Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 5

เรียนรู้ เข้าใจ

ในคน รุ่นดิจิทัล

โดย ดร. ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ


นายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT)
nutavootp@gmail.com
เรียนรู้ เข้าใจ ในคนรุ่นดิจิทัล

เรียนรู้ เข้าใจ
ในคน รุ่นดิจิทัล
โดย ดร. ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ
นายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT)
nutavootp@gmail.com

ยุคนี้เป็นยุคของเทคโนโลยีดิจิทัล รอบตัวเรามีแต่อุปกรณ์อานวยความสะดวกไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือสื่อสารแบบ
ไร้สาย การค้นหาข้อมูลด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์นาทางผ่านดาวเทียม ในขณะเดียวกันอะไรที่ไม่สามารถทา
ให้เป็นระบบอัตโนมัติ หรือดิจิทัลได้ ก็จะกลายเป็นของหายาก เป็นที่ต้องการและมีมูลค่าสูงขึ้น เช่น วัฒนธรรมท้องถิ่น
ศิลปะที่ทาด้วยมือ รวมทั้งธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์สาหรับการใช้ชีวิตแบบ Slow Life
คนที่เกิดมามีอายุเกิน 30 ปี จะคุ้นเคยกับการรับข้อมูลข่าวสารและเรียนรู้ในลักษณะเรียงลาดับ และใช้ความ
เป็นเหตุเป็นผลในการตัดสินใจ ในด้านบวกทาให้มีการคิดไตร่ตรองและวางเป้าหมายชัดเจน ขณะที่คนรุ่นใหม่ที่เกิดมา
พร้อมความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เรียกว่า คนรุ่นดิจิทัล (Digital Native) จะเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม การเรียนรู้
อาศัยการค้นหาจากระบบอินเตอร์เน็ต จึงขาดเป้าหมายและฐานความคิดในการไตร่ตรอง คนรุ่นดิจิทัล จึงมักเบื่อง่าย
และไม่ชอบการเรียนรู้แบบห้องเรียนที่ต้องเรียนทีละขั้นเรียงลาดับตามหลักสูตรที่กาหนด แต่ต้องการเรียนรู้ตามความ
สนใจและความสามารถของตนเอง หลักสูตรออนไลน์ที่เลือกเรียนได้ตามความสนใจและในเวลาที่สะดวก จึง เป็น
ทางออกที่เหมาะสม
ลักษณะเฉพาะของคนรุ่นดิจิทัล คือ มีทักษะในการรับข้อมูลข่าวสารได้พร้อมๆ กันจากหลายแหล่ง ให้ความ
สาคัญกับรูป เสียง วีดทิ ัศน์ เกมส์ และสื่อสังคมออนไลน์ มากกว่า ตัวหนังสือ สามารถเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ (Hyperlink)
ได้ในหลายมิติ มีปฏิสัมพันธ์แบบทันที และสร้างเนื้อหาได้เอง การเรียนรู้จึงเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสนุกเพราะตรงกับ
สิ่งที่ตนเองสนใจ อย่างไรก็ดี การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่าย รวมทั้งสามารถสื่อสารได้ในทุกที่และทุกเวลา ทาให้คนรุ่น
ดิจิทัลส่วนใหญ่ใช้เวลาในแต่ละวันหมดไปกับเทคโนโลยี เราจึงเห็นคนรุ่นนี้มี อัตลักษณ์ที่คล้ายกันมากขึ้น บริโภคของ
แบบเดียวกัน และแสดงออกทางพฤติกรรมคล้ายๆ กัน ซึ่ง พฤติกรรมสาคัญๆ ที่แตกต่างไปจากสิ่ง ที่คนรุ่นก่อนเคย
ประพฤติปฏิบัติ ประกอบด้วย

1
เรียนรู้ เข้าใจ ในคนรุ่นดิจิทัล
1. ปฏิสัมพันธ์ส่วนใหญ่เกิดบนโลกไซเบอร์ การใช้ชีวิตของคนรุ่นดิจิทัลจะอยู่ในสังคมก้มหน้า (Social Ignore)
แม้จะทากิจกรรมร่วมกันกับคนอื่นตามปกติ แต่คุยกันเล็กน้อย ส่วนใหญ่จะก้มหน้าใช้สมาร์ทโฟน โดยไม่สนใจ
คนรอบข้าง ต่างคนต่างเข้าสู่โลกของตัวเองผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ มีปฏิสัมพันธ์ในโลกเสมือนมากกว่าในโลก
แห่งความเป็นจริง ถึงกับมีนักเขียนการ์ตูนวาดภาพว่ามีคนประสบอุบัติเหตุจมน้า ทุกคนจะใช้สมาร์ทโฟนแย่งกัน
ถ่ายภาพและ Share ใน youtube แทนที่จะให้ความช่วยเหลือ ทักษะทางสังคมที่สาคัญ เช่น การกาหนดจังหวะ
ในการพูดคุย การสบตาผู้ฟัง ไม่ได้รับการฝึกฝน ทาให้วางตัวไม่ค่อยถูก เกิดความประหม่าเวลาต้องพูดกับคนอื่น
2. มิตรภาพมีแต่ปริมาณแต่ขาดคุณภาพ แม้ว่าการติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน ทาให้คนหลาย
พันล้านคน สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้แบบไร้ขีดจากัด อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นคน
รุ่น Baby Boomer Gen X Gen Y หรือคนรุ่นดิจิทัลยังคงอยู่บนพื้นฐานการศึกษาของศาสตราจารย์โรบิน ดัน
บาร์ (Robin Dunbar) แห่งมหาวิทยาลัย Oxford ซึ่งได้กาหนดจานวนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่สมองของ
มนุษย์คนหนึ่งสามารถจัดการได้ดี ต้องมีจานวนไม่เกิน 150 คน ดังนั้นตัวเลข 150 นี้จึงเป็นที่รู้จักกันดีในแวดวง
วิชาการว่า “ตัวเลขของดันบาร์ (Dunbar’s Number)” ซึ่งหมายถึงตัวเลขสูงสุดในการทางานของสมองของ
มนุษย์คนหนึ่ง ในความสามารถที่จะรักษาความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับคนอื่นได้ ตัวเลขของดันบาร์ถูกนาไปใช้ในการ
จัดหมวดหมู่ของทหาร จานวนพนักงานต่อสาขา เป็นต้น คนรุ่นดิจิทัลมีจานวนเพื่อนในสื่อสังคมออนไลน์ เป็น
หลักร้อย หรือ พันคน แต่ส่วนใหญ่ไม่เคยพบกัน หรือรู้จักเพียงผิวเผินไม่สามารถแบ่งปัน ความรู้สึกร่วมและมี
ความสัมพันธ์ในระดับที่เรียกว่าเพื่อนสนิทได้เกินกว่าตัวเลขของดันบาร์ ความสัมพัน ธ์ของคนที่ใช้เทคโนโลยี
ดิจิทัล ถึงจะมีจานวนมาก ส่วนใหญ่ก็เป็นมิตรภาพแบบฉาบฉวย ไม่ได้มีการติดต่อสื่อสารแบบเผชิญหน้า (Face-
to-Face) กันอย่างแท้จริง บางคนต้องการเพียงแค่เก็บจานวนให้มาก ในเชิงความสัมพันธ์ เพื่อนที่อยู่ในสื่อสังคม
ออนไลน์ จึงไม่ค่อยมีความสาคัญเท่าไร
3. เทคโนโลยีถูกใช้แม้กับเรื่องเล็กน้อยในชีวิตประจาวัน เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคดิจิทัลมีราคาถูก เร็ว และใช้
งานง่าย ทาให้คนรู่นดิจิทัลใช้เวลาส่วนหนึ่งในชีวิตประจาวัน เพื่อการโพสต์รูปอาหาร สัตว์เลี้ยง กิจกรรม สถานที่
รูปที่ถ่ายตัวเอง (หรือเซลฟี) เพื่อสื่อสารให้เพื่อนเห็นถึงสถานภาพทางสังคมและสิ่งดีๆ แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยที่
เกิดขึ้นในชีวิตของตนเอง ส่วนใหญ่ขาดการใช้เวลาทาเรื่องสาคัญที่มีความหมายกับชีวิต เช่น การพูดคุยกับคน
รอบข้าง ทาให้ความสัมพันธ์กับคนในสังคมลดลง การดูโทรทัศน์ร่วมกันระหว่างคนในครอบครัวหลังรับประทาน
อาหารเย็นหายไป เพราะรายการโทรทัศน์ต่างๆ สามารถดูเมื่อไหร่ก็ได้บนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน
ทาให้พ่อแม่ลูกขาดโอกาสได้อยู่พร้อมหน้าและพูดคุยกัน ในระหว่างการหารือทางธุรกิจ การใช้สมาร์ทโฟน
ตลอดเวลา เป็นการตัดตัวเองออกจากบทสนทนา และเสียโอกาสการเรียนรู้มุมมองของผู้อื่น

2
เรียนรู้ เข้าใจ ในคนรุ่นดิจิทัล
4. การแสดงความรู้สึกที่ไม่เชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ การแสดงออกทางความรู้สึกเป็นทักษะที่สาคัญของมนุษย์
ผ่านการสื่อสารทางคาพูด และภาษากาย คนรุ่นดิจิทัลจะสื่อความรู้สึกและอารมณ์แบบง่ายๆ ผ่านทางสัญลักษณ์
เรียกว่า อีโมติคอน (Emoticons) ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2525 โดย Scott Fahlman ได้โพสต์
สัญลักษณ์ :- ) และ :- ( บนกระดานข่าวสารของมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon สัญลักษณ์ดังกล่าวได้
แพร่กระจาย และถูกนาไปใช้บนเครือข่าย ARPANET และ Usenet กลายเป็นที่นิยมจนมีการประดิษฐ์อีโมติคอน
แบบอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย การแสดงความรู้สึกด้วยอีโมติคอน ทาได้ง่ายๆ กับใครก็ได้ ไม่จาเป็นต้องเชื่อมโยง
กับความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนหรือยาวนานแต่อย่างใด
5. การเขียนด้วยลายมือมีความจาเป็นน้อยลง มหาตมะ คานธี เคยกล่าวไว้ว่า ลายมือที่สวยงามเป็นสิ่ง สาคัญ
สาหรับการศึกษา คนรุ่นดิจิทัล เขียนหนังสือด้วยลายมือน้อยลง ขาดการพัฒนาทักษะด้านการเขียน แต่จะ
เชี่ยวชาญการพิมพ์ข้อความบนสมาร์ทโฟนมากกว่า ในแผนกลยุทธ์การศึกษาสาหรับ ยุคดิจิทัลของมหาวิทยาลัย
Cambridge กาลังมีการพิจารณายกเลิกการสอบด้วยการเขียน เนื่องจากอาจารย์ไม่สามารถอ่านลายมือของ
นักศึกษาซึ่งเป็นคุนรุ่นดิจิทัลได้ ซึ่งจะเริ่มกับนักศึกษาภาควิชาประวัติศาสตร์ก่อนโดยการสอบจะทาบนระบบ
คอมพิวเตอร์เท่านั้น
6. เส้นแบ่งความเป็นส่วนตัวจางลง ในช่วงสงครามเย็น (Cold War) หน่วยสืบราชการลับ เช่น สตาซี (Stasi)
ของเยอรมนีตะวันออก ใช้เงินหลายพันล้านดอลลาร์ สร้างเทคโนโลยีเพื่อค้นหาและเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของ
พลเมืองของตน เพื่อนาไปใช้ประโยชน์ทางการเมืองและความมั่นคง แต่ในยุคดิจิทัลข้อมูลส่วนตัวบนสื่อสังคม
ออนไลน์สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย คนรุ่นดิจิทัลนิยมเผยแพร่ข้อมูลของตนเองในรูปแบบต่างๆ บนสื่อสังคม
ออนไลน์ เพื่อแสดงสถานภาพในกลุ่มเพื่อน โดยไม่กังวลเรื่องการเข้าถึงความเป็น ส่วนตัว ขณะเดียวกันก็เกิด
พฤติกรรม FOMO หรือ Fear of Missing Out หรือการกลัวถูกให้ออกจากกลุ่มหรือ Unfriend
7. การแบ่งปันความเป็นส่วนตัวกลายเป็นธุรกิจ บ้าน และรถยนต์ เป็นสินทรัพย์ที่เจ้าของซื้อไว้ใช้เป็นส่วนตัว แต่
ในยุคดิจิทัล การใช้ทรัพยากรเมื่อต้องการ (Resource on Demand) ภายใต้เศรษฐกิจแบ่ง ปัน (Sharing
Economy) สามารถช่วยสร้างมูลค่าจากสินทรัพย์ที่มีอยู่ ธุรกิจในเศรษฐกิจแบ่ง ปันที่ประสบความสาเร็จ เช่น
บริ ษัท Airbnb ที่เ ชื่อ มโยงคนที่น าบ้ านพั กว่ างกับ คนที่ก าลั ง มองหาที่พั กเข้ าหากั น ปัจ จุบั นมี เครือ ข่า ยการ
ให้บริการใน 65,000 เมืองและ 191 ประเทศทั่วโลก หรือ การใช้ รถยนต์ส่วนตั วมาให้บริก ารลักษณะ Car
Sharing ข้อดีคือ เจ้าของสามารถเลือกเวลาในการทางานได้ตามที่ต้องการ คนรุ่นดิจิทัล จะคุ้นเคยกับการให้หรือ
ใช้บริการธุรกิจแบ่งปัน เป็นอย่างดี

3
เรียนรู้ เข้าใจ ในคนรุ่นดิจิทัล
8. เพศทางเลือ กกลายเป็นเรื่องปกติ คนรุ่นดิจิทัล จะคุ้นเคยกับความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาและ
วัฒนธรรม ดังนั้นจะยอมรับความหลากหลายได้ง่าย เปิดกว้างมากขึ้นทั้งเรื่องการเมือง ความเป็นนานาชาติ การ
ดูแลสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายด้านเพศสภาพ สถานที่สาธารณะหลายแห่งเริ่มมีห้องน้าที่ไม่แบ่งแยก
เพศสภาพ (Gender-Neutral Toilet) เพื่อรองรับพฤติกรรมของคนรุ่นดิจิทัลห้องน้าจะเป็นแบบรวม สุขภัณฑ์
สามารถทาความสะอาดในตัวเองเพื่อสุขอนามัย (Self-Cleaning Toilet) มีการติดตั้ง Smart Mirror ที่มีระบบ
เซนเซอร์เชื่อมกับแผ่นพื้นที่ยืน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเช็คข้อมูลสุขภาพของตนเองได้ อ่างล้างหน้าก็เป็นระบบ
เซนเซอร์ไม่ต้องสัมผัสเพื่อเปิด-ปิด ก๊อกน้า
9. สถานทีท่ างานที่ไม่ใช่ที่ทางาน สถานที่ทางานเคยเป็นที่รวมคนเข้าไว้ด้วยกันเพื่อทากิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
การผลิตหรือให้บริการ ในยุคดิจิทัล ความหมายของสถานที่ทางานเปลี่ยนไปหรือมีความสาคัญน้อยลง เนื่องจาก
ทุกคนสามารถทางานในเวลาใดก็ได้ จากสถานที่ใดก็ได้ ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย การทางานมี
รูปแบบของทีมเสมือน (Virtual Team) มากขึ้น ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าพนักงานมากกว่า 30% เป็น
พวก ดิจิทัลนอแมด (Digital Nomad) หรือกลุ่มคนที่ท่องเที่ยวไปตามที่ต่างๆ พร้อมกับทางานไปด้วยโดยอาศัย
เทคโนโลยีสารสนเทศทาให้การทางานสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งที่บ้าน ร้านกาแฟ หรือสถานที่สาธารณะ ในอนาคต
คนรุ่นดิจิทัล เมื่อเริ่มเข้าระบบแรงงานจะใช้เวลากับสถานที่ทางานน้อยลงกว่าคนรุ่นก่อน
10. การทางานร่วมกันในรูปแบบใหม่ ครอบครัวทุกวันนี้มีขนาดเล็กลง บางสถานที่ทางานนายจ้างจะอนุญาตให้
สามารถนาสัตว์เลี้ยงเข้ามาได้ เนื่องจากพนักงานไม่อยากทิ้งสัตว์เลี้ยงไว้ที่บ้าน การมีสัตว์เลี้ยงอยู่ใกล้ๆ ทาให้
บรรยากาศในที่ทางานมีความผ่อนคลาย นอกจากนี้สัตว์เลี้ยงยัง เป็น สะพานเชื่อมมิตรภาพระหว่างพนักงาน
ด้วยกันอีกด้วย ในยุคดิจิทัล สถานที่ทางานเริ่มมีการนาระบบออโตเมชั่น เข้ามาทางานร่วมกับมนุษย์ เช่น แขน
กลหุ่นยนต์ (Robot) ในโรงงาน หรือ หุ่นยนต์บริการที่ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) สิ่งที่
กาลังเปลี่ยนไป คือ นอกเหนือจากสัตว์เลี้ยงแล้ว พนักงานในยุคดิจิทัลยังต้องทาความคุ้นเคยในการอยู่ร่วมกับ
หุ่นยนต์ เรียกว่า “Collaborative Robot” หรือ “CoBot” ด้วยเช่นกัน

คนรุ่นดิจิทัล (Digital Native) ต่างจากคนรุ่น Gen Y ที่เรียนจบพอดีกับช่วงเกิดวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ (Sub-


prime Mortgage Crisis) หางานทาไม่ได้ กลายเป็นคนรุ่นที่สูญหาย (The Lost Generation) ตัดขาดจากอดีต
ผิดหวังกับปัจจุบัน และไร้ความหวังกับอนาคต แม้ว่าคนรุ่นดิจิทัล จะยังไม่ได้เข้ามามีบทบาทในการทางาน จึงยังไม่มีผล
สารวจที่ชัดเจนว่า พฤติกรรมของคนรุ่นดิจิทัล ในการทางานจริงๆ จะเป็นอย่างไร แต่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าผู้บริหาร
องค์กรทั้งหลายคงจะต้องเตรียมพร้อมทั้งกายและใจ ที่จะรองรับกับคนกลุ่มใหม่นี้ที่มีพฤติกรรม ความคาดหวัง และการ
ดาเนินชีวิต แตกต่างไปจากคนรุ่นก่อนหน้า อย่างเห็นได้ชัด

You might also like