Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 162

ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

Global Trust in Thai Herbs & Wisdom


โลกมั่นใจ สมุนไพรไทย ภูมิปัญญาไทย

สถาบันวิจยั ระบบสาธารณสุข
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย
การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก

18 หลักสูตร “รู้จัก เชื่อมั่น ชอบ ใช้


การแพทย์แผนไทย ใส่ใจสุขภาพ”

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข
หนังสือ “ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก”

ที่ปรึกษา:
นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
นายแพทย์ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
นายแพทย์สรรพงศ์ ฤทธิรักษา รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

บรรณาธิการ:
นายแพทย์สรรพงศ์ ฤทธิรักษา รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

คณะผู้จัดท�ำ:
นางสาวอัญชลี จูฑะพุทธิ ผู้อำ� นวยการกองวิชาการและแผนงาน
นางศุภวรรณ พันธ์บูรณะ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาก�ำลังคน กองวิชาการและแผนงาน
นางสาวแสงระวี ทองแตง กลุ่มงานพัฒนาก�ำลังคน กองวิชาการและแผนงาน
นางสาวบุญหลง ตุ้ยสุข กลุ่มงานพัฒนาก�ำลังคน กองวิชาการและแผนงาน
นางสาวอัจจิมา เรืองประดิษฐ์ กลุ่มงานพัฒนาก�ำลังคน กองวิชาการและแผนงาน
นางสาวทิพย์สุดา หาญอาสา กลุ่มงานพัฒนาก�ำลังคน กองวิชาการและแผนงาน

ISBN : 978-616-11-3710-6
จัดพิมพ์โดย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อ�ำเภอเมือง
จังหวัดนนทบุรี 11000
จ�ำนวน 2,000 เล่ม
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โทรศัพท์ 0-2564-3104 ถึง 6
โทรสาร 0-2564-3119
http://www.thammasatprintinghouse.com
คำ�นำ�

ปัจจุบนั ประชาชนหันมาให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึน้
อาทิ การรั บ ประทานอาหารที่ มี ประโยชน์ การนอนหลั บ พั ก ผ่ อ นที่ เ พี ย งพอ
การออกก�ำลังกาย การท�ำสมาธิ หรือแม้กระทัง่ การใช้ผลิตภัณฑ์ตา่ งๆ จากสมุนไพร
เพือ่ ให้หา่ งไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ทัง้ นีศ้ าสตร์การแพทย์แผนไทย การแพทย์พนื้ บ้าน
และการแพทย์ทางเลือกก็เป็นอีกส่วนหนึ่งในการช่วยส่งเสริม ป้องกัน รักษา และ
ฟื้นฟูสุขภาพของประชาชน เพราะใช้หลักในการพึ่งพาตนเอง และวิถีธรรมชาติ
ท�ำให้สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจ�ำวัน ซึ่งตรงตามเป้าหมายของ
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ต้องการให้คนในสังคมโลกต้อง
“รู้จัก เชื่อมั่น ชอบ ใช้” บริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน และภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
หนังสือ ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และ
การแพทย์ทางเลือก เล่มนี้ จัดท�ำขึน้ เพือ่ รวบรวมเนือ้ หาทีไ่ ด้จดั อบรมด้านการแพทย์
แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกในงานมหกรรมสมุนไพร
แห่งชาติ ครั้งที่ 15 ปี 2561 ทั้งสิ้น 18 หลักสูตร โดยมุ่งหวังว่าประชาชนจะรู้จัก
ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เชื่อมั่นในบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือก ชอบและใช้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร สามารถน�ำความร้ทู ไี่ ด้ไปดูแลสุขภาพ
ตนเอง และผ้อู นื่ อีกทัง้ ยังสามารถน�ำความร้ใู นการท�ำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรต่างๆ
ไปสร้างเป็นอาชีพ สร้างรายได้ ท�ำให้ประชาชนพึ่งพาตนเอง มีชีิวิตความเป็นอยู่
ที่ดีขึ้น ในนามของคณะผู้จัดท�ำขอขอบพระคุณวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ คณะท�ำงาน
และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่มีส่วนร่วมท�ำให้หนังสือเล่มนี้สำ� เร็จได้ด้วยดี
คณะผู้จัดท�ำ
กรกฎาคม 2561
(ค)
สารบัญ

ค�ำน�ำ................................................................................................................ (ค)
สบู่ธรรมชาติและสบู่สมุนไพร................................................................................. 1
แชมพูสมุนไพรสูตรธรรมชาติ (ไร้สารซักฟอก)........................................................ 6
ผลิตภัณฑ์บำ� รุงผิวพรรณจากน�้ำมันหอมระเหย.................................................... 12
การนวดแก้อาการปวดคอ บ่า ถึงปลายมือ.......................................................... 20
การนวดอาการท้องผูก........................................................................................ 35
เทคนิคการสัมผัสเพื่อช่วยฟื้นฟูสุขภาพกาย......................................................... 44
การนวดพื้นบ้านดูแลอัมพฤกษ์ . ......................................................................... 56
การนวดพื้นบ้านดูแลอัมพฤกษ์ . ......................................................................... 60
โยคะดัดกายคลายปวดหลัง................................................................................. 64
ผิวสวย ด้วยสปาสมุนไพรไทย.............................................................................. 76
น�้ำมันสมุนไพรไทย ลดปวดกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ......................................... 85
น�้ำมันบ�ำรุงผมหอม “ยอพระกลิ่น”..................................................................... 89
ยาอมสมุนไพร “ดับกลิ่นปาก”............................................................................ 97
ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวให้กระจ่างใสจากสมุนไพรไทย................................................107
น�้ำพริกสมุนไพรกู้ชาติ. ......................................................................................117
การดูแลทารกหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย .............................................120
ชะลอวัยด้วยการนวดเส้นประธานสิบ...............................................................136
ทุกอาชีพคลายปวดด้วยนวดไทย........................................................................147
(จ)
สบู่ธรรมชาติและสบู่สมุนไพร
Natural Soap & Herbal Soap
อาจารย์คมสัน หุตะแพทย์
มูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา

สบู ่ ผ ลิ ต ขึ้ น จากส่ ว นผสม


พืน้ ฐาน 3 อย่าง คือ 1. น�ำ้ มันพืช
รวมทั้งไขมันสัตว์ 2. ด่าง (โซ-
เดียมไฮดรอกไซด์ หรือที่เรียก
ว่า โซดาไฟ) 3. น�ำ้ เมือ่ ด่างผสม
กับน�ำ้ เป็นสารละลายด่างถูกน�ำ
ไปผสมกับไขมัน ปฏิกิริยาทาง
เคมีกจ็ ะเกิดขึน้ ระหว่างกรดไขมัน
และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ปฏิกิริยานี้เรียกว่า saponif ication ซึ่งได้
ผลผลิตสุดท้ายที่เป็นส่วนผสมของสบู่และกลีเซอรีน

น�้ำมันพืช (ไขมันสัตว์) + สารละลายด่าง สบู่ + กลีเซอรีน


น�้ ำ มั น พื ช หรื อ ไขมั น สั ต ว์ เป็ น ส่ ว นผสมหลั ก ในการผลิ ต สบู ่ สบู ่ จ ะมี


คุณสมบัติอย่างไรขึ้นอยู่กับชนิดของน�้ำมันที่จะน�ำมาใช้ในการผลิตสบู่

1
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

ชนิดของ เนื้อสบู่ สี ความ ลักษณะฟอง การท�ำความ ความชุ่มชื้น


น�้ำมัน คงทนของ สะอาด ต่อผิว
เนื้อสบู่
มะพร้าว แข็งกรอบ ขาว ทนทาน มาก อยู่นาน ดีมาก น้อย
ปาล์ม แข็ง ขาวนวล ทนทาน มาก อยู่นาน ดีมาก น้อย
มะกอก นิ่ม เหลือง ละลายเร็ว ละเอียดเป็นครีม ดี มาก
งา นิ่ม ขาวนวล ละลายเร็ว ละเอียด ดี มาก
ถั่วเหลือง นิ่ม เหลืองอ่อน ปานกลาง ละเอียด พอใช้ พอควร
ร�ำข้าว นิ่ม เหลืองอ่อน ปานกลาง ละเอียด พอใช้ พอควร
ทานตะวัน นิ่ม เหลืองอ่อน ปานกลาง ละเอียด พอใช้ พอควร
ข้าวโพด นิ่ม เหลืองอ่อน ปานกลาง ละเอียด พอใช้ พอควร
ละหุ่ง นิ่มมาก เหลืองอ่อน ละลายเร็ว ละเอียด พอใช้ มาก

ดังนัน้ ในการท�ำสบูก่ อ้ นหนึง่ เราอาจเลือกใช้นำ�้ มันพืชเพียงชนิดเดียวหรือ


ใช้นำ�้ มัน 2-3 ชนิดหรือมากกว่ารวมกันได้ เพือ่ ให้ได้สบูต่ ามคุณสมบัตทิ เี่ ราต้องการ
แล้วจึงไปก�ำหนดสัดส่วนของน�้ำมันพืชแต่ละชนิดที่ต้องการใช้ผลิตสบู่ โดยมีข้อ
แนะน�ำเบื้องต้นส�ำหรับการท�ำสบู่อาบน�ำ้ ถูตัวทั่วๆ ไปมีดังนี้
น�้ำมันหลัก ให้ใช้ น�้ำมันมะพร้าว น�้ำมันปาล์ม รวมกันประมาณ 70%
น�้ำมันรอง ให้ใช้ น�้ำมันมะกอก น�้ำมันงา ถั่วเหลือง ร�ำข้าว ทานตะวัน
ข้าวโพด 30%
ส�ำหรับปริมาณของด่างที่จะใช้ท�ำปฏิกิริยากับน�้ ำมันนั้นขึ้นอยู่กับค่า
saponification ของน�ำ้ มันแต่ละชนิด ค่า saponification คือ ปริมาณของด่าง
ที่ทำ� ปฏิกิริยาพอดีกับน�้ำมัน (ไขมัน) หนัก 1 กรัม ค่า saponification ของน�ำ้ มัน
แต่ละชนิดมีดังนี้ น�้ำมันมะพร้าว = 0.169, น�้ำมันปาล์ม = 0.13, น�้ำมันมะกอก =
0.1246, น�้ำมันงา = 0.1266, น�้ำมันร�ำข้าว = 0.1233, น�้ำมันถัว่ เหลือง = 0.1246,

2
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

น�้ำมันเมล็ดทานตะวัน = 0.1256, น�้ำมันข้าวโพด = 0.126 และน�้ำมันละหุ่ง =


0.1183
ด่างทีใ่ ช้ในการท�ำสบูก่ อ้ นจะใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ (โซดาไฟ) ปริมาณของ
ด่างที่จะใช้ขึ้นอยู่กับปริมาณของน�ำ้ มันแต่ละชนิด คูณกับค่า saponification ของ
น�ำ้ มันชนิดนั้นๆ ดังตัวอย่าง
− ถ้าใช้น�้ำมันมะพร้าว 300 กรัม จะใช้ด่าง = 300 x 0.169 = 50.7 กรัม
− ถ้าใช้น�้ำมันปาล์ม 300 กรัม จะใช้ด่าง = 300 x 0.13 = 39 กรัม
− ถ้าใช้นำ�้ มันงา 400 กรัม จะใช้ด่าง = 400 x 0.126 = 50.4 กรัม
ดังนั้น ถ้าเราใช้นำ�้ มัน 3 ชนิด คือ น�้ำมันมะพร้าว 300 กรัม, น�้ำมันปาล์ม
300 กรัม และน�ำ้ มันงา 400 กรัม รวมกันเป็นน�้ำมันทั้งหมด 1,000 กรัม จะต้อง
ใช้ด่าง เท่ากับ 50.7 + 39 + 50.4 = 140.1 กรัม
น�้ำที่ใช้ผสมกับด่างควรเป็นน�้ำฝน น�้ำประปา น�้ำกรอง ไม่ควรใช้น�้ำบ่อ
น�้ำบาดาล หรือน�้ำคลอง ปริมาณน�้ำที่ใช้เราจะใช้ปริมาณสองเท่าของน�้ำหนักด่าง
จากตัวอย่าง ปริมาณน�ำ้ = 140.1 x 2 = 280.2 กรัม

ขั้นตอนการผลิตสบู่ธรรมชาติ
1. ชั่งน�้ำใส่ในภาชนะแก้วหรือสแตนเลส ชั่งด่าง แล้วเทด่างลงในน�้ำ
ใช้ช้อนสแตนเลสกวนจนด่างละลายหมด จะได้สารละลายด่าง อุณหภูมิของ
สารละลายด่างจะสูงถึง 80-90 องศาเซลเซียส ตั้งทิ้งไว้ให้อุณหภูมิลดลงเหลือ
40-45 องศาเซลเซียส (ขั้นตอนนี้ให้ท�ำด้วยความระมัดระวัง เพราะด่างมีอันตราย)
2. ชั่งน�้ำมันแต่ละชนิด ใส่รวมกันในชามหรือหม้อสแตนเลสอุ่นให้ได้
อุณหภูมิ 40-45 องศาเซลเซียส
3. เทสารละลายด่ า งลงในน�้ ำ มั น ใช้ ไ ม้ พ ายกวนส่ ว นผสมให้ เข้ า กั น
กวนต่อไปนานอย่างน้อย 30 นาที สบู่จะเริ่มจับตัวเหนียวข้นคล้ายนมข้นหรือครีม
สลัด ก็พร้อมที่จะเทลงแบบ
3
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

4. ถ้าต้องการใส่กลิ่น หรือสมุนไพร ให้ใส่ในขั้นตอนนี้ โดยสมุนไพรที่จะ


ใส่ลงในสบู่ ถ้าเป็นสมุนไพรผงให้ใส่ประมาณ 1% ของน�ำ้ หนักสบู่ กวนให้เข้ากับ
เนื้อสบู่ แล้วจึงเทลงแบบ
5. ตั้งทิ้งไว้ 1-2 วัน สบู่จะจับตัวเป็นก้อนแข็ง เอาออกจากแบบ เก็บสบู่
ต่อไปอีก 1-2 สัปดาห์ จึงน�ำไปใช้ได้

ตัวอย่างสูตรสบู่ธรรมชาติ
สบู่ขมิ้นชัน
ส่วนผสม
1. น�ำ้ มันมะพร้าว 200 กรัม
2. น�ำ้ มันงา 100 กรัม
3. น�้ำมันละหุ่ง 50 กรัม
4. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 45 กรัม
5. น�้ำ 100 กรัม
6. ผงขมิ้นชัน 5-10 กรัม
7. น�้ำมันหอมระเหย 5 ซีซี
(กลิ่นที่ชอบ)

4
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

สบู่มะรุม
ส่วนผสม
1. น�้ำมันมะพร้าว 200 กรัม
2. น�้ำมันร�ำข้าว 120 กรัม
3. น�ำ้ มันมะรุม 30 กรัม
4. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 45 กรัม
5. น�้ำ 100 กรัม
6. ผงมะรุม 5-10 กรัม
7. น�้ำมันหอมระเหย 5 ซีซี
(กลิ่นที่ชอบ)

วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ 22 ซ.ช�ำนาญอักษร ถ.พหลโยธิน


สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร. 02−2795118 โทรสาร 02−6170834

5
แชมพูสมุนไพรสูตรธรรมชาติ (ไร้สารซักฟอก)
Natural & Herbal Shampoo
อาจารย์คมสัน หุตะแพทย์, อาจารย์ณัฐภูมิ สุดแก้ว
มูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา

เคล็ดลับความงามของเส้นผม
ของคนไทยสมัยก่อนอยู่ที่การใช้
สมุ น ไพรในการท� ำ ความสะอาด
และบ�ำรุ ง เส้ น ผม รวมทั้ ง หากมี
ปัญหากับเส้นผมและหนังศีรษะ
ก็จะใช้สมุนไพรรักษาเช่นเดียวกัน
ซึ่งตามต�ำราแพทย์แผนไทยก็ระบุ
ถึงสมุนไพรที่สามารถน�ำมาใช้กับ
เส้นผมและหนังศีรษะได้หลายสิบ
ชนิดเลยทีเดียว
ในการสระผมคนไทยสมั ย
ก่อนจะใช้มะกรูดเผาไฟมาสระผม
ซึง่ จะช่วยท�ำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะ ท�ำให้เส้นผมดกด�ำเงางาม บางครัง้
ก็ใช้น�้ำซาวข้าว หรือน�้ำด่างมาสระผม โดยมักจะน�ำไปผสมกับสมุนไพรที่ท�ำให้เกิด
ฟองอย่างฝักส้มป่อยหรือลูกประค�ำดีควาย ช่วยท�ำให้สระผมได้สะอาด บ�ำรุงเส้นผม
และหนังศีรษะไปในตัว หรืออาจจะเติมสมุนไพรอืน่ ๆ เพือ่ เพิม่ สรรพคุณในการรักษา

6
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

โรคทีเ่ กิดกับเส้นผมและหนังศีรษะ เช่น ตะไคร้ แก้ผมแตกปลาย, บวบขม แก้รงั แค,


อัญชัน ท�ำให้ผมดก เป็นต้น
ตามต�ำราโบราณมีสูตรสมุนไพรส�ำหรับสระผมอยู่หลายสูตร แต่ส่วนใหญ่
ก็มีส่วนผสมคล้ายคลึงกัน ซึ่งเราสามารถน�ำไปท�ำใช้เองได้ในครัวเรือน แต่บางสูตร
ก็อาจต้องปรับปรุงเปลีย่ นแปลงประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยและความสอดคล้องของ
วัตถุดิบที่จะหาได้ง่ายในครัวเรือนเป็นสูตรแชมพูสดที่ก�ำลังเป็นที่นิยมใช้ในสถาน
ธรรมชาติบ�ำบัดและสถานบริการสปา

20 สมุนไพรที่ใช้ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

สมุนไพร สรรพคุณ วิธีการใช้


1. กระเบา รักษาผมร่วงและโรค ใช้ เ มล็ ด ต� ำ พอแหลกไปเคี่ ย วกั บ น�้ ำ มั น
บนหนังศีรษะ มะพร้าว เอาน�้ำมันมาทาหนังศีรษะทีม่ อี าการ
2. ขิง แก้ผมร่วง ท�ำให้ผมงอก น�ำเหง้าสดมาเผาไฟแล้วทุบให้แตก ผสมน�ำ้
แล้วน�ำไปขยี้ให้ทั่วศีรษะ วันละ 2 ครั้ง 3
วัน หรือท�ำเป็นลูกประคบขิง ใช้ประคบ
บริเวณที่ผมร่วง ท�ำวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ
20 นาที 3-5 วัน
3. ขี้หนอน ใช้สระผม แก้รังแค น�ำเปลือกมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน�้ำ
รักษาชันตุ หรือใส่น�้ำตีให้เป็นฟอง ใช้สระผม
4. ซองแมว รักษารังแค ป้องกันผมร่วง น�ำใบมาต้มกับน�้ำ ใช้สระผม
5. ขี้เหล็ก ท�ำความสะอาดเส้นผม ท�ำให้ น�ำใบสดมาต้มกับน�้ำ ใช้สระผม
ผมชุ่มชื้น เงางาม ไม่มีรังแค

7
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

สมุนไพร สรรพคุณ วิธีการใช้


6. เทียนกิ่ง ใช้ย้อมสีผม ช่วยลดรังแค น�ำใบของเทียนกิ่งมาตากแดดให้แห้ง
บดให้เป็นผง ต้มน�้ำให้เดือด แล้วใส่ผงของ
ใบเทียนกิ่งลงไป เติมน�้ำมะนาว
แล้วใช้ย้อมผม
7. ตะไคร้ แก้ผมแตกปลาย ขจัดรังแค ใช้ต้นตะไคร้ 3-4 ต้น หั่นเป็นชิ้นแล้วต�ำ
คั้นเอาน�้ำมาใช้นวดผมหลังสระผมแล้ว
ล้างออก ท�ำหลังสระผม ผมจะดกด�ำ
8. ทองพันชั่ง รักษาอาการผมร่วงจาก ใช้ทองพันชั่งต�ำจนละเอียด ผสมน�้ำ
เชื้อรา พอเหนียว หลังสระผมน�ำมาพอกบริเวณ
ทีผ่ มร่วง ใช้ผา้ คลุมไว้ทงั้ คืน รุง่ เช้าล้างออก
ท�ำติดต่อกัน 2 สัปดาห์ − 1 เดือน อาการ
จะดีขึ้น
9. ฟ้าทะลายโจร แก้ผมร่วง ต้มกับน�ำ้ ใช้ชโลมศีรษะหลังสระผม ทิ้งไว้
สักครู่แล้วจึงล้างออก
10. บวบขม ก�ำจัดเหา ขจัดรังแค แก้คัน ใช้ผล 1-2 ผล โขลกให้ละเอียด น�ำทั้งน�้ำ
ศีรษะ และเนื้อชโลมให้ทั่วศีรษะ เอาผ้าคลุมไว้
ครึ่งชั่วโมงแล้วจึงล้างออก
11. มะกรูด ท�ำให้ผมดกด�ำ นิม่ สลวย ขจัด น�ำมะกรูด 1 ลูกผ่าซีก ต้มกับน�้ำ 2 แก้ว
รังแค บีบเอาน�ำ้ ไปใช้สระผม ผมจะนิม่ สลวย หรือ
น�ำมะกรูด 1 ผล บีบเอาน�้ำมะกรูดผสมกับ
หัวกะทิ ชโลมให้ทั่วศีรษะ โพกผ้าทิ้งไว้
สักครู่แล้วล้างออก ท�ำติดต่อกัน 7 วัน
ผมจะดกด�ำ

8
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

สมุนไพร สรรพคุณ วิธีการใช้


12. บอระเพ็ด แก้ผมหงอก ลดอาการผมร่วง เอาบอระเพ็ดสด 3 กก. คั้นเอาแต่น�้ำ
น�ำมาคั้นมะพร้าวขูด 1 กก. เอาน�้ำขึ้น
ตั้งไฟ เติมขิงสด 1 ก�ำมือ เคี่ยวจนได้น�้ำมัน
มากรองด้วยผ้าขาวบาง ได้น�้ำมันไปชโลม
เส้นผมหรือนวดหนังศีรษะ 15 นาที แล้ว
จึงล้างออก
13. ใบบัวบก แก้ผมหงอก ใช้ใบบัวบกสดทั้งต้น 1 กก. เติมน�ำ้ 1 ลิตร
ปั่นให้ละเอียด กรองเอาแต่น�้ำกับน�้ำมัน
มะพร้าว 1 แก้ว เคี่ยวจนน�้ำระเหยหมด
น�ำน�้ำมันที่ได้ชโลมผมหรือนวดหนังศีรษะ
ทิ้งไว้นาน 15 นาที จึงล้างออก
14. ผักบุ้ง แก้ผมร่วง ท�ำให้ผมนุ่มสลวย น�ำใบมาต้มกับน�้ำ ใช้น�้ำชโลมศีรษะหลัง
สระผม ทิ้งไว้ 20 นาที จึงล้างออก
15. ประค�ำดีควาย ใช้สระผม แก้รังแค รักษา ใช้ผล 1-2 ผล ทุบแล้วต้มกับน�ำ้ ใช้สระผม
ชันตุ
16. มะพร้าว ท�ำให้ผมนุ่มสลวย ดกด�ำ ใช้น�้ำกะทิเคี่ยวหรือหมักจนได้น�้ำมัน
มะพร้าว ใช้ชโลมเส้นผม ทิ้งไว้ 15 นาที
จึงสระผม
17. มะเฟือง บ�ำรุงเส้นผม ขจัดรังแค ใช้น�้ำคั้นจากผลมะเฟือง มาสระผม
18. ว่านหางจระเข้ ท�ำให้ผมลืน่ หวีงา่ ย นุม่ สลวย ใช้เนือ้ วุน้ ว่านหางจระเข้ ทีล่ า้ งสะอาดดีแล้ว
มาทาเส้นผมแทนการใส่น�้ำมันใส่ผม
19. ส้มป่อย แก้รังแค รักษาชันตุ ท�ำให้ ใช้ฝักทุบให้แตก ต้มกับน�้ำ หรือใช้ใบต้ม
ผมเงางาม กับน�้ำ ใช้สระผม
20. อัญชัน ท�ำให้ผมดกด�ำ ใช้ดอกสดต้มกับน�้ำ ชโลมเส้นผมแล้ว
ล้างออก

9
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

แชมพูสมุนไพร
1. แชมพูมะกรูด (แบบไม่ใช้หัวแชมพูหรือผงฟอง)
ส่วนผสม 1. มะกรูด 1 กิโลกรัม
2. น�้ำสะอาด 1 ลิตร

วิธีการท�ำ
1. น�ำผลมะกรูดมาล้างน�้ำให้สะอาด แล้วผ่าซีก
เอาเมล็ดออก หั่นทั้งเปลือกให้เป็นชิ้น
2. น�ำไปต้มกับน�้ำในหม้อ ปิดฝา ต้มไปนาน
15 นาที
3. ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วน�ำทั้งน�้ำและเนื้อมะกรูดไปปั่น
ในเครื่องปั่นจนละเอียด
4. น�ำมากรองด้วยผ้าขาวบาง จะได้นำ�้ มะกรูด
ที่ข้นเหนียวเป็นครีม
5. น�ำน�้ำมะกรูดที่ได้ไปนึ่ง หรือต้มไฟอ่อน พอเดือดปุดๆ ยกลงทิ้งไว้
ให้เย็น น�ำไปบรรจุขวดที่มีฝาปิด เก็บได้นาน 3-6 เดือน

วิธีใช้
ใช้สระผมแทนแชมพูทวั่ ไป เวลาสระผมจะไม่มฟี อง แต่จะท�ำให้ผมสะอาด
นุ่มสลวย ผมลื่นหวีง่าย ผมจะดกด�ำ และเงางาม

10
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

2. แชมพูสด สูตรน�้ำซาวข้าว
ส่วนผสม
1. น�้ำซาวข้าว 1 หม้อ
2. ใบหมี่ 5-6 ใบ
3. มะกรูด 2 ลูก
4. ฝักส้มป่อย 2-3 ฝัก
5. ลูกประค�ำดีควาย 3-4 ลูก
6. ดอกอัญชัน 1 ก�ำมือ

วิธีการท�ำ
น�ำมะกรูดและฝักส้มป่อยไปเผาไฟให้มกี ลิน่ หอม แล้วขยีใ้ บหมีใ่ นน�ำ้ ซาวข้าว
ให้ เ กิ ด ยางเหนี ย วๆ แล้ ว น�ำ มะกรู ด และฝั ก ส้ ม ป่ อ ยที่ ย ่ า งไฟแล้ ว รวมทั้ ง ลู ก
ประค�ำดีควายทีท่ บุ พอแตก ดอกอัญชัน มาต้มรวมกับน�้ำซาวข้าว ต้มให้เดือด แล้ว
ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นกรองเอาน�้ำไปใช้สระผม

วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ 22 ซ.ช�ำนาญอักษร ถ.พหลโยธิน


สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร. 02−2795118 โทรสาร 02−6170834

11
ผลิตภัณฑ์บำ�รุงผิวพรรณ
จากน้ำ�มันหอมระเหย
อาจารย์คมสัน หุตะแพทย์
มูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา

ผลิตภัณฑ์น�้ำมันหอมระเหย
Essential Oil Products
น�้ำมันหอมระเหยเป็นน�้ำมัน
ทีไ่ ด้จากพืชหรือสัตว์ทมี่ กี ลิน่ หอม
และมีองค์ประกอบทางเคมีมากมาย
หลายชนิด เมื่อสูดดมเข้าไปหรือ
สัมผัสทางผิวหนังก็จะซึมผ่านไป
ยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย และ
มีผลต่อการท�ำงานของสมองและ
ระบบอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
รวมทั้งผลต่ออารมณ์และจิตใจ
ให้มกี ารปรับสมดุลท�ำให้เกิดการ
บ�ำบัดอาการของโรคต่างๆ
รูปแบบการใช้นำ�้ มันหอมระเหยมี 2 แนวทางใหญ่ๆ คือการสูดดมและการ
สัมผัสทางผิวหนัง จากสองแนวทางนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้ อีกมากมายหลายวิธี
เลยทีเดียว รวมทั้งน�ำไปท�ำผลิตภัณฑ์นำ�้ มันหอมระเหยรูปแบบต่างๆ

12
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

คุณสมบัติของน�้ำมันหอมระเหย

น�้ำมันหอมระเหย คุณสมบัติ
ลาเวนเดอร์ (Lavender) แก้ปวดศีรษะ บรรเทาอาการท้อแท้หดหู่ ลดความตึงเครียด
แก้ภูมิแพ้ แก้สิว โรคน�้ำกัดเท้า รักษาแผลไฟไหม้ รักษาโรค
ผิวหนัง ไล่แมลง แมลงสัตว์กดั ต่อย บรรเทาอาการปวดกล้ามเนือ้
แก้เคล็ดขัดยอก แก้หดื หลอดลมอักเสบ แก้หวัด ดับกลิน่ ปาก
บรรเทาอาการปวดประจ�ำเดือน
ทีทรี (Tea Tree) แก้สิว ฝ้า ฝีหนอง น�ำ้ กัดเท้า รักษาแผลไฟไหม้ ผื่นคัน แมลง
กัดต่อย แก้ไข้ แก้หวัด หืด หลอดลมอักเสบ แก้ไอ ไซนัส
มะนาว (Lime) แก้สิว ฝ้า ผิวหนังแตก ลดความมันบนผิวหนัง รักษาแผล
พุพอง แมลงกัดต่อย แก้หืด แก้เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ
บรรเทาไขข้ออักเสบ ความดันโลหิตสูง ช่วยย่อยอาหาร
ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ไข้หวัด
เบอร์กามอท (Bergamot) บรรเทาอาการหดหู่ ท�ำให้จติ ใจเบิกบาน คลายความตึงเครียด
รู้สึกสดชื่น บ�ำรุงเส้นผม/หนังศีรษะ แก้สิวฝ้า รักษาโรค
ผิวหนัง แมลงกัดต่อย ไล่แมลง ดับกลิ่นปาก แก้เจ็บคอ
แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร แก้ไข้หวัด
ผิวส้ม (Orange) ผ่อนคลายความตึงเครียด แก้อาการท้อแท้หดหู่ ลดริ้วรอย
ผิวหนังหยาบ ลดความมันบนผิวหนัง บรรเทาอาการหลอดลม
อักเสบ แก้ท้องผูก อาหารไม่ย่อย แก้ไข้หวัด
กระดังงา (Ylang Ylang) บรรเทาอาการหดหู่ เพิม่ สมรรถภาพทางเพศ ช่วยให้นอนหลับ
ลดความตึงเครียด บ�ำรุงหัวใจ บ�ำรุงก�ำลัง แก้สิว รักษาผิว
ที่แพ้ง่ายและมีความมันมาก

13
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

น�้ำมันหอมระเหย คุณสมบัติ
กุหลาบ (Rose) ลดอาการตึงเครียด ช่วยให้นอนหลับสบาย เสริมสมรรถภาพ
ทางเพศ ถนอมผิ ว พรรณ ลดรอยเหี่ ย วย่ น บ�ำ รุ ง หั ว ใจ
ช่วยให้เจริญอาหาร แก้หืด แก้ไอ
มะลิ (Jasmine) ช่วยคลายเครียด ท�ำให้จิตใจสงบ บ�ำรุงหัวใจ ช่วยลดอาการ
แพ้ที่ผิวหนัง บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้หวัด
แก้ไอ เสียงแหบแห้ง บรรเทาอาการปวดประจ�ำเดือน
เปปเปอร์มนิ ท์ (Peppermint) แก้ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ คลายเครียด แก้สิว รักษาโรค
ผิวหนัง แก้ปวดฟัน ดับกลิ่นปาก แก้หืด อาการหลอดลม
อักเสบ ช่วยย่อย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ คลื่นเหียนอาเจียน
ปวดท้อง เสียดท้อง
ตะไคร้ (Lemongrass) คลายความเครี ย ด แก้ ป วดศี ร ษะ แก้ สิ ว โรคน�้ำ กั ด เท้ า
ไล่แมลง ช่วยย่อยลดกรดในกระเพาะ ขับลม แก้อาการท้องอืด
ท้องเฟ้อ ลดไข้
ยูคาลิปตัส (Eucalyptus) แก้หวัดคัดจมูก แก้ไข้ บรรเทาอาการปวดศีรษะ เจ็บคอ
กล่องเสียงอักเสบ โรคน�้ำกัดเท้า เชื้อรา แก้รังแค ผื่นคัน
ไล่แมลง บรรเทาปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก
ขิง (Ginger) แก้เสียดท้อง ปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเสีย คลื่นเหียน
เมารถ เมาเรือ แก้หวัด คัดจมูก ไซนัส แก้ไข้หวัดใหญ่ บรรเทา
อาการปวดข้อ/กล้ามเนื้อ กระตุ้นการงอกของเส้นผม
แก่นจันทร์ (Sandalwood) บรรเทาอาการท้อแท้หดหู่ นอนไม่หลับ ระงับประสาท บ�ำรุง
ก�ำลัง รักษาสิว ผิวแตก ผิวที่แห้งกร้าน รักษาอาการไอ หืด
หลอดลมอักเสบ เจ็บคอ
โหระพา (Sweet Basil) แก้ปวดหัว ไมเกรน ผ่อนคลายประสาท ไล่ยุง ไล่แมลง
บรรเทาอาการยุงและแมลงกัดต่อย แก้อาการปวดเมื่อย
ปวดข้อ บาดเจ็บกล้ามเนื้อ แก้ไอ ไซนัส หลอดลมอักเสบ
แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แก้ไข้ แก้หวัด
14
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

น�้ำมันหอมระเหย คุณสมบัติ
พริกไทยด�ำ (Black pepper) บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอก เส้นเอ็นยึด
ข้ออักเสบ ช่วยย่อย ช่วยให้เจริญอาหาร ลดไข้ บรรเทาหวัด
ป้องกันการติดเชื้อไวรัส
โรสแมรี่ (Rosemary) รักษาสิว ขจัดรังแค แก้โรคผิวหนัง เส้นผมมัน ช่วยให้ผม
งอก แก้หวัด อาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม แก้ปวด
ประจ�ำเดือน ปวดศีรษะ บ�ำรุงหัวใจ บ�ำรุงประสาท ผ่อนคลาย
ความตึงเครียด
คาโมไมล์ (Chamomile) แก้สวิ โรคภูมแิ พ้ แผลไฟไหม้ โรคผิวหนัง ตุม่ พุพอง แก้ปวดฟัน
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้ปวดประจ�ำเดือน แก้ปวดศีรษะ
ไมเกรน ผ่อนคลายความตึงเครียด ช่วยให้นอนหลับสบาย
ช่วยบ�ำรุงเส้นผม
เจอราเนียม (Geranium) แก้สวิ รักษาแผลไฟไหม้ โรคผิวหนัง กลากเกลือ้ น แผลพุพอง
ไล่แมลง ปรับสมดุลส�ำหรับสตรีวัยหมดประจ�ำเดือน ท�ำให้
จิตใจสงบไม่ท้อแท้ ห่อเหี่ยว

น�้ำมันนวดตัว (Massage Oils)


ส่ ว นผสมที่ ส� ำ คั ญ ของน�้ ำ มั น
นวดตัว มี 2 อย่าง คือ น�้ำมันพื้นฐาน และ
น�ำ้ มันหอมระเหย น�ำ้ มันพืน้ ฐานก็คอื น�ำ้ มัน
พืชที่สกัดโดยวิธีบีบเย็น ซึ่งมีอยู่หลายตัว
ที่ใช้เป็นน�้ำมันพื้นฐานได้ดี เช่น น�้ ำมัน
มะพร้าว น�้ำมันงา น�้ำมันมะกอก น�้ำมัน
สวีทอัลมอนด์ น�ำ้ มันถัว่ เหลือง น�ำ้ มันเมล็ด
ทานตะวัน เป็นต้น ซึ่งจะใช้นำ�้ มันเหล่านี้

15
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

เป็นน�้ำมันหลัก และอาจจะเติมน�้ำมันชนิดอื่น เช่น น�ำ้ มันจมูกข้าวสาลี เป็นน�้ำมัน


เสริม เพื่อเพิ่มวิตามินอี แล้วน�ำน�้ำมันพื้นฐานนี้ไปผสมกับน�้ำมันหอมระเหย เพื่อ
เพิ่มสรรพคุณในการบ�ำบัดทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ
โดยใช้น�้ำมันหอมระเหยผสมลงไปในน�้ำมันพื้นฐาน 0.5-3% ขึ้นอยู่กับ
เงื่อนไขของการใช้ เช่น ใช้กับใบหน้า หรือใช้กับเด็ก หรือใช้กับผิวบอบบางแพ้ง่าย
ก็ผสมน�้ำมันหอมระเหยเพียง 0.5-1% ถ้าใช้กับผู้ใหญ่โดยทั่วไปก็ใช้น�้ำมันหอม
ระเหย 2% แต่ถ้าใช้ในการบ�ำบัดรักษา ก็ใช้ 3% โดยมีสัดส่วนในการผสมน�้ำมัน
หอมระเหยกับน�้ำมันพื้นฐานดังต่อไปนี้

% ของน�้ำมันหอมระเหย น�ำ้ มันหอมระเหย น�ำ้ มันพื้นฐาน


0.5% 1 หยด 2 ช้อนชา (10 มล.)
1% 1 หยด 1 ช้อนชา (5 มล.)
2% 2 หยด 1 ช้อนชา (5 มล.)
3% 3 หยด 1 ช้อนชา (5 มล.)

น�้ำมันนวดหน้า
น�้ำมันนวดหน้า ใช้นวดหน้าเพียง
วันละ 10 นาที จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนือ้
ที่ตึงเครียด ช่วยรักษาความชุ่มชื้น ช่วย
กระชับใบหน้า ลดริ้วรอยที่เหี่ยวย่นและ
หยาบกร้าน ท�ำให้หน้าเนียนเรียบ ดูอ่อน
เยาว์ขึ้น

16
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ส่วนผสม
น�้ำมันเมล็ดทานตะวัน 10 ซีซี
น�้ำมันหอมระเหย
ดอกส้ม 2 หยด
กุหลาบ 2 หยด

วิธีทำ�
ผสมน�้ำมันหอมระเหยดอกส้มกับกุหลาบ ผสมกันในขวดแก้วแล้วน�ำไป
หยดลงบนน�ำ้ มันเมล็ดทานตะวันในชามแก้ว คนให้เข้ากัน น�ำไปใช้นวดหน้า

ครีมถนอมผิวน�้ำดอกกุหลาบ
ช่วยลดรอยเหีย่ วย่น หยาบกร้าน
และรอยแตก ใช้เป็นครีมบ� ำรุงผิวทั้ง
ใบหน้า มือ และผิวหนัง

ส่วนผสม
ขี้ผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
น�้ำสะอาด ¼ ถ้วย
น�ำ้ มันงา ½ ถ้วย
น�้ำดอกกุหลาบ ¼ ถ้วย
น�้ำมันดอกกุหลาบ 6-8 หยด

17
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

วิธีท�ำ
ใส่ขผี้ งึ้ และน�ำ้ ลงในหม้อสแตนเลส น�ำขึน้ ตัง้ ไฟอ่อนๆ ใช้ชอ้ นสแตนเลสกวน
เบาๆ จนขีผ้ งึ้ ละลายหมด จึงใส่นำ�้ มันงา น�ำ้ ดอกกุหลาบ คนให้เข้ากัน ยกลงจากเตา
แล้ ว หยดน�้ำ มั น ดอกกุ ห ลาบ คนให้ เข้ า กั น จนเหนี ย วข้ น เทใส่ ข วดที่ มี ฝ าปิ ด
เก็บไว้ใช้ได้นาน 3-6 เดือน


สเปรย์ไล่ยุง
Anti – mosquito Spray
ส่วนผสม
1. น�้ำมันตะไคร้หอม 3 ซีซี (ประมาณ 60 หยด)
2. น�้ำมันตะไคร้บ้าน 1 ซีซี (ประมาณ 20 หยด)
3. น�้ำมันลาเวนเดอร์ 1 ซีซี (ประมาณ 20 หยด)
4. แอลกอฮอล์ 50 ซีซี
5. น�้ำสะอาด 250 ซีซี (หรือ 1 ถ้วยตวง)

วิธีการ
1. ผสมน�ำ้ มันตะไคร้หอม น�ำ้ มันตะไคร้บา้ น น�ำ้ มันลาเวนเดอร์ ในชามแก้ว
คนให้เข้ากัน หรือจะผสมในขวดขนาด 5 ซีซี ที่มีฝาปิด แล้วเขย่าให้เข้ากันก็ได้ (ถ้า
ใช้นำ�้ มันตะไคร้หอมเพียงอย่างเดียว ก็ให้ใช้น�้ำมันตะไคร้หอมปริมาณ 5 ซีซี)
2. ใส่แอลกอฮอล์ 50 ซีซี ลงในขวดขนาด 300 ซีซี จากนั้นเทน�ำ้ มันหอม
ระเหยที่ผสมกันดีแล้วลงไปในแอลกอฮอล์ ปิดฝาเขย่าให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้สักครู ่

18
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

3. จากนัน้ เติมน�ำ้ สะอาดลงไป 250 ซีซี ปิดฝาเขย่าให้เข้ากัน ก็จะได้น�้ำมัน


ไล่ยุง ใส่หัวฉีดแบบสเปรย์ใช้ฉีดไล่ยุง

วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ 22 ซ.ช�ำนาญอักษร ถ.พหลโยธิน


สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร. 02−2795118 โทรสาร 02−6170834

19
การนวดแก้อาการปวดคอ บ่า ถึงปลายมือ

มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา

1. อาการ
หมายถึง อาการเจ็บ ปวด เสียว เสียด ขัดที่คอ ไหล่ แขน ข้อศอก ข้อมือ
และข้อนิ้วมือ ตลอดจนตะคริวมือ จากความผิดปกติของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อ เส้น-
ประสาท และการไหลเวียนของเลือดบริเวณนัน้ ซึง่ เป็นผลจากการใช้งาน ความเสือ่ ม
หรือการบาดเจ็บ
อาการปวดคอ ถึงไหล่ สะบัก มีอาการปวดเมื่อยคอบริเวณท้ายทอยลงมา
ถึงไหล่ สะบัก บางรายถ้าเป็นมากจะมีอาการปวดคอ กล้ามเนื้อคอด้านหลังเกร็ง
เอี้ยวคอไม่ได้
อาการปวดแขน ปวดข้อศอก ปวดมือ เป็นการปวดของกล้ามเนื้อ เอ็น
ของบริเวณแขน ข้อศอก และมือ ที่เกิดจากท่าทางในการท�ำงานในท่าเดียว มาก
และนานเกินไป
ตะคริวทีม่ อื เป็นความผิดปกติทมี่ อื โดยมีอาการปวดมือเมือ่ ใช้กล้ามเนือ้ มือ
ท�ำกิจกรรมประจ�ำ เช่น การเขียนหนังสือ การพิมพ์ดดี ผูใ้ ช้โทรศัพท์มอื ถือในท่าเดียว
นานๆ หรืออาจพบในช่างทาสีหรือเกษตรกรที่ใช้มือหยิบจับอุปกรณ์ใช้งานนานๆ
จะมีอาการปวดมือมากขึ้นเมื่อใช้งานมากขึ้นจนไม่สามารถใช้มือท�ำงานนั้นๆ ได้
ตะคริวที่นิ้วหรือมือ เรียกว่า ตะคริวนักเขียน (Writer’s cramps หรือ
graphospasm) พบบ่อยในผู้ที่เขียนหนังสือติดต่อกันนานๆ
20
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

2. สาเหตุ
1) อาการปวดคอเนื่องจากการตึงหรือการล้าของกล้ามเนื้อ เกิดจาก
อิริยาบถในชีวิตประจ�ำวัน และท่าทางในการท�ำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การ
นั่งห่อไหล่ ก้มคอท�ำงานเป็นเวลานาน (การนั่งท�ำงานที่โต๊ะ ท่าพิมพ์ดีด การใช้
คอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือ หรือใช้โทรศัพท์มือถือในท่าเดียวนานเกินไป) ท�ำให้
เป็นสาเหตุให้มีอาการตึง การล้าของกล้ามเนื้อจากท่าร่างกายและอาจร่วมกับ
ความเครี ย ดมั ก จะน� ำ ไปสู ่ ก ารปวดกล้ า มเนื้ อ ต้ น คอด้ า นหลั ง และกระดู ก คอ
อาจร้าวไปที่ท้ายทอย
2) ใช้แขนและมือในการท�ำงานหนักเกินไป เคลือ่ นไหวข้อมือหรือใช้นวิ้ มือ
ซ�้ำๆ เป็นประจ�ำ ยกแขนท�ำงานนานๆ เช่น ทาสีบ้าน ท�ำความสะอาดฝ้าเพดาน
ท่านอนทับแขน ท่านั่งขับรถแล้วเอื้อมหยิบของที่เบาะหลัง
3) บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือการเล่นกีฬา เช่น บริเวณหัวไหล่ แขน
ข้อศอก ข้อมือ ข้อนิ้วมือถูกกระทบ กระแทก กระชาก
4) ความเสื่อมของข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อนิ้วมือ
5) ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อนิ้วมือมีการเคลื่อนไหวน้อย หลังได้รับ
บาดเจ็บ หรือจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง

3. กายวิภาค
กระดูกสันหลังช่วงคอ (cervical vertebra)
กระดูกสันหลังส่วนคอ มีอยู่ทั้งหมด 7 ชิ้น เรียงต่อกัน ขณะก้มศีรษะจะ
พบว่าแง่งของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 7 จะยื่นออกมา คล�ำได้ง่ายและใช้เป็น
แนวทางในการนับกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 1 จะมีลักษณะ
พิเศษ คือ รูปร่างคล้ายวงแหวนและจะต่อกับรูทฐี่ านกะโหลกเป็นข้อต่อขึน้ ข้อต่อนี้
ท�ำหน้าที่ก้มและเงยศีรษะ ลักษณะพยักหน้า ส่วนกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 2

21
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

มีลกั ษณะพิเศษเช่นกัน คือ มีแง่งกระดูกยืน่ ขึน้ มา ดังนัน้ เมือ่ กระดูกสันหลังส่วนคอ


ชิ้นที่ 1 และ ชิ้นที่ 2 ต่อกัน จึงเกิดเป็นข้อต่อที่ท�ำให้ส่ายศีรษะ ส่วนกระดูกสันหลัง
ส่วนคอชิ้นอื่นๆ จะต่อกันเกิดเป็นข้อต่อที่ท�ำให้คอสามารถ ก้มคอ เงยคอ เอียงคอ
ไปด้านข้าง หรือหมุนคอได้

ด้านหน้า ด้านหลัง
รูปกระดูกสันหลังส่วนคอ

การเคลื่อนไหวของคอ
- ส่ายหน้า ใช้ข้อต่อระหว่างกระดูกคอชิ้นที่ 1 และ 2
- พยักหน้า ใช้ข้อต่อระหว่างกระดูกกะโหลกศีรษะ และกระดูกคอ
ชิ้นที่ 1
- ก้มหน้า เงยหน้า
- หันหน้าไปทางซ้ายและขวา ใช้กระดูกคอทั้ง 7
- เอียงคอเอาหูแนบบ่า

22
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

รูปแสดงการเคลื่อนไหวของคอ

รูปแสดงกระดูกระยางค์แขน รูปแสดงกล้ามเนื้อส่วนแขน

23
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

กระดูกไหปลาร้า (clavicle)
กระดูกไหปลาร้าเป็นกระดูกยาว มีรปู ร่างโค้งและเว้า ไม่ตรง ปลายด้านเว้า
จะต่อกับแง่งของกระดูกสะบัก ส่วนปลายด้านโค้งจะติดต่อกับกระดูกอก บริเวณที่
เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างส่วนโค้งและส่วนเว้านั้นจะเกิดหักได้ง่ายที่สุดของกระดูก
ไหปลาร้า ในขณะที่หกล้มแล้วมือยันพื้นเพราะแรงจะกดบริเวณรอยต่อนี้พอดี
กระดูกไหปลาร้านี้สามารถคล�ำได้ตลอดความยาวของกระดูก ถ้าเกิดกระดูกร้าว
นิยมใช้ผ้ายืดพันเป็นรูปเลขแปด เพื่อดามกระดูกไว้อย่างน้อย 6 สัปดาห์ ผู้สูงอายุ
จะใช้เวลานานประมาณ 2 เดือน หรือมากกว่านี้ กระดูกจึงจะติด

กระดูกสะบัก (scapula)
กระดูกสะบักเป็นกระดูกแบนที่คล�ำได้เกือบทั้งชิ้น สามารถคล�ำด้านหลัง
ได้ตลอด กระดูกสะบักจะติดอยูท่ างด้านหลังของกระดูกซีโ่ ครงใกล้แนวกระดูกสันหลัง
อยูช่ ว่ งระหว่างกระดูกซีโ่ ครงชิน้ ที่ 2 ถึงชิน้ ที่ 7 โดยโคนของสันกระดูกสะบัก (root
of spine of scapula) จะตรงกับกระดูกซี่โครงชิ้นที่ 3 และปลายล่างที่เป็นมุม
แหลม (inferior angle) จะตรงกับกระดูกซี่โครงชิ้นที่ 7

กระดูกต้นแขน (humerus)
กระดูกต้นแขนจัดเป็นกระดูกยาว ส่วนหัวของกระดูกมีลกั ษณะกลม ส่วนนี้
จะต่อกับเบ้าของกระดูกสะบักประกอบเป็นข้อไหล่ (shoulder joint) เบ้าของ
ข้อไหล่นี้ตื้นท�ำให้หัวของกระดูกต้นแขนมีแนวโน้มที่จะหลุดได้ง่ายกว่าข้อประเภท
เดียวกัน เช่น ข้อสะโพก ส่วนปลายของกระดูกต้นแขนจะประกอบเป็นข้อศอก
ที่ปลายของกระดูกต้นแขนจะมีปุ่มกระดูกยื่นออกทางด้านข้าง ปุ่มที่ยื่นออกทาง
ด้านนอกจะเป็นที่เกาะของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกระดกข้อมือลงและเหยียดนิ้วมือ
(extensor muscles of forearm) ส่วนปลายของกระดูกต้นแขนที่ยื่นออกทาง

24
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ด้านในเป็นที่เกาะของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกระดกข้อมือขึ้นและงอนิ้วมือ (flexor
muscles of forearm) ทางด้านหน้าของกระดูกต้นแขนจะเป็นทีเ่ กาะของกล้ามเนือ้
ที่ใช้ในการงอข้อศอก (flexor muscles of arm) ส่วนทางด้านหลังของกระดูก
ต้นแขนจะเป็นทีเ่ กาะของกล้ามเนือ้ ทีใ่ ช้ในการเหยียดข้อศอก (extensor muscles
of arm)

กระดูกปลายแขนด้านใน (ulna)
กระดูกปลายแขนด้านในเป็นกระดูกยาว ส่วนบนของกระดูกปลายแขน
ด้านในนี้จะยื่นขึ้นไปมีลักษณะคล้ายกุญแจปากตาย (olecranon process)
คล�ำได้หลังข้อศอกโดยส่วนนี้จะไปประกอบเป็นข้อศอก (elbow joint) ปลายล่าง
ของกระดูกนี้จะเรียวแหลมลง เรียกว่า styloid process สามารถคล�ำได้ที่ข้อมือ
ทางด้านใน

กระดูกปลายแขนด้านนอก (radius)
กระดูกนี้จัดเป็นกระดูกยาวเช่นกัน ส่วนหัวของกระดูกจะมีลักษณะกลม
และแบนจากบนลงล่าง ปลายล่างของกระดูกนี้จะเรียวแหลมลง เรียกว่า styloid
process สามารถคล�ำได้ที่ข้อมือทางด้านนอก เนื่องจากหัวของกระดูกนี้กลม
จึงท�ำให้กระดูกนี้หมุนได้ ลักษณะเช่นนี้ช่วยท�ำให้สามารถคว�่ำมือและหงายมือได้

กระดูกข้อมือ (carpal bone)


กระดูกข้อมือมีทั้งหมด 8 ชิ้น เรียงตัวเป็น 2 แถว แถวละ 4 ชิ้น ลักษณะ
เป็นกระดูกสั้นและการเรียงตัวของกระดูกนี้จะเรียงตัวเป็นแนวโค้งเหมือนแอ่ง
โดยมีเส้นเอ็นและเส้นประสาทรวมทั้งหลอดเลือดผ่านแอ่งนี้เข้าไปในมือ

25
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

4. การเคลื่อนไหวของข้อต่างๆ ในระยางค์แขน
ข้อไหล่ เบ้าข้อไหล่ตื้น ท�ำให้กระดูกต้นแขนสามารถเคลื่อนไหวได้ทุก
ทิศทางคือ กางแขน หุบแขน ยกแขนขึน้ เหยียดแขนไปด้านหลัง หมุนแขนออกนอก
หมุนแขนเข้าใน เหยียดและงอแขนในแนวระดับ
ข้อไหล่ เป็นข้อที่หลุดได้ง่าย โดยเฉพาะถ้ากล้ามเนื้อแขนเป็นอัมพาต
ดังนั้นในคนไข้ที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก จึงห้ามฉุดกระชากแขน หรือดัดดึงแขน

รูปแสดงการเคลื่อนไหวของข้อไหล่

ข้อศอก เป็นข้อที่มีลักษณะคล้ายบานพับ ท�ำให้งอข้อศอก และเหยียด


ข้อศอกได้

รูปแสดงการเคลื่อนไหวของข้อศอก

26
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ข้อต่อระหว่างกระดูกแขนด้านในและนอก ท�ำให้คว�่ำมือและหงายมือได้

รูปแสดงการเคลื่อนไหวของข้อระหว่างกระดูกแขนด้านในและด้านนอก

ข้อมือ ท�ำให้เรากระดกข้อมือขึ้นและกระดกข้อมือลง เอียงฝ่ามือเข้าทาง


ด้านในและออกทางด้านนอกได้

รูปแสดงการเคลื่อนไหวของข้อมือ

ข้อนิ้วมือ ท�ำให้สามารถงอนิ้ว และเหยียดนิ้ว กางออก และหุบเข้าได้

รูปแสดงการเคลื่อนไหวของข้อนิ้วมือ

27
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

5. การนวดบ�ำบัดอาการ
จุดและแนวนวดมือและแขน

28
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

*** การสาธิตวิธีการนวดและการฝึกปฏิบัติ ครูน�ำการฝึกปฏิบัติในการอบรม

29
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

ข้อห้ามในการนวด
ถ้ามีอาการต่อไปนี้ ควรไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัย
1) มีอาการปวดไหล่ร่วมกับมีอาการปวดเสียวที่แขนข้างใดข้างหนึ่งหรือ
ทั้งสองข้าง
2) ข้อไหล่ผิดรูป หรือเคลื่อนไหวไม่ได้หลังได้รับบาดเจ็บ อาจเกิดจาก
กระดูกหักหรือข้อไหล่เคลื่อน แต่ถ้ามีอาการต่อไปนี้ ห้ามนวด
3) หลังจากการผ่าตัด
4) มีอาการบวม แดง ร้อนบริเวณข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อนิ้วมือ
5) การดัดดึงคอ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการปวดร้าวเสียวชาลงไปที่แขน

6. การบริหารกาย
1) นั่งขัดสมาธิ (หรือนั่งเก้าอี้ หรือยืน) งอข้อศอกข้างหนึ่งให้มือวางบน
บ่าด้านตรงข้าม ใช้มืออีกข้างจับที่ข้อศอกไว้ หายใจเข้า หายใจออก พร้อมๆ กับ
ดันข้อศอกเข้าหาตัวให้มากที่สุด หายใจเข้าออกปกติ 3-5 ครั้ง แล้วผ่อนออก ท�ำ
สลับข้าง

30
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

2) นั่งขัดสมาธิ (หรือนั่งเก้าอี้ หรือยืน) งอศอกข้างหนึ่ง ยกขึ้นไว้ทางด้าน


หลังของศีรษะ ใช้มอื อีกข้างจับมือทีย่ กไว้ หายใจเข้า หายใจออก พร้อมๆ กับดึงมือ
ลงมาให้มากที่สุด หายใจเข้าออกปกติ 3-5 ครั้ง แล้วผ่อนออก ท�ำสลับข้าง

3) นั่งขัดสมาธิ ประสานฝ่ามือไว้ที่หน้าอก หายใจเข้า หายใจออก เหยียด


แขนไปข้างหน้าในลักษณะหงายฝ่ามือที่ประสานกันออก หายใจเข้า ยกแขนขึ้น
เหนือศีรษะ ยืดตัวและแขนให้สุด หายใจเข้าออกปกติ 3-5 ครั้ง แล้วผ่อนออก

31
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

4) นั่งคุกเข่า เข่าแยกกันเล็กน้อย ให้หลังเท้าวางราบกับพื้น เหยียดแขน


ทัง้ สองข้างไปข้างหน้า หงายฝ่ามือ วางปลายนิว้ บนหน้าตัก นัง่ ลงบนส้นเท้า หายใจเข้า
เงยหน้าแอ่นตัว แล้วหายใจเข้าออกปกติ 3-5 ครั้ง แล้วผ่อนออก

7. การนวดตนเอง
1) หงายฝ่ามือ ใช้หัวแม่มือกดจุดบนฝ่ามือ 3 จุด

2) ใช้นิ้วหัวแม่มือกดจุดตามแนวแขนด้านหน้า จากเหนือกึ่งกลางข้อมือ
(แนวนิ้วกลาง) ไปจนถึงขอบกล้ามเนื้อสามเหลี่ยม

32
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

3) ใช้นิ้วหัวแม่มือกดจุดตามแนวแขนด้านใน จากเหนือข้อมือ (แนว


นิ้วก้อย) ไปจนถึงรักแร้

4) คว�ำ่ ฝ่ามือ ใช้นวิ้ ชีน้ วิ้ กลางและนิว้ นางรวมกัน กดจุดตามแนวแขนด้าน


หลัง จากเหนือข้อมือด้านหลัง (แนวนิ้วกลาง) ไปจนถึงกล้ามเนื้อสามเหลี่ยมระดับ
รักแร้

5) ใช้มือก�ำต้นแขน นิ้วหัวแม่มือกดจุดใต้กระดูกไหปลาร้าใกล้ข้อไหล่

33
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

8. การดัดนิ้วมือ ป้องกัน อาการปวดนิ้วมือ มือชา

นั่งขัดสมาธิ ตัวตรง เหยียดแขนออกไปข้างหน้า หันหลังมือเข้าหากัน


ประสานนิว้ มือเข้าหากัน จากด้านหลังมือ แล้วพลิกมือกลับ ก�ำมือให้แน่น นับ 1-10
จึงค่อยๆ คลายมือออก

9. ค�ำแนะน�ำ
1) ประคบความร้อนบริเวณทีป่ วด ครัง้ ละ 20 นาที วันละ 2 ครัง้ เช้า-เย็น
2) จัดท่าทางที่เหมาะสมในชีวิตประจ�ำวันและการท�ำงาน โดยเฉพาะ
ท่าที่เป็นสาเหตุของอาการปวดไหล่ แขน ข้อศอก ข้อมือ

เอกสารอ้างอิง
1. “ต�ำราการนวดไทย เล่ม1” มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา พิมพ์ครั้งที่ 5
พ.ศ. 2559
2. “หลักพื้นฐานการนวดไทย” มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา พิมพ์ครั้งที่ 4
พ.ศ. 2553
3. “นวดไทยบ�ำบัด 4” มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2555

34
การนวดอาการท้องผูก

มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา

ท้องผูก1
หมายถึง อาการผิดปกติในการขับถ่าย โดยมีความถี่ในการขับถ่ายน้อย
กว่าปกติ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ถ่ายอุจจาระเป็นก้อนแข็ง และถ่ายล�ำบาก บางครั้ง
มีความรู้สึกว่าถ่ายยังไม่หมด อยากถ่ายอุจจาระตลอดเวลา

1. อาการ
ถ่ายอุจจาระแข็งหรือไม่ถา่ ยอุจจาระนานหลายวัน (เว้นระยะนานกว่าทีเ่ คย
เป็นอยู่ตามปกตินิสัย) หรือถ่ายล�ำบาก ถ่ายเป็นก้อนแข็งคล้ายขี้แพะ เป็นพรรดึก
อึดอัดในท้อง ผายลมบ่อย จุกเสียดในท้อง ร้อนใน ปากเป็นแผล ลิ้นเป็นฝ้า หายใจ
มีกลิ่นเหม็น เป็นสิว ฝี เป็นริดสีดวงทวารหนัก

2. สาเหตุ
1) กินอาหารที่มีกากน้อย หรืออาหารที่มีรสฝาด และดื่มน�ำ้ น้อย
2) กินยาบางชนิด เช่น ยาแก้ท้องเสีย ยาคุมก�ำเนิด
3) ขาดการออกก�ำลังกาย

“ต�ำราการนวดไทย เล่ม 1” มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2559


1

35
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

4) มีอุปนิสัยถ่ายไม่เป็นเวลา กลั้นอุจจาระเป็นประจ�ำ
5) มีความเครียด วิตกกังวล
6) การเคลื่อนไหวของล�ำไส้ลดลง และเกิดการอุดตันของทางเดินอาหาร

3. กลุ่มคนที่มักมีปัญหาอาการท้องผูก
ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง สตรีมีครรภ์ เด็กพิการ

4. ระบบย่อยอาหาร2

รูปแสดงระบบย่อยอาหาร

“ร่างกายมนุษย์” มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2556


2

36
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับอาการท้องผูก
ล�ำไส้เล็ก (Small intestine)
เป็นท่อยาวประมาณ 6 เมตร กว้างประมาณ 1 นิว้ ขดไปมาอยูใ่ นช่องท้อง
ที่ล�ำไส้เล็กส่วนต้นจะมีน�้ำดี และน�้ำย่อยจากตับอ่อนปล่อยออกมาทางท่อร่วมของ
ท่อน�ำ้ ดีและท่อจากตับอ่อน นอกจากนีย้ งั มีนำ�้ ย่อยทีส่ ร้างจากต่อมทีอ่ ยูต่ ามผนังของ
ล�ำไส้อีกด้วย การย่อยและการดูดซึมอาหารส่วนใหญ่เกิดที่ลำ� ไส้เล็กนี่เอง
ล�ำไส้ใหญ่ (Large intestine)
เป็นท่อยาวประมาณ 1.5 เมตร กว้างประมาณ 1.5 นิ้ว ล�ำไส้ใหญ่ส่วนต้น
มีไส้ติ่งลักษณะเป็นถุงคล้ายนิ้วมือเชื่อมติดอยู่ ไส้ติ่งมีหลอดเลือดมาเลี้ยงค่อนข้าง
จ�ำกัด จึงอักเสบได้ง่ายเมื่อมีอาหารมาอุดตัน เมื่อไส้ติ่งอักเสบห้ามท� ำการนวด
เพราะไส้ติ่งอาจแตกท�ำให้การอักเสบกระจายลุกลามไปทั่วช่องท้อง เป็นอันตราย
ถึงชีวิตให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยด่วน
ที่ล�ำไส้ใหญ่ น�้ำและเกลือแร่บางส่วนจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ในขณะที่
กากอาหารจะถูกส่งต่อไปยังไส้ตรงและทวารหนักต่อไป
ไส้ตรง (Rectum)
ไส้ตรงเป็นที่กักเก็บกากอาหาร หรืออุจจาระที่มาจากล�ำไส้ใหญ่ รอการ
ถ่ายออกทางทวารหนัก ที่ผนังไส้ตรงมีหลอดเลือดด�ำและแดงมาเลี้ยงมาก เมื่อ
ท้องผูกบ่อยๆ หรือตั้งครรภ์ หลอดเลือดด�ำจะโป่งพองออก เนื่องจากมีความดัน
ในช่องท้องเพิม่ มากขึน้ เรียกว่า ริดสีดวงทวาร ท�ำให้เกิดความเจ็บปวด และมีเลือด
ออกเวลาถ่ายอุจจาระ
ทวารหนัก (Anal cavity)
ท�ำหน้าที่ควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ ประกอบด้วยกล้ามเนื้อหูรูด 2 ชั้น
ชั้นในอยู่นอกการควบคุมของจิตใจ ส่วนชั้นนอกอยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
หรือควบคุมให้เปิดปิดได้

37
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

การเกิดอาการท้องผูก เนื่องจากอาหารที่ล�ำไส้เล็กย่อยแล้วจะเป็น
ของเหลว หน้าทีข่ องล�ำไส้ใหญ่ครึง่ แรกคือดูดซึมของเหลว น�้ำ เกลือแร่ และน�้ำตาล
กลูโคสทีย่ งั เหลืออยูใ่ นกากอาหารส่วนล�ำไส้ใหญ่ครึง่ หลัง จะเป็นทีพ่ กั กากอาหารซึง่
มีลกั ษณะกึง่ ของแข็ง ล�ำไส้ใหญ่จะขับเมือกออกมาหล่อลืน่ เพือ่ ให้อจุ จาระเคลือ่ นไป
ตามล�ำไส้ใหญ่ได้งา่ ยขึน้ เมือ่ มีอจุ จาระเต็มไส้ตรง เราจะเกิดความรูส้ กึ อยากถ่าย แต่
ถ้าไม่ยอมถ่ายอุจจาระจะถูกเก็บไว้มากขึ้น ล�ำไส้ใหญ่จะดูดน�้ำกลับมากขึ้น ท�ำให้
กากอาหารแข็ง อุจจาระแข็ง ขับถ่ายล�ำบาก และจะไม่รสู้ กึ อยากถ่ายอีก ซึง่ เรียกว่า
ท้องผูก

5. การตรวจอาการท้องผูกด้วยตนเอง
1) ค้นหาสาเหตุของอาการท้องผูก เพื่อแก้ไขที่ต้นเหตุ
2) การตรวจท้องด้วยตนเอง ใช้ทา่ นอนหงายเหยียดขาตรง ใช้มอื คล�ำท้อง
บริเวณใต้สะดือประมาณ 4 นิ้วมือ เยื้องออกมาทางซ้าย 2 นิ้วมือ คล�ำหาก้อนแข็ง
เป็นล�ำของก้อนอุจจาระ

38
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

6. จุดและแนวนวดแก้ท้องผูก

39
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

7. วิธีการนวดแก้อาการท้องผูก

40
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

41
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

8. ค�ำแนะน�ำ
1) กินอาหารที่มีกากมากๆ เช่น ผัก ผลไม้ และพืชผักที่ช่วยในการ
ขับถ่าย เช่น เมล็ดแมงลัก ผักปลัง ผลกระเจีย๊ บมอญ ผักกูด แกงขีเ้ หล็ก ต้มจืดต�ำลึง
กล้วยน�ำ้ ว้าสุก
2) ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลาเป็นประจ�ำทุกวัน
3) ดื่มน�ำ้ สะอาดวันละมากๆ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
4) งด น�้ำชา กาแฟ สุรา บุหรี่
5) ออกก�ำลังกายสม�ำ่ เสมอ

9. ท่าบริหาร
1) นัง่ ขัดสมาธิ เอามือไปไว้ดา้ นหลัง และใช้มอื ข้างหนึง่ จับข้อมืออีกข้างไว้
หายใจเข้า หายใจออก โน้มตัวลงไปข้างหน้า หายใจเข้าออกปกติ 3-5 รอบ แล้ว
ค่อยๆ ยกตัวขึ้น ท�ำซ�้ำ 5 รอบ

2) นัง่ บนโถส้วมแล้วใช้ก�ำปัน้ วางไว้ทที่ อ้ งน้อย ก้มตัวลงให้ทอ้ งกดกับหมัด


ที่ก�ำไว้

42
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

10. การนวดตนเองเพื่อการเคลื่อนไหวของล�ำไส้3
1. นอนหงายเหยี ย ดขาข้ า งหนึ่ ง ให้ ต รง
งอเข่าอีกข้างใช้มือทั้งสองข้างจับเข่าไว้
หายใจเข้า หายใจออก ดึงเข่าให้ชิดอก
มากที่สุด หายใจเข้าออกปกติ 3-5 ครั้ง
แล้วผ่อนออก ท�ำสลับข้าง
2. นอนหงายเหยียดขาตรง งอเข่าทั้งสอง
ข้ า งขึ้ น ใช้ มื อ ทั้ ง สองข้ า งจั บ เข่ า ไว้
หายใจเข้า-ออก ดึงเข่าให้ชิดตัวมาก
ทีส่ ดุ หายใจเข้าออกปกติ 3-5 ครัง้ แล้ว
ผ่อนออก ท�ำสลับข้าง
3. นอนหงายชันเข่า หายใจเข้า-ออก หมุน
เอวให้หัวเข่าทั้งสองข้างแตะพื้นให้มาก
ทีส่ ดุ โดยไม่ยกไหล่ หายใจเข้าออกปกติ
3-5 ครั้ง แล้วผ่อนออก ท�ำสลับข้าง
4. นอนหงายชันเข่าข้างหนึ่งขึ้น มือด้าน
ตรงข้ามจับเข่าที่ชันขึ้นโน้มเข่าลงมา
วางเท้าไว้ข้างเข่าของขาข้างที่เหยียด
ตรง หายใจเข้า-ออก พร้อมกับดึงหัวเข่า
ให้แตะพืน้ หายใจเข้าออกปกติ 3-5 ครัง้
แล้วผ่อนออก ท�ำสลับข้าง

“ 41 ท่า ศิลปะการนวดตนเองเพื่อสุขภาพ” มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา


3

43
เทคนิคการสัมผัสเพื่อช่วยฟื้นฟูสุขภาพกาย
------------------------------------------------------------------------------------------------
นายแพทย์องอาจ ศิริกุลพิสุทธิ์
กองการแพทย์ทางเลือก

เทคนิคการสัมผัสเพื่อช่วยฟื้นฟูสุขภาพกาย
ในที่นี่้จะใช้เทคนิ ทคนิคค เดอะ บอดี้ คอมมูนิเคชั่น
โพรเซส (The
โพรเซส (The Body Body Communication
Communication
Process) ซึงซึ่ เป็ ่งเป็นแอสซิ
นแอสซิ สต์ส(Assists)
ต์ (Assists) ประเภทหนึ ประเภทง่
โดยที
หนึ ่ แอสซิ
่ ง โดยที ่ แอสซิ ส ต์ สคืต์อคื อวิ ธวิี กธี การซึ
ารซึ่ ง่ งสามารถ
สามารถ
บรรเทาความไม่ส บาย หรื อ ความอึ ด อั ด ที่
เป็นอยู่ในปัจจุบัน และช่วยให้บคุ คลฟื้นตัวจาก
อุ บั ติ เ หตุ ความเจ็ บ ป่ว ย หรื อ ความเศร้ า โศก แอล รอน ฮับบาร์ด
ใจได้เเร็ร็ววขึขึ้น้น11
เสียใจได้ (L. Ron Hubbard)
แอสซิ ส ต์ มี ม ากกว่ า 130 วิ ธี 2 มี ทั้ ง ที่ เ ป็ น วิ ธี ก ารพื้ น ฐานHubbard)
และวิ ธี ก ารขั้ น สู ง
ทั้งหมดคิดค้นโดย แอล รอน ฮับบาร์ด (L. Ron Hubbard นักวิทยาศาสตร์และนัก
ปรัชญาทางศาสนาชาวอเมริกัน มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1911-1986)
จากแนวคิดของสุ ขภาพองค์รวมที่ให้ ความส าคัญกับความสมดุลของทั้งทาง
งกาย จิตตใจใจ สังคม
ร่างกาย คม และจิ
และจิตตวิวิญญญาณ
ญาณ แอสซิ
แอสซิสสต์ต์เเป็ป็นนวิวิธธีกกี ารที
ารที่ใใ่ ช้ช้เเป็ป็นนเครื
เครื่ออ่ งมืงมืออในการ
ในการ
ดู แ ลสุ ข ภาพแบบองค์ ร วมได้ อ ย่ า งดี เนื่ อ งจากแอสซิ ส ต์ มี ห ลั ก การของการมุ่ ง ที่
จิตวิญญาณเป็นสาคัญ จิตวิญญาณมีผลกระทบต่อร่างกาย อาการเจ็บป่วยไม่สบาย
สามารถบรรเทาได้หากมีการจัดการที่จิตวิญญาณ

44
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ในปรัชญาของ แอล รอน รอน ฮัฮับบบาร์


บาร์ดด เรีเรียยกจิ
กจิตตวิวิญญญาณว่
ญาณว่า “เททั “เททันน”” (Thetan)
(Thetan)
ซึ่งหมายถึง ตัตัวตนของบุ คคลนั้ นเอง เททั เททันน คือสิ่งที่ตระหนักรู้ว่าตนนั้นรับรู้ เป็ น
ตัวตนซึ่งบุคคลนั้นเป็นอยู่ คาว่า “เททัน” นี้เป็นคาศัพท์ที่สร้างขึ้นเพื่อกาจัดความ
สับสนที่อาจเกิดขึ้นได้กับบางแนวคิดก่อน ๆ ซึ่งไม่ถูกต้อง คานี้มาจากตัวอักษรกรีก
ตัว “ θ ” (theta) ที่ชาวกรีกเคยใช้เพื่อหมายถึง ความคิด หรืออาจหมายความถึง
จิ ต วิ ญ ญาณด้วย โดยเติ
โดยเติมมตัตัวว nn เข้เข้าาไปเพื
ไปเพื่ อ่อเปลี
เปลี่ ย่ ยนรู
นรูปปให้ให้เเป็ป็นนค�คำานาม
นาม ตามวิ ธี ก าร
3
สมัยใหม่ที่ใช้สร้างคาในสาขาวิชาวิศวกรรม

แอสซิสต์ไม่ใช่สิ่งแทนการรักษาทางการแพทย์ และไม่ใช่ความพยายามที่จะ
รักษาอาการบาดเจ็บที่ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ แต่แอสซิสต์ เป็นการ
ช่วยเสริมให้การรักษาพยาบาลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และช่วยให้ผู้ที่เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บมี
โอกาสฟื้นตัวเร็วขึ้น เพราะแอสซิสต์ช่วยให้บุคคลรักษาตนเอง หรือรับการรักษาจาก
ปัจจัยอย่างอื่นได้ 4
การท
การท�าแอสซิ
ำแอสซิสต์เพื่อทท�าให้
ำให้ผู้ป้ป่ว่วยเกิ
ยเกิดดการรั
การรับบสัสัมมผัผัสสทางร่
ทางร่าางกาย
งกาย หรื
หรืออรับสัมผัส
บริเวณที่บาดเจ็บหรือเจ็บป่วย จะช่วยทาให้ผู้ป่วยฟื้นฟูการติดต่อสื่อสารระหว่าง
45
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

ตัวเขากับร่างกาย หรือบริเวณที่บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยนั้น ซึ่งถูกตัดทอนไปเมื่อได้รับ


ความกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วยต่าง ๆ เมื่อ
ความสนใจถูกถอนออกจากส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บหรือที่เจ็บป่วย ส่งผลให้
ระบบการไหลเวียนเลือดและน้าเหลือง การส่งกระแสประสาทในทางเดินประสาท
และพลังงานก็ย่อมลดลงด้วย ทาให้บริเวณนั้นได้รับสารอาหารน้อยลง การขับถ่าย
ของเสีย (metabolic
(metabolic waste
waste product)
product) ไม่ไม่มมีปีประสิ
ระสิททธิธิภภาพ
าพ เมื่อมีการฟื้นฟูการ
าร
ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับร่างกายของตนเอง การฟื้นคืนสู่สภาวะปกติในผู้ป่วยจะ
เกิดขึ้นได้5

นิยามศัพท์1
คอกนิชั่น (cognition)
(cognition) หมายถึง ความเข้าใจชัดแจ้งใหม่ ใหม่ ๆ เกี่ยวกับชีวิต คืคืออ
คค�าพู
ำพูดที่ว่า่า “ฉั
“ ฉันนเพิ
เพิ่ง่งรู้ว่า...” หรืหรือบางสิ ่งซึ่งงซึคน
อ บางสิ ่งคนๆๆหนึ
หนึ่ง่งเข้เข้าาใจหรื
ใจหรืออรูรู้สึกขึ้นมาอย่างง
ฉับพลันในขณะนั้น ตัวอย่างเช่น ขณะที่มีการทาแอสซิสต์ บุคคลนั้นอาจจะรู้ชัดแจ้ง
ขึ้นมาเกี่ยวกับการบาดเจ็บของเขา หรือสภาพแวดล้ อมที่เกี่ยวข้องว่าการเกิดการ
บาดเจ็บหรือสิ่งแวดล้อมในตอนนั้นเป็นอย่างไร
ตัวบ่บ่งงชีชี้ ้ (indicator)
(indicator) หมายถึ หมายถึงง สภาวะหรื
สภาวะหรืออสภาพการณ์
สภาพการณ์ตต่ า่างง ๆ ที่เกิดขึ้น
ระหว่างการทาแอสซิสต์ ซึ่งบ่งชี้ (ชี้ให้เห็นหรือแสดงออก) ว่ากาลังไปได้ด้วยดีหรือไม่
น่ า พอใจนั ก ตัว อย่ า งเช่น บุค คลที่ก าลั ง ได้ รั บแอสซิส ต์ ดูส ดใสหรื อร่ าเริ งมากขึ้ น
จัดเป็นตัวบ่งชี้ที่ดี
เซสชั่น (session) หมายถึง ช่วงเวลาที่มีการทาแอสซิสต์
โพรเซส (process) หมายถึง ชุดของคาสั่งหรือลาดับของการกระทาที่แน่นอน
ตายตัว เพื่อให้บรรลุผลตามที่ต้องการ

46
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

เดอะ บอดี้ คอมมูนิเคชัน่ โพรเซส


(The Body Communication Process)
เดอะ บอดี้ คอมมูนิเคชั่น โพรเซส มีจุดประสงค์เพื่อทาให้บุคคลหนึ่งสามารถ
สร้างการสื่อสารกับร่างกายขึ้นมาใหม่อีกครั้งได้ จึงเป็นแอสซิสต์ที่เหมาะกับผู้ป่วยที่
ขาดการสื่อสารกับร่างกายของตนเองอย่างต่อเนื่องยาวนาน 6 เช่น ผู้ที่เจ็บป่วยหรือ
บาดเจ็บเรื้อรัง หรือผู้ที่นอนติดเตียง
วิธีการนี้อาจจะทาได้หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการดูแลทางการแพทย์ที่จาเป็น หรือ
การท�าแอสซิ
การท ำแอสซิสต์อื่น ๆๆ ทีที่จ่จาเป็
�ำเป็นนเสร็จสิ้นหมดแล้วเท่านั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อทดแทนสิ่ง
เหล่านั้น
ประโยชน์ของ เดอะ บอดี้ คอมมูนิเคชั่น โพรเซส
ช่ว ยฟื้นฟูส ภาพร่างกายของผู้ เจ็บ ป่ว ยหรือผู้ บาดเจ็ บ โดยเฉพาะผู้ ที่มีอาการ
เรื้อรัง6 มีประโยชน์มากในขั้นตอนการถอนพิษยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยให้ผู้เสพติด
เฮโรอีนสามารถผ่านพ้นการถอนยาไปได้โดยที่มีอาการถอนยาเพียงเล็กน้อย7
การวางมื อ ลงไปตามส่ ว น
ต่าง ๆ ของร่างกาย และ
ให้ผู้รับการทาแอสซิสต์รู้สึก
ถึ ง มื อ นั้ น จะช่ ว ยน าคนที่
ป่วยหรือบาดเจ็บมาสู่สภาพ
ที่สามารถสื่อสารกับร่างกาย
ได้ดีขึ้น

ที่มาของภาพ: Hubbard LR. The Body Communication Process. In: LRH Book compilations staff
of the Church of Scientology International, compiler. The Scientology handbook. Copenhagen:
New Era Publications; c2001. p. 219.
47
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

วิธีการปฏิบัติ6
1. ให้บุคคลนั้นนอนหงายบนโซฟา เตียง หรือเตียงพับ การให้ผู้รับแอสซิสต์ถอด
รองเท้าออกจะช่วยให้การทาแอสซิสต์นี้ได้ผลที่น่าพอใจ สิ่งของอะไรก็ตามที่บีบรัด
ร่างกายอยู่ เช่น เนคไทหรือเข็มขัดที่รัดแน่นควรถอดออกหรือปลดให้ ห ลวม ไม่
จาเป็นที่จะต้องถอดเสื้อผ้า ยกเว้นเสื้อผ้าที่หนักหรือหนาเทอะทะ
ในกรณีที่จะทาแอสซิสต์นี้มากกว่าหนึ่งเซสชั่น (session) อาจสับเปลี่ยนท่า
นอนผู้ ป่ว ยให้ ห ลากหลายรู ปแบบเพื่ อให้ ได้ผ ลดีที่ สุ ด โดยให้ เ ขานอนคว่าหน้าลง
สลับกันไปจากเซสชั่นหนึ่งไปอีกเซสชั่นหนึ่ง
2. ใช้คาสั่ง “รู้สึกถึงมือทั้งสองข้างของฉัน” (หรือ “รู้สึกถึงมือของฉัน” เป็นครั้ง
คราวเมื่อใช้แค่มือเดียว)
3. อธิ อธิบบายจุ
ายจุดดมุมุ่งหมายของแอสซิ สต์สนต์ี้ให้นบี้ใหุ้คบคลนั
่งหมายของแอสซิ ้นฟั้นง ฟังและบอกเขาสั
ุคคลนั และบอกเขาสั้น ้นๆ ว่ๆา ว่า
คุณกาลังจะทาอะไร
4. ให้บุคคลนั้นหลับตาลง แล้ววางมือบนไหล่ทั้งสองข้างของเขา โดยจับให้แน่น
แต่อ่อนโยน ใช้แรงกดของมือเท่าที่เขายินยอมหรือรับได้และให้คาสั่งกับเขา
5. เมื่อเขาตอบรับหรือแสดงว่าได้ทาตามคาสั่งแล้ว ให้คุณตอบรับเขากลับด้วย
6. วางมือของคุณไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเขา ให้คาสั่งและตอบรับเขาแต่
ละครั้งหลังจากที่เขาตอบรับหรือแสดงว่าได้ทาตามคาสั่งแล้ว ให้แตะที่อก ที่ด้า นหน้า
ของอก ที่ด้านข้างทั้งสองของอก ด้านข้างของส่วนท้องบริเวณเอว จากนั้นใช้มือข้าง
หนึ่งแตะวนไปรอบบริเวณหน้าท้องตามเข็มนาฬิกา (ที่ทาตามเข็มนาฬิกา เพราะว่า
เป็นทิศทางการวนของสาไส้ใหญ่) ทาต่อไปโดยใช้มือของคุณจับแผ่นหลังตรงช่วงเอว
มือละข้างแล้วยกขึ้นอย่างมั่นคง ใช้มือแต่ละข้างกดลงบนสะโพกซ้ายและขวาพร้อม ๆ
กัน โดยกดให้แรงขึ้นตรงส่วนที่เป็นกระดูกเหล่านี้ จากนั้นวางมือทั้งสองข้างลงบนขา
ข้างหนึ่งไล่ไปจนถึงหัวเข่า และวางมือทั้งสองลงไปที่ขาอีกข้างไล่ไปจนถึงหัวเข่าด้วย
เช่นกัน เสร็จแล้วกลับไปที่ขาอีกข้างหนึ่ง จับไล่ลงไปถึงน่ องส่วนบน น่องส่วนล่าง

48
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ข้ อ เท้ า เท้ า และนิ้ ว เท้ า และก็ เ ปลี่ ย นไปจั บ ขาอี ก ข้ า งหนึ่ ง จากหั ว เข่ า ถึ ง นิ้ ว เท้ า
เช่นเดียวกัน
จากนั้นให้วางมือย้อนขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงไหล่ทั้งสองข้าง แล้วไล่ลงมาตาม
แขนแต่ละข้างไปจนถึงไปจนถึงงนินิ้ว้วมืมืออ จัจับบทีที่บ่บริริเเวณด้
วณด้าานหลั
นหลังล�ลำาคอแต่
คอแต่ละด้านด้วยมือทัทั้ง้งสอง
สอง
จับที่ด้านข้างของใบหน้าทั้งสองด้าน หน้าผากและด้านหลังของศีรษะ ด้านข้างทั้งสอง
ของศีรษะ ไปจนถึงปลายแขนและขาทั้งสองข้าง
การวางฝ่ามือทั้งสองข้างนั้นทาได้หลากหลายไม่มีข้อจากัด แต่แน่นอนว่าต้อง
ละเว้นไม่แตะต้องบริเวณอวัยวะเพศหรือบั้นท้ายของผู้ป่วยทั้งชายและหญิง รวมทั้ง
เต้านมของผู้หญิงด้วย แอสซิสต์นี้จะทาไล่ขึ้นและไล่ลงไปตามร่างกายรวมทั้งมือและ
เท้า
7. ให้ ให้ทท�ำาแอสซิ
แอสซิสสต์ต์นนี้ตี้ตอ่อไปเรื
ไปเรื่อ่อยย ๆ จนกระทั่งเขาเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น มีมี
คอกนิชั่น และแสดงให้เห็นถึง ตัวบ่งชี้ต่าง ๆ ที่ดีมาก พอมาถึงจุดนี้คุณอาจยุติการทา
แอสซิสต์ได้ ให้บอกเขาว่า “จบการทาแอสซิสต์”
ในการทาแอสซิสต์นี้ไม่ควรทาเลยผ่านจุดที่เขาเกิดคอกนิชั่น และมีตัวบ่งชี้ว่าดี
ขึ้นมากแล้ว

49
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

ข้อสังเกต

ภาพสาธิต
ตาแหน่งการวางมือของผู้ทาแอสซิสต์ เดอะ บอดี้ คอมมูนิเคชั่น โพรเซส
ตามแนวทางที่แนะนาใน ข้อ 4-6 ของวิธีการปฏิบัติ
ผู้ทาแอสซิสต์ ให้ผู้รับแอสซิสต์อยู่ในท่านอน และหลับตา
ใช้คาสั่ง “รู้สึกถึงมือทั้งสองข้างของฉัน”
หรือ “รู้สึกถึงมือของฉัน” เป็นครั้งคราวเมื่อใช้แค่มือเดียว

50
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

51
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

52
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

53
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

54
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

เอกสารอ้างอิง
1.
1. แอล
แอล รอน รอนฮับฮับาร์
บบาร์ด.ดอภิ ธานศั
. อภิ ธานศั พท์พ. ท์ใน:. ใน:
องค์กองค์
ารไซแอนโทโลยี
การไซแอนโทโลยี นานาชาติ , ผู้เรีย, บเรี
นานาชาติ ผู้เรียยง.บเรี
การท
ยง. าแอสซิ
การท�ำสแอสซิ ต์สาหรัสบต์
ส�ความเจ็ บป่วยและอาการบาดเจ็
ำหรับความเจ็ บป่วยและอาการบาดเจ็ บ. กรุงเทพฯ:สงวนกิ
บ. กรุงเทพฯ:จ พริ ้นท์ แอนด์
สงวนกิ จ พริ้นมีท์เดีแอนด์
ย; 2553.หน้มีเดีย;า2553.45-6. หน้า 45-6.
2. Hubbard
2. HubbardLR. LR.Assists
Assistsprocessing
processinghandbook. handbook.Copenhagen:
Copenhagen: New New EraEra publications;
publications; c1992. c1992.
3. แอล
3. แอล รอน รอนฮับฮับบาร์
บาร์ด.ดปั. จปัจัจยจัเกีย่ยเกีวกั่ยวกั บการท�
บการท ำแอสซิ
าแอสซิ สต์.สใน:
ต์. ใน:
องค์กองค์ การไซแอนโทโลยี
ารไซแอนโทโลยี นานาชาติ นานาชาติ
, ผู้เรีย, บเรี
ผู้เรียยง.บเรีการ
ยง.
การท�
ทาแอสซิ สต์สสาหรั
ำแอสซิ ต์สำ� บหรั บความเจ็
ความเจ็ บป่วบยและอาการบาดเจ็
ป่วยและอาการบาดเจ็ บ. กรุบง.เทพฯ:
กรุงเทพฯ:
สงวนกิ สงวนกิ
จ พริจน้ ท์พริแอนด์
น้ ท์ แอนด์มีเดียมี; เ2553.
ดีย; 2553.หน้า
หน้
3-6.า 3-6.
4. แอล รอน
4. แอล รอนฮับฮับาร์
บบาร์ด.ดการช่
. การช่วยบุวยบุ คคลให้คคลให้ รักษาตนเอง.
รักษาตนเอง. ใน: กองค์
ใน: องค์ การไซแอนโทโลยี
ารไซแอนโทโลยี นานาชาติ นานาชาติ
, ผู้เรีย,บเรีผู้เยรีง.การท
ยบเรียง.า
การท�
แอสซิสต์สาหรับความเจ็บป่วยและอาการบาดเจ็บ. กรุงเทพฯ:สงวนกิจ พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย;2553. หน้มีาเดี7-8.
ำ แอสซิ ส ต์ ส � ำ หรั บ ความเจ็ บ ป่ ว ยและอาการบาดเจ็ บ . กรุ ง เทพฯ: สงวนกิ จ พริ ้ น ท์ แอนด์ ย;
5. 2553.
แอล รอน หน้าฮับ7-8.
บาร์ด. ทัชแอสซิสต์. ใน: องค์การไซแอนโทโลยีนานาชาติ, ผู้เรียบเรียง. การทาแอสซิสต์สาหรับ
5. แอล รอน ฮั บ บาร์ด. ทัชแอสซิบส.กรุ
ความเจ็บป่วยและอาการบาดเจ็ ต์. งใน: องค์สงวนกิ
เทพฯ: การไซแอนโทโลยี
จ พริ้นท์ แอนด์นานาชาติ
มีเดีย; ,2553.
ผู้เรียบเรี
หน้ยา13-20.
ง. การท�ำแอสซิสต์
6. แอล รอน ฮับบาร์ด. เดอะ บอดี้ คอมมูนิเคชั่น โพรเซส. ใน: องค์การไซแอนโทโลยีนานาชาติ, ผูหน้
ส� ำหรั บ ความเจ็ บ ป่ ว ยและอาการบาดเจ็ บ . กรุ ง เทพฯ: สงวนกิ จ พริ น
้ ท์ แอนด์ มี เ ดี ย ; 2553. ้เรียาบเรี13-20.
ยง.
6. แอล รอน ฮับบาร์ด. เดอะ บอดี้ คอมมูนิเคชั่น โพรเซส. ใน: องค์การไซแอนโทโลยีนานาชาติ, ผู้เรียบเรียง.
การทาแอสซิสต์สาหรับความเจ็บป่วยและอาการบาดเจ็บ.กรุงเทพฯ: สงวนกิจ พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย; 2553.
การท�ำแอสซิสต์สำ� หรับความเจ็บป่วยและอาการบาดเจ็บ. กรุงเทพฯ: สงวนกิจ พริน้ ท์ แอนด์ มีเดีย; 2553.
หน้า 26-8.
หน้า 26-8.
7. Hubbard LR. The Body Communication Assist. In: Narconon International, compiler. The
7. Hubbard LR. The Body Communication Assist. In: Narconon International, compiler. The
Narconon first step program : an effective method for drug-free withdrawal. Los Angeles:
Narconon first step program: an effective method for drug-free withdrawal. Los Angeles:
Narconon International;
Narconon International; c2003. c2003.p.41-3. p.41-3.

55
การนวดพื้นบ้านดูแลอัมพฤกษ์

อาจารย์จันลี เปลี่ยนเอก
ต.โนนหอม อ.เมือง จ.สกลนคร

ความเป็นมา
หมอจันลี เปลี่ยนเอก ปัจจุบัน อายุ 80 ปี ต.โนนหอม อ.เมือง จ.สกลนคร
เป็นหมอนวดพื้นบ้านและเป็น อสม. และในปี 2556 ได้รับการคัดเลือกให้เป็น
หมอไทยดีเด่นระดับประเทศ
ประวั ติ เมื่ออายุ 16 ปี ได้บวชชีแก้บนให้หายจากโรคไข้ไทฟอยด์
(ไข้หัวโกร๋น) บวชอยู่เป็นเวลา 3 ปี และเรียนวิชานวดจากแม่ชี (อายุ 82 ปี) วัดป่า
สุทธาวาส พอสึกจากชี ออกมาอายุ 19 ปี ก็แต่งงานมีลูก 2 คน พออายุ 24 ปีเป็น
โรคอัมพฤกษ์ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ บุตรคนโต 5 ขวบ คนเล็ก 2 ขวบ ก็ล้มป่วย
จนสามีได้ไปขอความช่วยเหลือจากหมอจ�ำนวนมากแต่กร็ กั ษาไม่หาย จนสุดท้ายได้
รับการรักษาจากหมอพุทสา จ.อุดรธานี จนหายดี จึงสนใจศึกษาวิชาดูแลอัมพฤกษ์
จากหมอพุทสา หลังจากนัน้ เริม่ รักษาผูป้ ว่ ย เมือ่ 55 ปีกอ่ น ผูป้ ว่ ยรายแรกเป็นชาย
อายุ 25 ปีที่เป็นอัมพฤกษ์รักษาจนหายดี และรักษาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

วิธีการรักษามีดังนี้
1. การบูชาครู การตั้งคายไหว้ครูประกอบด้วย เหล้า 1 ขวด ผ้าถุง 1 ผืน
แพรวา 1 ผืน ไข่สด 1 ใบ เทียนขันธ์ห้า 1 ชุด และเงิน 12 บาท

56
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

2. การตรวจร่างกาย (ความยาวของกระดูกก้นกบ ถ้ายาวรักษาหาย)


3. การอาบยาสมุนไพร (การอาบน�้ำด้วยยาสมุนไพร)
สูตรยาอาบสมุนไพร
1. พญารากเดียว สรรพคุณ ขับพิษไข้ แก้ร้อนใน แก้กระหายน�้ำ
2. เปล้าใหญ่ สรรพคุณ แก้วิงเวียน ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี
3. ใบหนาด สรรพคุณ เปิดรูขุมขน แก้อาการเกร็ง แก้ไขข้ออักเสบ
4. การย่างสมุนไพร
สูตรการย่างสมุนไพร
1. ใบหนาด
2. เปล้าใหญ่ หรือต้นเปล้า
3. ตะไคร้หอม
4. ใบไพล หรือหัวไพล
5. เถาเอ็นอ่อน
6. เสลดพังพอนตัวเมีย
7. ว่านชน (พลับพลึง)
8. พญารากเดียว
9. (อาจเติ ม ) สมุ น ไพรกลุ ่ ม รสเปรี้ ย ว เช่ น ใบส้ ม ป่ อ ย ใบมะขาม
ใบมะเฟือง
10. สมุนไพรให้กลิ่นหอม เช่น เตยหอม
5. การดื่มน�้ำยาต้มจากสมุนไพร
สูตรยาต้มสมุนไพร
1. ก�ำลังเสือโคร่ง สรรพคุณ บ�ำรุงร่างกาย แก้ปวดเมื่อย
2. ใบย่านางแดง สรรพคุณ บ�ำรุงโลหิต แก้พิษเบื่อเมา
3. ข้าวเย็นเหนือ สรรพคุณ แก้ประดง ร้อนใน กระหายน�้ำ

57
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

4. กวาวเครือขาว สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย แก้ลม อัมพาต


5. ฝาง สรรพคุณ บ�ำรุงโลหิต แก้พิษธาตุพิการ
6. ก�ำแพงเจ็ดชั้น สรรพคุณ ยาระบาย
7. ม้ากระทืบโรง สรรพคุณ บ�ำรุงก�ำลัง
6. การอบยาสมุนไพร การท�ำสุม่ ไม้ไผ่ขนาดใหญ่เป็นทีค่ ลุมส�ำหรับอบยา
สมุนไพร
สูตรยาอบสมุนไพร
1. ไพล สรรพคุณ แก้ฟกช�้ำ แก้ปวดเมื่อย ขับลม
2. พญารากเดียว สรรพคุณ ขับพิษไข้ แก้ร้อนใน กระหายน�้ำ
7. การนวดแคะเส้น ทั่วร่างกาย
8. การบริหารร่างกาย ใช้ล้อรถยนต์มาท�ำเป็นห่วงยางแขวนไว้ให้ผู้ป่วย
แกว่งเท้าเพื่อออกก�ำลังบั้นเอว ขา เท้าทั้งสองข้าง ให้บริหารเส้นประสาท เส้นเอ็น
เส้นเลือด
9. การฝึกลุก−ยืน โดยประยุกต์ท�ำเก้าอี้นั่งส�ำหรับตั้งไข่ ให้ฝึกลุก-ยืน
ฝึกปล่อยมือ ก่อนฝึกเดิน
10. การท�ำราวให้ฝึกเดิน ท�ำราวไม้ส�ำหรับฝึกเดิน หรือใช้อุปกรณ์ที่คน
ที่หายแล้วบริจาคมาให้
11. การนวดชโลมน�้ำค้าง การเอาน�้ำค้างมาทาก่อนนวดเพื่อให้เส้นเอ็น
แข็งแรง
ระยะเวลาการักษา: ใช้เวลารักษาจ�ำนวน 32 วันจนหายดี

58
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

สรุปการรักษา
การบูชาครู การตรวจร่างกาย (กระดูกก้นกบ) การอาบน�ำ้ สมุนไพร การย่าง
สมุนไพร การดื่มน�ำ้ สมุนไพร การอบสมุนไพร การนวด (แคะเส้น) พื้นบ้าน การท�ำ
กายภาพบ�ำบัด การฝึกลุก-ยืน การฝึกหัดเดิน

ที่มา: แม่จันลี http://cro.moph.go.th/cppho/download/976.pdf

59
การนวดพื้นบ้านดูแลอัมพฤกษ์

อาจารย์ชาญวุฒิ พันธุ์สายศรี
ศูนย์เรียนรู้หมอพื้นบ้าน ตำ�บลเชียงรากน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ความเป็นมาของหมอพื้นบ้าน
หมอชาญวุฒิ พันธุ์สายศรี หมอพื้นบ้าน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ผู้สืบทอดวิชานวดเหยียบเหล็กแดงแห่งกรุงเก่าอยุธยา ในฐานะบุตรชายคนโตของ
พ่อหมอพื้นบ้าน สง่า พันธุ์สายศรี หมอไทยดีเด่นแห่งชาติ ประจ�ำปี 2555 และ
หมอเหยียบเหล็กแดงแห่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หมอชาญวุฒิ ไม่เพียงผ่าน
ประสบการณ์เรียนรู้จากคุณพ่อ คุณปู่ และในสายตระกูลเท่านั้น แต่ยังหาโอกาส
เรียนรู้ในศาสตร์การแพทย์แผนไทย จากผู้รู้หรือแหล่งความรู้อื่นๆ ด้วย
หมอชาญวุฒิ เล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนตนเองพยายามหนีไปท�ำงานอื่นในที่
ต่างๆ ไกลๆ ไม่อยากเป็นหมอพื้นบ้าน แต่สุดท้ายพบว่าวิชาความรู้นี้มีประโยชน์
ช่วยเหลือตนเอง คนในครอบครัว และผู้ป่วยได้ จึงกลับมาช่วยพ่อสง่าที่บ้านก่อน
ค�ำสอนของพ่อยังฝังจดจ�ำในส�ำนึกเสมอว่า “การช่วยเหลือคน การรักษาชีวิตคน
มีคุณค่ามากกว่าความร�่ำรวย” ซึ่งการได้ติดตามคุณพ่อไปรักษาผู้ป่วย ไปเยี่ยม
เพื่อนของพ่อที่เป็นหมอพื้นบ้านด้วยกัน และไปช่วยเก็บหายาสมุนไพรบ้าง ในการ
ติดตามคุณพ่อไปเรียนรู้ทุกครั้ง พ่อหมอสง่าจะบอกให้หมอชาญวุฒิจดบันทึกสิ่ง
ที่พบเห็นและได้ยินได้ฟังทุกอย่าง ซึ่งได้สั่งสมประสบการณ์และส่งผลให้หมอ
ชาญวุฒิ พลิกผันตัวเองมาเป็นหมอพื้นบ้านจนทุกวันนี้

60
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

นอกจากความช�ำนาญด้านการนวดเหยียบเหล็กแดงแล้ว ความรูส้ มุนไพร


ถือเป็นความรูข้ องตระกูลด้วย เพราะมีต�ำราสมุนไพรทีส่ บื ทอดส่งต่อจากบรรพบุรษุ
“อยู่กับหมอยา คุยกันแต่เรื่องยา” เมื่อพ่อเดินทางไปพบปะเพื่อนที่มีความรู้
ช�ำนาญการใช้ยาสมุนไพร พ่อสง่ากับเพื่อนจะคุยกัน แลกเปลี่ยนกันแต่เรื่องต้นไม้
เรื่องยาสมุนไพร หมอชาญวุฒิได้ยินได้ฟังอย่างตื่นตาตื่นใจ เพราะที่บ้านก็มีต�ำรา
ยาสมุนไพรของตระกูลอยู่แล้ว แม้หมอชาญวุฒิเคยคิดว่า ใช้วิธีเปิดต�ำราก็ได้
ต่อมาคิดได้ว่า การอ่านจากต�ำราอย่างเดียวไม่ลึกซึ้งพอ จะต้องไปเรียนรู้ฝึกฝนกับ
ผู้รู้คนอื่นๆ จึงจะเกิดความช�ำนาญได้
ในปี พ.ศ. 2549 หมอชาญวุฒิได้ร่วมกับกลุ่มหมอพื้นบ้านในจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา จัดตั้งชมรมการแพทย์แผนไทยวัดหน้าพระเมรุขึ้น เพื่อฟื้นฟู
การแพทย์พื้นบ้าน และเผยแพร่ความรู้ไปสู่ผู้สนใจ โดยท�ำหน้าที่เป็นผู้ประสาน
งานของชมรมฯ และได้ถ่ายทอดศาสตร์ของการนวดไทยให้กับลูกศิษย์เพื่อดูแล
สุขภาพและช่วยเหลือผูอ้ นื่ และปลายปี พ.ศ. 2553 ได้ตงั้ ศูนย์การเรียนรูห้ มอพืน้ บ้าน
ขึ้นที่ หมู่ 8 ต�ำบลเชียงรากน้อย อ�ำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ให้เป็นพืน้ ทีศ่ กึ ษาเรียนรูส้ ำ� หรับผูส้ นใจทัง้ ในเรือ่ งของการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร
การนวดรักษาอาการต่างๆ ซึ่งศูนย์ฯ เปิดให้บริการดูแลสุขภาพให้กับคนในชุมชน
ทุกวัน ตั้งแต่ 8.00-16.00 น.

โรคอัมพฤกษ์
ความหมาย
อัมพฤกษ์ คืออาการที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวไปซีกหนึ่งอาจจะสามารถเดินได้
ขยับได้ หรือมีอาการมือเท้าชาแต่ไม่รู้สึก ไหล่ตก มือยกไม่ได้ สะโพกเคลื่อน
อัมพาต คืออาการที่ผู้ป่วยไม่สามารถขยับหรือกระดิกตัวได้ นอนนิ่ง
อาจเป็นทั้งตัวหรือครึ่งท่อน

61
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

สาเหตุ
จากโรคความดันโลหิตสูง (ลมขึ้นเบื้องสูง) ท� ำให้เส้นเลือดสมองตีบ
หรือแตก โรคเบาหวานเข้าเส้น (น�้ำตาลเข้าเส้น) อุบัติเหตุ เป็นต้น
กระบวนการและขัน้ ตอนการรักษา ประกอบไปด้วยการสอบถามอาการ
เบื้องต้น การตรวจร่างกาย
การรักษาด้วยการนวดจับเส้น การเหยียบเหล็กแดง ยาผงและยาต้ม
อาหาร การประคบสมุนไพร
การฟืน้ ฟูสภาพของผูป้ ว่ ย การประดิษฐ์อปุ กรณ์ชว่ ยในการออกก�ำลังกาย
จิตวิทยา เป็นต้น

ภาพที่ 1 แสดงจุดนวดด้านหน้า−ด้านหลัง

62
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ภาพที่ 2 แสดงการนวดจับเส้นและแนวการนวดพืน้ บ้าน แบบหมอสง่า พันธุส์ ายศรี


ที่มา: องค์ความรู้การดูแลอัมพฤกษ์ อัมพาตของหมอพื้นบ้าน กองการแพทย์พื้นบ้านไทย พ.ศ.2558

63
โยคะดัดกายคลายปวดหลัง

พญ.เสาวนิตย์ กมลธรรม

นิยามของโยคะ
โยคะ คือ การรวมกายและจิตของผู้ฝึกเข้าไว้ด้วยกัน หมายถึง การมีสติรู้
อยูก่ บั กายตลอดเวลา การฝึกโยคะเป็นการฝึกให้รา่ งกายและจิตใจท�ำงานอย่างเป็น
ระเบียบ และเป็นกระบวนการที่มนุษย์เรียนรู้ ที่จะด�ำรงชีวิตอย่างเป็นองค์รวมให้
มากทีส่ ดุ รวมไปถึงการท�ำความรูจ้ กั ตัวตนของตนเอง ช่วยลดหรือขจัดสภาวะต่างๆ
ที่บั่นทอนความเป็นอยู่อย่างองค์รวม โยคะ ให้ความส�ำคัญกับเทคนิคต่างๆ ที่ช่วย
ให้มนุษย์รจู้ กั มูลเหตุทกุ ชนิดทีข่ าดสมดุลอันก่อให้เกิดความเจ็บป่วยและจัดปรับให้
คืนสูค่ วามเป็นปกติ โยคะ ได้รบั การศึกษาในแง่ของการบ�ำบัดโรคมานานพอสมควร
งานวิจัยส่วนใหญ่จะใช้เทคนิคการฝึกอาสนะ (การฝึกท่าทางกาย) การหายใจ และ
สมาธิร่วมกันในการบ�ำบัดโรค โดยการเหยียดแล้วคลายสลับกันไป

ประวัติความเป็นมาของโยคะ
โยคะ เป็นศาสตร์และภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมายาวนานของวัฒนธรรม
อินเดีย มีประวัติเกิดขึ้นในประเทศอินเดียมากกว่า 5,000 ปีมาแล้ว โดยมีความ
ผูกพันอยู่กับปรัชญาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โยคะเป็นภาษาสันสกฤต มาจาก
รากศัพท์คำ� ว่า ยุช (Yuj) แปลว่า รวม หมายถึง การรวมกันของกายและจิต คือ การ

64
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

มีสติรอู้ ยูก่ บั กายตลอดเวลา เป็นเรือ่ งของการบริหารกายบริหารจิต เพือ่ ให้รา่ งกาย


แข็งแรงมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี และปัจจุบันมีการผสมผสานเทคนิคการเล่น
โยคะอย่างหลากหลาย ซึ่งล้วนแต่มุ่งพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจให้มีความมั่นคง
แข็งแรง จิตนิ่งเป็นสมาธิ เป้าหมาย คือ จิตมีสมาธิอยู่กับตัวเอง

หลักการของโยคะ 5 ประการ คือ


1. อาหารดี
2. ออกก�ำลังกายดี คือ ท่าบริหารต้องท�ำให้เหมาะสมกับวัยและตามจริต
วิสัย
3. อากาศดี คือ การฝึกกระบวนการหายใจนั่นเอง
4. อารมณ์ดี ส่งผลให้จิตใจดี
5. รู้วิธีผ่อนคลาย เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกท่าที่ผ่อนคลาย ซึ่งส่งผลต่อ
การสร้างภูมิต้านทานในร่างกาย

ข้อปฏิบัติทั่วไปก่อนและหลังการฝึกโยคะ
1. ในระยะเริม่ ต้น ควรฝึกกับผูเ้ ชีย่ วชาญโดยตรง หรืออยูภ่ ายใต้การควบคุม
ของผู้ฝึกสอนในระยะแรกจนเข้าใจและสามารถฝึกได้เอง
2. ควรฝึกไปทีละขั้นตอนจากท่าง่ายๆ ช้าๆ จนเกิดความช�ำนาญ และ
จึงฝึกท่ายากตามล�ำดับ โดยไม่ฝืนหรือหักโหม
3. ควรฝึกก่อนการรับประทานอาหาร หรือ หลังรับประทานอาหาร
ประมาณ 2-3 ชั่วโมง
4. การแต่งกาย ควรสวมเสื้อผ้าที่ยืดหยุ่นได้ดี ให้ความรู้สึกสบายตัว
เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนไหว ไม่ควรสวมแว่นตา นาฬิกา และเครื่องประดับใดๆ
5. สถานทีฝ่ กึ สงบ อากาศถ่ายเทได้สะดวก ปราศจากเสียงรบกวนเพือ่ ให้
เกิดสมาธิได้ดี
65
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

6. ควรฝึกบนพื้นที่เรียบ แข็ง มีเบาะรอง ไม่หนา ไม่อ่อนนุ่มจนเกินไป


7. ควรขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก่อนการฝึกทุกครั้ง
8. ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือมีโรคประจ�ำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนการฝึก
และแจ้งผู้ฝึกสอนทุกครั้งเพื่อฝึกด้วยความระมัดระวัง
9. ในระหว่างการฝึกท่าโยคะ ต้องมีสมาธิควบคุมลมหายใจให้ถูกต้อง
ไปตามการเคลื่อนไหวของท่า
10. หลังออกก�ำลังกายอื่นๆ มาแล้วนั้น ก่อนฝึกโยคะควรเว้นระยะห่าง
อย่างน้อย 30 นาที
11. ควรงดการฝึกโยคะในช่วงมีประจ�ำเดือน

ข้อแนะน�ำในการฝึกโยคะ
1. การฝึกโยคะ ให้ฝึกในท่าที่สามารถท�ำได้ก่อน เมื่อได้แล้วจึงค่อย
พยายามท�ำท่าอื่นต่อไปอีกโดยท�ำอย่างช้าๆ และใช้แรงน้อย
2. การฝึกควรท�ำอย่างต่อเนือ่ ง และท�ำอย่างสม�ำ่ เสมอจึงจะเกิดประโยชน์
ยิ่งท�ำติดต่อกันเป็นเวลานานเท่าไรก็ยิ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของตัวเองมาก
เท่านั้น
3. หากเกิดความรู้สึกเจ็บปวดที่ขาและแขน ให้ใช้นำ�้ อุ่นประคบหรือนวด
เบาๆ และพักผ่อน 1-2 นาที แล้วท�ำต่อไปได้
4. หากรูส้ กึ ว่าเหนือ่ ยให้ทำ� ท่าพักผ่อน ในระหว่างการฝึกโยคะ อย่างน้อย
1 นาที หรือจนหายเหนื่อยแล้วค่อยฝึกต่อ ไม่ควรฝึกต่อเนื่องไปตลอด
5. การหายใจระหว่างการฝึกโยคะ ให้หายใจเข้าออกให้ถูกต้องและช้าๆ
ทางรูจมูก ไม่หายใจทางปาก
6. หลั ง จากเลิ ก ฝึ ก โยคะแล้ ว พั ก ในท่ า ศพอย่ า งน้ อ ย 10-15 นาที
เพื่อเป็นการเก็บพลังที่ได้จากการฝึกโยคะ

66
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

7. การฝึกโยคะควรใช้ทั้งกล้ามเนื้อ อวัยวะภายใน และประสาทสัมผัส


ควบคู่กันไป

ประโยชน์ของการฝึกโยคะ
1. โยคะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความแข็งแรง ให้กับกระดูกสันหลัง
ที่ท�ำหน้าที่ปกป้องระบบประสาทของร่างกาย และข้อต่อต่างๆ
2. การท�ำท่าโยคะเป็นการกดนวดอวัยวะต่างๆ ภายในทรวงอกและ
ช่องท้อง ท�ำให้อวัยวะต่างๆ ท�ำงานได้ดี
3. โยคะ ส่งผลดีตอ่ การท�ำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น ระบบ
ฮอร์โมน ระบบรักษาความสมดุลภายใน สภาวะอารมณ์ เป็นต้น
4. การท�ำโยคะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนเลือดไปหล่อเลี้ยง
อวัยวะต่างๆ ท�ำให้ได้รับสารอาหารและออกซิเจนที่เลือดน�ำมาได้อย่างเต็มที่
5. การท�ำโยคะเป็นการเหยียดยืดอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
รวมถึงกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อต่างๆ ท�ำให้ร่างกายคงอยู่ในสภาวะที่ควรจะเป็น
ตามธรรมชาติ
6. การฝึกโยคะที่มีการเคลื่อนไหวด้วยสติ ผสมผสานกับการควบคุม
ลมหายใจ ท�ำให้เกิดความสงบนิ่ง ร่างกายทุกส่วนได้รับการผ่อนคลาย ลดความ
ตึงเครียด
7. การฝึกโยคะ เป็นการปฏิบตั ไิ ปสูส่ มาธิ มีสติรตู้ วั ติดต่อกันอย่างต่อเนือ่ ง
จิตเป็นสมาธิได้ง่าย สมาธิทำ� ให้จิตเป็นสุข มีความคิดสร้างสรรค์

การปวดหลังในผู้สูงอายุ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสื่อมของกระดูก ท�ำให้


ข้อต่อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นน้อยลง และอาจมีการเคลื่อนของกระดูก
สันหลังจากต�ำแหน่งเดิม ดังนั้นโยคะ ในผู้สูงอายุต้องระมัดระวังในการเลือกท่า

67
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

ที่ใช้บ�ำบัดอาการ การป้องกันจึงมีความจ�ำเป็นและส�ำคัญมากในผู้สูงอายุ โดย


ผู้สูงอายุต้องเลี่ยงการยกของหนัก ท่านั่ง นอน ยืน ให้ถูกต้อง รวมทั้งการบริหาร
กล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงและมีความยืดหยุ่น
สาเหตุของอาการปวดหลังทีพ่ บเป็นประจ�ำ เกิดจากการท�ำกิจวัตรประจ�ำวัน
ด้วยท่ายืน นั่ง นอน และท่าอื่นๆ ที่ไม่ถูกต้อง อยู่ในท่าทางเดิมติดต่อกันนาน
บางรายเกิดจากอุบัติเหตุ บาดเจ็บเรื้อรัง ความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกของ
ร่างกาย

การฝึกการหายใจ
การฝึกโยคะ จ�ำเป็นต้องฝึกการหายใจควบคู่กันไปทุกครั้ง เพื่อให้ปอด
และหัวใจแข็งแรง การหายใจช้าท�ำให้เกิดความสงบผ่อนคลาย การฝึกหายใจด้วย
ท้อง (Abdominal breathing) เป็นท่าหายใจพืน้ ฐานทีเ่ ราใช้ฝกึ ทุกวัน เราปฏิบตั ิ
โดยวางมือทั้งสองซ้อนกันบนหน้าท้องระดับสะดือ หายใจเข้ายาวๆ ช้าๆ ท้องพอง
ขึ้น หยุดค้างไว้สักครู่ ต่อไปหายใจออกช้าๆ ปล่อยลมออกช้าๆ ยาวๆ ท้องแฟบลง
ฝึกติดต่อกัน 5 นาที

ท่าพื้นฐานของโยคะ
1. แขม่วท้อง เป็นท่าที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง
กระตุ้นการท�ำงานของอวัยวะในช่องท้อง
2. ยืดเอว เป็นท่าที่เพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อกระดูกสันหลัง
3. ยืดอก เป็นท่าขยายหน้าอก กระตุ้นการท�ำงานของกล้ามเนื้ออก
เพิ่มความสามารถในการหายใจของปอด ขยายปอด ท�ำให้หายใจได้ยาวและลึก

68
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

4. เปิดไหล่ เป็นท่าช่วยป้องกันข้อไหล่ติด
5. บีบสะบัก เป็นท่าช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อคอ บ่า และไหล่
6. เกร็ ง ก้ น เป็ น ท่ า ช่ ว ยสร้ า งความแข็ ง แรงของกล้ า มเนื้ อ สะโพก
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและกระบังลม
7. ขมิบช่องคลอด เป็นท่าส�ำหรับผู้หญิงช่วยเรื่องสมรรถภาพทางเพศ
และป้องกันปัสสาวะเล็ด

69
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

วิธีการฝึกการยืนท่าพื้นฐาน
- ให้ยืนโดยเอาบล็อกหนีบที่ต้นขาไม่ให้หลุด ให้ส้นเท้าชิด ปลายเท้า
แยกออกเล็กน้อยให้ข้อเข่าด้านนอกไม่รับน�ำ้ หนักตัวมากจนเกินไป
- หายใจเข้า แขม่วท้อง ยืดเอว ยืดอก เปิดไหล่ บีบสะบัก เกร็งก้น
ขมิบช่องคลอด

การเปรียบเทียบท่ายืนปกติกับท่ายืนตามท่าพื้นฐาน

70
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ท่าที่ 1 ท่าปรับกระดูกและโครงสร้างร่างกายให้สมดุล

วิธีปฏิบัติ
- แขนสองข้างเหยียดตึงไปด้านหน้า มือประสานกัน พลิกฝ่ามือไปด้านหน้า
- หายใจเข้าดึงแขนขึ้นจนรู้สึกตึง แล้วเอียงตัวไปด้านข้างขวา ค้างท่าไว้
3-5 ลมหายใจ
71
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

- หายใจเข้า ดึงล�ำตัวและแขนกลับมาตรงกลางเหมือนเดิม หายใจออก


- ท�ำเหมือนเดิม แต่เอียงตัวไปด้านซ้าย
ข้อสังเกต ขณะเอียงตัวไปด้านข้างของล�ำตัว ให้เอียงจนรู้สึกตึงพอควร
และพยายามให้แขนชิดใบหูไว้ตลอดเวลา

ท่าที่ 2 ท่าบริหารหัวไหล่ คลายกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่

วิธีปฏิบัติ
- นั่งแขม่วท้อง ยืดเอว ยืดอก เปิดไหล่ บีบสะบัก
- หายใจเข้าลึก เหยียดแขนให้ตงึ ค่อยๆ ยกแขนขึน้ เหนือศีรษะสองแขน
ข้างใบหู หายใจออก
- หายใจเข้าลึก ดึงแขนยืดเต็มที่ ลดศอกซ้ายลงข้างล�ำตัว หายใจออก
- หายใจเข้าลึก ดึงแขนขึ้นเหนือศีรษะเหมือนเดิม แล้วท�ำอีกข้าง

72
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ท่าที่ 3 ท่าบริหารเอว เพิ่มความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลัง

วิธีปฏิบัติ
วางมื อ ที่ เ อวด้ า นหลั ง
หายใจเข้า ค่อยๆ เอนตัว บีบ
สะบัก ยืดหน้าอก แหงนหน้า
มองเพดาน หายใจออก

ด้านหน้า ด้านข้าง
วิธีปฏิบัติ
- วางมือทีเ่ อวด้านหลัง
หายใจเข้า ยืดเอวก้มตัวลงไป
ด้านหน้าให้เป็นแนวตั้งฉาก
หายใจออก
- หายใจเข้ า เกร็ ง
หน้าท้อง ยกล�ำตัวขึน้ มาตัง้ ตรง
หายใจออก

73
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

ท่าที่ 4 ท่าบริหารกล้ามเนื้อหลัง เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่น และสร้าง


กล้ามเนื้อหน้าท้องเสริมความแข็งแรงกระดูกสันหลัง

วิธีปฏิบัติ
- นอนหงายขาสองข้างขนานกันโดยใช้บล็อกหนีบขาไว้เพื่อให้เข่าตึง
- แขนสองข้างวางไว้ข้างล�ำตัว หายใจเข้า ยกขาสองข้างให้ลอยจากพื้น
หายใจออกโดยเกร็งหรือแขม่วหน้าท้องไว้ ค้างท่า 3-5 ลมหายใจ แล้ววางขาลง
ท�ำเหมือนเดิม แต่ให้เพิ่มระดับความสูงของขาขึ้น
กรณีทผี่ สู้ งู อายุแข็งแรง มีความยืดหยุน่ ดี ไม่ปวดเข่า สามารถใช้ทา่ บริหาร
ที่ยากขึ้นได้

ท่าที่ 5 ท่านั่งก้นทับชิดส้นเท้า ปลายเท้าชี้ไปด้านหลัง ทิ้งน�้ำหนักตัวบนส้นเท้า


ก้มตัวไปด้านหน้าให้หน้าผากแตะพื้นยืดแขนไปให้ไกลที่สุดเท่าที่จะท�ำได้

74
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

อ้างอิง
กองการแพทย์ทางเลือก. การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ (กายบริหาร
แบบโยคะส�ำหรับผู้สูงอายุ). <http://www.thaicam.go.th> 1 ธันวาคม
2560.
แพทย์หญิงเสาวนิตย์ กมลธรรม. หมอโยคะ. เอเชีย แปซิฟิค มัลติมีเดีย จ�ำกัด.
กรุงเทพมหานคร. 2557.
แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ. โยคะเพื่อพัฒนาร่างกายและจิตใจ. แอคทีฟ พริ้นท์
จ�ำกัด. กรุงเทพมหานคร. 2550.
ส�ำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข. โยคะบ�ำบัดส�ำหรับโรคเรื้อรัง. สุขุมวิทมีเดีย มาร์เก็ตติ้ง
จ�ำกัด. กรุงเทพมหานคร. 2551.
สิรพิ มิ ล อัญชลิสงั กาศ. คูม่ อื โยคะวัยรุน่ ส�ำหรับฝึกปฏิบตั ดิ ว้ ยตนเอง. พิมพ์ครัง้ ที่ 4.
โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. นนทบุรี. 2551.

75
ผิวสวย ด้วยสปาสมุนไพรไทย

วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี

ผิวหนังและหน้าที่ของผิวหนัง
ผิวหนังจัดว่าเป็นอวัยวะทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในร่างกายและจะห่อหุม้ ร่างกายเราไว้
ทัง้ หมด ท�ำหน้าทีป่ กป้องอวัยวะต่างๆ ทีอ่ ยูใ่ ต้ลงไป จากความร้อน แสง การติดเชือ้
และสภาพแวดล้อมทั้งหลายนอกจากนี้มันยังท�ำหน้าที่
1. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่
2. เป็นที่กักเก็บน�้ำและไขมัน
3. มีปลายประสาทรับรู้ความรู้สึก
4. ป้องกันการสูญเสียน�้ำ
5. ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
ที่มา: https://opentextbc.ca/ana-
tomyandphysiology/chapter/
5-1-layers-of-the-skin/
ผิวหนังทั่วทั้งร่างกาย จะมีความแตกต่างกันไปทั้งสี ความหยาบละเอียด
และความหนา เช่น ทีศ่ รี ษะจะมีรากผมอยูม่ ากกว่าทีอ่ นื่ ในขณะทีฝ่ า่ มือและฝ่าเท้า
ไม่มีเลยแต่จะมีความหนาของชั้นผิวที่มากกว่า เป็นต้น
ผิวหนังประกอบด้วยชั้นผิวหนัง 3 ชั้น อันได้แก่ “ผิวหนังชั้นนอกสุด” ซึ่ง
เป็นส่วนที่สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอก “ชั้นหนังแท้” ซึ่งเป็นชั้นที่มีต่อมไขมัน
และ “ชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง” ซึ่งเป็นผิวชั้นที่อยู่ล่างสุด
76
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ผิวหนังชั้นนอกสุด
“ผิวหนังชัน้ นอกสุด” (Epidermis) เป็นผิวหนังส่วนทีบ่ างมากและเป็นส่วน
นอกสุดทีส่ มั ผัสกับอากาศ ท�ำหน้าทีป่ กป้องสิง่ ทีอ่ ยูภ่ ายในร่างกายเสมือนเป็นเกราะ
ป้องกันต่อการรุกรานจากสิ่งเร้าภายนอก เช่น น�้ำ รังสีอัลตร้าไวโอเลต แบคทีเรีย
เป็นต้น ผิวหนังชั้นนอกสุดแบ่งออกเป็น 4 ชั้น คือ ชั้นหนังก�ำพร้าหรือชั้นสตราตัม
คอร์เนียม (Stratum corneum) ชัน้ สตราตัมแกรนูโลซัม (Stratum granulosum)
ชั้นสตราตัมสไปโนซัม (Stratum spinosum) และชั้นสตราตัมเบซาเล (Stratum
basale)

ชั้นหนังแท้
ผิวที่อยู่ใต้ผิวหนังชั้นนอกเรียกว่า “ชั้นหนังแท้” (Dermis) เป็นชั้นผิว
ที่ช่วยรักษาความยืดหยุ่นและความชุ่มชื้นของผิวหนังด้วยชั้นผิวมีความหนา
ซึง่ ประกอบด้วยน�ำ้ และสารอืน่ ๆ จ�ำนวนมาก เช่น คอลลาเจน อิลาสติน กรดไฮยา-
ลูโรนิกเดอร์มาทันซัลเฟต เป็นต้น กรดไฮยาลูโรนิกเป็นตัวสร้างโปรตีโอไกลแคน
จากการท�ำปฏิกริ ยิ าระหว่างเดอร์มาทันซัลเฟตกับคอลลาเจน นอกจากนี้ ในผิวหนัง
ยังมีเส้นเลือดฝอย ท่อน�้ำเหลือง เส้นประสาท ไขมัน รากขนและอื่นๆ นอกเหนือ
จากการน�ำพาสารอาหารที่จ�ำเป็นไปหล่อเลี้ยงผิวหนังทั่วร่างกายแล้ว ผิวหนัง
ก็ยังขับไขมันออกมาช่วยสร้างชั้นฟิล์มไขมันเพื่อปกป้องผิวหนังอีกด้วย

ชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
ผิวหนังชั้นที่อยู่ล่างสุดเรียกว่า “ชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง” (Subcutaneous
tissue) ส่วนมากเป็นไขมันใต้ผิวหนังที่ทำ� หน้าที่รักษาอุณหภูมิของร่างกาย เป็น
เสมือนหมอนรองรับแรงกระแทกจากภายนอก และยังรับหน้าที่สำ� คัญในการเป็น
เสมือนแหล่งเก็บพลังงานอีกด้วย

77
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

ต่อมไขมัน
ในต่อมไขมันประกอบด้วย เซลล์ต่อมไขมัน และเซลล์ที่เรียกว่า ซีโบไซต์
(Sebocyte) เซลล์เหล่านี้ท�ำหน้าที่ผลิตซีบัมออกทางรูขุมขนมาปรากฏขึ้นบน
ผิวหนัง ซีบัมที่ขับออกมาจากต่อมไขมันจะเคลือบปกคลุมผิวหนังเป็นชั้นฟิล์ม
ไขมัน มีบทบาทส�ำคัญในการรักษาการท�ำงานเป็นเกราะป้องกันร่างกาย เช่น รักษา
ความชื้น ฆ่าเชื้อโรค บรรเทาการกระตุ้นจากปัจจัยภายนอก เป็นต้น

พืชผัก ผลไม้ และสมุนไพรท้องถิน่ ของไทยหลายชนิดออกฤทธิใ์ นการบ�ำรุง


ผิวได้ดี อีกทัง้ ยังหาได้งา่ ย ราคาถูก สามารถท�ำได้เอง และไม่เป็นอันตรายเนือ่ งจาก
เป็นของจากธรรมชาติ จึงไม่ทิ้งสารเคมีใดๆ ไว้ให้ก่อพิษต่อร่างกายเลย

หลักการเบื้องต้นในการใช้สมุนไพรส�ำหรับบ�ำรุงผิว
− ส่วนใหญ่อะไรที่กินได้ ก็สามารถใช้เป็นเครื่องส�ำอางได้
− สมุนไพรทุกอย่างอาจมีบางคนที่แพ้ได้ การทดสอบว่าแพ้หรือไม่
สามารถท�ำได้โดยการน�ำส่วนผสมที่จะใช้มาทาที่ท้องแขน ทิ้งไว้สักพักหนึ่งถ้า
ไม่เกิดอาการแสบร้อน มีผื่น ถือว่าไม่แพ้
− ต้ อ งรั ก ษาความสะอาดในทุ ก ขั้ น ตอน สมุ น ไพรที่ ใช้ ต ้ อ งสดใหม่
มีคุณภาพดี ย่อยจนละเอียด
− ต้องมีการใช้อย่างสม�ำ่ เสมอต่อเนื่อง จึงจะเห็นผลดี
− ในการใช้สมุนไพรเพือ่ ความงามส่วนใหญ่ สูตรจะไม่ได้ตายตัว สามารถ
ปรับเปลีย่ นได้ตามสภาพของผิว เช่น ผิวแห้งควรเพิม่ นม โยเกิรต์ ไข่แดง ผิวมันอาจ
ใช้น�้ำมะนาวหรือน�้ำส้ม ไข่ขาว ส่วนน�ำ้ ผึ้งสามารถเติมลงไปได้ทุกสภาพผิว

78
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ผลิตภัณฑ์จากพืชผักสมุนไพรที่ใช้เพื่อความงามของผิว
โทนเนอร์สารสกัดแตงกวา
แตงกวาช่วยเพิม่ ความชุม่ ชืน้ ท�ำให้ผวิ หนังสดชืน่ เพืม่ ความยืดหยุน่ ลดการ
บวมแดง สมานผิว แตงกวาเป็นสมุนไพรที่เหมาะส�ำหรับผู้ที่มีผิวหน้าแห้ง จากการ
ที่มีคุณสมบัติไปเพิ่มความชุ่มชื้น และเหมาะกับคนที่มีหน้ามันจากการที่คุณสมบัติ
สมานผิว
ส่วนประกอบ
1. แตงกวา 4 ส่วน
2. กลีเซอรีน 3 ส่วน
3. น�ำ้ 1 ส่วน
วิธีท�ำ
ปอกเปลือกแตงกวาจนสะอาด จากนัน้ น�ำมาผสมกับกลีเซอรีน 3 ส่วน และ
น�ำ้ 1 ส่วน ปั่นเข้าด้วยกัน กรองเก็บน�้ำไว้ใช้ได้
สรรพคุณ
ช�ำระล้างสิ่งอุดตันและความมันบนผิวหน้า

ครีมล้างหน้ามะขาม
มะขามช่วยลดรอยด่างด�ำบนใบหน้า เพิม่ ความชุม่ ชืน้ ต่อต้านอนุมลู อิสระ
ท�ำให้ผิวหน้าเรียบลื่น ท�ำให้ผิวหนังสดชื่น มีกรดเอเอชเอ (AHA หรือ alpha
hydroxy acid) ช่วยขัดผิว ลอกผิวด่างด�ำ และฝ้า กรดทาร์ทาริก (tartaric acid)
ุ สมบัตชิ ว่ ยลบรอยด่างด�ำ
กรดซิตริก (citric acid) และกรดมาลิก (malic acid) มีคณ
บนใบหน้า ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ก�ำจัดรอยเหี่ยวย่น ท�ำให้ผิวขาว นวลเนียน
ท�ำให้ผิวอ่อนเยาว์ขึ้น

79
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

ส่วนประกอบ
1. มะขามเปียกที่แกะเมล็ดแล้วขนาดประมาณ 1 ก�ำมือ
2. นมสด 1 กล่อง
3. น�ำ้ ผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีท�ำ
น�ำมะขามเปียกทีแ่ กะเมล็ดแล้ว มาขย�ำรวมกันกับนมสด จากนัน้ กรองด้วย
ตะแกรง เพือ่ เอาซังมะขามออก แล้วน�ำไปเคีย่ วด้วยไฟอ่อนๆ พอใกล้งวด เติมน�ำ้ ผึง้
ลงไป 1 ช้อนโต๊ะ อาจเติมขมิ้นชันลงไปประมาณ ¼ ช้อนชา (ระวังอย่าใส่มาก
เกินไปจะท�ำให้หน้าเหลือง) เคีย่ วต่อจนงวด แต่อย่าให้ขน้ เกิน สังเกตว่ายังสามารถ
แตะขึ้นมาได้ง่าย เสร็จแล้วบรรจุลงในกระปุกสะอาด
สรรพคุณ
ใช้ล้างหน้าทุกวันท�ำให้หน้าขาวขึ้น ลดรอยด่างด�ำบนใบหน้า

เกลือขัดผิวฟักข้าว
ผลของฟักข้าวรวมถึงเนือ้ เยือ่ หุม้ เมล็ดทีม่ สี แี ดงสดมีคณ
ุ ค่าทางโภชนาการ
สูง ผลฟักข้าวประกอบด้วย สารเบตาแคโรทีนสูงมาก มากกว่าแครอทถึง 10 เท่า
นอกจากนี้ผลของฟักข้าวยังอุดมไปด้วยสารไลโคปีน และกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง
มีการสกัดเอาสารส�ำคัญเหล่านี้เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบส�ำคัญในการท�ำเครื่อง
ส�ำอางส�ำหรับใช้บนใบหน้า เพือ่ ชะลอความเหีย่ วย่นบนใบหน้า เนือ่ งจากสารส�ำคัญ
เหล่านี้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง
ส่วนประกอบ
1. ลูกฟักข้าว 2 ส่วน
2. มะขามเปียก 2 ส่วน
3. น�ำ้ ผึ้ง 1 ส่วน
4. เกลือสะตุ 1 ส่วน
80
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

วิธีท�ำ
1. เตรียมมะขามเปียก: คั้นมะขามเปียกกับน�ำ้ สะอาด กรองเอากากออก
ให้ได้นำ�้ มะขามเปียกข้นๆ
2. เตรียมฟักข้าว: ผ่าลูกฟักข้าว เอาเมล็ดมาขย�ำกับน�้ำสะอาดขูดจนเยื่อ
หุ้มเมล็ดออกหมด กรองเอาแต่น�้ำ ส่วนเนื้อให้ขูดเอาเนื้อสุก น�ำมาปั่นให้ละเอียด
กรองเอากากออก น�ำสองส่วนผสมคนให้เข้ากัน
3. เตรียมเกลือสะตุ: ใช้เกลือป่นละเอียด ใส่ลงในกระทะ ตัง้ ไฟปานกลาง
คั่วจนเกลือเปลี่ยนเป็นสีออกเทา
4. น�ำน�้ำมะขามเปียกกับฟักข้าวที่เตรียมไว้ ตวงอย่างละ 2 ส่วน ใส่ลงใน
กระทะ เติมน�ำ้ ผึ้ง 1 ส่วน ตั้งไฟปานกลาง กวนให้เข้ากันประมาณ 20 นาที จนน�ำ้
ระเหยออกหมด ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น
5. เติมเกลือสะตุ 1 ส่วน คนให้เข้ากัน บรรจุลงภาชนะปิดสนิท เก็บไว้ใช้
สรรพคุณ
ใช้ขัดผิวขณะอาบน�้ำ ทิ้งไว้ 3 นาที แล้วล้างออกด้วยน�้ำสะอาดสัปดาห์
ละ 1-2 ครั้ง

สบู่อัญชัน
สารสกัดดอกอัญชัน มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการ
เกิดริ้วรอยที่ผิว มีส่วนผสมของกลีเซอรีน ซึ่งกลีเซอรีนจะท�ำหน้าที่เหมือนฟิล์มที่
เคลือบผิว ป้องกันการสูญเสียน�ำ้ ออกจากผิว ช่วยกักเก็บความชุม่ ชืน้ ไว้ทผี่ วิ ได้อย่าง
ยาวนาน
ส่วนประกอบ
1. เบสสบู่กลีเซอรีน 1 กิโลกรัม
2. กลีเซอรีนเหลว 200 กรัม
3. ดอกอัญชัน 1 ถ้วย
81
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

4. น�้ำเปล่า 300 กรัม


5. น�ำ้ มันหอมระเหย/กลิ่นสังเคราะห์ (ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้)
วิธีท�ำ
1. น�ำดอกอัญชันไปล้างท�ำความสะอาดให้เรียบร้อย
2. ต้มน�ำ้ ให้เดือด แล้วน�ำดอกอัญชันทีเ่ ตรียมไว้ลงไปต้มจนได้สนี ำ�้ เงินเข้ม
แล้วกรองเอาแต่น�้ำ วางพักไว้
3. น�ำเบสสบู่กลีเซอรีนมาละลายในหม้อโดยใช้ไฟอ่อนๆ คนเบาๆ ให้
ละลาย โดยไม่ต้องเติมน�ำ้
4. เมื่อเบสสบู่กลีเซอรีนละลายหมดแล้วให้ค่อยๆ เติมน�้ำดอกอัญชัน
ที่เตรียมไว้ลงไปคนเบาๆ ให้เข้ากัน ระวังอย่าให้เกิดฟองมากเกินไป
5. เติมกลีเซอรีนเหลวลงไปแล้วคนเบาๆ ให้เข้ากัน
6. เติมน�ำ้ มันหอมระเหย/กลิ่นสังเคราะห์ที่ชอบลงไปเล็กน้อย
7. ตักฟองออก แล้วเทสบูล่ งในแม่พมิ พ์ พักไว้ให้สบูแ่ ข็งแล้วค่อยแกะออก
จากพิมพ์
หมายเหตุ 1. สามารถปรับส่วนผสมได้ตามต้องการ
2. ถ้าใส่นำ�้ ดอกอัญชันมากเกินไป สบูอ่ าจจะแข็งตัวช้าหรือไม่แข็งตัวได้
3. สีอาจจะซีดได้ เมือ่ เก็บเป็นเวลานานเนือ่ งจากเป็นสีจากธรรมชาติ
การเก็บรักษา: เก็บในทีแ่ ห้งห่างจากความชืน้ แสงแดดและความร้อน เนือ่ งจาก
สบู่อาจเสื่อมสภาพได้

82
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

สบู่ขมิ้นชันนมสด
ขมิ้นชัน มีสรรพคุณช่วยในการลดผดผื่นคัน ลดอาการอักเสบ ท�ำให้
ผิวพรรณผุดผ่อง พร้อมทัง้ ช่วยบ�ำรุงผิวให้แข็งแรง นมสด ช่วยเพิม่ ความชุม่ ชืน่ ให้กบั
ผิว ให้ผิวเนียนนุ่ม น่าสัมผัส
ส่วนประกอบ
1. เบสสบู่กลีเซอรีน 1 กิโลกรัม
2. ผงขมิ้นชัน 1 ช้อนโต๊ะ
3. นมสด 6-8 ช้อนโต๊ะ
4. น�้ำเปล่า 300 กรัม
5. น�้ำมันหอมระเหย/กลิ่นสังเคราะห์ (ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้)
วิธีท�ำ
1. น�ำเบสสบู่กลีเซอรีนมาละลายในหม้อโดยใช้ไฟอ่อนๆ คนให้ละลาย
โดยไม่ต้องเติมน�้ำ
2. เมือ่ เบสสบูก่ ลีเซอรีนละลายหมดแล้วให้คอ่ ยๆ เติมน�ำ้ เปล่า นมสด และ
ผงขมิ้นชันที่เตรียมไว้ลงไป คนเบาๆ ให้เข้ากัน ระวังอย่าให้เกิดฟองมาก
3. เติมน�้ำมันหอมระเหย/กลิ่นสังเคราะห์ที่ชอบลงไปเล็กน้อย
4. ตักฟองออก แล้วเทสบูล่ งในแม่พมิ พ์ พักไว้ให้สบูแ่ ข็งแล้วค่อยแกะออก
จากพิมพ์
หมายเหตุ 1. สามารถปรับส่วนผสมได้ตามต้องการ
2. ถ้าใส่นำ�้ มากเกินไป สบู่อาจจะแข็งตัวช้าหรือไม่แข็งตัวได้
3. สีอาจจะซีดได้ เมือ่ เก็บเป็นเวลานาน เนือ่ งจากเป็นสีจากธรรมชาติ
การเก็บรักษา: เก็บในทีแ่ ห้งห่างจากความชืน้ แสงแดดและความร้อน เนือ่ งจาก
สบู่อาจเสื่อมสภาพได้

83
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

การประยุกต์องค์ความรู้ด้านการนวดไทยกับการดูแลใบหน้า
นอกจากการน�ำผัก ผลไม้ และสมุนไพรมาใช้ชะลอวัยบ�ำรุงผิวหน้าแล้ว
ส่วนหนึ่งที่ส�ำคัญคือการนวดหน้าเพื่อกระตุ้นให้สารต่างๆ ซึมเข้าสู่ผิวหน้าได้ดีขึ้น
และยังกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาเลี้ยงใบหน้า ช่วยให้การดูแลใบหน้าและ
การแก้ไขปัญหาทีพ่ บบนใบหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึน้ ขัน้ ตอนนีจ้ ะท�ำหลัง
การมาร์กหน้าเสร็จเป็นขั้นตอนสุดท้าย สามารถท�ำควบคู่กับการท�ำครีมบ�ำรุงหรือ
ครีมกันแดด หรือครีมใดๆ ก็ได้ ที่มักจะใช้ทาเป็นประจ�ำ
วิธีปฏิบัติ
1. การกดจุดแนวขากรรไกรล่าง
2. กดจุดคางแล้วลากลงไปหาหน้าหู
3. กดจุดร่องจมูกนิ่งนานนับ 1-10 แล้วลากลงมาหาหน้าหู
4. กดด้านข้างจมูกนิ่งนับ 1-10 แล้วลากนิ้วลงมาหามุมปากและหน้าหู
5. กดนิ่งตามแนวสันจมูกนับ 1-10 แล้วลากมาตามแนวคิ้วลงไปหางตา
และขมับ
6. กดตรงกลางระหว่างหัวคิว้ นิง่ นับ 1-10 แล้วลากไปตามแนวคิว้ จากนัน้
เลื่อนมือขึ้นเรื่อยๆ จนทั่วหน้าผาก แล้วเลื่อนมาคลึงที่ขมับทั้งสอง
7. ใช้ปลายนิ้วกรีดกระตุ้นทั่วใบหน้าเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังการ
กดจุดต่างๆ เป็นที่เรียบร้อย
8. ใช้ปลายนิ้วสับเบาๆ เป็นขั้นตอนสุดท้ายเพื่อกระตุ้นการตื่นตัวของ
ร่างกายหลังการนวด

84
น้ำ�มันสมุนไพรไทย ลดปวดกล้ามเนื้อ
กระดูกและข้อ

วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี

อาการปวดเมื่ อ ยเกิ ด จากการที่ ก ล้ า มเนื้ อ นั้ น มี ก ารท� ำ งานหนั ก อย่ า ง


ต่อเนือ่ ง เกิดการสะสมของของเสียในกล้ามเนือ้ ส่งผลให้กล้ามเนือ้ มีการหดตัวและ
ขาดออกซิเจน จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดกล้ามเนือ้ โดยอาการอาจไม่รนุ แรง แค่พอ
ร�ำคาญ หรือรุนแรงจนส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ซึ่งอาการปวดเมื่อยมีหลายสาเหตุ
ได้แก่

1. การปวดเมื่อยที่มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อท�ำงานมากในบางต�ำแหน่ง ท�ำให้เกิดความล้าหรือเกิดอาการ
หดเกร็งเฉพาะที่ ส่วนใหญ่อาการปวดแบบนีจ้ ะปวดๆ เมือ่ ยๆ ในบริเวณของกล้ามเนือ้
ที่มีปัญหา และมักจะเป็นผลมาจากการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งที่ไม่เหมาะสมเป็น
เวลานานๆ เช่น นั่งก้มหลังมากเกินไป อาจจะเพราะมีความเคยชิน หรือหลังโกง
จากกระดูกสันหลังทรุด กล้ามเนื้อหลังบางส่วนมีการหดเกร็งมากกว่าปกติ ท�ำให้
ปวดได้ สาเหตุที่พบบ่อยอีกประเภทหนึ่ง คือ ท่านอนที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้หมอน
สูงเกินไป ท�ำให้คอเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าปกติ ที่นอนนิ่มเกินไป พอลงไป
นอนทีน่ อนยุบตัวลง ท�ำให้กระดูกสันหลังอยูใ่ นลักษณะโก่งงอเป็นเวลานาน พอตืน่
ขึ้นมาจะรู้สึกเมื่อย และในทางกลับกันถ้าใช้ที่นอนแข็งเกินไป และนอนหงายเป็น
ส่วนใหญ่ กระดูกสันหลังส่วนเอวจะมีการแอ่นตัวผิดปกติ เพราะส่วนก้นและสะโพก

85
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

ติดกับพื้น หนุนให้ส่วนเอวแอ่นขึ้นท�ำให้ปวดหลังได้เช่นกัน การยกของหนักโดย


ใช้ทา่ ทีไ่ ม่ถกู ต้อง ก็ทำ� ให้เกิดการปวดเจ็บทีก่ ล้ามเนือ้ ได้ จึงต้องระมัดระวังเกีย่ วกับ
การยกของเป็นพิเศษ

2. อาการปวด จากเส้นเอ็น
พบบ่อยบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวข้อมากๆ เช่น บริเวณไหล่ ศอก ข้อมือ
ส้นเท้า เอ็นร้อยหวาย เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นในบริเวณนี้ และถ้าไม่ได้รับ
การดูแลอย่างเหมาะสม อาจจะท�ำให้เกิดความพิการต่อไป เช่น ไหล่ติด ยกแขน
ไม่ขึ้น ท�ำให้ไม่สามารถท�ำกิจวัตรประจ�ำวันได้ตามที่ควรจะเป็น

3. อาการปวดจากเส้นประสาทถูกกดทับ
ท�ำให้มอี าการปวดแสบ และร้าวไปตามเส้นประสาทนัน้ ๆ ถ้ามีอาการมาก
อาจจะท�ำให้กล้ามเนื้อที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทนั้นอ่อนแรงลง ถ้าเส้นประสาทที่ไป
เลีย้ งขาถูกกด อาจจะท�ำให้เดินล�ำบากได้ ต�ำแหน่งทีพ่ บบ่อยคือทีบ่ ริเวณกระดูกคอ
เกิดขึ้นจากกระดูกสันหลังบริเวณคอเสื่อม มีแคลเซียมมาเกาะ และกดลงไปที่เส้น
ประสาทที่ออกจากช่องระหว่างกระดูกคอ
ผูป้ ว่ ยจะมีอาการปวดทีค่ อ ไหล่ และอาจจะปวด ลงไปทีแ่ ขน และมือ ส่วนใหญ่
มักจะมีอาการที่คอด้านใดด้านหนึ่ง บางรายถ้าเป็นมากอาจจะเป็นทั้ง 2 ด้าน
ก็ได้ นอกจากที่คอแล้ว บริเวณหลัง เอว ก็เกิดอาการนี้ได้บ่อยเช่นกัน ส่วนมาก
เกิดจากการยกของหนักในท่าที่ไม่ถูกต้อง ท�ำให้ส่วนของกระดูกสันหลังที่เรียกว่า
หมอนรองกระดูก ซึ่งอยู่ระหว่างกระดูกสันหลัง 2 อัน เคลื่อนออกมาจากต�ำแหน่ง
เดิม มากดทับเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง ผู้ป่วยจะเกิดอาการปวดหลังอย่างมาก
และส่วนใหญ่จะเป็นแบบเฉียบพลัน จะมีอาการปวดร้าวไปที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง
อาการปวดที่รุนแรงจนถึงขั้นต้องนอนพักหลายๆ วัน

86
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

4. ปวดข้อ
อาการปวดข้อทีเ่ จอบ่อย ได้แก่ ข้อเสือ่ ม ส่วนมากมักพบทีห่ วั เข่า โดยเฉพาะ
ในรายที่อ้วนมาก หรือในคนที่ท�ำงานแบกหาม ต้องแบกของน�้ำหนักมากๆ นานๆ
ท�ำให้ข้อเข่าต้องรับน�้ำหนักมากกว่าปกติ ผู้ที่ต้องขึ้นลงบันไดบ่อยๆ หลายๆ ครั้ง
และขึน้ ลงอย่างรุนแรง (วิง่ หรือกระโดดลง) ท�ำให้กระดูกอ่อนในข้อเข่าเสือ่ มมากกว่า
ปกติ เมื่ออายุมากขึ้นจะเกิดอาการปวดข้อได้ ลักษณะการนั่งของคนไทยที่นิยมนั่ง
กับพื้น โดยการนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิหรือนั่งยองๆ มีการพับงอของหัวเข่าอย่าง
มาก เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อรอบเข่า มีการยืดผิดปกติ และในช่วงที่มีการงอเข่า
มากๆ เลือดจะมาเลี้ยงเข่าไม่สะดวก ท�ำให้หัวเข่าไม่แข็งแรง และเกิดปัญหาใน
เวลาต่อมาได้ นอกจากนี้ที่บริเวณหัวเข่าแล้ว ข้อเสื่อมบริเวณนิ้วมือก็พบได้ไม่น้อย
เช่นกัน จะมีอาการปวดและข้อบวมโตกว่าปกติ ที่ข้อนิ้วมือส่วนปลายเกือบทุกนิ้ว
ส่วนมากมักพบในสตรี คิดว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับการท�ำงานที่ใช้มือมาก เช่น ซัก
และบิดผ้า เป็นต้น

แนวทางการดูแลรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
1. การนวดรักษาอาการ
2. การใช้น�้ำมันนวดหรือสเปรย์แก้ปวด
3. การท�ำท่าบริหาร

87
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

น�้ำมันกระดูกไก่ด�ำ
ส่วนประกอบ
1. สารสกัดต้นกระดูกไก่ด�ำ 500 มิลลิลิตร
2. น�้ำมันพืช 500 มิลลิลิตร
3. น�ำ้ มันยูคาลิปตัส 40 มิลลิลิตร
4. น�ำ้ มันระก�ำ 40 มิลลิลิตร
5. การบูร 40 กรัม
6. พิมเสน 20 กรัม
7. เมนทอล 40 กรัม

วิธีท�ำ
1. เตรียมสารสกัดต้นกระดูกไก่ดำ� โดยน�ำต้นกระดูกไก่ดำ� หัน่ เป็นชิน้ เล็กๆ
หมักด้วยแอลกอฮอล์ 95% ตั้งทิ้งไว้ 7 วัน กรองเอาแต่น�้ำมาใช้
2. น�ำสารสกัดต้นกระดูกไก่ด�ำกับน�ำ้ มันมะพร้าวเทลงในหม้อ แล้วน�ำไป
เคี่ยวในกระทะด้วยไฟปานกลาง เคี่ยวไปเรื่อยๆ เพื่อระเหยเอาแอลกอฮอล์ออก
ให้หมด สังเกตว่ากลิ่นแอลกอฮอล์จะหายไป
3. ผสมเติมการบูรและเมนทอล เข้าด้วยกันคนจนละลาย จึงใส่พิมเสน
เข้าไป คนจนละลาย แล้วเติมน�้ำมันยูคาลิปตัส คนให้เข้ากัน แล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็น
บรรจุใส่ภาชนะ
สรรพคุณ บรรเทาอาการปวดเมื่อย ปวดข้อ ข้ออักเสบ

88
น้ำ�มันบำ�รุงผมหอม “ยอพระกลิ่น”

โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน

ที่มาภาพ: https://spiceee.net/th/articles/23847
https://welovesabuyjai.com/blogs/knowledge/15136561

การเกิดผมหงอก
ผมหงอกหรื อ อาการที่ ผ มเปลี่ ย นจากด� ำ เป็ น สี เ ทาหรื อ ขาวนั้ น
ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์อธิบายได้วา่ เกิดจากการทีร่ ากผมไม่สร้างเม็ดสี ท�ำให้เส้นผม
ไม่มสี ี จากเส้นผมทีเ่ คยมีเม็ดสีดำ� เมือ่ ไม่มเี ม็ดสีจงึ กลายเป็นเส้นผมสีขาวหรือเทาเงิน
เมือ่ สะท้อนแสง เส้นผมสีเทาหรือขาวมักเกิดขึน้ เมือ่ คนเรามีอายุสงู วัย แต่กส็ ามารถ
พบได้ในเด็กตัง้ แต่อายุ 10 ปี ด้วยต้นเหตุเดียวกันคือรากผมไม่สร้างเม็ดสีให้เส้นผม
ท�ำให้เส้นผมไม่มีสี
สาเหตุที่รากผมไม่สร้างเม็ดสีผม
1. การใช้ยาบางชนิด
2. ฮอร์โมนบางชนิดในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ไธรอยด์
89
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

3. ความเครียด/ตกใจ
4. อายุที่เพิ่มขึ้น ความเสื่อมของร่างกาย
5. การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ พักผ่อนน้อย
6. กรรมพันธุ์

กลไกการชะลอการเกิดผมหงอก
หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น ความเครียด การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
พักผ่อนให้เพียงพอและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
วิตามินเอ จ�ำเป็นต่อสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผมที่แข็งแรง พบทั่วไปใน
ผักใบเขียวเข้ม ผลไม้สีส้ม สีเหลือง
วิตามินบี ช่วยควบคุมการหลั่งของน�ำ้ มันธรรมชาติเพื่อหล่อลื่นเส้นผมให้
เงางามและชุ่มชื้น พบในผักใบเขียว มะเขือเทศ กล้วย โยเกิร์ต และธัญพืช
แร่ธาตุต่างๆ เช่น เหล็ก สังกะสี ทองแดง ช่วยบ�ำรุงให้เส้นผมแข็งแรง
ได้จากแหล่งอาหาร เช่น เนื้อแดง เนื้อไก่ ไข่แดง อาหารทะเล และธัญพืช
โปรตีน ช่วยบ�ำรุงให้เส้นผมเงางามและมีความยืดหยุ่นดี ไม่ขาดตอน
พบทั่วไปในเนื้อสัตว์ ไข่ เต้าหู้
การกระตุ้นการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน เส้นผมของแต่ละคนได้สี
ธรรมชาติมาจากเม็ดสี (pigment) ทีเ่ รียกว่า “เมลานิน (melanin)” เมลานินในคนนัน้
ถูกสร้างมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา สีตามธรรมชาติของเส้นผมนั้นจึงขึ้นอยู่กับ
การกระจายตัว ชนิด และปริมาณเม็ดสี เม็ดสีผมนัน้ มี 2 ชนิด คือ เม็ดสีเข้ม เรียกว่า
ยูเมลานิน (eumelanin) และเม็ดสีอ่อน เรียกว่า ฟีโอเมลานิน (pheomelanin)
ซึง่ เม็ดสีทงั้ 2 ชนิดเมือ่ ผสมกันแล้วจะได้เฉดสีผมทีห่ ลากหลายโดยเม็ดสีเมลานินนัน้
ถูกสร้างมาจากเซลล์เม็ดสีที่มีชื่อเฉพาะว่า เมลาโนไซต์ (melanocyte)

90
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

การลดกลไกการเกิดปฏิกริ ยิ าออกซิเดชัน เนือ่ งจากปุม่ รากผมนัน้ สามารถ


สร้างไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide: H2O2) ที่ทำ� ให้สีเส้นผมหาย
ไปได้ โดยไปเป็นตัวท�ำให้เกิด oxidative stress คือการทีอ่ นุมลู อิสระเข้าไปท�ำลาย
ระบบต่างๆ ภายในเซลล์ท�ำให้ส่งผลต่อสีของเส้นผมอีกด้วย

การวิจัยสมุนไพรที่มีผลต่อการชะลอการเกิดผมหงอก
การศึกษา: ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และฤทธิ์กระตุ้นการสังเคราะห์เม็ดสี
เมลานินของสารสกัดสมุนไพรไทยพืน้ บ้านบางชนิด เพือ่ ใช้สำ� หรับผมหงอกก่อนวัย
(กฤตติญารัตน์ สมวงศ์, 2555)
เป็นการศึกษาในหลอดทดลองของสารสกัดจากพืชสมุนไพรไทยพื้นบ้าน
5 ชนิด คือ ย่านาง บัวบก อัญชัน หม่อน และกวาวเครือขาว ผลการศึกษา พบว่า
เมื่อทดสอบฤทธิ์ป้องกันสารอนุมูลอิสระไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ พบว่า สารสกัด
ด้วยน�้ำของหม่อน บัวบก ย่านาง และอัญชัน มีฤทธิ์ป้องกันเซลล์ดีที่สุด
ส่วนฤทธิก์ ระตุน้ การเพิม่ จ�ำนวนของเซลล์เมลาโนไซท์ พบว่า สารสกัดด้วย
เมทธานอลของอัญชันและสารสกัดด้วยน�ำ้ ของย่านาง มีฤทธิก์ ระตุน้ การเพิม่ จ�ำนวน
ของเซลล์เมลาโนไซท์ที่ใช้ผลิตเม็ดสีเมลานินดีที่สุด โดยมีค่า P.I. (proliferation
index) เท่ากับ 1.7 และ 1.6 ตามล�ำดับ
สรุ ป ผลงานวิ จั ย นี้ แ สดงศั ก ยภาพของสารสกั ด สมุ น ไพรไทยพื้ น บ้ า น
โดยเฉพาะย่านางทีม่ แี นวโน้มสามารถน�ำไปพัฒนาให้อยูใ่ นรูปแบบเวชส�ำอางส�ำหรับ
ผมหงอกก่อนวัยได้
การศึกษา “พฤกษเคมี และการยับยั้งการเกิดออกซิเดชันในเบื้องต้น
ของกะเม็ง” (พจมาน พิศเพียงจันทร์, 2554 )
การน�ำสารสกัดเมทานอลของกะเม็งแห้งทั้งต้นมาสกัดแยกส่วนตาม
คุณสมบัติการละลายด้วยไดคลอโรมีเทน บิวทานอล และเอทิลอะซิเตต แล้วน�ำ

91
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

สารสกัดแต่ละส่วนมาตรวจหากลุม่ สารเบือ้ งต้น จะพบสารกลุม่ คูมาริน, ไตรเทอร์-


พีนอยด์ ฟีโนลิก วงแลกโทน และสเตียรอยด์ เมื่อน�ำสารสกัดในส่วนของเอทิล-
อะซิเตตมาแยกจะพบสารส�ำคัญคือ Wedelolactone และตรวจสอบด้วยเทคนิค
TLC, HPLC, HRMS และ NMR หลังจากนั้นก็น�ำสารสกัดหยาบ, สารสกัดจาก
ไดคลอโรมีเทน, บิวทานอล, เอทิลอะซิเตต และ Wedelolactone มาทดสอบฤทธิ์
การยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH พบว่าสารเหล่านี้แสดงการยับยั้ง
การเกิดอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี

อัญชัน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Clitoria ternatea L.


ชื่อสามัญ: Blue Pea, Butterfly Pea
วงศ์: LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ชื่ออื่น: แดงชัน (เชียงใหม่); อัญชัน (ภาคกลาง); เอื้องชัน (ภาคเหนือ)

สรรพคุณ:
ดอกสดใช้รับประทาน ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งด้วยสาร
ต้านอนุมลู อิสระ ช่วยในการชะลอวัยและริว้ รอยแห่งวัยช่วยบ�ำรุงสายตา แก้อาการ
ตาฟาง ตาแฉะ
น�้ำคั้นจากดอกสดใช้ทา ช่วยปลูกผมท�ำให้ผมดกด�ำ
92
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ย่านาง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Limacia triandra


ชื่อสามัญ: Bamboo grass
ชื่อวงศ์: MENISPERMACEAE

สรรพคุณ:
ใบสดใช้รับประทาน รักษาอาการปัสสาวะแสบขัด ออกร้อนในทางเดิน
ปัสสาวะ ช่วยให้ระดับน�ำ้ ตาลในเลือดลดลง ช่วยในการชะลอวัยและริว้ รอยแห่งวัย
ช่วยบ�ำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ตาแฉะ ใช้ในการแก้ไข้ทุกชนิดและลดความ
ร้อนในร่างกาย
น�้ำคั้นจากใบสดใช้ทา ช่วยลดอาการคันตามผิวหนัง ช่วยแก้พิษจากแมลง
สัตว์กัดต่อย

93
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

กะเม็ง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Eclipta prostrata (L.) L.


ชื่อสามัญ: False Daisy, White Head
ชื่อวงศ์: COMPOSITAE
ชื่ออื่นๆ: กะเม็งตัวเมีย กะเม็ง (ภาคกลาง) ฮ่อมเกี่ยว (ภาคเหนือ) บั้งก็เช้า
(ประเทศจีน)

สรรพคุณ
ใบกะเม็งน�ำมาโขลกเพื่อใช้พอกแผลสด เพื่อห้ามเลือดรักษาแผลไฟไหม้
น�้ำร้อนลวก มีอาการฟกช�้ำ อาการแพ้ได้เป็นอย่างดี
น�ำ้ คัน้ จากใบสดน�ำมาทารักษาโรคผิวหนังผืน่ คันจากการท�ำนา โรคผิวหนัง
เรื้อรัง ช่วยรักษาอาการน�ำ้ กัดเท้า บ�ำรุงรากผมลดผมหงอก
ใบเข้าต�ำรับยารักษามะเร็ง รักษาอาการน�้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ
ลดน�ำ้ ตาลในเลือด แก้ตกเลือด

94
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

น�้ำมันมะพร้าว

ประโยชน์ของน�้ำมันมะพร้าวต่อเส้นผม
น�ำ้ มันมะพร้าวหมักผม ช่วยป้องกันผมร่วง ผมหงอก ช่วยบ�ำรุงเส้นผมท�ำให้
ผมดกด�ำ ท�ำให้สวยเงางามอย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยการชโลมน�้ำมันมะพร้าวให้ทั่ว
หนังศีรษะ ในปริมาณที่เหมาะสม แล้วนวดหนังศีรษะจนน�ำ้ มันซึมทั่วหนังศีรษะ
เส้นผม ปลายผม แล้วทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาทีแล้วค่อยสระออก (น�ำ้ มันมะพร้าว)

การท�ำน�้ำมันบ�ำรุงผมหอมลดผมหงอก
วัสดุอุปกรณ์
1. ต้นกะเม็งสด 30 กรัม หรือประมาณ 1 ก�ำมือ
2. ดอกอัญชัน 30 กรัม หรือประมาณ 1 ก�ำมือ
3. ใบย่านาง 30 กรัม หรือประมาณ 1 ก�ำมือ
4. น�ำ้ สะอาด 200 มล.
5. น�้ำมันมะพร้าว 100 มล.
6. น�ำ้ มันมะกอก 100 มล.
7. น�้ำมันหอมระเหยหรือหัวน�้ำหอม
8. วาสลีน

95
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

วิธีท�ำ
1. หั่นต้นกะเม็ง ใบย่านาง และดอกอัญชัน หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
2. ต�ำหรือปั่นสมุนไพรแต่ละชนิดให้ละเอียด ใส่ลงในกระทะ น�ำ้ สะอาด
200 มล. ตัง้ ไฟปานกลางเคีย่ วจนเหลือน�ำ้ น้อยทีส่ ดุ (ประมาณ 1 ใน 3 หรือ 100 มล.)
แล้วกรองเอากากสมุนไพรออก
3. ใส่น�้ำสกัดเข้มข้นของกะเม็ง ใบย่านาง และดอกอัญชัน ลงในน�้ำมัน
มะพร้าวเคี่ยวเพื่อระเหยน�้ำออกให้หมดจนน�้ำมันไม่กระเด็น
4. ตัง้ ทิง้ ไว้ให้เย็นเติมวาสลีนเล็กน้อยและแต่งกลิน่ ด้วยน�้ำมันหอมระเหย
หรือหัวน�้ำหอม
5. เก็บใส่ภาชนะที่ปิดสนิท
รวมและเรียบเรียง โดย:
พันโท กิตติยา ขันทอง แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ โรงพยาบาลการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน
อ้างอิง:
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/
120/ผมหงอก-หัวหงอก-ผมขาว/

96
ยาอมสมุนไพร “ดับกลิ่นปาก”

โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน

กลิ่นปาก เป็นปัญหาส�ำคัญที่ท�ำลายความมั่นใจของใครหลายคน และ


ส่งผลกระทบต่อผูค้ นรอบข้าง กลิน่ เหม็นจากปากเกิดจากแบคทีเรีย เมือ่ มีการย่อย
สลาย เศษอาหารทีต่ กค้างอยูต่ ามส่วนต่างๆ ของช่องปากท�ำให้เกิดการเน่าเสียของ
เศษอาหาร ส่งผลให้เกิดกลิ่นเหม็นขึ้น แบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุนี้จะมีอยู่ตามปกติ
ในช่องปาก ดังนั้นในบริเวณใดที่มีเศษอาหารตกค้าง แบคทีเรียก็ทำ� ให้เกิดการบูด
เน่าและเกิดกลิ่นเหม็นขึ้นได้ บริเวณที่จะพบการหมักหมมของเศษอาหารบ่อยๆ
คือ ลิ้น ร่องเหงือก ใต้ขอบเหงือก ส่วนอื่นที่สามารถพบได้อีก คือ บริเวณที่อุดฟัน
ครอบฟันไม่พอดี การเป็นโรคปริทันต์ เหงือกอักเสบ มีฟันผุรูกว้าง ฟันปลอมชนิด
ถอดได้ ท�ำให้เศษอาหารตกค้างในบริเวณดังกล่าว จึงเป็นต้นเหตุที่สำ� คัญที่ท�ำให้
เกิดกลิน่ ปาก โดยเฉพาะในผูท้ ใี่ ส่ฟนั ปลอมในขณะนอน นอกจากนีป้ ริมาณการหลัง่
ของน�ำ้ ลายมาก/น้อยก็ส่งผลต่อการเกิดกลิ่นปากได้
กลิ่นปาก (Halitosis) หรือปากมีกลิ่น คือ อาการที่พ่นลมออกจากปาก
แล้วมีกลิน่ ตามออกมาด้วย ปกติในช่องปากของคนเราจะมีกลิน่ ปาก ซึง่ จะมีกลิน่ ปาก
มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน และกลิ่นปากก็ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างปัจจุบัน
ทันด่วน ดังนัน้ คนทีม่ กี ลิน่ ปาก มักจะไม่รตู้ วั และท�ำให้เสียบุคลิกเป็นทีน่ า่ รังเกียจต่อ
ผู้ใกล้ชิด หากคนใดทราบว่าตนเองมีกลิ่นปากก็จะท�ำให้กังวล ขาดความมั่นใจ
ในการสนทนา

97
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

ทุกคนมีกลิ่นปาก แต่คนที่สุขภาพช่องปากดี กลิ่นปากจะไม่เหม็นรบกวน


ผู้อื่น ถ้าแปรงฟันสะอาดดีก่อนนอน ตื่นนอนตอนเช้าจะมีกลิ่นปากเพียงเล็กน้อย
แต่เรามักไม่รู้สึกถึงกลิ่นปากเหม็นของตัวเองเป็นเพราะเกิดความเคยชิน

“ลองอ้าปาก แล้วหายใจออก (ทางปาก) แรงๆ รดมือตัวเอง แล้วสูดหายใจ


ลึกๆ ทันที ได้กลิ่นอะไรไหม?”

สาเหตุของกลิ่นปาก
● สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ การรักษาสุขภาพช่องปากไม่ดี แปรงฟัน

ไม่ทั่วถึง มีเศษอาหารตกค้างในปาก โรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ (ร�ำมะนาด)


โรคฟันผุ
● ภายหลังการถอนฟัน การมีแผลในปาก โรคมะเร็งในช่องปากและลิ้น

การมีเลือดออกจากสาเหตุตา่ งๆ เนือ่ งจากลิม่ เลือดเป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรีย


ย่อยสลายส่งกลิ่นได้
● กลิ่นของอาหารที่รุนแรงบางอย่าง เช่น กระเทียม หัวหอม ปลาเค็ม

● สูบบุหรี่ คราบนิโคตินสะสมบนหินปูน ท�ำให้เกิดกลิ่น

● ผู้ที่ใส่ฟันปลอม หรือใส่เครื่องมือต่างๆ ในปาก เช่น เครื่องมือจัดฟัน

เครื่องมือกันฟันล้มเก หรือเฝือกสบฟัน เป็นต้น เครื่องมือเหล่านี้ ถ้ารักษาความ


สะอาดไม่ดีจะท�ำให้เกิดกลิ่นได้ โดยเฉพาะเครื่องมือที่ท�ำด้วยอะคริลิก หรือมีส่วน
ของอะคริลิก(คล้ายพลาสติก) อยู่ด้วย เนื้ออะคริลิกจะมีรูพรุน จะดูดซึมของเหลว
ต่างๆ ได้บ้าง ถ้าล้างไม่สะอาด อาหารก็จะบูดเน่าติดอยู่กับเครื่องมือ ท�ำให้มีกลิ่น
เหม็นได้
● ลิน้ เป็นส่วนหนึง่ ทีเ่ ป็นสาเหตุของกลิน่ ปากได้ การทีล่ นิ้ เป็นฝ้าเนือ่ งจาก
มีการสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรีย บนผิวของลิน้ ด้านบน ซึง่ จะมีลกั ษณะเป็น
แท่งเล็กๆ เต็มไปหมด พบว่าโคนลิ้นมักจะเป็นบริเวณที่ก่อให้เกิดกลิ่น
98
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

สาเหตุนอกช่องปาก
● ต�ำแหน่งต่างๆ ของโพรงอากาศรอบๆ ใบหน้าเปรียบเทียบระหว่าง

ข้างที่ปกติและข้างที่อักเสบมีการติดเชื้อมีหนองหรือของเหลวอยู่ภายใน
● โรคระบบทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งเริ่มแต่จมูก คอ จนถึงหลอดลม

ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบลมหายใจและลมที่ออกจากปากจะมีกลิ่นเหม็นได้ เช่น
โรคโพรงจมูกอักเสบหรือทีเ่ รียกว่า ไซนัสอักเสบ เกิดจากการมีของเหลว หรือหนอง
อยู่ในโพรงอากาศของกระดูกใบหน้า ซึ่งมีหลายโพรง การอักเสบจนมีหนองนี้
จะท�ำให้มีกลิ่นออกมา กลิ่นนี้จะออกมาทางจมูกและขณะหายใจ และทางปาก
ขณะพูด ผู้ที่เป็นหวัดเรื้อรังนานๆ จะท�ำให้โพรงจมูกอักเสบได้
● โรคทอนซิ ล อั ก เสบ ผู ้ ที่ เ จ็ บ คอขณะที่ มี ก ารอั ก เสบในล� ำ คอหรื อ

ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังก็จะมีกลิ่นปากได้ และจะหายไปได้เมื่อคออักเสบ ผู้ที่


คอแห้ง ปากแห้งมากๆ ก็ท�ำให้มีกลิ่นปากได้
● ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง คือ ปอด ผูท ้ เี่ ป็นโรคปอดเรือ้ รัง วัณโรคปอด
หรือมะเร็งที่ปอด จะมีกลิ่นออกมากับลมหายใจและออกจากปากได้ ผู้ที่สูบบุหรี่
นานๆ ก็ท�ำให้ลมหายใจและลมปากมีกลิ่นได้
● ระบบย่อยอาหารเริ่มตั้งแต่ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ล�ำไส้

ผูท้ เี่ ป็นโรคกระเพาะอาหาร มีแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีหนองอาจมีกลิน่ ออกมา


ขณะพูดหรือเรอได้ ผู้ที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยเป็น
ประจ�ำ เมื่อมีลมออกจากกระเพาะก็จะมีกลิ่นตามออกมาด้วย ซึ่งจะมีกลิ่นเหมือน
อาหารบูด
● ระบบขับถ่าย ผูท้ รี่ ะบบขับถ่ายไม่ดี ท้องผูกบ่อยๆ เมือ่ มีลมดันขึน้ หรือ
เรอออกก็จะท�ำให้มีกลิ่นได้เช่นกัน
● อาหารที่ท�ำให้เกิดกลิ่น เช่น หัวหอม กระเทียม เครื่องเทศ สะตอ

การรับประทานอาหารพวกนีจ้ ะท�ำให้มกี ลิน่ ปากได้ แต่เมือ่ ถูกย่อย ดูดซึม และขับถ่าย

99
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

ออกหมดกลิ่นก็จะหายไป แต่ถ้ารับประทานอย่างต่อเนื่อง ก็จะท�ำให้มีกลิ่นปาก


อย่างต่อเนื่องได้ด้วย เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด เช่น เหล้า เบียร์ ก็ท�ำให้มี
กลิ่นปาก ยาบางชนิดก็เช่นกันอาจเกิดกลิ่นได้ เช่น ยา disufiram ที่ใช้รักษาผู้ป่วย
พิษสุราเรื้อรัง จะท�ำให้มีกลิ่น aldehyde ออกมา ยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคจิต
บางตัวก็ท�ำให้มีกลิ่นได้

“ภายหลังตืน่ นอนใหม่ๆ กลิน่ ปากจะแรง เพราะในขณะทีน่ อนหลับน�ำ้ ลาย
จะถูกขับออกมาน้อย ท�ำให้น�้ำลายมีการหมุนเวียนน้อย เศษอาหารที่ตกค้างสะสม
อยู่จึงมีการบูด เกิดเป็นกลิ่นปากค่อนข้างแรง”

กลเม็ดพิชิตกลิ่นปาก
● อย่าปล่อยให้ปากแห้ง เพราะเมื่อปากแห้งความเข้มข้นของแบคทีเรีย

ในปากจะเพิ่มมาก ท�ำให้เกิดกลิ่นปากได้ง่าย
● ดื่มน�ำ
้ มากๆ ช่วยล้างแบคทีเรียออกจากน�ำ้ ลาย
● แปรงฟันทุกครั้งหลังอาหาร และอย่าลืมแปรงด้านบนของลิ้น อันเป็น

ที่เกิดของแบคทีเรียด้วย
● ถ้าไม่สะดวกจะแปรงฟัน ให้บ้วนปากด้วยน�ำ ้ เปล่าหรือน�ำ้ ยาบ้วนปาก

100
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ยาอมสมุนไพรดับกลิ่นปาก

สมุนไพรที่ใช้ มีดังนี้
1. ใบสะระแหน่ มีฤทธิ์เย็น รสเผ็ดนิดหน่อย ที่อุดมไปด้วยวิตามินและ
แร่ธาตุต่างๆ หลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3
วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น และยังให้พลังงาน 47
กิโลแคลอรี (ใน 100 กรัม) โดยใบสะระแหน่นั้นควรเลือกใช้ใบสดและยอดอ่อนจะ
ได้สรรพคุณที่ดีกว่าใบแห้ง อีกทั้งมีนำ�้ มันหอมระเหย ซึ่งเป็นสารที่ให้ความสดชื่น
และช่วยยับยัง้ เชือ้ แบคทีเรีย จึงช่วยดูแลรักษาสุขภาพช่องปากได้ ช่วยให้ลมหายใจ
สดชื่น และรักษาสุขภาพเหงือกและฟันให้แข็งแรง นอกจากนี้แล้วใบสะระแหน่
ยังช่วยลดอาการปวดฟัน ฟันผุ แผลในช่องปากอันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ท�ำให้เกิด
กลิ่นปาก

รูปภาพจาก http://supavineevarity.blogspot.com/2014/05/41.html

101
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

2. ใบฝรัง่ สารส�ำคัญในน�ำ้ มันหอมระเหยใบฝรัง่ มีคณ ุ สมบัตชิ ว่ ยขจัดกลิน่


ปาก จากการรับประทานอาหารทีม่ กี ลิน่ แรง รวมทัง้ กลิน่ เหล้าและบุหรี่ และยังช่วย
ลดอาการอักเสบของเหงือก บรรเทาอาการปวดฟันจากเหงือกอักเสบ
จากการศึกษาของคณะเภสัชพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า
ผูป้ ว่ ยจ�ำนวน 70 คนทีใ่ ช้นำ�้ ยาบ้วนปากทีม่ สี ว่ นผสมของสารสกัดจากใบฝรัง่ สามารถ
ลดอาการอักเสบของเหงือกและบรรเทาอาการปวดฟันจากเหงือกอักเสบได้รอ้ ยละ
19.8 เนื่องจากในใบฝรั่งมีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบได้

รูปภาพจาก http://www.asianbioplex.com/shop/pure-essential-oil/
thai-guava-leaf-essential-oil

102
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

3. ดอกกานพลู
ฤทธิ์ ใ นการระงั บ ปวดและต้ า นการอั ก เสบ มี ก ารศึ ก ษาว่ า ภายใน
ดอกกานพลูมสี ารส�ำคัญ คือ eugenol ทีม่ ฤี ทธิเ์ ป็นยาชาเฉพาะที่ โดยมีกลไกในการ
ยับยั้ง การส่งสัญญาณกระแสประสาทโดยเข้าไปยับยั้งเซลล์ที่มีชื่อว่า voltage-
gated sodium potassium channel ที่บริเวณเซลล์ประสาทที่มีชื่อว่า triger-
minal ganglion จึงท�ำให้การส่งสัญญานของเซลล์ประสาทไม่ถูกส่งไปที่สมอง
จึงท�ำให้รู้สึกชาและนอกจากนี้พบว่าสามารถต้านการอักเสบ โดยไปลดการสร้าง
สารก่ออักเสบและฤทธิ์ในการป้องกันการเสื่อมของเซลล์ประสาทได้
ชาวจีนใช้อมรักษากลิ่นปากและแก้ปวดฟัน แก้ท้องเสีย ช่วยย่อย รักษา
เชือ้ ราทีเ่ ท้ามานานนับพันปี ส่วนชาวอินเดียใช้เป็นยาขับลม ช่วยย่อย และรักษาโรค
ในระบบทางเดินหายใจ ปัจจุบนั ได้มกี ารน�ำน�ำ้ มันหอมระเหยกานพลูใช้ในส่วนผสม
ของผลิตภัณฑ์ท�ำความสะอาดช่องปาก ทั้งยาสีฟัน น�้ำยาบ้วนปาก และใช้เป็น
ยาชาแก้ปวดฟัน

รูปภาพจาก https://medthai.com

103
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

4. กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดงนั้นถือเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการน�ำมาใช้เพื่อช่วยดูแล
และรักษาสุขภาพมานาน เพราะนอกจากจะมีความปลอดภัยต่อร่างกายสูงแล้ว
ยังมีสารเคมีส�ำคัญๆ มากมายหลายชนิด อย่างกรดอินทรีย์จำ� พวกกรดแอสคอบิก
กรดซิตริก กรดมาลิก และกรดทาร์ทาริก ที่มีฤทธิ์ให้รสเปรี้ยว หรือสารฮีบิสซิทิน
สารฮีบิสซิน และสารแอนโทไซยานินที่ให้สีแดง เป็นต้น
กระเจีย๊ บแดงเป็นยาสมุนไพรประจ�ำบ้านทีม่ สี รรพคุณช่วยดับกระหายน�้ำ
คลายร้อน แก้อาการคอแห้ง โดยน�้ำกระเจี๊ยบแดงจะท�ำให้ร่างกายหายอ่อนเพลีย
บ�ำรุงก�ำลัง ลดอุณหภูมิในร่างกายและแก้ร้อนในได้ดี และช่วยขับเสมหะ แก้ไอ

รูปภาพจาก http://sukkaphap-d.com

104
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

5. ชะเอมเทศ
ชะเอมเทศมีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะได้เป็นอย่างดี ด้วยคุณสมบัตชิ มุ่ คอ
จึงช่วยบรรเทาอาการไอ อาการระคายเคืองคอ และช่วยลดอาการปวด แก้อาการ
อักเสบคล้ายสารสเตียรอยด์ แต่ชะเอมเทศไม่มีผลข้างเคียงเหมือนสารสเตียรอยด์
จึงมีการน�ำมาใช้เป็นส่วนผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นเพื่อช่วยลดอาการอักเสบ
ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของฟันผุ รวมทั้งสามารถท�ำลาย
เชือ้ จุลนิ ทรียแ์ ละยับยัง้ การอักเสบของผิว ท�ำให้จดุ ด่างด�ำ ฝ้า กระ บนใบหน้าลดลง
จนได้รับการยอมรับในแวดวงความงาม

รูปภาพจาก https://www.derma-innovation.com/en/content/13736/
licorice-extract

ส่วนประกอบอื่นๆ ได้แก่ กลูโคสไซรัป น�้ำตาลทรายแดง น�้ำสะอาด

ขั้นตอนการผลิตยาอมสมุนไพร
1. ต้มน�้ำให้เดือด จากนั้นลดความร้อนลงทันที ค่อยๆ เทน�ำ้ ตาลลงไป
กวนให้คอ่ ยๆ ละลาย ถ้าเป็นเตาแก๊สให้หรีเ่ ปลวไฟให้เหลือน้อยทีส่ ดุ ถ้าเป็นเตาไฟฟ้า
ปรับไฟที่อุณหภูมิเกือบเดือด ช่วงนี้ต้องใช้ความร้อนต�่ำมาก เพราะความร้อนสูง
น�้ำตาลจะไหม้

105
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

2. หลังจากน�้ำตาลละลายหมดแล้ว เติมกลูโคสไซรัป ค่อยๆ กวนจนเข้า


กันดี สุดท้ายจึงเติมสมุนไพรเข้มข้นลงไป เมื่อเข้ากันดีแล้วจะเป็นจังหวะที่นำ�้ ที่ใส่
ไปครั้งแรกระเหยไปเกือบหมด กะให้น�้ำระเหยออกไปหมด รีบเทส่วนผสมนี้ลงไป
ในแบบพิมพ์ทันที

ข้อมูลจาก
1. สิบเอกหญิงภาวิณี อ่อนมุข แพทย์แผนไทยประยุกต์ โรงพยาบาลการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน
2. นางสาวกิตติยา ขันทอง แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ผสมผสาน

106
ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวให้กระจ่างใสจาก
สมุนไพรไทย
อาจารย์กรรญดา (กมลรัตน์) ณ หนองคาย
สถาบันเวชศาสตร์ความงามแผนไทย

ประเภทของเกลือ
การผลิตเกลือของประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ เกลือทะเล
หรือเกลือสมุทรและเกลือหินหรือเกลือสินเธาว์ โดยแต่ละประเภทมีที่มาแตกต่าง
กัน ดังนี้
1. เกลือทะเลหรือเกลือสมุทร (Sea Salt)
เป็นเกลือทีผ่ ลิตขึน้ โดยการน�ำน�ำ้ ทะเลขึน้ มาตากแดดให้นำ�้ ระเหยไปเหลือ
แต่ผลึกเกลือตกอยู่ (Solar Evaporation System) เกลือประเภทนีม้ กี ารผลิตและ
การใช้มาตัง้ แต่สมัยโบราณและถือเป็นอาชีพเก่าแก่อาชีพหนึง่ ของโลกและของคนไทย
โดยได้มีการก�ำหนดเป็นสินค้าเกษตรกรรมขั้นต้นตามพระราชบัญญัติธนาคาร
เพื่อการเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2509
2. เกลือหินหรือเกลือสินเธาว์ (Rock Salt)
เป็นเกลือที่ท�ำจากดินที่น�้ำชะดินละลายแล้วแห้งปรากฏเป็นคราบเกลือ
ติดอยู่บนผิวดิน เรียกว่า “ส่าดิน” เมื่อน�ำผิวดินหรือส่าดินมาละลายน�้ำแล้วน�ำไป
ต้มจะได้เกลือสินเธาว์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้มีการค้นพบเกลือหินที่อยู่ใต้ดิน
ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท�ำให้รูปแบบการผลิตเกลือสินเธาว์เปลี่ยนแปลง
ไปเป็นการใช้เกลือหินแทน โดยใช้วิธีฉีดน�ำ้ ลงไปละลายเกลือในบ่อเกลือ หรือใช้วิธี

107
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

สูบน�ำ้ เกลือใต้ดนิ ขึน้ มาตากแดด หรือโดยการต้มเพือ่ ให้ได้ตะกอนเกลือ และหากใช้


เครื่องจักรที่ทันสมัยสามารถผลิตได้ตลอดปี
คุณสมบัติของเกลือ
1. เกลือมีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในช่องปาก ช่วยดับกลิ่น
ปากอีกทั้งยังช่วยก�ำจัดคราบสีบนฟันได้
2. เกลือมีคุณสมบัติช่วยลดความมันบนใบหน้า ช่วยลดริ้วรอยเหี่ยวย่น
และรอยแผลต่างๆ ได้
3. เกลือมีคุณสมบัติช่วยในการผลัดเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้วให้หลุดลอก
ออกไป
4. เกลือมีคุณสมบัติช่วยดูดซับความสกปรกที่อุดตันในรูขุมขน ท�ำให้ผิว
สะอาด รูขุมขนเล็กลง และช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ที่ผิว

การบูร
รสยา: ร้อนปร่าเมา
ส่วนที่ใช้: เกล็ด ผง
การบูร เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซินนาโมมัม แคมโฟรา
(Cinnamomum camphora L.) เป็นต้นไม้ขนาดกลาง สูงประมาณ 10-15 เมตร
เดิมเป็นไม้พนื้ เมืองของประเทศจีน ญีป่ นุ่ ไต้หวัน แต่ปจั จุบนั นีไ้ ด้แพร่หลายไปหลาย
ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย
การบูรทีไ่ ด้จากธรรมชาติ มีลกั ษณะเป็นผลึกเล็กๆ สีขาว เกิดอยูท่ วั่ ทัง้ ต้น
เราจะมองเห็นตามรอยแยก รอยแตกของต้นการบูร และจะมีมากบริเวณใกล้ๆ กับ
โคนต้น และราก ซึ่งจะมีกลิ่นหอมมากกว่าส่วนอื่นๆ การบูรส่วนมากจะละลายอยู่
ภายในน�ำ้ มันหอมระเหยทีอ่ ยูภ่ ายในส่วนต่างๆ ของต้นการบูร การผลิตการบูรนิยม
ท�ำโดยน�ำส่วนต่างๆ ของต้นการบูร มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ มักจะใช้ต้นการบูรที่มีอายุ

108
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ประมาณ 5 ปีขึ้นไป น�ำไปต้มหรือกลั่นโดยใช้ไอน�ำ้ น�้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้จะ


อยูใ่ นภาชนะทีร่ องรับ เมือ่ ได้นำ�้ มันหอมระเหยทีม่ ากพอ จะมองเห็นการบูรตกผลึก
เป็นก้อนที่มีสีขาวๆ แยกออกมาจากน�ำ้ มันหอมระเหย เราก็เก็บเอาผลึกนั้นมาท�ำ
เป็นก้อน หรือบดเป็นชิ้นเล็กๆ ละเอียด น�ำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
การใช้ประโยชน์จากการบูร
ใช้เป็นยาระงับเชื้ออย่างอ่อน ยากระตุ้นหัวใจ ขับลม ขับเสมหะ ใช้ทำ� ยา
ถูนวด แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ ใช้เพื่อแก้อาการคันที่ผิวหนัง เป็นต้น

ทานาคา
รสยา: ขมเย็น
ส่วนที่ใช้: แก่น
ทานาคาในภาษาพม่าจะเรียกว่า “ตะนะคา” ลักษณะเป็นผงสีเหลือง
นวลๆ ซึง่ ท�ำจากไม้ทานาคา ซึง่ ต้นทานาคาจะมีมากในแถบตอนกลางของประเทศ
พม่า เป็นไม้ที่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ และเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์สารพัด วิธีทำ� ผง
ทานาคาแบบดัง้ เดิมของชาวพม่า จะเลือกใช้ตน้ ทานาคาทีม่ อี ายุประมาณ 35 ปี น�ำมา
ตัดเป็นท่อนๆ ขนาดพอดีมอื แล้วใช้สว่ นเปลือกของไม้ทานาคาไปฝนหรือบดกับหินขัด
พร้อมกับพรมน�ำ้ เป็นระยะๆ จนออกมาได้เป็นผงสีขาวเหลืองนวล ชาวพม่าส่วนใหญ่
มักจะใช้ผงทานาคาผัดหน้า ผัดตามแขนขาและล�ำตัว จนเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง
ของชาวพม่า
ผงทานาคาจะมีสาร OPC และ Curcuminoid ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูล
อิสระ ท�ำให้ผงทานาคามีคณ ุ สมบัตใิ นการต่อต้านการเสือ่ มสภาพของเซลล์ผวิ ลดฝ้า
และจุดด่างด�ำบนใบหน้า ช่วยป้องกันการเกิดสิว ช่วยลดผดผื่นคัน อีกทั้งยังช่วย
ป้องกันผิวจากรังสียูวีผงทานาคาจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอย่างรวดเร็ว
ในประเทศข้างเคียงรวมถึงประเทศไทย

109
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

น�้ำปูนใส
รสยา: ฝาดและเย็น
น�้ำปูนใสได้มาจากการน�ำปูนแดง 10 กรัม มาผสมกับน�้ำสะอาด 1 ลิตร
คนจนปูนแดงละลายจากนัน้ น�ำไปเทลงในภาชนะทีเ่ ป็นหม้อเคลือบเซรามิก ปิดฝา
ให้สนิทหมักทิง้ ไว้ 1 คืนจากนัน้ ค่อยๆ ตักเอาน�้ำใสๆ ทีล่ อยอยูด่ า้ นบนมากรองด้วย
กระดาษกรองชาแล้วสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ได้
ซึ่งประโยชน์ของน�้ำปูนใสนั้นสามารถน�ำมาผสมกับน�้ำมันท�ำเป็นโลชั่น
ธรรมชาติ ซึ่งเมื่อผสมกันแล้วจะมีลักษณะเป็นครีมใช้เพื่อทาแก้อาการไฟไหม้
น�ำ้ ร้อนลวก โดยใช้นำ�้ ปูนใสผสมกับน�ำ้ มันมะพร้าวอัตราส่วน 1:1 เขย่าให้เข้ากันจนเป็น
ครีม ดังนั้นน�้ำปูนใสไม่เพียงมีสรรพคุณทางยาเท่านั้นแต่ยังเป็นเครื่องส�ำอางรักษา
ผิวพรรณได้ หรือจะใช้ทารักแร้แก้กลิ่นตัวก็ได้ผลดี อีกทั้งน�้ำปูนใสยังมีคุณสมบัติ
เป็นตัวก่อ Emulsion และช่วยกระชับรูขุมขน

ก�ำยาน
รสยา: ฝาด
ส่วนที่ใช้: ยางจากต้น
สรรพคุณ: ระงับเชื้อ สมานแผล ลดการอักเสบ ขับลม บ�ำรุง
หั ว ใจ ดั บ กลิ่ น ขั บ ปั ส สาวะ ขั บ เสมหะ รั ก ษา
บาดแผล ห้ า มเลื อ ด ต่ อ ต้ า นอนุ มู ล อิ ส ระ ใช้ ใ น
การบ�ำรุงผิวพรรณ โดยเฉพาะผิวแตก และอักเสบ
แก้ผิวแห้ง แก้เท้าแตก แก้น�้ำกัดเท้า แก้เท้าเหม็น
ก�ำยานใช้เป็นตัวตรึงกลิน่ ในน�ำ้ หอมและเครือ่ งส�ำอาง
และใช้ทำ� ธูป

110
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

น�้ำมันดอกทานตะวันสกัดเย็น
รสยา: มัน
ส่วนที่ใช้: เมล็ด
สรรพคุณ: มี โ ปรตี น แร่ ธ าตุ ห ลายชนิ ด โดยเฉพาะวิ ต ามิ น อี
เป็นวิตามินที่มีความส�ำคัญโดดเด่นที่สุดมีคุณสมบัติ
เป็นสาร แอนตี-้ ออกซิแดนซ์ (Anti-oxidant) จะช่วย
ป้องกันเซลล์ผิวหนังไม่ให้ถูกท�ำลายโดยขบวนการ
ออกซิเดชั่น (Oxidation) ท�ำให้ผิวหนังเต่งตึงไม่
กระด�ำกระด่าง

น�้ำมันร�ำข้าวสกัดเย็น
รสยา: มัน
ส่วนที่ใช้: ร�ำข้าว
สรรพคุณ: มีวิตามินอีสูง รวมทั้ง โอรีซานอลสูง ป้องกันการ
เกิดออกซิเดชั่นได้สูง ไม่ต้องใส่สารกันหืนสังเคราะห์
เป็นสารธรรมชาติทพี่ บในน�ำ้ มันร�ำข้าวเท่านัน้ ไม่พบ
ในน�้ ำ มั น พื ช ชนิ ด อื่ น ช่ ว ยต้ า นอนุ มู ล อิ ส ระได้ ดี
ป้องกันโรคมะเร็ง และช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้
มีสารกลุม่ Ceramide ช่วยต้านเอนไซม์ tyrosinase
ช่วยให้ผิวพรรณขาวใส เปล่งปลั่ง

111
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

น�้ำมันงาสกัดเย็น
รสยา: มัน
ส่วนที่ใช้: เมล็ด
สรรพคุณ: มีวิตามินอี ลดการอักเสบของสิว และป้องกันการ
ระคายเคือง มีสารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วย
ลดรอยเหี่ยวย่น พร้อมทั้งช่วยบ�ำรุงเส้นผมให้ดกด�ำ

ว่านหางจระเข้
รสยา: เย็น
ส่วนที่ใช้: วุ้นในใบ
สรรพคุณ: ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น�้ำร้อนลวก ช่วยลดการอักเสบ
สมานแผล มีสารออกฤทธิ์ aloctin A และ B ในการ
เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ช่วยให้ผิวเต่งตึง ลดรอย
เหี่ยวย่น

หัวไชเท้า
รสยา: เย็น
ส่วนที่ใช้: หัว (ราก)
สรรพคุณ: ช่วยลดฝ้า กระ รอยด่างด�ำ ช่วยให้หน้ากระจ่างใส

112
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

หม่อน
รสยา: เย็น
ส่วนทีใ่ ช้: แก่นของกิ่ง
สรรพคุณ: มีสารยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ซึ่งมีฤทธิ์สูงกว่า
kojic acid ช่วยลดการอักเสบ ช่วยให้ผวิ ขาว กระจ่างใส
ช่วยลดฝ้า กระ จุดด่างด�ำ

ชะเอมเทศ
รสยา: มันหวาน
ส่วนที่ใช้: รากและแก่น
สรรพคุณ: มีสารออกฤทธิ์ grabridin เป็น tyrosinase inhibitor
ช่วยลดรอยด่างด�ำ ลดความหมองคล�้ำบนใบหน้า
ท�ำให้หน้าขาวใส ช่วยให้ผวิ นุม่ ชุม่ ชืน้ ช่วยต้านอนุมลู
อิสระ

บัวบก
รสยา: หอมเย็น
ส่วนทีใ่ ช้: ใบ
สรรพคุณ: มีสารออกฤทธิ์ asiaticoside ซึง่ ช่วยลดรอยแผลเป็น
และรอยด่างด�ำที่เกิดจากสิว มีสารออกฤทธิ์คล้าย
ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ช่วยท�ำให้ผิวเต่งตึง ลดรอย
เหี่ยวย่นป้องกันการระคายเคือง

113
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

นางพญาหน้าขาว (โลดทะนงขาว)
รสยา: ร้อน
ส่วนที่ใช้: ราก
สรรพคุณ: มีสารส�ำคัญที่ช่วยในการรักษา ฝ้า กระ รอยด่างด�ำ
และช่วยผลัดเซลล์ผิว ท�ำให้หน้าขาวใสช่วยลดรอย
เหี่ยวย่น ช่วยต้านการอักเสบ

ว่านสากเหล็ก
รสยา: ร้อน
ส่วนที่ใช้: ราก
สรรพคุณ: มีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยต้านการอักเสบ ช่วยยับยั้งการ
เจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย มีสารออกฤทธิ์ในการ
ช่วยลดฝ้า กระ รอยด่างด�ำ

การท�ำผลิตภัณฑ์ดูแลผิวให้กระจ่างใสจากสมุนไพรไทย

1. เกลือขัดผิวทานาคา

ส่วนประกอบ สัดส่วน
1. เกลือ 80 กรัม (เม็ดสครับท�ำความสะอาดผิว)
2. การบูร 5 กรัม (เม็ดสครับท�ำความสะอาดผิว)
3. ทานาคา 15 กรัม (บ�ำรุงผิว)

114
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

วิธีท�ำ
1. น�ำเกลือผสมกับการบูรโดยท�ำให้การบูรไม่จบั กันเป็นก้อนก่อนใส่ลงไป
ในภาชนะคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. ใส่ทานาคาลงไปในจุดๆ เดียวไม่เทแบบกระจาย จากนั้นคลุกเคล้า
ให้เข้ากัน

2. ครีมบ�ำรุงผิวหน้าลดฝ้า จุดด่างด�ำ (Natural Moisturizer Cream)

ส่วนประกอบ ปริมาณ คุณสมบัติ


ส่วนที่ 1
น�ำ้ มันดอกทานตะวันสกัดเย็น 10 กรัม (ช่วยบ�ำรุงผิว ท�ำให้ผวิ ชุม่ ชืน้
ลดรอยด่างด�ำ)
น�ำ้ มันร�ำข้าวสกัดเย็น 10 กรัม (ช่วยลดรอยเหี่ยวย่น
ท�ำให้ผวิ ชุม่ ชืน้ ลดการอักเสบ)
น�ำ้ มันงาสกัดเย็น 10 กรัม (ช่วยกันแดด ช่วยลดรอย
เหี่ยวย่น)
ขี้ผึ้งขาว 3.5 กรัม (ช่วยเคลือบผิว ช่วยให้ผิว
ชุ่มชื้น)
Emulsifer CP 5 5 กรัม (ช่วยเชื่อมน�้ำกับน�ำ้ มัน)
ส่วนที่ 2
น�ำ้ ปูนใส (ปูนแดง 10 กรัม/ 51.5 กรัม (เป็นตัวก่อ Emulsion
น�ำ้ สะอาด 1 ลิตร) ช่วยกระชับรูขุมขน)

115
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

ส่วนที่ 3
สารสกัดว่านหางจระเข้ 2 กรัม (ช่วยให้ผวิ ชุม่ ชืน้ ช่วยลดรอย
ด่างด�ำ)
สารสกัดหัวไชเท้า 2 กรัม (ช่วยลดฝ้า กระ รอยด่างด�ำ)
สารสกัดหม่อน 2 กรัม (ช่วยลดฝ้า กระ รอยด่างด�ำ
ลดการอักเสบ)
สารสกัดชะเอมเทศ 2 กรัม (ช่วยลดฝ้า กระ รอยด่างด�ำ
ลดการอักเสบ)
สารสกัดบัวบก 2 กรัม (ช่วยกระตุ้นการไหลเวียน
โลหิต ช่วยต้านอนุมูลอิสระ)
สารสกัดนางพญาหน้าขาว 2 กรัม (ช่วยผลัดเซลล์ผวิ ลดรอยด่าง
ด�ำ ช่วยให้ผิวขาวใส)
สารสกัดว่านสากเหล็ก 2 กรัม (ช่วยผลัดเซลล์ผิว ลดรอย
ด่างด�ำ ช่วยให้ผิวขาวใส)
Phenostat 1 กรัม (สารกันเสีย)
วิธีท�ำ
1. ละลายส่วนที่ 1 โดยใช้อณ ุ หภูมิ 70-80 องศาเซลเซียส คนจนขีผ้ งึ้ ขาว
ละลาย
2. จากนัน้ ยกลงจากเตาแล้วค่อยๆ เติมน�้ำปูนใสลงไปในส่วนที่ 1 คนแรงๆ
ให้เข้ากันหรือใช้เครื่องตี ตีจนได้เนื้อที่เนียนสวย
3. เมื่ออุณหภูมิลดลงที่ 40 องศาเซลเซียส เติมส่วนที่ 3 ลงไปตามล�ำดับ
แล้วใช้เครื่องตีให้เข้ากัน
4. จากนัน้ เติมกลิน่ และสีลงไป ก่อนปรับค่า pH (อย่าลืมปรับค่า pH ของ
ครีมให้อยู่ที่ 4.5-5.5)

116
น้ำ�พริกสมุนไพรกู้ชาติ

มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา

ค�ำว่า “น�้ำพริกสมุนไพรกู้ชาติ” มีความหมายเป็น 2 นัย นัยหนึ่งว่า


ประเทศไทยสมัยโบราณจะเกิดศึกสงครามตลอด น�้ำพริกก็เป็นส่วนหนึง่ ของเสบียง
ของคนไทยมานานมากเมื่อมีสงคราม เพราะน�้ำพริกเป็นอาหารที่เก็บไว้ได้นาน
เสียยาก และรับประทานกับผักหรืออะไรก็ได้ เช่น ไข่เจียว ไข่ต้ม ปลาเค็ม เป็นต้น
จะเห็นว่าน�ำ้ พริกจะต้องเป็นส่วนหนึง่ ของชีวติ คนไทย จึงเป็นทีม่ าของค�ำว่าน�ำ้ พริก
กู้ชาติ อีกนัยหนึ่ง ปัจจุบันเศรษฐกิจตกต�่ำ น�้ำพริกจึงเกิดขึ้นมามากมาย เพื่อ
เอาออกขาย กระตุ้นเศรษฐกิจ มีทั้งกลุ่มแม่บ้าน รัฐวิสาหกิจชุมชน ท� ำให้คน
มีงานท�ำ เศรษฐกิจดีขึ้น จึงเป็นที่มาของค�ำว่าน�ำ้ พริกกู้ชาติอีกนัยหนึ่ง
ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ได้กล่าวว่า “น�้ำพริกมีคุณค่าทางโภชนาการ
เพราะมีพร้อมทุกอย่าง เช่น แคลเซียมจากกะปิ ปลาร้า โปรตีนจากเนือ้ สัตว์ วิตามิน
แร่ธาตุได้จากผักต่างๆ ที่กินแกล้ม”
ส่วนน�ำ้ พริกทีร่ วบรวมได้ มีประมาณเกือบร้อยเมนู ซึง่ บางเมนูกห็ ายไปจาก
ปัจจุบัน เช่น น�ำ้ พริกส้มฉุน น�้ำพริกแดงมะขามกรอก เป็นต้น ซึ่งคนปัจจุบันไม่เคย
ท�ำและไม่เคยกิน แต่ยงั มีอกี หลากหลายเมนู ทีน่ า่ ท�ำกินหรือท�ำขายอย่างมาก ในทีน่ ี้
จะยกตัวอย่าง สัก 2-3 เมนู คือ น�้ำพริกตาแดง น�้ำพริกตาแดงปลาย่าง น�ำ้ พริก
ลงเรือ เป็นต้น ทั้ง 3 เมนูนี้จะเป็นน�้ำพริกทานได้ทั้งผักดิบ ผักต้ม และเป็น
น�้ำพริกท�ำง่าย อร่อย อยู่ได้นาน น่าจะน�ำไปต่อยอดได้ส�ำหรับคนที่สนใจ

117
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

น�้ำพริกตาแดง
ส่วนประกอบ
1. หอมแดง 1 กิโลกรัม 2. กระเทียม 1 กิโลกรัม
3. พริกขี้หนูแห้ง 1 กิโลกรัม 4. พริกแห้งเม็ดใหญ่ 2 ขีด
5. กะปิ 2 ขีด 6. น�้ำมะขาม (ตามชอบ)
7. น�ำ้ ตาลปี๊บ (ตามชอบ) 8. เกลือ (เล็กน้อย)
9. น�ำ้ ปลา (เล็กน้อย)

วิธีท�ำ
1. ปอกหัวหอม กระเทียม และเด็ดขัว้ พริกทัง้ 2 แล้วล้างให้สะอาด พักให้สะเด็ดน�้ำ
2. ต้มน�ำ้ มะขามเปียกกับน�้ำตาลปี๊บ ให้เดือดพักไว้
3. เอากะปิห่อใบตองปิ้งไฟให้เหลืองหอม
4. น�ำหอม กระเทียม พริก ใส่กระทะคั่วไฟอ่อน ให้เหลืองหอม
5. น�ำในข้อ 4 มาต�ำให้ละเอียด พร้อมด้วยกะปิ
6. ปรุงรสด้วยน�ำ้ มะขามที่ต้มกับน�้ำตาล และเกลือหรือน�้ำปลา ตามชอบ

น�้ำพริกตาแดงปลาย่าง
ส่วนประกอบ
1. หอมแดง 2. กระเทียม
3. พริกขี้หนูแห้ง 4. พริกแห้งเม็ดใหญ่
5. กะปิ 6. มะขาม
7. น�้ำตาลปี๊บ 8. เกลือ
9. น�้ำปลา 10. ปลาย่างป่น
วิธีทำ�
ท�ำเหมือนน�้ำพริกตาแดงทุกประการ แต่เพิ่มปลาย่างป่นลงไป
118
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

น�้ำพริกลงเรือ
ส่วนประกอบ
1. พริกขี้หนูสวน 1 ขีด (100 กรัม) 2. กระเทียม 1 ขีด (100 กรัม)
3. มะนาว 1 ถ้วย (200 กรัม) 4. น�ำ้ มะขาม 1 ถ้วย (200 กรัม)
5. น�้ำตาลปี๊บ 2 ขีด (200 กรัม) 6. มะอึก 1 ขีด (100 กรัม)
7. ไข่เค็ม 2 ฟอง 8. หมูบด 1 ขีด
9. น�้ำปลา 2 ช้อน 10. ปลาดุกฟู 1 ตัว
11. กุ้งแห้ง 1 ขีด 12. กะปิ 1 ขีด
13. น�ำ้ มัน 1 ขีด

วิธีท�ำ
1. ต�ำพริก กะปิ และกระเทียม ให้ละเอียด บีบมะนาวลงไป พักไว้
2. น�ำหมูบดลงไปผัดใส่น�้ำมันเล็กน้อย ใส่น�้ำตาลลงไป ผัดจนสุก ใส่น�้ำพริกที่ต�ำ
ในข้อที่ 1 ลงไป ผัดต่อไปใช้ไฟอ่อนๆ
3. ใส่ไข่เค็มสับละเอียด มะอึกหั่นละเอียด ปลาดุกฟู น�้ำมะขาม กุ้งแห้ง ผัดต่อไป
จนเข้ากันดี ปรุงรสด้วยน�้ำปลา น�้ำตาลปี๊บ ชิมตามชอบใจ ทานกับผักสด

119
การดูแลทารกหลังคลอด
ด้วยการแพทย์แผนไทย

อาจารย์วันทนี เจตนธรรมจักร
แพทย์แผนไทยประยุกต์

ทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง 1 เดือน ซึ่งเป็น


ช่วงชีวติ ในระยะทีม่ คี วามส�ำคัญมาก เพราะทารกมีการเปลีย่ นแปลงสภาพแวดล้อม
จากภายในท้องแม่ออกมาสูส่ ภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการปรับตัวเป็นอย่าง
มากเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกท้องแม่ ทั้งยังเป็นวัยแห่งการสร้างรากฐาน
การพัฒนาบุคลิกภาพในอนาคต ดังนั้น การดูแลทารกแรกเกิด จึงเป็นเรื่องส�ำคัญ
ที่คุณแม่ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ
การดูแลทารก โดยหลักมีอยู่ 2 เรือ่ ง ด้วยกัน คือ การดูแลทางด้านร่างกาย
และการดูแลทางด้านจิตใจ
● การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร การให้ทารก

นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอในสถานที่ที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก และ


ปลอดภัย การดูแลระบบขับถ่าย การดูแลความสะอาด การดูแลสุขภาพร่างกาย
ให้อบอุ่นแข็งแรง และการดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจ
● การดูแลทางด้านจิตใจ คือ การเลี้ยงดูทารกแรกเกิดด้วยความรักและ

ความอบอุน่ ซึง่ จะเป็นการสร้างพืน้ ฐานทางด้านจิตใจทีด่ ใี ห้กบั ลูกตัง้ แต่ยงั เล็ก และ


จะมีผลต่อเนื่องไปจนกระทั่งเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่

120
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

การดูแลทารกแรกเกิด มีรายละเอียด ดังนี้

1. นมแม่
องค์การอนามัยโลกแนะน�ำ “ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่รว่ ม
กับอาหารเสริมนานจนถึง 2 ปี หรือมากกว่า” เพราะน�้ำนมแม่ เป็นอาหารที่ดีที่สุด
ส�ำหรับทารก และสารอาหารในนมแม่ไม่สามารถทดแทนได้ดว้ ยนมผสม คุณแม่ควร
ให้ลูกดูดนมแม่ ทันทีหลังคลอด และให้ดูด 8-12 ครั้งต่อวัน ก่อนให้นมคุณแม่ต้อง
ล้างมือทุกครั้งและท�ำความสะอาดหัวนม ทั้งนี้ การให้นมลูก ควรนวดเต้านมและ
ลานหัวนมให้นิ่ม และบีบน�ำ้ นมออกประมาณ 2-3 หยดก่อนให้ลูกดูด จัดท่าทาง
ให้สบาย โดยคุณแม่อุ้มลูกตะแคงเข้าหาตัว ให้ปากของลูกอยู่ตรงหัวนม มืออีกข้าง
ประคองเต้านม แล้วใช้หัวนมกระตุ้นริมฝีปากลูกให้ลูกอ้าปาก จากนั้นเคลื่อนลูก
เข้าหาเต้านมโดยเร็ว ให้ลูกอมหัวนมให้ลึกถึงลานหัวนม และลิ้นอยู่ใต้ลานนม
เมื่ อ ลู ก อิ่ ม แล้ ว จะถอนปากออกจากหั ว นมเอง แต่ ถ ้ า อิ่ ม แล้ ว ยั ง อมหั ว นมอยู ่
ให้คุณแม่ใช้นิ้วกดคางเบาๆ หรือใช้นิ้วก้อยสอดเข้ามุมปากของลูกเล็กน้อย แล้วจึง
ดึงหัวนมออก

2. การดูแลทารกด้านความสะอาด
● ศีรษะและร่างกาย โดยเฉพาะตามข้อพับ

แรกคลอดจะพบว่า ทารกแรกเกิด มีไขมันเกาะอยู่ คุณแม่ควรใช้ส�ำลี


สะอาดชุบน�้ำมันมะกอกเช็ดเบาๆ ไขมันจะค่อยๆ ออกไปวันละน้อย แล้วจึงค่อย
เช็ดตัว สระผม หรืออาบน�้ำให้ทารก (อาบน�้ำแบบแช่ได้เมื่อสายสะดือหลุดแล้ว ซึ่ง
ปกติสายสะดือจะหลุดประมาณ 7 วันหลังคลอด)

121
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

● การอาบน�ำ ้ ให้ทารก
ใช้มอื ข้างใดข้างหนึง่ จับให้แน่นบริเวณใต้รกั แร้ทารก อ้อมไปถึงต้นแขนเพือ่
ไม่ให้ทารกหลุดจากมือ
● ดูแลสายสะดือ

ควรท�ำความสะอาดโดยใช้ส�ำลีพันปลายไม้หรือคอตตอนบัด (ไม้พันส�ำลี)
ชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดจากโคนสะดือ (บริเวณที่สะดือติดกับผิวหนังหน้าท้อง)
ล้างมือให้สะอาด แล้วจับเชือกที่ผูกสายสะดือเอียงไปทีละข้าง เพื่อเช็ดโคนสะดือ
มายังปลายสะดือ (จะเช็ดสะดือหลังเช็ดตัวทาแป้ง หรือครีมแล้วก็ได้) ห้ามใช้แป้ง
โรยบนสะดือเพราะจะเกิดการติดเชื้อจากความไม่สะอาดของแป้ง ถ้าทาครีมแล้ว
ไม่ควรทาแป้งทับ
ในรายที่เชือกผูกสายสะดือหลุด และมีเลือดไหลออกมาทางปลายสะดือ
ควรใช้เศษผ้าสะอาด (ห้ามใช้เชือก หรือด้ายพลาสติกที่มีความคม) ผูกสายสะดือ
เหนือบริเวณที่เคยผูกเพื่อให้เลือดหยุด และพามาโรงพยาบาล หรือสถานีอนามัย
ใกล้บ้าน เพื่อตรวจดูสายสะดือ
● การสระผมให้ทารก

ควรสระผมให้ลูกน้อย วันละ 1 ครั้ง ก่อนสระควรใช้ส�ำลีสะอาดชุบน�ำ้ มัน


มะกอกเช็ดไขที่บริเวณศีรษะ และด้านหลังใบหูเพื่อป้องกันการเป็นแผลที่เกิดจาก
การหมักหมมของไขมันเด็ก หรือที่ โบราณเรียก “แผลชันนะตุ”

122
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

3. การดูเรื่อง การนอน
● 2-3 วั น หลั ง คลอด ทารกจะหลั บ นานและตื่ น เฉพาะเวลากิ น นม

(ทารกปกติจะหลับ 12-16 ชั่วโมงต่อ 1 วัน) หลังจาก 3 วัน ทารกจะมีการ


เคลื่อนไหวมากขึ้น

4. การดูแลเรื่อง การร้องของทารก
การร้องของทารก แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ส่วนมากจะร้องเมื่อมีความ
ต้องการ เช่น ต้องการนม ต้องการความอบอุ่น ทั้งนี้คุณแม่ลองสังเกตหรือเข้าไป
ฟังใกล้ๆ ดู เวลาที่ลูกร้องเพราะหิว ง่วง หรือรู้สึกเฉอะแฉะ เสียงต่างกันทั้งนั้น
ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า เสียงร้องหลักๆ ของทารกมีอยู่ 4 เสียง คือ
● เสียงอึน หมายความว่า หนูหิวนม

● เสียงเฮะ หมายถึง เปียกชื้นหรือไม่สบายตัว

● เสียงเอะ คือ มีลมในท้อง

● เสียงอ้าว หมายถึง หนูง่วงนอน

123
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

5. การดูแลทารกแรกเกิด เรื่อง การขับถ่าย


การสังเกตอุจจาระ ปัสสาวะ
● ใน 2-3 วั น แรกหลั ง คลอด อุ จ จาระจะเป็ น สี เ ทาด� ำ ตามปกติ

(เรียกว่า ขี้เทา)
● ทารกที่ได้รับนมแม่ อุจจาระจะเหลวและมักจะถ่ายเสมอ หลังให้นม

● ทารกที่ได้รับนมผสม อุจจาระจะแข็งและมีกากมากกว่าทารกที่ได้รับ

นมแม่
● ถ้าทารกถ่ายอุจจาระเหลว 6-10 ครั้งต่อ 1 วัน ถือว่าผิดปกติ

● ทารกแรกเกิด ปกติควรปัสสาวะ 6-10 ครั้งต่อ 1 วัน ถ้าต�่ำกว่าควร

ให้กินนมมากๆ

6. การดูแลทารกแรกเกิด เรื่อง การท�ำความสะอาดผ้าอ้อม


เพือ่ ป้องกันสิง่ สกปรกและกลิน่ อับต่างๆ เมือ่ ถอดผ้าอ้อมออกจากตัวทารก
ให้ปฏิบัติ ดังนี้
1. ผ้าอ้อมที่เปื้อนอุจจาระ ควรใช้น�้ำธรรมดาราดผ้าอ้อม เพื่อให้เศษ
อุจจาระหลุดออก แล้วแช่ไว้ในน�ำ้ ธรรมดาผสมยาฆ่าเชื้อโรค ก่อนน�ำไปซัก
2. ผ้าอ้อมที่เปื้อนปัสสาวะควรขย�ำในน�้ำธรรมดา 1 ครั้ง แล้วแช่ไว้ในน�้ำ
ธรรมดาที่ผสมยาฆ่าเชื้อโรค ก่อนน�ำไปซักจะท�ำให้ผ้าอ้อมมีกลิ่นสะอาด และมั่นใจ
ในความสะอาดหลังซัก

7. การดูแลทารกแรกเกิด เรื่อง การให้วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรค


การให้วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคกับทารก สามารถท�ำได้หลังคลอด โดย
พาทารกมาตรวจร่างกาย ภายใน 4 สัปดาห์หลังคลอด ส่วนลูกน้อยวัย 8 สัปดาห์
ควรพาไปหาหมอเพือ่ ดูความเจริญเติบโตและ ความผิดปกติพร้อมทัง้ ให้วคั ซีนคุม้ กัน-

124
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

โรค (โรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ) เมือ่ ครบ 2 เดือน เพือ่ ให้คณ
ุ หมอได้ตรวจ
ความเจริญเติบโตหรือความผิดปกติของทารก และวางแผนให้ภูมิคุ้มกันโรคต่อไป

8. การสังเกตอาการผิดปกติที่พบได้
1. มีไข้สงู เกิน 38.4 องศาเซลเซียส ระหว่างเดินทางมาพบแพทย์ ควรเช็ดตัว
ให้ด้วยน�้ำธรรมดา เพื่อป้องกันการชัก ถ้าทารกมีอุณหภูมิต�่ำกว่า 36.1 องศา
เซลเซียส ควรให้ความอบอุ่น แล้วรีบน�ำส่งแพทย์
2. ลูกมีอาเจียนพุ่งมากกว่า 1 ครั้ง ต้องแยกให้ออกระหว่าง การอาเจียน
กับการส�ำรอก การส�ำรอกจะเกิดเมื่อทารกได้รับน�้ำนมหรือน�้ำมากเกินความ
ต้องการ หรือเมื่อเปลี่ยนท่าเร็วๆ หลังให้นมสิ่งที่ขับออกมาจะมีจ�ำนวนน้อย ส่วน
การอาเจียน จะเกิดได้ตงั้ แต่ลกู เริม่ ได้นำ�้ นมหรือน�ำ้ สิง่ ทีข่ บั ออกมามีจำ� นวนมากกว่า
การส�ำรอก ถ้าลูกอาเจียนให้จับลูกนอนราบแล้วหันศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อ
ป้องกันการส�ำลักอาเจียน การอาเจียนมักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ร้องกวน
3. ลูกปฏิเสธการให้นมติดๆ กัน เกินกว่า 2 ครั้ง
4. ลูกมีอาการง่วงซึมไม่เคลื่อนไหวแม้กระตุ้น
5. ลูกหน้าเขียวขณะให้นม ควรงดให้นม

ตารางอาหารตามวัย ส�ำหรับลูกน้อยในวัยขวบปีแรก
การบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ จะช่วย
สร้างเสริมภูมคิ มุ้ กันโรคและพัฒนาการด้านสติปญั ญาให้กบั ลูกน้อยได้ แต่ถา้ หากลูกน้อย
วัยทารกหรือเด็กเล็กได้รับอาหารไม่เพียงพอ ก็จะท� ำให้เกิดโรคขาดสารอาหาร
ส่งผลให้การเติบโตหยุดชะงัก เจ็บป่วยง่ายและสติปัญญาบกพร่อง ในทางตรงข้าม
ถ้าได้รบั อาหารทีใ่ ห้พลังงาน ไขมันหรือน�ำ้ ตาลมากเกินไปในระยะยาว จะก่อให้เกิด
ปัญหาโรคอ้วนและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ เช่น

125
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

เกิดโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด


เป็นต้น

โภชนาการที่เหมาะสมส�ำหรับลูกน้อยวัยขวบปีแรก
การให้ลูกน้อยได้รับโภชนาการที่ดีและเหมาะสม เป็นปัจจัยส�ำคัญที่ช่วย
เสริมพัฒนาการของลูกได้เป็นอย่างดี เพราะในช่วงขวบปีแรก เด็กจะมีการเจริญ
เติบโตอย่างรวดเร็ว ทัง้ ทางร่างกายและสมอง โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของสมอง
ยังเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนถึงอายุ 2 ขวบ อาหารส�ำหรับเด็กวัยก่อนวัยเรียน จึง
เป็นการวางรากฐานชีวิตที่ดีส�ำหรับเด็ก ทั้งในขณะที่อยู่ในวัยนี้ และระยะต่อไป
ทัง้ นีห้ ากลูกน้อยขาดอาหารในระยะนี้ จะส่งผลให้ลกู มีสติปญ
ั ญาการเรียนรู้
ด้อยลง การเจริญเติบโตชะงัก ท�ำให้ร่างกายแคระแกรน ไม่แข็งแรง เจ็บป่วย และ
ติดเชื้อง่าย มีอัตราการเสียชีวิตสูง พ่อแม่จึงควรให้ความส�ำคัญกับการเลือกอาหาร
อย่างถูกต้อง และเพียงพอกับความต้องการตามวัยด้วย

อาหารตามวัยส�ำหรับทารก
หมายถึง อาหารอื่นๆ นอกเหนือจากนมแม่ที่ให้เพิ่มเติมแก่ทารกที่อายุ
6 เดือนขึ้นไป จุดมุ่งหมายของการให้อาหารตามวัยเพื่อช่วยให้ทารกมีการเจริญ
เติบโตเต็มตามศักยภาพ เนื่องจากเมื่อทารกอายุเพิ่มขึ้นความต้องการสารอาหาร
ต่างๆ จะเพิ่มขึ้นด้วย การให้อาหารตามวัยที่มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลวเป็นการช่วย
ฝึกการเคี้ยวและการกลืนอาหารของทารก ช่วยให้เขาคุ้นเคยกับอาหารอื่นๆ และ
เป็นการฝึกนิสัยการกินที่ดี

126
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

127
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

128
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

เด็กท้องอืด จะมีอาการดังนี้
● ปวดท้อง เหมือนมีลมอยู่ในท้อง

● ร้องไห้งอแง

● ไม่ยอมนอน เคาะท้องแล้วจะได้ยินเหมือนมีลมอยู่

● มือเท้างอ เหมือนอาการปวดท้อง ท้องแข็ง

สาเหตุที่ท�ำให้เด็กท้องอืด มีดังนี้
1. ระบบย่อยอาหารของลูกยังท�ำงานไม่สมบูรณ์
2. การที่ลูกน้อยดูดนมนานจนเกินไป
3. มีลมเข้าท้องตอนที่ลูกดูดนม
4. หลังจากที่ลูกกินนมแล้ว ไม่ได้จับให้ลูกเรอเพื่อขับลม
5. ให้ลูกกินนมจากขวด จะท�ำให้ลมเข้าท้องลูกมากกว่าให้ลูกกินนม
จากเต้า

129
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

วิธีแก้ไขเมื่อลูกมีอาการท้องอืด
1. ให้จับลูกขึ้นบ่า หรือจับนั่งท่านั่งลูบหลัง เพื่อให้เรอ หลังจากที่ลูกกิน
นมเสร็จแล้ว
2. จับลูกนอนคว�ำ่ เพื่อให้น�้ำหนักตัวของลูก กดท้องเพื่อขับลม
3. อุม้ ลูกแนบอก คางเกยไหล่ และลูบหลังลูกเบา (ลูบลง) ซัก 10-20 นาที
4. นวดท้องให้ลูก จับลูกนอนหงายวางมือคุณแม่เพื่อหาจุดกึ่งกลางของ
ช่องท้อง วางฝ่ามือทั้ง 2 ข้างเหนือจุดกึ่งกลางท้อง แล้วหมุนมือวนตามเข็มนาฬิกา
ประมาณ 2-3 ครั้ง ท่านี้ช่วยให้ระบบหมุนเวียนของล�ำไส้ดีขึ้น
5. ถ้าให้ลกู ดูดนมจากขวด อย่าหมุนฝาแน่นเกินไป เพราะจะท�ำให้เกิดลม
ในขวดนมเวลาลูกดูด
6. ทายา มหาหิงค์ ยานี้เป็นยาที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณ เด็กทารกสามารถ
ใช้ได้ กลิ่นของมหาหิงค์จะช่วยให้ลูกเรอ ช่วยขับลมในท้องลูก
7. ให้ลูกทานยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อส�ำหรับทารก เช่น ไกร๊ปวอเตอร์
อาการท้องอืดของเด็กๆ เป็นเรื่องปกติ เด็กๆ มักจะมีอาการนี้บ่อยมาก ดังนั้น
คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวล และถ้าลูกร้องโดยไม่มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย สันนิษฐาน
ไว้ก่อนว่าลูกอาจจะมีอาการท้องอืดก็เป็นได้

130
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ยาแก้ท้องอืดส�ำหรับเด็ก

ปัญหาเด็กท้องอืด เป็นอาการไม่ใช่โรค พบได้ทุกเพศ ทุกวัย ส่วนมากพบ


ในเด็กแรกเกิด อาการท้องอืดเกิดจากหลายๆ สาเหตุด้วยกัน เช่น ท้องอืด จากนม
ไม่ย่อย ท้องอืดจากการมีแก๊สในกระเพาะอาหารเนื่องมาจากดูดลมเข้าไปขณะกิน
นมแม่ หรือขณะดูดนมจากขวด
วิธปี อ้ งกันลูกท้องอืดท�ำได้โดยพยายามอย่าให้ลกู กลืนลม ถ้าให้กนิ นมขวด
ต้องให้น�้ำนมท่วมจุกนม หรือไล่ลมทุกครั้งหลังจากลูกดูดนมแล้ว อุ้มนาน 20–30
นาทีกอ่ น ให้ลกู นอนลง หากวิธดี งั กล่าวไม่ได้ผล ต้องพึง่ ยา หรือพบแพทย์เพือ่ รับยา
ยาแก้ท้องอืด เช่น ยามหาหิงค์ ยาประสะกะเพรา

ยามหาหิงค์ ยาแก้ท้องอืดส�ำหรับเด็ก
ยามหาหิงค์มี 2 แบบ คือ ชนิดแห้ง และชนิดน�ำ้ มีทั้งน�ำ้ ใสไม่มีสี และ
สีน�้ำตาลสูตรดั้งเดิม

131
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

ส่วนประกอบ
● Asafoetida 20% W/V

● Alcohol 70% qs 100 ml

● สรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืด ขับลมในกระเพาะอาหาร ปวดท้อง

เพราะลมในเด็ก
วิธีใช้
● ชนิดแห้ง ใช้ผูกกับข้อมือเด็ก เพื่อสูดดม

● ชนิดน�้ำ ทายามหาหิงค์ บริเวณหน้าท้อง ลิ้นปี่ ข้อมือ ข้อเท้า และ

แนวกระดูกสันหลังขณะมีอาการ หรือทายาหลังอาบน�้ำเช้าเย็น หลังจากทายา


15-20 นาที เด็กจะผายลม หากอาการดีขึ้นควรหยุดใช้ยา
การเก็บรักษา
● เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง

● ยาชนิดน�้ำมีอายุ 3 ปี กรณียังไม่เปิดใช้งาน

● หลังเปิดใช้ มีอายุ 30 วัน ไม่หมดควรทิ้ง

● ปิดฝาให้สนิทป้องกันการระเหยของยา

การนวดท้องช่วยกระตุ้นล�ำไส้
ทามหาหิงค์ที่ท้องให้ทั่วหรือจะใช้โลชั่นส�ำหรับเด็กทาท้องให้ทั่ว
ใช้นิ้วหัวแม่มือวางใกล้กับสะดือเด็ก นวดโดยกดหัวแม่มือลงเล็กน้อยแล้ว
นวดหมุนเป็นวงกลม โดยวนตามเข็มนาฬิกาจากขวาไปซ้าย การวนลักษณะคล้าย
ก้นหอย ท�ำซ�้ำสองถึงสามครั้ง
จับเด็กนอนตะแคง กดนวดคลึงเบาๆ ถึงบริเวณกลางหลัง หรือจะท�ำใน
ท่านั่งโดยใช้แขนข้างหนึ่งประคองเด็กบริเวณอกหรือล�ำตัวช่วงบนคล้ายท่านั่งคว�ำ่
หน้าแล้วกดคลึงจากเอวจนถึงกลางหลังเบาขึ้นลงสองถึงสามครั้ง

132
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ถ้าเป็นเด็กเล็กอาจอุม้ พาดบ่าลูบหลังเบาๆ ร่วมด้วย หรือจะอุม้ พาดบ่าแล้ว


ใช้นิ้วกดคลึงหลังส่วนเอวถึงกลางหลังเบาๆ ขึ้นลงก็ได้เช่นกัน

การเขียนคิ้วเด็ก
การเขียนคิว้ เด็ก เป็นวิธที โี่ บราณมักเขียนคิว้ ให้ลกู หลานเพือ่ ให้เด็กทีโ่ ตขึน้
มีคิ้วขึ้นหนาและดกด�ำ เพราะคิ้วเป็นส่วนประกอบของหน้าตาที่ทำ� ให้ดูสวยงาม
วิธีเขียนคิ้ว
1. ใช้ดอกอัญชันสีม่วงสดต�ำขยี้ให้น�้ำออกแล้วใช้ดอกในส่วนที่แข็งเขียน
เป็นเส้นทีเ่ นินคิว้ ไปตลอดแนวคิว้ โดยมักเขียนจากแนวหัวตาถึงหางตา จึงท�ำให้ควิ้
ดูสวยงาม
2. อาจใช้ดอกแห้งแช่นำ�้ ร้อนเพือ่ ให้สขี องอัญชันออกและให้นำ�้ นัน้ มีสมี ว่ ง
เข้ม ใช้กา้ นของพลูกนิ หมาก หรือใช้ดอกกานพลูจมุ่ หรือแตะน�ำ้ อัญชันแล้วเขียนคิว้
เป็นเส้นโค้งให้สวยงามไม่ให้เรอะหรือเปรอะ
3. อาจใช้ไม้พนั ส�ำลีจมุ่ น�ำ้ อัญชันเขียนคิว้ แทนใช้กา้ นพลู เขียนเป็นแนวโค้ง
ให้สวยงาม การเขียนคิ้วนั้นจะเขียนวันละสองครั้งหลังอาบน�้ำแต่งตัวเด็กแล้ว
นานวันขนคิว้ ก็จะขึน้ หนาและดกด�ำสวยงาม การเขียนคิว้ ต้องเขียนให้เป็นรูปโค้งตาม
แนวคิ้วหรือตา และให้เขียนเป็นแนวเส้นสวยงามไม่หนาหรือสกปรกเลอะเทอะ
หรือเปื้อนจนน�้ำอัญชันที่เขียนไหลเป็นทางเปื้อนหน้า สังเกตว่าหลังเขียนคิ้วเด็กมี
อาการแพ้หรือไม่ ถ้ามีผื่นขึ้นที่ตาหรือที่คิ้วควรงด และการเขียนคิ้วดอกอัญชันที่ใช้
ต้องน�ำมาล้างให้สะอาดจึงใช้ได้

การนวดดัดแขนขา
การนวดดัดแขนและขา เป็นวิธีการจัดโครงสร้างของแขนและขาเพื่อ
ป้องกันไม่ให้เกิดอาการแขนหรือขาโก่ง โดยการจับขาในส่วนของเข่าให้ชิดกันแล้ว

133
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

กดดัดเบาๆ ให้ตรงท�ำประมาณสามถึงห้าครั้งต่อหนึ่งยก ท�ำสามยก จากนั้นกดดัด


ที่ข้อเท้าสองข้างท�ำซ�้ำสามถึงห้าครั้ง ท�ำสามยกเช่นกัน
การดัดแขนให้จับที่หัวไหล่ที่ละข้างอีกมือจับที่ข้อศอกกดดัดไล่ลงมา
ที่ข้อมือท�ำซ�้ำสามครั้งแล้วเปลี่ยนท�ำอีกข้าง
การดัดแขนขามักท�ำหลังจากอาบน�ำ้ ใส่เสือ้ ผ้าแล้วเด็กจะสบายตัวและรูส้ กึ
เหมือนได้เล่น อาจท�ำวันละสองครัง้ หลังอาบน�ำ้ หรือเช็ดตัว การกดดัดแขนขาในเด็ก
จะท�ำด้วยความสบายไม่รนุ แรง ไม่ทำ� ให้เกิดการบาดเจ็บและต้องไม่ฝนื จนท�ำให้เกิด
การบาดเจ็บของข้อต่อต่างๆ ของแขนและขา

134
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

อ้างอิง
บัญชีรหัสกลุ่มโรค อาการและหัตถการด้านการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์
แผนไทย กรมการแพทย์ แ ผนไทยและการแพทย์ ท างเลื อ ก กระทรวง
สาธารณสุข ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559
www.amarinbabyandkids.com
www.maerakluke.com
www.Mama Expert.com

135
ชะลอวัยด้วยการนวดเส้นประธานสิบ

อาจารย์อภิชาติ ลิมติยะโยธิน

เป็นหมอนวด อย่าลบหลู่ดูถูกเส้น
ต้องรู้เห็น เส้นสายได้ทุกที่
เส้นประธานสิบ หลักฐานโบราณมี
รอบนาภี เเยกเส้นสายให้พลัง
ค�ำกลอน: อิทา ปิงคลา สุมนา กาลทารี สหัสรังษี ทวารี จันทภูสัง รุชำ� สิขิณี
สุขุมัง สิบเส้นนี้เอย

ร่างกายมนุษย์โดยประมาณ สูง 1 วา หนา 1 คืบ กว้าง 1 ศอก มีขันธ์ 5


ประกอบขึ้นมาเป็นชีวิต รูปธาตุมีธาตุทั้ง 4 (ดิน น�ำ้ ลม ไฟ) รวมเข้าด้วยกัน มีเส้น
ประธานสิบและเส้นบริวารร้อยเข้าเป็นตาข่ายร่างแหทั่วทั้งร่างกาย เป็นช่องทาง
ของพลังขับเคลื่อนร่างกาย เช่น
อิทา ปิงคลา เป็นพลังแห่งการหายใจ
สุมนา เป็นพลังแห่งหัวใจ
กาลทารี ขับเคลื่อนไปทั่วร่าง
สหัสรังสี ทวารีเส้น วิ่งสุดที่ดวงตา
จันทภูสัง รุชัง เป็นพลังเกี่ยวกับหู
สิขินี สุขุมัง เป็นพลังเกี่ยวกับการขับถ่ายฯ

136
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

การนวด และการบริหารเส้นประธานสิบ มีผลให้การท�ำงานของพลังงาน


ในร่างกายท�ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย
ทั้งภายในและภายนอก เมื่อปฏิบัติเป็นประจ�ำอย่างต่อเนื่องมีส่วน ช่วยชะลอวัย
ได้อย่างดี

การบริหารเส้นประธานสิบ
เส้นอิทาและเส้นปิงคลา หายใจเข้าลึกไป ผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆ
10-20 ครั้ง

ภาพแสดงท่าบริหารเส้นอิทา และปิงคลา

137
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

เส้นสุมนา อ้าปากให้กว้าง แลบลิน้ ให้ยาวทีส่ ดุ ใช้ลนิ้ กลัว้ รอบฟันบนด้านใน

ภาพแสดงท่าบริหารเส้นสุมนา

เส้นกาลทารี ก�ำเหยียดนิ้วมือ นิ้วเท้า พร้อมกัน

ภาพแสดงท่าบริหารเส้นกาลทารี

138
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

เส้นสหัสรังสี และเส้นทวารี หลับตาให้สนิท แล้วกรอกตาซ้าย-ขวา บน-ล่าง

ภาพแสดงท่าบริหารเส้นสหัสรังสี และทวารี

139
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

เส้นจันทภูสัง และเส้นรุชัง ดึงหูทั้งสองข้างขึ้นบน-ลงล่าง และดึงไปข้าง


หน้า-ข้างหลัง

ภาพแสดงท่าบริหารเส้นจันทภูสัง และเส้นรุชัง

140
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

เส้นสิกขินี และเส้นสุขุมัง แขม่วท้อง ขมิบก้น 20-30 ครั้ง

ภาพแสดงท่าบริหารเส้นสิขินี และเส้นสุขุมัง

การนวดจุดราก (จุดสุดท้าย) ของเส้นประธานสิบ


เส้นอิทา และเส้นปิงคลา ใช้นวิ้ หัวแม่มอื นิว้ ชี้ กดรอบปีกจมูกซ้าย 3-10 ครัง้

ภาพแสดงการนวดรากของเส้นอิทา ภาพแสดงการนวดรากของเส้นปิงคลา

141
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

เส้นสุมนา ใช้สองนิ้วกดบริเวณใต้คาง 3-10 ครั้ง

ภาพแสดงการนวดรากของเส้นสุมนา

เส้นกาลทารี ให้ถูฝ่ามือ ถูฝ่าเท้า 20-30 ครั้ง

ภาพแสดงการนวดรากของเส้นกาลทารี

142
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

เส้นสหัสรังสี และเส้นทวารี ใช้ส้นมือทั้งสองข้างกดเบ้าตา 5-10 ครั้ง


ใช้มือทั้งสองข้างถูบริเวณตาตุ่มทั้งสองข้าง 20-30 ครั้ง

ภาพแสดงการนวดรากของเส้นสหัสรังสี และเส้นทวารี

143
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

เส้นจันทภูสัง และเส้นรุชัง ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางคีบบริเวณหูแล้วถูขึ้น-ลง


20-30 ครั้ง

ภาพแสดงการนวดรากของเส้นจันทภูสัง และเส้นรุชัง

144
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

เส้นสุขุมัง และเส้นเส้นสิขินี ใช้ปลายนิ้วกดใต้ท้องน้อย 3-10 ครั้ง

ภาพแสดงการนวดรากของเส้นสุขุมัง และเส้นสิขินี

145
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

ค�ำแนะน�ำ
1. รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ธัญพืช ผัก และผลไม้
หลากสี อาหารที่มีวิตามินซี วิตามินอี วิตามินเอ ซิลิเนียม สังกะสี แคโรทีนอยด์
เป็นต้น
2. ห้ามบิด ดัด สลัดแขน ขา คอ หลัง อย่างรุนแรง
3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
4. หลีกเลีย่ งพฤติกรรมทีท่ �ำให้รา่ งกายทรุดโทรม เช่น การท�ำงานต่อเนือ่ ง
หลายชั่วโมงโดยไม่พัก การดื่มสุรา การสูบบุหรี่
5. ออกก�ำลังกายอย่างเหมาะสมตามวัย
6. บริหาร และนวดทุกวัน เช้า-เย็น

146
ทุกอาชีพคลายปวดด้วยนวดไทย

อาจารย์อภิชาติ ลิมติยะโยธิน

การท�ำงานในท่าทางเดิมซ�ำ้ ๆ เป็นเวลานาน ย่อมก่อให้เกิดอาการปวดเมือ่ ย


ขึ้นได้ทุกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นงานที่ต้องนั่ง ยืน หรือเดิน เป็นเวลานาน อาการปวดที่
มักจะพบได้บ่อย เช่น ปวดบริเวณ บ่า ต้นคอ หลังช่วงเอว และสะโพก โดยสาเหตุ
ก่อโรคที่พบบ่อย ได้แก่
มูลเหตุของโรค 8 ประการ หรือความประพฤติของมนุษย์ที่จะท�ำให้โรค
บังเกิดขึ้น ยกตัวอย่างไว้ 8 ประการ คือ
1. อาหาร เช่น บริโภคอาหารมากหรือน้อยกว่าทีเ่ คย ไม่ตรงเวลา บริโภค
อาหารบูดเสีย อาหารรสแปลก อาหารที่ท�ำให้ปวดเมื่อย เช่น สุรา เป็นต้น
2. อิริยาบถ การอยู่ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งนานเกินควร ท�ำให้เกิด
อาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเส้นเอ็น ควรผลัดเปลี่ยนอิริยาบถให้เหมาะสมทุกๆ
ชั่วโมง
3. ความร้อนและเย็น เมื่อถูกความร้อนความเย็นมากเกินไป ท�ำให้ธาตุ
วิปริตแปรปรวนไป เช่น ถูกแอร์เป่านานเกินไปจนเลือดไหลเวียนไม่ดี
4. อดนอน อดข้าว อดน�้ำ ร่างกายควรได้รับการพักผ่อนหลับนอนที่
พอเหมาะ รับประทานอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดืม่ น�้ำทีส่ ะอาด
ให้เพียงพอ เพื่อให้มีการซ่อมแซมส่วนที่สึกหลอของร่างกาย

147
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

5. กลัน้ อุจจาระ ปัสสาวะ การกลัน้ อุจจาระหรือปัสสาวะ จะท�ำให้รา่ งกาย


ได้รบั ของเสียทีต่ อ้ งขับถ่ายออกไป กลับเข้ามาในร่างกาย การหมักหมมของอุจจาระ
และปัสสาวะท�ำให้เกิดการขยายตัวของเชื้อโรคและพิษมากขึ้น พิษเหล่านี้จะกลับ
เข้าสูก่ ระแสเลือด และไปสูส่ ว่ นต่างๆ ของร่างกาย อันเป็นสาเหตุทำ� ให้เกิดโรคหลาย
ประการ รวมถึงอาการปวดเมื่อย เวียนศีรษะ ปวดหลัง ปวดท้อง
6. ท�ำงานเกินก�ำลัง การหักโหมท�ำงาน หรือใช้ร่างกายมากหรือนาน
เกินควร อาจท�ำให้ร่างกายบาดเจ็บจากการท�ำงานได้
7. ความเศร้าโศกเสียใจ เป็นสาเหตุทที่ ำ� ให้รา่ งกายเสือ่ มโทรมได้หลายทาง
เช่ น ท� ำ ให้ น อนไม่ ห ลั บ เกิ ด ภาวะความเครี ย ด เลื อ ดไปเลี้ ย งสมองได้ น ้ อ ย
การท�ำงานของประสาทและหัวใจผิดปกติ และความทุกข์ทั้งหลายยังส่งผลให้
กล้ามเนื้อเส้นเอ็นตึงตัว ไม่ผ่อนคลายอีกด้วย
8. มีโทสะ ความผูกโกรธเป็นไฟเผากายและใจให้มอดไหม้ เกิดความทุกข์
เหมือนไฟสุมอยูใ่ นดวงจิต สมองถูกท�ำลาย สติสมั ปชัญญะขาดพร่อง ผิวพรรณเหีย่ วย่น
อาจท�ำให้เกิดการท�ำร้ายตนเองหรือผู้อื่น หรือหาเหตุให้ถูกท�ำร้ายได้โดยง่าย

ลักษณะอาการปวด
ระยะที่ 1 จะมีอาการปวดเมื่อยล้าบริเวณที่ถูกใช้งานประจ�ำ หลังจาก
ท�ำงาน 3-4 ชั่วโมง อาการจะหายไปเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ มักจะตรวจไม่พบความ
ผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย แต่จะร�ำคาญหงุดหงิดกับอาการเมื่อยล้าเท่านั้น
ระยะที่ 2 จะมีอาการปวดเมื่อย ล้า ชา อ่อนแรง หลังจากท�ำงานไประยะ
เวลาสั้นๆ 1-2 ชั่วโมงต้องเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยครั้ง อาการมักจะค้างไม่หายทันที
เมื่อเปลี่ยนท่าทาง และอาจรบกวนการนอนหลับบ้าง หลังจากพักอาการจะทุเลา
ลงเล็กน้อย และอาจปวดเมื่อตื่นนอน พอลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวอาการเหมือนดีขึ้น
แต่พอท�ำงานท่าเดิมสักพักกลับแย่ลง ระยะนี้อาการสามารถกลับมาเป็นปกติได้
ถ้าดูแลตนเองดี ท�ำตามค�ำแนะน�ำ
148
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ระยะที่ 3 จะมีอาการ เจ็บ ปวด ชา หรืออ่อนแรงจะมากขึ้นและเร็วขึ้น


เรื่อยๆ จนกระทั่งมีอาการตลอดเวลา แม้ว่าจะแค่เพียงท�ำกิจวัตรประจ�ำวันเล็กๆ
น้อยๆ ก็ปวดจนแทบท�ำต่อไม่ได้ อาการปวดจะรบกวนการนอนท�ำให้พักผ่อน
ไม่เพียงพอ ต้องหยุดงานเพื่อรักษาตนเองอย่างจริงจัง และต้องใช้เวลาฟื้นฟูสภาพ
ร่างกายยาวนาน

ที่มา: https://www.dek-d.com/board/view/3332695/

149
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

การนวดช่วยคลายปวดจากการท�ำงาน (คอ บ่า ไหล่)


และ (หลังบั้นเอว สะโพก ขา เข่า ข้อเท้า)

การนวดคลายปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่


1. นวดพื้นฐานบ่า (หกสูง หกกลาง หกต�่ำ)
2. พื้นฐานบ่าด้านหลัง
3. สัญญาณ 4, 5 หลัง
4. สัญญาณ 4 หัวไหล่ เขยื้อนสะบัก
5. พื้นฐานโค้งคอ
6. สัญญาณ 1, 2, 5 ศีรษะด้านหลัง
7. พื้นฐานหลัง

การนวดคลายปวดบริเวณหลังบั้นเอว สะโพก ขา เข่า ข้อเท้า


1. พื้นฐานขา เปิดประตูลม เน้นข้อเท้า
2. พื้นฐานหลัง
3. สัญญาณหลัง 1, 2, 3
4. สัญญาณขาด้านนอก 1, 2, 3, 4, 5
5. สัญญาณขาด้านใน 1, 2, 3, 4, 5

150
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ค�ำแนะน�ำ
1. ประคบความร้อนชื้นบริเวณที่เป็น 10-15 นาที เช้า-เย็น
2. งดอาหารแสลง เช่น ข้าวเหนียว หน่อไม้ เหล้า เบียร์ เครื่องในสัตว์
ยาแก้ปวด
3. ห้ามบิด ดัด สลัดแขน และคอ
4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ท�ำให้เกิดโรค เช่น ยกของหนัก นอนทับไหล่
ข้างที่เป็น
6. บริหารกล้ามเนื้อ เช่น
- ก้มหน้า เงยหน้า ท�ำ 3 ชุด
- หันหน้าซ้าย-ขวา ท�ำ 3 ชุด
- เอียงคอหูชิดไหล่ซ้าย-ขวา ท�ำ 3 ชุด
- หมุนศีรษะเป็นวงกลม ซ้าย-ขวา 3 รอบ
- ท่าดึงแขนชูแขน (โหนรถเมล์) สลับกัน 3-5 ชุด
- ท่าแกว่งแขน 30 ครั้ง
7. นวดรักษาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

151
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก

รูปท่าบริหาร บ่าและคอ

ก้มหน้าใช้มือประสานกันบริเวณท้ายทอย บีบศอกเข้าแล้วกดลง เงยหน้าใช้มือ


ประคองใต้คาง

หันหน้าซ้ายใช้มือขวาช่วยประคอง หันหน้าขวาใช้มือซ้ายช่วยประคองให้สุดองศา

หมุนศีรษะเป็นวงกลม อาจมีเสียงเอ็นเสียดสีกันได้ขณะท�ำ แต่ถ้าท�ำแล้วมีอาการ


เสียวร้าวชาให้หยุดท�ำ
152
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ท่าดึงแขนชูแขน งอข้อศอกออกแรงดึงเกร็งกล้ามเนื้อคอและหลังช่วงบนท� ำสาม


จังหวะ

ท�ำท่าแกว่งแขน 30 ครั้ง ชูแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ แล้วทิ้งแขนให้ผ่านล�ำตัวไป


ด้านหลังแกว่งแบบผ่อนคลายสบายๆ

153
ตลาดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
Global Trust in Thai Herbs & Wisdom
โลกมั่นใจ สมุนไพรไทย ภูมิปัญญาไทย

สถาบันวิจยั ระบบสาธารณสุข

You might also like