Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 97

เอกสารประกอบการสอน

[Type the abstract of the document here. The abstract is typically a short summary of the
contents of the document. Type the abstract of the document here. The abstract is typically a
short summary of the contents of the document.] รายวิชา 261331

ทัศนศาสตร
Optics

ดร.คเชนทร แดงอุดม

ภาควิชาฟสิกส คณะวิทยาศาสตร
มหาวิทยาลัยนเรศวร
เอกสารประกอบการสอน
รายวิชา 261331

ทัศนศาสตร
Optics

ดร.คเชนทร แดงอุดม

ภาควิชาฟสิกส
คณะวิทยาศาสตร
มหาวิทยาลัยนเรศวร

คํานํา

เอกสารนี้เปนเอกสารประกอบการสอนรายวิชา 261331 ทัศนศาสตร (Optics) ซึ่งเปนรายวิชาบังคับ


ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณ ฑิตสาขาวิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเนื้อหาเนนใหนิสิตไดเขาใจและมี
ความรูพื้นฐานทางทัศนศาสตรฟสิกส อันประกอบไปดวย คุณลักษณะและธรรมชาติของแสง การลากเสนรังสี
ระนาบเรียบและปริซึมผิวโคงเลนสบาง เลนสหนากระจกเงาโคง ความคลาดเพี้ยนของเลนส ทัศนอุปกรณการ
รวมคลื่นแสง การแทรกสอดการเลี้ยวเบน สลิตเดี่ยว สลิตคูและเกรตติง โพลาไรเซชัน เลเซอร ซึ่งผูเขียนหวังวา
ความรูเหลานี้จะไดเปนพื้นฐานสําคัญในการเรียนฟสิกสของนิสิตตอไปในขั้นสูง อีกทั้งยังเปนพื้นฐานในการ
สรางสรรคงานวิจัย นวัตกรรม และการนําไปประยุกตใชงานตอไปในอนาคต

คเชนทร แดงอุดม

สารบัญ

หนา
คํานํา ข
สารบัญ ค
สารบัญภาพ ฉ
สารบัญตาราง ญ

บทที่ 1
1.1 การแพรกระจายเปนเสนตรงของแสง 2
1.2 ความเร็วของแสง 3
1.3 ดัชนีหักเห 6
1.4 กฎการสะทอน 7
1.5 กฎการหักเห 8
1.6 หลักของเฟอรแมท 11
1.7 การกระจายสี 13
แบบฝกหัด 16

บทที่ 2
2.1 มุมวิกฤตและการสะทอนกลับหมด 17
2.2 แผนระนาบขนาน 18
2.3 ปริซึม 20
2.4 การหักเหผานปริซึม 20
2.5 มุมเบี่ยงเบนนอยสุดของปริซึม 22
2.6 ปริซึมบาง 24
2.7 ปริซึมสะทอนแสง 24
แบบฝกหัด 26

บทที่ 3
3.1 การเกิดภาพจากการสะทอน 28
3.1.1 การเกิดภาพจากการสะทอนกระจกเงาราบ 28
3.1.2 การเกิดภาพจากการสะทอนกระจกโคงทรงกลม 29

สารบัญ (ตอ)

หนา
3.2 การเกิดภาพจากการหักเห 36
3.2.1 การหาตําแหนงและลักษณะของภาพจากการหักเหผานตัวกลาง 36
3.2.2 การหาตําแหนงและลักษณะของภาพจากการหักเหผานตัวกลางผิวเรียบ 38
3.2.3 การเกิดภาพจากการหักเหผานเลนสบาง 40
3.2.4 การเกิดความคลาดของเลนส 50
แบบฝกหัด 51

บทที่ 4
4.1 การแทรกสอดของแสงผานชองแคบคู 53
4.2 การกระจายความเขมแสงของริ้วการแทรกสอดผานชองแคบคู 57
4.3 การเปลี่ยนเฟสของคลื่นเนื่องจากการสะทอน 59
4.4 การแทรกสอดในฟลมบาง 60
4.5 การเลี้ยวเบน 63
4.6 เกรตติ้ง 67
4.7 สลิตหลายชอง 71
แบบฝกหัด 73

บทที่ 5
5.1 โพลาไรเซชัน 76
5.2 เลเซอร 80
แบบฝกหัด 86
บรรณานุกรม 87

สารบัญภาพ

ภาพที่ หนา
1.1แผนภาพแสดงการเกิดภาพผานรูขนาดเล็ก แสดงถึงการที่แสงเดินทางเปนเสนตรง 2
1.2ภาพพระธาตุหัวกลับ ณ วัดพระธาตุลําปางหลวง จังหวัดลําปาง 2
1.3ตําแหนงของโลกรอบดวงอาทิตยขณะที่สังเกตจันทรุปราคาของดวงจันทรของดาวพฤหัส 4
1.4การจัดอุปกรณการวัดอัตราเร็วของแสงของ Fizeau 4
1.5การจัดอุปกรณการวัดอัตราเร็วของแสงของ Michelson 5
1.6แสดงการสะทอนของแสง 7
1.7แสดงการหักเหของแสง 8
1.8แสดงการหักเหของแสง 10
(a) แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีดัชนีหักเหนอยไปสูตัวกลางที่มีดัชนีหักเหมาก
(b) แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีดัชนีหักเหมากไปสูตัวกลางที่มีดัชนีหักเหนอย
1.9 แผนภาพแสดงการหักเหของรังสีขนาน 10
1.10 แผนภาพแสดงการหักเหของแสง (หลักของFermat) 11
1.11 การแยกสีเมื่อแสงผานปริซึม 13
1.12 ความสัมพันธระหวางดัชนีหักเหกับความยาวคลื่นของวัสดุสามชนิด 14
1.13 แสดงการเกิดรุง 14
1.14 รุงกินน้ํา 15
2.1 แสดงการหักเหของแสงและการสะทอนกลับหมด 17
2.2 แสดงการหักเหของแสงผานแผนระนาบขนาน 19
2.3 แสดงการหักเหของแสงผานปริซึม 20
2.4 แสดงการหักเหของแสงผานปริซึมอยางสมมาตร 22
2.5 ปริซึมมุมฉาก 24
2.6 ปริซึมหลังคา 25
2.7 ปริซึมกลับภาพ 25
2.8 ปริซึมหาเหลี่ยม 25
3.1 แสดงการเกิดภาพจากการสะทอนกระจกเงาราบ 28
3.2 ขนาดและตําแหนงภาพจากการสะทอนกระจกเงาราบ 29
3.3 กระจกโคงทรงกลมเวา (ก) การเกิดภาพ (ข) 30
3.4 ความคลาดทรงกลม (spherical aberration 30
3.5 ตําแหนงและลักษณะภาพจากการสะทอนกระจกเวา 31

สารบัญภาพ (ตอ)

ภาพที่ หนา
3.1 แสดงการเกิดภาพจากการสะทอนกระจกเงาราบ 28
3.2 ขนาดและตําแหนงภาพจากการสะทอนกระจกเงาราบ 29
3.3 กระจกโคงทรงกลมเวา (ก) การเกิดภาพ (ข) 30
3.4 ความคลาดทรงกลม (spherical aberration 30
3.5 ตําแหนงและลักษณะภาพจากการสะทอนกระจกเวา 31
3.6 แสดงจุดโฟกัสของกระจกเวา 32
3.7 การเขียนทางเดินแสงแสดงการเกิดภาพจริงจากการสะทอนกระจกเวา 33
3.8 การเขียนทางเดินแสงแสดงการเกิดภาพเสมือนจากการสะทอนกระจกเวา 33
3.9 การเขียนทางเดินแสงแสดงการเกิดภาพเสมือนจากการสะทอนกระจกนูน 34
3.10 การเกิดภาพจากการหักเหผานตัวกลาง 37
3.11 เสนทางเดินแสงจากวัตถุเมื่อหักเหผานตัวกลาง 37
3.12 การเกิดภาพจากการหักเหผานตัวกลางผิวเรียบ 39
3.13 การเกิดภาพจากการหักเหผานเลนสผิวโคงที่ผิวแรก 40
3.14 การเกิดภาพจากการหักเหผานเลนสบาง 42
3.15 จุดโฟกัสของเลนสบาง 42
3.16 เลนสบางในลักษณะตางๆ 43
3.17 การเกิดภาพจริงของเลนสนูน 44
3.18 การเกิดภาพเสมือนของเลนสนูน 44
3.19 การเกิดภาพเสมือนของเลนสเวา 44
3.20 ความคลาดทรงกลม (spherical aberrations) 50
3.21 ความคลาดสี (chromatic aberrations) 50
4.1 หลักของฮอยเกนส 53
4.2 การแทรกสอดของแสงผานชองแคบคู 54
4.3 การรวมกันของแสงผานชองแคบคู 54
4.4 ตําแหนงของริ้วการแทรกสอดใดๆบนฉาก 55
4.5 ลําดับของแถบสวางหรือแถบมืด 56
4.6 การแทรกสอดผานชองแคบคู 57
4.7 การกระจายความเขมแสงของริ้วการแทรกสอดผานชองแคบคู 59
4.8 การเปลี่ยนเฟสของคลื่นเนื่องจากการสะทอน 59

สารบัญภาพ (ตอ)

ภาพที่ หนา
4.9 แสงทีส่ ะทอนจากผิวบนและผิวลางของฟลม 60
4.10 แสงทีส่ ะทอนจากผิวบนและผิวลางของฟลมที่มีเฟสตางกัน 180o 61
4.11 แสงทีส่ ะทอนจากผิวบนและผิวลางของฟลมที่มีเฟสไมตางกัน 61
4.12 Michelson interferometer 63
4.13 การเลี้ยวเบนแบบฟรอนโฮเฟอร 63
4.14 การเลี้ยวเบนผานชองแคบเดี่ยว 64
4.15 คลื่นระนาบผานชองแคบเดี่ยว 64
4.16 การแทรกสอดของแสงผานเกรตติ้ง 67
4.17 สลิตคูทมี่ ีความกวางของแตละชอง b หางกัน d 68
4.18 ลวดลายการแทรกสอดจากสลิตคูที่มคี วามกวางของแตละชอง b หางกัน d 69
4.19 การกระจายความเขมแสงจากสลิตคูท ี่มี d = 3b 70
4.20 การกระจายความเขมแสงจากสลิต 3 ชอง 71
4.21 การกระจายความเขมแสงจากสลิต 6 ชอง 72
4.22 การกระจายความเขมแสงจากสลิต 6 ชองที่มี d = 3b 72
4.23 การกระจายความเขมแสงจากสลิต 20 ชอง 72
5.1 คลื่นแมเหล็กไฟฟา 76
5.2 แสงโพลาไรซ (a)และ แสงไมโพลาไรซ (b) 76
5.3 แสงผานตัวโพลาไรซ 2 แผนซึ่งแกนการสองผานทํามุมกัน θ 77
5.4 ความเขมแสงผานแผนฟลมโพลารอยด2 แผน 77
5.5 สนามไฟฟาผานผลึกเฮอราพาไธต 78
5.6 การโพลาไรซจากการสะทอน 79
5.7 การเปลี่ยนระดับชั้นพลังงานของอิเล็กตรอน 81
5.8 การปลดปลอยโดยการถูกกระตุน 82
5.9 การปลดปลอยโฟตอนแสงจากสถานะกึ่งเสถียร 82
5.10 แสดงการเกิดแสงเลเซอร 83

สารบัญตาราง

ตารางที่ หนา

1.1 แสดงอัตราเร็วของแสงที่วัดไดและวิธีการวัด 6
1.2 คาดัชนีหักเหของสารตางๆ เมื่อวัดดวยแสงความยาวคลื่น 589 nm ในสุญญากาศ 7
3.1 เครื่องหมายของปริมาณตางๆสําหรับกระจก 34
3.2 เครื่องหมายของปริมาณตางๆสําหรับการหักเหผานตัวกลางผิวโคง 38
3.3 เครื่องหมายของปริมาณตางๆสําหรับการเกิดภาพจากการหักเหผานเลนสบาง 43
บทที่ 1
คุณสมบัติของแสง (Properties of Light)

คุณสมบัติของแสงทั้งหมดที่รูจักกันจะมีคําอธิบายในแงของการทดลองโดยการถูกคนพบและการสาธิต
ในหลายรูปแบบที่แตกตางกันโดยคุณสมบัติเหลานี้สามารถจัดกลุมเขาดวยกันในสามกลุมหลัก ๆ คือ
1. ทัศนศาสตรเชิงเรขาคณิต
2. ทัศนศาสตรคลื่น
3. ทัศนศาสตรควอนตัม แตละกลุมสามารถจําแนกไดดังนี้

ทัศนศาสตรเชิงเรขาคณิต (Geometrical optics)


แพรกระจายเปนเสนตรง(Rectilinear propagation)
ความเร็วจํากัด (Finite speed)
การสะทอน (Reflection)
การหักเห (Refraction)
การแยกกระจาย (Dispersion)
ทัศนศาสตรคลื่น (Wave optics)
การแทรกสอด (Interference)
การเลี้ยวเบน (Diffraction)
คุณลักษณะทางแมเหล็กไฟฟา (Electromagnetic character)
โพลาไรซ (Polarization)
การหักเหสองแนว (Double refraction)
ทัศนศาสตรควอนตัม (Quantum optics)
วงโคจรของอะตอม (Atomic orbits)
ความหนาแนนของโอกาส (Probability densities)
ระดับพลังงาน (Energy levels)
เปนกลุมกอน(Quanta)
เลเซอร (Lasers)
2

1.1 การแพรกระจายเปนเสนตรงของแสง (The Rectilinear Propagation of Light)


การแพรกระจายเปนเสนตรงของแสงเปนศัพททางเทคนิคที่นําไปใชกับหลักการที่วา“แสงเดินทางเปน
เสนตรง” วัตถุที่สามารถสรางเงาที่คมชัดเปนตัวอยางหนึ่งของหลักการนี้ หรือการเกิดภาพจากกลองรูเข็ม ใน
อุปกรณที่งายและราคาไมแพงนี้ภาพของวัตถุจะเกิดขึ้นบนฉาก แสดงเปนแผนภาพดังภาพที่ 1.1 โดยแสงจาก
วัตถุผานรูขนาดเล็กแลวเกิดภาพหัวกลับบนฉาก พิจารณารังสีของแสงจากจุด a ดานบนของหลอดไฟผานรู
ขนาดเล็กผานไปยังจุด a′ ใกลกับดานลางของฉาก ในทํานองเดียวกันรังสีของแสงจากดานลางของหลอดไฟผาน
รูขนาดเล็กผานไปยังจุด b′ ใกลกับดานบนของฉากทําใหเกิดภาพกลับหัวของหลอดทั้งหมดบนฉากถาหากเลื่อน
ฉากเขาใกลกับรูขนาดเล็กภาพที่เกิดบนฉากจะเปนเปนสัดสวนที่เล็กลงในขณะที่หากมีการยายฉากหางออกไป
ภาพจะเปนสัดสวนที่ใหญขึ้น และยิ่งรูมีขนาดเล็กก็จะยิ่งไดภาพที่คมชัดดวยเพราะขนาดของรูจะเปนตัวกําหนด
ความเบลอในภาพ

ภาพ 1.1 แผนภาพแสดงการเกิดภาพผานรูขนาดเล็ก แสดงถึงการที่แสงเดินทางเปนเสนตรง

การที่แสงจากวัตถุผานรูขนาดเล็กแลวเกิดเปนภาพหัวกลับบนฉากนอกจากในกลองรูเข็มแลว ยังพบ
เห็นไดในสถานที่ตางๆเชนในภาพ 1.2 แสดงการเกิดภาพพระธาตุหัวกลับ ณ วัดพระธาตุลําปางหลวง จังหวัด
ลําปาง ซึ่งแสงจากพระธาตุผานรูฝาผนังแลวเกิดภาพหัวกลับบนฝาผนังอีกดานหนึ่ง

ภาพ 1.2 ภาพพระธาตุหัวกลับ ณ วัดพระธาตุลําปางหลวง จังหวัดลําปาง


3

1.2 ความเร็วของแสง (The Speed of Light)


นักดาราศาสตรโบราณเชื่อกันวาแสงเดินทางดวยความเร็วเปนอนันตเหตุการณใด ๆ ที่เกิดขึ้นในหมู
ดาวที่หางไกล จะสามารถสังเกตเห็นไดทันทีที่จุดอื่น ๆ ในจักรวาลอัตราเร็วแสงเปนคาคงตัวพื้นฐานที่สําคัญ
มากที่สุดคาหนึ่งซึ่งนักวิทยาศาสตรตั้งแตอดีตหลายคนพยายามศึกษา Galileo ถือวาเปนบุคคลแรกที่พยายาม
ทดลองวัดหาอัตราเร็วแสง หลังจากนั้นก็มีนักวิทยาศาสตรหลายคนพยายามวัดใหไดคาที่มีความแมนยํามากขึ้น
ความพยายามในการวัดอัตราเร็วแสง
ในป ค.ศ.1629 Beeckman ทําการสังเกตแสงไฟจากลูกปน ที่สะทอนออกมาจากกระจกราบซึ่งอยู
หางจากปากกระบอกปน 1 ไมล และคิดวาแสงนาจะมีอัตราเร็วคาหนึ่ง
ในป ค.ศ. 1638 Galileoพยายามวัดอัตราเร็วของแสง โดยการไปยืนอยูบนยอดเขาลูกหนึ่งและให
ผูชวยของเขาอยูบนยอดเขาอีกลูกหนึ่งที่อยูหางออกไปหลายไมล โดยทั้งคูถือโคมไฟไวคนละดวงแลวตกลงกัน
วาเขาจะเปดโคมไฟใหแสงจากโคมไฟ เดินทางจากเขาไปหาผูชวยเมื่อผูชวยของเขาเห็นแสงก็แสดงวาแสงได
เดินทางไปถึงผูชวยของเขาแลว และใหผูชวยของเขาเปดโคมไฟทันทีที่เห็นแสงไฟจากเขา เมื่อเขาเห็นแสงจาก
ผูชวยเดินทางกลับมาเขาก็จะทราบเวลาที่แสงใชในการเดินทางไปและกลับ โดยการหาอัตราสวนระหวาง
ระยะทางไปกลับและเวลาที่แสงเดินทางไปกลับ เขาก็จะทราบความเร็วของแสงแตจากผลการทดลองเขาไม
สามารถวัดเวลาที่แสงเดินทางไปกลับไดเลย Galileo จึงสรุปวา อัตราเร็วแสงมีคาสูงมาก ไมสามารถวัดดวย
วิธีการนี้ได แต Galileo ไดประมาณวาแสงมีอัตราเร็วมากกวาเสียงประมาณ 10 เทา
ในป ค.ศ. 1676 Roemer แสดงใหเห็นวาอัตราเร็วของแสง มีคาจํากัดคาหนึ่งโดยใชกลองโทรทรรศน
สังเกตการเกิดจันทรุปราคาของดวงจันทรของดาวพฤหัส โดย Roemer สามารถวัดแสงที่ดวงจันทรของดาว
พฤหัสถูกบังได หลังจากการสังเกตหลาย ๆ ปพบวาเวลาเริ่มตนที่ดวงจันทรของดาวพฤหัสถูกบังนั้น มีคา
แตกตางกัน ทั้ง ๆ ที่การเคลื่อนที่ของดวงจันทรของดาวพฤหัสเหมือนเดิมทุกประการ Roemer จึงตั้งขอสังเกต
วาเวลาที่แสงใชในการเดินทางจากดวงจันทรที่ถูกบังโดยดาวพฤหัสมายังโลก ตอนที่อยูตําแหนงแตกตางกัน
รอบดวงอาทิตยดังภาพที่ 1.3 มีคาแตกตางกัน Roemer พบวาเวลาที่แสงใชในตําแหนงที่ 1 มีคานอยกวาใน
ตําแหนงที่ 2 เหตุที่เปนเชนนี้เปนเพราะวา แสงเดินทางไกลกวาตําแหนงที่ 1 ซึ่งประมาณเท ากั บเสนผาน
ศูนยกลางของวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย อัตราเร็วของแสงสามารถหาจากอัตราสวนระหวางความยาว
ของเสนผานศูนยกลางของวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย และผลตางของเวลาในตําแหนงที่ 1 กับตําแหนงที่
2 โดยหลักการนี้ Roemer สามารถคํานวณหาอัตราเร็วของแสงไดป ระมาณ 185,000 ไมล ตอวินาที หรือ
296,000 กิโลเมตรตอวินาที ซึ่งถือวาใกลเคียงกับคาจริงมากทีเดียว
4

ภาพ 1.3 ตําแหนงของโลกรอบดวงอาทิตยขณะที่สังเกตจันทรุปราคาของดวงจันทรของดาวพฤหัส

ในป ค.ศ. 1849 Fizeau ทดลองหาอัตราเร็วของแสงใหม และถือวาเปนการทดลองแรกที่ทําโดยใช


อุปกรณที่อยูบนโลก โดยอาศัยหลักการที่คลาย ๆ กับ Galileo คือใหแสงเดินทางจากแหลงกําเนิดผานกระจก
ที่ใชแยกแสง (Beam splitter) ดังภาพ 1.4 แสงสะทอนบางสวนผานแผนจานหมุนที่มีลักษณะของขอบเปน
ชองที่ห างกัน สม่ํ าเสมอ ไปสะท อนกระจกราบที่ ระยะหางออกไป 20 ไมล (ประมาณ 35 กิโลเมตร) แสงที่
สะทอนกลับมาสามารถผานจานหมุนและ Beam splitter ได ทําใหผูสังเกตที่อยูดานหลังจานหมุนสามารถ
มองเห็นแสงที่สะทอนมาได ถาปรับอัตราเร็วของจานหมุนจนมีคาที่เหมาะสม แสงที่สะทอนจากกระจกจะถูก
บัง โดยซี่ของจานหมุน ทํ าใหผูสังเกตไมสามารถเห็นแสงที่ สะท อนกลับมาได ดังนั้นเวลาที่ซี่ของจานหมุน
เคลื่อนที่ไปบังแสงพอดีจะตองเทากับเวลาที่แสงเดินทางไปและกลับมาที่จานหมุน และถาทราบระยะหางของซี่
ของจานหมุน ระยะทางที่แสงเดินทางไปกลับอัตราเร็วของจานหมุน ก็สามารถคํานวณหาอัตราเร็วของแสงได
โดยหลักการนี้ Fizeau สามารถหาอัตราเร็วของแสงไดประมาณ 313,000 กิโลเมตรตอวินาที ก็ถือวาเปน
ตัวเลขที่ใกลเคียงกับคาจริงมาก

ภาพ 1.4 การจัดอุปกรณการวัดอัตราเร็วของแสงของ Fizeau


5

ในป ค.ศ. 1880 Michelson ไดทําการดัดแปลงวิธีการวัดอัตราเร็วของแสงใหม โดยใชกระจกรูปแปด


เหลี่ยมหมุ น ดั งภาพ 1.5 เพื่ อที่ จะวัดระยะเวลาที่ แ สงเดิ น ทาง 1 รอบ จากภู เขา Wilson ไปยังภู เขา San
Antonio ใน California ซึ่ งมี ร ะยะทางประมาณ 35 กิ โลเมตร โดยให ก ระจกรู ป แปดเหลี่ ย มนี้ ห มุ น ด ว ย
อัตราเร็วคาหนึ่ง ถามีแสงสะทอนออกมาก็แสดงวาระยะเวลาที่แสงเดินทางไปกลับตองเทากับระยะเวลาที่
กระจกหมุนไปเทากับ 1/8 รอบ เมื่อวัดระยะทางและอัตราการหมุนของกระจกได ก็สามารถหาอัตราเร็วของ
แสงไดโดยวิธีการนี้ เขาวัดอัตราเร็วของแสงไดประมาณ 186,285 ไมลตอวินาทีหรือ 299,796 กิโลเมตรตอ
วินาทีซึ่งถือวาใกลเคียงกับคาจริงมากเชนกัน

ภาพ 1.5 การจัดอุปกรณการวัดอัตราเร็วของแสงของ Michelson

ขอมูลในตารางที่ 1 แสดงพัฒนาการของวิธีการวัดอัตราเร็วของแสง ซึ่งอัตราเร็วของแสงที่ยอมรับกัน


ในปจจุบันมีคาเทากับ 299,792.458 กิโลเมตรตอวินาที ในสุญญากาศ (ในอากาศหรือน้ําแสงจะเดินทางไดชา
กวานี้เล็กนอย)
6

ตารางที่ 1.1 แสดงอัตราเร็วของแสงที่วัดไดและวิธีการวัด

Date Scientist Country Method Speed(km/s) Error(km/s)


1600 Galileo Italy Lanterns&shutters *
1675 Roemer France Astronomy 220,000
1729 Bradley England Astronomy 304,000
1849 Fizeau France Toothedwheel 313,000
1862 Foucault France Rotatingmirror 298,000 500
1880 Michelson USA Rotatingmirror 299,910 50
1926 Michelson USA Rotatingmirror 299,796 4
1950 Essen England Microwavecavity 299,792.5 3
1956 Edge Sweden Geodimeter 299,792.0 .2
1972 Evensonetal USA Lasers 299,792.456 .001
1983 International 299,792.458 0

1.3 ดัชนีหักเห (The Refractive Index)


แสงนั้นวิ่งผานตัวกลางดวยความเร็วจํากัด ความเร็วของแสงในสุญญากาศ c ซึ่ง c = 299,792,458
เมตรตอวินาที โดยไมขึ้นกับวาผูสังเกตการณนั้นเคลื่อนที่หรือไม เมื่อแสงวิ่งผานตัวกลางโปรงใส เชนอากาศน้ํา
หรือแกว ความเร็วแสงในตัวกลาง v จะลดลงซึ่งเปนเหตุใหเกิดปรากฏการณการหักเหของแสงคุณลักษณะของ
การลดลงของความเร็วแสงในตัวกลางที่มีความหนาแนนสูงนี้ จะวัดดวยดรรชนีหักเหของแสง (refractive
index) n โดยนิยามดรรชนีหักเหจากอัตราสวนความเร็วแสงในสุญญากาศตอความเร็วแสงในตัวกลาง
ความเร็วแสงในสุญญากาศ
ดัชนีหักเห = (1.1)
ความเร็วแสงในตัวกลาง

เขียนในรูปตัวแปรไดเปน

c
n= (1.2)
v

* n = 1 ในสุญญากาศ และ n>1 ในตัวกลาง


ตารางที่ 1.2 แสดงคาดัชนีหักเหของตัวกลางตางๆ (ของเข็งและของเหลวที่อุณหภูมิ 20.0 °C และ แกส
ที่อุณหภูมิ 0 °C) เมื่อวัดดวยแสงความยาวคลื่น 589 nm ในสุญญากาศ
7

ตารางที่ 1.2 คาดัชนีหักเหของสารตางๆ เมื่อวัดดวยแสงความยาวคลื่น 589 nm ในสุญ ญากาศ


(ของเข็งและของเหลวที่อุณหภูมิ 20.0 °C และ แกสที่อุณหภูมิ 0 °C)

ของเข็ง ดัชนีหักเห ของเหลว ดัชนีหักเห


Gallium phosphide 3.5 Corn syrup 2.21
Diamond (C) 2.42 Carbon disulphide 1.63
Cubic zirconia 2.2 Glycerin 1.47
Glass, flint 1.66 Carbon tetrachloride 1.46
Glass, crown 1.52 Ethyl alcohol 1.36
Sodium chloride (NaCl) 1.54 Water 1.33
Polystyrene 1.49 แกสที่อุณหภูมิ 0 °C
Fused quartz (SiO2) 1.46 Air 1.000 293
Fluorite (CaF2) 1.43 Carbon dioxide 1.000 45

1.4 กฎการสะทอน (Laws of Reflection)


การสะทอน (reflection) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทิศทาง ของหนาคลื่นที่รอยตอของตัวกลางสอง
ชนิด และทําใหหนาคลื่นหันกลับไปยังฝงของตัวกลางชนิดแรก ตัวอยางเชน การสะทอนของแสงคลื่นน้ําคลื่น
เสียง โดยอยูภายใตกฎการสะทอนที่กลาววาที่พื้นผิวใด ๆ มุมตกกระทบ (θi) จะมีคาเทากับมุมสะทอน (θr) ณ
จุดที่เกิดการสะทอนนั้นจากแผนภาพในรูป 1.6 รังสีตกกระทบ PO ตกสูกระจกเงาที่จุด O และสะทอนออก
เกิดเปนรังสีสะทอน OQ เสนตั้งฉากกับพื้นผิวสะทอน มีชื่อเรียกวาเสนปกติหรือเสนตั้งฉาก มุมตกกระทบ θi
คือมุมที่วัดจากรังสีตกกระทบสูเสนตั้งฉาก ในทํานองเดียวกันมุมสะทอน θr คือมุมที่เกิดจากรังสีสะทอนตัดกับ
เสนตั้งฉาก
เสนปกติ

P Q

θi θr

ผิวสะทอน
O
ภาพ 1.6 แสดงการสะทอนของแสง
8

แสงอาจเกิดการสะทอนสมบูรณ (specular reflection) เชน การสะทอนผานกระจกเงา หรือสะทอน


ไมสมบูรณ (diffuse reflection) ซึ่งสูญเสียภาพเชิงฟสิกส แตอนุรักษพลังงานขึ้นกับชนิดของตัวกลางทึบแสง
ซึ่งแสงเกิดการสะทอนกระจกเงาเปนตัวอยางที่สําคัญในการสะทอนที่สมบูรณ กระจกเงาประกอบดวยแผน
แกวที่ฉาบดวยโลหะที่พื้นผิวโลหะที่ฉาบบนแผนแกวนี้เองที่เกิดการสะทอนของแสงการสะทอนของแสงยังอาจ
เกิดไดกับพื้นผิวประเภทโปรงแสง เชน การสะทอนของแสงบนผิวน้ํา หรือกระจกใส
ในธรรมชาติ การสะทอนของแสงเกิดขึ้นที่ทุกพื้นผิวสัมผัสระหวางตัวกลางสองชนิด ที่มีดัชนีการหักเห
แสงที่แตกตางกัน กลาวคือการสะทอนของแสงผานกระจกเงา ก็คือการสะทอนของแสงที่ผิวสัมผัสระหวางแกว
กับโลหะที่ฉาบไว ในขณะที่การสะทอนบนผิวน้ํา ก็คือการสะทอนที่เกิดขึ้นที่ผิวสัมผัสระหวางน้ํากับอากาศ
โดยทั่วไปแสงสวนหนึ่งจะเกิดการสะทอนที่ผิวสัมผัสของวัตถุดังกลาว และสวนที่เหลือจะหักเหและเดินทางเขา
สูตัวกลางชนิดที่สอง

1.5 กฎการหักเห (Laws of Refraction)


การหั กเหของแสง เป นปรากฏการณ ที่เกิดขึ้นเมื่อแสงเคลื่อนที่ ผานตัวกลางตางชนิดกัน เมื่อแสง
เคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง แสงจะมีการหักเหและการหักเหจะเกิดขึ้นที่ผิวรอยตอของ
ตัวกลาง ในการเปลี่ยนตัวกลางความถี่ของแสงยังคงเทาเดิม สวนความยาวคลื่นและความเร็วของแสงจะ
เปลี่ยนไป ในตัวกลางที่มีคาความหนาแนนนอย แสงจะเคลื่อนที่ดวยความเร็วสูง(ดัชนีหักเหของแสงนอย)และ
ในตัวกลางที่มีคาความหนาแนนมาก แสงจะเคลื่อนที่ดวยความต่ํา (ดัชนีหักเหของแสงมาก)

ภาพ 1.7 แสดงการหักเหของแสง


9

กฎการหักเหของแสง
1. รังสีตกกระทบ เสนแนวฉาก และรังสีหักเห อยูในระนาบเดียวกันดังแสดงในภาพ 1.7
2. สําหรับตัวกลางคูหนึ่ง ๆ อัตราสวนระหวางคา sin ของมุมตกกระทบ θ1 ในตัวกลางหนึ่งกับคา sin ของ
มุมหักเห θ2 ในอีกตัวกลางหนึ่งมีคาคงที่เสมอดังสมการ 1.3

𝑠𝑠𝑠𝑠𝑠𝑠𝜃𝜃1 𝑛𝑛2
= 𝑛𝑛12 = (1.3)
𝑠𝑠𝑠𝑠𝑠𝑠𝜃𝜃2 𝑛𝑛1

หรือเขียนไดเปน

𝑛𝑛1 𝑠𝑠𝑠𝑠𝑠𝑠𝜃𝜃1 = 𝑛𝑛2 𝑠𝑠𝑠𝑠𝑠𝑠𝜃𝜃2 (1.4)

ความสัมพันธดังกลาวนี้ตั้งขึ้นจากการทดลอง Snell จึงเปนที่รูจักกันในนามกฎการหักเหของสเนลล


(Snell's lawofreflaction)

นอกจากนี้สมการ 1.3 ยังสามารถเขียนในรูปของความสัมพันธกับความเร็ว 𝑣𝑣 และความยาว


คลื่น 𝜆𝜆 ไดเปน

𝑠𝑠𝑠𝑠𝑠𝑠𝜃𝜃1 𝑣𝑣1 𝜆𝜆1 𝑛𝑛2


= = = 𝑛𝑛12 = (1.5)
𝑠𝑠𝑠𝑠𝑠𝑠𝜃𝜃2 𝑣𝑣2 𝜆𝜆2 𝑛𝑛1

ในการหักเหของแสง ทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงจะอยูในแนวเดิม ถาแสงตกตั้งฉากกับผิวรอยตอของ


ตัวกลาง และจะไมอยูในแนวเดิมถาแสงไมตกตั้งฉากกับผิวรอยตอของตัวกลาง
การหักเหของแสงเกิดขึ้นได 2 แบบ คือ
1. การหักเหเขาหาเสนปกติ เกิดขึ้นเมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีดัชนีหักเหนอยไปสูตัวกลางที่มีดัชนี
หักเหมากดังแสดงในภาพ1.8(a)
2. การหักเหออกจากเสนปกติ เกิดขึ้นเมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีดัชนีหักเหมากไปสูตัวกลางที่มีดัชนี
หักเหนอยดังแสดงในภาพ1.8(b)
10

n1<n2 n1> n2

ภาพ 1.8 แสดงการหักเหของแสง


(a) แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีดัชนีหักเหนอยไปสูตัวกลางที่มีดัชนีหักเหมาก
(b) แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีดัชนีหักเหมากไปสูตัวกลางที่มีดัชนีหักเหนอย

กฎการหั ก เหของสเนลล แ ละความสั ม พั น ธในสมการ 1.5 สามารถพิ สู จน ห าได จากการพิ จ ารณา
แผนภาพการหักเหของรังสีขนานในภาพ 1.9 แสงขนานตกกระทบกับรอยตอของตัวกลาง ทํามุมตกกระทบ θ1
ความเร็วของแสงในตัวกลางที่ 1 คือ v1 แสงหักเหในตัวกลางที่ 2 ทํามุมหักเหเทากับ θ2 ความเร็วของแสงใน
ตัวกลางที่ 2 คือ v2

ภาพ 1.9 แผนภาพแสดงการหักเหของรังสีขนาน

พิจารณารังสี 2 เสนเสน 1 และ 2 รังสี 1 จะตกกระทบที่ผิวรอยตอตรงจุด A ขณะที่รังสี 2 วิ่งมาถึงจุด


B ขณะที่ รั งสี 2 ตกกระทบผิ ว รอยต อ ที่ จุ ด C รั งสี 1 จะเคลื่ อ นมาถึ งจุ ด D แสงใช เวลา ∆t เท ากั น ในการ
11

เดินทางจาก A ถึง D และจาก B ถึง C แตระยะ AD นอยกวา BC (เพราะแสงมีความเร็วเปลี่ยนไป)ให θ1


เปนมุมตกกระทบ θ2 เปนมุมหักเหจากภาพ 1.9 ได

AD = v2 ∆t ; BC = v1∆t

BC v1∆t
sin θ1 = =
AC AC

AD v2 ∆t
sin θ 2 = =
AC AC

sin θ1 v1
=
sin θ 2 v2

sin θ1 c n1 n2
= =
sin θ 2 c n2 n1

n1 sin θ1 = n2 sin θ 2 (สมการ 1.4)

1.6 หลักของเฟอรแมท (Fermat's Principle)

O
b 2 + (L − x )
2

ภาพ 1.10 แผนภาพแสดงการหักเหของแสง (หลักของFermat)


12

ในเรื่องการสะทอนของแสง แสงจะใชระยะที่สั้นที่สุดหรือใชเวลานอยที่สุดในการเดินทางจากจุดหนึ่ง
ไปยังอีกจุดหนึ่ง แตสําหรับการหักเหแสงไมไดใชระยะที่สั้นที่สุดจากภาพ 1.10 จะเห็นไดวารังสีจาก P ไปยัง Q
โดยหักเหผานผิวตัวกลางระยะ POQ ไมใชระยะที่สั้นที่สุด ดังนั้นจึงนําหลักการที่ใชเวลานอยที่สุดมาพิจารณา
ให v1 เปนความเร็วของแสงในตัวกลางที่ 1
v2 เปนความเร็วของแสงในตัวกลางที่ 2
c เปนความเร็วของแสงในสุญญากาศ
n1 เปนดัชนีหักเหของตัวกลางที่ 1
n2 เปนดัชนีหักเหของตัวกลางที่ 2

เวลาที่แสงเดินทางจาก P ถึง O ไดเปน

x 2 + a 2 n1 2
t1 = = x + a2
v1 c

เวลาที่แสงเดินทางจาก O ถึง Q ไดเปน

b 2 + (L − x )
2
= 2 b 2 + (L − x )
n
t2 =
2

v2 c

เวลาที่ใชในการเคลื่อนที่ทั้งหมด t = t1 + t2

x + a 2 + 2 b 2 + (L − x )
n1 2 n
t=
2

c c

dt
ใชเวลานอยที่สุดเมื่อ =0
dx

dt n1
=
x
+
n2 (x − L ) =0
dx c x +a c b 2 + (L − x )
2 2 2

n1
x
= n2
(L − x )
x +a b + (L − x )
2 2 2 2

n1 sin θ1 = n2 sin θ 2 (สมการ 1.4)


13

เปนเงื่อนไขที่ทําใหแสงใชเวลาเดินทางนอยที่สุด จะเห็นวาสอดคลองกับกฎของสเนล เราเรียกกฎนี้วา


หลักการของเฟอรเมท (Fermet’s principle) ตามชื่อนักวิทยาศาสตรชาวฝรั่งเศสซึ่งตั้งกฎนี้

1.7 การกระจายสี (Color Dispersion)


แหลงกําเนิดแสงทั่วไป เชน แสงแดด แสงไฟถนน แสงไฟในบาน ฯลฯ ใหแสงหลายความยาวคลื่นแสง
ที่มีความยาวคลื่นตางกันนี้ ใหแสงสีที่แตกตางกัน และเมื่อแสงเดินทางผานตัวกลางหนึ่งสูอีกตัวกลางหนึ่ง แสง
ในแตละความยาวคลื่นจะเกิดการหักเหที่มุมหักเหแตกตางกัน จากสมการที่ 1.5 เห็นไดวา
1
n∝ (1.6)
λ

และ sin θ ∝ λ (1.7)

ภาพ 1.11 แสดงการกระจายสีตาง ๆ ของแสงเมื่อผานปริซึม และในภาพ 1.12 แสดงความสัมพันธ


ระหวางดัชนีหักเห n กับความยาวคลื่น λ ของวัสดุสามชนิด ดัชนีหักเหของตัวกลางมีแนวโนมลดลงเมื่อความ
ยาวคลื่นเพิ่มขึ้น

ภาพ 1.11 การแยกสีเมื่อแสงผานปริซึม


14

ภาพ 1.12 ความสัมพันธระหวางดัชนีหักเหกับความยาวคลื่นของวัสดุสามชนิด

การเกิดรุง (Rainbow)
รุงกินน้ํา เปนการกระจายสีของแสง เกิดจากแสงขาวหักเหผานผิวของละอองน้ําทําใหแสงสีตาง ๆ
กระจายออกจากกัน แลวเกิดการสะทอนกลับหมดที่ดานหลังของละอองน้ําแลวหักเหออกสูอากาศ ทําใหแสง
ขาวกระจายออกเปนแสงสีตาง ๆ ดังแสดงในภาพ 1.13 รุงกินน้ําจะมี อยู 2 ชนิด คือ
1.รุงปฐมภูมิ (primary rainbow) เกิดจากแสงตกกระทบหยดน้ําทางขอบบน เกิดการหักเห 2 ครั้ง
และสะทอนกลับหมด 1 ครั้ง โดยจะเห็นเปนสีตางๆกันมีสีแดงอยูบนและมีสีมวงอยูลางสุด จะเกิดเปนรุงตัว
ลาง (มีสีเขมกวาตัวบน)ดังแสดงในภาพ 1.14
2.รุงทุติยภูมิ(secondary rainbow) เกิดจากแสงตกกระทบหยดน้ําทางขอบลาง เกิดการหักเห 2
ครั้งและสะทอนกลับหมด 2 ครั้ง โดยจะเห็นเปนสีตาง ๆ กันมีสีมวงอยูบนและมีสีแดงอยูลางสุด จะเกิดเปน
รุงตัวบน

ภาพ 1.13 แสดงการเกิดรุง


15

การมองเห็นรุง ปฐมภูมิและรุงทุติยภูมิ

1. เราสามารถมองเห็นรุงไดทั้งในเวลากอนและหลังฝนตก โดยการหันหลังใหกับดวงอาทิตยโดยรุงปฐม
ภูมิจะอยูขางลางและรุงทุติยภูมิจะอยูขางบน โดยแถบสีแดงของรุงทั้งสองจะอยูใกลกัน
2. รุงปฐมภูมิจะทํามุมกับระดับสายตาประมาณ 40 - 42 องศา คือเมื่อมองเปนมุม 40 องศา กับระดับ
สายตาจะเห็นแถบสีมวงของรุงปฐมภูมิ เมื่อมองเปนมุม 42 องศา กับระดับสายตาจะเห็นแถบสีแดง
ของรุงปฐมภูมิ ดังนั้นรุงปฐมภูมิมีความหนาประมาณ 2 องศา
3. รุงทุติยภูมิจะทํามุมกับระดับสายตาประมาณ 51-54 องศา คือเมื่อมองเปนมุม 51 องศา กับระดับ
สายตาจะเห็นแถบสีแดงของรุงทุติยภูมิ เมื่อมองเปนมุม 54 องศา กับระดับสายตาจะเห็นแถบสีมวง
ของรุงทุติยภูมิ ดังนั้นรุงทุติยภูมิมีความหนาประมาณ 2 องศา
4. เราจะมองเห็นรุงเปนสวนโคงวงกลมเสมอ เนื่องจากแสงจากดวงอาทิตยเคลื่อนที่ขนานกับผิวโลก ทํา
ใหละอองน้ําแตละหยดที่อยูบนผิวโคงเดียวกันหักเห แสงสีเดียวกันเขาสูตาของผูสังเกต แนวทางเดิน
ของแสงที่มาจากหยดน้ําแตละหยดเมื่อมองดู โดยสวนรวมจะมีลักษณะเปนรูปกรวยกลม โดยมีตาเรา
เปนยอดกรวย และมีวงรุงเปนฐานกรวย ขณะที่ดวงอาทิตยอยูที่ขอบฟา เราจะมองเห็นรุงเปนรูปครึ่ง
วงกลมพอดี ถาดวงอาทิตยมีตําแหนงที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ รุงที่เรามองเห็นจะมีสวนโคงเล็กลงเรื่อย ๆ รุงที่
แตละคนมองเห็นอาจจะไมใชรุงตัวเดียวกันก็ได และถาผูสังเกตซึ่งอยูที่สูงมาก ๆ เชนบนยอดเขาหรือ
บนเครื่องบินมีโอกาสที่จะมองเห็นรุงเปนรูปวงกลมเต็มได

ภาพ 1.14 รุงกินน้ํา


16

แบบฝกหัดบทที่ 1

1. หากตองการภาพของตนไมสูง 25 เมตร บนฉากของกลองรูเข็มซึ่งมีระยะหางของหนากลองกับฉากรับภาพ


16 เซนติเมตร ถาตองการขนาดของภาพตนไมสูง 6 เซนติเมตร จะตองวางกลองหางจากตนไมเทาใด
(คําตอบ66.7 m)

2. จงหาความเร็วของแสงในแกวซึ่งมีดัชนีหักเหเปน 1.5250(คําตอบ 1.8659 x108 m / s )

3. แสงจากดวงอาทิตยใชเวลานานเทาใดเดินทางมายังโลก ถาระยะทางจากดวงอาทิตยถึงโลกเปน 1.5 × 10


8

กม.(คําตอบ500 วินาที หรือ 8นาที 20 วินาที)

4. แสงชนิดหนึ่งมีความยาวคลื่น 450 นาโนเมตร ความเร็ว 3x108เมตร/วินาที ในอากาศเมื่อแสงผานไปยัง


ของเหลวชนิดหนึ่งปรากฏวาความยาวคลื่นเปลี่ยนเปน 300 นาโนเมตร ความเร็วแสงในของเหลวชนิดนี้มี
คาเทาใด(คําตอบ2x108 m/s)

5. แสงสีหนึ่งมีความยาวคลื่น 600 นาโนเมตร ในอากาศและมีอัตราเร็ว 3x108เมตร/วินาที ถาดัชนีหักเหของ


แกวเทียบกับอากาศเปน 1.5 จงหาอัตราเร็วแสงและความยาวคลื่นของแสงในแกว
(คําตอบ2x108 m/s, 4x10–7m)
บทที่ 2
ระนาบเรียบและปริซึม (Plane Surfaces and Prisms)

พฤติกรรมของลําแสง เมื่อแสงสะทอนหรือหักเหที่ผิวระนาบเรียบเปนพื้นฐานสําคัญในทัศนศาสตรเชิง
เรขาคณิ ต และจะแสดงใหเห็นถึงคุณ สมบัติตาง ๆ ที่จะพิจารณาตอไปในกรณีที่ยากมากขึ้นจากพื้นผิวโคง
พื้นผิวเรียบมีทั้งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เชน พื้นผิวของของเหลว และพื้นผิวระนาบประดิษฐ ที่ใชในทางทัศน
ศาสตรเพื่อนํามาใชเกี่ยวกับการเบี่ยงเบนรังสี หรือแยกแสงออกเปนแสงสีตาง ๆ เชน ปริซึม แตกอนที่จะ
กลาวถึงกรณีของปริซึมนี้จะตองมีความเขาใจอยางละเอียดกับพื้นผิวระนาบเรียบกอน

2.1 มุมวิกฤตและการสะทอนกลับหมด (The Critical Angle and Total Reflection)


เมื่อรังสีของแสงจากตัวกลางที่ มีดัชนีหั กเหมากไปยังตัวกลางที่มีดัชนี หักเหนอยกวาอาจแยกการ
พิจารณาไดเปน 3 ลักษณะดังภาพ 2.1 คือ
1. เมื่อมุมตกกระทบ θ1 นอยกวามุมวิกฤต θc ซึ่งเปนมุมตกกระทบที่ทําใหมุมหักเห θ2 เปน 90 องศาจะ
มีทั้งรังสีหักเหและรังสีสะทอน
2. เมื่อมุมตกกระทบเทากับมุมวิกฤต จะมีรังสีสะทอนและรังสีหักเหแตรังสีหักเหจะขนานไปกับผิวของ
ตัวกลาง
3. เมื่อมุมตกกระทบมีคามากกวามุมวิกฤต แสงจะไมหักเหผานไปสูอีกตัวกลางหนึ่งแตจะมีการสะทอน
เพียงอยางเดียวลักษณะนี้เรียกวาการสะทอนกลับหมด

ภาพ 2.1 แสดงการหักเหของแสงและการสะทอนกลับหมด


18

ถาพิจารณาจากกฎการหักเหและจากภาพ 2.1 จะไดวา


n1 sin θ1 = n2 sin θ 2

n1
sin θ 2 = sin θ1
n2

2
n 
cosθ 2 = 1 −  1  sin 2 θ1 (2.1)
 n2 

2
 
จากสมการที่ 2.1 จะเกิดการหักเหขึ้นไดเมื่อ cosθ 2 เปนจํานวนจริงเมื่อ  n1  sin 2 θ1 ≤ 1 นั่นคือ
 n2 
มุมตกกระทบ θ1 มากที่สุดที่จะยังคงทําใหเกิดการหักเหได (เมื่อ θ2 = 90°) หรือ θ1=θc โดยที่

n2
sin θ c = (2.2)
n1

ซึ่งมุมตกกระทบในกรณีนี้คือมุมวิกฤต (θc) ดังไดกลาวมาแลวมุมตกกระทบ ที่มีคามากกวานี้จะทําให


สมการ 2.2 เปนจํานวนจินตภาพ ลักษณะนี้โดยทัศนศาสตรเชิงเรขาคณิตบอกไดเพียงวาจะไมเกิดการหักเห
แต ไม ส ามารถอธิ บ ายปรากฏการณ ที่ เกิ ด ขึ้ น เมื่ อ มุ ม ตกกระทบมากกวามุ ม วิก ฤต ต อ งอาศั ย ทฤษฎี ค ลื่ น
แมเหล็กไฟฟาของแสงมาอธิบาย จึงทําใหทราบวาเมื่อมุมตกกระทบมากกวามุมวิกฤต จะเกิดการสะทอน
ของฟลักซของแสงทั้งหมด ทําใหการสะทอนลักษณะนี้เปนการสะทอนที่ดีมาก และดีกวาการสะทอนที่ผิว
กระจกที่ฉาบดวยเงินเสียอีก
ปรากฏการณการสะทอนกลับหมดในธรรมชาติ เชน การเกิดภาพลวงตา(mirage) ประกายสีสันจาก
เพชรที่เจียระไนดีแลวเปนตน นอกจากนี้ทัศนศาสตรของเสนใยแกวนําแสงซึ่งมีบทบาทสําคัญในปจจุบันก็มี
พื้นฐานจากการสะทอนกลับหมดนี้เอง

2.2 แผนระนาบขนาน (Plane-Parallel Plate)


เมื่อลําแสงจากตัวกลางที่มีคาดัชนีหักเห n1 ตกกระทบแผนระนาบขนาน ซึ่งมีดัชนีหักเห n2 และมี
ความหนา t ทํามุมตกกระทบ θ1 แลวหักเหเขาไปในตัวกลางดวยมุมหักเห θ2 เมื่อลําแสงทะลุผานแผนระนาบ
ขนานออกมายังตัวกลางเดิม ลําแสงที่ผานออกมาจะขนานกับแนวลําแสงตกกระทบ ดังแสดงในภาพ 2.2 เรา
สามารถหาระยะหาง d ซึ่งเปนระยะระหวางแนวรังสีที่ผานออกมากับแนวรังสีตกกระทบไดจากการพิจารณา
กฎของการหักเห
19

d = a sin γ ; γ = θ1 − θ 2

d = a sin (θ1 − θ 2 ) ; a=
t
cosθ 2

sin (θ1 − θ 2 )
t
d= (2.3)
cosθ 2

ภาพ 2.2 แสดงการหักเหของแสงผานแผนระนาบขนาน

มุมหักเห θ2 หาไดจากพิจารณาจากกฎการหักเห

n1 sin θ1 = n2 sin θ 2

n1
ได sin θ 2 = sin θ1
n2

 n1 
θ 2 = sin −1  sin θ1 
 n2 

แทนคา θ2 ในสมการ 2.3 ได

t   n 
d= sin θ1 −  sin −1  1 sin θ1    (2.4)
 n     n2   
cos sin −1  1 sin θ1   
  n2 
20

จากสมการ 2.4 จะเห็นไดวา สามารถหาระยะที่ลําแสงเลือ่ นไปจากแนวเดิม d เมื่อลําแสงผานแผน


ระนาบขนานจากคามุมตกกระทบ ความหนาของแผน และคาดัชนีหักเห

2.3 ปริซึม (Prism)


แสงขาวเมื่อผานปริซึมจะปรากฏใหเห็นเปนแสงสีตาง ๆ เรียกวา "สเปกตรัมของแสงปรากฏการณ
ดังกลาวเรียกวา "การกระจายของแสง" (dispersion of light) สเปกตรัมของแสงในยานที่ตามองเห็นจะมีสี
หลัก ๆ ไดแกสีมวง (violet), คราม(Indigo),น้ําเงิน (blue), เขียว (green), เหลือง (yellow), สม (orange),
แดง (red) ซึ่งมีอักษรยอที่ไดจากพยัญชนะตัวแรกของแตละสีตามลําดับเปน V,I,B,G,Y,O,R
ดัชนีหักเหของสารโปรงใส จะมีคาแตกตางกันไปตามความถี่ (หรือความยาวคลื่น) ของแสงดัชนีหักเห
ของแสง จะมีคามากทางสเปกตรัมดานปลายสีน้ําเงิน และจะมีคานอยทางสเปกตรัมดานปลายสีแดง ดังนั้นเมื่อ
แสงผานปริซึมแลวแสงสีน้ําเงินจะเบนไปจากแนวเดิม (มีมุมเบี่ยงเบน) มากกวาแสงสีแดงการกระจายของแสงที่
ผ า นตั ว กลางแล ว เป น ไปตามลํ า ดั บ VIBGYOR เรี ย กว า "normal dispersion" แต ถ า ไม เป น ไปตามลํ า ดั บ
ดังกลาวจะเรียกวา "anormalous dispersion"
การแบงชนิดของปริซึมตามการใชงานมี 2 ชนิด คือ
1. ปริ ซึ ม กระจายแสง (dispersing prism) ใช เป น อุ ป กรณ ก ระจายแสงในเครื่ อ งมื อ วิ เคราะห
สเปกตรัมของแสง ในงานดานเคมีดาราศาสตรและฟสิกสของอะตอม
2. ปริซึมสะทอนแสง (reflecting prism) ใชเปนอุปกรณ เปลี่ยนทิศทางของแสง และของภาพใน
ทัศนอุปกรณหลาย ๆ อยางบางครั้งตองใชระบบปริซึมหลายๆอันประกอบกัน

2.4 การหักเหผานปริซึม

ภาพ 2.3 แสดงการหักเหของแสงผานปริซมึ


21

พิจารณาภาพ 2.3 เปนปริซึมที่มีมุมยอด A เราจะพิจารณาการหักเหของแสงผานปริซึมนี้ รังสีตก


กระทบผิวหนาปริซึมทํามุมตกกระทบ α และหักเหผานผิวหนาดวยมุมหักเห β เลยไปตกกระทบผิวหลังดวย
มุมตกกระทบ γ จากนั้นจึงหักเหออกจากปริซึมดวยมุม δ กําหนดให ε คือมุมเบี่ยงเบนที่รังสีที่ออกจาก
ปริซึมเบนออกจากแนวแสงเดิม ζ คือมุมเบี่ยงเบนของรังสีหักเหผานผิวหนา จากแนวแสงตกกระทบที่หนา η
คือมุมเบี่ยงเบนของรังสีที่หักเห ผานผิวหลังจากแนวแสงตกกระทบที่ผิวหลัง 1จากภาพ 2.3 ไดวา
0

ε = ζ +η

= (α − β ) + (δ − γ )

= α + δ − (β + γ )

ε =α +δ − A (2.4)

ถาตองการหาคามุมเบี่ยงเบน ε ในเทอมของมุมตกกระทบ α และมุมยอด A ซึ่งทําไดโดยพิจารณาการหักเห


ที่แตละผิวดังนี้
ที่ผิวแรก n1 sin α = n2 sin β

เมื่อ n1 เปนดัชนีหักเหของอากาศ =1
n2 เปนดัชนีหักเหของปริซึม ให n2 = n

1อักษรกรีก

Α, α แอลฟา, อัลฟา Alpha Β, β บีตา, เบตา Beta


Γ, γ แกมมา Gamma ∆, δ เดลตา Delta
Ε, ε เอปไซลอน, เอปซิลอน Epsilon Ζ, ζ ซีตา, เซตา Zeta
Η, η อีตา, เอตา Eta Θ, θ ทีตา, ธีตา, เธตา Theta
Ι, ι ไอโอตา Iota Κ, κ แคปปา Kappa
Λ, λ แลมดา, แลมบดา Lambda Μ, µ มิว Mu
Ν, ν นิว Nu Ξ,ξ ไซ, คไซ, ซี Zi
Ο, ο โอไมครอน, โอมิครอน Omicron Π, π พาย, ไพ Pi
Ρ, ρ โร Rho Σ, σ ซิกมา Sigma
Τ, τ เทา, ทาว Tau Υ, υ อิปไซลอน, อุปซิลอน Upsilon
Φ, φ ฟาย, ไฟ, ฟ Phi Χ, χ ไค Chi
Ψ, ψ พไซ, ซี Psi Ω, ω โอเมกา Omega
22

1 
ได β = sin −1  sin α  (2.5)
n 

ที่ผิวหลัง n sin γ = sin δ

ได δ = sin −1 (n sin γ ) (2.6)

และจาก β +γ = A

ได γ = A−β (2.7)


จากสมการ 2.5 – 2.7 ไดวา

  1  
δ = sin −1 n sin  A − sin −1  sin α   (2.8)
  n  

จากสมการ 2.4 และ 2.8 ไดมุมเบี่ยงเบน

  1  
ε = α − A + sin −1 n sin  A − sin −1  sin α   (2.9)
  n  

2.5 มุมเบี่ยงเบนนอยสุดของปริซึม(minimum diviation)

ภาพ 2.4 แสดงการหักเหของแสงผานปริซมึ อยางสมมาตร


23

คามุมเบี่ยงเบนของปริซึม ที่อยูในตัวกลางดัชนีหักเห no เปนฟงกชันของมุมกระทบ α มุมเบี่ยงเบน


จะมีคานอยที่สุด เมื่อรังสีผานปริซึมอยางสมมาตรดังในภาพ 2.4 โดยที่มุมตกกระทบและมุมหักเหออกจาก
ปริซึมมีคาเทากัน ( α = δ ) ดังนั้นจากสมการที่ 2.4 จะได

α =δ =
1
(ε 0 + A) (2.10)
2

โดยที่ ε 0 คือคามุมเบี่ยงเบนนอยที่สุด

และจากสมการที่ 2.5 กับ 2.6 จะไดอีกวา


β =γ (2.11)
จากสมการ 2.7 จะได
A
β =γ = (2.12)
2

จากการพิจารณาการหักเหที่ผิวหลัง และจากสมการ 2.10 ถึง 2.12 จะได

 A ε + A
n2 sin   = n1 sin  0 
2  2 

ε + A
sin  0 
n2
=  2 
(2.13)
n1  A
sin  
2

เมื่อ n1 เปนดัชนีหักเหของอากาศ =1
n2 เปนดัชนีหักเหของปริซึม ให n2 = n

ε + A
sin  0 
จะได n=  2 
(2.14)
 A
sin  
2

สมการที่ 2.14 เปนสมการมาตรฐาน ที่ใชในการหาคาดัชนีหักเหของแกว โดยใชการหาคามุมเบี่ยงเบน


นอยที่สุด ε 0 ถาทราบคามุมยอด A ก็สามารถหาคาดัชนีหักเหได
24

2.6 ปริซึมบาง (thin prism)

ปริซึมบาง เปนปริซึมที่มีมุมยอดและมุมเบี่ยงเบนนอยกวาปริซึมอื่นๆ จนกระทั่งสามารถประมาณไดวา


คาไซนของมุมเหลานั้น มีคาเทากับคามุมของตัวเองที่มีหนวยเปนเรเดียนจากสมการที่ 2.13 จะได
 ε0 + A 
 
n2  2 
=
n1  A
 
2

n 
ε 0 =  2 − 1 A (2.15)
 n1 

ถาปรึซึมอยูในอากาศ n1 =1 และ n2 = n ได


ε 0 = (n − 1)A (2.16)

2.7 ปริซึมสะทอนแสง (reflecting prism)

ปริซึ ม สะทอนแสง ที่ ใชกันอยูการสะท อนที่เกิดขึ้นเปนการสะทอนที่ไดจากการสะทอนกลับหมด


ภายในปริซึมสะทอนแสงมีหลายชนิดดวยกันที่สําคัญ ๆ คือ

ก. ปริซึมมุมฉาก (right-angle prism) ดังภาพ 2.5 แสงถูกสะทอนที่ดานตรงขามมุมฉากทิศทางของแสงเบนไป


จากเดิม 90 องศา

ภาพ 2.5 ปริซึมมุมฉาก


25

ข. ปริซึมหลังคา (roof prism or porroprism) ปริซึมมุมฉาก ที่จัดใหแสงตกกระทบและแสงสะทอน


ผานดานตรงขามมุมฉากดังภาพ 2.6

ภาพ 2.6 ปริซึมหลังคา

ค. ปริซึมกลับภาพ (Dove prism)ภาพ 2.7 เปนปริซึมมุมฉากที่ตัดมุมยอดที่เปนมุมฉากออกไปปริซึม


ชนิดนี้จะหมุนแนวการมองทําใหภาพหมุนไปจากเดิม 180 องศา(กลับหัว) แตไมกลับขาง (ซายเปนขวา) ของ
ภาพ

ภาพ 2.7 ปริซึมกลับภาพ

ง. ปริซึมหาเหลี่ยม (pentagonal prism) จะเบนแสงจากเดิม 90 องศาโดยภาพที่ไดเหมือนเดิมทุก


ประการ (ไมกลับหัวและไมกลับขาง)ดังภาพ 2.8

ภาพ 2.8 ปริซึมหาเหลี่ยม


26

แบบฝกหัด

1. แสงเคลื่อนที่จากตัวกลาง A ไปยังตัวกลาง B มีมุมตกกระทบ 30o และมีมุมหักเหเปน 37o จงหาดัชนีหักเห


ของตัวกลาง B เทียบกับตัวกลาง A ( 5 )
6

4 3
2. ถาดัชนีหักเหของน้ํา และแกวเปน และ ตามลําดับ จงหาดัชนีหักเหของน้ําเทียบกับแกว ( 8 )
3 2 9

3 6
3. แสงเคลื่อนที่จากตัวกลาง 1 ซึ่งมีดัชนีหักเห ไปยังตัวกลาง 2 ซึ่งมีดัชนีหักเห ดวยมุมตกระทบ 30o จง
2 5

หามุมหักเหในตัวกลาง 2 (sin-1 5 )
8

4. แสงสีหนึ่งมีความยาวคลื่น 600 นาโนเมตร ในอากาศ และมีอัตราเร็ว 3x108 เมตร/วินาที ถาดัชนีหักเหของ


3
แกวเปน จงหาความถี่อัตราเร็ว และความยาวคลื่นของแสงในแกว ( 2 x108 m / s, 4 x10 −7 m)
2

5. แสงเคลื่อนที่ผานตัวกลางดวยอัตราเร็ว 2.25 x108 เมตร/วินาที อยากทราบวาตัวกลางนี้มีคาดัชนีหักเห


เทาใด ( 1.33)

6. ดัชนีหักเหของแกวมีคา 1.5 จงหาอัตราเร็วของแสงในแกวเปนเทาใด ( 2 x108 m / s)

7. ถาเพชรมีดัชนีหักเห 2.42 มุมวิกฤตของเพชรจะมีคาเทาใด ( sin −1 0.413)

4
8. ผลึกใสชนิดหนึ่งมีคาดัชนีหักเห 2 และของเหลวชนิดหนึ่งมีคาดัชนีหักเห จงหามุมวิกฤตระหวางผลึกใส
3
และของเหลวนี้ ( sin −1 2 )
3
27

3
9. เมื่อแสงเคลื่อนที่จากแกวดัชนีหักเห สูอากาศ จงหามุมตกกระทบที่ทําใหแสงเกิดการสะทอนกลับหมด
2

ในแกว ( sin −1 2 )
3

10. จากรูปแสงเคลื่อนที่จากผลึกใสไปสูของเหลวแลวเคลื่อนที่ตอไปยังอากาศ ทําใหเกิดมุมวิกฤตจงหาดัชนีหัก


เหของผลึกใส (2)
อากาศ

ของเหลว
60o30o

ผลึกใส

11. จากรู ปแสงเดินทางจากตัวกลางที่ 1 ผ่านตัวกลางที่ 2 ตัวกลางที่ 3 ไปสู่ตวั กลางที่ 4 โดยผ่านรอยต่อ


ตัวกลาง A , B , C ซึง่ ขนานกัน จงหาดัชนีหกั เหของตัวกลางที่ 1 เทียบกับตัวกลางที่ 1 เทียบกับตัวกลางที่ 4
(3)
4

(53o) (4)
C

(3)
B

(2)
A

(53o)
(1)
บทที่ 3
การเกิดภาพ (Image Formation)

ภาพ เกิดจากแสงจากวัตถุ โดยเมื่อพิจารณาแนวรังสีของแสงจากวัตถุที่กระจายออกไปแลวมารวมกัน


อีกครั้ง จะเกิดเปนภาพเกิดขึ้น ภาพแบงออกเปนสองชนิดคือ ภาพจริงและภาพเสมือน หากรังสีของแสงจาก
วัตถุสะทอนหรือหักเห มารวมกันเปนภาพ เรียกภาพนั้นวาภาพจริง แตถาหากรังสีของแสงจากวัตถุสะทอน
หรือหักเหกระจายออกไปไมรวมกันจะเกิดภาพเมื่อตอแนวรังสีของแสงใหมาตัดกัน เรียกภาพที่เกิดขึ้นวา
ภาพเสมือน การหาชนิด ลักษณะ และการหาตําแหนงของภาพสามารถทําไดโดยอาศัยการเขียนเสนทางเดิน
แสงความรูทางทัศนศาสตรเชิงเรขาคณิต

3.1 การเกิดภาพจากการสะทอน
3.1.1 การเกิดภาพจากการสะทอนกระจกเงาราบ
รังสีของแสงออกจากวัตถุสะทอนกระจกเงาราบดังแสดงในภาพ 3.1 วัตถุ O วางอยูหนากระจกเงา
ราบหางจากกระจกเปนระยะภาพ p เกิดภาพ I ดานหลังกระจก อยูหางจากกระจกเปนระยะภาพ q เมื่อเขียน
เสนทางเดินแสงเห็นไดวา รังสีสะทอนดานหนากระจกกระจายออกไมรวมกัน แตเมื่อตอแนวรังสีแสงตอไป
ดานหลังกระจกจะสามารถหาตําแหนงที่แนวรังสีไปตัดกันได ซึ่งตําแหนงที่แนวรังสีไปตัดกันก็คือตําแหนงที่เกิด
ภาพนั่นเอง และภาพที่เกิดขึ้นจากการตอแนวรังสีไปตัดกันดานหลังกระจกเกิดเปนภาพเสมือน

กระจกเงาราบ
ภาพ 3.1 แสดงการเกิดภาพจากการสะทอนกระจกเงาราบ
29

ตํ า แหน งและขนาดของภาพ สามารถหาได จ ากการเขี ย นทางเดิ น แสงดั งแสดงในภาพ 3.2 โดย


พิจารณารังสีของแสงที่ออกจากหัวลูกศร 2 เสนสะทอนกระจกตามกฎการสะทอน เมื่อวัตถุมีความสูง h เกิด
เปนภาพความสูง h′ โดยความสูงภาพจะเทากับความสูงวัตถุ ระยะภาพเทากับระยะวัตถุ

วัตถุ ภาพ

ภาพ 3.2 ขนาดและตําแหนงภาพจากการสะทอนกระจกเงาราบ

กําลังขยายของภาพ M หาไดจากสมการ 3.1


h′
M= (3.1)
h

# ภาพที่เกิดจากการสะทอนกระจกเงาราบเปนภาพเสมือน อยูหลังกระจก มีระยะภาพเทากับระยะวัตถุ


ขนาดภาพเทากับขนาดวัตถุหรือมีกําลังขยายเทากับ 1 และภาพจะกลับซาย-ขวา

3.1.2 การเกิดภาพจากการสะทอนกระจกโคงทรงกลม
กระจกโคงทรงกลม คือกระจกผิวโคงเปนสวนของทรงกลม มี 2 ชนิดคือ กระจกเวาและกระจกนูน
หากดานที่สะทอนแสงจากวัตถุเปนผิวดานในทรงกลม เรียกวากระจกเวาและหากดานที่สะทอนแสงจากวัตถุ
เปนผิวดานนอกทรงกลมเรียกวากระจกนูน
ภาพ 3.3 (ก) แสดงกระจกเวาทรงกลมที่มีจุดศูนยกลางความโคงอยูที่จุด C และมีรัศมีความโคง R
วางอยูบนแกนมุขสําคัญ (principal axis)และในภาพ 3.3 (ข) แสดงการเขียนทางเดินแสงเพื่อหาตําแหนงภาพ
ที่เกิดจากการสะทอนกระจกเวา
30

กระจกเวา กระจกเวา
จุดศูนยกลาง
ความโคง

แกนมุขสําคัญ

(ก) (ข)

ภาพ 3.3 กระจกโคงทรงกลมเวา (ก) การเกิดภาพ (ข)

จากภาพ 3.3 (ข) เมื่อรังสีของแสงออกจากวัตถุ ทํามุมกับแกนมุขสําคัญเปนมุมเล็ก ๆ รังสีจะตัดกันที่จุดเดียว


เกิดเปนภาพที่ชัดเจนขึ้น แตถาหากลําแสงที่ออกจากวัตถุทํามุมกับแกนมุขสําคัญขนาดใหญ ดังแสดงในภาพ
3.4 พบวารังสีที่ทํามุมกับแกนมุขสําคัญตางกัน จะสะทอนกระจกแลวตัดกันคนละตําแหนง ทําใหภาพที่ไดเกิด
การเบลอ ซึ่ ง เป น ความคลาดที่ เกิ ด จากผิ ว โค ง ทรงกลมจึ ง เรี ย กว า ความคลาดทรงกลม (spherical
aberration) ซึ่งอาจแกไขโดยการใชผิวโคงเปนกระจกพาราโบลิก ซึ่งจะทําใหรังสีตัดกันที่จุดเดียวและไดภาพ
ที่ชัดเจน

ภาพ 3.4 ความคลาดทรงกลม (spherical aberration)

จากการเขียนเสนทางเดินแสงดังแสดงในภาพ 3.5 เพื่อแสดงตําแหนงและลักษณะของภาพที่เกิดจาก


การสะทอนกระจกเวา
31

ภาพ 3.5 ตําแหนงและลักษณะภาพจากการสะทอนกระจกเวา

หาความสัมพันธระหวางระยะตาง ๆ
h − h′
tan θ = =
p q
กําลังขยายหาไดจาก
h' q
M = = − (3.2)
h p
พิจารณา
h h'
tan α = = −
p−R R−q

h' R−q R−q q


= − ⇒ =
h p−R p−R p

ไดความสัมพันธระหวางระยะวัตถุ ระยะภาพ และ รัศมีความโคงดังสมการ 3.3

1 1 2
+ = (3.3)
p q R

พิจารณาเมื่อวัตถุอยูไกลมาก ๆ แนวรังสีแสงที่มาจากวัตถุ จะขนานแกนมุขสําคัญ และรังสีทุกเสนจะ


สะทอนมาตัดกันที่จุดจุดหนึ่งเรียกจุดนั้นวาจุดโฟกัส F ดังภาพ 3.6
32

ภาพ 3.6 แสดงจุดโฟกัสของกระจกเวา

จากสมการ 3.3 เมื่อ p → ∞ ได้ q ≈ R / 2 = f

ระยะโฟกัสมีความสัมพันธกับรัศมีความโคงดังสมการ 3.4

R
f = (3.4)
2

จากสมการที่ 3.3 และ 3.4 สามารถหาความสัมพันธระหวางระยะวัตถุ ระยะภาพ และ ความยาวโฟกัสของ


กระจกโคงทรงกลมไดจากสมการ 3.5

1 1 1
+ = (3.5)
p q f

ภาพ 3.7 - 3.8 แสดงการเขียนทางเดินแสงเพื่อหาตําแหนง และลักษณะภาพที่เกิดจากการสะทอน


กระจกเวา และภาพ 3.9 แสดงการเขียนทางเดินแสงเพื่อหาตําแหนง และลักษณะภาพที่เกิดจากการสะทอน
กระจกนูน
33

ภาพ 3.7 การเขียนทางเดินแสงแสดงการเกิดภาพจริงจากการสะทอนกระจกเวา

ภาพ 3.8 การเขียนทางเดินแสงแสดงการเกิดภาพเสมือนจากการสะทอนกระจกเวา

# ภาพที่เกิดจากการสะทอนกระจกเวา เปนภาพจริงอยูหนากระจก ขนาดขยาย ยอ หรือเทากับวัตถุได


และยังสามารถเกิดภาพเสมือนอยูหลังกระจกขนาดขยาย ขึ้นกับตําแหนงของวัตถุ และหากวางวัตถุไวที่จุด
โฟกัสของกระจกจะไมเกิดภาพ
34

ภาพ 3.9 การเขียนทางเดินแสงแสดงการเกิดภาพเสมือนจากการสะทอนกระจกนูน

# ภาพที่เกิดจากการสะทอนกระจกนูน เปนภาพเสมือนอยูหลังกระจกขนาดยอ

!! ลองทําดู จงเขียนทางเดินแสงเพื่อแสดงการเกิดภาพของกระจกเวาและกระจกนูนในทุกกรณี

ในการคํ า นวณหาระยะ กํ า ลั ง ขยาย และความสู ง ของภาพที่ เกิ ด จากการสะท อ นกระจก ต อ งคํ า นึ ง ถึ ง


เครื่องหมายของปริมาณตางๆดังสรุปไวในตาราง 3.1

ตาราง 3.1 เครื่องหมายของปริมาณตางๆสําหรับกระจก


ปริมาณ เปนบวกเมื่อ (+) เปนลบเมื่อ (-)
ระยะวัตถุ (p) วัตถุอยูหนากระจก(วัตถุจริง) วัตถุอยูหลังกระจก(วัตถุเสมือน)
ระยะภาพ (q) ภาพอยูหนากระจก(ภาพจริง) ภาพอยูหลังกระจก(ภาพเสมือน)
ความสูงภาพ ( h′ ) ภาพหัวตั้ง ภาพหัวกลับ
ความยาวโฟกัส (f)
กระจกเวา กระจกนูน
รัศมีความโคง (R)
กําลังขยาย (M) ภาพหัวตั้ง ภาพหัวกลับ
35

ตั ว อย า งที่ 1 จงหาตํ า แหน ง ภาพและอธิ บ ายลั ก ษณะของภาพที่ เกิ ด จากกระจกเว าซึ่ งมี ร ะยะโฟกั ส 10
เซนติเมตร เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ
ก. 25 เซนติเมตร ข. 10 เซนติเมตร ค. 5 เซนติเมตร

แนวทางหาคําตอบ
1 1 1
จาก + = (1)
p q f
ก. เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 25 cmแทนในสมการ (1) ได
1 1 1
+ =
25 q 10
1 1 1 3
= − =
q 10 25 50
50
จะได q= = 16.67 cm
3
q 16.67
หาคากําลังขยายของภาพจาก M =− =− = −0.67
p 25
ตอบ เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 25 เซนติ เมตร จะเกิดภาพจริงหัวกลับ ขนาด 0.67 เทาของวัตถุ อยูดานหน า
กระจกหางจากกระจกเปนระยะ 16.67 เซนติเมตร
ข. เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 10 cmแทนในสมการ (1) ได
1 1 1
+ =
10 q 10
1 1 1
= − =0
q 10 10
จะได q → ∞ cm
ตอบ เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 10 เซนติเมตร(ที่ตําแหนงจุดโฟกัส) จะไมเกิดภาพ
ค. เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 5 cm แทนในสมการ (1) ได
1 1 1
+ =
5 q 10
1 1 1 1
= − =−
q 10 5 10
จะได q = − 10 cm
q (−10)
หาคากําลังขยายของภาพจาก M =− =− =2
p 5
ตอบ เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 5 เซนติเมตร จะเกิดภาพเสมือนหัวตั้งขนาด 2 เทาของวัตถุ อยูดานหลังกระจก
หางจากกระจกเปนระยะ 10 เซนติเมตร
36

ตัวอยางที่ 2 จงหาตําแหนงภาพและอธิบายลักษณะของภาพที่เกิดจากกระจกนูนซึ่งมีรัศมีค วามโคง 40


เซนติเมตร เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 30 เซนติเมตร

แนวทางหาคําตอบ
1 1 1
จาก + =
p q f
R − 40
และ f = = = − 20 cm
2 2
เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 30 cm ได
1 1 1
+ =
30 q − 20
1 1 1 5
= − − = −
q 20 30 60
60
จะได q= − = − 12 cm
5
q (−12)
หาคากําลังขยายของภาพจาก M =− =− = 0.4
p 30
ตอบ เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 30 เซนติเมตร จะเกิดภาพเสมือนหัวตั้งขนาด 0.4 เทาของวัตถุ อยูดานหลังกระจก
หางจากกระจกเปนระยะ 12 เซนติเมตร

3.2 การเกิดภาพจากการหักเห
3.2.1 การหาตําแหนงและลักษณะของภาพจากการหักเหผานตัวกลาง
พิจารณารังสีของแสงออกจากวัตถุ O ที่อยูในตัวกลางที่มีคาดัชนีหักเห n1 หักเหผานตัวกลางผิวโคงซึ่ง
มีรัศมีความโคง R และมีคาดัชนีหักเห n2 รังสีของแสงไปตัดกันเกิดเปนภาพ I ดังแสดงในภาพ 3.10 และเมื่อ
ลากเสนทางเดินแสงเพื่อหาความสัมพันธระหวาง ระยะวัตถุ p ระยะภาพ q และรัศมีความโคง R ดังแสดงใน
ภาพ 3.11
37

ภาพ 3.10 การเกิดภาพจากการหักเหผานตัวกลาง

ภาพ 3.11 เสนทางเดินแสงจากวัตถุเมื่อหักเหผานตัวกลาง

พิจารณาเมื่อ n1 < n2
จากกฎการหักเห n1 sin θ1 = n2 sin θ 2

การประมาณที่มุมเล็กๆ sin θ ≈ θ
ไดเปน n1θ1 = n2θ 2
เมื่อ
θ1 = α + β
β = θ2 + γ
n1α + n2γ = (n2 − n1 ) β
38

การประมาณที่มุมเล็กๆ tan θ ≈ θ

d d d
tan α ≈ α ≈ ; tan β ≈ β ≈ ; tan γ ≈ γ ≈
p R q

จะได
n1 n2 n −n
+ = 2 1 (3.6)
p q R

ในการคํานวณหาระยะ กําลังขยาย และความสูงของภาพที่เกิดจากการหักเหผานตัวกลางผิวโคง ตองคํานึงถึง


เครื่องหมายของปริมาณตางๆดังสรุปไวในตาราง 3.2

ตาราง 3.2 เครื่องหมายของปริมาณตางๆสําหรับการหักเหผานตัวกลางผิวโคง


ปริมาณ เปนบวกเมื่อ (+) เปนลบเมื่อ (-)
ระยะวัตถุ (p) วัตถุอยูหนาพื้นผิว(วัตถุจริง) วัตถุอยูหลังพื้นผิว(วัตถุเสมือน)
ระยะภาพ (q) ภาพอยูห ลังพื้นผิว(ภาพจริง) ภาพอยูห นาพื้นผิว(ภาพเสมือน)
ความสูงภาพ ( h′ ) ภาพหัวตั้ง ภาพหัวกลับ
รัศมีความโคง (R) จุดศูนยกลางความโคงอยูหลังพืน้ ผิว จุดศูนยกลางความโคงอยูหนาพืน้ ผิว
กําลังขยาย (M) ภาพหัวตั้ง ภาพหัวกลับ

3.2.2 การหาตําแหนงและลักษณะของภาพจากการหักเหผานตัวกลางผิวเรียบ
เมื่อเขียนทางเดินแสงออกจากวัตถุที่อยูในตัวกลาง ที่มีดัชนีหักเห n1 รังสีหักเหผานผิวเรียบสูตัวกลางที่
มีดัชนี หั ก เห n2 เมื่ อ n1 >n2 รังสี แ สงจะหั กเหกระจายออกดังภาพ 3.12 เมื่อ ตอแนวรังสีจะกลับ มาตัดกั น
ดานหนาตัวกลางเกิดเปนภาพเสมือนเกิดขึ้น
39

ภาพ 3.12 การเกิดภาพจากการหักเหผานตัวกลางผิวเรียบ

n1 n2 n −n
จากสมการ + = 2 1
p q R

ตัวกลางผิวเรียบ R → ∞ ได
n1 n2
+ = 0
p q

ไดเปน
n1 n
= − 2 (3.7)
p q

ตัวอยางที่ 3 ปลาอยูในน้ําที่ตําแหนงลึกจากผิวน้ําเปนระยะ d เมื่อมองจากอากาศลงไปในแนวตรงจะเห็นปลา


มีความลึกปรากฏเปนเทาใด (ดัชนีหักเหของน้ําเปน 1.33)
แนวทางหาคําตอบ
จากการหักเหผานตัวกลางผิวเรียบ
n1 n
= − 2
p q
1.33 1
ได = −
d q
1
q=− d = − 0.75d
1.33
40

ตอบ เมื่อปลาอยูลึกจากผิวน้ําเปนระยะ d เมื่อมองจากอากาศในแนวตรงจะเห็นปลาเปนภาพเสมือน อยูลึก


จากผิวน้ําเปนระยะ 0.75 d

ตัวอยางที่ 4 เหรียญถูกหลอปดดวยพลาสติกใสทรงกลมรัศมี 3 เซนติเมตร เมื่อเหรียญถูกวางไวที่ตําแหนง 2


เซนติเมตร จากผิวทรงกลมในแนวที่มอง จงหาตําแหนงภาพปรากฏของเหรียญที่มองเห็น เมื่อดัชนีหักเหของ
พลาสติกเปน 1.5
แนวทางหาคําตอบ
จากการหักเหผานตัวกลางผิวโคง
n1 n2 n2 − n1
+ =
p q R

1.5 1 1 − 1.5
+ =
2 q −3

ได q = − 1.7 cm

ตอบ ตําแหนงของภาพอยูลึกจากผิวโคงเปนระยะ 1.7 เซนติเมตร

3.2.3 การเกิดภาพจากการหักเหผานเลนสบาง
พิจารณาเสนทางเดินแสง จากวัตถุหักเหเขาสูเลนสผิวโคงดานที่มีรัศมีความโคง R1 และหักเหออกจาก
เลนส ใ นด า นที่ มี รั ศ มี ค วามโค ง R2 ซึ่ ง ในภาพ 3.13 (ก) แสดงการเกิ ด ภาพจากการหั ก เหที่ ผิ ว แรกเป น
ภาพเสมือน และในภาพ 3.13 (ข) แสดงการเกิดภาพจากการหักเหที่ผิวแรกเปนภาพจริง

(ก) (ข)
ภาพ 3.13 การเกิดภาพจากการหักเหผานเลนสผิวโคงที่ผวิ แรก
41

การเกิดภาพ จากการหักเหผานเลนสเกิดจากการหักเหสองครั้งที่คือผิวที่ 1 และผิวที่ 2 เมื่อวัตถุอยูใน


อากาศซึ่งมีดัชนีหักเหเปน 1 และเลนสมีดัชนีหักเหเปน n สามารถหาตําแหนงของภาพจากการหักเหทั้งสองผิว
ไดจากสมการที่ 3.6

n1 n2 n2 − n1
+ =
p q R
ผิวโคงที่ 1
1 n n −1
+ = (3.8)
p1 q1 R1

ผิวโคงที่ 2
n 1 1− n
+ = (3.9)
p2 q2 R2
เมื่อ
p2 = − q1 + t

กรณีเลนสบาง t → 0 ได p2 = − q1

แทนในสมการ 3.9 จะได


n 1 1− n
− + = (3.10)
p1 q 2 R2

จากสมการ 3.8 และ 3.10 ได


1 1  1 1 
+ = (n − 1)  −  (3.11)
p1 q 2  R1 R2 

สําหรับเลนสบางที่มีรัศมีความโคง R1 และ R2 เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ P1 = p เมื่อรังสีหักเหผานผิวแรกและ


ผิวที่สองจะเกิดภาพที่ระยะ q = q2 ดังภาพ 3.14
42

ภาพ 3.14 การเกิดภาพจากการหักเหผานเลนสบาง

จากสมการ 3.11 ไดเปน


1 1  1 1 
+ = (n − 1)  −  (3.12)
p q  R1 R 2 

ระยะโฟกัสของเลนสบางหาไดจากเมื่อวัตถุอยูไกลๆ p → ∞ รังสีขนานแกนมุขสําคัญหักเหผานเลนส
โดยมีแนวรังสีตัดกันที่จุดที่เรียกวาจุดโฟกัส ซึ่งเกิดเปนภาพเกิดขึ้นและระยะภาพ q เมื่อวัตถุอยูที่ไกลๆนี้คือ
ระยะโฟกัส f ของเลนสบางดังภาพ 3.15

ภาพ 3.15 จุดโฟกัสของเลนสบาง

สมการ 3.12 เขียนใหมไดเปน

1 1 1 
= (n − 1)  −  (3.13)
f  R1 R2 

สมการ 3.13 มีชื่อวาสมการชางทําเลนส (lens makers’ equation)


43

ในการหาตําแหนงและลักษณะของภาพที่เกิดจากการหักเหผานเลนสบางหาไดจากสมการ 3.14

1 1 1
+ = (3.14)
p q f

เลนสบางในลักษณะตางๆแสดงดังภาพ 3.16 แบงเปน 2 ชนิดหลักคือ เลนสนูน (convex) และ เลนส


เวา (concave)

ภาพ 3.16 เลนสบางในลักษณะตาง ๆ

ในการคํานวณหาระยะ กําลังขยาย และความสูงของภาพที่เกิดจากการหักเหผานเลนสบาง ตองคํานึงถึง


เครื่องหมายของปริมาณตาง ๆ ดังสรุปไวในตาราง 3.3

ตาราง 3.3 เครื่องหมายของปริมาณตาง ๆ สําหรับการเกิดภาพจากการหักเหผานเลนสบาง


ปริมาณ เปนบวกเมื่อ (+) เปนลบเมื่อ (-)
ระยะวัตถุ (p) วัตถุอยูหนาเลนส(วัตถุจริง) วัตถุอยูหลังเลนส(วัตถุเสมือน)
ระยะภาพ (q) ภาพอยูหลังเลนส(ภาพจริง) ภาพอยูห นาเลนส(ภาพเสมือน)
ความสูงภาพ ( h′ ) ภาพหัวตั้ง ภาพหัวกลับ
รัศมีความโคง R1และ R2 จุดศูนยกลางความโคงอยูหลังเลนส จุดศูนยกลางความโคงอยูหนาเลนส
ความยาวโฟกัส (f) เลนสรวมแสง (เลนสนูน) เลนสกระจายแสง (เลนสเวา)
กําลังขยาย (M) ภาพหัวตั้ง ภาพหัวกลับ

h' q
กําลังขยายหาไดจากสมการ 3.2 M = = −
h p
44

ภาพ 3.17 และ 3.18 แสดงการเขียนทางเดินแสง เพื่อหาตําแหนงและลักษณะภาพที่เกิดจากการหัก


เหผานเลนสนูน และภาพ 3.9 แสดงการเขียนทางเดินแสง เพื่อหาตําแหนงและลักษณะภาพที่เกิดจากการหัก
เหผานเลนสเวา

ภาพ 3.17 การเกิดภาพจริงของเลนสนูน

ภาพ 3.18 การเกิดภาพเสมือนของเลนสนูน

# ภาพที่เกิดจากการหักเหผานเลนสนูน เปนภาพจริงอยูหลังเลนส ขนาดขยาย ยอ หรือเทากับวัตถุได


และยังสามารถเกิดภาพเสมือนอยูหนาเลนสขนาดขยาย ขึ้นกับตําแหนงของวัตถุ และหากวางวัตถุไวที่จุด
โฟกัสของเลนสนูนจะไมเกิดภาพ

ภาพ 3.19 การเกิดภาพเสมือนของเลนสเวา

# ภาพที่เกิดจากการหักเหผานเลนสเวา เปนภาพเสมือนอยูห นาเลนสขนาดยอ


!! ลองทําดู จงเขียนทางเดินแสงเพื่อแสดงการเกิดภาพของเลนสนูนและเลนสเวาในทุกกรณี
45

ตั ว อย า งที่ 5 จงหาตํ า แหน ง ภาพและอธิ บ ายลั ก ษณะของภาพที่ เกิ ด จากเลนส นู น ซึ่ ง มี ร ะยะโฟกั ส 10
เซนติเมตร เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ
ก. 30 เซนติเมตร
ข. 10 เซนติเมตร
ค. 5 เซนติเมตร

แนวทางหาคําตอบ

1 1 1
จาก + = (1)
p q f

ก. เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 30 cm
แทนในสมการ (1) ได
1 1 1
+ =
30 q 10

1 1 1 2
= − =
q 10 30 30

30
จะได q= = 15 cm
2
q 15
หาคากําลังขยายของภาพจาก M =− =− = −0.5
p 30

ตอบ เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 30เซนติเมตร จะเกิดภาพจริงหัวกลับขนาด 0.5เทาของวัตถุ อยูดานหลังเลนสหาง


จากเลนสเปนระยะ 15เซนติเมตรเสนทางเดินแสงดังแสดงในภาพ

ข. เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 10 cmแทนในสมการ (1) ได


1 1 1
+ =
10 q 10

1 1 1
= − =0
q 10 10

จะได q→ ∞ cm

ตอบ เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 10 เซนติเมตร(ที่ตําแหนงจุดโฟกัส) จะไมเกิดภาพ


46

ค. เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 5 cm
แทนในสมการ (1) ได

1 1 1
+ =
5 q 10

1 1 1 1
= − =−
q 10 5 10

จะได q = − 10 cm

หาคากําลังขยายของภาพจาก

q 10
M =− = − = −2
p 5

ตอบ เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 5 เซนติเมตร จะเกิดภาพเสมือนหัวตั้งขนาด 2 เทาของวัตถุ อยูดานหนาเลนส หาง


จากเลนสเปนระยะ 10 เซนติเมตร เสนทางเดินแสงดังแสดงในภาพ

ตั ว อย า งที่ 6 จงหาตํ า แหน ง ภาพและอธิ บ ายลั ก ษณะของภาพที่ เกิ ด จากเลนส เว า ซึ่ ง มี ร ะยะโฟกั ส 10
เซนติเมตร เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ
ก. 30 เซนติเมตร
ข. 10 เซนติเมตร
ค. 5 เซนติเมตร

แนวทางหาคําตอบ

1 1 1
จาก + = (1)
p q f

ก. เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 30 cm
แทนในสมการ (1) ได
1 1 1
+ =
30 q − 10

1 1 1 4
= − − =−
q 10 30 30
47

30
จะได q= − = − 7. 5 cm
4
q (−7.5)
หาคากําลังขยายของภาพจาก M =− =− = 0.25
p 30

ตอบ เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 30 เซนติเมตร จะเกิดภาพเสมือนหัวตั้งขนาด 0.25 เทาของวัตถุ อยูดานหนาเลนส


หางจากเลนสเปนระยะ 7.5 เซนติเมตรเสนทางเดินแสงดังแสดงในภาพ

ข. เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 10 cm แทนในสมการ (1) ได


1 1 1
+ =
10 q − 10

1 1 1 2
=− − =−
q 10 10 10

10
จะได q= − = −5 cm
2

หาคากําลังขยายของภาพจาก
q (−5)
M =− =− = 0.5
p 10

ตอบ เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 10 เซนติเมตร จะเกิดภาพเสมือนหัวตั้งขนาด 0.5 เทาของวัตถุ อยูดานหนาเลนส


หางจากเลนสเปนระยะ 5 เซนติเมตรเสนทางเดินแสงดังแสดงในภาพ

ค. เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 5 cm
แทนในสมการ (1) ได

1 1 1
+ =
5 q − 10

1 1 1 3
= − − =−
q 10 5 10

จะได q = − 3.33 cm

หาคากําลังขยายของภาพจาก
48

q (−3.33)
M =− =− = 0.67
p 5

ตอบ เมื่อวางวัตถุไวที่ระยะ 5 เซนติเมตร จะเกิดภาพเสมือนหัวตั้งขนาด 0.67 เทาของวัตถุ อยูดานหนาเลนส


หางจากเลนสเปนระยะ 3.33 เซนติเมตร เสนทางเดินแสงดังแสดงในภาพ

ตัวอยางที่ 7 จงหาตําแหนงภาพและอธิบายลักษณะของภาพที่เกิดจากระบบเลนสนูน 2 อันซึ่งเลนสตัวที่ 1 มี


ระยะโฟกั ส 10 เซนติ เมตร และเลนส ตั ว ที่ 2 มี ร ะยะโฟกั ส 20 เซนติ เมตรเลนส ทั้ ง สองวางห า งกั น 20
เซนติเมตร เมื่อวางวัตถุไวหนาเลนสตัวที่ 1 หางจากเลนสตัวที่ 1 เปนระยะ 30 เซนติเมตร ดังภาพ

แนวทางหาคําตอบ

1 1 1
จาก + =
p q f

หาภาพที่เกิดจากเลนสตัวที่ 1 จาก
1 1 1
+ =
p1 q1 f1

1 1 1
+ =
30 q1 10

1 1 1 2
= − =
q1 10 30 30

30
จะได q1 = = 15 cm
2

หาคากําลังขยายของภาพจากเลนสตัวที่ 1
49

q1 15
M1 = − =− = −0.5
p1 30

ภาพจากเลนสตัวที่ 1 เปนวัตถุของเลนสตัวที่ 2 โดยที่


p2 = 20 − q1 = 20 − 15 = 5 cm
หาภาพที่เกิดจากเลนสตัวที่ 2 จาก
1 1 1
+ =
p2 q2 f2

1 1 1
+ =
5 q2 20

1 1 1 3
= − =−
q2 20 5 20

20
จะได q2 = − = − 6.67 cm
3

แสดงวาภาพที่เกิดจากเลนสตัวที่ 2 เปนภาพเสมือนอยูหนาเลนส(ฝงซาย) ตัวที่ 2 หางจากเลนส 6.67 cm


หาคากําลังขยายของภาพจากเลนสตัวที่ 2
q2 (−6.67)
M2 = − =− = 1.33
p2 5

หาคากําลังขยายรวมของภาพจากเลนสทั้งสองตัวจาก
M = M 1M 2 = (−0.5) (1.33) = − 0.66

ตอบ ภาพสุดทายจะเปนภาพหัวกลับขนาด 0.66 เทาของวัตถุ อยูดานหนาเลนสตัวที่ 2 (ฝงซาย) หางจาก


เลนสตัวที่ 2 เปนระยะ 6.67 เซนติเมตร เสนทางเดินแสงดังแสดงในภาพ
50

3.2.4 การเกิดความคลาดของเลนส (Lens Aberrations)


รังสีของแสงที่มาจากวัตถุ หากตกกระทบผิวโคงของเลนสหางจากศูนยกลางเลนสตางกันเนื่องจากผิว
โคงของเลนสเปนโคงแบบวงกลม จะทําใหรังสีที่หักเหผานเลนสออกไปไปตัดกันคนละจุด ทําใหเกิดภาพคนละ
ตํ า แหน ง ทํ า ให ภ าพที่ ไ ด เ กิ ด การเบลอ เรี ย กความคลาดชนิ ด นี้ ว า ความคลาดทรงกลม (spherical
aberrations) ดังแสดงในภาพ 3.20

ภาพ 3.20 ความคลาดทรงกลม (spherical aberrations)

เมื่อแสงที่มาจากวัตถุ ซึ่งประกอบไปดวยแสงหลายความยาวคลื่นหรือแสงหลายสี ซึ่งแสงแตละสี (แต


ละความยาวคลื่น) เกิดการหักเหผานตัวกลางดวยมุมหักเหที่ตางกัน ทําใหรังสีหักเหของแสงแตละสีผานเลนส
ออกไปไปตั ด กั น คนละจุ ด ทํ า ให เกิ ด ภาพเบลอแบบกระจายสี เรี ย กความคลาดชนิ ด นี้ ว า ความคลาดสี
(chromatic aberrations) ดังแสดงในภาพ 3.21

ภาพ 3.21 ความคลาดสี (chromatic aberrations)


51

แบบฝกหัด
ใหแสดงวิธที ํา เขียนทางเดินแสง และสรุปตอบโดยละเอียด
1. กระจกเวาบานหนึ่งมีรัศมีความโคง 40 เซนติเมตร จงหาตําแหนงชนิดและกําลังขยายของภาพเมื่อวางวัตถุ
ไว ณ ตําแหนงที่หางจากกระจก
ก) ไกลมาก ๆ ข) 60 ซม. ค) 40 ซม.
ง) 30 ซม. จ) 10 ซม. ฉ) 20 ซม.
(ก. 20 cm , m = 0 ข. 30 cm , m = -0.5 ค. 40 cm , m = -1 ง. 60 cm , m = -2
จ. -20 cm , m = 2 ฉ. α , m = α )

2. กระจกนูนบานหนึ่งมีรัศมีความโคง 20 เซนติเมตร จงหาชนิด ตําแหนงและกําลังขยายของภาพเมื่อวางวัตถุ


ไว ณ ตําแหนงหางจากกระจก
ก) ไกลมาก ๆ ข) 40 ซม. ค) 10 ซม.
(ก.-10 cm , m = 0 ข. -8 cm , m = 0.2 ค. -5 cm , m = 0.5)

3. ถาจะใหเกิดภาพหลังจากกระจกนูน 40 เซนติเมตร กระจกนูนมีรัศมีมีความโคง 120 เซนติเมตร จะตองวาง


วัตถุหางจากกระจกนูนเทาไร (120 cm)

4.วางวัตถุไวหนากระจกโคงหางกระจก 4 เซนติเมตร เกิดภาพเสมือนหางกระจก 2 เซนติเมตร จงหาความยาว


โฟกัส และชนิดของกระจก (-4 cm เปนกระจกนูน)

5. วัตถุสูง 10 เซนติเมตร อยูหาง 10 เซนติเมตร จากกระจกเวาซึ่งมีรัศมีความโคง 40 เซนติเมตร จงหาขนาด


ของภาพ (20 cm)

6. เมื่อวางวัตถุหนากระจกโคงหาง 25 เซนติเมตร ปรากฏวาไดภาพจริงขนาด 2 เทา ของวัตถุบนฉาก จงหา


ชนิดและรัศมีความโคงของกระจก (กระจกเวา R = 33.33 cm)

7.จงหาชนิดและความยาวโฟกัสของกระจกโคงที่ใหภาพขนาด 1 เทาของวัตถุ เมื่อวางวัตถุหางกระจก 40


4
เซนติเมตร (กระจกเวา f = 8 cm)

8. กระจกเวา 2 บาน มีรัศมีความโคงบานละ 20 เซนติเมตร วางหันหนาเขาหากันหางกัน 30 เซนติเมตร นํา


วัตถุสูง 10 เซนติเมตร วางหางกระจกบานแรกเปนระยะ 5 เซนติเมตร จงหาตําแหนงและขนาดของภาพ ที่
เกิดจากการสะทอนของแสงระหวางกระจก 2 บาน ใหสะทอนบานใกลวัตถุกอน (หนากระจกบานที่
40 20
สอง cm ขนาด cm )
3 3
52

9. วัตถุสูง 5 เซนติเมตร วางหางจากกระจกนูน 15 เซนติเมตร กระจกนูนมีรัศมีความโคง 20 เซนติเมตร


กระจกราบบานหนึ่งวางหันหนาเขาหากระจกนูน หางจากกระจกนูน 20 เซนติเมตรจงหาตําแหนงของภาพซึ่ง
เกิดจากรังสีของแสง ซึ่งสะทอนที่กรจกนูนกอน จากนั้นสะทอนที่กระจกราบ (หลังกระจกราบ 26 cm)
10. เลนสนูนความยาวโฟกัส 10 เซนติเมตร เมื่อวางวัตถุสูง 5 เซนติเมตร ไวหางจากเลนส 15 เซนติเมตรจงหา
ชนิด ตําแหนงและขนาดของภาพ (ภาพจริงอยูหลังเลนส 30 cm, สูง 10 cm)

11. เลนสเวามีความยาวโฟกัส 20 เซนติเมตร จะตองวางวัตถุไวที่ตําแหนงใดจึงจะทําใหภาพมีขนาด 1 เทา


4
ของวัตถุ (60 cm)

12. วางวัตถุไวหนาเลนสเวาหางจากเลนส 15 เซนติเมตร เกิดภาพหางจากเลนส 10 เซนติเมตร จงหาความ


ยาวโฟกัสของเลนสเวา (30 cm)

13. เลนสนูน 2 อัน ความยาวโฟกัสอันละ 10 เซนติเมตร วางหางกัน 35 เซนติเมตร อยูบนแกนมุขสําคัญ


เดียวกัน วัตถุสูง 5 เซนติเมตร วางอยูหนาเลนสทั้งสอง และอยูหางจากเลนสอันใกล 15 เซนติเมตร จงหา
ตําแหนงชนิด และขนาดของภาพที่เกิดจากแสงหักเหผานเลนสทั้งสองแลว (ภาพเสมื อ นสู ง 20 cm ,อยู
หนาเลนส L2 หาง 10 เซนติเมตร)

14. เลนสนูนและเลนสเวาความยาวโฟกัสเทากัน 20 เซนติเมตร วางอยูในแกนมุขสําคัญเดียวกันและหางกัน


30 เซนติเมตร วัตถุวางอยูหนาเลนสนูนหาง 40 เซนติเมตร จงหาชนิด ตําแหนง และกําลังขยายของภาพ
(ภาพจริงขยาย 2 เทา หลังเลนสเวา 20 cm)
บทที่ 4
การแทรกสอดของแสง
การแทรกสอดของคลื่นเกิดจากคลื่นตั้งแต 2 ขบวนขึ้นไป มาพบกันที่จุดเดียวกันผลลัพธที่ไดจากการ
รวมคลื่ น หาได จ ากการรวมการขจั ด ของคลื่ น แต ล ะขบวนตามหลั ก การซ อ นทั บ กั น (superposition) จะ
สังเกตเห็ นการแทรกสอดของคลื่ น แสงได ก็ตอเมื่ อแหลงกําเนิ ดคลื่นแสงนั้ นเป นแหลงกําเนิดแสงอาพั น ธ
(coherent sources) ซึ่งจะใหกําเนิดคลื่นแตละขบวนเคลื่อนที่ โดยมีเฟสที่ตรงกันและคลื่นแสงมีความยาว
คลื่นคาเดียว (monochromatic) แหลงกําเนิดแสงทั่วไปที่เปนแหลงกําเนิดแสงที่ใหความยาวคลื่นหลายคาการ
แทรกสอดของคลื่นซึ่งเกิดจากการรวมคลื่นเหลานี้ จะมองไมเห็นการรวมคลื่นแบบเสริมหรือหักลางกันได

หลักของฮอยเกนส(Huygens’s principle) : ทุกๆจุดบนหนาคลื่นเสมือนเปนจุดกําเนิดคลื่นใหม

(c)
หลั ก ของฮอยเกนส ส ามารถนํ า ใช
อธิบายการเกิดการเลี้ยวเบนของคลื่น
ได
ภาพ 4.1 หลักของฮอยเกนส

4.1 การแทรกสอดของแสงผานชองแคบคู (Double slitInterference)


ในปค.ศ. 1803 โทมัสยัง (Thomas Young) นักฟสิกสชาวอังกฤษ ไดทดลองใหเห็นการแทรกสอด
ของคลื่นโดยใชแสงไฟ จากการเผาโลหะโซเดียมแสงที่ไดจะเปนแสงอาพันธ (coherent) และมีความยาวคลื่น
คาเดียว (monochromatic)โดยใหแสงผานชองแคบ 2 ชอง (double slit) เมื่อแสงผานชองแคบนี้จะทําให
เกิดหนาคลื่นของแสงชุดใหม 2 ชุด ตามหลักของฮอยเกนสดังภาพ 4.1 ซึ่งมีเฟสเหมือนกันทุกประการ คลื่น
แสงทั้ง 2 ขบวนจะพบกันบนฉากจะเกิดริ้วรอยการแทรกสอดบนฉากซึ่งเปนแถบสวางและแถบมืด สลับกันโดย
ที่แถบสวางเกิดจากการแทรกสอดแบบเสริมกันแถบมืดเกิดจากการแทรกสอดแบบหักลางกันของแสง ดังแสดง
ในภาพ 4.2
54

ภาพ 4.2 การแทรกสอดของแสงผานชองแคบคู

จากภาพ 4.3 เมื่อแสงจาก S1 และ S2 เคลื่อนที่ไปยังจุด P บนฉาก ดวยระยะทางเทากันดังแสดงใน


ภาพ (a) ซึ่งทําใหคลื่นมีเฟสเดียวกันจึงรวมกันแบบเสริมกัน เปนแถบสวางการแทรกสอดแบบเสริมกันลําดับ
ถัดไป จะเกิดขึ้นเมื่อแสงจาก S1 เคลื่อนที่ไปยังจุด Q ดวยระยะที่ไกลกวาคลื่นจาก S2 เปนระยะหนึ่งชวงคลื่นดัง
แสดงในภาพ (b) การแทรกสอดแบบหักลางกันจะเกิดขึ้นเมื่อคลื่นจาก S1 เคลื่อนที่ไปยังจุด R ดวยระยะที่ไกล
กวาครึ่งชวงคลื่น เมื่อเทียบกับคลื่นจาก S2 ทองคลื่นของคลื่นจาก S2 จะพบกับหลังคลื่นของคลื่นจาก S1 ซึ่งทํา
ใหเกิดการรวมกันแบบหักลางกันเปนแถบมืดดังแสดงในภาพ (c)

ภาพ 4.3 การรวมกันของแสงผานชองแคบคู


55

เมื่อแสงความยาวคลื่น λ ผานชองแคบคูที่หางกัน d จะเกิดริ้วการแทรกสอดบนฉากที่หางจากชอง


แคบคูออกไปเปนระยะ L และให y แทนระยะจากแนวกลางถึงตําแหนงของริ้วการแทรกสอดใด ๆ บนฉาก ดัง
ภาพ 4.4

ภาพ 4.4 ตําแหนงของริ้วการแทรกสอดใดๆบนฉาก

ความตางเสนทางเดินแสง (path difference) : δ = r2 − r1 = d sin θ

การแทรกสอดแบบเสริม δ = d sin θ bright = mλ (m = 0 , ± 1, ± 2 , ...) (4.1)

1
การแทรกสอดแบบหักลาง d sin θ dark = (m − )λ (m = ± 1, ± 2 , ...) (4.2)
2

y
เมื่อมุม θ มีคานอย หรือ y << L ซึ่ง sin θ ≈ tan θ ไดวา d sin θ ≈ d
L
สามารถหาระยะหางจากแนวกลางของแถบสวางและแถบมืดไดจากสมการ 3 และ 4 ตามลําดับ

(4.3)

_ (4.4)
56

เมื่อ m คือลําดับของแถบสวางหรือแถบมืดจากแถบสวางกลาง

แถบสว่างที่ 3 (m = 3)
แถบมืดที่ 3 (m = 3)
แถบสว่างที่ 2 (m = 2)
แถบมืดที่ 2 (m = 2)
แถบสว่างที่ 1 (m = 1)
แถบมืดที่ 1 (m = 1)
แถบสว่างกลาง (m = 0)
แถบมืดที่ 1 (m = 1)
แถบสว่างที่ 1 (m = 1)
แถบมืดที่ 2 (m = 2)
แถบสว่างที่ 2 (m = 2)
แถบมืดที่ 3 (m = 3)
แถบสว่างที่ 3 (m = 3)

ภาพ 4.5 ลําดับของแถบสวางหรือแถบมืด

ตัวอยางที่ 1 เมื่อใหแสงความยาวคลื่นเดี่ยวผานชองแคบคูที่มีระยะหางกัน 0.03 mm ซึ่งอยูหางจากฉากเปน


ระยะ 1.2 m พบวาแถบสวางที่ 2 ที่ปรากฏบนฉากอยูหางจากแถบสวางกลาง 4.5 cm จงหาความยาวคลื่น
แสงที่ใช
แนวทางหาคําตอบ

แถบสวาง d sin θ = mλ
y
d = mλ
L
dy
λ=
mL

แทนคา λ=
(3 ×10 )(4.5 ×10 ) = 5.625 ×10
−5 −2
−7
m = 562.5 nm
2(1.2 )
ตอบ แสงที่ใชมีความยาวคลื่น 562.5 นาโนเมตร
57

ตัวอยางที่ 2 ในการทดลองการแทรกสอดของแสงผานชองแคบคูที่มีระยะหางกัน 0.0250 mm ซึ่งอยูหางจาก


ฉากเปนระยะ 1.50 m จงหาวา เมื่อใชแสงความยาวคลื่น 430 nm กับ 510 nm แถบสวางที่ 3 ที่เกิดขึ้นบน
ฉากของทั้งสองความยาวคลื่นมีระยะตางกันเทาใด
แนวทางหาคําตอบ

λL λL (430 × 10 −9 m)(1.50m)
ybright = m = 3 = 3
d d 0.0250 × 10 −3 m

= 7.74 × 10 −2 m

λ' L λ' L (510 × 10 −9 m)(1.50m)


y ' bright = m = 3 = 3
d d 0.0250 × 10 −3 m

= 9.18 × 10 −2 m

∆y = 9.18 ×10 −2 m − 7.74 ×10 −2 m

= 1.40 ×10 −2 m = 1.40 cm

ตอบ แถบสวางที่ 3 ที่เกิดขึ้นบนฉากของทั้งสองความยาวคลื่นมีระยะตางกัน 1.40 cm

4.2 การกระจายความเขมแสงของริ้วการแทรกสอดผานชองแคบคู

คลื่นระนาบที่ผานS1
E1 = E0 sin ωt

คลื่นระนาบที่ผานS2
E 2 = E0 sin(ωt + φ )

ภาพ 4.6 การแทรกสอดผานชองแคบคู


58

ความตางในเสนทางเดินแสง δ มีความสัมพันธกับความตางเฟส φ ตามสมการที่ 5

δ φ
=
λ 2π (4.5)
δ = r2 − r1 = d sin θ

2π 2π
φ = δ = d sin θ
λ λ

E p = E1 + E 2 = E0 [sin ωt + sin(ωt + φ )]

 A+ B   A− B 
sin A + sin B = 2 sin   cos 
 2   2 

φ   φ
E p = 2 E0 cos  sin  ωt + 
2  2

φ   φ
I α E p 2 = 4 E0 2 cos 2   sin 2  ωt + 
2  2

φ 
I = I max cos 2  
2

 πd sin θ 
I = I max cos 2   (4.6)
 λ 

 πd 
I ≈ I max cos 2  y (4.7)
 λL 

จากสมการที่ 6 ไดวาความเขมแสงเปนฟงกชันคาบ

ความเขมแสงสูงสุด (I = Imax) เมื่อ d sin θ = 0, λ , 2λ , 3λ , ...

λ 3λ 5λ 7λ
ความเขมแสงต่ําสุด (I = Imin) เมื่อ d sin θ = , , , , ...
2 2 2 2
59

ภาพ 4.7 การกระจายความเขมแสงของริ้วการแทรกสอดผานชองแคบคู

4.3 การเปลี่ยนเฟสของคลื่นเนื่องจากการสะทอน
ถาคลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีดัชนีหักเหต่ํา และไปสะทอนจากผิวตัวกลางที่มีดัชนีหักเหสูงกวาคลื่น
จะเปลี่ยนเฟส 180° แตถาคลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีดัชนีหักเหสูงและไปสะทอนจากผิวตัวกลางที่มีดัชนีหัก
เหต่ํากวา คลื่นจะไมมีการเปลี่ยนเฟส ปรากฏการณเชนนี้จะคลายกับการสะทอนของคลื่นในเสนเชือกจาก
ปลายตรึงและปลายอิสระตามลําดับดังภาพ 4.8

ภาพ 4.8 การเปลี่ยนเฟสของคลื่นเนื่องจากการสะทอน


60

4.4 การแทรกสอดในฟลม บาง


การแทรกสอดในฟลมบางเกิดขึ้นจากแสงทีส่ ะทอนจากผิวบนและผิวลางของฟลมดังภาพ 4.9

ภาพ 4.9 แสงที่สะทอนจากผิวบนและผิวลางของฟลม

ความตางเสนทางเดินแสงปรากฏ (Optical path difference, Γ)

Γ = n( AB + BC ) − AD
d
AB = BC =
cos β

n( AB + BC ) = 2n
d
cos β
AD = (2d tan β )sin α = 2d tan β (n sin β )

Γ = n( AB + BC ) − AD

− 2d tan β (n sin β )
d
= 2n
cos β
 1 − sin 2 β 
= 2nd  
 cos β 
Γ = 2nd cos β

เฟสไม่ ต่างกัน เฟสต่ างกัน 180o

แทรกสอดแบบเสริ ม 2nd cos β = mλ แทรกสอดแบบหักล้าง

แทรกสอดแบบหักล้าง  1
2nd cos β =  m + λ แทรกสอดแบบเสริ ม
 2

m = 0, 1, 2, 3, …
61

การแทรกสอดของแสงที่สะทอนจากผิวบนและผิวลางของฟลมที่มีเฟสตางกัน 180o
0o 180o 0o 180o
0o 0o

nair<nfilm nair<nwater<noil

ภาพ 4.10 แสงที่สะทอนจากผิวบนและผิวลางของฟลมที่มีเฟสตางกัน 180o

จากภาพ 4.10 เมื่อแสงตกกระทบตั้งฉากจะไดสมการการแทรกสอดตามสมการที่ 8 และ 9


 1 (4.8)
แทรกสอดแบบเสริม 2nd =  m + λ
 2
แทรกสอดแบบหักลาง 2nd = mλ (4.9)

การแทรกสอดของแสงที่สะทอนจากผิวบนและผิวลางของฟลมที่มีเฟสไมตางกัน

0o 180o
180o

nair<ncoating<nglass

ภาพ 4.11 แสงที่สะทอนจากผิวบนและผิวลางของฟลมที่มีเฟสไมตางกัน


62

จากภาพ 4.11 เมื่อแสงตกกระทบตั้งฉากจะไดสมการการแทรกสอดตามสมการที่ 10 และ 11


แทรกสอดแบบเสริม 2nd = mλ (4.10)
 1
แทรกสอดแบบหักลาง 2nd =  m + λ (4.11)
 2

ตัวอยางที่ 3 จงหาความหนานอยที่สุดของฟลมฟองสบูซงึ่ จะทําใหแสงที่มีความยาวคลื่น 600 nm สะทอนบน


ฟลมแลวเกิดการแทรกสอดแบบเสริมกัน
แนวทางหาคําตอบ
ความหนานอยที่สุด m = 0

2nt = λ / 2

λ 600 nm
t = = = 113 nm
4n 4(1.33)

ตัวอยางที่ 4 จงหาความหนานอยที่สุดของฟลม SiO ซึ่งมีดัชนีหักเห 1.45 ที่เคลือบบน Si solar cell ซึ่งมี


ดัชนีหักเห 3.5 แลวทําใหแสงที่มีความยาวคลื่น 550 nm สะทอนบนฟลมแลวเกิดการแทรกสอดแบบหักลาง
กัน
แนวทางหาคําตอบ

ความหนานอยที่สุด m = 0

2nt = λ / 2

λ 550 nm
t = = = 94.8 nm
4n 4(1.45)
63

ใชวัดความยาวคลื่นแสง หรือใชวัดการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ได เชนการเลื่อนตําแหนงที่นอยมาก ๆ


ศึกษาการสั่นไหวการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ความเร็วในการไหลของอากาศ หรือความหนาของฟลมที่เคลือบ
กระจก

ภาพ 4.12 Michelson interferometer

4.5 การเลี้ยวเบน (Diffraction)


การเลี้ยวเบนของแสงเกิดขึ้นเมื่อแสงเดินทางผานสิ่งกีดขวางหรือผานชองแคบแบงเปน 2 แบบคือ
1. การเลี้ยวเบนแบบฟรอนโฮเฟอร (Fraunhofer diffraction) ตนกําเนิดแสงสิ่งกีดขวางและฉากอยูไกล
กันมากรังสีตกกระทบและรังสีเลี้ยวเบนเปนรังสีขนานดังภาพ 4.13

ภาพ 4.13 การเลี้ยวเบนแบบฟรอนโฮเฟอร


64

2. การเลี้ยวเบนแบบเฟรสเนล (Fresnel diffraction) ตนกําเนิดแสงสิ่งกีดขวางและฉากอยูใกลกันมาก


แสงที่ไดจากแหลงกําเนิดแสงจะมีหนาคลื่นเปนรูปทรงกลม

การเลี้ยวเบนผานชองแคบเดี่ยว รังสีตกกระทบเปนแสงขนานเปนการเลี้ยวเบนแบบฟรอนโฮเฟอร

ภาพ 4.14 การเลี้ยวเบนผานชองแคบเดี่ยว

การหาความเขมและเงื่อนไขการเกิดแถบมืดแถบสวางของการเลี้ยวเบน


dE

dx θ
a
x
δ = x sin θ

ภาพ 4.15 คลืน่ ระนาบผานชองแคบเดี่ยว


คลื่นระนาบที่เวลาใด ๆ และมีเฟสเทากับφ
E = E 0 sin (ωt − φ )
แอมพลิจูดของคลื่นแปรผันโดยตรงกับ dx
dE0 = ε 0 dx หรือ E0 = ε 0a
ดังนั้นคลื่นที่ผา นชวง dx เล็ก ๆ คือ
dE = ε 0 dx sin (ωt − φ )
65

คลื่นจากระยะหางกัน x มีความตางในเสนทางเดิน δ = x sin θ

δ φ 2πx sin θ
= ได φ= และ
λ 2π λ

 2πx sin θ 
dE = ε 0 dx sin  2πft − 
 λ 

 2πx sin θ 
a
E = ε 0 ∫ sin  2πft −  dx
0  λ 

a
ε 0λ   2πx sin θ 
E=
2π sin θ cos 2πft − λ

   0

ε 0λ   2πa sin θ  
E= cos 2πft −  − cos(2πft )
2π sin θ   λ  

อาศัยความสัมพันธทางตรีโกณมิติ
 A+ B   A− B 
cos A − cos B = 2 sin   sin   ได
 2   2 

ε 0λ  πa sin θ   πa sin θ 
E= sin   sin  2πft − 
π sin θ  λ   λ 

ε 0λ  πa sin θ 
แอมปลิจูดของคลื่น A= sin  
π sin θ  λ 

 ελ   πa sin θ 
2

ความเขมแสง I = A =  0  sin 2 
2

 π sin θ   λ 

E0 πa sin θ
เมื่อแทน ε0 = , I 0 = E02 และกําหนดให β=
a λ

จะไดความเขมแสงของลวดลายการเลี้ยวเบนตามสมการที่ 12

sin 2 β (4.12)
I = I0
β 2
66

ลวดลายการเลี้ยวเบนจะเปนแถบมืดเมื่อ sin β = 0 นั่นคือ β = π, 2π, 3π, ...


πa sin θ
β= = π, 2π, 3π, ...
λ
a sin θ = λ , 2λ , 3λ , ...

หรือ a sin θ = mλ ; m = 1, 2, 3, … (4.13)

 sin β 
ตรงแนวกลาง ที่มุม θ = 0° ได lim  = 1 จึงได I = I0 ลวดลายการเลี้ยวเบนตรงแนว
β →0
 β 

กลางจะเปนแถบสวางและแถบสวางที่อยูถัดจากแถบมืดแรกเกิดเมื่อ
3π 5π 7π
sin β = 1 นั่นคือ β = , , , ...
2 2 2
πa sin θ 3π 5π 7π
β= = , , , ...
λ 2 2 2
3λ 5λ 7λ
a sin θ = , , , ...
2 2 2

 1
หรือ a sin θ =  m + λ ; m = 1, 2, 3, … (4.14)
 2

ตัวอยางที่ 5 แสงความยาวคลื่น 580 nm เลี้ยวเบนผานชองแคบกวาง 0.300 mm ซึ่งอยูหางจากฉาก


2.00 m จงหาตําแหนงของแถบมืดแรกและความกวางของแถบสวางกลาง
แนวทางหาคําตอบ
แถบมืดแรก

ความกวางของแถบสวางกลาง
67

4.6 เกรตติง (Grating)


เกรตติง (Grating) เปนแผนวัสดุบางที่ถูกแบงออกเปนชอง ซึ่งอยูชิดกันมากและแตละชองอยูหาง
เทากันดังภาพ 4.16 และมักบอกความละเอียดเปนจํานวนชองตอเซนติเมตร

ภาพ 4.16 การแทรกสอดของแสงผานเกรตติง

เนื่องจากชองเกรตติงมีขนานเล็ก และอยูชิดกันมาก จึงทําใหแสงที่ออกจากชองของเกรตติงเปนรังสี


ขนาน เมื่อแสงดังกลาวไปพบกัน จะเกิดการแทรกสอดกันเหมือนชองแคบคู และทุก ๆ คูจะมีการแทรกสอด
เหมือนกันหมด เราจึงพิจารณาการแทรกสอดของเกรตติงจากชองแคบเพียงคูเดียวและหากพิจารณาการแทรก
สอดแบบเสริมหรือการเกิดแนวสวางบนฉากจะมีสมการการแทรกสอดตามสมการที่ 15

(4.15)

1
D คือระยะหางระหวางชองของเกรตติง =
N
N คือจํานวนชองตอหนึ่งหนวยความยาวของเกรตติง
68

ตัวอยางที่ 6 แสงความยาวคลื่ น 632.8nm เลี้ ยวเบนผานเกรตติ ง 6000 ชองตอเซนติเมตร จงหามุมของ


แถบสวางที่หนึ่งและแถบสวางที่สองจากแนวกลาง
แนวทางหาคําตอบ

สลิตคู (double-slit) ที่มีความกวางของแตละชอง b หางกัน d

ภาพ 4.17 สลิตคูที่มีความกวางของแตละชอง b หางกัน d

จากภาพ 4.17 เกิดการเลี้ยวเบนของแสงผานชองกวาง b ทั้งสองซึ่งหางกัน d เกิดการแทรกสอดซึ่ง


การกระจายความเขมของริ้วการแทรกสอด
69

 πd sin θ 
I = I max cos 2  
 λ 
การกระจายความเขมของริ้วการเลี้ยวเบน
sin 2 β πb sin θ
I = I0 ; β=
β 2
λ

การกระจายความเขมบนฉากเมื่อแสงผานสลิตคูที่มคี วามกวาง b หางกัน d เปนดังสมการ 16

 πb sin θ 
sin 2  
 λ  2  πd sin θ 
I = I0 cos   (4.16)
 π b sin θ 
2
 λ 
 
 λ 
หรือ

sin 2 (β )
I = I0 cos 2 (γ )
(β ) 2 (4.17)

πb sin θ πd sin θ
เมื่อ β= และ γ=
λ λ

ลวดลายการแทรกสอดจากสลิตคูที่มีความกวางของแตละชอง b หางกัน d แสดงดังภาพ 4.18

ภาพ 4.18 ลวดลายการแทรกสอดจากสลิตคูที่มีความกวางของแตละชอง b หางกัน d


70

ตัวอยาง สลิตคูที่มี d = 3b จะมีการกระจายความเขมแสงดังแสดงในภาพ 4.19

ภาพ 4.19 การกระจายความเขมแสงจากสลิตคูที่มี d = 3b

ลําดับที่หายไป (missing orders) เกิดขึ้นเมื่อแถบสวางของริ้วการแทรกสอดตรงกับแถบมืดของริ้วการ


เลี้ยวเบน ทําใหไมเกิดแถบสวางของริ้วการแทรกสอดลําดับดังกลาว
แถบสวางของริ้วการแทรกสอด d sin θ = mλ

แถบมืดของริ้วการเลี้ยวเบน b sin θ = pλ

d m
missing orders เกิดขึ้นเมื่อ =
b p

เชน d = 2b missing order เกิดขึ้นเมื่อ m = 2, 4, 6,


และ d = 3b missing order เกิดขึ้นเมื่อ m = 3, 6, 9,
71

4.7 สลิตหลายชอง (Multiple-slit)


การกระจายความเขมบนฉากเมื่อแสงผานสลิต N ชอง ที่มีความกวาง b หางกัน d สามารถหาได
จากสมการที่ 18

 πb sin θ  2  Nπd sin θ 


sin 2   sin  
 λ   λ 
I = I0 (4.18)
 πb sin θ 
2
 πd sin θ 
  sin 2  
 λ   λ 

หรือ

sin 2 (β ) sin 2 (Nγ )


I = I0
(β )2 sin 2 (γ ) (4.19)

การกระจายความเขมแสงของสลิต 3 ชองดังแสดงในภาพ 4.20

ภาพ 4.20 การกระจายความเขมแสงจากสลิต 3 ชอง

การกระจายความเขมแสงของสลิต 6ชองดังแสดงในภาพ 4.21 และสลิต 6 ชองที่มี d =3b ดังแสดงในภาพ


4.22 และสลิต 20 ชองในภาพ 4.23
72

ภาพ 4.21 การกระจายความเขมแสงจากสลิต 6 ชอง

ภาพ 4.22 การกระจายความเขมแสงจากสลิต 6 ชองที่มี d = 3b

ภาพ 4.23 การกระจายความเขมแสงจากสลิต 20 ชอง


73

แบบฝกหัด
1. เมื่อฉายแสงความยาวคลื่น 500 นาโนเมตร ลงบนสลิตคูซึ่งมีระยะหางระหวางสลิตเปน 10 ไมโครเมตร
อยากทราบวาจุดที่เกิดการแทรกสอดแบบเสริมกันจุดที่ 2 จะเบนไปจากแนวที่ฉายแสงเปนมุมเทาใด
(sin–1 0.1)

2. สลิดคูหางกัน 1 ไมโครเมตร มีแสงความยาวคลื่น 550 นาโนเมตร ผานในแนวตั้งฉากจงหามุมที่แถบมืดแรก


เบนออกจากแนวกลาง (sin–1 0.275)

3. ชองแคบคูมีระยะหางระหวางชอง 0.1 มิลลิเมตร เมื่อฉายแสงความยาวคลื่น 600 นาโนเมตร ผานชองแคบ


คูปรากฏวาแถบสวางลําดับที่สองบนฉากที่หางออกไป 80 เซนติเมตร จะอยูหางจากแนวกลางเทาไร
(9.6 mm)

4. สลิตคูหางกัน 0.03 มิลลิเมตร วางหางจากฉาก 2 เมตร เมื่อฉายแสงผานสลิตปรากฏวาแถบสวางลําดับที่ 5


อยูหางจากแถบกลาง 14 เซนติเมตร ความยาวคลื่นของแสงเปนกี่นาโนเมตร (420 nm)

5. สลิตคูมีระยะหางระหวางชองสลิตเทากับ 0.40 มิลลิเมตร เมื่อสองดวยแสงสีเดียวและเปนแสงอําพันธใน


แนวตั้งฉากปรากฏริ้วการแทรกสอดบนฉากที่อยูหางจากสลิต 2.50 เมตร วัดระยะระหวางแถบสวางลําดับถัด
กันไดเทากับ 3.50 มิลลิเมตร แสงนี้มีความยาวคลื่นกี่นาโนเมตร (560 nm)

6. แสงสีหนึ่งเมื่อผานชองแคบคูซึ่งอยูหางกัน 0.5 มิลลิเมตร ปรากฏวาแถบสวางที่ 4 และที่ 6 อยูหางกัน 2


มิลลิเมตรบนฉากซึ่งอยูหางจากชองแคบคู 1 เมตร จงหาความยาวคลื่นของแสงนี้ (500 nm)

7. จากการทดลองเรื่องการแทรกสอดของแสงโดยใชสลิตคูพบวาระยะระหวางริ้วสวางที่อยูติดกันเทากับ
0.329 มิลลิเมตรระยะระหวางชองสลิตเทากับ 0.5 มิลลิเมตร และระยะหางระหวางสลิตคูกับฉากเทากับ 40
เซนติเมตร จงหาความยาวคลื่นของแสงในหนวยเมตร (4.11 x 10–7 m)

8. เมื่อใชแสงสีแดงความยาวคลื่น 650 นาโนเมตร ตกตั้งฉากกับสลิตคูเกิดภาพแทรกสอดบนฉากโดยแถบสวาง


2 แถบติดกันอยูหางกัน 0.25 มิลลิเมตร แตถาใชแสงสีมวงความยาวคลื่น 400 นาโนเมตร ตกตั้งฉากกับสลิตคู
ดังกลาวแถบสวาง 2 แถบติดกันจะหางกันกี่มิลลิเมตร (0.15)
74

9. ฉายแสงสองคาความถี่ผานตั้งฉากกับสลิตคูไปยังฉากปรากฏวาลําดับที่ 2 ของแสงที่มีความยาวคลื่น 750


nm. ซอนอยูกับลําดับที่ 3 ของแสงสีหนึ่งแลวแสงสีนั้นจะมีความยาวคลื่นกี่นาโนเมตร (500 nm)

10. เมื่อใหแสงความยาวคลื่น λ1 และ λ2 ผานสลิตคูซึ่งหางกัน d พบวาแถบมืดที่ 4 ของแสงความยาวคลื่น


λ1 เกิดขึ้นที่เดียวกับแถบมืดที่ 5 ของแสงความยาวคลื่น λ2 อัตราสวนของ λ1 / λ2 มีคาเทาใด (9/7)

11. ในการทดลองเรื่องการแทรกสอดของแสงโดยใชสลิตคูสําหรับแสงสีเดียว A และแสงสีเดียว B พบวาแถบ


มืดที่ 5 นับจากแถบสวางกลางออกไปดานขางของแสง A ตกทับแถบสวางอันดับที่ 4 ของแสง B พอดีจะหาคา
อัตราสวนของความยาวคลื่นแสง A ตอความยาวคลื่นแสงB (9/8 )

12. ฉายแสง A และ B ใหผานชองสลิตคูขนานกันไปบนฉากที่อยูหางออกไประยะหนึ่งปรากฏวาริ้วมืดที่สี่ของ


แสง A อยูซอนพอดีกับริ้วสวางที่หาของแสง B ถาแสง A มีความยาวคลื่น 5.8x10 –7เมตร แสง B จะมีความ
ยาวคลื่นเทาใดในหนวยของเมตร (4.06x10–7เมตร)

13. เกรตติงมี 10,000 เสนตอเซนติเมตร ถาฉายแสงความยาวคลื่น λ ตกตั้งฉากกับเกรตติงแถบสวางที่เกิดขึ้น


แถบแรกบนจอจะอยูหางจากแนวกลางเปนมุม 30oคา λ มีคาเทาใด (500 nm)

14. เกรตติงอันหนึ่งชนิด 4000 ชอง/เซนติเมตร ถาใหแสงมีความยาวคลื่น 600 นาโนเมตร สองผานจะเห็น


แถบสวางบนฉากทั้งหมดกี่แถบ (9 แถบ)

15. เกรตติงชนิด 6000 เสน/เซนติเมตร มีแสงตกผานทําใหเกิดแถบที่สองเบนทํามุม 37o กับแถบสวางกลาง


ถาระยะหางจากเกรตติงไปยังฉากเทากับ 60 เซนติเมตร จงหาความยาวคลื่น (500 nm)

16. ใชแสงที่มีความยาวคลื่น 500 นาโนเมตร สองผานเกรตติงอันหนึ่งทําใหแถบสวางที่ 2 เบนไปเปนมุม 30o


จากแนวกลางจงหาจํานวนชอง/เซนติเมตร ของเกรตติงนี้ (5000)

17. แสงความชวงคลื่น 600 นาโนเมตร พุงผานเกรตติงพบวาแนวแถบสวางที่ 4 ทํามุมกับแนวแถบสวางตรง


กลางเทากับ 37 องศา จงหาจํานวนชองตอมิลลิเมตรของเกรตติงที่ใชนี้ (250)
75

18. เมื่อใหแสงมีความยาวคลื่น 640 นาโนเมตร ผานชองแคบเดี่ยวและตองการใหแถบมืดแรกเบนจากแนว


กลาง 30o จงหาความกวางของชองแคบนี้ (1.28x10–6เมตร)

19. แสงความยาวคลื่น 600 นาโนเมตร และ 400 นาโนเมตร ตกกระทบชองสลิตเดี่ยวที่มีความกวาง 10


ไมโครเมตร ขอบของแถบสวางกลาง 2 แถบจากคลื่นทั้งสองที่เกิดขึ้นบนฉากที่อยูหางออกไป 1 เมตร จะหาง
กันกี่เซนติเมตร (2)

20. แสงความยาวคลื่น 550 นาโนเมตร ตกตั้งฉากบนสลิตเดี่ยวกวาง 50 ไมโครเมตร เกิดภาพการแทรกสอด


บนฉากหาง 0.6 เมตร แถบมืดที่สองอยูหางจากแถบมืดที่สี่เทาไร (1.32x10–2เมตร)

21. ใชแสงความยาวคลื่น 600 นาโนเมตร ฉายผานสลิตเดี่ยวเกิดแถบมืด–สวางบนฉากหางออกไป 3 เมตร


ระยะหางระหวางจุดที่ มื ดที่ สุดสองขางของแถบสวางที่กวางที่สุดเปน 1.5 เซนติเมตร สลิตนั้นกวางเทาใด
(2.4x10–4เมตร)

22. แสงสีเดียวความยาวคลื่น 550 นาโนเมตร เคลื่อนที่ผานชองแคบซึ่งกวาง 0.5 มิลลิเมตร แลวเกิดแถบการ


แทรกสอดบนฉากซึ่งหางจากชองแคบ 1 เมตรแถบมืดทั้งสองขางของแถบสวางตรงกลางจะอยูหางกันประมาณ
เทาใด (2.24x10–3เมตร)

23. แสงมีความยาวคลื่น 500 นาโนเมตร ตกตั้งฉากกับสลิตเดี่ยวที่มีความกวาง 2 ไมโครเมตร ปรากฏภาพชอง


แคบที่ระยะหางออกไป 10 เซนติเมตร จงหาความกวางของแถบสวางตรงกลางที่เกิดขึ้น (2.5 cm)

24. เมื่อฉายแสงความยาวคลื่น 600 นาโนเมตร ตกตั้งฉากกับสลิตเดี่ยวจะปรากฏภาพการแทรกสอดบนฉากที่


หางออกไปจากสลิต 1.5 เมตร และแถบสวางกลางกวาง 2 เซนติเมตร จงหาความกวางของสลิตนี้ในหนวย
ไมโครเมตร (90)
บทที่ 5

โพลาไรเซชันและเลเซอร (Polarizationand Laser)

5.1 โพลาไรเซชัน (Polarization)


โพลาไรเซชัน เปนปรากฏการณที่เกิดขึ้นกับคลื่นตามขวางเทานั้นคลื่นแสง เปนคลื่นแมเหล็กไฟฟา
ประกอบดวยสนามไฟฟา และสนามแมเหล็กสั่นในแนวตั้งฉากซึ่งกันและกันและตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของ
คลื่นดังแสดงในภาพ 5.1

ภาพ 5.1 คลื่นแมเหล็กไฟฟา

พิจารณาทิศทางของโพลาไรเซชันตามทิศทางการสั่นของสนามไฟฟา ดังแสดงในภาพ 5.2

(a) (b)

ภาพ 5.2 แสงโพลาไรซ (a)และ แสงไมโพลาไรซ (b)

แสงที่ไมโพลาไรซ สามารถทําใหเปนแสงโพลาไรซ ไดโดยใหแสงผานตัวโพลาไรซ (polarizer) ซึ่งจะ


ยอมใหแสงผานตัวมันถาระนาบของโพลาไรเซชันของแสงขนานกับแกนการสองผาน (transmission axis) แต
77

ถาระนาบของโพลาไรเซชัน ตั้งฉากกับแกนการสองผานแสงในแนวนี้ จะถูกกั้นไมใหผาน โดยจะถูกดูดกลืนหรือ


สะทอน ตัวโพลาไรซที่รูจักกันดีไดแก แผนฟลมโพลารอยด
ถาใหแสงที่ผานตัวโพลาไรซ ซึ่งกลายเปนแสงโพลาไรซผานตัวโพลาไรซตัวที่สอง โดยซึ่งมักเรียกวาตัว
วิเคราะห (Analyzer) ให θ เปนมุมของแกนการสองผานของตัวโพลาไรซทั้งสองทํามุมกัน ดังภาพ 5.3 จะได
ความเขมของแสงเมื่อผานตัววิเคราะหตามสมการที่ 5.1 และแสดงดังภาพ 5.4

(5.1)

ภาพ 5.3 แสงผานตัวโพลาไรซ 2 แผนซึ่งแกนการสองผานทํามุมกัน θ

ภาพ 5.4 ความเขมแสงผานแผนฟลมโพลารอยด 2 แผน


78

การทําใหแสงเกิดการโพลาไรซโดยวิธีการไดโครอิก (Dichroism)
วิธีการไดโครอิก (Dichroism) เปนวิธีที่ทําใหแสงเกิดการโพลาไรซ โดยใชวัสดุบางชนิดมาดูดกลืน
องคประกอบของแสงในแนวอื่น ๆ ใหเหลือเฉพาะองคประกอบในแกนที่ตองการเทานั้น ผลึกไดโครอิกที่รูจัก
กันทั่วไป ไดแกผลึกทัวรมาลีน (tourmaline) ซึ่งมีโครงสรางทางเคมีหลายแบบ แตละแบบจะมีแกนการสงผาน
โดยเฉพาะ ถาสนามไฟฟาตกกระทบในแนวตั้งฉากกับแกนนี้จะถูกดูดกลืนไวหมด ถาผลึกยิ่งหนาการดูดกลืนจะ
สมบูรณมากขึ้น ผลึกทัวรมาลีนมีขอจํากัดตรงที่มีขนาดเล็กและมีสีคล้ํา จึงไมนิยมใชในทัศนูปกรณตอมาไดมี
การสรางผลึกจากสารประกอบอินทรียไอโอโดซัลเฟตของควินิน ซึ่งปจจุบันเรียกวาเฮอราพาไธต(herapathite)
มีสมบัติเหมือนผลึกทัวรมาลีนแตใสกวา ตอมาไดมีการนําผลึกเฮอราพาไธตไปทําเปนแผนโพลาไรซเรียกชื่อ
ทางการคาวาโพลารอยดซึ่งนําไปทําแวนตากันแดด ซึ่งจะเปนเสมือนตัววิเคราะหโดยจะใหแสงที่มีสนามไฟฟา
ในแนวดิ่งเทานั้นผานไปไดจึงสามารถตัดแสงไปได 50% ดังแสดงในภาพ 5.5

ภาพ 5.5 สนามไฟฟาผานผลึกเฮอราพาไธต

การโพลาไรซจากการสะทอน (Polarization by Reflection)


เมื่อใหแสงไมโพลาไรซตกกระทบตัวกลางผิวเรียบ เชนผิวน้ําหรือผิวแกวโดยคิดวาแสงไมโพลาไรซ
ประกอบดวยสนามไฟฟา 2 แกนซึ่งตั้งฉากกันแกนหนึ่งตั้งฉากกับระนาบของแสง ตกกระทบมีทิศพุงออกจาก
หนากระดาษสวนอีกแกนหนึ่งขนานกับระนาบของแสงตกกระทบมีทิศตามลูกศรดังภาพ 5.6
79

ภาพ 5.6 การโพลาไรซจากการสะทอน

เมื่อเปลี่ยนคามุมตกกระทบตาง ๆ กันแสงที่สะทอนจะประกอบดวยองคประกอบของสนามไฟฟาทั้ง
สองแกน แตสนามไฟฟาที่มีทิศ พุงออกจากกระดาษจะสะทอนไดดีกวาสนามไฟฟาในแกนนี้ จึงมีมากกวา
สนามไฟฟ าในแนวขนานกั บ ระนาบของการสะท อน เราเรียกแสงสะท อนนี้ วาเป น แสงโพลาไรซบ างสวน
(partially polarize) ถาเปลี่ยนมุมตกกระทบไปเรื่อย ๆ จะมีมุมตกกระทบมุมหนึ่ง ซึ่งจะทําใหแสงที่สะทอน
เหลือแตสนามไฟฟาที่พุงออกจากกระดาษเพียงแกนเดียว ซึ่งจะเปนแสงโพลาไรซบริสุทธิ์เราเรียกมุมตกกระทบ
นี้วา มุม โพลาไรซ ห รือมุม บรูวสเตอร (Brewster angle) ใชสัญ ลัก ษณ วา θp เมื่ อเกิ ดกรณี เชน นี้ พ บวาแสง
สะทอนกับแสงหักเหจะตั้งฉากกันพอดี

นั่นคือ

จากกฎของสเนลล n1 sin θ1 = n2 sin θ 2

ซึ่ง

n2
สามารถนําไปสู tan θ p = (5.2)
n1

ถาตัวกลางที่ 1 เปนอากาศ n1 = 1 จะไดสมการที่ 5.2 เปน tan θ p = n2 เรียกวากฎของบรูวสเตอร


(5.3)
80

ตัวอยางที่ 1 เมื่อใหแสงตกกระทบบนผิวเรียบของสารไดอิเล็กตริกชนิดหนึ่งแสงสะทอนเปนแสงโพลาไรซเมื่อ
มุมตกกระทบเทากับ 58 องศาจงหาดัชนีหักเหของสารนี้
แนวทางหาคําตอบ
จากกฎของบรูวสเตอร
tan 58  = n
n = 1.6
ตอบ ดัชนีหักเหของสารนี้เปน 1.6

เรานําการโพลาไรซของแสงไปใชประโยชนในงานตรวจสอบชิ้นวัสดุ เชนแกวหรือพลาสติกใส โดยปกติ


วัสดุเหลานี้จะมีการจัดเรียงของโมเลกุลเปนแบบสมมาตร แตถาถูกแรงกระทําหรือมีความเครียดซึ่งเกิดจากการ
หลอที่ไมถูกตอง จะทําใหวัสดุเหลานี้มีลักษณะไมสมมาตรเกิดแกนสงผาน อยูในทิศที่แรงกระทําเมื่อนําไปสองดู
ระหวางแหลงกําเนิดแสงโพลาไรซ และตัววิเคราะหจะปรากฏเปนริ้วรอย ซึ่งริ้วรอยเหลานี้ทําใหรูวาสวนไหน
ของวัสดุไดรับแรงมากนอยเพียงใด หรือแกวมีรอยราวหรือไมเหมาะที่จะนําไปใชทําเปนทัศนูปกรณ
ผลึกบางชนิดพบวาเมื่อฉายแสงโพลาไรซผานเขาไประนาบของโพลาไรซ จะบิดไปอยางสม่ําเสมอ
ขึ้น อยูกับ ระยะทางที่ แ สงเคลื่ อนที่ และความยาวคลื่น ของแสงเรียกปรากฏการณ นี้ วา เป น กิจกรรมทั ศ น
(Optical activity) เรานําความรูนี้ไปสรางเครื่องมือที่วัดการบิดของระนาบของแสงโพลาไรซของสารละลาย
เรียกวาโพลาริมิเตอร (polarimeter) มุมที่บิดไปของตัววิเคราะหในโพลาริมิเตอร จะขึ้นอยูกับความเขมขนของ
สารละลายเมื่อทราบคามุมที่บิดไปของตัววิเคราะห เราจึงคํานวณหาความเขมขนของสารละลายนั้นได

5.2 เลเซอร (Laser)


เลเซอรคือ อุปกรณที่ใหกําเนิดลําแสงที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งพลังงานแสงเลเซอร สามารถมีคุณสมบัติ
ไดหลากหลายขึ้นอยูกับจุดประสงคในการออกแบบ เลเซอรสวนมากจะเปนลําแสงที่มีขนาดเล็กมีการเบี่ยงเบน
นอย (low-divergence beam) และมีคาความยาวคลื่นที่แนนอน
การคนควาวิจัยเกี่ยวกับเลเซอร เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อป ค.ศ.1960 โดย ทีโอดอร ไมแมน (Theodore
Maiman) ที่สถาบันวิจัย ฮิวจ (Hughes Research Laboratories) ผลผลิตจากงานวิจัยเลเซอรมีใหเห็นอยาง
แพรหลายในปจจุบันเชน เครื่องเลนดีวีดี เครื่องอานบารโคดอุปกรณตัดโลหะดวยเลเซอร ฯลฯ จะเห็นไดวา
เลเซอรมี ก ารใช กันอย างกวางขวาง ไม วาจะเปน ดานวิท ยาศาสตรดานอุตสาหกรรม ดานการแพทย หรือ
แมกระทั่งดานการทหาร ก็เพราะวาเลเซอรสามารถควบคุมความยาวคลื่นตามที่ตองการได
81

หลักการทํางานของเลเซอร
Laser ยอมาจากคํ าวา light amplification by stimulated emission of radiation ซึ่งแปล
ความไดวา การขยายแสงโดยอาศัยหลักการแผรังสีแบบกระตุน

การขยายแสง คือการเพิ่ ม จํ านวนโฟตอนหรือเพิ่ ม ความเขม แสง ให มีม ากขึ้น กวาเดิม ซึ่งโดยปกติ
อิเล็กตรอนในอะตอมหรือโมเลกุลจะอยูในชั้นพลังงานต่ําเสมอ (E0) เพราะเปนสภาวะที่มีความเสถียรภาพ
มากกวา แตเมื่อถูกกระตุนก็จะเกิดการดูดกลืนพลังงานที่มากระตุนทําใหอิเล็กตรอนขึ้นไปอยูในชั้นพลังงานที่
สูงกวา (E1) แต ส ถานะพลั งงานในชั้ น พลังงาน E1 นี้ ไมเสถียร จึ งสามารถคงตั วได เพี ยงชั่ วระยะเวลาหนึ่ ง
หลังจากนั้ น จึงมี ก ารคายพลั งงานออกมา เพื่ อทํ าให ตัวเองอยูในสภาวะเสถียรอีกครั้งในชั้น ระดับ พลังงาน
E0 ดังนั้นพลังงานที่อิเล็กตรอนปลอยออกมา จึงมีคาเทากับผลตางของพลังงานระหวางชั้นพลังงาน (E1-E0) การ
คายพลังงานออกมาหรือการปลดปลอยในลักษณะนี้ เปนไปตามธรรมชาติเราเรียกปรากฏการณเชนนี้วา การ
ปลดปลอยแบบเกิดขึ้นเอง (Spontaneous Emission)ดังแสดงในภาพ 5.7

E1 E1

E0 E0
(a) (b)

ภาพ 5.7 การเปลี่ยนระดับชั้นพลังงานของอิเล็กตรอน

ในป ค.ศ. 1917 ไอนสไตน ไดเสนอวา นอกเหนือจากปรากฏการณปลดปลอยแบบเกิดขึ้นเองแลว ยัง


สามารถทําใหเกิดการปลดปลอยโดยการถูกกระตุน(stimulated emission)ไดดวย ซึ่งการปลดปลอยโดย
การถูกกระตุนนี้เปนกลไกหลักในการกําเนิดแสงเลเซอร กลาวคือในขณะที่อิเล็กตรอนอยูในสถานะกระตุน เชน
อยูในชั้นพลังงาน E1 ถามีโฟตอนแสงจากภายนอกที่มีพลังงานเทากับความแตกตางของระดับพลังงาน E1 - E0
เขามาชน จะทําใหอิเล็กตรอนที่อยูในชั้นพลังงาน E1 นี้ ถูกกระตุนใหลงมายังชั้นพลังงาน E0 โดยมีการคาย
พลังงานออกมาในรูปของโฟตอนที่มีพลังงานเทากับ E1 - E0 เนื่องจากโฟตอนแสงที่มาชนไมถูกดูดกลืน โดย
อิเล็กตรอนที่ถูกชนทําใหจํานวนโฟตอนเพิ่มขึ้นเปนสองอนุภาค (โฟตอนที่มากระตุนบวกกับโฟตอนที่ไดจาก
การเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเล็กตรอน)ดังแสดงในภาพ 5.8
82

ภาพ 5.8 การปลดปลอยโดยการถูกกระตุน

โฟตอนทั้ งสองนี้ มี พ ลั งงานเท ากัน มีความถี่เดียวกัน มีเฟสตรงกัน มีโพลาไรเซชันเหมือนกัน และ


เคลื่อนที่ในทิศทางเดียวกัน ซึ่งถาพิจารณาในมุมมองของคลื่นแลว จะพบวาเมื่อแสงสองขบวนมีความถี่ตรงกันมี
เฟสตรงกัน เคลื่อนที่ในทิศทางเดียวกันสามารถที่จะรวมกันในลักษณะที่เสริมกันได ทําใหไดคลื่นรวมที่มี
แอมปลิจูดสูงขึ้ น เกิ ดเป นปรากฏการณ ที่เรียกวาการขยายสัญ ญาณแสง (light amplification) ขึ้น ถา
สามารถทําใหเกิดการขยายสัญญาณแสงในลักษณะนี้กับอิเล็กตรอนเปนจํานวนมาก ๆ ไดก็จะทําใหไดสัญญาณ
แสงที่มีความเขมสูงออกมา จากที่กลาวมาพบวาปจจัยที่สําคัญอยางหนึ่งในการที่จะทําใหเกิดการขยายแสง
โดยการกระตุนไดมาก ๆ คือการทําใหมีประชากรอิเล็กตรอนในสถานะกระตุนมาก ๆ ซึ่งในธรรมชาติเปนไป
ไมไดจึงตองมีการหาวิธีการที่จะทําใหประชากรอิเล็กตรอนในสถานะกระตุนมากกวาสถานะพื้น

ปรากฏการณที่ทําใหจํานวนประชากรอิเล็กตรอนในชั้นพลังงานสูง มีมากกวาประชากรในชั้นพลังงาน
ต่ํา เรียกวาประชากรผกผัน (population inversion)ในทางปฏิบัติสามารถทําใหเกิดประชากรผกผันไดโดย
การใชพลังงานจากภายนอกปริมาณหนึ่งที่เพียงพอ จะทําใหประชากรอิเล็กตรอนมีสถานะ เปลี่ยนไปจาก
สถานะพื้ น E1 ไปยังสถานะกระตุ น E3 หลั งจากนั้ น อิ เล็ ก ตรอนจะเปลี่ ยนสถานะมาอยู ที่ E2 อยางรวดเร็ว
สถานะชั้นระดับพลังงาน E2 นี้เรียกวาสถานะกึ่งเสถียร(metastable state)และเมื่ออิเล็กตรอนในสถานะกึ่ง
เสถียรถูกกระตุนใหตกกลับมายังสถานะพื้น จะปลดปลอยโฟตอนแสงเปนจํานวนมากออกมาดังภาพ 5.9

E2

ภาพ 5.9 การปลดปลอยโฟตอนแสงจากสถานะกึ่งเสถียร


83

อยางไรก็ตามการกระตุนประชากรอิเล็กตรอน เพื่อใหมีการปลอยแสงเพียงครั้งเดียวยังไมสามารถทํา
ใหไดแสงเลเซอรออกมา เนื่องจากในความเปนจริงในขณะเดียวกับที่เกิดการปลอยแสง โดยการถูกกระตุนก็จะ
มีการดูดกลืนแสงเกิดขึ้นดวย โดยประชากรอิเล็กตรอนในสถานะพื้นทําใหความเขมแสงที่ไดมีปริมาณลดลง
ดังนั้นเพื่อใหเกิดการเพิ่มขึ้นของความเขมของสัญญาณแสงจึงตองทําใหเกิดปรากฏการณปลอยแสง โดยการถูก
กระตุนอยางตอเนื่อง โดยการทําใหโฟตอนแสงที่ไดจากการปลดปลอยของประชากรอิเล็กตรอนมากระตุนให
เกิดการปลดปล อยแบบถู ก กระตุ น ซ้ํ าแลวซ้ําอีก จนกระทั่งสัญ ญาณแสงมีความเขม สูงขึ้นจนถึงจุดเลสซิง
(lasing point) หรือจุดออสซิลเลตของเลเซอร (laser oscillating point) แสงที่ไดออกมาจึงมีสมบัติเปนแสง
เลเซอรซึ่งขั้นตอนการเกิดแสงเลเซอรแสดงดังภาพ 5.10

ภาพ 5.10 แสดงการเกิดแสงเลเซอร

คุณสมบัติของเลเซอร
1.มีทิศทางเดียวที่แนนอน (Directionality) ลําแสงเลเซอรจะขนานกันไปตลอดระยะทางไกล ๆ ไมมี
การบานปลายออก ดังนั้นความเขมของแสงเลเซอรจะลดลงนอยมากในระยะทางไกลๆ

2. เปนแสงเอกรงค (Monochromaticity)แสงเลเซอรเปนแสงความยาวคลื่นเดี่ยว เชน แสงสีแดงของ


เลเซอรฮีเลียม-นีออนมีความยาวคลื่น 632.8 นาโนเมตร ซึ่งตางจากแสงที่เราพบเห็นในชีวิตประจําวัน
เชน หลอดไฟฟา และดวงอาทิตยจะเปนแสงที่มีหลายความยาวคลื่นรวมกันอยู เรียกวาแสงขาว
84

3. มีความเจิดจา (Brightness)แสงเลเซอรเปนแหลงกําเนิดแสงที่ใหความเขมสูง และเมื่อลําแสงตก


กระทบวัตถุ ก็เกิดความระยิบระยับของลําแสงขึ้น(Laser Speackle) โดยเฉพาะเมื่อวัตถุนั้นมีความ
หยาบ หรือแมแตในบรรยากาศที่มีฝุนละออง หรือควันซึ่งเปนอนุภาคแขวนลอยอยูทั้งนี้เนื่องจากแสง
เลเซอรเกิดการสะทอนแบบไมมีทิศทางกับอนุภาคหรือผิวของวัตถุ และเกิดการแทรกสอดของลําแสง
ทําใหเกิดความระยิบระยับขึ้นแสงเลเซอรกําลังต่ํา ๆ เชน เลเซอรฮีเลียม-นีออน ขนาด 1 mW ก็มี
ความเขมสูงกวาแสงพระอาทิตย ฉะนั้นถาฉายเขาตามนุษยโดยตรงแลวจะเปนอันตรายตอนัยนตาถึงตา
บอดได

4. มีความเปนอาพันธ (coherence)หลอดไฟฟาที่เปลงแสงประกอบดวยอะตอมที่เล็กจํานวนมาก โดย


แตละอะตอมจะทําหนาที่เปนตนกําเนิดแสง ดังนั้นแตละอะตอมก็ปลอยแสงออกมาอยางอิสระซึ่งกัน
และกันแสงที่ถูกปลอยออกมาจากหลอดไฟ จึงมีเฟสและความยาวคลื่นตาง ๆ กันยิ่งกวานั้นแตละคลื่น
ที่ถูกปลอยออกมามีทิศทางไมแนนอน หรือเปน random แสงจากแหลงตนกําเนิดแสงโดยทั่วไปจะไม
เปนแสงอาพันธ (incoherence light) ตนกําเนิดของแสงเลเซอรนอกจากจะใหแสงความยาวคลื่นเดี่ยว
แล ว ทุ ก ๆ คลื่ น ของแสงเลเซอร จ ะมี เฟสเดี ย วกั น หมด ดั ง นั้ น แสงเลเซอร จึ ง เป น แสงโคฮี เรนต
(coherence light)

การประยุกตใชงานเลเซอร
1. การใชเลเซอรดานการแพทย เลเซอรถูกนํามาใชในการผาตัดและรักษาทางดานการแพทยและจักษุ
แพทย เชนการผาตัดที่มีขนาดเล็ก (Microsurgery) การผาตัดตอ เปนตนเลเซอรที่ใชไดแก เลเซอร
คารบอนไดออกไซด เลเซอรอารกอนการเลือกใชเลเซอรแบบตาง ๆ ขึ้นอยูกับวาอวัยวะที่ตองการ
ผาตัดมีความสามารถในการดูดกลืนแสงสีอะไร และขนาดกําลังของเลเซอร เชน เสนเลือดแดงจะ
ดูดกลืนสีแดงไดนอย จึงใชเลเซอรแสงสีเขียวที่ไดจากเลเซอรกาซอารกอนในการใชงานจริง ๆ อาจใช
ลําแขนที่มีกระจกเลนสอยูภายในและหักงอไดเปนตัวนําแสงเลเซอร ไปยังบริเวณอวัยวะที่จะผาตัด
หรือใชลําแสงเลเซอรผานกลองจุลทรรศนผาตัด ในการรักษาโรคมะเร็งเลเซอรที่ใชจะตองมีความ
หนาแนนพลังงาน 300-500 ลูกบาศกเซนติเมตร แสงเลเซอรจะทําลายเซลลเนื้องอก โดยไมทําลาย
เนื้ อเยื่ อปกติ โดยรอบบาดแผลภายหลังการผาตัดจะฟ นตัวเร็ว ในงานจุลศัล ยกรรมของเสน เลือด
เลเซอรสามารถหามเลือดใหหยุดไหล โดยการเชื่อมเสนเลือดเล็ก ๆ ภายในบริเวณจํากัดใหติดกัน
วิธีการอาจใชทอนําแสงเขาชวยดวยเพื่อนําแสงเลเซอรไปตามชองอวัยวะที่เขาถึงยาก
85

2. การใชเลเซอรดานสื่อสารโทรคมนาคม การสื่อสารในปจจุบันสวนใหญใชคลื่นไมโครเวฟ หรือใช


โทรศัพทอยางไรก็ตามหลังจากที่มีการพัฒนาเลเซอรไดโอด(semiconductor diode laser) และเสน
ใยแก วนําแสง (optical fiber) แลวการสื่อดวยแสง(optical communication) หรือการสงขอมูล
ขาวสารจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งหรือระหวางเมืองตาง ๆ ก็เปนไปไดอยางรวดเร็ว ในอนาคตการ
สื่อสารดวยเลเซอรจะเขามาแทนที่ ระบบโทรศัพท ที่ใชล วดตัวนําที่ ใชกันอยูทั่วไป แสงเลเซอรนี้ มี
จุดเดนที่จะไมมีสัญ ญาณรบกวนเพราะเปนคลื่นแสงมีความจุขอมูลสูงมาก เพราะมีความถี่สูงกวา
คลื่นวิทยุทําใหเสนใยแกวนําแสงเสนหนึ่งสามารถจุคูสายโทรศัพทไดเปนพัน ๆ คู

3. การใชเลเซอรดานการสรางภาพสามมิติ ปจจุบันไดใชเลเซอรในการสรางภาพ 3 มิติ หรือภาพ


โฮโลกราฟ หมายถึง กระบวนการสรางภาพฮอโลแกรม ซึ่งเปนภาพ 3 มิติแตกตางจากการสรางภาพ
เชิง 3 มิติ โดยฮอโลแกรมนั้นเปนภาพที่บันทึกลงบนฟลม หรือแผนเคลือบดวยสารสําหรับบันทึกแสง
ซึ่งผานเทคนิคการบันทึกดวยการใชแสงที่มีหนาคลื่นสอดคลองกัน (coherence) เชน แสงเลเซอร
และเมื่อถูกสองสวางอยางเหมาะสม จะแสดงใหเห็นภาพที่มีลักษณะ 3 มิติฮอโลกราฟ เปนเทคนิคที่
ชวยใหแสงกระจายจากวัตถุที่จะบันทึกและไดถูกสรางขึ้นใหม ตอมาเพื่อใหปรากฏเปนวัตถุอยูใน
ตําแหนงเดิม เมื่อเทียบกับการบันทึกการเปลี่ยนแปลงรูปแบบตําแหนง และทิศทางของการระบบการ
มองเห็นเปลี่ยนแปลงไปอยางถูกตองเหมือนกับถาวัตถุ ก็ยังคงเปนปจจุบันจึงทําใหภาพที่บันทึก(โฮโล
แกรม) ปรากฏเปนสามมิติเทคนิคของฮอโลกราฟ ยังสามารถใชในการเก็บดึงและประมวลผลขอมูลที่
เกี่ยวกับแสงในขณะที่ฮอโลกราฟเปนที่นิยมใชเพื่อใชแสดงภาพ 3 มิติแบบคงที่ แตก็ยังไมสามารถ
สรางฉากตามตองการโดยการแสดงปริม าตรของ holographic ไดอาจกลาวไดวา ฮอโลแกรมคือ
บันทึกของรูปแบบการแทรกสอดของลําแสง ที่มีหนาคลื่นสอดคลองกัน 2 ลํา

4. การใชเลเซอรในการวัดการใชเลเซอรในการวัด นับ ทดสอบ ตรวจสอบการควบคุมทั้งในกระบวนการ


ผลิตและในงานวิท ยาศาสตร เชนการตรวจสอบยางลอเครื่องบินโดยไมทําลาย โดยวิธีโฮโลกราฟ
(holography) การวัดปริมาณมลภาวะเพื่อหาปริมาณของสารตาง ๆ ในบรรยากาศเนื่องจากเลเซอรมี
ความยาวคลื่นคงที่ และเปนลําแสงขนานจึงถูกนํามาใชเปนมาตรฐานการวัดที่ละเอียดแมนยํา เชน
การวัดขนาดของสิ่งของการวัดระยะทางทั้งใกลและไกล

5. การใชเลเซอรในงานอุตสาหกรรม เลเซอรเปนแหลงกําเนิดแสงที่มีคุณสมบัติเดน คือเปนคลื่นแสงที่


มีระเบียบ มีลักษณะเปนลําแสง ความเขมแสงสูงจึงมีศักยภาพในการประยุกตมากมาย ไดแก การใช
เลเซอรเพื่อเจาะ ตัด เชื่อมเลเซอรเปนแสงที่มีความเขมสูง และเปนลําแสงเมื่อโฟกัสจะมีขนาดเล็ก
สามารถ เจาะ ตั ด เชื่ อ มวัส ดุ ตาง ๆ ได รูป ที่ เจาะรอยเชื่อม จะมี ขนาดเล็ก และคมชัดมาก ทํ าให
สามารถทํางานที่มีความละเอียดสูงไดเลเซอรที่ใชงานตองมีกําลังสูงเชน เลเซอรคารบอนไดออกไซด
86

แบบฝกหัด

1. เมื่อใหแสงโพลาไรซในแนวดิ่งความเขม I i ตกกระทบแผนโพลารอยดสามแผนดังแสดงในรูป เมื่อหมุนแผน


โพลารอยดใหมุมที่กระทํากับแนวโพลาไรซเปน θ1 = 0° , θ 2 = 30° , และ θ3 = 60° จงหาอัตราสวนความ
เขมของแสงสองผานแผนทั้งสามตอความเขมเริ่มตน I f : Ii

2. จงอธิบายวิธีการทําใหแสงเปนแสงโพลาไรซ โดยวิธีการสะทอนผิวตัวกลาง และยกตัวอยางการหาคามุม


โพลาไรซของตัวกลางมา 1 ชนิด (กําหนดคาดัชนีหักเหเองได)

3. แสงเลเซอรคืออะไรและมีหลักการทํางานอยางไร

4. จงยกตัวอยางการนําความรูเกี่ยวกับแสงเลเซอรไปประยุกตใช โดยอธิบายถึงหลักการและยกทฤษฎีประกอบ
บรรณานุกรม

[1] Jenkins, F. A. and White, H. E. Fundamentals of optics, 4th Ed. McGraw-Hill, New York, 2001.
[2] Serway, R.A. and Jewett, J.W. Physics for Scientists and Engineers, 6th Ed. Thomson, 2004.
[3] Crowell, B. Optics. Fullerton, California, 2003.
[4] Thomson, J. H. Optics. John Wiley & Sons Ltd., London, 1973.
[5] Ewart, P. Optics. University of Oxford, UK, 2008.
[6] Lipson, S.A. and Lipson, H. Optical Physics, Cambridge University Press, London, 1969
[7] Born, M. and Wolf, B. Principle of Optics, 6th ed. Pergamon Press, Oxford, 1980
[Type the abstract of the document here. The abstract is typically a short summary of the
contents of the document. Type the abstract of the document here. The abstract is typically a
short summary of the contents of the document.]

ภาควิชาฟสิกส คณะวิทยาศาสตร
มหาวิทยาลัยนเรศวร

You might also like