Foley การเลียนแบบเสียง

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 5

นายยุทธชัย ชูพนั ธ์

6201473 COMPOSITION
Foley: งานจาลองเสียงในภาพยนต์

หากกล่าวถึงงานเสี ยงในการจัดทาภาพยนตร์ น้ นั ก็พอจะแบบออกเป็ นประเภทของงานได้เป็ น 3


ประเภท ได้แก่ บทสนทนา (Dialog), ดนตรี (Music) และ Sound design ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีความสาคัญ
แตกต่างกันออกไปตามบทบาทหน้าที่
Sound design เป็ นการใส่ เสี ยงต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากส่ วนของบทสนทานและดนตรี ประกอบ เป็ น
ส่วนสนับสนุนที่สาคัญของภาพยนต์ ที่ช่วยทาให้ผลงานมีความสมจริ ง หรื อช่วยให้ผชู ้ มเกิดอรรถรสได้ตรง
ประเด็นตามเหตุการณ์น้ นั ๆ ได้ แต่ก็มีผลงานบางชิ้นที่ไม่ได้ใส่ Sound design ลงไปด้วย ซึ่ งต้องพิจารณา
เป็ นเรื่ อง ๆ ไป

ภาพที่ 1 ลักษณะการบันทึกเสี ยงบทสนทนา

เสี ยงที่ได้จาก Sound design โดยส่วนใหญ่มาจากการบันทึกเสี ยงจริ ง จากสถานที่หรื อเหตุการณ์จริ ง


แต่ก็มีอ ยู่หลายผลงานที่ใช้เสี ยงสังเคราะห์ซ่ ึ งขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และเนื้ อหาของผลงานชิ้ นนั้น โดยเรา
สามารถย่อยลักษณะของ Sound design ได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
1. Ambience เป็ นการใส่ เสี ยงบรรยากาศต่าง ๆ ลงไป เพื่อให้เราทราบข้อมูลของพื้นที่หรื อ
รู้สึกถึงบรรยากาศสถานที่น้ นั หรื อเหตุการณ์น้ นั เช่น เสี ยงฝนตก เสี ยงสี่ แยก เสี ยงตลาด เสี ยงห้องอาหาร
เสี ยงท้องทะเล เสี ยงน้ าตก นอกจากนั้น ความเงียบ ก็สามารถสร้างบรรยากาศได้ดีเช่นกัน และสามารถทาให้
Dialog มีความชัดเจนมากขึ้นอีกด้วย
ภาพที่ 2 การบันทึกเสี ยงบรรยากาศสถานที่ที่รถเคลื่อนผ่าน

2. Sound effect หรื อ SFX เป็ นการใส่เสี ยงบางอย่างลงไปเพื่อเน้นความรู้สึกในขณะนั้น ให้ผฟู ้ ังรับรู้


ถึงความสาคัญของเหตุการณ์ หรื อดึ งให้ผูฟ้ ังสนใจ รวมถึงให้รับรู้ความพิเศษของเหตุการณ์น้ นั ชัดเจนขึ้น
เช่น เสี ยงระเบิด เสี ยงหมัดชก หรื ออาจะใช้เสี ยงสังเคราะห์บางเสี ยงใส่ลงไปตามแนวความคิดของตนเองได้
เช่นกัน ซึ่งในบางผลงานหรื อบางจังหวะอาจจะได้ผลดีกว่าการใช้เสี ยงจริ งอีกด้วย

ภาพที่ 3 แสดงอุปกรณ์บางประเภทสาหรับทาเสี ยง Sound effect

3. Foley เป็ นการใส่เสี ยงพฤติกรรมของสิ่ งต่าง ๆ ในเหตุการณ์น้ นั เพื่อให้เหตุการณ์ที่เกิดมี


ความสมจริ งขึ้น เช่น เสี ยงเดิน เสี ยงว่ายน้ า เสี ยงเปิ ดหนังสื อ เสี ยงปี กกระพือ เสี ยงวิง่ ผ่านหญ้า โดยสาเหตุที่
เราจาเป็ นต้องทา Foley นั้นมาจากการที่เรามีความต้องการบันทึกเสี ยง Dialog ให้สะอาดที่สุด ผูฟ้ ังจะได้ยิน
บทสนทนาที่ชดั เจน ไม่มีเสี ยงรบกวน แต่เนื่องจากเสี ยงที่ได้เป็ นการบันทึกเฉพาะเสี ยง Dialog เป็ นหลัก ทา
ให้เสี ยงอื่น ๆ ถูกลดทอนหรื อหายไป เพื่อให้เหตุการณ์ในผลงานมีความสมจริ งมากที่สุด เราจึงต้องทาการ
บันทึกเสี ยงพฤติกรรมของตัวละครนั้น ๆ ซ้ าให้ชดั เจน
ในบางครั้ง การทา Foley ก็ตอ้ งทาเสี ยง Sound effect ไปด้วย เช่นเสี ยงกระดูกหัก เสี ยงหวดไม้ เสี ยง
กระโดดน้ า หรื อเสี ยงอื่นที่ทาให้เหตุการณ์ดูน่าสนใจขึ้น แต่โดยทัว่ ไปแล้ว Foley จะใช้การบันทึกเสี ยงโดย
การเลียนแบบการแสดงของของนักแสดง เพื่อ ให้เสี ยงที่ไ ด้ มีความสมจริ ง มากที่สุด เสมือ นตนเองเป็ น
นักแสดงในบทนั้นเอง เราจึงเรี ยกนักจาลองเสี ยงว่า Foley Artist
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างเสี ยงประกอบ มีท้ งั แบบใช้แล้วทิ้ง และแบบที่สามารถใช้ซ้ าได้ ซึ่ ง
ขึ้ น อยู่กับ แนวคิด ของ Foley Artist เองว่ า จะออกแบบให้ ใ ช้อุ ปกรณ์อ ะไรมาเลีย นแบบเสี ย งนั้นตามแต่
จินตนาการของตนเอง แต่สิ่งสาคัญคือเสี ยงนั้นต้องทาให้ผูช้ มรู้สึกได้ถึงความสมจริ ง จึงต้องมีการวิเคราะห์
มวลสารของวัสดุและอุปกรณ์ที่นามาใช้ดว้ ย

ภาพที่ 5 แสดงการใช้วสั ดุเพื่อสร้างเสี ยงของ Foley Artist

การทางานของ Foley Artist


การทางานของ Foley Artist จะเริ่ มจากการดูผลงานนั้นแล้ววิเคราะห์ทุกอย่างที่เกิดในเหตุการณ์น้ นั
ไม่ว่าจะเป็ นเพศของตัวละคร พฤติกรรม สุขภาพของตัวละคร เสื้ อผ้า รองเท้า พื้น หรื อสิ่ งอื่นใดที่เกิดขึ้นใน
เหตุการณ์ของฉากนั้น เมื่อ วิเคราะห์ได้แล้ว จึ งเป็ นขึ้นตอนต่อไปคือการเลือกใช้อุปกรณ์ที่สอดคล้องกับ
สถานการณ์น้ นั เช่น การเดินของตัวละคร ควรใช้รองเท้าประเภทไหน จึงจะให้เสี ยงที่ดี การลงน้ าหนักเท้า
เพื่อแสดงบทบาทเลียนแบบเหตุการณ์ การนัง่ บนพื้นหญ้า การบินของสัตว์ปีก การวิ่งของสัตว์ต่าง ๆ การพาย
เรื อ หรื อแม้แต่การแล่นเรื อกระแทกคลื่นก็ตาม เป็ นสิ่ งที่วางแผนและวิเคราะห์มาแล้วทั้งสิ้น
ในการแสดงบทบาทเลียนแบบของ Foley Artist จะเคลื่อนไหวตามตัวละครนั้นให้มากที่สุด ไม่ว่า
จะคน สั ต ว์ หรื อ สิ่ ง แวดล้อ มต่ าง ๆ รวมถึ ง การจัด วางอุป กรณ์ ใ ห้ อ ยู่ใ นทิศ ทางที่ ต รงหรื อ ใกล้เ คีย งกับ
สิ่ งแวดล้อมในผลงานต้นแบบเพื่อให้เกิดระยะหรื อมิติเสี ยงที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์จริ งมากที่สุด นอกจากนี้
ในบางครั้งที่ตอ้ งมีการล้มลุกคลุกคลานของตัวละคร Foley Artist เองก็จาเป็ นต้องเลียนแบบท่าทางทางของ
ตัวละครนั้นด้วยเพื่อ ความสมจริ ง นอกจากนี้ บางครั้ง Foley Artist เอง ก็จาเป็ นต้อ งรับหน้าที่ บันทึกเสี ยง
Ambience และทาเสี ยง Effect เองด้วย ซึ่ งขึ้นอยู่กบั ผลงานว่าต้องการเสี ยงจริ งมากน้อยระดับไหน หรื อต้อง
ใช้เสี ยงสังเคราะห์ลงที่จงั หวะใด
Foley Artist จะทาการบันทึกเสี ยงใน Foley Studio ซึ่งจะประกอบไปด้วย 4 ส่วนสาคัญ ได้แก่
1. พื้ น ที่ ส าหรั บ เปิ ดดู ง านต้น แบบ โดยดู ที่ จ อ Monitor ซึ่ งจะมี ข นาดเท่ า ใด ขึ้ น อยู่กับ
งบประมาณของ Studio เอง
2. พื้นที่ควบคุมการบันทึกเสี ยง ซึ่ งจะมีลักษณะเหมือนห้อ งบันทึกเสี ยงหรื อ งาน Studio
recording ตามปกติทวั่ ไป ใช้ไมค์โครโฟนแบบ Condenser ในการบันทึกเสี ยงเพื่อเก็บรายละเอียดเสี ยงในวง
กว้างหรื อระยะที่เหมาะสมได้มากขึ้น
3. พื้นที่แสดงท่าทางเลียนแบบ จะเป็ นพื้นที่โล่งกว้างซึ่ งจะกว้างเพียงใดก็ข้ ึนอยู่กับการ
ออกแบบ แต่หัวใจหลักคือต้องสามารถจัดวางอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้สะดวก โดยอุปกรณ์สร้างเสี ยงบางชนิดก็มี
ขนาดที่ใหญ่และมีน้ าหนักที่มาก ซึ่งขนาดของอุปกรณ์ก็ให้ยา่ นเสี ยงแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน
4. พื้นที่จดั เก็บอุปกรณ์ ในส่ วนนี้ ข้ ึนอยู่กบั การจัดเก็บอุปกรณ์เองรวมถึงปริ มาณอุปกรณ์ที่
จะใช้ว่ามีมากน้อยเพียงใด แต่กรณีที่วสั ดุสร้างเสี ยงบางอย่างเป็ นแบบใช้แล้วพัง ก็จะมีการรวมรวมไปทิ้งใน
การบันทึกเสี ยงวันนั้นเลย
หากจินตนาการตามแล้ว จะเห็นว่า Foley Studio จะมีฝนุ่ และปัญหาการระบายอาการ จึงจาเป็ นต้อง
รักษาความสะอาดของห้อ ง รวมถึงการจัดวางระบบการไหลเวียนของอากาศเพื่อความปลอดภัย ในสุ ขภาพ
ของ Foley Artist รวมถึงยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ให้มากที่สุ ด นอกจากนี้ ในการเลียนแบบการแสดง
บางครั้งก็เกิดอุบตั ิเหตุข้ ึนจากการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ ดังนั้นการตรวจสภาพอุปกรณ์ก็ถือเป็ นเรื่ องสาคัญ
สาหรับ Foley Artist ด้วยเช่นกัน
เมื่อทาการบันทึกเสี ยงแล้ว Foley Artist จะนาเสี ยงที่ได้น้ นั ไป Mixdown รวมเข้ากับผลงานต้นแบบ
แล้วส่ งต่อไปให้ผูก้ ากับ หรื อ Director พิจารณา กรณี ที่ฉากไหนดีแล้วก็ถือเป็ นการสิ้ นสุ ด แต่กรณี ที่สั่งให้มี
การปรับปรุ ง ก็จะแนวคิดที่ได้รับมา นาไปปรับปรุ งแก้ไข จนกว่าจะเป็ นที่พึงพอใจ ถือเป็ นอันเสร็จสมบูรณ์
ของฉากนั้น และต้อ งทาแบบนี้ ในทุกฉาก จึ งถือ ว่าเป็ นหน้าที่ที่ใช้เวลานานมาก กว่าจะได้ภาพยนตร์ ที่
สมบูรณ์แบบมาให้เราได้ชมกัน
ภาพที่ 6 Foley Artist พยายามเลียนเสี ยงให้ตรงกับภาพบน Monitor

Foley ถือเป็ นเสี ยงที่สาคัญที่ขาดไม่ได้ในภาพยนตร์ เพราะช่วยทาให้ผลงานของเรามีความสมจริ ง


เป็ นเสี ยงที่คนทัว่ ไปมักไม่สังเกตหรื อสนใจมันนัก เพราะเรามักจะได้ยินเสี ยงต่าง ๆ เหล่านี้ ในชีวิตจริ งอยู่
แล้ว แต่ในขั้นตอนการบันทึกเสี ยงนั้น มีความต่างออกไปคือ เราจะทาการบันทึกเสี ยง Dialog ก่อ นและ
บันทึกให้มีคุณภาพมากที่สุด มีความชัดเจน มีความสะอาดให้มากที่สุด นัน่ จึงทาให้การบันทึกเสี ยงอื่น ๆ ใน
เหตุการณ์น้ นั ถูกลดทอนลงไป ทาให้เราต้องมาบันทึก Foley ซ้ านัน่ เอง หากเราสังเกตเสี ยงต่าง ๆ รอบตัวเรา
ดี ๆ เราจะได้ยินเสี ยงอื่น ๆ ปะปนอยูต่ ลอดเวลา มันเป็ นเรื่ องที่ทา้ ทายมาก หากเราจะลองเลียนเสี ยงเหล่านั้น
ดูบา้ ง หรื อพยายามเลียนแบบพฤติกรรมของสิ่ งต่าง ๆ นั้นดูบา้ ง เราอาจจะได้เรี ยนรู้อะไรจากเสี ยงเหล่านั้นก็
ได้ เช่นเดียวกับที่ Foley Artist ได้ทากันมา

บรรณานุกรม
ศิริพนั ธ์ เจริ ญรักษ์, (4 ตุลาคม 2561), การทาเพลงประกอบภาพยนตร์ และโทรทัศน์, The Absolute Sound &
State, สื บค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562 ที่ http://www.soundstagemag.com/main/index.php/magazine-
articles/technology-av-media/1221-2018-10-04-09-14-20

You might also like