Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 9

บ ทความ ดร.

บัญชา ธนบุญสมบัติ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
www.facebook.com/buncha2509

ที่มาของภาพ : http://clipart-library.com/clipart/8cAbqdnki.htm

นักวิทย์ยิ่งใหญ่แค่ไหน...
ก็ “พลาด” ได้
เวลาอ่านบทความ หรือรับชมสารคดีเกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก เนื้อหาส่วนใหญ่มักจะ
มุง่ เน้นไปทีผ่ ลงานอันเยีย่ มยอด หรือไม่กค็ วามเก่งกาจของอัจฉริยะบุคคลเหล่านี้ แต่นกั วิทย์กเ็ ป็นเฉกเช่น
คนทั่วไปครับ ย่อมคิดหรือท�ำอะไรที่ผิดพลาดได้ แถมบางครั้งนักวิทย์ระดับพระกาฬนี่แหละที่ผิดพลาด
อย่างหนัก กลายเป็นกรณีคลาสสิคในวงการวิทยาศาสตร์ไปเลย
เรื่องแนวนี้คนทั่วไปไม่ค่อยรับรู้ อาจเป็นเพราะหนังสือเรียนไม่กล่าวถึง ไม่ค่อยมี ใครเล่าให้ฟัง
แถมแง่มุมทางวิชาการที่เกี่ยวข้องมักจะยากซะอีก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม หากมองแบบระยะยาวแล้ว
ความผิดพลาดและความพยายามในการแก้ไขความผิดพลาดนี่แหละที่เป็นส่วนส�ำคัญในความก้าวหน้า
ของวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าสาขาใดก็ตาม
ผมขอยกตัวอย่างเด่นๆ สัก 5 คน ได้แก่ วิลเลียม ทอมสัน, ออปเพนไฮเมอร์, เฟร็ด ฮอยล์,
ไลนัส พอลิง และ…แน่นอน…ไอน์สไตน์
59

ลอร์ดเคลวิน Oppenheimer) คนนีป้ ราดเปรือ่ งมาก เขากับนักศึกษา


ชื่อ ฮาร์ตแลนด์ สไนเดอร์ (Hartland Snyder) เขียน
เริม่ จาก วิลเลียม ทอมสัน (William Thomson) บทความวิชาการชิ้นแรกที่เสนอความเป็นได้ ในสิ่งที่
หรือ ลอร์ดเคลวิน (Lord Kelvin) หน่วยอุณหภูมิ ต่อมาเราเรียกว่าหลุมด�ำ และต่อมาเขาเป็นผู้น�ำใน
“เคลวิน (Kelvin)” ที่นักวิทยาศาสตร์ ใช้กันอยู่ทุกวัน โครงการแมนฮั ต ตั น ในการพั ฒ นาระเบิ ด อะตอมที่
ทั่วโลก ก็มาจากชื่อนี้นี่เอง ลอร์ดเคลวินเป็นนักฟิสิกส์ ลอส อลามอส ถือกันว่าออปเพนไฮเมอร์เป็นหนึ่งใน
ชั้นน�ำในยุคสมัยของเขา มีผลงานโดดเด่นทั้งในเชิง “บิดาของระเบิดอะตอม”
ทฤษฎีและเชิงการทดลอง เช่น มีสว่ นร่วมในการพัฒนา
กฎข้อที่ 1 และ 2 ของวิชาเทอร์ โมไดนามิกส์
ลอร์ดเคลวินเป็นคนแรกๆ ที่ค�ำนวณอายุของ
โลก โดยได้ค่าออกมาในช่วง 20-100 ล้านปี แต่ค่านี้
น้อยกว่าความเป็นจริงไปมาก เพราะค่าทีเ่ ชือ่ ถือกันใน
ปัจจุบันคือราว 4,500 ล้านปี เรียกว่าผิดไปอย่างน้อย
45 เท่า!
เมื่อมองย้อนกลับไปพบว่า สมมติฐานที่เขาใช้
ในการค�ำนวณคือ โลกเริม่ ต้นจากก้อนกลมๆ หลอมเหลว
และร้อนจัด จากนั้นค่อยๆ เย็นลงอย่างช้าๆ โดยมี
สภาพการน�ำความร้อนเท่ากันทั่วทุกจุดในเนื้อโลก จูเลียส โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์
ประเด็นนี้เห็นได้ชัดว่าไม่จริง เพราะบางจุดในโลกมี (เกิด 22 เมษายน ค.ศ. 1904 | ตาย 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967)
ภูเขาไฟที่ยังปะทุ พ่นลาวาออกมา นอกจากนี้ในขณะ
แต่ออปเพนไฮเมอร์มนี สิ ยั แปลกๆ บางอย่าง ใน
ที่เขาค�ำนวณนั้น นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ค้นพบสภาพ
บทสัมภาษณ์ชอื่ “My Life with the Physics Dream
กัมมันตรังสี เพราะว่าธาตุกัมมันตรังสี เช่น ยูเรเนียม
Team” ซึ่งนักฟิสิกส์ชื่อ ฟรีแมน ไดสัน (Freeman
และทอเรียม ยังเป็นแหล่งก�ำเนิดความร้อนภายในโลก
Dyson) ได้เล่าถึงประสบการณ์เกีย่ วกับการพบปะหรือ
อีกด้วย
ท�ำงานร่วมกับนักฟิสิกส์ระดับคลาสสิคหลายคน เช่น
สรุปว่า กรณีนี้ใช้สมมติฐานที่ผิด จึงได้ผลลัพธ์ เพาลี ไฟยน์แมน ไอน์สไตน์ พอกล่าวถึงออปเพนไฮเมอร์
ที่ผิดนั่นเอง ฟรีแมน ไดสัน บอกว่า ออปเพนไฮเมอร์เป็นหัวหน้า
ของเขา เป็นคนที่เดาใจยาก เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย และ
ตัดสินคนง่ายๆ ด้วย
ไดสัน เล่าว่ามีอยู่ช่วงหนึ่งที่นักฟิสิกส์รุ่นเยาว์
ชือ่ ลีออน คูเปอร์ (Leon Cooper) มาเข้าร่วมสถาบัน
เพื่อการศึกษาขั้นก้าวหน้า (Institute for Advanced
Study) ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย พริ น ซ์ ตั น ซึ่ ง ขณะนั้ น
ออปเพนไฮเมอร์เป็นผู้อ�ำนวยการสถาบัน คูเปอร์มี
แนวคิ ด ที่ ใ ช้ อ ธิ บ ายสภาพการน� ำ ไฟฟ้ า ยิ่ ง ยวด
(superconductivity) ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ข้อหนึ่งของ
วิลเลียม ทอมสัน หรือ ลอร์ดเคลวิน
(เกิด 26 มิถุนายน ค.ศ. 1824 | ตาย 17 ธันวาคม ค.ศ. 1907) วงการฟิสิกส์ขณะนั้น คูเปอร์เสนอว่าสภาพการน�ำ
ยิ่งยวดน่าจะเกี่ยวข้องกับอิเล็กตรอนที่จับคู่กัน
จูเลียส โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ พอคู เ ปอร์ เ ล่ า ให้ อ อปเพนไฮเมอร์ ฟ ั ง
ออปเพนไฮเมอร์ก็บอกว่าแนวคิดไม่ได้เรื่อง และเมื่อ
นักวิทย์ระดับพระกาฬอีกคนหนึ่งคือ จูเลียส คูเปอร์พยายามให้สมั มนาในประเด็นนี้ ออปเพนไฮเมอร์
โรเบิ ร ์ ต ออปเพนไฮเมอร์ (Julius Robert ก็จะขัดขวางตลอดเวลาและบอกว่าแนวคิดของคูเปอร์
60

“หัวใจของทฤษฎีคือ ค�ำว่า “Big Bang” ถือก�ำเนิดขึน้ ในปี ค.ศ. 1949


โดยมาจากนักดาราศาสตร์ชื่อ เฟร็ด ฮอยล์ (Fred
เจ้าอิเล็กตรอนคู่ Hoyle) ซึง่ พูดออกรายการวิทยุ BBC ฮอยล์อธิบายว่า
เขาต้องการให้ผู้ฟังวิทยุเห็น ภาพอย่างชัดเจน แต่
ที่เรียกว่า Cooper pair แท้จริงแล้ว ค�ำว่า Big Bang นีเ้ ป็นค�ำทีฮ่ อยล์ ใช้เรียก
ซึ่งคูเปอร์เคยเสนอตั้งแต่ต้น ประชดแนวคิดดังกล่าว เพราะว่าตัวเขาเองนัน้ ไม่ชอบ
ไอเดียที่ว่า จู่ๆ เอกภพก็ผุดขึ้นมาจากอะไรบางอย่าง
และออปเพนไฮเมอร์บอกว่า ซึ่งไม่มีที่มาที่ไป
ไม่ได้เรื่องนั่นเอง!” ฮอยล์ถือว่าแนวคิดที่ว่าเอกภพมีจุดก�ำเนิดเป็น
วิทยาศาสตร์เทียม (pseudoscience) และบอกว่าที่
ปฏิเสธแนวคิดดังกล่าว “เนือ่ งจากมันเป็นกระบวนการ
นั้นไร้สาระ ออปเพนไฮเมอร์ตัดสินว่าคูเปอร์ ไม่ดีพอ ที่ไม่มีเหตุมีผล และไม่สามารถอธิบายได้ด้วยค�ำศัพท์
ส�ำหรับสถาบัน ในทีส่ ดุ คูเปอร์กต็ อ้ งออกไปหางานใหม่ ทางวิทยาศาสตร์”
ต่ อ มาเมื่ อ คู เ ปอร์ ไ ปท� ำ งานที่ ม หาวิ ท ยาลั ย
อิลลินอยส์ และได้พบกับ จอห์น บาร์ดีน (John
Bardeen) และจอห์น โรเบิร์ต ชรีฟเฟอร์ (John
Robert Schrieffer) ทั้งสามคนก็ ได้ร่วมกันพัฒนา
ทฤษฎี BCS (มาจากตัวอักษรตัวแรกของชือ่ สกุลแต่ละ
คน) เพื่ออธิบายปราฏการณ์การน�ำไฟฟ้ายิ่งยวด และ
น�ำเสนอในปี ค.ศ.1957
ทฤษฎี BCS ท�ำให้ทงั้ สามคนได้รบั รางวัลโนเบล
สาขาฟิสกิ ส์ประจ�ำปี ค.ศ. 1972 ทัง้ นี้ หัวใจของทฤษฎี
คือ เจ้าอิเล็กตรอนคูท่ เี่ รียกว่า Cooper pair ซึง่ คูเปอร์
เฟร็ด ฮอยล์
เคยเสนอตั้งแต่ต้น และออปเพนไฮเมอร์บอกว่าไม่ได้ (เกิด 24 มิถุนายน ค.ศ. 1915 | ตาย 20 สิงหาคม ค.ศ. 2001)
เรื่องนั่นเอง!
เห็นไหมครับว่า อคติและบุคลิกส่วนตนอาจ
ท�ำให้ “ตาบอด” ต่อเพชรเม็ดงามทางสติปัญญาได้
เช่นกัน

เฟร็ด ฮอยล์
คราวนี้มาดูกรณีนักดาราศาสตร์เรืองนามบ้าง
คุณผู้อ่านอาจจะเคยได้ยินค�ำว่า Big Bang (บิ๊กแบง)
ฮอยล์บอกว่าการถือก�ำเนิดอย่างฉับพลันของเอกภพตามทฤษฎีบิ๊กแบง
มาบ้ า ง ค� ำ ๆ นี้ ถู ก น� ำ ไปใช้ ในหลายบริ บ ท ชื่ อ วง เปรียบเสมือนมีหญิงสาวในงานปาร์ตี้
บอยแบนด์ของเกาหลีก็มี หรืองาน Digital Thailand ที่จู่ๆ ก็โผล่ออกมาจากเค้กวันเกิด ซึ่งเขาคิดว่าเป็นเรื่องเหลวไหล
Big Bang 2017 ก็มี แต่ความหมายในทางดาราศาสตร์
ค�ำว่า Big Bang เป็นค�ำใช้เรียกเหตุการณ์การก�ำเนิด ตัวฮอยล์เองนั้นเป็นนักดาราศาสตร์ที่โดดเด่น
เอกภพซึ่งในทฤษฎีเสนอว่า เอกภพเริ่มต้นจากสภาพ เขามี ส ่ ว นส� ำ คั ญ ในการพั ฒ นาทฤษฎี ซึ่ ง อธิ บ ายว่ า
ทีม่ คี วามหนาแน่นและอุณหภูมสิ งู ปรีด๊ จากนัน้ ก็ขยาย นิวเคลียสของธาตุหนักถือก�ำเนิดขึ้นมาในดาวฤกษ์ได้
ตัวออกไป ท�ำให้อุณหภูมิเฉลี่ยลดลง เกิดการก่อตัว อย่างไร เรียกว่า การสังเคราะห์นิวเคลียสในดาวฤกษ์
ของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม อะตอมง่ายๆ อย่าง (stellar nucleosynthesis) แต่ในแง่ของเอกภพ เขา
ไฮโดรเจนและฮีเลียม และโครงสร้างที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เชือ่ มัน่ ในทฤษฎีสถานะคงตัว (Steady State Theory)
61

ของเอกภพ ที่ ได้พัฒนาขึ้นมาร่วมกับโทมัส โกลด์


(Thomas Gold) และแฮร์มันน์ บอนดิ (Hermann
Bondi)
ทฤษฎีสถานะคงตัวเสนอว่า เอกภพก�ำลังขยาย
ตัว แต่ในขณะเดียวกันก็ยงั คงความหนาแน่นเฉลีย่ เท่า
เดิม โดยที่มีสสารถูกสร้างขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่องเกิด
เป็นดาวฤกษ์และกาแล็กซีใหม่ๆ สสารใหม่นี้ถูกสร้าง
ขึ้นด้วยอัตราเร็วเท่ากับที่สสารเดิมเริ่มสังเกตไม่เห็น
เนื่องจากเคลื่อนที่ห่างไกลจากผู้สังเกตออกไปเร็วขึ้น
เรื่อยๆ
ปัญหาของฮอยล์ก็คือ แม้ว่าจะมีการค้นพบ ไลนัส พอลิง
(เกิด 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1901 | ตาย 19 สิงหาคม ค.ศ. 1994 )
หลักฐานที่สนับสนุนว่าทฤษฎีบิ๊กแบงถูกต้อง (นั่นคือ
ทฤษฎีสถานะคงตัวของเขาและทีมผิด) ทีส่ ำ� คัญได้แก่ เรือ่ งทางวิชาการทีพ่ อลิงพลาดหนักๆ มี 2 เรือ่ ง
การค้นพบรังสีไมโครเวฟฉากหลังของจักรวาล หรือ เรื่องแรกคือ โมเดลโครงสร้างของดีเอ็นเอ ส่วนอีก
Cosmic Microwave Background Radiation แต่ เรื่องหนึ่งคือ ควอไซคริสตัล ลองมาดูรายละเอียดกัน
เฟร็ด ฮอยล์ ก็ ไม่ยอมรับจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต ครับ
ในปี ค.ศ. 2001
ดีเอ็นเอ (DNA) หรือกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก
(deoxyribonucleic acid) เป็นโมเลกุลที่บรรจุรหัส
“ค�ำว่า Big Bang นี้เป็นค�ำที่ฮอยล์ ค�ำสัง่ ทางพันธุกรรม มีโครงสร้างเป็นเกลียวคู่ โดยผูท้ ี่
ใช้เรียกประชดแนวคิดดังกล่าว อธิบายได้อย่างถูกต้องคือ เจมส์ ดี วัตสัน (James D.
Watson) และฟรานซิส คริก (Francis Crick) ทั้งคู่
เพราะว่าตัวเขาเองนั้น และมอริซ วิลคินส์ (Maurice Wilkins) ได้รับรางวัล
ไม่ชอบไอเดียที่ว่า จู่ๆ เอกภพ โนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ในปี ค.ศ. 1962
“ส�ำหรับการค้นพบเกีย่ วกับโครงสร้างโมเลกุลของกรด
ก็ผุดขึ้นมาจากอะไรบางอย่าง นิวคลิอกิ และความส�ำคัญของมันในการถ่ายทอดข้อมูล
ส�ำคัญในสิ่งมีชีวิต”
ซึ่งไม่มีที่มาที่ ไป”
แต่ ในช่วงการขับเคี่ยวอันเข้มข้นเพื่อค้นหา
โครงสร้างที่ถูกต้องของดีเอ็นเอนั้น คู่แข่งคนส�ำคัญ
ไลนัส พอลิง ของ วัตสัน และ คริก คือ ไลนัส พอลิง ผู้ซึ่งหลายคน
ถือกันว่าเป็นนักเคมีที่เก่งกาจที่สุดในโลกในขณะนั้น!
ไลนัส พอลิง (Linus Pauling) คือ นักเคมีที่ถือ
กันว่าเก่งที่สุดในยุคของเขา พอลิงได้รับรางวัลโนเบล ในหนังสือ The Double Helix: A Personal
(แบบคนเดียว ไม่แบ่งกับใคร) ถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกคือ Account of the Discovery of the Structure of
รางวัลโนเบล สาขาเคมี ในปี 1954 ส่วนอีกครั้งหนึ่ง DNA เขียนโดย เจมส์ ดี วัตสัน มีบันทึกความทรงจ�ำ
คือ รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในปี 1962 เขาเป็น ในช่วงที่การแข่งขันกับไลนัส พอลิง เป็นไปอย่าง
หนึ่ ง ในผู ้ ว างรากฐานให้ กั บ วิ ช าเคมี ค วอนตั ม และ เข้มข้น (ใครมีเล่มนี้เปิดบทที่ 22 ได้เลย) ส�ำนวนแปล
ชีววิทยาเชิงโมเลกุล แต่งต�ำราเคมีพื้นฐานเล่มส�ำคัญ ต่อไปนี้ ผมน�ำมาจากหนังสือ เกลียวชีวิต ซึ่งแปลจาก
ยิง่ ชือ่ The Nature of the Chemical Bonds (ตีพมิ พ์ The Double Helix โดยท่านอาจารย์ ดร.สิรินทร์
ค.ศ. 1939) และเป็นประธานของ American Chemical วิโมกข์สันถว์ และ ดร.ภิญโญ พานิชพันธ์ นะครับ
Society (ได้รับเลือก ค.ศ. 1949) (ปรับตัวสะกดและวรรคตอนเล็กน้อย)
62

“ข้าพเจ้าใจหายวาบ ด้วยความกลัวว่าได้แพ้ไป “ถ้าหากว่า


แล้วอย่างสิ้นเชิง เมื่อปีเตอร์เห็นว่าฟรานซิสและ
ข้าพเจ้าทนรออยู่ไม่ได้ เขาจึงบอกเราทันทีว่า แบบ นักเรียนคนใดคนหนึ่ง
จ�ำลองนี้เป็นรูปเกลียวประกอบด้วยสายพันกันอยู่ 3
สาย และมีนำ�้ ตาลและฟอสเฟตอยูต่ รงกลาง ข้าพเจ้า ท�ำพลาดแบบนี้
ฟั ง ดู แ ล้ ว ก็ อ ดคิ ด ไม่ ไ ด้ ว ่ า แบบจ� ำ ลองนี้ มั น ช่ า ง
คล้ายคลึงกับแบบจ�ำลองของเราเมื่อปีที่แล้วเหลือ
คงถูกตราหน้าว่า
เกิน…” ไม่ควรมาเรียน
ในภาควิชาเคมี
ของแคลเทคเป็นแน่”

หนังสือ The Double Helix


ซึ่งเจมส์ ดี วัตสัน บันทึกความทรงจ�ำของตนเอง
เกี่ยวกับการค้นพบโครงสร้างของดีเอ็นเอ

วัตสันบอกว่าพออ่านได้ไปไม่ถึงนาที ก็ ได้เห็น
ภาพทีแ่ สดงต�ำแหน่งต�ำแหน่งของอะตอมทีส่ ำ� คัญๆ ใน
แบบจ�ำลองโครงสร้างดีเอ็นเอที่พอลิงเสนอ และ คลิปเรื่อง Linus Pauling's triple DNA helix model,
บันทึกว่า 3D animation with basic narration
“ข้าพเจ้ารู้สึกทันทีว่า มีอะไรบางอย่างที่ไม่ถูก
วั ต สั น บั น ทึ ก ไว้ ว ่ า ฟรานซิ ส คริ ก ก็ แ สดง
ต้องทีเดียวนัก แต่ก็ ไม่สามารถจะเจาะจงลงไปได้ว่า
ความประหลาดใจพอๆ กับเขาในการที่พอลิงใช้หลัก
มันผิดตรงไหน จนกระทั่งได้มองภาพแสดงเป็นเวลา
เคมีทผี่ ดิ ปกติ เขาจึงเริม่ รูส้ กึ เบาใจขึน้ และรูว้ า่ ตนเอง
หลายๆ นาที และแล้วข้าพเจ้าก็เห็นว่า หมู่ฟอสเฟต
และฟรานซิส คริก ยังอยู่ในฐานะทีเ่ ป็นคูแ่ ข่งกับพอลิง
ในแบบจ�ำลองของไลนัสนี่ไม่แตกตัวออกไปเลย แต่ละ
(เพราะพอลิงยังไม่ได้เสนอโครงสร้างของดีเอ็นเอที่
หมู่ต่างก็มีอะตอมไฮโดรเจนเกาะอยู่ด้วย ดังนั้นมันจึง
ถูกต้อง) แต่ทงั้ คูก่ ็ไม่รวู้ า่ พอลิงคิดผิดพลาดไปถึงขนาด
ไม่มปี ระจุอยูเ่ ลย ฉะนัน้ กรดนิวคลีอกิ ของพอลิงจึงหา
นั้นได้อย่างไร วัตสันยังเขียนด้วยว่า
ใช่กรดไม่ ที่ส�ำคัญกว่านั้นก็คือ หมู่ฟอสเฟตที่ไร้ประจุ
นี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ อะตอมไฮโดรเจน “ถ้าหากว่านักเรียนคนใดคนหนึ่งท�ำพลาดแบบ
เป็นส่วนส�ำคัญของไฮโดรเจนบอนด์ซงึ่ ยึดเกลียวทัง้ 3 นี้ คงถูกตราหน้าว่าไม่ควรมาเรียนในภาควิชาเคมีของ
สายให้ เ กาะอยู ่ ด ้ ว ยกั น ได้ ถ้ า ปราศจากอะตอม แคลเทคเป็นแน่” (ในช่วงเวลานั้น พอลิงเป็นอาจารย์
ไฮโดรเจนพวกนี้ สายทัง้ สามก็จะหลุดออกจากกัน และ สอนอยู่ที่แคลเทค หรือ California Institute of
โครงร่างดีเอ็นเอของพอลิงก็จะหายวับไปกับตา” Technology)
63

“ข้อผิดพลาดที่แสนจะตลกอันนี้เป็นสิ่งที่ ไม่
น่าเชื่อมากเสียจนท�ำให้เราเก็บไว้เป็นความลับได้ไม่กี่
นาที ข้าพเจ้ารีบวิ่งไปหารอย มาร์คัมในห้องวิจัยของ
เขา และบอกข่าวให้เขารู้ แล้วรอยก็ยังได้ยืนยันให้อีก
ว่า เคมีของไลนัสผิดแน่ๆ อย่างทีเ่ ราคาดไว้ เขาแสดง
ความพอใจอย่างมากที่รู้ว่าผู้ยิ่งใหญ่ทางเคมีนี้ ได้ลืม
เคมีในระดับมหาวิทยาลัยที่ง่ายๆ เสียแล้ว….”
ภายหลัง พอลิงได้ ให้เหตุผลหลายอย่างเพื่อ
อธิบายว่าเขาคิดผิดเกีย่ วกับโครงสร้างของดีเอ็นเอได้
อย่างไร หลักๆ คือเขาไม่มีข้อมูลรูปแบบการเลี้ยวเบน
รังสีเอกซ์ที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ดี ค�ำอธิบายนี้ก็ ไม่ได้
ท�ำให้เข้าใจว่าเขาพลาดเรือ่ งความเป็นกรดของดีเอ็นเอ
ได้อย่างไร เหตุผลที่แท้จริงจึงยังคงเป็นปริศนาที่มี
หลายคนถกเถียงกันอยู่ถึงปัจจุบัน Daniel Shechtman ก�ำลังอธิบายควอไซคริสตัล
ให้เพื่อนร่วมงานฟังในปี ค.ศ.1985
อีกเรื่องหนึ่งที่ ไลนัส พอลิง ผิดพลาดมาก แต่
ไม่คอ่ ยมีคนกล่าวถึงเท่ากับเรือ่ งโครงสร้างของดีเอ็นเอ ด้วยกระเบือ้ งรูปสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั รูปสามเหลีย่ มด้านเท่า
นั่นคือ ควอไซคริสตัล (Quasicrystal) หรือรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า เราก็จะปูได้เต็มโดยไม่มีที่
ว่างเหลือ แต่ถ้าเราปูพื้นด้วยกระเบื้องรูปห้าเหลี่ยม
ก่อนปี ค.ศ. 1992 สหภาพสากลแห่งผลึกวิทยา ด้านเท่า ก็จะเกิดที่ว่างขึ้นระหว่างชิ้นกระเบื้อง ในแง่
(The International Union of Crystallography) ให้ นี้ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส (รวมทั้งรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า
นิ ย ามไว้ ว ่ า “ผลึ ก คื อ สารซึ่ ง องค์ ป ระกอบ ได้ แ ก่ และหกเหลี่ยมด้านเท่า) เป็นกระเบื้องที่ใช้ได้ ส่วน
อะตอม โมเลกุล หรือไอออน จัดเรียงตัวกันซ�้ำๆ เป็น กระเบื้องรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่านั้น “ต้องห้าม” คือใช้
รูปแบบสามมิตทิ มี่ รี ะเบียบ” แต่ในปีดงั กล่าว นิยามได้ ไม่ได้ (ถ้าใช้แค่แบบเดียวปูพื้นให้เต็ม)
ถูกปรับเปลี่ยนใหม่เป็น “ผลึกคือของแข็งที่ต�ำแหน่ง
ของอะตอมในของแข็งนัน้ แสดงรูปแบบการเลีย้ วเบน แน่นอนครับว่า เมื่อมี ใครสักคนบอกว่าเขา
ที่ไม่ต่อเนื่องและแยกต�ำแหน่งเห็นเด่นชัด” ค้นพบเรื่องที่ต�ำรามาตรฐานทุกเล่ม “ห้าม” เอาไว้
รวมทั้งนักวิทย์ไม่ว่าคนไหนก็เชื่อเช่นนั้น ก็ต้องมีคนที่
แค่นยิ ามทีต่ า่ งกันนี้ อาจท�ำให้ไม่เห็นความลุม่ ลึก เคลือบแคลง สงสัย ยิม้ เยาะ ถากถาง ฯลฯ เรือ่ งนีเ้ ลย
ที่ซ่อนอยู่ เพราะจริงๆ แล้วการเปลี่ยนนิยามของผลึก เถิดไปถึงขนาดทีว่ า่ หัวหน้าห้องปฏิบตั กิ ารทีเ่ ชชต์แมน
คือ การเปลี่ยนวิธีคิดที่นักวิทยาศาสตร์มีต่อผลึกอย่าง ท�ำงานอยู่ ได้น�ำต�ำราพื้นฐานมาให้เขาและแนะน�ำว่า
แทบถอนรากถอนโคนเลยทีเดียว เขาควรอ่านมันซะบ้าง แต่เมื่อเชชต์แมนยังยืนยัน
เหตุการณ์นี้เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ.1982 ขณะนั้น สิ่งที่เขาพบ หัวหน้าท่านนั้นก็ถึงกับเชิญให้เขาออกไป
แดเนียล เชชต์แมน (Daniel Shechtman) นัก จากกลุ่มวิจัย เพราะการค้นพบอะไรที่ขัดแย้งกับต�ำรา
วิทยาศาสตร์ชาวอิสราเอล ซึ่งขณะนั้นท�ำงานวิจัยอยู่ พืน้ ฐานเช่นนี้ได้สร้างความเสียหายให้แก่กลุม่ วิจยั และ
ที่ National Bureau of Standards (ต่อมาเปลี่ยนชื่อ องค์กรอย่างยิ่ง!
เป็ น National Institute of Standards and แต่ความจริงของธรรมชาติยังคงอยู่ตรงนั้น ไม่
Technology หรือ NIST) ได้คน้ พบ “สมมาตรต้องห้าม” ได้เปลี่ยนแปรไปตามความเชื่อหรือทัศนคติของคน มี
ในวัสดุซงึ่ เป็นโลหะผสมระหว่างอะลูมนิ มั กับแมงกานีส นักวิทย์จ�ำนวนหนึ่งตรวจสอบงานชองเชชต์แมนและ
ที่เกิดจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว พบว่าเชื่อถือได้ จึงสนับสนุนเขาและต่อยอดงานออก
ไป ในขณะเดียวกัน ก็มนี กั คณิตศาสตร์จำ� นวนหนึง่ ซึง่
“สมมาตรต้องห้าม” นีเ่ ป็นเรือ่ งพืน้ ฐานในต�ำรา มุง่ มัน่ แก้ปญ
ั หา “การปูกระเบือ้ ง” มาระยะหนึง่ ท�ำให้
ผลึกวิทยาทัง้ มวล เปรียบเทียบง่ายๆ ก็คอื ถ้าเราปูพนื้ ได้ผลสรุปที่น่าสนใจ
64

ทัง้ นีจ้ ดุ เปลีย่ นส�ำคัญคือ มีผเู้ ชือ่ มโยงการค้นพบ “ตอนที่ผมได้คุยกับไอน์สไตน์


ของเชชต์แมนเข้ากับผลลัพธ์จากโจทย์การปูกระเบือ้ ง
ของนักคณิตศาสตร์ ท�ำให้เกิดข้อสรุปว่า ธรรมชาติมี เรื่องปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจักรวาล
วัสดุซ่ึงมีโครงสร้างที่เป็นระเบียบในอีกรูปแบบหนึ่ง
เรียกว่า ควอไซคริสตัล (Quasicrystal) ค�ำว่า quasi เขาก็บอกว่า
มาจากภาษาละติน หมายถึง ราวกับว่า หรือโดย
ประมาณ เมื่อใช้เป็นค�ำอุปสรรคน�ำหน้าค�ำอื่นๆ จะ
การเติมพจน์ของจักรวาลเข้าไป
หมายถึง มีบางแง่มมุ คล้ายกัน (คือไม่ได้เหมือนกันเป๊ะ) นับเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่
เมื่อหลักฐานหนักแน่นมากขึ้นจนไร้ข้อกังขา ที่สุดเท่าที่เคยท�ำมาในชีวิต”
แดเนียล เชชต์แมน จึงได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี
ประจ�ำปี ค.ศ. 2011 โดยเอกสารอย่างเป็นทางการระบุ ทีนี้ ณ ช่วงเวลาดังกล่าว นักฟิสิกส์ทั้งหมด
ว่า “for the discovery of quasicrystals” (ส�ำหรับ รวมทัง้ ตัวไอน์สไตน์ดว้ ย ต่างก็เชือ่ ว่าเอกภพมีลกั ษณะ
การค้นพบควอไซคริสตัล) สถิต (static universe) พูดง่ายๆ คือ เอกภพมีขนาด
คงที่ แต่ในขณะเดียวกันทุกคนก็รู้ว่าแรงโน้มถ่วงเป็น
ย้อนกลับมาที่พอลิง เขาเคยกล่าวในท�ำนอง
แรงดึงดูดเท่านัน้ ดังนัน้ เพือ่ ให้ได้ผลลัพธ์ทวี่ า่ เอกภพ
เสียดสีไว้ว่า “ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าควอไซคริสตัลหรอก
มีลักษณะสถิต ในปี ค.ศ. 1917 ไอน์สไตน์จึงเติมพจน์
มีแต่นักวิทยาศาสตร์ควอไซเท่านั้น” แม้กระทั่งปี
ทางคณิตศาสตร์เข้าไปในสมการสนาม โดยพจน์นี้มี
ค.ศ. 1994 ที่เขาเสียชีวิต เขาก็ยังคงปักใจไม่เชื่อ ถึง
ค่ า คงที่ ค ่ า หนึ่ ง เรี ย กว่ า “ค่ า คงที่ ข องจั ก รวาล
แม้ ว ่ า สหภาพสากลแห่ ง ผลึ ก วิ ท ยา จะได้ เ ปลี่ ย น
(Cosmological constant)” นั่นคือ ค่าคงที่ของ
ค�ำนิยามของผลึกไปก่อนหน้านั้นคือในปี ค.ศ. 1992
จักรวาลสะท้อนแรงผลักซึง่ ต้านทานการหดตัวอันเนือ่ ง
แล้วก็ตาม
มาจากแรงโน้มถ่วงของมวลในเอกภพ
จะเห็นว่าแม้แต่นักเคมีที่ว่ากันว่า “เก่งที่สุด
ต่อมาในปี ค.ศ. 1929 นักดาราศาสตร์พบว่า
ในโลก” ยังอาจพลาดเรื่องพื้นฐาน (โครงสร้างและ
เอกภพก�ำลังขยายตัว พอไอน์สไตน์ทราบเข้าจึงละทิง้
สภาพความเป็ น กรดของดี เ อ็ น เอ) และดื้ อ ดึ ง ต่ อ
แนวคิดเรื่องค่าคงที่ของจักรวาล เพราะสมการสนาม
การค้นพบที่เปลี่ยนวิธีคิดใหม่ (ควอไซคริสตัลและ
แรกเริม่ (ที่ไม่มคี า่ คงทีข่ องจักรวาล) ก็สามารถท�ำนาย
สมมาตรต้องห้าม) ได้เช่นกัน!
ว่าเอกภพสามารถขยายตัวได้อยู่แล้ว
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ จอร์จ กามอฟ (George Gamow) นักฟิสิกส์
และนักเขียน ซึง่ รูจ้ กั ไอน์สไตน์ ได้เล่าไว้ ในหนังสือชือ่
คราวนี้มาดูนักวิทย์ที่ทุกคนเคยได้ยินชื่ออย่าง My World Line, An Informal Autobiography ว่า
แน่นอน นั่นคือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
“ดั ง นั้ น สมการความโน้ ม ถ่ ว งดั้ ง เดิ ม ของ
อัจฉริยะพันธุ์แท้อย่างไอน์สไตน์ก็คิดพลาดได้ ไอน์สไตน์ถูกต้องอยู่แล้ว และการไปดัดแปลงมันคือ
และไม่ใช่แค่ครัง้ เดียวซะด้วย ในทีน่ ผี้ มจะขอเล่าสัก 2 ความผิดพลาด หลังจากนั้นอีกพักใหญ่ ตอนที่ผมได้
กรณี ได้แก่ “ค่าคงที่ของจักรวาล” และ “กล่องของ คุยกับไอน์สไตน์เรือ่ งปัญหาทีเ่ กีย่ วข้องกับจักรวาล เขา
ไอน์สไตน์” ก็ บ อกว่ า การเติ ม พจน์ ข องจั ก รวาลเข้ า ไปนั บ เป็ น
กรณีแรก “ค่าคงทีข่ องจักรวาล” สืบเนือ่ งมาจาก ความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยท�ำมาในชีวิต”
การที่ ไอน์สไตน์คิดค้นสมการซึ่งเป็นหัวใจของทฤษฎี น่าสนใจว่า ต่อมาผูค้ นส่วนใหญ่กลับเข้าใจไปว่า
สัมพัทธภาพทัว่ ไปได้สำ� เร็จในปี ค.ศ. 1915 สมการทีว่ า่ วลี “ความผิดพลาดครัง้ ใหญ่ทสี่ ดุ ในชีวติ (the biggest
นีเ้ รียกว่า สมการสนาม (Field Equation) สมการสนาม blunder of his life!)” มาจากปากไอน์สไตน์ โดยตรง
ทีว่ า่ นีเ้ มือ่ น�ำไปใช้อธิบายเอกภพ ก็ปรากฏผลว่าสมการ
ท�ำนายว่าเอกภพไม่อาจมีสภาพสถิต คือมีขนาดคงที่ ในช่วงปี ค.ศ. 1920 ถึงราวทศวรรษที่ 1990
ได้ กล่าวคือ เอกภพหากไม่หดตัว ก็จะขยายตัวเท่านัน้ นักวิจยั ด้านจักรวาลวิทยาส่วนใหญ่เลือกใช้คา่ คงทีข่ อง
65

จักรวาลเท่ากับ 0 แต่ต่อมาในทศวรรษนี้เองได้มี
การค้นพบว่า เอกภพไม่ใช่เพียงแค่ขยายตัว แต่ยัง
ขยายตัวด้วยอัตราเร็วเพิ่มขึ้นด้วย นักฟิสิกส์จึงเสนอ
แนวคิดเรื่อง พลังงานมืด (dark energy) ขึ้นมาเพื่อ
บอกว่าพลังงานนี้แหละที่เป็นตัวการผลักให้เอกภพ
ขยายตัวออกไปด้วยอัตราเร่ง
ทีน่ า่ สนใจอย่างยิง่ ก็คอื รูปแบบทีเ่ รียบง่ายทีส่ ดุ
ในสมการสนามที่ใช้แทนพลังงานมืดนี้ก็คือ….ลองเดา
สิครับ…. ค่าคงทีข่ องจักรวาล…ที่ไอน์สไตน์เคยเสนอไว้
และละทิ้งไปนั่นเอง! กล่องของไอน์สไตน์ (เพิ่มเติมรายละเอียดโดยโบร์)
ถึงตรงนีอ้ าจมองว่าไอน์สไตน์พลาดไปถึง 2 จุด คราวนี้ เปิดช่องด้านข้างแป๊บหนึ่ง โดยยอมให้
จุดแรกคือ หากเขายึดมัน่ ในสมการสนามดัง้ เดิม โฟตอน (อนุภาคของแสง) หลุดออกไปเพียงตัวเดียว
(ที่ ไม่มีค่าคงที่ของจักรวาล) เขาก็อาจเป็นคนแรกที่ หากเราสามารถวั ด มวลของกล่ อ งที่ ล ดลงไป
ท� ำ นายการขยายตั ว ของเอกภพได้ ด ้ ว ยทฤษฎี (สัญลักษณ์ m) ก็ย่อมค�ำนวณพลังงานของโฟตอนที่
สัมพัทธภาพทั่วไปของเขาเอง หลุดออกไป (สัญลักษณ์ E) ได้ด้วยสมการ E = mc2
ตามทฤษฎี สั ม พั ท ธภาพพิ เ ศษ สั ญ ลั ก ษณ์ c คื อ
ส่วนจุดที่สองก็คือ สมการสนามที่ถูกดัดแปลง อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศ
(มีค่าคงที่ของจักรวาล) สามารถใช้ ในการสร้างแบบ
จ�ำลองของเอกภพทีข่ ยายตัวด้วยอัตราเร่งได้ ตรงนีจ้ งึ หากสามารถวัดค่า E ได้อย่างแม่นย�ำ ก็แสดง
มีคนบอกว่าความผิดพลาดทีแ่ ท้จริงของไอน์สไตน์ คือ ว่าค่าความไม่แน่นอนในการวัดพลังงาน ∆E อาจ
การที่เขาละทิ้งค่าคงที่ของจักรวาลไป มี ค ่ า เล็ ก เท่ า ไรก็ ไ ด้ และเนื่ อ งจากนาฬิ ก าที่ ใ ช้ มี
ความเที่ยงตรงสูง ย่อมท�ำให้ค่าความไม่แน่นอนใน
อีกกรณีหนึ่งที่ไอน์สไตน์พลาด คือ “กล่องของ การระบุช่วงเวลา ∆t มีค่าเล็กเท่าไรก็ ได้ด้วยเช่นกัน
ไอน์สไตน์” ใครที่สนใจฟิสิกส์คงจะรู้ดีว่า ไอน์สไตน์ไม่
เชือ่ ว่ากลศาสตร์ควอนตัมเป็นทฤษฎีทสี่ มบูรณ์แบบ จึง ดังนั้น หากค่า ∆E และ ∆t มีค่าเล็กมากๆ
หาทางจับผิดแง่มุมต่างๆ ของศาสตร์นี้อยู่เสมอ และ (เข้าใกล้ศูนย์) พร้อมกัน ก็เป็นไปได้ว่า ∆E ∆t < h
แง่มุมหนึ่งที่ไอน์สไตน์จ้องเล่นงานเป็นพิเศษคือ หลัก โดย h คือค่าคงที่ของพลังค์ ซึ่งขัดแย้งกับหลัก
ความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก (Heisenberg’s ความไม่แน่นอนคู่พลังงาน-เวลา ไม่ว่าจะเขียนในรูป
Uncertainty Principle) ซึ่งเป็นแก่นความคิดส�ำคัญ แบบใด (เช่น ∆E ∆t ≥ h หรือ ∆E ∆t ≅ h ) ส่ง
อย่างหนึ่งของกลศาสตร์ควอนตัม ผลให้หลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์กถึงแก่กาล
อวสาน!
ในการประชุมโซลเวย์ครั้งที่ 6 (The Sixth
Solvay Conference) ซึ่ ง จั ด ขึ้ น ที่ ก รุ ง บรั ส เซลส์ การท้าทายของไอน์ไตน์ครั้งนี้ ได้สร้างความตื่น
ประเทศเบลเยียม ในปี ค.ศ. 1930 ไอน์สไตน์ได้น�ำ ตระหนกแก่โบร์อย่างแท้จริง “เขาเดินไปหาคนโน้นที
เสนอการทดลองในความคิด ซึ่งเขาเชื่อว่าสามารถ คนนีท้ ี พยายามโน้มน้าวให้ทกุ คนเห็นว่าเรือ่ งนี้ไม่มที าง
หักล้างหลักความไม่แน่นอนทีเ่ ขียนในรูปของพลังงาน เป็นจริง และฟิสิกส์จะถึงแก่กาลอวสานถ้าไอน์สไตน์
กับเวลาได้ เป็นฝ่ายถูก” เลออง โรเซนเฟลด์ (Leon Rosenfeld)
ซึ่งเข้าร่วมประชุมด้วยได้บันทึกไว้ “แต่โบร์ยังหาวิธี
ลองคิดถึงอุปกรณ์ซึ่งประกอบด้วยกล่องปิด หักล้างไม่ได้ ข้าพเจ้าไม่มวี นั ลืมภาพคูป่ รับคูน่ ขี้ ณะเดิน
สนิท แต่มีช่องเล็กๆ ด้านข้างที่เปิด-ปิดได้ โดยกลไกที่ ออกจากสโมสรของมหาวิทยาลัย ไอน์สไตน์ผู้มีบุคลิก
เชื่อมต่อกับนาฬิกาความเที่ยงตรงสูง ผนังด้านใน สง่างามน่าเกรงขาม เดินด้วยท่าทีสงบ ยิ้มหยันน้อยๆ
สามารถสะท้อนและเก็บกักรังสีต่างๆ ให้อยู่ภายใน ส่วนโบร์จำ�้ เท้าตามไปด้านข้างด้วยสีหน้าหงุดหงิดเต็ม
กล่องได้อย่างสมบูรณ์ กล่องนีต้ อ่ มาเรียกว่า กล่องของ ที่” (ดูภาพที่น�ำมาให้ชมสิครับ)
ไอน์สไตน์ (Einstein’s box)
66

“เงื่อนไขส�ำคัญ
ที่โบร์ ใช้ในการสยบไอน์สไตน์
นั้นมาจากมันสมอง
ของไอน์สไตน์เอง”
ค่าโมเมนตัมของกล่องในแนวดิ่ง (สัญลักษณ์ ∆p Z )
ซึง่ ค่านี้ไปสัมพันธ์กบั ความไม่แน่นอนในการวัดต�ำแหน่ง
ของกล่องในแนวดิ่ง (สัญลักษณ์ ∆z ) อีกต่อหนึ่ง
แต่เงือ่ นไขส�ำคัญทีโ่ บร์ ใช้ ในการสยบไอน์สไตน์
นั้นมาจากมันสมองของไอน์สไตน์เอง โบร์บอกว่าใน
ขณะที่กล่องเคลือ่ นที่ในแนวดิง่ เวลาในแต่ละขณะจะ
อัลเบิรต์ ไอน์สไตน์ กับ นีลส์ โบร์ ทีก่ ารประชุมโซลเวย์ ในปี ค.ศ. 1930 ผ่ า นไปด้ ว ยอั ต ราเร็ ว ไม่ เ ท่ า กั น เพราะจากทฤษฎี
สัมพัทธภาพทัว่ ไป (ของไอน์สไตน์) เวลาจะผ่านไปช้า
คืนนั้น โบร์เฝ้าครุ่นคิดปัญหานี้จนแทบไม่ได้ กว่าในบริเวณที่มีสนามความโน้มถ่วงสูงกว่า นั่นคือ
หลับได้นอน แต่ในทีส่ ดุ เขาก็จบั ผิดตรรกะของไอน์สไตน์ นาฬิกาทีอ่ ยู่ในกล่องซึง่ ก�ำลังถูกถ่วงและเลือ่ นลงมาอยู่
ได้ส�ำเร็จ! นั้นจะมีความไม่แน่นอนในการระบุเวลา (สัญลักษณ์
∆t ) ตามมา
โบร์ บ อกว่ า ขณะที่ โ ฟตอนหลุ ด ออกไปนั้ น
พลังงาน (หรือ มวล) โดยรวมของระบบย่อมลดลง โบร์เล่นกับค่าตัวแปรต่างๆ ในความสัมพันธ์ทาง
ท�ำให้กล่องเบาลง และเลือ่ นขึน้ ในแนวดิง่ ทัง้ นีก้ ารวัด คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอีกเพียงเล็กน้อย ก็พบว่า
ค่ามวลที่ลดลงไป เราอาจใช้ตุ้มน�้ำหนักถ่วงที่ด้านล่าง ∆E ∆t ≥ h ซึ่ ง ยื น ยั น หลั ก ความไม่ แ น่ น อนของคู ่
ของกล่องเพื่อดึงกล่องกลับมาที่ระดับเดิม (โปรด พลังงาน-เวลาอีกครั้ง
สังเกตตุ้มน�้ำหนักเล็กๆ ใต้กล่องในรูป) พูดง่ายๆ ก็คือ โบร์ได้ ใช้ผลงานชิ้นส�ำคัญที่สุด
อย่างไรก็ตาม มวลของตุ้มน�้ำหนักนี้ย่อมมีค่า ในชีวิตของไอน์สไตน์เอง (นั่นคือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ
ความไม่แน่นอนค่าหนึ่ง (สัญลักษณ์ ∆m ) ซึง่ ในขณะ ทั่วไป) ในการหักล้างตรรกะที่ผิดพลาดของไอน์สไตน์
ทีแ่ ขวนเข้าไป ย่อมท�ำให้เกิดความไม่แน่นอนในการวัด ตอกย�้ำความถูกต้องของหลักความไม่แน่นอนนั่นเอง!

เอกสารอ้างอิง
1. My Life with the Physics Dream Team ที่ http://nautil.us/issue/43/heroes/my-life-with-the-physics-
dream-team
2. The Case for Blunders ที่ http://www.nybooks.com/articles/2014/03/06/darwin-einstein-case-for-
blunders/
3. Discussion with Albert Einstein on Epistemological Problems in Atomic Physics เขียนโดย Niels Bohr
ที่ http://www.spaceandmotion.com/Physics-Bohr-Einstein.htm

You might also like