม่ทนั ได้มเี วลาแก้ไข
ตรวจสอบ หรือทบทวน หรืออาจหลงลืมก็เป็ นได้
แบบโครงสร้างอาคาร อาจจําต้องปรับปรุง เปลีย่ นแปลง แก้ไข หรือดัดแปลงวิธี
แสดงรายละเอียด ให้สอดคล้องกับระบบโครงสร้างทีน่ ํ ามาใช้กบั อาคาร โดยเฉพาะในยุค
ปจั จุบนั ซึ่งวิทยาการ และเทคโนโลยีก่อสร้างพัฒนาทันสมัย ผู้คํานวณออกแบบ และ
ผู้เขียนแบบจําเป็ นจะต้องปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้ าดังกล่าว ระบบ
โครงสร้า งที่นิ ย มใช้ก ัน ในป จั จุ บ นั ได้แ ก่ ระบบแผ่น พื้น คาน ค.ส.ล. หล่อ ในที่
(Conventional cast-in-situ reinforced concrete) ระบบแผ่นพืน้ ค.ส.ล. ไร้คานหล่อในที่
(Cast-in-situ reinforced concrete flat plate or flat slab) ระบบแผ่นพืน้ ไร้คาน
คอนกรีตอัดแรง (Post-tensioning flat slab) ระบบโครงสร้างเหล็ก (Steel structure)
องค์อาคารสําเร็จรูป (Pre-cast or prefabricate system) ซึง่ อาจเป็ นคอนกรีตเสริม
เหล็ก คอนกรีตอัดแรง องค์อาคารเหล็ก หรือเป็ นองค์อาคารผสม
แบบโครงสร้างอาคารอาจคํานวณออกแบบ หรือเตรียมโดยบุคคลหลายฝ่า ย
ขึน้ อยู่กบั ระบบโครงสร้าง รูปแบบ และขัน้ ตอนก่อสร้างซึ่งเป็ นวิธปี ฏิบตั เิ ฉพาะ ดังนัน้
ทุกฝ่ายที่ร่วมกันเตรียมแบบจะต้องทําความเข้าใจกันก่อนลงมือทํางาน เพื่อให้ผลงาน
สอดคล้องกันเป็ นระบบ หรือมาตรฐานเดียวกัน ตัวอย่างเช่น โครงสร้างที่ใช้พน้ื ไร้คาน
ชนิ ดคอนกรีตอัดแรง องค์อาคารส่วนที่เป็ น พื้นไร้ค านชนิดคอนกรีตอัดแรงจะคํานวณ
ออกแบบ และเตรีย มแบบโดยบริษัท ผู้ค้า หรือ รับ จ้า งก่ อ สร้า งพื้น ไร้ค านคอนกรีต
ดังกล่าว ซึ่งแต่ละรายจะมีวธิ กี ารปฏิบตั ิ และเทคนิคพิเศษเฉพาะ ส่วนองค์อาคารอื่น ๆ
ที่เหลือ เช่น คาน เสา บันได ฐานราก อาจคํานวณออกแบบโดยวิศวกรโครงสร้างอีก
บุคคล หรือฝ่ายหนึ่ง ทัง้ สองฝา่ ยจะต้องทราบข้อมูล ซึ่งกันและกัน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 18


และคํา นวณโครงสร้า ง ต้อ งทราบรายละเอีย ดที่จ ะแสดง เพื่อ ให้ส อดคล้อ ง และเป็ น
มาตรฐานเดียวกัน ตัวอย่า งข้อมูลที่ทงั ้ สองฝ่ายจะต้องทราบ และเข้าใจตรงกันได้แ ก่
ความสูงของแต่ละชัน้ และช่องว่าง ความหนาของแผ่นพืน้ ตําแหน่ ง และขนาดช่องเปิ ด
ตําแหน่ ง และขนาดของคานขอบ เหล็กเสริมพิเศษ รอยต่อในแผ่นพืน้ (กรณีทแ่ี ผ่นพืน้
ต้องแยกส่วนในการเทคอนกรีต) หรือแยกโครงสร้างเป็ นส่วน ๆ
แบบโครงสร้างที่ดคี วรมีจํานวนแผ่น จํานวนแปลน รูปตัด และรายละเอียดที่
ครบถ้วน ชัดเจน กะทัดรัด ไม่ฟุ่มเฟื อย สามารถใช้ทําแบบขยาย (หรือแบบขยาย
รายละเอียด) ใช้คดิ ประมาณปริมาณวัสดุ และราคาได้ และใช้ก่อสร้างได้
แบบโครงสร้างทีด่ ดี ต้องสื่อความเข้าใจได้ (ผูเ้ ตรียมแบบ และเขียนแบบจะต้อง
พึงระลึกว่าผูท้ จ่ี ะอ่านแบบเป็ นผูท้ โ่ี ง่เขลาทีส่ ดุ และเกียจคร้านทีส่ ดุ พวกเขาเหล่านัน้ ไม่ม ี
ความพยายาม และไม่มเี วลาทีจ่ ะมาทุม่ เทศึกษาเพื่อทําความเข้าใจแบบ – ผูเ้ ขียน) แบบที่
สามารถสื่อความเข้าใจได้ดรี ะหว่างผูเ้ ตรียม ผูเ้ ขียน และ ผูอ้ ่านจะต้องง่าย ชัดเจน ใช้
สัญลักษณ์ และวิธนี ํ าเสนอที่ได้มาตรฐาน ซึ่งยอมรับ และปฏิบตั กิ นั ทัวไป ่ เพราะผูอ้ ่าน

แบบมีหลายระดับ หลายฝาย ได้แก่ ผู้คํานวณออกแบบ ผูเ้ ขียนแบบ ผูป้ ระมาณการ
ผู้รบั เหมาก่อสร้าง ผู้ว่าจ้าง หรือเจ้าของอาคาร เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบตั กิ าร เช่น
ช่างเทคนิค หัวหน้ าช่างไม้ ช่างเหล็ก หน่ วยงาน ราชการที่มหี น้ าที่เกี่ยวข้องในการ
ตรวจสอบ อนุมตั ิ และควบคุมดูแลการก่อสร้าง การใช้งานอาคาร สถาปนิก และวิศวกร
งานระบบอื่น ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง
ตามนิยมปฏิบตั ใิ นประเทศไทย ต้องเรียงลําดับแบบสอดคล้องกับลําดับขัน้ ตอน
ก่อสร้าง องค์อาคารใดทีจ่ ะต้องก่อสร้างก่อนก็ควรอยู่ในลําดับแรก ๆ เช่น แปลนเสาเข็ม
จะต้องอยูใ่ นลําดับก่อนแปลนหลังคา แปลนพืน้ คานชัน้ ที่ 2 จะต้องอยูใ่ นลําดับก่อนแปลน
พืน้ คานชัน้ ที่ 3 เป็ นต้น
แบบโครงสร้างต้องใช้มาตราส่วนทีถ่ กู ต้องตามกฎหมายดังกล่าวแล้วข้างต้น กรณี
ที่กฎหมายไม่ได้กําหนด เช่น แบบขยายรายละเอียดต่าง ๆ จะต้องใช้มาตราส่วนที่
เหมาะสม โดยคํานึงถึงความสําคัญของรูปแบบรายละเอียดทีจ่ ะแสดง ซึง่ จะต้องเหมาะสม
ชัดเจนพอทีผ่ อู้ ่านเข้าใจได้ นอกจากนัน้ แบบโครงสร้างทีด่ ตี อ้ งมีสารบัญแบบ (Table of
content or list of drawings) และหมายเหตุประกอบแบบ (General notes) ให้
ตรวจสอบ สืบค้น อ่าน และอ้างอิงได้สะดวก รายละเอียดซึง่ เป็ นสาระสําคัญจําเป็ นหาก
สมควร หรืออยูใ่ นวิสยั ทีท่ าํ ได้กค็ วรระบุโดยสังเขปไว้ในแบบแทนที่ จะอ้างอิงให้ผอู้ ่านแบบ
เสียเวลาค้นหาจากรายการประกอบแบบ (Specification) เช่น กําลังอัดประลัยของ
คอนกรีต กําลังครากของเหล็กเสริม กําลังปลอดภัยของเสาเข็ม กําลังแบกทานปลอดภัย

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 19


ของดิน หน่ วยนํ้ าหนักต่อความยาวของเหล็กรูปพรรณ ระยะหุ้ม การฝงั ยึดปลายเหล็ก
เสริม หรืออื่น ๆ (รูปที่ 7)
จะต้องตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของแบบก่อนทีจ่ ะใช้ก่อสร้างจริง
และถึงแม้ในขัน้ ตอนการก่อสร้างจริง หากมีความจําเป็ นอื่นใดที่ต้องกระทําเพื่อความ
มันคงแข็
่ งแรงของโครงสร้าง เพือ่ ประโยชน์ใช้สอย หรือเพือ่ หลีกเลีย่ งอุปสรรคอื่นใด ก็ยงั
ต้องสามารถแก้ไขเปลีย่ นแปลงได้ตามความจําเป็ น ความผิดพลาดอาจเกิดได้เสมอ แม้จะ
ได้ตรวจสอบรอบคอบแล้ว เมื่อพบข้อผิดพลาดต้องรีบแก้ไข มีบุคคลหลายฝ่ายทีจ่ ะช่วย
ตรวจสอบข้อผิดพลาดของแบบโครงสร้างอาคาร ได้แก่ ผูค้ ํานวณออกแบบ หรือผูเ้ ขียน
แบบ ผู้ป ระมาณการ ผู้ ร ับ เหมาก่ อ สร้า ง สถาปนิ ก หรือ วิศ วกรงานระบบอื่น ๆ
เจ้าหน้าทีข่ องรัฐ หน่วยงานราชการ ซึง่ มีอาํ นาจหน้าที่ กํากับดูแล

รูปที่ 7 ตัวอย่างหมายเหตุทวไปประกอบแบบ
ั่

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 20


6. กระดาษ และมาตราส่วน
ขนาดของแบบ หรือขนาดของกระดาษ ขึน้ อยู่กบั ขนาดแปลนของอาคาร หรือ
โครงสร้าง ซึง่ เขียนตามมาตราส่วนทีก่ ฎหมายกําหนดแล้ว จะความเหมาะสมพอดีกบั ขนาด
ของกระดาษ ขนาดมาตรฐานของกระดาษ (ตารางที่ 10.5)

ตารางที่ 5 ขนาดมาตรฐานของกระดาษ หรือแบบ


ขนาด กว้าง, มิลลิเมตร ยาว, มิลลิเมตร
A3 297 420
A2 420 594
A1 594 841
A0 841 1,189

ควรพับ แบบอย่ า งมีว ตั ถุ ป ระสงค์ อาทิเ ช่ น พับ เพื่อ รวมยื่น ขออนุ ญ าตพร้อ ม
รายการคํานวณ จะต้องเป็ นไปตามวิธี หรือรูปแบบทีท่ างราชการกําหนด หรือปฏิบตั ิ อีก
วัตถุประสงค์หนึ่งคือ พับเพื่อเก็บรักษา (นอกเหนือจากเก็บรักษาโดยวิธกี ารม้วน หรือเข้า
เล่ม) หรือพับโดยเก็บรักษาในแฟ้มเอกสาร วิธนี ้ีจะต้องเผื่อส่วนขอบของแบบทีจ่ ะต้องร้อย
ห่วง และสามารถคลีอ่ อกดูได้ โดยไม่ตอ้ งนําออกจากแฟ้ม (รูปที่ 8)
มาตราส่ ว นสํ า หรับ รายละเอี ย ดบางอย่ า ง กํ า หนดโดยกฎหมาย หาก
นอกเหนือจากนัน้ ก็ขน้ึ อยู่กบั ความจําเป็ น หรือเหมาะสมของแบบ หรือรายละเอียดทีจ่ ะ
แสดง อาทิเช่นแปลน ปกติใช้มาตราส่วน 1: 100 แปลนอาจมีมาตราส่วนเล็กกว่านี้ได้
เช่นกรณีอาคารมีความยาวมาก แต่ทงั ้ นี้ ต้องไม่เล็กกว่า 1: 200 หากย่อมาตราส่วนแล้วยัง
ไม่สามารถแสดงในแผ่นเดียวกันได้ ปกติจะแบ่งแสดงในแผ่นถัดไป โดยทําเส้น หรือ
ตําแหน่ งทาบ (Match line) ไว้ รูปด้าน และรูปตัด ปกติใช้มาตราส่วน 1: 100 หรือ
สอดคล้องกับแปลน ส่วนรูปขยายรายละเอียด รูปตัดขวาง และรูปตัดตามยาวของคาน พืน้
ฐานราก และรูปหน้าตัดของเสา มักใช้มาตราส่วน ระหว่าง 1: 10 ถึง 1: 25
กรอบระเบียนแบบ (Title block) มีรายละเอียดทีเ่ กีย่ วแก่ ชื่อเจ้าของอาคาร ชื่อ
หรือบริษทั ผูอ้ อกแบบสถาปตั ยกรรม ผูค้ ํานวณโครงสร้าง และระบบวิศวกรรมต่างๆ ชื่อ
ผู้เขียนแบบ ตรวจสอบแบบ หรือผู้ลงนามอนุ มตั แิ บบ ชื่อแบบ (Drawing title)
หมายเลขแบบ หรือระเบียน (Drawing No.) และเลขลําดับแผ่น (Sheet No.) วันทีท่ ่ี
เขียนแบบ หรือส่งแบบ หมายเหตุ การแก้ไข และวันทีแ่ ก้ไข (Revision and date)
อื่น ๆ ทีจ่ าํ เป็ น เช่น ข้อความระบุลขิ สิทธิ ์ของแบบ หมายเหตุ เรื่อง หน่วยวัด มาตรา
ส่วน ปกติกรอบระเบียน มีสอง รูปแบบ คือ กรอบระเบียนตามตัง้ หรือตามนอน

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 21


ขึ้น อยู่ก ับ มาตรฐานของหน่ ว ยงาน หรือ องค์ก รที่เ ป็ น เจ้า ของงาน หรือ ผู้ว่ า จ้า ง หรือ
ผู้อ อกแบบ (รูป ที่ 9) กรอบระเบีย นแบบอาจใช้วิธีก ารเขีย น หรือ พิม พ์ล งกระดาษไข
ต้นฉบับ (แผ่นต่อแผ่น) หรือพิมพ์เป็ นเป็ นแผ่นลอก (Sticker) แล้วผนึกบนกระดาษไข
ต้นแบบในภายหลัง บางครัง้ อาจพิมพ์ระเบียน ลงบนกระดาษไขคราวละมาก ๆ ตัดเป็ น
แถบ มาต่อเข้ากับแบบโดยใช้เทป (Magic tape)

A0

841x1189

A1

594x841

A2

420x594

A2

42 0x594

A3

297x420

รูปที่ 8ก ตัวอย่างการพับแบบเพือ่ เก็บรักษา

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 22


10 5

A0
297
841x 1189

297

210 Eq Eq 190 190 190 190

105

297
A1

594x 841
297

Eq Eq 190 190
210

105

297
A2

420x594
297

Eq Eq 190
20

105

A3
2 97
420x297

210 192

A4
297x420 297

Eq Eq
20 190

รูปที่ 8ข ตัวอย่างการพับแบบเพือ่ เก็บใส่แฟ้ม

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 23


Revision suffix
Date of revision
Initial revision details

Architect/ Engineer/ Planner

Job architect
Job title

120 mm

Job No. Drawing No.

Revision suffix

Scale Date Drawn Checked

90 mm
รูปที่ 9ก รูปร่าง และขนาดกรอบระเบียนแนวตัง้ แบบตามมาตรฐาน BS 1192

Revision
Architect/ Engineer/ Planner Drawing title

Job title Job No.. Drawing No.


60 mm
Revision suffix
Scale Datee Drawn Checked

180 mm
รูปที่ 9ข รูปร่าง และขนาดกรอบระเบียนแนวนอนแบบตามมาตรฐาน BS 1192 (ต่อ)

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 24


7. ระบบพิ กดั ฉาก
ระบบพิกดั ฉาก ทีใ่ ช้อา้ งอิง หรือบอกตําแหน่ งองค์อาคาร ปกตินิยมถือตามแบบ
ประณีตสถาปตั ยกรรม ทัวไปมี ่ หลักปฏิบตั โิ ดยบอกเส้นพิกดั หลักด้วยตัวเลข 0 1 2 3 …
ฯลฯ ในแกนหนึ่ง และบอกด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ของภาษาอังกฤษ A, B, C, …, AA,
BB, CC ฯลฯ (หรือภาษาไทย ก, ข, ค, …) ในอีกแกนหนึ่ง ระหว่างแต่ละเส้นพิกดั หลัก
อาจจําเป็ นต้องมีเส้นพิกดั ย่อย ๆ เช่น ระหว่างเส้นพิกดั 1 และ 2 อาจใช้เป็ น 1.1, 1.2, 1.3
ฯลฯ หรืออาจใช้ 1’, 1” หรือระหว่างเส้นพิกดั M และ N อาจแทรกด้วย M’ หรือ M” เป็ น
ต้น ควรยึดถือการบอกระยะตามแบบสถาปตั ยกรรมอย่างเคร่งครัด ต้องแน่ ใจว่าระยะที่
แสดงในแบบนัน้ เป็ น ระยะระหว่างศูน ย์กลาง ระยะจากศูน ย์ก ลางถึงขอบ หรือ ระยะ
ระหว่างขอบ หากจําเป็ นอาจแบ่งระยะที่แสดงเป็ นส่วนย่อย ๆ เพื่อให้ผู้อ่านแบบทราบ
รายละเอีย ดมากยิ่งขึ้น ก็ไ ด้ แต่ผ ลรวมของระยะย่อ ย ๆ เหล่า นัน้ จะต้อ งเท่า กับ ระยะ
ทัง้ หมดทีแ่ สดงไว้เดิม เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด และตรวจสอบระยะทีแ่ บ่งเป็ นส่วนย่อย ๆ
ได้งา่ ย อาจแสดงบอกด้วยเส้นแสดงระยะทีแ่ ยกต่างหากจากเส้นแสดงระยะรวมเดิม (รูปที่
10)

รูปที่ 10 ตัวอย่างเส้นบอกพิกดั และระยะ

8. ลําดับแบบ
ลําดับแบบ (Order of drawings) ทีน่ ิยมปฏิบตั ใิ นประเทศไทย แบบ
โครงสร้างอาคารถือลําดับก่อนหลัง ตามขัน้ ตอนก่อสร้างจริงเป็ นเกณฑ์ ดังนัน้ โดยทัวไป่
แบบโครงสร้างอาคารจะมีลาํ ดับ ดังต่อไปนี้ ปกแบบ (Cover) สารบัญแบบ (List of
drawing) หมายเหตุทวไปประกอบแบบ
ั่ (General notes)
ต่อจากนัน้ จะเป็ นแปลนต่าง ๆ ได้แก่ แปลนเสาเข็ม (Piling layout plan –
บางครัง้ อาจแสดงรวมกับแปลนฐานราก - ดูหวั ข้อถัดไป) แปลนฐานราก (Pile cap or
footing plan) แปลนคานพืน้ ชัน้ ใต้ดนิ (Basement floor plan) กรณีมชี นั ้ ใต้ดนิ (อาจมี
ชัน้ เดียว หรือหลายชัน้ ) แปลนคานพืน้ ชัน้ ล่าง (Ground floor plan) แปลนคานพืน้ ชัน้ ที่

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 25


1 (1st Floor plan) แปลนคานพืน้ ชัน้ ที่ 2 (2nd Floor plan) เรื่อยไปตามลําดับ
จนกระทัง่ แปลนคาน และพืน้ ชัน้ ก่อนหลังคา แปลนคานพืน้ ชัน้ หลังคา หรือแปลนโครง
หลังคา (Roof plan)
ถัดจากแปลน จะเป็ นแบบรายละเอียดองค์อาคารต่าง ๆ ได้แก่ ฐานราก เสา คาน
แผ่นพืน้ ทางลาด หรือบันได รายละเอียดโครงหลังคา แบบขยาย และรายละเอียดอื่น ๆ
อนึ่ง บางครัง้ แทนทีจ่ ะเรียกชัน้ ที่ 1, 2, 3 ฯลฯ อาจระบุเป็ นค่าระดับแทน เช่น
แปลนคานพืน้ ทีร่ ะดับ +0.00, +3.50, +6.00 เป็ นต้น วิธเี ช่นนี้เหมาะสําหรับอาคารที่ม ี
หลายระดับ หรือมีระดับชัน้ เยื้องกัน เช่น อาคารที่จอดรถ เป็ นต้น และสําหรับแบบ
โครงสร้างของคาน หรือแผ่นพื้นบางระบบ ได้แก่แผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง จะมี
แปลนพืน้ ชัน้ เดียวกันมากกว่า 1 แผ่น คือ แปลนประกอบรูปตัดแสดงตําแหน่ งค่าระดับ
ของลวดอัดแรง (Tendon profile) และแปลนเหล็กเสริม ดังนัน้ การเรียงลําดับแบบก็จะต้อง
กระทําควบคู่กนั ไป เช่น “24th Floor Plan (Tendon profile), 24th Floor Plan (Mild
steel reinforcement)” เป็ นต้น
การกําหนดมิติ และระดับขององค์อาคารต้องสัมพันธ์กบั ความหนาของผิวงาน
ตกแต่ง ต้องแน่ ใจว่า มิตขิ ององค์อาคารที่แสดงในแบบประณีตสถาปตั ยกรรมนัน้ รวม
ความหนาของผิวงานตกแต่ง (เช่น ปูนฉาบ หรือกระเบือ้ งบุผวิ ) ด้วยหรือไม่ เพราะมิ
เช่นนัน้ แล้ว มิติ และระดับต่าง ๆ จะคลาดเคลื่อนจากทีเ่ ข้าใจ

9. การตัง้ ชื่อขององค์อาคาร
การตัง้ ชื่อองค์อาคารไม่มหี ลักเกณฑ์ตายตัวแน่ นอน ขึ้นอยู่กบั ความพึงพอใจ
หรือผูอ้ อกแบบเห็นสมควร อย่างไรก็ตาม เพือ่ เข้าใจง่ายมีแนวทาง และข้อแนะนําดังนี้
ปกติมกั ใช้ใช้อกั ษรย่อ “F” แทนฐานราก ตามด้วยตัวเลข หากจะระบุตวั เลขให้
แสดงจํานวนเสาเข็มก็จะเข้าใจ และจดจําง่าย เช่น “F-1” หมายถึงฐานรากทีม่ เี สาเข็มต้น
เดียว หรือ “F-4” หมายถึงฐานรากทีม่ เี ข็ม 4 ต้น” กรณีทม่ี ฐี านรากทีใ่ ช้จาํ นวนเสาเข็ม
เท่ากันแต่มขี นาดมิตแิ ตกต่างกัน หรือใช้จํานวนเสาเข็มเท่ากันแต่มขี นาด หรือใช้เข็มคน
ละชนิด หรือคนละขนาดกัน อาจใช้อกั ษรย่อระบุต่อท้าย แล้วมีหมายเหตุกํากับไว้ใน
แปลนฐานราก อาทิ “F-2A” หรือ “F-2B” ต่างหมายถึงฐานรากทีม่ เี ข็มสองต้น โดยทัง้ นี้
จะต้องมีหมายเหตุระบุไว้เช่น “A: เสาเข็มเจาะ เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.80 เมตร กําลัง
ปลอดภัย 120 ตันต่อต้น และ B:– เสาเข็มเจาะ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.00 เมตร กําลัง
ปลอดภัย 220 ตันต่อต้น” เป็ นต้น

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 26


ควรระบุค่าระดับหัวเสาเข็ม หรือระดับหลังฐานรากกํากับไว้ท่ฐี านรากแต่ละตัว
หรือทีห่ มายเหตุใต้ช่อื แปลน เช่น “ระดับหัวเสาเข็มทุกต้นมีค่า -0.15 เว้นแต่จะระบุเป็ น
อย่างอื่น (Top elevation of all piles is -0.15 unless otherwise shown)” หรือ
บางกรณีอาจระบุระดับหลังฐานรากแทนเช่น “ระดับหลังฐานรากทุกตัวมีค่า +1.20 เว้นแต่
จะระบุให้เป็ นอย่างอื่น (Top elevation of all pile cap is +1.20 unless otherwise
shown)” ทัง้ นี้ ผูอ้ ่านแบบจะต้องดูรายละเอียดของฐานราก (ในแผ่นอื่น ๆ) ประกอบ
เพื่อที่จะหาค่าระดับหัวเสาเข็มได้ อย่างไรก็ตามแบบรายละเอียดแต่ละแผ่น ควรครบถ้วน
สมบูร ณ์ ใ นแผ่น นัน้ เอง ดังนัน้ การระบุ ร ะดับหัว เสาเข็ม ในแปลนฐานรากย่อ มครบถ้ว น
สมบูรณ์เพียงพอทีจ่ ะใช้แปลนดังกล่าวทํางานตอกเสาเข็มได้ (รูปที่ 11)

รูปที่ 11 ตัวอย่างแปลนเสาเข็มและฐานราก (ไม่ได้มาตราส่วน)

การเรียกชื่อเสาปกติใช้อกั ษร “C” แทนเสา ส่วนการให้รายละเอียดเสา ปกติม ี


สองวิธี ซึ่งใช้ระบบรูปภาพประกอบตาราง แต่มขี ้อแตกต่างกันคือ แบบแรก ให้เสาต้น

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 27


เดียวกันจะมีช่อื เหมือนกันทุก ๆ ชัน้ (อาจมีหมายเลขชัน้ ระบุต่อท้าย เช่น เสา C-1 ชัน้ ที่
5 อาจเขียนว่า 1-C-5) ขนาดหน้าตัด และรายละเอียดเหล็กเสริม จะเปลีย่ นแปลงไปได้
ตามความจําเป็ น หรืออีกแบบหนึ่ง ตัง้ ชื่อเสา โดยมีรายละเอียดรูปหน้าตัดเสาพร้อมเหล็ก
เสริม แล้วเลือกใส่ในพิกดั หรือชัน้ ต่าง ๆ (รูปที่ 12) นอกจากเหล็กเสริมในเสา จะระบุ
จํานวนเหล็กยืน และเหล็กปลอก กรณีเหล็กปลอกมีหลายวง อาจแสดงรูปเหล็กปลอกแยก
ออกมาจากรูปตัดประกอบ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเหล็กปลอกเหล่านัน้ มีรูปร่าง หรือผูกรัด
เหล็กยืนอย่างไร กรณีทเ่ี หล็กยืนมีสองขนาดขึน้ ไป อาจใช้สญ ั ลักษณ์ หรือแรเงา (Shade)
ช่วยสือ่ ความเข้าใจได้ (รูปที่ 13)

ก. แบบทีห่ นึ่ง

รูปที่ 12 ตัวอย่างรายละเอียดเสา

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 28


ข. แบบทีส่ อง

รูปที่ 12 ตัวอย่างรายละเอียดเสา (ต่อ)

รูปที่ 13 ตัวอย่างรายละเอียดเหล็กยืนต่างขนาด และเหล็กปลอกหลายวงในหน้าตัดเสา

ส่วนผนัง ค.ส.ล. ใช้อกั ษร “W” แทนชื่อผนัง ค.ส.ล. ด้วยตัวเลข เช่น W-1, W-2
ฯลฯ โดยเขียนรูปตัดแสดงมิติ และเหล็กเสริมพอสังเขป แล้วมีตารางแสดงรายละเอียด
กํากับ (รูปที่ 14)

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 29


รูปที่ 14 ตัวอย่างการแสดงรายละเอียดผนัง ค.ส.ล

ชื่ อ คาน ปกติ แสดงในแปลน นอกนั ้น อาจแสดงในรู ป ตัด หรือ รู ป ขยาย


รายละเอียดได้ ปกติจะต้องระบุช่อื คานระหว่างทีร่ องรับทุกช่วง ใช้อกั ษร “B” แทนคาน อาจ
มีอกั ษรเติมข้างหน้า (Prefix) เพื่อแสดงตําแหน่ งของคาน และตัวเลขกํากับแสดงหมายเลข
ของคาน เช่น “GB-1” หมายถึงคานชัน้ พืน้ (Ground beam) ตัวที่ 1 หรือ B-2
หมายถึงคานชัน้ ทัว่ ๆ ไป ตัวที่ 2 หรือ RB-3 หมายถึงคานชัน้ หลังคา (Roof beam)
ตัวที่ 3 หรือ WB-4 หมายถึงคานรองรับกําแพง (Wall beam) ตัวที่ 4 หรือ STB-5
หมายถึงคานรับบันได (Staircase beam) ตัวที่ 5” เป็ นต้น (รูปที่ 15) บางครัง้ ใช้อกั ษร
กํากับต่อท้ายหมายเลขคาน เพื่อแสดงลักษณะพิเศษ เช่น “RB-2A” หมายถึงคานปลาย
ยื่นทีต่ ่อออกไปจากคาน RB-2 หรือ “GB-6X” หมายถึงคานทีม่ ลี กั ษณะคล้ายคาน GB-6
แต่มขี อ้ แตกต่างกันบางประการ เช่น มีระยะเรียงของเหล็กปลอกต่างกัน เสริมเหล็กพิเศษ
หรือมีความกว้างแตกต่างกัน” เป็ นต้น

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 30


รูปที่ 15 ตัวอย่างผังพืน้ คาน

กรณีในแปลนพืน้ คาน ปรากฏแนวคานฝาก หรือตัดกันในลักษณะทีย่ งุ่ ยาก ควร


เขียนแนวลูกศรใต้ช่อื คาน ระบุขอบเขตของคานบางตัวให้ชดั เจน (รูปที่ 16)

รูปที่ 16 ตัวอย่างการใช้ลกู ศร และค่าระดับระบุตาํ แหน่ง และขอบเขตคาน

การบอกค่าระดับหลังคานทําได้สามวิธี คือ เขียนค่าระดับหลังคานแต่ละตัวไว้ใน


วงเล็บกํากับท้ายชื่อคาน เช่น “RB-1 (+6.30)” หรือเขียนหมายเหตุกํากับ เพื่อระบุระดับ

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 31


หลังแผ่นพืน้ หรือคานส่วนใหญ่ไว้ดา้ นล่างของแปลนพืน้ คาน (ส่วนแผ่นพืน้ หรือคานบาง
ตัวทีอ่ าจมีระดับแตกต่างไป ก็ให้ระบุโดยวงเล็บท้ายชื่อคานดังวิธขี า้ งต้น) เช่น “ระดับหลัง
แผ่นพืน้ และคานทุกตัวมีค่า +6.30 เว้นแต่ระบุเป็ นอื่น (Top elevation of all slabs and
beams is +6.30 unless otherwise shown)”
ปกติระบุช่อื แผ่นพืน้ ทุกแผ่น และบันไดทุกตัวในแปลน เช่นเดียวกับคาน โดยใช้
อักษร “S” แทนแผ่นพืน้ และ “ST” แทนบันได และใช้หลักการเดียวกันกับการตัง้ ชื่อคาน
คือใช้ตวั อักษรเพื่อระบุตําแหน่ งแผ่นพืน้ เช่น”GS-1” (แผ่นพืน้ ชัน้ ล่าง ผืนที่ 1) “S-1” (แผ่น
พืน้ ทัวไป
่ ผืนที่ 2) “RS-3” (แผ่นพืน้ ชัน้ หลังคาแบบที่ 3) “ST-4” (บันไดตัวที่ 4) เป็ นต้น
การบอกระดับหลังแผ่นพื้นใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการบอกระดับหลังคานดังที่กล่าวแล้ว
ข้างต้น ส่วนบันได ซึ่งเปลี่ยนแปลงระดับตามลูกขัน้ ต่าง ๆ ควรแสดงในแบบขยาย
รายละเอียด
กรณีองค์อาคารซ้อนกันในแปลนพืน้ คานชัน้ เดียวกัน เช่น มีคานสองระดับวาง
ซ้อนกัน หรือมีพน้ื อยูใ่ ต้บนั ได มีพน้ื สองระดับ ระบุรายละเอียดได้โดยเขียนชื่อคานตัวบน
เหนือ และล่าง โดยมีเส้นคัน่ และระบุระดับหลังคานทัง้ สองตัว ส่วนกรณีพน้ื ซ้อนกันสอง
ระดับ ใช้หลักการเดียวกัน และกรณีมพี น้ื ใต้บนั ได ระบุช่อื บันไดเหนือชื่อพืน้ และระบุ
ระดับหลังพืน้ (รูปที่ 17)

รูปที่ 17 ตัวอย่างรายละเอียดองค์อาคารทีซ่ อ้ นกันในแปลนเดียวกัน

ณ บริเวณจุดตัดของคานไม่ควรเขียนเส้นคู่ (ซึง่ แสดงความกว้างคาน) ตัดกัน


เพราะอาจทําให้ผูอ้ ่านแบบเข้าใจผิดพลาดว่ามีเสา หรือตอม่อขนาดกว้างยาวเท่ากับหน้า
กว้างของคานรองรับใต้คานทัง้ สองแนว ณ จุดตัด ควรแสดงโดยใช้เส้นเปิดแทน (รูปที่ 18)
บางส่วนขององค์อาคาร ยุง่ ยากซับซ้อน จําต้องทําแบบขยายแสดงรายละเอียด
เช่น รอยต่อระหว่างคานสอง ขนาด ซึง่ มีความลึกไม่เท่ากัน รอยต่อระหว่างเสา ซึง่ วาง
หรือตัง้ อยูบ่ นคาน สิง่ ทีจ่ าํ เป็ นจะต้องมีในแบบขยายรายละเอียด ประกอบด้วย พิกดั ฉาก
ระดับอ้างอิง เช่น ระดับหลังคาน ระดับหลังพืน้ มิติ รายละเอียดเหล็กเสริม และอื่น ๆ
ทัง้ นี้ เพื่อให้ผใู้ ช้แบบทราบตําแหน่ งทีถ่ ูกต้องขององค์อาคาร และรายละเอียดขยายทีม่ ไิ ด้
ปรากฏในแบบทัว่ ๆ ไป เช่น แปลน รูปตัด

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 32


ก. คาดตัดกัน มีตอม่อ หรือเสารองรับ ข. คานตัดกัน ปราศจากตอม่อ หรือเสารองรับ

รูปที่ 18 ตัวอย่างแปลนคาน ณ ตําแหน่งทีค่ านตัดกัน

10 การระบุเหล็กเสริ ม และรายละเอียดอื่น ๆ ในองค์อาคาร


ในทีน่ ้ีจะกล่าวถึง วิธรี ะบุเหล็กเสริมในองค์อาคารโดยสังเขป ดังนี้
เหล็กเสริม และรายละเอียดในฐานราก เหล็กเสริมต้านทางแรงดึง (เหล็กตะแกรง)
ทีผ่ วิ ล่างของฐานราก บอกโดยระบุขนาดของเหล็กเสริม และระยะเรียง เช่น “DB 20 @
0.20” “DB 20 @ 0.20#” หรือบอกโดยระบุขนาดของเหล็กเสริม และจํานวนเส้น เช่น
“24-DB 20” “24-DB 20#” ส่วนเหล็กรัดรอบ กรณีมเี ส้นเดียวบอกขนาดเหล็ก โดยตรง
เช่น “DB 12 Tie” แต่หากมีเหล็กรัดรอบหลายเส้นระบุขนาดเหล็ก และระยะเรียง เช่น
“DB 12 @ 0.15” หรืออาจบอกโดยระบุขนาดเหล็ก และจํานวนรอบ เช่น “4-DB 12 Tie”
หากเป็ นฐานรากวางบนดิน หรือหิน (ฐานรากปราศจากเสาเข็ม) ให้ระบุแรงแบก
ทานปลอดภัย (Safe bearing capacity) ของดิน หรือหิน กํากับไว้ตวั อย่างเช่น “Existing
ground, Safe bearing capacity 20 ton/m2” (รูปที่ 19)

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 33


รูปที่ 19 ตัวอย่างรายละเอียดฐานแผ่

หากเป็ นฐานรากวางบนเสาเข็ม ให้ระบุค่านํ้าหนักปลอดภัยต่อต้น โดยไม่ตอ้ งใช้


เครื่องหมายมากกว่า (>) มากกว่าหรือเท่ากับ ( ≥ ) หรือไม่น้อยกว่า กํากับ ทัง้ นี้ เพื่อ
หลีกเลีย่ งความเข้าใจสับสนคลุมเครือ ตัวอย่างเช่น “2- PC Pile [ ] 0.40 x0.40 m Safe
load 60 ton/pile” (รูปที่ 20)
อาจแสดงรายละเอียด ทัง้ ฐานรากวางบนดิน หรือฐานรากวางบนเสาเข็ม โดยใช้
ระบบรูปภาพร่วมกับตาราง ก็ได้ (รูปที่ 21)

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 34


รูปที่ 20 ตัวอย่างรายละเอียดฐานรากวางบนเสาเข็ม

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 35


รูปที่ 21 ตัวอย่างการแสดงรายละเอียดฐานรากโดยใช้รปู ภาพร่วมกับตาราง

กําแพงต้านทานแรงทางด้านข้าง หรือถังเก็บนํ้ า ควรแสดงแปลน หรือผังของ


กําแพง หรือถังนํ้า ซึง่ ประกอบด้วย ตําแหน่ง หรือพิกดั ของถัง ขอบเขต มิติ ผังคานพืน้ ชัน้
บน (Top plan) ผังคานพืน้ ชัน้ ล่าง (Bottom plan) ผังฐานราก หรือเสาเข็ม (กรณีวางบน
เสาเข็ม) รวมทัง้ แสดงระดับในผังดังกล่าว ส่วนรายละเอียดผนัง ค.ส.ล. ประกอบด้วย แสดง
รูปตัด กําแพง แผ่นพืน้ ล่าง แผ่นพืน้ บน (มิติ และระดับ) เสาเข็มหรือฐานราก คานรับแผ่น
พืน้ บน คานรับแผ่นพืน้ ล่าง ช่องเปิดในแผ่นพืน้ บน และฝาถัง (หากมี) เหล็กเสริมในกําแพง
เหล็กเสริมในแผ่นพืน้ ล่าง แผ่นพืน้ บน เหล็กเสริมในเสาเข็ม หรือฐานราก เหล็กเดือย เหล็
เสริมในคานรับแผ่นพืน้ บน คานรับแผ่นพืน้ ล่าง ตามความจําเป็ น ตําแหน่ง มิตขิ องรอยต่อ
ก่อสร้าง (Key joint) แผ่นกัน้ นํ้า (Water stop) รายละเอียดการพอกมุม (Fillet) และเหล็ก
เสริมทีบ่ ริเวณมุม และอื่น ๆ ตามควรแก่กรณี (รูปที่ 22)
เหล็กเสริมในผนัง หรือกําแพง ค.ส.ล. อาจระบุขนาดเหล็กเสริม และระยะเรียง ทัง้
เหล็กยืน และเหล็กทางนอน เช่น “DB 12 @ 0.20” หรือบอกจํานวนเส้นของเหล็กยืน และ
เหล็กนอน เช่น “24-DB 16” หรือใช้ทงั ้ สองวิธปี ระกอบกัน อนึ่ง การให้รายละเอียดเหล็ก
เสริมในผนังต้านแรงเฉือน อาจใช้ระบบตารางคล้ายคลึงกับเสา
กรณีกําแพงเสริมเหล็กสองขนาด วางเรียงสลับกันเส้นเว้นเส้น ก็สามารถระบุ
ระยะเรียงได้ ตัวอย่างเช่น“DB 16 @ 0.30 + DB 12 @ 0.30 ALT” แสดงว่าจะมีเหล็กวาง

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 36


เรียงกัน (รูปที่ 23) จากรูป เหล็กเสริมสองขนาด ต่างมีระยะเรียง S เมื่อรวมกันแล้วจะได้
เหล็กเสริมที่มรี ะยะเรียง S/2 โดยวางแทรกสลับกันเส้นเว้นเส้น ต้องระมัดระวังว่าขนาด
จํา นวนเหล็ก หรือ ระยะเรียงของเหล็กเสริม ที่เขียนแสดงนัน้ เหมือนกัน ทัง้ สองผิว ของ
กําแพงหรือไม่ เพราะบางกรณีขนาด จํานวนเหล็ก หรือระยะเรียงทัง้ สองผิวของกําแพงจะ
แตกต่างกันได้

รูปที่ 22 ตัวอย่างรายละเอียดเหล็กเสริมในกําแพงถังเก็บนํ้าใต้ดนิ

รูปที่ 23 ตัวอย่างเหล็กเสริมต่างขนาด ทีว่ างแทรก หรือสลับกัน

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 37


เหล็กเสริมในคาน ให้เขียนกํากับในรูปตัดตามยาว และรูปตัดขวางของคาน
คานแต่ละตัว หรือแต่ละช่วง ควรมีรปู ตัดตามขวางอย่างน้อยสองแห่ง เหล็กเสริมทีว่ งิ่ ยาว
ตลอด (Through) ในคานควรระบุทงั ้ จํานวนเส้น และขนาดเหล็กเสริม เช่น “2-DB 12” หรือ
“2-DB 12 + 1-DB 12” เหล็กทีเ่ สริมเป็ นบางส่วน หรือเหล็กเสริมพิเศษ ระบุจาํ นวนเส้น
ขนาด และการระบุความยาวของเหล็กเสริมพิเศษนี้ในรูปตัดตามยาว (อ้างอิงกับพิกดั ฉาก)
จะทราบตําแหน่งของเหล็กเสริมอย่างชัดเจนกว่าการระบุในรูปตัดขวาง เช่น “2-DB 12 x
2.50 m” หากจะต้องเสริมเหล็กปลอกคู่กม็ จี าํ นวนเส้นกํากับข้างหน้า ตัวอย่างเช่น “2-RB 9
@ 0.10” (รูปที่ 24)

ก. คานช่วงเดียว (ไม่ได้มาตราส่วน)

รูปที่ 24 ตัวอย่างรายละเอียดเหล็กเสริมคาน

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 38


ข. คานต่อเนื่อง (ไม่ได้มาตราส่วน)

รูปที่ 24 แสดงตัวอย่างรายละเอียดเหล็กเสริมคาน (ต่อ)

เหล็กเสริมในรูปตัดแผ่นพืน้ ให้ระบุขนาด และระยะเรียง อาทิ “RB 9 @ 01.5”


เหล็กเสริมพิเศษ ให้ระบุขนาด ความยาว และระยะเรียง โดยแสดงตําแหน่งของเหล็กในรูป
ตัด เทียบกับระบบพิกดั ฉาก คล้ายคลึงกรณีบอกรายละเอียดเหล็กเสริมพิเศษในคาน เช่น
“RB 9 x 2.50 m @ 0.15 “ กรณีมเี หล็กเสริมสองขนาด ใช้วธิ กี ารคล้ายคลึงกับเหล็กเสริม
ในกําแพง ตัวอย่างเช่น “RB 9 @ 0.30 + RB 6 x 2.50 @ 0.30 ALT. หรืออาจระบุวา่
“RB 9 @ 0.30 THROUGH + RB 6 x 2.50 @ 0.30” เป็ นต้น (รูปที่ 10.25) ทุกมุมของ
แผ่นพืน้ สองทางจะต้องมีเหล็กเสริมพิเศษทัง้ สองผิว โดยอาจเสริมขนานด้าน หรือทํามุมกับ
ด้าน (รูปที่ 26)

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 39


รูปที่ 25 ตัวอย่างรายละเอียดเหล็กเสริมแผ่นพืน้ (ไม่ได้มาตราส่วน)

รูปที่ 26 ตัวอย่างรายละเอียดเหล็กเสริมพิเศษทีท่ ุกมุมของแผ่นพืน้ สองทาง

อนึ่ง หากแต่ละชัน้ ของอาคาร มีแผ่นพื้นหลายชนิด อาจแสดงแปลนเหล็กเสริม


แผ่นพื้นทัง้ ผิวล่าง และผิวบน แม้อาจดูยาก แต่ทําให้เห็นความต่อเนื่อง หรือสัมพันธ์ของ
เหล็กเสริมในแต่ละแผ่นพืน้ ที่ต่อเนื่องกัน แผ่นบางประเภท โดยเฉพาะแผ่นพืน้ ไร้คาน มัก
นิยมแสดงแปลนเหล็กเสริม เพื่อแสดงความชัดเจน หรือความต่อเนื่องของแผ่นพืน้ ทุกแผง
โดยแปลนเหล็กเสริม ประกอบด้วยแปลนแสดงเหล็กเสริมที่ผวิ ล่าง และแปลนแสดงเหล็ก
เสริมทีผ่ วิ บน ตามลําดับ โดยมีรปู ตัดแสดงความหนา หรือเหล็กเสริมประกอบ ตามความ
จํ า เป็ น (รู ป ที่ 27) ส่ ว นการให้ ร ายละเอีย ดเหล็ก เสริม ในบัน ไดคล้ า ยคลึง กับ การให้
รายละเอียดเหล็กเสริมในแผ่นพืน้ หากแต่มรี ายละเอียดอื่น ๆ เพิม่ เติม อาทิ การบอกระยะ

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 40


หรือจํานวนขัน้ (ลูกตัง้ หรือลูกนอน) ของบันได เหล็กเสริมทีม่ ุม รูปที่ 28 แสดงตัวอย่าง
รายละเอียดเหล็กเสริมในบันไดชนิดต่าง ๆ (บันไดท้องเรียบ บันไดพับผ้า บันไดยื่นจาก
ผนัง ค.ส.ล บันไดยืน่ จากคานแม่บนั ได และคานแม่บนั ได)

ก. เหล็กเสริมทีผ่ วิ ล่าง

ข. เหล็กเสริมทีผ่ วิ บน

รูปที่ 27 ตัวอย่างแปลนแสดงเหล็กเสริมแผ่นพืน้ ไร้คาน

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 41


ก. บันไดท้องเรียบ

ข. บันไดพับผ้า

รูปที่ 28 ตัวอย่างรายละเอียดเหล็กเสริมในบันได

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 42


ค. บันไดยืน่ จากผนัง ค.ส.ล. หรือคานแม่บนั ได

ง. บันไดยืน่ จากเสาลูกขัน้ อิสสระ

รูปที่ 28 ตัวอย่างรายละเอียดเหล็กเสริมในบันได (ต่อ)

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 43


จ. บันไดทีม่ คี านแม่บนั ไดรองรับ หรือขนาบข้าง

ฉ. คานแม่บนั ได

รูปที่ 28 ตัวอย่างรายละเอียดเหล็กเสริมในบันได (ต่อ)

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 44


11. การระบุขนาดเหล็กรูปพรรณ และโครงหลังคา
ระบบโครงหลังคา ปกติแบบโครงหลังคา จะต้องแสดงแปลน และรูปตัด โดยมี
แนวทางให้รายละเอียด ดังนี้
ทางปฏิบตั ใิ นประเทศไทย ปกติบอกขนาดเหล็กรูปพรรณเป็ นมิลลิเมตร และระบุ
หน่ วยนํ้ าหนัก (กิโลกรัมต่อเมตร) กํากับ ตัวอย่างเช่น “เหล็กรูปพรรณที่มรี ปู ตัดเป็ น
Wide flanges, Channel, I-section และ H -section ระบุชนิดรูปตัด - ความลึก - ความ
กว้าง - (นํ้าหนักต่อหน่ วยความยาว) เช่น “WF-450xx20x76.0 kg/m” หรือ “C-
150x75x18.6 kg/m”
เหล็กรูปพรรณรูปตัว L (เหล็กฉาก) ระบุชนิดรูปตัด - ความกว้าง - ความยาว -
(นํ้าหนักต่อหน่วยความยาว) ตัวอย่างเช่น “L - 50x50x6 mm (3.52 kg/m)” หรือหากเป็ น
หน้าตัดประกอบให้ระบุจํานวน ตัวอย่างเช่น “2-L – 50x50x6 mm (2x3.52 kg/m)”
เหล็กรีดเย็นพับขึน้ รูปตัวซี (Light-gauge channel) ให้ระบุชนิดรูปตัด - ความลึก
- ความกว้าง - ความลึกรอยพับ – ความหนา (นํ้าหนักต่อหน่ วยความยาว) ตัวอย่างเช่น
“LG – 150x50x20x2.3 mm (4.96 kg/m)”
ท่อเหล็ก (Circular tube) ระบุชนิด - เส้นผ่านศูนย์กลาง - ความหนา -
(นํ้าหนักต่อหน่วยความยาว) ตัวอย่างเช่น “ φ - 100x3.6 mm (9.83 kg/m)”
เหล็กกล่อง (Steel box section) ระบุชนิดรูปตัด - ความลึก - ความกว้าง -
ความหนา - (นํ้าหนักต่อหน่วยความยาว) ตัวอย่างเช่น “[] – 25x25x1.6 mm (1.12 kg/m)”
การให้รายละเอียดโครงหลังคา จะต้องบอกองค์ประกอบของโครงสร้างหลังคาให้
ครบถ้วน ดังต่อไปนี้
ประเภทขององค์อาคาร เช่น จันทัน (Rafter) ตะเฆ่สนั (Hip Rafter) ตะเฆ่
ราง (Valley rafter) ดัง้ (King or Queen Post) แป (Purlin) ยึดแป (Sag rod)
อกไก่ (Ridge) เป็ นต้น โดยระบุประเภทองค์อาคาร และรูปตัดของเหล็กรูปพรรณ โดย
อาจกํ า กับ หรือ ระบุ ร ายละเอี ย ดอื่ น ๆ เพิ่ม เติ ม ได้ แ ก่ ระยะเรีย ง วิธี เ ชื่ อ มยึ ด
ตัวอย่างเช่น “RAFTER - C – 150x75x18.6 kg/m” หรือ “PURLIN – LG –
150x50x20x2.3 mm (4.96 kg/m) @ 1.50 m” หรือ “SAG ROD - φ - 12 mm @ 4.00
m” เป็ นต้นรวมทัง้ ระบุอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ เช่น เหล็กหางปลา หรือแผ่นเหล็กประกับ
ตัวอย่างเช่น “STEEL PLATE – 200x300x4 mm THK” เป็ นต้น
รูปที่ 29 แสดงตัวอย่างรายละเอียดโครงหลังคา

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 45


ก. แปลน

ข. รูปตัด

รูปที่ 29 ตัวอย่างรายละเอียดโครงหลังคา

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 46


12. สรุป
ในบทนี้ ได้กล่าวถึงรายการคํานวณ และแบบก่อสร้าง ประกอบด้วย วัตถุประสงค์
องคาพยพของรายการคํานวณ และแบบ ประเภทของแบบก่อสร้าง การให้รายละเอียด
เหล็กเสริมคอนกรีตในแบบ ลําดับขัน้ ตอนในการเตรียมรายการคํานวณ และแบบโครงสร้าง
ข้อแนะนํา และอื่น ๆ.

13. คําถาม
จงตอบคําถามต่อไปนี้โดยสังเขป
1. แบบเหมือนจริง หรือแบบเหมือนสร้าง (As-built drawings) มีความสําคัญอย่างไร
2. กฎหมายอาคารกําหนดเรื่องหน่ วยของระยะ และมาตราส่วนของแบบรูป รูปด้าน และ
รูปตัดทีต่ อ้ งแสดงไว้อย่างไร
3. สิง่ ทีต่ อ้ งแสดงในแปลนเสาเข็มมีอะไรบ้าง
4. Bar List หรือ Bar Bending Schedule คืออะไร มีความสําคัญอย่างไร
5. แบบขยาย (Detail) ควรใช้มาตราส่วนเท่าใด และควรแสดงอะไรบ้าง
6. องค์อาคารใด หรือส่วนใดของอาคารทีค่ วร หรือมักจําต้องแสดงแบบขยาย
7. วิศ วกรผู้คํา นวณโครงสร้า งอาคาร จะได้ข้อมูล หรือ รายละเอีย ดใดบ้า ง จากแบบ
ประณีตสถาปตั ยกรรม
8. มีหลักเกณฑ์ใดทีจ่ ะทําให้แสดงรายละเอียดเหล็กเสริมในคานสามารถกระทําได้อย่าง
สะดวกรวดเร็ว และมีความยืดหยุน่ สามารถแก้ไขปรับปรุงได้สะดวก
9. มีหลักเกณฑ์ใดที่จะทําให้แสดงรายละเอียดเหล็กเสริมในแผ่นพื้นสองทาง สามารถ
กระทําได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีความยืดหยุน่ สามารถแก้ไขปรับปรุงได้สะดวก
10. มีวธิ ใี ดทีจ่ ะทําให้ผอู้ ่านแบบรูป ตระหนัก และศึกษารายละเอียด หรือรายการประกอบ
แบบจาก “รายการก่อสร้าง” (Specification)

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 47


14. หนังสืออ้างอิ ง
1. American Concrete Institute (1988), ACI Detailing Manual; According to ACI 315-80 revised
1982, and ACI 315R-80 revised 1988, American Concrete Institute, Washington.
2. คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา (2534), มาตรฐานสําหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธ ี
หน่วยแรงใช้งาน, แก้ไขปรับปรุงครัง้ ที่ 2, สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
3. คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา (2534), มาตรฐานสําหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธ ี
กําลัง, แก้ไขปรับปรุงครัง้ ที่ 2, สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.
4. คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา (2540), ศัพท์วทิ ยาการวิศวกรรมโยธา, แก้ไขปรับปรุงครัง้ ที่
1, สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.
5. สถาพร โภคา กฎหมาย และมาตรฐานเกี่ย วกับ งานอาคาร การอบรมเชิง วิช าการเรื่อ ง การ
พัฒนาการประกอบวิช าชีพวิศ วกรรมโยธา ด้า นงานคํานวณออกแบบโครงสร้า ง โดยกรรมการ
โครงการ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 19 กันยายน 2546
6. สถาพร โภคา กฎหมาย และมาตรฐานเกี่ย วกับ งานอาคาร การอบรมเชิง วิช าการเรื่อ ง การ
พัฒนาการประกอบวิช าชีพวิศ วกรรมโยธา ด้า นงานคํานวณออกแบบโครงสร้า ง โดยกรรมการ
โครงการ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 14 พฤษภาคม 2547
7. สถาพร โภคา กฎหมาย และมาตรฐานเกี่ย วกับ งานอาคาร การอบรมเชิง วิช าการเรื่อ ง การ
พัฒนาการประกอบวิช าชีพวิศ วกรรมโยธา ด้า นงานคํานวณออกแบบโครงสร้า ง โดยกรรมการ
โครงการ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 7 ตุลาคม 2548
8. สถาพร โภคา การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธกี ําลัง สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนา
เมือง กรมโยธาธิการและผังเมืองการฝึกอบรมหลักสูตร 15-16 พฤษภาคม 2550.

รายการคํานวณ และแบบรูป โดย นายสถาพร โภคา 1 พฤศจิกายน 2554 - 48

You might also like