01 หนังสือสัญญา

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 207

ความรูเบื้องตนเรื่องสัญญาจางกอสราง

INTRODUCTION TO CONSTRUCTION CONTRACTS

โดย
ดร.พิชญ สุธีรวรรธนา
ดร.นที สุริยานนท
คํานํา

วิศวกรโยธาหรือนักศึกษาวิศวกรรมโยธาทั่วไปมักสนใจงานทางดานเทคนิคกอสรางเปนสวน
ใหญ โดยมักจะละเลยงานดานสัญญากอสราง เนื่องจากอาจคิดวาไมใชเรื่องของตน นาจะเปนงานของ
ทนายหรือนักกฎหมายเสียมากกวา แตแทที่จริงแลวงานดานสัญญาเปนงานหลักประการหนึ่งที่สําคัญ
ในการบริหารโครงการ ผูที่มีความรูทางดานงานสัญญามากกวายอมอยูในสถานะที่ไมเสียเปรียบ
คูสัญญาอีกฝายหนึ่ง
อย า งไรก็ดี ตํา ราความรู ใ นเรื่อ งงานดา นสั ญ ญาก อสรา งที่ มีค วามละเอี ย ดมั ก จะเปน ตํา รา
ตางประเทศซึ่งมีวิถีปฏิบัติบางประการที่แตกตางจากวิถีปฏิบัติของไทย อีกทั้งพบวาหนังสือภาษาไทย
ที่มีเนื้อหาเฉพาะดานในเรื่องงานดานสัญญากอสรางมีนอยมากหรือแทบจะหาอานไมไดเลย คณะ
ผูเขียนจึงไดแตงและเรียบเรียงหนังสือนี้ขึ้นโดยอางอิงแหลงขอมูลจากงานกอสรางของประเทศไทย
เพื่อเปนแหลงความรูสําหรับผูที่สนใจใหสามารถนําไปประยุกตใชไดในสถานการณที่เหมาะสม
หนั ง สื อ นี้ มี ข อบเขตของเนื้ อ หาเฉพาะงานสั ญ ญาจ า งก อ สร า งระหว า งผู ว า จ า งกั บ
ผูรับเหมากอสราง เนื้อหาของหนังสือนี้แบงออกเปน 2 ภาค เนื้อหาในภาคที่หนึ่งกลาวถึงงานสัญญา
กอสรางและกระบวนการที่เกี่ยวของ สวนเนื้อหาในภาคที่สองกลาวถึงขอกําหนดในสัญญาจางกอสราง
คณะผูเขียนหวังวาหนังสือเลมนี้จะเปนประโยชนตอวงการวิศวกรรมการบริหารงานกอสราง
และสังคมไทยในวงกวาง ทั้งฝายผูวาจาง ฝายผูรับเหมากอสราง ฝายวิศวกรที่ปรึกษา เจาหนาที่ของ
รัฐในระดับทองถิ่น รวมถึงนักศึกษาวิศวกรรมโยธาผูสนใจ
คณะผูเขียนขอขอบคุณผูมีสวนสนับสนุนและเกี่ยวของทุกทาน โดยเฉพาะอยางยิ่งคณาจารย
ทุกทานที่ประสิทธิประสาทวิชาความรู ขอบคุณ ผศ.ดร.จิรวัฒน ดําริหอนันต อ.วิฆเนศ วงศวาณิช
วัฒนา อ.ธีระพงษ ชิรวานิช และคุณจิตตรา โพธิ์กระเจน รวมถึงเพื่อนรวมงานในโครงการวิศวกรรม
การกอสรางและเทคโนโลยี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา และบัณฑิตศึกษาสาขาวิศวกรรมโยธา ที่มีแต
ความปรารถนาดีใหตอกัน ขอขอบคุณวิศวกรรมสถานแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ ที่ชวย
จัดพิมพจําหนายเผยแพรความรูทางดานงานสัญญาจางกอสรางใหกวางขวางยิ่งขึ้น
สุดทายนี้ถาหากหนังสือเลมนี้มีความผิดพลาดประการใด หรือหากวาผูอานทานใดมีคําติชม
คําแนะนํา หรือขอชี้แนะประการใด คณะผูเขียนขอนอมรับไวดวยความยินดีเปนอยางยิ่ง และจะ
พยายามปรับปรุงเนื้อหาของหนังสือใหมีความสมบูรณยิ่งขึ้นในโอกาสตอไป

ดร.พิชญ สุธีรวรรธนา
ดร.นที สุริยานนท
สารบัญ

หนา

ภาคที่ 1 งานสัญญากอสรางและกระบวนการที่เกี่ยวของ

บทที่ 1 ระบบการจัดทําและสงมอบโครงการ
1.1 บทนํา 1-1
1.2 ระบบ Traditional Contract 1-1
1.3 ระบบ Owner-Builder 1-2
1.4 ระบบ Professional Construction Manager 1-3
1.5 ระบบ Design-Build 1-5
1.6 ระบบ Build-Operate-Transfer (BOT) 1-5
1.7 วิธีการทํางานกอสรางแบบดั้งเดิมและแบบซอนระยะ 1-7
1.8 วิธีการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง 1-7
1.9 บทสงทาย 1-8
เอกสารอางอิง
บรรณานุกรม

บทที่ 2 ประเภทของสัญญาจางกอสราง
2.1 บทนํา 2-1
2.2 สัญญาแบบเหมารวม 2-1
2.3 สัญญาแบบราคาตอหนวย 2-2
2.4 สัญญาแบบตนทุนบวกคาจาง 2-2
2.5 สัญญาแบบปรับราคาได 2-9
2.6 สัญญาแบบเปลี่ยนเงื่อนไขได 2-9
2.7 สัญญาแบบใหเวลาและวัสดุ 2-10
2.8 วิธีการจูงใจ 2-10
2.9 บทสงทาย 2-12
เอกสารอางอิง
บรรณานุกรม

ix
สารบัญ (ตอ)
หนา
บทที่ 3 แนวทางในการเลือกระบบสัญญา
3.1 บทนํา 3-1
3.2 แนวคิดของ Gordon (1994) 3-1
3.3 แนวคิดตามรายงานเรื่อง Thinking about Building ของ NEDO 3-2
(1985)
3.4 แนวคิดของ Skitmore and Marsden (1988) 3-4
3.5 แนวคิดของ Hayes et al (1986) 3-4
3.6 บทสงทาย 3-7
เอกสารอางอิง
บรรณานุกรม

บทที่ 4 ขั้นตอนการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง
4.1 บทนํา 4-1
4.2 ภาพโดยรวมของขั้นตอนการคัดเลือกผูรบั เหมากอสราง 4-1
4.3 การประกาศเชิญชวนผูสนใจงาน 4-1
4.4 การคัดเลือกผูส นใจงานโดยวิธีพิจารณาคุณสมบัติเบื้องตน 4-3
4.5 การเชิญผูที่ผา นการคัดเลือกเขารวมเสนอราคา 4-7
4.6 การจําหนายเอกสารขอแนะนําการเสนอราคา 4-7
4.7 การเยี่ยมชมสถานที่กอสราง 4-9
4.8 การประชุมกอนยื่นเสนอราคา 4-10
4.9 การออกหนังสือชี้แจงเพิ่มเติม 4-10
4.10 การตอบจดหมายซักถาม 4-13
4.11 การประมาณราคาและจัดเตรียมเอกสารเพื่อเสนอราคา และการ 4-15
ยื่นเอกสารเสนอราคา
4.12 การพิจารณาคัดเลือกผูไดรบั งาน การประกาศผูไดรับงาน และการ 4-15
ทําสัญญาระหวางผูวาจางกับผูไดรับงาน
4.13 การขยายเวลาเสนอราคา 4-16
4.14 เกณฑในการคัดเลือกผูไดรบั งาน 4-16
4.15 การเสนอราคาแบบไมสมดุล 4-16
4.16 บทสงทาย 4-18
เอกสารอางอิง
บรรณานุกรม

x
สารบัญ (ตอ)
หนา

ภาคที่ 2 ขอกําหนดในสัญญาจางกอสราง

บทที่ 5 ระยะเวลาทํางานกอสราง
5.1 บทนํา 5-1
5.2 รูปแบบของขอกําหนดในสัญญาที่เกี่ยวกับกําหนดเวลาแลวเสร็จ 5-1
บริบูรณของงาน
5.3 วิธีการนับระยะเวลา 5-2
5.4 การนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย 5-2
5.5 การคํานวณนับระยะเวลากอสรางตามหลักของประมวลกฎหมาย 5-6
แพงและพาณิชย
5.6 การนับระยะเวลาตามที่สัญญากําหนดไวอยางเฉพาะเจาะจง 5-8
5.7 หนังสือแจงเริ่มงาน 5-8
5.8 บทสงทาย 5-9
เอกสารอางอิง
บรรณานุกรม

บทที่ 6 คาจางงานกอสราง
6.1 บทนํา 6-1
6.2 รูปแบบการคิดคาจางงานกอสราง 6-1
6.3 รูปแบบการจายคาจาง 6-3
6.4 เงินคาจางลวงหนา 6-5
6.5 คาจางของงานสวนที่มีการเปลี่ยนแปลง 6-8
6.6 การปรับราคาคาจางตามสภาวะเศรษฐกิจ 6-10
6.7 การหักคาจางเพื่อประกันผลงาน 6-12
6.8 การชะลอหรือยับยั้งการจายเงินคาจาง 6-13
6.9 ตัวอยางแนวทางการวินิจฉัยที่เกี่ยวของกับคาจางงานกอสราง 6-13
6.10 บทสงทาย 6-18
เอกสารอางอิง
บรรณานุกรม

xi
สารบัญ (ตอ)
หนา
บทที่ 7 การเปลี่ยนแปลงในงานกอสรางโดยความตองการของผูวาจาง
7.1 บทนํา 7-1
7.2 สิทธิตามสัญญาของผูวาจางในการสั่งเปลี่ยนแปลงงาน 7-2
7.3 การออกคําสั่งเปลี่ยนแปลงงาน 7-3
7.4 สิทธิของผูว าจางในการจางผูอื่นทํางานแทนในกรณีทผี่ ูรับจางไม 7-3
ยินยอมปฎิบัติตามคําสั่งเปลี่ยนแปลงงาน
7.5 ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงตอระยะเวลาทํางาน 7-4
7.6 ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงตอตนทุนกอสราง 7-5
7.7 การเปลี่ยนแปลงในงานกอสรางอันเนื่องมาจากสาเหตุอื่น 7-8
7.8 บทสงทาย 7-13
เอกสารอางอิง
บรรณานุกรม

บทที่ 8 การขยายระยะเวลากอสราง
8.1 บทนํา 8-1
8.2 สาเหตุของความลาชา 8-1
8.3 ประเภทของความลาชา 8-3
8.4 ขอกําหนดในสัญญาที่เกี่ยวของกับการขยายเวลา 8-3
8.5 ตัวอยางแนวทางการวินิจฉัยที่เกี่ยวของกับการขอขยายระยะเวลา 8-6
กอสราง
8.6 การเก็บหลักฐานประกอบการรองขอขยายเวลา 8-14
8.7 การขยายเวลาสําหรับความลาชาที่เกิดขึน้ จากหลายสาเหตุพรอม 8-14
กัน
8.8 คาปรับเนื่องจากการสงมอบงานลาชา 8-15
8.9 บทสงทาย 8-15
เอกสารอางอิง
บรรณานุกรม

บทที่ 9 การหยุดงานชั่วคราว
9.1 บทนํา 9-1
9.2 การหยุดงานโดยคําสั่งผูวาจาง 9-1
9.3 การหยุดงานโดยผูรับเหมากอสราง 9-5

xii
สารบัญ (ตอ)
หนา
9.4 บทสงทาย 9-7
เอกสารอางอิง
บรรณานุกรม

บทที่ 10 ความชํารุดบกพรองของผลงาน
10.1 บทนํา 10-1
10.2 ขอบเขตความรับผิดของผูรับเหมา 10-1
10.3 ระยะเวลาการรับประกันความชํารุดบกพรองของผลงาน 10-3
10.4 สิทธิของผูว าจางในการจางบุคคลอื่นเขาดําเนินการแทน 10-5
10.5 บทสงทาย 10-6
เอกสารอางอิง
บรรณานุกรม

บทที่ 11 การจางชวง
11.1 บทนํา 11-1
11.2 หนาที่ของผูรับเหมาในการขอความเห็นชอบจากผูวาจาง 11-1
11.3 ความรับผิดของผูรับเหมาตอผลงานหรือการกระทําของผูรับเหมา 11-2
ชวง
11.4 สิทธิของผูว าจางในการสั่งใหผูรับเหมาบอกเลิกสัญญากับ 11-3
ผูรับเหมาชวง
11.5 บทสงทาย 11-4
เอกสารอางอิง
บรรณานุกรม

บทที่ 12 เหตุสุดวิสัยในงานกอสราง
12.1 บทนํา 12-1
12.2 คําจํากัดความของ “เหตุสดุ วิสัย” 12-1
12.3 ลักษณะของเหตุสุดวิสัยตามบทบัญญัตขิ องกฎหมาย 12-1
12.4 เหตุสุดวิสัยไมจําเปนตองเกิดจากภัยธรรมชาติ 12-5
12.5 การพิจารณาเหตุสุดวิสัยในทางปฏิบตั ิ 12-5
12.6 ขอกําหนดในสัญญาที่เกี่ยวของกับเหตุสดุ วิสัย 12-7
12.7 บทสงทาย 12-10

xiii
สารบัญ (ตอ)
หนา
เอกสารอางอิง
บรรณานุกรม

บทที่ 13 วิธีการยุตขิ อพิพาทตามสัญญา


13.1 บทนํา 13-1
13.2 วิธีการยุตขิ อพิพาท 13-2
13.3 วิธีการยุตขิ อพิพาทตามขอกําหนดของสัญญา 13-4
13.4 รายละเอียดประกอบที่สําคัญในขอกําหนดของสัญญาเกี่ยวกับการ 13-5
ยุติขอพิพาท
13.5 บทสงทาย 13-10
เอกสารอางอิง
บรรณานุกรม

บทที่ 14 สิทธิเลิกสัญญา
14.1 บทนํา 14-1
14.2 ประเภทของสิทธิเลิกสัญญา 14-1
14.3 สิทธิเลิกสัญญาที่เกิดจากขอกําหนดของสัญญา 14-1
14.4 สิทธิเลิกสัญญาในสัญญามาตรฐาน 14-4
14.5 บทสงทาย 14-11
เอกสารอางอิง
บรรณานุกรม

ภาคผนวก ก ตัวอยางงวดงานกอสราง ก-1 ถึง ก-14

ประวัติผูเขียน

xiv
ภาคที่ 1
งานสัญญากอสรางและกระบวนการที่เกี่ยวของ
(Construction Contracting and Relevant Processes)

ในโครงการกอสรางผูวาจางและผูรับเหมากอสรางมักจะมีการตกลงทําสัญญาจางระหวางกัน
โดยการจัดทําสัญญาดังกลาวมีวัตถุประสงคอยูหลายประการดวยกัน อันไดแก เพื่อเปนคําสัญญาของ
ผลในอนาคต เพื่อเปนแผนงานของการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เพื่อกําหนดหนาที่และสิทธิของ
คูสัญญา เพื่อกําหนดขอบเขตอํานาจและความรับผิดชอบของคูสัญญา เพื่อใหมีผลทางกฎหมายเมื่อมี
ฝายใดฝายหนึ่งผิดสัญญา เพื่อกําหนดมาตรฐานของผลงาน เพื่อกําหนดแนวทางปฏิบัติสําหรับสิ่งไม
พึงประสงคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และเพื่อกําหนดสิ่งจูงใจในการทํางาน เปนตน
อยางไรก็ตามการนําสัญญากอสรางมาใชเพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคดังกลาวขางตนนั้นจําเปน
อยางยิ่งที่ผูใชตองมีความเขาใจเนื้อหาและประเด็นของสัญญาในแงมุมตางๆเปนอยางดี แตกอนที่จะ
เริ่มศึกษาเนื้อหาของขอกําหนดตางๆในเงื่อนไขของสัญญาจางกอสราง มีความจําเปนอยางยิ่งที่ควร
จะทราบถึงภาพโดยรวมของงานสัญญาเสียกอน เนื้อหาในภาคนี้เปนความรูเบื้องตนเกี่ยวกับงาน
สัญญากอสรางซึ่งถือไดวาเปนสิ่งสําคัญและจําเปนกอนที่จะศึกษารายละเอียดของขอกําหนดในสัญญา
ซึ่งจะเปนเนื้อหาของภาคที่สองตอไป
เนื้อหาของภาคนี้ประกอบดวย 4 บท อันไดแก บทที่ 1 เปนเรื่องเกี่ยวกับระบบการจัดทําและ
สงมอบโครงการ บทที่ 2 เปนเรื่องเกี่ยวกับประเภทของสัญญากอสราง บทที่ 3 เปนเรื่องเกี่ยวกับ
แนวทางในการเลือกระบบสัญญา และบทที่ 4 เปนเรื่องเกี่ยวกับขั้นตอนการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง
ตามลําดับ

1
 
บทที่ 1
ระบบการจัดทําและสงมอบโครงการ
(Project Delivery System)

1. บทนํา
โดยทั่วไปการดําเนินการโครงการกอสรางหนึ่งๆจะประกอบดวยหนาที่และความรับผิดชอบ
ตางๆมากมาย อันไดแก หนาที่และความรับผิดชอบในการระบุความตองการของสิ่งกอสราง หนาที่
และความรับผิดชอบในการออกแบบสิ่งกอสราง หนาที่และความรับผิดชอบในการสงมอบสถานที่
กอสราง หนาที่และความรับผิดชอบในการจัดหาแรงงานกอสราง หนาที่และความรับผิดชอบในการ
จัดสงวัสดุกอสราง หนาที่และความรับผิดชอบในการดําเนินการกอสราง หนาที่และความรับผิดชอบใน
การประสานงานกับหนวยงานราชการที่เกี่ยวของ หนาที่และความรับผิดชอบในการควบคุมงาน
กอสราง เปนตน ซึ่งบุคลากรฝายตางๆที่เกี่ยวของกับโครงการกอสรางอาจมีภาระหนาที่และความ
รับผิดชอบประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการก็ไดขึ้นอยูกับความตองการและความเหมาะสม
สําหรับโครงการกอสรางนั้นๆ
วิธีการที่ใชในการจัดระบบการแบงภาระหนาที่และความรับผิดชอบ รวมถึงความสัมพันธทาง
สัญญาของฝายตางๆที่เกี่ยวของในโครงการกอสราง มักจะเรียกกันโดยทั่วไปวา “ระบบการจัดทําและ
สงมอบโครงการ (Project Delivery System)” ซึ่งระบบการจัดทําและสงมอบโครงการกอสรางมีอยู
หลายรูปแบบดวยกัน อันไดแก (1) ระบบ Traditional Contract (2) ระบบ Owner-Builder (3) ระบบ
Professional Construction Manager (4) ระบบ Design-Build และ (5) ระบบ Build-Operate-
Transfer เปนตน ทั้งนี้ระบบการจัดทําและสงมอบโครงการในแตละรูปแบบมีขอดีและขอเสียแตกตาง
กันไป
เนื้ อ หาในบทนี้ จะกล า วถึ ง รายละเอี ย ดของระบบการจั ดทํ า และส ง มอบโครงการในแต ล ะ
รูปแบบขางตน ตลอดจนกลาวถึงขอดีและขอเสียของแตละรูปแบบ

2. ระบบ Traditional Contract (หรือ ระบบ Conventional Contract)


ระบบนี้ แยกสั ญญาออกแบบกับ สัญญากอสรางออกจากกั น ผูว าจ างจะจางผู ออกแบบให
ออกแบบจนเสร็จเรียบรอยแลว จึงคัดเลือกผูรับเหมากอสรางเขามาทํางาน และผูออกแบบจะทําหนาที่
เปนตัวแทนของผูวาจางในการควบคุมการทํางานของผูรับเหมา โดยสวนใหญผูวาจางจะทําสัญญากับ
ผูรับเหมาเพียงรายเดียว สวนผูรับเหมาจะทํางานทั้งหมดเองหรือนํางานบางสวนไปจางชวงตอก็ได
โดยที่ผูวาจางไมมีสัญญากับผูรับเหมาชวงโดยตรง แตผูรับเหมายังคงตองรับผิดชอบในผลงานของ
ผูรับเหมาชวง (ดูรูปที่ 1.1 ประกอบ)

[1-1]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ขอดีของระบบนี้คือ ผูวาจางจะเห็นแบบกอสรางและรายการประกอบแบบทั้งหมดกอนเริ่มการ
คัดเลือกผูรับเหมากอสรางอันจะชวยทําใหมีโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของงานในระหวางการ
ดําเนินงานกอสรางลดนอยลง แตระบบนี้ก็มีขอเสียหลายประการอันไดแก ระบบนี้ไมเหมาะกับงานที่
เรงรีบเพราะตองรอจนกระทั่งงานออกแบบเสร็จทั้งหมดกอนจึงจะเริ่มการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง
ได ในการใชระบบนี้ถาหากผูออกแบบที่ถูกวาจางขาดประสบการณหรือไมเขาใจขั้นตอนการกอสราง
อาจสงผลใหแบบกอสรางไมเหมาะสมในดานราคาและเทคนิคการกอสราง นอกจากนี้มักเกิดความ
ขัดแยงระหวางผูออกแบบและผูรับเหมาไดงายโดยเฉพาะอยางยิ่งความขัดแยงในประเด็นที่เกี่ยวเนื่อง
กับความสมบูรณของแบบกอสราง

Owner

A $ $
Designer General Contractor

$
Subcontractors Own Workforces

รูปที่ 1.1 ระบบ Traditional Contract, ปรับแตงจาก [1] และ [2]

3. ระบบ Owner-Builder
ระบบนี้เทียบเคียงไดกับระบบการทํางานที่ผูวาจางมีแผนกออกแบบ แผนกกอสราง และ
แผนกควบคุมงานเปนของตนเอง อีกทั้งงานกอสรางบางสวนก็มีวัสดุอุปกรณ เครื่องจักร และแรงงาน
ที่สามารถทํางานเองได โดยงานสวนเหลือที่ไมมีความชํานาญจะใชวิธีการจางผูรับเหมายอยรายเดียว
หรือหลายรายมารวมทํางาน โดยที่ผูรับเหมายอยเหลานี้ทํางานภายใตการควบคุมดูแลของแผนก
ควบคุ ม งานของผู ว า จ า ง ระบบนี้ เ หมาะกั บ องค ก รที่ มี ง านก อ สร า งบ อ ยๆ เช น บริ ษั ท พั ฒ นา
อสังหาริมทรัพย สวนราชการ รัฐวิสาหกิจ เปนตน เนื่องจากจะชวยลดตนทุนของงานกอสรางลง
ไดมาก (ดูรูปที่ 1.2 ประกอบ)

[1-2]
บทที่ 1 ระบบการจัดทําและสงมอบโครงการ.doc

Designer Construction
Owner
Department Department

Contractors and Optional


Subcontractors Own Workforces

รูปที่ 1.2 ระบบ Owner-Builder, ปรับแตงจาก [1] และ [2]

4. ระบบ Professional Construction Manager


ระบบนี้ผูวาจางจะจางผูจัดการงานกอสราง (Construction Manager, CM) เพื่อเปน
ผูรับผิดชอบบริหารงานกอสรางตลอดทั้งโครงการ โดยอาจจะจางผูจัดการงานกอสราง (CM) มาชวย
ตั้งแตการคัดเลือกผูออกแบบ การทําสัญญา การกอสราง การควบคุมงาน ตลอดจนการสงมอบ
สิ่งกอสราง หรือจางมาหลังจากที่งานออกแบบเสร็จสิ้นแลวก็ได แตทั้งนี้การจางผูจัดการงานกอสราง
(CM) มาชวยตั้งแตการคัดเลือกผูออกแบบมีขอดีมากกวาเนื่องจากจะชวยใหผูจัดการงานกอสราง
(CM) มีความเขาใจลักษณะและปญหาของงานตั้งแตตน อันจะทําใหโครงการประสบความสําเร็จได
ดีกวา
ผูจัดการงานกอสราง (CM) จะทําหนาที่เปนตัวแทนของผูวาจางในการประสานงานกับ
ผูออกแบบและผูรับเหมากอสรางซึ่งอาจจะมีผูรับเหมาเพียงรายเดียวหรือหลายรายก็ได แตนิยมเลือก
ที่จะจางผูรับเหมาหลายรายมากกวาเพื่อใหไดผูรับเหมาที่มีความชํานาญกับงานในแตละสวน อีกทั้ง
ยังเปนการลดการบวกกําไรเพิ่มของผูรับเหมาหลักดวย เนื่องจากผูรับเหมาแตละรายจะทําสัญญากับ
ผูวาจางโดยตรงจึงทําใหผูวาจางอาจตองเสียเวลาในการมีสวนรวมในความคืบหนาและการตัดสินใจ
ตางๆมากกวาระบบอื่น โดยสรุปแลวผูวาจางจะทําสัญญากับผูจัดการงานกอสราง (CM) ผูออกแบบ
และผูรับเหมาอีกหลายราย
ความสําเร็จของโครงการกอสรางที่เลือกใชระบบการจัดทําและสงมอบโครงการนี้จะขึ้นอยูกับ
ความสามารถของผูจัดการงานกอสราง (CM) เปนหลัก และสัญญาจางระหวางผูวาจางกับผูจัดการ
งานกอสราง (CM) มักจะเปนสัญญาแบบ Negotiated Professional Fee ซึ่งอาจจะเปน Fixed Fee
หรือ Percentage Fee ก็ได แตถาหากเลือกจางแบบ Percentage Fee ผูวาจางควรระมัดระวังการ
บานปลายของราคารวมของโครงการ นอกจากนี้สัญญาจางระหวางผูวาจางกับผูจัดการงานกอสราง

[1-3]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

(CM) ควรจะระบุหนาที่ ขอบเขตอํานาจที่ไดรับมอบหมาย และขอบเขตความรับผิดชอบของผูจัดการ


งานกอสราง (CM) ใหชัดเจน
อนึ่งระบบการจัดทําและสงมอบโครงการนี้อาจถูกแบงออกเปน 2 รูปแบบยอย อันไดแก (1)
Construction Management (บางแหงเรียกวา “Agency Construction Management”) และ (2)
Management Contracting (บางแหงเรียกวา “Construction Management at Risk”) ซึ่ งทั้ง 2
รูปแบบมีขอแตกตางกันตรงที่ในระบบ Management Contracting ผูที่เปนผูจัดการงานกอสราง (CM)
จะทําสัญญากับผูวาจางแบบยอมรับความเสี่ยงดานราคาของโครงการดวยซึ่งโดยสวนใหญจะเปนการ
รับประกันราคาสูงสุดของโครงการ (Guaranteed Maximum Price) (ดูรูปที่ 1.3 และ 1.4 ประกอบ)

Owner

A $ A $

Designer Construction Manager


$

A Number of Independent Contractors

รูปที่ 1.3 ระบบ Construction Management, ปรับแตงจาก [1] และ [2]

Owner
GMP
A $ A $

Designer Construction Manager


$

A Number of Independent Contractors

รูปที่ 1.4 ระบบ Management Contracting, ปรับแตงจาก [1] และ [2]

[1-4]
บทที่ 1 ระบบการจัดทําและสงมอบโครงการ.doc

5. ระบบ Design-Build
ระบบนี้ผูวาจางทําสัญญากับผูรับเหมาเพียงรายเดียวซึ่งในที่นี้เรียกวา “Design-Builder” เปน
ผูที่ทําหนาที่และรับผิดชอบงานทั้งในสวนของงานออกแบบ บริหารโครงการ และงานกอสราง โดยที่
Design-Builder สามารถทํางานออกแบบและ/หรืองานกอสรางดวยตนเองหรือใชวิธีทําสัญญาชวงอีก
ตอหนึ่งก็ได สวนงานบริหารโครงการ Design-Builder มักจะเปนผูดําเนินการเอง การที่ Design-
Builder เปนผูรับผิดชอบหนาที่ทั้งหมดนี้ทําใหเกิดการรวมศูนยความรับผิดชอบ (Single Point of
Responsibility) อันสงผลดีตอผูวาจางในการติดตอประสานงาน รวมถึงการหาผูรับผิดชอบในกรณี
ของงานชํารุดบกพรองดวย (ดูรูปที่ 1.5 ประกอบ)
การใชระบบนี้จะเอื้อตอ Design-Builder ในการใช Value Engineering หรือ Constructability
อีกทั้งยังชวยลดปญหาความขัดแยงระหวางผูออกแบบและผูกอสรางลงเนื่องจากผูออกแบบและผู
กอสรางเปนฝายเดียวกัน นอกจากนี้ยังเอื้อตอการใช Phased Construction ซึ่งจะชวยใหสามารถ
ทํางานออกแบบไปพรอมกับการกอสรางอันจะทําใหงานแลวเสร็จเร็วขึ้น อนึ่งระบบ Design-Build ยัง
สามารถแบ ง เป น รู ป แบบย อ ยได อี ก หลายรู ป แบบ ผู ที่ ส นใจสามารถศึ ก ษาเพิ่ ม เติ ม ได จ าก
เอกสารอางอิงหมายเลข [3]

Owner
$
Design-Builder

$ $
Designer $ Construction Manager

Subcontractors
รูปที่ 1.5 ระบบ Design-Build, ปรับแตงจาก [1] และ [2]

6. ระบบ Build-Operate-Transfer (BOT)


นิยามของ Build-Operate-Transfer หมายรวมถึง กอสราง (Build) ควบคุมการใหบริการของ
สิ่งกอสรางตามระยะเวลาที่ตกลงกัน (Operate) และสงมอบสิ่งกอสรางใหแกผูวาจาง (Transfer)

[1-5]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ระบบนี้ผูวาจางมักจะเปนหนวยงานของรัฐโดยทําสัญญากับผูรับงานเพียงรายเดียว ซึ่งในที่นี้เรียกวา
“BOT Team”
ระบบนี้มักจะถูกนํามาใชกับโครงการกอสรางระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญที่ตองการเงิน
ลงทุ น จํ า นวนมาก ซึ่ ง หน ว ยงานของรั ฐ ไม มี ง บประมาณที่ เ พี ย งพอ จึ ง จํ า เป น ที่ ต อ งเชิ ญ ชวนให
หนวยงานภาคเอกชนเขารวมลงทุน โดยกําหนดระยะเวลาสัมปทาน (Concession Period) ใหแกผู
รวมลงทุนภาคเอกชนเพื่อเก็บคาบริการเปนสิ่งตอบแทนการลงทุน
BOT Team จึงมีหนาที่ตองรับผิดชอบจัดหาเงินลงทุนกอสรางโครงการ ทํางานออกแบบ
ทํางานกอสรางจนแลวเสร็จ เปดใหบริการสิ่งกอสรางและเก็บคาบริการตามที่กําหนดในสัญญาเพื่อ
ชดเชยการลงทุนที่ใชไปในตอนตน และสงมอบสิ่งกอสรางใหแกผูวาจางเมื่อครบกําหนดระยะเวลา
สัมปทาน ทั้งนี้จะเห็นไดวา BOT Team เปนผูรับภาระความเสี่ยงดานการเงินเกือบทั้งหมด (ดูรูปที่
1.6 ประกอบ)
เนื่องจากระบบนี้มักจะใชกับโครงการกอสรางระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญที่ตองใชเงิน
ลงทุนสูง บุ ค ลากรจํานวนมาก และเทคนิคในการกอสร า งเฉพาะดาน ดั งนั้น BOT Team มั ก จะ
ประกอบด ว ยสถาบั น ทางการเงิ น บริ ษั ท รั บ เหมาก อ สร า งขนาดใหญ ภ ายในประเทศ และบริ ษั ท
รับเหมากอสรางขนาดใหญจากตางประเทศ สําหรับการจางผูทํางานกอสราง BOT Team มักจะ
วาจางบริษัทรับเหมาของตนเองซึ่งมักจะตกลงกอตั้งเปนบริษัทเฉพาะกิจเพื่อทําโครงการรวมกัน
ภายใตรูปแบบของกิจการรวมคา (Joint Venture, JV) หรือกลุมบริษัท (Consortium) การทํางาน
กอสรางภายใตระบบ BOT Team จะตองแบกรับความเสี่ยงจํานวนมาก ผูที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับความ
เสี่ยงของ BOT Team ภายใตระบบการจัดทําและสงมอบโครงการแบบ BOT นี้สามารถศึกษา
เพิ่มเติมไดจากเอกสารอางอิงหมายเลข [4]

Government Agency
$
Investors $ BOT Team $ Lenders
$
Contractor (JV / Consortium)

Designer CM Subcontractors Operation Team

รูปที่ 1.6 ระบบ Build-Operate-Transfer, ปรับแตงจาก [5] และ [6]

[1-6]
บทที่ 1 ระบบการจัดทําและสงมอบโครงการ.doc

7. วิธีการทํางานกอสรางแบบดั้งเดิมและแบบซอนระยะ
วิธีการทํางานกอสรางแบบดั้งเดิม (Traditional Construction Method) จะแบงชวงการทํางาน
ออกเปน 3 ระยะ อันไดแก ระยะออกแบบ (Design Phase) ระยะประมูลงาน (Bidding Phase) และ
ระยะกอสราง (Construction Phase) ซึ่งแตละระยะเปนขั้นตอนที่ตอเนื่องกันกลาวคือ การที่จะเริ่ม
ระยะใหมไดตองรอใหระยะกอนหนาเสร็จสิ้นเสียกอน โดยทั่วไปผูวาจางมีสัญญากับบุคคล 3 ฝายอัน
ไดแก ผูออกแบบในระยะออกแบบ บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาในระยะประมูลงาน และผูรับเหมากอสราง
ในระยะกอสราง (ดูรูปที่ 1.7 ประกอบ)
วิธีการกอสรางแบบซอนระยะ (Phased Construction Method) เปนวิธีการทํางานกอสรางที่
แบงงานทั้งหมดออกเปน Package ตางๆ และแยกประมูลงานของแตละ Package ออกจากกัน ซึ่งจะ
สามารถยนระยะเวลาทั้งหมดของโครงการลงไดโดยการซอนระยะงานออกแบบและงานกอสรางให
ซอนทับกันบางสวน อาทิเชน เมื่องานออกแบบฐานรากเสร็จแลวก็เปดประมูลหาผูรับเหมากอสราง
ฐานรากไดเลยในขณะที่งานออกแบบโครงสรางก็ยังคงดําเนินการตอไป เปนตน นอกจากนี้งานในแต
ละ Package ผูวาจางอาจจะจางผูรับเหมาตางรายกันและเลือกใชสัญญาตางประเภทกันได (ดูรูปที่
1.7 ประกอบ)

Design Phase Bid / Award Construction Phase


(Single Construction Contract)

Traditional Construction Method

(Working Drawings)
Time Saved
Design Phase

Separate Bid Packages


Mechanical

Landscape
Foundation

Partitions
Structure

Electrical
Sitework

Finishes

Construction Phase
(Variable Separate Construction Contracts)
Phased Construction Method

รูปที่ 1.7 การกอสรางแบบซอนระยะ [2]

8. วิธีการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง
วิธี การคัด เลือกผู รับ เหมาก อสร างมีอยู 2 วิ ธีการหลั ก อันไดแก การประกวดราคา
(Competitive Biding) และการเจรจาตกลงราคา (Negotiating) [7]

[1-7]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

8.1 การประกวดราคา
การประกวดราคา (Competitive Biding) หมายถึง การเสนอราคาแขงขันกันเพื่อคัดเลือก
ผูรับเหมากอสราง โดยปกติผูที่เสนอราคาต่ําสุดจะไดรับงานไปทํา การเสนอราคาแขงขันนี้จะเปน
ประโยชนตอผูวาจางเปนอยางมากถาหากการประกวดราคาเปนไปตามกฏเกณฑที่เหมาะสมและมี
การแขงขันกันอยางแทจริง
ในการประกวดราคาผูวาจางมักจะมีราคากลางเพื่อเปรียบเทียบความสมจริงของราคาที่มีการ
เสนอแขงขันกัน ซึ่งผูวาจางบางแหงจะเปดเผยราคากลางใหผูเสนอราคารับทราบกอนการประกวด
ราคา ในขณะที่ผูวาจางบางแหงก็ไมเปดเผยราคากลางดังกลาว ในกรณีที่ราคาที่เสนอต่ําสุดยังคงสูง
กวาราคากลางของผูวาจางผูวาจางก็อาจจะบอกยกเลิกการประกวดราคาเสียหรืออาจจะใหมีการ
ประกวดราคากันใหมก็ได และในกรณีที่ราคาที่เสนอต่ําสุดเปนราคาที่ต่ํามากจนกระทั่งคาดไดวาเปน
ราคาที่ผูเสนอราคาไมสามารถทํางานใหสําเร็จไดผูวาจางก็อาจจะเลือกทําสัญญากับผูเสนอราคาราย
อื่นที่เสนอราคาสูงกวาและเปนราคาที่เหมาะสมกวาได
อนึ่งในการประกวดราคานอกเหนือจากการพิจารณาเพียงเฉพาะราคาของผูเสนอราคา ผูวา
จางอาจพิจารณาคุณสมบัติหรือขอเสนออื่นของผูเสนอราคารวมดวยได อาทิเชน ประวัติของผลงานที่
ผ านมา ปริ มาณงานที่กํ า ลังดําเนิ นงานอยู สถานะทางการเงิน แผนงานเกี่ย วกับความปลอดภั ย
แผนงานเกี่ ย วกั บ ผลกระทบต อสิ่ งแวดล อม เป นต น ดั งนั้ น ในกรณี เ ชนนี้ ผูเ สนอราคาที่ ได รับ การ
คัดเลือกใหทําสัญญาอาจจะไมใชผูที่เสนอราคาต่ําสุดเสมอไป

8.2 การเจรจาตกลงราคา
การเจรจาตกลงราคา (Negotiating) หมายถึง การที่ผูวาจางตกลงกับผูรับเหมากอสรางเพียง
รายเดียวหรือหลายรายเพื่อขอเจรจาตกลงราคาวาจางทํางานกอสราง ซึ่งผูวาจางอาจจะเลือกเชิญ
ผูรับเหมาที่ ต องการเจรจาดวยจากรายชื่อผู รับเหมาที่มีชื่อเสียง หรื อจากรายชื่ อผูรับเหมาที่เ คย
รวมงานดวยในอดีต หรือจากรายชื่อผูรับเหมาที่บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาแนะนํา ถาหากการเจรจาตกลง
เปนไปดวยดีผูวาจางและผูรับเหมารายที่ตกลงราคากันไดจะทําสัญญากันตอไป อนึ่งในการเจรจากัน
ระหวางผูวาจางกับผูรับเหมาอาจจะมีการเจรจาตกลงกันในเงื่อนไขประเด็นอื่นที่นอกเหนือไปจาก
ราคาคากอสรางดวยก็ได ดังนั้นผูรับเหมาที่ไดรับการตกลงทําสัญญาอาจจะไมใชผูรับเหมาที่เจรจาให
ราคาต่ําสุดเสมอไป

9. บทสงทาย
ระบบการจัดทําและสงมอบโครงการกอสรางพอจะถูกจําแนกออกไดเปน 5 รูปแบบดวยกัน
อันไดแก (1) ระบบ Traditional Contract (2) ระบบ Owner-Builder (3) ระบบ Professional
Construction Manager (4) ระบบ Design-Build และ (5) ระบบ Build-Operate-Transfer เนื้อหาของ
บทนี้ไดกลาวถึงรายละเอียดของระบบการจัดทําและสงมอบโครงการแตละรูปแบบโดยสังเขปเพื่อเปน

[1-8]
บทที่ 1 ระบบการจัดทําและสงมอบโครงการ.doc

ความรูพื้นฐานสําหรับผูที่ตองการศึกษางานดานสัญญาจางงานกอสรางตอไป นอกจากนี้ในตอนทาย
ของบทยังไดกลาวถึงขอดีของวิธีการทํางานกอสรางแบบซอนระยะเมื่อเทียบกับแบบดั้งเดิม อีกทั้งยัง
ไดกลาวถึงวิธีการคัดเลือกผูรับเหมากอสรางโดยสังเขป

เอกสารอางอิง
[1] Minato, T., “Lecture Handouts in International Issues in Construction Course”,
Construction Engineering and Management Program, School of Civil Engineering.
Asian Institute of Technology, 1997.
[2] Barrie, D. S. and Paulson, B. C., “Professional Construction Management”, 3rd Edition,
McGraw-Hill International Editions, McGraw-Hill, Inc., New York, 1992.
[3] Sutheerawatthana, P., “The Identification of Inherent Risks in Design-Build Contracts”,
Master Thesis, Construction Engineering and Management Program, School of Civil
Engineering, Asian Institute of Technology, Thailand, April 1998.
[4] Yingsutthipun J., “The Key-Risk Identification of Thailand Transport Infrastructure
Projects Based on the Build-Operate-Transfer Scheme”, Master Thesis, Construction
Engineering and Management Program, School of Civil Engineering, Asian Institute of
Technology, Thailand, April 1998.
[5] Tiong, R. L. K., “BOT Project: risks and securities”, Construction Management and
Economics, Vol.8, pp. 315-328, 1990.
[6] Tiong, R. L. K., “Comparative Study of BOT Projects”, Journal of Management in
Engineering, ASCE, Vol.6, No.1, January, pp.107-122, 1990.
[7] สุปรีชา หิรัญโร และคณะ, “เอกสารการสอนชุดวิชา การปฏิบัติวิชาชีพการจัดการงานกอสราง
หนวยที่ 1-7”, สาขาวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2531

บรรณานุกรม
[1] Betty, J. G., “Engineering Contracts: a practice guide”, McGraw-Hill Book Company,
London, 1993.
[2] Clough, R. H. and Sears, G. A., “Construction Contracting”, 6th Edition, A Wiley-
Interscience Publication, New York, 1994.
[3] Fredrickson K., “Design Guidelines for Design-Build Projects”, Journal of Management
in Engineering, ASCE, January/February, pp.77-81, 1998.
[4] Gilbreath, R. D., “Managing Construction Contracts: operational controls for
commercial risks”, 2nd edition, A Wiley-Interscience publication, 1992.
[5] Hinze, J., “Construction Contracts”, McGraw-Hill, New York, 1993.

[1-9]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

[6] Masterman, J. W. E., “An introduction to Building Procurement Systems”, E & FN


SPON, London, 1992.
[7] Ogunlana, S. O., “Lecture Notes in Construction Laws and Legal Issues”, Construction
Engineering and Management Program, School of Civil Engineering, Asian Institute of
Technology, 1997.

[1-10]
บทที่ 2
ประเภทของสัญญาจางกอสราง
(Types of Construction Contract)

1. บทนํา
ในการวาจางดําเนินการโครงการกอสรางผูวาจางและผูรับเหมากอสรางมักจะมีการทําสัญญา
จางระหว างกั น สั ญญาจ างงานกอสรา งที่มีการใชกัน อยู โดยทั่ว ไปนั้ นมีอยู ห ลายประเภทดว ยกั น
การศึกษาประเภทของสัญญาเปนสิ่งจําเปนเบื้องตนประการหนึ่งสําหรับการศึกษางานดานสัญญาใน
ขั้นสูงตอไป เนื้อหาในบทนี้จะนําเสนอรายละเอียดของสัญญากอสรางประเภทหลักๆ อันไดแก สัญญา
แบบเหมารวม (Lump-sum Contract) สัญญาแบบราคาตอหนวย (Unit Price Contract) สัญญาแบบ
ตนทุนบวกคาจาง (Cost Plus Fee Contract) สัญญาแบบปรับราคาได (Contract with Escalation
Clause) สัญญาแบบเปลี่ยนเงื่อนไขได (Contract with Redetermination Clause) และสัญญาแบบให
เวลาและวัสดุ (Time and Materials Contract) ตามลําดับ

2. สัญญาแบบเหมารวม
สัญญาแบบเหมารวม (Lump-sum Contract) เปนสัญญาที่ผูรับเหมาคิดราคารวมของงาน
กอสรางจากคาแรงงาน คาวัสดุ คาดําเนินการ คาโสหุย และกําไร ในการเสนอราคาผูรับเหมามักไดรับ
คําแนะนําใหแบงราคาโครงการทั้งหมดออกเปนสวนๆและกรอกราคาในแตละสวนใหผูวาจางพิจารณา
ซึ่งรายการดังกลาวจะถูกใชเปนพื้นฐานในการเบิกเงินของผูรับเหมา ในการพิจารณาคัดเลือก
ผูรับเหมาผูวาจางจะเปรียบเทียบราคาที่ผูรับเหมาแตละรายเสนอมา และผูรับเหมารายที่เสนอราคา
ต่ําสุดมักจะไดรับงานไปทํา [1][2][3]
ปริมาณงานที่ระบุในสัญญาจะถูกใชเปนปริมาณงานที่ผูรับเหมาสามารถเบิกเงินได ดั้งนั้น
ขอกําหนด แบบกอสราง และรายการกอสรางควรมีความถูกตอง ผูรับเหมาจึงควรตรวจสอบความ
ถู ก ต อ งของเอกสารดั ง กล า วเพื่ อ ไม ใ ห เ กิ ด ข อ ผิ ด พลาดในการประมาณราคาและการเสนอราคา
ขณะเดียวกันในสวนของผูวาจางเองความถูกตองของเอกสารดังกลาวจะชวยลดปญหาความขัดแยง
กับผูรับเหมาที่อาจเกิดขึ้นไดในอนาคต
สัญญาแบบนี้ไมเหมาะกับงานที่ไมรูขอบเขตของงานที่แนนอน งานที่มีโอกาสเปลี่ยนแปลง
งานคอนขางสูง งานที่ขอกําหนด แบบกอสราง และรายการกอสรางยังไมเสร็จสมบูรณเมื่อมีการเปด
ประมูลงานหรือเจรจาตกลงราคากัน เนื่องจากจะทําใหโอกาสของการเกิดขอโตแยงเกี่ยวกับมูลคางาน
ที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น หรือในบางครั้งผูรับเหมาอาจจะบวกสวนเผื่อความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นอัน
สงผลใหราคาจางงานสูงขึ้นได

[2-1]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

3. สัญญาแบบราคาตอหนวย
สัญญาแบบราคาตอหนวย (Unit Price Contract) เปนสัญญาที่ผูรับเหมาเสนอราคาตอหนวย
ของงานใหแกผูวาจางตามปริมาณงานโดยประมาณที่กําหนดในสัญญา ปริมาณงานในสัญญามักจะถูก
กําหนดโดยผูวาจางหรือในบางครั้งผูรับเหมาอาจจะมีสวนชวยในคํานวณปริมาณงานได สําหรับราคา
ตอหนวยที่ผูรับเหมาเปนผูเสนอราคานั้นมักจะคิดรวมคาโสหุย คาใชจายอื่น และกําไรไวแลว สวน
คาใชจายที่ไมมีในรายการราคาจะถูกรวมกั บรายการราคาที่มีลักษณะงานใกลเคียงกัน อาทิเชน
คาใชจายแบบหลอคอนกรีตมักจะรวมอยูในรายการราคาคางานคอนกรีต เปนตน สัญญาแบบนี้เหมาะ
กับงานที่ไมทราบปริมาณงานที่แนนอน เชน งานถนน งานเขื่อน งานฐานราก เปนตน [1][2][3]
การจายเงินใหแกผูรับเหมาจะจายตามปริมาณงานที่ทําไดจริงของงานแตละรายการคูณกับ
ราคาตอหนวยที่ผูรับเหมาเสนอ และเมื่อรวมยอดของงานทุกรายการจะไดเปนราคารวมของงาน
ทั้งหมด เนื่องจากการจายเงินจะจายตามปริมาณงานที่ทําไดจริง ผูวาจางจึงควรมีระบบตรวจสอบ
ปริมาณงานที่ทําไดจริงของผูรับเหมา อยางไรก็ตามการเพิ่มระบบตรวจสอบดังกลาวจะสงผลใหผู
วาจางมีคาใชจายเพิ่มเติมทั้งในแงของขั้นตอนการตรวจสอบและบุคลากรที่ใช นอกจากนี้สัญญาควร
จะมีขอกําหนดที่ชัดเจนสําหรับงานเพิ่มและงานลดเนื่องจากปริมาณงานที่ทําไดจริงมักจะมีความ
แตกตางไปจากปริมาณงานที่ถูกกําหนดไวในสัญญา
อนึ่งเนื่องจากงานกอสรางที่ปริมาณงานมีความไมแนนอนจะสงผลใหผูวาจางไมสามารถทราบ
ราคาของงานทั้งหมดที่แนนอนไดจนกวางานทั้งหมดจะถูกดําเนินการจนแลวเสร็จ ดังนั้นการประมาณ
ปริมาณงานที่ใกลเคียงความเปนจริงตั้งแตตนจะชวยในการควบคุมงบประมาณของผูวาจางไดอีกทาง
หนึ่ง

4. สัญญาแบบตนทุนบวกคาจาง
สัญญาแบบตนทุนบวกคาจาง (Cost Plus Fee Contract) เปนสัญญาที่ผูวาจางตกลงจายเงิน
ตนทุนกอสรางตามเนื้องานที่ทําจริงรวมกับคาจางจํานวนหนึ่งใหแกผูรับเหมากอสราง สัญญานี้เหมาะ
กับงานกอสรางที่มีความซับซอนสูงและเปนงานที่ทั้งผูวาจางและผูรับเหมาตางไมเคยมีประสบการณ
ในงานที่วาจางกันมากอน เหมาะกับงานที่การประมาณราคาในชวงการทําสัญญาเปนสิ่งที่ประมาณให
ใกลเคียงความเปนจริงไดยาก เหมาะกับงานที่ความตองการของผูวาจางยังไมชัดเจน เหมาะกับงาน
เรงดวนที่ไมสามารถรอจนกระทั่งงานออกแบบเสร็จสิ้น และเหมาะกับงานที่ทําในชวงที่อัตราเงินเฟอ
หรืออัตราดอกเบี้ยมีความผันผวนสูง [1][4]
เนื่องจากการจายเงินของผูวาจางเปนการจายเงินตามเนื้องานที่ทําจริง ดังนั้นผูวาจางควร
จัดระบบตรวจติดตามและระบบงานเอกสารเพื่อตรวจสอบปริมาณงานและราคาของงานแตละสวน
อยางรอบคอบ ซึ่งระบบตรวจสอบดังกลาวจะมีผลตอคาใชจายที่เพิ่มขึ้นของผูวาจางในการจัดหา
ทีมงานที่คอยตรวจสอบความคืบหนาของงาน การตรวจวัดปริมาณงาน การจดบันทึกตนทุนของงาน
และตรวจสอบระบบงานเอกสารตางๆดวย อยางไรก็ตามสัญญานี้จะมีผลดีตอผูรับเหมาในแงความ
เสี่ยงของตนทุนที่ลดนอยลง

[2-2]
บทที่ 2 ประเภทของสัญญากอสราง.doc

การเลือกใชสัญญานี้จะทําใหผูวาจางคาดการณราคาทั้งหมดของโครงการไดยากมาก ใน
หลายกรณีผูวาจางเลือกที่จะใหผูรับเหมาเสนอราคาประกันสูงสุด (Guaranteed Maximum Price)
ของโครงการเพื่อชวยใหผูวาจางสามารถควบคุมงบประมาณการลงทุนไดอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้สัญญา
ประเภทนี้ ยั ง สามารถแบ ง ออกเป น ประเภทย อ ยๆได อี ก ตามวิ ธี ก ารคิ ด ค า จ า งของผู รั บ เหมาดั ง
รายละเอียดในหัวขอตอไปนี้

4.1 สัญญาแบบตนทุนบวกคาจางเปนจํานวนคงที่
สัญญาแบบตนทุนบวกคาจางเปนจํานวนคงที่ (Cost Plus Fixed-Fee Contract) นี้คิดคาจาง
ของผูรับเหมาแบบเปนจํานวนเงินคงที่ (Fixed Fee) เชน 200,000 บาทตอทั้งโครงการ เปนตน โดย
ไมคํานึงวาตนทุนของเนื้องานจริงมีมูลคามากนอยเพียงใด อาทิเชน งานจางกอสรางบาน 2 ชั้นโดย
การใหคาจางแกผูรับเหมาจํานวน 250,000 บาท เปนตน สัญญาแบบนี้ไมมีสิ่งจูงใจที่ผูรับเหมาจะ
พยายามทําใหตนทุนของงานสูงขึ้น และในขณะเดียวกันก็ไมมีสิ่งจูงใจที่ผูรับเหมาจะพยายามทํางาน
อยางมีประสิทธิภาพเพื่อใหตนทุนของงานลดต่ําลงเนื่องจากผูรับเหมาไดรับคาจางในจํานวนที่คงที่ไม
วาตนทุนของงานจะมีจํานวนเทาไรก็ตาม [1][2][3] (ดูรูปที่ 2.1 ประกอบ)

0.4
คาจางของผูรับเหมา (ลานบาท)

0.3

0.2

0.1

0.0
1.6 1.8 2.0 2.2 2.4
ตนทุนกอสราง (ลานบาท)

รูปที่ 2.1 การคิดคาจางแบบจํานวนคงที,่ ปรับแตงจาก [4]

4.2 สัญญาแบบตนทุนบวกคาจางเปนเปอรเซ็นต
สัญญาแบบตนทุนบวกคาจางเปนเปอรเซ็นต (Cost Plus Percentage-Fee Contract) นี้คิด
คาจางของผูรับเหมาแบบเปนเปอรเซ็นต (Percentage Fee) ของมูลคาตนทุนของงานทั้งหมด เชน
10% ของตนทุนทั้งหมดของโครงการ เปนตน สัญญาแบบนี้มีสิ่งจูงใจที่ผูรับเหมาจะพยายามทําให

[2-3]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ตนทุนของงานสูงขึ้นเนื่องจากยิ่งตนทุนรวมของงานสูงขึ้นเทาไรผูรับเหมาจะไดคาจางมากขึ้นเปนเงา
ตามตัวไปดวย [4] (ดูรูปที่ 2.2 ประกอบ)

0.4
คาจางของผูรับเหมา (ลานบาท)

0.3

0.2

0.1

0.0
1.6 1.8 2.0 2.2 2.4
ตนทุนกอสราง (ลานบาท)

รูปที่ 2.2 การคิดคาจางแบบเปอรเซ็นต, ปรับแตงจาก [4]

4.3 สัญญาแบบตนทุนบวกคาจางแบบจูงใจ
เนื่องจากการใชสัญญาทั้งสองแบบขางตนมักจะไมเปนการกระตุนใหผูรับเหมาทํางานอยางมี
ประสิทธิภาพเพราะผูรับเหมาจะไดรับคาจางในอัตราที่คอนขางแนนอน จึงมีการนําสัญญาแบบตนทุน
บวกคาจางแบบจูงใจ (Cost Plus Incentive Contract) มาใช ซึ่งมีวิธีการคิดคาจางของผูรับเหมาใน
ทํานองที่วา ถาหากผูรับเหมาสามารถทํางานโดยใชตนทุนต่ํากวาตนทุนที่ตั้งเกณฑไวในตอนทํา
สัญญาผูรับเหมาจะไดรับคาจางเพิ่มขึ้น แตถาหากผูรับเหมาทํางานโดยใชตนทุนสูงกวาตนทุนที่ตั้ง
เกณฑไวในตอนทําสัญญาผูรับเหมาจะถูกหักลดคาจางลงตามกฎเกณฑที่ตกลงกันไว การคิดคาจาง
แบบจูงใจนี้ประกอบดวย การกําหนดคาตนทุนเปาหมาย (Target Cost) การกําหนดคาจางเปาหมาย
(Target Fee) และการกําหนดเงื่อนไขจูงใจ (Incentive Condition) ซึ่งสิ่งเหลานี้จะถูกนํามาใชสําหรับ
การคํานวณคาจางที่อาจจะมีจํานวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามมูลค าของตนทุนที่ เกิ ดขึ้นจริ ง สําหรั บ
จํานวนเงินที่ผูรับเหมาจะไดรับสามารถแบงออกเปน 2 สวน อันไดแก (1) เงินสําหรับตนทุนของงานที่
เกิดขึ้นจริง และ (2) คาจางตามขอตกลง [1][2][3]
ในบางกรณีมีการใชวิธีการจูงใจอื่นๆเพิ่มเติมดวย อาทิเชน การกําหนดราคาเพดานหรือราคา
ประกันสูงสุด (Ceiling Price หรือ Guaranteed Maximum Price) การกําหนดคาจางขั้นสูงสุด
(Maximum Fee) การกําหนดคาจางขั้นต่ําสุด (Minimum Fee) เปนตน โดยที่รูปแบบการผสมผสาน
ของวิธีการจูงใจตางๆสามารถดูจากรูปที่ 2.3 ถึง 2.6

[2-4]
บทที่ 2 ประเภทของสัญญากอสราง.doc

Agreement
4 (1) Target cost เทากับ 50,000,000 บาท
ตนทุนกอสราง เทากับ 49,000,000 บาท (2) Target fee เทากับ 2,500,000 บาท
คาจาง เทากับ 3,000,000 บาท (3) Ceiling price เทากับ 55,000,000 บาท
ผูวาจางจาย 52,000,000 บาท Incentive Condition
3 (1) เมื่อไมเกิน Ceiling price แบงกัน 50:50
คาจางของผูรับเหมา (ลานบาท)

Target fee (2) เมื่อเกิน Ceiling Price ผูรับเหมารับผิดชอบทั้งหมด

2
ตนทุนกอสราง เทากับ 55,000,000 บาท
คาจาง เทากับ 0 บาท
ผูวาจางจาย 55,000,000 บาท
Target cost
1

0
40 45 50 55 60
-1 Ceiling price
ตนทุนกอสราง (ลานบาท)

รูปที่ 2.3 การคิดคาจางแบบจูงใจ 1, ปรับแตงจาก [5]

ในรูปที่ 2.3 ผูวาจางและผูรับเหมาไดตกลงกันกําหนดคาตนทุนเปาหมาย (Target Cost) ที่


จํานวน 50,000,000 บาท กําหนดคาจางเปาหมาย (Target Fee) ที่จํานวน 2,500,000 บาท กําหนด
ราคาเพดาน (Ceiling Price) ที่จํานวน 55,000,000 บาท และกําหนดเงื่อนไขจูงใจ (Incentive
Condition) ไววาถาหากผูรับเหมาใชตนทุนกอสรางไมเกินราคาเพดานและนอยกวาตนทุนเปาหมาย
ผูรับเหมาจะไดรับคาจางเพิ่มขึ้นดวยจํานวนครึ่งหนึ่งของสวนตางระหวางตนทุนกอสรางที่ใชกับตนทุน
เปาหมาย ถาหากผูรับเหมาใชตนทุนกอสรางไมเกินราคาเพดานและมากกวากวาตนทุนเปาหมาย
ผูรับเหมาจะถูกลดคาจางลงดวยจํานวนครึ่งหนึ่งของสวนตางระหวางตนทุนกอสรางที่ใชกับตนทุน
เปาหมาย และถาหากผูรับเหมาใชตนทุนกอสรางเกินราคาเพดาน (Ceiling Price) ผูรับเหมาจะตอง
รับผิดชอบตนทุนสวนที่เกินราคาเพดาน (Ceiling Price) ทั้งหมดแตเพียงผูเดียวโดยไมไดรับการ
ชดเชยจากผูวาจาง ทั้งนี้เพื่อใหเกิดความเขาใจยิ่งขึ้นจึงขอยกตัวอยางการคิดคาจางและจํานวนเงินที่
ผูวาจางจายใหแกผูรับเหมาในกรณีตางๆดังตอไปนี้
(1) ในกรณีที่ตนทุนกอสรางมีคาเทากับ 50,000,000 บาท ผูรับเหมาจะไดคาจางเปน
จํานวน 2,500,000 บาท และจํานวนเงินทั้งหมดที่ผูวาจางจะจายใหกับผูรับเหมามีคาเทากับ
50,000,000 + 2,500,000 = 52,500,000 บาท
(2) ในกรณีที่ตนทุนกอสรางมีคาเทากับ 49,000,000 บาท ผูรับเหมาจะไดคาจางเปน
จํานวน 2,500,000 + ((50,000,000 – 49,000,000) / 2) = 3,000,000 บาท และจํานวนเงินทั้งหมดที่
ผูวาจางจะจายใหกับผูรับเหมามีคาเทากับ 49,000,000 + 3,000,000 = 52,000,000 บาท

[2-5]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

(3) ในกรณีที่ตนทุนกอสรางมีคาเทากับ 51,000,000 บาท ผูรับเหมาจะไดคาจางเปน


จํานวน 2,500,000 – ((51,000,000 – 50,000,000) / 2) = 2,000,000 บาท และจํานวนเงินทั้งหมดที่
ผูวาจางจะจายใหกับผูรับเหมามีคาเทากับ 51,000,000 + 2,000,000 = 53,000,000 บาท
(4) ในกรณีที่ตนทุนกอสรางมีคาเทากับ 55,000,000 บาท ซึ่งมีคาเทากับราคาเพดาน
(Ceiling Price) พอดี ผูรับเหมาจะไดคาจางเปนจํานวน 0 บาท และจํานวนเงินทั้งหมดที่ผูวาจางจะ
จายใหกับผูรับเหมามีคาเทากับ 55,000,000 + 0 = 55,000,000 บาท และ
(5) ในกรณีที่ตนทุนกอสรางมีคาเทากับ 56,000,000 บาท ผูรับเหมาจะตองรับผิดชอบ
ตนทุนสวนที่เกินราคาเพดาน (Ceiling Price) ทั้งหมดซึ่งคิดเปนเงินจํานวน 56,000,000 –
55,000,000 = 1,000,000 บาท ดังนั้นจํานวนเงินทั้งหมดที่ผูวาจางจะจายใหกับผูรับเหมามีคาเทากับ
56,000,000 – 1,000,000 = 55,000,000 บาท ซึ่งก็คือจํานวนเงินของราคาเพดาน (Ceiling Price)
นั่นเอง

Agreement
4 (1) Target cost เทากับ 50,000,000 บาท
(2) Target fee เทากับ 2,500,000 บาท
(3) Ceiling price เทากับ 55,000,000 บาท
Maximum fee = 3,000,000 บาท (4) Maximum fee เทากับ 3,000,000 บาท
3 Incentive Condition
คาจางของผูรับเหมา (ลานบาท)

Target fee (1) เมื่อไมเกิน Ceiling price แบงกัน 50:50


แตคาจางจะไมสูงกวา Maximum fee
(2) เมื่อเกิน Ceiling Price ผูรับเหมารับผิดชอบทั้งหมด
2

Target cost
1

0
40 45 50 55 60
-1 Ceiling price
ตนทุนกอสราง (ลานบาท)

รูปที่ 2.4 การคิดคาจางแบบจูงใจ 2, ปรับแตงจาก [4] และ [5]

ในรูปที่ 2.4 ขอตกลงระหวางผูวาจางและผูรับเหมากอสรางมีลักษณะคลายคลึงกับขอตกลง


ตามรูปที่ 2.3 เพียงแตมีความแตกตางกันตรงที่ขอตกลงตามรูปที่ 2.4 นี้มีการกําหนดจํานวนคาจาง
ขั้นสูงสุด (Maximum Fee) ไวดวย ซึ่งจะสงผลใหคาจางของผูรับเหมาจะเพิ่มสูงขึ้นไดจนถึงระดับหนึ่ง
เทานั้น กลาวคือ ไมเกินจํานวนคาจางขั้นสูงสุดที่ถูกกําหนดขึ้น ตัวอยางเชน ในกรณีที่ตนทุนกอสราง
มีคาเทากับ 48,000,000 บาท ถาหากใชขอตกลงตามรูปที่ 2.3 คาจางของผูรับเหมาจะมีคาเทากับ
2,500,000 + ((50,000,000 – 48,000,000) / 2) = 3,500,000 บาท แตเนื่องจากขอตกลงตามรูปที่
2.4 นี้มีเงื่อนไขเพิ่มเติมวา มีการกําหนดจํานวนคาจางขั้นสูงสุดไวดวยที่ 3,000,000 บาท ดังนั้นใน
กรณีเชนนี้คาจางของผูรับเหมาจึงเปนเงินจํานวนเพียง 3,000,000 บาท ตามจํานวนคาจางขั้นสูงสุด

[2-6]
บทที่ 2 ประเภทของสัญญากอสราง.doc

เทานั้น และจํานวนเงินทั้งหมดที่ผูวาจางจะจายใหกับผูรับเหมามีคาเทากับ 48,000,000 + 3,000,000


= 51,000,000 บาท (ไมใช 48,000,000 + 3,500,000 = 51,500,000 บาท)
ขอตกลงที่มีการกําหนดจํานวนคาจางขั้นสูงสุดจะเปนสิ่งจูงใจใหผูรับเหมาไมพยายามลด
ตนทุนกอสรางลงในจํานวนที่มากจนกระทั่งทําใหงานกอสรางที่ไดมีคุณภาพลดต่ําลงเนื่องจากเมื่อ
ตนทุนกอสรางลดลงจนถึงระดับหนึ่งคาจางที่ผูรับเหมาไดรับจะไมเพิ่มขึ้นตามไปดวย

Agreement
4 (1) Target cost เทากับ 50,000,000 บาท
Maximum fee = 3,500,000 บาท (2) Target fee เทากับ 2,500,000 บาท
(3) ไมมี Ceiling price
Incentive Condition
3 (1) แบงกัน 50:50 โดยคาจางจะไมสูงกวา
คาจางของผูรับเหมา (ลานบาท)

Target fee 3,500,000 บาท และไมต่ํากวา 1,500,000 บาท

2
Minimum fee = 1,500,000 บาท

Target cost
1

0 48 52
40 45 50 55 60
-1
ตนทุนกอสราง (ลานบาท)

รูปที่ 2.5 การคิดคาจางแบบจูงใจ 3, ปรับแตงจาก [4]

ในรูปที่ 2.5 ขอตกลงระหวางผูวาจางและผูรับเหมากอสรางมีลักษณะคลายคลึงกับขอตกลง


ตามรูปที่ 2.4 เพียงแตมีความแตกตางกันตรงที่ขอตกลงตามรูปที่ 2.5 นี้มีการกําหนดจํานวนคาจาง
ขั้นต่ําสุด (Minimum Fee) ไวดวย ดังนั้นการคํานวณคาจางของผูรับเหมาและจํานวนเงินทั้งหมดที่ผู
วาจางจะจายใหกับผูรับเหมาสามารถคํานวณไดโดยใชแนวทางเดียวกันกับการคํานวณตามรูปที่ 2.4
ขางตน
ในรูปที่ 2.6 ผูวาจางและผูรับเหมาไดตกลงกันกําหนดคาของตนทุนเปาหมาย (Target Cost)
แบบเปนชวง ซึ่งในที่นี้ตนทุนเปาหมายมีคาอยูระหวาง 47,500,000 ถึง 52,500,000 บาท โดยที่ถา
หากตนทุนกอสรางมีคาอยูในชวงดังกลาว ผูรับเหมาจะไดรับคาจางเปนเงินจํานวนเทากับจํานวน
คาจางเปาหมาย ทั้งนี้มีการกําหนดคาจางเปาหมาย (Target Fee) ที่จํานวน 2,500,000 บาท มีการ
กําหนดราคาเพดาน (Ceiling Price) ที่จํานวน 57,500,000 บาท และมีการกําหนดเงื่อนไขจูงใจ
(Incentive Condition) ไววาถาหากผูรับเหมาใชตนทุนกอสรางไมเกินราคาเพดานและนอยกวาคา
ขอบล างของตนทุนเปาหมาย ผูรับเหมาจะไดรับ คาจางเพิ่มขึ้นดว ยจํานวนครึ่งหนึ่งของสว นต าง
ระหวางตนทุนกอสรางที่ใชกับคาขอบลางของตนทุนเปาหมาย ถาหากผูรับเหมาใชตนทุนกอสรางไม
เกินราคาเพดานและมากกวาคาขอบบนของตนทุนเปาหมาย ผูรับเหมาจะถูกหักลดคาจางลงดวย

[2-7]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

จํานวนครึ่งหนึ่งของสวนตางระหวางตนทุนกอสรางที่ใชกับคาขอบบนของตนทุนเปาหมาย และถา
หากผูรับเหมาใชตนทุนกอสรางเกินราคาเพดาน ผูรับเหมาจะตองรับผิดชอบตนทุนสวนที่เกินราคา
เพดานทั้งหมดแตเพียงผูเดียวโดยไมไดรับการชดเชยจากผูวาจาง ทั้งนี้เพื่อใหเกิดความเขาใจยิ่งขึ้น
จึงขอยกตัวอยางการคิดคาจางและจํานวนเงินที่ผูวาจางจายใหแกผูรับเหมาในกรณีตางๆดังตอไปนี้

Agreement
4 (1) Target cost เทากับ 50,000,000 บาท
(2) Target fee เทากับ 2,500,000 บาท
(3) Ceiling price เทากับ 57,500,000 บาท
Incentive Condition
3 Zone of Constant fee (1) ในชวง ± 5% ของ Target cost ไมปรับคาจาง
Target fee
คาจางของผูรับเหมา (ลานบาท)

(2) เมื่อเกิน Ceiling Price ผูรับเหมารับผิดชอบทั้งหมด


(3) กรณีที่เหลือใหแบงกัน 50:50

Target cost
1

0 47.5 52.5
40 45 50 55 60
-1 Ceiling price
ตนทุนกอสราง (ลานบาท)

รูปที่ 2.6 การคิดคาจางแบบจูงใจ 4, ปรับแตงจาก [5]

(1) ในกรณีที่ตนทุนกอสรางมีคาเทากับ 48,000,000 บาท เนื่องจาก 48,000,000 บาท มี


คาอยูระหวาง 47,500,000 และ 52,500,000 บาท ผูรับเหมาจะไดคาจางเปนจํานวน 2,500,000 บาท
และจํานวนเงินทั้งหมดที่ผูวาจางจะจายใหกับผูรับเหมามีคาเทากับ 48,000,000 + 2,500,000 =
50,500,000 บาท
(2) ในกรณีที่ตนทุนกอสรางมีคาเทากับ 45,500,000 บาท ผูรับเหมาจะไดคาจางเปน
จํานวน 2,500,000 + ((47,500,000 – 45,500,000) / 2) = 3,500,000 บาท และจํานวนเงินทั้งหมดที่
ผูวาจางจะจายใหกับผูรับเหมามีคาเทากับ 45,500,000 + 3,500,000 = 49,000,000 บาท
(3) ในกรณีที่ตนทุนกอสรางมีคาเทากับ 53,500,000 บาท ผูรับเหมาจะไดคาจางเปน
จํานวน 2,500,000 – ((53,500,000 – 52,500,000) / 2) = 2,000,000 บาท และจํานวนเงินทั้งหมดที่
ผูวาจางจะจายใหกับผูรับเหมามีคาเทากับ 53,500,000 + 2,000,000 = 55,500,000 บาท
(4) ในกรณีที่ตนทุนกอสรางมีคาเทากับ 57,500,000 บาท ซึ่งมีคาเทากับราคาเพดาน
(Ceiling Price) พอดี ผูรับเหมาจะไดคาจางเปนจํานวน 0 บาท และจํานวนเงินทั้งหมดที่ผูวาจางจะ
จายใหกับผูรับเหมามีคาเทากับ 57,500,000 + 0 = 57,500,000 บาท และ
(5) ในกรณีที่ตนทุนกอสรางมีคาเทากับ 58,000,000 บาท ผูรับเหมาจะตองรับผิดชอบ
ตนทุนสวนที่เกินราคาเพดาน (Ceiling Price) ทั้งหมดซึ่งคิดเปนเงินจํานวน 58,000,000 –

[2-8]
บทที่ 2 ประเภทของสัญญากอสราง.doc

57,500,000 = 500,000 บาท ดังนั้นจํานวนเงินทั้งหมดที่ผูวาจางจะจายใหกับผูรับเหมามีคาเทากับ


58,000,000 – 500,000 = 57,500,000 บาท ซึ่งก็คือจํานวนเงินของราคาเพดาน (Ceiling Price)
นั่นเอง

อนึ่งการเลือกใชสัญญาประเภทนี้มีขอควรระวังดังนี้ (1) ผูวาจางและผูรับเหมาควรรวมกัน


ประมาณตนทุนของงานทั้งหมดอยางสมเหตุสมผลและกําหนดใหเปนตนทุนเปาหมาย (2) คาจาง
เปาหมายตองเปนจํานวนเงินที่สมเหตุสมผล (3) ผูวาจางและผูรับเหมาควรรวมกันเลือกใชสัดสวนการ
คิดจํานวนเพิ่มลดของคาจาง (4) ผูวาจางควรจัดระบบประกันคุณภาพที่ดีสําหรับใชปองกันการลด
ตนทุนของงานเพื่อรับคาจางเพิ่มมากขึ้นโดยการทําใหคุณภาพของงานลดลง และ (5) ผูวาจางควร
คัดเลือกและจางผูรับเหมาที่มีความนาเชื่อถือและเชื่อใจได

5. สัญญาแบบปรับราคาได
สัญญาแบบปรับราคาได (Contract with Escalation Clause) นี้กําหนดใหมีการปรับราคา
ของงานจ า งได ต ามการขึ้ น ลงของราคาค า วั สดุ อุ ป กรณ และแรงงานอั น เนื่อ งมาจากสภาวะทาง
เศรษฐกิจ สัญญานี้มักจะถูกนํามาใชในสถานการณที่สภาวะทางเศรษฐกิจมีความไมแนนอนอันสงผล
ใหราคาคาวัสดุ อุปกรณ และแรงงานมีความผันผวนสูง โดยเฉพาะอยางยิ่งในการทํางานโครงการ
กอสรางขนาดใหญที่ใชระยะเวลาตลอดโครงการที่ยาวนาน [1][2][3]
การเลือกใชสัญญานี้ผูวาจางและผูรับเหมาควรใหความสําคัญกับเงื่อนไข ดัชนี และสูตรใน
การปรับราคา โดยที่สูตรในการปรับราคาควรมีความแตกตางกันไปตามลักษณะของงานดวย
นอกจากนี้การที่ผูวาจางชวยแบกรับภาระความเสี่ยงของความผันผวนของราคาคาวัสดุ อุปกรณ และ
แรงงานจากผูรับเหมาอาจสงผลใหผูรับเหมาเสนอราคาไดโดยไมตองบวกสวนเผื่อความเสี่ยงสําหรับ
ราคาคาวัสดุ อุปกรณ และแรงงานที่อาจเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
อนึ่งตองยอมรับกันดวยวาความผันผวนของราคาคาวัสดุ อุปกรณ และแรงงานนั้นหมาย
รวมถึงการลดลงของราคาดวยเชนกัน ในกรณีเชนนี้ผูรับเหมาก็สมควรปรับลดราคาของงานใหแกผูวา
จางเพื่อตอบแทนการชวยแบกรับความเสี่ยงของผูวาจางดวย

6. สัญญาแบบเปลี่ยนเงื่อนไขได
ในงานกอสรางขนาดใหญที่มีระยะเวลายาวนานมากยอมหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงของ
สภาวะทางเศรษฐกิจไดยาก สัญญาแบบเปลี่ยนเงื่อนไขได (Contract with Redetermination Clause)
นี้เปนอีกทางเลือกหนึ่งที่ผูวาจางและผูรับเหมาสามารถนํามาใชในการปรับราคาของงานหรือเงื่อนไข
อื่นๆของสัญญาตามสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามกาลเวลาได สัญญานี้มีความแตกตางจาก
สัญญาแบบปรับราคาไดตรงที่สัญญานี้ยอมใหผูวาจางและผูรับเหมาสามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของ
สัญญาที่นอกเหนือไปจากการปรับราคาตามการขึ้นลงของราคาคาวัสดุ อุปกรณ และแรงงานเทานั้น
ตัว อย า งของการใช สั ญ ญานี้ ที่ พ อจะเทีย บเคี ย งได ได แ ก สั ญ ญาของโครงการทางดว นที่ คู สั ญ ญา

[2-9]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ยินยอมใหมีการปรับราคาคาผานทางไดเมื่อระยะเวลาผานไประยะเวลาหนึ่งหรือเมื่อเงื่อนไขทาง
เศรษฐกิจเปนไปตามขอกําหนดที่ตกลงกันไวในสัญญา [1][2][3]

7. สัญญาแบบใหเวลาและวัสดุ
สัญญาแบบใหเวลาและวัสดุ (Time and Materials Contract) นี้จะกําหนดใหผูวาจางเปนผูมี
หนาที่จัดหาและสงมอบวัสดุอุปกรณที่จําเปนตองใชใหแกผูรับเหมา โดยผูวาจางจะกําหนดระยะเวลา
ในการทํางานใหแกผูรับเหมาหรือทั้งสองฝายรวมกันตกลงระยะเวลาที่จะใชในการทํางาน ภายใต
สัญญานี้คาจางที่ผูรับเหมาจะไดรับมักจะหมายรวมถึง คาแรงงาน คาเครื่องจักร คาดําเนินการ และ
กําไร ในการคิดคาแรงงานผูรับเหมาอาจจะใชวิธีคิดแบบเปนรายวันหรือแบบเหมารวมก็ไดแลวแตจะ
ทําความตกลงกับผูวาจาง สัญญานี้เหมาะกับงานซอมและงานเรงดวนฉุกเฉิน [5]
การเลือกใชสัญญานี้จะทําใหผูวาจางสามารถออกคําสั่งเปลี่ยนแปลงตางๆไดงายและคิดราคา
คาจางตามคําสั่งเปลี่ยนแปลงดังกลาวไดงายดวย อยางไรก็ตามสัญญานี้ไมมีสิ่งจูงใจสําหรับผูรับเหมา
ที่จะควบคุมปริมาณวัสดุและ/หรือจํานวนแรงงานที่ใช ผูวาจางจึงตองเพิ่มความใกลชิดในการตรวจ
ติดตามงานรวมถึงการควบคุมคาใชจายดานวัสดุดวย ในบางกรณีผูวาจางอาจจะกําหนดจํานวนสูงสุด
ของปริมาณวัสดุ จํานวนสูงสุดของระยะเวลาทํางาน หรือวิธีการจูงใจอื่นๆ เพื่อเปนเครื่องมือในการ
ควบคุมราคาของงาน

8. วิธีการจูงใจ
ในงานก อ สร า งบางแห ง มี ก ารนํ า วิ ธี ก ารจู ง ใจ (Incentives) มาใช เ พื่ อ เป น การกระตุ น ให
ผูรับเหมาทํางานดียิ่งขึ้น วิธีการจูงใจพอจะแบงออกไดเปน 3 ประเภทอันไดแก การจูงใจดานราคา
(Cost incentives) การจูงใจด า นเวลา (Delivery incentives) และการจูงใจด า นการปฏิ บัติ ง าน
(Performance incentives) [4] ตัวอยางของการจูงใจดานราคาไดแสดงใหเห็นแลวในหัวขอที่ 4
เนื้อหาในสวนนี้จะแสดงใหเห็นถึงตัวอยางการจูงใจดานเวลาและการจูงใจดานการปฏิบัติงาน ตัวอยาง
ของการจู ง ใจด า นเวลาสามารถดู ไ ด จ ากรู ป ที่ 2.7 และตั ว อย า งของการจู ง ใจด า นการปฏิ บั ติ ง าน
สามารถดูไดจากรูปที่ 2.8
วิธีการจูงใจดานเวลาเปนกรณีที่พบไมบอยนักในการจางงานกอสราง แตก็มีการนํามาใชอยู
บาง รูปที่ 2.7 เปนกราฟที่แสดงถึงขอตกลงระหวางผูวาจางและผูรับเหมากอสรางในการใหรางวัลแต
ผูรับเหมาถาหากผูรับเหมาสามารถสงมอบงานไดกอนกําหนดเวลาสงมอบงานตามสัญญา แกน X
ของกราฟนี้แสดงระยะเวลาการสงมอบงาน และแกน Y แสดงจํานวนรางวัลที่ผูรับเหมาจะไดรับ
จากรู ป ที่ 2.7 สัญญามี กํ าหนดส งมอบงานกอสร างภายใน 48 สัปดาห ถาหากผู รับ เหมา
สามารถสงมอบงานไดภายในสัปดาหที่ 48 ผูรับเหมาจะไมไดรับรางวัลใดๆเพิ่ม แตถาหากผูรับเหมา
สามารถสงมอบงานไดภายในสัปดาหที่ 47 ผูรับเหมาจะไดรับรางวัลเปนเงินจํานวน 25,000 บาท และ
ยิ่งผูรับเหมาสามารถสงมอบงานไดเร็วขึ้นอีกผูรับเหมาก็จะไดรับรางวัลเปนจํานวนเงินที่เพิ่มมากขึ้น

[2-10]
บทที่ 2 ประเภทของสัญญากอสราง.doc

ซึ่งในกรณีของขอตกลงนี้ผูรับเหมามีสิทธิที่จะไดรางวัลจากผูวาจางเพิ่มขึ้นเปนจํานวนเงินสูงสุดถึง
200,000 บาท ถาหากผูรับเหมาสามารถสงมอบงานไดกอนสิ้นสุดสัปดาหที่ 40

25
รางวัลสําหรับผูรับเหมา (หมื่นบาท)

20 กําหนดสงมอบงาน

15

10

0
36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49

ระยะเวลาสงมอบงาน (สัปดาห)

รูปที่ 2.7 การจูงใจดานเวลา, ปรับแตงจาก [4]

6
รางวัลสําหรับผูรับเหมา (หมื่นบาท)

4 ปริมาณเปาหมาย

0
3 3.5 4 4.5 5 5.5

ปริมาณกระเบื้อง (พันกลอง)

รูปที่ 2.8 การจูงใจดานการปฏิบตั ิงาน, ปรับแตงจาก [4]

รูปที่ 2.8 แสดงถึงวิธีการจูงใจดานการปฏิบัติงานซึ่งในที่นี้เปนตัวอยางกรณีที่ผูวาจางตกลง


วาจางผูรับเหมาทํางานปูพื้นกระเบื้อง โดยผูวาจางเปนผูจัดหากระเบื้องที่จะใชให และผูรับเหมามี
หนาที่จัดหาแรงงานและควบคุมการทํางาน ทั้งสองฝายประมาณกันไดวาตองใชกระเบื้องในปริมาณ

[2-11]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

5,000 กลอง โดยมีขอตกลงเพิ่มเติมวา ถาหากผูรับเหมาสามารถประหยัดปริมาณกระเบื้องลงได


จํานวน 1 กลอง ผูวาจางจะใหรางวัลแกผูรับเหมาเปนเงินจํานวน 50 บาทตอกระเบื้อง 1 กลอง ทั้งนี้
รางวัลที่ผูรับเหมาไดรับจะไมเกิน 50,000 บาท ดังนั้นถาหากหลังจากที่ผูรับเหมาทํางานแลวเสร็จ
พบวาใชกระเบื้องไปทั้งสิ้นจํานวน 4,800 กลอง ผูรับเหมาจะไดรับรางวัลจากผูวาจางเปนเงินจํานวน
เทากับ ((5,000 – 4,800) x 50) = 10,000 บาท

9. บทสงทาย
สัญญากอสรางสามารถถูกแบงออกเปนประเภทตางๆได อันไดแก สัญญาแบบเหมารวม
(Lump-sum Contract) สัญญาแบบราคาตอหนวย (Unit Price Contract) สัญญาแบบตนทุนบวก
คาจาง (Cost Plus Fee Contract) สัญญาแบบปรับราคาได (Contract with Escalation Clause)
สัญญาแบบเปลี่ยนเงื่อนไขได (Contract with Redetermination Clause) และสัญญาแบบใหเวลาและ
วัสดุ (Time and Materials Contract) เปนตน เนื้อหาของบทนี้ไดกลาวถึงรายละเอียดของสัญญา
ประเภทตางๆในเบื้องตนเพื่อเปนความรูพื้นฐานสําหรับผูที่ตองการศึกษางานดานสัญญาจางงาน
กอสรางตอไป นอกจากนี้ในตอนทายของบทยังไดกลาวถึงวิธีการจูงใจในงานกอสรางโดยสังเขปดวย

เอกสารอางอิง
[1] สุปรีชา หิรัญโร และคณะ, “เอกสารการสอนชุดวิชา การปฏิบัติวิชาชีพการจัดการงานกอสราง
หนวยที่ 1-7”, สาขาวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2531
[2] Masterman, J. W. E., “An introduction to Building Procurement Systems”, E & FN
SPON, London, 1992.
[3] Hinze, J., “Construction Contracts”, McGraw-Hill, New York, 1993.
[4] Veld, J. in ‘t and Peeters, W. A., “Keeping Large Projects Under Control: the
important of contract type selection”, Project Management, Vol.7, No.3, August,
pp.155-162, 1989.
[5] Gilbreath, R. D., “Managing Construction Contracts: operational controls for
commercial risks”, 2nd edition, A Wiley-Interscience publication, 1992.

บรรณานุกรม
[1] Barrie, D. S. and Paulson, B. C., “Professional Construction Management”, 3rd Edition,
McGraw-Hill International Editions, McGraw-Hill, Inc., New York, 1992.
[2] Betty, J. G., “Engineering Contracts: a practice guide”, McGraw-Hill Book Company,
London, 1993.

[2-12]
บทที่ 2 ประเภทของสัญญากอสราง.doc

[3] Charoenngam, C., “Lecture Notes in Project Planning and Scheduleing”, Construction
Engineering and Management Program, School of Civil Engineering, Asian Institute of
Technology, 1997.
[4] Clough, R. H. and Sears, G. A., “Construction Contracting”, 6th Edition, A Wiley-
Interscience Publication, New York, 1994.
[5] Ogunlana, S. O., “Lecture Notes in Construction Laws and Legal Issues”, Construction
Engineering and Management Program, School of Civil Engineering, Asian Institute of
Technology, 1997.

[2-13]
 
บทที่ 3
แนวทางในการเลือกระบบสัญญา
(Guidance for Selection of Contracting System)

1. บทนํา
การเลือกใชระบบสัญญาใหเหมาะสมกับลักษณะของโครงการกอสรางเปนปจจัยที่สําคัญตอ
ความสําเร็จของโครงการกอสราง เนื่องจากระบบการจัดทําและสงมอบโครงการและประเภทของ
สัญญากอสรางมีอยูหลายรูปแบบดวยกัน ซึ่งแตละรูปแบบก็มีจุดเดนและจุดดอยแตกตางกันไป จึงไม
มีรูปแบบใดเปนรูปแบบที่ดีที่สุดสําหรับสถานการณในทุกกรณี
การเลือกระบบสัญญาที่เหมาะสมกับโครงการกอสรางผูวาจางและผูรับเหมาควรตองพิจารณา
จุดเดนและจุดดอยของระบบการจัดทําและสงมอบโครงการและประเภทของสัญญากอสรางรูปแบบ
ตางๆ ประกอบกับขอกําจัดดานตางๆของโครงการ อาทิเชน ความจํากัดของขอมูลในการออกแบบ
ความแปรปรวนของสภาวะเศรษฐกิจ เงื่อ นเวลา ความตองการใหมีการแข งขั นด านราคา ความ
ยืดหยุนในการเปลี่ยนแปลงงาน เปนตน เปนขอมูลในการตัดสินใจ
แนวทางในการเลือกระบบสัญญาเพื่อใหไดระบบสัญญาที่เหมาะสมกับโครงการมีอยูหลาย
แนวความคิด ในที่นี้ขอนําเสนอเพียง 4 แนวความคิดที่นาสนใจ อันไดแก แนวคิดของ Gordon
(1994) [1] แนวคิดตามรายงานเรื่อง Thinking about Building ของ NEDO (1985) [2] แนวคิดของ
Skitmore and Marsden (1988) [3] และแนวคิดของ Hayes et al (1986) [4] ตามลําดับ

2. แนวคิดของ Gordon (1994)


รูปที่ 3.1 แสดงแนวคิดของ Gordon (1994) แนวคิดนี้แบงขั้นตอนการพิจารณาเลือกระบบ
สัญญาออกเปน 4 ขั้นตอน อันไดแก (1) การพิจารณาขอบเขตของสัญญา (2) การพิจารณาโครงสราง
ทางดานองคกร (3) การพิจารณาชนิดของสัญญา และ (4) การพิจารณาวิธีการตัดสินเลือกผูรับงาน
ในขั้นตอนที่หนึ่งแนวคิดนี้แบงขอบเขตของงานออกเปน 3 กลุม อันไดแก (1) Separate
Design and Construction (2) Design-Build และ (3) Design-Build-Finance ซึ่งผูพิจารณาจะตอง
เลือกชนิดขอบเขตของงานใหตรงกับลักษณะของานที่ทํา
เมื่อพิจารณาเลือกขอบเขตของงานไดแลว ขั้นตอนที่สองเปนการเลือกโครงสรางทางดาน
องคกร ซึ่งภายใตขอบเขตของสัญญาแบบ Separate Design and Construction แนวคิดนี้ได
เสนอแนะชนิดของโครงสรางทางดานองคกรที่เหมาะสมให 3 ชนิด อันไดแก (1) General Contractor
(2) Construction Manager และ (3) Multiple Primes สําหรับภายใตขอบเขตของสัญญาแบบ
Design-Build แนวคิดนี้ไดเสนอแนะชนิดของโครงสรางทางดานองคกรที่เหมาะสมให 1 ชนิดคือ
Design-Build Team และสําหรับภายใตขอบเขตของสัญญาแบบ Design-Build-Finance แนวคิดนี้ได

[3-1]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

เสนอแนะชนิดของโครงสรางทางดานองคกรที่เหมาะสมให 2 ชนิด อันไดแก (1) Turnkey Team และ


(2) BOT Team
ขั้นตอนที่สามเปนการพิจารณาเลือกชนิดของสัญญาซึ่งตามแนวคิดนี้กลาวไดวาเปนชนิดของ
การคิดราคางาน แนวคิดนี้เสนอแนะวาภายใตโครงสรางทางดานองคกรแตละชนิดจะมีวิธีการคิดราคา
งานที่เหมาะสมแตกตางกันไป ซึ่งวิธีการคิดราคางานตามแนวคิดนี้ไดแก (1) Lump Sum (2) Unit
Price (3) Cost Plus (4) Guaranteed Maximum Price, GMP และ (5) Fixed Fee
ขั้นตอนที่สี่ซึ่งเปนขั้นตอนสุดทายเปนการพิจารณาเลือกวิธีการตัดสินเลือกผูรับงาน อันไดแก
(1) Bid (2) Cap (3) Negotiate (4) Qualification and Price Proposal (5) Time and Price
Proposal (6) Qualification, Time and Price Proposal และ (7) Design and Price Proposal

Scope Separate Design and Construction Design-Build Design-Build-Finance

General Construction Multiple Design-Build Turnkey BOT


Organization Contractor Manager Primes Team Team Team

Lump Sum Lump Sum Lump Sum Lump Sum Unique


Contract Unit Price
Fixed Fee
Cost Plus Unit Price Unit Price GMP to project
Cost Plus GMP Cost Plus Cost Plus
GMP GMP GMP

Bid Bid Bid Bid Bid Bid


Award Cap Negotiate Cap Cap Cap Negotiate
Negotiate Qual & Pric Negotiate Negotiate Negotiate Qual & Pric
Qual & Pric Time & Pric Qual & Pric Qual & Pric Qual & Pric Time & Pric
Time & Pric Q, Time & P Time & Pric Time & Pric Time & Pric Q, Time & P
Q, Time & P Q, Time & P Q, Time & P Q, Time & P Des. & Pric
Des. & Pric Des. & Pric

รูปที่ 3.1 การเลือกสัญญากอสรางตามแนวคิดของ Gordon (1994) [1]

3. แนวคิดตามรายงานเรื่อง Thinking about Building ของ NEDO (1985)


รูปที่ 3.2 แสดงแนวคิดตามรายงานเรื่อง Thinking about Building ของ NEDO (1985)
แนวคิดนี้แบงระบบสัญญาออกเปน 4 กลุมใหญ 9 ชนิดยอย อันไดแก (1) Sequential Traditional (2)
Accelerated Traditional (3) Direct Design and Build (4) Competitive Design and Build (5)
Develop and Construct (6) Management Contracting (7) Construction Management (8)
Contractor Project Manager และ (9) Consultant Project Manager
โดยมีเกณฑที่ใชในการพิจารณาเลือกระบบสัญญา 9 เกณฑดวยกัน อันไดแก (1) Timing (2)
Controllable Variation (3) Complexity (4) Quality Level (5) Price Certainty (6) Competition (7)
Responsibility Division (8) Responsibility Professional และ (9) Risk Avoidance

[3-2]
บทที่ 3 แนวทางในการเลือกระบบสัญญา.doc

Traditional Design and Build Management Design & Manage

Management

management
Develop and

Construction
Competitive
Accelerated

contracting

Consultant
Sequential

Contractor
construct

manager

manager
project

project
Direct
A Timing How important is early completion to the success of your project? Crucial + + + + + +
Important + + + + + + + +
Not as important as other factors +
B Controllable Do you foresee the need to alter the project in any way once it has Yes + + + + + +
Variation begun on site, for example to update machinery layouts? Definitely not + + +
C Complexity Does your building (as distinct from what goes in it) need to be Yes + + + + + +
technologically advanced or highly serviced? Moderately so + + + + + + +
No, just simple + +
D Quality What level of quality do you seek in the design and workmanship? Basic competence + +
Level Good but not special + + + + + + + + +
Prestige + + + +
E Price Do you need to have a firm price for the project construction before Yes + + + + + +
Certainty you can commit it to proceed? A target plus or minus will do + + +
F Competition Do you need to choose your construction team by price Certainly for all construction work + + + + + + +
competition? Construction and management teams + + +
No, other factors more important + + +
Gi Responsibility Can you manage separate consultancies and contractors, or do you Can manage separate firms + + + +
Division of want just one firm to be responsible after the briefing stage? Must have only one firm for everything + + + + +
Gii Responsibility Do you want direct professional responsibility to you from the Not important + + + +
Professional designers and cost consultants? Yes + + + + +
H Risk Do you want to pay someone to take the risk of cost and time No, prefer to retain risk and therefore control + +
Avoidance slippage from you? Prepared to share agreed risks + + +
Yes + + + +
Total
รูปที่ 3.2 การเลือกสัญญากอสรางตามแนวคิดของ NEDO (1985) [2]

[3-3]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ทั้งนี้แตละเกณฑจะมีผลตอการเลือกระบบสัญญาที่ตางชนิดกัน และเมื่อพิจารณาเกณฑตางๆ
ครบทั้ง 9 เกณฑแลวหากพบวาระบบสัญญาชนิดใดไดรับคะแนนเลือกมากกวากัน ระบบสัญญาชนิด
นั้นนาจะมีความเหมาะสมกับโครงการกอสรางนั้นๆมากกวาระบบสัญญาชนิดอื่นๆ

4. แนวคิดของ Skitmore and Marsden (1988)


รูปที่ 3.3 และ 3.4 แสดงแนวคิดของ Skitmore and Marsden (1988) แนวคิดนี้ไดแบงชนิด
ของระบบสัญญาออกเปน 7 ชนิด อันไดแก (A) Negotiated Traditional (B) Competitive Traditional
(C) Competitive Develop and Construct (D) Negotiated Design and Build (E) Competitive
Design and Build (F) Management Contracting และ (G) Turnkey Contracting
โดยที่มีเกณฑที่ใชในการเลือกสัญญา 7 เกณฑดวยกัน อันไดแก (1) Speed (2) Certainty
(3) Flexibility (4) Quality Level (5) Complexity (6) Risk Avoidance and Responsibility และ (7)
Price Competition
เกณฑที่ใชในการเลือกระบบสัญญาแตละเกณฑจะมีผลตอการเลือกระบบสัญญาแตกตางกัน
อาทิเชน เกณฑที่ 1 เรื่อง Speed (ความเร็วในการกอสราง) จากรูปที่ 3.3 จะเห็นไดวาถาหาก
โครงการกอสรางเปนโครงการที่ตองการความเร็วในการกอสรางสูง ระบบสัญญาที่เหมาะสมมากที่สุด
คือ ระบบสัญญาแบบ F (Management Contracting) และ ระบบสัญญาแบบ G (Turnkey
Contracting)
นอกจากนี้เนื่องจากเกณฑที่ใชในการเลือกระบบสัญญาทั้ง 7 เกณฑขางตนนั้นอาจจะมี
น้ําหนักความสํ าคัญตอความสํ าเร็จของโครงการไมเ ท ากัน แนวคิดนี้จึงเปดโอกาสใหผู พิจารณา
สามารถกําหนดน้ําหนักความสําคัญของแตละเกณฑได แลวจึงนําสัดสวนน้ําหนักความสําคัญดังกลาว
มาคํานวณคะแนนความเหมาะสมของระบบสัญญาแตละชนิดตอไป ทั้งนี้ตัวอยางการกําหนดน้ําหนัก
ความสําคัญและผลการคํานวณไดถูกแสดงไวในรูปที่ 3.4

5. แนวคิดของ Hayes et al (1986)


แนวคิดของ Hayes et al (1986) มีอยูวาการเลือกใชระบบสัญญากอสรางที่เหมาะสมให
พิจาณาตามขั้นตอนตอไปนี้
(1) เลือกประเภทของสัญญากอน เชน สัญญาเหมารวม สัญญาราคาตอหนวย เปนตน
(2) เลือกวิธีการคัดเลือกผูรับเหมา เชน การประกวดราคา การเจรจาตกลงราคา เปนตน
(3) เลือกการจัดโครงสรางทางองคกรเพื่อความสามารถในการควบคุมงานออกแบบ งาน
กอสราง และงานประสานงานระหวางงานออกแบบและงานกอสราง อาทิเชน เลือกจางผูออกแบบ
แยกจากผูรับเหมา เลือกจางผูจัดการโครงการ (Construction Manager) เปนตน
(4) เลือกการจัดแบง Package ของงานวาจะแบงยอยออกเปนสวนยอยหรือไม กี่สวน และ
อยางไร

[3-4]
บทที่ 3 แนวทางในการเลือกระบบสัญญา.doc

(5) เลือกใชเงื่อนไขสัญญาเพื่อแบงความเสี่ยงใหกับผูวาจางและผูรับเหมากอสรางตามที่
ตองการ

[3-5]
บทที่ 3 แนวทางในการเลือกระบบสัญญา.doc

Client’s Client’s Rationalized Procurement paths


Priority Priority Priority
questions Rating rating A B C D E F G
(scale 1 - 20)
Negotiated Competitive Competitive Negotiated Competitive Management Turnkey
traditional traditional develop and design and design and contracting contracting
construct build build
Utility Result Utility Result Utility Result Utility Result Utility Result Utility Result Utility Result
factor factor factor factor factor factor factor
1. Speed 40 10 60 100 90 110 110

2. Certainty 30 30 70 100 100 10 110

3. Flexibility 110 110 40 40 40 90 10

4. Quality level 110 110 80 40 40 90 20

5. Complexity 100 100 70 50 50 110 20

6. Risk avoidance and resp. 30 30 70 100 100 10 110

7. Price competition 20 110 80 10 80 40 30

Total

Rank order
Note:
1. Speed: How important is early completion to the success of your project?
2. Certainty: Do you require a firm price and/or a strict completion date for the project before you can commit yourself to proceed with construction?
3. Flexibility: To what degree do you foresee the need to alter the project in any way once it has begun on site?
4. Quality level: What level of quality, aesthetic appearance do you require in the design and workmanship?
5. Complexity: Does your building need to be highly specialized, technologically advanced or highly serviced?
6. Risk avoidance and responsibility: To what extent do you wish one single organization to be responsible for the project; or to transfer the risks of cost and time slippage?
7. Price competition: Is it important for you to choose your construction team by price competition, so increasing the likelihood of a low price?
รูปที่ 3.3 การเลือกสัญญากอสรางตามแนวคิดของ Skitmore and Marsden (1988) [3]

[3-7]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

Client’s Client’s Rationalized Procurement paths


Priority Priority Priority
questions Rating rating A B C D E F G
(scale 1 - 20)
Negotiated Competitive Competitive Negotiated Competitive Management Turnkey
traditional traditional develop and design and design and contracting contracting
construct build build
Utility Result Utility Result Utility Result Utility Result Utility Result Utility Result Utility Result
factor factor factor factor factor factor factor
1. Speed 20 0.25 40 10.0 10 2.5 60 15.0 100 25.0 90 22.5 110 27.5 110 27.5

2. Certainty 18 0.22 30 6.6 30 6.6 70 15.4 100 22.0 100 22.0 10 2.2 110 24.2

3. Flexibility 5 0.06 110 6.6 110 6.6 40 2.4 40 2.4 40 2.4 90 5.4 10 0.6

4. Quality level 7 0.09 110 9.9 110 9.9 80 7.2 40 3.6 40 3.6 90 8.1 20 1.8

5. Complexity 3 0.04 100 4.0 100 4.0 70 2.8 50 2.0 50 2.0 110 4.4 20 0.8

6. Risk avoidance and resp. 17 0.21 30 6.3 30 6.3 70 14.7 100 21.0 100 21.0 10 2.1 110 23.1

7. Price competition 10 0.13 20 2.6 110 14.3 80 10.4 10 1.3 80 10.4 40 5.2 30 3.9

Total 80 1.00 46.0 50.2 67.9 77.3 83.9 54.9 81.9

Rank order 7 6 4 3 1 5 2
Note:
1. Speed: How important is early completion to the success of your project?
2. Certainty: Do you require a firm price and/or a strict completion date for the project before you can commit yourself to proceed with construction?
3. Flexibility: To what degree do you foresee the need to alter the project in any way once it has begun on site?
4. Quality level: What level of quality, aesthetic appearance do you require in the design and workmanship?
5. Complexity: Does your building need to be highly specialized, technologically advanced or highly serviced?
6. Risk avoidance and responsibility: To what extent do you wish one single organization to be responsible for the project; or to transfer the risks of cost and time slippage?
7. Price competition: Is it important for you to choose your construction team by price competition, so increasing the likelihood of a low price?
รูปที่ 3.4 ตัวอยางการกําหนดน้ําหนักความสําคัญและผลการคํานวณตามแนวคิดของ Skitmore and Marsden (1988) [3]

[3-8]
บทที่ 3 แนวทางในการเลือกระบบสัญญา.doc

6. บทสงทาย
เนื้อหาของบทนี้ไดกลาวถึงแนวคิดในการเลือกระบบสัญญาใหเหมาะสมกับโครงการกอสราง
โดยนําเสนอแนวคิดของ Gordon (1994) แนวคิดตามรายงานเรื่อง Thinking about Building ของ
NEDO (1985) แนวคิดของ Skitmore and Marsden (1988) และแนวคิดของ Hayes et al (1986)
ตามลําดับ อยางไรก็ดีผูเกี่ยวของในโครงการกอสรางควรมีการประเมินผลสําเร็จของการใชระบบ
สัญญาหลังจากงานกอสรางไดแลวเสร็จลงเพื่อเปนขอมูลสําหรับการดําเนินงานในโครงการตอๆไป
อนึ่งเนื้อหาในบทนี้เปนแนวคิดในตางประเทศซึ่งมีการใชระบบสัญญารูปแบบตางๆมาแลว
ระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นการนําแนวคิดเหลานี้มาประยุกตใชกับประเทศไทยจําเปนตองปรับปรุงหรือ
เปลี่ยนแปลงขอจํากัดหรือลักษณะบางประการเพื่อใหสอดคลองกับวิถีปฎิบัติงานของอุตสาหกรรม
กอสรางไทยรวมทั้งวิถีปฎิบัติงานที่เปนสากลในอนาคตดวย

เอกสารอางอิง
[1] Gordon, C. M., “Choosing Appropriate Construction Contracting Method”, Journal of
Construction Engineering and Management, ASCE, 120(1), pp. 196-210, 1994.
[2] Building Economic Development Committee, “Thinking about Building, A Successful
Business Customer’s Guide to using the construction industry”, NEDO, London, 1985.
[3] Skitmore, R.M. and Marsden, D.E., “Which Procurement System? Towards a
universal procurement selection technique”, Construction Management and Economic,
Vol. 6, E. & F.N. Spon Ltd, London, pp.71-89, 1988.
[4] Hayes, R. W., Perry, J. G., Thompson, P. A., and Willmer, G., “Risk Management in
Engineering Construction”, Thomas Telford Ltd, London, 1986.

บรรณานุกรม
[1] Barrie, D. S. and Paulson, B. C., “Professional Construction Management”, 3rd Edition,
McGraw-Hill International Editions, McGraw-Hill, Inc., New York, 1992.
[2] Betty, J. G., “Engineering Contracts: a practice guide”, McGraw-Hill Book Company,
London, 1993.
[3] Clough, R. H. and Sears, G. A., “Construction Contracting”, 6th Edition, A Wiley-
Interscience Publication, New York, 1994.
[4] Gilbreath, R. D., “Managing Construction Contracts: operational controls for
commercial risks”, 2nd edition, A Wiley-Interscience publication, 1992.
[5] Hinze, J., “Construction Contracts”, McGraw-Hill, New York, 1993.
[6] Masterman, J. W. E., “An introduction to Building Procurement Systems”, E & FN
SPON, London, 1992.

[3-9]
 
บทที่ 4
ขั้นตอนการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง
(Contractor Selection Procedure)

1. บทนํา
การเลือกวาจางผูรับเหมากอสรางที่ดีมีความรับผิดชอบยอมสงผลตอความสําเร็จของโครงการ
ผูวาจางจึงควรใหความสําคัญอยางยิ่งตอขั้นตอนการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง เนื้อหาในบทนี้จะ
กลาวถึงรายละเอียดของแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคัดเลือกผูรับเหมาในแตละขั้นตอนโดยสังเขป
อนึ่งเนื่องจากขั้นตอนการคัดเลือกผูรับเหมาอาจมีความแตกตางกันตามระบบการจัดทําและสงมอบ
โครงการและประเภทของสัญญา เนื้อหาในบทนี้จะกลาวถึงขั้นตอนการคัดเลือกผูรับเหมาสําหรับ
โครงการที่งานออกแบบเสร็จสิ้นทั้งหมดกอนการวาจางผูรับเหมากอสรางและใชการประกวดราคาเปน
วิธีการคัดเลือกผูรับเหมา

2. ภาพโดยรวมของขั้นตอนการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง
กิจกรรมตางๆที่เกิดขึ้นในชวงของการคัดเลือกผูรับเหมากอสรางประกอบดวย (1) การ
ประกาศเชิญชวนผูสนใจงาน (2) การคัดเลือกผูสนใจงานโดยวิธีพิจารณาคุณสมบัติเบื้องตน (3) การ
เชิญผูที่ผานการคัดเลือกเขารวมเสนอราคา (4) การจําหนายเอกสารขอแนะนําการเสนอราคา (5) การ
เยี่ยมชมสถานที่กอสราง (6) การประชุมกอนการเสนอราคา (7) การออกหนังสือชี้แจงเพิ่มเติม (8)
การตอบจดหมายซักถาม (9) การประมาณราคาและจัดเตรียมเอกสารเพื่อเสนอราคา (10) การยื่น
เอกสารเสนอราคา (11) การพิจารณาคัดเลือกผูไดรับงาน (12) การประกาศผูไดรับงาน และ (13) การ
ทําสัญญาระหวางผูวาจางกับผูไดรับงาน (ดูรูปที่ 4.1) ซึ่งแตละขั้นตอนมีรายละเอียดดังจะกลาวใน
หัวขอตอไป

3. การประกาศเชิญชวนผูสนใจงาน
ประกาศเชิญชวนผูสนใจงานเปนเอกสารในลักษณะของการประชาสัมพันธขาวและขอมูลใหผู
ที่ส นใจจะเข า รว มการคัดเลื อกรับ ทราบ โดยอาจจะลงประกาศตามสื่อประชาสั มพั นธตา งๆ เช น
หนังสือพิมพ นิตยสาร เปนตน หรือสงเปนหนังสือเชิญแบบเฉพาะเจาะจงไปยังบริษัทรับเหมากอสราง
ตางๆก็ได เนื้อหาของประกาศเชิญชวนผูสนใจงานนี้ควรระบุขอมูลตางๆที่เปนประโยชนตอผูที่
ตองการเขารวมเสนอราคา อาทิเชน ชื่อผูวาจาง ชื่อวิศวกรที่ปรึกษา ชื่อ ลักษณะ และสถานที่ของ
โครงการ เอกสารที่ ผู ว า จ า งต อ งการใชใ นการพิ จ ารณาคุ ณ สมบั ติ เ บื้อ งต น และกํ า หนดการนํ า ส ง
กําหนดการพิ จารณาคัดเลื อกผู เสนอราคาเบื้องตนและกําหนดการประกาศผลการพิจารณา การ
กําหนดตัวบุคคล สถานที่ และหมายเลขโทรศัพทสําหรับการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม เปนตน

[4-1]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

การประกาศเชิญชวนผูสนใจงาน

การคัดเลือกผูสนใจงานโดยวิธีพิจารณาคุณสมบัติเบื้องตน

การเชิญผูที่ผานการคัดเลือกเขารวมเสนอราคา

การจําหนายเอกสารขอแนะนําการเสนอราคา

การเยี่ยมชมสถานที่กอสราง การออกหนังสือชี้แจงเพิ่มเติม

การประชุมกอนยื่นเสนอราคา การตอบจดหมายซักถาม

การประมาณราคาและจัดเตรียมเอกสารเพื่อเสนอราคา

การยื่นเอกสารเสนอราคา

การพิจารณาคัดเลือกผูไดรับงาน

การประกาศผูไดรับงาน

การทําสัญญาระหวางผูวาจางกับผูไดรับงาน

รูปที่ 4.1 แผนภาพแสดงขั้นตอนการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง

[4-2]
บทที่ 4 ขั้นตอนการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง.doc

4. การคัดเลือกผูสนใจงานโดยวิธีพิจารณาคุณสมบัติเบื้องตน
การคัดเลือกผูสนใจงานโดยวิธีพิจารณาคุณสมบัติเบื้องตน (Pre-qualification) เปนวิธีการใน
การคัดเลือกผูที่สนใจงานโดยพิจารณาจากคุณสมบัติในหลายๆดาน เพื่อกลั่นกรองใหเหลือแตเฉพาะ
ผูสนใจงานที่มีความพรอมและเหมาะสมกับงาน ซึ่งผูสนใจงานที่ผานการคัดเลือกในขั้นตอนนี้จะไดรับ
สิทธิ์ในการซื้อเอกสารขอแนะนําการเสนอราคาเพื่อยื่นเสนอราคาตอไป
ผูวาจางและวิศวกรที่ปรึกษาของผูวาจางมีหนาที่รวมกันจัดเตรียมรายการและเกณฑของ
คุณสมบัติของผูสนใจงานที่จะใชในการพิจารณาคัดเลือก โดยทั่วไปรายการคุณสมบัติเบื้องตนสําหรับ
การคัดเลือกผูสนใจงาน ไดแก
(ก) ขอมูลดานองคกร (Organization Related Data) เชน แผนผังโครงสรางขององคกร
ชื่อและที่อยูของผูสนใจงาน บริษัทพันธมิตร และผูรับจางชวงของผูสนใจงาน เปนตน
(ข) ขอมูลดานการเงิน (Financial Related Data) เชน มูลคาทุนจดทะเบียน รายการผล
ประกอบการ มูลคางานที่รับงานในแตละป และสถาบันการเงินที่ใหการสนับสนุน เปนตน
(ค) ขอมูลดานประสบการณ (Experience Related Data) เชน ชนิด ขนาด และความ
ซับซอนของโครงการที่เคยทํา มูลคาโครงการสูงสุดที่เคยทํา มูลคาโครงการสะสมที่ผานมา และ
สัดสวนของงานที่มีการจางชวงตอ เปนตน
(ง) ขอมูลดานผลงาน (Performance Related Data) เชน ความพึงพอใจในคุณภาพงาน
ของผูวาจางในอดีต ความลาชาของโครงการในอดีต ความขัดแยงหรือปญหาในการประสานงานใน
อดีต และประวัติการเกิดขอพิพาทกับผูวาจางและบุคคลขางเคียงสถานที่กอสราง เปนตน
(จ) ขอมูลดานการบริหาร (Management Related Data) เชน ผลงานดานการ
ประสานงานและการจัดการทั่วไป และรายชื่อบุคลากรคนสําคัญที่จะเขามารับผิดชอบโครงการ เปน
ตน
(ฉ) ขอมูลดานงานที่กําลังดําเนินการอยู (Current Work Related Data) เชน มูลคารวม
ของงานที่กําลังดําเนินการอยู สถานภาพหรือความกาวหนาของงานที่กําลังดําเนินการอยู ผลงาน
ของงานที่กําลังดําเนินการอยู และจํานวนบุคลากร อุปกรณ และเครื่องจักรที่มีและที่ถูกใชอยู เปน
ตน
(ช) ขอมูลดานอื่นๆที่เปนลักษณะเฉพาะของโครงการ (Project Specific Related Data)
เชน ขอมูลเกี่ยวกับเครื่องจักร ความชํานาญ หรือเทคนิคการกอสรางพิเศษ และความสามารถในการ
เรงงาน เปนตน
ตารางที่ 4.1 แสดงผลการรวบรวมรายการคุณสมบัติตางๆสําหรับการพิจารณาคุณสมบัติ
เบื้องตนที่อาจนํามาใชในการพิจารณา ทั้งนี้การเลือกใชรายการคุณสมบัติใดเปนสิ่งที่ฝายผูวาจางตอง
ตัดสินใจ อยางไรก็ตามตารางที่ 4.2 และ 4.3 แสดงตัวอยางรายการและเกณฑในการตรวจสอบ
คุณสมบัติเบื้องตนบางสวนของโครงการกอสรางแหงหนึ่งในประเทศไทย

[4-3]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

[4-4]
บทที่ 4 ขั้นตอนการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง.doc

ตารางที่ 4.1 ผลการรวบรวมรายการคุณสมบัตติ างๆสําหรับการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องตน [1]


No. Component Element Attribute No. Component Element Attribute
1 Business Financial Stability Credit rating, Banking arrangement, Financial Key Personnel Availability, Experience, Training program, Skill and
statement, Liability, Bonding capability and Staff expertise
References Reputation and ethics, Willingness to solve conflicts 4 Technical Construction Type of equipment, Number of equipment, Suitability
and problems, Change orders frequency, Number of Excellence Capability of equipment for this project, Construction method,
claims, Debarment from government Expertise and skill
Past Performance Actual quality achieved, Actual schedule achieved, Techniques and Type of management tools, Type of cost control and
Actual cost achieved, Number of times to achieved System reporting system, Type of scheduling system,
objective, Number of failure to completed contract Type of safety program, Type of quality program
Relationship Owner, Partner, Subcontractor, Supplier Type of control procedure, Sophistication of control
2 Company Status Type of ownership, Number of years in construction, procedure, Previous experience with these
Condition Construction licensing, Appropriateness of procedures, Effective usage for judgment
organizational structure
Experience Number of successful completed projects, Size Management Complexity of past projects, Appropriateness of
(value) of completed projects, Number of similar Capability project organizational chart, Track record of quality
projects, Types of project completed of jobs, Track record of schedule, Track record of
Capability Construction volume, Current work load, Employment cost, Ability to deal with unforeseen problems,
status / turnover, Staff availability, Number Amount of work performed with own forces, Amount
professional personnel of decision making authority
Safety Record Accident record, Safety consciousness in 5 Project Specific Project Location Local, Region, Aboard
organization Head Office Relative to project site
Location
3 Company Labor Availability, Quality / Skill, Training program, Union Geographic Weather condition, Subsurface condition, Marketing
Resources agreement Project condition, Local politics, Local labor agreement,
Location Construction method specified, Bidding procedure
Equipment Procurement characteristics (Own/Lease), Type, Project Cost, Schedule, Quality, Pollution, Traffic
Size, Condition (Age), Maintenance program, Constraints
Availability

[4-5]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ตารางที่ 4.2 ตัวอยางรายการและเกณฑในการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องตน (1)


ผลการประเมิน
ลําดับที่ รายการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องตน
ผาน ไมผาน
1 ผูยื่นขอเสนอจะตองเปนผูมีอาชีพรับจางงานที่ประกวดราคา และตองไมเปนผูถูกแจงเวียนชื่อเปนผูทิ้งงานของทางราชการและรัฐวิสาหกิจหรือ
หามติดตอหรือหามเสนอราคากับหนวยงานของผูวาจาง
2 ผูยื่นขอเสนอประกอบดวยผูรับเหมากอสราง (Contractor) และผูออกแบบ (Designer) รวมกันเขายื่นเสนอราคาในรูปแบบกิจการรวมคา
(Joint Venture) หรือกลุมบริษัท (Consortium) โดยใหรวมกันไดไมเกิน 5 ราย และตองมีผูรับเหมา 1 รายเปนผูรับเหมากอสรางหลัก (Lead
Contractor) และผูรับเหมากอสรางหลักนี้ตองแสดงความรับผิดชอบในงานนี้ไมนอยกวา 40% โดยที่ผูรวมคาหรือผูรวมเสนอราคาแตละราย
ตองมีสัดสวนความรับผิดชอบไมมากกวาสัดสวนผูรับเหมากอสรางหลัก
3 ผูรับเหมากอสรางหลัก (Lead Contractor) ตองมีทุนจดทะเบียน และ/หรือ มีทุนในสวนของเจาของ (Net Worth) ดังตอไปนี้
(1) ผูรับเหมากอสรางหลัก (Lead Contractor) ตองมีทุนจดทะเบียนที่ชําระแลวไมนอยกวา 100,000,000 บาท กอนวันประกาศประกวด
ราคาไมนอยกวา 90 วัน และมีทุนในสวนของเจาของ (Net Worth) ไมนอยกวา 300,000,000 บาท ณ สิ้นป 2540 หรือ
(2) ผูรับเหมากอสรางหลัก (Lead Contractor) ตองมีทุนในสวนของเจาของ (Net Worth) ไมนอยกวา 2,000,000,000 บาท ณ สิ้นป 2540
4 ผูรับเหมากอสราง (Contractor) จะตองมีผลงานแลวเสร็จในรอบ 5 ปที่ผานมานับจากวันประกวดราคาดังนี้
(1) ผลงานกอสรางสนามบินสัญญาเดียว มูลคาไมนอยกวา 500,000,000 บาท หรือ
(2) ผลงานการกอสรางประเภทอาคารหรืองานโยธาใหกับสวนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ รวมกันไมเกิน 4 สัญญา มีมูลคาไมนอยกวา
2,000,000,000 บาท หรือ
(3) ผลงานการกอสรางประเภทอาคารหรืองานโยธา รวมกันไมเกิน 4 สัญญา มีมูลคาไมนอยกวา 4,000,000,000 บาท สําหรับผลงานรวมคา
(Joint Venture) จะพิจารณากําหนดมูลคางานกอสรางจากหลักฐานแสดงสัดสวนการตกลงรวมคาที่ทําไวตอเจาของงาน หรือผลงานของ
กลุมบริษัท (Consortium) จะพิจารณากําหนดมูลคางานกอสรางจากหลักฐานการตกลงรวมกันทํางานที่ทําไวตอเจาของงาน
5 ผูยื่นขอเสนอตองมีหนังสือรับรองการใหสินเชื่อ ซึ่งออกโดยธนาคารในประเทศไทยที่แสดงวาธนาคารยินยอมใหสินเชื่อแกผูเสนอราคาเพื่อ
ดําเนินการโครงการนี้ ในวงเงินไมนอยกวา 1,000,000,000 บาท
… …

[4-6]
บทที่ 4 ขั้นตอนการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง.doc

ตารางที่ 4.3 ตัวอยางรายการและเกณฑในการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องตน (2)


ลําดับที่ รายละเอียด คะแนนเต็ม การพิจารณา หลักเกณฑการใหคะแนน
1 สถานะทางดานการเงิน
ก) ทุนจดทะเบียน 25 พิจารณาทุนจดทะเบียนที่ชําระแลวของกลุมผูยื่น ถามูลคาตั้งแต 100 ถึง 199 ลานบาท จะได 15 คะแนน
ขอเสนอที่แสดง ถามูลคาตั้งแต 200 ถึง 499 ลานบาท จะได 20 คะแนน
ถามูลคาตั้งแต 500 ลานบาทขึ้นไป จะได 25 คะแนน
ข) หนังสือรับรองการใหสินเชื่อจาก 25 พิจารณาจากหนังสือรับรอง ถามูลคาตั้งแต 1,000 ถึง 1,199 ลานบาท จะได 15 คะแนน
ธนาคารในประเทศไทย ถามูลคาตั้งแต 1,200 ถึง 1,499 ลานบาท จะได 20 คะแนน
ถามูลคาตั้งแต 1,500 ลานบาทขึ้นไป จะได 25 คะแนน
2 ผลงานทางดานบริหารงานกอสราง
ค) จํานวนงานกอสรางที่แลวเสร็จในรอบ พิจารณาจากจํานวนงานที่แลวเสร็จในรอบ 5 ป ประเมินผลการพิจารณาแลวใหเกรดตามลําดับความเหมาะสมดังนี้
5 ปที่ผานมา โดยกําหนดจํานวนงานไวดังนี้ ประเภทงาน A B C D E F
- ทางยกระดับ หรือทางแยกตางระดับ หรือ
- ทางยกระดับ หรือทางแยกตาง 10
สะพาน มูลคาโครงการอยางนอย 100 ลาน
ทางยกระดับ/ทางแยก ≥ 5 4 3 2 1 0
ระดับ หรือสะพาน ตางระดับ/สะพาน
บาท 5 โครงการ
- ทางหลวง / ถนน 10
- ทางหลวง / ถนน ที่มีมูลคาโครงการอยาง
ทางหลวง / ถนน ≥ 10 8 6 4 2 1/0
- งานอาคาร 10
นอย 100 ลานบาท 10 โครงการ
อาคาร/โยธา ≥ 10 8 6 4 2 1/0
- งานโยธา 10 GRADE A = 100 % D = 55 %
- งานอาคาร และ/หรือ งานโยธา ที่มีมูลคา
โครงการอยางนอย 500 ลานบาท 10 B = 85 % E = 40 %
โครงการ C = 70 % F= 0%
ง) มูลคาของโครงการกอสรางงานทางวิง่ 35 กําหนดมูลคาเทากับ 500 ลานบาท ถามูลคาตั้งแต 500 ถึง 999 ลานบาท จะได 25 คะแนน
หรือลานจอดสนามบิน ในรอบ 5 ปที่ ถามูลคาตั้งแต 1,000 ถึง 1,499 ลานบาท จะได 30 คะแนน
ผานมา ถามูลคาตั้งแต 1,500 ลานบาทขึ้นไป จะได 35 คะแนน
… … … … …

[4-7]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

การคัดเลือกผูสนใจงานโดยวิธีพิจารณาคุณสมบัติเบื้องตนนี้มีขอดีอยูหลายประการ อันไดแก
ชวยกลั่นกรองใหเหลือแตผูสนใจงานที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะรับงานไปดําเนินการ เปนวิธีการจูงใจ
ใหผูสนใจงานเขารวมเสนอราคาเฉพาะโครงการที่ตนมีความชํานาญเทานั้น ชวยปองกันปญหาที่
อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตที่มีสาเหตุมาจากความไมชํานาญงานของผูที่ไดรับงานไปทํา เปนเครื่องมือที่
ชวยใหผูวาจางมีความมั่นใจที่จะมอบงานใหแกผูที่เสนอราคาต่ําสุดเปนผูไดรับงานไปทํา เปนตน
อยางไรก็ตามการคัดเลือกผูสนใจงานโดยวิธีการนี้ก็มีขอเสียดวยเชนกัน อันไดแก เปนการตัดโอกาส
ผูสนใจเสนอราคารายที่มีคุณสมบัติไมผานเกณฑที่กําหนด วิธีการนี้อาจถูกนําไปใชเพื่อเปนกีดกัน
คูแขงในการเสนอราคาหรือเพื่อการสมยอมราคากัน เปนตน

5. การเชิญผูท ี่ผานการคัดเลือกเขารวมเสนอราคา
เมื่อฝายผูวาจางไดผลการตัดสินของการพิจารณาคัดเลือกผูสนใจงานที่ผานการพิจารณา
คุณสมบัติเบื้องตนแลว ขั้นตอนตอมาฝายผูวาจางจะประกาศผลการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องตนหรือ
ทําเปนหนังสือแจงใหผูสนใจงานรายที่ผานการพิจารณารับทราบ โดยทั่วไปเนื้อหาของประกาศหรือ
หนังสือแจงนี้มักจะระบุกําหนดการจําหนายเอกสารขอแนะนําการเสนอราคา กําหนดการประชุมกอน
ยื่นเสนอราคา กําหนดการเยี่ยมชมสถานที่กอสราง กําหนดการยื่นเอกสารเสนอราคา กําหนดการ
พิ จ ารณาและประกาศผลการเสนอราคา และบุ ค คล สถานที่ และหมายเลขโทรศัพท สํา หรับ การ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

6. การจําหนายเอกสารขอแนะนําการเสนอราคา
เอกสารขอแนะนําการเสนอราคา (Instruction to Bids) เปนเอกสารที่ระบุขอมูลตางๆที่ฝายผู
วาจางเห็นวาจําเปนและเปนประโยชนตอการประมาณราคาของโครงการเพื่อการเสนอราคา ทั้งนี้
กอนที่ จะจําหนายเอกสารข อแนะนําการเสนอราคาใหแก ผูสนใจเสนอราคาผูวาจางและวิศ วกรที่
ปรึกษาของผูวาจางควรไดตรวจทานเอกสารประกอบการเสนอราคาตางๆใหเสร็จเรียบรอยเสียกอน
โดยทั่วไปเนื้อหาในเอกสารขอแนะนําการเสนอราคานี้มักจะประกอบดวย (1) รายละเอียด
เกี่ยวกับลักษณะและขอบเขตของงาน (2) คุณสมบัติของผูมีสิทธิ์ยื่นเสนอราคา (3) รายการเอกสารที่
ผูสนใจเสนอราคาจะไดรับ (4) กําหนดยืนราคา (5) รางสัญญาและแบบหนังสือค้ําประกันตางๆ
รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดหา การริบ และการคืนหลักประกันตางๆ (6) รายละเอียดเกี่ยวกับการ
เตรียมการยื่นซองประกวดราคา เอกสารที่ตองยื่นในการประกวดราคา ตลอดจนวิธียื่นซองประกวด
ราคา (7) หลักเกณฑและสิทธิในการพิจารณาหนังสือเสนอราคา การสงวนสิทธิไมพิจารณาขอเสนอ
ทั้งหมดของผูเขาประกวดราคา และขอควรปฏิบัติภายหลังการยื่นซองประกวดราคา (8) หลักเกณฑ
การทําสัญญา (9) สิทธิและการรับผิดชดใชคาเสียหายตางๆ และ (10) ขอมูลอื่นๆที่จําเปน ทั้งนี้
ตัวอยางเนื้อหาในเอกสารขอแนะนําการเสนอราคานี้ถูกแสดงอยูในรูปที่ 4.2 และ 4.3

[4-8]
บทที่ 4 ขั้นตอนการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง.doc

“…ผูที่มิไดไปดูสถานที่ ณ วันและเวลาที่กําหนดไว “…กําหนดยืนราคาตองไมนอยกวา (120) วัน


ถือวาหมดสิทธิ์ในการเสนอราคา…” เริ่ ม ถั ด จากวั น ยื่ น ซองประกวดราคา และในระหว า ง
กําหนดยืนราคาราคาจะเปลี่ยนแปลงหรือถอนขอเสนอ
“…เอกสารประกวดราคาสําหรับโครงการนี้ รวม มิได…”
ทั้งหมด 14 เลม คือ
เลมที่ 1 ประกอบดวย “…เจ า ของงานจะคืนหลั กประกั นซองประกวด
- ประกาศประกวดราคา ราคาใหแกผูเขาประกวดราคาภายใน (15) วัน นับแต
- รายละเอียดลักษณะงานโครงการ วันที่ไดพิจารณาคัดเลือกและจัดลําดับการประเมินราคา
- ขอแนะนําในการประกวดราคา ต่ํ า สุ ด แล ว เว น แต ผู เ ข า ประกวดราคาที่ ไ ด รั บ การ
- แบบสัญญาจางรับเหมา ประเมินราคาต่ําสุด (3) ราย จะคืนใหตอเมื่อไดทํา
- เงื่อนไขทั่วไปของสัญญา สัญญากับผูชนะการประกวดราคา ซึ่งไดนําหลักประกัน
- เงื่อนไขเพิ่มเติมของสัญญา สัญญามอบใหเจาของงานเรียบรอยแลว…”
- แบบหนังสือค้ําประกันหลักประกันซอง
- แบบหนังสือค้ําประกันหลักประกันสัญญา “…ถาสงสั ยในความหมายที่แทจริงของสวนใด
- แบบหนังสือค้ําประกันหลักประกันการรับ ส ว นหนึ่ ง ที่ ร ะบุ ใ นเอกสารประกวดราคาให ผู ที่ จ ะเข า
เงินลวงหนา ประกวดราคาทําคํารองขอทราบความหมายนั้นๆจากผู
- แบบหนังสือค้ําประกันหลักประกันผลงาน วาจาง และตองใหเวลาผูวาจางที่จะตอบเปนระยะเวลา
เลมที่ 2 แบบใบเสนอราคา เพี ย งพอก อ นถึ ง กํ า หนดยื่ น ซองประกวดราคา การ
เลมที่ 3 ขอกําหนดรายละเอียดประกอบการ ตี ค วามใดๆที่ มิ ไ ด ก ระทํ า เป น ลายลั ก ษณ อั ก ษรจะไม
จัดซื้อพรอมติดตั้ง ผูกพันผูวาจาง…”
เลมที่ 4 แบบกอสรางเบื้องตน…”
“…ถ า ภ า ย ห ลั ง ก า ร ต ร ว จ ส อ บ แ บ บ รู ป
“…หลักประกันซองตองมีวงเงินไมนอยกวา (5%) (Drawings) และรายละเอี ย ดคุ ณ ลั ก ษณะเฉพาะ
ของจํานวนเงินที่เสนอไวในใบเสนอราคา โดยเปน (Specifications) แลวปรากฏวาแบบรูป (Drawings)
หลักประกันอยางใดอยางหนึ่งตอไปนี้ และรายละเอี ย ดคุ ณ ลั ก ษณะเฉพาะ (Specifications)
- เงินสด คลาดเคลื่ อ นผิ ด ไปอย า งใดอย า งหนึ่ ง ผู เ ข า ประกวด
- เช็คที่ธนาคารสั่งจายใหแกผูวาจาง ราคาตองแจงขอคลาดเคลื่อนนั้นใหเจาของงานทราบ
- หนังสือค้ําประกันของธนาคารภายในประเทศ เปนลายลักษณอักษรกอนถึงกําหนดยื่นซองประกวด
- พันธบัตรของรัฐบาลไทย ราคาเปนเวลาไมนอยกวา (3) วัน ถาละเลยไมแจงและ
- หนังสือค้ําประกันของบริษัทเงินทุนที่ไดรับ ข อ คลาดเคลื่ อ นดั ง กล า วจํ า เป น ต อ งแก ไ ขและจั ด ทํ า
อนุญาตประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชยและ เพื่อใหงานตามประกวดราคานี้แลวเสร็จสมบูรณถูกตอง
ประกอบธุรกิจค้ําประกันตามประกาศของธนาคารแหง ตามแบบรูป (Drawings) และรายละเอียดคุณลักษณะ
ประเทศไทย…” เฉพาะ (Specifications) ผู เ ข า ประกวดราคาต อ ง
รับผิดชอบ…”
“…คาใชจายในการจัดเตรียมและยื่นซองประกวด
ราคานั้นเปนภาระของผูเขาประกวดราคาทั้งสิ้น และผูวา “…ผู ว า จ า งจะรั บ ราคาของผู เ ข า ประกวดราคา
จางจะไมรับผิดชอบใดๆในคาใชจายดังกลาว ไมวาการ เพียงรายเดียว โดยจะรับราคาเพียงบางรายการ หรือ
ประกวดราคาจะกระทําไปจนสิ้นสุดหรือยกเลิกเสีย หรือ บางสวนของรายการที่ผูเขาประกวดราคารายนั้นเสนอก็
จะเปนการเลิกจางผูประกวดราคารายใดโดยดุลพินิจของ ได ทั้ ง นี้ แ ล ว แต จ ะเห็ น สมควรหรื อ ประโยชน แ ก ท าง
ผูวาจางเอง…” เจาของงาน…”

รูปที่ 4.2 ตัวอยางเนื้อหาในเอกสารขอแนะนําการเสนอราคา (1)

[4-9]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

“…ขอสงวนสิทธิ์ไมพิจารณาใหผูเขาประกวดราคา “…ผูชนะการประกวดราคาตองไปทําสัญญากับ
ที่เสนอราคาต่ําสุดเปนผูชนะการประกวดราคาเสมอไป เจาของงานภายในกําหนดเวลาที่ระบุไวในหนังสือสนอง
หากขอเสนอหรือรายละเอียดในการเสนอราคาไมตรงตาม รับราคา ระยะเวลาที่กําหนดใหไปทําสัญญาดังกลาวนั้น
เงื่อนไขและรายละเอียดในประกาศประกวดราคา…” หากเจาของงานมีความจําเปนไมอาจลงนามในสัญญา
ไดและจะตองเลื่อนกําหนดเวลาในการลงนามในสัญญา
“…ถาปรากฏวาราคาของผูเขาประกวดราคารายที่ ออกไป ผู ช นะการประกวดราคาต อ งยิ น ยอมไปทํ า
ต่ํ า สุ ด และถู ก ต อ งตามเงื่ อ นไขที่ กํ า หนดในประกาศ สัญญาตามกําหนดเวลาที่เลื่ อนออกไปนั้ น และไมถือ
ประกวดราคายังสูงกวาวงเงินที่จะจัดจางครั้งนี้ ผูวาจาง เปนขอผิดสัญญาอันจะนํามากลาวอางเพื่อเรียกรองสิทธิ
สงวนสิทธิ์ที่จะเรียกผูเสนอราคาต่ําสุดมาตอรองราคาให ใดๆ…”
ต่ําสุดเทาที่จะทําได หากผูเสนอราคารายต่ํายอมลดราคา
ลงอยูภายในวงเงินที่จะจาง ผูวาจางจะพิจารณารับราคา “…กอนหรือขณะทําสัญญา ผูชนะการประกวด
ตอไป แตถาผูเสนอราคารายต่ําสุดไมยอมลดราคาหรือลด ราคาตองนําหลักประกันสัญญาอยางใดอยางหนึ่งไปวาง
ราคาแลวยังสูงกวาวงเงินจะจางอยูอีก ผูวาจางมีสิทธิที่จะ ไวกับเจาของงาน เพื่อเปนหลักประกันการปฏิบัติตาม
จางหรือยกเลิกการจางโดยวิธีประกวดราคาครั้งนี้เสียก็ได สัญญาในวงเงินรอยละ (10) ของราคาจางเหมาทั้งสิ้นที่
ตามที่ เ ห็ น สมควร สํ า หรั บ ผู เ ข า ประกวดราคารายที่ ระบุในสัญญา…”
ขอเสนออยูในขายที่สมควรไดรับการพิจารณาขั้นสุดทาย
ผูวาจางมีสิทธิจะเจรจาตอรองหรือขอทราบรายละเอียด “…สั ญ ญาจะเริ่ ม นั บ จากวั น ที่ ผู รั บ จ า งได รั บ
เพิ่มเติมได ผูเสนอราคาตองใหความรวมมือดวยดี…” หนั ง สื อ แจ ง ให เ ริ่ ม งานจากผู ว า จ า ง และผู ว า จ า งได
กําหนดอัตราคาปรับเปนรายวันในอัตรารอยละ (0.01)
“…ผูวาจางขอสงวนสิทธิที่จะใหผูเขาประกวดราคา ของราคางาน หากผูรับจางปฏิบัติผิดสัญญา…”
รายใดที่ เ สนอราคาต่ํ า จนคาดหมายได ว า ไม อ าจ
ดํ า เนิ น การตามประกวดราคานี้ จ นแล ว เสร็ จ ตามความ “…ข อ มู ล ต า งๆที่ ผู เ สนอราคาทราบจากฝ า ยผู
ต อ งการของผู ว า จ า ง หรื อ ถ า จะรั บ ราคาเพื่ อ ให เ ข า ว า จ า งเป น เพี ย งข อ มู ล ที่ เ สนอแนะเพื่ อ ประกอบการ
ดําเนินการตอไปแลว ก็จะเปนการเสี่ยงตอความเสียหาย คํ า นวณราคา การวางแผนงาน และการเสนอราคา
ภายหลัง จัดสงหลักฐานและชี้แจงรายละเอียดการคํานวณ เทา นั้น และไม ถือ เป นการผู ก พั นผู ว า จา ง เพราะการ
ปริมาณและราคางานหรือขอเท็จจริงอันที่เกี่ยวของตอผู แสวงหาข อ เท็ จจริ ง ดั ง กล า วเป น หน า ที่โ ดยตรงของผู
วาจางเพื่อประกอบการพิจารณา หากคําชี้แจงไมเปนที่รับ เสนอราคา…”
ฟงได หรือภายหลังการตรวจสอบปรากฏขอเท็จจริงวา
ราคาที่เสนอนั้นผูเสนอราคาไดเสนอราคาผิดพลาดหรือ “…กรณี ผู ช นะการประกวดราคารายใดได ทํ า
บกพรองหรือหลงลืมไปอยางใดอยางหนึ่งแลว ผูวาจางมี สัญญารับงานกอสรางจากผูวาจางแลว ปฏิบัติงานลาชา
สิทธิไมรับราคานั้น การจัดสงหลักฐานการชี้แจง ผูเสนอ จนล ว งเลยอายุ สั ญ ญา และได ผ ลงานเป น เงิ น ไม ถึ ง
ราคาตองใหความรวมมือในทุกกรณี ถาละเลยไมใหความ (80%) ของวงเงิ น ในสั ญ ญานั้ น ๆ ผู ว า จ า งจะตั ด สิ ท ธิ์
รวมมือไมวาในกรณีใดๆ ผูวาจางมีสิทธิที่จะไมรับราคาได ไมใหเขาซื้อเอกสารประกวดราคาเพื่อรับงานกอสราง
ในทั น ที โ ดยไม จํ า เป น ต อ งดํ า เนิ น การตามที่ ก ล า ว ตอไป จนกวาผูรับจางรายนั้นๆไดปฏิบัติงานแลวไดผล
ขางตน…" งานคิดเปนเงิน (80%) ขึ้นไป…”

รูปที่ 4.3 ตัวอยางเนื้อหาในเอกสารขอแนะนําการเสนอราคา (2)

7. การเยี่ยมชมสถานที่กอสราง
การเยี่ยมชมสถานที่กอสราง (Site Visit) เปนการเปดโอกาสใหผูสนใจเขารวมเสนอราคาได
สงตัวแทนมาตรวจสอบและสํารวจรายละเอียดของสถานที่กอสรางจริง เพื่อเปนขอมูลสําหรับการ

[4-10]
บทที่ 4 ขั้นตอนการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง.doc

ประมาณระยะเวลาทํางาน ตนทุน ขอจํากัด และอุปสรรคแวดลอมตางๆ อันจะเปนประโยชนตอการ


เสนอราคา ดังนั้นผูสนใจเสนอราคาจึงควรทําการสํารวจสถานที่กอสรางอยางละเอียดถี่ถวนเพื่อเก็บ
ขอมูลตางๆที่จําเปนใหมากที่สุดเทาที่จะทําได เนื่องจากหากผูสนใจเสนอราคาละเลยการเยี่ยมชมเพื่อ
สํารวจสถานที่กอสรางหรือสํารวจไมละเอียดถี่ถวน ผลเสียจะตกอยูกับผูสนใจเสนอราคาเอง ผูสนใจ
เสนอราคาจึงควรมอบหมายหนาที่นี้ใหแกวิศวกรหรือผูปฏิบัติงานที่มีความรูและประสบการณมาก
พอสมควร
ในงานกอสรางบางโครงการผูวาจางจะนัดผูสนใจเสนอราคาทั้งหมดเขารวมเยี่ยมชมและ
สํารวจสถานที่กอสรางพรอมกัน แตในบางโครงการก็ไมมีการนัดหมายแตถือเปนหนาที่ที่ผูสนใจเสนอ
ราคาตองปฏิบัติเอง

8. การประชุมกอนยื่นเสนอราคา
การประชุมกอนยื่นเสนอราคา (Pre-bid Meeting) มักจะถูกจัดขึ้นเพื่อใหฝายผูวาจางได
อธิบายขอจํากัดและความซับซอนของโครงการ ตลอดจนตอบคําถามขอสงสัยของผูสนใจเขารวมการ
เสนอราคา เพื่อใหทุกฝายมีความเขาใจที่ตรงกัน อันจะเปนขอมูลพื้นฐานที่ตรงกันในการเสนอราคา
วิธีการนี้มักจะนํามาใชกับโครงการกอสรางขนาดปานกลางขึ้นไปเนื่องจากความซับซอนของโครงการ
มีมากขึ้น โดยอาจจะจัดการประชุมนี้ขึ้นในวันเดียวกันกับวันที่มีการนัดหมายเยี่ยมชมเพื่อสํารวจ
สถานที่กอสรางก็ได ในระหวางการประชุมนี้ผูวาจางหรือวิศวกรที่ปรึกษาของผูวาจางควรจะจัดทํา
บันทึกการประชุมและสงใหกับผูสนใจเขารวมเสนอราคาทุกรายกอนถึงกําหนดวันยื่นเสนอราคา

9. การออกหนังสือชี้แจงเพิ่มเติม
หนังสือชี้แจงเพิ่มเติม (Addenda) คือ เอกสารที่วิศวกรที่ปรึกษาจัดทําขึ้นโดยความเห็นชอบ
ของผูวาจางและสงใหแกผูสนใจเสนอราคาทุกรายเพื่อแกไขหรือเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับงานหรือ
การเสนอราคา การออกหนังสือชี้แจงเพิ่มเติมนี้เปนวิธีการที่ชวยใหฝายผูวาจางสามารถแกไขหรือ
เพิ่ มเติ ม รายละเอี ย ดเกี่ย วกับ งานหรือการเสนอราคาได เ มื่ อ ตรวจพบวามี ขอบกพร อ งในเอกสาร
ขอแนะนําการเสนอราคาหรือเมื่อตองการเปลี่ยนใจในรายละเอียดของงานบางประเด็น รูปที่ 4.3
แสดงตัวอยางหนังสือชี้แจงเพิ่มเติม
ขอความในตัวอยางหนังสือชี้แจงเพิ่มเติมในรูปที่ 4.4 เปนขอมูลใหมที่ฝายผูวาจางแจงใหผู
เสนอราคาทราบ ซึ่งผูเสนอราคาจะตองนําขอมูลใหมที่ไดรับนี้ไปใชในการพิจารณาเพื่อยื่นเสนอราคา
ตอไป จากเนื้อหาของหนังสือชี้แจงเพิ่มเติมในตัวอยางขางตนผูวาจางตองการใหผูเสนอราคานํา
ขอความในหนังสือนี้ไปใชแทนขอความในเอกสารเดิมที่ไดรับไปกอนหนานี้ ซึ่งในโครงการตัวอยาง
ขางตนนี้ขอกําหนด ขอ 5(ก) เดิม มีขอความดังตอไปนี้
“ขอ 5(ก)
การยื่นเอกสารเสนอราคาจะตองเปนการยื่นดวยตนเอง เมื่อผูเสนอราคายื่นเอกสารเสนอราคา
ภายในกําหนดเวลาแลวผูเสนอราคาจะไมมีสิทธิขอแกไขหรือขอคืนจากผูวาจางไดอีก

[4-11]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

สําหรับกรณีที่เมื่อผูเสนอราคายื่นเอกสารเสนอราคาหลังจากลวงเลยกําหนดเวลาไปแลว
เอกสารดังกลาวจะถูกสงคืนผูเสนอราคาโดยจะไมมีการเปดเอกสารแตอยางใด เอกสารเสนอราคา
ทั้งหมดจะตองถูกนําสงกอนหรือตรงตามกําหนดเวลาที่ระบุในหนังสือเชิญเขารวมเสนอราคา และผูวา
จางจะออกหนังสือรับรองการรับเอกสารเสนอราคาโดยในหนังสือดังกลาวจะระบุวันและเวลาที่ไดรับ
เอกสารเสนอราคาดังกลาวดวย”

วันที่ XX เดือน XXXXXX พ.ศ. XXXX

เรียน XXXXXX

ผูวาจางมีความประสงคเปลี่ยนแปลงขอกําหนดในเอกสาร ‘ขอแนะนําการเสนอราคา’ ขอที่ 5(ก)


ดังรายละเอียดตอไปนี้
ใหแทนที่ขอความในยอหนาแรกของขอ 5(ก) ดวยขอความใหมดังนี้
“การยื่นเอกสารเสนอราคาจะตองเปนการยื่นดวยตนเอง เมื่อผูเสนอราคายื่นเอกสารเสนอราคาภายใน
กําหนดเวลาแลวผูเสนอราคาจะไมมีสิทธิขอแกไขใดๆไดอีก แตถาหากผูเสนอราคาตองการถอนเอกสาร
เสนอราคาก็ ส ามารถทํ า ได โ ดยจะต อ งแจ ง เป น หนั ง สื อ ต อ ผู ว า จ า งอย า งน อ ยหนึ่ ง ชั่ ว โมงก อ นจะถึ ง
กําหนดเวลาเปดพิจารณาเอกสารเสนอราคา ทั้งนี้การพิจารณาอนุญาตใหผูเสนอราคาถอนเอกสารเสนอ
ราคาไดหรือไมเปนสิทธิของผูวาจางแตเพียงฝายเดียว”
จึงเรียนมาเพื่อทราบและโปรดดําเนินการ

__________________________________
(ผูวาจาง / ตัวแทนผูวาจางที่ไดรับมอบอํานาจ)

รูปที่ 4.4 ตัวอยางหนังสือชี้แจงเพิ่มเติม

ทั้งนี้เมื่อนําขอมูลใหมที่ไดรับจากผูวาจางมาปรับปรุง จะไดขอกําหนด ขอ 5(ก) ใหม ดังนี้


“ขอ 5(ก)
การยื่นเอกสารเสนอราคาจะตองเปนการยื่นดวยตนเอง เมื่อผูเสนอราคายื่นเอกสารเสนอราคา
ภายในกําหนดเวลาแลวผูเสนอราคาจะไมมีสิทธิขอแกไขใดๆไดอีก แตถาหากผูเสนอราคาตองการ
ถอนเอกสารเสนอราคาก็สามารถทําไดโดยจะตองแจงเปนหนังสือตอผูวาจางอยางนอยหนึ่งชั่วโมง
กอนจะถึงกําหนดเวลาเปดพิจารณาเอกสารเสนอราคา ทั้งนี้การพิจารณาอนุญาตใหผูเสนอราคาถอน
เอกสารเสนอราคาไดหรือไมเปนสิทธิของผูวาจางแตเพียงฝายเดียว
สําหรับกรณีที่เมื่อผูเสนอราคายื่นเอกสารเสนอราคาหลังจากลวงเลยกําหนดเวลาไปแลว
เอกสารดังกลาวจะถูกสงคืนผูเสนอราคาโดยจะไมมีการเปดเอกสารแตอยางใด เอกสารเสนอราคา
ทั้งหมดจะตองถูกนําสงกอนหรือตรงตามกําหนดเวลาที่ระบุในหนังสือเชิญเขารวมเสนอราคา และผูวา

[4-12]
บทที่ 4 ขั้นตอนการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง.doc

จางจะออกหนังสือรับรองการรับเอกสารเสนอราคาโดยในหนังสือดังกลาวจะระบุวันและเวลาที่ไดรับ
เอกสารเสนอราคาดังกลาวดวย”
อนึ่งตัวอยางเพิ่มเติมของรายการที่มีการชี้แจงเพิ่มเติมจากฝายผูวาจางสามารถดูไดจาก
ตารางที่ 4.4 และ 4.5

ตารางที่ 4.4 รายการที่มีการชี้แจงเพิ่มเติม (1)


รายการชี้แจงเพิ่มเติม โครงการ “กขค”
รายการที่ รายละเอียด
1 ในบรรทัดแรกของเอกสารชื่อ “Completion Certificate” เปลี่ยนแปลงวลี “the Work shall” เปน
“The Work and As-Built Drawings”
2 ในเอกสารชุดที่ 5 สวนที่ 5.3 (Piling) หนา 5-41 หัวขอที่ 5.3.6 (Payment) เปลี่ยนหนวยวัดของ
รายการที่ 5.3.4 (Provide and drive pilot pile, type 1 (0.60 m.)) จาก “Linear meter” เปน
“Each”
3 ในเอกสารชุดที่ 1 สวนที่ 1.2 (Offices for the Authority and the Engineer) เพิ่มขอความ
ตอไปนี้ตอทายยอหนาแรกของขอความเดิม “The lump-sum amounts are to cover the entire
period during which the offices are required. The lump-sum amounts will not be
increased if completion of the contract is delayed for any reason.”
4 ในเอกสารชุดที่ 1 สวนที่ 1.4 (Transport for the Authority and the Engineer) บรรทัดแรก ให
ลบขอความ “4 numbers of sedan cars (2 for the Authority, 2 for the Engineer)” และใช
ขอความนี้แทน “3 sedan cars (2 for the Authority, 1 for the Engineer)”
… …

ตารางที่ 4.5 รายการที่มีการชี้แจงเพิ่มเติม (2)


ADDENDUM NO. 2
THE CONSTRUCTION OF “AAA” PROJECT
VOLUME 1: INSTRUCTIONS TO TENDERERS
1. Clause 7
1.1 Paragraph 1, delete the following words “of the original and five (5) photocopies”
1.2 After the word “hereunder” add the following to Sub-clause 7.a): Submit the original and five
(5) photocopies.
1.3 After the word “hereunder” add the following to Sub-clause 7.b): Submit the original and
three (3) photocopies.
2. Clause 8
2.1 Replace the first sentence with the following:
“The Tenderer shall submit the following data with his Tender, either as part of the Package
I or Package II Documents or as the supplementary data.”

[4-13]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ตารางที่ 4.5 (ตอ)


ADDENDUM NO. 2
THE CONSTRUCTION OF “AAA” PROJECT
3. Clause 9.1
3.1 Replace the first paragraph with the following:
“All rates and prices to be quoted by the Tenderer in his Tender shall be expressed in
terms of Thai Baht.”
3.2 Paragraph 3, delete the word “must satisfy” and replace with the words “shall demonstrate
to.”
APPENDIX “C”: FORM OF TENDER SECURITY
4. Clause 2
4.1 Replace this clause with the following words:
“This Letter of Guarantee is valid from the date of Tender closure up to and including 180
days thereafter and we will not cancel our guarantee within this specified period.”
… …

10. การตอบจดหมายซักถาม
ผูสนใจเสนอราคาสามารถจัดทําจดหมายซักถามขึ้นไดและสงใหแกฝายผูวาจางเพื่อซักถาม
ขอสงสัยตางๆเกี่ยวกับงานหรือการเสนอราคางาน ซึ่งเมื่อฝายผูวาจางไดรับจดหมายซักถามแลวฝาย
ผูวาจางก็จะทําหนังสือตอบกลับเพื่อตอบขอซักถามดังกลาว โดยการตอบขอซักถามกลับนี้ฝายผู
วาจางจะจัดสงทั้งคําถามและคําตอบใหแกผูสนใจเขารวมการเสนอราคาทุกรายเพื่อใหทุกรายรับทราบ
ขอมูลอยางเดียวกัน อนึ่งในโครงการที่มีขนาดใหญมากขึ้นจํานวนของขอซักถามจะมีจํานวนมากขึ้น
ตามไปดวย ตารางที่ 4.6 และ 4.7 แสดงตัวอยางรายการคําถามคําตอบจากจดหมายซักถามของ
โครงการกอสรางบางแหง

ตารางที่ 4.6 ตัวอยางรายการคําถามคําตอบจากจดหมายซักถามของโครงการแหงหนึ่ง (1)


คําถาม-คําตอบ สําหรับกลุมผูรับเหมารายที่ 1
1 ถาม: จดหมายที่จะมีถึงผูวาจางที่เกี่ยวของกับการเสนอราคาจางนี้ ระบุถึงผูใดเปนผูรับ เชน สํานักงานโครงการ
ประธานพิจารณาการประกวดราคา ผูอํานวยการฝายพัสดุ ผูวาการ เปนตน และผูรับจะตอบหนังสือภายในกี่วัน
ตอบ: จดหมายระบุถึงประธานกรรมการจัดจางโดยวิธีพิเศษ โดยจะตอบกลับหนังสือโดยเร็ว
2 ถาม: ถาจะใชผูออกแบบชวง (Sub-Consultant) ภายใตความรับผิดชอบของผูออกแบบหลักไดหรือไม และถาให
ดําเนินการได จะพิจารณาคุณสมบัติของผูออกแบบชวงหรือไม
ตอบ: ผูออกแบบชวง (Sub-Consultant) สามารถทํางานภายใตความรับผิดชอบของผูออกแบบหลักได ตามที่ระบุไวใน
Volumn 2, General Conditions of Contract, Clause 4 และจะไมพิจารณาผลงานของผูออกแบบชวง

[4-14]
บทที่ 4 ขั้นตอนการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง.doc

ตารางที่ 4.6 (ตอ)


คําถาม-คําตอบ สําหรับกลุมผูรับเหมารายที่ 1
3 ถาม: ในเอกสาร Addendum No.3 Page 1, Clause 6.8 ที่ทางผูวาจางไดแกไขขั้นตอนจากการเปดซองราคาตอหนา
สาธารณชนเพื่อจะไดมีพยานในการเปดซองเปนการแจงผลการเปดซองราคาโดยไมมีสาธารณชนเปนตัวแทน
อาจทําใหเกิดการเปดซองพิจารณาอยางไมเปนธรรม ทางกลุมบริษัทขอเรียนใหทานชวยพิจารณาแกไขใหเกิด
ความโปรงใสตอการทํางานของผูวาจางดวย เพราะมีสาธารณชนเฝาติดตามการประมูลครั้งนี้อยูมาก
ตอบ: Addendum No.3 Page 1, Clause 6.8 มีความหมายวาจะเปดซองตอหนาสาธารณชน โดยผูวาจางจะ
กําหนดเวลาและสถานที่อีกครั้งหนึ่ง
4 ถาม: ในเอกสารขอแนะนําการเสนอราคาเลมที่ 2 (Technical Specifications) หนาที่ 1-11 หัวขอที่ 1.6.4 อยาก
สอบถามถึงจํานวนหมายเลขโทรศัพทสําหรับสํานักงานสนามของวิศวกรที่ปรึกษาวาตองการใหเปน (1) 30 เลข
หมายโทรศัพท หรือ (2) 1 เลขหมายโทรศัพท กับอีก 30 เลขหมายภายใน
ตอบ: ใหยกเลิกงานรายการนี้ออกจากการเสนอราคา
… … …

ตารางที่ 4.7 ตัวอยางรายการคําถามคําตอบจากจดหมายซักถามของโครงการแหงหนึ่ง (2)


Name of Document,
No. Clause, or Section Question Answer
(No./Reference)
… … … …
92 Tender Document Clause 42 generally specifies that work be The Tenderer should propose his
Vol.I Supplementary scheduled on Monday to Saturday from 8:00 am Construction Schedule by using
Conditions of to 5:00 pm, unless otherwise authorized by the his own assumptions but the
Contract and Engineer. While the Construction Schedule completion of the section of the
Construction included with the Tender Documents starts that works as specified in Appendix “H”
Schedule, Page 27 there are 30 working days in each month. (in Addendum No.2) has to be
to 28, Clause 42 followed.
(a) Does the Construction Schedule included No.
with the Tender Documents take
precedence over the Supplemantary
Conditions of Contract?
(b) Does the said Construction Schedule grant No.
permission by the Engineer to schedule
work outside of normal working hours?
(c) Does the said Construction Schedule No.
replace “Appendix H” of the Instruction to
Tenderers?

[4-15]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ตารางที่ 4.7 (ตอ)


Name of Document,
No. Clause, or Section Question Answer
(No./Reference)
93 Tender Documents The Specification regarding the Deep Settlement See N0. 88
Vol.II Technical Gauge System in Page 2-3 specifies that the
Specifications, Page system shall comprise of casing, rod, plastic
2-3, Clause bushing, and plate, and the instrument shall be a
2.9.3.1(a) and deep settlement plate. But the drawing Sheet
Tender Documents No.142 showing the Deep Settlement Gauge
Vol.IV Contract System comprising of Dia.76 mm. PVC pipe
Drawings, Sheet installed in a Dia125 mm. Bore hole, with
No.142, “Details of stainless steel sensing ring attached to the
Deep Settlement inside corrugated pipe at 2 m. interval.
Gauge System (a) Which Document shall govern in order for Drawings overrule specifications
the Tenderer to make their quotation in item
2.9(2) in the Bill of Quantities?
95 Construction In order to prevent problem due to insufficient of Yes.
Schedule LR2- supply sand not in time especially in rainy
TR01/1, Page 1, season and summer. Whether the owner able to
item 2, article 6 provide some area for stock sand or not.
96 Tender Document Can the topsoil or soil from excavation work be The excavated materials are not
Vol. II, Technical used for side slope protection of the recommended to be used for slope
Specifications, Page embankment? protection of the embankment.
2-23, Section 2.23.4
… … … …

11. การประมาณราคาและจัดเตรียมเอกสารเพื่อเสนอราคา และการยื่นเอกสารเสนอราคา


ขั้นตอนนี้เปนหนาที่ของผูเสนอราคา ซึ่งผูเสนอราคาสามารถเริ่มดําเนินการในสวนนี้ไดตั้งแต
หลังจากที่ไดรับเอกสารขอแนะนําการเสนอราคาแลว อยางไรก็ตามผูเสนอราคายังคงตองติดตาม
ขอมูลตางๆที่อาจมีเพิ่มเติมไดจากการเยี่ยมชมเพื่อสํารวจสถานที่กอสราง การประชุมกอนการเสนอ
ราคา หนังสือชี้แจงเพิ่มเติม และรายการตอบขอซักถาม ทั้งนี้ผูสนใจเสนอราคาจะตองยื่นเอกสาร
เสนอราคาภายในชวงเวลาที่กําหนดไวในเอกสารขอแนะนําการเสนอราคา

12. การพิจารณาคัดเลือกผูไดรับงาน การประกาศผูไดรับงาน และการทําสัญญาระหวางผู


วาจางกับผูไดรับงาน
เมื่อฝายผูวาจางไดรับขอเสนอราคาจากผูเสนอราคาแลว ผูวาจางและวิศวกรที่ปรึกษาจะ
รวมกันพิจารณาคัดเลือกผูที่เหมาะสมที่สุดใหไดรับงานไปทํา ซึ่งหากพิจารณาจากราคาเพียงอยาง
เดียวผูเสนอราคาที่เสนอราคาต่ําที่สุดมักจะไดงาน ทั้งนี้ผูวาจางและวิศวกรที่ปรึกษาอาจจะพิจารณา
และประกาศผูไดรับงานในวันที่มีการยื่นเอกสารเสนอราคาหรือในวันตอๆมาก็ได สุดแลวแตขั้นตอนที่

[4-16]
บทที่ 4 ขั้นตอนการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง.doc

ผูวาจางและวิศวกรที่ปรึกษาไดกําหนดไวในเอกสารขอแนะนําการเสนอราคา และเมื่อผูเสนอราคา
ทราบผลการคัดเลือกแลว ฝายผูวาจางจะทําการนัดหมายกับผูเสนอราคาที่ไดงานใหมาทําสัญญาจาง
กันตอไป

13. การขยายเวลาเสนอราคา
การขยายเวลาเสนอราคา (Bid Extension) หมายถึง การที่ผูวาจางตัดสินใจขยายเวลาการ
เสนอราคาใหยาวนานออกไป เนื่องจากผูวาจางเห็นวาการขยายเวลาเสนอราคาออกไปจะเกิดผลดี
มากกวา ตัวอยางเหตุการณที่อาจสงผลใหเกิดการขยายเวลาเสนอราคาไดแก มีการกีดกันผูเสนอ
ราคา มี ก ารสมยอมราคา มี ผู เ ข า ร ว มเสนอราคาน อ ยราย เอกสารประกอบการเสนอราคาต า งๆ
จําเปนตองไดรับการแกไขเปนจํานวนมาก เปนตน

14. เกณฑในการคัดเลือกผูไดรับงาน
โดยสวนใหญการคัดเลือกผูไดรับงานจะใชเกณฑดานราคาเพียงอยางเดียว อยางไรก็ตามใน
โครงการที่มีความซับซอนมากยิ่งขึ้นอาจจะแบงเกณฑการคัดเลือกออกเปน 2 ชวง ชวงแรกเปนการ
พิจารณาขอเสนอทางดานเทคนิค และชวงที่สองเปนการพิจารณาขอเสนอทางดานราคา โดยผูเสนอ
ราคารายที่ผานชวงแรกเทานั้นจะไดรับการพิจารณาในชวงที่สอง
อนึ่งยังมีเกณฑอื่นอีกมากที่ฝายผูวาจางอาจนํามาใชในการรวมพิจารณาคัดเลือกผูที่เหมาะสม
กับงาน อันไดแก (1) ราคาตอหนวยสําหรับงานที่คาดวาจะมีการเปลี่ยนแปลง (2) คาใชจายสําหรับ
การใชงานโครงการและคาซอมบํารุง (3) ความนาเชื่อถือของผูเสนอราคา (4) ขอเสนอของงาน
ออกแบบ (5) แผนงานดานความปลอดภัย (6) แผนงานสําหรับมาตรการที่เกี่ยวของกับผลกระทบตอ
สิ่งแวดลอม (7) ความนาเชื่อถือของสถาบันที่ใหความสนับสนุนดานการเงินและหลักประกันตางๆ
และ (8) ประวัติขอพิพาทของผูเสนอราคา เปนตน

15. การเสนอราคาแบบไมสมดุล
การเสนอราคาแบบไมสมดุล (Unbalancing Price Proposal) หมายถึง วิธีการเสนอราคาซึ่ง
จะทําใหผูรับเหมากอสรางไดรับเงินคาจางเร็วขึ้นแตจํานวนเงินคาจางทั้งหมดยังคงเทาเดิม เพื่อให
เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นจะขอยกตัวอยางการเสนอราคาสวนหนึ่งของงานกอสรางคลองแหงหนึ่ง สมมติ
วางานโครงการนี้ประกอบดวยงาน 3 รายการ อันไดแก (1) งานขุดดิน (2) งานขุดหิน และ (3) งานเท
คอนกรีตพื้นคลอง ซึ่งงานทั้งสามรายการนี้มีขั้นตอนในการทํางานเริ่มตนจากงานรายการที่ (1) ไป
จนถึงงานรายการที่ (3) เรียงตามลําดับ รายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณงานและราคาตอหนวยของงาน
แตละรายการแสดงอยูในตารางที่ 4.8
สมมติวาตารางที่ 4.8 แสดงการเสนอราคาของผูเสนอราคารายที่หนึ่ง ซึ่งเปนการเสนอราคา
แบบปกติ ราคาของงานแตละรายการถูกประมาณราคาจากตนทุนที่แทจริงของแตละรายการ และ
ราคารวมของงานทั้งหมดมีคาเทากับ 7,500,000 บาท

[4-17]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ตารางที่ 4.8 ตารางปริมาณงานและราคาตอหนวย: กรณีเสนอราคาแบบปกติ (สมดุล)


รายการ หนวย ปริมาณงาน ราคาตอหนวย (บาท) จํานวนเงิน (บาท)
(1) งานขุดดิน ลบ.ม. 12,000 250 3,000,000
(2) งานขุดหิน ลบ.ม. 3,000 500 1,500,000
(3) งานคอนกรีต ลบ.ม. 2,000 1,500 3,000,000
รวม 7,500,000

ในขณะเดียวกันสมมติวามีผูเสนอราคารายที่สองไดเสนอราคาตามตารางที่ 4.9 ซึ่งเปนการ


เสนอราคาแบบไมสมดุล ทั้งนี้ขอแตกตางของการเสนอราคาของผูเสนอราคารายที่สองกับผูเสนอราคา
รายที่หนึ่งมีดังนี้ ผูเสนอราคารายที่สองเสนอราคาตอหนวยของงานขุดดินเปนเงิน 300 บาทตอ
ลูกบาศกเมตร ซึ่งมากกวาราคาของผูเสนอราคารายที่หนึ่ง (250 บาทตอลูกบาศกเมตร) ผูเสนอราคา
รายที่สองเสนอราคาตอหนวยของงานขุดหินเปนเงิน 480 บาทตอลูกบาศกเมตร ซึ่งนอยกวาราคาของ
ผูเสนอราคารายที่หนึ่ง (500 บาทตอลูกบาศกเมตร) และผูเสนอราคารายที่สองเสนอราคาตอหนวย
ของงานคอนกรีตเปนเงิน 1,230 บาทตอลูกบาศกเมตร ซึ่งนอยกวาราคาของผูเสนอราคารายที่หนึ่ง
(1,500 บาทตอลูกบาศกเมตร) ทั้งนี้ราคารวมของงานทั้งหมดของผูเสนอราคารายที่สองยังคงมีคา
เทากับราคารวมของงานทั้งหมดของผูเสนอราคารายที่หนึ่ง คือ 7,500,000 บาท

ตารางที่ 4.9 ตารางปริมาณงานและราคาตอหนวย: กรณีเสนอราคาแบบไมสมดุล (1)


รายการ หนวย ปริมาณงาน ราคาตอหนวย (บาท) จํานวนเงิน (บาท)
(1) งานขุดดิน ลบ.ม. 12,000 300 3,600,000
(2) งานขุดหิน ลบ.ม. 3,000 480 1,440,000
(3) งานคอนกรีต ลบ.ม. 2,000 1,230 2,460,000
รวม 7,500,000

การเสนอราคาแบบไมสมดุลดังตัวอยางขางตนนี้ ถาหากฝายผูวาจางพิจารณาเพียงผิวเผินก็
จะไมเห็นถึงความแตกตางของการเสนอราคาของผูเสนอราคาทั้งสองราย เนื่องจากยอดรวมของราคา
ทั้งหมดมีจํานวนเทากัน แตถาหากพิจารณาในรายละเอียดมากขึ้นจะพบวาการเสนอราคาของผูเสนอ
ราคารายที่สองจะทําใหผูวาจางตองจายเงินคาจางเร็วขึ้นหรือจายมากกวามูลคาของปริมาณงานที่ทํา
เสร็จจริงในแตละชวง ดังนั้นการเสนอราคาแบบไมสมดุลจึงเปนสิ่งไมพึงประสงคของฝายผูวาจาง
ตัวอยางที่กลาวมาขางตนเปนการเสนอราคาแบบไมสมดุลโดยการปรับเฉพาะตัวเลขของ
ราคาตอหนวยเทานั้น อยางไรก็ตามการปรับตัวเลขของปริมาณงานก็สามารถทําใหเกิดการเสนอราคา
แบบไมสมดุลไดดวยเชนกัน ในกรณีที่การเสนอราคาแบบไมสมดุลเกิดจากการปรับตัวเลขของทั้ง
ราคาตอหนวยและปริมาณงาน การพิจารณาเพื่อตรวจสอบวาการเสนอราคานั้นเปนการเสนอราคา
แบบไมสมดุลหรือไมนั้นจะทําการตรวจสอบไดยากมากยิ่งขึ้น ตัวอยางการเสนอราคาแบบไมสมดุลที่
เกิดจากการปรับตัวเลขของทั้งราคาตอหนวยและปริมาณงาน ไดแก ตัวอยางในตารางที่ 4.10 ซึ่ง

[4-18]
บทที่ 4 ขั้นตอนการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง.doc

ถึงแมวาราคารวมของงานทั้งหมดยังคงมีคาเทากับ 7,500,000 บาท เหมือนเดิม แตจะสงผลใหผู


วาจางตองจายเงินคาจางเร็วยิ่งขึ้น

ตารางที่ 4.10 ตารางปริมาณงานและราคาตอหนวย: กรณีเสนอราคาแบบไมสมดุล (2)


รายการ หนวย ปริมาณงาน ราคาตอหนวย (บาท) จํานวนเงิน (บาท)
(1) งานขุดดิน ลบ.ม. 11,000 300 3,300,000
(2) งานขุดหิน ลบ.ม. 3,100 500 1,550,000
(3) งานคอนกรีต ลบ.ม. 2,000 1,325 2,650,000
รวม 7,500,000

อนึ่งการเสนอราคาแบบไมสมดุลใชวาจะมีแตเฉพาะผลดีสําหรับผูเสนอราคาเสมอไป ในบาง
กรณีการเสนอราคาแบบไมสมดุลจะสงผลเสียตอผูเสนอราคาไดเชนกัน อาทิเชน ผูเสนอราคาอาจเสีย
ความไวใจจากผูวาจางถาหากผูวาจางรูเทาทัน ผูเสนอราคาอาจประสบปญหาขาดทุนในงานรายการที่
เสนอราคาตอหนวยไวต่ํามากในตอนแรกและตอมาผูวาจางมีคําสั่งเพิ่มงานในรายการดังกลาวมากขึ้น
เปนตน

16. บทสงทาย
เนื้อหาของบทนี้ไดกลาวถึงขั้นตอนการคัดเลือกผูรับเหมากอสรางโดยสังเขป ซึ่งประกอบดวย
(1) การประกาศเชิญชวนผูสนใจงาน (2) การคัดเลือกผูสนใจงานโดยวิธีพิจารณาคุณสมบัติเบื้องตน
(3) การเชิญผูที่ผานการคัดเลือกเขารวมเสนอราคา (4) การจําหนายเอกสารขอแนะนําการเสนอราคา
(5) การเยี่ยมชมสถานที่กอสราง (6) การประชุมกอนการเสนอราคา (7) การออกหนังสือชี้แจงเพิ่มเติม
(8) การตอบจดหมายซักถาม (9) การประมาณราคาและจัดเตรียมเอกสารเพื่อเสนอราคา (10) การยื่น
เอกสารเสนอราคา (11) การพิจารณาคัดเลือกผูไดรับงาน (12) การประกาศผูไดรับงาน และ (13) การ
ทําสัญญาระหวางผูวาจางกับผูไดรับงาน นอกจากนี้ในตอนทายของบทยังไดกลาวถึงการขยายเวลา
เสนอราคา เกณฑในการคัดเลือกผูไดรับงาน และการเสนอราคาแบบไมสมดุล ซึ่งเปนประเด็นที่สําคัญ
เกี่ยวกับการคัดเลือกผูรับเหมากอสรางดวย

เอกสารอางอิง
[1] Benchakulpitak, S., “Identification of Prequalification Criteria for Electric Energy
Construction in Thailand”, Master Thesis, Construction Engineering and Management
Program, School of Civil Engineering, Asian Institute of Technology, Thailand, 1998.

บรรณานุกรม
[1] Betty, J. G., “Engineering Contracts: a practice guide”, McGraw-Hill Book Company,
London, 1993.

[4-19]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

[2] Charoenngam, C., “Lecture Notes in Project Planning and Scheduleing”, Construction
Engineering and Management Program, School of Civil Engineering, Asian Institute of
Technology, 1997.
[3] Clough, R. H. and Sears, G. A., “Construction Contracting”, 6th Edition, A Wiley-
Interscience Publication, New York, 1994.
[4] Gilbreath, R. D., “Managing Construction Contracts: operational controls for
commercial risks”, 2nd edition, A Wiley-Interscience publication, 1992.
[5] Hinze, J., “Construction Contracts”, McGraw-Hill, New York, 1993.
[6] Masterman, J. W. E., “An introduction to Building Procurement Systems”, E & FN
SPON, London, 1992.
[7] Ogunlana, S. O., “Lecture Notes in Construction Laws and Legal Issues”, Construction
Engineering and Management Program, School of Civil Engineering, Asian Institute of
Technology, 1997.

[4-20]
ภาคที่ 2
ขอกําหนดในสัญญาจางกอสราง
(Clauses in Construction Contracts)

สั ญ ญาจ า งงานก อ สร า งเป น เอกสารที่ บุ ค คลในวงการก อ สร า งมี ค วามคุ น เคยเป น อย า งดี
อยา งไรก็ ตามมีบุ ค คลจํ า นวนไมม ากนักที่ได ทําการศึ กษาสั ญ ญาจางงานกอสร างอย า งจริ งจัง จน
สามารถเขาใจเนื้อหาในสัญญาไดอยางถองแท ไมวาจะเปนฝายเจาของงานหรือฝายผูรับเหมากอสราง
ซึ่งทั้งคูไดลงนามผูกพันกันตามสัญญา หรือฝายวิศวกรที่ปรึกษาซึ่งตองทําหนาที่สวนหนึ่งในการให
คําปรึกษาทางดานกฎหมายใหแกทั้งเจาของงานและผูรับเหมากอสราง
โดยปกติสัญญาจางงานกอสรางที่ใชกับโครงการขนาดเล็กจะเปนสัญญาขนาดประมาณ 2 ถึง
5 หนา ที่มีการพิมพจําหนายโดยทั่วไป ในสวนของงานกอสรางของทางราชการจะใชแบบสัญญาจาง
แนบทายตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยพัสดุ พ.ศ. 2535 ซึ่งก็มีความยาวเพียงไมกี่หนาและ
ไดใหรายละเอียดไมมากนัก สําหรับโครงการขนาดกลางอาจใชสัญญาที่สมาคมตางๆ จัดเรียบเรียงขึ้น
จากประสบการณทํางาน อาทิเชน สัญญาเกี่ยวกับงานกอสรางที่จัดทําขึ้นโดยสมาคมสถาปนิกสยาม
ในพระบรมราชูปถัมป เปนตน ในทางตรงกันขามสําหรับโครงการกอสรางขนาดใหญที่มีผูรับเหมาเปน
บริษัทรวมทุนจากตางชาตินั้น สวนใหญมักจะใชสัญญามาตรฐานภาษาตางประเทศ อาทิเชน สัญญา
ของ FIDIC เปนตน และในกรณีที่ตองใชสัญญาภาษาไทยก็อาจจะใชสัญญาที่แปลมาจากสัญญา
ตางประเทศเหลานี้ อาทิเชน สัญญามาตราฐานงานจางเหมากอสรางที่จัดทําขึ้นโดยวิศวกรรมสถาน
แหงประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมป ซึ่งแปลมาจากสัญญา FIDIC เปนตน ซึ่งสัญญานี้มักจะมีความ
ยาวมากและกลาวถึงเงื่อนไขตางๆโดยละเอียด
จะเห็นไดวาสัญญามาตราฐานที่ผูรับเหมากอสรางขนาดเล็กโดยทั่วไปใชนั้นมีความแตกตาง
กับสัญญาภาษาตางประเทศที่ใชในโครงการขนาดใหญมาก เมื่อผูรับเหมากอสรางขนาดเล็กเริ่มขยาย
งานไปรับงานมูลคาสูงมากขึ้น และตองลงนามในสัญญาที่มีความละเอียดสูงแลว ผูรับเหมากอสราง
เหลานั้นอาจจะไมใหความสนใจกับขอความในสัญญามากนักโดยเขาใจวาเนื้อหาในสัญญาจะคลายกับ
สัญญาของงานที่เคยใชมาในอดีต โดยไมรูวาบางขอความที่ไดระบุเพิ่มขึ้นมาในสัญญานั้นอาจไม
เหมาะสมกับลักษณะของงาน หรืออาจทําใหฝายตนเองเปนฝายเสียเปรียบได การศึกษางานดาน
สัญญาและเงื่อนไขในสัญญากอสรางจึงเปนสิ่งที่บุคคลในวงการกอสรางควรใหความสําคัญมากยิ่งขึ้น
สัญญาจางงานกอสรางประกอบดวยเอกสารตางๆมากมาย อันไดแก ขอแนะนําการเสนอ
ราคา หนังสือเสนอรับงาน เงื่อนไขทั่วไปของสัญญา เงื่อนไขเฉพาะของสัญญา รายการดานเทคนิค
ประกอบแบบรูป แบบรูป ใบแสดงปริมาณงานและราคา หนังสือค้ําประกันตางๆ เปนตน เงื่อนไข
ทั่วไปของสัญญาเปนเอกสารหนึ่งที่ถือวาเปนสวนหนึ่งของสัญญาจางงานกอสราง เงื่อนไขทั่วไปของ

1
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

สัญญาเปนเครื่องมือที่คูสัญญาใชในการกําหนดหนาที่ สิทธิ แนวทางปฏิบัติ เงื่อนเวลา และภาระ


ความเสี่ยงของคูสัญญาแตละฝายในการปฏิบัติใหเปนไปตามสัญญา
เงื่อนไขทั่วไปของสัญญาประกอบดวยขอกําหนดตางๆที่คูสัญญาไดกําหนดขึ้นเพื่อใชเปน
กติกาในการปฏิบัติงานรวมกัน การทําความเขาใจเนื้อหาของขอกําหนดเหลานี้จะชวยใหผูที่เกี่ยวของ
ตระหนักถึงความรับผิดชอบของฝายตน สามารถปฏิบัติงานไดอยางเหมาะสมตามกติกาของสัญญา
และทราบถึงสิทธิของฝายตนในกรณีที่คูสัญญาอีกฝายหนึ่งไมปฏิบัติตามสัญญา และอาจกลาวไดวาผู
ที่มีความเขาใจเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาเปนอยางดียอมอยูในสถานการณที่ไดเปรียบผูที่มีความ
เขาใจนอยกวา การศึกษาทําความเขาใจเนื้อหาของขอกําหนดตางๆในสัญญาจึงเปนสิ่งที่ผูเกี่ยวของ
ในงานกอสรางควรใหความสําคัญในอันดับตนๆประการหนึ่งดวย เนื้อหาในภาคที่ 2 นี้จะกลาวถึง
ขอกําหนดที่พบในสัญญาจางงานกอสรางโดยทั่วไปเพื่อเปนความรูเบื้องตนสําหรับผูที่ตองการศึกษา
ในขั้นที่ลึกซึ้งตอไป โดยแบงการนําเสนอขอกําหนดเหลานี้เปนดานตางๆ อันไดแก ดานระยะเวลา
ทํางานกอสราง ดานคาจางงานกอสราง ดานการเปลี่ยนแปลงในงานกอสราง ดานการขยายระยะเวลา
กอสราง ดานการหยุดงานชั่วคราว ดานความชํารุดบกพรองของผลงาน ดานการจางชวง ดานเหตุ
สุดวิสัย ดานการยุติขอพิพาท และดานสิทธิเลิกสัญญา ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับขอกําหนดในแตละดาน
เหลานี้จะถูกนําเสนอในบทตางๆของภาคนี้

2
บทที่ 5
ระยะเวลาทํางานกอสราง
(Construction Period of Time)

1. บทนํา
ในการประมูลงานหรือรับทํางานกอสรางของผูรับเหมากอสรางนั้น ประเด็นแรกๆที่
ผูรับเหมากอสรางโดยสวนใหญมักจะใหความสนใจก็คือ โครงการกอสรางนั้นๆมีกําหนดวันเริ่มงาน
เมื่อไร มีระยะเวลาในการดําเนินงานนานเทาไร และมีกําหนดแลวเสร็จบริบูรณของงานเมื่อไร ซึ่งถา
หากผูรับเหมากอสรางไมสามารถทํางานใหแลวเสร็จภายในกําหนดเวลาแลวเสร็จบริบูรณของงาน
ผูรับเหมาจะถูกปรับเงินเนื่องจากการสงมอบงานลาชา
สัญญาโดยทั่วไปมีรูปแบบในการกําหนดเวลาแลวเสร็จบริบูรณของงานที่แตกตางกันไป บาง
รูปแบบก็ตรงไปตรงมาและเขาใจไดงาย ในขณะที่บางรูปแบบก็มีความซับซอนมากขึ้น ถาหากสัญญา
กําหนดเวลาแลวเสร็จบริบูรณของงานในรูปแบบของวันแหงปฏิทิน โอกาสที่ผูรับเหมากอสรางเขาใจ
วันสงมอบงานผิดจะเกิดขึ้นไดยาก แตถาหากสัญญามิไดกําหนดเวลาแลวเสร็จบริบูรณของงานใน
รู ป แบบของวั น แห ง ปฏิ ทิ น แต ไ ด กํ า หนดวั น เริ่ ม งานและระยะเวลาในการดํ า เนิ น งานให แ ทน
ผูรับเหมากอสรางจะตองคํานวณเพื่อหากําหนดเวลาแลวเสร็จบริบูรณของงานเอง ในกรณีเชนนี้
กําหนดเวลาแลวเสร็ จบริบู รณ ของงานจะถูกคํานวณจากวันเริ่ มต นของงานและระยะเวลาในการ
ดํ า เนิ น งานก อ สร า งโดยยึ ด หลั ก การคํ า นวณตามกฎหมายหรื อ สั ญ ญาแล ว แต ก รณี ทั้ ง นี้ ถ า หาก
ผูรับเหมาเขาใจวิธีนับระยะเวลาไมถูกตองก็อาจทําใหเกิดเหตุการณการสงมอบงานลวงเลยกําหนด
แลวเสร็จของงานตามสัญญาโดยไมตั้งใจ จนเปนเหตุใหถูกปรับเนื่องจากสงมอบงานลาชาก็เปนได
จากเหตุผลขางตนจะเห็นไดวาการนับระยะเวลากอสรางเพื่อคํานวณหากําหนดเวลาแลวเสร็จ
ของงานจางเปนความรูพื้นฐานที่จําเปนในการทํางานกอสราง เนื้อหาในบทนี้จะกลาวถึงหลักการนับ
ระยะเวลาทํางานกอสรางในเบื้องตนเพื่อเปนแนวทางสําหรับผูที่สนใจในการศึกษาและคนควาเพิ่มเติม
ตอไป

2. รูปแบบของขอกําหนดในสัญญาที่เกี่ยวกับกําหนดเวลาแลวเสร็จบริบูรณของงาน
กําหนดเวลาแลวเสร็จบริบูรณของงานที่ถูกกําหนดไวในเงื่อนไขสัญญากอสรางมีอยูหลาย
รูปแบบดวยกัน บางรูปแบบก็เขาใจไดงาย อาทิเชน
“…ผูรับจางตองเริ่มทํางานที่รับจางภายในวันที่ 15 เดือน กันยายน พ.ศ. 2540 และจะตอง
ทํางานใหแลวเสร็จบริบูรณภายในวันที่ 6 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2542…”

[5-1]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

“…โครงการนี้มีระยะเวลากอสราง 540 วัน … ผูรับจางสัญญาวาจะเริ่มลงมือทํางาน ณ


สถานที่ที่กําหนด ภายในวันที่ 9 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2523 และใหแลวเสร็จบริบูรณภายในวันที่ 30
เดือน มกราคม พ.ศ. 2525….”
อยางไรก็ ดีมีรูป แบบของเงื่ อนไขสัญญาแบบอื่น ๆที่ มีค วามซับ ซ อนมากขึ้ นและอาจทํา ให
ผูรับเหมาบางรายเขาใจวันเริ่มตนอายุสัญญาและกําหนดเวลาแลวเสร็จบริบูรณของงานคลาดเคลื่อน
ไปได อาทิเชน
“…ผูรับจางสัญญาวาจะทํางานจางรายนี้ใหแลวเสร็จบริบูรณภายใน 180 วัน นับถัดจากวันที่ผู
วาจางสงมอบสถานที่ที่จะทํางานจางใหแกผูรับจางเปนลายลักษณอักษร และจะเริ่มลงมือทํางานจาง
ณ สถานที่ที่กําหนดภายใน 15 วัน นับถัดจากวันที่ผูวาจางสงมอบสถานที่เปนตนไป หากผูวาจางสง
มอบสถานที่ที่จะทํางานจางใหแกผูรับจางลาชา ผูรับจางสัญญาวาจะไมเรียกรองคาเสียหายใดๆจากผู
วาจาง…”
“…ใหผูรับจางเริ่มตนทํางานกอสรางตามวันที่ระบุในหนังสือแจงเริ่มงาน ซึ่งผูวาจางจะสง
หนังสือแจงเริ่มงานดังกลาวใหแกผูรับจางภายใน 30 วัน นับแตวันที่ลงนามสัญญากัน โดยผูรับจางตก
ลงจะใชระยะเวลาทํางานจนกระทั่งงานแลวเสร็จบริบูรณเปนระยะเวลาจํานวน 360 วัน…”
“…อายุสัญญากอสรางเริ่มนับแตวันลงนามในสัญญา โดยผูรับจางสัญญาวาจะทํางานใหแลว
เสร็จบริบูรณภายในระยะเวลา 7 เดือน…”

3. วิธีการนับระยะเวลา
ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย [1] มาตรา 193/1 บัญญัติวา
“การนับระยะเวลาทั้งปวง ใหบังคับตามบทบัญญัติแหงลักษณะนี้ เวนแตจะมีกฎหมาย คําสั่ง
ศาล ระเบียบขอบังคับ หรือนิติกรรมกําหนดเปนอยางอื่น”
บทบัญญัตินี้หมายความวา (1) ในกรณีที่มีกฎหมาย คําสั่งศาล ระเบียบขอบังคับ หรือนิติ
กรรมกําหนดไว ใหนับระยะเวลาตามที่ถูกกําหนดไวตามนั้น และ (2) ในกรณีที่ไมเปนไปตามขอ (1)
ใหนับระยะเวลาตามบทบัญญัติแหงกฎหมาย ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 5 (มาตรา 193/1 ถึง 193/8)
นี้
เนื่องจากสัญญากอสรางถือวาเปนนิติกรรมอยางหนึ่งจึ งอาจกลาวโดยสรุปไดวา ถาหาก
สัญญาก อสรางใดไมมีขอกําหนดเกี่ยวกับการนับระยะเวลา การนับระยะเวลาจะตองเปนไปตาม
ขอกําหนดมาตรา 193/1 ถึง 193/8 ของประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย แตถาหากสัญญากอสราง
ใดมีขอกําหนดเกี่ยวกับการนับระยะเวลาไวโดยเฉพาะ การนับระยะเวลาจะตองเปนไปตามขอกําหนด
ของสัญญานั้นๆ

4. การนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย
ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยบัญญัติขอกําหนดเกี่ยวกับการนับระยะเวลาไวในมาตรา
193/1 ถึง 193/8 ดังรายละเอียดโดยสรุปตอไปนี้ [2][3][4][5]

[5-2]
บทที่ 5 ระยะเวลาทํางานกอสราง.doc

4.1 ความหมายของคําวา “วัน”


ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 193/4 บัญญัติวา
“ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการคาและอุตสาหกรรม วัน หมายความวา
เวลาทําการตามที่ได กําหนดขึ้นโดยกฎหมาย คําสั่งศาล หรือระเบียบขอบังคับ หรือเวลาทําการ
ตามปกติของกิจการนั้น แลวแตกรณี”
ตัวอยางของ “เวลาทําการตามปกติของกิจการนั้น” ไดแก เวลาทําการตามปกติของสวน
ราชการ คือ เวลา 08:30 น. ถึง 16:30 น. เวลาทําการของธนาคาร คือ 08:30 น. ถึง 15:30 น. เวลา
ทําการทางธุรกิจการคาก็ยอมแลวแตสถานประกอบการนั้นๆ เชน 8:00 น. ถึง 16:00 น. หรือ 9:00 น.
ถึง 17:00 น. เปนตน [2] โดยปกติงานกอสรางมีเวลาทํางานตั้งแต 8:00 น. ถึง 17:00 น. ดังนั้น
ความหมายของ “วัน” ในงานกอสรางจึงไมใชระยะเวลาตลอด 24 ชั่วโมง

4.2 การเริ่มตนและการสิ้นสุดแหงระยะเวลา
การนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยสามารถแบงออกได 5 กรณีตามชนิด
ของหนวยเวลา อันไดแก (1) หนวยเวลาที่สั้นกวาวัน (2) หนวยเวลาเปนวัน (3) หนวยเวลาเปน
สัปดาห เดือน หรือป (4) หนวยเวลาเปนเดือนและวัน หรือเปนเดือนและสวนของเดือน และ (5)
หนวยเวลาเปนสวนของป [2][5]
อนึ่งเนื่องจากการกําหนดระยะเวลาจางงานกอสรางมักจะมีหนวยของเวลาเปนวันหรือเดือน
ดังนั้นในบทความนี้จะขอกลาวถึงการนับระยะเวลาตามชนิดของหนวยเวลาที่เปนวัน หนวยเวลาทีเ่ ปน
เดือน และหนวยเวลาที่เปนเดือนและวันหรือเปนเดือนและสวนของเดือน เทานั้น

4.2.1 กรณีที่ 1 หนวยเวลาเปนวัน


สําหรับ การเริ่มตนระยะเวลา ใหนับตามมาตรา 193/3 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติวา
“ถากําหนดระยะเวลาเปนวัน สัปดาห เดือนหรือป มิใหนับวันแรกแหงระยะเวลานั้นรวมเขา
ด ว ยกั น เว น แต จ ะเริ่ ม การในวั น นั้ น เองตั้ ง แต เ วลาที่ ถื อ ได ว า เป น เวลาเริ่ ม ต น ทํ า การงานกั น ตาม
ประเพณี”
ทั้งนี้ความหมายของขอกําหนดที่ “มิใหนับวันแรกแหงระยะเวลานั้นรวมเขาดวยกัน” นี้
หมายความวา หามมิใหนับวันแรกแหงระยะเวลารวมคํานวณเขากับระยะเวลา ดังนั้นยอมจะเริ่มนับ
หนึ่งในวันรุงขึ้น (ฎีกาที่ 3083/2524 [6] )
อนึ่งในการกําหนดเวลาโดยใชคําวา “นับแต” วันนั้นวันนี้เปนตนไป ยอมหมายความวาวันนั้น
วันนี้เปน “วันเริ่มตนแหงระยะเวลา” ซึ่งการคํานวณนับระยะเวลาก็ตองถือตามมาตรา 193/3 วรรคสอง
คือมิใหนับวันแรกแหงระยะเวลานั้นรวมคํานวณเขาดวย ดังตัวอยางเชน ในวันที่ 1 มกราคม นาย ก.
ไดลงนามทําสัญญาจาง นาย ข. ใหทําการกอสรางบานซึ่งกําหนดระยะเวลากอสรางไว 120 วัน นับ

[5-3]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

แตวันลงนามในสัญญา ระยะเวลากอสรางจึงเริ่มตนนับหนึ่ง ในวันที่ 2 มกราคม ไมใชวันที่ 1 มกราคม


[2][4]
ตัวอยางของ “เวลาที่ถือไดวาเปนเวลาเริ่มตนทําการงานกันตามประเพณี” ไดแก ในวันที่ 5
กุมภาพันธ ก. จาง ข. ใหมาทํางานกอสรางเพื่อซอมแซมบานของ ก. เปนรายวัน โดยมีกําหนด 10
วัน ถา ข. เริ่มมาทํางานตั้งแตเวลา 8:00 น. ของวันที่ 5 กุมภาพันธ ก็ตองนับวันที่ 5 กุมภาพันธ นั้น
ดวย เพราะเวลา 8:00 น. เปนเวลาที่ถือไดวาเปนเวลาเริ่มตนการทํางานกันตามประเพณีของการทํา
การงานกอสราง [2]
สวน การสิ้นสุดระยะเวลา นั้น ป.พ.พ. มิไดบัญญัติไวแตอยางใด จึงตองถือตามหลักการ
คํานวณนับธรรมดา กลาวคือสิ้นสุดเมื่อครบจํานวนวัน ดังตัวอยางไดแก เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ก. จาง
ข. ใหมาทํางานกอสรางเพื่อซอมแซมบานของ ก. เปนรายวัน โดยมีกําหนด 15 วัน ถาสัญญาจาง
กอสร างไม ร ะบุว าเริ่ มนั บ เวลาการกอสรางวั นใดแลว ระยะเวลายอมเริ่ มต นนั บหนึ่งตั้ งแตวันที่ 6
มีนาคม และครบกําหนดในวันที่ 20 มีนาคม หมายความวาวันที่ 20 มีนาคม ยังอยูในอายุของสัญญา
จางกอสรางตลอดทั้งวัน ข. จะสามารถสงมอบงานให ก. ไดในตอนเย็นของวันที่ 20 มีนาคม ภายใน
เวลาการทํางานตามปกติของกิจการนั้น อนึ่งมีขอนาสังเกตวาการนับระยะเวลาจะไมพิจารณาวาวันใด
เปนวันหยุดสุดสัปดาห หรือเปนวันหยุดณขัตฤกษ โดยจะนับทุกวันเปนหนึ่งหนวยเวลาเชนเดียวกัน

4.2.2 กรณีที่ 2 หนวยเวลาเปนเดือน


สําหรับ การเริ่มตนระยะเวลา ใหนับตามมาตรา 193/3 วรรคสอง เชนเดียวกับกรณีที่หนวย
เวลาเปนวัน สวน การสิ้นสุดระยะเวลา ใหนับตามมาตรา 193/5 ซึ่งบัญญัติวา
“ถากําหนดระยะเวลาเปนสัปดาห เดือนหรือป ใหคํานวณตามปปฏิทิน
ถาระยะเวลามิไดกําหนดนับแตวันตนแหงสัปดาห วันตนแหงเดือนหรือป ระยะเวลายอม
สิ้นสุดลงในวันกอนหนาจะถึงวันแหงสัปดาห เดือนหรือปสุดทายอันเปนวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น
ถาในระยะเวลานับเปนเดือนหรือปนั้นไมมีวันตรงกันในเดือนสุดทาย ใหถือเอาวันสุดทายแหงเดือนนั้น
เปนวันสิ้นสุดระยะเวลา”
จากขอกําหนดในมาตรา 193/5 นี้ จําเปนตองเขาใจความหมายของ “ปปฏิทิน” เสียกอน ซึ่งมี
รายละเอียดดังนี้ [2]
“สัปดาห” สัปดาหหมายความถึงระยะเวลา 7 วัน วันแรกแหงสัปดาหคือวันอาทิตย วันสุดทาย
แหงสัปดาหคือวันเสาร
“เดือน” มีเดือนมกราคม ถึง เดือนธันวาคม บางเดือนมี 28 หรือ 29 หรือ 30 หรือ 31 วัน
กฎหมายใหถือวาเปนระยะเวลา 1 เดือนเหมือนกัน โดยไมคํานึงวามีกี่วัน
“ป” เริ่มตั้งแตวันที่ 1 มกราคม จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม บางปมี 365 วัน บางปมี 366 วัน
กฎหมายใหถือวาเปนระยะเวลา 1 ปเหมือนกัน โดยไมคํานึงวามีกี่วัน
ตัวอยางของการนับระยะเวลาแบบมีหนวยเปนเดือน ไดแก
ก. จาง ข. กอสรางเพื่อซอมแซมบานเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2545 มีกําหนดสงมอบงาน
ภายใน 3 เดือน เชนนี้ ระยะเวลายอมเริ่มตนนับตั้งแตวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2545 และระยะเวลา 3

[5-4]
บทที่ 5 ระยะเวลาทํางานกอสราง.doc

เดือน ยอมสิ้นสุดลงในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2545 ดังนั้น ข. ตองสงมอบงานใหแก ก. ภายในวันที่


10 เมษายน พ.ศ. 2545
ก. จาง ข. กอสรางเพื่อซอมแซมบานเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ พ.ศ. 2545 ซึ่งเปนวันสุดทาย
ของเดือน กําหนดสงมอบงานภายใน 2 เดือน เชนนี้ ระยะเวลายอมเริ่มตนนับตั้งแตวันที่ 1 มีนาคม
พ.ศ. 2545 และระยะเวลา 2 เดือน ยอมสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2545 ซึ่งเปนวันสุดทาย
ของเดือนเมษายน (มิใช 28 เมษายน พ.ศ. 2545) ดังนั้น ข. ตองสงมอบงานใหแก ก. ภายในวันที่ 30
เมษายน พ.ศ. 2545
ก. จาง ข. กอสรางเพื่อซอมแซมบานเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2545 กําหนดสงมอบงาน
ภายใน 2 เดือน เชนนี้ ระยะเวลายอมเริ่มตนนับตั้งแตวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2545 และเนื่องจาก
เดือนกุมภาพันธไมมีวันที่ 30 ระยะเวลา 2 เดือนยอมสิ้นสุดลงในวันที่ 28 กุมภาพันธ พ.ศ. 2546
ดังนั้น ข. ตองสงมอบงานใหแก ก. ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ พ.ศ. 2546
ก. จาง ข. กอสรางเพื่อซอมแซมบาน มีกําหนดเวลาสงมอบงาน 1 เดือนนับแตวันที่ 31
มกราคม 2543 จึงเริ่มนับตั้งแตวันที่ 1 กุมภาพันธ 2543 ทั้งนี้ในเดือนกุมภาพันธ ป 2543 มี 29 วัน
เมื่อไมมีวันที่ 30 และ 31 กุมภาพันธ แลว ก็ใหถือเอาวันสุดทายของเดือนกุมภาพันธเปนวันสิ้นสุด คือ
วันที่ 29 กุมภาพันธ 2543 ดังนั้น ข. ตองสงมอบงานใหแก ก. ภายในวันที่ 29 กุมภาพันธ 2543

4.2.3 กรณีที่ 3 หนวยเวลาเปนเดือนและวัน หรือเปนเดือนและสวนของเดือน


สําหรับ การเริ่มตนระยะเวลา ใหนับตามมาตรา 193/3 วรรคสอง เชนเดียวกับกรณีที่หนวย
เวลาเปนวัน สวน การสิ้นสุดระยะเวลา ใหนับตามมาตรา 193/6 วรรคแรก ซึ่งบัญญัติวา
“ถาระยะเวลากําหนดเปนเดือนและวัน หรือกําหนดเปนเดือนและสวนของเดือน ใหนับจํานวน
เดือนเต็มกอน แลวจึงนับจํานวนวันหรือสวนของเดือนเปนวัน”
จากขอกําหนดในมาตรา 193/6 วรรคแรก นี้ สามารถแบงการนับระยะเวลาออกเปนกรณียอย
ไดอีก 2 กรณีคือ (1) กําหนดระยะเวลาเปนเดือนและวัน และ (2) กําหนดระยะเวลาเปนเดือนและสวน
ของเดือน
ทั้งนี้ในกรณีของการคํานวณสวนของเดือนเปนวัน มาตรา 193/6 วรรคสาม ใหถือวาเดือน
หนึ่งมีสามสิบวัน ตามที่ไดบัญญัตวิ า
“การคํานวณสวนของเดือนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ใหถือวาเดือนหนึ่งมีสามสิบวัน”
ตัวอยางของการนับระยะเวลาแบบมีหนวยเปนเดือนและวัน หรือเปนเดือนและสวนของเดือน
ไดแก
ก. จาง ข. กอสรางเพื่อซอมแซมบานเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 มีกําหนดสงสงมอบ
งานภายใน 2 เดือน 10 วัน เชนนี้ การคํานวณระยะเวลาใหนับจํานวนเดือนเต็มกอน คือ 2 เดือน ซึ่ง
ระยะเวลายอมเริ่มตนนับตัง้ แตวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ระยะเวลา 2 เดือนจะสิ้นสุดลงในวันที่
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 หลังจากนั้นจึงนับจํานวนวัน 10 วัน ตอจากวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ดังนั้น ข. ตองสงมอบงานใหแก ก. ภายในวันที่ 20
กรกฎาคม พ.ศ. 2545

[5-5]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ก. จาง ข. กอสรางเพื่อซอมแซมบานเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 มีกําหนดสงมอบงาน


ภายใน 2 เดือนครึ่ง เชนนี้ การคํานวณระยะเวลาใหนับจํานวนเดือนเต็มกอน คือ 2 เดือน ซึ่ง
ระยะเวลายอมเริ่มตนนับตั้งแตวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ระยะเวลา 2 เดือนจะสิ้นสุดลงในวันที่ 6
กรกฎาคม พ.ศ. 2545 หลังจากนั้นจึงนับสวนของเดือนเปนวัน ครึ่งเดือนจึงเทากับ 15 วัน (1/2 x 30
วัน) ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ดังนั้น ข. ตองสงมอบงานใหแก ก. ภายในวันที่ 21
กรกฎาคม พ.ศ. 2545

4.3 กรณีวันสุดทายแหงระยะเวลาเปนวันหยุด
ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 193/8 บัญญัติวา
“ถาวันสุดทายของระยะเวลาเปนวันหยุดทําการตามประกาศเปนทางการหรือตามประเพณี
ใหนับวันที่เริ่มทําการใหมตอจากวันที่หยุดทําการนั้นเปนวันสุดทายของระยะเวลา”
ตัวอยางของกรณีที่วันสุดทายเปนวันหยุดไดแก ก. จาง ข. กอสรางเพื่อซอมแซมบานเมื่อ
วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2545 กําหนดสงมอบงานภายใน 1 เดือน ซึ่งยอมครบกําหนดสงมอบงานใน
วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2545 ซึ่งปรากฏวาเปนวันเสาร ถาวันเสารเปนวันหยุดทําการของกิจการ ก.
และ ข. ในกรณีเชนนี้ใหนับวันที่เริ่มทํางานใหมเขาดวยอีกหนึ่งวัน ดังนั้น ข. มีสิทธิ์สงมอบงานใหแก
ก. ไดภายในวันจันทรที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2545
อนึ่ง พวงผกาและประสาน [2] ไดตั้งขอสังเกตไววาในกรณีที่วันหยุดของสถานที่ทํางานไม
ตรงกัน เชน บริษัทเอกชนอาจหยุดชดเชยในวันจันทร แตสวนราชการไมหยุด ถาหากวันสุดทายของ
ระยะเวลาเปนวันอาทิตยซึ่งตองนับวันจันทรเปนวันสุดทายของระยะเวลานั้น ก็จะตองพิจารณาเปน
กรณีๆไป

4.4 การขยายระยะเวลา
ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 193/7 บัญญัติวา
“ถามีการขยายระยะเวลาออกไปโดยมิไดมีการกําหนดวันเริ่มตนแหงระยะเวลาที่ขยายออกไป
ใหนับวันที่ตอจากวันสุดทายของระยะเวลาเดิมเปนวันเริ่มตน”
ตัวอยางของการขยายระยะเวลาไดแก ก. จาง ข. กอสรางเพื่อซอมแซมบานเมื่อวันที่ 1
สิงหาคม พ.ศ. 2545 กําหนดสงมอบงานภายใน 1 เดือน ซึ่งยอมครบกําหนดสงมอบงานในวันที่ 1
กันยายน พ.ศ. 2545 ถา ก. ตกลงขยายระยะเวลาสงมอบงานให ข. อีก 1 เดือน การเริ่มตนนับ
ระยะเวลาซึ่งขยายออกไป ใหเริ่มนับตั้งแตวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2545 ซึ่งจะครบกําหนด 1 เดือนใน
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ทั้งนี้หากมีการกําหนดวันเริ่มตนแหงระยะเวลาที่ขยายออกไปอยางเฉพาะเจาะจง อาทิเชน ก.
จาง ข. กอสรางเพื่อซอมแซมบานเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2545 กําหนดสงมอบงานภายใน 1 เดือน
ซึ่งยอมครบกําหนดสงมอบงานในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2545 แตถา ก. ตกลงขยายระยะเวลาสงมอบ
งานให ข. อีก 1 เดือน โดยใหเริ่มตนนับระยะเวลาที่ขยายออกไปนี้ตั้งแตวันที่ 5 กันยายน 2545 เชนนี้

[5-6]
บทที่ 5 ระยะเวลาทํางานกอสราง.doc

ก็ตองเริ่มนับระยะเวลาในวันที่ 5 กันยายน 2545 (แทนที่จะเริ่มตนนับในวันที่ 2 กันยายน 2545 ตาม


หลักทั่วไป) ดังนั้นจะครบกําหนดการขยายเวลา 1 เดือนในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2545 [4]

5. การคํานวณนับระยะเวลากอสรางตามหลักของประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย
เนื้อหาในสวนนี้เปนการยกตัวอยางการคํานวณนับระยะเวลาทํางานกอสรางเพื่อใหเขาใจถึง
หลักการนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยยิ่งขึ้น โดยจะประกอบดวยตัวอยางของ
การนับระยะเวลาเมื่องานลาชา และการสงมอบงานกอสรางเมื่อวันสิ้นสุดสัญญาเปนวันหยุดราชการ
ตามลําดับ

5.1 การนับระยะเวลาเมื่องานลาชา
ในการจางทํางานกอสรางที่สัญญาระบุทั้งจํานวนวันทํางานและวันสิ้นสุดสัญญาแบบวันแหง
ปฏิทิน เมื่องานก อสรางลาชาเนื่องจากเหตุซึ่งมิใชความบกพรองของฝายผูรับจาง ทํ าใหการนับ
ระยะเวลาการทํางานไมสอดคลองกับวันสิ้นสุดสัญญาตามที่ถูกระบุในสัญญา เหตุการณลักษณะเชนนี้
ไดเคยมีคําวินิจฉัยของสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.68/2537 [7] ซึ่งใหคําวินิจฉัยไววา สัญญามุง
ประสงคกําหนดระยะเวลาใหงานแลวเสร็จเปนจํานวนวันมากกวากําหนดเวลาตามวันแหงปฏิทิน ดัง
ใจความของคําวินิจฉัยในสวนที่เกี่ยวของดังตอไปนี้
กรม พ. จางบริษัท ร. ใหกอสรางคลองสงน้ําดาดคอนกรีตพรอมอาคารชลประทานสถานีสูบ
น้ํา ตามสัญญาลงวันที่ 30 กันยายน 2526 รวมเปนเงินทั้งสิ้นประมาณ 4,528,000 บาท ในสัญญาขอ
1 มีขอความตอนหนึ่งระบุวา “กําหนดแลวเสร็จภายใน 360 วัน นับแตวันลงนามในสัญญา” นอกจากนี้
สัญญาขอ 5 ระบุวา “ผูรับจางสัญญาวาจะเริ่มลงมือทํางานจาง ณ สถานที่ที่กําหนดภายในวันที่ 30
เดือนกันยายน พ.ศ. 2526 และใหแลวเสร็จบริบูรณภายในวันที่ 23 เดือนกันยายน พ.ศ. 2527…”
(หมายเหตุ: 1 + 31 + 30 + 31 + 31 + 29 + 31 + 30 + 31 + 30 + 31 + 31 + 23 = 360 วัน)
ในโครงการนี้ผูรับจางไดเริ่มลงมือทํางานในวันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2526 และสงมอบ
งานงวดสุดทายในวันที่ 27 มิถุนายน 2530 ซึ่งลวงเลยกําหนดแลวเสร็จตามสัญญา (วันที่ 23 เดือน
กันยายน พ.ศ. 2527) เปนระยะเวลา 1,007 วัน (หมายเหตุ: 7 + 31 + 30 + 31 + 365 + 365 + 31 +
28 + 31 + 30 + 31 + 27 = 1007 วัน)
ข อ เท็ จ จริ ง เพิ่ ม เติ ม มี อ ยู ว า ในระหว า งการดํ า เนิ น การตามสั ญ ญาได เ กิ ด ป ญ หาอุ ป สรรค
กลาวคือราษฎรไมยอมใหผูรับจางทําการกอสรางผานที่ดินของตนและมีปญหาการแกไขแบบกอสราง
อีก 3 ครั้ง ซึ่งลวนแตเปนเหตุการณที่ผูรับจางไมตองรับผิดชอบทั้งสิ้น อันเปนผลใหผูรับจางไม
สามารถทําการกอสรางไดเปนระยะเวลารวมทั้งสิ้น 1,071 วัน
ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา ตามที่สัญญาขอ 1 ระบุวา “กําหนดแลวเสร็จ
ภายใน 360 วัน นับแตวันลงนามในสัญญา” นั้น ยอมแสดงถึงเจตนาของคูสัญญาที่ไมประสงคจะให
สัญญาครบกําหนดตามวันแหงปฏิทินคือวันที่ 23 กันยายน 2527 แตมุงประสงคกําหนดระยะเวลาให
งานแลวเสร็จสงมอบภายในกําหนด 360 วัน ดังนั้นการที่ผูรับจางทํางานงวดสุดทายแลวเสร็จและสง

[5-7]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

มอบงานใหผูวาจางตรวจรับงานครบถวนถูกตองเรียบรอยแลวในวันที่ 27 มิถุนายน 2530 จึงเปน


ระยะเวลาที่ผูรับจางทํางานแลวเสร็จลวงเลยกําหนดไปทั้งหมด 1,007 วัน (24 กันยายน 2527 ถึง 27
มิถุนายน 2530) แตเนื่องจากผูรับจางตองเสียเวลาไปเพราะเหตุที่ผูรับจางไมตองรับผิดชอบ จํานวน
1,071 วัน จึงตองนําระยะเวลาที่ผูรับจางไมตองรับผิดชอบมาหักออกจากระยะเวลาที่ผูรับจางทํางาน
แลวเสร็จลวงเลยกําหนด (1,007 – 1,071 = -64 วัน) เพื่อคํานวณนับวันปรับ ซึ่งจะเห็นไดวา
ระยะเวลาที่ผูรับจางทํางานแลวเสร็จนั้นไมเกินระยะเวลา 360 วัน ผูวาจางจึงไมอาจเรียกคาปรับ
เนื่องจากการสงมอบงานลาชาจากผูรับจางตามสัญญาได

5.2 การสงมอบงานกอสรางเมื่อวันสิ้นสุดสัญญาเปนวันหยุดราชการ
ตามที่ไดกลาวไวในหัวขอที่ 4 ของบทนี้วา หากวันสิ้นสุดของสัญญาเปนวันหยุดราชการ ให
นับวันที่เริ่มทําการใหมตอจากวันที่หยุดทําการนั้นเปนวันสุดทายของระยะเวลา ดังตัวอยางที่ปรากฏ
ในคําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.91/2537 [8] ซึ่งมีใจความสวนที่เกี่ยวของดังนี้
กรม ส. จางหางหุนสวนจํากัด ม. กอสรางอาคารเรียน กําหนดงานแลวเสร็จภายในวันที่ 25
กันยายน 2537 ในโครงการนี้ผูรับจางสงมอบงานงวดสุดทายในวันที่ 26 กันยายน 2537 แต
คณะกรรมการตรวจการจางและผูควบคุมงานไดตรวจสอบพบวางานบางสวนยังไมเรียบรอย อันไดแก
งานทาสีผนังที่ผูรับจางทําสกปรกไว งานไฟฟาที่หลอดไฟยังไมทํางานจํานวน 10 ดวง งานทําความ
สะอาดและเก็บกวาดรอบบริเวณ และอื่นๆ ซึ่งผูรับจางก็ไดทําการแกไขแลวเสร็จจนสามารถสงมอบ
งานไดแลวเสร็จบริบูรณในวันเดียวกันคือ วันที่ 26 กันยายน 2537
ผูว า จ า งได ห ารื อ สํ า นั ก งานอั ย การสู ง สุ ด ว า สั ญ ญาจ า งนี้ ไ ด ร ะบุ วั น ชํ า ระหนี้ (ในที่ นี้ ‘หนี้ ’
หมายความถึง ‘งานจางกอสราง’) ภายในวันที่ 25 กันยายน 2537 แตเนื่องจากวันดังกลาวเปนวัน
อาทิตย ซึ่งเปนวันหยุดราชการ จะถือวาวันที่ 26 กันยายน 2537 เปนวันสุดทายของระยะเวลาได
หรือไม
ตอมาสํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา สัญญาจางกําหนดใหผูรับจางสงมอบงานใหแลว
เสร็จบริบูรณภายในวันที่ 25 กันยายน 2537 และสัญญาจางดังกลาวมิไดกําหนดการนับระยะเวลาไว
เปนอยางอื่น จึงตองเปนไปตามหลักเกณฑทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา
193/1 การนับระยะเวลาในสัญญานี้จึงตองเปนไปตามมาตรา 193/8 กลาวคือ เมื่อวันสุดทายของ
ระยะเวลาเปนวันหยุดทําการตามประกาศเปนทางการหรือตามประเพณี ใหนับวันที่เริ่มทําการใหมตอ
จากวันที่หยุดทําการนั้นเปนวันสุดทายของระยะเวลา ดังนั้นจึงตองถือวา วันที่ 26 กันยายน 2537
เปนวันสุดทายของกําหนดระยะเวลาการสงมอบงานที่แลวเสร็จสมบูรณตามสัญญา
สําหรับประเด็นที่ผูรับจางยังทํางานบางสวนไมเรียบรอย ซึ่งงานดังกลาวถือเปนสาระสําคัญ
ของสัญญา แตเมื่อผูควบคุมงานตรวจพบและสั่งใหแกไข และผูรับจางก็ไดทําการแกไขแลวเสร็จจน
สามารถสงมอบงานไดแลวเสร็จบริบูรณในวันที่ 26 กันยายน 2537 จึงเปนการปฏิบัติถูกตองตาม
สัญญาตามนัยประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยทุกประการ และในสวนของการตรวจรับงานนั้น แม
จะตรวจรับในวันที่ 28 กันยายน 2537 ซึ่งเปนเวลาภายหลังการสงมอบถึง 2 วัน ก็เปนเรื่องวิธีปฏิบัติ

[5-8]
บทที่ 5 ระยะเวลาทํางานกอสราง.doc

ของหนวยราชการที่เปนผูวาจางเอง กรณีตองถือวาผูรับจางไดสงมอบงานแลวเสร็จบริบูรณภายใน
กําหนดระยะเวลาของสัญญาแลว

6. การนับระยะเวลาตามที่สัญญากําหนดไวอยางเฉพาะเจาะจง
ดังที่ไดกลาวไวในหัวขอที่ 2 วาประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 193/1 บัญญัติวา
หากสัญญากอสรางมีขอกําหนดเกี่ยวกับวิธีการนับระยะเวลาก็ใหนับระยะเวลากอสรางตามวิธีการที่
ถูกกําหนดในสัญญานั้นๆ ดังตัวอยางตอไปนี้
ตัวอยางที่หนึ่งไดแก หากในสัญญาจางกอสรางกําหนดไววามีกําหนดเวลากอสราง 360 วัน
และใหนับวันทําสัญญารวมเขากับระยะเวลากอสรางนี้ดวย การนับระยะเวลาการกอสรางก็ตองนับวัน
ทําสัญญาเปน 1 วัน ในกําหนดเวลา 360 วัน นี้ดวย จะไปเริ่มนับหนึ่งในวันถัดจากวันทําสัญญาไมได
ตัวอยางที่สองไดแก หากในสัญญากอสรางกําหนดไววามีกําหนดเวลากอสราง 15 เดือน นับ
แตวันทําสัญญา โดยตกลงกันไวดวยวา 1 เดือนใหนับ 30 วันเทากันทุกเดือน เชนนี้ระยะเวลากอสราง
จะเปน 450 วัน (15 เดือน x 30 วัน) และจะนับระยะเวลาตามหนวยเวลาเปนวัน
ตัวอยางสุดทายไดแก หากในสัญญากอสรางกําหนดไววามีกําหนดเวลากอสราง 12 เดือน
และระบุขอความในวงเล็บวา “23 สิงหาคม 2545” ถือวาเปนการกําหนดเวลาโดยนิติกรรม จึงนําวิธี
คํานวณตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 193/3 วรรคสอง และมาตรา 193/5 วรรคสอง
มาใชไมได ดังนั้นผูรับเหมาตองสงมอบงานภายในวันที่ 23 สิงหาคม 2545

7. หนังสือแจงเริ่มงาน
โดยสวนใหญสัญญากอสรางจะกําหนดวันเริ่มตนทํางานกอสรางไวในขอกําหนดของสัญญา
อาทิเชน “…ผูรับจางสัญญาวาจะเริ่มลงมือทํางาน ณ สถานที่ที่กําหนด ภายในวันที่ 9 เดือน สิงหาคม
พ.ศ. 2523…” เปนตน อยางไรก็ตามสัญญากอสรางบางแหงอาจมิไดกําหนดวันเริ่มตนทํางานกอสราง
ไวในขอกําหนดของสัญญา แตสัญญาอาจกําหนดใหผูวาจางใชหนังสือแจงเริ่มงาน (Notice to
Proceed) ในการกําหนดวันเริ่มทํางานกอสรางก็ได ตัวอยางขอกําหนดในสัญญาลักษณะนี้ ไดแก
“…ใหผูรับจางเริ่มตนทํางานกอสรางนับถัดจากวันที่ไดรับหนังสือแจงเริ่มงาน ซึ่งผูวาจางจะสง
หนังสือแจงเริ่มงานดังกลาวใหแกผูรับจางภายใน 30 วัน นับแตวันที่ลงนามสัญญากัน โดยผูรับจางตก
ลงจะใชระยะเวลาทํางานจนกระทั่งงานแลวเสร็จบริบูรณเปนระยะเวลา 8 เดือน…”
จากขอกําหนดขางตนสมมติวาผูวาจางและผูรับเหมากอสรางตกลงทําสัญญากันในวันที่ 6
มกราคม 2546 ตอมาผูวาจางไดออกหนังสือแจงเริ่มงานและผูรับเหมาไดรับหนังสือดังกลาวในวันที่
20 มกราคม 2546 โดยเนื้อหาสวนหนึ่งของหนังสือดังกลาวมีเนื้อความวาใหผูรับเหมาเริ่มทํางานอยาง
ชาภายใน 10 วันนับถัดจากวันที่ไดรับหนังสือแจงใหเริ่มงาน ในกรณีเชนนี้ถือไดวาระยะเวลาตาม
สัญญาเริ่มนับในวันที่ 21 มกราคม 2546 และกําหนดแลวเสร็จบริบูรณของงานคือวันที่ 20 กันยายน
2546
อีกตัวอยางหนึ่งไดแก

[5-9]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

“…ผูวาจางจะออกหนังสือแจงเริ่มงานใหแกผูรับจางภายในระยะเวลาอันสมควร โดยหนังสือ
แจงเริ่มงานจะกําหนดวันที่เริ่มงานซึ่งถือเปนวันเริ่มตนอายุสัญญานี้ และผูวาจางตองไมเริ่มงานใน
สวนใดๆกอนวันดังกลาวโดยเด็ดขาด ผูรับจางสัญญาวาจะเขาเตรียมความพรอมภายในพื้นที่กอสราง
ภายใน 7 วันนับถัดจากวันเริ่มงานที่กําหนดไวในหนังสือแจงเริ่มงาน และจะเริ่มลงมือทํางานกอสราง
ภายใน 7 วันหลังจากนั้น ทั้งนี้การนับระยะเวลาตามสัญญานี้ใหนับวันแรกแหงระยะเวลารวมคํานวณ
เขาดวย…”
ภายใตเงื่อนไขตามขอกําหนดนี้ สมมติวาผูวาจางไดออกหนังสือแจงเริ่มงานในวันที่ 18
กุมภาพันธ 2546 โดยหนังสือดังกลาวไดระบุวันเริ่มงานคือวันที่ 25 กุมภาพันธ 2546 นอกจากนี้ยังได
กําหนดอีกดวยวาใหผูรับเหมาเขาเตรียมความพรอมในพื้นที่กอสรางภายใน 7 วันนับถัดจากวันเริ่ม
งานดังกลาว และใหผูรับเหมาเริ่มลงมือทํางานกอสรางภายใน 7 วันหลังจากวันที่ไดเขาเตรียมความ
พรอมในพื้นที่กอสราง ในกรณีเชนนี้ถือไดวาระยะเวลาตามสัญญาเริ่มนับในวันที่ 25 กุมภาพันธ 2546

8. บทสงทาย
ระยะเวลาทํางานกอสรางเปนขอมูลสําคัญหนึ่งที่ผูรับเหมากอสรางใชในการวางแผนและ
กําหนดวิธีการทํางาน เนื่องจากขอกําหนดของสัญญาที่เกี่ยวของกับระยะเวลาทํางานกอสรางมีอยู
หลายรูปแบบดวยกันการทําความเขาใจถึงวิธีการนับระยะเวลาจากขอกําหนดของสัญญาจึงเปนสิ่ง
สําคั ญอยางยิ่ง ในการคํานวณนับ ระยะเวลาทํ างานกอสรางถาหากสัญญามิได กําหนดวิธีการนั บ
ระยะเวลาไวอ ยา งเฉพาะเจาะจง กฎหมายให นับ ระยะเวลาก อสร างตามขอ กํา หนดของประมวล
กฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 193/1 ถึง 193/8 เนื้อหาของบทนี้ไดกลาวถึงรายละเอียดของ
วิธีการนับระยะเวลาทํางานทั้งในกรณีที่สัญญากําหนดไวอยางเฉพาะเจาะจง และในกรณีที่ตองนับ
ตามขอกําหนดของประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย พรอมยกตัวอยางขอกําหนดและตัวอยางการ
คํานวณประกอบ

เอกสารอางอิง
[1] นัยนา เกิดวิชัย, “ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย”, สํานักพิมพนิตินัย, 2541
[2] พวงผกา บุญโสภาคย และ ประสาน บุญโสภาคย, “คําบรรยายกฎหมายแพงและพาณิชยวา
ดวยนิติกรรมและสัญญา”, สํานักพิมพมหาวิทยาลัยรามคําแหง, พิมพครั้งที่ 9, มีนาคม, 2543
[3] จําป โสตถิพันธุ, “นิติกรรม-สัญญา”, วิญูชน, พิมพครั้งที่ 4, กุมภาพันธ, 2542
[4] อธิราช มณีภาค, “คําอธิบายนิติกรรมและสัญญาและขอสัญญาที่ไมเปนธรรม”, สํานักพิมพนิติ
บรรณการ, มกราคม, 2543
[5] กําชัย จงจักรพันธ, “คําอธิบายประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย วาดวยระยะเวลาและอายุ
ความ”, โครงการตํ า ราและเอกสารประกอบการสอน, คณะนิ ติ ศ าสตร ,
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, พิมพครั้งที่ 4, มกราคม, 2544
[6] ฎีกาที่ 3083/2524

[5-10]
บทที่ 5 ระยะเวลาทํางานกอสราง.doc

[7] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.68/2537


[8] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.91/2537

บรรณานุกรม
[1] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “การนับระยะเวลาทํางานกอสราง”, วิศวกรรมสาร,
วิศวกรรมสถานแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่ 55, ฉบับที่ 11, พฤศจิกายน,
หนา 71-75, 2545
[2] Jervis, B. M. and Levin, P., “Construction Law: Principles and Practice”, McGraw-Hill
Publishing Company, New York, 1988.

[5-11]
 
บทที่ 6
คาจางงานกอสราง
(Construction Payment)

1. บทนํา
ขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสรางที่อาจกลาวไดวาเปนขอกําหนดที่ไดรับความสนใจมาก
ที่สุดคือ ขอกําหนดเกี่ยวกับคาจางงานกอสราง เนื่องจากธุรกิจรับเหมากอสรางเปนธุรกิจซึ่งมีลักษณะ
เฉพาะตัวที่มีความแตกตางจากธุรกิจซื้อขายและธุรกิจประเภทอื่นหลายประการ อันไดแก ระยะเวลา
ดําเนินการเพื่อใหงานตามสัญญาแลวเสร็จมักจะใชเวลาคอนขางยาวนาน มูลคาของงานตามสัญญา
โดยสวนใหญมักจะมีจํานวนคอนขางสูงและมีความแปรปรวนมาก เปนตน ดังนั้นขอกําหนดในสัญญา
ที่เกี่ยวของกับคาจางงานกอสรางจึงมิไดมีเฉพาะขอกําหนดที่ระบุจํานวนเงินคาจางเพียงอยางเดียว
หากแตยังมีขอกําหนดในประเด็นปลีกยอยอื่นๆอีกที่คูสัญญาควรใหความสนใจเชนกัน อันไดแก การ
คิดคาจางงานกอสราง การจายคาจาง เงินคาจางลวงหนา คาจางของงานสวนที่มีการเปลี่ยนแปลง
การปรับราคาคาจางตามสภาวะเศรษฐกิจ การหักคาจางเพื่อประกันผลงาน และการชะลอหรือยับยั้ง
การจายเงินคาจาง เปนตน เนื้อหาในบทนี้จะกลาวถึงขอกําหนดตางๆในสัญญาจางงานกอสรางที่
เกี่ยวของกับคาจางงานกอสรางเหลานี้
อนึ่งเนื่องจากในบางครั้งคูสัญญาอาจมีความคิดเห็นหรือตีความขอกําหนดที่เกี่ยวของกับ
คาจางงานกอสรางแตกตางกัน ซึ่งในหลายกรณีความคิดเห็นที่แตกตางกันไดกลายเปนขอโตแยง
ระหวางกันขึ้นได และถาหากขอโตแยงที่เกิดขึ้นไมสามารถยุติลงไดก็อาจสงผลใหเกิดเปนขอพิพาท
ระหวางคูสัญญาทั้งสองฝายได เนื้อหาในตอนทายของบทจะนําเสนอตัวอยางแนวทางการวินิจฉัยสวน
หนึ่งที่เกี่ยวของกับคาจางงานกอสรางที่มีประเด็นทางกฎหมายที่นาสนใจ เพื่อเปนแนวทางสําหรับผูที่
เกี่ยวของสามารถนําไปปฏิบัติในการปองกันและแกปญหาขอโตแยงที่อาจเกิดขึ้นโดยมิตองเสี่ยงตอ
การนําไปสูขอพิพาท

2. รูปแบบการคิดคาจางงานกอสราง
วิ ธี ก ารคิ ด ค า จ า งงานก อ สร า งจะมี ผ ลกระทบโดยตรงต อ ภาระความเสี่ ย งด า นต น ทุ น ของ
ผูรับเหมากอสราง ซึ่งโดยทั่วไปรูปแบบของการคิดคาจางงานกอสรางมีอยู 3 รูปแบบหลักดวยกัน อัน
ไดแก คาจางแบบราคาเหมารวม (Lump-sum payment) คาจางแบบราคาตอหนวย (Unit-price
payment) และคาจางแบบชดเชยใหตามที่ใชจายจริง (Reimbursement payment) ตามลําดับ

2.1 คาจางแบบราคาเหมารวม

[6-1]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ในสัญญาที่คิดคาจางแบบราคาเหมารวม ผูวาจางตกลงจะจายคาจางใหแกผูรับเหมากอสราง
เป น เงิ น จํ า นวนหนึ่ ง ซึ่ ง เป น จํ า นวนที่ กํ า หนดไว แ น น อนตายตั ว ขณะทํ า สั ญ ญา แต อ าจมี ก าร
เปลี่ยนแปลงไดบางในบางกรณี เชน กรณีที่มีงานเพิ่มงานลดเกิดขึ้นในระหวางการกอสราง เปนตน
ทั้งนี้จํานวนเงินที่คูสัญญาตกลงกันโดยสวนใหญจะเปนจํานวนที่รวมคาดําเนินการ กําไร และภาษีไว
แลว ตัวอยางขอกําหนดที่คูสัญญาตกลงกันคิดคาจางแบบราคาเหมารวมไดแก
“…ผูวาจางตกลงจายและผูรับจางตกลงรับเงินคาจางเปนจํานวนเงิน …… บาท (……) ซึ่งได
รวมภาษีมูลคาเพิ่มจํานวน …… บาท ตลอดจนภาษีอากรอื่นๆ และคาใชจายทั้งปวงดวยแลว โดยถือ
ราคาเหมารวมเปนเกณฑและกําหนดการจายเงินเปนงวดๆ ดังรายการตอไปนี้…”
การคิดคาจางรูปแบบนี้ชวยใหผูวาจางทราบราคาที่คอนขางแนนอนของโครงการ และเปน
รู ป แบบที่ เ หมาะกั บ โครงการที่ แ บบรู ป และรายละเอีย ดของโครงการชั ดเจนและมีโ อกาสเกิด การ
เปลี่ยนแปลงนอยครั้งในระหวางการกอสราง นอกจากนี้โดยสวนใหญแลวราคาตอหนวยในใบแจง
ปริมาณงานและราคา (BOQ) จะถูกใชเปนราคาอางอิงที่คูสัญญาทั้งสองฝายนํามาใชในการตกลงราคา
งานในกรณีที่มีงานเพิ่มงานลดดวย

2.2 คาจางแบบราคาตอหนวย
ในสัญญาที่คิดคาจางแบบราคาตอหนวย ผูวาจางตกลงจะจายคาจางใหแกผูรับเหมากอสราง
โดยคิดคาจางจากปริมาณงานที่ทําแลวเสร็จจริงคูณกับราคาตอหนวยที่คูสัญญาทั้งสองฝายตกลงกัน
ไวในใบแจงปริมาณงานและราคาขณะทําสัญญากัน ตัวอยางขอกําหนดที่คูสัญญาตกลงกันคิดคาจาง
แบบราคาตอหนวยไดแก
“…ผูวาจางตกลงจายและผูรับจางตกลงรับเงินคาจางเปนจํานวนเงิน …… บาท (……) ซึ่งได
รวมภาษีมูลคาเพิ่มจํานวน …… บาท ตลอดจนภาษีอากรอื่นๆ และคาใชจายทั้งปวงดวยแลว โดยถือ
ราคาตอหนวยเปนเกณฑตามรายการแตละประเภทดังที่ไดกําหนดไวในใบแจงปริมาณงานและราคา
… คูสัญญาทั้งสองฝายตกลงวาจํานวนปริมาณงานที่กําหนดไวในใบแจงปริมาณงานและราคานี้เปน
จํานวนโดยประมาณเทานั้น จํานวนปริมาณงานที่แทจริงอาจจะมากหรือนอยกวานี้ก็ได ซึ่งผูวาจางจะ
จายเงินคาจางใหแกผูรับจางตามราคาตอหนวยของงานแตละรายการที่ไดทําเสร็จจริง…”
การคิดคาจางรูปแบบนี้จํานวนปริมาณงานที่กําหนดไวในใบแจงปริมาณงานและราคานั้นเปน
ปริ มาณงานโดยประมาณเทา นั้ น จํา นวนปริ มาณงานที่แทจ ริงที่ใ ช นํามาคิ ดคํานวณคาจา งจะถู ก
ตรวจสอบหลังจากที่การทํางานในส วนนั้นๆแลวเสร็จซึ่งอาจจะมีปริมาณงานมากหรื อนอยกวาที่
กําหนดไวในใบแจงปริมาณงานและราคาก็ได การคิดคาจางรูปแบบนี้เหมาะกับโครงการที่ประมาณ
ปริมาณงานไดยาก เชน งานดิน งานทาง เปนตน

2.3 คาจางแบบชดเชยใหตามที่ใชจายจริง
ในสัญญาที่คิดคาจางแบบชดเชยใหตามที่ใชจายจริง ผูวาจางตกลงจะจายเงินคาจางใหแก
ผูรับเหมากอสรางตามคาใชจายที่ผูรับเหมาไดใชจายไปจริงและบวกเงินจํานวนหนึ่งเพิ่มใหอีกเพื่อเปน

[6-2]
บทที่ 6 คาจางงานกอสราง.doc

คาดําเนินการ กําไร และภาษี การคิดคาจางรูปแบบนี้ยังมีรูปแบบยอยๆอีก อันไดแก แบบตนทุนบวก


คาจางคงที่ (Cost Plus Fixed-Fee payment) แบบตนทุนบวกคาจางเปนเปอรเซ็นต (Cost Plus
Percentage-Fee payment) แบบตนทุนบวกคาจางเปนเปอรเซ็นตโดยมีราคาประกันสูงสุด (Cost
Plus Percentage-Fee payment with Guaranteed Maximum) เปนตน ตัวอยางขอกําหนดที่
คูสัญญาตกลงกันคิดคาจางแบบชดเชยใหตามที่ใชจายจริงไดแก
“…ผูวาจางตกลงจายและผูรับจางตกลงรับเงินคาจางตามจํานวนคาใชจายที่ผูรับจางไดใชจาย
ไปจริงในการดําเนินการกอสรางตามสัญญานี้ แลวบวกดวยคาโสหุยและกําไรรวมกันในอัตรารอยละ
15 ของคาใชจายจริง โดยมีจํานวนเงินคาจางทั้งหมดรวมภาษีมูลคาเพิ่ม ตลอดจนภาษีอากรอื่นๆ และ
คาใชจายทั้งปวงดวยแลว ภายในวงเงินไมเกิน 100,000 บาท…”
การคิดคาจางรูปแบบนี้เหมาะกับงานที่ผูวาจางและผูรับเหมามีความเชื่อใจกัน หรือเหมาะกับ
งานขนาดเล็กๆ อาทิเชน งานตอเติมบานพักอาศัย งานทาสีใหม ซึ่งเปนงานที่ผูวาจางสามารถ
ควบคุมและตรวจสอบคาใชจายที่ผูรับจางนํามาเบิกไดอยางไมยากนัก เปนตน

อนึ่งในงานกอสรางบางโครงการอาจจะใชวิธีคิดคาจางไดมากกวาหนึ่งรูปแบบก็ได อาทิเชน
กรณีของโครงการกอสรางทางและสะพานลอยคนเดินขาม ซึ่งคูสัญญาไดกําหนดรูปแบบของคาจางไว
สองรูปแบบ โดยในสวนของสะพานลอยคนเดินขาม ค.ส.ล. จะจายเงินคางานกอสรางเปนราคาเหมา
รวม ในขณะที่ในสวนของงานทางจะจายเงินคาจางงานกอสรางเปนราคาตอหนวยตามผลงานที่ทําได
เปนตน

3. รูปแบบการจายคาจาง
เนื่องจากคาจางงานกอสรางมักจะมีจํานวนคอนขางสูงและมีระยะเวลาทํางานกอสรางจนแลว
เสร็จคอนขางยาวนาน การจายคาจางงานกอสรางจึงมักจะแบงจายเปนงวดๆเพื่อลดภาระทางดาน
การเงิ นของผูรับเหมาก อสราง ข อกําหนดในสัญญากอสรางที่เ กี่ยวของกับการจายคาจ างจึงเปน
ขอกําหนดที่คูสัญญาควรใหความสนใจเปนพิเศษ จากการศึกษาขอกําหนดในสัญญาตางๆพบวาการ
จายคาจางมีแนวทางปฏิบัติอยู 3 แนวทางหลัก ดังรายละเอียดตอไปนี้

3.1 การกําหนดจายเงินเปนงวดตามชนิดของงานที่แลวเสร็จ
เมื่อคูสัญญาเลือกใชวิธีการจายคาจางรูปแบบนี้ ในสัญญาจะมีการระบุผลงานที่ผูรับเหมา
จะตองทําจนแลวเสร็จเปนรายผลงานและจํานวนเงินคาจางที่ผูรับเหมาจะไดรับเมื่องานที่กําหนดไว
แล ว เสร็จ การเลื อกใชการจายคาจางแนวทางนี้สัญญาควรกําหนดชนิ ดของงานใหสอดคลองกับ
ขั้นตอนการกอสรางของผูรับเหมาและความตองการใชงานของผูวาจางดวย ตัวอยางของขอกําหนดนี้
ไดแก
“…โดยถือราคาเหมารวมเปนเกณฑ และกําหนดการจายเงินแบงเปน 32 งวด ดังนี้

[6-3]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

งวดที่ 1 เปนจํานวนเงิน 18,748,600 บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการปลูกสราง


สํานักงาน ควบคุมการกอสรางถมดิน ปรับระดับบริเวณสถานที่กอสราง รื้อถอนสิ่งกีดขวาง (ถามี)
ทดสอบดิน ปกผัง กอสรางเสาเข็มขนาดเสนผาศูนยกลาง 1.00 เมตร ได 112 ตน ภายใน 120 วัน
นับแตวันที่กําหนดตามหนังสือแจงจากผูวาจางใหเริ่มปฏิบัติงาน
งวดที่ 2 เปนจํานวนเงิน 22,967,100 บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการกอสรางเสาเข็ม
ขนาดเสนผาศูนยกลาง 1.00 เมตร สวนที่เหลือ แลวเสร็จภายใน 80 วัน นับถัดจากงวดที่ 1
งวดที่ 3 เปนจํานวนเงิน 29,997,900 บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการทดสอบเสาเข็ม
ดวยวิธี SEISMIC TEST พรอมสงรายงานการทดสอบ (ยกเวนฐาน FIA) กอสรางฐานราก (ยกเวน
ฐาน FIA) หลอเสาตอมอ หลอถังเก็บน้ําคสล. หลอเสารับชั้นใตดินชั้นที่ 2 หลอคานและพื้นชั้นใตดิน
ชั้นที่ 2 หลอพื้นและผนังบอลิฟตถึงระดับพื้นชั้นใตดินชั้นที่ 2 ภายใน 65 วัน นับถัดจากงวดที่ 2
……
งวดที่ 31 เปนจํานวนเงิน 14,790,600 บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการติดตั้งครุภัณฑ
สวนที่เหลือ ติดตั้งงานระบบไฟฟา ติดตั้งเพดานภายนอก ติดตั้งงานระบบ CENTRAL PIPE LINE
ภายใน 30 วัน นับถัดจากงวดที่ 30
งวดสุดทาย เปนจํานวนเงิน 27,447,607 บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการทาสีทับหนา
แลวเสร็จ ทําการทดสอบระบบตางๆทั้งหมดจนใชการไดดี มอบเอกสารตางๆเกี่ยวกับงานระบบอื่นๆ
ที่เกี่ยวของ และไดทําการกอสรางตามรายการตางๆแลวเสร็จครบถวนถูกตองตามรูปแบบรายการและ
สัญญาทุกประการ และผู รับจ างไดปฏิบัติงานทั้งหมดใหแลวเสร็จเรียบรอยตามสัญญารวมทั้งทํา
สถานที่กอสรางใหสะอาดเรียบรอย”

3.2 การกําหนดจายเงินเปนงวดตามปริมาณงานที่ทําเสร็จโดยคิดเปนรอยละของงานทั้งหมด
เมื่ อ คู สั ญ ญาเลื อ กใช วิ ธี ก ารจ า ยค า จ า งรู ป แบบนี้ ในสั ญ ญาจะกํ า หนดปริ ม าณผลงานที่
ผูรับเหมาตองดําเนินการใหแลวเสร็จโดยเทียบเปนสัดสวนกับงานทั้งหมดและจํานวนเงินคาจางที่
ผูรับเหมาจะไดรับ ซึ่งการเลือกใชการจายคาจางแนวทางนี้ควรจะใหคําจํากัดความของรอยละของการ
แลวเสร็จของงานใหชัดเจน ตัวอยางของขอกําหนดนี้ไดแก
“…จางผลิตหรือจัดหาหมอนคอนกรีตอัดแรงพรอมเครื่องเหนี่ยวรางแบบสปริงครบชุด แบบ
แพนดรอล จํานวน 85,000 ทอน และดําเนินการเปลี่ยนหมอนคอนกรีตแทนหมอนไม ตั้งแต กม.
…… ถึง …… โดยมีการจายเงินลวงหนา 10% คิดเปนเงิน 14,739,999 บาท และเงินงวดตอๆไปจะ
จายตามความกาวหนาดังตอไปนี้
(1) เมื่อผูรับจางทํางานแลวเสร็จเรียบรอยไดผลงาน 22 % จะจายให 29,185,198 บาท
(2) เมื่อผูรับจางทํางานแลวเสร็จเรียบรอยไดผลงาน 44 % จะจายให 29,185,198 บาท
(3) เมื่อผูรับจางทํางานแลวเสร็จเรียบรอยไดผลงาน 66 % จะจายให 29,185,198 บาท
(4) เมื่อผูรับจางทํางานแลวเสร็จเรียบรอยไดผลงาน 88 % จะจายให 29,185,198 บาท
(5) เมื่อผูรับจางทํางานแลวเสร็จเรียบรอยไดผลงาน 100 % จะจายให 15,919,198 บาท …”

[6-4]
บทที่ 6 คาจางงานกอสราง.doc

3.3 การกําหนดจายเงินเปนงวดตามระยะเวลาการทํางาน
เมื่อคูสัญญาเลือกใชวิธีการจายคาจางรูปแบบนี้ เมื่อครบกําหนดงวดงานผูวาจางจะทําการ
ตรวจวัดความกาวหนาของงานและคํานวณเงินคาจางที่จะชําระใหแกผูรับเหมาจากปริมาณงานที่ผู
รับจางไดทําเสร็จภายในระยะเวลางวดงาน ซึ่งการเลือกใชการจายคาจางแนวทางนี้เปนวิธีที่ทําให
ผูรับเหมาเบิกเงินงวดไดถี่กวาแนวทางอื่น ตัวอยางของขอกําหนดนี้ไดแก
“…ผูวาจางตกลงจายราคาคาจางและผูรับจางตกลงรับคาจางเปนงวดๆ ตามความกาวหนา
ของผลงานกอสรางเปนรายเดือนๆละ 1 ครั้ง โดยผูรับจางตองยื่นเบิกคาจางกอนวันที่ 25 ของทุก
เดือน…”
การกําหนดระยะเวลาการจายเงินงวดไมควรที่จะกําหนดระยะเวลาที่สั้นหรือยาวเกินไป โดย
ควรพิจารณาจากความสามารถทางการเงินของผูวาจางและผูรับเหมา และลักษณะของงาน
นอกจากนี้ จํานวนเงิ นที่เหลื อในงวดสุดทายก็ไมควรมีจํานวนน อยจนเกิ นไปเพื่อเปนการจู งใจให
ผูรับเหมาไมทํางานลาชาเพื่อไปเรงงานอื่นที่รับมาใหมหรือไมทิ้งงานไป

3.4 ขั้นตอนในการเบิกเงินงวด
สําหรับขั้นตอนในการเบิกเงินงวดก็มีความสําคัญเชนกันเพราะเปนตัวกําหนดระยะเวลาตั้งแต
การยื่ น ขอส ง งานจนถึ ง การได รั บ เงิ น โดยทั่ ว ไปขั้ น ตอนในการเบิ ก เงิ น งวดแต ล ะครั้ ง มั ก จะ
ประกอบดวย 3 ขั้นตอนหลักกลาวคือ การยื่นหนังสือสงมอบงาน การตรวจรับงาน และการจาย
เงินงวด ซึ่งแตละขั้นตอนควรมีระยะเวลากําหนดในสัญญาเพื่อปองกันมิใหเกิดขอโตแยงขึ้นไดใน
ภายหลัง อาทิเชน มีการกําหนดใหตัวแทนผูวาจางตองตรวจรับงานที่สงมอบใหแลวเสร็จภายใน 10
วัน นับแตวันที่ผูรับเหมายื่นหนังสือขอเบิกคาจาง และผูวาจางจะชําระเงินคางวดใหแกผูรับเหมา
ภายใน 10 วัน นับจากวันที่ผูวาจางหรือตัวแทนผูวาจางทําการตรวจรับงานงวดนั้นเรียบรอยแลว และ
หากภายใน 10 วัน ผูรับเหมาไมไดรับหนังสือโตแยงจากผูวาจางหรือตัวแทนผูวาจางใหถือวาเปนการ
รับงานโดยปริยาย เปนตน

อนึ่งเพื่อใหเกิดความเขาใจในเนื้อหาเกี่ยวกับรูปแบบการจายคาจาง ผูอานสามารถศึกษา
ตัวอยางงวดงานกอสรางเพิ่มเติมไดจากภาคผนวก ก ทายหนังสือนี้

4. เงินคาจางลวงหนา
เงินคาจางลวงหนา (Advanced Payment) คือ เงินที่ผูวาจางสํารองหรือจายเงินบางสวนของ
เงินคาจางใหกับผูรับเหมากอนที่จะเริ่มทําการกอสรางเพื่อใหผูรับเหมาสามารถนําเงินจํานวนนี้ไปใช
ในการจัดหาวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ และแรงงานมาใชในการทํางานกอสราง อันจะสงผลใหผูรับเหมา
มีเงินสดหมุนเวียนเสริมสภาพคลองมากขึ้น ไมตองแบกภาระคาดอกเบี้ยมากเกินไป และอาจจะสงผล
ใหผูรับเหมาสามารถเสนอราคาประมูลงานไดต่ําลงดวย

[6-5]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

โดยทั่วไปเนื้อหาของขอกําหนดเรื่องเงินคาจางลวงหนามักจะประกอบดวย 4 สวนหลัก อัน


ไดแก (1) จํานวนเงินคาจางลวงหนา (2) หลักประกันเงินคาจางลวงหนาและการนําเงินคาจางลวงหนา
ไปใชจาย (3) การหักเงินคาจางลวงหนาคืนจากผูรับจาง และ (4) การคืนหลักประกันเงินคาจาง
ลวงหนา

4.1 จํานวนเงินคาจางลวงหนา
จํานวนเงินคาจางลวงหนามักจะเปนตัวเลขประมาณ 10 ถึง 20% ของวงเงินคาจางที่ทํา
สัญญากัน สัญญาบางแหงกําหนดใหผูรับเหมาจะตองยื่นเรื่องขอเบิกเงินลวงหนาดวยเสมอโดยมักจะ
กําหนดเวลาการยื่นเรื่องขอเบิกเงินคาจางลวงหนาไวดวย อาทิเชน ภายใน 15 วัน นับจากวันที่สัญญา
มีผลใชบังคับหรือกอนการยื่นเบิกเงินงวดแรก เปนตน มิฉะนั้นจะถือวาผูรับเหมารายนั้นไดสละสิทธิ์ที่
จะรับเงินคาจางลวงหนาดังกลาว นอกจากนี้สัญญาบางแหงอาจจะกําหนดใหการเบิกและจายเงิน
คาจางลวงหนาเปนการเบิกจายครั้งเดียวหรือเบิกจายเปนงวดๆก็ได ตัวอยางของขอกําหนดนี้ไดแก
“...ผูวาจางจะจายเงินคาจางลวงหนาเพื่อใหผูรับจางจัดซื้อวัสดุกอสรางที่จะนําไปใชในงาน
กอสรางตามสัญญานี้ เชน เหล็ก ปูนซีเมนต ทอ เสาเข็ม ฯลฯ ใหเปนคราวๆตามความเหมาะสม โดย
ผูรับจางตองแสดงรายการวัสดุที่ตองการจัดซื้อใหผูวาจางพิจารณาเห็นชอบกอน โดยผูรับจางจะขอ
เบิกจายไดครั้งละไมเกินรอยละ 7 ของคางานตามสัญญา แตทั้งนี้รวมแลวไมเกิน 3 ครั้ง และไมเกิน
รอยละ 15 ของคางานตามสัญญา...”

4.2 หลักประกันเงินคาจางลวงหนาและการนําเงินคาจางลวงหนาไปใชจาย
เพื่อใหผูวาจางมั่นใจวาเงินคาจางลวงหนาที่จายใหแกผูรับเหมาจะไมสูญหาย สัญญาจึงมักจะ
กําหนดใหผูรับเหมาตองหาหลักประกันมาค้ําประกันเงินคาจางลวงหนาที่ไดรับไป นอกจากนี้เพื่อให
ผูวาจางมั่นใจอีกวาผูรับเหมาจะนําเงินที่ไดรับไปใชเพื่อเปนคาใชจายในการปฏิบัติงานตามสัญญานี้
โดยมิ ไ ด นํ า ไปใช เ พื่ อ งานก อ สร า งโครงการอื่ น หรื อ เพื่ อ การอื่ น จึ ง มั ก จะมี ก ารระบุ ข อ ความไว ใ น
ขอกําหนดของสัญญาทํานองที่วา ผูรับเหมาจะใชเงินเพื่อเปนคาใชจายในการปฏิบัติงานตามสัญญา
เทานั้น ตัวอยางของขอกําหนดนี้ไดแก
“…ทั้งนี้ผูรับจางจะตองสงมอบหลักประกันเงินคาจางลวงหนา (เต็มตามจํานวนเงินที่เสนอขอ)
เปนพันธบัตรรัฐบาลไทยหรือหนังสือค้ําประกันของธนาคารในประเทศไทยใหแกผูวาจางกอนการรับ
ชําระเงินคาจางลวงหนา และผูรับจางสัญญาวาจะใชเงินเพื่อเปนคาใชจายในการปฏิ บัติงานตาม
สัญญานี้ เ ท านั้น และหากผูวาจา งร องขอผูรับ จางต องแสดงหลั ก ฐานการใช เ งินเพื่ อพิสูจน ว า เป น
คาใชจายในการปฏิบัติงานตามสัญญาจริงภายใน 15 วัน นับถัดจากวันไดรับแจงจากผูวาจาง และ
หากผูรับจางไมแสดงหลักฐานภายในเวลาที่กําหนด ผูวาจางอาจเรียกเงินคืนจากผูรับเหมาหรือบังคับ
แกหลักประกันการรับเงินคาจางลวงหนาไดทันที…”
จากขอกําหนดขางตนสัญญากําหนดใหผูรับเหมาตองหาหลักประกันมาค้ําประกันเงินคาจาง
ลวงหนาซึ่งตองมีมูลคาเต็มจํานวนเงินคาจางลวงหนาที่ไดรับไป และยื่นใหแกผูวาจางกอนการรับเงิน

[6-6]
บทที่ 6 คาจางงานกอสราง.doc

คาจางลวงหนา นอกจากนี้สัญญายังไดกําหนดไวอีกดวยวาถาหากผูรับเหมาใชเงินคาจางลวงหนาไป
เพื่อการอื่นที่ไมใชเพื่อการปฏิบัติงานตามสัญญา หรือถาหากผูรับเหมาไมสามารถแสดงหลักฐานการ
ใชเงินเพื่อพิสูจนวาเปนคาใชจายในการปฏิบัติงานตามสัญญาจริงภายใน 15 วัน นับถัดจากวันไดรับ
แจงจากผูวาจาง ผูวาจางมีสิทธิเรียกเงินคืนจากผูรับเหมาหรือบังคับแกหลักประกันการรับเงินคาจาง
ลวงหนาแทนได

4.3 การหักเงินคาจางลวงหนาคืนจากผูรับจาง
สําหรับการหักเงินคาจางลวงหนาคืนจากผูรับเหมากอสราง นิยมหักเงินคาจางลวงหนาคืน
จากเงินงวดงานที่ผูรับเหมายื่นเบิกโดยเริ่มหักตั้งแตเงินคางานงวดแรกเปนตนไป ซึ่งผูวาจางอาจจะ
หักเงินคาจางในแตละงวดไวจํานวนทั้งหมดจนกวาจํานวนเงินที่หักไวจะครบตามจํานวนเงินคาจาง
ลวงหนาที่ผูรับเหมาไดรับไป หรือในบางกรณีที่ผูวาจางเห็นควรอาจจะหักคาจางไวเพียงบางสวนก็ได
โดยหักเปนจํานวนรอยละของคาจางในแตละงวด (เชนรอยละ 10) ยกเวนงวดสุดทายซึ่งถายังหักคืน
ไมหมดจะหักคืนสวนที่เหลือทั้งหมดในงวดสุดทาย ตัวอยางของขอกําหนดนี้ไดแก
“…ผูวาจางจะหักเงินคาจางในแตละงวดเปนจํานวนรอยละ 10 ของคาจางในแตละงวดโดยเริ่ม
หักตั้งแตคาจางงวดแรกเปนตนไป ยกเวนงวดสุดทายซึ่งจะหักคืนสวนที่เหลือทั้งหมด…”
อยางไรก็ตามจํานวนรอยละที่หักเงินคาจางลวงหนาออกจากเงินงวดอาจจะเปนตัวเลขที่
มากกวาจํานวนรอยละของเงินคาจางลวงหนาที่ผูรับเหมาไดรับไปก็ได เชน หากผูรับเหมาไดรับเงิน
คาจางลวงหนาในอัตรารอยละ 10 ของวงเงินคาจางทั้งหมด ผูวาจางอาจจะหักเงินคาจางลวงหนาคืน
ในอัตรารอยละ 10 เทากันซึ่งจะทําใหตองหักเงินคาจางลวงหนาคืนจนกระทั่งถึงการจายเงินงวด
สุดทาย หรืออาจจะหักเงินคาจางลวงหนาคืนในอัตราที่สูงกวารอยละ 10 ก็ไดอันจะทําใหผูวาจาง
สามารถหักเงินคาจางลวงหนาคืนไดทั้งหมดกอนที่จะถึงการจายเงินงวดสุดทาย เปนตน นอกจากนี้ใน
กรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาและผูรับเหมายังคางชําระเงินคาจางลวงหนาคืน สัญญามักจะกําหนดให
ผูรับเหมาตองจายคืนเงินสวนที่เหลือใหแกผูวาจางดวย

4.4 การคืนหลักประกันเงินคาจางลวงหนา
สําหรับการคืนหลักประกันเงินคาจางลวงหนา ในกรณีที่เงินคาจางลวงหนาถูกหักคืนจนครบ
กอนการจายเงินงวดสุดทาย ผูวาจางจะคืนหลักประกันใหพรอมกับการจายเงินงวดในงวดที่เงินคาจาง
ลวงหนาถูกหักคืนจนครบ หรือในกรณีที่เงินคาจางลวงหนาถูกหักคืนจนกระทั่งถึงการจายเงินงวด
สุดทาย ผูวาจางจะคืนหลักประกันใหพรอมกับการจายเงินคางานงวดสุดทาย ตัวอยางของขอกําหนด
นี้ไดแก
“…ผูวาจางจะคืนหลักประกันเงินคาจางลวงหนาตอเมื่อจํานวนเงินที่หักไวครบจํานวนเงิน
คาจางลวงหนาที่ผูรับจางไดรับไป...”

5. คาจางของงานสวนที่มีการเปลี่ยนแปลง

[6-7]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ในงานก อ สร า งส ว นใหญ มั ก จะมี ก ารเปลี่ ย นแปลงเกิ ด ขึ้ น ในระหว า งการก อ สร า ง การ
เปลี่ยนแปลงดังกลาวบางครั้งไมสงผลกระทบใหคาจางที่คูสัญญาไดตกลงกันไวในขณะทําสัญญา
เปลี่ยนแปลงไป แตบางครั้งจะสงผลกระทบใหคาจางตองเปลี่ยนไป เมื่อใดก็ตามที่มีการเปลี่ยนแปลง
งานในบางสวนและการเปลี่ยนแปลงดังกลาวทําใหปริมาณวัสดุและ/หรือแรงงานเพิ่มขึ้นหรือลดลงจาก
ขอบเขตของงานที่ระบุไวในสัญญาอันสงผลกระทบใหคาจางสมควรเปลี่ยนไปดวย คูสัญญาจะตองตก
ลงคาจางของงานสวนที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้กันใหม สัญญากอสรางจึงมักจะมีขอกําหนดสําหรับกรณี
ในลักษณะนี้ดวย ดังตัวอยางไดแก
“...ผูวาจางมีสิทธิแกไข หรือเพิ่มเติม หรือลดงานจากแบบรูปและรายละเอียดตามสัญญาได
ทุกอยางโดยไมตองเลิกสัญญานี้ การเพิ่มเติมหรือลดงานจะตองคิดราคากันใหม และถาตองเพิ่มหรือ
ลดเงินคารับเหมากอสรางหรือขยายระยะเวลาการทํางานตอไปอีก ใหตกลงกันเปนคราวๆไป...”
ทั้ ง นี้ สั ญ ญาที่ ดี ค วรจะมี ก ารกํ า หนดกติ ก าที่ จ ะใช ใ นการคิ ด ค า จ า งของงานส ว นที่ มี ก าร
เปลี่ยนแปลงไวดวยเพื่อปองกันมิใหคูสัญญาตองเกิดการโตแยงกันในภายหลังเนื่องจากไมสามารถตก
ลงราคาคาจางของงานสวนที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้ได

5.1 กติกาสําหรับสัญญาแบบเหมารวม
สัญญาแบบเหมารวมมักจะกําหนดใหผูรับเหมาเสนอปริมาณงานในสวนที่มีการเปลี่ยนแปลง
และยึดถือราคาคาวัสดุและราคาคาแรงตอหนวยที่ผูรับเหมาไดเสนอไวในใบแจงปริมาณงานและราคา
ตอหนวยที่ยื่นไวตอนทําสัญญาเปนราคาอางอิงและใชเปนเกณฑในการคํานวณคางานของสวนที่การ
เปลี่ยนแปลง แตสําหรับงานที่ไมมีราคาปรากฏในใบแจงปริมาณงานและราคาตอหนวยที่ยื่นไวตอนทํา
สัญญา สัญญามักจะกําหนดใหคูสัญญาตกลงปริมาณงาน คาวัสดุตอหนวย และคาแรงงานตอหนวย
กันใหม โดยอาจจะกําหนดเปอรเซ็นตของคาดําเนินการ และคากําไรใหเหมือนกับคาที่กําหนดไวตอน
ทําสัญญาหรือไมก็ได ตัวอยางขอกําหนดนี้ไดแก
“…ในการเปลี่ยนแปลงแบบใดๆ ราคางานที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงใหยึดถือราคาตอหนวยที่ผู
รับจางไดเสนอไวในบัญชีแสดงปริมาณงานและราคาตอหนวยที่แนบทายสัญญาเปนเกณฑ แตหาก
เปนกรณีที่วัสดุหรืออุปกรณใดๆที่ไมไดระบุไวในสัญญา ผูวาจางและผูรับจางจะไดตกลงกันที่จะ
กําหนดอัตราหรือราคากันใหมเพื่อความเหมาะสม โดยถือราคาในตลาดขณะนั้นเปนเกณฑ...”
ในบางครั้ งข อกํ า หนดในสั ญ ญาอาจจะมี ก ารกํา หนดวงเงิน คา จา งของงานในส ว นที่มี ก าร
เปลี่ยนแปลงไวดวย อาทิเชน “…จะไมมีการเปลี่ยนแปลงราคาวัสดุและคาแรงตอหนวยตลอดโครงการ
ยกเวนในกรณีที่คางานมีการเปลี่ยนแปลงเกิน 15% ของราคางานตามสัญญา ซึ่งคูสัญญาจะไดมีการ
ตกลงกันเฉพาะในสวนที่เกิน 15% นั้น…” เปนตน นอกจากนี้ขอกําหนดในสัญญาอาจจะมีการกําหนด
อัตราคาดําเนินการและกําไรสําหรับงานเพิ่ม-ลดเปนชวงๆก็ได อาทิเชน “…ใหคิดดวยอัตราตามกรณี
ตอไปนี้ (1) กรณีงานเพิ่มลด ไมเกิน 15% คาดําเนินการไมคิด และกําไรคิดรอยละ 2.6 (2) กรณีงาน
เพิ่มลด เกิน 15% คิดคาดําเนินการรอยละ 11.0 เฉพาะสวนที่เกิน 15% และกําไรคิดรอยละ 2.6 ของ

[6-8]
บทที่ 6 คาจางงานกอสราง.doc

งานเพิ่มลดทั้งหมด และ (3) กรณีงานที่ไมมีในเอกสารเสนอราคาหรืองานใหม คิดคาดําเนินการรอย


ละ 8.5 และกําไรคิดรอยละ 6.5 ของงานเพิ่มลด…” เปนตน

5.2 กติกาสําหรับสัญญาแบบราคาตอหนวย
สัญญาแบบราคาตอหนวยโดยทั่วไปมักจะกําหนดกติกาการคิดคาจางของงานสวนที่มีการ
เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่แบงเปนกรณีตางๆตามปริมาณงานที่ทําเสร็จจริง โดยในบางกรณีจะคงราคา
ตอหนวยของงานไวตามเดิม ในขณะที่บางกรณีจะเปลี่ยนแปลงราคาตอหนวยของงานตามแตคูสัญญา
จะตกลงกัน ตัวอยางขอกําหนดนี้ไดแก
“…คูสัญญาตกลงกันที่จะเปลี่ยนแปลงราคาตอหนวยของงานตามกรณีดังตอไปนี้
(1) ถาปริมาณงานที่ทําเสร็จจริงมีคาตั้งแตรอยละ 75 ถึง 125 ของปริมาณงานที่กําหนด
ไวในสัญญาหรือใบแจงปริมาณงานและราคา ใหคงราคาตอหนวยไวตามเดิม
(2) ถาปริมาณงานที่ทําเสร็จจริงมีคาต่ํากวารอยละ 75 ของปริมาณงานที่กําหนดไวใน
สัญญาหรือใบแจงปริมาณงานและราคา ผูวาจางจะจายใหตามราคาตอหนวยในสัญญาและจะจายเพิ่ม
ชดเชยเปนคา overhead และ mobilization สําหรับงานรายการนั้นในอัตรารอยละ 17 ของผลตาง
ระหวางปริมาณงานทั้งหมดของงานรายการนั้นตามสัญญาโดยประมาณกับปริมาณงานที่ทําเสร็จจริง
คูณดวยราคาตอหนวยตามสัญญา
(3) ถาปริมาณงานที่ทําเสร็จจริงมีคาเกินกวารอยละ 125 แตไมเกินรอยละ 150 ของ
ปริมาณงานที่กําหนดไวในสัญญาหรือใบแจงปริมาณงานและราคา คางานในสวนที่เกินนี้ผูวาจางจะ
จายใหในอัตรารอยละ 90 ของราคาตอหนวยตามสัญญา
(4) ถาปริมาณงานที่ทําเสร็จจริงมีคาเกินกวารอยละ 150 ของปริมาณงานที่กําหนดไวใน
สัญญาหรือใบแจงปริมาณงานและราคา คางานในสวนที่เกินนี้ผูวาจางจะจายใหในอัตรารอยละ 83
ของราคาตอหนวยตามสัญญา…”
เปนที่นาสังเกตวาการคิดราคางานในสวนที่มีการเปลี่ยนแปลงตามขอกําหนดขางตนตั้งอยูบน
แนวความคิดที่วาผูรับเหมากอสรางสมควรลดราคาตอหนวยใหกับผูวาจางลงไดถาหากปริมาณงานที่
ทําเสร็จจริงมีคามากกวาปริมาณงานที่กําหนดไวในสัญญาหรือใบแจงปริมาณงานและราคาเพราะถือ
ไดวาผูรับเหมาไดทํางานมากขึ้นอันหมายถึงกําไรที่เพิ่มมากขึ้นดวย และในทางตรงกันขามผูรับเหมา
สมควรที่จะไดรับราคาตอหนวยที่เพิ่มขึ้นถาหากผูรับเหมาไดทํางานจริงในปริมาณงานที่นอยกวา
ปริมาณงานที่ผูรับเหมาเคยคาดไววาจะไดทํา

5.3 ระยะเวลาการจายเงิน
สําหรับระยะเวลาการจายเงินของงานสวนที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้พอจะจําแนกได 2 แนวทาง
อันไดแก แนวทางที่หนึ่งคือ ผูวาจางจะจายเงินเพิ่มหรือหักลดเงินของงานสวนที่มีการเปลี่ยนแปลงใน
การเบิกเงินงวดครั้งตอไปหลังจากที่งานในสวนที่มีการเปลี่ยนแปลงแลวเสร็จ หรืออาจจะใชแนวทางที่

[6-9]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

สองคือ ผูวาจางจายเงินเพิ่มหรือหักลดเงินของงานสวนที่มีการเปลี่ยนแปลงในงวดสุดทายของการ
จายเงินหรือกอนงวดสุดทายของการจายเงินตามสัญญา

6. การปรับราคาคาจางตามสภาวะเศรษฐกิจ
เนื่องจากตนทุนของงานกอสรางขึ้นอยูกับสภาวะเศรษฐกิจดวย อาทิเชน ถาหากในระหวาง
การดําเนินงานตามสัญญาราคาวัสดุกอสรางเพิ่มสูงขึ้น ตนทุนในการทํางานของผูรับเหมายอมเพิ่ม
สูงขึ้นดวย ในทางตรงกันขามถาหากในระหวางการดําเนินงานตามสัญญาราคาวัสดุกอสรางลดต่ําลง
ตนทุนในการทํางานของผูรับเหมายอมลดลงดวยเชนกัน เปนตน ดังนั้นในการประมาณราคาของ
ผูรับเหมาเพื่อยื่นเสนอราคาตอผูวาจางผูรับเหมายอมจะตองคํานึงถึงความผันผวนของปจจัยตางๆที่มี
ผลกระทบตอตนทุนในการทํางานดวย
ในสถานการณที่สภาวะเศรษฐกิจมีความผันผวนมากๆ ถาหากผูรับเหมาประมาณราคาใหสูง
ไวกอนเพื่อเผื่อความเสี่ยงตอความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจ ผูรับเหมาจะเสี่ยงตอการไมไดรับ
เลื อ กจากผู ว า จ า งเนื่ อ งจากราคาที่ ผู รั บ เหมาเสนอสู ง กว า ราคาของผู รั บ เหมารายอื่ น แต ถ า หาก
ผูรับเหมาเลือกที่จะรับความเสี่ยงตอความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจและเสนอราคาที่ต่ําลงโดยไม
เผื่อความเสี่ยงมากนัก ผูรับเหมาก็อาจจะประสบปญหาขาดทุนในภายหลังได
เพื่อเปนการใหความชวยเหลือแกผูรับเหมาเกี่ยวกับภาระความเสี่ยงตอสภาวะเศรษฐกิจ
สัญญาของโครงการกอสรางบางแหงจึงมีการนําขอกําหนดเกี่ยวกับการปรับราคาคาจางตามสภาวะ
เศรษฐกิจมาใช ขอกําหนดดังกลาวนี้เปนขอกําหนดที่ยอมใหคูสัญญาสามารถปรับราคาคาจางงาน
เพิ่ ม ขึ้ น หรื อ ลดลงจากค า จ า งงานที่ ร ะบุ ใ นสั ญ ญาได โดยปรั บ ค า จ า งตามตั ว เลขดั ช นี ข องสภาวะ
เศรษฐกิจซึ่งเปนที่ยอมรับของคูสัญญา ขอกําหนดเกี่ยวกับการปรับราคาคาจางนี้สามารถใชไดทั้งกับ
งานกอสรางของทางราชการและงานกอสรางของเอกชน สําหรับในงานกอสรางของทางราชการนั้น
ขอกําหนดการปรับราคาค าจางเปนที่ รูจักกั นดี ใ นชื่อ คา K ตามระเบียบฯของสํานักงบประมาณ
ตัวอยางของขอกําหนดนี้ไดแก
“…ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงคาวัสดุ คาอุปกรณเครื่องจักรเครื่องใชตา งๆในการกอสราง ซึ่ง
อาจเกิดขึ้นในระยะเวลาของการกอสรางตามสัญญา คูสัญญาตกลงใหมีการใชสัญญาแบบปรับราคาได
ตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการพิจารณาชวยเหลือผูประกอบอาชีพงานกอสราง ลงวันที่ 22 สิงหาคม
2532 ทั้งนี้การพิจารณาเพิ่มหรือลดราคาคาจางจากราคาคางานตามสัญญานี้ใหเปนไปตามเงื่อนไข
หลักเกณฑแนบทายสัญญานี้ซึ่งคูสัญญาตกลงใหถือวาเปนสวนหนึ่งของสัญญานี้ดวย … ประเภทงาน
กอสรางที่จะไดรับการพิจารณาปรับเพิ่มหรือลดราคาคางานตามสูตรการคํานวณการใชสัญญาแบบ
ปรับราคาได มีดังนี้ … งานอาคาร ใชสูตร K = 0.25 + 0.15 It/Io + 0.10 Ct/Co + 0.40 Mt/Mo + 0.10
St/So…”

6.1 การปรับราคาตามระเบียบฯของสํานักงบประมาณ

[6-10]
บทที่ 6 คาจางงานกอสราง.doc

ในงานกอสรางของหนวยงานราชการในประเทศไทย การใชสัญญาแบบปรับราคานี้เรียกกัน
โดยทั่วไปวา การเบิกจายเงินชดเชยคางานกอสรางตามสัญญาแบบปรับราคาได (คา K) ซึ่งเปนไป
ตามเงื่อนไขหลักเกณฑตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2532 เรื่องการพิจารณาชวยเหลือ
ผูประกอบอาชีพงานกอสราง ตามหนังสือสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0203/ว 109 ลงวันที่
24 สิงหาคม 2532 ซึ่งวัตถุประสงคหลักมีใจความดังนี้ “…เพื่อเปนการชวยเหลือผูรับจางไทยที่ไดรับ
ความเดือดรอนและสามารถที่จะประกอบกิจการตอไปไดในชวงที่เกิดภาวะวัสดุกอสรางขาดแคลนและ
ขึ้นราคา ตลอดจนเปนการชวยลดความเสี่ยงของผูรับจางและปองกันมิใหผูรับจางบวกราคาเผื่อการ
เปลี่ยนแปลงราคาวัสดุไวลวงหนามากๆ รวมทั้งเกิดความเปนธรรมตอคูสัญญาทั้งสองฝาย…” ทั้งนี้
สูตรในการใชคิดคํานวณคา K ถูกแบงออกเปน 5 หมวดหลัก ไดแก หมวดงานอาคาร หมวดงานดิน
หมวดงานทาง หมวดงานชลประทาน และหมวดงานสาธารณูปโภค ซึ่งแตละหมวดจะมีสูตรยอยๆอีก
โดยแบงตามประเภทและลักษณะของงาน
การเบิกจายเงินชดเชยคางานกอสรางตามสัญญาแบบปรับราคาได (คา K) มีหลักเกณฑ
คราวๆดังนี้คือ (1) สามารถใชไดกับงานกอสรางทุกประเภทรวมถึงงานปรับปรุงและซอมแซม (2) ตอง
ใชทั้งกรณีเพิ่มและลดคากอสรางจากคางานเดิมตามสัญญาโดยเทียบกับวันเปดซองประกวดราคา (3)
ตองประกาศใหผูรับจางทราบพรอมกับการระบุประเภทของงานและสูตรที่ใช (4) การขอเบิกเงินเปน
หนาที่ของผูรับจางซึ่งตองเรียกรองภายใน 90 วัน นับตั้งแตวันที่ผูรับจางไดสงมอบงานงวดสุดทาย
(สวนการเริ่มยื่นขอเบิกครั้งแรกทําไดตั้งแตเงินงวดแรกไดรับการอนุมัติ) (5) การอนุมัติการจายเพิ่ม
หรือลดตองผานสํานักงบประมาณและถือเปนที่สิ้นสุด และ (6) ไมกําหนดวงเงินและระยะเวลากอสราง
ของสัญญาที่จะใชการปรับราคานี้
วิธีการคํานวณโดยทั่วไปคือ ตองแยกคางานแตละประเภทใหสอดคลองกับสูตร หลังจากนั้น
แทนคาในสูตรโดยการคํานวณตองใชดัชนีราคาวัสดุกอสรางของเดือนที่สงงาน ซึ่งดัชนีดังกลาวถูก
จัดทําและประกาศเปนรายเดือน โดยกองดัชนีเศรษฐกิจการคา กรมเศรษฐกิจการพาณิชย กระทรวง
พาณิชย การคํานวณใหคํานวณโดยการหารใหเสร็จกอนแลวจึงนําผลลัพธคูณ และในแตละขั้นตอน
ของการคํานวณใหใชทศนิยม 3 ตําแหนง โดยไมปดเศษ และสุดทายคา K ที่ไดจะตองหักหรือเพิ่ม
ดวยตัวเลข 4% หลังจากนั้นสวนที่เกินคือสวนที่ผูวาจางตองจายเงินเพิ่มหรือเรียกเงินคืน นอกจากนี้
สําหรับกรณีที่ผูรับจางสงงานเกินกําหนดสัญญา ตองเปรียบเทียบระหวางคา K ของเดือนที่สงงานจริง
กับคา K ของเดือนที่สิ้นสุดสัญญา และใหใชคาที่นอยกวา
ปญหาและอุปสรรคที่พบบอยในการเบิกเงินคา K ไดแก ผูวาจางไมไดระบุในประกาศประกวด
ราคาและสัญญาวาใหใชสัญญาแบบปรับราคาได การใชคา K ผิดสูตรหรือไมตรงกับประเภทของงาน
การใชสูตรคา K ที่ไมไดระบุไวในสัญญา การคํานวณที่ผิดพลาด การนํารายการที่ไมอยูในขาย (เชน
เครื่องดับเพลิง โตะมานั่ง เปนตน) มาคํานวณคา K การใชดัชนีราคาวัสดุไมถูกตอง เปนตน
นอกจากนี้ขั้นตอนการปฏิบัติ ระยะเวลา และเอกสารประกอบการดําเนินการเพื่อเบิกจายเงิน
ชดเชยก็มีความสําคัญมากอันอาจสงผลใหไมไดรับเงินชดเชยหรือไดรับเงินชดเชยลาชาไดถาหากผูรับ
จางปฏิบัติอยางไมถูกตองตามกฎระเบียบที่ทางราชการกําหนด ดังนั้นจึงเปนสิ่งจําเปนอยางยิ่งที่
ผูรับเหมากอสรางควรตองศึกษารายละเอียดในเรื่องนี้อยางละเอียดถี่ถวน

[6-11]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

7. การหักคาจางเพื่อประกันผลงาน
เงินหักประกันผลงาน (Retention) คือ เงินที่ผูวาจางหักออกจากเงินงวดแตละครั้งเพื่อประกัน
คุณภาพของงานที่อาจจะเกิดความชํารุดบกพรองหรือเสียหายเนื่องจากความบกพรองของผูรับเหมา
อันเกิดจากการใชวัสดุที่ไมถูกตองหรือทํางานไวไมเรียบรอย หรือทํางานไมถูกตองตามมาตรฐานแหง
หลักวิชา โดยทั่วไปจะหักไวประมาณ 10% ของคาจางที่ผูรับเหมาสมควรไดรับในแตละงวด ซึ่งถา
หากผูรับเหมาบิดพริ้วไมกระทําการแกไขซอมแซมความชํารุดเสียหายดังกลาวหลังจากที่ไดรับแจง
จากผูวาจาง ผูวาจางจะมีสิทธิกระทําการนั้นเองหรือจางผูอื่นใหทําแทนโดยหักเอาจากเงินประกัน
ผลงานที่ผูวาจางหักไว โดยปกติเมื่อการกอสรางแลวเสร็จผูวาจางมักจะยอมใหผูรับเหมาจัดหาหนังสือ
ค้ําประกันมาใชแทนเงินหักประกันผลงาน และผูวาจางจะคืนหลักประกันนี้ก็ตอเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา
ความรับผิดตอความชํารุดบกพรองของงาน ซึ่งปกติคือ 1 ถึง 2 ป นับแตวันสงมอบงาน ตัวอยางของ
ขอกําหนดนี้ไดแก
“…กอนที่ผูวาจางจะจายคางวดแตละงวดงาน เพื่อประกันคาความเสียหายของผลงานตาม
สัญญานี้ ผูวาจางจะหักเงินจํานวน 10% ของคางวดงานแตละงวดไว และผูวาจางจะคืนใหกับผูรับจาง
เมื่อมีการตรวจรับงานครั้งสุดทายและงานที่รับเหมากอสรางตามสัญญาทุกประการปราศจากความ
เสียหายใดๆ … ผูรับจางตองนําหนังสือค้ําประกันผลงานของธนาคารที่อนุมัติโดยผูวาจางเปนจํานวน
10% ของจํานวนเงินสินจางตามสัญญามอบใหแกผูวาจางโดยมีกําหนดระยะเวลาไมนอยกวา 1 ป
เพื่อเปนประกันผลงานการกอสราง นับแตวันที่ผูวาจางรับมอบงานครบเรียบรอยหรือนับแตวันครบ
กําหนดที่ไดเลื่อนออกไป…”
อนึ่งการหักและจายคืนเงินหักประกันผลงานยังมีไดอีกหลายลักษณะ ไดแก (1) การหักเงิน
หักประกันผลงานไวตลอดระยะเวลาประกันผลงานโดยไมยินยอมใหใช หนังสือค้ําประกันผลงาน
ทดแทน (2) การเพิ่มระยะเวลาประกันผลงานใหยาวนานขึ้น เชน 3 ป หรือ 5 ป เปนตน (3) การหัก
เงินหักประกันผลงานจํานวน 10% สําหรับมูลคางาน 50% ในชวงแรกและลดลงเหลือจํานวน 5%
สําหรับมูลคางานอีก 50% ในชวงหลัง (4) การลดจํานวนเงินหักประกันผลงานเหลือเพียง 5% ตลอด
โครงการ (5) การคืนหนังสือค้ําประกันผลงานใหตั้งแตผานพนระยะเวลาครึ่งหนึ่งของระยะเวลาความ
รับผิดตอความชํารุดบกพรองของงาน เปนตน จากตัวอยางขางตนจะเห็นไดวาการหักและจายคืนเงิน
หักประกันผลงานแตละลักษณะมีผลกระทบตอความมั่นใจของผูวาจางและตนทุนทางการเงินของ
ผูรับเหมากอสรางแตกตางกันไป ดังนั้นการเลือกใชการหักและจายคืนเงินหักประกันผลงานลักษณะ
ใดคูสัญญายอมตองพิจารณาใหรอบคอบเสียกอน

8. การชะลอหรือยับยั้งการจายเงินคาจาง
เพื่อเปนการใหสิท ธิแกผูวาจางในการลงโทษผูรับเหมาที่ ทํางานไมดี สัญญากอสรางของ
โครงการบางแหงอาจจะมีขอกําหนดเกี่ยวกับการชะลอหรือยับยั้งการจายเงินคาจางเมื่อผูรับเหมา
ปฏิบัติงานไมดี ซึ่งโดยสวนใหญจะรวมถึงการกระทําดังตอไปนี้ (1) เมื่อผูวาจางพบวางานที่กระทําไป

[6-12]
บทที่ 6 คาจางงานกอสราง.doc

แลวไมถูกตองหรือไมตรงตามที่กําหนดในแบบรูปหรือตามขอตกลง (2) เมื่อผูรับเหมาที่ทํางาน


โครงการกอสรางซึ่งมีผลกระทบตอระบบการจราจรไมตองติดตั้งเครื่องหมายการจราจรและสัญญาณ
ปองกันอันตรายตางๆ ใหถูกตองตามกฎหมายหรือระเบียบขอบังคับของทางราชการ (3) เมื่อผูวาจาง
พบวาผูรับเหมาไมแกไขซอมแซมสวนที่เสียหายหรือบกพรองของงานตามที่ผูวาจางหรือตัวแทนผู
วาจางตรวจรับมอบงานตรวจพบและไดแจงใหผูรับเหมาทราบแลว (4) เมื่อผูวาจางพบวามีลูกจางของ
ผูรับเหมาในโครงการไดเรียกรองหรือฟองคดีตอกรมแรงงานตามกฎหมายแรงงานเพื่อเรียกรอง
คาเสียหาย คาจาง คาชดเชยใดๆจากผูรับเหมา หรือ (5) เมื่อผูรับเหมาเปนหนี้คางชําระตอผูวาจาง
เปนตน ตัวอยางของขอกําหนดลักษณะนี้ไดแก
“…แมภายหลังการตรวจรับงานแตละงวดและจายเงินงวดนั้นแลว ผูวาจางมีสิทธิจะหนวง
เหนี่ยวไมจายเงินคางวดตอไป หากตรวจพบวามีงานที่จายคางวดไปแลวยังมีสวนชํารุดบกพรองไม
ถูกตองตามสัญญา และผูรับจางเพิกเฉยที่จะทําการซอมแซมใหเสร็จทันกอนมีการเบิกเงินงวดที่ทํา
การเบิกตอไป…”

9. ตัวอยางแนวทางการวินิจฉัยที่เกี่ยวของกับคาจางงานกอสราง
จากเนื้อหาตางๆขางตนจะเห็นไดวาสัญญากอสรางมีขอกําหนดที่เกี่ยวของกับคาจางงาน
กอสรางในหลายประเด็น คูสัญญาทั้งสองฝายตองปฏิบัติตามขอผูกพันที่สัญญาไดกําหนดไวอยาง
เครงครัด อยางไรก็ตามเนื่องจากในบางครั้งคูสัญญาอาจมีความคิดเห็นหรือตีความขอกําหนดใน
สัญญาแตกตางกัน ทําใหในหลายกรณีความคิดเห็นที่แตกตางกันไดกลายเปนขอโตแยงระหวางกันขึน้
ได ซึ่งถาหากขอโตแยงที่เกิดขึ้นไมสามารถยุติลงไดก็อาจสงผลใหเกิดเปนขอพิพาทระหวางคูสัญญา
ทั้งสองฝายไดในทายที่สุด
เพื่อเปนแนวทางใหผูที่เกี่ยวของสามารถนําไปปฏิบัติเพื่อแกปญหาขอโตแยงที่อาจเกิดขึ้น
โดยมิตองเสี่ยงตอการนําไปสูขอพิพาท เนื้อหาในสวนนี้จึงนําเสนอตัวอยางแนวทางการวินิจฉัยที่
เกี่ ย วข อ งส ว นหนึ่ ง ซึ่ ง เกี่ ย วข อ งกั บ ค า จ า งงานก อ สร า งที่ มี ป ระเด็ น ทางกฎหมายที่ น า สนใจ ดั ง
รายละเอียดตอไปนี้

9.1 ในสัญญาแบบเหมารวม หากปริมาณงานจริงนอยกวาปริมาณงานในสัญญาผูวาจางจะหัก


ลดเงินคาจางไดหรือไม
ในสัญญากอสรางที่ตกลงคิดราคาคาจางแบบเหมารวมนั้น ปริมาณงานที่ระบุในสัญญาจะถือ
เปนภาระความเสี่ยงของฝายผูรับเหมา ถาหากปริมาณงานที่กอสรางจริงมีปริมาณมากกวาปริมาณใน
สัญญาผูรับเหมาตองเปนผูรับภาระคาใชจายของงานในสวนที่เพิ่มขึ้นนี้ และในทางตรงกันขามถาหาก
ปริมาณงานที่กอสรางจริงมีปริมาณนอยกวาปริมาณในสัญญาก็จะถือวาเปนผลประโยชนที่ผูรับเหมา
สมควรไดรับในการแบกภาระความเสี่ยงไวเชนกัน
ตัวอยางเหตุการณระหวางผูวาจางกับผูรับเหมาในเรื่องเกี่ยวกับการหักลดเงินคาจางลักษณะ
นี้สามารถศึกษาไดจากแนวทางคําวินิจฉัยของสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.44/2535 [1] ซึ่งมีใจความ

[6-13]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

สวนที่เกี่ยวของดังนี้ กรม ก. (ผูวาจาง) ทําสัญญาจางหางหุนสวนจํากัด ซ. (ผูรับจาง) ทําการปรับปรุง


ทางระบายน้ําริมถนนเทศบาลเมืองฯ โดยสัญญากําหนดคางานและการจายเงินโดยถือราคาเหมารวม
เปนเกณฑ การจายเงินใหแบงจายเปนงวดๆ ซึ่งในงวดที่ 4 เปนเงินจํานวน 3,660,640 บาท จะจาย
ใหเมื่อผูรับจางไดกอสรางงาน “วางทอระบายน้ําใตผิวจราจรตามแนวถนนดวยทอ คสล. ขนาด
เสนผาศูนยกลาง 1.50 เมตร พรอมกับสรางบอพัก-บอรับน้ํารวมฝา และตอทอเชื่อมกับทางระบายน้ํา
เดิมตามจุดที่กําหนด ถมดินกลบขางทอจนถึงระดับชั้นพื้นทางใหสามารถใชการจราจรได แลวเสร็จ”
ตอมาผูรับเหมาไดดําเนินการกอสรางงานตามสัญญางวดที่ 4 แลวเสร็จ โดยทําการกอสราง
ทอระบายน้ําตามสัญญาเริ่มตั้งแต กม. 0+661 (จุด A) จนถึงจุดบรรจบกับทอระบายน้ําเดิม (จุด B)
ซึ่งเปนจุดเริ่มตนและจุดสุดทายที่กําหนดไวในแบบแปลน แตจากการตรวจสอบของคณะกรรมการ
ตรวจการจางและผูควบคุมงานกอสรางพบวาความยาวของทอระบายน้ําที่ไดกอสรางดังกลาว ตาม
สภาพพื้นที่จริงวัดความยาวของทอระบายน้ําได 1,106.70 เมตร ซึ่งสั้นกวาความยาวในแบบแปลน
กอสราง 10.30 เมตร ผูวาจางเห็นวางานวางทอระบายน้ํา 10.30 เมตรที่ผูรับจางไมไดดําเนินการนี้
เปนงานลด ผูวาจางจึงไดหักลดเงินคาจางกอสรางลงเปนเงิน 80,031.02 บาท
ต อมาผู รับ จ า งได อุท ธรณ ว า สัญ ญาจ า งเป นสัญ ญาจา งเหมาและสัญ ญากํ า หนดให ว างท อ
ระบายน้ําโดยกําหนดจุดเริ่มตนและจุดสุดทายตามที่กําหนดไวในแบบแปลนโดยไมไดกําหนดหนวย
ความยาวของการกอสรางทอระบายน้ําดังกลาวไวในสัญญา จึงขอเงินในสวนที่ผูวาจางหักไปคืน
ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา ตามขอกําหนดการจายเงินงวดในสัญญาและ
ขอเท็จจริงที่ปรากฎวาผูรับจางไดทําการกอสรางตามสัญญางวดที่ 4 ตามที่กําหนดไวในแบบแปลน
แลว และสัญญานี้เปนการจางเหมา ผูวาจางจึงตองจายเงินคาจางงวดงานที่ 4 นี้เต็มจํานวนตาม
สัญญา แมจะปรากฎวาในการกอสรางตามพื้นที่จริงความยาวของทอระบายน้ําจะสั้นกวาตามแบบ
แปลนก็ตาม ผูวาจางก็ไมอาจหักลดเงินคาจางสวนของเนื้องานที่ลดลงได

9.2 ในสัญญาที่กําหนดจายเงินเปนงวด หากมูลคางานในงวดที่จะจายมีมูลคานอยกวาจํานวน


เงินงวด ผูวาจางจะจายคาจางไมเต็มงวดไดหรือไม
ประเด็นทางกฎหมายเชนนี้ไดเคยมีคําวินิจฉัยของสํานักงานอัยการสูงสุดไวในทํานองวา หาก
สัญญากําหนดจายเงินเปนงวด แมมูลคางานในงวดนั้นจะมีมูลคานอยกวาจํานวนเงินงวด ผูวาจางก็
ตองจายเต็มตามจํานวนเงินงวด ดังที่ปรากฏในคําวินิจฉัยของสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.10/2538 [2]
ซึ่งมีใจความในสวนที่เกี่ยวของวา จังหวัด จ. (ผูวาจาง) ไดทําสัญญาจางหางหุนสวน ถ. (ผูรับจาง)
กอสรางอาคารสํานักงานสรรพากรจังหวัดในวงเงิน 20,000,000 บาท โดยกําหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับ
ราคาคาจางและการจายเงินเปน 10 งวด งวดที่ 1 กําหนดวา “งวดที่ 1 เปนจํานวนเงิน 800,000 บาท
เมื่อผูรับจางไดทําการถมดินปรับระดับใหแลวเสร็จภายในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2537 และ
คณะกรรมการตรวจการจางไดตรวจรับงานไวแลว”
ผูรับจางไดมีหนังสือสงมอบงานงวดที่ 1 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2537 คณะกรรมการตรวจ
การจางไดทําการตรวจรับงานแลวเห็นวา งานงวดที่ 1 เสร็จเรียบรอยตามสัญญาจาง แตการทํางาน

[6-14]
บทที่ 6 คาจางงานกอสราง.doc

ถมดินปรับระดับครั้งนี้เปนการทํางานถมดินปรับระดับเพิ่มเติมในที่ดินที่รับบริจาคจากเอกชน ซึ่งมี
การถมดินเสมอระดับภายนอกไวแลว ดังนั้นจึงทําใหปริมาณงานถมดินปรับระดับรวมทั้งงานวางทอ
ระบายน้ําตามแบบแปลนมีปริมาณงานซึ่งคิดเปนจํานวนเงินไดเพียง 286,239 บาท ผูวาจางจึงหารือ
สํานักงานอัยการสูงสุดวาการที่ผูวาจางไมไดกําหนดรายละเอียดวาผูรับจางตองถมดินหรือปรับระดับ
เปนปริมาณกี่ลูกบาศกเมตร การเบิกจายเงินคากอสรางอาคารในงวดที่ 1 นี้ ผูรับจางจะตองเบิก
จายเงินจํานวน 800,000 บาท ตามสัญญาจาง หรือจะตองเบิกจายเงินจํานวน 286,239 บาท
ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา ถึงแมวาปริมาณงานดินถมปรับระดับรวมทั้ง
งานวางทอระบายน้ําตามแบบแปลนที่ตรวจรับไดจริงในสนามคํานวณคิดเปนเงินไดเพียง 286,239
บาท ตามความเห็นของคณะกรรมการตรวจการจางก็ตาม แตเมื่อสัญญาจางดังกลาวเปนการจาง
เหมารวมทั้งคาจาง คาแรงงาน คาวัสดุ เครื่องมือเครื่องใชและอุปกรณตางๆ และกําหนดการจายเงิน
เปนงวดๆ ซึ่งกําหนดเปนอัตราที่แนนอนเปนราคาเหมารวม โดยมิไดกําหนดการจายเงินคาจางตาม
ปริมาณงานที่ตรวจรับไดจริงในสนามไวแตอยางใด ดังนั้นผูวาจางจึงตองจายคาจางงวดที่ 1 ใหแกผู
รับจางเปนเงิน 800,000 บาท

9.3 ถาหากจํานวนเงินของรายการยอยใน BOQ คลาดเคลื่อนไป ผูรับเหมาจะไดรับคางาน


ตามจํานวนเงินใด
โดยปกติในการทําสัญญากอสรางคูสัญญาทั้งสองฝายจะตรวจทานความถูกตองของจํานวน
เงินคาจางของแตละรายการในใบแจงปริมาณงานและราคา (BOQ) เปนอยางดีเพื่อปองกันมิใหเกิด
การเสนอราคาผิด อยางไรก็ตามมีบางครั้งที่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น อาทิเชน จํานวนเงินของรายการ
ยอยในใบแจงปริมาณงานและราคา (BOQ) บางรายการมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป อันสงผลให
เมื่อรวมจํานวนเงินของทุกรายการในใบแจงปริมาณงานและราคา (BOQ) แลว จะมีตัวเลขไมเทากับ
จํานวนเงินคาจางทั้งหมดของโครงการ ในกรณีเชนนี้การพิจารณาวาคาจางของรายการยอยที่มีความ
คลาดเคลื่อนนี้จะเปนจํานวนเทาใดนั้น กฎหมายกําหนดใหตองตีความสัญญาตามเจตนาอันแทจริง
ของคูสัญญา
ตัวอยางของเหตุการณลักษณะนี้ไดแก เหตุการณตามคําวินิจฉัยอัยการสูงสุดที่ ห.93/2537
[3] ซึ่งมีใจความสวนที่เกี่ยวของดังนี้ การประปาฯ (ผูวาจาง) จางหางหุนสวนจํากัด พ. ทําการกอสราง
ปรับปรุงขยายงานการประปาจังหวัด อ. โดยมีคาจางทั้งหมดตามเอกสารแนบทายสัญญาเปนเงิน
33,480,000 บาท ซึ่งแบงออกเปน (1) ราคารวมตามตารางปริมาณงานและราคา (BOQ) จํานวน
28,318,297 บาท (2) คาดําเนินการของผูรับจางจํานวน 980,000 บาท (3) กําไรของผูรับจางจํานวน
1,990,803 บาท และ (4) ภาษีจํานวน 2,190,900 บาท
ในรายการที่ 6.1 Electrical ซึ่งมียอดรวมยอยจํานวน 1,610,925 บาทนั้น เปนราคารวมของ
งาน (1) Generator Control Panel จํานวน 150,000 บาท (2) Wire จํานวน 72,800 บาท และ (3)
สวนเครื่องกําเนิดไฟฟาจํานวน 138,125 บาท จะเห็นไดวาราคาของสวนเครื่องกําเนิดไฟฟาที่ระบุใน
ตารางปริมาณงานและราคา (BOQ) จํานวน 138,125 บาท นี้ เปนราคาที่คลาดเคลื่อน เพราะเมื่อรวม

[6-15]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ราคาทั้งสามรายการแลวจะไดเพียง 360,925 บาท เทานั้น ซึ่งราคาเครื่องกําเนิดไฟฟาที่ถูกตองควร


จะเปน 1,388,125 บาท อันจะทําใหราคารวมของงานทั้งสามรายการเทากับ 1,610,925 บาท พอดี
ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา กรณีเชนนี้เปนปญหาการตีความเอกสารอัน
เปนการแสดงเจตนาที่มีความขัดแยงกัน ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 171
บัญญัติใหเพงเล็งถึงเจตนาอันแทจริงยิ่งกวาถอยคําสํานวนหรือตัวอักษร จึ ง มี ป ร ะ เ ด็ น ที่ ต อ ง
พิจารณาคือ ราคาเครื่องกําเนิดไฟฟาจํานวน 1,388,125 บาท ดังกลาว เปนราคาตามเจตนาอัน
แทจริงของคูสัญญาหรือไม ทั้งนี้เนื่องจาก (1) ตามตารางปริมาณงานและราคา (BOQ) ไดระบุยอด
รวมราคาของงานทั้งหมดเปนเงิน 28,318,297 บาท ซึ่งราคาดังกลาวไดจากการรวมราคายอดรวม
ของงานรายการตางๆ รวมทั้งงานที่ 6.1 Electrical นี้ดวย และถือเปนยอดรวมราคาของงานตางๆ
ทั้งหมดที่นําไปรวมกับภาษี คาใชจาย และกําไรของผูรับจางแลว เปนคาจางตามสัญญาที่คูสัญญาได
ตกลงกันจํานวน 33,480,000 บาท ดังนั้นยอดรวมของงานที่ 6.1 Electrical จํานวน 1,610,925 บาท
จึงเปนยอดรวมที่ถูกตองและใชเปนฐานในการคํานวณราคาของเครื่องกําเนิดไฟฟาได (2) ขอเท็จจริง
เกี่ยวกับราคาของเครื่องกําเนิดไฟฟาขนาด 125 กิโลวัตต ซึ่งเปนขนาดเดียวกับที่กําหนดในตาราง
ปริมาณงานและราคา (BOQ) นี้ ตามราคาทองตลาดมีราคาประมาณ 1 ลานบาท ซึ่งใกลเคียงกับราคา
ที่คํานวณได และ (3) การประปาฯ (ผูวาจาง) ก็มีเจตนาเห็นดวยวาราคาของเครื่องกําเนิดไฟฟาควร
เปนราคาที่คํานวณไดดังกลาว ฉะนั้นในการตีความเอกสารตารางปริมาณงานและราคา (BOQ) ซึ่ง
เปนเอกสารแนบทายสัญญาและถือเปนสวนหนึ่งของสัญญาตามนัยประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย
มาตรา 171 ดังกลาวขางตน จึงตองยึดถือตามเจตนาอันแทจริงของคูสัญญาที่ไดตกลงราคาเครื่อง
กําเนิดไฟฟาเปนจํานวนเงิน 1,388,125 บาท ไมใชจํานวนเงิน 138,125 บาท

9.4 หากผูวาจางจายเงินคาจางลาชา ผูรับเหมาจะอางเปนเหตุขอขยายเวลากอสรางไดหรือไม


ในงานกอสรางมีบอยครั้งที่ผูวาจางจายเงินงวดใหแกผูรับเหมาลาชา และมักจะเขาใจผิดกันวา
ผูรับเหมาสามารถนําเหตุที่ผูวาจางจายเงินงวดลาชานี้มาเปนเหตุอางในการขอขยายเวลากอสรางได
ซึ่งแทที่จริงแลวการที่ผูวาจางจายเงินลาชาอันสงผลใหผูรับเหมาประสบกับปญหาสภาพคลองทาง
การเงินนั้นถาหากสัญญามิไดกําหนดไวเปนอยางอื่นจะไมถือวาเปนสาเหตุที่เกิดจากความบกพรอง
ของฝายผูวาจางเนื่องจากเปนหนาที่ของผูรับเหมาที่ตองจัดหาเงินทุนหมุนเวียนไวเพื่อใชในการ
ปฏิบัติงาน รวมทั้งในการจัดซื้อวัสดุ และจัดหาแรงงานกอสรางให เพียงพอสําหรับการทํางาน ดัง
ตัวอยางของคําวินิจฉัยของสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.15/2538 [4] ซึ่งมีใจความในสวนที่เกี่ยวของ
ดังนี้
กรม ส. (ผูวาจาง) ไดทําสัญญาวาจางหางฯ ร. (ผูรับจาง) กอสรางอาคารเรียน เปนจํานวนเงิน
7,124,000 บาท โดยแบงจายเงินคาจางเปน 7 งวด และมีกําหนดแลวเสร็จภายในวันที่ 31 ตุลาคม
2537 ในระหวางการกอสรางเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2537 ผูรับจางไดกอสรางสวนที่เปนโครงสราง
คสล. ถึงระดับใตคานเสร็จและสงมอบใหคณะกรรมการตรวจการจางตรวจรับมอบงานเรียบรอยแลว

[6-16]
บทที่ 6 คาจางงานกอสราง.doc

ซึ่งผูวาจางตองจายเงินคาจางงวดที่ 4 จํานวน 713,549.88 บาทใหแกผูรับจาง แตผูวาจางซึ่งเปนสวน


ราชการสามารถเบิกจายใหแกผูรับจางไดเพียงจํานวน 59,350.36 บาท
ตอมาในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2537 ผูรับจางไดมีหนังสือขอขยายเวลาทําการตามสัญญา
ออกไปอีก 120 วัน โดยอางเหตุวาไมมีเงินจัดซื้อวัสดุอุปกรณการกอสรางและไมสามารถจาย
คาแรงงานใหแกคนงานกอสรางไดเนื่องจากยังไมไดรับคางานงวดที่ 4 จากผูวาจาง ทําใหการทํางาน
ตองหยุดชะงักไป ซึ่งตอมาผูวาจางสามารถจายคางานงวดที่ 4 ที่เหลือใหแกผูรับจางไดเมื่อวันที่ 9
พฤศจิกายน 2537
ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา เนื่องจากตามสัญญาจางขอ 1 วรรคทาย
กําหนดวา “ผูรับจางตกลงที่จะจัดหาแรงงานและวัสดุเครื่องมือเครื่องใชตลอดจนอุปกรณตางๆชนิดดี
เพื่อใชในงานจางตามสัญญานี้” จึงเปนขอกําหนดที่กําหนดใหผูรับจางมีหนาที่จัดหาแรงงานและวัสดุ
โดยนัยนี้ผูรับจางจึงตองจัดเตรียมเงินทุนหมุนเวียนไวใหเพียงพอโดยจัดหาจากหลายๆแหลง มิใชรอ
คอยแตเพียงเงินคางานที่ทยอยจายเปนงวดๆจากผูวาจาง ดังนั้นการที่ผูวาจางจายเงินคาจางงวดที่ 4
ใหแกผูรับจางลาชากวากําหนดเวลาตามสัญญาจึงไมเปนเหตุใหผูรับจางขอขยายเวลาทําการตาม
สัญญาหรือของดหรือลดคาปรับได อยางไรก็ดีหากการจายเงินคางานงวดที่ 4 ลาชาดังกลาวเปนเหตุ
ใหผูรับจางตองเสียหายหรือตองเสียดอกเบี้ยเงินกูในชวงระยะเวลาดังกลาว ผูรับจางยอมเรียกรองให
ผูวาจางรับผิดชอบชดใชในสวนนี้ได

9.5 หากผูวาจางรับมอบงานที่ชํารุดบกพรองแลว ผูวาจางจะหักคาจางโดยอางงานที่ชํารุด


บกพรองดังกลาวไดหรือไม
โดยปกติ เ มื่ อ มี ก ารตรวจรั บ มอบงาน หากผู ว า จ า งตรวจพบว า ยั ง มี ง านที่ ชํ า รุ ด บกพร อ ง
เหลืออยู ผูวาจางมักจะแจงใหผูรับเหมาทําการแกไขงานที่ชํารุดบกพรองใหเสร็จเสียกอนจึงจะทําการ
ตรวจรับมอบงาน ทั้งนี้ถาหากผูวาจางรายใดไดรับมอบงานที่ชํารุดบกพรองโดยมิไดทักทวง ผูวาจาง
รายนั้ นจะหักค าจ างหรือไมจายค าจ างโดยอางงานที่ชํารุดบกพร องดังกลา วไมได เพียงแต ยังคง
สามารถเอาผิดผูรับเหมาในเรื่องความชํารุดบกพรองไดเทานั้น
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2518 [5] เปนตัวอยางหนึ่งของการตัดสินประเด็นทางกฎหมาย
ในเรื่องนี้ ซึ่งมีใจความสวนที่เกี่ยวของวา โจทก (ผูรับจาง) ทํางานครบถวนตามสัญญาและจําเลย
(ผูวาจาง) ไดรับมอบงานแลวทั้งๆที่ทราบขอชํารุดบกพรองอยูกอน จําเลยจึงตองรับผิดชําระคาจางแก
โจทก สวนที่จําเลยอางวาโจทกตองรับผิดในความชํารุดบกพรองเพราะจําเลยไดโตแยงเรื่องนี้ภายใน
ระยะเวลา 1 ปนั้นเปนเรื่องความรับผิดในขอชํารุดบกพรองคนละเรื่องกับการที่จําเลยรับมอบงานแลว
ไมจายคาจาง จึงจะนํามาอางเพื่อไมจายคาจางไมได

10. บทสงทาย
เนื้อหาของบทนี้ไดกลาวถึงขอกําหนดที่เกี่ยวของกับคาจางงานกอสรางในประเด็นปลีกยอย
ตางๆ อันไดแก การคิดคาจางงานกอสราง การจายคาจาง เงินคาจางลวงหนา คาจางของงานสวนที่มี

[6-17]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

การเปลี่ยนแปลง การปรับราคาคาจางตามสภาวะเศรษฐกิจ การหักคาจางเพื่อประกันผลงาน และการ


ชะลอหรือยับยั้งการจายเงินคาจาง ตามลําดับ นอกจากนี้ในตอนทายของบทยังไดนําเสนอตัวอยาง
แนวทางการวินิจฉัยที่เกี่ยวของกับคาจางงานกอสรางที่มีประเด็นทางกฎหมายที่นาสนใจ การศึกษา
ขอกําหนดเหลานี้และตัวอย างแนวทางการวินิจฉัยที่เ กี่ยวของจะชวยใหผูปฏิบัติงานเขาใจกติกา
เกี่ยวกับคาจางงานกอสรางมากยิ่งขึ้นอันจะเปนประโยชนตอการปฏิบัติงานตอไป

เอกสารอางอิง
[1] คําวินิจฉัยของสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.44/2535
[2] คําวินิจฉัยของสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.10/2538
[3] คําวินิจฉัยของสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.93/2537
[4] คําวินิจฉัยของสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.15/2538
[5] คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2518

บรรณานุกรม
[1] “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ พ.ศ. 2535”, สวัสดิการสํานักงานปลัดสํานัก
นายกรัฐมนตรี, เมษายน, 2535
[2] “เอกสารรวบรวมสัญญาเกี่ยวกับงานกอสราง”, สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ,
พิมพครั้งที่ 1, พฤษภาคม 2534
[3] “สัญญามาตรฐานงานจางเหมากอสราง”, วิศวกรรมสถานแหงประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ, พิมพครั้งที่ 2, 2541
[4] “Conditions of Contract for Works of Civil Engineering Construction”, (1987 and
reprinted in 1992 with further amendments), Federation Internationale Des Ingenirurs-
Conseils (FIDIC), 4th Edition, 1992.
[5] “Conditions of Contract for Construction for Building and Engineering Works Designed
by the Employer”, Federation Internationale Des Ingenirurs-Conseils (FIDIC), 1st
Edition, 1999.
[6] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “ขอกําหนดในสัญญาเกี่ยวกับคาจางงานกอสราง”,
ขาวชาง, สมาคมอุตสาหกรรมกอสรางแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่ 30, ฉบับ
ที่ 365, ตุลาคม, หนา 43-46, 2545
[7] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “ตัวอยางขอโตแยงเกี่ยวกับคาจางงานกอสราง”, ขาว
ชาง, สมาคมอุตสาหกรรมกอสรางแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่ 30, ฉบับที่
366, พฤศจิกายน, หนา 39-42, 2545

[6-18]
บทที่ 6 คาจางงานกอสราง.doc

[8] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “มูลเหตุของการชดใชคาเสียหายในสัญญามาตรฐาน


งานจางเหมากอสรางของ ว.ส.ท.”, ขาวชาง, ปที่ 30, ฉบับที่ 359, เมษายน, หนา 65-67,
2545
[9] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “มูลเหตุการเพิ่ม/ลดของราคางานตามสัญญาใน
สัญญามาตรฐานงานจางเหมากอสรางของ ว.ส.ท.”, ขาวชาง, ปที่ 30, ฉบับที่ 360,
พฤษภาคม, หนา 40-42, 2545
[10] นที สุริยานนท และ พิชญ สุธีรวรรธนา, “ความรับผิดชอบของผูรับจางตอความชํารุดบกพรอง
ของผลงาน”, โยธาสาร, ปที่ 12, ฉบับที่ 4, ตุลาคม – ธันวาคม, หนา 19-24, 2543
[11] ธนิต ธงทอง และ วัชระ เพียรสุภาพ, “การประยุกตใชโปรแกรม Microsoft Excel และ Visual
Basic สําหรับการคนหาดัชนีราคาวัสดุ และการคํานวณคา Escalation Factor (คา K)”, โยธา
สาร, ปที่ 11, ฉบับที่ 1, มกราคม – มีนาคม, หนา 24-28, 2542
[12] กิตติ วิสุทธิรัตนกุล, “มาตรฐานการปฏิบัติราชการในการเบิกจายเงินชดเชยคางานกอสราง
ตามสัญญาแบบปรับราคาได (คา K)”, วิศวกรรมสาร, ปที่ 54, ฉบับที่ 3, มีนาคม, 2544
[13] หนังสือสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0203/ว 109 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2532
[14] “คูมือการตรวจสอบเงินชดเชยคางานกอสราง (คา K)”, สวนมาตรฐานสิ่งกอสราง สํานัก
มาตรฐานงบประมาณ, สํานักงบประมาณ, มกราคม 2542
[15] เอกสารแนบทายสัญญาจาง เรื่องการกําหนดมาตรการ วิธีการ และเงื่อนไขการใชผิวจราจร
ระหวางการซอม สรางสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่มีผลกระทบตอการจราจร ในเขตพื้นที่
กรุงเทพมหานครและเขตเทศบาลเมืองปริมณฑล
[16] Jervis, B. M. and Levin, P., “Construction Law: principles and practices”, McGraw-Hill
Publishing Company, 1998.
[17] Turner, D. F. and Turner, A., “Building Contract Claims and Disputes”, 2nd Edition,
Longman, 1999.
[18] Uff, J., “Construction Law: law and practice relating to the construction industry”, 5th
Edition, London, Sweet & Maxwell, 1991.

[6-19]
 
บทที่ 7
การเปลี่ยนแปลงในงานกอสรางโดยความตองการของผูวาจาง
(Changes in Construction Work by the Employer’s Requirement)

1. บทนํา
เนื่ อ งจากผู ว า จ า งในโครงการก อ สร า งมั ก จะไม ใ ช ผู ที่ มี ค วามชํ า นาญทางวิ ศ วกรรมหรื อ
สถาปตยกรรม จึงเปนการยากที่ผูวาจางจะสื่อสารและถายทอดความตองการของตนใหกับสถาปนิก
และวิศวกรผูออกแบบไดอยางครบถวนสมบูรณ
ถาหากหลังจากที่การกอสรางเริ่มดําเนินการผูวาจางไดตระหนักวาสิ่งที่สถาปนิกและวิศวกร
ผูออกแบบไดจัดทําใหนั้นเมื่อปรากฎเปนรูปรางของสิ่งกอสรางจริงกลับไมตรงกับความตองการที่
แทจริงของตน ผูวาจางอาจจะขอใหสถาปนิก วิศวกรผูออกแบบ หรือวิศวกรผูกอสรางเปลี่ยนแปลง
รายละเอียดของงานบางรายการเพื่อใหไดสิ่งกอสรางที่ตรงกับความตองการของตนมากที่สุด
การเปลี่ยนแปลงดังกลาวผูวาจางอาจจะขอเปลี่ยนแปลงงานบางรายการเพื่อประโยชนของ
การใชงาน อาทิเชน ขอเพิ่มชั้นลอย ขอยายตําแหนงของผนัง ขอเปลี่ยนจากผนังกออิฐเปนผนัง
กระจก เปนตน หรืออาจจะขอเปลี่ยนแปลงงานบางรายการเพื่อความสวยงามของสิ่งกอสราง อาทิเชน
ขอเปลี่ยนเสาสี่เหลี่ยมเปนเสากลม ขอเปลี่ยนจากพื้นทรายลางเปนหินแกรนิต ขอเปลี่ยนชนิดของราว
บันได ขอเปลี่ยนโทนสีที่ใช ทาผนังหอง เปนตน หรืออาจจะขอเปลี่ยนแปลงงานบางรายการเพื่ อ
ควบคุมงบประมาณใหโครงการยังคงมีความเปนไปไดในแงของการลงทุน อาทิเชน ขอลดจํานวนชั้น
ของอาคาร ขอยกเลิกวัสดุตกแตงหรูหราโดยใชวัสดุที่มีราคาต่ํากวาแทน เปนตน
ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในงานกอสรางสามารถจําแนกไดเปน 3 ประเภท อันไดแก (1)
การเปลี่ยนขอบเขตของงานกอสรางซึ่งอาจเปนการเพิ่มหรือลดรายการของงานที่คูสัญญาตกลงวาจาง
กัน ดังตัวอยางเชน การเพิ่มงานซอมแซมรั้วบานในสัญญาจางตอเติมบานพักอาศัย การยกเลิกงานปู
พื้นออกจากสัญญาจางกอสรางอาคารพาณิชย เปนตน (2) การเปลี่ยนรายละเอียดของงานในสวนของ
แบบกอสราง รายการประกอบแบบ หรือปริมาณงาน ดังตัวอยางเชน การเปลี่ยนเฉดของสีทาผนังหอง
การเพิ่มความสูงของเสาตอมอเพื่อยกระดับพื้นชั้นลาง เปนตน และ (3) การเปลี่ยนวิธีการหรือขั้นตอน
การทํางานไมวาจะเปนการเปลี่ยนทางดานเทคนิคหรือแผนงานกอสราง ดังตัวอยางเชน การเปลี่ยน
วิธีการก อสรางฐานรากจากระบบเข็มตอกเปนเข็มเจาะเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนที่จะเกิดกั บอาคาร
ขางเคียง การเปลี่ยนแผนการทํางานเพื่อใหผูวาจางสามารถเขาใชประโยชนพื้นที่บางสวนไดกอน
เปนตน
ตัวอยางของการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความตองการของผูวาจางไดแก ผูวาจางตองการให
ผูรับเหมาจัดหาและติดตั้งระบบปรับอากาศใหดวยซึ่งเปนงานที่ไมมีอยูในขอตกลงของสัญญาจางใน
ตอนแรก ผูวาจางขอเปลี่ยนจากผนังกออิฐเป นผนังกระจกเพื่อแสงสวางที่ มากขึ้น ผูวาจางขอให

[7-1]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ตกแตงพื้นที่บางสวนของอาคารสํานักงานใหแลวเสร็จกอนเพื่อที่จะไดเปดใชงานในสวนดังกลาวได
กอน เปนตน อยางไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงดังกลาวอาจสงผลใหผูรับเหมามีตนทุนกอสรางสูงขึ้น
และ/หรือใชระยะเวลาในการทํางานมากขึ้นดวย
เพื่อเปนการใหอํานาจแกผูวาจางในการเปลี่ยนแปลงงานและเพื่อชดเชยผลกระทบของการ
เปลี่ ย นแปลงดั ง กล า วที่ มี ต อ ผู รั บ เหมาก อ สร า ง สั ญ ญาจ า งก อ สร า งจึ ง มั ก จะมี ข อ กํ า หนดต า งๆที่
เกี่ยวของเพื่อใชเปนกติกาในการทํางานรวมกันและเพื่อใหเกิดความเปนธรรมตอคูสัญญาทั้งสองฝาย
ซึ่งคูสัญญาควรมีความเขาใจขอกําหนดเหลานี้อยางถี่ถวน เนื้อหาในบทนี้จึงนําเสนอรายละเอียดตางๆ
ของข อ กํ า หนดเหล า นี้ อั น ได แ ก สิ ท ธิ ข องผู ว า จ า งในการสั่ ง เปลี่ ย นแปลงงาน การออกคํ า สั่ ง
เปลี่ยนแปลงงาน สิทธิของผูวาจางในการจางผูอื่นทํางานแทนในกรณีที่ผูรับจางไมยินยอมปฎิบัติตาม
คําสั่งเปลี่ยนแปลงงาน ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงตอระยะเวลาทํางาน และผลกระทบของการ
เปลี่ยนแปลงตอตนทุนกอสราง ดังรายละเอียดตอไปนี้

2 สิทธิตามสัญญาของผูวาจางในการสั่งเปลี่ยนแปลงงาน
โดยทั่วไปสัญญากอสรางจะมีขอกําหนดที่ใหอํานาจแกผูวาจางหรือตัวแทนผูวาจางที่ไดรับ
มอบอํานาจในการสั่งเปลี่ยนแปลงงานหรือสวนใดสวนหนึ่งของงานไดตามที่ผูวาจางหรือตัวแทนผู
วาจางเห็นวาจําเปนเพื่อใหไดงานกอสรางที่มีคุณภาพและตรงกับความตองการของผูวาจางใหมาก
ที่สุด ตัวอยางขอกําหนดลักษณะนี้ไดแก
“…ผูวาจางหรือตัวแทนผูวาจางมีสิทธิในการสั่งแกไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือลดงานจาก
แบบกอสรางบางสวนในเวลาใดๆกอนที่ผูรับจางจะไดเริ่มงานกอสรางสวนนั้น และยังมิไดสั่งซื้อวัสดุที่
จะใชกับงานกอสรางสวนที่ตองการเปลี่ยนแปลงนั้น …”
“…ผูวาจางหรือตัวแทนผูวาจางสงวนสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงวัสดุบางรายการจากที่ระบุไวใน
ขอกําหนดประกอบแบบในเวลาใดๆกอนที่ผูรับจางจะไดเริ่มงานกอสรางสวนนั้น และยังมิไดสั่งซื้อวัสดุ
ที่จะใชกับงานกอสรางสวนที่ตองการเปลี่ยนแปลงนั้น …”
“…ผูวาจางหรือตัวแทนผูวาจางสงวนสิทธิที่จะเปนผูซื้อหรือจัดหาวัสดุบางรายการที่ใชในการ
กอสราง โดยผูรับจางยินยอมหักลดราคาวัสดุ ทั้งนี้ผูวาจางตองแจงใหผูรับจางทราบกอนที่ผูรับจางจะ
ไดดําเนินการซื้อวัสดุอุปกรณดังกลาวเปนทางการ …”
“…ผูวาจางหรือตัวแทนผูวาจางมีสิทธิที่จะสั่งใหผูรับจางทํางานพิเศษซึ่งไมไดแสดงไวหรือ
รวมอยูในเอกสารสัญญา หากงานพิเศษนั้นๆอยูในขอบขายทั่วไปของวัตถุประสงคแหงสัญญานี้...”
จากตัวอยางขอกําหนดในสัญญาขางตนจะเห็นไดวาสัญญากําหนดขอบเขตสิทธิของผูวาจาง
หรือตัวแทนผูวาจางในการสั่งเปลี่ยนแปลงงานดังตอไปนี้ (1) เพิ่มหรือลดปริมาณของงานจากแบบ
กอสรางสวนใดๆของสัญญา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระดับ แนว ตําแหนง และขนาดของสวนใดๆของ
งาน (2) เปลี่ยนแปลงลักษณะ คุณภาพ หรือประเภท ของวัสดุที่ใชในงาน (3) ยกเลิกวัสดุบางรายการ
ที่ผูรับเหมามีหนาที่ตองจัดหาตามสัญญา และ (4) สั่งใหผูรับเหมาปฏิบัติงานประเภทใดๆที่จําเปน
เพิ่มเติมเพื่อการแลวเสร็จของงานได

[7-2]
บทที่ 7 การเปลี่ยนแปลงในงานกอสรางโดยความตองการของผูวาจ.doc

นอกจากนี้สัญญาจางกอสรางบางแหงยังอาจจะใหสิทธิอื่นๆแกผูวาจางหรือตัวแทนผูวาจาง
อาทิเชน สิทธิในการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทํางาน สิทธิในการเปลี่ยนแปลงกําหนดเวลาสงมอบใดๆ
ของงาน เปนตน

3. การออกคําสั่งเปลี่ยนแปลงงาน
เมื่อผูวาจางตองการแกไขหรือเปลี่ยนแปลงงานสวนใดๆ ผูวาจางจะตองแจงใหผูรับเหมา
รับทราบถึงความตองการของตน สัญญาจึงควรมีขอกําหนดเกี่ยวกับขั้นตอนสําหรับผูวาจางในการสั่ง
เปลี่ยนแปลงงาน ดังตัวอยางไดแก
“…หากผูวาจางตองการเปลี่ยนแปลงสวนใดๆของงาน ผูวาจางตองแจงใหผูรับจางรับทราบ
เปนลายลักษณอักษร … ถาผูวาจางหรือตัวแทนผูวาจางออกคําสั่งเปลี่ยนแปลงงานดวยวาจา ผูวาจาง
หรือตัวแทนผูวาจางอาจมีหนังสือยืนยันคําสั่งนั้นสงใหแกผูรับจางภายใน 3 วันนับแตวันที่ออกคําสั่ง
ดวยวาจา และใหคําสั่งนั้นมีผลใชไดตั้งแตวันที่ผูวาจางหรือตัวแทนผูวาจางมีหนังสือยืนยันเปนตนไป
หรือใหผูรับจางออกหนังสือยืนยันการออกคําสั่งนั้นของผูวาจางหรือตัวแทนผูวาจางภายใน 7 วันนับ
แตวันที่ออกคําสั่งดวยวาจา และหากหลังจากนั้นผูวาจางหรือตัวแทนผูวาจางมิไดมีหนังสือโตแยงถึงผู
รับจางภายใน 7 วันหลังจากไดรับหนังสือจากผูรับจาง ใหถือวารายละเอียดที่ระบุในหนังสือยืนยัน
ดังกลาวถูกตอง และใหถือวาเปนคําสั่งที่ออกโดยผูวาจางหรือตัวแทนผูวาจางซึ่งผูรับจางมีหนาที่ตอง
ปฏิบัติตาม และใหคําสั่งนั้นมีผลใชไดตั้งแตวันที่ผูรับจางออกหนังสือยืนยันการออกคําสั่งดังกลาวเปน
ตนไป…”
จากตัวอยางขอกําหนดขางตนสัญญากําหนดไววาหากผูวาจางตองการเปลี่ยนแปลงสวนใดๆ
ของงาน ผูวาจางตองออกคําสั่งเปลี่ยนแปลงงาน (Change Order) โดยที่คําสั่งเปลี่ยนแปลงงาน
ดังกลาวจะตองเปนคําสั่งแบบเปนลายลักษณอักษร อยางไรก็ดีหากผูวาจางออกคําสั่งเปลี่ยนแปลง
งานดวยวาจา สัญญาก็ไดกําหนดขั้นตอนที่ผูวาจางและผูรับเหมากอสรางตองปฎิบัติตามเพื่อใหใน
ทายที่สุดมีเอกสารลายลักษณอักษรที่เปนหลักฐานแสดงไดวามีการออกคําสั่งจากผูวาจางเพื่อขอ
เปลี่ยนแปลงงานในสวนใดบาง
สัญญาจางกอสรางที่รัดกุมควรจะมีขอกําหนดในลักษณะทํานองเดียวกันนี้เพื่อปองกันการเกิด
ข อ โต แ ย ง ระหว า งคู สั ญ ญาในภายหลั ง ว า มี ก ารสั่ ง เปลี่ ย นแปลงงานในส ว นใดบ า งหรื อ ไม ทั้ ง นี้
ขอกําหนดของสัญญาแตละโครงการอาจมีรายละเอียดปลีกยอยที่แตกตางกันไดสุดแลวแตความ
เหมาะสมของงานและความตองการของคูสัญญา

4. สิทธิของผูวาจางในการจางผูอื่นทํางานแทนในกรณีที่ผูรับจางไมยินยอมปฎิบัติตามคําสั่ง
เปลี่ยนแปลงงาน
เมื่อสัญญาใหสิทธิแกผูวาจางในการออกคําสั่งเปลี่ยนแปลงงาน ผูรับเหมากอสรางยอมมี
หนาที่จะตองปฏิบัติตามคําสั่งเปลี่ยนแปลงงานของผูวาจางอยางเครงครัดและไมชักชา อยางไรก็ตาม
เพื่อเปนการปองกันมิใหเกิดกรณีที่ผูรับเหมาไมยินยอมปฏิบัติตามคําสั่งเปลี่ยนแปลงงานของผูวาจาง

[7-3]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

สั ญ ญามั ก จะมี ข อ กํ า หนดในทํ า นองที่ ใ ห สิ ท ธิ แ ก ผู ว า จ า งสามารถจ า งบุ ค คลอื่ น ให ก ระทํ า งานที่
เปลี่ยนแปลงแทนผูรับเหมาไดหากผูรับเหมาไมยินยอมปฏิบัติตามคําสั่งดังกลาว ดังตัวอยางไดแก
“…ถาภายใน 7 วันนับจากวันที่ผูรับจางไดรับคําบอกกลาวเปนลายลักษณอักษร หรือภายใน
กําหนดเวลาที่ผูวาจางกําหนดใหในคําบอกกลาวเปนลายลักษณอักษร ปรากฏวาผูรับจางมิไดปฏิบัติ
ตามนั้นโดยไมมีเหตุผลอันควร ใหผูวาจางมีสิทธิจางบุคคลอื่นเขาปฏิบัติงานตามคําสั่งหรือขอกําหนด
นั้นแทนได โดยที่คาใชจายทั้งหมดที่เกิดขึ้นผูวาจางจะเรียกเอาจากผูรับจางหรือหักเงินที่ผูวาจางตอง
จายหรือจะตองจายตามสัญญานี้ได…”
จากตัวอยางขอกําหนดขางตนจะเห็นไดวา หากผูรับเหมากอสรางชักชาหรือไมยอมปฏิบัติ
ตามคํ า สั่ ง เปลี่ ย นแปลงงานของผู ว า จ า ง สั ญ ญาได ใ ห สิ ท ธิ แ ก ผู ว า จ า งในการจ า งผู อื่ น ให เ ข า มา
ปฏิบัติงานแทนได โดยที่ผูวาจางสามารถเรียกรองคาใชจายที่เกิดขึ้นจากผูรับเหมาหรือหักออกจาก
เงินที่ผูรับเหมาจะไดรับในการจายเงินงวดตอไปได

5. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงตอระยะเวลาทํางาน
โดยสวนใหญคําสั่งเปลี่ยนแปลงงานของผูวาจางมักจะมีผลกระทบตอระยะเวลาทํางานของ
ผูรับเหมากอสราง จึงเปนสิ่งที่ไมยุติธรรมนักถาหากสัญญาจะใหสิทธิแกผูวาจางในการออกคําสั่ง
เปลี่ยนแปลงงานไดโดยไมคํานึงถึงผลกระทบตอระยะเวลาการทํางานของผูรับเหมาวาจะยาวนานขึ้น
กวาที่วางแผนไวเดิมหรือไม สัญญาโดยทั่วไปจึงมักจะมีขอกําหนดเกี่ยวกับระยะเวลากอสรางที่ไดรับ
ผลกระทบจากคําสั่งเปลี่ยนแปลงงานของผูวาจางดวย ตัวอยางขอกําหนดลักษณะนี้ไดแก
“…หากกําหนดการของงานกอสรางโดยผูรับจางตามสัญญานี้ตองเปลี่ยนแปลงจากระยะเวลา
ตามปกติหรือจากแผนงานที่วางไวเนื่องจากผูวาจางมีคําสั่งใหเปลี่ยนแปลงเนื้องาน หรือรูปแบบการ
กอสราง จะโดยการเพิ่มหรือลดงาน หรือเปลี่ยนแปลงวิธีการกอสรางก็ตาม ผูวาจางและผูรับจาง
จะตองตกลงระยะเวลาที่อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงกันใหม ทั้งนี้หากเหตุดังกลาวเปนเหตุที่ทําใหผูรับจาง
ใช เ วลาในการทํ า งานเพิ่ ม ขึ้ น จริ ง จะไม ถื อ เป น เหตุ แ ห ง การผิ ด สั ญ ญาและผู รั บ จ า งมี สิ ท ธิ ข ยาย
ระยะเวลากอสรางตามสัญญาออกไปได…”
จากข อ กํ า หนดข า งต น จะเห็ น ได ว า ถ า หากมี ก ารเปลี่ ย นแปลงเนื่ อ งจากคํ า สั่ ง ตามความ
ตองการของผูวาจางเกิดขึ้นอันมีผลทําใหระยะเวลากอสรางยาวนานขึ้น ผูรับเหมาก็สมควรไดรับการ
ขยายเวลาทํางาน
ตัวอยางของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความตองการของผูวาจางที่สงผลใหผูรับเหมากอสราง
จําเปนตองใชระยะเวลาในการทํางานที่ยาวนานขึ้นไดแก เหตุการณที่ผูวาจางไดออกคําสั่งใหผูรับจาง
เพิ่มจํานวนหองน้ําของงานกอสรางบานพักอาศัย 2 ชั้น อีก 1 หอง จากขอเท็จจริงปรากฏวา ณ วันที่
ผูวาจางออกคําสั่งเปลี่ยนแปลงงาน ผูรับจางไดกอสรางพื้นและผนังชั้นที่ 2 เสร็จทั้งหมดแลว คําสั่ง
ดังกลาวของผูวาจางจึงส งผลให ผูรับจ างตองรื้อถอนงานก อสรางที่ทําไปแลวบางสวนออก แกไข
โครงสรางบางสวนใหม และทําการกอสรางหองน้ําเพิ่ม ตลอดจนทํางานในสวนที่เหลือใหแลวเสร็จ
ทั้งหมด ซึ่งปรากฏวาตองใชระยะเวลาทํางานเพิ่มขึ้นจนเปนเหตุใหสงมอบงานลาชากวากําหนดการ

[7-4]
บทที่ 7 การเปลี่ยนแปลงในงานกอสรางโดยความตองการของผูวาจ.doc

ในสัญญาเปนเวลา 20 วัน ในกรณีเชนนี้หากสัญญากอสรางโครงการนี้มีขอกําหนดของสัญญาใน


ลักษณะเดียวกันกับตัวอยางขอกําหนดขางตน ผูรับเหมายอมมีสิทธิตามสัญญาที่จะไดรับการขยาย
เวลากอสรางตามสัญญาออกไปได

6. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงตอตนทุนกอสราง
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของงานอันเนื่องมาจากความตองการของผูวาจางเกิดขึ้นแลวการ
เปลี่ยนแปลงดังกลาวอาจจะไมสงผลหรืออาจจะสงผลใหเกิดงานเพิ่มหรืองานลดก็ไดแลวแตกรณี ซึ่ง
ถา หากการเปลี่ ย นแปลงที่ เ กิ ดขึ้ นมี ผ ลให เ กิ ด งานเพิ่ ม หรือ งานลด ตน ทุน งานก อสร า งก็ ยอ มต อ ง
เปลี่ยนแปลงไปดวย
โดยทั่วไปสัญญามักจะมีขอกําหนดเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงตอตนทุนกอสราง
เพื่อใหเกิดความเปนธรรมและเปนการปองกันการเกิดขอโตแยงระหวางผูวาจางกับผูรับเหมากอสราง
ทั้งนี้เนื้อหาสวนหนึ่งของขอกําหนดในลักษณะนี้ไดแก การใหสิทธิแกผูรับเหมากอสรางในการไดรับ
การปรับราคางานในสวนที่มีการเปลี่ยนแปลง ดังตัวอยางไดแก
“…หากการเปลี่ยนแปลงแบบดังกลาวทําใหปริมาณวัสดุและ/หรือแรงงานเพิ่มขึ้นหรือลดลง
จากขอบเขตของงานที่ระบุไวในสัญญากอสราง อันสงผลใหมีการเพิ่มหรือลดราคางานหรือยืดเวลา
การทํางานออกไป ใหตกลงเปนกรณีไป…”
ตัวอยางของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความตองการของผูวาจางและสงผลใหเกิดทั้งงานลด
และงานเพิ่ม อันเปนเหตุสมควรใหตองคิดราคาคางานกันใหมไดแก คําวินิจฉัยของสํานักงานอัยการ
สูงสุดที่ ห.122/2533 [2] ซึ่งมีใจความในสวนที่เกี่ยวของดังนี้
มหาวิ ท ยาลั ย แห ง หนึ่ ง ได ป ระกาศประกวดราคาจ า งเหมาก อ สร า งอาคารเรี ย นรวม แต
เนื่องจากราคาของผูเสนอราคาต่ําสุดซึ่งคิดเปนเงิน 60,800,000 บาท ยังสูงกวางบประมาณที่
มหาวิทยาลัยมีอยูคือ 55,000,000 บาท มหาวิทยาลัยจึงไดเจรจากับผูเสนอราคาต่ําสุดเพื่อตัดลด
รายการกอสรางรวม 4 รายการ คิดเปนเงิน 5,800,000 บาท อันไดแก กระเบื้องยางและบัวเชิงผนัง
ระบบกันซึม ลิฟต 2 ตัว และฝา ที-บาร ชั้นที่ 2-4 จํานวน 5,311 ตารางเมตร และไดทําการวาจางหาง
หุนสวนจํากัด พ. (ผูเสนอราคาต่ําสุด) เพื่อกอสรางอาคารเรียนดังกลาว
ในระหวางการกอสรางผูรับจางไมยอมฉาบปูนและทาสีในสวนเดิมที่มีฝาปดอยู จึงมีประเด็น
โตแยงกันวาผูรับจางจะตองฉาบปูนและทาสีในสวนเดิมที่มีฝาปดอยูหรือไมในเมื่อผูรับจางรูมาแตแรก
วามหาวิทยาลัยตัดรายการกอสรางออก 4 รายการ อีกทั้งตามแบบแปลนแผนที่ 39 ขอ 2.3.2 กําหนด
วา “ผนัง เพดาน และคานสวนที่มองเห็นใหฉาบปูนทาสี (ยกเวนสวนที่มีฝาเพดานปดไมตองฉาบ)”
ดังนั้นผนัง เพดาน และคานที่ไมมีฝาปดจึงนาจะตองฉาบปูนและทาสีดวย
กรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา ตามแบบแปลนกอสรางอาคารมีรายการกอสราง
ฝา ที-บาร ชั้นที่ 2-4 จริง ซึ่งถาหากดําเนินการกอสรางเต็มตามแบบรูปและรายละเอียดแลว ผนัง
เพดานชั้น 2-4 จะมีฝา ที-บาร ปดอยู อีกทั้งขอกําหนดในแบบแปลนแผนที่ 39 เปนการกําหนดกอน
ตัดรายการเพื่อปรับลดคากอสรางตามความตองการของผูวาจาง ดังนั้นจึงยอมจะตองเปนไปตามเดิม

[7-5]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

คือ ไมตองฉาบปูนทาสีผนังเพดาน ชั้น 2-4 ที่ไมมีฝา ที-บาร ปด นอกจากนี้ถาหากผูวาจางตองการให


ผูรับจางฉาบปูนทาสีผนังเพดาน ชั้น 2-4 ที่ไมมีฝา ที-บาร ปด งานดังกลาวจะถือวาเปนการกอสราง
เพิ่มเติมจากแบบรูปและรายการละเอียดที่มีอยูเดิม อันจะทําใหราคากอสรางเพิ่มขึ้น
อนึ่งนอกเหนือไปจากเนื้อหาเกี่ยวกับการใหสิทธิแกผูรับเหมาในการไดรับการปรับราคางาน
ในสวนที่มีการเปลี่ยนแปลงแลว ขอกําหนดเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงตอตนทุนกอสราง
ยังมีเนื้อหาสําคัญอีกสวนหนึ่งที่คูสัญญาควรใหความสนใจมากเปนพิเศษ ไดแก วิธีการคิดคํานวณ
ราคางานในสวนที่มีการเปลี่ยนแปลง
เนื่ อ งจากการกํ า หนดเงื่ อ นไขการคํ า นวณราคางานในส ว นที่ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงมี ค วาม
หลากหลาย ซึ่งขึ้นอยูกับความประสงคของคูสัญญาที่จะกําหนดรายละเอียดไวมากนอยเพียงใด ในที่นี้
จึ ง ขอยกตั ว อย า งข อ กํ า หนดเกี่ ย วกั บ การคิ ด คํ า นวณราคางานในส ว นที่ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงสั ก 3
ตัวอยาง ซึ่งมีระดับรายละเอียดของเนื้อหาจากนอยไปมากตามลําดับ ดังตอไปนี้

6.1 ตัวอยางที่หนึ่ง
“…ผูวาจางสงวนสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงวัสดุบางรายการจากที่ระบุไวในขอกําหนดประกอบ
แบบในเวลาใดๆ ที่ผูรับจางยังมิไดเริ่มงานกอสรางตามแบบแปลนที่ตองการเปลี่ยนแปลงนั้น หรือยัง
มิไดสั่งซื้อวัสดุที่จะใชสําหรับแบบแปลนสวนนั้นอยางเปนทางการ ราคาวัสดุที่จะนํามาเปลี่ยนให
ถือเอาราคาจริงที่จัดหาไดคิดหักลบตอหนวยกับราคาวัสดุที่กําหนดในบัญชีราคาที่ผูรับจางไดเสนอไว
แตเดิม ปริมาณที่เกินจากเดิมผูวาจางจะชดเชยใหแกผูรับจาง สวนที่ลดลงผูรับจางตองคิดลดใหผู
วาจาง สวนราคาคาแรงตอหนวยใหคงไวตามเดิม…”
ตัวอยางขอกําหนดนี้เปนการกําหนดวิธีการคิดราคางานเฉพาะสําหรับกรณีที่ผูวาจางตองการ
เปลี่ยนแปลงวัสดุบางรายการ ซึ่งขอกําหนดดังกลาวกําหนดใหยึดถือเอาราคาจริงของวัสดุใหมมา
คํานวณหักลบกับราคาของวัสดุเดิมตามที่กําหนดในบัญชีราคาที่ผูรับจางไดเสนอไวแตเดิม สวนราคา
คาแรงตอหนวยสัญญากําหนดใหคงไวตามเดิม
ตัวอยางเหตุการณลักษณะนี้ไดแก การที่ผูวาจางขอเปลี่ยนลายของกระเบื้องปูพื้นหองน้ํา
ตามปกติราคาของกระเบื้องจะขึ้นอยูกับลายกระเบื้องดวย ถาหากราคาของกระเบื้องลายใหมสูงกวา
ราคาของกระเบื้องลายเดิม ผูวาจางยอมจะตองชดเชยคาวัสดุที่ผูรับเหมากอสรางไดจายเพิ่มขึ้น
ในทางตรงกันขามถาหากราคาของกระเบื้องลายใหมต่ํากวาราคาของกระเบื้องลายเดิม ผูรับเหมายอม
สมควรลดราคางานใหแกผูวาจางดวย

6.2 ตัวอยางที่สอง
“…ในการเปลี่ยนแปลงแบบใดๆ ราคางานที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงใหยึดถือราคาตอหนวยที่ผู
รับจางไดเสนอไวในบัญชีแสดงปริมาณงานและราคาตอหนวยที่แนบทายสัญญาเปนเกณฑ แตหาก
เปนกรณีที่วัสดุหรืออุปกรณใดๆที่ไมไดระบุไวในสัญญา ผูวาจางและผูรับจางจะไดตกลงกันที่จะ
กําหนดอัตราหรือราคากันใหมเพื่อความเหมาะสม โดยถือราคาในตลาดขณะนั้นเปนเกณฑ ในกรณีที่

[7-6]
บทที่ 7 การเปลี่ยนแปลงในงานกอสรางโดยความตองการของผูวาจ.doc

ตกลงกันไมได ผูวาจางจะกําหนดอัตราจางหรือราคาตายตัวตามแตผูวาจางจะเห็นวาเหมาะสมและ
ถูกตอง ซึ่งผูรับจางจะตองปฏิบัติงานตามคําสั่งของผูวาจางแตอาจสงวนสิทธิที่จะนําขอโตแยงเขาสู
ขบวนการตัดสินขอพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการตอไปได...”
ตัวอยางขอกําหนดนี้เปนการกําหนดวิธีการคิดราคางานซึ่งมีรายละเอียดมากขึ้น ขอกําหนด
ดังกลาวไดจําแนกวิธีการคิดราคางานในสวนที่มีการเปลี่ยนแปลงออกเปน 2 กรณีคือ (1) กรณีของ
การเปลี่ยนแปลงที่วัสดุหรืออุปกรณที่ใชมีระบุไวในสัญญา และ (2) กรณีของการเปลี่ยนแปลงที่วัสดุ
หรืออุปกรณที่ใชไมมีระบุไวในสัญญา โดยในกรณีแรกสัญญากําหนดใหนําราคาตอหนวยที่ผูรับจางได
เสนอไวในบัญชีแสดงปริมาณงานและราคาตอหนวยที่แนบทายสัญญามาเปนเกณฑในการคํานวณ
ราคางาน ในขณะที่กรณีที่สองสัญญาไดกําหนดใหยึดถือราคาในตลาดขณะนั้นเปนเกณฑในการ
คํานวณราคางาน
ตัวอยางการคํานวณราคางานตามกรณีที่หนึ่งของขอกําหนดนี้ไดแก กรณีของงานกอสราง
ถนนลาดยางแหงหนึ่ง ระยะทางตามสัญญาประมาณ 40 กิโลเมตร เมื่องานกอสรางเริ่มตนไดไมนาน
นักผูวาจางไดขอเปลี่ยนแนวเสนทางของถนนบางชวงอันสงผลใหมีระยะทางของถนนที่ตองกอสราง
เพิ่มขึ้นอีก 800 เมตร จากการตรวจสอบขอเท็จจริงปรากฎวาการเปลี่ยนแปลงดังกลาวสงผลให
ปริมาณงานของดินตัด งานพื้นทาง งานผิวทาง และงานอื่นๆเพิ่มขึ้น ซึ่งราคาตอหนวยของงานเหลานี้
มีกําหนดอยูแลวในบัญชีแสดงปริมาณงานและราคาตอหนวยแนบทายสัญญาตั้งแตตน ดังนั้นการ
คํานวณเพื่อปรับราคางานที่เปลี่ยนแปลงยอมตองนําราคาจากบัญชีแสดงปริมาณงานและราคาตอ
หนวยมาเปนเกณฑในการคํานวณหาราคางานกันใหม
ตัวอยางการคํานวณราคางานตามกรณีที่สองของขอกําหนดนี้ไดแก กรณีของงานกอสราง
บานพักอาศัยแหงหนึ่งบนที่ดินประมาณ 100 ตารางวา ในระหวางการดําเนินงานกอสรางผูวาจาง
ตองการเปลี่ยนวัสดุปูพื้นหองรับแขกจากเดิมพื้นกระเบื้องยางเปนพื้นหินออน ผูรับจางก็ยินยอม
ปฏิบัติตามแตขอปรับราคางานเพิ่มขึ้นเนื่องจากหินออนเปนวัสดุที่มีราคาแพงกวากระเบื้องยาง ใน
กรณีเชนนี้เนื่องจากแบบและรายละเอียดกอสรางเดิมของบานหลังนี้ไมมีการใชหินออนเปนวัสดุในการ
กอสรางเลย จึงไมมีรายการหินออนในบัญชีแสดงปริมาณงานและราคาตอหนวยแนบทายสัญญา
ดังนั้นการคํานวณเพื่อปรับราคางานที่เปลี่ยนแปลงยอมตองยึดถือราคาในตลาดขณะนั้นเปนเกณฑใน
การคํานวณหาราคางานกันใหม อนึ่งถาหากคูสัญญาทั้งสองฝายไมสามารถตกลงราคากันได สัญญา
กําหนดใหฝายผูวาจางเปนผูกําหนดราคาตามที่ผูวาจางเห็นสมควรไปกอน โดยที่ผูรับเหมากอสราง
จะตองปฏิบัติงานตามคําสั่งเปลี่ยนแปลงงานของผูวาจางตอไปเพื่อไมใหงานหยุดชะงัก ซึ่งถาหาก
ผูรับเหมาไมเห็นดวยกับราคาตามที่ผูวาจางกําหนด สัญญาใหสิทธิแกผูรับเหมาในการนําเรื่องเขาสู
ขบวนการตัดสินขอพิพาทโดยใชกระบวนการอนุญาโตตุลาการเพื่อตัดสินราคางานที่เหมาะสมใน
ภายหลังได

[7-7]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

6.3 ตัวอยางที่สาม
“… “ผูควบคุมงาน” โดยความเห็นชอบของ “ผูวาจาง” จะเปนผูจัดและกําหนดราคาคาจาง
รวมกับ “ผูรับจาง” สําหรับงานเปลี่ยนแปลง การกําหนดราคาสําหรับงานเปลี่ยนแปลงใหถือกฎ
ดังตอไปนี้ ยกเวนจะตกลงกันเปนอยางอื่น
(ก) ใหใชราคาตอหนวย (Unit Price) ตามที่กําหนดใน “คาจางตามสัญญา” แนบทาย
สัญญานี้ สําหรับงานที่มีลักษณะและทําภายใตสิ่งแวดลอมที่คลายกัน แลวบวกดวยคาโสหุยและกําไร
รวมกันในอัตรารอยละสิบแปด (18%) ของเงินคาจางตอหนวย แลวบวกดวยภาษีมูลคาเพิ่มอีกรอยละ
เจ็ด (7%)
(ข) สําหรับงานที่ไมคลายหรือทําภายใตสิ่งแวดลอมที่ไมคลายกับงานที่ระบุใน “คาจาง
ตามสัญญา” ใหใชราคาตอหนวย (Unit Price) ที่กําหนดใน “คาจางตามสัญญา” เปนบรรทัดฐานใน
การกําหนดราคาเทาที่จะสามารถทําได แลวบวกดวยคาโสหุยและกําไรรวมกันในอัตรารอยละสิบแปด
(18%) ของเงินคาจางตอหนวย แลวบวกดวยภาษีมูลคาเพิ่มอีกรอยละเจ็ด (7%)
(ค) สําหรับงานที่ไมสามารถวัดและกําหนดราคาได ก็ใหใชวิธีการกําหนดราคาจากการใช
ปริมาณของแรงงาน วัสดุ อุปกรณ ที่ใชไปในการทํางานเปลี่ยนแปลงนั้น อัตราคาจางแรงงานใหใช
ตามที่ “ผูรับจาง” ไดชําระจริง สวนวัสดุอุปกรณใหใชราคาที่ “ผูรับจาง” ไดชําระใหแกผูขาย โดย
“ผูรับจาง” จะตองนําเอกสารที่เกี่ยวของมาให “ผูควบคุมงาน” ตรวจสอบและรับรองความถูกตอง แลว
บวกดวยคาโสหุยและกําไรรวมกันในอัตรารอยละสิบแปด (18%) ของราคาที่ไดชําระจริง แลวบวก
ดวยภาษีมูลคาเพิ่มอีกรอยละเจ็ด (7%)
(ง) สําหรับงานที่ลดลงหรือตัดออกไป ใหกําหนดใชราคาตอหนวย (Unit Price) ตามที่
ระบุไวใน “คาจางตามสัญญา” แลวบวกดวยคาโสหุยและกําไรรวมกันในอัตรารอยละสิบแปด (18%)
แลวบวกดวยภาษีมูลคาเพิ่มอีกรอยละเจ็ด (7%) ยกเวนในกรณีที่งานสวนที่เหลือมีนอยมากเมื่อ
เปรียบเทียบกับงานเดิม ทําให “ผูรับจาง” ไมสามารถยอมรับราคาตามที่ระบุไวใน “คาจางตามสัญญา”
ได ก็ใหกําหนดราคาของงานสวนที่เหลือตามขอ (ข) ขางตน …”
ตัวอยางขอกําหนดนี้เปนการกําหนดวิธีการคิดราคางานที่มีรายละเอียดที่คอนขางมาก โดย
จําแนกวิธีการคิดคํานวณราคางานในสวนที่มีการเปลี่ยนแปลงออกเปน 4 กรณี อันไดแก (1) กรณี
สําหรับงานที่มีลักษณะและทําภายใตสิ่งแวดลอมที่คลายกับงานที่ระบุในสัญญา (2) กรณีสําหรับงานที่
ไมคลายหรือทําภายใตสิ่งแวดลอมที่ไมคลายกับงานที่ระบุในสัญญา (3) กรณีสําหรับงานที่ไมสามารถ
วัดและกําหนดราคาได และ (4) กรณีสําหรับงานที่ลดลงหรือตัดออกไป ตามลําดับ ทั้งนี้เพื่อพยายาม
ใหมีเนื้อหาครอบคลุมรายละเอียดตางๆใหมากยิ่งขึ้น

7. การเปลี่ยนแปลงในงานกอสรางอันเนื่องมาจากสาเหตุอื่น
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในงานกอสราง นอกจากจะเกิดขึ้นไดจากความตองการของผูวาจาง
แลวยังสามารถเกิดขึ้นเนื่องจากจากสาเหตุอื่นไดอีก อันไดแก ความบกพรองของผูวาจาง ความ
ตองการของผูรับเหมากอสราง ความบกพรองของผูรับเหมากอสราง อุปสรรคในการทํางาน และ

[7-8]
บทที่ 7 การเปลี่ยนแปลงในงานกอสรางโดยความตองการของผูวาจ.doc

กฎหมายที่เปลี่ยนไป เปนตน ทั้งนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใดๆอันเนื่องมาจากสาเหตุเหลานี้เกิดขึ้น


เหตุการณดังกลาวมักจะสงผลกระทบตอการทํางานของผูรับเหมากอสรางอันอาจกอใหเกิดตนทุน
และ/หรื อ ระยะเวลาก อ สร า งเพิ่ ม ขึ้ น หรื อ ลดลงด ว ยเช น กั น เนื้ อ หาในหั ว ข อ นี้ จ ะกล า วถึ ง การ
เปลี่ยนแปลงในงานกอสรางอันเนื่องมาจากสาเหตุเหลานี้ พรอมยกตัวอยางเหตุการณและขอกําหนด
ในสัญญาประกอบ

7.1 การเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความบกพรองของผูวาจาง
ในบางครั้งผูวาจางเปนฝายที่กระทําการบางอยางบกพรองอันสงผลใหเกิดการเปลี่ยนแปลงใน
งานก อ สร า งซึ่ ง โดยส ว นใหญ ค วามบกพร อ งของผู ว า จ า งมั ก จะก อ ให เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงใน
รายละเอียดของงาน และวิธีการหรือขั้นตอนในการทํางานของผูรับเหมากอสราง ทั้งนี้ถาหากการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้เป นเหตุใ หผูรับเหมาใชตนทุนกอสรางและ/หรือระยะเวลาทํ างานเพิ่มขึ้ น
ผูรับเหมาก็สมควรไดรับการชดเชยในสิ่งที่เกิดขึ้นเหลานี้
ตัวอยางการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความบกพรองของผูวาจางไดแก เหตุการณในโครงการ
กอสรางถนนลาดยางแหงหนึ่ง ในระหวางการทํางานกอสรางผูวาจางซึ่งเปนสวนราชการไมสามารถ
เวนคืนที่ดินบางสวนจากประชาชนไดทันเวลา ผูวาจางจึงตัดสินใจเปลี่ยนแนวเสนทางกอสรางถนน
บางสวน ซึ่งตองใชระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงแบบระยะหนึ่งดวย ตอมาผูรับเหมาไดยื่นหนังสือรอง
ขอตออายุสัญญาโดยอางวา การที่ประชาชนไมยอมใหเขาทํางานกอสรางเนื่องจากปญหาการเวนคืน
ที่ดินและการเปลี่ยนแบบเนื่องจากการเปลี่ยนเสนทางใหมของผูวาจางไดสงผลใหกําหนดเวลาแลว
เสร็จของโครงการลาชาออกไป ในกรณีเชนนี้ผูวาจางสมควรที่จะตออายุสัญญาใหแกผูรับเหมาตามที่
รองขอเนื่องจากการที่ผูวาจางตองเปลี่ยนแบบเกิดจากความบกพรองของผูวาจางซึ่งผูรับเหมาไมมี
สวนดวย นอกจากนี้หากการเปลี่ยนเสนทางดังกลาวสงผลใหปริมาณงานเพิ่มสูงขึ้น ผูรับเหมาก็ยอม
สมควรไดรับการชดเชยคาใชจายที่เพิ่มขึ้นในสวนนี้ดวยเชนกัน
ตัวอยางที่สองไดแก เหตุการณที่ผูวาจางตกลงกับผูรับเหมากอสรางวาจะรับผิดชอบเปนผู
จัดหาหินออนที่จะใชในงานกอสรางใหแกผูรับเหมา ตอมาเมื่อถึงกําหนดการตามแผนงานที่ผูรับเหมา
ตองการใชหินออนปูพื้นโถง ปรากฎวาผูวาจางยังไมสามารถจัดหาและสงมอบหินออนใหแกผูรับเหมา
ได ผูรับเหมาจึงแกไขสถานการณดวยการเปลี่ยนแผนการทํางานโดยทํางานกอสรางในสวนอื่นแทน
กอนแลวคอยทํางานปูพื้นนี้ในภายหลังเมื่อผูวาจางสามารถสงมอบหินออนใหได ในกรณีที่กลาวถึงนี้
ถาหากงานปูพื้นเปนสาเหตุสําคัญที่สงผลใหกําหนดแลวเสร็จงานทั้งหมดของโครงการตองลาชา
ออกไป ผูรับเหมาก็สมควรไดรับการขยายเวลาทํางานจากผูวาจาง

7.2 การเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความตองการของผูรับเหมากอสราง
ในบางกรณีผูรับเหมากอสรางอาจรองขอเปลี่ยนแปลงงานบางรายการเพื่อประโยชนในการ
ทํางานของผูรับเหมาเองโดยไมทําใหผูวาจางเสียประโยชนจากการเปลี่ยนแปลงดังกลาว อาทิเชน

[7-9]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

การขอเปลี่ยนเสาคอนกรีตเสริมเหล็กเปนเสาเหล็กซึ่งจะทําใหดําเนินการกอสรางงายและเร็วขึ้น เปน
ตน ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสาเหตุนี้มักจะเปนการเปลี่ยนรายละเอียดของงานเปนสวนใหญ
การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้มักจะไมเปนประเด็นโตแยงเกี่ยวกับคางานเพิ่มหรือการขอขยาย
เวลาทํางาน ในทางตรงกันขามอาจจะมีประเด็นเกี่ยวกับการลดคางานหรือการลดระยะเวลาทํางาน
แลวแตกรณี
ตัวอยางขอกําหนดในสัญญาที่ใหสิทธิแกผูรับเหมาในการรองขอเปลี่ยนแปลงงาน เชน
“...ผูวาจางอาจยินยอมใหผูรับจางทําการเปลี่ยนแปลงในงานกอสรางตามคํารองขอของผู
รับจางหากจํานวนเงินตามสัญญาและ/หรือระยะเวลาที่ผูรับจางทํางานใหแลวเสร็จตามสัญญาไมสูงขึ้น
ทั้งนี้คํารองขอและการยินยอมในเรื่องดังกลาวจะตองไมทําใหงานกอสรางตามความมุงหมายแหง
สัญญานี้เสียไป และตองทําเปนลายลักษณอักษร...”
อนึ่งนอกจากขอกําหนดที่ใหสิทธิแกผูรับเหมาในการรองขอเปลี่ยนแปลงงานโดยไมทําใหผูวา
จางเสียประโยชนแลว สัญญาของโครงการกอสรางบางแหงอาจจะมีขอกําหนดที่มีชื่อเรียกกันวา
“ขอกําหนดวิศวกรรมคุณคา (Value Engineering Clause)” เพื่อเปนเงื่อนไขจูงใจใหผูรับเหมาคิดและ
เสนอแนะเทคนิคหรือขั้นตอนกอสรางอื่นที่จะชวยใหงานกอสรางมีตนทุนที่ต่ําลงดวย ทั้งนี้ถาหากผูวา
จางเห็นดวยกับวิธีการกอสรางที่ผูรับเหมาเสนอและวิธีการดังกลาวชวยใหงานกอสรางมีตนทุนที่ต่ําลง
จริง ผูรับเหมาจะไดรับเงินสวนแบงจากตนทุนที่ลดลงนี้เปนรางวัลดวย ตัวอยางของขอกําหนดใน
ลักษณะนี้ไดแก
“…ในชวงเวลาใดๆของการกอสราง ผูรับจางอาจจะยื่นขอเสนอแกผูวาจางเพื่อเปลี่ยนแปลง
การทํางานบางสวนหรือทั้งหมดเพื่อใหงานแลวเสร็จเร็วขึ้น หรือมีตนทุนคากอสรางที่ต่ําลง หรือเพื่อ
ประโยชนอื่นใดของผูวาจาง โดยคาใชจายสําหรับการจัดทําขอเสนอนี้จะถือเปนคาใชจายของผูรับจาง
แตเพียงผูเดียว … หากขอเสนอดังกลาวนี้ไดรับการอนุมัติจากผูวาจางและการปฏิบัติตามขอเสนอ
ดังกลาวนี้มีผลใหตนทุนคากอสรางลดต่ําลงและคุณภาพของงานคงเดิม ผูวาจางจะแบงตนทุนคา
กอสรางที่ลดลงนี้จํานวนครึ่งหนึ่งใหแกผูรับจาง…”
ตัวอยางขอเสนอของผูรับเหมาไดแก การขอเปลี่ยนระบบพื้นจากพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหลอ
ในที่ไปเปนพื้นคอนกรีตสําเร็จรูปซึ่งจะสงผลใหสามารถดําเนินการกอสรางไดเร็วขึ้นและมีตนทุนที่
ต่ําลง ในกรณีเชนนี้หากสัญญามีขอกําหนดวิศวกรรมคุณคาดังที่กลาวขางตน และขอเสนอนี้ของ
ผูรับเหมาชวยใหงานกอสรางมีตนทุนที่ต่ําลงจริง ผูรับเหมาจะไดรับสวนแบงตนทุนที่ลดลงจากผู
วาจางดวย

7.3 การเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความบกพรองของผูรับเหมากอสราง
ในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงของงานเกิดขึ้นเนื่องจากความบกพรองของฝายผูรับเหมากอสราง
ซึ่ ง อาจจะเกิ ด ขึ้ น โดยไม ตั้ ง ใจหรื อ ตั้ ง ใจแล ว แต ก รณี ทั้ ง นี้ โ ดยส ว นใหญ แ ล ว ความบกพร อ งของ
ผูรับเหมามักจะกอให เกิดการเปลี่ ยนรายละเอียดของงานหรือการเปลี่ยนวิ ธีการหรือขั้นตอนการ
ทํางาน ยกตัวอยางเชน การขออนุมัติเปลี่ยนแปลงแบบจากผูวาจางหรือตัวแทนผูวาจาง การปรับ

[7-10]
บทที่ 7 การเปลี่ยนแปลงในงานกอสรางโดยความตองการของผูวาจ.doc

แผนงานกอสรางบางสวนเพื่อเรงงานใหเสร็จตามกําหนดเวลา เปนตน อนึ่งหากการเปลี่ยนแปลงงาน


ในลักษณะขางตนสงผลใหผูรับเหมามีตนทุนกอสรางสูงขึ้นและ/หรือใชระยะเวลาทํางานมากขึ้น ผูวา
จางไมจําเปนตองใหความชวยเหลือดานการเงินหรือขยายเวลาทํางานใหแกผูรับเหมา
ตัวอยางการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความบกพรองของผูรับเหมากอสรางไดแก ผูวาจางทํา
สัญญาวาจางผูรับจางใหทําการกอสรางอาคารโรงอาหารพรอมหอประชุมจํานวน 1 หลัง ในชวงของ
งานฐานรากปรากฎวาผูรับจางตอกเข็มผิดตําแหนงหลายจุดทําใหเกิดการเยื้องศูนยของฐานรากหลาย
ตัว ผูรับจางจึงวางแผนแกไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยการตอกเข็มเพิ่มในบางจุดและออกแบบฐาน
รากบางสวนเพิ่ม และเสนอวิธีการแกไขดังกลาวเพื่อขอการอนุมัติจากฝายผูวาจาง ในกรณีเชนนี้
ค า ใช จา ยในการออกแบบและการแก ไ ขงานรวมถึ ง ระยะเวลาที่ ต อ งเสี ย ไปจะตกเป น ภาระความ
รับผิดชอบของผูรับจางเองทั้งสิ้น โดยจะเรียกรองจากผูวาจางมิได

7.4 การเปลี่ยนแปลงเนื่องจากอุปสรรคในงานกอสราง
งานกอสรางเปนงานที่มักจะพบกับอุปสรรคเฉพาะหนาในระหวางการดําเนินงานคอนขางบอย
มาก ตัวอยางอุปสรรคที่พบในงานกอสรางไดแก วัสดุกอสรางขาดตลาด น้ําทวม ระดับน้ําใตดินสูง
สภาพดินออน เพลิงไหม สภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจ เปนตน
หากมีอุปสรรคเกิดขึ้นระหวางการทํางาน โดยปกติผูรับเหมามีหนาที่ตองแกไขอุปสรรคให
ผานพนไปใหไดดวยระยะเวลาและคาใชจายของผูรับเหมาเอง อยางไรก็ตามในบางกรณีที่ผูรับเหมา
เห็นวาอุปสรรคที่เกิดขึ้นมิไดเปนความผิดหรือความบกพรองของฝายตน ผูรับเหมาอาจจะยื่นเรื่อง
เสนอแนวทางหรือวิธีการในการแกไขอุปสรรคดังกลาวและรองขอการชดเชยตอผูวาจางเพื่อพิจารณา
อนุมัติ ตัวอยางเชน ผูรับเหมาขอเปลี่ยนจากเสาเข็มทอนเดียวเปนเสาเข็มสองทอนเนื่องจากสถานที่
ทํางานคับแคบพรอมขอขยายเวลาทํางาน ผูรับเหมาขอเปลี่ยนขนาดเหล็กเสริมเนื่องจากเหล็กเสริม
บางขนาดขาดตลาดพรอมขอขยายเวลาทํางาน ผูรับเหมาขอใหเปลี่ยนแปลงความหนาของพื้นชั้นใต
ดินเนื่องจากระดับน้ําใตดินที่พบมีระดับสูงกวาปกติพรอมขอขยายเวลาทํางานและราคาคางานเพิ่ม
เปนตน
ทั้งนี้ถาหากขอเท็จจริงของอุปสรรคที่เกิดขึ้นเปนสิ่งที่ผูรับเหมาไมตองรับผิดจริง และอุปสรรค
ดังกลาวสงผลใหเกิดการเปลี่ยนแปลงของงานอันเปนเหตุใหผูรับเหมาใชระยะเวลาทํางานที่ยาวนาน
ขึ้นและ/หรือมีคาใชจายมากขึ้น ผูรับเหมาก็สมควรมีสิทธิไดรับการขยายเวลาและตนทุนที่เกิดเพิ่มขึ้น
ดังจะเห็นไดจากกรณีของคําวินิจฉัยของสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.73/2535 [3] ซึ่งมีใจความสวนที่
เกี่ยวของดังนี้
สํานักงาน ร. ไดทําสัญญาวาจาง บริษัท น. ใหทําการบูรณะอาคารฯ ในวงเงิน 111,580,000
บาท และตามสัญญากําหนดใหบริษัท น. เปนผูจัดหาหมอแปลงไฟฟาและดําเนินการใหมีการติดตั้ง
หมอแปลงไฟฟาแบบติดตั้งกลางแจงตั้งบนคานคอนกรีต รวมถึงเดินสายหมอแปลงไฟฟาดวย
ตอมาในระหวางการปฏิบัติงานตามสัญญา การไฟฟานครหลวงแจงวาการไฟฟาฯไมอนุญาต
ใหติดตั้งหมอแปลงไฟฟาบนคานคอนกรีต แตใหติดตั้งดวยระบบเดินสายใตดินแทน เนื่องจากการ

[7-11]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ไฟฟาฯออกประกาศเรื่องการติดตั้งหมอแปลงไฟฟาในเขตวงจรตาขายใหใชระบบเดินสายใตดิน และ
อาคารฯที่กําลังกอสรางนี้ก็อยูในวงจรตาขายดังกลาว การติดตั้งหมอแปลงไฟฟาบนคานคอนกรีตจึง
ไมอาจกระทําได ตอมาการไฟฟาฯไดแจงยอดคาใชจายการติดตั้งระบบหมอแปลงไฟฟาแบบเดินสาย
ใตดินเปนเงิน 1,401,000 บาท จากการเปลี่ยนแปลงขางตนทําใหคาใชจายในเรื่องราคาการติดตั้ง
หมอแปลงไฟฟาในสัญญาที่ลงนามกันไวแลวมีราคาสูงขึ้นอีก 950,700 บาท จึงมีประเด็นปญหาทาง
สัญญาวาคาใชจายในเรื่องราคาการติดตั้งหมอแปลงไฟฟาที่เพิ่มขึ้นอีก 950,700 บาท นี้ ควรเปน
ภาระของผูวาจางหรือผูรับจาง
ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา การที่ตองเปลี่ยนการติดตั้งระบบหมอแปลง
ไฟฟากรณีนี้ คูสัญญาไดเจรจาเพื่อแกไขสัญญาจางในสวนที่เกี่ยวกับแบบรูปและรายการละเอียดของ
ระบบหมอแปลงไฟฟา อันเปนเหตุใหมีคาใชจายในการติดตั้งสูงขึ้นนี้ มิใชเปนความผิดของฝายใด
ดังนั้นผูวาจางจึงตองรับผิดชอบคาใชจายในการติดตั้งหมอแปลงไฟฟาในสวนที่เพิ่มขึ้น

7.5 การเปลี่ยนแปลงเนื่องจากกฎหมายที่เปลี่ยนไป
การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายที่เกี่ยวของกับงานกอสรางนี้ถึงแมวาจะเปนเหตุการณที่เกิดขึ้น
ไมบอยนัก แตถาหากในระหวางการทํางานกอสรางมีการออกกฎหมายใหมหรือมีการแกไขปรับปรุง
กฎหมายที่ มีใ ช อยูเ ดิ มเกิ ดขึ้ น การเปลี่ ย นแปลงดั งกล า วมั กจะส งผลกระทบต อวิธีก ารทํ า งานของ
ผูรับเหมาเปนสวนใหญ ซึ่งจะทําใหผูรับเหมาใชตนทุนในการทํางานและ/หรือระยะเวลาในการทํางาน
มากขึ้นแลวแตกรณี
ทั้งนี้โดยทั่วไปสัญญามักจะกําหนดใหผูรับเหมาเปนผูแบกรับภาระความเสี่ยงนี้ไว กลาวคือ
หากในระหวางการกอสรางมีการออกกฎหมายใหมหรือมีการแกไขปรับปรุงกฎหมายที่มีใชอยูเดิมซึ่ง
สงผลกระทบใหผูรับเหมามีตนทุนในการทํางานที่สูงขึ้น ผูวาจางไมจําเปนตองใหความชวยเหลือใดๆ
แกผูรับเหมา
อยางไรก็ตามในสั ญญากอสร างบางแหงอาจจะมี ข อกําหนดสําหรับการปรับราคาคา งาน
กอสรางในกรณีที่มีการออกกฎหมายใหมหรือมีการแกไขปรับปรุงกฎหมายที่มีใชอยูเพื่อใหเกิดความ
เปนธรรมตอคูสัญญา ตัวอยางของขอกําหนดลักษณะนี้ไดแก
“…ผูรับจางตองปฏิบัติตามและตองใหคําบอกกลาวตางๆตามที่กําหนดในกฎหมายที่ออกมา
ไมวาในรูปใด รวมทั้งกฎกระทรวง ประกาศ คําสั่งหรือระเบียบ หรือขอบังคับขององคการบริหารสวน
ทองถิ่น หรือของเจาพนักงานผูรักษาการตามกฎหมาย ซึ่งมีอํานาจเกี่ยวกับงานกอสรางนี้ หรือที่งาน
กอสรางนี้มีสวนหรือจะมีสวนเกี่ยวพันดวย นอกจากนี้กอนจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบกอสรางแนบทาย
สัญญาหรือรายการกอสรางไมวาประการใดที่จําเปนตองทําอันเนื่องจากการที่ผูรับจางตองปฏิบัติ
ตามที่กลาวขางตน ผูรับจางจะตองมีหนังสือแจงแกผูบริหารและควบคุมการกอสรางทันที … และการ
เปลี่ยนแปลงใดๆ อันจําเปนตองทําเพราะเหตุนี้ใหถือวาเปนการเปลี่ยนแปลงในงานกอสรางที่ผูบริหาร
และควบคุมการกอสรางมีคําสั่งใหผูรับจางกระทําซึ่งจะสงผลใหผูรับจางมีสิทธิตางๆเชนเดียวกับการ

[7-12]
บทที่ 7 การเปลี่ยนแปลงในงานกอสรางโดยความตองการของผูวาจ.doc

เปลี่ยนแปลงเนื่องจากคําสั่งของผูบริหารและควบคุมการกอสรางตามขอกําหนดอื่นในสัญญานี้ทุก
ประการ…”
ตัวอยางของการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายที่มีผลกระทบตองานกอสรางไดแก ในระหวางการ
ดําเนินการกอสรางโครงการแหงหนึ่งทางราชการไดประกาศขอบังคับใหงานกอสรางอาคารทุกแหง
ตองมีผาหรืออุปกรณปองกันฝุนละอองคลุมตัวอาคาร ซึ่งขอบังคับดังกลาวสงผลใหผูรับเหมามีขั้นตอน
ในการทํางานเพิ่มขึ้น อันเปนเหตุใหตนทุนในการทํางานเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ถาหากสัญญามีขอกําหนดใน
ลักษณะดังที่กลาวถึงขางตนเกี่ยวกับการปรับราคาคางานกอสรางเนื่องจากกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไป
ผูรับเหมายอมมีสิทธิตามสัญญาที่จะรองขอตอผูวาจางใหปรับราคางานตามผลกระทบที่เกิดขึ้นกับฝาย
ตนได

8. บทสงทาย
การเปลี่ยนแปลงในงานกอสรางอันเนื่องมาจากความตองการของผูวาจางมักจะสงผลกระทบ
ตอตนทุนกอสรางและระยะเวลาในการทํางานของผูรับเหมา สัญญากอสรางจึงมักจะมีขอกําหนด
เกี่ ย วกั บ การเปลี่ ย นแปลงลั ก ษณะนี้ ไ ว โ ดยเฉพาะ ผู เ กี่ ย วข อ งในงานก อ สร า งจึ ง ควรทราบถึ ง
รายละเอียดในประเด็นตางๆที่เกี่ยวของกับขอกําหนดเหลานี้พอสมควร เนื้อหาของบทนี้ไดนําเสนอ
ขอกําหนดที่เกี่ยวของอันประกอบไปดวย สิทธิของผูวาจางในการสั่งเปลี่ยนแปลงงาน การออกคําสั่ง
เปลี่ยนแปลงงาน สิทธิของผูวาจางในการจางผูอื่นทํางานแทนในกรณีที่ผูรับจางไมยินยอมปฎิบัติตาม
คําสั่งเปลี่ยนแปลงงาน ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงตอระยะเวลาทํางาน และผลกระทบของการ
เปลี่ยนแปลงตอตนทุนกอสราง ซึ่งจะเปนขอมูลหนึ่งที่จะชวยใหผูรับเหมากอสรางเขาใจถึงสิทธิของตน
เมื่อตองเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงใดๆที่เกิดขึ้นในงานกอสรางอันจะเปนประโยชนในการปฏิบัติงาน
ตอไป
อนึ่งเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในงานกอสรางยังสามารถเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นไดอีก อันไดแก
ความบกพรองของผูวาจาง ความตองการของผูรับเหมากอสราง ความบกพรองของผูรับเหมากอสราง
อุปสรรคในการทํางาน และกฎหมายที่เปลี่ยนไป เปนตน เนื้อหาในสวนทายของบทจึงไดกลาวถึงการ
เปลี่ยนแปลงในงานกอสรางอันเนื่องมาจากสาเหตุเหลานี้ไวพอสังเขปดวย

เอกสารอางอิง
[1] คําวินิจฉัยของสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.12/2535
[2] คําวินิจฉัยของสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.122/2533
[3] คําวินิจฉัยของสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.73/2535

บรรณานุกรม
[1] “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ พ.ศ. 2535”, สวัสดิการสํานักงานปลัดสํานัก
นายกรัฐมนตรี, เมษายน, 2535

[7-13]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

[2] “เอกสารรวบรวมสัญญาเกี่ยวกับงานกอสราง”, สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ,


พิมพครั้งที่ 1, พฤษภาคม 2534
[3] “สัญญามาตรฐานงานจางเหมากอสราง”, วิศวกรรมสถานแหงประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ, พิมพครั้งที่ 2, 2541
[4] “Conditions of Contract for Works of Civil Engineering Construction”, (1987 and
reprinted in 1992 with further amendments), Federation Internationale Des Ingenirurs-
Conseils (FIDIC), 4th Edition, 1992.
[5] “Conditions of Contract for Construction for Building and Engineering Works Designed
by the Employer”, Federation Internationale Des Ingenirurs-Conseils (FIDIC), 1st
Edition, 1999.
[6] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “การเปลี่ยนแปลงในงานกอสราง: สาเหตุและ
ผลกระทบ”, ขาวชาง, สมาคมอุตสาหกรรมกอสรางแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ,
ปที่ 30, ฉบับที่ 367, ธันวาคม, หนา 38-42, 2545
[7] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “ขอกําหนดในสัญญาที่เกี่ยวของกับการเปลี่ยนแปลง
เนื่องจากความตองการของผูวาจาง (ตอนที่ 1)”, ขาวชาง, สมาคมอุตสาหกรรมกอสรางแหง
ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่ 31, ฉบับที่ 369, กุมภาพันธ, หนา 40-42, 2546
[8] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “ขอกําหนดในสัญญาที่เกี่ยวของกับการเปลี่ยนแปลง
เนื่องจากความตองการของผูวาจาง (ตอนที่ 2)”, ขาวชาง, สมาคมอุตสาหกรรมกอสรางแหง
ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่ 31, ฉบับที่ 370, มีนาคม ถึง เมษายน, หนา 40-43,
2546
[9] นคร พจนวรพงษ และ อุกฤษ พจนวรพงษ, “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ
พ.ศ. 2535”, ฟสิกสเซนเตอร, 2538
[10] ชาญชัย แสวงศักดิ์, “สาระนารูเกี่ยวกับระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ พ.ศ.
2535 ฯ”, สํานักพิมพนิติธรรม, พิมพครั้งที่ 1, 2542
[11] Jervis, B. M. and Levin, P., “Construction Law: Principles and Practice”, McGraw-Hill
Publishing Company, New York, 1998.
[12] Vanichvatana, S., “Predicting Consequential Effects of Construction Project Changes”,
Ph.D. Dissertation, Department of Civil Engineering, Construction Engineering and
Management, The University of California, Berkeley, 1993.
[13] O’Brien, J. J., “Construction Change Orders: impact, avoidance, documentation”,
McGraw-Hill, 1998.
[14] Turner, D. F. and Turner, A., “Building Contract Claims and Disputes”, 2nd Edition,
Longman, 1999.
[15] Uff, J., “Construction Law: law and practice relating to the construction industry”, 5th
Edition, London, Sweet & Maxwell, 1991.

[7-14]
บทที่ 8
การขยายระยะเวลากอสราง
(Extension of Construction Time)

1. บทนํา
ความลาชาในการทํางานเปนปญหาหนึ่งที่พบมากในงานกอสราง เมื่อผูรับเหมาไมสามารถ
หรือคาดวาจะไมสามารถดําเนินงานกอสรางใหแลวเสร็จตามกําหนดเวลาในสัญญาได ผูรับเหมา
อาจจะเรียกรองตอผูวาจางเพื่อขอขยายระยะเวลากอสรางออกไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งในบางครั้งผูวาจางก็
อาจเห็ น ด ว ยที่ ข ยายระยะเวลาก อ สร า งให แต ใ นบางครั้ ง ผู ว า จ า งก็ อ าจมี ค วามเห็ น แตกต า งกั บ
ผูรับเหมาจึงไมขยายระยะเวลากอสรางใหตามที่ผูรับเหมารองขอ
ในกรณีที่ผูวาจางและผูรับเหมามีความคิดเห็นเกี่ยวกับการขยายระยะเวลากอสรางไมตรงกัน
นี้ ความคิดเห็นที่ไมตรงกันดังกลาวอาจสงผลรุนแรงถึงขั้นกลายเปนขอพิพาทระหวางกันได การ
พิจารณาการขอขยายระยะเวลากอสรางของผูรับเหมาจึงจําเปนตองใชหลักเกณฑและวิธีการที่มี
เหตุผลเปนที่ยอมรับของคูสัญญาทั้งสองฝาย
โดยทั่วไปหลักในการพิจารณาวาผูรับเหมาสมควรไดรับการขยายระยะเวลากอสรางหรือไม
นั้นขึ้นอยูกับปจจัยหลัก 2 ประการอันไดแก (1) สาเหตุของความลาชาที่เกิดขึ้น และ (2) ขอกําหนด
ของสัญญาระหวางคูสัญญาทั้งสองฝาย
เนื้อหาของบทนี้ในสวนแรกจะกลาวถึงสาเหตุของความลาชาที่อาจเกิดขึ้นและประเภทของ
ความลาชา ซึ่งโดยทั่วไปสาเหตุของความลาชาพอจะถูกแบงออกได 3 กลุม อันไดแก สาเหตุที่เกิด
จากความบกพรองของผูรับเหมา สาเหตุที่เกิดจากความบกพรองของผูวาจาง และสาเหตุที่มิไดเกิด
จากความบกพรองของฝายใด ตอจากนั้นเนื้อหาในสวนตอไปจะกลาวถึงขอกําหนดของสัญญาที่
เกี่ยวของกับการขยายระยะเวลา ซึ่งประกอบดวยสิทธิในการขยายเวลาและแนวทางปฏิบัติเพื่อใชสิทธิ
ทั้งนี้ยังไดนําเสนอกรณีตัวอยางแนวทางการวินิจฉัยที่เกี่ยวของบางสวนในอดีตเพื่อเปนขอมูลในการ
ทําความเขาใจถึงแนวทางในการพิ จารณาขอเรียกรองเพื่ อขอขยายระยะเวลากอสรางไดดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ในตอนทายของบทจะกลาวถึงการเก็บหลักฐานประกอบการรองขอขยายระยะเวลา การ
ขยายระยะเวลาสําหรับความลาชาที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุพรอมกัน และคาปรับเนื่องจากการสง
มอบงานลาชา โดยสังเขป

2. สาเหตุของความลาชา
ความลาชาของงานกอสรางเกิดขึ้นไดจากสาเหตุตางๆหลายประการ ซึ่งพอจะจัดเปนกลุมได
ดังตอไปนี้

[8-1]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

(1) กลุมสาเหตุ ที่ เกี่ยวของกับ วัสดุและอุปกรณ อาทิเ ชน การวางแผนจัดหาวัสดุแ ละ


อุปกรณที่ผิดพลาด วัสดุและอุปกรณบางชนิดขาดตลาด การใชวัสดุและอุปกรณคุณภาพต่ําทําใหตอง
แกไขงาน มีวัสดุและอุปกรณเสียหายจํานวนมาก การเลือกซื้อวัสดุและอุปกรณจากผูขายที่ขาดความ
รับผิดชอบ เปนตน
(2) กลุมสาเหตุที่เกี่ยวของกับแรงงาน อาทิเชน ความขาดแคลนแรงงานในบางฤดูกาล
การวางแผนจัดหาแรงงานที่ผิดพลาด การปวยของแรงงาน อุบัติเหตุในการทํางาน การขาดฝมือและ
ประสิทธิภาพในการทํางาน การขาดความกระตือรือรนและความรับผิดชอบของแรงงาน การประทวง
นัดหยุดงาน การขาดการฝกอบรมแรงงานใหกาวทันเทคโนโลยี เปนตน
(3) กลุ ม สาเหตุ ที่ เ กี่ ย วข อ งกั บ เครื่ อ งจั ก ร อาทิ เ ช น การวางแผนจั ด หาเครื่ อ งจั ก รที่
ผิดพลาด การเลือกเชาเครื่องจักรจากผูใหเชาที่ขาดความรับผิดชอบ การเลือกใชเครื่องจักรที่ไม
เหมาะสมกับงาน การชํารุดของเครื่องจักรในขณะปฏิบัติงาน การขาดการบํารุงรักษาเครื่องจักรที่ดี
เปนตน
(4) กลุมสาเหตุที่เกี่ยวของกับการวางแผนงานและควบคุมการทํางาน อาทิเชน การขาด
ประสิทธิภาพและทัศนคติที่ดีในการประสานงาน การขาดบุคลากรที่มีความรูความชํานาญ การขาด
บุคลากรที่มีประสบการณ การที่บุคคลากรแตละตําแหนงตองแบกรับหนาที่และความรับผิดชอบมาก
เกินไป การตัดสินใจอนุมัติเอกสารที่ลาชา ความลาชาในการขออนุญาตจากหนวยงานราชการที่
เกี่ยวของ เปนตน
(5) กลุมสาเหตุที่เกี่ยวของกับการเงิน อาทิเชน การขาดแคลนเงินลงทุน การวางแผน
จัดหาเงินลงทุนหมุนเวียนที่ไมเหมาะสม การไดรับวงเงินสินเชื่อต่ําจากผูขายวัสดุ ความผันผวนของ
คาเงินและอัตราแลกเปลี่ยน เปนตน
(6) กลุมสาเหตุที่เกี่ยวของกับผูรับเหมาชวง อาทิเชน การเลือกทํางานกับผูรับเหมาชวงที่
ขาดความสามารถและความรั บ ผิ ด ชอบ ผู รั บ เหมาช ว งประสบป ญ หาทางการเงิ น การขาดการ
ประสานงานระหวางผูรับเหมาชวงดวยกันเอง การทะเลาะกันระหวางผูรับเหมาชวงหลายราย เปนตน
(7) กลุมสาเหตุที่เกี่ยวของกับวิธีการกอสราง อาทิเชน ความไมสมบูรณของแบบกอสราง
การเปลี่ยนแปลงแบบกอสราง การจัดขั้นตอนการทํางานที่ผิดพลาด การแกไขงานที่กอสรางผิดแบบ
รูปและรายละเอียดของงาน การขาดเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย การเลือกใชเทคโนโลยีที่ไม
เหมาะสม เปนตน
(8) กลุมสาเหตุที่เกี่ยวของกับสถานที่กอสราง อาทิเชน การสงมอบสถานที่กอสรางลาชา
อุปสรรคทางกายภาพของสถานที่กอสราง การรื้อยายระบบสาธารณูปโภค เกิดปญหาขอพิพาทกับ
บุคคลในพื้นที่บริเวณขางเคียง สภาวะอากาศที่ไมเหมาะสม ปรากฏการณทางธรรมชาติที่เลวราย
เปนตน

[8-2]
บทที่ 8 การขยายระยะเวลากอสราง.doc

3. ประเภทของความลาชา
ในทางสากลความลาชาในงานกอสรางสามารถแบงออกไดเปน 3 ประเภท อันไดแก ความ
ลาชาที่ยกโทษใหไมได (Non-excusable delay) ความลาชาที่ยกโทษใหได (Excusable delay) และ
ความลาชาที่ควรไดรับการชดเชย (Compensable delay) ซึ่งมีความหมายดังตอไปนี้
(1) ความลาชาที่ยกโทษใหไมได (Non-excusable delay) หมายถึง ความลาชาที่มี
สาเหตุจากความบกพรองของผูรับเหมากอสราง อันไดแก การขาดประสิทธิภาพในการทํางาน การ
ขาดแรงงานกอสราง การแก ไขงานที่ผิดรูปแบบและรายละเอียดของงาน การทํางานที่ ลาชาของ
ผูรับเหมาชวง เปนตน ความลาชาประเภทนี้ผูรับเหมากอสรางไมสมควรไดรับการขยายเวลาทํางาน
(2) ความลาชาที่ยกโทษใหได (Excusable delay) หมายถึง ความลาชาที่ไมไดมีสาเหตุ
จากความบกพรองของผูวาจางและผูรับเหมากอสราง หรือความลาชาที่มีสาเหตุจากเหตุการณที่อยู
นอกเหนื อ ความควบคุ ม ของคู สั ญ ญาทั้ ง สองฝา ย อั น ได แก สภาวะอากาศที่ ไ ม อ าจคาดการณ ไ ด
ปรากฏการณทางธรรมชาติ สงคราม การประทวงของแรงงานที่ไมไดเกิดขึ้นจากการกระทําของ
ผูรับเหมา เปนตน ความลาชาประเภทนี้ผูรับเหมากอสรางสมควรไดรับเฉพาะการขยายเวลาทํางาน
(3) ความลาชาที่ควรไดรับการชดเชย (Compensable delay) หมายถึง ความลาชาที่มี
สาเหตุจากความบกพรองของผูวาจาง อันไดแก ผูวาจางสงมอบสถานที่กอสรางลาชา ผูวาจางไม
สามารถสง มอบวั ส ดุ กอสรา งให แก ผู รับ เหมาไดอยางทั น เวลา ผูวาจ างออกคําสั่ง หรืออนุมัติแบบ
กอสรางลาชา ผูวาจางสั่งหยุดงานโดยไมมีเหตุอันสมควร ผูรับเหมาชวงที่ผูวาจางแตงตั้งทํางานลาชา
เปนตน ความลาชาประเภทนี้ผูรับเหมากอสรางสมควรไดรับทั้งการขยายเวลาทํางานและเงินชดเชย
ตนทุนที่เกิดเพิ่มขึ้นเนื่องจากความลาชาดังกลาว
จากเนื้อหาขางตนจะเห็นไดวาผูรับเหมากอสรางสมควรไดรับการขยายระยะเวลากอสรางถา
หากสาเหตุของความลาชาเขาขายความลาชาประเภทที่ 2 และ 3 อนึ่งถึงแมวาความลาชาประเภทที่
สองและสามขางตนจะเปนความลาชาที่ผูรับเหมากอสรางสมควรไดรับการขยายเวลาทํางาน แตใชวา
การรองขอขยายเวลาตามความลาชาทั้งสองประเภทนี้จะไดรับการอนุมัติจากผูวาจางเสมอไป ทั้งนี้
เนื่องจากการที่ผูรับเหมาที่จะไดรับการขยายเวลาหรือไมนั้นยังขึ้นอยูกับขอกําหนดในสัญญาอีกดวย
ซึ่งจะไดกลาวถึงในหัวขอตอไป

4. ขอกําหนดในสัญญาที่เกี่ยวของกับการขยายเวลา
เนื่ อ งจากการขอขยายระยะเวลาก อ สร า งเป น ประเด็ น ข อ เรี ย กร อ งหนึ่ ง ที่ พ บมากในงาน
กอสร าง สั ญญากอสรางจึงมักจะมี ขอกําหนดที่เ กี่ย วของกั บการขอขยายเวลาอยูดว ย ซึ่ งเนื้อหา
ประเด็นหลักๆไดแก สิทธิในการขยายเวลา และแนวทางปฏิบัติเพื่อใชสิทธิ ดังรายละเอียดตอไปนี้

4.1 สิทธิในการขยายเวลา
โดยทั่วไปสัญญามักจะกําหนดสิทธิของผูรับเหมาไวในทํานองวาในกรณีใดบางที่ผูรับเหมาจะ
ไดรับสิทธิการขยายเวลาและในกรณีใดบางที่จะไมไดรับสิทธิ ทั้งนี้เพื่อเปนการปองกันการเกิดขอ

[8-3]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

โตแยงระหวางคูสัญญาในภายหลัง ในที่นี้จะนําเสนอตัวอยางขอกําหนดในสัญญาทั้งแบบที่ใหสิทธิและ
แบบที่ไมใหสิทธิขยายเวลาแกผูรับเหมา

4.1.1 ขอกําหนดที่ไมใหสิทธิขยายเวลาแกผูรับเหมา
ตัวอยางที่หนึ่ง ไดแก
“...ผูวาจางมีสิทธิสั่งระงับการกอสรางหรือสั่งใหรื้อถอน เปลี่ยนแปลง แกไข หากเห็นวางาน
กอสรางที่ผูรับจางกระทํานั้นผิดแบบหรือรายละเอียดที่แนบทายสัญญานี้ หรือตรวจพบวาสัมภาระที่ใช
หรือที่จะใชไมมีคุณภาพดีพอ หรือไมตรงตามแบบหรือรายละเอียดที่แนบทายสัญญานี้ เมื่อผูรับจาง
ไดรับคําสั่งดังกลาวแลวจะตองปฏิบัติตามคําสั่งนั้นทันทีโดยเปนผูเสียคาใชจายตางๆเอง … และความ
ลาชาเนื่องจากเหตุดังกลาวนี้ผูรับจางจะยกขึ้นเปนเหตุขอขยายเวลาการทํางานตามสัญญานี้ไมได…”
จากขอกําหนดขางตน ถาหาก (1) ผูรับเหมาทํางานผิดแบบหรือรายละเอียดแนบทายสัญญา
หรือ (2) ผูวาจางตรวจพบวาผูรับเหมาใชหรือจะใชสัมภาระที่ไมมีคุณภาพดีพอ หรือไมตรงตามแบบ
หรือรายละเอียดแนบทายสัญญา สัญญาใหสิทธิแกผูวาจางในการ (1) สั่งระงับ หรือ (2) สั่งใหรื้อถอน
เปลี่ยนแปลง หรือแกไขงาน โดยที่ถาหากการปฏิบัติตามคําสั่งดังกลาวเปนสาเหตุทําใหงานกอสราง
ลาชาออกไป ผูรับเหมาจะไมมีสิทธิไดรับการขยายเวลาในสวนนี้
ตัวอยางที่สอง ไดแก
“...การลาชาของผูขายวัสดุเครื่องจักรและอุปกรณที่ใชในการกอสรางนั้น ผูรับจางจะถือเปน
ขออางเพื่อเปลี่ยนแปลงวัสดุใหม หรือยืดเวลากอสรางไมได ยกเวนกรณีเกิดจากความบกพรองของผู
วาจาง...”
จากขอกําหนดขางตน ถาหากผูขายวัสดุ อุปกรณ หรือเครื่องจักรไดกระทําการใดๆอันเปน
เหตุใหงานกอสรางตองลาชา อาทิเชน ผูขายสงวัสดุใหในปริมาณที่ไมเพียงพอตอการใชงาน ผูขาย
จัดสงเครื่องจักรใหลาชา เปนตน ผูรับเหมาจะนําเหตุดังกลาวมาใชอางเพื่อขอขยายเวลาทํางานจากผู
วาจางไมได ทั้งนี้สัญญาไดยกเวนกรณีที่ความลาชาดังกลาวเกิดจากความบกพรองของผูวาจาง
ตัวอยางที่สาม ไดแก
“…ผู รั บ จ า งจะตอ งจั ด หาคนยามรั ก ษาความปลอดภั ย ในเวลากลางวัน และกลางคื น เพื่ อ
ปองกันการโจรกรรมวัสดุและเครื่องมือการกอสราง หากเกิดของหายหรือถูกโจรกรรมเปนหนาที่ของผู
รับจางที่จะติดตอแจงความเปนเจาทุกขเอง และจะนํามาเปนขออางในการตอเวลาสัญญากอสราง
ไมได…”
จากข อ กํ า หนดข า งต น ถ า หากในระหว า งการดํ า เนิ น งานก อ สร า งวั ส ดุ ห รื อ เครื่ อ งมื อ การ
กอสรางของผูรับเหมาสูญหายหรือถูกโจรกรรม ผูรับเหมาจะนําเหตุดังกลาวมาใชอางเพื่อขอขยาย
เวลาทํางานจากผูวาจางไมได เนื่องจากสัญญาไดกําหนดใหเปนหนาที่ของผูรับเหมาที่จะตองจัดหา
เวรยามทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนเพื่อรักษาความปลอดภัย

[8-4]
บทที่ 8 การขยายระยะเวลากอสราง.doc

4.1.2 ขอกําหนดที่ใหสิทธิขยายเวลาแกผูรับเหมา
ตัวอยางที่หนึ่ง ไดแก
“…เมื่อผูรับจางรองขอขยายระยะเวลากอสราง ผูวาจางมีอํานาจพิจารณาขยายกําหนดเวลา
งานแลวเสร็จหากเห็นวาการทํางานของผูรับจางตองลาชาเนื่องจากเหตุอันควรอยางใดอยางหนึ่ง
ดังตอไปนี้
(1) ผูวาจางไมสามารถสงมอบพื้นที่ใหผูรับจางเขาทํางานที่จางไดทั้งหมด
(2) เหตุสุดวิสัย
(3) เกิดการจลาจล สงครามกลางเมือง หรือประเทศตกอยูในภาวะสงคราม
(4) งานที่จางสวนที่ไดลงมือทําไปแลวไดรับความเสียหายอันเนื่องจากการกระทําของบุคคล
หรือคณะบุคคลที่ไมไดอยูในความรับผิดชอบของผูรับจาง
(5) ผูวาจางขอใหแกไขเพิ่มเติมงานบางสวน
(6) เกิดภาวะขาดแคลนวัสดุอุปกรณที่ใชในการกอสรางงาน
(7) เกิดความลาชาและอุปสรรคเนื่องจากงานที่ไมไดอยูในความรับผิดชอบของผูรับจาง…”
จากขอกําหนดขางตน สัญญาไดกําหนดเหตุการณตางๆไวอยางจําเพาะเจาะจงซึ่งถาหากมี
เหตุการณใดเหตุการณหนึ่งเกิดขึ้นแลวผูรับเหมามีสิทธิตามสัญญาที่จะไดรับการขยายเวลาทํางาน
ออกไป เหตุการณดังกลาวไดแก เหตุสุดวิสัย ผูวาจางขอใหแกไขเพิ่มเติมงานบางสวน เปนตน
ตัวอยางที่สอง ไดแก
“…หากมีเหตุใดอันเปนพฤติการณที่ผูรับจางไมตองรับผิดตามกฎหมาย ทําใหผูรับจางไม
สามารถปฏิบัติงานใหแลวเสร็จตามกําหนดเวลาแหงสัญญานี้ได ผูวาจางจะพิจารณาตออายุสัญญาให
หากผูรับจางแจงเหตุดังกลาวพรอมหลักฐานเพื่อขอขยายเวลาทํางานออกไปภายใน 20 วัน นับถัด
จากวันที่เหตุนั้นสิ้นสุดลง…”
จากขอกําหนดขางตน ถาหากสาเหตุของความลาชาของงานกอสรางเขาขายเปนพฤติการณ
ที่ผูรับจางไมตองรับผิดตามกฎหมาย สัญญากําหนดใหผูวาจางพิจารณาตออายุสัญญาใหแกผูรับเหมา
แตทั้งนี้ผูรับเหมาจะไดรับสิทธิดังกลาวก็ตอเมื่อไดแจงเหตุพรอมหลักฐานตางๆใหแกผูวาจางภายใน
ระยะเวลาที่สัญญานี้กําหนดไว

อนึ่งจากตัวอยางขอกําหนดตางๆขางตนจะเห็นไดวาในบางกรณีเหตุการณอันเปนที่มาของ
การใหสิทธิหรือการไมใหสิทธิขยายเวลากอสรางแกผูรับเหมาก็เปนสิ่งที่เห็นไดชัดและตัดสินไดงาย
อาทิเชน ผูรับจางทํางานผิดแบบ ผูวาจางขอใหแกไขเพิ่มเติมงานบางสวน เปนตน แตในหลายกรณีก็
อาจเป น เหตุ ก ารณ ที่ คู สั ญ ญาทั้ ง สองฝ า ยอาจมี ค วามคิ ด เห็ น แตกต า งกั น อาทิ เ ช น เหตุ สุ ด วิ สั ย
พฤติการณที่ผูรับจางไมตองรับผิด เปนตน ดังนั้นการศึกษาแนวทางการวินิจฉัยที่เกี่ยวของระหวาง
คูสัญญาเพื่อทําความเขาใจเกี่ยวกับเหตุการณที่คูสัญญาทั้งสองฝายอาจมีความคิดเห็นแตกตางกันจึง
เปนสิ่งจําเปนอยางยิ่งในการปฏิบัติงานกอสรางไมวาผูปฏิบัติงานจะอยูในฐานะของฝายผูวาจางหรือ
ฝายผูรับเหมากอสรางก็ตาม ซึ่งตัวอยางแนวทางการวินิจฉัยที่เกี่ยวของนี้จะถูกกลาวถึงโดยสังเขปใน
หัวขอที่ 5 ของบทนี้

[8-5]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

4.2 แนวทางปฏิบัติเพื่อใชสิทธิ
ถึงแมวาสัญญาจะมีขอกําหนดในทํานองที่วากรณีใดบางที่ผูรับเหมาที่จะไดรับสิทธิขยาย
ระยะเวลาทํางาน แตผูรับเหมาอาจจะไมไดรับสิทธิดังกลาวหากไมกระทําตามแนวทางปฏิบัติเพื่อใช
สิทธิตามที่สัญญากําหนดขึ้น หรืออาจกลาวอีกนัยหนึ่งไดวาถาหากผูรับเหมาไมปฏิบัติตามแนวทาง
ปฏิบัติในสัญญาเพื่อใชสิทธิก็จะถือวาเปนการสละสิทธิ์ในการขอขยายเวลา ตัวอยางของขอกําหนด
ลักษณะนี้ไดแก
“...ในการขอขยายเวลาทําการตามสัญญา หรือลดหรืองดคาปรับ ผูรับจางตองแสดงเจตนา
เปนหนังสือถึงผูวาจางกอนวันที่ผูรับจางมีหนังสือขอสงงานงวดสุดทายตอผูวาจาง มิฉะนั้นถือวาผู
รับจางไดสละสิทธิในการขอขยายเวลาทําการตามสัญญา...”
จากขอกําหนดขางตน สัญญากําหนดไววาถาหากผูรับเหมาตองการขอขยายเวลา ผูรับเหมา
จะตองแสดงเจตนาเปนหนังสือถึงผูวาจางกอนวันที่ผูรับเหมามีหนังสือขอสงงานงวดสุดทายตอผู
วาจาง มิฉะนั้นจะถือวาผูรับเหมาไดสละสิทธิที่จะขอขยายเวลา
อีกตัวอยางหนึ่ง ไดแก
“…ในกรณี ที่ มี เ หตุ สุ ด วิ สั ย ทํ า ให ผู รั บ จ า งไม ส ามารถทํ า งานให แ ล ว เสร็ จ ตามเงื่ อ นไขและ
กําหนดเวลาแหงสัญญานี้ได ผูรับจางจะตองแจงเหตุดังกลาวพรอมหลักฐานเปนหนังสือใหผูวาจาง
ทราบ เพื่อขอขยายเวลาทํางานออกไปภายใน 15 วัน นับถัดจากวันที่เหตุนั้นสิ้นสุดลง … ถาผูรับจาง
ไมปฏิบัติใหเปนไปตามความขางตน ใหถือวาผูรับจางไดสละสิทธิเรียกรองในการที่จะขอขยายเวลา
ทํางานออกไปโดยไมมีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น…”
จากขอกําหนดขางตน สัญญากําหนดไววาถาหากผูรับเหมาตองการขอขยายเวลาเนื่องจากมี
เหตุสุดวิสัยเกิดขึ้น ผูรับเหมาตองแจงเหตุดังกลาวพรอมหลักฐานเปนหนังสือใหผูวาจางรับทราบ
ภายในระยะเวลา 15 วัน นับถัดจากวันที่เหตุนั้นสิ้นสุดลง มิฉะนั้นแลวผูวาจางจะถือวาผูรับเหมาได
สละสิทธิที่จะขอขยายเวลาดวยเหตุดังกลาว

5. ตัวอยางแนวทางการวินิจฉัยที่เกี่ยวของกับการขอขยายระยะเวลากอสราง
เนื่ อ งจากการศึ ก ษาแนวทางการวิ นิ จ ฉั ย ที่ เ กี่ ย วข อ งระหว า งคู สั ญ ญาจะสามารถช ว ยให
ผูปฏิบัติงานเขาใจถึงแนวทางการพิจารณาขอเรียกรองเพื่อขอขยายเวลากอสรางไดดียิ่งขึ้น เนื้อหาใน
สวนนี้จึงนําเสนอแนวทางการวินิจฉัยที่เกี่ยวของบางสวนในอดีต โดยแบงแนวทางการวินิจฉัยเหลานี้
ออกเปน 3 หมวดหลัก อันไดแก (1) แนวทางการวินิจฉัยกรณีที่เขาขายความบกพรองของผูวาจาง
(2) แนวทางการวินิจฉัยกรณีที่เขาขายเหตุสุดวิสัย และ (3) แนวทางการวินิจฉัยกรณีที่เขาขาย
พฤติการณที่ผูรับจางไมตองรับผิด ดังรายละเอียดตอไปนี้

5.1 ตัวอยางแนวทางการวินิจฉัยกรณีที่เขาขายความบกพรองของผูวาจาง

[8-6]
บทที่ 8 การขยายระยะเวลากอสราง.doc

ความบกพรองของผูวาจางเปนสาเหตุหนึ่งที่อาจทําใหงานกอสรางเกิดความลาชาออกไปได
ทั้งนี้เนื่องจากความบกพรองของผูวาจางเปนสิ่งที่ผูรับเหมากอสรางไมสามารถควบคุมไดดวยตนเอง
การกําหนดใหผูรับเหมาตองรับภาระสาเหตุของความลาชาในสวนนี้จึงไมนาจะเปนสิ่งที่เหมาะสม
ดังนั้นสัญญาจางงานกอสรางโดยทั่วไปจึงมักจะมีขอกําหนดเกี่ยวกับการใหสิทธิแกผูรับเหมาในการขอ
ขยายเวลาการทํางานไดถาหากสาเหตุของความลาชานั้นเกิดจากความบกพรองของฝายผูวาจาง
อนึ่งเนื่องจากเหตุการณที่ถือเปนความผิดหรือความบกพรองของผูวาจางที่พบในงานกอสราง
มีหลายลักษณะ เนื้อหาในสวนนี้จึงขอนําเสนอบางลักษณะของเหตุการณความผิดหรือความบกพรอง
ของผูวาจาง อันไดแก การไมสงมอบสถานที่กอสรางหรือสงมอบสถานที่กอสรางลาชา การพิจารณา
อนุมัติลาชา และความบกพรองในการประสานงาน ตามลําดับ

5.1.1 การไมสงมอบสถานที่กอสรางหรือสงมอบสถานที่กอสรางลาชา
เนื่องจากการจัดหาสถานที่เพื่อทําการกอสรางมักจะเปนภาระหนาที่ของผูวาจาง เมื่อผูวาจาง
ไมสามารถสงมอบหรือสงมอบสถานที่กอสรางใหแกผูรับเหมาลาชา ยอมเปนการกระทําที่ถือเปน
ความบกพรองของผูวาจาง ซึ่งตัวอยางเหตุการณที่เกิดขึ้นในงานกอสรางไดแก กรณีที่ปรากฎในคํา
วินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.108/2535 [1] และหนังสือหารือที่ มท. 1002/4493 กรมอัยการ ลง
วันที่ 17 เมษายน 2524 [2] ดังจะกลาวถึงตามลําดับตอไปนี้
คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.108/2535 มีใจความสวนที่เกี่ยวของดังนี้ กรม อ. (ผูวา
จาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการกอสรางโรงงานฝกงาน 4 ชั้น จํานวน 1 หลัง ที่
วิทยาลัยเทคนิคแหงหนึ่ง ในโครงการนี้สัญญาจางกําหนดใหผูรับจางเริ่มลงมือทํางานจางภายในวันที่
17 มิถุนายน 2534 ปรากฏวาในวันที่ 17 มิถุนายน 2534 วิทยาลัยเทคนิคฯไมสามารถสงมอบสถานที่
กอสรางใหไดเพราะยังรื้ออาคารเกา 2 หลัง พรอมขนยายเครื่องจักรไมเสร็จ จนกระทั่งถึงวันที่ 9
สิงหาคม 2534 วิทยาลัยเทคนิคฯจึงไดรื้อถอนเสร็จ และผูรับจางไดเริ่มทําการกอสรางในวันที่ 10
สิงหาคม 2534
ตอมาผูรับจางมีหนังสือลงวันที่ 3 มิถุนายน 2535 ขอตอสัญญาออกไปอีก 54 วัน โดยอางเหตุ
ดังกลาว กรม อ. (ผูวาจาง) จึงขอหารือสํานักงานอัยการสูงสุดเกี่ยวกับกรณีดังกลาว ในกรณีนี้
สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา หากขอเท็จจริงเปนดังที่ผูรับจางกลาวอางคือ ความลาชาเกิดขึ้น
เพราะผูวาจางไมสามารถสงมอบสถานที่กอสรางใหผูรับจางเขาทํางานไดจริง ผูรับจางยอมไมตองรับ
ผิด
หนังสือหารือที่ มท. 1002/4493 กรมอัยการ ลงวันที่ 17 เมษายน 2524 มีใจความสวนที่
เกี่ยวของดังนี้ สํานักงาน พ. (ผูวาจาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการกอสรางคลองสงน้ําดาด
คอนกรีตและอาคารชลประทาน ในโครงการนี้ระหวางการดําเนินงานกอสรางผูรับจางมีหนังสือแจงถึง
อุปสรรคในการกอสรางวาเจาของที่ดินเขตแนวคลองไมยินยอมใหกอสราง ตองรอการเก็บเกี่ยวพืชผล
เสร็ จ ก อ น จึ ง จะสามารถดํ า เนิ น การก อ สร า งได และผู รั บ จ า งได อ า งเหตุ นี้ เ พื่ อ ขอต อ อายุ สั ญ ญา
ขอเท็จจริงมีอยูวาที่ดินที่ทําการกอสรางคลองสงน้ํามิไดเปนทรัพยสินของผูวาจาง แตเปนที่ดินที่

[8-7]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ราษฎรใหความยินยอมใหกอสรางแนวคลองผาน ซึ่งราษฎรใหรอเสร็จสิ้นฤดูทํานากอนจึงจะทําการ
กอสรางได จึงไดเกิดปญหาโตแยงขึ้นระหวางผูวาจางและผูรับจาง
ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุด (กรมอัยการในขณะนั้น) มีความเห็นวา ที่ดินที่ใชกอสราง
เปนของราษฎรที่ยินยอมใหสวนราชการ (ผูวาจาง) ใชที่ดินนั้นเพื่อทําการกอสราง จึงเปนหนาที่ของผู
วาจางที่จะดําเนินการใหที่ดินนั้นอยูในสภาพที่ใชทําการกอสรางไดตามสัญญา เมื่อผูรับจางไดแจงให
ผูวาจางทราบถึงอุปสรรคดังกลาวพรอมดวยหลักฐานภายในกําหนดเวลาตามที่กําหนดไวในสัญญา ก็
ตองถือวากรณีเปนความบกพรองของฝายผูวาจางที่ไมสามารถดําเนินการใหที่ดินนั้นอยูในสภาพที่ใช
ทําการกอสรางไดตามสัญญา กรณีจึงมีเหตุอันควรตออายุสัญญาใหผูรับจางได

5.1.2 การพิจารณาอนุมัติลาชา
หากมีการอนุมัติใดๆที่ผูวาจางใชเวลาในการพิจารณานานจนกระทั่งสงผลใหงานลาชา ถือ
เปนความบกพรองของผูวาจาง ซึ่งตัวอยางเหตุการณที่เกิดขึ้นในงานกอสรางไดแก กรณีที่ปรากฎใน
คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.10/2536 [3] ดังจะกลาวถึงตอไปนี้
คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.10/2536 มีใจความสวนที่เกี่ยวของดังนี้ กรม ส. (ผูวา
จาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการกอสรางตอเติมอาคารเรียนแบบพิเศษ 4 ชั้น ระยะเวลา
กอสรางประมาณ 365 วัน ในโครงการนี้ผูรับจางทํางานแลวเสร็จลาชากวาที่กําหนดในสัญญาเปน
ระยะเวลา 168 วัน และผูรับจางไดยื่นหนังสือขอตออายุสัญญาออกไปอีก 634 วัน โดยอางวาเหตุที่ทํา
ใหงานลาชาเปนเพราะตองเสียเวลารอฟงผลการพิจารณาจากผูวาจางเกี่ยวกับการตอเชื่อมอาคาร
ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา การที่ผูรับจางไมสามารถกอสรางอาคารให
แลวเสร็จภายในกําหนดเวลาตามสัญญาไดเปนเพราะอาคารเดิมไมมีคาน R7 ที่จะตอเชื่อมตาม
รูปแบบได ซึ่งเปนพฤติการณที่ผูรับจางไมตองรับผิดชอบ และเมื่อผูวาจางไดตัดสินผลการพิจารณา
ปญหาเกี่ยวกับคาน R7 ซึ่งผูรับจางไดรับแจงจากผูวาจางภายหลังจากที่พนกําหนดเวลาแลวเสร็จตาม
สัญญาไปแลว จึงทําใหผูรับจางไมสามารถกอสรางอาคารใหแลวเสร็จตามสัญญาได ซึ่งหากอาคารเดิม
มีคาน R7 ที่จะกอสรางตอเชื่อมอาคารได หรือกรม ส. ไดพิจารณาเงื่อนไขที่ผูรับจางเสนอขอเพิ่ม
คาจางและขยายเวลาสัญญาเพื่อกอสรางคาน R7 ขึ้นใหมใหเปนที่ตกลงกันโดยเร็วแลว ผูรับจางก็อาจ
กอสรางอาคารใหแลวเสร็จภายในกําหนดเวลาตามสัญญาได กรณีเชนนี้จึงเปนเหตุที่เกิดจากความผิด
ของผูวาจางฝายเดียว

5.1.3 ความบกพรองในการประสานงาน
ในกรณีที่ผูวาจางเปนสวนราชการ ความบกพรองของผูวาจางที่มักจะพบบอยอีกลักษณะหนึ่ง
ได แก ความบกพร องในการประสานงานโดยเฉพาะอยางยิ่งกรณีของการประสานงานกั บหนว ย
ราชการแหงอื่ น ซึ่งตัวอยางเหตุการณที่เ กิดขึ้นในงานกอสรางไดแก กรณีที่ปรากฎในคําวินิจฉัย
สํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.50/2538 [4] และคําวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจการจางในโครงการ
กอสรางถนนแหงหนึ่ง

[8-8]
บทที่ 8 การขยายระยะเวลากอสราง.doc

คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.50/2538 มีใจความสวนที่เกี่ยวของดังนี้ การประปา


สวนภูมิภาค (ผูวาจาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการวางทอโครงการเรงรัดการขยายระบบ
ประปาชนบท ในโครงการนี้ตามแบบแปลนกําหนดใหผูรับจางวางทอเมนจายน้ําตามแนวถนนของ
กรมทางหลวงและมีจุดดันทอลอดใตถนนหนึ่งจุด ผูรับจางไดเขาดําเนินการตามสัญญา แตแขวงการ
ทางจังหวัด อ. (หนวยงานราชการอีกแหงหนึ่งซึ่งมิใชผูวาจาง) ขอใหระงับการกอสรางเนื่องจากผูวา
จางยังไมไดขออนุญาตวางทอและดันทอลอดถนนในเขตทางหลวง ตอมาการประปาสวนภูมิภาค
(ผูวาจาง) จึงไดทําเรื่องขออนุญาตตอแขวงการทางจังหวัด อ. หลังจากนั้นผูวาจางแจงใหผูรับจางเขา
ทําการกอสราง โดยแขวงการทางจังหวัด อ. ไดอนุญาติใหดําเนินการไปกอนได รวมระยะเวลาที่ผู
รับจางหยุดงานเพื่อรอการขออนุญาตประมาณ 33 วัน
ผูรับจางไดทํางานแลวเสร็จและสงมอบงานตามสัญญา ซึ่งเกินกําหนดแลวเสร็จในสัญญาไป
26 วัน ผูวาจางจึงไดปรับผูรับจางตามจํานวนวันที่เกินกําหนด ตอมาผูรับจางไดรองเรียนขอความเปน
ธรรมกรณีที่ถูกปรับ ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา การที่ผูวาจางตองขออนุญาตวาง
ทอและดันทอลอดถนนในเขตทางหลวงตอแขวงการทางจังหวัด อ. ใหไดกอน อันเปนเหตุทําใหผูรับ
จางตองรอผลการอนุมัติเปนระยะเวลา 33 วันนั้น เปนเหตุที่เกิดจากความบกพรองของสวนราชการ
อันมิใชความผิดหรือความบกพรองของฝายผูรับจาง ผูรับจางจึงมีสิทธิที่จะขอขยายเวลาหรือของด
คาปรับได
คําวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจการจางในโครงการกอสรางถนนแหงหนึ่ง มีใจความสวนที่
เกี่ยวของดังนี้ ผูวาจางไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการกอสรางถนนลาดยางในป 2543 ซึ่งมีความ
กวาง 6.00 เมตร ระยะทาง 2.860 กิโลเมตร พรอมสะพาน คสล. 3 แหง รวมความยาว 42 เมตร ใน
วงเงินคาก อสรางประมาณ 11,600,000 บาท ในโครงการนี้ผูวาจางมี ความบกพรองในการ
ประสานงานใหการไฟฟาสวนภูมิภาค (หนวยงานราชการอีกแหงหนึ่งซึ่งมิใชผูวาจาง) รื้อถอนอุปกรณ
เสาไฟฟาที่กีดขวางการกอสราง ในระหวางการกอสรางผูรับจางจึงไมสามารถกอสรางถนนบางสวนได
โดยสามารถรื้อบดอัดคันทางเดิมดานที่ไมติดเสาไฟฟาไดเทานั้น สวนคันทางดานที่ติดเสาไฟฟา ไม
สามารถกอสรางขยายคันทางไดสะดวก เนื่องจากมีเสาไฟฟากีดขวางอยูตลอดแนว โดยเฉพาะใน
บริเวณที่จะตองกอสรางสะพาน 3 แหง ไมสามารถตอกเสาเข็มไดเนื่องจากมีเสาไฟฟาและสายไฟฟา
กีดขวาง
ขอเท็จจริงเพิ่มเติมมีอีกวาผูวาจางไดประสานงานกับการไฟฟาสวนภูมิภาคใหรื้อยายเสา
ไฟฟาออกจากแนวเขตสรางถนนตั้งแตกอนทําสัญญากับผูวาจางประมาณ 60 วัน แตการไฟฟาสวน
ภูมิภาคไดดําเนินการยายเสาไฟฟาเสร็จเรียบรอยหลังจากวันทําสัญญาเปนระยะเวลาประมาณ 95 วัน
ผูรับจางจึงไดทําหนังสือเรียกรองขอขยายเวลาการดําเนินงานตอคณะกรรมการตรวจการจาง ในกรณี
นี้คณะกรรมการตรวจการจางไดพิจารณาแลวมีความเห็นวา เหตุอุปสรรคเสาไฟฟากีดขวางการ
กอสรางในสายทางตามที่ผูรับจางกลาวอางในการขอขยายระยะเวลาทํางานครั้งนี้เปนความผิดของผู
วาจางที่ดําเนินการรื้อยายเสาไฟฟาออกจากพื้นที่กอสรางลาชา ทําใหผูรับจางไมสามารถทํางานจาง
ใหแลวเสร็จทันเวลาสัญญา จึงถือเปนเหตุที่เกิดจากความผิดหรือความบกพรองของสวนราชการ และ
สามารถนํามาพิจารณาขยายเวลาทําการตามสัญญาใหแกผูรับจางได ตามจํานวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้น

[8-9]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

จริง ซึ่งตอมาอธิบดีหัวหนาสวนราชการที่เปนผูวาจางก็ไดพิจารณาและอนุมัติตามที่คณะกรรมการ
ตรวจการจางเสนอ

5.2 ตัวอยางแนวทางการวินิจฉัยกรณีที่เขาขายเหตุสุดวิสัย
เนื่องจากเหตุสุดวิสัยเปนเหตุการณที่ผูรับเหมากอสรางไมสามารถควบคุมได สัญญากอสราง
โดยส ว นใหญ จึ ง ให สิ ท ธิ ใ นการขอขยายเวลาแก ผู รั บ เหมาถ า หากมี เ หตุ สุ ด วิ สั ย เกิ ด ขึ้ น ตั ว อย า ง
เหตุการณหนึ่งที่ถือวาเปนเหตุสุดวิสัยไดแก กรณีที่ปรากฏตามหนังสือหารือที่ มท. 1002/6678 กรม
อัยการ ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2522 [5] ดังจะกลาวถึงตอไปนี้
หนังสือหารือที่ มท. 1002/6678 กรมอัยการ ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2522 มีใจความในสวนที่
เกี่ยวของดังนี้ กรม ท. (ผูวาจาง) ไดทําสัญญาจางเหมายอยและขนสงหินคลุกจํานวน 830 ลูกบาศก
เมตร ในโครงการนี้ผูรับจางขอตออายุสัญญาเปนเวลา 60 วัน โดยอางวาเกิดอุทกภัยน้ําทวมเสนทาง
สายที่ใชเปนเสนทางขนสงวัสดุตามปกติและทางราชการสั่งปดถนน จึงไมสามารถดําเนินการไดตาม
สัญญา ทั้งนี้ขอเท็จจริงมีอยูวา กรม ท. ไดตรวจสอบแหลงวัสดุอื่นที่อาจใชทดแทนได พบวามี 2 แหลง
แหลงที่หนึ่งนั้นเสนทางการขนสงมีน้ําทวม คอสะพานขาด สวนแหลงที่สองนั้น ไมมีรายงานน้ําทวม
แตมีระยะทางจากแหลงถึงหนางานไกลมากเมื่อเปรียบเทียบกับแหลงที่ใชตามปกติ
ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุด (กรมอัยการในขณะนั้น) มีความเห็นวา การที่เสนทางที่ใช
ขนสงวัสดุตามปกติของผูรับจางถูกน้ําทวมจนทางราชการสั่งปดถนนเปนเหตุใหผูรับจางไมสามารถ
ขนสงวัสดุไดนั้น ยอมถือเปนเหตุสุดวิสัยไดตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 8 และการ
จะบังคับใหผูรับจางขนสงทางอื่นโดยเสียคาใชจายแพงขึ้นนั้น ยอมไมเปนธรรม จึงสมควรตออายุ
สัญญาใหผูรับจางเทาเวลาที่มีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้น
อนึ่งเนื่องจากการพิจารณาวาเหตุการณใดเหตุการณหนึ่งที่เกิดขึ้นจะถือวาเปนเหตุสุดวิสัยได
หรือไมนั้นยังมีรายละเอียดที่ตองพิจารณาอีกมาก จึงขอแยกเนื้อหาในสวนที่เกี่ยวของกับเหตุสุดวิสัยนี้
ไปไวในบทที่ 13 โดยเฉพาะ

5.3 ตัวอยางแนวทางการวินิจฉัยกรณีที่เขาขายพฤติการณที่ผูรับจางไมตองรับผิด
ความลาชาของงานกอสรางอันเนื่องมาจากพฤติการณที่ผูรับจางไมตองรับผิดตามกฎหมาย
เปนอีกสาเหตุหนึ่งที่สัญญาโดยทั่วไปใหสิทธิแกผูรับเหมาในการขอขยายเวลาทํางานหรือของดหรือ
ลดคาปรับได
เนื่องจากคําวา “พฤติการณที่ผูรับจางไมตองรับผิดตามกฎหมาย” สามารถถูกตีความหมายได
หลากหลาย เนื้อหาในสวนนี้จึงขอแสดงกรณีตัวอยางเหตุการณในงานกอสรางสวนหนึ่ง ซึ่งสํานักงาน
อัยการสูงสุดไดเคยมีคําวินิจฉัยวาเหตุการณดังกลาวเขาขายพฤติการณที่ผูรับจางไมตองรับผิด โดย
เริ่มตนจากกรณีบุคคลภายนอกเขาขัดขวางการกอสราง กรณีผูรับจางไมสามารถนําวัสดุจากแหลง
วัสดุที่ผูวาจางไดระบุไวโดยเฉพาะเจาะจงมาใชได กรณีกฎกระทรวงที่เกี่ยวของออกลาชาเกินควร

[8-10]
บทที่ 8 การขยายระยะเวลากอสราง.doc

กรณี บ ริ ษั ท ผู ผ ลิ ต ขาดแคลนวั ต ถุ ดิ บ และผู รั บ จ า งไม ส ามารถซื้ อ จากแหล ง อื่ น แทนได และกรณี
ระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจการจางใชในการตรวจรับงาน ตามลําดับ

5.3.1 กรณีบุคคลภายนอกเขาขัดขวางการกอสราง
หากในระหว า งการทํ า งานก อ สร า งมี บุ ค คลภายนอกเข า ขั ด ขวางการทํ า งานโดยที่
ผูรับเหมากอสรางไมมีสวนผิด ถือไดวาเหตุการณดังกลาวเปนพฤติการณที่ผูรับจางไมตองรับผิด ซึ่ง
ตัวอยางเหตุการณที่เกิดขึ้นในงานกอสรางไดแก กรณีที่ปรากฎในคําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่
ห.76/2538 [6] และ ห.190/2528 [7] ดังที่จะกลาวถึงตอไปตามลําดับ
คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.76/2538 มีใจความในสวนที่เกี่ยวของดังนี้ จังหวัด พ.
(ผูวาจาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งในการดําเนินการขุดลอกหนองทุงทาสําเภา ความยาว 7.800
กิโลเมตร คิดเปนคากอสรางทั้งสิ้นประมาณ 16,800,000 บาท ระยะเวลากอสราง 240 วัน ใน
โครงการนี้พื้นที่กอสรางที่ผูรับจางตองเขาดําเนินการตามสัญญาเปนพื้นที่ที่ราษฎรไดบุกรุกจับจองอยู
กอนแลว ราษฎรจึงไดรวมตัวรองเรียนสื่อมวลชนประทวงการขุดลอกคลองและใหหยุดโครงการขุด
ลอกไวกอน ในขณะเดียวกันผูรับจางยังไดประสบปญหาอื่นๆอีกหลายดานอาทิเชน เกิดอุทกภัย เปน
ตน ซึ่งผูวาจางไดขยายเวลาการกอสรางใหแกผูรับจางจํานวน 69 วัน
เมื่อถึงกําหนดระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาและระยะเวลาที่ผูวาจางไดขยายใหแลว ราษฎรยัง
ไดขัดขวางการกอสรางอยูตลอด แตผูรับจางยังสามารถทําการขุดลอกคลองและทําการกอสรางใน
สวนของโครงการกอสรางตางๆ จนกระทั่งประมาณ 2 เดือนตอมา ราษฎรไดขัดขวางมิใ ห
เครื่องจักรกลของผูรับจางดําเนินการกอสราง เนื่องจากแนวเขตกอสรางคันคลองตามรูปแบบที่ผู
วาจางกําหนดไวรุกล้ําที่ทํากินของราษฎร ทําใหราษฎรไมยินยอมยกที่ดินใหทําการกอสราง ผูรับจาง
จึงไดแจงเหตุเปนหนังสือขอหยุดทําการกอสรางชั่วคราว และในวันเดียวกันผูวาจางไดมีคําสั่งใหผูรับ
จางหยุดทําการกอสรางจนกวาผูวาจางจะไดทําการตรวจสอบขอเท็จจริงแลวเสร็จ ตอมาผูวาจางกับ
ราษฎรที่เดือดรอนไดรวมกันตรวจสอบแนวกอสรางเพื่อหาแนวทางแกไขและเมื่อผูวาจางแกไขแนว
ก อสร า งเสร็ จเรี ย บรอยแลว ก็ไ ดมีหนัง สือแจงให ผู รับ จา งไปขอรับ แบบแปลนและเขาดํ า เนิน การ
กอสรางตอ รวมระยะเวลาหยุดทําการกอสราง 328 วัน
ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา ชวงเวลาที่ผูวาจางไดสั่งใหผูรับจางหยุดทํา
การกอสราง รวมเปนระยะเวลาทั้งสิ้น 328 วัน เนื่องจากแนวกอสรางคันคลองรุกล้ําที่ทํากินของ
ราษฎร ทําใหราษฎรไมยอมยกที่ดินใหผูรับจางทําการกอสรางตามรูปแบบ จนกระทั่งผูวาจางแกไข
แบบแปลนเสร็จเรียบรอยและแจงใหผูรับจางเขาไปดําเนินการกอสราง ยอมถือไดวาเปนเหตุเกิดจาก
พฤติ ก ารณ อั น หนึ่ ง อั น ใดที่ ผู รั บ จ า งไม ต อ งรั บ ผิ ด ชอบ จึ ง เป น กรณี ที่ ผู ว า จ า งใช ดุ ล พิ นิ จ ขยาย
กําหนดเวลาทํางานและงดคาปรับใหแกผูรับจางไดตามสัญญา
คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.190/2528 มีใจความในสวนที่เกี่ยวของดังนี้ กรม ส.
(ผูวาจาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งในการดําเนินการกอสรางอาคารเรียนและบานพักครู ในโครงการนี้
ผู รับ จางไดทํ าเรื่ องของดคาปรับ โดยอางวามีก ารขมขูเ รีย กค าคุมครองจากกลุมอิท ธิพ ลในทอ งที่
ตลอดจนมีการปลนและหามคนงานทําการกอสราง ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา

[8-11]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

การที่มีการขมขูเรียกคาคุมครองจากกลุมอิทธิพลในทองที่ ตลอดจนมีการปลนและหามคนงานทําการ
กอสราง เปนกรณีที่อาจปองกันได โดยขอรับความคุมครองจากทางราชการ ทั้งปรากฏขอเท็จจริงดวย
วาหลังจากผูรับจางถูกคุกคาม ทางโรงเรียนก็ไดทําหนังสือขอความคุมครองจากนายอําเภอทองที่ เมื่อ
เจาหนาที่ตํารวจหนวย นปพ. เขาควบคุมสถานการณ ผูรับจางก็สามารถปฏิบัติงานไดตามปกติ กรณี
ดังกลาวจึงมิใชเหตุสุดวิสัย ตามมาตรา 8 ตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย
อยางไรก็ดีแมกรณีจะฟงไดวาการขมขูเรียกคาคุมครองมิใชเหตุสุดวิสัยที่จะตออายุสัญญาได
แตหากการที่ผูรับจางทํางานเสร็จลาชากวากําหนดตามสัญญาเนื่องจากพฤติการณซึ่งผูรับจางไมตอง
รับผิดแลว ผูรับจางยังหาไดชื่อวาผิดนัดไม ดังนั้นในกรณีเชนนี้ผูวาจางจึงไมอาจใชสิทธิปรับผูรับจาง
ในชวงเวลาดังกลาวได

5.3.2 กรณีผูรับจางไมสามารถนําวัสดุจากแหลงวัสดุที่ผูวาจางไดระบุไวโดยเฉพาะเจาะจงมาใชได
ในงานกอสรางบางโครงการผูวาจางอาจเปนผูกําหนดแหลงวัสดุใหผูรับเหมากอสรางตอง
นํามาใชในการกอสรางโดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งถาหากวาในระหวางการดําเนินงานผูรับเหมาไมสามารถ
จัดหาวัสดุจากแหลงดังกลาวไดเนื่องจากวาแหลงวัสดุดังกลาวไมมีวัสดุอีกตอไปโดยมิไดเกิดจาก
ความผิดของผูรับเหมา ผูรับเหมายอมที่จะสามารถขอขยายเวลาดําเนินการได ซึ่งตัวอยางเหตุการณ
ที่เกิดขึ้นในงานกอสรางไดแก กรณีที่ปรากฎในคําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.71/2538 [8] ดัง
จะกลาวถึงตอไปนี้
คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.71/2538 มีใจความในสวนที่เกี่ยวของดังนี้ สํานักงาน ร.
(ผูวาจาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการกอสรางทางหลวงชนบทชั้นที่ 4 ผิวจราจรลาดยางแบบ
ผิวเรียบ ระยะทาง 7.533 กิโลเมตร คิดเปนเงินคาจางทั้งสิ้นประมาณ 18,600,000 บาท ในโครงการนี้
ผูวาจางไดกําหนดแหลงดินจากบอดินยืมไวแลวในเอกสารแนบทายสัญญาตั้งแตในขณะประกวดราคา
วาตองเปนบอดินยืมของใคร ตั้งอยูที่ใด ราคาซื้อและราคาขนสงเทาใด ซึ่งเทากับวาทางผูวาจางได
ระบุแหลงวัสดุเพื่อใชในการสรางทางไวโดยเฉพาะเจาะจงแลว ผูเขาประกวดราคาและผูรับจางจึงตอง
นําราคาซื้อและระยะทางขนสงจากบอดินยืมที่ไดระบุไวโดยเฉพาะเจาะจงดังกลาวมาคํานวณตั้งเปน
ฐานในการคิดราคาคาจางกอสรางแลวทําสัญญากันตามนั้น แตเมื่อปรากฏขอเท็จจริงภายหลังจากทํา
สัญญาแลววา แหลงดินจากบอดินยืมที่ผูวาจางกําหนดไวโดยเฉพาะเจาะจงไมมีดินแลวเนื่องจาก
เจา ของบ อดิน ยื ม ได ข ายให ผูอื่ น ไปแล ว ทํา ให ผูรับ จา งไม ส ามารถปฏิ บัติง านกอ สร า งไดโ ดยมิใ ช
ความผิดของผูรับจาง กรณีจึงถือไดวาการชําระหนี้ยังมิไดกระทําลงเพราะพฤติการณอันใดอันหนึ่งซึ่ง
ลูกหนี้ไมตองรับผิด ผูรับจางจึงยังไมตกเปนผูผิดนัด

5.3.3 กรณีกฎกระทรวงที่เกี่ยวของออกลาชาเกินควร
หากความลา ช าของงานก อสร า งเกิดขึ้ นเนื่ อ งจากกฎกระทรวงที่ เ กี่ ย วข องออกล าช า เกิ น
สมควร จะไมถือวาเปนความผิดของผูรับจาง ซึ่งตัวอยางเหตุการณที่เกิดขึ้นในงานกอสรางไดแก
กรณีที่ปรากฎในหนังสือหารือที่ มท. 1002/10457 กรมอัยการ ลงวันที่ 3 กันยายน 2523 [9] ดังที่จะ
กลาวถึงตอไปนี้

[8-12]
บทที่ 8 การขยายระยะเวลากอสราง.doc

หนังสือหารือที่ มท. 1002/10457 กรมอัยการ ลงวันที่ 3 กันยายน 2523 มีใจความในสวนที่


เกี่ยวของดังนี้ กรม ท. (ผูวาจาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการจัดหาและขนสงหินผิว มีกําหนด
แลวเสร็จภายใน 50 วัน ในโครงการนี้ผูรับจางไมสามารถดําเนินการใหแลวเสร็จเมื่อครบกําหนด
สัญญา เพราะไมมีวัตถุระเบิดที่จะมาทําการระเบิดหินเนื่องจากรัฐบาลไดออกพระราชบัญญัติอาวุธปน
ฯ (ฉบับที่ 7) แตยังไมไดประกาศกฎกระทรวงในสวนที่เกี่ยวของ จึงทําใหไมสามารถซื้อขายวัตถุ
ระเบิดได ตอมาเมื่อมีการประกาศกฎกระทรวงผูรับจางจึงไดทํางานใหแลวเสร็จ ซึ่งเกินกําหนดอายุ
สัญญาไป 53 วัน
ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุด (กรมอัยการในขณะนั้น) มีความเห็นวา ขณะทําสัญญาตอง
ถื อ ว า ผู รั บ จ า งควรจะได รู ว า ยั ง ไม มี ป ระกาศกฎกระทรวงเกี่ ย วกั บ การซื้ อ ขายวั ต ถุ ร ะเบิ ด ได ต าม
กฎหมาย ซึ่งทําใหการซื้อขายวัตถุระเบิดไมสามารถทําได การที่ผูรับจางทําสัญญาโดยมีกําหนดเวลา
สงมอบที่แนนอนจึงเปนการตัดสินใจที่ไมรอบคอบ การคํานวณเวลาการออกกฎกระทรวงผิดพลาดไป
จึงไมใชเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 8
อยางไรก็ดีการที่มีอุปสรรคเพราะเหตุที่กฎกระทรวงออกลาชาเกินสมควรอันมิใชความผิดของ
ผูรับจางนั้น ผูรับจางควรไดรับการพิจารณาใหความเปนธรรมตามควรแกกรณี ซึ่งเปนดุลพินิจของผู
วาจางจะพิจารณาลดเบี้ยปรับตามที่เห็นสมควร

5.3.4 กรณีบริษัทผูผลิตขาดแคลนวัตถุดิบและผูรับจางไมสามารถซื้อจากแหลงอื่นแทนได
ในกรณี ที่ ผู รั บ เหมาก อ สร า งจั ด หาอุ ป กรณ เ พื่ อ นํ า มาใช ใ นงานก อ สร า งล า ช า เนื่ อ งจาก
บริ ษั ท ผู ผ ลิ ต ขาดแคลนวั ต ถุ ดิ บ และผู รั บ เหมาไม ส ามารถซื้ อ จากแหล ง อื่ น แทนได จะถื อ ว า เป น
พฤติการณที่ผูรับจางไมตองรับผิด ซึ่งตัวอยางเหตุการณที่เกิดขึ้นในงานกอสรางไดแก กรณีที่ปรากฎ
ในหนังสือหารือที่ มท. 1002/10713 กรมอัยการ ลงวันที่ 10 กันยายน 2523 [10] ดังที่จะกลาวถึง
ตอไปนี้
หนังสือหารือที่ มท. 1002/10713 กรมอัยการ ลงวันที่ 10 กันยายน 2523 มีใจความในสวนที่
เกี่ยวของดังนี้ มหาวิทยาลัยแหงหนึ่ง (ผูวาจาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการกอสรางปรับปรุง
หองปฏิบัติการเคมี ในโครงการนี้ระหวางการทํางานงวดที่ 2 ผูรับจางไดตอทอควันและทําปลองควัน
เพื่อติดตั้งพัดลมดูดควันเรียบรอยแลวยกเวนแตการติดตั้งพัดลมซึ่งมิไดมีการระบุชนิดหรือยี่หอไวใน
สัญญา แตผูวาจางตองการใหเปนพัดลมชนิดทนกรดทนดาง ผลิตโดยบริษัท A. Gallenkamp แหง
ประเทศอังกฤษ ผูรับจางจึงไดดําเนินการจัดหาพัดลมดังกลาวและมีหนังสือขอตออายุสัญญา 2 ครั้ง
โดยอางวาผูรับจางยังไมไดรับพัดลมจากประเทศอังกฤษ
ตอมาเมื่อผูรับจางไดรับพัดลมดังกลาวและไดติดตั้งเรียบรอยแลว ปรากฏวางานเสร็จลาชา
กวากําหนดในสัญญา 90 วัน จึงถูกปรับ ผูรับจางจึงรองเรียนขอความเปนธรรมและขอคืนเงินคาปรับ
โดยอางวาเหตุที่ลาชานั้นเปนเพราะผูรับจางตองรอพัดลมจากประเทศอังกฤษตามความตองการของผู
วาจาง
ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุด (กรมอัยการในขณะนั้น) มีความเห็นวา เหตุที่งานจางตอง
แลวเสร็จลาชากวากําหนดในสัญญาเพราะบริษัทผูผลิตไมสามารถสงพัดลมใหไดเนื่องจากในชวงนั้นมี

[8-13]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

การขาดแคลนวัตถุดิบ และทั้งหากขอเท็จจริงฟงไดวา พัดลมยี่หอดังกลาวไมอาจติดตอสั่งซื้อไดจาก


แหลงอื่นนอกจากบริษัทผูผลิต กรณียอมถือไดวาเหตุแหงการลาชาดังกลาวเกิดขึ้นจากพฤติการณ
นอกเหนือความรับผิดของผูรับจาง ผูรับจางจึงไมตองรับผิด

5.3.5 กรณีระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจการจางใชในการตรวจรับงาน
ในการสงมอบงาน ระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจการจางใชในการตรวจรับงานนั้น จะถือวา
เปนความผิดของผูรับจางมิได ซึ่งตัวอยางเหตุการณที่เกิดขึ้นในงานกอสรางไดแก กรณีที่ปรากฎในคํา
วินิจฉัยของสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.105/2535 [11] ดังที่จะกลาวถึงตอไปนี้
คําวินิจฉัยของสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.105/2535 มีใจความในสวนที่เกี่ยวของดังนี้
เทศบาลเมืองจังหวัด ก. (ผูวาจาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการกอสรางทอระบายน้ํา คสล.
โดยมีกําหนดแลวเสร็จในวันที่ 10 ธันวาคม 2534 ในโครงการนี้ผูรับจางไดสงมอบงานในวันที่ 26
ธันวาคม 2534 แตเนื่องจากงานยังไมแลวเสร็จสมบูรณ ผูวาจางจึงสั่งใหแกไขใหเรียบรอย และตอมา
ไดมีการสงมอบและการสั่งใหผูรับจางแกไขอีกหลายครั้งจนงานแลวเสร็จสมบูรณ และครั้งสุดทายผู
รับจางสงมอบงานในวันที่ 3 กุมภาพันธ 2535 ผูวาจางจึงไดคิดคาปรับผูรับจางเปนเวลา 55 วัน แต
ผูรับจางรองเรียนวาควรเสียคาปรับนอยกวาจํานวนวันดังกลาว
ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา ระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจการจางใชไป
ในการตรวจรับงาน (วันที่ 27 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2535, วันที่ 7-12, 14-15, 18-21
และ 25-30 มกราคม 2535 รวมทั้งสิ้น 28 วัน) ถือเปนพฤติการณที่ผูรับจางไมตองรับผิด ซึ่งจะนํามา
คิดคาปรับจากผูรับจางไมได

6. การเก็บหลักฐานประกอบการรองขอขยายเวลา
เพื่อใหขอตกลงระหวางการรองขอขยายเวลาของผูรับเหมาและการตัดสินอนุมัติขยายเวลา
ของผูวาจางเปนไปไดดวยดี คูสัญญาทั้งสองฝายควรจะตองทําการเก็บหรือบันทึกหลักฐานตางๆที่
เกี่ยวของเพื่อใชอางเหตุความเสียหายที่เกิดกับฝายตนและเพื่อใชยืนยันขออางของคูสัญญาอีกฝาย
หนึ่งดวย ทั้งนี้ถาหากคูสัญญาฝายใดไมมีหลักฐานที่เชื่อถือไดประกอบขอเท็จจริงที่เกิดขึ้น ก็อาจทํา
ใหตองยอมจํานนตอขอเรียกรอง เหตุผล และหลักฐานของคูสัญญาอีกฝายหนึ่งได
ตัวอยางของหลักฐานที่ผูรับเหมาและผูวาจางไดนํามาใชเพื่อประกอบการรองขอขยายเวลา
และการตัดสินอนุมัติการขยายเวลาเนื่องจากภัยธรรมชาติในระหวางการดําเนินงานโครงการกอสราง
ถนนลาดยางแหงหนึ่ง มูลคาประมาณ 6,600,000 บาท ไดแก รูปถายสภาพน้ําทวมบริเวณสายทาง
บันทึกประจําวันของผูควบคุมงาน หนังสือรับรองสภาวะอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และหนังสือ
โตตอบระหวางผูรับเหมากับฝายผูวาจาง

7. การขยายเวลาสําหรับความลาชาที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุพรอมกัน

[8-14]
บทที่ 8 การขยายระยะเวลากอสราง.doc

ความลาชาที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุพรอมกัน (Concurrent delay) หมายถึง ความลาชาที่


เกิดจากสาเหตุมากกวาหนึ่งสาเหตุในระยะเวลาพรอมกัน ตัวอยางเชน โครงการกอสรางไดลาชา
ออกไปเปนระยะเวลา 15 วัน เนื่องจากผูวาจางไมสามารถสงมอบสถานที่กอสรางใหแกผูรับเหมาได
และในขณะเวลาเดียวกันผูรับเหมากอสรางเองก็ไมสามารถจัดหาเครื่องจักรมาเริ่มทํางานกอสรางได
เปนตน ในสถานการณของความลาชาที่เกิดขึ้นพรอมกันเชนนี้การพิจารณาตัดสินวาสมควรขยาย
เวลาใหแกผูรับเหมากอสรางหรือไมนั้นจะมีความยุงยากและซับซอนมากขึ้นจึงจําเปนตองพิจารณา
ตามรายละเอียดของเหตุการณที่เกิดขึ้นเปนกรณีๆไป

8. คาปรับเนื่องจากการสงมอบงานลาชา
ในกรณีที่โครงการกอสรางตองลาชาจากกําหนดเวลาในสัญญาและผูรับเหมาไมไดรับการ
ขยายระยะเวลาจากผูวาจาง ผูวาจางมักจะตองการไดรับการชดเชยจากผูรับเหมาเนื่องจากความ
ลาชาของโครงการมักจะสงผลกระทบตอภาระทางดานการเงินของผูวาจางทั้งในเรื่องของดอกเบี้ยเงิน
ลงทุนโครงการและโอกาสในการแสวงหารายรับจากโครงการ
อยางไรก็ตามเนื่องจากคาชดเชยความเสียหายดังกลาวเปนสิ่งที่ประเมินอยางละเอียดไดยาก
ดังนั้นสัญญาจึงมักจะกําหนดคาชดเชยความเสียหายของผูวาจางเนื่องจากความลาชาของโครงการอัน
เนื่องมาจากการปฏิบัติงานของผูรับเหมากอสรางในรูปแบบของคาปรับในการสงมอบงานลาชา และ
โดยทั่วไปสัญญามักจะกําหนดคาปรับแบบรายวันเปนจํานวนเงินตายตัวในอัตรารอยละ 0.001 ถึง
0.20 ของราคางานตามสัญญา ดังนั้นในกรณีที่ผูรับเหมาทํางานกอสรางแลวเสร็จลาชาและไมไดรับ
การขยายเวลาจากผูวาจาง ผูรับเหมาจะตองจายคาปรับดังกลาวใหแกผูวาจาง ตัวอยางขอกําหนด
ลักษณะนี้ไดแก
“...อัตราคาปรับกรณีงานลาชาคิดรอยละ 0.20 ของมูลคางานตามสัญญาตอวัน คิดเปนจํานวน
เงิน 1,135,000 บาทตอวัน และจํานวนคาปรับสูงสุดไมเกินรอยละ 10 ของมูลคางานตามสัญญา หรือ
เปนจํานวนเงินรวมไมเกิน 56,750,000 บาท…”
จากขอกําหนดขางตน ถาหากผูรับเหมาทํางานกอสรางแลวเสร็จลาชาและไมไดรับการอนุมัติ
ใหขยายเวลากอสรางจากผูวาจาง ผูรับเหมาตองจายเงินคาปรับเปนจํานวนรอยละ 0.20 ของมูลคา
งานตามสั ญ ญาต อวัน ตามจํ า นวนวั นที่ง านลา ชา ออกไป อนึ่ง ขอ กํ า หนดข างต นมี ลัก ษณะพิ เ ศษ
ประการหนึ่งที่มักจะไมพบในขอกําหนดของสัญญาทั่วไป กลาวคือ สัญญานี้ไดจํากัดจํานวนคาปรับ
สูงสุดไวดวย ซึ่งหมายความวาถาหากงานกอสรางลาชามากจนกระทั่งคาปรับที่คํานวณไดมีจํานวน
เงินเกินกว า 56,750,000 บาท สั ญ ญากําหนดใหผูรับ เหมากอสรางจายคา ปรั บ เพี ยงเงินจํานวน
56,750,000 บาท นี้เทานั้น

9. บทสงทาย
ความลาชาในงานกอสรางเกิดขึ้นไดจากสาเหตุหลายประการ การกําหนดใหผูรับเหมาตอง
รับภาระความลาชาอันเนื่องมาจากสาเหตุตางๆจึงเปนสิ่งที่อาจจะไมเหมาะสมนัก สัญญาจางงาน

[8-15]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

กอสรางโดยทั่วไปจึงมักจะมีขอกําหนดเกี่ยวกับการใหสิทธิแกผูรับเหมาในการขอขยายเวลากอสราง
ไดถาหากสาเหตุของความลาชานั้นมิไดเกิดจากความบกพรองของฝายผูรับเหมา เนื้อหาของบทนี้ได
กลาวถึงสาเหตุของความลาชาและประเภทของความลาชาในงานกอสราง ขอกําหนดของสัญญาที่
เกี่ยวของกับการขยายระยะเวลา และนําเสนอตัวอยางแนวทางการวินิจฉัยที่เกี่ยวของ เพื่อเปนขอมูล
สําหรับผูปฏิบัติงานในการพิจารณาขอเรียกรองเพื่อขอขยายระยะเวลากอสรางใหเหมาะสมยิ่งขึ้น

เอกสารอางอิง
[1] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.108/2535
[2] หนังสือหารือที่ มท. 1002/4493, 17 เมษายน 2524, กรมอัยการ
[3] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.10/2536
[4] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.50/2538
[5] หนังสือหารือที่ มท. 1002/6678 กรมอัยการ ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2522
[6] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.76/2538
[7] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.190/2528
[8] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.71/2538
[9] หนังสือหารือที่ มท. 1002/10457, 3 กันยายน 2523, กรมอัยการ
[10] หนังสือหารือที่ มท. 1002/10713, 10 กันยายน 2523, กรมอัยการ
[11] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.105/2535

บรรณานุกรม
[1] “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ พ.ศ. 2535”, สวัสดิการสํานักงานปลัดสํานัก
นายกรัฐมนตรี, เมษายน, 2535
[2] “เอกสารรวบรวมสัญญาเกี่ยวกับงานกอสราง”, สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ,
พิมพครั้งที่ 1, พฤษภาคม 2534
[3] “สัญญามาตรฐานงานจางเหมากอสราง”, วิศวกรรมสถานแหงประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ, พิมพครั้งที่ 2, 2541
[4] “Conditions of Contract for Works of Civil Engineering Construction”, (1987 and
reprinted in 1992 with further amendments), Federation Internationale Des Ingenirurs-
Conseils (FIDIC), 4th Edition, 1992.
[5] “Conditions of Contract for Construction for Building and Engineering Works Designed
by the Employer”, Federation Internationale Des Ingenirurs-Conseils (FIDIC), 1st
Edition, 1999.

[8-16]
บทที่ 8 การขยายระยะเวลากอสราง.doc

[6] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “เหตุสุดวิสัยในงานกอสราง”, ขาวชาง, สมาคม


อุตสาหกรรมกอสรางแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่ 30, ฉบับที่ 361, หนา 36-
39, มิถุนายน 2545
[7] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “เหตุสุดวิสัยในงานกอสรางในทางปฏิบัติ”, ขาวชาง,
สมาคมอุตสาหกรรมกอสรางแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่ 30, ฉบับที่ 362,
หนา 43-45, กรกฎาคม 2545
[8] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพรองของผูวาจาง
ในงานกอสราง”, ขาวชาง, สมาคมอุตสาหกรรมกอสรางแหงประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ, ปที่ 30, ฉบับที่ 363, หนา 40-42, สิงหาคม 2545
[9] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “เหตุเกิดจากพฤติการณที่ผูรับจางไมตองรับผิดตาม
กฎหมาย”, ขาวชาง, สมาคมอุตสาหกรรมกอสรางแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ป
ที่ 30, ฉบับที่ 364, หนา 39-42, กันยายน 2545
[10] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “เหตุการณที่สามารถขยายเวลาปฏิบัติงานตาม
สัญญาไดตามระเบียบพัสดุฯ”, โยธาสาร, วิศวกรรมสถานแหงประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ, ปที่ 15, ฉบับที่ 1, หนา 25-29, มกราคม ถึง กุมภาพันธ 2546
[11] Jervis, B. M. and Levin, P., “Construction Law: Principles and Practice”, McGraw-Hill
Publishing Company, New York, 1988.
[12] Majid, M. Z. Abd. and McCaffer, R., “Factors of Non-Excusable Delays that Influence
Contractors’ Performance”, Journal of Management in Engineering, May/June, pp.42-
49, 1998.
[13] Limpawutiwaranont, S., “Resolution of Legal Disputes in the Thai Construction
Industry”, Master Thesis, Construction Engineering and Management Program,
School of Civil Engineering, Asian Institute of Technology, Thailand, 1992.
[14] Ogunlana, S. O., Promkuntong, K. and Jearkjirm, V., “Construction Delays in a Fast
Growing Economy: comparing Thailand with other economies”, International Journal
of Project Management, Vol.14, No.1, pp. 37-45, 1993.
[15] Ogunlana, S. O. and Malmgren, C., “Experience With Professional Construction
Management in Bangkok, Thailand”, Proceedings of the CIB W92 Symposium on
Procurement, Durban, South Africa, 14-17 January, pp. 483-491, 1996.
[16] Abdel-Meguid, T.A., and Davidson, C.H., “Managed Claims Procurement Strategy
(MCPS): a prevention approach”, Proceedings of the CIB W92 Symposium on
Procurement, Durban, South Africa, 14-17 January, pp. 11-20, 1996.
[17] Kumaraswamy, M. M., “Conflicts, Claims and Disputes in Construction”, Engineering
Construction and Architectural Management, Vol. 2, pp.95-111, 1997.

[8-17]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

[18] Eggleston B., “Liquidated Damages and Extension of Time in Construction Contract”,
2nd Edition, Blackwell Science, 1997.
[19] Turner, D. F. and Turner, A., “Building Contract Claims and Disputes”, 2nd Edition,
Longman, 1999.
[20] Uff, J., “Construction Law: law and practice relating to the construction industry”, 5th
Edition, London: Sweet & Maxwell, 1991.

[8-18]
บทที่ 9
การหยุดงานชั่วคราว
(Suspension of Work)

1. บทนํา
ในระหวางการดําเนินงานกอสรางอาจจะมีเหตุการณหรืออุปสรรคบางประการที่สงผลใหงาน
กอสรางตองหยุดชะงัก เปนการชั่วคราวกอนที่จะดํา เนิ นการต อไปได เมื่ อเหตุ การณ หรืออุปสรรค
ดังกลาวยุติล ง อาทิเ ชน ผู วาจางสั่งใหผูรับเหมากอสรางหยุดงานก อสรางชั่ วคราวก อนเนื่องจาก
จําเปนตองเปลี่ยนแปลงแบบกอสรางบางสวน ผูรับเหมากอสรางหยุดการทํางานไวชั่วคราวเนื่องจาก
วัสดุกอสรางขาดแคลน เปนตน
อยางไรก็ตามเมื่อมีการหยุดงานกอสรางชั่วคราวเกิดขึ้น ความกาวหนาของงานยอมตอง
หยุดชะงักลงตามไปดวย ระยะเวลาที่มีการหยุดงานนี้ยอมสงผลถึงระยะเวลาที่เหลือสําหรับการทํางาน
ตามสัญญา อีกทั้งในบางกรณียังสงผลกระทบตอตนทุนการทํางานดวย ทั้งนี้ถาหากคูสัญญาไมเขาใจ
ถึงสิทธิหรือความรับผิดชอบของแตละฝายตอการหยุดงานชั่วคราวที่เกิดขึ้นก็อาจทําใหคูสัญญาไม
สามารถตกลงกันไดวาฝายใดควรเปนฝายที่ตองรับผิดชอบตอระยะเวลาที่หยุดงานและ/หรือตนทุนที่
เกิดเพิ่มขึ้น อันอาจนําไปสูขอพิพาทระหวางกันได เพื่อเปนการปองกันมิใหเกิดความขัดแยงระหวาง
คูสัญญาจากเหตุดังกลาว คูสัญญาทั้งสองฝายจึงควรทําความเขาใจขอกําหนดเกี่ยวกับสิทธิในการ
หยุดงานและความรับผิดชอบตอผลกระทบที่เกิดขึ้นของแตละฝายอยางละเอียดถวนถี่
อนึ่งเนื่องจากโดยทั่วไปการหยุดงานชั่วคราวสามารถแบงออกไดเปน 2 ลักษณะ อันไดแก
การหยุดงานโดยคําสั่งผูวาจาง (Suspension Ordered by the Employer) และการหยุดงานโดย
ผูรับเหมากอสราง (Suspension Originated by the Contractor) เนื้อหาในบทนี้จึงขอนําเสนอ
รายละเอียดของการหยุดงานชั่วคราวทั้งสองลักษณะตามลําดับ รวมทั้งขอกําหนดในสัญญาและแนว
ทางการวินิจฉัยปญหาที่เกี่ยวของ ดังรายละเอียดตอไปนี้

2. การหยุดงานโดยคําสั่งผูวาจาง
การหยุดงานโดยคําสั่งผูวาจาง หมายถึ ง การที่ผูวาจางสั่ งใหผูรับเหมาก อสรางหยุดการ
ทํางานกอสรางไวชั่วคราว ซึ่งอาจจะเปนผลสืบเนื่องจากขอจํากัดบางประการของผูวาจาง ความ
บกพรองในการทํางานของผูวาจาง หรือความบกพรองในการทํางานของผูรับเหมา แลวแตกรณี
ตัวอยางเชน ผูวาจางประสบปญหาทางการเงิน ผูวาจางไมสามารถสงมอบพื้นที่กอสรางบางสวน
ใหแกผูรับเหมาได การทํางานของผูรับเหมาสงเสียงดังจนรบกวนบุคคลในพื้นที่ขางเคียง เปนตน
เมื่อผูรับเหมากอสรางหยุดการทํางานตามคําสั่งของผูวาจาง โดยทั่วไปผูรับเหมาจะไดรับ
ผลกระทบสองประการหลักดวยกัน ประการแรกคือระยะเวลาในการทํางานที่เหลือลดลง ประการที่

[9-1]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

สองคือตนทุนกอสรางที่อาจจะเพิ่มขึ้น ซึ่งผลกระทบจะเกิดขึ้นมากหรือนอยขึ้นอยูกับระยะเวลาที่หยุด
งาน
โดยปกติหากผูวาจางมีคําสั่งใหผูรับเหมาหยุดดําเนินงานกอสรางโดยไมมีเหตุอันควร ผูวา
จางยอมสมควรตองชดเชยความเสียหายอันเนื่องมาจากการหยุดงานดังกลาวใหแกผูรับเหมา อยางไร
ก็ดีในบางกรณีสัญญาอาจจะใหสิทธิแกผูวาจางในการสั่งใหผูรับเหมาหยุดงานกอสรางโดยที่ฝายตนไม
ตองรับผิดชอบหรือชดเชยความเสียหายใหแกผูรับเหมาก็ได ยกตัวอยางเชน กรณีที่ผูรับเหมาเปน
ผูกระทําผิดหรือกรณีที่ผูรับเหมาไดรับทราบถึงความจําเปนของผูวาจางกอนเขาทําสัญญา เปนตน

2.1 ขอกําหนดในสัญญาที่เกี่ยวของ
เพื่อเปนการปองกันในเบื้องตนสําหรับการเกิดปญหาระหวางผูวาจางและผูรับเหมากอสรางใน
เรื่ อ งเกี่ ย วกั บ การสั่ ง หยุ ด งานชั่ ว คราวของผู วา จ าง คูสั ญ ญาจึ ง อาจตกลงกัน ที่ จะกํ า หนดเงื่ อ นไข
เกี่ยวกับการสั่งหยุดงานของผูวาจางไวในขอกําหนดของสัญญา
อนึ่งรายละเอียดของขอกําหนดนี้จะมีมากหรือนอยยอมขึ้นอยูกับปจจัยหลายประการ อัน
ไดแก ขนาดหรือความซับซอนของโครงการ โอกาสเกิดการสั่งหยุดงาน ความตองการของคูสัญญาทั้ง
สองฝาย เปนตน เนื้อหาในสวนนี้จึงขอยกตัวอยางขอกําหนดของสัญญาเพื่อใหพอเขาใจถึงลักษณะ
เนื้อหาของขอกําหนดและจุดประสงคของการใชขอกําหนดดังกลาวโดยสังเขป
ตัวอยางขอกําหนดที่ใหสิทธิในการสั่งหยุดงานชั่วคราวแกผูวาจาง ไดแก
“…โดยคําสั่งของผูวาจางหรือตัวแทนของผูวาจาง ผูรับจางจะตองหยุดความกาวหนาของงาน
หรื อส ว นใดๆของงานไว ชั่ว คราว ตามเวลาและในวิ ธี ก ารที่ ผูว าจ า งหรื อ ตั ว แทนของผู วา จา งอาจ
พิจารณาวาจําเปน และระหวางเวลาที่หยุดชั่วคราวผูรับจางจะปองกันและรักษางานหรือสวนนั้นของ
งานไวเทาที่จําเปนตามความเห็นของผูวาจางหรือตัวแทนของผูวาจาง … เมื่อมีการหยุดงานโดยสั่ง
การเปนลายลักษณอักษรแลว หากปรากฏวาผูรับจางยังคงปฏิบัติงานอยูภายหลังที่มีการสั่งหยุดงาน
แลว ผูวาจางหรือตัวแทนของผูวาจางมีสิทธิไมทําการตรวจรับผลงานที่ผูรับจางปฏิบัติภายหลังจากมี
การสั่งหยุดงานแลว ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานดังกลาวของผูรับจาง ผูรับจางจะตอง
เปนผูรับผิดชอบทั้งสิ้นแตผูเดียวและจะยกขึ้นเปนขอโตแยงใดๆ ไมได…”
จากขอกําหนดขางตนสัญญาไดใหสิทธิแกผูวาจางใหสามารถสั่งใหผูรับเหมาหยุดงานชั่วคราว
ได โดยผูรับเหมามีหนาที่ตองปฏิบัติตามคําสั่งหยุดงานอยางเครงครัด ซึ่งหากผูรับเหมาฝาฝนคําสั่ง
และปฎิบัติงานตอไปผูวาจางมีสิทธิตามสัญญาที่จะไมรับมอบงานที่เกิดขึ้นหลังการออกคําสั่งดังกลาว
ได โดยที่ผูรับเหมาจะไมสามารถเรียกรองสิ่งใดๆจากผูวาจางไดเลย
อยางไรก็ตามเนื่องจากการหยุดงานชั่วคราวยอมทําใหผูรับเหมาเสียเวลาในการทํางานไปชวง
ระยะเวลาหนึ่ง สัญญาที่เปนธรรมจึงควรมีขอกําหนดเกี่ยวกับสิทธิของผูรับเหมากอสรางในการขยาย
ระยะเวลากอสรางเมื่อมีการสั่งหยุดงานชั่วคราว ตัวอยางขอกําหนดลักษณะนี้ไดแก
“…ผูวาจางมีสิทธิที่จะยับยั้งหรือหยุดการปฏิบั ติงานของผูรับจางเมื่อพิจารณาเห็นวาการ
ปฏิบัตินั้นไมถูกตองตามหลักวิชาหรือตามแบบรายการและขอตกลง ผูรับจางจะตองปฏิบัติตามทันที

[9-2]
บทที่ 9 การหยุดงานชั่วคราว.doc

และการหยุดการปฏิบัติงานนี้จะถือเปนขอเรียกรองคาเสียหาย หรือเปนเหตุผลขอตออายุสัญญาใดๆ
ไมไดทั้งสิ้น … แตถาหากการหยุดงานโดยคําสั่งของผูวาจางมิไดเปนผลมาจากความบกพรองของผู
รับจางหรือเปนสิ่งที่สัญญากําหนดไวอยูแลว ผูวาจางจะตองขยายเวลาใดๆซึ่งผูรับจางสมควรไดรับ
และจํานวนเงินเกี่ยวกับตนทุนที่เกิดขึ้นกับผูรับจางดวยเหตุแหงการหยุดงานชั่วคราวนั้น…”
จากขอกําหนดขางตน ถาหากการสั่งหยุดงานของผูวาจางเกิดจากการปฏิบัติงานที่ไมถูกตอง
ของผูรับเหมา ผูรับเหมาจะไมมีสิทธิในการขอขยายเวลาหรือเงินชดเชยความเสียหายใดๆจากผู
วาจาง ในทางตรงกันขามถาหากผูวาจางสั่งหยุดงานชั่วคราวและสาเหตุของการสั่งหยุดงานดังกลาว
มิไดเกิดจากความผิดของผูรับเหมา ผูรับเหมามีสิทธิตามสัญญาที่จะไดรับการขยายเวลาและเงิน
ชดเชยตนทุนที่เกิดเพิ่มขึ้น
อนึ่งสิทธิในการสั่งหยุดงานของผูวาจางควรตองมีขีดจํากัดดวยเพื่อใหเกิดความเปนธรรมแก
ผูรับเหมากอสรางเนื่องจากผลกระทบบางประการที่เกิดขึ้นกับผูรับเหมาอันเนื่องมาจากการหยุดงาน
เปนสิ่งที่เรียกรองขอชดเชยจากผูวาจางไดยาก อาทิเชน คาโสหุยบางรายการ คาเสียโอกาสในการรับ
งานโครงการใหมเมื่อผูวาจางสั่งใหหยุดงานเปนระยะเวลานานๆ เปนตน
ตัวอยางขอกําหนดที่จํากัดสิทธิในการสั่งหยุดงานของผูวาจาง ไดแก
“…ถาความกาวหนาของงาน หรือสวนใดๆของงานถูกหยุดไวชั่วคราวดวยคําสั่งที่ทําเปน
หนังสือจากผูวาจาง และถาผูวาจางไมอนุญาตใหกลับเขาปฏิบัติงานดังเดิมภายใน 60 วัน นับตั้งแต
วันที่หยุดชั่วคราวนั้น เวนแตการหยุดชั่วคราวเชนวานั้นเปนผลมาจากความบกพรองของผูรับจาง
ผูรับจางอาจยื่นความจํานงตอผูวาจางถึงความตองการที่จะไดรับอนุญาตใหปฏิบัติงานหรือสวนนั้นๆ
ของงานซึ่งความกาวหนาไดถูกหยุดไวชั่วคราว ถาภายในเวลาดังกลาวการอนุญาตเชนนั้นยังไมไดรับ
อนุมัติ และผูรับจางเห็นวาการหยุดชั่วคราวนั้นมีผลกระทบกระเทือนตองานทั้งหมดก็จะถือเอาการ
หยุดชั่วคราวนั้นเปนกรณีผิดสัญญาโดยผูวาจางและยุติการจางภายใตสัญญานี้ได…”
ขอกําหนดขางตนใชระยะเวลาหยุดงานเปนตัวกําหนดขีดจํ ากัดสิทธิของผูวาจาง ภายใต
สัญญาที่มีขอกําหนดลักษณะนี้ผูวาจางมีสิทธิสั่งหยุดงานไดเพียงชวงระยะเวลาหนึ่งเทานั้น ซึ่งถาหาก
ผูวาจางสั่งหยุดงานเกินระยะเวลาดังกลาวและผูรับเหมาเห็นวาการหยุดงานชั่วคราวดังกลาวมีผล
กระทบกระเทือนตองานทั้งหมดของสัญญา ผูรับเหมามีสิทธิตามสัญญาที่จะบอกเลิกสัญญากับ ผู
วาจางได

2.2 ตัวอยางแนวทางการวินิจฉัยปญหาการหยุดงานโดยคําสั่งผูวาจาง
ตั ว อย า งแรกเป น แนวทางการวิ นิ จ ฉั ย ป ญ หาการสั่ ง หยุ ด งานชั่ ว คราวของผู ว า จ า งที่
ผูรับเหมากอสรางนํามากลาวอางเพื่อขอขยายเวลาการทํางานตามสัญญา ตามที่ปรากฏในคําวินิจฉัย
สํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.75/2535 [1] ซึ่งมีใจความในสวนที่เกี่ยวของดังนี้
กรม อ. (ผูวาจาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งใหดําเนินการกอสรางอาคารโรงฝกงานของ
วิทยาลัยเทคนิคแหงหนึ่ง ในโครงการนี้ผูรับจางไดเริ่มลงมือทํางานตามที่กําหนดไวในสัญญา แตผูรับ
จางไมสามารถนํารถยนตบรรทุกดินเขาไปถมที่ดินในบริเวณสถานที่กอสรางได เพราะบริเวณดังกลาว

[9-3]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

เป น ที่ ลุ ม ผู รั บ จ า งจึ ง มี ค วามจํ า เป น ต อ งใช ถ นนทางเข า ออกของวิ ท ยาลั ย เทคนิ ค ฯ ซึ่ ง ทาง
วิทยาลัยเทคนิคฯพิจารณาแลวเห็นวาหากใหรถยนตบรรทุกใชเสนทางเขาออกดังกลาวอาจกอใหเกิด
ความเสียหายแกถนนคอนกรีตและอาคารเรียนตึก 4 ชั้น จึงไดมีคําสั่งใหผูรับจางหยุดการดําเนินการ
กอสรางไวจนกวาจะพนฤดูฝนและสภาพพื้นดินมีความแข็งตัวพอที่จะใหรถยนตบรรทุกผานได เมื่อ
ผานพนฤดูฝนแลววิทยาลัยเทคนิคฯจึงไดแจงผูรับจางใหทําการกอสรางได ตอมาผูรับจางไดมีหนังสือ
ขอขยายเวลาทํางานออกไปอีก 105 วัน เพื่อชดเชยเวลาที่เสียไปเพราะวิทยาลัยเทคนิคฯใหหยุดทํา
การกอสราง
ในกรณีนี้สํานั กงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา การที่ผูรับ จางไม สามารถทําการกอสราง
อาคารตามที่ กํ า หนดไว ใ นสั ญ ญา เพราะเหตุ ที่ วิ ท ยาลั ย เทคนิ ค ฯไม ใ ห ร ถยนต บ รรทุ ก ดิ น ใช เ ส น
ทางเขาออก ดวยเกรงวาทรัพยสินของวิทยาลัยเทคนิคฯจะไดรับความเสียหาย จึงใหผูรับจางหยุดทํา
การกอสรางไวกอน พฤติการณดังกลาวเปนพฤติการณที่ผูรับจางไมตองรับผิดชอบ ผูรับจางยังหาได
ชื่อวาผิดนัดไม ผูรับจางจึงขอขยายเวลาทําการออกไปเทากับเวลาที่เสียไปในระหวางที่หยุดทําการ
กอสรางได
ตัวอยางที่สองเปนแนวทางการวินิจฉัยกรณีที่ผูรับเหมากอสรางไมมีสิทธิเรียกคาเสียหายอัน
เกิดจากคําสั่งหยุดงานของผูวาจางได ซึ่งเปนสวนหนึ่งของคําพิพากษาฎีกาที่ 5542/2534 [2] ดัง
รายละเอียดตอไปนี้
เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2521 จําเลย (กอง บ.) ไดทําสัญญาวาจางโจทก (บริษัท ค.) กอสราง
รั้วกับสิ่งตางๆ เพื่อการติดตั้งเครื่องสัญญาณเกี่ยวกับระบบสัญญาณเตือนภัยอิเล็กทรอนิกสที่อาคาร 4
แหง โดยโจทกตองทํางานใหเสร็จเรียบรอยและสงมอบงานแตละแหงใหจําเลยภายใน 420 วัน 330
วัน 330 วัน และ 270 วัน ตามลําดับ ตกลงคาจางรวม 81,647,000 บาท
ประเด็นปญหาตามฟองมีอยูหลายประการ ประการหนึ่งที่เกี่ยวของมีใจความวาโจทกฟอง
ขอใหบังคับจําเลยชําระเงินคาจาง คาอุปกรณ และคาเสียหาย จํานวน 18,198,234.78 บาท พรอม
ด ว ยดอกเบี้ ย ให แ ก โ จทก โดยอ า งว า จํ า เลยได สั่ ง ให โ จทก ห ยุ ด ทํ า งานในระหว า งที่ โ จทก กํ า ลั ง
ดําเนินการกอสราง ซึ่งถือวาจําเลยทําผิดสัญญาโดยไมจัดการหรืออํานวยความสะดวกใหโจทกไดเขา
ไปทํางานกอสรางตามสัญญา เปนการไมชําระหนี้ใหตองตามความประสงคอันแทจริงแหงมูลหนี้
โจทกจึงมีสิทธิเรียกรองคาเสียหายอันเกิดจากคําสั่งของจําเลย
ในกรณีนี้ศาลฎีกาไดมีคําวินิจฉัยสวนหนึ่งวา การที่จําเลยสั่งใหโจทกหยุดงานชั่วคราวก็เพื่อ
วัตถุประสงคในการใชงานอาคารดังกลาวตามปกติเปนประจําทุกป ซึ่งโจทกยอมตองทราบดีอยูแลว
ในขณะทําสัญญา อีกทั้งเมื่อไดรับคําสั่งใหหยุดงานชั่วคราว โจทกมิไดทักทวงหรือโตแยงแตประการ
ใด จะถือวาจําเลยผิดสัญญาโดยไมจัดการหรืออํานวยความสะดวกใหโจทกเขาทํางานกอสรางตาม
สัญญา เปนการไมชําระหนี้ใหตองตามความประสงคอันแทจริงแหงมูลหนี้หาไดไม โจทกจึงไมมีสิทธิ
เรียกคาเสียหายอันเกิดจากคําสั่งของจําเลยดังกลาวนั้นได

3. การหยุดงานโดยผูรับเหมากอสราง

[9-4]
บทที่ 9 การหยุดงานชั่วคราว.doc

การหยุดงานโดยผู รับ เหมากอสร าง หมายถึ ง การที่ผูรั บเหมาก อ สร างตั ดสิ น ใจหยุ ด งาน
กอสรางชั่วคราวหรือรองขอตอผูวาจางเพื่อขอหยุดงานชั่วคราวโดยอางเหตุผลหรือความจําเปนบาง
ประการ ยกตัวอยางเชน เกิดอุทกภัย ความลาชาในการอนุมัติแบบกอสรางของฝายผูวาจาง เปนตน
เมื่อผูรับเหมากอสรางมีความจําเปนตองหยุดงานเปนการชั่วคราวโดยที่มิไดมีสาเหตุมาจาก
ความบกพรอ งของฝ า ยตน ผู รับ เหมาจึ ง อาจคิ ดเห็ นว าฝ า ยตนมี สิ ท ธิ ที่จ ะได รับ การชดเชยความ
เสียหายทั้งในดานของระยะเวลาทํางานและ/หรือคาใชจายที่เพิ่มขึ้น ในทางตรงกันขามถาหากผูวาจาง
เห็ น ว า ผู รั บ เหมามี ส ว นผิ ด และ/หรื อ มี ห น า ที่ ต อ งรั บ ผิ ด ชอบต อ ผลกระทบที่ เ กิ ด จากการหยุ ด งาน
ดังกลาวนั้น และไมยินยอมตออายุสัญญาหรือชดเชยคาใชจายใหแกผูรับเหมากอสราง ในสถานการณ
เชนนี้ความแตกตางทางความคิดของคูสัญญาทั้งสองฝายมักจะนําไปสูความขัดแยงระหวางคูสัญญา
และอาจแปรสภาพเปนขอพิพาทระหวางกันได

3.1 ขอกําหนดในสัญญาที่เกี่ยวของ
สัญญาที่เปนธรรมควรมีขอกําหนดในทํานองที่ผูรับเหมากอสรางมีสิทธิไดรับการชดเชยความ
เสียหายถาหากตองหยุดงานกอสรางชั่วคราวอันเนื่องมาจากเหตุที่มิใชความบกพรองของผูรับเหมา
เอง ตัวอยางของขอกําหนดลักษณะนี้ไดแก
“…เมื่อผูรับจางประสงคจะหยุดการปฏิบัติงานทั้งหมดหรือบางสวนดวยเหตุใดๆก็ตาม ผูรับ
จางจะตองแจงใหผูวาจางทราบลวงหนาพรอมเหตุผลไมนอยกวา 3 วันหรือโดยพลัน ทั้งนี้หากตาม
ความเห็นของผูวาจางการหยุดงานมิไดเปนผลมาจากความบกพรองของผูรับจาง ผูรับจางมีสิทธิขอ
ตออายุสัญญาได…”
จากขอกําหนดขางตนสัญญาไดใหสิทธิแกผูรับเหมาในการหยุดงานกอสรางเปนการชั่วคราว
ได แตมีเงื่อนไขวาผูรับเหมาจะตองแจงความตองการที่จะหยุดงานใหแกผูวาจางรับทราบเปนการ
ลวงหนากอน นอกจากนี้สัญญายังไดกําหนดใหผูรับเหมามีสิทธิขอตออายุสัญญาออกไปไดถาหาก
สาเหตุของการหยุดงานดังกลาวมิไดเกิดจากความบกพรองของผูรับเหมา อนึ่งมีขอควรระวังประการ
หนึ่งในการปฏิบัติตามสัญญานี้กลาวคือถาหากผูรับเหมากอสรางหยุดงานโดยพลการหรือไมแจงให
ผูวาจางรับทราบกอน ผูวาจางอาจจะใชการกระทําผิดสัญญาของผูรับเหมานี้เปนขออางไมตออายุ
สัญญาใหก็เปนได
อยางไรก็ตามในบางครั้งสัญญาอาจมีขอกําหนดที่ใหสิทธิหยุดงานแกผูรับเหมากอสรางในบาง
กรณีที่จําเพาะเจาะจงได ตัวอยางของขอกําหนดลักษณะนี้ไดแก
“...ในกรณีที่ผูวาจางชําระเงินคากอสรางแกผูรับจางลาชากวาขอตกลงตามสัญญาเกินกวา 15
วัน ผูรับจางมีสิ ทธิที่ จะหยุดงานกอสรางไวชั่ วคราวจนกวาจะไดรับเงิน และระยะเวลาที่หยุดงาน
ชั่วคราวนั้น ผูรับจางมีสิทธิใชเปนระยะเวลาตอสัญญาออกไปได ทั้งนี้ผูรับจางสัญญาวาจะดําเนินการ
กอสรางทันทีที่ไดรับเงินแลว…”
จากขอกําหนดขางตนนี้ถาหากผูวาจางชําระเงินคากอสรางใหแกผูรับเหมาลาชากวาขอตกลง
ตามสัญญาเกินกวา 15 วัน ผูรับเหมามีสิทธิตามสัญญาที่จะหยุดงานกอสรางไวชั่วคราวไดจนกวา

[9-5]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ผูรับเหมาจะไดรับการชําระเงินจากผูวาจาง และยังสามารถนําระยะเวลาที่หยุดงานดังกลาวมาอางเปน
เหตุเพื่อขอขยายเวลาการทํางานตามสัญญาออกไปไดอีกดวย

3.2 ตัวอยางแนวทางการวินิจฉัยปญหาการหยุดงานโดยผูรับเหมากอสราง
ตัวอยางแนวทางการวินิจฉัยปญหาระหวางผูวาจางและผูรับเหมากอสรางเนื่องจากการหยุด
งานของผูรับเหมา ไดแก เหตุการณสวนหนึ่งตามคําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.68/2537 [3]
ดังรายละเอียดตอไปนี้
กรม พ. (ผูวาจาง) ไดทําสัญญาจางกับบริษัท ร. (ผูรับจาง) เพื่อทําการกอสรางคลองสงน้ํา
ดาดคอนกรีตพรอมอาคารชลประทานสถานีสูบน้ํา รวมเปนเงินทั้งสิ้นประมาณ 4,518,000 บาท
กําหนดแลวเสร็จภายใน 360 วัน
ในระหวางการกอสรางตามสัญญาไดเกิดอุปสรรคตองานบางสวน 4 ครั้งดวยกันอันเปนเหตุ
ใหผูรับจางตองหยุดงานเพื่อรอการแกไขปญหาจากผูวาจางกอน กลาวคือ ผูรับจางตองรอใหผูวาจาง
แกไขปญหาอุปสรรคที่ราษฎรไมยอมใหกอสรางผานที่ดินของตน เปนเวลา 120 วัน และตองรอให
ผูวาจางแกไขรูปแปลนอีก 3 ครั้ง เปนเวลา 951 วัน รวมเปนระยะเวลาทั้งสิ้น 1,071 วัน ซึ่งอุปสรรค
เหลานี้เปนเหตุทําใหผูรับจางสงมอบงานกอสรางลวงเลยกําหนดระยะเวลาไปจํานวน 1,007 วัน นับ
จากวั น ครบกํ า หนดตามสั ญ ญา ผู รั บ จ า งจึ ง ร อ งของดค า ปรั บ โดยอ า งว า ต อ งหยุ ด งานเพื่ อ รอการ
แกปญหาและการแกไขแบบของผูวาจาง
ต อ มาผู ว า จ า งพิ จ ารณาคํ า ร อ งขอของผู รั บ จ า งและข อ เท็ จ จริ ง อื่ น เพิ่ ม เติ ม แล ว เห็ น ว า ใน
ระหวางที่มีอุปสรรคดังกลาวขางตนยังมีงานในสวนที่ไมมีอุปสรรค เชน ทอสงน้ําซีเมนตแบบใยหิน ทอ
เหล็กเหนีย ว ประตูน้ําลดระดับ ประตูน้ําเขานา เป นต น ซึ่งผูรับ จางก็มิไดดําเนินการกอสร างแต
ประการใดทั้งๆที่มิไดมีอุปสรรคและไมไดเกี่ยวของกับงานที่ตองแกไขแบบ อีกทั้งเมื่อผูรับจางจะหยุด
การกอสรางควรจะมีหนังสือแจงขอความเห็นชอบจากผูวาจางกอนแตก็มิไดกระทํา จึงไมพิจารณาตอ
สัญญาใหและแจงผลการพิจารณาใหผูรับจางทราบ
ตอมาผูรับจางไดมีหนังสือขอความเปนธรรม โดยใหเหตุผลวางานสวนอื่นที่ไมสัมพันธกับงาน
ที่ตองแกไขแบบเปนงานเล็กนอยที่ผูรับจางสามารถที่จะทําการกอสรางไปพรอมกับงานกอสรางสวน
ใหญที่หยุดไปนั้นได ในทางธุรกิจของผูรับจางจึงไมอาจนําเครื่องมือ เครื่องจักร และคนงานมากอสราง
สวนที่เล็กนอยได เพราะตองเสียคาใชจายมากกวาปกติอันเปนที่เสียหายกับทางผูรับจางอยางมาก
เหตุ ก ารณ ต ามกรณี นี้ จึ ง มี ป ระเด็ น ที่ ต อ งพิ จ ารณาว า การที่ ผู รั บ จ า งหยุ ด งานโดยมิ ไ ด
ปฏิบัติงานในสวนอื่นที่ไมสัมพันธกับอุปสรรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากจะตองเสียคาใชจายเพิ่มขึ้นมากกวา
ปกติ และการหยุดงานดังกลาวมิไดขอความเห็นชอบจากผูวาจางกอนนั้น ควรใหความเปนธรรมใน
การลดหยอนคาปรับไดหรือไมเพียงใด
ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา ตามขอเท็จจริงที่รับฟงไดเปนที่ยุติผูรับจางสง
มอบงานกอสรางลวงเลยกําหนดระยะเวลาไปจํานวน 1,007 วัน นับจากวันครบกําหนดตามสัญญา
เปนผลมาจากการที่ผูรับจางตองรอใหผูวาจางแกไขปญหาอุปสรรคที่ราษฎรไมยอมใหกอสรางงาน

[9-6]
บทที่ 9 การหยุดงานชั่วคราว.doc

ผานที่ดินของตน และตองรอใหผูวาจางแกไขรูปแปลนอีก 3 ครั้ง มิใชความผิดของผูรับจาง นอกจากนี้


หากจะใหผูรับจางขนยายเครื่องมือและอุปกรณเขาทํางานในบางสวนในระหวางรอคอยการแกไข
ปญหาของผูวาจางยอมไมเปนธรรมแกผูรับจาง ดังนั้นการที่ผูรับจางหยุดการปฏิบัติงานตามสัญญาใน
สวนที่เปนอุปสรรค ซึ่งรวมถึงงานเล็กๆนอยๆบางสวนที่ไมเกี่ยวของกับอุปสรรค จึงมิใชเปนการ
กระทําผิดสัญญา สวนในประเด็นที่ผูวาจางแยงวาผูรับจางหยุดงานสวนนี้โดยไมไดรับการอนุมัติกอน
นั้น เมื่อพิจารณาถึงสัญญาจางแลว ไมปรากฏขอความใดระบุวาหากเกิดกรณีขึ้นจะตองไดรับการ
อนุมัติจากผูวาจางกอนจึงจะหยุดงานได ผูวาจางจึงไมอาจปรับผูรับจางเนื่องจากการสงมอบงาน
ลวงเลยกําหนดระยะเวลาตามสัญญาได

4. บทสงทาย
การหยุดงานกอสรางชั่วคราวเปนสิ่งที่อาจเกิดขึ้นไดในโครงการกอสราง และเมื่อเกิดขึ้นแลว
ยอมสงผลกระทบตอระยะเวลาทํางานตามสัญญา นอกจากนี้ในบางกรณียังสงผลกระทบถึงตนทุนงาน
กอสรางอีกดวย ประเด็นสําคัญในการจัดการกับการหยุดงานชั่วคราวก็คือ การพิจารณาวาคูสัญญา
ฝายใดสมควรเปนฝายที่รับผิดชอบตอผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อมิใหการหยุดงานชั่วคราวที่
เกิดขึ้นสงผลใหเกิดความไมเปนธรรมแกคูสัญญาฝายใดฝายหนึ่งหรือตองกลายเปนประเด็นพิพาท
ระหวางกันอันมีแตจะนําความเสียหายมาสูคูสัญญาทั้งสองฝาย การทําความเขาใจขอกําหนดของ
สัญญาและแนวทางการวินิจฉัย ปญหาเกี่ย วกับการหยุดงานจะชว ยใหผูเ กี่ย วของในงานกอสราง
สามารถจัดการกับเหตุการณหยุดงานชั่วคราวที่อาจตองประสบในการปฏิบัติงานไดดียิ่งขึ้น

เอกสารอางอิง
[1] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.75/2535
[2] คําพิพากษาฎีกาที่ 5542/2534
[3] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.68/2537

บรรณานุกรม
[1] “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ พ.ศ. 2535”, สวัสดิการสํานักงานปลัดสํานัก
นายกรัฐมนตรี, เมษายน, 2535
[2] “เอกสารรวบรวมสัญญาเกี่ยวกับงานกอสราง”, สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ,
พิมพครั้งที่ 1, พฤษภาคม 2534
[3] “สัญญามาตรฐานงานจางเหมากอสราง”, วิศวกรรมสถานแหงประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ, พิมพครั้งที่ 2, 2541
[4] “Conditions of Contract for Works of Civil Engineering Construction”, (1987 and
reprinted in 1992 with further amendments), Federation Internationale Des Ingenirurs-
Conseils (FIDIC), 4th Edition, 1992.

[9-7]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

[5] “Conditions of Contract for Construction for Building and Engineering Works Designed
by the Employer”, Federation Internationale Des Ingenirurs-Conseils (FIDIC), 1st
Edition, 1999.
[6] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “การหยุดงานชั่วคราว: สิทธิตามสัญญาและความ
รับผิดชอบตอผลกระทบ”, ขาวชาง, สมาคมอุตสาหกรรมกอสรางแหงประเทศไทย ในพระ
บรมราชูปถัมภ, ปที่ xx, ฉบับที่ xxx, xxxxxxxx - xxxxxxxx, หนา xx-xx, xxxx

[9-8]
บทที่ 10
ความชํารุดบกพรองของผลงาน
(Defects of Work)

1. บทนํา
เพื่อใหเกิดความมั่นใจวางานกอสรางของผูรับเหมาจะสามารถใชงานไดตามวัตถุประสงคของ
ผูวาจาง สัญญาจางกอสรางจึงมักจะกําหนดใหผูรับเหมายังคงตองประกันความชํารุดบกพรองของ
ผลงานเปนชวงระยะเวลาหนึ่งภายหลังจากที่ไดมีการสงและรับมอบงานกันแลว
จากการศึกษาขอกําหนดของสัญญาจางกอสรางพบวาโดยทั่วไปขอกําหนดในสัญญาเกี่ยวกับ
ความชํารุดบกพรองของผลงานมักจะประกอบดวยเนื้อหาในประเด็นหลัก 3 ประการดวยกัน อันไดแก
ขอบเขตความรับผิดของผูรับเหมาตอความชํารุดบกพรองของผลงาน ระยะเวลาการรับประกันความ
ชํารุดบกพรองของผลงาน และสิทธิของผูวาจางในการจางบุคคลอื่นเขาดําเนินการแทน
เนื้อหาในบทนี้จะนําเสนอเนื้อหาของขอกําหนดในสัญญาทั้งสามประเด็นหลักขางตน โดยใน
หัวขอที่ 2 จะกลาวถึงขอบเขตความรับผิดของผูรับเหมาตอความชํารุดบกพรองของผลงาน หัวขอที่ 3
จะกลาวถึงระยะเวลาการรับประกันความชํารุดบกพรองของผลงาน และหัวขอที่ 4 จะกลาวถึงสิทธิ
ของผูวาจางในการจางบุคคลอื่นเขาดําเนินการแทน ตามลําดับ

2. ขอบเขตความรับผิดของผูรับเหมา
โดยทั่วไปสัญญากอสรางกําหนดใหผูรับเหมากอสรางมีพันธะผูกพันตองรับประกันความชํารุด
บกพรองของผลงานเปนชวงระยะเวลาหนึ่งหลังจากที่งานกอสรางแลวเสร็จและมีการสงรับมอบงาน
แล ว โดยที่ ถ า หากมี ก ารตรวจพบความชํา รุ ด บกพรอ งของผลงานภายในช ว งระยะเวลาดัง กล า ว
ผูรับเหมาจะตองแกไขหรือซอมแซมงานใหเปนที่เรียบรอยดวยคาใชจายของผูรับเหมาเอง ตัวอยาง
ขอกําหนดลักษณะนี้ไดแก
“…เมื่องานตามสัญญาแลวเสร็จบริบูรณ และผูวาจางไดรับมอบงานจากผูรับจางแลว หากมี
เหตุชํารุดบกพรองหรือเสียหายเกิดขึ้นจากงานจางภายในระยะเวลา … ป … เดือน นับถัดจากวันที่
ไดรับมอบงานดังกลาว ซึ่งความชํารุดบกพรองหรือเสียหายนั้นเกิดจากความบกพรองของผูรับจาง
อันเกิดจากการใชวัสดุที่ไมถูกตอง หรือทําไวไมเรียบรอย หรือทําไมถูกตองตามมาตรฐานแหงหลัก
วิชา ผูรับจางจะตองรีบทําการแกไขใหเรียบรอยโดยไมชักชาหรือภายในระยะเวลาที่ผูวาจางกําหนด
โดยไมถือเอาคาสิ่งของ คาแรงงาน หรือคาใชจายอื่นใดจากผูวาจางอีก…”
จากขอกําหนดขางตน สัญญากําหนดใหภายหลังจากที่มีการรับมอบงานกันตามสัญญาแลว
หากงานกอสรางมีความชํารุดบกพรองเกิดขึ้น และความชํารุดบกพรองดังกลาวมีสาเหตุมาจากความ
บกพรองในการทํางานของผูรับเหมา ผูรับเหมายังคงตองรับผิดชอบตอความเสียหายที่เกิดขึ้นโดย

[10-1]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

จะตองทําการแกไขซอมแซมใหเรียบรอย และคาใชจายใดๆที่เกิดขึ้นจากการแกไขงานดังกลาวจะตก
อยูในความรับผิดชอบของผูรับเหมาแตเพียงฝายเดียว ผูรับเหมาจะเรียกรองใดๆจากผูวาจางอีกไมได
โดยปกติ ข อ กํ า หนดในสั ญ ญาเกี่ ย วกั บ ความชํ า รุ ด บกพร อ งของผลงานจะจํ า กั ด ความ
รับผิดชอบของผูรับเหมาเฉพาะสําหรับกรณีที่สาเหตุของความชํารุดบกพรองเปนความบกพรองใน
การปฏิบัติงานของผูรับเหมาเทานั้น กลาวคือ ถาหากความชํารุดบกพรองของผลงานเกิดจากความ
บกพรองในการทํางานหรือฝมือที่ไมไดมาตรฐานของผูรับเหมา ผูรับเหมาตองรับผิดชอบตอความ
ชํารุดบกพรองที่เกิดขึ้น ดังตัวอยางกรณีตามคําพิพากษาฎีกาที่ 3098/2529 [1] ซึ่งมีใจความในสวนที่
เกี่ยวของดังนี้
โจทก (ผูรับจาง) ยื่นฟอง จําเลย (ผูวาจาง) ใหชําระเงินคาจางที่คางอยูใหแกโจทก เนื่องจาก
โจทกไดดําเนินการกอสรางตามที่ไดระบุไวในสัญญาจนกระทั่งงานเสร็จสิ้นไปแลว แตจําเลยไดใหการ
แยงวางานที่โจทกสงมอบใหมีความชํารุดบกพรอง โจทกจะตองรับผิดชอบตอความชํารุดดังกลาว
ในกรณีนี้ศาลฎีกาไดวินิจฉัยคดีความดังกลาวโดยมีใจความสวนหนึ่งวา จําเลย (ผูวาจาง) จาง
โจทก (ผูรับจาง) สรางรั้วคอนกรีตเพื่อทําปมแกส ซึ่งจะตองเปดทางไวเพื่อบริการยวดยานที่มาเติม
แกสและจะตองถมดินเต็มเนื้อที่จนถึงรั้ว จึงจะตองสรางรั้วอยางมั่นคงแข็งแรงรับน้ําหนักดินได การที่
รั้วซึ่งจําเลยไดวาจางโจทกใหเปนผูกอสรางลมลงนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากโจทกขุดหลุมเสารั้วลึก 50 ซม.
ไมมีการตอกเสาเข็มรั้ว จึงเปนการกระทําของโจทกเองที่สรางไมถูกตองตามหลักวิชา ดังนั้นโจทกจึง
ตองรับผิดแกจําเลยจากงานที่ทําชํารุดบกพรองตามที่ปรากฏขึ้นดังกลาว
อยางไรก็ตามในทางตรงกันขามถาหากความชํารุดบกพรองของผลงานมิไดเกิดจากความ
บกพรองในการทํางานหรือฝมือที่ไมไดมาตรฐานของผูรับเหมา ผูรับเหมายอมไมถูกผูกพันใหตอง
รั บ ผิ ด ชอบต อ ความชํา รุด บกพร อ งที่ เ กิ ดขึ้ น ดั ง ตั ว อยา งเหตุ ก ารณต ามคํา วินิ จฉั ย อั ย การสู งสุ ด ที่
ห.85/2537 [2] ซึ่งมีใจความในสวนที่เกี่ยวของดังนี้
กรม ช. ไดทําสัญญาวาจางบริษัท ช. ใหทําการกอสรางทางลาดยางถนนบนคันคลองแหงหนึ่ง
ตามแบบรูปและรายการละเอียดแนบทายสัญญา รวมคาจางประมาณ 12,903,000 บาท หลังจากที่ผู
รับจางไดสงมอบงานและคณะกรรมการตรวจการจางไดตรวจรับงานทั้งสัญญาแลว ตอมาภายใน
ระยะเวลาประกันผลงาน 1 ปตามสัญญา ทางลาดยางบนถนนคันคลองดังกลาวไดชํารุดเสียหายโดย
ทรุดตัวในแนวดิ่งจนกระทั่งมีระดับต่ํากวาผิวจราจรประมาณ 2 เมตร เปนระยะทางยาวประมาณ 80
เมตร
ผูวาจางไดแจงใหผูรับจางทําการซอมแซม แตผูรับจางปฏิเสธความรับผิดชอบ ผูวาจางจึงได
แต ง ตั้ ง คณะกรรมการทางวิ ช าการค น หาสาเหตุ ข องความชํ า รุ ด เสี ย หายที่ ไ ด เ กิ ด ขึ้ น ซึ่ ง ต อ มา
คณะกรรมการดังกลาวมีความเห็นวาความชํารุดเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุจากดินฐานรากเปนดิน
ออนและน้ําในคลองแหงจึงเกิดการเคลื่อนและทรุดตัวของคันคลอง
ในกรณี นี้ สํ า นั ก งานอั ย การสู ง สุ ด มี ค วามเห็ น ว า การก อ สร า งตามสั ญ ญานี้ ผู ว า จ า งเป น
ผูรับผิดชอบในการตรวจสภาพของดินกอนการออกแบบ กําหนดชนิดของวัสดุ และทดสอบความแนน
ของดินขณะทําการถมบดอัด สวนผูรับจางมีหนาที่กอสรางใหเปนไปตามแบบรูปและรายการละเอียด
ตามสัญญาเทานั้น เมื่อมีเหตุชํารุดเสียหายที่เกิดขึ้นแกงานหลังจากที่มีการรับมอบงานแลวและอยูใน

[10-2]
บทที่ 10 ความชํารุดบกพรองของผลงาน.doc

ระหวางระยะเวลาการรับประกันความชํารุดบกพรองของผลงานซึ่งผูรับจางตองเรียบแกไขใหเปนที่
เรียบรอยนั้น เหตุชํารุดเสียหายนั้นตองเกิดจากความบกพรองของผูรับจาง ดังนั้นเมื่อผูรับจางไดทํา
การกอสรางทางลาดยางตามสัญญาแลว แตความชํารุดบกพรองดังกลาวเกิดจากฐานรากเปนดินออน
และน้ําในคลองแหง จึงทําใหเกิดการเคลื่อนและการทรุดตัวของคันคลอง มิไดมีสาเหตุจากชั้นพื้นทาง
และผิวทาง จึงมิใชความบกพรองของผูรับจาง ผูรับจางจึงไมตองรับผิดตามที่กําหนดในขอ 7 ของ
สัญญานี้

3. ระยะเวลาการรับประกันความชํารุดบกพรองของผลงาน
คูสัญญามักจะตกลงกันใหผูรับเหมามีหนาที่ตองรับผิดตอความชํารุดบกพรองของผลงานเปน
ชวงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปมีระยะเวลาระหวาง 1 ถึง 2 ป ภายหลังจากการสงและรับมอบงาน
โดยระยะเวลาดังกลาวจะถูกกําหนดไวในขอกําหนดของสัญญา ตัวอยางขอกําหนดของสัญญาที่ระบุ
ระยะเวลาการรับประกันความชํารุดบกพรองของผลงาน ไดแก
“…เมื่ อ งานตามสั ญ ญาแล ว เสร็ จบริบู รณ แ ละมี ก ารรั บ มอบงานกั น แลว หากมี ค วามชํ ารุ ด
บกพรองหรือเสียหายเกิดขึ้นจากงานจางภายในกําหนดระยะเวลา 1 ป นับถัดจากวันที่ไดรับมอบงาน
ดังกลาว ซึ่งความชํารุดบกพรองหรือเสียหายนั้นเกิดจากความบกพรองของผูรับจาง อันเกิดจากการ
ใชวัสดุที่ไมถูกตอง หรือทําไวไมเรียบรอย หรือทําไมถูกตองตามมาตรฐานแหงหลักวิชา ผูรับจาง
จะตองรีบทําการแกไขใหเรียบรอยโดยไมชักชาหรือภายในระยะเวลาที่ผูวาจางกําหนด…”
“…รายการงานที่ผูรับจางตองรับผิดชอบในความชํารุดบกพรองหรือเสียหายภายในกําหนด 1
ป ประกอบดวย งานคันทางดิน(ถนนดิน) งานผิวทางลูกรัง รางระบายน้ําที่ไมดาดคอนกรีต ไหลทาง
ลูกรัง ลาดขางทางและลาดคอสะพานที่ไมมีการปองกันการกัดเซาะ ลาดดินตัด (Back Slope) ที่ไมมี
การปองกันการกัดเซาะ งานปลูกหญา งานปลูกตนไม งานตีเสนโดยใชสีชนิดโรยลูกแกว และงานทาสี
ทั่วไป
รายการงานที่ผูรับจางตองรับผิดชอบในความชํารุดบกพรองหรือความเสียหายภายในกําหนด
3 ป ประกอบดวย อุปกรณที่ใชในการติดตั้งไฟฟาแสงสวาง ไฟสัญญาณจราจร ยกเวนหลอดไฟฟา…”
จากตั ว อย า งข อ กํ า หนดทั้ ง สองข า งต น ในข อ กํ า หนดแรกสั ญ ญาได กํ า หนดให
ผูรับเหมากอสรางมีหนาที่ตองรับผิดชอบตอความชํารุดบกพรองของงานตามสัญญาที่มีสาเหตุจาก
ความบกพรองในการดําเนินงานของตนเปนระยะเวลา 1 ป นับถัดจากวันที่ผูวาจางไดรับมอบงานแลว
สําหรับขอกําหนดที่สองสัญญาไดแบงงานจางตามสัญญาออกเปน 2 สวน และคูสัญญาตกลงกัน
กําหนดระยะเวลาการรับประกันความชํารุดบกพรองของงานแตละสวนไวแตกตางกัน โดยงานในสวน
ที่มีระยะเวลาการรับประกันความชํารุดบกพรองของผลงาน 1 ป ไดแก งานคันทางดิน งานผิวทาง
ลูกรัง เปนตน และงานในสวนที่มีระยะเวลาการรับประกันความชํารุดบกพรองของผลงานยาวนานขึ้น
เปน 3 ป ไดแก อุปกรณที่ใชในการติดตั้งไฟฟาแสงสวาง ไฟสัญญาณจราจร เปนตน
การพิ จ ารณากํ า หนดระยะเวลาความรั บ ผิ ด ต อ ความชํ า รุ ด บกพร อ งของผลงานเป น สิ่ ง ที่
คูสัญญาควรใหความสําคัญอยางยิ่ง โดยควรกําหนดระยะเวลาดังกลาวใหเหมาะสมกับความเปนจริง

[10-3]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

กลาวคือ ระยะเวลาดังกลาวไมควรสั้นจนเกินไปมิฉะนั้นแลวผูวาจางอาจจะไดงานกอสรางที่มีคุณภาพ
ต่ํา ใชงานไดไมนานก็ตองซอมแซมเสียแลว ในขณะเดียวกันระยะเวลาดังกลาวก็ไมควรยาวนาน
จนเกิ น ไปเนื่ อ งจากจะส ง ผลให ผู รั บ เหมาก อ สร า งประมาณต น ทุ น ก อ สร า งให สู ง มากขึ้ น ตาม
ความสามารถของสิ่งกอสรางที่จะตองทนทานตอการใชงานโดยไมชํารุดเสียหายในชวงระยะเวลาที่
ยาวนานขึ้น ซึ่งในทายที่สุดผูวาจางอาจจะไดรับการเสนอราคาที่สูงเกินความจําเปน
อนึ่งในประเด็นเกี่ยวกับระยะเวลาการรับประกันความชํารุดบกพรองของผลงานที่ผูเกี่ยวของ
ควรใหความสําคัญเปนพิเศษไดแก ขอกําหนดของสัญญาในทํานองที่วาผูรับเหมาตองรับผิดชอบตอ
ความชํารุดบกพรองของผลงานตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยดวย เนื่องจากใน
กรณีที่สิ่งกอสรางตามสัญญาจางเปนสิ่งปลูกสรางกับพื้นดินที่ไมใชโรงเรือนทําดวยเครื่องไม ผูรับเหมา
จะตองรับผิดตอความชํารุดบกพรองของผลงานดวยระยะเวลาถึง 5 ป [3] ดังตัวอยางเหตุการณตาม
คําพิพากษาฎีกาที่ 5257/2533 [4] ซึ่งมีใจความในสวนที่เกี่ยวของดังนี้
โจทก (ผูวาจาง) ไดวาจางจําเลย (ผูรับจาง) ใหทําการกอสรางอาคารเรียนแบบพิเศษ จํานวน
1 หลัง ในราคา 6,000,000 บาท ในการตกลงทําสัญญากอสรางโจทกกับจําเลยไดตกลงสัญญากันวา
เมื่องานแลวเสร็จและโจทกไดรับมอบงานจากจําเลยแลว ถามีเหตุชํารุดเสียหายเกิดขึ้นแกอาคารเรียน
ที่จําเลยรับจางกอสรางภายในกําหนด 1 ป นับแตวันที่ไดรับมอบงาน ซึ่งเหตุชํารุดบกพรองนั้นเกิด
จากความบกพรองของจําเลย จะเปนโดยทําไวไมเรียบรอยหรือใชสิ่งของไมดีหรือทําไมถูกตองตาม
หลักวิชา จําเลยตองรีบทําการแกไขใหเปนที่เรียบรอยภายในระยะเวลาที่โจทกกําหนด โดยไมคิดเอา
คาสิ่งของ คาแรง หรือคาใชจายอื่นใดจากโจทกอีก นอกจากนี้โจทกกับจําเลยยังตกลงสัญญากันวาถา
อาคารเรียนที่จําเลยรับจางกอสรางดังกลาวเกิดการชํารุดบกพรองเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลา 1 ป
ที่กําหนดขางตน จําเลยยังตองรับผิดตามที่บัญญัติไวในประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยอีกดวย
ในการทํางานตามสัญญาจางนี้จําเลยไดกอสรางจนแลวเสร็จและสงมอบงานใหโจทกเมื่อวันที่
13 กรกฎาคม 2524 และโจทกไดจายคาจางใหแกจําเลยครบถวนตามสัญญาแลว ตอมาเมื่อวันที่ 2
พฤษภาคม 2526 โจทกไดตรวจพบวาอาคารเรียนดังกลาวชั้น 5 ชํารุดแตกราวหลายแหง จึงไดแจงให
จําเลยทําการซอมแซมแกไขแตจําเลยเพิกเฉย โจทกจึงฟองใหจําเลยตองรับผิด แตจําเลยไดแยงสวน
หนึ่งวาตามสัญญาจางขอ 6 วรรคแรก ระบุไวแนนอนแลววา ใหจําเลยรับผิดเพียง 1 ป เทานั้น จําเลย
สงมอบงานตั้งแต พ.ศ. 2524 แตความชํารุดบกพรองเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2526 พนกําหนด 1 ป แลว
จําเลยจึงไมตองรับผิด
ในกรณีนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยวา ตามสัญญาจางขอ 6 วรรคสอง ไดระบุไวชัดแจงแลววา "ถางาน
ที่จางเกิดการชํารุดบกพรองเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กําหนดขางตน ผูรับจางยังตองรับผิด
ตามที่บัญญัติไวในประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยดวย" และเมื่อขอเท็จจริงไดความวา อาคาร
เรียนหลังพิพาทเปนอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กปลูกสรางกับพื้นดิน ระยะเวลาประกันความชํารุด
บกพรองของผลงานที่จําเลยตองรับผิดจึงเปน 5 ป ตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา
600 วรรคแรก
สําหรับรายละเอียดของขอกฎหมายที่เกี่ยวของกับความรับผิดตอความชํารุดบกพรองของ
ผลงานสามารถศึกษาเพิ่มเติมไดจากเอกสารอางอิงหมายเลข [3]

[10-4]
บทที่ 10 ความชํารุดบกพรองของผลงาน.doc

4. สิทธิของผูวาจางในการจางบุคคลอื่นเขาดําเนินการแทน
เพื่อเปนการปองกันความเสียหายของผูวาจางอันเนื่องมาจากความลาชาในการแกไขหรือ
ซอมแซมงานที่ชํารุดบกพรองของผูรับเหมากอสราง สัญญามักจะมีขอกําหนดในทํานองวาในกรณีที่
ผูรับเหมาไมแกไขหรือซอมแซมงานที่ชํารุดบกพรองภายในเงื่อนเวลาที่สัญญากําหนดไว ผูวาจางมี
สิท ธิ ที่จะวาจ างบุคคลภายนอกหรือบุคคลอื่นเข ามาดํา เนินการแทนได โดยที่ ผูวาจางยังคงมีสิท ธิ
เรียกรองคาใชจายที่เกิดขึ้นจากผูรับเหมากอสรางได ตัวอยางขอกําหนดลักษณะนี้ไดแก
“…หากผูรับจางบิดพริ้วไมทําการแกไขความชํารุดบกพรองหรือความเสียหายของงานภายใน
กําหนดระยะเวลา 15 วัน นับแตวันที่ไดรับแจงเปนหนังสือจากผูวาจาง หรือไมทําการแกไขใหถูกตอง
เรียบรอยภายในเวลาที่ผูวาจางกําหนด ใหผูวาจางมีสิทธิกระทําการนั้นเองหรือจางผูอื่นใหทํางานนั้น
แทน โดยผูรับจางตองเปนผูออกคาใชจายทั้งหมด…”
จากขอกําหนดขางตนเมื่อมีการตรวจพบความชํารุดบกพรองของผลงานถาหากผูรับเหมาไม
ดําเนินการแกไขงานที่ชํารุดบกพรองภายในกําหนดเวลาที่ผูวาจางกําหนดหรือภายใน 15 วันนับแต
ไดรับแจงเปนหนังสือจากผูวาจาง ผูวาจางจะมีสิทธิตามสัญญาที่จะวาจางบุคคลอื่นใหเขาทําการแกไข
งานแทนโดยที่ผูรับเหมายังคงตองรับผิดชอบตอคาใชจายทั้งหมดที่เกิดขึ้น
ตัวอยางเหตุการณที่ผูรับเหมาไมยอมแกไขซอมแซมงานที่ชํารุดบกพรองใหแกผูวาจาง จนทํา
ใหผูวาจางตัดสินใจฟองบังคับใหผูรับเหมาชดใชคาใชจายเพื่อการซ อมแซมงานที่ชํารุดบกพรอง
ดังกลาว ไดแก เหตุการณตามคําพิพากษาฎีกาที่ 5257/2533 [4] ซึ่งเปนฎีกาที่ไดกลาวถึงแลวใน
หัวขอที่ 3 ทั้งนี้ฎีกาดังกลาวมีประเด็นที่เกี่ยวของกับกรณีที่ผูรับเหมาไมยอมแกไขซอมแซมงานที่
ชํารุดบกพรองใหแกผูวาจาง ซึ่งใจความเฉพาะในสวนที่เกี่ยวของมีดังนี้
โจทก (ผูวาจาง) ไดวาจางจําเลย (ผูรับจาง) ใหทําการกอสรางอาคารเรียนแบบพิเศษ จํานวน
1 หลัง ในราคา 6,000,000 บาท ในการตกลงทําสัญญากอสรางโจทกกับจําเลย นอกเหนือจาก
ขอตกลงในทํานองที่วา ถาหากอาคารเรียนที่จําเลยรับจางกอสรางดังกลาวเกิดการชํารุดบกพรอง
เสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลา 1 ป ที่กําหนดขางตน จําเลยยังตองรับผิดตามที่บัญญัติไวในประมวล
กฎหมายแพงและพาณิชย ยังมีขอตกลงในทํานองวา ถาหากจําเลยบิดพลิ้วไมแกไขซอมแซมงานที่
ชํารุดบกพรองภายในกําหนด 15 วัน นับแตวันที่ไดรับแจงเปนหนังสือจากโจทกหรือแกไขซอมแซม
ไมแลวเสร็จเรียบรอยภายในเวลาที่โจทกกําหนด โจทกมีสิทธิจางผูอื่นใหทํางานจางแทนจําเลยได
และในกรณีที่โจทกใชสิทธิ์จางผูอื่นซอมแซมความชํารุดบกพรองจําเลยยอมจายเงินจํานวนที่โจทก
ตองเสียไปโดยสิ้นเชิง
ภายหลังจากที่จําเลยไดทํางานกอสรางจนแลวเสร็จและสงมอบงานใหโจทก และโจทกไดจาย
คาจางใหแกจําเลยครบถวนตามสัญญาแลว โจทกไดตรวจพบวาอาคารเรียนดังกลาวชั้น 5 ชํารุด
แตกราวหลายแหง ซึ่งฝายโจทกไดคํานวณราคาคาเสียหายที่จะตองใชจายเพื่อการซอมแซมไวเปน
เงิน 52,400 บาท โจทกไดทวงเตือนใหจําเลยดําเนินการซอมแซมแกไขงานสวนที่เกิดความชํารุด
บกพรองเสียหายแลว แตจําเลยเพิกเฉยไมดําเนินการซอมแซม โจทกเห็นวาจําเลยตองรับผิดและมี

[10-5]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

หนาที่ตองซอมแซมความชํารุดบกพรองดังกลาว หรือถาจําเลยไมซอมแซมก็ตองใชเงินคาเสียหาย
คาใชจายในการซอมแซมงานที่เกิดจากความชํารุดบกพรองดังกลาวทั้งหมดจํานวน 52,400 บาท
ใหแกโจทก โจทกจึงฟองบังคับใหจําเลยใชเงินจํานวนดังกลาวพรอมดอกเบี้ยรอยละเจ็ดครึ่งตอปนับ
แตวันฟองจนกวาจะชําระเสร็จแกโจทก
จําเลยไดแยงสวนหนึ่งวาตามสัญญาจางระบุไวแนนอนแลววา ใหจําเลยรับผิดเพียง 1 ป
เทานั้น จําเลยสงมอบงานตั้งแต พ.ศ.2524 แตความชํารุดบกพรองเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2526 พนกําหนด
1 ป แลว จําเลยจึงไมตองรับผิด ในคดีนี้ศาลไดวินิจฉัยวา ระยะเวลาที่จําเลยตองรับผิดตองานที่ชํารุด
บกพรองคือ 5 ป มิใช 1 ป ตามที่ไดกลาวถึงในหัวขอที่ 3
จากนั้ น ศาลได วิ นิ จ ฉั ย อี ก ประเด็ น ว า จํ า เลยต อ งรั บ ผิ ด ใช เ งิ น ค า เสี ย หายค า ใช จ า ยในการ
ซอมแซมงานที่เกิดจากความชํารุดบกพรองในจํานวน 52,400 บาท ตามฟองของโจทกหรือไม ซึ่งใน
ประเด็นนี้ศาลไดวินิจฉัยใหจําเลยตองรับผิดโดยใชคาเสียหายใหแกโจทกเปนเงินจํานวน 40,000 บาท
พรอมดอกเบี้ยรอยละเจ็ดครึ่งตอปนับแตวันฟองเปนตนไปจนกวาจะชําระเสร็จแกโจทก

5. บทสงทาย
เนื้อหาของบทนี้ไดกลาวถึงขอกําหนดเกี่ยวกับความชํารุดบกพรองของผลงานในประเด็นหลัก
ที่นาสนใจอันไดแก (1) ความรับผิดของผูรับเหมาตอความชํารุดบกพรองของผลงาน ซึ่งสัญญามักจะ
จํากัดความรับผิดชอบของผูรับเหมาตอความชํารุดบกพรองของเฉพาะสําหรับกรณีที่สาเหตุของความ
ชํารุดบกพรองเปนความบกพรองในการปฏิบัติงานของผูรับเหมาเทานั้น (2) ระยะเวลาการรับประกัน
ความชํารุดบกพรองของผลงาน ซึ่งมักจะมีระยะเวลาระหวาง 1 ถึง 2 ป ภายหลังจากการสงและรับ
มอบงาน และ (3) สิทธิของผูวาจางในการจางบุคคลอื่นเขาดําเนินการแทน ซึ่งเปนวิธีการในการ
ปองกันความเสียหายของผูวาจางอันเนื่องมาจากความลาชาในการแกไขหรือซอมแซมงานที่ชํารุด
บกพรองของผูรับเหมากอสราง ตามลําดับ

เอกสารอางอิง
[1] คําพิพากษาฎีกาที่ 3098/2529
[2] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.85/2537
[3] นที สุริยานนท และ พิชญ สุธีรวรรธนา, “ความรับผิดชอบของผูรับจางตอความชํารุดบกพรอง
ของผลงาน”, โยธาสาร, ปที่ 12, ฉบับที่ 4, ตุลาคม ถึง ธันวาคม, หนา 19-24, 2543
[4] คําพิพากษาฎีกาที่ 5257/2533

บรรณานุกรม
[1] “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ พ.ศ. 2535”, สวัสดิการสํานักงานปลัดสํานัก
นายกรัฐมนตรี, เมษายน, 2535

[10-6]
บทที่ 10 ความชํารุดบกพรองของผลงาน.doc

[2] “เอกสารรวบรวมสัญญาเกี่ยวกับงานกอสราง”, สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ,


พิมพครั้งที่ 1, พฤษภาคม 2534
[3] “สัญญามาตรฐานงานจางเหมากอสราง”, วิศวกรรมสถานแหงประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ, พิมพครั้งที่ 2, 2541
[4] “Conditions of Contract for Works of Civil Engineering Construction”, (1987 and
reprinted in 1992 with further amendments), Federation Internationale Des Ingenirurs-
Conseils (FIDIC), 4th Edition, 1992.
[5] “Conditions of Contract for Construction for Building and Engineering Works Designed
by the Employer”, Federation Internationale Des Ingenirurs-Conseils (FIDIC), 1st
Edition, 1999.
[6] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “ความชํารุดบกพรองของผลงาน”, ขาวชาง, สมาคม
อุตสาหกรรมกอสรางแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่ xx, ฉบับที่ xxx, xxxxxxxx
- xxxxxxxx, หนา xx-xx, xxxx

[10-7]
 
บทที่ 11
การจางชวง
(Subcontracting)

1. บทนํา
งานกอสรางเปนงานที่จําเปนตองใชความรูความชํานาญในแขนงวิชาที่หลากหลาย อันไดแก
ดานงานโยธา ดานสถาปตยกรรม ดานระบบไฟฟา ดานระบบสุขาภิบาล ดานระบบเครื่องจักรกล เปน
ตน อยางไรก็ดีเ นื่องจากผูรับเหมากอสรางแตละรายอาจไมมีบุคลากรที่มีความรูความสามารถที่
ตองการในงานกอสรางหนึ่งๆครบทุกดาน ผูรับเหมาจึงอาจจําเปนตองจางผูชํานาญงานเฉพาะดานซึ่ง
เรียกกันโดยทั่วไปวา “ผูรับเหมาชวง” ใหเขามารวมกันทํางาน
การทํางานกอสรางในลักษณะที่มีการวาจางผูรับเหมาชวงนี้นอกจากจะเปนผลดีตอผูวาจางที่
จะไดรับงานที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นจากการปฏิบัติงานของผูที่มีความชํานาญงานโดยตรงแลว ยังเปน
ผลดีตอผูรับเหมากอสรางอีกดวยเนื่องจากผูรับเหมากอสรางไมจําเปนตองมีบุคลากรจํานวนมากใน
ทุกแขนงวิชาซึ่งอาจทําใหเกิดผลเสียตอการบริหารงานภายในองคกรและตนทุนในการดําเนินธุรกิจได
ถึงแมวาการวาจางผูรับเหมาชวงจะมีผลดีตอทั้งผูวาจางและผูรับเหมาหลายประการ อยางไร
ก็ดีในทางกลับกันการไมจํากัดสิทธิของผูรับเหมาในการวาจางผูรับเหมาชวงบางประการ หรือการไม
กําหนดหนาที่ความรับผิดชอบของผูรับเหมาในกรณีที่มีการใชผูรับเหมาชวง ก็อาจกอใหเกิดผลเสียตอ
ผูวาจางได อาทิเชน หากผูรับเหมาชวงที่ผูรับเหมาคัดเลือกไมมีคุณภาพก็อาจกอใหเกิดผลเสียตอ
คุณภาพงานและระยะเวลาการทํางานได หรือหากกรณีที่การทํางานของผูรับเหมาชวงกอใหเกิด
ปญหากับบุคคลภายนอกก็อาจเกิดประเด็นการเกี่ยงความรับผิดชอบระหวางผูรับเหมากับผูรับเหมา
ชวงได เปนตน
เพื่ อ เป น การแก ไ ขป ญ หาที่ ไ ด ก ล า วข า งต น ในเบื้ อ งต น สั ญ ญาส ว นหนึ่ ง จึ ง มี ก ารกํ า หนด
ขอกําหนดเกี่ยวกับการจางชวง โดยขอกําหนดเกี่ยวกับการจางชวงนี้มักจะมีเนื้อหาหลักในประเด็นที่
สําคัญ 3 ประการ อันไดแก หนาที่ของผูรับเหมาในการขอความเห็นชอบจากผูวาจาง ความรับผิดของ
ผูรับเหมาตอผลงานหรือการกระทําของผูรับเหมาชวง และสิทธิของผูวาจางในการสั่งใหผูรับเหมาบอก
เลิกสัญญากับผูรับเหมาชวง เนื้อหาในบทนี้จะนําเสนอขอกําหนดเหลานี้พรอมยกตัวอยางแนวทางการ
วินิจฉัยที่เกี่ยวของประกอบโดยสังเขป

2. หนาที่ของผูรับเหมาในการขอความเห็นชอบจากผูวาจาง
โดยทั่วไปสัญญามักจะมีขอกําหนดในทํานองที่วา ถาหากผูรับเหมาตองการวาจางผูเหมาชวง
เพื่อใหรับงานสวนหนึ่งสวนใดไปทํา ผูรับเหมาจะตองแจงตอหรือไดรับความยินยอมจากผูวาจางกอน
ตัวอยางขอกําหนดลักษณะนี้ ไดแก

[11-1]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

“…ผูรับจางจะตองเสนอรายชื่อผูรับจางชวงในงานกอสรางสวนหนึ่งสวนใดของงานแกผูวาจาง
กอนจะเริ่มลงมือปฏิบัติการกอสราง ผูวาจางสงวนสิทธิ์ที่จะอนุญาตหรือไมอนุญาตใหผูรับจางชวงราย
ใดเขามาดําเนินการกอสรางได…”
“…ผูรับจางจะตองไมเอางานทั้งหมดหรือบางสวนแหงสัญญานี้ไปจางชวงอีกตอหนึ่งโดย
ปราศจากความยินยอมเปนหนังสือจากผูวาจางหรือตัวแทนผูวาจางกอน ยกเวนแตการจางชวงสวน
ใดๆของงานซึ่งผูรับจางชวงมีชื่ออยูแลวในสัญญา ผูรับจางไมตองไดรับความยินยอมจากผูวาจางหรือ
ตัวแทนผูวาจาง…”
จากตั ว อย า งข อ กํ า หนดข า งต น ในข อ กํ า หนดแรกสั ญ ญากํ า หนดว า ในกรณี ที่ ผู รั บ เหมา
ตองการวาจางผูรับเหมาชวงเพื่อทํางานในสวนใดสวนหนึ่ง ผูรับเหมาจะตองเสนอรายชื่อผูรับเหมา
ชวงแกผูวาจางกอนที่จะเริ่มลงมือปฏิบัติงาน ซึ่งผูวาจางมีสิทธิตามสัญญาที่จะอนุญาตหรือไมอนุญาต
ตามขอเสนอของผูรับเหมาก็ได
สํา หรั บ ข อ กํ า หนดที่ ส องสั ญ ญากํ า หนดว า ถ า หากผู รั บ เหมาต อ งการนํ า งานทั้ ง หมดหรื อ
บางสวนไปจางชวงตออีกทอดหนึ่ง ผูรับเหมาตองไดรับความยินยอมเปนหนังสือจากผูวาจางกอน
ทั้งนี้ยกเวนแตในกรณีที่งานในสวนที่ผูรับเหมาตองการจางชวงตอเปนงานซึ่งผูรับเหมาชวงมีชื่ออยู
แลวในสัญญา
อยางไรก็ตามแมสัญญาจะมีขอกําหนดตามลักษณะขางตนที่กําหนดใหผูรับเหมามีหนาที่ตอง
แจงหรือไดรับความยินยอมจากผูวาจาง แตถาหากผูรับเหมาไดวาจางผูรับเหมาชวงใหทํางานสวนใด
สวนหนึ่งโดยมิไดแจงแกผูวาจาง และผูวาจางก็ทราบดีแตมิไดทักทวง ในกรณีเชนนี้ผูวาจางอาจจะไม
สามารถนํ า ข อ กํ า หนดของสั ญ ญาตามลั ก ษณะข า งต น มาบั ง คั บ ใช แ ก ผู รั บ เหมาได ดั ง ตั ว อย า ง
เหตุการณตามคําพิพากษาฎีกาที่ 1202/2518 [1] ซึ่งมีใจความในสวนที่เกี่ยวของดังนี้
จําเลย (ผูวาจาง) จางโจทก (ผูรับจาง) หลอเสาและเดินสายโทรเลข จําเลยฟองเรียกรอง
คาเสียหายจากโจทกเนื่องจากโจทกเอางานบางสวนไปใหผูอื่นรับจางชวงโดยมิไดรับอนุญาตจาก
จําเลย ในกรณีนี้ศาลฎีกามีคําวินิจฉัยในสวนที่เกี่ยวของวา แมโจทกเอางานบางสวนไปใหผูอื่นรับจาง
ชวงโดยมิไดรับอนุญาตจากจําเลยอันเปนการผิดสัญญา แตเมื่อจําเลยเพิกเฉยไมเคยยกเหตุนี้ขึ้นวา
กลาวและไมเคยขอเลิกสัญญาเพราะเหตุนี้ จึงไมมีคาเสียหายที่โจทกจะตองรับผิดอันจําเลยจะอาง
อํานาจตามขอสัญญามายึดและหักคาจางที่คางชําระไวเพื่อเปนคาตอบแทน

3. ความรับผิดของผูรับเหมาตอผลงานหรือการกระทําของผูรับเหมาชวง
เนื่ อ งจากผู ว า จ า งมั ก จะไม ไ ด ทํ า สั ญ ญากั บ ผู รั บ เหมาช ว งโดยตรง ในกรณี ที่ ผ ลงานของ
ผูรับเหมาชวงไมไดมาตรฐานหรือผูรับเหมาชวงกระทําการใดๆที่สงผลใหเกิดความเสียหายแกผูวาจาง
จึงเปนการยากที่ ผู ว าจ างจะบั งคับ ให ผูรับเหมาช ว งชดใชค วามเสียหายที่เ กิดขึ้น สัญญาจึงมั กจะ
กําหนดให ผูรับเหมาจะต องรับ ผิดชอบตอผลงานหรือการกระทําของผูรับเหมาชว งด วย ตัวอยาง
ขอกําหนดลักษณะนี้ไดแก

[11-2]
บทที่ 11 การจางชวง.doc

“…ความยินยอมของผูวาจางตอการจางผูรับจางชวงตามที่ผูรับจางรองขอจะไมเปนเหตุให
ผูรับจางหลุดพนจากความรับผิดหรือพันธะหนาที่ตามสัญญานี้ และผูรับจางจะยังคงตองรับผิดชอบตอ
การปฏิบัติงาน และความประมาทเลินเลอของผูรับจางชวงหรือของตัวแทนหรือลูกจางของผูรับจาง
ชวงนั้นทุกประการ…”
“…แมวาผูรับจางจะไดทําสัญญาจางชวงงานสวนหนึ่งสวนใดกับผูรับจางชวงไปก็ดี ผูรับจางก็
ยั ง มี ภ าระและความรั บ ผิ ด ชอบต อ งานส ว นที่ มี ก ารอนุ มั ติ ใ ห จ า งช ว งเสมื อ นหนึ่ ง ผู รั บ จ า งเป น
ผูปฏิบัติงานเอง … หนาที่ความรับผิดชอบและขอผูกพันใดๆที่ผูรับจางมีอยูตอผูวาจางนั้น ผูรับจาง
ชวงจะตองรับไวและปฏิบัติตามดวยทั้งสิ้น…”
จากตัวอยางขอกําหนดทั้งสองขางตน สัญญากําหนดวา ถึงแมวาผูวาจางจะไดอนุมัติหรือ
ยินยอมใหผูรับเหมาสามารถจางชวงงานสวนใดสวนหนึ่งใหแกผูรับเหมาชวงรายที่ผูวาจางเห็นดวย
แตผูรับเหมายังคงตองรับผิดชอบตอผลงานและการกระทําของผูรับเหมาชวง เสมือนหนึ่งเปนสิ่งที่
ผูรับเหมาเปนผูปฏิบัติเอง
ตัวอยางเหตุการณที่ผูรับเหมาตองรับผิดตอผลงานของผูรับเหมาชวงไดแก ผูวาจางไดทํา
สัญญาจางผูรับเหมาใหกอสรางอาคารพรอมติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เปนเงินประมาณ 12,500,000
บาท มีกําหนดสงมอบงานภายใน 240 วัน เมื่อมีการลงนามในสัญญาแลวผูรับจางไดวาจางบริษัท อ.
ใหเปนผูดําเนินงานในสวนของการติดตั้งระบบปรับอากาศทั้งหมด เมื่องานกอสรางทั้งหมดแลวเสร็จผู
รั บ จ า งได ส ง มอบงานตามกํ า หนดในสั ญ ญา แต ห ลั ง จากนั้ น ประมาณ 2 เดื อ น ปรากฏว า
เครื่องปรับอากาศจํานวน 2 เครื่อง มีปญหาชํารุดบอยครั้งและไมสามารถใชงานไดตามปกติ ผูวาจาง
จึงเรียกใหผูรับจางเขามาทําการแกไข แตผูรับจางปฏิเสธโดยอางวางานในสวนของระบบปรับอากาศ
เปนงานที่ไดมอบใหบริษัท อ. เปนผูดําเนินการแลว ผูวาจางจึงตองไปเรียกรองใหบริษัท อ. ซอมแซม
แกไขเอง มิใชหนาที่ของผูรับจางที่จะตองรับผิดชอบอีก
ในกรณีเชนนี้หากปญหาเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศเกิดจากการทํางานที่ไมมีคุณภาพหรือ
ความบกพรองของบริษัท อ. ซึ่งเปนผูรับจางชวงของผูรับจางอีกทอดหนึ่ง ผูรับจางจะตองรับผิดชอบ
ในความผิดพลาดของตนที่จัดหาผูรับจางชวงที่ไมสามารถทํางานใหดีได ผูรับจางไมสามารถปฏิเสธ
หรือปดความรับผิดชอบใหพนตัวได

4. สิทธิของผูวาจางในการสั่งใหผูรับเหมาบอกเลิกสัญญากับผูรับเหมาชวง
เพื่อเปนการปองกันและแกไขความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการทํางานของผูรับเหมาชวง
สัญญาจึงมักจะมีขอกําหนดในลักษณะที่ใหสิทธิแกผูวาจางในการสั่งใหผูรับเหมาบอกเลิกสัญญากับ
ผูรับเหมาชวงได ตัวอยางขอกําหนดลักษณะนี้ไดแก
“…ในกรณีที่ผูวาจางหรือผูแทนของผูวาจางเห็นวาผูรับจางชวงไดทํางานหรือจัดหาวัสดุไม
เปนไปตามที่กําหนดไวในสัญญา ผูวาจางหรือผูแทนของผูวาจางอาจสั่งใหผูรับจางเลิกจางผูรับจาง
ชวงรายนี้และผูรับจางจะตองเลิกจางทันที โดยผูรับจางไมมีสิทธิเรียกรองคาเสียหายใดๆทั้งสิ้น…”

[11-3]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

จากขอกําหนดขางตน ในกรณีที่ผูวาจางตรวจพบวาผูรับเหมาชวงรายใดไดทํางานหรือจัดหา
วัสดุไมเปนไปตามที่กําหนดไวในสัญญา ผูวาจางจะมีสิทธิตามสัญญาในการสั่งใหผูรับเหมาบอกเลิก
สัญญาจางกับผูรับเหมาชวงรายดังกลาว โดยที่ผูรับเหมาจะตองปฏิบัติตามในทันทีและผูรับเหมาจะไม
มีสิทธิเรียกรองคาเสียหายใดๆจากผูวาจาง
ตัวอยางเหตุการณที่ผูวาจางอาจใชสิทธิสั่งใหผูรับเหมาบอกเลิกสัญญากับผูรับเหมาชวงไดแก
ผูวาจางไดทําสัญญาจางผูรับเหมาใหกอสรางบานพักอาศัย 2 ชั้น จํานวน 1 หลัง ตอมาผูรับเหมาได
ขออนุมัติจากผูวาจางเพื่อจางผูรับเหมาชวงรายหนึ่งใหเขามาทํางานกอสรางรั้วซึ่งผูวาจางก็ไดอนุมัติ
ตามที่ผูรับเหมารองขอ ในระหวางการดําเนินงานกอสรางรั้ว ผูวาจางตรวจพบวารั้วบานที่ผูรับเหมา
ชวงรายดังกลาวไดเริ่มกอสรางไมเปนแนวเสนตรงตามที่ควรจะเปน อีกทั้งผูรับเหมาชวงใชวัสดุไมตรง
ตามแบบรูปและรายละเอียดกอสราง ในกรณีเช นนี้หากสัญญามีขอกําหนดในลักษณะดังที่กล าว
ข า งต น ผู ว า จ า งอาจใช สิ ท ธิ ต ามสั ญ ญาสั่ ง ให ผู รั บ เหมาบอกเลิ ก สั ญ ญากั บ ผู รั บ เหมาช ว งได ซึ่ ง
ผูรับเหมามีหนาที่ตามสัญญาที่จะตองปฏิบัติตามคําสั่งดังกลาวของผูวาจาง

5. บทสงทาย
ถึงแมวาการจางผูรับเหมาชวงในการทํางานกอสรางจะมีขอดีหลายประการ แตเพื่อเปนการ
ปองกันปญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของผูรับเหมาชวง สัญญาจางงานกอสรางระหวางผู
วาจางและผูรับเหมากอสรางจึงมักจะกําหนดสิทธิ หนาที่ และความรับผิดชอบของคูสัญญาตอการ
ปฏิบัติงานของผูรับเหมาชวงไวดวย
เนื้อหาของบทนี้ไดกลาวถึงขอกําหนดเกี่ยวกับการจางผูรับเหมาชวง อันไดแก หนาที่ของ
ผูรับเหมาในการขอความเห็นชอบจากผูวาจาง ความรับผิดของผูรับเหมาตอผลงานหรือการกระทํา
ของผู รับ เหมาชว ง และสิ ท ธิ ของผู วาจ างในการสั่ งใหผูรั บ เหมาบอกเลิ กสัญ ญากับ ผู รับ เหมาช ว ง
ตามลําดับ ทั้งนี้เพื่อใหผูที่เกี่ยวของสามารถทําความเขาใจและนําขอกําหนดดังกลาวไปประยุกตใชได
ในสถานการณที่เหมาะสมตอไป

เอกสารอางอิง
[1] คําพิพากษาฎีกาที่ 1202/2518

บรรณานุกรม
[1] “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ พ.ศ. 2535”, สวัสดิการสํานักงานปลัดสํานัก
นายกรัฐมนตรี, เมษายน, 2535
[2] “เอกสารรวบรวมสัญญาเกี่ยวกับงานกอสราง”, สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ,
พิมพครั้งที่ 1, พฤษภาคม 2534
[3] “สัญญามาตรฐานงานจางเหมากอสราง”, วิศวกรรมสถานแหงประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ, พิมพครั้งที่ 2, 2541

[11-4]
บทที่ 11 การจางชวง.doc

[4] “Conditions of Contract for Works of Civil Engineering Construction”, (1987 and
reprinted in 1992 with further amendments), Federation Internationale Des Ingenirurs-
Conseils (FIDIC), 4th Edition, 1992.
[5] “Conditions of Contract for Construction for Building and Engineering Works Designed
by the Employer”, Federation Internationale Des Ingenirurs-Conseils (FIDIC), 1st
Edition, 1999.
[6] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “ขอกําหนดในสัญญาเกี่ยวกับการจางชวง”, ขาวชาง,
สมาคมอุตสาหกรรมกอสรางแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่ xx, ฉบับที่ xxx,
xxxxxxxx - xxxxxxxx, หนา xx-xx, xxxx

[11-5]
 
บทที่ 12
เหตุสุดวิสัยในงานกอสราง
(Force Majeure in Construction Work)

1. บทนํา
ในระหว า งการทํ า งานก อสร างมีค วามเป น ไปได ที่จะเกิด เหตุก ารณ ที่คู สั ญ ญาไมส ามารถ
ควบคุมไดอันสงผลกระทบทําใหโครงการไดรับความเสียหาย อาทิเชน อุทกภัย การประทวงหยุดงาน
การจลาจล สงคราม ความไมแนนอนทางการเมือง เปนตน เหตุการณที่อยูนอกเหนือความควบคุม
เหลานี้มักจะถูกเรียกวา “เหตุสุดวิสัย” ซึ่งตรงกับคําศัพทภาษาอังกฤษวา “Force Majeure” [1]
เนื่องจากเหตุสุดวิสัยเปนสิ่งที่อยูนอกเหนือความควบคุมของผูรับเหมากอสราง ซึ่งถาหากผูวา
จ า งต อ งการให ผู รับ เหมารั บ ภาระความเสี่ ย งของการเกิ ดเหตุ สุด วิสั ย ก็ อ าจจะทํ าให ร าคาค าจ า ง
ดําเนินการกอสรางตามสัญญามีมูลคาสูงขึ้นมาก ดังนั้นสัญญาสวนใหญจึงมักใหสิทธิแกผูรับเหมา
สามารถยื่นเรื่องขอขยายเวลาดําเนินการและ/หรือของดหรือลดคาปรับไดเมื่อมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้น
อาทิเชนในตัวอยางแบบสัญญาจางทายระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ พ.ศ. 2535 [2]
ขอ 22 ซึ่งไดกําหนดใหเหตุสุดวิสัยเปนหนึ่งในสามสาเหตุที่ผูรับเหมาสามารถขอขยายเวลาการ
ดําเนินงานออกไปได
อยางไรก็ตามบอยครั้งที่มีขอโตแยงเกิดขึ้นระหวางผูวาจางและผูรับเหมากอสรางเกี่ยวกับการ
ตีความที่แตกตางกันวาเหตุการณที่เกิดขึ้นนั้นถือวาเปนเหตุสุดวิสัยหรือไม เนื้อหาของบทนี้จะ
กลาวถึงลักษณะเหตุการณของเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย แนวทางคํา
พิพากษาฎีกา แนวทางคําวินิจฉัยของสํานักงานอัยการสูงสุด และขอกําหนดในสัญญาที่เกี่ยวของกับ
เหตุสุดวิสัย ดังรายละเอียดตอไปนี้

2. คําจํากัดความของ “เหตุสุดวิสัย”
ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย [3] บรรพ 1 มาตรา 8 บัญญัติวา
“คําวา ‘เหตุสุดวิสัย’ หมายความวา เหตุใดๆอันจะเกิดขึ้นก็ดี จะใหผลพิบัติก็ดี เปนเหตุที่ไม
อาจปองกันได แมทั้งบุคคลผูตองประสบหรือใกลจะตองประสบเหตุนั้นจะไดจัดการระมัดระวังตาม
สมควรอันพึงคาดหมายไดจากบุคคลในฐานะและภาวะเชนนั้น”

3. ลักษณะของเหตุสุดวิสัยตามบทบัญญัติของกฎหมาย
จากคําจํากัดความของเหตุสุดวิสัยที่ไดกลาวไวในหัวขอที่ 2 อาจกลาวไดวาเหตุการณที่ถือวา
เปนเหตุสุดวิสัยตองเปนเหตุการณที่ไมอาจปองกันได ซึ่งถาเปนเหตุการณที่ผูประสบเหตุสามารถ
ปองกันไดถาหากไดจัดการอยางระมัดระวังตามสมควรก็ไมถือวาเปนเหตุสุดวิสัย เนื้อหาในสวนนี้จะ

[12-1]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

แสดงตัวอยางเหตุการณที่ไมอาจปองกันไดซึ่งถือวาเปนเหตุสุดวิสัย และตัวอยางเหตุการณที่สามารถ
ปองกันไดซึ่งไมถือวาเปนเหตุสุดวิสัย ดังรายละเอียดตอไปนี้

3.1 เหตุสุดวิสัยตองเปนเหตุที่ไมมีใครอาจปองกันได
คําพิพากษาฎีกาที่ 1977/2515 [4] ฎีกาที่ 1371/2524 [5] ฎีกาที่ 2378/2523 [6] และฎีกาที่
2338/2526 [7] ไดมีคําวินิจฉัยในแนวทางที่วา เหตุสุดวิสัยตองเปนเหตุที่ไมมีใครอาจปองกันได เปน
ภัยธรรมชาติเหลือวิสัยจะปองกันได เปนสิ่งที่มิอาจคาดหมายได ไมสามารถหลีกเลี่ยงปองกันได แม
บุคคลที่ประสบหรือจะประสบเหตุดังกลาวจะไดใชความระมัดระวังตามสมควรแลวก็ตาม ซึ่งตัวอยาง
เหตุ สุ ด วิ สั ย ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในงานก อ สร า งได แ ก กรณี ที่ ป รากฎในคํ า วิ นิ จ ฉั ย สํ า นั ก งานอั ย การสู ง สุ ด ที่
ห.84/2527 [8] และ ห.106/2539 [9] ดังที่จะกลาวถึงตอไปตามลําดับ
คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.84/2527 มีใจความในสวนที่เกี่ยวของดังนี้ กรม ย.
(ผูวาจาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการกอสรางสะพานขามแมน้ําเจาพระยาและถนนบริเวณ
จังหวัด น. และจังหวัด ป. ทั้งนี้ในระหวางการดําเนินงานระดับน้ําในแมน้ําเจาพระยาบริเวณงาน
กอสรางสูงขึ้นทวมตลิ่งทั้งสองฝง ผูรับจางจึงไดขอตออายุสัญญาโดยอางวาเหตุดังกลาวเปนอุปสรรค
ขัดขวางมิใหการปฏิบัติงานตามสัญญาแลวเสร็จตามระยะเวลาที่กําหนด
ในกรณี นี้ สํ า นั ก งานอั ย การสู ง สุ ด หรื อ กรมอั ย การในขณะนั้ น (กรมอั ย การเปลี่ ย นมาเป น
สํานักงานอัยการสูงสุดตั้งแตวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2534 เปนตนมา) พิจารณาแลวมีความเห็นวา ตาม
รายงานของผูเชี่ยวชาญ (กรมชลประทาน) พบวาปรากฏการณที่เกิดขึ้นดังกลาวเปนปรากฏการณ
ของระดับน้ําสูงสุดที่เกิดในรอบ 20 ป จึงยอมเปนเหตุการณอันมิอาจคาดหมายและไมมีผูใดปองกันได
แมจะไดใชความระมัดระวังตามสมควร จึงอาจถือวาเปนเหตุสุดวิสัยตามนัยมาตรา 8 ของประมวล
กฎหมายแพงและพาณิชย
คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.106/2539 มีใจความในสวนที่เกี่ยวของดังนี้ กรม อ.
(ผูวาจาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการกอสรางอาคาร ขนาด 3 ชั้น 1 หลัง ในราคา 5,830,000
บาท ในโครงการนี้ ผูรับจางไดขอขยายเวลาโดยอางวาไดเกิ ดอุ ทกภัยขึ้ น จนเปนเหตุใ หเสนทาง
คมนาคมถูกตัดขาดไมสามารถไปรับคนงานมาทํางานจางได และประสบกับปญหาน้ําทวมบอทรายไม
สามารถจัดสงได
ทั้งนี้ขอเท็จจริงของกรณีนี้มีอยูวา โครงการสงน้ําและบํารุงรักษาลําตะคองไดระบายน้ําจาก
เขื่อนลําตะคองสูแมน้ําลําตะคองจนเปนเหตุใหน้ําไหลบาเขาทวมสถานที่กอสราง พื้นที่ในเขตเทศบาล
และอําเภอใกลเคียง ในขณะที่เกิดเหตุผูรับจางไดทํางานในชวงเวลาที่เกิดเหตุอยางตอเนื่องมิไดหยุด
งานจางโดยสิ้นเชิงเพราะคนงานบางสวนยังคงมาทํางานได ซึ่งยังผลใหสามารถทํางานจางไปไดสวน
หนึ่งของงานจางปกติ
ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา กรณีเหตุดังกลาวนี้เปนสิ่งที่มิอาจคาดหมายได
ไมสามารถหลีกเลี่ยงปองกันได คาดเห็นไมได และเกิดขึ้นนอกขอบเขตที่ลูกหนี้จะตอบโตได หรือไม
อาจเอาชนะได แมบุคคลที่ประสบหรือจะประสบเหตุดังกลาวจะไดใชความระมัดระวังตามสมควรแลว

[12-2]
บทที่ 12 เหตุสุดวิสัยในงานกอสราง.doc

ก็ ต าม ทั้ ง นี้ ถึ ง แม จ ะมี ก ารดํ า เนิ น งานตามสั ญ ญาจ า งได บ า งตลอดเวลาที่ เ กิ ด เหตุ แต ก็ ไ ม อ าจ
ดําเนินงานไดตามปกติ จึงเปนเหตุสุดวิสัย

3.2 เหตุที่ปองกันไดถาหากไดจัดการอยางระมัดระวังตามสมควร ไมใชเหตุสุดวิสัย


คําพิพากษาฎีกาที่ 943/2510 [10] ฎีกาที่ 1789-1790/2518 [11] ฎีกาที่ 473/2519 [12] ฎีกา
ที่ 830/2519 [13] ฎีกาที่ 2331/2520 [14] ฎีกาที่ 2678/2526 [15] และฎีกาที่ 514/2537 [16] ไดมีคํา
วินิจฉัยในแนวทางที่วา หากผูประสบเหตุขาดความระมัดระวัง หรือเปนเหตุที่ผูประสบอาจปองกันผล
พิบัติไดถาไดจัดการระมัดระวังตามสมควร ยอมไมใชเหตุสุดวิสัย ซึ่งตัวอยางที่เกิดขึ้นในงานกอสราง
ไดแก กรณีที่ปรากฎในหนังสือหารือที่ มท. 1002/9441 กรมอัยการ ลงวันที่ 24 กันยายน 2522 [17]
หนังสือหารือที่ มท. 1002/11710 กรมอัยการ ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2523 [18] หนังสือหารือที่ มท.
1002/14247 กรมอัยการ ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2522 [19] และคําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่
ห.66/2538 [20] ดังที่จะกลาวถึงตอไปตามลําดับ
หนังสือหารือที่ มท. 1002/9441 กรมอัยการ ลงวันที่ 24 กันยายน 2522 มีใจความในสวนที่
เกี่ยวของดังนี้ มหาวิทยาลัยแหงหนึ่ง (ผูวาจาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการกอสรางอาคาร
หองสมุด 1 หลัง ในวงเงินประมาณ 37,900,000 บาท มีกําหนดแลวเสร็จภายใน 730 วัน ทั้งนี้
ระหวางการกอสรางผูรับจางไดมีหนังสือแจงวาเกิดเพลิงไหมอาคารที่กําลังกอสรางชั้นที่ 2 โดยเกิด
จากอุบัติเหตุไฟฟาช็อตจากเครื่องเชื่อมเปนเหตุใหสิ่งกอสรางชํารุดเสียหาย และไดมีหนังสือขอตอ
อายุสัญญาเนื่องจากเหตุดังกลาวเปนเวลา 120 วัน อยางไรก็ดีขอเท็จจริงฟงไดตามหนังสือสถานี
ตํารวจภูธรอําเภอเมืองฯวาเหตุเพลิงไหมเกิดจากการกระทําโดยประมาทของคนงานเชื่อมเหล็กของ
บริษัทผูรับจาง ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา กรณีนี้ไมใชเหตุสุดวิสัยเพราะอยูใน
วิสัยที่บริษัทผูรับจางจะปองกันมิใหเกิดเหตุเชนวานั้นได โดยจัดใหมีการใชความระมัดระวังตาม
สมควร
หนังสือหารือที่ มท. 1002/11710 กรมอัยการ ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2523 มีใจความในสวนที่
เกี่ยวของดังนี้ สํานักงาน ร. (ผูวาจาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการกอสรางทางมาตรฐานแหง
หนึ่ง เปนเงินประมาณ 2,400,000 บาท ในโครงการนี้ผูรับจางไดขอตออายุสัญญาโดยอางวาเกิดจาก
น้ํามันโซลาขาดแคลน ทั้งนี้ขอเท็จจริงมีอยูวา สัญญาทําเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2521 โดยผูรับจางตอง
ลงมือทํางานภายในวันที่ 12 ตุลาคม 2521 และจะตองทํางานใหแลวเสร็จสมบูรณภายในวันที่ 29
เมษายน 2522 จากหนังสือสํานักงานพาณิชยจังหวัดปตตานี ปรากฏวาน้ํามันเชื้อเพลิงเริ่มขาดแคลน
ในเดือนมีนาคม 2522 และขาดแคลนมากเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2522 ซึ่งกอนจะครบกําหนดสัญญา
เพียง 35 วัน และหลังจากที่ผูรับจางไดทํางานตามสัญญาแลวถึง 165 วัน ในกรณีนี้สํานักงานอัยการ
สูงสุดมีความเห็นวา ขอเท็จจริงเทาที่ปรากฏดังกลาวคงฟงไดเพียงวา น้ํามันเชื้อเพลิงขาดแคลนใน
จังหวัดปตตานีและจังหวัดนราธิวาสเทานั้น มิไดหมายความวาน้ํามันเชื้อเพลิงไมมีอยูเลย ถาผูรับจาง
จะใชความระมัดระวังโดยตกลงทําสัญญาซื้อน้ํามันเชื้อเพลิงจากจังหวัดใกลเคียงไวเสียตั้งแตในชวง
165 วัน ซึ่งน้ํามันยังไมขาดแคลนหรือยอมซื้อในราคาที่สูงกวาราคาที่ทางราชการกําหนด และก็ไม

[12-3]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ปรากฎข อเท็ จจริ งว า ผู รับ จา งไมอ าจจะใช วิธี ป อ งกันดั งว า นั้น ได เมื่อข อเท็ จจริ ง ปรากฏวาน้ํ ามั น
เชื้อเพลิงไมเพียงพอแกการใชงานเพราะความผิดพลาดและบกพรองของผูรับจางที่ไมเตรียมการและ
ปองกันไวตามสมควร ตามวิสัยของผูมีอาชีพรับเหมากอสราง กรณีจึงไมใชเหตุสุดวิสัย ตามประมวล
กฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 8
หนังสือหารือที่ มท. 1002/14247 กรมอัยการ ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2522 มีใจความในสวนที่
เกี่ยวของดังนี้ สวนราชการ ศ. (ผูวาจาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการกอสรางอาคารเรียนของ
โรงเรียนแหงหนึ่ง ซึ่งขอเท็จจริงมีอยูวา ผูรับจางขอตออายุสัญญาออกไปอีก 150 วัน โดยอางวา
ครอบครั ว ของผู จั ด การถู ก คุก คามจากผู กอ การร า ยจํ า เป น ต อ งหลบหนี เ พื่ อ เอาตั ว รอดทํ า ให ก าร
กอสรางตองหยุดชะงัก ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา การที่ผูจัดการหางหุนสวนตอง
ติดตามสามีของตนที่หลบหนีผูกอการรายไปดวยนั้น เปนเรื่องความสัมพันธในครอบครัว ไมเกี่ยวของ
กับหางหุนสวนจํากัดซึ่งเปนนิติบุคคลผูรับจาง และอาจปองกันไดโดยตั้งตัวแทนดําเนินการกอสราง
หรือขอความคุมครองจากทางราชการ เหตุดังกลาวจึงไมใชเหตุสุดวิสัยที่หางหุนสวนจํากัดฯ (ผูรับ
จาง) จะอางขึ้นเพื่อตออายุสัญญาได
คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.66/2538 มีใจความในสวนที่เกี่ยวของดังนี้ กรม ส.
(ผูวาจาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการกอสรางอาคารเรียนแบบเอนกประสงค 3 ชั้น ระยะเวลา
กอสรางประมาณ 380 วัน ในโครงการนี้ระหวางการกอสรางงานงวดสุดทายเกิดฝนตกหนักและน้ําเออ
ลนจากคลองสาธารณะและจากแมน้ําเจาพระยา ทําใหบริเวณที่กอสรางมีน้ําทวมขังทางดานทิศใต
ความลึกประมาณ 0.60 เมตร และทางดานทิศเหนือความลึกประมาณ 0.30 เมตร และผูรับจางได
แกไขปญหาน้ําทวมขังดวยการสูบน้ําเฉพาะบางจุดเพื่อที่จะทํางานไดเทานั้น แตมิไดทําคันกั้นน้ําเพื่อ
สูบน้ําออกใหหมด ตอมาผูรับจางไดขอตออายุสัญญาออกไปอีก 60 วัน โดยอางเหตุดังกลาว ในกรณี
นี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา น้ําทวมขังบริเวณที่กอสรางโรงเรียนนั้น แมจะไดเกิดขึ้นจาก
ฝนตกหนัก และน้ําเออลนจากคลองสาธารณะที่เชื่อมตอจากแมน้ําเจาพระยาที่อยูใกลเคียงก็ตาม แต
น้ําที่ทวมขังก็มีความลึกไมเกิน 0.60 เมตร และบริเวณที่กอสรางก็ไมไดมีเนื้อที่กวางใหญจนมิอาจหา
วิธีปองกันมิใหน้ําทวมขังได กลาวคือผูรับจางมีอาชีพในการรับจางกอสรางอาคารควรที่จะไดตรวจดู
สถานที่กอสรางกอนที่จะลงนามในสัญญา เพื่อที่จะไดรับรูปญหาหรืออุปสรรคในการกอสรางอาคารที่
อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได แตผูรับจางก็มิไดกระทําเชนวานั้น (ผูรับจางมิไดไปดูสถานที่กอสรางในวัน
ดูสถานที่) และผูรับจางอาจปองกันมิใหน้ําทวมขังไดหากไดทําคันกั้นน้ําซึ่งแมจะยาวประมาณ 228
เมตรก็ตาม แตก็อยูในวิสัยที่ผูรับจางสามารถทําได ทั้งนี้เพื่อที่จะไดสูบน้ําที่ทวมขังออกใหแหงได แต
ผูรับจางก็มิไดกระทําดังกลาวอีกเชนกัน กรณีเชนนี้ยอมถือไดวาเปนเหตุภัยพิบัติที่อาจปองกันไดและ
ผูรับจางซึ่งมีอาชีพรับเหมากอสรางยอมอยูในฐานะที่อาจใชความระมัดระวังตามสมควรเพื่อปองกัน
เหตุดังกลาวไดดวย กรณีเชนนี้จึงถือวาเหตุดังกลาวมิใชเหตุสุดวิสัยตามมาตรา 8 แหงประมวล
กฎหมายแพงและพาณิชย

4. เหตุสุดวิสัยไมจําเปนตองเกิดจากภัยธรรมชาติ

[12-4]
บทที่ 12 เหตุสุดวิสัยในงานกอสราง.doc

อยางไรก็ตามมักจะมีผูเขาใจวาเหตุสุดวิสัยตองเปนเหตุการณที่เกิดจากภัยธรรมชาติเทานั้น
แตแทที่จริงแลวเหตุสุดวิสัยอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆได ดังคําอธิบายของ รชฏ เจริญฉ่ํา [21] และ
ดังที่ปรากฏในคําพิพากษาฎีกาที่ 695/2509 [22] ทั้งนี้ตัวอยางเหตุสุดวิสัยในงานกอสรางที่มิไดเกิด
จากภัยธรรมชาติไดแก กรณีที่ปรากฎในคําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.92/2538 [23] ดังที่จะ
กลาวถึงตอไปนี้
คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.92/2538 มีใจความในสวนที่เกี่ยวของดังนี้ กรม จ.
(ผูวาจาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการขุดลอกรองน้ํา ในโครงการนี้ระหวางการดําเนินงาน
แขวงการทางจังหวัดฯไดสั่งใหผูรับจางระงับการขุดลอกบริเวณสะพานดานละ 500 เมตร เนื่องจาก
เกรงวาจะมีผลกระทบตอตลิ่งและดินริมตลิ่งซึ่งเปนคอสะพานทรุดตัวลงไดในฤดูน้ําหลาก และการขุด
ลอกนี้กวางถึง 3 เมตร ลึก 2 เมตร ยอมตองขุดดินใตตอมอสะพานออกไปดวย จะทําใหระดับดินที่ยึด
เสาเข็มสะพานอยูทรุดต่ําลง เปนเหตุใหแรงยึดของเสาเข็มสะพานลดต่ําลงดวย ความแข็งแรงมั่งคง
ของสะพานก็จะลดนอยลงดวยเชนกัน เหตุดังกลาวขางตนทําใหผูรับจางไมสามารถทํางานใหเสร็จ
ตามกําหนดเวลา
ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา การที่แขวงการทางจังหวัดฯไดสั่งใหผูรับจาง
ระงับการขุดลอกบริเวณสะพานดังกลาว เปนการสั่งของเจาพนักงานตามกฎหมายที่ทั้งผูรับจางและ
ผูวาจาง (กรม จ.) จะตองปฏิบัติตามและฝาฝนมิได กรณีเชนนี้จึงถือวาเปนเหตุสุดวิสัย

5. การพิจารณาเหตุสุดวิสัยในทางปฏิบัติ
ในทางปฏิบัติการพิจารณาวาเหตุการณที่เกิดขึ้นถือวาเปนเหตุสุดวิสัยหรือไมนั้น มักจะมีการ
นําปจจัยอื่นเขามารวมพิจารณาดวย อันไดแก ความถี่ของการเกิดเหตุการณ สถานะการรับรูขอมูล
และความรับผิดชอบตอภาระความเสี่ยง เนื้อหาในสวนนี้จะขอกลาวถึงรายละเอียดของปจจัยเหลานี้

5.1 ความถี่ของการเกิดเหตุการณ
คําพิพากษาฎีกาที่ 1194/2531 [24] ฎีกาที่ 2140/2520 [25] และฎีกาที่ 1607/2529 [26] ไดมี
คําวินิจฉัยในแนวทางที่วา เหตุการณที่เกิดขึ้นเปนประจําทุกป โดยปกติตามฤดูกาล มิใชนอกฤดูกาล
หรือแรงกวาปกติตามฤดูกาล ไมใชเหตุสุดวิสัย ซึ่งตัวอยางเหตุการณที่เกิดขึ้นในงานกอสรางไดแก
กรณีที่ปรากฎในหนังสือหารือที่ มท. 1002/8324 กรมอัยการ ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2522 [27] และคํา
วินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.134/2527 [28] ดังที่จะกลาวถึงตอไปตามลําดับ
หนังสือหารือที่ มท. 1002/8324 กรมอัยการ ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2522 มีใจความในสวนที่
เกี่ยวของดังนี้ กรม ป. (ผูวาจาง) วาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการกอสรางคอกพอสุกร 1 หลัง และถม
ดิน 1 งาน สูง 2.00 เมตร จํานวน 800 ลูกบาศกเมตร ที่สถานีผสมเทียมแหงหนึ่ง มีกําหนดแลวเสร็จ
ภายใน 120 วัน ในโครงการนี้ผูรับจางขอตออายุสัญญาอีก 120 วัน โดยอางวามีฝนตกหนักทาง
ภาคใตทําใหเกิดภาวะน้ําทวมทั่วไป ประกอบกับทางเทศบาลเมืองฯไดขอสถานที่ของสถานีผสมเทียม
ทําการสรางเขื่อนกั้นน้ําเพื่อปองกันมิใหน้ําไหลผานตัวเมือง อันเปนเหตุใหเกิดน้ําทวมบริเวณสถานที่

[12-5]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

กอสราง ทําใหการขนสงวัสดุและการกอสรางเปนไปไมสะดวก ซึ่งเทศบาลเมืองฯมีหนังสือยืนยันวา


ตามที่ผูรับจางชี้แจงนั้นเปนความจริง โดยเทศบาลเมืองฯไดทําการสูบน้ําจากอุโมงคลอดใตทางรถไฟ
ถายเทออกจากอุโมงคเปนประจําในฤดูมรสุม
ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุด (กรมอัยการในขณะนั้น) มีความเห็นวา ถาเหตุน้ําทวม
บริเวณสถานที่กอสรางไดเกิดขึ้นในชวงเวลาทํางานตามสัญญาเปนประจําทุกปแลว ก็นับไดวาเหตุนั้น
มิใชเหตุสุดวิสัย ตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 8 แตถามิไดเกิดขึ้นเปนประจําทุกป
และคาดหมายไมไดวาจะเกิดขึ้นในปใด ก็อาจจะถือเปนเหตุสุดวิสัยได ทั้งนี้ยอมสุดแตขอเท็จจริงที่
เกิดขึ้น
คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.134/2527 มีใจความในสวนที่เกี่ยวของดังนี้ ผูวาจางได
วาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการกอสรางสนามกีฬาจังหวัด ช. มีคาจางประมาณ 16,900,000 บาท
และระยะเวลากอสราง 365 วัน ในโครงการนี้ผูรับจางไดรองขอตออายุสัญญาโดยอางวามีเหตุสุดวิสัย
เกิดขึ้น ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดไดใหความเห็นไววาการที่จะพิจารณาวาเปนเหตุสุดวิสัย
หรือไมนั้น ให พิจารณาว าเหตุการณ ที่เกิ ดขึ้ นเปนเหตุการณที่เ กิดขึ้นตามปกติประจําป หรือเหตุ
ผิดปกติธรรมชาติที่ผูรับจางมิอาจพึงคาดหมายไดแมจะไดใชความระมัดระวังตามสมควรแลวก็ยังไม
อาจจะปองกันได

5.2 สถานะการรับรูขอมูล
คําพิพากษาฎีกาที่ 2925/2525 [29] และฎีกาที่ 2929/2537 [30] ไดมีคําวินิจฉัยในแนวทาง
ที่วา หากมีเหตุการณใดๆเกิดขึ้นและผูรับจางสามารถทราบขอมูลดังกลาวไดกอนการเขาทําสัญญา
เหตุดังกลาวยอมไมถือเปนเหตุสุดวิสัย ซึ่งตัวอยางเหตุการณที่เกิดขึ้นในงานกอสรางไดแก กรณีที่
ปรากฎในหนังสือหารือที่ มท. 1002/12524 กรมอัยการ ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2523 [31] และคํา
วินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.164/2530 [32] ดังจะกลาวถึงตอไปตามลําดับ
หนังสือหารือที่ มท. 1002/12524 กรมอัยการ ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2523 มีใจความใน
สวนที่เกี่ยวของดังนี้ วิทยาลัยครู น. (ผูวาจาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการกอสรางอาคาร
เรียน ในโครงการนี้ผูรับจางไดขอตออายุสัญญาโดยอางกรณีขาดแคลนไมเพราะกองทัพภาคที่ 4
ประกาศปดปา (ซึ่งประกาศใชตั้งแตวันที่ 3 มกราคม 2520) ทั้งนี้ขอเท็จจริงมีอยูวา การประกาศ
ประกวดราคา (เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2520) และการทําสัญญา (เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2520) ลวนเปน
การดําเนินการหลังวันที่ประกาศปดปาทั้งสิ้น สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา ผูรับจางไดทํา
สัญญากอสรางอาคารเรียนหลังจากที่มีคําสั่งปดปาถึง 9 เดือน ผูรับจางจึงทราบอยูแลววามีการปดปา
ไมในบริเวณจังหวัดภาคใตกอนเขาทําสัญญา จึงควรจะตองเตรียมตัวสั่งไมจากที่อื่นมาใชแทน หากมี
การขาดแคลนไมเนื่องจากคําสั่งปดปา ผูรับจางควรจะไดหาทางแกไขและปองกัน ฉะนั้นเรื่องขาด
แคลนไมจึงเปนพฤติการณที่ผูรับจางตองรับผิดชอบเอง กรณีไมใชเหตุสุดวิสัย
คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.164/2530 มีใจความในสวนที่เกี่ยวของดังนี้ สํานักงาน
พ. (ผูวาจาง) ไดวาจางบริษัทแหงหนึ่งดําเนินการกอสรางฐานรับเครื่องสูบน้ําจํานวน 1 แหง

[12-6]
บทที่ 12 เหตุสุดวิสัยในงานกอสราง.doc

ระยะเวลากอสราง 40 วัน ในโครงการนี้ผูรับจางไดสงมอบงานงวดสุดทายลาชากวากําหนดตาม


สัญญาประมาณ 85 วัน จึงมีประเด็นวาผูวาจางจะลดหยอนคาปรับใหแกผูรับจางเนื่องจากไดมี
อุปสรรคน้ําทวมเกิดขึ้นในระหวางการกอสรางไดหรือไม ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็น
ดังนี้ เนื่องดวยปรากฏขอเท็จจริงวาผูรับจางทราบวาบริเวณที่จะทําการกอสรางไดเกิดน้ําทวมขึ้นกอน
การลงนามในสัญญาอยูแลว อีกทั้งการที่มีน้ําทวมแมน้ําปราจีนก็เปนเหตุการณธรรมชาติที่เกิดขึ้นเปน
ประจําทุกๆป เพียงแตจะมีระดับน้ําสูงมากนอยขนาดใดขึ้นอยูกับปริมาณฝนตก จึงไมอาจนับไดวา
เหตุ ก ารณ ดั ง กล า วเป น เหตุ สุ ด วิ สั ย ดั ง นั้ น ก อ นเข า ทํ า สั ญ ญาผู รั บ จ า งควรจะต อ งรู แ ละใช ค วาม
ระมัดระวังและปองกันไดโดยตอรองระยะเวลาทํางานใหเทาที่จะสามารถปฏิบัติงานไดเสร็จภายใน
กําหนด เพราะผูรับจางซึ่งประกอบธุรกิจรับจางกอสรางภายในจังหวัดปราจีนบุรียอมทราบถึงอุปสรรค
นี้ลวงหนาอยูแลว ผูรับ จางจึ งไม อาจอางสภาพน้ําทว มดังกล า วเปนพฤติการณพิเ ศษเพื่อที่จะไม
รับผิดชอบได

5.3 ความรับผิดชอบตอภาระความเสี่ยง
หากเหตุการณที่เกิดขึ้นเปนภาระความเสี่ยงภัยของผูรับจางในการประกอบกิจการ ในทาง
ปฏิบัติจะไมถือวาเหตุดังกลาวเปนเหตุสุดวิสัย ดังจะเห็นไดจากคําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่
ห.47/2528 [33] ซึ่งเปนกรณีของสัญญาจางกอสรางแหงหนึ่ง โดยมีสํานักงาน ค. เปนผูวาจาง ใน
โครงการนี้ผูรับจางไดขอขยายเวลาทํางานโดยอางเหตุวาเปนเพราะธนาคารแหงประเทศไทยได
ควบคุมการใหสินเชื่อของธนาคารพาณิชย บริษัทจึงขาดเงินทุนหมุนเวียนในการทํางาน
ในกรณีนี้สํานักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นวา (1) สัญญาจางมิไดกําหนดในเรื่องเกี่ยวกับ
วิกฤติการณทางเศรษฐกิจไวโดยเฉพาะ และ (2) การควบคุมสินเชื่อรอยละ 18 ของธนาคารแหง
ประเทศไทยถือเปนกรณีที่อาจเกิดขึ้นไดตามปกติสุดแตรัฐบาลจะกําหนดตามสภาวะเศรษฐกิจทํานอง
เดียวกันกับการปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราหรือการขึ้นลงของราคาสินคา ซึ่งผูรับจางจะตอง
เสี่ยงภัยในการประกอบกิจการของตน การควบคุมสินเชื่อดังกลาวจึงไมอาจเปนเหตุสุดวิสัยตาม
ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 8

6. ขอกําหนดในสัญญาที่เกี่ยวของกับเหตุสุดวิสัย
ในเรื่องเกี่ยวกับเหตุสุดวิสัยในงานกอสรางนี้ สัญญากอสรางมักจะมีขอกําหนดเกี่ยวกับคํา
จํากัดความของเหตุสุดวิสัย และหนาที่และสิทธิของผูรับเหมากอสรางเมื่อมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้น ดังนั้น
ผูรับเหมาจึงควรใหความสําคัญกับขอกําหนดดังกลาวเพื่อที่จะไดทราบถึงภาระความเสี่ยง หนาที่ใน
การดําเนินการตางๆ และสิทธิของตนอยางละเอียดถี่ถวน

6.1 คําจํากัดความของเหตุสุดวิสัย

[12-7]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

สัญญากอสรางอาจจะมีขอกําหนดที่ใหคําจํากัดความของ “เหตุสุดวิสัย” ไวอยางเจาะจง ซึ่งคํา


จํากัดความดังกลาวอาจเหมือนคําจํากัดความตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย หรือเปนคํา
จํากัดความที่คูสัญญากําหนดขึ้นเองก็ได
ตัวอยางขอกําหนดที่ใหคําจํากัดความของ “เหตุสุดวิสัย” ตามประมวลกฎหมายแพงและ
พาณิชย ไดแก
“…การตีความเหตุสุดวิสัยใดๆตามสัญญานี้ใหยึดตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย
บรรพ 1 มาตรา 8…”
“…คําวา ‘เหตุสุดวิสัย’ ตามสัญญานี้ใหหมายความถึง เหตุใดๆอันจะเกิดขึ้นก็ดี จะใหผลพิบัติ
ก็ดี เปนเหตุที่ไมอาจปองกันได แมทั้งบุคคลผูตองประสบหรือใกลจะตองประสบเหตุนั้นจะไดจัดการ
ระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายไดจากบุคคลในฐานะและภาวะเชนนั้น…”
จากขอกําหนดขางตนนี้การพิจารณาวาเหตุการณใดเปนเหตุสุดวิสัยหรือไมนั้น ก็ใหพิจารณา
ตามแนวทางที่ไดกลาวไวในหัวขอที่ 3 ถึง 5 ขางตน
อยางไรก็ตามในหลายสัญญาคูสัญญาไดกําหนดคําจํากัดความของ “เหตุสุดวิสัย” ขึ้นเอง
ตัวอยางขอกําหนดลักษณะนี้ไดแก
“…ในสัญญานี้ ‘เหตุสุดวิสัย’ หมายถึง เหตุการณหรือสภาพแวดลอมยกเวนหนึ่งๆ
(ก) ที่ซึ่งอยูนอกเหนือการควบคุมของฝายใดฝายหนึ่ง
(ข) ที่ซึ่งฝายใดฝายหนึ่งนั้นไมสามารถเตรียมการไดอยางสมเหตุสมผลกอนที่จะเขาผูก
ผันตามสัญญา
(ค) ที่ซึ่งเมื่อไดเกิดขึ้นแลวฝายใดฝายหนึ่งนั้นไมสามารถหลีกเลี่ยงไดหรือแกไขใหผาน
พนไปไดอยางสมเหตุสมผล และ
(ง) ที่ซึ่งไมสามารถโทษคูสัญญาอีกฝายหนึ่งได
เหตุสุดวิสัยอาจหมายความรวมถึง (แตไมจํากัดเฉพาะ) สงคราม การจลาจล การแผละออง
รังสี และความหายนะทางธรรมชาติ เชน แผนดินไหว พายุ ไตฝุน หรือกิจกรรมเกี่ยวกับภูเขาไฟ เปน
ตน…”
จากขอกําหนดขางตน การพิจารณาวาเหตุการณใดเปนเหตุสุดวิสัยหรือไมนั้น ก็ตองพิจารณา
ตามรายละเอียดของขอกําหนดในสัญญาเปนหลัก ซึ่งขอกําหนดนี้ไดใหหลักในการพิจารณาเหตุ
สุดวิสัยไว 4 ประการดวยกัน กลาวคือ ตองเปนเหตุการณที่ซึ่ง (1) อยูนอกเหนือการควบคุมของฝาย
ใดฝายหนึ่ง (2) ฝายใดฝายหนึ่งนั้นไมสามารถเตรียมการไดอยางสมเหตุสมผลกอนที่จะเขาผูกผันตาม
สัญญา (3) เมื่อไดเกิดขึ้นแลวฝายใดฝายหนึ่งนั้นไมสามารถหลีกเลี่ยงไดหรือแกไขใหผานพนไปได
อยางสมเหตุสมผล และ (4) ไมสามารถโทษคูสัญญาอีกฝายหนึ่งได ทั้งนี้การปฏิบัติงานภายใตสัญญา
นี้ เหตุการณที่จะถือวาเปนเหตุสุดวิสัยจะตองเปนเหตุการณที่เปนไปตามเกณฑทั้งสี่ประการขางตน
อีกตัวอยางหนึ่งของขอกําหนดที่กําหนดคําจํากัดความของ “เหตุสุดวิสัย” ขึ้นเอง ไดแก
“…ผูรับจางจะดําเนินการดังนี้ (1) ขุดบอใหไดความลึก 13 เมตร โดยผูวาจางเปนผูกําหนด
สถานที่ (2) ขณะขุดไปถาพบหินที่ทําใหไมสามารถขุดตอไปได ก็ใหถือวาเปนเหตุสุดวิสัยซึ่งผูรับจาง
ไมตองรับผิดชอบ (3) ขอใหทางผูวาจางขอความรวมมือจากเรงรัดพัฒนาชนบทจังหวัดฯเพื่อขุดบอน้ํา

[12-8]
บทที่ 12 เหตุสุดวิสัยในงานกอสราง.doc

ดังกลาวใหไดความลึก 13 เมตร ตามขอ (1) หากไมไดน้ํา ผูรับจางจะขุดตอไปใหอีกไมเกิน 1


เมตร…”
ในกรณีเชนนี้ถาหากปรากฎขอเท็จจริงในระหวางการขุดบอน้ําตามสัญญานี้วาผูรับเหมาขุด
ดินไปแลวเจอหินใตดินที่ทําใหไมสามารถขุดตอไปได จะถือวาเหตุการณดังกลาวเปนเหตุสุดวิสัย
ภายใตสัญญานี้

6.2 สิทธิในการไดรับการขยายเวลาและตนทุนที่เกิดเพิ่มขึ้น
เมื่อมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นผลกระทบของเหตุสุดวิสัยดังกลาวมักจะสงผลใหงานกอสรางเกิด
ความลาชาและ/หรือผูรับเหมามีตนทุนในการทํางานเพิ่มมากขึ้น ผูเกี่ยวของกับโครงการกอสรางจึง
ควรใหความสําคัญอยางยิ่งกับขอกําหนดของสัญญาในประเด็นนี้เนื่องจากหมายความถึงการมีหรือไม
มี สิ ท ธิ ใ นการขอขยายเวลาทํ างานและ/หรื อสิท ธิ ในการขอเบิกตนทุนที่เ กิดเพิ่มขึ้นของผู รับเหมา
ตัวอยางขอกําหนดลักษณะนี้ไดแก
“…ในกรณีเกิดเหตุสุดวิสัยใดๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะใหผลพิบัติก็ดี ไมมีใครจะอาจปองกันได
และเหตุใดๆ อันมิใชความผิดของคูสัญญาทั้งสองฝาย ทําใหผูรับจางไมสามารถสงมอบงานไดทัน
ภายในกําหนด ผูวาจางตกลงขยายกําหนดเวลาสงมอบงานออกไปเทากับเวลาที่สูญเสียไปเพราะเหตุ
สุดวิสัยดังกลาว…”
จากขอกําหนดขางตน ถาหากมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นและเหตุสุดวิสัยดังกลาวสงผลใหผูรับเหมา
ไมสามารถสงมอบงานไดทันภายในกําหนดเวลา สัญญากําหนดใหผูวาจางขยายกําหนดเวลาสงมอบ
งานออกไปเทากับระยะเวลาที่สูญเสียไปเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
อีกตัวอยางหนึ่ง ไดแก
“…ถาผูรับจางไมสามารถปฏิบัติตามพันธะขอผูกผันขอใดของสัญญาอันเนื่องมาจากเหตุ
สุดวิสัย และผูรับจางไดรับความเสียหายทางดานความลาชาของงานและ/หรือตนทุนที่เกิดเพิ่มขึ้นอัน
เนื่องมาจากเหตุสุดวิสัยดังกลาว ผูรับจางจะไดรับสิทธิการขยายเวลาทํางานถาหากกําหนดวันแลว
เสร็จของงานไดลาชาหรือจะลาชา และการชําระของตนทุนที่เกิดเพิ่มขึ้น…”
จากขอกําหนดขางตน ถาหากมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นและเหตุสุดวิสัยดังกลาวสงผลใหผูรับเหมา
ไมสามารถปฏิบัติงานใหแลวเสร็จตามกําหนดของสัญญาและตองใชตนทุนในการทํางานเพิ่มขึ้น
สัญญาไดใหสิทธิแกผูรับเหมาที่จะไดรับทั้งการขยายเวลาทํางานและตนทุนที่เกิดเพิ่มขึ้นดังกลาว

6.3 เงื่อนเวลาในการแจงเหตุเพื่อใชสิทธิ
โดยทั่วไปสัญญามักจะกําหนดใหเปนหนาที่ของผูรับเหมากอสรางในการแจงบอกกลาวใหผูวา
จางทราบเมื่อมีเหตุที่คาดวาจะเปนเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้น โดยขอกําหนดดังกลาวจะระบุเงื่อนเวลาสําหรับ
การแจงบอกกลาวไวดวย ตัวอยางขอกําหนดลักษณะนี้ไดแก
“...การขอขยายระยะเวลาการกอสรางของผูรับจางโดยอางวากรณีมีเหตุสุดวิสัย ผูรับจาง
จะตองแจงใหผูวาจางทราบเปนหนังสือภายใน 7 วันหลังมีเหตุดังกลาว ผูวาจางมีสิทธิที่จะอนุมัติให

[12-9]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ขยายเวลาไดเมื่อพิจารณาเห็นวามีเหตุสุดวิสัยจริงและสมควรที่จะขยายระยะเวลาให โดยอนุมัติเปน
ลายลักษณอักษร แตกรณีดังกลาวไมเปนการผูกมัดผูวาจางที่จะอนุมัติเสมอไป … และหากปรากฏวา
ผูรับจางแจงเหตุดังกลาวภายหลังจากนั้น ผูรับจางจะไมไดรับการขยายเวลาจากผูวาจาง…”
จากขอกําหนดขางตน ถาหากผูรับเหมาตองการไดรับสิทธิขยายเวลาในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย
เกิดขึ้น ผูรับเหมาจะตองแจงใหผูวาจางทราบเปนหนังสือภายใน 7 วันหลังมีเหตุดังกลาว มิฉะนั้นแลว
ผูรับเหมาจะไมไดรับการขยายเวลาการสงมอบงานจากผูวาจาง
จะเห็นไดวาเงื่อนเวลาในการแจงบอกกลาวมีความสําคัญอยางยิ่งเพราะมีผลตอสิทธิของ
ผูรับเหมาเกี่ยวกับเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้น อนึ่งการกําหนดเงื่อนเวลาการแจงบอกกลาวเมื่อมีเหตุสุดวิสัย
เกิดขึ้นมีอยู 2 รูปแบบหลักอันไดแก (1) การแจงบอกกลาวในทันทีเมื่อมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นภายใน
ระยะเวลาที่กําหนด และ (2) การแจงบอกกลาวหลังจากที่เหตุสุดวิสัยยุติลงภายในระยะเวลาที่กําหนด
ทั้งนี้คูสัญญาอาจตกลงกันเลือกใชรูปแบบใดก็ไดตามแตความตองการ อยางไรก็ตามการกําหนดเงื่อน
เวลาการแจงบอกกลาวตามรูปแบบที่หนึ่งนาจะเปนรูปแบบที่เหมาะสมกวา ทั้งนี้เพราะคูสัญญาไมอาจ
แนใจไดวาเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้นจะสงผลกระทบตอโครงการกอสรางอยางรุนแรงมากหรือนอยและ
ยาวนานเพียงใด ดังนั้นการทราบขอมูลที่รวดเร็วในทันทีที่มีเหตุเกิดขึ้นจึงนาจะเปนประโยชนตอทุก
ฝายในการชวยกันปองกัน แกไข และ/หรือบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นใหลดนอยลงได

7. บทสงทาย
การโตแยงระหวางผูวาจางและผูรับเหมากอสรางวาเหตุการณที่ไดเกิดขึ้นในระหวางการ
ดําเนินงานกอสรางนั้นจัดเปนเหตุสุดวิสัยซึ่งสัญญาใหสิทธิแกผูรับจางในการขอขยายเวลาทํางานและ/
หรือตนทุนที่เกิดเพิ่มขึ้นไดหรือไม ทั้งนี้จากคําจํากัดความของเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพง
และพาณิชยอาจพอสรุปไดวาการจะพิจารณาวาเหตุการณที่เกิดขึ้นเปนเหตุสุดวิสัยหรือไมนั้น ให
พิจ ารณาว าคูสั ญ ญาสามารถป อ งกันได ห รื อไม ถาหากคู สั ญ ญาไมส ามารถปองกั นได จึง จะถือว า
เหตุการณดังกลาวเปนเหตุสุดวิสัย แตถาหากคูสัญญาสามารถปองกันไดเหตุการณดังกลาวก็ไมใช
เหตุสุดวิสัย
อย า งไรก็ ต ามนอกเหนื อ ไปจากแนวทางการพิ จ ารณาเหตุ สุ ด วิ สั ย ตามคํ า จํ า กั ด ความใน
ประมวลกฎหมายแพ ง และพาณิ ช ยแ ล ว ในทางปฏิ บั ติ ยั งมี ป จจั ยอื่ น ๆที่ ถู กนํ า มาใชป ระกอบการ
พิจารณาเหตุสุดวิสัยอีกหลายประการ อันไดแก ความถี่ของการเกิดเหตุการณ สถานะการรับรูขอมูล
และความรับผิดชอบตอภาระความเสี่ยง เปนตน
นอกจากนี้ในตอนทายของบทยังไดกลาวถึงขอกําหนดในสัญญาที่เกี่ยวของกับเหตุสุดวิสัย
เพื่อที่ผูรับเหมาจะไดทราบถึงภาระความเสี่ยง หนาที่ในการดําเนินการตางๆ และสิทธิของตนในการ
ปฏิบัติงานอยางละเอียดถี่ถวน

[12-10]
บทที่ 12 เหตุสุดวิสัยในงานกอสราง.doc

เอกสารอางอิง
[1] วิทย เที่ยงบูรณธรรม, “พจนานุกรมศัพทกฎหมายไทย”, สํานักพิมพสุริยบรรณ, พิมพครั้งที่ 1,
2536
[2] ชาญชัย แสวงศักดิ์, “สาระนารูเกี่ยวกับระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ พ.ศ.
2535 ฯ”, สํานักพิมพนิติธรรม, พิมพครั้งที่ 1, 2542
[3] นัยนา เกิดวิชัย, “ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย”, สํานักพิมพนิตินัย, 2541
[4] คําพิพากษาฎีกาที่ 1977/2515
[5] คําพิพากษาฎีกาที่ 1371/2524
[6] คําพิพากษาฎีกาที่ 2378/2523
[7] คําพิพากษาฎีกาที่ 2338/2526
[8] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.84/2527
[9] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.106/2539
[10] คําพิพากษาฎีกาที่ 943/2510
[11] คําพิพากษาฎีกาที่ 1789-1790/2518
[12] คําพิพากษาฎีกาที่ 473/2519
[13] คําพิพากษาฎีกาที่ 830/2519
[14] คําพิพากษาฎีกาที่ 2331/2520
[15] คําพิพากษาฎีกาที่ 2678/2526
[16] คําพิพากษาฎีกาที่ 514/2537
[17] หนังสือหารือที่ มท. 1002/9441, 24 กันยายน 2522, กรมอัยการ
[18] หนังสือหารือที่ มท. 1002/11710, 10 ตุลาคม 2523, กรมอัยการ
[19] หนังสือหารือที่ มท. 1002/14247, 26 ธันวาคม 2522, กรมอัยการ
[20] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.66/2538
[21] รชฏ เจริญฉ่ํา, “บันทึกทองทายขอหารือของสํานักงานอัยการสูงสุด 60 ป รชฏ เจริญฉ่ํา”, หาง
หุนสวนจํากัดพิมพอักษร, กุมภาพันธ, 2543
[22] คําพิพากษาฎีกาที่ 695/2509
[23] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.92/2538
[24] คําพิพากษาฎีกาที่ 1194/2531
[25] คําพิพากษาฎีกาที่ 2140/2520
[26] คําพิพากษาฎีกาที่ 1607/2529
[27] หนังสือหารือที่ มท. 1002/8324, 31 สิงหาคม 2522, กรมอัยการ
[28] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.134/2527
[29] คําพิพากษาฎีกาที่ 2925/2525
[30] คําพิพากษาฎีกาที่ 2929/2537

[12-11]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

[31] หนังสือหารือที่ มท. 1002/12524, 10 พฤศจิกายน 2523, กรมอัยการ


[32] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.164/2530
[33] คําวินิจฉัยสํานักงานอัยการสูงสุดที่ ห.47/2528

บรรณานุกรม
[1] “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ พ.ศ. 2535”, สวัสดิการสํานักงานปลัดสํานัก
นายกรัฐมนตรี, เมษายน, 2535
[2] “เอกสารรวบรวมสัญญาเกี่ยวกับงานกอสราง”, สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ,
พิมพครั้งที่ 1, พฤษภาคม 2534
[3] “สัญญามาตรฐานงานจางเหมากอสราง”, วิศวกรรมสถานแหงประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ, พิมพครั้งที่ 2, 2541
[4] “Conditions of Contract for Works of Civil Engineering Construction”, (1987 and
reprinted in 1992 with further amendments), Federation Internationale Des Ingenirurs-
Conseils (FIDIC), 4th Edition, 1992.
[5] “Conditions of Contract for Construction for Building and Engineering Works Designed
by the Employer”, Federation Internationale Des Ingenirurs-Conseils (FIDIC), 1st
Edition, 1999.
[6] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “เหตุสุดวิสัยในงานกอสราง”, ขาวชาง, สมาคม
อุตสาหกรรมกอสรางแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่ 30, ฉบับที่ 361, มิถุนายน
, หนา 36-39, 2545
[7] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “เหตุสุดวิสัยในงานกอสรางในทางปฏิบัติ”, ขาวชาง,
สมาคมอุตสาหกรรมกอสรางแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่ 30, ฉบับที่ 362,
กรกฎาคม, หนา 43-45, 2545
[8] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “ขอกําหนดเหตุสุดวิสัยในสัญญาจางงานกอสรางของ
FIDIC 1999”, วิศวกรรมสาร, วิศวกรรมสถานแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่
55, ฉบับที่ 12, ธันวาคม, หนา117-123, 2545

[12-12]
บทที่ 13
วิธีการยุติขอพิพาทตามสัญญา
(Dispute-Settlement Procedures in Contract)

1. บทนํา
ในการวา จางทํ า งานกอสรา งผูวาจางย อมต องการได สิ่งก อสร างที่ส มบูรณ ต รงตามความ
ตองการและตอบสนองวัตถุประสงคในการใชงานของตน ในขณะเดียวกันผูรับเหมากอสรางก็ยอม
ตองการไดรับการจายคาจางและผลกําไรจากการทํางานตามสมควร
เนื่องจากงานก อสร างเป นงานที่มีความซับ ซอนและเกี่ย วข องกับ บุ ค คลหลายฝ าย ความ
ขัดแยงในการทํางานกอสรางจึงเปนสิ่งที่เกิดขึ้นไดงายและเกิดขึ้นไดจากหลายสาเหตุ ตัวอยางเชน
ผูรับเหมาทํางานกอสรางไมตรงตามแบบ ผูรับเหมาทํางานกอสรางลาชา ผูรับเหมาทิ้งงาน ผูวาจาง
ถูกฟองรองจากบุคคลภายนอกเนื่องจากการปฏิบัติงานของผูรับเหมา ผูวาจางสงมอบสถานที่กอสราง
ใหลาชา ผูวาจางไมยอมจายเงินคาจาง เปนตน
อนึ่งเมื่อมีความขัดแยงระหวางผูวาจางและผูรับเหมากอสรางเกิดขึ้น หากคูสัญญาทั้งสองฝาย
ไมสามารถเจรจาตกลงกันไดความขัดแยงดังกลาวก็อาจกลายไปเปนขอพิพาทระหวางกันได ผูที่
เกี่ยวของกับงานกอสรางจึงควรมีความเขาใจเกี่ยวกับวิธีการยุติขอพิพาท เพื่อใหสามารถปองกันหรือ
ชวยบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคูสัญญาทั้งสองใหลดนอยลงใหมากที่สุดเทาที่จะทําได วิธีการ
ยุติขอพิพาทในงานกอสรางมีอยูหลายวิธีการดวยกัน อันไดแก การประนีประนอมยอมความโดยไมใช
คนกลาง การประนี ป ระนอมยอมความโดยใช ค นกลางเป น ผู ไ กล เ กลี่ ย การเสนอข อ พิ พ าทให
อนุญาโตตุลาการเปนผูตัดสิน การฟองรองดําเนินคดีในชั้นศาล เปนตน
ในกรณีที่สัญญามิไดกําหนดวิธีการยุติขอพิพาทไวอยางเฉพาะเจาะจง เมื่อเกิดขอพิพาทขึ้น
คูสัญญาทั้งสองฝายอาจตกลงรวมกันใชวิธีการใดวิธีการหนึ่งในการยุติขอพิพาทก็เปนได แตโดยทั่วไป
ในกรณีที่สัญญามิไดกําหนดวิธีการยุติขอพิพาทไวเชนนี้ คูสัญญาทั้งสองฝายมักจะไมยินยอมเจรจาตก
ลงกันอันเปนเหตุใหมักจะตองนําประเด็นพิพาทเขาสูกระบวนการทางศาล ซึ่งเปนที่ยอมรับกันวาการ
นําขอพิพาทเขาสูกระบวนการทางศาลนี้มีแตจะนําความเสียหายมาสูคูสัญญาทั้งสองฝาย ในทาง
ปฏิบัติจึงมีแนวความคิดที่จะนําวิธีการยุติขอพิพาทวิธีการอื่นมาใชยุติขอพิพาทในงานกอสรางกอน
การฟองรองดําเนินคดีในชั้นศาล และเพื่อใหวิธีการดังกลาวมีผลบังคับใชจึงมักจะระบุวิธีการเหลานี้ไว
ในขอกําหนดของสัญญาเพื่อบังคับใหคูสัญญาตองปฏิบัติตาม
เนื้ อ หาในบทนี้ จ ะกล า วถึ ง รายละเอี ย ดของวิ ธี ก ารต า งๆที่ ใ ช สํ า หรั บ ยุ ติ ข อ พิ พ าท และ
ยกตัวอยางขอกําหนดในสัญญาพรอมคําอธิบายประกอบ ดังรายละเอียดที่จะกลาวในหัวขอตางๆ
ตอไปนี้

[13-1]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

2. วิธีการยุติขอพิพาท
วิธีการยุติขอพิพาทในงานกอสรางมีอยูหลายวิธีการดวยกัน ตั้งแตการประนีประนอมยอม
ความโดยไมใชคนกลาง การประนีประนอมยอมความโดยใชคนกลางเปนผูไกลเกลี่ย การเสนอขอ
พิพาทใหอนุญาโตตุลาการเปนผูตัดสิน จนถึงการฟองรองดําเนินคดีในชั้นศาล ซึ่งแตละวิธีการมี
คาใชจายและใชระยะเวลาตั้งแตนอยจนถึงมากเรียงตามลําดับขางตน และหากเปนไปไดคูสัญญาควร
จะเลือกวิธีการยุติขอพิพาทแบบแรกๆเพื่อใหเกิดผลกระทบตอตนทุนและระยะเวลาที่ตองใชใหนอย
ที่สุด อยางไรก็ตามในบางสถานการณคูสัญญาก็ไมอาจหลีกเลี่ยงการฟองรองดําเนินคดีในชั้นศาลได
ซึ่งเปนวิธีการที่มีคาใชจายสูงและใชระยะเวลาที่ยาวนาน
เพื่อใหเกิดความเขาใจในเบื้องตนเกี่ยวกับวิธีการตางๆที่ใชในการยุติขอพิพาท เนื้อหาในสวน
นี้จึงขอกลาวถึงรายละเอียดโดยสังเขปของวิธีการยุติขอพิพาทตางๆ ดังตอไปนี้

2.1 การประนีประนอมยอมความ
การประนีประนอมยอมความสามารถแบงออกตามวิธีการเจรจาไดเปน 2 ประเภทหลัก อัน
ไดแก (1) การประนีประนอมยอมความโดยไมใชคนกลาง และ (2) การประนีประนอมยอมความโดย
ใชคนกลางเปนผูไกลเกลี่ย [1] - [5]
การประนีประนอมยอมความโดยไมใชคนกลาง คือ วิธีการที่คูสัญญาจะดําเนินการเจรจา
หารือ เสนอเงื่อนไขในการผอนผันใหแกกันและกัน โดยไมมีการนําบุคคลภายนอกเขามามีสวนรวมใน
การเจรจา [1] - [5] ตัวอยางการประนีประนอมยอมความโดยไมใชคนกลาง ไดแก เหตุการณที่ผู
วาจางตรวจพบวาผูรับเหมากอสรางใชวัสดุบางสวนในการกอสรางผิดไปจากแบบรูปและรายการ
ละเอียด ผูวาจางจึงไดแจงบอกกลาวใหผูรับเหมาแกไข ซึ่งผูรับเหมาก็รับฟงแตแจงวาจะมีคาใชจาย
เกิดขึ้นบางสวน และขอใหผูวาจางชวยรับภาระคาใชจายในสวนดังกลาว ผูวาจางเห็นวาคาใชจาย
ดังกลาวมีจํานวนไมมากนัก จึงไดตกลงวาจะชดเชยคาใชจายดังกลาวใหแกผูรับเหมา ผูรับเหมาจึงได
แกไขงานทั้งในสวนที่กอสรางไปแลวและสวนที่กําลังจะกอสรางใหเปนไปตามแบบรูปและรายการ
ละเอียดทุกประการ ในกรณีเชนนี้ความขัดแยงที่เกิดขึ้นสามารถยุติลงไดเนื่องจากทั้งสองฝายสามารถ
ตกลงกันได
การประนี ป ระนอมยอมความโดยใช ค นกลางเป น ผู ไ กล เ กลี่ ย คื อ วิ ธี ก ารที่ คู สั ญ ญาจะ
ดําเนินการเจรจาหารือกัน โดยมีการนําคนกลางซึ่งเปนบุคคลที่ทั้งสองฝายยอมรับเขามาทําหนาที่เปน
ผูไกลเกลี่ย โดยที่ผูไกลเกลี่ยจะมีหนาที่ในการชักจูงใหคูสัญญาดําเนินการเจรจารวมกันและสามารถ
บรรลุขอตกลงรวมกันได ทั้งนี้บุคคลดังกลาวอาจจะนําเสนอวิธีการหรือแนวทางปฏิบัติในการเจรจา
ใหแกคูสัญญาไดพิจารณา กําหนดหัวขอการเจรจา รวมถึงการเสนอความคิดเห็นใหคูสัญญารับฟง
ดวย [1] - [5] ตัวอยางการประนีประนอมยอมความโดยใชคนกลางเปนผูไกลเกลี่ย ไดแก เหตุการณที่
ผูวาจางสั่งเพิ่มงานบางสวน แตผูรับเหมาเห็นวางานเพิ่มดังกลาวเปนงานที่อยูนอกเหนืองานตาม
สัญญาและผูรับเหมาไมจําเปนตองปฏิบัติตามหรือหากยินยอมปฏิบัติตามคําสั่งของผูวาจางผูวาจาง

[13-2]
บทที่ 13 วิธีการยุติขอพิพาทตามสัญญา.doc

จะตองจายคางานในสวนที่เพิ่มขึ้นนี้ แตผูวาจางกลับไมคิดเห็นเชนนั้น ผูวาจางคิดเห็นวางานที่สั่งเพิ่ม


นี้เปนสวนหนึ่งของงานตามสัญญาและผูรับเหมาก็ไมมีสิทธิที่จะไดรับคาจางเพิ่มเนื่องจากเปนงานสวน
ที่ถือวาเปนสิ่งจําเปนเพื่อใหงานตามสัญญาแลวเสร็จบริบูรณ ความคิดเห็นที่ไมตรงกันเชนนี้ยอมเกิด
เปนความขัดแยงระหวางผูวาจางและผูรับเหมากอสรางซึ่งทั้งสองฝายไมสามารถเจรจาตกลงกันได
ผูวาจางจึงไดแจงใหวิศวกรผูควบคุมงานชวยไกลเกลี่ยประเด็นความขัดแยงดังกลาว ภายหลังจากที่
วิศวกรผูควบคุมงานไดพิจารณาเหตุการณที่เกิดขึ้นก็ไดเสนอทางออกใหแกคูสัญญาทั้งสองฝายโดย
เสนอใหผูรับเหมากอสรางทําตามคําสั่งงานเพิ่มของผูวาจางโดยไมไดรับคาจางเพิ่มและใหผูวาจาง
ยินยอมขยายระยะเวลากอสรางออกไปอีก 20 วัน ในกรณีนี้ผลการไกลเกลี่ยของวิศวกรผูควบคุมงาน
เปนที่ยอมรับของทั้งผูวาจางและผูรับเหมากอสรางความขัดแยงหรือขอพิพาทที่เกิดขึ้นจึงยุติลงดวยดี

2.2 การเสนอขอพิพาทใหอนุญาโตตุลาการเปนผูตัดสิน
กระบวนการอนุญาโตตุลาการ คือ การระงับขอพิพาทที่คูสัญญาตกลงยินยอมที่จะเสนอขอ
พิพาทที่เกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นในอนาคตใหแกบุคคลภายนอกซึ่งเรียกวา “อนุญาโตตุลาการ” เปนผู
ตัดสินชี้ขาด การใชอนุญาโตตุลาการมีขอดีหลายประการ อาทิเชน มีคาใชจายที่คอนขางต่ําเมื่อเทียบ
กับการฟองคดีตอศาล สามารถกําหนดตัวผูตัดสินขอพิพาทไดเองซึ่งจะเปนผูที่มีความเชี่ยวชาญดาน
ขั้นตอนหรือเทคนิคการกอสรางเปนอยางดี สามารถปกปองชื่อเสียงและความลับของคูสัญญาไดดีกวา
การฟองคดีตอศาล เปนตน [1] - [5] ตัวอยางเหตุการณที่คูสัญญาใชกระบวนการอนุญาโตตุลาการใน
การตัดสินชี้ขาดประเด็นของขอพิพาทที่เกิดขึ้น ไดแก เหตุการณที่ผูวาจางและผูรับเหมาในโครงการ
ก อ สร า งคลองส ง น้ํ า แห ง หนึ่ ง มี ข อ โต แ ย ง เกิ ด ขึ้ น ระหว า งกั น ในหลายประเด็ น อาทิ เ ช น ค า แบบ
รายละเอียดชิ้นงานกอสราง คาชดเชยในการเรงรัดงาน ความลาชาของงานกอสราง เปนตน ซึ่ง
คูสัญญาเห็นวาหากนําขอโตแยงดังกลาวไปฟองรองดําเนินคดีจะใชระยะเวลานานและกอใหเกิดความ
เสี ย หายกั บ ทั้ ง สองฝ า ย คู สั ญ ญาจึ ง ตกลงกั น ที่ จ ะว า จ า งวิ ศ วกรคนกลางให ทํ า หน า ที่ เ ป น
อนุญาโตตุลาการตัดสินขอโตแยงหรือขอพิพาทดังกลาวเพื่อหาขอยุติ และคูสัญญาตกลงทําสัญญา
รวมกันระบุวาจะปฏิบัติตามผลการตัดสินของอนุญาโตตุลาการดังกลาวแทนการนําขอพิพาทเขา
ดําเนินคดีในชั้นศาล ตอมาวิศวกรผูเปนอนุญาโตตุลาการไดพิจารณาประเด็นขอโตแยงที่เกิดขึ้นตาม
หลักวิชาพรอมพิจารณาหลักฐานตางๆประกอบ และตัดสินใหผูวาจางจายเงินคาแบบกอสรางเพิ่มเติม
ใหแกผูรับเหมากอสรางและไมขยายเวลาการทํางานใหแกผูรับเหมากอสราง ขอโตแยงที่เกิดขึ้นจึงยุติ
ลง

2.3 การฟองรองดําเนินคดีในชั้นศาล
การฟองรองดําเนินคดีในชั้นศาล เปนอีกทางเลือกหนึ่งที่คูสัญญาอาจเลือกใชนอกเหนือจาก
การประนีประนอมยอมความและการอนุญาโตตุลาการ ซึ่งระบบศาลในประเทศไทยถูกแบงออกเปน 3
ชั้น อันไดแก (1) ศาลชั้นตน (2) ศาลอุทธรณ และ (3) ศาลฎีกา โดยศาลชั้นตนจะทําหนาที่เปนผู
พิจารณาและชี้ขาดขอพิพาทที่มีผูรองเรียนทั้งหมด และในกรณีคูความรูสึกไมพอใจตอคําพิพากษา

[13-3]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ดั ง กล า วก็ มี สิ ท ธิ ที่ จ ะอุ ท ธรณ แ ละฎี ก าศาลตามขั้ น ตอนที่ กํ า หนดไว ต ามกฎหมายได ถ า หากไม มี
ขอกําหนดหามไว [1] - [5] ตัวอยางเหตุการณที่คูสัญญานําประเด็นพิพาทเขาฟองรองเพื่อดําเนินคดี
ในชั้ นศาล ไดแก เหตุ การณที่ผูรับเหมาเรี ยกรอ งให ผูวาจางชํา ระเงิ นคาจ างที่ยังคงคางอยูใ หแ ก
ผูรับเหมา แตผูวาจางปฏิเสธโดยอางวาการทํางานของผูรับเหมาไมไดมาตรฐานจึงตองหักเงินคาจาง
บางสวนไว ในกรณีเชนนี้หากคูสัญญาทั้งสองไมสามารถตกลงกันไดผูรับเหมาก็อาจนําประเด็นพิพาท
เกี่ยวกับการไมชําระคาจางนี้ฟองรองตอศาลได อยางไรก็ตามการฟองรองดําเนินคดีในชั้นศาลนี้ควร
จะเปนวิธีการสุดทายที่คูสัญญาเลือกใชเนื่องจากมีคาใชจายสูงและใชระยะเวลาดําเนินการจนกระทั่ง
ไดผลเปนที่ยุตินานมาก

อนึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการยุติขอพิพาทในงานกอสรางยังมีอีกมาก ผูที่สนใจสามารถ
ศึกษาเพิ่มเติมไดจากเอกสารอางอิงหมายเลข [1] - [5]

3. วิธีการยุติขอพิพาทตามขอกําหนดของสัญญา
ขอกําหนดเกี่ยวกับวิธีการยุติขอพิพาทในสัญญาจางกอสรางมีอยูหลายรูปแบบดวยกัน ซึ่ง
รูปแบบหลักๆที่มักจะพบโดยทั่วไปมีดังตอไปนี้

3.1 ขอกําหนดที่มิไดระบุถึงวิธีการยุติขอพิพาทไวเลย
สัญญาจางกอสรางบางแหงไมมีขอกําหนดใดในสัญญาที่ระบุวาใหใชวิธีการใดในการยุติขอ
พิพาทที่อาจเกิดขึ้น ในกรณีที่สัญญามิไดระบุวิธีการยุติขอพิพาทไวอยางเฉพาะเจาะจงเชนนี้ เมื่อเกิด
ขอพิพาทขึ้นคูสัญญาก็อาจจะตกลงรวมกันวาจะใชวิธีการใดในการยุติขอพิพาทที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจ
เปนไปไดตั้งแตวิธีการที่รอมชอมและประหยัดคาใชจาย อันไดแก การประนีประนอมยอมความโดยไม
ใชคนกลาง จนกระทั่งถึงวิธีการที่แข็งกราวและมีคาใชจายสูง อันไดแก การนําประเด็นขอพิพาท
ฟองรองตอศาล

3.2 ขอกําหนดที่กําหนดใหปฏิบัติตามคําตัดสินของผูวาจาง
ในบางกรณีสัญญาจางกอสรางมีขอกําหนดที่กําหนดใหผูรับเหมากอสรางตองปฏิบัติตามคํา
ตัดสินของผูวาจางหรือตัวแทนผูวาจางในกรณีที่มีขอพิพาทเกิดขึ้น ตัวอยางขอกําหนดลักษณะนี้
ไดแก
“…ใหวศิ วกรที่ปรึกษาในฐานะตัวแทนของผูวาจางเปนตัวกลางและตัดสินชี้ขาดในปญหา
โตแยงใดๆ ที่ผูรับจางกับผูวาจางไมอาจตกลงกันได ถาคําตัดสินชี้ขาดนั้นไมไดขัดกับความมุงหมาย
ของสัญญากอสราง…”
โดยทั่วไปขอกําหนดลักษณะนี้ใชสําหรับการตัดสินความขัดแยงในเบื้องตนเทานั้น สัญญาที่มี
ขอกําหนดลักษณะนี้จึงมักจะมีขอกําหนดที่ระบุถึงวิธีการยุติขอพิพาทวิธีการอื่นรวมอยูดวยเพื่อใช
สําหรับกรณีที่คําตัดสินของผูวาจางหรือตัวแทนผูวาจางไมไดรับการยอมรับจากผูรับเหมากอสราง

[13-4]
บทที่ 13 วิธีการยุติขอพิพาทตามสัญญา.doc

3.3 ขอกําหนดที่กําหนดใหมีคณะผูพิจารณาชี้ขาดขอพิพาทขึ้นโดยเฉพาะ
ในโครงการกอสรางขนาดใหญที่มีความซับซอน ซึ่งเปนที่คาดการณไดวาโอกาสที่จะเกิดขอ
พิพาทในประเด็นตางๆมีคอนขางสูง สัญญาจางกอสรางอาจจะมีขอกําหนดในทํานองที่กําหนดใหมี
การแตงตั้งคณะผูพิจารณาชี้ขาดขอพิพาทขึ้นโดยเฉพาะ ตัวอยางขอกําหนดลักษณะนี้ ไดแก
“…คูสัญญาจะรวมกันแตงตั้งคณะผูพิจารณาชี้ขาดขอพิพาทขึ้นชุดหนึ่ง คณะผูพิจารณาที่
ไดรับการแตงตั้งจะประชุมรวมกันเปนครั้งคราวเมื่อมีความจําเปนเพื่อประโยชนของสัญญานี้ คณะผู
พิจารณาจะพิจารณาตัดสินและแจงผลใหท้ังสองฝายทราบ ถาคณะผูพิจารณาไดมีความเห็นเปนเอก
ฉันทและคูสัญญาทั้งสองฝายยอมรับ ใหถือวาคําตัดสินนั้นมีผลผูกพันทั้งสองฝาย…”
สําหรับขอกําหนดลักษณะนี้คณะผูพิจารณาชี้ขาดขอพิพาทที่ถูกแตงตั้งมักจะประกอบดวย
บุคคลซึ่งเปนตัวแทนจากคูสัญญาทั้งสองฝายและ/หรือบุคคลภายนอกที่ไดรับการยอมรับจากคูสัญญา
ทั้งสองฝาย โดยมักจะถูกแตงตั้งตั้งแตตอนเริ่มสัญญาและมีกําหนดการประชุมรวมกันเปนครั้งคราว
เพื่อพยายามยุติความขัดแยงที่เกิดขึ้นในระหวางการทํางานกอสรางเปนระยะๆไปเพื่อใหความขัดแยง
ตางๆที่เกิดขึ้นยุติลงโดยเร็วที่สุด อันจะชวยใหการดําเนินงานลุลวงไปดวยดี อนึ่งคณะผูพิจารณาชี้
ขาดมักจะมีขอบเขตหนาที่เปนเพียงตัวกลางในการไกลเกลี่ยความขัดแยงที่เกิดขึ้น ดังนั้นโดยทั่วไป
แลวผลการตัดสินของคณะผูพิจารณาชี้ขาดจะมีผลผูกพันก็ตอเมื่อคูสัญญาทั้งสองฝายยินยอมเทานั้น

3.4 ขอกําหนดที่กําหนดใหใชกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
เนื่องจากการใชกระบวนการอนุญาโตตุลาการมีขอดีหลายประการ สัญญาจางกอสรางโดย
สวนใหญจึงมักจะมีขอกําหนดในทํานองที่วา เมื่อมีขอพิพาทเกิดขึ้นใหคูสัญญาตองนําประเด็นพิพาท
เขาสูกระบวนการอนุญาโตตุลาการเพื่อตัดสินชี้ขาด ตัวอยางขอกําหนดลักษณะนี้ ไดแก
“…ในกรณีที่มีขอโตแยงเกิดขึ้นระหวางคูสัญญาเกี่ยวกับขอกําหนดแหงสัญญานี้หรือเกี่ยวกับ
การปฏิ บั ติ สั ญ ญานี้ และคู สัญ ญาไม ส ามารถตกลงกั น ได ให เ สนอข อ โตแ ย ง หรือ ข อพิ พ าทนั้น ต อ
อนุญาโตตุลาการเพื่อพิจารณาชี้ขาด และคําชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการใหถือเปนเด็ดขาดและถึงที่สุด
ผูกพันคูสัญญา…”
อนุญาโตตุลาการที่เปนผูพิจารณาขอโตแยงหรือขอพิพาทนี้อาจเปนบุคคลเพียงคนเดียวหรือ
เปนกลุมบุคคลก็ได และโดยทั่วไปผลการตัดสินของอนุญาโตตุลาการจะถือเปนที่สิ้นสุดและผูกพันให
คูสัญญาตองปฏิบัติตาม อยางไรก็ดีมีเพียงบางกรณีเทานั้นที่คูสัญญาฝายที่ไมเห็นดวยกับผลการ
ตัดสินของอนุญาโตตุลาการอาจจะสามารถนําขอโตแยงหรือขอพิพาทเขาสูการดําเนินคดีในชั้นศาลอีก
ได ทั้งนี้ขึ้นอยูกับกฎหมาย ขอตกลง หรือขอบังคับอนุญาโตตุลาการที่คูสัญญานํามาใช

4. รายละเอียดประกอบที่สําคัญในขอกําหนดของสัญญาเกี่ยวกับการยุติขอพิพาท

[13-5]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ขอกําหนดในสัญญานอกจากจะกําหนดวิธีการที่ใชในการยุติขอพิพาทแลว ในหลายกรณียัง
ไดกําหนดรายละเอียดอื่นๆอันเปนสวนประกอบที่สําคัญตอการยุติขอพิพาทดวย อาทิเชน เงื่อนไข
หรือลําดับขั้นตอนในการใชวิธีการยุติขอพิพาท ระยะเวลาที่ใชในการพิจารณาตัดสินประเด็นพิพาท
วิธีการสรรหาคณะผูพิจารณาชี้ขาดขอพิพาท จํานวนของอนุญาโตตุลาการ เปนตน เพื่อแสดงใหเห็น
ถึงรายละเอียดเหลานี้ในขอกําหนดของสัญญา เนื้อหาในสวนนี้จะยกตัวอยางขอกําหนดในสัญญาที่
เกี่ยวของกับวิธีการยุติขอพิพาทที่มีรายละเอียดเหลานี้เปนสวนประกอบอยูดวย พรอมคําบรรยาย
ประกอบโดยสังเขป ดังตัวอยางตอไปนี้

4.1 ตัวอยางที่ 1
“10 การพิจารณาชี้ขาดขอพิพาท
ถามีขอขัดแยงหรือขอพิพาทใดๆเกิดขึ้นระหวางผูรับจางและผูวาจางเกี่ยวกับการตีความ
สัญญา หรือในเรื่องใดๆหรือสิ่งใดๆที่เกิดจากหรือที่เกี่ยวกับสัญญา ทั้งสองฝายตกลงที่จะใชความ
พยายามรวมกันหาทางแกไขขอขัดแยงหรือขอพิพาทนั้นๆอยางดีที่สุดโดยใชระยะเวลาในการตกลง
รวมกันอยางนอย 30 วัน ถาพยายามแลวไมเปนผลสําเร็จ ใหคูสัญญาทั้งสองฝายตกลงดําเนินคดีที่
ศาลแพง กรุงเทพมหานคร”
จากขอกําหนดขางตนวิธีการยุติขอพิพาทตามสัญญา ไดแก การพยายามรวมกันหาทางแกไข
ขอพิพาท และการยื่นเรื่องดําเนินคดีที่ศาล ตามลําดับ โดยมีรายละเอียดประกอบหลักๆที่สําคัญ
ดังตอไปนี้
สัญญากําหนดใหมีการยุติขอพิพาทเปน 2 ขั้นตอน กลาวคือ ในขั้นตอนแรกสัญญากําหนดให
ทั้งสองฝายใชความพยายามรวมกันหาทางแกไขขอขัดแยงหรือขอพิพาทดังกลาวนั้นอยางดีที่สุด ซึ่ง
ถาหากคูสัญญาทั้งสองฝายสามารถตกลงกันไดขอขัดแยงหรือขอพิพาทนั้นก็จะยุติลง แตถาหาก
คูสัญญาทั้งสองฝายไมสามารถตกลงกันได สัญญากําหนดใหดําเนินการตามขั้นตอนที่สอง คือ ให
คูสัญญายื่นเรื่องดําเนินคดีในชั้นศาล ซึ่งสัญญากําหนดวาศาลที่คูสัญญาสามารถใชสิทธิดําเนินคดีได
คือศาลแพง กรุงเทพมหานคร เทานั้น
นอกจากนี้ในการพยายามรวมกันหาทางแกไขขอขัดแยงหรือขอพิพาทในขั้นตอนแรกนั้น
สัญญากําหนดใหใชระยะเวลาในการเจรจากันอยางนอย 30 วัน กอนที่จะนําขอขัดแยงหรือขอพิพาท
ดังกลาวเขาสูกระบวนการทางศาลในขั้นตอนที่สองตอไปหากจําเปน

4.2 ตัวอยางที่ 2
“6 การระงับขอพิพาท
6.1 หากมีขอขัดแยงหรือขอพิพาทเกิดขึ้นระหวางผูวาจางกับผูรับจางเกี่ยวกับสัญญานี้
เมื่อคูสัญญาฝายหนึ่งไดบอกกลาวใหอีกฝายหนึ่งทราบขอขดแยงหรือขอพิพาทนั้นแลว ใหคูสัญญา
ฝายแรกเสนอขอขัดแยงหรือขอพิพาทตอผูวาการของผูวาจางเพื่อชี้ขาด ในกรณีเชนนี้ผูวาการของ
ผูวาจางจะไดพิจารณาชี้ขาดภายใน 30 วัน นับแตวันที่ไดรับเรื่องที่เสนอนั้น คําชี้ขาดดังกลาวจะทํา

[13-6]
บทที่ 13 วิธีการยุติขอพิพาทตามสัญญา.doc

เปนลายลักษณอักษร และผูวาการของผูวาจางจะไดสงฉบับที่ลงลายมือชื่อใหแกคูสัญญาฝายแรกโดย
ไมชักชา คําชี้ขาดของผูวาการของผูวาจางใหถือเปนที่สุดและมีผลผูกพัน เวนไวแตวาภายใน 30 วัน
หลังจากที่คูสัญญาฝายแรกที่ไดรับคําชี้ขาดของผูวาการของผูวาจางไดยื่นคําบอกกลาวตอผูวาจางวา
ตองการใหเสนอขอพิพาทหรือขอขัดแยงตออนุญาโตตุลาการ ในระหวางที่รอคําวินิจฉัยชี้ขาดของ
อนุญาโตตุลาการ ผูรับจางจะตองดําเนินงานตอไปดวยความขยันหมั่นเพียรตามสัญญา และตามคํา
วินิจฉัยของผูวาการของผูวาจาง ยกเวนในกรณีที่มีการเลิกสัญญา
6.2 หากคูสัญญาทั้งสองฝายมิไดตกลงกันที่จะแตงตั้งอนุญาโตตุลาการเพียงคนเดียวแลว
การวินิจฉัยชี้ขาดขอขัดแยงหรือกรณีพิพาทใหกระทําโดยอนุญาโตตุลาการสองคน โดยคูสัญญาแตละ
ฝายจะแตงตั้งอนุญาโตตุลาการฝายละหนึ่งคนภายใน 30 วัน นับแตวันที่ผูวาจางไดรับคําบอกกลาวถึง
เจตนาที่จะเสนอขอพิพาทหรือขอขัดแยงตออนุญาโตตุลาการดังกลาวขางตน หากอนุญาโตตุลาการ
ทั้งสองฝายไมสามารถประนีประนอมตกลงกันในขอพิพาทหรือขอขัดแยงนั้นได ใหอนุญาโตตุลาการ
ทั้งสองฝายแตงตั้งบุคคลภายนอกคนหนึ่งทําหนาที่ประธานภายใน 30 วัน นับแตวันที่ไมสามารถตก
ลงกันได ประธานที่ไดรับการแตงตั้งขึ้นนั้นจะทําหนาที่ชี้ขาดขอพิพาทหรือขอขัดแยงนั้น คําวินิจฉัย
หรือชี้ขาดใดๆของอนุญาโตตุลาการคนเดียว หรือสองคนรวมกัน หรือของประธานอนุญาโตตุลาการ
ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการทั้งสองฝายไมสามารถตกลงกันได จะตองมีผลผูกมัดคูสัญญาทั้งสองฝาย
กระบวนพิ จ ารณาของอนุ ญ าโตตุ ล าการให ถื อ ตามข อ บั ง คั บ อนุ ญ าโตตุ ล าการของสถาบั น
อนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรมโดยอนุโลม หรือตามขอบังคับอื่นที่คูสัญญาทั้งสองฝายเห็นชอบ
และให ก ระทํ า ในกรุ ง เทพมหานคร โดยใช ภ าษาไทยหรื อ ภาษาอั ง กฤษเป น ภาษาในการดํ า เนิ น
กระบวนการพิจารณา ในกรณีที่คูสัญญาฝายใดฝายหนึ่งไมแตงตั้งอนุญาโตตุลาการฝายตนหรือใน
กรณีที่อนุญาโตตุลาการทั้งสองฝายไมสามารถตกลงกันไดในการแตงตั้งประธาน ใหนําขอขัดแยงหรือ
ขอพิพาทนั้นขึ้นดําเนินคดีตอศาลแพงกรุงเทพมหานคร
6.3 สําหรับคาธรรมเนียมหรือคาใชจายทั้งหมดในกระบวนการพิจารณาอนุญาโตตุลาการ
นั้น ใหคูสัญญาแตละฝายออกคาใชจายสําหรับอนุญาโตตุลาการของตน หรือในกรณีที่เปนการแตงตั้ง
อนุญาโตตุลาการขึ้นเพียงคนเดียว คาใชจายที่คูสัญญาแตละฝายจะพึงออกเทาใดนั้น ใหอยูในดุลพินิจ
ของอนุญาโตตุลาการผูนั้นจะพิจารณา ในกรณีที่มีการแตงตั้งผูชี้ขาดใหอนุญาโตตุลาการทั้งสองฝาย
วินิจฉัยวา คาใชจายทั้งหมดสําหรับผูชี้ขาดนั้น คูสัญญาฝายหนึ่งฝายใดจะเปนผูออก หรือคูสัญญาทั้ง
สองฝายแบงกันออก และออกเปนสัดสวนเทาใด หรือในกรณีที่อนุญาโตตุลาการไมอาจตกลงกันได ให
ผูชี้ขาดเปนผูวินิจฉัย
6.4 การยื่นเรื่องหนึ่งเรื่องใดที่พิพาทหรือขัดแยงกันใหผูวาการของผูวาจางเปนผูชี้ขาด
และ/หรือกระบวนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการดังกลาวขางตน จะตองถือวาเปนเงื่อนไขที่จะตอง
ปฏิบัติกอนการใชสิทธิดําเนินคดีทางศาล
6.5 สั ญ ญานี้ อ ยู ภ ายใต บั ง คั บ แห ง กฎหมายไทย คู สั ญ ญาฝ า ยหนึ่ ง ฝ า ยใดมี สิ ท ธิ ที่ จ ะ
ดําเนินคดีกับอีกฝายหนึ่งในศาลประเทศไทย เพื่อขอใหศาลบังคับการใหเปนไปตามคําวินิจฉัยหรือชี้
ขาดในขั้นดําเนินการของอนุญาโตตุลาการหรือตามคําชี้ขาดของผูวาการของผูวาจางในกรณีที่คําชี้
ขาดดังกลาวเปนที่สิ้นสุดและยุติดังไดกลาวขางตน…”

[13-7]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

จากขอกําหนดขางตนวิธีการยุติขอพิพาทตามสัญญา ไดแก การพิจารณาชี้ขาดของผูวาการ


ของผู ว า จ า ง การใช อ นุ ญ าโตตุ ล าการ และการยื่ น เรื่ อ งดํ า เนิ น คดี ใ นชั้ น ศาล ตามลํ า ดั บ โดยมี
รายละเอียดประกอบหลักๆที่สําคัญดังตอไปนี้
เมื่อมีขอขัดแยงหรือขอพิพาทเกิดขึ้นระหวางผูวาจางกับผูรับเหมากอสราง ใหคูสัญญาฝาย
หนึ่งแจงบอกกลาวใหคูสัญญาอีกฝายหนึ่งทราบขอขดแยงหรือขอพิพาทนั้น และใหคูสัญญาฝายแรก
เสนอขอขัดแยงหรือขอพิพาทตอผูวาการของผูวาจางเพื่อตัดสินชี้ขาด ซึ่งผูวาการของผูวาจางจะ
พิจารณาชี้ขาดภายใน 30 วัน นับแตวันที่ไดรับเรื่องที่เสนอนั้น และแจงใหแกคูสัญญาฝายแรกทราบ
อยางเปนลายลักษณอักษร
ถาหากภายใน 30 วัน หลังจากที่คูสัญญาฝายแรกที่ไดรับคําชี้ขาดของผูวาการของผูวาจาง
มิ ไ ด ยื่ น คํ า บอกกล า วต อ คู สั ญ ญาอี ก ฝ า ยหนึ่ ง ว า ต อ งการให เ สนอข อ พิ พ าทหรื อ ข อ ขั ด แย ง ต อ
อนุญาโตตุลาการ คําชี้ขาดของผูวาการของผูวาจางนี้ใหถือเปนที่สุดและมีผลผูกพัน และถาหาก
คูสัญญาฝายใดฝายหนึ่งไมดําเนินการตามคําชี้ขาดดังกลาว คูสัญญาอีกฝายหนึ่งสามารถขอใหศาล
บังคับการใหเปนไปตามคําชี้ขาดของผูวาการของผูวาจางได
ในกรณีที่หากมีการเสนอขอพิพาทหรือขอขัดแยงตออนุญาโตตุลาการ ถาคูสัญญามิไดตกลง
กันวาจะใชอนุญาโตตุลาการเพียงคนเดียว ใหใชอนุญาโตตุลาการสองคนในการดําเนินการวินิจฉัยชี้
ขาดขอขัดแยงหรือขอพิพาทตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการ โดยคูสัญญาแตละฝายจะแตงตั้ง
อนุญาโตตุลาการฝายละหนึ่งคนภายใน 30 วัน นับแตวันที่ผูวาจางไดรับคําบอกกลาวถึงเจตนาที่จะ
เสนอขอพิพาทหรือขอขัดแยงตออนุญาโตตุลาการ ถาหากอนุญาโตตุลาการทั้งสองฝายไมสามารถตก
ลงกันในขอพิพาทหรือขอขัดแยงนั้นได ใหอนุญาโตตุลาการทั้งสองฝายแตงตั้งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง
ทําหนาที่ประธานภายใน 30 วัน นับแตวันที่ไมสามารถตกลงกันได ประธานที่ไดรับการแตงตั้งขึ้นนั้น
จะทําหนาที่ชี้ขาดขอพิพาทหรือขอขัดแยงนั้น แตถาหากอนุญาโตตุลาการทั้งสองฝายไมสามารถตก
ลงกันไดในการแตงตั้งประธาน ก็ใหนําขอขัดแยงหรือขอพิพาทนี้ขึ้นดําเนินคดีตอศาล
คําวินิจฉัยหรือชี้ขาดใดๆของ (1) อนุญาโตตุลาการคนเดียวในกรณีที่คูสัญญาทั้งสองตกลงกัน
ใช อ นุ ญ าโตตุ ล าการเพี ย งคนเดี ย ว หรื อ (2) อนุ ญ าโตตุ ล าการสองคนร ว มกัน ในกรณี ที่ ใ ช
อนุญาโตตุลาการสองคน หรือ (3) ประธานอนุญาโตตุลาการในกรณีที่อนุญาโตตุลาการทั้งสองฝายไม
สามารถตกลงกันได จะมีผลผูกมัดคูสัญญาทั้งสองฝาย ถาหากคูสัญญาฝายใดฝายหนึ่งไมดําเนินการ
ตามคําวินิจฉัยหรือชี้ขาดดังกลาว คูสัญญาอีกฝายหนึ่งสามารถขอใหศาลบังคับการใหเปนไปตามคํา
วินิจฉัยหรือชี้ขาดตามผลการดําเนินการของอนุญาโตตุลาการได
สําหรับคาธรรมเนียมหรือคาใชจายทั้งหมดในกระบวนการพิจารณาอนุญาโตตุลาการนั้น (1)
ในกรณีที่เปนการแตงตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นเพียงคนเดียว คาใชจายที่คูสัญญาแตละฝายจะพึงออก
เทาใดนั้น ใหอยูในดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการผูนั้นจะพิจารณา (2) ในกรณีที่เปนการแตงตั้ง
อนุญาโตตุลาการสองคนใหคูสัญญาแตละฝายออกคาใชจายสําหรับอนุญาโตตุลาการของตน และ (3)
ในกรณีที่มีการแตงตั้งอนุญาโตตุลาการผูชี้ขาดใหอนุญาโตตุลาการทั้งสองฝายวินิจฉัยวา คาใชจาย
ทั้งหมดสําหรับอนุญาโตตุลาการผูชี้ขาดนั้น คูสัญญาฝายหนึ่งฝายใดจะเปนผูออก หรือคูสัญญาทั้งสอง

[13-8]
บทที่ 13 วิธีการยุติขอพิพาทตามสัญญา.doc

ฝายแบงกันออก และออกเปนสัดสวนเทาใด โดยในกรณีที่อนุญาโตตุลาการไมอาจตกลงกันได ให


อนุญาโตตุลาการผูชี้ขาดเปนผูวินิจฉัย
ทั้ ง นี้ ใ นระหว า งที่ ร อคํ า วิ นิ จ ฉั ย ชี้ ข าดของอนุ ญ าโตตุ ล าการ ผู รั บ เหมาก อ สร า งจะต อ ง
ดําเนินงานตอไปดวยความขยันหมั่นเพียรตามสัญญาและตามคําวินิจฉัยของผูวาการของผูวาจาง
ยกเวนในกรณีที่มีการเลิกสัญญาตอกัน

4.3 ตัวอยางที่ 3
“14. การระงับขอพิพาท
14.1 คณะผูพิจารณา
คูสัญญาจะดําเนินการคัดเลือกและแตงตั้งบุคคลฝายที่ตนไดเสนอเปนคณะผูพิจารณาภายใน
30 วันหลังจากที่เริ่มสัญญา การแตงตั้งคณะผูพิจารณาจะกระทําโดยคูสัญญาแตละฝายจะแจงใหอีก
ฝายหนึ่งทราบชื่อและคุณสมบัติของผูพิจารณาฝายตน และบุคคลผูไดรับเลือกเปนผูพิจารณาของแต
ละฝายดังกลาวจะรวมกันเลือกบุคคลที่สามเพื่อเปนประธานในคณะผูพิจารณาภายใน 30 วันนับแต
การแตงตั้งผูพิจารณาคนที่สอง คณะผูพิจารณาจะประชุมรวมกันเปนครั้งคราวเมื่อมีความจําเปนเพื่อ
ประโยชน ข องสั ญ ญานี้ ค า ใช จ า ยของคณะผู พิ จ ารณาคู สั ญ ญาจะร ว มกั น ออกฝ า ยละครึ่ ง คณะผู
พิจารณาจะตองพิจารณาตัดสินและแจงใหทั้งสองฝายทราบคําตัดสินโดยเร็วที่สุดภายใน 60 วันนับแต
ที่ไดมีการเสนอเรื่องใหพิจารณา ถาคณะผูพิจารณาไดมีความเห็นเปนเอกฉันทและคูสัญญาทั้งสอง
ฝายยอมรับ ใหถือวาคําตัดสินนั้นมีผลผูกพันทั้งสองฝาย และมิใหอุทธรณหรือนําไปสูกระบวนการ
พิจารณาอนุญาโตตุลาการอีก
14.2 อนุญาโตตุลาการ
นอกเสียจากจะกําหนดไวเปนอยางอื่นในสัญญานี้ ขอพิพาท ขอขัดแยง หรือขอเรียกรองที่
เกิดขึ้นหรือเกิดเนื่องจากสัญญานี้จะตองเสนอตอคณะผูพิจารณากอน เพื่อใหแนใจวาสามารถตกลง
กันฉันทมิตรไดหรือไม โดยหากคณะผูพิจารณาไดลงความเห็นหรือมีคําวินิจฉัยเปนเอกฉันท และ
คูสัญญาทั้งสองฝายยอมรับความเห็นหรือคําวินิจฉัยนั้น คูสัญญาตกลงที่จะปฏิบัติตามโดยไมมีขอ
โตแยงใดๆ แตหากเปนกรณีที่ไมสามารถหาขอยุติในคณะผูพิจารณาไดภายใน 60 วัน หรือกําหนด
ระยะเวลาอื่นที่คูสัญญาอาจตกลงกัน หรือคูสัญญาฝายใดฝายหนึ่งไมยอมรับความเห็นหรือคําวินิจฉัย
ของคณะผูพิจารณา คูสัญญาฝายใดฝายหนึ่งจะดําเนินการใหมีการระงับขอพิพาทหรือขอขัดแยง
ดั ง กล า วโดยกระบวนการพิจ ารณาอนุญ าโตตุ ล าการตามข อ บัง คับ อนุ ญ าโตตุ ล าการของสถาบั น
อนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม ประเทศไทย
14.3 การดําเนินการอยางตอเนื่องระหวางการพิจารณาขอพิพาท
ในระหวางการพิจารณาขอพิพาทของคณะผูพิจารณาหรืออนุญาโตตุลาการ ผูรับจางมีหนาที่
ตองจัดใหมีการดําเนินการและการบํารุงรักษางานกอสรางอยูตลอดเวลา เวนแตกรณีที่ขอพิพาท
ดังกลาวจะเกี่ยวของกับความปลอดภัยในการดําเนินการหรือการบํารุงรักษา ซึ่งเปนเหตุใหไมสามารถ
ดําเนินการไดแมผูรับจางจะใชความพยายามอยางดีที่สุดแลว…”

[13-9]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

จากขอกําหนดขางตนวิธีการยุติขอพิพาทตามสัญญา ไดแก การใชคณะผูพิจารณา และการ


ใชกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ตามลําดับ โดยมีรายละเอียดประกอบหลักๆที่สําคัญดังตอไปนี้
สัญญาไดกําหนดใหมีการยุติขอพิพาทเปน 2 ขั้นตอนดวยกัน คือ (1) โดยคณะผูพิจารณา
และ (2) โดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ดังนั้นเมื่อมีความขัดแยง ขอเรียกรอง หรือขอพิพาทใดๆ
เกิ ด ขึ้ น สั ญ ญากํ า หนดให คู สั ญ ญาจะต อ งเสนอเรื่ อ งต อ คณะผู พิ จ ารณาก อ นการใช ก ระบวนการ
อนุญาโตตุลาการ
คณะผูพิจารณาตามสัญญานี้จะถูกแตงตั้งขึ้นจากคูสัญญาทั้งสองตั้งแตตอนเริ่มสัญญาและ
ตามกําหนดเงื่อนเวลาการแตงตั้งที่กําหนดไว โดยคูสัญญาแตละฝายจะดําเนินการคัดเลือกและแตงตั้ง
บุคคลฝายที่ตนตองการเสนอใหเปนคณะผูพิจารณา และแจงใหคูสัญญาอีกฝายหนึ่งทราบชื่อและ
คุณสมบัติของผูพิจารณาของฝายตนทราบภายใน 30 วันหลังจากที่เริ่มสัญญา จากนั้นบุคคลผูไดรับ
เลือกเปนผูพิจารณาของแตละฝายดังกลาวจะรวมกันเลือกบุคคลที่สามเพื่อเปนประธานในคณะผู
พิจารณาภายใน 30 วัน นับแตการแตงตั้งผูพิจารณาคนที่สอง คณะผูพิจารณาจึงประกอบดวยบุคคล
3 คน อันมีหนาที่ประชุมรวมกันเปนครั้งคราวเมื่อมีความจําเปน และตองพิจารณาตัดสินและแจงให
คูสัญญาทั้งสองฝายทราบคําตัดสินโดยเร็วที่สุดภายใน 60 วัน นับแตที่ไดมีการเสนอเรื่องใหพิจารณา
โดยคาใชจายของคณะผูพิจารณาคูสัญญาจะรวมกันออกฝายละครึ่ง
ถาหากเกิดเหตุการณดังตอไปนี้ (1) คูสัญญาไมสามารถหาขอยุติในคณะผูพิจารณาไดภายใน
60 วัน หรือกําหนดระยะเวลาอื่นที่คูสัญญาอาจตกลงกัน หรือ (2) คูสัญญาฝายใดฝายหนึ่งไมยอมรับ
ความเห็นหรือคําวินิจฉัยของคณะผูพิจารณา ใหคูสัญญาดําเนินการระงับขอพิพาทหรือขอขัดแยง
ดังกลาวโดยกระบวนการพิจารณาอนุญาโตตุลาการตอไป
ทั้ ง นี้ ใ นระหว า งการพิ จ ารณาข อ พิ พ าทของคณะผู พิ จ ารณาหรื อ อนุ ญ าโตตุ ล าการ
ผูรับเหมากอสรางมีหนาที่ตองจัดใหมีการดําเนินงานกอสรางอยูตลอดเวลา ยกเวนแตเฉพาะกรณีที่ขอ
พิพาทดังกลาวเกี่ยวของกับความปลอดภัยในการดําเนินงาน
สําหรับกระบวนการอนุญาโตตุลาการตามสัญญานี้ คูสัญญาไดตกลงรวมกันที่จะดําเนินการ
ตามขอบังคับอนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม ประเทศไทย

5. บทสงทาย
ขอขัดแยงหรือขอพิพาทระหวางผูวาจางและผูรับเหมากอสรางเปนสิ่งที่ไมมีฝายใดตองการให
เกิดขึ้น แตในบางสถานการณขอขัดแยงหรือขอพิพาทระหวางคูสัญญาก็เปนสิ่งที่หลีกเลี่ยงไมได การ
ยุติขอขัดแยงหรือขอพิพาทที่เกิดขึ้นดังกลาวโดยการฟองรองเพื่อดําเนินคดีในชั้นศาลเปนวิธีการที่ใช
ระยะเวลาที่ยาวนานและมีคาใชจายสูงซึ่งในทายที่สุดอาจไมคุมคากับผลประโยชนที่ไดรับจากผลการ
พิจารณาพิพากษา จึงมีความพยายามในการนําวิธีการยุติขอขัดแยงหรือขอพิพาทวิธีการอื่นที่นาจะ
เปนประโยชนตอคูสัญญาทั้งสองฝายมากกวามาใชโดยกําหนดไวเปนสวนหนึ่งของขอกําหนดใน
สัญญาดวยเพื่อใหมีผลบังคับใชในยามที่มีขอขัดแยงหรือขอพิพาทเกิดขึ้น เนื้อหาของบทนี้ไดกลาวถึง

[13-10]
บทที่ 13 วิธีการยุติขอพิพาทตามสัญญา.doc

รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการตางๆที่ใชในการยุติขอพิพาทและตัวอยางของขอกําหนดในสัญญาพรอม
คําอธิบายโดยสังเขป ทั้งนี้เพื่อเปนขอมูลสําหรับผูที่เกี่ยวของในการปฏิบัติงานกอสรางตอไป

เอกสารอางอิง
[1] นที สุริยานนท และ พิชญ สุธีรวรรธนา, “วิธีการระงับขอพิพาทในงานจางเหมากอสราง ตอน
ที่ 1”, ขาวชาง, สมาคมอุตสาหกรรมกอสรางแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่ 29,
ฉบับที่ 349, มิถุนายน, หนา 79-81, 2544
[2] นที สุริยานนท และ พิชญ สุธีรวรรธนา, “วิธีการระงับขอพิพาทในงานจางเหมากอสราง ตอน
ที่ 2”, ขาวชาง, สมาคมอุตสาหกรรมกอสรางแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่ 29,
ฉบับที่ 350, กรกฎาคม, หนา 79-81, 2544
[3] นที สุริยานนท และ พิชญ สุธีรวรรธนา, “วิธีการระงับขอพิพาทในงานจางเหมากอสราง ตอน
ที่ 3”, ขาวชาง, สมาคมอุตสาหกรรมกอสรางแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่ 29,
ฉบับที่ 351, สิงหาคม, หนา 79-81, 2544
[4] นที สุริยานนท และ พิชญ สุธีรวรรธนา, “วิธีการระงับขอพิพาทในงานจางเหมากอสราง ตอน
ที่ 4”, ขาวชาง, สมาคมอุตสาหกรรมกอสรางแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่ 29,
ฉบับที่ 352, กันยายน, หนา 79-82, 2544
[5] นที สุริยานนท และ พิชญ สุธีรวรรธนา, “วิธีการระงับขอพิพาทในงานจางเหมากอสราง ตอน
ที่ 5”, ขาวชาง, สมาคมอุตสาหกรรมกอสรางแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่ 29,
ฉบับที่ 353, ตุลาคม, หนา 79-81, 2544

บรรณานุกรม
[1] “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ พ.ศ. 2535”, สวัสดิการสํานักงานปลัดสํานัก
นายกรัฐมนตรี, เมษายน, 2535
[2] “เอกสารรวบรวมสัญญาเกี่ยวกับงานกอสราง”, สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ,
พิมพครั้งที่ 1, พฤษภาคม 2534
[3] “สัญญามาตรฐานงานจางเหมากอสราง”, วิศวกรรมสถานแหงประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ, พิมพครั้งที่ 2, 2541
[4] “Conditions of Contract for Works of Civil Engineering Construction”, (1987 and
reprinted in 1992 with further amendments), Federation Internationale Des Ingenirurs-
Conseils (FIDIC), 4th Edition, 1992.
[5] “Conditions of Contract for Construction for Building and Engineering Works Designed
by the Employer”, Federation Internationale Des Ingenirurs-Conseils (FIDIC), 1st
Edition, 1999.

[13-11]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

[6] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “สัญญากอสราง: ขั้นตอนการยุติขอพิพาทเรื่องการ


ขยายกําหนดเวลาแลวเสร็จ”, วารสารวิชาการพระจอมเกลาพระนครเหนือ, สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกลาพระนครเหนือ, ปที่ 10, ฉบับที่ 2, เมษายน, หนา 51-58, 2543
[7] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “ขอกําหนดในสัญญาเกี่ยวกับวิธีการยุติขอพิพาท”,
ขาวชาง, สมาคมอุตสาหกรรมกอสรางแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่ xx, ฉบับ
ที่ xxx, xxxxxxxx - xxxxxxxx, หนา xx-xx, xxxx
[8] Jervis, B. M. and Levin, P., “Construction Law: principles and practices”, McGraw-Hill
Publishing Company, 1998.
[9] Turner, D. F. and Turner, A., “Building Contract Claims and Disputes”, 2nd Edition,
Longman, 1999.
[10] Uff, J., “Construction Law: law and practice relating to the construction industry”, 5th
Edition, London, Sweet & Maxwell, 1991.

[13-12]
บทที่ 14
สิทธิเลิกสัญญา
(Rights of Contract Termination)

1. บทนํา
โดยทั่วไปเมื่อคูสัญญาไดเริ่มตกลงทําสัญญาวาจางงานกอสรางรวมกัน คูสัญญาทั้งสองฝาย
ตางยอมตองการใหงานกอสรางแลวเสร็จลุลวงไปดวยดี อยางไรก็ดีมีหลายครั้งที่สถานการณไมเปน
อยางที่คาดหวังจนอาจเกิดความขัดแยงกันระหวางคูสัญญาซึ่งในบางครั้งไมสามารถเจรจาไกลเกลี่ย
กันไดและมักจะเปนสาเหตุของการบอกเลิกสัญญาระหวางกัน
เมื่อมีฝายใดฝายหนึ่งไมสามารถปฏิบัติตามขอผูกพันที่ระบุในสัญญา หรือพบวาอีกฝายหนึ่ง
ไมสามารถปฏิบัติตามหรือฝาฝนขอผูกพันที่ระบุในสัญญา ฝายที่ตองการเลิกสัญญาตองถามตนเองวา
ตนมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาหรือไม ดังนั้นสิ่งแรกที่คูสัญญาควรใหความสนใจหากตองการบอกเลิก
สัญญาก็คือ สิทธิเลิกสัญญา
เนื้อหาในบทนี้จะกลาวถึงประเภทของสิทธิเลิกสัญญา สิทธิเลิกสัญญาที่เกิดจากขอกําหนด
ของสัญญา และสิทธิเลิกสัญญาในสัญญามาตรฐานตางๆ ตามลําดับ เพื่อเปนแนวทางในการ
ปฏิบัติงานของผูที่เกี่ยวของกับงานกอสรางตอไป

2. ประเภทของสิทธิเลิกสัญญา
การที่ฝ ายใดฝ ายหนึ่ง ต องการบอกเลิ กสัญ ญาจะต อ งมั่น ใจว าฝ า ยตนมีสิ ท ธิที่จะบอกเลิ ก
สัญญาไดอยางถูกตองตามกฎหมาย ซึ่งสิทธิเลิกสัญญามีอยู 3 ประเภทดวยกัน อันไดแก (1) สิทธิ
เลิกสัญญาที่เกิดจากขอกําหนดของสัญญา (2) สิทธิเลิกสัญญาที่เกิดจากบทบัญญัติของกฎหมาย
ทั่วไป และ (3) สิทธิเลิกสัญญาที่เกิดจากบัญญัติของกฎหมายเฉพาะ เนื้อหาในบทนี้จะกลาวถึงเฉพาะ
สิทธิเลิกสัญญาประเภทแรก สําหรับสิทธิเลิกสัญญาอีก 2 ประเภท สามารถศึกษาเพิ่มเติมไดจาก
เอกสารอางอิงหมายเลข [1]

3. สิทธิเลิกสัญญาที่เกิดจากขอกําหนดของสัญญา
ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย [2] มาตราที่ 386 วรรคแรก บัญญัติวา
“ถาคูสัญญาฝายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยขอสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแหงกฎหมาย การเลิก
สัญญาเชนนั้นยอมทําดวยแสดงเจตนาแกอีกฝายหนึ่ง…”
จะเห็นไดวาหากสัญญากําหนดใหคูสัญญาฝายใดมีสิทธิเลิกสัญญา ฝายดังกลาวก็สามารถ
บอกเลิกสัญญาโดยการใชสิทธิตามขอกําหนดในสัญญานั้นได

[14-1]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

โดยทั่วไปสัญญาจางกอสรางสวนใหญจะมีขอกําหนดเกี่ยวกับสิทธิเลิกสัญญาโดยสามารถมีได
ทั้งขอกําหนดเกี่ย วกั บ สิท ธิ เ ลิ กสัญญาของผู วาจ างและสิท ธิเ ลิกสัญญาของผู รับ เหมาก อสร าง ดั ง
ตัวอยางตอไปนี้

3.1 ตัวอยางที่หนึ่ง
“…ถาผูรับจางมิไดลงมือทํางานภายในกําหนดเวลา หรือไมสามารถทํางานใหแลวเสร็จตาม
กําหนดเวลา หรือมีเหตุใหเชื่อไดวาไมสามารถทํางานใหแลวเสร็จภายในกําหนดเวลาหรือจะแลวเสร็จ
ลาชาเกินกวาที่กําหนดเวลา หรือทําผิดสัญญาขอใดขอหนึ่ง หรือตกเปนผูลมละลาย หรือเพิกเฉยไม
ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการตรวจการจางหรือผูควบคุมงานหรือบริษัทที่ปรึกษาซึ่งไดรับมอบ
อํานาจจากผูวาจาง ผูวาจางมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ไดและมีสิทธิจางผูรับจางรายใหมเขาทํางาน
ของผูรับจางใหลุลวงไปไดดวย…”
จากขอกําหนดขางตนสัญญาใหสิทธิเลิกสัญญาแกผูวาจางในกรณีดังนี้ (1) เมื่อผูรับเหมา
ไมไดลงมือทํางานภายในกําหนดเวลา (2) เมื่อผูรับเหมาไมสามารถทํางานใหแลวเสร็จตาม
กําหนดเวลา (3) เมื่อมีเหตุใหเชื่อไดวาผูรับเหมาจะไมสามารถทํางานใหแลวเสร็จภายในกําหนดเวลา
หรือจะแลวเสร็จลาชาเกินกวาที่กําหนดเวลา (4) เมื่อผูรับเหมาทําผิดสัญญาขอใดขอหนึ่ง (5) เมื่อ
ผูรับเหมาตกเปนผูลมละลาย หรือ (6) เมื่อผูรับเหมาเพิกเฉยไมปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการ
ตรวจการจางหรือผูควบคุมงานหรือบริษัทที่ปรึกษาซึ่งไดรับมอบอํานาจจากผูวาจาง

3.2 ตัวอยางที่สอง
“…ภายในกําหนดเวลาแลวเสร็จบริบูรณตามสัญญานี้ ถาผูรับจางหยุดการทํางานหรือทําแต
เพียงใหเห็นวามิไดหยุดการทํางานโดยสิ้นเชิงเปนเวลาติดตอกันเกินกวา 30 วันก็ดี หรือหยุดการ
ทํ า งานโดยไม มี เ หตุ ผ ลสมควรและก อ ให เ กิ ด ความเดื อ ดร อ นไม ส ะดวกหรื อ อาจเป น อั น ตรายแก
ประชาชนผูใชเสนทางก็ดี หรือมีหลักฐานแสดงวาผูรับจางมีฐานะการเงินไมดี ขาดเงินทุนหมุนเวียน
และขาดเครื่องมือเครื่องจักร หรืออื่นๆ ที่อาจทําใหคาดหมายไดวาผูรับจางไมสามารถทํางานจางให
แลวเสร็จบริบูรณไดก็ดี หรือเวลาลวงเลยไปเกินกวาครึ่งหนึ่งของกําหนดเวลาตามสัญญา แตผูรับจาง
ทํางานตามสัญญาลาชาต่ํากวาแผนงาน โดยมีผลตางซึ่งมีหนวยเปนรอยละระหวางแผนงานที่ผูวาจาง
เห็นชอบไวแลวกับผลงานที่ผูรับจางทําไดจริงตั้งแตสามสิบขึ้นไปก็ดี ใหถือวาผูรับจางไมสามารถ
ทํางานใหแลวเสร็จบริบูรณภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง และผูวาจางมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้
ได…”
จากขอกําหนดขางตนสัญญากําหนดใหผูวาจางมีสิทธิบอกเลิกสัญญาไดถาหากผูรับเหมาไม
สามารถทํางานใหแลวเสร็จบริบูรณภายในกําหนดเวลาตามสัญญา ซึ่งเหตุการณที่สัญญานี้ถือวา
ผูรับเหมาไมสามารถทํางานใหแลวเสร็จบริบูรณภายในกําหนดเวลาตามสัญญา ไดแก (1) เมื่อผู
รับจางหยุดการทํางานหรือทําแตเพียงใหเห็นวามิไดหยุดการทํางานโดยสิ้นเชิงเปนเวลาติดตอกันเกิน
กวา 30 วัน (2) เมื่อผูรับเหมาหยุดการทํางานโดยไมมีเหตุผลสมควรและกอใหเกิดความเดือดรอนไม

[14-2]
บทที่ 14 สิทธิเลิกสัญญา.doc

สะดวกหรืออาจเปนอันตรายแกประชาชนผูใชเสนทาง (3) เมื่อมีหลักฐานแสดงวาผูรับจางมีฐานะ


การเงินไมดี ขาดเงินทุนหมุนเวียนและขาดเครื่องมือเครื่องจักร หรืออื่นๆ ที่อาจทําใหคาดหมายไดวา
ผูรับจางไมสามารถทํางานจางใหแลวเสร็จบริบูรณได และ (4) เมื่อเวลาลวงเลยไปเกินกวาครึ่งหนึ่ง
ของกําหนดเวลาตามสัญญา แตผูรับเหมายังคงทํางานตามสัญญาลาชาต่ํากวาแผนงาน โดยมีผลตาง
ซึ่งมีหนวยเปนรอยละระหวางแผนงานที่ผูวาจางเห็นชอบไวแลวกับผลงานที่ผูรับจางทําไดจริงตั้งแต
สามสิบขึ้นไป

3.3 ตัวอยางที่สาม
“...ในกรณีที่ผูรับจางหยุดงานโดยไมมีเหตุอันควรติดตอกันเกินกวา 3 วันก็ดี หรือไม
ดําเนินการกอสรางตามปกติติดตอกันเกินกวา 3 วัน โดยไมมีเหตุอันควร ผูวาจางจะถือวาผูรับจางทิ้ง
งาน ผูวาจางมีสิทธิบอกเลิกสัญญาไดทันทีและมีสิทธิรียกรองเอาคาเสียหาย คาใชจายใดๆ...”
จากขอกําหนดขางตน ถาหาก (1) ผูรับเหมาหยุดงานโดยไมมีเหตุอันควรติดตอกันเกินกวา 3
วัน หรือ (2) ผูรับเหมาไมดําเนินการกอสรางตามปกติติดตอกันเกินกวา 3 วัน โดยไมมีเหตุอันควร
สัญญานี้จะถือวาผูรับเหมาไดทิ้งงาน และผูวาจางมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได

3.4 ตัวอยางที่สี่
“ ในกรณีที่ผูวาจาง
(1) ไมชําระเงินจํานวนที่ครบกําหนดตองชําระตามหนังสือรับรองใดๆ ของวิศวกรใหผูรับ
จางภายใน 28 วันนับจากวันที่เงินจํานวนนั้นครบกําหนดตองชําระตามเงื่อนไขของสัญญาขอยอย …
โดยหักเงินจํานวนใดๆที่ผูวาจางมีสิทธิหักไดตามสัญญา หรือ
(2) เขากาวกายหรือขัดขวางหรือปฏิเสธที่จะใหอนุมัติที่จําเปนเพื่อการออกหนังสือรับรอง
ใดๆ ดังกลาว หรือ
(3) กลายเปนบุคคลลมละลายหรือเปลี่ยนแปลงแปรรูปบริษัทเปนหนี้เปนสิน ยกเวนแต
เพื่อการปรับปรุงทางการเงินหรือการควบเขากันของบริษัท หรือ
(4) ออกหนังสือบอกกลาวถึงผูรับจางแจงวาเนื่องจากสาเหตุที่คาดลวงหนาไมไดหรือ
ความยุงเหยิงทางเศรษฐกิจ ผูวาจางไมสามารถปฏิบัติตามขอผูกพันตามสัญญาของตนตอไปไดอีก
ผูรับจางมีสิทธิยกเลิกการรับจางของตนตามสัญญา…”
จากขอกําหนดขางตนสัญญาใหสิทธิเลิกสัญญาแกผูรับเหมากอสรางในกรณีดังนี้ (1) เมื่อผู
วาจางไมชําระเงินจํานวนที่ครบกําหนดตองชําระ ภายใน 28 วัน (2) เมื่อผูวาจางเขากาวกายหรือ
ขัดขวางหรือปฏิเสธที่จะใหอนุมัติที่จําเปนเพื่อการออกหนังสือรับรองใดๆ (3) เมื่อผูวาจางกลายเปน
บุคคลลมละลายหรือเปลี่ยนแปลงแปรรูปบริษัทเปนหนี้เปนสิน ยกเวนแตเพื่อการปรับปรุงทางการเงิน
หรือการควบเขากันของบริษัท หรือ (4) เมื่อผูวาจางออกหนังสือบอกกลาวถึงผูรับเหมาโดยแจงวาผูวา
จ า งไม ส ามารถปฏิ บั ติ ต ามข อ ผู ก พั น ตามสั ญ ญาของตนต อไปได อี ก อั น เนื่ อ งมาจากสาเหตุ ที่ ค าด
ลวงหนาไมไดหรือความยุงเหยิงทางเศรษฐกิจ

[14-3]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

3.5 ตัวอยางที่หา
“…ผูรับจางมีสิทธิในการบอกเลิกสัญญาไดในกรณีตอไปนี้
(ก) ผู ว า จ า งไม จ า ยเงิ น ค า จ า งให แ ก ผู รั บ จ า ง หรื อ มี เ หตุ อั น ควรเชื่ อ ได ว า ผู ว า จ า งไม
สามารถจายเงินคาจางตามกําหนดเวลาที่กําหนดไวในสัญญา หรือ
(ข) ผูวาจางตกเปนผูลม ละลายหรือศาลมีคําสั่งพิทักษทรัพยเด็ดขาด
ใหถือวาผูรับจางใชสิทธิในการเลิกสัญญานี้ทันทีโดยปริยาย…”
จากขอกําหนดขางตนสัญญาใหสิทธิเลิกสัญญาแกผูรับเหมากอสรางในกรณีดังนี้ (1) เมื่อผู
วาจางไมจายเงินคาจางใหแกผูรับเหมา หรือมีเหตุอันควรเชื่อไดวาผูวาจางไมสามารถจายเงินคาจาง
ตามกําหนดเวลาที่กําหนดไวในสัญญา หรือ (2) เมื่อผูวาจางตกเปนผูลมละลายหรือศาลมีคําสั่งพิทักษ
ทรัพยเด็ดขาด

3.6 ตัวอยางที่หก
“…หากผูวาจางไมสามารถจายเงินคากอสรางใหผูรับจางตามสัญญา ขอ 8.1 ภายในกําหนด
45 วัน (สี่สิบหาวัน) นับจากวันที่ผูวาจางหรือผูแทนผูวาจางทําการตรวจรับงานงวดนั้นเรียบรอยแลว
ผูรับจางมีสิทธิบอกเลิกสัญญากับผูวาจางได และมีสิทธิเรียกรองคาเสียหายเปนจํานวนเงินเทากับ
อัตรารอยละ 1.5 ตอเดือนของเงินที่คางชําระ…”
จากขอกําหนดขางตน ถาหากผูวาจางไมสามารถจายเงินคากอสรางใหผูรับเหมาไดภายใน
กําหนด 45 วัน นับจากวันที่ผูวาจางหรือผูแทนผูวาจางทําการตรวจรับงานงวดนั้นเรียบรอยแลว
ผูรับเหมาจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญากับผูวาจางได

4. สิทธิเลิกสัญญาในสัญญามาตรฐาน
เพื่อ ให เ กิ ด ความเข า ใจและทราบถึง ธรรมเนีย มปฏิ บั ติเ กี่ ยวกับ สิท ธิ เ ลิ กสั ญ ญาที่ เ กิด จาก
ขอกําหนดของสัญญามากยิ่งขึ้น เนื้อหาในสวนนี้จะนําเสนอสิทธิเลิกสัญญาในขอกําหนดของสัญญา
มาตรฐานตางๆ อันไดแก แบบสัญญาจางทายระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ พ.ศ.
2535 [3] สัญญารับจางเหมากอสรางแบบที่ 3 (ฉบับใหญ) ของสมาคมสถาปนิกสยาม [4] และสัญญา
มาตรฐานงานจางเหมากอสรางของสมาคมวิศวกรรมสถานแหงประเทศไทย [5] นอกจากนี้ยังได
นําเสนอบทวิเคราะหความเหมือนและความแตกตางของสิทธิเลิกสัญญาในสัญญามาตรฐานเหลานี้
ดวย

4.1 สิทธิเลิกสัญญาในแบบสัญญาจางทายระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ พ.ศ.


2535
แบบสัญญาจางที่กําหนดขึ้นโดยคณะกรรมการวาดวยการพัสดุเปนแบบสัญญาที่สวนราชการ
นํามาใชในการวาจางงานกอสรางระหวางสวนราชการ (ผูวาจาง) กับบริษัทรับเหมากอสราง (ผูรับ

[14-4]
บทที่ 14 สิทธิเลิกสัญญา.doc

จาง) ซึ่งแบบสัญญาจางดังกลาวในขอสัญญาที่ 7 เรื่อง “กําหนดเวลาแลวเสร็จและสิทธิของผูวาจางใน


การบอกเลิกสัญญา” ไดกําหนดสิทธิเลิกสัญญาของผูวาจางไวซึ่งสามารถสรุปไดเปน 5 กรณี ดังแสดง
ในตารางที่ 14.1

ตารางที่ 14.1 สิทธิเลิกสัญญาของผูวาจางที่ระบุในแบบสัญญาจางของ กวพ.


กรณีที่ ขอ เหตุการณที่ทําใหเกิดสิทธิเลิกสัญญา
1 7 ผูรับจางมิไดเสนอแผนงานหรือมิไดลงมือทํางานภายในกําหนดเวลา
2 7 มีเหตุเชื่อไดวาผูรับจางไมสามารถทํางานใหแลวเสร็จภายในกําหนดเวลาหรือจะแลวเสร็จ
ลาชาเกินกวากําหนดเวลา
3 7 ผูรับจางทําผิดสัญญาขอใดขอหนึ่ง
4 7 ผูรับจางตกเปนผูลมละลาย
5 7 ผูรับจางเพิกเฉยไมปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการตรวจการจางหรือผูควบคุมงานหรือ
บริษัทที่ปรึกษาซึ่งไดรับมอบอํานาจจากผูวาจาง

ทั้งนี้ในกรณีของโครงการที่เปนการจางซอม หรือสรางสาธารณูปโภคหรือสาธารณูปการที่มี
ผลกระทบตอการจราจร ยังไดมีการกําหนดขอสัญญาที่มีความเกี่ยวของกับสิทธิเลิกสัญญาไวเพิ่มเติม
ตามความในหนังสือสั่งการที่ อส 0017/11351 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 เรื่อง ตรวจพิจารณา
แกไขสัญญาจางทายระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ออกโดยสํานักงานอัยการสูงสุด [6] ซึ่งขอสัญญาที่
ไดถูกกําหนดเพิ่มเติมดังกลาวมีใจความวา ผูวาจางมีสิทธิบอกเลิกสัญญาไดถาหากผูรับเหมาฝาฝนไม
ปฏิบตั ิใหเปนไปตามมาตรการ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาตซอมหรือและสรางสาธารณูปโภคหรือ
สาธารณูปการที่มีผลกระทบตอการจราจรตามที่คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกกําหนดหรือ
บุคคลหรือองคกรตามที่คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกมอบหมายไดกําหนดโดยเครงครัด
นอกจากนี้ในหลายกรณีสวนราชการบางแหงซึ่งนําแบบสัญญาจางของ กวพ. ไปใช ยังอาจจะ
กําหนดเงื่อนไขของสัญญาเพิ่มเติมเอง ดังตัวอยางเชนในสัญญาจางทํางานกอสรางสะพานลอยคน
เดินขาม ความยาว 36.92 เมตร ของสวนราชการแหงหนึ่งไดมีการเพิ่มเติมขอความในเงื่อนไขของ
สัญญาเกี่ยวกับสิทธิในการบอกเลิกสัญญาของผูวาจางไวในขอสัญญาที่ 7ข ของแบบสัญญาจางของ
กวพ. โดยไดแทรกอยูระหวางวรรคหนึ่งและวรรคสอง เพื่อเปนการกําหนดสิทธิในการบอกเลิกสัญญา
ของผูวาจางเพิ่มเติม ซึ่งขอความเพิ่มเติมในสัญญาดังกลาว มีเนื้อหาดังตอไปนี้
“ภายในกําหนดเวลาแลวเสร็จสมบูรณตามสัญญานี้ ถาผูรับจางหยุดการทํางาน หรือทําแต
เพียงใหเห็นวาไดหยุดการทํางานโดยสิ้นเชิงเปนเวลาติดตอกันเกินกวา 30 วันก็ดี หรือหยุดการ
ทํางานโดยไมมีเหตุผลสมควร และกอใหเกิดความเดือดรอนไมสะดวก หรืออาจเปนอันตรายแก
ประชาชนผูใ ชเสนทาง หรือมีหลักฐานแสดงวาผูรับจางมีฐานะการเงินไมดี ขาดเงินทุนหมุนเวียน และ
ขาดเครื่องมือเครื่องจักร หรืออื่นๆ ที่อาจทําใหคาดหมายไดวาผูรบั จางไมสามารถทํางานจางใหแลว
เสร็จบริบูรณไดก็ดี หรือเวลาลวงเลยไปเกินกวาครึ่งหนึ่งของกําหนดเวลาตามสัญญาแตผูรบั จาง
ทํางานตามสัญญาลาชาต่ํากวาแผนงานโดยมีผลตางซึง่ มีหนวยเปนรอยละระหวางแผนงานที่ผูวาจาง

[14-5]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

เห็นชอบไวแลวกับผลงานที่ผูรับจางทําไดจริงตั้งแตสามสิบขึ้นไปก็ดี ใหถือวาผูรับจางไมสามารถ
ทํางานใหแลวเสร็จบริบูรณภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง”

4.2 สิทธิเลิกสัญญาในสัญญารับจางเหมากอสรางแบบที่ 3 (ฉบับใหญ) ของสมาคมสถาปนิก


สยาม (A.S.A.)
สัญญารับจางเหมากอสรางแบบที่ 3 (ฉบับใหญ) ของสมาคมสถาปนิกสยามเปนสัญญา
มาตรฐานฉบับหนึ่งซึ่งเปนที่นิยมใชในการวาจางงานระหวางเอกชนกับเอกชน รายละเอียดในสวนที่
เกี่ยวของกับสิทธิเลิกสัญญาของสัญญาฉบับดังกลาวไดถูกกลาวไวในขอสัญญาที่ 16.3 ซึ่งพอสรุป
ใจความของขอสัญญาดังกลาวไดดังแสดงในตารางที่ 14.2

ตารางที่ 14.2 สิทธิเลิกสัญญาของผูวาจางที่ระบุในสัญญาของสมาคมสถาปนิกสยาม (A.S.A.)


กรณีที่ ขอ เหตุการณที่ทําใหเกิดสิทธิเลิกสัญญา
1 16.3.1 ผูรับจางมีหนี้สินลนพนตัว หรือตกเปนบุคคลลมละลายหรือมีคําพิพากษาถึงที่สุดตองรับ
โทษทางคดีอาญาใดๆ หรือคดีอันเกิดจากการใชเช็ค
2 16.3.2 ผูรับจางปฏิเสธหรือละเลยไมจัดหาชางฝมือดีและจํานวนมากเพียงพอแกปริมาณงานมา
ดําเนินการกอสรางใหเปนผลดีและกาวหนาแกงานกอสรางนี้ หรือทําการโกง หรือมี
พฤติการณสอวาจะฉอโกงวัสดุ หรือพยายามที่จะใชวัสดุที่ไมถูกตองตามตัวอยางหรือตามที่
ไดรับอนุมัติจากผูวาจางและตามแบบแปลนและขอกําหนดประกอบแบบกอสรางอาคารนี้
3 16.3.3 งานลาชาโดยไมมีเหตุอันควร
4 16.3.4 ผูรับจางหยุดงานกอสรางติดตอกันเกินกวา 3 วัน หรือละทิ้งงานโดยไมมีเหตุผลอันสมควร
5 16.3.5 ผูรับจางไมปฏิบตั ิตามคําชี้ขาด คําสั่ง หรือคําแนะนําของสถาปนิก วิศวกรโครงสราง และ
วิศวกรระบบ หรือผูแทนผูวาจาง ซึ่งไดกระทําไปตามอํานาจหนาที่เพื่อใหเกิดผลดีแกงาน
กอสราง
6 16.3.6 ผูรับจางไมปฏิบตั ิ หรือละเมิดสัญญาจางกอสรางนี้ขอหนึ่งขอใดหรือหลายขอ
7 16.3.7 เมื่อผูวาจางเล็งเห็นวา ผูรับจางไมสามารถทํางานเสร็จตามเวลาสมควร
8 16.3.8 ผูรับจางทํางานลาชากวาแผนงานหลักที่ไดจัดสงใหกับผูวาจางตามขอ 9.7 เกินกวา 20%
(รอยละยี่สิบ) ของแผนงานหลักนั้น โดยไมมีเหตุผลสมควร

4.3 สิทธิเลิกสัญญาในสัญญามาตรฐานงานจางเหมากอสรางของสมาคมวิศวกรรมสถานแหง
ประเทศไทย (E.I.T.)
สัญญามาตรฐานงานจางเหมากอสรางของสมาคมวิศวกรรมสถานแหงประเทศไทยเปนสัญญา
ที่ถูกแปลมาจาก Conditions of Contract for Works of Civil Engineering Construction [7] ของ
FIDIC ซึ่งเปนสัญญาหนึง่ ที่ไดรับการยอมรับจากองคกรระหวางประเทศวาเปนสัญญาที่ใหความเปน
ธรรมตอทั้งฝายผูวาจางและผูรับเหมากอสราง สัญญามาตรฐานงานจางเหมากอสรางของ ว.ส.ท. นี้ได
กําหนดสิทธิในการบอกเลิกสัญญาใหกับทั้งฝายผูว าจางและฝายผูร ับเหมา โดยสิทธิเลิกสัญญาของผู
วาจางถูกระบุไวในสัญญาขอ 63.1 และขอ 65.6 ซึ่งมีเนื้อหาสาระดังสรุปในตารางที่ 14.3 และสิทธิเลิก

[14-6]
บทที่ 14 สิทธิเลิกสัญญา.doc

สัญญาของผูรบั เหมาถูกระบุไวในสัญญาขอ 40.3 และขอ 69.1 ซึ่งมีเนื้อหาสาระดังสรุปในตารางที่


14.4

ตารางที่ 14.3 สิทธิเลิกสัญญาของผูวาจางที่ระบุในสัญญามาตรฐานงานจางเหมากอสรางของ ว.ส.ท.


กรณีที่ ขอ เหตุการณที่ทําใหเกิดสิทธิเลิกสัญญา
1 63.1 ผูรับจางลมละลายหรือไดรับคําสั่งพิทักษทรัพย หรือยื่นขอรับคําสั่งเปนผูลมละลาย หรือเขา
ทําขอตกลงกับหรือโอนสิทธิ์ใหเจาหนี้ของตนหรือตกลงปฏิบัติตามสัญญาภายใตการ
ควบคุมของคณะกรรมการของเจาหนี้ของตน หรือในฐานะบริษัทจํากัดชําระบัญชี
(นอกเหนือจากการชําระบัญชีโดยสมัครใจเพื่อการควบเขากันหรือการปรับปรุง) หรือผูรับ
จางโอนสัญญาโดยไมไดรับความยินยอมเปนลายลักษณอักษรลวงหนาจากผูวาจาง หรือ
ผูรับจางถูกศาลสั่งพิทักษทรัพยสิน
2 63.1(a) วิศวกรรับรองเปนลายลักษณอักษรตอผูวาจางวาในความเห็นของตนเห็นวาผูรับจางไดละ
ทิ้งสัญญา
3 63.1(b) วิศวกรรับรองเปนลายลักษณอักษรตอผูวาจางวาในความเห็นของตนเห็นวา
- โดยไมมีเหตุผลอันควร ผูรับจางไมเริ่มดําเนินการกอสรางตามเงื่อนเวลาที่ไดรับแจง
จากวิศวกรซึ่งระบุไวในสัญญาขอ 41.1
- โดยไมมีเหตุผลอันควร ผูรับจางไมดําเนินการใดๆภายใน 28 วันหลังจากวันที่ไดรับ
หนังสือแจงจากวิศวกรใหทําการเรงงานเนื่องจากวิศวกรเห็นวาผูรับจางทํางานอยาง
ลาชาเกินกวาที่จะทําใหงานแลวเสร็จตามกําหนดเวลาได
4 63.1(c) วิศวกรรับรองเปนลายลักษณอักษรตอผูวาจางวาในความเห็นของตนเห็นวา
- โดยไมมีเหตุผลอันควร ผูรับจางไมปฏิบัติตามหนังสือแจงจากวิศวกรใหแกไขวัสดุหรือ
เครื่องจักรโรงงานที่ยังไมพรอมสําหรับการตรวจสอบหรือทดสอบ หรือใหแกไขวัสดุ
หรือเครื่องจักรโรงงานที่ผลจากการตรวจสอบหรือทดสอบของวิศวกรพบวาวัสดุหรือ
เครื่องจักรโรงงานนั้นไมสมบูรณหรือไมเปนไปตามสัญญา ภายใน 28 วันหลังจากที่
ไดรับหนังสือแจงจากวิศวกร
- โดยไมมีเหตุผลอันควร ผูรับจางไมขนยายวัสดุหรือเครื่องจักรโรงงานที่วิศวกรเห็นวา
ไมเปนไปตามสัญญาออกจากสถานที่กอสรางภายในเวลาที่กําหนด หรือไมจดั หาวัสดุ
หรือเครื่องจักรโรงงานที่ถูกตองและเหมะสมมาแทน หรือไมรื้อและทํางานซ้ําอัน
เกี่ยวกับวัสดุ หรือเครื่องจักรโรงงาน หรือฝมือ หรือการออกแบบของผูรับจางที่วิศวกร
เห็นวาไมเปนไปตามสัญญา แมวางานในสวนดังกลาวจะไดมีการทดสอบหรือการชําระ
คาจางไปกอนหนานี้แลวก็ตาม ทั้งนี้ภายใน 28 วันหลังจากที่ไดรับหนังสือแจงจาก
วิศวกร
5 63.1(d) วิศวกรรับรองเปนลายลักษณอักษรตอผูวาจางวาในความเห็นของตนเห็นวาแมผูรับจางจะ
ถูกวิศวกรเตือนเปนลายลักษณอักษรแลวก็ไมทํางานใหเปนไปตามสัญญาหรือละเลยไม
ปฏิบัติตามขอผูกพันตามสัญญาอยูเสมอๆ และอยางโจงแจง

[14-7]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ตารางที่ 14.3 (ตอ)


กรณีที่ ขอ เหตุการณที่ทําใหเกิดสิทธิเลิกสัญญา
6 63.1(e) วิศวกรรับรองเปนลายลักษณอักษรตอผูวาจางวาในความเห็นของตนเห็นวาผูรับจางไดฝา
ฝนขอสัญญาที่ 4.1 ซึ่งไดระบุใหผูรับจางตองไมทําสัญญาจางชวงในสวนใดๆของงานโดย
ปราศจากความยินยอมจากวิศวกร และตองรับผิดชอบตอการปฏิบัติงาน การปลอยปละ
ละเลย และไมเอาใจใสในการทํางานของผูรับจางชวง ตัวแทนของผูรับจางชวง หรือลูกจาง
ของผูรับจางชวง เสมือนหนึ่งเปนการปฏิบัติงาน การปลอยปละละเลย และไมเอาใจใสใน
การทํางานของผูรับจางเอง
7 65.6 เกิดสงครามขึ้นไมวาจะมีการประกาศหรือไมก็ตามในสวนใดๆของโลกซึ่งมีผลกระทบตอ
การปฏิบัติงานอยางสําคัญไมวาจะทางการเงินหรือทางอื่น

ตารางที่ 14.4 สิทธิเลิกสัญญาของผูรับเหมาที่ระบุในสัญญามาตรฐานจางเหมากอสรางของ ว.ส.ท.


กรณีที่ ขอ เหตุการณที่ทําใหเกิดสิทธิเลิกสัญญา
1 40.3 เมื่อความกาวหนาของงานหรือสวนใดๆของงานถูกหยุดไวชั่วคราวดวยคําสั่งที่ทําเปน
หนังสือจากวิศวกร และวิศวกรไมอนุญาตใหผูรับจางกลับเขาปฏิบัติงานดังเดิมภายใน 84
วันนับจากวันที่หยุดงานชั่วคราวนั้น และผูรับจางไดทําหนังสือแจงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
จากการหยุดงานดังกลาววาจะกระทบกระเทือนงานทั้งหมดตามสัญญาและแจงความจํานง
ถึงความตองการที่จะไดรับอนุญาตใหปฏิบัติงานซึ่งความกาวหนาไดถูกหยุดไวชั่วคราว
ใหแกวิศวกรหลังจากที่ลวงเลยระยะเวลา 84 วันดังกลาวแลวและวิศวกรไมตอบอนุญาต
ภายใน 28 วันหลังจากวันที่ไดรับหนังสือแจงจากผูรับจาง เวนแตการหยุดงานชั่วคราวนั้น
เปนเหตุการณภายใตขอสัญญาที่ 40.1(a) ถึง (d)
2 69.1(a) ผูวาจางไมชําระเงินตามจํานวนเงินที่ครบกําหนดตองชําระตามหนังสือรับรองใดๆของ
วิศวกรใหแกผูรับจางภายใน 28 วันจากวันที่เงินจํานวนนั้นครบกําหนดตองชําระตาม
เงื่อนไขของระยะเวลาการชําระเงินที่ระบุในสัญญาขอ 60.10 โดยที่จํานวนเงินที่ตองชําระ
ดังกลาวเปนจํานวนเงินซึ่งไดหักเงินจํานวนใดๆที่ผูวาจางมีสิทธิหักไดตามสัญญาแลว
3 69.1(b) ผูวาจางเขากาวกายหรือขัดขวางหรือปฏิเสธที่จะใหอนุมัติที่จําเปนเพื่อการออกหนังสือ
รับรองใดๆที่เกี่ยวกับการจายเงินคาจางใหแกผรู ับจาง
4 69.1(c) ผูวาจางกลายเปนบุคคลลมละลาย หรือเปลี่ยนแปลงแปรรูปบริษัทเปนหนี้เปนสิน ยกเวน
แตเพื่อการปรับปรุงทางการเงินหรือการควบเขากันของบริษัท
5 69.1(d) ผูวาจางออกหนังสือบอกกลาวผูรับจางแจงวาเนื่องจากสาเหตุหรือความยุงเหยิงทาง
เศรษฐกิจที่คาดการณลวงหนาไมได สงผลใหผูวาจางไมสามารถปฏิบัติตามขอผูกพันตาม
สัญญาของตนตอไปไดอีก

4.4 การเปรียบเทียบสิทธิเลิกสัญญาของผูวาจาง
หากพิ จ ารณาเปรี ย บเที ย บระหว า งเหตุ ก ารณ ที่ ทํ า ให ผู ว า จ า งมี สิ ท ธิ เ ลิ ก สั ญ ญาในสั ญ ญา
มาตรฐานทั้งสามฉบับขางตน (ดูตารางที่ 14.5) พบวาทั้งสามสัญญาไดมีการระบุไวอยางชัดเจนวา
ผูวาจางจะมีสิทธิเลิกสัญญาเมื่อผูรับเหมามีฐานะทางการเงินที่ไมดี (กรณีที่ 1) หรือเมื่อการทํางานของ

[14-8]
บทที่ 14 สิทธิเลิกสัญญา.doc

ผูรับเหมาทําใหเกิด หรือสงผลใหเกิด หรืออาจสงผลใหเกิดความลาชา (กรณีที่ 4) หรือเมื่อผูรับเหมา


ปฏิบัติงานอยางไมมีคุณภาพและไมปฏิบัติตามคําสั่งใหแกไขของตัวแทนของผูวาจาง (กรณีที่ 5) หรือ
เมื่อผูรับเหมาไมปฏิบัติตามขอใดขอหนึ่งของสัญญา (กรณีที่ 6)
ทั้งนี้เหตุการณที่ใหสิทธิเลิกสัญญาแกผูวาจางที่พบเฉพาะในแบบสัญญาจางของ กวพ. ไดแก
การที่ผูรับเหมากอใหเกิดความเสียหายแกบุคคลหรือทรัพยสินของบุคคลภายนอก (กรณีที่ 8) ซึ่งก็พบ
แตเพียงในโครงการที่เปนงานจางซอม หรือสรางสาธารณูปโภคหรือสาธารณูปการที่มีผลกระทบตอ
การจราจรเทานั้น ในขณะที่เหตุการณที่ใหสิทธิเลิกสัญญาแกผูวาจางเมื่อผูรับเหมาจางผูรับเหมาชวง
โดยไมไดรับความยินยอมจากผูวาจาง (กรณีที่ 7) หรือเมื่อเกิดสงคราม (กรณีที่ 9) นั้นพบเฉพาะใน
สัญญาของ ว.ส.ท. เทานั้น
ในสวนของเหตุการณที่ใหสทิ ธิเลิกสัญญาแกผูวาจางเมื่อผูรับเหมาทิ้งงาน (กรณีที่ 2) และเมื่อ
ผูรับเหมาหยุดงานโดยไมมีเหตุอันควร (กรณีที่ 3) นั้น ถึงแมวาในแบบสัญญาจางของ กวพ. จะไมได
เขียนระบุไวอยางชัดเจน แตเหตุการณทั้งสองนี้สามารถถูกตีความใหเขาขายกรณีที่ 2 ของแบบ
สัญญาจางของ กวพ. ได และโดยเฉพาะเหตุการณในกรณีที่ผรู ับเหมาหยุดงานโดยไมมีเหตุอันควร
(กรณีที่ 3) นั้นนอกจากจะไมไดถูกเขียนระบุไวอยางชัดเจนในแบบสัญญาจางของ กวพ. แลวก็ยัง
ไมไดถูกเขียนระบุไวอยางชัดเจนในสัญญาของ ว.ส.ท. ดวย แตก็สามารถถูกตีความใหเขาขาย
เหตุการณในขอ 63.1(b) ของสัญญาของ ว.ส.ท. ไดเชนกัน
ในสวนของเหตุการณที่ใหสทิ ธิเลิกสัญญาแกผูวาจางเมื่อการทํางานของผูรับเหมาทําใหเกิด
หรือสงผลใหเกิด หรืออาจสงผลใหเกิดความลาชา (กรณีที่ 4) นั้นถึงแมวาสัญญาทัง้ สามจะมีขอสัญญา
ที่มีใจความในทํานองเดียวกันแตก็มีการกําหนดรายละเอียดที่แตกตางกันไปกลาวคือ ในแบบสัญญา
จางของ กวพ. ไดระบุไววาผูวาจางมีสิทธิเลิกสัญญาไดเมื่อผูรับเหมามิไดเสนอแผนงานหรือมิไดลงมือ
ทํางานภายในกําหนดเวลา (กรณีที่ 1 ของแบบสัญญาจางของ กวพ.) หรือเมื่อมีเหตุเชื่อไดวา
ผูรับเหมาไมสามารถทํางานใหแลวเสร็จภายในกําหนดเวลาหรือจะแลวเสร็จลาชาเกินกวากําหนดเวลา
(กรณีที่ 2 ของแบบสัญญาจางของ กวพ.) ในขณะทีส่ ัญญาของ A.S.A. ระบุไววาผูวาจางมีสทิ ธิเลิก
สัญญาไดเมื่องานลาชาโดยไมมีเหตุอันควร (ขอ 16.3.3) หรือเมื่อผูรับเหมาหยุดงานกอสรางติดตอกัน
เกินกวา 3 วัน หรือละทิง้ งานโดยไมมีเหตุผลอันสมควร (ขอ 16.3.4) หรือเมื่อผูวาจางเล็งเห็นวา
ผูรับเหมาไมสามารถทํางานเสร็จตามเวลาสมควร (ขอ 16.3.7) หรือเมื่อผูรับเหมาทํางานลาชากวา
แผนงานหลักที่ไดจัดสงใหกับผูวาจางเกินกวา 20% (รอยละยี่สบิ ) ของแผนงานหลักนั้น โดยไมมี
เหตุผลอันสมควร (ขอ 16.3.8) แตสําหรับสัญญาของ ว.ส.ท. ระบุไวแตเพียงวาผูวาจางมีสิทธิเลิก
สัญญาไดเมื่อผูรับเหมาไมเริ่มดําเนินการกอสรางตามเงื่อนเวลาทีไ่ ดรับแจงจากวิศวกร หรือเมื่อ
ผูรับเหมาไมดําเนินการใดๆภายใน 28 วันหลังจากวันที่ไดรับหนังสือแจงจากวิศวกรใหทําการเรงงาน
ในสวนที่วศิ วกรเห็นวาจะเกิดความลาชา ซึ่งหมายความวาภายใตเงื่อนไขสัญญาของ ว.ส.ท. หาก
วิศวกรเห็นวางานจะแลวเสร็จลาชา สัญญากําหนดใหวิศวกรตองแจงใหผูรับเหมาแกไขโดยการเรง
งานกอน และหากผูรับเหมาไมปฏิบัตติ ามคําสั่งเรงงานของวิศวกรผูวาจางจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญา
ตามที่ระบุในขอ 63.1(b) ได

[14-9]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

ตารางที่ 14.5 การเปรียบเทียบสิทธิเลิกสัญญาของผูวา จางที่พบในสัญญามาตรฐาน


สัญญา สัญญา สัญญา
กรณีที่ เหตุการณที่ทําใหเกิดสิทธิเลิกสัญญา ของ ของ ของ
กวพ. A.S.A. ว.ส.ท.
1 ผูรับจางมีฐานะทางการเงินที่ไมดี กรณี 4 16.3.1 63.1
2 ผูรับจางทิ้งงาน * 16.3.4 63.1(a)
3 ผูรับจางหยุดงานโดยไมมีเหตุอันควร * 16.3.4 *
4 การทํางานของผูรับจางทําใหเกิด หรือสงผลใหเกิด หรืออาจสงผลให 16.3.3,
กรณี 1,
เกิดความลาชา 16.3.7, 63.1(b)
กรณี 2
16.3.8
5 ผูรับจางปฏิบัติงานอยางไมมีคุณภาพและไมปฏิบัติตามคําสั่งให 16.3.2,
กรณี 5 63.1(c)
แกไขของตัวแทนของผูวาจาง 16.3.5
6 ผูรับจางไมปฏิบตั ิตามขอใดขอหนึ่งของสัญญา กรณี 3 16.3.6 63.1(d)
7 ผูรับจางจางผูรับจางชวงโดยไมไดรับความยินยอมจากผูวาจาง - - 63.1(e)
8 ผูรับจางกอใหเกิดความเสียหายแกบุคคลหรือทรัพยสินของ
# - -
บุคคลภายนอก
9 เกิดสงคราม - - 65.6
หมายเหตุ: * หมายถึง ไมมีการระบุไวอยางชัดเจนแตสามารถตีความจากขอสัญญาอื่นที่ใกลเคียงแทน
ได
# หมายถึง มีเฉพาะในสัญญาจางซอม หรือสรางสาธารณูปโภค หรือสาธารณูปการที่มี
ผลกระทบตอการจราจร
- หมายถึง ไมมีการระบุ

4.5 การเปรียบเทียบสิทธิเลิกสัญญาของผูรับเหมากอสราง
เมื่อพิจารณาเหตุการณที่ใหสิทธิแกผูรับเหมากอสรางในการบอกเลิกสัญญา (ดูตารางที่ 14.6)
จะพบวา ในแบบสัญญาจางของ กวพ. และสัญญาของ A.S.A. ไมมีขอสัญญาใดเลยที่ใหสิทธิแก
ผูรับเหมาในการบอกเลิกสัญญากับผูวาจาง ในขณะที่สัญญาของ ว.ส.ท. มีการกําหนดสิทธิเลิกสัญญา
ใหกั บ ทั้ งฝายผู วาจางและฝ ายผู รับ เหมาไวอยางชัดเจน อยางไรก็ต ามในเงื่อนไขสั ญญาสว นที่ 2
(เงื่อนไขเฉพาะสัญญา) ของสัญญาของ ว.ส.ท. ยังไดระบุเพิ่มเติมไววาสิทธิเลิกสัญญาของผูรับเหมา
ในขอ 69.1(c) และ 69.1(d) นั้นอาจสามารถลบออก (ไมนํามาใช) ไดในบางประเภทของโครงการ
กอสราง อาทิเชน การลบขอ 69.1(c) ออกเมื่อผูวาจางเปนหนวยงานของรัฐ เปนตน

[14-10]
บทที่ 14 สิทธิเลิกสัญญา.doc

ตารางที่ 14.6 การเปรียบเทียบสิทธิเลิกสัญญาของผูรบั เหมาที่พบในสัญญามาตรฐาน


สัญญา สัญญา สัญญา
กรณีที่ เหตุการณที่ทําใหเกิดสิทธิเลิกสัญญา ของ ของ ของ
กวพ. A.S.A. ว.ส.ท.
1 ผูวาจางมีฐานะทางการเงินที่ไมดี หรือไมจายคาจาง หรือจาย 69.1(a),
คาจางลาชา หรือกระทําการใดๆที่สงผลใหการจายเงินงวดลาชา - - 69.1(b),
69.1(c)
2 ผูวาจางหรือตัวแทนของผูวาจางสั่งใหหยุดงานชั่วคราวยาวนาน
เกินกวาระยะเวลาที่สัญญากําหนดและผูรับจางไดทําหนังสือ - - 40.3
ทักทวงแลว
3 ผูวาจางทําหนังสือแจงแกผูรับจางวาไมสามารถปฏิบัติตามขอ
- - 69.1(d)
ผูกพันตามสัญญาตอไปได

5. บทสงทาย
เนื้อหาของบทนี้ไดกลาวถึงสิทธิเลิกสัญญาที่เกิดจากขอกําหนดของสัญญา โดยยกตัวอยาง
ขอกําหนดในสัญญาประกอบพรอมกับคําอธิบายพอสังเขป และเพื่อใหเขาใจถึงธรรมเนียมปฏิบัติ
เกี่ยวกับสิทธิเลิกสัญญาที่เกิดจากขอกําหนดของสัญญาใหมากยิ่งขึ้น จึงไดนําเสนอสิทธิเลิกสัญญาที่มี
ระบุอยูในสัญญามาตรฐานตางๆ อันไดแก แบบสัญญาจางทายระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวย
การพัสดุ พ.ศ. 2535 สัญญารับจางเหมากอสรางแบบที่ 3 (ฉบับใหญ) ของสมาคมสถาปนิกสยาม และ
สัญญามาตรฐานงานจางเหมากอสรางของสมาคมวิศวกรรมสถานแหงประเทศไทย โดยได
เปรียบเทียบสิทธิเลิกสัญญาของสัญญามาตรฐานเหลานี้ในรูปแบบของตารางเพื่อใหงายตอการทํา
ความเขาใจ

เอกสารอางอิง
[1] นที สุริยานนท และ พิชญ สุธีรวรรธนา, “การเลิกสัญญา: สิทธิเลิกสัญญา”, โยธาสาร, ปที่ 12,
ฉบับที่ 2, เมษายน ถึง มิถุนายน, หนา 13-18, 2543
[2] นัยนา เกิดวิชัย, “ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย ประมวลกฎหมายอาญา”, สํานักพิมพนิติ
นัย, 2542
[3] “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ พ.ศ. 2535”, สวัสดิการสํานักงานปลัดสํานัก
นายกรัฐมนตรี, เมษายน, 2535
[4] “สัญญารับจางเหมากอสราง แบบที่ 3 (ฉบับใหญ)”, เอกสารรวบรวมสัญญาเกี่ยวกับงาน
กอสราง, สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ, พิมพครั้งที่ 1 พฤษภาคม 2534
[5] “สัญญามาตรฐานงานจางเหมากอสราง”, วิศวกรรมสถานแหงประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ, พิมพครั้งที่ 2, 2541

[14-11]
ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอกําหนดในสัญญาจางงานกอสราง

[6] หนังสือสั่งการที่ อส 0017/11351 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 เรื่อง ตรวจพิจารณาแกไข


สัญญาจางทายระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี, สํานักงานอัยการสูงสุด
[7] “Conditions of Contract for Works of Civil Engineering Construction”, (1987 and
reprinted in 1992 with further amendments), Federation Internationale Des Ingenirurs-
Conseils (FIDIC), 4th Edition, 1992.

บรรณานุกรม
[1] พิชญ สุธีรวรรธนา และ นที สุริยานนท, “สิทธิเลิกสัญญาที่เกิดจากขอตกลงในสัญญา”,
วิศวกรรมสาร, วิศวกรรมสถานแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ, ปที่ 54, ฉบับที่ 10,
ตุลาคม, หนา 94-98, 2544
[2] Jervis, B. M. and Levin, P., “Construction Law: principles and practices”, McGraw-Hill
Publishing Company, 1998.
[3] Uff, J., “Construction Law: law and practice relating to the construction industry”, 5th
Edition, London, Sweet & Maxwell, 1991.

[14-12]
ภาคผนวก ก

ตัวอยางงวดงานกอสราง
ตัวอยางที่ 1

สัญญากอสรางทอระบายน้ําชนิดทอเหลี่ยมพรอมคันหินและทางเทาถนน วงเงินทั้งหมด
ประมาณ 18,127,000 บาท ซึ่งไดรวมภาษีมูลคาเพิ่มจํานวน 1,185,878 บาท ตลอดจนภาษีอากร
อื่นๆและคาใชจายทั้งปวงดวยแลว มีงวดงานแบงเปน 4 งวด ดังนี้

“งวดที่ 1 เปนจํานวนเงิน 3,625,400 บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ขุดรื้อทอระบายน้ํา


ของเดิม กอสรางวางทอระบายน้ํา บอพักพรอมฝาปด คันหินรางตื้น และปรับดินหลังทอระบายน้ํา
ตามแบบแปลน ความยาวไมนอยกวา 270 เมตร แลวเสร็จ ใหแลวเสร็จภายในวันที่ 7 กันยายน
2543
งวดที่ 2 เงิน 4,531,750 บาท เมื่อขุดรื้อทอระบายน้ําของเดิม กอสรางวางทอระบายน้ํา บอ
พักพรอมฝาปด คันหินรางตื้น และปรับดินหลังทอระบายน้ําตามแบบแปลน ความยาวไมนอยกวา
330 เมตร แลวเสร็จ ใหแลวเสร็จภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2543
งวดที่ 3 เงิน 4,531,750 บาท เมื่อขุดรื้อทอระบายน้ําของเดิม กอสรางวางทอระบายน้ํา บอ
พักพรอมฝาปด คันหินรางตื้น และปรับดินหลังทอระบายน้ําตามแบบแปลน ความยาวไมนอยกวา
330 เมตร แลวเสร็จ ใหแลวเสร็จภายในวันที่ 5 มกราคม 2544
งวดสุดทาย เงิน 5,438,100 บาท เมื่อไดปฏิบัติงานทั้งหมดแลวเสร็จเรียบรอยตามสัญญา
รวมทั้งทําสถานที่กอสรางใหสะอาดเรียบรอย”

[ก-1]
ตัวอยางที่ 2

สัญญากอสรางอาคารเรียนและปฏิบัติการฯ พื้นที่ประมาณ 6,757 ตารางเมตร จํานวน 1 หลัง


จํานวนเงิน 53,900,000 บาท ซึ่งไดรวมภาษีมูลคาเพิ่มจํานวน 4,900,000 บาท แลว งวดงานแบงเปน
18 งวด ดังนี้

“งวดที่ 1 เปนจํานวนเงิน 4,312,000 บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ปรับพื้นที่ สรางบานพัก


คนงาน สํานักงานชั่วคราวของผูวาจางและของผูรับจาง ทําแผนปายโครงการกอสราง ปกผัง ทํารั้ว
ชั่ว คราวบริ เวณก อสร าง ขุดเจาะสํารวจชั้นดิน และหลอเสาเข็มแลว เสร็จ ภาษี มูล คา เพิ่มจํา นวน
392,000 บาท ใหแลวเสร็จภายในวันที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2541
งวดที่ 2 เงิน 2,695,000 บาท เมื่อเทคอนกรีตฐานราก เทคานพรอมพื้น คสล. ชั้นที่ 1 ภาษี
245,000 บาท ใหเสร็จภายในวันที่ 26 กุมภาพันธ พ.ศ. 2542
งวดที่ 3 เงิน 2,695,000 บาท เมื่อเทเสา คสล. ชั้นที่ 1 เทคานพรอมพื้น คสล. ชั้นที่ 2 เทเสา
คสล. ชั้นที่ 2 เทบันได คสล. ชั้นที่ 1-2 ภาษี 245,000 บาท ใหเสร็จภายในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.
2542
งวดที่ 4 เงิน 2,695,000 บาท เมื่อเทคานพรอมพื้น คสล. ชั้นที่ 3 และ 4 เทเสา คสล. ชั้นที่ 3
และ 4 เทบันได คศล. ชั้นที่ 2,3 และ 4 ภาษี 245,000 บาท ใหเสร็จภายในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.
2542
งวดที่ 5 เงิน 2,695,000 บาท เมื่อเทคานพรอมพื้น คสล. ชั้นที่ 5 และ 6 เทเสา คสล. ชั้นที่ 5
และ 6 เทบันได คศล. ชั้นที่ 4,5 และ 6 ภาษี 245,000 บาท ใหเสร็จภายในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.
2542
งวดที่ 6 เงิน 2,695,000 บาท เมื่อเทคานพรอมพื้น คสล. ชั้นที่ 7 และ 8 เทเสา คสล. ชั้นที่ 7
และ 8 เทบันได คศล. ชั้นที่ 6,7 และ 8 ภาษี 245,000 บาท ใหเสร็จภายในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.
2542
งวดที่ 7 เงิน 2,695,000 บาท เมื่อเทคานพรอมพื้น คสล. ชั้นที่ 9 และ 10 เทเสา คสล. ชั้นที่
9 และ 10 เทบันได คศล. ชั้นที่ 8,9 และ 10 ภาษี 245,000 บาท ใหเสร็จภายในวันที่ 26 กรกฎาคม
พ.ศ. 2542
งวดที่ 8 เงิน 2,695,000 บาท เมื่อเทคานพรอมพื้น คสล. ชั้นดาดฟา งานโครงสรางแลวเสร็จ
ทั้งหมด ทําระบบกันซึมชั้นดาดฟา กออิฐติดตั้งวงกบ ประตู หนาตาง (ไม) ชั้นที่ 2,3,4 และ 5 แลว
เสร็จ เดินระบบทอประปา-สุขาภิบาล ชั้นที่ 2,3,4 และ 5 แลวเสร็จ ภาษี 245,000 บาท ใหเสร็จ
ภายในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2542
งวดที่ 9 เงิน 2,695,000 บาท เมื่อกออิฐติดตั้งวงกบ ประตู หนาตาง (ไม) แลวเสร็จทั้งหมด
เดินระบบทอประปา-สุขาภิบาลภายในอาคารแลวเสร็จทั้งหมด (ยกเวนสวนชั้นดาดฟา) ภาษี 245,000
บาท ใหเสร็จภายในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2542

[ก-2]
งวดที่ 10 เงิน 2,695,000 บาท เมื่อฉาบปูนภายในอาคารชั้นที่ 2,3,4,5 และ 6 แลวเสร็จ
ติดตั้งวงกบประตูหนาตางเหล็ก ยกเวนประตูเหล็กมวน 2,3,4,5 และ 6 แลวเสร็จ ภาษี 245,000 บาท
ใหเสร็จภายในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2542
งวดที่ 11 เงิน 2,695,000 บาท เมื่อฉาบปูนภายในอาคารแลวเสร็จ (ยกเวนชั้นที่ 1) ติดตั้งวง
กบประตูหนาตางเหล็ก ยกเวนประตูเหล็กมวน ภาษี 245,000 บาท ใหเสร็จภายในวันที่ 23
พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
งวดที่ 12 เงิน 2,695,000 บาท เมื่อฉาบปูนภายนอกอาคารดานหนาและดานขางซาย เดิน
สายไฟฟาภายในอาคาร งานปูผิวพื้น และผนังหองน้ํา ชั้นที่ 2,3,4,5 และ 6 แลวเสร็จ ภาษี 245,000
บาท ใหเสร็จภายในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2542
งวดที่ 13 เงิน 2,695,000 บาท เมื่อฉาบปูนภายนอกอาคารแลวเสร็จทั้งหมด ยกเวนชั้นที่ 1
เดินสายไฟฟาภายในอาคาร งานปูผิวพื้น และผนังหองน้ํา แลวเสร็จทั้งหมด ภาษี 245,000 บาท ให
เสร็จภายในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2543
งวดที่ 14 เงิน 2,695,000 บาท เมื่อวางทอระบายน้ํารอบอาคาร ทําบอบําบัดน้ําเสีย-บอน้ําดี
ติดตั้งฝาเพดาน แลวเสร็จทั้งหมด ตลอดจนติดตั้งวงกบประตู-หนาตาง ชั้นที่ 6,7,8,9 และ 10 และ
ฉาบปูนภายนอกแลวเสร็จทั้งหมด ภาษี 245,000 บาท ใหเสร็จภายในวันที่ 21 กุมภาพันธ พ.ศ.
2543
งวดที่ 15 เงิน 2,695,000 บาท เมื่อติดตั้งบานประตู-หนาตางกระจก พรอมอุปกรณ ติดตั้ง
ระบบสุขาภิบาลและดับเพลิง แลวเสร็จทั้งหมด ภาษี 245,000 บาท ใหเสร็จภายในวันที่ 23 มีนาคม
พ.ศ. 2543
งวดที่ 16 เงิน 2,695,000 บาท เมื่อทาสีรองพื้นภายในอาคารแลวเสร็จ ปูวัสดุผิวพื้น และผนัง
แลวเสร็จทั้งหมด ตลอดจนติดตั้งเครื่องปรับอากาศแลวเสร็จ ภาษี 245,000 บาท ใหเสร็จภายในวันที่
22 เมษายน พ.ศ. 2543
งวดที่ 17 เงิน 2,695,000 บาท เมื่อทาสีรองพื้นภายนอกอาคารแลวเสร็จ ทาสีภายในอาคาร
ครั้งที่ 2 ติดตั้งลิฟตพรอมอุปกรณ ตลอกจนติดตั้งระบบปองกันและสัญญาณเตือนภัยแลวเสร็จ ภาษี
245,000 บาท ใหเสร็จภายในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
งวดที่ 18 เงิน 6,468,000 บาท เมื่อติดตั้งสุขภัณฑพรอมอุปกรณ ทาสี ทดสอบงานสุขาภิบาล
ทดสอบงานไฟฟา-ลิฟต เก็บทําความสะอาดรอบบริเวณใหแลวเสร็จเรียบรอย พรอมทั้งรื้อถอนสิ่งปลูก
สรางตางๆใหเรียบรอยแลวเสร็จภายใน 720 วัน นับถัดจากวันที่ลงนามในสัญญาเปนตนไป ภาษี
588,000 บาท ทั้งหมดใหแลวเสร็จเรียบรอยตามสัญญา รวมทั้งทําสถานที่กอสรางใหสะอาดเรียบรอย”

[ก-3]
ตัวอยางที่ 3

สัญญากอสรางอาคารสูงแหงหนึ่ง มีการจายเงินคาจางโดยแบงจายเปน 18 งวดงาน ดังนี้

“งวดที่ 1 เงินรอยละ 5.5 ของคาจางตามที่ตกลงทําสัญญาจาง จะจายใหเมื่อผูจางได


ดําเนินการตอกเสาเข็มทั้งหมดเสร็จแลว กําหนดเวลาแลวเสร็จ 30 วัน
งวดที่ 2 เงินรอยละ 5.5 ของคาจางตามที่ตกลงทําสัญญาวาจาง จะจายใหเมื่อผูรับจางได
ดําเนินการหลอคอนกรีตฐานราก เสาตอมอ งานพื้นผนังหองใตดิน งานระบบบําบัดน้ําเสีย และถัง
เก็บน้ําใตดิน งานคานรับพื้นชั้นที่ 1 พื้นชั้นที่ 1 งานเสาและปลองลิฟตรับพื้นชั้นที่ 2 แลวเสร็จ
กําหนดเวลาแลวเสร็จ 30 วัน
งวดที่ 3 เงินรอยละ 5.5 ของคาจางตามที่ตกลงทําสัญญาจาง จะจายใหเมื่อผูรับจางได
ดําเนินงานหลอคานรับพื้นชั้นที่ 2 พื้นชั้นที่ 2 งานเสาและปลองลิฟตรับพื้นชั้นที่ 3 งานบันไดชั้นที่ 1
ถึงระดับชั้นที่ 2 แลวเสร็จ กําหนดเวลาแลวเสร็จ 30 วัน
งวดที่ 4 เงินรอยละ 5.5 ของคาจางตามที่ตกลงทําสัญญาวาจาง จะจายใหเมื่อผูรับจางได
ดําเนินงานหลอคานรับพื้นชั้นที่ 3 พื้นชั้นที่ 3 งานเสาและปลองลิฟทรับพื้นชั้นที่ 4 งานบันไดชั้นที่ 2
ถึงระดับชั้นที่ 3 แลวเสร็จ กําหนดเวลาแลวเสร็จ 30 วัน
งวดที่ 5 เงินรอยละ 5.5 ของคาจางตามที่ตกลงทําสัญญาวาจาง จะจายใหเมื่อผูรับจางได
ดําเนินงานหลอคานรับพื้นชั้นที่ 4 พื้นชั้นที่ 4 งานเสาและปลองลิฟทรับคานหลังคา งานบันไดชั้นที่ 3
ถึงระดับชั้นที่ 4 งานหองเครื่องลิฟทและถังเก็บน้ํา งานคานหลังคาและรางน้ํา งานติดตั้งระบบทอ
สุขาภิบาลชั้นที่ 1 งานผนังชั้นที่ 1 แลวเสร็จ กําหนดเวลาแลวเสร็จ 30 วัน
งวดที่ 6 เงินรอยละ 5.5 ของคาจางตามที่ตกลงทําสัญญาวาจาง จะจายใหเมื่อผูรับจางได
ดําเนินงานติดตั้งระบบทอสุขาภิบาลชั้นที่ 2 งานติดตั้งระบบเดินสายไฟฟาชั้นที่ 1 งานผิวผนังชั้นที่ 1
งานผนังชั้นที่ 2 งานโครงหลังคา งานมุงหลังคา แลวเสร็จ กําหนดเวลาแลวเสร็จ 30 วัน
งวดที่ 7 เงินรอยละ 5.5 ของคาจางตามที่ตกลงทําสัญญาวาจาง จะจายใหเมื่อผูรับจางได
ดําเนินงานติดตั้งระบบทอสุขาภิบาลชั้นที่ 3 งานติดตั้งระบบเดินสายไฟฟาชั้นที่ 2 งานผิวผนังชั้นที่ 3
งานผิวพื้นชั้นที่ 1 แลวเสร็จ กําหนดเวลาแลวเสร็จ 30 วัน
งวดที่ 8 เงินรอยละ 5.5 ของคาจางตามที่ตกลงทําสัญญาวาจาง จะจายใหเมื่อผูรับจางได
ดําเนินงานติดตั้งระบบทอสุขาภิบาลชั้นที่ 4 และชั้นหลังคา ติดตั้งระบบเดินสายไฟฟาชั้นที่ 3 งานผิว
ผนังชั้นที่ 3 งานผนังชั้นที่ 4 งานผิวพื้นชั้นที่ 2 แลวเสร็จ กําหนดเวลาแลวเสร็จ 30 วัน
งวดที่ 9 เงินรอยละ 5.5 ของคาจางตามที่ตกลงทําสัญญาวาจาง จะจายใหเมื่อผูรับจางได
ดําเนินงานติดตั้งระบบเดินสายไฟฟาชั้นที่ 4 และชั้นหลังคา งานผิวผนังชั้นที่ 4 งานผิวพื้นชั้นที่ 3
แลวเสร็จ กําหนดเวลาแลวเสร็จ 30 วัน
งวดที่ 10 เงินรอยละ 5.5 ของคาจางตามที่ตกลงทําสัญญาวาจาง จะจายใหเมื่อผูรับจางได
ดําเนินงานติดตั้งระบบปรับอากาศชั้นที่ 1 งานติดตั้งโคมไฟและอุปกรณไฟฟาใตดินและชั้นที่ 1 งาน

[ก-4]
ฝาเพดานชั้นที่ 1 งานติดตั้งวงกบประตูหนาตางชั้นที่ 1 งานผิวชั้นที่ 4 แลวเสร็จ กําหนดเวลาแลว
เสร็จ 30 วัน
งวดที่ 11 เงินรอยละ 5.5 ของคาจางตามที่ตกลงทําสัญญาวาจาง จะจายใหเมื่อผูรับจางได
ดําเนินการติดตั้งระบบปรับอากาศชั้นที่ 2 งานติดตั้งโคมไฟและอุปกรณไฟฟาชั้นที่ 2 งานฝาเพดาน
ชั้นที่ 2 งานติดตั้งวงกบประตูหนาตางชั้นที่ 2 แลวเสร็จ กําหนดเวลาแลวเสร็จ 30 วัน
งวดที่ 12 เงินรอยละ 5.5 ของคาจางตามที่ตกลงทําสัญญาวาจาง จะจายใหเมื่อผูรับจางได
ดําเนินการติดตั้งระบบปรับอากาศชั้นที่ 3 งานติดตั้งโคมไฟและอุปกรณไฟฟาชั้นที่ 3 งานฝาเพดาน
ชั้นที่ 3 งานติดตั้งวงกบประตูหนาตางชั้นที่ 3 แลวเสร็จ กําหนดเวลาแลวเสร็จ 30 วัน
งวดที่ 13 เงินรอยละ 5.5 ของคาจางตามที่ตกลงทําสัญญาวาจาง จะจายใหเมื่อผูรับจางได
ดําเนินงานติดตั้งระบบปรับอากาศชั้นที่ 4 งานติดตั้งโคมไฟและอุปกรณไฟฟาชั้นที่ 4 งานฝาเพดาน
ชั้นที่ 4 งานติดตั้งวงกบประตูหนาตางชั้นที่ 4 แลวเสร็จ กําหนดเวลาแลวเสร็จ 30 วัน
งวดที่ 14 เงินรอยละ 5.5 ของคาจางตามที่ตกลงทําสัญญาวาจาง จะจายใหเมื่อผูรับจางได
ดําเนินงานติดตั้งสุขภัณฑและอุปกรณสุขาภิบาลทั้งหมด งานผนังกั้นระหวางหองน้ํา งานติดตั้งเครื่อง
สูบน้ํา งานระบบน้ําทิ้งรอบอาคาร งานทาสีทั้งหมด แลวเสร็จ กําหนดเวลาแลวเสร็จ 30 วัน
งวดที่ 15 เงินรอยละ 5.5 ของคาจางตามที่ตกลงทําสัญญาวาจาง จะจายใหเมื่อผูรับจางได
ดําเนินงานติดตั้งบานประตูหนาตางชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 งานหลังคาโปรงแสงมุขทางเขา แลวเสร็จ
กําหนดเวลาแลวเสร็จ 30 วัน
งวดที่ 16 เงินรอยละ 5.5 ของคาจางตามที่ตกลงทําสัญญาวาจาง จะจายใหเมื่อผูรับจางได
ดําเนินงานติดตั้งบานประตูหนาตางชั้นที่ 3และชั้นที่ 4 งานชองแสงหลังคา แลวเสร็จ กําหนดเวลา
แลวเสร็จ 30 วัน
งวดที่ 17 เงินรอยละ 5.5 ของคาจางตามที่ตกลงทําสัญญาวาจาง จะจายใหเมื่อผูรับจางได
ดําเนินงานติดตั้งระบบไฟฟารวมชั้นใตดิน งานติดตั้งระบบลิฟต แลวเสร็จ กําหนดเวลาแลวเสร็จ 30
วัน
งวดที่ 18 เงินรอยละ 6.5 ของคาจางตามที่ตกลงทําสัญญาวาจาง จะจายใหเมื่อผูรับจางได
ดําเนินการสงมอบแบบแสดงการติดตั้ง (ASBUILT DRAWING) งานทดสอบระบบตางๆ ทั้งหมด
งานปรั บ ปรุ ง บริ เ วณโดยรอบอาคาร งานทํ า ความสะอาดอาคาร พร อ มส ง มอบงานทั้ ง หมด
กําหนดเวลาแลวเสร็จ 30 วัน
นอกจากนี้ไดทําการกอสรางงานสวนอื่นๆ ที่เหลือทั้งหมดใหแลวเสร็จเรียบรอยถูกตอง
ครบถวนตามแบบและรายการกอสรางและสัญญาทุกประการ งานอื่นๆที่ไมไดระบุไวในงวดงานแต
ปรากฏในแบบและรายละเอียดประกอบแบบกอสราง ซึ่งจะตองทํากอนหรือทํารวมกันกับงานที่ระบุใน
ประมาณงานของแตละงวดงาน ใหถือวาอยูในปริมาณงานของงวดงานนั้นๆ ดวย”

[ก-5]
ตัวอยางที่ 4

สัญญากอสรางอาคารสํานักงานแหงหนึ่ง มีการจายเงินคาจางโดยแบงจายเปน 31 งวดงาน


ดังนี้

“ผูวาจางตกลงจายและผูรับจางตกลงรับเงินคาจางจํานวนเงิน 520,797,107.78- บาท (-หา


รอยยี่สิบลานเจ็ดแสนเกาหมื่นเจ็ดพันหนึ่งรอยเจ็ดบาทเจ็ดสิบแปดสตางค-) ซึ่งไดรวมภาษีมูลคาเพิ่ม
จํานวน 47,345,191.62- บาท (-สี่สิบเจ็ดลานสามแสนสี่หมื่นหาพันหนึ่งรอยเกาสิบเอ็ดบาทหกสิบสอง
สตางค-) ตลอดจนภาษีอากรอื่นๆ และคาใชจายทั้งปวงดวยแลว โดยถือราคาเหมารวมเปนเกณฑ
และกําหนดการจายเงินเปนงวดๆ ดังนี้
งวดที่ 1 เปนจํานวนเงิน 18,748,600.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการปลูกสราง
สํานักงานควบคุมการกอสรางถมดิน ปรับระดับบริเวณสถานที่กอสราง และรื้อถอนสิ่งกีดขวาง (ถามี)
ทดสอบดิน ปกผัง กอสรางเสาเข็ม 1.00 ม. ได 112 ตน ทําการทดสอบการรับน้ําหนักบรรทุกของ
เสาเข็ม ภายใน 120 วัน นับแตวันที่กําหนดตามหนังสือแจงจากมหาวิทยาลัยฯใหเริ่มปฏิบัติงาน
งวดที่ 2 เปนจํานวนเงิน 22,967,100.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงานทําการกอสรางเสาเข็ม
1.00 ม. สวนที่เหลือแลวเสร็จภายใน 80 วัน นับถัดจากงวดที่ 1
งวดที่ 3 เปนจํานวนเงิน 29,997,900.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการทดสอบ
SEISMIC TEST พรอมสงรายงานการทดสอบ (ยกเวนฐาน FIA) กอสรางฐานราก (ยกเวนฐาน FIA)
หลอเสาตอมอ หลอถังเก็บน้ําคสล. ชั้นใตดินชั้นที่ 2 หลอเสารับชั้นใตดินชั้นที่ 2 หลอคานและพื้น ชั้น
ใตดินชั้นที่ 2 หลอพื้นและผนังบอลิฟตถึงระดับพื้น ชั้นใตดินชั้นที่ 2 ภายใน 65 วัน นับถัดจากงวดที่ 2
งวดที่ 4 เปนจํานวนเงิน 13,644,800.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการหลอผนัง คสล.
ถึงระดับพื้นชั้นใตดินชั้นที่ 1 หลอคานและพื้นชั้นใตดินชั้นที่ 1 หลอเสารับพื้นชั้นที่ 1 หลอบันไดขึ้นชั้น
ใตดินชั้นที่ 1 หลอทางลาดขึ้นชั้นใตดินชั้นที่ 1 ภายใน 55 วัน นับถัดจากงวดที่ 3
งวดที่ 5 เปนจํานวนเงิน 10,103,400.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการหลอผนัง คสล.
ถึงระดับพื้นชั้นที่ 1 หลอคาน-พื้นชั้นที่ 1 (ยกเวนสวนที่เชื่อมตอกับอาคารขางเคียง) หลอบันไดขึ้นชั้น
ที่ 1 หลอทางลาดขึ้นชั้นที่ 1 หลอเสารับพื้นชั้นที่ 2 ฝง SLEEVE ของงานระบบตางๆที่จําเปนตองฝง
ในคอนกรีตชั้นลาง ภายใน 25 วัน นับถัดจากงวดที่ 4
งวดที่ 6 เปนจํานวนเงิน 9,113,900.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการหลอผนัง คสล.
ถึงระดับพื้นชั้นที่ 2 หลอคาน-พื้นชั้นที่ 2 (ยกเวนสวนที่เชื่อมตอกับอาคารขางเคียง) หลอบันไดขึ้นชั้น
ที่ 2 หลอเสารับชั้นที่ 3 ฝง SLEEVE ของงานระบบตางๆที่จําเปนตองฝงในคอนกรีตชั้นที่ 2 ภายใน
25 วัน นับถัดจากงวดที่ 5
งวดที่ 7 เปนจํานวนเงิน 8,905,600.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการหลอผนัง คสล.
ถึงระดับพื้นชั้นที่ 3 หลอคาน-พื้นชั้นที่ 3 (ยกเวนสวนที่เชื่อมตอกับอาคารขางเคียง) หลอบันไดขึ้นชั้น

[ก-6]
ที่ 3 หลอเสารับชั้นที่ 4 ฝง SLEEVE ของงานระบบตางๆที่จําเปนตองฝงในคอนกรีตชั้นที่ 3 ภายใน
25 วัน นับถัดจากงวดที่ 6
งวดที่ 8 เปนจํานวนเงิน 11,457,500.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการหลอผนัง คสล.
ถึงระดับพื้นชั้นที่ 4 หลอคาน-พื้นชั้นที่ 4 (ยกเวนสวนที่เชื่อมตอกับอาคารขางเคียง) หลอบันไดขึ้นชั้น
ที่ 4 หลอเสารับชั้นที่ 5 ฝง SLEEVE ของงานระบบตางๆที่จําเปนตองฝงในคอนกรีตชั้นที่ 4 เดินทอ
ระบบสุขาภิบาลชั้นที่ 1 ภายใน 25 วัน นับถัดจากงวดที่ 7
งวดที่ 9 เปนจํานวนเงิน 12,394,900.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการหลอผนัง คสล.
ถึงระดับพื้นชั้นที่ 5 หลอคาน-พื้นชั้นที่ 5 (ยกเวนสวนที่เชื่อมตอกับอาคารขางเคียง) หลอบันไดขึ้นชั้น
ที่ 5 หลอเสารับชั้นที่ 6 ฝง SLEEVE ของงานระบบตางๆที่จําเปนตองฝงในคอนกรีตชั้นที่ 5 กออิฐชั้น
ที่ 1 (ยกเวนงานเก็บ) เดินทอระบบสุขาภิบาลชั้นที่ 2 เดินทอรอยสายไฟฟาในผนังอิฐชั้นที่ 1 ภายใน
25 วัน นับถัดจากงวดที่ 8
งวดที่ 10 เปนจํานวนเงิน 14,790,600.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการหลอผนัง
คสล. ถึงระดับพื้นชั้นที่ 6 หลอคาน-พื้นชั้นที่ 6 (ยกเวนสวนที่เชื่อมตอกับอาคารขางเคียง) หลอบันได
ขึ้นชั้นที่ 6 หลอเสารับชั้นที่ 7 ฝง SLEEVE ของงานระบบตางๆที่จําเปนตองฝงในคอนกรีตชั้นที่ 6 กอ
อิฐชั้นที่ 2 (ยกเวนงานเก็บ) เดินทอระบบสุขาภิบาลชั้นที่ 3 เดินทอรอยสายไฟฟาในผนังอิฐชั้นที่ 2
ฉาบปูนภายในชั้นที่ 1 (ยกเวนงานเก็บ) ภายใน 25 วัน นับถัดจากงวดที่ 9
งวดที่ 11 เปนจํานวนเงิน 15,311,400.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการหลอผนัง
คสล. ถึงระดับพื้นชั้นที่ 7 หลอคาน-พื้นชั้นที่ 7 (ยกเวนสวนที่เชื่อมตอกับอาคารขางเคียง) หลอบันได
ขึ้นชั้นที่ 7 หลอเสารับชั้นที่ 8 ฝง SLEEVE ของงานระบบตางๆที่จําเปนตองฝงในคอนกรีตชั้นที่ 7 กอ
อิฐชั้นที่ 3 (ยกเวนงานเก็บ) เดินทอระบบสุขาภิบาลชั้นที่ 4 เดินทอรอยสายไฟฟาในผนังอิฐชั้นที่ 3
ฉาบปูนภายในชั้นที่ 2 (ยกเวนงานเก็บ) บุกระเบื้องพื้นและผนังชั้นที่ 1 พรอมเทปูนทรายรองรับวัสดุ
ตกแตงผิวพื้นชั้นที่ 1 ภายใน 30 วัน นับถัดจากงวดที่ 10
งวดที่ 12 เปนจํานวนเงิน 15,467,600.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการหลอผนัง
คสล. ถึงระดับพื้นชั้นที่ 8 หลอคาน-พื้นชั้นที่ 8 หลอบันไดขึ้นชั้นที่ 8 หลอเสารับชั้นที่ 9 ฝง SLEEVE
ของงานระบบตางๆที่จําเปนตองฝงในคอนกรีตชั้นที่ 8 กออิฐชั้นที่ 4 (ยกเวนงานเก็บ) เดินทอระบบ
สุขาภิบาลชั้นที่ 5 เดินทอรอยสายไฟฟาในผนังอิฐชั้นที่ 4 ฉาบปูนภายในชั้นที่ 3 (ยกเวนงานเก็บ) บุ
กระเบื้องพื้นและผนังชั้นที่ 2 พรอมเทปูนทรายรองรับวัสดุตกแตงผิวพื้นชั้นที่ 2 รอยสายไฟฟาภายใน
ชั้นที่ 1 เดินทอระบบปรับอากาศชั้นที่ 1 ภายใน 30 วัน นับถัดจากงวดที่ 11
งวดที่ 13 เปนจํานวนเงิน 17,759,100.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการหลอผนัง
คสล. ถึงระดับพื้นชั้นที่ 9 หลอคาน-พื้นชั้นที่ 9 หลอบันไดขึ้นชั้นที่ 9 หลอเสารับชั้นที่ 10 ฝง
SLEEVE ของงานระบบตางๆที่จําเปนตองฝงในคอนกรีตชั้นที่ 9 กออิฐชั้นที่ 5 (ยกเวนงานเก็บ) เดิน
ทอระบบสุขาภิบาลชั้นที่ 6 เดินทอรอยสายไฟฟาในผนังอิฐชั้นที่ 5 ฉาบปูนภายในชั้นที่ 4 (ยกเวนงาน
เก็บ) บุกระเบื้องพื้นและผนังชั้นที่ 3 พรอมเทปูนทรายรองรับวัสดุตกแตงผิวพื้นชั้นที่ 3 รอยสายไฟฟา
ภายในชั้นที่ 2 เดินทอระบบปรับอากาศชั้นที่ 2 เดินทอระบบ CENTRAL PIPE LINE ชั้นที่ 2 ภายใน
30 วัน นับถัดจากงวดที่ 12

[ก-7]
งวดที่ 14 เปนจํานวนเงิน 17,238,300.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการหลอผนัง
คสล. ถึงระดับพื้นชั้นที่ 10 หลอคาน-พื้นชั้นที่ 10 หลอบันไดขึ้นชั้นที่ 10 หลอเสารับชั้นที่ 11 ฝง
SLEEVE ของงานระบบตางๆที่จําเปนตองฝงในคอนกรีตชั้นที่ 10 กออิฐชั้นที่ 6 (ยกเวนงานเก็บ) เดิน
ทอระบบสุขาภิบาลชั้นที่ 7 เดินทอรอยสายไฟฟาในผนังอิฐชั้นที่ 6 ฉาบปูนภายในชั้นที่ 5 (ยกเวนงาน
เก็บ) บุกระเบื้องพื้นและผนังชั้นที่ 4 พรอมเทปูนทรายรองรับวัสดุตกแตงผิวพื้นชั้นที่ 4 รอยสายไฟฟา
ภายในชั้นที่ 3 เดินทอระบบปรับอากาศชั้นที่ 3 เดินทอระบบ CENTRAL PIPE LINE ชั้นที่ 3 ภายใน
30 วัน นับถัดจากงวดที่ 13
งวดที่ 15 เปนจํานวนเงิน 16,821,700.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการหลอผนัง
คสล. ถึงระดับพื้นชั้นที่ 11 หลอคาน-พื้นชั้นที่ 11 หลอบันไดขึ้นชั้นที่ 11 หลอเสารับชั้นที่ 12 ฝง
SLEEVE ของงานระบบตางๆที่จําเปนตองฝงในคอนกรีตชั้นที่ 11 กออิฐชั้นที่ 7 (ยกเวนงานเก็บ) เดิน
ทอระบบสุขาภิบาลชั้นที่ 8 เดินทอรอยสายไฟฟาในผนังอิฐชั้นที่ 7 ฉาบปูนภายในชั้นที่ 6 (ยกเวนงาน
เก็บ) บุกระเบื้องพื้นและผนังชั้นที่ 5 พรอมเทปูนทรายรองรับวัสดุตกแตงผิวพื้นชั้นที่ 5 ทําผิวพื้นหิน
ขัดชั้นที่ 4 รอยสายไฟฟาภายในชั้นที่ 4 เดินทอระบบปรับอากาศชั้นที่ 4 เดินทอระบบ CENTRAL
PIPE LINE ชั้นที่ 4 ภายใน 30 วัน นับถัดจากงวดที่ 14
งวดที่ 16 เปนจํานวนเงิน 16,405,100.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการหลอผนัง
คสล. ถึงระดับพื้นชั้นที่ 12 หลอคาน-พื้นชั้นที่ 12 หลอบันไดขึ้นชั้นที่ 12 หลอเสารับชั้นที่ 13 ฝง
SLEEVE ของงานระบบตางๆที่จําเปนตองฝงในคอนกรีตชั้นที่ 12 กออิฐชั้นที่ 8 (ยกเวนงานเก็บ) เดิน
ทอระบบสุขาภิบาลชั้นที่ 9 เดินทอรอยสายไฟฟาในผนังอิฐชั้นที่ 8 ฉาบปูนภายในชั้นที่ 7 (ยกเวนงาน
เก็บ) บุกระเบื้องพื้นและผนังชั้นที่ 6 พรอมเทปูนทรายรองรับวัสดุตกแตงผิวพื้นชั้นที่ 6 ทําผิวพื้นหิน
ขัดชั้นที่ 5 รอยสายไฟฟาภายในชั้นที่ 5 เดินทอระบบปรับอากาศชั้นที่ 5 เดินทอระบบ CENTRAL
PIPE LINE ชั้นที่ 5 ภายใน 30 วัน นับถัดจากงวดที่ 15
งวดที่ 17 เปนจํานวนเงิน 16,613,400.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการหลอผนัง
คสล. ถึงระดับพื้นชั้นที่ 13 หลอคาน-พื้นชั้นที่ 13 หลอบันไดขึ้นชั้นที่ 13 หลอเสารับชั้นที่ 14 ฝง
SLEEVE ของงานระบบตางๆที่จําเปนตองฝงในคอนกรีตชั้นที่ 13 กออิฐชั้นที่ 9 (ยกเวนงานเก็บ) เดิน
ทอระบบสุขาภิบาลชั้นที่ 10 เดินทอรอยสายไฟฟาในผนังอิฐชั้นที่ 9 ฉาบปูนภายในชั้นที่ 8 (ยกเวน
งานเก็บ) บุกระเบื้องพื้นและผนังชั้นที่ 7 พรอมเทปูนทรายรองรับวัสดุตกแตงผิวพื้นชั้นที่ 7 รอย
สายไฟฟาภายในชั้นที่ 6 เดินทอระบบปรับอากาศชั้นที่ 6 เดินทอระบบ CENTRAL PIPE LINE ชั้นที่
6 ภายใน 30 วัน นับถัดจากงวดที่ 16
งวดที่ 18 เปนจํานวนเงิน 16,405,100.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการหลอผนัง
คสล. ถึงระดับพื้นชั้นที่ 14 หลอคาน-พื้นชั้นที่ 14 หลอบันไดขึ้นชั้นที่ 14 หลอเสารับชั้นที่ 15 ฝง
SLEEVE ของงานระบบตางๆที่จําเปนตองฝงในคอนกรีตชั้นที่ 14 กออิฐชั้นที่ 10 (ยกเวนงานเก็บ)
เดินทอระบบสุขาภิบาลชั้นที่ 11 เดินทอรอยสายไฟฟาในผนังอิฐชั้นที่ 10 ฉาบปูนภายในชั้นที่ 9
(ยกเวนงานเก็บ) บุกระเบื้องพื้นและผนังชั้นที่ 8 พรอมเทปูนทรายรองรับวัสดุตกแตงผิวพื้นชั้นที่ 8
รอยสายไฟฟาภายในชั้นที่ 7 เดินทอระบบปรับอากาศชั้นที่ 7 เดินทอระบบ CENTRAL PIPE LINE
ชั้นที่ 7 ภายใน 30 วัน นับถัดจากงวดที่ 17

[ก-8]
งวดที่ 19 เปนจํานวนเงิน 16,300,900.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการหลอผนัง
คสล. ถึงระดับพื้นชั้นที่ 15 หลอคาน-พื้นชั้นที่ 15 หลอบันไดขึ้นชั้นที่ 15 หลอเสารับพื้นชั้นดาดฟา ฝง
SLEEVE ของงานระบบตางๆที่จําเปนตองฝงในคอนกรีตชั้นที่ 15 กออิฐชั้นที่ 11 (ยกเวนงานเก็บ)
เดินทอระบบสุขาภิบาลชั้นที่ 12 เดินทอรอยสายไฟฟาในผนังอิฐชั้นที่ 11 ฉาบปูนภายในชั้นที่ 10
(ยกเวนงานเก็บ) บุกระเบื้องพื้นและผนังชั้นที่ 9 พรอมเทปูนทรายรองรับวัสดุตกแตงผิวพื้นชั้นที่ 9
รอยสายไฟฟาภายในชั้นที่ 8 เดินทอระบบปรับอากาศชั้นที่ 8 เดินทอระบบ CENTRAL PIPE LINE
ชั้นที่ 8 ภายใน 30 วัน นับถัดจากงวดที่ 18
งวดที่ 20 เปนจํานวนเงิน 11,665,800.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการหลอผนัง
คสล. ถึงระดับพื้นชั้นดาดฟา หลอคาน-พื้นชั้นดาดฟา หลอบันไดขึ้นชั้นดาดฟา หลอเสารับพื้นชั้น
หลังคา–ลานจอดเฮลิคอปเตอร ฝง SLEEVE ของงานระบบตางๆที่จําเปนตองฝงในคอนกรีตชั้น
ดาดฟา กออิฐชั้นที่ 12 (ยกเวนงานเก็บ) เดินทอระบบสุขาภิบาลชั้นที่ 13 เดินทอรอยสายไฟฟาใน
ผนังอิฐชั้นที่ 12 ฉาบปูนภายในชั้นที่ 11 (ยกเวนงานเก็บ) บุกระเบื้องพื้นและผนังชั้นที่ 10 พรอมเท
ปูนทรายรองรับวัสดุตกแตงผิวพื้นชั้นที่ 10 รอยสายไฟฟาภายในชั้นที่ 9 เดินทอระบบปรับอากาศชั้น
ที่ 9 เดินทอระบบ CENTRAL PIPE LINE ชั้นที่ 9 ภายใน 30 วัน นับถัดจากงวดที่ 19
งวดที่ 21 เปนจํานวนเงิน 9,009,700.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการหลอผนัง คสล.
ถึงระดับพื้นชั้นหลังคา–ลานจอดเฮลิคอปเตอร หลอคาน-พื้นชั้นหลังคา–ลานจอดเฮลิคอปเตอร หลอ
บันไดขึ้นชั้นหลังคา–ลานจอดเฮลิคอปเตอร ฝง SLEEVE ของงานระบบตางๆที่จําเปนตองฝงใน
คอนกรีตชั้นหลังคา–ลานจอดเฮลิคอปเตอร กออิฐชั้นที่ 13 (ยกเวนงานเก็บ) เดินทอระบบสุขาภิบาล
ชั้นที่ 14 เดินทอรอยสายไฟฟาในผนังอิฐชั้นที่ 13 ฉาบปูนภายในชั้นที่ 12 (ยกเวนงานเก็บ) บุ
กระเบื้องพื้นและผนังชั้นที่ 11 พรอมเทปูนทรายรองรับวัสดุตกแตงผิวพื้นชั้นที่ 11 รอยสายไฟฟา
ภายในชั้นที่ 10 เดินทอระบบปรับอากาศชั้นที่ 10 เดินทอระบบ CENTRAL PIPE LINE ชั้นที่ 10
ภายใน 30 วัน นับถัดจากงวดที่ 20
งวดที่ 22 เปนจํานวนเงิน 12,863,600.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการกออิฐชั้นที่
14 (ยกเวนงานเก็บ) เดินทอระบบสุขาภิบาลชั้นที่ 15 เดินทอรอยสายไฟฟาในผนังอิฐชั้นที่ 14 ฉาบ
ปูนภายในชั้นที่ 13 (ยกเวนงานเก็บ) บุกระเบื้องพื้นและผนังชั้นที่ 12 พรอมเทปูนทรายรองรับวัสดุ
ตกแตงผิวพื้นชั้นที่ 12 รอยสายไฟฟาภายในชั้นที่ 11 เดินทอระบบปรับอากาศชั้นที่ 11 เดินทอระบบ
CENTRAL PIPE LINE ชั้นที่ 11 ฉาบปูนภายนอกชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 8 พรอมวัสดุตกแตงผนัง ภายใน
25 วัน นับถัดจากงวดที่ 21
งวดที่ 23 เปนจํานวนเงิน 10,520,100.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการกออิฐชั้นที่
15 (ยกเวนงานเก็บ) เดินทอระบบสุขาภิบาลชั้นดาดฟา-หลังคา เดินทอรอยสายไฟฟาในผนังอิฐชั้นที่
15 ฉาบปูนภายในชั้นที่ 14 (ยกเวนงานเก็บ) บุกระเบื้องพื้นและผนังชั้นที่ 13 พรอมเทปูนทรายรองรับ
วัสดุตกแตงผิวพื้นชั้นที่ 13 รอยสายไฟฟาภายในชั้นที่ 12 เดินทอระบบปรับอากาศชั้นที่ 12 เดินทอ
ระบบ CENTRAL PIPE LINE ชั้นที่ 12 ฉาบปูนภายนอกชั้นที่ 9 ถึงหลังคา พรอมวัสดุตกแตงผนัง
เดินทอเมนแนวตั้งของงานระบบสุขาภิบาล ภายใน 25 วัน นับถัดจากงวดที่ 22

[ก-9]
งวดที่ 24 เปนจํานวนเงิน 10,832,500.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการกออิฐชั้น
ดาดฟา-หลังคา (ยกเวนงานเก็บ) เดินทอรอยสายไฟฟาในผนังอิฐชั้นดาดฟา-หลังคา ฉาบปูนภายใน
ชั้นที่ 15 (ยกเวนงานเก็บ) บุกระเบื้องพื้นและผนังชั้นที่ 14 พรอมเทปูนทรายรองรับวัสดุตกแตงผิวพื้น
ชั้นที่ 14 รอยสายไฟฟาภายในชั้นที่ 13 เดินทอระบบปรับอากาศชั้นที่ 13 เดินทอระบบ CENTRAL
PIPE LINE ชั้นที่ 13 ติดตั้งวงกบ บานประตู หนาตาง กระจบพรอมอุปกรณชั้นที่ 2-4 ภายใน 25 วัน
นับถัดจากงวดที่ 23
งวดที่ 25 เปนจํานวนเงิน 11,770,000.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทํางานฉาบปูนในชั้น
ดาดฟา-หลังคา (ยกเวนงานเก็บ) บุกระเบื้องพื้นและผนังชั้นที่ 15 พรอมเทปูนทรายรองรับวัสดุ
ตกแตงผิวพื้นชั้นที่ 15 รอยสายไฟฟาภายในชั้นที่ 14 เดินทอระบบปรับอากาศชั้นที่ 14 เดินทอระบบ
CENTRAL PIPE LINE ชั้นที่ 14 ติดตั้งวงกบ บานประตู-หนาตาง กระจบพรอมอุปกรณชั้นที่ 5-7
ติดตั้งฝาเพดานภายในชั้นที่ 1-3 (ยกเวนสวนที่ติดขัดกับงานกอสรางอื่น) ภายใน 25 วัน นับถัดจาก
งวดที่ 24
งวดที่ 26 เปนจํานวนเงิน 23,279,600.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการติดตั้งวงกบ
บานประตู-หนาตาง กระจบพรอมอุปกรณชั้นที่ 8-10 ติดตั้งฝาเพดานภายในชั้นที่ 4-6 (ยกเวนสวนที่
ติดขัดกับงานกอสรางอื่น) ติดตั้งสุขภัณฑชั้นที่ 1-4 งานตกแตงบันได รอยสายไฟฟาภายในชั้นที่ 15
เดินทอระบบปรับอากาศชั้นที่ 15 ภายใน 25 วัน นับถัดจากงวดที่ 25
งวดที่ 27 เปนจํานวนเงิน 17,446,700.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการติดตั้งวงกบ
บานประตู - หนาตาง กระจบพรอมอุปกรณชั้นที่ 11-13 ติดตั้งฝาเพดานภายในชั้นที่ 7-9 (ยกเวนสวน
ที่ติดขัดกับงานกอสรางอื่น) ทาสีรองพื้น ติดตั้งสุขภัณฑชั้นที่ 5-8 ทําวัสดุตกแตงผิวพื้นชั้นที่ 2-5
ติดตั้งดวงโคม ปลั๊ก สวิทซชั้นที่ 2-5 ภายใน 25 วัน นับถัดจากงวดที่ 26
งวดที่ 28 เปนจํานวนเงิน 22,915,000.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงาน ทําการติดตั้งวงกบ
บานประตู - หนาตาง กระจบพรอมอุปกรณสวนที่เหลือ ติดตั้งฝาเพดานภายในชั้นที่ 10-12 (ยกเวน
สวนที่ติดขัดกับงานกอสรางอื่น) ติดตั้งสุขภัณฑชั้นที่ 9-12 ทําวัสดุตกแตงผิวพื้นชั้นที่ 6-9 ติดตั้ง
ครุภัณฑชั้นที่ 3-6 ติดตั้งดวงโคม ปลั๊ก สวิทซชั้นที่ 6-9 ภายใน 25 วัน นับถัดจากงวดที่ 27
งวดที่ 29 เปนจํานวนเงิน 19,790,200.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงานทําการติดตั้งฝา
เพดานภายในสวนที่เหลือ ทาสีรองพื้นสวนที่เหลือ ติดตั้งสุขภัณฑสวนที่เหลือ ทําวัสดุตกแตงผิวพื้น
ชั้นที่ 10-13 ติดตั้งครุภัณฑชั้นที่ 7-10 ติดตั้งดวงโคม ปลั๊ก สวิตซชั้นที่ 10-13 ภายใน 25 วัน นับถัด
จากงวดที่ 28
งวดที่ 30 เปนจํานวนเงิน 28,018,800.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบตั ิงานทําการทาสีทับหนา
50% ทําวัสดุตกแตงผิวพื้นสวนที่เหลือ ติดตั้งครุภัณฑชั้นที่ 11-14 ติดตั้งดวงโคม ปลั๊ก สวิตซสว นที่
เหลือ ติดตั้งงานระบบสุขาภิบาล ติดตั้งพัดลมระบายอากาศ ภายใน 30 วัน นับถัดจากงวดที่ 29
งวดที่ 31 เปนจํานวนเงิน 14,790,600.- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบตั ิงานทําการติดตั้งครุภัณฑ
สวนที่เหลือ ติดตั้งงานระบบไฟฟา ติดตัง้ เพดานภายนอก ติดตั้งงานระบบ CENTRAL PIPE LINE
ภายใน 30 วัน นับถัดจากงวดที่ 30

[ก-10]
งวดสุดทาย เปนจํานวนเงิน 27,447,607.78- บาท เมื่อผูรับจางไดปฏิบตั ิงานทําการทาสีทับ
หนาแลวเสร็จ ทําการทดสอบระบบตางๆทั้งหมดจนใชการไดดี มอบเอกสารตางๆเกี่ยวกับงานระบบ
อื่นๆที่เกี่ยวของ และไดทําการกอสรางตามรายการตางๆแลวเสร็จครบถวนถูกตองตามรูปแบบ
รายการและสัญญาทุกประการ และผูรับจางไดปฏิบัติงานทั้งหมดใหแลวเสร็จเรียบรอยตามสัญญา
รวมทั้งทําสถานที่กอสรางใหสะอาดเรียบรอย”

[ก-11]
ตัวอยางที่ 5

โครงการกอสรางเขื่อนปองกันตลิ่งริมแมน้ําแหงหนึ่ง ความยาว 800 เมตร มีรายละเอียดการ


จายเงินคาจางดังนี้

“การจายเงิน ผูวาจางจะแบงจายเงินทั้งหมดใหไมเกิน 8 งวดเฉลี่ยแบงจายใหโดยถือผลงาน


แตละคางานตามบัญชีแสดงลักษณะงานและคางาน ซึ่งแตละงวดจะมีคางานไมนอยกวา 1,000,000
บาท โดยคิดคางานแตละรายการของงานและผลงานที่เสร็จตามบัญชีขางลางนี้

บัญชีแสดงลักษณะงานและคางาน
ปริมาณ ราคา/หนวย ราคารวม
ที่ รายการ หนวย
งาน (บาท) (บาท)
1 ขุดดิน เหมารวม - - 52,611
2 ทิ้งหินใหญตีนเขื่อน – หัวทายเขื่อน ลบ.ม. 8,368 260 2,175,680
3 ถมทรายบดอัดแนนหนาเขื่อน ลบ.ม. 18,560 99 1,837,440
4 ถมทรายบดอัดแนนสันเขื่อน ลบ.ม. 3,201 125 400,125
5 วัสดุกรอง เหมารวม - - 780,630
6
เรียงหินใหญหนาเขื่อน ลบ.ม. 4,688 280 1,312,640
7
เรียงหินใหญสันเขื่อน ลบ.ม. 435 280 121,800
8 คันหิน ค.ส.ล. หนาเขื่อน เหมารวม - - 220,000
9
คันหิน ค.ส.ล. หลังเขื่อน เหมารวม - - 305,660
10 บอพัก ค.ส.ล. พรอมทอระบายน้ํา เหมารวม - - 135,480
11
ทางเทา ค.ส.ล. กวาง 3.00 เมตร เหมารวม - - 678,000
12 บันได ค.ส.ล. แหง 2 49564 99,128
13
ถมดินเหนียว เหมารวม - - 49,645
14
ปลูกหญา เหมารวม - - 24,450
15 อื่นๆ - - -
รวม 8,193,289

คูสัญญาตกลงกันวา การจายเงินเปนรายเดือนหรือตามงวดตามสัญญานี้เปนการจายเงินเพื่อ
ประโยชนใหแกผูรับจางดําเนินงานไดคลองตัวเทานั้น ไมถือวาเปนการรับมอบงานที่ทําใหผูรับจาง
หมดความรับผิดชอบตามเงื่อนไขที่กําหนดไวในสัญญา เมื่อผูวาจางหรือเจาหนาที่ของผูวาจางตรวจ
รับงานที่สงมอบถูกตองครบถวนตามสัญญาแตละงวดแลว ผูวาจางหรือเจาหนาที่ของผูวาจางจะออก
ใบตรวจรับงานจางใหผูรับ จางไวเปนหลักฐาน คูสัญญาตกลงกันวาการรับมอบงานที่ถูกตองและ
สมบูรณก็ตอเมื่อผูรับจางไดปฏิบัติงานแลวเสร็จเรียบรอยบริบูรณทั้งหมดตามสัญญาจาง โดยผูวาจาง
จะออกหลักฐานการรับมอบงานใหผูรับจางไวเปนสําคัญ”

[ก-12]
ตัวอยางที่ 6

สัญญาโครงการกอสรางทางและสะพานลอยคนเดินขามแหงหนึ่ง มีรายละเอียดการจายเงิน
คาจางดังนี้

“…การจายเงินคางาน งานกอสรางสะพานลอยคนเดินขาม คสล. จะจายคางานเปนราคา


เหมารวม (Lump Sum) โดยจายเปนงวดๆ จํานวน 3 งวด สวนงานทาง จะจายเปนราคาตอหนวย
(Unit Cost) ตามผลงานที่ทําไดดังนี้
คางานตามสัญญา เปนเงิน 1,950,000 บาท
- คางานกอสรางสะพานลอย เปนเงิน 1,750,215 บาท
งวดที่ 1 (จาย 45%) เปนเงิน 787,597 บาท เมื่อทําการกอสรางตอมอเสร็
จทุกตน แลวเสร็จ
งวดที่ 2 (จาย 40%) เปนเงิน 700,086 บาท เมื่อทําการกอสรางคานพรอม
พื้นสะพานและราวสะพาน แลวเสร็จ
งวดที่ 3 (จาย 15%) เปนเงิน 262,532 บาท เมื่อทําการกอสรางราวบันได
รายละเอี ยดตางๆ พรอมตกแตงทั้งหมด เสร็จเรีย บรอ ยครบถว น
ตามแบบและสัญญาทุกประการ
- คางานทาง เปนเงิน 199,785 บาท ตามบัญชีแสดงรายการและราคางานแนบทาย
สัญญา…”

บัญชีแสดงรายการและราคางาน
ปริมาณ ราคา รวมเปนเงิน
ที่ รายการ
งาน ตอหนวย (บาท)
1 งาน Sand Embankment 85 ม3 140 11,900
2 งานทอ Box Culvert ขนาด 1.20 x 1.20 ม. สําเร็จ 30 ม. 2,800 84,000
3 งานบอพัก คสล. ขนาด 1.20 x 1.80 ม. (3.20 ม.) 4 แหง 6,500 26,000
4 งานทางเทา Concrete Slab หนา 0.07 ม. 220 ม3 70 15,400
5 งาน Concrete Barrier 2 แหง 10,000 20,000
6 งาน Concrete Curb & Gutter 40 ม. 200 8,000
7 งาน Asphalt Concrete หนาเฉลี่ย 0.04 ม. 30 ตัน 500 15,000
8 งาน Tack Coat 295 ม3 3 885
9 งานหินคลุก (บดอัดแนน) หนา 0.20 ม. 6 ม3 250 1,500
10 งานกําแพงกออิฐเต็มแผนหลังทางเทา(เหมารวม) - - 17,100

[ก-13]
ตัวอยางที่ 7

สัญญาจางผลิตหรือจัดหาหมอนคอนกรีตอัดแรงของโครงการกอสรางแหงหนึ่ง มีรายละเอียด
การจายเงินคาจางดังนี้

“จางผลิตหรือจัดหาหมอนคอนกรีตอัดแรงพรอมเครื่องเหนี่ยวรางแบบสปริงครบชุดแบบแพน
ดรอล จํานวน 85,000 ทอน และดําเนินการเปลี่ยนหมอนคอนกรีตแทนหมอนไม ตั้งแต กม. 525/375
ถึง กม. 575/375 ดังรายละเอียดในบัญชีแสดงรายการและราคางานขางลางนี้…”

บัญชีแสดงรายการและราคางาน
ที่ รายการแบงสวนของงาน จายเงิน
1 จายเงินลวงหนา 10 % 14,739,999
2 เมื่อผูรับจางทํางานแลวเสร็จเรียบรอยไดผลงาน 22 % 29,185,198
3 เมื่อผูรับจางทํางานแลวเสร็จเรียบรอยไดผลงาน 44 % 29,185,198
4 เมื่อผูรับจางทํางานแลวเสร็จเรียบรอยไดผลงาน 66 % 29,185,198
5 เมื่อผูรับจางทํางานแลวเสร็จเรียบรอยไดผลงาน 88 % 29,185,198
6 เมื่อผูรับจางทํางานแลวเสร็จเรียบรอยไดผลงาน 100 % 15,919,199

หมายเหตุ
1) เงินลวงหนา = 13,775,700 บาท
คาภาษีเงินลวงหนา = 964,299 บาท
2) คางานงวดที่ 1 – 5 = 123,981,300 บาท
คาภาษีงวดที่ 1 – 5 = 8,678,691 บาท
รวมเปนเงิน 147,399,990 บาท

[ก-14]
 
ประวัติผูเขียน

ชื่อ : ดร. พิชญ สุธีรวรรธนา


การศึกษา : Ph.D. in International Studies (Japanese Government Scholarship), The
University of Tokyo, Japan
: Master of Engineer in Construction Engineering and Management,
Asian Institute of Technology, Thailand.
: วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา (เกียรตินยิ มอันดับหนึ่ง),
มหาวิทยาลัยเชียงใหม
ตําแหนง : อาจารยประจําภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี

ชื่อ : ดร. นที สุริยานนท


การศึกษา : Ph.D. in Civil Engineering, Chulalongkorn University, Thailand
: Master of Engineer in Construction Engineering and Management,
University of Michigan, Ann Arbor, U.S.A.
: วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา (เกียรตินยิ มอันดับสอง),
มหาวิทยาลัยเชียงใหม
ตําแหนง : อาจารยประจําโครงการวิศวกรรมการกอสรางและเทคโนโลยี
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

7-1

You might also like