Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 17

นักเรียนระดับมัธยมศึ กษาตอนปลายของรรนี้ ส่ วนใหญ่ต้องการออกไปประกอบอาชี พเมื่อจบการศึ กษาแล้ว(เหตุผล)

ดังนั้นรรจึงควรเปิดรายวิชาเลือก วิชาพื้นฐานอาชี พเท่าที่หลักสู ตรเปิดช่ องให้ มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

(ข้อสรุ ปหรือข้อเสนอทรรศนะ)

เรายังไม่เคยได้สํารวจอย่างเป็นกิจจะลักษณะเลยแม้แต่ครั้งเดียว ว่าเมื่อจบการศึ กษาแล้วนรของเราในระดับมัธยมศึ กษาตอนปลา


มุ่งหมายที่จะทําอะไรต่อไป จะมีก็แต่การคาดคะเนเอาเองตามความรู ้สึกส่ วนตัว (เหตุผล)

ฉะนั้นเราอาจประสบความล้มเหลวก็ได้ถ้าเรามุ่งที่จะเปิดวิชาพื้นฐานอาชี พให้มากยิง่ ขึ้นกว่าที่เคยเปิดมา(ข้อสรุ ปหรือข้อโต้แย้ง


ทรรศนะที่1)
เนื่องจากหัวข้อและเนื้อหาของการโต้แย้งไม่มีขอบเขตจํากัด จึงควรกําหนดให้ชัดเจนว่าจะโต้แย้งกันในหัวข้อใด จะ
พิจารณากันในประเด็นอะไรบ้าง เนื้อหาโต้แย้งก็ต้องคล้อยตามหัวข้อโต้แย้งกันให้ตรงประเด็นไม่ออกนอกเรื่อง
ในการโต้แย้งนั้น ผู้ริเริม่ การโต้แย้งควรเสนอสิ่ งที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็
พยายามหาเหตุผล หลักฐานต่างๆ มาคัดค้าน เพื่อชี้ ไห้เห็นว่าข้อเสนอนั้นไม่เหมาะสม ไม่มีประโยชน์
1. การโต้แย้งเกี่ยวกับนโยบายหรือข้อเสนอเพื่อให้เปลี่ยนแปลงสภาพเดิม
- มองจุดแข็งและจุดอ่อนของข้อโต้แย้งให้ออก
- เปลี่ยนแปลงมันตามความเหมาะสม
- เมื่อเปลี่ยนแปลงข้อโต้แย้งแล้วต้องตระหนักถึงประโยชน์ของมันด้วย
2. การโต้แย้งเกี่ยวกับข้อเท็จจริง
- ตรวจสอบให้ม่นั ใจว่าข้อเท็จจริงที่พูดนั่นเป็นความจริง/มีอยู่จริงหรือไม่
- ตรวจสอบแหล่งข้อมูลที่อ้างอิง
- ความน่าเชื่ อถือ
3. การโต้แย้งเกี่ยวกับคุณค่า
- เป็นการโต้แย้งที่ใช้ อารมณ์ ความรู ้สึกร่วม
- การกําหนดความหมายของคําหลักๆในการโต้แย้ง เพื่อที่จะได้ไม่โต้แย้งไปคนละทิศคนละทาง โดยที่เริม่ โดยการ
อธิบายหัวข้อที่จะโต้แย้งกับแบบคร่าวๆ

วิธีการนิยามคํา

- อาศั ยพจนานุกรม
- ยกตัวอย่าง
- ใช้ คําอธิบาย

เช่ น ชมรมภาษาไทยควรจัดนําสมาชิ กไป


’ทัศนะศึ กษา’ข้ามคืนตามที่ประทานชมรมเสนอ
● ค้นหาจากการ อ่าน, การฟัง, การสั มภาษณ์ และ สั งเกตด้วยตัวเอง
ค้นหาข้อมูลด้วยตัวเอง
● จดบันทึก
● คัดเลือกหมวดหมู่ และ เรียบเรียง
● ต้องการทําให้ผู้อ่านและผู้ฟังที่เกี่ยวข้องเข้าใจทรรศนะของเราได้อย่างชั ดเจน
● แสดงข้อสนับสนุน และ บ่งชี้ ให้ชัดเจน
● นําเสนอในปริมาณที่เหมาะสม
● อย่ากล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอย หรือ บิดเบือนข้อมูลจริง
โดยปกติ จุดอ่อนของทรรศนะบุคคล จะอยู่ท่ี

● การนิยามคําสํ าคัญ
● ปริมาณและความถูกต้องของข้อมูล
● สมมุติฐานและวิธีการอนุมาน
● นําเอาคําที่จะนิยามไปบรรจุไว้ในข้อความที่นิยาม เช่ น งานประดิษฐ์ หมายถึง งานที่นักเรียนได้ประดิษฐ์ข้ึนด้วย
ความคิดของตัวเอง, ผลผลิตที่เกิดจากความคิดริเริม่ และการลงมือทําด้วยตนเอง
● ข้อความที่ใช้ ประกอบด้วยถ้อยคําซึ่ งเข้าใจยาก เช่ น สิ่ งแวดล้อม หมายถึง สรรพสิ่ งที่เป็นปรากฏการณ์ทาง
ธรรมชาติ และปรากฎการณ์ท่ีมนุษย์ได้สร้างสรรค์หรือพัฒนาขึ้น, สิ่ งใดๆก็ตามที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ทั้งสิ่ งที่เกิดขึ้น
เองและมนุษย์สร้างขึ้น
● นิยามโดยอคติ ซึ่ งอาจถึงแก่บิดเบือนความหมายของคํา เช่ น หาบเร่ หมายถึง การนําสิ นค้าไป โดยที่ผู้ขายต้องหา
บสิ นค้าเหนือบ่าและเคลื่อนที่ไปตลอดเวลา ยกเว้นเมื่อมีผู้ขอซื้ อสิ นค้านั้นๆ ซึ่ งหมายความว่า หากผู้ขายวางสิ นค้า
ลง ก็ไม่ถือว่าเป็นหาบเร่ นี่เป็นการนิยามคําด้วยเจตนาที่จะเอาประโยชน์เข้าฝ่ายตัวเอง
เช่ น มีผู้แสดงทรรศนะว่า ควรยุบสถานที่อ่านหนังสื อประจําหมู่บ้าน เพราะมีผู้ใช้ บริการน้อยมาก และยังได้อ้างว่า ตน
และเพื่อนได้ไปเห็นสถานที่ และตลอดวันไม่เห็นมีใครมานั่งอ่าน หนังสื อเลย ซึ่ งเห็นได้ว่าข้อมูลที่อ้างนั้นน้อยมาก อีกทั้ง
ช่ วงเวลาที่ไปสั งเกตการณ์ อาจเป็นช่ วงที่คนไม่ว่าง หรือ มีงานทําก็ได้
ข้อสรุ ปของทรรศนะใดๆก็ตาม ต้องสื บเนื่องมาจากสมมุติฐานหรือหลักทั่วไปเสี ยก่อน เช่ น

พวกเราทุกคนได้ประกาสแล้วว่า จะต่อสู้ เพื่อความถูกต้องและยุติธรรม และพวกท่านทุกคนก็เช่ นเดียวกัน ได้


ประกาศแล้วว่าจะต่อสู้ เพื่อความถูกต้องและยุติธรรมทุกวิถีทาง ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าเรามีหลักการอันเดียวกัน เราไม่มี
อะไรขัดแย้งกันเลย ภารกิจที่เราจะกระทําทุกอย่าง จึงสามารถทําร้วมกันได้ โดยไม่มีปัญหาใดๆ ทั้งสิ น

แม้จะเป็นความจริงโดยไม่มีผู้ใดคัดค้านก็ตาม แต่การอนุมานจากสมมุติฐานนี้ ว่าเรามีหลักการเดียวกัน ไม่มีอะไร


ขัดแย้งกันเลย ก็ไม่มีเหตุผล เพราะการทํางานเพื่อไปสู่ ความถูกต้องและยุติธรรมก็ไม่จําเป็นที่ต้องมีหลักการ
เดียวกัน
การวินิจฉัยทรรศนะของอีกฝ่ายมีได้สองแบบ

1.พิจารณาเฉพาะเนื้อหาสาระที่อีกฝ่ายเสนอ ผู้วินิจฉัยจะไม่ใช้ ความรู ้ส่วนตัวมาใช้ เลย การตัดสิ นใจแบบนี้ส่วนมากจะใช้


ในการโต้วาที ผู้ตัดสิ นจะวางตัวเป็นกลาง

2.วินิจฉัยโดยใช้ ดุลยพินิจของตนพร้อมกับพิจารณาคําโต้แย้งของทั้งสองฝ่ายโดยละเอียด เป็นการโดยบุคคลทั่วๆไป


หากเรารู ้สึกว่าเรามีเหตุผลมากกว่าก็จะนําเสนอข้อโต้แย้งไป
1. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ อารมณ์ ตามปกติมนุษย์ย่อมมีอารมณ์ โดยการโต้แย้งนั้นจะต้องยุติลงด้วยการแพ้ชนะกันเสมอ คําว่า แพ้ ในการโต้แย้งหมาย
ถึง ทรรศนะที่เสนออกไปไม่ได้รับการยอมรับ ต่างกับการแพ้ในการแข่งขันหรือสู้ ด้วยพละกําลัง ซึ่ งผู้โต้แย้งจึงต้องระมัดระวังควบคุมอารมณ์ของ
ตน ทําใจให้เป็นกลางและยอมรับผลรับ

2. มีมารยาทในการใช้ ภาษา ในระหว่างที่โต้แย้งกับบุคคลอื่น การเสนอทรรศนะนั้นจําเป็นต้องใช้ ภาษาให้เหมาะแก่ระดับของบุคคลที่มีส่วนรวมในการ


โต้แย้ง และ ที่สําคัญที่สุด การโต้แย้งในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะด้วยการเขียนหรือการพูด จําเป็นต้องระมัดระวังมารยาทในการใช้ ภาษาให้ถกู ต้อง
เหมาะสม

3. ผู้โต้แย้งควรรู ้จักเลือกประเด็น ประเด็นบางประเด็นไม่อาจโต้แย้งกันได้ ถ้าโต้แย้งกันไปแล้วไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ผู้โต้แย้งจะต้องระวังว่า บาง


ประเด็นอารกระทบกระเทือนแก่ผู้อ่ ืน หรือเป็นสิ่ งที่บุคคลจํานวนมากนับถือ

You might also like