Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 28

การวัดระดับทักษะทางการเงินกับการออมเพื่อการเกษียณ

บทคัดย่อ

บทความนี้ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับทักษะทางการเงินกับการออมเพื่อการเกษียณ จาก


การศึกษาพบว่า ทักษะทางการเงินจะมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความน่าจะเป็นของการออมเพื่อการเกษียณ
กล่าวคือ ระดับทักษะทางการเงินที่สูงขึ้นจะช่วยเพิ่มโอกาสในการออมเพื่อวัยเกษียณของกลุ่มตัวอย่างให้เพิ่มขึ้น
นั่นเอง เมื่อวิเคราะห์ลึกลงไปในรายปัจจัยของทักษะทางการเงินขั้นสูง ก็พบว่า ทัศนคติทางการเงิน และความรู้
ด้านความเสี่ยงและผลตอบแทนมีผลต่อความน่าจะเป็นในการมีการออมเพื่อการเกษียณอย่างมีนัยสาคัญ โดยผล
การศึกษาบ่งชี้ว่า หากให้ความรู้ในด้านที่จาเป็นและขาดแคลนแก่กลุ่มตัวอย่างได้อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยเพิ่ม
โอกาสในการออมเพื่อการเกษียณได้ อันส่งผลให้เป็นการช่วยลดภาระของภาครัฐต่อสังคมผู้สูงอายุที่กาลังเข้า
มาถึง อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ชี้ให้เห็นด้วยว่า กลุ่มตัวอย่างในแต่ละกลุ่มมีระดับทักษะทางการเงินและความรู้
ที่แตกต่างกันออกไป การให้ความรู้แบบกว้างๆ หรือเหมือนๆ กัน อาจมีประสิทธิผลตามในระยะแรก แต่ระยะ
ต่อไป การให้ความรู้ทางการเงินควรจะถูกออกแบบให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มที่มีความ
แตกต่างกัน โดยเน้นการให้ความรู้ในด้านที่ขาดแคลนและจาเป็นสาหรับกลุ่มตัวอย่างในแต่ละกลุ่ม เพื่อการ
พัฒนาระดับทักษะทางการเงินของประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป

JEL Classification: D12 , D14 , J26

คาสาคัญ: Financial literacy , Personal finance , Retirement


E-Mail Address: grefizoni@gmail.com
2

1.บทนา
ในปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรแรงงานราว 38.4 ล้านคน คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ประชากรวัยแรงงานเหล่านี้ก็จะมีอายุมากขึ้น โดย ชูเชิดและคณะ (2557) ได้ประมาณ
ประชากรไทยในระยะ 5 ปีข้างหน้า พบว่า ในปี พ.ศ. 2578 ประเทศไทยจะมีประชากรที่มีอายุ 60ปี ขึ้นไป
จานวนสูงถึง 20.2 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.2 ของประชากรไทยทั้งหมด แต่จะมีวัยแรงงาน (อายุ
15 – 59 ปี) เพียง 37.7 ล้านคน และวัยเด็ก (อายุต่ากว่า 15ปี) มีจานวน 8.9 ล้านคน ดังแสดงในภาพที่ 1 ซึ่งอาจ
กล่าวได้ว่า สังคมไทยกาลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัวในอีกไม่นาน และกาลังจะเผชิญกับการขาดแคลนวัย
แรงงานในอนาคต ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรดังกล่าว จะส่งผลต่อความมั่นคงทางด้าน
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวอีก
ด้วย

ภาพที่ 1 : โครงสร้างประชากรเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2558 และ 2578

ที่มา : http://populationpyramid.net/thailand

ซึ่งประเด็นปัญหาเรื่องสังคมผู้สูงอายุนั้น ทางภาครัฐตลอดจนแวดวงเศรษฐกิจและวิชาการก็ไม่ได้นิ่ง
นอนใจแต่อย่างใด โดยได้มีการศึกษาถึงผลกระทบตลอดจนแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งผลกระทบ
ที่สาคัญประการหนึ่งก็คือ การที่ภาครัฐมีภาระที่ต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูผู้สูงอายุอีกเป็นจานวนมากในอนาคต อาจ
ส่งผลให้หนี้สินสาธารณะสูงขึ้นไป จนเข้าใกล้ระดับ เพดานหนี้สินสาธารณะ (Fiscal debt ceiling) ที่ถูก
กาหนดไว้ที่ร้อยละ 60 ต่อ GDP ได้ โดยจากการประมาณการของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย สานัก
ส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุและสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ
3

(2555) รายจ่ายสวัสดิการสาหรับผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีและคิดเป็นสัดส่วนของรายได้ภาครัฐที่ 8.5%


ในปี 2558 ดังแสดงในภาพที่ 2

ภาพที่ 2 : รายจ่ายสวัสดิการผู้สูงอายุและเปอร์เซ็นรายจ่ายเมื่อเทียบกับรายได้ของรัฐ

ที่มา : การประมาณการงบประมาณสาหรับผู้สูงอายุและแหล่งที่มาของเงิน, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ


ไทย สานักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุและสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส
และผู้สูงอายุ มีนาคม 2555
หมายเหตุ : รายจ่ายสวัสดิการผู้สูงอายุ ประกอบด้วยส่วนสาคัญเรียงตามลาดับ ได้แก่ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ บานาญ
ข้าราชการภายใต้ ระบบเดิม กองทุนการออมแห่งชาติ บานาญข้าราชการภายใต้กองทุนบาเหน็จบานาญ
ข้าราชการ

นอกจากนี้ผลการสารวจในรายงานประจาปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี พ.ศ. 2554 และ ปี พ.ศ. 2555 มี


รายงานว่าผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะอยู่ลาพัง กับ อยู่กับคู่สมรสมากขึ้น ดังเช่นในตารางที่ 1 ตลอดจนแหล่งที่มา
ของรายได้มีแนวโน้มว่าจะพึ่งพาเบี้ยยังชีพเพิ่มมากขึ้น (ภาพที่ 3) สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการพึ่งพาภาครัฐ
สูงขึ้นในอนาคตที่จะมาถึง
4

ตารางที่ 1 และ ภาพที่ 3 : แนวโน้มการอยู่ลาพังของผู้สูงอายุและแหล่งที่มาของรายได้

แนวทางหนึ่งที่สามารถบรรเทาปัญหาการพึ่งพาภาครัฐของผู้สูงอายุทางหนึ่งก็ คือ “การออมเพื่อการ


เกษียณ” การกระตุ้นให้เกิดการออมเพื่อการเกษียณในปัจจุบันนั้น มีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การให้สิทธิประโยชน์
ทางภาษี การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งแนวทางดังกล่าวนั้น เป็นแนวทางแก้ไขอย่างเร่งด่วนและเป็น
วิธีการแก้ไขแบบระยะสั้น ซึ่งหากต้องการที่จะแก้ไขปัญหาระยะยาวเพื่อให้เกิดการออมเพื่อการเกษียณ “การ
สร้างทักษะทางการเงิน” จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการทาให้เกิดการออมเพื่อการเกษียณอย่างยั่งยืน (Lusardi
and Mitchell (2009)) เพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกับผลกระทบที่กาลังจะ
เกิดขึ้น
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งเน้นที่จะตอบคาถามที่ว่า “ทักษะทางการเงินมีบทบาทต่อการออมเพื่อการ
เกษียณอย่างไรในสังคมไทย และทักษะทางการเงินในด้านใดที่เป็นตัวกาหนดการออมเพื่อการเกษียณ” และ
“จะทาอย่างไร ให้คนหันมาออมเพื่อการเกษียณมากขึ้น” โดยมุ่งเน้นเป็นการแก้ปัญหาผ่านทางการให้ความรู้
ทางการเงินให้ตรงกับความรู้ทางการเงินในด้านที่กลุ่มตัวอย่างขาดหายไป

2. ทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ในส่วนแรกของการทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จะกล่าวถึงที่มาและแนวคิดทฤษฎีทาง
เศรษฐศาสตร์ที่เป็นรากฐานในการพัฒนาไปสู่ทักษะทางการเงิน ตลอดจนความสาคัญของการออม ต่อมาใน
ส่วนที่สอง จะกล่าวถึงวรรณกรรมที่มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นในการวัดระดับทักษะทางการเงิน ในส่วนที่สาม จะ
กล่าวถึงวรรณกรรมที่มีการพัฒนาทฤษฎีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจะอธิบายในเรื่องของความสาคัญของทักษะทาง
การเงินต่อการตัดสินใจออม และในส่วนสุดท้ายจะเป็นวรรณกรรมที่มุ่งเน้นศึกษาถึง ทักษะทางการเงินและ
ความสัมพันธ์ในการออมการลงทุน
5

2.1 ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางการเงินและการออม
ในปัจจุบัน แม้ว่างานวิจัยในด้านทักษะทางการเงินจะได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในวงการวิชาการ
ซึ่งแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางการเงินนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจาก ทฤษฎีการบริโภคข้ามเวลา
(Ricardian Equivalence Theorem) (Ricardo et el. (1890)) อันเป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงการบริโภคและการ
ออม โดยกาหนดให้เป็น 2 ช่วงเวลา1
โดยการตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวนั้น จะต้องคานึงถึงอนาคต และต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของ
งบประมาณที่มีจากัด เพื่อสร้างให้เกิดอรรถประโยชน์สูงสุด ซึ่งเรียกว่า การตัดสินใจข้ามเวลา (Intertemporal
Decision) โดยการตัดสินใจจะออมหรือจะบริโภคเท่าใด ณ ปัจจุบัน (t0) จะส่งผลกระทบต่อปริมาณการ
บริโภคในช่วงเวลาถัดไป (t1) จากแนวคิดการบริโภคข้ามเวลานั้น สะท้อนให้เห็นถึงความสาคัญของการออม
และการบริโภคใดๆ ณ เวลาปัจจุบัน ย่อมส่งผลกระทบต่อการบริโภคในอนาคต ซึ่งการตัดสินใจออมของ
ครัวเรือนหรือหน่วยเศรษฐกิจนอกจากจะกระทบต่อการบริโภคในอนาคตของตนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการ
เจริญเติบโตเศรษฐกิจโดยรวมผ่านทางการลงทุน (Investment) ด้วย
การออมมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ โดยในทฤษฎี Endogenous Growth อัน
เป็นทฤษฎีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก Solow Growth model (Solow et el. (1956))ได้กล่าวถึงความสาคัญของ
การออม (Saving) และการลงทุน (Investment) ซึ่งเป็นตัวแปรสาคัญที่จะทาให้เศรษฐกิจเกิดการเจริญเติบโต
ได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว แต่สิ่งที่สาคัญไม่แพ้กันก็คือ การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพของ
ทุนมนุษย์ ที่เป็นตัวแปรในการทาให้เศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนเช่นกัน

2.2 วรรณกรรมและแนวคิดที่เกี่ยวข้องในการวัดระดับทักษะทางการเงิน
การศึกษาเกี่ยวกับทักษะทางการเงินนั้นเป็นที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง โดยทักษะทางการเงิน
นั้นเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่นเดียวกับ IQ หรือ EQ ดังนั้น จึงมีงานวิจัยเป็นจานวนมากที่ทาการศึกษาใน
ลักษณะการมุ่งเน้นวัดผลระดับทักษะทางการเงินของกลุ่มตัวอย่างโดยเฉพาะเจาะจง เช่น เฉพาะพื้นที่ หรือ
เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งได้มีการสารวจทักษะทางการเงินครั้งแรกเกิดขึ้นในปีค.ศ. 2004 โดยใช้กรอบแนวคิด
ของ Financial Services Authority : FSA (FSA ,2005) ตามภาพที่ 4

1
โดยหน่วยเศรษฐกิจต้องตัดสินใจว่าจะทาการบริโภคหรือออมภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ผู้ทาการตัดสินใจมีอายุแค่ 2 ช่วงเวลาเท่านั้น คือปีปัจจุบัน และปีถัดไป
2. ระดับราคาสินค้าและบริการไม่มีการเปลี่ยนแปลง
3. มีความแน่นอนทั้งในอายุและรายได้ในอนาคต (Certainty)
4. ไม่มีการหลงเหลือมรดกทิ้งไว้
6

ภาพที่ 4 : กรอบเนื้อหาในการวัดระดับทักษะทางการเงิน

ที่มา : Measuring financial capability : an exploratory study, Financial Services Authority (2005)

ซึ่งกลายเป็นกรอบการศึกษาหลัก (Core Framework) ในงานวิจัยที่มุ่งเน้นในการวัดระดับทักษะทาง


การเงิน ดังเช่น ในงานวิจัยของ OECD (2012) ได้ทาการศึกษาวัดผลระดับทักษะทางการเงิน โดยใช้วิธีออก
สารวจ (Survey) และใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการวัดผล ซึ่งครอบคลุมการวัดระดับ
ทักษะทางการเงิน 3 ด้านคือ ทัศนคติทางการเงิน (Financial Attitude) พฤติกรรมทางการเงิน (Financial
Behavior) และความรู้ทางการเงิน (Financial Knowledge) ซึ่งพบว่าระดับทักษะทางการเงินทั้ง 3 ด้านนั้น มี
ผลในการกาหนดความเป็นอยู่ทางการเงิน (Financial Being) และสุขภาพทางการเงิน (Financial Health) อีก
ทั้งปัจจัยด้านสถานภาพ เช่น เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา นั้นก็มีความสัมพันธ์ต่อระดับทักษะทางการเงิน
ของกลุ่มตัวอย่างเช่นกัน
โดยผลการศึกษาดังกล่าวสอดคล้องกับงานวิจัยของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (2556) ซึ่งได้ทาการวัด
ระดับทักษะทางการเงินของคนไทยทั่วประเทศ พบว่าคนไทยมีระดับทักษะทางการเงินเฉลี่ย อยู่ที่ร้อยละ 58.5
จากคะแนนเต็ม 22 คะแนน และมีคะแนนในหมวดความรู้ทางการเงินทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ากว่าครึ่ง นอกจากนี้
ยังพบว่า สถานภาพของบุคคลมีความสัมพันธ์กับคะแนนทักษะทางการเงิน กล่าวคือ บุคคลที่มีระดับการศึกษา
และรายได้ที่ต่า รวมถึงการมีอาชีพที่มีรายได้ต่า จะมีคะแนนทักษะทางการเงินต่ากว่ากลุ่มอื่นๆ อีกทั้งการศึกษา
ยังชี้ว่า การให้ความรู้ทางการเงิน จะช่วยปรับให้บุคคลมีพฤติกรรมทางการเงินที่ดีขึ้นได้

2.3 วรรณกรรมและแนวคิดที่เกี่ยวข้องในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางการเงินและการออม
คาถามที่สาคัญก็คือ “ทักษะทางการเงินมีผลต่อการออมอย่างไร” ตามแนวคิดด้านการออมในทาง
เศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับอย่าง John Maynard Keynes ได้กล่าวถึงการออมในมุมมองเชิงมหภาค
(Macro Economy) พบว่าการออม (Saving) นั้นขึ้นอยู่กับรายได้ (Income) และการบริโภค
(Consumption) แต่ในงานวิจัยเชิงประจักษ์นั้นกลับพบว่า การออมถูกกาหนดจากปัจจัยอื่นๆที่
นอกเหนือไปจากรายได้และการบริโภค ดังเช่นในงานวิจัยของสานักงานสถิติ: SES (2552) พบว่า ค่าความ
7

แปรปรวน (Variance) ของการออมนั้น มีระดับที่สูงกว่าค่าความแปรปรวนของรายได้ของกลุ่มตัวอย่าง นั่น


หมายความว่ายังมีปัจจัยอื่นๆ ที่กาหนดการออมนอกเหนือไปจากรายได้ เช่น ขนาดของครอบครัว ระดับ
การศึกษา เป็นต้น
โดยมีงานวิจัยที่พัฒนาทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์ของทักษะทางการเงินและ
การออมเพื่อการเกษียณ โดยงานวิจัยดังกล่าวมีการพัฒนาทฤษฎีในทางเศรษฐศาสตร์เพื่อใช้ในการอธิบายถึง
ความสาคัญของทักษะทางการเงินผ่านการสะสม (Stocking) ในรูปของทุนมนุษย์ (Human Capital) ซึ่งมีผล
ต่อการออมเพื่อการเกษียณในงานวิจัยของ Delavande et al. (2008) ได้พัฒนาทฤษฎีและแบบจาลองทาง
เศรษฐศาสตร์ผ่านการประยุกต์ใช้ Merton model โดยพบว่าในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์นั้นมักจะมีข้อสมมติที่
กล่าวว่า บุคคลนั้นมีการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึง (full perfectly information) และกระทาการตัดสินใจใน
เรื่องต่างๆ อย่างมีเหตุผล (Rational decision) โดยในความเป็นจริงนั้น ผู้คนมีทักษะทางการเงินที่แตกต่างกัน
ผ่านแบบจาลองการสะสมทักษะทางการเงินในรูปแบบทุนมนุษย์ (Human capital framework) โดยจะส่งผล
ต่อระดับการมีส่วนร่วมในตลาดทุน การออมเพื่อการเกษียณ ตลอดจนผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราผลตอบแทนที่
ปราศจากความเสี่ยง (Risk free rate return)

2.4 วรรณกรรมและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางการเงิน การออม และการลงทุน


จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า ในการศึกษาวิจัยในด้านทักษะทางการเงิน เชิงประยุกต์ยังมีค่อนข้าง
จากัด ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการออมเพื่อการเกษียณ ด้านการลงทุน ตลอดจนประสิทธิภาพการลงทุน โดยใน
ด้านของการลงทุนนั้น งานวิจัยของ Van Rooji et al., (2007) ได้ศึกษาถึงความเชื่อมโยงระหว่างความมีส่วน
ร่วมในตลาดทุนกับระดับทักษะทางการเงิน และการตัดสินใจทางการเงิน ตลอดจนการถือครองหุ้นสามัญผ่าน
แบบจาลอง Probit ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ระดับทักษะทางการเงินที่ต่านั้น จะส่งผลให้มีความน่าจะเป็นในการ
ลงทุนหุ้นสามัญหรือกองทุนที่น้อยตามไปด้วย ซึ่งผลดังกล่าวนั้น สอดคล้องกับงาน Johan and Anna (2012)
ที่พบว่า เพศหญิง มีส่วนร่วมกับตลาดทุนน้อยกว่าเพศชาย อีกทั้งยังมีทักษะทางการเงินที่น้อยกว่าด้วย ซึ่งการ
สารวจนี้ทาการสุ่มตัวอย่างจากประชากรชาวสวีเดนจานวน 1,300 ตัวอย่าง อีกทั้งงานวิจัยของ Adnan et al.,
(2014) ที่ได้ทาการศึกษาถึงความสามารถในการเข้าสังคม (Sociability) ทักษะทางการเงิน และความเชื่อมั่น
ในตลาดทุน ต่อการมีส่วนร่วมในตลาดทุน ผ่านทางแบบจาลอง Probit และแบบจาลองถดถอยเชิงพหุ จากผล
การศึกษาพบว่าทักษะทางการเงิน มีนัยยะสาคัญในทางสถิติต่อการมีส่วนร่วมในตลาดทุน ยิ่งทาให้เห็นถึง
ความสาคัญของทักษะการเงินต่อการตัดสินใจในการเงินและการลงทุนมากขึ้น
สาหรับกรณีศึกษาของประเทศไทยนั้น งานวิจัยของ วิศกรณ์ คีรีวรรณ (2557) ได้ทาการศึกษาเกี่ยวกับ
การวัดระดับทักษะทางการเงินขั้นสูงในลูกค้าของธุรกิจการเงิน 2 กลุ่ม (ธนาคารและธุรกิจหลักทรัพย์) พบว่า
8

ทักษะทางการเงินในแต่ละด้าน จะกระตุ้นทาให้เกิดการมีส่วนร่วมในตลาดทุนแตกต่างกันออกไป ซึ่งทักษะ


ทางการเงินในด้านความเสี่ยงและผลตอบแทนนั้นจะช่วยกระตุ้นให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับตลาดทุนทางตรงมาก
ยิ่งขึ้น (ลงทุนด้วยตนเองผ่านตลาดหลักทรัพย์) ในขณะที่การมีส่วนร่วมกับตลาดทุนทางอ้อม (ลงทุนผ่านกองทุน
รวม) นั้น ต้องการทักษะทางการเงินในด้านความรู้ทางการเงินทั่วไป ร่วมกับความรู้ด้านความเสี่ยงและ
ผลตอบแทนสาหรับตลาดทุน ในการกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่าคาแนะนาของผู้
ให้บริการทางการเงินนั้นมีผลต่อการเพิ่มความน่าจะเป็นของการมีส่วนร่วมในตลาดทุนอีกด้วย
ในด้านความสัมพันธ์ของทักษะทางการเงินกับการออมเพื่อการเกษียณนั้น มีการกล่าวถึงในงานวิจัยของ
Lusardi and Mitchell (2006) ถึงสาเหตุของครอบครัวที่ไม่มีการออมหรือไม่มีการวางแผนเพื่อการเกษียณใน
ประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีความขาดแคลนทักษะทางการเงิน กล่าวคือ มีความไม่เข้าใจในแนวคิด
เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น และไม่เข้าใจในความรู้ทางการเงินทั่วไป ซึ่งความเข้าใจเหล่านี้เป็นสิ่งสาคัญที่ใช้สาหรับ
การตัดสินใจในการออมหรือการลงทุนต่างๆ จะเห็นได้ว่าทักษะทางการเงินนั้นมีความสาคัญเป็นอย่างมากต่อ
การออมเพื่อการเกษียณ แต่ช่องว่างของงานวิจัยที่ค้นพบจากการทบทวนวรรณกรรมข้างต้นก็คือ การวัดระดับ
ทักษะทางการเงินนั้น ไม่ได้มีการตอบคาถามในเชิงนโยบายว่าทักษะทางการเงินด้านใดมีผลต่อการปรับปรุง
และกระตุ้นให้เกิดการยกระดับการออมเพื่อการเกษียณ ซึ่งประเด็นดังกล่าวนั้นได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อศึกษาวิจัย
ในการศึกษาครั้งนี้

3. ระเบียบวิธีวิจัย
3.1 กรอบแนวคิดในการศึกษา
ในการศึกษาครั้งนี้ ทางผู้วิจัยได้ทาการแบ่งหัวข้อการศึกษาออกเป็น 3 หมวดใหญ่ๆ โดยจะศึกษาถึง
ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อทักษะทางการเงิน และผลกระทบของทักษะทางการเงินที่มีผลกระทบต่อความน่าจะ
เป็นของการมีการออมเพื่อการเกษียณ โดยกาหนดกรอบแนวคิดไว้ ดังนี้
9

ภาพที่ 5 : กรอบแนวคิดในการศึกษา
ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) ตัวแปรตาม (Dependent Variable)

ทัศนคติทางการเงิน
(Financial Attitude:
FNA)

พฤติกรรมทางการเงิน
ทักษะทางการเงินขั้นสูง (Financial Behavior :
FNB)
(Advanced Financial การออมเพื่อการเกษียณ
Literacy Score) ความรู้ทางการเงิน
(Financial Knowledge :
FNK)

ความรู้ทางการลงทุน
(Financial Knowledge
with Risk and Return :
FNR)

ปัจจัยส่วนบุคคล

ที่มา : จากการศึกษา

3.2 สมมติฐานในการศึกษา
จากกรอบแนวคิดในการศึกษา ผู้วิจัยได้กาหนดสมมติฐานในการศึกษาได้ดังนี้
สมมติฐานที่ 1 : ลักษณะภูมิหลังด้านประชากรอัน ได้แก่ เพศ ช่วงอายุ ระดับรายได้ ระดับการศึกษา อาชีพ
สถานภาพสมรส ภาระอุปการะเลี้ยงดู ความกลัวความเสี่ยง ระดับความมั่นใจในความรู้ของตนเอง มีผลต่อระดับ
ทักษะทางการเงินขั้นสูง (AFLS)
สมมติฐานที่ 2 : ทักษะทางการเงินขั้นสูง (AFLS) มีผลต่อความน่าจะเป็นต่อการออมเพื่อการเกษียณ
สมมติฐานที่ 3 : องค์ประกอบของทักษะทางการเงิน อันประกอบไปด้วย ทัศนคติทางการเงิน (FNA) พฤติกรรม
ทางการเงิน (FNB) ความรู้ทางการเงิน (FNK) และความรู้ด้านการลงทุน (FNR) ด้านใดด้านหนึ่งมีผลต่อการ
ออมเพื่อการเกษียณ
10

4.ระเบียบวิธีวิจัย
ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลปฐมภูมิเป็น
การเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการเก็บสารวจ (Survey) ที่ใช้แบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยได้ทาการทดสอบความเชื่อถือ
แล้วกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้ลงทุนทั่วไป รวมเป็นจานวน 400 ราย โดยแบบสอบถาม (Questionnaire) ที่
เกี่ยวกับความรู้ทางการเงินที่ใช้ในการเก็บสารวจกลุ่มลูกค้าจะอ้างอิงต้นแบบจาก Organisation for
Economic Co-operation and Development : OECD (2011) และได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดย
ธนาคารแห่งประเทศไทย (2556) นอกจากนี้ยังได้มีการเพิ่มเติมหมวดคาถามด้านการลงทุน (Financial
Knowledge with risk and return : FNR) โดยการอ้างอิงจากเวปไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สาหรับในการเก็บสารวจครั้งนี้
หลังจากนั้นจะนาข้อมูลที่ได้จากการเก็บสารวจเข้าสู่กระบวนการแปลงค่า (Coding) (โดยรายละเอียด
ประกอบเพิ่มเติมตามเอกสารแนบที่ 1 และ 2 ตามลาดับ) เนื่องจากการออกสารวจครั้งนี้เป็นการสารวจเพื่อวัด
ระดับทักษะทางการเงินจึงจาเป็นจะต้องมีการคิดคะแนนทักษะทางการเงิน โดยหลักการในการประเมินคะแนน
จะใช้มาตรฐานเดียวกับ OECD และการออกสารวจของธนาคารแห่งประเทศไทย (2556) โดยสามารถสรุปได้
ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 : สรุปภาพรวมคะแนนเต็มทักษะทางการเงิน (Financial Literacy Score: FLS) และทักษะทางการ


เงินขั้นสูง (Advance Financial Literacy Score : AFLS)
หมวด ส่วนที่ ข้อที่ คะแนนเต็ม รวม % of FLS % of AFLS
2 5
ทัศนคติทางการเงิน (FNA) 3 3 5 5 (เฉลี่ย) 21% 15%
6 5
2 4 2
1 1
4 1
5 1
พฤติกรรมทางการเงิน (FNB) 7 1 9 38% 26%
3
8 1
9 1
11 ตอบถูกทั้ง 2 ข้อได้ 1
12 คะแนน
ความรู้ทางการเงิน (FNK) 4 1-10 ข้อละ 1 คะแนน 10 42% 29%
11

หมวด ส่วนที่ ข้อที่ คะแนนเต็ม รวม % of FLS % of AFLS


ความรู้ด้านการลงทุน (FNR) 5 1-10 ข้อละ 1 คะแนน 10 N/A 29%
ที่มา : จากการศึกษา

หลังจากนั้น จึงนาไปวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic ) ภายใต้วัตถุประสงค์ใน


การศึกษาภาพรวมของกลุ่มตัวอย่าง และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ผ่านแบบจาลอง Ordinary
Least Square Regression: OLS ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยส่วนบุคคลใดที่มีผลกระทบต่อทักษะ
ทางการเงินที่แตกต่างกัน ในขณะที่ แบบจาลอง Binary logistic และ Multinomial Logistic Regression
นั้น จะใช้ในการศึกษาถึงบทบาทของทักษะทางการเงินในด้านต่างๆ ว่ามีผลต่อความน่าจะเป็นของการออมเพื่อ
การเกษียณอย่างไร และทักษะทางการเงินด้านต่างๆมีผลต่อการออมในระยะยาวหรือไม่อย่างไร โดยสามารถ
สรุปได้ดังภาพที่ 6

ภาพที่ 6 : สรุปตัวแปรและแบบจาลองในการศึกษา
วิเคราะห์ด้วย Ordinary least square : OLS (สีม่วง) วิเคราะห์ด้วย Binary&Multinomial Logistic (สีฟ้า)

ทัศนคติทางการเงิน
(Financial Attitude)

พฤติกรรมทางการเงิน
ทักษะทางการเงินขั้นสูง (Financial Behavior)

(Advanced Financial การออมเพื่อการเกษียณ


Literacy Score) ความรู้ทางการเงิน
(Financial Knowledge)

ความรู้ทางการลงทุน
(Financial Knowledge
with Risk and Return)

ปัจจัยส่วนบุคคล

ที่มา : จากการศึกษา
12

5. ผลการศึกษา
ในเบื้องต้นจากการเก็บสารวจจานวน 400 ตัวอย่าง ลักษณะข้อมูลของประชากรโดยทั่วไป สามารถ
จาแนกได้เป็น 6 ด้าน โดยลาดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ และข้อมูลโดยละเอียดจะสามารถสรุปได้ ดังตารางที่ 3
ในภาคผนวก
1. ในด้านของเพศ แบ่งเป็น เพศหญิง 57% และ เพศชาย 43%
2. ในด้านของอายุ แบ่งเป็น อายุ 26 -35 ปี 51% อายุ 18-25 ปี 22% อายุ 36-45 ปี ที่ 13% และ 46 ปี ขึ้นไป
14%
3. ในด้านของอาชีพ แบ่งเป็น พนักงานบริษัทเอกชน 55%ข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ 15%
ประกอบวิชาชีพอิสระ 12% และอื่นๆ 19%
4. ในด้านของจังหวัด เนื่องจากการสารวจครั้งนี้ มีการสารวจบนอินเตอร์เน็ท 45% และเป็นแบบสอบถามอีก
55% จึงมีการกระจายตัวในด้านของจังหวัดดังนี้ กรุงเทพฯ 66% ปริมณฑล 19% และต่างจังหวัด 15%
5. ระดับการศึกษาสูงสุด แบ่งเป็น ระดับปริญญาตรี 55% ระดับสูงกว่าปริญญาตรี 34% และระดับต่ากว่าปริญญา
ตรี %
6. ระดับรายได้แบ่งเป็น 3 ระดับ ในเบื้องต้นพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการกระจุกตัวอยู่ในรายได้ระดับกลางในช่วง
15,001 ถึง 100,000 บาท โดยสรุปได้ดังตารางที่ 4
7. ในด้านการใช้บริการทางการเงิน 2 กลุ่ม ลูกค้าธนาคารพาณิชย์ จานวน 306 ราย กับ ลูกค้าบริษัทหลักทรัพย์
จานวน 94 ราย

ตารางที่ 4 : การแบ่งระดับของรายได้
ระดับรายได้ ช่วงของรายได้ %
ต่า 15,000 บาท หรือ ต่ากว่า 16%
กลาง 15,001 บาท ถึง 100,000 บาท 73%
สูง 100,001 บาทขึ้นไป 11%
ที่มา : จากการศึกษา
จากการคานวณระดับคะแนนทักษะทางการเงินเฉลี่ย (ภาพที่ 7 สีฟ้า) ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ระดับ
ทัศนคติทางการเงิน (FNA) ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ที่ 3.5133 จาก 5 คะแนนเต็ม และ ระดับพฤติกรรมทางการเงิน
(FNB) อยู่ที่ 7.3775 จาก 9 คะแนนเต็ม ความรู้ทางการเงินเบื้องต้น (FNK) อยู่ที่ 8.26 จาก 10 คะแนนเต็ม ความรู้
ด้านการลงทุน (FNR) อยู่ที่ 6.73 จาก 10 คะแนนเต็ม ในขณะที่ ทักษะทางการเงินทั่วไป (FLS) อยู่ที่ 19.15 จาก
24 คะแนนเต็ม และทักษะทางการเงินขั้นสูง ( ALFS) อยู่ที่ 25.88 จาก 34 คะแนนเต็ม โดยเมื่อวิเคราะห์
13

เปรียบเทียบในเชิงของค่ามัธยฐาน (แผนภูมิที่5 สีแดง) พบว่า ระดับทัศนคติทางการเงิน (FNA) ของกลุ่มตัวอย่าง


อยู่ที่ 3.67 จาก 5 คะแนนเต็ม และ ระดับพฤติกรรมทางการเงิน (FNB) อยู่ที่ 8 จาก 9 คะแนนเต็ม ความรู้ทาง
การเงินเบื้องต้น (FNK) อยู่ที่ 8 จาก 10 คะแนนเต็ม ความรู้ด้านการลงทุน (FNR) อยู่ที่ 6 จาก 10 คะแนนเต็ม
ในขณะที่ ทักษะทางการเงินทั่วไป (FLS) อยู่ที่ 18.33 จาก 24 คะแนนเต็ม และทักษะทางการเงินขั้นสูง ( ALFS)
อยู่ที่ 22 จาก 34 คะแนนเต็ม

ภาพที่ 7 : แสดงค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐานของระดับทักษะทางการเงินในหมวดต่างๆ เปรียบเทียบกับคะแนนเต็ม


40 34
30 24 26.17
20.67
18 19.67
20
8 8 9 8 8.5 10 6 6
10
10 3.673.83 5
0
FNA FNB FNK FNR FLS AFLS

ค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง ค่ามัธยฐานกลุ่มตัวอย่าง คะแนนเต็ม

เมื่อแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่ม อันประกอบไปด้วยกลุ่มตัวอย่างธนาคารพาณิชย์ และ


กลุ่มตัวอย่างบริษัทหลักทรัพย์แล้วทาการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและทดสอบทางสถิติด้วย t-test นั้นพบว่า ในด้าน
ของทัศนคติทางการเงิน (FNA) ทักษะทางการเงิน (FLS) และทักษะทางการเงินขั้นสูง (AFLS) นั้นแตกต่าง
กันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ในขณะที่ระดับคะแนนเฉลี่ยในด้านพฤติกรรมทางการเงิน
(FNB) ความรู้ทางการเงิน (FNK) และ ความทางการลงทุนนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่
ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 ดังเช่นในภาพที่ 8 (สีแดงและสีเขียว) และ ตารางที่ 5
14

ภาพที่ 8 : เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐานระหว่างกลุ่มลูกค้าทั้ง 2 กลุ่ม


30.00
25.00
20.00
15.00 ค่าเฉลี่ยลูกค้าธนาคาร (n=306)
10.00
ค่าเฉลี่ยลูกค้าบริษทั หลักทรัพย์ (n=94)
5.00
ค่ามัธยฐานของลูกค้าธนาคาร
0.00
ค่ามัธยฐานของลูกค้าบริษัทหลักทรัพย์

ตารางที่ 5: แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ด้วย t-test


ทัศนคติทาง พฤติกรรมทาง ความรู้ทาง ความรู้ทางการ ทักษะทาง ทักษะทางการเงิน
การเงิน การเงิน การเงิน ลงทุน การเงิน ขั้นสูง
P-Value 0.00 0.05 0.00 0.06 0.00 0.00
ค่าเฉลี่ย ลูกค้าธนาคาร (n=306) 3.51 7.17 7.82 5.56 17.03 20.32
ลูกค้าบริษัทหลักทรัพย์ 3.84 7.48 8.36 6.12 19.68 25.80
(n=94)
ที่มา : จากการศึกษา

โดยเมื่อเปรียบเทียบในด้านของค่ามัธยฐาน (Median) ก็พบว่าให้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับค่าเฉลี่ย


(Mean) โดยพบว่า ทักษะทางการเงินในทุกๆหมวดของกลุ่มลูกค้าธนาคารพาณิชย์และลูกค้าบริษัทหลักทรัพย์
นั้นมีค่ามัธยฐานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ดังเช่นผลการวิเคราะห์ใน
ตารางที่ 6

ตารางที่ 6 : แสดงการทดสอบความแตกต่างของค่ามัธยฐานทางสถิติด้วย Mann-Whitney, Moses, Krusal-


Wallis H Test

Test Significance Tails


FNA FNB FNK FNR
Mann-Whitney Test 0.01 0.020 0.000 0.000 2-tailed
Moses Test 0.000 0.000 0.000 0.000 1-tailed
Kruskal-Wallis H Test 0.001 0.002 0.000 0.000 2-tailed
15

สิ่งใดกาหนดให้ทักษะทางการเงินมีระดับที่แตกต่างกัน?
จากผลการเปรียบเทียบทั้งค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐานข้างต้น สิ่งที่เป็นตัวกาหนดทักษะทางการเงินตาม
กรอบการศึกษาของ Financial Services Authority ในภาพที่ 1 ก็คือปัจจัยส่วนบุคคล ( Demographic) ซึ่ง
หลังจากการนาตัวระดับคะแนนทักษะทางการเงินขั้นสูง (AFLS) และ ปัจจัยส่วนบุคคล (Demographic) ไป
วิเคราะห์ผ่านแบบจาลอง OLS และตัดตัวแปรตัววิธี Stepwise นั้นพบว่า ทักษะทางการเงินขั้นสูง (AFLS) ซึ่ง
เป็นทักษะทางการเงินที่ได้เพิ่มคาถามในส่วนของความรู้ด้านลงทุนเพิ่มเข้าไป เมื่อทาการวิเคราะห์พบว่าตัวแปร
อิสระนั้น สามารถอธิบายได้อยู่ที่ 36.1% โดยปัจจัยที่มีผลต่อระดับทักษะทางการเงินขั้นสูงในทางบวกนั้น
ประกอบไปด้วย ปัจจัยด้านเพศชาย,อาชีพนักเรียน-นักศึกษาและอาชีพอื่นๆ (ในที่นี้คือกลุ่มนักลงทุนอิสระระดับ
การศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป, ระดับรายได้กลาง-สูง ,ความกลัวความเสี่ยง (Risk Aversion) การใช้คาแนะนา
จากผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ตลอดจนจานวนใบอนุญาตทางการเงิน นั้นให้ผลในทางบวก ซึ่งพบว่ากลุ่มตัวอย่างลูกค้า
ที่มีอาชีพอื่นๆนั้น เป็นนักลงทุนอิสระ ซึ่งกลุ่มอาชีพดังกล่าวนั้น มีลักษณะเฉพาะคือมีระดับทักษะทางการเงินใน
หมวดความรู้ด้านการลงทุน (FNR) ที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ระดับทักษะทางการเงินขั้นสูง (AFLS) สูงตาม
ไปด้วย ในขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลกระทบในทางลบจะประกอบไปด้วย เพศหญิง ช่วงอายุ 26-35 ปี สถานภาพการ
หย่าร้าง/หม้าย/แยกกันอยู่ ระดับการศึกษาต่ากว่าปริญญาตรี ระดับรายได้ต่ากว่า 15,000 บาท และความมั่นใจ
ของกลุ่มตัวอย่างลูกค้า ดังตารางที่ 7
จากผลการศึกษาข้างต้นพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับระดับทักษะทางการเงินขั้นสูง
(AFLS) ซึ่งผลการศึกษานั้นสอดคล้องกับกรอบการศึกษาของ Financial Services Authority ซึ่งกล่าวถึงการ
ที่ทักษะทางการเงินของแต่ละบุคคลนั้นถูกกาหนดมาจากปัจจัยส่วนบุคคล อันจะเห็นได้จากผลการศึกษาใน
ตารางที่ 7 ข้างต้น ต่อไปจะเป็นการวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของทักษะทางการเงินขั้นสูงที่มีต่อความน่าจะเป็น
ต่อการออมเพื่อการเกษียณอย่างไร

ตารางที่ 7 : แสดงค่าสัมประสิทธิ์และผลการวิเคราะห์ด้วย MRA ถึงปัจจัยด้านสถานภาพที่มีผลต่อทักษะทาง


การเงินขั้นสูง(AFLS)
R2adj =36.1%
MRA AFLS
Constant = 12.499***
เพศ ชาย (+0.21)*** หญิง (-)***
ตัว
สถานภาพการสมรส หย่าร้าง/หม้าย/แยกกันอยู่ (-0.78)***
แปร
นักเรียน/นักศึกษา
อิสระ อาชีพ อื่นๆ (+0.074)*
(+0.168)***
16

R2adj =36.1%
MRA AFLS
Constant = 12.499***
ต่ากว่าปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี
ระดับการศึกษา ปริญญาตรี (+0.289)***
(-0.189)*** (+0.438)***
ระดับต่า (ต่ากว่า 15,000 ระดับกลาง (15,001- ระดับสูง (100,001 บาท/
ระดับรายได้
บาท/เดือน) (-0.209)*** 100,000บาท/เดือน) (+)*** เดือน ขึน้ ไป) (+0.276)***
การใช้คาปรึกษาทาง
คาแนะนาจากผู้ติดต่อผู้ลงทุน (+0.111)***
การเงิน
จานวนใบอนุญาตทาง
+0.124***
การเงิน
Over Confidence -0.233***
รสนิยมด้านความเสี่ยง กลัวความเสี่ยง (+0.155)***
หมายเหตุ : ***, **, * แสดงนัยสาคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 ,95 ,90 ตามลาดับ โดยเครื่องหมายใน ( )
แสดงถึงทิศทางความสัมพันธ์

ทักษะทางการเงินขั้นสูง (AFLS) มีความสัมพันธ์อย่างไรกับการออมเพื่อการเกษียณ


ในผลการวิเคราะห์ส่วนก่อนหน้านี้ พบว่าสิ่งใดเป็นตัวกาหนดให้ทักษะทางการเงินนั้นมีความแตกต่าง
กันออกไป ในส่วนต่อไป จะทาการวิเคราะห์ถึงความสาคัญของทักษะทางการเงินต่อความน่าจะเป็นต่อการออม
เพื่อการเกษียณ แบบจาลองที่ใช้ในการศึกษานั้น คือ แบบจาลอง Binary Logistic ซึ่งตัวแปรตามนั้นมีค่าอยู่
ระหว่าง 0 และ 1 กล่าวคือ ไม่มีการออมเพื่อการเกษียณ และ มีการออมเพื่อการเกษียณ ผลลัพธ์ที่ได้นั้น จะมีการ
อ่านค่าที่ต่างจากแบบจาลองถดถอยเชิงพหุทั่วไป เพราะ ผลลัพธ์จะอยู่ในรูป Odd Ratio หรือ ความน่าจะเป็นที่
จะเกิดเหตุการณ์ที่ i เทียบกับ ความน่าจะเป็นที่จะไม่เกิดเหตุการณ์ที่ i นอกจากนี้ค่า Nag R2adj ยังเป็นค่าที่แสดง
ถึงความสามารถในการอธิบายตัวแปรตัวได้มากน้อยแค่ไหนผ่านตัวแปรอิสระที่ถูกใส่เข้าไปในสมการ และ
ความสามารถในการพยาการณ์นั้นจะถูกแสดงออกมาในรูปแบบ Overall Correct ว่าแบบจาลองจะอธิบาย
เหตุการณ์ดังกล่าวได้ถูกต้องทั้งหมดกี่ % โดยผลลัพธ์ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของทักษะทางการเงินขั้นสูงปัจจัย
ด้านสถานภาพและคาแนะนาของเจ้าหน้าที่ ที่มีผลต่อความน่าจะเป็นต่อการมีส่วนร่วมในตลาดทุนช่องทางต่างๆ
จะมีดังเช่นใน ตารางที่ 8
17

ตารางที่ 8 : แสดงค่าสัมประสิทธิ์และผลการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ของทักษะทางการเงินต่อความน่าจะเป็นใน


การออมเพื่อการเกษียณของกลุ่มตัวอย่าง ผ่านแบบจาลอง binary logit model

Independent Variables Dependent Variables


Nag R2adj 15.30%
Customer Case
Overall Correct 62.00%
ตัวแปรต้น การมีการออมเพื่อการเกษียณ
ทักษะทางการเงินขั้นสูง 0.086**
อายุ 46-55 1.025**
ภาระการเลี้ยงดู การมี/ไม่มีบุคคลที่ต้องอุปการะ 0.543**
เจ้าของธุรกิจส่วนตัว -0.883**
อาชีพ ประกอบวิชาชีพอิสระ -0.876**
นักเรียน/นักศึกษา -0.919*
ระดับรายได้ ระดับสูง (100,001 บาท/เดือน ขึน้ ไป) 1.015**
Constant -1.806***
ที่มา : จากการศึกษาผ่านการประมวลผลและตัดตัวแปรด้วยSPSS
หมายเหตุ : ***, **, * แสดงนัยสาคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99, 95, 90 ตามลาดับ โดยเครื่องหมายใน ( )
แสดงถึงทิศทางความสัมพันธ์

จากผลการศึกษาผ่านแบบจาลอง Binary Logistic model ในตารางที่ 8 (n = 400) ทางผู้ศึกษาจะทา


การวิเคราะห์ในด้านปัจจัยทักษะทางการเงินขั้น พบว่า ในการมีการออมเพื่อการเกษียณนั้น หากกาหนดให้
ปัจจัยอื่นๆ คงที่ จะพบว่า เมื่อกลุ่มตัวอย่างมีทักษะทางการเงินขั้นสูง (AFLS) เพิ่มขึ้น 1 คะแนนจะทาให้ Odd
ratio เพิ่มขึ้น หรือจะทาให้มีโอกาสที่กลุ่มลูกค้าจะมีการออมเพื่อการเกษียณ 1.09 เท่า เมื่อเทียบกับโอกาสที่จะ
ไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว และถ้ากาหนดให้ตัวแปรอื่นๆ คงที่ ในขณะที่ปัจจัยที่มีผลสูงสุดก็คือ ช่วงอายุ 46-55 ปี
โดยถ้ากลุ่มลูกค้ามีอายุอยู่ในช่วงดังกล่าวโดยกาหนดให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่ จะทาให้ Odd ratio เพิ่มขึ้น หรือ จะทา
ให้มีโอกาสที่กลุ่มลูกค้าจะมีการออมเพื่อการเกษียณ 2.79 เท่าเมื่อเทียบกับโอกาสไม่เกิดเหตุการณ์ รองลงมาเป็น
ระดับรายได้สูงซึ่งโดยถ้ากลุ่มลูกค้ามีอายุอยู่ในช่วงดังกล่าวโดยกาหนดให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่ จะทาให้ Odd ratio
เพิม่ ขึ้น หรือ จะทาให้มีโอกาสที่กลุ่มลูกค้าจะมีการออมเพื่อการเกษียณ 2.76 เท่า ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจจากผล
การศึกษาพบว่า ช่วงอายุ 46 – 55 ปี และระดับรายได้สูง นั้นส่งผลเป็นอย่างมากต่อความน่าจะเป็นในการออม
เพื่อการเกษียณ แต่ปัจจัยดังกล่าวนั้นเป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่ไม่สามารถกาหนดหรือแก้ไขได้ โดยสิ่งที่จะสามารถ
กระตุ้นให้เกิดการออมเพื่อการเกษียณผ่านการพัฒนาทักษะทางการเงินขั้นสูงโดยการให้ความรู้นั้น จึงเป็นสิ่งที่
18

สามารถกระทาได้จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งในผลวิจัยในส่วนถัดไปนั้นจะมุ่งเน้นตอบคาถามว่า
“ทักษะทางการเงินในด้านใดที่เป็นตัวแปรสาคัญในการกาหนดการออมเพื่อการเกษียณ”

ทักษะทางการเงินในด้านใดที่กาหนดความน่าจะเป็นในการออมเพื่อการเกษียณ
สาหรับในการศึกษาหัวข้อนี้ จะทาการศึกษาโดยใช้ Multinomial Logistic Regression (MLR) ใน
กลุ่มลูกค้า โดยจะทาการกาหนด Baseline category group หรือกลุ่มที่จะทาการอ้างอิง (Reference group)
เป็น 2 กรณีดังนี้
1.กลุ่มที่ไม่มีการออมใดๆเลย
2. กลุ่มที่มีการออมแต่ไม่มีการออมเพื่อการเกษียณ
โดยจากกลุ่มตัวอย่างลูกค้าทั้งหมด 400 ราย และใช้การตัดตัวแปรด้วยวิธี Backward Stepwise โดยมี
ผลการศึกษา ดังเช่น ตารางที่ 9 และ 10 ตามลาดับ

ตารางที่ 9 : ผลการวิเคราะห์ด้วย Multinomial Logit โดยใต้กลุ่มอ้างอิงคือผู้ไม่มีการออม


Independent Variables Dependent Variables
(McFadden) Pseudo
R2adj
7.40%
Customer Case
Overall Correct 67.30%
มีการออม แต่ไม่มีการออม มีการออมเพื่อการเกษียณ
ความหมาย
เพื่อการเกษียณ n = 109 n = 269
ทัศนคติทางการเงิน 0.423 0.85***
พฤติกรรมทางการเงิน 0.314** 0.331**
ความรู้ทางการเงิน 0.11 -0.089
ความรู้ด้านการลงทุน 0.143 0.242*
Constant -2.114** -2.513**
ที่มา : จากการศึกษาผ่านการประมวลผลและตัดตัวแปรด้วยSPSS

จากผลในตารางที่ 9 โดยในเบื้องต้นนั้น แสดงถึงการมีเปรียบเทียบความน่าจะเป็นการมีการออมเพื่อ


การเกษียณต่อทักษะทางการเงินที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการมีการออมเพื่อการเกษียณนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับ
กลุ่มอ้างอิงหรือกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีการออมใดๆ เลย เป็นจานวน 22 ราย ก็พบว่า ทักษะทางการเงินด้านที่มีผลต่อ
การเพิ่มความน่าจะเป็นการออมเพื่อการเกษียณมากที่สุดคือ ทัศนคติทางการเงิน ( FNA) ถ้ามีทัศนคติทาง
19

การเงิน (FNA) ของลูกค้าเพิ่มขึ้น 1 คะแนน จะทาให้ลูกค้ามีการออมเพื่อการเกษียณมากกว่าการไม่ออมเลย


2.34 เท่าของคนที่ไม่มีคะแนนทัศนคติทางการเงิน (FNA) โดยอันดับที่ 2 ก็คือ พฤติกรรมทางการเงิน (FNB)
โดยถ้ามีพฤติกรรมทางการเงิน (FNB) ของลูกค้าเพิ่มขึ้น 1 คะแนน จะทาให้ลูกค้ามีการออมเพื่อการเกษียณ
มากกว่าการไม่ออมเลย 1.39 เท่าของคนที่ไม่มีคะแนนในหมวดดังกล่าว และในหมวดสุดท้ายก็คือความรู้ด้าน
การลงทุน (FNR) ถ้ามีความรู้ด้านการลงทุน (FNR) ของลูกค้าเพิ่มขึ้น 1 คะแนน จะทาให้ลูกค้ามีการออมเพื่อ
การเกษียณมากกว่าการไม่ออมเลย 1.27 เท่าของคนที่ไม่มีคะแนนความรู้ด้านการลงทุน (FNR) ซึ่งถ้ามีทักษะทั้ง
3 ด้านเพิ่มขึ้นด้านละ 1 คะแนนจะทาให้ เพิ่มความน่าจะเป็นในการออมเพื่อการเกษียณถึง 5.01 เท่าเมื่อเทียบกับ
คนที่ไม่มีทักษะดังกล่าว

ตารางที่ 10 : ผลการวิเคราะห์ด้วย Multinomial Logit โดยกลุ่มอ้างอิงคือผู้มีการออมแต่ไม่มีการออมเพื่อการ


เกษียณ

Independent Variables Dependent Variables


(McFadden) Pseudo
R2adj
7.40%
Customer Case
Overall Correct 67.30%
มีการออมเพื่อการเกษียณ
ความหมาย ไม่มีการออมใดๆเลย n = 22
n = 269
ทัศนคติทางการเงิน -0.423 0.427***
พฤติกรรมทางการเงิน -0.314 0.16
ความรู้ทางการเงิน -0.011 -0.1
ความรู้ด้านความเสี่ยงและผลตอบแทน -0.143 0.099*
Constant 0.2114** -0.399
หมายเหตุ : ***, **, * แสดงนัยสาคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99, 95, 90 ตามลาดับ โดยเครื่องหมายใน ( )
แสดงถึงทิศทางความสัมพันธ์

จากผลในตารางที่ 10 แสดงถึงการมีเปรียบเทียบความน่าจะเป็นการมีการออมเพื่อการเกษียณต่อทักษะ
ทางการเงินที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการมีการออมเพื่อการเกษียณนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับ Reference group
หรือก็คือกลุ่มตัวอย่างที่มีการออมแต่ไม่มีการออมเพื่อการเกษียณ เป็นจานวน 109 ราย นั้นพบว่า ผลการศึกษา
ค่อนข้างสอดคล้องกับกรณีกลุ่มอ้างอิงที่ไม่มีการออม โดยทักษะทางการเงินด้านที่มีผลต่อการเพิ่มความน่าจะ
20

เป็นการออมเพื่อการเกษียณมากที่สุดคือ ทัศนคติทางการเงิน ( FNA) ถ้ามีทัศนคติทางการเงิน (FNA) ของ


ลูกค้าเพิ่มขึ้น 1 คะแนน จะทาให้ลูกค้ามีการออมเพื่อการเกษียณมากกว่ากลุ่มอ้างอิง 2.34 เท่าของคนที่ไม่มี
คะแนนทัศนคติทางการเงิน (FNA) ทักษะที่สาคัญรองลงมาก็คือ ความรู้ด้านการลงทุน (FNR) ถ้ามีความรู้ด้าน
การลงทุน (FNR) ของลูกค้าเพิ่มขึ้น 1 คะแนน จะทาให้ลูกค้ามีการออมเพื่อการเกษียณมากกว่ากลุ่มอ้างอิง 1.10
เท่าของคนที่ไม่มีคะแนนความรู้ด้านการลงทุน (FNR) ซึ่งถ้ามีทักษะทั้ง 2 ด้านเพิ่มขึ้นด้านละ 1 คะแนนจะทาให้
เพิ่มความน่าจะเป็นในการออมเพื่อการเกษียณถึง 2.64 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีทักษะดังกล่าวโดยสามารถสรุป
ได้ดังภาพที่ 9

ภาพที่ 9 : สรุปทักษะทางการเงินด้านต่างๆที่ช่วยเพิ่มความน่าจะเป็นในการออมเพื่อการเกษียณ

ทัศนคติทางการเงิน
(Financial Attitude)

ผู้ไม่มีการออม ทักษะทางการเงินขั้นสูง พฤติกรรมทางการเงิน


ใดๆเลย (Advanced Financial
(Financial Behavior)
Literacy Score)

ความรู้ทางการเงิน เพิ่มความน่าจะเป็นในการ
(Financial Knowledge)
ออมเพื่อการเกษียณ

ผู้มีการออม ทัศนคติทางการเงิน
แต่ไม่มีการ ทักษะทางการเงินขั้นสูง (Financial Attitude)

ออมเพื่อการ (Advanced Financial


Literacy Score) ความรู้ทางการลงทุน
เกษียณ
(Financial Knowledge
with Risk and Return)

ที่มา : จากการศึกษา

จากภาพที่ 10 จะพบว่ากลุ่มที่ไม่มีการออมเพื่อการเกษียณนั้น มีระดับทักษะทางการเงินน้อยกว่ากลุ่มที่มี


การออมเพื่อการเกษียณในทุกด้าน แต่ด้านที่สาคัญที่สุดที่มีผลต่อความน่าจะเป็นของการออมเพื่อการเกษียณนั้น
ก็คือ ความรู้ด้านการลงทุน (FNR) ซึ่งพบว่า กลุ่มทีไ่ ม่มีการออมเพื่อการเกษียณนั้นน้อยกว่า กลุ่มที่มีการออม
เพื่อการเกษียณ ถึงร้อยละ 10
21

ภาพที่ 10 : แสดงเปอร์เซ็นการตอบถูกระหว่างกลุ่มที่มีการออมเพื่อการเกษียณและกลุ่มที่ไม่มีการออมเพื่อการ
เกษียณ
100%
80%
60% ไม่มีการออมเพื่อการเกษียณ
40%
20% มีการออมเพื่อการเกษียณ
0%
FNA FNB FNK FNR FLS AFLS

ที่มา : จากการศึกษา
ดังนั้น เมื่อทาการแยกกลุ่มลูกค้าออกเป็น ทั้งหมด 3 กลุ่ม ตามการวิเคราะห์ด้วยแบบจาลอง
Multinomial Logit และตรวจสอบคาถามที่กลุ่มลูกค้านั้นตอบผิดแล้วพบว่า ทักษะทางการเงินขั้นสูงที่จาเป็น
ต่อการออมเพื่อการเกษียณทั้ง 3 ด้าน พบว่า กลุ่มที่ไม่มีการออมใดๆ เลยนั้น มีอัตราการตอบผิดสูงสุดเป็นอันดับ
แรก โดยเมื่อวิเคราะห์แบ่งตามหมวดทักษะทางการเงินพบว่า ในด้านของทัศนคติทางการเงิน (FNA) นั้น เป็น
แบบสอบถามที่ไม่มีข้อถูกหรือผิด แต่จะแบ่งตัวเลือกเป็นแบบระดับความเห็นด้วย (Scale) โดยภาพที่ 11 จะ
แสดงถึงผู้ที่ตอบว่า “ค่อนข้างเห็นด้วย หรือ เห็นด้วยกับข้อความดังกล่าว” ซึ่งผู้ที่ไม่มีการออมใดๆเลยนั้น จะมี
เปอร์เซ็นการตอบว่าเห็นด้วย/ค่อนข้างเห็นด้วยสูงถึงร้อยละ 50 ในเกือบทุกด้าน ซึ่งสามารถสรุปได้ว่ากลุ่มผู้ที่ไม่
มีการออมใดๆ เลยนั้น มีทัศนคติด้านการเงินที่ค่อนข้างแย่เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ในขณะที่กลุ่มที่มีการ
ออมแต่ไม่มีการเพื่อการเกษียณนั้นพบว่า ตอบเห็นด้วย/ค่อนข้างเห็นด้วยในหัวข้อ “ท่านคิดว่าเงินมีไว้เพื่อใช้จ่าย
แต่เพียงอย่างเดียว” ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การออมของกลุ่มที่ออมแต่ไม่มีการเพื่อการเกษียณ กล่าวคือ
การออมของกลุ่มตัวอย่างนี้นั้น มุ่งเน้นแต่เป็นการออมระยะสั้นเพื่อการบริโภค เช่น การเก็บออมเพื่อซื้อของที่
อยากได้หรือเก็บออมเพื่อการท่องเที่ยว โดยกลุ่มสุดท้ายที่ตอบ “ไม่เห็นด้วย หรือ ค่อนข้างไม่เห็นด้วย หรือ
เฉยๆ” จะตกอยู่ในกลุ่มผู้มีการออมเพื่อการเกษียณเสียเป็นส่วนมาก
22

ภาพที่ 11 : แสดงเปอร์เซ็นของการตอบผิดในด้านทัศนคติทางการเงินเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้มีการออมและ
ไม่มีการออม
60.00%
50.00%
40.00%
30.00%
20.00% ไม่มีการออมใดๆ
10.00%
0.00% มีการออมแต่ไม่มีการออมเพื่อการเกษียณ

เงินมีไว้ใช้จ่าย
ชอบจ่ายมากกว่า
วันนี้มากกว่าพรุ่งนี้
คิดถึงแต่ค่าใช้จ่าย มีการออมเพื่อการเกษียณ

เท่านั้น
ที่มา : จากการศึกษา ออม

ในส่วนถัดมาภาพที่ 12 จะเป็นการวิเคราะห์ในด้านพฤติกรรมทางการเงิน (FNB) ซึ่งในส่วนนี้ จะมีการ


ตอบผิดและตอบถูก ซึ่งรายละเอียดนั้นยังคงพบว่ากลุ่มที่ไม่มีการออมใดๆ เลยนั้น ยังมีอัตราการตอบผิดที่สูงมาก
โดยเฉพาะในเรื่องของการมีส่วนในการร่วมวางแผนทางการเงิน และ การบริหารเงิน โดยพบว่ามีสัดส่วนสูงถึง
ร้อยละ 70 ด้วยกัน และไม่มีการออมในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมาสูงถึงร้อยละ 100 ในกลุ่มถัดมา คือกลุ่มที่มีการออมแต่
ไม่มีการออมเพื่อการเกษียณนั้นพบว่า มีพฤติกรรมทางการออมดีกว่ากลุ่มที่ไม่ออมเลย และ มีพฤติกรรมทาง
การเงินในด้านอื่นๆ ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ออม แต่อย่างไรก็ดี อัตราการตอบผิดยังคงสูงกว่ากลุ่มที่มีการออมเพื่อการ
เกษียณ ซึ่งเมื่อดูในภาพรวมพบว่า ข้อที่ทั้ง 3 กลุ่มตอบผิดเป็นจานวนมากกว่าร้อยละ 50 ก็คือ การออมในช่วงปีที่
ผ่านมา และการไม่กู้ยืมเมื่อเกิดการขัดสน ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มมีแนวโน้มจะตอบผิดเหมือนกันสูงมากกว่าร้อยละ 50
สะท้อนให้เห็นถึงกลุ่มตัวอย่างนั้น มีปัญหาในด้านวินัยการออมและวินัยการใช้เงิน ซึ่งสอดคล้องกับการศึคษา
ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (2556) ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้น ควรจะต้องให้ความสาคัญในการแก้ไขอย่าง
เร่งด่วนที่สุด
23

ภาพที่ 12 : แสดงอัตราการตอบผิดในด้านพฤติกรรมทางการเงินเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้มีการออมและไม่มี
การออม
120.00%
100.00%
80.00%
60.00%
40.00% ไม่มีการออมใดๆ
20.00%
0.00% มีการออมแต่ไม่มีการออมเพื่อการเกษียณ

การมีส่วนร่วมในการ
ติดตามการเงินของตน

การไม่กู้ยืมเมื่อเกิดขัด
วางเป้าหมายทาง
คิดก่อนซื้อ

จ่ายเงินตรงเวลา

มีการออมในช่วงปีที่

การบริหารเงิน
การเปรียบเทียบ

มีการออมเพื่อการเกษียณ

วางแผนการเงิน
ผลิตภัณฑ์

การเงิน

ผ่านมา

สน
ในส่วนสุดท้าย ภาพที่ 13 จะเป็นการวิเคราะห์อัตราการตอบผิดในด้านความรู้ทางการลงทุน (FNR) ซึ่ง
พบว่ากลุ่มที่ยังคงมีอัตราการตอบผิดสูงสุด ยังคงเป็นกลุ่มผู้ไม่มีการออมใดๆ เลย ซึ่งพบว่าตอบผิดในเกือบทุกๆ
ข้อ สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มที่ไม่มีการออมใดๆ เลยนั้น ยังมีจุดอ่อนในด้านการขาดความรู้ทางการลงทุน (FNR)
ซึ่งหากมีการส่งเสริมความรู้ด้านดังกล่าวจะทาให้มีการเพิ่มความน่าจะเป็นในการมีการออมเพื่อการเกษียณเพิ่ม
สูงขึ้น โดยในกลุ่มของผู้ที่มีการออมแต่ไม่มีการออมเพื่อการเกษียณนั้นพบว่าตอบผิดในด้านนโยบายการลงทุน
LTF ข้อแตกต่างของสินทรัพย์แต่ละประเภท เช่น ตราสารชนิดใดจ่ายปันผล หรือ ตราสารชนิดใดเสี่ยงมากกว่า
กัน เป็นต้น โดยพบว่าการตอบผิดนั้นจะอยู่ในช่วงร้อยละ 50-70 (ไม่รวมความรู้ด้านตราสารอนุพันธ์) ซึ่งในกลุ่ม
ที่มีการออมเพื่อการเกษียณนั้น พบว่ามี เปอร์เซ็นการตอบผิดน้อยที่สุด แต่โดยภาพรวมความรู้ในด้านข้อแตกต่าง
ระหว่างตราสารทางการเงินชนิดต่างๆ นั้น ก็ยังมีสัดส่วนที่ตอบผิดสูงถึงร้อยละ 50 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความ
ขาดแคลนความรู้ทางด้านการลงทุน (FNR) ซึ่งถือได้ว่าเป็นทักษะทางการเงินขั้นสูงด้านที่สาคัญสาหรับการ
ออมเพื่อการเกษียณ
24

ภาพที่ 13 : แสดงอัตราการตอบผิดในด้านความรู้ทางการลงทุนเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้มีการออมและไม่มีการ
ออม
100.00%
90.00%
80.00%
70.00%
60.00%
50.00%
40.00%
30.00% ไม่มีการออมใดๆ
20.00%
10.00%
0.00% มีการออมแต่ไม่มีการออมเพื่อการเกษียณ
HPY

Dividend
Rating

Future
Risk on life cycle
Foreign invest

Call option
LTF Policy

Interest & Bond

Expected return on
มีการออมเพื่อการเกษียณ

asset in LT
price

ทั้งนี้ ผลการศึกษาข้างต้นที่ได้ดังกล่าวมาแล้วนั้น มีความสอดคล้องเป็นอย่างมากกับประเภทการถือ


ครองสินทรัพย์เพื่อการออมและการลงทุน โดยภาพที่ 14 แสดงสัดส่วนสินทรัพย์เพื่อการลงทุนและสินทรัพย์
ทางการเงินที่กลุ่มตัวอย่างถือครอง จะเห็นได้ว่า ผู้ที่ไม่มีการออมใดๆ เลยนั้น มีสัดส่วนการถือของสินทรัพย์เพื่อ
การลงทุน อยู่เพียงร้อยละ 2 โดยประมาณ เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ทางการเงินทั้งหมด ในขณะที่กลุ่มที่มีการออม
แต่ไม่มีการออมเพื่อการเกษียณนั้น มีสัดส่วนสินทรัพย์ลงทุนอยู่ราวร้อยละ 12 โดยสัดส่วนดังกล่าวนั้นค่อนข้าง
ใกล้เคียงกับกลุ่มที่มีการออมเพื่อการเกษียณเช่นกัน ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มหลังนั้นมีระดับพฤติกรรมทางการ
ออมที่ดีกว่ากลุ่มแรกอันสะท้อนผ่านคะแนนพฤติกรรมทางการเงิน (FNB) ที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้

ภาพที่ 14 : แสดงสัดส่วนสินทรัพย์เพื่อการลงทุนและสินทรัพย์ทางการเงินที่กลุ่มตัวอย่างถือครอง
120%
100%
80%
60% 88% 88%
98%
40%
20% %fin asset
0% 2% 12% 12%
%inv asset
กลุ่มที่มีการออม

กลุ่มที่มีการออม
กลุ่มที่ไม่มีการ

แต่ไม่มีการออม
เพื่อการเกษียณ

เพื่อการเกษียณ
ออมเพื่อการ
เกษียณ

%fin asset หมายถึง สัดส่วนสินทรัพย์ทางการเงินที่กลุ่มตัวอย่างถือครอง


%inv asset หมายถึง สัดส่วนสินทรัพย์เพื่อการลงทุน
25

6. สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะทางการเงินว่ามีบทบาทต่อการออมเพื่อการเกษียณอย่างไร
และทักษะทางการเงินในด้านใด ที่เป็นตัวกาหนดการออมเพื่อการเกษียณ ตลอดจนแสวงหาคาตอบว่าหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้ทางการเงินในด้านใดบ้างเพื่อส่งเสริมให้มีการออมเพื่อการเกษียณที่มากขึ้น โดยผล
การการศึกษาครั้งนี้ พบว่า สาเหตุเป็นตัวกาหนดให้ทักษะทางการเงินของลูกค้ามีความแตกต่างกันเนื่องมาจาก
ปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีความแตกต่างกัน โดยความสาคัญของทักษะทางการเงินขั้นสูงนั้น จะมีความสัมพันธ์ในเชิง
บวกกับความน่าจะเป็นของการออมเพื่อการเกษียณ กล่าวคือ ระดับทักษะทางการเงินที่สูงขึ้นจะช่วยเพิ่มโอกาส
ในการออมเพื่อวัยเกษียณของกลุ่มตัวอย่างให้เพิ่มขึ้นนั่นเอง เมื่อทาการวิเคราะห์ลงไปในรายละเอียดด้วย
แบบจาลอง Multinomial Logit ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มแรก คือ กลุ่มที่ไม่มีการออมใดๆ เลย หากมีการ
เพิ่มทักษะทางการเงินในด้าน ทัศนคติทางการเงิน พฤติกรรมทางการเงิน และความรู้ทางการลงทุน จะช่วยเพิ่ม
ความน่าจะเป็นในการออมเพื่อการเกษียณในกลุ่มดังกล่าวนั้น ถึงกว่า 5 เท่า โดยกลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้ ขาดความรู้
ทางการลงทุน ซึ่งหากมีการส่งเสริมความรู้ด้านดังกล่าวจะทาให้มีการเพิ่มความน่าจะเป็นในการมีการออมเพื่อ
การเกษียณให้เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่มีการออมเป็นประจาแต่ไม่มีการออมเพื่อการเกษียณ
ต้องการทักษะทางการเงิน ในด้านทัศนคติทางการเงินและความรู้ทางการลงทุน โดยกลุ่มตัวอย่าง มีปัญหาใน
ด้านวินัยการออมและวินัยการใช้เงิน ขาดความเข้าใจด้านนโยบายการลงทุน และไม่เข้าใจความแตกต่างของ
สินทรัพย์แต่ละประเภท ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้น ควรจะต้องให้ความสาคัญในการแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด
อย่างไรก็ตาม การจะกระตุ้นให้เกิดการออมเพื่อการเกษียณนั้น การใช้นโยบายเพื่อบังคับหรือสร้าง
ความสมัครใจในการออมอาจจะไม่เพียงพอต่อการปลูกฝังให้เกิดการออมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จากผล
การศึกษาพบว่า การพัฒนาความรู้และทักษะทางการเงินจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการออม
เพื่อการเกษียณ ถึงแม้ว่า ในปัจจุบันจะมีหลายหน่วยงาน คอยให้ความรู้และเผยแพร่ทักษะทางการเงิน แต่จากผล
การศึกษานั้นพบว่า ในความเป็นจริงนั้น ประชาชนมีทั้งผู้ที่ไม่ออม ผู้ที่ออมแต่ไม่ได้ออมเพื่อการเกษียณ และมีผู้
ออมเพื่อการเกษียณอยู่เป็นประจาอยู่แล้ว ซึ่งกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มนั้น มีความต้องการในด้านทักษะทางการเงิน
และความรู้ที่แตกต่างกันออกไป การให้ความรู้แบบกว้างๆ หรือเพียงด้านเดียว อาจจะทาให้ไม่เกิดประสิทธิผล
ตามที่คาดหวัง การให้ความรู้ควรจะให้ด้านที่ขาดและจาเป็นสาหรับกลุ่มตัวอย่างในแต่ละกลุ่ม โดยสรุป ด้านที่
พบว่าสาคัญและกลุ่มตัวอย่างนั้นมีความขาดแคลนเกี่ยวกับความรู้ทางกาเงินก็คือ ด้านทัศนคติทางการเงิน
(FNA) ด้านพฤติกรรมทางการเงิน (FNB) และด้านความรู้ทางการลงทุน (FNR) ซึ่งถือเป็นทักษะทางการเงิน
ด้านที่จาเป็นต่อการออมเพื่อการเกษียณ ดังนั้น หากจะมีการให้ความรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางการเงินเพื่อช่วย
กระตุ้นให้เกิดการออมเพื่อการเกษียณ ทักษะทางการเงิน 3 ด้านดังกล่าว จึงควรหยิบยกขึ้นมาเป็นหัวใจหลักใน
การให้ความรู้แก่ประชาชนต่อไป
26

เอกสารอ้างอิง

กัลยา (2553) ,สถิติสาหรับงานวิจัย


กัลยา (2554) , การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วยSPSS for windows
คีรีวรรณ (2557) , การวัดระดับทักษะทางการเงินและการมีส่วนร่วมกับตลาดทุน
ฉัตรชัย (2555) , การจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนที่เหมาะสมกับวัยเกษียณ
ปฐมาภรณ์ (2556) ,วิเคราะห์พอร์ตการลงทุนของมนุษย์เงินเดือนวัยก่อนเกษียณกับการเพิ่มโอกาสเกษียณสุข
ธนาคารแห่งประเทศไทย (2556) , ผลการสารวจทักษะทางการเงินของไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย และศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินแห่งประเทศไทย(2556) , รายงานผลสารวจ
ทักษะทางการเงินของไทย ปี 2556
ธนาคารแห่งประเทศไทย (2556) ,สรุปคาถามของแบบสารวจพฤติกรรมการออม การเข้าถึงบริการทางการเงิน
และความรู้ทางการเงินของภาคครัวเรือน ปี 2556 (ธนาคารแห่งประเทศไทย)
วีระชาติและคณะ (2555)การเตรียมพร้อมสาหรับการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณของกลุ่มแรงงานใน
ระบบช่วงอายุ 40 - 60 ปี
ศตานนท์ (2554) ,พฤติกรรมการออมและการทาประกันชีวิต เพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณของประชาชน ใน
เขตอาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
สานักงานสถิติแห่งชาติ (2552) , การสารวจครัวเรือนปี 2552
สานักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สงู อายุและสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และ
ผู้สูงอายุ (2555) ,การประมาณการงบประมาณสาหรับผู้สูงอายุและแหล่งที่มาของเงิน
Atkinson, A. and F. Messy (2012), “Measuring Financial Literacy: Results of the OECD /
International Network on Financial Education (INFE) Pilot Study”, OECD
WorkingPapers on Finance, Insurance and Private Pensions,No. 15, OECD Publishing.
Australian Government and Financial literacy foundation (2007), Financial literacy Australians
understanding money
ANZ (2008) ,ANZ Survey of Adult Financial Literacy in Australia
ASIC (2010) ,Financial literacy and behavioural change : REPORT 230: Financial literacy and
behavioural change
Adnan et al. (2014) Stock market literacy, trust and participation
Bank of Thailand (2013) , Thailand’s Financial Literacy Survey Results (2013) The BOT’s
approach to measuring financial literacy, and the survey objectives
Chiara (2011) Financial Literacy and the Demand for Financial Advice
Dana &Kelly (2005) , What American Teens & Adults Know About Economics
Diemo,julia and utz (2009) ,What is your level of overconfidence? A strictly incentive
compatible measurement of absolute and relative overconfidence.
Delavande et al. (2008) , Preparation for Retirement, Financial Literacy and Cognitive Resources
INFE&OECD (2013) ,OECD/INFE Toolkit to measure financial literacy and financial
27

inclusion: guidance , core Questionnaire and Supplementary questions


Johan & Anna (2012) Gender, Stock Market Participation and Financial Literacy
Jere R. Behrman, Olivia S. Mitchell, Cindy Soo, and David Bravo (2010) , Financial Literacy,
Schooling, and Wealth Accumulation
Julija&Christian (2011) , Development of the overconfidence measurement instrument for the
economic experiment
Lusardi and Mitchell (2011) ,Financial Literacy around the World: Introduction and Overview
Lusardi and Mitchell (2011) , Financial Literacy around the World: An Overview
Lusardi and Mitchell (2009) , Financial literacry : evidence and implications for financial
education
Lusardi and Mitchell (2006) , Financial Literacy and Retirement Preparedness: Evidence and
Implications for Financial Education
Lusardi and Mitchell (2006) , Financial Literacy and Planning: Implications for Retirement
Wellbeing
Lauren E. Willis (2008) Against Financial Literacy Education The money advice service (2013) ,
The Financial Capability of 15-17 year olds
Patrick , B. Douglas , John Karl and NBER (2008),The Effects of Financial Education in the
Workplace: Evidence from a Survey of Employers
Ricardo et el. (1890) , Ricardian Equivalence Theorem
Richard et al. (2011) , CFA :Quantitative methods for investment analysis second edition ,
reading 5 The timevalue of money
Solow et el. (1956) , Solow Growth model
Survey across countries and by gender INFE&OECD (2012), Supplementary Questions:
Optional Survey Questions for the OECD INFE Financial Literacy Core Questionnaire
The Russia Financial Literacy and Education Trust Fund (2013) ,Financial literacy and inclusion
Results oF OECD/INFE
Van Rooji et al (2007) , Financial Literacy and Stock Market Participation
28

ภาคผนวก

ตารางที่ 3 : ลักษณะข้อมูลของประชากรโดยทั่วไป
ข้อมูลส่วนบุคคล ร้อยละ ข้อมูลส่วนบุคคล ร้อยละ ข้อมูลส่วนบุคคล ร้อยละ
เพศ ชาย 43 ภาระ มี 35 ระดับ เทียบเท่ามัธยมต้นหรือต่ากว่า 4
อุปการะ การศึกษา
เลี้ยงดู สูงสุด
หญิง 58 ไม่มี 65 มัธยมปลาย /ปวช. 6
อายุ 18-25 ปี 22 จานวน 1 14 ปวส. 1
26-35 ปี 51 บุคคลที่ 2 13 อนุปริญญา 1
36-45 ปี 13 ต้อง 3 6 ปริญญาตรี 55
46-55 ปี 11 อุปการะ 4 1 ปริญญาโท 33
55 ปีขึ้นไป 3 เลี้ยงดู 5 0 ปริญญาเอก 1
อาชีพ พนักงานเอกชน 55 6 0 ระดับ ต่า (15000 บาท หรือ ต่ากว่า) 16
ข้าราชการ/พนักงาน 15 7 0 รายได้ กลาง (15001 บาท ถึง 100,000 73
ของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ บาท)

ประกอบวิชาชีพ 12 10 1 สูง (100,001 บาทขึ้นไป) 11


อิสระ

เจ้าของธุรกิจ 10 สถานภาพ โสด 64 สถานภาพ อยู่ด้วยกันแต่ยังไม่สมรส 3


ส่วนตัว การสมรส การสมรส
นักเรียน/นักศึกษา 6 สมรส 21 (ต่อ) ไม่ระบุ 1

อืน่ ๆ 3 สมรสแต่ 9
ไม่จด
ทะเบียน
จังหวัด กรุงเทพมหานคร 66 แยกกันอยู่ 1

ปริมณฑล 19 หม้าย 0

จังหวัดอืน่ ๆ 15 หย่าร้าง 2

ที่มา : จากการศึกษา

You might also like