Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 18

บทที่ 1

ฟังก์ชันของตัวแปรหลายตัวแปร
(Functions of Several Variables)

ในการศึกษาฟังก์ชันของตัวแปรสองตัว ซี่งมักแทนฟังก์ชันด้วย f ใช้ตัวแปร x, y


และเขียนแทนด้วย z = f(x, y) นั้น การเข้าใจว่ากราฟของฟังก์ชันมีลักษณะอย่างไรจะ
เป็นประโยชน์มากส าหรับผู้ที่ศึกษาเรื่องนี้ ทั้งนี้เพราะนอกจากจะทาให้มองเห็นรู ปทรง
แล้วยังทาให้เห็นความหมายทางเรขาคณิตของฟังก์ชัน อันจะเป็นประโยชน์มากในการ
ประยุกต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประยุกต์ของอนุพันธ์ย่อยในบทที่ 3 เนื่องจากกราฟของ
ฟังก์ชัน z = f(x, y) เป็นรูปทรงในปริภูมิสามมิติ ดังนั้นในบทนี้เราแนะนาปริภูมิสามมิติ
ซึ่งเป็นการขยายจากปริภูมิสองมิติ ทีเ่ ราได้ศึกษามาแล้วในระดับมัธยม

1.1 ระบบพิกัดฉากในปริภูมิสามมิติ
สาหรับระบบพิกัดฉากในปริภูมิสองมิติ เรามีระนาบ (plane) และบอกตาแหน่ง
ของจุดต่างๆ ของรูปกราฟบนระนาบด้วยคู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นการบอกตาแหน่งของจุด
ด้วยระยะทางที่ห่างจากเส้นตรงสองเส้นที่ตั้งฉากกันและตัดกันที่จุด O ซึ่งเรียกว่า จุด
กาเนิด
z
ระบบพิกัดฉากในปริภูมิสามมิติประกอบด้วย
x เส้นตรงสามเส้น คือ เส้นตรง xx เส้นตรง
yy และเส้นตรง zz เส้นตรงทั้งสามนี้ตั้ง
ฉากซึ่งกันและกัน และตัดกันที่ จุด O ซึ่ง
y
0 y เรียกว่า จุดกาเนิด (origin) เรียกเส้นตรง
xx ว่า แกน x เรียกเส้นตรง yy ว่า แกน y
และเรียกเส้นตรง zz ว่าแกน z และให้
x
z ระยะตามแกน x, แกน y และแกน z
ในทิศทางดังรูปที่ 1.1 เป็นบวกและระยะใน
รูปที่ 1.1 ทิศทางตรงข้ามเป็นลบ
ข้อสังเกต
1. ในปริภูมิสามมิติเรามีระนาบหลัก 3 ระนาบ คือ ระนาบ xy ระนาบ yz และระนาบ xz
2. ทิศทางที่ระยะตามแกน x, แกน y และแกน z เป็นบวก นอกจากจะเป็นเช่นรูปที่ 1.1
แล้วยังเป็นไปในแบบอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้แต่ละแบบให้เป็นไปตามกฎมือขวา
3. มีคนจานวนไม่น้อยมีปัญหาในการมองภาพสามมิติ จึงน่าจะเป็นประโยชน์ที่จะมอง
2

มุมห้อง โดยคิดว่ามุมห้องเป็นจุดกาเนิด ผนังด้านซ้ายเป็นระนาบ xz ผนังด้านขวา


เป็นระนาบ yz และ พื้นห้องเป็นระนาบ xy แกน x อยู่ที่ส่วนที่ตัดกันระหว่างพื้นห้อง
กับผนังด้านซ้าย แกน y อยู่ที่ส่วนที่ตัดกันระหว่างพื้นห้องกับผนังด้านขวา และ
แกน z อยู่ระหว่างพื้นห้องกับเพดาน ดังแสดงในรูปที่ 1.2
z

ระนาบ xz
ระนาบ yz

y
x
ระนาบ xy

รูปที่ 1.2

จุดในปริภูมิสามมิติ
ให้ P เป็นจุดในปริภูมิสามมิติ ดังแสดงในรูปที่ 1.3
z ลากเส้นตรง PQ ขนานกับแกน z พบ
ระนาบ xy ที่ จุด Q บนระนาบ xy
C D
ลากเส้นตรง QA และ QB ขนานกับแกน y
R P และแกน x และตัดแกน x และแกน y ที่
B y
0 0z จุด A และจุด B ตามลาดับ ในทานองเดียว-
A
Q
x0 กัน ลาก PR ขนานกับแกน y พบระนาบ
y
0 xz ที่จุด R บนระนาบ xz ลากเส้นตรง RA
x และ RC ขนานกับแกน z และแกน x
รูปที่ 1.3
และตัดแกน x และแกน z ที่จุด A
และจุด C ตามลาดับ
ถ้าจุด A, B, C อยู่ห่างจากจุด O เป็นระยะทาง x0, y0 และ z0 ตามลาดับ เราจะเขียน
แทนจุด P ด้วย (x0, y0, z0) และจะกล่าวว่าจุด P มีพิกัดเป็น (x0, y0, z0) ดังนั้นจะเห็นว่า
เราบอกตาแหน่งของจุด P ด้วยระยะที่วัดขนานกับแกน x แกน y และแกน z ในทิศทาง
ตั้งฉากกับระนาบ yz ระนาบ xz และระนาบ xy ตามลาดับ
3

ตัวอย่างที่ 1.1 จงเขียนรูปแสดงตาแหน่งของจุด (2,1,1) และ (–1, 2,–2)


วิธีทา
z z
1 -1
0 2 y
A 0 1 y
2 -2 B
x x
ก. จุด A มีพิกัด (2,1,1) ข. จุด B มีพิกัด (–1, 2,–2)
รูปที่ 1.4

ในปริภูมิสองมิติ สมการ x = a เป็นสมการเส้นตรงที่ผ่านจุด (a,0) ขนานกับแกน


y และอยู่ห่างจากแกน y เป็นระยะ |a| หน่วย
z
ส่วนในปริภูมิสามมิติ สมการ x = a เป็น
สมการของระนาบที่ ข นานกั บ ระนาบ yz
และอยู่ห่า งจากระนาบ yz เป็นระยะ |a|
y
0
หน่วย นอกจากนี้ระนาบ x = a ยังตั้งฉาก
(a,0,0) กับแกน x และตัดแกน x ที่จุด (a,0,0)
ดังรูปที่ 1.5
x
x = a; a > 0
รูปที่1.5

ในทานองเดียวกันสมการ y = b เป็นสมการของระนาบที่ขนานกับระนาบ xz และตัด


แกน y ที่จุด (0,b,0) และสมการ z = c เป็นสมการของระนาบที่ขนานกับระนาบ xy
และตัดแกน z ที่จุด (0,0,c)
ข้อสังเกต
1. สมการ z = 0 คือระนาบ xy สมการ x = 0 คือระนาบ yz และสมการ y = 0 คือ
ระนาบ xz
2. ในสองมิติเส้นตรงสองเส้นใด ๆ ตัดกันจะได้จุด ๆ หนึ่ง ส่วนในปริภูมิสามมิติระนาบ
สองระนาบตัดกันจะได้เส้นตรงเส้นหนึ่ง
3. ทางเดินของจุด (x, y, z) ที่สอดคล้องตามสมการ x = a และ y = b เป็นเส้นตรงที่
ขนานกับแกน z ผ่านจุด (a, b, 0) ดังแสดงในรูปที่ 1.6
4

ในทานองเดียวกัน ทางเดินของจุด (x, y, z)


z ที่สอดคล้องตามสมการ x = a และ z = c
เป็นเส้นตรงที่ขนานกับแกน y ผ่านจุด (a,
0, c) และทางเดินของจุด (x, y, z) ที่
0 b y สอดคล้องตามสมการ y = b และ z = c
a (a,b,0) จะเป็ น เส้ น ตรงที่ ข นานกับ แกน x ผ่ า นจุ ด
x (0, b, c)
รูปที่ 1.6
ระยะทางและจุดกึ่งกลางระหว่างจุดสองจุด
ให้ P1(x1, y1, z1) และ P2(x2, y2, z2) เป็นจุดสองจุดในปริภูมิสามมิติ ระยะทาง
ระหว่างจุด P1 และจุด P2 เขียนแทนด้วย |P1 P2| และมีค่าเท่ากับ

P1P2  (x1  x2 )2  (y1  y2 )2  (z1  z2 )2

ถ้าให้ (x0, y0, z0) เป็นจุดกึ่งกลางของเส้นตรง P1P2 แล้วจะได้ว่า


x1  x2 y y z z
x0  , y0  1 2 และ z0  1 2
2 2 2
สาหรับระยะทางสามารถแสดงให้เห็นโดยใช้สูตรระยะทางระหว่างจุดสองจุดในสองมิติได้
ดังนี้ จากรูปที่ 1.7 จะได้ว่า
| PP |2  | PR |2  | P R |2  | P Q |2  | QR |2 P Q 2 QR 2 | P R |2
12 1 2 1 1 2
 (y  y )2  (x  x )2  (z  z )2
1 2 1 2 1 2
ดังนั้น
| P P |  (x  x )2  (y  y )2  (z  z )2
12 1 2 1 2 1 2

z
P2 (x 2 ,y 2 ,z 2 )

R(x 2 ,y 2 ,z1 )

P1 (x 1 ,y1 ,z1 ) Q(x 1 ,y 2 ,z1 )


y
0

x รูปที่ 1.7
5

ในทานองเดียวกันเราหาจุดกึ่งกลางได้โดยเขียนรูปประกอบและใช้สูตรจุดกึ่งกลาง
ระหว่างจุดสองจุดในสองมิติ นักศึกษาลองทาดูเป็นแบบฝึกหัด

ตัวอย่างที่ 1.2 จงหาระยะทางระหว่างจุด P (2,1,5) และ Q (–1,2,1)


วิธีทา แทนค่าต่าง ๆ ในสูตรจะได้ว่า
PQ 2  (2  (1))2  (1  2)2  (5  1)2  9  1  16  26
ดังนั้น |PQ| = 26 

ตัวอย่างที่ 1.3 จงหาพิกัดของจุด Q ซึ่งแบ่งเส้นตรงที่เชื่อมจุด P1(1,2,–2) และ


P2(–3,5,7) ออกเป็นสัดส่วน 3 :1
วิธีทา P 2

Q
P

P1 
รูปที่ 1.8
ให้ P เป็นจุดกึ่งกลางของเส้นตรง P1P2 และ Q เป็นจุดที่ต้องการดังรูปที่ 1.8
ดังนั้นพิกัดของจุด P คือ
(1  3 , 2  5 , 2  7 )  (1, 7 , 5 )
2 2 2 22
เนื่องจาก Q เป็นจุดกึ่งกลางของเส้นตรง PP2
ดังนั้นพิกัดของ Q คือ
( 1  3 , (7 / 2)  5 , (5 / 2)  7 )  (2, 17 , 19 ) 
2 2 2 4 4

ตัวอย่างที่ 1.4 ให้ P เป็นจุดกึ่งกลางของเส้นตรง P1P2 โดยที่ P1 มีพิกัด (–1,2,5) จุด P


อยู่บนระนาบ xz และจุด P2 อยู่บนรอยตัดของระนาบ x = 5 และ z = 8 จงหาพิกัดของ
จุด P และ P2
วิธีทา ให้ P มีพิกัด (x1, y1, z1) และ P2 มีพิกัด (x0, y0, z0)
เนื่องจากจุด P อยู่บนระนาบ xz ดังนั้น y1 = 0
และเนื่องจากจุด P2 อยู่บนรอยตัดของระนาบ x = 5 และ z = 8
ดังนั้น x0 = 5 และ z0 = 8 เนื่องจาก P เป็นจุดกึ่งกลางของเส้นตรง P1P2 จะได้ว่า
6
2  y0
x1  1  5  2 , y1  และ z1  5  8  13
2 2 2 2
2  y0
แต่ y1 = 0 ดังนั้น  0 นั่นคือ y0 = –2
2
ดังนั้นพิกัดของจุด P และ P2 คือ (2,0, 13 ) และ (5,–2,8) ตามลาดับ 
2

แบบฝึกหัดที่ 1.1
1. จงเขียนรูปแสดงตาแหน่งของจุดต่อไปนี้
(1,1,2), (–1,3,0), (–1,–2,–1), (0,–1,2), (–3,1,–4)
2. จงหาความยาวของด้านทั้งสามของสามเหลี่ยม ABC เมื่อพิกัด A, B และ C เป็นดังนี้
A(3,1,–1) , B (2,1,4) และ C(7,3,1)
3. จงหาความยาวของเส้นมัธยฐานของสามเหลี่ยม ABC ถ้าพิกัด A, B และ C เป็นดังนี้
A(4,3,1), B(2,1,2) และ C(0,2,4)
4. ให้ Q เป็นจุดกึ่งกลางของเส้นตรง P1P2 โดยที่ P1 มีพิกัด (–2,1,6) จุด Q อยู่บน
ระนาบ y = 3 และจุด P2 อยู่บนส่วนที่ตัดกันระหว่างระนาบ x = 4 และระนาบ
z = –6 จงหาพิกัดของ P2 และ Q
5. กาหนดจุด P(6,2,3), Q (–5,–1,4) และ R(0,3,8) จงพิจารณาว่า จุดใดอยู่ใกล้ระนาบ
xz ที่สุด และจุดใดอยู่บนระนาบ yz
6. จงหาภาพฉายของจุด (2,3,5) บนระนาบ xy บนระนาบ yz และบนระนาบ xz
จากนั้นเขียนรูปกล่องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีจุดกาเนิดอยู่ตรงกันข้ามกับจุด(2,3,5) และ
มีด้านแต่ละด้านขนานกับระนาบพิกัด พร้อมทั้งเขียนกากับจุดยอดของกล่องและหา
ความยาวของเส้นทแยงมุมของกล่องด้วย
7. จงพิจารณาว่า จุดสามจุดที่กาหนดให้ในแต่ละข้ออยู่บนแนวเส้นตรงเดียวกัน
ก. A(5,1,3), B (7,9,–1) และ C(1,–15,11)
ข. A(0,3,–4), B (1,2,–2) และ C(3,0,1)

คาตอบแบบฝึกหัดที่ 1.1

2. 26, 24, 38 3. 61 , 10 , 61
2 2 2
4. (4,5,–6), (1,3,0) 5. Q, R
6. (2,3,0), (0,3,5), (2,0,5) 7. ก.
7

1.2 ฟังก์ชันของตัวแปรหลายตัวแปร
เราได้ศึกษามาแล้วเกี่ยวกับฟังก์ชันที่มีตัวแปรอิสระเพียงตัวเดียว ซึ่งมักเขียนใน
รูปแบบ y = f(x) โดยที่ x เป็นตัวแปรอิสระและ y เป็นตัวแปรตาม แต่ในบางครั้งเราก็
สนใจฟังก์ชันที่มีตัวแปรอิสระหลายตัว
บทนิยามที่ 1.1 ให้ D เป็นเซตของคู่อันดับของจานวนจริง ฟังก์ชัน f จาก D ไปยังเซต
ของจานวนจริง R หมายถึง กฎหรือสูตรอย่างใดอย่างหนึ่งที่สาหรับ คู่อันดับ (x, y) ใน D
จะมีจานวนจริง f(x, y) เพียงค่าเดียวเท่านั้นที่ สัมพันธ์กับ (x, y) เราเรียก f ว่าฟังก์ชัน
ของตัวแปรสองตัวแปร เรียก D ว่า โดเมนของ f และอาจเขียนแทนด้วย Df เรนจ์
ของ f เขียนแทนด้วย Rf ประกอบด้วยจานวนจริง f(x, y) ทั้งหมดสาหรับ (x, y) ที่อยู่ใน
D ดังนั้น Rf = {f(x, y)  R |(x, y)  D} นอกจากนี้เรายังเรียก f ว่า ฟังก์ชันของ x และ
y โดยทั่วไปจะเขียน z แทน f(x, y) ตัวอย่างของฟังก์ชันของ x และ y เช่น
f(x, y) = x + y
ฟังก์ชันของตัวแปรมากกว่าสองตัวนิยามในทานองเดียวกัน
โดเมนเป็ นเรื่องที่ ส าคัญมากเรื่องหนึ่ง ถ้ า ฟังก์ชัน ที่กาหนดมาให้ไม่ ได้กาหนด
โดเมนไว้ให้ถือว่า โดเมนเป็นสับเซตที่ใหญ่ที่สุดของ R  R เช่น สาหรับฟังก์ชัน
2 2
f(x,y)  x2  y2 โดเมนคือ Df = {(x, y)  R  R | (x, y)  (0,0)}
x y

ตัวอย่างที่ 1.5 กาหนดให้ f(x, y) = ln (1 + x2 – y) จงเขียนรูปแสดงโดเมน Df ของ f


เมื่อ Df เป็นสับเซตที่ใหญ่ที่สุดที่เป็นไปได้ของ R  R
วิธีทา เราทราบว่า ln a นิยามเมื่อ a > 0 ดังนั้น
Df = {(x, y)  R  R | 1 + x2 – y > 0} = {(x, y)  R  R | y < 1 + x2}
y
y = x2  1 เนื่องจาก y = 1 + x2 คือ พาราโบลาบน
ระนาบ xy ที่มีจุดยอดอยู่ที่ (0,1) และ
(0,1)
เป็นพาราโบลาเปิดขึ้นข้างบน ดังนั้น Df
0
x คือเซตของจุดในระนาบ xy ซึ่งอยู่ใต้
พาราโบลา y = 1 + x2 ไม่รวมจุดบน
พาราโบลา ดังแสดงในรูปที่ 1.9

รูปที่ 1.9
8

ตัวอย่างที่ 1.6 กาหนดให้ f : R  R  R โดยที่ f(x,y)  16  4x2  y2 จงเขียน


รูปแสดงโดเมน Df ของ f เมื่อ Df เป็นสับเซตที่ใหญ่ที่สุดเป็นไปได้ของ R x R
วิธีทา เรานิยาม a เมื่อ a  0 ดังนั้น
Df = {(x, y)  R  R | 16 – 4x2 – y2  0}
= {(x, y)  R  R | 4x2 + y2  16}
เนื่องจาก 4x2 + y2 = 16 คือวงรีบนระนาบ xy ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ (0,0) ตัดแกน x ที่
y (2,0) และ (–2,0) ตัดแกน y ที่
4 (0,4) และ (0,–4) ดังนั้น Df คือ
เซตของจุด ในระนาบ xy ซึ่ ง อยู่
ภายในวงรี 4x2 + y2 = 16 รวมจุด
-2 0 2
x
บนวงรีด้วย ดังแสดงในรูปที่ 1.10

-4

รูปที่ 1.10

1.3 การวาดรูปผิวโดยทั่วไป
ในสองมิติเรามีกราฟของฟังก์ชัน y = f(x) หรือกราฟของสมการของสองตัวแปร
f(x, y) = 0 ซึ่งโดยปกติสามารถแสดงกราฟเหล่านี้ได้ด้วยเส้นโค้งบนระนาบ xy เมื่อขยาย
แนวคิดนี้ออกไปถึงกราฟของฟังก์ชันของตัวแปรสองตัวแปร z = f(x, y) หรือกราฟของ
สมการสามตัวแปร f(x, y, z) = 0 เราพบว่ากราฟทั้งสองอย่างนี้สามารถแสดงได้ด้วยเซต
ของจุดในปริภูมิสามมิติ เราเรียกกราฟนี้ว่า ผิว (surface) และเรียกสมการ f(x, y, z) = 0
ว่า สมการของผิว สาหรับฟังก์ชัน z = f(x, y) จะได้ว่า
กราฟ f = {(x, y, z) | z = f (x, y)}
= {(x, y, z) | g(x, y, z) = 0 เมื่อ g(x, y, z) = z – f (x, y)}
การแสดงผิ ว ด้ ว ยรู ป ในปริภู มิ ส ามมิติ นั้ น ยุ่ งยากกว่ า การเขี ยนกราฟในสองมิ ติ
อย่างไรก็ตามเพื่อให้การเขียนรูปพื้นผิวง่ายขึ้น เรามีหลักในการปฏิบัติดังนี้คือ
1. พิจารณาจุดตัดของผิวกับแกน x, แกน y และแกน z
2. พิจารณารอยตัดของผิวกับระนาบพิกัด ได้แก่ xy ระนาบ yz และระนาบ xz
3. พิจารณารอยตัดของผิวกับระนาบที่ขนานกับระนาบ xy ระนาบ yz และ
ระนาบ xz
9

การพิจารณาจุดตัดของผิวกับแกน x แกน y และแกน z


ตัวอย่างที่ 1.7 จงหาจุดตัดแกน x จุดตัดแกน y และจุดตัดแกน z ของผิวซึ่งมีสมการเป็น
x – 4y + z – 8 = 0
วิธีทา จุดตัดแกน x : แทนค่า y = 0 และ z = 0 ลงในสมการของผิวจะได้
x – 8 = 0 นั่นคือ x = 8
ดังนั้นจุดตัดแกน x คือ (8,0,0)
จุดตัดแกน y : แทนค่า x = 0 และ z = 0 ลงในสมการของผิวจะได้
– 4y – 8 = 0 นั่นคือ y = – 2
ดังนั้นจุดตัดแกน y คือ (0,–2,0)
จุดตัดแกน z : แทนค่า x = 0 และ y = 0 ลงในสมการของผิวจะได้
z – 8 = 0 นั่นคือ z = 8
ดังนั้นจุดตัดแกน z คือ (0,0,8) 

ตัวอย่างที่ 1.8 จงหาจุดตัดแกนของผิว (x – 1)2 – y2 + (z + 2)2 = 1


วิธีทา จุดตัดแกน x : แทนค่า y = 0 และ z = 0 ลงในสมการของผิวจะได้
(x – 1)2 = –3
ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะ (x – 1)2  0 เสมอ ดังนั้นผิวนี้ไม่ตัดแกน x
จุดตัดแกน y : แทนค่า x = 0 และ z = 0 ลงในสมการของผิวจะได้
y2 = 4 นั่นคือ y = 2
ดังนั้นจุดตัดแกน y คือ (0,2,0) และ (0,–2,0)
จุดตัดแกน z : แทนค่า x = 0 และ y = 0 ลงในสมการของผิวจะได้
(z + 2)2 = 0 นั่นคือ z = –2
ดังนั้นจุดตัดแกน z คือ (0,0,–2) 

การพิจารณารอยตัดของผิวกับระนาบพิกัด
ตัวอย่างที่ 1.9 จงอธิบายลักษณะและวาดรูปของผิว x2 = 4 – z อย่างละเอียด
วิธีทา พิจารณาจุดตัดบนแกน x แกน y และแกน z
แทนค่า y = 0 และ z = 0 ลงในสมการผิว จะได้ x2 = 4 นั่นคือ x = 2
ดังนั้นจุดตัดบนแกน x คือ (2,0,0) และ(–2,0,0)
แทนค่า x = 0 และ y = 0 ลงในสมการผิว จะได้ z = 4
ดังนั้นจุดตัดบนแกน z คือ จุด (0,0,4)
แทนค่า x = 0 และ z = 0 ลงในสมการผิวจะได้ 0 = 4 ซึ่งเป็นไปไม่ได้
10

ดังนั้นไม่มีจุดตัดบนแกน y นั่นคือ ผิวไม่ตัดแกน y


พิจารณารอยตัดของผิวกับระนาบพิกัด
ระนาบที่ขนานกับระนาบ yz รอยตัดมีสมการเป็น
z = 4 – k2 และ x = k (k เป็นค่าคงตัว)
ซึ่งมีกราฟเป็นเส้นตรงที่ขนานกับแกน y ทุกค่า k
ระนาบที่ขนานกับระนาบ xz รอยตัดมีสมการเป็น
x2 = 4 – z และ y = k (k เป็นค่าคงตัว)
ซึ่งมีกราฟเป็นพาราโบลาเปิดไปทางด้านลบของแกน z ทุกค่า k
ระนาบที่ขนานกับระนาบ xy รอยตัดมีสมการเป็น
x2 = 4 – k และ z = k (k เป็นค่าคงตัว)
เนื่องจาก x2  0 เสมอ ดังนั้นจะมีรอยตัดเกิดขึ้นเมื่อ 4 – k  0 นั่นคือ k  4 เท่านั้น
ถ้า k < 4 ได้สมการ x   4  k และ z = k ซึ่งมีกราฟเป็นเส้นตรง 2 เส้นที่ขนานกับ
แกน y
ถ้า k = 4 ได้สมการ x = 0 และ z = 4 ซึ่งมีกราฟเป็นเส้นตรงเส้นเดียวบนระนาบ yz ที่
ขนานกับแกน y และถ้า k > 4 จะไม่มีรอยตัด เมื่อวาดรูปจะไม่ปรากฏกราฟในบริเวณนี้
วาดรูปผิว จากการพิจารณามาทั้งหมด เราสามารถเขียนกราฟของผิวได้ดังรูปที่ 1.11
z

-2

y
0

x
รูปที่ 1.11
1.4 ผิวกาลังสอง
เซตของจุด (x, y, z) ซึ่งคล้องตามสมการกาลังสองในตัวแปร x, y, z ซึ่งมีรูปแบบ
ทั่วไปเป็น
2 2 2
Ax + By + Cz + Dxy + Eyz + Fxz + Gx + Hy + Kz + L = 0
เรียกว่า ผิวกาลังสอง (quadric surface) เมื่อ A, B, C , D, E, F ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน
ในการวาดรูปผิวกาลังสองนี้ เราวาดโดยดูรอยตัดในระนาบพิกัดเป็นสาคัญ เราจะพบว่า
11

รอยตัดเหล่านั้นก็คือ ภาคตัดกรวยในสองมิตินั่นเอง ในที่นี่เรานาสมการของผิวกาลังสองที่


สาคัญ ๆ มาพิจารณาเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณารูปของพื้นผิวกาลังสองโดยทั่วไป
1. ทรงรี (Ellipsoid) คือ ผิวที่มีสมการในรูปแบบ
x2  y2  z2  1, a, b, c > 0 (1)
a2 b2 c2
จุดตัดแกน จุดตัดแกน x คือ (  a,0,0)
จุดตัดแกน y คือ (0,  b,0)
จุดตัดแกน z คือ (0,0,  c)
รอยตัด
ตัดด้วยระนาบ x = k ได้สมการของรอยตัดเป็น
y2  z2  1  k 2 และ x = k
b2 c 2 a2
- ถ้า –a < k < a ได้รูปวงรี
- ถ้า k <-a หรือ k > a ไม่มีรอยตัด
- ถ้า k =  a ได้จุด (  a, 0, 0)
ตัดด้วยระนาบ y = k ได้สมการของรอยตัดเป็น
x2  z2  1  k 2 และ y = k
a2 c2 b2
- ถ้า –b < k < b ได้รูปวงรี
- ถ้า k < –b หรือ k > b ไม่มีรอยตัด
- ถ้า k =  b ได้จุด (0,  b, 0)
ตัดด้วยระนาบ z = k ได้สมการของรอยตัดเป็น
x2  y2  1  k 2 และ y = k
a2 b2 c2
- ถ้า –c < k < c ได้รูปวงรี
- ถ้า k < –c หรือ k > c ไม่มีรอยตัด
- ถ้า k =  c ได้จุด (0, 0,  c)
ขอบเขต ขอบเขตของ x คือ [-a, a]
ขอบเขตของ y คือ [-b, b]
ขอบเขตของ z คือ [-c, c]
กราฟของพื้นผิวแสดงดังรูปที่ 1.12
รูปที่ 1.12
12

ถ้า a = b = c สมการ (1) เป็น x2  y2  z2  a2 ซึ่งก็คือทรงกลม (sphere) ที่มี


จุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกาเนิด และมีรัศมีหนึ่งหน่วย นั่นเอง

2. กรวยเชิงวงรี (Elliptic cone) ได้แก่ ผิวที่มีสมการในรูปแบบ


x2  y2  z2  0 หรือ x2  y2  z2  0 หรือ  x2  y2  z2  0
a2 b2 c2 a2 b2 c2 a2 b2 c2
เมื่อ a, b, c > 0 เราจะพิจารณาสมการ
x2  y2  z2  0
a2 b2 c2
จุดตัดแกน ผิวผ่านจุดกาเนิด
รอยตัด
ตัดด้วยระนาบ x = k ได้สมการของรอยตัดเป็น
y2  z2  k 2 และ x = k
b2 c2 a2
- ถ้า k  0 เป็นไฮเพอร์โบลาซึ่งเมื่อฉายภาพลงบนระนาบ yz จะตัดแกน y
- ถ้า k = 0 เป็นเส้นตรงสองเส้นบนระนาบ yz มีสมการเป็น
z   c y และ x = 0
b
ตัดด้วยระนาบ y = k ได้สมการของรอยตัดเป็น
x2  z2  k 2 และ y = k
a2 c2 b2
- ถ้า k  0 ได้วงรี
- ถ้า k = 0 ได้จุดกาเนิด
ตัดด้วยระนาบ z = k ได้สมการของรอยตัดเป็น
x 2 y2 k 2
   และ z = k
a2 b2 c2
- ถ้า k  0 เป็นไฮเพอร์โบลาซึ่งเมื่อฉายภาพลงบนระนาบ xy จะตัดแกน y
- ถ้า k = 0 เป็นเส้นตรงสองเส้นบนระนาบ xy มีสมการเป็น
y   b x และ z = 0
a
กราฟของพื้นผิวแสดงดังรูปที่ 1.13
13

รูปที่ 1.13

3. อิลิปติกพาราโบลอยด์ (Elliptic paraboloid ) ได้แก่ ผิวที่มีสมการในรูปแบบ


x2  y2  cz เมื่อ a, b > 0 และ c  0
a2 b2
หรือ
x2  z2  by เมื่อ a, c > 0 และ b  0
a2 c2
หรือ
y2  z2  ax เมื่อ b, c > 0 และ a  0
b2 c 2
เราจะพิจารณาสมการ
x2  y2  cz เมื่อ a, b, c > 0
a2 b2
จุดตัดแกน เมื่อพิจารณาจะได้ว่า ผิวผ่านจุดกาเนิด
รอยตัด
ตัดด้วยระนาบ x = k ได้สมการของรอยตัดเป็น
2 2
y  b cz  k2 และ x = k
2 2 b
a
เป็นพาราโบลาทุกค่า k ซึ่งเมื่อฉายภาพลงบนระนาบ yz เป็นพาราโบลาหงาย
ตัดด้วยระนาบ y = k ได้สมการของรอยตัดเป็น
2 2
x  a cz  k2 และ y = k
2 2 a
b
เป็นพาราโบลาทุกค่า k ซึ่งเมื่อฉายภาพลงบนระนาบ xz เป็นพาราโบลาหงาย
ตัดด้วยระนาบ z = k ได้สมการของรอยตัดเป็น
14

x2  y2  ck และ z = k
a2 b2
- ถ้า k > 0 ได้วงรี
- ถ้า k = 0 ได้จุดกาเนิด
- ถ้า k < 0 ไม่มีรอยตัด
กราฟของพื้นผิวแสดงดังรูปที่ 1.14

รูปที่ 1.14

ตัวอย่างที่ 1.10 จงอธิบายลักษณะและวาดรูปของผิว 12x2 + 3y2= 4z อย่างละเอียด


วิธีทา พิจารณาจุดตัดบนแกน x แกน y และแกน z จะพบว่า ผิวผ่านจุดกาเนิด
รอยตัดด้วยระนาบที่ขนานกับระนาบ xy ได้สมการของรอยตัดเป็น
12x2 + 3y2= 4k และ z = k
เมื่อแยกพิจารณาตามค่าของ k จะได้ว่า
- ถ้า k > 0 ได้วงรี
- ถ้า k = 0 ได้จุดกาเนิด
- ถ้า k < 0 ไม่มีรอยตัด
เราอาจจะดูรอยตัดบนระนาบ z = 3 ซึ่งได้สมการของรอยตัดเป็น
12x2 + 3y2= 12 และ z = 3
เมื่อหารสมการแรกตลอดด้วย 12 จะได้
2
2 y
x   1 และ z = 3
4
มีกราฟเป็นวงรีที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุด (0,0,3) แกนเอกขนานกับแกน y ยาว 4 หน่วย
แกนโทขนานแกน x ยาว 2 หน่วย
รอยตัดด้วยระนาบ xz ได้สมการของรอยตัดเป็น
12x2 = 4z และ y = 0
มีกราฟเป็นพาราโบลาหงายที่มีจุดยอดอยู่ที่จุดกาเนิด
รอยตัดด้วยระนาบ yz ได้สมการของรอยตัดเป็น
3y2 = 4z และ x = 0
มีกราฟเป็นพาราโบลาหงายที่มีจุดยอดอยู่ที่จุดกาเนิด
15

กราฟของผิวเป็นอิลิปติกพาราโบลอยด์ แสดงดังรูปที่ 1.15

รูปที่ 1.15 

ตัวอย่างที่ 1.11 จงอธิบายลักษณะและวาดรูปของผิว 36x2 + 9z2 = 4y2 อย่างละเอียด


วิธีทา พิจารณาจุดตัดบนแกน x แกน y และแกน z จะพบว่า ผิวผ่านจุดกาเนิด
รอยตัดด้วยระนาบ xy ได้สมการของรอยตัดเป็น
36x2 = 4y2 และ z = 0
หรือ
y = 3x และ z = 0
มีกราฟเป็นเส้นตรงสองเส้นบนระนาบ xy ตัดกันที่จุดกาเนิด
รอยตัดด้วยระนาบที่ขนานกับระนาบ xz ได้สมการของรอยตัดเป็น
36x2 + 9z2 = 4k2 และ y = k
เมื่อแยกพิจารณาตามค่าของ k จะได้ว่า
- ถ้า k  0 ได้วงรี
- ถ้า k = 0 ได้จุดกาเนิด
เราอาจจะดูรอยตัดบนระนาบ y = 3 ซึ่งได้สมการของรอยตัดเป็น
36x2 + 9z2 = 36 และ y = 3
เมื่อหารสมการแรกตลอดด้วย 36 จะได้
2
2 z
x   1 และ y = 3
4
มีกราฟเป็นวงรีที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุด (0,3,0) แกนเอกขนานกับแกน z ยาว 4 หน่วย
แกนโทขนานแกน x ยาว 2 หน่วย
16

รอยตัดด้วยระนาบ yz ได้สมการของรอยตัดเป็น
9z2 = 4y2 และ x = 0
หรือ
z   2y และ x = 0
3
มีกราฟเป็นเส้นตรงสองเส้นบนระนาบ yz ตัดกันที่จุดกาเนิด
กราฟของผิวเป็นกรวยเชิงวงรี แสดงดังรูปที่ 1.16

รูปที่ 1.16 

ตัวอย่างที่ 1.12 จงอธิบายลักษณะและวาดรูปของผิว 36x2 + 9y2 + 16z2 = 144 อย่าง


ละเอียด
วิธีทา พิจารณาจุดตัดบนแกน x
แทนค่า y = 0 และ z = 0 ได้สมการ 36x2 = 144 หรือ x = 2
ดังนั้นจุดตัดบนแกน x คือ (2,0,0) และ (–2,0,0)
พิจารณาจุดตัดบนแกน y
แทนค่า x = 0 และ z = 0 ได้สมการ 9y2 = 144 หรือ y = 4
ดังนั้นจุดตัดบนแกน y คือ (0,4,0) และ (0,–4,0)
พิจารณาจุดตัดบนแกน z
แทนค่า x = 0 และ y = 0 ได้สมการ 16z2 = 144 หรือ z = 3
ดังนั้นจุดตัดบนแกน z คือ (0,0,3) และ (0,0,–3)
รอยตัดด้วยระนาบ xy ได้สมการของรอยตัดเป็น
36x2 + 9y2 = 144 และ z = 0
เมื่อหารสมการแรกตลอดด้วย 144 จะได้
x2  y2  1 และ z = 0
4 16
17

มีกราฟเป็นวงรีที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกาเนิด แกนเอกขนานกับแกน y ยาว 8 หน่วย


แกนโทขนานแกน x ยาว 4 หน่วย
รอยตัดด้วยระนาบ xz ได้สมการของรอยตัดเป็น
36x2 + 16z2 = 144 และ y = 0
เมื่อหารสมการแรกตลอดด้วย 144 จะได้
x2  z2  1 และ y = 0
4 9
มีกราฟเป็นวงรีที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกาเนิด แกนเอกขนานกับแกน z ยาว 6 หน่วย
แกนโทขนานแกน x ยาว 4 หน่วย
รอยตัดด้วยระนาบ yz ได้สมการของรอยตัดเป็น
9y2 + 16z2 = 144 และ x = 0
เมื่อหารสมการแรกตลอดด้วย 144 จะได้
y2  z2  1 และ y = 0
16 9
มีกรฟเป็นวงรีที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกาเนิด แกนเอกขนานกับแกน y ยาว 8 หน่วย
แกนโทขนานแกน z ยาว 6 หน่วย
กราฟของผิวเป็นทรงรี แสดงดังรูปที่ 1.17

รูปที่ 1.17 

แบบฝึกหัดที่ 1.2
จงบอกชื่อและอธิบายรายละเอียด พร้อมทั้งวาดรูปของผิวต่อไปนี้
1. x2 + 5y2 + 2z = 0 2. x2 + 9y2 – 4z2 = 0
3. x2 + 4y2 + 2z2 – 3 = 0 4. x = 4z2
5. 3y2 + 2z2 – 7x = 0 6. –5x2 + 3y2 + 4z2 = 0
x 2 y2
7.   1
4 9
18

คาตอบแบบฝึกหัดที่ 1.2
1. อิลิปติกพาราโบลอยด์ 2. กรวยเชิงวงรี 3. ทรงรี
4. ทรงกระบอกพาราโบลิก 5. อิลิปติกพาราโบลอยด์
6. กรวยเชิงวงรี 7. ทรงกระบอกไฮเพอร์โบลิก

You might also like