Prefix 15082557 113331 p19D4A

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 8

ชุดข้อมูลเผยแพร่

ความไม่เท่าเทียมทางการศึกษา
ภัยบั่นทอนปัญญาของชาติ

แม้ว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จ
ในการขยายโอกาสทางการศึกษา
แต่ยังต้องเผชิญหน้ากับปัญหาสำคัญ
นั่นคือ เรื่องของคุณภาพ
ว่าเกิดขึ้นอย่างทั่วถึงและได้มาตรฐาน
เทียบเท่ากันในทุกๆ ที่หรือไม่
เหมือนคลี่คลาย...กลายเป็นหนักข้อ

การกระจายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชนไทยอย่างทั่วถึง เป็นหนึ่งในเป้าหมายของการ
ปฏิรูปการศึกษา นับตั้งแต่ความเคลื่อนไหวระลอกแรกซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2539 และพบว่าประสบผลสำเร็จ
โดยค่าเฉลี่ยจำนวนปีที่ได้รับการศึกษาของคนไทยสูงขึ้นเป็นลำดับ

ช่วงเวลากว่าหนึ่งทศวรรษที่ประชากรไทย อายุ 15-59 ปี มีสัดส่วนจำนวนปีที่ได้รับการศึกษาที่
ขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2541 มีจำนวนเฉลี่ย 7.0 ปี เพิ่มขึ้นเป็น 8.7 ปี ในปี 2549 หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น
โดยเฉลี่ยประมาณปีละ 0.15 ปี*

เป้าหมายของแผนฯ 10 = 10 ปี

ภาพแสดงจำนวนปี 10 10 10 10 10 10 10 10 10
การศึกษาเฉลี่ย
จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ย (ปี)

ของประชากรไทย 8.6 8.7


8.1 8.3 8.4
พ.ศ. 2541-2549
7.0 7.1 7.2 7.1

ปี พ.ศ.
0
2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549

ค่าเฉลี่ยประเทศไทย

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ข้อมูล พ.ศ. 2541-2544)


สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ข้อมูล พ.ศ. 2545-2549)

ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นสัญญาณที่ดีในการ
พัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะการกระจายโอกาสใน
การเรียนให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง แม้ยัง
ไม่ ไ ด้ ต ามเป้ า ของชาติ ที่ ก ำหนดไว้ ใ นแผนพั ฒ นา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ก็ตาม

อย่างไรก็ตาม เมื่อเจาะลึกไปดูรายละเอียดด้าน
ฐานะครอบครัวของเด็กที่เข้าเรียนต่อในระดับต่างๆ พบ
ว่า ยังมีปัญหาที่น่าสนใจอยู่เบื้องหลังภาพความก้าวหน้า
2 ดังกล่าว โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลการเข้าเรียนต่อใน
ระดับต่างๆ ของเยาวชนไทย อายุระหว่าง 16-24 ปี โดย
แบ่งกลุ่มตามฐานะความราย-จนของผู้ปกครอง ซึ่งสรุป
ให้เห็นภาพรวมผ่านภาพทั้งสองนี้ จะเห็นว่า
• อัตราการเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของเยาวชน อายุ 16-19 ปี ในกลุ่มที่มี
ฐานะยากจนที่สุด แม้มีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าเดิมมาก จาก ร้อยละ 6.7 ในปี 2529 มาเป็น ร้อยละ 53.7
ในปี 2552 นอกจากนี้ ช่องว่างของโอกาสทางการศึกษาระดับมัธยมปลายระหว่างเด็กที่มาจาก

กลุ่มครอบครัวที่รวยที่สุดกับกลุ่มจนที่สุดหดแคบลงไปมาก
แต่เมือ่ ดูภาพรวมของเด็กไทยทัง้ หมดทีเ่ ข้าเรียนในระดับนี้ จะเห็นว่าโอกาสทางการศึกษา
ก็ยังมีความลดหลั่นกันไปตามระดับฐานะเช่นเดียวกับในอดีต ทั้งที่อยู่ในส่วนของการศึกษา
ภาคบังคับ**
ภาพแสดงสั ด ส่ ว นการเข้ า เรี ย นต่ อ ในระดั บ มั ธ ยมปลายของเยาวชนไทย แบ่ ง ตามกลุ่ ม รายได้ ข อง
ครอบครัว
ร้อยละ
90
80
70
60
50
40
30 ดัดแปลงจาก
20 ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์,
10 พ.ศ. 2555**
0
2529 2531 2533 2535 2537 2539 2541 2543 2545 2547 2549 2551
รวยที่สุด รวย จนรองลงมา จนที่สุด

• อัตราการเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษา ของเยาวชนอายุ 19-24 ปี แสดงให้เห็นปัญหา


“ความเหลื่อมล้ำ” ชนิดก้าวกระโดด และเป็นสถานการณ์ที่กลับตาลปัตรจากที่พบในช่วงชั้น
มัธยมปลาย โดย ช่องว่างระหว่างกลุ่มเด็กจากครอบครัวร่ำรวยที่สุดกับกลุ่มยากจน
ที่สุดที่มีโอกาสได้เรียนต่อถึงขั้นอุดมศึกษาถ่างกว้างขึ้นกว่าเมื่อปี 2529 ที่ทิ้งห่างกัน
ร้อยละ 18.5 กลายเป็น 42.5 ในปี 2552**

ภาพแสดงสัดส่วนการเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของเยาวชนไทย
แบ่งตามกลุ่มรายได้ของครอบครัว
ร้อยละ

60
50
40
30
20
10
ดัดแปลงจาก
0 ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์,
2529 2531 2533 2535 2537 2539 2541 2543 2545 2547 2549 2551 พ.ศ. 2555**
รวยที่สุด รวย จนรองลงมา จนที่สุด 3
เข้าถึง...แต่คุณภาพไม่เท่าเทียม
เมื่อหันมาดูในแง่ของคุณภาพการศึกษา โดยใช้ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนครั้งล่าสุด จากการ
ทดสอบมาตรฐานทั ้ ง ในเวที ไ ทยและสากลมาประกอบกั น อั น ได้ แ ก่ PISA (Programme for
International Student Assessment) TIMSS (Trends in International Mathematics and
Science Study) และ การทดสอบแห่งชาติ หรือ โอเน็ต (O-NET) ตอกย้ำให้เห็นประจักษ์ถึงปัญหา
คุณภาพทางการศึกษาที่ซ่อนเร้นอยู่ ในโอกาสที่ดูเปิดกว้างยิ่งกว่ายุคใดๆ ที่ผ่านมา

• ภาพแรก นำผลสอบมาตรฐานสากล 2 สนาม ได้แก่ PISA และ TIMSS ของเด็กในแต่ละภูมิภาคมา
เปรียบเทียบกัน พบว่า “เด็ก กทม.” ทำคะแนนนำ “เด็ก ตจว.” ลิ่วในทุกสนามสอบและ

ทุกวิชา**
คะแนนสอบมาตรฐาน TIMSS และ O-NET ระหว่างภูมิภาคต่างๆ
TIMSSS 2007 O-NET 2552
กทม. กทม.

ภาคกลาง
ภาคกลาง
ภาคเหนือ
ภาคเหนือ ภาคอีสาน

ภาคใต้
ภาคอีสาน
ภาคตะวันออก
ภาคใต้
ภาคตะวันตก
420 470
20 25 30 35

คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

ดัดแปลงจาก ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์, พ.ศ. 2555**

4
• ภาพที่สอง เปรียบเทียบให้เห็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในแต่ละสังกัด ได้แก่ โรงเรียนในสังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สช. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงเรียนสาธิต ที่เผย
ให้เห็นผ่านผลคะแนนการทำข้อสอบมาตรฐานเวทีต่างๆ ว่ามีระดับแตกต่างกันชัดเจน โดย “เด็กสาธิต” ซึ่งโดย
ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวในเขตเมืองทีม่ ฐี านะดีกว่าสถานศึกษาในสังกัดอืน่ ๆ ทำคะแนนสอบมาตรฐาน
ได้สูงกว่าเด็กทั่วไปในทุกวิชาและทุกสนามสอบ**
คะแนนสอบมาตรฐาน TIMSS และ O-NET ระหว่างโรงเรียนสังกัดต่างๆ
TIMSSS 2007 PISA 2009 O-NET 2553
สพฐ.1 สพฐ.
สพฐ.

สพฐ.2 สช.
สช.
สช. กทม.
อปท.
กทม. อปท.

สาธิต สาธิต สาธิต


400 500 600 350 425 500 10 25 40

การอ่าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

ดัดแปลงจาก ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์, พ.ศ. 2555**

• ภาพที่สาม เมื่อเจาะลึกเฉพาะผลคะแนนเฉลี่ยการสอบ PISA ของเด็กไทยครั้งล่าสุดในปี 2552 จะเห็นความ


สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งผลคะแนนกั บ ภู ม ิ ห ลั ง ทางสั ง คมของเด็ ก อย่ า งชั ด เจนว่ า เด็ ก ที่ ม าจากครอบครั ว ฐานะ

ปานกลางจนถึงร่ำรวยเท่านั้นที่ทำคะแนนสอบได้สูง**

ภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนเฉลี่ยการสอบ PISA พ.ศ. 2552


ของเด็กไทยวัย 15 ปี กับภูมิหลังทางสังคม
500
School Average PISA Test Ccpre

400
ดัดแปลงจาก ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์, พ.ศ. 2555**
หมายเหตุ : ภูมิหลังทางสังคมในที่นี้ หมายถึงสถานะ
ทางการงาน การศึกษาของพ่อแม่ ฐานะทางเศรษฐกิจ
ทรัพยากรด้านการศึกษา และวัฒนธรรมของครอบครัว
300
-3 -2 Average ESCS -1 0 1
Average PISA score Fitted values

ข้อมูลเหล่านี้พิสูจน์ให้เห็นว่า แม้เด็กไทยทุกคนได้รับสิทธิให้เข้าถึงบริการการศึกษาตามกฎหมาย
แต่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสเข้าถึงระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูง และทุกวันนี้สถานศึกษาที่ได้มาตรฐานดียัง
เป็นเสมือน “พื้นที่สงวน” สำหรับเด็กในครอบครัวที่มีฐานะ
5
อนาคตสุดท้อแท้เพราะ “แพ้ตั้งแต่อยู่ในมุ้ง”

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ไม่เพียงมีส่วนกำหนดคุณภาพการ
ศึกษาทีเ่ ด็กไทยแต่ละคนได้รบั แต่ยงั กำกับ “ทางเลือก” หรือเส้นทางอนาคต ว่าเด็กคนนัน้ ว่าจะก้าวไปสูจ่ ดุ ใด


• มีเงินเข้ามหาวิทยาลัย...จนไปอาชีวะ ข้อมูลในตารางนี้แสดงให้เห็นว่า สถาบันอาชีวศึกษา

เป็นทางเลือกหลักของเด็กที่มาจากครอบครัวทุกระดับฐานะ นอกเหนือจากกลุ่มที่รวยที่สุด

ซึ่งกลุ่มที่รวยที่สุดนี้ไม่เพียงมีแนวโน้มที่จะมุ่งไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเป็นหลักมาโดยตลอด
เท่านั้น แต่ยังหันหลังให้สถาบันอาชีวศึกษามากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ นั่นหมายถึงว่า “เด็กอาชีวะ”

มีความหลากหลายทางฐานะลดลง เพราะกลายเป็นสถานศึกษาสำหรับเด็กจากครอบครัว
ฐานะด้อยกว่าในสังคมไปในระยะหลังๆ***

อัตราการศึกษาต่อของประชากรอายุ 19-24 ปี จำแนกตามฐานะทางเศรษฐกิจ


ของครัวเรือน 4 กลุ่ม และประเภทการศึกษา/การทำงาน
ฐานะครั
วเรือน (รายจ่ายต่อครัวเรือน) อาชีวศึกษา มหาวิทยาลัย
2535 2551 2535 2541
จนที่สุด (Q1) 3.2 13.9 2.1 13.9
จนรองลงมา (Q2) 14.9 22.8 10.9 17.0
รวย (Q3) 25.9 30.1 14.9 24.8
รวยที่สุด (Q4) 27.9 19.6 35.0 55.5
ที่ม า: คำนวณจากข้อมูลการสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

• ครอบครัวมีอันจะกิน “เจ้าถิ่น” ในรั้วอุดมศึกษา เมื่อเปรียบเทียบอัตราการเรียนต่อในระดับ


อุดมศึกษาของกลุ่มเยาวชนอายุ 19-24 ปี ในปี 2551 พบว่า กลุ่มที่มาจากครอบครัวยากจนที่สุดมี
สัดส่วนเพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 10 ในขณะที่เด็กที่มีฐานะรวยมากที่สุด มีมากกว่า ร้อยละ 50 จะเห็น
ได้ว่า ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของเยาวชนในกลุ่มจนที่สุดกับรวยที่สุดมีช่องว่างที่แตกต่างกัน
เพิ่มมากขึ้น จาก ร้อยละ 18.5 ในปี 2529 เพิ่มเป็น ร้อยละ 42.5 ในปี 2552 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มาก

กว่า 1 เท่า**

6
ภาพแสดงสัดส่วนการเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของเยาวชนอายุ 19-24 ปี แบ่งตามกลุ่มรายได้ครัวเรือน
ร้อยละ
50

40

30

20

10

0
2529 2531 2533 2535 2537 2539 2541 2543 2545 2547 2549 2551

Quartile 1 Quartile 2 Quartile 3 Quartile 4


ที่มา : ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์, พ.ศ. 2555
ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ นักวิชาการจาก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
(ทีดีอาร์ไอ) ระบุว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษานั้นมีที่มาจากปัญหา
การขาดแคลนทั้ง “ปัจจัยระยะสั้น” อันได้แก่ เรื่องของเงินทุนเพื่อการศึกษา และ “ปัจจัย
ระยะยาว” ซึ่งหมายถึงทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดู เช่น ความสำคัญที่พ่อแม่ให้กับ
การศึกษา ลักษณะครอบครัวที่อบอุ่น คุณภาพการศึกษาที่ได้รับตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียน
ตลอดไปจนถึงคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นต้น ทั้งหมดนี้มีความสำคัญอย่างมากใน
การพัฒนาขีดความสามารถทางวิชาการของเด็ก และเป็นสิ่งที่กำหนดความพร้อมในการ
เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา
• อัตราการอ่านของเด็กลดหลั่นตามสภาพความเจริญ เมื่อนำมุมมองดังกล่าว
มาเชื่อมโยงกับข้อมูลของ สำนักงานสถิติแห่งชาติ เรื่อง การสำรวจอัตราการอ่าน
หนังสือของเด็กไทย อันเป็นพื้นฐานสำคัญของคุณภาพการศึกษา พบว่า อัตรา
การอ่านหนังสือของเด็กเล็กนอกเวลาเรียนในเขตเมืองหลวง เมือง และ
ชนบท มีความลดหลั่นกันลงไปด้วย****
45 45.3 43.0
39.9 40.8
40
35 34.1
32.4 31.3
อัตราการอ่านหนังสือ

30
25
20
15
10
5
พื้นที่
0
กทม. เหนือ ใต้ กลาง ตะวันออก เขตเทศบาล นอกเขต
เฉียงเหนือ เทศบาล 7
ลดความเหลื่อมล้ำ “ครูคือคำตอบ”
การแก้ปญ ั หา “ความเหลือ่ มล้ำ” ในระบบการศึกษาไทย อาจไม่ตอ้ งรอช้าอย่างทีห่ ลายคนคิด
เพราะปัจจัยพื้นฐานของการเรียนรู้ที่มีคุณภาพให้ทุกสังคมก็คือ “ครู” ที่มีคุณภาพ

สำนักงานวิจัยด้านเศรษฐกิจแห่งชาติสหรัฐ ได้ทำการวิจัยต่อเนื่องกว่า 20 ปี กับนักเรียน 2.5
ล้านคน พบว่า คุณภาพของ “ครู” มีผลต่อเด็กในเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ดังนี้
• หลังจากนักเรียนได้รับคำแนะนำในการศึกษาเล่าเรียน และติวเข้มจากบุคลากรครูที่มีมาตรฐาน
วิชาการสูง ส่งผลให้คะแนนข้อสอบวัดระดับมาตรฐานเพิ่มขึ้น
• คุณภาพด้านวิชาการของบุคลากรวิชาชีพครู อาจารย์ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการประสบ
ความสำเร็จของลูกศิษย์ โดยไม่เพียงแต่จะประสบความสำเร็จในการเรียนการศึกษามากกว่า
นักเรียนโดยเฉลี่ยแล้ว แต่นักเรียนเหล่านี้ยังมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน
ได้เงินเดือนที่สูง นอกจากนี้ นักเรียนที่มีโอกาสเป็นศิษย์ของครูอาจารย์ที่มีคุณภาพยังมีสถิติใน
การตั้งครรภ์ในช่วงวัยเรียนน้อยด้วย

ข้อมูลจาก
* โครงการจัดทำดัชนีชี้วัดการติดตามประเมินผลในระดับยุทธศาสตร์ของพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
** ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์. ผลกระทบของการสร้างความรับผิดชอบทางการศึกษาต่อสัมฤทธิ์ผลของนักเรียนไทย. จากการสัมมนายก
เครื่องการศึกษาไทย : สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง ประจำปี 2554
*** นิพนธ์ พัวพงศกร ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ และ ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์. ความเชื่อมโยงระหว่างสถานศึกษากับตลาดแรงงาน:
คุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา และการขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพ. จากการสัมมนายกเครื่องการศึกษาไทย : สู่การศึกษาที่มี
คุณภาพอย่างทั่วถึง ประจำปี 2554
****สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ผลการสำรวจการอ่านหนังสือของประชากรไทย พ.ศ. 2551
***** National beaureu of Economic Research - NBER. The Long-term Impacts of Teacher:Teacher Value-Added and Student
Outcome in Adulthood. 2011.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)
สนับสนุนการกระจายโอกาสสร้างนวัตกรรมโดยครู
เพื่อดึงศักยภาพและพลังของครู ที่ “สอนดี เห็นผล คนยกย่อง”
ออกมาร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ด้วยความเชื่อมั่นว่า
ปัจจัยสำคัญที่สุดของการเรียนรู้แบบใหม่คือ ครูที่มีคุณภาพ
และมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาที่สอน
สามารถพัฒนาตนเองและวิธีการเรียนการสอนอยู่ตลอดเวลา

เลขที่ 388 ชั้น 13 ตึกเอสพี (อาคาร เอ) ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ 0-2619-1811 โทรสาร 0-2619-1812 Quality Learning Foundation www.QLF.or.th

You might also like