Electromagnetics PDF

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 184

แม่เหล็กไฟฟ้า

(Electromagnetics)

รศ. ดร.วรฐ คูหิรัญ


(Assoc. Prof. Waroth Kuhirun)

13 ธันวาคม พ.ศ. 2560


2
สารบัญ

1 การวิเคราะห์เวคเตอร์
(Vector Analysis) 9
1.1 พิกัด (Coordinates) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 9
1.1.1 พิกัดใน 2 มิติ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 9
1.1.2 พิกัดใน 3 มิติ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 9
1.2 พีชคณิตของเวคเตอร์ (Vector Algebra) . . . . . . . . . . . . . . . 11
1.2.1 ขนาดของเวคเตอร์ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 11
1.2.2 ผลคูณสเกลาร์ (Scalar Product) . . . . . . . . . . . . . . . 11
1.2.3 ผลคูณไขว้ (Cross Product) . . . . . . . . . . . . . . . . . 12
1.2.4 ผลคูณเวคเตอร์ชุดสาม (Vector Triplet Product) . . . . . . 12
1.2.5 ผลคูณสเกลาร์ชุดสาม (Scalar Triplet Product) . . . . . . . 12
1.2.6 ฐานหลัก (Basis) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 13
1.3 การเปลี่ยนฐานหลัก (Change of Basis) . . . . . . . . . . . . . . . 14
1.3.1 การเปลี่ยนฐานหลักใน 2 มิติ . . . . . . . . . . . . . . . . . 14
1.3.2 การเปลี่ยนฐานหลักใน 3 มิติ . . . . . . . . . . . . . . . . . 15

2 กฎของคูลอมบ์และกฎของเกาส์
(Coulomb’s Law and Gauss’s Law) 19
2.1 ความหนาแน่นของประจุไฟฟ้า (Electrical Charge Density) และกฎของคูลอมบ์(Coulomb’s Law) 19
2.1.1 ความหนาแน่นของประจุไฟฟ้า (Electrical Charge Density) . 19
2.1.2 กฎของคูลอมบ์(Coulomb’s Law) . . . . . . . . . . . . . . 23
2.2 ความเข้มของสนามไฟฟ้า (Electric Field Intensity) . . . . . . . . . 26
2.3 กฎของเกาส์ (Gauss’s Law) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 29

3
4 สารบัญ

2.3.1 รูปแบบผลต่างของกฎของเกาส์ (Differential Form of Gauss’s


Law) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 31
2.4 ความสัมพันธ์ระหว่างกฎของคูลอมบ์ (Coulomb’s Law)
และกฎของเกาส์ (Gauss’s Law) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 39
2.5 เส้นกระแส (Streamlines) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 40

3 ศักย์ทางไฟฟ้า (Electrical Potential) และพลังงาน (Energy) 41


3.1 งาน (Work) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 41
3.2 ศักย์ทางไฟฟ้า . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 43
3.2.1 ศักย์ทางไฟฟ้าอันเนื่องมาจากจุดประจุ . . . . . . . . . . . . . 43
3.2.2 ศักย์ทางไฟฟ้าอันเนื่องมาจากประจุในปริมาตร . . . . . . . . 45
3.2.3 ศักย์ทางไฟฟ้าอันเนื่องมาจากประจุในพื้นผิว . . . . . . . . . 46
3.2.4 ศักย์ทางไฟฟ้าอันเนื่องมาจากประจุบนเส้นโค้ง . . . . . . . . 48
3.3 ศักย์ทางไฟฟ้า (Electrical Potential)และความเข้มของ
สนามไฟฟ้า (Electrical Field Intensity) . . . . . . . . . . . . . . . 51
3.4 ความต่างศักย์ และ กฎแรงดันไฟฟ้าของเคอร์ชอฟฟ์
(Voltage Difference and Kirchhoff’s Voltage Law) . . . . . . . . 55
3.5 สมศักย์ (Equipotential) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 56
3.6 ไดโพล (Dipole) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 56
3.7 พลังงานและความหนาแน่นของพลังงาน (Energy and Energy Density) 57
3.7.1 พลังงานและความหนาแน่นของพลังงานของสนามไฟฟ้าสถิตย์ (En-
ergy and Energy Density of Electrostatic Field) . . . . . 57
3.8 เงื่อนไขขอบเขตสำหรับรอยต่อระหว่างตัวนำสมบูรณ์แบบ
กับประภูมิอิสระ (Boundary Condition for Interface between Per-
fect Conductor and Free Space) . . . . . . . . . . . . . . . . . . 65
3.9 ทฤษฎีภาพฉาย (Image Theory) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 66

4 กระแสและตัวนำ
(Current and Conductors) 73
4.1 กระแสและความหนาแน่นของกระแส (Current and Conductors) . . 73
4.2 ตัวนำโลหะ (Metallic Conductor) . . . . . . . . . . . . . . . . . . 75
4.3 กระแสและกฎของโอห์ม(Ohm’s Law) . . . . . . . . . . . . . . . . 75
4.4 สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 76
สารบัญ 5

5 หลักการอนุรักษ์ของประจุ
(Conservation Principle of Charge) 77
5.1 หลักการอนุรักษ์ของประจุ (Conservation Principle of Charge) . . . 77
5.2 หลักการอนุรักษ์ของประจุและกฎกระแสของเคอร์ชอฟฟ์
(Conservation Principle of Charge and Kirchhoff’s Current Law) 82

6 ไดอิเลคตริคและความจุ
(Dielectrics and Capacitance) 85
6.1 ไดอิเลคตริค (Dielectrics) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 85
6.1.1 ไดโพลและโมเมนต์ไดโพล (Dipole and Dipole Moment) . . 85
6.1.2 ไดอิเลคตริคและโพลาไรเซชัน (Dielectrics and Polarization) 86
6.1.3 เงื่อนไขขอบเขต (Boundary Condition) . . . . . . . . . . . 87
6.1.4 เงื่อนไขขอบเขตสำหรับไดอิเลคตริคสมบูรณ์แบบ (Boundary Con-
dition for Perfect Dielectrics) . . . . . . . . . . . . . . . 89
6.2 ความจุ (Capacitance) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 90

7 สมการของปัวส์ซงและลาปลาซ
(Poisson’s Equation and Laplace’s Equation) 99
7.1 ทฤษฎีบทความเป็นหนึ่ง (Uniqueness Theorem) . . . . . . . . . . 101
7.2 การแก้สมการของปัวส์ซงและสมการของลาปลาซ (Poisson’s and Laplace’s
Equations) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 104
7.2.1 ผลเฉลยของสมการของปัวส์ซง (Poisson’s Equations) ในบริเวณ
ไม่มีขอบเขตที่เป็นประภูมิอิสระ . . . . . . . . . . . . . . . . 104
7.2.2 ผลเฉลยของสมการของปัวส์ซง (Poisson’s Equations) ใน 1 มิติ 104
7.2.3 ผลเฉลยของสมการของลาปลาซ (Laplace’s Equations) ในบริเวณ
ที่มีขอบเขต . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 106

8 สนามแม่เหล็กสำหรับสถานะคงตัว
(Steady State Magnetic Field) 115
8.1 กฎของบีโอต์-ซาวาร์ต (Biot-Savart Law) . . . . . . . . . . . . . . 115
8.2 กฎของแอมแปร์ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 121
8.3 กฎของเกาส์สำหรับสนามแม่เหล็ก
(Gauss’s Law for Magnetic Fields) . . . . . . . . . . . . . . . . 124
8.4 ศักย์แม่เหล็ก (Magnetic Potential) . . . . . . . . . . . . . . . . . 125
6 สารบัญ

8.5 เวคเตอร์ศักย์แม่เหล็ก . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 128


8.6 พลังงานและความหนาแน่นของพลังงานของสนามแม่เหล็กสถิตย์ (En-
ergy and Energy Density of Magnetostatic Field) . . . . . . . . 132

9 แรงแม่เหล็ก, วัสดุและความเหนี่ยวนำ 133


9.1 แรงและโมเมนต์ของแรงแม่เหล็ก (Force and Moment of Magnetic
Force) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 133
9.1.1 แรงแม่เหล็ก (Magnetic Force) . . . . . . . . . . . . . . . 133
9.1.2 โมเมนต์ของแรงแม่เหล็ก (Moment of Magnetic Force) . . 137
9.2 เงื่อนไขขอบเขต (Boundary Condition) . . . . . . . . . . . . . . . 138
9.3 ไดโพลแม่เหล็ก, โมเมนต์ไดโพลแม่เหล็กและเพอร์มิเอบิลิตี
(Magnetic Dipole, Magnetic Dipole Moment and Permeability) . 140
9.4 ความเหนี่ยวนำ (Inductance) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 141
9.5 ความเหนี่ยวนำร่วม . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 151

10 สนามที่ผันแปรไปตามเวลา
(Time-Varying Field) 153
10.1 สมการแรงของลอเรนซ์ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 153
10.2 กฎของฟาราเดย์ (Faraday’s Law) . . . . . . . . . . . . . . . . . . 153
10.2.1 รูปแบบผลต่างของกฎของฟาราเดย์ (Differential Form of Fara-
day’s Law) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 158
10.3 กฎของแอมแปร์และกระแสการกระจัด (Ampere’s Law and Displace-
ment Current) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 159
10.4 กระแสการกระจัดและตัวเก็บประจุแผ่นคู่ขนาน . . . . . . . . . . . . 160
10.5 สมการของแมกซ์เวลล์ (Maxwell’s Equations) . . . . . . . . . . . 161
10.6 ศักย์ที่ถูกหน่วง (Retarded Potentials) . . . . . . . . . . . . . . . . 162

11 คลื่นระนาบสม่ำเสมอ (Uniform Plane Wave) 165

ก พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
(Mathematical Foundations) 169
ก.1 การแก้ระบบเชิงเส้นด้วยวิธีวนซ้ำ
(Solving Linear Systems using Iterative Methods) . . . . . . . . 169
ก.1.1 การวนซ้ำแบบจาโคบิ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 169
สารบัญ 7

ก.1.2 การวนซ้ำแบบเกาส์-ไซเดล . . . . . . . . . . . . . . . . . . 170


ก.2 การอินทิเกรตจำกัดเขต (Definite Integration) . . . . . . . . . . . . 172
ก.2.1 การอินทิเกรตสองชั้น . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 175
ก.2.2 การอินทิเกรตสามชั้นและการอินทิเกรตหลายชั้น (Triple Inte-
gration and Multiple Integration) . . . . . . . . . . . . . 176
ก.2.3 การอินทิกรัลตามเส้น . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 176
ก.3 ทฤษฎีบทไดเวอร์เจนซ์ (Divergence Theorem) . . . . . . . . . . . 176
ก.4 ทฤษฎีบทของกรีน (Green’s Theorem) และ
ทฤษฎีบทของสโตกส์ (Stokes’ Theorem) . . . . . . . . . . . . . . 179
8 สารบัญ
บทที่ 1

การวิเคราะห์เวคเตอร์
(Vector Analysis)

เนื้อหาที่จะกล่าวถึงในบทนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการวิเคราะห์เวคเตอร์ (Vector Analy-


sis) ในสาขาคณิตศาสตร์ ในี่นี้เราจะกล่าวถึงอย่างย่อ ๆ เฉพาะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
วิชานี้

1.1 พิกัด (Coordinates)


ในที่นี้เราจะพิจารณาพิกัดใน 2 มิติ และ 3 มิติเท่านั้น

1.1.1 พิกัดใน 2 มิติ


1. พิกัดฉาก (Rectangular Coordinates) จุด P ใด ๆ สามารถเขียนแทนได้ด้วย
พิกัด (x, y) โดยที่ x เป็นระยะในแนวแกน x และ y เป็นระยะในแนวแกน y

2. พิกัดเชิงขั้ว (Polar Coordinates) จุด P ใด ๆ สามารถเขียนแทนได้ด้วย


~ ),
พิกัด (ρ, φ) โดยที่ ρ เป็นระยะบนระนาบ xy จากจุดกำเนิด O ถึงจุด P (OP
φ เป็นมุมที่เวคเตอร์ OP~ ทำกับแกน x

1.1.2 พิกัดใน 3 มิติ


1. พิกัดฉาก (Rectangular Coordinates) จุด P ใด ๆ สามารถเขียนแทนได้ด้วย
พิกัด (x, y, z) โดยที่ x เป็นระยะในแนวแกน x, y เป็นระยะในแนวแกน y และ

9
10 บทที่ 1. การวิเคราะห์เวคเตอร์ (VECTOR ANALYSIS)

z เป็นระยะในแนวแกน z

2. พิกัดทรงกระบอก (Cylindrical Coordinates) จุด P ใด ๆ สามารถเขียนแทนได้ด้วย


~ ),
พิกัด (ρ, φ, z) โดยที่ ρ เป็นระยะบนระนาบ xy จากจุดกำเนิด O ถึงจุด P (OP
φ เป็นมุมที่เวคเตอร์ภาพฉาย OP ~ ทำกับแกน x และ z เป็นระยะของเวคเตอร์
ภาพฉาย OP ~ ในแนวแกน z

3. พิกัดทรงกลม (Spherical Coordinates) จุด P ใด ๆ สามารถเขียนแทนได้ด้วย


~ ), φ เป็นมุมที่
พิกัด (ρ, φ, θ) โดยที่ ρ เป็นระยะจากจุดกำเนิด O ถึงจุด P (OP
เวคเตอร์ภาพฉายของ OP ~ บนระนาบ xy ทำกับแกน x และ θ เป็นมุมที่เวคเตอร์
~ ทำกับแกน z
OP

ตัวอย่าง 1. ให้จุด P อยู่ที่พิกัดฉาก (1, 1, 1) จงหาพิกัดทรงกระบอกและพิกัดทรงกลม


วิธีทำ
p √
ρ= 12 + 12 = 2
 
1 π
φ = arctan =
1 4
z=1
p √
r = 12 + 12 + 12 = 3
√ !
2 √
θ = arctan = arctan 2
1
√ π  √ π √ 
นั่นคือพิกัดทรงกระบอก (ρ, φ, z) = 2, , 1 และพิกัดทรงกลม (r, φ, θ) = 3, , arctan 2
4 4
ตัวอย่าง 2. ให้จุด P อยู่ที่พิกัดฉาก (−1, 1, 1) จงหาพิกัดทรงกระบอกและพิกัดทรงกลม
วิธีทำ
p √
ρ= 12 + 12 = 2
 
−1 3π
φ = arctan +π =
1 4
z=1
p √
r = 12 + 12 + 12 = 3
√ !
2 √
θ = arctan = arctan 2
1
1.2. พีชคณิตของเวคเตอร์ (VECTOR ALGEBRA) 11


 

นั่นคือพิกัดทรงกระบอก (ρ, φ, z) = 2, , 1 และพิกัดทรงกลม (r, φ, θ) =
4
√ 3π √
 
3, , arctan 2
4

1.2 พีชคณิตของเวคเตอร์ (Vector Algebra)

ในที่นี้เราจะกล่าวถึงสเกลาร์และเวคเตอร์เฉพาะในกรณีที่ใช้ในที่นี้เท่านั้น เราอาจนิยาม
สเกลาร์และเวคเตอร์ดังต่อไปนี้

• สเกลาร์ (Scalar) คือปริมาณที่มีเฉพาะขนาดไม่มีทิศทาง

• เวคเตอร์ (Vector) คือปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง

1.2.1 ขนาดของเวคเตอร์

~ = Ax âx +Ay ây +Az âz โดยที่ {âx , ây , âz } เป็นฐานหลักเชิงตั้งฉากปกติ
ให้เวคเตอร์ A
ดังนั้น
q
~ = A2x + A2y + A2z
|A|

1.2.2 ผลคูณสเกลาร์ (Scalar Product)

ให้เวคเตอร์ A ~ = Ax âx + Ay ây + Az âz และ w~ = Bx âx + By ây + Bz âz โดยที่


{âx , ây , âz } เป็นฐานหลักเชิงตั้งฉากปกติ ดังนั้น

~·B
A ~ = Ax Bx + Ay By + Az Az

ถ้าหากเรากำหนดให้ A ~ อยู่ในทิศทางเดียวกับ âx และ B


~ อยู่ในระนาบของ âx และ ây
~ Ay = Az = 0 และ Bx = |B|
เราจะได้ว่า Ax = |A|, ~ cos θ โดยที่ θ เป็นมุมระหว่าง
A~ กับ B
~ ดังนั้น

~·B
A ~ = |A||
~ B|~ cos θ
12 บทที่ 1. การวิเคราะห์เวคเตอร์ (VECTOR ANALYSIS)

1.2.3 ผลคูณไขว้ (Cross Product)

ให้เวคเตอร์ A ~ = Ax âx + Ay ây + Az âz และ B


~ = Bx âx + By ây + Bz âz โดยที่
{âx , ây , âz } เป็นฐานหลักเชิงตั้งฉากปกติ1 ดังนั้น

~×B
A ~ = (Ay Bz − Az By )âx − (Ax Bz − Az Bx )ây + (Ax By − Ay Bx )âz

หรืออาจเขียนในรูปของดีเทอร์มิแนนต์ได้ดังนี้

âx ây âz

~×B
A ~ = Ax Ay Az

Bx By Bz

1.2.4 ผลคูณเวคเตอร์ชุดสาม (Vector Triplet Product)


~ B
เรานิยามผลคูณเวคเตอร์ชุดสาม (Vector Triplet Product) ของเวคเตอร์ A, ~ และ C
~ คือ
     
~× B
A ~ ×C
~ = A.~C
~ B ~ − A.
~B~ C~

นอกจากนี้เราสามารถแสดงได้ว่า
       
~×B
A ~ ×C~ = −C
~× A~×B
~ = − C.
~ B
~ A ~ + C.
~ A
~ B ~

1.2.5 ผลคูณสเกลาร์ชุดสาม (Scalar Triplet Product)


~ B
เรานิยามผลคูณสเกลาร์ชุดสาม (Scalar Triplet Product) ของเวคเตอร์ A, ~ และ C
~ คือ
 
~ B
A. ~ ×C
~

นอกจากนี้เราสามารถแสดงได้ว่า

Ax Ay Az
 
~ B
A. ~ ×C
~ = Bx By Bz

Cx Cy Cz

1
ฐานหลักเชิงตั้งฉากปกติ {âx , ây , âz } ต้องเป็นไปตามกฎมือขวา นั่นคือ âx × ây = âz
1.2. พีชคณิตของเวคเตอร์ (VECTOR ALGEBRA) 13

1.2.6 ฐานหลัก (Basis)


ฐานหลักเชิงตั้งฉากปกติ (Orthonormal Basis)

ฐานหลักเชิงตั้งฉากปกติที่มีใช้บ่อย ๆ คือ

1. 2 มิติ

• {âx , ây }
ฐานหลักนี้สอดคล้องกับพิกัดฉากโดยที่
âx เป็นเวคเตอร์หนึ่งหน่วยที่มีทิศทางชี้ไปทางแกน x บวก
ây เป็นเวคเตอร์หนึ่งหน่วยที่มีทิศทางชี้ไปทางแกน y บวก

• {âρ , âφ }
ฐานหลักนี้สอดคล้องกับพิกัดทรงกระบอกโดยที่
~
âρ เป็นเวคเตอร์หนึ่งหน่วยที่มีทิศทางชี้ไปทางเวคเตอร์ OP
âφ เป็นเวคเตอร์หนึ่งหน่วยที่มีทิศทางขนานกับระนาบ xy,
ตั้งฉากกับ âρ และชี้ไปทางที่ทำให้ φ เพิ่มขึ้น

2. 3 มิติ

• {âx , ây , âz }


ฐานหลักนี้สอดคล้องกับพิกัดฉากโดยที่
âx เป็นเวคเตอร์หนึ่งหน่วยที่มีทิศทางชี้ไปทางแกน x บวก
ây เป็นเวคเตอร์หนึ่งหน่วยที่มีทิศทางชี้ไปทางแกน y บวก
âz เป็นเวคเตอร์หนึ่งหน่วยที่มีทิศทางชี้ไปทางแกน z บวก
• {âρ , âφ , âz }
ฐานหลักนี้สอดคล้องกับพิกัดทรงกระบอกโดยที่
~
âρ เป็นเวคเตอร์หนึ่งหน่วยที่มีทิศทางชี้ไปทางเวคเตอร์ OP
âφ เป็นเวคเตอร์หนึ่งหน่วยที่มีทิศทางขนานกับระนาบ xy,
ตั้งฉากกับ âρ และชี้ไปทางที่ทำให้ φ เพิ่มขึ้น
âz เป็นเวคเตอร์หนึ่งหน่วยที่มีทิศทางชี้ไปทางแกน z บวก

• {âr , âφ , âθ }


ฐานหลักนี้สอดคล้องกับพิกัดทรงกลมโดยที่
14 บทที่ 1. การวิเคราะห์เวคเตอร์ (VECTOR ANALYSIS)

âr เป็นเวคเตอร์หนึ่งหน่วยที่มีทิศทางชี้ไปทางภาพฉายของ
เวคเตอร์ OP~ บนระนาบ xy
âφ เป็นเวคเตอร์หนึ่งหน่วยที่มีทิศทางขนานกับระนาบ xy,
ตั้งฉากกับ âρ และชี้ไปทางที่ทำให้ φ เพิ่มขึ้น
âθ เป็นเวคเตอร์หนึ่งหน่วยที่มีทิศทางชี้ไปทางที่มุม θ เพิ่มขึ้นและ
เวคเตอร์หนึ่งหน่วย âθ ตั้งฉากกับเวคเตอร์หนึ่งหน่วย âr และ âφ

1.3 การเปลี่ยนฐานหลัก (Change of Basis)

เราจะพิจารณาเฉพาะการเปลี่ยนฐานหลักใน 2 มิติ และ 3 มิติเท่านั้น

1.3.1 การเปลี่ยนฐานหลักใน 2 มิติ


พิจารณา V = {v̂1 , v̂2 } และ U = {û1 , û2 } ต่างเป็นฐานหลักของปริภูมิยูคลิด
~ เป็นเวคเตอร์ใดๆ ในปริภูมิยูคลิด R2 ดังนั้น
ใน 2 มิติ R2 และA

~ = Av v̂1 + Av v̂2 = Au û1 + Au û2


A (1.1)
1 2 1 2

จากสมการ 1.1 เราจะได้ว่า

Av1 (v̂1 · v̂1 ) + Av2 (v̂1 · vˆ2 ) = Au1 (v̂1 · û1 ) + Au2 (v̂1 · û2 )
Av1 (v̂2 · v̂1 ) + Av2 (v̂2 · vˆ2 ) = Au1 (v̂2 · û1 ) + Au2 (v̂2 · û2 )

เมื่อให้ v1 = âρ , v2 = âφ , u1 = âx และ u2 = ây


นั่นคือ
~ = Aρ âρ + Aφ âφ = Ax âx + Ay ây
A

จะได้

Aρ (âρ · âρ ) + Aφ (âρ · âφ ) = Ax (âρ · âx ) + Ay (âρ · ây )


Aρ (âφ · âρ ) + Aφ (âφ · âφ ) = Ax (âφ · âx ) + Ay (âφ · ây )

เนื่องจาก

âρ · âρ = 1 และ âρ · âφ = 0


âφ · âφ = 1 และ âφ · âρ = 0
1.3. การเปลี่ยนฐานหลัก (CHANGE OF BASIS) 15

นอกจากนี้

âρ · âx = cos φ และ âρ · ây = sin φ


âφ · âx = − sin φ และ âφ · ây = cos φ

ดังนั้น

Aρ = Ax cos φ + Ay sin φ
Aφ = −Ax sin φ + Ay cos φ

หรือ
" # " #" #
Aρ cos φ sin φ Ax
=
Aφ − sin φ cos φ Ay

1.3.2 การเปลี่ยนฐานหลักใน 3 มิติ

พิจารณา V = {v̂1 , v̂2 , v̂3 } และ U = {û1 , û2 , û3 } ต่างเป็นฐานหลักของ


ปริภูมิยูคลิดใน 3 มิติ R3 และx เป็นเวคเตอร์ใดๆ ในปริภูมิยูคลิด R3 ดังนั้น

~ = Av v̂1 + Av v̂2 + Av v̂3 = Au û1 + Au û2 + Au û3


A (1.2)
1 2 3 1 2 3

จากสมการ 1.2 เราจะได้ว่า

Av1 (v̂1 , v̂1 ) + Av2 (v̂1 , vˆ2 ) + Av3 (v̂1 , v̂3 ) = Au1 (v̂1 , û1 ) + Au2 (v̂1 , û2 ) + Au3 (v̂1 , û3 )
Av1 (v̂2 , v̂1 ) + Av2 (v̂2 , vˆ2 ) + Av3 (v̂2 , v̂3 ) = Au1 (v̂2 , û1 ) + Au2 (v̂2 , û2 ) + Au3 (v̂2 , û3 )
Av1 (v̂3 , v̂1 ) + Av2 (v̂3 , vˆ2 ) + Av3 (v̂3 , v̂3 ) = Au1 (v̂3 , û1 ) + Au2 (v̂3 , û2 ) + Au3 (v̂3 , û3 )

ในที่นี้เราจะพิจารณาการเปลี่ยนฐานหลักจากฐานหลักในพิกัดทรงกระบอกไปพิกัดฉากและ
ฐานหลักในพิกัดทรงกลมไปพิกัดฉากเท่านั้นดังนี้

การเปลี่ยนฐานหลักจาก {âρ , âφ , âz } ไป {âx , ây , âz }

ให้
~ = Ax âx + Ay ây + Az âz = Aρ âρ + Aφ âφ + Az âz
A
16 บทที่ 1. การวิเคราะห์เวคเตอร์ (VECTOR ANALYSIS)

เราจะได้

Ax (âx · âx ) + Ay (âx · ây ) + Az (âx · âz ) = Aρ (âx · âρ ) + Aφ (âx · âφ ) + Az (âx · âz )
Ax (ây · âx ) + Ay (ây · ây ) + Az (ây · âz ) = Aρ (ây · âρ ) + Aφ (ây · âφ ) + Az (ây · âz )
Ax (âz · âx ) + Ay (âz · ây ) + Az (âz · âz ) = Aρ (âz · âρ ) + Aφ (âz · âφ ) + Az (âz · âz )

เนื่องจาก

âx ·âx = ây ·ây = âz ·âz = 1 และ âx ·ây = âx ·âz = ây ·âx = ây ·âz = âz ·âx = âz ·ây = 0

นอกจากนี้

âx · âρ = cos φ และ âx · âφ = − sin φ


ây · âρ = sin φ และ ây · âφ = cos φ

ดังนั้น
    
Ax cos φ − sin φ 0 Aρ
Ay  =  sin φ cos φ 0 Aφ  (1.3)
    

Az 0 0 1 Az

การเปลี่ยนฐานหลักจาก {âr , âφ , âθ } ไป {âx , ây , âz }

ให้
~ = Ax âx + Ay ây + Az âz = Ar âr + Aφ âφ + Aθ âθ
A

เราจะได้

Ax (âx · âx ) + Ay (âx · ây ) + Az (âx · âz ) = Ar (âx · âr ) + Aφ (âx · âφ ) + Aθ (âx · âθ )
Ax (ây · âx ) + Ay (ây · ây ) + Az (ây · âz ) = Ar (ây · âr ) + Aφ (ây · âφ ) + Aθ (ây · âθ )
Ax (âz · âx ) + Ay (âz · ây ) + Az (âz · âz ) = Ar (âz · âr ) + Aφ (âz · âφ ) + Aθ (âz · âθ )

เนื่องจาก
âx · âx = ây · ây = âz · âz = 1

และ
âx · ây = âx · âz = ây · âx = ây · âz = âz · âx = âz · ây = 0
1.3. การเปลี่ยนฐานหลัก (CHANGE OF BASIS) 17

นอกจากนี้

âx · âr = sin θ cos φ และ âx · âφ = − sin φ และ âx · âθ = cos θ cos φ
ây · âr = sin θ sin φ และ ây · âφ = cos φ และ âx · âθ = cos θ sin φ
âz · âr = cos θ และ âz · âφ = 0 และ âz · âθ = − sin θ

ดังนั้น
    
Ax sin θ cos φ −sin φ cos θ cos φ Ar
Ay  =  sin θ sin φ cos φ cos θ sin φ Aφ 
    

Az cos θ 0 −sin θ Aθ

ตัวอย่าง 3. จงหา

1. âρ ในเทอมของ âx และ ây


Z 2π
2. âρ dφ
0

วิธีทำ

1. เนื่องจาก
âρ = (âρ .âx )âx + (âρ .ây )ây
และ
âρ .âx = cos φ และ âρ .ây = sin φ
ดังนั้น
âρ = cos φâx + sin φây
Z 2π
2. เราสามารถหาค่า âρ dφ ได้ดังนี้
0
Z 2π Z 2π
âρ dφ = (cos φâx + sin φây ) dφ
0 0
Z 2π Z 2π
= cos φâx dφ + sin φây dφ
0 0
Z 2π  Z 2π 
= cos φ dφ âx + sin φ dφ ây
0 0
= ~0
18 บทที่ 1. การวิเคราะห์เวคเตอร์ (VECTOR ANALYSIS)
บทที่ 2

กฎของคูลอมบ์และกฎของเกาส์
(Coulomb’s Law and Gauss’s
Law)

2.1 ความหนาแน่นของประจุไฟฟ้า (Electrical Charge Densi-


ty) และกฎของคูลอมบ์(Coulomb’s Law)
2.1.1 ความหนาแน่นของประจุไฟฟ้า (Electrical Charge Density)
เราอาจนิยามความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าดังนี้

1. ความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าต่อความยาว
∆q
ρL = lim (2.1)
∆l→0 ∆l

2. ความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าต่อพื้นที่
∆q
ρS = lim (2.2)
∆s→0 ∆s

3. ความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าต่อปริมาตร
∆q
ρV = lim (2.3)
∆v→0 ∆v

19
20บทที่ 2. กฎของคูลอมบ์และกฎของเกาส์(COULOMB’S LAW AND GAUSS’S LAW)

ตัวอย่าง 4. วัตถุรูปทรงกระบอกที่มีรัศมี r และสูง h และมีความหนาแน่นของประจุ


ไฟฟ้า ρ0 เป็นค่าคงตัว จงหาประจุในวัตถุนี้

วิธีทำ เราอาจทำได้หลายวิธีขึ้นกับการแบ่งวัตถุออกเป็นชิ้น ๆ ดังนี้

1. เราสามารถแบ่งวัตถุทรงกระบอกออกเป็นชิ้น ๆ แต่ละชิ้นมีความหนา dz และมีพื้นที่


หน้าตัดเท่ากับ πr2 ดังนั้น ประจุภายในชิ้นส่วนย่อย ๆ dq เป็นไปตามสมการ

dq = ρ0 πr2 dz

นั่นคือประจุ q เป็นไปตามสมการ
Z h
q= ρ0 πr2 dz = ρ0 πr2 h
0

2. เราสามารถแบ่งวัตถุทรงกระบอกออกเป็นชิ้น ๆ แต่ละชิ้นมีความหนา dz
และกว้างเท่ากับ ρdφ ยาวเท่ากับ dρ ดังนั้น ประจุภายในชิ้นส่วนย่อย ๆ dq
เป็นไปตามสมการ
dq = ρ0 ρdρdφdz
นั่นคือประจุ q เป็นไปตามสมการ
Z h Z 2π Z r
q= ρ0 ρdρdφdz = ρ0 πr2 h
0 0 0

ตัวอย่าง 5. วัตถุรูปทรงกระบอกที่มีรัศมี r และสูง h และมีความหนาแน่นของประจุ


ไฟฟ้า ρV = kz โดยที่ k เป็นค่าคงตัว จงหาประจุในวัตถุนี้

วิธีทำ เราสามารถแบ่งวัตถุทรงกระบอกออกเป็นชิ้น ๆ แต่ละชิ้นมีความสูง h


หน้าตัดเป็นรูปวงกลมรัศมีเท่ากับ r หนาเท่ากับ dz ดังนั้น ประจุภายในชิ้นย่อย ๆ dq
เป็นไปตามสมการ
dq = ρV dV = ρV πr2 dz = πr2 kzdz
นั่นคือประจุ q เป็นไปตามสมการ
h
z=h
πr2 2 πr2 2
Z
2
q= πr kzdz = kz = kh
0 2 z=0 2

ตัวอย่าง 6. วัตถุรูปทรงกระบอกที่มีรัศมี r และสูง h และมีความหนาแน่นของประจุ


ไฟฟ้า ρV = kρ โดยที่ k เป็นค่าคงตัว จงหาประจุในวัตถุนี้
2.1. ความหนาแน่นของประจุไฟฟ้า (ELECTRICAL CHARGE DENSITY) และกฎของคูลอมบ์(COULOMB’S LAW)21

วิธีทำ เราสามารถแบ่งวัตถุทรงกระบอกออกเป็นชิ้น ๆ แต่ละชิ้นมีความสูง h


หน้าตัดเป็นรูปวงแหวนรัศมีเท่ากับ ρ หนาเท่ากับ dρ ดังนั้น ประจุภายในชิ้นย่อย ๆ dq
เป็นไปตามสมการ
dq = ρV 2πρhdρ = 2πkρ2 hdρ

นั่นคือประจุ q เป็นไปตามสมการ
r
2π 3 ρ=r
Z
2 2π 3
q= 2πkρ hdρ = kρ h = kr h
0 3 ρ=0 3

ตัวอย่าง 7. วัตถุรูปทรงกระบอกที่มีรัศมี r และสูง h และมีความหนาแน่นของประจุ


ไฟฟ้า ρV = ρV (ρ, φ, z) เป็นค่าคงตัว จงหาประจุในวัตถุนี้

วิธีทำ เราสามารถแบ่งวัตถุทรงกระบอกออกเป็นชิ้น ๆ แต่ละชิ้นมีความหนา dz


และกว้างเท่ากับ ρdφ ยาวเท่ากับ dρ ดังนั้น ประจุภายในชิ้นส่วนย่อย ๆ dq
เป็นไปตามสมการ

dq = ρV ρdρdφdz = ρV (ρ, φ, z)ρdρdφdz

นั่นคือประจุ q เป็นไปตามสมการ
Z h Z 2π Z r
q= ρV (ρ, φ, z)ρdρdφdz
0 0 0

ตัวอย่าง 8. วัตถุรูปทรงกลมที่มีรัศมี R และมีความหนาแน่นของประจุไฟฟ้า ρ0


เป็นค่าคงตัว จงหาประจุในวัตถุนี้

วิธีทำ เราอาจทำได้หลายวิธีขึ้นกับการแบ่งวัตถุออกเป็นชิ้น ๆ ดังนี้

1. เราสามารถแบ่งวัตถุทรงกลมออกเป็นชิ้น ๆ แต่ละชิ้นมีความหนา dr และมี


พื้นที่ผิวเท่ากับ 4πr2 ดังนั้น ประจุภายในชิ้นส่วนย่อย ๆ dq เป็นไปตามสมการ

dq = 4ρ0 πr2 dr

นั่นคือประจุ q เป็นไปตามสมการ
Z R
4
q= 4ρ0 πr2 dr = ρ0 πR3
0 3
22บทที่ 2. กฎของคูลอมบ์และกฎของเกาส์(COULOMB’S LAW AND GAUSS’S LAW)

2. เราสามารถแบ่งวัตถุทรงกลมออกเป็นชิ้น ๆ แต่ละชิ้นมีความหนา rdθ


และกว้างเท่ากับ r sin θdφ ยาวเท่ากับ dr ดังนั้น ประจุภายในชิ้นส่วนย่อย ๆ dq
เป็นไปตามสมการ
dq = ρ0 r2 sin θdrdφdθ

นั่นคือประจุ q เป็นไปตามสมการ
Z π Z 2π Z R
4
q= ρ0 r2 sin θdrdφdθ = ρ0 πR3
0 0 0 3

ตัวอย่าง 9. วัตถุรูปทรงกลมที่มีรัศมี R และมีความหนาแน่นของประจุไฟฟ้า ρV = kr


โดยที่ k เป็นค่าคงตัว จงหาประจุในวัตถุนี้

วิธีทำ เราสามารถแบ่งวัตถุทรงกลมออกเป็นชิ้น ๆ แต่ละชิ้นมีความหนา dr และมี


พื้นที่ผิวเท่ากับ 4πr2 ดังนั้น ประจุภายในชิ้นส่วนย่อย ๆ dq เป็นไปตามสมการ

dq = 4ρV πr2 dr

นั่นคือประจุ q เป็นไปตามสมการ
Z R Z R
q= 4ρV πr2 dr = 4πkr3 dr = πkR4
0 0

ตัวอย่าง 10. วัตถุรูปทรงกลมที่มีรัศมี R และมีความหนาแน่นของประจุไฟฟ้า ρV =


ρV (ρ, φ, θ) จงหาประจุในวัตถุนี้

วิธีทำ
เราสามารถแบ่งวัตถุทรงกลมออกเป็นชิ้น ๆ แต่ละชิ้นมีความหนา rdθ
และกว้างเท่ากับ r sin θdφ ยาวเท่ากับ dr ดังนั้น ประจุภายในชิ้นส่วนย่อย ๆ dq
เป็นไปตามสมการ
dq = ρV (ρ, φ, θ)r2 sin θdrdφdθ

นั่นคือประจุ q เป็นไปตามสมการ
Z π Z 2π Z R
q= ρV (ρ, φ, θ)r2 sin θdrdφdθ
0 0 0

ตัวอย่าง 11. วัตถุรูปกรวยโดยที่ฐานมีรัศมี R และสูง h และมีความหนาแน่นของประจุ


ไฟฟ้า ρV = k โดยที่ k เป็นค่าคงตัว จงหาประจุในวัตถุนี้
2.1. ความหนาแน่นของประจุไฟฟ้า (ELECTRICAL CHARGE DENSITY) และกฎของคูลอมบ์(COULOMB’S LAW)23

วิธีทำ เราสามารถแบ่งวัตถุรูปกรวยออกเป็นชิ้น ๆ แต่ละชิ้นมีความสูง h


หน้าตัดเป็นรูปวงกลมรัศมีเท่ากับ R หนาเท่ากับ dz ดังนั้น ประจุภายในชิ้นย่อย ๆ dq
เป็นไปตามสมการ
dq = ρV dV = ρV πr2 dz = πkr2 dz

นั่นคือประจุ q เป็นไปตามสมการ
Z h
q= πkr2 dz
0

เนื่องจาก
r R
=
h−z h
ดังนั้น
R
r= (h − z)
h
นั่นคือ
h 2 z=h
R2 πkR2 h
Z 
R 3

q= πk (h − z) dz = − πk 2 (h − z) =
0 h 3h z=0 3

2.1.2 กฎของคูลอมบ์(Coulomb’s Law)


ให้ประจุ q1 อยู่ที่ตำแหน่งซึ่งกำหนดโดยจุดกำเนิด และประจุ q2 อยู่ที่ตำแหน่ง
ซึ่งกำหนดโดยเวคเตอร์แสดงตำแหน่ง ~r แรงทางไฟฟ้า F~ ซึ่งประจุ q1 กระทำ
กับประจุ q2 เป็นไปตามสมการ

kq1 q2 1 q1 q2
F~ = âr = âr
|~r|2 4π0 |~r|2

โดยที่
k ≈ 8.99 × 109 N m2 C −2 ในประภูมิอิสระ(Permittivity of Free Space)
0 = 8.854 × 10−12 F/m เรียกว่าเพอร์มิตติวิตีในประภูมิอิสระ(Permittivity of Free
Space)
~r
âr = เวคเตอร์หนึ่งหน่วยอยู่ในทิศทางจากจุดกำเนิดไปยังเวคเตอร์แสดง
|~r|
ตำแหน่ง ~r
24บทที่ 2. กฎของคูลอมบ์และกฎของเกาส์(COULOMB’S LAW AND GAUSS’S LAW)

รูปที่ 2.1: รูปแสดงกฎของคูลอมบ์

ตัวอย่าง 12. ให้ประจุ q1 = 1 C อยู่ที่ตำแหน่งซึ่งกำหนดโดยเวคเตอร์


แสดงตำแหน่งอยู่ที่จุดกำเนิดและประจุ q2 = 1 C อยู่ที่ตำแหน่งซึ่งกำหนด
โดยเวคเตอร์แสดงตำแหน่ง ~r2 = 4âx + 3ây + 4âz m จงหาแรงทางไฟฟ้า F~ ซึ่ง
ประจุ q1 กระทำกับประจุ q2

วิธีทำ แรงทางไฟฟ้า F~ ซึ่งประจุ q1 กระทำกับประจุ q2 เป็นไปตามสมการ


kq1 q2
F~ = âr
|~r|2

เนื่องจาก q1 = q2 = 1 C และ ~r = ~r2 − ~r1 = (4âx + 3ây + 4âz ) − ~0 =


4âx + 3ây + 4âz m ดังนั้น

kq1 q2
F~ = âr
|~r|2
8.99 × 109
= (4âx + 3ây + 4âz ) N
(42 + 32 + 42 )3

ตัวอย่าง 13. ให้ประจุ q1 = 1 C อยู่ที่ตำแหน่งซึ่งกำหนดโดยเวคเตอร์


แสดงตำแหน่ง ~r1 = 1âx + 2ây + 1âz m และประจุ q2 = 1 C อยู่ที่ตำแหน่ง
2.1. ความหนาแน่นของประจุไฟฟ้า (ELECTRICAL CHARGE DENSITY) และกฎของคูลอมบ์(COULOMB’S LAW)25

ซึ่งกำหนดโดยเวคเตอร์แสดงตำแหน่ง ~r2 = 5âx + 5ây + 5âz m จงหาแรงทางไฟฟ้า F~


ซึ่งประจุ q1 กระทำกับประจุ q2

วิธีทำ แรงทางไฟฟ้า F~ ซึ่งประจุ q1 กระทำกับประจุ q2 เป็นไปตามสมการ


kq1 q2
F~ = âr
|~r|2

เนื่องจาก q1 = q2 = 1 C และ ~r = ~r2 −~r1 = (5âx + 5ây + 5âz )−(1âx + 2ây + 1âz ) =
4âx + 3ây + 4âz m ดังนั้น

kq1 q2
F~ = âr
|~r|2
8.99 × 109
= (4âx + 3ây + 4âz ) N
(42 + 32 + 42 )3

จากกฎของคูลอมบ์เราอาจขยายความได้ดังนี้
ให้ประจุ q1 อยู่ที่ตำแหน่งซึ่งกำหนดโดยเวคเตอร์แสดงตำแหน่ง ~r1 และประจุ q2
อยู่ที่ตำแหน่งซึ่งกำหนดโดยเวคเตอร์แสดงตำแหน่ง ~r2 แรงทางไฟฟ้า F~ ซึ่งประจุ
q1 กระทำกับประจุ q2 เป็นไปตามสมการ
1 q1 q2
F~ = â12
4π0 |~r12 |2
~
r12
โดยที่ ~r12 คือเวคเตอร์การกระจัดจาก q1 ไปยัง q2 และâ12 = |~
r12 |
นอกจากนี้ ถ้าหากมีจุดประจุ q1 , q2 , . . . , qn อยู่ที่ตำแหน่งซึ่งกำหนดโดยเวคเตอร์
แสดงตำแหน่ง ~r1 , ~r2 , . . . , ~rn และจุดประจุ q อยู่ที่ตำแหน่งซึ่งกำหนดโดยเวคเตอร์
แสดงตำแหน่ง ~r ดังนั้น แรงทางไฟฟ้าที่กระทำกับ q อันเนื่องจาก q1 , q2 , . . . , qn เป็น
ไปตามสมการ
Xn
F~ = F~i
i=1

ดังนั้น
n
1 X qi q
F~ = âi
4π0 |~ri |2
i=1
~ri
โดยที่ ~ri คือเวคเตอร์การกระจัดจาก qi ไปยัง q และâi =
|~ri |
26บทที่ 2. กฎของคูลอมบ์และกฎของเกาส์(COULOMB’S LAW AND GAUSS’S LAW)

2.2 ความเข้มของสนามไฟฟ้า (Electric Field Intensity)


~ ณ ตำแหน่ง ใด ๆ ได้จากสมการ
เราสามารถนิยามความเข้มของสนามไฟฟ้า E
~
~ = Ft
E
qt

โดยที่ qt คือประจุทดสอบและ F~t คือแรงทางไฟฟ้าที่กระทำบนประจุ qt ที่นำมา


ทดสอบ

ถ้าหากมีจุดประจุ q1 , q2 , . . . , qn อยู่ที่ตำแหน่งซึ่งกำหนดโดยเวคเตอร์
แสดงตำแหน่ง ~r1 , ~r2 , . . . , ~rn และจุดประจุ q อยู่ที่ตำแหน่งซึ่งกำหนดโดยเวคเตอร์
แสดงตำแหน่ง ~r ดังนั้น ความเข้มของสนามไฟฟ้า ที่ตำแหน่งซึ่งกำหนดโดยเวคเตอร์
การกระจัด ~r อันเนื่องจาก q1 , q2 , . . . , qn เป็นไปตามสมการ
n n n
!
~
F X ~i
F X 1 X qi
~
E= = = ~
Ei = âi
q q 4π0 |~ri |2
i=1 i=1 i=1

ตัวอย่าง 14. พิจารณาประจุบนเส้น (Line Charge) อยู่บนแกน z จาก z = −∞ ถึง z =


∞ ความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าต่อความยาว ρL = ρ0 เป็นค่าคงตัว จงหาความเข้มของ
สนามไฟฟ้า ที่จุด (ρ, φ, z) = (ρ, 0, 0)

วิธีทำ เราสามารถแบ่งประจุบนเส้น (Line Charge) ออกเป็นช่วงย่อย ๆ จาก (x, y, z) =


(0, 0, z 0 ) ถึง (x, y, z) = (0, 0, z 0 +dz 0 ) ดังนั้นประจุที่อยู่บนช่วงย่อย ๆ dq = ρL dz 0 และ
ความเข้มของสนามไฟฟ้า dE ~ อันเนื่องจากช่วงย่อย ๆ คือ

~ = kdq
dE ~r
r3
kρL dz 0
= ~r
r3
kρL dz 0 0

=p 3 ρâ ρ − z âz
ρ2 + z 02
p
โดยทีr่ = ρ2 + z 02
เนื่องจากความสมมาตร เราจะได้

~ = p kρL 0 kρρL 0

dE 3 ρdz âρ =p 3 dz âρ
2
ρ +z 02 2
ρ +z 02
2.2. ความเข้มของสนามไฟฟ้า (ELECTRIC FIELD INTENSITY) 27

โดยการอินทิเกรต (Integration) และ ρL = ρ0 เป็นค่าคงตัว เราจะได้


Z ∞
~ = kρρ0 0
E p 3 dz âρ
−∞ 2
ρ +z 02

ให้
ρ
cos α = p และ z 0 = ρ tan α
ρ + z 02
2

ดังนั้น
dz 0 = ρ sec2 α dα

และ
Z ∞
~ = kρρ0 0
E p 3 dz âρ
−∞ ρ2 + z 02
π
cos3 α
Z
2
= kρ0 ρsec2 α dαâρ
− π2 ρ2
Z π
kρ0
2
= cos α dαâρ
− π2 ρ
kρ0 π
2
= sin α π âρ
ρ −2
kρ0
=2 âρ
ρ
1
เนื่องจาก k = 4π0 ดังนั้น

~ = ρ0
E âρ
2π0 ρ

ตัวอย่าง 15. พิจารณาประจุบนพื้นผิว (Surface Charge) อยู่บนระนาบอนันต์ yz จงคำนวณหา


ความเข้มของสนามไฟฟ้า ที่จุด (ρ, φ, z) = (ρ, 0, 0) ความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าต่อพื้นที่ ρS
เป็นค่าคงตัว

วิธีทำ เราสามารถแบ่งประจุบนพื้นผิว (Surface Charge) ออกเป็นเส้นย่อย ๆจาก z =


−∞ ถึง z = ∞ กว้างเท่ากับ dy จาก y 0 ถึง y 0 +dy 0 ดังนั้นความหนาแน่นของประจุไฟฟ้า
ต่อความยาวที่อยู่บนเส้น ρL = ρS dy 0 และ ความเข้มของสนามไฟฟ้า dE ~ อันเนื่องจากเส้น คือ

~ = ρL
dE âρ
2π0 ρ
28บทที่ 2. กฎของคูลอมบ์และกฎของเกาส์(COULOMB’S LAW AND GAUSS’S LAW)

p xâx − y 0 ây
โดยที่ ρ = x2 + y 02 และ âρ = p
x2 + y 02
เราจะได้

~ = ρL 1 0

dE 2 xâx − y ây
2π0
p
x2 + y 02

เนื่องจากความสมมาตร ดังนั้น

~ = ρS dy 0 x
dE 2 âx
2π0 p 2

x +y 02

ρS x 0
= 2 dy âx
2π0 p 2

x + y 02

โดยการอินทิเกรต (Integration) เราจะได้


Z ∞
~ = ρS x 0
E 2 dy âx
2π0 p 2

−∞ x + y 02

ให้
x
cos α = p และ y 0 = x tan α
x2 + y 02

ดังนั้น
dy 0 = x sec2 α dα

และ
Z π

~ =
2 ρS
E dαâx
− π2 2π0
ρS π
2
= α π âx
2π0 −2
ρS
= âx
20
2.3. กฎของเกาส์ (GAUSS’S LAW) 29

2.3 กฎของเกาส์ (Gauss’s Law)


พิจารณาพื้นผิวปิด1 S ซึ่งมีประจุภายใน qenclosed ดังนั้นฟลักซ์ทางไฟฟ้าที่พุ่งผ่าน
พื้นผิวปิดเป็นไปตามสมการ
Z I
Ψ= dΨ = ~ dS
D. ~ = qenclosed
S

โดยที่
qenclosed เป็นประจุภายในพื้นผิวปิด S
~ เป็นความหนาแน่นฟลักซ์ทางไฟฟ้า (Electrical Flux Density)
D
dS~ = n̂dS เป็นเวคเตอร์ที่ตั้งฉากกับพื้นผิวปิด S และมีขนาดเท่ากับ dS

รูปที่ 2.2: รูปแสดงกฎของเกาส์

ตัวอย่าง 16. พิจารณาปริมาตร V รูปลูกบาศก์มีฟลักซ์ไฟฟ้าออกมาเท่ากับ Ψ = 1C


แบ่งปริมาตรออกเป็นปริมาตรย่อย ๆ รูปลูกบาศก์ 27 ลูก ลูกที่ 2- ลูกที่ 10 มี
ฟลักซ์ไฟฟ้าออกมาเท่ากับ Ψ = 2C เท่า ๆ กัน และลูกที่ 11− ลูกที่ 27 มีฟลักซ์
ไฟฟ้าเข้าไปเท่ากับ Ψ = 2Cเท่า ๆ กัน จงหาฟลักซ์ไฟฟ้าออกจากลูกบาศก์ลูกที่ 1
1
เราอาจเรียกพื้นผิวนี้ว่าพื้นผิวของเกาส์ (Gaussian Surface)
30บทที่ 2. กฎของคูลอมบ์และกฎของเกาส์(COULOMB’S LAW AND GAUSS’S LAW)

วิธีทำ เนื่องจาก
27
X 10
X 27
X
Ψ= Ψi = Ψ1 + Ψi + Ψi
i=1 i=2 i=11
และ
10
X 27
X
Ψi = 9 × 2 = 18C และ Ψi = 17 × (−2) = −34C
i=2 i=11

ดังนั้น
27
X 10
X 27
X
Ψ1 = Ψ − Ψi = Ψ − Ψi − Ψi = 1 − 18 − (−34) = 17C
i=1 i=2 i=11

~ = D0 ây โดยที่ D0 เป็นค่าคงตัว จงหา


ตัวอย่าง 17. ให้ D
~
1. จงหา O.D

2. จงหาฟลักซ์ไฟฟ้าที่พุ่งผ่านพื้นผิว S โดยที่ r = r0 เมื่อ 0 ≤ φ ≤ π และ 0 ≤


θ≤π

วิธีทำ

1. เนื่องจาก D~ = D0 ây โดยที่ D0 เป็นค่าคงตัว ดังนั้นเราสามารถหา


O.D ~ ได้จากสมการ

~ = ∂Dx ∂Dy ∂Dz


O.D + +
∂x ∂y ∂z
∂D0
=
∂x
=0

~ =0
นั่นคือ O.D

2. เราสามารถหาฟลักซ์ไฟฟ้าที่พุ่งผ่านพื้นผิว r = r0 เมื่อ 0 ≤ φ ≤ π และ 0 ≤


θ ≤ π ได้จากสมการ
Z
Ψ= ~ S
D.d ~
ZSπ Z π
= D0 ây .âr r2 sin θdφdθ
Z0 π Z0 π
= D0 r2 sin2 θ sin φdφdθ
0 0
2.3. กฎของเกาส์ (GAUSS’S LAW) 31

เนื่องจาก r = r0 เป็นค่าคงตัว ดังนั้น


Z π  Z π 
Ψ = D0 r02 sin φdφ sin2 θdθ
0
Z π 0 
2 π 2
= D0 r0 ( −cos φ|0 ) sin θdθ
0
π 
= D0 r02 (2)
2
= πD0 r02

~ คือความหนาแน่นของฟลักซ์ไฟฟ้าต่อพื้นที่ตั้งฉาก ดังนั้น
นอกจากนี้เนื่องจาก D
เราอาจจะหา Ψ ได้จาก
Ψ = D0 S⊥ = πD0 r02

~
โดยที่ S⊥ เป็นพื้นที่ตั้งฉากกับ D

2.3.1 รูปแบบผลต่างของกฎของเกาส์ (Differential Form of Gauss’s Law)

พิ
จารณาพื้นผิวปิดที่เป็นรูปลูกบาศก์
 ที่มีจุดยอดอยู่ที่ 
∆x ∆y ∆z ∆x ∆y ∆z
x− ,y − ,z − , x+ ,y − ,z − ,
 2 2 2   2 2 2 
∆x ∆y ∆z ∆x ∆y ∆z
x− ,y + ,z − , x− ,y − ,z + ,
 2 2 2   2 2 2 
∆x ∆y ∆z ∆x ∆y ∆z
x+ ,y + ,z − , x− ,y + ,z +
2 2 2 2 2 2
เราสามารถประมาณฟลักซ์ ∆Ψ ที่ไหลผ่านพื้นผิวปิด ∆S ของปริมาตรย่อย ๆ ∆V ในสมการ
I
∆Ψ = ~ dS
D. ~ = qenclosed
∆S

ได้ดังนี้
I
~ ≈ (Dx + ∂Dx ∆x )(∆y∆z) − (Dx − ∂Dx ∆x )(∆y∆z)
~ dS
D.
∆S ∂x 2 ∂x 2
∂Dy ∆y ∂Dy ∆y
+ (Dy + )(∆x∆z) − (Dy − )(∆x∆z)
∂y 2 ∂y 2
∂Dz ∆z ∂Dz ∆z
+ (Dz + )(∆x∆y) − (Dz − )(∆x∆y)
∂z 2 ∂z 2
32บทที่ 2. กฎของคูลอมบ์และกฎของเกาส์(COULOMB’S LAW AND GAUSS’S LAW)

หรือ
I
~ ≈ ∂Dx ∆x∆y∆z + ∂Dy ∆x∆y∆z + ∂Dz ∆x∆y∆z
~ dS
D.
∂x ∂y ∂z

นอกจากนี้เราสามารถประมาณ qenclosed ในสมการ


I
~ dS
D. ~ = qenclosed

ได้ดังนี้
qenclosed ≈ ρV ∆x∆y∆z
นั่นคือ
∂Dx ∂Dy ∂Dz
∆x∆y∆z + ∆x∆y∆z + ∆x∆y∆z ≈ ρV ∆x∆y∆z
∂x ∂y ∂z

โดยที่ ρV คือ ความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าต่อปริมาตร


เมื่อ ∆x, ∆y, ∆z → 0 จะได้ว่า
∂Dx ∂Dy ∂Dz
+ + = ρV
∂x ∂y ∂z
ถ้าหากเรานิยาม
~ = lim ∆Ψ
O.D
∆V →0 ∆V

ดังนั้น

~ = ∂Dx ∂Dy ∂Dz


O.D + + (2.4)
∂x ∂y ∂z

นั่นคือ
~ = ρV
O.D
สมการ 2.4 ใช้สำหรับพิกัดฉาก (Rectangular Coordinates) สำหรับพิกัดทรงกระบอก
(Cylindrical Coordinates) เป็นไปตามสมการ

~ = 1 ∂ 1 ∂Dφ ∂Dz
O.D (ρDρ ) + + (2.5)
ρ ∂ρ ρ ∂φ ∂z

และพิกัดทรงกลม (Spherical Coordinates) เป็นไปตามสมการ

~ = 1 ∂ 2 1 ∂ 1 ∂Dφ
O.D 2
(r Dr ) + (Dθ sin θ) + (2.6)
r ∂r r sin θ ∂θ r sin θ ∂φ
2.3. กฎของเกาส์ (GAUSS’S LAW) 33

~ = xâx + yây + zâz C/m2 จงหา


ตัวอย่าง 18. ให้ D
~
1. จงหา O.D

2. จงหาฟลักซ์ไฟฟ้าที่พุ่งผ่านพื้นผิว S ที่ถูกล้อมรอบด้วย x = −1, x = 1, y =


−1, y = 1, z = −1 และz = 1 ด้วยสมการ
Z
Ψ= ~ dS
D. ~
S

3. จงหาฟลักซ์ไฟฟ้าที่พุ่งผ่านพื้นผิว S ที่ถูกล้อมรอบด้วย x = −1, x = 1, y =


−1, y = 1, z = −1 และz = 1 ด้วยสมการ
Z
Ψ= O.D~ dV
V

โดยที่ V เป็นปริมาตรที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นผิว S
วิธีทำ
~ ได้จาก
1. เราสามารถหา O.D
~ = ∂Dx ∂Dy ∂Dz
O.D + +
∂x ∂y ∂z
∂x ∂y ∂z
= + +
∂x ∂y ∂z
=1+1+1
= 3 C/m3

2. ฟลักซ์ไฟฟ้าที่พุ่งผ่านพื้นผิว S คือ
I
Ψ = D.d ~ S ~
Z y=1 Z z=1 Z y=1 Z z=1
= −1 dydzâx .(−âx ) + 1 dydzâx .(âx )
y=−1 z=−1 y=−1 z=−1
Z x=1 Z z=1 Z x=1 Z z=1
+ −1 dydzây .(−ây ) + 1 dydzây .(ây )
x=−1 z=−1 x=−1 z=−1
Z x=1 Z y=1 Z x=1 Z y=1
+ −1 dxdyâz .(−âz ) + 1 dxdyâz .(âz )
x=−1 y=−1 x=−1 y=−1

=4+4+4+4+4+4
= 24 C
34บทที่ 2. กฎของคูลอมบ์และกฎของเกาส์(COULOMB’S LAW AND GAUSS’S LAW)

3. ฟลักซ์ไฟฟ้าที่พุ่งผ่านพื้นผิว S คือ
Z
Ψ= ~ dV
O.D
V
Z 1Z 1Z 1
= 3 dxdydz
−1 −1 −1

= 3(2)(2)(2)
= 24 C

ตัวอย่าง 19. จงหาขนาดของความเข้มของสนามไฟฟ้าที่ระยะห่าง r จากจุดประจุ Q


ในประภูมิอิสระ

วิธีทำ สร้างพื้นผิวปิด S ทรงกลมโดยที่จุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดประจุ Q เราสามารถหา


Dr ได้จากกฎของเกาส์ I
~ S
D.d ~=Q
S

นั่นคือ
Dr 4πr2 = Q


หรือ
Q
Dr =
4πr2
จากความสมมาตรเราจะได้ว่า

~ = Dr âr = Q
D âr
4πr2
~ = 0 E
นอกจากนี้เนื่องจาก D ~ ดังนั้น

~
~ = D = Q âr
E
0 4π0 r2

และดังนั้น
Q
E=
4π0 r2
~ = x2 âx จงหา
ตัวอย่าง 20 (ข้อสอบเก่ากลางภาคต้น ปีการศึกษา 2556). ให้ D

1. ฟลักซ์ของสนามไฟฟ้าที่ออกจากปริIมาตรที่ถูกกำหนดโดย x = 0 และ 1, y =
0 และ 2 และ z = 0 และ 3 จาก ~ S
D.d ~
S
2.3. กฎของเกาส์ (GAUSS’S LAW) 35

2. ฟลักซ์ของสนามไฟฟ้าที่ออกจากปริZมาตรที่ถูกกำหนดโดย x = 0 และ 1, y =
0 และ 2 และ z = 0 และ 3 จาก div D~ dv
V

3. ประจุทั้งหมดในปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย x = 0 และ 1, y = 0 และ 2 และ z =


0 และ 3

4. ความหนาแน่นของประจุที่จุดใดๆในปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย x = 0 และ 1, y =
0 และ 2 และ z = 0 และ 3

วิธีทำ
~ = x2 âx ดังนั้น
1. เนื่องจาก D
Z 3Z 2 Z 3Z 2
2
x2 x=1 dydz = 6

Ψ= x x=0 dydz +
0 0 0 0

2. เนื่องจาก Z
Ψ= ~
div Ddv
V
และ
~ = ∂Dx + ∂Dy + ∂Dz
div D
∂x ∂y ∂z
∂x2 ∂x2 ∂x2
= + +
∂x ∂y ∂z
= 2x

ดังนั้น
Z 3Z 2Z 1
Ψ= 2xdxdydz
0 0 0
Z 3 Z 2  Z 1 
= dydz 2xdx
0 0 0
2 1

=6 x 0
=6

3. ประจุทั้งหมด q เป็นไปตามกฎของเกาส์ดังสมการ

Ψ=q

นั่นคือประจุทั้งหมด q เท่ากับ 6
36บทที่ 2. กฎของคูลอมบ์และกฎของเกาส์(COULOMB’S LAW AND GAUSS’S LAW)

4. ความหนาแน่นของประจุที่จุดใดๆในปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย x = 0 และ 1, y =
0 และ 2 และ z = 0 และ 3 เป็นไปตามสมการ

~
ρV = div D
∂Dx ∂Dy ∂Dz
= + +
∂x ∂y ∂z
∂x2 ∂x2 ∂x2
= + +
∂x ∂y ∂z
= 2x

ตัวอย่าง 21. ให้ประจุบนเส้นที่มีความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าต่อความยาว ρL = ρ0 คงตัว


อยู่บนแกน z ยาว L(≈ ∞) จงหาฟลักซ์ไฟฟ้าที่พุ่งผ่านระนาบ x = x0 , x0 > 0

วิธีทำ เนื่องจากเราสามารถหาความหนาแน่นของฟลักซ์ไฟฟ้าได้จาก

~ = ρ0 âρ
D
2πρ

ดังนั้นเราสามารถหาฟลักซ์ไฟฟ้าย่อย ๆได้จากสมการ

~ S
dΨ = D.d ~

แทน D ~ = ρ0 âρ และ dS


~ = dSâx
2πρ
ดังนั้นเราจะได้
ρ0
dΨ = dSâρ .âx
2πρ
ρ0
= dS⊥
2πρ

โดยที่ dS⊥ = ρLdφ


และ
Z π
2 ρ0
Ψ= ρLdφ
− π2 2πρ
ρ0
= πρL
2πρ
ρ0 L
=
2
2.3. กฎของเกาส์ (GAUSS’S LAW) 37

ตัวอย่าง 22. ให้จุดประจุ q อยู่ที่ P (0, 0, 0) จงหาฟลักซ์ไฟฟ้าที่พุ่งผ่านระนาบ x = 5

วิธีทำ ฟลักซ์ไฟฟ้า Ψ เป็นไปตามสมการ


Z Z
Ψ= ~ ~
D.dS = DdS⊥
S S

~
โดยที่ S คือระนาบ x = 5 และ S⊥ เป็นพื้นที่ตั้งฉากกับ D
q
แทน D = และ dS⊥ = r2 sin θdθdφ จะได้
4πr2
Z π Z π
2 q 2 q
Ψ= 2
r sin θdθdφ =
− π 0 4πr
2
2

~ = k âr จงหา
ตัวอย่าง 23. ให้ D
r2
I
1. ฟลักซ์ของสนามไฟฟ้าที่ออกจากปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย r ≤ R จาก ~ S
D.d ~
S
Z
2. ฟลักซ์ของสนามไฟฟ้าที่ออกจากปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย r ≤ R จาก ~
div Ddv
V

3. ประจุทั้งหมดในปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย r ≤ R

4. ความหนาแน่นของประจุที่จุดใดๆในปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย r ≤ R

วิธีทำ

1. เราสามารถหาฟลั
I กซ์ของสนามไฟฟ้าที่ออกจากปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย r ≤ R จาก
~ S
D.d ~ ได้ดังนี้
S
I
Ψ= ~ S
D.d ~
S
I
k
= â .dsâr
2 r
r
IS
k
= 2
(âr .âr ) ds
S r

เนื่องจาก âr .âr = 1 และแทน r = R ดังนั้น


I
k
Ψ= 2
ds
S R
I
k
= 2 ds
R S
38บทที่ 2. กฎของคูลอมบ์และกฎของเกาส์(COULOMB’S LAW AND GAUSS’S LAW)
I
นอกจากนี้ ds เป็นพื้นที่ผิวของทรงกลมซึ่งมีรัศมี r = R นั่นคือ
S
I
ds = 4πR2
S

สรุปได้ว่า
I
k
Ψ= 2 ds
R S
k
= 2 4πR2

R
= 4πk

2. เราสามารถหาฟลั
Z กซ์ของสนามไฟฟ้าที่ออกจากปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย r ≤ R จาก
~
div Ddv ได้ดังนี้
V Z
Ψ= ~
div Ddv
V

เนื่องจาก
 I

 ~ S
D.d ~  

 1 k 2
~ = ∆v→0 ∆v = ∆v→0
 lim lim 4πr , r=0
div D ∆v r2
1 ∂ r 2 Dr

1 ∂ 1 ∂Dφ


+ (sin θDθ ) + , r 6= 0


 2
r ∂r r sin θ ∂θ r sin θ ∂φ
ดังนั้น
1

4πk lim
 , r=0
~ = ∆v→0 ∆v
div D 2
 2 k

1 ∂ r D r 1 ∂ r r 2
= 2 = 0, r 6= 0


r2 ∂r r ∂r
นั่นคือ
~ = 4πkδ(~r)
div D

3. เราสามารถหาประจุทั้งหมดในปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย r ≤ R ได้จากสมการ
q = Ψ = 4πk

4. เราสามารถหาความหนาแน่นของประจุที่จุดใดๆในปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย r ≤ R
ได้จากสมการ
~ = 4πkδ(~r)
ρV = div D
2.4. ความสัมพันธ์ระหว่างกฎของคูลอมบ์ (COULOMB’S LAW)และกฎของเกาส์ (GAUSS’S LAW)39

2.4 ความสัมพันธ์ระหว่างกฎของคูลอมบ์ (Coulomb’s Law)


และกฎของเกาส์ (Gauss’s Law)
พิจารณาพื้นผิวปิด S ที่เป็นรูปทรงกลมรัศมี r และมีจุดประจุ Q ที่จุดศูนย์กลาง
จากกฎของเกาส์ จะได้ I
~ S
D.d ~=Q
S

เนื่องจากความสมมาตรความหนาแน่นฟลักซ์ทางไฟฟ้าในแนวรัศมีมีการกระจาย
สม่ำเสมอดังนั้น
D 4πr2 = Q


~ = Dâr = Q
นั่นคือD âr
4πr2

นอกจากนี้เนื่องจาก
~ = E
D ~

ดังนั้น
~ = Q
E âr
4πr2
ถ้าหากมีประจุ q ที่ตำแหน่งที่แสดงโดยเวคเตอร์แสดงตำแหน่ง ~r ดังนั้นแรงจากประจุ Q
ที่กระทำกับ q เป็นไปตามสมการ

~ = Qq âr
F~ = q E
4πr2
เป็นไปตามกฎของคูลอมบ์
พิจารณาพื้นผิวปิด S ที่มีประจุไฟฟ้าภายในทั้งหมด qenclosed ถ้าหากเราแบ่งประจุ
qenclosed ออกเป็นชิ้นส่วนย่อย ๆ ∆i q ดังนั้นจากกฎของคูลอมบ์ ความเข้มของสนามไฟฟ้า
∆E ~ i อันเนื่องมาจากประจุไฟฟ้า ∆i qenclosed เป็นไปตามสมการ

~i = ∆i qenclosed âRi
∆E
4πRi2

~ i = ~r − ~ri และ âR = ~r − ~ri


โดยที่ R i
|~r − ~ri |

ฟลักซ์ ∆i Ψ ที่ไหลออกจากพื้นผิวปิด S เป็นไปตามสมการ


I
∆i Ψ = ~ S
∆i D.d ~
S
40บทที่ 2. กฎของคูลอมบ์และกฎของเกาส์(COULOMB’S LAW AND GAUSS’S LAW)

ดังนั้น
X X I  X I 
Ψ= ∆i Ψ = ~ S
∆i D.d ~ = ~ S
∆i D.d ~
i i S i S

เนื่องจาก
~ i =  ∆i qenclosed âRi
~ = ∆E
∆i D
4πRi2

ดังนั้น
X X I ∆i qenclosed âRi ~
 X
Ψ= ∆i Ψ =  .dS = ∆i qenclosed = qenclosed
i i S 4πRi2 i

2.5 เส้นกระแส (Streamlines)


~ ในเทอมของตำแหน่ง เราจะเห็นได้ว่า
ก่อนหน้านี้เรามีสมการของความเข้มของสนามไฟฟ้า E
เป็นการยากที่จะบ่งบอกทิศทางของความเข้มของสนามไฟฟ้า E~ ที่ทุกตำแหน่ง เราเรียกเส้นที่
ลากจากประจุโดยที่ทิศทางของความเข้มของสนามไฟฟ้า E~ อยู่ในแนวเส้นสัมผัสของเส้นที่ทุก
ตำแหน่งว่าเส้นกระแส (Streamlines)
พิจารณาความเข้มของสนามไฟฟ้า E ~ เป็นไปตามสมการ

~ = 2kρL âρ
E
ρ

หรือ
~ = Ex âx + Ey ây = 2kρL x âx + 2kρL y ây
E
x2 + y 2 x2 + y 2
เส้นกระแสสอดคล้องกับสมการ
dy Ey y
= =
dx Ex x

หรือ
dy dx
=
y x

ดังนั้น
ln y = ln x + ln c หรือ y = cx
บทที่ 3

ศักย์ทางไฟฟ้า (Electrical
Potential) และพลังงาน (Energy)

3.1 งาน (Work)


เราสามารถนิยามงาน (Work) ในการนำวัตถุจากจุด A จุด B ได้จากสมการ
Z B
W = F~app . d~l
A

โดยที่ F~app คือแรงที่ใช้ในการนำวัตถุจากจุด A จุด B

ตัวอย่าง 24. ให้ F~app = xâx +zây +yâz จงหางานที่ใช้ในการเคลื่อนวัตถุเป็นเส้นตรงจาก (0, 0, 0) ถึง
(1, 1, 1)

วิธีทำ เนื่องจากเส้นตรงที่ลากผ่าน (0, 0, 0) และ (1, 1, 1) ดังนั้นเราสามารถเขียนสมการเส้นตรงนี้อยู่


ในรูปสมการพาราเมตริคดังต่อไปนี้

x=t
y=t
z=t

นั่นคือคอนทัวร์ C ของเส้นตรงจาก (0, 0, 0) ถึง (1, 1, 1) อาจเขียนในรูป

C = {(x, y, z) ∈ R3 | x = t, y = t, z = t}

41
42บทที่ 3. ศักย์ทางไฟฟ้า (ELECTRICAL POTENTIAL) และพลังงาน (ENERGY)

เราสามารถหางานได้จากสมการ
Z (1,1,1) Z (1,1,1)
W = F~app . d~l = (xâx + zây + yâz ) .d~l
C,(0,0,0) C,(0,0,0)

เนื่องจาก d~l = dxâx + dyây + dzâz ดังนั้น

F~app . d~l = (xâx + zây + yâz ) . (dxâx + dyây + dzâz ) = x dx + z dy + y dz

นั่นคือ

(1,1,1) 1 1
1
3t2
Z Z Z
3
W = x dx+z dy+y dz = (t dt+t dt+t dt) = 3t dt = =
C,(0,0,0) 0 0 2 0 2

ตัวอย่าง 25. ให้ F~app = yâx + xây จงหางานที่ใช้ในการเคลื่อนวัตถุเป็นเส้นโค้ง y =


x2 , z = 0 จาก (0, 0, 0) ถึง (1, 1, 0)

วิธีทำ เราสามารถเขียนสมการเส้นโค้ง y = x2 , z = 0 ในรูปสมการพาราเมตริคดังต่อไปนี้

x=t
y = t2
z=0

นั่นคือคอนทัวร์ C ของเส้นโค้ง y = x2 , z = 0 จาก (0, 0, 0) ถึง (1, 1, 0) อาจเขียนในรูป

C = {(x, y, z) ∈ R3 | x = t, y = t2 , z = 0}

เราสามารถหางานได้จากสมการ
Z (1,1,0) Z (1,1,0)
W = F~app . d~l = (yâx + xây ) .d~l
C,(0,0,0) C,(0,0,0)

เนื่องจาก d~l = dxâx + dyây + dzâz ดังนั้น

F~app . d~l = (yâx + xây ) . (dxâx + dyây + dzâz ) = x dx + z dy + y dz


3.2. ศักย์ทางไฟฟ้า 43

และดังนั้น
Z (1,1,0)
W = y dx + x dy
C,(0,0,0)
Z t=1
= 2
(t dt + t dt2 )
t=0
Z t=1
= (t2 dt + 2t2 dt)
t=0
Z 1
= 3t2 dt
0
3 1

= t 0

นั่นคือ W = 1

3.2 ศักย์ทางไฟฟ้า
เราสามารถนิยามศักย์ทางไฟฟ้าที่ตำแหน่ง A ได้จากงานในการนำประจุทดสอบ qt 1 คูลอมบ์จาก
อนันต์มายังตำแหน่งนั้น ๆ นั่นคือ
Z A
V = F~app . d~l

โดยที่ F~app คือแรงที่ใช้ในการนำประจุ 1 คูลอมบ์จากอนันต์มายังตำแหน่งนั้น ๆ

3.2.1 ศักย์ทางไฟฟ้าอันเนื่องมาจากจุดประจุ

พิจารณาประจุ q อยู่ที่จุดกำเนิด ดังนั้นจากกฎของคูลอมบ์จะได้ว่าความเข้มของสนามไฟฟ้า


~ ณ ตำแหน่ง ใด ๆ ~r อันเนื่องมาจากจุดประจุ q เป็นไปตามสมการ
E

~ = 1 q
E âr
4π0 r2

ดังนั้นแรงทางไฟฟ้า F~ อันเนื่องมาจากจุดประจุ q ที่กระทำกับประจุทดสอบเมื่อประจุทดสอบ


อยู่ที่ตำแหน่ง ใด ๆ ~rเป็นไปตามสมการ

1 qqt
F~ = âr
4π0 r2
44บทที่ 3. ศักย์ทางไฟฟ้า (ELECTRICAL POTENTIAL) และพลังงาน (ENERGY)

ดังนั้นแรงทางไฟฟ้าที่ใช้ในการนำประจุทดสอบ qt จาก ∞ มายัง A คือ


1 qqt
F~app = −F~ = − âr
4π0 r2
และศักย์ทางไฟฟ้าที่ตำแหน่ง A ใด ๆหรืองานในการนำประจุทดสอบ qt 1 คูลอมบ์จาก
อนันต์มายังตำแหน่ง A เป็นไปตามสมการ
Z A
W 1 q
VA = =− â .d~l
2 r
qt ∞ 4π0r

เนื่องจาก dr = âr .d~l ดังนั้น


Z A
1 q
VA = − dr
∞ 4π0 r2
นั่นคือ
1 q
VA = (3.1)
4π0 rA
ในกรณีที่จุดประจุมิได้อยู่ที่จุดกำเนิด แต่อยู่ที่ ~r0 เราสามารถพิสูจน์ได้ว่าศักย์
ทางไฟฟ้าในสมการ 3.2 กลายเป็น
1 q
VA = (3.2)
4π0 |~rA − ~r0 |
นอกจากนี้ ถ้าหากมีจุดประจุ q1 , q2 , . . . , qn อยู่ที่ตำแหน่ง ~r1 , ~r2 , . . . , ~rn ตามลำดับ
ดังนั้นศักย์ทางไฟฟ้าอันเนื่องมาจากประจุทั้งหมดที่ตำแหน่ง A เป็นไปตามสมการ
Z A
F~app . d~l
VA = ∞
qt
เนื่องจาก F~app คือแรงที่ใช้ในการนำประจุทดสอบ qt จาก ∞ มายังตำแหน่ง A ดังนั้น
n
X
F~app = − F~i
i=1

โดยที่ F~i คือแรงที่ประจุ qi ทำกับประจุทดสอบ qt


นั่นคือ  Z A 
~ ~
n
 ∞ Fi . dl  X n  n
 X
X kqi
VA =  −  = = Vi,A
 qt  |~rA − ~ri |
i=1 i=1 i=1

โดยที่ Vi,A คือศักย์ทางไฟฟ้าที่ตำแหน่ง A อันเนื่องมาจากประจุ qi


3.2. ศักย์ทางไฟฟ้า 45

ตัวอย่าง 26. วางจุดประจุบนแกน x ที่ตำแหน่ง 3a, 9a, 27a, 81a, . . . มีประจุ 2q, 6q,
12q, 20q, . . . วางอยู่ตามลำดับ (จนถึงอนันต์) จงหาศักย์ไฟฟ้าที่จุดกำเนิดในเทอมของ
k, q, a โดยที่ a > 0

วิธีทำ ศักย์ไฟฟ้าที่จุดกำเนิดเป็นไปตามสมการ

X kqi
V =
|ri |
i=1
2q 6q 12q 20q
=k +k +k +k + ...
3a 9a 27a 81a
เราจะได้ว่า
1 2q 6q 12q
V =k +k +k + ...
3 9a 27a 81a
เราจะได้ว่า
1 2V 2q 4q 6q 8q
V − V = =k +k +k +k + ...
3 3 3a 9a 27a 81a
และ  
1 2V 2V 2q 4q 6q 8q
= =k +k +k +k + ...
3 3 9 9a 27a 81a 243a
นอกจากนี้
2V 2V 4V 2q 2q 2q 2q
− = =k +k +k +k + ...
3 9 9 3a 9a 27a 81a
เนื่องจากอนุกรมนี้เป็นอนุกรมเรขาคณิตซึ่งลู่เข้า ดังนั้น
 
2q
4V k 3a kq
= 1 =
9 1− 3 a
9kq
นั่นคือศักย์ไฟฟ้าที่จุดกำเนิด V =
4a

3.2.2 ศักย์ทางไฟฟ้าอันเนื่องมาจากประจุในปริมาตร
พิจารณาประจุในปริมาตร V ซึ่งมีความหนาแน่นของประจุ ρV เราสามารถหาศักย์
ทางไฟฟ้า V ที่เวคเตอร์แสดงตำแหน่ง ~r ได้โดยการแบ่งปริมาตรออกเป็น n ปริมาตร
ย่อย ๆ ∆vi ที่เวคเตอร์แสดงตำแหน่ง r~i เราจะได้ว่า
k∆qi
∆Vi =
Ri
46บทที่ 3. ศักย์ทางไฟฟ้า (ELECTRICAL POTENTIAL) และพลังงาน (ENERGY)

โดยที่
∆Vi คือ ศักย์ทางไฟฟ้าอันเนื่องมาจากประจุ ∆qi ในปริมาตร ∆vi
Ri = |~r − r~i | คือ ระยะห่างระหว่างปริมาตร ∆vi และตำแหน่งที่แสดงโดยเวคเตอร์
แสดงตำแหน่ง ~r
เราจะได้ศักย์ทางไฟฟ้ารวมดังสมการ
n
X
V = ∆Vi
i=1
n
X k∆qi
=
Ri
i=1

แทน Ri = |~r − r~i | และ ∆qi = ρV i ∆vi จะได้

n
X kρV i ∆vi
V =
|~r − r~i |
i=1

เมื่อให้ ∆vi → 0 จะได้

kρV dv 0
Z
V =
V |~r − r~0 |

3.2.3 ศักย์ทางไฟฟ้าอันเนื่องมาจากประจุในพื้นผิว

พิจารณาประจุในพื้นผิว S ซึ่งมีความหนาแน่นของประจุ ρs เราสามารถหาศักย์


ทางไฟฟ้า V ที่เวคเตอร์แสดงตำแหน่ง ~r ได้โดยการแบ่งพื้นผิวออกเป็น n พื้นผิว
ย่อย ๆ ∆si ที่เวคเตอร์แสดงตำแหน่ง r~i เราจะได้ว่า

k∆qi
∆Vi =
Ri

โดยที่
∆Vi คือ ศักย์ทางไฟฟ้าอันเนื่องมาจากประจุ ∆qi ในพื้นผิว ∆si
Ri = |~r − r~i | คือ ระยะห่างระหว่างพื้นผิว ∆si และตำแหน่งที่แสดงโดยเวคเตอร์
แสดงตำแหน่ง ~r
3.2. ศักย์ทางไฟฟ้า 47

เราจะได้ศักย์ทางไฟฟ้ารวมดังสมการ
n
X
V = ∆Vi
i=1
n
X k∆qi
=
Ri
i=1

แทน Ri = |~r − r~i | และ ∆qi = ρSi ∆si จะได้


n
X kρSi ∆si
V =
|~r − r~i |
i=1

เมื่อให้ ∆si → 0 จะได้


kρS ds0
Z
V =
S |~r − r~0 |

ตัวอย่าง 27. พิจารณาประจุบนเส้นรูปวงแหวนบาง (ความหนาเป็นศูนย์) วางอยู่ในปริภูมิ


อิสระรัศมีด้านในและด้านนอกเท่ากับ ρ = a และ b ตามลำดับ มีจุดศูนย์กลางที่จุดกำเนิด
บนระนาบ xy ความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าต่อพื้นที่เท่ากับ ρS คงตัว จงหา

1. ศักย์ V ที่จุดกำเนิด

~ ที่จุดกำเนิด
2. ความเข้มของสนามไฟฟ้า E

วิธีทำ เราอาจแบ่งวงแหวนออกเป็นชิ้น ๆ ds = ρdρdφ ดังนั้น

1. ศักย์ V ที่จุดกำเนิด

kQ
dV =
r
kρS ds
=
ρ
kρS ρdρdφ
=
ρ

Z bZ 2π
kρS ρ
V = dφdρ
a 0 ρ
= 2πkρS (b − a)
48บทที่ 3. ศักย์ทางไฟฟ้า (ELECTRICAL POTENTIAL) และพลังงาน (ENERGY)

~ ที่จุดกำเนิด
2. ความเข้มของสนามไฟฟ้า E

~ = dQ
dE â
r2
kρS ds
= â
ρ2
kρS ρdρdφ
= â
ρ2

แทน â = −âρ จะได้

~ = kρS ρdρdφ
dE âρ
ρ2

Z 2π Z b
~ =− kρS ρ
E âρ dρdφ
0 a ρ2
= ~0

3.2.4 ศักย์ทางไฟฟ้าอันเนื่องมาจากประจุบนเส้นโค้ง
พิจารณาประจุในเส้นโค้ง L ซึ่งมีความหนาแน่นของประจุ ρL เราสามารถหาศักย์
ทางไฟฟ้า V ที่เวคเตอร์แสดงตำแหน่ง ~r ได้โดยการแบ่งเส้นโค้งออกเป็น n เส้นโค้ง
ย่อย ๆ ∆li ที่เวคเตอร์แสดงตำแหน่ง r~i เราจะได้ว่า

k∆qi
∆Vi =
Ri

โดยที่
∆Vi คือ ศักย์ทางไฟฟ้าอันเนื่องมาจากประจุ ∆qi ในเส้นโค้ง ∆li
Ri = |~r − r~i | คือ ระยะห่างระหว่างเส้นโค้ง ∆li และตำแหน่งที่แสดงโดยเวคเตอร์
แสดงตำแหน่ง ~r
เราจะได้ศักย์ทางไฟฟ้ารวมดังสมการ
n
X
V = ∆Vi
i=1
n
X k∆qi
=
Ri
i=1
3.2. ศักย์ทางไฟฟ้า 49

แทน Ri = |~r − r~i | และ ∆qi = ρLi ∆li จะได้


n
X kρLi ∆li
V =
|~r − r~i |
i=1

เมื่อให้ ∆li → 0 จะได้

kρL dl0
Z
V =
L |~r − r~0 |

ตัวอย่าง 28. ให้วัตถุซึ่งมีความยาว l ตั้งแต่ x = 0 ถึง x = l และมีความหนาแน่นของประจุ


ต่อความยาวคงตัว ρL จงหาศักย์ทางไฟฟ้า V ที่ x = L

วิธีทำ เนื่องจากศักย์ทางไฟฟ้า dV ที่ x = L อันเนื่องมาจากวัตถุซึ่งมีความยาว dx0 ตั้งแต่


x = x0 ถึง x = x0 + dx0 เป็นไปตามสมการ

kρL dx0
dV =
L − x0

ดังนั้น
l
kρL dx0
Z
L L
V = 0
= − kρL ln (L − x0 ) 0 = kρL ln
0 L−x L−l
π
ตัวอย่าง 29. พิจารณาวัตถุที่มีประจุบนเส้นรูปครึ่งวงกลม ρ = ρ0 และ ≤ φ ≤
2

ที่มีความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าต่อความยาว ρL = k0 sin φ โดยที่ k0 คงตัวบน
2
เส้นโค้งโดยที่ ρ = ρ0 , 0 ≤ φ ≤ π และ z = 0 จงหา

1. ศักย์ทางไฟฟ้า V ที่ (0, 0, z) โดยที่ z > 0 ด้วยสมการ

kdq
dV =
|~r − ~r0 |

~ ที่ (0, 0, z) โดยที่ z > 0 ด้วยสมการ


2. ความเข้มของสนามไฟฟ้า E

kdq
~ =
dE (~r − ~r0 )
|~r − ~r0 |3

วิธีทำ
50บทที่ 3. ศักย์ทางไฟฟ้า (ELECTRICAL POTENTIAL) และพลังงาน (ENERGY)

1. เราสามารถหาศักย์ทางไฟฟ้า V ที่ (0, 0, z) โดยที่ z > 0 ได้จากสมการ

kdq
dV =
|~r − ~r0 |

p
โดยที่ dq = ρρL dφ0 และ |~r − ~r0 | = ρ2 + z 2
π 3π
โดยการอินทิเกรตจาก φ0 = ถึง φ0 = จะได้
2 2

Z 3π
2 kρρL
V = p dφ0
π 2
ρ +z 2
2

kρ0 k0 sin φ0 0
Z
2
= p dφ
π
2
ρ2 + z 2
Z 3π
kρ0 k0 2
=p sin φ0 dφ0
2
ρ +z 2 2 π

=0

~ ที่ (0, 0, z) โดยที่ z > 0 ได้จากสมการ


2. เราสามารถหาความเข้มของสนามไฟฟ้า E

kdq
~ =
dE (~r − ~r0 )
|~r − ~r0 |

p
โดยที่ dq = ρρL dφ0 , ~r − ~r0 = zâz − ρâρ และ |~r − ~r0 | = ρ2 + z 2
π 3π
โดยการอินทิเกรตจาก φ0 = ถึง φ0 = จะได้
2 2


kρρL dφ0
Z
2
~ =
E 3 (zâz − ρâρ ) dφ0
π
2 (ρ2 + z2) 2

kρk0 sin φ0 dφ0
Z
2
= 3 (zâz − ρâρ )
π
2(ρ2 + z 2 ) 2
Z 3π Z 3π
kρk0 z 2 2 kρ2 k0 sin φ0 âρ dφ0
0 0
= 3 sin φ dφ âz − 3
(ρ2 + z 2 ) 2 π2 π
2 (ρ2 + z 2 ) 2
3.3. ศักย์ทางไฟฟ้า (ELECTRICAL POTENTIAL)และความเข้มของสนามไฟฟ้า (ELECTRICAL FIELD INTENSITY)5

แทน âρ = cos φ0 âx + sin φ0 ây จะได้


3π 3π
kρ2 k0 sin φ0 cos φ0 dφ0
Z Z
kρk0 z 2 2
~ =
E 3 sin φ0 dφ0 âz − 3 âx
(ρ2 + z 2 ) π
2
2
π
2 (ρ2 + z 2 ) 2
Z 3π
2 kρ2 k0 sin2 φ0 dφ0
− 3 ây
π
2 (ρ2 + z 2 ) 2
Z 3π Z 3π
kρk0 z 2 2 kρ2 k0 sin (2φ0 )dφ0
0 0
= 3 sin φ dφ â z − 3 âx
(ρ2 + z 2 ) 2 π2 π
2 2(ρ 2 + z2) 2
Z 3π
2 kρ2 k0 (1 − cos (2φ0 ))dφ0
− 3 ây
π
2 2(ρ2 + z 2 ) 2

3.3 ศักย์ทางไฟฟ้า (Electrical Potential)และความเข้มของ


สนามไฟฟ้า (Electrical Field Intensity)
พิจารณาประจุทดสอบ qt เคลื่อนที่ไปบนเส้นโค้งซึ่ง L ใด ๆ ซึ่งกำหนดโดยเวคเตอร์แสดงตำแหน่ง
~r = ~r(t) ดังนั้น
dW = F~appl .d~r

โดยที่
F~appl คือแรงท่ใช้ในการเคลื่อนประจุ qt
เนื่องจาก F~appl = −F~E~ ดังนั้น

dW = −F~E~ .d~r

W
และเนื่องจาก V = และ F~E~ = qt E
~ ดังนั้น
qt
~ r
dV = −E.d~ (3.3)

นอกจากนี้จากกฎลูกโซ่ (Chain Rule) เราจะได้ว่า


∂V ∂V ∂V
dV = dx + dy + dz
∂x ∂y ∂z
 ∂V   
∂x dx
 ∂V   
=  ∂y  . dy 
∂V
∂z dz
52บทที่ 3. ศักย์ทางไฟฟ้า (ELECTRICAL POTENTIAL) และพลังงาน (ENERGY)

เนื่องจาก  
dx
d~r = dy 
 

dz

ดังนั้นเราจะได้

dV = OV.d~r (3.4)
 ∂V 
∂x
∂V ∂V ∂V
โดยที่ OV =  ∂V หรือ âx + ây + âz
 
∂y  ∂x ∂y ∂z
∂V
∂z
~ r = −OV.d~r ไม่ว่า d~r จะวางตัวในทิศทางใดดังนั้นเมื่อเทียบสมการ 3.4
เนื่องจาก E.d~
กับสมการ 3.3 จะได้ว่า
E~ = −OV

โดยที1่
∂V ∂V ∂V
OV = âx + ây + âz (พิกัดฉาก)
∂x ∂y ∂z
∂V 1 ∂V ∂V
OV = âρ + âφ + âz (พิกัดทรงกระบอก)
∂ρ ρ ∂φ ∂z
∂V 1 ∂V 1 ∂V
OV = âr + âθ + âφ (พิกัดทรงกลม)
∂r r ∂θ r sin θ ∂φ

ตัวอย่าง 30. พิจารณาประจุบนเส้นบนแกน z ยาว L(≈ ∞) มีความหนาแน่นของประจุ


ต่อความยาว ρL = ρ0 คงตัว จงหาไฟฟ้าศักย์ที่ (x, 0, 0)

วิธีทำ เราอาจทำตัวอย่างโจทย์ข้อนี้ได้สองแนวทางดังนี้

1. เนื่องจากเราสามารถหาความเข้มของสนามไฟฟ้าได้ดังสมการ

~ = ρ0 âρ
E
2πρ

~ ~l ดังนั้น
และศักย์ V = −E.d
Z x
ρ0
V =− âρ .d~l
∞ 2πρ
1
OV สำหรับพิกัดทรงกระบอกและพิกัดทรงกลมไม่พิสูจน์ในที่นี้
3.3. ศักย์ทางไฟฟ้า (ELECTRICAL POTENTIAL)และความเข้มของสนามไฟฟ้า (ELECTRICAL FIELD INTENSITY)5

โดยความจริงที่ว่า âρ .d~l = dρ เราจะได้ว่า



Z x ∞, ρ0 > 0
ρ0
V =− dρ =
∞ 2πρ −∞, ρ0 < 0

2. เนื่องจาก
kdq
dV =
R
1 √
โดยที่ dq = ρL dl0 = ρL dz 0 , k = และ R = x2 + z 02
4π
ดังนั้น
ρ dz 0
dV = √L
4π x2 + z 02
หรือ ∞
ρ dz 0
Z
V = √L
−∞ 4π x2 + z 02

ให้ z 0 = x tan α เราจะได้ว่า


1 cos α
dz 0 = x sec2 α dα และ √ =
x2 +z 02 x

นอกจากนี้
ρL x sec2 α cos α dα
dV =
4πx
ρL sec α dα
=
4π
หรือ
Z π
2 ρL sec α dα
V =
− π2 4π

แทน ρL = ρ0 ซึ่งคงตัว จะได้ว่า


Z π
ρ0 sec α dα
2
V =
4π
− π2
Z π
ρ0 2
= sec α dα
4π − π
2
54บทที่ 3. ศักย์ทางไฟฟ้า (ELECTRICAL POTENTIAL) และพลังงาน (ENERGY)

Z π
2 π
โดยใช้ความจริงที่ว่า sec αdα = ln (sec α + tan α) |−2 π = ∞ จะได้ว่า
− π2 2


π ∞, ρ0 > 0
Z
ρ0 2
V = sec α dα =
4π − π2 −∞, ρ0 < 0

ตัวอย่าง 31. พิจารณาวงแหวน L รัศมี α ที่มีความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าต่อความยาว


~
ρL = ρ0 เป็นค่าคงตัว วางอยู่บนระนาบ xy จุดศูนย์กลางอยู่ที่ (0, 0, 0) จงหา V และ E
ที่จุด P (0, 0, z)

วิธีทำ ให้ dq = ρL ρdφ = ρ0 adφ ดังนั้น


Z Z
kdq kρ0 αdφ
V = =
L r L r

นอกจากนี้เราสามารถหาระยะห่างระหว่าง P และ ประจุ dq เป็นไปตามสมการ


p
r= α2 + z 2

ดังนั้น
Z 2π Z 2π
kρ αdφ kρ0 α kρ0 α
V = √ 0 =√ dφ = 2π √
2
α +z 2 α2 + z 2 α2 + z 2
0 0

เนื่องจากความสมมาตรรอบแกน z ดังนั้น

~ = Ez âz = ∂V âz = − 2πkρ0 α(2z)3 âz = − 2πkρ0 αz3 âz


E
∂z 2(α2 + z 2 ) 2 (α2 + z 2 ) 2

~
ตัวอย่าง 32. ให้ศักย์ไฟฟ้า V = x2 −y 2 ในหน่วย (Volt) จงหาความเข้มของสนามไฟฟ้า E

วิธีทำ

~ = −O.V
E
 
∂V ∂V ∂V
=− âx + ây + âz
∂x ∂y ∂z
= −2xâx − 2yây (ในหน่วย(Volt/m))
3.4. ความต่างศักย์ และ กฎแรงดันไฟฟ้าของเคอร์ชอฟฟ์ (VOLTAGE DIFFERENCE AND KIRCHHOFF’S VOLTAGE

3.4 ความต่างศักย์ และ กฎแรงดันไฟฟ้าของเคอร์ชอฟฟ์


(Voltage Difference and Kirchhoff’s Voltage Law)
จากนิยามของศักย์ทางไฟฟ้า เราสามารถแสดงได้ว่าศักย์ทางไฟฟ้าที่จุด A เป็นไป
ตามสมการ Z A
VA = − ~ ~l
E.d

ดังนั้นความต่างศักย์ที่ A เมื่อเทียบกับ B เป็นไปตามสมการ


Z A Z B Z A
VAB = VA − VB = − ~ ~l + −
E.d ~ ~l = −
E.d ~ ~l
E.d
∞ ∞ B

เมื่อ A และ B เป็นจุดเดียวกัน เราจะได้ว่า


Z A I
− ~ ~
E.dl = E.d ~ ~l = VA − VA = 0
A

นั่นคือ I
~ ~l = 0
E.d
I
ความจริงแล้วสมการ ~ ~l = 0 คือกฎแรงดันไฟฟ้าของเคอร์ชอฟฟ์ P V = 0 โดยที่ V
E.d

เป็นความต่างศักย์ในแต่ละสาขาบนวงปิดใด ๆในวงจรไฟฟ้านั่นเอง

ตัวอย่าง 33. จากตัวอย่าง 31 ถ้าวงแหวนไม่สมมาตรรอบแกน z แต่ศักย์ไฟฟ้าที่ (0, 0, z)


ยังคงเป็น
kρ0 α
V = 2π √
α2 + z 2
~ ที่ (0, 0, z) จากสมการ
ดังนั้นเราจะสามารถหาความเข้มของสนามไฟฟ้า E
 
~ kρ0 α
E = −OV = −O 2π √
α2 + z 2
ได้หรือไม่ เพราะอะไร

วิธีทำ ไม่ได้เพราะสมการ
kρ0 α
V = 2π √
α2 + z 2
แสดงค่าศักย์ไฟฟ้าเฉพาะบนแกน z เท่านั้นไม่ได้แสดงให้เห็นว่าศักย์ไฟฟ้าเปลี่ยนไปตาม
ตำแหน่งบนระนาบ xy อย่างไร
56บทที่ 3. ศักย์ทางไฟฟ้า (ELECTRICAL POTENTIAL) และพลังงาน (ENERGY)

3.5 สมศักย์ (Equipotential)


พิจารณาเส้นโค้ง ~r = ~r(t) ซึ่งศักย์ทางไฟฟ้ามีค่าคงตัวดังนั้นที่ตำแหน่งใด ๆบนเส้นโค้งนี้

~ r=0
E.d~

เราเรียกเส้นโค้งนี้ว่าเส้นสมศักย์(Equipotential Line)
~ r = −OV.d~r ไม่ว่า d~r จะวางตัวในทิศทางใดดังนั้นเมื่อเทียบสมการ 3.4
เนื่องจาก E.d~
กับสมการ 3.3 จะได้ว่า
~ r=0
dV = E.d~
~ ⊥ d~r และเนื่องจาก d~r มีทิศทางอยู่ในแนวเดียวกับเส้นสมศักย์ L นั่นคือ E
ดังนั้น E ~
ตั้งฉากกับเส้นสมศักย์ L เสมอ

3.6 ไดโพล (Dipole)


พิจารณาประจุ +q และ −q อยู่ที่ตำแหน่ง (x, y, z) = (0, 0, d2 ) และ (x, y, z) =
(0, 0, − d2 ) ตามลำดับ ระยะห่างระหว่าง +q และ −q ถึง P (r, φ, θ) เท่ากับ r1 และ r2
ตามลำดับ ดังนั้น ศักย์ไฟฟ้า V หาได้ตามสมการ
kq k(−q)
V = +
r1 r2
kq(r2 − r1 )
=
r1 r2

ถ้า r >> d เราสามารถประมาณได้ว่า r2 − r1 = d cos θ และ r1 r2 = r2 ดังนั้น

kqd cos θ
V =
r2
kqd cos θ ~ ได้จากสมการ
จากสมการ V = เราสามารถหาความเข้มของสนามไฟฟ้า E
r2
~ = −OV
E
 
∂V 1 ∂V 1 ∂V
=− âr + âθ + âφ
∂r r ∂θ r sin θ ∂φ
kQd
= 3 (2 cos θâr + sin θâθ )
r
3.7. พลังงานและความหนาแน่นของพลังงาน (ENERGY AND ENERGY DENSITY)57

ถ้าเรากำหนดให้ d~ เป็นเวคเตอร์ที่มีขนาด d และมีทิศชี้จาก −q ไป +q เราจะได้ว่า d.â


~ r=
d cos θ นั่นคือ
~ r
kq d.â
V =
r2
นอกจากนี้ถ้าหากเรานิยามไดโพลโมเมนต์ (Dipole Moment) p~ = q d~ เราจะได้ว่า

k~
p.âr
V =
r2

3.7 พลังงานและความหนาแน่นของพลังงาน (Energy and En-


ergy Density)
3.7.1 พลังงานและความหนาแน่นของพลังงานของสนามไฟฟ้าสถิตย์ (Energy
and Energy Density of Electrostatic Field)
เริ่มแรกพิจารณาจักรวาลอันว่างเปล่า งานในการนำประจุ ∆q1 จากอนันต์ มาวางมีค่า

∆W1 = 0 (3.5)

งานในการนำประจุ ∆q2 มาวางมีค่า

∆W2 = ∆q2 V2,1 (3.6)

งานในการนำประจุ ∆q3 มาวางมีค่า

∆W3 = ∆q3 (V3,1 + V3,2 ) (3.7)

นอกจากนี้ งานในการนำประจุ ∆qi สำหรับ i = 2, . . . , n มาวางมีค่า

∆Wi = ∆qi (Vi,1 + Vi,2 + . . . + Vi,i−1 ) (3.8)


i−1
X
= (∆qi Vi,k )
k=1

ดังนั้นพลังงานคืองานรวมในการนำประจุ ∆q1 , ∆q2 , . . . , ∆qn มาวาง


n
X
WE = ∆Wi (3.9)
i=1
58บทที่ 3. ศักย์ทางไฟฟ้า (ELECTRICAL POTENTIAL) และพลังงาน (ENERGY)

นั่นคือ
n
X
WE = ∆Wi (3.10)
i=1
n i−1
!
X X
= (∆qi Vi,k ) (3.11)
i=1 k=1

เนื่องจาก

∆qi Vi,k = ∆qk Vk,i (3.12)

จะได้ว่า
 
n n
1X X
WE =  (∆qi Vi,k ) (3.13)
2
i=1 k=1,k6=i

n
X
ถ้าให้ Vi = Vi,k ดังนั้น
k=1,k6=i

n
1X
WE = (∆qi Vi ) (3.14)
2
i=1

เนื่องจาก ∆qi = ρi ∆vi ดังนั้น


n
1X
WE = (ρi Vi ∆vi ) (3.15)
2
i=1

เมื่อให้ n → ∞ จะได้
Z
1
WE = (ρV ) dv (3.16)
2 vol

~ = ρ ดังนั้น
เนื่องจาก O.D
Z
1  
~ V dv
WE = O.D (3.17)
2 vol

จากสมการ ก.11
   
~ = V O.D
O. V D ~ + D.
~ (OV ) (3.18)
3.7. พลังงานและความหนาแน่นของพลังงาน (ENERGY AND ENERGY DENSITY)59

จะได้ว่า
Z
1   
~ − D.

~ (OV ) dv
WE = O. V D (3.19)
2 vol

โดยใช้ทฤษฎีบทไดเวอร์เจนซ์
I  Z 
1 ~

~ 1 
~ (OV ) dv
WE = V D . dS − D. (3.20)
2 S 2 vol

ถ้าเราให้พื้นผิวปิด S เป็นทรงกลมโดยที่จุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิดและรัศมี r จะได้ว่า V →


0 และ D ~ → ~0 เมื่อ r → ∞ ดังนั้น
I  
~ . dS
VD ~ → 0 เมื่อ r → ∞ (3.21)
S

นั่นคือ
Z
1  
~ (OV ) dv
WE = − D. (3.22)
2 vol

~ = −OV จะได้ว่า
นอกจากนี้ แทน E
Z
1 
~ E

~ dv
WE = D. (3.23)
2 vol

นอกจากนี้ความหนาแน่นของพลังงานของสนามไฟฟ้าสถิตย์เป็นไปตามสมการ
1~ ~ 1
wE = D.E = E 2 (3.24)
2 2

ตัวอย่าง 34. พิจารณาสายร่วมแกนความยาว L อยู่ในแนวแกน z ตัวนำภายในมีรัศมี a


โดยมีความหนาแน่นของประจุเท่ากับ ρS คงตัว และตัวนำภายนอกมีรัศมี b จงหา

1. ความหนาแน่นของฟลักซ์ไฟฟ้า D ~ ในช่วง ρ < a, a < ρ < b และ ρ > b


Z
1 ~ E~ dv
2. พลังงานในรูปของไฟฟ้าสถิตย์ WE โดยใช้สมการ WE = D.
2 V
Z
1
3. พลังงานในรูปของไฟฟ้าสถิตย์ WE โดยใช้สมการ WE = ρV V dv
2 V

4. ความหนาแน่นของพลังงานในรูปของไฟฟ้าสถิตย์ wE

วิธีทำ
60บทที่ 3. ศักย์ทางไฟฟ้า (ELECTRICAL POTENTIAL) และพลังงาน (ENERGY)

1. สร้างพื้นผิวปิดเป็นรูปทรงกระบอกมีรัศมี ρ และมีความสูง l มีแกน


ร่วมกับสายร่วมแกนดังนั้นจากกฎของเกาส์ตามสมการ
I
~ S
D.d ~=Q

และความสมมาตรรอบแกนของสายร่วมแกนเราจะได้ว่า

(a) เมื่อ ρ < a


Dρ (2πρl) = 0
นั่นคือ
~ = Dρ âρ = ~0
D
(b) เมื่อ a < ρ < b
Dρ (2πρl) = ρS (2πal)
นั่นคือ
~ = Dρ âρ = ρS a âρ
D
ρ
(c) เมื่อ ρ > b
Dρ (2πρl) = 0
นั่นคือ
~ = Dρ âρ = ~0
D

2. จากสมการ Z
1 ~ E~ dv
WE = D.
2 V

เราจะได้
1 L 2π b ρS a ρS a
Z Z Z
WE = âρ . âρ ρdρdφdz
2 0 0 a ρ ρ
1 L 2π b ρ2S a2
Z Z Z
= dρdφdz
2 0 0 a ρ
1 L 2π b ρ2S a2
Z Z Z
= dρdφdz
2 0 0 a ρ
1 ρ2S a2 b 1
Z Z 2π Z L
= dρ dφ dz
2  a ρ 0 0
ρ2S a2 πL
 
b
= ln
 a
3.7. พลังงานและความหนาแน่นของพลังงาน (ENERGY AND ENERGY DENSITY)61

3. เนื่องจาก Z
1
WE = ρV V dv และ ρV dv = ρS ds
2 V

ดังนั้น
Z
1
WE = ρS V ds
2 S
1
= (Qa Va + Qb Vb )
2

โดยที่ Qa = 2πaLρS,a และ Qb = 2πbLρS,b

นอกจากนี้เนื่องจากประจุ Qa ที่ตัวนำด้านในเหนี่ยวนำให้เกิดประจุตรงข้ามที่มีขนาด
เท่ากัน Qb นั่นคือ

Qa = −Qb หรือ 2πaLρS,a = −2πbLρS,b

ดังนั้น ρS,b สามารถเขียนในเทอมของ ρS,a = ρS นั่นคือ


2πaL a
ρS,b = − ρS,a = − ρS
2πbL b

และดังนั้น

WE = πaLρS (Va − Vb )

นอกจากนี้เนื่องจาก
Z a
Va − Vb = − ~ L
E.d ~
b
Z a
ρS a
=− âρ .d~l
b ρ
Z a
ρS a
=− dρ
b ρ
 
ρS a b
= ln
 a

ดังนั้น
ρ2 a2
 
b
WE = πL S ln
 a
62บทที่ 3. ศักย์ทางไฟฟ้า (ELECTRICAL POTENTIAL) และพลังงาน (ENERGY)

4. เนื่องจาก
1~ ~
wE = D.E
2
ดังนั้น



0, ρ<a
1 ρ2S a2

    
1~ ~ ρS a ρS a
wE = D.E = 12 âρ . âρ = , a<ρ<b
2 
 ρ ρ 2 ρ2


0, ρ>b

ตัวอย่าง 35. พิจารณาทรงกลมโลหะรัศมี a และมีความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าต่อพื้นที่


คงตัว ρS จงหา
~ ในช่วง r < a และ r > a
1. ความหนาแน่นของฟลักซ์ไฟฟ้า D

~ ในช่วง r < a และ r > a


2. ความเข้มของสนามไฟฟ้า E

3. ศักย์ไฟฟ้า V บนพื้นผิวของทรงกลมโลหะ
Z
1 ~ E~ dv
4. พลังงานในรูปของไฟฟ้าสถิตย์ WE โดยใช้สมการ WE = D.
2 V
Z
1
5. พลังงานในรูปของไฟฟ้าสถิตย์ WE โดยใช้สมการ WE = ρV V dv
2 V

วิธีทำ
~ ได้จากกฎของเกาส์ดังต่อไปนี้
1. เราสามารถหาความหนาแน่นของฟลักซ์ไฟฟ้า D

0 ,r < a
Dr 4πr2 =
ρ 4πa2 , r > a
S

ดังนั้น 
0 ,r < a
Dr =  a 2
ρS ,r > a
r
นั่นคือ 
~0 ,r < a
~ = Dr âr =
D  a 2
ρS âr ,r > a
r
3.7. พลังงานและความหนาแน่นของพลังงาน (ENERGY AND ENERGY DENSITY)63

~
~ = D ดังนั้น
2. เนื่องจากความเข้มของสนามไฟฟ้า E


0 ,r < a
Er = ρS  a 2
 ,r > a
 r

นั่นคือ 
~0 ,r < a
~ = Er âr =
E
 ρS a âr
 2
,r > a
 r

3. ศักย์ไฟฟ้า V บนพื้นผิวของทรงกลมโลหะเป็นไปตามสมการ
Z a Z a Z a Z a a
~ ~ ρS  a 2 ρS a2 ρS a
V =− E.dl = − Er dr = − Er dr = − dr = = 
∞ ∞ ∞ ∞  r  r ∞

4. พลังงานในรูปของไฟฟ้าสถิตย์ WE โดยใช้สมการ
Z
1 ~ E~ dv
WE = D.
2 V

เนื่องจาก 
~0 ,r < a
~ = Dr âr =
D  a 2
ρS âr ,r > a
r
และ
dv = 4πr2 dr

ดังนั้น

ρ2S  a 4
Z
1
WE = 4πr2 dr
2 V  r
Z ∞ 2 4
ρS a
= 2π dr
a  r2

ρ2S a4
= −2π
 r a
a3 ρ2S
= 2π

64บทที่ 3. ศักย์ทางไฟฟ้า (ELECTRICAL POTENTIAL) และพลังงาน (ENERGY)

5. พลังงานในรูปของไฟฟ้าสถิตย์ WE โดยใช้สมการ
Z
1
WE = ρV V dv
2 V

ρS a
แทนค่า V = และ ρV dv = ρS ds จะได้

Z Z
1 ρS a 1 ρS a
WE = ρS ds = ρS ds
2 S  2  S

Z
เนื่องจาก ds = 4πa2 ดังนั้น
S

a3 ρ2S
WE = 2π


รูปที่ 3.1: รูปแสดงเงื่อนไขขอบเขต


3.8. เงื่อนไขขอบเขตสำหรับรอยต่อระหว่างตัวนำสมบูรณ์แบบกับประภูมิอิสระ (BOUNDARY CONDITION FOR INTER

3.8 เงื่อนไขขอบเขตสำหรับรอยต่อระหว่างตัวนำสมบูรณ์แบบ
กับประภูมิอิสระ (Boundary Condition for Interface be-
tween Perfect Conductor and Free Space)
พิจารณารอยต่อระหว่างตัวนำสมบูรณ์แบบกับประภูมิอิสระเราสามารถหาเงื่อนไขขอบเขต
ได้ดังนี้

1. สร้างพื้นผิวปิด S เป็นทรงกระบอกที่มีพื้นที่หน้าตัด ∆S และมีความสูง ∆l ดังรูป 3.1


จากสมการ I
~ S
D.d ~=q

เมื่อ ∆l → 0 เราจะได้

DN1 ∆S + (DN2 ) ∆S = ρS ∆S

~ ภายในตัวนำสอดคล้องกับสมการ
เนื่องจาก E

J~ = σ E
~

และความนำภายในตัวนำเป็นอนันต์ นอกจากนี้ความหนาแน่นของกระแส J~
~ = ~0 นั่นคือ
มีค่าจำกัดดังนั้น E

DN2 = EN2 = 0

แทน DN2 = 0 ลงในสมการ

DN1 ∆S + (−DN2 ) ∆S = ρS

เราจะได้
DN1 = ρS

2. สร้างวงปิด L เป็นสี่เหลี่ยม ดังรูป 3.1 จากสมการ


I
~ ~l = 0
E.d
L

เมื่อ ∆h → 0 เราจะได้

Et2 ∆l + (−Et1 ) ∆l = 0
66บทที่ 3. ศักย์ทางไฟฟ้า (ELECTRICAL POTENTIAL) และพลังงาน (ENERGY)

~ ภายในตัวนำสอดคล้องกับสมการ
เนื่องจาก E

J~ = σ E
~

และความนำภายในตัวนำเป็นอนันต์ นอกจากนี้ความหนาแน่นของกระแส J~
~ = ~0 นั่นคือ
มีค่าจำกัดดังนั้น E

Et2 = 0

แทน Et2 = 0 ลงในสมการ

Et2 ∆l + (−Et1 ) ∆l = 0

เราจะได้
Et1 = 0

3.9 ทฤษฎีภาพฉาย (Image Theory)


เมื่อมีประจุวางอยู่เหนือระนาบตัวนำไฟฟ้าอนันต์ค่าของความเข้มของสนามไฟฟ้า E ~
และ ศักย์ไฟฟ้า V ที่จุด P เหนือระนาบตัวนำไฟฟ้าอนันต์มีค่าเท่ากับกรณีที่เอาระนาบ
ตัวนำไฟฟ้าอนันต์ออกและมีประจุขนาดเท่ากันแต่ตรงข้ามวางอยู่อีกข้างหนึ่งของระนาบ
ตัวนำไฟฟ้าอนันต์และมีระยะห่างเท่ากับประจุตรงข้าม

 
d d
ตัวอย่าง 36. ให้ประจุ q อยู่สูง อยู่ที่ ( 0, 0, ในพิกัดฉาก) เหนือระนาบตัวนำ
2 2
ไฟฟ้าอนันต์จงหา
π
1. V ที่ P (r, φ, θ) ในพิกัดทรงกลม เมื่อ r >> 0, 0 < θ <
2
~ ที่ P (r, φ, θ) ในพิกัดทรงกลม เมื่อ r >> 0, 0 < θ < π
2. E
2
วิธีทำ

1. จากทฤษฎีภาพฉายเราสามารถหา V ได้จาก
kq k(−q)
V = +
r1 r2
kq(r2 − r1 )
=
r1 r2
3.9. ทฤษฎีภาพฉาย (IMAGE THEORY) 67

รูปที่ 3.2: รูปแสดงทฤษฎีภาพฉาย

เนื่องจาก r >> 0 ดังนั้น d sin θ = r2 − r1 , r1 r2 = r2 นั่นคือ


kqd sin θ
V =
r2
 
~ = −OV = − ∂V 1 ∂V 1 ∂V
2. เนื่องจาก E âr + âθ + âφ ดังนั้น
∂r r ∂θ r sin θ ∂φ

~ = kqd (2 cos θâr + sin θâθ )


E
r3
d d
ตัวอย่าง 37. ให้จุดประจุ q อยู่ที่ P (0, 0, ) ซึ่งสูงจากระนาบตัวนำไฟฟ้าอนันต์เท่ากับ
2 2
จงหาความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าต่อพื้นที่ ρS บนระนาบตัวนำไฟฟ้าอนันต์ใต้จุดประจุ q

~ โดยใช้ทฤษฎีภาพฉายและ
วิธีทำ เราสามารถหาความเข้มของสนามไฟฟ้า E
~ ตามสมการ
กฎของคูลอมบ์ เราจะได้ความเข้มของสนามไฟฟ้า E

~ = q (−q)
E (−âz ) + âz
4π0 r2 4π0 r2
68บทที่ 3. ศักย์ทางไฟฟ้า (ELECTRICAL POTENTIAL) และพลังงาน (ENERGY)

รูปที่ 3.3: รูปแสดงตัวอย่าง 37

หรือ
~ =− 2q
E âz
4π0 r2
d
แทนค่า r = จะได้ว่า
2
~ = − 2q âz
E
π0 d2

จากเงื่อนไขขอบเขต เราจะได้ว่า
 
2q 2q
ρs = DN = 0 − =−
π0 d2 πd2

ตัวอย่าง 38. ให้ตัวนำโลหะตันมีพื้นที่หน้าตัดเป็นวงกลมซึ่งมีรัศมี r และมีความหนาแน่น


ของประจุบนพื้นผิวบนผิวด้านข้างเท่ากับ ρS และวางขนานแกน x แกนกลางอยู่ที่ z =
h และมีระนาบตัวนำไฟฟ้าอนันต์บนระนาบ xy รูป 3.4 จงหาความหนาแน่นของประจุบนพื้นผิว
บนระนาบตัวนำไฟฟ้าอนันต์ที่จุดกำเนิด
3.9. ทฤษฎีภาพฉาย (IMAGE THEORY) 69

รูปที่ 3.4: รูปแสดงตัวอย่าง 38

วิธีทำ โดยการใช้ทฤษฎีภาพฉายเราสามารถหาความหนาแน่นของฟลักซ์ไฟฟ้า D ~ ได้


โดยการเอาระนาบตัวนำไฟฟ้าอนันต์ออกแล้วแทนด้วยตัวนำโลหะตันมีพื้นที่หน้าตัดเป็น
วงกลมซึ่งมีรัศมี r และมีความหนาแน่นของประจุบนพื้นผิวบนผิวด้านข้างเท่ากับ −ρS
และวางขนานแกน x แกนกลางอยู่ที่ z = −h ความหนาแน่นของฟลักซ์ไฟฟ้า D ~ เป็นไป
ตามสมการ
~ =D
D ~h +D~ −h

โดยที่ความหนาแน่นของฟลักซ์ไฟฟ้าอันเนื่องมาจากตัวนำโลหะบนหาได้จากการใช้กฎ
ของคูลอมบ์ตามสมการ
Dh (2πh)∆l = ρS (2πa)∆l

จะได้ว่า
ρS a
Dh =
h

นอกจากนี้
~ h = − ρS a âz
D
h
70บทที่ 3. ศักย์ทางไฟฟ้า (ELECTRICAL POTENTIAL) และพลังงาน (ENERGY)

ในทำนองเดียวกัน
~ −h = − ρS a âz
D
h

นั่นคือ

~ −h = − ρS a âz + − ρS a âz = − 2ρS a âz


   
~ =D
D ~h +D
h h h
2ρS a
สรุปได้ว่า ρS | (x, y, z) = (0, 0, 0) = DN |(x,y,z)=(0,0,0) = −
h

ตัวอย่าง 39. ให้ทรงกลมโลหะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ (x, y, z) = (0, 0, 0) และมีรัศมี R


1 ρS R2
นอกจากนี้ศักย์ V = , r > R จงหาความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าต่อพื้นที่
0 r
ρS บนพื้นผิวของทรงกลมโลหะ

วิธีทำ ความเข้มของสนามไฟฟ้า E ~ เป็นไปตามสมการ


 
~ ∂V 1 ∂V 1 ∂V
E = −OV = − âr + âθ + âφ , r > R
∂r r ∂θ r sin θ ∂φ
1 ρS R2
= âr , r > R
0 r2

เราสามารถหาความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าต่อพื้นที่หาได้จากเงื่อนไขขอบเขตดังนี้

1 ρS R2

DN = Dr |r=R = 0 Er |r=R = 0 = ρS
0 r2 r=R

นั่นคือความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าต่อพื้นที่เท่ากับ ρS

ตัวอย่าง 40 (ข้อสอบเก่ากลางภาค ปีการศึกษา 2556). จุดประจุ q อยู่ที่ (x, y, z) =


(0, 0, h) ที่ระนาบ xy เป็นระนาบตัวนำไฟฟ้าอนันต์ จงหาความหนาแน่นของ
ประจุไฟฟ้าต่อพื้นผิว ρS ที่

1. (x, y, z) = (0, 0, 0)

2. (x, y, 0) ใดๆ

วิธีทำ
3.9. ทฤษฎีภาพฉาย (IMAGE THEORY) 71

~ เหนือระนาบตัวนำไฟฟ้าอนันต์
1. เราสามารถหาความเข้มของสนามไฟฟ้า E
ได้โดยใช้ทฤษฎีภาพฉาย

~ = 1 q (−âz ) + 1 −q (âz )
E
4π h2 4π h2
2 q
=− âz
4π h2
เราจะได้ว่า

~ = E
D ~
2 q
= − âz
4π h2
1 q
=− âz
2π h2
(3.25)

นั่นคือ
1 q
ρS = DN = −
2π h2
~ เหนือระนาบตัวนำไฟฟ้าอนันต์
2. เราสามารถหาความเข้มของสนามไฟฟ้า E
ได้โดยใช้ทฤษฎีภาพฉาย

~ = 1 qh 1 −qh
E 3 (−âz ) + (âz )
4π (x2 + y 2 + h2 ) 2 4π (x2 + y 2 + h2 ) 23
2 qh
=− âz
4π (x2 + y 2 + h2 ) 23

เราจะได้ว่า

~ = E
D ~
2 qh
= − âz
4π h2
1 qh
=− âz
2π (x2 + y 2 + h2 ) 32

นั่นคือ
1 qh
ρS = DN = −
2π (x2 + y 2 + h2 ) 32
72บทที่ 3. ศักย์ทางไฟฟ้า (ELECTRICAL POTENTIAL) และพลังงาน (ENERGY)
บทที่ 4

กระแสและตัวนำ
(Current and Conductors)

4.1 กระแสและความหนาแน่นของกระแส (Current and Conduc-


tors)

กระแสถูกนิยามว่าเป็นอัตราของการเคลื่อนที่ของประจุผ่านระนาบอ้างอิงที่กำหนดนั่นคือ

dQ
I=
dt

โดยที่ I คือกระแส (Current) และ Q คือ ประจุ (Charge)


ในทางทฤษฎีบริเวณที่มีกระแสใหลผ่านไม่ได้เป็นแค่จุดหากแต่เป็นบริเวณดังนั้นเรา
จะต้องศึกษาแนวความคิดของความหนาแน่นของกระแส1 J~ ตามสมการ

∆I = JN ∆S (4.1)

โดยที่ JN เป็นกระแส ∆I ต่อพื้นผิว ∆S ในส่วนที่ตั้งฉากกับพื้นผิว ∆S


สมการ 4.1 อาจเขียนใหม่อยู่ในรูปของสมการ 4.2

~ S
∆I = J.∆ ~ (4.2)

1
ความหนาแน่นของกระแส J~ เป็นปริมาณเวคเตอร์ (Vector Quantity)

73
74 บทที่ 4. กระแสและตัวนำ (CURRENT AND CONDUCTORS)

~ เป็นเวคเตอร์ที่ตั้งฉากกับพื้นผิว ∆S และมีขนาดเท่ากับ ∆S
โดยที่ ∆S
นอกจากนี้เราอาจเขียนสมการ ∆I = J.∆ ~ S ~ ในรูปแบบอินทิกรัลตามสมการ
Z
I= ~ S
J.d ~
S

ถ้าหากเราพิจารณาประจุที่มีการเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วในแนวแกน x (vx )
และความหนาแน่นของประจุ ρν เคลื่อนผ่านพื้นที่ตั้งฉาก ∆S ดังนั้นประจุที่
เคลื่อนผ่าน ∆S ในแนวตั้งฉากในช่วงเวลา ∆t คือ

∆Q = ρν ∆S∆x

นั่นคือกระแส I ที่ไหลผ่านตั้งฉาก ∆S เป็นไปตามสมการ


∆Q ∆x
∆I = = ρν ∆S
∆t ∆t
เมื่อ ∆t → 0 จะได้ว่า
∆I = ρν ∆Svx
นั่นคือ
∆I
Jx = = ρν vx
∆S
โดยที่ Jx คือส่วนประกอบของความหนาแน่นของกระแสในแนวแกน x
ในทำนองเดียวกันเราสามารถแสดงได้ว่าส่วนประกอบของความหนาแน่นของกระแส
ในแนวแกน y (Jy ) และ ส่วนประกอบของความหนาแน่นของกระแสในแนวแกน z
(Jz ) เป็นไปตามสมการ

Jy = ρν vy
Jz = ρν vz

เนื่องจาก

J~ = Jx âx + Jy ây + Jz âz และ ~v = vx âx + vy ây + vz âz

ดังนั้น
J~ = ρν vx âx + ρν vy ây + ρν vz âz = ρν ~v
นั่นคือ
J~ = ρν ~v
กระแสอันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของประจุในลักษณะนี้เรียกว่ากระแสการพา (Convec-
tion Current)
4.2. ตัวนำโลหะ (METALLIC CONDUCTOR) 75

4.2 ตัวนำโลหะ (Metallic Conductor)

ในตัวนำอิเล็คตรอนอิสระเคลื่อนที่ภายใต้อิทธิพลของแรงอันเนื่องจากความเข้มของ
สนามไฟฟ้า E ~ ตามสมการ
F~ = −eE ~

ในกรณีที่อิเล็คตรอนอิสระอยู่ภายในประภูมิอิสระอิเล็คตรอนอิสระจะเคลื่อนที่ด้วย
ความเร่ง หากแต่ในกรณีนี้อิเล็คตรอนอิสระจะถูกกีดขวางด้วยการจัดเรียงตัวเป็นผลึก
อิเล็คตรอนอิสระที่ถูกกระตุ้นทางอุณหภูมิอย่างต่อเนื่องจนได้ความเร็วคงตัวเรียกว่า
ความเร็วลอยเลื่อน (Drift Velocity) ตามสมการ

~
~vd = −µe E (4.3)

โดยที่ µe คือความคล่องตัว (Mobility)


แทนสมการ 4.3 ลงใน J~ = ρe~vd จะได้

J~ = −ρe µe E
~

ถ้าหากเราให้ความนำ (Conductivity) σ = −ρe µe ดังนั้น

J~ = σ E
~ (4.4)

นอกจากนี้เราเรียกกระแสตามสมการ 4.4 ว่ากระแสการนำ (Conduction Current)

4.3 กระแสและกฎของโอห์ม(Ohm’s Law)

พิจารณาตัวนำโลหะทรงกระบอกหน้าตัดมีพื้นที่เท่ากับ S และความนำ σ นอกจากนี้


มีกระแส I ไหลผ่านจากจุด A ไปยังจุด B ยาว L โดยที่ความหนาแน่นของกระแส J~
ค่าคงตัว ดังนั้น Z
I= ~ S
J.d ~ = JS
S

่ ~ = σE
โดยทีJ ~
นอกจากนี้ Z A
VAB = VA − VB = − ~ L
E.d ~ = EL
B
76 บทที่ 4. กระแสและตัวนำ (CURRENT AND CONDUCTORS)

นั่นคือ

VAB = IR (4.5)

โดยที่
L
R= คือ ความต้านทาน (Resistance)
σS
ความจริงแล้วสมการ 4.5 คือ กฎของโอห์มนั่นเอง

ในสมการ 4.5 เราตั้งสมมติฐานว่า σ, J~ และ E~ คงตัว หากแต่โดยทั่วไปแล้วไม่คงตัว


ในกรณีที่ไม่คงตัวเราจะได้ว่า Z A
− ~ L
E.d ~
B
R= Z
~ S
σ E.d ~
S

4.4 สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor)


ในกรณีของสารกึ่งตัวนำประจุคือโฮล (Hole) และอิเล็คตรอน (Electron) ดังนั้นความนำ σ
ประกอบไปด้วยความนำอันเนื่องมาจากโฮลและความนำอันเนื่องมาจากอิเล็คตรอน นั่นคือ

σ = −ρe µe + ρh µh
บทที่ 5

หลักการอนุรักษ์ของประจุ
(Conservation Principle of Charge)

5.1 หลักการอนุรักษ์ของประจุ (Conservation Principle of Charge)


คล้ายคลึงกับการอนุรักษ์ของพลังงาน หลักการอนุรักษ์ของประจุประจุไม่มีการเกิดหรือสูญหาย
ดังแสดงได้ตามสมการ
I
~ S
J.d ~ = − dq (5.1)
S dt

จากทฤษฎีบท 1 ทฤษฎีบทไดเวอร์เจนซ์ จะได้ว่า


I Z
~ S
J.d ~= O.J~ dV (5.2)
S V

และเนื่องจากประจุอาจเขียนอยู่ในรูปความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าได้ว่า
Z
q= ρ dV (5.3)
V

ดังนั้น
Z 
Z d ρ dV
O.J~ dV = − V
(5.4)
V dt

77
78บทที่ 5. หลักการอนุรักษ์ของประจุ(CONSERVATION PRINCIPLE OF CHARGE)

หรือ
Z Z 
∂ρ
O.J~ dV = − dV (5.5)
V V ∂t

นั่นคือ
∂ρ
O.J~ = − (5.6)
∂t
ตัวอย่าง 41. พิจารณาปริมาตรรูปทรงกลมรัศมี R ถ้าความหนาแน่นของประจุ
ρ0 −(αr+βt)
ρV (t) = e , 0 ≤ r ≤ R, 0 ≤ t
r2
จงหา

1. ความหนาแน่นของประจุในปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย 0 ≤ r ≤ R ที่เวลา
t=0

2. ประจุทั้งหมดในปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย 0 ≤ r ≤ R ที่เวลา t = 0

3. กระแสที่ไหลออกจากปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย 0 ≤ r ≤ R

4. ความหนาแน่นของกระแสต่อพื้นที่ที่ไหลออกจาก r = R

วิธีทำ

1. ความหนาแน่นของประจุในปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย 0 ≤ r ≤ R ที่เวลา
t = 0 เป็นไปตามสมการ
ρ0 −(αr+β(0)) ρ0 −αr
ρV (0) = e = 2e
r2 r

2. ประจุในปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย 0 ≤ r ≤ R ที่เวลา t = 0
เป็นไปตามสมการ
Z Z R
ρ0 −αr ρ0
4πr2 dr = 4π 1 − e−αR

q(0) = ρV (0) dv = 2
e
V 0 r α

3. กระแสที่ไหลออกจากปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย 0 ≤ r ≤ R
เป็นไปตามสมการ
dq
I=−
dt
5.1. หลักการอนุรักษ์ของประจุ (CONSERVATION PRINCIPLE OF CHARGE)79

เนื่องจาก Z
q(t) = ρV (t) dv
V

ดังนั้น
Z 
d ρV (t) dv
dq(t) V
=
dt dt
Z R 
ρ0 −(αr+βt) 2
d 2
e 4πr dr
0 r
=
dt
Z R 
−(αr+βt)
d 4πρ0 e dr
0
=
dt
!
ρ0 −(αr+βt) R
d 4π e
−α
0
=
 ρ dt ρ0 
0 −(βt)
= −4πβ e − e−(αR+βt)
α α
4πβρ0  −(βt) 
=− e − e−(αR+βt)
α

นั่นคือกระแส I เป็นไปตามสมการ
dq 4πβρ0  −(βt) 
I=− = e − e−(αR+βt)
dt α

4. ความหนาแน่นของกระแสต่อพื้นที่ J~ เป็นไปตามสมการ
I
J~ = Jr âr = âr
S

โดยที่ S = 4πR2
นั่นคือ
βρ0  −(βt) 
J~ = 2 e − e−(αR+βt) âr
R α
ตัวอย่าง 42 (ข้อสอบเก่ากลางภาค ปีการศึกษา 2556). พิจารณาปริมาตรรูป
ทรงกระบอกที่มีหน้าตัดเป็นวงกลมรัศมี R ถ้าความหนาแน่นของประจุ
ρ0 −(αρ+βt)
ρV (t) = e , 0 ≤ ρ ≤ R, 0 ≤ z ≤ h, t ≥ 0
ρ
80บทที่ 5. หลักการอนุรักษ์ของประจุ(CONSERVATION PRINCIPLE OF CHARGE)

เมื่อ ρ0 เป็นค่าคงตัว
จงหา

1. ความหนาแน่นของประจุในปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย 0 ≤ ρ ≤ R และ 0 ≤ z ≤
h ที่เวลา t = 0

2. ประจุทั้งหมดในปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย 0 ≤ ρ ≤ R และ 0 ≤ z ≤ h ที่เวลา t =


0

3. กระแสที่ไหลออกจากปริมาตรที่ถูกกำหนดโดย 0 ≤ ρ ≤ R และ 0 ≤ z ≤
h ที่เวลา t = 0

4. ความหนาแน่นของกระแสต่อพื้นที่ที่ไหลออกจาก ρ = R และ 0 ≤ z ≤ h ที่เวลา t =


0

วิธีทำ

1. แทน t = 0 ลงในสมการ

ρ0 −(αρ+βt)
ρV (t) = e , 0 ≤ ρ ≤ R, 0 ≤ z ≤ h, t ≥ 0
ρ

จะได้
ρ0 −(αρ)
ρV (0) = e , 0 ≤ ρ ≤ R, 0 ≤ z ≤ h
ρ

2. ประจุทั้งหมดในปริมาตร ที่เวลา t = 0 เป็นไปตามสมการ


Z
q= ρV (0) dv
V
Z R
= 2πρhρV (0) dρ
0

ρ0 −(αρ)
แทน ρV (0) = e ลงไปในสมการ
ρ
Z R
q= 2πρhρV (0) dρ
0
5.1. หลักการอนุรักษ์ของประจุ (CONSERVATION PRINCIPLE OF CHARGE)81

จะได้ว่า
Z R
ρ0 −(αρ)
q= 2πρh e dρ
0 ρ
Z R
= 2πhρ0 e−(αρ) dρ
0
ρ0 0
= 2πh e−(αρ)

α R
ρ0 −(αR)

= 2πh 1−e
α

3. เนื่องจากประจุทั้งหมดในปริมาตรเป็นไปตามสมการ
Z
q= ρV (t) dv
V
Z R
= 2πρhρV (t) dρ
0
ρ0 −(αρ+βt)
ดังนั้นเมื่อแทน ρV (t) = e ลงไปในสมการ
ρ
Z R
q= 2πρhρV (t) dρ
0

จะได้ว่า
Z R
ρ0 −(αρ+βt)
q= 2πρh e dρ
0 ρ
Z R
= 2πhρ0 e−(αρ+βt) dρ
0
ρ0 −(αρ+βt) 0
= 2πh e
α

R
ρ0 −βt −(αR+βt)

= 2πh e −e
α
เราสามารถหากระแสที่เวลา t ได้จาก
dq
I(t) = −
dt
ρ0  −βt 
= 2πhβ e − e−(αR+βt)
α
สรุปได้ว่า
ρ0  
I(0) = 2πhβ 1 − e−(αR)
α
82บทที่ 5. หลักการอนุรักษ์ของประจุ(CONSERVATION PRINCIPLE OF CHARGE)

4. เราสามารถหาความหนาแน่นของกระแสต่อพื้นที่ที่ไหลออกจาก ρ = R, 0 ≤ z ≤
h ที่เวลา t = 0 ได้จาก

~ I(0)
J(0) = âρ
2πRh
ρ0  
= 2πhβ 1 − e−(αR) âρ
2πRhα
hρ0  
=β 1 − e−(αR) âρ
Rhα
ρ0 
=β 1 − e−(αR) âρ

5.2 หลักการอนุรักษ์ของประจุและกฎกระแสของเคอร์ชอฟฟ์
(Conservation Principle of Charge and Kirchhoff’s Cur-
rent Law)
พิจารณาปริมาตร V ซึ่งถูกล้อมรอบด้วยพื้นผิวปิด S ดังนั้นจากหลักการอนุรักษ์ของประจุ

∂ρ
O.J~ = −
∂t

เราจะได้ Z 
Z Z ∂ ρ dV
∂ρ
O.J~ dV = − dV = − V
V V ∂t ∂t
Z
เนื่องจาก q = ρ dV ดังนั้น
V
Z
dq
O.J~ dV = −
V dt

นอกจากนี้จากทฤษฎีบทไดเวอร์เจนซ์
I Z
~ ~
J.dS = O.J~ dv
S V

จะได้ว่า I
~ S
J.d ~ = − dq
S dt
5.2. หลักการอนุรักษ์ของประจุและกฎกระแสของเคอร์ชอฟฟ์(CONSERVATION PRINCIPLE OF CHARGE AND KIR

ในกรณีที่ไม่มีการสะสมหรือลดลงของประจุภายในปริมาตร V นั่นคือ

dq
=0
dt

เราจะได้ว่า I
~ S
J.d ~=0
S

ถ้าหากว่าพื้นผิวปิด S ล้อมรอบปม (Node) ใด ๆของวงจรไฟฟ้าตามกฎกระแสของเคอร์ชอฟฟ์


ปมเชื่อมต่อกับสาขา (Branch) i, i = 1, . . . , n ที่มีกระแสไหลออก Ii , i = 1, . . . , n
ตามลำดับ เราจะได้ว่า I Xn
~ S
J.d ~= Ii
S i=1

นั่นคือ
n
X
Ii = 0
i=1
84บทที่ 5. หลักการอนุรักษ์ของประจุ(CONSERVATION PRINCIPLE OF CHARGE)
บทที่ 6

ไดอิเลคตริคและความจุ
(Dielectrics and Capacitance)

6.1 ไดอิเลคตริค (Dielectrics)

6.1.1 ไดโพลและโมเมนต์ไดโพล (Dipole and Dipole Moment)

เราสามารถจำลองแบบโมเลกุลของไดอิเลคตริคด้วยไดโพลดังแสดงในรูป
จากบทก่อนเรานิยามโมเมนต์ไดโพล p~ ตามสมการ

p~ = q d~

ถ้าหากว่าโมเลกุลที่ i ซึ่งถูกจำลองด้วยไดโพลมีไดโพลโมเมนต์ p~i แล้ว


ไดโพลโมเมนต์ทั้งหมดในปริมาตร ∆v เป็นไปตามสมการ

n∆v
X
p~total = p~i
i=1

โดยที่ n คือความหนาแน่นของโมเลกุลหรือไดโพลโมเมนต์ต่อปริมาตร

85
86 บทที่ 6. ไดอิเลคตริคและความจุ (DIELECTRICS AND CAPACITANCE)

6.1.2 ไดอิเลคตริคและโพลาไรเซชัน (Dielectrics and Polarization)


พิจารณาไดอิเลคตริคที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นผิวปิด S ดังรูป
จากกฎของเกาส์ความหนาแน่นของฟลักซ์ไฟฟ้าเป็นไปตามสมการ
I
~ S
D.d ~=q
S

โดยที่ q เป็นประจุที่อยู่ในพื้นผิวปิด S
โมเลกุลของไดอิเลคตริคด้วยไดโพลดังแสดงในรูป มีการจัดเรียงแบบสุ่ม
เมื่อมีความเข้มของสนามไฟฟ้า E ~ จากภายนอกผ่านไดอิเลคตริค โมเลกุลของ
ไดอิเลคตริคจะมีการจัดเรียงใหม่ดังรูป
ประจุภายในพื้นผิวปิด S จะมีการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการจัดเรียงตัว
ใหม่ของโมเลกุล qb ดังนั้นเมื่อมีความเข้มของสนามไฟฟ้า E ~ จากภายนอกผ่าน
ไดอิเลคตริค ความหนาแน่นของฟลักซ์ไฟฟ้าเป็นไปตามสมการ
I
~ S
D. ~ = qt
S

โดยที่ประจุทั้งหมด เมื่อมีความเข้มของสนามไฟฟ้า E~ จากภายนอกผ่าน


ไดอิเลคตริคเป็นไปตามสมการ
qT = q + qb
เราสามารถหา qb ได้จากสมการ

dqb = −n~ ~
p.dS

นั่นคือ I
qb = − n~ ~
p.dS
S

ถ้าหากเรานิยามโพลาไรเซชัน (Polarization) ตามสมการ


n∆v
1 X
P~ = lim p~i
∆v→0 ∆v
i=1

ดังนั้น
P~ = n~
p
และดังนั้น I I
~ S
D.d ~ =q− P~ .dS
~
S S
6.1. ไดอิเลคตริค (DIELECTRICS) 87

นั่นคือ I  
~ + P~ .dS
0 E ~=q
S

ถ้าหากให้
P~ = χE
~

ดังนั้น I
~ S
0 (1 + χ) E.d ~=q
S

~ = E
นอกจากนี้เราให้ r = 1 + χ และ D ~ ดังนั้น
I
~ S
E.d ~=q
S

~ = E
โดยที่  = r 0 และ D ~

6.1.3 เงื่อนไขขอบเขต (Boundary Condition)

พิจารณารอยต่อระหว่างตัวนำสมบูรณ์แบบกับไดอิเลคตริคเราสามารถหาเงื่อนไขขอบเขตได้
ดังนี้

1. สร้างพื้นผิวปิด S เป็นทรงกระบอกที่มีพื้นที่หน้าตัด ∆S และมีความสูง ∆l ดังรูป 6.1


จากสมการ I
~ S
D.d ~=q

เมื่อ ∆l → 0 เราจะได้

DN1 ∆S + (DN2 ) ∆S = ρS ∆S

~ ภายในตัวนำสอดคล้องกับสมการ
เนื่องจาก E

J~ = σ E
~

และความนำภายในตัวนำเป็นอนันต์ นอกจากนี้ความหนาแน่นของกระแส J~
~ = ~0 นั่นคือ
มีค่าจำกัดดังนั้น E

DN2 = EN2 = 0
88 บทที่ 6. ไดอิเลคตริคและความจุ (DIELECTRICS AND CAPACITANCE)

แทน DN2 = 0 ลงในสมการ

DN1 ∆S + (−DN2 ) ∆S = ρS

เราจะได้
DN1 = ρS

2. สร้างวงปิด L เป็นสี่เหลี่ยม ดังรูป 3.1 จากสมการ


I
~ ~l = 0
E.d
L

เมื่อ ∆h → 0 เราจะได้

Et2 ∆l + (−Et1 ) ∆l = 0

~ ภายในตัวนำสอดคล้องกับสมการ
เนื่องจาก E

J~ = σ E
~

และความนำภายในตัวนำเป็นอนันต์ นอกจากนี้ความหนาแน่นของกระแส J~
~ = ~0 นั่นคือ
มีค่าจำกัดดังนั้น E

Et2 = 0

แทน Et2 = 0 ลงในสมการ

Et2 ∆l + (−Et1 ) ∆l = 0

เราจะได้
Et1 = 0
6.1. ไดอิเลคตริค (DIELECTRICS) 89

รูปที่ 6.1: รูปแสดงเงื่อนไขขอบเขต

6.1.4 เงื่อนไขขอบเขตสำหรับไดอิเลคตริคสมบูรณ์แบบ (Boundary Condition


for Perfect Dielectrics)
พิจารณารอยต่อระหว่างไดอิเลคตริคเราสามารถหาเงื่อนไขขอบเขตได้ดังนี้

1. สร้างพื้นผิวปิด S เป็นทรงกระบอกที่มีพื้นที่หน้าตัด ∆S และมีความสูง ∆l ดังรูป


6.2 จากสมการ I
~ S
D.d ~=q

เมื่อ ∆l → 0 เราจะได้

DN1 ∆S − (DN2 ) ∆S = ρS ∆S

เนื่องจาก ρS = 0 ภายในฉนวนไฟฟ้า นั่นคือ

DN1 = DN1

แทน DN1 = 1 EN1 และ DN2 = 2 EN2 ลงในสมการ

DN1 = DN1
90 บทที่ 6. ไดอิเลคตริคและความจุ (DIELECTRICS AND CAPACITANCE)

รูปที่ 6.2: รูปแสดงเงื่อนไขขอบเขตระหว่างไดอิเลคตริค

เราจะได้
1 EN1 = 2 EN2

2. สร้างวงปิด L เป็นสี่เหลี่ยม ดังรูป 6.2 จากสมการ


I
~ ~l = 0
E.d
L

เมื่อ ∆h → 0 เราจะได้

Et2 ∆l + (−Et1 ) ∆l = 0

นั่นคือ
Et1 = Et2

6.2 ความจุ (Capacitance)


q
C=
V
6.2. ความจุ (CAPACITANCE) 91

รูปที่ 6.3: รูปแสดงความจุ

ตัวอย่าง 43. พิจารณาตัวเก็บประจุซึ่งประกอบด้วยแผ่นโลหะ1 สองแผ่นประกบกันโดยมี


ไดอิเลคตริคแทรกอยู่ตรงกลางดังรูป 6.4 จงหาความจุ

วิธีทำ โดยใช้กฎของเกาส์ เราสามารถหาความหนาแน่นของฟลักซ์ไฟฟ้าในไดอิเลคตริค


ได้ตามสมการ
~ = −ρS âz
D
~ = E
เนื่องจาก D ~ ดังนั้น
~ = − ρS âz
E

1
เราประมาณแผ่นโลหะว่าเป็นระนาบตัวนำไฟฟ้าอนันต์
92 บทที่ 6. ไดอิเลคตริคและความจุ (DIELECTRICS AND CAPACITANCE)

รูปที่ 6.4: รูปแสดงตัวอย่าง

และ Z z=d Z d
~ ~l = ρS d
V =− E.d E dz = Ed =
z=0 0 

เราสามารถหาความจุได้จาก

q ρS S S
C= = ρ d =
V S d


ตัวอย่าง 44. จงหาความจุของตัวเก็บประจุที่มีไดอิเลคตริคที่มีเพอร์มิตติวิตี 1 และ 2 ดังรูป

วิธีทำ ความจุ C เป็นไปตามสมการ


q
C=
V

โดยที่ q เป็นประจุบนแผ่นโลหะแผ่นบนและ V = E1 d + E2 d
เนื่องจากประจุ q หาได้จาก
q = ρS S

และ
D1 D2
E1 = และ E2 =
1 2
6.2. ความจุ (CAPACITANCE) 93

ดังนั้น
q ρS S ρS S
C= = = D1
V E1 d + E2 d 1 d + D22 d

นอกจากนี้จากเงื่อนไขขอบเขต

ρS = DN 1 = DN 2

และ
D1 = DN 1 และ DN 2 = D2

เราจะได้ว่า
ρS S 1
C = ρS ρS = 1
d+ d 1
1 2 +
1 S 2 S
d d

รูปที่ 6.5: รูปแสดงตัวอย่าง 44

ตัวอย่าง 45. จงหาความจุของตัวเก็บประจุที่มีไดอิเลคตริคที่มีเพอร์มิตติวิตี 1 และ 2 ดังรูป


94 บทที่ 6. ไดอิเลคตริคและความจุ (DIELECTRICS AND CAPACITANCE)

รูปที่ 6.6: รูปแสดงตัวอย่าง 45

วิธีทำ ความจุ C เป็นไปตามสมการ


q
C=
V

โดยที่ q = q1 + q2 และ V = E1 d = E2 d
เนื่องจากประจุ q1 และ q2 หาได้จาก

q1 = ρS1 S1 และ q2 = ρS2 S2

ดังนั้น
ρS1 S1 ρS2 S2
C= +
E1 d E2 d
D1 D2
เนื่องจาก E1 = = Et1 , E2 = = Et2
1 2
และจากเงื่อนไขขอบเขต
Et1 = Et2

ดังนั้น
1 ρS1 S1 2 ρS2 S2
C= +
D1 d D2 d
6.2. ความจุ (CAPACITANCE) 95

นอกจากนี้เนื่องจาก
ρS1 = DN 1 และ ρS2 = DN 2
และ
D1 = DN 1 และ D2 = DN 2
ดังนั้น
1 S1 2 S2
C= +
d d
ตัวอย่าง 46. พิจารณาตัวเก็บประจุซึ่งเป็นสายร่วมแกนความยาว L อยู่ในแนวแกน z
ตัวนำภายในมีรัศมี a โดยมีความหนาแน่นของประจุเท่ากับ ρS คงตัว และตัวนำภายนอก
มีรัศมีด้านใน b และมีรัศมีด้านนอก c และจงหาความจุของตัวเก็บประจุนี้

รูปที่ 6.7: รูปแสดงตัวอย่าง 46

~ ตามสมการ
วิธีทำ โดยใช้กฎของเกาส์เราสามารถหาความเข้มของสนามไฟฟ้า E
~ = aρS âρ
E

96 บทที่ 6. ไดอิเลคตริคและความจุ (DIELECTRICS AND CAPACITANCE)

นอกจากนี้ความต่างศักย์ Vab หาได้จากสมการ


Z a Z a Z a Z b  
~ ~ aρS ~ aρS aρS aρS b
Vab = − E.dl = − âρ .dl = − dρ = dρ = ln
b b ρ b ρ a ρ  a

เราสามารถหาความจุ C ได้จาก

q ρS (2πaL)
C= =  
V aρS b
ln
 a
(2πL)
=   (6.1)
b
ln
a

ตัวอย่าง 47. พิจารณาโลหะทรงกลมกลวง 2 ลูกมีจุดศูนย์กลางร่วมกันที่จุดกำเนิด รัศมี


a และ b ตามลำดับ โดยที่ a < b ความหนาแน่นของประจุไฟฟ้าต่อพื้นที่บนผิวโลหะ
ทรงกลมลูกในเท่ากับ ρS คงตัว ฉนวนระหว่างทรงกลมสองลูกมีเพอร์มิตติวิตีเท่ากับ 
นอกจากนี้สมมติให้บริเวณภายในทรงกลมลูกในและลูกนอกทรงกลมลูกนอกเป็น
ประภูมิอิสระและทรงกลมลูกนอกถูกเหนี่ยวนำให้มีประจุตรงข้ามแต่มีขนาดเท่ากัน จงหา

1. ประจุบนผิวโลหะทรงกลมลูกใน

~ ระหว่างทรงกลมสองลูก
2. ขนาดของความเข้มของสนามไฟฟ้า E

3. ความต่างศักย์ระหว่างทรงกลมสองลูก

4. ความจุของตัวเก็บประจุทรงกลมสองลูกนี้

5. ฟลักซ์ทางไฟฟ้าที่ผ่านพื้นผิวของเกาส์ r = 2b

วิธีทำ

1. ประจุบนผิวโลหะทรงกลมลูกใน = ρS (4πa2 ) = 4πρS a2

~ ระหว่างทรงกลมสองลูก
2. ขนาดของความเข้มของสนามไฟฟ้า E
จาก
ρS 4πa2 = E(4πr2 )

เราจะได้ว่า  a 2
E = ρS
r
6.2. ความจุ (CAPACITANCE) 97

3. ความต่างศักย์ระหว่างทรงกลมสองลูก
Z b
V = E. ~
~ dl
a
Z b  a 2
= ρS dr
a r
b
a2
= − ρS
r
 a 
2 1 1
= ρS a −
a b

4. ความจุของตัวเก็บประจุทรงกลมสองลูกนี้

Q
C=
V
4πρS a2
=  
2
1 1
ρS a −
a b

= 
1 1

a b

5. ฟลักซ์ทางไฟฟ้าที่ผ่านพื้นผิวของเกาส์ r = 2b

Ψ|r=2b = Qencl = Q − Q = 0
98 บทที่ 6. ไดอิเลคตริคและความจุ (DIELECTRICS AND CAPACITANCE)
บทที่ 7

สมการของปัวส์ซงและลาปลาซ
(Poisson’s Equation and Laplace’s
Equation)

เนื่องจาก

~ = ρV
O.D และ ~ = E
D ~ (7.1)

เราจะได้สมการ

~ = ρV
O.E

นอกจากนี้เนื่องจาก

~ = −OV
E

~ = −OV ลงในสมการ O.E


ดังนั้น ถ้าเราแทนสมการ E ~ = ρV จะได้

ρV
O.OV = − (7.2)


99
100บทที่ 7. สมการของปัวส์ซงและลาปลาซ(POISSON’S EQUATION AND LAPLACE’S EQUATION)

เราอาจแทน O.O ด้วย O2 เราเรียกว่าตัวดำเนินการลาปลาซ (Laplacian Operator)1


นั่นคือ
ρV
O2 V = − (7.3)

เราเรียกสมการ 7.3 ว่าสมการของปัวส์ซง (Poisson’s Equation)
ในกรณีที่ ρV = 0 เราจะได้สมการ

O2 V = 0 (7.4)

เราเรียกสมการ 7.4 ว่าสมการของลาปลาซ (Laplace’s Equation)

ตัวอย่าง 48. พิจารณาตัวเก็บประจุซึ่งประกอบด้วยแผ่นโลหะ2 สองแผ่นประกบกันโดยมี


~ ่z=
ไดอิเลคตริคแทรกอยู่ตรงกลางดังรูป 7.1 จงหาศักย์ V และความเข้มของสนามไฟฟ้า Eที
d โดยใช้สมการของลาปลาซ เมื่อ V (d) = V0 และ V (0) = 0

วิธีทำ จากสมการของลาปลาซ

O2 V = 0

และเงื่อนไขขอบเขต V (d) = V0 และ V (0) = 0


เนื่องจากเราตั้งสมมติฐานว่าแผ่นโลหะมีความกว้างและความยาวเป็นอนันต์ดังนั้นศักย์ V เมื่อ
0 ≤ z ≤ d ขึ้นกับ z เท่านั้น นั่นคือ
d2 V
O2 V = =0
dz 2
1

ในพิกัดฉาก(Rectangular Coordinates)
∂2V ∂2V ∂2V
O2 V = 2
+ 2
+
∂x ∂y ∂z 2

ในพิกัดทรงกระบอก(Cylindrical Coordinates)
1 ∂2V ∂2V
 
1 ∂ ∂V
O2 V = ρ + 2 2
+
ρ ∂ρ ∂ρ ρ ∂φ ∂z 2

ในพิกัดทรงกลม(Spherical Coordinates)
∂2V
   
1 ∂ ∂V 1 ∂ ∂V 1
O2 V = 2 r2 + 2 sin θ + 2 2
r ∂r ∂r r sin θ ∂φ ∂θ r sin θ ∂φ2

2
เราประมาณแผ่นโลหะว่าเป็นระนาบตัวนำไฟฟ้าอนันต์
7.1. ทฤษฎีบทความเป็นหนึ่ง (UNIQUENESS THEOREM) 101

และ V (d) = V0 และ V (0) = 0


ผลเฉลยของสมการของลาปลาซคือ

V (z) = c1 z + c2

จากเงื่อนไขขอบเขต V (d) = V0 และ V (0) = 0 จะได้ว่า

V0 z
V (z) =
d

~ เมื่อ 0 ≤ z ≤ d เป็นไปตามสมการ
นอกจากนี้ความเข้มของสนามไฟฟ้า E
 
V0 z
d
~ = −OV = − dV âz = −
E
d V0
âz = − âz
dz dz d

รูปที่ 7.1: รูปแสดงตัวอย่าง 48

7.1 ทฤษฎีบทความเป็นหนึ่ง (Uniqueness Theorem)


พิจารณาสมการของปัวส์ซง
ρV
O2 V = −

102บทที่ 7. สมการของปัวส์ซงและลาปลาซ(POISSON’S EQUATION AND LAPLACE’S EQUATION)

โดยที่เงื่อนไขขอบเขตเป็นไปตามสมการ

V = Vb
ρV
ถ้าหากว่า V1 และ V2 ต่างก็เป็นผลเฉลยของสมการของปัวส์ซง O2 V = − และ

สอดคล้องกับเงื่อนไขขอบเขต V = Vb ดังนั้น
ρV ρV
O2 V1 = − และ O2 V2 = −
 

นอกจากนี้
V1b = V2b = Vb

นั่นคือ
ρV  ρ 
V
O2 (V1 − V2 ) = O2 V1 − O2 V2 = − − − =0
 
และ
V1b − V2b = Vb − Vb = 0

จากเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
   
O. V D ~ = V O.D
~ + D.
~ (OV )

ถ้าเราให้
V = V1 − V2 และ ~ = O (V1 − V2 )
D

จะได้ว่า

O. [(V1 − V2 ) O (V1 − V2 )] = (V1 − V2 ) [O.O (V1 − V2 )]+O (V1 − V2 ) . [O (V1 − V2 )]

และ
Z Z
O. [(V1 − V2 ) O (V1 − V2 )] dv = (V1 − V2 ) [O.O (V1 − V2 )] dv
V ZV
+ O (V1 − V2 ) . [O (V1 − V2 )] dv
ZV
(V1 − V2 ) O2 (V1 − V2 ) dv
 
=
ZV
+ O (V1 − V2 ) . [O (V1 − V2 )] dv
V
7.1. ทฤษฎีบทความเป็นหนึ่ง (UNIQUENESS THEOREM) 103

เนื่องจาก O2 (V1 − V2 ) = 0 ดังนั้น


Z
(V1 − V2 ) O2 (V1 − V2 ) dv = 0
 
V

นอกจากนี้โดยใช้ทฤษฎีบทไดเวอร์เจนซ์เราจะได้ว่า
Z Z
O. [(V1 − V2 ) O (V1 − V2 )] dv = ~
[(V1 − V2 ) O (V1 − V2 )] .S
V S

เนื่องจากบน S ดังนั้น
V1 = V1b และ V2 = V2b

และ
V1 − V2 = V1b − V2b = 0

นั่นคือ
Z Z
O. [(V1 − V2 ) O (V1 − V2 )] dv = ~
[(V1 − V2 ) O (V1 − V2 )] .S
V ZS
= ~
[(V1b − V2b ) O (V1 − V2 )] .S
S
=0

จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาข้างต้น เราจะได้ว่า
Z Z
O (V1 − V2 ) . [O (V1 − V2 )] dv = |O (V1 − V2 ) |2 dv = 0
V V

นอกจากนี้
V1b − V2b = 0

นั่นคือ
V1 − V2 = 0

สรุปได้ว่า V มีได้ผลเฉลยเดียวเนื่องจาก V1 = V2
104บทที่ 7. สมการของปัวส์ซงและลาปลาซ(POISSON’S EQUATION AND LAPLACE’S EQUATION)

7.2 การแก้สมการของปัวส์ซงและสมการของลาปลาซ (Poisson’s


and Laplace’s Equations)
7.2.1 ผลเฉลยของสมการของปัวส์ซง (Poisson’s Equations) ในบริเวณ
ไม่มีขอบเขตที่เป็นประภูมิอิสระ

พิจารณาสมการของปัวส์ซง
 ρ
− V , ในปริมาตร V
2
O V = 0
0 , นอกปริมาตร V

พิจารณาปริมาตร V เป็นปริมาตรย่อย ๆ ∆vi , i = 1, . . . , n


เนื่องจาก V ในสมการคือศักย์ทางไฟฟ้าที่เวคเตอร์แสดงตำแหน่ง ~r ดังนั้น
n
X
V = ∆Vi
i=1

โดยที่
∆Vi เป็นศักย์ทางไฟฟ้าอันเนื่องมาจาก ∆qi = ρV ∆vi ซึ่งอยู่ที่เวคเตอร์แสดงตำแหน่ง ~ri0
นั่นคือ
1 ρV ∆vi
∆Vi = (7.5)
4π0 |~r − ~ri0 |

และ
n n
X 1 X ρV ∆vi
V = ∆Vi = (7.6)
4π0 |~r − ~ri0 |
i=1 i=1

เมื่อให้ ∆vi → 0 จะได้ว่า Z


1 ρV dv
V =
4π0 V |~r − ~r0 |

7.2.2 ผลเฉลยของสมการของปัวส์ซง (Poisson’s Equations) ใน 1 มิติ

ถ้าหากพิจารณาสมการของปัวส์ซง
ρV
O2 V = −

7.2. การแก้สมการของปัวส์ซงและสมการของลาปลาซ (POISSON’S AND LAPLACE’S EQUATIONS)105

แล้วสมการของปัวส์ซงใน 1 มิติกลายเป็น
d2 V ρV
2
=−
dx 

ในที่นี้เราจะพิจารณาเฉพาะตัวอย่างง่ายๆต่อไปนี้

ตัวอย่าง 49. จงหาผลเฉลยของสมการ


d2 V 2ρ0 x x
=− sech tanh
dx2  a a

โดยที่ Ex → 0 เมื่อ x → ±∞ และ V = 0 เมื่อ x = 0

วิธีทำ โดยการอินทิเกรต
Z
dV 2ρ0 x x
= − sech tanh dx
dx  a a
2ρ0 a x
= sech + c1
 a
จาก
dV 2ρ0 a x
Ex = − =− sech − c1 → 0 เมื่อx → ±∞
dx  a
เราจะได้ว่า c1 = 0 นั่นคือ
dV 2ρ0 a x
= sech
dx  a

เมื่อเราอินทิเกรตอีกครั้งเราจะได้
Z
2ρ0 a x
V = sech dx
 a
4ρ0 a2  x
= arctan e a + c2


นอกจากนี้เนื่องจาก V = 0 เมื่อ x = 0 ดังนั้น


4ρ0 a2 π
+ c2 = 0
 4

และดังนั้น
4ρ0 a2   x π
V = arctan e a −
 4
106บทที่ 7. สมการของปัวส์ซงและลาปลาซ(POISSON’S EQUATION AND LAPLACE’S EQUATION)

7.2.3 ผลเฉลยของสมการของลาปลาซ (Laplace’s Equations) ในบริเวณ


ที่มีขอบเขต

บริเวณที่มีขอบเขตใน 1 มิติ

ในที่นี้เราจะพิจารณากรณีเฉพาะสมการของลาปลาซ (Laplace’s Equations)


ใน 1 มิติ ในช่วง a < x < b นั่นคือ

d2 V
O2 V = 0 หรือ =0
dx2

โดยที่ V (a) = Va และ V (b) = Vb

ผลเฉลยคือ
V = αx + β

โดยที่
Va − Vb
α= และ
a −b 
Va − Vb
β = Va − a
a−b
นั่นคือ    
Va − Vb Va − Vb
V = x + Va − a
a−b a−b

บริเวณที่มีขอบเขตใน 2 มิติ

การแยกออกจากกันของตัวแปร (Separation of Variables)


ในที่นี้เราจะพิจารณากรณีเฉพาะสมการของลาปลาซ (Laplace’s Equations)
ใน 2 มิติ โดยที่บริเวณเป็นรูปสี่เหลี่ยมในตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่าง 50. ให้สมการของลาปลาซเป็นไปตามสมการ

∂2V ∂2V
O2 V = 2
+ =0
∂x ∂y 2

เมื่อ 0 < x < a และ 0 < y < b


7.2. การแก้สมการของปัวส์ซงและสมการของลาปลาซ (POISSON’S AND LAPLACE’S EQUATIONS)107

นอกจากนี้เงื่อนไขขอบเขตคือ



 0, x = 0 และ 0 ≤ y < b

V = 0, x = a และ 0 ≤ y < b


0, 0 ≤ x ≤ a และ y = 0

และ
V = V0 , 0 ≤ x ≤ a และ y = b
X
วิธีทำ ให้ V = Vn = Xn (x)Yn (y) จะได้ว่า
n

∂ 2 Vn ∂ 2 Vn
+ =0
∂x2 ∂y 2

ดังนั้น
∂ 2 Xn (x) ∂ 2 Yn (y)
Yn (y) + Xn (x) =0
∂x2 ∂y 2
นั่นคือ
1 ∂ 2 Xn (x) 1 ∂ 2 Yn (y)
+ =0
Xn (x) ∂x2 Yn (x) ∂y 2
1 ∂ 2 Xn (x) 1 ∂ 2 Yn (y)
เนื่องจาก ขึ น
้ กั บ x เท่ า นั น
้ และ ขึ้นกับ y เท่านั้น ดังนั้น
Xn (x) ∂x2 Yn (x) ∂y 2
1 ∂ 2 Xn (x) 1 ∂ 2 Yn (y)
และ ต้องเป็นค่าคงตัว
Xn (x) ∂x2 Yn (x) ∂y 2
เราอาจแบ่งการพิจารณาออกเป็น 2 กรณีคือ
1 ∂ 2 Xn (x) 1 ∂ 2 Yn (y)
1. = − = −αn2 , αn ≥ 0
Xn (x) ∂x2 Yn (x) ∂yn2
ในกรณีนี้เราจะได้ว่า

Xn (x) = c1,n cos (αn x) + c2,n sin (αn x)

และ
Yn (y) = d1,n cosh (αn y) + d2,n sinh (αn y)
X X
นั่นคือ V = Vn = Xn (x)Yn (y) เป็นไปตามสมการ
n n
X
V = (c1,n cos (αn x) + c2,n sin (αn x)) (d1,n cosh (αn y) + d2,n sinh (αn y))
n
108บทที่ 7. สมการของปัวส์ซงและลาปลาซ(POISSON’S EQUATION AND LAPLACE’S EQUATION)

เมื่อพิจารณาเงื่อนไขขอบเขต



0, x = 0 และ 0 ≤ y < b

V = 0, x = a และ 0 ≤ y < b


0, 0 ≤ x ≤ a และ y = 0

จะได้ว่า c1,n = 0, αn a = nπ, d1,n = 0,


นั่นคือ
X  nπ   nπ 
V = c2,n d2,n sin x sinh y
n
a a

เมื่อให้ cn = c2,n d2,n จะได้


X  nπ   nπ 
V = cn sin x sinh y
n
a a

เมื่อพิจารณาเงื่อนไขขอบเขต

V = V0 , 0 ≤ x ≤ a และ y = b

cn ต้องสอดคล้องกับสมการ
Z a  mπ  X Z a  nπ   mπ   
nπb
V0 sin x dx = cn sin x sin x sinh dx
0 a n 0 a a a

นั่นคือ Z a
 mπ 
sin
x dx
0 a
cn = V0 Z a  nπ 2  
nπb
sin x sinh dx
0 a a

1 ∂ 2 Xn (x) 1 ∂ 2 Yn (y)
2. = − = αn2 , αn ≥ 0
Xn (x) ∂x2 Yn (x) ∂y 2

Xn (x) = c1,n cosh (αn x) + c2,n sinh (αn x)

และ
Yn (y) = d1,n cos (αn y) + d2,n sin (αn y)
7.2. การแก้สมการของปัวส์ซงและสมการของลาปลาซ (POISSON’S AND LAPLACE’S EQUATIONS)109

X X
นั่นคือ V = Vn = Xn (x)Yn (y) เป็นไปตามสมการ
n

X
V = (c1,n cosh (αn x) + c2,n sinh (αn x)) (d1,n cos (αn y) + d2,n sin (αn y))
n

เมื่อพิจารณาเงื่อนไขขอบเขต



0, x = 0 และ 0 ≤ y < b

V = 0, x = a และ 0 ≤ y < b


0, 0 ≤ x ≤ a และ y = 0

และ
V = V0 , 0 ≤ x ≤ a และ y = b

จะได้ว่าเป็นไปไม่ได้

ระเบียบวิธีผลต่างอันตะ (Finite Difference Method)

1. 1 มิติพิจารณา

d2 V
O2 V =
dx2
V (i + 1) − V (i) V (i) − V (i − 1)

= ∆x ∆x
∆x

เมื่อ ∆x = h

d2 V
O2 V =
dx2
V (i + 1) − V (i) V (i) − V (i − 1)

= h h
h
V (i + 1) − 2V (i) + V (i − 1)
=
h2
110บทที่ 7. สมการของปัวส์ซงและลาปลาซ(POISSON’S EQUATION AND LAPLACE’S EQUATION)

รูปที่ 7.2: รูปแสดงระเบียบวิธีผลต่างอันตะ 1 มิติ

2. 2 มิติพิจารณา
∂2V ∂2V
O2 V = +
∂x2 ∂y 2
V (i + 1, j) − V (i, j) V (i, j) − V (i − 1, j)

≈ ∆x ∆x
∆x
V (i, j + 1) − V (i, j) V (i, j) − V (i, j − 1)

∆y ∆y
+
∆y

เมื่อ ∆x = ∆y = h
∂2V ∂2V
O2 V = +
∂x2 ∂y 2
V (i + 1, j) − V (i, j) V (i, j) − V (i − 1, j)

≈ h h
h
V (i, j + 1) − V (i, j) V (i, j) − V (i, j − 1)

+ h h
h
V (i + 1, j) + V (i − 1, j) − 4V (i, j) + V (i, j + 1) + V (i, j − 1)

h2
ตัวอย่าง 51. พิจารณาสมการของลาปลาซ
d2 V
= 0, 0 < x < L
dx2
7.2. การแก้สมการของปัวส์ซงและสมการของลาปลาซ (POISSON’S AND LAPLACE’S EQUATIONS)111

รูปที่ 7.3: รูปแสดงระเบียบวิธีผลต่างอันตะ 2 มิติ

โดยที่ V (0) = 0 และ V (L) = V0


จงเขียนอัลกอริทึมที่ใช้ในการแก้สมการโดยใช้วิธีวนซ้ำแบบ

1. จาโคบิ

2. เกาส์-ไซเดล

วิธีทำ

1. วิธีวนซ้ำแบบจาโคบิ

V(0,0) = 0; %initialize
V(I,0) = V0;%initialize
x(0) = 0;
x(I) = L;
for i = 1:I-1
V(i,0) = 0; %Initial Guess
end
for Iteration = 1:ITERATION
112บทที่ 7. สมการของปัวส์ซงและลาปลาซ(POISSON’S EQUATION AND LAPLACE’S EQUATION)

V(0,Iteration) = 0; %initialize
V(I,Iteration) = V0; %initialize
for i = 1:I-1
V(i,iteration) = 0; %Initial Guess
end
for i = 1:I-1
V(i,iteration) = (V(i-1,Iteration-1) + V(i+1,Iteration-1))/2;
x(i) = i*L/I;
end

2. วิธีวนซ้ำแบบเกาส์-ไซเดล

V(0) = 0; %initialize
V(I) = V0;%initialize
x(0) = 0;
x(L) = L;
for i = 1:I-1
V(i) = 0; %Initial Guess
end
for Iteration = 1:ITERATION
for i = 1:I-1
V(i) = (V(i-1) + V(i+1)/2;
x(i) = i*L/I;
end

ตัวอย่าง 52. พิจารณาสมการของลาปลาซ


d2 V d2 V
+ = 0, 0 < x < L1 , 0 < y < L2
dx2 dy 2

โดยที่ V (0, y) = V (x, 0) = V (L1 , y) = 0 และ V (x, L) = V0 สำหรับทุก x และ y


จงเขียนอัลกอริทึมที่ใช้ในการแก้สมการโดยใช้วิธีวนซ้ำแบบเกาส์-ไซเดล

วิธีทำ

for j = 0:J
7.2. การแก้สมการของปัวส์ซงและสมการของลาปลาซ (POISSON’S AND LAPLACE’S EQUATIONS)113

y(0) = 0;
y(J) = L2;
V(0,j) = 0; %initialize
V(I,j) = 0; %initialize
for i = 0: I
V(i,0) = 0; %initialize
V(i,J) = V0; %initialize
x(0) = 0;
x(L) = L1;
end
end
for j = 1:J-1
for i = 1:I-1
V(i,j) = 0; %Initial Guess
end
end
for Iteration = 1:ITERATION
for i = 1:I-1
x(i) = i*L1/I;
for j = 1:J-1
V(i,j) = (V(i-1,j) + V(i+1,j) + V(i,j-1) + V(i, j+ 1))/4;
y(j) = j*L2/J;
end
end
end
114บทที่ 7. สมการของปัวส์ซงและลาปลาซ(POISSON’S EQUATION AND LAPLACE’S EQUATION)
บทที่ 8

สนามแม่เหล็กสำหรับสถานะคงตัว
(Steady State Magnetic Field)

8.1 กฎของบีโอต์-ซาวาร์ต (Biot-Savart Law)

พิจารณาตำแหน่ง 1 ซึ่งมีชิ้นส่วนของตัวนำที่มีกระแสตรงที่มีความยาว dL~ ดังนั้น


ที่ตำแหน่ง 2 มีความเข้มของสนามแม่เหล็ก dH ~ เนื่องมาจากชิ้นส่วนของตัวนำ
ที่ตำแหน่ง 1 เป็นไปตามสมการ

~ × âr
IdL
~ =
dH 12
(8.1)
2
4πr12

โดยที่ r12 เป็นระยะทางจากตำแหน่ง 1 ไปยังตำแหน่ง 2

ตัวอย่าง 53. กระแสคงตัวไหลจาก z = −∞ ถึง z = ∞ ดังรูป จงหาความเข้มของ


สนามแม่เหล็กที่ (ρ, φ, 0) = (ρ, 0, 0)

วิธีทำ จากกฎของบีโอต์-ซาวาร์ต

~ × âr
IL
~ =
dH 12
2
4πr12

115
116บทที่ 8. สนามแม่เหล็กสำหรับสถานะคงตัว(STEADY STATE MAGNETIC FIELD)

รูปที่ 8.1: รูปแสดงตัวอย่าง 53

ρ z0 ~ = dz 0 âz
โดยที่ âr12 = p âρ − p âz และ dL
ρ2 + z 02 ρ2 + z 02
เราจะได้ว่า
!
ρ z0
Idz 0 âz × p âρ − p âz
ρ2 + z 02 ρ2 + z 02
~ =
dH
4π (ρ2 + z 02 )

นั่นคือ


~ =
dH 3 dz 0 âφ (8.2)
4π (ρ2 + z 02 ) 2

เนื่องจาก
ρ
z 0 = ρ tan α และ cos α = p
ρ2 + z 02

ดังนั้น
!3
0 2 3 ρ
dz = ρ sec α dα และ cos α = p
ρ2 + z 02
8.1. กฎของบีโอต์-ซาวาร์ต (BIOT-SAVART LAW) 117

และดังนั้น

~ = Iρ cos3 α sec2 α
dH dαâφ
4πρ2
I cos α
= dαâφ
4πρ
(8.3)

และดังนั้น
Z z=∞
~ = I cos α
H dαâφ
z=−∞ 4πρ

เนื่องจากถ้า z = ∞ และ z = −∞ แล้ว α = π2 และ α = − π2 ตามลำดับ ดังนั้น


Z π
2 I cos α
H~ = dαâφ
−π 4πρ
2

นั่นคือ
~ = I sin α| 2 π âφ
π
H −2
4πρ
I
= âφ
2πρ

ตัวอย่าง 54. กระแสคงตัวไหลบนแกน z ในทิศ âz บวกจาก α = α1 ถึง α = α2 ดังรูป


จงหาความเข้มของสนามแม่เหล็กที่ (ρ, φ, 0) = (ρ, 0, 0)

วิธีทำ จากกฎของบีโอต์-ซาวาร์ต
~ × âr
IL
~ =
dH 12
2
4πr12

โดยที่
ρ z0
âr12 = p âρ − p âz
ρ2 + z 02 ρ2 + z 02
dL~ = dz 0 âz
เราจะได้ว่า !
ρ z0
Idz 0 âz × p âρ − p âz
ρ2 + z 02 ρ2 + z 02
~ =
dH
4π (ρ2 + z 02 )
118บทที่ 8. สนามแม่เหล็กสำหรับสถานะคงตัว(STEADY STATE MAGNETIC FIELD)

รูปที่ 8.2: รูปแสดงตัวอย่าง 54

นั่นคือ

~ =
dH 3 dz 0 âφ (8.4)
4π (ρ2 + z 02 ) 2

เนื่องจาก
ρ
z 0 = ρ tan α และ cos α = p
ρ2 + z 02

ดังนั้น !3
0 2 3 ρ
dz = ρ sec α dα และ cos α = p
ρ2 + z 02

และดังนั้น

~ = Iρ cos3 α sec2 α
dH dαâφ
4πρ2
I cos α
= dαâφ
4πρ
(8.5)
8.1. กฎของบีโอต์-ซาวาร์ต (BIOT-SAVART LAW) 119

และดังนั้น
Z α2
~ = I cos α
H dαâφ
α1 4πρ

นั่นคือ

~ I α2
H= sin α âφ

4πρ α1
I
= (sin α2 − sin α1 ) âφ
4πρ

ตัวอย่าง 55. กระแสคงตัวไหลวนเป็นวงกลมรัศมี R ดังรูป จงหาความเข้มของ


สนามแม่เหล็กที่จุดกำเนิด

รูปที่ 8.3: รูปแสดงตัวอย่าง 55

วิธีทำ จากจากกฎของบีโอต์-ซาวาร์ต

~ × âr
IL
~ =
dH 12
2
4πr12
120บทที่ 8. สนามแม่เหล็กสำหรับสถานะคงตัว(STEADY STATE MAGNETIC FIELD)

โดยที่
âr12 = −âρ
dL~ = −dLâφ
r12 = R เราจะได้ว่า

~ = IdL (−âφ ) × (−âρ )


dH
4πR2
IdL (−âz )
=
4πR2

นั่นคือ
I
~ = IdL (−âφ )
H
|r|=R 4πR2
I (2πR)
=− âz
4πR2
I
= − âz
2R

รูปที่ 8.4: รูปแสดงตัวอย่าง 56

ตัวอย่าง 56. จากตัวอย่าง 56 กระแสคงตัวไหลวนในกรอบสี่เหลี่ยมดังรูป 8.4


จงหาความเข้มของสนามแม่เหล็กที่ (x, y, z) = (0, 0, 0)
8.2. กฎของแอมแปร์ 121

วิธีทำ เราอาจหา H ~ โดยดัดแปลงสมการ H ~ = I (sin α2 − sin α1 ) âφ ในตัวอย่าง 54 ดังนี้


4πρ
   
~ I π −π I π −π
H=   sin − sin ( ) (−âz ) +   sin − sin ( ) (−âz )
d 4 4 d 4 4
4π 4π
2 2
   
I π −π I π −π
+   sin − sin ( ) (−âz ) +   sin − sin ( ) (−âz )
d 4 4 d 4 4
4π 4π
2 2
 
I π −π
= 4   sin − sin ( ) (−âz )
d 4 4

2
 
I π −π
=   sin − sin ( ) (−âz )
d 4 4
π
2
√ I
= −2 2 âz
πd

8.2 กฎของแอมแปร์
พิจารณาวงปิด C ในทิศทวนเข็มนาฬิกาซึ่งล้อมรอบพื้นผิว S และมีกระแสคงตัวไหลผ่านดังนั้น
I
~ ~l = Iencl
H.d

จากทฤษฎีบทของสโตกส์ในภาคผนวก
Z I
~ S
O × H.d ~ ~l
~ = H.d
S

~ S ~ เราจะได้ว่า
R
นอกจากนี้ Iencl = S J.d
Z Z
~ S
O × H.d ~= ~ S
J.d ~
S S

นั่นคือ
~ = J~
O×H
122บทที่ 8. สนามแม่เหล็กสำหรับสถานะคงตัว(STEADY STATE MAGNETIC FIELD)

รูปที่ 8.5: รูปแสดงตัวอย่าง 57

ตัวอย่าง 57. จากรูป 8.5 ลวดยาวเป็นอนันต์ซึ่งมีกระแสไหลผ่าน จงหาความเข้ม


ของสนามแม่เหล็ก H ~ ที่ ρ = r

วิธีทำ จากความสมมาตรและกฎของแอมแปร์
I
~ I~ = Iencl
H.d

และ
H(2πr) = I

นั่นคือ
~ = Hâφ = I âφ
H
2πr
~ = q
ตัวอย่าง 58 (ข้อสอบเก่าภาคต้นปีการศึกษา 2554). ให้ D âr จงหา
4π0 r2
Z
1. จงหา ~ S
O × D.d ~ โดยที่ S เป็นครึ่งทรงกลมรัศมี R
S

I
2. ~ L
D.d ~
C
8.2. กฎของแอมแปร์ 123

รูปที่ 8.6: รูปแสดงตัวอย่าง 58

วิธีทำ
Z
~ = 0 ดังนั้นเราสามารถหา
1. เนื่องจาก O × D ~ S
O × D.d ~ ได้ดังนี้
S
Z Z
~ S
O × D.d ~= ~=0
0.dS
S S

I
2. เราอาจหาค่า ~ L
D.d ~ ได้หลายแนวทางดังนี้
C
I
~ ⊥ dL
(a) เนื่องจาก D ~ ดังนั้นเราสามารถหา ~ L
D.d ~ ได้ดังนี้
C
I
~ L
D.d ~ =0
C

(b) ให้ ~r = R cos θâx + R sin θây ดังนั้น

~r R cos θâx + R sin θây


âr = =
|~r| R

และ
~ = d~r = ~r 0 dθ = (−R sin θâx + R cos θây ) dθ
dL
124บทที่ 8. สนามแม่เหล็กสำหรับสถานะคงตัว(STEADY STATE MAGNETIC FIELD)

นั่นคือ
I I
~ ~
D.dL = ~ L
D.d ~
C IC
q
= 3
(R cos θâx + R sin θây ) .d~r
C 4π0 R
Z 2π
q
= 2
(cos θâx + sin θây ) . (−R sin θâx + R cos θây ) dθ
0 4π 0R

=0

8.3 กฎของเกาส์สำหรับสนามแม่เหล็ก
(Gauss’s Law for Magnetic Fields)
กฎของเกาส์กล่าวว่าฟลักซ์แม่เหล็ก Φ ที่พุ่งผ่านพื้นผิวปิด S ใด ๆมีค่าเท่ากับศูนย์
นั่นคือ

Φ=0 (8.6)

ในทำนองเดียวกับกฎของเกาส์ (สำหรับสนามไฟฟ้า) ฟลักซ์แม่เหล็ก Φ ที่พุ่ง


ผ่านพื้นผิว S คือ
Z
Φ= ~ S
B.d ~ (8.7)
S

จะได้ว่า ฟลักซ์แม่เหล็ก Φ ที่พุ่งผ่านพื้นผิวปิด S คือ


I
Φ= ~ S
B.d ~ (8.8)
S

ดังนั้น กฎของเกาส์สำหรับสนามแม่เหล็กอาจเขียนแทนได้ดังสมการ
I
~ S
B.d ~=0 (8.9)
S

จากทฤษฎีบท 1 ทฤษฎีบทไดเวอร์เจนซ์ จะได้ว่า


I Z
~ ~
B.dS = ~ dV
O.B (8.10)
S V
8.4. ศักย์แม่เหล็ก (MAGNETIC POTENTIAL) 125

ดังนั้น กฎของเกาส์สำหรับสนามแม่เหล็กสามารถเขียนใหม่ได้ดังนี้
Z Z
~
O.B dV = 0 dV (8.11)
V V

นั่นคือ
~ =0
O.B (8.12)

8.4 ศักย์แม่เหล็ก (Magnetic Potential)


เราอาจนิยามศักย์แม่เหล็กในรูปแบบเดียวกับศักย์ทางไฟฟ้า ถ้าหากเราพิจารณาสมการ
~ = −OV
E

ดังนั้น เราสามารถนิยามเวคเตอร์ศักย์แม่เหล็ก (Magnetic Potential) ได้จากสมการ


~ = −OVm
H

เปรียบเทียบกับสมการ Z a
Vab = − E. ~
~ dl
b

จะได้ว่า Z a
Vm,ab = − H. ~
~ dl
b

แต่เนื่องจากเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

O × OV = 0
~ = −OVm ลงในสมการ O × H
ดังนั้น เมื่อแทน H ~ = J~ จะได้

~ = −O × OVm = 0
O×H

นั่นคือ นิยามของศักย์แม่เหล็กใช้ได้ในกรณีที่ J~ = 0 เท่านั้น


Z a
นอกจากนี้ความแตกต่างศักย์แม่เหล็ก Vm,ab = − H. ~ ขึ้นกับเส้นทาง
~ dl
b
เราสามารถแสดงได้โดยใช้กฎของแอมแปร์
I
~ ~l = Iencl
H.d
C

โดยที่ a และ b เป็นจุดบนวงปิด C ซึ่งเป็นวนในทิศทวนเข็มนาฬิกาดังตัวอย่าง 59


126บทที่ 8. สนามแม่เหล็กสำหรับสถานะคงตัว(STEADY STATE MAGNETIC FIELD)
I Z a
ตัวอย่าง 59. จากกฎของแอมแปร์ H. ~ = Iencl จงพิสูจน์
~ dl ~
~ dl
H.
b
ขึ้นกับเส้นทาง

รูปที่ 8.7: รูปแสดงตัวอย่าง 59

วิธีทำ พิจารณากฎของแอมแปร์
I
H. ~ = Iencl
~ dl ในทิศทวนเข็มนาฬิกา

โดยที่
Iencl เป็นกระแสที่ถูกล้อมรอบด้วยวงปิดและเป็นไปตามกฎมือขวา
เราจะได้ว่า
Z b Z a
H. ~ +
~ dl ~ = Iencl
~ dl
H.
a,2 b,1

และ Z a Z a
H. ~ =
~ dl ~ + Iencl
~ dl
H.
b,1 b,2
Z a
นั่นคือ H. ~ ขึ้นกับเส้นทาง
~ dl
b
8.4. ศักย์แม่เหล็ก (MAGNETIC POTENTIAL) 127

ตัวอย่าง 60. พิจารณาสายร่วมแกนซึ่งมีตัวนำภายในที่มีหน้าตัดรัศมีเท่ากับ a


และตัวนำภายนอกที่มีหน้าตัดเป็นรูปวงแหวนมีรัศมีด้านในและด้านนอกเท่ากับ
b และ c ตามลำดับ จุดศูนย์กลางของแต่ละหน้าตัดอยู่บนแกน z

1. จงหาศักย์แม่เหล็กในช่วง a < ρ < b เมื่อ Vm (ρ = a, φ = 0, z = 0) = 0

2. จงแสดงว่าศักย์แม่เหล็ก Vm เป็นไปตามสมการของลาปลาซในช่วง a < ρ < b

วิธีทำ

1. โดยใช้กฎของแอมแปร์ I
~ L
H.d ~ =I

เราจะได้ว่า
I
Hφ =
2πρ
และ
~ = Hφ âφ = I âφ
H
2πρ
 
~ ∂Vm 1 ∂Vm ∂Vm
จากสมการ H = −OVm = − âρ + âφ + âz
∂ρ ρ ∂φ ∂z
Z (ρ,φ,z)
Vm (ρ, φ, z) − Vm (ρ = a, φ = 0, z = 0) = ~
OVm .dL
(ρ=a,φ=0,z=0)
Z φ
1 ∂Vm
= ρdφ
0 ρ ∂φ

เนื่องจาก
1 ∂Vm I
Hφ = − =
ρ ∂φ 2πρ
ดังนั้นเราจะได้ว่า
Z φ
I
Vm (ρ, φ, z) − 0 = − ρdφ0
2πρ
I
=− φ

หรือ
I
Vm (ρ, φ, z) = − φ

128บทที่ 8. สนามแม่เหล็กสำหรับสถานะคงตัว(STEADY STATE MAGNETIC FIELD)

2. จากสมการ
~ =0
O.B
~ = µH
แทน B ~ และ H
~ = −µOVm เราจะได้สมการของลาปลาซ

O2 V m = 0

8.5 เวคเตอร์ศักย์แม่เหล็ก
~ จากสมการ
เรานิยามเวคเตอร์ศักย์แม่เหล็ก (Vector Magnetic Potential) A

~ =O×A
B ~ (8.13)

หากเราพิจารณาเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ตามสมการ ก.10 เราอาจกล่าวได้ว่า

~ =0
O.(O × A)

นั่นคือสมการ 8.13 สอดคล้องกับกฎของเกาส์สำหรับสนามแม่เหล็ก

~ = O.(O × A)
O.B ~ =0
~ ~
~ = B = O × A ลงในกฎของแอมแปร์
เมื่อเราแทน H
µ0 µ0
~ = J~
O×H

จะได้
~ = µ0 J~
O × (O × A)

จากเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

~ = O(O.A)
O×O×A ~ − O2 A
~

เราจะได้ว่า

~ − O2 A
O(O.A) ~ = µ0 J~ (8.14)

~ = ~0 สมการ 8.14 จะกลายเป็น


หากเรากำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม O(O.A)

~ = −µ0 J~
O2 A (8.15)
8.5. เวคเตอร์ศักย์แม่เหล็ก 129

ผลเฉลยของสมการ 8.15 สามารถเปรียบเทียบได้กับสมการของปัวส์ซง


ρV
O2 V = −
0

ถ้าหากว่าเรามีความหนาแน่นของประจุซึ่งขึ้นกับตำแหน่ง ρV ในปริมาตร V เราจะได้ว่า


ศักย์ทางไฟฟ้า V ที่เวคเตอร์แสดงตำแหน่ง ~r เป็นไปตามสมการ
Z
ρV
V = dv 0
V 4π0 |~ ~
r−r|0

~ = −µ0 J~ ใหม่ในรูป
โดยการเขียนสมการ O2 A

O2 (Ax âx + Ay ây + Az âz ) = −µ0 (Jx âx + Jy ây + Jz âz )

นั่นคือ

O2 Ax = −µ0 Jx (8.16)

O2 Ay = −µ0 Jy (8.17)

O2 Az = −µ0 Jz (8.18)

จากการเปรียบเทียบกับสมการ
ρV
O2 V = −
0

ซึ่งมีผลเฉลยเป็น Z
ρV
V = dv 0
V 4π0 |~r − r~0 |
เราจะได้ว่าผลเฉลยของสมการ 8.16 - 8.18 ตามลำดับ มีผลเฉลยเป็นสมการ 8.19 -
8.21 ตามลำดับดังต่อไปนี้
Z
µ0 Jx
Ax = dv 0 (8.19)
V 4π|~r−r| ~0

Z
µ0 Jy
Ay = dv 0 (8.20)
V 4π|~r − r~0 |
130บทที่ 8. สนามแม่เหล็กสำหรับสถานะคงตัว(STEADY STATE MAGNETIC FIELD)
Z
µ0 J z
Az = dv 0 (8.21)
V 4π|~r − r~0 |

นั่นคือ เราสามารถแสดงได้ว่า
µ0 J~
Z
~=
A dv 0 (8.22)
V 4π|~r − r~0 |

เนื่องจาก
~ 0 = Kds
Jdv ~ 0 = Id~l0

ดังนั้น เราสามารถแสดงได้ว่า
µ0 J~
Z
dv 0


~



 r−r|
V 4π|~ 0

Z
µ ~
0K
~=
A ds0


 S 4π|~
r − ~
r 0|
Z
 µ0 I
d~l0



r − r~0 |

L 4π|~

รูปที่ 8.8: รูปแสดงตัวอย่าง 61

ตัวอย่าง 61 (ข้อสอบเก่าภาคต้นปีการศึกษา 2554). ให้กระแสค่าคงตัว I ไหลวนบน


โลหะวงกลมรัศมี R ซึ่งวางบนระนาบ xy ซึ่งจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิดจงหาเวคเตอร์
~ ที่จุดกำเนิด
ศักย์แม่เหล็ก A
8.5. เวคเตอร์ศักย์แม่เหล็ก 131

วิธีทำ จากนิยาม I
~= µI ~
A dL
L 4π|~r − r~0 |
µI µI
เนื่องจาก = เป็นค่าคงตัว ดังนั้น
4π|~r − r~0 | 4πR
I I
~= µI ~ µI ~
A dL = dL
L 4πR 4πR L
I
แทน1 ~ = 0 จะได้
dL
L
I
~ = µI
A ~ =0
dL
4πR L

รูปที่ 8.9: รูปแสดงตัวอย่าง 62

ตัวอย่าง 62 (ข้อสอบเก่าภาคต้นปีการศึกษา 2555). ให้กระแสค่าคงตัว I ไหลวนบน


ลวดโลหะวงกลมรัศมี R ซึ่งวางบนระนาบ xy ซึ่งจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิดจงหา
~ ที่จุด (0, 0, z)
เวคเตอร์ศักย์แม่เหล็ก A
I
1
เนื่องจากจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการอินทิเกรตเป็นจุดเดียวกัน ดังนั้น ~ =0
dL
L
132บทที่ 8. สนามแม่เหล็กสำหรับสถานะคงตัว(STEADY STATE MAGNETIC FIELD)

วิธีทำ จากนิยาม I
~= µI ~
A dL
L 4π|~r − r~0 |
µI µI
เนื่องจาก = √ เป็นค่าคงตัว ดังนั้น
4π|~r − r~0 | 4π R2 + z 2
I I
~= µI ~ = √ µI ~
A √ dL dL
2
4π R + z 2 4π R2 + z 2
L L
I
แทน2 ~ = 0 จะได้
dL
L
I
~= µI ~ =0
A √ dL
4π R2 + z 2 L

8.6 พลังงานและความหนาแน่นของพลังงานของสนามแม่เหล็กสถิตย์ (En-


ergy and Energy Density of Magnetostatic Field)
คล้ายกับกรณีของไฟฟ้าสถิตย์พลังงานในรูปของสนามแม่เหล็กสถิตย์ เป็นไปตามสมการ
Z 
1 ~ ~

WH = B.H dv (8.23)
2 vol

นอกจากนี้ความหนาแน่นของพลังงานของสนามแม่เหล็กสถิตย์เป็นไปตามสมการ
1~ ~ 1
wH = B. H = µH 2 (8.24)
2 2

I
2
เนื่องจากจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการอินทิเกรตเป็นจุดเดียวกัน ดังนั้น ~ =0
dL
L
บทที่ 9

แรงแม่เหล็ก, วัสดุและความเหนี่ยวนำ

9.1 แรงและโมเมนต์ของแรงแม่เหล็ก (Force and Moment of


Magnetic Force)

9.1.1 แรงแม่เหล็ก (Magnetic Force)

เนื่องจากแรงแม่เหล็ก dF~ อันเนื่องมาจากความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็ก B


~ ที่กระทำกับ
ประจุ dq = ρV dv โดยที่ ρV และ dv เป็นความหนาแน่นของประจุและปริมาตรย่อย ๆ ตาม
ลำดับเป็นไปตามสมการ

dF~ = dq~v × B
~ = ρV ~v × Bdv
~

และความหนาแน่นของกระแส J~ เป็นไปตามสมการ

J~ = ρV ~v

ดังนั้น
dF~ = J~ × Bdv
~

ถ้าหากว่าชิ้นส่วน d~l ที่มีกระแส I และความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็ก B


~ ไหลผ่าน เรา
สามารถหาแรงแม่เหล็ก dF~ ที่กระทำบนชิ้นส่วน d~l หาได้จากการแทน Jdv~ = Id~l ลงใน
สมการ dF~ = J~ × Bdv ~ จะได้

dF~ = Id~l × B
~

133
134 บทที่ 9. แรงแม่เหล็ก, วัสดุและความเหนี่ยวนำ

นอกจากนี้ถ้าหากว่าชิ้นส่วนของพื้นผิว dS ที่มีกระแสไหลผ่านด้วยความหนาแน่นของกระแส
ต่อความยาว K~ และความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็ก B ~ ไหลผ่าน เราสามารถหาแรงแม่เหล็ก
dF~ ที่กระทำบนชิ้นส่วน dS หาได้จากการแทน Jdv ~ ~
= Kds ลงในสมการ dF~ =
J~ × Bdv
~ จะได้
dF~ = K
~ ×B ~ dS

~ สม่ำเสมอ
ถ้าหากกระแสคงตัวไหลบนเส้นโค้ง C โดยที่ความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็ก B
เราสามารถหาแรงแม่เหล็กที่กระทำบนเส้นโค้ง ได้ตามสมการ
Z Z
~
F = ~ ~
Idl × B = I d~l × B
~
C C

ในกรณีเฉพาะเส้นโค้ง C เป็นวงปิดและ B~ สม่ำเสมอ เราสามารถหาแรงแม่เหล็กที่กระทำบน


เส้นโค้งได้ตามสมการ
I I
F~ = Id~l × B
~ =I d~l × B
~ = ~0
C C

ตัวอย่าง 63. ให้กระแส I ไหลผ่านลวดสองเส้นขนานกันในทิศทางเดียวกันซึ่งมีความยาว L เป็น


อนันต์และห่างกัน d จงหาขนาดของแรงที่กระทำระหว่างกัน นอกจากนี้เป็นแรงผลักหรือแรงดูด

วิธีทำ จากสมการ
dF~ = Id~l × B
~

~ = Bâφ ได้จากกฎของแอมแปร์
โดยที่เราสามารถหา B
I
~ ~l = I และ B
H.d ~ = µH
~

นั่นคือ
2πdB
H(2πd) = =I
µ
หรือ
µI
B=
2πd
เราสามารถหาขนาดของแรงได้ตามสมการ

~ × B|
F = |I L ~ = ILB
9.1. แรงและโมเมนต์ของแรงแม่เหล็ก (FORCE AND MOMENT OF MAGNETIC FORCE)135

รูปที่ 9.1: รูปแสดงตัวอย่าง 63


136 บทที่ 9. แรงแม่เหล็ก, วัสดุและความเหนี่ยวนำ

µI
แทน B = ลงในสมการ F = ILB จะได้
2πd
µI µI 2 L
F = IL =
2πd 2πd

นอกจากนี้ F~ เป็นแรงดูด

รูปที่ 9.2: รูปแสดงตัวอย่าง 64

ตัวอย่าง 64. จงหาแรงแม่เหล็ก F~ บนลวดที่มีกระแส I2 ซึ่งไหลในทิศตั้งฉากกับการไหล


ของกระแส I1 ดังรูป

~ อันเนื่องมาจากลวดที่มีกระแส I1
วิธีทำ เราสามารถหาความเข้มของสนามแม่เหล็ก H
ได้จากกฎของแอมแปร์ I
~ ~l = I
H.d

หรือ
H(2πx) = I1
9.1. แรงและโมเมนต์ของแรงแม่เหล็ก (FORCE AND MOMENT OF MAGNETIC FORCE)137

นั่นคือ
~ = I1 âφ
H ~ = µ0 I1 âφ
และ B
2πx 2πx
แรง dF~ ที่กระทำกับชิ้นส่วน dx ที่ตำแหน่ง x เป็นไปตามสมการ

dF~ = I2 d~l × B
~

~ = Bâφ = Bây = µ0 I1 ây ดังนั้น


เนื่องจาก d~l = dxâx , âz = âx × ây และ B
2πx
µ0 I1 I2
dF~ = I2 Bdxâz = dxâz
2πx

และดังนั้น Z b   
µ0 I 1 I 2 µ0 I 1 I 2 b
F~ = dx âz = ln âz
a 2πx 2π a

9.1.2 โมเมนต์ของแรงแม่เหล็ก (Moment of Magnetic Force)

เรานิยามโมเมนต์ของแรง T~ ได้จากสมการ

T~ = ~r × F~

เราอาจสังเกตได้ว่าโมเมนต์ของแรงขึ้นกับแกนอ้างอิง
หากแต่โมเมนต์ของแรงคู่ควบ (แรงสองแรงที่มีขนาดเท่ากันแต่ทิศทางตรงข้าม) ดังสมการ

T~ = ~r0 × (−F~ ) + ~r × F~ = (~r − ~r0 ) × F~

ไม่ขึ้นกับแกนอ้างอิง
พิจารณาวงปิดสี่เหลี่ยมบนระนาบ xy กว้าง dx จาก x ไปยัง x+dx และยาว dy จาก y ไปยัง
y+dy กระแส I ไหลในทิศทวนเข็มนาฬิกา มีความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็กคงตัว B ~ ผ่าน
ดังนั้นจากนิยามของโมเมนต์
T~ = R
~ × F~

และสมการ
dF~ = IdL
~ ×B
~

จะได้ว่า  
dT~ = R
~ × IdL
~ ×B
~
138 บทที่ 9. แรงแม่เหล็ก, วัสดุและความเหนี่ยวนำ

นั่นคือ
dT~ = IdS
~ ×B
~

~ = dxdyâz
โดยที่ dS

รูปที่ 9.3: รูปแสดงโมเมนต์ของแรงคู่ควบ

~
ในกรณีที่วงปิดเป็นวงปิดอย่างง่ายบนระนาบ xy และความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็ก B
สม่ำเสมอจะได้ว่า Z I
T~ = dT~ = IdS~ ×B~ = IS~ ×B
~
S

9.2 เงื่อนไขขอบเขต (Boundary Condition)

พิจารณารอยต่อระหว่างวัสดุเราสามารถหาเงื่อนไขขอบเขตได้ดังนี้

1. สร้างพื้นผิวปิด S เป็นทรงกระบอกที่มีพื้นที่หน้าตัด ∆S และมีความสูง ∆l ดังรูป


9.4
จากสมการ I
~ S
B.d ~=0
S
9.2. เงื่อนไขขอบเขต (BOUNDARY CONDITION) 139

รูปที่ 9.4: รูปแสดงเงื่อนไขขอบเขต

เมื่อ ∆l → 0 เราจะได้

BN1 ∆S − (BN2 ) ∆S = 0

นั่นคือ
BN1 = BN1
แทน BN1 = µ1 HN1 และ HN2 = µ2 HN2 ลงในสมการ

BN1 = BN1

เราจะได้
µ1 HN1 = µ2 HN2

2. สร้างวงปิด L เป็นสี่เหลี่ยม ดังรูป 9.4 จากสมการ


I
~ ~l = I
H.d

เมื่อ ∆h → 0 เราจะได้

Ht1 ∆l + (−Ht2 ) ∆l = K∆l

นั่นคือ
Ht1 − Ht2 = K
~ = Kâ เป็นความหนาแน่นของกระแสต่อความยาวซึ่งมีทิศออกจากกระดาษ
โดยที่ K
140 บทที่ 9. แรงแม่เหล็ก, วัสดุและความเหนี่ยวนำ

9.3 ไดโพลแม่เหล็ก, โมเมนต์ไดโพลแม่เหล็กและเพอร์มิเอบิลิตี


(Magnetic Dipole, Magnetic Dipole Moment and Per-
meability)
เราสามารถนิยามไดโพลแม่เหล็ก m
~ ได้ดังสมการ

m ~
~ = Ib dS

~
ถ้าหากมี n ไดโพลต่อปริมาตรดังนั้นเราสามารถนิยามโมเมนต์ไดโพลแม่เหล็ก M
ได้ดังสมการ
n∆v
X
mi
~ i=1
M = lim
∆v→0 ∆v
I
IB = M ~ .d~l

จากกฎของแอมแปร์
I ~
B ~
.dl = IT
µ0

โดยที่
IT = I + IB
เราจะได้ว่า
I ~ !
B ~
I I ~
B
I = IT − IB = .dl − M~ .d~l = ~
−M .d~l
µ0 µ0

นั่นคือ I
~ ~l = I
H.d
!
~
B  
~ =
โดยที่ H ~
−M ~ = µ0 H
หรือ B ~ +M
~
µ0
นอกจากนี้ถ้ากำหนดให้
~ = χm H
M ~

และ
µ = µr µ0
9.4. ความเหนี่ยวนำ (INDUCTANCE) 141

เราจะได้ว่า

~ = µH
B ~ (9.1)

หรือ

~ = µr µ0 H
B ~ (9.2)

โดยที่ µr = (1 + χm )

9.4 ความเหนี่ยวนำ (Inductance)


จากกฎของแอมแปร์ I
~ ~l = I
H.d

กระแสทำให้เกิดความเข้มของสนามแม่เหล็ก นอกจากนี้จากสมการ

~ = µH
B ~

และฟลักซ์แม่เหล็กที่พุ่งผ่านพื้นผิว S เป็นไปตามสมการ
Z
φ= ~ S
B.d ~
S

นั่นคือกระแสทำให้เกิดฟลักซ์แม่เหล็ก
เรานิยามความเหนี่ยวนำ (Inductance) L ได้จากสมการ
λ
L=
I

โดยที่ λ คือฟลักซ์แม่เหล็กทั้งหมดที่เชื่อมโยงกระแส
ในตัวอย่าง 65 - 67 ฟลักซ์แม่เหล็กทั้งหมดที่เชื่อมโยงกระแส λ เป็นไปตามสมการ

λ=φ

แต่ในกรณีของขดลวด ฟลักซ์แม่เหล็กทั้งหมดที่เชื่อมโยงกระแส λ เป็นไปตามสมการ

λ = Nφ

โดยที่ N คือ จำนวนรอบของขดลวด


142 บทที่ 9. แรงแม่เหล็ก, วัสดุและความเหนี่ยวนำ

ตัวอย่าง 65. พิจารณากระแสไหลบนแกน z จาก z = −∞ ถึง z = ∞ จงหา


ความเหนี่ยวนำต่อความยาว L ของลวดนี้อันเนื่องมาจากฟลักซ์แม่เหล็กที่ไหลใน
ช่วงจาก ρ = ρ1 ถึง ρ = ρ2

วิธีทำ จากกฎของแอมแปร์
I
~ ~l = I
H.d

จากความสมมาตรเราจะได้ว่า
~ = Hφ âφ
H

ดังนั้น Z 2π
Hφ ρdφ = I
0

หรือ
2πρHφ = I

และดังนั้น
I
Hφ =
2πρ
Z
~ = µ0 H
นอกจากนี้เนื่องจาก B ~ และ φ = ~ S
B.d ~ ดังนั้น
S
Z ρ2  
µ0 I 0 µ0 I 0 ρ2
φ= L dρ = L ln
ρ1 2πρ 2π ρ1

โดยที่ L0 เป็นความยาวของลวด นั่นคือความเหนี่ยวนำต่อความยาวเป็นไปตามสมการ


 
µ0 ρ2
L= ln
2π ρ1

ตัวอย่าง 66. พิจารณากระแส1 ไหลในลวดที่มีรัศมี a จาก z = −∞ ถึง z = ∞ จงหา


ความเหนี่ยวนำต่อความยาว Lint ของลวดนี้อันเนื่องมาจากฟลักซ์แม่เหล็กที่ไหลภาย
ในลวด

วิธีทำ เราอาจทำได้โดยสองแนวทางดังนี้
1
สมมติว่าความหนาแน่นของกระแสคงตัวตลอดทั้งหน้าตัด
9.4. ความเหนี่ยวนำ (INDUCTANCE) 143

1. จากกฎของแอมแปร์ I
~ ~l = Iencl
H.d

~ = Hφ âφ ดังนั้น
เนื่องจาก H
ρ
Hφ = I , ρ<a
2πa2
และ
~ = µ0 Hφ âφ = µ0 I ρ âφ , ρ < a
~ = µ0 H
B
2πa2
เราสามารถหาฟลักซ์แม่เหล็กที่ไหลในช่วง ρ ≤ ρ0 ≤ ρ + dρ เมื่อ 0 ≤ ρ0 ≤
a ตามสมการ

~ S
dφ = B.d ~

= Bφ dS
ρ
= µ0 I L0 dρ
2πa2

และดังนั้นฟลักซ์แม่เหล็กในช่วง ρ ≤ ρ0 ≤ ρ+dρ เมื่อ 0 ≤ ρ0 ≤ a เชื่อมโยงกระแสที่ไหลในช่วง 0 ≤


ρ0 ≤ a เป็นไปตามสมการ

dλ = dφ
I
πρ2
โดยที่ Iλ คือ กระแสเฉพาะส่วนที่ถูกเชื่อมโยงเท่ากับ I
πa2
นั่นคือ
a
πρ2
Z
ρ
λ= 2
µ0 I L0 dρ
0 πa 2πa2
Z a
ρ3 0
= µ0 I L dρ
0 2πa4
a
ρ4 0
= µ0 I L
8πa4 0
µ0 L0 I
=

เราสามารถหาความเหนี่ยวนำต่อความยาว Lint ได้จาก


λ
Lint =
L0 I
144 บทที่ 9. แรงแม่เหล็ก, วัสดุและความเหนี่ยวนำ

นั่นคือ
µ0
Lint =

2. จากกฎของแอมแปร์
I
~ ~l = Iencl
H.d

~ = Hφ âφ ดังนั้น
เนื่องจาก H

ρ
Hφ = I , ρ<a
2πa2

และ
~ = µ0 Hφ âφ = µ0 I ρ âφ , ρ < a
~ = µ0 H
B
2πa2

เราสามารถหาฟลักซ์แม่เหล็กที่ไหลในช่วง ρ ≤ ρ0 ≤ ρ + dρ เมื่อ 0 ≤ ρ0 ≤
a ตามสมการ

~ S
dφ = B.d ~

= Bφ dS
ρ
= µ0 I L0 dρ
2πa2

นอกจากนี้เนื่องจากฟลักซ์แม่เหล็กที่ไหลในช่วง ρ ≤ ρ0 ≤ a เมื่อ 0 ≤ ρ0 ≤
a ตามสมการ
Z a
ρ
φ= L0 dρ
µ0 I
2
ρ 2πa
ρ=a
ρ2 0
= µ0 I L
4πa2 ρ=ρ
1 0 ρ2 0
= µ0 I L − µ0 I 2
L
4π  4πa
ρ2

1
= µ0 I L0 1 − 2
4π a
9.4. ความเหนี่ยวนำ (INDUCTANCE) 145

ดังนั้นฟลักซ์ที่เชื่อมโยงกระแสที่ไหลในช่วง ρ ≤ ρ0 ≤ ρ + dρ เป็นไปตามสมการ
 
2πρ
dλ = dρ φ
πa2
ρ2
   
2πρ 1 0
= dρ µ0 I L 1 − 2
πa2 4π a
2
 
ρ ρ
= µ0 IL0 1 − 2 dρ
a 2πa2

และดังนั้นฟลักซ์ที่เชื่อมโยงกระแสที่ไหลในช่วง 0 ≤ ρ ≤ a เป็นไปตามสมการ
Z a
ρ2
 
0 ρ
λ= µ0 IL 1 − 2 dρ
0 a 2πa2
Z a
ρ3
 
ρ
= µ0 IL0 − dρ
0 2πa2 2πa4
 2  ρ=a
0 ρ ρ4
= µ0 IL −
4πa2 8πa4 ρ=0
 2
a4

a
= µ0 IL0 −
4πa2 8πa4
 
0 1 1
= µ0 IL −
4π 8π
1
= µ0 IL0

นั่นคือ
λ
Lint =
IL0
1
= µ0 IL0
8πIL0
µ0
=

ตัวอย่าง 67. พิจารณาตัวเหนี่ยวนำซึ่งเป็นสายร่วมแกนความยาว L อยู่ในแนวแกน z


ตัวนำภายในมีรัศมี a โดยมีกระแสคงตัวสม่ำเสมอเท่ากับ I คงตัว และตัวนำ
ภายนอกมีรัศมีด้านใน b และมีรัศมีด้านใน c จงหาความเหนี่ยวนำของตัวเหนี่ยวนำอัน
เนื่องมาจากฟลักซ์แม่เหล็กที่ไหลในช่วง a ≤ ρ ≤ b
146 บทที่ 9. แรงแม่เหล็ก, วัสดุและความเหนี่ยวนำ

รูปที่ 9.5: รูปแสดงตัวอย่าง 67

~ ตามสมการ
วิธีทำ โดยใช้กฎของแอมแปร์เราสามารถหาความเข้มของสนามแม่เหล็ก H
I
~ ~l = Iencl
H.d

~ = Hφ âφ ดังนั้น
เนื่องจาก H
I
Hφ = , a≤ρ≤b
2πρ
และ
~ = µHφ âφ = µ I âφ , a ≤ ρ ≤ b
~ = µH
B
2πρ
เราสามารถหาฟลักซ์แม่เหล็กที่ไหลในช่วง ρ ถึง ρ + dρ เมื่อ a ≤ ρ ≤ b ตามสมการ
~ S
dφ = B.d ~

= Bφ dS
I 0
=µ L dρ
2πρ
9.4. ความเหนี่ยวนำ (INDUCTANCE) 147

นั่นคือฟลักซ์แม่เหล็กภายในลวดเป็นไปตามสมการ
Z b
I 0
φ= µ L dρ
a 2πρ
b
0 I
= µL ln ρ

a 
I b
= µ0 L0 ln
2π a

เราสามารถหาความเหนี่ยวนำต่อความยาว L ได้จาก
φ
L=
L0 I
นั่นคือ  
µ0 b
L= ln
2π a

ตัวอย่าง 68. ทอรอยด์ที่มีรัศมีโดยเฉลี่ย a และพื้นที่หน้าตัดเท่ากับ S นอกจากนี้


มีขดลวดพันอยู่ N รอบ แกนกลางมีเพอร์มิเอบิลิตี µ จงหาความเหนี่ยวนำของ
ทอรอยด์นี้

วิธีทำ จากความสมมาตรและกฎของแอมแปร์
I
~ ~l = Iencl
H.d

และ
Hφ (2πρ) = N I
โดยที่ I เป็นกระแสที่ไหลผ่านขดลวด
เราจะได้ว่า
µN I
Bφ = µHφ =
2πρ
เนื่องจากรัศมีโดยเฉลี่ยของทอรอยด์เท่ากับ a และพื้นที่หน้าตัดเท่ากับ S ดังนั้น
ฟลักซ์แม่เหล็กที่ไหลในแกนกลางเป็นไปตามสมการ
µN IS
φ = Bφ S =
2πa
เนื่องจากมีขดลวดพันอยู่ N รอบดังนั้น
λ Nφ µN 2 S
L= = =
I I 2πa
148 บทที่ 9. แรงแม่เหล็ก, วัสดุและความเหนี่ยวนำ

รูปที่ 9.6: รูปแสดงตัวอย่าง 69


9.4. ความเหนี่ยวนำ (INDUCTANCE) 149

ตัวอย่าง 69. ให้โซลีนอยด์มีขดลวดพัน N รอบ หน้าตัดมีรัศมีเท่ากับ a และ


ยาว L0 โดยที่ L0 >> a จงหาความเหนี่ยวนำ L

วิธีทำ จากรูป 9.6 เราจะได้ว่า


I Z Z
~ ~l = Iincl และ
H.d H1 ∆l + ~ 2 .d~l + H3 ∆l +
H ~ 4 .d~l = 0
H
2 4

นอกจากนี้เนื่องจาก L0 >> a นั่นคือ L0 เป็นอนันต์และความสมมาตรดังนั้น

H2 = H4 = 0

และดังนั้น
H1 = H3

นั่นคือ
H1 = H3 = 0

จากรูป 9.7 เราจะได้ว่า I


~ ~l = Iincl
H.d

หรือ
Z Z
H1 ∆l + ~ 2 .d~l + H3 ∆l +
H ~ 4 .d~l = N I∆L
H (9.3)
2 4 L0

~2 = H
แทนค่า H ~ 4 = ~0, H3 = 0 และ Hinside = H1 ซึ่งเราได้แสดงให้เห็นก่อนหน้า
ลงในสมการ 9.3 จะได้
NI
Hinside = 0
L
ฟลักซ์แม่เหล็ก φ ภายใน เป็นไปตามสมการ
µπa2 N I
φ = Binside πa2 = µHinside πa2 =
L0

นั่นคือความเหนี่ยวนำ L เป็นไปตามสมการ
λ Nφ µπa2 N 2
L= = =
I I L0
150 บทที่ 9. แรงแม่เหล็ก, วัสดุและความเหนี่ยวนำ

รูปที่ 9.7: รูปแสดงตัวอย่าง 69


9.5. ความเหนี่ยวนำร่วม 151

9.5 ความเหนี่ยวนำร่วม
λ12 N φ12
M12 = =
I I
โดยที่
M12 คือ ความเหนี่ยวนำร่วมระหว่างวงจร 1 กับ 2 และ
λ12 คือ การเชื่อมโยงฟลักซ์แม่เหล็กระหว่างวงจร 1 กับ 2
φ12 คือ ฟลักซ์แม่เหล็กที่เชื่อมโยงระหว่างวงจร 1 กับ 2

ตัวอย่าง 70. มีกระแส I ไหลในเส้นลวดบนแกน z จาก z = −∞ ถึง z = ∞ มีวงปิดรูป


สี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง d โดยที่จุดยอดอยู่ที่ (x, 0, 0), (x+a, 0, 0), (x, 0, a), (x+a, 0, a) จงหา

1. จงหาฟลักซ์แม่เหล็กที่พุ่งผ่านวงปิด

2. จงหา ความเหนี่ยวนำร่วมระหว่างวงปิดกับเส้นลวด

วิธีทำ

1. จากกฎของแอมแปร์ I
~ L
H.d ~ =I

เราจะได้
I
B = µH = µ
2πρ

โดยที่ ρ คือระยะห่างจากแกน z
และฟลักซ์แม่เหล็กที่พุ่งผ่านวงปิดเป็นไปตามสมการ
Z
φ= BdS
S
Z x+a
I
= µ a dρ
x 2πρ
Z x+a
I
= µ a dρ
x 2πρ
 
aµI x+a
= ln
2π x
152 บทที่ 9. แรงแม่เหล็ก, วัสดุและความเหนี่ยวนำ

2. เราสามารถหาความเหนี่ยวนำร่วม M ได้จาก
φ
M=
I  
aµ x+a
= ln
2π x
บทที่ 10

สนามที่ผันแปรไปตามเวลา
(Time-Varying Field)

10.1 สมการแรงของลอเรนซ์
~ และ
พิจารณาประจุไฟฟ้า (Electric Charge) q ที่ได้รับอิทธิพลมาจากความเข้มของสนามไฟฟ้า E
ความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็ก B ~ จะมีแรง F~ อันเนื่องมาจากความเข้มของสนามไฟฟ้า E~ และ
ความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็ก B ~ นั้นกระทำตามสมการ

F~ = q E
~ + q~v × B
~ (10.1)

10.2 กฎของฟาราเดย์ (Faraday’s Law)


emf = − (10.2)
dt

โดยที่ I
emf = E.d~ ~l คือ แรงเคลื่อนไฟฟ้า (Electromotive Force)

Φ คือ ฟลักซ์แม่เหล็ก
นั่นคือ
I
~ ~l = − dΦ
E.d (10.3)
dt

153
154 บทที่ 10. สนามที่ผันแปรไปตามเวลา (TIME-VARYING FIELD)

นอกจากนี้เราอาจพิสูจน์ได้ว่า
I Z ~
∂B
I
E. ~ =−
~ dl ~ +
.dS ~
~ dl
~v × B. (10.4)
S ∂t C

ตัวอย่าง 71 (ข้อสอบเก่าภาคต้นปีการศึกษา 2554). กระแสค่าคงตัว I ไหลบนโลหะ


เส้นตรงจาก y = −∞ ถึง y = ∞ มีโลหะที่เป็นวงปิดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างและยาว L
ระยะทางระหว่างโลหะเส้นตรงถึงด้านที่ขนานกับโลหะเส้นตรงในแนวตั้งฉาก x และวงปิด
dx
เคลื่อนที่ในแนวตั้งฉากด้วยอัตราเร็ว = v ดังรูป
dt

1. จงหาฟลักซ์แม่เหล็กภายในวงปิด

2. จงหาขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้าบนวงปิด
หมายเหตุ µ = µ0

รูปที่ 10.1: รูปแสดงตัวอย่าง 71

วิธีทำ
10.2. กฎของฟาราเดย์ (FARADAY’S LAW) 155

1. เราสามารถหาฟลักซ์แม่เหล็กภายในวงปิดได้จากสมการ
Z Z x+L x+L  
~ S ~= µ 0 I µ 0 IL µ0 IL x+L
Φ= B.d L du = ln (u)
= ln
S x 2πu 2π x 2π x

2. เราสามารถหาขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้าบนวงปิดได้จากสมการ
 
dΦ dΦ dx µ0 IL 1 1
|emf | = = = − v
dt dx dt 2π x+L x

รูปที่ 10.2: รูปแสดงตัวอย่าง 72

ตัวอย่าง 72 (ข้อสอบเก่าภาคต้นปีการศึกษา 2554). ความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็ก


คงตัว B~ พุ่งออกจากกระดาษ (ตั้งฉากกับวงปิด)ที่เป็นโลหะรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างและ
ยาว L ระยะทางระหว่างโลหะเส้นตรงถึงด้านที่ขนานกับโลหะเส้นตรงในแนวตั้งฉาก x
dx
และวงปิดเคลื่อนที่ในแนวตั้งฉากด้วยอัตราเร็ว = v ดังรูป
dt
1. จงหาฟลักซ์แม่เหล็กภายในวงปิด

2. จงหาขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้าบนวงปิด
หมายเหตุ µ = µ0
156 บทที่ 10. สนามที่ผันแปรไปตามเวลา (TIME-VARYING FIELD)

วิธีทำ

1. เราสามารถหาฟลักซ์แม่เหล็กภายในวงปิดได้จากสมการ
Z
Φ= ~ S
B.d ~ = |B|L
~ 2
S

2. เราสามารถหาขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้าบนวงปิดได้จากสมการ

dΦ ~ 2
|emf | = = d|B|L = 0
dt dt

รูปที่ 10.3: รูปแสดงตัวอย่าง 73

ตัวอย่าง 73. พิจารณาวงปิดอย่างง่ายซึ่งเป็นโลหะวางอยู่บนระนาบ xy ความหนาแน่น


ของฟลักซ์แม่เหล็ก B ~ = B0 âz ไม่ขึ้นกับตำแหน่งแต่เปลี่ยนไปตามเวลา พื้นที่ภายใน
วงปิดเท่ากับ A ซึ่งเปลี่ยนไปตามเวลา จงหาแรงเคลื่อนไฟฟ้า

วิธีทำ เนื่องจาก

emf = − และ Φ = B0 A
dt
ดังนั้น
dΦ d (B0 A) dA dB0 dB0
emf = − =− = −B0 − A = −B0 lv − ld
dt dt dt dt dt
10.2. กฎของฟาราเดย์ (FARADAY’S LAW) 157

หมายเหตุ
I Z ~
∂B
ที่จริงแล้ว −B0 lv คือ ~v × B. ~ ในสมการ 10.4 ส่วนเทอม −
~ dl ~ เป็นศูนย์
.dS
C S ∂t
~ ไม่เปลี่ยนไปตามเวลา
เนื่องจาก B

ตัวอย่าง 74. พิจารณาวงแหวนโลหะที่สามารถยืดหยุ่นได้วางอยู่บนระนาบ xy


~
จุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิด มีความเข้มของสนามแม่เหล็ก B(t) = B0 cos (ωt)âz
นอกจากนี้ที่เวลา t = 0 วงแหวนมีรัศมี r0 และรัศมีกำลังเพิ่มขึ้นด้วยอัตรา
dr
= r00 จงหา
dt
1. แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เวลา t = 0 ด้วยสมการ

emf = −
dt

2. แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เวลา t = 0 ด้วยสมการ
Z ~
∂B
I
emf = − ~
.dS + ~v × B. ~
~ dl
S ∂t C

วิธีทำ

1. แรงเคลื่อนไฟฟ้าเป็นไปตามสมการ

emf = −
dt
d(B0 cos(ωt)A)
=−
 dt 
dA d(B0 cos(ωt))
= − B0 cos(ωt) +A
dt dt

เนื่องจาก A = πr2 ดังนั้น


dA dr d(B0 cos(ωt))
= 2πr และ = −B0 ω sin (ωt)
dt dt dt
และดังนั้น
dr
emf = −B0 cos(ωt)2πr + B0 ω sin (ωt)πr2
dt
dr
นอกจากนี้ที่เวลา t = 0, r = r0 , sin (ωt) = 0 และ = r00 ดังนั้น
dt
emf = −2πB0 r0 r00
158 บทที่ 10. สนามที่ผันแปรไปตามเวลา (TIME-VARYING FIELD)

2. พิจารณาสมการ
Z ~
∂B
I
emf = − ~ +
.dS ~v × B. ~
~ dl
S ∂t C

เราจะได้ว่า
~
∂B d(B0 cos(ωt))
= = −B0 ω sin (ωt)âz
∂t dt
และดังนั้น Z ~
∂B ~ = −B0 πr2 ω sin (ωt)
.dS
S ∂t

นอกจากนี้
I I
~ =
~ dl dr
~v × B. âρ × B0 cos(ωt)âz .rdφâφ
C C dt
Z 2π
dr
=− B0 cos(ωt)âφ .rdφâφ
0 dt
Z 2π
dr
=− B0 cos(ωt)âφ .rdφâφ
0 dt
dr
= −2πr B0 cos(ωt)
dt

นั่นคือ
dr
emf = B0 πr2 ω sin (ωt) − 2πr B0 cos(ωt)
dt
และที่เวลา t = 0
emf = −2πB0 r0 r00

10.2.1 รูปแบบผลต่างของกฎของฟาราเดย์ (Differential Form of Faraday’s


Law)

เนื่องจาก Z
Φ= ~ S
B.d ~
S

และจากทฤษฎีบทของสโตกส์
I Z
~ ~l =
E.d ~ S
O × E.d ~
S
10.3. กฎของแอมแปร์และกระแสการกระจัด (AMPERE’S LAW AND DISPLACEMENT CURRENT) 159

ดังนั้น Z Z  Z ~
~ S
O × E.d ~=−d ~ S
B.d ~ =−
dB ~
.dS
S dt S S dt

นั่นคือ
~
∂B
~ =−
O×E
∂t

10.3 กฎของแอมแปร์และกระแสการกระจัด (Ampere’s Law and


Displacement Current)
จากกฎของแอมแปร์ (Ampere’s Law) ตามสมการ
I
~ ~l = I
H.d

~ S ~
R
โดยที่ I = S J.d
และจากทฤษฎีบทของสโตกส์เราจะได้ว่า
Z Z
~ S
O × H.d ~= ~ S
J.d ~ ~ = J~
หรือ O × H
S S

ดังนั้น
~ = O.J~
O.O × H

แต่เนื่องจาก
~ =0
O.O × H

ดังนั้น
O.J~ = 0
∂ρ
อย่างไรก็ตามสมการนี้ขัดแย้งกับความต่อเนื่องของกระแส O.J~ = − ดังนั้นเพื่อ
∂t
~ ลงในด้านขวาของสมการ
ให้สอดคล้องกัน เราจะเติม G

~ = J~
O×H

จะได้ว่า
~ = J~ + G
O×H ~
160 บทที่ 10. สนามที่ผันแปรไปตามเวลา (TIME-VARYING FIELD)

ดังนั้น
~ = O.J~ + O.G
O.O × H ~ = ~0

และดังนั้น
~ = − ∂ρV
O.J~ = −O.G
∂t

~ = ρV เราจะได้ว่า
จากกฎของเกาส์ O.D

∂ρ ~
∂(O.D) ~
∂D
− =− = O.
∂t ∂t ∂t

~
~ = ∂ D จะทำให้สมการ O×H
ถ้าหากว่าเราให้ G ~ = J~+G
~ สอดคล้องกับสมการ O.J~ =
∂t
∂ρV
− และจะได้ว่า
∂t
~
O×H ~ = J~ + ∂ D
∂t

10.4 กระแสการกระจัดและตัวเก็บประจุแผ่นคู่ขนาน

พิจารณาตัวเก็บประจุแผ่นคู่ขนานซึ่งมีกระแส I ไหลเข้าตัวเก็บประจุที่มีความจุ C ทางขั้วบวก


ประจุ Q ที่แผ่นขั้วบวกเป็นไปตามสมการ

Q = CV

ให้พื้นผิวปิด S ล้อมรอบแผ่นขั้วบวกดังนั้น
I
~ S
J.d ~ = − dQ
S dt
I
แทน Q = CV และ ~ S
J.d ~ = −I ลงไปในสมการข้างต้นจะได้
S

dV
I=C
dt
10.5. สมการของแมกซ์เวลล์ (MAXWELL’S EQUATIONS) 161

10.5 สมการของแมกซ์เวลล์ (Maxwell’s Equations)


พิจารณาสมการของแมกซ์เวลล์ต่อไปนี้

~ =q
O.D กฎของเกาส์ (Gauss’ Law) (10.5)
~ = J~
O×H กฎของแอมแปร์ (Ampere’s Law) (10.6)
~
O×E~ = − ∂B กฎของฟาราเดย์ (Faraday’s Law) (10.7)
∂t
~
O.B = 0 กฎของเกาส์ (Gauss’ Law) (10.8)

จากสมการกฎของแอมแปร์ (Ampere’s Law)

~ = J~
O×H

และ ทฤษฎีบท ก.10  


~ =0
O. O × H

จะได้ว่า  
~ = O.J~ = 0
O. O × H

เราสามารถสังเกตได้ว่าสมการ O.J~ = 0 ไม่สอดคล้องกับสมการ 5.6


ต่อไปนี้
∂ρ
O.J~ = −
∂t
 
~ ลงในสมการ O. O × H
ความไม่สอดคล้องนี้แก้ไขได้โดยการเพิ่มเวคเตอร์ G ~ = O.J~ ดังนี้

~ = J~ + G
O×H ~

จากสมการข้างต้นจะได้
 
~ = O.J~ + O.G
O. O × H ~ =0

แทนสมการ 5.6
∂ρ
O.J~ = −
∂t
จะได้
~ = ∂ρ
O.G
∂t
162 บทที่ 10. สนามที่ผันแปรไปตามเวลา (TIME-VARYING FIELD)

~ = ρ ลงในสมการข้างต้น จะได้
แทนสมการ O.D
 
∂ O.D ~ ~
~ = ∂D
O.G = O.
∂t ∂t
~
~ = ∂ D แล้วสมการ
ถ้าหากเราให้ G
∂t
~ = J~ + G
O×H ~

จะสอดคล้องกับสมการ 5.6
∂ρ
O.J~ = −
∂t
ต่อไปเราจะเรียกสมการต่อไปนี้ว่าสมการของแมกซ์เวลล์ (Maxwell’s Equations)

~ =q
O.D กฎของเกาส์ (Gauss’ Law) (10.9)
~
O×H~ = J~ + ∂ D กฎของแอมแปร์ (Ampere’s Law) (10.10)
∂t
~
O×E~ = − ∂B กฎของฟาราเดย์ (Faraday’s Law) (10.11)
∂t
~
O.B = 0 (10.12)

10.6 ศักย์ที่ถูกหน่วง (Retarded Potentials)

ในกรณีที่ไม่แปรผันไปตามเวลาเราสามารถแสดงได้ว่า

~ = −OV
E

แต่ในกรณีที่ผันแปรไปตามเวลาเราสามารถแสดงได้ว่าไม่สามารถหา V ที่ทำให้

~ = −OV
E

ได้เนื่องจาก
~ = −O × OV
O×E

และเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

O × OV = 0
10.6. ศักย์ที่ถูกหน่วง (RETARDED POTENTIALS) 163

ดังนั้น
~ = −O × OV
O×E

ซึ่งไม่สอดคล้องกับกฎของฟาราเดย์

~
~ = − ∂B
O×E
∂t

~ เข้าไปทางขวามือของสมการ E
เราจำเป็นต้องเติม N ~ = −OV ดังนี้

~ = −OV + N
E ~

เราจะได้ว่า
~
∂B
~ = −O × OV + O × N
O×E ~ =−
∂t
~ =O×A
แทน B ~ ลงไปในสมการข้างต้นจะได้
 
~
∂ O×A ~
~ = −O × OV + O × N
~ =− ∂A
O×E = −O ×
∂t ∂t
~
~ = − ∂ A เราจะได้ว่า
หากเรากำหนดให้ N
∂t
~
~ = −OV − ∂ A
E
∂t

~ ต้องสอดคล้องกับสมการ
นอกจากนี้ V และ A
~
~ = J~ + ∂ D
O×H
∂t
และ
~ = ρV
O.D
~
~ = 1O × A
แทน H ~ และ D ~ = −OV − ∂ A เราจะได้ว่า
~ = E
µ ∂t
!
~
∂A
∂ OV +
1 ∂t
O×O×A ~ = J~ −
µ ∂t
164 บทที่ 10. สนามที่ผันแปรไปตามเวลา (TIME-VARYING FIELD)

และ !
~
∂A ρV
O. −OV − =
∂t 

หรือ
!
2~
O(O.A) ~ = µJ~ − µ O ∂V + ∂ A
~ − O2 A (10.13)
∂t ∂t2

และ
 
~
∂ O.A ρV
O2 V + =− (10.14)
∂t 

ถ้าเรากำหนดเงื่อนไข
~ = −µ ∂V
O.A
∂t
ดังนั้นสมการ 10.13 และ 10.14 จะกลายเป็น
2~
~ = −µJ~ + µ ∂ A
O2 A (10.15)
∂t2
และ
ρV ∂2V
O2 V = − + µ 2 (10.16)
 ∂t

ผลเฉลยของสมการ 10.15 และ 10.16 คือ


Z ~
µ[J]
~
A= dv
V 4πR

และ Z
[ρV ]
V = dv
V 4πR

โดยที่
R = |~r − ~r0 |
R R
[ρV ] เป็นความหนาแน่นของประจุρV ที่เวลา t0 = t − =t− 1
v √
( µ)
~ เป็นความหนาแน่นของกระแสJ~ ที่เวลา t0 = t − R = t −
[J]
R
v 1

( µ)
บทที่ 11

คลื่นระนาบสม่ำเสมอ (Uniform
Plane Wave)

พิจารณาบริเวณที่ไม่มีแหล่งกำเนิดในประภูมิอิสระ นั่นคือ J~ = 0 เราจะได้สมการของแมกซ์เวลล์ดังต่อไปนี้


~
O×H~ = 0 ∂ E
∂t
~
O×E~ = −µ0 ∂ H
∂t
~
O.E = 0
~ =0
O.H

จากสมการ
~
~ = −µ0 ∂ H
O×E
∂t
เราจะได้ว่า
!
∂ ~
H
O×O×E ~ = O × −µ0
∂t
∂ 
~

= −µ0 O×H
∂t
 
~ = O O.E
โดยใช้เอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ O × O × E ~ − O2 E
~ เราจะได้ว่า

~ = −µ0 ∂ O × H
   
~ − O2 E
O O.E ~
∂t

165
166 บทที่ 11. คลื่นระนาบสม่ำเสมอ (UNIFORM PLANE WAVE)

~
~ = J~ + ∂ D ลงในสมการข้างบน เราจะได้
แทน O × H
∂t
!
~
~ = −µ0 ∂ ∂D
 
~ − O2 E
O O.E J~ +
∂t ∂t

เนื่องจากในประภูมิอิสระไม่มีประจุและกระแสทางไฟฟ้า นั่นคือ

~ = O.E
ρV = O.D ~ = 0 หรือ O.E
~ =0

และ
J~ = ~0
~ = 0 E
นอกจากนี้ D ~ ดังนั้น

~
∂2E
~ = µ0 0
O2 E
∂t2

นอกจากนี้จากสมการ
~
~ = J~ + ∂ D
O×H
∂t
เราจะได้ว่า

~ = O × J~ + ∂  ~

O×O×H O×D
∂t

~ = 0 E
เนื่องจาก D ~ ดังนั้น

~ = O × J~ + 0 ∂ O × E
 
O×O×H ~
∂t
 
~ = O O.H
โดยใช้เอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ O × O × H ~ − O2 H
~ เราจะได้ว่า


~

2~ ~ ∂  ~

O O.H − O H = O × J + 0 O×E
∂t
~
~ = − ∂ B ลงในสมการข้างบน เราจะได้ว่า
แทน O × E
∂t
2~
~ = O × J~ − 0 ∂ B
 
~ − O2 H
O O.H
∂t2
167

~ = µ0 H
โดยใช้ความจริงที่ว่า B ~ เราจะได้ว่า

2~
~ = O × J~ − µ0 0 ∂ H
 
~ − O2 H
O O.H
∂t2

เนื่องจากในประภูมิอิสระ

~ = µ0 O.H
O.B ~ = 0 หรือ O.H
~ =0

และ
J~ = ~0

ดังนั้น
~
∂2H
~ = µ0 0
O2 H
∂t2
~ = Ex âx ไม่ขึ้นกับ x และ y ดังนั้น
เพื่อความง่าย ให้ E

∂ 2 Ex ∂ 2 Ex
= µ 0 0
∂z 2 ∂t2

นอกจากนี้เนื่องจาก
~
∂H
~ = −µ0
O×E
∂t
~ = Hy ây ไม่ขึ้นกับ x และ y นั่นคือ
ดังนั้น H

∂ 2 Hy ∂ 2 Hy
= µ 0 0
∂z 2 ∂t2

โดยการดัดแปลงสมการ เราจะได้
∂ 2 Ex 1 ∂ 2 Ex
=
∂t2 c2 ∂z 2
2
∂ Hy 1 ∂ 2 Hy
=
∂t2 c2 ∂z 2
1
โดยที่ c = √
µ0 0
สองสมการข้างบนสอดคล้องกับสมการคลื่นในเส้นเชือก
∂2x 1 ∂2x
2
= 2 2
∂t v ∂z
168 บทที่ 11. คลื่นระนาบสม่ำเสมอ (UNIFORM PLANE WAVE)

โดยที่คลื่นในเส้นเชือกมีอัตราเร็วของคลื่นในเส้นเชือก v
1
ดังนั้นจึงสรุปว่าแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีอัตราเร็ว c = √
µ0 0
นอกจากนี้ในช่วงเวลาที่แมกซ์เวลล์ได้สร้างทฤษฏีน1ี้ ขึ้นได้มีการทดลองวัด
อัตราเร็วของแสง ผลปรากฎว่าแสงมีอัตราเร็วเท่ากับ 3 × 108 m/s โดยประมาณ
แมกซ์เวลล์ได้นำเสนอข้อสรุปที่ว่าแสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่อหน้าพระพักตร์
ของพระราชินีอลิซาเบธที่ 1

รูปที่ 11.1: รูปแสดงทิศทางของการแผ่คลื่น

~ ตั้งฉากกับ H
เราเรียกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่ง E ~ และตั้งฉากกับทิศทางของการแผ่คลื่น
ดังแสดงในรูป 11.1นี้ว่าคลื่นระนาบสม่ำเสมอ (Uniform Plane Wave)

1
วิธีการที่ใช้ในหนังสือทั่วๆไปเป็นวิธีการที่ถูกเขียนขึ้นใหม่โดยนักคณิตศาสตร์ที่ชื่อเฮวิไซด์ (Heaviside)
ภาคผนวก ก

พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
(Mathematical Foundations)

ก.1 การแก้ระบบเชิงเส้นด้วยวิธีวนซ้ำ
(Solving Linear Systems using Iterative Methods)

ก.1.1 การวนซ้ำแบบจาโคบิ
พิจารณาระบบสมการเชิงเส้น Ax = b เขียนแทนได้ด้วยสมการ

a11 x1 + a12 x2 + · · · + a1n xn = b1


a21 x1 + a22 x2 + · · · + a2n xn = b2
a31 x1 + a32 x2 + · · · + a3n xn = b3 (ก.1)
.. .. .. ..
. . . .
an1 x1 + an2 x2 + · · · + ann xn = bn
n
X
bi − aij xj
j=1,j6=i
จากสมการ ก.2 เราสามารถแสดงได้ว่า xi = สำหรับทุก i = 1, . . . , n
aii
การวนซ้ำแบบจาโคบิสามารถแสดงได้ดังต่อไปนี้
initialize x1 (0), . . . xn (0)
for k = 1 to N do

169
170ภาคผนวก ก. พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (MATHEMATICAL FOUNDATIONS)

for i = 1 to n do
i−1
X n
X
bi − aij xj (k − 1) − aij xj (k − 1)
j=1 j=i+1
xi (k) =
aii
end for
end for

ก.1.2 การวนซ้ำแบบเกาส์-ไซเดล

พิจารณาระบบสมการเชิงเส้น Ax = b เขียนแทนได้ด้วยสมการ

a11 x1 + a12 x2 + · · · + a1n xn = b1


a21 x1 + a22 x2 + · · · + a2n xn = b2
a31 x1 + a32 x2 + · · · + a3n xn = b3 (ก.2)
.. .. .. ..
. . . .
an1 x1 + an2 x2 + · · · + ann xn = bn

n
X
bi − aij xj
j=1,j6=i
จากสมการ ก.2 เราสามารถแสดงได้ว่า xi = สำหรับทุก i = 1, . . . , n
aii
การวนซ้ำแบบเกาส์-ไซเดลสามารถแสดงได้ดังต่อไปนี้
initialize x1 (0), . . . xn (0)
for k = 1 to N do
for i = 1 to n do
i−1
X n
X
bi − aij xj (k) − aij xj (k − 1)
j=1 j=i+1
xi (k) =
aii
end for
end for
ก.1. การแก้ระบบเชิงเส้นด้วยวิธีวนซ้ำ(SOLVING LINEAR SYSTEMS USING ITERATIVE METHODS)171

ตัวอย่าง 75. จงเขียนโปรแกรมสำหรับแก้สมการ1 ด้วย Matlab

2x1 + x2 = 1
x1 − 2x2 = 1
(ก.3)

1. โดยใช้การวนซ้ำแบบจาโคบิ

2. โดยใช้การวนซ้ำแบบเกาส์-ไซเดล

วิธีทำ จากสมการข้างต้นจะได้
1 − x2
x1 =
2
1 − x1
x2 =
−2

1. การวนซ้ำแบบจาโคบิ
1 − x2 (k − 1)
x1 (k) =
2
1 − x1 (k − 1)
x2 (k) =
−2

โปรแกรมการแก้สมการโดยใช้การวนซ้ำแบบจาโคบิแสดงดังต่อไปนี้

clear all
N = 100;
x1 = 1; x2 = 1;%initialize x1 and x2
for k = 1:N
Iteration(k) = k;
if k > 1
x1(k) = (1-x2(k-1))/2;
x2(k) = (1-x1(k-1))/(-2);
else
x1(k) = (1-x2)/2;
x2(k) = (1-x1)/(-2);
1
กำหนดให้ค่าเริ่มต้น x1 (0) = 1, x2 (0) = 1 และจำนวนการวนซ้ำสูงสุด N = 100
172ภาคผนวก ก. พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (MATHEMATICAL FOUNDATIONS)

end
end

2. การวนซ้ำแบบเกาส์-ไซเดล

1 − x2 (k − 1)
x1 (k) =
2
1 − x1 (k)
x2 (k) =
−2

โปรแกรมการแก้สมการโดยใช้การวนซ้ำแบบเกาส์-ไซเดลแสดงดังต่อไปนี้

clear all
N = 100;
x1 = 1; x2 = 1;%initialize x1 and x2
for k = 1:N
Iteration(k) = k;
if k > 1
x1(k) = (1-x2(k-1))/2;
x2(k) = (1-x1(k))/(-2);
else
x1(k) = (1-x2)/2;
x2(k) = (1-x1)/(-2);
end
end

ก.2 การอินทิเกรตจำกัดเขต (Definite Integration)

พิจารณาฟังก์ชัน f ซึ่งนิยามและต่อเนื่องในช่วง [a, b] ออกเป็น N ช่วงย่อยโดยที่ ∆xi =


b−a
∆x = และ xi = a+(i−1)∆xi , i = 1, . . . , N +1 พื้นที่ใต้กราฟของฟังก์ชัน f เป็นไปตาม
n
สมการ
Z b N
X
f (x) ≈ f (xi )∆xi (ก.4)
a i=1
ก.2. การอินทิเกรตจำกัดเขต (DEFINITE INTEGRATION) 173

n
X
ถ้าหากเรากำหนดให้2 F (xn+1 ) − F (a) = F (xn ) − F (x1 ) = f (xi )∆x ดังนั้น
i=1

F (xn+1 ) − F (xn ) = (F (xn+1 ) − F (a)) − (F (xn ) − F (a))


n
X n−1
X
= f (xi )∆xi − f (xi )∆xi
i=1 i=1

= f (xn )∆xi

และดังนั้น
F (xn + ∆x) − F (xn )
f (xn ) =
∆x

เมื่อเราให้ N → ∞ และ x ∈ [xn , xn+1 ] ดังนั้น

F (x + ∆x) − F (x)
f (x) = lim
∆x→0 ∆x

และดังนั้น3
F (x)
f (x) =
dx

นั่นคือถ้า
F (x)
f (x) = , x ∈ [a, b]
dx
แล้ว
Z b
f (x) dx = F (b) − F (a)
a

ตัวอย่าง 76. จงหาพื้นที่ใต้กราฟ f (x) = x, x ∈ [0, 1] โดยใช้

1. ผลรวมของรีมานน์ (Riemann Sum)

2. ปฏิยานุพันธ์ (Antiderivative)
วิธีทำ
n
X
2
เราเรียก lim f (xi )∆xi ว่าผลรวมของรีมานน์ (Riemann Sum)
n→∞
i=1
3
เราเรียก F ว่าปฏิยานุพันธ์ (Antiderivative)
174ภาคผนวก ก. พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (MATHEMATICAL FOUNDATIONS)

(a) โดยใช้ผลรวมของรีมานน์พื้นที่ใต้กราฟหาได้จากสมการ
Z 1 N
X
x dx = lim xi ∆xi
0 N →∞
i=1
N
X i
= lim
N →∞ N2
i=1
N
!
1 X
= lim i
N →∞ N2
i=1

เนื่องจาก
N  
X N
i= (N + 1)
2
i=1

ดังนั้น
Z 1
N N +1
x dx = lim
0 N →∞ 2 N 2
1
=
2

(b) โดยใช้ปฏิยานุพันธ์พื้นที่ใต้กราฟหาได้จากสมการ
Z 1
1
x dx =
0 2

ตัวอย่าง 77. จงหาปริมาตรของกรวยสูง h ซึ่งมีหน้าตัดที่มีพื้นที่เป็นวงกลมรัศมี R

วิธีทำ ถ้าให้ฐานอยู่บนระนาบ xy จุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิดและจุดยอดอยู่ที่ (0, 0, h)


ดังนั้น จากสามเหลี่ยมคล้าย เราสามารถหารัศมี ri ได้จากสมการ
ri R
=
h − zi h

และดังนั้น
R(h − zi )
ri =
h
นั่นคือหน้าตัดมีพื้นที่ A(zi ) เป็นไปตามสมการ

R(h − zi ) 2
 
2
A(zi ) = πri = π
h
ก.2. การอินทิเกรตจำกัดเขต (DEFINITE INTEGRATION) 175

ถ้าให้ ∆Vi เป็นปริมาตรของกรวยในช่วง [zi , zi + ∆zi ] เมื่อ z1 = 0, ∆zi = ∆z =


h
และ i = 1, . . . , N + 1 แล้ว
N

R(h − zi ) 2
 
∆Vi = A(zi )∆zi = π ∆zi
h

และดังนั้น
N N
R(h − zi ) 2
X X  
V = lim ∆Vi = π ∆z
N →∞ h
i=1 i=1

นั่นคือ
2 h
h
R2 (h − z)3

R(h − z)
Z
1
V = π dz = − π 2 = πR2 h
0 h h 3 3
0

ตัวอย่าง 78. จงหาพื้นที่ของวงกลมที่มีรัศมี R

วิธีทำ ให้วงกลมวางอยู่บนระนาบ xy จุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิด เราสามารถหาพื้นที่เป็น


พื้นที่ย่อย ๆ ∆Ai ตามสมการ

∆Ai = 2πri ∆ri

R
โดยที่ r1 = 0, ∆ri = ∆r = และ ri = (i − 1)∆ri , i = 1, . . . , N + 1
N
เมื่อ N → ∞ จะได้ว่า
N
X N
X
A= ∆Ai = 2πri ∆ri
i=1 i=1

นั่นคือ Z R
A= 2πr dr = πR2
0

ก.2.1 การอินทิเกรตสองชั้น

ก่อนอื่นพิจารณาตัวอย่าง 78 อีกครั้ง ถ้าเราแบ่งพื้นที่ออกเป็นพื้นที่ย่อย ๆ ∆Aij ตามสมการ

∆Aij = ri ∆Φj ∆ri


176ภาคผนวก ก. พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (MATHEMATICAL FOUNDATIONS)

เราสามารถหา Ai ในตัวอย่าง 78 ได้จาก


N
X N
X
∆Ai = ∆Aij = ri ∆Φj ∆ri
j=1 j=1

นอกจากนี้พื้นที่ A เป็นไปตามสมการ
N
X N X
X N N X
X N
A= ∆Ai = ∆Aij = ri ∆Φj ∆ri
i=1 i=1 j=1 i=1 j=1

เมื่อ N → ∞ เราจะได้ว่า
N X
X N
A = lim ri ∆Φj ∆ri
N →∞
i=1 j=1

หรือ
Z R Z 2π Z R Z 2π  Z R
A= r dφdr = r dφ dr = 2πr dr = πR2 (ก.5)
0 0 0 0 0

การอินทิเกรตในสมการ ก.5 สามารถเขียนอยู่ในรูป


ZZ
f (x1 , x2 ) dx1 dx2
A
ZZ
เราเรียก f (x1 , x2 ) dx1 dx2 ว่าการอินทิเกรตสองชั้น (Double Integration)
A

ก.2.2 การอินทิเกรตสามชั้นและการอินทิเกรตหลายชั้น (Triple Integration and


Multiple Integration)

ก.2.3 การอินทิกรัลตามเส้น

ก.3 ทฤษฎีบทไดเวอร์เจนซ์ (Divergence Theorem)


ทฤษฏีบท 1 (ทฤษฎีบทไดเวอร์เจนซ์). ให้ V เป็นปริมาตรที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นผิวปิด S
I Z
~ ~
D. dS = ~ dV
O.D
S V
ก.3. ทฤษฎีบทไดเวอร์เจนซ์ (DIVERGENCE THEOREM) 177

พิสูจน์ พิจารณาสนามเวคเตอร์ (Vector Field) D~ ภายในปริมาตร V ซึ่งถูกล้อมรอบด้วย


พื้นผิวปิด S แบ่งปริมาตร V ออกเป็นปริมาตรย่อย ๆรูปลูกบาศก์ ∆V ให้ปริมาตรย่อย ๆใด ๆ
กล้อมรอบด้วยพื้นผิวปิด ∆S ที่มีจุดยอดอยู่ที่
ถู 
∆x ∆y ∆z ∆x ∆y ∆z
x− ,y − ,z − , x+ ,y − ,z − ,
 2 2 2   2 2 2 
∆x ∆y ∆z ∆x ∆y ∆z
x− ,y + ,z − , x− ,y − ,z + ,
 2 2 2   2 2 2 
∆x ∆y ∆z ∆x ∆y ∆z
x+ ,y + ,z − , x− ,y + ,z +
2 2 2 I 2 2 2
เราสามารถประมาณฟลักซ์ ∆Ψ = ~ dS
D. ~ ที่พุ่งผ่านพื้นผิวปิด ∆S
∆S
ได้ดังนี้
∂Dx ∆x ∂Dx ∆x
∆Ψ ≈ (Dx + )(∆y∆z) − (Dx − )(∆y∆z)
∂x 2 ∂x 2
∂Dy ∆y ∂Dy ∆y
+ (Dy + )(∆x∆z) − (Dy − )(∆x∆z)
∂y 2 ∂y 2
∂Dz ∆z ∂Dz ∆z
+ (Dz + )(∆x∆y) − (Dz − )(∆x∆y)
∂z 2 ∂z 2
หรือ
I
∆Ψ = D. ~ ≈ ∂Dx ∆x∆y∆z + ∂Dy ∆x∆y∆z + ∂Dz ∆x∆y∆z
~ dS
∆S ∂x ∂y ∂z

เมื่อ ∆x, ∆y, ∆z → 0 และอินทิเกรตบนปริมาตร V จะได้ว่า


Z I Z  
~ ~ ∂Dx ∂Dy ∂Dz
Ψ= dΨ = D. dS = + + dxdydz
S V ∂x ∂y ∂z

ถ้าหากเรานิยาม
 
~ = O.D
~ = ∂Dx ∂Dy ∂Dz
div D + + และให้ dV = dxdydz
∂x ∂y ∂z

จะได้ว่า
I Z
~ dS
D. ~= ~ dV
div D
S V

หรือ
I Z
~ dS
D. ~= ~ dV
O.D
S V
178ภาคผนวก ก. พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (MATHEMATICAL FOUNDATIONS)

เอกลักษณ์ 1.

~ = ∂Dx ∂Dy ∂Dz


O.D + + (พิกัดฉาก)
∂x ∂y ∂z
~ = 1 ∂ (ρDρ ) + 1 ∂Dφ + ∂Dz
O.D (พิกัดทรงกระบอก)
ρ ∂ρ ρ ∂φ ∂z
2

~ = 1 ∂ r Dr + 1 ∂ (Dθ sin θ) + 1 ∂Dφ
O.D (พิกัดทรงกลม)
r2 ∂r r sin θ ∂θ rsin θ ∂φ

เอกลักษณ์ 2.

O × OV = 0

พิสูจน์ พิจารณาวงปิดอย่างง่าย C ทิศทวนเข็มนาฬิกาล้อมรอบพื้นที่ผิว S ดังนั้น


จากทฤษฎีบทของสโตกส์
Z I
(O × OV ) .dS = OV.d~l
S C

นอกจากนี้เนื่องจาก
Z b
OV.d~l = Vb − Va
a

โดยที่
จุด a เป็นจุดเริ่มต้น (Initial Point)
จุด b เป็นจุดสิ้นสุด (Terminal Point)
ดังนั้น
I
OV.d~l = VP − VP = 0
C

โดยที่
จุด P เป็นจุดเริ่มต้น (Initial Point) และ จุดสิ้นสุด (Terminal Point)

เอกลักษณ์ 3.
~ = O(O.A)
O×O×A ~ − O2 A
~
ก.4. ทฤษฎีบทของกรีน (GREEN’S THEOREM) และทฤษฎีบทของสโตกส์ (STOKES’ THEOREM)179

ก.4 ทฤษฎีบทของกรีน (Green’s Theorem) และ


ทฤษฎีบทของสโตกส์ (Stokes’ Theorem)
ทฤษฏีบท 2 (ทฤษฎีบทของกรีน (Green’s Theorem)). ให้ S เป็นพื้นผิวบนระนาบ
ที่ถูกล้อมรอบด้วยวงปิดในทิศทวนเข็มนาฬิกา L
I Z  
~ ~ ∂Hy ∂Hx
H. dl = − dS (ก.6)
L S ∂x ∂y

พิสูจน์ แบ่งพื้นผิว S ที่ถูกล้อมรอบด้วยวงปิดในทิศทวนเข็มนาฬิกา L ออกเป็น


พื้นผิวย่อย ๆ ∆S ที่ถูกล้อมรอบด้วยวงปิดในทิศทวนเข็มนาฬิกา ∆L โดยที่จุดยอด
อยู่ที่

∆x ∆y ∆x ∆y ∆x ∆y ∆x ∆y
(x − ,y − ), (x + ,y − ), (x + ,y + ), (x − ,y + )
2 2 2 2 2 2 2 2
I
และจุดศูนย์กลางอยู่ที่ (x, y) ดังนั้นเราสามารถประมาณ ~ d~l ได้ดังนี้
H.
∆L
I
~ d~l ≈ (Hy + ∂Hy ∆x )∆y − (Hx + ∂Hx ∆y )∆x
H.
∆L ∂x 2 ∂y 2
∂Hy ∆x ∂Hx ∆y
− (Hy − )∆y + (Hx − )∆x
∂x 2 ∂y 2
 
∂Hy ∂Hx
= − ∆x∆y
∂x ∂y
I
ถ้าหากว่าเรารวม ~ d~l ของแต่ละ∆L เข้าด้วยกันและให้ dS = dxdy จะได้
H.
∆L
I XI X  ∂Hy ∂Hx

~ d~l ≈
H. ~ d~l =
H. − ∆x∆y
L ∆L ∂x ∂y

เมื่อ ∆x, ∆y → 0 จะได้ว่า


I Z  
~ d~l = ∂Hy ∂Hx
H. − dS
L S ∂x ∂y

จากสมการ ก.6
I Z  
~ d~l = ∂Hy ∂Hx
H. − dS
L S ∂x ∂y
180ภาคผนวก ก. พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (MATHEMATICAL FOUNDATIONS)

ในทฤษฎีบทของกรีน เมื่อให้ S = ∆S และ L = ∆L จะได้ว่า


Z   I
∂Hy ∂Hx ~ d~l
− dS = H.
∆S ∂x ∂y ∆L

หรือ
~ ~
  H
∂Hy ∂Hx ∆L H. dl
− = lim
∂x ∂y ∆S→0 ∆S

โดยที่ n̂ คือเวคเตอร์ ฉากกับระนาบและเป็นไปตามกฎมือขวา4


 หนึ่งหน่วยตั้ง
ถ้าให้ O × H ~ = ∂Hy − ∂Hx n̂ จะได้ว่า
∂x ∂y
I
~ d~l
H.
~
O × H = lim ∆L
n̂ (ก.7)
∆S→0 ∆S

โดยมีข้อสังเกตว่าเวคเตอร์หนึ่งหน่วย n̂ ในสมการ ก.7 อยู่ในทิศทางใดก็ได้ ไม่จำเป็น


ต้องอยู่ในแนวแกน z
เราเขียนสมการ ก.6 ใหม่ได้เป็น
I Z  
~ ~
H. dl = O×H ~ .n̂ dS (ก.8)
L S

สำหรับทฤษฎีบทของกรีน (Green’s Theorem) พื้นผิว S ต้องอยู่บนระนาบเท่านั้น แต่


เราสามารถขยายความเป็นทฤษฎีบทของสโตกส์ (Stokes’ Theorem) ดังนี้

ทฤษฏีบท 3 (ทฤษฎีบทของสโตกส์ (Stokes’ Theorem)). ให้ S เป็นพื้นผิวที่ถูกล้อม


รอบด้วยวงปิดในทิศทวนเข็มนาฬิกา L
Z I
~ ~
O × H. dS = ~ d~l
H.
S L

พิสูจน์ แบ่งพื้นผิว S ที่ถูกล้อมรอบด้วยวงปิดในทิศทวนเข็มนาฬิกา L ออกเป็น


พื้นผิวย่อย ๆ ∆S ที่ถูกล้อมรอบด้วยวงปิดในทิศทวนเข็มนาฬิกา ∆L พิจารณาพื้นผิว
ย่อย ๆ ∆S จากสมการ ก.7 เราจะได้ว่า
I
~ d~l
H.
~
O × H = lim ∆L

∆S→0 ∆S
4
ในที่นี้ n̂ = âz
ก.4. ทฤษฎีบทของกรีน (GREEN’S THEOREM) และทฤษฎีบทของสโตกส์ (STOKES’ THEOREM)181

เราจะได้ว่า
I XI X 
~ d~l ≈
H. ~ d~l ≈
H. ~ .n̂∆S
O×H
L ∆L

เมื่อ ∆S → 0 จะได้ว่า
I Z  
~ d~l =
H. ~ .n̂ dS
O×H
L

หรือ
I Z  
~ d~l =
H. ~ . dS
O×H ~
L

~ โดยพิจารณาสมการ
เราสามารถหา O × H
I
~ d~l
H.
~ = lim
O×H ∆L

∆S→0 ∆S
หรือ5
I
  ~ d~l
H.
~
O×H = lim ∆L
(ก.9)
n̂ ∆S→0 ∆S
 
~
โดยที่ O × H ~ ในทิศทางของ n̂
คือส่วนประกอบของ O × H

จากสมการ ก.9 เราจะได้ว่า
I
~ d~l
H.

~

∆Lx ∂Hz ∂Hy
O×H = lim = −
x ∆Sx →0 ∆Sx ∂y ∂z
I
~ d~l
H.

~

∆Ly ∂Hx ∂Hz
O×H = lim = −
y ∆Sy →0 ∆Sy ∂z ∂x
I
~ d~l
H.

~

∆Lz ∂Hy ∂Hx
O×H = lim = −
z ∆Sz →0 ∆Sz ∂x ∂y
 
5 ~
จากสมการ ก.9 เราอาจสังเกตได้ว่า O × H ไม่ขึ้นกับทิศทาง

ของแกนอ้างอิง
182ภาคผนวก ก. พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (MATHEMATICAL FOUNDATIONS)

นั่นคือ
     
~ = ∂Hz ∂Hy ∂Hx ∂Hz ∂Hy ∂Hx
O×H − âx + − ây + − âz
∂y ∂z ∂z ∂x ∂x ∂y

~ เป็นสนามเวคเตอร์ (Vector Field) ดังนั้น


ทฤษฏีบท 4. ให้ H

~ =0
O.(O × H) (ก.10)

พิสูจน์ พิจารณาพื้นผิวซึ่งถูกล้อมรอบด้วยวงปิด L จากทฤษฎีบทของสโตกส์ เราจะได้ว่า


Z Z
~ ~
H.dl = ~ S
O × H.d ~
L S

เมื่อวงปิดมีขนาดเล็กลงจนเหลือเพียงจุด ๆ เดียว เราจะได้ว่า


I
~ ~l = 0
H.d
L

และพื้นผิว S เกลายเป็นพื้นผิวปิด นั่นคือ


Z I
~
O × H.dS = ~ ~ S
O × H.d ~
S S

จากทฤษฎีบทไดเวอร์เจนซ์
I Z
~ S
O × H.d ~= ~ dV
O.(O × H)
S V

จะได้ว่า Z
~ dV = 0
O.(O × H)
V

นั่นคือ
~ =0
O.(O × H)

~ เป็นสนามเวคเตอร์ (Vector Field) และ V เป็นสนามสเกลาร์ (Scalar


ทฤษฏีบท 5. ให้ D
Field) ดังนั้น
   
O. V D~ = V O.D ~ + D. ~ (OV ) (ก.11)
บรรณานุกรม

[1] C. A. Balanis, Antenna Theory Analysis and Design, 3rd ed., John Wiley,
2005.

[2] Q. Chu and C. Liang,"The Uniqueness Theorem of Electromagnetic Field


in Lossless Regions," IEEE Trans., vol. 41, pp. 245-246, Feb. 1993.

[3] R. Collin, Foundations for Microwave Engineering, 2nd ed., McGraw-Hill,


1992.

[4] G. H. Golub and C. F. Van Loan, Matrix Computations 3rd ed., John
Hopkins, 1996.

[5] W. Hayt Jr. and J. A. Buck, Engineering Electromagnetics, 7th ed.,


McGrawHill, 2006.

[6] Y. Huang and K. Boyle, Antenna from Theory to Practice, 1st ed., John
Wiley, 2008.

[7] J. D. Kraus and D. A. Fleisch, Electromagnetics with Applications, 5th ed.,


McGrawHill, 1999.

[8] P. E. Lewis and J. P. Ward, The Finite Element Method-Principles and


Applications, 1st ed., Addison-Wesley, 1991.

[9] S. Ramo, Fields and Waves in Communication Electronics, 3rd ed., John
Wiley, 1994.

[10] S. M. Rao, D. R. Wilton, “Electromagnetic Scattering by Surfaces of


Arbitrary Shape," IEEE Trans., vol. AP-30, pp. 409-418, May 1982.

183
184 บรรณานุกรม

[11] Matthew N. O. Sadiku, Numerical Techniques in Electromagnetics, 2nd


ed., CRC Press, 2001.

[12] บัณฑิต โรจน์อารยานนท์, วิศวกรรมสายอากาศ, ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1,


สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2536.

You might also like