Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 90

ศูนยทรัพยากรฝกอบรมเพื่อการอนุรักษพลังงาน

Training Resources Center for Energy Conservation

“เอกสารนีแ้ ปลและเรียบเรียงมาจากหนังสือ Fuel Efficency Booklet


เรือ่ ง Steam
ภายใตโครงการ UK Government’s Energy Efficiency
Best Practice Programme
ของ Department of The Environment Transport and Regions,London UK.”

แนะนําหลักสูตรการอนุรักษพลังงานของ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงาน
กองฝกอบรม ซึ่งมีหนาที่รับผิดชอบโดยตรงในการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร ดานการอนุรักษ
พลังงานไดเปดหลักสูตรอบรมตางๆ ในชวงแตละป ตัวอยางของหลักสูตร ไดแก หลักสูตรผูรับผิดชอบดาน
พลังงาน หลักสูตรเทคโนโลยีพลังงาน หลักสูตรการอนุรักษพลังงานในขบวนการผลิตของอุตสาหกรรม
แตละประเภท หลักสูตรการอนุรกั ษพลังงานในโรงงาน และหลักสูตรการอนุรกั ษพลังงานในอาคาร เปนตน
ผูที่สนใจสามารถติดตอขอรายละเอียดเพิ่มเติมไดที่
หมายเลขโทรศัพท 0 2577 7035-41 โทรสาร 0 2577 7047
แนะนํา WEB SITE ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงานทีเ่ กีย่ วของกับการอนุรกั ษพลังงาน
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงานไดพฒ ั นา WEB SITE เพือ่ เปนชองทางใหผทู ี่สนใจ
เขาไปหาขอมูลเกี่ยวกับการอนุรักษพลังงานที่ http : // www. dedp.go.th และ http : // www.teenet-dedp.com
ภายใน WEB SITE ผูท สี่ นใจสามารถคนหาขอมูลเกีย่ วกับเทคโนโลยีการอนุรกั ษพลังงาน / ตัวอยาง
โรงงานทีป่ ระสบความสําเร็จ / รายชือ่ ทีป่ รึกษาดานการอนุรกั ษพลังงาน ทีไ่ ดขนึ้ ทะเบียนไวกบั กรมพัฒนาพลังงาน
ทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน / พระราชบัญญัตกิ ารสงเสริมการอนุรกั ษพลังงาน พ.ศ. 2535 และกฎกระทรวง
ไอน้ํา
Steam
ศูนยทรัพยากรฝกอบรมเพื่อการอนุรักษพลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation

ไอน้ํ า
ศูนยทรัพยากรฝกอบรมเพื่อการอนุรักษพลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation

คํานํา

ในสภาวะปจจุบันรูปแบบการใชพลังงานไดเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเปน
มูลเหตุใหอตั ราการใชพลังงานเพิม่ ขึน้ ทุกๆป นับเปนภาระหนักตอฐานะการเงิน
การลงทุนของทุกประเทศที่จะตองจัดหาพลังงานมาใหเพียงพอและเหมาะสม
นอกจากนีย้ งั จะตองคํานึงถึงผลกระทบตอสิง่ แวดลอมโดยทัว่ ไปจากการใช พลังงาน
จํานวนมหาศาลดังกลาวดวย
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงานตระหนักถึงความสําคัญในการ
พัฒนาบุคลากรใหมีความรูและทักษะเพื่อเสริมรากฐานในการปฎิบัติงานตาม
อํานาจหนาทีภ่ ายใตพระราชบัญญัตกิ ารสงเสริมการอนุรกั ษพลังงาน พ.ศ. 2535
โดยมีกองฝกอบรมเปนหนวยงานหนึ่งที่สนับสนุนกิจกรรมการอนุรักษพลังงาน
ภายใตแผน อนุรกั ษพลังงานของประเทศ เพือ่ ทําหนาทีฝ่ ก อบรมพัฒนาความรูด า น
การจัดการและเทคโนโลยีดานพลังงานแกผูที่เกี่ยวของ ทั้งภาครัฐและเอกชน
ตลอดจนผูร บั ผิดชอบดานพลังงานตามกฎหมายวาดวยการสงเสริมการอนุรกั ษพลังงาน
และสนับสนุนสงเสริมใหความรูด า นเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานเพือ่ ใหมกี าร
ใชเครือ่ งมือเครือ่ งจักรอุปกรณอยางมีประสิทธิภาพ ซึง่ จะเปนการชวยลด คาใชจา ย
ดานพลังงานลง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงานเห็นวาหากไดนาํ
แนวทางการใชเชือ้ เพลิงอยางมีประสิทธิภาพทีไ่ ดรบั ความรวมมือจาก Department
of Environment Transport and Regions, London ประเทศสหราชอาณาจักร
ใหความสนับสนุนเอกสารภายใตโครงการ UK Government’s Energy Efficiency
Best Practice Programme เพื่อใชเปนแนวทางในการปฎิบัติงานอันจะเปนการ
เสริมสรางประโยชนตอการพั ฒ นาบุ ค ลากรและเพิ่ ม ศั ก ยภาพของบุ ค ลากรได
อยางเปนรูปธรรมจึงไดจดั ทําเอกสารดังกลาวมาเรียบเรียงเปนภาษาไทยเพือ่ เผยแพร
แกผเู กีย่ วของตอไป
ไอน้ํ า
ศูนยทรัพยากรฝกอบรมเพื่อการอนุรักษพลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงานขอขอบคุณ Department
of Environment Transport and Regions, London ประเทศสหราชอาณาจักร
ที่ใหความสนับสนุนเอกสาร และคณะกรรมการกองทุนเพื่อสงเสริมการอนุรักษ
พลังงาน ทีไ่ ดใหการสนับสนุนในการจัดทํา และหวังเปนอยางยิง่ วาคูม อื ดังกลาวนี้
จะเปนประโยชนตอทานในฐานะเปนผูที่มีสวนเกี่ยวของกับกิจกรรมการอนุรักษ
พลังงาน สมตามเจตนารมณของ การจัดการจัดทําคูม อื นี้

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน
กระทรวงพลังงาน

*** อัตราแลกเปลีย่ นเงินตราตางประเทศ ประจําวันที่ 14 พฤศจิกายน 2544


สหราชอาณาจักร ปอนดสเตอรลงิ ตัว๋ เงิน : 63.5765 บาท ทางโทรเลข : 63.7353 บาท
อัตราขายถัวเฉลีย่ :64.3911 บาท
ไอน้ํ า
ศูนยทรัพยากรฝกอบรมเพื่อการอนุรักษพลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation

สารบัญ
1. บทนํา 1
ความรอนสัมผัสและความรอนแฝง 3
2. การระบายน้ําทิ้ง (Blowdown) 7
วิธีการระบายหมอไอน้ําทิ้ง 8
ปริมาณการระบายหมอไอน้ําทิ้ง 9
คาใชจายในการระบายหมอไอน้ําทิ้ง 11
3. การใชไอน้ํา 13
การรั่วของไอน้ํา 17
พื้นผิวที่ไมไดหุมฉนวน 17
การลดความตองการของการใชไอน้ําใหนอยที่สุด 18
การสูญเสียความรอนของระบบการใหความรอน 19
การสูญเสียความรอนของระบบการสงจายไอน้ํา 22
การสูญเสียความรอนในกระบวนการผลิต 23
การสูญเสียความรอนจาการใชอุณหภูมิกระบวนการผลิตที่สูงเกินไป 24
4. การถายเทความรอนจากไอน้ํา 25
การจัดการกับฟลมอากาศ 27
ตําแหนงของการระบายอากาศออกจากระบบไอน้ํา 29
ฟลมคอนเดนเสต 31
ไอน้าํ เปยก และไอน้าํ แหง 31
การบํารุงรักษากับดักไอน้ํา (Steam trap) 34
ตัวกรอง (Stainer) 35
ตําแหนงการติดตัง้ กับดักไอน้าํ (Steam trap) 37
การสะสมอากาศภายในกับดักไอน้าํ (Steam trap) 39
การอัน้ และการกระแทกของน้าํ (Water Hammer) 23
5. เทคนิคการนําความรอนทิ้งกลับมาใชใหม 44
การนําความรอนจากคอนเดนเสตกลับมาใชใหม 45
การลําเลียงคอนเดนเสต 47
การตอทอ 47
การยกระดับคอนเดนเสต และความดันยอนกลับ 49
การสูบคอนเดนเสต 51
อุณหภูมคิ อนเดนเสต 53
ไอน้ํ า
ศูนยทรัพยากรฝกอบรมเพื่อการอนุรักษพลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation

การหุม ฉนวนคอนเดนเสต 55
การนําความรอนจากไอน้าํ แฟลชกลับมาใช 59
ตัวอยางการนําความรอนจากไอน้าํ แฟลชกลับมาใช 61
การควบคุมไอน้าํ แฟลช 64
วิธีการนําความรอนจากไอน้ํากลับมาใชอยางงาย 65
6. สรุป/รายการตรวจสอบสําหรับการดําเนินงานขั้นตอไป 66
7. แหลงของขอมูลเพิ่มเติม 68
ภาคผนวกที่ 1 ตารางไอน้ํา
แหลงขอมูลเพิม่ เติมเกีย่ วกับกรมพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน

ไอน้ํ า
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation
1. บทนำ

1. บทนำ
ไอน้ำถูกนำมาใช้ในการให้ความร้อน และใช้ในกระบวนการผลิตต่าง ๆ
ไอน้ำเป็นตัวกลางที่ดีในการพาและถ่ายเทความร้อน ข้อดีของการใช้ไอน้ำเป็น
ตัวกลางในการส่งผ่านความร้อนมี 3 ประการ คือ
ไอน้ำสามารถถ่ายเทความร้อนทีอ่ ณ ุ หภูมคิ งทีค่ ณ
ุ สมบัติ ดังกล่าวนีเ้ ป็นสิง่ ทีม่ ี
ความสำคัญมากในการให้ความร้อนกับวัสดุที่มีความไวต่ออุณหภูมิ
อุณหภูมิของไอน้ำขึ้นอยู่กับความดันของไอน้ำ จากหลักการนี้ทำให้การ
ควบคุมอุณหภูมงิ า่ ยขึน้
ไอน้ำต่อหน่วยปริมาตรสามารถสะสมพลังงานได้เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุน้ี
ทำให้สามารถใช้ระบบท่อส่งผ่านไอน้ำได้อย่างไม่ยงุ่ ยาก
บ่อยครั้งที่การใช้ไอน้ำอย่างไม่ระมัดระวังส่งผลให้ระบบมีการใช้งานไม่ดี
เท่าที่ควรและประสิทธิภาพต่ำ ถึงแม้ว่าโรงงานจะมีการปรับปรุงการใช้ไอน้ำที่ดี
เพียงใดก็จะมีการสูญเสียทีห่ ลีกเลีย่ งไม่ได้อยูจ่ ำนวนหนึง่ หากการสูญเสียมีจำนวน
น้อยก็เป็นสิง่ ทีย่ อมรับได้ สำหรับในส่วนของความร้อนทีเ่ หลือ ถ้ามีมากพอก็ควร
จะพิจารณานำความร้อนที่เหลือกลับมาใช้งานให้ดีที่สุด คู่มือนี้จะอธิบายเกี่ยวกับ
ประสิทธิภาพของการใช้ความร้อนจากไอน้ำ
ประสิทธิภาพการใช้ไอน้ำไม่ได้เป็นสิง่ ทีว่ ดั ได้งา่ ย เช่นเดียวกับประสิทธิภาพ
ความร้อนของหม้อไอน้ำ จึงทำให้มกี ารละเลยกันอยูบ่ อ่ ยๆ (สำหรับรายละเอียดการ
คำนวณของประสิทธิภาพความร้อนของหม้อไอน้ำ ให้ดูคู่มือการใช้เชื้อเพลิง
อย่างมีประสิทธิภาพเล่ม 1, 2 และ 3 ซึง่ ครอบคลุมการใช้หม้อไอน้ำอย่างประหยัด
โดยใช้นำ้ มัน, ใช้กา๊ ซ, และใช้ถา่ นหินเป็นเชือ้ เพลิงตามลำดับ
บ่อยครั้งที่ไม่ได้มีการสังเกตไอน้ำที่รั่วจากข้อต่อฉนวนซึ่งขาดหายไป
กับดักไอน้ำ (Steam Trap) ปล่อยให้ไอน้ำรั่ว เจ้าหน้าที่ดูแลหม้อไอน้ำระบายน้ำ
โบวล์ดาวน์ทง้ิ ด้วยวิธปี ฏิบตั ทิ ไ่ี ม่ถกู ต้อง ทำให้อปุ กรณ์เครือ่ งจักรทีใ่ ช้ไอน้ำทำงาน
1
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation บทนำ

ไม่ได้สมรรถนะทีส่ งู สุด เนือ่ งจากมีอากาศหรือน้ำอัน้ เป็นเหตุให้กบั ดักไอน้ำ (Steam


Trap) ทำงานอย่างผิดพลาด ส่งผลให้อตั ราการผลิตไอน้ำลดลงได้
ไอน้ำหลังจากคายความร้อนแล้วจะกลั่นตัวเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว
ซึง่ เรียกว่า คอนเดนเสต คอนเดนเสตนีย้ งั คงมีพลังงานเหลืออยูจ่ ำนวนหนึง่
เมือ่ สูบคอนเดนเสตกลับเข้าหม้อไอน้ำจะทำให้อณ ุ หภูมนิ ำ้ ป้อนหม้อไอน้ำสูงขึน้
เป็นการลดพลังงานทีป่ ล่อยทิง้ และลดเชือ้ เพลิงทีจ่ ะใช้ในการต้มน้ำให้เดือดกลายเป็นไอ
ในระบบไอน้ำทีม่ กี ารดูแลบำรุงรักษาเป็นอย่างดีมจี ะลดค่าใช้จา่ ยในขบวนการ
ผลิตทัง้ ในรูปของค่าใช้จา่ ยด้านพลังงานและต้นทุนผลิตจะลดลงอย่างมาก การใช้
ไอน้ำอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากแก้ไขปรับปรุงลงทุนไม่มาก สถาน
ประกอบการน้อยรายทีท่ ราบถึงเรือ่ งนี้ สถานประกอบการทัว่ ไปคิดค่าใช้จา่ ยไอน้ำ
โดยนำไปคิดรวมกับค่าบริหารงานโดยคิดว่าเป็นรายจ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่
ความเป็นจริงคือต้นทุนส่วนหนึง่ ของผลิตภัณฑ์ ดังนัน้ ผลตอบแทนทีไ่ ด้กลับคืน
จากการปรับปรุงระบบไอน้ำจะได้ผลตอบแทนสูงคุ้มค่าต่อการลงทุนอีกด้วย
มีหลายวิธีในการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ไอน้ำ โดยทั่วไป
สามารถอธิบายได้ในสามหัวข้อดังต่อไปนี้
การผลิตไอน้ำ
การใช้ไอน้ำ (ตอนที่ 3)
การนำความร้อนกลับมาใช้ (ตอนที่ 5)
สิ ่ ง สำคั ญ ในการผลิ ต ไอน้ ำ อย่ า งประหยั ด คื อ การควบคุ ม การสู ญ เสี ย
ความร้อนของก๊าซไอเสีย วิธีการนี้ได้อธิบายไว้ในคู่มือการใช้เชื้อเพลิงอย่าง
มีประสิทธิภาพ เล่ม 1, 2 และ 3 และอีกวิธีการหนึ่งของการควบคุมที่มีผลต่อ
ปริมาณความร้อนสูญเสีย คือ การควบคุมการสูญเสียจากการระบายน้ำหม้อ
ไอน้ำทิง้ (Blowdown)
การสูญเสียความร้อนจากการใช้ไอน้ำสามารถแบ่งได้เป็นการสูญเสียความร้อน
2
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation บทนำ

ในระบบ (การรัว่ เป็นต้น) และการสูญเสียความร้อน เนือ่ งจากการใช้งานอย่างไม่มี


ประสิทธิภาพ ณ จุดใช้งาน
ท้ายสุดเป็นการอธิบายถึงเทคนิคการนำความร้อนกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็น
วิธกี ารใช้ความร้อนทีเ่ หลือในไอน้ำ เมือ่ คายความร้อนแฝงแล้ว
ความร้อนสัมผัสและความร้อนแฝง
ก่ อ นที ่ จ ะอธิ บ ายเรื ่ อ งการประหยั ด พลั ง งานของระบบไอน้ ำ ทั ้ ง หมด
ควรชีแ้ จงให้เข้าใจก่อนว่าไอน้ำเกิดขึน้ ได้อย่างไร และทราบก่อนว่าความร้อนของ
ไอน้ำมีสองชนิด คือ ความร้อนสัมผัสและความร้อนแฝง
เมื่อเพิ่มความร้อนให้แก่น้ำทุกอุณหภูมิของน้ำที่เพิ่มขึ้นด้วยอัตรา 0.5๐C
จะใช้ความร้อนที่ป้อนเข้า 2 กิโลจูล/กิโลกรัม(1บีทียู/ปอนด์) อุณหภูมินี้สามารถ
รูส้ กึ ได้และเรียกว่า “ความร้อนสัมผัส” (ความร้อนจำนวน 419 กิโลจูล/กิโลกรัม
เพือ่ เปลีย่ นน้ำจาก 0๐C เป็น 100๐C)
การเพิ่มความร้อนให้แก่น้ำที่ 100๐C ที่ความดันบรรยากาศอุณหภูมิจะไม่
เพิ่มขึ้นแต่จะทำให้น้ำเดือดและน้ำส่วนหนึ่งจะเปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำ การที่จะ
เปลีย่ นน้ำให้เป็นไอน้ำทัง้ หมดจะต้องเพิม่ ความร้อนจำนวน 2,257 กิโลจูล/กิโลกรัม
(971 บีทียู/ ปอนด์) ความร้อนที่เพิ่มขึ้นนี้ไม่สามารถจะรู้สึกได้จึงเรียกว่า
“ความร้อนแฝงของการระเหย” คือ ความร้อนทัง้ หมด 2,676 กิโลจูล/กิโลกรัมทีใ่ ช้
ในการเปลีย่ นน้ำที่ 0๐C เป็นไอน้ำ
หากน้ำมีความดันสูงกว่าความดันปรกติ ความดันบรรยากาศน้ำจะไม่เดือด
กลายเป็นไอน้ำที่ 100๐C (212๐F) จะต้องเพิม่ อุณหภูมใิ ห้สงู กว่านี้
ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับความดันของไอน้ำ สามารถดูได้ใน
รูปที่ 1 เมือ่ ความดันของไอน้ำลดลง ความร้อนแฝงต่อหน่วยน้ำหนักของไอน้ำจะ
เพิม่ ขึน้ สิง่ นีเ้ ป็นความจริงทางฟิสกิ ส์ซง่ึ เป็นส่วนทีส่ ำคัญในการทีจ่ ะบอกและแสดง
ผลการประหยัดเชือ้ เพลิง
3
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation บทนำ

รูปที1่ ความร้อนทีอ่ ยูใ่ นไอน้ำ


จากรูปที่ 1 และ 2 แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของความดันเมื่อสูงขึ้น
อุณหภูมขิ องไอน้ำก็จะเปลีย่ นแปลงสูงขึน้ ตามไปด้วยความสัมพันธ์นส้ี ามารถนำไปใช้
เพื่อให้ได้อุณหภูมิที่ต้องการของกระบวนการผลิต กรณีที่เป็นจุดวิกฤตการใช้
ความดันและอุณหภูมิจะต้องสอดคล้องกัน สำหรับงานที่ต้องการความละเอียด
ให้ดรู ายละเอียดได้จากตารางไอน้ำ ซึง่ อยูใ่ นภาคผนวกที่ 1 ดังนัน้ การลดอุณหภูมิ
เพือ่ ให้ได้ผลประหยัดจะต้องแน่ใจว่าผลผลิตจะไม่เสียหายเมือ่ ลดอุณหภูมลิ ง
มีหลายกระบวนการผลิตที่ใช้ไอน้ำเป็นสารตัวกลางในการให้ความร้อน
ซึง่ ใช้ประโยชน์เฉพาะส่วนของความร้อนแฝงเท่านัน้ ดังนัน้ จึงจำเป็นต้องทำการ
ผลิตไอน้ำให้เหมาะสมในการใช้งาน โดยการควบคุมความดันไอน้ำที่ถูกต้อง
4
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation บทนำ

รูปที่ 2 การเปรียบเทียบความร้อนแฝงของไอน้ำทีก่ ลัน่ ตัวทีค่ วามดันบรรยากาศ


และที่ 7 บาร์ (100 ปอนด์/ตารางนิว้ )
เพื่อที่จะรักษาค่าความร้อนแฝงให้ได้ค่าที่เหมาะสมและถูกต้อง การที่จะเพิ่ม
ความร้อนให้คอนเดนเสตจะต้องเพิ่มความดันของไอน้ำให้สูงขึ้น ดังนั้นถ้ามีการ
ใช้ความดันไอน้ำสูงในกระบวนการผลิตมีความจำเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องนำความร้อน
จากคอนเดนเสตกลับมาใช้ เพือ่ ทีจ่ ะรักษาระดับประสิทธิภาพการใช้งานให้สงู ขึน้
รูปที่ 1 ความร้อนแฝงของไอน้ำลดลง เมื่อความดันของไอน้ำเพิ่มขึ้นนั้น
หมายความว่า ความดันไอน้ำยิง่ สูงค่าความร้อนแฝงต่อหน่วยกิโลกรัม (ความร้อน
ทีใ่ ช้ประโยชน์) จะมีจำนวนน้อยลง
ดังนัน้ ถ้าต้องการทีจ่ ะใช้ความร้อนสัมผัสซึง่ เป็นความร้อนจาก คอนเดนเสต
ทีม่ จี ำนวนมากจะต้องเพิม่ ค่าความดันของไอน้ำให้สงู ขึน้
5
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation บทนำ

ดังนัน้ ในมุมมองของการประหยัดไอน้ำ คือถ้าผลิตไอน้ำทีค่ วามดันยิง่ ต่ำ ก็จะ


ได้ไอน้ำจำนวนน้อยลง สิง่ นีเ้ ป็นความจริงอย่างไรก็ตามเมือ่ ความดันไอน้ำต่ำ อุณหภูมิ
ก็ต่ำเช่นกัน ดังนั้นอัตราของปริมาณความร้อนที่จะถ่ายเทก็จะลดลงซึ่งก็เป็น
เรือ่ งยากทีจ่ ะเพิม่ พืน้ ทีผ่ วิ ถ่ายเทความร้อนให้มากขึน้ ในการให้ความร้อนกับพืน้ ทีผ่ วิ
ตัวอย่าง ผลของการเพิม่ พืน้ ทีผ่ วิ ความร้อน
ระบบทำความร้อนแห่งหนึ่งทำงานที่ความดัน 5.5 บาร์ (80 ปอนด์/
ตารางนิ ้ ว ) สามารถที ่ จ ะปรั บ แรงดั น เป็ น 2.4 บาร์ (35 ปอนด์ / ตารางนิ ้ ว )
เพื่อที่จะให้ความร้อน กับงานได้เหมือนเดิมด้วยวิธีการง่ายๆ นี้จะต้องเพิ่มพื้นที่
ผิวความร้อนอีก 25%
ถ้าต้องการทำความร้อนให้ห้องหนึ่งที่มีท่อทำความร้อนอยู่ 4 ท่อ และ
เมือ่ ต้องเพิม่ พืน้ ทีผ่ วิ ความร้อนขึน้ 25% จำเป็นต้องเพิม่ ท่อทำความร้อนอีกหนึง่ ท่อ
การกระทำเช่นนี้จะทำให้มีผลประหยัดได้ 4% แต่ถ้าต้องการลดความดันลงอีก
0.34 บาร์ (5 ปอนด์/ตารางนิ้ว) และเพิ่มพื้นที่ผิวถ่ายเทความร้อนอีก 75%
ทำให้ประหยัดได้เพิม่ ขึน้ เป็น 7%
ต้องนึกถึงอยู่เสมอเมื่อทำการออกแบบระบบทำความร้อน ตัวอย่างเช่น
การใส่ขดท่อทำความร้อนในถังน้ำร้อน และการติดตัง้ ท่อทำความร้อนสำหรับการ
ให้ความร้อนแก่บริเวณทีต่ อ้ งการ
มีสองจุดทีต่ อ้ งพิจารณา
เมือ่ ความดันทีใ่ ช้งานของหม้อไอน้ำลดลง ปริมาตรจำเพาะของไอน้ำจะเพิม่ ขึน้
อย่างรวดเร็ว เมือ่ ความดันลดต่ำกว่า 7 บาร์ (100 ปอนด์/ตารางนิว้ ) การเพิม่ ปริมาตร
จำเพาะของไอน้ำส่งผลให้มีหยดน้ำติดไปกับไอน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากน้ำเป็นตัวนำ
ความร้อนไม่ดี จะทำให้การถ่ายเทความร้อนลดลง
เป็นไปไม่ได้ที่จะเพิ่มพื้นที่ผิวถ่ายเทความร้อนให้กับทุกๆโรงงานและ
ทุกๆอุปกรณ์
6
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation
2. การระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown)

2. การระบายน้ำหม้อไอน้ำทิ้ง (Blowdown)
การระบายน้ำหม้อไอน้ำทิ้งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของหม้อไอน้ำ
เพือ่ ทีจ่ ะรักษาระดับค่าต่างๆของน้ำหม้อไอน้ำ เนือ่ งจากน้ำป้อนทีเ่ ข้าหม้อไอน้ำมี
สารละลายอยู่จำนวนหนึ่ง เมื่อน้ำระเหยกลายเป็นไอน้ำจะทิ้งสารละลายเหล่านี้
ไว้ในหม้อไอน้ำทำให้ความเข้มข้นของสารละลายเพิ่มขึ้น อาจจะเป็นทั้งอยู่ใน
สภาวะสารละลายและสารแขวนลอย
ดังนัน้ จึงมีความจำเป็นทีต่ อ้ งควบคุมระดับความเข้มข้นของสารละลายในน้ำ
โดยมีกระบวนการทีเ่ รียกว่า “การโบล์วดาวน์” (Blowdown) ซึง่ ก็คอื การระบายน้ำ
จำนวนหนึ่งออกจากหม้อไอน้ำ ขณะเดียวกันจะต้องป้อนน้ำเข้ามาทดแทนน้ำ
ส่วนที่ระบายทิ้งโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาระดับของสารละลาย
ทัง้ หมดในน้ำ (TDS) หากไม่มกี ารระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown) หม้อไอน้ำ
อาจจะเสียหายได้ เนือ่ งจากมีนำ้ และสิง่ อืน่ ปะปนตลอดจนฟองอากาศติดไปกับไอน้ำ
ทำให้ละอองน้ำจำนวนมากลอยติดไปกับไอน้ำทีเ่ รียกว่า “แครี่ โอเวอร์” (Carry over)
เข้าไปในระบบท่อจนถึงกระบวนการผลิต ปัญหานี้ต้องการการเอาใจใส่ดูแล
ติดตามอย่างสม่ำเสมอตลอดจนการให้คำแนะนำเกีย่ วกับสภาพของน้ำในหม้อไอน้ำ
ทุกเครือ่ ง โดยเฉพาะหม้อไอน้ำรุน่ ใหม่ๆ ทีป่ ระกอบสำเร็จจากโรงงานซึง่ อาจจะ
เสียหายได้งา่ ยกว่าหม้อไอน้ำแบบเก่าๆ เนือ่ งจากหม้อไอน้ำแบบนีจ้ นุ ำ้ ได้นอ้ ยและ
มีที่ว่างของไอน้ำอยู่จำนวนจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิต สิ่งสำคัญที่
ต้องระลึกเสมอว่าหากมีการระบายน้ำทิ้ง(Blowdown)ไม่ถูกต้องจะสูญเสีย
ความร้อนได้มาก เป็นอันดับสองรองมาจากการสูญเสียความร้อนของก๊าซไอเสีย
มีขอ้ คิดเห็นทีค่ วรพิจารณาอยู่ 2 ประการ คือ
ข้อแรกเป็นสิง่ ทีส่ ำคัญทีส่ ดุ คือ ปริมาณน้ำในหม้อไอน้ำทีร่ ะบายทิง้ (Blowdown)
ต้องไม่มากเกินความจำเป็นขั้นต่ำ ถ้ามากเกินไปจะมีผลให้สิ้นเปลืองพลังงาน
การควบคุมระดับในการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ ทีเ่ หมาะสมจึงเป็นสิง่ สำคัญยิง่
7
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้
(Blowdown)

เมื่อข้อแรกได้ดำเนินการได้แล้ว ความร้อนสูญเสียจากการระบายน้ำหม้อ
ไอน้ำทิ้ง (Blowdown) ควรนำกลับมาใช้ และต้องตรวจสอบว่าวิธีการนี้ว่ามี
ความเหมาะสมต่อการลงทุนหรือไม่ ซึง่ เรือ่ งนีจ้ ะอธิบายอย่างละเอียดในตอนที่ 5
เกีย่ วกับการนำความร้อนกลับมาใช้ใหม่ได้ 50% โดยประมาณจากความร้อนของ
น้ำหม้อไอน้ำทีป่ ล่อยออกไป (Blowdown)
วิธกี ารระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown)
มีวิธีการระบายน้ำทิ้งสองวิธีดังต่อไปนี้
การระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown) เป็นครัง้ คราวโดยการระบายน้ำออก
จากด้านล่างหม้อไอน้ำ(ดูในรูปที่ 3) เพื่อระบายคราบโคลนที่ก่อตัวออกไป
การดำเนินการโดยวิธีนี้ ผู้ควบคุมกะจะต้องกระทำทุกๆกะโดยการเปิดวาล์ว
หลายๆ ครัง้ ครัง้ ละสัน้ ๆ ปริมาณของน้ำทีจ่ ะระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown)
อาจจะประมาณจากระดับของน้ำในหลอดแก้ววัดระดับน้ำที่ลดลง วิธีการนี้เป็น

รูปที่ 3 วาล์วระบายน้ำทิง้ รูปที่ 4 จุดระบายน้ำทิง้ (Blowdown)


(Blowdown) ของหม้อไอน้ำ
8
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้
(Blowdown)

วิธกี ารเดิมทีใ่ ช้กบั หม้อไอน้ำแบบถัง (Shell Boilers)


การระบายน้ำหม้อไอน้ำทิ้ง (Blowdown) อย่างต่อเนื่องโดยระบายน้ำ
หม้อไอน้ำ ทิง้ ทีจ่ ดุ ใกล้กบั ระดับน้ำปกติ (ดูในรูปที่ 4) วิธกี ารระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้
(Blowdown) เป็นขั้นๆ อย่างต่อเนื่องนี้ (Step Continuous) วาล์วระบายน้ำ
หม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown) จะเปิดหรือปิด เมือ่ ได้รบั สัญญาณจากเวลาทีต่ ง้ั ไว้ หรือ
สัญญาณที่ได้จากการวัดคุณสมบัติของน้ำในหม้อไอน้ำ ตัวอย่างเช่น วัดค่าสภาพ
การนำไฟฟ้าของน้ำ
แนวทางการปฏิบตั ใิ นปัจจุบนั จะมีทง้ั การระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown)
เป็นครัง้ คราว และการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown) อย่างต่อเนือ่ ง วิธกี ารแรก
เป็นการระบายของแข็งแขวนลอยซึง่ ตกตะกอนลงมา และวิธหี ลังเพือ่ ควบคุมระดับ
สารละลายทั ้ ง หมดในน้ ำ (TDS) สิ ่ ง สำคั ญ ในการระบายน้ ำ หม้ อ ไอน้ ำ ทิ ้ ง
(Blowdown) เป็นครั้งคราวควรทำในช่วงที่หม้อไอน้ำมีภาระน้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่
ละเลยไม่ได้ มิฉะนัน้ จะทำให้นำ้ มีสภาพทีไ่ ม่ดสี ง่ ผลให้เกิดเมือกรวมตัวมากขึน้ จน
ท่วมท่อห้องเผาไหม้ ทำให้การถ่ายเทความร้อนได้น้อยลงและท่อห้องเผาไหม้
เสียหายได้ สำหรับคำอธิบายเกี่ยวกับวิธีการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิ้ง(Blowdown)
โดยละเอียดให้ดคู มู่ อื แนวทางการปฎิบตั งิ านทีด่ ี หมายเลข 10 การใช้พลังงานอย่าง
มีประสิทธิภาพว่าด้วยการใช้งานหม้อไอน้ำในอุตสาหกรรม
ปริมาณการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown)
การทีจ่ ะประเมินการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown) ปริมาณเท่าใดนัน้
สามารถประเมินปริมาณน้ำทีร่ ะบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown) ได้จากรายการ
ต่างๆ ได้ดงั ต่อไปนี้
1. ถ้าระดับสารละลายทัง้ หมดในน้ำ (TDS) ของน้ำป้อน (เป็นส่วนผสมของ
คอนเดนเสตกับน้ำเติม) สามารถหาปริมาณการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown)
ซึ่งคำนวณได้ดังต่อไปนี้
9
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้
(Blowdown)

sf
ร้อยละของการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown) = sb - sf x100

โดยที่
Sf = ค่าสารละลายในน้ำ (TDS)ของน้ำป้อนมีหน่วยเป็นหนึง่ ในล้านส่วน
(PPM)
Sb = ค่าสารละลายในน้ำ (TDS)ของน้ำในหม้อไอน้ำทีต่ อ้ งการมีหน่วย
เป็นหนึง่ ในล้านส่วน (PPM)
2. สำหรับหม้อไอน้ำที่ใช้วิธีการคิดปริมาณการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิ้ง
(Blowdown) ต้องคำนวนจากปริมาณการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown) ด้วย
ตัวอย่างเช่น มีระดับน้ำ 1 นิว้ บนหลอดแก้วซึง่ ค่านีแ้ ปลงเป็นปริมาตรได้ โดยการ
ประเมินจากพื้นที่ผิวหน้าของน้ำในหม้อไอน้ำ (กว้าง x ยาว) และคูณด้วยระยะ
ความสูงของระดับบนหลอดแก้วแล้วคูณด้วยจำนวนครัง้ การระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้
(Blowdown) เมื่อได้ปริมาตรน้ำในหม้อไอน้ำแล้วนำมาคูณกับร้อยละของ
การระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ ก็จะทราบ อัตราการไหลของการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้
(Blowdown)อย่างต่อเนื่องซึ่งต้องพิจารณาอัตราการไหลนี้ต้องสัมพันธ์กับ
ค่าอัตราการผลิตไอน้ำโดยเฉลี่ย
3. วิธหี าอัตราการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown) ของหม้อไอน้ำด้วย
วิธกี ารเปิดวาล์วทีด่ า้ นล่างของหม้อไอน้ำในช่วงเวลาหนึง่ และปิดเป็นระยะเวลาหนึง่
โดยใช้วาล์วแบบ Full Bore มาตรฐานอัตราการไหล ควบคุมโดยความยาวและ
เส้นผ่าศูนย์กลางของท่อระบายน้ำทิง้ และความดันหม้อไอน้ำ
รูปที่ 5 อาจจะใช้สำหรับการประเมินอัตราการไหลเมื่อเปิดวาล์วระบายน้ำ
หม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown) และจากรูปจะคำนวณค่าเทียบเท่าอัตราการไหลของน้ำ
ที่ระบายทิ้งอย่างต่อเนื่องได้
10
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้
(Blowdown)

รูปที่ 5 อัตราการไหลของน้ำทีร่ ะบายทิง้ (Blowdown)

หมายเหตุ : อัตราการไหลของน้ำที่ระบายหม้อไอน้ำทิ้ง (Blowdown) มี


หน่วยเป็นกิโลกรัม/วินาที หรือปอนด์/วินาที ไม่ใช่หน่วยเป็นปอนด์/ชั่วโมง
เพราะว่าหน่วยปอนด์/ชั่วโมงเป็นหน่วยบอกอัตรการผลิตไอน้ำ
ค่าใช้จา่ ยในการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown)
ค่าใช้จา่ ยในการซือ้ น้ำปรับปรุงคุณภาพน้ำปัม๊ น้ำเข้าหม้อไอน้ำการให้ความร้อน
จนถึงจุดเดือดแล้วปล่อยทิง้ ไปใต้เครือ่ ง เพือ่ ให้ได้ตามความต้องการของการผลิต
ไอน้ำ ถ้ามีการควบคุมทีเ่ หมาะสมจะลดความสิน้ เปลืองของพลังงานและค่าใช้จา่ ย
ได้มาก พึงระลึกเสมอว่าต้องทำคุณภาพของน้ำให้อยู่ในสภาพดีอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อมิให้การระบายน้ำหม้อไอน้ำทิ้ง (Blowdown) ผิดพลาดและยุ่งยาก สำหรับ
11
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้
(Blowdown)

รูปที่ 6 ร้อยละของเชือ้ เพลิงสิน้ เปลืองในการระบายน้ำทิง้ (Blowdown)

ค่าใช้จ่ายของการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิ้ง (Blowdown) ไม่ค่อยชัดเจนเพราะ


ค่าใช้จ่ายนี้แฝงอยู่ในค่าใช้จ่ายรวมของโรงหม้อไอน้ำ ประกอบด้วยค่าน้ำ
ค่าปรับปรุง คุณภาพและค่าเชือ้ เพลิง
รูปที่ 6 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิ้ง
(Blowdown) กับร้อยละของเชื้อเพลิงที่สูญเสียทิ้งไปในรูปของความร้อนสัมผัส
และความร้อนแฝงในการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown)
โดยทั่วไปแล้วเชื้อเพลิงประมาณ 97.7 % ถูกใช้โดยตรงในการผลิตไอน้ำ
และอีก 2.3% อยู่ในรูปของความร้อนในการระบายน้ำทิ้ง จำนวนเชื้อเพลิงที่ถูก
ปล่อยทิง้ ไปกับการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown) จำนวน 2.3 % นีอ้ าจจะดูวา่
เป็นค่าทีเ่ ล็กน้อย แต่หากพิจารณาหม้อไอน้ำทีม่ กี ำลังการผลิตไอน้ำ 4,500 กิโลกรัม/
ชัว่ โมง (10,000 ปอนด์/ชัว่ โมง) ทำงานที่ 3,000 ชัว่ โมงต่อปี จะสิน้ เปลืองเชือ้ เพลิง
12
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation
3. การใช้ไอน้ำ

ประมาณได้ดงั ต่อไปนี้
24,000 ลูกบาศก์เมตรหรือ 8,600 เทอร์มของก๊าซธรรมชาติ
(1 Therm = 100,000 BTU)
22,000 ลิตร หรือ 4,900 แกลลอน ของน้ำมันเตา
39 ตันของถ่านหิน
ค่าใช่จ่ายนี้จะต้องรวมปริมาณน้ำจำนวน 1,350,000 ลิตร หรือ 300,000
แกลลอน ค่าปรับปรุงสภาพน้ำ ปั๊มน้ำและค่าใช้จ่ายน้ำทิ้งซึ่งทั้งหมดถือเป็น
ค่าใช้จ่ายโดยรวม สำหรับราคาเชื้อเพลิงมีค่านี้อยู่ระหว่าง 150,000 ถึง 300,000
บาทต่อปี ขึน้ อยูก่ บั ชนิดของเชือ้ เพลิงทีใ่ ช้ (อ้างอิงราคาปี พ.ศ. 2535) หากหม้อไอน้ำ
ทำงาน 8,000 ชัว่ โมงต่อปี ค่าใช้จา่ ยก็อาจจะเป็น 360,000 ถึง 720,000 บาทต่อปี
3. การใช้ไอน้ำ
ปกติหม้อไอน้ำจะทำงานทีป่ ระสิทธิภาพค่อนข้างสูง ประมาณ 75-84 %
ประสิทธิภาพการใช้ไอน้ำควรได้รบั การพิจารณาเพิม่ ให้สงู ขึน้ ตามไปด้วยรวมถึง
ปริมาณไอน้ำที่รั่วท่อไม่ได้หุ้มฉนวนกันความร้อน การไม่ได้นำคอนเดนเสต
กลับมาใช้และการปล่อยไอน้ำแฟลชทิ้งไป โดยมิได้ใช้งานทำให้ประสิทธิภาพ
โดยรวมลดลง

ตัวอย่างของผลการปรับปรุงประสิทธิภาพ
การปรับปรุงประสิทธิภาพจาก 45% เป็น 55%
ทำให้ประหยัดการใช้เชือ้ เพลิง ลงได้ 10 x100=22.2%
45

ไอน้ำแฟลช (Fash Steam) มีผลต่อการลดประสิทธิภาพโดยรวมจาก


เชือ้ เพลิงทีป่ อ้ นมีคา่ ต่ำกว่า 50 % มากก็มโี อกาสเป็นไปได้

13
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การใช้ไอน้ำ

การลดค่าใช้จา่ ยให้ได้ผลสามารถทำได้ ดังนี้


ลดความร้อนสูญเสียจากท่อของระบบส่งจ่ายไอน้ำ และพื้นที่ผิวเปิดที่ไม่
หุ้มฉนวนต่างๆ
ให้แน่ใจว่าการจ่ายไอน้ำไม่วา่ ใช้กบั การทำความร้อนให้อาคารหรือการผลิต
ต้องรักษาและควบคุมเงื่อนไขให้ได้ตามที่ได้ออกแบบไว้
เนือ่ งจากไฟฟ้ามีมาตรวัดหน่วยทีใ่ ช้ และเรียกเก็บจากผูใ้ ช้ไฟฟ้าโดยคิดเป็น
ค่าใช้จา่ ยรวมของทัง้ โรงงานทำให้ไม่ทราบรายละเอียดค่าใช้ไฟฟ้าของแต่ละแผนก
หรือแต่ละกระบวนการผลิตมีน้อยแห่งที่สามารถจะทราบค่าใช้จ่ายไฟฟ้าใน
รายแผนกได้ อย่างไรก็ตามสามารถทราบค่าใช้จา่ ยไอน้ำได้กจ็ ะทำให้สามารถคิดค่า
ใช้จ่าย ในส่วนสำคัญของแต่ละผลผลิตได้บ่อยครั้งจะคิดรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการ
บริหารงานซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับบางกรณีค่าใช้จ่ายรวมของ
การให้บริการไม่เกิน 5 % ของค่าใช้จ่ายการผลิตรวม และบ่อยครั้งจะพิจารณาว่า
เป็นค่าใช้จา่ ยทีเ่ ล็กน้อย อย่างไรก็ตามเชือ้ เพลิงและเงินทีเ่ กีย่ วข้องเป็นจำนวนมาก
ผลทีไ่ ด้จากการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้การบริหารพลังงานในโรงงานมีความ
สัมพันธ์ต่อค่าใช้จ่ายของการผลิต ดังนั้นสามารถกำหนดได้เมื่อทราบค่าใช้จ่าย
แต่ละรายการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดการ ให้ดูคู่มือการใช้เชื้อเพลิงอย่างมี
ประสิทธิภาพ เล่มที่ 4 การตรวจวิเคราะห์การใช้พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ค่าใช้จา่ ยทัง้ หมดหรือค่าใช้จา่ ยรวมยอดในการผลิตไอน้ำเป็นพืน้ ฐานในการ
คิดต้นทุนของผลผลิตแต่ละชนิด แต่ละชิ้นโดยจะต้องรวมค่าใช้จ่ายต่างๆทั้งทาง
ตรงและทางอ้อมในการผลิตและจ่ายไอน้ำด้วย
การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายของการผลิตไอน้ำต้องคำนึงถึงกระบวนการผลิตที่
แตกต่างกันจะใช้เครือ่ งมือ เพือ่ ทำการตรวจสอบว่าจะลดค่าใช้จา่ ยได้อย่างไร แม้วา่
การวัดการใช้ไอน้ำอย่างต่อเนือ่ งจะเป็นสิง่ ทีไ่ ด้ประโยชน์มาก แต่การวัดทุกๆกระบวน
การผลิตอาจจะไม่เหมาะสมเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง การวัดคอนเดนเสตที่เกิดขึ้น
14
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การใช้ไอน้ำ

จากแต่ละกระบวนการผลิตและกำหนดเป็น “มาตรฐาน” และนำไปเป็นข้อมูล


ในการประเมิ น ค่ า ใช้ จ ่ า ย และพิ จ ารณาลดค่ า ใช้ จ ่ า ยในการผลิ ต ของแต่ ล ะ
กระบวนการผลิตหรือของแต่ละอาคารสำหรับหลักการ วิธีการและข้อแนะนำ
สำหรับการวัดไอน้ำได้ให้ไว้ในแนวทางการปฏิบตั งิ านทีด่ ี 18 เรือ่ งการลดค่าใช้จา่ ย
ด้านพลังงาน โดยการวัดปริมาณการใช้ไอน้ำ
การวัดการใช้ไอน้ำมีสองขั้นตอน ในขั้นแรกวัดไอน้ำที่ออกมาจากห้อง
หม้อไอน้ำ ค่าใช้จา่ ยทัง้ หมดต่อจำนวนไอน้ำทีผ่ ลิตได้เท่ากับค่าใช้จา่ ยไอน้ำต่อตัน
ขั้นที่สองไอน้ำจะถูกวัด เมื่อไหลเข้าแต่ละแผนกหรืออุปกรณ์ที่ใช้ไอน้ำมากๆ
วิธกี ารนีจ้ ะมีสว่ นต่างของผลรวมของการผลิตจ่ายไอน้ำ ต้องตรวจสอบการสูญเสีย
เหล่านี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ การเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหันของการใช้ไอน้ำอาจจะ
แสดงว่ามีความเสียหายของฉนวนความร้อนไอน้ำรั่วกับดักไอน้ำ (Steam trap)
ทำงานไม่ปกติเกิดขึ้นได้
อย่างไรก็ตามสำหรับบางโรงงานการวัดไอน้ำในทางปฏิบตั อิ าจจะไม่เหมาะสม
อีกวีธีหนึ่งนอกเหนือจากการวัดการใช้ไอน้ำโดยตรง คือ การพิจารณาว่าไอน้ำ
1 กิโลกรัม เมื่อกลั่นตัวกลายเป็นคอนเดนเสตก็ได้เป็นน้ำ 1 กิโลกรัม เช่นกัน
ดังนัน้ โรงงานสามารถทีจ่ ะวัดปริมาณคอนเดนเสตจากโรงงานหรือจากแผนกหนึง่
หรือจากครื่องหนึ่งแทนที่จะวัดไอน้ำที่จ่ายให้ ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธี “มาตรฐาน”
ของการวัดปริมาณใช้ไอน้ำสำหรับแต่ละโรงงานหรือแต่ละอุปกรณ์ที่สามารถ
กระทำได้ ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ในการคิดค่าใช้จ่ายแต่สามารถทำการตรวจ
สอบผลการประหยัดที่ทำได้หลังมีการปรับปรุงแก้ไข
ถ้าการประหยัดทำได้ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไอน้ำให้มากขึ้น
จะมีผลต่อการลดค่าเชื้อเพลิง การลดการใช้ไอน้ำจาก 2,000 หน่วย/ชั่วโมง
(ไม่ว่าหน่วยจะเป็นกิโลกรัมหรือปอนด์) การคิดค่าใช้จ่ายไม่ใช่คิดแต่ผลรวมของ
ค่าใช้จ่ายไอน้ำทั้งหมด เพราะยังมีค่าเสื่อมราคาของโรงหม้อไอน้ำ ค่าประกันภัย
15
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การใช้ไอน้ำ

โรงงาน ค่าแรงงาน ฯลฯ ทัง้ หมดนีเ้ ป็นค่าใช้จา่ ยคงทีซ่ ง่ึ ไม่ขน้ึ กับปริมาณไอน้ำทีผ่ ลิต
ดังนัน้ วัตถุประสงค์ในการคิดค่าใช้จา่ ยไอน้ำจะต้องอยูบ่ นพืน้ ฐาน ดังนี้
ค่าใช้จา่ ยเชือ้ เพลิง
ค่าใช้จา่ ยในการลำเลียงขนส่งเชือ้ เพลิง
ค่าน้ำและค่าการปรับปรุงคุณภาพน้ำ
การลดค่าใช้จา่ ยไอน้ำสามารถทำได้ โดยการลดการในการใช้ไฟฟ้าของอุปกรณ์
หม้อไอน้ำซึ่งได้แก่ การปั๊มน้ำป้อน ปั๊มเชื้อเพลิง เป็นต้น แต่ตามปกติค่าใช้จ่าย
ในส่วนนี้น้อยและประเมินได้ยากจึงสามารถตัดทิ้งได้
ราคาเชือ้ เพลิงทีส่ งู ขึน้ ในปัจจุบนั คิดเป็นค่าใช้จา่ ยของเชือ้ เพลิงประมาณ 80%-
85% ของค่าใช้จ่ายไอน้ำทั้งหมด การประเมินผลการประหยัดค่าเชื้อเพลิง
เพียงอย่างเดียว สามารถทำได้ง่ายแต่การใช้อย่างมีประโยชน์เป็นแนวทางที่
ประหยัดค่าใช้จา่ ยในการใช้ไอน้ำ
เหตุผลส่วนใหญ่ของคนทั่วไปในการประเมินศักยภาพการประหยัด คือ
พิจารณาจากค่าใช้จ่ายของแต่ละอุปกรณ์
วิธีการนี้สามารถทำได้อย่างง่ายๆ โดยการคำนวณการประหยัดเชื้อเพลิง
แทนการคิดค่าใช้จ่ายพื้นฐานของไอน้ำ

ตัวอย่างของผลกระทบจากการรัว่ ของไอน้ำ พิจารณาดังต่อไปนี้


- การใช้งานทีค่ วามดันไอน้ำ 7 บาร์
- รูรว่ั ขนาด 0.8 มม.
การสูญเสียเทียบได้เป็นดังนี้
- มากถึง 2.5 ตัน ของถ่านหินต่อปี
- มากถึง 1,500 ลิตรของน้ำมันต่อปี
- มากถึง 570 เทอร์มของก๊าซต่อปี (เทอร์ม = 100,000 บีทยี )ู
16
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การใช้ไอน้ำ

การรัว่ ของไอน้ำ
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าแหล่งของการสูญเสียความร้อนของโรงงานที่ใช้ไอน้ำ
คือการสูญเสียทีเ่ กีย่ วกับไอน้ำรัว่ จากวาล์ว การชำรุดหน้าแปลนท่อและข้อต่อท่อ
ต่างๆ การรั่วนี้สามารถตรวจได้ง่าย และเมื่อพบการรั่วแล้วต้องรีบดำเนินการ
ซ่อมแซมแก้ไข เนื่องจากการสูญเสียจากการรั่วเพียงเล็กน้อยก็มีผลมากต่อการ
ประหยัดค่าใช้จา่ ยอย่างมาก
พื้นผิวที่ไม่ได้หุ้มฉนวน
ความร้อนสูญเสียได้เนือ่ งจากการแผ่รงั สีจากท่อไอน้ำ ทุกๆ ตารางเมตรของ
พื้นที่ผิวท่อไอน้ำร้อนที่ไม่ได้หุ้มฉนวน (ทั้งท่อไอน้ำและอุปกรณ์ใช้ไอน้ำ)
ทีค่ วามดัน 7 บาร์ (100 ปอนด์/ตารางนิว้ ) มีความร้อนสูญเสีย 9,300 กิโลจูล (8,850 บีทยี )ู
ในหนึ่งชั่วโมง ซึ่งหมายถึง 5 กิโลกรัมต่อชั่วโมงหรือ 1 ปอนด์ของไอน้ำจากทุก
ตารางฟุต ของพืน้ ทีผ่ วิ ทีไ่ ม่ได้หมุ้ ฉนวน
ลักษณะนีเ้ ป็นเหตุบอกความสูญเสียของระบบไอน้ำทีเ่ กิดขึน้ จากความร้อน
สูญเสียจากพื้นผิวของท่อและเครื่องจักรที่ไม่ได้หุ้มฉนวน ซึ่งความร้อนที่สูญเสีย
ทำให้ภาวะแวดล้อมของการทำงานร้อนขึ้น ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรจึง
เปิดประตูให้อากาศเย็นเข้าโรงงาน เมือ่ อากาศเย็นเข้ามาผ่านผิวท่อทีไ่ ม่ได้หมุ้ ฉนวน
ก็ยิ่งทำให้การสูญเสียเพิ่มขึ้น
ตัวอย่างของการสูญเสียผ่านพืน้ ทีผ่ วิ ทีไ่ ม่ได้หมุ้ ฉนวนและหน้าแปลน
มี ท ่ อ ยาว 3 เมตร(10 ฟุ ต ) ขนาดเส้ น ผ่ า นศู น ย์ ก ลาง 150 มม.
ทีไ่ ม่ได้หมุ้ ฉนวน ส่งผ่านไอน้ำทีค่ วามดัน 7 บาร์ ซึง่ ทำให้มกี ารสูญเสียถ่านหิน
5 ตัน หรือใช้นำ้ มัน 3,000 ลิตรต่อปี
ถ้ามีหน้าแปลนทีไ่ ม่ได้หมุ้ ฉนวน 5 คูอ่ ยูบ่ นท่อขนาด 150 มม. มีความร้อน
สูญเสียเท่ากับการใช้ถา่ นหิน 5 ตัน หรือใช้นำ้ มัน 3,000 ลิตรต่อปี
17
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การใช้ไอน้ำ

วิธกี ารแก้ไขทำได้งา่ ยโดยการหุม้ ฉนวนพืน้ ทีผ่ วิ เปิดของอุปกรณ์ทใ่ี ช้ไอน้ำ


เพื่อลดทั้งความร้อนสูญเสียและการเปิดหน้าต่าง
รูปที่ 7 แสดงการหุ้มฉนวนประเภทเป็นกล่องสำหรับหน้าแปลน สำหรับ
รายละเอียดให้ดูได้ที่คู่มือการใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ เล่ม 8 เรื่องการใช้
ฉนวนสำหรับท่อร้อน และ เล่มที่ 19 เรื่องขบวนการผลิตที่ต้องหุ้มฉนวนและ
การใช้เชือ้ เพลิงอย่างมีประสิทธิภาพเพือ่ อ้างอิงต่อไป

รูปที่ 7 ความร้อนสูญเสียผ่านหน้าแปลนทีไ่ ม่ได้หมุ้ ฉนวน


การลดความต้องการของการใช้ไอน้ำให้นอ้ ยทีส่ ดุ
การจ่ายไอน้ำผ่านท่อส่งจ่ายจะมีประสิทธิภาพมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการ
สูญเสีย ในท่อจ่ายจนถึงจุดใช้งาน ดังนั้นการใช้ไอน้ำควรจะใช้ให้น้อยที่สุด
ผู้ใช้ไอน้ำควรจะประเมินอย่างถูกต้อง เพื่อกำหนดค่าความต้องการให้น้อยที่สุด
โดยการสำรวจอย่างต่อเนื่อง เพื่อกำหนดให้ชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงความ
ต้องการใช้ไอน้ำ หรือประมาณการใช้ไอน้ำทีแ่ ท้จริง
18
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การใช้ไอน้ำ

ตัวอย่างของการสูญเสียเชือ้ เพลิงจากการใช้ความร้อนทีส่ งู เกินไป


อุณหภูมหิ อ้ ง 19OC
อุณหภูมหิ อ้ งทีต่ อ้ งการ 17OC
อุณหภูมภิ ายนอก 7OC
อัตราส่วน 19-7 17-7 = 1.2
อัตราส่วนจากรูปที่ 8 การสิน้ เปลืองเชือ้ เพลิงเป็น 16%-17%
หมายเหต ุจากตัวอย่างดังกล่าวถึงแม้จะเป็นกรณีของต่างประเทศที่เป็นเมือง
หนาวแต่กแ็ สดงให้เห็นว่าถึงแม้วา่ อุณหภูมเิ พียง 2OC มีผลทำให้สน้ิ เปลืองเชือ้ เพลิงถึง 17%
การสูญเสียความร้อนของระบบการให้ความร้อน
การควบคุมอุณหภูมิภายในส่วนที่ต้องการความร้อนอาจจะใช้การควบคุม
ด้วยคนหรือใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติเพื่อลดอุณหภูมิที่สูงเกินความต้องการ
ซึง่ มีผลทำให้ปริมาณการใช้ไอน้ำลดลงได้อกี ด้วยวิธกี ารลดหรืองดการทำความร้อน
ที่ไม่จำเป็น เช่นหม้อน้ำสำรองใช้งานที่ไม่มีความจำเป็นต้องให้ไอน้ำจากหม้อน้ำ
ทีใ่ ช้งานอยูเ่ ข้าไปให้ความร้อน หรืออุปกรณ์ตา่ ง ๆ ทีไ่ ม่มกี ารใช้งานตามปกติ
รูปที่ 8 แสดงตัวอย่างการสูญเสียของเชือ้ เพลิงเนือ่ งจากอุณหภูมทิ ส่ี งู เกินไป
ของระบบทำความร้อน ซึ่งตัวอย่างแสดงถึงการสูญเสียความร้อนภายใต้เงื่อนไข
ทีแ่ ตกต่างกัน
วิธกี ารหนึง่ ของโรงงานขนาดใหญ่ทต่ี อ้ งการทำความร้อน โดยการใช้อากาศ
เข้าเครือ่ งทำความร้อน (Heater) ตามทีแ่ สดงในรูปที่ 9 ใช้แผ่นปรับอากาศชนิดปรับได้
(Damper) จนถึ ง เปิ ด 100 % ของอากาศที ่ ด ู ด เข้ า ในฤดู ร ้ อ นหรื อ ปิ ด อากาศ
เข้าให้หมุนเวียนอากาศภายในเท่านัน้ ในฤดูหนาว
เงือ่ นไขทีเ่ หมาะสมของฤดูหนาวควรจะให้อากาศภายนอกเข้ามาเพียง 25%
โดยประมาณและอากาศหมุนเวียนภายในประมาณ 75% แต่คา่ นีอ้ าจจะเปลีย่ นแปลง
ได้ตามความต้องการของการระบายอากาศของอาคารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่
19
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การใช้ไอน้ำ

รูปที่ 8 เชือ้ เพลิงสูญเสียเนือ่ งจากการใช้อณ


ุ หภูมสิ งู เกินไป
แน่นอนว่าอากาศภายนอกที่ให้เข้ามาควรจะใหเข้ามาให้น้อยที่สุดสำหรับสภาวะ
การทำงานทีด่ ี
ถ้ามีสว่ นเกินใดๆ เกิดขึน้ ให้ตง้ั ข้อสังเกตุได้วา่ สิง่ นัน้ เป็นสิง่ บอกเหตุการใช้
เชือ้ เพลิงทีเ่ พิม่ ขึน้ การปรับตัง้ ลิน้ อากาศควรอยูใ่ นการควบคุมของผูท้ ร่ี บั ผิดชอบ
การควบคุมเครื่องทำความร้อนไม่ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
ปรับตัง้ ลิน้ อากาศ (Damper) ใหม่ โดยลิน้ อากาศ (Damper) จะต้องทำงาน
ได้ไม่ค้าง
พัดลมของเครือ่ งทำความร้อนปิดวาล์วไอน้ำจะต้องปิดด้วยไม่ลมื เปิดค้าง
20
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การใช้ไอน้ำ

รูปที่ 9 อากาศเข้าเครือ่ งทำความร้อน (Heater)


ตัวอย่างของการสิน้ เปลืองจากการใช้ไอน้ำทีไ่ ม่จำเป็น
เครือ่ งทำความร้อนทีม่ กี ำลัง 44 กิโลวัตต์ (150,000 บีทยี )ู ใช้ไอน้ำที่
ความดัน 7 บาร์ เมือ่ เดินเครือ่ งปรกติใช้ไอน้ำ 77 (Kg-Steam/Hour) เมือ่ ปิด
พัดลมปริมาณไอน้ำทีใ่ ช้ในเครือ่ งทำความร้อนนีเ้ ป็น 4.5 (Kg-Steam/Hour)
สิ่งนี้เป็นการสูญเสียความร้อนที่มองไม่เห็น เพราะความร้อนจะลอยขึ้น
หลังคาอาคารและหลุด หนีออกไปโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์แต่อย่างใด

ตัวอย่างของการสูญเสียในระบบส่งจ่ายไอน้ำ
ท่อไอน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 มม. ยาว 3 เมตร ทำให้เกิดการสูญเสีย
เชือ้ เพลิง มีคา่ สูงถึง 720 บาท/ปี เมือ่ โรงงานมีการทำงาน 8 ชัว่ โมงต่อวัน 5
วันต่อสัปดาห์หรืออาจจะเป็น 4 เท่าเมื่อทำงานอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้ามีการ
หุม้ ฉนวนจะลด การสูญเสียลงได้ประมาณ 70%-75%
21
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การใช้ไอน้ำ

การสูญเสียความร้อนของระบบส่งจ่ายไอน้ำ
การติดตั้งระบบส่งจ่ายไอน้ำควรทำให้สั้นหรืออาจจะต้องเดินท่อเส้นทาง
ใหม่ สำหรับโรงงานที่ติดตั้งระบบส่งจ่ายไอน้ำไม่ถูกต้องสามารถลดการสูญเสีย
ความร้อนโดยไม่กระทบกระเทือนต่อกระบวนการผลิต ซึ่งผลตอบแทนที่ได้
จะคุ้มค่าต่อการลงทุน สำหรับโรงงานที่ออกแบบใหม่ควรจะรวมกลุ่มอุปกรณ์
เครือ่ งจักรใช้ไอน้ำให้ใกล้กบั ท่อจ่ายไอน้ำ เพือ่ ลดการสูญเสียความร้อนของระบบ
ส่งจ่ายไอน้ำ
ตัวอย่างการสูญเสียจากการที่มีภาระไม่เต็มที่
โรงงานแห่งหนึง่ ใช้ไอน้ำ 907 กิโลกรัม (2,000 ปอนด์) ต่อชัว่ โมง ทำงาน
8 ชัว่ โมงต่อวัน 4 วันต่อสัปดาห์ เมือ่ มีภาระเพียง 50% จะทำให้ สิน้ เปลืองถ่านหิน
ประมาณ 112 ตัน หรือ น้ำมัน 66,000 ลิตรต่อปี นอกจากนีโ้ รงงานอาจจะใช้ไฟฟ้า
เพิม่ เป็นสองเท่าซึง่ มากเกินความจำเป็น
การแบ่งระบบส่งจ่ายไอน้ำออกเป็นกลุ่มตามความต้องการใช้ไอน้ำและ
ใช้วาล์วแยกการทำงานอย่างเหมาะสมกับการใช้งาน (ให้ดูรูปที่ 10) สามารถจ่าย
ไอน้ำให้กบั แผนกหนึง่ ของโรงงานทีท่ ำงานล่วงเวลาโดยไม่มผี ลกระทบต่อระบบ
การจ่ายไอน้ำของระบบหลักทีจ่ า่ ยไปยังหน่วยอืน่

รูปที่ 10 ระบบส่งจ่ายไอน้ำ
22
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การใช้ไอน้ำ

การสูญเสียความร้อนในกระบวนการผลิต
ในอุตสาหกรรมทีม่ กี ารใช้ไอน้ำจะมีความร้อนทีส่ ญ ู เสียโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์
กับการทำงาน ตัวอย่างชุดทำความร้อนให้อากาศซึง่ จ่ายอากาศร้อนเพือ่ การทำให้แห้ง
จะใช้ไอน้ำจำนวนเท่ากันไม่วา่ โรงงานมีภาระเต็มทีห่ รือมีภาระเพียงบางส่วน ดังนัน้
หากโรงงานทำงานเพียง 50% เป็นเวลาเต็ม 8 ชัว่ โมงในหนึง่ วัน จะมีการใช้เชือ้ เพลิง
มากกว่าทีค่ วรจะใช้สำหรับงานนัน้ ถึงสองเท่า จากการปรับปรุงกระบวนการทำงาน
เพือ่ ให้โรงงานได้ทำงานเต็มทีต่ ลอดเวลาการทำงานและหยุดโรงงานเมือ่ วัสดุหมดลง
ทำให้สามารถประหยัดการใช้พลังงานลงได้
การทำให้แห้งทางเชิงกลเป็นวิธกี ารทีป่ ระหยัดทีส่ ดุ ของการลดน้ำจำนวนมาก
ออกจากวัสดุเปียก หลังจากนั้นใช้ไอน้ำเพื่อให้กระบวนการอบแห้งที่สมบูรณ์
เหตุผลนีก้ ารแยกน้ำทางเชิงกล เช่น การปัน่ แห้ง การใช้ลกู กลิง้ บีบ การบิด เป็นต้น
โดยกระบวนการทำให้แห้งส่วนใหญ่จะเริม่ ด้วยการลดมวลของน้ำ ประสิทธิภาพ
จากการทำงานในลักษณะนีเ้ ป็นสิง่ ทีส่ ำคัญทีจ่ ะลดการใช้ไอน้ำ การเฝ้าสังเกตอย่าง
ระมัดระวังว่าการลดน้ำด้วยวิธีเชิงกลจะที่มีผลต่อประสิทธภาพที่ลดลง ถ้าการ
ทำงานของเครื่องจักรหรือป้อนที่ไม่เหมาะสม เช่น สายพานลื่นและลูกกลิ้งสึก
จะส่งผลให้การทำให้แห้งโดยวิธเี ชิงกลประสิทธิภาพ ลดลงทำให้ใช้เชือ้ เพลิงเพิม่ ขึน้
รูปที่ 11 แสดงตัวอย่างของกระบวนการอบผ้า ซึง่ ในขัน้ สุดท้ายมีการใช้ไอน้ำ
เพิม่ ขึน้ ถึง 9% เมือ่ การลดความชืน้ ด้วยวิธเี ชิงกลไม่เพียงพอไม่เหมาะสม
การสูญเสียความร้อนจากการใช้อุณหภูมิกระบวนการผลิตที่สูงเกินไป
การใช้นำ้ ร้อนในอาคาร น้ำร้อนของกระบวนการผลิตกระบวนการย้อมหรือ
กระบวนการอืน่ ในทำนองเดียวกันจะต้องคำนึงระมัดระวังการใช้ไอน้ำอุณหภูมสิ งู
เกินความจำเป็น

23
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การใช้ไอน้ำ

รูปที่ 11 การสูญเสียไอน้ำจากการทำให้แห้งด้วยวิธเี ชิงกลทีไ่ ม่เพียงพอ


ตัวอย่างของการสิ้นเปลืองจากการใช้อุณหภูมิที่สูงเกินไป
ตั ว อย่ า งของการย้ อ มผ้ า ที ่ ใ ช้ ถ ั ง น้ ำ ย้ อ มขนาด 2,300 ลิ ต ร โดยการ
ทำให้ร้อนขึ้นถึง 100oC หมายถึงน้ำย้อมถูกทำให้ร้อนจากน้ำเย็นจนถึงน้ำ
มีอณุ หภูมิ 100oC ตัง้ แต่เริม่ ทำงานวัสดุถกู ทำให้รอ้ นด้วยน้ำย้อมจนถึงอุณหภูมิ
100oC เช่นกัน และนำวัสดุออกจากถังที่อุณหภูมิ 100oC จาก \ประสบการณ์
พบว่าการย้อมจะทำได้ที่ 60oC โดยที่ผลผลิตเป็นที่พอใจวิธีนี้จะสามารถ
ลดปริมาณการใช้ไอน้ำลงได้ ประมาณ 50 %
อีกตัวอย่างหนึง่ คือ ถังน้ำเปิดของกระบวนการผลิตจำนวน 5 ถัง ของโรงงาน
แห่งหนึ่ง มีการทำงานที่อุณหภูมิ 82oC เมื่อทราบว่าสามารถใช้อุณหภูมิ 65oC
ก็เพียงพอ สำหรับกระบวนการผลิตนี้ การให้ความร้อนทีไ่ ม่จำเป็นทำให้สน้ิ เปลือง
น้ำมันเตา 52,300 ลิตรต่อปี (11,500 แกลลอน) ซึ่งคิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ
378,000 บาท โดยโรงงานควรจะติดตัง้ อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ ซึง่ มีคา่ ใช้จา่ ย
90,000 บาท ตามที่ แสดงไว้ในรูปที่ 12 สำหรับถังเปิดของกระบวนการผลิต
24
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation
4. การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

รูปทีรู่ป12ที่ 12การควบคุ
การควบคุมมอุอุณณหภู
หภูมมขิ ิของถั
องถังงกระบวนการผลิ
กระบวนการผลิ
ต ต
4. การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ
อัตราการถ่ายเทความร้อนของคอนเดนเสตผ่านพื้นที่ผิวถ่ายเทความร้อนมี
ปริมาณสูงมาก หากมีฟิล์มของอากาศหรือฟิล์มของน้ำเกาะติดที่พื้นผิวถ่ายเท
ความร้อนนี้ ก็จะเป็นฉนวนกัน้ ลดประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนจึงจำเป็นต้อง
กำจัดอากาศและคอนเดนเสตที่เกาะติดที่ผิวถ่ายเทความร้อนนี้ โดยใช้วิธีการที่
เหมาะสม จะช่วยให้เพิม่ ประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนโดยรวมได้
ส่วนกลางของรูปที่ 13 เป็นตัวอย่างวัสดุเช่นผนังโลหะเป็นพืน้ ทีผ่ วิ ถ่ายเท
ความร้อนของเครือ่ งทำความร้อนในกระบวนการผลิตทีใ่ ห้ความร้อนด้วยการใช้ไอน้ำ
ไอน้ำไม่สามารถสัมผัสโดยตรงกับผิววัสดุชิ้นงานที่ถูกทำให้ร้อนได้ เริ่มแรกจะ
เห็นได้วา่ ผนังแต่ละด้านจะมีชน้ั บางๆของตะกรัน ซึง่ เป็นฉนวนต้านทานการถ่ายเท
ความร้อนที่จะส่งไปยังชิ้นงานกั้นอยู่ หากเป็นไปได้ควรทำความสะอาดพื้นผิว
ถ่ายเทความร้อนอย่างสม่ำเสมอ (การทำความสะอาดมีผลคุ้มต่อการลงทุน)
ชั้นที่สองฟิล์มถัดออกไปจะเป็นอากาศ และน้ำซึ่งจะต้องกำจัดออกให้เร็วที่สุด
25
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

รูปที่ 13 ผลของความต้านทานการถ่ายเทความร้อน

และออกให้หมดเท่าที่เป็นไปได้ มิฉะนั้นจะมีผลให้การถ่ายเทความร้อนน้อยลง
และประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตก็จะลดลงด้วย
ฟิล์มของน้ำมีความต้านทานความร้อนมากกว่าเหล็กและเหล็กกล้า 60 ถึง
70 เท่า และมากกว่าของทองแดง 500 ถึง 600 เท่า
ผลกระทบของฟิลม์ อากาศยิง่ รุนแรงมากคือมีคา่ ความต้านทานความร้อนมากกว่า
500 เท่าของเหล็กและเหล็กกล้า และมากกว่า 13,000 เท่าของทองแดง ฟิล์มของ
อากาศทีม่ คี วามหนา 0.025 มิลลิเมตร(0.0001 นิว้ ) มีความต้านทานความร้อนเท่ากับ
ผนังทองแดงหนา 330 มิลลิเมตร (13 นิว้ )
ฟิล์มของอากาศและน้ำ มีผลต่อกระบวนการผลิต ดังที่แสดงในรูปที่ 13
ไอน้ำทีค่ วามดันประมาณ 1 บาร์ ( 15 ปอนด์ตอ่ ตารางนิว้ ) ใช้ในการให้ความร้อนแก่
กระบวนการผลิตที่มีอุณหภูมิของการผลิตที่ 99OC โดยการลดความหนาของ
ฟิลม์ ทัง้ สองด้านมีผลทำให้ความดันของไอน้ำลดลงทีอ่ ณ ุ หภูมกิ ารผลิตเท่าเดิมหรือ
26
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

อุณหภูมิของการผลิตเพิ่มขึ้นที่ความดันไอน้ำเท่าเดิมได้
ฟิล์มอากาศและฟิล์มน้ำมีผลต่อกระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นได้ในทุกๆ
กระบวนการให้ความร้อนด้วยไอน้ำและชั้นความหนาจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เว้นแต่ว่า
จะมีการลดความหนาของฟิล์มอากาศ และน้ำบนพื้นผิวถ่ายเทความร้อนด้านที่
ไอน้ำกลั่นตัว
การจัดการกับฟิลม์ อากาศ
เมือ่ ระบบหยุดการทำงาน อากาศจะเข้าไปแทนทีใ่ นช่องของไอน้ำเมือ่ ระบบ-
เย็นลง และเมือ่ เปิดใช้ไอน้ำอีกครัง้ หนึง่ อากาศ (รวมถึงก๊าซทีไ่ ม่สามารถกลัน่ ตัวได้)
จะต้องปล่อยเพือ่ ระบายทิง้ ออกไปจากระบบมิฉะนัน้ แล้วจะตกค้างผสมอยูก่ บั ไอน้ำ
ดังนั้นจึงต้องแน่ใจก่อนว่าอากาศที่เข้ามาในระบบจะต้องระบายทิ้งออก-
จากระบบ ก่อนทีจ่ ะผสมกับไ อน้ำเครือ่ งจักรของกระบวนการผลิตส่วนใหญ่มชี อ่ งว่าง-
ของไอน้ำอยูน่ อ้ ย โดยปรกติแล้วเมือ่ ไอน้ำผ่านเข้าไปในระบบก็จะไล่อากาศไปอยู-่
ด้านหน้าของไอน้ำ

รูปที่ 14 ลักษณะของอากาศทีข่ งั อยู่


27
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

รูปที่ 14 แสดงลักษณะของไอน้ำ เมือ่ เปิดใช้งานไอน้ำๆ จะดันและอัดอากาศ-


เข้าไปอยูส่ ว่ นทีไ่ กลทีส่ ดุ ซึง่ จะเป็นทีม่ อี ณ
ุ หภูมติ ำ่ กว่าส่วนอืน่ ๆ ของระบบ
อากาศทีค่ า้ งอยูม่ ผี ลทำใหความร้อนของระบบร้อนขึน้ ได้ชา้ และความร้อน-
ไม่สม่ำเสมอ และในหลาย ๆ พืน้ ทีจ่ ดุ ทีเ่ ย็นนีท้ ำให้เกิดการบิดงอได้ อากาศทีไ่ ม่ถกู -
ไล่ออกจากระบบจะเหลือตกค้างอยูใ่ นบริเวณทีเ่ ย็น การไหลของไอน้ำทีป่ น่ั ป่วน-
จะกวนอากาศให้ผสมกันบางส่วนสะสมอยูใ่ นทีอ่ นั ห่างไกล ส่วนผสมของอากาศ-
และไอน้ำทำให้เกิดสิง่ ทีไ่ ม่ตอ้ งการ ส่วนผสมนีม้ ผี ลต่ออุณหภูมขิ องไอน้ำ จะทำ-
ให้ไอน้ำมีอณ ุ หภูมติ ำ่ ลงเนือ่ งจากความดันย่อยของไอน้ำลดลง นอกจากนีส้ ว่ นของ-
ไอน้ำในส่วนผสมนี้จะคายความร้อนแฝงผ่านผนังพื้นผิวถ่ายเทความร้อนของ-
ระบบ เมือ่ ไอน้ำกลัน่ ตัวก็จะปล่อยให้อากาศเป็นอิสระจากส่วนผสมแล้วอากาศจะ-
เกาะเพิม่ ให้กบั ฟิลม์ อากาศทีม่ อี ยูเ่ ดิมแล้ว ให้หนาขึน้
การกำจัดอากาศออกจากระบบเป็นสิง่ ทีต่ อ้ งทำ สามารถทำได้ทง้ั วิธกี ารควบ-
คุมด้วยคน หรืออุปกรณ์ระบายอากาศแบบอัตโนมัติ การระบายอากาศออกโดย-
ควบคุมด้วยคนมีขอ้ เสีย คือควบคุมการระบายอากาศออกให้หมด พอดีดว้ ยการเปิด
- ปิดวาล์วให้พอดีกบั อากาศหมดเป็นไปยากรวมถึงการระบายบ่อย แค่ไหนยากแก่-
การควบคุม โดยเฉพาะส่วนผสมอากาศและไอน้ำมีลกั ษณะคล้ายกับไอน้ำ จึงควร-
เลือกการระบายอากาศอย่างอัตโนมัติแทนการควบคุมด้วยคนจะเหมาะสมดีกว่า
การพิจารณาการระบายอากาศออกอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ ความเร็วของ-
อากาศทีร่ ะบายออกจะต้องนำมาพิจารณาด้วย ในระหว่างทีไ่ อน้ำไหลผ่านเข้าระบบ-
ต้องมีการระบายอากาศออกอย่างรวดเร็วเพือ่ ลดโอกาสทีอ่ ากาศแผ่เข้าไปผสมในไอ-
น้ำ ยิง่ ระบายอากาศออกได้เร็วเพียงใดก็ยง่ิ ทำให้ลดเวลาทีจ่ ะทำให้ระบบร้อนขึน้ -
ถึงอุณหภูมิการผลิตได้เร็วขึ้น
เนือ่ งจากอากาศและไอน้ำมีอณ ุ หภูมไิ ม่เท่ากัน จึงสามารถใช้วาล์วระบายอากาศ-
แบบเทอร์โมสแตติคแบบง่ายได้ การใช้วาล์วระบายอากาศแบบเทอร์โมสแตติค
28
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

ทีม่ ขี นาดใหญ่พอสามารถจะเปิดวาล์วจนกว่าอุณหภูมสิ ว่ นผสมทีถ่ กู ไล่ออกจะเข้าใกล้-


อุณหภูมไิ อน้ำ แต่ไม่ควรใหญ่เกินไปเพราะจะทำให้การเปลีย่ นแปลงความดันไอน้ำ-
ลดลง
ตัวอย่างคุณลักษณะของ-
วาล์วระบายอากาศทีท่ ำงานด้วย-
หลักการความดันสมดุล แสดง-
ในรูปที่ 15 วาล์วระบายอากาศ-
แบบความดันสมดุล มีข้อดี คือ
ส่วนผสมของอากาศและไอน้ำมี-
อุณหภูมติ ำ่ กว่าอุณหภูมขิ องไอ-
น้ำที่ความดันเท่ากันจากข้อดีนี้
เมื่อมีไอน้ำวาล์วจะปิดและเปิด-
ให้สว่ นผสมของอากาศและไอ-
รูปที่ 15 วาล์วระบายอากาศแบบความดันสมดุล
น้ำทีไ่ ม่ตอ้ งการปล่อยออกไป

ตำแหน่งของการระบายอากาศออกจากระบบไอน้ำ
ตำแหน่งของจุดต่อท่อไอน้ำเข้า และลักษณะของช่องเก็บไอน้ำมีความสำคัญ
ต่อการกำหนดว่าอากาศจะไปสะสมอยูท่ ใ่ี ดซึง่ ไม่มกี ฎตายตัวในการกำหนด ตำแห-
น่งของจุดระบายอากาศ
จุดสุดท้ายที่จะเลือกติดตั้งอุปกรณ์วาล์วไล่อากาศอัตโนมัติของรูปร่างของ-
ช่องเก็บไอน้ำและตำแหน่งของท่อไอน้ำเข้าจะสัมพันธ์กบั ช่องระบายคอนเดนเสต
สิง่ สำคัญในการเลือกประเภทของกับดักไอน้ำ คือ การพิจารณาว่ากับดักไอน้ำมีความ-
สามารถในการระบายอากาศได้ดเี พียงใด ซึง่ ขึน้ อยูก่ บั รูปร่างของช่องทีต่ อ่ กับดักไอ-
น้ำและตำแหน่งของไอน้ำเข้าจะต้องพิจารณาร่วมกัน
29
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

รูปที่ 16 แสดงอุปกรณ์ทม่ี รี ปู -
ร่างและขนาดเท่ากัน อุปกรณ์ทั้ง-
สองมีจุดระบายคอนเดนเสตออก-
จากด้านล่างอุปกรณ์ A ไอน้ำเข้าที-่
ด้านล่าง เมือ่ เปิดการใช้ไอน้ำ ไอน้ำ-
จะผลักดันให้อากาศไปอยูข่ า้ งหน้า-
ให้ไปจุดไกลทีส่ ดุ ซึง่ เป็นส่วนบน-
ของช่องไอน้ำ ดังนัน้ จุดทีต่ ดิ ตัง้ วาล์ว-
ระบายอากาศทีด่ ที ส่ี ดุ ควรจะเป็นจุด-
สูงสุดของช่องไอน้ำกับดักไอน้ำ
(Steam trap) มีความจำเป็นเพียงเล็ก-
น้อยต่อการระบายอากาศถ้ามีอากาศ-
ผ่านมาถึง สำหรับอุปกรณ์ B ไอน้ำ
รูปที่ 16 ตำแหน่งของการระบายอากาศ เข้าทางด้านบนคอนเดนเสตและ-
อากาศออกด้านล่างจะกำจัดด้วยวิธกี ารติดตัง้ วาล์วระบายอากาศหรือ จะติดตัง้ กับดักไอ-
น้ำทีส่ ามารถระบายอากาศได้ในตัวเองในปริมาณทีส่ งู ตัวอย่างเช่นกับดักไอน้ำแบบ-
ลูกลอย หรือแบบเทอร์โมสแตติค
ในรูปที่ 17 เป็นหม้อต้มด้วยไอน้ำแบบ 2 ชัน้ มีการออกแบบ 2 ชนิด แถว-
บนแสดงแบบตายตัวอย่างง่าย แถวล่างแสดงให้เห็นช่องไอน้ำเข้าทางด้านหนึ่ง
คอนเดนเสตไหลออกอีกด้านหนึง่ ของช่องตรงข้าม ภาพซ้ายภายในช่องไอน้ำถูก-
อากาศแทนทีอ่ ยูเ่ ต็ม ภาพกลางไอน้ำเข้ามาในช่องไอน้ำเข้า แม้วา่ อากาศได้ถกู ไล่ออก-
ไปแล้วเป็นบางส่วนโดยผ่านกับดักไอน้ำ(Steam trap) แต่ยงั มีอากาศอยูจ่ ำนวนพอ-
สมควรที่สะสมอยู่ส่วนบนของช่องไอน้ำ อากาศส่วนใหญ่จะอยู่อีกด้านตรงข้าม-
ของช่องไอน้ำเข้าจึงมีความเหมาะสมมากที่จะใช้เป็นจุดติดตั้งวาล์วระบายอากาศ
30
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

รูปที่ 17 การระบายอากาศของหม้อต้มด้วยไอน้ำ
ภาพขวาแสดงให้เห็นการระบายอากาศได้ดีในตำแหน่งเหมาะสมไม่ให้อากาศ-
เหลืออยู่ภายในช่องไอน้ำ
ฟิล์มคอนเดนเสต
เมือ่ ไอน้ำคายความร้อนแฝงออกเพือ่ การถ่ายเทความร้อนหรือใช้ในกระบวน-
การผลิต คอนเดนเสตก็จะสะสม เมื่อสะสมมากขึ้นในที่สุดคอนเดนเสตจะคลุม-
พืน้ ทีผ่ วิ ถ่ายเทความร้อนทำให้ประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนลดลงไป ดังนัน้ -
ต้องติดตัง้ Steam trap เพือ่ ระบายคอนเดนเสตออกไปจากช่องเก็บไอน้ำ
ไอน้ำเปียก และไอน้ำแห้ง
ไอน้ำบริสทุ ธิแ์ ต่ละกิโลกรัมทีผ่ า่ นออกจากหม้อไอน้ำ คือส่วนประกอบของ-
ไอน้ำ และน้ำเรียกว่า “อัตราส่วนความแห้ง” (ตัวอย่างเช่น ไอน้ำทีม่ คี วามชืน้ 5%
หมายความว่ามีอตั ราส่วนความแห้ง 0.95) โดยทีห่ ม้อไอน้ำจะมีนำ้ เป็นของเหลว-
ลอยติดขึ้นไปผสมไปกับไอน้ำเป็นหยดเล็กๆ ตามติดไปกับไอน้ำในขณะที่มีการ-
31
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

รูปที่ 18 แครีโ่ อเวอร์

เดือดกระจายขึน้ ไปเรียกว่า แครีโ่ อเวอร์ (Carry Over Warte) (ดูรปู ที่ 18) และการเกิด-
ความชืน้ ในไอน้ำหมายถึงส่วนของความร้อนสัมผัสจะมีมากขึน้ แต่คา่ ความร้อนแฝง-
จะลดลง
เมื่อไอน้ำสัมผัสกับพื้นผิวที่ถ่ายเทความร้อน ไอน้ำก็จะคายความร้อนแฝง-
และกลั่นตัวเป็นหยดน้ำแล้วก่อตัวเป็นฟิล์มซึ่งต้านการถ่ายเทความร้อนนี้ เมื่อมี-
ความชื้นเกิดขึ้นในไอน้ำก็จะช่วยเพิ่มความหนาของชั้นฟิล์มเพิ่มฉนวนกั้นความ-
ร้อน หม้อไอน้ำทีม่ ปี ระสิทธิภาพทีด่ ไี อน้ำทีผ่ ลิตได้จะต้องมีความชืน้ ต่ำสุด
วิธกี ารแก้ปญ
ั หาง่าย ๆ สามารถทำได้ในการลดความชืน้ ของไอน้ำ โดยการ-
ผลิตไอน้ำให้ถกู วิธตี ง้ั แต่ทแ่ี หล่งผลิต คือทีห่ ม้อไอน้ำนัน้ เองและควรจะทำทุกวิธ-ี
32
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

รูปที่ 19 อุปกรณ์แยกไอน้ำ (steam separator)

ที่ทำให้คุณภาพของไอน้ำที่ออกจากหม้อไอน้ำดีขึ้น
ควรหลีกเลีย่ งการให้หม้อไอน้ำรับภาระเกินสมรรถนะ และให้ความระมัด-
ระวังดูแลการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนเข้าหม้อไอน้ำด้วยการเติมเคมีปอ้ งกัน และ-
วิธอี น่ื ๆ เพือ่ การลดความชืน้ และอนุภาคของน้ำลอยติดไปกับไอน้ำ แครีโ่ อเวอร์
โดยลักษณะทัว่ ไปของการผลิตไอน้ำภายใต้เงือ่ นไขทางด้านธุรกิจและการ-
ออกแบบหม้อไอน้ำ ของไอน้ำเป็นสิง่ ทีย่ ากในทางปฏิบตั ทิ จ่ี ะไม่ให้อนุภาคของน้ำ-
ลอยติดไปกับไอน้ำ (แครีโ่ อเวอร์) ซึง่ จะมีอยูบ่ า้ ง เมือ่ ไอน้ำไหลวิง่ ในท่อก็จะพาคอน-
เดนเสตบางส่วนติดไปกับไอน้ำขณะทีไ่ หลผ่านไปตามท่อส่งจ่ายไอน้ำ
วิธีการแก้ปัญหาทำได้โดยการติดตั้งอุปกรณ์แยกไอน้ำ (steam separator)
(ดูรปู ที่ 19) ซึง่ เป็นอุปกรณ์ทต่ี ดิ ตัง้ กับท่อไอน้ำประธาน และเปลีย่ นทิศการไหลของ-
ไอน้ำจะทำให้อนุภาคน้ำทีเ่ ป็นของเหลวทีต่ ดิ มากับไอน้ำแยกตัวออกและไหลไปยัง-
จุดทีส่ ามารถระบายออกไปได้ในรูปของคอนเดนเสต ซึง่ กับดักไอน้ำจะปล่อยออกจาก-
ท่อไอน้ำไป
33
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

ตำแหน่งการติดตัง้ อุปกรณ์แยกไอน้ำเป็นสิง่ ทีส่ ำคัญ อุปกรณ์แยกไอน้ำควร-


จะอยูใ่ กล้กบั หม้อไอน้ำเพือ่ ทำให้ไอน้ำให้แห้งก่อนทีจ่ ะผ่านเข้าระบบท่อ กรณีทไ่ี อ-
น้ำเกิดการสูญเสียความร้อนในระหว่างทางจะมีคอนเดนเสตเกิดขึน้ ได้ และมีผลทำ-
ให้เกิดไอน้ำชืน้ ขึน้ ทีจ่ ดุ ใช้งานได้ อุปกรณ์แยกไอน้ำทีต่ ดิ ตัง้ ใกล้กบั จุดใช้งานจะทำ-
ให้ ไอน้ำทีป่ อ้ นเข้าอุปกรณ์ตา่ งๆ มีความแห้งพอสมควรและจำนวนคอนเดนเสต-
ทีม่ อี ยูกจ็ ะลดลง
การบำรุงรักษากับดักไอน้ำ (Steam trap)
วิธกี ารทีด่ ที ส่ี ดุ ในการระบายคอนเดนเสต คือ การปล่อยน้ำคอนเดนเสตออก-
ตามภาระงานที่ปรับปริมาณอย่างอัตโนมัติโดยเลือกใช้กับดักไอน้ำ (Steam trap)
ทีเ่ หมาะสม
อย่างไรก็ตามกับดักไอน้ำสามารถทำให้สญ ู เสียไอน้ำ หรือน้ำทิง้ ระบายออกได้-
เกิดจากสิง่ สกปรกทีป่ นมากับไอน้ำสิง่ สกปรกและสนิมพบได้ในท่อไอน้ำเศษวัสดุ-
ต่างๆก็พบได้บอ่ ยๆ แม้กระทัง้ น็อตและแป้นแหวนก็มี เมือ่ สิง่ สกปรกเหล่านีเ้ ข้าไป-
ค้างอยูใ่ นบ่าวาล์วของกับดักไอน้ำ จะขวางการปิดของวาล์วทำให้วาล์วปิดไม่สนิท
นอกจากนีย้ งั อาจทำให้วาล์วเสียหายได้ทำให้ มีไอน้ำรัว่ อย่างต่อเนือ่ งจนกว่าจะมีการ-
ซ่อมบำรุงกับดักไอน้ำ (Steam trap)
โดยทั่วไปการซ่อมบำรุงกับดักไอน้ำ (Steam trap) ไม่ได้เป็นงานประจำ
จะกระทำเมือ่ มีปญ ั หามากจนทนต่อไปไม่ได้จงึ ได้รบั การดูแล ซึง่ เป็นความคิดทีไ่ ม่-
ถูกต้องพึงระลึกเสมอว่ากับดักไอน้ำ (Steam trap) เป็นวาล์วอัตโนมัติ และมีผลต่อ-
การประหยัดไอน้ำและช่วยให้การใช้ไอน้ำมีประสิทธิภาพ ดังนั้นต้องให้ความ-
สำคัญและให้การดูแลกับดักไอน้ำสม่ำเสมอทัง้ นีเ้ พราะมีผลต่อการประหยัดไอน้ำ
การติดตัง้ กระจกมองการไหล ( Sight Glasses ) กับดักไอน้ำ (Steam trap)
ก็เป็นสิง่ ทีม่ ปี ระโยชน์ ตรวจดูวา่ มีไอน้ำรัว่ จากกับดักไอน้ำ (Steam trap) หรือไม่-
และหลายๆ โรงงานก็มกี ารติดตัง้ อุปกรณ์น้ี
34
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

ข้อดีของการตรวจกับดักไอน้ำ (Steam trap) เมือ่ มีการต่อร่วมหลาย ๆ ชุด ลง-


ท่อร่วมคอนเดนเสตสามารถหากับดักตัวที่มีปัญหาได้รวดเร็วโดยการตรวจที่-
กระจกมองการไหล ( Sight Glasses )
ตัวกรอง (Stainer)
เพือ่ ให้แน่ใจว่ากับดักไอน้ำ (Steam trap) ทำงานได้อย่างเหมาะสม จำเป็น-
จะต้องรักษากับดักไอน้ำ (Steam trap) ให้ปราศจากสนิมท่อ และสิง่ สกปรกทีเ่ ข้า-
ไปในกับดักไอน้ำ (Steam trap) โดยสามารถดำเนินการได้ดงั ต่อไปนี้
จัดให้มที เ่ี ก็บสิง่ สกปรกด้านหน้าของกับดักไอน้ำ (Steam trap) (ติดตัง้ ท่อ-
สัน้ ตัง้ ฉากเป็นบ่อดักรูปตัว T )
ติดตัง้ ตัวกรองไว้ดา้ นหน้ากับไอน้ำ (Steam trap) แต่ละตัว
ข้อแรกใช้ได้ผลน้อยป้องกันสิง่ สกปรกชิน้ หนักๆ ใหญ่ๆ เท่านัน้ ตัวกรอง
(สเตรนเนอร์ ) (รูป 20) จึงเป็นตัวเลือกทีด่ กี ว่า
ตัวกรอง (สเตรนเนอร์) ประ-
กอบด้วยชิน้ ส่วนตะแกรงอยูใ่ นครอบ-
โลหะ เป็นอุปกรณ์ทใ่ี ช้สำหรับกรอง-
สิง่ แปลกปลอมไม่ให้ผา่ นเข้าไปใน-
ระบบโดยการเก็บสิง่ สกปรกไว้ใน-
ตะแกรงซึง่ สามารถถอดออกมาทำ-
ความสะอาดได้เป็นระยะๆ เพื่อ-
ป้องกันการอุดตัน
การใช้งานที่ผิดวิธีของกับ-
ดักไอน้ำ (Steam trap) เมื่อเลือก-
ชนิดอย่างถูกต้อง
รูปที่ 20 สเตรนเนอร์ หรือ ตัวกรอง (Stainer) การใช้งานกับดักไอน้ำทีผ่ ดิ -
35
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

วิธมี ผี ลอย่างมากต่อการอัน้ ของน้ำ (Water Logging) ประสิทธิภาพการใช้งานลดลง-


มากเกินกว่าจะคาดการณ์ได้
ตัวอย่างทีต่ รวจพบบ่อยๆ คือ มีอปุ กรณ์ใช้ไอน้ำหลายๆ เครือ่ งทีท่ กุ เครือ่ งต่อท่อ-
คอนเดนเสตเข้าไปในกับดักไอน้ำ(Steam trap) เพียงตัวเดียว (การดักเป็นกลุม่ )

รูปที่ 21a การติดตัง้ กับดักไอน้ำแบบเป็นกลุม่

รูปที่ 21b การติดตัง้ กับดักไอน้ำ (Steam trap) แบบแยก


36
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

รูปที่ 21a แสดงให้เห็นภาชนะทีใ่ ช้ความร้อนด้วยไอน้ำทีเ่ หมือนกันสามชุด


(อาจจะเป็นกะทะต้ม 2 ชัน้ หรือ อุปกรณ์ชดุ ทำความร้อนให้แก่อากาศ หรืออุปกรณ์-
อื่นที่ทำความร้อนด้วยไอน้ำ)
น้ำที่ระบายจากแต่ละอุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับท่อคอนเดนเสตร่วมกันเพียงเส้น-
เดียวไปสูก่ บั ดักไอน้ำ (Steam trap) เพียงตัวเดียว กับดักไอน้ำ (Steam trap) สามารถ-
จะทำงานได้ดี และพอเพียงสำหรับการปล่อยคอนเดนเสตทั้งสามภาชนะรวมกัน
แต่การติดตั้งในลักษณะนี้ทำให้เกิดการอั้นของน้ำได้
เนือ่ งจากความดันด้านออกภาชนะ C ทีอ่ ยูป่ ลายท่อร่วมคอนเดนเสตอยูใ่ กล้-
ทางออกกับดักไอน้ำ(Steam trap) มีความต้านทานน้อยกว่าคอนเดนเสตไหลออก-
ได้งา่ ยกว่า 2 ภาชนะแรกอยู่ ซึง่ มีแนวโน้มจะเกิดน้ำอัน้ (Water Log) ได้สงู โดย-
เฉพาะภาชนะ A อยูต่ น้ ทางทีม่ ภี าระมาก แต่หา่ งด้านทางออกจึงมีความต้านทาน-
ในท่อสูงกว่าภาชนะ B จึงเกิดการน้ำอัน้ มากกว่าภาชนะ B ซึง่ อัน้ บางส่วน ส่วน-
ภาชนะ C ไม่มกี ารอัน้ ของน้ำปล่อยออกได้หมด
รูปที่ 21b แสดงให้เห็นวิธกี ารทีถ่ กู ต้อง สำหรับการระบายคอนเดนเสตออก-
จากภาชนะแต่ละภาชนะมีการแยกน้ำโดยเฉพาะ โดยการติดตัง้ กับดักไอน้ำ (Steam
trap) แต่ละตัวสำหรับแต่ละภาชนะแล้วปล่อยลงในท่อร่วม วิธกี ารนีท้ ำให้สามารถ-
ระบายคอนเดนเสตผ่านกับดักไอน้ำ(Steam trap) ของแต่ละตัวออกได้อย่างดีและ-
เป็นอิสระซึง่ กันและกัน โดยระบายคอนเดนเสตได้อย่างต่อเนือ่ งไม่วา่ เงือ่ นไขของ-
ภาชนะอื่นๆจะเป็นอย่างไร
รูปที่ 21a และ 21b แสดงให้เห็นว่ากับดักไอน้ำ (Steam trap) ตัวเดียวไม่-
สามารถทดแทนกับดักไอน้ำ (Steam trap) หลายตัวได้
ตำแหน่งการติดตัง้ กับดักไอน้ำ (Steam trap)
อีกสาเหตุของการเกิดน้ำอัน้ ทีพ่ บบ่อย คือ การติดตัง้ กับดักไอน้ำ (Steam trap) โดย
ติดตัง้ สถานทีท่ ส่ี ะดวก มากกว่าการติดตัง้ กับดักไอน้ำ (Steam trap) ในสถานทีท่ ถ่ี กู ต้อง
37
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

รูปที่ 22 การใช้ไอน้ำในแจ็คเก็ตในรูปของไอน้ำ
รูปที่ 22 แสดงถึงลูกกลิง้ อบให้ความร้อนด้วยไอน้ำทีร่ ะบายคอนเดนเสตออก-
จากฐานเครือ่ งโดยต่อท่อแยกแนวนอน รูป 22a เมือ่ ไอน้ำปิดคอนเดนเสตขังในฐาน
และท่อจนถึงกับดักไอน้ำ (Steam trap) รูป 22 b ไอน้ำถูกเปิดเข้าฐานดัน คอนเดน-
เสตออกจากฐาน และท่อแนวนอนผ่านกับดักไอน้ำ (Steam trap) เมือ่ คอนเดนเสต-
หมด ทุกส่วนเต็มไปด้วยไอน้ำ กับดักไอน้ำ (Steam trap) ปิด แต่ในฐานมีการถ่าย-
เทความร้อนสูงจึงเกิดคอนเดนเสตในฐาน น้ำรวมตัวในฐานมีปริมาณมาก รูป 22
c น้ำคอนเดนเสตไม่สามารถปล่อยออกได้เพราะกับดักไอน้ำ (Steam trap) ถูกล๊อค-
ด้วยไอน้ำ (Steam Lock) จนกว่าไอน้ำในท่อจะกลัน่ ตัวกับดักไอน้ำ ( Steam Trap )
จึงเปิด และจะปิดเมือ่ มีไอน้ำเข้าแทรป) จึงเกิดการล๊อคทีแ่ ทรป (Steam Lock) และ-
น้ำล๊อค (Water Lock) ทีฐ่ านเครือ่ ง
ลักษณะนีจ้ ะเกิดขึน้ ทุกๆ ครัง้ ทีไ่ อน้ำตามน้ำคอนเดนเสตเข้าไปสะสมในท่อ
38
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

วิธกี ารแก้ไขสตีมล๊อคทำได้ดว้ ยวิธใี ดวิธหี นึง่ ดังต่อไปนี้


เลือ่ นกับดักไอน้ำ (Steam trap) ให้ใกล้กบั จุดออกของฐานทีส่ ดุ เท่าทีเ่ ป็นไปได้
ติดตัง้ อุปกรณ์ปลดสตีมล๊อค เมือ่ กับดักไอน้ำได้ถกู ติดตัง้ ในตำแหน่งทีเ่ ข้าถึง-
ได้งา่ ย เพือ่ การบำรุงรักษา และมีทอ่ ตามแนวนอนยาวทีห่ ลีกเลีย่ งไม่ได้
ตัวอย่างของการสูญเสียจากการเปิดวาล์วบาย-พาส (By-Pass Valve)
วาล์วขนาด 13 มิลลิเมตร ของไอน้ำที่ 7 บาร์ ถูกเปิดอย่างไม่ตง้ั ใจทำให้-
สูญเสียถ่านหินมากถึง 0.5 กิโลกรัมต่อนาที
การสะสมอากาศภายในกับดักไอน้ำ (Steam trap)
ปัญหาเดียวกันจะเกิดขึน้ ได้อกี ถ้ามีสะสมของอากาศภายในกับดักไอน้ำซึง่ ผล-
กระทบทีร่ า้ ยแรงกว่าสตีมล๊อค เนือ่ งจากอากาศไม่สามารถควบแน่นได้และกับดักไอ-
น้ำ (Steam trap) ก็จะไม่เปิด เพือ่ แก้ปญ
ั หานีใ้ นทางปฎิบตั จิ ะเปิดวาล์วบาย-พาส (by-
pass valve) คร่อมกับดักไอน้ำ (Steam trap) เพือ่ เปิดให้อากาศออกไปหรือใช้วาล์ว-
ระบายอากาศออกไป ปัญหาของอากาศทีค่ า้ งอยูใ่ นกับดักไอน้ำ (Steam trap) แตก-
ต่างกับอากาศสะสมอยูใ่ นอุปกรณ์ทำความร้อนด้วยไอน้ำอย่างชัดเจน
กับดักไอน้ำ (Steam trap) แบบเทอร์โมสแตติคไม่มีปัญหาเกิดอากาศค้าง
กับดักไอน้ำ (Steam trap) แบบกลไก เช่น แบบลูกลอย หรือ แบบถ้วยจะเกิดอากาศ-
ค้างได้เว้นแต่กับดักไอน้ำ (Steam trap) เหล่านี้มีอุปกรณ์ระบายอากาศออกอย่าง-
อัตโนมัติ แน่นอนกับดักไอน้ำ (Steam trap) แบบลูกลอยจะมีการติดตัง้ เทอร์โมสตั-
ทอยูภ่ ายในซึง่ จะเปิดกว้างในขณะทีเ่ ย็น เพือ่ ให้ไอน้ำทีเ่ ข้ามาครัง้ แรกตอนเปิดใช้-
เครือ่ งดันไล่อากาศอยูภ่ ายในเครือ่ ง และกับดักไอน้ำ (Steam trap) และอากาศที-่
สะสมอยูน่ จ้ี ะถูกปล่อยออกอย่างรวดเร็วทำให้กบั ดักไอน้ำ (Steam trap) กลับมาทำ-
งานได้อกี โดยไม่มปี ญั หาการล๊อคด้วยอากาศ
กับดักไอน้ำ (Steam trap) แบบเทอร์โมไดนามิคส์จะมีการเกิดอากาศค้างได้
ควรติดตัง้ วาล์วระบายด้วยมือเช่นเดียวกับวาล์วระบายคอนเดนเสตขึน้ อยูก่ บั ความ-
39
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

ชำนาญของผูป้ ฏิบตั งิ าน ถ้าหากผูป้ ฏิบตั งิ านลืมเปิดก๊อกกับดักไอน้ำ (Steam trap) ก็จะ-


เกิดอากาศค้างได้ หากผูป้ ฏิบตั งิ านลืมเปิดก๊อกนีท้ ง้ิ ไว้กท็ ำให้ไอน้ำจะเล็ดลอดออกไป-
และเป็นการสูญเสียอย่างมาก
วิธที ม่ี ปี ระสิทธิภาพทีเ่ อาชนะปัญหานีด้ ว้ ยการติดตัง้ วาล์วระบายอากาศอัตโนมัต-ิ
ทีแ่ นวท่อทางลัดคร่อมกับดักไอน้ำ (Steam trap) หรือในกรณีของกับดักไอน้ำ (Steam
trap) แบบลูกลอย การติดตัง้ ควรอยูใ่ นกับดักไอน้ำ (Steam trap) เอง และทำให้อากาศ-
ระบายออกได้อย่างอัตโนมัติ
การอัน้ ของและการกระแทกของน้ำ
(Waterlogging and Water Hammer)
ปั ญ หาอี ก อั น ที ่ เ กิ ด ขึ ้ น ในการ-
ระบายน้ำออกจากขดท่อทำความร้อน คือ
การระบายคอนเดนเสตออกไม่ ห มด
อั้นค้างในขดท่อทำความร้อนซึ่งจะลด-
ประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนลงมาก
รูปที่ 23 a ถังทำความร้อนด้วยขด-
ท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 มิลลิเมตร ( 2
นิว้ ) มีทางเข้าด้านบนต่อลงก้นถังแล้วต่อยก-
ขึน้ ด้านบนอีกข้างแล้วลดขนาดท่อลงเพือ่ -
ต่อเข้ากับกับดักไอน้ำ ( Steam trap ) กรณี-
แบบนีน้ ำ้ จะขังสะสมในท่อด้านล่าง
(รูปที่ 23 b) เมือ่ เปิดวาล์วไอน้ำ น้ำจะ-
ถูกดันผ่านกับดักไอน้ำ (Steam trap) ไอน้ำจะ
ผ่านจนถึงกับดักไอน้ำ (Steam trap) ทำให้
รูปที่ 23 น้ำอัน้ ในขดท่อไอน้ำ กับดักไอน้ำ (Steam trap) ปิด คอนเดนเสต-
40
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

จะเกิดขึน้ อีก และสะสมอีกครัง้ ในส่วนล่างของขดท่อ และกลายเป็นน้ำอัน้ มีผลให้-


การถ่ายเทความร้อนลดลง
ตัวอย่างเกีย่ วกับการกลัน่ ตัวของไอน้ำ
ท่อทีห่ มุ้ ฉนวนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 มิลลิเมตร ยาว 30 เมตร
ลำเลียงไอน้ำความดัน 7 บาร์ มีอณ ุ หภูมแิ วดล้อม 10oC มีการควบแน่นไอน้ำ-
เป็นคอนเดนเสต จำนวน 16 กิโลกรัมต่อชัว่ โมงโดยประมาณ (ค่านีอ้ าจจะน้อย-
กว่า 1% ของความร้อนของไอน้ำทีล่ ำเลียงส่งผ่านในท่อประธาน) อย่างไรก็-
ตามเมือ่ สิน้ สุดหนึง่ ชัว่ โมง ท่อประธานไม่เพียงแต่มไี อน้ำเท่านัน้ แต่ยงั มีนำ้ อยู-่
ถึง 16 ลิตร และเมือ่ สิน้ สุดชัว่ โมงทีส่ องก็จะกลายเป็น 32 ลิตร
เนื่องจากท่อด้านล่างของขดท่อทำความร้อนถูกยกขึ้นจึงมีน้ำเป็นซีลขังอยู่-
ไอน้ำจะอยูร่ ะหว่างน้ำทีซ่ ลี จนถึงกับดักไอน้ำ กับดักไอน้ำจึงปิดและไม่ปล่อยคอน-
เดนเสตออก
เมือ่ เกิดการอัน้ น้ำนานพอจนคอนเดนเสตขึน้ ไปจนถึงกับดักไอน้ำ (Steam trap)
น้ำจะถูกระบายออกไปบ้าง (รูป 23c) เมื่อไอน้ำดันคอนเดนเสตออกไปได้ก็จะ
เกิดการอั้นขึ้นอีกน้ำก็ไม่สามารถระบายออกได้หมด ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ไม่ได้
ความร้อนสูงสุดตามต้องการ
เนือ่ งจากน้ำทีอ่ น้ั มีผลทำให้ลดงานทีไ่ ด้ลงและน้ำกระแทกก็อาจจะเกิดขึน้ ได้-
ตามลักษณะการจัดวางท่อในรูปที่ 23 น้ำกระแทกนี้สามารถทำให้เกิดความเสีย-
หายอย่างรุนแรงต่อกับดักไอน้ำ (Steam trap) และข้อต่ออืน่ ๆ ได้ วิธแี ก้ปญ ั หานีค้ วร-
เปลีย่ นการวางท่อตามทีแ่ สดงในรูปที่ 24
การกระแทกของน้ำเกิดร่วมกับคอนเดนเสต สามารถมองย้อนกลับไปยัง วิธ-ี
ติดตัง้ กับดักไอน้ำ (Steam trap) ทีไ่ ม่ถกู ต้อง เพือ่ ทีจ่ ะแก้ปญ
ั หานีต้ อ้ งพิจารณาการติด-
ตัง้ ดังนี้
41
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

รูปที่ 24 การแก้ปญ
ั หาน้ำขังในขดท่อทำความร้อน
ท่อไอน้ำประธานควรวางเอียงลงตามทิศทางการไหลของไอน้ำไม่นอ้ ยกว่า 12.5
มิลลิเมตร (1/2 นิว้ ) ต่อท่อยาว 3 เมตร (10 ฟุต)
จุดระบายน้ำควรมีทกุ ๆ 30-40 เมตร (100-150 ฟุต) ตามความยาวของท่อไอน้ำ
ประธานเพื่อที่จะรวบรวมคอนเดนเสตและระบายออกไป สำหรับทุกๆจุดต่ำใน
ท่อประธานทีซ่ ง่ึ น้ำจะไหลลงสะสมตามแรงโน้มถ่วงของโลกควรมีการระบายน้ำ-
ออกไป
กระเปาะบ่อดักพักน้ำทีร่ วบรวมน้ำควรมีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่พอที่ ให้นำ้ -
ทีส่ ะสมอยูร่ ะบายออกไปได้ แนวคิดต่อปัญหานีค้ วรทำกระเปาะบ่อดักพักน้ำให้ม-ี
ขนาดเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อประธาน กระเปาะควรจัดวางในตำแหน่งทีด่ -ี
ทีส่ ดุ ตามรูปที่ 25a การทำท่อแยกเล็กจากท่อใหญ่ (รูปที่ 25b ) การแยกน้ำจะไม่ดี มีนำ้ -
เหลือในท่อประธานจึงไม่ควรทำ

42
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ

รูปที่ 25a ระบายน้ำออกอย่างถูกต้องจากท่อไอน้ำประธาน

รูปที่ 25b ระบายน้ำออกอย่างไม่ถกู ต้องจากท่อไอน้ำประธาน

ในทางปฏิบตั กิ ารติดตัง้ ท่อลด เมือ่ ไอน้ำไหลจากท่อประธานและมาเจอกับท่อ-


ทีม่ ขี นาดเล็กกว่า จะทำให้เกิดอาการของฆ้อนน้ำ (Water hammer) ซึง่ ควรจะหลีกเลีย่ ง
ในรูป 26a ส่วนล่างของท่อจะเกิดการอัน้ ของน้ำซึง่ การเดินท่อแบบนีค้ วรทีจ่ ะหลีก-
เลีย่ ง ไม่ให้เกิดฆ้อนน้ำและการอัน้ ของน้ำจึงควรเดินท่อตามรูป 26b
การเกิดฆ้อนน้ำ (Water Hammer) จะเป็นสาเหตุทำให้วาล์วของไอน้ำทีจ่ า่ ยเข้า-
มาเปิดเร็วขึน้ การป้องกันวาล์วดันน้ำควรทีจ่ ะเปิดช้าและทำด้วยความระมัดระวัง

43
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation
5. เทคนิคการนำความร้อนทิง้ กลับมาใช้ใหม่

รูปที่ 26 การลดขนาดท่อ

5. เทคนิคการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่
การนำความร้อนกลับมาใช้สามารถทำได้ตลอดระบบไอน้ำ ดังนี้
ทีห่ ม้อไอน้ำ ความร้อนจากก๊าซไอเสียให้ดรู ายละเอียดในคูม่ อื ประสิทธิภาพที่
1, 2 และ 3
ความร้อนจากน้ำหม้อไอน้ำทีร่ ะบายทิง้ (Blowdown)
จากความร้อนไอน้ำแฟลช
จากการนำคอนเดนเสตกลับมาใช้
การนำความร้อนจากน้ำหม้อไอน้ำระบายทิง้ (Blowdown) กลับมาใช้
ความร้อนปล่อยทิง้ จากระบบการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown) อย่างต่อ-
เนือ่ งสามารถจัดการได้ดกี ว่าระบบทีท่ ำอย่างไม่ตอ่ เนือ่ ง เพราะความร้อนทีไ่ ด้กลับคืน-
สอดคล้องกับความต้องการความร้อนอย่างต่อเนือ่ ง
เมือ่ มีหม้อไอน้ำหลายเครือ่ งทำงานพร้อมกัน การนำความร้อนกลับจากน้ำ-
หม้อไอน้ำทีร่ ะบายทิง้ ( Blowdown ) สามารถใช้กบั ระบบระบายน้ำทิง้ อย่างไม่ตอ่ -
44
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

เนือ่ งได้โดยให้ทำงานเป็นขัน้ ๆ ทีล่ ะเครือ่ งตามเวลาทีต่ ง้ั อย่างอัตโนมัติ เพือ่ ดูดความ-


ร้อนกลับจากทุกเครือ่ งได้สม่ำเสมอ วิธนี ท้ี ำให้การนำความร้อนกลับมาใช้คมุ้ ค่าทาง-
เศรษฐศาสตร์ยง่ิ ขึน้
มีหลายวิธีการที่นำความร้อนจากน้ำหม้อไอน้ำที่ระบายทิ้ง (Blowdown)
กลับมาใช้ มีรายละเอียดในคูม่ อื แนวทางการปฏิบตั งิ านทีด่ ี ฉบับที่ 10 การปฏิบตั งิ าน-
อย่างมีประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำในงานอุตสาหกรรม วิธกี ารทีง่ า่ ยทีส่ ดุ ทีจ่ ะนำ-
ความร้อนจากการระบายน้ำหม้อไอน้ำทิง้ (Blowdown) กลับ คือ การใช้ไอน้ำโดยตรง-
ของไอน้ำแฟลช ซึง่ เกิดจากการระเหยเกิดจากการลดความดันของน้ำระบายทิง้ ผ่าน-
วาล์วระบายน้ำทิง้ ไอน้ำนีเ้ ป็นน้ำบริสทุ ธิ์ ไม่มขี องแข็งละลายปนอยูส่ ามารถใช้เพิม่ -
เข้าไปกับน้ำป้อนทีอ่ ยูใ่ นห้องหม้อไอน้ำได้เลย น้ำระบายทิง้ และไอแฟลชจะแยกจาก-
น้ำในถังแฟลช เพือ่ อุน่ น้ำไอน้ำแฟลชจะป้อนเข้าลงไปในท่อมีรเู ล็กๆ จำนวนมาก-
ในถังน้ำป้อน (รูปที่ 27)
การนำความร้อนจากคอนเดนเสตกลับมาใช้ใหม่
คอนเดนเสตเป็นน้ำที่สะอาดเหมาะสมสำหรับใช้เป็นน้ำป้อนหม้อไอน้ำ

รูปที่ 27 การนำความร้อนกลับจากไอน้ำแฟลชกลับมาใช้
45
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

เนือ่ งจากน้ำคอนเดนเสตมีความร้อนและสารเคมีทเ่ี หมาะสม อุณหภูมนิ ำ้ ป้อนยิง่ สูง-


เท่าไรยิง่ ทำให้หม้อไอน้ำได้รบั ความร้อนมากขึน้ เท่านัน้ ปริมาณคอนเดนเสตทีน่ ำกลับ
สูงปริมาณความร้อนก็ยง่ิ สูง ทำให้ใช้ความร้อนจากเชือ้ เพลิงเพือ่ ให้แก่หม้อไอน้ำในการ-
เปลีย่ นน้ำให้เป็นไอน้ำน้อยลงเท่านัน้
ผลการประหยัดจากการนำคอนเดนเสตกลับมาใช้
จากความจริงทีว่ า่ ทุกๆ 6oC ( 11o F) ของอุณหภูมนิ ำ้ ป้อนทีเ่ พิม่ ขึน้ จะ-
ทำให้ใช้เชือ้ เพลิงของหม้อไอน้ำลดลง 1% การเพิม่ ปริมาณคอนเดนเสตทีน่ ำ-
กลับยังทำให้ลดการใช้นำ้ ดิบทีป่ อ้ นลงอีก นอกจากนีย้ งั ประหยัดการใช้สาร-
เคมีในการปรับปรุงคุณภาพน้ำอีกด้วย
อย่างไรก็ตามมีขอ้ ยกเว้นในบางกรณีทก่ี ารนำคอนเดนเสตกลับมาใช้ไม่ได้-
สามารถแก้ไขด้วยวิธกี ารดังต่อไปนี้
ระยะทางทีเ่ กีย่ วข้องระหว่างจุดใช้งานกับห้องหม้อไอน้ำ ถ้าไกลมากความร้อน-
ในคอนเดนเสตจะสูญเสียระหว่างทางย้อนกลับ ถึงแม้ทอ่ คอนเดนเสตจะมีการหุม้ -
ฉนวนทีด่ แี ล้วก็ตามหลาย ๆ โรงงานไม่คมุ้ ค่าในทางเศรษฐศาสตร์ ในการติดตัง้ ท่อนำ-
คอนเดนเสตกลับ แต่บางโรงงานอาจเหมาะสมในการนำกลับถึงแม้คอนเดนเสตจะมี-
อุณหภูมเิ ย็นลงแล้วก็ตาม เนือ่ งจากน้ำคอนเดนเสตเป็นน้ำทีเ่ หมาะสมจะสูบเข้าหม้อไอ-
น้ำอีก และน้ำเป็นสิง่ ทีห่ ายาก หรือค่าใช้จา่ ยในการปรุงแต่งปรับสภาพน้ำดิบมีคา่ สูงมาก
หากน้ำหาได้งา่ ยและค่าใช้จา่ ยไม่มาก ในการปรับสภาพน้ำดิบก็อาจนำคอนเดนเสตไป-
ใช้ประโยชน์ในขบวนการผลิตอย่างอืน่ เช่น ใช้ในรูปของน้ำร้อน
บางกรณีคอนเดนเสตอาจจะถูกปนเปือ้ นก็สามารถนำความร้อนกลับมาใช้-
ประโยชน์ได้ โดยการถ่ายเทความร้อนผ่านอุปกรณ์ถ่ายเทความร้อน (ดูรูปที่ 28)
อย่างไรก็ตามค่าความร้อนทีน่ ำกลับมาได้ จะต้องได้รบั การพิจารณาการลงทุนของ-
อุปกรณ์ถา่ ยเทความร้อนการนำความร้อนกลับถึงความเป็นไปได้ ถึงแม้สถานทีต่ ดิ ตัง้ -
46
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

รูปที่ 28 วิธกี ารนำความร้อนกลับมาใช้อย่างง่ายจากคอนเดนเสตทีส่ กปรก


มีสภาพไม่นา่ สนใจก็ตาม
การลำเลียงคอนเดนเสต
คอนเดนเสตทีต่ อ่ ท่อนำกลับต้องพิจารณาถึงขนาดของท่อ และการนำกลับ-
ด้วยความดันของคอนเดนเสตเอง หรือจะต้องใช้เครือ่ งสูบจุดย่อยต่าง ๆ จะต้อง-
พิจารณาในการนำคอนเดนเสตกลับ
การต่อท่อ
สิ่งสำคัญที่ต้องให้ความระมัดระวังว่าท่อคอนเดนเสตจะสามารถลำเลียง-
คอนเดนเสตกลับได้ มีสง่ิ ทีต่ อ้ งพิจารณาอยูส่ ามประการ
1. เมือ่ กระบวนการผลิต/เครือ่ งทำความร้อนเริม่ ต้นขึน้ จะมีอากาศถูกปล่อย-
ออกมาและเข้าไปในท่อคอนเดนเสต
2. เมื่อเริ่มต้นเครื่องยังเย็นจะมีคอนเดนเสตในปริมาณที่สูงกว่าปกติมาก
(ประมาณ สองถึงสามเท่าของอัตราปกติ) มีไอน้ำแฟลชปนมาด้วยจำนวนเล็กน้อย
หรืออาจจะไม่มกี ไ็ ด้ทำให้ลดความดันตกคร่อมทีก่ บั ดักไอน้ำ (Steam trap) ความดัน
ทีจ่ ดุ สุดท้ายสำคัญมาก เพราะบอกถึงความดันต้านกลับ ( Back pressure) ของท่อ-
คอนเดนเสต
47
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

3.เมือ่ เครือ่ งร้อนขึน้ จำนวนคอนเดนเสตจะลดลงเท่ากับค่าปกติทท่ี ำงาน แต่-


คอนเดนเสตมีอณ ุ หภูมใิ กล้เคียงกับอุณหภูมขิ องไอน้ำจะมีไอน้ำแฟลชเกิดขึน้ เมือ่ -
คอนเดนเสตถูกปล่อยออกจากกับดักไอน้ำ (Steam trap)
ตารางที่ 1 แสดงขนาดของท่อในการลำเลียงคอนเดนเสตกลับ จำเป็นต้อง-
กำหนดขนาดบนพื้นฐานของความต้านทานจากความเสียดทานจำนวน 0.8
มิลลิบาร์/เมตร (0.1 นิว้ น้ำ/ฟุต) รูปที่ 29 แสดงตัวอย่างการใช้งานทัว่ ไป
จากตารางที่ 1 ขนาดท่อสามารถกำหนดได้ดงั ต่อไปนี้
จาก A ไป B มีภาระ 908 กิโลกรัม/ชัว่ โมง(2,000 ปอนด์/ชัว่ โมง)
ขนาดท่อ 32 มม.(1 1/4 นิว้ )
จาก B ไป C มีภาระ1,134 กิโลกรัม/ชัว่ โมง (2,500 ปอนด์/ชัว่ โมง)
ขนาดท่อ 32 มม.(1 1/4นิว้ )
จากC ไป D มีภาระ1,770 กิโลกรัม/ชัว่ โมง (3,900 ปอนด์/ชัว่ โมง)
48
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

รูปที่ 29 ตัวอย่างทัว่ ๆ ไปของการคำนวนภาระ


ขนาดท่อ 40 มม.(1 1/2นิว้ )
จาก D ไป E มีภาระ 3,130 กิโลกรัม/ชัว่ โมง (6,900 ปอนด์/ชัว่ โมง)
ขนาดท่อ 50 มม. ( 2 นิว้ )
เมือ่ นำคอนเดนเสตกลับจากเครือ่ งทีใ่ ช้ไอน้ำความดันสูงท่อนำคอนเดนเสต
กลับ ควรจะมีขนาดใหญ่ขน้ึ เพือ่ ทีจ่ ะรับไอน้ำแฟลชทีม่ ากขึน้ ด้วย จะดียง่ิ ขึน้ เมือ่ -
นำความร้อนจากไอน้ำแฟลชกลับมาใช้ดว้ ย และใช้ได้ดใี นลักษณะของไอน้ำความ-
ดันต่ำ มีขอ้ ดีสองประการ คือ ใช้ความร้อนทีย่ งั มีประโยชน์อยู่ และในขณะเดียวกัน-
เป็นการลดภาระของท่อนำคอนเดนเสตกลับ
การยกระดับคอนเดนเสตและความดันย้อนกลับ
เครือ่ งจักรของกระบวนการผลิตส่วนใหญ่อยูท่ ร่ี ะดับพืน้ เพือ่ ความสะดวก-
ในการติดตัง้ การซ่อมบำรุง และหลีกเลีย่ งสิง่ กีดขวางต่างๆ ท่อคอนเดนเสตควรจะติด-
49
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

ตัง้ อยูใ่ นระดับสูง ความดันของไอน้ำทีก่ บั ดักไอน้ำ (Steam trap) สามารถยกคอนเดน-


เสตขึน้ และปล่อยออกในระดับสูงโดยความดันของไอน้ำเอง
จากหลักการพืน้ ฐานความดันทุกๆ 0.1 บาร์ทก่ี บั ดักไอน้ำ (Steam trap) สามารถ-
ยกคอนเดนเสตได้ 1 เมตร (2 ฟุตสำหรับแต่ละ 1 ปอนด์ตอ่ ตารางนิว้ ) ความดันนี้
ไม่ใช่ความดันย้อนกลับเพียงอย่างเดียวแต่เป็นการลดความดันแตกต่างที่คร่อม
กับดักไอน้ำ (Steam trap) ดังนัน้ ต้องดูความดันของไอน้ำทีก่ บั ดักไอน้ำว่าเพียงพอ-
ที่จะเอาชนะความดันย้อนกลับหรือไม่และกับดักไอน้ำ (Steam trap) มีขนาดโต
เพียงพอในการปล่อยคอนเดนเสตหรือไม่
ควรติดตั้งวาล์วกันกลับต่อจากกับดักไอน้ำ (Steam trap) ตามที่แสดงใน
รูปที่ 30 เพือ่ ป้องกันน้ำไหลย้อนกลับเข้าเครือ่ งในขณะปิดเครือ่ ง
เครือ่ งเดียวกันนี้ ถ้าได้รบั ไอน้ำทีค่ วามดัน 1 บาร์ (15 ปอนด์ตอ่ ตารางนิว้ )
ตามทฤษฎีแล้วจะยังมีความดันเป็นบวกทีแ่ ตกต่างเพียงพอทีจ่ ะสูก้ บั ความดันย้อน-
กลับ แต่เป็นการเสีย่ งอย่างมากเนือ่ งจากความดันทีแ่ ตกต่างในระหว่างทีไ่ อน้ำผ่าน-
ในเครือ่ งมีความต้านทาน ทำให้ความดันทีก่ บั ดักไอน้ำ (Steam trap) ต่ำลงไปกว่า-
ความดันย้อนกลับจะมีผลให้เกิดน้ำอัน้ ในเครือ่ งได้
ตัวอย่างการกำหนดขนาดสตีมแทรป
หม้อกะทะ 2 ชัน้ หุม้ ฉนวนในกระบวนการผลิตทำงานทีค่ วามดัน 5.5 บาร์
ประมาณว่าความดันทีก่ บั ดักไอน้ำ (Steam trap) ทีอ่ ยูใ่ นบริเวณนัน้ ก็มคี วามดันที่ 5.5
บาร์เช่นกัน เมือ่ หม้อกะทะมีอณุ หภูมถิ งึ จุดทำงานมีการยกคอนเดนเสต 6 เมตร ทำให้-
เกิดความดันย้อนกลับประมาณ 0.7 บาร์ หลังกับดักไอน้ำ (Steam trap) (ดูรปู ที่ 30 )
ความดัน 5.5 บาร์ ทีก่ บั ดักไอน้ำ (Steam trap) ตามปกติจะมีความดันมากพอทีจ่ ะ-
เอาชนะความดันย้อนกลับได้ อย่างไรก็ตามกับดักไอน้ำ(Steam trap) ต้องเลือก-
ทีค่ วามดันแตกต่าง 4.8 บาร์ และความดันแตกต่างนีจ้ ะน้อยลงเมือ่ อยูใ่ นช่วงเครือ่ ง
เริม่ ต้นทำงาน
50
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

รูปที่ 30 หม้อกระทะ 2 ชัน้ หุม้ ฉนวนในกระบวนการผลิต มีทอ่ ยกคอนเดนเสต


การสูบคอนเดนเสต
ในบางครัง้ ทีค่ อนเดนเสตไม่สามารถยกขึน้ ได้ แม้ในเงือ่ นไขทีด่ กี ารยกคอน-
เดนเสตก็ยงั มีปญ ั หาในช่วงเริม่ ต้นทำงาน เนือ่ งจากความดันย้อนกลับคอนเดนเสต-
ไหลช้าลงทีเ่ พิม่ ขึน้ และในขณะเมือ่ มีความต้องการภาระงานน้อย ทำให้เครือ่ งทำ-
งานช้าลง และในช่วงซ่อมแซมบำรุงรักษาจะมีปัญหาน้ำขังต้องระบายน้ำออก
ปัญหานีแ้ ก้ไขได้ดว้ ยการต่อท่อคอนเดนเสตเอียงลง เพือ่ ให้ไหลลงตามธรรมชาติ-
ไปยังถังเก็บ จากนัน้ ก็สบู ไปยังห้องหม้อไอน้ำ ถังเก็บคอนเดนเสตจำเป็นต้องมีทอ่ -
หายใจเพือ่ ระบายไอน้ำให้เพียงพอ เพือ่ ให้ คอนเดนเสตไหลเข้าและออกจากถังเก็บ-
ได้อย่างอิสระ
51
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

ความดันมากเกินไปเป็นสาเหตุให้มไี อน้ำแฟลช การติดตัง้ ถังแฟลชจากท่อนำ-


คอนเดนเสตกลับ ไอน้ำแฟลชสามารถแยกออกจากคอนเดนเสตนำไอน้ำแฟลชไปใช้-
งานได้ และสามารถนำความร้อนกลับจากคอนเดนเสตกลับใช้งานได้อย่างเต็มที่
เมื่อคอนเดนเสตถูกรวบรวมอยู่ในถังเก็บ ตามปกติแล้วสามารถใช้เครื่อง
สูบไฟฟ้านำคอนเดนเสตกลับห้องหม้อไอน้ำ (รูปที่ 31) เครือ่ งสูบเหล่านีม้ คี วาม-
เหมาะสมเมือ่ ท่อนำคอนเดนเสตยาวและเรียวไปมา และมีปริมาณมาก ตามปกติแล้ว-
คอนเดนเสตที่อยู่ในถังเก็บจะมีอุณหภูมิสูง ถ้ามีอุณหภูมิอยู่ประมาณที่น้ำเดือด
จะมีปญ
ั หาเกิดขึน้ สองประการ
ต้องหาเครือ่ งสูบไฟฟ้าทีส่ ามารถสูบคอนเดนเสตทีร่ อ้ นได้
ไม่มไี ฟฟ้าทีส่ ะดวกทีจ่ ดุ รวบรวมคอนเดนเสต

รูปที่ 31 เครือ่ งสูบทีข่ บั ด้วยไฟฟ้าสำหรับนำคอนเสตกลับไปยังห้องหม้อไอน้ำ

อีกทางเลือกหนึง่ ทีเ่ หมาะสมในทางปฎิบตั ทิ จ่ี ะนำคอนเดนเสตกลับถังพักน้ำ-


ในห้องหม้อไอน้ำ คือปัม้ น้ำอัตโนมัติ Pumping Trap (รูปที่ 32)
52
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

รูปที่ 32 เครือ่ งสูบน้ำน้ำอัตโนมัติ Pumping Trap


วิธกี ารนีใ้ ช้อปุ กรณ์ทง่ี า่ ยๆ โดยใช้ไอน้ำเป็นตัวกลางในขับเคลือ่ น การติด ตัง้ -
ให้คอนเดนเสตไหลตามแรงโน้มถ่วงจากถังเก็บเข้าไปยังตัวเครือ่ งสูบผ่านวาล์วกัน-
กลับ A อากาศและไอระบายผ่าน D เมือ่ ระดับน้ำในเครือ่ งสูบสูงขึน้ จะยกลูกลอย
B ซึง่ ส่วนบนจะเคลือ่ นทีไ่ ปปิดช่องระบาย D และเปิดวาล์วไอน้ำ C ความดันของ-
ไอน้ำในตัวเครือ่ งสูบจะดันน้ำออกไป โดยผ่านวาล์วกันกลับ E เมือ่ น้ำถูกดันออก-
ไปในทีส่ ดุ ลูกลอยจะตกลง และปิดวาล์วไอน้ำเข้าและเปิดวาล์วระบาย
อุณหภูมิคอนเดนเสต
ในบางกรณีการนำคอนเดนเสตกลับทั้งหมดอาจจะมีปัญหา เนื่องจาก
คอนเดนเสตทีม่ อี ณ ุ หภูมสิ งู มากเกิน
53
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

จะเกิดโพรง (Cavitation) ขึน้ ทีเ่ ครือ่ งสูบ การแก้ปญ ั หานีโ้ ดยการหาเครือ่ ง-


สูบมีความดันเป็นบวกทีม่ ากพอท่อทางเข้าของเครือ่ งสูบความดันทางเข้าเปลีย่ นตา-
มาอุณหภูมิ หรือปัม้ มีความดันของน้ำทางเข้าไม่เท่ากัน ขึน้ อยูก่ บั ประเภทของเครือ่ ง-
สูบหรือปั้มที่ใช้ หากไม่ทราบข้อมูลผู้ผลิตเครื่องสูบหรือปั้ม หรือพิจารณาเลือก-
เครือ่ งสูบหรือปัม้ ประเภทปริมาตรเป็นบวก (Position Displacement) ในรูปที่ 33
แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าความสูงต่ำสุดและอุณหภูมิสำหรับเครื่อง-
แบบสูบประเภทนี้
หากใช้เครือ่ งสูบทีข่ บั ด้วยไอน้ำ ความร้อนทีป่ ล่อยทิง้ สามารถนำกลับ โดยให้-
ไอเสียนีไ้ หลผ่านขดท่อในถังน้ำป้อนตามทีแ่ สดงในรูปที่ 33 สำหรับเครือ่ งจักรทีใ่ ช้-

รูปที่ 33 ความสัมพันธ์ระหว่างความสูงกับอุณหภูมทิ ใ่ี ช้ในการ


ส่งคอนเดนเสตกลับไปยังถังในห้องหม้อไอน้ำ
54
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

อยูอ่ าจจะเป็นการยากทีจ่ ะยกถังน้ำป้อนขึน้ ให้อยูใ่ นระดับสูงมีทางเลือกโดยการติด-


ตัง้ ถังบริการในระดับสูงซึง่ เป็นถังขนาดไม่ใหญ่มาก และป้อนเข้าถังก่อนถังหลัก-
โดยใช้ปม๊ั อัตโนมัตสิ บู ตามทีแ่ สดงในรูปที่ 34
การหุ้มฉนวนคอนเดนเสต
ปกติพบว่างานท่อของระบบไอน้ำมีการหุม้ ฉนวนแต่ทอ่ คอนเดนเสตมักจะ-
ไม่ได้หมุ้ ฉนวน แม้วา่ ท่อคอนเดนเสตมีอณ ุ หภูมติ ำ่ กว่าอุณหภูมไิ อน้ำ จุดประสงค์-
หลักของระบบนำคอนเดนเสตกลับ คือการนำความร้อนกลับมาใช้ ดังนัน้ งานท่อคอน-
เดนเสตควรมีการหุม้ ฉนวนด้วย
ตารางที่ 2 แสดงความร้อนสูญเสียจากท่อทีไ่ ม่ได้หมุ้ ฉนวน ภายใต้เงือ่ นไข-
โดยทัว่ ไป การหุม้ ฉนวนจะสามารถลดการสูญเสียได้ประมาณ 75%

รูปที่ 34 ถังบริการอยูใ่ นระดับสูงถูกป้อนจากถังหลักด้วยปัม๊ อัตโนมัติ

55
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

ถังน้ำป้อนหม้อไอน้ำเป็นทีค่ อนเดนเสตเข้าไปถึงเป็นจุดสุดท้าย ควรจะได้รบั -


การหุม้ ฉนวนอย่างเพียงพอ และติดตัง้ ควรทำดังนี้
ฝาถังมีชอ่ งระบายไอสูบ่ รรยากาศ
มีแผ่นคลุมทีล่ อยได้หรือลูกบอลพลาสติกกลวงลอยอยูบ่ นผิวน้ำ วิธกี ารนีเ้ ป็นการ-
ป้องกันการสูญเสียความร้อนจากผิวน้ำร้อนและลดการดูดซับออกซิเจนเข้าไปในน้ำ
56
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

รูปที่ 35 ความร้อนสูญเสียทัง้ หมดต่อปีจำนวน 6,000 ชัว่ โมง


เพือ่ ให้แนวคิดถึงความแตกต่างของการสูญเสียความร้อนจากถังทีห่ มุ้ ฉนวน-
และไม่ได้หมุ้ ฉนวน รูปที่ 35 แสดงถังทีค่ รึง่ หนึง่ ไม่ได้หมุ้ ฉนวนและอีกครึง่ หนึง่ มีการ-
หุม้ ฉนวน แสดงให้เห็นคุณค่าของการหุม้ ฉนวนได้อย่างดี
รายละเอียดทีม่ ากกว่านีอ้ ยูใ่ นงานการหุม้ ฉนวนอย่างได้ผลอยูใ่ นคูม่ อื ฉบับที่ 8
การใช้ฉนวนสำหรับท่อร้อน และฉบับที่ 19 การหุม้ ฉนวนเครือ่ งจักรในกระบวน-
การผลิตและประสิทธิภาพเชือ้ เพลิง
ตัวอย่าง
ตารางไอน้ำในภาคผนวกที่ 1 แสดงว่าถ้าคอนเดนเสตมีความดันเป็น 7 บาร์
อุณหภูมขิ องคอนเดนเสตจะเป็น 170 0C และมีความร้อนสัมผัสเป็น 719 กิโลจูล/

57
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

กิโลกรัม น้ำภายใต้ความดันบรรยากาศไม่สามารถมีอณ ุ หภูมไิ ด้สงู กว่า 100 0C


ซึง่ เป็นอุณหภูมนิ ำ้ เดือด ดังนัน้ น้ำทีเ่ ข้ากับดักไอน้ำ (Steam trap) ด้วยความร้อน
719 กิโลจูล/กิโลกรัม และออกจากกับดักไอน้ำที่ 419 กิโลจูล / กิโลกรัม มีความ
แตกต่างอยู่300 กิโลจูล/กิโลกรัม ซึง่ น้ำไม่สามารถรับไว้ได้ ส่วนหนึง่ ของพลังงาน-
นีใ้ ช้ในการระเหยน้ำอีกครัง้ ดังนัน้ น้ำส่วนหนึง่ จะเปลีย่ นเป็นไอน้ำ ซึง่ เรียกว่า
“ไอน้ำแฟลช”

รูปที่ 36 ปริมาณไอน้ำแฟลชทีเ่ กิดขึน้ ทีเ่ งือ่ นไขการทำงานต่างๆ


58
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

การนำความร้อนจากไอน้ำแฟลชกลับมาใช้
ไอน้ำแฟลชเป็นของดีเป็นสิง่ ทีใ่ ช้ประโยชน์ได้ปกติแห้งมากกว่าไอน้ำทีม่ า-
จากหม้อไอน้ำโดยตรง ในหลายๆ สถานการณ์สามารถจะนำไอน้ำแฟลชกลับมาใช้-
ได้และใช้ได้เหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์กบั อุปกรณ์งา่ ยๆ
เมือ่ คอนเดนเสตของไอน้ำอยูใ่ นท่อหรือภาชนะทีก่ ลัน่ ตัวออกมา คอนเดนเสต-
มีอณุ หภูมเิ ท่ากับไอน้ำ ความแตกต่างระหว่างความดันเริม่ ต้นกับความดันของไอน้ำ-
แฟลชมากยิง่ มีปริมาณไอน้ำแฟลชมาก
รูปที่ 36 แสดงให้เห็นว่าปริมาณไอน้ำแฟลชมีมากเท่าไหร่ ภายใต้เงือ่ นไข-
การทำงานต่างๆ ความสำคัญการเกิดไอน้ำแฟลช คืออุณหภูมแิ ละความร้อนทีอ่ ยูใ่ น-
คอนเดนเสตทีอ่ อกจากกับดักไอน้ำ (Steam trap) หากใช้เทอร์โมสแตติค หรือกับ-
ดักไอน้ำ (Steam trap) อย่างอืน่ ทีเ่ ก็บคอนเดนเสตไว้จนกระทัง่ คายความร้อนสัมผัส-
ออกมาบางส่วน ในการคำนวณจำนวนไอน้ำแฟลชทีเ่ กิดขึน้ จะต้องเผือ่ ในการนำไอ-
น้ำแฟลชกลับมาใช้ทค่ี วามดันต่ำจะเพิม่ ความดันย้อนกลับต่อระบบการนำคอนเดน-
เสตกลับได้ ควรให้ความสำคัญในเครือ่ งจักรทีไ่ อน้ำเข้าทีค่ วามดันสูง แต่ใช้ชดุ ควบ-
คุมอุณหภูมแิ บบ Thermestatic
ไอน้ำแฟลชทีเ่ กิดขึน้ ในกับดักไอน้ำ(Steam trap) จะเคลือ่ นทีม่ ากับคอนเดน-
เสตตามท่อนำคอนเดนเสตกลับ ถ้าท่อไม่ได้หมุ้ ฉนวนไอน้ำแฟลชจะกลัน่ ตัวและ-
สูญเสียความร้อนไปสู่บรรยากาศ
หากท่อมีการหุม้ ฉนวนทำให้ไอน้ำจำนวนมากกลับมาถึงถังน้ำป้อน ถ้าหาก-
คอนเดนเสตที่นำกลับท่อเข้ากับดักอยู่เหนือระดับน้ำ ไอน้ำแฟลชจะหนีผ่านท่อ-
ระบายออกไปสูบ่ รรยากาศ ถ้าหากคอนเดนเสตทีน่ ำกลับท่อทางเข้าอยูต่ ำ่ กว่าระดับ-
น้ำไอน้ำแฟลช จะกลัน่ ตัวและทำให้อณ ุ หภูมนิ ำ้ ป้อนสูงขึน้ สิง่ นีจ้ ะเกิดขึน้ ได้หากน้ำ-
เย็นที่เติมเข้าผสมกับไอน้ำแฟลช
โดยทัว่ ไปวิธมี าตรฐานในการใช้ความร้อนจากไอน้ำแฟลชทีไ่ ด้จากคอนเดนเสต
59
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

รูปที่ 37 ถังแฟลช
ทีอ่ อกจากกับดักไอน้ำ (Steam trap) จะถูกรวบรวม และต่อเข้าไปเข้าถังแฟลช เพือ่ -
เก็บคอนเดนเสตทีม่ คี วามร้อนสูง และจากเครือ่ งทีใ่ ช้นำ้ ความดันสูง ไอน้ำแฟลชที-่
ได้จากถังแฟลชนี้สามารถนำไปใช้กับเครื่องที่ใช้ไอน้ำความดันต่ำ
พิจารณาคอนเดนเสตความดันสูงผ่านกับดักไอน้ำ (Steam trap) A ไปยังถัง-
แฟลช B ถังแฟลชมีความดันต่ำกว่า ดังนัน้ คอนเดนเสตบางส่วนจะเปลีย่ นเป็นไอน้ำ-
แฟลช เมือ่ ออกจากกับดักไอน้ำ (Steam trap) ไอน้ำแฟลชถูกนำออกไปผ่าน C และ
มีคอนเดนเสตทีเ่ หลือจาก B ออกไปผ่านกับดักไอน้ำ D ซึง่ ควรจะเป็น กับดักไอน้ำ
(Steam trap) ประเภทลูกลอยทีส่ ามารถปล่อยคอนเดนเสตออกได้อย่างต่อเนือ่ ง
ถังแฟลชควรจะติดตัง้ วาล์วระบายความดัน (Relief valve) เพือ่ ป้องกันความดัน-
สูงเกินไปในขณะทีม่ คี วามต้องการไอน้ำความดันต่ำลดลงต่ำกว่าอัตราการเกิดไอน้ำ-
แฟลช ในอุดมคติระบบผลิตไอน้ำแฟลช ควรจะติดตัง้ ใน สถานะการณ์ทม่ี คี วามต้อง-
60
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

การไอน้ำแฟลชทัง้ หมดอย่างต่อเนือ่ ง การนำความร้อนกลับได้สงู สุด จะเป็นระบบ-


ทีม่ ที อ่ น้อย เพือ่ หลีกเลีย่ งความร้อนสูญเสียโดยไม่จำเป็น
การนำไอน้ำแฟลชมาใช้กับอุปกรณ์ทำงานด้วยปริมาณไอน้ำน้อย หลาย ๆ
เครือ่ งทีอ่ ยูใ่ นส่วนหรือแผนกเดียวกัน ทีม่ คี วามต้องการไอน้ำน้อยจะดีกว่านำมาใช้-
กับอุปกรณ์ทำงานด้วยไอน้ำทีม่ คี วามต้องการมากเพียงเครือ่ งเดียว ด้วยเหตุผลทีว่ า่
เมือ่ ใช้กบั เครือ่ งใหญ่เพียงเครือ่ งเดียวเมือ่ เครือ่ งหยุดทำงานจะทำให้ความต้องการ-
ของไอน้ำแฟลซหมดไปทันที และทำให้เสียสมดุลของไอน้ำแฟลชได้ ถังแฟลช-
และงานท่อควรมีการหุ้มฉนวน
ตัวอย่างของการการนำความร้อนจากไอน้ำแฟลชกลับมาใช้
เป็นสิง่ ดีและมีเหตุผลทีช่ ดั เจนสำหรับการนำไอน้ำแฟลชกลับมาใช้ในโรง-
งานทีท่ ำงานอยู่ แต่เป็นสิง่ ทีด่ กี ว่าสำหรับการออกแบบตัง้ แต่เริม่ ต้นสำหรับโรงงาน-
ใหม่ในการนำไอน้ำแฟลชมาใช้งาน
ระบบทำความร้อนเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการนำไอน้ำแฟลชกลับมาใช้
สามารถใช้ไอน้ำแฟลชไดเป็นอย่างดีในระบบทีอ่ อกแบบตัง้ แต่ตน้ เช่น อาคารทีม่ -ี
ชุดทำความร้อนทีป่ ระกอบด้วยเครือ่ งทำความร้อน 5 แถวแล้ว สีแ่ ถวใช้กบั ไอน้ำความ-
ดันสูง จากแถวเหล่านีน้ ำไอน้ำแฟลชกลับมาใช้ในแถวทีห่ า้ โดยให้เป็นไอน้ำความดัน-
ต่ำ ตามทีแ่ สดงในรูปที่ 38 วิธกี ารนีเ้ ป็นการลงทุนน้อยและเป็นการลงทุนทีม่ เี หมาะ-
สม ใช้ความร้อนแฝงของระบบอย่างเต็มที่

ตัวอย่างทีส่ องของการนำไอน้ำแฟลชกลับมาใช้ คือลูกกลิง้ รีดผ้าสองลูก


รูปที่ 39a แสดงเครือ่ งรีดผ้าก่อนการปรับปรุงการใช้ไอน้ำแฟลชสำหรับลูกกลิง้ -
รีดผ้าไอน้ำ ถูกป้อนเข้าแท่นรองรีดที่ 7 บาร์ (100 ปอนด์ตอ่ ตารางนิว้ ) และไปยัง
ลูกกลิง้ รีดผ้าที่ 1 บาร์ (15 ปอนด์ตอ่ ตารางนิว้ ) ผ่านวาล์วลดความดันจากไอน้ำความ-
ดันสูงหลัก
61
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

รูปที่ 38 วิธกี ารใช้ไอน้ำแฟลชในระบบทำความร้อน


กับดักไอน้ำ (Steam trap) ของแท่นรองรีด และลูกกลิง้ รีดปล่อยตรงมายังท่อ-
คอนเดนเสตประธานร่วม ท่อประธานร่วมส่งกลับไปบ่อน้ำร้อนซึง่ ระบายไอออกสู-่
บรรยากาศ
รูปที่ 39 b แสดงเครือ่ งจักรเดียวกันหลังการปรับปรุง คอนเดนเสตจากถังแฟลช-
ผ่านกับดักไอน้ำ (Steam trap) ความดันต่ำ และเข้าท่อประธานร่วม
ถังแฟลชวาล์วระบายความดัน ( Relief valve ) วาล์วถูกติดตัง้ หากไม่ตดิ ตัง้ อาจ-
จะมีปญั หาในช่วงทีร่ ะบบความดันต่ำตัดการใช้งานลงในขณะทีร่ ะบบความดันสูงยัง-
ทำงานอยู่ และไม่จำเป็นต้องติดตัง้ วาล์วระบายความดันหลังวาล์วลดความดันบนทาง-
เข้าไอน้ำความดันต่ำ
อุปกรณ์ทง้ั หมดทีต่ อ้ งการมีถงั แฟลชหนึง่ ถังกับดักไอน้ำ (Steam trap) หนึง่ -
ตัว อาจจะมีวาล์วระบายความดันหนึ่งตัว ท่อตรงยาวสองสามท่อน ข้อต่อและ-
ฉนวนความร้อน ผลการประหยัดประมาณว่าเป็น 9% ของการใช้ไอน้ำ
62
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

รูปที่ 39 วิธกี ารใช้ไอน้ำแฟลชในลูกรีดเครือ่ งรีดผ้า

63
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

การควบคุมไอน้ำแฟลช
ตัวอย่างทีแ่ สดงในรูปที่ 38 และ 39 มีทอ่ ต่อถึงกันระหว่างท่อจ่ายไอน้ำความ-
ดันสูงกับการนำไอน้ำแฟลชกลับมาใช้ผา่ นวาล์วลดความดัน วาล์วลดความดันควบ-
คุมความดันของไอน้ำความดันต่ำทีจ่ า่ ยและเติมเมือ่ ไอน้ำแฟลชทีเ่ กิดขึน้ ไม่พอตาม-
ความต้องการ วาล์วลดความดันที่ใช้ต้องเป็นแบบที่มีความไวสูงต่อการเปลี่ยน-
แปลงของภาระและความดัน
การควบคุมความดัน และไอน้ำทีป่ อ้ นเสริมอาจต้องการเป็นครัง้ คราว ตัวอ-
ย่างเช่น ชุดทำน้ำร้อนด้วยไอน้ำ เพือ่ ใช้อบอุน่ อาคารเป็นวิธที ล่ี งทุนน้อยในการออก-
แบบทีใ่ ช้ไอน้ำความดันสูงเข้าถังทำน้ำร้อน แต่มขี อ้ เสียทีต่ อ้ งปล่อยความร้อนทีม่ คี า่ ไป-

รูปที่ 40 การจัดวางเครือ่ งทำน้ำร้อนสำหรับระบบทำความร้อน


64
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation เทคนิคการนำความร้อนทิง้
กลับมาใช้ใหม่

กับคอนเดนเสตอุณหภูมสิ งู การสูญเสียนีห้ ลีกเลีย่ งได้โดยผ่านคอนเดนเสตนีเ้ ข้าถัง-


ทำน้ำร้อนชุดที่ 2 เพือ่ ถ่ายเทความร้อนให้นำ้ ตามรูปที่ 40
วิธกี ารนีค้ วามร้อนบางส่วนจะถูกดูดออกมาจากคอนเดนเสตและไอน้ำแฟลช
และส่งผ่านไปอุน่ น้ำหมุนเวียนและลดความต้องการไอน้ำของเครือ่ งทำน้ำร้อน
วิธกี ารนำความร้อนจากไอน้ำกลับมาใช้อย่างง่าย
ในหลายๆ กระบวนการผลิตทีท่ ำให้นำ้ ระเหยออกจากผลิตภัณฑ์ในระหว่าง-
กระบวนการอบแห้งและการปรุงแต่ง หรือการทำให้ของเหลวข้นขึน้
ไอทีร่ ะเหยออกมามีคา่ ความร้อนแฝง ประมาณ 2,256 กิโลจูลต่อกิโลกรัม (970
บีทยี ตู อ่ ปอนด์) ทีค่ วามดันบรรยากาศ หากปล่อยทิง้ ไปจากเครือ่ งจักรจะไม่เป็นเพียง-
การสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์แต่ยงั สร้าง ‘หมอกควัน’ รบกวน เป็นสาเหตุของการ-
ทำลายสิง่ ห่อหุม้ อาคาร และสิง่ แวดล้อม

รูปที่ 41 หัวฉีดให้ไอกลัน่ ตัวด้วยฝักบัวหรือหัวฉีดน้ำในสวน


65
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation
6. สรุป/รายการตรวจสอบสำหรับดำเนินงานขัน้ ต่อไป

เพือ่ ทีจ่ ะแก้ปญ


ั หานีไ้ อระเหยควรจะได้รบั การรวบรวมผ่านท่อและฉีดน้ำให้ไอ-
เกิดการควบแน่น โดยใช้ฝกั บัวง่ายๆ หรือหัวฉีดน้ำในสวนตามทีแ่ สดงในรูปที่ 41 วิธกี าร-
นีจ้ ะทำให้ได้นำ้ ร้อนซึง่ สามารถจ่ายให้ตามความต้องการน้ำร้อนในกระบวนการผลิต-
หรือน้ำป้อนหม้อไอน้ำ ถ้ามีสง่ิ สกปรกติดมากับไอน้ำจากกระบวนการผลิตก็ให้ใช้-
อุปกรณ์แลกเปลีย่ นความร้อนแทนการผสมโดยตรง
ไม่เป็นการดีทจ่ี ะใช้ประโยชน์จากไอหากไม่ได้ใช้กบั การทำน้ำร้อน ข้อดีของ-
การนำไอกลับมีมากจะต้องทำการศึกษาเป็นอย่างดีและให้ความระมัดระวังว่าทีใ่ ดมี-
ไอและการใช้ประโยชน์ของน้ำร้อนอยูท่ ใ่ี ด
6. สรุป/รายการตรวจสอบสำหรับการดำเนินงานขั้นต่อไป
1. มีการวัดการใช้ไอน้ำในแต่ละแผนกหรือไม่?
2. แต่ละแผนกมีการตรวจสอบปริมาณการใช้ไอน้ำเป็นประจำหรือไม่ ?
3. ท่อไอน้ำประธานมีขนาดเหมาะสม มีการวางท่อเหมาะสม มีการระบาย
คอนเดนเสตเหมาะสม และมีการระบายไออย่างเหมาะสมหรือไม่ ?
4. มีการเผือ่ การขยายตัวของท่อพอเพียงหรือไม่ ?
5. สามารถใช้อปุ กรณ์แยกเม็ดน้ำออกจากไอน้ำเพือ่ ปรับปรุงคุณภาพไอน้ำ
หรือไม่ ?
6. มีการรัว่ ของไอน้ำจากข้อต่อ ซีล หรือรัว่ จากวาล์วและวาล์วนิรภัยหรือไม่ ?
7. ท่อไอน้ำหน้าแปลนวาล์วทัง้ หมดมีการหุม้ ฉนวนหรือไม่ ?
8. สามารถตัดการใช้งานลดท่อไอน้ำส่วนเกินหรือตัดออกไปจากระบบได้
หรือไม่ ?
9. สามารถลดความชืน้ ทางเชิงกล โดยเครือ่ งปัน่ แบบสลัดก่อนการอบแห้ง
เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพได้หรือไม่ ?
10. หาวิธที เ่ี หมาะสมนำความร้อนทีป่ ล่อยทิง้ อุน่ วัสดุกอ่ นเข้าขบวนการผลิต
ได้หรือไม่ ?
66
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation สรุป/รายการตรวจสอบ
สำหรั บ ดำเนิ น งานขั ้ น ต่ อ ไป

11. เครือ่ งจักรในกระบวนการผลิตทีไ่ ม่ได้หมุ้ ฉนวนจะหุม้ ฉนวนได้หรือไม่ ?


12. ยอมให้ลมเย็นผ่านห้องร้อนหรือผิวร้อนหรือไม่?
13. เครือ่ งจักรในกระบวนการผลิตเดินเต็มทีเ่ ต็มภาระเท่าทีเ่ ป็นไปได ้
การทำงานเบา ทำงานน้อยจะต้องน้อยทีส่ ดุ หรือไม่ ?
14. เครือ่ งทำให้แห้งด้วยอากาศร้อนมีการหมุนวนอากาศร้อนมากทีส่ ดุ
และหลีกเลีย่ งอากาศเย็นเล็ดลอดเข้าให้เหลือน้อยหรือไม่ ?
15. อุณหภูมใิ นกระบวนการผลิตมีการควบคุมหรือไม่ ?
16. ความดันไอน้ำทีใ่ ช้ในกระบวนการผลิตสูงเกินความจำเป็นหรือไม่ ?
17. เมือ่ การทำของเหลวให้รอ้ นด้วยการฉีดพ่นไอน้ำเข้าโดยตรงนัน้
ใช้ความดันไอน้ำต่ำสุดเท่าทีเ่ ป็นไปได้แล้วหรือไม่ ?
18.ไอน้ำทีจ่ า่ ยให้เครือ่ งจักรของกระบวนการผลิตมีความแห้งเท่าทีจ่ ำเป็นแล้ว
หรือไม่? ความต้องการไอน้ำสูงสุดสามารถหลีกเลีย่ ง และหากหลีกเลีย่ ง
ไม่ได้หม้อไอน้ำมีการเตือนทีด่ เี พียงพอหรือไม่ ?
19. ความต้องการของไอน้ำสูงสุดสามารถแยกเป็นส่วนๆ ได้หรือไม่ ?
20. ใช้กบั ดักไอน้ำ (Steam trap) ถูกประเภทกับแต่ละงานทีใ่ ช้หรือไม่ ?
หากการติดตัง้ ถูกต้องแล้วมีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอแล้วหรือไม่ ?
21. กับดักไอน้ำ (Steam trap) แต่ละตัวมีการป้องกันด้วยตัวกรองและตามด้วย
ไซท์กลาส (กระจกมองการไหล) แล้วหรือไม่ ?
22. มีการติดตัง้ วาล์วกันกลับหลังกับดักไอน้ำ (Steam trap) โดยเฉพาะ
ถ้าต่อท่อคอนเดนเสตกลับเหนือศรีษะหรือไม่ ?
23 . มีการติดตัง้ ท่อทางลัด ( By -pass ) ผ่านกับดักไอน้ำ (Steam trap)
เท่าทีม่ คี วามจำเป็นหรือไม่ และใช้งานอย่างถูกต้องหรือไม่ ?
24. กับดักไอน้ำ (Steam trap) อาจจะถูกทำลายเสียหายด้วยความเย็นจนน้ำแข็ง
มีการป้องกันด้วยการหุม้ ฉนวนเมือ่ ติดตัง้ ในทีเ่ ปิดหรือไม่ ?
67
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation
7. แหล่งของข้อมูลเพิ่มเติม

25. มีการระบายอากาศออกจากช่องไอน้ำอย่างเหมาะสมเพือ่ การใช้งาน


ทีใ่ ห้ผลสูงสุดและการทำความร้อนได้อย่างสม่ำเสมอหรือไม่ ?
26. เมือ่ คอนเดนเสตมีการยกโดยตรงจากกับดักไอน้ำ (Steam trap) สามารถ
ปรับปรุงโดยทำให้คอนเดนไหลตามแรงโน้มถ่วงไปยังถังเก็บและสูบยก
คอนเดนเสตได้หรือไม่ ?
27. ปล่อยทิง้ ไอน้ำแฟลชหรือไม่?
28. สามารถนำความร้อนจากไอน้ำแฟลชไปใช้ในเครือ่ งทีใ่ ช้ไอน้ำความดันต่ำ
เพือ่ อุน่ วัสดุเย็นเพือ่ อุน่ น้ำ หรือนำกลับเข้าถังน้ำป้อนหม้อไอน้ำหรือไม่ ?
29. คอนเดนเสตทิง้ ไปอย่างไม่จำเป็นหรือไม่ ?
30. ระบบนำคอนเดนเสตกลับและป้อนเข้าถังมีการหุม้ ฉนวนหรือไม่ ?
31. นำความร้อนกลับจากการระบายน้ำทิง้ ของหม้อไอน้ำหรือไม่ ?
32. สามารถนำความร้อนจากของเหลวร้อนหรือคอนเดนเสตทีส่ กปรกผ่าน
อุปกรณ์แลกเปลีย่ นความร้อนได้หรือไม่ ?
7. แหล่งของข้อมูลเพิ่มเติม
เอกสารของกระทรวงสิง่ แวดล้อม :
คูม่ อื แนะนำการฝึกปฏิบตั ทิ ด่ี ฉี บับที่ 18
การลดค่าใช้จ่ายการใช้พลังงานโดยการวัดปริมาณไอน้ำ
คูม่ อื แนะนำการฝึกปฏิบตั ทิ ด่ี ฉี บับที่ 30
การใช้หม้อไอน้ำในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
กรณีศกึ ษาการฝึกปฏิบตั ทิ ด่ี ฉี บับที่ 153
การระบายทีแ่ ตกต่างกันหลายๆ แบบ และระบบการนำกลับหม้อไอน้ำ
เอกสารเผยแพร่เหล่านี้ และเอกสารอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วกับการใช้ไอน้ำ
อย่างเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์หาได้จาก :
Energy Efficiency Enquires Bureau,
68
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation แหล่ ง ของข้ อ มู ล เพิ ่ ม เติ ม

ETSU,
Harwell,
Didcot,
Oxfordshire
OX11 0RA
โทรศัพท์ : 01235 436747 โทรสาร : 01235 433066
ข่าวสารล่าสุดเกีย่ วกับเทคโนโลยีประสิทธิภาพพลังงาน
‘Energy Management’ เป็นวารสารทีอ่ อกโดย กระทรวงสิง่ แวดล้อม ซึง่ มีขอ้ มูล-
ล่าสุดเกีย่ วกับการพัฒนาในด้านประสิทธิภาพพลังงาน รายละเอียดของกิจกรรม เพือ่ ที-่
จะส่งเสริมการดำเนินงาน
เอกสารของ ‘Energy Management’ หาได้จาก:
Emap Maclaren Ltd.
Maclaren House
19 Scarbrook Road
Croydon
Surrey
CR9 1QH

69
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation ภาคผนวกที่ 1 ตารางไอน้ำ

ภาคผนวก 1 ตารางไอน้ำ (IS UNITS)*

70
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation ภาคผนวกที่ 1 ตารางไอน้ำ

* เป็นการทำให้เป็นหน่วยเมตริกของตารางไอน้ำ ข้อกำหนดเดิมของ-
ระบบอังกฤษของความร้อนสัมผัสปัจจุบนั หมายถึง เอนทัลปีจำเพาะของน้ำ ความ-
ร้อนแฝงปัจจุบนั หมายถึงเอนทัลปีจำเพาะของการระเหย และความร้อนทัง้ หมด-
หมายถึงเอนทัลปีจำเพาะของไอน้ำ

71
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation ภาคผนวกที่ 1 ตารางไอน้ำ

ตารางไอน้ำ (IMPERIAL UNITS)*

72
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation ภาคผนวกที่ 1 ตารางไอน้ำ

73
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation
แหล่งข้อมูลเพิม่ เติมเกีย่ วกับกรมพลังงานทดแทนและอนุรกั ษณ์พลังงาน

แหล่งข้อมูลเพิม่ เติมเกีย่ วกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน


กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน (พพ.) ซึง่ เป็น หน่วยงาน
หลักแห่งหนึง่ ของรัฐบาลในการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริม และกำหนดแนวทางการ
อนุรกั ษ์พลังงานในประเทศไทยเดิมคือ การพลังงานแห่งชาติ จัดตัง้ ขึน้ โดยมีพระ-
บรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัตกิ ารพลังงานแห่งชาติ เมือ่ วันที่
5 มกราคม พ.ศ. 2496 และมีประกาศพระราชบัญญัตใิ นราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 70
ตอนที่ 3 เมือ่ วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2496 ให้มผี ลบังคับใช้พระราชบัญญัติ ตัง้ แต่วนั ที่
7 มกราคม พ.ศ. 2496 จึงอาจถือได้วา่ การพลังงานแห่งชาติ หรือ สำนักงานพลังงาน-
แห่งชาติกำเนิดขึน้ ตัง้ แต่วนั ที่ 7 มกราคม 2496
เมือ่ เริม่ ก่อตัง้ โดยพระราชบัญญัตกิ ารพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2496 เรียกชือ่ -
ว่า “การพลังงานแห่งชาติ” สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และมีสำนักงานชัว่ คราวอยู-่
ที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาเมือ่ ปี พ.ศ.2497 ได้ยา้ ยสำนักงาน
ไปอยูท่ ศ่ี าลาลูกขุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ยา้ ยมาอยูท่ บ่ี า้ นพิบลู ธรรม เชิง
สะพานกษัตริยศ์ กึ เมือ่ พ.ศ.2502 ซึง่ เป็นทีอ่ ยูใ่ นปัจจุบนั
วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2506 การพลังงานแห่งชาติได้โอนมาขึน้ อยูก่ บั
กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติโดยพระราชบัญญัตปิ รับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
พ.ศ. 2506 วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2515 ย้ายมาสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และ เปลีย่ น-
ชือ่ เป็น “สำนักงานพลังงานแห่งชาติ”
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 เปลีย่ นชือ่ เป็น “กรมพัฒนาและส่งเสริม พลัง-
งาน” สังกัดกระทรวง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ตามพระราช- บัญญั-
ติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ.2535 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109
ตอนที่ 9 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 และในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2535
เปลีย่ นชือ่ สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานเป็น “กระทรวง-
วิทยาศาสต์เทคโนโลยีและการพลังงาน เป็น “กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและ
74
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

สิง่ แวดล้อม”
วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เปลีย่ นชือ่ เป็น “กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และ-
อนุรกั ษ์พลังงาน” สังกัดกระทรวงพลังงาน โดยพระราชบัญญัตริ ะเบียบ บริหารราช-
การแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัตปิ รับปรุง กระทรวง ทบวง
กรม พ.ศ. 2545 ซึง่ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 99ก ลงวันที่ 2
ตุลาคม พ.ศ. 2545
1 . กองฝึกอบรม และสำนักกำกับและอนุรกั ษ์พลังงาน
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน (พพ.)
อำนาจหน้าทีข่ องกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงานที่ เกีย่ วข้อง-
กับการอนุรกั ษ์พลังงานทีก่ ำหนดโดย พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรกั ษ์ พลังงาน พ.ศ.
2535 ครอบคลุมประเด็นต่างๆ เกีย่ วกับพลังงาน
ตัวอย่างเช่น การวิจยั เกีย่ วกับพลังงานทดแทน การสำรวจและรวบรวม ข้อมูล-
เกีย่ วกับพลังงาน การค้นคว้า พัฒนาและสาธิตการอนุรกั ษ์พลังงาน เป็นต้น ดังนัน้ พพ.
จึงประกอบด้วยหน่วยงานหลายฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้องกับความพยายาม ในการอนุรกั ษ์พลังงาน
และรับผิดชอบต่อการ ปฎิบตั ติ ามกฎหมาย ในการอนุรกั ษ์ พลังงานของอุตสาหกรรม
ได้แก่ กองฝึกอบรมและสำนักกำกับ และอนุรกั ษ์พลังงาน
1.1. กองฝึกอบรม มีอำนาจหน้าที่
ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้ด้านการจัดการ และ
เทคโนโลยีดา้ นพลังงานแก่ผทู่ เ่ี กีย่ วข้องทัง้ ภาครัฐและเอกชน
ฝึกอบรมผูร้ บั ผิดชอบด้านพลังงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม การอนุรกั ษ์-
พลังงาน
ปฎิบตั งิ านร่วมกับหรือสนับสนุนการปฎิบตั งิ านหน่วยงานอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้อง หรือ-
ทีไ่ ด้รบั มอบหมาย

75
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

ผูท้ ส่ี นใจสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิม่ เติมได้ท่ี


กองฝึกอบรม กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน
กระทรวงพลังงาน ต. คลองห้า อ. คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2577 7035-41 โทรสาร 0 2577 7047
1.2. สำนักกำกับและอนุรกั ษ์พลังงาน มีอำนาจหน้าที่
พัฒนาเทคโนโลยี ส่งเสริม ช่วยเหลือ และกำกับดูแลการอนุรกั ษ์พลังงาน
และดำเนินการอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้องตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรกั ษ์พลังงาน
ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการอนุญาตการผลิตและการขยายการผลิตพลังงาน
ควบคุม รวมทัง้ กำกับดูแลงานและกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานด้านการ พลังงาน-
ควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
ประสานงานและวางแผนเกีย่ วกับการอนุรกั ษ์พลังงาน
ปฎิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฎิบัติงานหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือได้รบั มอบหมาย
ผูท้ ส่ี นใจสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิม่ เติมได้ท่ี
สำนักกำกับและอนุรกั ษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
เลขที่ 17 เชิงสะพานกษัตริยศ์ กึ ถ.พระราม1 แขวงรองเมือง
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ 0 2223 0021-9 โทรสาร 0 2226 1416
2. การประชาสัมพันธ์ขอ้ มูลด้านการอนุรกั ษ์พลังงานของพพ.
การอนุรกั ษ์พลังงานหมายความว่า ผลิตและใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพ
และประหยัด
จุดเริม่ ต้นของการอนุรกั ษ์พลังงานในประเทศไทยมีมาตัง้ แต่ปี 2516 ซึง่ ขณะ-
นัน้ ทัว่ โลกเกิดวิกฤตการณ์พลังงาน ราคาน้ำมันมีาคาสูงขึน้ มาก ประเทศไทย เป็นหนึง่ -
ในหลายประเทศทีป่ ระสบปัญหาด้านพลังงานเชือ้ เพลิง จึงได้กำหนดมาตรการเพื่อ-
76
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

แก้ไขการขาดแคลนน้ำมันเชือ้ เพลิงในประเทศขึน้ มา อาทิเช่น การปิดสถานีบริการ-


น้ำมันเชือ้ เพลิงในเวลากลางคืน ลดการใช้ไฟฟ้าแสงสว่าง ในทาง สาธารณะลงร้อย-
ละ 50 เป็นต้น ซึง่ มาตรการเหล่านีไ้ ด้ถกู ยกเลิกไปแล้ว จวบจนกระทัง่ เกิดวิกฤตการณ์-
พลังงานของโลกครัง้ ที่ 2 จึงเป็นจุดทีก่ อ่ ให้เกิด แนวความคิดทีจ่ ะต้องออกกฎหมาย-
เพือ่ การอนุรกั ษ์พลังงานใช้บงั คับกัน อย่างจริงจังเช่นในหลายๆ ประเทศทีม่ กี ฎหมาย-
ลักษณะนีข้ น้ึ มา
พระราชบัญญัตกิ ารส่งเสริมการอนุรกั ษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 กำหนดให้ กลุม่ -
เป้าหมาย คือโรงงาน อาคารธุรกิจต้องดำเนินการอนุรกั ษ์พลังงานอย่างเป็นระบบ
โดยรัฐจะให้การสนับสนุนทางเทคนิคและวิชาการทางเทคโนโลยีการอนุรักษ์
พลังงาน รวมทัง้ ให้ความสนับสนุนทางการเงินในการอนุรกั ษ์พลังงาน เพือ่ เป็น-
การ สนับสนุนมาตรการการอนุรกั ษ์พลังงาน พพ. จึงจัดตัง้ ศูนย์บริการ ลูกค้า สัมพันธ์
(One Stop Service) โดยมีแนวคิดในการดำเนินการ ดังนี้
ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ ( One Stop Service )
ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ ( One Stop Service ) เป็นหน่วยงานทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้
เพือ่ ให้มกี ารแก้ไขปัญหาของโรงงานและอาคารควบคุมอย่างต่อเนือ่ งและเบ็ดเสร็จ
โดยจะให้บริการคำปรึกษาช่วยเหลือและติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานตาม
พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรกั ษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ของโรงงานและอาคารควบคุม
ตลอกจนรับทราบปัญหา และช่วยแก้ไขปัญหาให้อย่างรวดเร็วและทันท่วงทีรวมทัง้
ยังให้บริการข้อมูลข่าวสารอืน่ ๆทีเ่ ป็นประโยชน์และเกีย่ วข้อง เช่น ข้อมูลการดำเนิน-
การอนุรกั ษ์พลังงานตาม พ.ร.บ. สถานภาพการดำเนินการ อนุรกั ษ์พลังงานของโรง-
งาน/อาคารควบคุม และสถานภาพการดำเนินงานของ ทีป่ รึกษาด้านการอนุรกั ษ์พลัง-
งาน (RC) เป็นต้น นอกจากนีย้ งั จะนำปัญหาต่างๆ ทีไ่ ด้รบั ทราบจากโรงงานและ-
อาคารควบคุมมาวิเคราะห์และกำหนดแนวทางในการป้องกัน ปัญหาดังกล่าว เพือ่ ไม่-
ให้เกิดซ้ำและกำหนดกิจกรรมต่างๆทีจ่ ะกระตุน้ และช่วยเหลือ โรงงานและอาคาร-
77
ไอน้ำ
ศูนย์ทรัพยากรฝึกอบรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

ควบคุมในการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.
สถานทีด่ ำเนินการ : อาคาร 8 ชัน้ 1
โทรศัพท์ : 0 2223 0021 - 9 ต่อ 1650, 1668, 1411, 1427 (ในเวลาราชการ )
Email : dedeoss@dedp.go.th
3 แนะนำหลักสูตรการอนุรกั ษ์พลังงานของ พ.พ.
กองฝึกอบรม ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการสนับสนุนการพัฒนา
บุคลากรด้านการอนุรักษ์พลังงานได้เปิดหลักสูตรอบรมต่างๆ ในช่วงแต่ละปี
ตัวอย่างของหลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรผูร้ บั ผิดชอบด้านพลังงาน หลักสูตรเทคโนโลยี-
พลังงาน หลักสูตรการอนุรกั ษ์พลังงานในขบวนการผลิตของอุตสาหกรรม แต่ละ-
ประเภท หลักสูตรการอนุรกั ษ์พลังงานในอาคาร และหลักสูตรการอนุรกั ษ์พลังงาน-
ในโรงงาน เป็นต้น
ผูท้ ส่ี นใจสามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิม่ เติมได้ท่ี
หมายเลขโทรศัพท์ 0 2577 7035-41 โทรสาร 0 2577 7047
4 แนะนำ WEB SITE ของ พ.พ. ทีเ่ กีย่ วข้องกับการอนุรกั ษ์พลังงาน
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงานได้พฒ ั นา WEB SITE เพือ่ -
เป็นช่องทางให้ผทู้ ส่ี นใจเข้าไปหาข้อมูลเกีย่ วกับการอนุรกั ษ์พลังงานที่

http : // www. dedp.go.th และ http : // www.teenet-dedp.com

ภายใน WEB SITE ผูท้ ส่ี นใจสามารถค้นหาข้อมูลเกีย่ วกับ รายชือ่ โรงงาน/


อาคารควบคุม รายชือ่ ทีป่ รึกษาด้านการอนุรกั ษ์พลังงานทีไ่ ด้ขน้ึ ทะเบียนไว้กบั พ.พ.
ข้อมูลเกีย่ วกับเทคโนโลยีพลังงานและรายละเอียดเกีย่ วกับการฝึกอบรม

78
ไอน้ำ
ศูนยทรัพยากรฝกอบรมเพื่อการอนุรักษพลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation แบบสั่งจองเอกสารเผยแพร

แบบสั่งจองเอกสารเผยแพร
“แนวทางการปฎิบัติงานที่ดีในการจัดการดานพลังงาน”
ผูสนใจสั่งจองเอกสารเผยแพร“แนวทางการปฎิบัติงานที่ดีในการจัดการดานพลังงาน”
สามารถกรอกรายละเอียดตามแบบฟอรมดานลาง และสงเอกสารพรอมแสตมปเปนคาจัดสง
10 บาทตอเลม มายัง
ศูนยทรัพยากรฝกอบรมเพือ่ การอนุรกั ษพลังงาน กองฝกอบรมตามทีอ่ ยูใ นปกหลังของเอกสาร
หนวยงาน........................................................................................................................................
ชือ่ ...................................................................................................................................................
ทีอ่ ยู. ................................................................................................................................................
โทรศัพท ....................................................... โทรสาร ..................................................................
โปรดใสเครือ่ งหมาย ! สําหรับเอกสารทีท่ า นสัง่ จอง
เอกสารแผยแพรแนวทางการปฎิบตั งิ านทีด่ ี
1. คูม อื จัดการพลังงานทีด่ ี (The Good energy manager’s guide)
2. รูปแบบของการจัดการดานพลังงาน (Aspects of energy man gement)
3. กลยุทธในการจัดการดานพลังงาน และสิง่ แวดลอม
(A strategic approach to energy and environmental management)
4. การจัดการโครงการดานประสิทธิภาพใหประสบผลสําเร็จ
(Successful project management for energy efficiency)
5. การสอดแทรกเรือ่ งพลังงานเขาไปในระบบคุณภาพทัว่ ทัง้ องคกร - แนวทางสําหรับ
ผูจ ดั การพลังงาน (Putting energy into Total Quality - A giude for energy managers)
6. การจัดการและการสรางแรงจูงใจทีมงานเพือ่ การประหยัดพลังงาน
(Manging and motivating staff to save energy)
7. การฝกอบรมดานการจัดการพลังงาน (Energy manament training)
8. การนําความรอนทิง้ ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมมาใชใหม
(Waste heat recovery in the process industries)
9. เทคนิคการนําความรอนทิง้ จากกาซเสียทีม่ อี ณ ุ หภูมสิ งู กลับมาใชใหม
(Waste heat recovery from high remperature gas strams)
10.การปฎิบตั งิ านวาดวยการใชพลังงานอยางมีประสิทธิภาพสําหรับหมอไอน้าํ
ในอุตสาหกรรม (Energy efficient operation of industrial boiler plant)
11.การบริหารงานบุคคล และการบริการดานการพลังงาน
(Managinf people, Managinf energy)

1 ไอน้ํา
ศูนยทรัพยากรฝกอบรมเพื่อการอนุรักษพลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation แบบสั่งจองเอกสารเผยแพร

คูมือการใชพลังงานอยางมีประสิทธิภาพ
1. คูม อื การใชหมอไอน้าํ ชนิดใชนา้ํ มันเปนเชือ้ เพลิงอยางประหยัด
(Economic use of oil - fired boiler plant)
2. คูม อื การใชหมอไอน้าํ ชนิดใชแกสเปนเชือ้ เพลิงอยางประหยัด
(Economic use of gas - fired boiler plant)
3. คูม อื การใชหมอไอน้าํ ชนิดใชถา นหินเปนเชือ้ เพลิงอยางประหยัด
Economic use of coal - fired boiler plant
4. การตรวจวิเคราะหการใชพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม FE-TD-TRC-44004
(Energy Audits For Industry)
5. การตรวจวิเคราะหการใชพลังงานในอาคาร FE-TD-TRC-44005
(Energy Audits For Building)
6. ไอน้าํ FE-TD-TRC-44006 (Steam)
7. การใชพลังงานในเครือ่ งอัดอากาศ FE-TD-TRC-44007
(Compressed Air And Energy Use)
8. การใชฉนวนสําหรับทอรอน FE-TD-TRC-44008
(The Economic Thickness of Insulation For Hot Pipe)
9. การใชไฟฟาในโรงงานอุตสาหกรรมอยางประหยัด FE-TD-TRC-44009
(Economic Use Electricity in Industry)
10.การประหยัดพลังงานในระบบทําความเย็น FE-TD-TRC-44010
(The Economic Use of Refrigertion Plant)
11.การจัดการพลังงานและระบบแสงสวาง FE-TD-TRC-44011
(Enrrgy Management And Good Lighting Practices)
12.มาตรการลดความสูญเสีย FE-TD-TRC-44012
(Waste Avoidance Measures)
13.การใชฉนวนในกระบวนการผลิตและการใชเชือ้ เพลิงอยางมีประสิทธิภาพ
FE-TD-TRC-44013 (Process Plant Insulation And Fuel Efficiency)

รวมเอกสารเผยแพรทงั้ หมดทีส่ งั่ จอง ................... เลม


พรอมแสตมปเปนคาจัดสง จํานวน ...................... บาท

ลงชือ่ ...............................................ผูส งั่ จอง


( )
วันที.่ ...............................................................
ไอน้ํา 2
ศูนยทรัพยากรฝกอบรมเพื่อการอนุรักษพลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation ไอน้ํา

แบบสอบถามเกี่ยวกับเอกสารเผยแพร
“ ไอน้ํา ”
ศูนยทรัพยากรฝกอบรมเพือ่ การอนุรกั ษพลังงานขอความรวมมือจากทานผูอ า นในการ
แสดงความคิดเห็นเกีย่ วกับเอกสารฉบับนี้ เมือ่ กรอกขอมูลครบถวนแลว ขอความกรุณาสงกลับ
กองฝกอบรม กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพลังงาน กระทรวงพลังงาน
ต. คลองหา อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120 โทรสาร 0 2577 7047

หนวยงาน........................................................................................................................................
ชือ่ ...................................................................................................................................................
ทีอ่ ยู. ................................................................................................................................................
โทรศัพท ....................................................... โทรสาร ..................................................................

กรุณากรอกขอมูล
1. ทานคิดวาทานไดรบั ความรูจ กั จากเอกสารฉบับนีเ้ พียงไร
มากทีส่ ดุ พอใช
มาก ตองปรับปรุง
ขอเสนอแนะ....................................................................................................................................

2. ทานคิดวารูปเลมของเอกสารฉบับนีเ้ ปนอยางไร
ดีมาก พอใช
ดี ตองปรับปรุง
ขอเสนอแนะ....................................................................................................................................

3. ทานคิดวารูปภาพในเอกสารฉบับนีม้ คี วามเหมาะสมหรือไม
เหมาะสมมาก พอใช
เหมาะสม ตองปรับปรุง
ขอเสนอแนะ....................................................................................................................................

4. ทานคิดวาภาษาทีใ่ ชในการนําเสนอเปนภาษาทีเ่ ขาใจไดงา ยหรือไม


เขาใจไดดมี าก พอใช
เขาใจดี ตองปรับปรุง
ขอเสนอแนะ....................................................................................................................................
3 ไอน้ํา
ศูนยทรัพยากรฝกอบรมเพื่อการอนุรักษพลังงาน
Training Resources Center for Energy Conservation ไอน้ํา

5. รายละเอียดของเนือ้ หาอยูใ นระดับทีส่ ามารถทีจ่ ะนําไปใชงานไดหรือไม


ดีมาก พอใช
ดี ตองปรับปรุง
ขอเสนอแนะ....................................................................................................................................

6. ความสะดวกในการรับเอกสารฉบับนี้
ดีมาก พอใช
ดี ตองปรับปรุง
ขอเสนอแนะ....................................................................................................................................

7. ความรวดเร็วในการไดรบั การติดตอกอนไดรบั เอกสาร


ดีมาก พอใช
ดี ตองปรับปรุง
ขอเสนอแนะ....................................................................................................................................

8. ทานคิดวาการจัดลําดับเนือ้ หาในเอกสารฉบับนีเ้ ปนอยางไร


เหมาะสมมาก พอใช
เหมาะสม ตองปรับปรุง
ขอเสนอแนะ.....................................................................................................................................

9. ทานคิดวาเอกสารในหมวดใดควรตองปรับปรุงมากทีส่ ดุ
ปก รูปภาพ
เนือ้ หา รูปเลม
ขอเสนอแนะ....................................................................................................................................

ขอเสนอแนะทีอ่ ยากจะใหทาํ เพิม่ เติมในครัง้ ตอไป


.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................

ไอน้ํา 4

You might also like