Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 96

บันทึกภูมปิ ญ

ั ญาหมอพืน้ บ้าน
ภาคใต้
โครงการศึกษาและพัฒนาการรับรองสถานภาพทางกฎหมาย
ของหมอพื้นบ้านระยะที่สอง

โดย
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข
บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้

ISBN : 978 - 616 - 11 - 1099 - 4


ที่ปรึกษา
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา
นายแพทย์ปภัสสร เจียมบุญศรี
ผู้เขียน
กมลทิพย์ สุวรรณเดช
สมัคร สมแวง
บรรณาธิการบริหาร
เสาวณีย์ กุลสมบูรณ์
บรรณาธิการ
สิริรักษ์ อารทรากร
กมลทิพย์ สุวรรณเดช
ภราดร สามสูงเนิน
อรจิรา ทองสุกมาก
อรพินท์ ครุฑจับนาค
สมัคร สมแวง
จัดพิมพ์โดย
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
โทรศัพท์/โทรสาร ๐ - ๒๕๙๑ - ๗๘๐๘, ๐ - ๒๑๔๙ - ๕๖๐๐
เว็บไซต์ http://www.dtam.moph.go.th
พิมพ์ครั้งที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕
จำนวน ๑,๕๐๐ เล่ม
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
สนับสนุนโดย กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

คำนำ
หมอพื้นบ้านเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการเยียวยารักษาโรค
โดยเรียนรู้จากตำรา การถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น และจากประสบการณ์ในบริบทของ
วัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นผู้มีบทบาทเยียวยาดูแลรักษาสุขภาพคนในชุมชน เป็นที่
ยอมรับเชื่อถือจากชุมชน สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในการ
ดูแลสุขภาพในหลายมิติ ทั้งด้านกาย จิต สังคม วัฒนธรรมและความเชื่อ
ชุดหนังสือบันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ๔ ภาค ได้จากการรวบรวม
องค์ความรูห้ มอพืน้ บ้านทีเ่ ข้าร่วมโครงการศึกษาและพัฒนาการรับรองสถานภาพทาง
กฎหมายของหมอพืน้ บ้านระยะทีส่ อง ซึง่ ดำเนินการคัดเลือกหมอพืน้ บ้านทีม่ คี วามรู้
ความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ คุณธรรม จริยธรรม ให้การช่วยเหลือดูแล
สุขภาพในชุมชน เพือ่ ขึน้ ทะเบียนและขอรับใบอนุญาตเป็นผูป้ ระกอบโรคศิลปะสาขา
การแพทย์แผนไทย ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา
๓๓ (๑) (ค) โดยมีหมอพื้นบ้านที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๑๙๐ คน
ประกอบด้วยหมอพื้นบ้านจากภาคกลาง(รวมทั้งภาคตะวันออก) ๕๕ คน ภาคเหนือ
๒๕ คน ภาคอีสาน ๖๒ คน และภาคใต้ ๔๘ คน ซึ่งได้รับการประเมินและมอบใบ
ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยตามพระราชบัญญัติการประกอบ
โรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๓ (๑) (ค) แล้ว ๕๖ คน
กรมพั ฒ นาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ขอขอบคุณ
หมอพืน้ บ้านผูใ้ ห้ขอ้ มูลทุกท่าน และหวังว่าบันทึกภูมปิ ญ
ั ญาฉบับนีจ้ ะเป็นประโยชน์
ต่อการศึกษา วิจัย และพัฒนา ต่อไปในอนาคต

(นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา)
อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
มกราคม ๒๕๕๕
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

สารบัญ
หน้า
๑. นายพา รักนุ้ย ๘
๒. นายปราโมทย์ แก้วนุ้ย ๙
๓. นางหวน คงศรีทอง ๑๑
๔. พระครูขันตยาภรณ์ (พรหม ขนฺติโก) ๑๒
๕. นายสวิง องอาจ ๑๓
๖. นายไพรัตน์ งามประดิษฐ์ ๑๔
๗. นายภานุพงศ์ ปริยวงศ์กร ๑๕
๘. นายสมบัติ ไชยคชบาล ๑๗
๙. นายเคล้า คงชุม ๑๙
๑๐. นายจัด นุ้ยจันทร์ ๒๐
๑๑. นายเคลื่อน ทองรอด ๒๑
๑๒. นายแหยง พัฒนา ๒๒
๑๓. นายจิตร บุญเลื่อง ๒๓
๑๔. นายทองหวาน คำมณี ๒๔
๑๕. นายนุกูล ลอยทอง ๒๖
๑๖. นายเติม เจริญสุข ๒๗
๑๗. นายผิน ศรชนะ ๒๙
๑๘. นายกิติพงศ์ เพชรรัตน์ ๓๐
๑๙. นายสัมฤทธิ์ วิชัยดิษฐ ๓๒
๒๐. นายสำเริง หนูคง ๓๔
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

หน้า
๒๑. นายสงวน คุณทรหาร ๓๖
๒๒. นายเสริฐ ขาวอรุณ ๓๘
๒๓. นายสมปอง อุทุมรัตน์ ๔๐
๒๔. นางสมพร สุดใจ ๔๑
๒๕. นายวิโรจน์ วิโรจน์วัฒนกุล ๔๓
๒๖. นายฟื้น แก้วสมศรี ๔๕
๒๗. นายคล่อง พรหมปลอด ๔๗
๒๘. นายบูรณ์ ขวัญจันทร์ ๔๙
๒๙. นายยะยอ หลำขุน ๕๐
๓๐. นายอุเส็น วงศ์นิรัตน์ ๕๑
๓๑. นายวน แก้วบัวผัน ๕๓
๓๒. นายดนรอหมาน การดี ๕๔
๓๓. นายเอียด แก่นแก้ว ๕๖
๓๔. นายสุรวิทย์ สือมุ ๕๗
๓๕. นายสามะ มะเซ็ง ๕๙
๓๖. นายจรูญ พรหมมีฤทธิ์ ๖๐
๓๗. นายมะแอ ยูโช๊ะ ๖๑
๓๘. นางแฉล้ม กุลชุม ๖๓
๓๙. นายห้าหมีน หวังสบู ๖๔
๔๐. นายทวี หมันหมาด ๖๖
๔๑. นางเรณู หลานหาด ๖๘
๔๒. นายปีปี ปรามเภท ๗๐
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

หน้า
๔๓. นายทองใบ จันทร์พิชัย ๗๒
๔๔. นายอนันต์ แก้วชะนา ๗๔
๔๕. นายลับ นาคช่วย ๗๖
๔๖. นายส้าหาก หัสนีย์ ๗๘
๔๗. นางหมะกรือซง แวอาแล ๗๙
๔๘. นายสมหมาย กาดกล้า ๘๐
รายชื่อหมอพื้นบ้าน
ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๑. นายพา รักนุ้ย
อายุ ๗๓ ปี ประสบการณ์การรักษา ๓๐ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้จากแม่ ซึ่งรับสืบทอด
ความรู้ต่อๆ มาจากบรรพบุรุษ
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๑๐ หมู่ที่ ๔ ตำบลโคกทราย
อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ความเชี่ยวชาญ
โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
รักษาโดยการนวดจับเส้น และใช้ยาสมุนไพร ยาสมุนไพรที่ใช้มี ๒ ประเภท
๑) ยาต้ม ประกอบด้วย ข่าแดง หัวไพล หัวกระชาย และ หัวกระทือ เป็นต้น
๒) ยาผง ประกอบด้วย เพชรตุฆาต และ มาตุฆาต เป็นต้น
กระดูกหัก กระดูกเคลื่อน
รักษาโดยใช้นำ้ มันมะพร้าวทาบริเวณทีห่ กั และบริกรรมคาถาพระโมคลาน และเข้าเฝือก
ไม้ไผ่

8 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๒.นายปราโมทย์ แก้วนุ้ย
อายุ ๕๘ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๒ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้จากมาจากคุณตาเล็ก จันทร์ปาน
และอาจารย์หลวงพ่อยอด (วัดทุง) และศึกษาความรู้
เพิ่มเติมจากสมุดข่อย สายเขาอ้อเขาทอง อำเภอควนขนุน
จังหวัดพัทลุง
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๒๑ หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านพร้าว
อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ความเชี่ยวชาญ
กระดูกหัก
วิธกี ารรักษา จัดกระดูกทีห่ กั ให้กลับเข้าทีเ่ ดิม เข้าเผือกไม้ไผ่ และทาน้ำมัน ประกอบด้วย
สมุนไพรสำคัญ เช่น ดีหมี กระดูกเลียงผา งาช้างเผือก เขี้ยวเสือไฟ และเขียวหมูตัน
และสมุนไพรอื่นๆ กว่า ๒๐ ชนิด

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 9
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

หมอนรองกระดูกและโรคเข่าเสื่อม
วิธีการรักษา
๑. การนวดจับเส้น
๒. ยาต้ม ประกอบด้วย สมุนไพรสำคัญ คือ ฟ้าทะลายโจร บัวบก น้ำมันงาดำ
ขมิ้นอ้อย และรากแสงขันธ์
๓. เข้าเฝือกไม้ไผ่
มดลูกพิการ
วิธีการรักษา
๑. นวดกดก้นกบ หน้าท้อง และเส้นประธานที่ขาทั้งสองข้าง
๒. ยาต้ม ประกอบด้วย ว่านชักมดลูก ฤ ษีผสม บัวบก ดอกคำฝอย และ หญ้าคา

10 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๓. นางหวน คงศรีทอง
อายุ ๗๓ ปี ประสบการณ์การรักษา ๔๗ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้จากมาจากบรรพบุรุษ
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๒๗ หมู่ที่ ๔ ตำบลแพรกหา
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ความเชี่ยวชาญ
โรคเส้น แก้เคล็ดขัดยอก
วิธีการรักษา ให้ผู้ป่วยรับประทานยาผง ประกอบด้วย ขิงแห้ง เจตมูลเพลิง ขมิ้นชัน
คนฑีสอ หัวงอ (ว่านน้ำ) ตากแห้ง บดเป็นผง
โรคลม
วิธีการรักษา ให้ผู้วยรับประทานยาลูกกลอน ตำรับยา ประกอบด้วย อ้อยช้าง หัวอ้อ
(อ้อดำ อ้อลาย อ้อหลบ อ้อนก) ตำผสมกับข้าว เอาไปย่างไฟให้เหลือง บดเป็นผงละเอียด
ละลายน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอนรับประทาน
เบาหวาน
วิธีการรักษา ใบย่านาง ๙ ใบ ต้มดื่ม

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 11
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๔. พระครูขันตยาภรณ์ (พรหม ขนฺติโก)


อายุ ๗๒ ปี ประสบการณ์การรักษา ๓๙ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้จาก พ่อ ซึ่งรับสืบทอด
ความรู้ต่อๆกันมาจากบรรพบุรุษ
ที่อยู่ ๑๑๖ วัดบ้านสวน ตำบลมะกอกเหนือ
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ความเชี่ยวชาญ
โรคเลือด (สตรี)
วิธีการรักษา ใบแคนาเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ดับพิษโลหิต
ริดสีดวงทวาร
วิธีการรักษา เพชรสังฆาตและชุมเห็ดเทศ ตำให้ช้ำแล้วตากแห้ง บดให้ละเอียด
ใส่แคปซูลรับประทาน
ไข้ทั้งปวง
วิธีการรักษา ยาห้าราก ประกอบด้วย รากย่านาง รากมะเดื่ออุทุมพร รากชิงชี่
รากเท้ายายม่อม รากคนทา ต้มดื่ม

12 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๕. นายสวิง องอาจ
อายุ ๖๒ ปี ประสบการณ์การรักษา ๓๙ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้จากพ่อ ซึ่งรับสืบทอด
ความรู้ต่อๆ กันมาจากบรรพบุรุษ
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๐ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลเขาพระ
อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
ความเชี่ยวชาญ
กระดูกหัก เคลื่อน หรือ หลุด
วิธีการรักษา
๑. วินจิ ฉัยอาการโดยการคลำบริเวณทีป่ วด ดูการเคลือ่ นไหวของอวัยวะส่วนนัน้ หรือ
ดูฟิล์มเอกซ์เรย์ประกอบ
๒. ดึงหรือจัดกระดูกให้เข้าทีแ่ ล้วเข้าเฝือกโดยใช้ทอ่ PVC โดยดัดให้เข้ากับส่วนโค้งเว้า
ของอวัยวะที่หักของผู้ป่วย
๓. ราดน้ำมันบนเผือก ประกอบด้วยน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันงา ที่ผ่านการเคี่ยว
ในอัตราส่วนน้ำมันมะพร้าว ๑ ปิ๊บ ต่อน้ำมันงา ๑ ขวดโซดา
๔. หลังจากกระดูกติดดีแล้ว นวดฟื้นฟูเส้นและกล้ามเนื้อจนหายเป็นปกติ

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 13
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๖. นายไพรัตน์ งามประดิษฐ์
อายุ ๔๓ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๒ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้จากพ่อ ซึ่งรับสืบทอดความรู้
ต่อจากปู่
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๘๓ หมู่ที่ ๙ ตำบลนาแว อำเภอฉวาง
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ความเชี่ยวชาญ
กระดูกหัก เคลื่อน หรือ หลุด
วิธีการรักษา
๑. คลำบริเวณที่ปวดเพื่อดูว่ากระดูกหักหรือแตก หรือดูฟิล์มเอกซ์เรย์ประกอบหาก
ผู้ป่วยนำมาด้วย
๒. ดึงและจัดกระดูกให้เข้าที่
๓. เข้าเฝือกไม้ไผ่ และใส่น้ำมันมะพร้าว
๔. เมือ่ กระดูกติดดีแล้ว นวดคลายเส้น เพือ่ บำบัดและฟืน้ ฟูให้กล้ามเนือ้ หายเป็นปกติ

14 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๗. นายภานุพงศ์ ปริยวงศ์กร
อายุ ๕๐ ปี ประสบการณ์การรักษา ๓๕ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้จากคุณย่า และ
พระครูธรรมธราธิคุณ (พ่อท่านจบ) วัดธาราวดี
ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๑ หมู่ที่ ๓ ตำบลบางจาก
อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ความเชี่ยวชาญ
กระดูกหัก เคลื่อน หรือ หลุด
วิธีการรักษา
๑. นำไม้ไผ่มาวัดขนาดแขนหรือขาตามตำแหน่งที่หัก และเหลาเฝือกไม้ไผ่เป็นซี่ๆ
ใช้เชือกกรองเฝือก
๒. ดึงกระดูกให้เข้าที่ พันด้วยผ้ายืด และห่อทับด้วยเฝือก
๓. ใส่น้ำมัน ประกอบด้วยน้ำมันมะพร้าว ผสมสมุนไพร เช่น ขมิ้นอ้อย หัวไพล ข่า
ใบกุ่ม เสลดพังพอน ผักเสี้ยนผี เถาวัลย์เปรียง ย่านเอ็น และเฉียงพร้า โดยบด
หรือตำแล้วเคีย่ วกับน้ำมันมะพร้าว เวลารดน้ำมันใช้คาถาพระโมคลานกำกับ หากมี
อาการช้ำในก็ให้ดม่ื น้ำมันสมุนไพรด้วย หรือหากมีบาดแผลก็สามารถใส่บาดแผลได้
๔. นวดฟื้นฟูหากกระดูกติดสนิทดีแล้ว แต่ยังเคลื่อนไหวได้ไม่ดี

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 15
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ลมปะกัง (ปวดศีรษะข้างเดียว)
วิธีการรักษา
รักษาด้วยวิธีการนวดจับเส้น
โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต
วิธีการรักษา
รักษาด้วยการนวดจับเส้นโดยน้ำมันสมุนไพร ตัวยาในน้ำมันนวดประกอบด้วย ไพล
ขมิน้ การบูร และเมนทอล และให้รบั ประทานยาต้ม ตัวยาประกอบด้วย ขีเ้ หล็กทัง้ ห้า
ตรีผลา แห้วหมู ยาดำ และดีเกลือ

16 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๘.นายสมบัติ ไชยคชบาล
อายุ ๖๘ ปี ประสบการณ์การรักษา ๓๕ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้จากลุง
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๗๔ หมู่ที่ ๗ ตำบลนาบอน
อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช
ความเชี่ยวชาญ
งูกัดและสัตว์พิษกัด
วิธีการรักษา
๑. ตรวจดูแผล สอบถามผู้ป่วยว่าถูกงูชนิดใดกัด หากไม่ทราบชนิดงูดูอาการปวด
และรอยเขี้ยว เพื่อวินิจฉัยชนิดงู
๒. ล้างแผลให้สะอาด ด้วยน้ำมันสมุนไพรชุบสำลี น้ำมันสมุนไพรประกอบด้วย
ขมิ้นอ้อย หัวเปราะ หัวไพล ขมิ้นดี ข่าใหญ่ ข่าเล็ก กระชาย เจตมูลเพลิงแดง
สะค้าน รากช้าพลู ใบมะกรูด ใบมะนาว ใบเสม็ดขาว ใบหนาด หัวชะงอ
ว่านมหาเมฆ เป็นต้น อย่างละเท่ากันนำมาเคี่ยวในน้ำมันมะพร้าว

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 17
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๓. ใช้หญ้าคา รัดเหนือแผล เพือ่ ป้องกันไม่ให้พษิ กระจาย หมอเอามือวางทีแ่ ผล แล้วว่า


คาถาดับพิษ ทำการกวาดพิษ แล้วให้ดื่มน้ำมนต์
๔. แช่ยาดับพิษ (หากพิษมากจะร้อนมาก) สมุนไพรคือ เกล็ดนาคราชต้มผสมน้ำ
แช่จนกว่าจะรู้สึกหายร้อน หรือเย็นเข้ากระดูก
๕. ทดสอบว่ารักษาพิษได้ผล ด้วยการนำหัวอุตพิษตำพอกที่แผล ถ้าพิษยังมีมาก
ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกคัน ถ้าพิษเหลือน้อยจะรู้สึกคัน ใส่น้ำมันสมุนไพรทุก ๑ ชั่วโมง
และสลับกับการแช่น้ำยาเกล็ดนาคราช ไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการทุเลา
งูสวัด หรือ เริมใหญ่
วิธีการรักษา
๑. ตรวจดูบาดแผล มีตุ่มน้ำใสๆ เอาเข็มสะอาด เขี่ยให้น้ำใส ออกมา
๒. ใช้สำลีชบุ น้ำมันสมุนไพร (สูตรเดียวกับทีร่ กั ษาพิษงู) เช็ดทำความสะอาดแผลใช้สำลี
ชุบน้ำมันปิดแผลไว้
๓. เปิดแผลทำความสะอาด เปลี่ยนผ้าปิดแผลทุกวันจนกว่าแผลจะแห้งตกสะเก็ด
ใช้เวลารักษาประมาณ ๑ เดือน

18 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๙. นายเคล้า คงชุม
อายุ ๖๘ ปี ประสบการณ์การรักษา ๓๗ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากพ่อ
และสมาคมแพทย์แผนไทย
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๔ หมู่ที่ ๔ ตำบลนิคมพัฒนา
อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ความเชี่ยวชาญ
นวดรักษาโรคเส้นทับกระดูก อัมพฤกษ์ อัมพาต ลมปัจจุบัน ข้อมือข้อเท้าพลิก และ
เอ็นจม
วิธีการรักษา
๑. รักษาด้วยการนวดจับเส้น และใช้นำ้ มันว่าน ประกอบด้วยว่านกว่า ๕๐ ชนิด เช่น ไพล
ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ว่านขอทอง ว่านมหาเมฆ ว่านม้าฮ่อ เป็นต้น (ทุกชนิดมีปลูก
รอบบ้านหมอ) นวดร่วมด้วย
๒. ประคบสมุนไพร
๓. รับประทานยาต้ม และยาแคปซูล

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 19
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๑๐. นายจัด นุ้ยจันทร์


อายุ ๖๐ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๗ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากบรรพบุรุษและศึกษาด้วย
ตัวเองจากตำรา
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๔๐ หมู่ที่ ๖ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู
จังหวัดสตูล
ความเชี่ยวชาญ
โรคไต
วิธีการรักษา ให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้ม ประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ แก่นฝาง
ใบไผ่ปา่ หญ้าไซ ตาไม้ไผ่สสี กุ ๗ ตา จุกหัวหอม จุกกระเทียม ฝักราชพฤกษ์ ยาดำ สารส้ม
ที่ผ่านการสะตุ ดอกคำฝอย เป็นต้น
เส้นกระตุก
วิธีการรักษา ให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้ม ประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ เทียนทั้งห้า
เถาวัลย์เปรียง โกศน้ำเต้า แก่นขี้เหล็ก บอระเพ็ด แห้วหมูนา ยาดำ มะขามป้อม
ขมิน้ อ้อย ฝักราชพฤกษ์ ดีปลี เป็นต้น หรือนำตัวยามาบดเป็นผงใส่แคปซูลรับประทานก็ได้

20 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๑๑. นายเคลื่อน ทองรอด


อายุ ๖๐ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๗ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากคุณตา และลุง
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๖๒ หมู่ที่ ๖ ตำบลทุ่งค่าย
อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ความเชี่ยวชาญ
งูกัดและสัตว์พิษกัด
วิธีการรักษา
๑. ใช้ยาฝนพาดบริเวณบาดแผล สมุนไพร ๔ ชนิด ได้แก่ ชุมเห็ดเทศ ข่อยนา
ชุมเห็ดไทย และไมยราบ นำมาฝนกับน้ำข้าวสาร ฝนพาดบริเวณบาดแผล
๒. หัวกระเทียมแดง ฝนกับน้ำข้าวสาร ใช้ห้ามเลือด
๓. เปลือกต้นเทียม (สะเดาช้าง) เปลือกกระท่อม ฝนกับน้ำข้าว รักษาแผลเน่าเปื่อย
ให้ฝนพาดบริเวณแผล ๕-๖ ครั้งต่อวัน นานติดต่อกัน ๗ วัน
งูสวัด (เริม)
วิธกี ารรักษา เคีย้ วหมาก พลู และปูนขาว (ปูนกินหมาก) พ่นให้ผปู้ ว่ ยในบริเวณทีเ่ ป็น
งูสวัด โดยให้พ่นหลังเที่ยงไปแล้ว ส่วนช่วงก่อนนอนและตอนเช้า ผู้ป่วยสามารถ
พ่นเองได้ พ่นวันละ ๓ ครั้ง นาน ๓ วัน

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 21
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๑๒. นายแหยง พัฒนา


อายุ ๘๓ ปี ประสบการณ์การรักษา ๖๑ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากปู่ และศึกษาเองจากตำรา
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๔ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง
จังหวัดตรัง
ความเชี่ยวชาญ
โรคดีซ่าน (ไวรัสลงตับ)
วิธีการรักษา ยาต้ม ตัวยาประกอบด้วย รากแจง แก่นสน จันทร์แดง ลูกกระดอม
กระพังโหม กรุงเขมา อย่างละ ๔๕ มิลลิกรัม ต้มโดยใช้น้ำ ๖ ขวดแม่โขง ต้มให้เหลือ
๒ ขวด ดื่มครั้งละ ๑ ถ้วยชา วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร นาน ๘ วัน
นิ่วในถุงน้ำดี
วิธีการรักษา ยาต้ม ตัวยาประกอบด้วย สมอไทย หัวหอมแดง เถาขี้กาแดง
รากมะอึก บอระเพ็ด แก่นสน กรุงเขมา กระพังโหม จันทร์แดง อย่างละ ๔๕ มิลลิกรัม
ต้ม ๓ ส่วนเอา ๑ ส่วน ดื่มครั้งละ ๑ ถ้วยชา วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร
นานไม่เกิน ๘ วัน
ไข้ทับระดู/ระดูทับไข้
วิธีการรักษา ยาต้ม ตัวยาประกอบด้วยรากมะปราง รากคนทา รากมะเฟือง
รากขี้กาแดง บอระเพ็ด เถาสะค้าน พริกไทย ดีปลี หญ้าปากควาย หญ้าตีนกา
และหญ้าไมยราบ อย่างละ ๓๐ มิลลิกรัม ต้มดื่ม ต้ม ๓ ส่วน เหลือ ๑ ส่วน
ดื่มครั้งละ ๑ ช้อนชา วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ยาต้ม ๑ หม้อ ดื่มติดต่อกัน
ไม่เกิน ๑๐ วัน
โรคไต
วิธีการรักษา ยาต้ม ตัวยาประกอบด้วย หัวกระแตไต่ไม้
น้ำเหลืองเสีย
วิธกี ารรักษา ยาทา ตัวยาประกอบด้วย เปลือกจิก กำมะถัน ทองพันชัง่ เหงือกปลาหมอ
สำมะงา อย่างละ ๑ ส่วน เคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ทาแผล วันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น
นาน ๓-๔ วัน

22 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๑๓. นายจิตร บุญเลื่อง


อายุ ๗๑ ปี ประสบการณ์การรักษา ๔๕ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากบรรพบุรุษ และ
ศึกษาเองเพิ่มเติมจากตำรา
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๔๙ หมู่ที่ ๑ ตำบลวังมะปรางเหนือ
อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ความเชี่ยวชาญ
โรคริดสีดวงจมูก
วิธีการรักษา ยาสูบ ประกอบด้วย ใบเหมก มหาหิงค์ุ ปูนขาว หัวกระเทียม
และเปลือกข่อย อย่างละ ๑ ส่วน ยกเว้นมหาหิงคุ์ ใช้ครึ่งส่วน นำทั้งหมดมาตากแห้ง
ผสมรวมกันใช้สูบ วันละ ๓ ครั้ง นาน ๑๕ วัน
ผอมแห้ง แรงน้อย (อ่อนเพลีย)
วิธีการรักษา ยารับประทาน ประกอบด้วยน้ำผึ้งรวง ๑ ช้อน พริกไทย ๗ เม็ด
ตำละเอียด ไข่ไก่เอาแต่ไข่แดง ปรุงรวมกัน รับประทานให้หมดเท่าที่ทำแต่ละครั้ง
๑ ครั้ง หลังอาหาร นาน ๗ วัน
ปวดข้อ ไข้พิษ ไข้กาฬ
วิธีการรักษา ยาต้ม ตัวยาประกอบด้วยสมุนไพร ๕ ชนิด ได้แก่ รากชิงชี่ รากย่านาง
รากคนทา รากหัวเท้ายายม่อม รากมะเดือ่ ชุมพร อย่างละเท่ากัน ต้มดืม่ ครัง้ ละ ๑ ช้อน
วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ดื่มนาน ๑๕ วัน
นิ่ว
วิธีการรักษา ยาต้ม ตัวยาประกอบด้วย สมุนไพร ๕ ชนิด ได้แก่ สารส้ม รากส้มกุ้ง
หัวสับปะรดเขียว รากหญ้าคา หัวเตยหอม ดื่มครั้งละ ๑ ถ้วยชา วันละ ๓ ครั้ง
ก่อนอาหาร นาน ๗-๑๕ วัน
ไอ เจ็บคอ
วิธีการรักษา ยาต้ม ตัวยาประกอบด้วยสมุนไพร ๕ ชนิด ได้แก่ ขิงสด พริกไทย
อย่างละ ๑ ส่วน น้ำตาล เกลือ อย่างละ ครึ่งส่วน มะนาว ๑ ผล

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 23
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๑๔. นายทองหวาน คำมณี


อายุ ๗๖ ปี ประสบการณ์การรักษา ๓๐ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากคุณตา และลุง
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลท่าธง อำเภอรามัน
จังหวัดยะลา
ความเชี่ยวชาญ
โรคนิ่ว
วิธีการรักษา
ให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๔ ชนิด ได้แก่ รากมะละกอ
รากบานไม่รู้โรย หญ้าหนวดแมว และสารส้มสะตุแล้ว อย่างละเท่ากัน
วิธีการต้ม ต้มน้ำ ๓ ส่วน เอา ๑ ส่วน ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร
เช้า-เย็น ติดต่อกัน ๗ วัน
โรคไข้จับสั่นเรื้อรัง
วิธีการรักษา
ให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๖ ชนิด ได้แก่ เถาย่านาง
รากเท้ายายม่อม รากมะเดือ่ ชุมพร รากชิงชี่ และจันทร์แดง-จันทร์ขาว อย่างละเท่ากัน
วิธีการต้ม ต้มน้ำ ๓ ส่วน เอา ๑ ส่วน ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว วันละ ๓ ครั้ง
ก่อนอาหารเช้า เที่ยง และเย็น ติดต่อกันนาน ๕ วัน
อัมพฤกษ์ อัมพาต
วิธีการรักษา
ให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๗ ชนิด ได้แก่ มะแว้งเครือทั้ง ๕
มะแว้ ง ต้ น ทั ้ ง ๕ ดอกดีป ลี พริก ไทยดำ เถาสะค้าน โกฐทั ้ ง ๕ เที ย นทั ้ ง ๕
อย่างละเท่ากัน
วิธีการต้ม ต้มกับน้ำ ๓ ส่วน เอา ๑ ส่วน ดื่มครั้งละ ๑ ถ้วยชา วันละ ๓ ครั้ง
ก่อนอาหาร เช้า เที่ยง และเย็น ติดต่อกันนาน ๗ วัน

24 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ไข้ทับระดู-ระดูทับไข้
วิธีการรักษา
ให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๓ ชนิด ได้แก่ หอมหัวใหญ่ ๓ หัว
ลูกใต้ใบทั้งห้า ๑ กำมือ เปราะหอม ๓ หัว นำตัวยาทั้งหมดมาต้มกับน้ำ ๓ ส่วน
เอา ๑ ส่วน ดื่มครั้งละ ๑ ถ้วยชา วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า เที่ยง และเย็น
ติดต่อกันนาน ๗ วัน
เบาหวาน
วิธีการรักษา
ให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๒ ชนิด ได้แก่ ใบอินทนิลน้ำ ๗ ใบ
ใบเตยหอม ๓ ใบ นำมาต้มน้ำ ๓ ส่วน เอา ๑ ส่วน ดื่มต่างน้ำติดต่อกัน
นาน ๑ เดือน

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 25
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๑๕. นายนุกูล ลอยทอง


อายุ ๕๕ ปี ประสบการณ์การรักษา ๓๐ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้จากมาจากคุณตา
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๙๕ หมู่ที่ ๔ ตำบลยุโป
อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
ความเชี่ยวชาญ
มะเร็งมดลูก
วิธีการรักษา ให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้ม ตัวยา ๕ ชนิด ประกอบด้วยข้าวเย็นเหนือ
ข้าวเย็นใต้ หนอนตายหยาก กำแพงเจ็ดชั้น และว่านชักมดลูก อย่างละ ๓ บาท
รับประทานครัง้ ละ ๑ แก้วกาแฟ วันละ ๒ ครัง้ ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๒๐-๓๐ วัน
ริดสีดวงทวาร
วิธีการรักษา ให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้ม ตัวยา ๕ ชนิด ประกอบด้วย ข้าวเย็นเหนือ
ข้าวเย็นใต้ ชิงชี่ จิงโจ้เล็ก และขันทองพยาบาท อย่างละ ๔ บาท รับประทานครั้งละ
๑ ถ้วยกาแฟ วันละ ๒ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๒๐-๓๐ วัน
ถอนพิษ (ผู้ที่โดนยาพิษ)
วิธีการรักษา ให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้ม ประกอบด้วย สมุนไพร ๕ ชนิด ได้แก่
รางจืดต้น รางจืดเถา รางจืดหัว คามจืด และช้าพลู อย่างละ ๑ ส่วน ดื่มครั้งละ ๑
ถ้วยกาแฟ วันละ ๒ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๑๐-๑๕ วัน
หัวใจโต
วิธีการรักษา ให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้ม ประกอบด้วย สมุนไพร ๕ ชนิด ได้แก่
กาฝากมะม่วง กาฝากมะนาว หญ้ากระดุม บอระเพ็ด และใบหม่อน ต้มดื่มครั้งละ ๑
ถ้วยกาแฟ วันละ ๒ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๒๐-๓๐ วัน
ภูมิแพ้
วิธีการรักษา ให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๕ ชนิด ได้แก่
จันทร์ขาว จันทร์แดง เกสรดอกบัวหลวง ดอกคำฝอย และดีปลีเชือก อย่างละเท่ากัน
ต้มดื่มครั้งละ ๑ ถ้วยกาแฟ วันละ ๒ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๒๐-๓๐ วัน

26 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๑๖.นายเติม เจริญสุข
อายุ ๗๕ ปี ประสบการณ์การรักษา ๔๐ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากนายเรือง พุฒทอง และ
นายคลิง้ แก้วแดง ศึกษาเพิม่ เติมจากสมาคมแพทย์แผนไทย
จังหวัดกระบี่
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๒๙/๑ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลไทรขึง
อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ความเชี่ยวชาญ
ตานซางในเด็ก
วิธีการรักษา
๑. ยากวาดซางเด็ก ประกอบด้วย ลิ่นทะเล ผลเบญจกานี เปลือกทับทิม
น้ำประสานทอง สะตุแล้วเอามาบดเป็นผง ละลายน้ำมะนาว กวาดในปากเด็ก
๒. ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพรสำคัญ ๑๒ ชนิด ได้แก่ เบญจตาลทั้ง ๕ (ตานหม่อน
ตานขโมย ตานโตนด ตานแดง ตานดำ) ย่านาง รากก้างปลา ดอกมะลิ
ลูกประคำดีควาย สมอพิเภก และสมอไทย อย่างละ ๑ กรัม ต้มรับประทาน
ครั้งละ ๑ ช้อนโต๊ะ วันละ ๔ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๒ วัน

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 27
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

โรคเลือด (ประจำเดือนมาไม่ปกติ)
วิธีการรักษา
ให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๕ ชนิด ได้แก่ เจตมูลเพลิง
เถาสะค้าน ยาดำ สารส้ม และดอกคำฝอย รับประทานครั้งละ ๒ ช้อนโต๊ะ
วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหาร ติดต่อกันนาน ๓ วัน

28 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๑๗.นายผิน ศรชนะ
อายุ ๗๖ ปี ประสบการณ์การรักษา ๕๕ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากบรรพบุรุษ
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๔๙ หมู่ที่ ๒ ตำบลกะเปา
อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ความเชี่ยวชาญ
กระดูกมือหัก หัวไหล่หลุด จมูกหัก และข้อเท้าแพลง
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจากมีอาการมือบวม เมื่อคลำดูจะรู้สึกว่ามีเสียงดังและมือจะยก
ของไม่ได้
๒. เข้าเฝือกไม้ไผ่ โดยใช้น้ำมันสมุนไพร ประกอบด้วย พญาไร้ใบ ขมิ้นอ้อย
ผิวต้นหมาก และใบขัดมอญ มาตำให้ละเอียด ผสมน้ำมันมะพร้าว พร้อมเสกคาถา
ปิดรอบบาดแผล เอาผ้าพัน ใส่เฝือกไม้ไผ่ นาน ๗ วัน
๓. นวดฟื้นฟูกล้ามเนื้ออีก ๗ วัน
ตานซางเด็ก
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจากเด็กมีอาการเปื่อยพุพอง
ตามแขน ขา ลำตัวและในช่องปาก
โดยสังเกตว่าเด็กจะเซื่องซึม ดื่มนมหรือ
อาหารไม่ค่อยได้
๒. ให้พ่อแม่เด็ก นำหมากและพลู ๕ กำ ดอกไม้
ธูปเทียน มาในวันเกิดของเด็ก ว่าคาถา
เชิญครูเจ้าของซางมากินหมากพลู แล้ว
เชิญครูกวาดซางให้เด็ก โดยใช้ข้าวสาร
โรยเบาๆ ตั้งแต่หัวเด็กจนถึงปลายเท้า

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 29
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๑๘. นายกิติพงศ์ เพชรรัตน์


อายุ ๖๗ ปี ประสบการณ์การรักษา ๓๐ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้จากมาจากพ่อและลุง
และศึกษาเพิ่มเติมจากสมาคมแพทย์แผนไทย
จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๗๕ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลบ้านนา
อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ความเชี่ยวชาญ
กระดูกหักและแตก
วิธีการรักษา
๑. สอบถามอาการว่าเจ็บปวดตรงไหนอย่างไร แล้วใช้มือคลำ
๒. ใช้น้ำมันมะพร้าวผสมด้วยพิมเสน เหง้าไพล นวดบริเวณนั้นให้กระดูกเข้าที่
๓. เข้าเฝือกไม้ไผ่
๔. หากยังมีอาการปวดเมื่อย ให้แก้เฝือกแล้วนวดซ้ำ ครบ ๗ วัน จึงสามารถ
แก้เฝือกได้
๕. ตรวจดูว่ายังมีอาการผิดปกติตรงไหนบ้าง ให้รักษาโดยการนวด เช่น นิ้วกระดิก
ไม่ได้ก็ให้นวดจนกว่านิ้วจะทำงานได้เหมือนเดิม
๖. ยาสำหรับรับประทานที่ช่วยให้หายเร็วขึ้น คือ กระดูกปลาเค็ม ๑ กิโลกรัม
มาทอดกรอบแล้วนำไปบดให้แห้ง ใส่ถุงเก็บไว้ รับประทานครั้งละ ๑ ช้อนโต๊ะ
ก่อนอาหาร ๓ เวลา

30 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ระดูขัด หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ
วิธีการรักษา
๑. สอบถามอาการผูป้ ว่ ยว่ามีอาการอย่างไร ประจำเดือนมาไม่ปกตินอ้ ยบ้างมากบ้าง
หรือมีผื่นคันตามร่างกาย หากมีผื่นแดงและปวดบั้นเอว อาการเหล่านี้เกิดจาก
โรคโลหิตเป็นพิษ
๒. ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๗ ชนิดคือ ขมิ้นอ้อย ใบส้มป่อย ใบมะขาม สารส้ม
ยาดำ อย่างละ ๒ ส่วน และดีเกลือ ๑ ส่วน นำตัวยาทั้งหมดมาล้างให้สะอาดและ
ใส่หม้อต้ม ต้ม ๓ ส่วน เอา ๑ ส่วน รับประทานครั้งละ ๑ ช้อนโต๊ะ ก่อนอาหาร
๓ เวลา
๓. เมื่อผู้ป่วยดื่มยา ให้สอบถามอาการว่ามีอาการถ่ายมากหรือน้อย ถ้ามากให้ลด
จำนวนลง หากถ่ายน้อยให้เพิ่มยาอีก

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 31
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๑๙. นายสัมฤทธิ์ วิชัยดิษฐ


อายุ ๗๔ ปี ประสบการณ์การรักษา ๔๕ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากบรรพบุรุษ
และศึกษาเพิ่มเติมจากสมาคมแพทย์แผนไทย
จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๓๘/๒ หมู่ที่ ๒ ตำบลกรูด
อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ความเชี่ยวชาญ
โรคตับ
วิธีการรักษา
ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๕ ชนิด ได้แก่ หัวเต่าร้าง หัวเต่าเกียบ หัวเต่านา
ใบส้มเสี้ยว และรากสามสิบ อย่างละ ๓๐ กรัม นำตัวยาทั้งหมดล้างน้ำให้สะอาด
ใส่หม้อต้มไฟอ่อนๆ ให้เดือดประมาณ ๒๐ นาที รับประทานครั้งละ ๑ ถ้วยชา
วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๑๕ วัน

32 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

โรคตานซางเด็ก
วิธีการรักษา
ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๕ ชนิด ได้แก่ ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง หนัก อย่างละ
๓๐ กรัม ว่านนางคำ ตานทั้ง ๕ และหญ้าใต้ใบ หนักอย่างละ ๑๕ กรัม นำสมุนไพร
ทั้งหมดมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วสับใส่หม้อ ใส่น้ำให้ท่วมยา ตั้งไฟอ่อน ๑๕ นาที
รับประทานครั้งละ ๑-๒ ช้อนชา วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๓ วัน
ริดสีดวงทวาร
วิธีการรักษา
ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๕ ชนิดได้แก่ ว่านชักมดลูก เพชรสังฆาต ว่านสบู่เลือด
อย่างละ ๕๐ กรัม อัคคีทวาร และผักคราดหัวแหวน อย่างละ ๓๐ กรัม ต้มไฟอ่อน
รับประทานครั้งละ ๑ ถ้วยกาแฟ วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกัน ๗ วัน
มะเร็งทุกส่วน
วิธีการรักษา
ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพรที่สำคัญ ๖ ชนิด เช่น โกฐเชียง โกฐจุฬา หญ้าหนวดแมว
อย่างละ ๕๐ กรัม ลูกกระเบา ลูกกระเบียน อย่างละ ๑๐๐ กรัม รากทองพันชั่ง
๒๐๐ กรัม นำสมุนไพรทัง้ หมดมาล้างน้ำให้สะอาด สับใส่หม้อ เติมน้ำท่วมยา ตัง้ ไฟอ่อน
ประมาณ ๒๐ นาที รับประทานครั้งละ ๑ ถ้วยกาแฟ วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร
ติดต่อกันนาน ๒๐ วัน

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 33
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๒๐.นายสำเริง หนูคง
อายุ ๖๘ ปี ประสบการณ์การรักษา ๔๓ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากบรรพบุรุษ
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๔๓/๑ หมู่ที่ ๙ ตำบลตากแดด
อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
ความเชี่ยวชาญ
กระดูกมือหัก กระดูกเคลื่อน กระดูกแตก กระดูกกดทับเส้นประสาท
วิธีการรักษา
๑. ดูและเปรียบเทียบกับข้างที่ดี
๒. คลำ โดยการใช้น้ำมันทาเพื่อความลื่นมือ รีดไปตามกระดูก พร้อมเปรียบเทียบ
กับอีกข้าง
๓. เข้าเฝือกไม้ไผ่ โดยใส่น้ำมันมะพร้าวปลุกเสก สมุนไพรในน้ำมัน ประกอบด้วย
หัวข้าวเย็น ขมิ้นอ้อยแก่ หัวไพลแก่ ผักหูปลาช่อน หญ้าเกล็ดหอย และ
หัวแห้วหมู
๔. หากมีอาการปวดมาก จะให้ดื่มยาสมุนไพร ครั้งละครึ่งแก้ว วันละ ๒ ครั้ง
ติดต่อกันนาน ๗ วัน
๕. หลังจากกระดูกติดดีแล้ว เอาเฝือกออก นวดรักษาให้ร่างกายส่วนนั้นทำงานได้ดี
ต่อไป

34 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

อัมพฤกษ์ อัมพาต
วิธีการรักษา
๑. สอบถามอาการ และสาเหตุ
๒. นวดรักษา จากเบาไปหนัก ตั้งแต่ศีรษะมาลำคอ แขน หลัง และขา โดยใช้น้ำมัน
มะพร้าวผสมสมุนไพร ทาช่วยในการนวด
๓. ฝึกให้ผู้ป่วยออกกำลังฟื้นฟูร่างกาย และใช้ยาประคบร่วมด้วย

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 35
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๒๑. นายสงวน คุณทรหาร


อายุ ๖๗ ปี ประสบการณ์การรักษา ๔๐ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากบิดา
ที่เป็นหมอรักษาผู้ป่วยกระดูกหัก และศึกษาเพิ่มเติมจาก
สมาคมแพทย์แผนไทยจังหวัดชุมพร และศึกษาด้วยตัวเอง
เพิ่มเติมจากตำรา
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๖๑ หมู่ที่ ๕ ตำบลนาชะอาง
อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
ความเชี่ยวชาญ
กระดูกมือหัก
วิธีการรักษา
๑. หากมีอาการผิดส่วน จับดู แล้วดึง แล้วใช้ตลับเมตรวัด
๒. เมือ่ ดึงแล้ว เห็นว่าใกล้เคียงกันแล้ว ให้ใช้สำลีพนั แล้วใส่นำ้ มันมะพร้าว ประกอบด้วย
สมุนไพรสำคัญ คือ ไพล เถาเอ็นอ่อน ขมิ้น ผักเสี้ยนผี มะกรูด ว่านน้ำ การบูร
กานพลู และส้มกุ้ง จากนั้นใส่เฝือกไม้ไผ่ แล้วห่อด้วยผ้าขาว

36 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๓. เมื่อใส่เฝือกครบ ๓ วัน ให้ขยับเฝือกตามขนาดแขนหรือขาที่บวมลดลง จนกว่า


จะหายเป็นปกติ
๔. หากมีอาการบวมมาก ใช้ลูกประคบประคบส่วนนั้น
๕. หากมีอาการท้องผูก ใช้เนือ้ ในฝักราชพฤกษ์ หรือใบชุมเห็ดมาต้มดืม่ ครัง้ ละ ๑ แก้ว
วันละ ๒ ครั้ง หลังอาหาร วันเว้นวัน ติดต่อกันนาน ๓ วัน
ไหล่ติด เข่าเสื่อม
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยจากอาการแขนสองข้างยกขึ้นไม่เหมือนกัน ต้องใช้ยาทาและนวดจนกว่า
เป็นปกติ
๒. อาการปวดเข่า ต้องประคบ บีบนวด และอย่าให้อ้วนเกินไป ต้องลดน้ำหนัก
๓. หากผู้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ต้องนวดแล้วใช้ยาควบคู่ไปด้วย คือ นวดใช้
น้ำมันมะพร้าว ผสมไพล และผักเสี้ยนผี ใช้เวลานวดไม่ต่ำกว่า ๓๐ นาที หรือใช้ยา
บดผง ละลายน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน เท่าหัวแม่มือ รับประทาน ครั้งละ ๒ เม็ด
วันละ ๒ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันจนกว่าจะหาย

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 37
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๒๒. นายเสริฐ ขาวอรุณ


อายุ ๗๔ ปี ประสบการณ์การรักษา ๓๐ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากปู่
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๗ หมู่ที่ ๓ ตำบลนาขา
อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
ความเชี่ยวชาญ
กระดูกมือหัก กระดูกหลุด ช้ำบวม
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยจากอาการ เจ็บปวดมากบริเวณที่หัก มีรอยช้ำ บวม มีแผลเลือดไหล
๒. หลังจากตรวจวินจิ ฉัยอาการแล้ว ตัง้ พานครู จัดกระดูกให้ได้สดั ส่วนเข้าที่ ใช้ผา้ ขาว
ชุบน้ำมันซึ่งมีตัวยาสำคัญคือ ครั่งติด พันที่กระดูกหัก แล้วใช้เฝือกครอบคาดด้วย
ด้ายขาว ๓ ตอน พร้อมบริกรรมคาถา ใช้น้ำมันหยดเฝือกทุกวัน จนครบ ๗ วัน
แล้วแก้เฝือกออก แล้วนวดแก้เส้นจนกว่าจะหาย

38 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

กระดูกแตกแล้วติดเชื้อลุกลามเป็นมะเร็งกระดูก/ฝี
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยจากอาการ เจ็บปวด มีหนองเลือดและหนองขาวปนไหลออกมาบริเวณ
ที่เป็นแผลจะลุกลามลึกเข้าไปเรื่อยๆ และมีน้ำเหลืองไหลตลอดเวลา
๒. ใช้ยาโปะแผล ประกอบด้วย กำมะถัน รากคงคาแดง รากขัดมอญ ขมิ้นอ้อย
ดอกอัญชัน ข้าวเย็นเหนือข้าวเย็นใต้ หมึกดำ ตำละเอียดโปะบริเวณแผลให้
หนองน้ำเหลืองแห้งภายใน ๓ วัน แผลจะหายจากข้างในออกนอก ใช้ผ้าขาวพัน
แล้วใช้น้ำอุ่นราดลงบนแผลที่พันวันละครั้ง รอ ๕ วัน ดูผล
ลำบองข้อ
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยจากอาการ ปวดเมื่อยบริเวณข้อ มีฟกบวม แดงร้อนขนาดใหญ่มาก เกือบ
เป็นหนอง แตก มีอาการไข้ ไม่สามารถพับข้อได้
๒. หลังจากตรวจดูอาการ ให้จัดหมาก ๑ คำ เพื่อเคารพครูอาจารย์ รักษาโดยคาถา
เป่า ๓ วัน ให้ลำบองแห้งเหี่ยวลง และใช้้ยาทา ประกอบด้วยตัวยาสำคัญ
คือ หญ้าตีนนก ใบหิ่งหาย ทองหลางใบมน ไข่ขาว การบูร และใบมะระขี้นก
ตำให้ละเอียดแช่น้ำปูนใสทาทุกวันจนครบ ๗ วัน ดูอาการ

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 39
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๒๓. นายสมปอง อุทุมรัตน์


อายุ ๖๖ ปี ประสบการณ์การรักษา ๔๐ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากปู่
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๕/๑ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลบางหมาก
อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
ความเชี่ยวชาญ
กระดูกมือหัก กระดูกหลุด กระดูกแตก กระดูกเคลื่อน
วิธีการรักษา
๑. เข้าเฝือกไม้ไผ่
๒. ใช้น้ำมันนวด ประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ ผิวมะกรูด ผักเสี้ยนผี ขมิ้นอ้อย
การบูร หัวข่า ใบลั่นทม เคี่ยวในน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันงา
๓. เมื่อกระดูกติดดีแล้ว นวดฟื้นฟูกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอีกครั้ง และฝึกให้ผู้ป่วย
นวดตัวเอง

40 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๒๔. นางสมพร สุดใจ


อายุ ๖๔ ปี ประสบการณ์การรักษา ๔๗ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากบิดา
ซึ่งสืบมาจากบรรพบุรุษต่อกันมาเป็นทอดๆ และศึกษา
เพิ่มเติมจากตำราของตระกูล
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๐๑ หมู่ที่ ๙ ตำบลนาพญา
อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
ความเชี่ยวชาญ
อัมพฤกษ์ อัมพาต
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก อาการอ่อนแรงช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มีประวัติเป็นไขมันใน
เส้นเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือได้รับอุบัติเหตุ ได้รับความกระทบ
กระเทือนทางสมอง
๒. รักษาโดยการนวดแบบเชลยศักดิ์ อบสมุนไพร อาบน้ำยาสมุนไพร ประคบ
กินยาต้ม ประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ ช้าพลู แห้วหมู ดีปลี สะค้าน
เจตมูลเพลิง สลอด กรุงเขมา ยาดำ รับประทานครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๓ ครั้ง
ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๓-๕ วัน และทาน้ำมันสมุนไพร รมไฟ สร้างความ
อบอุ่นให้แก่ร่างกาย

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 41
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

โรคกระดูกหัก
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก อาการเดินไม่ได้ กระดูกงอผิดรูป
๒. เข้าเฝือกไม้ไผ่ โดยทาน้ำมันมะพร้าวงอกเคี่ยว ที่ประกอบด้วยสมุนไพร คือ
เมล็ดมะนาว ดอกมะเขือ ยางทั่งติด นาน ๑๕ วัน
๓. หลังจากเอาเฝือกออกแล้ว ต้องคลำดูว่ากระดูกเข้าที่แล้ว ต้องนวดน้ำมันทุกวัน
จนกว่าจะหาย
เลือดพิการ
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการ จากหน้าซีด อ่อนเพลีย เป็นผื่นตามร่างกาย
๒. ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร คือ ฝาง แหล พริกไทย กระเทียม เกสรทั้ง ๕
อย่างละ ๑ บาท ต้มดื่มครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน
๑๕ วัน

42 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๒๕. นายวิโรจน์ วิโรจน์วัฒนกุล


อายุ ๘๑ ปี ประสบการณ์การรักษา ๓๐ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากพ่อ
และพระครูจุฬามุณี เจ้าคณะจังหวัดชุมพร
และพระครูวิสัยสีลวัต เจ้าคณะตำบลนาโพธิ์
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๑๙/๕ หมู่ที่ ๗ ตำบลนาโพธิ์
อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
ความเชี่ยวชาญ
ไข้ทับระดูหรือระดูทับไข้
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยจากอาการวิงเวียน หน้ามืด เป็นไข้ ปวดหัว สะบัดร้อน และสะบัดหนาว
๒. ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร คือ ไส้ข้าวโพด งวงมะพร้าว น้ำปูนใส เสกด้วย
อาการ ๓๒ ต้มยาเคีย่ วสามเอาหนึง่ ดืม่ ครัง้ ละ ๑ ถ้วยชา วันละ ๒ ครัง้ ก่อนอาหาร
ติดต่อกันนาน ๓ วัน
แก้ไข้ทั้งปวง
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยจากอาการ ตัวร้อน เป็นไข้
๒. ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร คือ ลำเพ็ง หัวว่าว รากมะพร้าว มะเดื่อชุมพร
จันทร์ทั้งสอง อย่างละ ๔ บาท ดื่มครั้งละ ๑ ถ้วยชา วันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น
ติดต่อกันนาน ๓ วัน

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 43
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

อัมพฤกษ์
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยจากอาการ เท้าชา ปวดเมื่อย แข้งขาไม่มีแรง
๒. ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร คือ หัวไพล ขมิ้นอ้อย ผักเสี้ยนผี เถาวัลย์เปรียง
พิมเสน อย่างละ ๕ บาท ดื่มครั้งละ ๑ ถ้วยชา วันละ ๓ ครั้ง เช้า เที่ยง เย็น
ติดต่อกันนาน ๑๐ วัน
โรคผิวหนัง
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยจากอาการ มีผื่นคัน ลมพิษ
๒. ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร คือ ขมิ้นอ้อย พลูเถื่อน ใบหนาด หัวไพล
ข้าวเย็นเหนือ อย่างละ ๓ บาท ดืม่ ครัง้ ละ ๑ ถ้วยชา วันละ ๓ ครัง้ เช้า เทีย่ ง เย็น
ติดต่อกันนาน ๕ วัน

44 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๑๖.นายฟื้น แก้วสมศรี
อายุ ๖๔ ปี ประสบการณ์การรักษา ๓๒ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากบิดา
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๒๔ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลท่าม่วง
อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ความเชี่ยวชาญ
ยาถอนพิษไข้ต่างๆ
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการ จากอาการร้อนหนาว ชัก หน้าซีดเชียว
๒. การรักษาใช้ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๕ ชนิด ได้แก่ รากไม้เท้ายายม่อม
รากเถาย่านาง รากชิงชี่ รากคนทา และรากมะเดื่อชุมพร อย่างละ ๒ บาท
นำมาต้มดืม่ ครัง้ ละ ๑ ถ้วยชาจีน วันละ ๓ ครัง้ ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๑๕ วัน

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 45
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

อาการปวดหัว
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการ จากมีอาการมึนและปวดศีรษะ ครั่นเนื้อ ครั่นตัว
๒. การรักษาใช้ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๓ ชนิด ได้แก่ แก่นขีเ้ หล็ก ใบแมงลักช้าง
อย่างละ ๑ บาท ผักเสี้ยนผี ๒ บาท นำมาต้ม ดื่มครั้งละ ๑ ถ้วยชาจีน
วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร
ไข้ดีซ่าน
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการ คือ ตาเหลือง ตัวเหลือง ซีดเซียว ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
๒. การรักษาใช้ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๒ ชนิด คือ หญ้าใต้ใบ หนัก ๓ บาท
และน้ำมันมะพร้าวเขียวหัวแดง ๓ แก้วชา นำมาต้มรวมกัน ดืม่ ครัง้ ละ ๑ ถ้วยชาจีน
วันละ ๓ ครั้ง

46 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๒๗. นายคล่อง พรหมปลอด


อายุ ๖๒ ปี ประสบการณ์การรักษา ๓๑ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากบรรพบุรุษ และศึกษา
ความรู้เพิ่มเติมจากสมาคมเภสัชและอายุรเวชแผนโบราณ
จังหวัดสงขลา
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๒๓ หมู่ที่ ๒ ตำบลคูหา
อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ความเชี่ยวชาญ
ไส้เลื่อนลงฝัก
วิธีการรักษา
๑. วินจิ ฉัยอาการ ปวดท้องและเจ็บทีอ่ ณ
ั ฑะ เคลือ่ นไหวไม่ได้ปวดมาก อัณฑะบวมใหญ่
๒. การรักษา ใช้ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๖ ชนิด ได้แก่ ใบแคแตรยอดสีดำ
๕๐๐ กรัม เปลือกพญาสัตบรรณ ๑,๕๐๐ กรัม ไข่เป็ดสีกากี ๙ ฟอง สารส้ม
๑๘ บาท เกลือตัวผู้ ๙ เม็ด และดอกจันทร์ ๓ บาท เวลาต้มวางสมุนไพรทั้งหมด
ไว้สว่ นล่างของหม้อ นำไข่มาเขียนอักขระทุกใบ แล้ววางไข่เอาไว้ขา้ งบน ต้มจนน้ำแห้ง
จำนวน ๓ ครั้ง รับประทานเฉพาะไข่เป็ด ห้ามรับประทานน้ำยาเด็ดขาด วันแรก
รับประทาน ๒ ฟอง เช้า-เย็น วันต่อไปวันละ ๑ ฟอง ตอนเช้า ติดต่อกันนาน ๘ วัน

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 47
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

เริม หรือ งูสวัด


วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการ เป็นเม็ดผื่นคัน แดง หนา มีหลายแบบ มีแบบตีนหมา
แบบฝ้าพาดเฉียง (ถ้าพาดชนกันจะรักษาไม่หายตามความเชือ่ ของคนใต้) มีอาการ
แสบร้อน คัน ปวด และมีไข้ร่วมด้วย
๒. การรักษา ใช้ยาทาภายนอก ประกอบด้วยสมุนไพรสำคัญ ๓ ชนิด ได้แก่ น้ำเมือก
ของหอยโข่ง หนัก ๓ บาท รากส้มป่อย หนัก ๒ บาท และขมิ้นอ้อยสด หนัก
๕ บาท โดยนำรากส้มป่อยและขมิน้ อ้อยมาตำให้ละเอียดผสมกับเมือกของหอยโข่ง
ให้ทาบริเวณที่เป็นเริมวันละ ๓-๔ ครั้ง แล้วแต่อาการ จนกว่าจะหาย ใช้เวลา
ประมาณ ๑ สัปดาห์

48 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๒๘. นายบูรณ์ ขวัญจันทร์


อายุ ๕๗ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๕ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากสืบทอดความรู้มาจากพ่อ
และพระปลัดนุ้ย และศึกษาด้วยตนเองจากตำรา
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๓๕/๑ หมู่ที่ ๒ ตำบลท่าไทร
อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ความเชี่ยวชาญ
นิ่ว
วิธีการรักษา ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร คือ ใบขี้เหล็กและใบหญ้าไทร ๑ กำมือ
และใบขี้กาแดง ๓ กำมือ ต้มดื่ม ครั้งละ ๑ ถ้วยชาจีน วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร
ติดต่อกันนาน ๒-๕ วัน
ปวดศีรษะโดยไม่ทราบสาเหตุ
วิธกี ารรักษา ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร คือ แก่นขีเ้ หล็ก หนัก ๑ บาท แมงลักคา
และผักเสี้ยนผี ๒ บาท ต้มดื่ม ครั้งละ ๑ ถ้วยชาจีน วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร
ติดต่อกันนาน ๒ วัน
ดีซ่าน
วิธกี ารรักษา ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร คือ หญ้าลูกใต้ใบ ๒ กำมือ น้ำมะพร้าวเขียว
หัวแดง ๑ ลูก ต้มดื่ม ครั้งละ ๑ ถ้วยชาจีน วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน
๒-๕ วัน

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 49
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๒๙. นายยะยอ หลำขุน


อายุ ๕๗ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๕ ปี
ได้รบั การสืบทอดความรูม้ าจากปู่ และอาจารย์พรม ไม้แก่น
และศึกษาด้วยตนเองจากตำรา
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๖๑ หมู่ที่ ๓ ตำบลสะพานไม้แก่น
อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ความเชี่ยวชาญ
ไตหย่อนสมรรถภาพ
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการ คือ ปวดเมื่อยตามสะโพก ขาไม่มีกำลัง เส้นท้องตึง และปัสสาวะ
บ่อย
๒. ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร คือ ใบขี้เหล็ก หูลิง กะทือ โคกกระะออม และทนดี
อย่างละ ๒ บาท ต้มดื่ม ครั้งละ ๓ ช้อนโต๊ะ วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหารติดต่อกัน
นานแล้วแต่อาการ
ปวดเข่า
วิธีการรักษา ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร คือ เสือสามขา (หมอน้อย) ๕ ต้น
ผักเสี้ยนผี ๑ ต้น ขนาดกลาง และใบยอ ๑ กำมือ ต้มดื่ม ครั้งละ ๒ ข้อมือ วันละ
๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันนานหลายวัน
ไข้ทับระดู / ระดูทับไข้
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการ คือ ปวดหัว ตัวร้อน ปวดเมื่อยตามร่างกาย กินอาหารจะอาเจียน
นอนไม่หลับ
๒. ยาต้ม ประกอบด้วย แก่นขนุน และแก่นประดู่ หนัก ๓ บาท ใบจาก หนัก ๒ บาท
ต้มดื่ม ครั้งละ ๒ ข้อมือ วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๓ วัน
น้ำเหลืองเสีย
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการ คือ มีอาการปวดอักเสบ แล้วจะเป็นไข้อ่อนๆ ผิวหนังเป็นหนอง
มีน้ำเหลืองไหล
๒. ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๓ ชนิด คือ ปลาไหลเผือก เหงือกปลาหมอ
และหมากหมก หนักอย่างละ ๓ บาท ต้มดื่ม ครั้งละ ๒ ข้อมือ วันละ ๓ ครั้ง
ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๗-๑๕ วัน
50 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๓๐.นายอุเส็น วงศ์นิรัตน์
อายุ ๔๔ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๐ ปี
ได้รบั การสืบทอดความรูม้ าจากพ่อ โดยพ่อสืบทอดมาจากปู่
และศึกษาเพิ่มเติมจากสมาคมแพทย์แผนไทย
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๒๓/๕ หมู่ที่ ๑ ตำบลหัวเขา
อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ความเชี่ยวชาญ
โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
วิธีการรักษา
๑. ให้รับประทานยาหนุมานประสานกายผสมเหล้าขาวและน้ำร้อน ๒ ช้อนกลาง
๒. ประคบด้วยลูกประคบสมุนไพร
๓. ปรุงยาให้รบั ประทานเป็นยาฟอกเลือด ประกอบด้วย ผักเสีย้ นผี ๑ ส่วน ใบส้มป่อย
ใบส้มเสีย้ ว ๑ ส่วน และใบมะกา ๓ ส่วน ต้ม ๓ ส่วน เอา ๑ ส่วน ดืม่ ครัง้ ละครึง่ แก้ว
วันละ ๒ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๗ วัน
๔. ฟืน้ ฟูบำบัดกล้ามเนือ้ ด้วยนวัตกรรมภูมปิ ญ
ั ญาท้องถิน่ ได้แก่ ราวหัดเดิน รอกชักมือ
ชักเท้า เป็นต้น

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 51
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ลมปะกัง
วิธีการรักษา
๑. การวินจิ ฉัยอาการ ซักประวัติ วัดความดันโลหิต เคยประสบอุบตั เิ หตุมาก่อนหรือไม่
มีอาการคลื่นไส้หรือไม่ ปวดมานานแค่ไหน ปวดซีกใด
๒. นวดรักษาอาการโดยนวดบริเวณบ่าและโค้งคอ และนวดกำด้น ๓ จุด นวดบริเวณ
ขมับ และนวดระหว่างคิ้ว
๓. ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๓ ชนิดได้แก่ ผักเสี้ยนผี แก่นขี้เหล็ก และสัก
อย่างละเท่ากัน นำมาต้มดื่มครั้งละครึ่งแก้ว วันละ ๒ ครั้ง ก่อนอาหาร
ติดต่อกันนาน ๕-๗ วัน

52 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๓๑. นายวน แก้วบัวผัน


อายุ ๗๑ ปี ประสบการณ์การรักษา ๔๐ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากบิดา
ซึ่งสืบต่อมาจากปู่อีกทอดหนึ่ง
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๓๓/๓ หมู่ที่ ๖ ตำบลสะบ้าย้อย
อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ความเชี่ยวชาญ
กระดูกหัก เคลื่อน แตก
วิธีการรักษา
๑. ตรวจร่างกายโดยการดึงกระดูก หรือคลำร่างกายว่ามีอาการมากน้อยแค่ไหน
๒. ถ้าพบว่ากระดูกหัก ทำการเข้าเฝือกไม้ไผ่ ถ้าไม่หักใช้ผ้าก๊อสพัน พร้อมกับยาที่ตำ
ละเอียด ห่อถุงผ้าดิบที่ทำเองนำมาพันบริเวณกระดูกที่หัก แล้วใช้น้ำมันมะพร้าว
ผสมยาใส่บริเวณที่เข้าเฝือกไว้
๓. ระยะเวลาในการพันขึ้นอยู่กับอาการ
๔. นัดคนไข้มาดูอาการทุกๆ ๕ วัน ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ก็จะเปลี่ยนยาตำ
น้ำมันมะพร้าว เหมือนข้อ ๒ จนกว่าคนไข้จะดีขึ้น
๕. สมุนไพรที่ใช้ประกอบด้วย ช้องนางคลี่ ใบนุ่น ข้าวเย็น และน้ำมันมะพร้าว

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 53
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๓๒. นายดนรอหมาน การดี


อายุ ๖๖ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๗ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากพ่อ
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๖๑ หมู่ที่ ๒ ตำบลสะกอม
อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ความเชี่ยวชาญ
กระดูกหัก เคลื่อน แตก
วิธีการรักษา
๑. การวินิจฉัยอาการ มีอาการ กระดูกผิดรูป มีอาการบวม ปวด ยกขาไม่ได้
เคลื่อนไหวไม่ได้
๒. สอบถามสาเหตุการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ ความเร็วและแรงของสิ่งที่มากระทบ
๓. ใช้น้ำมันลูบ ปัดเป่าด้วยมนต์คาถา จัดกระดูกให้เข้าที่
๔. เข้าเฝือกไม้ไผ่ หยอดน้ำมันมะพร้าว แล้วเอาไม้กระดานรองด้านล่างป้องกัน
การเคลื่อนไหว

54 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ซาง
วิธีการรักษา
๑. การวินิจฉัยอาการ น้ำลายไหล รับประทานอาหารไม่ได้ มีไข้ ปากเป็นแผล ลิ้น
และเพดานเหงือกเป็นตุ่มหนอง
๒. การรักษา ใช้หางใบจากทีม่ งุ หลังคา ๓ ใบ มาปัดเป่าคาถา เอาน้ำใส่กะลามา ๑ ใบ
แล้วเป่ามนต์คาถาระบุบริเวณที่เป็น แล้วหักครึ่งใบจากทั้ง ๓ ใบ เอาเทียนมาจุด
ให้นำ้ ตาเทียนหยดใส่นำ้ เพือ่ ทำนายการรักษา ถ้ากระจายเต็มแก้วจะได้ผลดี ถ้าไม่
กระจายรักษาไม่ได้

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 55
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๓๓. นายเอียด แก่นแก้ว


อายุ ๕๖ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๕ ปี
ได้รบั การสืบทอดความรูจ้ ากมาจากพ่อ (นายเล็ก แก่นแก้ว)
และอาจารย์นิยม แก้วแสงเรือง สมาคมอายุรเวช สงขลา
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๗๓/๑ หมู่ที่ ๗ ตำบลท่าเรือ
อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ความเชี่ยวชาญ
อัมพฤกษ์ อัมพาต
วิธีการรักษา
๑. การวินิจฉัยอาการ แขนขาอ่อนแรง เดินไม่ได้ มือเท้าชา
๒ การรักษาโดยประคบ และนวดโดยน้ำมันนวดสมุนไพร ลูกประคบ ประกอบด้วย
สมุนไพร คือ ไพลสด ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ใบมะกรูด ใบมะขาม ใบพลับพลึง
การบูร พิมเสน กานพลู และเถาเอ็นอ่อน
โรคไหล่ติด นิ้วล๊อค คอตกหมอน
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก ยกแขนไม่ขึ้น ปวดหลัง นิ้วขยับไม่ได้ ปวดคอ
๒. นวดด้วยน้ำมันสมุนไพร ประกอบด้วย ไพลสด ตะไคร้หอม ผักเสี้ยนผี การบูร
และพิมเสน

56 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๓๔. นายสุรวิทย์ สือมุ


อายุ ๔๒ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๐ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากพ่อ
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๒ หมู่ที่ ๓ ตำบลปลองหอย
อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
ความเชี่ยวชาญ
โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการ จากพูดไม่ค่อยชัด ลิ้นแข็ง แขนขาชาไม่ค่อยมีแรง เครียด ควบคุม
สติไม่ค่อยได้
๒. ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๕ ชนิด ได้แก่ หญ้าดอกขาว ทองพันชัง่ หญ้าหนวดแมว
ขมิ้น และ ไพล ต้มดื่มครั้งละ ๑ แก้วชาจีน วันละ ๒ ครั้ง หลังอาหาร ติดต่อกัน
นาน ๓๐ วัน
เริม หรือ งูสวัด
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก มีอาการแสบร้อน ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีไข้ ตามัว
๒. ยาทาภายนอก ประกอบด้วยสมุนไพร ๓ ชนิด ได้แก่ เสลดพังพอนตัวเมีย
ทองพันชั่ง และเหล้าขาว หรือกินครั้งละ ๒ ช้อนโต๊ะ วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหาร
ติดต่อกันนาน ๑๕ วัน
กระดูกร้าว
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยจากอาการปวดแสบภายใน ไข้ขึ้นสูง และกระสับกระส่าย
๒. ยาพอก ประกอบด้วยสมุนไพร คือ อบเชยไทย เพชรสังฆาต บอนดำ ไพล ขมิ้น
น้ำมันมะพร้าว มาตำให้ละเอียด และนำมาโปะพอกบริเวณที่ปวด วันละ ๓ ครั้ง
ใช้ติดต่อกันนาน ๑๕ วัน

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 57
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ระดูขาว/ ไข้ทับระดู/ ระดูทับไข้


วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยจากอาการมีน้ำใสๆ ปนเลือดและมีกลิ่นคาวมากออกมาจากช่องคลอด
๒. ยาต้ม ประกอบด้วย จุกมะพร้าว (ขั้วผล) ๓ จุก ปูนขาวเท่าปลายนิ้วก้อย
และน้ำเปล่า ๑ ขัน นำมาต้มกับหม้อดิน ดื่มครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๑ ครั้ง
ก่อนนอน ติดต่อกันนาน ๓๐ วัน

58 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๓๕. นายสามะ มะเซ็ง


อายุ ๕๓ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๕ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้จากมาจากปู่ และบุคคลอื่น
ประกอบด้วยญาติและอาจารย์จากสมาคมแพทย์แผนไทย
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๖๗/๒ หมู่ที่ ๕ ตำบลปะเสยะวอ
อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ความเชี่ยวชาญ
ปวดหลัง /ปวดเอว (เคล็ดขัดยอกเนื่องจากยกของหนัก)
วิธีการรักษา
๑. การนวด โดยนวดแนวหลัง กดจุดห่างจากกระดูกสันหลังประมาณ ๒ นิ้วมือ และ
นวดตามสะโพกและกดหน้าท้องตามแนวเส้นสุมนา
๒. ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร ๒ ชนิด คือ ไพล และม้ากระทืบโรง ปริมาณเท่าๆ กัน
ต้มน้ำ ดื่มครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๒ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๓ วัน
อัมพฤกษ์ อัมพาต
วิธีการรักษา
๑. การวินิจฉัยอาการ คือ ยกมือไม่ได้ ยกแขนไม่ได้ ปวดตามข้อ
๒. การนวด นวดแบบกายภาพบำบัด ตามแนวแขนด้านนอกและด้านใน และตาม
แนวหลัง ๒ แนว ขานอก ขาใน นวดตามเส้นกาลทารี เส้นอิทา เส้นปิงคลา
และเส้นสุขมุ งั โดยใช้น้ำมันนวดและลูกประคบร่วมด้วย
๓. ยาต้ม ประกอบด้วยหญ้าหมอน้อยทั้ง ๕ ทองพันชั่งทั้ง ๕ และหญ้าหนวดแมว
ต้มดื่ม ครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๑ เดือน
ปวดประจำเดือน (ประจำเดือนมาไม่ปกติ)
วิธีการรักษา
๑. การนวด นวดแนวหลัง ๒ แนว นวดขาซ้าย-ขวา กดท้องน้อย ๒ ข้าง กดจุด
ที่เอว ๒ จุด
๒. ยาต้ม ประกอบด้วย ไพล ไมยราบ และขิง ต้มดื่ม ครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๓ ครั้ง
ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๗ วัน

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 59
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๓๖. นายจรูญ พรหมมีฤทธิ์


อายุ ๖๑ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๕ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากบรรพบุรุษ
พระครูมนูณสมณการ นายเจริญ คงมณี
นายพันแสง ทองอร่าม และศึกษาด้วยตนเองจากตำรา
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๗๘/๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลป่าไร่
อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ความเชี่ยวชาญ
โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก ยกมือไม่ได้ ยกแขนไม่ได้ ปวดตามข้อ ปวดหลัง
๒. ใช้การนวดจับเส้นคู่กับน้ำมันนวดสมุนไพรและประคบสมุนไพร ประกอบด้วย
ไพรสด ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ใบมะกรูด ใบมะขาม ใบพลับพลึง การบูร พิมเสน
กานพลู และเถาเอ็นอ่อน

60 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๓๗. นายมะแอ ยูโช๊ะ


อายุ ๖๐ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๐ ปี
ได้รบั การสืบทอดความรูจ้ ากมาจากพ่อ (นายวาเงาะ ยูโซ๊ะ)
และอาจารย์นิยม แก้วแสงเรือง สถาบันแพทย์แผนไทย
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๒๕ หมู่ที่ ๕ ตำบลป่าไร่
อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ความเชี่ยวชาญ
โรคเบาหวาน
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นคาว น้ำตาลขึ้น รับประทานอาหารไม่ได้
๒. ยาผงบดใส่แคปซูล ประกอบด้วยฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด ละลายเปลือก
อย่างละ ๑ กิโลกรัม ๓ ขีด รับประทานครั้งละ ๓ แคปซูล วันละ ๔ ครั้ง
หลังอาหาร ติดต่อกันนาน ๔-๕ วัน
โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก ผิวหนังมีลักษณะเป็นวงสีขาวหรือดำ ผิวหนังแตกเป็นขุย
ถ้าเกามากๆ จะแตกมีน้ำเหลือง หรือผิวหนังแตกเหมือนหนังช้าง
๒. ยาทาภายนอก ประกอบด้วย น้ำมันลูกลำโพง ผสมกับน้ำมันพืช
๓. ยาแคปซูล นำกะลามะพร้าว ๔-๕ ฝา มาเผา บดให้ละเอียดใส่แคปซูล รับประทาน
ครั้งละ ๒ เม็ด วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหาร ติดต่อกันนาน ๔-๕ วัน
๔. ยาต้มรับประทานหรืออาบ ใช้เหงือกปลาหมอ ประมาณครึ่งกิโลกรัมต่อหนึ่ง
หม้อ
ริดสีดวงจมูก
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก คันบริเวณหน้าจมูก น้ำตาไหล คันตา แสบคอ
๒. ยาทาภายนอก ประกอบด้วย สาบเสือ ๔-๕ ใบ ฟ้าทะลายโจร ๓ ใบ ปูนขาว
พอประมาณ และมะนาว ๑ ผล ตำทาบริเวณใบหน้า ติดต่อกันนาน ๓ วัน

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 61
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ปวดหลัง
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก ปวดบริเวณหลัง ยืดตัวไม่ได้ เดินตัวงอ นั่งนานๆ หรือ
ทำงานหนักไม่ได้
๒. การนวด เน้นการนวดแบบจับจุดทีห่ ลัง บริเวณทีเ่ จ็บและนวดจับเส้นบริเวณหลัง
เอว บ่า และใช้น้ำมันขี้ผึ้งร่วมด้วยในการนวด เพื่อช่วยคลายเส้นด้วยความร้อน
จากตัวน้ำมันขี้ผึ้ง และใช้มนต์คาถาหลังจากนวดเสร็จ
๓. ยาต้ม ประกอบด้วยขิง และตะไคร้หอม ต้มดื่มแทนน้ำ ดื่มจนอาการทุเลา

62 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๓๘. นางแฉล้ม กุลชุม


อายุ ๖๑ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๗ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้จากมาจากพ่อ และ
นายล่อง แก้วนาวี นายทอง ทองบัณฑิต นายหมวก บุญมี
และนายพันแสง ทองอร่าม
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๙๖/๑ หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านนอก
อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ความเชี่ยวชาญ
ปวดเข่า
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก เดินไม่ได้ ปวดบริเวณเข่า มักจะดังกรอดๆ
๒. การนวด แบบเชลยศักดิ์ นวดเส้นใต้สะบ้าหัวเข่า
๓. ประคบสมุนไพร ประกอบด้วย ไพล ผักเสีย้ นผี เถาเอ็นอ่อน ใบมะกรูด ใบมะขาม
ใบส้มป่อย และเกลือ รักษาติดต่อกันนาน ๓-๕ วัน
อัมพฤกษ์ระยะแรก
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก ให้คนไข้ยกมือยกเท้าดูว่ามีแรงหรือไม่ ดึงเท้าให้ชิดกันดู
ถ้าข้างไหนสั้นกว่า ข้างนั้นจะเป็นหนัก
๒. นวดจับเส้น
๓. ประคบสมุนไพร ประกอบด้วย ใบยอป่า ผักเสี้ยนผี ใบพลับพลึง
๔. ยาต้ม ประกอบด้วย แก่นขี้เหล็ก แก่นตำเสา ใบมะกา ใบเสม็ด และยาดำ
ต้มรับประทาน วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกัน ๑๕ วัน
ปวดท้อง เพราะลมกำเริบ
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก เวลากดท้องจะมีลมจุกขึ้นข้างบน และแน่นหน้าอก
๒. การนวดท้อง ขับลม ทำให้เรอ นวดเส้นสุมนา บนสะดือสองนิ้วถึงลิ้นปี่
๓. ยาต้ม ประกอบด้วย ขิง กระชาย กะทือ และเปราะหอม ดื่มครั้งละ ครึ่งแก้ว
วันละ ๓ ครั้ง ติดต่อกัน ๓ วัน

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 63
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๓๙. นายห้าหมีน หวังสบู


อายุ ๔๑ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๘ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากแม่ และผู้เฒ่าชาวเล
ซึ่งอพยบมาจากมลายู
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๖๙ หมู่ที่ ๕ ตำบลเกาะกลาง
อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
ความเชี่ยวชาญ
โรคเกี่ยวกับกระดูก
วิธีการรักษา
๑. การวินิจฉัยอาการ มีอาการกระดูกที่หลังหรือไหล่เขยื้อนมาจากพังผืดกดทับ
กระดูก กระดูกคด หรือกระดูกเหวี่ยง กระดูกแตก หรือกระดูกหัก
๒. การนวด การกดจุด การตอกเส้น การตอกสลายพังผืด และการสะกิดเส้น
๓. น้ำมันทาแก้อาการแผลเปือ่ ยเน่า ประกอบด้วย ผักบุง้ ทะเล ลิน้ ห่านทะเล เปลือกเคีย่ ม
ตำให้ละเอียด ใส่ในน้ำมันมะพร้าว อัตราส่วน ๑ ต่อ ๓ เคี่ยว ทาแผลเปื่อยเน่า
วันละ ๓ ครั้ง ห้ามโดนน้ำจนกว่าจะหาย
๔. น้ำมันคลายเส้น ประกอบด้วย ไพลดำ ไพลขาว หัวกะทือแดง ตำให้ละเอียด
ผสมกับน้ำมันมะพร้าว อัตราส่วน ๑ ต่อ ๓ นำมาเคี่ยว ใช้นวดวันละครั้ง

64 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

พังผืดกดทับหมอนรองกระดูก
วิธีการรักษา
๑. การวินิจฉัยอาการ ปวดกระเบนเหน็บ คอ บ่าและไหล่
๒. ใช้การตอก เพื่อละลายพังผืด ใช้ไม้ไผ่ตัน (ใช้มาตั้งแต่บรรพบุรุษ) เป็นการตอก
แบบสะกิดออกและใช้น้ำมันนวดคลาย

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 65
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๔๐.นายทวี หมันหมาด
อายุ ๕๔ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๐ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากปู่
และสมาคมแพทย์แผนไทยจังหวัดกระบี่
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๒ หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านกลาง
อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
ความเชี่ยวชาญ
โรคตานซาง
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก หน้าตาผู้ป่วย การขับถ่ายที่เป็นสีขาวและแดง เบื่ออาหาร
กระดูกสันหลังร้อนจัด
๒. ยาต้ม ประกอบด้วย งวงตาล ตานหมอน อย่างละ ๑ ส่วน ตาลครอบ ๒ ส่วน
กระเพรา และน้ำตาลกรวด ต้มดืม่ ครัง้ ละ ๒ ช้อนโต๊ะ วันละ ๒ ครัง้ ติดต่อกันนาน
๒๐ วัน

66 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

กระเพาะอาหาร และลำไส้
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจากปวดท้องเวลาอิ่ม ปวดเมื่อยตามร่ายกาย คลื่นเหียนอาเจียน
๒. ยาผง ประกอบด้วย ผักแพวแดง เปลือกหอยขมเผาไฟ ขมิ้น พิมเสน
อย่างละ ๑ ส่วน และพริกไทย ๕ ส่วน บดเป็นผงละลายน้ำผึ้ง รับประทาน

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 67
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๔๑. นางเรณู หลานหาด


อายุ ๕๓ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๓ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากพ่อและแม่
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๑ หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านกลาง
อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
ความเชี่ยวชาญ
ดูแลมารดาหลังคลอด
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก มีน้ำคาวปลา หลังการคลอดบุตร มีอาการปวดเมื่อยหลัง
การคลอด ช่วงหลังคลอดตั้งแต่วันแรกถึง ๑ เดือน
๒. นวดหลังคลอด ให้อาบน้ำสมุนไพรก่อน แล้วนวดไล่เส้นทั่วไป แล้วก็ใส่ก้อนเส้า
นวดท้อง กดก้อนเส้าลงตรงตำแหน่งของมดลูก กดรอบท้องเบาๆ ทำจนครบ
๑ เดือนเต็ม
๓. อบหม้อเกลือ นั่งบนเก้าอี้หม้อดินต้มอยู่ข้างล่าง สมุนไพรประกอบด้วย หัวไพล
ขมิน้ อ้อย ขมิน้ ชัน ตะไคร้หอม ใบหนาด ผลมะกรูด ใบส้มป่อย มะขาม และพิมเสน
๔. ประคบสมุนไพร ด้วยสมุนไพรตำรับเดียวกับข้อ ๓

68 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

อัมพฤกษ์
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยจากอาการ ขาชาไม่มีแรง ยกขาไม่ขึ้น เกิดจากภาวะความดันโลหิตสูง
๒. นวดกดขาด้านนอก ๒ แนว ด้านหน้า ๓ แนว นวดทั่วทั้งตัว
๓. อาบน้ำ อบสมุนไพร และประคบสมุนไพร ประกอบด้วยสมุนไพร คือ ผักเสี้ยนผี
เถาเอ็นอ่อน ไพลสด ผลมะกรูด ตะไคร้ พิมเสน และการบูร
๔. ให้ทำกายภาพบำบัด โดยใช้รอกชัก
มดลูกติด
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจากท้องบวม ท้องป่อง หน้ามืด ตามัว
๒. นวดไล่เส้น ที่บริเวณหน้าท้อง กดตรงสะดือ โกยท้องขึ้น และกดตามเส้นร่ายกาย
๓. ประคบสมุนไพร

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 69
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๔๒. นายปีปี ปรามเภท


อายุ ๘๑ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๖ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากปู่และบิดา
และศึกษาเพิ่มเติมจากตำรา
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๙ หมู่ที่ ๔ ตำบลเกาะลันตาน้อย
อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
ความเชี่ยวชาญ
ตานซาง
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก เด็กมีอาการดูดนมไมได้ ร้องไห้ตลอด ลิ้นมีฝ้า และผื่นแดง
๒. ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร คือ ต้นอีคยุ ก้านมะม่วงหิมพานต์ เปลือกมะพร้าวแห้ง
อย่างละ ๑ ส่วน ต้มด้วยน้ำ ๓ ส่วน ให้เหลือ ๑ ส่วน ดื่มครั้งละ ๑ ช้อนชา
วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหาร ติดต่อกันนาน ๗ วัน
ดีซ่าน
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก ตัวเหลือง ตาเหลือง คลำท้องน้อยด้านขวาพบว่าตับโต
ไม่มีกำลัง รู้สึกอ่อนเพลีย กินอาหารไมได้ เหงื่อไม่ออกตามรูขุมขน
๒. ยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร คือ ฟ้าทะลายโจร ต้นโทงเทง ต้นตายปลายเป็น
ต้นนุ่นพระ อย่างละเท่ากัน ต้มด้วยน้ำ ๓ ส่วน ให้เหลือ ๑ ส่วน ดื่มครั้งละ
ครึ่งแก้วกาแฟ วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร นาน ๗ วัน

70 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

งูพิษกัด
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก มีรอยแผลจากเขี้ยวงู ลักษณะ ๒ เขี้ยว มีเลือดออก มีอาการ
ปวดและบวมบริเวณแผลที่ถูกงูพิษกัด หายใจไม่สะดวก
๒. ยาฝน ประกอบด้วยสมุนไพรเสลดพังพอน (พญายอ) ต้นมะลิดง และรสสุคนธ์ขาว
(ย่านปด) อย่างละเท่ากัน ฝนกับน้ำซาวข้าว ทัง้ กินและทา กินครัง้ ละ ๑-๒ ช้อนชา
วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๒-๓ วัน

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 71
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๔๓. นายทองใบ จันทร์พิชัย


อายุ ๕๐ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๓ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากพ่อ และรับฟัง
การบอกเล่ามาจากผู้รู้ และศึกษาเพิ่มเติมที่
สมาคมแพทย์แผนไทยจังหวัดกระบี่
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๕ หมู่ที่ ๙ ตำบลเขาดิน
อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
ความเชี่ยวชาญ
โรคอัมพฤกษ์
วิธีการรักษา
๑. การวินิจฉัยอาการ ตรวจสุขภาพฝ่าเท้า ดูอาการทั่วไป และสอบถามอาการ
๒. นวดจับเส้นรักษาอาการ ต้องดูอาการของโรคด้วย เพราะอัมพฤกษ์บางอย่างนวดได้
บางอย่างนวดไม่ได้
๓. ยาผงและยาต้ม ประกอบด้วยสมุนไพร คือ รากและเมล็ดตูมกา ขิงแห้ง พริกไทยดำ
โกศน้ำเต้า เจตมูลเพลิงแดง ใบมะกา ต้มดื่มไม่เกินครั้งละ ๕๐ ซีซี วันละ ๓ ครั้ง
ก่อนอาหาร ติดต่อกันนานตามแต่อาการ

72 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

โรคกระเพาะอาหาร
วิธีการรักษา
๑. การวินิจฉัยอาการ ตรวจสุขภาพฝ่าเท้า ดูอาการทั่วไป และสอบถามอาการ
๒. ยาผง ประกอบด้วยสมุนไพร คือ ขมิ้นชัน ขมิ้นฤ ษี เปลือกมังคุด กะทือ
พริกไทยดำ เปลือกผลทับทิมแห้ง เหง้าขิงแห้ง เปลือกต้นนนทรี บดเป็นผง
รับประทานครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน
๑๕-๒๐ วัน
โรคนิ่วในไต
วิธีการรักษา
๑. การวินิจฉัยอาการ ตรวจสุขภาพฝ่าเท้า ดูอาการทั่วไป และสอบถามอาการ
๒. ยาต้ม ประกอบด้วย เหง้าสับปะรด แก่นมะเฟือง รากหญ้าคา เถารางแดง
ไมยราบ อย่างละ ๕ ส่วน และสารส้มครึ่งส่วน ต้มดื่ม ครั้งละ ๕๐ ซีซี
วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๑๐-๑๕ วัน

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 73
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๔๔. นายอนันต์ แก้วชะนา


อายุ ๖๐ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๐ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจาก บรรพบุรุษ
และสมาคมแพทย์แผนไทยจังหวัดกระบี่
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๕ หมู่ที่ ๙ ตำบลเขาดิน
อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
ความเชี่ยวชาญ
โรคเบาหวาน
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก อาการปัสสาวะบ่อย ปวดเมื่อย หรือตรวจเลือดพบว่าเป็น
เบาหวาน
๒. ยาต้ม ประกอบด้วย กาฝากมะนาว กาฝากนุน่ รากหญ้าคา ต้นขลู่ อย่างละเท่ากัน
ล้างทำความสะอาดเอาใส่ภาชนะต้ม ดืม่ ครัง้ ละ ครึง่ แก้ว วันละ ๓ ครัง้ หลังอาหาร
ติดต่อกันนาน ๘-๑๐ วัน
ตานซาง
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก อาการน้ำเหลืองเสีย ขึ้นตามตัวและลงท้อง ขึ้นในปาก
เด็กไม่กินนม
๒. ยาต้ม ประกอบด้วย กระเพราแดง กระเพราขาว พลูคาว หลังแรดควาย
ว่านร่อนทอง อย่างละเท่ากัน ล้างทำความสะอาดเอาใส่ภาชนะต้ม ดื่มครั้งละ
๒ ช้อนคาว วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหาร ติดต่อกันนาน ๗-๑๐ วัน
โลหิตสตรีเสีย
วิธีการรักษา
ยาต้ม ประกอบด้วย ใบส้มเสีย้ ว ใบมะกา ใบส้มป่อย แก่นฝาง หางไหล อย่างละเท่ากัน
ล้างทำความสะอาดเอาใส่ภาชนะต้ม ดื่มครั้งละ ครึ่งแก้ว วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหาร
ติดต่อกันนาน ๗-๑๐ วัน

74 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

กระษัยเส้น
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยจากอาการปวดตามกล้ามเนื้อและปัสสาวะบ่อย
๒. ยาต้ม ประกอบด้วย ขมิ้นฤ ษี กำแพงเจ็ดชั้น เถาวัลย์เปรียง ทนดี และยาดำ
อย่างละเท่ากัน ล้างทำความสะอาดเอาใส่ภาชนะต้ม ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว
วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหาร ติดต่อกันนาน ๕-๑๐ วัน

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 75
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๔๕. นายลับ นาคช่วย


อายุ ๗๔ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๐ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจาก บรรพบุรุษ
และสมาคมแพทย์แผนไทยจังหวัดกระบี่
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๗/๙ หมู่ที่ ๒ ตำบลคลองท่อมเหนือ
อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
ความเชี่ยวชาญ
กระดูกทับเส้นประสาท
วิธีการรักษา
๑. วินิจฉัยอาการจาก เจ็บปวดจากสันหลังลงไปทางข้างขา ลงไปถึงหน้าแข้งตลอด
ถึงฝ่าเท้า โดยส่วนมากมักเป็นที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง บางครั้งปวดจนเดินไม่ได้
๒. ยาผง ประกอบด้วย ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพูล มหาหิงค์ุ ยาดำ
การบูร พริกไทย อย่างละเท่ากัน บดเป็นผงละเอียด ละลายน้ำร้อน ครั้งละ ๑
ช้อนชา วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันนาน ๔๕ วัน
๓. สูตรยานวด ประกอบด้วย พริกไทยร้อน เจตมูลเพลิง รากถั่วแระ เถาวัลย์เปรียง
และโคคลาน ตำให้ละเอียดใส่น้ำมันงาคนให้เข้ากัน ตั้งให้ตกตะกอน แล้วใช้
ทาเวลาจะนวด

76 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๔. นวดจากปลายนิ้วเท้า ฝ่าเท้ากดให้ลึกจมฝ่าเท้า นวดหลังเท้าโดยการนวดแบบ


งัดขึ้น เนื่องจากเส้นทับกระดูก สาเหตุจากเอ็นจมทั้งตัว หน้าแข้งนวดสะกิดขึ้นมา
เริ่มจากหลังเท้ามีเส้นหลัก ๕ เส้น ตามแนวนิ้วเท้า แล้วเน้นหนักที่หัวเข่า
๕. นวดเวียนรอบแบบกดลึกลูกสะบ้า สะกิดเส้นขึ้น คัดขึ้นจากปลายนิ้วเท้าจาก
ใต้ฝา่ เท้าทุกนิว้ เท้า ตลอดมาจนถึงตาตุม่ ทัง้ สองข้าง ใต้นอ่ งคัดขึน้ ทุกเส้นมาเน้นหนัก
ที่ใต้เข่า นวดต่อที่ก้นกบ หยุดสักพัก ๕-๑๐ นาที แล้วเริ่มนวดจากเส้นที่คอ
มาหยุดที่โคนคอ แล้วนวดฝ่ามือทั้งหน้าหลัง ตามแนวเส้น ๕ เส้น คัดข้อศอก
ทัง้ หน้าทัง้ หลัง คัดข้อต่อ แล้วมานวดสะบัก เวียนรอบทัง้ หัวไหล่ทง้ั หมด นวดแนว
ต้นคอลงข้างล่างถึงก้นกบ โดยเริ่มจากแนวข้างกระดูกสันหลังและใต้แนวสะบัก
ต้องดูอาการคนไข้ถ้านวดหนักทนไม่ได้ นวดเบาก่อน ไม่กดแช่ กดวาง เพื่อให้
คนไข้ผ่อนคลาย ใช้เวลานวดทั้งหมด ๔-๖ ชั่วโมง ภายใน ๑ วัน ขึ้นอยู่กับอาการ
คนไข้ นัดนวดซ้ำ ๓ วัน หรือ ๗ วัน ดูจากอาการว่าช้ำจากการนวดไหม การนวดซ้ำ
ไม่เกิน ๕ ครั้ง จะหายเป็นปกติ

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 77
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๔๖. นายส้าหาก หัสนีย์


อายุ ๗๔ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๕ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากคุณตา
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑/๑ หมู่ที่ ๓ ตำบลบ่อแสน
อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา
ความเชี่ยวชาญ
โรคริดสีดวงทวาร
วิธีการรักษา ยาต้ม ประกอบด้วย งวงตาล รากใบแก้มหมอ ใบหลุมนก ต้มดื่ม
โรคริดสีดวงจมูก
วิธีการรักษา ทำยาให้สูบ ประกอบด้วย ใบมุดตา และยาเส้น มวนสูบ

78 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๔๗. นางหมะกรือซง แวอาแล


อายุ ๖๖ ปี ประสบการณ์การรักษา ๒๐ ปี
ได้รับการสืบทอดความรู้มาจากบรรพบุรุษ
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๔๕ หมู่ที่ ๑ ตำบลลาโละ
อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ความเชี่ยวชาญ
หมอตำแย ดูแลแม่และเด็ก (อดีตเคยทำคลอด ปัจจุบันไม่ทำแล้ว)
วิธีการรักษา
๑. นวดแต่งท้องก่อนคลอด
๒. นวดให้มดลูกเข้าอู่ หลังจากคลอดแล้ว ๓๐ วัน และใช้ยาสมุนไพรประกอบด้วย
มะนาวและปูนทาที่ท้องน้อย
๓. ยากระชับช่องคลอด ประกอบด้วย เบญจกานี สารส้ม และข้าวเหนียวดำ
อัมพฤกษ์ อัมพาต
วิธีการรักษา
นวดประคบ สมุนไพรสำหรับลูกประคบ ประกอบด้วยใบและผลมะกรูด หัวหอม
กระเทียม ข่า ขมิ้น ตะไคร้ ใบมุ้ย และดินสอพอง อย่างละ ๑ กรัม ประคบคนไข้
๔ ครั้ง ต่อ ๑ ลูก วันละ ๓ ลูก ประคบนาน ๓ วัน
งูกัด
วิธีการรักษา
นำขมิ้นดำมาบดให้ละเอียด แล้วนำมาแปะบริเวณแผลที่ถูกงูกัด ขมิ้นดำจะดูดพิษออก
พร้อมกับให้ดื่มน้ำผสมขมิ้นดำพร้อมๆ กัน

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 79
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๔๘. นายสมหมาย กาดกล้า


อายุ ๖๐ ปี ประสบการณ์การรักษา ๓๐ ปี
ได้รบั การสืบทอดความรูม้ าจากอาจารย์ชอ้ ย ก้อนแก้ว
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๒๐/๑๓ หมู่ที่ ๔ ตำบลศรีสุนทร
อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
ความเชี่ยวชาญ
กระดูกหัก แตก ข้อหลุด ร้าว ข้อแพลง
วิธีการรักษา
๑. ตรวจอาการโดยการคลำหรือดูฟลิ ม์ประกอบ แล้วให้ผปู้ ว่ ยตัง้ พานบูชาครู มีดอกไม้
ธูป เทียน เงินบูชาครู ๑๕๒ บาท หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยไหว้ครู ตั้งนะโม ๓ จบ หมอก็
ทำการรักษาโดยใช้น้ำมันยา ส่วนประกอบสำคัญ คือ น้ำมันมะพร้าว ขมิ้นอ้อย ไพล
พิมเสน การบูร เกสรทั้ง ๗ พญาไร้ใบ เสลดพังพอน พริกไทย กระเทียม นำมา
เคีย่ วรวมจนตัวยาแห้ง ทานวด ถ้ากระดูกหักร้าวพลิกหรือแพลง ถูนวดแล้วดึงกระดูก
ให้เข้าที่ แล้วนำน้ำมันยาชุบสำลีพันรอบบริเวณที่หัก

80 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

๒. ใส่เฝือกไม้ไผ่ ๕ อัน สำหรับข้อมือ ๗ อัน สำหรับแขน และ ๙ อัน สำหรับขา


แล้วพันผ้าก๊อส เป่าคาถาสำทับลงไปที่บริเวณที่แตกหัก
๓. นัดผูป้ ว่ ยประมาณ ๕ วันมาเปลีย่ นยาใหม่ และนัดอีกจนกว่าผูป้ ว่ ยจะหายแนะนำ
ให้บำบัดด้วยเอาน้ำร้อนประคบ เสร็จแล้วทาน้ำมันยา จนกว่ากระดูกแข็งแรง แล้วก็
ให้ผู้ป่วยยกแขน ขา จรดพื้น งอเข้ายืดออก จนกว่านั่งได้ เดินได้ และจับของได้ปกติ

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 81
บันทึก
Date

82 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
บันทึก
Date

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 83
บันทึก
Date

84 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
บันทึก
Date

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 85
บันทึก
Date

86 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
บันทึก
Date

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 87
บันทึก
Date

88 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
บันทึก
Date

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 89
บันทึก
Date

90 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
บันทึก
Date

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 91
บันทึก
Date

92 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
บันทึก
Date

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 93
บันทึก
Date

94 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้
บันทึก
Date

บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้ 95
บันทึก
Date

96 บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคใต้

You might also like