Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 21

58

หน่ วยที่ 2
การเขียนแบบภาพประกอบ (Assembly)

หัวข้ อเรื่อง (Topics)


2.1 ความหมายของการเขียนภาพประกอบ
2.2 ประโยชน์ของภาพประกอบ
2.3 ส่ วนประกอบของภาพประกอบ
2.4 ประเภทของภาพประกอบ
2.5 การเขียนภาพประกอบ

แนวคิดสาคัญ (Main Idea)


การเขี ยนแบบภาพประกอบ เป็ นการเขีย นเพื่ อแสดงตาแหน่ งของชิ้ นส่ วนแต่ล ะชิ้ นที่ มี
ความสัมพันธ์กนั ตั้งแต่ 2 ชิ้ นขึ้นไป สาหรับแสดงให้เห็ นตาแหน่ งการติดตั้งชิ้ นส่ วนทุกชิ้ น ทาให้
ผูอ้ ่านแบบหรื อผูท้ ี่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้งานของแบบงานนั้นมีความเข้าใจยิ่งขึ้น ซึ่ งแบบงาน
ภาพประกอบก็จะแสดงให้ผใู ้ ช้งานได้รู้ถึงจานวนชิ้นงานทั้งหมดเนื่ องจากแบบงานภาพประกอบจะ
มีหมายเลขกากับชิ้นส่ วนแต่ละชิ้นอีกด้วย

จุดประสงค์ เชิ งพฤติกรรม (Behavioral Objectives)


1. ด้ านความรู้
1.1 บอกความหมายของภาพประกอบได้
1.2 บอกประโยชน์ของภาพประกอบได้
1.3 อธิ บายส่ วนประกอบของภาพประกอบได้
1.4 บอกประเภทของภาพประกอบได้
1.5 อธิบายขั้นตอนการเขียนภาพประกอบได้
2. ด้ านทักษะการปฎิบัติงาน
2.1 เลือกใช้อุปกรณ์ในการเขียนแบบภาพประกอบได้
2.2 เขียนภาพประกอบได้
2.3 กาหนดหมายเลขชิ้นส่ วนได้
59

2.1 ความหมายของการเขียนภาพประกอบ
การเขียนแบบภาพประกอบ (Assembly) หมายถึง การเขียนที่แสดงตาแหน่งของชิ้นส่ วนแต่
ละชิ้นที่มีความสัมพันธ์กนั ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป ประกอบกันเป็ นเครื่ องมือ อุปกรณ์ เครื่ องจักรกล หรื อ
ระบบงานต่างๆ สาหรับแสดงให้เห็ นตาแหน่ งการติดตั้งชิ้นส่ วนทุกชิ้น ทาให้ผอู ้ ่านแบบหรื อผูท้ ี่มี
ความเกี่ ยวข้องกับการนาแบบงานไปใช้งานนั้นมีความเข้าใจยิ่งขึ้น ซึ่ งแบบงานภาพประกอบก็จะ
แสดงหมายเลขของชิ้ น ส่ ว นทั้ง หมด ท าให้ ผู้ใ ช้ ง านแบบงานภาพประกอบทราบจ านวน
ส่ วนประกอบทั้งหมดอีกด้วย
แบบภาพประกอบมีใช้กนั อยูใ่ นแทบจะทุกสาขางานในทางด้านช่างอุตสาหกรรม ไม่วา่ จะ
เป็ นอุ ต สาหกรรมยานยนต์ อุ ต สาหกรรมแม่ พิ ม พ์ โ ลหะ อุ ต สาหกรรมแม่ พิ ม พ์ พ ลาสติ ก
อุตสาหกรรมการผลิตในลักษณะต่างๆ เช่น เครื่ องใช้ไฟฟ้ า ของเล่น งานเชื่อม เป็ นต้น ในที่น้ ี จะขอ
กล่าวถึงการเขียนแบบภาพประกอบทางด้านเครื่ องมือกลที่ใช้ในการผลิตเท่านั้น แบบภาพประกอบ
แบ่งออกเป็ น 2 ลักษณะ ดังนี้
2.1.1 แบบภาพประกอบทีไ่ ม่ กาหนดขนาดลงในแบบงาน
แบบภาพประกอบลักษณะนี้ จะมีเฉพาะภาพประกอบของชิ้ นส่ วนพร้ อมหมายเลข
ชิ้นส่ วนกากับไว้ เพื่อแสดงให้เห็นจานวนชิ้นส่ วนที่ใช้สาหรับงานประกอบ ซึ่ งในส่ วนรายละเอียด
เกี่ยวกับขนาด คุณภาพผิว พิกดั ความเผื่อ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตจะถูกแสดงไว้ที่แบบแยก
ชิ้น ภาพประกอบที่ไม่มีกาหนดขนาดส่ วนมากจะใช้กบั งานผลิตเครื่ องมือกลและเครื่ องจักรกลที่มี
ชิ้นส่ วนจานวนมาก ถ้าบอกขนาดลงในแบบภาพประกอบจะทาให้เกิดความสับสนในการอ่านแบบ
ได้

ภาพที่ 2.1 แบบภาพประกอบที่ไม่กาหนดขนาด


60

2.1.2 แบบภาพประกอบทีก่ าหนดขนาดลงในแบบงาน


โดยปกติ ในการเขีย นแบบภาพประกอบมักจะไม่นิยมกาหนดขนาดลงในแบบงาน
เนื่ องจากจะทาให้การอ่านแบบเกิดความยุง่ ยากและอาจเกิ ดความสับสนได้ ซึ่ งการกาหนดขนาดลง
ในแบบงานภาพประกอบก็สามารถกระทาได้ ในกรณี ที่มีส่วนประกอบไม่มาก จะเป็ นการกาหนด
ขนาดเพื่อบอกระยะการประกอบของชิ้ นส่ วนแต่ละชิ้ นก็ได้ หรื อจะเป็ นการกาหนดขนาดของ
ชิ้นส่ วนก็ได้

ภาพที่ 2.2 การกาหนดขนาดในแบบภาพประกอบ

2.2 ประโยชน์ ของภาพประกอบ


ในงานการผลิ ตทางด้านช่ างกลโรงงานสิ่ งที่สาคัญคือการสื่ อสารเกี่ ยวกับลักษณะงานที่จะ
ทาการผลิตที่ตรงกันระหว่าง ลูกค้า ฝ่ ายเขียนแบบ และฝ่ ายผลิต ถ้าเป็ นการสื่ อสารด้วยวาจาโดยไม่มี
แบบงานก็จะทาให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกัน เกิ ดความคลาดเคลื่อน และจะเกิดข้อผิดพลาดในการ
ผลิตทาให้ไม่ได้ลกั ษณะงานตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่ งจะก่อให้เกิดความเสี ยหายในโอกาศ
ต่อไป ดังนั้นเพื่อลดปั ญหาความยุ่งยากที่ จะเกิ ดขึ้ นจึ งจาเป็ นต้องสื่ อสารกันด้วยแบบงานเพื่อลด
ปั ญหาดังกล่าว
แบบงานภาพประกอบก็มีความสาคัญต่อการผลิตเช่นกัน เพราะจะทาให้ฝ่ายผลิตเข้าใจใน
ลัก ษณะของงานที่ จะท าการผลิ ต มากขึ้ น ส่ ง ผลให้ มี ค วามเข้า ใจในกระบวนการผลิ ต เลื อกใช้
61

เครื่ องมื อได้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ จะทาการผลิ ต ลดข้อผิดพลาดในกระบวนการผลิ ต หรื อ


แม้กระทัง่ ในการประกอบงาน ก็สามารถประกอบได้ถูกต้องตรงตาแหน่ง อีกทั้งยังสามารถใช้เป็ น
คู่มือในการประกอบงาน เช่ นเครื่ องจักรกล เครื่ องใช้ต่า งๆ ของเล่ นประกอบ แม่พิม พ์พลาสติ ก
แม่พิมพ์โลหะ เป็ นต้น ซึ่ งประโยชน์ของแบบงานภาพประกอบมีดงั นี้
2.2.1 แสดงรายละเอียดให้ ทราบว่าชิ้นส่ วนแต่ ละชิ้นมีการประกอบกันอย่างไร
งานที่มีการประกอบโดยเฉพาะงานที่มีชิ้นส่ วนจานวนมาก ซึ่ งถ้าไม่มีรายละเอี ยดของ
การประกอบในเรื่ องของตาแหน่งในการประกอบก็จะทาให้การประกอบนั้นไม่ถูกต้อง ประกอบไม่
สาเร็ จ ชิ้นส่ วนเหลือ หรื อต้องใช้เวลาในการประกอบยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าชิ้นส่ วนมีขนาด
และรู ปร่ างที่ไกล้เคียงกันก็จะทาให้เกิดความยุง่ ยากและสับสนในการประกอบมากขึ้น ดั้งนั้นแบบ
งานภาพประกอบจะทาให้ผปู ้ ระกอบชิ้นงานต่างๆ สามารถรู ้ตาแหน่ง รู ปร่ างและจานวนชิ้น ในการ
ประกอบส่ งผลให้ประกอบงานได้สะดวกยิง่ ขึ้น

ภาพที่ 2.3 ตาแหน่งการประกอบของชิ้นส่วน

2.2.2 ถอดและประกอบชิ้นส่ วนได้ ง่าย


ส่ วนใหญ่ในการผลิตเครื่ องจักรหรื ออุปกรณ์ต่างๆ ในงานอุตสาหกรรม จะเป็ นการผลิ ต
แบบแยกการผลิตโดยชิ้นส่ วนแต่และชิ้นจะมีการผลิตที่กระจายเป็ นสถานี กล่าวคือ ยกตัวอย่างเช่น
สถานีใดผลิตฐานเครื่ องก็จะผลิตฐานเครื่ องเพียงอย่างเดียว บางสถานีทาการผลิตแขนโยกเครื่ องจักร
ก็จะผลิตเฉพาะแขนโยกเท่านั้น เมื่อชิ้นส่ วนประกอบครบก็จะส่ งไปยังสถานีการประกอบต่อไป
62

ในกระบวนการผลิตจะต้องมีการถอดและประกอบชิ้นส่ วนต่างๆ เพื่อให้สามารถประกอบ


ตามแบบได้ ถ้าเป็ นผูท้ ี่ ไม่มีประสบการณ์ ในด้านการประกอบเกี่ ยวกับอุ ปกรณ์ เหล่ านั้นหรื อช่ าง
ฝึ กหัดซึ่ งไม่มีความชานาญนั้น ก็จะเป็ นการยากที่จะประกอบได้สาเร็ จ และอาจจะต้องใช้เวลานาน
ในการประกอบ ดังนั้นแบบภาพประกอบจึงเป็ นตัวช่วยที่ทาให้สามารถประกอบได้ง่ายขึ้น เพราะมี
การชี้หมายเลขของชิ้นส่ วนแต่ละชิ้นที่ชดั เจนจึงทาให้การประกอบง่ายขึ้น

ภาพที่ 2.4 ส่วนประกอบเครื่ องพ่นทราย

2.2.3 ใช้ เป็ นคู่มือในการซ่ อมบารุ งและเอกสารประจาเครื่องจักร


เครื่ องจักรกลที่ใช้ในการผลิ ตเมื่อใช้ไประยะหนึ่ งก็จะมีชิ้นส่ วนบางชิ้นที่ชารุ ดและต้อง
ทาการปรับแต่งแก้ไข ซ่อมบารุ งให้อยูใ่ นสภาพใช้งานได้ตามปกติ ดังนั้นการถอดชิ้นส่ วนออกมาทา
การซ่อมแซมนั้นไม่ใช่เรื่ องที่ยาก แต่เมื่อต้องการประกอบชิ้นส่ วนกลับไปยังตาแหน่งเดิมและถ้าไม่
มีแบบภาพประกอบในการกอดประกอบให้ดูเป็ นตัวอย่างก็จะเป็ นเรื่ องที่ยงุ่ ยากมาก
นอกจากที่แบบภาพประกอบใช้เป็ นตัวอย่างในการถอดและประกอบเครื่ องจักรกลแล้ว
นั้น ในการผลิ ตเครื่ องจัก รกลจ าหน่ า ยยัง ต้องมี คู่ มื อหรื อ เอกสารประกอบเพื่ อให้ผูใ้ ช้ง านได้ดู
รายละเอียดก่อนการใช้งาน หรื อเมื่อเกิดการชารุ ดเล็กน้อยก็สามารถนามาเช็คตาแหน่งการถอดและ
ประกอบเบื้องต้น
63

ภาพที่ 2.5 ชุด GEAR BOX เครื่ องกลึง


ที่มา: DENFORD MACHINE TOOLS LTD.(คู่มือเครื่ องกลึง)

2.3 ส่ วนประกอบของแบบงานภาพประกอบ
ในแบบภาพประกอบนั้นไม่ได้มีแต่เพียงแต่ตวั ของแบบงานและหมายเลขชี้ แต่ละชิ้นส่ วน
เพียงเท่านั้น โดยที่แบบงานภาพประกอบจะต้องแสดงชิ้นส่ วนให้ครบทุกชิ้นทั้งภายนอกและภายใน
ของเครื่ องจักรหรื ออุปกรณ์ ซึ่ งภาพประกอบที่จะแสดงเพียงภาพเดียวแล้วเห็นชิ้นส่ วนครบทั้งหมด
เป็ นไปได้ยาก ดังนั้นจึงต้องมีการแสดงเป็ นภาพด้านอื่นๆ เพื่อให้เห็นชิ้นส่ วนที่ถูกบังแต่ท้ งั นี้ ก็ตอ้ ง
ใช้จานวนภาพให้นอ้ ยที่สุด
แบบภาพประกอบที่ ส มบู ร ณ์ จ ะต้อ งประกอบไปด้ ว ย จ านวนภาพ การเขี ย นแบบ
ภาพประกอบเป็ นภาพตัด หมายเลขชิ้นส่ วน มาตราส่ วน และการเขียนเส้นประภายในภาพประกอบ
2.3.1 จ านวนภาพ ในการเขี ย นแบบภาพประกอบเป็ นการแสดงให้เ ห็ นต าแหน่ ง ของ
ชิ้ นส่ วนแต่ ล ะชิ้ นประกอบกันอย่า งไร ชิ้ นส่ วนใดมี ค วามสั ม พันธ์ ก ันบ้า ง เป็ นต้น ในแบบงาน
ภาพประกอบผูเ้ ขียนแบบพิจารณาจากชิ้นงานแล้ว ให้กาหนดจานวนภาพประกอบที่จะต้องเขียนลง
ไปให้เหมาะสม โดยยึดหลักการเขีย นจานวนภาพให้นอ้ ยที่สุดแต่ตอ้ งสามารถเห็ นรายละเอียดของ
ชิ้นส่ วนต่างๆ ของแบบงานได้ท้ งั หมด
64

2.3.2 การเขียนแบบภาพประกอบเป็ นภาพตัด การเขี ย นงานประกอบโดยมี ชิ้ นส่ วนที่


ประกอบสวมเข้าด้วยกัน หรื อซ้อนกัน ตามหลักการเขียนแบบที่ได้เรี ยนมาแล้วนั้นคือส่ วนที่ถูกบัง
จะต้องแสดงด้วยเส้นประ ในการเขียนแบบภาพประกอบถ้าแสดงส่ วนที่ถูกบังด้วยเส้นประจะทาให้
เกิ ดความสับสนในการอ่านแบบงาน ดังนั้นจึ งต้องแสดงส่ วนที่ทบั ซ้อนกันด้วยภาพตัดเพื่อจะได้
เห็นรู ปร่ างและชิ้นส่ วนที่ทบั ซ้อนนั้นได้ชดั เจนด้วยภาพตัดเต็ม ภาพตัดครึ่ ง หรื อภาพตัดเฉพาะส่ วน
ขึ้ นอยู่ก ับ ความเหมาะสมของลัก ษณะงาน ชิ้ นส่ วนที่ ย กเว้นไม่ ต้องแสดงลายตัดเมื่ อแสดงภาพ
ประกอบด้วยภาพตัด ประกอบด้วย นัต สกรู แหวน ลิ่ม เพลา หมุดย้ า และชิ้นส่ วนมาตรฐานอื่นๆ
ถึงแม้วา่ แนวตัดจะผ่านก็ตาม
2.3.3 หมายเลขชิ้ นงาน หมายเลขชิ้ นงานเป็ นส่ วนที่สาคัญอี กส่ วนหนึ่ งสาหรั บแบบงาน
ภาพประกอบ เพราะจะต้องใช้ควบคู่กบั แบบสั่งงานในลักษณะภาพแยกชิ้น โดยที่หมายเลขชิ้นงาน
ที่แสดงจะต้องตรงกันทั้งในส่ วนของแบบภาพประกอบและภาพแยกชิ้น หมายเลขชิ้นงานยังเป็ นตัว
กาหนดให้เราได้ทราบถึ งชิ้ นส่ วนทั้งหมดที่นามาประกอบจนเป็ นชิ้ นงานสาเร็ จ เช่ น หมายเลข 1
หมายถึงชิ้นส่ วนชิ้นที่ 1 ถ้ากาหนดเป็ นหมายเลข 2 หมายถึงชิ้นส่ วนชิ้นที่ 2 เป็ นต้น
ในการกาหนดหมายเลขชิ้นงานถ้าเป็ นชิ้นงานที่เหมือนกันก็จะถือเป็ นหนึ่ งหมายเลข แต่จะ
ไประบุในตารางรายการว่าหมายเลขที่เหมือนกันนั้นมีจานวนกี่ชิ้น โดยชิ้นงานที่เหมือนกันนี้ จะต้อง
เป็ นชิ้นงานที่เหมือนกันทุกประการ ถ้ามีจุดต่างเพียงเล็กน้อยไม่วา่ จะเป็ นขนาด ตาแหน่ง หรื ออื่นๆ
ก็ให้ถือว่าเป็ นชิ้นงานคนละหมายเลขกัน

ภาพที่ 2.6 ส่วนประกอบของแบบงานภาพประกอบ


65

หลักเกณฑ์ ในการเขียนหมายเลขมีดังนี้
1. เส้ นชี้ชิ้นงาน เขียนด้วยเส้นเต็มบาง ความหนาของเส้น 0.25 ลากออกจากชิ้ นงานไปยัง
วงกลมที่มีหมายเลขชิ้นงานอยูภ่ ายในหรื อเรี ยกว่า Balloon ส่ วนที่ปลายอีกด้านหนึ่ งจะมีจุดเล็กๆ สี
ดาเพื่อให้เห็นได้ชดั เจน
2. หมายเลขชิ้นงาน ในการกาหนดหมายเลขชิ้ นงานจะกาหนดชิ้ นส่ วนหลักๆ เป็ นลาดับ
ต้นๆ ก่อน ชิ้ นส่ วนย่อยๆให้กาหนดเป็ นลาดับถัดไป และเขียนหมายเลขชิ้ นงานด้วยเส้นเต็มหนา
ความหนาของเส้น 0.50 สู ง 5 มม. อยู่ภายในวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางมีขนาดความโตเท่ากับ 10
มม.
ในบางกรณี เช่น มีแบบ Assembly Drawing และ Detail Drawing เป็ นจานวนมาก อาจไม่
สะดวกใน การเปิ ดหาแบบ เราจะเขียนเส้นตรงแบ่งวงกลมบอลลูนออกเป็ น 2 ส่ วน (บน-ล่าง) เลข
ตัวบนจะแทน part number ส่ วนเลขตัวล่างจะบอกเลขที่แผ่น ของแบบแสดงรายละเอียดของชิ้นงาน
นั้น ในบางครั้งอาจพบส่ วนล่าง ของบอลลูน ระบุตวั อักษร SL ซึ่ งย่อมาจาก Specification Listing
หมายความว่า จะมี spec. ของชิ้นส่ วนนี้ พิมพ์ แยกต่างหาก ผูอ้ ่านแบบอาจจาเป็ นต้องไปเปิ ดดูขอ้ มูล
เพิ่มเติมจาก Specification Listing นั้น เช่น Catalog จาก โรงงานผูผ้ ลิต หรื อ มาตรฐานอุตสาหกรรม

ภาพที่ 2.7 ส่วนประกอบของแบบงานภาพประกอบ


ที่มา: โสฬส จิวานุวงศ์(มปป.)

3. ตาแหน่ งของหมายเลขชิ้นงาน ในการวางตาแหน่ งของหมายเลขชิ้นงานสามารถวางไว้


ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง โดยหมายเลขชิ้นงานนั้นจะต้องอยู่ในแนวเดียวกันและระดับเดี ยวกัน ซึ่ ง
ในบางครั้งถ้าชิ้นส่ วนมีจานวนมากก็สามารถกาหนดหลายระดับได้
4. มาตราส่ วน การกาหนดมาตราส่ วนในแบบงานภาพประกอบนั้นสามารถกาหนดมาตรา
ส่ วนได้ตามปกติ คื อมาตราส่ วนแบบ 1:1 เท่ า ขนาดจริ ง มาตราส่ วนย่อและมาตราส่ วนขยาย
เช่ นเดี ยวกับการเขียนแบบทัว่ ไป จะใช้มาตราส่ วนใดนั้นขึ้นอยู่กบั พื้นที่ว่างบนกระดาษเขียนแบบ
ถ้า พื้ นที่ ว่า งเยอะหรื อชิ้ นงานมี ข นาดเล็ ก ให้เลื อกใช้ม าตราส่ วนขยายได้ แต่ ถ้า พื้ นที่ มี น้อยหรื อ
ชิ้นงานมีขนาดใหญ่ก็เลือกใช้มาตราส่ วนย่อได้ เป็ นต้น
66

5. การเขียนเส้ นประในภาพประกอบ โดยปกติ แบบงานภาพประกอบจะไม่ นิย มเขี ย น


เส้นประเพราะจะทาให้เกิดความยุง่ ยากในการอ่านแบบ เว้นแต่ในกรณี ที่ตอ้ งการเน้นให้ชิ้นส่ วนใน
ตาแหน่ งนั้นแสดงรายละเอียดของงานให้ชดั เจน ซึ่ งถ้าไม่แสดงเส้นประแล้วนั้นจะทาให้การอ่าน
แบบงานเกิดความผิดพลาดหรื อเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้

ภาพที่ 2.8 การเขียนเส้นประในแบบงานภาพประกอบ

2.4 ประเภทของภาพประกอบ
การสั่งงานด้านการผลิตก็จะมีการสั่งงานทั้งแบบแยกชิ้นและแบบภาพประกอบให้ฝ่ายผลิต
ได้ทาการผลิ ตตามแบบงาน ในส่ วนของแบบแยกชิ้ นจะกาหนดรายละเอียดด้านการผลิ ตลงไปใน
แบบงานอย่างครบถ้วน ส่ วนแบบสั่งงานภาพประกอบนั้นจะถูกแสดงด้วยกันหลายลักษณะ ซึ่ งแบ่ง
ออกเป็ นหลายประเภทตามลักษณะงานดังนี้
2.4.1 ภาพประกอบแบบร่ าง (Layout Assembly) เป็ นภาพประกอบที่ผอู ้ อกแบบทาการร่ าง
แบบชิ้ น ส่ ว นประกอบ หรื อออกแบบตามจิ น ตนาการเพื่ อ หาขนาดต่ า งๆ หาระยะห่ า งของ
ส่ วนประกอบแต่ละชิ้ น เพื่อดู ความเป็ นไปได้ของชิ้ นงานที่ ทาการออกแบบให้เห็ นสั ดส่ วนของ
ชิ้นงาน ความเหมาะสมของตาแหน่งต่างๆในการจัดวางชิ้นส่ วนประกอบ
67

ภาพที่ 2.9 ภาพประกอบแบบร่ าง (Layout Assembly)

2.4.2 ภาพประกอบติดตั้ง (Outline Assembly) เป็ นภาพประกอบที่ให้รายละเอียดทัว่ ไป


เกี่ยวกับเครื่ องจักรหรื อชิ้นส่ วนประกอบ ที่แสดงรู ปร่ างภายนอกและความสัมพันธ์ของผิวภายนอก
เท่านั้น ภาพประกอบประเภทนี้ ใช้กนั มากในคู่มือสิ นค้า ซึ่ งแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับความสู งของ
เครื่ อง ความกว้างของเครื่ อง ขนาดของฐานเครื่ อง ระยะห่ างระหว่างศูนย์กลางของเครื่ อง เป็ นต้น
เพื่อเป็ นข้อมูลในการเสนอสิ นค้า หรื อข้อมูลในการติดตั้งเครื่ องจักร

ภาพที่ 2.10 ภาพประกอบแบบติดตั้ง (Outline Assembly) เครื่ องกลึง


68

2.4.3 ภาพประกอบทั่ว ไป (General Assembly) เป็ นภาพประกอบที่ แสดงให้เห็ น


รายละเอียดของงานประกอบที่ชดั เจนถึ งตาแหน่งในการสวมประกอบของชิ้ นส่ วนแต่ละชิ้ น โดย
แบบงานประกอบลักษณะนี้ จะถูกตัดและเขียนด้วยภาพตัด ทั้งภาพตัดเต็ม ภาพตัดครึ่ ง หรื อภาพตัด
เฉพาะส่ วน ขึ้ นอยู่กบั ความเหมาะสมของลักษณะงาน เพื่อแสดงให้เห็ นชิ้ นส่ วนที่อยู่ภายในอย่าง
ชัดเจน และขนาดต่ างๆ ของแต่ล ะชิ้ นส่ วนจะไม่ นิย มบอกขนาดในภาพประกอบประเภทนี้ ซึ่ ง
ชิ้นส่ วนที่อยูใ่ นแบบภาพประกอบแบบทัว่ ไปจะมีหมายเลขชิ้นส่ วนและตารางรายการกากับไว้ดว้ ย

ภาพที่ 2.11 ภาพประกอบแบบทัว่ ไป (General Assembly)

2.4.4 แบบประกอบย่ อย (Sub-Assembly) งานประกอบโดนเฉพาะเครื่ องจักรจะมีการ


ประกอบของชิ้ นส่ วนจานวนมากหรื อเรี ยกอีกอย่างหนึ่ งก็คือ “การประกอบซ้อนประกอบ” เช่ น
เครื่ องกลึ ง จะมี ก ารประกอบเป็ นชุ ดย่อยๆ เช่ นประกอบชุ ดหัวเครื่ อง ประกอบชุ ดเฟื องส่ งก าลัง
ประกอบชุ ดแท่นเลื่ อน ประกอบชุ ดศูนย์ทา้ ยแท่น เป็ นต้น จากการประกอบย่อยๆ เหล่านี้ จึงนามา
ประกอบรวมกัน อี ก ครั้ งตามต าแหน่ ง ที่ ไ ด้รั บ การออกแบบไว้จ นเป็ นเครื่ อ งกลึ ง ดัง นั้น แบบ
ประกอบย่อยจึ งเป็ นการแสดงการประกอบเฉพาะหน่ วยที่ ตอ้ งการแสดง แบบประกอบนี้ จะเป็ น
ประโยชน์มากสาหรับฝ่ ายประกอบ หรื อฝ่ ายงานซ่ อมบารุ งเพราะจะตรวจสอบชิ้นส่ วนเฉพาะจุดที่
เกิดความเสี ยหายหรื อจุดที่ตอ้ งการประกอบชิ้นงาน
69

ภาพที่ 2.12 แบบประกอบย่อย (Sub-Assembly) ชุดหัวเครื่ องกลึง


ที่มา: DENFORD MACHINE TOOLS LTD.(คู่มือเครื่ องกลึง)

2.4.5 แบบประกอบภาพตัด (Sectioned Assembly) เป็ นภาพประกอบที่แสดงภาพตัดของ


ชิ้ นงานประกอบเพื่อแสดงให้เห็ นชิ้ นส่ วนที่ อยู่ภายใน ทาให้มองเห็ นรายละเอียดของรู ปร่ างและ
ขนาดรวมถึ ง ต าแหน่ ง การประกอบได้อ ย่ า งชัด เจน เพราะถ้า แสดงเส้ น ประในชิ้ น ส่ ว นของ
ภาพประกอบที่ถูกบังจะทาให้การอ่านแบบเกิดความยุง่ ยากและสับสน บางครั้งทาให้เกิดความเข้าใจ
ที่คลาดเคลื่อนส่ งผลเสี ยต่อกระบวนการผลิตเป็ นอย่างยิง่

ภาพที่ 2.13 แบบประกอบแบบภาพตัด (Sectioned Assembly)


70

2.4.6 ภาพประกอบแผนผัง (Diagram Assembly) เป็ นภาพประกอบที่แสดงความสัมพันธ์


ของโครงสร้ างการประกอบของเครื่ องจักร ซึ่ งจะแสดงตาแหน่ งของแต่ละส่ วน ระบบไฟฟ้ า ท่อ
ทางเดินน้ ามันหรื อน้ ามันหล่อเย็นเป็ นต้น

(ก) ระบบทางเดินน้ ามันไฮดรอลิกส์ (ข) ระบบไฮดรอลิกส์เครื่ องเจียระไนราบ


ภาพที่ 2.14 ภาพประกอบแผนผัง (Diagram Assembly)

2.4.7 แบบภาพประกอบการทางาน (Operation Assembly) เป็ นแบบภาพประกอบที่ขยาย


เฉพาะส่ วนเพื่อแสดงการทางานของส่ วนประกอบที่ตอ้ งการให้เห็นการทางานที่ชดั เจนยิง่ ขั้น หรื อ
เป็ นการขยายจุดเล็กๆ เพื่อให้สามารถมองเห็นรายละเอียดเพื่อลดข้อผิดพลาดในกระบวนการผลิต

ภาพที่ 2.15 แบบภาพประกอบการทางาน (Operation Assembly)


71

2.4.8 แบบภาพประกอบสั่ งงาน (Working Assembly) เป็ นแบบภาพประกอบที่แสดง


รายละเอี ย ดของส่ วนประกอบ รู ป ร่ า ง ขนาด แม้ก ระทั่ง อาจจะมี ก ารระบุ ก รรมวิธี ก ารผลิ ต ใน
ลักษณะของภาพฉาย ซึ่ งการใช้งานภาพประกอบลักษณะนี้ จะใช้สาหรับงานประกอบที่ไม่มีความ
ซับซ้อนมากนัก

ภาพที่ 2.16 แบบภาพประกอบสัง่ งาน (Working Assembly)

2.4.9 แบบภาพประกอบติดตั้ง (Installation assembly) ภาพประกอบแบบติ ดตั้งนี้ จะ


แสดงในลักษณะแบบแยกชิ้นส่ วน (Explode assembly) เพื่อให้ผใู้ ช้งานสามารถเข้าใจวิธีการถอด
และประกอบ เรี ย งล าดับ การประกอบก่ อนหลัง ได้อย่า งถู ก ต้อ ง ลดข้อผิ ด พลาดที่ เ กิ ด จากการ
ประกอบชิ้นส่ วนต่างๆ
72

ภาพที่ 2.17 แบบภาพประกอบติดตั้ง (Installation assembly)


ที่มา: DENFORD MACHINE TOOLS LTD.(คู่มือเครื่ องกลึง)

2.5 การเขียนแบบภาพประกอบ
การเขียนแบบภาพประกอบสามารถเขียนได้หลายลักษณะทั้งภาพ 3 มิติ (Isometric) หรื อ
ภาพ 2 มิติ โดยที่ภาพ 2 มิติจะเขียนเป็ นภาพฉายเพียงด้านเดียว สองด้าน หรื อสามด้าน ขึ้นอยูก่ บั การ
แสดงรายละเอียดของงานว่าแสดงรายละเอียดได้ครบทุกชิ้ นส่ วนหรื อไม่ โดยปกติถา้ เป็ นงานทรง
กลมหรื อทรงกระบอกภาพฉายด้านเดียวก็เพียงพอ แต่ถา้ เป็ นงานลักษณะอื่นอาจจะใช้ภาพฉายสอง
ด้าน หรื อสามด้าน การเขียนแบบภาพประกอบก็เพื่อแสดงให้เห็นการประกอบกันของชิ้นส่ วนว่ามี
การประกอบกันในลักษณะใด ทาให้การถอดประกอบชิ้นส่ วนเป็ นไปอย่างถูกวิธีและไม่ก่อให้เกิ ด
ความเสี ยหายแก่ชิ้นส่ วนนั้นๆ ดังนั้นการเขียนภาพประกอบมีข้ นั ตอนการเขียนดังนี้
ขั้นตอนการเขียนแบบภาพประกอบมีดังนี้
1. วิเคราะห์ ชิ้นงาน ศึกษาชิ้นงานที่จะนามาประกอบกันว่าตาแหน่งใดควรจะสวมประกอบ
เข้าด้วยกัน หรื อลาดับการสวมประกอบชิ้นใดควรประกอบก่อน ชิ้นใดควรประกอบหลังตามลาดับ
73

หมายเหตุ: จากตัวอย่าง CASTER นี้ ไม่ได้กาหนดสลักเกลียวยึดชิ้นส่ วน A และ B เนื่ องจาก


ชิ้นส่วนนี้ไม่มีเกลียวใน การใช้งานต้องนาสลักเกลียวไปยึดกับชิ้นส่วนอื่นต่อไป

ภาพที่ 2.18 ชิ้นส่วนงาน CASTER

2. เลือกชิ้นส่ วนที่จะต้ องประกอบกัน ในการเขียนแบบงานภาพประกอบเพื่อให้การเขียน


แบบงานนั้นง่ายจะต้องมีชิ้นส่ วนหลักซึ่ งอาจจะเป็ นชิ้นงานที่ใหญ่ที่สุด ชิ้นงานที่อยูน่ อกสุ ด ชิ้นงาน
ที่ อยู่ตรงตาแหน่ ง ศู นย์กลางที่ สุ ด ชิ้ นงานที่ อยู่ด้า นล่ า งที่ สุ ด ชิ้ นงานที่ อยู่ด้า นบนที่ สุด หรื อเป็ น
ชิ้นส่ วนที่มีชิ้นส่ วนอื่นๆ มาสวมปนะกอบมากที่สุด เป็ นต้น จากนั้นก็พิจารณาชิ้นส่ วนที่มาประกอบ
กับชิ้นส่ วนหลักและเลือกชิ้นส่ วนลาดับถัดไปที่จะมาสวมประกอบกันจนเป็ นชิ้นงานสาเร็ จ
ตัวอย่างจากภาพที่ 2.18
2.1 เลือกชิ้นงานที่เป็ นชิ้นส่ วนหลัก เมื่อวิเคราะห์ชิ้นส่ วนแล้วนั้น ชิ้ นส่ วน A มี
ความน่าจะเป็ นชิ้นส่ วนหลักมากที่สุด เนื่องจากเป็ นส่ วนฐานของชิ้นงาน

ภาพที่ 2.19 ชิ้นส่วนหลักฐาน CASTER


74

2.2 เลือกชิ้นส่ วนที่จะมาประกอบกับชิ้นส่ วนหลัก เมื่อพิจารณาจากชิ้นงานทั้งหมด


ส่ วนที่จะนามาประกอบกับชิ้นส่ วน A คือ B1 และ B2 เนื่ องจากฐานของชิ้นส่ วน B แบนราบสามารถ
วางบนชิ้นส่ วน A ได้ และยังมีตาแหน่งรู ที่ตรงกัน

B2
B1
A

ภาพที่ 2.20 ประกอบชิ้นส่วน A , B1 และ B2

2.3 เลือกชิ้ นส่ ว นที่จะมาประกอบกับ ชิ้ นส่ วน B1 และ B2 เมื่อพิจารณาจาก


ชิ้นงานทั้งหมดส่ วนที่จะนามาประกอบกับชิ้นส่ วน B1 และ B2 คือE1 และ E2 เนื่องผิวภายนอกของ
เดือยที่ยื่นออกมาพอดีกบั ขนาดของรู ชิ้นส่ วน B และควรให้บ่าของชิ้นส่ วน E ยึดจากด้านใน เพราะ
ถ้าพิจารณาจากการทางานแล้วบ่าของชิ้ นส่ วน E จะเป็ นตัวบังคับล้อไม่ให้หลุ ดจากเพลาดังนั้นจึง
ควรให้บ่าของชิ้นส่ วน E อยูด่ า้ นในจึงจะเหมาะสมที่สุด
E2 E1

B2
B1

ภาพที่ 2.21 ประกอบชิ้นส่วน B1, B2, E1 และ E2

2.4 เลือกชิ้นส่ วนที่จะมาประกอบกับชิ้นส่ วน E1 และ E2 เมื่อพิจารณาจากชิ้นงาน


ที่เหลือควรนาชิ้นส่ วน C และ D ประกอบกันแล้วนามาสวมกับชิ้นส่ วน E
75

ภาพที่ 2.22 ประกอบชิ้นส่วน C, D และ E1

1. พิจารณาการวางภาพ เมื่ อได้ชิ้นงานประกอบสาเร็ จแล้วลาดับถัดมาเป็ นการเลื อกการ


วางภาพประกอบเพื่อเขียนแบบภาพประกอบ ก็จะเหมือนกับแบบแยกชิ้ นคือ ภาพด้านหน้า ภาพ
ด้านบน และภาพด้านข้าง การวางภาพต้องพิจารณาจากชิ้นงานประกอบถ้าไม่มีความซับซ้อนหรื อ
สามารถวางภาพแล้วเข้าใจแบบงานได้ภายในด้านเดียวก็ควรเลื อกใช้การวางภาพด้านเดียว แต่เมื่อ
พิจารณาแล้วแบบงานมีความซับซ้อนก็จะต้องใช้การวางภาพประกอบสองด้าน หรื อสามด้านขึ้น
ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ การวางภาพควรเลือกใช้การวางภาพให้น้อยที่สุด ดังตัวอย่างจากภาพที่
2.22
ภาพด้านบน

ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง

ภาพที่ 2.23 ทิศทางการวางภาพประกอบ


จากภาพที่ 2.23 พิจารณาได้วา่ การเขียนภาพประกอบใช้เพียงแค่ภาพด้านหน้าเพียง
ด้านเดียวก็สามารถเห็นรายละเอียดของชิ้นงานได้ครบหมดทุกชิ้น ดังนั้นในการเขียนภาพประกอบ
ควรเลือกใช้ภาพด้านหน้าในการเขียนแบบ
76

ภาพที่ 2.24 ภาพด้านหน้า CASTER

การเขียนแบบภาพประกอบ
1. เขียนภาพด้านหน้าของชิ้ นส่ วน A เป็ นอันดับแรก ตามที่ได้พิจารณาตั้งแต่ตอนต้น
สมควรให้เป็ นชิ้นส่ วนหลักเนื่องจากเป็ นส่ วนฐานของชิ้นงาน

ภาพที่ 2.25 ภาพด้านหน้า ชิ้นส่วน A

2. เขียนภาพด้านหน้าชิ้นส่ วน B1 และ B2 วางด้านบนของชิ้นส่ วน A ตามภาพที่ 2.26


(ก) จากนั้นทาการเขียนเป็ นภาพตัดโดยการเปลี่ ยนเส้นประให้เป็ นเส้นเต็มหนา แล้วทาการใส่ ลาย
ตัดให้กบั ชิ้นงาน โดยในการประกอบงานซ้อนกันให้เขียนลายตัดคนละทิศทางเพื่อลดความสับสน
ตามภาพที่ 2.26 (ข)

(ก) ประกอบชิ้นส่วน A และ B (ข) ประกอบเขียนภาพตัดชิ้นส่วน A และ B


ภาพที่ 2.26 ภาพด้านหน้า ประกอบชิ้นส่วน A และชิ้นส่วน B
77

3. เขียนภาพด้านหน้าชิ้นส่ วน E1 และ E2 สวมกับรู ของชิ้นส่ วน B1 และ B2 ตามภาพที่


2.27 จากนั้นทาการเขียนเป็ นภาพตัดโดยการเปลี่ยนเส้นประให้เป็ นเส้นเต็มหนา แล้วทาการใส่ ลาย
ตัดให้กบั ชิ้นงาน โดยในการประกอบงานซ้อนกันให้เขียนลายตัดคนละทิศทางเพื่อลดความสับสน

ภาพที่ 2.27 ภาพด้านหน้าการสวมประกอบ E1,E2 เข้ากับส่วนประกอบ B1,B2

4. เขียนภาพด้านหน้าชิ้นส่ วน D สวมกับรู ของชิ้นส่ วน E1 และ E2 ตามภาพที่ 2.28 แล้ว


โดยชิ้นส่ วน D มีลกั ษณะเป็ นเพลาตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าเพลาและชิ้นส่ วนมาตรฐานต่างๆ
ในการประกอบจะได้รับการยกเว้นไม่ตอ้ งเขียนเส้นลายตัด

ภาพที่ 2.28 ภาพด้านหน้าการสวมประกอบ D เข้ากับส่วนประกอบ E1,E2

5. เขียนภาพด้านหน้าชิ้นส่ วน C สวมกับรู ของชิ้นส่ วน D ตามภาพที่ 2.29 จากนั้นทาการ


เขียนเป็ นภาพตัดให้กบั ชิ้ นส่ วน C แล้วทาการใส่ ลายตัดให้กบั ชิ้ นงาน โดยในการประกอบงานให้
เขียนลายตัดคนละทิศทางกับชิ้นส่ วน E เพื่อลดความสับสน
78

ภาพที่ 2.29 ภาพด้านหน้าสวมประกอบแบบภาพตัด CASTER

6. เขียนเส้นชี้ชิ้นส่ วนพร้อมหมายเลขชิ้นส่ วน โดยการเขียนเส้นชี้ ชิ้นส่ วนให้ใช้เส้นเต็ม


บางขนาดของเส้น 0.25 และตัวเลขที่ใช้กากับชิ้นส่ วนเขียนด้วยเส้นเต็มหนาขนาดของเส้น 0.50 มี
ความสู งของตัวอักษร 5 มม. และให้มีวงกลมล้อมรอบตัวเลขขนาด 10 มม. ในการกาหนดหมายเลข
ชิ้ นงานจะกาหนดชิ้ นส่ วนหลักๆ เป็ นลาดับต้นๆ ก่อน ชิ้ นส่ วนย่อยๆให้กาหนดเป็ นลาดับถัดไป
ตาแหน่ งในการวางเลขชี้ ตาแหน่งให้อยูใ่ นแนวตั้งหรื อแนวนอนหรื อทั้งสองแนวผสมผสานกันได้
ตามความเหมาะสม จัดให้ตาแหน่งการวางตัวเลขแนวเดียวกันให้เสมอกัน

ภาพที่ 2.30 ภาพประกอบพร้อมเลขชี้ตาแหน่ง

หลัง จากที่ เ ขี ย นแบบภาพประกอบส าเร็ จ แล้ว ขั้น ตอนล าดับ ถัด ไปจะต้อ งก าหนด
รายละเอียดลงในตารางรายการ (Title Block) ซึ่ งจะขอกล่าวในบทถัดไป

You might also like