Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 2

Self reflection ครั้งที่ 3

ชื่อ ปุญญิศา อัศวรุ่งเรือง รหัสนักศึกษา 5804055

วันที่ปฏิบัติงาน 5 กุมภาพันธ์ 2563 ครั้งที่ลงปฏิบัติงาน ครั้งที่15

สถานที่ปฏิบัติงาน รร.พระตำหนักสวนกุหลาบ

บทบาทในโครงการ

ในการออกโรงเรียนครั้งนี้ ฉันได้ทำหน้าที่ผู้ช่วยทันตแพทย์เพื่อประเมินผลหลังการรักษาทันต

กรรมโรงเรียน ซึ่งพวกเราเคยได้ประเมินมาก่อนหน้านี้แล้ว 1 ครั้ง ทำให้ฉันไม่รู้สึกตื่นเต้นนัก แต่กลับ

รู้สึกลุ้นกับผลการประเมินว่าจะดีเหมือนที่เราได้ตั้งเป้าหมายไว้ในตอนแรกของการทำโครงการหรือไม่

ในการประเมินจะมีการประเมินค่า DI-S CI-S และ OHI-S และดูว่าเด็กแต่ละคนมี gingivitis หรือ

calculus หรือไม่ เปรียบเทียบกับการตรวจครั้งแรก เพื่อดูการพัฒนาการในการดูแลสุขภาพช่องปาก

ของเด็กแต่ละคน รวมถึงประเมินคุณภาพของ sealant และ PRR ที่ได้ให้การรักษากับฟันแท้ในปีการ

ศึกษานี้เท่านั้น โดยแบ่งผลการประเมินเป็น complete, partial lost, completely lost ตามการยึดอยู่

ของวัสดุในปากในวันที่ประเมิน ฉันจะทำหน้าที่จดข้อมูลเหล่านี้ลงไปในแฟ้มประวัติของนักเรียนแต่ละ

คน รวมถึงดูข้อมูลเกี่ยวกับการให้ fluoride เพื่อพิจารณาการให้ fluoride ในเด็กที่ยังไม่เคยได้รับ หรือ

ได้รับแค่ครั้งแรกที่ตรวจ ซึ่งในการปฏิบัติงานครั้งสุดท้ายนี้ถือว่าประสบความสำเร็จตามเป้าหมายตาม

ที่ทางกลุ่มได้วางไว้ คือได้ตรวจประเมินผลการรักษาของนักเรียนชั้น ป.2/1 จำนวน 15 คน และ ป.2/2

จำนวน 20 คน ทำให้ฉันค่อนข้างพึงพอใจกับการปฏิบัติงานครั้งนี้และทำให้เห็นว่าเพื่อนๆทุกคนได้

ตั้งใจปฏิบัติงานและเตรียมความพร้อมมาก่อนที่จะลงปฏิบัติงานจริง

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำโครงการ

โครงการนี้พวกเราได้เลือกทฤษฎีPRECEDE-PROCEED model มาใช้ในการวางแผนและ

ประเมินโครงการ ในการปฏิบัติงานครั้งนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของโครงการ คือการประเมินโครงการ

ว่าได้ดำเนินไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ มีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร ซึ่งจากการที่ฉันได้เป็นผู้ช่วย

ทำให้เห็นข้อมูลก่อนและหลังอย่างชัดเจน พบว่าเด็กส่วนมากยังมีค่า OHI-S ที่สูงอยู่ แม้ในเด็ก8ครึ่ง

หนึ่งของการประเมินจะมีค่าที่น้อยกว่าครั้งแรกที่ตรวจ แต่ค่าที่น้อยลงเหล่านั้นก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่มาก
เมื่อพูดคุยกับเด็ก จึงพบว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้ค่าเหล่านี้ไม่ลดลง เช่น สิ่งแวดล้อมทั้งในโรงเรียน

และที่บ้าน พฤติกรรมของตัวเด็กเอง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สอดคล้องกับข้อมูลในขั้น PROCEDE

โครงการยังมีข้อจำกัดทั้งเรื่องเวลาที่มีไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับกลุ่มเป้าหมายที่มีถึง 6 ห้องเรียน

รวมจำนวนเด็กกว่า 200 คน สถานที่ที่ตั้งอยู่ห่างจากคณะทันตแพทย์ของเรา ทำให้ใช้เวลาเดินทาง

นานกว่าโรงเรียนอื่นๆ รวมถึงการที่โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมและมีการสอบทั้งกลางภาคและปลาย

ภาคในวันที่เราจะไปลง ทำให้เราไม่สามารถเข้าไปทำโครงการได้ สุดท้ายแล้วการประเมินโครงการจึง

ทำได้แค่ในเด็กนักเรียนชั้นป.2 ซึ่งจะไม่ได้รับการรักษาในปีต่อไป เนื่องจากจำนวนนักเรียนที่เยอะกว่า

โรงเรียนอื่นๆ ทำให้ในทุกๆปีจะได้ทำโครงการในเด็กชั้นป.1และป.2เท่านั้น ฉันคิดว่าการทำโครงการ

ในครั้งต่อๆไป การปรึกษาเรื่องตารางตั้งแต่เนิ่นๆจะเป็นประโยชน์ต่อโครงการ เพื่อให้ทางคณะหรือ

ทางโรงเรียนสามารถปรับตารางได้ทันและจะสามารถไปทำโครงการได้อย่างเต็มเวลา รวมถึงในการ

ทำโครงการอื่นๆในอนาคต ถ้าเราสามารถวางแผนในระยะยาวและจัดการเวลาได้ดี โครงการก็จะมี

ประสิทธิภาพและมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งของการทำโครงการในครั้งนี้คือการระบาดของไวรัสโคโรน่า ซึ่งทำให้เรา

ต้องใช้เวลาบางส่วนซักประวัติเด็กในโครงการอย่างละเอียดกว่าครั้งอื่นๆ ว่าเด็กมีอาการป่วยหรือไม่

มีผู้ปกครองหรือคคลใกล้ชิดกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือไม่ ซึ่งถ้าหากมีเด็กมีอาการป่วย จะไม่ได้รับการ

ประเมินในวันนั้น เพื่อป้องการอันตรายที่จะสามารถเกิดได้ทั้งกับตัวเด็กเอง และตัวหมออีกด้วย ส่วนใน

เคสที่เด็กไม่ได้มีอาการป่วย จะใช้ universal precaution ในการทำการตรวจเพราะไม่สามารถแน่ใจ

ได้เลยว่าจะมีเด็กคนไหนได้รับเชื้อมาแต่ยังไม่แสดงอาการหรือไม่ ทำให้ทั้งหมอและผู้ช่วยทุกคนต้องมี

สติและมีความระมัดระวังมากเป็นพิเศษในการทำโครงการครั้งนี้

You might also like