หมายเลขระวางแผนที่ (ภูมิศาสตร์)

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 35

บทที่ 2

รายละเอียดขอบระวางแผนที่

การใช้แผนที่ ผู้ใช้จาเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจรายละเอียดคาแนะนาหรือข้อความที่พิมพ์ไว้ที่ขอบ
นอกของแผนที่ ซึ่งเราเรียกกันว่า รายละเอียดขอบระวางแผนที่ ข้อความที่ปรากฏอยู่บนขอบระวางแผนที่
คื อ ค าแนะน าที่ จ ะบอกให้ ผู้ ใ ช้ แ ผนที่ ท ราบข้ อ มู ล ต่ า งๆ เกี่ ย วกั บ แผนที่ แ ละวิ ธี การใช้ แ ผนที่ ฉ บั บ นั้ น ๆ
รายละเอียดที่แสดงบนขอบระวางแผนที่แต่ละฉบับอาจมีความแตกต่าง ดังนั้นก่อนการใช้แผนที่จะต้องทาการ
ตรวจสอบรายละเอียดของข้อมูลที่แสดงอย่างรอบคอบก่อนเสมอ

รูปที่ 1 แผนที่จังหวัดลพบุรี

จากรูปที่ 1 เป็นแผนที่ภูมิประเทศระวาง จังหวัดลพบุรี มาตราส่วน 1:50,000 รายละเอียดขอบระวาง


แผนที่และข้อมูลที่สาคัญมีดังนี้
6

1. ชื่อแผ่นระวาง
ชื่อแผ่นระวางจะปรากฎอยู่ 2 แห่ง คือ ตรงกึ่งกลางตอนบนของขอบระวางและทางด้านซ้ายตอนล่าง
ของขอบระวาง โดยปกติแล้วจะตั้งชื่อแผ่นระวางตามลักษณะเด่นทางภูมิศาสตร์หรือทางวัฒนธรรมของบริเวณ
นั้น เช่น ชื่อหมู่บ้าน ตาบล อาเภอหรือจังหวัด เป็นต้น และส่วนใหญ่การตั้งชื่อระวางสามารถที่จะใช้ชื่อ
เมืองที่ใหญ่ที่สุดที่ปรากฎอยู่บนแผนที่ได้เช่นกัน

รูปที่ 2 ชื่อแผ่นระวาง

จากรูปที่ 2 แสดงชื่อระวางแผนที่ จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI ซึ่งปรากฎอยู่กึ่งกลาง


ตอนบนและทางด้านซ้ายตอนล่างของขอบระวาง
2. หมายเลขแผ่นระวาง (SHEET)
7

หมายเลขแผ่นระวางจะปรากฎอยู่ที่ขอบระวางด้านขวาตอนบนและด้านซ้ายตอนล่ าง หมายเลข
ดังกล่าวจะใช้เป็นหมายเลขอ้างสารที่กาหนดให้กับแผนที่แต่ละระวาง ซึ่งหมายเลขระวางแผนที่นี้จะถือเอา
ระบบพิกัดมาเป็นเครื่องกาหนด

รูปที่ 3 หมายเลขแผ่นระวาง

ในแผนที่แต่ละระวางที่มีมาตราส่วนไม่เท่ากันจะมีการกาหนดหมายเลขระวางที่คล้ายคลึงกัน แตกต่าง
กันตรงที่มีตัวอักษรกากับต่อท้ายหมายเลขระวางเท่านั้น
2.1 แผนที่มาตราส่วน 1:100,000 จะกาหนดหมายเลขแผ่นระวางด้วยตัวเลข 4 ตาแหน่ง เช่น 5138
8

5138

รูปที่ 4 หมายเลขแผ่นระวางแผนที่มาตราส่วน 1:100,000

2.2 แผนที่มาตราส่วน 1:50,000 จะกาหนดหมายเลขแผ่นระวางด้วยตัวเลข 4 ตาแหน่ง ตามด้วย


ตัวเลขโรมัน เช่น 5138 I
1:100,000

5138

1:50,000

5138 IV 5138 I

5138 III 5138 II

รูปที่ 5 หมายเลขแผ่นระวางแผนที่มาตราส่วน 1:50,000

2.3 แผนที่มาตราส่วน 1:25,000 จะกาหนดหมายเลขแผ่นระวางด้วยตัวเลข 4 ตาแหน่ง ตามด้วย


ตัวเลขโรมัน และตัวอักษรแสดงทิศทางของแผ่นระวางนั้น เช่น 5138 I NE
9

1:50,000

5138 IV 5138 I

5138 III 5138 II

1:25,000

5138 III NW 5138 III NE

5138 III SW 5138 III SE

รูปที่ 6 หมายเลขแผ่นระวางแผนที่มาตราส่วน 1:25,000


3. ชื่อชุดแผนที่
ชื่อชุดแผนที่จะปรากฎอยู่ที่ขอบระวางด้านซ้ายตอนบน โดยปกติแล้วแผนที่ ชุดหนึ่งจะประกอบด้วย
แผนที่ชนิ ดเดียวกัน ที่มีมาตราส่ ว นเท่ากันและอยู่บนเส้ นระวางหรือแบบระวางอันเดียวกัน ซึ่งกาหนดให้
ครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์แห่งหนึ่งไว้โดยเฉพาะ ชื่อชุดแผนที่ที่กาหนดขึ้นนั้นมักใช้ชื่อบริเวณที่มีลักษณะ
เด่นที่สุดในระวางนั้น
10

รูปที่ 7 ชื่อชุดแผนที่

จากรูปที่ 7 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND

4. มาตราส่วน
มาตราส่วนจะปรากฎอยู่ที่ขอบระวางด้านซ้ายตอนบนและกึ่งกลางขอบระวางตอนล่าง มาตราส่วน
คือ อัตราส่วนระหว่างระยะบนแผนที่ต่อระยะในภูมิประเทศจริง เช่น มาตราส่วน 1:50,000 หมายถึง
ระยะบนแผนที่ 1 หน่วย เท่ากับระยะในภูมิประเทศจริง 50,000 หน่วย
11

รูปที่ 8 มาตราส่วน

จากรูปที่ 8 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI ชื่อชุดแผนที่ ประเทศไทย


THAILAND มาตราส่วน 1:50,000

5. หมายเลขประจาชุด/ลาดับชุด (SERIES)
12

หมายเลขประจ าชุดจะปรากฏอยู่ที่ขอบระวางด้ านขวาตอนบนและขอบระวางด้ านซ้ายตอนล่ า ง


ปัจจุบัน จะพบว่าพื้นที่ห นึ่งจะมี ชุดของแผนที่มากกว่าหนึ่งชุดที่ครอบคลุมพื้นที่อันเดียวกันอยู่ ด้ว ยเหตุผ ล
ดังกล่าวจึงต้องมีการกาหนดหมายเลขการพิสูจน์ทราบให้กับแผนที่แต่ละชุดไว้ด้วย ซึ่งตามปกติแล้วหมายเลข
ประจาชุดของแผนที่จะปรากฏด้วยตัวเลข 4 หลักหรือตัวอักษรและตัวเลข 3 หรือ 4 ตัว เช่น หมายเลข
ประจาชุดของระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี คือ L7018 รายละเอียดและความหมายของหมายเลขประจาชุดตาม
ผนวก ก

รูปที่ 9 หมายเลขประจาชุด/ลาดับชุด

จากรูปที่ 9 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND หมายเลขประจาชุด/ลาดับชุด L7018
13

6. หมายเลขการจัดพิมพ์/พิมพ์ครั้งที่ (EDITION)
หมายเลขการจัดพิมพ์ จะปรากฏอยู่ที่ขอบระวางด้านขวาตอนบนและขอบระวางด้านซ้ายตอนล่าง
แสดงให้ ท ราบถึ ง อายุ ข องแผนที่ เ มื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ การจั ด พิ ม พ์ ค รั้ ง อื่ น ๆ ของแผนที่ ใ นระวางเดี ย วกั น
การจัดพิมพ์ครั้งหลังสุดจะต้องมีหมายเลขสูงสุด เช่น คาว่า EDITION 1-RTSD แสดงให้ทราบว่าเป็นการพิมพ์
ครั้งที่ 1 โดยหน่วยพิมพ์คือกรมแผนที่ทหาร

รูปที่ 10 หมายเลขการจัดพิมพ์/พิมพ์ครั้งที่

จากรูปที่ 10 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND หมายเลขการจัดพิมพ์ EDITION 1-RTSD
14

7. สารบัญแสดงแนวแบ่งเขตการปกครอง (BOUNDARIES)
แผนผังสารบัญแสดงแนวแบ่งเขตการปกครองจะปรากฏอยู่ที่ขอบระวางด้านขวาตอนล่าง มีลักษณะ
เป็นรูปแผนที่ขนาดเล็กที่แสดงให้ทราบถึงเขตการปกครองที่ปรากฎอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของแผนที่ เช่น เขต
อาเภอ เขตจังหวัด เป็นต้น

รูปที่ 11 สารบัญแสดงแนวแบ่งเขตการปกครอง

จากรูปที่ 11 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND สารบัญแสดงแนวแบ่งเขตการปกครอง ที่ปรากฎมีรายละเอียดดังนี้
A1 คือ อาเภอเมืองลพบุรี
15

A2 คือ อาเภอท่าวุ้ง
A3 คือ อาเภอบ้านหมี่
A4 คือ อาเภอโคกสาโรง
B5 คือ อาเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

8. สารบัญระวางติดต่อ (ADJOINING SHEETS)


สารบัญระวางติดต่อจะปรากฏอยู่ที่ขอบระวางด้านขวาตอนล่าง แสดงให้ทราบถึงแผนที่ระวางอื่นที่อยู่
รอบๆ แผนที่ระวางนั้น สารบัญระวางติดต่อที่แสดงไว้ด้วยเส้ นประ หมายถึง แผนที่ซึ่งอยู่ในชุดแผนที่ที่
ต่างกันและจะมีหมายเลขประจาชุดกากับอยู่ในแผนผังนั้นด้วย สาหรับแผนที่มาตราส่วนใหญ่จะพิมพ์หมายเลข
ระวางและหมายเลขประจาชุดของพื้นที่ แผนที่มาตราส่วน 1:250,000 ไว้ข้างใต้สารบัญระวางติดต่อ ด้วย เช่น
แผนที่ระวาง 5138 IV อยู่ภายในบริเวณ ND 47-8, 1501 A, 1:250,000

รูปที่ 12 สารบัญระวางติดต่อ
16

จากรูปที่ 12 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND หมายเลขแผนระวาง 5138 IV มีแผนที่ระวางติดต่อ 8 ระวาง คือ 5039 II, 5139 III,
5139 II, 5138 I, 5138 II, 5138 III, 5038 II และ 5038 I

9. คาแนะนาเกี่ยวกับระดับความสูง (ELEVATION GUIDE)


คาแนะนาเกี่ยวกับความสูงจะปรากฎอยู่ที่ขอบระวางด้านขวาตอนล่าง แสดงลักษณะภูมิประเทศให้
เห็นเป็นแถบความสูง จุดกากับความสูง และแสดงให้เห็นลักษณะของแม่น้าลาธารที่สาคัญโดยการย่อขนาดให้
เล็กลง คาแนะนาเกี่ยวกับระดับความสูงนี้จะช่วยทาให้ผู้อ่านแผนที่สังเกตุเห็นรูปร่างของภูมิประเทศได้อย่าง
รวดเร็วด้วยการเน้นให้เห็นลักษณะภูมิประเทศที่สูงที่สุดและต่าที่สุดไว้
17

รูปที่ 13 คาแนะนาเกี่ยวกับระดับความสูง

จากรูปที่ 13 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND คาแนะนาเกี่ยวกับระดับความสูงที่แสดงด้วยสีเทาเป็นระดับความสูงที่สูงที่สุด สีขาว
เป็นระดับความสูงที่ต่าที่สุด โดยแผนที่ ระวางนี้มีระดับความสูงที่สุด 644 เมตร และระดับความสูงต่าสุด 8
เมตร วัดจากระดับน้าทะเล

10. แผนภาพมุมเยื้อง
แผนภาพมุมเยื้องจะปรากฎอยู่ที่ขอบระวางด้านขวาตอนล่าง แสดงให้ทราบถึงความสัมพันธ์ทางมุมที่
เกิดขึ้นระหว่างทิศเหนือจริง (TRUE NORTH) ทิศเหนือตาราง (GRID NORTH) และทิศเหนือแม่เหล็ก
(MEGNATIC NORTH) ข้อมูลส่วนนี้นอกจากจะแสดงถึงความสัมพันธ์ทางมุมต่างๆ แล้ว ยังแสดงการแปลงค่า
เอซิมัทแม่เหล็กเป็นเอซิมัทกริด และการแปลงเอซิมัทกริดเป็นเอซิมัทแม่เหล็กอีกด้วย
18

รูปที่ 14 คาแนะนาเกี่ยวกับระดับความสูง

จากรูปที่ 14 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND แสดงแผนภาพมุมเยื้องแตกต่างกัน 3 มุมที่กล่าวไปแล้วตอนต้น รวมทั้งแสดงข้อมูล
ทิศทางของเส้นกริดที่ 0°25' (7.5 มิลเลียม) ณ กึ่งกลางระวาง และเมื่อปี พ.ศ. 2543 ค่าของมุม G-M ซึ่งเป็น
ค่ามุมที่ใช้ในการแปลงเอซิมัทมีค่าต่อ 1° เท่ากับ 20 มิลเลียม สาหรับการรายละเอียดการแปลงเอซิมัทมีดังนี้
 แปลงค่าเอซิมัทแม่เหล็กเป็นเอซิมัทกริด ให้ลบด้วยมุม G-M
 การแปลงเอมัทกริดเป็นเอซิมัทแม่เหล็ก ให้บวกด้วยมุม G-M

11. มาตราส่วนเส้นบรรทัด
มาตราส่วนเส้นบรรทัดจะปรากฎอยู่ที่กึ่งกลางตอนล่างของขอบระวาง มาตราส่วนเหล่านี้จะแสดงไว้
เป็นเส้นบรรทัดหลายๆ เส้น เพื่อใช้ในการพิจารณาหาระยะทางบนพื้นดิน โดยปกติแล้วแผนที่ฉบับต่างๆ
จะต้องมีมาตราส่วนเส้นบรรทัดตั้งแต่ 3 บรรทัดขึ้นไป ซึ่งแต่ละบรรทัดจะแสดงมาตราวัดระยะที่แตกต่างกัน
19

รูปที่ 15 มาตราเส้นบรรทัด

จากรูปที่ 15 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND แสดงมาตราส่วนเส้นบรรทัด จานวน 3 เส้น โดยเส้นบนสุดมีหน่วยการวัดเป็น
กิโลเมตร เส้นกลางมีหน่วยวัดเป็นไมล์ และเส้นล่างสุดมีหน่วยวัดเป็นไมล์ทะเล

12. ข้อความที่เกี่ยวกับช่วงต่างเส้นความสูง
20

ข้อความที่เกี่ยวกับช่วงต่างเส้นชั้นความสูงจะปรากฎอยู่ที่กึ่งกลางตอนล่างของขอบระวาง โดยทั่วไป
มักจะอยู่ ด้านล่ างหรื อด้านขวาของมาตราส่ วนเส้ นบรรทัด ข้อความนี้จะแสดงให้ ทราบถึงระยะในทางดิ่ง
ระหว่างเส้นชั้นความสูงที่อยู่ติดกันบนแผนที่ การจัดทาแผนที่ในปัจจุบันช่วงต่างเส้นชั้นความสูงจะมีหน่วยวัด
เป็นเมตร และเมื่อมีการใช้เส้นชั้นความสูง แทรกก็จะต้องแสดงระยะห่างของเส้นชั้นความสูงแทรกไว้ให้ทราบ
ด้วย

รูปที่ 16 ข้อความที่เกี่ยวกับช่วงต่างเส้นความสูง

จากรูปที่ 16 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND ข้อความที่เกี่ยวกับช่วงต่างเส้นชั้นความสูงที่แสดงมีหน่วยเป็นเมตร ซึ่งมีช่วงต่างเส้น
ชั้นความสูง 20 เมตร และ 10 เมตร
21

13. ข้อความที่เกี่ยวกับสเฟียรอยด์/วงรี (ELIPSOID)


ข้อความนี้จะปรากฎอยู่ที่กึ่งกลางตอนล่างของขอบระวาง แสดงถึงชื่อสเฟียรอยด์/ ELIPSOID ที่พื้นที่
ของแผนที่ฉบับนั้นตั้งอยู่ แผนที่ที่มีหมายเลขประจาชุดเป็น L7017 จะแสดงข้อความสเฟียรอยด์ ส่วนแผนที่
ที่มีหมายเลขประจาชุดเป็น L7018 จะแสดงข้อความ ELIPSOID

รูปที่ 17 ข้อความที่เกี่ยวกับ ELIPSOID

จากรูปที่ 17 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND ข้อความที่เกี่ยวกับ ELIPSOID ที่แสดงไว้คือ ระบบ WGS 1984
22

14. ข้อความที่เกี่ยวกับเส้นกริด
ข้อความที่เกี่ย วกับเส้ นกริดจะปรากฎอยู่ที่กึ่งกลางตอนล่ างของขอบระวาง ข้อความเหล่านี้จะให้
รายละเอียดเกี่ยวกับระบบของเส้นกริดที่ใช้อยู่ ความห่างของเส้นกริด และจานวนของตัวเลขที่มิได้แสดงไว้ใน
ค่าของเส้นกริด

รูปที่ 18 ข้อความที่เกี่ยวกับเส้นกริด

จากรูปที่ 18 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND ข้อความเกี่ยวกับเส้นกริด ที่แสดงไว้คือ คือ ยูทีเอ็ม เขตกริด 47 ระยะห่าง 1,000
เมตร
23

15. ข้อความที่เกี่ยวกับเส้นโครงแผนที่
ข้อความที่เกี่ยวกับเส้นโครงแผนที่จะปรากฎอยู่ที่กึ่งกลางตอนล่างของขอบระวาง ข้อความเหล่านี้จะ
แสดงให้ทราบว่าแผนที่ฉบับนั้นใช้เส้นโครงแผนที่ชนิดใด สาหรับแผนที่ที่ใช้ในภารกิจทางทหารจะใช้เส้นโครง
แผนที่ชนิดต่างๆ ดังนี้
15.1 Transverse Mercator Projection
เป็นเส้นโครงแผนที่ที่ใช้กับแผนที่ที่ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างเส้นละติจูด 80°S และเส้นละติจูด 84°N
และใช้กับแผนที่มาตราส่วน 1:500,000 และใหญ่กว่า
15.2 Lambert Conformal Conic Projection
เป็นเส้นโครงแผนที่ที่ใช้กับแผนที่ที่ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างเส้นละติจูด 80°S และเส้นละติจูด 84°N
และใช้กับแผนที่มาตราส่วน 1:1,000,000 และเล็กกว่า
15.3 Polar Stereographic Projection
เป็นเส้นโครงแผนที่ที่ใช้กับแผนที่ที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณขั่วโลก (บริเวณใต้เส้นละติจูด 80°S และ
เหนือเส้นละติจูด 84°N) และใช้กับแผนที่มาตราส่วน 1:1,000,000 และใหญ่กว่า
24

รูปที่ 19 ข้อความที่เกี่ยวกับเส้นโครงแผนที่ (Transverse Mercator Projection)


16. ข้อความที่เกี่ยวกับหลักฐานทางดิ่ง
ข้อความนี้จะปรากฎอยู่ที่กึ่งกลางตอนล่างของขอบระวาง แสดงให้ทราบถึงพื้นที่ทางดิ่งและความสูง
ต่างๆ ที่ปรากฎอยู่นแผนที่
25

รูปที่ 20 ข้อความที่เกี่ยวกับหลักฐานทางดิ่ง

จากรูปที่ 20 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND ข้อความที่เกี่ยวกับหลักฐานทางดิ่งที่แสดงไว้คือ ระดับทะเลปานกลาง

17. ข้อความที่เกี่ยวกับหลักฐานทางราบ
26

ข้อความนี้จะปรากฎอยู่ที่กึ่งกลางตอนล่างของขอบระวาง ซึ่งจะแสดงให้ทราบถึงพื้นฐานของหมุด
หลักฐานทางราบที่ปรากฏอยู่บนแผนที่ ข่ายของหมุดหลักฐานดังกล่าวนี้จะควบคุมตาแหน่งต่างๆ ในทางราบ
ของลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฎอยู่บนแผนที่

รูปที่ 21 ข้อความที่เกี่ยวกับหลักฐานทางราบ

จากรูปที่ 21 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND ข้อความที่เกี่ยวกับหลักฐานทางราบที่แสดงไว้คือ ระบบ WGS 1984
27

18. ข้อมูลเกี่ยวกับการกาหนดจุดควบคุม
ข้อมูลนี้จะปรากฎอยู่ที่กึ่งกลางตอนล่างของขอบระวาง แสดงถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม
ทางเทคนิคและข้อมูลต่างๆ ที่เผยแพร่บนแผนที่นั้น

รูปที่ 22 ข้อมูลเกี่ยวกับการกาหนดจุดควบคุม

จากรูปที่ 22 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND ข้อความที่เกี่ยวกับการกาหนดจุดควบคุมที่แสดงไว้ เช่น ช่องทางจราจร 1 ช่องทาง
บนแผนที่นี้ ถือว่ามีขนาดกว้างอย่างน้อย 2.5 เมตร (8 ฟุต)
28

19. ข้อมูลการจัดทา
ข้อมูลนี้จะปรากฎอยู่ที่ ขอบระวางด้านซ้ายตอนล่าง แสดงถึงหน่วยที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการ
จัดเตรียมแผนที่

รูปที่ 23 ข้อมูลการจัดทา

จากรูปที่ 23 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อ


ชุดแผนที่ ประเทศไทย THAILAND หน่วยที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเตรียมแผนที่ คือ กรมแผนที่ทหาร
29

20. ข้อมูลการจัดพิมพ์
ข้อมูลนี้จะปรากฎอยู่ที่กึ่งกลางตอนล่างของขอบระวาง แสดงถึงหน่วยที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการ
จัดพิมพ์แผนที่

รูปที่ 24 ข้อมูลการจัดพิมพ์
30

จากรูปที่ 24 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND หน่วยที่มีหน้าที่ในการจัดพิมพ์แผนที่คือ กรมแผนที่ทหาร แผนที่ชุดนี้เป็นการพิมพ์
ครั้งที่ 1

21. ตารางกาหนดค่าของกริด
ตารางก าหนดค่ า ของกริ ด จะปรากฎอยู่ ที่ กึ่ ง กลางตอนล่ า งของขอบระวาง ตารางนี้ จ ะแสดง
รายละเอียดเกี่ยวกับเลขอักษรประจากริด และอักษรประจาจัตุรัส 100,000 เมตร ที่ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ใน
แผนที่ฉบับนั้น และมีคาแนะนาเกี่ยวกับการกาหนดค่าของกริดบนแผนที่หรือตัวอย่างการอ่านพิกัดด้วย
31

รูปที่ 25 ตารางกาหนดค่าของกริด

จากรูปที่ 25 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND ตารางกาหนดค่าของกริดได้แสดงอักษรประจาจตุรัส 100,000 เมตร คือ PS และเลข
อักษรประจาเขตกริดคือ 47P

22. หน่วยที่จัดพิมพ์และสัญลักษณ์
หน่ ว ยที่จั ดพิมพ์และสั ญลั กษณ์จะปรากฎอยู่ที่ขอบระวางด้านซ้ายตอนล่ าง แสดงถึงหน่ว ยงานที่
จัดเตรียมและจัดพิมพ์แผนที่ฉบับนี้ รวมทั้งวัน เดือน ปี ที่ทาการพิมพ์ ข้อ มูลเหล่านี้มีความสาคัญมากเพราะ
จะทาให้ผู้ใช้แผนที่ประเมินค่าความเชื่อถือของแผนที่ฉบับนั้นได้
32

รูปที่ 26 หน่วยที่จัดพิมพ์และสัญลักษณ์

จากรูปที่ 26 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND หน่วยงานที่จัดเตรียมและจัดพิมพ์แผนที่ฉบับนี้ คือ กรมแผนที่ทหาร พิมพ์เมื่อ พ.ศ.
2547

23. คาอธิบายสัญลักษณ์
33

คาอธิบายสัญลักษณ์จะปรากฎอยู่ที่ขอบระวางด้านซ้ายตอนล่าง เป็นข้อความที่อธิบายความหมาย
ของสัญลักษณ์ต่างๆ บนแผนที่ แผนที่ แต่ละฉบับอาจใช้สัญลักษณ์ไม่เหมือนกันเสมอไป ดังนั้นการใช้แผนที่
จะต้องตรวจสอบสัญลักษณ์และคาอธิบายเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ตีความหมายสัญลักษณ์ผิดพลาด

รูปที่ 27 คาอธิบายสัญลักษณ์

จากรูปที่ 27 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND อธิบายสัญลักษณ์ที่ปรากฎบนแผนที่ระวางนี้ เช่น ทางเกวียนและทางต่างระดับ
แสดงด้วยเส้นประ เป็นต้น
34

24. ข้อความพิเศษ
ข้อความพิเศษจะปรากฎอยู่ที่ขอบระวางด้านขวาตอนล่าง เป็นข้อความที่ให้ข้อมูลทั่วๆ ไป เกี่ยวกับ
บริเวณทาแผนที่ เช่น แผนที่ฉบับนี้สามารถอ่านด้วยแสงสีแดงได้ในเวลากลางคืน เป็นต้น

รูปที่ 28 ข้อความพิเศษ

จากรูปที่ 28 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND ข้อความพิเศษที่ปรากฎแสดงไว้ว่า แผนที่นี้สามารถอ่านภายใต้แสงสีแดง
35

25. ข้อความที่เกี่ยวกับผู้ใช้
ข้อความที่เกี่ยวกับผู้ใช้จะปรากฎอยู่ที่ขอบระวางด้านขวาตอนล่าง ลักษณะของข้อความจะเป็นการขอ
ความร่วมมือจากผู้ใช้ให้ช่วยเสนอข้อแก้ไข ข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องที่ปรากฎบนแผนที่

รูปที่ 29 ข้อความที่เกี่ยวกับผู้ใช้

จากรูปที่ 29 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND แสดงข้อความที่เกี่ยวกับผู้ใช้ให้ทราบว่า สงวนลิขสิทธิ์ โดย กรมแผนที่ทหาร
กองบัญชาการทหารสูงสุด
36

26. หมายเลขสิ่งอุปกรณ์
หมายเลขสิ่งอุปกรณ์จะปรากฎอยู่ที่ขอบระวางด้านขวาตอนล่าง เป็นสิ่งบ่งชี้ให้ทราบถึงชนิดของแผน
ที่ในระบบการส่งกาลังแผนที่ของกองทัพบก ความมุ่งหมายใช้เพื่อการเบิกแผนที่เท่านั้น

รูปที่ 30 หมายเลขสิ่งอุปกรณ์

จากรูปที่ 30 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND แสดงหมายเลขสิ่งอุปกรณ์ด้วยบาร์โค้ด L701805138401
37

27. กราฟการเปรียบเทียบ
กราฟการเปรียบเทียบจะปรากฎอยู่ที่ขอบระวางด้านขวาตอนล่าง แสดงการเปรียบเทียบหน่วยการวัด
ระยะที่ใช้บนแผนที่ เช่น ระหว่างฟุตกับเมตร

รูปที่ 31 กราฟการเปรียบเทียบ
38

จากรูปที่ 31 ระวางแผนที่จังหวัดลพบุรี CHANGWAT LOP BURI มาตราส่วน 1:50,000 ชื่อชุดแผนที่


ประเทศไทย THAILAND ไม่ได้แสดงกราฟการเปรียบเทียบหน่วยการวัดด้วยกราฟ แต่ได้เขียนอธิบายไว้ในส่วน
ของข้อมูลเกี่ยวกับการกาหนดจุดควบคุมแล้ว

28. ข้อความเพิ่มเติม
ข้อความเพิ่มเติมเป็นส่วนแสดงข้อมูลเพื่อเป็นการช่วยเหลือให้กับผู้ใช้แผนที่นอกเหนือจากข้อ 24-27
ซึ่งอาจจะมีข้อความดังนี้
28.1 ศัพทานุกรมท้ายระวาง
เป็นคาอธิบายเกี่ยวกับศัพท์ทางเทคนิคหรือคาแปลของคาที่ใช้อยู่บนแผนที่ ซึ่งอาจจะเป็นภาษา
พื้นเมืองหรือภาษาอังกฤษ
28.2 ประเภทของเอกสาร
เป็นข้อความที่แสดงถึงการแบ่งประเภทชั้นความลับของเอกสาร จะแสดงไว้กึ่งกลางตอนบนของ
ขอบระวาง
28.3 แผนผังแสดงหลักฐานที่ใช้ในการทาแผนที่
เป็นข้อความแสดงให้ทราบถึงวิ ธีที่ใช้ในการทาแผนที่ วัน เดือน ปี ของภาพถ่ายทางอากาศ และ
น่าความเชื่อถือของแหล่งกาเนิดที่นามาทาแผนที่ แผนผังแสดงหลักฐานที่ใช้ในการทาแผนที่จะปรากฎอยู่ที่
ขอบระวางด้านขวาตอนล่าง สาหรับแผนที่มาตราส่วน 1:100,000 และใหญ่กว่า อาจจะมีแผนผังแสดง
หลักฐานที่ใช้ในการทาแผนที่ไว้ด้วยก็ได้
39

รูปที่ 31 ข้อความเพิ่มเติม

You might also like