06 Intro

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 14

1

บทนํา
1. ความสําคัญและที่มาของปญหา
ปจจุบันโรคเอดสเปนปญหาระดับชาติของประเทศไทย เพราะมีผลกระทบตอผูปวย ครอบครัว
สังคม และเศรษฐกิจของประเทศ ปญหาโรคเอดสยังเปนปญหาสําคัญในระดับโลก สถานการณเอดสทั่ว
โลกมีจํานวนผูติดเชื้อและผูปวยเอดสประมาณ 34-46 ลานคน โดยมีอัตราการติดเชื้อเฉลี่ยทั่วโลกวันละกวา
6,000 คน สําหรับประเทศไทยเปนประเทศหนึ่งในโลกที่สามารถลดการระบาดของโรคเอดสได จนถึง
ปจจุบันประเทศไทยมีผูปวยเอดสทั้งสิ้น 288,672 คน และมีแนวโนมแพรระบาดในกลุมเยาวชนและแมบาน
นอกจากปญหาการควบคุมและปองกันการแพรระบาดของโรคแลว ยังมีปญหาการเขาถึงยาตานไวรัสที่มี
ราคาแพงที่ทําใหตองเสียคาใชจาย โดยเฉพาะยาตานไวรัสขั้นพื้นฐานและการรักษาโรคฉวยโอกาสตางๆ ถึง
85,000 บาทตอคนตอป หากเยาวชนติดเชื้อเอดสตั้งแตอายุ 20 ป อาจตองดูแลรักษานานกวา 20 ป ทําใหมี
คาใชจายประมาณคนละ 2 ลานบาท และในกรณีที่เชื้อดื้อยาก็จะตองจายเพิ่มเปนถึง 4 ลานบาทตอคน นับได
วาเปนปญหาที่รุนแรงและตองไดรับการจัดการที่ดี (1) นับตั้งแตป 2527 เปนตนมาที่พบผูปวยเอดสรายแรก
ของประเทศไทย ไดมีการศึกษาคนควาวิจัยเกี่ยวกับ HIV/AIDS อยางกวางขวาง ทั้งดานการรักษาพยาบาล
การแพทย ระบาดวิทยา โดยวิทยาการทางการแพทยเกี่ยวกับโรคเอดสมีการพัฒนาอยางรวดเร็ว ทั้งในระดับ
โมเลกุล จนถึงระดับคลินิก การวิจัย รวมทั้งระดับการดูแลรักษาผูติดเชื้อเอดส (2)
โรคเอดส (Acquired Immune Deficiency Syndrome : AIDS) เปนโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
HIV (Human immunodeficiency virus) ซึ่งไวรัส HIV เปน cytotoxic effect ตอ T-lymphocyte โดยเฉพาะ
T-helper cell (CD4+ T-cell) ซึ่งเปนเซลลเปาหมายที่สําคัญที่เชื้อ HIV จะเขาไปเจริญเติบโตและแบงตัว
ทําลายเซลล จนกระทั่งเซลลดังกลาวมีจํานวนลดลงและทําใหเกิดภาวะภูมิคุมกันบกพรอง (3)
การตรวจวิเคราะหเลือดเพื่อตรวจนับจํานวน lymphocytesไดถูกนํามาประเมินภาวะของภูมิคุมกัน
ของผูปวยอยางกวางขวาง ซึ่งในการวิเคราะหจํานวน lymphocytes มีความจําเปนสําหรับการวินิจฉัย การ
รักษา การพยากรณ และติดตามผลการรักษาในโรคภูมิคุมกันตอตัวเอง การติดเชื้อไวรัส มะเร็งเม็ดเลือดขาว
การเปลี่ยนถายอวัยวะ และโรคเอดส (4)
เม็ดเลือดขาวชนิด CD4+lymphocytesในผูปวยโรคเอดส ซึ่งเปนเซลลสําคัญในระบบภูมิคุมกัน มี
หนาที่กําจัดเซลลแปลกปลอมตางๆ ที่เขาสูรางกาย ชวยปองกันการติดเชื้อโรคตางๆ แต CD4+ lymphocytes
จะถูกเชื้อเอชไอวี (HIV) ทําลายจนเหลือปริมาณนอย และเกิดภาวะภูมิคุมกันบกพรอง (Acquired Immune
Deficiency Syndrome : AIDS) ทําใหเกิดโรคแทรกซอนจากการติดเชื้ออื่นๆ ปกติในรางกายจะมีเม็ดเลือด
ขาวชนิดนี้อยูประมาณ 500-1,000 เซลลตอลูกบาศกมิลลิลิตร แตเมือ่ จํานวน CD4+ lymphocytes ต่ํากวา
500 เซลลตอลูกบาศกมิลลิลิตร บงชี้ถึงระยะที่มีความสัมพันธกับโรคเอดส (Early Symptomatic stage)
หรือ AIDS – related complex (ARC) ผูติดเชื้อจะเริ่มมีการติดเชื้อฉวยโอกาส (opportunistic infection)
เมื่อจํานวน CD4+ lymphocytes ในผูติดเชื้อลดลงเหลือนอยกวา 200 cells/µLบงชี้ถึงระยะสุดทายของโรค

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/
2

เอดส (AIDS or Advanced HIV Diseases) ผูปวยจะติดเชื้อฉวยโอกาสอยางรุนแรงและอาจเปนมะเร็งบาง


ชนิด และเมือ่ จํานวน CD4+ lymphocytes ลดลง เหลือ 50 ถึง 0 cells/µLในที่สุดผูปวยก็ถึงแกความตาย (5)
ดังนั้นการตรวจนับจํานวน CD4+ lymphocytes จึงมีประโยชนในการแบงระยะของผูติดเชื้อ HIV
(Classification of stage of HIV infection) พยากรณความรุนแรง (prognosis) รวมทั้งการพัฒนาของโรค
(progressive) นอกจากนี้ยังกําหนดใหนําคาการตรวจนับจํานวน CD4+ lymphocytes มาใชเปนแนวทางใน
การรักษาผูติดเชื้อ HIV (monitoring of therapy) โดยผูติดเชื้อ HIV ที่มี CD4+ lymphocytes เทากับหรือนอย
กวา 500 เซลลตอลูกบาศกมิลลิลิตร ควรไดรับยาตานไวรัส (anti-retroviral therapy) และในผูปวยที่มี CD4+
lymphocytes นอยกวา 200 cells/µL ควรไดรบั ยาเพิ่มเติมปองกันการติดเชื้อฉวยโอกาส ดังนั้นจะเห็นไดวา
การตรวจนับจํานวน CD4+ lymphocytes มีประโยชนอยางมาก ทั้งในการพยากรณความรุนแรง การพัฒนา
ของโรคและแนวทางในการรักษาผูติดเชื้อ HIV อยางมีประสิทธิภาพ (6)
วิธีมาตรฐานสําหรับตรวจนับจํานวน CD4+ lymphocytes ในปจจุบันคือวิธี flow cytometry ซึ่งเปนวิธีที่
นาเชือ่ ถือ แตตองใชชุดน้ํายานําเขาจากตางประเทศและใชเครื่อง flow cytometer มีราคาแพง ทําใหการ
ตรวจนับจํานวน CD4+ lymphocytes มีคาใชจายสูง นอกจากนีเ้ ครือ่ ง flow cytometer ในประเทศไทย
ยังใชตรวจในหองปฏิบัติการไมทั่วถึงนัก เครื่องมือตรวจวัดดังกลาวมีใชเฉพาะโรงพยาบาล
ศูนย และโรงพยาบาลขนาดใหญเทานั้นโรงพยาบาลขนาดเล็กจึงประสบปญหาในการสงตัวอยางเลือดและ
งบประมาณงบประมาณที่ใชในการตรวจ เนื่องจากโรงพยาบาลขนาดเล็กขาดแคลนเครื่องมือดังกลาว ตอง
เสียเวลาในการรอผลการตรวจวัดและแพทยไมสามารถทําการรักษาผูปวยไดทันที ดังนัน้ การตรวจวัด
จํานวน CD4 lymphocytes จึงเปนอุปสรรคที่สําคัญมาก และหากสามารถทําการตรวจนับจํานวน CD4+
+

lymphocytes ทางหองปฏิบัติการ ในโรงพยาบาลขนาดเล็กและทราบผลการตรวจภายใน 1 ชัว่ โมง จะ


สามารถลดปญหาดังกลาวได (7)
ศูนยพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแหงชาติ (ไบโอเทค) และสํานักงานกองทุนสนับสนุน
การวิจยั (สกว.) สนับสนุน รศ.ดร.วัชระ กสิณฤกษ, นพ. ธีระ ศิริสันธนะและอาจารยกิตติพงศ รุง เรืองธนะ
กิจ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม ผลิตน้ํายา (Monoclonal antibody) ที่มีความจําเพาะตอ CD4+ lymphocytes
บนเม็ดเลือดขาว และนําแอนติบอดีที่ผลิตไดมาพัฒนาเปน ชุดตรวจนับจํานวนเม็ดเลือดขาวชนิด CD4+
lymphocytes ที่ใชหลักการแตกตางจากชุดน้ํายาจากตางประเทศ
ชุดน้ํายานี้สามารถตรวจนับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4+ lymphocytes โดยไมตองใชเครื่อง flow cytometer แต
ใชเครื่องวิเคราะหเม็ดเลือดอัตโนมัติ (Automatic blood cell analyzer) ที่มีใชในโรงพยาบาลทุกแหง ตรวจ
นับแทนจากการเปรียบเทียบชุดน้ํายาที่พัฒนาขึ้นใชกับเครื่องวิเคราะหเม็ดเลือดอัตโนมัติกับชุดน้ํายาที่ใชกับ
เครือ่ ง flow cytometer จากตางประเทศ พบวาชุดน้ํายาที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพดีเทียบเทากับชุดน้ํายา
นําเขาจากตางประเทศชุดน้ํายาที่ผลิตโดยนักวิจัยไทย มีราคาถูก วิธีการตรวจงายไมตองใชเครื่องมือราคา
แพง ทั้งยังใชไดกับเครื่องวิเคราะหเม็ดเลือดอัตโนมัติที่มีอยูแลวในโรงพยาบาลทั่วไป การนับจํานวนเม็ด

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/
3

เลือดขาวชนิด CD4+ lymphocytes จึงทําไดในโรงพยาบาล และทราบผลการตรวจภายใน 1 ชัว่ โมง ชวยลด


ปญหาเรื่องการสงตอตัวอยางเลือดไปตรวจ และแพทยสามารถไดผลการตรวจในวันเดียวกันเพื่อ
ประกอบการรักษา ชุดน้ํายาที่ผลิตขึ้นนี้ จึงมีประโยชนมากตอวงการสาธารณสุขไทย ในการรักษาและดูแลผู
ติดเชื้อและผูปวยเอดส ทั้งยังชวยลดการนําเขาชุดน้ํายาจากตางประเทศไดอีกดวย ปจจุบนั ไบโอเทคได
ถายทอดเทคโนโลยีนี้ใหกับ บริษัทไอเมดด ลาบอราทอรี่ จํากัด ดําเนินการผลิตและจําหนาย เพื่อใหชุดน้ํายา
นี้ถูกนํามาใชในตรวจการทํางานของระบบภูมิคุมกันของผูติดเชื้อเอชไอวี และผูปวยเอดสอยางทั่วถึงทั้ง
ประเทศ (8)
ชุดตรวจ CD4+ SELECTTM ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสามารถตรวจ CD4+ lymphocytes ไดในโรงพยาบาล
ขนาดเล็กที่มีเครื่องนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ โดยหลักการของชุดตรวจ CD4+SELECTTM ซึ่งใช monoclonal
antibody ที่มีความจําเพาะตอโปรตีน CD4+ lymphocytes เคลือบลงบนผงเหล็ก แลวนํามาจับกับเซลล
CD4+ lymphocytes จากนั้นใชแมเหล็กดูดเซลลดังกลาวที่มีผงแมเหล็กจับอยูออกจากเซลลอื่น แลวจึงนํา
เซลลที่เหลือไปตรวจนับจํานวนเม็ดเลือดขาวดวยเครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ เปรียบเทียบกับเลือดที่
ไมไดแยกเซลล CD4+ lymphocytes ออก จากนั้นคํานวณคาการตรวจวัดที่ได ( 9 )
ปจจุบันโรงพยาบาลชุมชนซึ่งเปนโรงพยาบาลขนาดเล็ก ที่เขารวมโครงการหลักประกันสุขภาพ
แหงชาติ เพื่อดําเนินการดูแลรักษาผูปวยที่ติดเชื้อเอดส (Day Care Clinic) โดยตั้งเปาหมายใหผูปวยที่ติดเชื้อ
ทั้งผูปวยรายใหมและผูปวยเดิมที่ดื้อยา ไดรับการดูแลรักษาและรับยาตานไวรัสเอชไอวี ตามโครงการ
NAPHA (National Access to Anti-retroviral Program for People living with HIV/AIDS) ซึ่งดําเนินการ
โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเปนการเพิ่มสิทธิประโยชนใหแกผูปวย สําหรับผูปวยราย
ใหมจะไดรับโอกาสในการเขารับการรักษาทุกรายโดยจะมีกระบวนการคัดกรอง เพื่อใหไดรับการรักษาที่
เหมาะสม สวนการรักษาของผูปวยทุกกลุม จะมีการตรวจทางหองปฏิบัติการทางการแพทยโดยการตรวจ
นับจํานวน CD4+lymphocytesและจํานวนเชื้อไวรัสในกระแสเลือดเปนระยะๆ เพื่อใหไดผลการรักษาดีที่สุด
และติดตามประเมินผลอยางตอเนื่อง

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/
4

2. วัตถุประสงค
เพื่อศึกษาความถูกตองของการตรวจวัด CD4+ lymphocytes ในผูปวยเอดสดวยชุดตรวจ
CD4+SELECTTM โดยเครื่องวิเคราะหเม็ดเลือดอัตโนมัติ เทียบกับการตรวจนับโดยวิธี flow cytometry
3. ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาจากตัวอยางเลือดของผูปวยเอดสที่มารับบริการที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ คลินิกดูแลผูติดเชื้อ
เอดส (Day care clinic) ซึ่งเปดบริการทุกวันอังคาร,พุธ และวันพฤหัสบดี โดยเจาะเก็บตัวอยางเลือด
(EDTA Blood) จํานวน 50 ราย เปนการศึกษาแบบไปขางหนา (Prospective study) ซึ่งทําการวิจัยแบบ
ทดลอง (Experimental study)
4. ผลที่คาดวาจะไดรับ
4.1 ทราบผลความถูกตองและประเมินการตรวจวัด CD4+ lymphocytes ในผูปวยเอดส
ดวยชุดตรวจ CD4+SELECT TM โดยเครื่องวิเคราะหเม็ดเลือดอัตโนมัติ
4.2 แพทยสามารถวางแผนการรักษา ติดตามผลของผูปวยเอดสในโรงพยาบาลชุนชนขนาดเล็กที่มี
เครื่องวิเคราะหเม็ดเลือดอัตโนมัติใหมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4.3 พัฒนาศักยภาพหองปฏิบัติการทางการแพทย โรงพยาบาลชุมชนในการตรวจวัดCD4+
lymphocytes ในผูปวยเอดสดวยชุดตรวจ CD4+SELECTTM โดยเครือ่ งวิเคราะหเม็ดเลือดอัตโนมัติ

5. ทบทวนเอกสาร
5.1 Monoclonal antibody
monoclonal antibody ผลิตจากกลุม (Clone) ของพลาสมาเซลลเพียงชนิดเดียว โดยป ค.ศ.1975
Kohler และ Milsein เปนนักวิจัยกลุมแรกที่ผลิต monoclonal antibody ไดสาํ เร็จ โดยใชเทคโนโลยีของ
hybridoma monoclonal antibody ที่ผลิตไดมีความจําเพาะสูงและแมนยํา (Uniform specificity and affinity)
ไดคาไตเตอรสูงมาก ในการผลิตมีขั้นตอนพอสังเขปดังนี้ ในขั้นแรกหนู (mice) จะถูกฉีดดวยแอนติเจน
เพื่อกระตุนใหหนูสรางแอนติบอดี หนูจะถูกกระตุน (boost) 2 ครัง้ หลังจากนั้น 2 – 4 วัน ก็จะตัดมามของ
หนูที่ถูกกระตุน เพื่อแยกเอามามออกมา ซึ่งในมามจะประกอบไปดวยเซลลพลาสมาและเซลลอื่น ๆ
จากนั้นนําเซลลนี้มาหลอม (fuse) เขากับเซลลมะเร็งชนิด myeloma ซึง่ ตองเปน cell line ชนิดที่ขาดเอนไซม
hypoxanthine/guanine phosphorribosyl transferase (HGPRT) และไมสามารถสราง Immunoglobulin ทั้ง H
chain หรือ L chain หลังจากนั้นผสมเซลลทั้ง 2 ชนิดใน polyethylene glycol เปนเวลา 1 นาที จากนั้นเจือ
จางดวย medium แลวทิ้งใหหลอมตัวกันเปนเวลาหลายชั่วโมง นําเซลลซึ่งหลอมรวมกัน ( hybridoma
cells) และไมหลอมรวมกัน (Unfused cells) มาลางและใส medium ที่มีสวนผสม hypoxanthine (H) ,
aminopterin (A) และ thymidine (T) แลวเลี้ยงในหลุมชนิด 96 หลุม เซลลซึ่งเปน hybridoma เทานั้น จึงจะ
มีชีวิตรอดไดในภาวะ medium ที่มี HAT เซลลอื่นจะตายหมด พลาสมาเซลลแมจะมีเอนไซม HGRT แตก็

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/
5

ไมสามารถเจริญเติบโตได สวนเซลล myeloma ก็ไมสามารถสราง DNA จาก purine ได เพราะมี


aminopterin ซึ่งปองกันการสราง purine และเซลลก็ขาดเอนไซม HGRT ดวย จากนั้นจึงเลือกเซลล
hybidoma ซึ่งใหแอนติบอดีจําเพาะตอแอนติเจน มาเจือจางและเลี้ยงใน tissue culture เพื่อใหไดจํานวนมาก
ๆ ตอไป หรืออาจปลูก (transplant) เขาไปในหนูชนิดเดียวกัน แลวนําเอา ascitic fluid ชองทองของหนูมา
ใชเปน monoclonal antibody โดย monoclonal antibody ผลิตมาจาก clone พลาสมาเซลล เพียง clone เดียว
ซึ่งมีความจําเพาะกับแอนติเจนสูงก็จะไมเกิด Cross – reaction กับแอนติเจนอื่น อันเนื่องมาจากการ
ปนเปอนของ Immunoglobulin อืน่ นอกจากนี้ยังสามารถเจือจาง monoclonal antibody ที่ไดอีกดวย จึงเปน
การปองกันการเกิด cross – reaction ของโปรตีนอื่น ๆ ได
monoclonal antibody มีชื่อเรียกตาง ๆ กันออกไปขึ้นอยูกับสถาบันที่ผลิตหรือจาก hybridoma ที่ได
เชน CD4+ มาจาก Leu 3 ของบริษัท Becton Dickinson, T4 ของบริษัท Coulter

รูปที่ 1 แสดง Hybridoma technique : วิธีการผลิต monoclonal antibody


(www.britannica.com/EBchecked/topic-art/278044...)

การผลิต monoclonal antibody โดย hybridoma technique อาศัยหลักการคือ ฉีดแอนติเจนเขาไป


ในหนูเพื่อกระตุน B lymphocytes ในมามใหสรางแอนติบอดี เมื่อพบวาหนูมีการสรางแอนติบอดีตอ
แอนติเจนที่ฉีดแลว จึงฆาหนูแลวนําเอาเซลลมามซึ่งมี B lymphocytes ที่สรางแอนติบอดีแอนติบอดีตอ
แอนติเจนที่ฉีดอยูดวยมาเชื่อมกับเซลล myeloma ทําใหไดเซลลลูกผสม hybridoma จากนั้นทําการฆา

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/
6

เซลล myeloma โดยวิธี drug SELECT TMion แลวทําการคัดเลือกหา hybridoma ที่สรางแอนติบอดีที่


ตองการ และเพื่อใหได hybridoma ที่มาจากเซลลเดียวจริงๆ จึงนํากลุมเซลล hybridoma ที่ไดมาแยก
ออกเปนเซลลเดียวแลวเลี้ยงเพิ่มจํานวนและตรวจสอบการสรางแอนติบอดีอีกครั้ง ซึ่งสุดทายจะได
hybridoma ที่สราง monoclonal antibody ตอแอนติเจนที่ตองการ

การประยุกตใช monoclonal antibody (11)


ปจจุบนั hybridoma technique ไดถูกนํามาใชผลิต monoclonal antibody ตอแอนติเจนชนิดตางๆ
มากมาย ไมวาจะเปนแอนติเจนของเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ปาราสิต เซลลเม็ดเลือดขาว ฮอรโมนและ
โปรตีนตางๆ monoclonal antibody เหลานี้ไดถูกนํามาใชประโยชนในงานดานตางๆ เชน
1. ใชในการวินิจฉัยโรค ไดมกี ารนํา monoclonal antibody มาพัฒนาเปนชุดน้ํายาเพื่อการ
วินิจฉัยโรคตางๆ มากมาย เชน ชุดน้ํายาการตรวจหาไวรัสแอนติเจน เพื่อชวยในการวินิจฉัยโรคไวรัสตับ
อักเสบชนิดบี ตรวจหา HIV antigen เพื่อตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสเอดส การตรวจหาฮอรโมน HCG
ในปสสาวะเพื่อบงบอกภาวะการตั้งครรภ เปนตน
2. ใชในการตรวจแยกชนิดของเซลลเม็ดเลือดขาว ปจจุบันไดมีการผลิต monoclonal antibody ที่
จําเพาะตอเม็ดเลือดขาวชนิดตางๆมากมาย แลวนําแอนติบอดีเหลานี้มาใชในการตรวจนับจํานวนเม็ดเลือด
ขาวในเลือด เพื่อชวยบอกการทํางานของระบบภูมิคุมกัน เชน น้ํายา anti-CD4+ monoclonal antibody ใช
ในการตรวจนับจํานวน CD4+ lymphocytes ในผูติดเชื้อไวรัสเอดสเพื่อพยากรณความรุนแรงของโรค และ
ใชเปนแนวทางในการรักษา เปนตน
3. ใชในการรักษาโรคมะเร็ง ปจจุบันไดเริ่มมีการนําเอา monoclonal antibody มาใชในการรักษา
โรค โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โดยนํา monoclonal antibody ที่จําเพาะกับเซลลมะเร็งมาติดฉลากกับยาหรือสาร
กัมมันตรังสีหรือสารพิษ จากนั้นฉีดเขาไปในผูปวยมะเร็ง เนื่องจากแอนติบอดีนี้จําเพาะกับเซลลมะเร็ง
โดยตรง ทําในการรักษาโรคมะเร็งไดผลดีกวาวิธีเดิมที่ใชอยู
4. ใชในการเตรียมสารใหบริสุทธิ์ เนือ่ งจาก monoclonal antibody มีความจําเพาะสูง จึงไดมีการ
นําเอา monoclonal antibody มาใชในการเตรียมสารใหบริสุทธิ์ เชน นํา monoclonal antibody มาใชในการ
แยกโดยวิธี affinity chromatography เปนตน
5. ใชในการศึกษาคุณสมบัติและหนาที่ตางๆ ของ cell surface molecules ดังทราบกันดีอยูแลววา
บนผิวเซลลเม็ดเลือดขาวประกอบดวยโปรตีนตางๆมากมาย การศึกษาคุณสมบัติและหนาทีข่ อง
cell surface molecules เหลานี้สามารถทําไดโดยอาศัย monoclonal antibody จําเพาะ เชน การใช
monoclonal antibody มาศึกษาคุณสมบัติทางชีวเคมีของ cell surface molecules โดยวิธี
immunoprecipitation หรือใช monoclonal antibody มาศึกษาหนาที่ของ cell surface molecules โดย
ศึกษาการทํางานที่เปลี่ยนไปของเซลลเมื่อผสมกับ monoclonal antibody เปนตน

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/
7

5.2 การตั้งชื่อโปรตีนบนผิวเซลลเม็ดเลือดขาว (11)


ดังไดกลาวมาแลววา เซลลเม็ดเลือดขาวมีโปรตีนมากมายหลายชนิดอยูบนผิวเซลล และโปรตีน
เหลานี้มีความสําคัญตอการทํางานของเซลลเม็ดเลือดขาวและการทํางานของระบบภูมิคุมกัน ดังนั้นจึงมี
นักวิจัยจํานวนมากสนใจที่จะศึกษาวิจัยและคนหาโปรตีนบนผิวเซลลชนิดตางๆ ที่ยังไมมีรายงานมากอน
ตลอดถึงการศึกษาโครงสรางและหนาที่ที่แทจริงของโปรตีนเหลานี้ องคความรูที่ไดจะทําใหวิทยาศาสตร
เขาใจการทํางานของระบบภูมิคุมกันไดดียิ่งขึ้น ซึ่งความรูที่ไดจะทําใหมนุษยเขาใจกลไกการเกิดโรคและ
กลไกการปองกันโรคไดดียิ่งขึ้น สุดทายจะนําไปสูการคนหา วิธีการปองกันและรักษาโรคไดในที่สุด ใน
การศึกษาเกี่ยวกับโปรตีนบนผิวเซลลดังกลาวนี้ สามารถทําไดโดยการนํา hybridoma technology มาผลิต
monoclonal antibody ตอโปรตีนบนผิวเซลล แลวนํา monoclonal antibody ที่จําเพาะตอโปรตีนเหลานี้ไป
คนหาและศึกษาถึงโครงสรางและหนาที่ของโปรตีนบนผิวเซลลตอไป
จากการศึกษาวิจัยในชวง 10 ปที่ผานมา นักวิทยาศาสตรสามารถคนพบโปรตีนบนผิวเซลลเม็ด
เลือดขาวจํานวนมาก และเนื่องจากหองปฏิบัติการมากมายทั่วโลกไดผลิต monoclonal antibody ตอโปรตีน
บนผิวเซลลเม็ดเลือดขาวชนิดตางๆ ขึ้นมา โดยแตละหองปฏิบัติการจะตั้งชื่อโปรตีนบนผิวเซลลเม็ดเลือด
ขาวที่ตัวเองคนพบขึ้นเองตามใจชอบ จึงทําใหเกิดความสับสนในการเรียกชื่อโปรตีนบนผิวเซลลเม็ดเลือด
ขาวและเกิดความซ้ําซอนถาหากหลายๆ หองปฏิบัติการคนพบและศึกษาโมเลกุลตัวเดียวกันแตเรียกชื่อ
แตกตางกัน ดังนั้นเพื่อแกปญหาดังกลาวในที่ประชุมของนักวิจัยภูมิคุมกันทั่วโลก จึงกําหนดใหมีการ
ประชุมปฏิบัติการขึ้นทุกๆ 2 – 3 ป เพื่อกําหนดชื่อโปรตีนบนผิวเซลลเม็ดเลือดขาวที่คนพบใหเปนระบบ
เดียวกัน และเรียกการประชุมปฏิบัติการนี้วา “International Workshop and Conference on Human
leukocyte Differentiation Antigens” (HLDA workshop) และในป 2549 ไดเปลี่ยนชื่อเปน
“International Workshop and Conference on Human Cell Differentiation Antigens” (HCDA
workshop) โดยการประชุมนี้มีการดําเนินการคือ ใหแตละหองปฏิบัติการทั่วโลกสง monoclonal antibody
ของตนมายังคณะกรรมการการจัดการประชุมเชิงปฏิบัตกิ าร จากนั้นคณะกรรมการฯ จะสงแอนติบอดีไป
ใหหองปฏิบัติการอางอิงทั่วโลก เพื่อศึกษาและวิเคราะหวา monoclonal antibody นั้นๆ มีความจําเพาะกับ
โปรตีนบนผิวเซลลชนิดใดบาง โมเลกุลจําเพาะนั้นมีคุณสมบัติทางชีวเคมีอยางไร มีน้ําหนักโมเลกุลเทาไร
และทําหนาที่อะไร monoclonal antibody ที่จําเพาะตอโปรตีนชนิดเดียวกันจะถูกจัดใหอยูในกลุมเดียวกัน
และตั้งชื่อใหใหมในระบบ cluster of differentiation (CD)โดยกําหนดชื่อเปน CD ที่ตามดวยตัวเลข เชน
CD1 , CD2 , CD3 …ฯลฯ ความหมายของCDนี้อาจจะหมายถึง monoclonal antibody ที่จําเพาะหรืออาจจะ
หมายถึงแอนติเจนก็ได และเพื่อความเขาใจที่ตรงกันจึงมักมีคําวา antibody หรือ antigen ตอทาย CD
เชน ถาเขียนวา CD2 monoclonal antibody จะหมายถึงแอนติบอดี และเขียน CD2 antigen หรือ CD2
molecule จะหมายถึงโปรตีนบนผิวเซลล

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/
8

จนถึงปจจุบันไดมี International Workshop ดังกลาวมาแลว 8 ครัง้ โดยครั้งสุดทายจัดขึ้นในป


2004 ที่เมือง Adelaide ประเทศออสเตรเลีย และจากการประชุมครั้งที่ 1 จนถึงครั้งที่ 8 นั้นไดมีการ
กําหนดชื่อโปรตีนบนผิวเซลลเม็ดเลือกขาวแลวจํานวนมากกวา 300 ชนิด คือ CD1-CD339

การแยกชนิดของเซลลโดยอาศัยโปรตีนบนผิวเซลล (11)
ดังไดกลาวไวแลววาบนผิวเซลลเม็ดเลือดขาวมีโปรตีนอยูมากมาย พบวาโปรตีนบางชนิดพบไดบน
ผิวเซลลบางชนิดหรือเซลลบางกลุมเทานั้น เชน CD3 เปนโปรตีนที่พบไดบนเม็ดเลือดขาวชนิด T
lymphocytes เทานั้นโดยไมพบเซลลชนิดอื่น หรือ CD19 และ CD20 พบไดเฉพาะบน B lymphocytes
หรือ CD45 เปนโปรตีนที่พบบนเม็ดเลือดขาวทุกชนิด แตไมพบบนผิวเม็ดเลือดแดง ดังนั้นโปรตีนเหลานี้
จึงสามารถนํามาใชเปนเครื่องหมายในการแยกหรือนับเซลลที่สนใจได ตัวอยางโปรตีนบนผิวเซลลที่พบได
อยางจําเพาะบนเซลลชนิดตางๆ ดังแสดงในตาราง ตอไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงตัวอยาง CD molecule ที่จําเพาะตอ T lymphocytes , B lymphocytes , NK cells


และ monocytes

Cell types T lymphocyte B lymphocyte NK cell Monocyte


Function -Cytotoxicity - Immnuoglobulin - Cytotoxicity - Phagocytosis
- Lymphokine secretion ( ADCC ) - Monokine
Secretion - Antigen - Lymphokine Secretion
Presentation secretion - Antigen
Presentation
Specific - CD3 - CD19 - CD56 - CD14
Membrane - CD45 - CD20 - CD45 - CD45
Antigenic - CD45
Markers

5.2 Flow cytometry (12,13,14)


flow cytometry เปนการวิเคราะหเซลลโดยใชเครื่อง flow cytometer โดยจะเปนการตรวจวิเคราะห
ลักษณะตางๆของเซลลหลายๆชนิดพรอมๆกัน ซึ่งการวิเคราะหจะทําขณะที่เซลลเคลื่อนที่ผาน
ลําแสงเลเซอรเปนเซลลเดี่ยวๆ ซึ่งวิธีการตรวจวัดนี้จะสามารถตรวจวิเคราะหไดทั้งคุณลักษณะภายนอกและ
ภายในเซลลโดยมีรายละเอียดดังแสดงในรูปที่ 2

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/
9

1. ระบบของเหลวและการไหลของเซลล (Fluidics and flow cell) โดยอาศัยการใชแรงดันอากาศ


ใหกับตัวกลางของเหลวที่เปน isotonic solution ในที่นี้เรียกวา sheath fluid ทําใหสารละลายนี้ไหลไปพรอม
กับเซลลที่ตองการศึกษา โดยสารละลายจะพาเซลลใหไหลผานมาเปนเซลลเดี่ยวๆ เรียงกันเปนเสนตรงโดย
ที่เซลลอยูตรงกลางและมี sheath fluid ลอมรอบ ถาการไหลของเซลลไมเปนเสนตรงก็จะทําใหรูปรางของ
เซลลที่เกิดจากการกระทบของเลเซอรผิดรูปไป

Electronic
s
Light
Fluidics FL3

FL2
PE Computer
FL1
FIT
SS
Laser
C
FS
C

รูปที่ 2 แสดงหลักการทํางานของเครื่อง flow cytometer ในการตรวจวัดขนาด และแกรนูลของเซลล


(http://www.ams.cmu.ac.th/mt/clinchemwebsite/teaching/510204/Flowcytometry_PKl.doc)

2. ระบบของแสง (Light sensing or optics) ประกอบดวยแหลงกําเนิดของพลังงานแสง กระจก


ชนิดตางๆ เลนส และรวมทั้งอุปกรณรับแสงที่เกิดจากสารเรืองแสงที่ถูกกระตุน เมื่อเซลลไหลผานกระทบ
เขากับแสงเลเซอร เงาที่เกิดจากเซลลที่บังแสงจะเปนสัดสวนกับขนาดของเซลล forword scatter (FSC)
สําหรับแกรนูลตางๆ เมื่อกระทบกับแสงที่สองผานจะหักเหทํามุมออกจากแสงเลเซอรเปนมุมตางๆ เรียกการ
หักเหนี้วา side scatter (SSC) เซลลใดที่ภายในมีแกรนูลมาก จะมีการสะทอนของแสงมากทําใหแสงวัดได
ไดแปรผันกับจํานวนของแกรนูล ดังแสดงในรูปที่ 2 สําหรับเซลลที่ยอมดวยสารเรืองแสงเมื่อกระทบกับ

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/
10

แสงเลเซอรก็จะเกิดการกระตุนสารเรืองแสง (excitation) ขึ้น โดยเมื่อสารเรืองแสงถูกกระตุนดวยแสง


เลเซอรนั้นจะทําใหอิเล็คตรอนของสารเรืองแสดงมีพลังงานสูงขึ้น หลังจากนั้นเมื่ออิเล็คตรอน กลับสู
สถานะปกติจะปลอยพลังงานออกมา (emission) ทําใหวัดการเรืองแสงไดโดยใชอุปกรณวัดแสงที่ชวงคลื่น
ตางๆ กันออกมาเปนสีตางๆ เรียก fluorescence (FL) เชน FL1, FL2 และ FL3 ซึ่งหมายถึง สีฟลูออเรสเซนซ
สีเขียว สีสม และสีแดงตามลําดับ

Side scatter (SSC)


บอกลักษณะแกรนูลภายในเซลลและการเรืองแสง

แสงเลเซอร Forward Light Detector (FSC)


บอกขนาดของเซลล

รูปที่ 3 แสดงการหักเหของแสงเพื่อตรวจวัดขนาดของเซลลและแกรนูลภายในเซลล
(http://www.ams.cmu.ac.th/mt/clinchemwebsite/teaching/510204/Flowcytometry_PKl.doc)

3. ระบบอิเล็กทรอนิกส (Electronics) เปนการเปลี่ยนแปลงสัญญาณของคลื่นแสงใหเปนสัญญาณ


ทางไฟฟา โดยผานตัวตานทาน ซึ่งปริมาณของกระแสไฟฟา และความตางศักยของไฟฟาที่เกิดขึ้นจะเปน
สัดสวนกับจํานวนสัญญาณที่มีอยูทําใหเครื่องวัดออกมาเปนคลื่นไฟฟาเมื่อสัญญาณคลื่นแสงที่ไดจากการวัด
FSC, SSC หรือการเรืองแสงของ fluorescence ถูกเปลี่ยนเปนสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส แลวจะถูกเก็บ
รวบรวมขอมูลเพือ่ ทําการวิเคราะหตอ ไป

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/
11

การแยกประเภทของเซลลชนิดตางๆ เพื่อนําไปศึกษาตอ (cell sorting)


เทคนิค flow cytometry สามารถนํามาประยุกตใชในการแยกชนิดของเซลลตางๆ ออกจากกันเพื่อ
นํามาศึกษาตอ อาจทําไดโดยการใชแอนติบอดีที่จําเพาะตอแอนติเจนของเซลลที่ติดฉลากดวยสารเรืองแสง
แลว จากนั้นนําเซลลเหลานั้นมาวิเคราะหดวยเครื่อง flow cytometer จากการวิเคราะหจะสามารถกําหนด
ประจุใหกับเซลลตางๆ เชน กําหนดใหเซลลที่เรืองแสงสีเขียวมีประจุลบ และกําหนดใหเซลลที่เรืองแสงสี
แดงมีประจุบวก จากนั้นเมื่อเซลลไหลผานลําแสงเลเซอรไปแลวเซลลจะไหลผานสนามแมเหล็กโดยเซลลที่
มีประจุบวกจะถูกเหนี่ยวนําใหวิ่งเขาหาขั้วลบสวนเซลลที่มีประจุลบจะถูกเหนี่ยวนําใหวิ่งเขาหาขั้วบวก ลง
ในภาชนะสําหรับเก็บเซลลทําใหแยกเซลลออกเปน 2 กลุม ดังแสดงในรูปที่ 3 จากนั้นสามารถนําเซลล
เหลานี้ไปศึกษาตอไปได

รูปที่ 4 แสดงการแยกเซลลชนิดตางๆ ออกจากกันของเครื่อง flow cytometer


( http://images.pennnet.com/ articles/lfw/thm/th_155218.gif )

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/
12

5.3 หลักการเครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ COULTER HmX


ใชหลักการ Electrical impedance
ทฤษฎี เซลลเม็ดเลือดมีคุณสมบัติเปนสื่อนํากระแสไฟฟาที่ไมดี (poor conductivity) จะขัดขวาง
การไหลของกระแสไฟฟาทําใหเกิดสัญญาณทางไฟฟา ซึ่งสามารถบันทึกได
วิธีการ สรางสนามกระแสไฟฟาโดยมี electrode 2 ขั้ว คือขั้วบวกและขั้วลบ กระแสไฟฟาวิ่งถึง
กันระหวางสองขั้วนี้โดยอาศัยสื่อซึ่งเปนสารละลาย สรางฉนวนปดกั้นกระแสไฟฟาระหวางขั้วไฟฟาสองขั้ว
โดยใชแกวเปนฉนวนเจาะรูเล็กๆ (aperture) ใหมีขนาดเสนผานศูนยกลางประมาณ 100 ไมครอน (อาจ
ใหญหรือเล็กกวานี้ไดตามการออกแบบสําหรับเซลลแตละชนิด) ดังนั้นกระแสไฟฟาจะวิ่งถึงกันระหวาง
สองขั้วโดยผานเฉพาะรูเล็กๆนี้เทานั้น การวิ่งของกระแสไฟฟาอาศัยน้ํายาเปนสื่อตัวนําเซลลเม็ดเลือดที่
ตองการจะนับมาเจือจางดวยน้ํายา เพื่อใหเซลลลอยแขวนในน้ํายาในอัตราสวนที่พอเหมาะ จุมขั้วไฟฟาลง
ไปในน้ํายาที่มีเซลลลอยแขวนอยู โดยใหน้ํายาทวมบริเวณรูเล็กๆ (aperture) ที่อยูระหวางขั้วไฟฟาสองขั้ว
ดูดเซลลในน้ํายาดวยแรงดัน negative pressure เซลลและน้ํายาจะวิ่งผานรูเล็กๆนั้นจากขั้วไฟฟาขัว้ นอก
ไปสูขั้วไฟฟาขั้วในขณะที่เซลลผานรูเล็กๆนั้น จะเกิดการกระตุกของกระแสไฟฟาระหวางสองขั้วอัน
เนื่องมาจากรูซึ่งเล็กอยูแลว จะถูกเซลลที่มีคุณสมบัติเปนสือ่ กระแสไฟฟาไมดีมาขวางทางวิ่งของ
กระแสไฟฟา ทําใหเหลือชองวางในรูที่จะใหกระแสวิ่งผานนอยลง (บริเวณรูจะมีความเขมขนของ
กระแสไฟฟาสูงกวาบริเวณอื่น) และเมื่อเซลลนั้นวิ่งออกจากบริเวณรูเล็กๆไป กระแสไฟฟาจะวิ่งผานน้ํายา
เปนปกติเหมือนเดิม จากการที่มีการกระตุกของกระแสไฟฟาขณะที่เซลลวิ่งผานรู ทําใหเกิดสัญญาณซึ่ง
เครื่องสามารถบันทึกได จํานวนครั้งของการกระตุกของกระแสไฟฟาจะเทากับจํานวนเซลลที่วิ่งไหลผานรู
เล็กๆนั้น เครื่องจึงสามารถบอกจํานวนเซลลที่นับได

รูปที่ 5 แสดงหลักการนับเซลลเม็ดเลือดแบบ Electrical impedance

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/
13

เซลลวิ่งผานรูเล็กๆ ซึ่งอยูระหวาง electrode ขั้วนอกและขั้วใน ทําใหมีการขัดขวางกระแสไฟฟาซึ่ง เครือ่ ง


สามารถนับจํานวนเซลลที่ผานรูนั้นไดจากจํานวนครั้งของการกระตุกของกระแสไฟฟา
นอกจากนี้ เครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ COULTER HmX ยังมีหลักการที่ชวยเพิ่มในเรื่องของความ
ถูกตองของหลักการ Electrical Impedance อีกดังตอไปนี้
1. Sweepflow
คือระบบไหลกวาดเพื่อไลเซลลเม็ดเลือดที่ถูกนับวัดแลวไมใหมีการกลับมานับซ้ําอีก (recirculation)
ทําใหคาการนับเม็ดเลือดมีความถูกตองมากขึ้น
2. Triplicate count
คือ การนับวัด 3 ครั้งกอนออกผล ซึ่งผลที่เครื่องแสดงออกมาทางหนาจอนั้นเปนผลเฉลี่ยจากการ
นับวัดทั้ง 3 ครั้งแลว
3. Extended count
คือ การขยายเวลาในการนับวัดในกรณีที่ตวั อยางรายนั้นเปน pancytopenia เพื่อยืนยันผลที่นับ
ออกมาวาคานั้นต่ําจริง
4. Burn circuit
คือการสลับขั้วไฟฟาเพื่อขจัดคราบโปรตีนบริเวณรูนับวัด (Aperture)
5. Pulse Editting
คือการขจัด pulse ที่ผิดปกติซึ่งอาจมาจากกรณีที่เซลลเม็ดเลือดมีการวิ่งชนบริเวณขอบ aperture
กอนแลวจึงคอยผานเขาไปนับวัด ทําให pulse ที่เกิดขึ้นเปน pulse ที่ผิดปกติ เครื่องจะทําการตัดทิ้ง
6. Platelet curve fitting
คือการขจัดเซลลอื่นๆที่เขามารบกวนการนับ platelet โดยคํานวณ platelet curve ขึ้นมาใหมแลว
เปรียบเทียบกับ curve เดิม หากมีเซลลอื่นเขามารบกวน curve ใหมก็จะชวยตัดสิ่งรบกวนได

หลักการแยกเม็ดเลือดขาว
หลักการแยกประเภทเม็ดเลือดขาวโดยใชคุณสมบัติการกระจายแสงเลเซอรของเม็ดเลือดขาวชนิด
ตางๆ เมื่อเซลลไหลผานเครื่องวัด แลวใหกระทบกับลําแสงเลเซอร ซึ่งเซลลเม็ดเลือดขาวแตละชนิดให
คุณสมบัติการกระจายแสงเลเซอรตางๆกัน พรอมกับตรวจสอบคุณสมบัติการเปนสื่อนําของกระแสไฟฟา
และการวัดขนาดของเซลลพรอมๆ กันไป ทําใหการตรวจนับเม็ดเลือดขาวไดครบทั้ง 5 ชนิด ซึง่ เรียก
เทคโนโลยีที่ใชนี้วา “VCS” (V หมายถึง Volume , C – Conductivity S – Light Scatter)
เครื่องนี้ใชหลักการวิเคราะหเม็ดเลือดขาว 8,192 เซลล โดยฉีดเขาชองหลอดแกวที่เรียกวา Flow cell ซึ่งมี
เสนผานศูนยกลางเล็กมาก ความเล็กของ flow cell จะบังคับใหเม็ดเลือดขาวเรียงเดี่ยวไหลผานไปทีละหนึ่ง
เซลล แตเพื่อไมใหเกิดปญหาอุดตันงาย เสนผานศูนยกลางของ flow cell ใหญพอที่ใหเม็ดเลือดขาวแตละ

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/
14

เซลลผานไปไดโดยงายและรวดเร็ว แตความใหญของชอง flow cell อาจทําใหเกิดปญหา คือ เซลลอาจซอน


กันเขา flow cell จึงตองออกแบบใหมีการไหล 2 ชัน้ ชั้นรอบนอกเปนชั้นน้ํายาที่ไมมีเซลล เรียกวา
Laminar sheath ทําหนาที่เปนปลอก ชั้นในเปนสายบางๆ เล็กมากที่ฉีดพุงใหเม็ดเลือดเรียงเดี่ยวเขาไป และ
ใหชั้นในมีอัตราความเร็วในการไหลสูงกวาชั้นนอกมาก
เมือ่ เม็ดเลือดขาวถูกฉีดเรียงเดี่ยวเขาไปใน flow cell เซลลจะถูกตรวจสอบคุณสมบัติ โดยใช
เทคโนโลยี 3 อยางพรอมกันคือ
1. V–Volume การใชกระแสไฟฟาตรวจวัดปริมาตรของเซลล เปนหลักการที่ใชแรงตกของ
กระแสไฟฟาระหวางขั้วไฟฟา 2 ขัว้ ชวยในการแยกประเภทเม็ดเลือดขาว โดยใชความ
แตกตางดานปริมาตรของเม็ดเลือดขาวนั่นเอง
2. C–Conductivity ใชคลื่นแมเหล็กไฟฟาชนิดที่มีความถี่สูง ตรวจสภาพการนํา (Conductivity)
ของเซลล คลื่นดังกลาวนี้สามารถผอนเยื่อหุมเซลลไดดี แตผานสิ่งภายในเซลล เชน แกรนูล
นิวเคลียสและสารองคประกอบเคมีไมดี จึงสามารถใหขอมูลที่ขึ้นตรงกับปริมาณเม็ดแกรนูล
สวนประกอบนิวเคลียส สัดสวนนิวเคลียสตอไซโทพลาสซึม และสวนประกอบสารเคมีภายใน
เซลล หลักการนี้สามารถแยกเซลลที่มีขนาดเทากัน แตมีความหนาแนนภายในตางกันได เชน
lymphocytes มีขนาดเทากับ basophil เมื่อใชเทคโนโลยีคลื่นความถี่สูง ก็จะแยกบอกชนิด
เซลลทั้งสองได เพราะเซลลทั้งสองมีความหนาแนนภายในเซลลแตกตางกัน
3. S–Scatter แสงเลเซอร ใหคลื่นความถี่เดียว และสอดคลองกัน เมื่อแสงกระทบกับเซลล เซลลจะ
กระจายแสงทํามุมกวางออกไปขางหนา (Light Scatter) มุมของแสงที่กระจายนั้น จะถูก
รวบรวมใหไปกระทบกับตัววัดแสง ซึ่งภายใน Photocells ทําหนาที่แปลงพลังงานแสงใหเปน
สัญญาณไฟฟา สัญญาณนี้จะถูกวิเคราะหโดยคอมพิวเตอร ชวยใหเกี่ยวกับความใหญ เล็ก ของ
เม็ดแกรนูลภายใน รูปรางของเซลล ความหนาแนนภายในเซลล และโครงสรางของของพืน้ ผิว
ของเซลล

รูปที่ 6 แสดงหลักการแยกประเภทเม็ดเลือดขาวโดยใชคุณสมบัติการกระจายแสงเลเซอรของเม็ด
เลือดขาวชนิดตางๆ, การเปนสื่อนําของกระแสไฟฟา และการวัดขนาดของเซลลพรอมๆ กันไป

Created with Print2PDF. To remove this line, buy a license at: http://www.software602.com/

You might also like