Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 93

คู่มือ

สนับสนุนก�รบริห�รจัดก�ร
ระบบบริก�รดูแลระยะย�วด้�นส�ธ�รณสุข
สำ�หรับผูส้ งู อ�ยุทม่ี ภี �วะพึง่ พิงในระบบหลักประกันสุขภ�พแห่งช�ติ
คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข
ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
จัดพิมพ์เผยแพร่โดย
ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
เลขที่ 120 หมู่ 3 ชั้น 2-4 อาคารรัฐประศาสนภักดี
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 02 1414000 โทรสาร 02 1439730-1 เว็บไซต์ www.nhso.go.th
จัดพิมพ์ครั้งที่ 1 มิถุนายน 2559 จ�ำนวน 50,000 เล่ม
ที่ปรึกษา
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
นายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
นายแพทย์จักรกริช โง้วศิริ ประธานกลุ่มภารกิจสนับสนุนเครือข่ายระบบบริการ
ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
นายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
นายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา ผู้อ�ำนวยการศูนย์อนามัยเขต 9 กรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข
นายแพทย์ประสิทธิชัย มั่งจิตร รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักบริหารการสาธารณสุข
สถาบันวิจัยระบบสาธาณสุข
นายศุมล ศรีสุขวัฒนา ที่ปรึกษาส�ำนักกฎหมาย สปสช.
คณะผู้จัดท�ำ
นางอรจิตต์ บ�ำรุงสกุลสวัสดิ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักสนับสนุนระบบบริการสุขภาพชุมชน
ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
นายแพทย์กฤช ลี่ทองอิน ผู้อ�ำนวยการส�ำนักสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิ
ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
แพทย์หญิงทัศนีย์ เอกวานิช ผู้ทรงคุณวุฒิ ส�ำนักสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิ
ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
นางวิมล บ้านพวน หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุและเครือข่าย
ส�ำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
นายแพทย์สันติ ลาภเบญจกุล ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลล�ำสนธิ
นายวีระพงศ์ เจริญเกตุ ส�ำนักกฎหมาย ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
นายเสกสรรค์ กันยาสาย ส�ำนักกฎหมาย ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
นางศศิธร ไชยสิทธิพร ส�ำนักสนับสนุนระบบบริการสุขภาพชุมชน
ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
นางสาวเยาวภา สันติกูล ส�ำนักสนับสนุนระบบบริการสุขภาพชุมชน
ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สาส์นจาก ศ. คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง นโยบายการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุ
ที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care : LTC )
รัฐบาลให้ความส�ำคัญกับการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีนโยบายด้านการดู แ ล
สุ ข ภาพผู้สูงอายุทุกกลุ่มมาอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าประชากรสู ง อายุ เ พิ่ ม ขึ้ น จาก 4 ล้านคน (ร้อยละ
6.8 ) ในปี 2537 เป็น 10 ล้านคน (ร้อยละ 14.9 ) ในปี 2557 และคาดว่ า จะเพิ่ ม เป็น 20.5 ล้านคน
(ร้อยละ 32.1) ในปี 2583 และในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุขด�ำเนินการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้
สูงอายุ จ�ำนวน 6,394,022 คน พบว่าเป็นกลุ่มติดสังคมประมาณ 5 ล้านคนหรือร้อยละ 79 และเป็นผู้สูง
อายุที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มติดบ้านติดเตียงจ�ำเป็นต้องสนับสนุนบริการด้านสุขภาพและสังคม ประมาณ 1.3
ล้านคน หรือร้อยละ 21
ในปี 2559 รัฐบาลได้มุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติด
เตียง โดยมีเป้าหมายส�ำคัญคือท�ำอย่างไรจะป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงมีการเจ็บป่วยจนต้องอยู่
ในภาวะพึ่งพิง และท�ำอย่างไรผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ดังนั้นรัฐบาล
จึงได้สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากงบเหมาจ่ายรายหัวปกติ จ�ำนวน 600 ล้านบาท ให้แก่สำ� นักงาน
กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ส�ำหรับดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มนี้ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายใน
การจัดบริการทางการแพทย์ บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการ
แพทย์ ให้แก่ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงตามชุดสิทธิประโยชน์ โดยมีกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับส�ำนักงาน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันด�ำเนินการ เป้าหมายการ
ด�ำเนินงาน ในปี2559 คือผูส้ งู อายุกลุม่ ทีม่ ภี าวะพึง่ พิงจ�ำนวน 100,000 ราย ในพืน้ ทีป่ ระมาณ 1,000 ต�ำบล
ในทุกจังหวัด รวมกรุงเทพมหานคร
คาดหวังว่าผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้านติดเตียงจะได้รับดูแลจากทีมสหสาขาวิชาชีพจากหน่วยบริการ
ปฐมภูมิและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับต�ำบล บริการดูแลด้านสุขภาพถึงที่บ้านอย่างต่อเนื่องและ
สม�่ำเสมอตามปัญหาสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น
ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรีเข้าถึงบริการอย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียม
เป็นการสร้างสังคมแห่งความเอื้ออาทร อีกทั้งยังเป็นการสร้างความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ควบคู่ไป
กับการพัฒนาทีมหมอครอบครัวและอาสาสมัครในชุมชน เพื่อ“สังคมไทยสังคมผู้สูงวัย เข้าใจ เข้าถึง
พึ่งได้” ผู้สูงอายุมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี เป็นหลักชัยของสังคม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
สารบัญ
หน้า
บทน�ำ สาส์นจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
บทที่ 1 ที่มา แนวคิด ระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 1
บทที่ 2 ค�ำอธิบาย ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรือ่ ง การก�ำหนดหลักเกณฑ์ 4
เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน
หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559
บทที่ 3 แนวทางการบริหารจัดการค่าบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 8
บทที่ 4 การเข้าร่วมด�ำเนินงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 14
ของหน่วยบริการและศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน
บทที่ 5 ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Manager) 16
และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (caregiver)
บทที่ 6 บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 18
บทที่ 7 ระบบข้อมูลและการติดตามประเมินผลการด�ำเนินงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข 21
ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ระดับส่วนกลาง/ ระดับเขต/ ระดับท้องถิ่น
ภาคผนวก
ก. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การก�ำหนด หลักเกณฑ์เพื่อ 23
สนั บ สนุ น ให้ อ งค์ ก รปกครองส่วนท้องถิ่น ด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลัก
ประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2557
ข. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การก�ำหนดหลักเกณฑ์เพื่อ 31
สนั บ สนุ น ให้ อ งค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ด� ำ เนิ น งานและบริหารจั ด การกองทุ น
หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิน่ หรือพืน้ ที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 และเอกสารแนบท้ายฯ
(ชุดสิทธิประโยชน์และอัตราการชดเชยค่าบริการด้านสาธารณสุขส�ำหรับผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิง)
ค. หนังสื อ แจ้ ง ประกาศคณะกรรมการหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่งชาติ เรื่อง การก�ำหนด 35
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด�ำเนินงานและบริหารจัดการ
กองทุนหลักประกันสุขภาพ
ง. ประกาศส� ำ นั ก งานหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่งชาติ เรื่อง คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม 38
ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (caregiver)
จ. บันทึกความร่วมมือฯ ระหว่าง กระทรวงสาธารณสุข ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 39
สมาคมสันนิบาต เทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนต�ำบล
ฉ. ข้อตกลงด�ำเนินงานร่วมกัน ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และส�ำนักงานหลักประกัน 40
สุขภาพแห่งชาติ
ช. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภพ เรือ่ ง หลักเกณฑ์การด�ำเนินงานและการบริหาร 41
จัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส�ำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ปีงบประมาณ 2559 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559

ซ. หลักเกณฑ์การจัดสรรและการจ่ายค่าบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มี 42
ภาวะพึ่งพิงปี 2559
ฌ. หนังสือแสดงความจ�ำนงเข้าร่วมด�ำเนินงานการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข 44
ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่
ญ. แบบฟอร์มการดูแลระยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC 1) 45
ฎ. แบบฟอร์มข้อเสนอการจัดบริการดูแลระยะยาวส�ำหรับผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิงและการก�ำหนด 46
อัตราชดเชยค่าบริการตามชุดสิทธิประโยชน์แนบท้ายประกาศกองทุนฯ อปท.ปี 2559
ฏ. แบบรายงานผลการพิจารณางบบริการด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 49
ฐ. แบบฟอร์มข้อตกลงการจัดระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิง 50
ระหว่างองค์การบริหารส่วนต�ำบล/เทศบาล กับ (หน่วยบริการ สถานบริการ ศูนย์พฒ ั นาคุณภาพฯ)
ฑ. ตัวอย่างแบบบันทึกแผนการดูแลรายบุคคล (care plan) 51
ฒ. ตัวอย่างหลักสูตรการอบรมผู้จัดการระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข 52
ณ. ตัวอย่างหลักสูตรการอบรมผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 70
ด. แบบประเมิ นความสามารถในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแ อล 78
(Barthel ADL index)
ต. แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย : MMSE-T 2002 81
ถ. แบบประเมินภาวะกลืนล�ำบาก 84
ท. แบบประเมินภาวะซึมเศร้าด้วย 9 ค�ำถาม (9Q) 85
ธ. แบบประเมินด้านสังคม 86
ที่มา แนวคิด ระบบการดูแลระยะยาว ด้านสาธารณสุข
ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
1่
บทที่ บทที
ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยปัจจุบันมีจ�ำนวนผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ราว 10 ล้านคน จ�ำนวนและ
สัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจ�ำนวนผู้สูงอายุไทยจะเพิ่มเป็นร้อยละ 21 และ 24 ของประชากรรวมใน
อีกสิบและสิบสี่ปีข้างหน้าตามล�ำดับ และสังคมไทยจะก้าวสู่ สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ตามนิยามของสหประชาชาติ
ในปี พ.ศ.2568 กล่าวคือ ทุกๆ 5 คนที่เดินผ่านไป จะมีผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป 1 คน และ ทุกๆ 100 คนที่เดินผ่าน
ไปจะมีผู้ที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปถึง 14 คน โดยจะเพิ่มเป็น 20.5 ล้านคนในปี 2583 ขณะเดียวกัน สัดส่วนของผู้สูงอายุ
วัยปลายก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน อายุเฉลี่ยของหญิงไทยอยู่ที่ 78.4 ปี ในขณะที่ชายไทยมีอายุเฉลี่ย 71.6 ปี (มูลนิธิ
สถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยและสถาบันวิจัยประชากรและสังคม, 2558) ซึ่งจากการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้
สูงอายุจ�ำนวน 6,394,022 คนในปี 2558 โดยกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ร้อยละ 79 (5 ล้านคน) คือ ผู้สูงอายุติดสังคม
หรือกลุ่มที่ยังช่วยเหลือตัวเองได้ ท�ำกิจกรรมต่างๆ ได้ และอีก ร้อยละ 21 (1.3 ล้านคน) คือผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง
หรือ เรียกว่า กลุ่มติดบ้านติดเตียง และต้องการการดูแลทั้งด้านสุขภาพและสังคม
จากจ�ำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นของประเทศไทย ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงด้านระบาดวิทยาของ
การเจ็บป่วยของประชาชนจากโรคติดต่อแบบเฉียบพลันเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง น�ำมาซึ่งภาวะทุพพลภาพ ไม่สามารถ
รักษาให้หายขาดได้ ต้องได้รับบริการดูแลแบบต่อเนื่อง ในขณะที่ศักยภาพของครัวเรือนในการดูแลผู้สูงอายุถดถอยลง
และจากขนาดครัวเรือนที่เล็ก มีการเคลื่อนย้ายของวัยแรงงานจากชนบทสู่เมือง สตรีมีบทบาทในการท�ำงานนอกบ้าน
มากขึ้น ตลอดถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมจากสังคมชนบทไปสู่สังคมเมืองมากขึ้น โดยหากเปรียบเทียบสัดส่วนของ
ประชากรวัยท�ำงานต่อประชากรวัยสูงอายุ 1 คน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของภาวะพึ่งพิงนั้น พบว่า จากเดิมที่มี
ประชากรวัยท�ำงานจ�ำนวนประมาณ 4.5 คนคอยดูแลประชากรวัยสูงอายุ 1 คน ซึ่งอีกประมาณ 14 ปีข้างหน้า สัดส่วน
ดังกล่าวจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยคงเหลือประชากรวัยท�ำงานจ�ำนวนเพียงแค่ 2.5 คนที่ดูแลประชากรวัยสูงอายุ 1 คน
(คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ส่งผลให้ปญ ั หาในการดูแลผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิงและผูป้ ว่ ยทีม่ ภี าวะ
ทุพลภาพปรากฏต่อสังคมยิ่งขึ้น ภาพผู้สูงอายุที่นอนติดเตียงหรือติดบ้านและขาดผู้ดูแล ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือท�ำได้
จ�ำกัด ภาพผู้สูงอายุสมองเสื่อมถูกทอดทิ้ง ภาพผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้และต้องอยู่บ้านคนเดียวเพราะลูกหลาน
ต้องออกไปท�ำงานในช่วงกลางวัน แม้ในครอบครัวที่มีผู้ดูแล ก็เป็นภาระของผู้ดูแลไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อผู้สูงอายุได้
จากไปแล้วอาจส่งผลต่อการเสียโอกาสในด้านต่างๆทางสังคมของผู้ดูแลได้ ขณะที่ระบบบริการสาธารณสุขและบริการ
ด้านสังคมที่ผ่านมา อยู่ในภาวะตั้งรับ สามารถให้บริการแก่กลุม่ ผูม้ ภี าวะพึง่ พิงได้อย่างจ�ำกัด และเป็นในรูปการสงเคราะห์ชวั่ ครัง้
คราว ไม่ต่อเนื่อง ประกอบกับการคาดการณ์ค่าใช้จ่ายสุขภาพส�ำหรับผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จาก 60,000 ล้านบาท ในปี 2553
เป็น 220,000 ล้านบาท ในปี 2565 หรือคิดเป็นร้อยละ 2.8 ของ GDP ในปี 2565 เหล่านี้คือความจ�ำเป็นที่ต้องสร้าง
ระบบการดูแลระยะยาว (Long Term Care, LTC) ขึ้นมารองรับ
ระบบการดูแลระยะยาว คือ การจัดบริการสาธารณสุขและบริการสังคมเพื่อตอบสนองความต้องการความ
ช่วยเหลือของผู้ที่ประสบภาวะยากล�ำบาก เนื่องมาจากภาวะการณ์เจ็บป่วยเรื้อรัง การประสบอุบัติเหตุ ความพิการ
ต่างๆ ตลอดจนผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในชีวิตประจ�ำวัน มีทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
เป็นบริการสังคมเพื่อมุ่งเน้นการฟื้นฟู บ�ำบัด ส่งเสริมสุขภาพอย่างสม�่ำเสมอ ต่อเนื่อง เพื่อให้คนกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
สามารถด�ำเนินชีวิตอย่างมีอิสระเท่าที่จะเป็นได้ โดยอยู่บนพื้นฐานการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
การเกิดขึ้นของนโยบายของระบบการดูแลระยะยาวส่วนหนึ่งเป็นแรงผลักดันที่เกิดขึ้นจากเวทีสมัชชาสุขภาพ
แห่งชาติ ครั้งที่ 2 ปี 2552 ซึ่งได้มกี ารบรรจุวาระ การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง
ในการประชุมและเป็นมติสมัชชาในที่สุด โดยมีมติร่วมกันในสาระส�ำคัญคือ ให้รัฐมีหน้าที่จัดการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ใน
ภาวะพึ่งพิง โดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐานหลัก และคณะรัฐมนตรีมมี ติเห็นชอบให้สำ� นักงานคณะกรรมการสุขภาพ
แห่งชาติ (สช.) ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนมติสู่การปฏิบัติ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553
ในขณะทีแ่ ผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวฯ ทีผ่ า่ นความเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ และคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ รวมถึงนโยบายพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวฯในระดับต�ำบล
ของกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ต่างล้วนเป็นความพยายามที่จะพัฒนาระบบเพื่อไปสนับสนุน

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 1


ครอบครัวให้มศี กั ยภาพในการดูแลเพิม่ ขึน้ และเอือ้ ให้ผสู้ งู อายุได้อาศัยในบ้านตนเองในชุมชน โดยมีเป้าประสงค์การ
พัฒนาระบบการดูแลระยะยาวฯ คือ 1) ผูส้ งู อายุทกุ คน ได้รบั การคัดกรอง และมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟืน้ ฟูและการดูแล
าระดับความจ�ำเป็นในการดูแลระยะยาว ให้สามารถด�ำรงชีวติ ได้อย่างมีศกั ดิศ์ รี 2) ผูส้ งู อายุได้รบั การส่งเสริม สนับสนุน
เพือ่ ป้องกันการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิง 3) มีระบบการเงินการคลังที่ยั่งยืน ในการดูแลผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิงอย่างครบวงจร
ตามระดับความจ�ำเป็นในการดูแลระยะยาว ให้สามารถด�ำรงชีวติ ได้อย่างมีศกั ดิศ์ รี 2) ผูส้ งู อายุได้รบั การส่งเสริม สนับสนุน
เพื่อป้องกันการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิง 3) มีระบบการเงินการคลังที่ยั่งยืน ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอย่างครบวงจร
4) ทุกชุมชน มีระบบสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ให้อยู่ในครอบครัวได้อย่างมีความสุข เช่น มีสถานที่ดูแล
ชั่วคราว (respite care) / ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน/ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน/ ศูนย์พัฒนาคุณภาพ
ชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) 5) สถานพยาบาลทุกแห่งมีระบบการสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
ในชุมชนและครอบครัว
หลักการส�ำคัญในการพัฒนาระบบการดูและระยะยาวฯ จึงมีดังนี้ 1) ผู้มีภาวะทุพพลภาพและผู้สูงอายุที่มี
ภาวะพึ่งพิง (ติดเตียงและติดบ้าน) สามารถเข้าถึงระบบการดูแลระยะยาวฯที่ได้รับได้อย่างเหมาะสมต่อเนื่อง โดยมีการ
เชื่อมโยงของระบบการดูแลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สถานพยาบาล ชุมชน และครอบครัว 2) การสนับสนุนการจัดระบบการ
ดูแลระยะยาวฯในพื้นที่หรือชุมชน ไม่ไปแย่งชิงบทบาทหน้าที่การดูแลของครอบครัว โดยครอบครัวยังคงเป็นผู้ดูแลหลัก
และระบบเข้าไปสนับสนุน ยกเว้นในรายที่ไม่มีผู้ดูแล โดยการสนับสนุนเป็นไปตามศักยภาพของครอบครัวในการดูแล
และระดับการพึ่งพิง 3) ในการจัดระบบการดูแลระยะยาวฯอาศัยบุคลากรที่มิใช่วิชาชีพเป็นหลัก เช่น ผู้ช่วยเหลือดูแล
ผู้สูงอายุ โดยมีบุคลากรด้านวิชาชีพเช่น แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบ�ำบัด เป็ น ผู ้ สนั บ สนุ น ในการจั ด ระบบการดูแล
4) ทุกพื้นที่มีการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวฯ โดยอาศัยต้นทุนทางสังคมที่มีอยู่และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) กองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพระดั บ ท้ อ งถิ่ น หรื อ พื้ นที่ โรงพยาบาลชุมชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล อาสาสมัคร วัด และโรงเรียน เป็นต้น
ดังนั้นการออกแบบระบบการดู แ ลระยะยาวฯ ดังนี้ 1. เน้นบู ร ณาการด้ า นบริ ก ารสาธารณสุ ข และบริการ
ด้านสังคมในระดับพื้นที่ (ต�ำบล/หมู่บ้าน/ครอบครัว) 2. ค�ำนึงถึงความยั่ ง ยื น และเป็ น ไปได้ ข องงบประมาณระยะยาว
ในอนาคต 3. สนั บ สนุ น การมี ส ่ ว นร่ ว มโดยให้ อปท. (เทศบาล/อบต.) เป็นเจ้าภาพหลักในการบริหารระบบภายใต้การ
สนับสนุนของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภู มิ ใ นพื้ น ที่ 4. พั ฒ นาและขยายระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข
ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ โดยมีผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (care manager, CM)
เช่น พยาบาล นักกายภาพบ�ำบัด นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (caregiver, CG) ที่ผ่านการฝึก
อบรมและขึ้นทะเบียนดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเชิงรุกในพื้นที่อย่างน้อย 1 คน ต่อผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในทุกกลุ่มวัย
5-10 คน โดยได้รับค่าตอบแทนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯที่ด�ำเนินงานอยู่แล้วภายใต้การบริหารของ อปท.
แนวคิดในการพัฒนาระบบการดูและระยะยาวฯ พัฒนามาจากต้นทุนทางสังคมและทรัพยากรที่มีอยู่ โดยใน
ขณะนี้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า อปท. เป็นกลไกหลักในการบูรณาการการจัดบริการต่างๆ สู่ชุมชน ปัจจุบัน กองทุนหลัก
ประกันสุขภาพฯซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่าง ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และ อปท. เป็นกลไก
หลัก ในการสนับสนุนการด�ำเนินงานต่างๆในชุมชน ขณะเดียวกันยังมีเครือข่ายสุขภาพอยู่ในชุมชนที่สามารถสนับสนุน
การด�ำเนินงาน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ ตลอด
จนชมรมผู้สูงอายุที่มีการจัดตั้งในทุกพื้นที่ เพื่อให้ผู้สูงอายุ ไ ด้ รั บ การดู แ ลอย่างเหมาะสม จ�ำเป็นต้องมีการส�ำรวจโดย
ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุและจ�ำแนกผู้สูงอายุตามระดับการพึง่ พิง ออกเป็น 2 กลุม่ คือ กลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียง
จากนั้นผู้จัดการระบบฯ ประเมิ น ระดั บ การพึ่งพิงของผู้สูงอายุแต่ละรายซ�้ำ และประเมินความจ�ำเป็นที่ต้องได้รับการ
ดูแลด้านสาธารณสุข และจัดการให้เข้าถึงบริการที่จ�ำเป็น จากนั้นจะท�ำการประเมินซ�้ำและติดตามเป็นระยะเพื่อดูการ
เปลี่ยนแปลงและการเข้าถึงบริการ ผู้จัดการระบบฯ ต้องน�ำข้อมูลของผู้สูงอายุที่จ�ำเป็นต้องได้รับการดูแล ประชุมร่วม
กับภาคีที่เกีย่ วข้องและทีมสหวิชาชีพ เพือ่ วางแผนการดูแลแก่ผสู้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิงแต่ละรายรวมถึงก�ำหนดบทบาทว่า
ภาคีใดต้องเข้าไปสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างไร ระบบการดูแลจะครอบคลุมบริการด้านสาธารณสุข โดยในกลุม่ ติดเตียง

2 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


ซึ่งมีภาวะพึ่งพิงมากหรือเคลื่อนไหวเองไม่ได้จะมุ่งเน้นการฟื้นฟู ป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งการดูแลช่วย
เหลือด้านการกินอยูใ่ นชีวติ ประจ�ำวัน ส่วนกลุม่ ติดบ้าน ซึง่ เคลือ่ นไหวได้บา้ ง จะมุง่ เน้นการฟืน้ ฟู ป้องกันเพือ่ ให้ผสู้ งู อายุดำ� รง
ชีพได้อย่างอิสระได้นานที่สุดและลดภาระการดูแลในระยะยาว
ทางเลือกของรูปแบบระบบการดูแลระยะยาวฯ ที่เหมาะสมกับการน�ำมาปรับใช้กับสังคมไทย จึงมี 2 ทาง
เลือกได้แก่ 1. การใช้โรงพยาบาล หรือหน่วยบริการเป็นฐาน ข้อดีของทางเลือกนี้ คือ สามารถเริ่มงานได้ทันที เนื่องจาก
ประเทศไทยมีระบบบริการสาธารณสุขที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ และเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่อยูแ่ ล้ว แต่มีข้อเสีย คือ การ
ดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงต้องบูรณาการด้านสาธารณสุขและสังคมเข้าด้วยกัน ถ้าเริม่ ด้วยแนวทางนี้ โอกาสทีจ่ ะบูรณา
การในระยะยาวจะท�ำได้ยาก และต้องลงทุนสร้างตัวระบบซึ่งค่อนข้างแพง สร้างภาระทางการเงินสูงมากประมาณ
146,000บาทต่อคนต่อปี ซึ่งเกินก�ำลังงบประมาณที่รัฐจะจัดการได้ จึงน�ำมาสู่การสร้างระบบระบบการดูแลระยะยาวฯ
ด้วยทางเลือกที่ 2 คือ การให้ชุมชนเป็นฐาน ซึ่งมีข้อดีคือ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงส่วนใหญ่อยู่ในชุมชน ในครอบครัว
ในท้องถิ่น จึงสามารถใช้อปท.เป็นกลไกในการจัดการและเป็นเครื่องมือในการด�ำเนินงานด้านสุขภาพ ซึ่งในระยะแรก
อาจท�ำงานค่อนข้างยากเพราะยังเป็นงานใหม่ ส�ำหรับอปท. ระบบสนับสนุน และระบบตรวจสอบ โดยทางเลือกนีจ้ ะมีคา่ ใช้จา่ ย
ประมาณ 16,000 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งอยู่ในวิสัยที่รัฐสามารถบริหารจัดการได้ โดยมีค่าใช้จ่ายต�่ำกว่าทางเลือกที่หนึ่ง
ถึง 10 เท่า สปสช. โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงมีมติให้จัดระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยใช้ท้องถิ่น
เป็นฐาน ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริการ โดยเฉพาะของกระทรวงสาธารณสุข เป็นการบูรณาการการจัดบริการ
สาธารณสุขกับบริการทางสังคมเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งได้ออกแบบระบบให้มีความยืดหยุ่น และเอื้อต่อการบูรณาการงาน
ในพื้นที่ โดยค�ำนึงถึงความเป็นไปได้ทางการเงินและความยั่งยืนในระยะยาว
ในปี 2559 รัฐบาลมีนโยบายส�ำคัญทีม่ งุ่ เน้นการดูแลผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิง ทัง้ กลุม่ ติดบ้าน และกลุม่ ติด
เตียง เพื่อให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงไม่เจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง และผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ได้รับการ
ดูแลอย่างเหมาะสมไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวมากเกินไป จึงได้สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากงบเหมาจ่าย
รายหัวปกติในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จ�ำนวน 600 ล้านบาท ให้แก่ สปสช. เพือ่ บริหารจัดการให้ผสู้ งู อายุ
ทีม่ ภี าวะพึง่ พิงจ�ำนวนประมาณ 100,000 ราย ครอบคลุมพืน้ ที่ ของ อปท.ประมาณ 1,000 แห่งรวมกรุงเทพมหานคร และ
เพิม่ เป้าหมายเป็น 500,000 ราย (ร้อยละ 50) ครอบคลุม 5,000 พื้นที่ และเพิ่มเป็น 1 ล้านราย (ร้อยละ 100) ครอบคลุม
ทุกต�ำบลทั่วประเทศในปี 2560 และ2561 ตามล�ำดับ ทั้งนี้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจะได้รับการดูแล ดังนี้ 1)บริการด้าน
การแพทย์ เช่น บริการตรวจคัดกรอง ประเมินความต้องการดูแล บริการเยี่ยมบ้าน บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกัน
โรค บริการกายภาพบ�ำบัด บริการกิจกรรมบ�ำบัด และอุปกรณ์เครื่องช่วยทางการแพทย์ ตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนา
ระบบบริการดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หรือ สปสช. ก�ำหนด 2) บริการด้านสังคม เช่น บริการช่วย
เหลืองานบ้าน การปฏิบัติกิจวัตรประจ�ำวัน บริการอุปกรณ์ช่วยเหลือทางสังคม กิจกรรมนอกบ้าน และอื่นๆ
เพือ่ ให้การด�ำเนินงานระบบดูแลระยะยาว เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ได้มกี ารลงนามบันทึกความร่วมมือ
ของ 4 หน่วยงานได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วน
ต�ำบลแห่งประเทศไทย และสปสช. เพือ่ สนับสนุนให้ อปท. สามารถจัดระบบการดูแลระยะยาวแก่ผส้ ู งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิงใน
ความรับผิดชอบได้ ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นอกจากนั้นได้มีการจัดท�ำข้อตกลงการ
ด�ำเนินงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และสปสช. เพื่อสนับสนุนการด�ำเนินงานและงบประมาณให้หน่วย
บริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยการจัดทีมหมอครอบครัวร่วมกับ อปท. ด�ำเนินการประเมินผู้สูงอายุที่มีภาวะ
พึ่งพิงตามแบบประเมินความสามารถในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน ตามดัชนีบาร์เธล เอดีแอล (Barthel ADL index)
และจ�ำแนกผูส้ งู อายุที่มีภาวะพึ่งพิง ที่มีคะแนน Acitivities of Daily Living (ADL) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 11 คะแนน ออก
เป็น 4 กลุ่ม ตามความต้องการบริการด้านสาธารณสุข (ชุดสิทธิประโยชน์และอัตราค่าชดเชยค่าบริการด้านสาธารณสุข
ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง) จัดท�ำแผนการดูแลรายบุคคล(care plan) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาขอรับ
การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ และจัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ตามประกาศคณะ
กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการก�ำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อสนับสนุนให้อปท. ด�ำเนินงานและบริหารจัดการ
กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 และเอกสารแนบท้าย

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 3


บทที่ 2 ค�ำอธิบายประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การก�ำหนดหลักเกณฑ์เพือ่ สนับสนุนให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิน่ ด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกัน
สุขภาพในระดับท้องถิน่ หรือพืน้ ที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559
ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรือ่ ง การก�ำหนดหลักเกณฑ์เพือ่ สนับสนุนให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิน่ ด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559
ซึ่งต่อไปในการอธิบายในบทนี้จะใช้ค�ำว่า “ประกาศปี 2559” ประกาศฉบับนี้เป็นการเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการ
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การก�ำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด�ำเนินงานและ
บริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 19 กุมภาพันธ์
2557 ซึ่งต่อไปในการอธิบายในบทนี้จะใช้ค�ำว่า “ประกาศปี 2557” โดยมี ส าระส� ำ คั ญ ของประกาศ ปี 2559
ประสงค์ให้มีการก�ำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนเพื่อให้เกิดบริการดูแลระยะยาวด้าน
สาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ โดยอาศัยอ�ำนาจตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
พ.ศ. 2545 ตามมาตรา 47 ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุนและประสานกับองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ก�ำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ด�ำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกัน
สุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมาตรา 18 (3) (4)
(8) (9) ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีอ�ำนาจหน้าที่ ก�ำหนดประเภทและขอบเขตในการให้
บริการสาธารณสุขที่จ�ำเป็นต่อสุขภาพและการด�ำรงชีวิต ก�ำหนดหลักเกณฑ์ด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลัก
ประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนและประสาน และก�ำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน
องค์กรเอกชนและภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาก�ำไร ด�ำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักหลักประกัน
สุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ เพื่อการสร้างหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ นอกจากนี้ยังใช้อ�ำนาจตามมาตรา 3 (12) ซึ่งบัญญัติเกี่ยวกับนิยามความหมายค�ำ
ว่าค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขซึ่งถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายอื่นที่จ�ำเป็นเพื่อบริการสาธารณสุขที่คณะกรรมการหลัก
ประกันสุขภาพแห่งชาติก�ำหนด และมาตรา 7 ซึ่งบัญญัติให้สถานบริการมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ก�ำหนด
ในการอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับประกาศปี 2559 คู่มือเล่มนี้จะอธิบายเฉพาะเนื้อหาที่ปรากฏในประกาศเป็น
หลักเท่านั้น ซึ่งประเด็นเนื้อหาในประกาศใดที่อาจต้องพิจารณาหรือศึกษาประกอบกับประกาศปี 2557 นั้น ท่าน
สามารถศึกษาได้จากคู่มือกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ซึ่งต่อไปในการอธิบายในบทนี้จะใช้ค�ำ
ว่า “กองทุน” ค�ำอธิบายประกาศ ปี 2559 รายข้อ ดังนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามดังต่อไปนี้ ในข้อ 2 ของประกาศคณะกรรมการหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ
เรื่อง การก�ำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลัก
ประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557
“ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” หมายความว่า ผู้สูงอายุหรือบุคคลอื่นๆที่มีคะแนนประเมินความสามารถในการ
ด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 คะแนน ซึ่งแบ่งออกเป็น
4 กลุ่ม และมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขตามชุดสิทธิประโยชน์ในเอกสารแนบท้าย
“การบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” หมายความว่า การบริการตาม
ชุดสิทธิประโยชน์ในเอกสารแนบท้าย ที่เป็นการให้บริการ ณ ครัวเรือน หรือที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน
หรือที่หน่วยบริการ หรือที่สถานบริการ ที่ให้บริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดย
บุคลากรสาธารณสุขหรือผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
“ศูนย์พฒ ั นาคุณภาพชีวติ ผูส้ งู อายุในชุมชน” หมายความว่า ศูนย์พฒ ั นาและฟืน้ ฟูคณุ ภาพชีวติ ผูส้ งู อายุและคนพิการ
หรือศูนย์ทมี่ ชี อื่ อย่างอืน่ ตามข้อ 7 (3) ซึง่ จัดตั้งขึ้นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ หรือทีค่ ณะอนุกรรมการตามข้อ 8/1 เห็นชอบ
“ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (caregiver)” หมายความว่า บุคคลที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตร
ที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หรือ คณะอนุ ก รรมการอื่น ภายใต้
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบ

4 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


ค�ำอธิบาย
ในข้อ 1 จะก�ำหนดให้มีเพิ่มบทนิยามในข้อ 2 ของประกาศปี 2557 เป็นบทนิยามศัพท์ซึ่งประสงค์ให้ความ
หมายเฉพาะของถ้อยค�ำในประกาศปี 2559 และขยายข้อความในประกาศเพื่อให้เกิดความชัดเจนและมีความเข้าใจ
มากยิ่งขึ้น บทนิยามดังกล่าวจะปรากฏภายในเนื้อหาของประกาศฉบับนี้ เช่น เนื้อหาของ ข้อ 7/1 ทีก่ ำ� หนดให้ใช้จา่ ยเพือ่
สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผูส้ งู อายุทม่ี ภี าวะพึง่ พิงตามชุดสิทธิประโยชน์และ
อัตราทีก่ ำ� หนดในเอกสารแนบท้าย ของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนหรือหน่วยบริการหรือสถานบริการ ที่
จัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่คณะอนุกรรมการตามข้อ 8/1 เห็นชอบ ทั้งนี้
กรณีที่ใช้เงินกองทุนตามข้อ 5/1 และ ข้อ5/2 ให้คณะอนุกรรมการรายงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบ ค่าใช้จ่ายตาม
วรรคหนึ่ง ให้จ่ายเป็นค่าตอบแทนของบุคลากรที่เกี่ยวข้องตามอัตราที่หน่วยงานที่จัดบริการก�ำหนดได้ และรวมถึงจ่าย
เป็นค่าตอบแทนของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในอัตราที่แตกต่างกันได้ตามอัตราที่หน่วยงานที่จัดบริการ
ก�ำหนดหรือตามที่คณะอนุกรรมการตามข้อ 8/1 ก�ำหนดหรือเห็นชอบ แต่ต้องไม่เกินค่าแรงขั้นต�่ำที่รัฐบาลก�ำหนด”
เป็นต้น อย่างไรก็ตามในศึกษาความหมายของเนื้อหาประกาศฉบับนี้ยังจะต้องพิจารณาบทนิยามศัพท์อื่นๆที่ปรากฏใน
ข้อ 2 ของประกาศปี 2557 ประกอบด้วย
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 และข้อ 5/2 ของประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การก�ำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกัน
สุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557
“ข้อ 5/1 นอกจากเงินหรือทรัพย์สนิ ในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ตามข้อ 5 แล้ว ให้องค์กรปกครองส่วนท้อง
ถิน่ ที่มีความพร้อม ความเหมาะสม ซึ่งได้แสดงความจ�ำนงเข้าร่วมและส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเห็นชอบ
ได้รับเงินเพิ่มจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในส่วนค่าบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตามที่
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก�ำหนด
เงินที่ได้รับตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ แต่ให้เปิดบัญชีเงินฝาก
กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ชื่อ “บัญชีกองทุนหลักประกันสุขภาพ (....ชื่อองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น) เพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” แยกออกจากบัญชีกองทุนหลักประกันสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนและส่งเสริมการบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งนี้
ภายใต้บังคับของ ข้อ 7/1 และให้สามารถใช้ในปีงบประมาณถัดๆไปได้
ค�ำอธิบาย
ในข้อ 2 นี้ เป็นการก�ำหนดให้มีข้อ 5/1 และ 5/2 ในประกาศปี 2557 ซึ่งข้อ 5/1 นั้น เป็นข้อก�ำหนดว่าด้วย
แหล่งเงินเพิ่มเติมที่น�ำเข้าสู่กองทุน โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อน�ำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการ
บริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยมีเงื่อนไขว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่
บริหารจัดการกองทุน จะต้องมีความพร้อม ความเหมาะสม และได้แสดงความจ�ำนงเข้าร่วมและส�ำนักงานหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติเห็นชอบ ซึ่งมิได้หมายความว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่บริหารกองทุนทุกแห่งได้รับเงินเพิ่มตาม
ประกาศปี 2559 แต่การจะได้รับเงินเพิ่มดังกล่าวนี้จะต้องปรากฏถึงความพร้อมความเหมาะสม และได้แสดงความจ�ำนง
ต่อส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้ความเห็นชอบเสียก่อน ทัง้ นีเ้ งินตามข้อ 5/1 ให้ถอื เป็นรายรับของกอง
ทุนหลักประกันสุขภาพในปีงบประมาณนั้น
ส่วนความในวรรคสองของข้อ 5/1 เป็นการก�ำหนดให้เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ถือว่าเป็นเงินหรือทรัพย์สินใน
กองทุนหลักประกันสุขภาพเพียงแต่มีเงื่อนไขบังคับให้ต้องเปิดบัญชีเงินฝาก แยกออกจากบั ญ ชี ก องทุ น เดิ ม และ
เงินดังกล่าวมีเงื่อนไขให้ใช้จ่ายได้เฉพาะภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนและส่งเสริมการบริการดูแล
ระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งนี้ภายใต้บังคับของ ข้อ 7/1 (ซึ่งจะได้อธิบายในข้อ 7/1
ตามรายข้อต่อไป) และได้ก�ำหนดให้เงินกองทุนในส่วนดังกล่าวนี้สามารถใช้ในปีงบประมาณถัดๆไปได้ ซึ่งก�ำหนดให้เกิด
ความชัดเจนในการน�ำเงินนี้ไปใช้ในปีถัดไปได้

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 5


ข้อ 5/2 ให้เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 5 สามารถใช้ในปีงบประมาณถัดๆ ไปได้และสามารถน�ำไป
ใช้เป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งนี้
ภายใต้บังคับของข้อ 7/1 ได้”
ค�ำอธิบาย
ในข้อ 5/2 นี้เป็นการก�ำหนดให้เงินกองทุนตามข้อ 5 ซึ่งหมายถึง เงินตามประกาศปี 2557 ซึ่งโดยปกติจะมี
แหล่งที่มาหรือรายรับ 4 ประเภทประกอบด้วย (1) เงินที่ได้รับจัดสรรแต่ละปีจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
จ�ำนวน 45 บาทต่อประชาชนในพื้นที่หนึ่งคน (2) เงินสมทบจากเงินอุดหนุนหรืองบประมาณที่ได้รับจากองค์การบริหาร
ส่วนต�ำบลหรือเทศบาลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ (3) เงินสมทบจากชุมชนหรือ
กองทุนชุมชนอื่น (4) รายได้อื่นๆหรือทรัพย์สินที่ได้รับมาในกิจการของกองทุนหลักประกันสุขภาพ นั้น หากมีเงินเหลือ
ไม่ว่าด้วยเหตุประการใดๆสามารถน�ำมาใช้จ่ายในปีถัดไปได้ เป็นการก�ำหนดเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยหลัก
เกณฑ์ดังกล่าวมิได้ก�ำหนดไว้ในประกาศปี 2557 นอกจากนี้ ข้อ 5/2 ยังก�ำหนดให้สามารถน�ำเงินกองทุนตามข้อ 5 ไป
ใช้เป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งนี้
ภายใต้บังคับของข้อ 7/1 ซึ่งจะได้อธิบายในล�ำดับต่อไป
ข้อ 3 ให้เพิม่ ความต่อไปนีเ้ ป็นข้อ 7/1 ของประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรือ่ ง การก�ำหนด
หลักเกณฑ์เพือ่ สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับ
ท้องถิน่ หรือพืน้ ที่ พ.ศ. 2557
“ข้อ 7/1 เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ตามข้อ 5/1 และข้อ 5/2 ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัด
บริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามชุดสิทธิประโยชน์และอัตราที่ก�ำหนดในเอกสาร
แนบท้าย ของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนหรือหน่วยบริการหรือสถานบริการ ที่จัดบริการดูแลระยะยาว
ด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่คณะอนุกรรมการตามข้อ 8/1 เห็นชอบ ทั้งนี้กรณีที่ใช้เงินกองทุนตาม
ข้อ 5/1 และ ข้อ 5/2 ให้คณะอนุกรรมการรายงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบ
ค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้จ่ายเป็นค่าตอบแทนของบุคลากรที่เกี่ยวข้องตามอัตราที่หน่วยงานที่จัดบริการ
ก�ำหนดได้ และรวมถึงจ่ายเป็นค่าตอบแทนของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในอัตราที่แตกต่างกันได้ตาม
อัตราที่หน่วยงานที่จัดบริการก�ำหนดหรือตามที่คณะอนุกรรมการตามข้อ 8/1 ก�ำหนดหรือเห็นชอบ แต่ต้องไม่เกิน
ค่าแรงขั้นต�่ำที่รัฐบาลก�ำหนด”
ค�ำอธิบาย
ในข้อ 3 นี้ ได้กำ� หนดให้มขี อ้ 7/1 ในประกาศปี 2557 เป็นการก�ำหนดให้เงินกองทุนตามข้อ 5/1 ซึง่ หมายถึง
รายรับของกองทุนซึ่งได้รับเพิ่มจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในส่วนค่าบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุ
ที่มีภาวะพึ่งพิง และเงินกองทุนตามข้อ 5/2 ซึ่งหมายถึง เงินกองทุนตามข้อ 5 ตามประกาศปี 2557 สามารถน�ำมาใช้
จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้ นอกจาก
การใช้เงินตามข้อ 5/1 โดยก�ำหนดหน่วยงานหรือองค์กรที่สามารถจัดบริการ 3 ประเภท ประกอบด้ ว ย ศู น ย์ พั ฒ นา
คุ ณ ภาพชีวิ ต ผู ้ สู ง อายุ ในชุมชน หน่วยบริการ และสถานบริการ โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก
คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงให้ความเห็นชอบ (จะได้อธิบาย
ต่อในข้อ 8/1 )
นอกจากนี้ความในวรรคสองยังได้ก�ำหนดให้ค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้จ่ายเป็นค่าตอบแทนของบุคลากรที่
เกี่ยวข้องในการจัดบริการ รวมถึงจ่ายเป็นค่าตอบแทนของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง การก�ำหนดดังกล่าว
นี้ ประสงค์สร้างแรงจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานไม่ว่าบุคลากรภายในหน่วยบริการ หรือผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุให้ได้รับค่า
ตอบแทน เพื่อเป็นการสร้างขวัญก�ำลังใจให้ผู้ปฏิบัติ และมิให้เวลาในการปฏิบัติงานดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อสถานะทาง
เศรษฐกิจของตนเองและครอบครัว และจะส่งผลให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเข้าถึงบริการดังกล่าวมากขึ้น โดยที่อัตราการ
จ่ายค่าตอบแทนเป็นไป 2 ลักษณะ กล่าวคือ
1.ตามอัตราของหน่วยงานที่จัดบริการซึ่งอาจแตกต่างกันได้เนื่องจากอัตราที่ก�ำหนดในกฎ ระเบียบ วิธีปฏิบัติ
ของแต่หน่วยงานที่จัดบริการถือปฏิบัติ

6 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


2.ตามที่คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุท่ีมีภาวะพึ่งพิงให้ก�ำหนด
ซึ่งเป็นกรณีที่ประกาศปี 2559 ให้อ�ำนาจแก่คณะอนุกรรมการก�ำหนดได้ หรือ คณะอนุกรรมการอาจเห็นชอบตามอัตรา
ที่หน่วยงานที่จัดบริการก�ำหนดตามแผนงาน กิจกรรมที่ขอเสนอรับเงินจากองทุน อย่างไรก็ตามค่าตอบแทนดังกล่าวจะ
ต้องไม่เกินค่าแรงขั้นต�่ำที่รัฐบาลก�ำหนดและมีผลบังคับใช้ในขณะนั้น
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 ของประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
การก�ำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกัน
สุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557
“ข้อ 8/1 ให้คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดหนึ่งชื่อ “คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัด
บริการดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” มีหน้าที่พิจารณาจัดหา ก�ำหนดอัตราการชดเชยค่าบริการ และ
เห็นชอบให้ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือหน่วยบริการ หรือสถานบริการ เข้าร่วมจัดบริการดูแลระยะ
ยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตามข้อ 7/1 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้รับบริการตามชุดสิทธิ
ประโยชน์และอัตราที่ก�ำหนดในเอกสารแนบท้าย โดยให้มีองค์ประกอบอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองท้องถิ่นหรือ ประธานอนุกรรมการ
ผู้บริหารอื่นที่ได้รับมอบหมาย
(2) ผู้แทนกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ (2 คน) อนุกรรมการ
(3) ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลของรัฐในพื้นที่หรือผู้แทน(1 คน) อนุกรรมการ
(4) สาธารณสุขอ�ำเภอในพื้นที่หรือผู้แทน (1 คน) อนุกรรมการ
(5) หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิของรัฐในพื้นที่ (1 คน) อนุกรรมการ
(6) ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข อนุกรรมการ
ในพื้นที่ (1 คน)
(7) ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (1 คน) อนุกรรมการ
(8) ปลัดองค์กรปกครองท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่อื่น อนุกรรมการ
ที่ได้รับมอบหมาย (1 คน) และลขานุการ
ค�ำอธิบาย
ข้อ 4 นี้ ได้ก�ำหนดให้มีข้อ 8/1 ในประกาศปี 2557 ซึ่งเป็นข้อก�ำหนดให้มีคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัด
บริการดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มาจากการแต่งตั้งของคณะกรรมการกองทุน ซึ่งมีองค์ประกอบตาม
ที่ประกาศนี้ก�ำหนด ซึ่งจะเห็นได้ว่าประกาศจะก�ำหนดให้คณะอนุกรรมการมีที่มาจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการ
สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยระบุองค์ประกอบ
ของคณะอนุกรรมการขั้นต�่ำประกอบด้วยบุคคล 8 ประเภท โดยแต่ละประเภทต้องมีจ�ำนวนบุคคลตามระบุไว้ในวงเล็บ
อย่างไรก็ตาม หากคณะกรรมการกองทุนเห็นว่ามีความจ�ำเป็นเพื่อให้ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการให้
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเข้าถึงการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข อาจแต่งตั้งบุคคลประเภทอื่น ซึ่งมีความ
เหมาะสมนอกเหนือจากบุคคล 8 ประเภทที่ระบุข้างต้นเป็นอนุกรรมการเพิ่มเติมก็สามารถท�ำได้ ทั้งนี้ ควรค�ำนึงถึง
ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการประชุม องค์ประชุม งบประมาณ และปัจจัยด้านอื่นๆประกอบด้วย
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2559 เป็นต้นไป
ค�ำอธิบาย
ก�ำหนดให้ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2559 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการหลัก
ประกันสุขภาพแห่งชาติมีมติเห็นชอบร่างประกาศปี 2559

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 7


บทที่ 3 แนวทางการบริหารจัดการค่าบริการสาธารณสุข
ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

การประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครัง้ ที่ 9/2558 วันที่ 14 กันยายน 2558 มีมติเห็นชอบ


แนวทางการบริหารจัดการ เงื่อนไข อัตรา และหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะ
พึ่งพิงตามมติคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง และคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบริการระยะยาวส�ำหรับ
ผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิง เมือ่ วันที่ 3 กันยายน 2558 โดยมีกรอบการบริหารงบค่าบริการสาธารณสุขส�ำหรับผูส้ งู อายุที่มี
ภาวะพึ่งพิง ตามรายละเอียดดังนี้
ที่มาและความส�ำคัญ
1. จ�ำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ระดับปานกลางถึงทั้งหมดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นปัญหาส�ำคัญของ
ประเทศ
2. ศักยภาพของครอบครัวในการดูแลผูส้ งู อายุ ถดถอยลง จากขนาดครอบครัวทีเ่ ล็กลง การเคลือ่ นย้าย แรงงาน
จากชนบทสู่เมือง การท�ำงานนอกบ้านของสตรี
3. ระบบบริการสาธารณสุขและบริการด้านสังคมที่ผ่านมาอยู่ในลักษณะตั้งรับ สามารถให้บริการหลักแก่กลุ่ม
ที่ไม่มีภาวะพึ่งพิง ส�ำหรับกลุ่มผู้มีภาวะพึ่งพิง บริการมีจ�ำกัด และมักเป็นในรูปการสงเคราะห์เป็นครั้งคราว
ไม่ต่อเนื่อง
4. คาดการณ์คา่ ใช้จ่ายสุขภาพส�ำหรับผู้สูงอายุเพิม่ ขึน้ จาก 60,000 ล้านบาท ในปี 2553 เป็น 220,000 ล้านบาท
ในปี 2565 หรือคิดเป็นร้อยละ 2.8 ของ GDP ในปี 2565
5. ปีงบประมาณ 2559 รัฐบาลได้ให้งบค่าบริการดูแลระยะยาวด้านการแพทย์ ส�ำหรับผูส้ งู อายุตดิ บ้าน ติดเตียง
ในชุมชน 600 ล้านบาท ครอบคลุมร้อยละ 10 ของกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่
ทางเลือกการออกแบบระบบบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
Hospital based Community based

- มีศักยภาพ ความพร้อมในการจัดการและบริการ - มีกองทุน matching fund ของ อปท.กับ สปสช.


ด้านการแพทย์ ทุกตาบลทั่วประเทศประสบการณ์ 8 ปี
- ไม่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์บริการด้านสังคม - บูรณาการได้ทั้งบริการด้านการแพทย์และด้านสังคม
- การบูรณาการกับงานอื่นและหน่วยงานอื่นมีข้อจากัด - แนวโน้ม อปท.มีบทบาทและงบประมาณ เพิ่มมากขึ้น
- ภาระทางการเงินสูงมาก (400 บาทx365 วัน - ภาระทางการเงินไม่สูง ( 16,000 บาท/ คน/ปี)
= 146,000 บาท/คน/ปี)
สรุป ใช้ Community based เป็นหลักภายใต้การสนับสนุนทางวิชาการและบริการจาก Hospital based

หลักส�ำคัญในการออกแบบระบบ
1. เน้นบูรณาการด้านบริการทางการแพทย์และบริการด้านสังคมในระดับพื้นที่ (ต�ำบล/หมู่บ้านครอบครัว)
2. ค�ำนึงถึงความยั่งยืนและเป็นไปได้ของงบประมาณในอนาคต
3. สนับสนุนการมีสว่ นร่วมโดยให้ อปท. (เทศบาล/อบต.) เป็นเจ้าภาพหลักในการบริหารระบบภายใต้การสนับสนุน
ของหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่
4. ขยายระบบบริการดูแลระยะยาวส�ำหรับผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิง(ในพื้นที่) โดยมีผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่ม ี
ภาวะพึ่งพิง ที่ผ่านการฝึกอบรมและขึ้นทะเบียนดูแลกลุ่มเป้าหมายเชิงรุก 1 : 10 คน โดยได้รับค่าตอบแทน
จากกองทุนภายใต้การบริหารของ อปท.

8 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


ระบบการดู
ระบบการดู แลระยะยาวผู
แลระยะยาวผู ้สูงอายุ้สูใงนพื
อายุ
้นทีในพื น
้ ที่ ปี 2559
่ ปี 2559
100 ลบ. บริการ LTC ในหน่ วยบริการ

เครื อข่ าย ซื้อบริการ


กองทุน
100 ลบ.
รพ. และ
หลักประกัน
สุขภาพ อปท. สปสช.
รพ.สต. บริการ LTC ใน
บริหาร พืน้ ที่
จัดบริการ
กสธ.
ศูนย์ พฒ
ั นา
สนับสนุนทางวิชาการ คุณภาพ พม.
ชีวติ ผส.
มหาดไทย
สสส.
Care manager
Caregivers สช.
บริการเชิ งรุ ก สวรส.
ผู้สูงอายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิง เอกชน

หมายเหตุ ชุดสิทธิประโยชน์ บริการ LTC ด้ านการแพทย์ ตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบ


การดูแลระยะยาวสาหรับผู้สูงอายุท่ มี ีภาวะพึ่งพิงฯ หรือ สปสช. กาหนด
เป้าหมายการด�ำเนินงานใน 3 ปี (ทั่วประเทศ)
ปีที่ 1 (ปี 2559) ครอบคลุมพืน้ ทีแ่ ละผูส้ งู อายุตดิ บ้าน ติดเตียง 10% ประมาณ 1,000 ต�ำบล และ 100,000 ราย
ปีที่ 2 (ปี 2560) ครอบคลุมพืน้ ทีแ่ ละผูส้ งู อายุตดิ บ้าน ติดเตียง 50% ประมาณ 5,000 ต�ำบล และ 500,000 ราย
ปีที่ 3 (ปี 2561) ครอบคลุมพืน้ ทีแ่ ละผูส้ งู อายุตดิ บ้าน ติดเตียง 100% หรือทุกต�ำบล ประมาณ 1,000,000 ราย
การบูรณาการและการจัดสรรงบประมาณ ปี 2559
การบูรณาการและการจัดสรรงบประมาณ ปี 2559
งบประมาณเพื่อการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุท่ มี ีภาวะพึ่งพิงในชุมชน
( เป้ าหมาย ผส. 100,000 ราย )

สปสช. กองทุน อปท. งบปกติ อปท.


600 ลบ. 50 ลบ. 500 ลบ.
( 6,000 บ./ราย )
1. 500 ลบ. จัดสรรให้ กองทุนหลักประกัน เป็ นค่าดาเนินงานของ Care manager เป็ นค่าบริการด้ านสังคมที่ อปท. ทาอยูแ่ ล้ วใน
สุขภาพ อปท. (เทศบาลและอบต.ขนาดใหญ่) และ Caregiver ในอัตรา หลักเกณฑ์ ขณะนี ้
แนวทางตามประกาศการบริ หารงบกองทุน
จานวน 1,000 บาท/ราย ตามจานวน ผส.เพื่อให้ อปท. ของ สปสช.
เกิดการบริ การ ตามชุดสิทธิประโยชน์ด้าน
การแพทย์

2. 100 ลบ. จัดสรรลง CUP ในพืน้ ที่ จานวน


1,000 แห่ง อัตรา 1 แสนบาท/แห่ง เพื่อสนับสนุน
การจัดบริการเชิงรุก LTC ในพื ้นที่และรับส่งต่อ

หมายเหตุ บริหารโดยคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อปท. ที่มีอยู่แล้ว

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 9


ชุดสิทธิประโยชน์บริการดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
1. บริการด้านการแพทย์ เช่น บริการการตรวจคัดกรอง ประเมินความต้องการดูแล บริการเยี่ยมบ้าน บริการ
สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค, บริการกายภาพบ�ำบัด, บริการกิจกรรมบ�ำบัด และอุปกรณ์เครือ่ งช่วยทางการแพทย์
ตามที่ ค ณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบริการดู แลระยะยาวส� ำ หรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หรือ สปสช.
ก�ำหนด
2. บริการด้านสังคม เช่น บริการช่วยเหลืองานบ้าน การปฏิบัติกิจวัตรประจ�ำวัน , บริการอุปกรณ์ช่วยเหลือ
ทางสังคม ,กิจกรรมนอกบ้าน และอื่นๆ
หลักเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย (ประมาณ 1,000 แห่ง ครอบคลุมทุกอ�ำเภอ)
1. พื้นที่ที่มีการน�ำร่องด�ำเนินงานดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในปัจจุบัน
2. พื้นที่กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ อปท.เกรด A
3. เทศบาล (ทุกอ�ำเภอ) และ อบต.ขนาดใหญ่
แผนกิจกรรมการด�ำเนินงาน ปี 2559
1. การท�ำข้อตกลงจัดตั้งกองทุนย่อยการดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ร่วมกับ อปท.ตามกรอบ
กิจกรรมที่ก�ำหนด รวมถึงกรอบงบประมาณที่ต้องจัดสรรและสนับสนุน
2. การปรับปรุงระเบียบ ประกาศ คู่มือ ที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการด�ำเนินงาน
3. การพัฒนาและขึ้นทะเบียนก�ำลังคนในระบบดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (CM , CG) ให้มี
จ�ำนวนเพียงพอ และให้บริการอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานที่ก�ำหนด
4. การพัฒนาระบบข้อมูลเพือ่ การก�ำกับติดตาม ประเมินผลส�ำหรับทุกภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง (อปท./CUP/รพ.สต./สสจ.)
ผลผลิตจากการด�ำเนินงาน ปี 2559
1. ผู้สูงอายุในพื้นที่เป้าหมายทุกคนได้รับการคัดกรองและประเมินความต้องการช่วยเหลือ
2. ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการดูแลตามชุดสิทธิประโยชน์การดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะ
พึ่งพิง ประมาณ 100,000 ราย
3. เทศบาลและอบต.ขนาดใหญ่ รับผิดชอบบริหารระบบบริการ การดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะ
พึ่งพิงในพื้นที่ ประมาณ 1,000 แห่ง
4. ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่ใช้เป็นฐานในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ประมาณ 1,000 แห่ง
5. นักวิชาชีพของ อปท.เพื่อท�ำหน้าที่ Care manager ประมาณ 1,000 คน
6. ผูช้ ว่ ยเหลือดูแลผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิง ทีผ่ า่ นการอบรมตามมาตรฐาน ซึง่ ขึน้ ทะเบียนและได้รบั ค่าตอบแทน
ประมาณ 10,000 คน
7. หน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ที่เข้าร่วมสนับสนุนการด�ำเนินงานประมาณ 1,000 แห่ง
8. มีตัวชี้วัดและระบบข้อมูลบริการ การดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน

10 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


ขั้นตอนการจัดสรรงบบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
การจัดสรรงบบริการสาธารณสุขส�ำหรับผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิง แบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ 1) ค่าบริการสาธารณสุข
ส�ำหรับผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิงทีจ่ ดั สรรให้กบั หน่วยบริการและเครือข่ายบริการปฐมภูมใิ นพืน้ ที่ 2) ค่าบริการสาธารณสุขส�ำหรับ
ผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิงทีจ่ ดั สรรให้กบั กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ โดยขัน้ ตอนการจัดสรรงบประมาณทัง้ 2 ส่วนมีดงั นี้
1. ค่าบริ การสาธารณสุ ขสาหรับผูส้ ู งอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่จดั สรรให้กบั หน่วยบริ การและเครื อข่ายบริ การในพื้นที่
1. ค่าบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่จัดสรรให้กับหน่วยบริการและเครือข่ายบริการในพื้นที่

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการจัดสรรงบประมาณด้าน ประกาศ/เอกสาร


ที่เกี่ยวข้อง
สาธารณสุ ขสาหรับผูส้ ู งอายุที่มีภาวะพึ่งพิง -
(100,000บ./แห่ง)ให้กบั หน่วยบริ การ

สปสช. ส่ วนกลาง สปสช.ส่ วนกลาง แจ้งรายชื่อ หน่วยบริ การ และ รายชื่อพื้นที่เป้าหมายการ


สปสช. เขต1-12 อปท.ในพื้นที่เป้าหมายให้กบั สปสช.เขต เพื่อ ดาเนินงานดูแลระยะยาว
หน่วยบริ การ ประสาน สสจ. หน่วยบริ การและอปท.พิจารณา ด้านสาธารณสุ ขสาหรับ
อปท. การเป็ นพื้นที่เป้าหมาย ให้กบั สปสช.เขต ผูส้ ู งอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิง
เพื่อแจ้งกลับ สปสช.ส่ วนกลาง

สปสช. ส่ วนกลาง สปสช.แจ้งหนังสื อสนับสนุนค่าบริ การสาธารณสุ ข หนังสื อแจ้งหน่วยบริ การ


หน่วยบริ การ สาหรับผูส้ ู งอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ให้กบั หน่วยบริ การ เรื่ อง สนับสนุนค่าบริ การ
ในพื้นที่เป้าหมาย สาธารณสุ ขสาหรับ
ผูส้ ู งอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

สปสช. ส่ วนกลาง สปสช.โอนวงเงิน 100 ลบ. (100,000 บ./แห่ง) - แบบประเมินคัดกรอง


หน่วยบริ การ ให้กบั หน่วยบริ การ ในพื้นที่ดาเนินการดูแล - ความสามารถในการดาเนิน
อปท. ระยะยาวด้านสาธารณสุ ขสาหรับผูส้ ู งอายุที่มีภาวะ - ชีวติ ประจาวัน : ADL
พึ่งพิง และหน่วยบริ การร่ วมกับองค์กรปกครอง
ส่ วนท้องถิ่นในพื้นที่เป้าหมาย สารวจข้อมูล
ประเมินผูส้ ู งอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยแบ่งผูส้ ู งอายุที่
คะแนน ADL น้อยกว่าหรื อเท่ากับ 11
ออกเป็ น 4 กลุ่ม ตามชุดสิ ทธิประโยชน์แนบท้าย
ประกาศกองทุนฯ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2559

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 11


2. ค่าบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่จัดสรรให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการจัดสรรงบประมาณด้าน ประกาศ/เอกสาร


สาธารณสุ ขสาหรับผูส้ ู งอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ที่เกี่ยวข้อง
-
( เหมาจ่าย 50,000 บาท/ราย/ปี )
ให้กบั กองทุนหลักประกันสุ ขภาพฯ

สปสช. ส่ วนกลาง หน่วยบริ การในพื้นที่เป้าหมาย ส่ งข้อมูลจานวน แบบฟอร์มการดูแลระยะ


สปสช. เขต1-12 ผูส้ ู งอายุที่คะแนน ADL น้อยกว่าหรื อเท่ากับ 11 ที่ ยาว
หน่วยบริ การ แบ่งออกเป็ น 4 กลุ่ม (ตามแบบฟอร์ม LTC1) ให้กบั ด้านสาธารณสุ ขสาหรับ
อปท. สปสช.เขต เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ผูส้ ู งอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
และส่ งให้กบั สปสช.ส่ วนกลาง เพื่อจัดสรร (แบบฟอร์ ม LTC 1
งบประมาณเข้า “บัญชีกองทุนหลักประกันสุ ขภาพ ตามผนวก..ญ..)
(...ชื่อองค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่น) เพื่อการดูแล
ผูส้ ู งอายุที่มีภาวะพึ่งพิง”

หน่วยบริ การ ฯ หน่วยบริ การ/สถานบริ การ/ศูนย์พฒั นาคุณภาพ แบบฟอร์มข้อเสนอการ


อปท. ชีวติ ผูส้ ู งอายุในชุมชนร่ วมกับ อปท.หารื อเพื่อจัดทา จัดบริ การดูแลระยะยาว
ข้อเสนอการจัดบริ การ ผูส้ ู งอายุ หรื อบุคคลอื่นที่มี สาหรับผูส้ ู งอายุที่มีภาวะ
ภาวะพึ่งพิง และกาหนดอัตราการชดเชยค่าบริ การ พึ่งพิง และการกาหนด
ตามชุดสิ ทธิประโยชน์แนบท้ายประกาศกองทุน
อัตราชดเชยค่าบริ การตาม
หลักประกันสุ ขภาพในระดับท้องถิ่นหรื อพื้นที่
(ฉบับที่ 2) ปี 2559จากนั้น CM จัดทา care plan และ
ชุดสิ ทธิประโยชน์แนบท้าย
จัดให้มี CG เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการ ประกาศกองทุนฯ(ฉบับที่2)
สนับสนุนการจัดบริ การดูแลระยะยาวสาหรับ พ.ศ.25559
ผูส้ ู งอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (คณะอนุ LTC ) ซึ่งแต่งตั้ง (ตามผนวก..ฎ..)
โดยคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุ ขภาพใน
ระดับท้องถิ่นหรื อพื้นที่

หน่วยบริ การ ฯ แบบรายงานผลการ


อปท. ไม่ เห็นชอบ พิจารณางบบริ การ
คณะอนุ LTC พิจารณา Care plan ที่เสนอ ด้านสาธารณสุ ข
เพื่อสนับสนุนงบบริ การด้านสาธารณสุขสาหรับผูส้ ูงอายุที่มี สาหรับผูส้ ู งอายุที่มี
ภาวะพึ่งพิง (ตามประกาศข้อ5/1) และงบกองทุน ภาวะพึ่งพิง (ตามผนวก..ฏ..)
หลักประกันสุขภาพฯ
(ตามประกาศข้อ5/2) แจ้งคณะกรรมการ
กองทุนหลักประกัน
เห็นชอบ สุขภาพในระดับ
ท้องถิ่นหรื อพื้นที่
ทราบ

12 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


าบริค่การสาธารณสุ
2. ค่2. าบริการสาธารณสุ
ขส�ำหรับผูข้สสูงอายุ
าหรัทบี่มผูีภ้ สาวะพึ
งู อายุ
่งพิทงทีี่ม่จีภัดาวะพึ
สรรให้ง่ แพิก่กงองทุ
ที่จดั นสรรให้ แก่นกสุองทุ
หลักประกั นหลั(ต่กอประกั
ขภาพฯ ) นสุขภาพฯ (ต่อ)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการจัดสรรงบประมาณด้าน ประกาศ/เอกสาร


สาธารณสุ ขสาหรับผูส้ ู งอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ที่เกี่ยวข้อง
( เหมาจ่าย 5,000 บาท/ราย/ปี ) -

ให้กบั กองทุนหลักประกันสุ ขภาพฯ

หน่วยบริ การ ฯ อปท.จัดทาข้อตกลงการจัดระบบบริ การดูแล แบบฟอร์มข้อตกลง


อปท. ระยะยาวด้านสาธารณสุ ข สาหรับผูส้ ู งอายุที่มี จัดบริ การดูแลระยะยาวด้าน
ภาวะพึ่งพิง กับ หน่วยบริ การ/ สถานบริ การ/ ศูนย์ สาธารณสุ ขสาหรับผูส้ ู งอายุที่
พัฒนาคุณภาพฯ และ สนับสนุนงบกองทุน
มีภาวะพึ่งพิง ระหว่าง อปท.
หลักประกันสุ ขภาพฯให้กบั หน่วยบริ การฯตาม
Care plan ที่คณะอนุ LTC เห็นชอบ โดยการเบิกจ่าย
กับ หน่วยบริ การ/ สถาน
งบกองทุนหลักประกันสุ ขภาพฯให้เป็ นไป ตาม บริ การ/ ศูนย์พฒั นาคุณภาพ
ประกาศกองทุนหลักประกันสุ ขภาพฯ พ.ศ. 2557 ชีวติ ผูส้ ู งอายุในชุมชน
(ตามผนวก..ฐ..)
ประกาศกองทุนหลักประกัน
สุ ขภาพฯ พ.ศ. 2557
หน่วยบริ การ ฯ คณะอนุ LTC ติดตามประเมินผลการ
คณะอนุ LTC จัดบริ การตาม care plan ของหน่วยบริ การ/
สถานบริ การ/ ศูนย์พฒั นาคุณภาพฯ

หน่วยบริ การ ฯ หน่วยบริ การ/ สถานบริ การ/ ศูนย์พฒั นาคุณภาพฯ แบบฟอร์มการติดตาม


อปท. รายงานผลการดาเนินงานให้กบั คณะกรรมการ ประเมินผลตามที่
กองทุนฯ เพื่อแจ้ง สปสช.เขต จากนั้น สปสช.เขต สปสช. กาหนด
สปสช.เขต 1-12
รายงาน สปสช.ส่ วนกลาง ต่อไป กาหนด
สปสช.ส่ วนกลาง

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 13


บทที่ 4 การเข้าร่วมด�ำเนินงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข
ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของหน่วยบริการ
และศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน
1. หน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีบทบาทและแนวทางในการบริหารจัดการการระบบจัดบริการดูแล
ระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ดังนี้
1.1 ด� ำ เนิ น การประเมิน ผู้สูงอายุหรือบุคคลอื่น ๆที่ มีภ าวะพึ่ ง พิ ง ในพื้ น ที่ ต ามแบบประเมิ น ความสามารถ
ในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล และจัดท�ำเป็นฐานข้อมูล รวมทั้งน�ำข้อมูลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นๆ
ที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคะแนน ADLเท่ากับหรือน้อยกว่า 11 คะแนน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามความต้องการบริการด้าน
สาธารณสุข (ชุดสิทธิประโยชน์และอัตราค่าชดเชยค่าบริการด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง) และจัดท�ำ
เป็นแผนการดูแลรายบุคคลเพื่อประกอบการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณจากค่าบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่
มีภาวะพึ่งพิงจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงต่อไป
1.2 จัดให้มีผู้จัดการระบบฯ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่คณะ
อนุกรรมการLTC หรือคณะอนุกรรมการอื่นภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือส�ำนักงานหลัก
ประกันสุขภาพแห่งชาติ ก�ำหนด รวมถึงการจัดให้มีบุคลากรสาธารณสุข(ทีมหมอครอบครัว) เพื่อให้บริการดูแลระยะยาว
ส�ำหรับผู้สูงอายุหรือบุคคลอื่นๆที่มีภาวะพึ่งพิงตามแผนการดูแล
1.3 จัดให้มกี ารฝึกอบรมผูช้ ว่ ยเหลื อ ดู แ ลผู ้ สงู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิง และบริหารจัดการผูช้ ว่ ยเหลือดูแลผูส้ งู อายุ
ที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อการจัดบริการเชิงรุกที่บ้านตามแผนการดูแลรายบุคคล
1.4 ติดตามประเมินผลการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแต่ละรายตามแผนการดูแลรายบุคคล โดยผู้จัดการ
ระบบฯ ร่วมกับผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และรายงานผลต่อคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการ
ดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
2. การเข้าร่วมจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิงของศู น ย์ พั ฒ นาคุ ณภาพชีวติ
ผูส้ งู อายุในชุมชน
2.1 หลักการและวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนให้ศนู ย์พฒ ั นาคุณภาพชีวติ ผูส้ งู อายุในชุมชนเข้าร่วมจัดบริการดูแล
ระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การก�ำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2559 ได้เพิ่มค�ำนิยามของ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ให้หมายถึง ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพ
ชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ที่มีชื่ออย่างอื่นตามข้อ 7 (3) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดย อปท. หรือที่คณะอนุกรรมการ LTC
ตามข้อ 8/1 เห็นชอบ
ประกอบกับ ข้อ 7/1 เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ตามข้อ 5/1 และข้อ 5/2 ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่ง
เสริมการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผูส้ ูงอายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิงตามชุดสิทธิประโยชน์และอัตราที่กำ� หนด
ในเอกสารแนบท้าย ของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนหรือหน่วยบริการหรือสถานบริการ ที่จัดบริการดูแล
ระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่คณะอนุกรรมการตามข้อ 8/1 เห็นชอบ ทั้งนี้กรณีที่ใช้เงิน
กองทุนตาม ข้อ 5/1 และ ข้อ5/2 ให้คณะอนุกรรมการรายงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบ
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือศูนย์ที่มีชื่ออย่างอื่นตามข้อ 7 (3) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น หรือที่คณะอนุกรรมการตามข้อ 8/1 เห็นชอบ จึงสามารถได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก
กองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขส�ำหรับจัดบริการดูแล
ระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงให้ได้รับบริการภายใต้แผนการดูแลตามชุดสิทธิประโยชน์และ
อัตราการชดเชยค่าบริการด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการ
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การก�ำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด�ำเนินงานและ
บริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559
2.2 หลักเกณฑ์การพิจารณาศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนที่เข้าร่วมด�ำเนินงานดูแลระยะยาว
ด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือศูนย์ที่มีชื่ออย่างอื่นตามข้อ 7 (3) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยอปท. หรือที่
คณะอนุกรรมการตามข้อ 8/1 เห็นชอบ ซึ่งจะด�ำเนินงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
โดยขอรับการสนับสนุนค่าบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯเพื่อการ
ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีหลักเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
14 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
1) เป็นศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ที่มีชื่ออย่างอื่น ที่จัดตั้งขึ้นโดยอปท.
มีการก�ำหนดขอบเขตภารกิจ และพืน้ ทีด่ ำ� เนินการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิง อย่างชัดเจน
2) มีการบริหารจัดการศูนย์ในรูปแบบของคณะกรรมการ หรือคณะกรรม การบริหารศูนย์ ทั้งนี้องค์ประกอบ
ของคณะกรรมการควรมาจากภาคส่วนต่างๆ ในท้องถิ่นหรือพื้นที่ เช่น อปท. องค์กรวิชาชีพ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนหมู่บ้าน
หรือชุมชน ผูแ้ ทนอาสาสมัคร ผูแ้ ทนผูส้ งู อายุหรือผูแ้ ทนคนพิการ โดยมีหลักฐานหรือเอกสารเป็นค�ำสัง่ แต่งตัง้ คณะกรรมการ
หรือทะเบียนรายชือ่ คณะกรรมการ พร้อมทัง้ หลักฐานหรือเอกสารบันทึกหรือรายงานการประชุมของคณะกรรมการ ทีช่ ดั เจน
3) มีอาคารสถานที่เป็นที่ตั้งท�ำการของศูนย์ฯเป็นการถาวร และจัดสภาพแวดล้อม เครื่องมือ อุปกรณ์ และ
สิ่งอ�ำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและปลอดภัยส�ำหรับการให้บริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มี
ภาวะพึ่งพิง
4) มีการจัดท�ำแผนเงิน/แผนงบประมาณ และแผนการด�ำเนินงานหรือปฏิทินการด�ำเนินงานประจ�ำปี ที่คณะ
กรรมการศูนย์ฯ เห็นชอบ
5) มีการก�ำหนดเวลาท�ำการหรือเวลาให้บริการของศูนย์ฯ และก�ำหนดหรือระบุตวั บุคคลผูป้ ฏิบตั งิ านประจ�ำศูนย์ฯ
โดยมีหลักฐานหรือเอกสารแสดงทะเบียนรายชื่อผู้ปฏิบัติงานประจ�ำศูนย์ฯ และการลงเวลาปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน
ประจ�ำศูนย์ฯ
6) มีการจัดท�ำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของศูนย์ฯ ประจ�ำเดือน ประจ�ำไตรมาสและประจ�ำปีโดยมีหลักฐานหรือ
เอกสาร ที่สามารถตรวจสอบได้
7) มีการจัดท�ำสรุปผลงานหรือรายงานผลการด�ำเนินงานของศูนย์ฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
กรณี ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้เป็นตามความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการ LTC
2.3 บทบาทหน้ า ที่ ข องศู น ย์ พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ผู ้ สู ง อายุ ใ นชุ ม ชนในการให้ บ ริ ก ารดู แ ลระยะยาว
ด้ า นสาธารณสุ ข ส� ำ หรั บ ผู ้ สู ง อายุ ที่ มี ภ าวะพึ่ ง พิ ง
1) จัดให้มี CM ประจ�ำศูนย์ฯ และ CG ที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่คณะอนุกรรมการ LTC หรือคณะ
อนุกรรมการอื่นภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก�ำหนด
2) ด�ำเนินการประเมินผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิงในพืน้ ทีต่ ามแบบประเมินความสามารถในการด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวัน
ตามดัชนีบาร์เธลเอดี และจัดท�ำเป็นฐานข้อมูล รวมทั้งน�ำข้อมูลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคะแนน ADL เท่ากับหรือ
น้อยกว่า 11 คะแนน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามความต้องการบริการด้านสาธารณสุข (ชุดสิทธิประโยชน์และอัตราค่า
ชดเชยค่าบริการด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง) และ CM จัดท�ำ care plan เพื่อเป็นข้อมูลประกอบ
การพิจารณาของคณะอนุกรรมการ LTCในการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯต่อไป
3) จัดให้มีการฝึกอบรม CM และ CG เพื่อให้บริการเชิงรุกที่บ้าน และ/หรือที่ศูนย์ฯ ตาม care plan นอกจาก
นี้ CM ยังท�ำหน้าที่ก�ำกับติดตามและเชื่อมประสานกับหน่วยบริการฯ
2.4 บทบาทของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ในการสนับสนุนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุในชุมชน
1. แต่งตั้งคณะอนุ ก รรมการ LTC เพื่ อ พิ จ ารณาเห็ น ชอบให้ ศู น ย์ พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ผู ้ สู ง อายุในชุมชน
เข้าร่วมจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และก�ำหนดอัตราการชดเชยค่าบริการ
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การก�ำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้ องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559
2. สนับสนุนการจัดบริการเชิงรุกที่บ้าน รวมทั้งการให้บริการที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน โดย
อาจบูรณาการกิจกรรมกับ ศู น ย์เดิมที่มีอยู่แล้วให้ครอบคลุมการด�ำเนินการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูง
อายุที่มีภาวะพึ่งพิง
3. สนับสนุนและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงาน องค์กรอื่นและประชาชนกลุ่ม
เป้าหมายในพื้นที่ ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวฯของศูนย์พัฒนาชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนในระยะ
ยาวอย่างยั่งยืน
4. สนับสนุนให้ศนู ย์พฒ ั นาชีวติ ผูส้ งู อายุในชุมชนเป็นแหล่งแลกเปลีย่ นเรียนรู้ สร้างเครือข่าย การพัฒนาศักยภาพ
ผูช้ ว่ ยเหลือดูแลผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิง และเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการให้บริการดูแล
ระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
5. ประเมินผลการด�ำเนินงานร่วมกับศูนย์พฒ ั นาคุณภาพชีวติ ผูส้ งู อายุในชุมชน เพือ่ พัฒนาระบบการบริการดูแล
ระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิงให้มคี วามยัง่ ยืนและต่อเนือ่ ง

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 15


บทที่ 5 ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Manager)
และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Caregiver)

1.ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (CM)
เป็นผู้ที่มีหน้าที่หลักในการบริหารจัดการ และประสานให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการด้านสาธารณสุข
ตามชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ประกาศกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2559 โดย
การจัดท�ำ care plan ประกอบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ LTC ในการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลัก
ประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และจัดให้มี CG รวมทั้งเชื่อมประสานกับทีมสหวิชาชีพ อปท.และภาคีที่
เกีย่ วข้อง เพือ่ ให้เกิดการจัดบริการตาม care plan โดย CM 1 คน ดูแล CG 5-10 คน และดูแลผูส้ งู อายุประมาณ 35-40 คน
1.1 บทบาทหน้าที่ของ CM
1. ประเมินคัดกรองความสามารถในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล และประเมินคัดกรอง
ด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2. จัดท�ำข้อมูลผู้สูงอายุที่ต้องการดูแลช่วยเหลือทั้งเชิงรับและเชิงรุก
3. จัดท�ำแผนการดูแลรายบุคคล care plan, weekly plan
4. จัดประชุมกลุ่มเพื่อปรึกษาปัญหารายกรณี ( care conference)
5. เชื่อมประสานกับทีมสหวิชาชีพของหน่วยบริการฯ อปท.และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ตาม care plan
6. พัฒนาศักยภาพการท�ำงานเป็นทีม
7. บริหารจัดการ และก�ำกับติดตามการด�ำเนินงานของ CG ให้เป็นไปตาม care plan
8. การประเมินและทบทวน care plan ให้สอดคล้องกับบริบทของผู้สูงอายุแต่ละราย ประเมินแผนงานและ
ผลการปฏิบัติงานเชิงระบบเพื่อปรับปรุงพัฒนา
1.2 คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรมเป็น CM
1. มีอายุไม่ต�่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
2. จบการศึกษาไม่ต�่ำกว่าปริญญาตรีด้านการแพทย์ หรือ การพยาบาล หรือ การพยาบาลและการผดุงครรภ์
หรือ การสาธารณสุข หรือ ประกาศนียบัตรการพยาบาลและผดุงครรภ์ และต้องมีประสบการณ์การปฏิบตั งิ าน
ไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือ
3. จบปริญญาตรีดา้ นอืน่ หรือจบหลักสูตรผูช้ ว่ ยพยาบาล หรือพยาบาลเทคนิค และต้องมีประสบการณ์ปฏิบตั งิ านด้าน
ผู้สูงอายุ ไม่น้อยกว่า 3 ปี
4. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี และไม่มีประวัติการกระท�ำผิดต่อผู้สูงอายุ
หรือผู้ป่วย
5. มีใบรับรองแพทย์ระบุว่ามีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือจิต ฟั ่ น เฟื อ น ไม่ สมประกอบและไม่เป็น
ผู้ติดสารเสพติด
1.3 การฝึกอบรม
1. อย่างน้อย 70 ชั่วโมง
2. อบรมโดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอนามัย วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
โรงพยาบาล หรือหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยใช้หลักสูตรของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข หรือเทียบเท่า

16 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


2. ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(CG)
หมายถึง บุคคลที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่คณะอนุกรรมการLTC หรือคณะอนุกรรมการอื่นภายใต้คณะ
กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เห็นชอบ
2.1 บทบาทหน้าที่ของ CG
ดูแลผู้สูงอายุตามแผนการดูแลที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่
1. ดูแลกิจวัตรประจ�ำวันของผูส้ งู อายุ เช่น การรับประทานอาหาร การนอนหลับพักผ่อน การเคลือ่ นย้าย การขับถ่าย
ให้ถูกสุขลักษณะปลอดภัยเหมาะสมกับวัยของผู้สูงอายุ
2. สังเกตพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของผู้สูงอายุ รวมทั้งเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุ และต้องรายงานให้
ญาติของผู้สูงอายุทราบ
3. ส่งเสริมสุขภาพของผู ้ สู ง อายุ ทุ ก ด้ า นตลอดจนดูแลสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยถูกสุขลั ก ษณะเอื้ อ ต่ อ
การส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ
4. เขียนรายงานการปฏิบัติงานเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด
5. กรณีทมี่ กี ารประกอบอาหารให้ผู้สูงอายุต้องด�ำเนินการเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร พร้อมทั้งดูแลเครือ่ งมือ
เครือ่ งใช้ในการปรุง ประกอบอาหารให้สะอาด และถูกสุขลักษณะในทุกขัน้ ตอนและล้างมือให้สะอาดอยูเ่ สมอ
6. จัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ที่เกิดจากการดูแลผู้ สู ง อายุ อ ย่ า งถูกต้อง โดยทิ้งลงในภาชนะรองรับที่ถูกหลัก
สุขาภิบาล และระวังป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนกับอาหารและเกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค หรือก่อ
ให้เกิดเหตุร�ำคาญต่อบ้านเรือนใกล้เคียง
7. ส่งต่อผูส้ งู อายุกรณีทพ่ี บว่ามีเหตุฉกุ เฉิน หรือการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บเกิดขึน้ กับผูส้ งู อายุตามระบบการส่งต่อ
และวิธีการอย่างถูกต้อง
8. จัดท�ำรายงานผลการดูแลผู้สูงอายุรายเดือน เพื่อรายงานต่อผู้จัดการระบบฯ
2.2 คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรมเป็น CG
เป็นไปตามประกาศส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก�ำหนด
2.3 การฝึกอบรม
1. อย่างน้อย 70 ชั่วโมง
2. อบรมโดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอนามัย วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ส�ำนักงานสาธารณสุข
จัง หวั ด โรงพยาบาล หรือหน่วยงานอืน่ ๆที่เกี่ยวข้องโดยใช้หลักสูตรของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
หรือเทียบเท่า

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 17


บทที่ 6 บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1. ตามบันทึกความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการด�ำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ในเรือ่ งการจัดระบบการดูแล


ระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง แบบบู ร ณาการในพื้นที่ ระหว่าง กระทรวงสาธารณสุข
ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วน
ต�ำบลแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ได้ก�ำหนดบทบาทและภาระหน้าที่ของทั้งสี่ฝ่ายดังต่อไปนี้
1) กระทรวงสาธารณสุข
ส่งเสริมและจัดให้หน่วยงานและหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้ความร่วมมือและสนับสนุนช่วย
เหลือ อปท. เช่น เทศบาล หรือ องค์การบริหารส่วนต�ำบลให้สามารถด�ำเนินงานและบริหารจัดการระบบดูแลระยะยาว
ด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบบูรณาการ ในพื้นที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามความพร้อมความ
เหมาะสมและตามภารกิจที่ ตกลงกัน
2) ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
(1) ส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการของ
ประชาชน ในท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยสนับสนุนและก�ำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้ อปท. เช่น เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วน
ต�ำบล เป็นผูจ้ ดั ตัง้ ระบบการดูแลระยะยาวฯแบบบูรณาการในพื้นที่ และสามารถบริหารจัดการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
(2) จัดสรรงบประมาณให้หน่วยบริการและกองทุนหลักประกันสุขภาพฯเพือ่ สนับสนุนเป็นค่าใช้จา่ ยเพื่อการ
บริการสาธารณสุขในการด�ำเนินงานและบริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาวฯแบบบูรณาการในพื้นที่ ตามภารกิจที่
ตกลงกันตามกรอบที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมอบหมาย
(3) ด�ำเนินการเพื่อแก้ปัญหาให้แก่ อปท. เช่น เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนต�ำบลอันเกิดจากการด�ำเนิน
งานและบริหารจัดการให้ลุล่วงไปได้ด้วยความรวดเร็วไม่เป็นอุปสรรคต่อการด�ำเนินงานตามภารกิจที่ตกลงกัน
3) สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนต�ำบลแห่งประเทศไทย
ส่งเสริมและสนับสนุนการด�ำเนินการเพื่อให้ อปท.สามารถด�ำเนินการบริหารจัดการระบบดูแลระยะยาว
ด้านสาธารณสุขส�ำหรับ ผู ้ สู ง อายุ ที่ มีภาวะพึ่งพิงแบบบูรณาการในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการ
ของประชาชนและลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่
2. ตามข้อตกลงด�ำเนินงานร่วมกันเพื่อสนับสนุนการด�ำเนินงานและงบประมาณเรื่องการจัดระบบการดูแลระยะ
ยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง แบบบูรณาการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ปีงบประมาณ 2559 ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และ ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเมือ่ วันที่ 7 มกราคม 2559
ก�ำหนดบทบาทและภาระหน้าที่ของทั้งสองฝ่าย ดังต่อไปนี้
1) กระทรวงสาธารณสุข
ส่งเสริมและจัดให้หน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้ความร่วมมือและสนับสนุนช่วยเหลือ อปท.
เช่น เทศบาล หรือ องค์การบริหารส่วนต�ำบลให้สามารถด�ำเนินงาน และบริหารจัดการระบบดูแลระยะยาวด้าน
สาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบบูรณาการ ในพื้นที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะมอบหมายให้หน่วย
บริการในสังกัดด�ำเนินการดังนี้
(1) เตรียมความพร้อมของระบบบริการเพือ่ รองรับการด�ำเนินงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุ
ที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ รวมทั้งประสาน และสนับสนุนด้านวิชาการ เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ
อปท.ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุข จิตอาสาสาธารณสุข เพื่อจัดบริการด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูง
อายุที่มีภาวะพิ่งพิงในพื้นที่

18 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


(2) จัดทีมหมอครอบครัวร่วมกับ อปท.ด�ำเนินการประเมินผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแบบประเมิน
ความสามารถในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันตามดัชนี้บาร์เธลเอดีแอล และแบ่งผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงออกเป็น 4 กลุ่ม
ตามความต้องการการบริการด้านสาธารณสุข (ชุดสิทธิประโยชน์และอัตราค่าชดเชยค่าบริการด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้
สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง) และจัดท�ำเป็นแผนการดูแลรายบุคคลเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณ
จากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯต่อไป
(3) จัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์และรับค่าบริการตามอัตราการชดเชยค่าบริการด้านสาธารณสุขส�ำหรับ
ผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิงตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรือ่ ง การก�ำหนดหลักเกณฑ์ เพือ่ สนับสนุนให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิน่ หรือพืน้ ที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559
และเอกสารแนบท้าย
(4) ประเมินผลการด�ำเนินงานร่วมกับ อปท. เพื่อพัฒนาระบบการด�ำเนินงานการดูแลระยะยาวด้าน
สาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงให้มีความยั่งยืนและต่อเนื่องในพื้นที่ต่อไป
2) ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
(1) สนับสนุนงบประมาณแต่ละปี ให้หน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทีเ่ ข้าร่วมด�ำเนินงาน
ระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามภาระกิจในข้อ 1
(2) ด�ำเนินการเพื่อแก้ปัญหาและสนับสนุนด้านอื่นๆ ให้หน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
สามารถด�ำเนินการร่วมกับ อปท. เช่น เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนต�ำบล ในพื้นที่ อันเกิดจากการด�ำเนินงานและ
บริหารจัดการให้ลุล่วงไปได้ด้วยความรวดเร็วไม่เป็นอุปสรรคต่อการด�ำเนินงานตามภารกิจที่ตกลงกัน
3. หน่วยบริการ สถานบริการ และศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน
1. จัดบริการเชิงรุก/บริหารการจัดบริการตรวจคัดกรอง ตรวจประเมินความต้องการดูแลผูส้ งู อายุ
การวางแผนการดูแลโดยสหสาขาวิชาชีพ รวมถึงกิจกรรมบริการตามชุดสิทธิประโยชน์การดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข
ส�ำหรับผู้สูงอายุทั้งบริการด้านการแพทย์และบริการด้านสังคม
2. จัดท�ำแผนงาน/โครงการในการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะ
พึง่ พิงในพืน้ ทีร่ ว่ มกับศูนย์พฒ ั นาคุณภาพชีวติ ผูส้ งู อายุในชุมชน
3. จัดท�ำฐานข้อมูลด้านสุขภาพของผูส้ งู อายุทรี่ บั ผิดชอบในระดับต�ำบล กระตุน้ ให้ภาคีเครือข่ายใน
ระดับต�ำบลใช้ขอ้ มูลและทรัพยากรทีม่ อี ยูเ่ ป็นฐานในการจัดบริการ เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ทั้ง
ในด้านบริการทางการแพทย์และบริการด้านสังคม
4. ประสานงานกับผู้จัดการระบบฯ ควบคุมก�ำกับการด�ำเนินงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผูส้ งู อายุที่
มีภาวะพึง่ พิง เพือ่ ให้ดำ� เนินงานตามภารกิจได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
5. ให้การสนับสนุนด้านวิชาการแก่ อปท./ภาคประชาชน ในการดูแลผูส้ งู อายุให้มคี ณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้
6. ร่วมกับผู้จัดการระบบฯ เป็นพี่เลี้ยงให้แก่ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในการท�ำงาน
เชิงรุกในระดับพืน้ ที่ ทัง้ การนิเทศติดตาม การให้คำ� ปรึกษาทัง้ ทางด้านการดูแลและการท�ำงาน เช่น ปัญหาด้านสัมพันธภาพ ด้าน
ความเครียด
7. เสริมพลังแก่ครอบครัวผูส้ งู อายุและชุมชนในการดูแลผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิง โดยการให้ความรู/้
ค�ำปรึกษา/ค�ำแนะน�ำ
8. แสวงหา ประสานความร่วมมือจาก โรงพยาบาล ส�ำนักงานสาธารณสุขอ�ำเภอ อปท.รวมถึง
สมาคม ชมรม เครือข่ายภาคประชาชน ส�ำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อร่วมจัดบริการ รวมทั้งร่วม
สนับสนุนงบประมาณ
9. ร่วมก�ำกับติดตามประเมินผลการด�ำเนินงาน

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 19


4. อปท.
1. ด�ำเนินงานและบริหารจัดการระบบดูแลระยะยาวฯ ภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ตามประกาศ
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรือ่ งการก�ำหนดหลักเกณฑ์เพือ่ สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ด�ำเนิน
งานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิน่ หรือพืน้ ที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 อย่างต่อเนื่องโดยเน้น
การจัดบริการด้านสาธารณสุขที่บูรณาการกับการบริการด้านสวัสดิการสังคม ที่มีการด�ำเนินการอยู่ในพื้นที่แล้ว
2.ร่วมกับทีมหมอครอบครัวของหน่วยบริการและเครือ ข่า ยบริ ก ารปฐมภู มิในพื้ น ที่ ด�ำเนินการประเมินผูส้ งู อายุ
ทีม่ ภี าวะพึง่ พิงตามแบบประเมินความสามารถในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันตามดัชนีบาร์ เ ธลเอดี แ อล และแบ่งผูส้ งู อายุ
ทีม่ ภี าวะพึง่ พิงออกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการการบริการด้านสาธารณสุข (ชุดสิทธิประโยชน์และอัตราค่าชดเชยค่า
บริการด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง) และจัดท�ำเป็นแผนการดูแลรายบุคคล เพื่อเป็นข้อมูลประกอบ
การพิจารณาสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
3. ประสานงานกับคณะกรรมการบริ ห ารกองทุ น หลั ก ประกันสุขภาพฯ ในการแต่งตัง้ คณะอนุกรรมการLTC
(กองทุนหลัก ประกั น สุ ข ภาพเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง) เพื่อพิจารณาจัดหา ก�ำหนดอัตราการชดเชย
ค่าบริการ และเห็นชอบให้ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือหน่วยบริการ หรือสถานบริการ เข้าร่วม
จัดบริการระบบดูแลระยะยาวฯ ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรือ่ ง การก�ำหนดหลักเกณฑ์เพื่อ
สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิน่ หรือ
พืน้ ที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559
4.ประเมินผลการด�ำเนินงานร่วมกับหน่วยบริการและเครือข่ายบริการปฐมภูมิในพื้นที่เพื่อพัฒนาระบบการ
ด�ำเนินงานการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุทมี่ ภี าวะพึ่งพิงให้มีความยั่งยืนและต่อเนื่องในพื้นที่ต่อไป
5. สปสช. กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานส่วนกลาง
1) จัดท�ำกรอบแนวทาง ประกาศ ระเบียบ พื้นที่เป้าหมายร่วมกับเขตและกระทรวง สาธารณสุข
2) จัดสรรงบประมาณรายเขตที่จะโอนให้กองทุน อปท. ในพื้นที่ที่เข้าร่วมด�ำเนินงาน
3) สนับสนุนด้านข้อมูล วิชาการ องค์ความรู้ และเครื่องมือต่างๆ ที่จ�ำเป็นต้องใช้
4) ก�ำหนดชุดสิทธิประโยชน์และเกณฑ์การได้รับการสนับสนุนตามชุดสิทธิประโยชน์
5) พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อน�ำไปใช้ในการวางแผน และบริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาวฯ
6) สนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากรในส่วนกลาง เขตและพื้นที่
7) จัดกระบวนการถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่
8) ติดตามและประเมินผลการศึกษาและพัฒนาขยายผล
6. สปสช.สาขาเขต และเขตบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข
1) ประชุมชี้แจง ท�ำความเข้าใจแนวทางการด�ำเนินงาน แก่กองทุน อปท.
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และจัดสรรงบประมาณตามหลักเกณฑ์แนวทางในแต่ละปี
2) บริหารจั ด การงบประมาณเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการด� ำ เนิ น งาน ได้แก่ การจัดประชุมชี้แจงแนวทาง
การด�ำเนินงานในระดับพื้นที่ การฝึกอบรมCM CG เป็นต้น
3) ประสานสนับสนุนการด�ำเนินงานกลไกคณะกรรมการคณะอนุกรรมการ ได้แก่ คณะกรรมการกองทุน
หลักประกันสุขภาพฯ คณะอนุกรรมการLTC และคณะกรรมการบริหารเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอ�ำเภอ เพื่อ
บริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาวฯ
4) ร่วมจัดกระบวนการถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่
5) ติดตามและประเมินผลการด�ำเนินงานและพัฒนาขยายผล

20 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


ระบบข้อมูลและการติดตามประเมินผลการด�ำเนินงานดูแล 7่
บทที่ บทที
ระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
ระดับส่วนกลาง/ ระดับเขต / ระดับท้องถิน่
การก�ำกับติดตามประเมินผลการด�ำเนินงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจะ
มีการก�ำกับติดตามประเมินผลร่วมกันทั้งกระทรวงสาธารณสุขและส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทั้งในระดับ
ส่วนกลาง ระดับเขตและระดับท้องถิ่น เป็นรายไตรมาสและรายปี ดังนี้
1. การก�ำกับติดตามข้อมูล ได้แก่
1.1 ข้อมูลจ�ำนวนผู้สูงอายุในพื้นที่เป้าหมาย แบ่งเป็นข้ อ มู ล ผู ้ สู ง อายุ ที่ ผ ่ า นการตรวจประเมินดัชนี ADL
มากกว่า 11 คะแนนและทีเ่ ท่ากับหรือต�่ำกว่า 11 คะแนน โดยแบ่ง ผู้สูงอายุใ นภาวะพี่ง พิง(กลุ่มติดบ้าน
ติดเตียง) ออก 4 กลุม่
1.2 ข้อมูลจ�ำนวนงบประมาณที่สนับสนุนผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงที่ผ่านการตรวจประเมิน ตามเกณฑ์ใน
พื้นที่เป้าหมาย ทีไ่ ด้รบั การสนับสนุนงบดูแลระยะยาว 5,000 บาทต่อรายต่อปีจากส�ำนักงานหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ (ปีงบประมาณ 2559 สนับสนุนเฉพาะผู้สูงอายุสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ให้แก่
กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ
1.3 ข้อมูลจ�ำนวนผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงที่ได้รับการดูแลตามแผนการดูแลรายบุคคล ของแต่ ล ะหน่ วย
งานทีจ่ ดั บริการภายใต้ชดุ สิทธิประโยชน์ตามเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ่
แห่ง ชาติเรื่องการก�ำหนดหลั ก เกณฑ์ เ พื่ อ สนั บ สนุ น ให้ องค์ ก รปกครองส่วนท้องถิ่นด�ำเนินงานและ
บริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 2) ทีเ่ สนอขอรับความเห็นชอบ
จากคณะอนุกรรมการLTC
1.4 ข้อมูลจ�ำนวนงบประมาณค่าบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่สนับสนุนให้แต่ละ
หน่วยงานที่จัดบริการ ตามแผนการดูแลที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการLTC
ที่มาของแหล่งข้อมูล ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติส่วนกลางและเขต รวมทั้งหน่วยงานในกระทรวง
สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง โดยมีการรายงานข้อมูลในระบบและรูปแบบเดียวกัน และไม่เป็นภาระในการรายงานข้อมูลมาก
เกินไป
2. การติดตามผลงานตามตัวชี้วัด (ที่ผ่านคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ) ได้แก่
2.1 ตัวชี้วัด (KPI) ด้านกระบวนการการด�ำเนินงานในพื้นที่
1) KPI หรือบทบาทของหน่วยบริการปฐมภูมิ
1.1) มีระบบบริการ LTC ภายในหน่วยบริการ
1.2) มีทีมหมอครอบครัวให้บริการ LTC เชิงรุกในพื้นที่รับผิดชอบ
1.3) มีการให้การสนับสนุนและติดตามประเมินการบริการ LTC ของ อปท.
2) KPI หรือบทบาทของ อปท.ในการจัดบริการ LTC
2.1) มีการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ อปท.ในระดับดีอย่างต่อเนื่อง
2.2) มีการจัดตั้งและจัดบริการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน
2.3) มีการท�ำงานและพัฒนาระบบบริการร่วมกับหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่
2.4) มีข้อมูล มีแผนการบริการ LTC ของกลุ่มเป้าหมายเป็ น รายบุ ค คลและมี ก ารจั ด บริ ก ารเชิงรุก
ตามชุดสิทธิประโยชน์
2.2 ตัวชี้วัด (KPI) ด้านผลผลิตในภาพรวม
1) ร้อยละของผู้สูงอายุที่เข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 21


3. การติดตามก�ำกับโดยคณะท�ำงานก�ำกับติดตามประเมินผล ปี 2559
ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแต่งตั้งคณะท�ำงานก�ำกับติดตามประเมินผลขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
ผู้แทนจากกระทรวงสาธาณสุข ผู้แทนจากส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนจา
กอปท. เพื่อก�ำหนดแนวทางการติดตามก�ำกับประเมินผลการด�ำเนินงานดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงใน
พื้นที่เป้าหมายในปี 2559 ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่อง
LTC ปี 2559 อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และรายงานต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยจะมีการ
ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการด�ำเนินงานในทุกเขตพื้นที่ในช่วงครึ่งปีหลังของปีงบประมาณ 2559
4. การวิจัยประเมินผลโดยองค์กรภายนอก
เป็นการวิจัยประเมิ น ผลการด�ำเนินงานโดยองค์กรภายนอกที่เน้นการประเมินระบบการดูแลระยะยาวฯใน
ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในปี 2559-2560 โดยพิจารณาในด้านการวางรูปแบบแนวทางระบบศักยภาพของ
อปท.ในการด�ำเนินงานตามระบบ การเกิดบริการใหม่ส�ำหรับผู้สูงอายุและการหนุนช่วยของระบบบริการในพื้นที่ รวมถึง
การจัดการและการสนับสนุนด้านการเงินและต้นทุนที่เหมาะสมของระบบการดูแลระยะยาวฯที่วางไว้
ในปี 2559 ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้สนับสนุนให้สถาบันวิจยั ระบบสาธารณสุข (สวรส.) ท�ำการ
วิจัยประเมินผลดังกล่าว โดยจะเริ่มด�ำเนินการในเดือนมิถุนายน 2559

22 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหาร
จัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๕๗
__________________

โดยที่ เป็ น การสมควรปรับ ปรุง หลั ก เกณฑ์ เพื่ อ ให้ อ งค์ ก ารบริ ห ารส่ วนต าบล เทศบาล
หรื อ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น รู ป แบบอื่ น เป็ น ผู้ ด าเนิ น งานและบริ ห ารจั ด การกองทุ น
หลั ก ประกั น สุ ข ภาพในระดั บ ท้ อ งถิ่ น หรื อ พื้ น ที่ ให้ มี ค วามเหมาะสม เกิ ด ประสิ ท ธิภ าพในการ
ดาเนินงานมากยิ่งขึ้น
ฉะนั้น อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๑๘(๔) (๘) และ(๙) ประกอบมาตรา ๒๐ และ
มาตรา ๔๗ แห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ ห ลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ พ .ศ. ๒๕๔๕ คณะกรรมการ
หลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ ได้ มี ม ติ ในการประชุ ม ครั้ง ที่ ๑๑/๒๕๕๖ เมื่ อ วั น ที่ ๗ ตุ ล าคม
๒๕๕๖ และมติ ในการประชุ ม ครั้ ง ที่ ๓ เมื่ อ วั น ที่ ๑๙ กุ ม ภาพั น ธ์ ๒๕๕๗ ให้ อ อกประกาศไว้

ภาคผนวก ก.
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกาหนด
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตาบลหรือเทศบาล ดาเนินงานและบริหารจัดการ
กองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพในระดั บ ท้ อ งถิ่ น หรื อ พื้ น ที่ พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวั น ที่ ๒๙ กั น ยายน
๒๕๕๒
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตาบล ตามกฎหมาย
ว่า ด้ ว ยสภาต าบลและองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต าบล เทศบาลตามกฎหมายว่า ด้ ว ยเทศบาล หรื อ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง ที่ได้รับการสนับสนุนให้ดาเนินงานและ
บริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
“กองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพ” หมายความว่ า กองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพในระดั บ
ท้ อ งถิ่ น หรือ พื้ น ที่ เพื่ อ การสร้า งเสริม สุ ข ภาพ การป้ อ งกั น โรค การฟื้ น ฟู ส มรรถภาพ และการ
รักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ที่จาเป็นต่อสุขภาพและการดารงชีวิต
“คณะกรรมการกองทุน ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพใน
ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
“การจัด บริก ารสาธารณสุข ” หมายความว่า การจัดบริการสร้างเสริมสุข ภาพ ป้ องกั น
โรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิ เชิงรุก ตามที่คณะอนุกรรมการส่งเสริม
สุขภาพและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลั -๒-
กประกันสุขภาพแห่งชาติและสานักงานกาหนด

“สถานบริก าร” หมายความว่า สถานบริก ารสาธารณสุ ขของรัฐ ของเอกชน และของ


C:\Users\USER\AppData\Local\Packages\microsoft.windowscommunicationsapps_8wekyb3d8bbwe\LocalState\LiveComm\9bf756d7e50474f6\120712-0049\Att\200123f9\570219_ประกาศกองทุ นท้ องถิ่น-พศ2557_ฉบับลงนาม_ส่งราชกิจจา(14มีค57).docx

สภากาชาดไทย หน่วยบริการการประกอบโรคศิลปะสาขาต่างๆ และสถานบริการสาธารณสุขอื่น


ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกาหนดเพิ่มเติม
“หน่ ว ยบริก าร” หมายความว่า สถานบริก ารที่ ไ ด้ ขึ้ น ทะเบี ย นไว้ต ามพระราชบั ญ ญั ติ
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
“หน่ ว ยงานสาธารณสุ ข ” หมายความว่ า หน่ ว ยงานที่ มี ภ ารกิ จ ด้ า นการสาธารณสุ ข
โดยตรง แต่ มิ ไ ด้ เป็ น สถานบริ ก ารหรื อ หน่ ว ยบริ ก าร เช่ น ส านั ก งานสาธารณสุ ข อ าเภอ กอง
สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ส่วนสาธารณสุข เป็นต้น
“หน่ วยงานอื่น ” หมายความว่า หน่วยงานที่ มิได้ มีภ ารกิจ ด้านการสาธารณสุขโดยตรง
แต่อาจดาเนินกิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพหรือการป้องกันโรคได้ในขอบเขตหนึ่ง เช่น โรงเรียน
สถาบันการศึกษา วัด เป็นต้น
“กลุ่ ม หรื อ องค์ ก รประชาชน ” หมายความว่ า องค์ ก รชุ ม ชน องค์ ก รเอกชน หรื อ
ภาคเอกชน ที่มีก ารรวมตัวกันเป็นกลุ่ ม ชมรม สมาคม มูลนิ ธิ หรือองค์กรที่เรียกชื่ ออื่น ตั้งแต่ ๕
คนขึ้นไป ซึ่งเป็นการรวมตัวกันดาเนินกิจกรรมโดยมีวัตถุประสงค์ไม่แสวงหาผลกาไร ทั้งนี้ จะเป็น
นิติบุคคลหรือไม่ก็ได้
“สานักงาน” หมายความว่า สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ข้อ ๓ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ได้รับการสนับสนุนให้ดาเนินงานและบริหารจัดการ
กองทุนหลักประกันสุขภาพ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(๑) มีความประสงค์เข้าร่วมบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(๒) มีการดาเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่มาก่อนแล้ว และมีการ
จัดทาแผนและดาเนินการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆ ในพื้นที่
(๓) มีความพร้อมในการอุดหนุนเงินหรืองบประมาณตามอัตราส่วนที่กาหนด
ข้ อ ๔ ให้ อ งค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น เป็ น ผู้ ด าเนิ น งานและบริ ห ารจั ด การกองทุ น
หลั ก ประกั น สุ ข ภาพภายใต้ ค วามเห็ น ชอบของคณะกรรมการกองทุ น ทั้ ง นี้ ต ามหลั ก เกณฑ์ ใน
ประกาศนี้และมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพมี
วัต ถุป ระสงค์ เพื่ อสนับ สนุน และส่งเสริมการจั ดบริก ารสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถาน
บริก าร หรือ หน่ วยงานสาธารณสุ ข หรือ หน่ วยงานอื่ น หรือ สนั บ สนุ น และส่ ง เสริ ม ให้ ก ลุ่ ม หรื อ
องค์ กรประชาชนดาเนิ นกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้ นที่ เพื่ อให้ กลุ่ม แม่และเด็ก กลุ่มผู้ สูงอายุ
กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถ
เข้ าถึ งบริก ารสาธารณสุ ข ได้ อ ย่างทั่ วถึ งและมี ป ระสิ ท ธิภ าพ มากขึ้ น โดยส่ ง เสริม กระบวนการมี
ส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 23


C:\Users\USER\AppData\Local\Packages\microsoft.windowscommunicationsapps_8wekyb3d8bbwe\LocalState\LiveComm\9bf756d7e50474f6\120712-0049\Att\200123f9\570219_ประกาศกองทุ นท้ องถิ่น-พศ2557_ฉบับลงนาม_ส่งราชกิจจา(14มีค57).docx
-๓-
ข้อ ๕ เงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ประกอบด้วย
(๑) เงินที่ ได้รับ จัดสรรแต่ละปี จากกองทุ นหลั กประกันสุขภาพแห่งชาติในส่วนของการ
สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกาหนด และ
สาหรับปีงบประมาณ ๒๕๕๗ ได้รับการจัดสรรเป็นเงิน ๔๕ บาทต่อประชาชนในพื้นที่หนึ่งคน
(๒) เงิ น สมทบจากเงิน อุ ด หนุ น หรือ งบประมาณที่ ได้ รับ จากองค์ ก ารบริ ห ารส่ วนต าบล
หรือเทศบาลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ
(๓) เงินสมทบจากชุมชนหรือกองทุนชุมชนอื่น
(๔) รายได้อื่นๆหรือทรัพย์สินที่ได้รับมาในกิจการของกองทุนหลักประกันสุขภาพ
ข้ อ ๖ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ตกลงสมทบเงิ น เข้ า กองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพ
ไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละของเงินที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดังนี้
(๑) องค์การบริหารส่วนตาบลขนาดเล็ก สมทบเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐
(๒) องค์การบริหารส่วนตาบลขนาดกลาง สมทบเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔๐
(๓) องค์การบริหารส่วนตาบลขนาดใหญ่หรือเทศบาลตาบล สมทบเงิน
ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐
(๔) เทศบาลเมืองหรือเทศบาลนครหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น สมทบ
เงินไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐
เฉพาะปี งบประมาณ ๒๕๕๗ องค์ กรปกครองส่วนท้ องถิ่น ตกลงสมทบเงินเข้ากองทุ น
หลักประกันสุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละของเงินสมทบตามหลักเกณฑ์ที่ใช้ในปีงบประมาณ ๒๕๕๖
ข้อ ๗ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่าย
ตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ดังนี้
(๑) เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข ของหน่วยบริการ หรือสถาน
บริก าร หรือหน่วยงานสาธารณสุ ข ในพื้ น ที่ โดยเน้ น เรื่องการสร้างเสริม สุข ภาพ การป้ องกัน โรค
การฟื้ น ฟู สมรรถภาพ และการรัก ษาพยาบาลระดั บปฐมภู มิ เชิงรุก ที่ จ าเป็ น ต่อ สุข ภาพและการ
ดารงชีวิต เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง
และกลุ่ ม ผู้ ป่ ว ยโรคเรื้อ รัง ที่ อ ยู่ ในพื้ น ที่ สามารถเข้ า ถึ ง บริก ารสาธารณสุ ข ได้ อ ย่ า งทั่ ว ถึ ง และมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น
(๒) เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ ได้ดาเนินงาน
ตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ให้แก่สมาชิก
หรื อ ประชาชนในพื้ น ที่ และกรณี มี ค วามจ าเป็ น ต้ อ งจั ด ซื้ อ วั ส ดุ ที่ มี ลั ก ษณะเป็ น ครุ ภั ณ ฑ์ ให้
สนั บ สนุ น ได้ ในวงเงิน ไม่ เกิ น ๕,๐๐๐ บาทต่ อ โครงการ วัส ดุ ที่มี ลั ก ษณะเป็ น ครุภั ณ ฑ์ ที่จั ด หาได้
ให้อยู่ในความดูแลและบารุงรักษาของกลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่น ที่ได้รับการ
สนับสนุนนั้นๆ -๔-
(๓) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริม กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟู
สมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ของศูนย์เด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดาเนิน
C:\Users\USER\AppData\Local\Packages\microsoft.windowscommunicationsapps_8wekyb3d8bbwe\LocalState\LiveComm\9bf756d7e50474f6\120712-0049\Att\200123f9\570219_ประกาศกองทุ นท้ องถิ่น-พศ2557_ฉบับลงนาม_ส่งราชกิจจา(14มีค57).docx

กิ จ กรรมเกี่ ยวกั บ การพั ฒ นาและดู แ ลเด็ ก เล็ ก ในชุ ม ชน หรือ ศู น ย์พั ฒ นาและฟื้ น ฟู คุ ณ ภาพชี วิต
ผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดาเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิต
ผู้สู งอายุและคนพิ การในชุม ชน ตามหลั ก เกณฑ์ ที่ส านั ก งานก าหนด เป็ น เงิน ไม่ น้ อ ยกว่า ร้อ ยละ
๑๕ ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณนั้น
(๔) เพื่ อ สนั บ สนุ น ค่ าใช้ จ่ ายในการบริห ารหรือ พั ฒ นากองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพให้ มี
ประสิทธิภ าพ ทั้งนี้ต้ องไม่เกิน ร้อยละ ๑๕ ของเงิน รายรับของกองทุ นหลักประกัน สุขภาพในแต่
ละปีงบประมาณนั้ น และในกรณีที่มีความจาเป็ นต้ องใช้จ่ายเพื่ อซื้ อครุภัณ ฑ์ที่เกี่ยวข้ องโดยตรง
ครุภัณฑ์นั้นจะต้องมีราคาไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาทต่อหน่วย โดยการจัดซื้อจัดจ้างให้ใช้ระเบียบของ
องค์ ก รปกครองส่ ว น ท้ อ งถิ่ น โดยอนุ โ ลม และครุ ภั ณ ฑ์ ที่ จั ด หาได้ ให้ อ ยู่ ใ นความดู แ ลและ
บารุงรักษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ
(๕) กรณีเกิด โรคระบาดหรือภัยพิบั ติในพื้ นที่ ให้ คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมั ติ
จ่ายเงิน กองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ได้
ตามความจาเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้
ข้อ ๘ ให้มีคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในแต่ละท้องถิ่นหรือพื้นที่
ประกอบด้วย
(๑) ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นประธานกรรมการ
(๒) ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ จานวน ๒ คน เป็นรองประธานกรรมการ
(๓) สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกรรมการ
ที่สภามอบหมายจานวน ๒ คน
(๔) หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ เป็นกรรมการ
(๕) อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้านในพื้นที่ เป็นกรรมการ
ที่คัดเลือกกันเอง จานวน ๒ คน
(๖) ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชนที่ประชาชนในหมู่บ้าน เป็นกรรมการ
หรือชุมชนคัดเลือกกันเอง จานวนไม่เกิน ๕ คน
(๗) ผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน เป็นกรรมการ
หรือหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอิสระในพื้นที่
จานวน ๑ คน (ถ้ามี)
(๘) ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกรรมการและเลขานุการ
หรือเจ้าหน้าที่อื่นที่ผู้บริหารสูงสุดของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมาย

24 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้
-๕- านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
C:\Users\USER\AppData\Local\Packages\microsoft.windowscommunicationsapps_8wekyb3d8bbwe\LocalState\LiveComm\9bf756d7e50474f6\120712-0049\Att\200123f9\570219_ประกาศกองทุ นท้ องถิ่น-พศ2557_ฉบับลงนาม_ส่งราชกิจจา(14มีค57).docx
(๙) ผู้อานวยการหรือหัวหน้ากองสาธารณสุข เป็นกรรมการและผูช ้ ่วยเลขานุการ
และสิ่งแวดล้อมหรือส่วนสาธารณสุข
หรือที่เรียกชื่ออื่นขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่อื่นที่ผู้บริหาร
สูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมาย
ให้ ส า ธ า ร ณ สุ ข อ าเภ อ แ ล ะ ผู้ อ า น า ย ก าร โร งพ ย า บ า ล ใน พื้ น ที่ เป็ น ที่ ป รึ ก ษ า
คณะกรรมการกองทุน
การคั ด เลื อ กกรรมการตาม (๕) และ (๖) ให้ อ งค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น จั ด ประชุ ม
เพื่อให้บุคคลในแต่ละกลุ่มได้คัดเลือกกันเองอย่างเปิดเผยและมีส่วนร่วมของประชาชนที่เกี่ยวข้อง
ในพื้นที่ ตามหลักเกณฑ์ที่สานักงานกาหนด
กรณี ในพื้นที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีหน่วยบริการปฐมภูมิมากกว่า ๒ แห่ง
ให้นาหลักเกณฑ์ที่กาหนดตามวรรคสองมาบังคับใช้คัดเลือกหัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่
จานวน ๒ คน เป็นกรรมการ
ให้ ก รรมการตาม(๑) และ(๓)-(๙) ประชุ ม คั ด เลื อ กกรรมการตาม(๒) จ านวน ๒ คน
จากผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ โดยให้คนหนึ่งเป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง และอีกคนหนึ่งเป็น
รองประธานกรรมการคนที่สอง
ให้ อ งค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น แจ้ ง รายชื่ อ ผู้ ไ ด้ รับ การคั ด เลื อ กเป็ น กรรมการพร้ อ ม
บันทึกรายงานการประชุมคัดเลือก ให้สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสานักงานเขต
ออกคาสั่งแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการกองทุนต่อไป
ข้อ ๙ ให้กรรมการในคณะกรรมการกองทุนที่มาจากการคัดเลือก มีวาระอยู่ในตาแหน่ง
คราวละ ๔ ปี
เมื่ อ กรรมการในวรรคหนึ่ ง อยู่ ใ นต าแหน่ ง ครบวาระ ๔ ปี แ ล้ ว ยั ง มิ ไ ด้ มี ก ารแต่ ง ตั้ ง
กรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการที่ครบวาระนั้น อยู่ในตาแหน่งต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับการ
แต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกสิบวัน
ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่ ง พ้ นจากตาแหน่งก่ อนครบวาระ ให้ มีก ารดาเนิ นการ
คัดเลือกกรรมการประเภทเดียวกันแทน และให้ผู้ได้รับการคัดเลือกอยู่ในตาแหน่งเท่ากับวาระที่
เหลือของกรรมการซึ่งตนแทน
ในกรณี ที่ ป ระธานกรรมการตามข้ อ ๘ วรรคหนึ่ ง (๑) มี แ ต่ ไ ม่ อ าจปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ไ ด้
ให้รองประธานกรรมการ ทาหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้ตามลาดับ แต่กรณีที่ประธานกรรมการ
ตามข้อ ๘ วรรคหนึ่ง (๑) ไม่มีหรือพ้นจากตาแหน่ง ให้ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติ
หน้าที่แทนผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการ
แทน
ข้ อ ๑๐ กรรมการที่ ม าจากการคั ด เลื อ กตามข้ อ ๘ วรรคหนึ่ ง (๒)(๔)(๕)(๖)และ(๗)
นอกจากการพ้นจากตาแหน่งตามวาระแล้ว ให้พ้นจากต -๖- าแหน่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
C:\Users\USER\AppData\Local\Packages\microsoft.windowscommunicationsapps_8wekyb3d8bbwe\LocalState\LiveComm\9bf756d7e50474f6\120712-0049\Att\200123f9\570219_ประกาศกองทุ นท้ องถิ่น-พศ2557_ฉบับลงนาม_ส่งราชกิจจา(14มีค57).docx

(๓) ย้ายไปดารงตาแหน่งหรือไปประกอบวิชาชีพหรืออาชีพในท้องถิ่นหรือพื้นที่อื่น
(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๖) ได้รับโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่โทษสาหรับความผิด
ที่ได้กระทาโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ข้อ ๑๑ คณะกรรมการกองทุนมีอานาจหน้าที่ ดังนี้
(๑) พิ จ ารณาอนุ มั ติ แ ผนงาน หรือ โครงการ หรือ กิ จ กรรม ให้ เป็ น ไปตามวัต ถุ ป ระสงค์
ของกองทุน
กรณีก รรมการผู้ ใดในคณะกรรมการกองทุ น เป็ นผู้ เสนอและดาเนิน การแผนงาน หรือ
โครงการ หรือ กิ จ กรรม ให้ ก รรมการผู้ นั้ น มี สิ ทธิชี้แ จงต่ อ ที่ ป ระชุ ม แต่ไม่ มี สิ ทธิอ อกเสี ยงอนุ มั ติ
แผนงาน หรือโครงการ หรือกิจรรมนั้น
(๒) ออกระเบี ยบที่ จาเป็ นเพื่ อประสิทธิภ าพในการบริหารกองทุ น และระเบียบว่าด้วย
ค่ า ตอบแทนของอนุ ก รรมการหรื อ คณะท างาน หรือ ผู้ ด าเนิ น งาน ทั้ ง นี้ ต้ อ งไม่ ขั ด หรื อ แย้ ง กั บ
ประกาศนี้ และไม่ เกิ น กว่าอั ต ราหรือ หลั ก เกณฑ์ ที่ค ณะกรรมการหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ งชาติ
กาหนด
(๓) ควบคุมและกากับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทาบัญชี
เงิน หรือทรัพ ย์สิน ในกองทุ นหลักประกัน สุขภาพขององค์กรปกครองส่ วนท้อ งถิ่น ให้ เป็น ไปตาม
หลักเกณฑ์ทค ี่ ณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกาหนด
(๔) ก ากั บ ดู แ ลให้ ห น่ วยงาน หรือ กลุ่ ม หรือ องค์ ก รผู้ ที่ได้ รับ อนุ มั ติ ต ามข้ อ ๗ ให้ เป็ น ไป
ตามแผนงาน โครงการที่ ค ณะกรรมการกองทุ น อนุ มั ติ และ ตามหลั ก เกณฑ์ ที่ ค ณะกรรมการ
หลักประกันสุขภาพกาหนด
(๕ ) สนั บ สนุ น ให้ ป ระ ช าช น ก ลุ่ ม เป้ าห ม ายต่ างๆ ใน พื้ น ที่ สาม ารถ เข้ าถึ งบ ริ ก าร
สาธารณสุขทั้งที่บ้าน ในชุมชน หรือหน่วยบริการ ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
(๖) ให้ ค าแนะน าในการจัด ท าข้ อ มู ล และแผนด าเนิ น งานที่ เกี่ ยวกั บ ปั ญ หาสาธารณสุ ข
ของกลุ่มเป้าหมาย หน่วยบริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๗) พิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทาสรุปผลการดาเนินงาน รายงานการรับจ่ายและ
เงิ น คงเหลื อ ของกองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพ เมื่ อ สิ้ น ปี ง บประมาณ ให้ ส านั ก งานสาขาจั ง หวั ด
สานั ก งานเขต ส านั ก งานหลัก ประกัน สุ ข ภาพแห่ งชาติ และส านั ก งานตรวจเงิน แผ่ น ดิ น ภายใน
เดือนธันวาคมของทุกปี
คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรั-๗-
บผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 25
C:\Users\USER\AppData\Local\Packages\microsoft.windowscommunicationsapps_8wekyb3d8bbwe\LocalState\LiveComm\9bf756d7e50474f6\120712-0049\Att\200123f9\570219_ประกาศกองทุ นท้ องถิ่น-พศ2557_ฉบับลงนาม_ส่งราชกิจจา(14มีค57).docx
(๘) แต่งตั้งคณะอนุ กรรมการหรือคณะทางาน เพื่อ ดาเนิ นงานที่ เกี่ยวข้องได้ ตามความ
จาเป็ น และให้ อ นุ ก รรมการหรือ คณะทางานที่ ได้ รับ แต่ งตั้ ง ได้ รับ ค่ าตอบแทนการประชุ ม หรือ
ค่าใช้จ่ายอื่นที่จาเป็นในการดาเนินงาน ตามระเบียบของคณะกรรมการกองทุน
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกาหนดตาม (๒) (๓) และ
(๔) ให้เป็นไปตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๒ เพื่อให้กองทุนหลักประกันสุขภาพมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีการดาเนินงาน
ที่ มี ป ระสิ ท ธิภ าพมากยิ่ ง ขึ้ น ให้ ส านั ก งานเขตประสานกั บ ส านั ก งานสาขาจั ง หวั ด และท้ อ งถิ่ น
จังหวัดในการติดตามกากับและประเมินผลการดาเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพในพื้นที่
ที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่องและรายงานให้สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทราบ
ข้อ ๑๓ กองทุนหลักประกันสุขภาพใด ที่ไม่มีเงินสมทบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หรือ ไม่ มี ก ารด าเนิ น กิ จ กรรมใดๆ ต่ อ เนื่ อ งตั้ ง แต่ ๒ ปี ขึ้ น ไป ให้ ส านั ก งานหลั ก ประกั น สุ ข ภาพ
แห่ งชาติ ประกาศยุบ เลิ ก กองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพนั้ น ได้ และให้ โอนเงิน หรือ ทรัพ ย์สิ น ของ
กองทุนหลักประกันสุขภาพดังกล่าวเป็นของหน่วยบริการปฐมภูมิของรัฐในพื้นที่นั้น ตามวิธีการที่
สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกาหนด
ข้อ ๑๔ ให้ เลขาธิการสานั กงานหลักประกั นสุขภาพแห่งชาติ รักษาการตามประกาศนี้
และให้ มี อ านาจออกระเบี ย บ ประกาศ หลั ก เกณฑ์ หรือ แนวทางปฏิ บั ติ ที่ ไ ม่ ขั ด ต่ อ ประกาศนี้
รวมทั้งให้มีอานาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้
ข้อ ๑๕ ให้เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ คณะกรรมการ กฎ และการดาเนินงานต่างๆ
ตามประกาศคณะกรรมการหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ เรื่ อ งการก าหนดหลั ก เกณฑ์ เพื่ อ
สนั บ สนุ น ให้ อ งค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต าบลหรื อ เทศบาล ด าเนิ น งานและบริ ห ารจั ด การกองทุ น
หลักประกัน สุขภาพในระดับ ท้องถิ่นหรือพื้ นที่ พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๙ กัน ยายน ๒๕๕๒ เป็ น
เงิ น ในกองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพ เป็ น คณะกรรมการกองทุ น กฎ และเป็ น การด าเนิ น งาน
ต่อเนื่อง ตามประกาศนี้
ให้กรรมการในคณะกรรมการกองทุนตามวรรคหนึ่ง หรือกรรมการที่ได้รับการคัดเลือก
ตามประกาศนี้แ ทนกรรมการตามวรรคหนึ่ ง มีวาระอยู่ในตาแหน่ งต่ อไปถึ งวันที่ ๓๐ กัน ยายน
๒๕๕๗
ให้ อ งค์ ก รปกครองส่ วนท้ อ งถิ่ น เตรีย มการและจั ด ประชุ ม เพื่ อ คั ด เลื อ กกรรมการตาม
ข้อ ๘ เพื่อให้พร้อมปฏิบัติหน้าที่ได้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้ อ ๑๖ การด าเนิ น งานใดตามประกาศนี้ หากยั ง ไม่ มี กฎ ระเบี ย บ ประกาศ หรื อ
หลั ก เกณฑ์ ที่ จ ะก าหนดขึ้ น ตามประกาศนี้ ให้ ใช้ กฎ ระเบี ย บ ประกาศ หรื อ หลั ก เกณฑ์ ข อง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบังคับใช้โดยอนุโลม
-๘-
ข้อ ๑๗ ประกาศนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
C:\Users\USER\AppData\Local\Packages\microsoft.windowscommunicationsapps_8wekyb3d8bbwe\LocalState\LiveComm\9bf756d7e50474f6\120712-0049\Att\200123f9\570219_ประกาศกองทุ นท้ องถิ่น-พศ2557_ฉบับลงนาม_ส่งราชกิจจา(14มีค57).docx

ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

( นายประดิษฐ สินธวณรงค์ )
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

26 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


เอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหาร
จัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๕๗
ลงวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
เรื่อง หลักเกณฑ์ การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงิน การจัดทาบัญชีและรายงาน

ส่วนที่ ๑
การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงิน การจัดทาบัญชีและรายงาน
ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ

๑. การรับเงินและการเก็บรักษาเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ
๑.๑ บรรดาเงิน รายรับ เข้ ากองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพ ให้ น าส่ งเข้ าบั ญ ชี ก องทุ น
หลักประกันสุขภาพ หรือบัญชีระบบหลักประกันสุขภาพ ที่เปิดบัญชี โดยแยกเป็นบัญชีเฉพาะกับ
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ประเภทบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ โดยใช้
ชื่อบัญชีว่า “กองทุนหลักประกันสุขภาพ (.............ชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) หรือ “ระบบ
กองทุนหลักประกันสุขภาพ (......ชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น........) อาเภอ................จังหวัด
................” แยกจากบั ญ ชี ข ององค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น โดยทั่ ว ไป ทั้ ง นี้ บั ญ ชี เงิ น ฝากซึ่ ง
คณะกรรมการกองทุ น ได้ เปิ ด ไว้ แ ล้ ว ก่ อ นประกาศนี้ ใช้ บั งคั บ ให้ ถื อ ว่ าเป็ น บั ญ ชี เงิ น ฝากตาม
เอกสารแนบท้ายประกาศนี้
๑.๒ การรับเงินเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพให้รับเป็น เงินสด เช็ค ตั๋วแลกเงิน หรือ
ธนาณั ติ ก็ ได้ และ ให้ อ อกใบเสร็จ รับ เงิ น ในนามของกองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพ ตามแบบที่
สานักงานหลักประกันสุขภาพกาหนด ให้แก่ผู้ชาระเงินทุกครั้ง เว้นแต่การรับเงินที่ได้รับการจัดสรร
แต่ละปีจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
กาหนด โดยให้ใช้หลักฐานการโอนเงิน ผ่านทางธนาคารเป็นหลักฐานอ้างอิงในการบั นทึกบั ญ ชี
รายรับ
๑.๓ เงินสดที่กองทุนหลักประกันสุขภาพได้รับไว้ ให้นาฝากเข้าบัญชีตาม ๑.๑ ภายใน
วันที่ได้รับเงิน หากไม่สามารถนาเงินดังกล่าวฝากเข้าบัญชีได้ทัน ให้พนักงานส่วนท้องถิ่นที่ผู้บริหาร
สู ง สุ ด มอบหมาย น าเงิ น สดจ านวนดั ง กล่ า วเก็ บ รวมไว้ ในซองหรื อ หี บ ห่ อ ระบุ เงิ น กองทุ น
หลักประกันสุขภาพ จานวนเงิน ปิดผนึก ลงลายมือชื่อผู้รับผิดชอบ และนาฝากไว้ที่ตู้นิรภัยหรือ
สถานที่เก็บรักษาเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วให้นาฝากเข้าบัญชีในวันทาการถัดไป
๑.๔ การสมทบเงินจากองค์การบริหารส่วนตาบลหรือเทศบาลหรือองค์กรปกครอง
-๒-
ส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ให้ดาเนินการโดยเร็วเมื่อเริ่มต้นปีงบประมาณ กรณี
มีความจาเป็น ให้สมทบได้ ไม่เกินปีงบประมาณที่ สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จ่ายเงิน
สนับสนุน
/๒.การจ่าย...
คู่มือ สนั๒.บสนุการจ่
นการบริา ยเงิดการระบบบริ
หารจั นกองทุนการดู
หลัแลระยะยาวด้ สุขภาพข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 27
กประกันานสาธารณสุ
/๒.การจ่าย...
๒. การจ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ
๒.๑ ให้ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสั่งจ่ายเงินกองทุนหลักประกัน
สุ ข ภาพตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องกองทุ น ทั้ ง นี้ ภ ายใต้ แ ผนงานหรื อ โครงการหรื อ กิ จ กรรมที่
คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ
๒.๒ วิธีการจ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้จ่ายได้ ดังนี้
(๑) จ่ายเป็นเช็คขีดคร่อมหรือตั๋วแลกเงินหรือธนาณัติ
(๒) จ่ายทางธนาคารหรือทางอื่นตามที่คณะกรรมการกองทุนกาหนด
(๓) กรณีที่มีความจาเป็นต้องจ่ายเป็นเงินสด ให้จ่ายได้ไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท (ห้า
พันบาท) โดยให้พนักงานส่วนท้องถิ่นที่ผู้บริหารสูงสุดมอบหมายเป็นผู้ทาการเบิกจ่าย หรือออกเช็ค
สั่งจ่ายในนามของพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ได้รับมอบหมาย โดยขีดฆ่าคาว่า “หรือตามคาสั่ง” “หรือ
ผู้ถือ”ออก และจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินในวันเดียวกัน หรือภายในวันทาการถัดไป
๒.๓ ให้ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือปลัดองค์กรปกครองส่วน
ท้ อ งถิ่ น คนใดคนหนึ่ ง ลงนามร่ ว มกั บ พนั ก งานส่ ว นท้ อ งถิ่ น คนใดคนหนึ่ ง ที่ ผู้ บ ริ ห ารสู ง สุ ด
มอบหมายไว้จานวน ๒ คน รวมเป็นผู้ลงนาม ๒ คน เป็นผู้เบิกเงินจากบัญชีกองทุนหลักประกัน
สุขภาพตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุน
๒.๔ การจ่ายให้ผู้มีสิทธิรับเงินที่เป็นหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข
หรื อ หน่ ว ยงานอื่ น ให้ หั วหน้ า ของหน่ ว ยบริ ก าร สถานบริ ก าร หน่ ว ยงานสาธารณสุ ข หรื อ
หน่วยงานอื่นนั้นเป็นผู้รับเงิน หากไม่สามารถมารับเงินได้ด้วยตนเอง จะมอบอานาจให้ผู้อื่นเป็น
ผู้รับเงินแทน ก็ให้กระทาได้ ทั้งนี้ ต้องมีหนังสือมอบอานาจที่ชัดเจน
๒.๕ การจ่ ายให้ ผู้ มี สิท ธิรับ เงิน ที่ เป็ น กลุ่ม หรือองค์ กรประชาชน ให้ ผู้ แ ทนที่ ได้ รั บ
มอบหมายจากกลุ่มหรือองค์กรประชาชน ไม่น้อยกว่า ๒ คนขึ้นไปเป็นผู้รับเงิน
๒.๖ การจ่ า ยเงิ น กองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพ ต้ อ งมี ห ลั ก ฐานการจ่ า ยเป็ น
ใบเสร็จรับเงิน ใบสาคัญรับเงินตามแบบที่สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกาหนด หรือ
หลักฐานการนาเงินเข้าบัญชีเงินฝากที่ธนาคารของผู้มีสิทธิรับเงินหรือหลักฐานการรับเงินอย่างอื่น
ตามที่คณะกรรมการกองทุนกาหนด เพื่อเก็บไว้ให้ตรวจสอบ
๓. การจัดทาบัญชีและรายงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพ
๓.๑ การบันทึกบัญชี ให้บันทึกตามระบบบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ให้
-๓-
แยกระบบบัญชีกองทุนหลักประกันสุขภาพออกจากระบบบั ญชีปกติเป็นอีกชุดหนึ่งต่างหาก
๓.๒ รอบระยะเวลาบัญชี ให้ถือตามปีงบประมาณและ การเริ่มระบบบัญชีให้เริ่ม ณ
วันที่ได้รับเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือได้รับเงินจากองค์ กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น
C:\Users\USER\AppData\Local\Packages\microsoft.windowscommunicationsapps_8wekyb3d8bbwe\LocalState\LiveComm\9bf756d7e50474f6\120712-0049\Att\200123f9\570219_
ประกาศกองทุนท้ องถิ่น-พศ2557_แนบท้ าย_ส่งราชกิจจา(20มีค57) (6).docx

28 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


/๓.๓ ให้องค์กร...
๓.๓ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจั ดทาสรุปผลการดาเนินงาน รายงานการรั /๓.๓ ให้องค์บกจ่ร... าย
และเงินคงเหลื ๓.๓อประจให้องค์ าเดืกรปกครองส่
อน ด้วยระบบอิ วนท้เอลคโทรนิงถิ่นจั ดทคาสรุ ปผลการด
สารสนเทศ หรืาเนิ
อระบบอืนงาน ่นรายงานการรั
และจัดส่งสรุบปจ่ผล าย
และเงิ
การดาเนิ นคงเหลื นงานอประจ รายงานการรั าเดือน ด้บวจ่ยระบบอิ ายและเงิเนลคโทรนิ คงเหลือคของกองทุ
สารสนเทศนหลั หรือกระบบอื
ประกัน่นสุขและจั ภาพทีด่ส่ผง่าสรุ ปผล
นความ
การด าเนินงาน รายงานการรับจ่ายและเงิ
เห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุ นแล้ว ให้นคงเหลื สานักงานหลั อของกองทุกประกั นหลั
นสุกขประกัภาพแห่ นสุงขชาติ
ภาพที ่ผ่านความ
สาขาเขต ทุก
เห็
ไตรมาสนชอบจากคณะกรรมการกองทุ
โดยให้จัดส่งภายใน ๓๐ วันนแล้นับว จากวั ให้ สานั นสิก้นงานหลั
ไตรมาส กประกั
ตามรูนปสุแบบที
ขภาพแห่ ่สานังชาติ
กงานหลั สาขาเขตกประกัทุนก
ไตรมาส
สุขภาพแห่โดยให้ งชาติจกัดาหนดส่งภายใน ๓๐ วันนับจากวันสิ้นไตรมาส ตามรูปแบบที่สานักงานหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ และทุกาหนดกสิ้นปีงบประมาณให้สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาเขต สาเนาส่ง
ให้สานักงานหลั และทุกประกั
กสิ้นปีนงบประมาณให้สุขภาพแห่งชาติ สานักสงานหลั
านักงานหลั กประกั นสุขภาพแห่
กประกั นสุขภาพแห่ งชาติสงาขาเขต
ชาติ สาขาจั สาเนาส่
งหวัดง
ให้
สานัสานั กงานหลั
กงานส่ งเสริมกการปกครองท้
ประกันสุขภาพแห่ องถิ่นงจัชาติ งหวัดสานัและส กงานหลั กประกันสุขภาพแห่
านักงานการตรวจเงิ นแผ่นงดิชาติ
นจังสหวั าขาจั งหวัด
ด ภายใน
สเดืานัอนธักงานส่ งเสริมการปกครองท้
นวาคมของทุ กปี องถิ่นจังหวัด และสานักงานการตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด ภายใน
เดือนธันวาคมของทุกปี ส่วนที่ ๒
ส่วนที่ ๒
การกากับดูแลให้หน่วยงานหรือกลุ่มหรือองค์กร
การกากับดูแลให้หน่วยงานหรือกลุ่มหรือองค์กร
ที่ได้รับเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในการเก็บรักษาและใช้จ่ายเงินตามวัตถุประสงค์
ที่ได้รับเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในการเก็บรักษาและใช้จ่ายเงินตามวัตถุประสงค์
๔. กรณีหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข และหน่วยงานอื่น ของรัฐ ได้รับเงิน
๔. กรณีหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข และหน่วยงานอื่น ของรัฐ ได้รับเงิน
จากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เก็บรักษาและใช้จ่ายเงินได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ดังนี้
จากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เก็บรักษาและใช้จ่ายเงินได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ดังนี้
๔.๑ ถ้าจานวนเงินตามแผนงานโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ
เป็นเงินเกินกว่ ๔.๑า ๑๐,๐๐๐
ถ้าจานวนเงิ บาท นตามแผนงานโครงการหรื
(หนึ่งหมื่นบาท) ให้เปิดบัอญกิจชีกรรมที ่คณะกรรมการกองทุ
เงินฝากเป็ นการเฉพาะแยกออกจาก นอนุมัติ
เป็
บั ญนเงิชี ทนั่ วเกิไปนกว่หรืา อ๑๐,๐๐๐
ใช้ บั ญ ชี ทบาท (หนึ่งหมืว่นยบริ
ั่ ว ไปของหน่ บาท)ก าร ให้เปิสถานบริ
ดบัญชีเงิกนาร ฝากเป็
หน่ วนยงานสาธารณสุ
การเฉพาะแยกออกจาก ข หรื อ
บัหน่ญวชียงานอื
ทั่ ว ไป่นหรื ของรัอ ใช้ฐ บในนามของหน่
ั ญ ชี ทั่ ว ไปของหน่ วยงานนั ว ยบริ
้นๆ ก าร สถานบริ ก าร หน่ ว ยงานสาธารณสุ ข หรื อ
หน่วยงานอื่น๔.๒ ของรัให้ฐ หในนามของหน่
ัวหน้าหน่วยบริ วยงานนั
การ สถานบริ ้นๆ การ หน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น
ของรัฐ เป็น๔.๒ ผู้อนุมให้ัตหิเบิัวกหน้จ่ ายเงิหน่นวยบริในบักญารชี ตสถานบริ ามรายการค่ การ หน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น
-๔- าใช้จ่ายและอัต ราที่ก าหนดไว้ในแผนงาน
ของรั
โครงการ ฐ เป็นหรืผู้อนุกิ จมกรรมที
ัติเบิกจ่า่ ไยเงิ ด้ รั บนอนุ
ในบัมญั ติ จชีากคณะกรรมการกองทุ
ตามรายการค่-๔- าใช้จ่ายและอั น ทัต้ งราที
นี้ ต้่กอาหนดไว้
งไม่ เกิ น กว่ ในแผนงาน
าอั ต ราที่
โครงการ
กาหนดตามข้ หรื๔.๓
อ กิ๖จกรณี
กรรมที ที่มีก่ ไารจั
ด้ รั บดอนุซื้อมจัั ตดิ จจ้าากคณะกรรมการกองทุ
ง ตามแผนงาน โครงการน หรื ทั้ งอนีกิ้ จต้กรรม
อ งไม่ เทีกิ่มนีวกว่
งเงิานอัไม่
ต ราที
เกิน่
าหนดตามข้๔.๓
ก๑๐๐,๐๐๐ อ ๖กรณี
บาท (หนึท่งแสนบาทถ้ี่มีการจัดซื้อวจัน)ดจ้ให้ างกตามแผนงาน
ระทาโดยวิธีกโครงการ หรือกิจกรรมโลม
ารตกลงราคาโดยอนุ ที่มีโดยถื
วงเงินอไม่ราคาเกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึเว้
กลางของทางราชการ ่งแสนบาทถ้
นแต่ กรณีมวน) ีความจ ให้กาเป็ระทนาโดยวิ ธีการตกลงราคาโดยอนุ
ให้ใช้ราคาตลาดโดยทั ่วไปในขณะที โลม่จัดโดยถื ซื้อจัอดราคา
จ้าง
กลางของทางราชการ ๔.๔ กรณีทเว้ี่มนีกแต่ ารจักรณี
ดซื้อมจัีคดวามจ จ้างทีาเป็ ่มีวนงเงิให้นใเกิ
ช้รนาคาตลาดโดยทั
๑๐๐,๐๐๐ บาท ่วไปในขณะที ่จัดซื้อจัวดน)
(หนึ่งแสนบาทถ้
C:\Users\USER\AppData\Local\Packages\microsoft.windowscommunicationsapps_8wekyb3d8bbwe\LocalState\LiveComm\9bf756d7e50474f6\120712-0049\Att\200123f9\570219_
จ้างให้
๔.๔ กรณี ที่มีการจัวดยบริ ซื้อจักดาร
ประกาศกองทุนท้ องถิ่น-พศ2557_แนบท้ าย_ส่งราชกิจจา(20มีค57) (6).docx
ถือปฏิบัติตามระเบี ยบของหน่ จ้างที ่มีวงเงินกเกิารนหน่
สถานบริ ๑๐๐,๐๐๐
วยงานสาธารณสุ บาท (หนึข ่งหรื แสนบาทถ้
อหน่วยงานอื
C:\Users\USER\AppData\Local\Packages\microsoft.windowscommunicationsapps_8wekyb3d8bbwe\LocalState\LiveComm\9bf756d7e50474f6\120712-0049\Att\200123f9\570219_
C:\Users\USER\AppData\Local\Packages\microsoft.windowscommunicationsapps_8wekyb3d8bbwe\LocalState\LiveComm\9bf756d7e50474f6\120712-0049\Att\200123f9\570219_
วน) ให้่น
ประกาศกองทุนท้ องถิ่น-พศ2557_แนบท้ าย_ส่งราชกิจจา(20มีค57) (6).docx
ถือปฏิฐบโดยอนุ
ของรั ัติตามระเบี
โลม ยบของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น
ประกาศกองทุนท้ องถิ่น-พศ2557_แนบท้ าย_ส่งราชกิจจา(20มีค57) (6).docx

ของรัฐ โดยอนุ ๔.๕โลมหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เก็บ


หลักฐานการจ่ ๔.๕ายเงิหน่นจากบั
วยบริญ การ ชีไว้สถานบริ
เพื่อการตรวจสอบ การ หน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เก็บ
หลักฐานการจ่ายเงินจากบัญชีไว้ เพื่อการตรวจสอบ /๔.๖ เมื่อเสร็จสิ้น...
๔.๖ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ ให้จัดทารายงานผลการดาเนินงานตามแผนงาน /๔.๖ เมื่อเสร็ จสิ้น...
โครงการ
หรื อ กิ จ กรรมที ๔.๖่ ได้เมืร่อั บเสร็
อนุจมสิั ต้นิ โครงการ
ส่ ง ให้ ก องทุ ให้นจัดหลัทารายงานผลการด
ก ประกั น สุ ข ภาพาเนิ เพืน่ องานตามแผนงาน
ให้ ค ณะกรรมการกองทุ โครงการน
รัหรืบทราบ
อ กิ จ กรรมที
และให้่ ไอด้งค์รั บกอนุ มั ติ ส่ ง ให้วนท้
รปกครองส่ ก องทุ องถิน่นหลั เก็บกไว้
ประกั น สุ ข ภาพ เพื่ อ ให้ ค ณะกรรมการกองทุ น
เพื่อการตรวจสอบ
รับทราบ และให้ กรณีอทงค์ี่ มกี เงิรปกครองส่
น เหลื อ จากการด วนท้องถิาเนิ ่น เก็น บงาน
ไว้เพืให้่อการตรวจสอบ
น าเงิน ที่ เหลื อ ส่ งคื น กองทุ น หลั ก ประกั น
สุขภาพ กรณี ที่ มี เงิน เหลื อ จากการด าเนิ น งาน ให้ น าเงิน ที่ เหลื อ ส่ งคื น กองทุ น หลั ก ประกั น
คู่มือ สนัสุ๕.บสนุขภาพ
นการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 29
กรณี กลุ่มหรือองค์กรประชาชน ได้รับเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้ใช้จ่ายเงินตาม
สุขภาพ
๕. กรณีกลุ่มหรือองค์กรประชาชน ได้รับเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้ใช้จ่ายเงินตาม
รายการค่าใช้จ่ายและอัตราที่กาหนดไว้ใน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติจาก
คณะกรรมการกองทุ น แต่สาหรับรายการค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ ให้อยู่ ภายใต้ก รอบอัตราและ
เงื่อนไขการดาเนินการ ดังนี้
๕.๑ ค่ า ตอบแทน คณะท างานหรื อ บุ ค คลภายนอก ที่ ด าเนิ น งานตามแผนงาน
โครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุน ทั้งนี้ไม่เกินอัตราที่กาหนดในข้อ ๖
๕.๒ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เช่น เบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ให้เบิกจ่ายในอัตรา
ตามระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอนุโลม และบุคคลที่ได้รับค่าตอบแทนตาม ๕.๑
ไม่มีสิทธิได้รับค่าเบีย้ เลี้ยงตาม ๕.๒ -๕-
๕.๓ การจัด ซื้ อ จัด จ้ างตามแผนงาน โครงการ หรือ กิ จกรรม ให้ ถื อ ราคากลางตาม
ระเบียบของทางราชการหรื กรณี ที่ มี เงิน เหลื อ จากการด าเนิ่วนไปในขณะที
อราคาตลาดโดยทั งาน ให้ น าเงิ จ
่ ด
ั นซืที้อ่ เจัหลืด จ้อางส่ งคื น กองทุ น หลั ก ประกั น
สุขภาพ ๕.๔ เมื่ อ เสร็จ สิ้ น โครงการ ให้ จั ด-๕- ท ารายงานผลการด าเนิ น งาน และรายงานการ
-๕-
จ่ายเงิน ตามแผนงาน กรณี ที่ มี เงิโครงการ น เหลื อ จากการด หรือ กิจ กรรมที
าเนิส่นวงาน นที่ ได้่ ๓รให้
ับ อนุ
น าเงิ มั ตนิ ทีส่่ เงหลื ให้ กอองทุ ส่ งคื น หลั กองทุก ประกั น หลันกสุประกั ข ภาพน
เพื
สุข่ อภาพ
ให้
หลัคกณะกรรมการกองทุ
เกณฑ์ กรณีการก ที่ มี เาหนดค่ งิน เหลืาอตอบแทนกรรมการ นจากการด
รั บ ทราบาเนิ และให้ น งานอนุ อ งค์ ให้ กนรปกครองส่
กรรมการ าเงิน ทีคณะท ่ เหลื อวส่างาน นท้
งคื นอ งถิ ่ นอผูเก็
กองทุ
หรื ้ดนาเนิ บ ไว้นกเงาน
หลั พื่ อ การน
ประกั
ตรวจสอบ -๕-
สุขภาพ ส่วนทีที่ ๓่มีการจัดหาวั
๖. อัตราค่าใช้ กรณี
กรณี จ่าแยในการเดิ
ท ผนงาน
่ ี ม ี เ งิ น เหลื นอทาง
โครงการ จากการด ค่หรื
าตอบแทนของกรรมการ
อกิาเนิ
จกรรม น งานอนุให้ น าเงิน ทีอนุ ่ เสหลืกดุรรมการ
ทอี่มส่ีลงักคืษณะคล้ และคณะท
นหรื
กองทุ านยครุ หลันกางาน
ภประกั
ัณฑ์ ทีน่มี
วงเงิ หลั ก เกณฑ์
นไม่เกิน๖.๑ ก
๕,๐๐๐ ารก าหนดค่ า ตอบแทนกรรมการ
บาท (ห้าพันบาท) ให้มแส่สนบเอกสารใบเสร็
ค่าตอบแทนในการประชุ วาหรั ก
นที่ บ๓กรรมการหรืรรมการ คณะท
จรัอบทีเงิ่ปนรึหรื างาน กษา อใบส อ
ไม่เาคั ผู ้ ด าเนิ
กินญครัรับ้งละ งาน
เงิน ไว้ ๔๐๐ กับ
สุขภาพ
หลั
รายงานการจ่
บาทต่
๖. อัตอราค่ ก เกณฑ์
คนาใช้ ก
เดืาอยเงิ
จนหนึ ารก
นดั่งกล่
่ายในการเดิ าหนดค่
ไม่เากิวด้ า
นนวทางตอบแทนกรรมการ
๘๐๐ ย ค่บาท อนุ
ค่าตอบแทนในการประชุ
าตอบแทนของกรรมการ ก รรมการ คณะท
อนุกรรมการ างาน
ม สาหรับและคณะท หรื อ ผู
อนุกรรมการ ้ ด าเนิ น งาน
างานไม่เกิน
ครั้งละ ๓๐๐๖.๑ บาทต่ อคน เดือนหนึ่งไม่เกินมส่ส๖๐๐
ค่าตอบแทนในการประชุ
วนที่ บาท ๓ และสาหรับ คณะทางาน ครั้งละไม่เกิน
าหรับกรรมการหรื อกทีรรมการ
่ปรึกษา และคณะท ไม่เกินครั้งละ ๔๐๐
๖. อัหลั ตราค่ า
กเกณฑ์ ใช้ จ า

การก ยในการเดิ าหนดค่ น ทาง
าตอบแทนกรรมการ ค่ า ตอบแทนของกรรมการ อนุกรรมการ อนุ คณะท างาน หรือผู้ดาเนินางาน งาน
๒๐๐
บาทต่อคน เดืบาทต่ อ คน
อนหนึ เดื อ นหนึ ง
่ ไม่ เ กิ น
่งไม่เกิน ๘๐๐ บาท ค่มาสตอบแทนในการประชุ๔๐๐ บาท
C:\Users\USER\AppData\Local\Packages\microsoft.windowscommunicationsapps_8wekyb3d8bbwe\LocalState\LiveComm\9bf756d7e50474f6\120712-0049\Att\200123f9\570219_

าหรับกรรมการหรือทีม่ปสรึาหรั กษาบอนุ ไม่เก/๖.๒


กิรรมการ
นครัค่้งาละใช้ไม่ เกิน
ประกาศกองทุนท้ องถิ่น-พศ2557_แนบท้ าย_ส่งราชกิจจา(20มีค57) (6).docx

๖.๑ ค่าตอบแทนในการประชุ จ ๔๐๐า


่ ย...
ครั้งอัละ
๖.
บาทต่ ๓๐๐
ตอราค่
คน เดือจบาทต่
าใช้ ่ายในการเดิ
นหนึ ่องไม่
คนเกิเดื นนอทาง
๘๐๐ นหนึค่่งบาท าไม่ เกินค่า๖๐๐
ตอบแทนของกรรมการ บาท และสอนุาหรั
ตอบแทนในการประชุ มบสคณะท
กรรมการ างาน
าหรับและคณะท
อนุ กรรมการ ครั้งางาน ละไม่
ไม่เเกิกิน
๒๐๐
ครั ้งละบาทต่
๓๐๐๖.๑ อบาทต่
คน เดือนหนึ คน เดื่งไม่ อนหนึ เกิน ๔๐๐ ่งไม่เกิบาท
น ส๖๐๐ บาท และสาหรั บ คณะท ษา างาน นครั
ครั้งละไม่ เกิน
๖.๒ ค่ค่าาตอบแทนในการประชุ
ใช้จ่ายในการเดิ น ทางมได้ าหรั
แ ก่ บค่กรรมการหรื
าเบี้ ยเลี้ยง ค่อาทีที่ป่ พรึั กกและค่ ไม่าเกิพาหนะเดิ ละ น๔๐๐ ทาง
๒๐๐
สาหรับอบาทต่
บาทต่ คน เดืออคนนหนึ
กรรมการ ทีเดื่ปอ่งรึไม่ นหนึ
กษา เกิน่งอนุไม่๘๐๐ เกกิรรมการหรื
น ๔๐๐ บาท บาท ค่อาตอบแทนในการประชุ
คณะทางาน และเจ้าหน้ม สาทีาหรั บอนุวก/๖.๒
่ของหน่ รรมการ
ยงานรั
ค่าใช้ไม่
ฐ รวมทั
จ่าเย... กิน้ง
ครั
พนั้งกละ ๓๐๐
งานจ้ บาทต่่วอคราว)ของกองทุ
างเหมา(ชั คน เดือนหนึ่งไม่นเกิให้นเบิ๖๐๐ ก จ่ า ยได้บาท ใ นอั และส
ต ราไม่ าหรั
เ กิ น บระเบี
คณะท ย างาน /๖.๒
บของทางราชการโดย ครัค่้งละไม่ าใช้จ่าเย... กิน
๒๐๐ ๖.๒ ค่ า ใช้ จ ่ า ยในการเดิ น ทาง ได้ แ ก่ ค่ า เบี ้ ย เลี ้ ย ง ค่ า ที ่ พ ั ก และค่ า พาหนะเดิ น ทาง
อนุ
สาหรั โลมบบาทต่
กรรมการ
อคน เดือนหนึ่งไม่เกิน ๔๐๐ บาท
๖.๒
๖.๓ ค่ทีา่ปใช้รึนกจค่ษา
วงเงิ ่าายในการเดิ
ใช้
อนุกรรมการหรื
จ า
่ ยและค่ นาทาง อได้คณะท
ตอบแทนตาม แ ก่ ค่างาน าเบี๖.๑ ้ ยเลี และเจ้
และ ้ยง ค่๖.๒ าาหน้ ที่ พาเมืั กที่อ่ขและค่
องหน่าว/๖.๒
รวมกั บ
ยงานรัค่าฐใช้รวมทั
พาหนะเดิ
ค่ า ใช้ จ า
่ ยอื นจ่น่าทาง ย...่อ้ง
เพื
สพนั กงานจ้
าหรั
การบริ
างเหมา(ชั
บหกรรมการ
ารหรื อ พั ฒ
่วรึคราว)ของกองทุ
ที่ปนางานของกองทุกษา อนุกรรมการหรื น
น ให้เอบิคณะท
หลั ก ประกั
กจ่ายได้
น สุ างาน

ในอัตและเจ้
ภาพ ต้
ราไม่เากิหน้
อ งไม่ เ
นระเบี
กิ น าร้ทีอ่ขยละ ยบของทางราชการโดย
องหน่
๑๕ วยงานรั ของเงิ ฐนรวมทั
รายรั บ ้ง
อนุโกลม
พนั งานจ้นาหลั งเหมา(ชั
๖.๒กประกั ค่า่วใช้คราว)ของกองทุ
จสุ่าขยในการเดิ นนทาง ให้เได้ บิกแจ่ก่า้นยได้
ค่าเบี ในอั ้ ยเลีตราไม่ ้ยง ค่เกิาทีน่ระเบี พั ก และค่ ยบของทางราชการโดย
าพาหนะเดิ น ทาง
ของกองทุ น ภาพในปี ง บประมาณนั
สาหรับกรรมการ ที่ปรึกษา อนุกรรมการหรือคณะทางาน และเจ้าหน้าที่ของหน่วค่ยงานรั
อนุ โ ลม ๖.๓ วงเงิ น ค่ า ใช้ จ า
่ ยและค่ า ตอบแทนตาม ๖.๑ และ ๖.๒ เมื ่ อ รวมกั บ าใช้จ่าฐยอืรวมทั ่นเพื่อ้ง
การบริ
พนั หารหรื
กอังานจ้ ๖.๓ อพัวงเงิ
าางเหมา(ชั ฒนางานของกองทุ
่วนคราว)ของกองทุ
ค่า้ ดใช้าเนิ จ่านยและค่ นนาหลัให้กเประกั
ตอบแทนตาม บิกจ่านยได้ สุขภาพ นอัตต้และ
ใ๖.๑ ราไม่ องไม่เ๖.๒ กิเอนกิกินระเบี
เมืร้กรรม
อ่อยละรวมกั๑๕ บ่ ไค่ด้าของเงิ
ยบของทางราชการโดย ใช้ จอนุ นรายรั
่ายอื ่นิ จเพืากบ่อ
๗.
ของกองทุ ต ราค่ ตอบแทนผู
นหลัอกพัประกั นสุขภาพในปีงบประมาณนั งานตามแผนงาน โครงการ หรื จ ที ร ั บ ม ั ต
การบริ
อนุ โลมหารหรื
คณะกรรมการกองทุ ฒนางานของกองทุ
น นหลักประกัน้นสุขภาพ ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของเงินรายรับ
ของกองทุนหลั ๖.๓ กประกั วงเงิ นนค่สุาขใช้ ภาพในปี
จ่ายและค่ งบประมาณนั
าตอบแทนตาม ้น ๖.๑ และ ๖.๒ เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายอื่นเพื่อ
๗. อั ต หราค่ ๗.๑
า ตอบแทนผู ค่ า ตอบแทนส าหรั
้ ด าเนิ น งานตามแผนงาน บ ประชาชนหรื อบุโครงการ
คคลที่ปฏิบหรืัติงอานตามแผนงาน กินจร้กรรม ที๑๕ รโครงการหรื
่ ไ ด้ของเงิ ั บ อนุนมรายรั ั ติ จ ากบอ
การบริ ารหรื
กิคณะกรรมการกองทุ
จกรรม หากเป็นการปฏิ อ พั ฒ นางานของกองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพ ต้ อ งไม่ เ กิ อ ยละ
๗. อั ต ราค่ า ตอบแทนผู นนสุ้ ดขบภาพในปี ัติงานที่มีความจาเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ให้จ่ายได้ ไม่เกินกว่าที่
าเนิ
ของกองทุ
กาหนดในแผนงาน น หลั
๗.๑
ก ประกั
ค่ า โครงการ
ตอบแทนส หรืนาหรั องานตามแผนงาน
กิจบงบประมาณนั
กรรมที
ประชาชนหรื ่ได้รับ้นอนุ อ
โครงการ
มคัตคลที
บุ ิจากคณะกรรมการกองทุ
่ ป ฏิ
หรื อ กิ จ กรรม ที่นไ ด้นัร้นั บ อนุ มั ติ จ าก
บัติงานตามแผนงาน โครงการหรือ
คณะกรรมการกองทุน
กิจกรรม
๗. อั ต ราค่หากเป็
า๗.๑
ตอบแทนผู นค่การปฏิ
าตอบแทนส ้ ดบาเนิ
ัติงานที นาหรั ่มบีคประชาชนหรื
วามจาเป็นเพือ่อบุโครงการ
งานตามแผนงาน ให้
คคลที บรรลุ่ปวฏิัตบหรื ถุัตปิงอระสงค์
กิ จ กรรมให้ทีจ่่าไยได้
านตามแผนงาน ั บไอนุ
ด้ รโครงการหรื ม่เกิมนั ตกว่ าทีอ่
ิ จ าก
กจาหนดในแผนงาน
กิคณะกรรมการกองทุ
กรรม หากเป็นการปฏิ โครงการ
น บัติงหรื านที อกิ่มจีคกรรมที
วามจาเป็ ่ได้รนับเพือนุ่อมให้ัตบิจากคณะกรรมการกองทุ
รรลุวัตถุประสงค์ ให้จ่านยได้ นั้นไม่เกินกว่าที่
.............................................................
กาหนดในแผนงาน ๗.๑ ค่าโครงการ ตอบแทนส หรืาหรั อกิจบกรรมที
ประชาชนหรื ่ได้รับอนุ อบุมคัตคลที ิจากคณะกรรมการกองทุ
่ปฏิบัติงานตามแผนงาน น นั้นโครงการหรือ
30 คู ม
่ อ
ื สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
กิจกรรม หากเป็นการปฏิบัติงานที่มีความจาเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ให้จ่ายได้ ไม่เกินกว่าที่
ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและ
บริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๙
__________________

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตาบล เทศบาลหรือ


องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น เป็นผู้ดาเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกัน
สุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ให้มีความเหมาะสม เกิดประสิทธิภาพในการดาเนินงาน
มากยิ่งขึ้น
ฉะนั้น อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๔๗ มาตรา ๑๘ (๓) (๔) (๘) (๙) ประกอบ

ภาคผนวก ข.
มาตรา ๓ (๑๒) และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ และ
มติในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๘ วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๘ และครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ วันที่ ๔
มกราคม ๒๕๕๙ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มบทนิยามดังต่อไปนี้ ในข้อ ๒ ของประกาศคณะกรรมการหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ดาเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๕๗
“ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” หมายความว่า ผู้สูงอายุหรือบุคคลอื่นๆที่มีคะแนนประเมิน
ความสามารถในการดาเนินชีวิตประจาวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) เท่ากับ
หรือน้อยกว่า ๑๑ คะแนน ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม และมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขตามชุดสิทธิ
ประโยชน์ในเอกสารแนบท้าย
“การบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” หมายความว่า
การบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ในเอกสารแนบท้าย ที่เป็นการให้บริการ ณ ครัวเรือน หรือที่ศูนย์
พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือที่หน่วยบริการ หรือที่สถานบริการ ที่ให้บริการดูแลระยะ
ยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยบุคลากรสาธารณสุขหรือผู้ช่วยเหลือดูแล
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
“ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน” หมายความว่า ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพ
ชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ที่มีชื่ออย่างอื่นตามข้อ ๗ (๓) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยองค์กรปกครอง
-๒-
ส่วนท้องถิ่น หรือที่คณะอนุกรรมการตามข้อ ๘/๑ เห็นชอบ
“ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ” (Care giver) หมายความว่า บุคคลที่ผ่านการ
/“ผู้ช่วยเหลือ...
อบรมตามหลั ก สูต รที่ ค ณะอนุ ก รรมการพั ฒ นาระบบการดู แ ลระยะยาวส าหรับ ผู้ สู งอายุที่มี ภ าวะ
พึ่งพิง หรือคณะอนุกรรมการอื่น ภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่ง4ชาติ
X:\ปี ง บประมาณ 2559\1.กลุ ม
่ งานพั ฒ นากฎหมาย\2. งานยกร่ า ง\2.ประกาศ\1. ประกาศคณะกรรมการหลั ก ฯ\ประกาศ อปท.เพิ ม
่ LTC\ร่ า งประกาศ LTC ๒๕๕๙ ผ่ า นบอร์ ด หรือสานักงาน
มค.59docx.docx

หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบ
ข้ อ ๒ ให้ เพิ่ ม ความต่ อ ไปนี้ เป็ น ข้ อ ๕/๑ และข้ อ ๕/๒ ของประกาศคณะกรรมการ
หลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ เรื่อ ง การก าหนดหลั ก เกณฑ์ เพื่ อ สนั บ สนุ น ให้ อ งค์ ก รปกครองส่ วน
ท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.
๒๕๕๗
“ข้อ ๕/๑ นอกจากเงิน หรือ ทรัพ ย์สิ นในกองทุน หลั กประกัน สุข ภาพ ตามข้อ ๕ แล้ ว ให้
องค์ ก รปกครองส่ วนท้ อ งถิ่ น ที่ มี ค วามพร้อ ม ความเหมาะสม ซึ่ งได้ แ สดงความจ านงเข้ าร่วมและ
ส านั ก งานหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ เห็ น ชอบ ได้ รับ เงิ น เพิ่ ม จากกองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพ
แห่ ง ชาติ ใ นส่ ว นค่ า บริ ก ารสาธารณ สุ ข ส า หรั บ ผู้ สู ง อายุ ที่ มี ภ าวะพึ่ ง พิ ง ตามที่ ค ณ ะกรรมการ
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติกาหนด
เงินที่ได้รับตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ แต่
ให้เปิดบัญ ชี เงิน ฝากกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ชื่อ “บัญ ชีกองทุ น
หลักประกันสุขภาพ (....ชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) เพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” แยก
ออกจากบั ญ ชี ก องทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพ โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เพื่ อ เป็ น ค่ า ใช้ จ่ า ยสนั บ สนุ น และ
ส่งเสริมการบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งนี้ภายใต้บังคับ
ของ ข้อ ๗/๑ และให้สามารถใช้ในปีงบประมาณถัดๆไปได้
ข้อ ๕/๒ ให้เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ ๕ สามารถใช้ในปีงบประมาณถัดๆ ไป
ได้ แ ละสามารถน าไปใช้ เป็ น ค่ า ใช้ จ่ า ยสนั บ สนุ น และส่ ง เสริ ม การจั ด บริ ก ารดู แ ลระยะยาวด้ า น
สาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งนีภ ้ ายใต้บังคับของข้อ ๗/๑ ได้”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็ นข้อ ๗/๑ ของประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ เรื่อง การกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและ
บริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๕๗
“ข้ อ ๗/๑ เงิ น กองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพ ตามข้ อ ๕/๑ และข้ อ ๕/๒ ให้ ใช้ จ่ า ยเพื่ อ
สนับสนุนและส่งเสริมการจัด บริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
ตามชุดสิทธิประโยชน์และอัตราที่กาหนดในเอกสารแนบท้าย ของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
ในชุ ม ชนหรือ หน่ วยบริก ารหรือ สถานบริก าร ที่ จั ด บริก ารดู แ ลระยะยาวด้ านสาธารณสุ ข ส าหรับ
ผู้สู งอายุที่มี ภ าวะพึ่ งพิ ง ที่ค ณะอนุ กรรมการตามข้ อ ๘/๑ เห็น ชอบ ทั้ งนี้ กรณีที่ใช้เงิน กองทุ น ตาม
ข้อ ๕/๑ และ ข้อ๕/๒ ให้คณะอนุกรรมการรายงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบ

/ค่าใช้จ่าย...
คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 31
-๓-
ค่ า ใช้ จ่ า ยตามวรรคหนึ่ ง ให้ จ่ า ยเป็ น ค่ า ตอบแทนของบุ ค ลากรที่ เกี่ ย วข้ อ งตามอั ต รา
ที่หน่วยงานทีจ ่ ัดบริการกาหนดได้ และรวมถึงจ่ายเป็นค่าตอบแทนของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มี
ภาวะพึ่งพิง ในอัตราที่แตกต่างกันได้ตามอัตราที่หน่วยงานทีจ ่ ัดบริการกาหนดหรือตามที่
คณะอนุกรรมการตามข้อ ๘/๑ กาหนดหรือเห็นชอบ แต่ต้องไม่เกินค่าแรงขั้นต่าที่รัฐบาลกาหนด”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๘/๑ ของประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ เรื่อง การกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและ
บริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๕๗
“ข้อ ๘/๑ ให้คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดหนึ่งชื่อ
“คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” มีหน้าที่
พิจารณาจัดหา กาหนดอัตราการชดเชยค่าบริการ และเห็นชอบให้ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
ในชุมชน หรือหน่วยบริการ หรือสถานบริการ เข้าร่วมจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข
สาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตามข้อ ๗/๑ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้รับบริการตาม
ชุดสิทธิประโยชน์และอัตราที่กาหนดในเอกสารแนบท้าย โดยให้มีองค์ประกอบอย่างน้อย
ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองท้องถิ่นหรือ ประธานอนุกรรมการ
ผู้บริหารอื่นที่ได้รับมอบหมาย
(๒) ผู้แทนกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ (๒ คน) อนุกรรมการ
(๓) ผู้อานวยการโรงพยาบาลของรัฐในพื้นที่หรือผู้แทน (๑ คน) อนุกรรมการ
(๔) สาธารณสุขอาเภอในพื้นที่หรือผู้แทน (๑ คน) อนุกรรมการ
(๕) หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิของรัฐในพื้นที่ (๑ คน) อนุกรรมการ
(๖) ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขในพื้นที่ (๑ คน) อนุกรรมการ
(๗) ผูช
้ ่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (๑ คน) อนุกรรมการ
(๘) ปลัดองค์กรปกครองท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่อื่น อนุกรรมการ
ที่ได้รับมอบหมาย (๑ คน) และเลขานุการ
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๙

(นายปิยะสกล สกลสัตยาทร)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

32 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


เอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดาเนินงานและบริหาร
จัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๕๙
ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
___________________________________________________________

ชุดสิทธิประโยชน์ และ อัตราการชดเชยค่าบริการด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(เหมาจ่าย/ราย/ปี)


ประเภทและ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบ่งเป็น ๔ กลุ่มตามความต้องการการบริการด้านสาธารณสุข
กิจกรรมบริการ กลุ่มที่ ๑ กลุ่มที่ ๒ กลุ่มที่ ๓ กลุ่มที่ ๔
(ชุดสิทธิประโยชน์) เคลื่อนไหวได้บ้าง เหมือนกลุม ่ ที่ ๑ เคลื่อนไหวเองไม่ได้ เหมือนกลุม ่ ที่ ๓ และมี
และอาจมีปญ ั หาการ แต่มีภาวะสับสนทาง และอาจมีปญ ั หาการ อาการเจ็บป่วยรุนแรง
กิน หรือการขับถ่าย สมอง กิน หรือการขับถ่าย หรืออยู่ในระยะท้าย
แต่ไม่มีภาวะสับสน หรือมีอาการเจ็บป่วย ของชีวิต
ทางสมอง รุนแรง
๑. ประเมินก่อนให้บริการ ประเมินและวางแผน ประเมินและวางแผน ประเมินและวางแผน ประเมินและวางแผน
และวางแผนการดูแลระยะ โดยเจ้าหน้าที่ โดยเจ้าหน้าที่ โดยเจ้าหน้าที่ โดยเจ้าหน้าที่
ยาวด้านสาธารณสุข สาธารณสุข และหรือ สาธารณสุข และหรือ สาธารณสุข และหรือ สาธารณสุข และหรือ
(Care Plan) care manager care manager care manager care manager
๑ ครั้ง/ปี ๑ ครั้ง/ปี ๑ ครั้ง/ปี ๑ ครั้ง/ปี
๒. ให้บริการดูแลระยะ ความถี่ของการ ความถี่ของการ ความถี่ของการ ความถี่ของการ
ยาวด้านสาธารณสุข โดย ให้บริการอย่างน้อย ให้บริการอย่างน้อย ให้บริการอย่างน้อย ให้บริการอย่างน้อย
บุคลากรสาธารณสุข(ทีม เดือนละ ๑ ครั้ง เดือนละ ๑ ครั้ง เดือนละ ๑ ครั้ง เดือนละ ๒ ครั้ง
หมอครอบครัว)(กิจกรรม ๒.๑ บริการดูแลที่ ๒.๑ บริการดูแลที่ ๒.๑ บริการดูแลที่ ๒.๑ บริการดูแลที่บ้าน/
รูปแบบการให้บริการ และ บ้าน/ชุมชน เพื่อ บ้าน/ชุมชน เพื่อ บ้าน/ชุมชน เพื่อ ชุมชน เพื่อให้บริการแก่
ความถี่ในการให้บริการ ให้บริการแก่ผส ู้ ูงอายุฯ ให้บริการแก่ผส ู้ ูงอายุฯ ให้บริการแก่ผส ู้ ูงอายุฯ ผู้สูงอายุฯให้คาแนะนา
ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาของ ให้คาแนะนาและ ให้คาแนะนาและ ให้คาแนะนาและ และฝึกสอนแก่ญาติ/
ผู้สูงอายุที่มภ
ี าวะพึ่งพิงแต่ ฝึกสอนแก่ญาติ/ผู้ดูแล ฝึกสอนแก่ญาติ/ผู้ดูแล ฝึกสอนแก่ญาติ/ผู้ดูแล ผู้ดูแลได้แก่
ละรายเป็นสาคัญ ) ได้แก่ ได้แก่ ได้แก่ ๒.๑.๑ การดูแลด้าน
๒.๑.๑ การดูแลด้าน ๒.๑.๑ การดูแลด้าน ๒.๑.๑ การดูแลด้าน การพยาบาล เช่น
การพยาบาล เช่น การพยาบาล เช่น การพยาบาล เช่น ประเมินสภาวะสุขภาพ
ประเมินสภาวะ ประเมินสภาวะ ประเมินสภาวะ ให้ความรู้เรื่องโรคหรือ
สุขภาพ ให้ความรู้เรื่อง สุขภาพ ให้ความรู้เรื่อง สุขภาพ ให้ความรู้เรื่อง ความเจ็บป่วย การให้
โรคหรือความเจ็บป่วย โรคหรือความเจ็บป่วย โรคหรือความเจ็บป่วย การพยาบาลทั่วไป การ
การให้การพยาบาล การให้การพยาบาล ๒ การให้การพยาบาล ให้คาปรึกษา การ
ทั่วไป การให้ ทั่วไป การให้ ทั่วไป การให้ ป้องกันภาวะเสี่ยงต่อ
คาปรึกษา การป้องกัน คาปรึกษา การป้องกัน คาปรึกษา การป้องกัน การเจ็บป่วย ประเมิน
ประเภทและ ภาวะเสีผู่ย้สงต่ ูงอายุ
อการ ที่มีภาวะพึภาวะเสี
่งพิงแบ่่ยงงต่
เป็อนการ ๔ กลุ่มตามความต้
ภาวะเสี่ยองต่ งการการบริ
อการ การด้ านสาธารณสุ
และป้ องกันภาวะข
กิจกรรมบริการ เจ็บป่วย/หกล้กลุ่มที่ ม ๑ การ กลุ่มที่ ม
เจ็บป่วย/หกล้ ๒ เจ็บป่วย กลุการป้
่มที่ ๓ องกัน ซึมเศร้ากลุ ่มที่ ๔บริการ
การให้
(ชุดสิทธิประโยชน์) ป้อเคลืงกัน่อภาวะสมอง
นไหวได้บ้าง ประเมิเหมืนอและป้
นกลุม ่ อทีงกั
่๑ น ภาวะสมองเสื
เคลื่อนไหวเองไม่ ่อม ได้ พยาบาลเฉพาะรายเช่
เหมือนกลุม ่ ที่ ๓ และมี น
เสื ่อม ประเมิ
และอาจมี ปญน
ั และหาการ ภาวะซึแต่มีภม เศร้าบบริ
าวะสั การ
สนทาง ประเมิ
และอาจมี นและป้ ปญั อหาการ
งกัน การป้ องกันบป่
อาการเจ็ เฝ้วายรุ
ระวั ง
นแรง
ป้กิอน งกัหรื
นภาวะซึ
อการขัมบ เศร้
ถ่าาย สร้างเสริสมองมสุขภาพ การ ภาวะซึ กิน หรื มอเศร้ า บริ
การขั บก
ถ่าร
าย ภาวะแทรกซ้ อน การ
หรืออยู่ในระยะท้ าย
บริการสร้างเสริม กระตุ้นความรู้ สร้างเสริมสุขภาพการ ป้องกันและดูแลแผลกด
สุขแต่ ไม่มีภาวะสับสน
ภาพและการออก ความคิดความเข้าใจ หรืบอริมีกอารพยาบาล
ให้ าการเจ็บป่วย ทับ การดู ของชี วิต
แลสายสวน
ทางสมอง เฉพาะรายเช่ รุนแรง น การ ต่างๆ การให้ออกซิเจน
กาลังกายที่เหมาะสม (cognitive ป้องกัน เฝ้าระวัง การดูดเสมหะการ
D:\สปสชLTC\ไฟล์สง่ มาทีห
่ ลัง\เอกสารแนบท้าย(กม.เสนอรมว).docx
เป็นต้น stimulation) ภาวะแทรกซ้อน การ ประเมินและดูแลเพื่อลด
การให้บริการพยาบาล ป้องกันและดูแลแผล ความทรมานจากความ
เฉพาะราย ตาม กดทับ การดูแลสาย เจ็บปวด เป็นต้น
สภาวะความเจ็บป่วย สวนต่างๆ เป็นต้น
เป็นต้น ๒.๑.๒ การฟื้นฟูสภาพ ๒.๑.๒ การฟื้นฟูสภาพ
๒.๑.๒ การฟื้นฟูสภาพ ๒.๑.๒ การฟื้นฟูสภาพ ร่างกาย เช่น การทา ร่างกาย เช่น การทา
ร่างกาย เช่น การทา ร่างกาย เช่น การทา กายภาพบาบัด การ กายภาพบาบัด การทา
กายภาพบาบัด การ กายภาพบาบัด การ ทากิจกรรมบาบัด การ กิจกรรมบาบัด การ
ทากิจกรรมบาบัด การ ทากิจกรรมบาบัด การ กระตุ้นการกลืน การ กระตุ้นการกลืน การ
กระตุ้นการกลืน การ กระตุ้นการกลืน การ ให้บริการแพทย์แผน ให้บริการแพทย์แผน
ให้บริการแพทย์แผน ให้บริการแพทย์แผน ไทย/แพทย์ทางเลือก ไทย/แพทย์ทางเลือก
ไทย/แพทย์ทางเลือก ไทย/แพทย์ทางเลือก การป้องกันการตก การป้องกันการตกเตียง
การป้องกันการหกล้ม การป้องกันการหกล้ม เตียง การป้องกันข้อ การป้องกันข้อติด/ข้อขัด
การป้องกันข้อติด/ข้อ การป้องกันข้อติด/ข้อ ติด/ข้อขัด การฝึก การฝึกผู้ดูแลในการ
ขัด การฝึกผู้ดูแลใน ขัดการฝึกผู้ดูแลในการ ผู้ดูแลในการเคลื่อน เคลื่อนย้ายผู้ป่วย เป็น
การช่วยเหลือผู้ป่วย ช่วยเหลือผู้ป่วย เป็น ย้ายผู้ป่วย เป็นต้น ต้น
เป็นต้น ต้น ๒.๑.๓ การดูแลด้าน ๒.๑.๓ การดูแลด้าน
๒.๑.๓ การดูแล ๒.๑.๓ การดูแล โภชนาการ เช่น การ โภชนาการ เช่น การ
ด้านโภชนาการ เช่น ด้านโภชนาการ เช่น ประเมินความสามารถ ประเมินความสามารถ
การประเมิน การประเมิน การบดเคีย ้ ว การกลืน การบดเคีย ้ ว การกลืน
ความสามารถการบด ความสามารถการบด และภาวะโภชนาการ และภาวะโภชนาการ
เคี้ยว การกลืนและ เคี้ยว การกลืนและ เพื่อ แนะนา ส่งเสริม เพื่อ แนะนา ส่งเสริม
ภาวะโภชนาการ เพื่อ ภาวะโภชนาการ เพื่อ และแก้ไขภาวะ และแก้ไขภาวะ
แนะนา ส่งเสริม และ แนะนา ส่งเสริม และ โภชนาการที่เหมาะสม โภชนาการที่เหมาะสม
แก้ไขภาวะโภชนาการ แก้ไขภาวะโภชนาการ รายบุคคล การแนะนา รายบุคคล การแนะนา
ที่เหมาะสมรายบุคคล ที่เหมาะสมรายบุคคล วางแผนและฝึกสอน วางแผนและฝึกสอนการ
การแนะนา วางแผน การแนะนา วางแผน การเตรียมอาหาร เตรียมอาหารทั่วไป/
และฝึกสอนการเตรียม และฝึกสอนการเตรียม ทั่วไป/อาหารเสริม/ อาหารเสริม/อาหาร
อาหารทัว ่ ไป/อาหาร อาหารทั่วไป/อาหาร อาหารพิเศษ ที่ พิเศษ ที่เหมาะสม
เสริม/อาหารพิเศษ ที่ เสริม/อาหารพิเศษ ที่ เหมาะสมรายบุคคล รายบุคคล เช่น การให้
เหมาะสมรายบุคคล เหมาะสมรายบุคคล อาหารปั่นทางสายยาง
เป็นต้น
๒.๑.๔ การดูแลด้าน ๒.๑.๔ การดูแลด้าน
๒.๑.๔ การดูแลด้าน ๒.๑.๔ การดูแลด้าน เภสัชกรรม เช่น การ เภสัชกรรม เช่น การ
เภสัชกรรม เช่น การ เภสัชกรรม เช่น การ ประเมินความจาเป็น ประเมินความจาเป็น
ประเมินความจาเป็น ประเมินความจาเป็น และการใช้ยาที่เหมาะ และการใช้ยาที่เหมาะ
และการใช้ยาที่เหมาะ กับผู้สูงอายุฯ กับผู้สูงอายุฯ
D:\สปสชLTC\ไฟล์สง่ มาทีห
่ ลัง\เอกสารแนบท้าย(กม.เสนอรมว).docx

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 33


๓ ๓

ประเภทและ ประเภทและ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบ่ ผูง้สเป็ ูงอายุ
น ๔ทกลุ ี่มีภ่ม
าวะพึ ่งพิงแบ่อ
ตามความต้ งเป็ น ๔ กลุ่มตามความต้
งการการบริ การด้านสาธารณสุ องการการบริ ข การด้านสาธารณสุข
กิประเภทและ
จกรรมบริการ กิจกรรมบริ ผู
กลุ ้สูง ่มอายุ
ที่ ก๑าร ที่มีภาวะพึ่งพิงแบ่ งเป็
กลุ
กลุ ่ม ่มทีน่ ่ ๒
ที ๔ กลุ่มตามความต้
๑ กลุ
กลุ อ่มงการการบริ
่มที
ที่ ่ ๓ ๒ การด้านสาธารณสุ กลุ่ม่มทีที่ ่ ๓๔ข
กลุ กลุ่มที่ ๔
(ชุกิดจสิกรรมบริ การ )
ทธิประโยชน์ (ชุเคลืดสิท่อกลุ ป่ม
ธินไหวได้ ที่ ๑ บ้า)ง
ระโยชน์ เคลื
เหมื่อ กลุ ่มที่ ม
อนไหวได้
นกลุ ่ ๒ทีบ ่๑ ้าง เคลื เหมื ่อกลุ ่มที่ ม
อนกลุ
นไหวเองไม่ ่ ๓ที่ ๑ได้ เหมืเคลือ่อนกลุ กลุ่ม
นไหวเองไม่ ่ ที
ม ที่ ่ ๔ ได้
๓ และมี เหมือนกลุม ่ ที่ ๓ และ
(ชุดสิทธิประโยชน์) เคลื่อนไหวได้
และอาจมี ปญ ั หาการ บ้าง แต่ เหมื
และอาจมี
มีภาวะสั อนกลุ ปบ ัม
ญ ่ สนทางที ่๑
หาการ เคลืม่อีภนไหวเองไม่
แต่
และอาจมี าวะสั ปญ ั บสนทาง หาการ ได้ เหมื
และอาจมี
อาการเจ็ อนกลุบม ่ ปป่ทีั ว่ ยรุ
ญ ๓ และมี
หาการ นแรง อาการเจ็บป่วยรุนแ
และอาจมี
กิน หรือการขั ปญ ั หาการ บถ่าย แต่กินมีภ หรื าวะสั
อการขั
สมอง บสนทาง บถ่าย และอาจมี
กิน หรือสมอง ปญ
การขั ั หาการ บถ่าย อาการเจ็
กิหรื นอ หรือยู บนระยะท้
อ่ใการขั ป่วยรุ บถ่นาแรง
ายย หรืออยู่ในระยะท้าย
กิแต่
น ไหรื
ม่มอีภการขั าวะสับบถ่สน าย แต่ไม่มสมอง ีภาวะสับสน กินอมี
หรื หรื อการขับ
อาการเจ็ บถ่ป่าวยย หรื หรื ออมีอยู ่ในระยะท้
อของชี
าการเจ็ วิตบป่า วย ของชีวิต
แต่ไม่ทางสมอง มีภาวะสับสน ทางสมอง หรือมีอรุาการเจ็ นแรง บป่วย ของชี
รุนแรง วิต
กับผู้สทางสมอง ูงอายุฯ กับผู้สูงอายุยฯาที่เหมาะ
และการใช้ และการใช้
การป้ องกั รุนนแรงยการใช้
าที่เหมาะ ยา การป้อ
การป้ องกังกันนการใช้การใช้ย ยาผิ
า ด การป้องกันการใช้ยาผ
กั บผู้สอูงงกั
การป้ อายุ นฯ การใช้ยา และการใช้
การป้
กั บผู้สอ งกันยฯ
ูงอายุ าที่เหมาะ
การใช้ ยา การป้
กัด
ผิ ผู้สอ
บหรื อูงงกั
อายุ
เกิ การใช้
นความฯ ยา การป้
ผิดอหรื
หรื เกิออนงกั
เกิ น
นการใช้
ความจ ความ าเป็ ยนาผิด หรือเกินความจาเป็น
การป้
ผิดหรือ องกั เกินความ การใช้ยา กั
ผิบ
การป้ดผู ้สอูงองกั
หรื อายุ
เกินฯ ความ ยา
การใช้ ผิ
จ ดหรืนอเกิ
การป้
าเป็ งกั น
การป้นความ
การใช้ องกันยา หรื
จาเป็
การป้ อเกินอนงกัความจ
การป้
นและเฝ้ องกั าเป็ าน
น ระวัง การป้องกันและเฝ้าระ
ผิ ดหรืนอเกิ
จาเป็ การป้นความ องกัน การป้
จด
ผิ าเป็หรืน อ องกั การป้
เกิ นความ การใช้ องกัน ยา จผิาเป็
และเฝ้ดหรืนอาการป้ เกิ
ระวั ง องกัน
นความ การป้
และเฝ้
ภาวะแทรกซ้ อางกั นและเฝ้
ระวั งอนจากการ าระวัง ภาวะแทรกซ้อนจากก
จ าเป็นาการป้
และเฝ้ ระวัง องกัน ผิ ดหรืนอาเกิ
จและเฝ้
าเป็ ระวั
การป้นความ งองกัน และเฝ้
จาเป็นาระวั
ภาวะแทรกซ้ การป้ ง ออนจาก งกัน ภาวะแทรกซ้
ภาวะแทรกซ้
ใช้ ยา ออนจากการ นจาก ใช้ยา
และเฝ้
ภาวะแทรกซ้ าระวัง อนจาก จ าเป็นาการป้
ภาวะแทรกซ้
และเฝ้ ระวัง องกั นจาก น ภาวะแทรกซ้
และเฝ้ยาาระวังอนจาก
การใช้ ใช้
การใช้
ให้ ยคาาแนะน ยา า ปรึกษา ให้คาแนะนา ปรึกษา
ภาวะแทรกซ้
การใช้ยา ให้ อนจาก และเฝ้
การใช้ายระวั
ภาวะแทรกซ้ า ให้ง อนจาก การใช้
ภาวะแทรกซ้
ให้ คาแนะน ยา า อ ปรึ นจาก
กษา ให้
ให้่อค
เรื าแนะน
คงยา
าแนะน เวชภั าา ณ ปรึ
ปรึ ฑ์กกษา
ษา
และ เรื่องยา เวชภัณฑ์ แล
การใช้
คาแนะน ยาาให้ ปรึกษา ภาวะแทรกซ้
คาแนะน
การใช้ ยา า ปรึ อก นจาก
ษา ให้ ่อคงยา
การใช้
เรื าแนะน ยาเวชภั าณ ปรึฑ์กษา และ เรื เรื่อ
ผลิ ่อตงยา
ภัณเวชภั
งยา เสริณ
เวชภั
ฑ์ ณอาหารที
ม ฑ์
ฑ์ และและ ่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

เรืาแนะน
่องยา เวชภั า ปรึณ กษา ฑ์ และ การใช้ เรื่อ
ให้ คงยา
าแนะน ยาเวชภั า ปรึ ณฑ์ กษา และ เรื ให้่อค
ผลิ ตงยาภัณเวชภั
าแนะน ฑ์เสริ าณ ม ปรึ ฑ์กและ
อาหาร ษา ผลิ
ผลิต ตภั
เหมาะสมรายบุภัณณฑ์ ฑ์เเสริ สริม มอาหารทีอาหาร
ค คล ่ เหมาะสมรายบุคคล
เรื
ผลิ่อตงยา ภัณเวชภั ฑ์เสริณ ฑ์ และ ให้
มอาหาร ผลิ
เรื ่อคต าแนะน
งยาภัณเวชภั ฑ์เสริ าณ ปรึ ฑ์กษา
มอาหาร และ ผลิ เรื่เ่อ
ที ตงยา
ภัณฑ์
หมาะสมรายบุ เสริม
เวชภั ณอาหาร ฑ์คและ คล เหมาะสมรายบุ
ที่เหมาะสมรายบุ
แนะน าญาติ/ผูด ้ คูแคล คลใน
คล แนะนาญาติ/ผูด ้ ูแลใน
ผลิ ตภัณฑ์เสริมอาหาร
ที่เหมาะสมรายบุ คคล เรื
ที่เอหมาะสมรายบุ
ผลิ ตงยา
ภัณเวชภั ฑ์เสริณ ฑ์คและ
มอาหาร คล ที
ผลิ
แนะน่เหมาะสมรายบุ
ตภัาญาติ ณฑ์เสริ /ผูมด ูแคลใน
้ อาหาร คล แนะน
แนะนดาญาติ
การจั าญาติ //ผู
เตรียมและการให้ ผูด ้ด้ ูแูแลใน
ลใน การจัดเตรียมและการ
ที่เหมาะสมรายบุคคล ผลิ ตภัณฑ์เสริมอาหาร
ที่เหมาะสมรายบุ คคล แนะน ดาญาติ
ที่เหมาะสมรายบุ
การจั เตรียม /ผูและ ด
้ ูแค ลใน
คล การจั
การจัด
ยาอย่ า เตรี
เตรียยมและการให้
ดงเหมาะสมกั ม และ บ ยาอย่างเหมาะสมกับ
ที่เหมาะสมรายบุคคล การจั
การให้ ดย เตรี
าอย่ ยม างและ ยาอย่
การให้
ผู างเหมาะสมกั
ยาอย่าง
้ป่วยเฉพาะราย บ ผู้ป่วยเฉพาะราย
การให้
เหมาะสมกั ยาอย่บาผูง้ป่วย ผู ้ป่วยเฉพาะราย
เหมาะสมกั
การบริ หารจับดผูการเพื ้ป่วย ่อ การบริหารจัดการเพื่อ
เหมาะสมกั
เฉพาะราย บผู้ป่วย การบริ
เฉพาะราย
การเข้ าหถึารจั
งยาปวดอย่ ดการเพืา่อง การเข้าถึงยาปวดอย่า
เฉพาะราย การเข้
เหมาะสมแก่ าถึงยาปวดอย่ ผู้ป่วย าง เหมาะสมแก่ผู้ป่วย
๒.๑.๕ การดูแล เหมาะสมแก่
๒.๑.๕ ๒.๑.๕ การดู การดู ผแู้ปล่วแยล ๒.๑.๕ การดูแล
๒.๑.๕ การดูแล ๒.๑.๕ การดูแล ๒.๑.๕
สุขภาพด้ การดูานอืแ่นลๆตาม สุข
สุ ๒.๑.๕าานอื
ขภาพด้
ภาพด้ การดู
นอื ่นๆตาม
่น แล
ๆตาม สุขภาพด้านอื่นๆตาม
๒.๑.๕
สุขภาพด้านอื่นๆตาม การดู แ ล สุขภาพด้
๒.๑.๕ การดูานอืแ่นลๆตาม สุ ข ภาพด้
๒.๑.๕ าเป็
ความจ า
การดู นอื
นแ น

เช่ลน การๆตาม สุ ข
ความจาเป็
ความจ ภาพด้ า
าเป็น นอื น เช่ น
่ เช่น ๆตาม
น การการ ความจาเป็น เช่น การ
สุ ขภาพด้
ความจ าเป็ านอื น เช่ ่นๆตาม
น การ ๒.๑.๕
ความจ
สุ ขภาพด้ การดู
าเป็านอื น แ่น เช่ลๆตาม
น การ ความจ สุแ
ดู ขลสุ
ภาพด้ ขาเป็ น เช่
านอื
ภาพช่ ่นงปาก
อ น การ
ๆตาม ความจ
ดูแ
ดู แลสุลสุข ขาเป็
ภาพช่
ภาพช่ น เช่ อองปาก น การ
งปาก ดูแลสุขภาพช่องปาก
ความจ
ดูแลสุขภาพช่องปาก าเป็ น เช่ น การ สุ
ดู ข แ ภาพด้
ลสุ ข
ความจาเป็น เช่น การ า
ภาพช่ นอื น
่ อ ๆตาม
งปาก ดู แ
ความจ ลสุ
การดูแลด้า ข ภาพช่
าเป็ น อ
เช่ งปาก
น การ ดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ
การดูแลด้านสุขภาพจิต การดูแลด้านสุขภาพจ
การดู แ ลด้ า น งปาก
ดู แลสุแขลด้
การดู ภาพช่ าน องปาก ความจ
การดู
ดู แลสุแ ขาเป็
ลด้
ภาพช่ านนเช่ องปาก น การ การดู
ดูข
สุ ลสุแขลด้
แภาพจิ ตาน
ภาพช่ เป็อ นงปาก ต้น การดู
สุขนภาพจิ
เป็ ต้แนลด้ตานสุ เป็น ขต้ ภาพจิ
น ต เป็นต้น
การดู
สุขภาพจิ แลด้ตาน เป็นต้น ดู
สุแขลสุ
การดู แขลด้
ภาพจิ ภาพช่ตาน เป็อนงปาก ต้น สุ ขภาพจิ
การดู แลด้ ตาเป็น นต้น เป็นต้น
สุขภาพจิต เป็นต้น การดู
สุขภาพจิ แลด้ตาน เป็นต้น สุขภาพจิต เป็นต้น
สุขภาพจิต เป็นต้น
๓. บริการดูแลที่บ้าน/ ๓. ความถี บริการดู แลที่บ้าน/
่ของการ ความถี่ข
ความถี ่ของการ
องการ ความถี่ข
ความถี ่ของการ
องการ ความถี่ข
ความถี ่ของการ
องการ ความถี่ของการ
๓. บริการดูแคลที
ชุมชนและให้ ่บ้าน/าแก่ชุมชนและให้
าแนะน ความถี
ให้บริการอย่ ่ของการคาแนะน างน้อย าแก่ ความถี ให้บ
ให้ บริริก ่ข
การอย่ องการ
ารอย่ าางน้ งน้อ อย ย ความถี
ให้บ
ให้ บริริก ก่ข องการ
ารอย่
ารอย่ าางน้ งน้อ อย ย ความถี
ให้บ
ให้ บริริก ่ข องการ
การอย่
ารอย่ าางน้ งน้อ อยย ให้บริการอย่างน้อย
ชุ มชนและให้
ญาติ และผูด ้ ูแคลาแนะนโดยผู้ชาแก่ ่วย ญาติ ให้
เดืแอ บนละ
ริกด
ละผู ้ารอย่
ูแ๒ล ครั างน้
โดยผู ้ง อ้ช ย่วย ให้
เดืปบ
สั ริการอย่
อดาห์
นละ ละ๒๑ครั างน้ ้ง อ
ครั ้ง ย ให้
สัป
สั ปบดาห์
ริการอย่
ดาห์ ลละะ ๑ ๑างน้ ครัอ
ครั ้ง้งย ให้
สัป
สั ปบดาห์
ริการอย่
ดาห์ ละะ 2๑าครั
ล งน้
ครั้งอ้งย สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
ญาติ
เหลือแดูละผู
แลผูด ้ส ้ ูแูงลอายุ
โดยผู้ช่วย เหลืเดื อดูอแนละ
๓.๑ ลผู
การบริ ้ ๒
ส ูงอายุ ครั
การ ้ง สั
๓.๑
๓.๑.ปดาห์ การบริ
การบริ ละ ๑ก การ ๔้ง
ครั
าร สั ปดาห์
๓.๑.
๓.๑ ละ ๑กการ
การบริ
การบริ ครั าร้ง สั
๓.๑
๓.๑ ปดาห์ ละ 2ก
การบริ
การบริ การ ครั
าร ้ง ๓.๑ การบริการ
เหลื อดูแลผูส
(caregiver) ้ หรืูงอายุ
อเครือข่าย(caregiver) ๓.๑
สาธารณสุ การบริ หรื ขเบืก
อาร เครื
้องต้ อน ข่าย ๓.๑. สาธารณสุ
สาธารณสุ การบริ ข ขเบืการ
เบื ้องต้
้อ งต้น น ๓.๑
สาธารณสุ
สาธารณสุ การบริ ข การ
ขเบื
เบื ้องต้
้อ งต้น น ๓.๑
สาธารณสุ
สาธารณสุ การบริ ข ขเบื ก
เบืาร ้อ้องต้ งต้น น ทั้ง สาธารณสุขเบื้องต้น ท
(caregiver)
สุขภาพอื่นๆหรื หรือ อเครือข่ายสุขภาพอื สาธารณสุ
ทั้งด้า่น ๆหรื
นการพยาบาล ขอ เบื้องต้น สาธารณสุ
ทั้ง้งด้
ทั ด้าานการพยาบาล
นการพยาบาล ขเบื้องต้น สาธารณสุ
ทั้ง้งด้
ทั ด้าานการพยาบาล
นการพยาบาลขเบื้องต้น สาธารณสุ
ทัา้งนการพยาบาล
ด้ ด้านการพยาบาลขเบื้องต้การ น ทั้ง ด้านการพยาบาล การ
สุ ขภาพอื ประเภทและ ผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึทั ่ง้งพิด้งาแบ่ ฟูงสเป็ น ๔ การ กลุ่มตามความต้ ฟูอส
สงการการบริ การ การด้ า้นา นสาธารณสุ ขการ
อาสาสมั ค่นรๆหรื อ
จิตอาสา ทั
อาสาสมั้งด้าคนการพยาบาล
การฟื ้นรฟูจิสตภาพ อาสา การ การฟื
การฟื นการพยาบาล
้นฟู
้น ส ภาพ
ภาพ การ ทั
การฟื้งด้านการพยาบาล
การฟื ้นฟู
้น ภาพ การ
ภาพ ด้
การฟื
ฟื นการพยาบาล
ฟูส้นภาพฟูสภาพ การท การ
า ฟื้นฟูสภาพ การทา
อาสาสมั
(กิจกรรม กิจกรรมบริ
ครรูปจิแบบการ การ
ตอาสา (กิจการฟื
กรรม
ทากายภาพบ ้นรูกลุ ฟู
ปส ่มภาพ
แบบการที่ าบั
๑ ดการ การฟื
ททากายภาพบ
ากายภาพบ้นกลุ ฟูส่มภาพ ที่ าบั ๒ด
าบั ดการ การฟื
ททากายภาพบ
ากายภาพบ ้นกลุ ฟูส่มภาพ ที่ าบั าบั๓ด ด การ ฟื
ท้น ฟูสภาพ
ากายภาพบ
กายภาพบ กลุาบั่มที การท
ด ่ ๔การดู
าบั ด า แล กายภาพบาบัด การด
ให้จบ(ชุ
(กิ ดาร
กรรม
ริก สิทรูและความถี
ธิปปแบบการ
ระโยชน์่ใ)น ให้บท ก
การดู เคลื
ารแ่อและความถี
ริากายภาพบ นไหวได้
ลด้ านยา าบับ ด
การ้า่ใง
น ทการดู
การดู เหมื
ากายภาพบ แ แลด้อ
ลด้นกลุ าานยานยา ม
าบั่ ทีด ่๑
การ
การ ท เคลื
การดู
การดู ่อแ
ากายภาพบ แนไหวเองไม่
ลด้าานยา
ลด้ นยา าบัด การ
การ ได้ เหมื
กายภาพบ
การดู
ด้ านยา อแนกลุ
ลด้
การดู ม่ นยา
าาบั ทีดแ่ ล ๓การดูและมี
การ แล ด้านยา การดูแล
ให้ บริกบ
การให้ ารริกและความถี
ารขึ้นอยู่กบ ั ่ใน การให้ การดู
แบ
ดูและอาจมี ริแกลด้
ลโภชนาการ ารขึ าปนยา
้นญ ั อยูหาการ
่กการ


อาจ การดู
ดู
แต่
ดู แ แลด้
แลโภชนาการ
ลโภชนาการ
มีภ าวะสั านยา บสนทาง การ
อาจ
อาจ การดู
ดู
ดู แ แลด้าป
แลโภชนาการ
และอาจมีลโภชนาการ นยาญ ั หาการ การ
อาจ
อาจ ด้ าแนยา
ดูอาการเจ็
โภชนาการ การดู
ลโภชนาการ ป่แ
บอาจรวมถึ วล ยรุ อาจ
นแรง ง โภชนาการ อาจรวมถ
การให้
สภาพปั บญริก ารขึ้นอยู
หาของผู ้ส่ก บ

ูงอายุ ดู
สภาพปั กิแน
รวมถึ ลโภชนาการ
ญหรื
งหาของผู
การวัอการขั ดสั้สญ บูงอาจ
อายุ
ญาณ
ถ่ าย ดู แลโภชนาการ
รวมถึ
รวมถึ งงการวั
การวั
สมอง ดดสั สัญญอาจญาณ ดู
ญาณ กิแน
รวมถึ
รวมถึ ลโภชนาการ
งงการวั
หรื การวั
อการขั ดดสั สัญ บอาจ
ญ ญาณ
ญาณ
ถ่ าย โภชนาการ
รวมถึ
การวั หรือ ดงอยู
การวั
สั ญ่ใญาณชี อาจรวมถึ
นระยะท้ดสัญพ ญาณ ยง การวัดสัญญาณชีพ ก
าการ
สภาพปั
ที่มีภาวะพึ ญหาของผู
่งพิงแต่ล้สะราย ูงอายุ ที่มีภ รวมถึ
ชีาวะพึ งการวั
พ และตรวจคั
แต่ ไม่ ่งมพิีภงาวะสัแต่ดสัลญ ดบญาณ
ะรายกรอง
สน รวมถึ
ชีพ
ชี งการวัดสัญ
พ การตรวจน้
และตรวจคั ดญาณ
าตาลกรอง รวมถึ ชี
ชี พ
หรื พอการทมีงอ
การตรวจน้การวั าแผล
าการเจ็ ดสัญ าตาล
บ การ ญาณ
ป่วย การวั
ชีาแผล
ท พ การท ดสัของชี
ญาแผล
ญาณชี
การดู แ
วลสาย ิตการพ การ ทาแผล การดูแลสาย
ที
เป็่มนีภสาวะพึ
าคัญ ่งตาม พิงแต่ละราย เป็นชี สุสพ
ขาคั และตรวจคั
ภาพญ ตาม ตรวจน้ด าตาลกรอง ชี สุพ
ในเลืขภาพ การตรวจน้
อด ตรวจน้ การปฐม าตาล
าตาล ชี พ
ในเลื
ดู การท
แลสายสวน อด การปฐม าแผล การ การ ท
ดูาแผล
สวน แลสายสวน การดูแการ
การตรวจน้ ลสาย
าตาลใน สวน การตรวจน้าตาล
เป็นสาคัญ ตาม สุขภาพ ตรวจน้าตาลทางสมอง ในเลือด การปฐม ดูแลสายสวน การ รุ น แรง สวน การตรวจน้าตาลใน
คาแนะน า/มอบหมายของ
D:\สปสชLTC\ไฟล์ สง่ มาทีห ในเลื
่ ลัง\เอกสารแนบท้ อด การปฐม
D:\สปสชLTC\ไฟล์
าย(กม.เสนอรมว).docx สง่ มาทีห พยาบาล
่ ลัง\เอกสารแนบท้ การช่วยฟื้น
าย(กม.เสนอรมว).docx ตรวจน้าตาลในเลือด เลือด การให้ออกซิเจน
บุคคลากรวิชาชีพ
D:\สปสชLTC\ไฟล์ ส ง
่ มาที ห
่ ลัง พยาบาล การช่วยฟื้น
\เอกสารแนบท้ า ย(กม.เสนอรมว).docx คืนชีพพื้นฐาน เป็นต้น การปฐมพยาบาล การ การดูดเสมหะ การปฐม
คืนชีพพื้นฐาน เป็นต้น ช่วยฟื้นคืนชีพพื้นฐาน พยาบาล การช่วยฟื้นคืน
เป็นต้น ชีพพื้นฐาน เป็นต้น
๓.๒ การดูแลสุขภาพ ๓.๒ การดูแลสุขภาพ ๓.๒ การดูแล ๓.๒ การดูแลสุขภาพ
ขั้นพื้นฐาน เช่น การ ขั้นพื้นฐาน เช่น การ สุขภาพขั้นพื้นฐาน ขั้นพื้นฐาน เช่น การ
ดูแลความสะอาด ดูแลความสะอาด เช่น การดูแลความ ดูแลความสะอาด
ร่างกาย การดูแลเรื่อง ร่างกาย การดูแลเรื่อง สะอาดร่างกาย การ ร่างกาย การดูแลเรื่อง
การกินยา การดูแล การกินยา การดูแล ดูแลเรื่องการกินยา การกินยา การดูแลเรื่อง
เรื่องการกินอาหาร เรื่องการกินอาหาร การดูแลเรื่องการกิน การกินอาหาร เป็นต้น
เป็นต้น เป็นต้น อาหาร เป็นต้น ๓.๓ การจัดการ
๓.๓ การจัดการ ๓.๓ การจัดการ ๓.๓ การจัดการ สภาพแวดล้อม/บ้าน
สภาพแวดล้อม/บ้าน สภาพแวดล้อม/บ้าน สภาพแวดล้อม/บ้าน เพื่อการฟื้นฟูสภาพและ
เพื่อการฟื้นฟูสภาพ เพื่อการฟื้นฟูสภาพ เพื่อการฟื้นฟูสภาพ การดูแลระยะยาว/
ป้องกันอุบัติเหตุและ ป้องกันอุบัติเหตุและ และการดูแลระยะ ผู้ป่วยนอนติดเตียง/
การดูแลระยะยาว การดูแลระยะยาว/ ยาว/ผู้ป่วยนอนติด ระยะสุดท้าย
ผู้ป่วยสมองเสื่อม เตียง
๔. จัดหาอุปกรณ์ทางการ จัดหาอุปกรณ์ จัดหาอุปกรณ์ จัดหาอุปกรณ์ จัดหาอุปกรณ์การแพทย์
แพทย์ การแพทย์และ การแพทย์และ การแพทย์ที่จาเป็น ที่จาเป็นตามสภาพผู้ที่
(อุปกรณ์การแพทย์และ อุปกรณ์เครื่องช่วยที่ อุปกรณ์เครื่องช่วยที่ ตามสภาพผู้ที่อยู่ใน อยู่ในภาวะพึ่งพิง เช่น ที่
อุปกรณ์เครื่องช่วยอาจ จาเป็นตามสภาพผู้ที่ จาเป็นตามสภาพผู้ที่ ภาวะพึ่งพิง เช่น ที่ นอนลม ชุดให้ออกซิเจน
ได้รับจากสิทธิบริการอื่นๆ อยู่ในภาวะพึ่งพิง อยู่ในภาวะพึ่งพิง นอนลม ชุดออกซิเจน เตียงปรับระดับ ชุดดูด
เช่น จาก อปท. หรือสถาน เตียงปรับระดับ เป็น เสมหะ/ของเหลว เป็น
บริการสาธารณสุข หรือ ต้น ต้น
ภาคเอกชน)
๕.ประเมินผลการดูแลและ โดยบุคลากร โดยบุคลากร โดยบุคลากร โดยบุคลากรสาธารณสุข
ปรับแผนการให้บริการ สาธารณสุขหรือ care สาธารณสุขหรือ care สาธารณสุขหรือ care หรือ care manager
manager อย่างน้อย manager อย่างน้อย manager อย่างน้อย อย่างน้อย
๖ เดือน/ครั้ง ๓ เดือน/ครั้ง ๓ เดือน/ครั้ง ๑ เดือน/ครั้ง
อัตราการชดเชย ไม่เกิน ๔,๐๐๐ ๓,๐๐๐ – ๖,๐๐๐ ๔,๐๐๐ – ๘,๐๐๐ ๕,๐๐๐ – ๑๐,๐๐๐
ค่าบริการ บาท/คน/ปี บาท/คน/ปี บาท/คน/ปี บาท/คน/ปี
(เหมาจ่าย/คน/ปี)

D:\สปสชLTC\ไฟล์สง่ มาทีห
่ ลัง\เอกสารแนบท้าย(กม.เสนอรมว).docx

34 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


๑๒๐ หมู่ ๓ ชั้น ๒-๔ อาคารรวมหน่ วยงานราชการ “ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ”
ถนนแจ้ งวัฒนะ แขวงทุง่ สองห้ อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐๒ ๑๔๑ ๔๐๐๐ โทรสาร ๐๒ ๑๔๓ ๙๗๓๐

๑๒๐ หมู่ ๓ ชั้น ๒-๔ อาคารรวมหน่ วยงานราชการ “ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ”
ที่ สปสช. ๓.๖๕ /ว.๑๖๑/๒๕๕๙ ถนนแจ้ งวัฒนะ แขวงทุง่ สองห้ อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐๒ ๑๔๑ ๔๐๐๐ โทรสาร ๐๒ ๑๔๓ ๙๗๓๐

๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
ที่ สปสช. ๓.๖๕ /ว.๑๖๑/๒๕๕๙
เรื่อง แจ้งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริห๑๖ ารจัดกุการกองทุ
มภาพันธ์น๒๕๕๙ หลัก ประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น
เรื่อง แจ้อ
หรื งประกาศคณะกรรมการหลั
พื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ กประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้
เรียน ปลั องค์ดกกระทรวงมหาดไทย
รปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลัก ประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น
หรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกาหนด จานวน ๑ ฉบับ
เรียน ปลัดกระทรวงมหาดไทย
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหาร
สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. ประกาศคณะกรรมการหลั
จัดการกองทุ กประกันสุขบภาพแห่
นหลักประกันสุขภาพในระดั ท้องถิ่นงชาติ
หรือพืเรื้น่อที
ง ่ การก
(ฉบับาหนด
ที่ ๒) จานวน ๑ ฉบับ
หลักเกณฑ์
พ.ศ. ๒๕๕๙ เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหาร
จัดการกองทุ
๒. พื้นที่ดาเนินนหลั กประกั
งานดู นสุขภาพในระดั
แลระยะยาวด้ บท้องถิข่นสาหรั
านสาธารณสุ หรือบพืผู้น้สทีูง่ อายุ
(ฉบับที่ ๒) จานวน ๑ ฉบับ
พ.ศ.
ที ๒๕๕๙
่มีภาวะพึ ่งพิงปี ๒๕๕๙
๒. พื้น่ ทีคณะกรรมการหลั
ตามที ่ดาเนินงานดูแลระยะยาวด้
กประกันสุานสาธารณสุ
ขภาพแห่งชาติขสาหรั
ได้อบอกประกาศคณะกรรมการหลั
ผู้สูงอายุ จานวนก๑ ฉบับน
ประกั
สุขภาพแห่งชาติ เรื ที่ม ่อีภ
ง าวะพึ
การก่งาหนดหลั
พิงปี ๒๕๕๙
กเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหาร
จัดการกองทุนหลัตามที กประกั ่ คณะกรรมการหลั
นสุขภาพในระดับกท้ประกั
องถิ่นนหรื สุขอภาพแห่ งชาติ
พื้นที่ (ฉบั บที่ ได้
๒)ออกประกาศคณะกรรมการหลั
พ.ศ. ๒๕๕๙ โดย ศ.คลินิกเกีกยประกั น
รติคุณ

ภาคผนวก ค.
สุขภาพแห่
นพ.ปิ ยะสกลงชาติ เรื่อตงยาทร
สกลสั การกรัาหนดหลั
ฐมนตรีวก่าเกณฑ์ เพื่อสนับสนุนให้อข
การกระทรวงสาธารณสุ งค์ได้
กรปกครองส่
ลงนามเมื่อววันท้
นทีอ งถิกุ่นมด
่๘ าเนินนธ์งานและบริ
ภาพั หาร
๒๕๕๙ และมี
จั ดการกองทุ
ผลบั งคับใช้ตั้งนแต่
หลัวกันประกั นสุขภาพในระดั
ที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๙ บเป็ท้น
อต้
งถิ น่น
ไปหรืนัอ้นพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ โดย ศ.คลินิกเกียรติคุณ
นพ.ปิยะสกล สกลสั ตยาทร้ สรัานั
ในการนี ฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุ
กงานหลั กประกันสุขภาพแห่งชาติ ข ได้จึลงขอแจ้
งนามเมื ่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
งประกาศคณะกรรมการหลั และมี
กประกั น
ผลบั งคับใช้งตชาติ
สุขภาพแห่ ั้งแต่เรื
วัน่อทีง่ การก
๔ มกราคม
าหนดหลั๒๕๕๙ เป็น
กเกณฑ์ เพืต้่อนสนั
ไปบนัสนุ ้น นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหาร
จัดการกองทุนหลัในการนี
กประกัน้ สุ สขานั กงานหลักบประกั
ภาพในระดั ท้องถิน่นสุหรื ขภาพแห่
อพื้นที่ ง(ฉบั ชาติบทีจึ่ ง๒)
ขอแจ้ งประกาศคณะกรรมการหลั
พ.ศ. ๒๕๕๙ (รายละเอียดตามสิก่งประกั ที่ส่งมาน
สุข
ด้ ภาพแห่
วย ๑) เพืง่อชาติ
ทราบเรื่อและขอได้
ง การกาหนดหลั
โปรดแจ้กงเกณฑ์ เพื่อสนังบ
ประกาศฯดั สนุ
กล่ นให้กอับ
าวให้ งค์องค์
กรปกครองส่
การปกครองส่ วนท้อวงถิ ่นอดงถิ
นท้ าเนิ
่น ที น่ด
งานและบริ
าเนินงานดูหแาร ล
จัดการกองทุาน
ระยะยาวด้ หลักประกันขสุสขาหรั
นสาธารณสุ ภาพในระดั บท้ทอี่ มงถิ
บ ผู้ สู งอายุ ี ภ่นาวะพึ
หรือพื ้นที
่ ง พิ งปี่ (ฉบั บที่ ๒)(รายละเอี
๒๕๕๙ พ.ศ. ๒๕๕๙ (รายละเอี
ย ดตามสิ ่ ง ที่ ส่ งยมาด้
ดตามสิ
ว ย ่ง๒)
ที่สเพื
่งมา
่อ
ด้วยยมการในส่
เตรี ๑) เพื่อทราบ
วนที่เและขอได้ โปรดแจ้กงารปกครองส่
กี่ยวข้อง และองค์ ประกาศฯดังวกล่ นท้าอวให้ งถิ่นกอื
ับ่นองค์
ๆเพืก ่อารปกครองส่
เตรียมการดาเนิ วนท้ องถิ่น ที่ดตาเนิ
นงานในปี ่อไปนงานดูแล
ระยะยาวด้ านสาธารณสุ ขส าหรั
จึงเรียนมาเพื บ ผู้ สู งอายุและพิ
่อโปรดทราบ ที่ มี ภ าวะพึ
จารณาด ่ ง พิาเนิ
งปี น๒๕๕๙
การในส่(รายละเอี
วนที่เกี่ยวข้ยอดตามสิ
ง จะเป็่ งนทีพระคุ
่ ส่ งมาด้
ณ ว ย ๒) เพื่ อ
เตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆเพื่อเตรียมการดาเนินงานในปีต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และพิจารณาดาเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง จะเป็นพระคุณ
ขอแสดงความนับถือ
(นายประทีป ธนกิจเจริญ)
รองเลขาธิการ รักษาการแทน
เลขาธิการส(นายประที
านักงานหลัปกประกั
ธนกิจนเจริ
สุขญ )
ภาพแห่ งชาติ
รองเลขาธิการ รักษาการแทน
เลขาธิการสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สานักสนับสนุนระบบบริการสุขภาพชุมชน
ผู้ประสานงาน นางศศิธร ไชยสิทธิพร โทร ๐๒-๑๔๑-๔๑๙๐
สานักสนับสนุนระบบบริการสุขภาพชุ
๑๒๐มชน
หมู่ ๓ ชั้น ๒-๔ อาคารรวมหน่ วยงานราชการ “ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ”
ผู้ประสานงาน นางศศิธร ไชยสิทถนนแจ้ งวัฒนะ
ธิพร โทร แขวงทุง่ สองห้ อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐๒ ๑๔๑ ๔๐๐๐ โทรสาร ๐๒ ๑๔๓ ๙๗๓๐
๐๒-๑๔๑-๔๑๙๐
๑๒๐ หมู่ ๓ ชั้น ๒-๔ อาคารรวมหน่ วยงานราชการ “ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ”
ที่ สปสช. ๓.๖๕ /ว.๑๖๑/๒๕๕๙ ถนนแจ้ งวัฒนะ แขวงทุง่ สองห้ อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐๒ ๑๔๑ ๔๐๐๐ โทรสาร ๐๒ ๑๔๓ ๙๗๓๐

๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
ที่ สปสช. ๓.๖๕ /ว.๑๖๑/๒๕๕๙
เรื่อง แจ้งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริห๑๖ ารจัดกุการกองทุ
มภาพันธ์น๒๕๕๙ หลัก ประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น
เรื่อง หรื
แจ้อ พื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
งประกาศคณะกรรมการหลั กประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้
เรียน ปลั องค์ดกกระทรวงมหาดไทย
รปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น
หรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกาหนด จานวน ๑ ฉบับ
เรียน ปลัดกระทรวงสาธารณสุ หลักเกณฑ์เพื่อสนั ข บสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหาร
สิ่งที่ส่งมาด้วย จั ๑.ดการกองทุ นหลักประกันสุขภาพในระดั
ประกาศคณะกรรมการหลั กประกันสุขบภาพแห่ ท้องถิ่นงชาติหรือพืเรื้น่อที
ง ่ การก
(ฉบับาหนด
ที่ ๒) จานวน ๑ ฉบับ
พ.ศ.
หลักเกณฑ์๒๕๕๙ เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหาร
๒. พื้นที่ดาเนินนหลั
จัดการกองทุ งานดู
กประกั แลระยะยาวด้
นสุขภาพในระดั านสาธารณสุ บท้องถิข่นสาหรั หรือบพืผู้น้สทีูง่ อายุ
(ฉบับที่ ๒) จานวน ๑ ฉบับ
ที ่มีภาวะพึ
พ.ศ. ๒๕๕๙ ่งพิงปี ๒๕๕๙
๒. พื้น่ ทีคณะกรรมการหลั
ตามที ่ดาเนินงานดูแลระยะยาวด้ กประกันสุ านสาธารณสุ
ขภาพแห่งชาติ ขสาหรั ได้อบอกประกาศคณะกรรมการหลั
ผู้สูงอายุ จานวนก๑ ฉบับน
ประกั
สุขภาพแห่งชาติ เรื ที่ม ่อีภ
ง าวะพึ
การก่งาหนดหลั
พิงปี ๒๕๕๙ กเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหาร
จัดการกองทุนหลัตามที กประกั นสุขภาพในระดับกท้ประกั
่ คณะกรรมการหลั องถิ่นนหรื สุขอภาพแห่
พื้นที่ (ฉบั บที่ ได้
งชาติ ๒)ออกประกาศคณะกรรมการหลั
พ.ศ. ๒๕๕๙ โดย ศ.คลินิกเกีกยประกั รติคุณ น
นพ.ปิ ยะสกล
สุขภาพแห่ งชาติ สกลสั
เรื่อตงยาทรการกรัาหนดหลั
ฐมนตรีวก่าเกณฑ์
การกระทรวงสาธารณสุ
เพื่อสนับสนุนให้อข งค์ได้ ลงนามเมื่อววันท้
กรปกครองส่ นทีอ่๘งถิกุ่นมด
ภาพั
าเนินนธ์งานและบริ
๒๕๕๙ และมี หาร
ผลบั งคับใช้ตั้งนแต่
จัดการกองทุ หลัวกันประกั
ที่ ๔ มกราคม
นสุขภาพในระดั๒๕๕๙ บเป็ ท้น อต้งถิน่นไป
หรืนัอ้นพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ โดย ศ.คลินิกเกียรติคุณ
นพ.ปิยะสกล สกลสั ตยาทร้ สรัานั
ในการนี ฐมนตรี
กงานหลัว่าการกระทรวงสาธารณสุ
กประกันสุขภาพแห่งชาติ ข ได้จึลงขอแจ้
งนามเมื ่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
งประกาศคณะกรรมการหลั และมี
กประกั น
ผลบั
สุ งคับใช้งตชาติ
ขภาพแห่ ั้งแต่เรื
วัน่อทีง่ การก
๔ มกราคมาหนดหลั ๒๕๕๙ กเกณฑ์เป็นเพืต้่อนสนัไปบนัสนุ ้น นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหาร
จัดการกองทุนหลัในการนี กประกัน้ สุ สขานั
ภาพในระดั
กงานหลักบประกัท้องถิน่นสุหรื อพื้นที่ ง(ฉบั
ขภาพแห่ ชาติบทีจึ่ ง๒) พ.ศ.
ขอแจ้ ๒๕๕๙ (รายละเอียดตามสิก่งประกั
ง ประกาศคณะกรรมการหลั ที่ส่งมาน
ด้
สุขวย ๑) เพืง่อชาติ
ภาพแห่ ทราบ เรื่อและขอได้
ง การกาหนดหลัโปรดแจ้กงเกณฑ์ประกาศฯดั
เพื่อสนังบ กล่
สนุ าวให้
นให้กอับงค์องค์ การปกครองส่
กรปกครองส่ วนท้อวงถินท้
่นอดงถิ ่น ที
าเนิ น่ด าเนินงานดูหแาร
งานและบริ ล
ระยะยาวด้
จัดการกองทุาน นสาธารณสุ
หลักประกันขสุสขาหรั บ ผู้ สู งอายุ
ภาพในระดั บท้ทอี่ มงถิ
ี ภ่นาวะพึ
หรือพื ่ ง พิ งปี
้นที ๒๕๕๙
่ (ฉบั บที่ ๒)(รายละเอี
พ.ศ. ๒๕๕๙ ย ดตามสิ ่ ง ที่ ส่ งยมาด้
(รายละเอี ว ย ่ง๒)
ดตามสิ ที่สเพื ่อ
่งมา
เตรี
ด้วยยมการในส่
๑) เพื่อทราบ วนที่เและขอได้
กี่ยวข้อง และองค์
โปรดแจ้กงารปกครองส่
ประกาศฯดังวกล่ นท้าอวให้ งถิ่นกอื
ับ่นองค์
ๆเพืก่อารปกครองส่
เตรียมการดาเนิ วนท้นงานในปี
องถิ่นที่ดตาเนิ ่อไปนงานดูแล
ระยะยาวด้ านสาธารณสุ ขส าหรั
จึงเรียนมาเพื บ ผู้ สู งอายุและพิ
่อโปรดทราบ ที่ มี ภ าวะพึ
จารณาด ่ ง พิาเนิ
งปี น๒๕๕๙
การในส่(รายละเอี
วนที่เกี่ยวข้ยอดตามสิ ง จะเป็่ งนทีพระคุ
่ ส่ งมาด้
ณ ว ย ๒) เพื่ อ
เตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆเพื่อเตรียมการดาเนินงานในปีต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และพิจารณาดาเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง จะเป็นพระคุณ
ขอแสดงความนับถือ
(นายประทีป ธนกิจเจริญ)
รองเลขาธิการ รักษาการแทน
เลขาธิการส(นายประที
านักงานหลัปกประกั
ธนกิจนเจริ
สุขญภาพแห่
) งชาติ
รองเลขาธิการ รักษาการแทน
เลขาธิการสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สานักสนับสนุนระบบบริการสุขภาพชุมชน
ผู้ประสานงาน นางศศิธร ไชยสิทธิพร โทร ๐๒-๑๔๑-๔๑๙๐
สานักสนับสนุนระบบบริการสุขภาพชุมชน
คู่มือ ผู้ประสานงาน
สนับสนุนการบริ นางศศิ
หารจัดการระบบบริ การดูธแรลระยะยาวด้
ไชยสิทธิพารนสาธารณสุ
โทร ๐๒-๑๔๑-๔๑๙๐
ข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 35
ถนนแจ้ งวัฒนะ แขวงทุง่ สองห้ อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐๒ ๑๔๑ ๔๐๐๐ โทรสาร ๐๒ ๑๔๓ ๙๗๓๐

ที่ สปสช. ๓.๖๕ /ว.๑๖๑/๒๕๕๙


๑๒๐ หมู่ ๓ ชั้น ๒-๔ อาคารรวมหน่ วยงานราชการ “ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ”
ถนนแจ้ งวัฒนะ แขวงทุง่ สองห้ อง๑๖ กุกมสีภาพั
เขตหลั นธ์ ๒๕๕๙
่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐๒ ๑๔๑ ๔๐๐๐ โทรสาร ๐๒ ๑๔๓ ๙๗๓๐

เรื่อง แจ้งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้


ที่ สปสช. ๓.๖๕ /ว.๑๖๑/๒๕๕๙
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น
หรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
เรืย
เรี ่อน
ง แจ้งดประกาศคณะกรรมการหลั
ปลั กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั กประกั่นนคงของมนุ
สุขภาพแห่ ษงย์ชาติ เรื่อง การกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น
สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกาหนด จานวน ๑ ฉบับ
หรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหาร
เรียน ปลัดกระทรวงพั จัดการกองทุ ฒนาสันงหลั คมและความมั
กประกันสุข่น คงของมนุบ
ภาพในระดั ษท้
ย์องถิ่น หรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒)
สิ่งที่ส่งมาด้วย พ.ศ. ๒๕๕๙
๑. ประกาศคณะกรรมการหลั กประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกาหนด จานวน ๑ ฉบับ
๒.
หลัก พืเกณฑ์
้นที่ดาเนิ
เพื่อนสนั
งานดู
บสนุ แลระยะยาวด้ านสาธารณสุ
นให้องค์กรปกครองส่ วนท้ขอสงถิ
าหรั
่น บดผูาเนิ
้สูงอายุ
นงานและบริหาร จานวน ๑ ฉบับ
ที
จั่ม
ดีภ าวะพึ่งพินงปี
การกองทุ หลั๒๕๕๙
กประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๙
ตามที่ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ออกประกาศคณะกรรมการหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ เรื ๒.่องพืการก
้นที่ดาเนิ นงานดูกแเกณฑ์
าหนดหลั ลระยะยาวด้
เพื่อสนัาบนสาธารณสุ
สนุนให้องค์ขกสรปกครองส่
าหรับผู้สูงอายุ วนท้องถิ่น ดาเนินจงานและบริ
านวน ๑ ฉบั บ
หาร
ที่มีภาวะพึ่งพิงปี ๒๕๕๙
จัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ โดย ศ.คลินิกเกียรติคุณ
นพ.ปิยะสกล สกลสั ตามทีตยาทร ่ คณะกรรมการหลั กประกันสุขภาพแห่ข
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุ งชาติ ได้ออกประกาศคณะกรรมการหลั
ได้ลงนามเมื ่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ กประกั
และมีน
สุ ขภาพแห่
ผลบั งคับใช้งตชาติ
ั้งแต่เรื
วัน่อทีง่ การก าหนดหลั
๔ มกราคม ๒๕๕๙ กเกณฑ์ เพืต้่อนสนั
เป็น ไปบนัสนุ้น นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหาร
จัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ โดย ศ.คลินิกเกียรติคุณ
นพ.ปิยะสกล สกลสั ในการนี
ตยาทร้ สรัานั กงานหลั
ฐมนตรี กประกันสุขภาพแห่งชาติ
ว่าการกระทรวงสาธารณสุ จึล
ข ได้ งขอแจ้
งนามเมื ง ประกาศคณะกรรมการหลั
่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ กประกั
และมีน
สุขภาพแห่
ผลบั งคับใช้งตชาติ
ั้งแต่เรื
วัน่อทีง่ การก าหนดหลั
๔ มกราคม ๒๕๕๙ กเกณฑ์ เพืต้่อนสนั
เป็น ไปบนัสนุ ้น นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหาร
จัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ (รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมา
ด้วย ๑) เพื่อทราบในการนี และขอได้ ้ สานั กงานหลั
โปรดแจ้ กประกันสุขงภาพแห่
งประกาศฯดั กล่าวให้งกชาติ จึงขอแจ้
ับ องค์ ง ประกาศคณะกรรมการหลั
การปกครองส่ วนท้องถิ่นที่ดาเนินกงานดูประกั
แนล
สุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหาร
ระยะยาวด้ านสาธารณสุ ขส าหรับ ผู้ สู งอายุ ที่ มีภ าวะพึ่ ง พิ งปี ๒๕๕๙ (รายละเอี ย ดตามสิ่ ง ที่ ส่ งมาด้ ว ย ๒) เพื่ อ
จัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ (รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมา
เตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆเพื่อเตรียมการดาเนินงานในปีต่อไป
ด้วย ๑) เพื่อทราบ และขอได้โปรดแจ้งประกาศฯดังกล่าวให้กับ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดาเนินงานดูแล
ระยะยาวด้ านสาธารณสุ จึงเรียนมาเพืขส าหรั ่อโปรดทราบ
บ ผู้ สู งอายุและพิ จารณาด
ที่ มี ภ าวะพึ ่ ง พิาเนิ
งปี น๒๕๕๙
การในส่(รายละเอี
วนที่เกี่ยวข้ยอดตามสิ
ง จะเป็่ งนทีพระคุ ณ ว ย ๒) เพื่ อ
่ ส่ งมาด้
เตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และองค์การปกครองส่วนท้องถิ ่นอื่นๆเพื่อเตรีบยถืมการด
ขอแสดงความนั อ าเนินงานในปีต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และพิจารณาดาเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง จะเป็นพระคุณ
ขอแสดงความนับถือ
(นายประทีป ธนกิจเจริญ)
รองเลขาธิการ รักษาการแทน
เลขาธิการส(นายประที
านักงานหลัปกประกั
ธนกิจนเจริ
สุขญภาพแห่
) งชาติ
รองเลขาธิการ รักษาการแทน
เลขาธิการสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สานักสนับสนุนระบบบริการสุขภาพชุมชน
ผู้ประสานงาน นางศศิธร ไชยสิทธิพร โทร ๐๒-๑๔๑-๔๑๙๐
สานักสนับสนุนระบบบริการสุขภาพชุมชน
ผู้ประสานงาน นางศศิธร ไชยสิท๑๒๐
ธิพรหมูโทร
่ ๓ ชั๐๒-๑๔๑-๔๑๙๐
้ น ๒-๔ อาคารรวมหน่ วยงานราชการ “ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ”
๑๒๐ หมู่ ๓ ชั้น ๒-๔ อาคารรวมหน่ วยงานราชการ “ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ”
่ สองห้ อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐๒ ๑๔๑ ๔๐๐๐ โทรสาร ๐๒ ๑๔๓ ๙๗๓๐
ถนนแจ้ งวัฒนะ แขวงทุง
ถนนแจ้ งวัฒนะ แขวงทุง่ สองห้ อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐๒ ๑๔๑ ๔๐๐๐ โทรสาร ๐๒ ๑๔๓ ๙๗๓๐

ที่ สปสช. ๓.๖๕ /ว.๑๖๑/๒๕๕๙


ที่ สปสช. ๓.๖๕ /ว.๑๖๑/๒๕๕๙
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
เรื่อง แจ้งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้
เรื่อง แจ้งก
องค์ ประกาศคณะกรรมการหลั
รปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนิ กประกั นสุขภาพแห่
นงานและบริ หารจั งชาติ เรื่อง การก
ดการกองทุ นห ลัาหนดหลั
กประกันกสุเกณฑ์
ขภาพในระดั เพื่อสนับ บท้สนุ
อน งถิให้
่น
องค์
หรื อพืกรปกครองส่
้นที่ (ฉบับที่ ว๒) นท้พ.ศ.องถิ่น๒๕๕๙
ดาเนินงานและบริหารจัดการกองทุนห ลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น
หรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
เรียน อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
เรียน อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกาหนด จานวน ๑ ฉบับ
สิ่งที่ส่งมาด้วย หลั ๑. ก ประกาศคณะกรรมการหลั
เกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์ กก ประกั นสุขภาพแห่
รปกครองส่ วนท้องงถิ ชาติ
่น ดเรืาเนิ
่อง นการก าหนด หาร จานวน ๑ ฉบับ
งานและบริ
หลั
จั กเกณฑ์เพืน่อหลั
ดการกองทุ สนักบประกั
สนุนให้นสุอขงค์ กรปกครองส่
ภาพในระดั บท้อ วนท้
งถิ่นองถิ
หรื่นอพื
ด้น
าเนิที่ น งานและบริ
(ฉบั บที่ ๒) หาร
จัดการกองทุ
พ.ศ. ๒๕๕๙ นหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.
๒. พื้น๒๕๕๙ที่ดาเนินงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุ จานวน ๑ ฉบับ
๒.่มีภพืาวะพึ
ที ้นที่ดาเนิ่งพิงนปีงานดู
๒๕๕๙ แลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุ จานวน ๑ ฉบับ
ที่มีภาวะพึ
ตามที ่งพิงปี ๒๕๕๙ กประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ออกประกาศคณะกรรมการหลักประกัน
่ คณะกรรมการหลั
สุขภาพแห่งชาติ เรื ่อง การก
ตามที าหนดหลักเกณฑ์
่ คณะกรรมการหลั เพื่อสนั
กประกั นบ สนุ
สุข นให้องค์
ภาพแห่ กรปกครองส่
งชาติ วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริ
ได้ออกประกาศคณะกรรมการหลั กประกั หาร น
จั
สุดขการกองทุ
ภาพแห่งชาติ นหลัเรื
ก่อ ประกั
ง การก นสุาหนดหลั
ขภาพในระดั กเกณฑ์ บท้เอพืงถิ ่นหรื
่อสนั อพืน
บสนุ ้นให้
ที่ อ
(ฉบั
งค์กบรปกครองส่
ที่ ๒) พ.ศ. ว๒๕๕๙ นท้องถิ่นโดยดาเนิ ศ.คลิ นิกเกียรติห
นงานและบริ คารุณ
นพ.ปิ ยะสกล นสกลสั
จัดการกองทุ หลักประกัตยาทร นสุรัขฐภาพในระดั
มนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุ
บท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบั ข ได้
บทีลงนามเมื
่ ๒) พ.ศ. ่อวั๒๕๕๙
นที่ ๘ กุม ภาพัศ.คลิ
โดย นธ์ ๒๕๕๙นิกเกียรติและมี
คุณ
ผลบั
นพ.ปิงคั ยบ ใช้ตั้งสกลสั
ะสกล แต่วันที ่ ๔ มกราคม
ตยาทร รัฐมนตรี๒๕๕๙ เป็นต้นไป นั้น
ว่าการกระทรวงสาธารณสุ ข ได้ลงนามเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ และมี
ผลบังคับใช้ตั้งแต่วในการนี
ันที่ ๔ มกราคม ้ สานักงานหลั ๒๕๕๙ เป็นต้นนสุไป
กประกั นั้น งชาติ จึงขอแจ้ง ประกาศคณะกรรมการหลักประกัน
ขภาพแห่
สุขภาพแห่งชาติ เรื ่อง การก
ในการนี ้ สาหนดหลั
านักงานหลั กเกณฑ์ เพื่อ
กประกั นสนั
สุขบ สนุนให้งอ
ภาพแห่ งค์กจึรปกครองส่
ชาติ วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริ
งขอแจ้ง ประกาศคณะกรรมการหลั กประกั หาร น
จั
สุดขการกองทุ
ภาพแห่งชาตินหลัเรืกประกั
่อง การก นสุข ภาพในระดั
าหนดหลั กเกณฑ์บท้อเงถิ
พื่อ่นสนั
หรืบอสนุ
พื้นนทีให้่ (ฉบั
องค์ บก
ทีรปกครองส่
่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ (รายละเอี
วนท้องถิ ่น ดาเนิย นดตามสิ ่งที่สห
งานและบริ ่งมา
าร
ด้
จัวดยการกองทุ
๑) เพื่อทราบ
นหลักประกั และขอได้ โปรดแจ้งประกาศฯดั
นสุขภาพในระดั บท้องถิ่นหรื งกล่
อพืา้นวให้ กับ บองค์
ที่ (ฉบั การปกครอ
ที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ งส่วนท้ องถิ่นทีย่ด
(รายละเอี าเนินงานดู
ดตามสิ ่งที่ส่งแมา ล
ระยะยาวด้
ด้วย ๑) เพื่อ านสาธารณสุ
ทราบ และขอได้ ข ส าหรั บ ผู้ สู งงอายุ
โปรดแจ้ ที่ มี ภ าวะพึ
ประกาศฯดั งกล่่ งาพิวให้
งปี ก๒๕๕๙
ับ องค์ก(รายละเอี
ารปกครอยงส่ ดตามสิ
วนท้อ่ งงถิ
ที่ ส
่น่ งทีมาด้ วย
่ดาเนิ ๒) เพื
นงานดู แ่ อล
เตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆเพื่อเตรียมการดาเนินงานในปีต่อไป
ระยะยาวด้ านสาธารณสุ ข ส าหรับ ผู้ สู งอายุ ที่ มี ภ าวะพึ่ ง พิ งปี ๒๕๕๙ (รายละเอี ย ดตามสิ่ ง ที่ ส่ งมาด้ ว ย ๒) เพื่ อ
เตรียมการในส่วนที จึง่เเรี
กี่ยยวข้
นมาเพื ่อโปรดทราบ
อง และองค์ และพิจารณาด
การปกครองส่ วนท้อาเนิ งถิ่นนอืการในส่
่นๆเพื่อวเตรี
นทีย่เกี ่ยวข้องาเนิ
มการด จะเป็ นพระคุตณ
นงานในปี ่อไป
ขอแสดงความนั
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และพิจารณาดาเนิ บถื่เกี
นการในส่วนที อ่ยวข้อง จะเป็นพระคุณ
ขอแสดงความนับถือ
(นายประทีป ธนกิจเจริญ)
รองเลขาธิการ รักษาการแทน
เลขาธิการส(นายประที
านักงานหลัปกประกั
ธนกิจนเจริ ญ)
สุขภาพแห่ งชาติ
รองเลขาธิการ รักษาการแทน
เลขาธิการสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สานักสนับสนุนระบบบริการสุขภาพชุมชน
ผู้ประสานงาน นางศศิธร ไชยสิทธิพร โทร ๐๒-๑๔๑-๔๑๙๐
สานักสนับสนุนระบบบริการสุขภาพชุมชน
36 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ผู้ประสานงาน นางศศิธร ไชยสิทธิพร โทร ๐๒-๑๔๑-๔๑๙๐
๑๒๐ หมู่ ๓ ชั้น ๒-๔ อาคารรวมหน่ วยงานราชการ “ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ”
ถนนแจ้ งวัฒนะ แขวงทุง่ สองห้ อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐๒ ๑๔๑ ๔๐๐๐ โทรสาร ๐๒ ๑๔๓ ๙๗๓๐
๑๒๐ หมู่ ๓ ชั้น ๒-๔ อาคารรวมหน่ วยงานราชการ “ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ”
ถนนแจ้ งวัฒนะ แขวงทุง่ สองห้ อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐๒ ๑๔๑ ๔๐๐๐ โทรสาร ๐๒ ๑๔๓ ๙๗๓๐
ที่ สปสช. ๓.๖๕ /ว.๑๖๑/๒๕๕๙
ที่ สปสช. ๓.๖๕ /ว.๑๖๑/๒๕๕๙ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
เรื่อง แจ้งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่ ๑๖งชาติ เรื่องนการก
กุมภาพั าหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้
ธ์ ๒๕๕๙
เรื่อง องค์ กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนิ
แจ้งประกาศคณะกรรมการหลั นงานและบริ
กประกั หารจั
นสุขภาพแห่ ดการกองทุ
งชาติ นหลัาหนดหลั
เรื่อง การก กประกันกสุเกณฑ์
ขภาพในระดั บสนุ
เพื่อสนับ ท้อน
งถิให้
่น
หรือก
องค์ พืรปกครองส่
้นที่ (ฉบับทีว่ ๒)
นท้พ.ศ.
องถิ่น๒๕๕๙
ดาเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น
เรียน นายกสมาคมสั
หรือพื้นที่ (ฉบับนทีนิ่ บ๒)าตเทศบาลแห่
พ.ศ. ๒๕๕๙งประเทศไทย
สิ
เรี่งยทีน่ส่งมาด้ วย ๑. ประกาศคณะกรรมการหลั
นายกสมาคมสั นนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย กประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกาหนด จานวน ๑ ฉบับ
สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. หลัก เกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์
ประกาศคณะกรรมการหลั กรปกครองส่
กประกั วนท้องงถิ
นสุขภาพแห่ ชาติ่น ด
เรืาเนิ
่อง นการก
งานและบริ
าหนด หาร จานวน ๑ ฉบับ
จั
หลัดการกองทุ
กเกณฑ์เพืน่อหลั สนักบประกั นสุอขงค์
สนุนให้ ภาพในระดั บท้วอนท้
กรปกครองส่ งถิ่นองถิ
หรื่นอพื ้นที่ น(ฉบั
ดาเนิ บที่ ๒) หาร
งานและบริ
พ.ศ. ๒๕๕๙ นหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒)
จัดการกองทุ
๒.
พ.ศ. พื้น๒๕๕๙
ที่ดาเนินงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุ จานวน ๑ ฉบับ
ที
๒.่มีภ
พืาวะพึ ่งพิงนปีงานดู
้นที่ดาเนิ ๒๕๕๙ แลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุ จานวน ๑ ฉบับ
ตามที
ที ่ คณะกรรมการหลั
่มีภาวะพึ ่งพิงปี ๒๕๕๙ กประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ออกประกาศคณะกรรมการหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ เรื ตามที่อง การก าหนดหลักเกณฑ์
่ คณะกรรมการหลั เพื่อสนั
กประกั บขสนุ
นสุ นให้องค์
ภาพแห่ กรปกครองส่
งชาติ วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริ
ได้ออกประกาศคณะกรรมการหลั หาร
กประกั น
จั
สุด การกองทุ
ขภาพแห่ นหลัเรืก่อประกั
งชาติ ง การก นสุาหนดหลั
ขภาพในระดั บท้เอพืงถิ
กเกณฑ์ ่นหรื
่อสนั อพืน้นให้
บสนุ ที่ อ(ฉบั
งค์กบรปกครองส่
ที่ ๒) พ.ศ.ว๒๕๕๙
นท้องถิ่นโดย ศ.คลิ
ดาเนิ นิกเกียรติหคาร
นงานและบริ ุณ
นพ.ปิ ยะสกลนสกลสั
จัดการกองทุ หลักประกัตยาทร นสุรัขฐภาพในระดั
มนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุ
บท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบั ข ได้ ล่งนามเมื
บที ๒) พ.ศ.่อวั๒๕๕๙
นที่ ๘ กุโดย
มภาพั นธ์ ๒๕๕๙
ศ.คลิ และมี
นิกเกียรติ คุณ
ผลบังย
นพ.ปิ คัะสกล
บใช้ตั้งสกลสั
แต่วันต ทียาทร
่ ๔ มกราคม ๒๕๕๙
รัฐมนตรี เป็นต้นไป นั้น
ว่าการกระทรวงสาธารณสุ ข ได้ลงนามเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ และมี
ผลบังคับใช้ตั้งแต่วในการนี ้ สานักงานหลั
ันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๙ กประกั
เป็นต้นนสุไป ขภาพแห่
นั้น งชาติ จึงขอแจ้ง ประกาศคณะกรรมการหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ เรื ่อง การก
ในการนี ้ สาหนดหลั
านักงานหลั กเกณฑ์ เพืน
กประกั ่อสนั บสนุนให้
สุขภาพแห่ องค์กจึรปกครองส่
งชาติ วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริ
งขอแจ้ง ประกาศคณะกรรมการหลั กประกั หารน
จั
สุดขการกองทุ
ภาพแห่งชาติ นหลัเรื
ก่อ ประกั นสุข
ง การก ภาพในระดั
าหนดหลั บท้อเงถิ
กเกณฑ์ พื่อ่นสนั
หรืบอสนุ
พื้นนทีให้
่ (ฉบั
องค์ บกทีรปกครองส่
่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
วนท้องถิ (รายละเอี
่น ดาเนิน ยดตามสิ
งานและบริ่งที่สห
่งมา
าร
ด้ ว ย ๑) เพื ่ อ ทราบ และขอได้ โ ปรดแจ้ ง ประกาศฯดั ง กล่ า วให้ ก ั บ องค์
จัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ (รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาก ารปกครองส่ ว นท้ อ งถิ ่ น ที ่ ด าเนิ น งานดู แ ล
ระยะยาวด้
ด้ วย ๑) เพื่อาทราบ
นสาธารณสุ ขส าหรั
และขอได้ บ ผู้ สู งงอายุ
โปรดแจ้ ที่ มี ภ าวะพึ
ประกาศฯดั งกล่่ งาพิวให้
ง ปี ก๒๕๕๙
ับ องค์ ก(รายละเอี ย ดตามสิ
ารปกครองส่ วนท้อ่ งงถิที่น่ ส่ที
ง มาด้
่ดาเนิวนยงานดู
๒) เพื แ ่ล

เตรี ยมการในส่
ระยะยาวด้ วนที่เกี่ยวข้ขอส
า นสาธารณสุ ง าหรั
มาเพืบ่อผูโปรดทราบ
้ สู งอายุ ที่ มี ภและพิ
าวะพึ จ่ารณาด
ง พิ ง ปี าเนิ
๒๕๕๙ นการในส่ วนที่เกีย่ยดตามสิ
(รายละเอี วข้อง จะเป็
่ ง ที่ สน ่ งพระคุ
มาด้ วณ ย ๒) เพื่ อ
ขอแสดงความนั
เตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้อง มาเพื่อโปรดทราบ และพิจารณาด บถื
าเนินการในส่ อ ่เกี่ยวข้อง จะเป็นพระคุณ
วนที
ขอแสดงความนับถือ

(นายประทีป ธนกิจเจริญ)
รองเลขาธิ การ
(นายประที ป รัธนกิ
กษาการแทน
จเจริญ)
เลขาธิการส านักงานหลั
รองเลขาธิ การกรัประกั นสุขภาพแห่งชาติ
กษาการแทน
เลขาธิการสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สานักสนับสนุนระบบบริการสุขภาพชุ ๑๒๐ หมู่ ๓ ชั้น ๒-๔ อาคารรวมหน่ วยงานราชการ “ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ”
มชน
ถนนแจ้ งวัฒนะ แขวงทุง่ สองห้ อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐๒ ๑๔๑ ๔๐๐๐ โทรสาร ๐๒ ๑๔๓ ๙๗๓๐
ผู ป
้ ระสานงาน นางศศิ ธ ร ไชยสิ ท
สานักสนับสนุนระบบบริการสุขภาพชุมชนธิ พ ร โทร ๐๒-๑๔๑-๔๑๙๐
ผู้ป
ที และองค์
ระสานงาน
่ สปสช. กนางศศิ
ารปกครองส่ วนท้
ธร ไชยสิ
๓.๖๕ /ว.๑๖๑/๒๕๕๙ ทธิอพงถิ
ร ่น อื่นๆเพื
โทร ่อเตรียมการดาเนินงานในปีต่อไป
๐๒-๑๔๑-๔๑๙๐
และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆเพื่อเตรียมการดาเนินงานในปีต่อไป
๑๖วยงานราชการ
๑๒๐ หมู่ ๓ ชั้น ๒-๔ อาคารรวมหน่ กุมภาพัน“ธ์ ศู๒๕๕๙
นย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ”
ถนนแจ้ งวัฒนะ แขวงทุง่ สองห้ อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐๒ ๑๔๑ ๔๐๐๐ โทรสาร ๐๒ ๑๔๓ ๙๗๓๐
เรื่อง แจ้งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้
ที่ สปสช.องค์
๓.๖๕กรปกครองส่ วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น
/ว.๑๖๑/๒๕๕๙
หรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
เรียน นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตาบลแห่งประเทศไทย
เรื่อง แจ้งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้
สิ่งที่ส่งมาด้
องค์วยกรปกครองส่
๑. ประกาศคณะกรรมการหลั กประกันสุหขารจั
วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริ ภาพแห่ งชาติ เรื
ดการกองทุ น่อ งก
หลั การก าหนด
ประกั จานวนบ๑ท้อ
นสุขภาพในระดั ฉบั
งถิบ่น
หรือพื้นทีหลั กเกณฑ์
่ (ฉบั เพืพ.ศ.
บที่ ๒) ่อสนับ๒๕๕๙
สนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหาร
เรียน จัดการกองทุ
นายกสมาคมองค์ นหลั
การบริ กประกั
หารส่ วนตนาบลแห่
สุขภาพในระดั บท้องถิ่น หรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒)
งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๕๙
สิ่งที่ส่งมาด้วย๑.
๒. ประกาศคณะกรรมการหลั
พื้นทีด่ าเนินงานดูแลระยะยาวด้ กประกั นสุขภาพแห่
านสาธารณสุ ขสงชาติ
าหรับเรืผู่อ้สงูงอายุ
การกาหนด จจานวน
านวน ๑๑ ฉบั
ฉบับบ
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหาร
ที่มีภาวะพึ่งพิงปี ๒๕๕๙
จัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒)
ตามที
พ.ศ. ๒๕๕๙ ่ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ออกประกาศคณะกรรมการหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ เรื
๒.่องพืการก
้นทีด าหนดหลั
่ าเนิ นงานดูกแเกณฑ์ เพื่อสนัาบนสาธารณสุ
ลระยะยาวด้ สนุนให้องค์ขกสรปกครองส่
าหรับผู้สูงอายุ วนท้องถิ่น ดาเนินจงานและบริ หาร
านวน ๑ ฉบั บ
จัดการกองทุนหลัทีก่มประกั
ีภาวะพึนสุ่งขพิภาพในระดั
งปี ๒๕๕๙ บท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ โดย ศ.คลินิกเกียรติคุณ
นพ.ปิยะสกล สกลสั ตามทีตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุ
่ คณะกรรมการหลั กประกันสุขภาพแห่ข ได้ลงนามเมื
งชาติ ่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
ได้ออกประกาศคณะกรรมการหลั และมี
กประกั น
ผลบั
สุ งคับใช้งตชาติ
ขภาพแห่ ั้งแต่เรื
วัน่อทีง่ การก
๔ มกราคม ๒๕๕๙
าหนดหลั เป็น
กเกณฑ์ เพืต้่อนสนั
ไปบนัสนุ
้น นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินงานและบริหาร
จัดการกองทุนหลัในการนี
กประกัน้ สสุานัขภาพในระดั บท้องถิ
กงานหลักประกั นสุ่นขหรื อพื้นทีง่ ชาติ
ภาพแห่ (ฉบับจึที ่ ๒) พ.ศ.
งขอแจ้ ๒๕๕๙ โดย ศ.คลินิกเกีกยประกั
ง ประกาศคณะกรรมการหลั รติคุณน
นพ.ปิ ยะสกล
สุขภาพแห่ งชาติสกลสั
เรื่อตงยาทร
การกรัาหนดหลั
ฐมนตรีวก่าเกณฑ์
การกระทรวงสาธารณสุ
เพื่อสนับสนุนให้อข งค์ได้ ลงนามเมื่อววันท้
กรปกครองส่ นทีอ่๘
งถิกุ่นมด
ภาพั
าเนินนธ์งานและบริ
๒๕๕๙ และมี
หาร
ผลบั งคับใช้ตน
จัดการกองทุ ั้งแต่
หลัวกันประกั
ที่ ๔ น
มกราคม ๒๕๕๙บเป็
สุขภาพในระดั ท้อนงถิ
ต้น่นไป
หรือนัพื้น้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ (รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมา
ด้วย ๑) เพื่อทราบในการนี
และขอได้้ สานั กงานหลั
โปรดแจ้ กประกันสุขงภาพแห่
งประกาศฯดั กล่าวให้งกชาติ จึงขอแจ้
ับ องค์ ง ประกาศคณะกรรมการหลั
การปกครองส่ วนท้องถิ่นที่ดาเนินกงานดู ประกั แลน
สุขภาพแห่งาชาติ
ระยะยาวด้ เรื่อง การก
นสาธารณสุ ขสาหนดหลั
าหรับ ผู้ สกู งเกณฑ์
อายุ ทเี่ มพืีภ่อาวะพึ
สนับสนุ
่ ง พินงให้
ปี อ๒๕๕๙
งค์กรปกครองส่
(รายละเอีวนท้ องถิ่น ด่ งาเนิ
ย ดตามสิ ที่ ส่ งนมาด้
งานและบริ
ว ย ๒) หเพืาร
่อ
จัดการกองทุ
เตรี นหลั
ยมการในส่ กประกั
วนที ่ วข้นอสุงขและองค์
่เกีย ภาพในระดั บท้องถิ่นหรืวอนท้
การปกครองส่ พื้น อทีงถิ่ (ฉบั
่นอื่นบๆเพื
ที่ ๒) พ.ศ.
่อเตรี ๒๕๕๙าเนิ
ยมการด (รายละเอี
นงานในปี ยดตามสิ
ต่อไป ่งที่ส่งมา
ด้วย ๑) เพื่อทราบ และขอได้โปรดแจ้งประกาศฯดังกล่าวให้กับ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดาเนินงานดูแล
จึงเรียนมาเพื
ระยะยาวด้ านสาธารณสุ ่อโปรดทราบ
ขส าหรั บ ผู้ สู งอายุและพิ จารณาด
ที่ มี ภ าวะพึ ่ ง พิาเนิ
งปี น๒๕๕๙
การในส่(รายละเอี
วนที่เกี่ยวข้ยอดตามสิ
ง จะเป็่ งนทีพระคุ ณ ว ย ๒) เพื่ อ
่ ส่ งมาด้
เตรียมการในส่วนที่เกีย
่ วข้อง และองค์การปกครองส่วนท้องถิ ่นอื่นๆเพื่อเตรีบยถืมการด
ขอแสดงความนั อ าเนินงานในปีต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และพิจารณาดาเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง จะเป็นพระคุณ
ขอแสดงความนับถือ
(นายประทีป ธนกิจเจริญ)
รองเลขาธิการ รักษาการแทน
เลขาธิการส(นายประที
านักงานหลัปกประกั
ธนกิจนเจริ
สุขญภาพแห่
) งชาติ
รองเลขาธิการ รักษาการแทน
เลขาธิการสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สานักสนับสนุนระบบบริการสุขภาพชุมชน
ผู้ประสานงาน นางศศิธร ไชยสิทธิพร โทร ๐๒-๑๔๑-๔๑๙๐
สานักสนับสนุนระบบบริการสุขภาพชุมชน
คู่มือ สนับสนุนการบริ หารจัดการระบบบริ
ผู้ประสานงาน นางศศิการดู
ธร แไชยสิ
ลระยะยาวด้
ทธิพร าโทร
นสาธารณสุ ข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 37
๐๒-๑๔๑-๔๑๙๐
ภาคผนวก ง.

(Caregiver)

(Caregiver)

38 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


ภาคผนวก จ.

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 39


ภาคผนวก ฉ.

40 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


ภาคผนวก ช.

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 41


หลักเกณฑ์การจัดสรรและการจ่ายค่าบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุ
ที่มีภาวะพึ่งพิง ปี 2559
เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเข้าถึงบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ ส�ำนัก
สนับสนุนระบบบริการสุขภาพชุมชน ส�ำนักงานหลักประกันประกันสุขภาพแห่งชาติได้ก�ำหนดแนวทางบริหารค่าบริการ
สาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ปี 2559 ดังนี้
1. งบบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและสนับสนุนการด�ำเนินงานให้กับหน่วยบริการ
และเครือข่ายบริการปฐมภูมิในพื้นที่
1.1 แนวทางการจัดสรร
จัดสรรวงเงิน จ�ำนวน 100 ล้านบาท (หนึ่งร้อยล้านบาทถ้วน) ให้กบั หน่วยบริการและเครือข่ายบริการ
ภาคผนวก ซ.

ปฐมภูมใิ นพื้นที่ด�ำเนินงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ปี 2559 จ�ำนวน 100,000


บาทต่อหน่วยบริการ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและสนับสนุนการจัดบริการ
ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงต่อเนื่องในพื้นที่ร่วมกับอปท.ที่ด�ำเนินงานดังกล่าว รวมทั้งรับส่งต่อในกรณีที่ต้องให้บริการ
ในหน่วยบริการ
1.2 กรอบการด�ำเนินงาน
1) เตรียมความพร้อมของระบบบริการเพื่อรองรับการด�ำเนินงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับ
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ รวมทั้งประสาน และสนับสนุนด้านวิชาการ เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายหน่วยบริการ
ปฐมภูมิ อปท. ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุข จิดอาสาสาธารณสุข เพื่อจัดบริการด้านสาธารณสุข
ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพิ่งพิงในพื้นที่
2) จัดทีมหมอครอบครัวร่วมกับ อปท.ด�ำเนินการประเมินผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแบบประเมิน
ความสามารถในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันตามดัชนี้บาร์เธลเอดีแอล และแบ่งผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงออกเป็น 4 กลุ่ม
ตามความต้องการการบริการด้านสาธารณสุข (ชุดสิทธิประโยชน์และอัตราค่าชดเชยค่าบริการด้านสาธารณสุขส�ำหรับ
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง) และจัดท�ำเป็นแผนการดูแลรายบุคคล เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสนับสนุนงบ
ประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯต่อไป
3) จัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์และอัตราการชดเชยค่าบริการด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มี
ภาวะพึ่งพิงตามเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การก�ำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อ
สนับสนุนให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือ
พื้นที่(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559
4) ประเมินผลการด�ำเนินงานร่วมกับ อปท. เพื่อพัฒนาระบบการด�ำเนินงานการดูแลระยะยาวด้าน
สาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงให้มีความยั่งยืนและต่อเนื่องในพื้นที่ต่อไป
5) สรุปจ�ำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ได้รับการประเมินความต้องการการบริการด้านสาธารณสุข
ตามชุดสิทธิประโยชน์และแผนการดูแลรายบุคคล ในภาพรวมตามแบบฟอร์มการดูแลระยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้
สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (แบบฟอร์มLTC 1) ให้ สปสช.ภายในเดือน กุมภาพันธ์ 2559
2. งบค่าบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแก่กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ
2.1 แนวทางการจัดสรร
จัดสรรวงเงิน จ�ำนวน 500 ล้านบาท (ห้าร้อยล้านบาทถ้วน) ให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพฯของเทศบาล
และองค์กรบริหารส่วนต�ำบล ที่มีความพร้อม ความเหมาะสม ที่เข้าร่วมด�ำเนินงานการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข
ส�ำหรับผู้สูงที่มีภาวะพึ่งพิง ปี 2559 ประมาณ 1,000 แห่ง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มี
ภาวะพึ่งพิง จ�ำนวน 5,000 บาทต่อผู้สูงอายุสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ ตามประกาศคณะ
กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การก�ำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 และเอกสาร
แนบท้ายชุดสิทธิประโยชน์และอัตราการชดเชยค่าบริการด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

42 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


2.2 กรอบการด�ำเนินงาน
1) ด�ำเนินงานและบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มี
ภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ ภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพฯตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศอย่างต่อเนื่องโดยเน้นการจัดบริการ
ด้านสาธารณสุขที่บูรณาการกับการบริการด้านสวัสดิการสังคม รวมทั้งสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวด้าน
สาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน
2) ร่วมกับทีมหมอครอบครัวของหน่วยบริการและเครือข่ายบริการปฐมภูมใิ นพืน้ ทีด่ ำ� เนินการประเมินผู้
สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแบบประเมินความสามารถในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันตามดัชนี้บาร์เธลเอดีแอล และแบ่ง
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงออกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการการบริการด้านสาธารณสุข (ชุดสิทธิประโยชน์และอัตราค่า
ชดเชยค่าบริการด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง) และจัดท�ำเป็นแผนการดูแลรายบุคคลเพื่อเป็นข้อมูล
ประกอบการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ต่อไป
3) แต่ ง ตั้ ง คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิง เพือ่
พิจารณาจัดหา ก�ำหนดอัตราการชดเชยค่าบริการ และเห็นชอบให้ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือหน่วย
บริการ หรือสถานบริการ เข้าร่วมจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตามประกาศ
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การก�ำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้อง
ถิ่น ด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 และชุด
สิทธิประโยชน์และอัตราการชดเชยค่าบริการด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยร่วมมือและจัดสรรงบ
ประมาณค่าบริการให้กับหน่วยบริการ
4) ประเมินผลการด�ำเนินงานร่วมกับหน่วยบริการและเครือข่ายบริการปฐมภู มิ ในพื้นที่เพื่อพัฒนา
ระบบการด�ำเนินงานการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงให้มีความยั่งยืนและต่อเนื่องใน
พื้นที่ต่อไป
5) สรุปผลการจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยบริการ/สถานบริการ/ ศูนย์พฒ ั นาคุณภาพชีวติ ผูส้ งู อายุใน
ชุมชน ตามอัตราที่ก�ำหนดในชุดสิทธิประโยชน์ในเอกสารแนบท้ายประกาศฯ ตามแบบฟอร์มการจัดสรรงบดูแลระยะ
ยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแก่หน่วยบริการ/สถานบริการ/ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุใน
ชุมชน โดยแบ่งผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงออกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการการบริการด้านสาธารณสุข ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่าย แต่ไม่มีภาวะสับสนทางสมอง
กลุ่มที่ 2 เหมือนกลุ่มที่ 1 แต่มีภาวะสับสนทางสมอง
กลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่าย หรือมีอาการ เจ็บป่วยรุนแรง
กลุ่มที่ 4 เหมือนกลุ่มที่ 3 และมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง หรืออยู่ในระยะท้ายของชีวิต

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 43


 
 
แบบหนังสือแสดงความจํานงเข้าร่วมดําเนินงานการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข
สําหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่
แบบฟอร์ม LTC ๑
แบบฟอร์
เรียนมการดู แลระยาวด้
เลขาธิ การสํานัากนสาธารณสุขสํานหรัสุบขผูภาพแห่
งานหลักประกั ้สงู อายุงทชาติ
ี่มีภาวะพึ ่งพิ้องํานวยการสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต......)
(ผ่านผู
บริการปฐมภูมิ...................................ชื
ด้วย (ระบุ ่อ ชอบต./เทศบาล.....................................อํ าเภอ ...............................จั
ื่อ อบต./เทศบาล)........................................................จั งหวังดหวั ด................................ ความประสงค์เข้า
....................................มี
ร่วมดําเนินงานการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสําหรับผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ โดยมีการดําเนินการ ดังนี้

จํานวนผู้สงู อายุที่มีภาวะพึง่ ๑. ดํางเนิ


พิง แบ่ เป็นนงานและบริ หารจัดอการระบบบริ
๔ กลุ่มตามความต้ การดู
งการการบริการด้ แลระยะยาวด้
านสาธารณสุ ข านสาธารณสุขสําหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่
ภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อ งการ
งอายุที่มีภาวะพึ่งกํพิางหนดหลักลํเกณฑ์
าดับที่ เพื่อสนับสนุนชืให้่ออ- งค์
นามสกุ ล
กรปกครองส่ วนท้องถิ่น ดําเลขที
เนิน่บงานและบริ
ัตรประชาชนหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับ
หวได้บ้าง และอาจมี
ท้อปงถิ
ัญ่นหาหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๙ อย่างต่อเนื่องโดยเน้นการจัดบริการด้านสาธารณสุขที่บูรณาการกับการบริการด้าน
ภาคผนวก ฌ.

บถ่าย แต่ไม่มีภาวะสั
สวัสบดิสน
การสังคม ที่มีการดําเนินการอยู่ในพื้นทีแ่ ล้ว
๒. ร่วมกับทีมหมอครอบครัวของหน่วยบริการและเครือข่ายบริการปฐมภูมิในพื้นที่ดําเนินการประเมินผู้สูงอายุที่มี
ภาวะพึ่งพิงตามแบบประเมินความสามารถในการดําเนินชีวิตประจําวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) และ
แบ่งผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงออกเป็น ๔รวม...............จํ
กลุ่มตามความต้ านวนอ(คน)
งการการบริการด้านสาธารณสุข (ชุดสิทธิประโยชน์และอัตราค่าชดเชย
ลุ่มที่ ๑ แต่มีภาวะสั บสน
ค่าบริ การด้านสาธารณสุขสําหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง) และจัดทําเป็นแผนการดูแลรายบุคคล(Care Plan) เพื่อเป็นข้อมูล
ประกอบการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ต่อไป
๓. ประสานงานกั บ คณะกรรมการกองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพในระดั บ ท้ อ งถิ่ น หรื อ พื้ น ที่ ใ นการแต่ ง ตั้ ง
คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสําหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อ พิจารณาจัดหา กําหนดอัตราการ
ชดเชยค่าบริการ และเห็นชอบให้ศูนย์พรวม...............จํ
ัฒนาคุณภาพชี านวน
วิตผู(คน)
้สูงอายุในชุมชน หรือหน่วยบริการ หรือสถานบริการ เข้าร่วมจัดบริการ
หวเองไม่ได้ และอาจมี
ดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสําหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การ
อการขับถ่าย หรือกํมีาอหนดหลั
าการ กเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดําเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับ
ท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๙
๔. ประเมิ น ผลการดํ า เนิ น งานร่ ว มกั บ หน่ ว ยบริ ก ารและเครื อ ข่ า ยบริ ก ารปฐมภู มิ ใ นพื้ น ที่ เ พื่ อ พั ฒ นาระบบการ
รวม...............จํ
ดําเนินงานการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุ ขสําหรับาผูนวน (คน)ที่มีภาวะพึ่งพิงให้มีความยั่งยืนและต่อเนื่องในพื้นที่ต่อไป
้สูงอายุ
กลุ่มที่ ๓ และมีอาการ
รืออยู่ในระยะท้ายของชีวิต ๕. สรุปรายชื่อและจํานวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแบบฟอร์ม LTC ๑ ทั้งนี้ ให้ส่งในรูปแบบไฟล์อิเลคทรอนิกส์
จํานวน ๑ ชุด ให้กับสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายในระยะเวลาที่กําหนด เพื่อการจัดสรรงบประมาณให้กองทุน
หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ต่อไป
๖. ปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบี ยบ ประกาศ
รวม...............จํ านวน หลั
(คน)กเกณฑ์ มติ คําสั่ง หรือ แนวปฏิบัติของคณะกรรมการหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติหรือสํานักงานหลักรวมทั ประกั้งน หมด...............จํานวน ที(คน)
สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ ่กําหนดขึ้นก่อนหรือระหว่างที่หนังสือแสดงความจํานงนี้มีผลบังคับ
ใช้ และให้ถือว่าข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ มติ คําสั่ง หรือแนวปฏิบัติบัติดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือแสดง
ข้อมูลไว้ที่หน่วยบริการ เพืา่อนงนี
ความจํ การติ้ ดตามประเมินผลการดําเนินงานในพื้นที่ต่อไป และ ส่งเป็นอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ให้กรมอนามัยและ สปสช. ภายในวันที่
ดสรรงบประมาณให้กองทุนหลักประกั ๗. นองค์ กรปกครองส่
สุขภาพในระดั บท้องถิว่นนท้
หรืออพืงถิ้นที่น่ภเริายในเดื
่มดําเนิ นการตามหนั
อนกุ งสือแสดงความจํานงนี้ ตั้งแต่วันที่ ........เดือน....................
มภาพันธ์ ๒๕๕๙
พ.ศ..............จนสิ
  ้นสุดวันที่ ........เดือน....................พ.ศ..............
 
  กํ า หนดเวลาสิ้ น สุ ด หนั ง สื อ แสดงความจํ า นงตามวรรคหนึ่ ง ถ้ า สํ า นั ก งานหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ ห รื อ องค์ ก ร
ปกครองส่  วนท้องถิ่น มิได้บอกเลิกหนังสือแสดงความจํานง ให้ถือว่าเวลาดําเนินงานตามหนังสือแสดงความจํานงนี้ขยายออกไปอีก
ทุกๆหนึ่งปีงบประมาณ เว้นแต่กรณีที่สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเห็นสมควรยกเลิกหนังสือแสดงความจํานงนี้ และให้
หนังสือแสดงความจํานงนี้สิ้นสุดในวันสิ้นปีงบประมาณนั้น และเงินหรือทรัพย์สินที่เหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับ
ท้ อ งถิ่ น หรื อ พื้ น ที่ ใ นส่ ว นของเงิ น ตามข้ อ ๕/๑ ของประกาศคณะกรรมการหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ เรื่ อ ง การกํ า หนด
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดําเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น
หรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๙ ให้ตกเป็นของหน่วยบริการปฐมภูมิของรัฐในพื้นที่ภายใต้การจัดสรรของสํานักงานหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ

ลงชื่อ............................................................................ ผู้บริหารสูงสุดเทศบาล/อบต.
(...........................................................................)
ตําแหน่ง...........................................................................
วันที่.................เดือน.....................................พ.ศ................

44 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


แบบฟอร์ม LTC ๑
แบบฟอร์มการดูแลระยาวด้านสาธารณสุขสําหรับผู้สงู อายุที่มีภาวะพึ่งพิง
ชื่อหน่วยบริการหรือเครือข่ายบริการปฐมภูมิ...................................ชื่อ อบต./เทศบาล.....................................อําเภอ ...............................จังหวัด................................

จํานวนผู้สงู อายุที่มีภาวะพึง่ พิง แบ่งเป็น ๔ กลุ่มตามความต้องการการบริการด้านสาธารณสุข


ประเภทผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ลําดับที่ ชื่อ - นามสกุล เลขที่บัตรประชาชน
กลุ่มที่ ๑ เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหา
การกิน หรือการขับถ่าย แต่ไม่มีภาวะสับสน
ทางสมอง

รวม...............จํานวน (คน)
กลุ่มที่ ๒ เหมือนกลุ่มที่ ๑ แต่มีภาวะสับสน
ทางสมอง

รวม...............จํานวน (คน)
กลุ่มที่ ๓ เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมี
ปัญหาการกิน หรือการขับถ่าย หรือมีอาการ
เจ็บป่วยรุนแรง

รวม...............จํานวน (คน)
กลุ่มที่ ๔ เหมือนกลุ่มที่ ๓ และมีอาการ
เจ็บป่วยรุนแรง หรืออยู่ในระยะท้ายของชีวิต

รวม...............จํานวน (คน)
รวมทั้งหมด...............จํานวน (คน)
หมายเหตุ
รายงานตามแบบฟอร์ มนี้ให้จัดเก็บเป็นฐานข้อมูลไว้ที่หน่วยบริการ เพื่อการติดตามประเมินผลการดําเนินงานในพื้นที่ต่อไป และ ส่งเป็นอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ให้กรมอนามัยและ สปสช. ภายในวันที่
หมายเหตุ
หมายเหตุ
หมายเหตุ
๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เพื่อ สปสช.จะได้จัดสรรงบประมาณให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
รายงานตามแบบฟอร์
รายงานตามแบบฟอร์ มนี้ให้จัดเก็บบเป็ นฐานข้ออมูมูลลไว้ ที่หน่วยบริกการ เพื่่ออการติ ดตามประเมินนผลการด าเนินนงานในพื ้นที่ต่อไป และ ส่งเป็นนอิอิเเล็ล็กกทรอนิ กส์ไฟล์

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 45


รายงานตามแบบฟอร์มมนีนี้ใ้ให้ห้จจััดดเก็
เก็บเป็
เป็นนฐานข้
ฐานข้อมูลไว้ ไว้ทที่หี่หน่น่ววยบริ
ยบริการ
าร เพื
เพื่อการติ
การติดดตามประเมิ
ตามประเมินผลการด ผลการดาเนิ
าเนินงานในพื
งานในพื้น้นทีที่ต่ต่่ออไปไป และ เป็นอิเล็กทรอนิ
และ ส่ส่งงเป็ ทรอนิกกส์ส์ไไฟล์
ฟล์
ให้
ให้ ก รมอนามั ย และ สปสช. เพื อ
่ สปสช. จะได้ จ ด
ั สรรงบประมาณให้ ก องทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพในระดั บ ท้ องถิ น
่ หรื อพื น
้ ที ต
่ อ
่ ไป
ให้กกรมอนามั
รมอนามัยยและ
และ สปสช.
สปสช. เพืเพื่อ่อ สปสช.
สปสช. จะได้
จะได้จจัดัดสรรงบประมาณให้
สรรงบประมาณให้กกองทุ องทุนนหลั
หลักกประกั
ประกันนสุสุขขภาพในระดั
ภาพในระดับบท้ท้อองถิ
งถิ่น่นหรื
หรืออพืพื้น้นทีที่ต่ต่อ่อไป
ไป

ภาคผนวก ญ.
(ส่วนนี้สาหรับหน่วยหน่วยบริการ/ สถานบริการ /ศูนย์พัฒนาคุณภาพฯ)
เรีแบบฟอร์
ยน ประธำนคณะอนุ กรรมกำรสนั
มข้อเสนอการจั บสนุแนลระยะยาวส�
ดบริการดู กำรจัดบริกำรดู
ำหรัแลระยะยำวส
บผู้สูงอายุทำหรั
ี่มีภบาวะพึ
ผู้สูงอำยุ
่งพิทงี่มี
ภำวะพึ่งพิงและการก�ำหนดอัตราชดเชยค่าบริการตามชุดสิทธิประโยชน์

ด้วย... (ระบุแนบท้ ชื่อ หน่ายประกาศกองทุ
ว ยบริกำร/ สถำนบริ นฯ กอปท.ปี
ำร /ศูน๒๕๕๙
ย์ พั ฒ นำคุณ ภำพฯ) มี ควำม
ส่วนที่ ๑ ข้อเสนอ
(ส่วนนีประสงค์
้ส�ำหรับหน่จวะจั ดบริ
ยหน่ กำรดู
วยบริ การ/แลระยะยำวด้
สถานบริการำ/ศู นสำธำรณสุ
นย์พัฒนาคุณ ขสภาพฯ)
ำหรับผู้สูงอำยุที่มีภำวะพึ่งพิงในพื้นที่
เรียน (ระบุ ชื่อ องค์กำรบริ
ประธานคณะอนุ หำรส่วนต
กรรมการสนั บสนุำบล/เทศบำล).โดยขอรั
นการจัดบริการดูแลระยะยาวส� บกำรสนั
ำหรับผูบ้สสนุ นทเพืี่มีภ่อาวะพึ
ูงอายุ เป็น่งค่พิำงบริกำร
ดู แด้ลระยะยำวส
วย... (ระบุ ชื่ อ ำหรั หน่ วบยบริ
ผู ้ ส ู กอำยุ
ง าร/ ทสถานบริ
่ ี ม ี ภ ก าร่ งพิ/ศูง ตำมชุ
ำวะพึ น ย์ พั ฒดนาคุ
สิ ท ณปภาพฯ)....อ�
ธิ ระโยชน์ แำนบท้
เภอ......จั
ำ ยประกำศ ง หวั ด ..........
มีความประสงค์จะจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (ระบุชื่อ องค์การ
ภาคผนวก ฎ.

บริหารส่กรรมกำรหลั
ว นต� ำ บล/เทศบาล) กประกันโดยขอรั สุขภำพแห่ งชำติบ สนุเรืน่อเพื
บ การสนั ง กำรก
่ อ เป็ นำหนดหลั กเกณฑ์
ค่ า บริ ก ารดู เพื่อสนับำสนุ
แลระยะยาวส� หรั บนผูให้้ สู งออายุ
งค์กทรี่มีภาวะ
พึ่ ง พิ ง ตามชุ
ปกครองส่ด สิ ท ธิ ปวระโยชน์
นท้องถิแ่นนบท้ ดำเนิ ายประกาศกรรมการหลั
นงำนและบริหำรจัดกกำรกองทุ ประกั น สุ ขนภาพแห่ ง ชาติ นเรืสุ่อขง ภำพในระดั
หลักประกั การก�ำหนดหลับกเกณฑ์
เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น
หรือพื้นท้ทีอ่ (ฉบั
งถิ่นบทีหรื่ ๒)อพืปี้น๒๕๕๙
ที่ (ฉบั(อับตทีราการชดเชยค่
่ ๒) ปี ๒๕๕๙ าบริก(อัารตเหมาจ่
รำกำรชดเชยค่
าย/ราย/ปี) ำรวมเป็
บริกำร นเงินเหมำจ่
ทัง้ สิน้ จ�ำำย/รำย/ปี )
นวน................บาท
(..............................บาทถ้ ว น) รายละเอี ย ดดั ง นี ้
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น จำนวน................บำท (..............................บำทถ้วน) รำยละเอียดดังนี้
กลุ่มติดบ้ำน กลุ่มติดเตียง รวม
กลุ่มที่ ๑. กลุ่มที่ ๒. กลุ่มที่ ๓. กลุ่มที่ ๔.
เคลื่อนไหวได้บ้ำงมี กลุ่มที่เคลื่อนไหว ลุ่มที่เคลื่อนไหวเอง กลุ่มที่เคลื่อนไหว
ปัญหำกำรกิน/กำร ได้บ้ำงมีภำวะ ไม่ได้ ไม่มีปัญหำ เองไม่ได้ เจ็บป่วย
ขับถ่ำยแต่ไม่มี สับสน และอำจมี กำรกิน/กำรขับถ่ำย รุนแรงหรืออยู่ใน
ภำวะสับสน ปัญหำกำรกิน/กำร หรือเจ็บป่วยรุนแรง ระยะท้ำยของชีวิต
81
ขับถ่ำย
จำนวน งบประ จำนวน งบประ จำนวน งบประ จำนวน งบประ จำนวน งบประ
(คน) มำณ (คน) มำณ (คน) มำณ (คน) มำณ (คน) มำณ
(บ.) ระยะเวลาด(บ.)าเนิ น การ....................................................................
(บ.) (บ.) (บ.)
ทั้งนี้ ได้แนบแผนกำรดูแลรำยบุคคล สำหรับผูส้ ูงอำยุที่มีภำวะพึง่ พิงในพื้นที่
รำยละเอียดตำมเอกสำรแนบ

ระยะเวลาด�ำเนินการ....................................................................
ทั้งนี้ ได้แนบแผนการดูแลรายบุคคล ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ รายละเอียดตามเอกสารแนบ

ลงชื่อ ..................................................... ผู้จัดทำข้อเสนอ


(หน่วยบริกำร/ สถำนบริกำร/ศูนย์พัฒนำคุณภำพฯ)
(.................................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่.....เดือน................พ.ศ......................

46 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


82

ส่วนที่ ๒
แผนกำรดูแลรำยบุคคลเพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมกำรสนับสนุนกำรจัดบริกำรดูแลระยะยำวสำหรับผู้สูงอำยุที่มีภำวะพึ่งพิงพิจำรณำสนับสนุนงบบริกำรสำธำรณสุข
สำหรับผู้สงู อำยุที่มีภำวะพึ่งพิง (อัตรำกำรชดเชยค่ำบริกำร เหมำจ่ำย/รำย/ปี)
ชื่อ ที่อยู่ วันจัดทา
หมายเลขโทรศัพท์(ที่ตดิ ต่อ)
เกิดวันที่ เดือน ปี (อายุ.........ปี) วินิจฉัย
สถานะสุขภาพ/งบประมาณเหมาจ่ายรายปีทีขอรับ ประเด็นปัญหา/ความต้องการ เป้าหมายการดูแล
การสนับสนุน
- ระยะสั้น
เป็นผู้มีภาวะพึ่งพิงจัดอยู่ในกลุม่ ที่....................
- ระยะยาว
ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเหมาจ่ายรายปีเป็น
จานวนเงิน .......................บาท

การดูแล ข้อควรระวังในการให้บริการ
ตำมชุดสิทธิประโยชน์แนบท้ำยประกำศกรรมกำรหลักประกัน
สุขภำพแห่งชำติ เรื่อง กำรกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงำนและบริหำรจัดกำรกองทุน
หลักประกันสุขภำพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
(ฉบับที่ ๒) ปี ๒๕๕๙
*ทั้งนี้ ในการปฏิบตั ิจริงสามารถยืดหยุ่นได้โดยคานึงถึงสภาวะของ
ผู้ป่วยเป็นสาคัญ”

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 47


ส่วนที่ ๓ : ผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาว
ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
(ส�ำหรับเจ้าหน้าที่ อปท. ที่ได้รับมอบหมายลงรายละเอียด)
ตามมติการประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึง่ พิง
ครั้งที่ ........ / พ.ศ……เมื่อวันที่ ...............ผลการพิจารณาข้ อ เสนอของ (ระบุ ชื่ อ หน่วยบริการ/ สถานบริการ /
ศูนย์พัฒนาคุณภาพฯ)......อ�ำเภอ....จังหวัด............ ในการจัด บริ ก ารดู แ ลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและ
ก�ำหนดอั ต ราชดเชยค่ า บริ ก ารตามชุ ดสิทธิประโยชน์ แ นบท้ า ยประกาศกรรมการหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ
เรื่อง การก�ำหนด ห ลั ก เก ณ ฑ ์ เ พื่ อ ส นั บ ส นุ น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด�ำเนินงานและบริ ห ารจั ด การกองทุน
หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) ปี ๒๕๕๙ ดังนี้
เห็นชอบ ค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มี
ภาวะพึ่งพิงตามชุดสิทธิประโยชน์และอัตราที่ก�ำหนดในแนบท้ายประกาศฯกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น
หรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) ปี ๒๕๕๙ เป็นเงินทั้งสิ้นจ�ำนวน .......................... บาท (................................บาทถ้วน) ตามบัญชี
เงินฝากดังนี้
บัญชีกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ…(ชื่อ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)…เพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มี
ภาวะพึ่งพิง จ�ำนวน .......................บาท
บัญชีกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ …(ชื่อ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)…หรือ“ระบบกองทุนหลัก
ประกันสุขภาพฯ …(ชื่อ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)......อ�ำเภอ.......จังหวัด.............. จ�ำนวน .......................บาท
ไม่เห็นชอบ งบประมาณ
เนื่องจาก..........................................................................................
......................................................................................................................................
. หมายเหตุเพิ่มเติม (ถ้ามี) .................................................................
......................................................................................................................................

หมายเหตุ แจ้งผลการพิจารณาต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯเพื่อทราบต่อไป

48 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


แบบรายงานผลการพิจารณางบบริการด้านสาธารณสุข
ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง


(ส�ำหรับเจ้าหน้าที่ อปท. ที่ได้รับมอบหมายลงรายละเอียด)
ตามมติ การประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุ น การจัด บริการดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
ครั้งที่ ........ / พ.ศ……เมื่อวันที่ ..................... ได้เห็นชอบข้อเสนอค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการดูแล

ภาคผนวก ฏ.
ระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามชุดสิทธิประโยชน์และอัตราที่ก�ำหนดในแนบท้ายประกาศฯ
กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 ให้กับ (ระบุชื่อ หน่วยบริการ/ สถานบริการ /
ศูนย์พัฒนาคุณภาพฯ ) ......อ�ำเภอ......จังหวัด............ นั้น
การประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ครั้งที่ ...... / พ.ศ……เมื่อวันที่ ...................มีมติรับ
ทราบข้อเสนอดังกล่าว โดยให้การเบิกจ่ายเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรือ่ ง การก�ำหนด
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับ
ท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2557

ลงชื่อ....................................................................
(..............................................................................)
ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพใน
ระดับทองถิ่นหรือพื้นที่
วัน........เดือน.........................พ.ศ...................

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 49


โลโก้ (ถ้ามี)

ข้อตกลงการจัดระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะ
พึง่ พิง ระหว่าง องค์การบริหารส่วนต�ำบล/เทศบาล........................ กับ (หน่วยบริการ สถาน
บริการ ศูนย์พฒ
ั นาคุณภาพฯ...)
________________
ข้อตกลงเลขที่........./25..........
ข้อตกลงนี้ท�ำขึ้น ณ ........................... ตั้งอยู่ที่....................................เมื่อวันที่...........เดือน............พ.ศ.............
ภาคผนวก ฐ.

ระหว่าง องค์การบริหารส่วนต�ำบล/เทศบาล......................... โดย................(ชื่อ-สกุล ของผู้บริหารสูงสุดหรือผู้ที่ได้รับ


มอบหมาย)...ซึ่งต่อไปในข้อตกลงนี้เรียกว่า “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ฝ่ายหนึ่ง กับ ( หน่วยบริการ สถานบริการ
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุฯ)................ โดย................. (ชื่อ-สกุล).........................ซึ่งต่อไปในข้อตกลงนี้เรียกว่า
“ผู้จัดระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข” อีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีข้อความดังต่อไปนี้
ข้อ 1 การด�ำเนินงาน
ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันสนับสนุนและส่งเสริมการบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูง
อายุที่มีภาวพึ่งพิง ตามชุดสิทธิประโยชน์ในเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
การก�ำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด�ำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกัน
สุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ 2 เอกสารภาคผนวกแนบท้ายข้อตกลงต่อไปนี้ ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงนี้
2.1 ผนวก 1 แผนบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
จ�ำนวน................. หน้า
2.2 ผนวก 2 หลักเกณฑ์/วิธีการ/เงื่อนไข การจ่ายเงินสนับสนุน จ�ำนวน...........หน้า
2.3 ผนวก ................... จ�ำนวน ...................หน้า
ข้อความใดในเอกสารภาคผนวกแนบท้ า ยข้ อ ตกลงที่ ขั ด หรื อ แย้ ง กั บข้ อ ความในข้อตกลงนี้ ให้ใช้
ข้อความในข้อตกลงนี้บังคับและในกรณีที่เอกสารแนบท้ายข้อตกลงขัดหรือแย้งกันเองหรือมิได้กล่าวไว้ ผูจ้ ัดระบบ
บริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขจะต้องปฏิบัติตามค�ำวินิจฉัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้อ 3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตกลงสนับสนุนเงินจ�ำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน..........................บาท
ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มตลอดจนภาษีอากรอื่น ๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวงไว้ด้วยแล้ว รายละเอียดตามเงื่อนไขการจ่ายเงิน
สนับสนุน ในข้อ ๒.๒ ผนวก ๒ แนบท้ายข้อตกลงนี้
ข้อ 4 กรณีผู้จัดระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงท�ำให้เกิดความ
ล่าช้าหรือความเสียหาย องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ มีสทิ ธิยกเลิกข้อตกลงและระงับการจ่ายเงินสนับสนุนโดยผูจ้ ดั ระบบบริการ
ดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขยินยอมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ เรียกเงินสนับสนุนทีจ่ า่ ยไปแล้วคืนทัง้ หมดหรือบางส่วนได้
ข้อตกลงนี้ท�ำขึ้นสองฉบับมีข้อความถูกต้องตรงกัน ซึง่ ทัง้ สองฝ่ายได้อา่ นและเข้าใจข้อความโดยตลอด
จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นส�ำคัญ

ลงชื่อ ........................................................องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(...............................................)
ลงชื่อ ......................................................ผู้จัดระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข
(...............................................)

ลงชื่อ.......................................................พยาน
(...............................................)
ลงชื่อ.......................................................พยาน
(...............................................)

50 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


(ตัวอย่าง) แบบฟอร์มแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan)
แผนการดูแล (Care Plan) รายบุคคล ฉบับ ที่ วันที่ …………………………
ชื่อ คุณ ทีอ่ ยู่ วันจัดทํา
เกิดปี เดือน วันที 
่ (อายุ ปี ) หมายเลขโทรศัพท์ (ทีต่ ดิ ต่อ) วินิจฉัย
แนวคิ ดของผู้ใช้บริการและครอบครัวที่มีต่อการดํารงชีวิต แนวนโยบายการให้ความช่วยเหลือโดยรวม (รวมถึงเป้ าหมายระยะยาว) ข้อควรระวัง

ภาคผนวก ฑ.
ประเด็นปัญหาในการดํารงชีวิต (ความต้องการ) เป้ าหมายการดํารงชีวิต(เป้ าหมายระยะสัน้ ) วันบรรลุเป้ าหมาย บริ การที่นอกเหนื อจากรายสัปดาห์ (รวมการช่วยเหลือของครอบครัวและInformal)

เวลา จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ อาทิ ตย์ กิ จกรรมหลักในการ ดํารงชีวิตประจําวัน
กําหนดการรายสัปดาห์ (รวมการช่ วยเหลือของครอบครัว และการช่ วยเหลือประเภท Informal)

6:00

7:00

8:00

10:00-
12:00

13:00

15:00

18:00

20:00

22:00

ผูจ้ ดั ทํา Care Plan ข้าพเจ้าเห็นชอบกับการปฏิบตั ติ าม Care Plan นี้

ที่มา คู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร CARE MANAGER ส�ำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข


หมายเหตุ เป็นแบบฟอร์มที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้อาจปรับให้มีความเหมาะสมตามบริบทของแต่ละพื้นที่

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 51


ตัวอย่าง หลักสูตรการอบรมผู้จัดการระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข
(Care Manager)
แผนการสอนที่ 1 สังคมผู้สูงอายุกับประเด็นปัญหา
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงโครงการสร้างประชากรผู้สูง
อายุสถานะสุขภาพของผู้สูงอายุ และตระหนักถึงความจ�ำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
ภาคผนวก ฒ.

1. บอกถึงสถานการณ์ผู้สูงอายุของประเทศไทยในปัจจุบัน
2. อธิบายถึงโครงสร้างทางประชากรของประเทศไทยไทยได้
3. อธิบายเกี่ยวกับสถานะสุขภาพผู้สูงอายุและเหตุผลความจ�ำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุได้
เป้าหมาย :
ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์โครงสร้างทางประชากรของ
ประเทศไทย สถานการณ์ผู้สูงอายุ สถานะสุขภาพของผู้สูงอายุ และเหตุผลความจ�ำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุซึ่งเป็นความ
รู้พื้นฐานในการดูผู้สูงอายุ อีกทั้งสร้างความตระหนักให้กับผู้เข้ารับการอบรมในการเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุที่ดี
เนื้อหาวิชา :
• สถานการณ์
• ความจ�ำเป็นของการดูแลผู้สูงอายุ
ระยะเวลา : ทฤษฏี 2 ชั่วโมง
รูปแบบ/วิธีการสอน :
• การบรรยาย
• ถาม – ตอบ ค�ำถามกลุ่มใหญ่
ขั้นตอนการด�ำเนินกิจกรรม :
1. วิทยากรน�ำเข้าสู่บทเรียน ด้วยค�ำถามถึงสถานการณ์ผู้สูงอายุในปัจจุบัน ไฟล์น�ำเสนอตัวอย่างผู้สูงอายุที่เป็น
ข่าวทางสื่อมวลชน และอธิบายให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจ ถึงสถานการณ์ผู้สูงอายุในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงโครงการ
สร้างของประชากรที่ส่งผลต่อผู้สูงอายุ
2. แบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับการอบรม อภิปราย และน�ำเสนอเรื่อง
“สถานะสุขภาพผู้สูงอายุ” และ “มีความจ�ำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุอย่างไร”
3. ร่วมกันสรุปผลจากความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มและเสนอแนะความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่ม
4. วิทยากรสรุปพร้อมให้ข้อเสนอแนะ
สื่อประกอบการเรียนการสอน/อุปกรณ์ :
1. หนังสือคู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร Care manager
2. สื่อการอบรม : ไฟล์น�ำเสนอ โปสเตอร์ แผ่นพับ ข่าวจากหนังสือพิมพ์
3. กราฟโครงสร้างประชากร อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
4. สถิติสถานะสุขภาพผู้สูงอายุและอื่น ๆ
ค�ำแนะน�ำส�ำหรับวิทยากร
1. ควรจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารทีเ่ กีย่ วข้องกับผูส้ งู อายุทนี่ ำ� เสนอผ่านสือ่ มวลชนแขนงต่าง ๆ เพือ่ ให้ผู้เรียนสนใจ และ
จูงใจเข้าสู่บทเรียน และร่วมแสดงความคิดเห็น
2. กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมากที่สุด
การประเมินผล :
1. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม
2. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในการท�ำกิจกรรมกลุ่ม

52 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


แผนการสอนที่ 2 หลักการพื้นฐานการบริหารจัดการพยาบาลดูแล ( Care management)
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพือ่ ให้ผเู้ ข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในนิยามโครงสร้างของ Care management หลักการพืน้ ฐานของ
Care management หลักการเคารพสิทธิมนุษยชนการยกระดับคุณภาพชีวติ และการควบคุมค่าใช้จา่ ย (Cost control)
วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
1. บอกถึงนิยาม และ อธิบายถึงโครงสร้างของ Care management ได้
2. อธิบายหลักการพื้นฐานของ Care management หลักการเคารพสิทธิมนุษยชน การยกระดับคุณภาพชีวิต
และการควบคุมค่าใช้จ่าย (Cost control) ได้
เป้าหมาย :
ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในนิยามโครงสร้างของ Care management หลักการพื้นฐาน
ของ Care management หลักการเคารพสิทธิมนุษยชนการยกระดับคุณภาพชีวิต และการควบคุมค่าใช้จ่าย (Cost
control)ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานในการท�ำงานของ Care manager อีกทั้งสร้างความตระหนักให้กับผู้เข้ารับการอบรมใน
การเข้าใจบทบาทการท�ำงานของ Care manager ที่ดีต่อไป
เนื้อหาวิชา :
• นิยาม
• โครงสร้างของ Care management
• หลักการพื้นฐานของ Care management
• หลักการเคารพสิทธิมนุษยชน
• การยกระดับคุณภาพชีวิตและ การควบคุมค่าใช้จ่าย (Cost control)
ระยะเวลา : ทฤษฏี 2 ชั่วโมง
รูปแบบ/วิธีการสอน :
• การบรรยาย
• ถาม – ตอบ ค�ำถามกลุ่มใหญ่
ขั้นตอนการด�ำเนินกิจกรรม :
1. วิทยากรน� ำ เข้ า สู ่ บ ทเรี ย น ด้ ว ยนิ ย ามของ Care manager ไฟล์น�ำเสนอตัวอย่างการท�ำงานของ Care
manager และอธิบายให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจถึงนิยามโครงสร้างของ Care management หลักการพื้นฐานของ
Care management หลักการเคารพสิทธิมนุษยชนการยกระดับคุณภาพชีวติ และการควบคุมค่าใช้จา่ ย (Cost control)
2. แบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับการอบรม อภิปราย และน�ำเสนอเรื่อง
โครงสร้างของ Care management หลักการพื้นฐานของ Care management หลักการเคารพสิทธิมนุษยชนการยก
ระดับคุณภาพชีวิตมีความจ�ำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุอย่างไร
3. ร่วมกันสรุปผลจากความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มและเสนอแนะความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่ม
4. วิทยากรสรุปพร้อมให้ข้อเสนอแนะ
สื่อประกอบการเรียนการสอน/อุปกรณ์ :
1. หนังสือคู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร Care manager
2. สื่อการอบรม : ไฟล์น�ำเสนอ โปสเตอร์ แผ่นพับ ข่าวจากหนังสือพิมพ์
ค�ำแนะน�ำส�ำหรับวิทยากร :
1. ควรจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารทีเ่ กีย่ วข้องกับผูส้ งู อายุทนี่ ำ� เสนอผ่านสือ่ มวลชนแขนงต่าง ๆ เพือ่ ให้ผเู้ รียนสนใจ และ
จูงใจเข้าสูบ่ ทเรียน และร่วมแสดงความคิดเห็น
2. กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมากที่สุด
การประเมินผล :
1. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม
2. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในการท�ำกิจกรรมกลุ่ม
3. ประเมินจากการถาม ตอบ

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 53


แผนการสอนที่ 3 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ( Care management)
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพือ่ ให้ผเู้ ข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในองค์ประกอบและขัน้ ตอนการการปฏิบตั งิ านตามกระบวนการ
Care management 7 ขั้นตอน และวิธีเกี่ยวกับ Reflection ซึ่งมีความส�ำคัญและมีความจ�ำเป็นในการบริหารจัดการ
การดูแลผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
1. อธิบายถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานตามกระบวนการ Care management 7 ขั้นตอนการ
2. อธิบายถึงวิธีคิดเกี่ยวกับ Reflection ได้
เป้าหมาย :
ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในองค์ประกอบและขั้นตอนการการปฏิบัติงานตามกระบวนการ
Care management 7 ขั้นตอน และวิธีเกี่ยวกับ Reflection ซึ่ ง มี ค วามส� ำ คั ญ และเป็ น ความรู ้ พื้ น ฐานในการดู แ ล
ผู ้ สู ง อายุ อี ก ทั้ ง สร้ า งความตระหนั ก ให้ กั บ ผู ้ เ ข้ า รั บ การอบรมในการเตรี ย มตั ว เป็ น care manager ที่ดีต่อไป
เนื้อหาวิชา :
• องค์ประกอบการด�ำเนินงาน 7 ขั้นตอน
• ความรู้ และวิธีคิดเกี่ยวกับ Reflection
• การฝึกปฏิบัติ/ประชุมพิจารณาตัวอย่างด้วยการคิดแบบ Reflection
ระยะเวลา : ทฤษฏี 2 ชั่วโมง
รูปแบบ/วิธีการสอน :
• การบรรยาย
• ถาม – ตอบ ค�ำถามกลุ่มใหญ่
ขั้นตอนการด�ำเนินกิจกรรม :
1. วิทยากรน�ำเข้าสูบ่ ทเรียน ด้วยค�ำถามถึงองค์ประกอบการด�ำเนินงาน Care management หรือประสบการณ์
ในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน หรือการดูแลผู้ป่วยควรประกอบด้วยขั้นตอนอย่างไรบ้าง ไฟล์ น�ำ เสนอตั ว อย่ างการดู แ ล
ผู้สูงอายุในชุมชน และอธิบายให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติงานตามกระบวนการ Care management
7 ขั้นตอน และวิธีคิดเกี่ยวกับ Reflection
2. แบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับการอบรมฝึกปฏิบัติ/ประชุมพิจารณา
ตัวอย่างด้วยการคอดแบบ Reflection อภิปราย และน�ำเสนอ
3. ร่วมกันสรุปผลจากความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มและเสนอแนะแนวคิดเห็นของสมาชิกกลุ่ม
4. วิทยากรสรุปพร้อมให้ข้อเสนอแนะ
สื่อประกอบการเรียนการสอน/อุปกรณ์ :
1. หนังสือคู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร Care manager
2. สื่อการอบรม : ไฟล์น�ำเสนอ โปสเตอร์ แผ่นพับ ข่าวจากหนังสือพิมพ์
3. โจทย์ตัวอย่างวิธีคิดเกี่ยวกับ Reflection
4. อื่นๆ
ค�ำแนะน�ำส�ำหรับวิทยากร :
1. ควรจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารทีเ่ กีย่ วข้องกับขัน้ ตอนในการปฏิบตั งิ านตามกระบวนการของ Care management เพื่อให้
ผู้เรียนสนใจ และจูงใจเข้าสู่บทเรียน และร่วมแสดงความคิดเห็น
2. กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมากที่สุด
การประเมินผล :
1. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม
2. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในการท�ำกิจกรรมกลุ่ม
3. ประเมินจากการถาม ตอบ

54 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


แผนการสอนที่ 4 ทรัพยากรสังคมส�ำหรับการบริหารจัดการ ( Care management) และการใช้ให้เป็นประโยชน์
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในบริการพยาบาลดูแลกับการใช้ทรัพยากรการจ�ำแนกประเภท
ของทรัพยากรวิธีน�ำทรัพยากรต่างๆ มาใช้อย่างเหมาะสมกับความต้องการด้านร่างกาย ด้านจิตใจและด้านสังคมเพื่อให้
เกิดประโยชน์สูงสุดในการดูแลผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
1. บอกบริการพยาบาลดูแลกับการใช้ทรัพยากรได้
2. อธิบายถึงการจ�ำแนกประเภทของทรัพยากร และวิธีน�ำทรัพยากรต่างๆมาใช้อย่างเหมาะสมกับความต้องการ
ด้านร่างการ ด้านจิตใจ และด้านสังคมได้
เป้าหมาย :
ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ บริการพยาบาลดูแลกับการใช้ทรัพยากร การจ�ำแนกประเภทของ
ทรัพยากร วิธีน�ำทรัพยากรต่างๆ มาใช้อย่างเหมาะสมกับความต้องการ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคม เพื่อให้
เกิดประโยชน์สูงสุดในการดูแลผู้สูงอายุ
เนื้อหาวิชา :
• ทรัพยากรสังคมส�ำหรับบริหารจัดการ ( Care management) และการใช้ให้เป็นประโยชน์ในการจ�ำแนก
ประเภทของทรัพยากร
• วิธีน�ำทรัพยากรต่างๆมาใช้อย่างเหมาะสมกับความต้องการด้านร่างกาย และสังคม
ระยะเวลา : ทฤษฏี 2 ชั่วโมง
รูปแบบ / วิธีการสอน :
• การบรรยาย
• ถาม – ตอบ ค�ำถามกลุ่มใหญ่
• การฝึกท�ำแบบทดสอบเกี่ยวกับทรัพยากร
ขั้นตอนการด�ำเนินกิจกรรม :
1. วิทยากรน�ำเข้าสู่บทเรียน ด้วยค�ำถามถึงทรัพยากรในการดูแลสนับสนุนการด�ำเนินงานผู้สูงอายุให้ผู้เข้ารับ
การอบรมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อธิบายให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจบริการพยาบาลดูแลกับการใช้ทรัพยากร การจ�ำแนก
ประเภทของทรัพยากรและวิธีน�ำทรัพยากรต่างๆ มาใช้อย่างเหมาะสมกับความต้องการด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคม
2. แบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับการอบรม อภิปราย และน�ำเสนอ เรื่อง
บริการพยาบาลดูแลกับการใช้ทรัพยากร การจ�ำแนกประเภทของทรัพยากรและวิธีน�ำทรัพยากรต่างๆ มาใช้
3. ร่วมกันสรุปผลจากความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มและเสนอแนะแนวคิดเห็นของสมาชิกกลุ่ม
4. วิทยากรสรุปพร้อมให้ข้อเสนอแนะ
สื่อประกอบการเรียนการสอน/อุปกรณ์ :
1. หนังสือคู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร Care manager
2. สื่อการอบรม : ไฟล์น�ำเสนอ โปสเตอร์ แผ่นพับ ข่าวจากหนังสือพิมพ์
3. อื่นๆ
ค�ำแนะน�ำส�ำหรับวิทยากร :
1. ควรจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรต่างๆ และการน�ำมาใช้หรือที่มีการบริหารทรัพยากรที่
ดีเสนอผ่านสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนสนใจ และจูงใจเข้าสู่บทเรียน และร่วมแสดงความคิดเห็น
2. กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมากที่สุด
การประเมินผล :
1. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม
2. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในการท�ำกิจกรรมกลุ่ม
3. ประเมินจากการถาม ตอบ

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 55


แผนการสอนที่ 5 เรียนรู้เทคนิคการสัมภาษณ์ในระบบ ( Care management)
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในการรับฟังและวิธกี ารถ่ายทอดทีช่ ว่ ยยกระดับทักษะการสือ่ สาร
เทคนิคการใช้อากัปกิรยิ าการท�ำความเข้าใจ การแสดงออกอย่างเหมาะสม (Assertion) และการแสดงออกอย่างเหมาะสม
ในรูปของสิทธิมนุษยชน
วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
1. อธิบายถึงการรับฟังและวิธีการถ่ายทอดที่ช่วยยกระดับทักษะการสื่อสารได้
2. อธิบายเทคนิคการใช้อากัปกิริยาการท�ำความเข้าใจ การแสดงออกอย่างเหมาะสม (Assertion) ได้
3. อธิบายถึงการแสดงออกอย่างเหมาะสมในรูปของสิทธิมนุษยชนได้
เป้าหมาย :
ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในการรับฟังและวิธีการถ่ายทอดที่ช่วยยกระดับทักษะการสื่อสาร
เทคนิคการใช้อากัปกิริยาการท�ำความเข้าใจ การแสดงออกอย่างเหมาะสม (Assertion) และการแสดงออกอย่างเหมาะ
สมในรูปของสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานในการท�ำงานของ Care manager อีกทั้งสร้างความตระหนักให้กับผู้
เข้ารับการอบรมในการเข้าใจบทบาทการท�ำงานของ Care manager ที่ดีต่อไป
เนื้อหาวิชา :
• การรับฟังและวิธีการถ่ายทอดที่ช่วยยกระดับ ทักษะการสื่อสาร
• เทคนิคการใช้อากัปกิริยาการท�ำความเข้าใจ การแสดงออกอย่างเหมาะสม (Assertion) และการแสดงออก
อย่างเหมาะสมในรูปของสิทธิมนุษยชน
ระยะเวลา : ทฤษฏี 4 ชั่วโมง
รูปแบบ / วิธีการสอน :
• การบรรยาย
• ถาม – ตอบ ค�ำถามกลุ่มใหญ่
ขั้นตอนการด�ำเนินกิจกรรม :
1. วิทยากรน�ำเข้าสู่บทเรียน ด้วยเทคนิคการรับฟังและ เทคนิคการใช้อากัปกิริยาและอธิบายให้ ผู้เข้ารับการ
อบรมเข้าใจถึงการรับฟังและวิธีการถ่ายทอดที่ช่วยยกระดับทักษะการสื่อสาร เทคนิคการใช้อากัปกิริยาการท�ำความ
เข้าใจ การแสดงออกอย่างเหมาะสม (Assertion) และการแสดงออกอย่างเหมาะสมในรูปของสิทธิมนุษยชน
2. แบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับการอบรม อภิปราย และฝึกปฏิบัติ
การรับฟังวิธีการถ่ายทอดที่ช่วยยกระดับทักษะการสื่อสาร เทคนิคการใช้อากัปกิริยาการท�ำความเข้าใจ การแสดงออก
อย่างเหมาะสม (Assertion) และการแสดงออกอย่างเหมาะสมในรูปของสิทธิมนุษยชน
3. ร่วมกันสรุปผลจากความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มและเสนอแนะแนวคิดเห็นของสมาชิกกลุ่ม
4. วิทยากรสรุปพร้อมให้ข้อเสนอแนะ
สื่อประกอบการเรียนการสอน/อุปกรณ์ :
1. หนังสือคู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร Care manager
2. สื่อการอบรม : ไฟล์น�ำเสนอ โปสเตอร์ แผ่นพับ ข่าวจากหนังสือพิมพ์
ค�ำแนะน�ำส�ำหรับวิทยากร :
1. ควรจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการสื่อสาร และการอากัปกริยารูปแบบต่างๆที่น�ำเสนอ
ผ่านสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนสนใจ และจูงใจเข้าสู่บทเรียน และร่วมแสดงความคิดเห็น
2. กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมากที่สุด
การประเมินผล :
1. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม
2. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในการท�ำกิจกรรมกลุ่ม
3. ประเมินจากการถาม ตอบ

56 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


แผนการสอนที่ 6 การค้นพบผู้เป็นเป้าหมายการช่วยเหลือและการรับรู้สถานการณ์
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในการทีเราจะค้นพบผู้เป็นเป้าหมายการช่วยเหลือได้อย่าง
การ Screening ลักษณะพิเศษของผู้รับการช่วยเหลือ และระดับความเร่งด่วนที่จะต้องด�ำเนินการ Care management
วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
1. อธิบายถึงการที่เราจะค้นพบผู้เป็นเป้าหมายการช่วยเหลือได้
2. อธิบายการ Screening ลักษณะพิเศษของผู้รับการช่วยเหลือได้
3. อธิบายถึงระดับความเร่งด่วนที่จะต้องด�ำเนินการ Care management
เป้าหมาย :
ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในการทีเราจะค้นพบผู้เป็นเป้าหมายการช่วยเหลือได้อย่าง การ
Screening ลักษณะพิเศษของผู้รับการช่วยเหลือ และระดับความเร่งด่วนที่จะต้องด�ำเนินการ Care management ซึ่ง
เป็นความรู้พื้นฐานในการท�ำงานของ Care manager อีกทั้งสร้างความตระหนักในการค้นหาผู้ควรได้รับการช่วยเหลือ
และสามารถให้การดูแลช่วยเหลือได้ตามล�ำดับความจ�ำเป็นเร่งด่วนได้
เนื้อหาวิชา :
• การค้นพบผู้เป็นเป้าหมายการช่วยเหลือและการรับรู้สถานการณ์
• การ Screening ลักษณะพิเศษของผูร้ บั การช่วยเหลือ และระดับความเร่งด่วนทีจ่ ะต้องด�ำเนินการ Care management
ระยะเวลา : ทฤษฏี 2 ชั่วโมง
รูปแบบ / วิธีการสอน :
• การบรรยาย
• ถาม – ตอบ ค�ำถามกลุ่มใหญ่
ขั้นตอนการด�ำเนินกิจกรรม :
1. วิทยากรน�ำเข้าสู่บทเรียน ด้วยค�ำถามวิธีการค้นหาผู้เป็นเป้าหมายในการดูแลช่วยเหลือเทคนิคการค้นหา
การ Screening ลักษณะพิเศษของผู้รับการช่วยเหลือ และระดับความเร่งด่วนที่จะต้องด�ำเนินการ Care management
และอธิบายให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจ
2. แบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับการอบรม อภิปราย และฝึกปฏิบัติ
เทคนิคการค้นหา Screening ลักษณะพิเศษของผู้รับการช่วยเหลือ และระดับความเร่งด่วนที่จะต้องด�ำเนินการ Care
management
3. ร่วมกันสรุปผลจากความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มและเสนอแนะแนวคิดเห็นของสมาชิกกลุ่ม
4. วิทยากรสรุปพร้อมให้ข้อเสนอแนะ
สื่อประกอบการเรียนการสอน/อุปกรณ์ :
1. หนังสือคู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร Care manager
2. สื่อการอบรม : ไฟล์น�ำเสนอ โปสเตอร์ แผ่นพับ ข่าวจากหนังสือพิมพ์
ค�ำแนะน�ำส�ำหรับวิทยากร :
1. ควรจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการค้นหาการ การ Screening ลักษณะพิเศษของผู้รับ
การช่วยเหลือ และระดับความเร่งด่วนที่จะต้องด�ำเนินการ Care management รูปแบบต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนสนใจ และ
จูงใจเข้าสู่บทเรียน และร่วมแสดงความคิดเห็น
2. กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมากที่สุด
การประเมินผล :
1. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม
2. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในการท�ำกิจกรรมกลุ่ม
3. ประเมินจากการถาม ตอบ

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 57


แผนการสอนที่ 7 งานการรับรู้เหตุการณ์ (Intake Work)
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพือ่ ให้ผเู้ ข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในการรับการยืน่ เรือ่ ง รวบรวมข้อมูล การรับรูเ้ รือ่ งราว (Intake Work)
ในความเป็นจริง เทคนิคการสัมภาษณ์และการจดบันทึก
วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
1. อธิบายถึงการรับ การยื่นเรื่อง และการรวบรวมข้อมูลได้
2. อธิบายถึงการรับรู้เรื่องราว (Intake Work) ในความเป็นจริงได้
3. บอกถึงเทคนิคการสัมภาษณ์และการจดบันทึก
เป้าหมาย :
ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในการรับการยื่นเรื่อง รวบรวมข้อมูล การรับรู้เรื่องราว (Intake
Work) ในความเป็นจริง เทคนิคการสัมภาษณ์และการจดบันทึก ซึ่งมีความส�ำคัญในการวางแผนการดูแลช่วยเหลือและ
สามารถให้การดูแลช่วยเหลือได้ตามความต้องการที่แท้จริงของผู้สูงอายุและครอบครัว
เนื้อหาวิชา :
• การรับ การยื่นเรื่อง และการรวบรวมข้อมูล
• การรับรู้เรื่องราว (Intake Work) ในความเป็นจริง เทคนิคการสัมภาษณ์และการจดบันทึก
ระยะเวลา : ทฤษฏี 1 ชั่วโมง
รูปแบบ / วิธีการสอน :
• การบรรยาย
• ถาม – ตอบ ค�ำถามกลุ่มใหญ่
• ฝึกปฏิบัติจดบันทึกข้อมูลตามความเป็นจริง
• ฝึกปฏิบัติเทคนิคการสัมภาษณ์และจดบันทึก
ขั้นตอนการด�ำเนินกิจกรรม :
1. วิทยากรน�ำเข้าสู่บทเรียน ด้วยค�ำถามเรื่องการรับ การให้ได้มาซึ่งข้อมูลของผู้ต้องการรับความช่วยเหลือ
และอธิบายให้ผู้เข้ารับกี่อบรมเข้าใจในการรับการยื่นเรื่อง รวบรวมข้อมูล การรับรู้เรื่องราว (Intake Work) ในความเป็น
จริง เทคนิคการสัมภาษณ์และการจดบันทึก
2. แบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับการอบรม อภิปราย และฝึกปฏิบัติ จด
บันทึกข้อมูลตามความเป็นจริงและฝึกปฏิบัติเทคนิคการสัมภาษณ์และการจดบันทึก
3. ร่วมกันสรุปผลจากความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มและเสนอแนะแนวคิดเห็นของสมาชิกกลุ่ม
4. วิทยากรสรุปพร้อมให้ข้อเสนอแนะ
สื่อประกอบการเรียนการสอน / อุปกรณ์ :
1. หนังสือคู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร Care manager
2. สื่อการอบรม : ไฟล์น�ำเสนอ โปสเตอร์ แผ่นพับ ข่าวจากหนังสือพิมพ์
3. อื่นๆ
ค�ำแนะน�ำส�ำหรับวิทยากร :
1. ควรจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการจดบันทึกข้อมูลตามความเป็นจริงเทคนิคการสัมภาษณ์และ
จดบันทึกต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนสนใจ และจูงใจเข้าสู่บทเรียน และร่วมแสดงความคิดเห็น
2. กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมากที่สุด
การประเมินผล :
1. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม
2. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในการท�ำกิจกรรมกลุ่ม
3. ประเมินจากการถาม ตอบ

58 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


แผนการสอนที่ 8 ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมิน
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในความหมายและจุดมุ่งหมายของการประเมิน Care
manager พิจารณาผ่านการประเมินและข้อควรระวังในการประเมิน
วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
1. บอกความหมายและจุดมุ่งหมายของการประเมินได้
2. อธิบายสิ่งที่ Care manager พิจารณาผ่านการประเมินได้
3 บอกถึงข้อควรระวังในการประเมินได้
เป้าหมาย :
ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในความหมายและจุดมุ่งหมายของการประเมินสิ่ง Care manager
พิจารณาผ่านการประเมิน และข้อควรระวังในการประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลเท็จจริง ได้ข้อมูลที่ถูกต้องในการวางแผนการ
ดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุได้ตามความต้องการที่แท้จริงของผู้สูงอายุและครอบครัว
เนื้อหาวิชา :
ความหมายและจุดมุ่งหมายของการประเมิน
• สิ่งที่ Care manager พิจารณาผ่านการประเมิน
• ข้อควรระวังในการประเมิน
ระยะเวลา : ทฤษฏี 2 ชั่วโมง
รูปแบบ / วิธีการสอน :
• การบรรยาย
• ฝึกปฏิบัติจดบันทึกข้อมูลตามความเป็นจริง
• ฝึกปฏิบัติเทคนิคการสัมภาษณ์และจดบันทึก
• ถาม – ตอบ รายบุคคล และรายกลุ่ม
ขั้นตอนการด�ำเนินกิจกรรม :
1 วิทยากรน�ำเข้าสู่บทเรียน ด้วยค�ำถามเรื่องการเทคนิคการประเมินคัดกรองผูส้ งู อายุเพือ่ ให้การดูแลช่วยเหลือ เช่น
การประเมินกิจวัตรประจ�ำวันของผูส้ งู อายุ (ADL) และวิทยากรการบรรยายความหมาย จุดมุง่ หมายของการประเมินและสิ่ง
ที่ Care manager พิจารณาผ่านการประเมิน รวมถึงข้อควรระวังในการประเมิน
2.แบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับการอบรม อภิปราย และฝึกปฏิบตั ิ การ
ประเมินตามกระบวนการ
3. ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝึกปฏิบัติรายบุคคลและให้น�ำเสนอ
4. สมาชิกกลุ่มช่วยกันแสดงความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะ
5. วิทยากรสรุปพร้อมให้ข้อเสนอแนะ
สื่อประกอบการเรียนการสอน / อุปกรณ์ :
1 หนังสือคู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร Care manager
2. สื่อการอบรม : ไฟล์น�ำเสนอ โปสเตอร์ แผ่นพับ ข่าวจากหนังสือพิมพ์
3. อื่นๆ
ค�ำแนะน�ำส�ำหรับวิทยากร :
1. ควรจัดเตรียมแบบประเมินต่างๆให้พร้อม และยกตัวอย่างผู้สูงอายุกลุ่มต่างๆ ตามลักษณะการประเมินให้
เห็นชัดเพื่อให้เรียนสนใจ และจูงใจเข้าสู่บทเรียน และร่วมแสดงความคิดเห็น
2. กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมากที่สุด
การประเมินผล :
1. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม
2. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในการท�ำกิจกรรมกลุ่ม
3. ประเมินจากการถาม ตอบรายบุคคลและรายกลุ่ม

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 59


แผนการสอนที่ 9
การประเมินสภาวะตามบัญชีสากลเพื่อจ�ำแนกการท�ำงานความพิการและสุขภาพ (International Classification
of Functioning, Disabilities and Health: ICF)
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :
เพือ่ ให้ผเู้ ข้ารับการอบรม มีความรูค้ วามเข้าใจ ในประวัตคิ วามเป็นมาคียเ์ วิรด์ เพือ่ ความเข้าใจ ICF การเปรียบเทียบ ICD กับ ICF
แนวคิดเกีย่ วกับการท�ำงานในหลายๆ ด้าน : การท�ำงาน (functioning) ปฎิกริ ยิ าซึง่ กันและกันระหว่างปัจจัยโครงสร้าง ICF
วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
1. บอกประวัติความเป็นมาได้
2. อธิบายคีย์เวิร์ดเพื่อความเข้าใจ ICF ได้
3. อธิบายเปรียบเทียบ ICD กับ ICF ได้
4. บอกแนวคิดเกี่ยวกับการท�ำงานในหลายๆ ด้าน : การท�ำงาน (functioning) ได้
5. อธิบายปฎิกิริยาซึ่งกันและกันระหว่างปัจจัยโครงสร้าง ICF ได้
เป้าหมาย
ผูเ้ ข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในประวัตคิ วามเป็นมาและความส�ำคัญของการประเมินแบบ ICD กับ ICF เพือ่
เป็นข้อมูลและข้อเท็จจริง ในการวางแผนการดูแลช่วยเหลือผูส้ งู อายุได้ตามความต้องการทีแ่ ท้จริงของผูส้ ูงอายุและครอบครัว
เนื้อหาวิชา :
• ประวัติความเป็นมา
• คีย์เวิร์ดเพื่อความข้าใจ ICF
• เปรียบเทียบ ICD กับ ICF
• แนวคิดเกี่ยวกับการท�ำงานในหลายๆ ด้าน : การท�ำงาน (functioning)
• ปฎิกิริยาซึ่งกันและกันระหว่างปัจจัยโครงสร้าง ICF
ระยะเวลา : ทฤษฎี 4 ชั่วโมง
รูปแบบ/วิธีการสอน :
• การบรรยายการอภิปราย
• การฝึกปฎิบัติรายบุคคลและรายกลุ่ม
• ถาม-ตอบ รายบุคคล และรายกลุ่ม
ขั้นตอนการด�ำเนินกิจกรรม :
1. วิทยากรน�ำเข้าสู่บทเรียนด้วยค�ำถามเรื่อง เครื่องมือในการประเมินคัดกรองผู้สูงอายุหรือผู้พิการเพื่อให้การ
ดูแลช่วยเหลือและวิทยากรบรรยายประวัติความเป็นมา คีย์เวิร์ดเพื่อความเข้าใจ ICF การเปรียบเทียบ ICD กับ ICF
แนวคิดเกี่ยวกับการท�ำงานในหลายๆ ด้าน : การท�ำงาน (functiong) ปฎิกิริยาซึ่งกันและกันระหว่างปัจจัยโครงสร้าง Icf
2. แบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับการอบรม อภิปราย และฝึกปฎิบัติตาม
กระบวนการ
3. ให้ผู้เข้ารับการฝีกอบรมฝึกปฎิบัติรายบุคคล และให้น�ำเสนอ
4. สมาชิกกลุ่มช่วยกันแสดงความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะ
5. วิทยากรสรุปพร้อมให้ข้อเสนอแนะ
สื่อประกอบการเรียนการสอน / อุปกรณ์
1. หนังสือคู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร Care Manager
2. สื่อการอบรม : ไฟล์น�ำเสนอ โปสเตอร์ แผ่นพับ ข่าวจากหนังสือพิมพ์
3. อื่นๆ
ค�ำแนะน�ำส�ำหรับวิทยากร :
1. ควรจัดเตรียมแบบประเมินต่างๆ ให้พร้อม ศึกษา Case กรณีตัวอย่างในการประเมินด้วย ICD กับ ICF ให้
เห็นชัดเพื่อให้ผู้เรียนสนใจ และจูงใจเข้าสู่บทเรียน และร่วมแสดงความคิดเห็น
2. กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมากที่สุด
การประเมินผล :
1. สังเกตการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม
2. สังเกตการมีส่วนร่วมในการท�ำกิจกรรมกลุ่ม
3. ประเมินจากการถาม ตอบรายบุคคลและรายกลุ่ม

60 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


แผนการสอนที่ 10 Typology fo Aged with Illustration: TAI
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ TAI คืออะไร, ท�ำงานอย่างไร, ท�ำไมถึงใช้ TAI เป็นเครื่องมือใน
การจ�ำแนกผู้สูงอายุตาม TAI
วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
1. อธิบายถึงเครื่องมือ TAI คืออะไรได้
2. อธิบายถึงการท�ำงานของเครื่องมือ TAI ได้
3. อธิยายถึงเหตุผลท�ำไมถึงใช้ TAI เป็นเครื่องมือในการจ�ำแนกผู้สูงอายุได้
เป้าหมาย :
ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ TAI คืออะไร, ท�ำงานอย่างไร, ท�ำไมถึงใช้ TAI เป็นเครื่องมือ
ในการจ�ำแนกผู้สูงอายุ ซึ่งมืเหตุผลความจ�ำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานในการดูแลผู้สูงอายุอีกทั้งสร้าง
ทักษะการประเมินที่มีคุณภาพต่อไป
เนื้อหาวิชา :
• TAI คืออะไร, ท�ำงานอย่างไร, ท�ำไมถึงใช้ TAI เป็นเครื่องมือ
• การจ�ำแนกผู้สูงอายุตาม TAI
• เครื่องมือการจ�ำแนกผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพในประเทศไทย
• แบบประเมินความต้องการชุดบริการที่จ�ำเป็น : กลุ่ม 2 ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง (ติดบ้าน)
• แบบประเมินความต้องการชุดบริการที่จ�ำเป็น : กลุ่ม 3 ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ (ติดเตียง)
• แบบประเมินผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลระยะยาว
ระยะเวลา : ทฤษฎี 14 ชั่วโมง
รูปแบบ/ วิธีการสอน :
• การบรรยาย/การอภิปราย
• การแสดงบทบาทสมมติ
• ถาม-ตอบ ค�ำถามกลุ่มใหญ่
ขั้นตอนการด�ำเนินกิจกรรม :
1. วิทยากรน�ำเข้าสู่บทเรียนด้วยค�ำถามถึงเครื่องมือต่างๆ ในประเทศไทยที่ใช้ในการจ�ำแนกกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อ
การวางแผนการดูแลช่วยเหลือและอธิบายให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจถึง TAI คืออะไร, ท�ำงานอย่างไร, ท�ำไมถึงใช้ TAI
เป็นเครื่องมือในการจ�ำแนกผู้สูงอายุตาม TAI
2. แบ่งกลุ่มเข้ารับการอบรมเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับอบรม อภิปราย ฝึกปฎิบัติฝึกประเมิน
ด้วยเครื่องมือ TAI
3. ร่วมกันสรุปผลจากความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มและเสนอแนะความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่ม
4. วิทยากรสรุปพร้อมให้ข้อเสนอแนะ
สื่อประกอบการเรียนการสอน /อุปกรณ์ :
1. หนังสือคู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร Care Manager
2. สื่อการอบรม : ไฟล์น�ำเสนอ โปสเตอร์ แผ่นพับ ข่าวจากหนังสือพิมพ์
3. สื่อ Case ตัวอย่าง หรือการแสดงบทบาทสมมติโดยผู้เข้ารับการอบรม
4. สถิติสถานะสุขภาพผู้สูงอายุและอื่นๆ
ค�ำแนะน�ำส�ำหรับวิทยากร :
1. ควรจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผู้สูงอายุด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนสนใจ และจูงใจ
เข้าสู่บทเรียน และร่วมแสดงความคิดเห็น
2. กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมากที่สุด
การประเมินผล :
1. สังเกตการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม
2. สังเกตการมีส่วนร่วมในการท�ำกิจกรรมกลุ่ม
3. ประเมินจากการถาม-ตอบ
คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 61
แผนการสอนที่ 11 ฝึกปฎิบัติจากกรณีตัวอย่าง
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพือ่ ให้ผเู้ ข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในการรับเรือ่ ง รับข้อมูลทางโทรศัพท์การจับประเด็นวิเคราะห์
สถานการณ์ปญ ั หา ความรูส้ กึ ของผูส้ งู อายุเป้าหมาย ผู้เกี่ยวข้อง และการให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงส�ำหรับการนัดหมายไป
เยือนที่บ้านเพื่อติดตามข้อมูลและข้อเท็จจริงในการวางแผนการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่เป็นเป้าหมายและครอบครัว
วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
1. บอกถึงการจับใจความจากการรับข้อมูลทางโทรศัพท์ได้
2. อธิบายถึงเทคนิคการับโทรศัพท์และการเป็นผู้ฟังที่ดีได้
3. อธิบายถึงขั้นตอนการรับโทรศัพท์ถึงการเยือนดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เทคนิคการสัมภาษณ์ได้
4. อธิบายถึงการวิเคราะห์ข้อมูล ความรู้สึก ของผู้สูงอายุเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้องได้
เป้าหมาย :
ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะในการจับใจความจากการรับข้อมูลทางโทรศัพท์ มีเทคนิคที่
ดีในการรับโทรศัพท์และการเป็นผู้ฟังที่ดีได้เข้าในกระบวนการขั้นตอนการรับโทรศัพท์ถึงการเยื อ นดู แ ลผู ้ สูงอายุที่บ้าน
เทคนิคการสัมภาษณ์และการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ความรูส้ กึ การจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้า ของผูส้ งู อายุเป้าหมาย
และผู้เกี่ยวข้องได้
เนื้อหาวิชา :
• การสนทนาทางโทรศัพท์
• การไปเยือนและสัมภาษณ์ที่บ้าน
ระยะเวลา : ทฤษฎี 1 ชั่วโมง
รูปแบบ/ วิธีการสอน :
• การบรรยาย
• การฝึกปฎิบัติ บทบาทสมมติ
• ถาม-ตอบ ค�ำถามกลุ่มใหญ่
ขั้นตอนการด�ำเนินกิจกรรม :
1. วิท ยากรน� ำ เข้ า สู ่ บ ทเรี ย นด้ ว ยค� ำ ถามถึ ง สถานการณ์ การใช้โทรศัพท์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การรับ
โทรศัพท์หรือการให้ค�ำปรึกษาทางโทรศัพท์ ไฟล์น�ำเสนอตัวอย่างการให้ค�ำปรึกษาทางโทรศัพท์ของหน่วยงานต่างๆ เพื่อ
จูงใจให้ผู้เข้ารับการอบรมสนใจ และอธิบายให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดีในการรับข้อมูลทาง
โทรศัพท์ การจับใจความจากการรับข้อมูล เทคนิคที่ดีในการรับโทรศัพท์และการเป็นผู้ฟังที่ดี กระบวนการขั้นตอนการ
รับโทรศัพท์ตลอดถึงการเยือนดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เทคนิคการสัมภาษณ์และการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ความรู้สึกการ
จัดการกับปัญหาเฉพาะหน้า ของผู้สูงอายุเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้อง
2. แบ่งกลุ่มเข้ารับการอบรมเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับอบรม อภิปราย แสดงบทบาทสมมติใน
การสนทนาทางโทรศัพท์และการไปเยือนและสัมภาษณ์ที่บ้าน
3. ร่วมกันสรุปผลจากความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มและเสนอแนะความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่ม
4. วิทยากรสรุปพร้อมให้ข้อเสนอแนะ
สื่อประกอบการเรียนการสอน /อุปกรณ์ :
1. หนังสือคู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร Care Manager
2. สื่อการอบรม : ไฟล์น�ำเสนอ โปสเตอร์ แผ่นพับ ข่าวจากหนังสือพิมพ์
3. อื่นๆ
ค�ำแนะน�ำส�ำหรับวิทยากร :
1. ควรจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการรับปรึกษาทางโทรศัพท์ที่น�ำเสนอผ่านสื่อมวลชนแขนงต่างๆ
เพื่อให้ผู้เรียนสนใจ และจูงใจเข้าสู่บทเรียน และร่วมแสดงความคิดเห็น
2. กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมากที่สุด
การประเมินผล :
1. สังเกตการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม
2. สังเกตการมีส่วนร่วมในการท�ำกิจกรรมกลุ่ม
3. ประเมินจากการถาม-ตอบ
62 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
แผนการสอนที่ 12
ความเข้าใจประเด็นปัญหาการด�ำรงชีวิตกับขั้นตอนการดูแลช่วยเหลือ
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพือ่ ให้ผเู้ ข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในการรับเรือ่ ง รับข้อมูลทางโทรศัพท์ การจับประเด็นวิเคราะห์
สถานการณ์ปัญหา ความรู้สึกของผู้สูงอายุเป้าหมาย ผู้เกี่ยวข้อง และการให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงส�ำหรับการนัดหมาย
ไปเยือนที่บ้านเพื่อติดตามข้อมูลและข้อเท็จจริงในการวางแผนการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่เป็นเป้าหมายและครอบครัว
วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
1. บอกถึงการจับใจความจากการรับข้อมูลทางโทรศัพท์ได้
2. อธิบายถึงเทคนิคการับโทรศัพท์และการเป็นผู้ฟังที่ดีได้
3. อธิบายถึงขั้นตอนการรับโทรศัพท์ถึงการเยือนดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เทคนิคการสัมภาษณ์ได้
4. อธิบายถึงการวิเคราะห์ข้อมูล ความรู้สึกของผู้สูงอายุเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้องได้
เป้าหมาย :
ผูเ้ ข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ มีทกั ษะในการจับใจความจากการรับข้อมูลทางโทรศัพท์ มีเทคนิคที่ดีในการ
รับโทรศัพท์และการเป็นผู้ฟังที่ดีได้เข้าในกระบวนการขั้นตอนการรับโทรศัพท์ถึงการเยือนดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เทคนิคการ
สัมภาษณ์และการวิเคราะห์ขอ้ มูล วิเคราะห์ความรู้สึกการจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้าของผู้สูงอายุเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้องได้
เนื้อหาวิชา :
• ประเด็นปัญหาการด�ำรงชีวิต
• การจัดล�ำดับความส�ำคัญก่อนหลังของความต้องการ (need)
• เป้าหมายการด�ำรงชีวิต
• เนื้อหาการช่วยเหลือเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
• จัดท�ำแผนงานรายสัปดาห์ หรือ Weekly Plan
• การจัดประชุมพยาบาลดูแล (Care conference)
• Monitoring และวิธีด�ำเนินการ
ระยะเวลา : ทฤษฎี 14 ชั่วโมง
รูปแบบ/ วิธีการสอน :
• การบรรยาย
• การฝึกปฎิบัติ บทบาทสมมติ
• ถาม-ตอบ ค�ำถามกลุ่มใหญ่
ขั้นตอนการด�ำเนินกิจกรรม :
1. วิทยากรน�ำเข้าสู่บทเรียนด้วยค�ำถามถึงสถานการณ์การใช้โทรศัพท์ แลกเปลีย่ นประสบการณ์ การรับโทรศัพท์
หรือการให้ค�ำปรึกษาทางโทรศัพท์ ไฟล์น�ำเสนอตัวอย่างการให้ค�ำปรึกษาทางโทรศัพท์ของหน่วยงานต่างๆ เพื่อจูงใจ
ให้ผู้เข้ารับการอบรมสนใจ และอธิบายให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดีในการรับข้อมูลทาง
โทรศัพท์ การจับใจความจากการรับข้อมูล เทคนิคที่ดีในการรับโทรศัพท์และการเป็นผู้ฟังที่ดี กระบวนการขั้นตอนการ
รับโทรศัพท์ตลอดถึงการเยือนดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เทคนิคการสัมภาษณ์และการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ความรู้สึกการ
จัดการกับปัญหาเฉพาะหน้า ของผู้สูงอายุเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้อง
2. แบ่งกลุ่มเข้ารับการอบรมเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับอบรม อภิปราย แสดงบทบาทสมมติใน
การสนทนาทางโทรศัพท์และการไปเยือนและสัมภาษณ์ที่บ้าน
3. ร่วมกันสรุปผลจากความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มและเสนอแนะความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่ม
4. วิทยากรสรุปพร้อมให้ข้อเสนอแนะ
สื่อประกอบการเรียนการสอน /อุปกรณ์ :
1. หนังสือคู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร Care Manager
2. สื่อการอบรม : ไฟล์น�ำเสนอ โปสเตอร์ แผ่นพับ ข่าวจากหนังสือพิมพ์
3. อื่นๆ
ค�ำแนะน�ำส�ำหรับวิทยากร :
1. ควรจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการรับปรึกษาทางโทรศัพท์ที่น�ำเสนอผ่านสื่อมวลชนแขนงต่างๆ
เพื่อให้ผู้เรียนสนใจ และจูงใจเข้าสู่บทเรียน และร่วมแสดงความคิดเห็น
2. กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมากที่สุด
การประเมินผล :
1. สังเกตการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม
2. สังเกตการมีส่วนร่วมในการท�ำกิจกรรมกลุ่ม
3. ประเมินจากการถาม-ตอบ
คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 63
แผนการสอนที่ 13 การฝึกปฎิบัติจากกรณีตัวอย่างในประเด็น
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพือ่ ให้ผเู้ ข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ประเด็นปัญหา การด�ำรงชีวติ เป้าหมายการ
ด�ำรงชีวิตเนื้อหาการช่วยเหลือและการบันทึกเพื่อจัดท�ำแผนการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่เป็นเป้าหมายและครอบครัวได้
ตามความต้องการ และมีความเหมาะสม คุ้มค่าคุ้มทุน
วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
1. อธิบายถึงปัญหาการด�ำรงชีวิตของผู้สูงอายุเป้าหมายและครอบครัว
2. อธิบายถึงเป้าหมายการด�ำรงชีวิตของผู้สูงอายุเป้าหมายได้
3. อธิบายวิเคราะห์เนื้อหาสาระการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุเป้าหมายได้
4. สามารถจดบันทึกข้อมูลการด�ำรงชีวิต เป้าหมายการด�ำรงชีวิต และเนื้อหาในการดูแลได้
เป้าหมาย :
ผูเ้ ข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์ปญั หาการด�ำรงชีวติ ของผูส้ งู อายุ เป้าหมายและครอบครัว
ได้ รับรูถ้ งึ เป้าหมายการด�ำรงชีวติ ของผูส้ งู อายุเป้าหมาย และวางแผนเนื้ อหาสาระการดูแลช่วยเหลือผูส้ งู อายุเป้าหมายได้
เนื้อหาวิชา :
• ประเด็นปัญหาการด�ำรงชีวิต
• เป้าหมายการด�ำรงชีวิต
• เนื้อหาการช่วยเหลือ
• การบันทึก
ระยะเวลา : ทฤษฎี 7 ชั่วโมง
รูปแบบ/ วิธีการสอน :
• การบรรยาย
• การฝึกปฎิบัติ บทบาทสมมติ
• ถาม-ตอบ ค�ำถามกลุ่มใหญ่
ขั้นตอนการด�ำเนินกิจกรรม :
1. วิทยากรน�ำเข้าสูบ่ ทเรียนด้วยค�ำถามถึงการวางเป้าหมายในชีวติ ของแต่ละคน ไฟล์นำ� เสนอตัวอย่างเป้าหมาย
การด�ำรงชีวติ เพื่อจูงใจให้ผู้เข้ารับการอบรมสนใจ และอธิบายให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดีใน
การวิเคราะห์ สังเคราะห์ประเด็นปัญหาการด�ำรงชีวิตเป้าหมายการด�ำรงชีวิตเนื้อหาการช่วยเหลือและการบันทึกเพื่อจัด
ท�ำแผนการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่เป็นเป้าหมายและครอบครัวได้ตามความต้องการ
2. แบ่งกลุ่มเข้ารับการอบรมเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับอบรม อภิปราย แสดงบทบาทสมมติใน
การแสดงถึงปัญหาการด�ำรงชีวิตเป้าหมายการด�ำรงชีวิตการดูแลช่วยเหลือและการบันทึก
3. ร่วมกันสรุปผลจากความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มและเสนอแนะความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่ม
4. วิทยากรสรุปพร้อมให้ข้อเสนอแนะ
สื่อประกอบการเรียนการสอน /อุปกรณ์ :
1. หนังสือคู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร Care Manager
2. สื่อการอบรม : ไฟล์น�ำเสนอ โปสเตอร์ แผ่นพับ ข่าวจากหนังสือพิมพ์
3. อื่นๆ
ค�ำแนะน�ำส�ำหรับวิทยากร :
1. ควรจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารทีเ่ กีย่ วข้องกับเป้าหมายการด�ำรงชีวติ บุคคลทีน่ ำ� เสนอผ่านสือ่ มวลชนแขนงต่างๆ เพือ่
ให้ผเู้ รียนสนใจ และจูงใจเข้าสูบ่ ทเรียน และร่วมแสดงความคิดเห็น
2. กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมากที่สุด
การประเมินผล :
1. สังเกตการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม
2. สังเกตการมีส่วนร่วมในการท�ำกิจกรรมกลุ่ม
3. ประเมินจากการถาม-ตอบ

64 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


แผนการสอนที่ 14 สิทธิผู้สูงอายุตามรัฐธรรมนูญ / กฎหมายที่ควรรู้
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุตามกฎหมาย
วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
1. บอกถึงสิทธิของผู้สูงอายุตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้
2. บอกถึงประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ฉบับที่ 6 เรื่องการประกอบ
กิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน พ.ศ.2553 ได้
3. บอกถึงกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุได้
เป้าหมาย :
ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
เนื้อหาวิชา :
1. สิทธิของผู้สูงอายุตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
2. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ 2546
3. กระทรวงสาธารณสุข เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ฉบับที่ 6 เรื่อง การประกอบกิจการให้บริการ
ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน พ.ศ. 2553 ได้
4. กฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องก้บผู้สูงอายุ
ระยะเวลา : ทฤษฎี 1 ชั่วโมง
รูปแบบ/ วิธีการสอน :
• การบรรยาย
• ถาม-ตอบ ค�ำถามกลุ่มใหญ่
ขั้นตอนการด�ำเนินกิจกรรม :
1. วิทยากรน�ำเข้าสู่บทเรียนด้วยค�ำถามถึง สถานการณ์ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุในปัจจุบันไฟล์น�ำ
เสนอตัวอย่างผู้สูงอายุที่เป็นข่าวทางสื่อมวลชน และอธิบายให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจถึงสถานการณ์ด้านกฎหมายผู้สูง
อายุในปัจจุบัน
2. ร่วมกันระดมความคิดเห็นเกีย่ วกับกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับผูส้ งู อายุ และสรุปผลจากความคิดเห็นของสมาชิกกลุม่
และเสนอแนะความคิดเห็นของสมาชิกกลุม่
3. วิทยากรสรุปพร้อมให้ข้อเสนอแนะ
สื่อประกอบการเรียนการสอน /อุปกรณ์ :
1. หนังสือคู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร Care Manager
2. สื่อการอบรม : ไฟล์น�ำเสนอ โปสเตอร์ แผ่นพับ ข่าวจากหนังสือพิมพ์
ค�ำแนะน�ำส�ำหรับวิทยากร :
1. ควรจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารทีเ่ กีย่ วข้องกับกฎหมายผู้สูงอายุที่นำ� เสนอผ่านสือ่ มวลชนแขนงต่างๆ เพือ่ ให้ผเู้ รียน
สนใจ และจูงใจเข้าสู่บทเรียน และร่วมแสดงความคิดเห็น
2. กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมากที่สุด
การประเมินผล :
1. สังเกตการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม
2. สังเกตการมีส่วนร่วมในการท�ำกิจกรรมกลุ่ม
3. ประเมินจากการถาม-ตอบ

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 65


แผนการสอนที่ 15 เรื่องบทบาทและจริยธรรมของ Care Manager
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในบทบาทของผู้สูงอายุ และจริยธรรมของผู้ดูแลผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์เฉพาะ เพือ่ ให้ผเู้ ข้ารับการอบรมสามารถเมือ่ เสร็จสิน้ การอบรม ผูเ้ ข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ
ในบทบาทและจริยธรรมของผูด้ แู ลผูส้ งู อายุมคี วามตระหนัก มีทศั นคติ คุณธรรม จริยธรรม ทีด่ ใี นการปฎิบตั งิ านดูแลผูส้ งู อายุ
และสามารถปฎิบตั งิ านดูแลผูส้ งู อายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื้อหาวิชา :
1. บทบาทหน้าที่ของ Care Manager
2. ความหมาย ของจริยธรรม
3. จริยธรรมของผู้ดูแลผู้สูงอายุ
4. องค์ประกอบทางจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ
ระยะเวลา : ทฤษฎี 1 ชั่วโมง
รูปแบบ/ วิธีการสอน :
• การบรรยาย
• ฝึกปฎิบัติ
ขั้นตอนการด�ำเนินกิจกรรม :
• น�ำเข้าสู่บทเรียนด้วยการสนทนา
• บรรยายเนื้อหา สนทนา ซักถาม ยกตัวอย่าง แลกเปลี่ยนเรียนรู้
• ฝึกปฎิบัติ ตามเนื้อหา
สื่อประกอบการเรียนการสอน /อุปกรณ์ :
• เอกสาร/คู่มือ
• สื่อการอบรม : ไฟล์น�ำเสนอ
• ใบงาน ฯลฯ
ค�ำแนะน�ำส�ำหรับวิทยากร :
• กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมากที่สุด
การประเมินผล :
• ทดสอบความรู้ ทัศนคติ การปฎิบัติ
• สังเกตการณ์ร่วมกิจกรรมและพฤติกรรมของผู้เข้าอบรม
• ความสนใจและการแสดงความคิดเห็น
• การซักถามและการตอบค�ำถาม ฯลฯ

66 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


แผนการสอนที่ 16 การศึกษาดูงานและฝึกปฎิบัติงานจริงในสถานบริการและชุมชน
วัตถุประสงค์ :
เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีในการดูแลผู้สูงอายุ สามารถน�ำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการ
ปฎิบัติการดูแลผู้สูงอายุ ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ
เนื้อหาวิชา :
• ในสถานบริการ (ปฎิบัติ 3.5 ชั่วโมง) (ในชุมชน 3.5 ชั่วโมง)
การฝึกปฎิบตั งิ านจริง ตามองค์ความรู้ ตามแผนการสอนที่ 1-13 ในการดูแลผูส้ ูงอายุกลุ่มเป้าหมายโดยสามารถ
ปฎิบัติงานตามขั้นตอนการปฎิบัติงาน Care Mamagement 7 องค์ประกอบดังนี้
(1) เข้าสู่กระบวนการ (ค้นพบกรณีต้องช่วยเหลือ, คัดกรอง, รับทราบสถานการณ์)
(2) ประเมิน (ICF, TAI) หรือการประเมินผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพ การคัดกรองและการประเมินดูแลช่วยเหลือกลุ่ม
ติดบ้าน ติดเตียง และการดูแลระยะยาว ตามแบบประเมินที่ก�ำหนดตามหลักสูตร
(3) จัดท�ำแผนการดูแลรายบุคคล (แนวคิดของผู้รับการช่วยเหลือ, ประเด็นปัญหาด้านการด�ำรงชีวติ , ก�ำหนดเป้าหมาย,
เนื้อหาการช่วยเหลือ, แผนรายสัปดาห์ หรือ Weekly Plan)
(4) เตรียมงานตามแผนการดูแลรายบุคคล และเริ่มปฎิบัติ
(5) ก�ำกับดูแล (ไปเยือนผู้รับการช่วยเหลือเป็นประจ�ำเพื่อตรวจดูภาวการณ์ช่วยเหลือ)
(6) หลังการก�ำกับดูแลจะประเมินผู้รับการช่วยเหลืออีกครั้งในกรณีที่มีความจ�ำเป็น
(7) เสร็จสิ้นกระบวนการ (เมื่อบริหารจัดการ Care Management ครบกระบวนแล้ว จึงย้อนกลับไปประเมิน
ว่าการช่วยเหลือตาม แผนการดูแลรายบุคคล ที่ผ่านมานั้นเหมาะสมหรือไม่)

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 67


แผนการสอนที่ 17 การวัดผลและประเมินผลการศึกษา
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อประเมิน/วัดระดับความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ คุณธรร จริยธรรม และการปฎิบัติในการดูแลผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เพือ่ ประเมิน/วัดระดับความรู้ ความเข้าใจ คุณธรรมจริยธรรม และการปฎิบัติในการดูแลผูส้ งู อายุ เพือ่ ให้ได้
Care Manager ที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพในการปฎิบัติงาน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ
เป้าหมาย :
แผนการสอนนี้มุ่งหมายให้ผู้เข้ารับการอบม เข้าใจวัตถุประสงค์ เนื้อหาวิชา วิธีการวัดและประเมินผลและ
เกณฑ์ในการประเมินความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และการปฎิบัติในการดูแลผู้สูงอายุ
เนื้อหาวิชา :
• ทดสอบและประเมินภาคทฤษฎี
• ทดสอบและประเมินภาคปฎิบัติ
• ทดสอบและประเมินผลด้านทักษะการปฎิบัติ
• ทดสอบและประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรม
ระยะเวลา : ทฤษฎี 4 ชั่วโมง
รูปแบบ/ วิธีการสอน : การท�ำแบบทดสอบ
ขั้นตอนการด�ำเนินกิจกรรม :
(1) ทดสอบและประเมินภาคทฤษฎี
(2) ทดสอบและประเมินภาคปฎิบัติ
(3) ทดสอบและประเมินผลด้านทักษะการปฎิบัติ
(4) ทดสอบและประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรม
สื่อประกอบการเรียนการสอน /อุปกรณ์ :
• ทดสอบและประเมินภาคทฤษฎี
• ทดสอบและประเมินภาคปฎิบัติ
• ทดสอบและประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรม
การประเมินผลมีเกณฑ์ในการประเมิน ดังนี้
• ผ่านการทดสอบและประเมินภาคทฤษฎี ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
• ผ่านการทดสอบและประเมินภาคปฎิบัติ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
• ผ่านการทดสอบและประเมินผลด้านทักษะการปฎิบัติไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
• ผ่านการทดสอบและประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ100
การวัดผลและประเมินผลการศึกษา
ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต�่ำกว่า ร้อยละ 80 ของเวลาเรียนในแต่ละวิชา และต้องช�ำระค่าใช้จ่ายในการอบรมตาม
ระเบียบที่หน่วยงานจัดอบรมก�ำหนด จึงจะมีสิทธิเข้าสอบ ผู้เข้าอบรมที่มีสิทธิเข้าสอบจะต้องปฎิบัติ ดังนี้
ก. ผู้เข้าอบรมต้องเข้าสอบตามวัน เวลา และสถานที่ ที่หน่วยงานจัดอบรมก�ำหนดให้ หากขาดสอบ โดยไม่มี
เหตุผลอันสมควร ให้ถือว่าสอบตกในการสอบครั้งนั้น
ข. ผูเ้ ข้าอบรมต้องใช้กระดาษสอบทีท่ างหน่วยงานจัดอบรมจัดให้ และห้ามคัดลอกข้อสอบหรือน�ำกระดาษสอบ
ออกจากห้องสอบ
ค. ผู้เข้าอบรมจะเข้าห้องสอบได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้ควบคุมการสอบ
ง. ผู้เข้าอบรมจะออกจากห้องสอบเป็นการชั่วคราวได้ต่อเมื่อได้รับการอนุญาตจากอาจารย์ผู้ควบคุมการสอบ
จ. ผู้เข้าอบรมที่มาสายเกินกว่า 30 นาที ห้ามเข้าห้องสอบ และไม่ให้ผู้ที่เข้าสอบออกจากห้องสอบก่อนเวลา
30 นาที

68 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


ฉ. ข้อปฎิบัติอื่นเกี่ยวกับการสอบให้เป็นไปตามที่ผู้จัดการอบรมก�ำหนด
ช. หากผูใ้ ดทุจริตหรือส่อเจตนาทุจริตในการสอบด้วยวิธใี ดๆ ก็ตามอาจารย์ผคู้ วบคุมการสอบมีอำ� นาจสัง่ ให้ผนู้ นั้ ยุติ
การสอบ และให้ถือว่าสอบตกในการสอบครั้งนั้น ของวิชาที่สอบ โดยให้อาจารย์ผู้ควบคุมการสอบรายงานการทุจริตให้
ผู้จัดการฝึกอบรมทราบทุกกรณี เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยร่วมกับคณะกรรมการบริหารหลักสูตรของหน่วยงานต่อไป
ค�ำแนะน�ำส�ำหรับวิทยากร :
• กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมมากที่สุด
การประเมินผล :
• ทดสอบความรู้ ทัศนคติ การปฎิบัติ
• สังเกตการณ์ร่วมกิจกรรมและพฤติกรรมของผู้เข้าอบรม
• ความสนใจและการแสดงความคิดเห็น

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 69


ตัวอย่าง หลักสูตรการอบรมผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Caregiver)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุและปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อเตรียมการรองรับระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ในท้องถิ่น ชุมชน
3. เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร และภาคีเครือข่ายที่ท�ำงานด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว
ระยะเวลา 70 ชั่วโมง
เนื้อหา
ภาคผนวก ณ.

1. ความจ�ำเป็นของการดูแลผู้สูงอายุ (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง)


วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุเข้าใจ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ สถานะสุขภาพผู้สูงอายุ
และตระหนักถึงความจ�ำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุ
เนื้อหาวิชา
- สถานการณ์ผู้สูงอายุในปัจจุบัน
- โครงสร้างประชากรของประเทศไทย
- สถานะสุขภาพผู้สูงอายุและความจ�ำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุ
วิธีการสอน/สื่อ
- การบรรยาย
- อภิปรายกลุ่ม
- กราฟโครงสร้างประชากร อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
- สถิติสถานะสุขภาพผู้สูงอายุและอื่นๆ
การประเมินผล
- การสังเกต
- การซักถาม
2. แนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุ (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง)
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องแนวคิดและทฤษฎีผู้สูงอายุ กระบวนการชราและการ
เปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ
เนื้อหาวิชา
- แนวคิดเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ
- การแบ่งประเภทผู้สูงอายุ
- กระบวนการชรา และการเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ : ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคม
วิธีการสอน/สื่อ
- การบรรยาย
- การซักถาม
- การแสดงบทบาทสมมติ
การประเมินผล
- การสังเกต
- การซักถาม
3. โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ (ทฤษฎี 2 ชั่วโมง / ปฏิบัติ 1 ชั่วโมง)
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ พฤติกรรมเสี่ยง การป้องกัน การส่ง
เสริมสุขภาพและการดูแลเบื้องต้น

70 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


เนื้อหา
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคเบาหวาน
- ข้อเข่าเสื่อม
- ภาวะสมองเสื่อม
- หลอดเลือดหัวใจตีบ
- มะเร็ง
- โรคตาในผู้สูงอายุ
วิธีการสอน/สื่อ
- การบรรยาย
- การซักถาม
- การฝึกท�ำแบบประเมิน/แบบทดสอบและแปรผล
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แผ่นผับ โปสเตอร์ ภาพพลิก
การประเมินผล
- การสังเกต
- การซักถาม
- การแปรผลจากการท�ำแบบประเมิน/แบบทดสอบได้ถูกต้อง
4. ภาวะวิกฤติกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น (ทฤษฎี 2 ชั่วโมง / ปฏิบัติ 2 ชั่วโมง)
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถสังเกตและให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะวิกฤติได้
เนื้อหาวิชา
- การประเมินภาวะวิกฤติ
- การหมดสติ เป่าปากเพื่อหายใจ และนวดหัวใจ เป็นลม
- การห้ามเลือด
- หกล้ม กระดูกหัก ข้อเท้าแพลง
วิธีการสอน/สื่อ
- การบรรยาย
- การซักถาม
- การแสดงบทบาทสมมติ
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แผ่นผับ โปสเตอร์ ภาพพลิก
การประเมินผล
- การสังเกต
- การซักถาม
5. การช่วยเหลือผู้สูงอายุเบื้องต้น (ทฤษฎี 3 ชั่วโมง / ปฏิบัติ 2 ชั่วโมง)
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ พฤติกรรมเสี่ยง การป้องกัน การส่ง
เสริมสุขภาพ และการดูแลเบื้องต้น
เนื้อหาวิชา
- การตรวจร่างการเบื้องต้น (ความดันโลหิต อุณหภูมิร่างกาย ชีพจร และการหายใจ
- การพยาบาลผู้สูงอายุที่เป็นลม, ข้อเท้าแพลง
- การเช็ดตัวลดไข้
- การท�ำแผล
- การเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุ
- การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
- ดูแลจัดท่านั่ง ท่านอน การลุกจากเตียง
- ฯลฯ
คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 71
วิธีการสอน/สื่อ
-
การบรรยาย
-
การซักถาม
-
การแสดงบทบาทสมมติ / การฝึกปฏิบัติ
-
อิเล็กทรอนิกส์ แผ่นผับ โปสเตอร์ ภาพพลิก
การประเมินผล
- การสังเกต
- การซักถาม
- ผลจาการฝึกปฏิบัติ
6. การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ ไ ด้ เ นื่ อ งจากการชราภาพ หรือมีปัญหาระบบทาง
เดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบอวัยวะสืบพันธุ์
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือ
ตนเองไม่ได้ ประสิทธิภาพเนื่องจากการชราภาพที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ระบบ
ขับถ่าย ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื้อหาวิชา
- ระบบทางเดินอาหาร (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง / ปฏิบัติ 2 ชั่วโมง)
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและหน้าที่ของระบบทางเดินอาหาร
การดูแลการให้อาหารทางสายยาง
การเตรียมอาหารเฉพาะโรค
การเตรียมอาหารผสมเพื่อให้ทางสายยาง
การดูแลความสะอาดช่องปาก
ดูแลเรื่องการรับประทานอาหาร
ดูแลการให้อาหารทาง Gastrostomy tube
บันทึกการให้อาหาร/การรับประทานอาหาร
- ระบบทางเดินหายใจ (การดูแลสมอง/ดูแลทางเดินหายใจ) , (Suction) (ทฤษฎี 1 ชัว่ โมง / ปฏิบตั ิ 2 ชัว่ โมง)
การเปลี่ยนแปลงโครงการสร้างและหน้าที่ของระบบทางเดินหายใจ
การเปลี่ยนแปลงทางคลินิกของระบบทางเดินหายใจในมนุษย์
ดูแลเรื่องการจัดท่าทั้งการนอน นั่ง หรือการบลุกจากตียง
การเคาะปอด
ดูแลเกี่ยวกับการให้ออกซิเจน (Oxygen)
การดูแลผู้สูงอายุ On Tracheaostomy tube
การดูแลเรื่องการใช้ยาพ่นขยายหลอดลม
การดูแลดูดเสมหะ
ระบบขับถ่าย (การดูแลความสะอาด, การเปลี่ยนถุง Colostomy) (การเปลี่ยนแปลง
โครงการสร้างและหน้าที่ของระบบขับถ่าย)
การดูแลเรื่องขับถ่ายปัสสาวะในผู้สูงอายุชายโดยใช้ถุงพลาสติก/ถุงยาง
ดูแลผู้ป่วยที่ On Foley s catheter
การท�ำ Intermittent cath
อาการท้องผูก/สาเหตุ การป้องกัน และแก้ไข
- ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ (การดูแลสายสวนต่างๆ) (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง / ปฏิบัติ 1 ชั่วโมง)
การเปลี่ยนแปลงโครงการสร้างและหน้าที่ของระบบอวัยวะสืบพันธุ์
กระบวนการชราของระบบสืบพันธุ์
การดูแลท�ำความสะอาดหลังการขับถ่าย

72 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


วิธีการสอน/สื่อ
- การสังเกต
- การซักถาม
- การแสดงบทบาทสมมติ-การฝึกปฏิบัติ
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แผ่นผับ โปสเตอร์ ภาพพลิก
การประเมินผล
- การสังเกต
- การซักถาม
- ผลจาการฝึกปฏิบัติ
7. การใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ (ทฤษฎี 2 ชั่วโมง)
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการใช้ยาในวัยสูงอายุสามารถดูแลช่วยเหลือการใช้ยาใน
ผู้สูงตามค�ำสั่งผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
เนื้อหาวิชา
- หลักการใช้ยาเบื้องต้น
- ยาที่ใช้บ่อยในวัยสูงอายุ
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
- ปัญหาที่พบและข้อควรระวังจากการใช้ยาในวัยสูงอายุ
วิธีการสอน/สื่อ
- การบรรยาย
- การซักถาม
- อิเล็กทรอนิกส์ แผ่นผับ โปสเตอร์ ภาพพลิก
การประเมินผล
- การสังเกต
- การซักถาม
8. การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และสามารถน�ำไปใช้ในการดูแล
ผู้สูงอายุใยชีวิตประจ�ำวันได้อย่างถูกต้อง
เนื้อหาวิชา
- ความหมายของการส่งเสริมสุขภาพ
- แนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
- อาหารและโภชนาการส�ำหรับผู้สูงอายุ (ทฤษฎี 2 ชั่วโมง / ปฏิบัติ 1 ชั่วโมง)
อาหารหลัก 5 หมู่
ความต้องการสารอาหารในผู้สูงอายุ
การประเมินภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ
หลักการจัดอาหารส�ำหรับผู้สูงอายุ
ข้อควรพิจารณาในการก�ำหนดอาหารส�ำหรับผู้สูงอายุ
- การออกก�ำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ (ทฤษฎี 2 ชั่วโมง / ปฏิบัติ 1 ชั่วโมง)
ประโยชน์ของการออกก�ำลังกาย
หลักปฏิบัติในการออกกก�ำลังกายและการบริหารร่างกายส�ำหรับผู้สูงอายุ
รูปแบบการออกก�ำลังกายเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 73


- การดูแลสุขภาพช่องปาก (ทฤษฎี 2 ชั่วโมง / ปฏิบัติ 1 ชั่วโมง)
การดูแลช่องปากด้วยตนเองส�ำหรับผู้สูงอายุ
- การแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน การใช้แปรงซอกฟัน การใช้ไม้จิ้มฟัน
การดูแลท�ำความสะอาดฟันปลอม
การตรวจช่องปากด้วยตนเอง
การเลือกรับประทานอาหารที่ประโยชน์และไม่ท�ำอันตรายต่อเหงือกและฟัน
การไปพบทันตแพทย์
วิธีการสอน/สื่อ
- การสังเกต
- การซักถาม
- การแสดงบทบาทสมมติ / การฝึกปฏิบัติ
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แผ่นผับ โปสเตอร์ ภาพพลิก
การประเมินผล
- การสังเกต
- การซักถาม
- ผลจาการฝึกปฏิบัติ
9. สุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ / การดูแลตนเองเพื่อคลายเครียด (ทฤษฎี 3 ชั่วโมง / ปฏิบัติ 2 ชั่วโมง)
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ มีทักษะความสามารถในการให้ค�ำแนะน�ำ
การดูแลตนเองเพื่อคลายเครียดแก่ผู้สูงอายุ และประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพจิตของผูด้ แู ลเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื้อหาวิชา
- สุขภาพจิตกับการเจ็บป่วยเรื้อรัง
- การประเมินปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง
- เทคนิคการสนทนากับผู้สูงอายุ
- การส่งเสริมสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ
- ภาวะเครียดในผู้สูงอายุ
- ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ การป้องกันการช่วยเหลือ
- การใช้แบบประเมินความเครียด / สมองเสื่อม
วิธีการสอน / สื่อ
- การสังเกต
- การซักถาม
- การแสดงบทบาทสมมติ / การฝึกปฏิบัติ
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แผ่นผับ โปสเตอร์ ภาพพลิก
การประเมินผล
- การสังเกต
- การซักถาม
- ผลจาการฝึกปฏิบัติ
- การแปรผลจากการประเมิน/แบบทดสอบได้ถูกต้อง
10. การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง)
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู ้ ดู แ ลผู ้ สู ง อายุมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสภาพแวดล้ อ มที่ เ อื้ อ ต่ อการมี สุ ข ภาพดี ข องผู้สูงอายุ
และสามารถจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมส�ำหรับผู้สูงอายุได้

74 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


เนื้อหาวิชา
- การจัดสภาพแวดล้อมภายในอาคาร
- การจัดสภาพแวดล้อมภายนอกอาคาร
วิธีการสอน / สื่อ
- การบรรยาย
- การซักถาม
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แผ่นผับ โปสเตอร์ ภาพพลิก
การประเมินผล
- การสังเกต
- การซักถาม
11. ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง / ปฏิบัติ 1 ชั่วโมง)
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในภูมิปัญญาชาวบ้านกั บ การดูแ ลสุ ข ภาพผู ้ สู ง อายุ สามารถให้ค�ำ
แนะน�ำและประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาดูแลสุ ข ภาพผู ้ สู งอายุ ไ ด้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภาพและเหมาะสมกับ
บริบทของพื้นที่
เนื้อหาวิชา
- นวดแผนไทยเพื่อคลายเครียด
- สมุนไพรใกล้ตัว
วิธีการสอน / สื่อ
- การบรรยาย
- การซักถาม
- การสาธิต / การฝึกปฏิบัติ
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แผ่นผับ โปสเตอร์ ภาพพลิก
การประเมินผล
- การสังเกต
- การซักถาม
- ผลจากการฝึกปฏิบัติ / การสาธิต
12. สิทธิผู้สูงอายุตามรัฐธรรมนูญ / กฎหมายแรงงานที่ควรรู้ (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง)
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุตามกฎหมาย
- เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการบริการทางสังคมส�ำหรับผู้สูงอายุ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
- เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุทราบถึงเครือข่ายแหล่งบริการทางสังคม และทางการการแพทย์เพื่อแสวงหาบริการ
ที่เหมาะสม
เนื้อหาวิชา
- สิทธิของผู้สูงอายุตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
- พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2550
- แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2564) ปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ 6)
- กองทุนการออมเพื่อผู้สูงอายุ
- ผู้สูงอายุกับพินัยกรรมชีวิต (Liver Wills)
วิธีการสอน / สื่อ
- การบรรยาย
- การซักถาม
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แผ่นผับ โปสเตอร์ ภาพพลิก

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 75


การประเมินผล
- การสังเกต
- การซักถาม
13. บทบาทและจริยธรรมของผู้ดูแลผู้สูงอายุ (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง)
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในบทบาทและจริยธรรมของผู้ดูแลผู้สูงอายุและมีความ
ตระหนัก มีทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรมที่ดีในการปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุ
เนื้อหาวิชา
- บทบาทหน้าที่และขอบเขตในการดูแลผู้สูงอายุ
- พรหมวิหาร 4
- อิทธิบาท 4
- โยนิโสมนสิการ
- ศักดิ์ศรีของการเป็นผู้สูงอายุ
- ธรรมะปฏิบัติอื่นๆ
วิธีการสอน / สื่อ
- การบรรยาย
- การซักถาม
- การฝึกปฎิบัติ
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แผ่นผับ โปสเตอร์ ภาพพลิก
การประเมินผล
- การสังเกต
- การซักถาม
- ผลจาการฝึกปฏิบัติ
14. การจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อผู้สูงอายุ (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง / ปฏิบัติ 1 ชั่วโมง)
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อผู้สูงอายุได้
- เพือ่ ให้ผสู้ งู อายุได้ผอ่ นคลายความเครียด เมือ่ ยล้า ให้ได้รบั ความสนุกสนาน เข้าสังคม มีเพือ่ น มีกลั ยาณมิตร
เนื้อหาวิชา
- ประโยชน์ของนันทนาการส�ำหรับผู้สูงอายุ
- รูปแบบของการจัดนันทนาการทัง้ เป็นกลุม่ และเป็นรายบุคคล เช่น เกมส์ กีฬา การแสดง ร้องเพลง ฟังเพลง
อ่านหนังสือ งานอดิเรก ฯลฯ
วิธีการสอน / สื่อ
- การบรรยาย
- การสาธิต
- การมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับการอบรม
- วัสดุอุปกรณ์ประกอบการสาธิต/ ฝึกปฏิบัติ
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แผ่นผับ โปสเตอร์ ภาพพลิก
การประเมินผล
- การสังเกต
- การซักถาม
- การมีส่วนร่วมในการฝึกปฏิบัติ

76 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


15. การฝึกปฏิบัติงาน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู ้ ดู แ ลผู ้ สู งอายุมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีในการดูแลผู้สูงอายุ สามารถน�ำความรู้ที่ได้ มา
ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ
เนื้อหาวิชา
- ในสถานบริการ (ทฤษฎี 10 ชั่วโมง)
การฝึกปฏิบัติงานจริงตามองค์ความรู้ ข้อ 1 – 16 ในการดูแลผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพ
กลุ่มที่ 1 ผูส้ งู อายุทชี่ ว่ ยเหลือตนเองได้ ช่ ว ยเหลื อ ผู ้ อื่ น ได้ สั ง คม และชุ มชนได้ (ติดสังคม) เช่น
การส่งเสริม สุ ข ภาพผู ้ สู ง อายุ การจัดกิจกรรมนันทนาการ การส่งเสริมภูมิปัญญาพื้นบ้าน
กลุ่มที่ 2 ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลื อตนเองได้บ้าง (ติดบ้าน) เช่น การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ และค�ำ
แนะน�ำเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ การใช้ยาในผู้สูงอายุการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น สุขภาพ
จิตกับผู้สูงอายุ การคัดกรองภาวะเครียดและสมองเสื่อม
กลุ่มที่ 3 ผูส้ งู อายุทชี่ ว่ ยเหลือตนเองไม่ได้ พิการ/ทุพพลภาพ (ติดเตียง) เช่น การดูแลช่วยเหลือผูส้ งู
อายุทชี่ ่วยเหลือตนเองไม่ได้ เนือ่ งจากความชราภาพทีม่ ปี ญ ั หาระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ระบบ
ขับถ่าย ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมส�ำหรับผู้สูงอายุทั้งภายในอาคารและบริเวณ
ภายนอกอาคาร
16. การวัดและประเมินผล (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง / ปฏิบัติ 1 ชั่วโมง)
วัตถุประสงค์
เพื่อประเมิน/วัดระดับความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้ได้ผู้ดูแลผู้สูง
อายุที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เพื่อคุณภาพชีวิตที่กชดีของผู้สูงอายุ
เนื้อหาวิชา
- ทดสอบและประเมินผลภาคทฤษฎี
- ทดสอบและประเมินผลภาคปฏิบัติ
- ทดสอบและประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรม
วิธีการวัดและประเมินผล
- การท�ำแบบทดสอบวัดและประเมินผลเชิงทฤษฎี
- การท�ำแบบทดสอบวัดและประเมินผลภาคปฏิบัติ
- การท�ำแบบทดสอบด้านคุณธรรม
เกณฑ์การประเมิน
- ผ่านการทดสอบและประเมินผลภาคทฤษฎี ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
- ผ่านการทดสอบและประเมินผลภาคปฏิบัติ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
- ผ่านการทดสอบและประเมินผลด้านทักษะการปฏิบัติ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
- ผ่านการทดสอบและประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรม ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 100
ที่มา : คูม่ อื แนวทางการฝึกอบรมผูด้ แู ลผูส้ งู อายุหลักสูตร 70 ชัว่ โมง ส�ำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 77


ภาคผนวก ด.

78 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 79
80 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ภาคผนวก ต.

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 81


82 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 83
ภาคผนวก ถ.

84 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


ภาคผนวก ท.

คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 85


ภาคผนวก ธ.

86 คู่มือ สนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


สำ�นักง�นหลักประกันสุขภ�พแห่งช�ติ
120 หมู่ 3 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
ชั้น 2-4 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ฯ 10210
โทร : 02-141-4000 โทรสาร :02-143-9730-1
Website :www.nhso.go.th

You might also like