พระราชบัญญัติการเดินอากาศ 2497 UPDATE ลงเว็บ PDF

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 146

ฝ่ายกฎหมาย กพท.

พระราชบัญญัติ
การเดินอากาศ
พ.ศ. ๒๔๙๗
---------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๗
เป็นปีที่ ๙ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้ าฯ
ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคาแนะนาและยินยอม
ของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พุทธศักราช ๒๔๘๐
(๒) พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๐
(๓) พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๙๒ และ
(๔) บรรดากฎหมาย กฎ และข้ อ บั ง คั บ อื่ น ๆ ในส่ ว นซึ่ ง ขั ด หรื อ แย้ ง กั บ บทแห่ ง
พระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔ . ในพระราชบัญญัตินี้
“อนุสัญญา” หมายความว่า อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ซึ่งทาขึ้น
ที่เมืองชิคาโกเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ รวมตลอดถึงภาคผนวกและบทแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวก
หรืออนุสัญญานั้น
๑“ภาคผนวก” หมายความว่า ภาคผนวกและบทแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวกของอนุสัญญา

เพื่อกาหนดมาตรฐานและข้อพึงปฏิบัติระหว่างประเทศที่ใช้บังคับกับการบิ นพลเรือนที่มีผลใช้บังคับกับ
ประเทศไทย


บทนิ ย ามค าว่ า “ภาคผนวก” และ “การบิ น พลเรื อ น” เพิ่ ม เติ ม โดยพระราชบั ญ ญั ติ ก ารเดิ น อากาศ
(ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๒ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

“การบิ น พลเรื อ น” หมายความว่า การเดิ น อากาศ การปฏิ บั ติ ก ารของอากาศยาน


พลเรื อ นเพื่ อ วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องการขนส่ งทางอากาศเพื่ อ การพาณิ ช ย์ การท างานทางอากาศ หรื อ
การบินทั่วไป และให้หมายความรวมถึงกิจกรรมอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือเป็นส่วนประกอบกับกิจกรรม
ดังกล่าว
“อากาศยาน” หมายความรวมถึง เครื่องทั้งสิ้นซึ่งทรงตัวในบรรยากาศ โดยปฏิกิริยา
แห่งอากาศ เว้นแต่วัตถุซึ่งระบุยกเว้นไว้ในกฎกระทรวง
๒“อากาศยานราชการ” หมายความว่า อากาศยานทีใ่ ช้ในราชการตามที่กาหนดในมาตรา ๕

“อากาศยานขนส่ง” หมายความว่า อากาศยานซึ่งใช้หรือมุ่งหมายสาหรับใช้ขนส่งของ


หรือคนโดยสารเพื่อบาเหน็จเป็นทางค้า
“อากาศยานส่วนบุคคล” หมายความว่า อากาศยานซึ่งใช้หรือมุ่งหมายสาหรับใช้ เพื่อ
ประโยชน์ในกิจการอันมิใช่เพื่อบาเหน็จเป็นทางค้า
“อากาศยานต่างประเทศ” หมายความว่า อากาศยานซึ่งจดทะเบียนและมีสั ญชาติ
ตามกฎหมายต่างประเทศ
“ร่มอากาศ” หมายความว่า ร่มที่ใช้สาหรับหน่วงการหล่นของคน สิ่งของ หรือสัตว์จาก
ที่สูงโดยความต้านทานของอากาศ
“ผลิตภัณฑ์” หมายความว่า อากาศยาน ส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน ชิ้นส่วน
รับรองคุณภาพ ชิ้นส่วนมาตรฐาน หรือบริภัณฑ์ แล้วแต่กรณี
“ล าตั ว อากาศยาน” หมายความรวมถึ ง โครงสร้ างของอากาศยาน แต่ ไม่ รวมถึ ง
ส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน
“ส่ ว นประกอบส าคั ญ ของอากาศยาน” หมายความว่ า เครื่ อ งยนต์ ใบพั ด และ
ส่วนประกอบอื่นของอากาศยานทีผ่ ู้อานวยการประกาศกาหนด
“เครื่ องยนต์ ” หมายความว่า เครื่อ งที่ ใช้ ห รือมุ่ งหมายส าหรับ ใช้ในการขั บ เคลื่ อ น
อากาศยาน รวมตลอดถึงชิ้นส่วน อุปกรณ์ และส่วนประกอบของเครื่องยนต์ แต่ไม่รวมถึงใบพัด
“ใบพัด” หมายความว่า กลอุปกรณ์ที่ใช้สาหรับการขับเคลื่อนอากาศยานโดยมีชุดใบ
ครีบติดกับเพลาขับของเครื่องยนต์ซึ่งเมื่อทาการหมุนจะก่อให้เกิดแรงผลักดันอันเป็นผลจากการกระทา
ของชุดใบครีบต่ออากาศในแนวตั้งฉากกับระนาบของการหมุ นโดยประมาณ รวมตลอดถึง ชิ้นส่วน
อุปกรณ์ หรือส่วนประกอบที่ใช้ในการควบคุม แต่ไม่รวมถึงใบครีบในเครื่องยนต์ และใบพัดประธานหรือ
ใบพัดรองของเฮลิคอปเตอร์หรือของอากาศยานอื่นที่มีลักษณะคล้ายกับเฮลิคอปเตอร์
“ชิ้นส่วนของอากาศยาน” หมายความว่า ลาตัวอากาศยาน ชิ้นส่วนของลาตัวอากาศยานหรือ
ชิ้นส่วนของส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน
“ชิ้น ส่วนรับ รองคุณ ภาพ” หมายความว่า ชิ้นส่วนของอากาศยานที่ ผลิ ตขึ้น เพื่อใช้
ติดตั้งกับอากาศยาน หรือเพื่อใช้ทดแทนชิ้นส่วนของอากาศยานตามที่กาหนดไว้ในใบรับรองแบบ
“ชิ้นส่วนมาตรฐาน” หมายความว่า ชิ้นส่วนที่ผลิต ขึ้นโดยได้รับการรับรองมาตรฐาน
ตามกฎหมายว่าด้ว ยมาตรฐานผลิ ตภั ณ ฑ์ อุตสาหกรรมหรือตามมาตรฐานที่องค์กรของต่างประเทศ


เพิ่ ม เติ ม โดยพระราชบั ญ ญั ติ ก ารเดิ น อากาศ (ฉบั บ ที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ และแก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดย
พระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๓ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

กาหนด โดยมาตรฐานดังกล่าวผู้อานวยการประกาศให้ใช้เป็นมาตรฐานชิ้นส่วนของอากาศยานได้ตาม
มาตรา ๓๔ วรรคสอง
“บริภัณฑ์” หมายความว่า เครื่องวัด กลไก ชิ้นส่วน อุปกรณ์ และส่วนประกอบที่ใช้
หรือมุ่งหมายที่จะใช้ในการทางานหรือในการควบคุมอากาศยานในระหว่างการบิน ไม่ว่าจะติดตั้งหรือ
ประกอบอยู่ภายในหรือภายนอกอากาศยาน รวมตลอดถึงอุปกรณ์สื่อสาร ทั้งนี้ เฉพาะที่ผู้อานวยการ
ได้กาหนดมาตรฐานทางเทคนิคตามมาตรา ๓๔ (๑)
“แบบที่ได้รับการรับรอง” หมายความว่า แบบอากาศยาน แบบส่วนประกอบสาคัญ
ของอากาศยานที่มีการรับรองโดยใบรับรองแบบหรื อใบรับรองแบบส่วนเพิ่มเติม หรือโดยหนังสือรับรอง
รวมทั้งหนังสือให้ความเห็นชอบการแก้ไขดัดแปลงแบบอากาศยานหรือแบบส่วนประกอบสาคัญของ
อากาศยาน ตลอดจนแบบชิ้นส่วนรับรองคุณภาพตามใบอนุญาตผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพ และแบบ
บริภัณฑ์ตามใบอนุญาตผลิตบริภัณฑ์
“ใบรับรองแบบ” หมายความว่า หนังสือสาคัญที่ออกให้เพื่อรับรองแบบที่ออกสาหรับ
อากาศยานต้นแบบหรือต้นแบบส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานตามมาตรา ๔๑/๒ รวมทั้งใบรับรอง
แบบส่วนเพิ่มเติม และให้หมายความรวมถึงใบรับรองแบบหรือใบรับรองแบบส่วนเพิ่มเติมที่อ อกให้โดย
รัฐภาคีแห่ งอนุ สั ญ ญาหรือ ประเทศที่ได้ทาความตกลงกับประเทศไทย และได้รับ หนังสือรับรองตาม
มาตรา ๔๑/๑๓ และมาตรา ๔๑/๑๔
“ใบรับรองแบบส่วนเพิ่มเติม” หมายความว่า หนังสือสาคัญที่ออกให้เพื่อรับรองแบบที่
แก้ไขเพิ่มเติมอากาศยานต้นแบบ หรือต้นแบบส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานที่มีใบรับรองแบบแล้ว
ตามมาตรา ๔๑/๕ วรรคสอง (๒) (ก) หรือมาตรา ๔๑/๖ วรรคสอง
“ผู้ได้รับใบรับรองแบบ” หมายความรวมถึงผู้ได้รับโอนสิทธิจากผู้ที่ได้รับใบรับรองแบบด้วย
“ใบอนุญาตผลิตอากาศยาน” หมายความว่า หนังสือสาคัญที่ออกให้สาหรับผู้ได้รับ
อนุญาตให้ผลิตอากาศยานตามมาตรา ๔๑/๒๑
“ใบอนุญาตผลิตส่วนประกอบสาคัญ ของอากาศยาน” หมายความว่า หนังสือสาคัญ
ที่ออกให้สาหรับผู้ได้รับอนุญาตให้ผลิตส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานตามมาตรา ๔๑/๓๒
“ใบอนุ ญ าตผลิ ต ชิ้ น ส่ ว นรับ รองคุ ณ ภาพ” หมายความว่ า หนั งสื อ ส าคั ญ ที่ อ อกให้
สาหรับผู้ได้รับอนุญาตให้ผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพตามมาตรา ๔๑/๓๗
“ใบอนุ ญ าตผลิ ต บริ ภั ณ ฑ์ ” หมายความว่า หนั งสื อ ส าคั ญ ที่ อ อกให้ ส าหรับ ผู้ ได้ รั บ
อนุญาตให้ผลิตบริภัณฑ์ตามมาตรา ๔๑/๔๗
“ใบส าคั ญ สมควรเดิ น อากาศ” หมายความว่ า หนั ง สื อ ส าคั ญ ส าหรั บ อากาศยาน
ที่ออกให้เพื่อแสดงว่าอากาศยานลาใดมีความสมควรเดินอากาศตามมาตรา ๔๑/๖๑ และให้หมายความ
รวมถึงใบสาคัญสมควรเดินอากาศที่รัฐภาคีแห่งอนุสัญญาหรือประเทศที่ได้ทาความตกลงกับประเทศไทย
ออกให้ตามมาตรา ๔๑/๗๒
“หนั งสื อ รั บ รองความสมควรเดิ น อากาศ” หมายความว่ า หนั งสื อ ส าคั ญ ส าหรั บ
ส่ ว นประกอบส าคั ญ ของอากาศยาน ชิ้ น ส่ ว นรั บ รองคุ ณ ภาพ หรื อ บริภั ณ ฑ์ ที่ อ อกให้ เพื่ อ แสดงว่ า
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ผลิตขึ้นตามแบบที่ได้รับการรับรอง หรือได้รับการบารุงรักษาให้คงสภาพตามแบบที่
ได้รับการรับรองหรือตามคาสั่งความสมควรเดินอากาศ
“คาสั่งความสมควรเดินอากาศ” หมายความว่า คาสั่งของผู้อานวยการตามมาตรา ๔๑/๘๒
เพื่อให้อากาศยานใช้งานต่อไปได้โดยปลอดภัย
๔ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

“การบารุงรักษา” หมายความว่า งานที่ต้องทาเพื่อให้อากาศยานคงความต่อเนื่องของ


ความสมควรเดิน อากาศ เช่น การซ่อม การตรวจพินิจ การถอดเปลี่ ยน การดัดแปลง หรือการแก้ไข
ข้อบกพร่อง
“ใบรั บ รองหน่ ว ยซ่ อ ม” หมายความว่ า หนั ง สื อ ส าคั ญ ที่ อ อกให้ ส าหรั บ ผู้ ไ ด้ รั บ
การรับรองให้ประกอบกิจการบารุงรักษาอากาศยาน ส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน หรือบริภัณฑ์
รวมทั้งชิ้นส่วนของอากาศยานตามมาตรา ๔๑/๙๔
“ผู้ดาเนินการหน่วยซ่อม” หมายความว่า บุคคลที่ผู้ได้รับใบรับรองหน่ วยซ่อม แต่งตั้ง
ให้มีหน้าทีด่ ูแลและรับผิดชอบในการดาเนินการของหน่วยซ่อมตามมาตรา ๔๑/๑๐๐
๓“บริการการเดินอากาศ” หมายความว่า บริการการจัดการจราจรทางอากาศ บริการ

ระบบสื่อสาร ระบบช่วยการเดินอากาศ และระบบติดตามอากาศยาน บริการอุตุนิยมวิทยาการบิน บริการ


ข่าวสารการบิน บริการออกแบบวิธีปฏิบัติการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน และบริการค้นหาและ
ช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ซึ่งจัดให้มีขึ้นสาหรับการจราจรทางอากาศในทุกช่วงของการปฏิบัติ
การบิน
“การจั ดการจราจรทางอากาศ” หมายความว่า การจัดการจราจรทางอากาศและ
ห้วงอากาศอย่างพลวัตและบู รณาการ ซึ่งได้แก่ บริการจราจรทางอากาศ การจัดการห้วงอากาศ และ
การจัดการความคล่องตัวของการจราจรทางอากาศ
“บริการจราจรทางอากาศ” หมายความว่า บริการที่เกี่ยวกับ ข้อมูลสาหรับเที่ยวบิน
การเฝ้าระวังและแจ้งเตือน การแนะนาจราจรทางอากาศ หรือการควบคุมการจราจรทางอากาศในพื้นที่
ควบคุม เขตประชิดสนามบิน และบริเวณสนามบิน
“บริการอุตุนิยมวิทยาการบิน” หมายความว่า บริการที่เกี่ยวกับการตรวจและรายงาน
สภาพอากาศบริเวณสนามบิน การพยากรณ์อากาศเพื่อการบิน หรือการแจ้งเตือนสภาพอากาศที่เป็น
อันตรายต่อการบิน
“บริการข่าวสารการบิน ” หมายความว่า บริการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ข้อมูลและข่าวสาร
ด้านการบินซึ่งจาเป็นต่อความปลอดภัย ความเป็นระเบียบ และความมีประสิทธิภาพของการเดินอากาศ
ภายในพื้นที่ความรับผิดชอบที่กาหนด
“บริ การออกแบบวิธี ป ฏิ บั ติก ารบิน ด้ วยเครื่องวัด ประกอบการบิน ” หมายความว่า
บริการที่จั ดตั้งขึ้น เพื่ อออกแบบ จัดเก็บ ข้อมูล และเอกสาร ตรวจสอบความถูกต้ อง บารุ งรักษาและ
ทบทวนวิธีปฏิบัติการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน เพื่อให้การเดินอากาศมีความปลอดภัย ถูกต้อง
และมีประสิทธิภาพ
“บริการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ” หมายความว่า บริการที่จัดตั้งขึ้น
เพื่อเฝ้าระวังอากาศยานที่อยู่ในภาวะอันตราย การติดต่อสื่ อสาร การประสานงาน และการปฏิบัติการ
ค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งการช่วยเหลือทางการแพทย์เบื้ องต้น หรือการเคลื่อนย้ายทางการแพทย์
โดยใช้ทรัพยากร อากาศยาน เรือ ยานพาหนะอื่น และอาคารสถานที่ของทั้งภาครัฐและเอกชน
“การขนส่งทางอากาศเพื่ อการพาณิ ชย์ ” หมายความว่ า การปฏิ บัติการของอากาศยาน
ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งคนโดยสาร สินค้า หรือไปรษณียภัณฑ์ เพื่อบาเหน็จทางการค้า


บทนิ ย ามคาว่า “บริก ารการเดิ น อากาศ” ถึงค าว่า “ห้ ว งอากาศที่ ใช้ ในการเดิ น อากาศ” เพิ่ ม เติม โดย
พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๕ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

“ผู้ตรวจสอบด้านการบิน” หมายความว่า บุคคลที่ผู้อานวยการแต่งตั้งให้ทาหน้าที่เป็น


ผู้ตรวจสอบความปลอดภัยด้านการบิน และผู้ตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยด้านการบิน
“สมาชิ กลู กเรือ” หมายความว่า ผู้ ซึ่งได้รับ มอบหมายจากผู้ ดาเนิน การเดิ นอากาศ
ให้ปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ บนอากาศยาน
“วัตถุอันตราย” หมายความว่า วัตถุหรือสารที่สามารถก่อให้เกิดความเสี่ ยงต่อสุขภาพ
ความปลอดภั ย ทรั พ ย์ สิ น หรื อ สิ่ งแวดล้ อ ม ในขณะขนส่ งทางอากาศ ที่ ผู้ อ านวยการก าหนดเป็ น
วัตถุอันตรายตามมาตรา ๑๕/๒๘
“การทางานทางอากาศ” หมายความว่า การปฏิบัติการของอากาศยานเพื่อการบริการ
อย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง เป็ น การเฉพาะ เช่ น การเกษตร การก่ อ สร้ า ง การถ่ า ยภาพ การส ารวจ
การสังเกตการณ์ การลาดตระเวน การบินทดสอบ การโฆษณาโดยใช้อากาศยาน หรือการลากเครื่องร่อนหรือ
ลากป้ายโฆษณา
“การบิ น ทั่ ว ไป” หมายความว่ า การปฏิ บั ติ ก ารของอากาศยานนอกเหนื อ จาก
การขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิชย์และการทางานทางอากาศ
“สถานที่ทาการ” หมายความรวมถึงสนามบิน โรงเก็บอากาศยาน หน่วยซ่อมที่ได้รับ
การรับรอง โรงงาน ลานจอด ที่เก็บน้ามันเชื้อเพลิง สานักงานของผู้ประกอบการ พื้นที่ขนถ่ายสินค้า
สถานที่จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม สถานที่เก็บพัสดุอากาศยาน ยานพาหนะ และสถาบันฝึกอบรม
ด้านการบิน
“สิ่งอานวยความสะดวกในการเดินอากาศ” หมายความว่า เครื่องอานวยความสะดวก
ในการเดินอากาศ เครื่องมือหรือสิ่งอานวยความสะดวกในสนามบินอย่างอื่น ที่ใช้หรือสามารถใช้หรือ
ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สาหรับช่วยในการเดินอากาศของอากาศยาน รวมถึงสนามบิน พื้นที่ลงจอด ไฟ หรือ
เครื่องมืออุปกรณ์ใด ๆ สาหรับการเผยแพร่ข้อมูลสภาพอากาศ การส่งสัญญาณ การค้นหาทิศทางวิทยุ
หรือวิทยุ หรือการสื่อสารโดยแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น ๆ และโครงสร้างหรือกลไกอื่น ๆ ที่มีวัต ถุประสงค์เพื่อ
นาทางหรือควบคุมเที่ยวบินในอากาศหรือการขึ้นลงของอากาศยาน
“ห้วงอากาศที่ใช้ในการเดินอากาศ” หมายความว่า ห้วงอากาศเหนือระดับความสู งขั้น
ต่ าที่ ก าหนดไว้ เพื่ อ การท าการบิ น และห้ ว งอากาศที่ จ าเป็ น ต่ อ ความปลอดภั ย ในการบิ น ขึ้ น และ
ลงจอดของอากาศยาน
“สนามบิน” หมายความว่า พื้นที่ที่กาหนดไว้บนพื้นดินหรือน้าหรื อพื้นที่อื่นสาหรับใช้
ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเพื่อการขึ้นลงหรือเคลื่อนไหวของอากาศยาน รวมตลอดถึงอาคาร สิ่งติดตั้งและ
อุปกรณ์ ซึ่งอยู่ภายในสนามบินนั้น
“สนามบินอนุญาต” หมายความว่า สนามบินที่บุคคลได้ รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตาม
พระราชบัญญัตินี้ และสนามบินที่รัฐมนตรีประกาศกาหนด
“ที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน” หมายความว่า พื้นที่ที่จัดไว้บนพื้นดินหรือน้าหรือ
พื้นที่อื่นสาหรับใช้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเพื่อการขึ้ นลงหรือเคลื่อนไหวของอากาศยานเป็นการชั่วคราว
ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กาหนดในกฎกระทรวง รวมตลอดถึงพื้นที่ดินที่บุคคลซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดิน
นั้นได้หักร้างตัดฟันต้นไม้ หรือทาด้วยประการใด ๆ ให้เป็นที่เรียบซึ่งอากาศยานอาจขึ้นลงได้ และเป็นพื้นที่
กว้างตั้งแต่สามสิบเมตรขึ้นไป และยาวตั้งแต่สามร้อยเมตรขึ้นไป
“ที่ ขึ้น ลงชั่วคราวอนุ ญ าต” หมายความว่า ที่ขึ้นลงชั่ว คราวของอากาศยานที่ ได้รับ
อนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๕๓ หรือที่รัฐมนตรีประกาศกาหนดตามมาตรา ๕๕
๖ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

“ใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะ” หมายความว่า หนังสือสาคัญที่ ออกให้


สาหรับเจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญ าตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุ ญาตที่ได้รับอนุญาตให้ เปิด
ให้บริการแก่สาธารณะตามมาตรา ๖๐/๑
“ระบบการจั ดการด้านนิรภัย” หมายความว่า วิธีการจัดการด้ านนิรภัยการบินและ
ด้านนิ ร ภั ย ภาคพื้ น เพื่ อ ป้ องกั น อุบั ติเหตุ ที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น ซึ่ งรวมถึ งการก าหนดนโยบาย การวางแผน
การจัดโครงสร้างองค์กร ระบบความรับผิดชอบ และวิธีการที่จาเป็นเพื่อความปลอดภัย
๔“การรั ก ษาความปลอดภั ย ” หมายความว่ า การป้ อ งกั น การกระท าอั น เป็ น

การแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อการบินพลเรือน
๕“การกระทาอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย” หมายความว่า การกระทา

หรือพยายามกระทาการที่เป็ น อันตรายต่อความปลอดภัยของการบินพลเรือน ซึ่งรวมถึงการกระทา


ดังต่อไปนี้
(๑) การยึดอากาศยานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
(๒) การทาลายอากาศยานในระหว่างบริการ
(๓) การจับบุคคลเป็นตัวประกันในอากาศยานหรือในสนามบิน
(๔) การบุ ก รุ ก โดยใช้ ก าลั ง เข้ า ไปในอากาศยานห รื อ ที่ ส นามบิ น หรื อ ที่ ตั้ ง
สิ่งอานวยความสะดวกในการเดินอากาศ
(๕) การน าอาวุ ธ หรื อ กลอุ ป กรณ์ วั ต ถุ ห รื อ สิ่ ง ของที่ อ าจเป็ น อั น ตรายขึ้ น ไป
ในอากาศยานหรือเข้าไปที่สนามบินหรือที่ตั้งสิ่งอานวยความสะดวกในการเดินอากาศ
(๖) การใช้ อ ากาศยานในระหว่ า งบริ ก ารอั น อาจเป็ น เหตุ ใ ห้ ถึ ง แก่ ค วามตาย
การบาดเจ็บสาหัส หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง
(๗) การแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จซึ่งเป็นอันตรายต่อความปลอดภัย เช่น ความปลอดภัย
ของอากาศยานระหว่างการบินหรือขณะอยู่บนพื้นดิน หรือความปลอดภัยของผู้โดยสาร สมาชิกลูกเรือ
เจ้าหน้าทีภ่ าคพื้น หรือสาธารณชน ที่สนามบินหรือที่ตั้งสิ่งอานวยความสะดวกในการเดินอากาศ
(๘) การกระทาในลักษณะอื่นตามที่กาหนดในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน
“การตรวจค้น” หมายความว่า การใช้วิธีการทางเทคนิคหรือวิธีการอื่นใดสาหรับตรวจจับ
อาวุธ วัตถุระเบิด หรือวัตถุใด ๆ ซึ่งอาจใช้ในการกระทาอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายใด ๆ
“คาสั่งการรักษาความปลอดภัย” หมายความว่า คาสั่งที่ออกตามมาตรา ๕๐/๒๒
“ตัว แทนควบคุ ม ” หมายความว่า ผู้ ที่ ได้ รับ ใบรับ รองการเป็ น ตั ว แทนควบคุ ม จาก
ผู้อานวยการตามมาตรา ๕๐/๓๑
“การไปรษณีย์ควบคุม ” หมายความว่า ผู้ที่ ได้รับใบรับรองการไปรษณีย์ควบคุมจาก
ผู้อานวยการตามมาตรา ๕๐/๓๑
“ลานจอดอากาศยาน” หมายความว่า บริเวณที่รัฐมนตรีประกาศกาหนดให้เป็นที่จอด
อากาศยานของสนามบินอนุญาต และหมายความรวมถึงสถานที่อื่นนอกบริ เวณดังกล่าวในสนามบิน
อนุญาตที่อากาศยานได้รับอนุญาตให้จอดชั่วคราวเพื่อรับหรือรอรับบริการในกรณีจาเป็นหรือฉุกเฉิน


แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒

บทนิยามคาว่า “การกระทาอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย” ถึงคาว่า “การไปรษณีย์ควบคุม”
เพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๗ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

“บริการในลานจอดอากาศยาน” หมายความว่า บริการใด ๆ ที่ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับ


อากาศยานหรือธุรกิจการเดินอากาศในลานจอดอากาศยาน นอกจากบริการช่างอากาศ
“บริการช่างอากาศ” หมายความว่า บริการที่เกี่ยวกับ เทคนิคในด้านความปลอดภัย
ของอากาศยานหรือการบารุงรักษาอากาศยานในลานจอดอากาศยาน ทั้งนี้ ตามทีก่ าหนดในข้อกาหนด
“เครื่องอานวยความสะดวกในการเดินอากาศ” หมายความว่า เครื่องให้บริการที่จัดตั้ง
ขึ้นเพือ่ อานวยความสะดวกในการเดินอากาศของอากาศยาน รวมตลอดถึงอาคาร สิ่งติดตั้งและอุปกรณ์
ของเครื่องให้บริการนั้น
“ผู้ ป ระจ าหน้ าที่ ” หมายความว่า นักบิ น ต้น หน นายช่ าง พนั กงานวิท ยุ พนักงาน
ควบคุมการจราจรทางอากาศ พนักงานอานวยการบิน และผู้ทาหน้าที่อื่นตามที่กาหนดในข้อบังคับ
“ผู้ควบคุมอากาศยาน” หมายความว่า นักบินที่ผู้ดาเนินการเดินอากาศหรือผู้จดทะเบียน
อากาศยานกาหนดให้เป็นผู้ควบคุมและรับผิดชอบความปลอดภัยสาหรับการบินแต่ละเทีย่ วบิน
“ผู้จัดการสนามบินสาธารณะ” หมายความว่า ผู้อานวยการ ผู้จัดการหรือที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ซึง่ มีอานาจหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่ว คราวอนุญาตที่เปิดให้บริการ
แก่สาธารณะ
๖“ผู้ดาเนิ น การเดิน อากาศ” หมายความว่ า ผู้ป ระกอบธุรกิ จการขนส่งทางอากาศเพื่ อ

การพาณิชย์ ทั้งภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ ไม่ว่าด้วยตนเองหรือบุคคลอื่น หรือโดยการเช่า


อากาศยานหรือการดาเนินการรูปแบบอื่นใด
๗“ผู้ดาเนิ นการเดินอากาศต่างประเทศ” หมายความว่า ผู้ดาเนินการเดินอากาศที่ได้รับ

อนุญาตตามกฎหมายของต่างประเทศที่ให้บริการเข้ามายังหรือออกจากราชอาณาจักร ไม่ว่าด้วยตนเอง
หรือบุคคลอืน่ หรือโดยการเช่าอากาศยานหรือการดาเนินการรูปแบบอืน่ ใด
๘“ใบรับรองผู้ดาเนิน การเดิน อากาศ” หมายความว่า ใบรับรองที่ออกให้ แก่ผู้ดาเนินการ

เดิ น อากาศเพื่ อ รั บ รองว่ า ผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศนั้ น มี ค วามสามารถด าเนิ น การเดิ น อากาศได้
อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพไม่ว่า จะออกให้ตามพระราชบัญญัตินี้หรือออกโดยหน่วยงานกากับ
ดูแลด้านการบินพลเรือนของประเทศอื่น
๙“ส านั กงานการบิ นพลเรือนแห่ งประเทศไทย” หมายความว่า ส านั กงานการบิ น พลเรื อน

แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
๑๐“ผู้ อานวยการ” หมายความว่า ผู้ อานวยการส านั กงานการบิ นพลเรือนแห่ งประเทศไทย

ตามกฎหมายว่าด้วยการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
๑๑“พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ ” หมายความว่ า ผู้ อ านวยการ และผู้ ซึ่ ง ผู้ อ านวยการแต่ ง ตั้ ง

ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
๑๑“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมท่าอากาศยานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมท่าอากาศยานมอบหมาย


แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒

เพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒

เพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒

เพิ่มเติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๘ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้


๑๒มาตรา ๕ พระราชบั ญ ญั ติ นี้ ไม่ ใช้ บั งคั บ แก่ ก ารเดิ น อากาศในราชการทหาร
ราชการตารวจ ราชการศุลกากร และราชการอื่นตามที่กาหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่การทาแผนการบิน
ตามมาตรา ๑๘/๑ และการปฏิบั ติตามกฎจราจรทางอากาศตามมาตรา ๑๘/๒ และมาตรา ๑๘/๓
ให้เป็นไปตามที่กาหนดในพระราชบัญญัตนิ ี้
๑๓ในกรณีที่ส่วนราชการใดประสงค์จะใช้สนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตที่

ส่ ว นราชการนั้ น ด าเนิ น การเพื่ อ ให้ บ ริ ก ารแก่ ส าธารณะ ส่ ว นราชการนั้ น ต้ อ งอยู่ ภ ายใต้ บั ง คั บ


แห่งพระราชบัญญัตินี้ แต่ในการจัดตั้งสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต ให้แจ้งผู้อานวยการ
ทราบโดยไม่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
๑๔มาตรา ๕/๑ ในการดาเนินการพิจารณาเพื่อออก หรือต่ออายุใบรับรอง ใบอนุญาต
ใบสาคัญ หนั งสืออนุญ าต หรือหนั งสื อรับรองตามความในพระราชบัญญั ติ นี้ หากมีความจาเป็นต้อง
ตรวจสอบ ทดลอง ทดสอบ หรือกระทาด้วยประการใด เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้ขอหรือผู้ได้รับใบรับรอง
ใบอนุญาต ใบสาคัญ หนังสืออนุญาต หรือหนังสือรับรองนั้น มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกาหนด
หรือมีขีดความสามารถในการดาเนินการตามที่ขออนุญาต หรือในการดาเนินการเพื่อตรวจสอบว่าอากาศยาน
ส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน ชิ้นส่วนรับรองคุณภาพ บริภัณฑ์ ชิ้นส่วนของอากาศยาน สนามบิน
เครือ่ งอานวยความสะดวกในการเดินอากาศ หรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยานมีความปลอดภัยหรือเป็นไป
ตามมาตรฐานที่กาหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้ขอหรือผู้ได้รับใบรับรอง ใบสาคัญ หนังสืออนุญาต หรือ
หนั งสื อรั บรองดั งกล่ าว เป็ นผู้ รั บผิ ดชอบในค่ าใช้ จ่ ายเพื่ อการดั งกล่ าว ทั้ งนี้ ตามระเบี ยบ
ทีผ่ ู้อานวยการกาหนด

มาตรา ๕/๒ บทบัญญัติที่ให้อานาจผู้อานวยการสั่งเพิกถอนใบรั บรอง ใบอนุญาต


ใบสาคัญ หนังสืออนุญาต หรือหนังสือรับรองในกรณีตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการจากัด
อานาจอื่นของผู้อานวยการในการสั่ งเพิกถอนคาสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมาย
ว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ในกรณี ที่ ป รากฏว่า มี เหตุ ที่ อ าจต้ อ งเพิ ก ถอนตามวรรคหนึ่ ง โดยผู้ ได้ รั บ ใบรั บ รอง
ใบอนุญาต ใบสาคัญ หนังสืออนุญาต หรือหนังสือรับรอง ไม่สามารถอ้างความเชื่อโดยสุจริตมาคุ้มครอง
ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้ ผู้อานวยการมีหน้าที่จะต้องดาเนินการตรวจสอบ
ข้อเท็จจริงให้ปรากฏและสั่งการตามที่เห็นสมควรโดยไม่ชักช้า
รายงานการตรวจสอบตามวรรคสอง เป็นเอกสารที่เปิดเผยแก่บุคคลทั่วไป

๑๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
๑๓
เพิ่มความในวรรคสองของมาตรา ๕ โดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญ ญัติการเดินอากาศ
พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๔
มาตรา ๕/๑ ถึงมาตรา ๕/๓ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ และ
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิม่ เติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๙ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๕/๓ ในกรณี ที่ มี ก ารฝ่ า ฝื น หรือ ไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามหลั ก เกณฑ์ ห รื อ เงื่อ นไขที่
กาหนดไว้ในใบรับ รอง ใบอนุ ญ าต ใบส าคั ญ หนังสื ออนุญ าต หรือหนัง สื อรับ รอง และผู้ อานวยการ
ได้สั่งให้มีการแก้ไขเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว ไม่เป็น เหตุให้ผู้ที่ได้รับใบรับรอง
ใบอนุญาต ใบสาคัญ หนังสืออนุญาต หรือหนังสือรั บรองนั้นพ้นความรับผิดในการฝ่าฝืนหรือไม่ ปฏิบัติ
ตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว หรือตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
๑๕มาตรา
๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบั ญญัตินี้ กับมี
อานาจออกกฎกระทรวงในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) กาหนดค่าธรรมเนียม ไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
(๒) กาหนดอัตราขั้นสูงสาหรับค่าโดยสารและค่าระวางสาหรับอากาศยานขนส่งตามมาตรา ๒๐
(๓) กาหนดอัตราขั้นสูงสาหรับค่าบริการในสนามบินอนุญาตซึ่งให้บริก ารแก่สาธารณะ
ตามมาตรา ๕๖ (๒) และ (๓)
(๔) ยกเว้นค่าธรรมเนียมตาม (๑) ค่าโดยสารหรือค่าระวางสาหรับอากาศยานขนส่ง
ตามมาตรา ๒๐ ค่าบริการ ค่าภาระ หรือเงินตอบแทนอื่นใดตามมาตรา ๕๖ หรือค่าบริการเครื่องอานวย
ความสะดวกในการเดินอากาศตามมาตรา ๕๗
(๕) กาหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
๑๖มาตรา ๖/๑ ให้ ผู้ อ านวยการมี อ านาจในการออกข้ อ บั งคั บ ข้ อ ก าหนด ระเบี ย บ
ประกาศและคาสั่งตามพระราชบัญญัตินี้
ข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการบินพลเรือน
แล้วให้ใช้บังคับได้
ข้อบังคับและข้อกาหนดนั้น เมือ่ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
๑๗มาตรา ๖/๒ เพื่ อ ประโยชน์ ในการถ่ า ยทอดเทคโนโลยี แ ละส่ ง เสริ ม การลงทุ น
เกี่ยวกับการผลิตอากาศยาน การผลิตส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน และการบารุงรักษาอากาศยานของ
หน่ ว ยซ่อมประเภทที่ห นึ่ งส าหรับ อากาศยานที่มี มวลวิ่งขึ้น สู งสุ ด ตั้ งแต่ ห้ าพั น เจ็ดร้อยกิโลกรัม ขึ้นไป
อาจตราพระราชกฤษฎี ก ายกเว้ น คุ ณ สมบั ติ แ ละลั ก ษณะของผู้ ข อรั บ ใบอนุ ญ าตหรื อ ใบรั บ รอง
ตามมาตรา ๔๑/๒๒ มาตรา ๔๑/๓๓ และมาตรา ๔๑/๙๕ (๑) เฉพาะในส่วนที่เกีย่ วกับทุนจดทะเบียนซึง่ ต้อง
เป็นของผู้มีสัญชาติไทยตามมาตรา ๔๑/๒๓ วรรคหนึ่ง (๒) และอานาจการบริหารกิจการซึง่ ต้องอยู่ภายใต้
การควบคุมของบุคคลผู้ มีสั ญชาติไทยตามมาตรา ๔๑/๒๓ วรรคหนึ่ ง (๔) โดยจะกาหนดหลักเกณฑ์
เงือ่ นไข และระยะเวลาของการยกเว้นไว้ด้วยก็ได้

๑๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๖
เพิ่มเติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๗
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๐ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

๑๘หมวด

คณะกรรมการการบินพลเรือน และคณะกรรมการเทคนิค
---------------
๑๙มาตรา ๗ ให้ มี ค ณ ะกรรมการการบิ น พ ลเรื อ นคณ ะหนึ่ ง ประกอบด้ ว ย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ ปลั ดกระทรวงคมนาคม เป็นรองประธาน
กรรมการ ผู้ บั ญ ชาการทหารอากาศ และกรรมการอื่ น อี ก จ านวนเจ็ ด คนซึ่ งคณะรั ฐ มนตรีแ ต่ งตั้ ง
เป็นกรรมการ โดยต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการบินพลเรือน จานวนไม่น้อยกว่าสามคน
และให้ผู้อานวยการ เป็นกรรมการและเลขานุการ
๒๐มาตรา ๘ กรรมการอื่นอยู่ในตาแหน่งคราวละสี่ปี่ กรรมการที่พ้นจากตาแหน่ง
ตามวาระจะแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้
๒๑มาตรา ๙ กรรมการอื่นย่อมพ้นจากตาแหน่งก่อนถึงคราวออกตามวาระ เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก
ถ้ า มี ก ารพ้ น จากต าแหน่ ง ก่ อ นถึ ง คราวออกตามวาระ ให้ มี ก ารแต่ ง ตั้ ง กรรมการ
เข้าแทน ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเข้าแทนนี้ย่อมอยู่ในตาแหน่งได้เพียงเท่ากาหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน

มาตรา ๑๐ เมื่อประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ให้รองประธานกรรมการ


ทาหน้าทีแ่ ทน

มาตรา ๑๑ ในการประชุ ม คณะกรรมการการบิ น พลเรื อ น ต้ อ งมี ก รรมการ


มาประชุมไม่ต่ากว่ากึ่งจานวนของกรรมการทัง้ หมดจึงจะเป็นองค์ประชุม

มาตรา ๑๒ การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
กรรมการคนหนึ่ งมี เสี ยงหนึ่ งในการลงคะแนน ถ้ ามี จ านวนเสี ย งลงคะแนนเท่ ากั น
ให้ประธานในทีป่ ระชุมออกเสียงเพิม่ ขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

๑๘
แก้ไขชื่อหมวดโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกาหนดแก้ไข
เพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ ยกเลิกคณะกรรมการเทคนิค แต่ พ.ร.ก.ฯ ไม่ได้แก้ไขชื่อ
หมวดให้ตรงกับที่ตัดคณะกรรมการเทคนิคออก
๑๙
แก้ไขเพิ่ มเติมโดยพระราชบัญญั ติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑, พระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติ ม
พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ และพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๒๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๒๑
แก้ ไขเพิ่ ม เติ ม โดยพระราชบั ญ ญั ติ การเดิ น อากาศ (ฉบั บ ที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชบั ญ ญั ติ
การเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๑ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๑๓ ให้ คณะกรรมการการบินพลเรือนมีอานาจแต่งตั้ งอนุกรรมการเพื่ อ


กระทากิจ การ หรือพิ จารณาสอบสวนข้อเท็จจริงใด ๆ อันอยู่ในขอบเขตแห่งอานาจและหน้าที่ของ
คณะกรรมการการการบินพลเรือน
ในการประชุมอนุกรรมการ ให้นามาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๑๔ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการย่อมได้รับ


ประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะรัฐมนตรีกาหนด
๒๒มาตรา ๑๕ ให้คณะกรรมการการบินพลเรือนมี ห น้าที่และอานาจในการกากับ
ดูแลการปฏิบั ติงานของส านั กงานการบิ นพลเรือนแห่งประเทศไทย ให้ทั นต่อเหตุการณ์ ถูกต้องและ
ครบถ้วนตามกฎหมาย และตามอนุสัญญาและภาคผนวก และให้มีห น้าที่และอานาจตามที่ระบุไว้ใน
พระราชบัญญัตินี้ในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑) กาหนดนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศ และพิจารณาอนุมัติแผนนิรภัย
ในการบินพลเรือนแห่งชาติ แผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่ งชาติ แผนอานวยความสะดวก
ในการบิ นพลเรือนแห่ งชาติ แผนแม่บ ทการจัดตั้งสนามบิ นพาณิ ชย์ของประเทศ และแผนด้านอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการบินพลเรือนที่คณะกรรมการการบินพลเรือนกาหนด
(๒) รับปรึกษาและให้คาแนะนาเกี่ยวกับการบินพลเรือนแก่รัฐมนตรี
(๓) ก าหนดนโยบายเพื่ อ คุ้ ม ครองสิ ท ธิ ข องผู้ โ ดยสารหรื อ ผู้ ใ ช้ บ ริ ก ารในภาค
อุตสาหกรรมการบิน
(๔) กาหนดนโยบายเกีย่ วกับการใช้ห้วงอากาศที่ใช้ในการเดินอากาศของประเทศไทย
(๕) พิจารณาให้ความเห็นชอบในการออกหรือต่อใบอนุญาตประกอบกิจการการบิน
พลเรือนตามมาตรา ๔๑/๑๒๕
(๖) ออกข้อบังคับเพื่อกาหนดหลักเกณฑ์ วิธี การ และเงื่อนไขในการขอและการออก
ใบอนุญาตประกอบกิจการการบินพลเรือน
(๗) ให้ความเห็นชอบข้อบังคับที่ออกโดยผู้อานวยการ
(๘) กาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคานวณค่าบริการการเดินอากาศ
(๙) ให้ความเห็นชอบอัตราค่าธรรมเนียมกากับการบินพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วย
การบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
(๑๐) กาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคานวณค่าโดยสารและค่าระวางสาหรับอากาศยาน
ขนส่งและอัตราขั้นสูงตามมาตรา ๔๑/๑๓๐
(๑๑) กาหนดอัตราและเงื่อนไขการเรียกเก็บค่าบริการ ค่าภาระ หรือเงินตอบแทนอื่น
ใดในสนามบินอนุญาต ซึ่งให้บริการแก่สาธารณะตามมาตรา ๕๖ (๒) และ (๓)
(๑๒) กาหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อเป็น กลไกยุ ติข้อขั ด แย้งระหว่างสานักงาน
การบินพลเรือนแห่งประเทศไทยและผู้ประกอบกิจการการบินพลเรือน
(๑๓) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้

๒๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑, พระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ และพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๒ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

นโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศตาม (๑) ให้คณะกรรมการการบินพลเรือนเสนอ


ต่อคณะรั ฐมนตรี เพื่อ พิจ ารณาให้ ความเห็ นชอบ เมื่อคณะรัฐ มนตรี ให้ ความเห็ น ชอบแล้ ว ให้ แจ้งให้
หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อถือปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศ
ดังกล่าว
๒๓มาตรา ๑๕/๑ ในกรณี ที่ ค ณะกรรมการการบิ น พลเรือ นเห็ น ว่ าส านั ก งานการบิ น
พลเรือนแห่งประเทศไทยไม่ได้ปฏิบั ติการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือตามอนุสัญญาให้คณะกรรมการ
การบินพลเรือนมีอานาจเรียกให้ผู้อานวยการ พนั กงานหรือบุคคลใดในสานักงานการบินพลเรือนแห่ง
ประเทศไทยมาชี้ แ จงข้ อ เท็ จ จริ งและมี อ านาจสั่ งให้ ด าเนิ น การ หรื อ ปรับ ปรุ ง แก้ ไข หรื อ ระงับ ซึ่ ง
การกระทาใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศหรือต่อการบินพลเรือนได้
๒๔มาตรา ๑๕/๒ ยกเลิก

มาตรา ๑๕/๓ ยกเลิก


๒๕มาตรา ๑๕/๔ ให้ผู้อานวยการมีอานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ออกประกาศก าหนดส่ ว นประกอบอื่ น ของอากาศยานเป็ น ส่ ว นประกอบส าคั ญ
ของอากาศยานตามมาตรา ๔
(๒) ออกข้อกาหนด ดังต่อไปนี้
(ก) มาตรฐานอากาศยานตามมาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง
(ข) มาตรฐานอากาศยานที่ผลิตเพื่อส่งออกตามมาตรา ๓๕
(ค) ระบุประเภทอากาศยานและส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานที่ผ ลิตตาม
แบบโดยไม่ต้องมีใบรับรองแบบตามมาตรา ๓๖ วรรคสาม
(ง) หลักเกณฑ์แ ละวิธีการทดสอบโดยการบินทดลองหรือการทดสอบอย่างอื่น
ของอากาศยานต้นแบบหรือต้นแบบส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานต้นแบบตามมาตรา ๔๑/๒
(จ) หลั กเกณฑ์การใช้งานได้อย่างปลอดภั ยของอากาศยานหรื อส่ ว นประกอบ
สาคัญของอากาศยานตามมาตรา ๔๑/๔
(ฉ) หลักเกณฑ์การตรวจสอบการแก้ไขดัดแปลงอากาศยาน หรือส่ ว นประกอบ
สาคัญของอากาศยานตามมาตรา ๔๑/๕ มาตรา ๔๑/๖ และมาตรา ๔๑/๗

๒๓
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญั ติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราช
กาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๒๔
มาตรา ๑๕/๓ และมาตรา ๑๕/๔ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
และยกเลิกโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๒๕
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราช
กาหนดแก้ไขเพิม่ เติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๓ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(ช) การแก้ไขดัดแปลงแบบอากาศยาน แบบส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน


แบบชิ้น ส่ วนรับ รองคุณ ภาพ และแบบบริภั ณ ฑ์ ใดเป็นการแก้ไขในสาระส าคัญ หรือไม่ใช่ส าระสาคั ญ
ตามมาตรา ๔๑/๘
(๓) ออกประกาศให้ ใช้มาตรฐานผลิตภั ณ ฑ์ อุตสาหกรรมเป็นมาตรฐานชิ้นส่ วนของ
อากาศยานตามมาตรา ๓๔ วรรคสอง
๒๖(๔) ยกเลิก

(๕) ยกเลิก
(๖) กาหนดการบารุงรักษาอากาศยาน สาหรับอากาศยานที่ไม่มีใบรับรองแบบตาม
มาตรา ๔๑/๖๙ วรรคสอง (๒)
(๗) ยกเลิก

มาตรา ๑๕/๕ ยกเลิก


๒๗มาตรา ๑๕/๖ การพิจารณาประเด็นทางเทคนิค เป็นอานาจดุลพินิจของผู้อานวยการ
และให้เป็นทีส่ ุด

๒๘หมวด ๑/๑
การกากับดูแลการบินพลเรือน
---------------

มาตรา ๑๕/๗ ให้สานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยมีหน้าที่และรับผิดชอบ


ในการกากับดูแลการบินพลเรือนของประเทศในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑) ความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัย และการอานวยความสะดวกในการบิน
พลเรือน
(๒) ลักษณะและมาตรฐานทางวิศวกรรมและทางเทคนิคของอากาศยาน ผลิตภัณฑ์
สนามบิน และบริการการเดินอากาศ ในการปฏิบัตกิ ารการบินพลเรือน รวมทัง้ การบารุงรักษา
(๓) การจดทะเบี ยนและเครื่องหมายอากาศยาน การจดทะเบียนสิ ทธิ และผลประโยชน์
ในอากาศยาน และการกาหนดเอกสารประจาอากาศยาน
(๔) มาตรฐานอากาศยาน การรั บ รองแบบ การรั บ รองการผลิ ต และการรั บ รอง
ความสมควรเดินอากาศ

๒๖
มาตรา ๑๕/๔ (๔) (๕) และ (๗) และมาตรา ๑๕/๕ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑)
พ.ศ. ๒๕๕๑ และยกเลิกโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๒๗
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราช
กาหนดแก้ไขเพิม่ เติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๒๘
เพิ่ ม เติ ม หมวด ๑/๑ การก ากั บ ดู แ ลการบิ น พลเรื อ น (มาตรา ๑๕/๗ ถึ ง มาตรา ๑๕/๑๖) โดย
พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๔ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๕) คุณลักษณะและมาตรฐานทางเทคนิคในการควบคุมอากาศยาน และการปฏิบัติ


หน้าที่ของผู้ควบคุมอากาศยานและผู้ประจาหน้าที่
(๖) การออกใบรับรอง ใบอนุญาต ใบสาคัญ หนังสืออนุญาต หรือหนังสือรับรองตาม
พระราชบัญญัตินี้
(๗) เส้นทางการบิน เขตควบคุมการบิน บริเวณที่ใช้เป็นที่จอดหรือหยุดอากาศยานหรือ
ยานพาหนะอย่ า งอื่ น และการจั ด การพื้ น ที่ โ ดยรอบสนามบิ น และสิ่ ง อ านวยความสะดวกในการ
เดินอากาศ
(๘) การดูแลการขนส่งคนโดยสารและของที่ขนส่งทางอากาศ รวมทั้งค่าธรรมเนียม
หรือภาระทางการเงินทีเ่ กี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านการบินพลเรือน
(๙) การก าหนดมาตรการด้ า นความปลอดภั ย การรั ก ษาความปลอดภั ย และ
การอานวยความสะดวกในการบิ น พลเรือน ซึ่งรวมถึงการบริห ารจัดการและภาระทางด้านการเงิน
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาและภาคผนวก รวมถึงพันธกรณีตามความตกลง
ระหว่างประเทศเกี่ยวกับการบินพลเรือนที่ประเทศไทยเป็นภาคี
(๑๐) การดาเนิ นการเกี่ ยวกับอุบัติการณ์ที่ เกี่ยวกับการบินพลเรือน และอุบัติการณ์
ทีเ่ กี่ยวกับการกระทาอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายทีม่ ีผลต่อการรักษาความปลอดภัยการบิน
(๑๑) การประกอบกิ จ การการบิ น พลเรื อ น มาตรฐานและคุ ณ ภาพการให้ บ ริ ก าร
การคุ้มครองผู้ใช้บริการและอัตราค่าบริการ การป้องกันการผูกขาด และมาตรการการยุติข้อขัดแย้ง
ระหว่างผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการ
(๑๒) กรณีอื่นตามที่คณะกรรมการการบินพลเรือนประกาศกาหนด

มาตรา ๑๕/๘ ในการกากับดูแลการบินพลเรือนตามมาตรา ๑๕/๗ ให้สานักงานการบิน


พลเรือนแห่งประเทศไทยมีหน้าที่และรับผิดชอบการบริหารจัดการในเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการบินพลเรือนในประเทศให้เกิดความมั่นคงและ
ยั่งยืน
(๒) ประสานงานและให้ การสนับสนุน เกี่ย วกับ การค้นหาและช่วยเหลืออากาศยาน
ประสบภัย
(๓) วางแผน ประสานงาน และจั ด ทาแผนแม่ บทห้ วงอากาศ เพื่ อการใช้ประโยชน์
ห้วงอากาศของประเทศไทยที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
(๔) จัดทา ติดตาม ประสานงาน และขับเคลื่อนให้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนนิรภัย
ในการบินพลเรือนแห่งชาติ แผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ แผนอานวยความสะดวก
ในการบินพลเรือนแห่งชาติ แผนแม่บทการจัดตั้งสนามบินพาณิชย์ของประเทศ รวมทั้งแผนแม่บทหรื อ
แผนหลักระดับประเทศด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๕) ให้ ค าแนะน าและช่ ว ยเหลื อ รั ฐ บาลในการเจรจากั บ ประเทศอื่ น ๆ เพื่ อ จั ด ท า
ความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยบริการเดินอากาศ
(๖) เป็ น ที่ ป รึ ก ษาให้ แ ก่ รั ฐ บาลและช่ ว ยเหลื อ ในการติ ด ต่ อ ประสานงานในเรื่ อ งที่
เกี่ย วกับ องค์การการบิ น พลเรื อนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่ รัฐ ภาคีอื่ นได้ร้ อ งขอให้
ประเทศไทยดาเนินการตรวจสอบติดตามด้านความปลอดภัยหรือการรักษาความปลอดภัย
๑๕ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๑๕/๙ ในการดาเนินการตามมาตรา ๑๕/๗ และมาตรา ๑๕/๘ สานักงาน


การบินพลเรื อนแห่งประเทศไทยต้ องดาเนินการให้ เป็ นไปตามหรือคานึงถึงอนุสัญญาและภาคผนวก
รวมถึงพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการบินพลเรือนที่ประเทศไทยเป็นภาคี แล้วแต่กรณี
และให้รวมถึงการดาเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) จั ด ท าและปฏิ บั ติ ให้ เป็ น ไปตามอนุ สั ญ ญาและภาคผนวก รวมถึ ง พั น ธกรณี
ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย ด้านการรักษา
ความปลอดภัย การอานวยความสะดวก การรักษาสิ่งแวดล้อม และการประกอบกิจการการบินพลเรือน
(๒) จัดทามาตรการเพื่ออนุวัติการ และติดตามให้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามอนุสัญญา
และภาคผนวก รวมถึงพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีที่เ กี่ยวข้องกับ
มาตรฐานและข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับการกากับดูแลการบินพลเรือน
(๓) ประสานงานร่ ว มกั บ หน่ ว ยงานของรั ฐ เพื่ อ ให้ ก ารก ากั บ ดู แ ลการบิ น พลเรื อ น
เกิดผลสัมฤทธิ์

มาตรา ๑๕/๑๐ ให้ ผู้ อ านวยการมี อ านาจก าหนดมาตรการหรือ การด าเนิ น การ
ที่จาเป็นต่อการกากับดูแลการบินพลเรื อนตามมาตรา ๑๕/๗ และการดาเนินงานของสานักงานการบิน
พลเรือนแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๑๕/๘ แล้วแต่กรณี ในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) มาตรฐานความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัย การอานวยความสะดวก และ
การประกอบกิจการการบินพลเรือน
(๒) มาตรฐานความปลอดภั ย เกี่ ย วกั บ ผู้ ป ระจ าหน้ า ที่ อากาศยาน ผลิ ต ภั ณ ฑ์
ความสมควรเดินอากาศ การบารุงรักษา การฝึกอบรมด้านการบิน สนามบิน ที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน
สิ่งอานวยความสะดวกในการเดินอากาศ บริการการเดินอากาศ
(๓) มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้โดยสาร สมาชิกลูกเรือ
เจ้าหน้าที่สนามบินและบุคคลอื่น อากาศยาน สนามบิน ที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน สิ่งอานวยความ
สะดวกในการเดินอากาศ บริการการเดิ นอากาศ ตลอดจนการป้องกั นการกระทาให้ เกิดอันตรายต่อ
อากาศยานหรือให้อากาศยานเกิดความเสียหาย และการกระทาอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วย
กฎหมาย
(๔) การเข้าออกและการจัดสรรเวลาการเข้าออกสนามบินของอากาศยาน
(๕) การทดสอบ ตรวจสอบ หรือการตรวจตราอากาศยาน เครื่องยนต์และอุ ปกรณ์
ที่ใช้ห รือมีไว้ใช้เพื่ อประกอบกิจ การการบิน พลเรือ น สนามบิ น ที่ ขึ้น ลงชั่ วคราวของอากาศยานหรือ
สถานที่ทาการหรือสถานที่ที่มีไว้ใช้เพื่อประกอบกิจการการบินพลเรือนและการปฏิบัติการของอากาศยาน
รวมถึง การทดสอบหรื อการตรวจสอบผู้ ป ระจาหน้ าที่ สมาชิ กลู ก เรือ หรือ บุ ค คลอื่ น ที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ
การบินพลเรือน
(๖) ข้อปฏิบัติหรือข้อห้ามของผู้ ประจาหน้าที่ ผู้ประกอบกิจการการบินพลเรือนและ
อากาศยาน
เพื่ อ ประโยชน์ ในการด าเนิ น การตามวรรคหนึ่ ง ในกรณี ที่ ไม่ มี บ ทบั ญ ญั ติ อื่ น ใดใน
พระราชบัญญัตินี้ บัญญัติให้ อานาจไว้เป็ นการเฉพาะ ให้ ผู้อานวยการมี อานาจออกข้อกาหนดสาหรับ
กรณี ต าม (๑) (๒) และ (๓) หรือออกระเบียบส าหรับ กรณี ตาม (๔) (๕) และ (๖) ในการกากับดู แล
ให้เป็นไปตามเรื่องดังกล่าว แล้วแต่กรณี
๑๖ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ในการดาเนินการตามวรรคสอง ให้ผู้อานวยการจัดให้มีการรับฟังความเห็นหรือชี้แจง
ทาความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องหรืออาจได้รับผลกระทบจากเรื่องที่กาหนด และคานึงถึงหลั กเกณฑ์และ
มาตรฐานในเรื่องนั้น ๆ ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศหรือมาตรฐานระหว่างประเทศอื่นด้วย
ในกรณี ที่ มีเหตุ ฉุกเฉิ น และจาเป็นเพื่อความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภั ย
การบินพลเรือนอย่างทันท่วงที ผู้อานวยการอาจดาเนินการกาหนดมาตรการหรือการดาเนินการที่จาเป็น
ต่อการกากับดูแลการบินพลเรือน หรือการออกข้อกาหนด หรือระเบียบในเรื่องใดตามวรรคสอง แล้วแต่
กรณี เพื่อดาเนินการกับเหตุฉุกเฉินนั้น โดยไม่ต้องดาเนินการรับฟังความคิดเห็นตามวรรคสามก่อน แต่ต้อง
แจ้งหรือเผยแพร่ให้หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบเป็นการทั่วไปโดยเร็ว ในการดาเนินการเช่ นว่านี้
ให้ผู้อานวยการมีอานาจสั่งระงับหรือเปลี่ยนแปลงการดาเนินการเกี่ยวกับความปลอดภัยและการรักษา
ความปลอดภั ย การบิ น พลเรื อ นไว้ เป็ น การชั่ ว คราวได้ จ นกว่ า จะได้ มี ก ารก าหนดมาตรการหรื อ
การดาเนินการที่จาเป็นต่อการกากับดูแลการบินพลเรือน หรือการออกข้อกาหนด หรือระเบียบในเรื่องนั้นแล้ว
ให้ผู้อานวยการจัดให้มีการประกาศเผยแพร่มาตรการหรือการดาเนินการกากับดูแล
ที่กาหนดขึ้น ตามวรรคหนึ่ ง เพื่ อให้ ทราบเป็น การทั่ วไป ทั้งนี้ ตามรูป แบบและลั กษณะที่ เหมาะสม
ที่ผู้อานวยการกาหนด
ให้ ผู้ ซ่ึ ง เกี่ ย วข้ อ งกั บ มาตรการหรื อ การด าเนิ น การก ากั บ ดู แ ลการบิ น พลเรื อ น
ที่ผู้อานวยการกาหนดตามวรรคหนึ่ง ปฏิบัติตามมาตรการหรือการดาเนินการกากับดูแลการบินพลเรือนนั้น
โดยเคร่งครัด

มาตรา ๑๕/๑๑ ในการกาหนดมาตรการหรือการดาเนินการที่จาเป็นต่อการกากับ


ดูแลการบิ นพลเรือน หรือการออกข้อกาหนด หรือระเบียบในเรื่องใดตามมาตรา ๑๕/๑๐ หากในเรื่องนั้น
องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือรัฐภาคีแห่งอนุสัญญา หรือหน่วยงานของรัฐด้านกากับดูแล
การบินหรือด้านอื่นที่เกีย่ วข้อง ได้มีการกาหนดมาตรฐาน ระเบียบ ข้อกาหนด ข้อปฏิบัติ หรือเอกสารอื่น
ใดไว้แล้ว ผู้อานวยการอาจนามาตรฐาน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กาหนดไว้ดังกล่าว มากาหนด
ในเรื่องที่ต้องดาเนินการตามมาตรา ๑๕/๑๐ เพือ่ ใช้บังคับกับการบินพลเรือนของประเทศได้
หลักเกณฑ์ วิธีการ และกระบวนการในการพิจารณานามาตรฐาน ระเบียบ ข้อกาหนด
ข้อปฏิบัติ หรือเอกสารอืน่ ใดมากาหนดตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ผู้อานวยการกาหนด

มาตรา ๑๕/๑๒ ในกรณีที่ผู้อานวยการกาหนดมาตรการหรือการดาเนินการกากับ


ดูแลที่เกี่ ย วข้องกั บ ผู้ ป ระจ าหน้ าที่ อากาศยาน ผลิ ตภัณ ฑ์ ความสมควรเดินอากาศ การบ ารุงรักษา
การฝึกอบรมด้านการบิ น สนามบิน สิ่ งอานวยความสะดวกในการเดินอากาศ บริการการเดิ นอากาศ
การรักษาความปลอดภัย และเรื่องอื่น ที่เกี่ยวข้ องกับการบิน ให้ผู้ อานวยการจัดให้มีระบบการตรวจ
ติดตาม และประเมินผลจากการปฏิบัติตามมาตรการหรือการดาเนินการกากับดูแลในเรื่องดังกล่าวด้วย

มาตรา ๑๕/๑๓ ให้ส านักงานการบิ นพลเรือนแห่ งประเทศไทยจั ดทาและรักษาไว้


ซึ่งระบบการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลและเอกสารหลักฐาน อย่างน้อยตามรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) อากาศยานที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย
(๒) เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอื่นใดเหนืออากาศยานที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย
๑๗ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๓) ส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน ชิ้นส่วนของอากาศยาน และบริภัณฑ์ที่มีไว้


สาหรับใช้กับอากาศยานที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย
(๔) ใบรับ รอง ใบอนุ ญ าต ใบส าคัญ หนั งสื อ อนุ ญ าต หนั งสื อรั บ รอง ใบแทน และ
การอนุญาตหรือการอนุมัติอื่นใดที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) ข้อมูลและเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่ผู้อานวยการกาหนดให้จัดเก็บ
ให้ ผู้อานวยการจัดทาระบบการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลตามวรรคหนึ่ง โดยเอกสาร
หลักฐานตาม (๒) ผู้ถือกรรมสิท ธิ์ห รือสิทธิอื่นใดเหนื ออากาศยานที่จดทะเบี ยน รวมถึงส่วนประกอบ
ส าคั ญ ของอากาศยาน ชิ้ น ส่ ว นของอากาศยาน และบริภั ณ ฑ์ จะต้อ งยื่ น เอกสารหลั ก ฐานดั งกล่ าว
ต่อผู้อานวยการเพือ่ บันทึกไว้ในระบบการบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
การบั น ทึ ก และจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล รวมทั้ ง การเก็ บ รั ก ษาข้ อ มู ล และเอกสารหลั ก ฐาน
ให้เป็นไปตามทีผ่ ู้อานวยการกาหนด

มาตรา ๑๕/๑๔ เพื่ อ ประโยชน์ แ ห่ งการบิ น พลเรือ นของประเทศและเป็ น ไปเพื่ อ


ประโยชน์ส าธารณะ หากผู้ อานวยการเห็ นสมควรอาจยกเว้นมาตรการหรือการดาเนิน การที่จาเป็ น
ต่อการกากับ ดูแลการบิ นพลเรือน หรือข้อบั งคับ ข้อกาหนด ประกาศ ระเบียบ หรือคาสั่ งในเรื่องใด
ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งหมดหรือบางส่วน ให้แก่บุคคล อากาศยาน ผลิตภัณฑ์ สนามบิน หรือบริการ
เกี่ ย วกั บ การบิ น ใด ๆ เป็ น รายกรณี ได้ โดยการยกเว้ น ดั ง กล่ า วต้ อ งไม่ ก ระทบต่ อ ความปลอดภั ย
ในการเดินอากาศ
การดาเนิ น การเพื่ อยกเว้ นตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีเหตุอย่างหนึ่ งอย่างใดดั งต่อไปนี้
ปรากฏต่อผู้อานวยการก่อนที่จะมีการดาเนินการยกเว้นดังกล่าว
(๑) ได้ มี ก ารปฏิ บั ติ ต ามมาตรการหรื อ การด าเนิ น การที่ จ าเป็ น ต่ อ การก ากั บ ดู แ ล
การบิ น พลเรื อ น หรื อ ข้ อ บั งคั บ ข้ อ ก าหนด ประกาศ ระเบี ย บ หรื อ ค าสั่ งในเรื่ อ งนั้ น ครบถ้ ว นแล้ ว
และไม่มีความจาเป็นต้องปฏิบัตใิ นเรื่องดังกล่าวอีกต่อไป
(๒) การดาเนินการที่จะกระทาหรือกาลังกระทาอยู่นั้นเป็นไปตามหรือมี ประสิทธิภาพ
มากกว่ า การปฏิ บั ติ ต ามมาตรการหรื อ การด าเนิ น การที่ จ าเป็ น ต่ อ การก ากั บ ดู แ ลการบิ น พลเรื อ น
หรือข้อบังคับ ข้อกาหนด ประกาศ ระเบียบ หรือคาสั่งในเรื่องนั้น
(๓) มาตรการหรือการดาเนิ น การที่ จาเป็ นต่ อการกากั บดู แลการบิ นพลเรือน หรือ
ข้อบังคับ ข้อกาหนด ประกาศ ระเบียบ หรือคาสั่งในเรื่องนั้นโดยสภาพไม่เหมาะสมหรือไม่สามารถใช้กับ
กรณีนั้นอีก
(๔) ข้อเท็จจริงในกรณีนั้นทาให้มาตรการหรือการดาเนินการที่จาเป็นต่อการกากับดูแล
การบินพลเรือน หรือข้อบังคับ ข้อกาหนด ประกาศ ระเบียบ หรือคาสั่งในเรื่องนั้นไม่เหมาะสมหรือไม่มี
ความจาเป็นที่ต้ องปฏิบั ติ และอาจเกิดความเสี่ ยงต่อความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยทาง
การบินพลเรือนของประเทศเพิ่มขึ้นหากไม่ได้รับการยกเว้น
เมื่อผู้อานวยการดาเนินการยกเว้นในเรื่องใดตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ทราบตามวิธีการที่ผู้ อานวยการกาหนด ซึ่งอย่างน้อยต้อ งประกาศลงในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ
สานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
๑๘ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๑๕/๑๕ ให้ผู้อานวยการแต่งตั้งผู้ต รวจสอบด้านการบิน ซึ่งจะเป็นหรือมิได้


เป็ น พนั ก งานของส านั ก งานการบิ น พลเรือนแห่ งประเทศไทย โดยต้อ งมี ความรู้ค วามช านาญ และ
ประสบการณ์ เหมาะสมในการปฏิบั ติห น้ าที่ เพื่อกากับดูแลด้า นการบิน ให้ เป็นไปตามมาตรการและ
การดาเนินการกากับดูแลการบินพลเรือนที่กาหนดขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้
ความรู้ ความชานาญ และประสบการณ์ของผู้ซ่ึงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจสอบด้าน
การบิ น ตามวรรคหนึ่ ง ให้ เป็ น ไปตามที่ ผู้ อ านวยการก าหนดหรื อ ผ่ า นหลั ก สู ตรการอบรมตามที่
ผู้อานวยการกาหนด
คุณ สมบั ติ การแต่ งตั้ ง การปฏิ บั ติ ห น้ าที่ และการกากับ ดู แลการปฏิ บั ติห น้ าที่ ของ
ผู้ตรวจสอบด้านการบิน ให้เป็นไปตามที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด

มาตรา ๑๕/๑๖ ผู้ ต รวจสอบด้ า นการบิ น ที่ ได้ รั บ แต่ ง ตั้ ง ตามมาตรา ๑๕/๑๕
มีหน้าที่และอานาจรับผิดชอบในการดาเนินการทดสอบ ตรวจสอบ หรือตรวจตราอากาศยานสิ่งอานวย
ความสะดวกในการเดินอากาศ และอุปกรณ์ อื่นที่ผู้ประกอบกิจการได้ใช้หรือมีไว้ใช้เพื่อประกอบกิจการ
การบินพลเรือน สนามบิน ที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน สถานที่ทาการ หรือสถานที่ใช้หรือมีไว้ใช้เพื่อ
ประกอบกิจการการบินพลเรือนและการปฏิบัติการของอากาศยาน รวมถึงการทดสอบหรือตรวจสอบ
ผู้ประจาหน้าที่ สมาชิกลูกเรือ หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบินพลเรือน
ในการทดสอบ ตรวจสอบ หรื อ ตรวจตราตามวรรคหนึ่ ง หากพบข้ อ บกพร่ อ ง
ให้ผู้ตรวจสอบด้านการบินแจ้งข้อบกพร่องและกาหนดระยะเวลาในการแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ นั้น แก่
ผู้ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องเพื่อดาเนินการ และแจ้งให้ผู้อานวยการทราบโดยเร็ว เมื่อผู้ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้อง
ดาเนินการแก้ไขข้อบกพร่องแล้ว ให้แจ้งผู้ตรวจสอบด้านการบินเพื่อตรวจสอบหรือตรวจตราให้มั่นใจได้
ว่า เป็ น ไปตามมาตรฐานความปลอดภั ย การรัก ษาความปลอดภั ย การอ านวยความสะดวก และ
การประกอบกิจการการบินพลเรือนตามที่กาหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ แล้วรายงานให้ผู้อานวยการทราบโดยเร็ว
ในการปฏิ บั ติห น้ าที่ ของผู้ ตรวจสอบด้านการบิ น ต้องมี และแสดงบั ตรประจาตัว ไว้
ตลอดเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ แบบและการออกบัตรประจาตัวของผู้ตรวจสอบด้านการบินให้เป็นไป
ตามที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด
ให้ผู้ตรวจสอบด้านการบินซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นเจ้าพนักงานตาม
ประมวลกฎหมายอาญา
๑๙ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

๒๙หมวด ๑/๒
การกากับดูแลการบริการการเดินอากาศ
---------------

มาตรา ๑๕/๑๗ ให้ผู้อานวยการมีอานาจออกข้อบังคับเกี่ยวกับมาตรฐานการบริการ


การเดินอากาศซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑) ขั้นตอนและการให้บริการการเดินอากาศ
(๒) การจัดการจราจรทางอากาศ
(๓) ระบบการสื่อสาร ระบบช่วยการเดินอากาศ และระบบติดตามอากาศยาน
(๔) อุตุนิยมวิทยาการบิน
(๕) ข่าวสารการบิน
(๖) การออกแบบวิธีปฏิบตั ิการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน
(๗) การค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย

มาตรา ๑๕/๑๘ ห้ ามมิ ให้ บุ ค คลใดจัด ให้ มี บ ริการการเดิ น อากาศ ส าหรับ บริเวณ
ห้วงอากาศเหนื อพื้น ดิน และพื้น น้าภายในเขตภู มิภ าคข่าวสารการบิน ในราชอาณาจั กร เว้นแต่ได้ รับ
ใบรับรองในเรื่องนั้นจากผู้อานวยการ
ห้วงอากาศเหนือพื้นที่นอกทะเลอาณาเขตหรือห้วงอากาศที่ไม่ได้อยู่ภายใต้อาณาเขต
ของประเทศใด หากมีความจาเป็นต้องมีบริการจราจรทางอากาศ ให้รัฐมนตรี ทาความตกลงกับรัฐภาคี
ในภูมิภาคเพื่อกาหนดผู้รับผิดชอบในการให้บริการจราจรทางอากาศเหนือห้วงอากาศบริเวณนัน้

มาตรา ๑๕/๑๙ ผู้ ที่ จะขอรับ ใบรับ รองบริการการเดิน อากาศในเรื่องใด ต้อ งเป็ น
นิติบุคคลตามที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด และให้ยื่นคาขอใบรับรองต่อผู้อานวยการ พร้อมทั้งคู่มือ
การดาเนินงานและเอกสารหลักฐานอื่น
การขอรับใบรับรองและการออกใบรับรองตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด

มาตรา ๑๕/๒๐ ผู้อานวยการจะออกใบรับรองบริการการเดินอากาศให้แก่ผู้ขอได้เมื่อ


ผู้ขอมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๕/๑๙
ในการออกใบรั บ รองตามวรรคหนึ่ง ผู้ อานวยการอาจกาหนดเงื่อนไขหรือข้ อจากัด
เกี่ ย วกั บ การด าเนิ น งานได้ ต ามที่ เห็ น สมควร ทั้ งนี้ เพื่ อ ประโยชน์ ในการบั งคั บ การให้ เป็ น ไปตาม
บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๕/๒๑ ใบรั บ รองบริ ก ารการเดิ น อากาศในเรื่ อ งใด ให้ มี อ ายุ ต ามที่
ผู้อานวยการประกาศกาหนด แต่ต้องไม่เกินสิบปี

๒๙
เพิ่มเติมหมวด ๑/๒ การกากับดูแลการบริการการเดินอากาศ (มาตรา ๑๕/๑๗ ถึงมาตรา ๑๕/๒๖) โดย
พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๒๐ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

การขอและการต่อใบรับรองบริการการเดินอากาศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่กาหนดในข้อกาหนด

มาตรา ๑๕/๒๒ ผู้ได้รับใบรับรองบริการการเดินอากาศมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้


(๑) ให้ บ ริ ก ารให้ เป็ น ไปตามข้ อบั งคับ เกี่ ยวกั บ มาตรฐานตามมาตรา ๑๕/๑๗ และ
สอดคล้องกับมาตรฐานที่กาหนดไว้ในภาคผนวก
(๒) ให้ บริการแก่ผู้ ใช้บริการอย่างทั่วถึง ครอบคลุ ม เพียงพอ เสมอภาค และจั ดเก็บ
ค่าบริการตามมาตรา ๑๕/๒๖
(๓) จั ด ให้ มี ปรั บ ปรุ ง และปฏิ บั ติ ต ามระเบี ย บและคู่ มื อ การด าเนิ น งานเกี่ ย วกั บ
กระบวนการดาเนินงาน ระบบการจัดการด้านนิรภัยและการรั กษาความปลอดภัย ระบบการตรวจสอบ
ภายใน และปัจจัยมนุษย์
(๔) จั ด ให้ มี บุ ค ลากรที่ มี ค วามรู้ แ ละความช านาญเพี ย งพอในการด าเนิ น งานและ
มีแผนพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสม
(๕) จัดทารายงานต่อผู้อานวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามระเบียบที่ผู้อานวยการ
กาหนด
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด
ระเบียบและคู่มือการดาเนินงานเกี่ยวกับกระบวนการดาเนินงาน ระบบการจัดการด้าน
นิรภัยและการรักษาความปลอดภัย ระบบการตรวจสอบภายใน และปัจจัยมนุษย์ ตาม (๓) ต้องเป็นไป
ตามมาตรฐานและมีข้อมูลครบถ้วนตามระเบียบที่ผู้อานวยการกาหนด

มาตรา ๑๕/๒๓ ผู้ อ านวยการมี อ านาจสั่ งพั ก ใช้ ใบรั บ รองบริ ก ารการเดิ น อากาศ
ในกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ ได้ รั บ ใบรั บ รองบริ ก ารการเดิ น อากาศฝ่ าฝื น หรื อ ไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามเงื่อ นไขหรื อ
ข้อ จ ากั ด แนบท้ ายใบรั บ รองที่ ผู้ อ านวยการก าหนดตามมาตรา ๑๕/๒๐ วรรคสอง หรือ ฝ่ าฝื น หรื อ
ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กาหนดไว้ในมาตรา ๑๕/๒๒ และผู้อานวยการได้สั่งให้แก้ไขปรับปรุงแล้ว ไม่อาจ
แก้ไขปรับปรุงการดาเนินงานให้เกิดความปลอดภัยได้ภายในระยะเวลาตามคาสั่งของผู้อานวยการ
(๒) ผู้ ได้ รั บ ใบรั บ รองบริ ก ารการเดิ น อากาศ ไม่ ยิ น ยอมให้ ผู้ อ านวยการ พนั ก งาน
เจ้าหน้าที่ หรือผู้ตรวจสอบด้านการบิน เข้าดาเนินการตามหน้าที่และอานาจ หรือไม่ปฏิบัตติ ามคาสั่งของ
ผู้อานวยการ พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ตรวจสอบด้านการบินตามมาตรา ๑๕/๒๕
ให้ ผู้ อ านวยการก าหนดระยะเวลาพั ก ใช้ ใบรั บ รองบริก ารการเดิ น อากาศได้ ต ามที่
เห็นสมควร แต่ไม่เกินครั้งละหกเดือน

มาตรา ๑๕/๒๔ ผู้อานวยการมีอานาจสั่งเพิกถอนใบรับรองบริการการเดินอากาศได้


เมื่อปรากฏว่า
(๑) ผู้ได้รับใบรับรองบริการการเดินอากาศกระทาการ ดังต่อไปนี้
(ก) ได้รับ ใบรับ รองบริการการเดินอากาศโดยแสดงข้อเท็จจริงอัน เป็น เท็ จหรือ
ไม่ครบถ้วนตามข้อกาหนดที่ออกตามมาตรา ๑๕/๑๙ โดยมีเจตนาเพื่อให้ได้รับใบรับรองโดยมิชอบด้วย
กฎหมาย
๒๑ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(ข) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๕/๑๙


(ค) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือข้อจากัดแนบท้ายใบรับรองที่ผู้อานวยการ
ก าหนดตามมาตรา ๑๕/๒๐ วรรคสอง หรื อ ฝ่ าฝื น หรื อ ไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามหน้ า ที่ ต ามมาตรา ๑๕/๒๒
ที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นกรณีที่ร้ายแรง
(๒) ถูกสั่งพักใช้ใบรับรองและผู้ได้รับใบรับรองไม่ดาเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน
ระยะเวลาที่ถูกพักใช้ใบรับรอง หรือมีการสั่งพักใช้ใบรับ รองบริการการเดินอากาศตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป
ภายในช่วงเวลาสองปี
เมื่อผู้อานวยการสั่งเพิกถอนใบรับรองบริการการเดินอากาศ ให้ผู้ได้รับใบรับรองบริการ
การเดินอากาศส่งคืนใบรับรองต่อผู้อานวยการภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ทราบคาสั่งเพิกถอนใบรับรอง

มาตรา ๑๕/๒๕ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบติดตามการดาเนินการเกี่ยวกับการ


บริการการเดินอากาศ ให้ผู้อานวยการ พนั กงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ตรวจสอบด้านการบิน มี หน้าที่และ
อานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) เข้ า ไปในสถานที่ ท าการและสถานที่ ป ฏิ บั ติ ง านของผู้ ได้ รั บ ใบรั บ รองบริ ก าร
การเดินอากาศ ในระหว่างเวลาทาการของสถานที่ดังกล่าว เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงาน และเอกสาร
หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
(๒) ตรวจสอบเอกสารและหลักฐานที่เกีย่ วข้องกับการให้บริการ
(๓) สั่งระงับการให้บริการในส่ วนที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน คู่มือการดาเนินงาน หรือ
ทีอ่ าจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย
(๔) สั่ งให้ ผู้ ได้รั บ ใบรับ รองนาส่ งเอกสารหรือหลั ก ฐานที่เกี่ยวข้ องเพื่ อวัตถุป ระสงค์
ในการตรวจสอบการให้บริการและการปฏิบัติงาน
(๕) มีหนังสือเรียกบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับการดาเนินงานของผู้ได้รับใบรับรองบริการการ
เดินอากาศนัน้ มาให้ถ้อยคาหรือให้ส่งเอกสารใดมาเพื่อประกอบการพิจารณา

มาตรา ๑๕/๒๖ ผู้ได้รับใบรับรองบริการการเดินอากาศจะเรียกเก็บค่าบริการได้ตาม


อัตราที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด ทั้งนี้ การกาหนดอัตราค่าบริการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และวิธีการคานวณที่คณะกรรมการการบินพลเรือนกาหนด
๒๒ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

๓๐หมวด ๑/๓
การกากับดูแลการขนส่งวัตถุอันตราย
และสิ่งของต้องห้ามหรือต้องดูแลเป็นพิเศษ
---------------

มาตรา ๑๕/๒๗ ห้ า มมิ ให้ บุ ค คลใดรับ มอบ จั ด เก็ บ บรรทุ ก ขนถ่ า ย หรื อ ขนส่ ง
วัตถุอันตราย ไปกับอากาศยาน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตดาเนินงานจากผู้อานวยการ และปฏิบัติตาม
เงื่อนไขที่ผู้อานวยการกาหนด

มาตรา ๑๕/๒๘ ให้ ผู้ อ านวยการมี อ านาจดั งต่ อ ไปนี้ ในการด าเนิ น การเกี่ ย วกั บ
การขนส่งวัตถุอนั ตราย
(๑) ออกประกาศกาหนดประเภทและรายการวัต ถุอัน ตรายที่ อาจเป็ นอั นตรายต่ อ
ความปลอดภัยของอากาศยานหรือบุคคลในอากาศยาน
(๒) ออกข้ อ ก าหนดการขออนุ ญ าตและการปฏิ บั ติ ในการขนส่ ง วั ต ถุ อั น ตรายของ
ผู้ที่เกี่ยวข้อง
(๓) ออกข้อ ก าหนด เงื่อนไข แนวทางในการบรรจุ หี บห่ อ การท าเครื่องหมายหรื อ
สั ญ ลั กษณ์ การให้ ห รื อส าแดงข้ อมูล ความรับ ผิ ดของผู้ ข นส่ ง ความรับ ผิ ด ชอบของผู้ ต ราส่ ง รวมถึ ง
การกาหนดให้มีการจัดทาแผนการฝึกอบรม รายงานอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์
(๔) ออกข้อกาหนดเกี่ยวกับการกาหนดและจัดเก็บค่าขนส่งและค่าบริการอื่นทีเ่ กีย่ วกับ
การขนส่งวัตถุอันตราย
(๕) ออกข้ อ ก าหนดเกี่ ย วกั บ หลั ก เกณฑ์ ก ารมอบหมายในการด าเนิ น การเกี่ ย วกั บ
การขนส่งวัตถุอนั ตราย

มาตรา ๑๕/๒๙ ห้ามมิให้บุคคลใดรับมอบ จัดเก็บ บรรทุก ขนถ่าย หรือขนส่ งสิ่งของ


ต้องห้ามหรือต้องดูแลเป็นพิเศษ ไปกับอากาศยาน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตดาเนินงานจากผู้อานวยการ
และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้อานวยการกาหนด

มาตรา ๑๕/๓๐ ให้ ผู้ อ านวยการมี อ านาจดั งต่ อ ไปนี้ ในการด าเนิ น การเกี่ ย วกั บ
การขนส่งสิ่งของต้องห้ามหรือต้องดูแลเป็นพิเศษ
(๑) ออกประกาศกาหนดประเภทและรายการสิ่งของต้องห้ามหรือต้องดูแลเป็นพิเศษ
ทีอ่ าจเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของอากาศยานหรือบุคคลในอากาศยาน
(๒) ออกข้อกาหนดการขออนุญาตและการปฏิบัติใ นการขนส่ งสิ่ งของต้องห้ า มหรือ
ต้องดูแลเป็นพิเศษของผู้ที่เกี่ยวข้อง

๓๐
เพิ่มเติมหมวด ๑/๓ การกากับดูแลการขนส่งวัตถุอันตรายและสิ่งของต้องห้ ามหรือต้องดูแลเป็นพิเศษ
(มาตรา ๑๕/๒๗ ถึงมาตรา ๑๕/๓๑) โดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๒๓ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๓) ออกข้อก าหนด เงื่อนไข แนวทางในการบรรจุ หี บห่ อ การท าเครื่อ งหมายหรื อ


สั ญ ลั กษณ์ การให้ ห รื อส าแดงข้ อมูล ความรับ ผิ ดของผู้ ข นส่ ง ความรับ ผิ ดชอบของผู้ ต ราส่ ง รวมถึ ง
การกาหนดให้มีการจัดทาแผนการฝึกอบรม รายงานอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์
(๔) ออกข้อกาหนดเกี่ยวกับการกาหนดและจัดเก็บค่าขนส่งและค่าบริการอื่นทีเ่ กี่ยวกับ
การขนส่งสิ่งของต้องห้ามหรือต้องดูแลเป็นพิเศษ
(๕) ออกข้ อ ก าหนดเกี่ ย วกั บ หลั ก เกณฑ์ ก ารมอบหมายในการด าเนิ น การเกี่ ย วกั บ
การขนส่งสิ่งของต้องห้ามหรือต้องดูแลเป็นพิเศษ

มาตรา ๑๕/๓๑ ห้ามมิให้บุคคลใดส่งหรือพาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของต้องห้ามหรือ


ต้ อ งดู แลเป็ น พิ เศษไปกับ อากาศยาน เว้น แต่ จะให้ ห รื อ ส าแดงข้ อ มูล ต่ อ ผู้ ขนส่ งตามข้อ ก าหนดของ
ผู้อานวยการตามมาตรา ๑๕/๒๘ (๓) หรือมาตรา ๑๕/๓๐ (๓) แล้วแต่กรณี

หมวด ๒
บททั่วไปว่าด้วยอากาศยาน
---------------
๓๑มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้ผู้ใดนาอากาศยานทาการบิน เว้นแต่มีสิ่งเหล่านี้อยู่กับอากาศยานนั้น
คือ
(๑) ใบสาคัญการจดทะเบียน
(๒) เครื่องหมายสัญชาติและทะเบียน และแผ่นแสดงเครื่องหมายอากาศยาน
(๓) ใบสาคัญสมควรเดินอากาศ
(๔) สมุดปูมเดินทาง
(๕) ใบอนุญาตผู้ประจาหน้าทีแ่ ต่ละคน
(๖) ใบอนุญาตเครื่องวิทยุสื่อสาร ถ้ามีเครื่องวิทยุสื่อสาร
(๗) บัญชีแสดงรายชื่อผู้โดยสาร ในกรณีที่เ ป็นการบินระหว่างประเทศที่มี การบรรทุก
ผู้โดยสาร
(๘) บัญชีแสดงรายการสินค้า ในกรณีที่เป็นการบินระหว่างประเทศที่มีการบรรทุกสินค้า
(๙) สิ่งอื่นตามทีก่ าหนดในข้อกาหนด
ความในมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่
(๑) อากาศยานที่ทาการบินทดลองภายใต้เงื่อนไข ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าทีก่ าหนด
(๒) อากาศยานทหารต่างประเทศ
(๓) อากาศยานอื่นตามทีก่ าหนดในกฎกระทรวง
๓๒มาตรา ๑๖/๑ ผู้จดทะเบียนอากาศยานต้องจัดให้มีสมุดปูมเดินทางไว้ประจาอากาศยาน
แต่ถา้ มีผู้ดาเนินการเดินอากาศสาหรับอากาศยานใดให้เป็นหน้าที่ของผู้ดาเนินการเดินอากาศ

๓๑
แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
๒๔ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ให้ ผู้ควบคุมอากาศยานบันทึกรายการในสมุดปูมเดินทางตามหลั กเกณฑ์และวิธีการ


ทีก่ าหนดในข้อกาหนด
แบบสมุ ด ปู ม เดิ น ทางและการเก็ บ รั ก ษาสมุ ด ปู ม เดิ น ทางให้ เป็ น ไปตามที่ ก าหนด
ในข้อกาหนด
๓๓มาตรา ๑๖/๒ แบบสมุ ด ปู ม เดิ น ทาง การเก็ บ รั ก ษาสมุ ด ปู ม เดิ น ทาง และหน้ า ที่
บั น ทึ กรายการในสมุดปู ม เดิน ทาง ของอากาศยานต่ างประเทศให้ เป็ นไปตามกฎหมายของประเทศ
ผู้จดทะเบียนอากาศยาน
๓๔มาตรา ๑๖/๓ ผู้ดาเนินการเดินอากาศต้องจัดให้มีบัญชีแสดงรายชื่อผู้โดยสารและ
บัญชีแสดงรายการสินค้าตามมาตรา ๑๖ (๗) และ (๘) ไว้กับอากาศยาน
แบบบั ญชี การเก็บรักษาบัญชี และหน้าที่ในการบันทึกรายการในบัญชีตามวรรคหนึ่ ง
ให้เป็นไปตามที่กาหนดในข้อกาหนด
ในกรณีที่เป็นอากาศยานต่างประเทศให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศผู้จดทะเบียน
อากาศยาน
๓๕มาตรา ๑๖/๔ ผู้ดาเนินการเดินอากาศต้องจัดให้มีแผนการบินตามมาตรา ๑๘/๑
และแผนปฏิบตั ิการบิน สาหรับอากาศยานที่ใช้บินในการดาเนินกิจการการเดินอากาศของตน
แผนปฏิบัตกิ ารบินให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการทีก่ าหนดในข้อกาหนด
๓๖มาตรา ๑๖/๕ เมื่อคณะกรรมการการบินพลเรือนกาหนดนโยบายเกี่ยวกั บการใช้
ห้วงอากาศที่ใช้ในการเดินอากาศของประเทศไทยตามมาตรา ๑๕ (๔) แล้ว ให้ผู้อานวยการดาเนินการ
ในเรื่องดังต่อไปนี้ เพือ่ ประโยชน์ของความปลอดภัยในการบิน
(๑) ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้ห้วงอากาศที่ใช้ในการเดินอากาศให้เกิดประสิทธิภาพ
รวมทั้งการกาหนดเกี่ยวกับระยะสูงที่ปลอดภัยในการทาการบิน พฤติการณ์เพื่อความปลอดภัย และการ
ป้องกันการชนกันระหว่างอากาศยานด้วยกัน ระหว่างอากาศยานกับยานพาหนะและวัตถุบนพื้นดินหรือ
พื้นน้า และระหว่างอากาศยานกับวัตถุในอากาศ
(๒) ออกข้อกาหนดเกี่ยวกับการเดินอากาศและการทาการบินของอากาศยาน
(๓) ออกข้อกาหนดเกี่ยวกับการป้องกันบุคคลและทรัพย์สินบนภาคพื้น

๓๒
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราช
กาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๓๓
เพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
๓๔
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราช
กาหนดแก้ไขเพิม่ เติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๓๕
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญ ญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราช
กาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๓๖
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๒๕ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

การออกข้อบังคับหรือข้อกาหนดตามวรรคหนึ่ง ผู้อานวยการต้องคานึงถึงการป้องกันประเทศ
การบินพลเรือนและสิทธิบิ นผ่านห้วงอากาศที่ใช้ในการเดิ นอากาศ รวมทั้งต้องสอดคล้ องกับนโยบาย
เกี่ยวกับการใช้ห้วงอากาศ ภายใต้ข้อตกลง เงื่อนไข หรือข้อจากัดที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหรือกฎเกณฑ์
ภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะเกิดความปลอดภัยต่ออากาศยาน และมีการใช้
ห้วงอากาศให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามที่กาหนดไว้ในภาคผนวก
ในการใช้ ห้ ว งอากาศเหนื อ พื้ น ดิ น และพื้ น น้ าภายในเขตภู มิ ภ าคข่ า วสารการบิ น
ในราชอาณาจักร อากาศยาน สนามบิน และผู้ซ่ึงเกี่ยวข้องกับการบิน ต้องใช้หน่วยวัดที่ ใช้ในการบิน
ตามทีผ่ ู้อานวยการประกาศกาหนด
การใช้ ห้ ว งอากาศที่ ใช้ ในการเดิ น อากาศตามมาตรานี้ ให้ ค รอบคลุ ม ถึ งห้ ว งอากาศ
ที่ ป ระเทศไทยได้ รั บ มอบหมายให้ รั บ ผิ ด ชอบในการควบคุ ม การจราจรทางอากาศตามที่ ก าหนด
ในความตกลงระหว่างประเทศ
มาตรา ๑๗ ห้ ามมิให้ อากาศยานใช้ ที่ ห นึ่ งที่ ใดเป็ น ที่ ขึ้ น ลง นอกจากสนามบิ น
อนุญาต หรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยานทีไ่ ด้รับอนุญาตหรือที่รัฐมนตรีประกาศกาหนด
มาตรา ๑๘ อากาศยานต้องบินตามเส้นทางบินที่กาหนดในข้อกาหนด
๓๗มาตรา ๑๘/๑ อากาศยานทุ กล าที่ ท าการบิ นในราชอาณาจักร ต้ องท าแผนการบิ น
และแจ้งต่อหน่วยงานให้บริการจราจรทางอากาศ
แผนการบินให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด

มาตรา ๑๘/๒ อากาศยานทุกลาที่บินหรือเคลื่อนที่อยู่ในราชอาณาจักรต้องปฏิบัติ


ตามกฎจราจรทางอากาศทีก่ าหนดในข้อบังคับ

มาตรา ๑๘/๓ อากาศยานทีจ่ ดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้และอากาศยานราชการ


ที่บินหรือเคลื่อนที่อยู่นอกราชอาณาจักรต้องปฏิบัติตามกฎจราจรทางอากาศที่ประเทศนั้นกาหนดไว้
หากไม่อยู่ในอาณาเขตของประเทศใด ให้ปฏิบัติตามกฎจราจรทางอากาศที่กาหนดไว้ในข้อบังคับ

มาตรา ๑๙ อากาศยานต้องปฏิบัติตามข้อบังคับและข้อกาหนดที่เกี่ยวข้อง
๓๘มาตรา ๒๐ ยกเลิก
๓๙มาตรา ๒๑ ผู้ จ ดทะเบี ย นอากาศยาน ผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศ ผู้ ให้ บ ริ ก าร
การเดิน อากาศ ผู้ ป ระจาหน้ าที่ บุ คคลที่อยู่ในอากาศยาน ผู้ได้ รับ ใบรับรองการดาเนินงานสนามบิน

๓๗
มาตรา ๑๘/๑ ถึงมาตรา ๑๘/๓ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๓๘
แก้ ไขเพิ่ มเติ ม โดยพระราชพระราชบั ญ ญั ติ การเดิ น อากาศ (ฉบั บที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ และยกเลิ ก โดย
พระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๒๖ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

สาธารณะ และบุคคลอื่นใดที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ต้องปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัย


ตามข้อบังคับ
ผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศ ผู้ ได้ รับ ใบรับ รองการด าเนิ น งานสนามบิ น สาธารณะและ
ผู้ประกอบการในสนามบินอนุญาตต้องรับผิดชอบและกากับดูแลการปฏิบัติตามแผนรักษาความปลอดภัย
และแผนนิรภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติ
๔๐มาตรา ๒๑/๑ ให้ ส านั ก งานการบิ น พลเรื อ นแห่ ง ประเทศไทยจั ด ท าแผนนิ ร ภั ย
ในการบิ น พลเรือ นแห่ งชาติ เพื่ อเป็ น แนวทางในการบริห ารจัด การความปลอดภั ยการบิ น พลเรือ น
ในระดับประเทศซึ่งต้องสอดคล้องกับอนุสัญญาและภาคผนวก รวมถึงพันธกรณีตามความตกลงระหว่าง
ประเทศเกี่ยวกับการบินพลเรือนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และต้องจัดให้มีการทบทวนเพื่อปรับปรุ งแผน
นิรภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติทุก ๆ ปี โดยแผนดังกล่าวให้มีคณะกรรมการนิรภัยในการบินพลเรือน
แห่งชาติซึ่งคณะกรรมการการบินพลเรือนแต่งตั้ง เพื่อขับเคลื่อนแผนนิรภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติให้
เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เมื่ อ ส านั ก งานการบิ น พลเรื อ นแห่ ง ประเทศไทยจั ด ท าหรื อ ปรั บ ปรุ ง แผนนิ ร ภั ย
ในการบินพลเรือนแห่งชาติตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้แจ้งผู้เกี่ยวข้องเพื่อนาไปปฏิบัติ โดยผู้เกี่ย วข้องต้อง
จัดทาระบบการจัดการด้านนิรภัยสาหรับกิจ การการบินพลเรือนของตนให้สอดคล้องกับแผนนิรภัยใน
การบินพลเรือนแห่งชาติดังกล่าว
ให้ผู้อานวยการกากับติดตามให้มีการดาเนินการตามวรรคสอง โดยอาจกาหนดแนวทาง
หรือมาตรการในการกากับติดตามหรือการตรวจสอบให้มีการดาเนินการดังกล่าวด้วยได้

มาตรา ๒๑/๒ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการแผนนิรภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติ


ให้ผู้อานวยการมีหน้าที่และอานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) แต่ ง ตั้ ง หรื อ มอบหมายให้ บุ ค คลใดรั บ ผิ ด ชอบเกี่ ย วกั บ การบริห ารแผนนิ ร ภั ย
ในการบินพลเรือนแห่งชาติ
(๒) จัดให้มีกลไก มาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยในการบินพลเรือน ดังนี้
(ก) การตรวจติ ดตามความปลอดภั ย ในการบิ น พลเรือนที่ มี ป ระสิ ท ธิภ าพและ
สอดคล้องกับแผนนิรภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติ
(ข) การระบุอันตรายและการบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของผู้ให้บริการ
(ค) การรวบรวมและจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ อั น ตรายหรื อ ความเสี่ ย งด้ า น
ความปลอดภัย
(ง) การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านความปลอดภัย
(จ) การตรวจสอบให้ ผู้ ที่ เกี่ ย วข้ อ งจั ด ให้ มี ก ารฝึ ก อบรมด้ า นความปลอดภั ย
อย่างครบถ้วน

๓๙
แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑, พระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบั ญ ญั ติ ก ารเดิ น อากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ และวรรคหนึ่ งแก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดยพระราชบั ญ ญั ติ
การเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๔๐
มาตรา ๒๑/๑ และมาตรา ๒๑/๒ เพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๒๗ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๓) จัดให้มีกระบวนการเพื่อลาดับความสาคัญในการตรวจ ตรวจสอบ และสารวจโดย


พิจารณาจากข้อบกพร่องด้านความปลอดภัย หรือการประเมินความเสี่ยง
(๔ ) ส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ ที่ เกี่ ย วข้ อ งต ระห นั กรู้ แ ละด าเนิ น การสื่ อ สารข้ อ มู ล ด้ า น
ความปลอดภัยในการบินพลเรือน เพื่อสนับสนุ นองค์กรและพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กร
ซึง่ จะเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแผนนิรภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติ
เมื่อผู้อานวยการได้มีการดาเนินการในเรื่องใดตามวรรคหนึ่ งแล้ ว ให้ แจ้งผู้ ที่เกี่ยวข้อง
ตามแผนนิรภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติทราบ เพื่อดาเนิ นการให้เป็นไปตามกลไกและกระบวนการ
ที่ผู้อานวยการกาหนด
๔๑มาตรา ๒๒ ห้ ามอากาศยานบิ นเข้าพื้ นที่ หวงห้ ามเด็ ดขาดหรือพื้ นที่ หวงห้ ามเฉพาะ
ที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้รับผิดชอบพื้นที่ดังกล่าว โดยต้องปฏิบัติตาม
เงื่อนไขที่ผู้รับผิดชอบพื้นที่ดังกล่าวกาหนด
ในการกาหนดพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง หากเป็นพื้นที่เกี่ยวกับราชการทหาร ให้ ผู้อานวยการ
ประกาศก าหนดพื้ น ที่ ต ามที่ ห น่ ว ยงานราชการทหารเสนอ และก าหนดให้ ห น่ ว ยงานที่ เ สนอนั้ น
เป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่ตามที่ประกาศกาหนด
อากาศยานที่ จ ะบิ น เข้ า พื้ น ที่ อั น ตรายที่ ผู้ อ านวย การประกาศก าหนดต้ อ งใช้
ความระมัดระวังและต้องปฏิบัติตามคาแนะนาของผู้อานวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อป้องกันมิให้
เกิดอันตรายและมีผลกระทบต่อกิจกรรมในพื้นที่ดังกล่าว

มาตรา ๒๓ ห้ ามมิ ให้ ผู้ ใดใช้เครื่องถ่ ายภาพในอากาศยานหรือจากอากาศยาน


ไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๒๔ ห้ามมิให้ผู้ใดบังคับหรือปล่อยอากาศยาน ซึ่งไม่มีนักบิน หรือทิ้งร่ม


อากาศ นอกจากได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรี และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกาหนด

มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้ ผู้ ใดส่ งหรือพายุทธภั ณ ฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุ ม


ยุทธภัณฑ์ไปกับอากาศยานเว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรี และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่
รัฐมนตรีกาหนด
๔๒มาตรา ๒๖ ยกเลิก

มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้อากาศยานนอกจากอากาศยานต่ างประเทศบินออกนอก


ราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่

๔๑
แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๔๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ และ
ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๒๘ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

๔๓มาตรา ๒๘ ห้ามมิ ให้ อากาศยานต่างประเทศบิ นผ่ านหรือขึ้นลงในราชอาณาจักร


เว้น แต่ จ ะมีสิ ท ธิตามอนุ สั ญ ญา หรือความตกลงระหว่างประเทศ หรือได้รับอนุญ าตเป็ นหนังสือจาก
รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีกาหนด

มาตรา ๒๙ ห้ า มมิ ใ ห้ อ ากาศยานทหารต่ า งประเทศบิ น ผ่ า นหรื อ ขึ้ น ลงใน


ราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรี
๔๔
มาตรา ๒๙ ทวิ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้อากาศยานส่วนบุคคลในการเดินอากาศ เว้นแต่จะ
ได้รับใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคลจากผูอ้ านวยการ
ผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กาหนดไว้แนบท้ายใบอนุญาต
หลั กเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญ าต คุณ สมบัติและลักษณะของผู้ขอ
อนุญาต อายุใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคล การพักใช้และการเพิกถอนใบอนุญาตใช้อากาศยาน
ส่ว นบุ คคล แบบใบอนุ ญ าตใช้อากาศยานส่ วนบุ คคลและเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุ ญ าตใช้อากาศยาน
ส่วนบุคคล ให้เป็นไปตามที่กาหนดในข้อกาหนด
๔๕มาตรา๒๙ ตรี ความในมาตรา ๒๙ ทวิ วรรคหนึ่ง มิให้ ใช้ บังคับ แก่อากาศยาน
ขนส่งที่ใช้ในการขนส่งของหรือคนโดยสารอันมิใช่เพื่อบาเหน็จเป็นทางค้าเป็นครั้งคราวและได้แจ้งให้
พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบแล้ว
๔๖มาตรา
๒๙ จัตวา ใบอนุญ าตใช้อากาศยานส่ วนบุ คคลที่ผู้อานวยการออกให้
สาหรับอากาศยานส่วนบุคคลลาใด ให้ใช้ได้เฉพาะอากาศยานส่วนบุคคลลานั้น
๔๗มาตรา
๒๙ เบญจ ห้ามมิให้ผู้ใดนาอากาศยานส่วนบุคคลทาการบิน เว้นแต่จะ
ได้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖ และมีใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคลติดไปกับอากาศยานด้วย

๔๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๔๔
เพิ่ มเติมโดยพระราชบั ญญั ติ การเดิ นอากาศ (ฉบั บที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ และแก้ ไขโดยพระราชกาหนดแก้ไข
เพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๔๕
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
๔๖
เพิ่ มเติม โดยพระราชบั ญ ญั ติการเดิน อากาศ (ฉบั บ ที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ และแก้ไขเพิ่ มเติ มโดยพระราช
กาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๔๗
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
๒๙ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

หมวด ๓
การจดทะเบียนและเครื่องหมายอากาศยาน
---------------
๔๘มาตรา ๓๐ ภายใต้บั งคับมาตรา ๓๑ ผู้ซ่ึ งขอจดทะเบี ยนอากาศยานตามความใน
พระราชบัญญัตินี้ได้ต้องเป็นเจ้าของอากาศยานที่ขอจดทะเบียน หรือถ้ามิได้เป็นเจ้าของต้องเป็นผู้มีสิทธิ
ครอบครองอากาศยานที่ขอจดทะเบียนและได้รับอนุญาตจากผู้อานวยการให้จดทะเบียนได้
การขอจดทะเบี ยน การรับจดทะเบียน และการถอนทะเบี ยนอากาศยาน ให้เป็นไป
ตามที่กาหนดในข้อกาหนด
๔๙มาตรา ๓๑ ผู้ ซึ่งขอจดทะเบี ยนอากาศยานจะเป็ นบุ คคลธรรมดาหรือนิ ติบุ คคลก็ ตาม
ต้องมีสัญชาติไทย
ถ้าเป็ น ห้ างหุ้ น ส่ วนหรื อบริษั ทจากั ด หรือบริษั ท มหาชนจากัด ต้องจดทะเบียนตาม
กฎหมายไทย มีสานักงานใหญ่ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตั้งอยู่ในราชอาณาจักร และ
(๑) ในกรณีทเี่ ป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย
(๒) ในกรณี ที่เป็ น ห้ างหุ้ น ส่ว นจากั ด ผู้ เป็ นหุ้ นส่ วนทั้งหมดซึ่งต้องรับผิ ดร่ว มกันโดย
ไม่จ ากัดจ านวนต้องมีสั ญชาติ ไทย และทุนของห้ างหุ้ นส่ วนนั้นไม่ น้อยกว่าร้อยละ ๕๑ ต้องเป็น ของ
บุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย
(๓) ในกรณีที่เป็นบริษัทจากัดหรือบริษัทมหาชนจากัด บริษัทนั้นต้องไม่มีหุ้นชนิดออก
ให้แก่ผู้ถือ กรรมการส่วนมากต้องมีสัญชาติไทย และหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๑ ของหุ้นทั้งหมดต้องเป็น
ของบุคคลประเภทต่อไปนี้แต่ละประเภทโดยลาพังหรือหลายประเภทรวมกัน
(ก) บุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย
(ข) กระทรวง ทบวง กรมในรัฐบาล
(ค) บริษัทจากัดหรือบริษัทมหาชนจากัด ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมในรัฐบาล
ถือหุ้นอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๑ ของหุ้นทัง้ หมด
(ง) บริษัทจากัดหรือบริษัทมหาชนจากัด ซึ่งบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยถือหุ้น
อยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๑ ของหุ้นทั้งหมด
(จ) นิติบุคคลอื่นตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
ถ้าเป็นสมาคมต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทย มีสานักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ใน
ราชอาณาจักร และข้อบังคับของสมาคมนั้นได้รับอนุมัติจากผู้อานวยการแล้ว

๔๘
แก้ไขเพิ่ มเติม โดยพระราชบัญ ญั ติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๒ และพระราชกาหนดแก้ไข
เพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ และวรรคสองแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
การเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๔๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๒ และวรรคสามแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิม่ เติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๓๐ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

๕๐มาตรา ๓๒ ใบสาคัญการจดทะเบียนอากาศยานเป็นอันใช้ไม่ได้ เมื่อ


(๑) มีการเปลี่ ยนแปลงกรรมสิทธิ์ของอากาศยานนั้น ในกรณีที่ เจ้าของเป็นผู้จดทะเบียน
หรือมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิครอบครองของอากาศยานนั้น ในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองเป็นผู้จดทะเบียน
(๒) ผู้จดทะเบียนอากาศยานนั้นขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๑
(๓) ปรากฏว่า การเป็ น เจ้าของ หรือ การเป็น ผู้ มีสิ ทธิ ครอบครองของผู้ จดทะเบีย น
อากาศยานนั้น ไม่เป็นไปตามที่แสดงไว้ในการจดทะเบียนว่ามีสิทธิเช่นนั้นในรายการขอจดทะเบียน
(๔) อากาศยานนั้นได้รับความเสียหายมากจนไม่เหมาะสมที่จะใช้การต่อไปได้
(๕) ใบสาคัญสมควรเดินอากาศของอากาศยานนั้นสิ้นอายุเกินกว่าหกเดือนแล้ว
(๖) อากาศยานนั้นได้สูญหายไปเป็นเวลาเกินกว่าสามเดือนแล้ว
ในกรณี (๑) ถึง (๕) ให้ผู้จดทะเบียนอากาศยานนั้นส่งคืนใบสาคัญการจดทะเบียน
แก่พนักงานเจ้าหน้าทีโ่ ดยไม่ชักช้า
๕๑มาตรา
๓๓ เครื่ องหมายสั ญชาติ และทะเบี ยน และแผ่ นแสดงเครื่องหมายอากาศยาน
ให้เป็นไปตามที่กาหนดในข้อกาหนด
๕๒มาตรา ๓๓/๑ ในกรณีที่ผู้ดาเนินการเดินอากาศของไทยนาอากาศยานต่างประเทศที่
จดทะเบี ย นในประเทศที่เป็ น รัฐภาคีแห่ งอนุสัญ ญามาใช้ในการประกอบกิจการโดยมีสัญ ญาเช่าหรือ
สัญญาอื่นในลักษณะเดียวกัน และประเทศไทยมีความตกลงกับประเทศผู้จดทะเบียนอากาศยานเพื่อโอน
ความรั บ ผิ ด ชอบของประเทศผู้ จ ดทะเบี ย นอากาศยานให้ กั บ ประเทศไทยตามอนุ สั ญ ญา ให้ ถื อ ว่ า
อากาศยานต่ า งประเทศนั้ น เป็ น อากาศยานที่ จ ดทะเบี ย นตามพระราชบั ญ ญั ติ นี้ แ ละให้ ใบอนุ ญาต
หรือการดาเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้เท่าที่มีความตกลงกันไว้ดังกล่าวอยู่ภายใต้กฎหมายไทยด้วย
(๑) ในส่วนที่เกีย่ วกับอากาศยานดังกล่าว ให้ถือว่า
(ก) ใบอนุญาตเครื่องใช้วิทยุประจาอากาศยาน เป็นใบอนุญ าตให้ตั้งสถานีวิทยุ
คมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคม
(ข) ใบสาคัญสมควรเดินอากาศของอากาศยาน เป็นใบสาคัญสมควรเดินอากาศ
ตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ในส่วนที่เกี่ยวกับการจราจรทางอากาศ ให้เป็นไปตามกฎหมายไทย
(๓) ในส่ ว นที่ เกี่ ย วกั บ ผู้ ป ระจ าหน้ า ที่ ที่ ป ฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ในหรื อ เกี่ ย วกั บ อากาศยาน
ตามสัญญาดังกล่าว ให้ถือว่าใบอนุญาตของผู้ประจาหน้าที่ที่ออกโดยประเทศผู้จดทะเบียนอากาศยาน
ดังกล่าวใช้ได้เช่นเดียวกับใบอนุญาตผู้ประจาหน้าทีต่ ามมาตรา ๔๒
(๔) ในส่วนของการเดินอากาศด้วยอากาศยานของผู้ดาเนินการเดินอากาศ ให้เป็นไป
ตามกฎหมายไทย

๕๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๒
๕๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกาหนดแก้ไข
เพิม่ เติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๕๒
เพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๓๑ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๓๓/๒ ในกรณีที่ผู้ดาเนินการเดินอากาศต่างประเทศนาอากาศยานไทยที่จด


ทะเบียนตามพระราชบั ญญัตินี้ไปใช้ในการประกอบกิจการโดยมีสัญญาเช่าหรือสั ญญาอื่นในลั กษณะ
เดียวกัน และประเทศไทยมีความตกลงกับประเทศผู้ดาเนินการเดินอากาศเพื่อโอนความรั บผิดชอบของ
ประเทศไทยให้กับประเทศผู้ดาเนินการเดินอากาศตามอนุสัญญา ให้ถือว่าอากาศยานไทยนั้นเป็นอากาศยาน
ที่จดทะเบียนตามกฎหมายของประเทศผู้ดาเนินการเดินอากาศ และให้ใบอนุญาตหรือการดาเนินการ
ในเรื่องดังต่อไปนี้ตามทีม่ ีความตกลงกันไว้อยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศผู้ดาเนินการเดินอากาศด้วย
(๑) ในส่วนที่เกี่ยวกับอากาศยานดังกล่าว ให้ถือว่า
(ก) ใบอนุญาตเครื่องใช้วิทยุประจาอากาศยาน เป็นใบอนุญาตตามกฎหมายของ
ประเทศผู้ดาเนินการเดินอากาศ
(ข) ใบสาคัญสมควรเดินอากาศของอากาศยานเป็นใบสาคัญสมควรเดินอากาศตาม
กฎหมายของประเทศผู้ดาเนินการเดินอากาศ
(๒) ในส่ ว นที่ เกี่ ย วกั บ การจราจรทางอากาศ ให้ เป็ น ไปตามกฎหมายของประเทศ
ผู้ดาเนินการเดินอากาศ
(๓) ในส่ วนที่ เกี่ ยวกับผู้ ประจาหน้าที่ ที่ปฏิ บัติ หน้าที่ ในหรือเกี่ยวกับอากาศยานตามสั ญญา
ดังกล่าว ให้ถือว่าใบอนุญาตของผู้ประจาหน้าที่ที่ออกตามกฎหมายของประเทศผู้ดาเนินการเดินอากาศ
(๔) ในส่วนของการเดินอากาศด้วยอากาศยานของผู้ดาเนินการเดินอากาศ ให้เป็ นไป
ตามกฎหมายของประเทศผู้ดาเนินการเดินอากาศ
๕๓มาตรา ๓๓/๓ การจัดทาความตกลงเพื่อโอนความรับผิดชอบระหว่างประเทศไทยกับ
ประเทศที่ เป็ น รั ฐ ภาคี แ ห่ งอนุ สั ญ ญาตามมาตรา ๓๓/๑ และมาตรา ๓๓/๒ แบบของความตกลง
การแจ้งความตกลงและข้อมูลที่เกี่ยวข้องไปยังองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศและรัฐที่เกี่ยวข้อง
การจดทะเบียนความตกลงกับองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ และการประสานงานกับประเทศ
ทีท่ าความตกลงกับประเทศไทย ให้เป็นไปตามระเบียบที่ผู้อานวยการกาหนด

๕๓
เพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๓๒ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

๕๔หมวด๔
แบบอากาศยาน การผลิตอากาศยาน และการควบคุมความสมควรเดินอากาศ
-------------------

ส่วนที่ ๑
มาตรฐานอากาศยาน
-------------------

มาตรา ๓๔ มาตรฐานอากาศยานให้เป็นไปตามที่กาหนดในข้อกาหนดของผู้อานวยการ
โดยให้ประกอบด้วยมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) มาตรฐานความสมควรเดินอากาศของอากาศยานหรือของส่วนประกอบสาคัญของ
อากาศยาน รวมถึงมาตรฐานทางเทคนิคของบริภัณฑ์
(๒) มาตรฐานอากาศยานเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐานมลพิษทางเสียง
หรือมาตรฐานมลพิษทางอากาศ
(๓) มาตรฐานอื่นเพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยในการเดินอากาศ
ผู้อานวยการอาจประกาศให้ ใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วย
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือตามที่องค์กรของต่างประเทศกาหนดเป็นมาตรฐานชิ้นส่วนของ
อากาศยานได้
มาตรฐานตาม (๑) สาหรับอากาศยาน ให้กาหนดตามประเภทการใช้งานของอากาศยาน
ได้แก่ การใช้งานปกติ ผาดแผลง ขนส่ง และการใช้งานอื่นตามที่กาหนดในข้อกาหนด
มาตรฐานตาม (๑) (๒) และ (๓) ต้องไม่ต่ากว่ามาตรฐานที่อนุสัญญากาหนด
๕๕ (วรรคห้า) ยกเลิก

มาตรา ๓๕ ในกรณี ที่เป็ นการผลิ ตเพื่อส่ งออก ผู้ อานวยการอาจออกข้อกาหนด


มาตรฐานอากาศยาน ให้แตกต่างไปจากมาตรฐานที่กาหนดไว้ในมาตรา ๓๔ ก็ได้

๕๔
หมวด ๔ ความสมควรเดิ น อากาศและสมุ ด ปู ม เดิ น ทาง มาตรา ๓๔ ถึ ง มาตรา ๔๑ ยกเลิ ก โดย
พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ และบัญญัติขึ้นใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อหมวด และเพิ่มมาตรา
๔๑/๑ ถึงมาตรา ๔๑/๑๑๑ และต่อมามีการแก้ไขเกี่ยวกับองค์กรผูใ้ ช้อานาจ (“อธิบดี” หรือ “คณะกรรมการเทคนิค”
เป็น “ผู้อานวยการ”) และรูปแบบกฎหมายลาดับรอง (“กฎกระทรวง” เป็น “ข้อกาหนด”) โดยพระราชกาหนดแก้ไข
เพิม่ เติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๕๕
ยกเลิกโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิม่ เติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๓๓ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ส่วนที่ ๒
การรับรองแบบ
---------------

มาตรา ๓๖ แบบที่จะใช้ในการผลิตอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน
จะต้องมีใบรับรองแบบตามความในหมวดนี้
แบบอากาศยานและแบบส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานต้องได้มาตรฐานไม่ต่ากว่า
มาตรฐานที่ผู้อานวยการกาหนดตามมาตรา ๓๔
ผู้อานวยการอาจออกข้อกาหนดระบุประเภทอากาศยานและส่วนประกอบสาคัญของ
อากาศยานที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะตามลักษณะของการใช้งาน ให้ผลิตตามแบบโดยไม่ต้องมีใบรับรองแบบ
ก็ได้

มาตรา ๓๗ ใบรับรองแบบอากาศยานหรือแบบส่ วนประกอบสาคัญของอากาศยานมี


ดังต่อไปนี้
(๑) ใบรับรองแบบมาตรฐาน ออกให้ สาหรับแบบอากาศยานหรือแบบส่วนประกอบ
สาคัญของอากาศยานที่เป็นไปตามมาตรฐานที่ผู้อานวยการกาหนดตามมาตรา ๓๔
(๒) ใบรับรองแบบเฉพาะ ออกให้สาหรับแบบอากาศยาน เพื่อใช้งานที่มีวัตถุประสงค์
เฉพาะ เช่น การท าฝนเที ยม การโปรยยาปราบศั ตรูพื ช หรือการทาแผนที่ภ าพถ่ายทางอากาศตาม
มาตรฐานที่ผู้อานวยการกาหนดตามมาตรา ๓๔

มาตรา ๓๘ ผู้ ใดประสงค์จะขอรับ ใบรับรองแบบอากาศยานหรือแบบส่ วนประกอบส าคัญ


ของอากาศยาน ให้ยื่นคาขอต่อผู้อานวยการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด
ในการขอใบรั บ รองแบบ ผู้ ข อจะต้ อ งระบุ ม าตรฐานอากาศยานที่ น ามาใช้ ในการ
ออกแบบอากาศยานหรือแบบส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานทีข่ อใบรับรองแบบ พร้อมทัง้ แผนและ
ระยะเวลาการสร้ างอากาศยานต้น แบบหรือ ต้ น แบบส่ ว นประกอบส าคั ญ ของอากาศยานตามที่ ข อ
ใบรับรองแบบนั้นด้วย
เมื่อผู้อานวยการได้รับคาขอ ให้ผู้อานวยการตรวจสอบเอกสารหลักฐานของผู้ขอและ
ประเมินความเป็นไปได้ของแบบที่เสนอ วิธีดาเนินการ และความพร้อมในการสร้างอากาศยานต้นแบบ
หรือต้น แบบส่วนประกอบสาคัญ ของอากาศยาน ตลอดจนฐานะทางการเงิน บุคลากร สถานที่ และ
เครื่ องมือที่จ ะใช้ในการสร้าง หากผู้ อานวยการเห็ น ว่ามีความเป็น ไปได้ ให้ ผู้ อานวยการออกหนั งสื อ
อนุญ าตให้ผู้ ขอดาเนิน การสร้างอากาศยานต้ นแบบหรือต้นแบบส่วนประกอบสาคัญ ของอากาศยาน
ดังกล่าวได้ โดยกาหนดระยะเวลาการสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ออก
หนังสืออนุญาต
ในกรณีที่ผู้ขอไม่ สามารถสร้างให้แล้ วเสร็จภายในระยะเวลาที่กาหนดตามวรรคสาม
ผู้ขออาจขอขยายระยะเวลาการสร้า งต่อผู้อานวยการได้อีกหนึ่งครั้ง และผู้อานวยการอาจอนุญาตให้
ขยายระยะเวลาดังกล่าวได้ไม่เกินสองปี
ในกรณีที่ผู้ขอไม่สามารถสร้างอากาศยานต้นแบบหรื อต้นแบบส่วนประกอบสาคัญของ
อากาศยานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาทีก่ าหนด ให้หนังสืออนุญาตเป็นอันสิ้นผล
๓๔ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

๕๖มาตรา ๓๙ ในกรณีที่มีผู้ขอใบรับรองแบบตามมาตรา ๓๘ และผู้อานวยการเห็นว่า


มาตรฐานที่ กาหนดในข้อ ก าหนดตามมาตรา ๓๔ ไม่ ค รอบคลุ ม ถึง หรือ ไม่ อ าจใช้ กั บ แบบของผู้ ข อ
เพราะเหตุที่มีวิวัฒนาการหรือลักษณะแผนแบบแตกต่างไปจากอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของ
อากาศยานที่มีใช้อยู่ในขณะนั้น ให้ผู้อานวยการมีหนังสืออนุญาตตามมาตรา ๓๘ วรรคสามไปพลางก่อน
เป็นการชั่วคราวพร้อมทั้งกาหนดเงื่อนไขพิเศษเกี่ยวกับมาตรฐานของอากาศยานหรือของส่วนประกอบ
สาคัญของอากาศยานที่มีวิวัฒนาการหรือที่มีการออกแบบนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
เงื่ อ นไขพิ เศษที่ ผู้ อ านวยการก าหนดตามวรรคหนึ่ ง ต้ อ งมี ร ะดั บ ความปลอดภั ย
ไม่น้อยกว่าระดับมาตรฐานตามมาตรา ๓๔
มาตรา ๔๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๑/๑ เมื่อผู้ขอใบรับรองแบบได้รับหนังสืออนุญาตจาก
ผู้อานวยการตามมาตรา ๓๘ วรรคสาม แล้ว ผู้ขอมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ดาเนินการสร้างอากาศยานต้นแบบหรือต้นแบบส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน
ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ระบุในคาขอใบรับรองแบบ
(๒) บั น ทึ ก รายละเอี ย ดและรายงานการสร้ า งอากาศยานต้ น แบบหรื อ ต้ น แบบ
ส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด
(๓) ยิ น ยอมให้ พ นั กงานเจ้าหน้ าที่ เข้าตรวจสอบการสร้ างอากาศยานต้น แบบหรื อ
ต้นแบบส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน
(๔) หน้าที่อื่นตามที่ผู้อานวยการกาหนด
ในกรณีที่ผู้ขอใบรับรองแบบตามวรรคหนึ่งไม่ปฏิบัติหน้าที่ตาม (๒) (๓) หรือ (๔) และ
ผู้อานวยการได้เตือนให้ปฏิบัติหน้าที่ดงั กล่าวแล้วยังฝ่าฝืน ให้ผู้อานวยการเพิกถอนหนังสืออนุญาตนั้น
มาตรา ๔๑ ในระหว่างการสร้างอากาศยานต้นแบบหรือต้นแบบส่วนประกอบ
สาคัญของอากาศยาน หากผู้อานวยการได้ออกข้อกาหนดมาตรฐานใหม่ที่แตกต่างจากมาตรฐานที่ระบุ
ในคาขอใบรับรองแบบตามมาตรา ๔๐ (๑) ซึ่งสามารถใช้กับแบบอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญ
ของอากาศยานที่กาลังดาเนินการสร้างได้ และผู้ขอใบรับรองแบบประสงค์ที่จะใช้มาตรฐานใหม่ดังกล่าว
ให้ผู้ขอแจ้งการเปลี่ยนมาตรฐานต่อผู้อานวยการ ทั้งนี้ ผู้อานวยการอาจกาหนดให้ผู้ขอใช้มาตรฐานอื่นที่
เกีย่ วข้องเป็นการเพิ่มเติมด้วยก็ได้ หรือมิฉะนั้นผู้ขอต้องใช้มาตรฐานเดิม

มาตรา ๔๑/๑ ในระหว่ างการสร้างอากาศยานต้ นแบบหรือต้นแบบส่ วนประกอบ


ส าคั ญ ของอากาศยาน หากมี ข้อกาหนดของผู้ อานวยการกาหนดมาตรฐานขึ้น ใหม่ ให้ มี ผ ลใช้บั งคั บ
ย้อ นหลัง เพื่อ ความปลอดภัย อัน เป็น การเปลี่ย นแปลงมาตรฐานที่ร ะบุไ ว้ ใ นคาขอใบรับ รองแบบ
ให้ผู้ขอใบรับรองแบบปรับปรุงแบบโดยใช้มาตรฐานที่กาหนดขึน้ ใหม่ในการสร้างอากาศยานต้นแบบหรือ
ต้นแบบส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานดังกล่าว

๕๖
แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๓๕ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๔๑/๒ เมื่อผู้ขอใบรับรองแบบได้ดาเนินการสร้างอากาศยานต้นแบบหรือ


ต้นแบบส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานแล้ว ให้ผู้อานวยการจัดให้มีหรือสั่งให้ผู้ขอทาการทดสอบโดย
การบินทดลองหรือการทดสอบอย่างอื่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อกาหนดของผู้อานวยการ
ในการนี้ผู้อานวยการอาจกาหนดให้มีการรับฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้เกีย่ วข้องด้วยก็ได้
เมื่อได้ทาการทดสอบตามวรรคหนึ่งแล้ว หากผู้อานวยการเห็นว่าอากาศยานต้นแบบ
หรือต้น แบบส่วนประกอบส าคัญ ของอากาศยานนั้น เป็ นไปตามมาตรฐานอากาศยานและมี สภาพที่
สามารถนาไปใช้งานได้อย่างปลอดภัย ให้ผู้อานวยการออกใบรับรองแบบอากาศยานหรื อใบรับรอง
แบบส่วนประกอบสาคัญ ของอากาศยานตามประเภทที่กาหนดในมาตรา ๓๗ โดยผู้ อานวยการอาจ
กาหนดข้อจ ากัดความสมควรเดินอากาศหรือข้อจากั ดอื่นในการใช้อากาศยานหรือส่ วนประกอบส าคั ญ
ของอากาศยานนั้นได้

มาตรา ๔๑/๓ ใบรับรองแบบตามมาตรา ๓๗ ให้เป็นไปตามแบบที่ผู้อานวยการ


ประกาศกาหนด โดยให้ ระบุ มาตรฐานต่าง ๆ ที่ใช้ในการออกใบรับรองแบบไว้ในใบรับรองแบบด้ วย
และในใบรับรองแบบต้องประกอบด้วยเอกสาร ดังต่อไปนี้
(๑) แบบทีอ่ อก
(ก) ภาพร่างและข้อกาหนดรายละเอียด รวมทั้งบัญชีของภาพร่างและข้อกาหนด
รายละเอียดที่จาเป็นในการใช้กาหนดรูปลักษณ์และลักษณะแผนแบบของอากาศยานหรือส่วนประกอบ
สาคัญของอากาศยาน ที่แสดงให้ เห็นว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ใช้กับแบบดังกล่าว โดยให้ระบุมาตรฐาน
เฉพาะทีก่ าหนดตามพระราชบัญญัตินี้ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ผู้อานวยการประกาศให้ใช้
กับอากาศยานได้ (ถ้ามี) ไว้ด้วย
(ข) ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ มิ ติ วั ส ดุ และกระบวนการที่ จ าเป็ น ในการใช้ ก าหนด
ความแข็งแรงทางโครงสร้างของอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน
(ค) ข้อจากัดความสมควรเดินอากาศที่กาหนดเพื่อการคงความต่อเนื่องของความ
สมควรเดินอากาศสาหรับอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน
(๒) ข้อจากัดการใช้งานของอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน และ
(๓) ข้อจากัดหรือเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวข้องกับแบบอากาศยานหรือแบบส่วนประกอบสาคัญ
ของอากาศยาน
๕๗มาตรา ๔๑/๔ ในกรณีที่อากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานใดอยู่
ระหว่างการทดสอบ โดยได้ บิ น ทดลองตามมาตรา ๔๑/๒ แล้ ว ก่อ นได้รับ ใบรับรองแบบ หากผู้ ข อ
ใบรับ รองแบบประสงค์จ ะใช้อากาศยานหรือส่ว นประกอบสาคัญ ของอากาศยานนั้น เพื่อฝึกอบรม
ผู้ประจาหน้าที่หรือเพื่อแสดงสมรรถนะเพื่อประโยชน์ทางการค้า หรือเพื่อวัตถุประสงค์ อย่างอื่นตามที่
กาหนดในข้อบังคับ ให้ยื่นคาขอใบรับรองแบบเป็นการชั่วคราวต่อผู้อานวยการ หากผู้อานวยการเห็นว่า
อากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานดังกล่าวสามารถนาไปใช้งานได้อย่างปลอดภัยตาม
หลักเกณฑ์ในข้อกาหนด ให้ผู้อานวยการออกใบรับรองแบบเป็นการชั่ว คราว โดยผู้อานวยการอาจ

๕๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๓๖ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

กาหนดข้อจากัดความสมควรเดินอากาศหรือข้อจากัดอื่นในการใช้อากาศยานหรือส่ วนประกอบสาคัญ
ของอากาศยานนั้นตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้
การยื่นคาขอตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด

มาตรา ๔๑/๕ ผู้ทรงสิทธิในใบรับรองแบบอากาศยานหรือแบบส่วนประกอบสาคัญ


ของอากาศยานที่ ป ระสงค์ จ ะท าการแก้ ไขดั ด แปลงแบบที่ ได้ รั บ การรั บ รองแล้ ว ให้ ยื่ น ค าขอต่ อ
ผู้อานวยการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด
ในการพิจารณาคาขอตามวรรคหนึ่ง ให้ดาเนินการดังนี้
(๑) ในกรณีที่เป็นการแก้ไขดัดแปลงที่ไม่ใช่สาระสาคัญ ให้ผู้อานวยการตรวจสอบตาม
หลักเกณฑ์ในข้อกาหนดของผู้อานวยการ หากผู้อานวยการไม่ได้กาหนดหลักเกณฑ์ไว้ ให้ผู้อานวยการ
ตรวจสอบตามวิธีการที่เห็นสมควร๕๘ และถ้าผลการตรวจสอบปรากฏว่าเป็นไปตามมาตรฐานอากาศยาน
และมีส ภาพที่ส ามารถน าไปใช้งานได้อย่างปลอดภัย ให้ ผู้ อานวยการออกหนังสื อ ให้ ความเห็ นชอบ
แก่ผู้ขอโดยให้แนบแบบที่แก้ไขดัดแปลงไว้กับหนังสือดังกล่าวด้วย
(๒) ในกรณีที่เป็นการแก้ไขดัดแปลงในสาระสาคัญ ให้ผู้อานวยการตรวจสอบโดยให้นา
ความในมาตรา ๓๘ วรรคสาม และมาตรา ๔๑/๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หากผู้อานวยการเห็นว่า
(ก) การแก้ ไ ขดั ด แปลงนั้ น ไม่ ถึ ง ขนาดต้ อ งออกใบรั บ รองแบบฉบั บ ใหม่
ให้ผู้อานวยการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ในข้อกาหนดของผู้อานวยการ หากผู้อานวยการไม่ได้กาหนด
หลักเกณฑ์ไว้ ให้ผู้อานวยการตรวจสอบตามวิธีการที่เห็นสมควร และถ้าผลการตรวจสอบปรากฏว่า
เป็นไปตามมาตรฐานอากาศยาน และมีสภาพที่สามารถนาไปใช้งานได้อย่างปลอดภัย ให้ผู้อานวยการ
รับรองโดยการแก้ไขเพิ่มเติมในใบรับรองแบบฉบับเดิม เว้นแต่ผู้ขอประสงค์จะให้ออกเป็นใบรับรองแบบ
ส่วนเพิ่มเติม ให้ผู้อานวยการออกใบรับรองแบบส่วนเพิ่มเติมแก่ผู้ขอได้
(ข) การแก้ ไขดั ดแปลงนั้ นจ าเป็ นต้ องตรวจสอบเพื่ อออกใบรั บรองแบบฉบั บใหม่
ให้ผู้อานวยการแจ้งผู้ขอเพื่อยื่นคาขอใบรับรองแบบตามมาตรา ๓๘
การรับรองการแก้ไขดัดแปลงตามมาตรานี้ ไม่มีผลเป็นการยกเลิกใบรั บรองแบบฉบับ
เดิม เว้นแต่ผู้อานวยการจะกาหนดเป็นอย่างอื่น
การรับรองตามวรรคสอง (๑) หรือ (๒) (ก) ผู้ขออาจขอให้รับรองเป็นการเฉพาะลาหรือ
เป็นการทั่วไปเฉพาะแบบก็ได้

มาตรา ๔๑/๖ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์และกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร


เจ้าของหรือผู้ครอบครองอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน หรือผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้ทรงสิทธิ
ในใบรับรองแบบ ประสงค์จะทาการแก้ไขดัดแปลงอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน
ให้แตกต่างไปจากแบบที่ได้รับการรับรองในสาระสาคัญ อาจยื่นคาขอรับใบรับรองแบบส่วนเพิ่มเติม
ส าหรั บ สิ่ งที่ ผู้ นั้ น ได้ แ ก้ไขดัด แปลงเพิ่ ม เติ ม ต่อ ผู้ อานวยการได้ ตามหลั กเกณฑ์ และวิธีก ารที่ กาหนด
ในข้อกาหนด

๕๘
พระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ แก้ไของค์กรที่มี
อานาจกาหนดหลักเกณฑ์ จาก คณะกรรมการเทคนิค เป็น ผู้อานวยการ
๓๗ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

เมื่อผู้อานวยการได้รับ คาขอตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ ตรวจสอบการแก้ไขดัดแปลงนั้น


ตามหลั ก เกณฑ์ ใ นข้ อ ก าหนดของผู้ อ านวยการ หากผู้ อ านวยการไม่ ไ ด้ ก าหนดหลั ก เกณฑ์ ไ ว้
ให้ผู้ อานวยการตรวจสอบตามวิธีการที่เห็ นสมควร๕๙ และถ้าผลการตรวจสอบปรากฏว่าเป็นไปตาม
มาตรฐานอากาศยาน และมีสภาพที่สามารถนาไปใช้งานได้อย่างปลอดภัย ให้ผู้อานวยการออกใบรับรอง
แบบส่วนเพิ่มเติมแก่ผู้ขอ แต่ถ้าผู้อานวยการเห็นว่าเป็นการแก้ไขดัดแปลงที่ไม่ใช่สาระสาคัญ ให้ถือว่าผู้ขอ
ยื่นคาขอดัดแปลงอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานตามมาตรา ๔๑/๗

มาตรา ๔๑/๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของ


อากาศยาน ประสงค์จะทาการแก้ไขดัดแปลงอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานของตน
ให้ แ ตกต่ างไปจากแบบที่ ได้ รั บ การรั บ รองที่ ไม่ ใช่ ส าระส าคั ญ อาจยื่ น ค าขอต่ อผู้ อ านวยการได้ ตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด
เมื่อผู้อานวยการได้รับ คาขอตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ ตรวจสอบการแก้ไขดัดแปลงนั้น
ตามหลั ก เกณฑ์ ใ นข้ อ ก าหนดของผู้ อ านวยการ หากผู้ อ านวยการไม่ ไ ด้ ก าหนดหลั ก เกณฑ์ ไ ว้
ให้ ผู้ อ านวยการตรวจสอบตามวิ ธี การที่ เห็ น สมควร และถ้าผลการตรวจสอบปรากฏว่าเป็ น ไปตาม
มาตรฐานอากาศยาน และมีสภาพที่สามารถนาไปใช้งานได้อย่างปลอดภัย ให้ผู้อานวยการออกหนังสือ
ให้ความเห็นชอบแก่ผู้ขอโดยให้แนบแบบที่แก้ไขดัดแปลงไว้กับหนังสือดังกล่าวด้วย แต่ถ้าผู้อานวยการ
เห็นว่าเป็นการแก้ไขดัดแปลงในสาระสาคัญ ให้ผู้อานวยการยกคาขอและแจ้งผู้ขอเพื่อยื่นคาขอใบรับรอง
แบบส่วนเพิม่ เติมตามมาตรา ๔๑/๖

มาตรา ๔๑/๘ การแก้ไขดัดแปลงแบบดังต่อไปนี้ กรณีใดจะเป็น การแก้ไขดัดแปลง


ในสาระสาคัญหรือไม่ใช่สาระสาคัญ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อกาหนดของผู้อานวยการ
(๑) แบบอากาศยานหรือแบบส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานที่ได้รับใบรับรองแบบ
แล้วตามมาตรา ๔๑/๕ มาตรา ๔๑/๖ และมาตรา ๔๑/๗
(๒) แบบชิ้นส่วนรับรองคุณภาพ ที่ได้รับการรับรองตามใบอนุญาตผลิตชิ้นส่วนรับรอง
คุณภาพตามมาตรา ๔๑/๔๒ หรือ
(๓) แบบบริภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองตามใบอนุญาตผลิตบริภัณฑ์ตามมาตรา ๔๑/๕๒

มาตรา ๔๑/๙ ให้ ผู้ อานวยการมีอานาจสั่ งผู้ ได้รับ ใบรับ รองแบบ ทาการแก้ไขแบบ
อากาศยานหรือแบบส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน เมื่อปรากฏว่า
(๑) อากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานมีความปลอดภัยไม่เพียงพออัน
เนื่องมาจากแบบที่ได้รับการรับรอง
(๒) อากาศยานหรื อ ส่ ว นประกอบส าคัญ ของอากาศยานจะมีความปลอดภัยยิ่ งขึ้ น
ถ้ามีการแก้ไขแบบทีไ่ ด้รับการรับรองแล้ว
(๓) มีความจาเป็น ต้องแก้ไขแบบเพื่ อให้ มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น หลั งจากที่ได้ทาการ
ตรวจหรือแก้ไขอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานตามคาสั่งความสมควรเดินอากาศ
ของผู้อานวยการตามมาตรา ๔๑/๘๒ แล้ว

๕๙
โปรดดูเชิงอรรถ ๕๗
๓๘ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ในการออกคาสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้อานวยการกาหนดระยะเวลาที่จะต้องดาเนินการ
ให้แล้วเสร็จไว้ด้วยแต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี และเพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยผู้อานวยการอาจกาหนด
เงื่ อ นไขหรื อ ข้ อ จ ากั ด การใช้ ง านของอากาศยานหรื อ ส่ ว นประกอบส าคั ญ ของอากาศยานที่ ส ร้ า ง
ตามแบบเดิมได้ตามที่เห็นสมควร
เมื่อผู้ได้รับใบรับรองแบบได้ทาการแก้ไขแบบอากาศยานหรือแบบส่วนประกอบสาคัญ
ของอากาศยานแล้ ว ให้ ยื่ น ค าขอต่ อผู้ อ านวยการตามหลั กเกณฑ์ และวิ ธีการที่ ก าหนดในข้ อก าหนด
และให้นาความในมาตรา ๔๑/๕ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๔๑/๑๐ ผู้ ได้ รับใบรับรองแบบไม่แก้ ไขแบบภายในระยะเวลาที่ ผู้ อ านวยการ


กาหนดตามมาตรา ๔๑/๙ ให้ผู้อานวยการสั่งเพิกถอนใบรับรองแบบนั้น
เมื่อใบรับรองแบบอากาศยานหรือแบบส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานถูกเพิกถอนแล้ว
ให้ใบสาคัญ สมควรเดินอากาศของอากาศยานแบบนั้นหรือ ของอากาศยานแบบที่ติดตั้งส่วนประกอบ
สาคัญของอากาศยานแบบนั้น เป็นอันสิ้นผลตามมาตรา ๔๑/๗๐ (๒)
๖๐มาตรา ๔๑/๑๑ ในกรณี ที่ ผู้ อ านวยการมี ค าสั่ ง ก าหนดข้ อ จ ากั ด ความสมควร
เดิน อากาศหรือข้อจากัดอื่นตามมาตรา ๔๑/๒ วรรคสอง หรือมาตรา ๔๑/๔ วรรคหนึ่ง หรือมีคาสั่ ง
กาหนดเงื่อนไขหรือข้อจากัดการใช้งานตามมาตรา ๔๑/๙ วรรคสอง หรือมีคาสั่งเพิกถอนใบรับรองแบบ
ตามมาตรา ๔๑/๑๐ วรรคหนึ่ง ให้ผู้อานวยการประกาศคาสั่งดังกล่าวให้ทราบทั่วกัน
เมื่อ ได้ ท ราบคาสั่ งของผู้ อานวยการตามวรรคหนึ่ง ให้ ผู้ ได้ รับ ใบรั บ รองแบบแจ้งให้
ผู้ จ ดทะเบี ย นอากาศยาน ผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศ ผู้ ผ ลิ ต อากาศยานหรื อ ส่ วนประกอบส าคั ญ ของ
อากาศยานและผู้เกี่ยวข้องกับอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานนั้นทราบโดยทันที

มาตรา ๔๑/๑๒ ใบรับรองแบบและใบรับรองแบบส่วนเพิ่มเติมที่ออกตามความใน


หมวดนี้ อาจโอนให้ แก่กัน ได้ เว้น แต่ ใบรับรองแบบเป็น การชั่ วคราวตามมาตรา ๔๑/๔ หรือหนังสื อ
รับรองใบรับรองแบบที่ออกโดยรัฐต่างประเทศตามมาตรา ๔๑/๑๓ และมาตรา ๔๑/๑๔ จะโอนให้แก่กันมิได้
การโอนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด

มาตรา ๔๑/๑๓ ผู้ ได้ รับใบรับ รองแบบอากาศยาน ใบรับรองแบบส่ วนประกอบ


สาคัญของอากาศยาน หรือใบรับรองแบบส่วนเพิ่มเติม ที่ออกโดยรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาหรือประเทศที่ได้
ทาความตกลงกับประเทศไทย หากประสงค์จะขอให้ผู้อานวยการรับรองแบบตามใบรับรองแบบดังกล่าว
เพื่ อท าการผลิ ตในประเทศไทย ให้ ยื่ น ค าขอต่ อผู้ อ านวยการ หากผู้ อ านวยการเห็ น ว่ าอากาศยาน
หรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานตามใบรับรองแบบของประเทศนั้นมีมาตรฐานไม่ต่ากว่ามาตรฐาน
อากาศยานตามมาตรา ๓๔ ให้ผู้อานวยการออกหนังสือรับรองว่ าใบรับรองแบบดังกล่าวใช้ได้เช่นเดียวกับ
ใบรับรองแบบตามส่วนนี้
การขอให้ รั บ รอง และการรั บ รองใบรั บ รองแบบตามวรรคหนึ่ ง ให้ เป็ น ไปตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการทีก่ าหนดในข้อกาหนด

๖๐
แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๓๙ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๔๑/๑๔ ผู้ได้รับใบรับรองแบบอากาศยานหรือใบรับรองแบบส่วนเพิ่มเติมที่


ออกโดยรัฐภาคีแ ห่งอนุ สัญ ญาหรือ ประเทศที่ ได้ทาความตกลงกับประเทศไทย หรือผู้ขอจดทะเบีย น
อากาศยานตามใบรับรองแบบดังกล่าว หากประสงค์จะขอให้ผู้อานวยการรับรองแบบตามใบรับรองแบบ
ดังกล่าว เพื่อขอใบสาคัญสมควรเดินอากาศสาหรับอากาศยานที่จดทะเบียนอากาศยานในประเทศไทย
ให้ยื่นคาขอต่อผู้อานวยการ หากผู้อานวยการเห็นว่าอากาศยานตามใบรับรองแบบของประเทศนั้ นมี
มาตรฐานไม่ต่ากว่ามาตรฐานอากาศยานตามมาตรา ๓๔ ให้ผู้อานวยการออกหนังสือรับรองว่าใบรับรอง
แบบดังกล่าวใช้ได้เช่นเดียวกับใบรับรองแบบตามส่วนนี้
การขอให้ รั บ รอง และการรั บ รองใบรั บ รองแบบตามวรรคหนึ่ ง ให้ เป็ นไปตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด

มาตรา ๔๑/๑๕ แบบชิ้นส่วนรับรองคุณภาพต้องได้มาตรฐานไม่ต่ากว่ามาตรฐาน


ความสมควรเดิน อากาศของอากาศยานหรือของส่ วนประกอบสาคัญ ของอากาศยานที่ผู้ อานวยการ
กาหนดตามมาตรา ๓๔ (๑)
แบบที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพอาจเหมือนกับแบบชิ้นส่วนของผู้อื่นทีไ่ ด้รับ
การรับรองได้ ทั้งนี้ เมื่อไม่เป็นการละเมิดสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์และกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร
แบบของชิ้นส่วนรับรองคุณภาพที่ขออนุญาตผลิตตามมาตรา ๔๑/๓๗ ต้องได้รับการ
รับรองจากผู้อานวยการพร้อมกับการออกใบอนุญาตผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพ

มาตรา ๔๑/๑๖ แบบบริภัณ ฑ์ต้องได้มาตรฐานไม่ต่ากว่ ามาตรฐานทางเทคนิ ค


ที่ผู้อานวยการกาหนดตามมาตรา ๓๔ (๑)
แบบของบริภั ณ ฑ์ ที่ขออนุญ าตผลิ ตตามมาตรา ๔๑/๔๗ ต้องได้รับการรับรองจาก
ผู้อานวยการพร้อมกับการออกใบอนุญาตผลิตบริภัณฑ์

ส่วนที่ ๓
การรับรองการผลิต
---------------

มาตรา ๔๑/๑๗ ในส่วนนี้ “การผลิต” หมายความว่า การผลิ ตผลิตภัณฑ์เพื่อการ


พาณิชย์ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอืน่
ความในมาตรานี้ ไม่ใช้บังคับแก่การผลิตของหน่วยซ่อมที่ได้รับใบอนุญาตตามความใน
หมวดนี้

มาตรา ๔๑/๑๘ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการผลิ ตผลิ ตภัณฑ์ ตามความในส่วนนี้


ให้ผู้อานวยการมีอานาจออกข้อบังคับกาหนดในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) วิธีการผลิตเพื่อให้เป็นไปตามแบบและมาตรฐานตามที่กาหนด
๔๐ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๒) วิธีการทาลายหรือการทาอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อไม่ให้เครื่องหมายและรหัสปรากฏ
อยู่บนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตไม่เป็นไปตามแบบหรือมาตรฐาน
(๓) ลักษณะ ประเภท หรือชนิดของเครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่ใช้ในการผลิต รวมทั้ง
วัตถุดิบหรือสิ่งที่จะนามาใช้ในการผลิต
(๔) การจัดให้มีคู่มือการทางานเกี่ยวกับการผลิต
(๕) การจั ด ให้ มี บั น ทึ ก ข้ อเท็ จจริ งเกี่ย วกั บ การผลิ ต ตลอดจนการเก็ บ รัก ษาบั น ทึ ก
ดังกล่าวไว้ในสถานที่ผลิต เพื่อประโยชน์ในการควบคุมหรือตรวจสอบ
(๖) การรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กาหนด
(๗) การควบคุมคุณภาพการผลิต
(๘) เรื่องอื่นที่เกี่ยวกับการควบคุมการผลิต

มาตรา ๔๑/๑๙ ในกรณีที่การออกใบอนุญาตตามบทบัญญัติในส่วนนี้ กาหนดให้


ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องเป็น นิติบุ คคล และต้องมี ทุนจดทะเบียนขั้นต่าตามที่รัฐมนตรีกาหนด หากทุน
จดทะเบียนดังกล่าวมีจานวนเกินกว่าห้าร้อยล้ านบาท รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
การบินพลเรือนมีอานาจประกาศกาหนดให้มีการขออนุญาตเบื้องต้นต่อผู้อานวยการก่อนการดาเนินการ
จัดตั้งนิติบุคคลสาหรับกิจการนั้นได้
คุณสมบัติของผู้ข ออนุญาต หลักเกณฑ์ และวิธีการในการยื่นขออนุญาตเบื้องต้นและ
การอนุญาตเบือ้ งต้นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
ในการอนุ ญาตเบื้ องต้นตามวรรคหนึ่ ง ให้ ผู้อานวยการมีอานาจกาหนดเงื่อนไขและ
ระยะเวลาให้ผู้ขออนุญาตเบื้องต้นดาเนินการเพื่อให้มีคุณสมบัติครบถ้วนได้ แต่ต้องไม่เกินหกเดือน และใน
กรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ผู้ขออนุญาตไม่สามารถดาเนินการได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว ผู้ขออนุญาตอาจขอ
ขยายระยะเวลาต่อผู้อานวยการได้อีกหนึ่งครั้ง และผู้อานวยการอาจอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้ แต่ต้อง
ไม่เกินสามเดือน
ทุน จดทะเบี ยนจานวนเกิ น กว่าห้าร้อยล้า นบาทขึ้นไปตามวรรคหนึ่ง อาจกาหนดให้
มากกว่านั้นได้ ตามจานวนและเงื่อนไขที่กาหนดในพระราชกฤษฎีกา

๑. การผลิตอากาศยานและส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน

มาตรา ๔๑/๒๐ การผลิตอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานที่มี


ใบรับรองแบบ ต้องผลิตตามแบบที่ได้รับการรับรอง
การผลิตอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานที่ไม่ต้องมีใบรับรองแบบ
ตามมาตรา ๓๖ วรรคสาม ต้ องผลิ ตให้ มี ความปลอดภั ยในการใช้ งานตามหลั กเกณฑ์ แ ละวิธีก ารใน
ข้อกาหนดของผู้อานวยการ
มาตรา ๔๑/๒๑ ห้ ามมิให้ ผู้ใดผลิ ตอากาศยาน เว้นแต่จะได้รับ ใบอนุญาตผลิ ต
อากาศยานจากผู้อานวยการ
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
และวิธีการทีก่ าหนดในข้อกาหนด
๔๑ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๔๑/๒๒ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๑/๓๐ ผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตอากาศยาน


ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นนิติบุคคลตามมาตรา ๔๑/๒๓
๖๑
(๒) มีเงินทุนเพียงพอแก่การผลิตอากาศยาน ตามจานวนที่กาหนดไว้ในข้อบังคับ
(๓) มี บุ ค ลากรที่ มี ค วามรู้ แ ละความช านาญเพี ย งพอในการผลิ ต อากาศยานตาม
หลักเกณฑ์ทกี่ าหนดไว้ในข้อบังคับ
(๔) ลักษณะอื่นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กาหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๔๑/๒๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตอากาศยานต้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัท


จ ากั ด หรื อ บริ ษั ท มหาชนจ ากั ด ที่ จ ดทะเบี ย นตามกฎหมายไทย และมี ส านั ก งานใหญ่ ตั้ ง อยู่ ใ น
ราชอาณาจักร โดย
(๑) มี ทุ น จดทะเบี ย นตามจ านวนที่ รั ฐ มนตรี ป ระกาศก าหนดโดยค าแนะน าของ
คณะกรรมการการบินพลเรือน
(๒) มีทุนจดทะเบียนซึ่งเป็นของผู้มีสัญชาติไทยตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดในมาตรา ๔๑/๒๔
(๓) มีวัตถุป ระสงค์ เพื่ อการผลิ ต อากาศยาน หากมีวัตถุ ประสงค์เพื่ อกิจการอื่นด้ ว ย
ต้องเป็นวัตถุประสงค์ทเี่ กี่ยวเนื่องกับการผลิตอากาศยานตามที่ผู้อานวยการเห็นชอบ
(๔) อานาจการบริ ห ารกิจการอยู่ภ ายใต้ การควบคุมของบุ ค คลผู้ มี สั ญ ชาติไทยตาม
หลักเกณฑ์ที่กาหนดในมาตรา ๔๑/๒๕
(๕) กรรมการ ผู้ จั ด การ หรื อ บุ ค คลผู้ มี อ านาจจั ด การไม่ มี ลั ก ษณะต้ อ งห้ า มตาม
หลักเกณฑ์ทกี่ าหนดในมาตรา ๔๑/๒๖
(๖) ต้องได้รับหรือมี สิทธิในใบรับรองแบบอากาศยาน หรือมีสิทธิในแบบอากาศยาน
ที่ไม่ต้องมีใบรับรองแบบตามมาตรา ๓๖ วรรคสาม ที่ประสงค์จะทาการผลิต
(๗) ไม่อยู่ในระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาตผลิตตามหมวดนี้ หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตผลิต
ตามหมวดนี้มายังไม่ครบสามปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตผลิต
(๘) ลักษณะอื่นตามหลักเกณฑ์และเงือ่ นไขที่กาหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่เป็นการผลิ ตอากาศยานที่ไม่ต้องมีใบรับรองแบบตามมาตรา ๓๖ วรรคสาม
ผู้ขออาจเป็นนิติบุคคลประเภทอื่นนอกจากที่กาหนดในวรรคหนึ่งก็ได้

มาตรา ๔๑/๒๔ ทุนของผู้ขอรั บใบอนุญาตผลิตอากาศยาน ต้ องเป็นของบุคคล


ผู้มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดของทุนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบุคคลแต่ละประเภทโดยลาพัง
หรือหลายประเภทรวมกัน ดังต่อไปนี้
(๑) บุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย
(๒) กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ

๖๑
มาตรา ๔๑/๒๒ (๒) และ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ
พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๔๒ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๓) บริษัทจากัดหรือบริษั ทมหาชนจากัด ซึ่งทุนไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดของทุน


ทั้งหมดเป็นของบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย ทั้งนี้ หุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ ให้นับเป็นทุนของบุคคล ซึ่งไม่มี
สัญชาติไทย
(๔) ห้างหุ้นส่วนจากัด ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจาพวกไม่จากัดความรับผิดทั้งหมดมีสัญชาติไทย
และทุนของห้างหุ้นส่วนนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดเป็นของบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย
(๕) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดมีสัญชาติไทย
(๖) นิติบุคคลอื่น ตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
นิตบิ ุคคลตามวรรคหนึ่ง (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทย และมี
สานักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักร และในกรณีที่นิติบุคคลดังกล่าวมีนิติบุคคลเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วน
นิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนนั้น จะต้องมีทุนเป็นของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตามมาตรานี้ด้วย

มาตรา ๔๑/๒๕ อานาจการบริหารกิจการของผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตอากาศยาน


ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
ในกรณี ดั งต่อไปนี้ ให้ ถื อว่าอานาจการบริ ห ารกิจการ ไม่อยู่ภ ายใต้การควบคุมของ
บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
(๑) มีกรรมการที่ไม่มีสัญชาติไทยตั้งแต่กึ่งหนึ่งขึ้นไป
(๒) ผู้จัดการหรือผู้มีอานาจจัดการไม่มีสัญชาติไทย หรือ
(๓) มี ก ารบริ ห ารที่ อ ยู่ ภ ายใต้ ก ารครอบงาของผู้ ไ ม่ มี สั ญ ชาติ ไทยตามลั ก ษณะและ
เงือ่ นไขที่กาหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่าการผลิตอากาศยานของผู้ขอรับใบอนุญาตต้องใช้เทคโนโลยี
ชั้นสูงจากต่างประเทศ ให้รัฐมนตรีโดยคาแนะนาของผู้อานวยการมีอานาจยกเว้นคุณสมบัติตามมาตรานี้
ให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตนั้นได้ แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันได้รับใบอนุญาตผลิตอากาศยานแบบนั้น

มาตรา ๔๑/๒๖ กรรมการ ผู้ จั ด การ หรื อ บุ ค คลผู้ มี อ านาจจั ด การของผู้ ข อรั บ
ใบอนุญาตผลิตอากาศยาน ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๒) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๓) ต้องคาพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจาคุก เว้นแต่เป็นโทษสาหรับความผิดที่ได้กระทา
โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๔) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอานาจจัดการของผู้ขอรับใบอนุญาตผลิต
อากาศยานซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาตผลิตอากาศยานอันเป็นผลมาจากการบริหารกิจการของผู้นั้น
(๕) เคยถูกลงโทษทางวินัยให้พ้นจากตาแหน่งในส่ว นราชการ หน่วยงานของรัฐหรือ
รัฐวิสาหกิจ เนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่
(๖) เคยถูกถอดถอนออกจากตาแหน่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(๗) เคยถู ก เพิ ก ถอนใบอนุ ญ าตประกอบกิ จ การหรื อ ใบอนุ ญ าตประกอบวิ ช าชี พ
อันเนื่องจากกระทาความผิดที่กระทบต่อความไว้วางใจของประชาชนตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
๔๓ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๘) เคยเป็ น กรรมการ ผู้ จั ด การ หรื อ บุ ค คลผู้ มี อ านาจจั ด การของนิ ติ บุ ค คลที่ ถู ก
เพิ ก ถอนใบอนุ ญ าตประกอบกิ จ การอั น เนื่ อ งจากกระท าความผิ ด ที่ ก ระทบต่ อ ความไว้ ว างใจของ
ประชาชนตามทีก่ าหนดในกฎกระทรวง
(๙) ลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นตามที่กาหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๔๑/๒๗ ก่อนออกใบอนุญาตผลิตอากาศยาน ให้ผู้อานวยการตรวจสอบ


คุณสมบัตขิ องผู้ขอ แบบอากาศยานที่ขออนุญาตผลิต ตลอดจนสถานทีแ่ ละวิธีการผลิตของผู้ขอ
ผู้อานวยการจะออกใบอนุญาตผลิตอากาศยานให้แก่ผู้ขอได้ เมื่อปรากฏว่า
(๑) ผู้ขอมีคุณสมบัติและลักษณะตามมาตรา ๔๑/๒๒
(๒) ผู้ ขอมี ขีดความสามารถที่ จะผลิ ตอากาศยานได้ถูกต้องตามใบรั บรองแบบ หรือ
ตามแบบที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในกรณีที่เป็นการผลิตอากาศยานที่ไม่ต้องมีใบรับรองแบบตามมาตรา ๓๖
วรรคสาม และ
(๓) ผู้ขอได้จัดให้มีการควบคุมคุณภาพการผลิตตามมาตรา ๔๑/๑๘ (๗)
ในการออกใบอนุญาตผลิตอากาศยาน ผู้อานวยการอาจกาหนดเงื่อนไขหรือข้อจากัด
เกี่ยวกับการผลิตได้ตามที่เห็นสมควร
ใบอนุญาตผลิตอากาศยานให้เป็นไปตามแบบที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด

มาตรา ๔๑/๒๘ ใบอนุญาตผลิตอากาศยานให้ มีอายุคราวละไม่เกินสามสิบปี ทั้งนี้


การกาหนดอายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดในข้อบังคับ

มาตรา ๔๑/๒๙ การขอต่ออายุใบอนุญาตผลิตอากาศยาน ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่น


คาขอต่อผู้อานวยการก่อนใบอนุ ญาตสิ้น อายุอย่างน้อยหกสิบวัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีก ารที่
กาหนดในข้อกาหนด
เมื่อผู้อานวยการได้ตรวจสอบคุณสมบัติและขีดความสามารถของผู้ขอแล้ว หากปรากฏว่า
ผู้ ข อคงมี คุ ณ สมบั ติ แ ละมี ขี ด ความสามารถในการผลิ ต ได้ ต ามใบอนุ ญ าต ให้ ผู้ อ านวยการต่ อ อายุ
ใบอนุญาต ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่กาหนดไว้ในมาตรา ๔๑/๒๘
เมื่อได้ยื่นคาขอต่ออายุใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ ได้รับใบอนุญาตดาเนินการ
ผลิตอากาศยานนั้นต่อไปได้ จนกว่าผู้อานวยการจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต

มาตรา ๔๑/๓๐ ถ้าผู้ขอรับใบอนุญาตผลิต อากาศยานเป็นผู้ได้รับใบรับรองแบบ


ผู้ขออาจขอให้ผู้อานวยการออกใบอนุญาตผลิตอากาศยานเป็นการชั่วคราวสาหรับการผลิตตามใบรับรอง
แบบนั้นได้ และให้ผู้อานวยการมีอานาจออกใบอนุญาตผลิตอากาศยานเป็นการชั่วคราวได้เป็นระยะเวลา
ไม่เกินหนึ่ งปี นั บแต่วันที่ ออกใบอนุ ญาต แต่ไม่ เกินสองปี นับแต่ วันที่ ผู้ ขอได้รับใบรับรองแบบ โดยให้ น า
บทบัญญัติในมาตรา ๔๑/๑๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การควบคุมการผลิ ตตามใบอนุ ญ าตผลิ ตอากาศยานเป็น การชั่ วคราวให้ เป็นไปตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการทีก่ าหนดในข้อกาหนด
๔๔ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ในกรณีที่พ้นระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง แต่ ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตอากาศยานเป็นการ


ชั่วคราวยังไม่ มีคุณสมบัติเพียงพอที่ จะได้รับใบอนุญาตผลิตอากาศยาน เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตมีคาขอ
ให้ผู้อานวยการมีอานาจขยายระยะเวลาได้อีกหนึ่งครั้ง แต่ทั้งนี้ไม่เกินหนึ่งปี

มาตรา ๔๑/๓๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตอากาศยานตามมาตรา ๔๑/๒๑ และมาตรา ๔๑/๓๐


ย่อมมีสิทธิผลิตลาตัวอากาศยาน และชิ้นส่วนของอากาศยานด้วย ทั้งนี้ ตามแบบ วิธีการ เงื่อนไขหรือ
ข้อจากัดที่กาหนดในใบอนุญาต
ผู้ได้รับใบอนุญาตที่ประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงวิธีการ เงื่อนไขหรือข้อจากัดในการ
ผลิตให้แตกต่างไปจากที่ได้รับอนุญาต ให้ยื่นคาขอต่อผู้อานวยการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดใน
ข้อกาหนด

มาตรา ๔๑/๓๒ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน เว้ นแต่จะ


ได้รับใบอนุญาตผลิตส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานจากผู้อานวยการ
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด

มาตรา ๔๑/๓๓ ให้ น าความในมาตรา ๔๑/๒๒ มาตรา ๔๑/๒๓ มาตรา ๔๑/๒๔


มาตรา ๔๑/๒๕ มาตรา ๔๑/๒๖ และมาตรา ๔๑/๒๗ มาใช้ บั งคั บ กั บ คุ ณ สมบั ติ และลั ก ษณะของ
ผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน การออกใบอนุญาตผลิตส่วนประกอบสาคัญ
ของอากาศยาน และการออกใบอนุญาตผลิตส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานเป็นการชั่วคราวโดยอนุโลม
ใบอนุญาตผลิตส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานให้เป็นไปตามแบบที่ผู้อานวยการ
ประกาศกาหนด

มาตรา ๔๑/๓๔ ใบอนุญาตผลิตส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานให้มีอายุคราวละ


ไม่เกินยี่สิบปี ทั้งนี้ การกาหนดอายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดในข้อบังคับ
การต่ออายุใบอนุญาตผลิตส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน ให้ต่อได้ตามระยะเวลา
ที่กาหนดไว้ในวรรคหนึ่ง และให้นาความในมาตรา ๔๑/๒๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๔๑/๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตส่ว นประกอบสาคัญของอากาศยานตาม


มาตรา ๔๑/๓๒ ย่อมมีสิทธิผลิตชิ้นส่วนของส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานด้วย ทั้งนี้ ตามแบบ
วิธีการ เงื่อนไขหรือข้อจากัดที่กาหนดในใบอนุญาต
ผู้ได้รับใบอนุญาตที่ประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงวิธีการ เงื่อนไขหรือข้อจากัดในการ
ผลิตให้แตกต่างไปจากที่ได้รับอนุญาต ให้ยื่นคาขอต่อผู้อานวยการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนด
ในข้อกาหนด
๔๕ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

๒. การผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพ

มาตรา ๔๑/๓๖ การผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพสาหรับใช้ตดิ ตัง้ กับอากาศยานหรือ


ส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานที่มีใบรับรองแบบ ต้องผลิตตามแบบที่ได้รับการรับรอง หรือตาม
มาตรฐานความสมควรเดินอากาศที่ใช้กับอากาศยานที่จะนาไปติดตั้ง

การผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพสาหรับใช้ติดตั้งกับอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญ
ของอากาศยานที่ไม่ต้องมีใบรับรองแบบตามมาตรา ๓๖ วรรคสาม ต้องผลิตให้มคี วามปลอดภัยในการใช้
งานตามหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อกาหนดของผู้อานวยการ

มาตรา ๔๑/๓๗ ห้ า มมิ ให้ ผู้ ใดผลิ ต ชิ้ น ส่ ว นเพื่ อ ใช้ ท ดแทนในอากาศยานหรื อ
ส่ว นประกอบส าคัญ ของอากาศยานซึ่ งไม่ ใช่บริภั ณ ฑ์ เว้น แต่ จะได้ รับใบอนุ ญ าตผลิ ตชิ้ น ส่ วนรับรอง
คุณภาพ
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด
ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่
(๑) การผลิ ต ชิ้ น ส่ ว นภายใต้ ใบอนุ ญ าตผลิ ต อากาศยานตามมาตรา ๔๑/๒๑ หรื อ
ใบอนุญาตผลิตอากาศยานเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๔๑/๓๐
(๒) การผลิ ต ชิ้ น ส่ ว นภายใต้ ใ บอนุ ญ าตผลิ ต ส่ ว นประกอบส าคั ญ ของอากาศยาน
ตามมาตรา ๔๑/๓๒ หรื อใบอนุ ญ าตผลิ ต ส่ ว นประกอบส าคั ญ ของอากาศยานเป็ นการชั่ว คราวตาม
มาตรา ๔๑/๓๓
(๓) การผลิตชิ้นส่วนมาตรฐานซึ่งผู้อานวยการประกาศกาหนดให้ใช้กับอากาศยานได้
ตามมาตรา ๓๔ วรรคสอง
(๔) การผลิ ต ชิ้ น ส่ ว นโดยเจ้ า ของอากาศยานหรื อ ผู้ จ ดทะเบี ย นอากาศยาน หรื อ
ผู้ดาเนินการเดินอากาศ เพื่อใช้ในการบารุงรักษาอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานของ
ตนตามมาตรา ๔๑/๔๔
(๕) การผลิ ต ชิ้ น ส่ ว นโดยหน่ ว ยซ่ อ มเพื่ อ ใช้ ใ นการบ ารุ ง รั ก ษาอากาศยานหรื อ
ส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานทีต่ นรับบารุงรักษาตามมาตรา ๔๑/๑๐๕

มาตรา ๔๑/๓๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพ ต้องเป็นนิติบุคคล


ตามหลั กเกณฑ์ ที่ก าหนดในกฎกระทรวง และให้ นาความในมาตรา ๔๑/๒๒ (๒) (๓) และ (๔) และ
มาตรา ๔๑/๒๕ วรรคสาม มาใช้บังคับกับคุณสมบัติและลักษณะของผู้ขอโดยอนุโลม

มาตรา ๔๑/๓๙ ก่อนออกใบอนุญาตผลิตชิ้นส่วนรั บรองคุณภาพ ให้ผู้อานวยการ


ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอ แบบชิ้นส่วนรับรองคุณภาพที่ขออนุญาตผลิต ตลอดจนสถานที่และวิธีการ
ผลิตของผู้ขอ
ผู้อานวยการจะออกใบอนุญาตผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพให้แก่ผู้ขอได้ เมื่อปรากฏว่า
๔๖ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๑) ผู้ขอมีคุณสมบัติและลักษณะตามมาตรา ๔๑/๓๘


(๒) ผู้ ข อมี ขี ด ความสามารถที่ จ ะผลิ ต ชิ้ น ส่ ว นรั บ รองคุ ณ ภาพได้ ถู ก ต้ อ งตามแบบ
ทีข่ ออนุญาต
(๓) แบบชิ้นส่วนรับรองคุณภาพที่ขออนุญาตผลิต เป็นแบบที่เหมือนกับแบบชิ้นส่ว น
ของอากาศยานหรือของส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานตามแบบที่ได้รับการรับรอง หรือเป็นแบบ
ที่ ได้ อ อกแบบขึ้ น ใหม่ ต ามมาตรฐานความสมควรเดิ น อากาศที่ ใช้ ในการออกแบบอากาศยานหรื อ
ส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานนั้น
(๔) แบบชิ้นส่วนรับรองคุณภาพที่ขออนุญาตผลิตมีมาตรฐานไม่ต่ากว่ามาตรฐานทาง
เทคนิคตามมาตรา ๓๔ (๑)
(๕) ผลการทดสอบชิ้นส่วนรับรองคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กาหนดในแบบที่ขอ
อนุญาต และ
(๖) ผู้ขอได้จัดให้มีการควบคุมคุณภาพการผลิตตามมาตรา ๔๑/๑๘ (๗)
ในการออกใบอนุญาตผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพ ผู้อานวยการอาจกาหนดเงื่อนไขหรือ
ข้อจากัดเกี่ยวกับการผลิตและการใช้งานของชิ้นส่วนรับรองคุณภาพนั้นได้ตามที่เห็นสมควรและ ให้ถือว่า
การออกใบอนุญาตเป็นการรับรองแบบชิ้นส่วนรับรองคุณภาพที่ขออนุญาตผลิตด้วย
ใบอนุญาตผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพให้เป็นไปตามแบบทีผ่ ู้อานวยการประกาศกาหนด

มาตรา ๔๑/๔๐ ใบอนุญาตผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพให้มีอายุคราวละไม่เกินสิบปี


ทัง้ นี้ การกาหนดอายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดในข้อบังคับ
การต่ออายุใบอนุญาตผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพ ให้ต่อได้ตามระยะเวลาที่กาหนดไว้
ในวรรคหนึ่ง และให้นาความในมาตรา ๔๑/๒๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๔๑/๔๑ ผู้ ได้ รับ ใบอนุ ญ าตผลิ ตชิ้น ส่ ว นรับ รองคุ ณ ภาพต้ องผลิ ตชิ้ นส่ ว น
รับรองคุณภาพตามแบบ วิธีการ เงื่อนไขหรือข้อจากัดที่กาหนดในใบอนุญาต

มาตรา ๔๑/๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพที่ประสงค์จะทาการ


ผลิตแตกต่างจากแบบที่ได้รับการรับรองตามใบอนุญาตผลิต ให้ดาเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่เป็นการแก้ไขดัดแปลงที่ไม่ใช่สาระสาคัญ ให้มีสิทธิแก้ไขแบบและผลิต
โดยใช้ใบอนุญาตเดิมได้ และให้แจ้งผู้อานวยการทราบโดยไม่ชักช้า แต่หากผู้อานวยการเห็นว่าการแก้ไข
ดัดแปลงดังกล่าวเป็นการแก้ไขดัดแปลงในสาระสาคัญ ให้ผู้อานวยการสั่งให้ดาเนินการตาม (๒) ทั้งนี้
การแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการทีก่ าหนดในข้อกาหนด
(๒) ในกรณีที่เป็นการแก้ไขดัดแปลงในสาระสาคัญ จะต้องขออนุญาตจากผู้อานวยการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด และเมื่อผู้อานวยการทาการตรวจสอบแบบที่ขอแก้ไข
ดัดแปลงแล้ว เห็นว่าชิ้นส่วนรับรองคุณภาพที่ผลิตตามแบบดังกล่าวมีคุณสมบัติในการใช้งานไม่ต่ากว่า
มาตรฐานความสมควรเดินอากาศที่ใช้กับอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานตามแบบที่
ได้รับการรับรองแบบเดิม ให้ผู้อานวยการแก้ไขใบอนุญาตฉบับเดิม หรือออกใบอนุญาตฉบับใหม่ให้แก่
ผู้ขอ
๔๗ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๔๑/๔๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพที่ประสงค์จะแก้ไข


เปลี่ย นแปลงวิธีการ เงื่อนไขหรือข้อจ ากัดในการผลิ ตให้ แตกต่า งไปจากที่ ได้ รับ อนุ ญ าต ให้ ยื่นคาขอ
อนุญาตต่อผู้อานวยการ
การขอแก้ ไขเปลี่ ย นแปลงวิ ธีก าร เงื่อ นไขหรือ ข้ อ จ ากั ด ในการผลิ ต ตามวรรคหนึ่ ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด

มาตรา ๔๑/๔๔ เจ้าของอากาศยาน ผู้จดทะเบียนอากาศยาน หรือผู้ดาเนินการ


เดินอากาศ ที่ประสงค์จะผลิตชิ้นส่วนเพื่อใช้ในการบารุงรักษาอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของ
อากาศยานของตน ให้ ยื่ น ค าขออนุ ญ าตต่ อ ผู้ อ านวยการ ตามหลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก ารที่ ก าหนด
ในข้อกาหนด
เมื่อผู้อานวยการเห็นว่าผู้ขอมีขีดความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนได้ มาตรฐานความ
สมควรเดินอากาศของอากาศยานหรือของส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน ให้ผู้อานวยการอนุญาต
ตามคาขอ โดยจะกาหนดเงื่อนไขหรือข้อจากัดเกี่ยวกับการผลิตและการใช้งานของชิ้นส่วนดังกล่าวได้
ตามทีเ่ ห็นสมควร

มาตรา ๔๑/๔๕ ให้นาความในมาตรา ๔๑/๙ และมาตรา ๔๑/๑๑ มาใช้บังคับโดย


อนุ โลมกั บ การสั่ งให้ ผู้ ได้รั บ ใบอนุ ญ าตผลิ ต ชิ้น ส่ วนรั บ รองคุณ ภาพท าการแก้ ไขแบบชิ้ น ส่ ว นรับ รอง
คุณ ภาพ การออกค าสั่ งกาหนดเงื่อ นไขหรือ ข้อจากั ดการใช้งานชิ้นส่ วนรั บรองคุ ณ ภาพ รวมทั้ งการ
ประกาศคาสั่งกาหนดเงื่อนไขหรือข้อจากัดการใช้งานแบบชิ้นส่วนรับรองคุณภาพ

๓. การผลิตบริภัณฑ์

มาตรา ๔๑/๔๖ การผลิตบริภัณฑ์สาหรับใช้ติดตั้งกับอากาศยานหรือส่วนประกอบ


สาคัญของอากาศยานที่มีใบรับรองแบบ ต้องผลิตตามมาตรฐานทางเทคนิคของบริภัณฑ์ตามมาตรา ๓๔ (๑)

มาตรา ๔๑/๔๗ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตบริภัณฑ์ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตผลิตบริภัณฑ์


จากผู้อานวยการ
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด

มาตรา ๔๑/๔๘ ผู้ ขอรับ ใบอนุญ าตผลิตบริภัณ ฑ์ ต ามมาตรา ๔๑/๔๗ ต้องเป็ น


นิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดในกฎกระทรวง และให้นาความในมาตรา ๔๑/๒๒ (๒) (๓) และ (๔)
มาใช้บังคับกับคุณสมบัติและลักษณะของผู้ขอโดยอนุโลม
๔๘ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๔๑/๔๙ ก่อ นออกใบอนุ ญ าตผลิ ตบริภั ณ ฑ์ ให้ ผู้ อานวยการตรวจสอบ


คุณสมบัติของผู้ขอ แบบบริภัณฑ์ที่ขออนุญาตผลิต ตลอดจนสถานทีแ่ ละวิธีการผลิตของผู้ขอ
ผู้อานวยการจะออกใบอนุญาตผลิตบริภัณฑ์ให้แก่ผู้ขอได้ เมื่อปรากฏว่า
(๑) ผู้ขอมีคุณสมบัติและลักษณะตามมาตรา ๔๑/๔๘
(๒) ผู้ขอมีขีดความสามารถทีจ่ ะผลิตบริภัณฑ์ได้ถูกต้องตามแบบที่ขออนุญาต
(๓) แบบบริ ภั ณ ฑ์ ที่ ขออนุ ญ าตผลิ ตมี มาตรฐานไม่ ต่ ากว่ ามาตรฐานทางเทคนิ คตาม
มาตรา ๓๔
(๔) ผลการทดสอบบริภัณฑ์เป็นไปตามมาตรฐานที่กาหนดในแบบที่ขออนุญาตผลิต และ
(๕) ผู้ขอได้จัดให้มีการควบคุมคุณภาพการผลิตตามมาตรา ๔๑/๑๘ (๗)
ในการออกใบอนุ ญ าตผลิตบริภัณ ฑ์ ผู้ อานวยการอาจกาหนดเงื่อนไขหรือข้อจากัด
เกีย่ วกับการผลิตและการใช้งานของบริภัณฑ์นั้นได้ตามที่เห็นสมควร และให้ถือว่าการออกใบอนุญาตเป็น
การรับรองแบบบริภัณฑ์ที่ขออนุญาตผลิตด้วย
ใบอนุญาตผลิตบริภัณฑ์ให้เป็นไปตามแบบที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด

มาตรา ๔๑/๕๐ ใบอนุ ญ าตผลิ ต บริ ภั ณ ฑ์ ให้ มี อ ายุ ค ราวละไม่ เกิ น สิ บ ปี ทั้ ง นี้
การกาหนดอายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อบังคับ
การต่ออายุใบอนุญาตผลิตบริภัณฑ์ ให้ต่อได้ตามระยะเวลาที่กาหนดไว้ในวรรคหนึ่ง
และให้นาความในมาตรา ๔๑/๒๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๔๑/๕๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตบริภัณฑ์ต้องผลิตบริภัณฑ์ตามแบบ วิธีการ


เงื่อนไขหรือข้อจากัดที่กาหนดไว้ในใบอนุญาต

มาตรา ๔๑/๕๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตบริภัณฑ์ที่ประสงค์จะทาการผลิตแตกต่าง


ไปจากแบบที่ได้รับการรับรองตามใบอนุญาตผลิต ให้ดาเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่เป็น การแก้ไขดัดแปลงที่ไม่ใช่สาระสาคัญ ให้มีสิทธิ แก้ไขแบบและผลิต
โดยใช้ ใบอนุ ญ าตเดิ ม ได้ และให้ แ จ้ งผู้ อ านวยการทราบโดยไม่ ชั ก ช้ า แต่ ห ากผู้ อ านวยการเห็ น ว่ า
การแก้ไขดัดแปลงดังกล่าวเป็นการแก้ไขดัดแปลงในสาระสาคัญ ให้ ผู้อานวยการสั่งให้ดาเนินการตาม (๒)
ทั้งนี้ การแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด
(๒) ในกรณีที่เป็นการแก้ไขดัดแปลงในสาระสาคัญ จะต้องขออนุญาตจากผู้อานวยการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนดและเมื่อผู้อานวยการทาการตรวจสอบแบบที่ขอแก้ไข
ดัดแปลงแล้ว เห็นว่าบริภัณฑ์ที่ผลิตตามแบบดังกล่าวมีคุณสมบัติในการใช้งานไม่ต่ากว่ามาตรฐานทาง
เทคนิคที่ ผู้อานวยการกาหนด ให้ ผู้อานวยการแก้ไขใบอนุญ าตฉบับเดิมหรือออกใบอนุ ญาตฉบับใหม่
ให้แก่ผู้ขอ

มาตรา ๔๑/๕๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตบริภัณฑ์ ที่ประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง


วิธีก าร เงื่อนไขหรื อ ข้อ จ ากัด ในการผลิ ต ให้ แ ตกต่ างไปจากที่ ได้ รับ อนุ ญ าต ให้ ยื่ น ค าขออนุ ญ าตต่ อ
ผู้อานวยการ
๔๙ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

การขอแก้ ไขเปลี่ ย นแปลงวิ ธี ก าร เงื่อ นไขหรือ ข้ อ จ ากั ด ในการผลิ ต ตามวรรคหนึ่ ง


ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการทีก่ าหนดในข้อกาหนด

มาตรา ๔๑/๕๔ ให้นาความในมาตรา ๔๑/๙ และมาตรา ๔๑/๑๑ มาใช้บังคับโดย


อนุโลมกับ การสั่งให้ผู้ ได้รับใบอนุ ญ าตผลิตบริภั ณฑ์ทาการแก้ไขแบบบริภัณ ฑ์ การออกคาสั่งกาหนด
เงื่อนไขหรือข้อจากัดการใช้งานบริภัณฑ์ รวมทั้งการประกาศคาสั่งกาหนดเงื่อนไขหรือข้ อจากัดการใช้
งานแบบบริภัณฑ์

๔. การควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์

มาตรา ๔๑/๕๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตหรือมีสิทธิผลิตผลิตภัณฑ์ตามความในส่วนนี้


ต้องทาเครื่องหมายและรหัสกากับไว้ที่ผลิตภัณฑ์
ลักษณะของเครื่องหมายและรหัส และวิธีแสดงเครื่ องหมายและรหัสตามวรรคหนึ่ ง
ให้เป็นไปตามที่กาหนดในข้อกาหนด

มาตรา ๔๑/๕๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิต ผลิตภัณฑ์ติดกากับหนังสือรับรองความ


สมควรเดินอากาศที่ผู้อานวยการออกให้ตามมาตรา ๔๑/๗๔ ไว้กับส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน
ชิ้นส่วนรับรองคุณภาพ หรือบริภัณฑ์ ทัง้ นี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการทีก่ าหนดในข้อกาหนด

มาตรา ๔๑/๕๗ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ตามความในส่วนนี้


ให้ผู้อานวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอานาจหน้าทีด่ ังต่อไปนี้
(๑) เข้ า ไปในโรงงาน อาคาร หรื อ สถานที่ ข องผู้ ได้ รั บ ใบอนุ ญ าตผลิ ต ในระหว่ า ง
พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในระหว่างเวลาทาการของสถานที่ดงั กล่าว เพื่อตรวจสอบการผลิต
และเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(๒) ตรวจสอบการผลิต รวมทั้งยึดหรืออายัดผลิตภัณฑ์ทผี่ ลิต
(๓) ตรวจสอบ รวมทั้ งยึด หรืออายัด เอกสารและหลั กฐานที่ เกี่ยวข้ องกับการผลิ ต
เพื่อตรวจสอบ
(๔) สั่งระงับการผลิตในส่วนที่ไม่เป็นไปตามคู่ มือการทางานเกี่ยวกับการผลิตหรือที่
อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย
(๕) นาผลิตภัณฑ์ที่ผลิตไปทาการตรวจสอบหรือทดสอบ
(๖) สั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตนาผลิตภัณฑ์ที่ผลิตไปทาการตรวจสอบหรือทดสอบ
(๗) มี ห นั ง สื อ เรี ย กบุ ค คลใดมาให้ ถ้ อ ยค าหรื อ ให้ ส่ ง เอกสารหรื อ วั ต ถุ ใ ดมาเพื่ อ
ประกอบการพิจารณา
๕๐ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๔๑/๕๘ ผู้อานวยการมีอานาจพักใช้ใบอนุญาตผลิ ตผลิตภัณฑ์ ได้ ในกรณี


ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ยินยอมให้ผู้อานวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดาเนินการตาม
อานาจหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติตามคาสั่งของผู้อานวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าทีต่ ามมาตรา ๔๑/๕๗
(๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่อาจควบคุมคุณภาพหรือรักษาขีดความสามารถในการผลิต
ผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานตามทีก่ าหนดไว้ในหมวดนี้

มาตรา ๔๑/๕๙ ผู้ อ านวยการมี อ านาจเพิ ก ถอนใบอนุ ญ าตผลิ ต ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ได้


ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ ไ ด้ รั บ ใบอนุ ญ าตขาดคุ ณ สมบั ติ ใ นสาระส าคั ญ ที่ ไ ม่ อ าจแก้ ไ ขได้ หรื อ
ขาดคุณสมบัติอื่นและไม่แก้ไขภายในกาหนดระยะเวลาตามคาสั่งของผู้อานวยการ
(๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่อาจควบคุมคุณภาพหรือไม่อาจรักษาไว้ซึ่งขีดความสามารถ
ในการผลิตผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ทั้งนี้ ภายในกาหนดระยะเวลาตามคาสั่งของผู้อานวยการที่สั่งให้
แก้ไขปรับปรุง
(๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตถูกพักใช้ใบอนุญาตเกินกว่าสองครัง้ ในช่วงเวลาสองปี
(๔) ผู้ได้รับใบอนุ ญาตผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพหรือใบอนุญาตผลิตบริภัณฑ์ ไม่แก้ไข
แบบ ภายในระยะเวลาที่ผู้อานวยการกาหนดตามมาตรา ๔๑/๔๕ หรือมาตรา ๔๑/๕๔

มาตรา ๔๑/๖๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตผลิตภัณฑ์ จะโอนสิทธิตามใบอนุญาตให้แก่


บุคคลอืน่ ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อานวยการ
การยื่นคาขอโอนสิทธิต ามวรรคหนึ่ง ให้ เป็ นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ทีก่ าหนดในข้อกาหนด

ส่วนที่ ๔
ความสมควรเดินอากาศ
---------------

๑. การรับรองความสมควรเดินอากาศของอากาศยาน

มาตรา ๔๑/๖๑ อากาศยานที่ใช้ในการเดินอากาศในราชอาณาจักร ต้องมีใบสาคัญ


สมควรเดินอากาศที่ออกให้สาหรับอากาศยานนั้น ตามความในส่วนนี้

มาตรา ๔๑/๖๒ ใบสาคัญสมควรเดินอากาศมีสองแบบ คือ


(๑) ใบสาคัญสมควรเดินอากาศแบบมาตรฐาน ออกให้สาหรับอากาศยานที่ใช้งานเพื่อ
วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นการขนส่ ง คน หรื อ ของ รวมทั้ ง สั ต ว์ และเป็ น อากาศยานที่ ได้ ส ร้ า งขึ้ น ตามแบบ
ในใบรับรองแบบมาตรฐานตามมาตรา ๓๗ (๑) หรือตามแบบที่มีหนังสือรับรองตามมาตรา ๔๑/๑๔
๕๑ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๒) ใบสาคัญสมควรเดินอากาศแบบพิเศษมีสี่ประเภท ได้แก่


(ก) ประเภทที่หนึ่ง ออกให้สาหรับอากาศยานที่ใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์นอกจาก
การขนส่งคน หรือของ รวมทั้งสัตว์ และเป็นอากาศยานที่สร้างขึ้นตามแบบในใบรับรองแบบเฉพาะตาม
มาตรา ๓๗ (๒) หรือตามแบบที่มีหนังสือรับรองตามมาตรา ๔๑/๑๔
(ข) ประเภทที่สอง ออกให้สาหรับอากาศยานที่ใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ในการบิน
ทดลองเพื่ อออกใบรับ รองแบบตามมาตรา ๔๑/๒ วรรคหนึ่ง หรือใบรับ รองแบบส่ ว นเพิ่ มเติม ตาม
มาตรา ๔๑/๕ วรรคสอง (๒) (ก) หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามทีก่ าหนดในข้อกาหนด
(ค) ประเภทที่สาม ออกให้สาหรับอากาศยานที่ใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ชั่วคราว
และเป็นอากาศยานทีส่ ร้างขึ้นตามแบบในใบรับรองแบบเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๔๑/๔
(ง) ประเภทที่สี่ ออกให้สาหรับอากาศยานที่ใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะโดยไม่
ต้องมีใบรับรองแบบตามมาตรา ๓๖ วรรคสาม
ใบสาคั ญสมควรเดิน อากาศตามมาตรานี้จ ะออกให้ แก่อากาศยานที่ จดทะเบียนแล้ ว
และมีความปลอดภัยเพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้

มาตรา ๔๑/๖๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๑/๖๕ ผู้ขอรับใบสาคัญสมควรเดินอากาศ ต้อง


เป็นผู้จดทะเบียนอากาศยานตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้ยื่นคาขอต่อผู้อานวยการตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด
การขอรับใบสาคัญสมควรเดินอากาศอาจยื่นขอพร้อมกับการขอรั บใบสาคัญการจด
ทะเบียนอากาศยานก็ได้ แต่จะออกใบสาคัญสมควรเดินอากาศได้ต่อเมื่อได้ออกใบสาคัญการจดทะเบียน
อากาศยานแล้ว
๖๒มาตรา ๔๑/๖๔ เมื่ อ ผู้ อ านวยการได้ รั บ ค าขอใบส าคั ญ สมควรเดิ น อากาศ
ให้ผู้อานวยการตรวจอากาศยานลาที่ ขอ รวมทั้งจัดให้มีหรือสั่งให้ผู้ขอทาการทดสอบตามความจาเป็น
เพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยหากเห็นว่าอากาศยานนั้นเป็นไปตามแบบที่ได้รับการรับรอง หรือตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการผลิตในข้อกาหนดของผู้อานวยการตามมาตรา ๔๑/๒๐ วรรคสอง และอยู่ในสภาพ
ที่ใช้งานได้ อย่ างปลอดภัย ให้ ผู้ อานวยการออกใบส าคั ญ สมควรเดิ น อากาศตามแบบที่ กาหนดไว้ใน
มาตรา ๔๑/๖๒ แก่ผู้ขอ
ผู้ อานวยการอาจแต่งตั้ งเจ้ าหน้ าที่ ของส านั กงานการบิ น พลเรือ นแห่ งประเทศไทย
ให้เป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอานาจออกใบสาคัญสมควรเดินอากาศแทนผู้อานวยการได้

มาตรา ๔๑/๖๕ ผู้ ได้ รับ อนุ ญ าตให้ ป ระกอบธุรกิจ การเดิ นอากาศที่ น าอากาศยาน
ต่างประเทศมาประกอบกิจการในราชอาณาจักรตามสัญญาเช่าหรือสัญญาอื่นทานองเดียวกัน อาจขอรับ
ใบสาคัญสมควรเดินอากาศตามความในหมวดนี้ได้ หากมีความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการนั้น

๖๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิม่ เติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๕๒ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๔๑/๖๖ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตอากาศยานประสงค์จะให้พนักงาน


ของตนออกใบส าคั ญ สมควรเดิ น อากาศส าหรั บ อากาศยานที่ ต นท าการผลิ ต ขึ้ น ให้ ยื่ น ค าขอ ต่ อ
ผู้ อ านวยการ ถ้ า ผู้ อ านวยการเห็ น ว่ า ผู้ ไ ด้ รั บ ใบอนุ ญ าตและพนั ก งานของผู้ ไ ด้ รั บ ใบอนุ ญ าตมี
ความสามารถและความรับ ผิ ด ชอบเพี ย งพอ ให้ ผู้ อานวยการออกใบอนุ ญ าตให้ พ นั ก งานของผู้ ได้รับ
ใบอนุญาตนั้นเป็นผู้ออกใบสาคัญสมควรเดินอากาศสาหรับอากาศยานแบบที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทาการ
ผลิตได้
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ออกใบสาคัญสมควรเดินอากาศ การขอ การออก
การพักใช้และการเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นผู้ออกใบสาคัญสมควรเดินอากาศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
และเงื่อนไขที่กาหนดในกฎกระทรวง
ใบอนุญาตให้เป็นผู้ออกใบสาคัญสมควรเดินอากาศให้เป็นไปตามแบบที่ผู้อานวยการ
ประกาศกาหนด และให้มีอายุคราวละไม่เกินหนึ่งปี
พนักงานที่ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่ผู้อานวยการ
กาหนด และให้พนักงานดังกล่าวเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
การออกใบอนุ ญ าต การพั ก ใช้ และการเพิ กถอนใบอนุ ญ าตให้ เป็ นผู้ อ อกใบส าคั ญ
สมควรเดินอากาศให้เป็นที่สุด

มาตรา ๔๑/๖๗ ใบสาคัญสมควรเดินอากาศตามมาตรา ๔๑/๖๒ ให้เป็นไปตาม


แบบทีผ่ ู้อานวยการประกาศกาหนด โดยให้มีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(๑) ใบสาคัญสมควรเดินอากาศแบบมาตรฐาน
(ก) ชื่อประเทศไทย
(ข) ชื่อหน่วยงานที่ออกใบสาคัญสมควรเดินอากาศ
(ค) เครื่องหมายสัญชาติและทะเบียนอากาศยาน
(ง) ชื่อผู้สร้าง ชื่อแบบ และเลขหมายชุดของอากาศยานของผู้สร้าง
(จ) ประเภทการใช้งานของอากาศยานตามมาตรา ๓๔ วรรคสาม
(ฉ) วันออกใบสาคัญสมควรเดินอากาศ และวันหมดอายุ
(ช) ลายมือชื่อและตาแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ออกใบสาคัญสมควรเดินอากาศ
(ซ) ข้อความที่ระบุว่าได้ออกใบสาคัญสมควรเดินอากาศตามอนุสัญญาและตาม
พระราชบัญญัตินี้
(๒) ใบสาคัญสมควรเดินอากาศแบบพิ เศษ ให้มีรายการตาม (๑) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ)
(ฉ) และ (ช) และเงือ่ นไขหรือข้อจากัดการใช้อากาศยาน

มาตรา ๔๑/๖๘ ใบสาคัญสมควรเดินอากาศ ให้มีอายุดังต่อไปนี้


(๑) ใบสาคัญสมควรเดินอากาศแบบมาตรฐาน ให้มอี ายุคราวละสามปี
(๒) ใบสาคัญสมควรเดินอากาศแบบพิเศษ
(ก) ประเภทที่หนึ่ง ให้มีอายุคราวละสามปี
(ข) ประเภทที่ ส อง ให้ มี อายุค ราวละไม่ เกิ น หนึ่ งปี ทั้ งนี้ ต้ องไม่ เกิ น กาหนด
ระยะเวลาที่ผู้อานวยการอนุญ าตให้ ผู้ข อใบรับ รองแบบดาเนิน การสร้า งอากาศยานต้ น แบบหรือ
๕๓ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ต้นแบบส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานให้แล้วเสร็จตามมาตรา ๓๘ วรรคสาม หรือระยะเวลาที่จะใช้


ทาการบินตามวัตถุประสงค์อื่นตามมาตรา ๔๑/๖๒ (๒) (ข)
(ค) ประเภทที่สาม ให้มีอายุคราวละหนึ่งปี
(ง) ประเภทที่สี่ ให้มีอายุคราวละหนึ่งปี

มาตรา ๔๑/๖๙ การขอต่ออายุใบสาคั ญ สมควรเดินอากาศ ให้ ผู้ ได้รับใบสาคัญ


สมควรเดินอากาศยื่นคาขอต่อผู้อานวยการก่อนใบสาคัญสมควรเดินอากาศสิ้นอายุอย่างน้อยหกสิบวัน
ทัง้ นี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด
เมื่อผู้อานวยการได้ตรวจอากาศยาน ประวัติการบารุงรักษา รวมทั้งจัดให้มีหรือสั่งให้
ผู้ขอทาการทดสอบตามความจ าเป็ น เพื่ อประโยชน์แห่ งความปลอดภั ยแล้ ว ให้ ผู้อานวยการต่ออายุ
ใบส าคั ญ สมควรเดิ น อากาศให้ แ ก่ อ ากาศยานตามระยะเวลาที่ ก าหนดไว้ ต ามมาตรา ๔๑/๖๘
หากผู้อานวยการเห็นว่า
(๑) ในกรณีอากาศยานที่มีใบรับรองแบบ อากาศยานนั้ นได้รับการบารุงรักษาให้คง
สภาพตามแบบที่ได้รับการรับรอง และตามคาสั่งความสมควรเดินอากาศ และอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
อย่างปลอดภัย
(๒) ในกรณีอากาศยานที่ไม่มีใบรับรองแบบ อากาศยานนั้นได้รับการบารุงรักษาตามที่
ผู้อานวยการกาหนด และอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย

มาตรา ๔๑/๗๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๑/๘๕ ใบสาคัญสมควรเดินอากาศเป็ นอัน


สิ้นผล เมื่อมีเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้
(๑) ใบสาคัญการจดทะเบียนอากาศยานลานั้นเป็นอันใช้ไม่ได้ตามมาตรา ๓๒
(๒) ใบรั บ รองแบบอากาศยาน หรื อใบรับรองแบบส่ วนประกอบส าคัญของอากาศยาน
ถูกเพิกถอนตามมาตรา ๔๑/๑๐ วรรคหนึ่ง
(๓) มีการดัดแปลงอากาศยานโดยฝ่าฝืนมาตรา ๔๑/๗๘
(๔) ผู้อานวยการสั่งเพิกถอนใบสาคัญสมควรเดินอากาศตามมาตรา ๔๑/๘๗ หรือ
(๕) อากาศยานนั้ น ได้ รั บ ความเสี ย หายหรื อ ช ารุ ด จนอยู่ ใ นสภาพอั น ตรายที่
ผู้ประจาหน้าที่ไม่สามารถแก้ไขได้

มาตรา ๔๑/๗๑ ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบสาคัญสมควรเดินอากาศสาหรับการส่งออก


อากาศยาน ให้ยื่นคาขอต่อผู้อานวยการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด
เมื่ อผู้ อานวยการได้ รั บ ค าขอตามวรรคหนึ่ งแล้ ว ให้ ผู้ อ านวยการตรวจอากาศยาน
รวมทั้ ง จั ด ให้ มี ห รื อ สั่ งให้ ผู้ ข อท าการทดสอบตามความจ าเป็ น เพื่ อ ประโยชน์ แ ห่ งความปลอดภั ย
หากเห็ นว่าอากาศยานนั้น เป็ นไปตามมาตรฐานอากาศยานตามมาตรา ๓๔ และตามข้อกาหนดของ
ประเทศที่ จ ะส่ งไป และอยู่ ในสภาพใช้ งานได้อ ย่ างปลอดภั ย ให้ ผู้ อ านวยการออกใบส าคั ญ สมควร
เดิ น อากาศส าหรั บ การส่ ง ออกให้ แ ก่ ผู้ ข อ และให้ น าความในมาตรา ๔๑/๖๔ วรรคสอง และ
มาตรา ๔๑/๖๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ใบส าคั ญ สมควรเดิ น อากาศส าหรั บ การส่ ง ออกอากาศยาน ให้ เป็ น ไปตามแบบที่
ผู้อานวยการประกาศกาหนด โดยให้มีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
๕๔ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๑) ชื่อหน่วยงานที่ออกใบสาคัญสมควรเดินอากาศสาหรับการส่งออกอากาศยาน
(๒) ชื่อผู้สร้าง ชื่อแบบ และเลขหมายชุดของอากาศยานของผู้สร้าง
(๓) วันออกใบสาคัญสมควรเดินอากาศสาหรับการส่งออกอากาศยาน
(๔) ข้อความที่ระบุว่าเป็นอากาศยานใหม่หรืออากาศยานทีใ่ ช้งานแล้ว
(๕) ลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกใบสาคัญสมควรเดินอากาศสาหรับการส่งออกอากาศยาน

มาตรา ๔๑/๗๒ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๑/๖๕ อากาศยานต่างประเทศที่ใช้ในการ


เดินอากาศในราชอาณาจักร ต้องมีใบสาคัญสมควรเดินอากาศที่ออกให้สาหรับอากาศยานลานั้น ตาม
กฎหมายของประเทศที่จดทะเบียนอากาศยานซึ่งเป็นรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาหรือเป็นประเทศที่ได้ทาความ
ตกลงกับประเทศไทย ทั้งนี้ การออกใบสาคัญสมควรเดินอากาศของประเทศดังกล่าว ต้องมีมาตรฐานไม่
ต่ากว่ามาตรฐานทีก่ าหนดไว้ในภาคผนวกแห่งอนุสัญญา

๒. การรับรองความสมควรเดินอากาศของผลิตภัณฑ์อื่น

มาตรา ๔๑/๗๓ ส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน ชิ้นส่วนรับรองคุณ ภาพและ


บริภัณฑ์ ที่จะใช้ติดตั้งกับอากาศยานที่มีใบรับรองแบบและใบสาคัญสมควรเดินอากาศได้ ต้องมีหนังสือ
รับรองความสมควรเดินอากาศติดกากับไว้กบั ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เว้นแต่เป็นชิ้นส่วนมาตรฐาน
สาหรับผลิตภัณฑ์ตามวรรคหนึ่ง ที่จะนาไปติดตั้งกับอากาศยานที่ไม่มีใบรับรองแบบแต่
มีใบส าคัญ สมควรเดิ น อากาศแบบพิ เศษตามมาตรา ๔๑/๖๒ (๒) (ง) ให้ เป็ น ไปตามข้ อ กาหนดของ
ผู้อานวยการที่ออกตามมาตรา ๔๑/๒๐ วรรคสอง หรือมาตรา ๔๑/๓๖ วรรคสอง

มาตรา ๔๑/๗๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตผลิตภัณฑ์ที่ประสงค์จะขอรับหนังสือรับรอง


ความสมควรเดินอากาศของส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน ชิ้นส่วนรับรองคุณภาพ หรือบริภัณฑ์ที่
ทาการผลิต ให้ยื่นคาขอต่อผู้อานวยการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด
เมื่ อ ผู้ อ านวยการได้ รั บ ค าขอตามวรรคหนึ่ ง ให้ ผู้ อ านวยการตรวจสอบผลิ ต ภั ณ ฑ์
ดังกล่าว รวมทั้งจัดให้มีหรือสั่งให้ผู้ขอทาการทดสอบตามความจาเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัย
หากเห็นว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นไปตามมาตรฐานอากาศยานตามมาตรา ๓๔ และอยู่ในสภาพใช้งานได้อย่าง
ปลอดภัย ให้ผู้ อานวยการออกหนังสือรับรองความสมควรเดินอากาศสาหรับผลิตภัณฑ์นั้นให้แก่ผู้ขอ
และให้นาความในมาตรา ๔๑/๖๔ วรรคสอง และมาตรา ๔๑/๖๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หนังสือรับรองความสมควรเดินอากาศให้เป็นไปตามแบบที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด

มาตรา ๔๑/๗๕ ผู้ใดประสงค์จะขอหนังสือรับรองความสมควรเดินอากาศสาหรับ


การส่งออกซึ่งส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน ชิ้นส่วนรับรองคุณภาพ หรือบริภัณฑ์ ให้ยื่นคาขอต่อ
ผู้ อานวยการตามหลั กเกณฑ์ และวิธีการที่ กาหนดในข้อกาหนด และให้ น าความในมาตรา ๔๑/๖๔ และ
มาตรา ๔๑/๖๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
๕๕ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๔๑/๗๖ ให้ ห นั งสื อ รั บ รองความสมควรเดิ น อากาศของต่ างประเทศที่


ผู้อานวยการประกาศกาหนด ใช้ได้เช่นเดียวกับหนังสือรับรองความสมควรเดินอากาศที่ออกตามความใน
หมวดนี้
ผู้อานวยการจะประกาศกาหนดตามวรรคหนึ่งได้ต่อ เมื่อประเทศนั้นมีมาตรฐานในการ
ออกหนังสือรับรองความสมควรเดินอากาศไม่ต่ากว่าที่กาหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้

๓. การคงความต่อเนื่องของความสมควรเดินอากาศ

มาตรา ๔๑/๗๗ เพื่อประโยชน์ในการคงความต่อเนื่องของความสมควรเดินอากาศ


อากาศยานที่ มีใบส าคัญ สมควรเดิน อากาศต้องได้รับการบ ารุงรักษาให้ อยู่ในสภาพที่ ใช้งานได้อย่า ง
ปลอดภัย ดังนี้
(๑) อากาศยานที่มีใบรับ รองแบบ ต้องได้รับการบารุงรักษาให้คงสภาพตามแบบที่
ได้รับการรับรอง และตามคาสั่งความสมควรเดินอากาศตามมาตรา ๔๑/๘๒
(๒) อากาศยานที่ไม่มีใบรับรองแบบ ต้องได้รับการบารุ งรักษาให้มีความปลอดภัยใน
การใช้งานตามข้อกาหนดของผู้อานวยการที่ออกตามมาตรา ๔๑/๒๐ วรรคสอง และตามคาสั่งความ
สมควรเดินอากาศตามมาตรา ๔๑/๘๒
หลักเกณฑ์ วิธี การ และกาหนดเวลาการบารุงรั กษาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่
ผู้อานวยการประกาศกาหนด

มาตรา ๔๑/๗๘ การแก้ไขดัดแปลงอากาศยานที่มีใบสาคัญสมควรเดินอากาศให้


แตกต่างไปจากใบรับรองแบบจะกระทามิได้ เว้นแต่ผู้อานวยการจะให้ความเห็นชอบเป็นหนังสือตาม
มาตรา ๔๑/๕ วรรคสอง (๑) หรือมาตรา ๔๑/๗ วรรคสอง หรือได้รับใบรับรองแบบส่วนเพิ่มเติมตาม
มาตรา ๔๑/๕ วรรคสอง (๒) (ก) หรือมาตรา ๔๑/๖ วรรคสอง

มาตรา ๔๑/๗๙ ในการบารุงรักษาอากาศยานที่มีใบสาคัญสมควรเดินอากาศทีต่ ้อง


ใช้ชิ้น ส่วนทดแทนเพื่อเปลี่ย น ดัด แปลง หรือแก้ไขอากาศยานหรือส่ว นประกอบสาคัญของอากาศยาน
ชิ้นส่วนที่ใช้ทดแทนนั้นจะต้อง
(๑) เป็ น ผลิ ตภั ณ ฑ์ ที่ผ ลิ ตโดยผู้ ได้รับใบอนุญ าตผลิ ตผลิ ต ภัณ ฑ์ หรือเป็ นชิ้ นส่ ว นที่
ผู้ได้รับใบรับรองหน่วยซ่อมทาการดัดแปลงหรือทาขึ้นใหม่เพื่อใช้ในการบารุงรักษาตามมาตรา ๔๑/๑๐๕
หรือ
(๒) เป็ น ชิ้ น ส่ ว นที่ เจ้ าของอากาศยาน ผู้ จดทะเบี ย นอากาศยานหรือ ผู้ ดาเนิ น การ
เดินอากาศผลิตขึ้นใช้เองตามมาตรา ๔๑/๔๔ หรือเป็นชิ้นส่วนมาตรฐาน

มาตรา ๔๑/๘๐ ผู้จดทะเบียนอากาศยานมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้


(๑) จั ด ให้ มีการบั น ทึ กประวัติการบารุงรักษาอากาศยาน ส่ วนประกอบส าคัญ ของ
อากาศยาน รวมทั้งการจัดเก็บหนังสือรับรองความสมควรเดินอากาศของส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน
ชิ้นส่วนรับรองคุณภาพ และบริภณ ั ฑ์ที่ใช้ในการบารุงรักษา เพื่อเป็นหลักฐานในการบารุงรักษา
๕๖ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๒) จัดทารายงานการบารุงรักษาอากาศยานให้ผู้อานวยการทราบทุกหกเดือน
(๓) จัดทารายงานเกีย่ วกับสาระสาคัญของอากาศยานตามที่กาหนดไว้ในมาตรา ๓๒
(๔) แจ้งการสูญหายของอากาศยานโดยไม่ชักช้า
การปฏิ บั ติ ห น้ าที่ ต ามวรรคหนึ่ ง ให้ เป็ น ไปตามหลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก ารที่ ก าหนดใน
ข้อกาหนด
ถ้ามีผู้ดาเนินการเดินอากาศสาหรับอากาศยานใด ให้หน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็น หน้าที่
ของผู้ดาเนินการเดินอากาศ

มาตรา ๔๑/๘๑ เมื่อมี เหตุ อันควรสงสัยว่าอากาศยานล าใดที่มีใบส าคัญสมควร


เดินอากาศมีความไม่ปลอดภัยในการใช้งาน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้จดทะเบียน
อากาศยาน ทาการตรวจโดยระบุรายการและกาหนดระยะเวลาที่ต้องทาการตรวจให้แล้วเสร็จไว้ด้วย
เมื่อได้ตรวจอากาศยานตามวรรคหนึ่งแล้ว หากพบข้อบกพร่องให้ผู้จดทะเบียนอากาศยาน
ทาการบารุงรักษาอากาศยานตามมาตรา ๔๑/๗๗ พร้อมทั้งบันทึกประวัติและทารายงานการบารุงรักษา
ตามมาตรา ๔๑/๘๐ และถ้าข้อบกพร่องนั้นเป็นกรณีที่กระทบต่อความปลอดภัยในการใช้งาน ให้ผู้จด
ทะเบียนอากาศยานแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบทันที

มาตรา ๔๑/๘๒ เมื่อปรากฏว่าอากาศยานลาใดหรือแบบใดที่ มีใบสาคัญสมควร


เดิน อากาศ มีห รืออาจมีความไม่ ป ลอดภั ยในการใช้งาน เพราะเหตุห นึ่ งเหตุใดและเหตุดั งกล่ าวอาจ
เกิด ขึ้น แก่อ ากาศยานล าอื่ น ที่ ส ร้ างขึ้น ตามแบบอากาศยานนั้ น หรื อแบบอากาศยานอื่น ที่ มี ลั กษณะ
เดียวกันได้ ให้ผู้อานวยการมีอานาจออกคาสั่งความสมควรเดินอากาศดังต่อไปนี้ เพื่อให้อากาศยานแบบ
ดังกล่าวใช้งานต่อไปได้โดยปลอดภัย
(๑) ให้มีการตรวจหรือแก้ไขอากาศยานดังกล่าวทุกลาหรือบางลา
(๒) ให้ ถอดเปลี่ ย นส่ว นประกอบสาคั ญ ของอากาศยาน บริภัณ ฑ์ หรือชิ้นส่ วนของ
อากาศยาน
(๓) กาหนดหรือแก้ไขเงื่อนไขหรือข้อจากัดการใช้งานอากาศยาน
ในการออกคาสั่งความสมควรเดินอากาศตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้อานวยการกาหนดรายการ
และระยะเวลาที่จะให้ดาเนินการ และให้นาความในมาตรา ๔๑/๘๑ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๔๑/๘๓ เมื่ อ เป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ ว่ า อากาศยานล าใดหรื อ แบบใดมี ค วาม
ไม่ปลอดภัยในการใช้งาน ให้ผู้อานวยการสั่งห้ามอากาศยานลานั้นหรือแบบนั้นหรือแบบอื่นที่มีลักษณะ
เดี ย วกั น ท าการบิ น และให้ ผู้ จ ดทะเบี ย นอากาศยานท าการแก้ ไขจนมี ค วามปลอดภั ย ในการใช้ งาน
ทั้งนี้ เมื่ออากาศยานนั้นได้รับการบารุงรักษาตามมาตรา ๔๑/๗๗ และได้รับการรับรองตามมาตรา ๔๑/๘๔
แล้ว ให้ผู้อานวยการยกเลิกคาสั่งห้ามทาการบิน

มาตรา ๔๑/๘๔ อากาศยานที่ได้รับการบารุ งรักษาแล้ว จะทาการบินได้ต่อเมื่อ


ได้รับการรับรองโดยผู้ประจาหน้าที่ที่มีสิทธิทาการตามมาตรา ๔๕ หรือได้รับการรับรองโดยหน่วยซ่อม
ตามมาตรา ๔๑/๑๐๑ (๑)
๕๗ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๔๑/๘๕ ให้ ใบส าคัญ สมควรเดินอากาศเป็น อัน ใช้ไม่ได้เป็นการชั่ วคราว


เมื่อปรากฏว่ามีเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้
(๑) ส่ ว นประกอบส าคั ญ ของอากาศยาน บริภั ณ ฑ์ หรือ ชิ้ น ส่ ว นของอากาศยาน
ที่นามาเปลี่ยนทดแทนในอากาศยานไม่มีหนังสือรับรองความสมควรเดิ นอากาศตามมาตรา ๔๑/๗๓
วรรคหนึ่ง
(๒) อากาศยานนั้นไม่ได้รั บการบารุงรักษาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และกาหนดเวลา
การบารุงรักษาที่ผู้อานวยการประกาศกาหนดตามมาตรา ๔๑/๗๗ วรรคสอง
(๓) การเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ตาม (๑) ในอากาศยาน ไม่ได้รับการรับรองการบารุงรักษาตาม
มาตรา ๔๑/๘๔
(๔) เมื่อผู้ควบคุมอากาศยานแจ้งให้นายช่างทาการบารุงรักษาตามมาตรา ๔๑/๘๘
เมื่ออากาศยานได้รับการบารุงรั กษาตามมาตรา ๔๑/๗๗ และได้รับการรับรองตาม
มาตรา ๔๑/๘๔ แล้ว ให้ใบสาคัญสมควรเดินอากาศของอากาศยานลานั้น เป็นอันใช้ได้ต่อไป

มาตรา ๔๑/๘๖ ให้ผู้อานวยการมีอานาจสั่งพักใช้ใบสาคัญสมควรเดินอากาศของ


อากาศยานลาใดได้ เมื่อผู้มีหน้าที่ตามมาตรา ๔๑/๘๐ ไม่จัดให้มีการบันทึกประวัติ หรือไม่ทารายงานให้
ผู้อานวยการทราบ หรือมีการบันทึกประวัติหรือทารายงานไม่ตรงตามความจริง

มาตรา ๔๑/๘๗ ให้ผู้อานวยการมีอานาจสั่ งเพิกถอนใบสาคัญสมควรเดินอากาศ


ของอากาศยานลาใดหรือแบบใดได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เมื่ อ ผู้ อ านวยการมี ค าสั่ ง ความสมควรเดิ น อากาศตามมาตรา ๔๑/๘๒ หรื อ
เมื่ อ ผู้ อ านวยการหรื อ พนั ก งานเจ้ าหน้ าที่ มี ค าสั่ งเกี่ย วกับ ความปลอดภั ย ตามมาตรา ๔๑/๘๑ หรื อ
มาตรา ๔๑/๘๓ แล้ว อากาศยานลานั้นหรือแบบนั้นไม่ได้รับการบารุงรักษาตามรายการและระยะเวลาที่
ระบุในคาสั่งของผู้อานวยการหรือของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยไม่มีเหตุอนั สมควร
(๒) เมื่อผู้มีหน้าที่ตามมาตรา ๔๑/๘๐ ไม่จัดให้มีการบันทึกประวัติ หรือไม่ทารายงาน
ให้ผู้อานวยการทราบ หรือมีการบันทึกประวัติหรือทารายงานไม่ตรงตามความจริง ทั้งนี้ ในสาระสาคัญ
หรือเป็นประจา
(๓) ไม่อาจแก้ไขอากาศยานลานั้นหรือแบบนั้นให้มีความปลอดภัยได้
ให้ผู้อานวยการมีอานาจกาหนดเกณฑ์ที่ถือว่าเป็นการทาบันทึกประวัติหรือการรายงาน
ไม่ตรงตามความจริงในสาระสาคัญหรือเป็นประจาตาม (๒) ได้ตามที่เห็นสมควร

มาตรา ๔๑/๘๘ ในกรณีที่ผู้ควบคุมอากาศยานเห็นว่าอากาศยานอยู่ ในสภาพที่ไม่


สามารถทาการบินได้อย่างปลอดภัย ให้แจ้งนายช่างทาการบารุงรักษาอากาศยานให้อยู่ในสภาพที่ทาการ
บินได้อย่างปลอดภัยก่อนนาอากาศยานทาการบิน

มาตรา ๔๑/๘๙ ห้ามมิให้ผู้ใดนาอากาศยานทาการบิน ในกรณีดังต่อไปนี้


(๑) ไม่มีใบสาคัญสมควรเดินอากาศตามมาตรา ๔๑/๖๑
(๒) ใบสาคัญสมควรเดินอากาศเป็นอันสิ้นผลตามมาตรา ๔๑/๗๐
(๓) ใบสาคัญสมควรเดินอากาศเป็นอันใช้ไม่ได้เป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๔๑/๘๕
๕๘ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๔) อากาศยานนั้นไม่ได้รับการตรวจตามรายการเมื่อพ้นกาหนดระยะเวลาที่พนักงาน
เจ้าหน้าที่หรือผู้อานวยการสั่งตามมาตรา ๔๑/๘๑ หรือมาตรา ๔๑/๘๒
(๕) อากาศยานนั้นอยูใ่ นระหว่างต้องคาสั่งห้ามบินตามมาตรา ๔๑/๘๓
(๖) ใบสาคัญสมควรเดินอากาศถูกพักใช้ตามมาตรา ๔๑/๘๖ หรือ
(๗) ใบสาคัญสมควรเดินอากาศถูกเพิกถอนตามมาตรา ๔๑/๘๗

มาตรา ๔๑ /๙ ๐ ในกรณี ที่ อ ากาศยาน ล าใดที่ ต้ อ งห้ า ม ท าการบิ น ตาม


มาตรา ๔๑/๘๙ แต่ มี ค วามจ าเป็ น ที่ จ ะต้ อ งให้ อากาศยานดั งกล่ าวบิ น ไปยั งฐานของผู้ จ ดทะเบี ย น
อากาศยานหรือของผู้ ดาเนิ น การเดินอากาศ หรือบินไปยั งหน่วยซ่อมหรือบินหลบภัย หรือในกรณี ที่
จาเป็นต้องให้อากาศยานซึ่งมีใบสาคัญสมควรเดินอากาศลาใดทาการบินนอกเหนือไปจากข้อจากั ดที่
กาหนดไว้ในคู่มือของอากาศยาน ถ้าผู้อานวยการเห็นว่าอากาศยานนั้นสามารถบินได้อย่างปลอดภัยเพื่อ
วัตถุประสงค์ดังกล่าว ผู้อานวยการอาจอนุญาตเป็น หนังสือให้ อากาศยานนั้นทาการบินไปยังสถานที่
ดังกล่าวได้ภายใต้เงื่อนไขที่ผู้อานวยการกาหนด

มาตรา ๔๑/๙๑ ในกรณีที่ผู้อานวยการเห็นว่าอากาศยานต่างประเทศลาใดที่ไม่ได้


ทาการบินอาจมีความไม่ปลอดภัยในการใช้งาน ให้ผู้อานวยการแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของประเทศ
ผู้จดทะเบียนอากาศยานนั้นทราบ หรือในกรณีที่ผู้อานวยการเห็นว่าอากาศยานต่างประเทศที่จะทาการบิน
อาจมีความไม่ปลอดภัยหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ ให้ผู้อานวยการมีอานาจสั่งห้ามอากาศยาน
นั้นทาการบินในราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้อานวยการกาหนด และให้นาความใน
มาตรา ๔๑/๙๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
๖๓มาตรา ๔๑/๙๒ ในกรณี ผู้ อ านวยการมี ค าสั่ ง ความสมควรเดิ น อากาศตาม
มาตรา ๔๑/๘๒ หรือผู้อานวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีคาสั่งเกี่ยวกับความปลอดภัยตามมาตรา ๔๑/๘๑
มาตรา ๔๑/๘๓ มาตรา ๔๑/๘๖ มาตรา ๔๑/๘๗ หรือมาตรา ๔๑/๙๑ ให้ผู้อานวยการหรือพนักงาน
เจ้าหน้าที่แจ้งคาสั่งดังกล่าว ให้ผู้จดทะเบียนอากาศยาน ผู้ดาเนินการเดิน อากาศ และผู้มีส่วนเกี่ย วข้อง
ทราบ หรือประกาศคาสั่งดังกล่าวให้ทราบทั่วกัน

๖๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๕๙ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ส่วนที่ ๕
หน่วยซ่อม
---------------

มาตรา ๔๑/๙๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๑/๑๐๙ การประกอบกิจการหน่วยซ่อมใน


ราชอาณาจักร ต้องได้รับใบรับรองหน่วยซ่อมตามความในส่วนนี้
ใบรับรองหน่วยซ่อมมีสามประเภท คือ
(๑) ประเภทที่หนึ่ง สาหรับบารุงรักษาอากาศยาน
(๒) ประเภทที่สอง สาหรับบารุงรักษาส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน
(๓) ประเภทที่สาม สาหรับบารุงรักษาบริภัณฑ์และชิ้นส่วนของอากาศยาน

มาตรา ๔๑/๙๔ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการหน่วยซ่อ ม เว้นแต่จะได้รับใบรับรอง


หน่วยซ่อมจากผู้อานวยการ
การขอรับใบรับรองและการออกใบรับรองตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด และให้ผู้อานวยการกาหนดแบบของอากาศยาน ส่วนประกอบสาคัญของ
อากาศยาน บริภัณฑ์ หรือชิ้นส่วนของอากาศยาน ที่หน่วยซ่อมมีสิทธิทาการบารุงรักษาไว้ในใบรับรอง
หน่วยซ่อมด้วย

มาตรา ๔๑/๙๕ ผู้ ข อรั บ ใบรั บ รองหน่ ว ยซ่ อ มต้ อ งมี คุ ณ สมบั ติ แ ละลั ก ษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ส าหรั บ ใบรั บ รองหน่ ว ยซ่อ มประเภทที่ ห นึ่ ง ให้ น าคุ ณ สมบั ติ แ ละลั กษณะตาม
หลักเกณฑ์ที่กาหนดไว้ในมาตรา ๔๑/๒๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ใบรับรองหน่วยซ่อมสาหรับอากาศยาน
ที่มีมวลวิ่งขึ้นสูงสุดไม่เกินห้าพันเจ็ดร้อยกิโลกรัม ผู้อานวยการอาจกาหนดให้ใช้คุณสมบัติตามที่กาหนด
ใน (๒) ก็ได้
(๒) สาหรับใบรับรองหน่วยซ่อมประเภทที่สองและประเภทที่สาม ต้องเป็ นนิติบุคคล
ตามที่กาหนดในกฎกระทรวง และให้ น าความในมาตรา ๔๑/๒๒ (๒) (๓) และ (๔) มาใช้ บั งคั บกั บ
คุณสมบัตแิ ละลักษณะของผู้ขอโดยอนุโลม

มาตรา ๔๑/๙๖ ก่ อ นออกใบรั บ รองหน่ ว ยซ่ อ ม ให้ ผู้ อ านวยการตรวจสอบ


คุณสมบัติและลักษณะของผู้ขอ รวมทั้งสถานที่และวิธีการบารุงรักษาของผู้ขอ
ผู้อานวยการจะออกใบรับรองหน่วยซ่อ มให้แก่ผู้ขอได้ เมื่อปรากฏว่า ผู้ขอมีคุณสมบัติ
และลักษณะตามที่กาหนดในมาตรา ๔๑/๙๕ และสถานที่ เครื่องมื อ เอกสารและหลั กฐานเกี่ยวกั บ
กฎเกณฑ์ความสมควรเดินอากาศ คู่มือการบริหารจัดการหน่วยซ่อม คู่มือการบารุงรักษา รวมถึงระบบ
การควบคุมคุ ณ ภาพและระบบการประกั นคุณ ภาพตามที่ กาหนดไว้ในมาตรา ๔๑/๑๐๓ (๑) มีค วาม
เหมาะสมกับกิจการทีข่ อใบรับรอง
ในการออกใบรั บ รองหน่ วยซ่อม ผู้ อานวยการอาจกาหนดเงื่อนไขหรือข้อจากัดการ
บารุงรักษาในใบรับรองได้
ใบรับรองหน่วยซ่อม ให้เป็นไปตามแบบที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด
๖๐ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๔๑/๙๗ ใบรับรองหน่วยซ่อม ให้มีอายุดังต่อไปนี้


(๑) ใบรับรองหน่วยซ่อมประเภททีห่ นึ่ง ให้มีอายุคราวละไม่เกินยี่สิบปี
(๒) ใบรับรองหน่วยซ่อมประเภทที่สอง ให้มีอายุคราวละไม่เกินสิบปี
(๓) ใบรับรองหน่วยซ่อมประเภททีส่ าม ให้มีอายุคราวละไม่เกินห้าปี
การกาหนดอายุใบรับรองหน่วยซ่อม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดในข้อบังคับ

มาตรา ๔๑/๙๘ การขอต่ออายุใบรับรองหน่วยซ่อม ให้ผู้ได้รับใบรับรองหน่วยซ่อม


ยื่นคาขอต่อผู้อานวยการก่อนใบรับรองสิ้นอายุอย่ างน้อยหกสิบวัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
กาหนดในข้อกาหนด และให้นาความในมาตรา ๔๑/๒๙ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๔๑/๙๙ ผู้ ได้ รับ ใบรับ รองหน่ วยซ่ อ มประเภทที่ ห นึ่ งย่อ มมี สิ ท ธิท าการ
บารุงรักษาอากาศยาน รวมทั้งส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน บริภัณฑ์ และชิ้นส่วนของอากาศยาน
เฉพาะแบบที่ระบุไว้ในใบรับรอง ทั้งนี้ ตามวิธีการ เงื่อนไขหรือข้อจากัดที่กาหนดไว้ในใบรับรอง
ผู้ได้รับใบรับรองหน่วยซ่อมประเภทที่สองย่อมมีสิทธิทาการบารุงรักษาส่วนประกอบ
สาคัญของอากาศยาน รวมทั้งบริภัณ ฑ์ และชิ้นส่วนของอากาศยานเฉพาะแบบที่ระบุไว้ในใบรับรอง
ทั้งนี้ ตามวิธีการ เงือ่ นไขหรือข้อจากัดที่กาหนดไว้ในใบรับรอง
ผู้ได้รับใบรับรองหน่วยซ่อมประเภทที่สามย่อมมีสิทธิทาการบารุงรักษาบริภัณฑ์ และ
ชิ้นส่วนของอากาศยานเฉพาะแบบทีร่ ะบุไว้ในใบรับรอง ทั้งนี้ ตามวิธีการ เงื่อนไขหรือข้อจากัดที่กาหนด
ไว้ในใบรับรอง

มาตรา ๔๑/๑๐๐ ผู้ได้รับใบรับรองหน่วยซ่อมต้องแต่งตั้งผู้ดาเนินการหน่วยซ่อม


คนหนึ่งเพือ่ ปฏิบัตหิ น้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการดาเนินงานของหน่วยซ่อมโดยทั่วไป และปฏิบัติหน้าที่
ตามมาตรา ๔๑/๑๐๓ โดยแจ้งการแต่งตั้งให้ผู้อานวยการทราบ
ผู้ ดาเนิ น การหน่ ว ยซ่อมต้องมี คุณ สมบั ติแ ละไม่ มี ลั กษณะต้องห้ ามตามที่ กาหนดใน
กฎกระทรวง
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ดาเนิ นการหน่วยซ่อมขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตาม
วรรคสอง ให้ผู้อานวยการมีอานาจสั่งให้ผู้ได้รับใบรับรองเปลี่ยนผู้ดาเนินการหน่วยซ่อมได้

มาตรา ๔๑/๑๐๑ เมื่อผู้ได้รับใบรับรองหน่วยซ่อมได้ทาการบารุงรักษาอากาศยาน


ส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน บริภัณฑ์ หรือชิ้นส่ วนของอากาศยานเสร็จแล้ว ผู้ได้รับใบรับรอง
หน่วยซ่อมมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ออกหนังสือรับรองการนากลับไปใช้งาน ในกรณีที่เป็นอากาศยาน
(๒) ออกหนังสือรับรองความสมควรเดินอากาศ ในกรณีที่เป็นส่วนประกอบสาคัญของ
อากาศยาน บริ ภั ณ ฑ์ หรื อ ชิ้ น ส่ ว นของอากาศยาน พร้อ มทั้ งติ ด ก ากั บ หนั งสื อ รับ รองความสมควร
เดินอากาศไว้กบั ผลิตภัณฑ์ตามทีก่ าหนดไว้ในมาตรา ๔๑/๗๓ วรรคหนึ่ง
หนังสือรับรองตาม (๑) และ (๒) ให้เป็นไปตามแบบที่ ผู้อานวยการประกาศกาหนด
โดยอย่างน้ อยต้องระบุรายการที่ได้บ ารุงรักษา หมายเลขใบรับรองหน่วยซ่ อม และรายละเอียดอื่น ที่
เกี่ยวข้อง พร้อมทัง้ ลงลายมือชื่อพนักงานหรือนายช่างที่ได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๔๑/๑๐๒
๖๑ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ในกรณี ที่ห น่ วยซ่อมเป็ นผู้ ติดตั้งส่ วนประกอบสาคัญ ของอากาศยาน บริภัณ ฑ์ หรือ


ชิ้น ส่ ว นของอากาศยานทดแทนผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ ดิ ม ให้ ม อบหนั งสื อรับ รองความสมควรเดิ น อากาศของ
ผลิตภัณฑ์ที่ติดตั้งนั้นให้ผู้ที่เกีย่ วข้อง เพื่อให้ผู้จดทะเบียนอากาศยานทาการบันทึกประวัติการบารุงรักษา
และเก็บรักษาหนังสือรับรองดังกล่าวตามมาตรา ๔๑/๘๐ (๑)

มาตรา ๔๑/๑๐๒ ผู้ได้รับใบรับรองหน่วยซ่อมต้องแต่งตั้งพนักงานหรือนายช่างเป็น


ผู้มีอานาจลงนามในหนังสือรับรองงานตามมาตรา ๔๑/๑๐๑ โดยการแต่งตัง้ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก
ผู้อานวยการ
พนักงานหรือนายช่างที่จะได้รับแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ
ต้องห้ามตามที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด
พนักงานหรือนายช่างที่ได้รับแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ต้องปฏิ บัติห น้าที่ตามระเบียบที่
ผู้อานวยการกาหนด

มาตรา ๔๑/๑๐๓ นอกจากที่กาหนดไว้ในมาตรา ๔๑/๑๐๐ และมาตรา ๔๑/๑๐๒


ผู้ได้รับใบรับรองหน่วยซ่อมและผู้ดาเนินการหน่วยซ่อมมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มี
(ก) สถานที่ทใี่ ช้ในการบารุงรักษา
(ข) เครือ่ งมือที่ใช้ในการบารุงรักษา
(ค) เอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ความสมควรเดินอากาศของงานที่
ต้องปฏิบัติ
(ง) คู่มือการบริห ารจัดการหน่วยซ่อม คู่ มือการบารุงรักษา รวมถึงระบบการ
ควบคุมคุณภาพและระบบการประกันคุณภาพ
(จ) การบันทึกและเก็บรักษาข้อมูลที่เกี่ยวกับงานบารุงรักษาที่ได้กระทา
(๒) จัดหาบุคลากรที่มีความรู้และความชานาญในจานวนที่เพียงพอแก่การปฏิบัติงาน
รวมทั้งจัดให้มีนโยบายการฝึกอบรมบุคลากร และควบคุมดูแลให้บุคลากรดังกล่าวปฏิบัติตามคู่มือการ
บารุงรักษา
(๓) รายงานข้ อมูล เกี่ยวกับ การบ ารุงรักษาและเหตุที่ มีผ ลกระทบต่อความสมควร
เดินอากาศของผลิตภัณฑ์ทรี่ บั บารุงรักษา
(๔) หน้าที่อื่นตามที่ผู้อานวยการกาหนด
รายการตาม (๑) (ค) (ง) และ (จ) และ (๓) ให้ เป็ น ไปตามแบบและหลั ก เกณฑ์ ที่
ผู้อานวยการประกาศกาหนด

มาตรา ๔๑/๑๐๔ ผู้ได้รับใบรับรองหน่วยซ่อมต้องดาเนินการบารุงรักษาอากาศยาน


ส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน บริภัณฑ์ หรือชิ้นส่วนของอากาศยานที่รับบารุงรักษาด้วยตนเอง
ในกรณีที่มีความจาเป็นหรือสมควรที่จะให้ผู้อื่น รับช่วงงานบางส่วน ผู้ได้รับใบรับรอง
หน่ ว ยซ่ อ มต้ อ งก ากั บ ดู แ ลการด าเนิ น งานที่ ให้ ช่ ว งไปตามเงื่อ นไขที่ ผู้ อ านวยการก าหนดและต้ อ ง
รับผิดชอบงานทีผ่ ู้รับช่วงงานได้กระทา
๖๒ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๔๑/๑๐๕ ผู้ได้รับใบรับรองหน่วยซ่อมที่ประสงค์จะผลิตชิ้นส่วนของอากาศยาน


เพื่ อ ใช้ ในการบ ารุ ง รั ก ษาอากาศยานหรื อ ส่ ว นประกอบส าคั ญ ของอากาศยานที่ ต นรั บ บ ารุง รัก ษา
ให้ยื่นคาขอต่อผู้อานวยการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด
เมื่อผู้ อานวยการเห็ น ว่าผู้ ขอมีขี ดความสามารถในการผลิ ต ชิ้นส่ ว นของอากาศยาน
ได้ ม าตรฐานความสมควรเดิ น อากาศของอากาศยานหรือของส่ ว นประกอบส าคั ญ ของอากาศยาน
ให้ผู้อานวยการอนุญาตตามคาขอ โดยจะกาหนดเงื่อนไขหรือข้อจากัดเกี่ยวกับการผลิตและการใช้งาน
ของชิ้นส่วนดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร

มาตรา ๔๑/๑๐๖ เพื่ อ ประโยชน์ ใ นการควบคุ ม การบ ารุ ง รั ก ษาอากาศยาน


ส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน บริภัณฑ์ หรือชิ้นส่วนของอากาศยาน ให้ผู้อานวยการหรือพนักงาน
เจ้าหน้าที่มีอานาจหน้าที่ตรวจสอบการดาเนินการของหน่วยซ่อม และให้นาความในมาตรา ๔๑/๕๗ มา
ใช้บงั คับโดยอนุโลม

มาตรา ๔๑/๑๐๗ ผู้ อานวยการมี อานาจพั ก ใช้ ใบรับ รองหน่ วยซ่อมได้ ในกรณี
ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ได้รับใบรับรองไม่ยินยอมให้ผู้อานวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดาเนินการตาม
อานาจหน้าที่หรือไม่ปฏิบัติตามคาสั่งของผู้อานวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๔๑/๑๐๐ วรรค
สาม และมาตรา ๔๑/๑๐๖
(๒) ผู้ได้รับใบรับรองไม่อาจรักษาระบบการควบคุมคุณภาพ ระบบการประกันคุณภาพ
หรือขีดความสามารถในการบารุงรักษาให้ได้มาตรฐาน

มาตรา ๔๑/๑๐๘ ผู้อานวยการมีอานาจเพิกถอนใบรับรองหน่วยซ่อมได้ ในกรณี


ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ได้รับใบรับรองขาดคุณสมบัติในสาระสาคัญที่ไม่อาจแก้ไขได้ หรือขาดคุณสมบัติ
อื่นและไม่แก้ไขภายในกาหนดระยะเวลาตามคาสั่งของผู้อานวยการ
(๒) ผู้ได้รับใบรับรองไม่สามารถปรับปรุงระบบการควบคุมคุณภาพ ระบบการประกัน
คุณภาพ หรือขีดความสามารถในการบารุงรักษาให้ได้มาตรฐาน ภายในกาหนดระยะเวลาที่ผู้อานวยการ
สั่งพักใช้ตามมาตรา ๔๑/๑๐๗ (๒)
(๓) ผู้ได้รับใบรับรองถูกพักใช้ใบรับรองเกินกว่าสองครั้ง ในช่วงเวลาสองปี

มาตรา ๔๑/๑๐๙ เจ้าของ ผู้จดทะเบียน หรือผู้ดาเนินการเดินอากาศอากาศยาน


ต่างประเทศจะทาการบารุงรักษาอากาศยานของตนเองในราชอาณาจักรได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้อานวยการ
ทราบ ตามระเบียบที่ผู้อานวยการกาหนด เว้นแต่การบารุงรักษาก่อนทาการบิน หลังทาการบิน และ
การถอดเปลี่ยนส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานหรือชิ้นส่วนของอากาศยานที่ตนมีขีดความสามารถ
ในการบารุงรักษาอากาศยานตามวรรคหนึ่ง เจ้ าของ ผู้จดทะเบียน หรือผู้ดาเนินการ
เดินอากาศดังกล่าวจะต้องปฏิบัตติ ามระเบียบเกีย่ วกับการบารุงรักษาตามที่ผู้อานวยการกาหนด
๖๓ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๔๑/๑๑๐ การประกอบกิจการบารุงรักษาเฉพาะอากาศยานต่างประเทศใน


ราชอาณาจักร ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อานวยการ
การขอ การออก การพักใช้ และการเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตาม
หลั ก เกณฑ์ แ ละวิธี ก ารที่ ก าหนดในข้ อ ก าหนด ทั้ งนี้ ให้ น าความในมาตรา ๔๑/๙๕ มาใช้ บั งคั บ กั บ
คุณสมบัติของผู้ขอโดยอนุโลม

มาตรา ๔๑/๑๑๑ ศูนย์หรือหน่วยซ่อมที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศจะทาการบารุงรักษา


อากาศยานไทย หรือบารุงรักษาส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน บริภัณฑ์ หรือชิ้นส่วนของอากาศยาน
ทีจ่ ะใช้กับอากาศยานไทยได้ ต้องได้รับใบรับรองหน่วยซ่อมต่างประเทศจากผู้อานวยการ
การขอ การออก แบบ อายุ การพั ก ใช้ แ ละการเพิ ก ถอนใบรั บ รองหน่ ว ยซ่ อ ม
ต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการทีก่ าหนดในข้อกาหนด
ให้นาความในมาตรา ๔๑/๑๐๓ มาใช้บังคับกับผู้ได้รับใบรับรองหน่วยซ่อมต่างประเทศ
โดยอนุโลม
๖๔หมวด ๔/๑
ใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศ
-------------------

มาตรา ๔๑/๑๑๒ ผู้ อ านวยการมี อ านาจออกข้ อ บั ง คั บ เพื่ อ ก าหนดหลั ก เกณฑ์


การออกใบรั บ รองผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศ เพื่ อ เป็ น การรั บ รองว่ าผู้ ที่ ยื่ น ขอรั บ ใบรั บ รองดั งกล่ า ว
มีความสามารถดาเนินการเดินอากาศได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
ผู้อานวยการจะออกใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศให้แก่ผู้ที่ประสงค์จะดาเนินการ
เดินอากาศที่ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าตนมีมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยสาหรับการขนส่งทางอากาศเพื่อ
การพาณิชย์ ไม่น้อยกว่ามาตรฐานขั้นต่าตามข้อบังคับที่ผู้อานวยการกาหนด

มาตรา ๔๑/๑๑๓ ห้ามมิให้บุคคลใดใช้อากาศยานในการขนส่งทางอากาศเพื่ อการ


พาณิชย์ เว้นแต่จะได้รับใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศจากผู้อานวยการ

มาตรา ๔๑/๑๑๔ ผู้มีสิทธิขอรับใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศต้องเป็นนิติบุคคลที่


มี สั ญ ชาติ ไทย และเป็ น ผู้ ได้ รั บ อนุ ญ าตให้ ป ระกอบกิ จ การขนส่ งทางอากาศเพื่ อ การพาณิ ช ย์ และ
มีคุณสมบัติอื่นตามข้อบังคับที่ผู้อานวยการกาหนด
นิ ติ บุ ค คลที่ ข อรั บ ใบรั บ รองตามวรรคหนึ่ ง จะต้ อ งไม่ เป็ น ผู้ ถู ก เพิ ก ถอนใบรั บ รอง
ผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศยั งไม่ พ้ น ห้ าปี หรื อ กรรมการหรื อ ผู้ มี อ านาจจั ด การเป็ น บุ ค คลเดี ย วกั น กั บ
กรรมการที่เคยเป็นกรรมการหรือผู้มีอานาจจั ดการของนิติ บุคคลที่ถูกเพิกถอนใบรับรองผู้ดาเนินการ
เดินอากาศยังไม่พ้นห้าปี

๖๔
หมวด ๔/๑ (มาตรา ๔๑/๑๑๒ ถึ งมาตรา ๔๑/๑๒๓) นี้ เพิ่ ม เติ ม โดยพระราชบั ญ ญั ติ การเดิ นอากาศ
(ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๖๔ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ในกรณีที่มีการยื่นคาขออนุญาตให้ประกอบกิจการขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิชย์แล้ว
และผู้ขออนุญาตมีความพร้อมในการเป็นผู้ดาเนินการเดินอากาศและมีเหตุอันสมควรที่จะให้ยื่นคาขอรับ
ใบรับ รองผู้ ดาเนิ น การเดิน อากาศได้ ผู้ อานวยการอาจอนุญ าตให้ ยื่นคาขอรับใบรับรองผู้ ดาเนิ นการ
เดินอากาศตามพระราชบัญญัตินี้ไปก่อนได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อบังคับที่ผู้อานวยการ
กาหนด

มาตรา ๔๑/๑๑๕ การขอ การออก การขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง การต่ออายุใบรั บรอง


ผู้ ดาเนิ น การเดิ น อากาศ รวมทั้ งแบบของใบรับรองผู้ ด าเนิ นการเดิ น อากาศและข้อ กาหนดเกี่ ยวกั บ
คุณลักษณะและเงือ่ นไขในการปฏิบัติการ ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่ผู้อานวยการกาหนด

มาตรา ๔๑/๑๑๖ ใบรั บ รองผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศให้ มี อ ายุ ไม่ เกิ น สิ บ ปี ทั้ ง นี้
ตามข้อบังคับที่ผู้อานวยการกาหนดโดยคานึงถึงประเภทและขนาดของธุรกิจ

มาตรา ๔๑/๑๑๗ ผู้ ได้ รั บ ใบรั บ รองผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศจะต้ อ งด าเนิ น การ
ปฏิบัติการบินอย่างปลอดภัยและปฏิบัติการในเรื่องอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ ข้อกาหนด เงื่อนไข และสิทธิที่
ได้รับตามข้อบังคับที่ผู้อานวยการกาหนด

มาตรา ๔๑/๑๑๘ เพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยสาธารณะ ผู้อานวยการมีอานาจ


ในการแก้ ไขหรือ เพิ่ ม เติ มรายละเอีย ดในใบรั บ รองผู้ ด าเนิน การเดิ น อากาศ หรือข้อ กาหนดเกี่ ยวกั บ
คุณลักษณะและเงื่อนไขในการปฏิบัตกิ ารของผู้ได้รับใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศนั้นได้

มาตรา ๔๑/๑๑๙ เพื่อประโยชน์ในการกากับดูแลการดาเนินการของผู้ได้รับใบรับรอง


ผู้ดาเนินการเดินอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐานและดาเนิ นการได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
ให้ผู้อานวยการ พนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้ตรวจสอบด้านการบินมีหน้าทีแ่ ละอานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) ระงับ การออกเดิ น ทาง หรือกั กอากาศยานของผู้ ด าเนิ นการเดิน อากาศไว้ต าม
ความจาเป็นเพื่อการตรวจสอบ
(๒) เข้าไปในสถานที่ทาการ และสถานที่ที่ จะใช้เป็น ฐานปฏิบัติการของผู้ดาเนินการ
เดินอากาศในระหว่างเวลาทาการของสถานทีน่ ั้น
(๓) เข้าไปในอากาศยาน รวมทั้งเดินทางไปกับอากาศยาน และในกรณีจาเป็น อาจเข้า
ไปในห้ องนั กบิ น ในขณะให้ บริ การตามปกติ เพื่ อการตรวจสอบการปฏิ บั ติ การบิ นของผู้ ประจ าหน้ าที่
ภาคอากาศและสมาชิกลูกเรือได้
(๔) ตรวจสอบการด าเนิ น การตามใบรั บ รองและการด าเนิ น การอื่ น ว่ าเป็ น ไปตาม
ใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศหรือข้อกาหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและเงื่อนไขในการปฏิบัติการ
(๕) ตรวจสอบคู่ มื อ เอกสารและหลั ก ฐานที่ เ กี่ ย วกั บ การด าเนิ น การ รวมทั้ ง
การครอบครองเอกสารและหลักฐานดังกล่าวไว้ตรวจสอบ
(๖) เรียกบัญชี ทะเบียน หรือเอกสารอื่นจากผู้ดาเนินการเดินอากาศ หรือจากบุคคลที่
เกี่ยวข้องเพื่อการตรวจสอบ
๖๕ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๗) สอบถามข้ อ เท็ จ จริง หรือ มี ห นั งสื อ เรี ย กผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศหรื อ บุ ค คลที่
เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคา
(๘) หน้าที่และอานาจอื่น ๆ ตามที่ผู้อานวยการกาหนด

มาตรา ๔๑/๑๒๐ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ดาเนินการเดินอากาศกระทาการ


ในกรณีใดกรณี หนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ผู้อานวยการมีอานาจสั่งพักใช้ใบรับรองผู้ ดาเนินการเดินอากาศของ
ผู้นั้นได้
(๑) ฝ่ า ฝื น หรื อ ไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามเงื่อ นไขในใบรับ รองผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศ หรื อ ใน
ข้อกาหนดเกี่ย วกับคุณลั กษณะและเงื่อนไขในการปฏิบั ติการที่ก่อหรืออาจก่อให้ เกิดอันตรายแก่ การ
เดินอากาศ
(๒) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ได้รับใบรั บรองผู้ดาเนินการเดินอากาศตามที่
กาหนดในพระราชบัญญัตินี้
(๓) เมื่อเห็นว่าผู้ได้รับใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศไม่สามารถดาเนินการไปได้ด้วย
ความปลอดภัย
(๔) ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ หลักเกณฑ์ ระเบียบ หรือข้อกาหนดอื่นใดที่ผู้อานวยการ
กาหนด
ในคาสั่งพักใช้ใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศตามวรรคหนึ่ง ผู้อานวยการจะกาหนด
ระยะเวลาหรือเงือ่ นไขในการที่ผู้ดาเนินการเดินอากาศนั้นจะต้องดาเนินการแก้ไขให้ถูกต้องไว้ด้วยก็ได้

มาตรา ๔๑/๑๒๑ ผู้อานวยการมีอานาจสั่งเพิกถอนใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศ


เมื่อผู้ได้รับใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศ
(๑ ) ฝ่ า ฝื น หรื อ ไม่ ปฏิ บั ติ ต ามเงื่ อ นไขในใบรั บ รองผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศ
หรือในข้อกาหนดเกี่ย วกับ คุณ ลั กษณะและเงื่อนไขในการปฏิ บั ติการและก่อให้ เกิด อันตรายร้ายแรง
แก่การเดินอากาศ
(๒) ถูกพักใช้ใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศมากกว่าสองครั้ง ภายในช่วงระยะเวลา
สองปี
(๓) หยุดปฏิบัติการบินทั้งหมดหรือบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาต
(๔) ไม่ดาเนินการเดินอากาศภายในระยะเวลาหกเดือนนับตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับรอง
ผู้ดาเนินการเดินอากาศ
(๕) หยุ ด ด าเนิ น การเดิ น อากาศเป็ น ระยะเวลาต่ อ เนื่ อ งเกิ น กว่ า หนึ่ ง ปี โดยไม่ มี
เหตุอันสมควร
เมื่อผู้อานวยการสั่ งเพิ กถอนใบรับ รองผู้ ดาเนิ น การเดินอากาศ ให้ ผู้ ได้รับ ใบรับรอง
ผู้ดาเนินการเดินอากาศ ส่งคืนใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศต่อผู้อานวยการภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่
ทราบคาสั่งเพิกถอนใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศ

มาตรา ๔๑/๑๒๒ ใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศต่างประเทศที่ออกให้โดยประเทศ


ของผู้ดาเนินการเดินอากาศซึ่งเป็นรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาหรือเป็นประเทศที่ได้ทาความตกลงกับประเทศ
ไทย ให้ใช้ได้เช่นเดียวกับใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศตามพระราชบัญญัตินี้สาหรับการดาเนินการ
๖๖ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

เดินอากาศเข้ามายังหรือออกจากราชอาณาจักร ทั้งนี้ การออกใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศของ


ประเทศดังกล่าว ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ากว่ามาตรฐานที่กาหนดไว้ในภาคผนวก
ในกรณี ที่ ป รากฏว่ า การออกใบรับ รองผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศของประเทศที่ เป็ น
รั ฐ ภาคี แ ห่ ง อนุ สั ญ ญาหรื อ ประเทศที่ ได้ ท าความตกลงกั บ ประเทศไทย ประเทศใดไม่ เป็ น ไปตาม
มาตรฐานที่กาหนดไว้ในภาคผนวกในเรื่องใด ให้ผู้อานวยการมีอานาจประกาศไม่ยอมรับหรือยอมรับโดย
มีเงือ่ นไขสาหรับใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศที่ออกโดยประเทศนั้นในเรื่องนั้นได้

มาตรา ๔๑/๑๒๓ ในกรณีที่ผู้อานวยการเห็นว่าผู้ดาเนินการเดินอากาศต่างประเทศ


ทาการบินเข้ามายังหรือออกจากราชอาณาจักรมีการปฏิบัติการด้านการบินหรือการบารุงรักษาต่ากว่า
มาตรฐานที่กาหนดในภาคผนวก และอาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการเดินอากาศ ให้ผู้อานวยการมี
อานาจสั่งให้ผู้ดาเนินการเดินอากาศต่างประเทศหยุดดาเนินการทั้งหมดหรือบางส่วน

๖๕หมวด ๔/๒
การกากับดูแลการบินพลเรือนทางเศรษฐกิจ
-------------------

มาตรา ๔๑/๑๒๔ ให้ ค ณะกรรมการการบิ นพลเรื อนรับ ผิ ดชอบในการกากั บดู แ ล


กิจการการบินพลเรือนทางเศรษฐกิจ
กิจการการบินพลเรือนที่ต้องอยู่ภายใต้การกากับดูแลทางเศรษฐกิจ มีดังนี้
(๑) การขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิชย์
(๒) การทางานทางอากาศ
(๓) การบินทั่วไปตามที่คณะกรรมการการบินพลเรือนกาหนด
(๔) กิจการการบินพลเรือนอื่นที่คณะกรรมการการบินพลเรือนกาหนด

มาตรา ๔๑/๑๒๕ ผู้ ใดจะประกอบกิ จการการบิ นพลเรือนตามมาตรา ๔๑/๑๒๔


จะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการบินพลเรือน
ในการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีจะกาหนดเงื่อนไขหรือข้อกาหนดใดโดย
ความเห็นชอบของคณะกรรมการการบินพลเรือนเพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขในการขอและการต่ออายุใบอนุญาต การพิจารณาอนุญาต แบบใบอนุญาต และอายุใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามทีก่ าหนดในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน

๖๕
หมวด ๔/๑ (มาตรา ๔๑/๑๒๔ ถึ งมาตรา ๔๑/๑๓๕) นี้ เพิ่ ม เติม โดยพระราชบั ญ ญั ติ การเดิ นอากาศ
(ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๖๗ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๔๑/๑๒๖ ผู้ดาเนินการเดินอากาศต่างประเทศผู้ใดจะประกอบกิจการขนส่ง


ทางอากาศเพื่ อ การพาณิ ช ย์ ไม่ ว่าจะเป็ น การเข้ามายัง หรือ ออกจากราชอาณาจั ก รต้อ งมีใบรับ รอง
ผู้ดาเนินการเดินอากาศที่ออกโดยองค์กรด้านการบินพลเรือนของประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยบริการ
เดินอากาศกับประเทศไทยและได้รับการกาหนดให้เป็นผู้ใช้สิทธิรับขนทางอากาศเพื่อการพาณิชย์ตาม
ความตกลงดังกล่าว และได้รับอนุญาตจากผู้อานวยการ
หลั ก เกณฑ์ วิ ธี ก าร และเงื่ อ นไขในการขออนุ ญ าต การอนุ ญ าต และระยะเวลา
การอนุญาต รวมทั้งเงื่อนไขและข้อกาหนดของการอนุญาต ให้เป็นไปตามข้อกาหนดของผู้อานวยการ

มาตรา ๔๑/๑๒๗ ใหผู้อานวยการติดตามตรวจสอบการประกอบกิจการของผู้ได้รับ


ใบอนุ ญ าตประกอบกิ จ การการบิ น พลเรือนตามมาตรา ๔๑/๑๒๕ ตามระยะเวลาที่ เหมาะสม โดย
การตรวจสอบนั้นอย่างน้อยต้องตรวจสอบเกี่ย วกับการเปลี่ยนแปลงในกรรมสิ ทธิ์ การบริห ารจั ดการ
สถานะทางการเงิน และการดาเนินการใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณสมบัตขิ องผู้ได้รับใบอนุญาต
ในการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ ง ให้ ผู้ อ านวยการมี อ านาจเรีย กข้ อ มู ล และเอกสาร
หลักฐานทางการเงิน หรือเอกสารหลัก ฐานอื่น ๆ ที่เป็นปัจจุบันจากผู้ได้รับใบอนุ ญาตเพื่อ ใช้ในการ
ติดตามตรวจสอบได้

มาตรา ๔๑/๑๒๘ เงื่อนไขและข้อจากัดในการประกอบกิจการตามมาตรา ๔๑/๑๒๕


วรรคสอง อาจกาหนดในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑) ระยะเวลาการประกอบกิจการ
(๒) จานวน ประเภท หรือขนาดของอากาศยานทีใ่ ช้
(๓) ประเภทของการให้บริการที่ผู้ได้รับใบอนุญาตสามารถให้บริการได้
(๔) เรื่องอื่นตามที่คณะกรรมการการบินพลเรือนกาหนด

มาตรา ๔๑/๑๒๙ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการบินพลเรือน


มีอานาจเปลี่ยนแปลง แก้ไข ปรับปรุง พักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการการบินพลเรือน
ตามมาตรา ๔๑/๑๒๕ ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติตาม
บทบัญญัติใด ๆ ในพระราชบัญญัตินี้ หรือไม่ปฏิบัติตามคาสั่งหรือกฎระเบียบที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
หรื อ ไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามเงื่ อ นไข หรื อ ข้ อ จ ากั ด ในการอนุ ญ าต ทั้ ง นี้ ตามหลั ก เกณฑ์ แ ละเงื่ อ นไขที่
คณะกรรมการการบินพลเรือนกาหนด

มาตรา ๔๑/๑๓๐ การขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิชย์เป็นบริการสาธารณะ


การก าหนดค่ า โดยสารและค่ า ระวางของอากาศยานขนส่ ง ต้ อ งเหมาะสมและ
เป็นธรรมแก่ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ
การเก็บค่าโดยสารและค่าระวางสาหรับอากาศยานขนส่งต้องเป็ นไปตามหลักเกณฑ์
และวิธีการคานวณค่าโดยสารและค่าระวางของผู้ประกอบการอากาศยานขนส่ง และต้องไม่เกินอัตราขั้น
สูงที่กาหนดในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน
การเก็บค่าโดยสารและค่าระวางสาหรับอากาศยานขนส่งระหว่างประเทศ ให้เป็น ไป
ตามที่กาหนดในความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยบริการเดินอากาศ
๖๘ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๔๑/๑๓๑ ในการออกข้อบังคับเพื่อกาหนดอัตราค่าโดยสารและค่าระวางตาม


มาตรา ๔๑/๑๓๐ ให้คณะกรรมการการบินพลเรือนคานึงถึงหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ค่าใช้จ่ายอัน สมควรในการให้ บริก ารขนส่ งสาธารณะโดยมีกาไรที่สมเหตุสมผล
ตามประเภทและลักษณะของการให้บริการที่เป็นไปตามปกติในการประกอบธุรกิจ
(๒) ความเป็นธรรม ความเสมอภาค และไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ
(๓) ต้องไม่เป็นภาระแก่ผู้โดยสารหรือผู้ตราส่งเกินกว่าปกติ
(๔) การแข่งขันที่เป็นธรรม
ข้อบังคับ ของคณะกรรมการการบิ นพลเรือนตามวรรคหนึ่ ง จะกาหนดให้ผู้ประกอบ
กิจการขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิชย์ลดหรือยกเว้นการเก็บค่าโดยสารหรือค่าระวางจากผู้โดยสาร
หรือผู้ใช้บริการซึง่ เป็นบุคคลหรือกิจการดังต่อไปนี้ได้
(๑) เด็กหรือเยาวชน
(๒) ผู้มีอายุตั้งแต่หกสิบปีขึ้นไป
(๓) คนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
(๔) บุคคลประเภทอื่นตามที่คณะกรรมการการบินพลเรือนกาหนด
(๕) กิจการทีเ่ ป็นสาธารณกุศลหรือเพื่อการมนุษยธรรม

มาตรา ๔๑/๑๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการการบินพลเรือนตามมาตรา ๔๑/๑๒๕


ซึ่งเป็น ผู้ป ระกอบกิจการขนส่งทางอากาศเพื่ อการพาณิ ชย์และผู้ดาเนินการเดินอากาศต่างประเทศที่
ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๔๑/๑๒๖ ต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามสัญญาและบุคคลที่ สาม
เพื่ อ ความเสี ย หายที่ เกิ ด ขึ้ น จากอุ บั ติ เหตุ ที่ เกิ ด จากอากาศยาน โดยจ านวนเงิ น ซึ่ ง เอาประกั น ภั ย
ความรับผิดตามสัญญาดังกล่าว ต้องไม่น้ อยกว่าที่ กาหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางอากาศ
ระหว่างประเทศ

มาตรา ๔๑/๑๓๓ กิ จ การขนส่ ง ทางอากาศเพื่ อ การพาณิ ช ย์ เป็ น กิ จ การขนส่ ง


สาธารณะ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการการบินพลเรือนตามมาตรา ๔๑/๑๒๕ ซึ่งเป็นผู้ประกอบ
กิจการขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิชย์และผู้ดาเนินการเดินอากาศต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตตาม
มาตรา ๔๑/๑๒๖ จะปฏิเสธการรับขนผู้โดยสารไม่ได้ เว้นแต่เพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยหรือการ
รักษาความปลอดภัย หรือเป็นกรณีที่กาหนดในข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน
ผู้ ได้ รั บ ใบอนุ ญ าตประกอบกิ จ การการบิ น พลเรื อ นตามมาตรา ๔๑/๑๒๕ ซึ่ ง เป็ น
ผู้ป ระกอบกิจการขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิ ช ย์ และผู้ดาเนินการเดินอากาศต่างประเทศที่ได้รั บ
อนุ ญ าตตามมาตรา ๔๑/๑๒๖ มีสิ ทธิป ฏิเสธการรับขนผู้ โดยสาร สั มภาระ และของที่ผู้ โดยสารหรือ
ผู้ตราส่งไม่ยินยอมให้ตรวจค้นหรือไม่ผ่านการตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัยตามพระราชบัญญัตินี้
รวมทั้งผู้โดยสารที่มีความประพฤติหรือมีประวัติว่าประพฤติตนไม่เรียบร้อยในระหว่างการโดยสารอากาศยาน
ห้ ามมิ ให้ ผู้ ได้รั บ ใบอนุ ญ าตประกอบกิ จการการบิ น พลเรือนตามมาตรา ๔๑/๑๒๕
ซึ่งเป็ น ผู้ ป ระกอบกิจ การขนส่ งทางอากาศเพื่ อการพาณิ ช ย์ และผู้ดาเนิ นการเดิ น อากาศต่างประเทศ
ที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๔๑/๑๒๖ ปฏิเสธการรับขนคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองหรือตามที่กาหนดในข้อบั งคับ
ของคณะกรรมการการบินพลเรือน
๖๙ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๔๑/๑๓๔ เพื่ อ ประโยชน์ ส าธารณะและเพื่ อ คุ้ม ครองสิ ท ธิของผู้ โดยสาร


ให้ คณะกรรมการการบิ น พลเรือนมี อานาจออกข้อบังคับ ของคณะกรรมการการบินพลเรือนกาหนด
มาตรการคุม้ ครองสิทธิของผู้โดยสารในเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ
ในกรณีปฏิเสธการรับขน ยกเลิกเที่ยวบิน เที่ยวบินล่าช้า หรือสัมภาระสูญหาย เสียหาย
หรือล่าช้า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการการบินพลเรือนตามมาตรา ๔๑/๑๒๕ ซึ่งเป็นผู้ประกอบ
กิจการขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิชย์หรือผู้ดาเนินการเดินอากาศต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตตาม
มาตรา ๔๑/๑๒๖ ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือนตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๔๑/๑๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการการบินพลเรือนตามมาตรา ๔๑/๑๒๕


ซึ่งเป็น ผู้ป ระกอบกิจการขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิ ชย์และผู้ดาเนินการเดินอากาศต่างประเทศที่
ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๔๑/๑๒๖ มีหน้าที่ต้องดาเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ไม่กระทาการอันเป็นการผูกขาดและแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย
ว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า
(๒) ประกาศหรือแสดงไว้ซึ่งอัตราค่าโดยสารและค่าระวาง ตลอดจนเงื่อนไขในการ
ขนส่ง ให้เป็นทีไ่ ด้รับทราบโดยทั่วไป ณ สถานที่ทาการและสถานที่ดาเนินการของผู้ประกอบกิจการ
(๓) ใช้สิทธิในใบอนุญาตเพื่อประโยชน์ของตนเอง และมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยอมให้
บุคคลอื่น ใช้สิ ทธิตามใบอนุ ญ าตของตน หรือยอมให้ บุคคลอื่นดาเนิ นกิจการในนามของตนไม่ว่าด้วย
ประการใดก็ตาม

หมวด ๕
ผู้ประจาหน้าที่
---------------

มาตรา ๔๒ ห้ามมิให้ผู้ใดเป็นผู้ประจาหน้าที่ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงาน


เจ้าหน้าทีต่ ามพระราชบัญญัตินี้ หรือมีใบอนุญาตผู้ประจาหน้าทีซ่ ่งึ ออกให้โดยรัฐภาคีแห่งอนุสัญญา หรือ
รัฐที่ได้ทาความตกลงกับประเทศไทย แต่สาหรับผู้ประจาหน้าที่ในอากาศยานที่จดทะเบียนตามกฎหมาย
ไทย จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้ มี ใบอนุ ญ าตผู้ ป ระจ าหน้ าที่ ซึ่ ง ออกให้ โดยรั ฐ ภาคี แ ห่ ง อนุ สั ญ ญา หรือ รัฐ ที่ ไ ด้ ท า
ความตกลงกับประเทศไทย ถ้าได้นาใบอนุญาตนั้นให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับรองแล้วให้ถือว่าเป็น ผู้ได้รับ
อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
๖๖มาตรา
๔๓ การขอ การออก และการรับรองใบอนุญาตผู้ประจาหน้าที่ให้เป็นไป
ตามที่กาหนดในข้อกาหนด

๖๖
แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๗๐ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

๖๗มาตรา๔๔ ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประจาหน้าที่ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้


(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีความประพฤติเรียบร้อย
(๓) มีอายุ สุขภาพร่างกายสมบูรณ์ ความรู้และความชานาญตามที่กาหนดไว้ในข้อบังคับ
เมือ่ มีความจาเป็นหรือมีเหตุพิเศษเฉพาะราย ให้ผู้อานวยการมีอานาจยกเว้นคุณสมบัติ
ตามที่กาหนดในวรรคหนึ่งได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกาหนด

มาตรา ๔๕ ผู้ประจาหน้าทีม่ ีสิทธิทาการตามที่กาหนดไว้ในข้อบังคับ

มาตรา ๔๖ ใบอนุญาตผู้ประจาหน้าที่ให้ใช้ได้ตามระยะเวลาทีก่ าหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๔๗ เมื่อเห็ นว่าผู้ ประจาหน้ าที่ คนใดหย่อนคุณสมบั ติตามมาตรา ๔๔ (๓)


เกี่ยวกับสุขภาพร่างกายความรู้หรือความชานาญ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจสั่งให้ผู้ประจาหน้ าที่นั้น
รับ การทดสอบโดยการตรวจทางแพทย์ หรือรับการทดสอบความรู้ความชานาญทางทฤษฎีหรือทาง
ปฏิบตั ิก็ได้
๖๘มาตรา ๔๘ ยกเลิก
๖๙มาตรา ๔๙ ผู้ประจาหน้าที่ตอ้ งปฏิบัติตามวินัยทีก่ าหนดไว้ในข้อบังคับ
๗๐มาตรา ๕๐ ห้ ามมิให้ ผู้ ประจาหน้ าที่ ในอากาศยานปฏิ บั ติ ห น้ าที่ในระหว่างที่ มี
อาการเจ็ บ ป่ ว ยหรื อ ได้ รั บ บาดเจ็ บ ซึ่ งอาจกระท าให้ เสื่ อ มสมรรถภาพในการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ และถ้ า
การเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บนั้นเป็นระยะเวลาตั้งแต่เจ็ดวันขึ้นไป ห้ามมิให้ผู้ประจาหน้าที่นั้นปฏิบัติหน้าที่
จนกว่านายแพทย์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่กาหนดให้จะได้ตรวจและออกใบรับรองว่า ผู้ ประจาหน้าที่นั้ น
ได้หายจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ และพนักงานเจ้าหน้าที่ได้อนุญาตให้ผู้ประจาหน้าที่นั้นปฏิบัติหน้าที่
ต่อไป
ในกรณี ที่ มี เหตุ อั น ควรสงสั ย ว่ า ผู้ ได้ รั บ ใบอนุ ญ าตผู้ ป ระจ าหน้ า ที่ บุ ค คลใดหย่ อ น
คุณสมบัติเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายหรือจิตใจ ให้ผู้อานวยการมีอานาจสั่งให้ผู้ประจาหน้าที่นั้นเข้ารับการ
ทดสอบหรือรับการตรวจทางการแพทย์ได้ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ผู้อานวยการกาหนด
๗๑
มาตรา ๕๐ ทวิ ยกเลิก

๖๗
มาตรา ๔๔ และมาตรา ๔๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ
พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๖๘
ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๖๙
แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๗๐
แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๗๑
เพิ่มเติมโดยพระราชบั ญ ญั ติการเดินอากาศ (ฉบั บที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๘ และยกเลิกโดยพระราชบั ญ ญั ติ
การเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๗๑ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

๗๒มาตรา ๕๐/๑ ให้ผู้อานวยการมีอานาจกาหนดให้มีการตรวจสอบการใช้สารออก


ฤทธิ์ต่อจิตประสาทในลักษณะที่อาจกระทบหรือเป็นอุป สรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ ประจาหน้าที่
ก่อน หลัง หรือในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้ พนั กงานเจ้าหน้ าที่ที่ ผู้อานวยการมอบหมาย มีอานาจตรวจสอบผู้ประจาหน้าที่
ก่อน หลัง หรือในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ และในกรณีที่ผู้ประจาหน้าที่ผู้ใดไม่ยอมให้ตรวจสอบหรือ
ขัดขวางการตรวจสอบ ให้พนักงานเจ้า หน้าที่มีอานาจกักตัวผู้ นั้นไว้ได้ตามความจาเป็น และในกรณีที่
พบว่าผู้นั้นได้กระทาความผิดตามมาตรานี้ ให้ส่งตัวให้พนักงานสอบสวนเพื่อดาเนินคดีต่อไป
วิ ธี ก ารตรวจสอบ การกั ก ตั ว และการส่ งตั ว ให้ พ นั ก งานสอบสวนตามวรรคสอง
ให้เป็นไปตามระเบียบที่ผู้อานวยการกาหนด

มาตรา ๕๐/๒ ให้ ผู้ อ านวยการมี อ านาจสั่ ง พั ก ใช้ ใ บอนุ ญ าตผู้ ป ระจ าหน้ า ที่
เมื่อผู้ประจาหน้าทีน่ ั้น
(๑) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบั งคับว่าด้วยวินัยซึ่งมิใช่วินัยร้ายแรง หรือระเบียบที่
เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประจาหน้าทีท่ ี่ผู้อานวยการไม่ได้กาหนดว่าเป็นสาระสาคัญ
(๒) ต้องคาพิ พากษาถึงที่ สุ ดให้ จาคุกส าหรับ การกระทาความผิ ดตามกฎหมายอื่น
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทาโดยประมาทที่มิใช่ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายตามลักษณะ ๑๐
แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือความผิดลหุโทษ
(๓) ฝ่ าฝื น หรื อ ไม่ ป ฏิ บั ติต ามระเบี ยบที่ ผู้ อ านวยการก าหนด หรือ บทบั ญ ญั ติแ ห่ ง
พระราชบัญญัตินี้
ให้ ผู้ อ านวยการมี อ านาจสั่ ง พั ก ใช้ ใ บอนุ ญ าตผู้ ป ระจ าหน้ า ที่ ไ ด้ ค รั้ ง ละไม่ เ กิ น
เก้าสิบวัน หรือจนกว่าผู้ประจาหน้าที่นั้นจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามคาสั่งของผู้อานวยการ แล้วแต่กรณี

มาตรา ๕๐/๓ ให้ ผู้ อ านวยการมี อ านาจสั่ ง เพิ ก ถอนใบอนุ ญ าตผู้ ป ระจ าหน้ า ที่
เมื่อผู้ประจาหน้าที่นั้น
(๑) ขาดคุณสมบัติของผู้ประจาหน้าที่ตามมาตรา ๔๔
(๒) ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิ บัติตามข้อบังคับว่าด้วยวินัยซึ่งเป็นวินัยร้ายแรง หรือระเบียบ
ทีเ่ กี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประจาหน้าทีท่ ี่ผู้อานวยการกาหนดว่าเป็นสาระสาคัญ
(๓) ถู ก พั ก ใช้ ใบอนุ ญ าตผู้ ป ระจ าหน้ า ที่ ต ามมาตรา ๕๐/๒ เกิ น สองครั้ ง ภายใน
ระยะเวลาสองปีนับแต่ถูกพักใช้ใบอนุญาตครั้งก่อน

มาตรา ๕๐/๔ ในกรณี ที่ผู้อานวยการสั่ งพั กใช้ใบอนุ ญาตตามมาตรา ๕๐/๒ หรือ


เพิกถอนใบอนุญาตผู้ประจาหน้ าที่ตามมาตรา ๕๐/๓ ของผู้ประจาหน้าที่รายใด ถ้าผู้นั้นถือใบอนุญาต
ผู้ประจาหน้าที่ตาแหน่งอื่นด้วย และเหตุที่พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็ นเหตุที่เป็นสาระสาคัญซึ่ง
กระทบใบอนุ ญ าตตาแหน่ งอื่ น นั้ น ให้ ผู้ อานวยการสั่ งพั ก ใช้ ห รือ เพิ ก ถอนใบอนุ ญ าตผู้ ประจาหน้ าที่
ตาแหน่งอื่นของผู้นั้นด้วย

๗๒
มาตรา ๕๐/๑ ถึงมาตรา ๕๐/๑๔ เพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๗๒ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

เหตุที่เป็นสาระสาคัญในการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไป
ตามระเบียบที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด

มาตรา ๕๐/๕ ใบอนุญาตผู้ประจาหน้าทีเ่ ป็นอันสิ้นผล เมื่อผู้ประจาหน้าที่นนั้


(๑) ได้รับโทษจาคุกสาหรับการกระทาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
เว้นแต่เป็น โทษสาหรับความผิดที่ได้กระทาโดยประมาทที่มิใช่ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายตาม
ลักษณะ ๑๐ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือความผิดลหุโทษ
(๒) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๓) ถูกเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประจาหน้าที่ตามมาตรา ๕๐/๓

มาตรา ๕๐/๖ ผู้ประจาหน้าที่ที่มีใบอนุญาตผู้ประจาหน้าที่ซึ่งออกให้โดยรัฐภาคีแห่ง


อนุสัญญาหรือเป็นประเทศที่ได้ทาความตกลงกับประเทศไทยและประสงค์จะปฏิบัติหน้าทีใ่ นอากาศยาน
ที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย ให้นาใบอนุญาตดังกล่าวมายื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อขอเทียบโอน
โดยให้ถอื ว่าเป็นการขอรับใบอนุญาตผู้ประจาหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
การขอและการเที ย บโอนให้ ด าเนิ น การตามข้ อ ก าหนดที่ อ อกตามมาตรา ๔๓
โดยผู้อานวยการจะออกข้อกาหนดเกี่ยวกับเงื่อนไขและข้อจากัดในการพิจารณาและการใช้ใบอนุญาต
ผู้ประจาหน้าทีท่ มี่ าจากการเทียบโอนตามวรรคหนึ่งด้วยก็ได้
ให้ น าบทบั ญญั ติตามมาตรา ๕๐/๒ มาตรา ๕๐/๓ มาตรา ๕๐/๔ และมาตรา ๕๐/๕
มาใช้บังคับแก่การเทียบโอนใบอนุญาตผู้ประจาหน้าที่ตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม

มาตรา ๕๐/๗ ผู้ประจาหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในหรือเกี่ยวกับอากาศยานต่างประเทศ


ที่ทาการบินอยู่ในราชอาณาจักร ต้อ งมีใบอนุญาตผู้ประจาหน้าที่ที่ ออกให้หรือรับรองตามกฎหมายของ
ประเทศผู้จดทะเบียนอากาศยานนั้นซึ่งเป็นรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาหรือเป็นประเทศที่ได้ทาความตกลงกับ
ประเทศไทย ทั้งนี้ การออกใบอนุญาตผู้ประจาหน้าที่ ของประเทศดังกล่าวต้องมีมาตรฐานไม่ต่ากว่า
มาตรฐานที่กาหนดไว้ในภาคผนวก หรือมีใบอนุญาตผู้ประจาหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อประโยชน์ ในการบั งคับการตามพระราชบัญญั ตินี้ ให้ ถือว่าใบอนุญ าตผู้ประจา
หน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งที่ออกให้หรือรับรองตามกฎหมายของประเทศผู้จดทะเบียนอากาศยาน
เป็นใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ หากปรากฏว่าการออกหรือการรับรองใบอนุญาตผู้ประจาหน้าที่
ของประเทศที่เป็นรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาประเทศใดไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ กาหนดไว้ในภาคผนวกใน
เรื่องใด ให้ผู้อานวยการมีอานาจประกาศไม่ยอมรับหรือยอมรับโดยมีเงื่อนไขสาหรับใบอนุญาตผู้ประจาหน้าที่
ที่ออกโดยประเทศนั้ นในเรื่ องนั้ นได้ และในกรณี ที่ประเทศที่ ท าความตกลงกั บประเทศไทย ความตกลง
ดังกล่าวจะต้องมีข้อกาหนดว่า การออกใบอนุญาตผู้ประจาหน้าทีข่ องประเทศคู่สัญญาจะต้องเป็นไปตาม
มาตรฐานและเงือ่ นไขทีอ่ ยู่ในกรอบของอนุสัญญาด้วย

มาตรา ๕๐/๘ ผู้ประจาหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในหรือเกี่ยวกับอากาศยานต่างประเทศ


ที่ทาการบินอยู่ในราชอาณาจักรตามมาตรา ๕๐/๗ ต้องมีใบรับรองทางการแพทย์สาหรับผู้ประจาหน้าที่
ดังกล่าวที่ออกให้ ห รือรับ รองโดยประเทศผู้จดทะเบีย นอากาศยานนั้ น ทั้ งนี้ การออกใบรับรองทาง
การแพทย์ของประเทศดังกล่าวต้องมีมาตรฐานไม่ต่ากว่ามาตรฐานที่กาหนดไว้ในภาคผนวก
๗๓ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๕๐/๙ ห้ า มมิ ให้ บุ ค คลใดปฏิ บั ติ ห น้ าที่ ในฐานะผู้ ป ระจ าหน้ า ที่ เว้ น แต่
มีใบส าคัญ แพทย์ ที่ออกโดยนายแพทย์ ผู้ตรวจด้านเวชศาสตร์การบิ นพลเรือนที่ ได้รับการแต่งตั้ งจาก
สานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
ประเภทผู้ประจาหน้าที่ หลักเกณฑ์ วิธีการในการขอ การออก การต่ออายุใบสาคัญ
แพทย์ คุณสมบัติและลักษณะของผู้ขอใบสาคัญ อายุใบสาคัญ การเพิกถอนใบสาคัญ แบบใบสาคัญ และ
เงือ่ นไขแนบท้ายใบสาคัญแพทย์ ให้เป็นไปตามระเบียบทีผ่ ู้อานวยการกาหนด

มาตรา ๕๐/๑๐ เพื่อวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ให้เอกสาร


รายงานผลที่ เ กี่ ย วกั บ การตรวจสภาพร่ า งกายและจิ ต ใจของผู้ ข อรั บ ใบส าคั ญ แพทย์ ที่ อยู่ ใ น
ความครอบครองของศู น ย์ เ วชศาสตร์ ก ารบิ น พลเรื อ นห รื อ สถานที่ ต รวจทางการแพทย์ หรื อ
สถานพยาบาลใดเป็นเอกสารที่เปิดเผยต่อสานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

มาตรา ๕๐/๑๑ ในการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ต ามหมวดนี้ ให้ น ายแพทย์ ผู้ ต รวจเป็ น


เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา ๕๐/๑๒ ในการออกใบรับรองใบอนุญาตผู้ประจาหน้าที่ตามมาตรา ๔๒ วรรคสอง


หรือการออกใบอนุญ าตผู้ประจาหน้าที่โดยการเทียบโอนตามมาตรา ๕๐/๖ หากผู้อานวยการเห็นว่า
ใบรับรองทางการแพทย์สาหรับผู้ประจาหน้าที่ที่ออกโดยรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาหรือประเทศที่ได้ทาความ
ตกลงกับประเทศไทยเป็ นไปตามมาตรฐานที่กาหนดในภาคผนวก ให้ผู้อานวยการระบุไว้ในใบรับรอง
ใบอนุ ญ าตผู้ ป ระจ าหน้ า ที่ ห รื อ ใบอนุ ญ าตผู้ ป ระจ าหน้ าที่ ที่ อ อกให้ โ ดยการเที ย บโอน แล้ วแต่ กรณี
ว่ าใบรั บ รองทางการแพทย์ ดั งกล่ า วใช้ ได้ เช่ น เดี ยวกั บใบส าคั ญ แพทย์ ตามพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ทั้ ง นี้
โดยผู้ อานวยการจะกาหนดเงื่อนไขและอายุ การใช้ ใบรับ รองทางการแพทย์ ดั งกล่ าวไว้ในใบรับ รอง
ใบอนุ ญ าตผู้ ประจ าหน้ าที่หรือใบอนุ ญาตผู้ ประจาหน้ าที่ ที่ ออกให้ โดยการเทียบโอน แล้วแต่กรณี ตามที่
เห็นสมควรก็ได้

มาตรา ๕๐/๑๓ ผู้ ข อรับ ใบอนุ ญ าตผู้ ป ระจ าหน้ าที่ ต ามประเภทที่ ผู้ อ านวยการ
ก าหนดต้ อ งจบการศึ ก ษาตามหลั ก สู ต รที่ ผู้ อ านวยการรั บ รองจากสถาบั น ฝึ ก อบรมด้ า นการบิ น ที่
ผู้อานวยการรับรอง
การขอรับใบรับรองและการออกใบรับรอง คุณสมบัติและลักษณะของผู้ขอใบรับรอง อายุ
ใบรับ รอง การต่ออายุใบรับ รอง การพักใช้แ ละการเพิกถอนใบรับรอง ตามวรรคหนึ่ง ให้ เป็นไปตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กาหนดในข้อกาหนด

มาตรา ๕๐/๑๔ เว้นแต่จะมีกรณีฉุกเฉินอันอาจเป็นอันตรายแก่อากาศยานหรือบุคคล


ในอากาศยาน หรือเป็นกรณีการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ห้ามผู้ควบคุมอากาศยานนาอากาศยานขึ้นลง
ณ ที่หนึ่งที่ใดนอกจากสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต หรือตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ระบุไว้
สาหรับการบินเทีย่ วนั้น
๗๔ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

๗๓หมวด ๕/๑
การรักษาความปลอดภัย
-------------------

มาตรา ๕๐/๑๕ ให้ ส านั ก งานการบิ น พลเรือ นแห่ งประเทศไทยเป็ น หน่ ว ยงานที่
รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ และจัดทา ดาเนินการและกากับติดตาม
ให้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ รวมทั้งรับผิดชอบในการ
ป้องกันกิจการการบินพลเรือนจากการกระทาอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
นอกจากการดาเนินการตามวรรคหนึ่ง สานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยต้อง
ปฏิบัติการในเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) รับผิดชอบต่อการกากับดูแลการรักษาความปลอดภัยการบินในประเทศไทย
(๒) ก ากั บ ติ ด ตามการปฏิ บั ติ ก ารรัก ษาความปลอดภั ย ของสนามบิ น อากาศยาน
ตัวแทนควบคุม การไปรษณีย์ควบคุม ผู้ให้บริการจราจรทางอากาศ และผู้ดาเนินการอื่นตามที่กาหนดใน
แผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในเรื่องดังนี้
(ก) คุ้มครองผู้ โดยสาร ลู กเรื อ เจ้ าหน้ าที่ ของสนามบิ น และผู้ ใช้บริการอื่น ของ
สนามบินและสิ่งอานวยความสะดวกในการเดินอากาศ
(ข) ป้องกันการกระทาอันเป็นภั ยคุกคามทางการบิน และการกระทาอื่นอันเป็น
การแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายต่อการบินพลเรือน
(ค) ทาให้มั่นใจได้ว่ามีการดาเนินการที่เหมาะสมเมือ่ มีการกระทาอันเป็นภัยคุกคาม
ทางการบิน และการกระทาอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายต่อการบินพลเรือนเกิดขึน้ หรือ
อาจจะเกิดขึน้
(๓) ประสานงานกิ จ กรรมต่ า ง ๆ ระหว่ างหน่ ว ยงานที่ เกี่ ย วข้ อ งภายใต้ แ ผนรั ก ษา
ความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติและแผนอืน่ ทีเ่ กี่ยวข้อง
การดาเนินการตามมาตรานี้ สานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยต้องดาเนินการ
ให้สอดคล้ องตามอนุสัญญาและภาคผนวก รวมถึงพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับ
การบินพลเรือนที่ประเทศไทยเป็นภาคี

มาตรา ๕๐/๑๖ ให้ ส านั กงานการบิ น พลเรือ นแห่ งประเทศไทยจั ด ท าแผนรัก ษา


ความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาความปลอดภัยและป้องกันการบิน
พลเรือนจากการกระท าอัน เป็ น การแทรกแซงโดยมิ ช อบด้ว ยกฎหมาย โดยคานึงถึงความปลอดภั ย
ความสม่าเสมอ และความมีประสิทธิภาพของการทาการบิน
ให้ ผู้อานวยการกากับ ติ ดตาม หรือดาเนินการใด ๆ เพื่ อให้ ผู้เกี่ยวข้องนาแผนรักษา
ความปลอดภั ย การบิ น พลเรื อนแห่ งชาติ ไปสู่ การปฏิ บั ติและจัดทาแผนรักษาความปลอดภั ยการบิ น
พลเรือนในส่วนของตน

๗๓
หมวด ๕/๑ การรักษาความปลอดภัย (มาตรา ๕๐/๑๕ ถึงมาตรา ๕๐/๔๑) นีเ้ พิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
การเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๗๕ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ผู้อานวยการอาจออกข้อกาหนด แนวทาง หรือคาสั่ง แล้วแต่กรณี เพื่อประโยชน์ในการ


บริหารจัดการ การกากับติดตามและตรวจสอบ เพื่อให้เป็นไปตามแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน
แห่งชาติ

มาตรา ๕๐/๑๗ ในการบริหารแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่ งชาติ


ให้ผู้อานวยการมีหน้าที่และอานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) กากับ ให้ เป็ น ไปตามแผนรัก ษาความปลอดภั ยการบิ น พลเรือ นแห่ งชาติ โดยมี
การปรึกษาหารือร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ และคณะกรรมการรักษาความปลอดภัยการบิน
พลเรือนแห่งชาติภายใต้บทบัญญัติมาตรา ๕๐/๒๐
(๒) ก าหนดและจั ด สรรงานต่ า ง ๆ เพื่ อ การปฏิ บั ติ ใ ห้ เ ป็ น ไปตามแผนรั ก ษา
ความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติให้กับเจ้าหน้าที่อื่น ๆ เจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาต
หรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต ผู้ดาเนินการเดินอากาศ ตัวแทนควบคุม การไปรษณีย์ควบคุม ผู้ให้บริการ
จราจรทางอากาศ และผู้ ด าเนิ น การอื่ น ตามที่ ก าหนดในแผนรั ก ษาความปลอดภั ย การบิ น พลเรือ น
แห่งชาติ รวมทั้งหน่ วยงานหรือบุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับแผนรักษาความปลอดภั ยการบิ น พลเรือน
แห่งชาติ
(๓) ทาให้มั่นใจได้ว่าได้มีการจัดทาและปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนรักษาความปลอดภัย
สนามบิ น แต่ ล ะแห่ ง ที่ ใ ห้ บ ริ ก ารการบิ น พลเรื อ น โดยอย่ า งน้ อ ยผู้ อ านวยการต้ อ งด าเนิ น การ
ในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) แจ้งส่วนที่ เกี่ย วข้องของแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
ให้กับเจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขนึ้ ลงชั่วคราวอนุญาตแต่ละแห่ง
(ข) ให้ ความเห็นชอบและเสนอทบทวนแผนรักษาความปลอดภัยสนามบินของ
สนามบินแต่ละแห่ง
(ค) ตรวจสอบเจ้าของหรือผู้ ดาเนิ นการสนามบิน อนุญ าตหรือที่ ขึ้นลงชั่ ว คราว
อนุญาตว่าได้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนรักษาความปลอดภัยสนามบินอย่างเต็มรูปแบบ
(ง) จั ด การให้ มี ก ารตั้ ง คณะกรรมการรั ก ษาความปลอดภั ย สนามบิ น ขึ้ น
ณ สนามบินแต่ละแห่งที่ให้บริการการบินพลเรือนเพื่อให้คาแนะนาเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัย
ณ สนามบินดังกล่าว
(๔) กากับ ติดตาม หรือดาเนินการใด ๆ เพื่อให้มีการจัด ทาและปฏิบัติให้เป็นไปตาม
แผนรักษาความปลอดภัยของผู้ดาเนินการเดินอากาศแต่ละราย ซึ่งจะต้องครอบคลุมมาตรการรั กษา
ความปลอดภั ย ที่ ใช้ กั บ ผู้ โดยสาร สั ม ภาระ สิ น ค้ า ของที่ ส่ ง โดยผู้ ให้ บ ริก ารส่ งด่ ว นที่ เรี ย กว่า คู เรี ย ร์
พัสดุส่งด่วน ไปรษณียภัณฑ์ ครัวการบิน และการทาความสะอาดอากาศยาน เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้
ผู้อานวยการจะต้อง
(ก) แจ้งส่วนที่เกี่ย วข้องของแผนรักษาความปลอดภัยการบิน พลเรือนแห่งชาติ
ให้กับผู้ดาเนินการเดินอากาศแต่ละราย
(ข) ให้ความเห็นชอบและเสนอทบทวนแผนรักษาความปลอดภัยของผู้ดาเนินการ
เดินอากาศแต่ละราย
(ค) ตรวจสอบผู้ดาเนินการเดินอากาศว่าได้มีการปฏิบั ติให้เป็นไปตามแผนรักษา
ความปลอดภัยของผู้ดาเนินการเดินอากาศอย่างเต็มรูปแบบ
๗๖ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๕) กากับ ติดตาม หรือดาเนินการใด ๆ เพื่อให้มีการจัดทาและปฏิบัติให้เป็นไปตาม


แผนรักษาความปลอดภัยของตัวแทนควบคุม การไปรษณีย์ควบคุม ผู้ให้บริการจราจรทางอากาศ และ
ผู้ดาเนินการอื่นตามที่กาหนดในแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ ซึ่งจะต้องครอบคลุม
มาตรการรักษาความปลอดภัยที่ใช้กับการให้บริการของตน เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้ ผู้อานวยการ
จะต้อง
(ก) แจ้งส่ว นที่เกี่ย วข้องของแผนรักษาความปลอดภั ยการบิ นพลเรือนแห่ง ชาติ
ให้กับตัวแทนควบคุม การไปรษณีย์ควบคุม ผู้ให้บริการจราจรทางอากาศ และผู้ดาเนินการอื่นตามแผน
รักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
(ข) ให้ ความเห็ น ชอบและเสนอทบทวนแผนรักษาความปลอดภัยของตัว แทน
ควบคุม การไปรษณีย์ควบคุม ผู้ให้บริการจราจรทางอากาศ และผู้ดาเนินการอื่นตามที่กาหนดแผนรักษา
ความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
(ค) ตรวจสอบตัวแทนควบคุม การไปรษณีย์ควบคุม ผู้ให้บริการจราจรทางอากาศ
และผู้ดาเนินการอื่นตามที่กาหนดในแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติว่าได้มีการปฏิบัติ
ให้เป็นไปตามแผนรักษาความปลอดภัยของตน อย่างเต็มรูปแบบ
(๖) กากับ ติดตาม หรือดาเนินการใด ๆ เพื่อให้การรักษาความปลอดภัยที่สนามบินได้
มีการจัดสรรสิ่งอานวยความสะดวกที่จาเป็น ซึ่งรวมถึงพื้นที่อาคารสานักงาน เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือ
รักษาความปลอดภัย ที่เหมาะสม รวมถึงสิ่งอานวยความสะดวกสาหรับการฝึกอบรม
(๗) กากับ ติดตาม หรือดาเนินการใด ๆ เพื่อให้ขอ้ กาหนดต่าง ๆ ในด้านสถาปัตยกรรม
และข้อกาหนดที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่จาเป็นต่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรการรัก ษาความ
ปลอดภัยการบินอย่างมีประสิทธิภาพ ได้มีการนามาผนวกอยู่ ในการออกแบบและก่ อสร้างสิ่ งอานวย
ความสะดวกขึน้ ใหม่ และการดัดแปลงใด ๆ ต่อสิ่งอานวยความสะดวกในสนามบิน
(๘) ทบทวนและคงไว้ ซึ่ งการมี ผ ลใช้ บั ง คั บ ของแผนรั ก ษาความปลอดภั ย การบิ น
พลเรือนแห่งชาติเป็นระยะ ๆ รวมถึงเมื่อมีความจาเป็น ต้องมีการประเมินผลและปรับเปลี่ยนมาตรการ
รักษาความปลอดภัยจากการกระทาอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือความพยายามที่
จะกระทาการข้างต้น และจะต้องดาเนินการเพื่อจัดการต่อภัยคุก คามดังกล่าวใด ๆ ในขณะปัจจุบันตาม
ความจาเป็น
(๙) จัดทา และกากับ ติ ดตาม หรือดาเนินการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามแผนฝึกอบรม
การรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ เพื่อใช้สาหรับการฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องหรือ
บุคลากรที่รับผิดชอบในการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรการรัก ษาความปลอดภัยในการบินที่กาหนดขึ้น
ตามแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
(๑๐) จัดทา และกากับ ติดตาม หรือดาเนิ นการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามแผนควบคุม
คุ ณ ภาพการรั กษาความปลอดภั ย การบิ น พลเรื อนแห่ งชาติ เพื่ อใช้ ส าหรับ วัด ระดั บ การปฏิ บั ติ ต าม
แผนรักษาความปลอดภัย การบิ น พลเรือนแห่ งชาติ และเพื่ อท าให้ แผนรักษาความปลอดภัยการบิ น
พลเรือนแห่งชาติมีผลบังคับใช้
(๑๑) จัดให้มีและดาเนินการตามแผนการรับรองพนักงานตรวจค้น โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อจัดทาการรับรองและการประเมินผลอย่างเป็นทางการโดยหรือในนามของสานักงานการบินพลเรือน
แห่ง ประเทศไทย เพื ่อ ให้มั ่น ใจได้ว ่า เจ้า หน้า ที ่ม ีค วามสามารถที ่จาเป็น ในการปฏิบ ัต ิ ห น้ าที่ ต าม
๗๗ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

กระบวนการทางานของพนักงานตรวจค้นภายในสนามบินสาธารณะของไทยในระดับที่ยอมรับได้ตามที่
สานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยกาหนด
(๑๒) จัดให้มีและดาเนินการตามแผนการรับรองครูผู้สอนด้านการรักษาความปลอดภัย
โดยมี วัต ถุป ระสงค์ เพื่ อ จั ด ท าการรับ รองและการประเมิน ผลอย่ างเป็ น ทางการโดยหรื อในนามของ
ส านั กงานการบิ น พลเรือ นแห่ งประเทศไทย เพื่ อ ให้ มั่ น ใจได้ว่ าครูผู้ ส อนมีค วามสามารถที่ จาเป็ น ใน
การปฏิบัติหน้าที่ตามกระบวนการทางานด้านการรักษาความปลอดภัย ภายในสนามบินสาธารณะของ
ไทยในระดับที่ยอมรับได้ตามที่สานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยกาหนด
(๑๓) ทบทวนและคงไว้ซึ่งการมีผลใช้บังคับของแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัย
การบิ น พลเรื อ นแห่ งชาติ แผนควบคุ ม คุ ณ ภาพการรั ก ษาความปลอดภั ย การบิ น พลเรือ นแห่ ง ชาติ
แผนการรับรองพนักงานตรวจค้น และแผนการรับรองครูผู้สอนด้านการรักษาความปลอดภัยเป็นระยะ ๆ
ซึ่งจะต้องรวมถึงการประเมินผลและการปรับเปลี่ยนแผนดังกล่าวเมื่อมีความจาเป็น
(๑๔) ทบทวนระดับภัยคุกคามต่อการบินพลเรือนภายในราชอาณาจักรอย่างสม่าเสมอ
รวมทั้งจัดทาและปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายและขั้นตอนในการปรับปรุงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องของ
แผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่ งชาติ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัยคุกคาม โดยอาศัย
การประเมินความเสี่ยงต่อความปลอดภัยที่ดาเนินการโดยผู้อานวยการ
(๑๕) ด าเนิ น มาตรการที่ จ าเป็ น เพื่ อ ตอบสนองอย่ า งรวดเร็ ว ต่ อ ภั ย คุ ก คาม
ความปลอดภัยที่มีต่อการบินพลเรือนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการจัดตั้งคณะทางานเพื่อดาเนินการต่อภัยคุกคาม
ทีเ่ พิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามความเหมาะสม
(๑๖) กาหนดให้ มี การเก็บรักษาข้อมู ล ประวั ติการกระทาอัน เป็นการแทรกแซงโดย
มิช อบด้ ว ยกฎหมายใด ๆ และข้ อมู ล ประวัติ อุ บั ติ การณ์ ด้ านการรัก ษาความปลอดภั ยใด ๆ รวมถึ ง
กรณีใด ๆ ของการไม่ปฏิบัติตามแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
แผนตาม (๙) และ (๑๐) ต้ อ งได้ รั บ ความเห็ น ชอบจากคณะกรรมการรั ก ษา
ความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
คณะกรรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติต้องมั่นใจได้ว่าหน่วยงาน
ตามแผนควบคุมคุณภาพการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติได้ดาเนินการอย่างเป็นอิสระ
จากหน่วยงานหรือบุคคลที่มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติการตามมาตรการที่กาหนดไว้ในแผนนั้น
ให้สานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจัดทารายละเอียดทั้งหมดหรือบางส่วน
ของแผนรั กษาความปลอดภั ย การบิ น พลเรือ นแห่ งชาติที่ เหมาะสมกับ การดาเนิ นงานของสนามบิ น
ผู้ ด าเนิ น การเดิน อากาศ ตั ว แทนควบคุ ม การไปรษณี ย์ ค วบคุ ม ผู้ ให้ บ ริก ารจราจรทางอากาศ และ
ผู้ดาเนินการอื่นตามทีก่ าหนดในแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ

มาตรา ๕๐/๑๘ ภายใต้ แ ผนควบคุ ม คุ ณ ภาพการรั ก ษาความปลอดภั ย การบิ น


พลเรือนแห่งชาติตามมาตรา ๕๐/๑๗ (๑๐) ให้ผู้อานวยการจัดให้มีการตรวจสอบเพื่อติดตามการปฏิบัติ
ตามแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ แผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบิน
พลเรือนแห่งชาติ หรือแผนรักษาความปลอดภัยของเจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้น
ลงชั่วคราวอนุญาต ผู้ดาเนินการเดินอากาศ ตัวแทนควบคุม การไปรษณีย์ควบคุม ผู้ให้บริการจราจรทาง
อากาศ และผู้ดาเนินการอื่นตามที่กาหนดในแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ ทั้งนี้
๗๘ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ผู้อานวยการต้องดาเนิน การตามรายละเอียดมาตรฐานต่าง ๆ ตามที่กาหนดไว้ในแผนควบคุมคุณภาพ


การรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
แผนควบคุม คุ ณ ภาพการรักษาความปลอดภั ย การบิน พลเรือ นแห่ งชาติ ต้ องอยู่บ น
พื้ น ฐานการปฏิ บั ติ ที่ ดี ที่ สุ ด และอ านวยการให้ มี ก ารตรวจจั บ และแก้ ไขข้ อ บกพร่ อ งที่ เกิ ด ขึ้ น หรื อ
อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
แผนควบคุ ม คุ ณ ภาพการรั ก ษาความปลอดภั ย การบิ น พลเรื อ นแห่ ง ชาติ จ ะต้ อ ง
กาหนดให้ทุกสนามบินต้องได้รับการตรวจสอบอย่างสม่าเสมอตามวิธีการที่ใช้กันอยู่ทั่วไปและจะต้อง
ดาเนินการโดยผู้ตรวจสอบด้านการบิน

มาตรา ๕๐/๑๙ ภายใต้ แผนฝึ ก อบรมการรั ก ษาความปลอดภั ย การบิ น พลเรือ น


แห่ งชาติตามมาตรา ๕๐/๑๗ (๙) ผู้ มีห น้าที่เกี่ยวข้ องจะต้องจัดให้ มีการฝึกอบรมบุค ลากรทั้งหมดที่
เกี่ยวข้องกับหรือที่รับผิดชอบในการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน
เพื่ อให้ ส อดคล้ องกับ แผนรั กษาความปลอดภั ยการบิ นพลเรื อ นแห่ งชาติ นอกจากนี้ แผนฝึ กอบรม
การรักษาความปลอดภัย การบิ นพลเรือนแห่ งชาติจะต้ องระบุถึงการคัดเลือก การกาหนดคุณ สมบัติ
การฝึกอบรม การออกใบรับ รอง และการสร้างแรงจูงใจของพนักงานรักษาความปลอดภัยและจะต้ อง
ระบุถึงความรับผิดชอบต่าง ๆ แผนฝึกอบรม หลักสูตร การทดสอบระบบการฝึกอบรมและส่วนประกอบ
ทีเ่ หมาะสมอื่น ๆ
ให้ ผู้ อ านวยการประสานงานในการจั ด ท าและรั บ ผิ ด ชอบในการให้ ค วามเห็ น ชอบ
แผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนที่จัดทาขึ้นโดยหน่วยงาน นิติบุคคล และองค์กรต่าง ๆ
ให้สอดคล้องกับแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
การทบทวนแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่ง ชาติจะต้อง
ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ

มาตรา ๕๐/๒๐ ให้ ค ณะกรรมการการบิ น พลเรือ นแต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการรั ก ษา


ความปลอดภัยการบิ น พลเรือนแห่ งชาติขึ้ น คณะหนึ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ ความเห็ นชอบการ
กาหนดขอบเขตและการจัดสรรงานตามแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ รวมถึงการให้
คาแนะนาและความร่วมมือในกิจกรรมด้านการรักษาความปลอดภัย ดังต่อไปนี้
(๑) ความร่วมมือระหว่างกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกีย่ วข้อง
(๒) ความร่ ว มมื อ ระหว่ า งเจ้ าของหรือ ผู้ ด าเนิ น การสนามบิ น อนุ ญ าตหรื อ ที่ ขึ้ น ลง
ชั่ วคราวอนุ ญ าต ผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศ ตัว แทนควบคุม การไปรษณี ย์ควบคุม ผู้ ให้ บ ริการจราจร
ทางอากาศ หรือผู้ดาเนินการอื่นตามทีก่ าหนดในแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
(๓) ให้คาแนะนาแก่หน่วยงานตาม (๑) และ (๒) เพื่อประโยชน์ในการทบทวนและเพิ่ม
ความมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ และมาตรการ
ในการรักษาความปลอดภัย

มาตรา ๕๐/๒๑ เพื่ อประโยชน์ ในการกากับดูแลการรักษาความปลอดภัยการบิ น


พลเรือน ให้สานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยดาเนินการในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑) จั ดให้ มีการส ารวจเกี่ ยวกับ การรักษาความปลอดภัยอย่างสม่าเสมอเพื่อระบุถึง
ความต้องการและจาเป็นในการรักษาความปลอดภัย
๗๙ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๒) จัดให้มีการตรวจสอบการควบคุมการรักษาความปลอดภัย
(๓) จั ด ให้ มี ก ารทดสอบการควบคุม การรักษาความปลอดภั ย และมาตรการรัก ษา
ความปลอดภั ย ที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ ผู้ โดยสาร สั ม ภาระ สิ น ค้ า และสิ่ งของอื่ น ๆ ตลอดจนการทดสอบ
การควบคุ ม การเข้ า ถึ ง และการออกแบบของสนามบิ น เพื่ อ ประเมิ น ประสิ ท ธิ ภ าพของการรั ก ษา
ความปลอดภัย
(๔) จั ด ให้ มี การดาเนิ น การเพื่ อ ตรวจสอบประสิ ทธิภ าพของเจ้าหน้ าที่ ที่ รับ ผิ ดชอบ
ในการปฏิ บั ติ ง านตามกระบวนการรั ก ษาความปลอดภั ย การบิ น พลเรื อ น รวมถึ ง การทดสอบ
ความเพียงพอของมาตรการรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ ของเจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาต
หรือที่ขึ้น ลงชั่วคราวอนุ ญ าต ผู้ดาเนิน การเดินอากาศ ผู้ ให้บริก ารจราจรทางอากาศ ตั วแทนควบคุม
การไปรษณีย์ควบคุม ผู้ให้บริการครัวการบิน และผู้ให้บริการภาคพื้น หรือผู้ดาเนินการอื่นตามที่กาหนด
ในแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ

มาตรา ๕๐/๒๒ ในกรณีเพื่อความจาเป็นในการรักษาความปลอดภัยให้เป็นไปตาม


แผนการรักษาความปลอดภั ยการบินพลเรือนแห่งชาติ แผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบิน
พลเรื อ นแห่ ง ชาติ และแผนควบคุ ม คุ ณ ภาพการรั ก ษาความปลอดภั ย การบิ น พลเรื อ นแห่ ง ชาติ
ให้ผู้อานวยการมีอานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) ออกคาสั่งการรักษาความปลอดภัย เพื่อกาหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยให้
เจ้ า ของหรื อ ผู้ ด าเนิ น การสนามบิ น อนุ ญ าตหรื อ ที่ ขึ้ น ลงชั่ ว คราวอนุ ญ าต ผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศ
ผู้ให้บริการจราจรทางอากาศ ตัวแทนควบคุม การไปรษณีย์ ควบคุม ผู้ให้บริการครัวการบิน ผู้ให้บริการ
ภาคพื้ น หรือผู้ดาเนินการอื่นตามที่กาหนดในแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ ต้อง
ปฏิบัติ
(๒) ออกเอกสารคาแนะนาหรือข้อเสนอแนะด้านการรักษาความปลอดภัย เพื่อแนะนา
หรือเสนอแนะให้บุคคลหรือหน่วยงานใด ๆ ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยตามที่ระบุไว้ในเอกสาร
คาแนะนาหรือข้อเสนอแนะดังกล่าว
คาสั่งการรักษาความปลอดภัยตาม (๑) ต้องระบุวันเวลาและระยะเวลาที่บุคคลหรือ
หน่ วยงานนั้น จะต้องปฏิ บัติตามคาสั่ง และจะต้ องระบุให้ บุคคลหรือหน่วยงานดังกล่ าวแต่ งตั้ งบุคคล
ผู้จ ะรับ ผิ ดชอบในการปฏิบั ติให้ เป็ น ไปตามคาสั่ งด้ว ยโดยแจ้งรายละเอีย ดเกี่ยวกับบุคคลดั งกล่ าวให้
ผู้อานวยการทราบโดยเร็ว

มาตรา ๕๐/๒๓ ให้ ผู้ อ านวยการมี อ านาจเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การรั ก ษา
ปลอดภัยการบินพลเรือน โดยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ ขึ้นลง
ชั่วคราวอนุญาต ผู้ดาเนินการเดินอากาศ ผู้ให้บริการจราจรทางอากาศ ตัวแทนควบคุม การไปรษณีย์ควบคุม
ผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารครั ว การบิ น ผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารภาคพื้ น และผู้ ดาเนิ น การอื่ น ตามที่ กาหนดในแผนรั ก ษา
ความปลอดภั ย การบิ น พลเรื อนแห่ งชาติ แต่ ล ะรายที่ จะต้ องสนั บ สนุ นและให้ ข้ อมู ลกั บ ผู้ อานวยการ
เมือ่ ได้รับการร้องขอ
ในการดาเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้อานวยการหรือผู้ตรวจสอบด้านการบินเข้าไปใน
สถานที่ทาการของบุคคลหรือหน่วยงานตามวรรคหนึ่ง ในระหว่างช่วงเวลาทาการปกติของบุคคลหรือ
หน่วยงานนั้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีที่จะเข้าถึงสถานที่ทา
การของบุคคลหรื อหน่วยงานดังกล่าวนอกช่วงเวลาทาการปกติ ให้กระทาได้เฉพาะเมื่อมีกรณี จะเกิด
๘๐ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

อัน ตรายจากการกระทาอัน เป็ น การแทรกแซงโดยมิ ช อบด้ วยกฎหมายอย่างชัดแจ้ง และการเข้าถึ ง


สถานที่ทาการเช่นว่านั้นเป็นเรื่องจาเป็นเพื่อป้องกันมิให้การกระทาอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วย
กฎหมายเกิดขึน้

มาตรา ๕๐/๒๔ เพื่อการดูแลรักษาความปลอดภั ยในบริเวณสนามบิ นอนุญาตหรือ


ที่ขึ้น ลงชั่วคราวอนุ ญ าต ให้ เจ้ าของหรือผู้ ดาเนิ นการสนามบิ น อนุ ญ าตหรื อที่ขึ้น ลงชั่ว คราวอนุ ญ าต
มีหน้าที่ดแู ลมิให้มกี ารกระทาการอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว
ในการดาเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้น
ลงชั่วคราวอนุญาตมีอานาจตรวจสอบบุคคล หากมีกรณีเป็นที่สงสัยและมีความจาเป็นอาจค้นตัวบุคคล
สิ่งของ สัมภาระ สินค้า ของที่ส่งโดยผู้ให้บริการส่งด่วนที่เรียกว่าคูเรียร์ พัสดุส่งด่วน เพื่อค้น หาอาวุธ
วัตถุ หรืออุปกรณ์อื่นใด ซึ่งอาจนาไปใช้กระทาการอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย กรณีที่
เป็นการตรวจค้นไปรษณียภัณฑ์ จะเปิดออกตรวจค้นได้เฉพาะเมื่อมี สิ่งบ่งชี้อันสมควรว่าไปรษณียภัณฑ์
นั้นบรรจุอาวุธ วั ตถุ หรืออุปกรณ์อื่นใดที่อาจนาไปใช้กระทาการอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วย
กฎหมาย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด
เจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตอาจมอบหมาย
หน้าที่ตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้กบั บุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่นกระทาการแทนได้
บุ ค คลซึ่ งได้ รั บ มอบหมายให้ ก ระท าการแทนตามวรรคสาม ต้ อ งผ่ านการคั ด เลื อ ก
ฝึกอบรม และตรวจสอบดูแลว่าสามารถปฏิบัติให้ เป็ นไปตามมาตรฐาน กฎ และขั้นตอนการปฏิบั ติ
ต่าง ๆ ของแผนรักษาความปลอดภัย การบินพลเรือนแห่งชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตามแผนฝึกอบรม
การรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติและแผนควบคุมคุณภาพการรักษาความปลอดภัย
การบินพลเรือนแห่งชาติ

มาตรา ๕๐/๒๕ เพื่ อเป็ นการรับ ประกัน ความเหมาะสมและความน่ าเชื่อ ถือ ของ
การรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน เจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราว
อนุญาตต้องดาเนินการตรวจสอบประวัติหรือรับผิดชอบดูแลให้มีการตรวจสอบประวัติบุคคล ดังต่อไปนี้
(๑) บุ คคลซึ่งสมัครเข้ารับตาแหน่งในสายงานด้า นการรักษาความปลอดภัยการบิน
พลเรือน
(๒) บุ ค คลที่ ยื่ น ค าขอรั บ บั ต รผ่ า นเข้ า พื้ น ที่ ห วงห้ า มโดยไม่ มี พ นั ก งานรั ก ษา
ความปลอดภัยติดตามตามระบบบัตรผ่านเพื่อตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยสนามบินหรือระบบ
ควบคุมการเข้าออก
การตรวจสอบประวัติตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการยืนยัน
ตัวบุคคลและประสบการณ์ในอดีตและประวัติอาชญากรรมของบุคคลดังกล่าว

มาตรา ๕๐/๒๖ ในการตรวจสอบหรือค้นตัวบุคคล ตามมาตรา ๕๐/๒๔ เจ้าของหรือ


ผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่ วคราวอนุ ญาตอาจหน่วงเหนี่ยวบุคคลไว้เป็นการชั่วคราว
ณ จุดตรวจค้น ในการนี้ อาจมอบหมายให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ปฏิบัติหน้ าที่ตรวจค้นตามมาตรา
๕๐/๒๔ ดาเนินการหน่วงเหนี่ยวชั่วคราวแทนได้
การจับกุมและการควบคุมบุคคล จะต้องดาเนินการโดยตารวจผู้มีอานาจเท่านั้น
๘๑ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๕๐/๒๗ แผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ แผนฝึกอบรม


การรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ แผนควบคุมคุณภาพการรักษาความปลอดภัยการบิน
พลเรื อ นแห่ งชาติ แผนรั ก ษาความปลอดภั ย สนามบิ น แผนรัก ษาความปลอดภั ย ของผู้ ด าเนิ น การ
เดินอากาศ และแผนรักษาความปลอดภัยอื่นใดที่จัดทาขึ้นตามมาตรา ๕๐/๑๗ (๙) (๑๐) (๑๑) และ
(๑๒) อาจกาหนดให้มีสถานะของชั้นความลับ
สานักงานการบิ นพลเรือนแห่ งประเทศไทยจะต้องมีมาตรการหรือการดาเนินการใด ๆ
เพื่ อให้ เจ้ าหน้ าที่ นิ ติบุ คคล และบุ ค คลใด ๆ ที่ เกี่ ยวข้ องกับ การจั ด ท าและการปฏิ บั ติให้ เป็ นไปตาม
แผนต่าง ๆ เหล่านี้ ต้องรับรู้ถึงสถานะของชั้นความลับของแผนดังกล่ าวและต้องปกป้องข้อมูลต่าง ๆ ที่
อยู่ในแผนดังกล่าว ในการนี้ อาจกาหนดให้มีสถานะของข้อมูลเช่นว่านั้น และผู้รับข้อมูลต่าง ๆ ดังกล่าว
จะต้องตระหนักถึงสถานะของข้อมูลดังกล่าว

มาตรา ๕๐/๒๘ ห้ า มมิ ให้ บุ ค คลใดด าเนิ น งานสนามบิ น สาธารณะ เว้ น แต่ จ ะมี
แผนรักษาความปลอดภัยการบิ นพลเรือนของเจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบิน อนุญาตและที่ขึ้ น ลง
ชั่วคราวอนุญาตที่ได้รบั ความเห็นชอบจากผู้อานวยการแล้ว
เจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตและที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตต้องจั ดทาและ
บั ง คั บ ใช้ แ ผนรั ก ษาความปลอดภั ย การบิ น พลเรื อ นของตนที่ ไ ด้ จั ด ท าขึ้ น เป็ น ลายลั ก ษณ์ อั ก ษร
โดยแผนรั ก ษาความปลอดภั ย การบิ น พลเรือ นของเจ้ า ของหรือ ผู้ ด าเนิ น การสนามบิ น อนุ ญ าตและ
ที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตต้องเป็นไปตามข้อกาหนดที่ระบุไว้ในแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน
แห่ ง ชาติ และผู้ ด าเนิ น การสนามบิ น ต้ อ งทบทวนและปรั บ ปรุ ง แผนรั ก ษาความปลอดภั ย การบิ น
พลเรือนของตนให้ทันสมัย
เจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตและที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตต้องพัฒนาและ
บังคับใช้แผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน เพื่อให้มั่นใจถึงการปฏิบั ติงานอย่างมี
ประสิทธิภ าพของการดาเนินงานด้ านการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ของตนซึ่งสอดคล้องกับ
ข้อกาหนดที่ได้ระบุไว้ในแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
เจ้าของหรือผู้ ดาเนิ นการสนามบิ นอนุญ าตและที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญ าตต้ องยื่น แผน
ฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบิ นพลเรือนตามวรรคสามให้ ผู้อานวยการเพื่อให้ความเห็นชอบ
ก่อนนาไปบังคับใช้

มาตรา ๕๐/๒๙ ห้ามมิให้บุคคลใดดาเนินการเป็นผู้ดาเนินการเดินอากาศ เว้นแต่ จะมี


แผนรั ก ษาความปลอดภั ย การบิ น พลเรื อ นของผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศที่ ไ ด้ รั บ ความเห็ น ชอบ
จากผู้อานวยการแล้ว หรือเป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยบริการเดินอากาศ
ผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศต้ อ งจั ด ท าและบั งคั บ ใช้ แ ผนรัก ษาความปลอดภั ย การบิ น
พลเรือนของผู้ดาเนินการเดินอากาศที่ได้จัดทาขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยแผนรักษาความปลอดภัย
การบิ น พลเรื อ นของผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศต้ อ งเป็ น ไปตามข้ อ ก าหนดที่ ได้ ร ะบุ ไว้ ในแผนรั ก ษา
ความปลอดภั ย การบิ น พลเรือนแห่ งชาติ ในกรณี ผู้ ด าเนิ นการเดิ นอากาศให้ บริการขนส่ งสิ นค้า ด้ ว ย
จะต้ อ งมี แ ผนการควบคุ ม การรั ก ษาความปลอดภั ย สิ น ค้ า และไปรษณี ย ภั ณ ฑ์ เพิ่ ม เติ ม ที่ ไ ด้ รั บ
ความเห็นชอบจากผู้อานวยการ
๘๒ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ผู้ดาเนินการเดินอากาศต้องพัฒนาและบังคับใช้แผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัย
การบิน พลเรือนเพื่อให้มั่น ใจถึงการปฏิบั ติงานอย่างมีประสิทธิภ าพของการดาเนินงานด้านการรักษา
ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ของตนซึ่งสอดคล้องกับข้อกาหนดที่ได้ระบุไว้ในแผนรักษาความปลอดภั ย
การบินพลเรือนแห่งชาติ
ผู้ดาเนินการเดินอากาศต้องยื่นแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน
ตามวรรคสามให้ผู้อานวยการเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนนาไปบังคับใช้

มาตรา ๕๐/๓๐ ห้ามมิให้บุคคลใดดาเนิ นการเป็นผู้ให้บริการจราจรทางอากาศของ


สนามบินใด ๆ ในราชอาณาจักร เว้นแต่จะมีแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนของผู้ให้บริการ
จราจรทางอากาศทีไ่ ด้รับความเห็นชอบจากผู้อานวยการแล้ว
ผู้ให้บริการจราจรทางอากาศต้องจัดทาและบังคับใช้แผนรักษาความปลอดภัยการบิน
พลเรื อ นของผู้ ให้ บ ริ ก ารจราจรทางอากาศที่ ไ ด้ จั ด ท าขึ้ น เป็ น ลายลั ก ษณ์ อั ก ษร โดยแผนรั ก ษา
ความปลอดภัยการบินพลเรือนของผู้ให้บริการจราจรทางอากาศต้องเป็นไปตามข้อกาหนดที่ได้ระบุไว้ใน
แผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
ผู้ ให้ บ ริ ก ารจราจรทางอากาศต้ อ งพั ฒ นาและบั ง คั บ ใช้ แ ผนฝึ ก อบรมการรั ก ษา
ความปลอดภัยการบิ นพลเรือนเพื่อให้มั่นใจถึงการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพของการดาเนินงาน
ด้านการรักษาความปลอดภัยของเจ้ าหน้าที่ของตนซึ่งสอดคล้องกับข้อกาหนดที่ได้ระบุไว้ในแผนรักษา
ความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
ผู้ให้บ ริการจราจรทางอากาศต้องยื่นแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบิ น
พลเรือนตามวรรคสามให้ผู้อานวยการเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนนาไปบังคับใช้

มาตรา ๕๐/๓๑ ห้ ามมิให้ บุค คลใดดาเนินการโดยมีวัตถุประสงค์ในการรับจัดการ


ขนส่งสินค้า ไปรษณียภัณฑ์ สัมภาระ หรือสิ่งอื่น ๆ ทางอากาศ เว้นแต่จะมีแผนรักษาความปลอดภัย
การบินพลเรือนของตัวแทนควบคุมหรือการไปรษณีย์ควบคุมที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้อานวยการแล้ว
และได้รับใบรับรองการเป็นตัวแทนควบคุมหรือการไปรษณีย์ควบคุมที่ออกโดยผู้อานวยการเพื่อการนี้
ตัว แทนควบคุ ม หรื อ การไปรษณี ย์ ค วบคุ ม ต้ อ งจั ด ท าและบั งคั บ ใช้ แ ผนรักษาความ
ปลอดภั ยการบิน พลเรือนของตัวแทนควบคุมหรือการไปรษณีย์ ควบคุมที่ได้จัดทาขึ้นเป็นลายลักษณ์
อักษร โดยแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนของตัวแทนควบคุมหรือการไปรษณีย์ควบคุมต้อง
เป็นไปตามที่ได้ระบุไว้ในแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
ตั ว แทนควบคุ ม หรื อ การไปรษณี ย์ ค วบคุ ม ต้ อ งจั ด ท าและบั ง คั บ ใช้ แ ผนฝึ ก อบรม
การรั ก ษาความปลอดภั ย การบิ น พลเรื อ นเพื่ อ ให้ มั่ น ใจถึ งการปฏิ บั ติ งานอย่ างมี ป ระสิ ท ธิภ าพของ
การด าเนิ น งานด้ า นการรั ก ษาความปลอดภั ย ของเจ้ า หน้ า ที่ ข องตนซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ แผนรั ก ษา
ความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
ตัวแทนควบคุมหรือการไปรษณีย์ควบคุมต้องยื่นแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัย
การบินพลเรือนตามวรรคสามให้ผู้อานวยการเพือ่ ให้ความเห็นชอบก่อนนาไปบังคับใช้

มาตรา ๕๐/๓๒ เพื่ อป้ องกั นการบิ นพลเรื อนจากการกระท าอั นเป็ นการแทรกแซง
โดยมิ ชอบด้ ว ยกฎหมาย เจ้ า ของหรื อ ผู้ ด าเนิ น การสนามบิ น อนุ ญ าตและที่ ขึ้ น ลงชั่ ว คราวอนุ ญ าต
๘๓ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศ ตั ว แทนควบคุ ม การไปรษณี ย์ ค วบคุ ม ผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารจราจรทางอากาศ


หรือผู้ดาเนินการอื่นตามที่กาหนดในแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ จะต้อง
(๑) ปฏิบั ติให้ เป็ น ไปตามแผนรักษาความปลอดภัย ของตนที่ ผู้ อานวยการ ให้ ความ
เห็นชอบ
(๒) เข้าไปมีส่วนร่วมในแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
และแผนควบคุมคุณภาพการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
(๓) ให้ ค วามร่ ว มมื อ ในการตรวจสอบว่ า ได้ มี ก ารปฏิ บั ติ ให้ เป็ น ไปตามแผนรั ก ษา
ความปลอดภัยของตนอย่างเต็มรูปแบบ
(๔) ให้ข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย เมื่อผู้อานวยการร้องขอ
(๕) เข้ า ไปมี ส่ ว นร่ ว มในการด าเนิ น การของคณะกรรมการรั ก ษาความปลอดภั ย
สนามบินที่เกี่ยวข้อง
(๖) ปฏิบัติตามคาสั่งการรักษาความปลอดภัยใด ๆ ที่ตนได้รับ ซึง่ ออกโดยผู้อานวยการ

มาตรา ๕๐/๓๓ เพื่อป้องกันการบินพลเรือนจากการกระทาอันเป็นการแทรกแซงโดย


มิชอบด้วยกฎหมาย บุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดที่กาหนดให้สนับสนุนหรือให้ความร่วมมือไว้ในแผนรักษา
ความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติต้อง
(๑) ปฏิ บั ติ ใ ห้ เ ป็ น ไปตามแผนรั ก ษาความปลอดภั ย ใด ๆ ที่ ผู้ อ านวยการให้
ความเห็นชอบ ซึ่งกาหนดให้ตนต้องปฏิบัติตาม
(๒) เข้าไปมีส่วนร่วมในแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
และแผนควบคุมคุณภาพการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ
(๓) ให้ ค วามร่ ว มมื อ ในการตรวจสอบบางส่ ว น การตรวจสอบทั้ ง ระบบ และ
การสอบสวนใด ๆ ซึ่งผู้อานวยการเป็นผู้ตดั สินใจดาเนินการ
(๔) ให้ข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย เมื่อผู้อานวยการร้องขอ
(๕) เข้ า ไปมี ส่ ว นร่ ว มในการด าเนิ น การของคณะกรรมการรั ก ษาความปลอดภั ย
สนามบินที่เกี่ยวข้องเมือ่ ได้รับการร้องขอ
(๖) ปฏิบัติตามคาสั่งการรักษาความปลอดภัยใด ๆ ที่ตนได้รับ ซึ่งออกโดยผู้อานวยการ

มาตรา ๕๐/๓๔ ในกรณีที่เจ้าพนักงานผู้บังคับใช้กฎหมายประสงค์จะนาอาวุธขึ้นบน


อากาศยาน เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายนั้น ๆ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้อานวยการเป็นการเฉพาะ
ราย และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่ผู้อานวยการกาหนด
การปฏิ บั ติ ห น้ าที่ ข องเจ้ าหน้ าที่ ผู้ รัก ษาความปลอดภั ย ในอากาศยานซึ่ งต้ อ งขึ้ น ไป
ประจ าการบนอากาศยาน ต้ อ งปฏิ บั ติ ใ ห้ เป็ น ไปตามกฎหมายว่ า ด้ ว ยความผิ ด บางประการต่ อ
การเดินอากาศ

มาตรา ๕๐/๓๕ ห้ามมิให้บุคคลใดขนส่งหรือครอบครองอาวุธ วัตถุระเบิด หรือวัตถุ


ไวไฟ ภายในสนามบิ น อนุ ญ าตหรื อ ที่ ขึ้ น ลงชั่ ว คราวอนุ ญ าต เว้ น แต่ จ ะได้ รั บ อนุ ญ าตเป็ น หนั งสื อ
จากเจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบิน อนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต หรือเป็นเจ้าพนักงานซึ่งอยู่
ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกาหนด
๘๔ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ห้ามมิให้ผู้โดยสารหรือบุคคลอื่นใดขนหรือนาอาวุธ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟเข้าไปใน


สนามบิ น อนุ ญ าตหรือที่ขึ้ น ลงชั่วคราวอนุญ าต เว้ นแต่จะได้รับอนุญ าตจากเจ้าของหรือผู้ ดาเนินการ
สนามบิ น สาธารณะอนุ ญ าตหรื อ ที่ ขึ้ น ลงชั่ ว คราวอนุ ญ าต และปฏิ บั ติ ต ามเงื่อ นไขของเจ้ าของหรื อ
ผู้ดาเนิ นการสนามบิ น อนุ ญ าตหรือที่ขึ้น ลงชั่วคราวอนุ ญ าต ในการนี้ ให้ เป็ นหน้ าที่ ของเจ้าของหรือ
ผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตดาเนินการตรวจสอบหรือดาเนินการอื่นใดเพื่อ
มิให้มกี ารกระทาดังกล่าวเกิดขึน้
การอนุญาตตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ผู้อานวยการจะประกาศกาหนดหลักเกณฑ์
และวิธีการเพื่อเป็นแนวทางในการอนุญาตไว้ด้วยก็ได้

มาตรา ๕๐/๓๖ ในกรณี ที่ เจ้าของหรือผู้ ดาเนินการสนามบิน อนุญ าตหรือที่ขึ้นลง


ชั่วคราวอนุญาตให้บุคคลอื่นเช่าพื้ นที่หรือสิ่งอานวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นส่วนของอาคารผู้โดยสาร
หรือพื้ น ที่เขตการบิ น ผู้ เช่าพื้ น ที่ ดังกล่ าวต้ องรับผิ ดชอบในการควบคุมการเข้าพื้นที่ เฉพาะส่ว นที่ตน
เกี่ย วข้อ ง โดยต้ องดาเนิ น การให้ เป็ น ไปตามแผนรักษาความปลอดภั ยของเจ้าของหรือผู้ ดาเนิน การ
สนามบินอนุญาตหรือทีข่ ึ้นลงชั่วคราวอนุญาตด้วย
เพื่ อประโยชน์ แห่ งมาตรานี้ “ผู้เช่าพื้ น ที่” หมายความว่า บุ คคลหรือองค์กรที่ ได้รั บ
อนุญาตจากของเจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้น ลงชั่วคราวอนุญาตเพื่อประกอบ
ธุร กิจ ที่ ส นามบิ น นั้ น ๆ รวมถึงผู้ รับ สั มปทาน ผู้ จัดการขนส่ งสิ น ค้ า ผู้ จ าหน่ ายอาหารและเครื่อ งดื่ ม
ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการรถแท็กซี่และรถโดยสาร ผู้ประกอบการบารุงรักษาอากาศยาน
บริษัทน้ามันเชื้อเพลิง และหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบั ติหน้าที่ ณ สนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราว
อนุญาตนั้น

มาตรา ๕๐/๓๗ เจ้ าของหรื อ ผู้ ด าเนิ น การสนามบิ น อนุ ญ าตหรื อ ที่ ขึ้น ลงชั่ว คราว
อนุญาตมีหน้าที่ตอ้ งเฝ้าระวังภัยคุกคามที่มีต่อสิ่งอานวยความสะดวกในการเดินอากาศของสนามบินหรือ
ส่วนใด ๆ ของสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต ที่มิได้อยู่ในความรับผิดชอบของตนด้วย ในกรณี
ที่เกิดภัยคุกคามต้องดาเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ในทันที
(๑) แจ้งต่อสานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องถึง
ลักษณะของภัยคุกคาม
(๒) ตรวจสอบผลกระทบต่อ การรักษาความปลอดภั ยของสนามบิ นอั นเกิด จากภั ย
คุกคาม
(๓) ประสานความร่ว มมือในการปฏิบัติการตามมาตรการที่ เหมาะสมในการเผชิญ
ภัยคุกคามนัน้

มาตรา ๕๐/๓๘ เมื่อเจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราว


อนุญาตพิจารณาเห็นว่าภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการรักษาความปลอดภัยของสนามบิน
ต้องดาเนินการตามมาตรการทั้งหมดที่จาเป็นโดยทันที เพื่อให้มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยของสนามบิน
และบุคคลที่อยู่ภายในสนามบิน รวมถึงการแจ้งถึงลักษณะของภัยคุกคามแก่บุคคลเหล่านั้น
๘๕ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

เจ้ า ของหรื อ ผู้ ด าเนิ น การสนามบิ น อนุ ญ าตหรื อ ที่ ขึ้ น ลงชั่ ว คราวอนุ ญ าตต้ อ งแจ้ ง
สานักงานการบินพลเรือนแห่ งประเทศไทยในทันทีกรณีที่มีภัยคุก คามโดยการวางระเบิดหรือเหตุอื่น
ทีเ่ กิดขึ้นจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสนามบิน สิ่งอานวยความสะดวกในการเดินอากาศหรืออากาศยาน

มาตรา ๕๐/๓๙ เจ้ าของหรื อ ผู้ ด าเนิ น การสนามบิ น อนุ ญ าตหรือ ที่ ขึ้น ลงชั่ว คราว
อนุญาต ผู้ดาเนินการเดินอากาศ หรือบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องตามแผนการรักษาความปลอดภัยการบิน
พลเรือนแห่งชาติต้องจัดให้มีการเก็บบันทึกข้อมูลของอุบัติการณ์ในการรักษาความปลอดภัยที่เกิดขึ้นใน
ระหว่างการปฏิบัตกิ าร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ “อุบัติการณ์ในการรักษาความปลอดภัย” ตามวรรคหนึ่ง
หมายความว่า การกระทาอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจริง พยายามกระทา
ข่ ม ขู่ ว่ าจะกระท า หรื อ สงสั ย ว่ า จะมี ก ารกระท า ซึ่ งอาจก่ อ ให้ เกิ ด การแทรกแซง การละเมิ ด หรื อ
ความผิดปกติของระบบการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน โดยการกระทาดัง กล่าวไม่จากัดเฉพาะ
การยึดหรือเข้าควบคุมโดยใช้กาลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กาลังประทุษร้ายหรือพยายามกระทา
การดังกล่าว การระเบิด การค้นพบอาวุธ สารระเบิด หรืออุปกรณ์วางเพลิง และการข่มขู่คุกคามที่มุ่ง
กระทาโดยเฉพาะเจาะจงต่อสนามบินและผู้ดาเนินการเดินอากาศ

มาตรา ๕๐/๔๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๖๐/๑๗ เจ้าของหรือผู้ดาเนิ นการสนามบิ น


อนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตมีอานาจดาเนินการตรวจค้นผู้โดยสารและสัมภาระของผู้โดยสาร
ตามวิธีการที่เหมาะสมซึ่งจะต้องประกาศให้เป็นที่ทราบโดยทั่วไป
เจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบิน อนุญ าตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตมีอานาจห้าม
มิให้บคุ คลใดขึน้ ไปบนอากาศยานได้ หากปรากฏว่าบุคคลนั้นไม่ยินยอมให้มีการตรวจค้นตัวหรือสัมภาระ
ที่จะนาขึ้นไปบนอากาศยานเมื่อได้รับการร้องขอจากเจ้าหน้าที่ที่มีอานาจในการตรวจค้น

มาตรา ๕๐/๔๑ เพื่อประโยชน์ในการดาเนินการตามมาตรา ๕๐/๔๐ ให้ผู้อานวยการ


ออกข้อกาหนดในการตรวจค้นผู้โดยสารและสัมภาระที่จะนาขึ้นไปบนอากาศยานในเที่ยวบินพาณิชย์
ซึ่งอย่างน้อยจะต้องประกอบด้วย
(๑) กระบวนการในการตรวจจับอาวุธ วัตถุระเบิ ด หรือวั ต ถุใด ๆ ซึ่งอาจใช้ในการ
กระทาอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทั้งการตรวจค้นทางเทคนิคและทางกายภาพ
(๒) กระบวนการและเครื่องมืออุปกรณ์ในการตรวจค้นที่จัดจ้างหรือดาเนิน การโดย
ลูกจ้างหรือตัวแทนของเจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตก่อนที่จะมี
การนาขึ้นไปบนอากาศยาน
ข้อกาหนดที่ออกตามวรรคหนึ่ง ต้องกาหนดวิธีการและขอบเขตการตรวจค้นผู้โดยสาร
และสัมภาระของผู้โดยสารในรูปแบบเดียวกันไม่ว่าจะเป็นเที่ยวบินภายในประเทศและเที่ยวบินระหว่าง
ประเทศ
๘๖ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

๗๔หมวด ๕/๒
การอานวยความสะดวกในการบินพลเรือน
----------------

มาตรา ๕๐/๔๒ ให้ ส านักงานการบินพลเรือนแห่ งประเทศไทยจั ดทา พัฒ นาและ


ดาเนินการให้เป็นไปตามแผนอานวยความสะดวกในการบินพลเรือนแห่งชาติ เพือ่ เป็นกรอบและแนวทาง
ให้หน่วยงานทางศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง สาธารณสุข และหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุน
และอานวยความสะดวกตามหน้าที่และอานาจของตนในการบินพลเรือน รวมทั้ งให้ความช่วยเหลือและ
แก้ไขปัญหาตามความจาเป็น ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑) การอานวยความสะดวกในการเคลื่อนที่ของอากาศยาน สมาชิกลูกเรือ ผู้โดยสาร
สินค้า ไปรษณียภัณฑ์ และคลังสินค้า โดยการขจัดอุปสรรคและความล่าช้าที่ไม่จาเป็น
(๒) การเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการด้านการขนส่งทางอากาศของพลเรือน
พร้อมทัง้ สนับสนุนให้มีการพัฒนาแนวคิดในการแก้ปัญหาด้านการอานวยความสะดวกในการบินพลเรือน
(๓) การประสานผลประโยชน์ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอานวยความสะดวก
การสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยในระดับที่สูงขึ้น ตลอดจนสร้างความน่าเชื่อถือและมีศักยภาพของ
ภาคอุตสาหกรรมการบิน
แผนอานวยความสะดวกในการบิน พลเรือ นแห่ งชาติ ต้ องไม่ มีลั กษณะที่ กระทบต่ อ
ข้อกาหนดหรือมาตรการใดในเรื่องความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย

มาตรา ๕๐/๔๓ เพื่ อ ประโยชนในการด าเนิ น การให้ เ ป็ น ไปตามแผนอ านวย


ความสะดวกในการบินพลเรือนแห่งชาติ ให้คณะกรรมการการบินพลเรือนแต่งตั้งคณะกรรมการอานวย
ความสะดวกในการบินพลเรือนแห่งชาติขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยตัวแทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ
การอานวยความสะดวกในการเข้าออกประเทศ การท่องเที่ ยว การพาณิ ช ย์ การต่างประเทศ และ
ผู้ ป ระกอบการต่าง ๆ รวมถึงผู้ ให้ บ ริ การภาคพื้ นและหน่ วยงานอื่น ๆ ทั้งนี้ ผู้ อานวยการอาจเสนอ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการอานวยความสะดวกในการบินพลเรือน
แห่ ง ชาติ เพื่ อ ประโยชน์ แ ห่ ง การด าเนิ น งานให้ เกิ ด ความร่ ว มมื อ และให้ ค าแนะน าในการอ านวย
ความสะดวกในการบินพลเรือน รวมทั้งให้มหี น้าที่และอานาจดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดาเนิ นการให้เป็นไปตาม
แผนอ านวยความสะดวกในการบิ น พลเรือ นแห่ ง ชาติ และปรับ ปรุงประสิ ท ธิภ าพและยกระดั บ การ
ให้ บ ริ ก ารด้ า นการอ านวยความสะดวกในการบิ น พลเรื อ นโดยต้ อ งขจั ด อุ ป สรรคและความล่ า ช้ า
ทีไ่ ม่จาเป็น
(๒) พิจารณาปัญหาในเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับพิธีการเข้าออกที่นาไปใช้กับการขนส่ง
ทางอากาศระหว่างประเทศ
(๓) พิจารณาข้อเสนอแนะที่มาจากคณะกรรมการอานวยความสะดวกสนามบินรวมถึ ง
การส่งประเด็นต่าง ๆ ไปยังคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อทราบ

๗๔
หมวด ๕/๒ การอานวยความสะดวกในการบินพลเรือน (มาตรา ๕๐/๔๒ ถึงมาตรา ๕๐/๔๖) นี้เพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๘๗ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๔) ให้ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่มหี น้าทีแ่ ละอานาจที่เกี่ยวข้องรวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่


เกี่ยวข้องกับแผนอานวยความสะดวกในการบินพลเรือนแห่งชาติ
(๕) ส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารจั ด ท าวิ ธี ป ฏิ บั ติ ที่ เ ป็ น เลิ ศ ในด้ า นต่ า ง ๆ ของการอ านวย
ความสะดวกในการบินพลเรือน
(๖) แจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับการพัฒนาที่มีนัยสาคัญในด้านการบินพลเรือนระหว่าง
ประเทศที่อาจส่งผลกระทบต่อการดาเนิน การในการเข้าออกประเทศไทยให้หน่วยงานที่มี หน้าที่และ
อานาจ และหน่วยงานอื่นทีเ่ กี่ยวข้องได้ทราบ
(๗) หารื อ ร่ ว มกั น เกี่ ย วกั บ การแก้ ไขเปลี่ ย นแปลงกฎระเบี ย บเกี่ ย วกั บ การอ านวย
ความสะดวกในการบินพลเรือน
(๘) ประสานความร่ว มมือ กับ คณะกรรมการรักษาความปลอดภัย การบิ น พลเรือ น
แห่งชาติในส่วนที่เกีย่ วข้องกับการอานวยความสะดวกในการบินพลเรือน

มาตรา ๕๐/๔๔ ให้สานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ประสาน กากับ


และติ ด ตามให้ ก ารด าเนิ น การอ านวยความสะดวกในการบิ น พลเรือ นเป็ น ไปอย่ า งมี คุ ณ ภาพและ
ประสิทธิภาพ ในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) จั ด ให้ มี ก ารส ารวจการอ านวยความสะดวกในการบิ น พลเรื อ น เพื่ อ ระบุ
ความต้องการหรือความจาเป็นในการอานวยความสะดวก
(๒) จั ด ให้ มี ก ารตรวจสอบการอ านวยความสะดวกในการบิ น พลเรื อ น และ
การดาเนินงานด้านการอานวยความสะดวกในการบินพลเรือน อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(๓) จั ด ให้ มี การดาเนิ น การเพื่ อตรวจสอบประสิ ท ธิภ าพของเจ้ าหน้ า ที่ที่ รับ ผิ ด ชอบ
ในการปฏิบัติการในเรื่องพิธีการเข้าและออกของสนามบินสาธารณะในประเทศไทย

มาตรา ๕๐/๔๕ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ย วข้องกับการดาเนินการอานวยความสะดวก


ในการบิ นพลเรือน ต้องจัดให้ มีการอานวยความสะดวกที่เหมาะสม ณ สนามบิน ที่ให้บริการระหว่าง
ประเทศที่เกีย่ วข้องกับการศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง การสาธารณสุข และการอื่นที่เป็นการอานวย
ความสะดวกในการบินพลเรือน ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องและต้องสอดคล้องกับ
มาตรฐานที่กาหนดไว้ในภาคผนวก
การด าเนิ น การเกี่ ย วกั บ การศุ ล กากร การตรวจคนเข้ า เมื อ ง การสาธารณสุ ข
และการอื่นที่เป็นการอานวยความสะดวกในการบินพลเรือน เป็นหน้าทีแ่ ละอานาจของหน่วยงานของรัฐ
ที่ เกี่ ย วข้ อ ง โดยส านั ก งานการบิ น พลเรื อ นแห่ งประเทศไทยมีห น้ าที่ ให้ คาแนะน าเพื่ อประกอบการ
ดาเนิ น การของหน่ วยงานในเรื่อ งเกี่ย วกั บ เอกสารการเดิน ทาง การศุ ล กากร การตรวจคนเข้าเมื อ ง
การสาธารณสุข การกักกันพืชและสัตว์ การบังคับใช้กฎหมาย เป็นต้น เพื่อให้การดาเนินการเป็นไปตาม
มาตรฐานที่กาหนดไว้ในภาคผนวกที่เกี่ยวข้อง

มาตรา ๕๐/๔๖ ให้ ผู้ ดาเนิ น การสนามบิ น สาธารณะที่ ให้ บ ริการระหว่ างประเทศ
จัดให้มีคณะกรรมการอานวยความสะดวกสนามบินขึ้นคณะหนึ่ง มีหน้าที่และอานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิ บั ติก ารให้ เป็ น ไปตามแผนอานวยความสะดวกในการบิ น พลเรื อนแห่ งชาติ
ในระดับที่อยู่ในความรับผิดชอบของสนามบิน
๘๘ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๒) ศึกษาถึ งปั ญ หาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับพิธีการเข้ าและออกของอากาศยาน ผู้ โดยสาร


สัมภาระ สินค้า ไปรษณียภัณ ฑ์ และคลัง สินค้า ที่ได้รับผลกระทบ หากเป็นไปได้เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้ น
ภายในสนามบินระหว่างประเทศให้กาหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ทันที
(๓) เสนอปั ญ หาการด าเนิ น การที่ ค ณะกรรมการอ านวยความสะดวกสนามบิ น
ไม่สามารถแก้ไขได้ให้ คณะกรรมการอานวยความสะดวกในการบินพลเรือนแห่ งชาติ เพื่ อทราบและ
หาแนวทางการแก้ไขต่อไป
(๔) แจ้งข้อมูลต่อคณะกรรมการอานวยความสะดวกในการบินพลเรือนแห่งชาติสาหรับ
การดาเนินงานที่ได้กระทาไปแล้ว รวมถึงข้อเสนอแนะที่จัดทาขึ้น

หมวด ๖
สนามบินและเครื่องอานวยความสะดวกในการเดินอากาศ
----------------

มาตรา ๕๑ ห้ ามมิ ให้ บุ ค คลใดจั ด ตั้ งสนามบิ น หรื อเครื่อ งอ านวยความสะดวก


ในการเดินอากาศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่โดยอนุมัติรัฐมนตรี

มาตรา ๕๒ การขอและการออกใบอนุ ญ าตจั ดตั้ งสนามบิ น หรือ เครื่ อ งอ านวย


ความสะดวกในการเดินอากาศให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๕๓ ห้ามมิให้ บุ คคลใดจัดตั้งที่ขึ้นลงชั่ว คราวของอากาศยาน เว้นแต่จะ


ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
บุ คคลซึ่ งได้รับ อนุ ญ าตตามมาตรานี้ ต้องปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขซึ่งพนักงาน
เจ้าหน้าทีก่ าหนด
๗๕มาตรา ๕๓ ทวิ ยกเลิก

มาตรา ๕๔ เมื่ อ ปรากฏว่ า ผู้ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าตให้ จั ด ตั้ ง สนามบิ น เครื่ อ งอ านวย
ความสะดวกในการเดิ น อากาศหรื อที่ ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยานไม่ ปฏิ บัติ ตามกฎกระทรวงหรือ
ตามวิธีการ และเงื่อนไขซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่กาหนดไว้เพื่อการนั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจสั่ง
พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตนั้น

มาตรา ๕๕ ให้ รั ฐ มนตรี มี อ านาจประกาศก าหนดพื้ น ดิ น หรื อ น้ าแห่ ง ใดเป็ น


สนามบินอนุญาต หรือทีข่ ึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน

๗๕
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๘ และยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการ
เดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
๘๙ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

๗๖
มาตรา ๕๖ เจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตซึ่งให้บริการแก่สาธารณะ
จะเรียกเก็บเงินเพื่อการใช้สนามบิน อนุญ าตที่ ให้บริการแก่สาธารณะไม่ได้ เว้นแต่ค่าบริการ ค่าภาระ
หรือเงินตอบแทนอื่นใด ดังต่อไปนี้
(๑) ค่าบริการผู้โดยสารขาออกตามหมวด ๖ ทวิ
(๒) ค่าบริการในการขึน้ ลงของอากาศยาน
(๓) ค่าบริการที่เก็บอากาศยาน
(๔) ค่าบริการในลานจอดอากาศยาน
(๕) ค่าบริการ ค่าภาระ หรือเงินตอบแทนอื่นใดตามทีก่ าหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
ค่าบริการตาม (๒) และ (๓) ให้เรียกเก็บได้ไม่เกินอัตราที่กาหนดในข้อบังคับซึ่งต้องไม่
เกินอัตราทีก่ าหนดในกฎกระทรวง
ค่าบริการ ค่าภาระ หรือเงินตอบแทนอื่นใดตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามเงื่อนไข
และอัตราตามหลักเกณฑ์ที่ผู้อานวยการอนุมัติ ทั้งนี้ ในการอนุมัติของผู้อานวยการให้คานึงถึงความเป็น
ธรรมของผู้บริโภคและความสามารถในการแข่งขันของสนามบินนั้น
ความในมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่ที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตซึ่งให้บริการแก่สาธารณะด้วย
๗๗มาตรา ๕๗ ยกเลิก
มาตรา ๕๘ ให้ รั ฐมนตรีมี อ านาจประกาศในราชกิจจานุ เบกษาก าหนดเขตบริ เวณ
ใกล้ เคี ยงสนามบิ น หรื อสถานที่ ตั้ งเครื่ องอ านวยความสะดวกในการเดิ นอากาศเป็ นเขตปลอดภั ยใน
การเดินอากาศ

มาตรา ๕๙ ภายในเขตปลอดภั ย ในการเดิ น อากาศตามมาตรา ๕๘ ห้ ามมิ ให้


บุคคลใดก่อสร้างหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือปลูกต้นไม้ยืนต้น เว้นแต่จะ
ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ในการให้อนุญาตตามมาตรานี้ พนักงานเจ้าหน้าที่จะกาหนดเงื่อนไขอย่างใด ๆ ตามที่
เห็นสมควรก็ได้
๗๘มาตรา ๕๙/๑ ห้ ามมิให้ บุคคลใดจุด และปล่ อยหรือกระท าการใดเพื่ อให้ บั้ งไฟ พลุ
ตะไล โคมลอย โคมไฟ โคมควัน หรือ วัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกันขึ้นไปสู่อากาศ ซึ่งเป็ นการรบกวนหรือ
ก่ อ ให้ เกิ ด อั น ตรายต่ อ การเดิ น อากาศหรื อ ปฏิ บั ติ ก ารของอากาศยาน ภายในเขตปลอดภั ย ในการ
เดินอากาศตามมาตรา ๕๘

๗๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ และวรรคสามแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๗๗
ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๗๘
มาตรา ๕๙/๑ ถึงมาตรา ๕๙/๓ เพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๙๐ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๕๙/๒ ห้ามมิให้บุคคลใดดาเนินกิจกรรมดัง ต่อไปนี้ ตามลักษณะหรือระดับ


ของกิจ กรรมที่ผู้ อานวยการประกาศกาหนด ภายในเขตปลอดภัยในการเดิ น อากาศตามมาตรา ๕๘
เว้นแต่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงือ่ นไขที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด
(๑) ปล่อยแสงเลเซอร์หรือแสงไฟขึ้นไปสู่อากาศ
(๒) ปล่อยคลื่นเสียง คลื่นวิทยุ หรือคลื่นแฮรตเซียนซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
(๓) ใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปล่อยคลื่นไฟฟ้า
(๔) กิจ กรรมอื่ น ตามที่ ผู้ อานวยการประกาศกาหนด ซึ่ งจะต้องกาหนดเท่าที่จาเป็ น
และไม่กระทบต่อชีวิตประจาวันหรือสร้างภาระแก่ประชาชนเกินสมควร
ความในมาตรานี้ ไม่ ใช้ บั ง คั บ กั บ กิ จ กรรมดั งกล่ า วที่ เกี่ ย วกั บ การบิ น พลเรื อ นของ
เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ

มาตรา ๕๙/๓ เพื่อประโยชน์ในด้านความปลอดภัยของการบินพลเรือน ในกรณีที่จะ


ดาเนินกิจกรรมตามมาตรา ๕๙/๑ หรือมาตรา ๕๙/๒ นอกเขตปลอดภัยในการเดินอากาศตามมาตรา ๕๘
ให้ผู้อานวยการมีอานาจประกาศกาหนดหลักเกณฑ์เพื่อเป็นข้อห้ามหรือข้อปฏิบัติในการกระทากิจกรรม
อย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าว โดยประกาศนั้น อาจกาหนดลักษณะของกิจกรรม เขตพื้นที่ที่ควบคุม ระยะเวลา
และวิธีการหรือเงื่อนไขในการดาเนินกิจกรรมนั้ น ได้ตามความเหมาะสมและเท่าที่จาเป็น ทั้งนี้ โดย
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อผู้ อานวยการได้ ประกาศหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่งในกิจกรรมใด หากกาหนดให้
กิ จ กรรมนั้ น จะกระท าได้ ต้ อ งได้ รั บ อนุ ญ าตให้ ด าเนิ น การแล้ ว นอกจากต้ อ งได้ รั บ อนุ ญ าต อนุ มั ติ
หรื อ กระทาการใด ๆ เพื่อ ให้ส ามารถดาเนิน กิจ กรรมเหล่า นั้น จากเจ้า พนัก งานหรือ เจ้ าหน้า ที่ ตาม
กฎหมายที่เกี่ย วข้ องแล้ ว ต้องได้รั บ อนุ ญ าตจากพนั กงานเจ้าหน้ าที่ต ามประกาศดังกล่ าว ซึ่งในการ
อนุญาตนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่จะกาหนดเงื่อนไขตามทีเ่ ห็นสมควรก็ได้
ในกรณีที่มีการประกาศตามมาตรานี้แล้ว ให้สานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจัด
ให้ มีการเผยแพร่ ข้อมูลเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ข้อห้ ามหรือข้อปฏิบัติ ในการดาเนินกิจกรรมตามที่กาหนด
รวมทั้งให้มีการแสดงแนวบริเวณเขตพื้นที่ที่ควบคุมการดาเนินกิจกรรมดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนทราบ
เป็นการทั่วไป โดยปิดประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอาเภอ ที่ทาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานที่
อื่นใดซึง่ อยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมตามประกาศนี้ด้วย

มาตรา ๖๐ ถ้าปรากฏว่ามีการฝ่าฝืนต่อมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืน เงื่อนไข


ตามมาตรา ๕๙ วรรคสอง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มอี านาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ฝ่าฝืนจัดการ รื้อถอนอาคาร
หรือสิ่งปลูกสร้าง หรือตัด หรือย้ายต้นไม้นนั้ ภายในเวลาที่กาหนด
ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนคาสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามวรรคก่อน ให้พนั กงานเจ้าหน้าที่
มีอานาจจัดการรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือตัด หรือย้ายต้นไม้นั้นเสียเอง ค่าใช้จ่ายในการนี้ให้
ผู้ฝ่าฝืนเป็นผู้ชดใช้
๗๙ในกรณี ที่ มี ก ารฝ่ า ฝื น มาตรา ๕๙/๑ มาตรา ๕๙/๒ หรื อ มาตรา ๕๙/๓ ให้ พ นั ก งาน

เจ้าหน้าที่มีอานาจสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติให้ถูกต้อง หากผู้ฝ่าฝืนนั้นมิได้ปฏิบัติตาม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มี

๗๙
เพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๙๑ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

อานาจใช้มาตรการเท่าที่จาเป็น เพื่อระงับเหตุแห่งการฝ่าฝืนดังกล่าวได้ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้


เจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการดาเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นโดยเร็ว
๘๐
มาตรา ๖๐/๑ ภายใต้บังคับมาตรา ๖๐/๓๔๘๑ สนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราว
อนุญาตจะเปิ ดให้บริการแก่สาธารณะได้ต่อเมื่อได้รับใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะจาก
ผู้อานวยการ
ใบรั บ รองการด าเนิ น งานสนามบิ น สาธารณะให้ เป็ น ไปตามประเภทของสนามบิ น
อนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตตามที่ กาหนดในกฎกระทรวง โดยคานึงถึงสภาพที่ตั้ง ขนาดของ
อากาศยานที่ใช้ขนึ้ ลง จานวนผู้โดยสารที่ใช้บริการ และประเภทการบิน

มาตรา ๖๐/๒ เจ้ าของหรือ ผู้ ด าเนิ น การสนามบิ น อนุ ญ าตหรือ ที่ ขึ้ น ลงชั่ ว คราว
อนุ ญ าตที่ป ระสงค์ จ ะเปิ ดให้ บ ริ การแก่ ส าธารณะ ให้ ยื่น คาขอรับ ใบรับ รองการดาเนิน งานสนามบิ น
สาธารณะต่อผู้อานวยการ พร้อมทั้งคู่มือการดาเนินงานสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้น
และเอกสารหลักฐานอื่น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการทีก่ าหนดในข้อกาหนด

มาตรา ๖๐/๓ ภายใต้ บั ง คั บ มาตรา ๖๐/๓๔ และมาตรา ๖๐/๓๕ ๘๒ ผู้ ข อรั บ


ใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะ ต้องเป็นนิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดในกฎกระทรวง
และให้นาความในมาตรา ๔๑/๒๒ (๒) (๓) และ (๔) มาใช้บังคับกับคุณสมบัติและลักษณะของผู้ขอโดย
อนุโลม
ใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะประเภทที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน
ผู้อานวยการอาจกาหนดให้ใช้คุณสมบัติและลักษณะอื่นที่แตกต่างจากทีก่ าหนดในวรรคหนึ่ง ก็ได้
๘๓
ความในวรรคหนึ่ งและวรรคสองไม่ใช้บั งคับกับส่ วนราชการหรือหน่ วยงานของรัฐ ที่
ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตทีเ่ ปิดให้บริการแก่สาธารณะ

มาตรา ๖๐/๔ ให้ น าความในมาตรา ๔๑/๒๓ (๑) และ (๒) มาตรา ๔๑/๒๔
มาตรา ๔๑/๒๕ และมาตรา ๔๑/๒๖ มาใช้บังคับกับทุน อานาจการบริหารกิจการ และลักษณะต้องห้าม
ของกรรมการ ผู้ จั ดการหรื อบุ ค คลผู้ มี อ านาจจัด การของผู้ ขอรับ ใบรั บ รองการด าเนิ น งานสนามบิ น
สาธารณะโดยอนุโลม

๘๐
เพิ่มความในมาตรา ๖๐/๑ ถึงมาตรา ๖๐/๓๕ โดยพระราชบัญ ญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ.
๒๕๕๑ และแก้ไขเกี่ยวกับองค์กรผู้ใช้อานาจ (“อธิบดี” เป็น “ผู้อานวยการ”) และรูปแบบกฎหมายลาดับรอง (“ข้อบังคับ
ของคณะกรรมการการบินพลเรือน” เป็น “ข้อบังคับ” และ “กฎกระทรวง” เป็น “ข้อกาหนด”) โดย พระราชกาหนด
แก้ไขพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๘๑
มาตรา ๖๐/๓๔ และมาตรา ๖๐/๓๕ ถูก ยกเลิ ก โดยมาตรา ๒๙ แห่ งพระราชก าหนดแก้ ไขเพิ่ ม เติ ม
พระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๘๒
มาตรา ๖๐/๓๔ และมาตรา ๖๐/๓๕ ถูก ยกเลิก โดยมาตรา ๒๙ แห่ งพระราชก าหนดแก้ ไขเพิ่ ม เติ ม
พระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๘๓
เพิ่มเติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิม่ เติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๙๒ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๖๐/๕ เพื่อประโยชน์ในการให้บริการสาธารณะ เมื่อผู้ขอใบรับรองการ


ดาเนินงานสนามบินสาธารณะได้ยื่นคาขอตามมาตรา ๖๐/๒ แล้ว ถ้าผู้อานวยการเห็นว่ามีเหตุอันสมควร
ที่จะให้ดาเนินงานสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตที่ขอใบรับรองเป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน
ให้ผู้อานวยการมีอานาจออกใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะชั่วคราวได้ โดยจะกาหนด
เงือ่ นไขหรือข้อจากัดไว้ด้วยก็ได้
ใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะชั่วคราว ให้ใช้ได้จนกว่าจะออกใบรับรอง
การดาเนินงานสนามบินสาธารณะ หรือจนถึงวันที่ผู้อานวยการกาหนดไว้ในใบรับรองการดาเนินงาน
สนามบินสาธารณะชั่วคราวนั้น แต่ต้องไม่เกินหกเดือนนับจากวันที่ออกใบรับรอง
ใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะชั่วคราวตามมาตรานี้ ให้เสียค่าธรรมเนียม
เป็นรายเดือนตามอัตราที่กาหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๖๐/๖ ผู้อานวยการจะออกใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะ


ให้แก่ผู้ขอได้ เมื่อปรากฏว่า
(๑) ผู้ขอมีคุณสมบัติและลักษณะตามมาตรา ๖๐/๓ และมาตรา ๖๐/๔
(๒) ลักษณะทางกายภาพของสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตและของสิ่ง
กีดขวางโดยรอบ ตลอดจนสิ่งอานวยความสะดวก สิ่งติดตั้ง อุปกรณ์ และบริการทั้งในเวลาปกติและเมื่อ
มีเหตุฉุกเฉิน เป็นไปตามมาตรฐานที่กาหนดในข้อกาหนด
(๓) ผู้ที่จะเป็นผู้จัดการสนามบินสาธารณะมีใบรับรองตามมาตรา ๖๐/๑๒
(๔) มีระเบียบเกี่ยวกับกระบวนการการดาเนิ นงาน ระบบการจัดการด้านนิรภัยและ
การรักษาความปลอดภั ย ระบบการตรวจสอบภายใน และคู่มือการดาเนินงานสนามบินอนุญาตหรือ
ที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้น เป็นไปตามมาตรา ๖๐/๑๕
(๕) มีบุ คลากรที่ มีความสามารถและมีจานวนเพียงพอในการดาเนิ นงานสนามบิ น
อนุญาตหรือทีข่ ึ้นลงชั่วคราวอนุญาต
ในการออกใบรับ รองการดาเนินงานสนามบิ นสาธารณะ ผู้ อานวยการอาจกาหนด
เงื่อนไขหรือข้อจากัดเกี่ยวกับการดาเนินงานได้ตามที่เห็นสมควร และเพื่อประโยชน์ในการบังคับการให้
เป็ น ไปตามบทบั ญ ญั ติ แห่ งพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ให้ ผู้ อ านวยการแยกประเภทเงื่อ นไขหรื อข้ อ จากั ด ใน
ใบรับรองว่าเงื่อนไขหรือข้อจากัดใดเป็นเงื่อนไขหรือข้อจากัดที่เป็นสาระสาคัญ
ใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะให้เป็นไปตามแบบที่ผู้อานวยการประกาศ
กาหนด

มาตรา ๖๐/๗ ใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะให้มีอายุคราวละสิบปี


แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอายุใบอนุญาตจัดตั้งสนามบิน

มาตรา ๖๐/๘ การขอต่ อ อายุ ใ บรั บ รองการด าเนิ น งานสนามบิ น สาธารณะ


ให้ ผู้ ได้ รับ ใบรับ รองการด าเนิ น งานสนามบิ น สาธารณะยื่น คาขอต่ อผู้ อานวยการก่ อ นวัน ที่ ใบรับ รอง
ดังกล่าวสิ้นอายุไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน ทัง้ นี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด
เมือ่ ผู้อานวยการได้ตรวจสอบคุณสมบัติและขีดความสามารถของผู้ขอแล้ว หากปรากฏ
ว่าผู้ ขอคงมีคุณ สมบั ติและขีดความสามารถในการดาเนินงานสนามบินอนุญ าตหรื อที่ขึ้นลงชั่ วคราว
๙๓ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

อนุ ญ าตได้ ต ามใบรั บ รอง ให้ ผู้ อ านวยการต่ อ อายุ ใบรั บรอง ทั้ งนี้ ตามระยะเวลาที่ ก าหนดไว้ ใน
มาตรา ๖๐/๗
เมื่อได้ยื่นคาขอต่ออายุใบรับรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ได้รับใบรับรองการดาเนินงาน
สนามบิ น สาธารณะด าเนิ น งานสนามบิ น อนุ ญ าตหรื อ ที่ ขึ้ น ลงชั่ ว คราวอนุ ญ าตนั้ น ต่ อ ไปได้ จ นกว่ า
ผู้อานวยการจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบรับรอง

มาตรา ๖๐/๙ เมื่อมีเหตุตามมาตรา ๖๐/๓๒ (๑) (๒) หรือ (๓) ให้ ผู้อานวยการ
มีอานาจแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขหรือข้อจากัดที่กาหนดไว้ในใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะได้
ตามที่เห็นสมควร

มาตรา ๖๐/๑๐ หากผู้ได้รับใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะประสงค์จะ


ขอเปลี่ ย นแปลงการดาเนิ น งานให้ แตกต่างไปจากที่ก าหนดไว้ในใบรับรองการดาเนิ นงานสนามบิ น
สาธารณะให้ยื่นคาขอต่อผู้อานวยการล่วงหน้าอย่างน้อยหกสิบวัน พร้อมทั้งยื่ นเอกสารหลักฐานตาม
หลักเกณฑ์ และวิธีการทีก่ าหนดในข้อกาหนด

มาตรา ๖๐/๑๑ ผู้ได้รับใบรับรองการดาเนิ นงานสนามบินสาธารณะต้อ งจัดให้ มี


ผู้จัดการสนามบินสาธารณะคนหนึ่ง เป็นผู้มีหน้าที่ รับผิดชอบในการดาเนินงานสนามบินอนุญาตหรือ
ที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตที่ได้รับใบรับรอง

มาตรา ๖๐/๑๒ ผู้ทจี่ ะเป็นผู้จัดการสนามบินสาธารณะตามมาตรา ๖๐/๑๑ จะต้อง


เป็นผู้ทไี่ ด้รับใบรับรองผู้จัดการสนามบินสาธารณะจากผู้อานวยการ
การขอ การออก และการเพิกถอนใบรับรองผู้จัดการสนามบินสาธารณะ ให้เป็นไปตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด

มาตรา ๖๐/๑๓ ผู้จัดการสนามบินสาธารณะตามมาตรา ๖๐/๑๑ ต้องมีคุณสมบัติ


ดังต่อไปนี้
(๑) มีอายุไม่ต่ากว่า ๓๕ ปีบริบูรณ์
(๒) มีความรู้และความชานาญตามที่กาหนดในข้อกาหนด
(๓) มีคุณสมบัติอื่นตามทีก่ าหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๖๐/๑๔ ให้ ผู้ จัดการสนามบินสาธารณะมี หน้าที่รับผิ ดชอบในการดาเนิ นงาน


สนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตซึ่ งให้บริการสาธารณะเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบรับรองการ
ดาเนินงานสนามบินสาธารณะ ตามที่กาหนดไว้ในมาตรา ๖๐/๑๕ (๑) (๓) (๔) และ (๕) มาตรา ๖๐/๑๖
และมาตรา ๖๐/๑๗
๙๔ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๖๐/๑๕ ผู้ ได้ รับ ใบรั บ รองการด าเนิ น งานสนามบิ น สาธารณะมี ห น้ า ที่
ดังต่อไปนี้
(๑) ให้บริการแก่ ผู้ใช้บริการอย่างเสมอภาค และจัดเก็บค่าบริการ ค่าภาระหรือเงิน
ตอบแทนอืน่ ใดให้เป็นไปตามมาตรา ๕๖ และมาตรา ๖๐/๓๗
(๒) ควบคุมการดาเนินการของผู้จัดการสนามบินสาธารณะ
(๓) ดาเนินงานสนามบินอนุญาตหรือที่ขนึ้ ลงชั่วคราวอนุญาตนั้น โดย
(ก) จัดให้มี ปรับปรุง และปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับกระบวนการการดาเนินงาน
ระบบการจัดการด้านนิรภัย การรักษาความปลอดภั ย และระบบการตรวจสอบภายในของสนามบิน
อนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้น
(ข) จัดให้มีบุคลากรอย่างเพียงพอ และมีระบบควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของ
บุคลากรดังกล่าวอยู่เสมอ
(ค) จัดให้ มีคู่มือการดาเนิ นงานสนามบินอนุญ าตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญ าต
สาหรับบุคลากรอย่างครบถ้วน และปรับปรุงหรือแก้ไขคู่มือการดาเนินงานดังกล่าวให้ทันสมัยอยู่เสมอ
(ง) รักษาสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต สิ่งอานวยความสะดวก
รวมทั้งสิ่งติดตั้งและอุปกรณ์ในสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้น ให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ที่กาหนดในข้อกาหนด
(จ) ควบคุมดูแลการบริการภายในสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต
ตามที่ได้รับใบรับรองนั้น ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กาหนดในข้อกาหนด
(ฉ) จัดทารายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามระเบียบทีผ่ ู้อานวยการกาหนด
(๔) ให้ ความร่วมมือแก่ ผู้ อานวยการหรือพนักงานเจ้าหน้ าที่ในการดาเนินการตาม
มาตรา ๖๐/๑๙ มาตรา ๖๐/๒๐ และมาตรา ๖๐/๒๒
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามทีก่ าหนดในข้อกาหนด
การดาเนินงานสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตตาม (๓) ให้เป็นไปตาม
ประเภทใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะที่ได้รับ
ระเบี ย บเกี่ ย วกั บ กระบวนการการด าเนิ น งาน ระบบการตรวจสอบภายใน ระบบ
ควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร และคูม่ ือการดาเนินงานตาม (๓) ให้เป็นไปตามมาตรฐานและ
มีข้อมูลที่ครบถ้วนตามระเบียบที่ผู้อานวยการกาหนด

มาตรา ๖๐/๑๖ ผู้ ไ ด้ รั บ ใบรั บ รองการด าเนิ น งานสนามบิ น สาธารณะ ต้ อ ง


ควบคุมดูแลมิ ให้ มีการใช้ ห รือยิน ยอมให้ผู้ อื่นใช้สนามบินอนุ ญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุ ญาตที่ได้รับ
ใบรับรองนั้นผิดเงื่อนไขหรือข้อจากัดที่กาหนดไว้ในใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะ

มาตรา ๖๐/๑๗ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยในการดาเนิน งานตาม


ใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะ ผู้ได้รับใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะมีอานาจ
หน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจค้นผู้โดยสาร ผู้ประจาหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานที่จะขึ้นอากาศยาน รวมถึงสิ่งใด ๆ
ที่บุคคลดังกล่าวจะนาขึ้นอากาศยาน
(๒) ตรวจค้นสัมภาระหรือสิ่งของทีจ่ ะบรรทุกไปกับอากาศยาน
๙๕ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๓) ตรวจค้นบุคคล ยานพาหนะ รวมทั้งสิ่งของทีจ่ ะเข้าไปในเขตหวงห้ามของสนามบิน


การตรวจค้นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนด
ในการดาเนินการตามมาตรานี้ ให้ผู้ได้รับใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะ
ประกาศเขตหวงห้าม และแต่งตั้งพนักงานเพื่อปฏิบัติการ โดยการแต่งตั้งพนักงานดังกล่าวจะต้องแจ้งให้
ผู้อานวยการทราบล่วงหน้า เว้นแต่ในกรณีจาเป็นเร่งด่วน ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ผู้อานวยการกาหนด
ให้ผู้อานวยการมีอานาจกาหนดคุณสมบัติของพนักงานเพื่อดาเนินการตามมาตรานี้
และผู้ได้รับใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะจะต้องจัดทาบันทึกประวัตแิ ละผลการปฏิบัติงาน
ตามระเบียบที่ผู้อานวยการกาหนด
ในการปฏิ บั ติ ห น้ าที่ ข องพนั ก งานตามมาตรานี้ ให้ ถื อ ว่าผู้ นั้ น เป็ น เจ้ าพนั ก งานตาม
ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา ๖๐/๑๘ ในกรณี ที่ มี ความจาเป็น ผู้ ได้ รับ ใบรับรองการดาเนิ นงานสนามบิ น
สาธารณะอาจขอให้ ผู้ อ านวยการก าหนดให้ ผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศหรือ ตั ว แทนของผู้ ด าเนิ น การ
เดินอากาศเป็ นผู้ มีอานาจหน้ าที่ ตรวจค้นสั มภาระหรือสินค้ าที่จ ะบรรทุกไปกับอากาศยาน ที่ขึ้นจาก
สนามบิ น อนุ ญ าตหรื อ ที่ ขึ้ น ลงชั่ ว คราวอนุ ญ าตที่ ใ ห้ บ ริ ก ารแก่ ส าธารณะแทน และให้ น าความใน
มาตรา ๖๐/๑๗ วรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่และวรรคห้า มาใช้บังคับ
๘๔มาตรา ๖๐/๑๙ ในกรณี ที่ มีค วามจ าเป็ น เพื่ อ ประโยชน์ ในการรักษาความสงบ
เรียบร้อย ให้รัฐมนตรีหรือผู้อานวยการมีอานาจสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าดาเนินการเกี่ยวกับการตรวจ
ค้นตามมาตรา ๖๐/๑๗ และมาตรา ๖๐/๑๘ ได้

มาตรา ๖๐/๒๐ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการดาเนินงานสนามบินอนุญาตหรือ


ที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตที่ได้รับใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะ ให้ผู้อานวยการหรือพนักงาน
เจ้าหน้าที่มีอานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เข้ า ไปในสนามบิ น อนุ ญ าตหรื อ ที่ ขึ้ น ลงชั่ ว คราวอนุ ญ าตที่ ไ ด้ รั บ ใบรั บ รอง
การดาเนินงานสนามบินสาธารณะตามหมวดนี้ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่าง
เวลาทาการของสถานที่ดังกล่าว เพือ่ ตรวจสอบการดาเนินงานและเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(๒) ยึดเอกสารหรือหลักฐานที่เกีย่ วข้องกับการดาเนินงานเพื่อการตรวจสอบ
(๓) มี ห นั ง สื อ เรี ย กบุ คคลใดมาให้ ถ้ อ ยค าหรื อ ให้ ส่ ง เอกสารหรื อ วั ต ถุ ใ ดมา
เพือ่ ประกอบการพิจารณา
(๔) สั่งระงับการดาเนินงานสนามบินสาธารณะในส่วนที่ ไม่เป็นไปตามกระบวนการ
ดาเนินงาน ระบบการจัดการด้านนิรภัย การรักษาความปลอดภัย ระบบการตรวจสอบภายใน คู่มือการ
ดาเนิ น งานสนามบิ น หรือเงื่อนไข หรือข้อจากัดที่ผู้อานวยการกาหนดตามมาตรา ๖๐/๖ หรือที่อาจ
ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ

๘๔
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๔๙๘
๙๖ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๖๐/๒๑ ผู้ได้รับใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะจะโอนสิทธิ


ตามใบรับรองให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อานวยการ
การยื่นคาขอโอนสิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่
กาหนดในข้อกาหนด

มาตรา ๖๐/๒๒ เพื่อประโยชน์ในการป้ องกันหรือรักษาความปลอดภัยสาธารณะ


ให้ผู้อานวยการมีอานาจสั่งระงับการดาเนินงานของสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตที่ได้รับ
ใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือสั่งให้เจ้าหน้าที่เข้าดาเนินงาน
แทนจนกว่าเหตุดังกล่าวจะหมดไป

มาตรา ๖๐/๒๓ เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบ


ของคณะรัฐมนตรีมีอานาจสั่งควบคุมการดาเนินงานสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตที่ได้รับ
ใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะเป็นการชั่วคราวได้
ในการสั่งควบคุมการดาเนินงานสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตตามมาตรานี้
ให้ รัฐ มนตรีแต่งตั้ งคณะกรรมการควบคุมสนามบินขึ้ นคณะหนึ่ง ประกอบด้ว ยประธานกรรมการซึ่ง
รัฐมนตรีแต่งตั้งตามคาแนะนาของคณะกรรมการการบินพลเรือน และกรรมการอีกไม่เกินหกคน โดยให้
มีผู้แทนจากกระทรวงคมนาคมอย่างน้อยหนึ่งคนและบุคคลที่คณะกรรมการการบินพลเรือนเสนอแต่งตั้งหนึ่ง
คน และผู้ทรงคุณวุฒิอื่น

มาตรา ๖๐/๒๔ ให้ผู้อานวยการแจ้งคาสั่งควบคุมการดาเนินงานสนามบินอนุญาต


หรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตตามมาตรา ๖๐/๒๓ เป็นหนังสือให้ผู้ได้รับใบรับรองการดาเนินงานสนามบิน
สาธารณะทราบ และให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้น
หรือที่อื่นตามที่ผู้อานวยการเห็นสมควร พร้อมทั้งให้ประกาศในหนังสื อพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่าง
น้อยสองฉบับสามวันติดต่อกัน

มาตรา ๖๐/๒๕ เมื่อมีคาสั่งควบคุมการดาเนินงานสนามบินอนุญาตหรือที่ ขึ้นลง


ชั่ ว คราวอนุ ญ าตตามมาตรา ๖๐/๒๓ ให้ ค ณะกรรมการควบคุ ม สนามบิ น มี อ านาจหน้ า ที่ จั ด การ
ดาเนินงานสนามบินอนุญาตหรือทีข่ ึ้นลงชั่วคราวอนุญาตดังกล่าว
ให้ประธานกรรมการควบคุม สนามบิน เป็นผู้แทนของนิติบุคคลที่ได้รับใบรับรองการ
ดาเนินงานสนามบินสาธารณะ
ในการปฏิบั ติ ห น้าที่ ให้คณะกรรมการควบคุมสนามบินมีอานาจหน้าที่เช่น เดียวกับ
อานาจหน้ าที่ ของพนั กงานเจ้าหน้ าที่ตามมาตรา ๖๐/๒๐ และให้มีอานาจแต่งตั้ง และกาหนดอานาจ
หน้าที่ของพนักงานควบคุมสนามบินคนหนึ่งหรือหลายคนให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดได้
๙๗ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๖๐/๒๖ เมื่อมีคาสั่ งควบคุมการดาเนินงานสนามบิ นอนุญาตหรือที่ขึ้ นลง


ชั่วคราวอนุญาตตามมาตรา ๖๐/๒๓
(๑) ห้ามมิให้คณะกรรมการ กรรมการ และพนักงานของนิติบุคคลที่ได้รับ ใบรับรอง
การดาเนินงานสนามบินสาธารณะ กระทากิจการใด ๆ ของสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต
ทีร่ ัฐมนตรีสั่งควบคุมตามมาตรา ๖๐/๒๓ อีกต่อไป เว้นแต่จะได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการควบคุม
สนามบิน
(๒) ให้กรรมการและพนั กงานของสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้น
จัดการตามสมควรเพื่อรักษาทรัพย์และประโยชน์ของสนามบินอนุญาตหรื อที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้น
และต้องรีบรายงานให้คณะกรรมการควบคุมสนามบินทราบ และส่งมอบทรัพย์สินพร้อมด้วยสมุดบัญชี
เอกสาร และสิ่ งอื่น อัน เกี่ย วกับ กิจ การ สิน ทรัพ ย์และหนี้สิ น ให้ คณะกรรมการควบคุม สนามบินโดย
ไม่ชักช้า

มาตรา ๖๐/๒๗ เมื่อมีคาสั่งควบคุมการดาเนินงานสนามบินอนุญ าตหรือที่ขึ้นลง


ชั่วคราวอนุญาตตามมาตรา ๖๐/๒๓ ให้ผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือเอกสารทีเ่ กี่ยวข้องสนามบินอนุญาต
หรือทีข่ ึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้น แจ้งการครอบครองให้คณะกรรมการควบคุมสนามบินทราบโดยไม่ชักช้า

มาตรา ๖๐/๒๘ ในการเข้าควบคุมสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต


ตามมาตรา ๖๐/๒๓ ให้เรียกเก็บค่าดาเนินกิจการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้น เป็น
รายได้ของแผ่นดิน
ค่าดาเนินกิจการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เก็บใน
อัตราร้อยละห้าของรายได้ของสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่ วคราวอนุญาต ในระหว่างที่เข้าควบคุม
สนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวนั้น
หากในรอบปีบัญชีใด การดาเนินกิจการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต
นั้น ไม่มีกาไรหรือมีกาไรไม่ครบค่าดาเนินกิจการสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวตามอัตราที่กาหนดไว้ใน
วรรคสอง ให้ได้รับการยกเว้นหรือเรียกเก็บค่าดาเนินกิจการได้เท่าที่มีกาไร แล้วแต่กรณี

มาตรา ๖๐/๒๙ กรรมการควบคุ ม สนามบิ น และพนั ก งานควบคุ ม สนามบิ น ที่


คณะกรรมการควบคุมสนามบินแต่งตั้ง อาจได้รับค่าตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกาหนด
ค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนในการควบคุมสนามบิน ให้จ่ายจากสินทรัพย์ของนิติบุคคลที่
ได้รับใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะ

มาตรา ๖๐/๓๐ เมื่อคณะกรรมการควบคุมสนามบินเห็นว่าเหตุแ ห่งการควบคุม


สนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตหมดสิ้นไป ให้รายงานรัฐมนตรีเพื่อสั่งเลิกการควบคุม และ
ให้นามาตรา ๖๐/๒๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อรัฐมนตรีสั่งเลิ กการควบคุม ให้ คณะกรรมการควบคุมสนามบินส่งมอบสนามบิ น
อนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตนั้นแก่ผู้ได้รับใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะดังกล่าว
ตามระเบียบที่ผู้อานวยการกาหนด
๙๘ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๖๐/๓๑ ผู้ อ านวยการมี อ านาจพั ก ใช้ ใบรั บ รองการด าเนิ น งานสนามบิ น
สาธารณะได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ ได้ รั บ ใบรั บ รองการด าเนิ น งานสนามบิ น สาธารณะหรื อ ผู้ จั ด การสนามบิ น
สาธารณะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่กาหนดไว้ในมาตรา ๖๐/๑๔ มาตรา ๖๐/๑๕ มาตรา ๖๐/๑๖
หรือมาตรา ๖๐/๑๗ และผู้อานวยการได้สั่งให้แก้ไขปรับปรุงแล้ว ไม่อาจแก้ไขปรับปรุงการดาเนินงานให้
เกิดความปลอดภัยได้ภายในระยะเวลาตามคาสั่งของผู้อานวยการ ให้ผู้อานวยการกาหนดระยะเวลาสั่ง
พักใช้ตามทีเ่ ห็นสมควร แต่ไม่เกินครั้งละหกเดือน
(๒) ผู้ ได้ รั บ ใบรั บ รองการด าเนิ น งานสนามบิ น สาธารณะหรื อ ผู้ จั ด การสนามบิ น
สาธารณะไม่ยินยอมให้ผู้ อานวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดาเนินการตามอานาจหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติ
ตามคาสั่งของผู้อานวยการหรือของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๖๐/๒๐

มาตรา ๖๐/๓๒ ผู้อานวยการมีอานาจเพิกถอนใบรับรองการดาเนินงานสนามบิน


สาธารณะได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อมีความจาเป็นเพื่อความมั่นคงของชาติ
(๒) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสภาพทางกายภาพของสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้น
ลงชั่วคราวอนุญาตหรือของบริเวณใกล้เคียงสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตในสาระสาคัญ
แตกต่างไปจากในขณะที่ออกใบรับ รองการดาเนิน งานสนามบินสาธารณะจนเป็นเหตุให้เกิดความไม่
ปลอดภัยในการใช้สนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวนั้น
(๓) เมื่ อมีการเปลี่ ย นแปลงในมาตรฐานเกี่ย วกับ ความปลอดภัยในการดาเนิ น งาน
สนามบิ น อนุ ญ าตหรือที่ ขึ้น ลงชั่ วคราวอนุญ าต อันมี ผ ลกระทบต่ อความปลอดภั ยในการดาเนิ นงาน
สนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตในลักษณะที่ไม่อาจแก้ไขได้
(๔) ผู้ ได้ รับ ใบรั บ รองการดาเนิ นงานสนามบิ น สาธารณะได้ รับ ใบรับ รองโดยแสดง
ข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จหรือไม่ครบถ้วน โดยมีเจตนาเพื่อให้ได้รับใบรับรองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
(๕) ผู้ได้รับใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะขาดคุณสมบัติหรือลักษณะ
ตามมาตรา ๖๐/๓ หรือมาตรา ๖๐/๔ และไม่แก้ไขภายในกาหนดระยะเวลาตามคาสั่งของผู้อานวยการ
(๖) ผู้ ได้ รั บ ใบรั บ รองการด าเนิ น งานสนามบิ น สาธารณะหรื อ ผู้ จั ด การสนามบิ น
สาธารณะฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๐/๑๔ มาตรา ๖๐/๑๕ มาตรา ๖๐/๑๖ และมาตรา ๖๐/๑๗ ที่
ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการอย่างร้ายแรง
(๗) มีการสั่งพักใช้ใบรับ รองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะตั้งแต่สองครั้งขึ้ นไป
ภายในช่วงเวลาสองปี
เมื่อผู้อานวยการสั่งเพิกถอนใบรับรองการดาเนินงานสนามบิน สาธารณะ ให้ผู้ได้รับ
ใบรั บ รองการด าเนิ น งานสนามบิ น สาธารณะส่ งคืน ใบรับ รองการด าเนิน งานสนามบิน สาธารณะต่ อ
ผู้อานวยการภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ทราบคาสั่งเพิกถอนใบรับรอง
๙๙ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

๘๕มาตรา ๖๐/๓๓ เพื่ อ ประโยชน์ แห่ งความต่ อเนื่ อ งของการให้ บริก ารสาธารณะ
ในกรณีที่มีการสั่งพั กใช้หรือเพิกถอนใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะตามมาตรา ๖๐/๓๑
หรือมาตรา ๖๐/๓๒ รัฐมนตรีหรือผู้ อานวยการอาจสั่งให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ เข้าดาเนินงานสนามบิ น
อนุ ญ าตหรือ ที่ ขึ้น ลงชั่ว คราวอนุ ญ าตต่อ ไปเป็ นการชั่ว คราวเพื่อ บรรเทาความเดือดร้อนที่จะเกิดแก่
สาธารณะได้ ทั้งนี้ ให้นามาตรา ๖๐/๒๓ มาตรา ๖๐/๒๔ มาตรา ๖๐/๒๕ มาตรา ๖๐/๒๖ มาตรา ๖๐/๒๗
มาตรา ๖๐/๒๘ มาตรา ๖๐/๒๙ และมาตรา ๖๐/๓๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

๘๖มาตรา ๖๐/๓๔ ยกเลิก

มาตรา ๖๐/๓๕ ยกเลิก

๘๗หมวด ๖ ทวิ
ค่าบริการผู้โดยสารขาออก
-------------

มาตรา ๖๐ ทวิ ยกเลิก

มาตรา ๖๐ ตรี ยกเลิก

มาตรา ๖๐/๓๖ ในหมวดนี้


“ปี บั ญ ชี ” หมายความว่ า ปี บั ญ ชี ที่ เ จ้ า ของหรื อ ผู้ ด าเนิ น การสนามบิ น อนุ ญ าต
ต้องจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี แต่สาหรับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ
ที่ไม่ใช่บริษัทจากัดหรือบริษัทมหาชน ให้หมายความรวมถึงปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการ
งบประมาณ

๘๕
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ และแก้ไขโดยพระราชกาหนดแก้ไข
เพิม่ เติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๘๖
มาตรา ๖๐/๓๔ และมาตรา ๖๐/๓๕ เพิ่ มเติม โดยพระราชบัญ ญั ติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ.
๒๕๕๑ และยกเลิกโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๘๗
เพิ่ ม หมวด ๖ ทวิ (โดยไม่ มี ชื่ อ หมวด) มาตรา ๖๐ ทวิ และมาตรา ๖๐ ตรี โดยพระราชบั ญ ญั ติ
การเดิ น อากาศ (ฉบั บ ที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๐๔ และต่ อ มายกเลิ ก มาตรา ๖๐ ทวิ และแก้ ไขเพิ่ ม เติ ม มาตรา ๖๐ ตรี
โดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๐๗ และยกเลิกมาตรา ๖๐ ตรี เพิ่มชื่อหมวด และเพิม่ มาตรา
๖๐/๓๖ ถึงมาตรา ๖๐/๔๖ โดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๐๐ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๖๐/๓๗ ค่าบริการผู้โดยสารขาออกให้ เรียกเก็บได้เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์


เกี่ยวกับความปลอดภัยและการบารุ งรักษาสนามบิน การจัดหาและปรับปรุงสิ่งอานวยความสะดวกใน
สนามบินสาหรับผู้โดยสาร ตลอดจนการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดมลพิษที่เกิดจากการใช้สนามบิน
เจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตจะเรียกเก็บค่าบริการผู้โดยสารขาออกจาก
ผู้ โ ดยสารอากาศยาน ณ สนามบิ น อนุ ญ าตได้ เมื่ อ ได้ รั บ อนุ มั ติ จ ากรั ฐ มนตรี โ ดยค าแนะน าของ
คณะกรรมการการบินพลเรือน

มาตรา ๖๐/๓๘ เจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตที่ประสงค์จะเรียกเก็บ


ค่าบริการผู้โดยสารตามมาตรา ๖๐/๓๗ ให้ยื่นคาขอต่อผู้อานวยการเพื่อเสนอรัฐมนตรีอนุมัติ ทั้งนี้ ตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการทีก่ าหนดในข้อกาหนด

มาตรา ๖๐/๓๙ ค่าบริการผู้โดยสารขาออกให้ใช้จ่ายได้ เพื่อการดังต่อไปนี้


(๑) การซ่อมแซม ปรับปรุง หรือขยายสนามบิน
(๒) การจัดหา ปรับปรุง หรือดาเนินงานสิ่งอานวยความสะดวกในสนามบินให้แก่ผู้โดยสาร
(๓) การปรับปรุงความปลอดภัยหรือการรักษาความปลอดภัยของสนามบิน
(๔) การก่อสร้างหรือการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อลดผลกระทบทางเสียงที่เกิดขึ้ นจากการใช้
สนามบิน
(๕) การรักษาสิ่งแวดล้อมและลดมลพิษที่เกิดจากการใช้สนามบิน
(๖) การอืน่ ที่เกีย่ วเนื่องกับสนามบิน ตามที่รัฐมนตรีอนุมัติ

มาตรา ๖๐/๔๐ ให้ เจ้ า ของหรือ ผู้ ด าเนิ น การสนามบิ น อนุ ญ าตที่ ได้ รับ อนุ มั ติ
ให้เรียกเก็บค่าบริการผู้โดยสารขาออกตามมาตรา ๖๐/๓๗ วรรคสอง จัดทา
(๑) งบที่แสดงรายได้และค่าใช้ จ่ายของค่าบริการผู้ โดยสารขาออก ตามหลักเกณฑ์
การปันส่วนที่ผู้อานวยการเห็นชอบ
(๒) งบประมาณประจาปี โดยให้แยกเป็นงบลงทุนและงบทาการ
(๓) รายงานเกี่ยวกับการเงินแสดงถึงรายได้ ค่าใช้จ่าย รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคใน
การรับและจ่ายเงินค่าบริการผู้โดยสารขาออกที่ได้รับ
งบประมาณประจาปีตาม (๒) ให้ยื่นต่อผู้อานวยการก่อนเริ่มปีบัญชีไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
และในกรณีที่ค่าใช้จ่ายงบลงทุนมีจานวนเกินกว่าที่กาหนดในกฎกระทรวงให้จัดทาเป็นโครงการเสนอต่อ
รัฐมนตรีเพื่ออนุมัติก่อน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รฐั มนตรีกาหนด
รายงานเกี่ย วกับ การเงิน ตาม (๓) ให้ ยื่น ต่ อผู้ อานวยการทุก ครึ่งรอบปีบั ญ ชี ภ ายใน
หกสิบวันนับแต่วันครบกาหนด

มาตรา ๖๐/๔๑ เพื่อประโยชน์ในการอานวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร เจ้าของ


หรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตอาจขอให้ผู้อานวยการกาหนดให้เจ้าของหรือผู้จดทะเบียนอากาศยาน
หรือผู้ดาเนินการเดินอากาศจัดเก็บค่าบริการผู้โดยสารขาออกแทนได้
๑๐๑ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ให้ผู้อานวยการมีอานาจสั่ งให้เจ้าของหรือผู้จดทะเบียนอากาศยาน หรือผู้ดาเนินการ


เดินอากาศเป็นผู้จัดเก็บค่าบริการผู้โดยสารขาออกได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กาหนดในข้อกาหนด
ทั้งนี้ จะกาหนดให้มีค่าตอบแทนการจัดเก็บค่าบริการผู้โดยสารขาออกแก่ผู้จัดเก็บไว้ด้วยก็ได้
บุคคลตามวรรคสอง มีหน้าที่จัดเก็บค่าบริการผู้โดยสารขาออกและนาส่งให้แก่เจ้าของ
หรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาต ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และภายในระยะเวลาที่กาหนดในข้อกาหนด
ในกรณีที่ไม่นาส่งหรือนาส่งเงินค่าบริการผู้โดยสารขาออกไม่ครบภายในกาหนดระยะเวลา บุคคลนั้นต้อง
ชดใช้จานวนเงินค่าบริการที่ขาดพร้อมด้วยเงินเพิ่มร้อยละยี่สิ บห้าต่อปีให้แก่เจ้าของหรือผู้ดาเนินการ
สนามบินอนุญาต

มาตรา ๖๐/๔๒ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการจัดเก็บและการใช้จ่ายค่าบริการ


ผู้โดยสารขาออก ให้ผู้อานวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าทีม่ อี านาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในสนามบิ น อนุ ญ าต หรือ สถานที่ ประกอบการของเจ้ าของหรือผู้ ด าเนิ นการ
สนามบินอนุญาต หรือของผู้มีหน้าที่จัดเก็บตามมาตรา ๖๐/๔๑ วรรคสอง ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์
ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทาการของสถานที่ดังกล่าวเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติการตาม
ความในหมวดนี้
(๒) ตรวจสอบการทางบประมาณ การจัดเก็บค่าบริการผู้โดยสารขาออก และการทาบัญชี
(๓) ยึดหรืออายัดบัญชี เอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับค่าบริการผู้โดยสารขาออก
(๔) มี ห นั ง สื อ เรี ย กให้ บุ ค คลใดมาให้ ถ้ อ ยค าหรื อ ให้ ส่ งเอกสารหรื อ วั ต ถุ ใดมาเพื่ อ
ประกอบการพิจารณา

มาตรา ๖๐/๔๓ เพื่อประโยชน์ในการบริหารสนามบินที่ใช้เพื่อ สาธารณะเป็นการ


ทั่วไป ให้รัฐมนตรีมีอานาจกาหนดให้เจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตนาเงินที่ได้จากการจัดเก็บ
ค่าบริการผู้โดยสารขาออกในอัตราไม่เกินร้อยละสิบเข้าบัญชีเงินทุนหมุนเวียนตามมาตรา ๖๐/๔๔
๘๘มาตรา ๖๐/๔๔ ให้จัดตั้งเงินทุนหมุนเวียนขึ้นทุนหนึ่งในกรมท่าอากาศยาน เรียกว่า
“เงินทุนหมุนเวียนกรมท่าอากาศยาน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนา
ด้านความปลอดภัยหรือการรักษาความปลอดภั ยของผู้ โดยสาร จัดหาและปรั บปรุงสิ่งอานวยความ
สะดวกในสนามบินอนุญาตสาหรับผู้โดยสาร การรักษาสิ่งแวดล้อมและลดมลพิษที่เกิดจากสนามบิน และ
สนับสนุนกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกันเพื่อประโยชน์ของผู้โดยสาร รวมทั้งเพื่อใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
ท่าอากาศยานหรือกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องได้ตามความจาเป็น
เงินทุนหมุนเวียนกรมท่าอากาศยานประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
(๑) เงิ นหรื อทรั พย์ สิ นที่ ได้ รับโอนจากเงิ น ทุ น หมุ น เวี ย นตามมาตรา ๖๐/๔๔ แห่ ง
พระราชบั ญ ญั ติ ก ารเดิ น อากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่ ง แก้ ไขเพิ่ ม เติ ม โดยพระราชบั ญ ญั ติ ก ารเดิ น อากาศ
(ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑

๘๘
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ แก้ไขโดยพระราชกาหนดแก้ไข
เพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ และพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๐๒ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๒) เงิ น อุ ด หนุ น จากรั ฐ บาลหรื อ เงิ น ที่ ไ ด้ รั บ จากงบประมาณรายจ่ า ยประจ าปี
ซึ่งรัฐมนตรีเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติการขอรับการอุด หนุน โดยต้องระบุจานวน
และเหตุผลความจาเป็นในการขอรับการสนับสนุนดังกล่าวไปพร้อมกันด้วย
(๓) เงินหรือทรัพย์สินทีส่ ่งเข้าบัญชีเงินทุนหมุนเวียนตามวรรคสาม
(๔) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรืออุทิศให้
(๕) ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของเงินทุนหมุนเวียน
ให้นาส่งเงินหรือทรัพย์สินดังต่อไปนี้ เข้าบัญชีเงินทุนหมุนเวียนตามวรรคหนึ่ง
(๑) เงินค่าบริการ ค่าภาระ หรือเงินตอบแทนอื่นของสนามบินอนุญาตที่ดาเนินงาน
โดยกรมท่าอากาศยานเรียกเก็บตามมาตรา ๕๖ (๒) (๓) (๔) และ (๕)
(๒) เงิ น ค่ า บริ ก ารผู้ โ ดยสารขาออกของสนามบิ น อนุ ญ าตที่ ด าเนิ น งานโดย
กรมท่าอากาศยานเรียกเก็บตามมาตรา ๖๐/๓๗ วรรคสอง
(๓) เงินเพิ่มตามมาตรา ๖๐/๔๑ วรรคสาม
(๔) เงินค่าบริการผู้โดยสารขาออกตามมาตรา ๖๐/๔๓
(๕) เงินค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่าธรรมเนียม หรื อค่าบริการ ที่เรียกเก็บเกินอัตราตาม
มาตรา ๖๐/๔๕
(๖) เงิน หรือทรัพ ย์ สิ น อั นเกิดจากการใช้ป ระโยชน์ ในพื้ นที่ข องสนามบิ นอนุญ าตที่
ดาเนินงานโดยกรมท่าอากาศยาน ทั้งนี้ หากเงินหรือทรัพย์สินนั้นเกิดจากกรณีที่เป็นการใช้ประโยชน์
ที่ราชพัสดุ ให้เป็นไปตามความตกลงเป็นหนังสือระหว่างกรมท่าอากาศยานกับกรมธนารักษ์
เงิน และทรัพย์ สิน ของเงินทุน หมุนเวียนตามวรรคสอง ไม่ต้องนาส่ งคลั งเป็น รายได้
แผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
การใช้ จ่ายเงินและทรัพย์สินของเงินทุนหมุนเวียนกรมท่าอากาศยานให้เป็ นไปตาม
วัตถุประสงค์ตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ในการใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินของเงินทุนหมุนเวียนนั้น มิให้นาเงินหรือ
ทรัพย์สินของเงินทุนหมุนเวียนตามวรรคสอง (๓) ยกเว้นเงินที่เรียกเก็บตามวรรคสาม (๑) และ (๖) ไปใช้ใน
กิจการเกี่ยวกับการบริหารจัดการท่าอากาศยานหรือกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกัน เว้นแต่เงินหรือทรัพย์สิน
ที่เหลือจากการใช้จ่ายตามโครงการหรือแผนงานในปีก่อนหน้านั้น ให้สามารถนาเงินส่วนที่เหลือมาสมทบ
เป็นค่าใช้จ่ายในกิจการเกีย่ วกับการบริหารจัดการท่าอากาศยานหรือกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกันได้
หลักเกณฑ์ และวิธีการในการรับเงิน การจ่ายเงิ น การเก็บรักษาเงินและการจัดหา
ผลประโยชน์ของเงินหรือทรัพย์สินของเงินทุนหมุนเวียนกรมท่าอากาศยาน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะ
กรรมการบริหารทุนหมุนเวียนกาหนดโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
นอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ การบริหารจัดการ คณะกรรมการบริหารทุนหมุนเวียน
และผู้ ป ฏิ บั ติห น้ าที่ การบั ญ ชีแ ละการตรวจสอบ การประเมิน ผล และการอื่นที่ เกี่ยวข้องกั บ เงินทุ น
หมุนเวียนกรมท่าอากาศยาน ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารทุนหมุนเวียน

มาตรา ๖๐/๔๕ ในกรณี ที่ ผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศ เจ้ า ของหรื อ ผู้ ด าเนิ น การ
สนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน เจ้าของหรือผู้ดาเนินการเครื่องอานวยความสะดวกในการ
เดิ น อากาศ หรื อ ผู้ ป ระกอบการให้ บ ริ ก ารในลานจอดอากาศยาน เรี ย กเก็ บ ค่ าโดยสาร ค่ า ระวาง
ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ เกินอัตราที่กาหนดตามมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๖๐/๓๗
วรรคสอง หรือมาตรา ๖๐ ฉ แล้วแต่กรณี ให้อธิบดีสั่งให้นาเงินส่วนที่เกินส่งเข้าบัญชีเงินทุนหมุนเวียน
๑๐๓ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ตามมาตรา ๖๐/๔๔ ภายในระยะเวลาที่กาหนด แต่ต้องไม่เกินกว่าสิบห้าวัน และในกรณีที่ไม่นาส่งให้


คิดเงินเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบห้าต่อปี
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร อธิบดีอาจอนุมัติให้ขยายกาหนดเวลาในการนาส่งเงินส่วนที่
เกิน และหรือ เงิน เพิ่ ม ทั้ งนี้ โดยให้ ช าระดอกเบี้ ยตามอั ต ราดอกเบี้ย เงิน กู้ เฉลี่ ยของธนาคารพาณิ ช ย์
โดยทัว่ ไปตามระเบียบที่ผู้อานวยการกาหนด
ในกรณี ที่ มี ข้ อ โต้ แ ย้ ง ให้ น ากฎหมายว่ าด้ ว ยวิ ธี ป ฏิ บั ติราชการทางปกครองว่ าด้ว ย
การอุทธรณ์คาสั่งทางปกครอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๖๐/๔๖ ความในหมวดนี้ให้ใช้บังคับแก่ที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตที่ให้บริการ


สาธารณะด้วย

๘๙หมวด
๖ ตรี
บริการในลานจอดอากาศยาน และบริการช่างอากาศ
---------------

มาตรา ๖๐ จัตวา ให้ รัฐมนตรีมีอานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากาหนด


ลานจอดอากาศยานของสนามบินอนุญาต
เมื่อรัฐมนตรีกาหนดลานจอดอากาศยานของสนามบินอนุญาตใดแล้วห้ามมิให้บุคคลใด
ประกอบการให้ บ ริ ก ารในลานจอดอากาศยานหรื อ บริ การช่ างอากาศ เว้น แต่ ได้ รั บ ใบอนุ ญ าตเป็ น
ผู้ ป ระกอบการให้ บ ริ ก ารในลานจอดอากาศยานหรือ บริก ารช่ างอากาศแล้ ว แต่ กรณี จากพนั ก งาน
เจ้าหน้าที่โดยอนุมัติรัฐมนตรี
๙๐
มาตรา ๖๐ เบญจ ผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการให้บริการในลานจอดอากาศยาน
หรือบริการช่างอากาศ ต้องมีคุณสมบัติและมีลักษณะตามข้อบังคับ หรือเป็นสายการบินที่กาหนดของ
ต่างประเทศซึ่งประเทศไทยได้ยอมรับแล้ว ตามความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศ และประเทศที่
กาหนดสายการบินนั้นมิได้วางข้อห้ามหรือข้อกากัดแก่สายการบินที่กาหนดของไทยในการประกอบการ
ให้บริการในลานจอดอากาศยาน หรือบริการช่างอากาศในประเทศนั้น
หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการออกใบอนุญ าตเป็นผู้ประกอบการให้บริ การใน
ลานจอดอากาศยานหรื อบริการช่ างอากาศ อายุใบอนุญ าต การพั กใช้ใบอนุ ญ าต และการเพิกถอน
ใบอนุญาตดังกล่าวให้กาหนดโดยกฎกระทรวง
บุคคลซึ่งได้รับอนุญาตตามมาตรานี้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่พนักงานเจ้าหน้าที่กาหนด

๘๙
เพิ่มเติมหมวด ๖ ตรี มาตรา ๖๐ จัตวา ถึง มาตรา ๖๐ สัตต โดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๗)
พ.ศ. ๒๕๒๑
๙๐
เพิ่ มเติม โดยพระราชบั ญ ญั ติการเดิน อากาศ (ฉบั บ ที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๒๑ และแก้ไขเพิ่ มเติ มโดยพระราช
กาหนดแก้ไขเพิม่ เติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๐๔ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๖๐ ฉ ผู้ประกอบการให้บริการในลานจอดอากาศยานจะเก็บค่าบริก าร
ในลานจอดอากาศยานได้ไม่เกินอัตราทีผ่ ู้อานวยการอนุมัติด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี

มาตรา ๖๐ สัตต ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าไปในลานจอดอากาศยาน เว้นแต่จะได้ปฏิบัติ


ตามมาตรการรักษาความปลอดภัยที่กาหนดโดยเจ้าของสนามบินอนุญาตหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจาก
เจ้าของให้เป็นผู้รักษาสนามบินอนุญาต
๙๑ผู้เข้าไปในลานจอดอากาศยานต้องปฏิบัตต
ิ ามข้อบังคับ

๙๒หมวด ๗
การสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัตกิ ารณ์
---------------

มาตรา ๖๑ ในหมวดนี้
“อุบัติเหตุ” หมายความว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการของอากาศยาน
อันเป็นผลให้อากาศยานได้รับความเสียหายหรือสูญหาย หรือมีบุคคลได้รับอันตรายแก่ชีวิตและร่างกาย
ทั้งนี้ ตามทีค่ ณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยานประกาศกาหนด
“อุบัติการณ์” หมายความว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการของอากาศยาน
ซึ่งมีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของการปฏิบัติการดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงอุบัติเหตุ
“อุบัติการณ์รุนแรง” หมายความว่า อุบัติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกรณีแวดล้อมที่มีความ
เป็นไปได้สูงที่จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นตามที่คณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน
ประกาศกาหนด
“การพิ ทั ก ษ์ อ ากาศยาน” หมายความว่า การดู แ ลรั กษาและคุ้ ม ครองอากาศยาน
ที่ ป ระสบอุ บั ติ เหตุ ห รื อ อุ บั ติ ก ารณ์ รุ น แรง รวมทั้ ง ส่ ว นของอากาศยาน สิ่ ง ที่ อ ยู่ ใ นอากาศยาน
นอกอากาศยาน ภายในระยะเวลาที่จาเป็นเพื่อวัตถุประสงค์ในการสอบสวน และให้หมายความรวมถึง
การป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการเข้าถึง การเอาไป การทาให้เสียหาย ทาลาย
หรือทาให้เสื่อมสภาพ หรือการกระทาใด ๆ ที่อาจทาให้เกิดความเสียหายไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนของ
อากาศยานหรือสิ่งต่าง ๆ ของอากาศยานซึ่งประสบอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์รุนแรง
“การสอบสวน” หมายความว่า กระบวนการเกี่ยวกับการรวบรวม การบั นทึกและ
วิเคราะห์ ข้อ มู ล รายละเอีย ดเกี่ย วกับ พยานหลั กฐานที่ เกี่ย วข้อง การสรุปสาเหตุ และปั จจัยเกื้อหนุ น
การออกข้อเสนอแนะเพื่อความปลอดภัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและอุบัติการณ์

๙๑
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๒๑ และแก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชกาหนด
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๙๒
หมวด ๗ อุ บั ติ เหตุ มาตรา ๖๑ และมาตรา ๖๒ แก้ ไขเพิ่ ม เติ ม โดยพระราชก าหนดแก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม
พระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ และยกเลิกทั้งหมวด (มาตรา ๖๑ ถึงมาตรา ๖๔) โดยเปลี่ยน
ชื่อหมวดและเพิม่ มาตรา ๖๔/๑ ถึงมาตรา ๖๔/๑๙ โดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๐๕ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

“เครื่ อ งบั น ทึ ก การบิ น ” หมายความว่า เครื่ องบั น ทึ ก ที่ ติด ตั้งบนอากาศยาน โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ในการสอบสวนอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์
“สานักงาน กสอ.” หมายความว่า สานักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุ และ
อุบัติการณ์ของอากาศยาน
“ผู้อานวยการ กสอ.” หมายความว่า ผู้อานวยการสานักงานคณะกรรมการสอบสวน
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน

ส่วนที่ ๑
คณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน
---------------

มาตรา ๖๒ ให้มีคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุ บัติการณ์ของอากาศยานขึ้น


คณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “กสอ.” ประกอบด้วยประธานกรรมการ รองประธานกรรมการคนหนึ่ง และ
กรรมการอื่ น อี ก ไม่ เกิ น เจ็ ด คน ซึ่ งรั ฐ มนตรี แ ต่ งตั้ งโดยความเห็ น ชอบของคณะรั ฐ มนตรี จากผู้ ซึ่ งมี
ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ด้านการปฏิบัติการบิน ด้านวิศวกรรมอากาศยาน ด้านเวชศาสตร์
การบิ น ด้ านการควบคุ ม จราจรทางอากาศ ด้ านกฎหมาย หรื อ ด้ านอื่ น ที่ เกี่ ย วกั บ การบิ น พลเรื อ น
อันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัตหิ น้าที่ของ กสอ.
ให้มีกรรมการ กสอ. ซึ่งทางานเต็มเวลาจานวนสามคน
ให้ผู้อานวยการ กสอ. เป็นเลขานุการของ กสอ. และให้ปลัดกระทรวงคมนาคมโดย
คาเสนอแนะของผู้อานวยการ กสอ. แต่ งตั้งข้าราชการในส านั กงาน กสอ. จานวนไม่เกินสองคนเป็น
ผู้ช่วยเลขานุการ
การแต่งตั้ งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ กสอ. ให้ เป็นไป
ตามหลักเกณฑ์และเงือ่ นไขที่คณะรัฐมนตรีประกาศกาหนด
ให้สานักงาน กสอ. ทาหน้าที่ เป็นหน่วยธุรการของ กสอ. รับผิดชอบในการอานวยการ
และสนับสนุนในด้านวิชาการ การศึกษาและค้นคว้าข้อมูล และกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติ
หน้าที่ของ กสอ. และคณะอนุกรรมการที่ กสอ. แต่งตั้ง รวมทั้งปฏิบัติการอื่นตามที่กาหนดในหมวดนี้
หรือตามที่ กสอ. มอบหมาย

มาตรา ๖๓ นอกจากคุ ณ สมบั ติ ต ามมาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ ง ประธานกรรมการ


รองประธานกรรมการ และกรรมการ กสอ. ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) อายุไม่ตากว่
่ าสี่สิบห้าปี
(๓) ไม่เป็น ผู ้ดารงตาแหน่ง ทางการเมือ ง กรรมการหรือ ผู ้ดารงตาแหน่ง ในพรรค
การเมือง หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๔) ไม่เป็ น ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
ซึ่งมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือขัดกับการปฏิบัตหิ น้าที่ของ กสอ.
๑๐๖ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๕) ไม่เป็นกรรมการในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือ
ขัดกับการปฏิบัติหน้าที่ของ กสอ.
(๖) ไม่เป็นกรรมการ หรือดารงตาแหน่งหรือประกอบการใด ๆ ในกิจการของเอกชน
หรือองค์กรวิชาชีพ ซึ่งอาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนหรือขัดกับการปฏิบัติหน้าที่ของ กสอ.
(๗) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ กสอ.
ต้องแสดงเอกสารหลั กฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้ลาออกหรือพ้นจากตาแหน่ง หรือการประกอบการตาม
(๔) (๕) หรือ (๖) ต่อผู้อานวยการ กสอ. ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง หากผู้ ซึ่งได้ รับการ
แต่งตั้งมิได้ดาเนิ น การภายในระยะเวลาที่กาหนด ให้ ถื อว่าผู้ นั้น ไม่เคยได้รับ การแต่งตั้งเป็น ประธาน
กรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการ กสอ. แล้วแต่กรณี

มาตรา ๖๔ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ กสอ. มีวาระ


การดารงตาแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ กสอ. ซึ่งพ้นจากตาแหน่งตาม
วาระ ให้อยู่ ในตาแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้ าที่ต่อ ไปจนกว่าประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และ
กรรมการ กสอ. ที่ได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่

มาตรา ๖๔/๑ นอกจากการพ้ น จากต าแหน่ ง ตามวาระ ประธานกรรมการ


รองประธานกรรมการ และกรรมการ กสอ. พ้นจากตาแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) มีอายุครบเจ็ดสิบปี
(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๖๓
(๖) ต้องคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก แม้ จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการรอการ
ลงโทษในความผิดอันได้กระทาโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
(๗) คณะรั ฐ มนตรี ให้ อ อกตามค าแนะน าของรัฐ มนตรี เพราะหย่ อ นความสามารถ
บกพร่องหรือทุจริตต่อหน้าที่ หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย
ในกรณีของกรรมการ กสอ. ซึ่งทางานเต็มเวลา หากไม่สามารถปฏิบัติงานได้เต็มเวลา
ให้ถอื เป็นเหตุพ้นจากตาแหน่งตามวรรคหนึ่งด้วย
ในกรณี ที่ ป ระธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือ กรรมการ กสอ. พ้ น จาก
ตาแหน่ งตามวรรคหนึ่ งหรื อวรรคสอง แล้ วแต่กรณี ให้ กสอ. ประกอบด้ว ยกรรมการ กสอ. เท่ าที่
เหลืออยู่และให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เว้นแต่มีประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการ
กสอ. รวมกันเหลืออยู่ไม่ถึงห้าคน และให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งประธาน
กรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการ กสอ. แทนตาแหน่งที่ว่าง โดยผู้ได้รับการแต่งตั้งนั้นอยู่ใน
ตาแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการ กสอ. ซึ่งตนแทน
๑๐๗ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๖๔/๒ ในกรณีที่กรรมการ กสอ. พ้ นจากตาแหน่งตามวาระตามมาตรา ๖๔


หรือด้วยเหตุอื่นใดตามมาตรา ๖๔/๑ ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งกรรมการ
กสอ. โดยเร็ว

มาตรา ๖๔/๓ การประชุ ม วิธี การประชุ ม การลงมติ และการปฏิ บั ติ ห น้ าที่ ข อง


กสอ. ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ กสอ. กาหนด

มาตรา ๖๔/๔ กสอ. มีหน้าที่และอานาจ ดังต่อไปนี้


(๑) กาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์รุนแรง
(๒) ดาเนินการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์รุนแรง
(๓) เข้าร่วมในการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ที่ ดาเนินการโดยรัฐต่างประเทศ
ตามความเหมาะสม
(๔) วิเคราะห์ข้อมูลความปลอดภัยด้านการบิน และข้อมูลอุบัติเหตุ อุบัติการณ์รุนแรง
และอุบัติการณ์
(๕) จัดทารายงานการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์รุนแรง
(๖) เสนอแนะมาตรการเชิ งป้องกันให้ แก่หน่วยงานที่มีอานาจเกี่ยวกับการบิ นทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศ กรณี ที่ตรวจพบในระหว่างการสอบสวนว่าจาเป็นต้องดาเนินการโดยพลั น
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการบิน
(๗) จั ด ท าข้ อ เสนอแนะเพื่ อ ความปลอดภั ย ให้ กั บ ผู้ ที่ เกี่ ย วข้ อ งภายในประเทศ
หน่ วยงานที่ มีอานาจสอบสวนอุ บั ติเหตุของรัฐต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และองค์การการบินพลเรือน
ระหว่างประเทศตามที่เห็นสมควร และติดตามการดาเนินการ
(๘) พิ จ ารณาข้ อ เสนอแนะเพื่ อ ความปลอดภั ย จากหน่ ว ยงานที่ มี อ านาจสอบสวน
อุบัติเหตุของรัฐต่างประเทศ เพื่อส่งให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดาเนินการและติดตามการดาเนินการ
(๙) จัดทารายงานผลการดาเนินการประจาปีเสนอคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการ
การบินพลเรือน
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กาหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น หรือตามที่
รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
การดาเนิน การตาม (๑) (๒) (๔) และ (๕) กสอ. จะกาหนดเพื่อความเหมาะสมตาม
ลักษณะของอุบัติเหตุ อุบัตกิ ารณ์ หรืออุบัติการณ์รุนแรงก็ได้
ในการดาเนินการตามวรรคหนึ่ง กสอ. อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดาเนินการใด ๆ
ตามที่ กสอ. มอบหมายได้
การปฏิบัติหน้าที่ของ กสอ. ตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นไปโดยสอดคล้องกับอนุสัญญาและ
ภาคผนวก

มาตรา ๖๔/๕ ให้ ก รรมการ กสอ. และอนุ ก รรมการ กสอ. ได้ รั บ ค่ า ตอบแทน
เบีย้ ประชุม ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ และประโยชน์อย่างอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกาหนด
๑๐๘ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ส่วนที่ ๒
การสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์
---------------

มาตรา ๖๔/๖ เพื่ อ ประโยชน์ ใ นการสอบสวนอุ บั ติ เหตุ ห รื อ อุ บั ติ ก ารณ์ รุ น แรง


ให้ กสอ. มีอานาจดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) เข้าไปในที่ดิน อาคาร โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งอากาศยานหรือส่วนของอากาศยาน
ที่ประสบอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์ หรือสิ่งที่อากาศยานนั้นบรรทุกมา ตก หรือปรากฏอยู่
(๒) ควบคุม ตรวจ หรือค้นอากาศยาน สิ่งของ หรือสิ่งใด ๆ ในอากาศยานที่ประสบ
อุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์
(๓) เข้ า ไปเพื่ อ ตรวจหรื อ ค้ น ในสนามบิ น หรื อ ที่ ขึ้ น ลงชั่ ว คราวของอากาศยาน
ซึ่งอากาศยานที่ประสบอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์ใช้เป็นที่ขึ้นหรือลง หรือในสถานที่ทาการที่ผู้ให้บริการ
จราจรทางอากาศหรือสถานที่ตั้งสิ่งอานวยความสะดวกในการเดินอากาศที่เกี่ยวข้อง
(๔) ตรวจหรื อ ค้ น เอกสารหรือ วั ต ถุใดอั น เป็ น หลั กฐานที่ เกี่ ยวข้ องกั บ การสอบสวน
ในกรณีที่มีความจาเป็นเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวน ให้มีอานาจยึดหรือเข้าควบคุมเอกสารหรือวัตถุ
อันเป็น หลักฐานดังกล่าวได้ แต่ต้องจัดทาบัญ ชีเอกสารและวัตถุดังกล่าวให้เจ้าของหรือผู้ครอบครอง
เอกสารหรือวัตถุนั้นไว้ด้วย
(๕) ตรวจสอบหรือสั่งให้มีการตรวจสอบอากาศยานหรือส่วนของอากาศยานที่ประสบ
อุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์ หรืออากาศยานหรือส่วนของอากาศยานแบบเดียวกันกับอากาศยานที่ประสบ
อุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์นั้น หรือตรวจสอบหรือสั่งให้มีการตรวจสอบสิ่งของหรือวัตถุอื่นใดโดยไม่ชักช้า
เพือ่ นาผลมาประกอบการสอบสวน
(๖) สั่ งให้ บุ คคลที่เกี่ยวข้องให้ ถ้อยคา หรือส่ งเอกสารหรื อวัตถุใดอั นเป็นหลัก ฐานที่
เกี่ยวข้อง
ในการด าเนิ น การตามวรรคหนึ่ ง กสอ. อาจมอบหมายให้ ส านั ก งาน กสอ. หรื อ
หน่วยงานหรือบุคคลที่ กสอ. แต่งตั้ ง ดาเนินการตามวรรคหนึ่งทั้งหมดหรือบางส่วน และอาจร้องขอให้
หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องช่วยดาเนินการหรือสนับสนุนได้
ให้ ห น่ ว ยงานหรื อ บุ คคลที่ กสอ. แต่งตั้ งหรือ หน่ ว ยงานหรือเจ้าหน้ าที่ ซ่ึ งได้รับ การ
ร้องขอตามวรรคสอง ได้รับค่าใช้จ่ายหรือค่าตอบแทนที่จาเป็นตามสมควรแก่กรณี ตามหลักเกณฑ์และ
อัตราที่ กสอ. กาหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง โดยเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณของ
สานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงคมนาคม

มาตรา ๖๔/๗ ในการสอบสวนอุ บั ติ เหตุ แ ละอุ บั ติ ก ารณ์ รุ น แรงของอากาศยาน


ตามพระราชบั ญ ญั ตินี้ ต้องเป็ น ไปเพื่ อประโยชน์ ในการได้ข้อมูล ส าหรับการปรับปรุง ความปลอดภั ย
ในการเดินอากาศเพื่อป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุและอุบัติการณ์รุนแรงทานองเดียวกันขึ้นอีก โดยมิใช่เป็น
การสอบสวนเพื่อการกล่าวโทษบุคคลหรือกาหนดให้บุคคลใดต้องรับผิดไม่ว่าทางใด ๆ
ให้ กสอ. มีอานาจสอบสวนอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์รุนแรงทีเ่ กิดขึ้นในพื้นที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
(๒) กรณีเกิดขึ้นแก่อากาศยานที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทยซึ่งมิได้เกิดขึ้นตาม (๑) โดย
๑๐๙ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(ก) อยู่ ในอาณาเขตของรั ฐ ที่ ไม่ ใช่ ภ าคี แ ห่ งอนุ สั ญ ญาโดยรั ฐ นั้ น ไม่ ป ระสงค์ จ ะ
ดาเนินการสอบสวนตามอนุสัญญาและภาคผนวก
(ข) อยู่ในพื้นที่ทไี่ ม่ใช่อาณาเขตของรัฐใด
การสอบสวนตามหมวดนี้ นอกจากการด าเนิ น การให้ เป็ น ไปตามวรรคหนึ่ ง แล้ ว
ต้ อ งด าเนิ น การแยกออกจากการสอบสวนหรื อ การด าเนิ น การตามกระบ วนการยุ ติ ธ รรม
และการดาเนินการใด ๆ ของหน่วยงานอื่นที่มี หน้าที่และอานาจสอบสวนตามกฎหมายอื่นที่มุ่งหมาย
ให้ได้ตัวผู้กระทาให้เกิดเหตุดังกล่าวหรือบุคคลใดซึ่งจะต้องรับโทษตามที่มีกฎหมายนั้นบัญญัติ
กสอ. อาจดาเนิ น การสอบสวนอุบัติการณ์ ใดที่มีผ ลกระทบหรืออาจมีผ ลกระทบต่อ
ความปลอดภัยของการปฏิบัติการของอากาศยานอย่างมีนัยสาคัญได้ การสอบสวนอุบัติการณ์ดังกล่าวให้
เป็ น ไปตามหลั ก เกณฑ์ และวิธี การที่ กสอ. กาหนด ซึ่งอาจกาหนดในลั กษณะเดี ยวกับ การสอบสวน
อุบัติการณ์รุนแรงได้ และให้มีอานาจตามมาตรา ๖๔/๖ ด้วย โดยอนุโลม
เพื่ อ ประโยชน์ ใ นการสอบสวนอุ บั ติ เหตุ แ ละอุ บั ติ ก ารณ์ รุ น แรงของอากาศยาน
ตามพระราชบั ญ ญั ตินี้ กสอ. อาจจั ดให้ มีการทาข้อตกลงการปฏิบัติงานกับหน่ วยงานที่ มีห น้ าที่ และ
อานาจสอบสวนตามกฎหมายอื่นนั้นได้

มาตรา ๖๔/๘ ในการสอบสวนตามมาตรา ๖๔/๗ กสอ. ต้องดาเนินการโดยอิ สระ


และปราศจากการแทรกแซง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม และคานึงถึงความมุ่งหมายในการสอบสวน
เพื่อหาสาเหตุของอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ และความปลอดภัยในการเดินอากาศเป็นสาคัญ
ห้ามมิให้หน่วยงานตามมาตรา ๖๔/๗ วรรคสาม เรียกประธานกรรมการ รองประธาน
กรรมการ กรรมการ กสอ. หรือ อนุ กรรมการ กสอ. และหน่ว ยงานหรือบุ ค คลซึ่ง กสอ. มอบหมาย
เกี่ยวกับการสอบสวน ไปเป็นพยานในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาและความรั บผิดที่เกี่ยวข้องกับใน
การดาเนินการสอบสวนของหน่วยงานนั้น

มาตรา ๖๔/๙ เพื่อประโยชน์ในการสอบสวน กสอ. อาจร้องขอให้รัฐต่างประเทศช่วย


ในการสอบสวน หรือรับการร้องขอจากรัฐต่างประเทศให้ช่วยดาเนินการสอบสวนได้ตามที่เห็นสมควร
ทั้งนี้ โดยเป็นไปตามที่กาหนดในอนุสัญญาและภาคผนวก
รัฐต่างประเทศอาจร้องขอเพื่อแต่งตั้งผู้แทน ที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญ เข้าร่วมในการ
สอบสวนของ กสอ. ตามหมวดนี้ ภายใต้การดูแลของ กสอ. หรื อผู้ ซึ่ง กสอ. มอบหมาย ทั้ งนี้ ตาม
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กาหนดในข้อบังคับ กสอ.

มาตรา ๖๔/๑๐ เมื่ อ มี อุ บั ติ เหตุ ห รื อ อุ บั ติ ก ารณ์ รุ น แรงเกิ ด ขึ้ น แก่ อ ากาศยาน


ในราชอาณาจั ก ร หรื อ อากาศยานที่ จ ดทะเบี ย นตามกฎหมายไทยแต่ อ ยู่ น อกราชอาณาจั ก ร
ให้ผู้จดทะเบียนอากาศยาน เจ้าของอากาศยาน ผู้ครอบครองอากาศยาน ผู้ดาเนินการเดินอากาศ ผู้ประจา
หน้าที่ หน่วยซ่อม ผู้ให้บริการจราจรทางอากาศ หรือผู้ดาเนินการสนามบิน แจ้งต่อ กสอ. หรือผู้ซึ่ง กสอ.
มอบหมาย โดยไม่ ชั กช้ า และจั ดท ารายงานเบื้ องต้ นเกี่ ยวกั บอุ บั ติ เหตุ หรื ออุ บั ติ การณ์ ดั งกล่ าว ทั้ ง นี้
หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งและการจัดทารายงานเบื้องต้นให้เป็นไปตามข้อบังคับ กสอ.
ข้อบังคับ กสอ. ตามวรรคหนึ่ง ต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป
๑๑๐ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๖๔/๑๑ เมื่ อ มี อุ บั ติ เหตุ เกิ ด ขึ้ น ห้ า มมิ ให้ บุ ค คลใดปฏิ บั ติ ก ารอย่ า งหนึ่ ง
อย่างใดแก่อากาศยานหรือส่วนของอากาศยานหรือ สิ่งที่อากาศยานนั้นบรรทุกมา เว้นแต่มีเหตุจาเป็น
เร่งด่วนเพื่อความปลอดภัยแก่บุคคล หรือเพือ่ คุ้มครองอากาศยานนั้นมิให้เกิดความเสียหายจากเหตุเพลิง
ไหม้หรือเหตุอื่นที่จะทาให้อากาศยาน ส่วนของอากาศยาน หรือสิ่งที่อากาศยานนั้นบรรทุกมาถูกทาลาย
ลง หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตารวจเรียกให้ช่วยเหลือ

มาตรา ๖๔/๑๒ เมื่อมีอุบัติเหตุห รืออุบัติการณ์รุนแรงตามมาตรา ๖๔/๗ วรรคสอง


เกิดขึ้นแก่อากาศยานใดในราชอาณาจักร ให้อากาศยานหรือส่วนของอากาศยานนั้น และสิ่งที่อากาศยานนั้น
บรรทุกมาอยู่ในการพิทักษ์อ ากาศยานของ กสอ. หรือผู้ซึ่ง กสอ. มอบหมาย ทั้งนี้ ต้องเป็นไปเท่ าที่
จาเป็นเพื่อการสอบสวน
ลักษณะของอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์ รุนแรงและหลักเกณฑ์และวิธีการในการพิทักษ์
อากาศยานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับ กสอ.
ให้ผู้จดทะเบียนอากาศยานหรือผู้ดาเนินการเดินอากาศมีหน้าที่เคลื่อนย้ายอากาศยานที่
เกิดอุบัติเหตุและอุบัติการณ์รุนแรง หากไม่ดาเนินการ ให้ กสอ. หรือผู้ซ่ึง กสอ. มอบหมาย มีคาสั่งเป็น
หนังสือให้ผู้จดทะเบียนอากาศยานหรือผู้ดาเนิ นการเดินอากาศ เคลื่อนย้ายอากาศยานภายในเวลาที่
กาหนด ในกรณี ที่มีการฝ่าฝื น คาสั่ งดั งกล่ าว ให้ กสอ. หรือผู้ที่ กสอ. มอบหมายมีอานาจเคลื่อนย้าย
อากาศยานนั้ น เอง โดยค่ าใช้ จ่ ายในการเคลื่ อ นย้ ายอากาศยานนั้ น ให้ ผู้ จดทะเบี ยนอากาศยานหรื อ
ผู้ดาเนินการเดินอากาศเป็นผู้รับผิดชอบ

มาตรา ๖๔/๑๓ เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนและการรักษาไว้ซ่ึงพยานหลักฐาน ให้


กสอ. ประกาศกาหนดพื้นที่ที่อุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์รุนแรงเกิดขึ้นและบริเวณโดยรอบของพื้นทีน่ ั้นเป็น
พืน้ ที่ควบคุมการสอบสวน และประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป โดยกาหนดระยะเวลาได้ไม่เกินสิบห้าวัน
และหากมีความจาเป็นอาจขยายระยะเวลาได้ไม่เกินสิบห้าวัน ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีเครื่องหมายแสดงแนว
เขตพื้นที่ควบคุมการสอบสวนดังกล่าวไว้ด้วย
เมื่อได้มีการประกาศพื้นที่ควบคุมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งแล้ว ห้ามมิให้บุคคลใดที่
ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่ควบคุมการสอบสวน หรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดแก่อากาศยานหรือ
ส่วนของอากาศยานนั้น และสิ่งของที่อากาศยานนั้นบรรทุกมา เว้นแต่ได้รับอนุญาตจาก กสอ. หรือผู้ซึ่ง
กสอ. มอบหมาย
ในกรณี ที่ ไม่มี ความจ าเป็ น ต้อ งควบคุม พื้ น ที่ ตามวรรคหนึ่ งแล้ ว ให้ กสอ. ประกาศ
ยกเลิกพื้นทีค่ วบคุมการสอบสวน และประกาศให้ทราบเป็นการทัว่ ไป

มาตรา ๖๔/๑๔ ในกรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นแก่อากาศยานใดในราชอาณาจั กร และมี


บุ ค คลถึ งแก่ ค วามตาย ให้ กสอ. แจ้ งผู้ มี ห น้ า ที่ แ ละอ านาจชั น สู ต รพลิ ก ศพตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญาดาเนินการชันสูตรพลิกศพโดยพลัน และรายงานผลการชันสูตรพลิกศพแก่ กสอ.
โดยเร็ว
ในกรณีบุคคลถึงแก่ความตายตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ประจาหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ
ให้ กสอ. ร่วมกันกับผู้มีหน้าที่และอานาจตามวรรคหนึ่งจัดทาหลักเกณฑ์และวิธีการชันสูตร เพื่ อให้ได้
ข้อมูลที่จาเป็นสาหรับการสอบสวน
๑๑๑ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๖๔/๑๕ ในกรณี ที่เกิดอุบัติเหตุห รืออุ บั ติการณ์ รุนแรง ให้ ผู้ ป ระจาหน้ าที่ ที่
เกี่ ย วข้ อ งกั บ การเกิ ด อุ บั ติ เหตุ ห รื อ อุ บั ติ ก ารณ์ รุ น แรงนั้ น เข้ า รั บ การตรวจทางการแพทย์ โ ดยเร็ ว
หากผู้ป ระจาหน้ าที่ดังกล่ าวไม่เข้ารับการตรวจ ให้ กสอ. หรือผู้ ซ่ึง กสอ. มอบหมายมีอานาจควบคุม
ผู้ประจาหน้าที่นั้นเพื่อนาตัวไปรับการตรวจทางการแพทย์ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนด
ในข้อบังคับ กสอ. และให้ผู้ประจาหน้าที่นั้นนาส่งผลการตรวจทางการแพทย์ให้ กสอ. โดยไม่ชักช้า

มาตรา ๖๔/๑๖ ในกรณี ที่ ต้ อ งมี ก ารสอบสวนอุ บั ติ เหตุ ห รื อ อุ บั ติ ก ารณ์ รุ น แรง


กสอ. จะดาเนิ นการเอง หรือแต่งตั้งอนุกรรมการ กสอ. ซึ่งประกอบด้วยกรรมการ กสอ. ซึ่งปฏิบัติงาน
เต็ มเวลาคนหนึ่ งเป็ น ประธานอนุ ก รรมการ และอนุ ก รรมการอื่ น จานวนไม่ เกิ น สี่ ค น ซึ่งแต่ งตั้ งจาก
บุ ค คลซึ่ งเป็ น หรื อ มิ ได้ เป็ น ข้ าราชการหรื อ พนั ก งานราชการของส านั ก งาน กสอ. ได้ เพื่ อ ท าหน้ า ที่
และรับผิดชอบในการสอบสวนอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์รุนแรงนั้น
ในการแต่งตั้งอนุกรรมการ กสอ. ตามวรรคหนึ่ง ให้ กสอ. แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความ
เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสอบสวนอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์รุนแรง ซึ่งมีคุณสมบัติ ความรูค้ วามสามารถ ตาม
ข้อบังคับ กสอ. ในการนี้ กสอ. อาจจัดทาบัญชีรายชื่อผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญดังกล่าวไว้ด้วยก็ได้
ให้อนุกรรมการ กสอ. ตามวรรคหนึ่ง มี หน้าที่และอานาจในการสอบสวนเช่นเดียวกับ
กสอ. และเมื่อดาเนินการสอบสวนเสร็จสิ้นให้อนุกรรมการ กสอ. รายงานผลการสอบสวน และจัดทา
รายงานการสอบสวนอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์รุนแรงเพื่อจัดทารายงานฉบับสุดท้ายตามมาตรา ๖๔/๑๙
ต่อ กสอ.
การปฏิบัติหน้าที่และการสอบสวนของอนุกรรมการ กสอ. ให้เป็นไปตามข้อบังคับ กสอ.

มาตรา ๖๔/๑๗ ห้ ามมิให้ ผู้ ใดเปิดเผยบันทึ กเสียงหรือเสียงที่ บันทึกภายในห้ องนักบิน


และบัน ทึกภาพหรือภาพและเสี ยงที่บัน ทึกในบันทึกภาพขณะทาการบินที่อยู่ในเครื่องบั นทึกการบิ น
รวมถึ งข้ อ ความที่ ถ อดจากบั น ทึ ก ดั งกล่ า ว ไม่ ว่า ทั้ งหมดหรือ บางส่ ว น เว้น แต่ เป็ น การเปิ ด เผยเพื่ อ
ประโยชน์ ในการสอบสวนตามหมวดนี้ หรือการสอบสวนหรือการดาเนินการอื่นใดตามที่มีกฎหมาย
กาหนด

มาตรา ๖๔/๑๘ ในการสอบสวนตามหมวดนี้ ให้ กสอ. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับ


การสอบสวนรัก ษาความลั บ ของข้อมู ล เอกสาร หรือหลั กฐานที่ เกี่ยวกับการสอบสวนที่อยู่ในความ
ครอบครองหรือพิทักษ์ของ กสอ. หรือผู้ซึ่ง กสอ. มอบหมาย โดยจะเปิดเผยข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐาน
ดังกล่าวได้เฉพาะเท่าที่จาเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวนเท่านั้น
ข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวกับการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง ได้แก่
(๑) บันทึกเสียงภายในห้องนักบิน บันทึกภาพขณะทาการบิน และข้อความที่ถอดจาก
บันทึกดังกล่าว
(๒) บันทึกข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานที่เกีย่ วกับการสอบสวน ดังนี้
(ก) ถ้อยคาของบุคคลซึ่งให้ไว้ต่อ กสอ.
(ข) การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการของอากาศยาน
(ค) ข้อมูลทางการแพทย์หรือข้อมู ลส่วนบุคคลของบุคคลที่เกี่ย วข้องกับอุบัติเหตุ
หรืออุบัติการณ์นั้น
๑๑๒ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(ง) บันทึกต่าง ๆ จากหน่วยควบคุมการจราจรทางอากาศและข้อความที่ถอดจาก


บันทึกดังกล่าว
(จ) การวิเคราะห์และความเห็นของ กสอ. และผู้ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ของ
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์
(ฉ) ร่างรายงานของการสอบสวนอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์
(๓) บั น ทึ ก ข้ อ มู ล เอกสาร หรื อ หลั ก ฐานอื่ น ที่ เกี่ ย วกั บ การสอบสวนตามที่ กสอ.
ประกาศกาหนด

มาตรา ๖๔/๑๙ ให้ กสอ. จัดทารายงานฉบับสุดท้ายของการสอบสวนอุบัติเหตุหรือ


อุบัติการณ์รุนแรงให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ก่อน กสอ. จัดทาเป็นรายงานฉบับสุดท้ายตามวรรคหนึ่ง ให้ กสอ. ส่งร่างรายงานฉบับ
สุดท้ายให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือรัฐต่างประเทศที่เกี่ ยวข้อง เพื่อให้แสดงข้อคิดเห็นต่อร่างรายงานดังกล่าว
ตามระยะเวลาทีเ่ ห็นสมควร
ผู้ที่เกี่ยวข้อง รัฐต่างประเทศที่เกี่ ยวข้อง และวิธีการร่างรายงานฉบับสุดท้ายตามวรรค
สอง ให้เป็นไปตามที่ กสอ. กาหนด ทั้งนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องและรัฐต่างประเทศต้องมีมาตรการป้องกันมิให้มี
การเปิดเผยข้อมูลและรายละเอียดในร่างรายงานดังกล่าว
รายงานฉบับสุดท้ายไม่สามารถนาไปใช้ในกระบวนการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ ตารวจ
กระบวนการยุติธรรม หรือการดาเนินการใด ๆ ที่มุ่งกล่าวโทษบุคคลหรือกาหนดให้บุคคลใดต้องรับโทษ

๙๓หมวด๗/๑
การค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย
--------------

มาตรา ๖๔/๒๐ ในหมวดนี้


“การค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย” ให้หมายความรวมถึง การค้นหาและ
ช่วยชีวิตผู้ที่ประสบภัยจากอากาศยานด้วย
“สานักงาน กชย.” หมายความว่า สานักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศ
ยานและเรือที่ประสบภัย
“ผู้อานวยการ กชย.” หมายความว่า ผู้อานวยการสานักงานคณะกรรมการค้นหาและ
ช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย

๙๓
หมวด ๗/๑ การค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย (มาตรา ๖๔/๒๐ ถึงมาตรา ๖๔/๒๘) นี้
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๑๓ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๖๔/๒๑ ให้ มี ค ณะกรรมการค้ น หาและช่ ว ยเหลื อ อากาศยานประสบภั ย


แห่งชาติขึ้นคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “กชย.” ประกอบด้วย รัฐ มนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็น
ประธานกรรมการ ปลั ด ก ระท รวงคมนาคม เป็ น รองป ระธานกรรมการ ป ลั ด กระท รวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้บัญชาการ
ทหารสู งสุด ผู้ บัญ ชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการ
ตารวจแห่งชาติ เป็นกรรมการ
ให้ผู้อานวยการ กชย. ทาหน้าที่เป็ นกรรมการและเลขานุการ และให้ปลัดกระทรวง
คมนาคมโดยข้อเสนอของผู้อานวยการ กชย. แต่งตั้งข้าราชการในสานักงาน กชย. จานวนไม่เกินสองคน
เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรา ๖๔/๒๒ ให้ กชย. มีหน้าที่และอานาจ ดังต่อไปนี้


(๑) กาหนดนโยบาย แนวทาง มาตรการ และเขตความรับผิดชอบในการค้นหาและ
ช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยของประเทศไทย
(๒) เห็ น ชอบแผนการค้ น หาและช่ ว ยเหลื อ อากาศยานประส บภั ย แห่ ง ชาติ
โดยคานึงถึงมาตรฐานและข้อพึงปฏิบัติขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
(๓) กาหนดมาตรการในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอากาศยานที่อยู่ใน
ภาวะอันตราย ให้สอดคล้องกับมาตรฐานตามข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๕/๑๗ (๗)
(๔) กาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่ เกี่ยวข้องกับการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยาน
ประสบภั ย รวมทั้ งการออกประกาศหรื อ คาสั่ งเพื่ อ ด าเนิ น การให้ เป็ น ไปตามหลั ก เกณฑ์ แ ละวิธีก าร
ดังกล่าว
(๕) วางระเบียบเกี่ยวกับค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการค้นหา
และช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยตามแผนการค้นหาและช่ วยเหลืออากาศยานประสบภัย แห่งชาติ
โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
(๖) ให้คาแนะนา ปรึกษา และสนับสนุนการดาเนินการและพัฒนาระบบการค้นหาและ
ช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยของประเทศ
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น หรือตามที่
รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
เมือ่ กชย. เห็นชอบแผนตาม (๒) แล้ว ให้สานักงาน กชย. แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทราบเพือ่ ปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผนดังกล่าว
ในการปฏิบัติการตามวรรคหนึ่ง กชย. อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติ การ
อย่างหนึ่งอย่างใดแทนหรือตามที่มอบหมายก็ได้ และให้นาบทบัญญัติในมาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ มา
ใช้บังคับกับการประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม

มาตรา ๖๔/๒๓ แผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่ งชาติตาม


มาตรา ๖๔/๒๒ (๒) ต้องสอดคล้องกับ นโยบาย แนวทาง และมาตรการในการค้นหาและช่วยเหลื อ
อากาศยานประสบภั ย ที่ กชย. กาหนดตามมาตรา ๖๔/๒๒ (๑) และอย่ างน้ อ ยต้ อ งมี ส าระส าคั ญ
ดังต่อไปนี้
๑๑๔ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๑) แนวทางและมาตรการในการค้ น หาและช่ ว ยเหลื อ อากาศยานประสบภั ย


อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
(๒) วิธีการเกี่ยวกับการแจ้งข่าว การค้นหา และให้ความช่วยเหลืออากาศยานประสบ
ภัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า รวมถึงการขนย้ายผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต รวมทั้งหน้าที่ข องหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องในการดูแลเกี่ยวกับการสาธารณสุข การวางแผนและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารและ
การลาเลียงขนส่งอย่างเป็นระบบ
(๓) รายชื่อหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่
รับผิดชอบในการดาเนินการตาม (๑) และ (๒) ทั้งนี้ จะกาหนดหน่วยงานภาคเอกชนที่จะดาเนินการ
สนับสนุนหรือให้การช่วยเหลือในการดาเนินการด้วยก็ได้
(๔) งบประมาณเพื่อการดาเนินการ แนวทางในการเตรียมพร้อ มด้านการฝึ กอบรม
บุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และระบบการปฏิบั ติการในการดาเนินการค้นหาและช่วยเหลือ
อากาศยานประสบภัย เพื่อดาเนินการตาม (๑) และ (๒)

มาตรา ๖๔/๒๔ ให้ ส านั ก งาน กชย. ท าหน้ าที่ เป็ น ศู น ย์ ป ระสานงานค้ น หาและ
ช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของรัฐ ในการดาเนินการเกี่ยวกับการค้นหาและ
ช่ว ยเหลื ออากาศยานประสบภัย ของประเทศ และประสานงานในการบูรณาการกับหน่ วยงานอื่น ที่
เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลืออากาศยานที่อยู่ในภาวะอันตรายหรืออากาศยานที่สูญหายหรือขาดการติดต่อ
และต้องการการค้นหาและช่วยชีวิตผู้ที่ประสบภัยจากอากาศยานได้อย่างทันท่วงที และให้มีหน้าที่และ
อานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทาแผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย แห่งชาติเสนอให้ กชย.
เห็นชอบตามมาตรา ๖๔/๒๒ (๒)
(๒) กากับดูแลการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยให้เป็นไปตามมาตรการที่
กชย. กาหนดตามมาตรา ๖๔/๒๒ (๓)
(๓) ศึก ษาวิจั ย เพื่ อ หามาตรการในการค้ น หาและช่ ว ยเหลื อ อากาศยานประสบภั ย
ให้มีประสิทธิภาพ
(๔) ปฏิบัติการ ประสานการปฏิบัติ ให้การสนับสนุน และช่วยเหลือหน่ วยงานของรัฐ
องค์ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่น หน่ วยงานภาคเอกชน และหน่ วยงานอื่ น ที่ เกี่ ยวข้อ งในการค้น หาและ
ช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย และให้การสงเคราะห์เบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย ผู้ได้รับภยันตราย หรือผู้
ได้รับความเสียหาย
(๕) แนะน า ให้ คาปรึกษา และอบรมเกี่ยวกับ การค้น หาและช่ ว ยเหลื อ อากาศยาน
ประสบภัย แก่หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคเอกชน และหน่วยงานอื่นที่
เกีย่ วข้อง
(๖) ติ ด ตาม ตรวจสอบ และประเมิ น ผลการด าเนิ น การตามแผนการค้ น หาและ
ช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญ ญัตินี้หรือกฎหมายอื่นหรือตามที่
กชย. หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

มาตรา ๖๔/๒๕ ในกรณี ที่ อากาศยานทหาร หรืออากาศยานราชการอยู่ ในภาวะ


อันตราย สูญหาย หรือขาดการติดต่อ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอากาศยานดังกล่าว อาจร้องขอ กชย.
ให้มกี ารดาเนินการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้ได้
๑๑๕ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๖๔/๒๖ เมื่ออากาศยานอยู่ในภาวะอันตราย สู ญ หาย หรือขาดการติดต่อ


ภายในราชอาณาจักร ให้ผู้ให้บริการจราจรทางอากาศ เจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่
ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตแจ้งเหตุต่อศูนย์ประสานงานค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยโดยทันทีที่
ทราบเหตุดังกล่าว
เพื่อประโยชน์ในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ให้ผู้จดทะเบียนอากาศยาน
เจ้าของอากาศยานหรือผู้ดาเนินการเดินอากาศในกรณีอากาศยานที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย หรือ
ตัวแทนของผู้จดทะเบียนอากาศยาน เจ้าของอากาศยานหรือผู้ดาเนินการเดินอากาศ ในกรณีอากาศยาน
ต่ า งประเทศ ให้ ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ อากาศยานประสบภั ย ต่ อ ศู น ย์ ป ระสานงานค้ น หาและช่ ว ยเหลื อ
อากาศยานประสบภัยตามที่ร้องขอ

มาตรา ๖๔/๒๗ เมื่ออากาศยานอยู่ในภาวะอันตราย สู ญหาย หรือขาดการติดต่อ


หรือมีการแจ้งเหตุตามมาตรา ๖๔/๒๖ ให้สานักงาน กชย. รายงานให้รัฐมนตรีและ กชย. ทราบโดย
ไม่ชักช้า
ให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ที่เกิดเหตุเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ เพื่อควบคุมและ
กากับการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยให้เป็นไปตามแผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยาน
ประสบภัยแห่งชาติและพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์ในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยาน
ประสบภัย ให้ ผู้ บั ญ ชาการเหตุ ก ารณ์ มี อ านาจตั้ งศู น ย์ บั ญชาการเหตุ การณ์ บั งคั บบั ญชาและสั่ งการ
หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคเอกชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องได้ตาม
ความจาเป็น และให้ ศูน ย์ประสานงานค้ นหาและช่วยเหลื ออากาศยานประสบภัยให้การสนับสนุนและ
ช่วยเหลือการดาเนินการของผู้บัญชาการณ์เหตุการณ์ด้วย
ในกรณี มีเหตุอื่น ที่ จาเป็น รัฐมนตรีอาจพิ จารณาแต่งตั้งบุคคลอื่นหรือเปลี่ ยนแปลง
ผู้บัญชาการเหตุการณ์ได้ตามความเหมาะสม
เมื่อภารกิจ การค้น หาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยเสร็จสิ้ น ให้ ผู้ บัญ ชาการ
เหตุการณ์แจ้งมายังศูนย์ประสานงานค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย เพื่อดาเนินการยกเลิก
ภารกิจการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย

มาตรา ๖๔/๒๘ เพื่ อ ให้ ก ารปฏิ บั ติ ก ารช่ ว ยเหลื อ อากาศยานประสบภั ย สามารถ


ดาเนิ นการได้อย่างมีประสิท ธิภาพ ให้ผู้ บัญชาการเหตุการณ์มีอานาจกาหนดพื้นที่ และบริเวณในการ
ค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย
ห้ามบุคคลซึ่งไม่มีห น้าที่ เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่หรือบริ เวณที่กาหนดตามวรรคหนึ่ ง
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการเหตุการณ์ หรือเป็นกรณีจาเป็นเร่งด่วนหรือฉุ กเฉินเพื่อช่วยเหลือ
บุคคลให้พ้นภยันตรายที่ใกล้จะถึง
๑๑๖ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

หมวด ๘
อานาจตรวจ ยึดและหน่วงเหนี่ยว
--------------
๙๔มาตรา ๖๕ เพื่ อประโยชน์ในการปฏิบัติ ห น้าที่ตามพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ให้ พนั กงาน
เจ้ าหน้ าที่ หรือผู้ ตรวจสอบด้านการบิ นมี อานาจเรียกตรวจเอกสารตามมาตรา ๑๖ เอกสารอื่นที่ ออกตาม
พระราชบัญญัตินี้ หรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบินพลเรือนตามที่ผู้อานวยการประกาศกาหนดจาก
ผู้ที ่เกี่ย วข้อ ง และหากปรากฏว่า มีก ารฝ่า ฝื น หรือ ไม่ป ฏิบ ัติต ามบทบั ญ ญัติแ ห่ง พระราชบัญ ญัตินี้
และเกี่ยวข้องกับเอกสารดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ตรวจสอบด้านการบินมีอานาจยึดเอกสาร
นั้นไว้เพือ่ ดาเนินการต่อไป
๙๕มาตรา ๖๕/๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ตรวจสอบด้านการบินมีอานาจเรียกโดยทา
เป็นหนังสือให้บุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการบินพลเรือนชี้แจง ให้ถ้อยคา หรือจัดส่งเอกสารตามมาตรา
๑๖ เอกสารอื่นที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้หรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบินพลเรือน หรือข้อมูลที่
เกีย่ วข้อง ภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในหนังสือเรียกนั้นได้
เอกสารหรือข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นเอกสารหรือข้อมูลที่บุคคลนั้นทราบ หรืออยู่
ในความดูแลหรืออยู่ภายใต้ความควบคุมของบุคคลนั้น หรือเป็นเอกสารหรือข้อมูลที่พนักงานเจ้าหน้าที่
หรือผู้ตรวจสอบด้านการบินเห็นว่าจาเป็นเพือ่ การตรวจสอบด้านการบิน
ในกรณีที่เรียกให้บุคคลเข้าชี้แจงหรือให้ถ้อยคา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ตรวจสอบ
ด้านการบินดาเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) จดบันทึกคาตอบหรือถ้อยคาของบุคคลดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร
(๒) ให้บุคคลซึ่งชี้แจงหรือให้ถ้อยคาได้ตรวจสอบความถูกต้องตามบันทึกตาม (๑) และ
ลงนามในบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรเช่นว่านั้นด้วย
ถ้าต้องใช้ล่ามหรือ ผู้ใดแปลภาษาเพื่อให้ ข้อมูลแก่บุคคลดังกล่าวเกี่ ยวกับเนื้ อหาที่ได้
จดบันทึกไว้ ให้ล่ามหรือผู้แปลภาษานั้นลงนามในบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรเช่นว่านั้นด้วย
๙๖มาตรา ๖๖ เพื่ อ ปฏิ บั ติ ก ารตามพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ให้ พ นั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ ห รื อ
ผู้ตรวจสอบด้านการบินมีอานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) เข้าในสถานที่ใด ๆ แห่ งสนามบินอนุญาต ที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน หรือ
สถานทีต่ ั้งเครื่องอานวยความสะดวกในการเดินอากาศ
(๒) เข้าในโรงงานหรือสถานที่ซึ่งเป็นที่สร้าง ประกอบ ซ่อม หรือตรวจและถอดปรั บ
อากาศยานหรือส่วนของอากาศยาน และตรวจสอบการเหล่านั้นตลอดถึงส่วนต่าง ๆ และแบบที่เกี่ยวกับ
ส่วนเหล่านั้นในระหว่างเวลาทางาน

๙๔
แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๙๕
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๙๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๑๗ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๓) เข้าไปในอากาศยานที่ ปฏิบัติการบินมายัง ออกจาก หรื อภายในราชอาณาจักร


และที่ทาการของผู้ดาเนินการเดินอากาศและผู้ให้บริการการเดินอากาศ
(๔) ขึ้นตรวจและค้นอากาศยานซึ่งมีเหตุที่จะเชื่อว่ามีของต้ องห้ามหรือต้องกากัดตาม
พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นใด หรือของซึ่งได้นาเข้าในหรือจะนาออกนอกราชอาณาจักรอันเป็น
การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร
(๕) ตรวจอากาศยานซึ่ ง มี ใบส าคั ญ สมควรเดิ น อากาศแล้ ว เป็ น ครั้ ง คราวตามที่
เห็นสมควร
(๖) เข้าตรวจสถานที่เก็บอากาศยาน
(๗) ยึดของต้องห้ามหรือต้องกากัดตามพระราชบั ญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นใดหรือของ
ซึ่งได้นาเข้าในหรือจะนาออกนอกราชอาณาจักรอันเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร

มาตรา ๖๗ เมื่อมีการฝ่าฝืนต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ เกี่ยวกับอากาศยานใด


ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจหน่วงเหนี่ยวการออกเดินทางของอากาศยานนั้น
๙๗มาตรา ๖๗/๑ ในการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ต ามพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ผู้ อ านวยการหรื อ
ผู้ซึ่งผู้อานวยการมอบหมาย หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องแสดงบัตรประจาตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
บัตรประจาตัวให้เป็นไปตามแบบที่ผู้อานวยการกาหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๖๗/๒ ในการปฏิบั ติห น้ าที่ ตามพระราชบัญ ญั ตินี้ ให้ ผู้ อานวยการหรื อ
ผู้ซึ่งผู้อานวยการมอบหมาย และพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
๙๘มาตรา๖๗/๓ ในการปฏิ บั ติ ห น้ าที่ ตามพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ให้ ผู้ ที่ เกี่ย วข้ องอานวย
ความสะดวก และไม่กระทาการใด ๆ อันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่และ
ผู้ตรวจสอบด้านการบิน

มาตรา ๖๗/๔ เพื่ อ ประโยชน์ ในการตรวจติ ด ตามและบั ง คั บ การให้ เป็ น ไปตาม


พระราชบั ญ ญั ตินี้ ห รื อกฎหมายอื่น ที่อยู่ ภ ายใต้ ห น้ าที่ และอานาจของส านักงานการบินพลเรือ นแห่ ง
ประเทศไทย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ตรวจสอบด้านการบินมีอานาจเข้าไปในอากาศยาน สถานที่ทาการ
เพื่อขอตรวจค้นอากาศยาน หรือสถานที่ทาการนั้น หรือเข้าไปและตรวจค้นสิ่งอานวยความสะดวกใน
การเดินอากาศ และตรวจเอกสารที่เกี่ย วกับการบิน ในสถานที่นั้น ๆ ว่าปฏิบั ติหรือ ดาเนิน การตามที่
บั ญ ญั ติ ไว้ในพระราชบั ญ ญั ติ นี้ โดยต้ อ งเข้ าไปภายในเวลาท าการของสถานที่ นั้ น ๆ หรือ ตามเวลา
อันสมควร
ในการปฏิบั ติ การตามวรรคหนึ่ ง ให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ห รือผู้ ตรวจสอบด้ านการบิน
มีอานาจดังต่อไปนี้ด้วย

๙๗
มาตรา ๖๗/๑ และมาตรา ๖๗/๒ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ และ
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๙๘
มาตรา ๖๗/๓ ถึ งมาตรา ๖๗/๑๒ ของหมวด ๘ อ านาจตรวจ ยึ ด และหน่ ว งเหนี่ ย ว เพิ่ ม เติ ม โดย
พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๑๘ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๑) ตรวจสอบวัตถุใด ๆ ทาสาเนา คัดย่อจากหนังสือหรือเอกสารที่ตรวจพบในอากาศยาน


สถานที่ทาการใด ๆ ที่มีมูลเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับการและการปฏิบัติการ
ตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) สั่งให้บุคคลใด ๆ ส่งข้อมูลหรือเอกสารให้แก่สานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
หรือส่ งคืนข้อมูลหรือ เอกสารดั งกล่าว หรือวัตถุอื่นใดที่จาเป็น เพื่อการปฏิบัติการอย่างเหมาะสมตาม
พระราชบัญญัตินี้
(๓) ใช้งานคอมพิวเตอร์ใด ๆ เพื่อตรวจสอบข้อมูลที่มีและคัดลอกหรือพิมพ์สาเนาของ
บันทึกหรือรายการข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการหรือบังคับการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) สอบถามบุคคลใด ๆ ที่อยู่หรือเคยอยู่ ณ สถานที่ทาการ เพื่อให้ได้ข้อมูลในเรื่องใด ๆ
ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) สั่งบุคคลที่เป็นผู้ ควบคุมหรือเก็บรักษาหนังสือ เอกสาร หรือสิ่งของใด ๆ ที่อยู่ใน
สถานที่ทาการให้แสดงหนังสือ เอกสาร หรือสิ่งของนั้น ๆ โดยทันที หรือในเวลาหรือสถานที่ใด ๆ
(๖) สั่งบุคคลที่ครอบครอง หรือเก็บรักษา หรือควบคุมหนังสือ เอกสาร หรือสิ่งของที่
เกี่ยวข้องกับ กิจการของนายจ้าง ให้ จั ดส่ งหนังสื อ เอกสาร หรือสิ่ งของดังกล่ าวโดยทันที ห รือภายใน
ระยะเวลาและสถานทีท่ ี่กาหนด
(๗) ทดสอบการควบคุ ม การรั ก ษาความปลอดภั ย และมาตรการด้ า นการรั ก ษา
ความปลอดภัยของผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต ผู้ดาเนินการเดินอากาศ
ผู้ให้บริการการเดินอากาศ และตัวแทนควบคุมหรือการไปรษณีย์ควบคุม
ในการตรวจค้นหรือตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้ าที่หรือผู้ตรวจสอบ
ด้านการบินอาจมีล่ามแปลภาษาหรือบุคคลอื่นตามความเหมาะสมและจาเป็นในการให้ความช่วยเหลือ
แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ตรวจสอบด้านการบินด้วยก็ได้
การปฏิบัติการตามมาตรานี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ ตรวจสอบด้านการบินแสดง
บัตรประจาตัวต่อเจ้าของหรือบุคคลที่ควบคุมสถานที่ทาการนั้น หรือบุคคลที่เกีย่ วข้อง
ข้อมูลที่ได้จากการตรวจค้นหรือตรวจสอบตามมาตรานี้ ซึ่งมีลักษณะเป็นความลับ หรือ
เป็นข้อมูลส่วนบุคคล หรือเป็นข้อมูลมีความอ่อนไหวในเชิงธุรกิจ หรือเป็นข้อมูลมีลักษณะเกี่ยวข้องกับ
กรรมสิทธิ์หรือทรัพย์สินอันที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณะมิได้ ให้เก็บรักษาเป็นความลับ เว้นแต่จะได้รับ
อนุญาตจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าวหรือเป็นการนาไปใช้เ พื่อวัตถุประสงค์ในการดาเนินการ
ทางกฎหมาย

มาตรา ๖๗/๕ ในกรณี ที่มีความจาเป็นเพื่อประโยชน์ในการตรวจติดตามและกากับ


ดูแลให้มีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ตรวจสอบด้านการบินอาจเข้าไปใน
สถานทีส่ ่วนบุคคลอันเป็นที่เฉพาะได้ ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากผู้ครอบครองหรือโดยมีหมายศาล
ในการปฏิ บั ติ ก ารตามวรรคหนึ่ ง หากมี ก ารเคลื่ อ นย้ า ยสิ่ งของใด ๆ จากสถานที่
ทาการที่เข้าตรวจค้น พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ตรวจสอบด้านการบินผู้นั้นต้องออกใบรับที่แสดงสิ่งของที่
ได้เคลื่อนย้ายให้แก่เจ้าของหรือบุคคลที่ควบคุมสถานที่ทาการนั้น และต้องนาสิ่งของดังกล่าวส่งคืนให้เร็ว
ทีส่ ุดเท่าที่จะเป็นไปได้หลังจากทีน่ าไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของการเคลื่อนย้ายแล้ว
พนักงานเจ้าหน้าทีห่ รือผู้ตรวจสอบด้านการบินซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้ อาจมีล่าม
แปลภาษาหรือบุคคลอื่นตามความเหมาะสมและจาเป็นในการให้ ความช่วยเหลือแก่พนักงานเจ้าหน้าที่
หรือผู้ตรวจสอบด้านการบินด้วยก็ได้
๑๑๙ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๖๗/๖ พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ตรวจสอบด้านการบินที่ทาการตรวจค้นหรือ


ตรวจสอบตามมาตรา ๖๗/๔ หรือมาตรา ๖๗/๕ อาจแจ้งเป็นหนังสือให้ เจ้าของหรือบุคคลที่ควบคุม
สถานที่ทาการนั้น หรือ บุคคลซึ่งเกี่ย วข้องดาเนิน การแก้ไขหรือจัด ให้มีม าตรการที่เหมาะสมเพื่อให้
เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่นใดที่บัญญัติให้มีการดาเนินการได้ ภายในระยะเวลาที่
พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ตรวจสอบด้านการบินกาหนด
หนังสือแจ้งให้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) รายละเอียดเกี่ยวกับการกระทาที่ถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
(๒) ขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องดาเนินการและกาหนดระยะเวลาในการดาเนินการขั้นตอน
เหล่านั้น
(๓) สิ่งที่ห้ามกระทาและกาหนดระยะเวลาที่ห้ามกระทาการดังกล่าวที่ระบุไว้
(๔) กระบวนการที่ต้องปฏิบัติในการยื่นอุทธรณ์การออกหนังสือแจ้งเกี่ยวกับการปฏิบัติ
ตามกฎหมาย
ในกรณีที่มีเหตุอันควร พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ตรวจสอบด้านการบินอาจสั่งให้มีการ
แก้ไข เพิม่ เติม หรือเปลี่ยนแปลงรายการในหนังสือแจ้งดังกล่าวและอาจขยายระยะเวลาที่กาหนดไว้ก็ได้
ในกรณี ที่ บุ ค คลซึ่ ง ต้ อ งปฏิ บั ติ ต ามหนั งสื อ แจ้ งนั้ น ไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามรายการที่ ก าหนด
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ตรวจสอบด้านการบินรายงานให้ผู้อานวยการทราบเพื่อสั่งการต่อไป
การยื่ น อุ ท ธรณ์ ก ารออกหนั ง สื อ แจ้ ง ให้ ป ฏิ บั ติ ต ามกฎหมายที่ อ อกตามความใน
วรรคหนึ่ง ไม่มีผลเป็นการทุเลาการปฏิบัติให้เป็นไปตามหนังสือดังกล่าว ในระหว่างที่รอผลการพิจารณา
อุทธรณ์

มาตรา ๖๗/๗ พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ตรวจสอบด้านการบินมีอานาจสั่งห้ามเจ้าของ


หรือผู้จดทะเบียนอากาศยาน ผู้ดาเนินการเดินอากาศ หรือสมาชิกลูกเรือของอากาศยาน มิให้นาอากาศ
ยานไปปฏิบัติการบินในกรณีที่มเี หตุหรือมีเหตุอันควรสงสัย ดังต่อไปนี้
(๑) อากาศยานนั้นไม่มีความสมควรเดินอากาศ
(๒) สมาชิกลูกเรือไม่มีคุณสมบัติหรือหย่อนสมรรถภาพทางกายหรือจิตใจที่จะทาการบินได้
(๓) การปฏิ บั ติก ารของอากาศยานดังกล่ าวอาจก่ อ ให้ เกิ ดภยั น ตรายแก่บุ ค คลหรือ
ทรัพย์สินที่อยู่บนภาคพื้น
(๔) เจ้ า ของหรื อ ผู้ จ ดทะเบี ย นอากาศยาน หรื อ ผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศ ไม่ ช าระ
ค่าธรรมเนียมกากับการบินพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือค่าบริการ
หรื อ ค่ า ธรรมเนี ย มอื่ น ใดที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการใช้ บ ริ ก ารของหน่ ว ยงานผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารด้ า นการบิ น
เช่น บริการของสนามบิน หรือบริการการเดินอากาศ หรือบริการอื่นที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด ซึ่ง
ถึงกาหนดต้องชาระไม่ว่าทั้งหมดหรื อบางส่ว น หรือไม่ชาระเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ มที่เกิดจากการชาระ
ค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการล่าช้า ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด
(๕) ไม่ชาระค่าปรับที่เกิดจากการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
ในการดาเนินการตามวรรคหนึ่ง (๑) (๒) และ (๓) พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ตรวจสอบด้าน
การบินอาจดาเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่จาเป็นเพื่อหน่วงเหนี่ยวอากาศยานหรือยับยั้งสมาชิกลูกเรือ
นั้นมิให้ปฏิบัติการบินตามวรรคหนึ่งได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด
๑๒๐ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ในการด าเนิ น การตามวรรคหนึ่ ง (๔) หรื อ (๕) ภายหลั ง ได้ สั่ งห้ ามน าอากาศยาน
ไปปฏิบัติการบิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ตรวจสอบด้านการบินรายงานให้ผู้อานวยการทราบโดยเร็ว
และหากมีความจ าเป็ น ต้องมีการหน่ ว งเหนี่ยวอากาศยานนั้ น จนกว่าจะได้มี การช าระค่าธรรมเนี ยม
ค่าบริการ เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม หรือค่าปรับ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ ตรวจสอบด้านการบินเสนอต่อ
ผู้อานวยการให้ มีคาสั่งหน่ วงเหนี่ ยวอากาศยานนั้นไว้ได้ และจะกาหนดเงื่อนไขที่ จะต้องปฏิบั ติตาม
ความจาเป็นด้วยก็ได้

มาตรา ๖๗/๘ ในกรณี ที่ มี เหตุ อั น ควรเชื่ อ ได้ ว่าอากาศยานล าใดน่ าจะท าการบิ น
ในลักษณะที่เข้าข่ายเป็ น การบิ น ที่ฝ่าฝื น พระราชบัญ ญั ตินี้ หรือ ฝ่าฝื น ข้อบังคับ ข้อกาหนด ประกาศ
ระเบียบหรือคาสั่ง หรือคาสั่งการใดที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นใด หรือการทา
การบินเช่นว่านั้นอาจก่อให้เกิดภยันตรายต่ อบุคคลในอากาศยานหรือต่อบุคคลหรือทรัพย์สินที่อยู่บน
ภาคพื้น ผู้อานวยการอาจมีคาสั่งให้หน่วงเหนี่ยวอากาศยานนั้น หรือในกรณีจาเป็นจะสั่ งให้ระงับการ
ให้บริการสิ่งอานวยความสะดวกในการเดินอากาศใด ๆ สาหรับอากาศยานดังกล่าวด้วยก็ได้
เมื่อผู้อานวยการเห็นว่าได้มีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้ หรือข้อบังคับ
ข้อกาหนด ประกาศ ระเบียบหรือคาสั่ง หรือคาสั่งการใดที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมาย
อื่นใดนั้นแล้ว ให้ผู้อานวยการมีคาสั่งยกเลิกคาสั่งหน่วงเหนี่ยวหรือคาสั่งระงับการให้บริการดังกล่าว

มาตรา ๖๗/๙ หากปรากฏว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีบุคคลที่จงใจหรือน่าจะกระทา


การกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ตรวจสอบด้านการบินอาจมีคาสั่งห้ามผู้ได้รับ
ใบรับรอง ใบอนุญาต ใบสาคัญ หนังสืออนุญาต หรือหนังสือรับรอง มิให้ใช้สิทธิที่ ได้รับตามใบรับรอง
ใบอนุญาต ใบสาคัญ หนังสืออนุญาต หรือหนังสือรับรอง นั้น
(๑) ฝ่าฝื นพระราชบั ญญั ติ นี้ หรือข้อบังคับ ข้ อกาหนด ประกาศ ระเบียบหรื อคาสั่ ง
หรือคาสั่งการใดที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้
(๒) อาจก่ อ ให้ เกิ ด ภยั น ตรายแก่ บุ ค คลในอากาศยานหรื อ แก่ บุ ค คลหรื อ ทรัพ ย์ สิ น
ทีอ่ ยู่บนภาคพื้น
การสั่ งห้ ามใช้สิ ทธิตามวรรคหนึ่ง ให้ เป็ น ไปตามหลั กเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลา
ที่ผู้อานวยการกาหนด

มาตรา ๖๗/๑๐ ผู้ดาเนินการเดินอากาศต่างประเทศซึ่งดาเนินการในประเทศไทย


จะต้องมีหนังสือแต่งตั้งตัวแทนในประเทศไทยเพื่อทาหน้าที่เกี่ ยวกับการรับหนังสือแจ้ง คาสั่งการ หรือ
ค าวิ นิ จ ฉั ย ที่ อ อกตามพระราชบั ญ ญั ติ นี้ แ ละด าเนิ น การตามที่ ได้ รั บ แจ้ ง ในนามของผู้ ด าเนิ น การ
เดิน อากาศต่างประเทศนั้ น โดยส่ งหนั งสื อแต่งตั้ งดังกล่ าวให้ แก่ผู้ อานวยการก่อนเริ่ม ดาเนิ น การใน
ประเทศไทย
การส่ งหนั งสื อแจ้ ง คาสั่ ง การ หรือคาวินิจฉัย ตามพระราชบั ญ ญั ตินี้อาจออกให้ แก่
ผู้ดาเนินการเดินอากาศหรือผู้ดาเนินการเดินอากาศต่างประเทศใด ๆ โดยส่งไปยังสานักงานใหญ่หรือ
ส่งไปยังที่ทาการของตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี โดยให้ถือว่ามีผลเช่นเดียวกับการออกให้แก่
ผู้ดาเนินการเดินอากาศหรือผู้ดาเนินการเดินอากาศต่างประเทศนั้น
๑๒๑ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ในการส่งหนังสือแจ้ง คาสั่งการ หรือคาวินิจฉัยที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้


หากไม่ ป รากฏตั ว ผู้ แ ทนที่ ได้ รั บ การแต่ งตั้ งตามวรรคหนึ่ ง ให้ ก ระท าโดยการติ ด ประกาศให้ ท ราบ
ณ ที่ทาการของตัวแทนหรือลงประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของสานั กงานการบินพลเรือน
แห่งประเทศไทยประการใดประการหนึ่งได้

มาตรา ๖๗/๑๑ การยื่นข้อร้องเรียนว่ามีการดาเนินการหรื อละเว้นดาเนิน การใด ๆ


อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ หรือข้อบังคับ ข้อกาหนด ประกาศ ระเบียบหรือคาสั่ง หรือคาสั่งการใด

ทีอ่ อกตามความในพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นเป็นหนังสือต่อผู้อานวยการ
การยื่นและการรับข้อร้องเรียน การพิจารณา และการสอบสวนข้อร้องเรียนตามวรรค
หนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ผู้อานวยการประกาศกาหนด

มาตรา ๖๗/๑๒ บุคคลใดที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรือความไม่เป็นธรรมจาก


คาสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ตรวจสอบด้านการบินที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ และมิได้เป็นคาสั่ง
ที่ออกโดยผู้อานวยการ อาจยื่นอุทธรณ์ คาสั่ งนั้นต่อผู้อานวยการภายในสิ บห้ าวันนั บแต่ วันที่ ได้รับคาสั่ ง
ดังกล่าว
ให้ผู้อานวยการพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จพร้อมทั้งให้เหตุผล โดยคาวินิจฉัยนั้นต้อง
ทาเป็นหนังสือ และแจ้งให้แก่ผู้อุทธรณ์ทราบ ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับการอุทธรณ์
คาวินิจฉัยของผู้อานวยการตามวรรคสอง ให้เป็นที่สุด
การยื่นและรับอุทธรณ์ การพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามที่ผู้อานวยการ
ประกาศกาหนด ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้โอกาสอันควรแก่คู่กรณีในการ
แสดงตัว การแสดงและโต้แย้งข้อมูลและข้อพิสูจน์ ในการพิจารณาอุทธรณ์
การอุทธรณ์นี้ ไม่เป็นเหตุแห่งการทุเลาคาสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ตรวจสอบ
ด้านการบินดังกล่าว

๙๙หมวด ๙
บทกาหนดโทษ
--------------
๑๐๐มาตรา ๖๗/๑๓ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกาหนดที่ออกตามมาตรา ๑๕/๑๐ วรรคสอง
ในเรื่องที่เกี่ยวกั บมาตรา ๑๕/๑๐ วรรคหนึ่ง (๑) หรือ (๓) ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้ าหมื่นบาทถึง
ห้าแสนบาท และปรับอีกวันละสองพันบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

๙๙
หมวด ๙ เดิมยกเลิกและใช้ความใหม่ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๐๐
มาตรา ๖๗/๑๓ ถึงมาตรา ๖๗/๒๐ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๒๒ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๖๗/๑๔ ผู้ใดกระทาการอย่ างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจาคุก


ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทัง้ จาทั้งปรับ
(๑) จัดให้มีบริการการเดินอากาศโดยไม่ได้รับใบรับรองตามมาตรา ๑๕/๑๘
(๒) ผลิตอากาศยานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๔๑/๒๑
(๓) ผลิตส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๔๑/๓๒
(๔) ประกอบกิจการหน่วยซ่อมโดยไม่ได้รับใบรับรองตามมาตรา ๔๑/๙๔
(๕) ประกอบกิจการบารุงรักษาอากาศยานต่างประเทศในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับ
ใบอนุญาตตามมาตรา ๔๑/๑๑๐
(๖) ใช้อากาศยานในการขนส่งทางอากาศเพื่ อการพาณิชย์โดยไม่ได้รับใบรับรองตาม
มาตรา ๔๑/๑๑๓
(๗) ประกอบกิจการการบินพลเรือนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๔๑/๑๒๕
(๘) เป็นผู้ดาเนินการเดินอากาศต่างประเทศซึ่งประกอบกิจการขนส่งทางอากาศเพื่ อ
การพาณิชย์เข้ามายังหรือออกจากราชอาณาจักรโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๑/๑๒๖ วรรคหนึ่ง
(๙) เปิ ด สนามบิ น หรื อ ที่ ขึ้ น ลงชั่ ว คราวของอากาศยานให้ บ ริ ก ารแก่ ส าธารณะ
โดยไม่ได้รับใบรับรองตามมาตรา ๖๐/๑
(๑๐) นาอากาศยานไปปฏิบัติการโดยฝ่าฝืนคาสั่งห้ามตามมาตรา ๖๗/๗ วรรคหนึ่ง
(๑๑) เปิดให้บริการสิ่งอานวยความสะดวกในการเดินอากาศโดยฝ่า ฝืนคาสั่งระงับการ
ให้บริการตามมาตรา ๖๗/๘
(๑๒) ใช้สิทธิที่ได้รับตามใบรับรอง ใบอนุญาต ใบสาคัญ หนังสืออนุญาต หรือหนังสือ
รับรอง โดยฝ่าฝืนคาสั่งห้ามตามมาตรา ๖๗/๙

มาตรา ๖๗/๑๕ ผู้ได้รับใบรับรองบริการการเดินอากาศ หรือใบรับรองผู้ดาเนินการ


เดิ น อากาศ หรื อ ใบอนุ ญ าตประกอบกิ จการการบิ น พลเรือ น ผู้ ใดดาเนิ น การอัน เป็ น การฝ่ าฝื น หรือ
ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ข้อกาหนด เงื่อนไข ข้อจากัด หรือข้อบังคับ แล้วแต่กรณีตามมาตรา ๑๕/๒๐
วรรคสอง มาตรา ๔๑/๑๑๗ มาตรา ๔๑/๑๒๕ วรรคสอง หรือมาตรา ๔๑/๑๒๖ วรรคสอง ต้องระวาง
โทษปรับตั้งแต่ห้าหมืน่ บาทถึงห้าแสนบาท และปรับอีกวันละสองหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา ๖๗/๑๖ ผู้ได้รับใบรับรองบริการการเดินอากาศผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม


หน้าที่ทกี่ าหนดไว้ในมาตรา ๑๕/๒๒ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท

มาตรา ๖๗/๑๗ ผู้ได้รับใบรับรองบริการการเดินอากาศผู้ใดไม่ส่งคืนใบรับรองบริการ


การเดิ น อากาศตามมาตรา ๑๕/๒๔ วรรคสอง ผู้ จ ดทะเบี ย นอากาศยานผู้ ใดไม่ ส่ ง คื น ใบส าคั ญ
การจดทะเบียนตามมาตรา ๓๒ วรรคสอง ผู้ได้รับใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศผู้ใดไม่ส่งคืนใบรับรอง
ผู้ดาเนินการเดินอากาศตามมาตรา ๔๑/๑๒๑ วรรคสอง หรือผู้ได้รับใบรับรองการดาเนินงานสนามบิน
สาธารณะผู้ใดไม่ส่งคืนใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะตามมาตรา ๖๐/๓๒ วรรคสอง ต้อง
ระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และปรับอีกวันละสองพันบาทจนกว่าจะส่งคืน
๑๒๓ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๖๗/๑๘ ผู้ใดกระทาการอย่างใดอย่างหนึ่งดั งต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจาคุก


ไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทัง้ จาทั้งปรับ
(๑) ไม่ยิ น ยอมให้ ผู้ อานวยการหรือพนักงานเจ้ าหน้ าที่ ห รื อผู้ ตรวจสอบด้านการบิ น
ปฏิบัติการตามมาตรา ๑๕/๒๕ มาตรา ๔๑/๕๗ มาตรา ๔๑/๑๑๙ มาตรา ๖๐/๒๐ มาตรา ๖๐/๔๒
มาตรา ๖๕ มาตรา ๖๕/๑ มาตรา ๖๖ หรือมาตรา ๖๗/๔
(๒) ไม่ยินยอมให้ กสอ. ปฏิบัติการตามมาตรา ๖๔/๖

มาตรา ๖๗/๑๙ ผู้ใดกระทาการอย่ างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจาคุก


ไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินแปดหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
(๑) รับมอบ จัดเก็บ บรรทุก ขนถ่าย หรือขนส่งวัตถุอันตรายไปกับอากาศยานโดยไม่ได้
รับใบอนุญาตจากผู้อานวยการตามมาตรา ๑๕/๒๗
(๒) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกาหนด เงื่อนไข และแนวทางในการดาเนินการกับวัตถุ
อันตรายหรือสิ่งของต้องห้ามหรือต้องดูแลเป็นพิเศษที่ออกโดยผู้อานวยการตามมาตรา ๑๕/๒๘ และ
มาตรา ๑๕/๓๐
(๓) รับมอบ จัดเก็บ บรรทุก ขนถ่าย หรือขนส่งสิ่งของต้องห้ามหรือต้องดูแลเป็นพิเศษ
ไปกับอากาศยานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อานวยการตามมาตรา ๑๕/๒๙
(๔) ส่ ง หรื อ พาวั ต ถุ อั น ตรายหรื อ สิ่ ง ของต้ อ งห้ า มหรื อ ต้ อ งดู แ ลเป็ น พิ เศษไปกั บ
อากาศยาน โดยมิได้ให้หรือสาแดงข้อมูลต่อผู้ขนส่งตามข้อกาหนดของผู้อานวยการตามมาตรา ๑๕/๓๑
(๕) น าอากาศยานบิ น เข้าพื้ นที่ห วงห้ ามเด็ดขาดหรือพื้นที่ห วงห้ามเฉพาะโดยฝ่าฝื น
เงื่อนไขหรือข้อจากัดตามมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง
(๖) นาอากาศยานบินเข้าพื้นที่อันตราย โดยไม่ปฏิบัติตามคาแนะนาของผู้อานวยการ
หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๒๒ วรรคสาม
(๗) ส่งหรือพายุทธภัณฑ์ไปกับอากาศยานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามมาตรา ๒๕
(๘) เป็นผู้ประจาหน้าที่โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้ าหน้าที่ หรือใบรับรอง
ใบอนุญาตผู้ประจาหน้าที่ซ่ึงออกให้โดยรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาหรือรัฐที่ได้ทาความตกลงกับประเทศไทย
ตามมาตรา ๔๒ หรือใบอนุญาตผู้ประจาหน้าที่ที่มาจากการเทียบโอนตามมาตรา ๕๐/๖ หรือใบอนุญาต
ผู้ประจาหน้าที่ที่ออกให้หรือรับรองตามกฎหมายของประเทศผู้จดทะเบียนอากาศยานตามมาตรา ๕๐/๗
(๙) ปฏิบัติหน้าทีใ่ นฐานะผู้ประจาหน้าที่โดยไม่มีใบสาคัญแพทย์ตามมาตรา ๕๐/๙
ในกรณีที่ผู้ควบคุมอากาศยานทาการบินโดยรู้ว่ามีผู้กระทาความผิดตาม (๑) (๒) (๓)
หรือ (๗) ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

มาตรา ๖๗/๒๐ ผู้ ใดได้ รับอนุ ญาตตามมาตรา ๑๕/๒๗ มาตรา ๑๕/๒๙ มาตรา ๒๔
มาตรา ๒๕ มาตรา ๕๓ วรรคสอง หรือมาตรา ๖๐ เบญจ วรรคสาม ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามวิธีการและ
เงื่อนไขที่กาหนดในการอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
๑๒๔ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

๑๐๑มาตรา ๖๘ ผู้ใดกระทาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน


หนึ่งแสนบาท
(๑) น าอากาศยานทาการบิน โดยไม่นาใบส าคัญ การจดทะเบียน ใบสาคัญ สมควร
เดิน อากาศ สมุดปู มเดิน ทาง ใบอนุ ญ าตเครื่องวิทยุสื่อสารถ้ามีเครื่องวิท ยุ สื่อสาร บั ญ ชีแสดงรายชื่อ
ผู้โดยสารและบั ญชีแสดงรายการสินค้ าติดไปกับอากาศยานตามมาตรา ๑๖ (๑) (๓) (๔) (๖) (๗) (๘)
หรือ (๙)
(๒) น าอากาศยานท าการบิน โดยอากาศยานนั้ นไม่แสดงเครื่องหมายสั ญ ชาติและ
ทะเบียนหรือไม่ติดแผ่นแสดงเครื่องหมายอากาศยานตามมาตรา ๑๖ (๒)
(๓) นาอากาศยานทาการบิน โดยมีผู้ประจาหน้าที่ที่ไม่นาใบอนุญาตผู้ ประจาหน้าที่
ของตนติดไปกับอากาศยานตามมาตรา ๑๖ (๕)
(๔) นาอากาศยานส่วนบุคคลทาการบิน โดยไม่นาใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุ คคล
ติดไปกับอากาศยานตามมาตรา ๒๙ เบญจ
(๕) น าอากาศยานท าการบิ น โดยฝ่ าฝื น หรือ ไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามข้อ จากั ด ความสมควร
เดินอากาศหรือข้อจากัดอื่นตามมาตรา ๔๑/๒ วรรคสอง หรือมาตรา ๔๑/๔ วรรคหนึ่ง หรือเงื่อนไขหรือ
ข้อจากัดการใช้งานตามมาตรา ๔๑/๙ วรรคสอง ทีเ่ กี่ยวกับความปลอดภัย โดยไม่มีเหตุอันสมควร
ผู้ ใดน าอากาศยานท าการบิ น โดยอากาศยานนั้ น ไม่ ไ ด้ จ ดทะเบี ย นอากาศยาน
ตามมาตรา ๓๐ หรือไม่มีส มุดปูมเดิน ทางตามมาตรา ๑๖/๑ หรือมีผู้ประจาหน้ าที่ซึ่งไม่มีใบอนุญ าต
ผู้ประจาหน้าทีห่ รือใบรับรองใบอนุญาตผู้ประจาหน้าที่ซึ่งออกให้โดยรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาหรือรัฐที่ได้ทา
ความตกลงกับ ประเทศไทยในอากาศยานตามมาตรา ๔๒ หรือ ใบอนุ ญ าตผู้ ป ระจาหน้ าที่ ที่ มาจาก
การเทียบโอน ตามมาตรา ๕๐/๖ หรือใบอนุญาตผู้ประจาหน้าที่ที่ออกให้หรือรับรองตามกฎหมายของ
ประเทศผู้จดทะเบียนอากาศยาน ตามมาตรา ๕๐/๗ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน
สี่หมื่นบาท หรือทั้งจาทัง้ ปรับ

มาตรา ๖๙ ผู้จดทะเบียนอากาศยานหรื อผู้ดาเนินการเดินอากาศผู้ใดกระทาการ


อย่ างใดอย่ างหนึ่ งดั งต่ อไปนี้ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสองปี หรือปรับ ไม่ เกินแปดหมื่นบาท หรือ
ทั้งจาทั้งปรับ
(๑) ไม่จั ดให้ มี ส มุ ดปู ม เดิน ทางตามมาตรา ๑๖/๑ วรรคหนึ่ ง หรือจั ดให้ มี ส มุ ดปู ม
เดินทางแต่มีรายการไม่ครบถ้วนตามมาตรา ๑๖/๑ วรรคสอง
(๒) ไม่เก็บรักษาสมุดปูมเดินทางตามที่กาหนดในข้อกาหนดที่ออกตามมาตรา ๑๖/๑
วรรคสาม
(๓) ไม่จัดให้มีเครื่องหมายสัญชาติและทะเบียนหรือไม่ติดแผ่นแสดงเครื่องหมายอากาศยาน
ตามที่กาหนดไว้ในข้อกาหนดที่ออกตามมาตรา ๓๓

๑๐๑
มาตรา ๖๘ วรรคหนึ่ งและวรรคสองแก้ ไขเพิ่ มเติม โดยพระราชบั ญ ญั ติ การเดิน อากาศ (ฉบับ ที่ ๑๔)
พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๒๕ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๗๐ ผู้ควบคุมอากาศยานผู้ใดไม่บันทึกรายการในสมุดปูมเดินทาง บันทึก


รายการในสมุดปูมเดินทางไม่ครบถ้วน หรือบันทึกรายการในสมุดปูมเดินทางไม่ตรงตามความเป็นจริง
ตามมาตรา ๑๖/๑ วรรคสอง ต้ องระวางโทษจ าคุ ก ไม่ เกิ น หกเดื อ น หรื อ ปรั บ ไม่ เกิ น สองหมื่ น บาท
หรือทัง้ จาทั้งปรับ

มาตรา ๗๑ ผู้ดาเนินการเดินอากาศผู้ ใดกระทาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้


ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทัง้ จาทั้งปรับ
(๑) ไม่จัดให้มีบัญชีแสดงรายชื่อผู้โดยสารหรือบัญชีแสดงรายการสินค้าตามมาตรา ๑๖/๓
วรรคหนึ่ง หรือจัดให้มีแต่มีรายการไม่ครบถ้วนหรือมีรายการไม่ตรงตามความเป็นจริง
๑๐๒(๒) ไม่ เก็ บ รั ก ษาบั ญ ชี ห รื อ ไม่ บั น ทึ ก รายการในบั ญ ชี ต ามที่ ก าหนดในข้ อ ก าหนดตาม

มาตรา ๑๖/๓ วรรคสอง


(๓) ไม่จัดให้มีแผนการบินหรือแผนปฏิบัติการบินตามที่กาหนดไว้ในมาตรา ๑๖/๔
๑๐๓มาตรา
๗๒ เว้นแต่จะมีกรณีฉุกเฉินอันอาจเป็นอันตรายแก่ อากาศยานหรือบุคคล
ในอากาศยาน หรือการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ผู้ใดกระทาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้อง
ระวางโทษจาคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจาทัง้ ปรับ
(๑) นาอากาศยานขึ้นลงโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๕๐/๑๔
(๒) นาอากาศยานบินออกนอกเส้นทางบินทีก่ าหนดในข้อกาหนดที่ออกตามมาตรา ๑๘
๑๐๔มาตรา๗๓ ผู้ควบคุมอากาศยานผู้ใดกระทาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องระวาง
โทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
(๑) นาอากาศยานทาการบินโดยไม่มีแผนการบินตามมาตรา ๑๘/๑
(๒) ฝ่ าฝื น หรื อไม่ป ฏิ บั ติ ต ามกฎจราจรทางอากาศที่ กาหนดในข้อบั งคับ ที่ อ อกตาม
มาตรา ๑๘/๒
(๓) ฝ่ าฝื น หรื อไม่ป ฏิ บั ติ ตามกฎจราจรทางอากาศที่ กาหนดในข้ อบั งคั บ ที่ อ อกตาม
มาตรา ๑๘/๓
(๔) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับหรือข้อกาหนดตามมาตรา ๑๙

มาตรา ๗๔ ผู้กระทาการอย่างใดอย่ างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน


หกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทัง้ จาทัง้ ปรับ
๑๐๕(๑) ผู้ให้บริการการเดินอากาศเก็บค่าบริการไม่เป็นไปตามอัตราที่ผู้อานวยการประกาศ

กาหนดตามมาตรา ๑๕/๒๖ หรือผู้ ด าเนิ นการเดินอากาศเก็บค่าโดยสารหรือค่าระวางไม่ เป็นไปตาม

๑๐๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
๑๐๓
แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๐๔
แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ และพระราชกาหนดแก้ไข
เพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๐๕
แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๒๖ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

หลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการบินพลเรือนกาหนด หรือเกินอัตราขัน้ สูงที่กาหนดในข้อบังคับ


ของคณะกรรมการการบินพลเรือนตามมาตรา ๔๑/๑๓๐
(๒) เจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตซึ่งให้บริการ
แก่สาธารณะเก็บค่าบริการ ค่าภาระ หรือเงินตอบแทนอื่นใด นอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง
หรือเกินอัตราที่คณะกรรมการการบินพลเรือนกาหนด หรืออนุมัติตามมาตรา ๕๖ วรรคสองหรือวรรคสาม
แล้วแต่กรณี
๑๐๖(๓) ยกเลิก

(๔) คณะกรรมการ กรรมการ และพนั ก งานของนิ ติ บุ ค คลที่ ไ ด้ รั บ ใบรั บ รอง


การดาเนินงานสนามบินสาธารณะกระทากิจการใด ๆ ของสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต
โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๐/๒๖
(๕) เจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตเก็บค่าบริการผู้โดยสารขาออกโดยไม่ได้
รับอนุมัติจากรัฐมนตรีหรือเก็บเกินกว่าที่รัฐมนตรีอนุมัติตามมาตรา ๖๐/๓๗ วรรคสอง
(๖) ผู้ ป ระกอบการให้ บริการในลานจอดอากาศยานผู้ ใดเก็บ ค่าบริการเกิ น อัต ราที่
ผู้อานวยการอนุมัติตามมาตรา ๖๐ ฉ
๑๐๗มาตรา ๗๕ ผู้ จ ดทะเบี ย นอากาศยาน ผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศ ผู้ ใ ห้ บ ริ ก าร
การเดินอากาศ ผู้ประจาหน้าที่ หรือผู้ได้รับใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา
๒๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
บุ ค คลที่ อ ยู่ ในอากาศยานและบุ คคลอื่น ใดที่ อยู่ ภ ายใต้บั ง คับ แห่ งพระราชบั ญ ญั ติ นี้
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
ผู้ดาเนินการเดินอากาศหรือผู้ ได้รับใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะหรือ
ผู้ ป ระกอบการในสนามบิ น อนุ ญ าต หรื อ ผู้ มี ห น้ า ที่ ต้ อ งปฏิ บั ติ ต ามแผนรั ก ษาความปลอดภั ย หรื อ
แผนนิรภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ วรรคสอง ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

มาตรา ๗๖ ผู้ ใดกระท าการอย่างใดอย่ างหนึ่ งดังต่ อ ไปนี้ ต้อ งระวางโทษจาคุ ก


ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
๑๐๘(๑) นาอากาศยานบินเข้าพื้นที่หวงห้ามเด็ดขาดหรือพื้นที่หวงห้ามเฉพาะที่ผู้อานวยการ

ได้ประกาศกาหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง
(๒) นาอากาศยานไทยบินออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก
พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๒๗
(๓) นาอากาศยานต่างประเทศบิน ผ่านหรือขึ้นลงในราชอาณาจักรโดยไม่มีสิทธิ หรือ
ไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีตามมาตรา ๒๘

๑๐๖
ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๐๗
แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๐๘
แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๒๗ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๔) นาอากาศยานทหารต่างประเทศบิน ผ่านหรือขึ้นลงในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับ


อนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีตามมาตรา ๒๙

มาตรา ๗๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๓ หรือมาตรา ๖๐ สัตต วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ต้อง


ระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๗๘ ผู้ ใดกระท าการอย่ างใดอย่างหนึ่ งดั งต่ อไปนี้ ต้อ งระวางโทษจาคุ ก
ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
(๑) บังคับหรือปล่อยอากาศยาน ซึ่งไม่มีนักบินหรือทิ้งร่มอากาศโดยไม่ได้รับอนุญาต
เป็นหนังสือจากรัฐมนตรีตามมาตรา ๒๔
(๒) ขัดขวางหรือหลีกเลี่ยงการตรวจค้นตามมาตรา ๖๐/๑๗ มาตรา ๖๐/๑๘ หรือ
มาตรา ๖๐/๑๙
(๓) ขัดขวางการเข้าดาเนินการหรือเข้าควบคุมการดาเนินงานสนามบินอนุญาตหรือที่
ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตตามมาตรา ๖๐/๒๓ หรือมาตรา ๖๐/๓๓
(๔) ไม่แจ้งการครอบครองทรัพย์สินหรื อเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสนามบินหรือที่ขึ้นลง
ชั่วคราวที่ถูกสั่งควบคุมการดาเนินงานให้คณะกรรมการควบคุมสนามบินทราบตามมาตรา ๖๐/๒๗
๑๐๙มาตรา ๗๙ ยกเลิก

มาตรา ๘๐ ยกเลิก

มาตรา ๘๑ ผู้ ใดใช้ อ ากาศยานส่ ว นบุ ค คลท าการบิ น โดยไม่ ได้ รับ อนุ ญ าตจาก
ผู้อานวยการตามมาตรา ๒๙ ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
หรือทั้งจาทั้งปรับ

มาตรา ๘๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคลผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
เงื่อนไขที่กาหนดไว้แนบท้ายใบอนุญาตตามมาตรา ๒๙ ทวิ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
และในกรณีที่เป็นความผิดต่อเนื่องกันให้ปรับอีกวันละหนึ่งหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
๑๑๐มาตรา ๘๓ ยกเลิก

มาตรา ๘๔ ผู้ ใดแสดงหรือ ใช้ เครื่อ งหมายสั ญ ชาติและทะเบี ยนหรือ แผ่ นแสดง
เครื่องหมายอากาศยานบนอากาศยาน ที่แตกต่างไปจากที่ กาหนดในข้อกาหนดตามมาตรา ๓๓ หรือนา
อากาศยานที่แสดงหรื อใช้เครื่องหมายสั ญ ชาติและทะเบี ยนหรือแผ่ นแสดงเครื่องหมายอากาศยาน
ดังกล่าวทาการบิน โดยรู้ว่าอากาศยานนั้นแสดงหรือใช้เครื่องหมายสัญชาติและทะเบียนหรือแผ่นแสดง

๑๐๙
มาตรา ๗๙ และมาตรา ๘๐ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๑๐
ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๒๘ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

เครื่องหมายอากาศยานโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจาคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึง


สองแสนแปดหมื่นบาท หรือทั้งจาทัง้ ปรับ

มาตรา ๘๕ ผู้ได้รับใบรับรองแบบผู้ใดไม่แจ้งคาสั่งของผู้อานวยการตามมาตรา ๔๑/๑๑


วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมืน่ บาท

มาตรา ๘๖ ผู้ ได้รับ ใบอนุ ญ าตผลิ ตผลิ ตภั ณ ฑ์ ผู้ ใดกระทาการอย่างใดอย่างหนึ่ ง


ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หา้ หมื่นบาทถึงห้าแสนบาท
(๑) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๔๑/๑๘ (๑) (๓) (๗) หรือ (๘)
(๒) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามแบบ วิธีการ เงื่อนไขหรือข้อจากัดที่กาหนดในใบอนุญาต
ผลิตผลิตภัณฑ์ตามที่กาหนดไว้ในมาตรา ๔๑/๓๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๔๑/๓๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา
๔๑/๔๑ หรือมาตรา ๔๑/๕๑
(๓) ไม่แจ้งการผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพหรือบริภัณฑ์ที่แตกต่างไปจากแบบที่ไม่ใช่
สาระสาคัญต่อผู้อานวยการตามมาตรา ๔๑/๔๒ (๑) หรือมาตรา ๔๑/๕๒ (๑)
๑๑๑มาตรา๘๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตหรือมีสิทธิผลิตผลิตภัณฑ์ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ
ตามข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๔๑/๑๘ (๒) หรือข้อกาหนดที่ ออกตามมาตรา ๔๑/๕๕ วรรคสอง หรือ
มาตรา ๔๑/๕๖ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

มาตรา ๘๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตผลิตภัณฑ์ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับที่
ออกตามมาตรา ๔๑/๑๘ (๔) (๕) หรือ (๖) ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน หกเดือน หรือปรับไม่เกินสอง
หมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

๑๑๒มาตรา ๘๙ ยกเลิก

มาตรา ๙๐ ผู้ได้รับใบอนุ ญาตผลิตอากาศยานหรือใบอนุญาตผลิตส่วนประกอบ


สาคัญของอากาศยานผู้ใดผลิตอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานอันเป็นการฝ่าฝื น
หรื อไม่ป ฏิ บั ติ ตามเงื่ อ นไขหรื อ ข้อจ ากัดที่ ผู้ อานวยการกาหนดตามมาตรา ๔๑/๒๗ วรรคสาม หรือ
มาตรา ๔๑/๓๓ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

มาตรา ๙๑ ผู้ใดผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๔๑/๓๗


หรือผลิตบริภัณฑ์โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๔๑/๔๗ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสามปี หรือปรับ
ไม่เกินหกแสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

๑๑๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ และ
พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๑๒
ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๒๙ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๙๒ ผู้ ได้รับใบอนุญ าตผลิ ตชิ้นส่ วนรั บ รองคุณ ภาพหรือใบอนุ ญ าตผลิ ต


บริภัณฑ์ผู้ใดผลิตชิ้นส่วนรับ รองคุณภาพหรือบริภัณฑ์แตกต่างไปจากแบบในสาระสาคัญโดยไม่ได้รับ
อนุญาตจากผู้อานวยการตามมาตรา ๔๑/๔๒ (๒) หรือมาตรา ๔๑/๕๒ (๒) ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่
หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท

มาตรา ๙๓ เจ้ า ของอากาศยาน ผู้ จ ดทะเบี ย นอากาศยาน หรื อ ผู้ ด าเนิ น การ
เดินอากาศผู้ใดผลิตชิ้นส่วนเพื่อใช้ในการบารุงรักษาอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานของตน
โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้อานวยการตามมาตรา ๔๑/๔๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

มาตรา ๙๔ เจ้ า ของอากาศยาน ผู้ จ ดทะเบี ย นอากาศยาน หรื อ ผู้ ด าเนิ น การ
เดินอากาศผู้ใดผลิตชิ้นส่วนเพื่อใช้ในการบารุงรักษาอากาศยานหรือส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานของตน
หรือใช้งานชิ้นส่วนดังกล่าวโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือข้อจากัดเกี่ยวกับการผลิตและการใช้
งานตามทีผ่ ู้อานวยการกาหนดตามมาตรา ๔๑/๔๔ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

มาตรา ๙๕ ผู้ใดปลอมเครื่องหมายหรือรหัสกากับของผลิตภัณฑ์ ลงบนผลิตภัณ ฑ์


ตามมาตรา ๔๑/๕๕ ต้องระวางโทษจาคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้าน
สี่แสนบาท หรือทั้งจาทัง้ ปรับ
๑๑๓มาตรา ๙๖ ยกเลิก

มาตรา ๙๗ ผู้ ได้รั บ ใบอนุ ญ าตผลิ ตผลิ ตภั ณ ฑ์ ผู้ ใดโอนใบอนุญ าตผลิ ต โดยไม่ ได้
รั บ อนุ ญ าตตามมาตรา ๔๑/๖๐ หรื อ ผู้ ได้ รั บ ใบรับ รองการด าเนิ น งานสนามบิ น สาธารณะผู้ ใดโอน
ใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๖๐/๒๑ ต้องระวางโทษปรับ
ไม่เกินสองแสนบาท
๑๑๔มาตรา ๙๘ พนั กงานของผู้ได้รับใบอนุญ าตผลิตอากาศยานที่ได้รับใบอนุญ าตให้ มี
อานาจออกใบส าคั ญ สมควรเดิ น อากาศหรือ หนั งสื อ รับ รองความสมควรเดิ น อากาศผู้ ใดฝ่ าฝื น หรือ
ไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ออกตามมาตรา ๔๑/๖๖ วรรคสี่ หรือมาตรา ๔๑/๗๔ วรรคสอง หรือบุคคล
หรือกลุ่มบุคคลอื่นที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของหรือผู้ดาเนินงานสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราว
อนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการค้นหรือตรวจค้นตามข้อกาหนดที่ออก
ตามมาตรา ๕๐/๒๔ วรรคสอง หรือพนักงานของผู้ได้รับใบรับรองการดาเนินการสนามบินสาธารณะหรือ
ผู้ดาเนินการเดินอากาศหรือตัวแทนของผู้ดาเนินการเดินอากาศผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์

๑๑๓
ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๑๔
แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๓๐ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

และวิธีการในการตรวจค้นตามข้อกาหนดที่ออกตามมาตรา ๖๐/๑๗ วรรคสองและการกระทาดังกล่าว


ไม่เป็นความผิดต่อตาแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๙๙ ผู้ ใ ดบ ารุ ง รั ก ษาอากาศยานโดยใช้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ เป็ น การฝ่ า ฝื น


มาตรา ๔๑/๗๙ ต้องระวางโทษจาคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
หรือทั้งจาทั้งปรับ

มาตรา ๑๐๐ ผู้ จ ดทะเบี ยนอากาศยานหรือ ผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศผู้ ใดฝ่ าฝื น
หรือไม่ปฏิบัตหิ น้าที่ตามมาตรา ๔๑/๘๐ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท

มาตรา ๑๐๑ ผู้ใดนาอากาศยานทาการบินโดยฝ่าฝืน มาตรา ๔๑/๘๙ ต้องระวาง


โทษจาคุกตัง้ แต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนแปดหมื่นบาท หรือทั้งจาทัง้ ปรับ

มาตรา ๑๐๒ ผู้ใดนาอากาศยานทาการบิน โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่


ผู้อานวยการกาหนดตามมาตรา ๔๑/๙๐ หรือมาตรา ๔๑/๙๑ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหกเดือน หรือ
ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

มาตรา ๑๐๓ ผู้ ได้ รั บ ใบรั บ รองหน่ ว ยซ่ อ มผู้ ใดกระท าการอย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง
ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมืน่ บาทถึงห้าแสนบาท
(๑) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามวิธีการ เงื่อนไขหรือข้อจากัดที่กาหนดไว้ในใบรับรองหน่วย
ซ่อมตามมาตรา ๔๑/๙๙
(๒) ฝ่ า ฝื น หรื อ ไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามเงื่ อ นไขที่ ผู้ อ านวยการก าหนดในการก ากั บ ดู แ ล
การดาเนินงานที่ให้ช่วงไปตามมาตรา ๔๑/๑๐๔ วรรคสอง
(๓) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือข้อจากัดเกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนของอากาศยาน
ที่ผู้อานวยการกาหนดในการอนุญาตให้ผลิตเพือ่ ใช้ในการบารุงรักษาตามมาตรา ๔๑/๑๐๕ วรรคสอง

มาตรา ๑๐๔ พนักงานหรือนายช่างของหน่วยซ่ อมซึ่งมีอานาจลงนามในหนังสือ


รับรองงานผู้ใดรับรองงานตามมาตรา ๔๑/๑๐๑ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) อันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษ
จาคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นถึงสองแสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
ผู้ดาเนินการหน่วยซ่อมผู้ใดละเลยปล่อยให้พนักงานหรือนายช่างของหน่วยซ่อมรับรองงาน
ตามวรรคหนึ่งอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับพนักงานหรือนายช่างของหน่วยซ่อมตามวรรคหนึ่ง
พนักงานหรือนายช่างของหน่วยซ่อมซึ่งมีอานาจลงนามในหนังสือรับรองงานผู้ใดฝ่าฝืน
หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ออกตามมาตรา ๔๑/๑๐๒ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๑๐๕ ผู้ได้รับใบรับรองหน่ วยซ่อมหรือผู้ดาเนินการหน่ว ยซ่อมผู้ใดฝ่าฝื น


หรือไม่ป ฏิ บั ติตามหน้ าที่ที่ กาหนดไว้ในมาตรา ๔๑/๑๐๓ ต้องระวางโทษปรับ ตั้งแต่ห้ าหมื่ น บาทถึ ง
ห้าแสนบาท
๑๓๑ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๑๐๖ ผู้ได้รบั ใบรับรองหน่วยซ่อมผู้ใดผลิตชิ้นส่วนของอากาศยานเพื่อใช้เอง


โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้อานวยการตามมาตรา ๔๑/๑๐๕ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

มาตรา ๑๐๗ เจ้ า ของ ผู้ จ ดทะเบี ย นหรื อ ผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศอากาศยาน
ต่างประเทศผู้ใดไม่แจ้งการบารุงรักษาให้ผู้อานวยการทราบตามมาตรา ๔๑/๑๐๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวาง
โทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
เจ้าของ ผู้จดทะเบียนหรือผู้ดาเนินการเดินอากาศอากาศยานต่างประเทศผู้ใดฝ่ าฝืน
หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ออกตามมาตรา ๔๑/๑๐๙ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท
๑๑๕มาตรา ๑๐๗/๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการการบินพลเรือนตามมาตรา ๔๑/๑๒๕ ซึ่ง
เป็นผู้ประกอบกิจการขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิชย์หรือผู้ดาเนินการเดินอากาศต่างประเทศที่ได้รับ
อนุญาตตามมาตรา ๔๑/๑๒๖ ผู้ใดไม่จัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามสัญญาและบุคคลที่สามเพื่อ
ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบั ติเหตุที่เกิดจากอากาศยานตามมาตรา ๔๑/๑๓๒ ต้องระวางโทษปรับ
ไม่เกินสองล้านบาท
๑๑๖มาตรา ๑๐๗/๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการการบินพลเรือนตามมาตรา ๔๑/๑๒๕
ซึ่งเป็ น ผู้ป ระกอบกิจการขนส่ งทางอากาศเพื่อการพาณิ ช ย์ ห รือผู้ดาเนิ นการเดิ นอากาศต่างประเทศ
ที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๔๑/๑๒๖ ผู้ใดกระทาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษปรับ
ตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท
(๑) ปฏิเสธการรับขนคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
คนพิการโดยไม่เป็นไปตามมาตรา ๔๑/๑๓๓ วรรคสาม
(๒) ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กาหนดไว้ในมาตรา ๔๑/๑๓๕

มาต รา ๑ ๐ ๗ /๓ ผู้ ไ ด้ รั บ ใบอนุ ญาตประกอบกิ จ การการบิ นพลเรื อ นตาม


มาตรา ๔๑/๑๒๕ ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิ ชย์หรือผู้ดาเนินการเดินอากาศ
ต่างประเทศที่ได้รับอนุ ญาตตามมาตรา ๔๑/๑๒๖ ผู้ ใดไม่ปฏิ บัติตามข้อบั งคับของคณะกรรมการการบิ น
พลเรือนเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองสิ ทธิของผู้โดยสารในเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ
ตามมาตรา ๔๑/๑๓๔ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท

มาตรา ๑๐๘ ผู้ ป ระจ าหน้ า ที่ ผู้ ใ ดกระท าการอย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง ดั ง ต่ อ ไปนี้
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
(๑) ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีสิทธิทาการตามทีก่ าหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๔๕
(๒) ไม่ปฏิบัตติ ามวินัยที่กาหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๔๙
(๓) ปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนมาตรา ๕๐

๑๑๕
มาตรา ๑๐๗/๑ ถึงมาตรา ๑๐๗/๓ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๑๖
เพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๓๒ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

๑๑๗มาตรา
๑๐๘/๑ ผู้ใดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคาสั่งการรักษา
ความปลอดภัยที่ออกให้แก่ตนตามมาตรา ๕๐/๒๒ (๑) ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกิน
สองแสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

มาตรา ๑๐๘/๒ ผู้ใดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ปฏิเสธไม่ให้ข้อมูลตามมาตรา ๕๐/๒๓


วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

มาตรา ๑๐๘/๓ ผู้ใดกระทาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจาคุก


ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
(๑) เปลี่ยนแปลง ปิดบังหรือทาลายข้อมูลใด ๆ ทีต่ ้องจัดส่งตามมาตรา ๕๐/๒๓ วรรคหนึ่ง
(๒) จัดทาหรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จที่ต้องจัดส่งตามมาตรา ๕๐/๒๓ วรรคหนึ่ง

มาตรา ๑๐๘/๔ เจ้ าของหรือ ผู้ ดาเนิ น การสนามบิ น อนุ ญ าตหรือ ที่ ขึ้ น ลงชั่ ว คราว
อนุ ญาตผู้ ใดฝ่ าฝื นหรื อไม่ ปฏิ บั ติ ตามหน้ าที่ ที่ กาหนดไว้ ตามมาตรา ๕๐/๒๔ วรรคหนึ่ ง มาตรา ๕๐/๒๕
มาตรา ๕๐/๓๗ มาตรา ๕๐/๓๘ หรือมาตรา ๕๐/๓๙ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกาหนดในการค้น
หรือตรวจค้นตามมาตรา ๕๐/๒๔ วรรคสอง หรือข้อกาหนดในการตรวจค้นผู้โดยสารและสัมภาระที่จะนาขึ้น
ไปบนอากาศยานในเที่ยวบินพาณิชย์ตามมาตรา ๕๐/๔๑ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท

มาตรา ๑๐๘/๕ ผู้ใดกระทาการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจาคุก


ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่หมืน่ บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
(๑) ฝ่ าฝื นหรื อไม่ ปฏิ บั ติ ตามหน้ าที่ ของตนในการรั กษาความลั บตามมาตรา ๕๐/๒๗
วรรคสอง โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(๒) เป็ น เจ้ าพนั กงานผู้ บังคับใช้ก ฎหมายนาอาวุธขึ้นบนอากาศยาน เพื่อการปฏิบั ติ
หน้าที่ตามกฎหมายนั้น ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้อานวยการเป็นการเฉพาะราย หรือมิได้ปฏิบัติตาม
หลักเกณฑ์หรือขั้นตอนที่ผู้อานวยการกาหนดตามมาตรา ๕๐/๓๔ วรรคหนึ่ง

มาตรา ๑๐๘/๖ เจ้าของหรือผู้ดาเนิ นการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต


ผู้ดาเนิน การเดิน อากาศ ผู้ให้บ ริการจราจรทางอากาศ หรือ ตัวแทนควบคุมหรือการไปรษณี ย์ ควบคุม
ประกอบกิจการโดยฝ่าฝืนมาตรา ๕๐/๒๘ มาตรา ๕๐/๒๙ มาตรา ๕๐/๓๐ หรือมาตรา ๕๐/๓๑ แล้วแต่กรณี
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท

มาตรา ๑๐๘/๗ เจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต


ผู้ ดาเนิ น การเดิ น อากาศ ตัว แทนควบคุ ม การไปรษณี ย์ค วบคุม ผู้ ให้ บริก ารจราจรทางอากาศ หรื อ
ผู้ ดาเนิ น การอื่ น ตามที่ กาหนดในแผนรั กษาความปลอดภัยการบิ น พลเรือนแห่ งชาติ ผู้ ใดฝ่ า ฝื น หรือ
ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กาหนดไว้ในมาตรา ๕๐/๓๒ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสองปี หรือปรับ ไม่เกิน
สี่แสนบาท หรือทัง้ จาทั้งปรับ

๑๑๗
มาตรา ๑๐๘/๑ ถึงมาตรา ๑๐๘/๑๐ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตกิ ารเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๓๓ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๑๐๘/๘ ผู้ใดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตน


อย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๕๐/๓๓ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินแปดหมื่นบาท
หรือทั้งจาทั้งปรับ

มาตรา ๑๐๘/๙ ผู้ใดกระทาการอย่างใดอย่างหนึ่ งดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจาคุก


ไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินแปดหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
(๑) ขนส่งหรือครอบครองอาวุธ วั ตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ ภายในสนามบินอนุญาต
หรือที่ขึ้น ลงชั่วคราวอนุ ญาต โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าของหรือผู้ ดาเนินการสนามบิน
อนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต หรือไม่ใช่เจ้าพนักงานซึ่งอยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ตามที่กฎหมาย
กาหนดตามมาตรา ๕๐/๓๕ วรรคหนึ่ง
(๒) ขนหรือนาอาวุธ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เข้าไปในสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลง
ชั่วคราวอนุญาต โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราว
อนุญาต หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือข้อกาหนดของเจ้าของหรือผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่
ขึน้ ลงชั่วคราวอนุญาตตามมาตรา ๕๐/๓๕ วรรคสอง
(๓) ผู้เช่าพื้นที่ไม่ดาเนินการให้เป็นไปตามแผนรักษาความปลอดภัยของเจ้าของหรือ
ผู้ดาเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตในการควบคุมการเข้าพื้นที่ เฉพาะส่วนที่ตน
เกี่ยวข้องตามมาตรา ๕๐/๓๖

มาตรา ๑๐๘/๑๐ ผู้โดยสารผู้ใดขัดขวางหรือหลีกเลี่ยงการตรวจค้นตามมาตรา ๕๐/๔๑


ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

มาตรา ๑๐๙ ผู้ใดจัดตั้งสนามบินหรือเครื่องอานวยความสะดวกในการเดินอากาศ


โดยไม่ได้รับอนุ ญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๕๑ หรือจัดตั้งที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน
โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสิบปี
และปรับไม่เกินสองล้านบาท
๑๑๘มาตรา ๑๐๙/๑ ผู้ ใดจุ ดและปล่ อยหรือกระท าการใดเพื่ อให้ บั้ งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย
โคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน ขึ้นไปสู่อากาศ ซึ่งเป็นการรบกวนหรือก่อให้เกิดอันตราย
ต่ อ การเดิ น อากาศหรื อ ปฏิ บั ติ ก ารของอากาศยาน ภายในเขตปลอดภั ย ในการเดิ น อากาศ อั น เป็ น
การฝ่าฝืนมาตรา ๕๙/๑ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทัง้ จาทั้งปรับ

มาตรา ๑๐๙/๒ ผู้ ใ ดฝ่ า ฝื น หรื อ ไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามมาตรา ๕๙/๒ หรื อ ประกาศที่
ผู้อานวยการประกาศตามมาตรา ๕๙/๒ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสน
สองหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

๑๑๘
มาตรา ๑๐๙/๑ ถึงมาตรา ๑๐๙/๓ เพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๓๔ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

มาตรา ๑๐๙/๓ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศตามมาตรา ๕๙/๓ วรรคหนึ่ง


หรื อไม่ ป ฏิ บั ติ ตามเงื่อ นไขที่ กาหนดในมาตรา ๕๙/๓ วรรคสอง ต้ อ งระวางโทษจาคุ กไม่ เกิน หนึ่ งปี
หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

มาตรา ๑๑๐ ผู้ ได้รับใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะหรือผู้ จัดการ


สนามบินสาธารณะผู้ใดไม่ควบคุมดูแลให้มีการใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้สนามบินอนุญ าตหรือที่ขึ้นลง
ชั่วคราวอนุญาตตามที่ได้รับใบรับรอง โดยผิดเงื่อนไขหรือข้อจากัดที่ระบุไว้ในใบรับรองตามมาตรา ๖๐/๑๖
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท และในกรณีที่เป็นความผิดต่อเนื่องกันให้ปรับอีกวันละหนึ่งหมื่นบาท
จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ถ้าการกระทาความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทาโดยผิดเงื่อนไขหรือข้อจากัดที่ระบุ
ไว้ในใบรับรองว่าเป็นเงื่อนไขหรือข้อจากัดที่เป็นสาระสาคัญ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหกเดือน และ
ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และในกรณีที่เป็นความผิดต่อเนื่องกันให้ปรับอีกวันละสองหมื่นบาทจนกว่าจะ
ได้ปฏิบัติให้ถกู ต้อง

มาตรา ๑๑๑ ผู้ ใดเป็ น ผู้ จั ด การสนามบิ น สาธารณะโดยไม่ ได้ รับ ใบรั บ รองจาก
ผู้อานวยการตามมาตรา ๖๐/๑๒ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสองหมื่นบาท
หรือทั้งจาทัง้ ปรับ

มาตรา ๑๑๒ ผู้ ได้รับใบรับรองการดาเนิ นงานสนามบินสาธารณะหรือผู้ จัดการ


สนามบินสาธารณะผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กาหนดไว้ในมาตรา ๖๐/๑๕ ต้องระวางโทษ
ปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท

มาตรา ๑๑๓ ผู้ ใดประกอบการให้ บ ริ ก ารในลานจอดอากาศยานหรื อ บริ ก าร


ช่างอากาศโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๖๐ จัตวา วรรคสอง ต้องระวางโทษ
จาคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
๑๑๙มาตรา ๑๑๔ ผู้ จดทะเบี ยนอากาศยาน เจ้ าของอากาศยาน ผู้ ครอบครองอากาศยาน
ผู้ดาเนิ น การเดิ น อากาศ ผู้ ป ระจ าหน้ าที่ หน่วยซ่อม ผู้ ให้บริการจราจรทางอากาศ หรือผู้ ดาเนิน การ
สนามบิน ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๔/๑๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท
๑๒๐มาตรา ๑๑๕ ผู้ใดกระทาการอย่างใดอย่างหนึ่งดัง ต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน
หนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
(๑) กระท าการใดต่ออากาศยานหรือส่ ว นของอากาศยาน หรือสิ่ งที่ อากาศยานนั้ น
บรรทุกมาอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๖๔/๑๑

๑๑๙
แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๒๐
แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๓๕ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๒) เข้าไปในพื้นที่ควบคุมการสอบสวน หรือกระทาการใดต่ออากาศยานหรื อส่วนของ


อากาศยาน หรือสิ่งที่อากาศยานนั้นบรรทุกมาอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๖๔/๑๓ วรรคสอง
(๓) กระทาการอย่า งหนึ่ งอย่างใดต่ออากาศยานหรือส่ วนของอากาศยาน หรือสิ่ งที่
อากาศยานนั้นบรรทุกมาซึ่งอยู่ในการพิทักษ์อากาศยานของ กสอ. หรือผู้ซึ่ง กสอ. มอบหมายอันทาให้
เกิดความเสียหายแก่การสอบสวนและรักษาไว้ซึ่งพยานหลักฐาน

มาตรา ๑๑๕/๑ ผู้ ใ ดเปิ ด เผยบั น ทึ ก เสี ย งหรื อ เสี ย งที่ บั น ทึ ก ภายในห้ อ งนั ก บิ น
๑๒๑

หรือบันทึกภาพหรือภาพและเสี ยงที่บัน ทึกในบั นทึกภาพขณะทาการบินที่อยู่ในเครื่องบันทึกการบิน


หรือข้อความที่ถอดจากบันทึกดังกล่าว อันเป็นการฝ่ าฝืนมาตรา ๖๔/๑๗ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน
สามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสองหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

มาตรา ๑๑๕/๒ ผู้ จ ดทะเบี ย นอากาศยาน เจ้ าของอากาศยาน หรือผู้ ดาเนิ น การ
เดินอากาศในกรณีอากาศยานที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย หรือตัวแทนของผู้จดทะเบียนอากาศยาน
เจ้ าของอากาศยานหรือผู้ ดาเนิ นการเดินอากาศในกรณี อากาศยานต่างประเทศ ผู้ ใดฝ่ าฝืนมาตรา ๖๔/๒๖
วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

มาตรา ๑๑๕/๓ ผู้ใดเข้าไปในพื้นที่หรือบริเวณที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์กาหนดให้เป็น


พื้นที่หรือบริเวณในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยอันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา ๖๔/๒๘
วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๑๑๖ ผู้ใดมีผลิตภัณฑ์ไว้เพื่อจาหน่ายโดยรู้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทผี่ ลิต ไม่เป็นไป


ตามแบบหรือมาตรฐานที่ปรากฏเครื่องหมายหรือรหั สกากับ ไว้ที่ผลิตภั ณฑ์นั้น ต้องระวางโทษจาคุก
ไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

มาตรา ๑๑๗ ผู้ ใดปลอมใบรับ รอง ใบอนุ ญ าต ใบส าคั ญ หนั งสื อ อนุ ญ าตหรื อ
หนังสือรับรอง ที่ออกตามความในพระราชบัญญั ตินี้ ต้องระวางโทษจาคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี หรือ
ปรับตั้งแต่สองหมืน่ บาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจาทัง้ ปรับ
ผู้ ใดใช้ ห รื อ อ้ า งเอกสารอั น เกิ ด จากการกระท าผิ ด ตามวรรคหนึ่ ง ต้ อ งระวางโทษ
เช่นเดียวกับผู้กระทาความผิดตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้กระทาความผิดตามวรรคสอง เป็นผู้ปลอมเอกสารตามวรรคหนึ่งด้วย ให้ลงโทษ
ตามวรรคสองแต่กระทงเดียว
๑๒๒มาตรา
๑๑๗/๑ ผู้ ใดกระท าการอย่ า งใดอย่ างหนึ่ งดั งต่ อ ไปนี้ โดยมี วัต ถุ ป ระสงค์
ที่จะรบกวนการเดินอากาศ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสองหมื่นบาท
หรือทัง้ จาทั้งปรับ

๑๒๑
มาตรา ๑๑๕/๑ ถึงมาตรา ๑๑๕/๓ เพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๒๒
เพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๓๖ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๑) แสดงไฟ สั ญญาณ หรื อการสื่ อสารใด ๆ ในสถานที่ หรื อในลั กษณะที่ น่าจะทาให้ เกิ ด
ความเข้าใจผิดว่าเป็ นไฟหรือสัญญาณที่แท้จริงที่เกี่ยวข้องกับสนามบิ นหรือสิ่งอานวยความสะดวกในการ
เดินอากาศ
(๒) กระท าการใด ๆ อั น เป็ น การรบกวนการท างานของไฟหรื อ สั ญ ญาณ หรื อ
การสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับสนามบินหรือสิ่งอานวยความสะดวกในการเดินอากาศ
ในกรณี ที่ ก ระท าการตาม (๑) แม้มิ ได้ มีวั ต ถุป ระสงค์ ในการรบกวนการเดิ น อากาศ
หากผู้อานวยการได้มีหนังสือเตือนแล้ว แต่ยังคงแสดงไฟ สัญญาณ หรือการสื่อสารเช่นว่านั้นก่อให้เกิด
ความเข้าใจผิดดังกล่าว ให้ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับที่กาหนดไว้ในวรรคหนึ่ง
๑๒๓มาตรา ๑๑๘ ในกรณีที่ผู้ กระทาความผิดเป็น นิติบุ คคล ถ้าการกระทาความผิ ดของ
นิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทาของกรรมการ หรือผู้จัดการหรือบุ คคลใดซึ่งรับผิดชอบ
ในการดาเนิน งานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดัง กล่าวมีห น้าที่ต้องสั่งการหรือกระทาการ
และละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทาการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทาความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่
บัญญัตไิ ว้สาหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย

มาตรา ๑๑๙ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือ


โทษจาคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับ ให้ผู้มีอานาจเปรียบเทียบตามมาตรา ๑๒๐ มีอานาจเปรียบเทียบได้
๑๒๔ผู้ อ านวยการอาจออกข้ อ บั ง คั บ ก าหนดให้ ก ารกระท าความผิ ด ซ้ า หรื อ การกระท า

ความผิดที่เห็นว่าร้ายแรง เป็นความผิดที่ไม่อาจเปรียบเทียบปรับตามวรรคหนึ่งได้

มาตรา ๑๒๐ ผู้มีอานาจเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่


(๑) พนักงานสอบสวน สาหรับความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือโทษจาคุกไม่เกินหกเดือน หรือโทษปรับตามมาตรา ๗๗
(๒) ผู้อานวยการ สาหรับความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือโทษ
จาคุกไม่เกินหกเดือนหรือโทษปรับทีไ่ ม่ใช่ความผิดที่อยู่ในอานาจของพนักงานสอบสวนตาม (๑)
(๓) คณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง สาหรับความผิดที่มีโทษ
ปรับสถานเดียวเกินกว่าห้าหมื่นบาท หรือโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือโทษปรับที่ไม่ใช่ความผิ ดที่อยู่ใน
อานาจของพนักงานสอบสวนตาม (๑) หรือของผู้อานวยการตาม (๒)
ในการเปรียบเทียบตามหมวดนี้ ผู้มีอานาจเปรี ยบเทียบตามวรรคหนึ่ ง (๒) หรือ (๓)
ต้องเปรียบเทียบปรับไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของอัตราโทษปรับทีบ่ ัญญัติไว้สาหรับความผิดนั้น

มาตรา ๑๒๑ ถ้าการกระทาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มีทรัพย์สินซึ่งทาหรือมีไว้


เป็นความผิด หรือเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทาความผิด หรือเป็นทรัพย์สินที่บุคคล

๑๒๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ (๔) แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับ
ความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐
๑๒๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘
แก้ไขอานาจของคณะกรรมการการบินพลเรือน เป็นของผู้อานวยการ
๑๓๗ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

ได้มาโดยการกระทาความผิด ความผิดนั้นอาจเปรียบเทียบได้ต่อเมื่อผู้กระทาความผิดยิ นยอมให้ของ


กลางที่ยดึ หรืออายัด ตกเป็นของแผ่นดิน
๑๒๕มาตรา ๑๒๒ ให้ มีคณะกรรมการเปรี ยบเที ยบความผิ ดที่ รัฐมนตรีแต่ งตั้งจานวน
สามคน ประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนสานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และ
ผู้แทนสานักงานอัยการสูงสุด
การประชุม และวิธี พิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิด ให้เป็นไปตามที่
รัฐมนตรีประกาศกาหนด

มาตรา ๑๒๓ ในกรณี ที่ พนักงานสอบสวนพบว่าผู้ ใดกระทาความผิดตามมาตรา ๑๑๙


ที่ไ ม่อ ยู่ในอานาจของพนัก งานสอบสวนตามมาตรา ๑๒๐ (๑) หากผู้นั้น ยิน ยอมให้ เ ปรีย บเทีย บ
ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้สานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้นั้น
แสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบ เพื่อให้ผู้มีอานาจเปรียบเทียบดาเนินการต่อไป

มาตรา ๑๒๔ ให้ผู้อานวยการมีอานาจออกข้อ บังคับกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ


ในการดาเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตามมาตรา ๑๒๑

มาตรา ๑๒๕ เมื่อผู้มีอานาจเปรียบเทียบได้ทาการเปรียบเทียบกรณีใดแล้ว เมื่อ


ผู้กระทาความผิดได้ชาระค่าปรับตามจานวนที่เปรียบเทียบ ภายในระยะเวลาที่ ผู้มีอานาจเปรียบเทียบ
กาหนดซึ่งไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา ๑๒๖ ถ้ าผู้ กระท าความผิ ด ยิน ยอมให้ เปรี ยบเที ยบแล้ ว ไม่ ช าระค่ าปรับ
ภายในเวลาตามมาตรา ๑๒๕ ให้ดาเนิ นคดีต่อไป โดยให้ อายุความเริ่มนับตั้งแต่วันครบกาหนดชาระ
ค่าปรับตามคาสั่งของผู้มีอานาจเปรียบเทียบ

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี

๑๒๕
มาตรา ๑๒๒ และมาตรา ๑๒๓ แก้ ไขเพิ่ มเติ มโดยพระราชก าหนดแก้ ไขเพิ่ มเติ มพระราชบั ญญั ติ การ
เดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ แก้ไขคาว่า “กรมการบินพลเรือน” เป็น “สานักงานงานการบินพลเรือนแห่ ง
ประเทศไทย”
๑๓๘ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

๑๒๖อัตราค่าธรรมเนียม

------------------
(๑) ใบอนุญาตดาเนินงานเกี่ยวกับรับมอบ จัดเก็บ บรรทุก ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท
ขนถ่ายหรือขนส่งวัตถุอนั ตรายตามมาตรา ๑๕/๒๗
หรือสิ่งของต้องห้ามหรือต้องดูแลเป็นพิเศษตาม
มาตรา ๑๕/๒๙
(๒) ใบสาคัญการจดทะเบียนอากาศยาน ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
(๓) ใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคล ฉบับละ ๑๐,๐๐๐ บาท
(๔) ใบรับรองแบบอากาศยาน ฉบับละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๕) ใบรับรองแบบส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน ฉบับละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท
(๖) ใบรับรองแบบส่วนเพิ่มเติม ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
(๗) การรับรองใบรับรองแบบอากาศยานหรือ ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
แบบส่วนประกอบสาคัญของอากาศยานหรือ
ใบรับรองแบบส่วนเพิ่มเติม ซึ่งออกโดยรัฐภาคีแห่ง
อนุสัญญาหรือประเทศที่ทาความตกลงกับประเทศไทย
(๘) ใบอนุญาตผลิตอากาศยาน ฉบับละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท
(๙) ใบอนุญาตผลิตอากาศยานเป็นการชั่วคราว ฉบับละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท
(๑๐) ใบอนุญาตผลิตส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน ฉบับละ ๓๐๐,๐๐๐ บาท
(๑๑) ใบอนุญาตผลิตชิ้นส่วนรับรองคุณภาพ ฉบับละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท
(๑๒) ใบอนุญาตผลิตบริภัณฑ์ ฉบับละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท
(๑๓) ใบสาคัญสมควรเดินอากาศ ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
(๑๔) ใบสาคัญสมควรเดินอากาศสาหรับการส่งออก ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
(๑๕) หนังสือรับรองความสมควรเดินอากาศ ฉบับละ ๑๐,๐๐๐ บาท
(๑๖) หนังสือรับรองความสมควรเดินอากาศสาหรับการส่งออก ฉบับละ ๑๐,๐๐๐ บาท
(๑๗) ใบอนุญาตเป็นผู้ออกใบสาคัญสมควรเดินอากาศ ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
หรือหนังสือรับรองความสมควรเดินอากาศ
(๑๘) ใบรับรองหน่วยซ่อม ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
(๑๙) ใบอนุญาตผู้ประจาหน้าที่ ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท
(๒๐) ใบรับรองใบอนุญาตผู้ประจาหน้าที่ซึ่งออกโดย ฉบับละ ๔,๐๐๐ บาท
รัฐภาคีแห่งอนุสัญญาหรือรัฐที่ได้ทาความตกลงกับ
ประเทศไทย

๑๒๖
ยกเลิกบัญชีท้ายโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๒๑ และบัญญัติบัญชีท้ายเข้ามา
ใหม่โดยพระราชบัญ ญั ติก ารเดิน อากาศ (ฉบั บที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ และล าดั บที่ ๑ แก้ไขโดยพระราชบั ญ ญั ติ การ
เดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๓๙ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

(๒๑) ใบอนุญาตจัดตั้งสนามบิน
(ก) สาหรับสนามบินที่ให้บริการสาธารณะ ฉบับละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท
(ข) สาหรับสนามบินส่วนบุคคล ฉบับละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
(๒๒) ใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอานวยความสะดวก ฉบับละ ๔๐,๐๐๐ บาท
ในการเดินอากาศ
(๒๓) ใบอนุญาตจัดตั้งที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน
(ก) เกินกว่า ๓ เดือน ฉบับละ ๕๐,๐๐๐ บาท
(ข) ไม่เกิน ๓ เดือน ฉบับละ ๗,๐๐๐ บาท
(๒๔) ใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะ ฉบับละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท
(๒๕) ใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะชั่วคราว ฉบับละ ๗๐,๐๐๐ บาท
เดือนละ ๓๐,๐๐๐ บาท
(๒๖) ใบรับรองผู้จัดการสนามบินสาธารณะ ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท
(๒๗) ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการให้บริการในลานจอด ฉบับละ ๔๐,๐๐๐ บาท
อากาศยาน
(๒๘) ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการให้บริการช่างอากาศ ฉบับละ ๔๐,๐๐๐ บาท
๑๒๗ (๒๘/๑) ใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศ ฉบับละ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒๘/๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการการบินพลเรือน ฉบับละ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒๘/๓) ใบรับรองการให้บริการการจัดการจราจรทางอากาศ ฉบับละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒๘/๔) ใบรับรองการให้บริการระบบสื่อสาร ฉบับละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ระบบช่วยการเดินอากาศ และระบบติดตามอากาศยาน
(๒๘/๕) ใบรับรองการให้บริการอุตุนิยมวิทยาการบิน ฉบับละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒๘/๖) ใบรับรองการให้บริการข่าวสารการบิน ฉบับละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒๘/๗) ใบรับรองการให้บริการการออกแบบวิธีปฏิบัติ ฉบับละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
การบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน
(๒๘/๘) ใบรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน ฉบับละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท
(๒๙) ใบแทนใบอนุญาต ใบสาคัญ ใบรับรอง กึง่ หนึ่งของใบอนุญาต
หรือหนังสือรับรอง ใบสาคัญ ใบรับรอง
หรือหนังสือรับรองนั้น
แต่ไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท
(๓๐) การต่ออายุใบอนุญาต ใบสาคัญ ใบรับรอง ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสาหรับใบอนุญาต
ใบสาคัญ ใบรับรอง แต่ละฉบับ

๑๒๗
ลาดับที่ (๒๘/๑) ถึง (๒๘/๘) เพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๔๐ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

พระราชบัญญัติ
การเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
-------------------

๑. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อกาหนดให้มีการตรา


พระราชกฤษฎีกายกเว้นมิให้นาบทบัญญัติเรื่องทุนและอานาจการบริหารกิจการซึ่งจะต้องเป็นของผู้ มี
สั ญ ชาติ ไทยมาใช้ บั งคั บ แก่ คุ ณ สมบั ติ แ ละลั ก ษณะของผู้ ข อรั บ ใบอนุ ญ าตผลิ ต อากาศยาน ผู้ ข อรั บ
ใบอนุ ญาตผลิ ตส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน และผู้ ขอรับใบรับรองหน่ว ยซ่อมประเภทที่ห นึ่ง
สาหรับ อากาศยานที่ มีมวลวิ่งขึ้นสู งสุ ดตั้งแต่ห้ าพั นเจ็ดร้อยกิโลกรัมขึ้นไป ส าหรับผู้ ที่ได้รับการส่งเสริม
การลงทุน (เพิ่มมาตรา ๖/๒)
๒. ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

---------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบั ญญั ติ ฉบั บนี้ คือ โดยที่ การผลิ ตอากาศยาน การผลิ ต
ส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน และการซ่อมอากาศยานของหน่วยซ่อมอากาศยานบางประเภท
เป็นกิจการที่จาเป็นต้องใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ และเพื่อให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีในกิจการ
ดังกล่าวอันจะเป็นประโยชน์ ต่ออุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์
เรื่องทุ น และอานาจการบริ ห ารกิจการของผู้ ขอรับใบอนุ ญาตผลิ ตอากาศยาน ผู้ ขอรับใบอนุ ญาตผลิ ต
ส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน และผู้ขอรับใบรับรองหน่วยซ่อมประเภทที่หนึ่งสาหรับอากาศยานที่มี
มวลวิ่งขึ้นสูงสุดตั้งแต่ห้าพันเจ็ดร้อยกิโลกรัมขึ้นไป โดยกาหนดให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อยกเว้น
คุณสมบัติและลักษณะของผู้ขอรับใบอนุญาตและใบรับรองดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวกับทุนจดทะเบียนและ
อานาจการบริห ารกิจ การซึ่ งโดยทั่ว ไปต้ องอยู่ ภ ายใต้การควบคุ ม ของผู้ มี สั ญ ชาติไทย จึงจาเป็น ต้อ ง
ตราพระราชบัญญัตินี้
๑๔๑ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

บทเฉพาะกาลตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

มาตรา ๔ ผู้ใดซึ่งเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
ทาการผลิ ตอากาศยานหรือ ส่ วนประกอบสาคั ญ ของอากาศยานอยู่ในวัน ก่อนวันที่ พระราชบัญ ญั ตินี้
ใช้บังคับ ให้ทาการผลิตต่อไปได้ แต่ต้องยื่นคาขออนุญาตผลิตต่อผู้อานวยการตามมาตรา ๔๑/๒๑ หรือ
มาตรา ๔๑/๓๒ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
การเดิ น อากาศ (ฉบั บ ที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ แล้ ว แต่ ก รณี ภายในหนึ่ งร้ อ ยแปดสิ บ วั น นั บ แต่ วั น ที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อได้ยื่นคาขอแล้ว ให้ทาการผลิตต่อไปได้จ นกว่าผู้อานวยการจะแจ้ง
ไม่อนุญาต
การออกใบอนุญาตผลิตอากาศยานหรือใบอนุญาตผลิตส่วนประกอบสาคัญของอากาศยาน
ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้อานวยการพิจารณาและมีคาสั่งภายในเวลาไม่เกินสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้
ใช้บังคับ
ในระหว่างการผลิตตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้อานวยการมีอานาจกาหนดวิธีการ เงื่อนไข หรือ
ข้อจากัดเกี่ยวกับการผลิตและการใช้งาน ตลอดจนการทาเครื่องหมายและรหัสกากับไว้ที่อากาศยานหรือ
ส่ว นประกอบสาคัญ ของอากาศยานที่ ทาการผลิ ตหรือที่ผ ลิ ตมาแล้ ว และการออกและการติดกากับ
หนั ง สื อ รั บ รองความสมควรเดิ น อากาศของส่ ว นประกอบส าคั ญ ของอากาศยานดั ง กล่ า วได้ ต าม
มาตรา ๔๑/๒๗ วรรคสาม มาตรา ๔๑/๕๕ มาตรา ๔๑/๕๖ และมาตรา ๔๑/๗๔ แห่งพระราชบัญญัติ
การเดิ น อากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่ ง แก้ ไขเพิ่ ม เติ ม โดยพระราชบั ญ ญั ติ ก ารเดิ น อากาศ (ฉบั บ ที่ ๑๑)
พ.ศ. ๒๕๕๑ แล้วแต่กรณี
๑๔๒ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

พระราชบัญญัติ
การเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
-------------------
๑. เพิม่ เติมบทนิยามเกีย่ วกับการบินพลเรือน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔)
๒. ปรับปรุงองค์ประกอบและอานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการบินพลเรือน (แก้ไขเพิ่มเติม
หมวด ๑ คณะกรรมการการบินพลเรือนและผู้อานวยการ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๕)
๓. เพิ่ ม อ านาจของส านั ก งานการบิ น พลเรือ นแห่ งประเทศไทยและผู้ อ านวยการ
สานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยในการกากับดูแลกิจการการบินพลเรือน (เพิ่มหมวด ๑/๑
การกากับดูแลการบินพลเรือน)
๔. กาหนดหลักเกณฑ์การกากับดูแลการประกอบกิจการการบริการการเดินอากาศ
(เพิ่มหมวด ๑/๒ การกากับดูแลการบริการการเดินอากาศ)
๕. กาหนดหลั กเกณฑ์การขนส่งวัตถุอัน ตรายและสิ่ งของต้องห้ ามหรือต้องดูแ ลเป็น
พิเศษทางอากาศ (เพิ่มหมวด ๑/๓ การกากับดูแลการขนส่งวัต ถุอันตรายและสิ่งของต้องห้ามหรือ ต้อง
ดูแลเป็นพิเศษ)
๖. กาหนดหลักเกณฑ์การใช้ห้วงอากาศและการจัดทาแผนนิรภัยในการบินพลเรื อน
แห่งชาติ (เพิ่มมาตรา ๑๖/๕ มาตรา ๒๑/๑ และมาตรา ๒๑/๒)
๗. กาหนดหลักเกณฑ์การรองรับอากาศยานต่างประเทศที่มสี ัญญาเช่าหรือสัญญาอื่นในลักษณะ
เดียวกันของผู้ดาเนินการเดินอากาศของไทย (เพิม่ มาตรา ๓๓/๑ มาตรา ๓๓/๒ และ มาตรา ๓๓/๓)
๘. ก าหนดหลั ก เกณฑ์ ก ารก ากั บ ดู แ ลผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศ (เพิ่ ม หมวด ๔/๑
ใบรั บ รองผู้ ด าเนิ น การเดิ น อากาศ) และการประกอบกิ จ การขนส่ ง ทางอากาศเพื่ อ การพาณิ ช ย์
(เพิ่มหมวด ๔/๒ การกากับดูแลการบินพลเรือนทางเศรษฐกิจ)
๙. เพิ่มอานาจของผู้อานวยการสานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยในการกากับ
ดูแลผู้ประจาหน้าที่ (แก้ไขเพิ่มเติมหมวด ๕ ผู้ประจาหน้าที่)
๑๐. ก าหนดหลั ก เกณฑ์ ก ารรั ก ษาความปลอดภั ย (เพิ่ ม หมวด ๕/๑ การรั ก ษา
ความปลอดภัย) การอานวยความสะดวกในการบินพลเรือน (เพิ่มหมวด ๕/๒ การอานวยความสะดวกใน
การบินพลเรือน)
๑๑. ก าหนดข้ อ ห้ า มหรื อ ข้ อ จ ากั ด เกี่ ย วกั บ การด าเนิ น กิ จ กรรมที่ ร บกวนต่ อ
การเดินอากาศ (เพิ่มเติมมาตรา ๕๙/๑ มาตรา ๕๙/๒ มาตรา ๕๙/๓ มาตรา ๖๐ วรรคสาม)
๑๒. ปรับปรุงบทบัญญัติเกีย่ วกับกองทุนหมุนเวียน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๖๐/๔๔)
๑๓. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน (แก้ไข
เพิ่มเติมหมวด ๗ การสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์)
๑๔. กาหนดหลักเกณฑ์การค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย (เพิ่มหมวด ๗/๑
การค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย)
๑๕. เพิ่มอานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ตรวจสอบด้านการบินในการบังคับการให้
เป็นไปตามกฎหมาย (แก้ไขเพิ่มเติมหมวด ๘ อานาจตรวจ ยึดและหน่วงเหนี่ยว)
๑๖. ปรับปรุงบทกาหนดโทษตามพระราชบัญญัตินี้
๑๗. ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
๑๔๓ ฝ่ายกฎหมาย กพท.

---------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศได้
ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงและเพิ่มเติมบทบัญญัติบางประการ เพื่อยกระดับการบินพลเรือน
ของประเทศไทยให้ เป็ นไปตามาตรฐานสากล ทั นสมัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการปรับปรุงและ
การเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายในครั้งนี้จะเป็นเครื่องมือสาคัญในการควบคุม กากับดูแล ส่งเสริม
และพั ฒ นาด้านความปลอดภั ย การรักษาความปลอดภั ย การอานวยความสะดวก และเศรษฐกิจการบิน
พลเรือนของประเทศไทย รวมทั้งจะเป็นการสอดคล้องตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่าง
ประเทศ และรองรับการตรวจสอบตามโครงการตรวจสอบการกากับดูแลความปลอดภัยสากลและโครงการ
กากับดูแลการรักษาความปลอดภัยสากลด้วย จึงจาเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
๑๔๔

บทเฉพาะกาลตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒

มาตรา ๖๕ ให้ผู้ซึ่งดารงตาแหน่งกรรมการอื่นที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งของคณะกรรมการ
การบินพลเรือนในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงอยู่ในตาแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ
บรรดาการใด ๆ ที่อยู่ในระหว่างการดาเนินการตามหน้าทีแ่ ละอานาจของคณะกรรมการ
การบิ น พลเรื อ นก่ อ นวั น ที่ พ ระราชบั ญ ญั ติ นี้ ใช้ บั ง คั บ ให้ ด าเนิ น การได้ ต่ อ ไปเท่ าที่ ไม่ ขั ด หรื อ แย้ ง กั บ
พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๖๖ ผู้ซึ่งประกอบกิจการบริการการเดินอากาศก่ อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้


บังคับ ยังคงประกอบกิจการต่อไปได้ แต่ต้องดาเนินการขอใบรับรองตามพระราชบัญญัติการเดิ นอากาศ
พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ภายในสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้
ใช้ บั ง คั บ และให้ ป ระกอบกิ จ การได้ ต่ อ ไปจนกว่ า จะได้ รั บ แจ้ ง ค าสั่ ง ไม่ อ อกใบรั บ รองดั ง กล่ า วจาก
ผู้อานวยการ
ในระหว่างการประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบกิจการบริการการเดินอากาศนั้น
ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการการเดินอากาศตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ
พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา ๖๗ ให้ ใบรับ รองและใบอนุ ญ าตดังต่อไปนี้ ซึ่ งยังมีผ ลใช้ บังคับอยู่ในวัน ก่อน
วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุใบรับรองหรือใบอนุญาตนั้น
(๑) ใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศที่สานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยออกให้
ตามข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ฉบับที่ ๘๕ ว่าด้วย ใบรับรองผู้ดาเนินการเดินอากาศ
(๒) ใบอนุ ญ าตให้ ป ระกอบกิ จการค้าขายในการเดิน อากาศ ที่ ออกตามประกาศของ
คณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๕๘ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ โดยให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตให้ประกอบ
กิจการการขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิชย์ตามมาตรา ๔๑/๑๒๕ แห่งพระราชบัญญัติการเดิ นอากาศ
พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
บรรดาคาขอหรือคาขอต่ออายุใบรับรองหรือใบอนุญาตตามมาตรานี้ ซึ่งได้ยื่นไว้ก่อนวันที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ให้ดาเนินการพิจารณาได้ต่อไปตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการที่กาหนดไว้ในข้อบัง คับหรือประกาศตามวรรคหนึ่ ง ทั้งนี้ ผู้อานวยการจะกาหนดหลักเกณฑ์หรือ
เงื่อนไขเพิ่มเติมในการปฏิบัติเกี่ยวกับการออกหรือต่ออายุใบรับรองหรือใบอนุญาตนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับ
การแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัตินี้ด้วยก็ได้

มาตรา ๖๘ ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่ องอานวยความสะดวกในการเดิ นอากาศไว้


ในวัน ก่อนวัน ที่พ ระราชบั ญ ญั ตินี้ ใช้ บั งคับ ให้ ดาเนิ น การให้ บริการต่อไปได้ และให้ เรียกเก็บค่าบริ การ
ตามอั ตราที่ได้รั บ อนุ มั ติ ไว้ในวัน ก่อนวัน ที่พ ระราชบั ญ ญั ติ นี้ ใช้ บังคับ ต่อไปได้จนกว่าผู้ อานวยการจะมี
การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริ การตามมาตรา ๑๕/๒๖ แห่งพระราชบัญ ญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗
ซึ่งแก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัตนิ ี้
๑๔๕

มาตรา ๖๙ ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตส่งหรือพาวัตถุอันตรายหรือสัตว์ไปกับอากาศยานไว้
ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่สิ้นผล ให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นจะสิ้นผล
มาตรา ๗๐ ใบสาคัญแพทย์และใบรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบินทีม่ ีอยู่ในวันก่อน
วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่สิ้นผล ให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบสาคัญหรือใบรับรองนั้นจะสิ้นผล

มาตรา ๗๑ ให้ ด าเนิ น การแต่ งตั้ ง คณะกรรมการสอบสวนอุบั ติ เหตุ แ ละอุ บั ติ ก ารณ์


ของอากาศยานตามพระราชบั ญญั ติการเดิ นอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่ งแก้ ไขเพิ่ มเติ มโดยพระราชบั ญญั ติ นี้
ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ในระหว่างการแต่ง ตั้งคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ข องอากาศยาน
ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุของอากาศยานในราชอาณาจักรตามคาสั่งกระทรวง
คมนาคมที่ ๑๔๓/๒๕๖๑ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุของอากาศยานในราชอาณาจักร
ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ปฏิบัติหน้าทีเ่ ท่าทีจ่ าเป็นไปพลางก่อน

มาตรา ๗๒ การสอบสวนอุบัติเหตุและอุบั ติการณ์ของอากาศยานซึ่งได้ดาเนินการไว้


ก่ อ นวั น ที่ พ ระราชบั ญ ญั ติ นี้ ใ ช้ บั ง คั บ และยั ง ไม่ แ ล้ ว เสร็ จ ให้ ด าเนิ น การต่ อ ไปตามบทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง
พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ก่อนแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
เพื่ อ ประโยชน์ แ ก่ ก ารสอบสวนตามวรรคหนึ่ งในเรื่อ งใดซึ่ ง คณะกรรมการสอบสวน
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยานเห็นสมควรนาหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ
การเดิ น อากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติ มโดยพระราชบั ญ ญั ตินี้ มาใช้บังคั บด้ว ย ให้ เป็นไปตามที่
คณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยานกาหนด

มาตรา ๗๓ การจั ด ท าแผนการค้ น หาและช่ ว ยเหลื อ อากาศยานประสบภั ย ซึ่ งได้


ดาเนินการไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังไม่แล้วเสร็จ ให้ดาเนินการต่อไปตามบทบัญญัติ
แห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ ก ารเดิ น อากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่ งแก้ ไขเพิ่ ม เติ ม โดยพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ในการนี้
แผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยใดที่ได้กระทาไว้แล้วแต่มิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ
การเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ การดาเนินการต่อไปให้เป็นไปตามที่
คณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติกาหนด

มาตรา ๗๔ ให้โอนบรรดากิจการ เงินและทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน ภาระผูกพัน และผู้ปฏิบัติ


หน้าทีข่ องเงินทุนหมุนเวียนตามมาตรา ๖๐/๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๕๗ ก่อนการ
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญั ตินี้ มาเป็นของเงินทุนหมุนเวียนกรมท่าอากาศยานตามพระราชบั ญญัติ
การเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
๑๔๖

มาตรา ๗๕ บรรดาประกาศและคาสั่ งของรัฐ มนตรีว่า การกระทรวงคมนาคมที่ออก


เกี่ยวกับกิจการการเดินอากาศ เพื่อดาเนินการให้เป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๕๘ ลงวันที่
๒๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ และยังใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ใช้บังคับ
ต่อไป จนกว่ าจะมี ข้อบั งคั บ หรื อประกาศของคณะกรรมการการบิ นพลเรื อน คาสั่ งของรัฐมนตรี หรือ
ข้อกาหนดของผู้อานวยการในเรื่องนั้น ๆ ที่ออกตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไข
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ขึ้นใช้บังคับ

มาตรา ๗๖ ให้บรรดากฎกระทรวง ข้อบังคับ ข้อกาหนด ระเบียบ ประกาศ หรือคาสั่งที่


ออกตามพระราชบั ญ ญั ติ ก ารเดิ น อากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ก่ อ นการแก้ ไขเพิ่ ม เติ ม โดยพระราชบั ญ ญั ติ นี้
และยั ง ใช้ บั งคั บ อยู่ ในวั น ก่ อ นวั น ที่ พ ระราชบั ญ ญั ติ นี้ ใช้ บั งคั บ ให้ ยั งคงใช้ บั งคั บ ได้ ต่ อ ไปจนกว่ า จะมี
กฎกระทรวง ข้อบังคับ ข้อกาหนด ระเบียบ ประกาศ หรือคาสั่งในเรื่องนั้น ๆ ที่ออกตามพระราชบัญญัติ
การเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ขนึ้ ใช้บังคับ

You might also like