Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 162

รายงานการวิจยั

เรื่ อง

เศรษฐกิจโลกถดถอยครั้งใหญ่ :
ความรุ่งเรืองและล่มจมของเสรีนิยมใหม่ /โลกาภิวตั น์

เสนอต่อ

คณะกรรมการวิจยั
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โดย

รองศาสตราจารย์ ดร. เกษียร เตชะพีระ


คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓


สารบัญ

หน้ า
-คานาเสนอ i
-บทคัดย่อ ๑
ภาค ๑ วิกฤตซับไพรม์
-จากวิกฤตซับไพรม์สู่วกิ ฤตเศรษฐกิจโลก ๒
-กาเนิดวิกฤตซับไพรม์: ภาพจุลภาค ๑๔
-อวสาน ๕ ยักษ์วาณิ ชธนกิจอเมริ กนั ๒๒
-กลุ่มชนชั้นนาทางอานาจแห่ งภาคการเงินอเมริ กนั ๒๗
-จากบ่อเงินยักษ์ของโลกถึงฟองสบู่การเคหะอเมริ กนั ๓๖
-ตราสารอนุพนั ธ์ (Derivatives) - อาวุธมหาวินาศทางการเงินกับนักค้านอกคอก ๔๓
- CDSs กับ AIG ๔๙
ภาค ๒ ระเบียบการเงินโลกเบรตตัน วูดส์หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
-วิกฤตการเงินโลก-วิกฤตทุนนิยมตลาดเสรี ๕๖
-ฉันทมติเคนเชียน ๕๙
-ข้อตกลงเบรตตัน วูดส์ในระเบียบโลกภายใต้อเมริ กา ๖๐
ภาค ๓ ระเบียบการเงินโลกาภิวตั น์/เสรี นิยมใหม่ ค.ศ. ๑๙๗๕ – ๒๐๐๘
-เสรี นิยมใหม่/โลกาภิวตั น์: นิ ยาม ๖๘
-ภูมิหลังทางแนวคิดของเสรี นิยมใหม่ ๖๙
-ลัทธิ ช็อก: ยุทธศาสตร์ ยทุ ธวิธีของเสรี นิยมใหม่ ๗๔
-กรณี ตวั อย่างลัทธิช็อก: ชิลี ๗๖
-จากอุดมการณ์เสรี นิยมใหม่สู่เมนูนโยบายฉันทมติวอชิงตัน: ประเมินวิเคราะห์วจิ ารณ์ ๘๕
สรุ ป
ภาคผนวก: คู่มือซับไพรม์ ๑๑๓
i

คำนำเสนอ

โดย เกษียร เตชะพีระ

เมื่อสิ บกว่าปี ก่อน ระหว่างวิวาทะเรื่ องวิกฤตต้มยากุง้ ทางอีเมล์กนั อย่างดุเดือด เพื่อนอาจารย์ชาวไทยที่


ไปสอนประจาอยูใ่ นมหาวิทยาลัยอเมริ กนั แห่งหนึ่งได้เขียนถึงผูว้ จิ ยั ว่า “เอาเข้ าจริ ง คุณกับผมต่ างก็ไม่ ร้ ู
เศรษฐศาสตร์ เหมือนกัน”

คาพูดประโยคนั้นเป็ นแรงบันดาลใจให้ผวู ้ จิ ยั พยายามใฝ่ หาความรู ้เรื่ องเศรษฐกิจทุนนิ ยมโลกแบบ DIY


(Do it yourself) จากครู พกั ลักจาสื บต่อจากนั้นเรื่ อยมา และงานวิจยั ชิ้นนี้ ก็เป็ นผลพวงอย่างหนึ่ งของกระบวน-

การดังกล่าว

รายงานการวิจยั เรื่ อง “เศรษฐกิจโลกถดถอยครั้งใหญ่: ความรุ่งเรื องและล่ มจมของเสรี นิยมใหม่ /โลกา-


ภิวัตน์ ” นี้ ผูว้ จิ ยั มุ่งหมายจะใช้จงั หวะของวิกฤตเศรษฐกิจทุนนิยมโลกครั้งใหญ่และร้ายแรงที่สุดนับแต่เศรษฐกิจ
โลกตกต่าครั้งใหญ่หรื อ The Great Depression เมื่อช่วงปี ค.ศ. ๑๙๒๙ – ต้นคริ สต์ทศวรรษที่ ๑๙๔๐ เป็ นต้น
มา – อันเกิดจากวิกฤตซับไพรม์หรื อหนี้จานองบ้านด้อยคุณภาพในอเมริ กาที่ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจถดถอย
ใหญ่ไปทัว่ โลกหรื อ The Great Recession ในระหว่างปี ค.ศ. ๒๐๐๘ – ๒๐๐๙ – เป็ นโอกาสศึกษาค้นคว้าเชิง
วิเคราะห์วิจารณ์เกี่ยวกับลัทธิเสริ นิยมใหม่/โลกาภิวตั น์ (neoliberalism/globalization) ทั้งในแง่ประวัติความ
เป็ นมา, ที่มาทางแนวคิดทฤษฎี, หลักนโยบาย, ประสบการณ์และผลลัพธ์ของการนาไปใช้เชิงปฏิบตั ิของประเทศ
ต่าง ๆ โดยสังเขป

เนื้อหาการเดินเรื่ องเริ่ มจากบรรยายตัวเลขข้อมูลสภาวะวิกฤตซับไพรม์และเศรษฐกิจโลกถดถอยใหญ่


เชื่อมโยงไปสู่  กลไกกระบวนการทางเศรษฐกิจจุลภาคของธุ รกิจการเงินการธนาคารสหรัฐฯในตลาดหนี้
จานองบ้านซับไพรม์, ตลาดหลักทรัพย์และตราสารอนุพนั ธ์  ประวัติความเป็ นมาของระเบียบการเงินโลก
เบรตตัน วูดส์หลังสงครามโลกครั้งที่สอง  กาเนิดและการคลี่คลายขยายตัวทางแนวคิด, หลักนโยบายและ
ประสบการณ์การนาไปใช้ของระเบียบการเงินโลกาภิวตั น์/เสรี นิยมใหม่นบั แต่ ค.ศ. ๑๙๗๕ เป็ นต้นมา 
บทสรุ ปเชิงวิเคราะห์วจิ ารณ์เกี่ยวกับลัทธิ เสรี นิยมใหม่/โลกาภิวตั น์ในตอนท้าย
ii

ทั้งนี้ก็เพื่อเป็ นการสรุ ปประมวลข้อมูลและเก็บรับบทเรี ยนทั้งในทางภูมิปัญญาและแนวนโยบาย


เศรษฐกิจการเมืองที่มีนยั สาคัญสาหรับวงวิชาการและสาธารณชนไทย ในฐานะที่รัฐบาลไทยและกลุ่มประเทศ
เอเชียตะวันออกอื่น ๆ เคยถูกไอเอ็มเอฟตั้งเงื่อนไขกดดันกะเกณฑ์ให้ตอ้ งหันไปดาเนินนโยบายเสรี นิยมใหม่/
โลกาภิวตั น์แลกกับเงินกูช้ ่วยเหลือเมื่อครั้งเกิดวิกฤตอัตราแลกเปลี่ยนและเศรษฐกิจการเงินปี ค.ศ. ๑๙๙๗ อัน
ส่ งผลกระหน่ าซ้ าเติมให้เศรษฐกิจการค้าการผลิตยิง่ ตกต่าร้ายแรง ธุ รกิจปิ ดตัวกว้างขวาง ผูค้ นตกยากเดือดร้อน
ล้มละลายในประเทศและภูมิภาคนานต่อมาหลายปี

ในฐานะที่ผวู้ จิ ยั เป็ นนักรัฐศาสตร์โดยอาชีวปฏิญาณ ไม่ได้ฝึกฝนระเบียบวิธีการศึกษาวิจยั ทาง


เศรษฐศาสตร์มาโดยตรง กรอบการวิเคราะห์ของผูว้ ิจยั ในงานชิ้นนี้จึงประยุกต์ผสมผสานระหว่างแนวการศึกษา
หลากหลายแนว ทั้งแนวประวัติศาสตร์ สถาบัน, ประวัติศาสตร์ ความคิด, และเศรษฐกิจการเมือง รวมทั้งผนวกเอา
เครื่ องมือเครื่ องไม้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ (ที่อาจไม่จดั เป็ น “วิชาการ” นัก เช่น การ์ ตูน) มาช่วยทาความเข้าใจ
ประเด็นเศรษฐกิจอันซับซ้อนเป็ นสาคัญ ซึ่งอาจจะเรี ยกว่าเป็ นแนวการศึกษาแบบลัทธิ แก้-จับฉ่าย (eclectic
revisionism) ไปพลาง ๆ ก่อนก็ได้ นอกจากนี้ ผวู ้ จิ ยั ก็มุ่งรวบรวม, จัดระบบระเบียบและเสริ มเติมข้อมูลตัวเลข

สถิติและเอกสารตาราอ้างอิงทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องมารองรับข้อถกเถียง/ข้อเสนอแต่ละตอนแต่ละประเด็นของ
ผูว้ จิ ยั อย่างแน่นหนาและหนักแน่นที่สุดเท่าที่ทาได้ โดยหวังว่าจะเป็ นพื้นฐานอานวยประโยชน์แก่นกั ศึกษา,
คณาจารย์และผูส้ นใจใฝ่ รู ้ท่านอื่น ๆ ในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไป

 

รายงานการวิจยั เรื่อง 

เศรษฐกิจโลกถดถอยครั้งใหญ: ความรุงเรืองและลมจมของเสรีนิยมใหม/โลกาภิวัตน 
(The World’s Great Recession: The Rise and Fall of Neoliberalism/Globalization) 

โดย ร.ศ. ดร. เกษียร เตชะพีระ 


คณะรัฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร 
๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ 

บทคัดยอ 

วิกฤตเงินกูจํานองบานซับไพรมที่ปะทุขึ้นกอนในอเมริกาเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๒๐๐๗ เปนตนมา


ไดแผขยายลุกลามไปเปน “เศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ” แลวในปจจุบัน  (“The  Great  Recession”  คําเรียก
ขานของ  Dominique  Strauss‐Kahn ผูอํานวยการบริหารกองทุนการเงินระหวางประเทศ) กอนอื่นในรูป
วิกฤตธนาคารและสินเชื่อในกลุมประเทศทุนนิยมพัฒนาตะวันตกและญี่ปุน (ถือเปน “คลื่นลูกที่หนึ่ง” หรือ 
“The  First  Wave” ของวิกฤตตามการวิเคราะหของธนาคารโลก) แลวกลายสภาพเปนวิกฤตภาคเศรษฐกิจ
จริงในรูปเศรษฐกิจถดถอยและภาวะเศรษฐกิจชะงักงันพรอมเงินฝด  (stag‐deflation)  ในลําดับตอมา ซึ่ง
สงผลกระทบสืบเนื่องตอเศรษฐกิจของกลุมประเทศตลาดเกิดใหม  (emerging‐market  countries) ผาน
อุ ป สงค ข องกลุ ม ประเทศทุ น นิ ย มพั ฒ นาต อ สิ น ค า ออกจากประเทศเหล า นี้ ที่ ล ดฮวบลง พลอยทํ า ให
ภาคอุตสาหกรรมสงออกที่เปนพลวัตขับเคลื่อนผลักดันใหเศรษฐกิจกลุมประเทศตลาดเกิดใหมเติบโตอยาง
รวดเร็วตองสะดุดชะงักและถดถอยไปดวย (นับเปน “คลื่นลูกที่สอง” หรือ  “The  Second  Wave” ของ
วิกฤต) และลาสุดวิกฤตนี้ก็ไดแผกระจายไปกระทบบรรดาประเทศกําลังพัฒนา/ยากจนของโลกโดยเฉพาะ
ในแอฟริกา, ลาตินอเมริกาและที่อื่น ๆ (ถือเปน “คลื่นลูกที่สาม” หรือ  “The  Third  Wave” ของวิกฤต) กอ
ปญหาการสงออก, การลงทุน สินเชื่อและความชวยเหลือจากตางชาติ, และเงินสงกลับประเทศจากแรงงาน
อพยพไปตางแดนในประเทศเหลานั้นพากันตกฮวบฮาบ สงผลใหขาดดุลบัญชีเดินสะพัด คาเงินตก ลุกลาม
เปนวิกฤตการเงินการธนาคารอยางหนัก จนสะเทือนถึงความมั่นคงทางสังคมและการเมืองตามมา
นักเศรษฐศาสตรการเมืองชั้นนําไดประเมินวิกฤตครั้งนี้ตรงกันวาหนักหนวงรายแรงที่สุดนับแต
เศรษฐกิจตกต่ําใหญทั่วโลก (The Great Depression) ชวงคริสตทศวรรษ ๑๙๓๐  ตามหลังตลาดหุนนิวยอรก
ลมเมื่อป ค.ศ. ๑๙๒๙ เปนตนมา ยิ่งกวานั้น หลายคนยังเห็นพองตองกันวามันเปนอาการบอกอวสานทาง
อุดมการณการเมืองและเศรษฐกิจของยุทธศาสตรเศรษฐกิจและกระแสความเปลี่ยนแปลงแบบเสรีนิยมใหม/
โลกาภิวัตน (neoliberalism/globalization) ที่เริ่มขึ้นเมื่อราวตนคริสตทศวรรษที่ ๑๙๘๐ ซึ่งนาจะสงผล

 

 

กระทบอย า งลึ ก ซึ้ ง กว า งไกลต อ ระบบเศรษฐกิ จ การเมื อ งของประเทศต า ง ๆ รวมทั้ ง สถานการณ ภู มิ
รัฐศาสตร-เศรษฐศาสตรของโลก 
 

ภาค ๑ วิกฤตซับไพรม 

จากวิกฤตซับไพรมสูวิกฤตเศรษฐกิจโลก

ในคําปราศรัยในงานเลี้ยงอาหารเย็นประจําปของสโมสรนักเศรษฐศาสตรแหงชาติ  (National 

Economists Club)  ของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๐๘ มารติน เฟลดสไตน (Martin 

Feldstein)  ศาสตราจารยเศรษฐศาสตรมหาวิทยาลัยฮารวารด อดีตหัวหนาที่ปรึกษาเศรษฐกิจสมัย


ประธานาธิบดีเรแกน (ค.ศ. ๑๙๘๑ – ๘๙) และหัวหนาสํานักวิจัยเศรษฐกิ จแหงชาติอเมริกา (National 
Bureau  of  Economic  Research  อันเปนหนวยงานรับผิดชอบทําหนาที่ประกาศวาเศรษฐกิจอเมริกันเริ่ม

และเลิกถดถอยเมื่อใดอยางเปนทางการ)  นานถึง ๒ ทศวรรษ ไดกลาววาตอนนั้นมีบาน ๑๒ ลานหลังใน


สหรัฐฯที่มีอัตราหนี้สินตอมูลคากวา ๑๐๐% นั่นเทากับทุก ๑ ใน ๔ หลังของบานติดจํานองทั่วประเทศ มูลคา
มวลรวมของบานเหลานี้ตกราว ๒ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ หากดูคามัธยฐานของอัตราสวนหนี้สินตอมูลคา
ในบรรดาบานติดจํานองจมหนี้ (underwater mortgages) หรือนัยหนึ่งบานที่มีมูลคาติดลบ ๑๒ ลานหลัง
นั้น มันจะอยูที่ ๑๒๐% เขาสรุปวาที่ระดับเหลานั้น มันก็ยากที่จะมองออกวาใครสักกี่คนจะยินดีผอนบานติด
จํานองตอ 1

ตามกฎหมายของมลรัฐตาง ๆ ในอเมริกาซึ่งตางจากกฎหมายไทย ลูกหนีจ้ ํานองบานกับธนาคาร


สามารถเดินปลีกตัวหนี (walk away) ทิ้งบานติดจํานองใหธนาคารเจาหนี้ยดึ ไป โดยไมมีภาระหนีส้ ินผูก
พันหรือสามารถหลีกเลี่ยงการชําระหนี้คงเหลือที่ติดคางกับธนาคารตอได ดังนัน้ สภาวะบานติดจํานองจมหนี้
ทวมทนลนพนมูลคาบานที่ตกต่ําลง (underwater mortgages) ดังกลาวจึงทําใหคนชั้นกลางอเมริกัน
จํานวนมากตัดสินใจหันไปเปนผูผิดนัดชําระหนี้เชิงยุทธศาสตร (strategic defaulters) แทน คือทิ้งบานที่
จํานองกับธนาคารไวใหธนาคารเจาหนีย้ ึดไปเลย โดยไมยินยอมผอนชําระตอเพราะคิดเบ็ดเสร็จแลวมันไม
                                                       
1
 Kevin G. Hall, “Housing is bad enough, but wait — it'll get worse”, McClatchy Newspapers Website, 
created 23 November 2008, www.mcclatchydc.com/2008/11/23/56241/housing‐is‐bad‐enough‐but‐wait.html; 
และ Martin Feldstein, “How to Help People Whose Home Values Are Underwater”, The Wall Street Journal, 
created 18 November 2008, online.wsj.com/article/SB122697004441035727.html; ขอมูลลาสุดเรื่องนี้ปรากฏใน
Shahien Nasiripour, “JPMorgan Chase Warns Investors About Underwater Homeowners Walking Away”, 
Huffington Post, created 11 May 2010, www.huffingtonpost.com/2010/05/11/jpmorgan‐chase‐warns‐
inve_n_571103.html?view=print.  

 

 

คุมมูลคาาบานที่จะไดมาซึ
ม ่งตกต่ําลงงกวาตอนทําสัญญาจํานองเปนอันมาก แลกกั
แ บการเสีสียประวัตเิ ครดดิตไป
ประมาณ
ณ ๗ ป นักเศรษฐศาสตรประมาณว
ร าราว ๑ ใน ๓ ของงการบังคับเอาาบานจํานองหหลุด (forecloosures) 
ทั้งหมดใในอเมริกาเปนกรณี
น ผิดนัดชํชาระหนี้เชิงยุทธศาสตรทวี่วานี้ ขอที่นาสนใจยิ
ส ่งก็คือบบริษัทธุรกิจใหหญ ๆ ใน
สหรัฐฯก็ก็กําลังทําเชนเดียวกันกับอาคารสํานักงาานหรืออาคารรหองชุดมูลคาตกต่ําของตนน ไมวาธนาคคาร 
n Stanley, บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพ
Morgan พย Tishman Speyer, หรือแมแตสมาคคมธนาคารรับจํ
บ านอง 
on) เอง  ดังส
สถิติลาสุดเรืองหนี
่อ ้จํานองบบานอเมริกันที เ่ ปนปญหา: ‐ 
2
(Mortgaage Bankerss Associatio

๑) แผนภูมแสดงสั
แิ ดสวนบ
น านติดจํานอองที่ถูกธนาคารยึด/บังคับจํานองในภาพพรวมและจําแนกตาม

มลรัฐ/เมืมืองใหญตาง ๆ (ก.ค. ๒๐๐๙ - แถบสีฟา-เหลือง-แดง = แยกหนี้จาํ นนอง Prime‐Alt‐A‐
Subprimme ตามลําดับ) บ 

เงินกูปประเภทตาง ๆ Prime  Alt‐A  Subprim


me 
เสีสี่ยงนอยที่สดุ เสี่ยงมากกววา เสี่ยงทีสุส่ ดุ
สถานะเมืมื่อ ก.ค. ๒๐๐๐๙  ๔๐,๙๑๗,๓๑๓๓ ๒,๔๕๖,๙๑๗  ๒,๗๐๓,๖๖๗๑ 
คางชําระะ ๖๐ วันขึ้นไป  ๖.๐% ๒๕.๕% ๓๙.๗% %
ธนาคารยึยึด/บังคับจํานอง
น ๒.๒%  ๑๔.๓% ๑๘.๒% % 

                                                       
2
 Paul Solmon, “'Strategic Defaulters' Skkip Mortgage Payments as Home Valuess Tumble”, PBSS 
NewsHou
ur, created 20
0 April 2010, w
www.pbs.org//newshour/bb b/business/jan
n‐june10/morrtgage_04‐20..html.  

 

 

(อางจาก “America’ss troubled m
mortgages”,, McClatchyy, accessed 22 May 20110, www. 
mcclatcchydc.com/static/data//mtg/mUS. htm) 

ผลกระทบขอองวิกฤตซับไพพรมในยุคเศรรษฐกิจโลกาภิภิวัตนจะจํากัดอยู
ด เฉพาะอเมมริกาก็หาไม หาก 
“แพรกรระจายไปทั่วโลก.....ประชา
โ าคมโลกไมวาาอยู ณ จุดใด....รับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดดขึ้นไดอยางรรวดเร็ว
กวางขวาาง” สมดังนิยามคําวา “โลกาภิวัตน” ขอองพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิ
ณ ตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
๒ 3 วิกฤต
ซับไพรมมอเมริกันจึงลุกลามกลายเปปนวิกฤตการเเงินการธนาคคารโลกอยางรรวดเร็ว ดังปรรากฏความเสียหายทาง

เศรษฐกิจจการเงินขั้นตนวา: ‐ 

                                                       
3
ทศ ราชบัณฑิตยสสถาน, “โลกาภิวตั ตน”,
 ศูนยสารสนเท พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒
๒๕๔๒, accesseed 14 
May 2010, rirs3.royin.ggo.th/dictiona
ary.asp.  

 

 

 -รัฐบาลทั่วโล
ลกตองใชงบปประมาณเผื่อโโอบอุมธนาคารเอกชนในปประเทศตนรววม ๑๒ – ๑๕
๕ ลาน
ลานดอลลารสหรัฐฯ
-ธนาคารทั่วโลกคงต
โ องแททงหนี้สูญในทีที่สดุ ราว ๒.๗
๗ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ  
-หากรวมควาามเสียหายของสถาบันการรเงิน, ธุรกิจปรระกันภัยและกองทุนบํานาาญดวย ทั้งหมมดจะตก
ราว ๔ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ
-มูลคาหุนบริริษัทในตลาดหหุน ๕๔ แหงททัว่ โลกเสียหาายไปกึ่งหนึ่งคิคดเปนมูลคารราว ๓๒ ลานล
น าน
ดอลลารสหรัรัฐฯ (นับจากเดือนตุลาคม คค.ศ. ๒๐๐๗ ซึ่งมูลคาหุนโดยรวมอยู
โ ที่ ๖๖๓ ลานลานดอลลาร
สหรัฐฯ Æ ถึงเดือนพฤศจิจิกายน ค.ศ. ๒ ๒๐๐๘ มูลคาหุหนตกลงเหลือ ๓๑ ลานลาานดอลลารสหรัฐฯ) 
คิดเปนกึ่งหนึนึ่งของยอดมูลค
ล าผลิตภัณฑมวลรวมในปประเทศ (GDP – Gross DDomestic Prooduct) 
ของทั้งโลกตอป (ที่ ๖๔ ลานลานดอลลลารสหรัฐฯ)
-รวมความเสีสยหายทางเศรรษฐกิจการเงินนทัว่ โลกทั้งสิ้นราว ๕๐ ลานลานดอลลาารสหรัฐฯ คิดเป
ด น 
๑/๔ ของยอดดสินทรัพยการเงินของโลกกซึ่งอยูที่ ๑๙๖๖ ลานลานดอลลารสหรัฐฯฯในป ค.ศ. ๒๐๐๗4
เราอาจพิจารณ
ณาดูแผนภูมสถิ
สิ ติตัวเลขดังงตอไปนี้ประกอบ ไดแก: - 

๒) ทรัพยสนในตลาดหุ
นิ นตกต่
น าํ ลง ๔๐ – ๖๐% เมื่อคิดมูลคาเปนดอลล
ด ารสหรัฐั ฯ 

                                                       
4
 ประมวลจาก Paul Mason, M
P Meltdown: Th e End of the A Age of Greed (London and N New York: Verso, 
2009), pp
p. 53 – 54; Steeve Schifferes,, “Meltdown llosses of '$4 trrillion'”, BBC N
News, createdd 22 April 2009, 
news.bbcc.co.uk/go/prr/fr/‐/2/hi/bussiness/80097334.stm.  

 

 

(อางจาก World Bank, Global Development Finance: Charting a Global Recovery, I: Review, 
Analysis, and Outlook (Washington D.C.: World Bank, 2009), p. 11) 
 
จากนี้ การคาดการณความเติบโตของเศรษฐกิจโลกสําหรับป ค.ศ. ๒๐๐๙ โดยหนวยงานตาง ๆ จึงมี
แนวโนมเล็งการณเลวรายลงตามลําดับ ดังตารางสรุปขางลางนี:้  ‐ 
 
๓) ตารางความเติบโตของเศรษฐกิจโลก: คาดการณเลวรายลงตามลําดับสําหรับป ค.ศ. ๒๐๐๙ 
  IMF  UN‐WESP  World Bank 
ตุลาคม ๒๐๐๘ ๓.๐%    

มกราคม ๒๐๐๙  ๐.๕%  -๐.๕%   

เมษายน ๒๐๐๙  -๑.๓%     

พฤษภาคม ๒๐๐๙    -๒.๖%   

มิถุนายน ๒๐๐๙      -๒.๙%


กรกฎาคม ๒๐๐๙ -๑.๔%   
 
(ประมวลจาก: IMF, World Economic Outlook October 2008: Financial Stress, Downturns, and 
Recoveries, 2008, p. 2; IMF, World Economic Outlook April 2009: Crisis and Recovery, 2009, 
p. 10; IMF, “World Economic Outlook Update: Recession Loosens Grip But Weak Recovery 
Ahead”, IMF Survey Online, created 8 July 2009, www.imf.org/external/pubs/ft/survey/so/
2009/RES070809A.htm;  “UN: World economy to shrink further”, Aljazeera.net, 27 May 
2009; World Bank, Global Development Finance, 2009, p. 9; UN‐WESP คือรายงาน World 
Economic Situation and Prospects ที่ออกมาเปนประจําของ United Nations) 
 
หากพิจารณาผลกระทบของวิกฤตซับไพรมอเมริกันตอเศรษฐกิจโลกก็พบวา: ‐ 
-เกิดเศรษฐกิจโลกถดถอยใหญ (The World’s Great Recession) ครั้งแรกนับแตหลังสงครามโลก
ครั้งที่สองเปนตนมา 5 
-ธนาคารโลกระบุวาป ค.ศ. ๒๐๐๙ ผลิตภัณฑมวลรวมทุกประเทศในโลกติดลบหรือหดตัว
-๒.๒% 6 

                                                       
5
 โดมินิค เสตรา-คาหน ผูอํานวยการกองทุนการเงินระหวางประเทศ (IMF) เปนคนแรก ๆ ที่ระบุผานสื่อสาธารณะวาเศรษฐกิจ
โลกกําลังตกอยูในภาวะ “ถดถอยครั้งใหญ” (great recession) ในวิกฤตรอบลาสุดนี้ ดู “'Great recession' could spark civil 
unrest, IMF chief tells FRANCE 24”, France 24, created 10 March 2009, www.france24.com/en/print/4544113.  
6
  ขอมูลเศรษฐกิจโลกตอไปนี้มาจาก World Bank, Global Economic Prospects 2010: Crisis, Finance, and 
Growth (Washington D.C.: World Bank, 2010), p.3, 17. 

 

 

-กลุมประเทศศพัฒนาแลวเขขาสูภาวะเศรษษฐกิจถดถอยย (economicc recession หหมายถึง GDPP หดตัว


ตอกัน ๒ ไตรรมาส) ในลักษณะมุงสูภ าววะตกต่ําพรอมกั
ม น (synchrronized slum
mp) ทําใหหวัวงจะ

อาศัยแรงกระะตุนผลักดันจากกั
จ นและกันนใหฟนตัวไดดยาก โดยหดตตัวดังนี้: - 

*  กลุม OECD (Orgganization ffor Economiic Cooperattion and Devvelopment – 
ประกอบดวยประเทศอุ
ย ตสาหกรรมที
ส ่มั่งงคั่ง ๓๐ ประเทศ คิดเปนสัดสวน ๖๐% ของเศรษฐกิจโลก):
-๓.๓%, สหรัรัฐอเมริกา: ‐๒.๕%
๒ , ญี่ปุน: ‐๕.๔%, สหหภาพยุโรป: ‐‐๓.๙%  

* กลุมประเทศกํ
ม าลังพัฒนาเติบโโตทางเศรษฐกิจเพียง ๑.๒%, ถาตัดจีนแและอินเดียอออก สวนที่
เหลือหดตัว -๒.๒%
- ษฐกิจไทยหดตัว: -๒.๗%,7 ปริมาณการรคาโลกหดตัว -๑๔.๔%  
, เศรษ

* เศรษษฐกิจโลกนาจะกลั
จ บมาฟนนตัวแผว ๆ ราว ๒.๗ % ในนป ค.ศ. ๒๐๑ ๐ ดวยแรงฉุดของ

กลุมประเทศศกําลังพัฒนาแและตลาดเกิดใหม 
เราสามารถพิพิจารณาแผนภูภูมติ อไปนี้ปรระกอบเชนกัน ไดแก: ‐ 
 
๔) แผนภูมการเติ
กิ บโตขอองผลิตภัณฑมมวลรวมในปรระเทศเปรียบเเทียบระหวางงกลุมประเทศศตลาด
เกิดใหมและกํ
แ าลังพัฒนา,
ฒ กลุมประะเทศเศรษฐกิจก
จ าวหนา, แลละของโลกโดดยรวม (รอยลละ; เทียบ
รายไตรมมาสและตอป)

 
(อางจาก IMF, Worldd Economic Outlook Uppdate, 8 Jully 2009, p. 11) 
 

                                                       
7
ขณะที่ธนาคารรแหงประเทศไทยระบุผลผลิตรวมมภายในประเทศป ค.ศ. ๒๐๐๙ ขอองไทยไวที่ -๒.๓๓% ดู ธนาคารแหหงประเทศ
ไทย, เครื่องงชี้ภาวะเศรษฐกิจที
จ ่สําคัญ (กรุงเทพฯ: สํานักสถิติ ฝายบริหารขอมูล ธนาคารแหงปรระเทศไทย, ๓๐ เมมษายน ๒๕๕๓)), น. ๕.

 

 

๕) แผนภูมการเติ
กิ บโตขอองผลิตภัณฑมมวลรวมในปรระเทศของกลุม OECD มุงสสูภาวะตกต่าํ พร
พ อมกัน 

 
(แหลงขออมูล IMF อางจาก Vanessa Rossi, “SSynchronizedd Drive intoo Recession:: Focus on DDamage 
Limitatiion”, Chatham House B
Briefing Papper, created
d October 20
008, p. 3, w
www. 
chathammhouse.orgg.uk ) 
 
๖) แผนภูมิ IMF ทํานายกการเติบโตขอองกลุมประเทศ OECD เทียบกับสถานกาารณเศรษฐกิจถดถอย

ตาง ๆ ในนอดีต (ซาย) และ IMF ทํานายการเติบโตของประเท
โ ศนอกกลุม OOECD เทียบกัับ
สถานกาารณเศรษฐกิจถดถอยตาง ๆ ในอดีต (ขววา) 

(อางจาก Vanessa Roossi, “Synchhronized Driive into Reccession”, p. 44) 

 

 
 
  และก็ดังที่โดมินิค เสตรา-คาหน ผูอํานวยการ IMF ใหสัมภาษณไววาภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย
ใหญในครั้งนีอ้ าจจุดชนวนความปนปวนวุนวายของผูคนพลเมืองในประเทศตาง ๆ ขึ้นมาไดผานวิกฤต-
การณทางสังคมในโลกที่เปนผลกระทบตามมา8 อาทิเชน: ‐ 
• คนตกงานทั่วโลก 
• ILO (International Labour Organizaton – องคการแรงงานระหวางประเทศในสังกัด

สหประชาชาติ) คาดวาสิ้นป ค.ศ. ๒๐๐๙ จะมีคนตกงานเพิ่มขึ้นทั่วโลกเทียบกับป ค.ศ. ๒๐๐๗


(กอนเกิดวิกฤต) อีก ๓๙ - ๕๙ ลานคน รวมเปน ๒๑๐ - ๒๓๙ ลานคน = ๖.๕ – ๗.๔% ของแรงงาน
ทั่วโลก 9
• ตัวเลขวางงาน ค.ศ. ๒๐๐๘Æ ๒๐๐๙ 10
  สหรัฐฯ ๕.๘%    Æ ๙.๓% ของกําลังแรงงาน
  ญี่ปุน ๔.๐% Æ ๕.๑% ของกําลังแรงงาน

    เขตยูโร ๗.๖% Æ ๙.๔% ของกําลังแรงงาน

• คนมีงานทําแตยากจน (the working poor) เพราะไดคา แรงต่าํ ไมพอประทังชีวติ ทั่วโลกก็เพิ่มขึ้น


มากเชนกัน  
• ในสถานการณที่แยที่สุด (scenario 3) 11
‐ถานับที่รายได US$๑.๒๕/วัน: the working poor = ๘๕๗ ลานคนหรือ ๒๘.๒ % ของคนงาน

ทั่วโลก
‐ถานับที่รายได US$๒.๐๐/วัน: the working poor = กวา ๑.๓ พันลานคนหรือ ๔๖.๘% ของคน

งานทั่วโลก 
 
ILO ไดจัดทําแผนภูมิประกอบการคาดการณภาวะวางงานป ค.ศ. ๒๐๐๙ ดังนี:้  ‐ 
 
 
 

                                                       
8
 “'Great recession' could spark civil unrest, IMF chief tells FRANCE 24”, อางแลว.
9
 ILO, Global Employment Trends Update, May 2009 (Geneva: ILO, 2009), pp. 9 – 10. 
10
 ธนาคารแหงประเทศไทย, เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สําคัญ (๓๐ เมษายน ๒๕๕๓), น. ๒.
11
 ILO, Global Employment Trends Update, May 2009 , p. 16, 17.

 
10 
 

๗) แผนภูมภาวะว
ภิ างงานททั่วโลกใน ๓ สถานการณทีท่เี ปนไปได

(อางจาก ILO, Global Employmeent Trends UUpdate, Maay 2009 , p. 110)


 
๘) แผนภูมภาวะยากจนทั
ภิ ทั้งที่มีงานทําที่รายได US$๑.๒๕/วันในน ๓ สถานการรณที่เปนไปไได 

(อางจาก ILO, Global Employmeent Trends UUpdate, Maay 2009 , p. 116) 


 
 
 
 

 
11 
 

๙) แผนภูมภาวะยากจนทั
ภิ ทั้งที่มีงานทําที่รายได US$๒.๐๐/วันใน ๓ สถานการรณที่เปนไปได 

(อางจาก ILO, Global Employmeent Trends UUpdate, Maay 2009 , p. 117) 


 
สําหรับปญหาที
ห ่วาวิกฤตซัซับไพรมจะสงงผลกระทบเศศรษฐกิจไทยออยางไรบางนันั้ น ศูนยศึกษาการคา
ระหวางปประเทศ มหาวิทยาลัยหอกการคาไทยคาดดวาในป ค.ศ.. ๒๐๐๙ การสสงออกของไททยไป ๓ ตลาดหลัก
(ไดแก สสหรัฐฯ, ญี่ปุน, เขตยูโร) จะะหดลง -๕.๑๑% ทําใหรายไไดสงออกลดไป ๑๑๒,๕๖๖๒ ลานบาท ปญหา
ง ดตัวเพราะขขายนอกไมไดจะทําใหคนตกงานราว
โรงงานผผลิตสินคาสงออกที่จะตองป น ๙ แสน ถึง ๒ ลานคน
(ราว ๓ –– กวา ๖% ขอองแรงงานในปประเทศไทย)) 12 อยางไรก็ก็ตาม ตอมาพบวาในทางเปปนจริงเฉพาะสินคา
อุตสาหกกรรมสงออกขของไทยในป ค.ศ. ๒๐๐๙ ก็มีมูลคาลดตํต่ําลงกวาป ค.ศ. ๒๐๐๘ ถึง ๗๗๒,๑๘๘
๘ ลาน
บาทหรืออประมาณ ๑๔
๔.๓% แลว ขณะที่ผูวา งงานนในป ค.ศ. ๒๐๐๙
๒ มีเพียง ๕.๗ แสนคนน คิดเปนอัตราการ

วางงาน ๑.๕% ของแแรงงานในประเทศ 13 
เราอาจเห็นบริบทของกลไไกเศรษฐกิจกการคาที่สงทออดผลกระทบจจากวิกฤตซับ ไพรมถึงประะเทศไทย
ไดจากแผผนภูมิและตาารางขางลางนีนี:้  ‐ 
 

                                                       
12
 “หอการคาจัับยามสามตา สงออกไทยเจอพิษศศก.โลก”, มติชนรายวัน, ๑๙ พ.ย. ๒๕๕๑, น. ๑.
13
 ประมวลจากกธนาคารแหงประะเทศไทย, เครื่องงชี้ภาวะเศรษฐกิจที
จ ่สําคัญ (๓๐ เมษษายน ๒๕๕๓), นน. ๘, ๑๙, ๔๒. ตัตวเลขการ
สงออกโดยยรวมขั้นตนของปป ค.ศ. ๒๐๐๙ ก็คคอนขางใกลเคียง กับสินคาอุตสาหหกรรมสงออกหากอิงตามการประะเมินของศูนยศึกษาการคา
ระหวางปรระเทศ มหาวิทยาลลัยหอการคาไทย โปรดดูประกอบบ“ชี้คาเงินบาทปจจัยเสี่ยงสงออกไทย เวียดนามแยยงตลาดขาว-เสื้อผผา-
รองเทา”, โโคราชรายวัน, ๑๒
๒ ม.ค. ๒๕๕๓, www. koratddaily.com/4/30032.html.  

 
12 
 

๑๐) แผนภูมการเติ
กิ บโตขอองสินคาเขาที่แแทจริงในกลุมประเทศ
ม ECD (ซาย – เฉ
 OE ฉลี่ยรายไตรมมาส –
รอยละทีที่เปลี่ยนไปจากปกอน) และะสินคานําเขาสหรัฐอเมริกาจากบรรดาปประเทศกําลังพัฒนา 
ตุลาคม- พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๐๘ ((ขวา – หนวยพั ย นลานUS$ และรอยละทีที่เปลี่ยนไปจาากปกอน) 

(อางจาก World Bannk, Swimminng against the Tide: Hoow Developiing Countriees Are Coping with 
the Global Crisis, B
Background Paper preppared by Woorld Bank Sttaff for the  G20 Financce 
Ministeers and Centtral Bank Go
overnors M
Meeting, Horrsham, Unitted Kingdom m on March h 13‐14, 
2009, p
p. 5) 

๑๑) แผนภูมการผลิ
กิ ตทางอุอุตสาหกรรมตตกฮวบ สะทอนการออมเผื
อ ผื่อเหลือเผื่อข าดเพิ่มขึ้น (รอยละที่
เปลี่ยนไปปของการผลิตอุ
ต ตสาหกรรรมเทียบ ม.ค. ๒๐๐๙ กับ ก.ค. ๒๐๐๘; แแทงทึบแสดงประเทศ
ชํานาญกการผลิตสินคาทุ
า นและสินคาคงทน, แทงโปร
ง งแสดงปประเทศขาดดุดุลบัญชีเดินสะพัดสูง) 

(อางจาก World Bannk, Global Developmennt Finance: CCharting a G
Global Recoovery, p. 13)) 

 
13 
 

๑๒) แผนนภูมกิ ําลังผลิตอุ


ต ตสาหกรรมมถูกใชประโยชนนอยเกินไปทั่วโลก (อัอัตราการใชกาลั
ํ งผลิต
อุสาหกรรรมของบางปประเทศ แสดงงเปนรอยละจจากการสังเกตตการณลา สุด)  

(อางจาก World Bannk, Global Developmennt Finance: CCharting a G
Global Recoovery, 2009, p. 12) 

๑๓) แผนนภูมดิ ัชนีการผผลิตอุตสาหกกรรม (ซายบนน), ดัชนีฝายจัดั ซื้ออุตสาหกกรรม (ขวาบนน), ดัชนี


การสงอออกสินคา (ซายล
า าง), ดัชนีกการคาปลีก (ขขวาลาง) ของโลก, กลุมปรระเทศอุตสาหหกรรม
กาวหนา, และกลุมปรระเทศตลาดเกิกิดใหม แสดงงความเปลีย่ นแปลงของตัววเลขเคลื่อนไหหวเฉลี่ย
รายไตรมมาสเทียบกับไตรมาสก
ไ อนเปนรอยละตอป จาก ค.ศ. ๒๐๐๕ – เม..ย./พ.ค. ๒๐๐๐๙ 

 
14 
 

(อางจาก IMF, Worldd Economic Outlook Uppdate, 8 Jully 2009, p. 33) 
 

กําเนิดวิกกฤตซับไพรมม: ภาพจุลภาคค 

คําถามคือเศรรษฐกิจของสหหรัฐอเมริกาอัอันเปนประเททศใหญโตมั่งคัค่งที่สุดในโล กประสบภาววะตกต่ํา
ย่ําแยหนักหนวงที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่สอองเนื่องจากวิกฤตซั
ก บไพรมไดอยางไร?114 

  ในการตอบคํคําถามนี้ เราคววรดูภาพธุรกรรรมเศรษฐกิจระดั
จ บจุลภาคค (micro) กออน เพื่อปูความเขาใจ
พื้นฐานววากลไกอันสลลับซับซอนของการเกิดวิกกฤตซับไพรมหรือวิกฤตเงินกู
น จํานองบานนดอยคุณภาพพ
me mortgagges) เปนอยางไร?
(subprim า แลวคออยดูภาพระบบบเศรษฐกิจระดับมหภาค (m
macro) ที่เชือมโยง
อ่
กันกวางขึ้นในลําดับตตอไป 

                                                       
14
 GDP ของสห
หรัฐอเมริกาในป ค.ศ. ๒๐๐๙ คํานนวณตามภาวะเสมมอภาคของอํานาาจซื้อ (Purchasiing Power Parrity – 
PPP) อยูที่ ๑๔.๒๖ ลานลานดอลล
น ารสหรัฐฯ เปนอันดับสองงของโลกรองจากกสหภาพยุโรปที่ ๑๔.๕๑ ลานลานนดอลลารสหรัฐฯ เทานั้น ดู
CIA (Centtral Intelligencce Agency), “U United States””, The World Factbook, created 3 May 20010, www.cia a.gov/ 
library/publications/th he‐world‐factb book/geos/uss.html.  

 
15 
 

ในการนี้ มีเครื่องมือชวยทําความเขาใจกลไกวิกฤตซับไพรมงาย ๆ หลายแบบ ตั้งแตบทอธิบาย


เบื้องตน,15 ภาพยนตรสารคดี,16 สารคดีวิทยุ,17 โปสเตอรแผนภูมิ,18 การตูน19 เปนตน ในที่นี้ผวู ิจัยจะขอ
ใชการตูนชุด “The Subprime Primer”20 เนื่องจากอธิบายไดชดั เจนแจมแจงเรียบงายมีชีวิตชีวาและครอบ
คลุมตัวละครสําคัญที่เกี่ยวของทั้งที่เปนบุคคลและสถาบันไวคอนขางครบถวน โดยแปลบทสนทนาเปนไทย
และแสดงไวทภี่ าคผนวกทายรายงานวิจัย (โปรดอานการตนู “คูมือซับไพรม” ประกอบ)

ตัวละครและแนวคิดสําคัญในการตูนเรื่อง “คูมือซับไพรม” ไดแก: ‐ 

• Ace Mortgage Brokers บริษัทนายหนารับจํานองมือเอก = นายหนาปลอยกูจํานองบานและ

ตัวกลางระหวางผูกูยืมกับธนาคารผูปลอยกู 

• Liar’s loan เงินกูขี้ฮก = การปลอยกูชนิดทีใ่ หผูกยู ืมรับรองการงานอาชีพและรายไดของตัวเอง ซึ่งผู

กูยืมหรือผูปลอยกูโนมเอียงที่จะแสดงขอมูลเขาขางผูกูยืมเกินจริงเพื่อใหคําขอกูไดรบั อนุมัต;ิ เงินกู


อีกชนิดหนึ่งทีใ่ กลเคียงกันแตหละหลวมกวาคือ Ninja loans หรือ เงินกูนินจา มาจากอักษรตัวแรก
ของวลี No income, no job, no asset loans หมายถึงเงินกูที่ปลอยใหแกผูกยู ืมโดยไมเรียกรอง
ใหผูกยู ืมตองมีรายได, การงานอาชีพ, หรือสินทรัพยใด ๆ เลย21 การปลอยกูใหแกผูกูยืมที่ไมมี
หลักฐานหรือหลักประกันนาเชื่อถืออยางใดเลยนี้คือฐานที่มาของเงินกูจ ํานองบานดอยคุณภาพหรือ

                                                       
15
เชน  Arun Gupta, “Financial Meltdown 101”, AlterNet, created 13 October 2008, www.alternet.org/ 
story/102672/.  
16
 เชน Paul Solman, “Risky Subprime Market Sends Ripples Through Financial World,” PBS NewsHour, 
aired 30 August 2007, www.pbs.org/newshour/bb/business/july‐dec07/subprime_08‐30.html. หรือคน
อินเทอรเน็ตไดภายใตชื่อรายการวา “Paul Solman’s Subprime Primer Part 1 & 2” 
17
 เชน Ira Glass, “The Giant Pool of Money”, This American Life, aired 9 May 2008, www. 
thisamericanlife.org/radio‐archives/episode/355/the‐giant‐pool‐of‐money.  
18
 เชน “Poster Presentation ‐ Anatomy of a Global Crisis”, The University of Iowa Center for 
International Finance and Development, accessed 16 May 2010, www.uiowa.edu/ifdebook/issues/ 
financial_crisis/posters.shtml.  
19
 เชน “SubPrime Credit Crisis Explained In A Funny Cartoon”, YouTube, accessed 16 May 2010, 
www.youtube.com/watch?v=EsA9lR2XB3A.  
20
 เปดชมและดาวนโหลดไดที่ “The SubPrime Crisis Primer”, slideshare, accessed 16 May 2010, 
www.slideshare.net/roguemonk/the‐subprime‐crisis‐primer. การตูนชุดนี้เริ่มเผยแพรออกมาทางอินเทอรเน็ตราวป ค.ศ.
๒๐๐๗ และจากนั้นก็กระจายออกไปอยางกวางขวาง
21
 Kathleen Day, “Enter the NINJA: A Subprime Glossary”, Washington Post, created 1 June 2008, p. 
B04, www.washingtonpost.com/wp‐dyn/content/article/2008/05/30/AR2008053002554.html.  

 
16 
 

ซับไพรมกับเงินกูจํานองบาน Alt‐A และสะทอนอาการโลภอยากไดคานายหนาและคาขาย
หลักทรัพยซีดโี อจนขาดความรับผิดชอบของระบบการเงินเสรีสุดโตงอเมริกัน ซึ่งนําไปสูความ
ลมเหลวพังพินาศทางเศรษฐกิจการเงินในที่สุด 

• First Bank of England, Inc. ธนาคารเอกธนาเทศ = ธนาคารพาณิชยรบ


ั ฝากเงิน-ปลอยกูแบบปกติ
ดั้งเดิม

• RSG Investment Bank of Wall Street ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท = ธนาคาร

วาณิชธนกิจหรือธนาคารเพื่อการลงทุนไมไดรับฝากเงินและปลอยกูแ กบุคคลหรือบริษัทอยาง
ธนาคารพาณิชยธรรมดา หากทําหนาที่จดั หาการเงินใหแกบริษัท โดยเฉพาะอยางยิ่งดวยการซื้อหุน
และหลักทรัพยแลวแบงขายใหแกสาธารณะในหนวยทีเ่ ล็กลง ธนาคารวาณิชธนกิจยังใหคําแนะนํา
เรื่องการครอบงําและควบรวมกิจการบริษทั รวมทั้งการระดมทุนในตลาดดวย 22 

• the insurers = บริษัทรับประกันความเสี่ยงในการลงทุนดวยการจําหนายตราสารประเภท CDS – 

Credit Default Swap หรือสัญญาสวอปความเสี่ยงในการผิดนัดชําระหนี้ จะกลาวถึงขางหนา 

• the Rating Agencies = บริษัทจัดอันดับความนาเชื่อถือในการลงทุน 

• SEC – US Securities and Exchange Commission = คณะกรรมการกํากับหลักทรัพยและตลาด

หลักทรัพยของสหรัฐอเมริกา ทําหนาที่คลาย ก.ล.ต. ในเมืองไทย 

• SPV – Special Purpose Vehicle นิติบุคคลเฉพาะกิจ = บริษัทไสกลวงที่ธนาคารวาณิชธนกิจ

ตั้งขึ้นมาเพื่อโอนหนี้เนาไปใสไว จะไดตบแตงงบดุลของธนาคารเองใหดูด ี เปนสวนหนึ่งของระบบ


ธนาคารในเงามืด (the Shadow Banking System) ที่พัฒนาขึ้นมาในชวงตลาดการเงินเสรีสุดโตง
หลังคริสตทศวรรษที่ ๑๙๘๐ 23 

                                                       
22
 “investment bank”, Oxford Dictionary of Business English for Learners of English (Oxford: Oxford 
University Press, 1994), p. 209. 
งานวิวาทะเกี่ยวกับกิจการวาณิชธนกิจและทุนนิยมการเงินที่นาสนใจระหวางนายทุนผูบริหารธุรกิจกับวาณิชธนากรปรากฏใน
ธนาธร จึงรุงเรืองกิจ, “ราชาแหงทุนนิยม”, ฟาเดียวกัน, ๔: ๔(ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๔๙), ๑๑๐ – ๑๓๒; สฤณี อาชวานันทกุล, “โสเภณี
แหงทุนนิยม”, ฟาเดียวกัน, ๕: ๑(มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๐), ๑๘ – ๒๗; ธนาธร จึงรุงเรืองกิจ, “วิวาทะวาดวยบทบาทของวาณิชธนกิจและ
ทุนนิยมการเงิน”, ฟาเดียวกัน, ๕: ๓(กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๕๐), ๑๖ – ๒๕.
23
 ดูรายงานละเอียดเรื่องระบบธนาคารในเงามืดใน Nicholas Hildyard, A (Crumbling) Wall of Money 
Financial Bricolage, Derivatives and Power, Briefing 39 (Dorset: The Corner House, 2008). 

 
17 
 

•  Office of the Czar of Accounting สํานักหัวหนาผูตรวจสอบบัญชี = หนวยงานทางการกํากับ

ดูแลบัญชีงบดุลสถาบันการเงิน

• Norwegian Village Pension Fund กองทุนบํานาญหมูบ
 านในนอรเวย = กองทุนขององคกร
ปกครองทองถิ่นในประเทศตาง ๆ ทั่วโลกที่นําเงินสํารองของตนไปลงทุนหากําไรดวยการซื้อตรา
สารซีดีโอจากธนาคารวาณิชธนกิจตาง ๆ 24 

เราอาจสรุปกระบวนการแปลงเงินกูจํานองบานดอยคุณภาพหรือซับไพรมเปนหลักทรัพย 
(securitization) ได ๕ ขั้นตอนดังนี้
25
: ‐ 

๑) ธนาคารวาณิชธนกิจเองหรือบริษัทรับวาจางดําเนินการสรางหุนกู (bonds) ซึ่งใหดอกเบี้ยตอบ
แทนตามระดับความเสี่ยงแกนักลงทุนขึ้นมาจากเงินกูจํานองบาน, หนี้เครดิต การด, เงินกูยืม
เรียน, หนี้เชาซื้อรถ ฯลฯ ที่นํามามัดรวมกัน 
๒) คลุกเคลาผสมผสานหุนกูตาง ๆ ขึ้นมาเปนหีบหอใหญ โดยจัดแบงชั้นตามระดับความเสี่ยงที่
ตางกันกลายเปน Æ CDOs – collateralized debt obligations ตราสารหนี้ที่มีหลักทรัพยค้ํา
ประกัน 
๓) ก. ไปตลาดตราสารอนุพันธแลวซื้อประกันความเสี่ยง CDSs – credit default swaps หรือนัย
หนึ่งสัญญาสวอปความเสี่ยงในการผิดนัดชําระหนี้ - ใหกับ CDOs เพื่อเฉลี่ย-ลด-ขยับยายความ
เสี่ยงออกไปจากงบดุลบริษทั ของตนเอง; ข. จากนั้นก็ให credit rating agencies หรือบริษัท
จัดอันดับความนาเชื่อถือ มาจัดรับรองเรตติ้ง CDOs ของตน 
๔) ตัดแบง CDOs เปนทอน ๆ ตาม [คุณภาพ-ราคา-ความเสี่ยง-ผลตอบแทน] แลวขายออกไป 
๕) นักลงทุนผูมาซื้อ CDOs ไดแกธนาคารวาณิชธนกิจอืน่ , กองทุนบํานาญ, กองทุนรวม, องคกร
ปกครองทองถิ่น, สมาคมกอสราง (building societies),26 เฮดจ ฟนด (hedge funds)27ฯลฯ 

                                                       
24
 ดูตัวอยางกรณีทํานองนี้ที่เกิดขึ้นจริงกับสภาทองถิ่นตาง ๆ ในนอรเวยและออสเตรเลียไดที่ Mark Landler, “U.S. Credit 
Crisis Adds to Gloom in Norway”, The New York Times, created 2 December 2007, www.nytimes.com/ 
2007/12/02/world/europe/02norway.html?pagewanted=1&_r=1;  “AAA ratings on rate”, ABC Radio National ‐ 
Background Briefing, created 9 September 2007, www.abc.net.au/rn/backgroundbriefing/stories/2007/ 
2024379.htm.  
25
 เรียบเรียงจาก Mason, Meltdown, pp. 91 – 92. 
26
 Building society เปนองคการในอังกฤษที่ดําเนินงานคลายธนาคารอาคารสงเคราะหโดยรับฝากเงินออมใหดอกเบี้ยแก
ประชาชนทั่วไปและปลอยเงินกูรับจํานองใหแกผูตองการซื้อบานหรือแฟลต ดู “building society”, Oxford Dictionary of 
Business English, p. 67. 

 
18 
 

แนวคิดสําคัญในกระบวนการแปลงเงินกูจาํ นองบานดอยคุณภาพหรือซับไพรมเปนหลักทรัพย
ไดแก securitization หรือการแปลงสินทรัพยใหเปนหลักทรัพยนั่นเอง ซึ่งควรใชเวลาทําความเขาใจมันสัก
เล็กนอย 

Securitization หมายถึงการสรางหลักทรัพย (securities) ขึ้นโดยเอาสินทรัพยตาง ๆ (assets) 

รวมทั้งหนี้สินที่ลูกคากูยืมไปนับพัน ๆ รายมากองรวมจัดหีบหอเขาดวยกันเปนตราสาร (instrument) แลว


ตัดแบงตามชัน้ คุณภาพเปนทอน ๆ รวม ๑๐ ทอน (tranches)  

-หลักเกณฑทวั่ ไปในการแบงทอนคือทอน “หวย” จะมีลักษณะ [คุณภาพต่ํา-ราคาต่ํา-ความเสี่ยงสูง-


ผลตอบแทนสูง] และกลับกันทอน “ดี” จะมีลักษณะ [คุณภาพสูง-ราคาสูง-ความเสี่ยงต่ํา-ผลตอบแทนต่ํา]  

-จากนั้นก็นําหลักทรัพยดังกลาวไปขายทอดตลาดใหนักลงทุนทั่วโลกมาซื้อเพื่อเก็บรับรายได
ดอกเบี้ยผลประโยชนทจี่ ะงอกเงยขึ้นมาจากสินทรัพยเหลานั้น  

-สวนธนาคารพาณิชยผูปลอยกูจํานองบานก็สามารถนําเงินที่ไดจากการขายหลักทรัพยแกนักลงทุน
ผานธนาคารวาณิชธนกิจ กลับไปปลอยกูขยายสินเชื่อแกลูกหนี้เพิ่มเติมตอไปอีก  

กระบวนการสรางหลักทรัพยขึ้นจากเงินกูจาํ นองบานดอยคุณภาพ (Securitization of subprime 


mortgage loans) ดังบรรยายมานี้นําไปสูการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญในอุตสาหกรรมสินเชื่อที่อยูอาศัยของ

อเมริกา จาก: ‐ 

                                                                                                                                                                         
27
 Hedge fund กองทุนเพื่อการลงทุนที่เปดรับเฉพาะเศรษฐี แตก็มีกองทุนบํานาญเขาไปลงทุนดวยมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อใหได
ดอกผลจากการลงทุนสูง ผูจัดการเฮดจ ฟนดไดเงินจากคาธรรมเนียม สวนนักลงทุนก็ไดเงินจากการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งพวกเขา
อนุมัติใหผูจัดการเฮดจ ฟนดไปดําเนินการให ปกติแลวเฮด ฟนดจะเดินยุทธศาสตรที่อาศัยความรูลึกเกี่ยวกับตลาด, ทักษะคณิตศาสตรหรือ
ทักษะการคาขายลงทุนของตัวผูจัดการเอง เฮดจ ฟนดยังมีสิทธิล็อคนักลงทุนไวไมใหถอนทุนหนีในยามยาก เฮดจ ฟนดหลายแหงใชวิธี
กูยืมเงินจากแหลงอื่นสูงกวาทุนของตัวเองหลายเทาตัวมาเสี่ยงลงทุนเพื่อเพิ่มน้ําหนักการลงทุนของตน (leverage) จึงนําไปสูขอ ถกเถียง
ที่วาถึงแมเฮดจ ฟนดจะใชเงินตัวเองเก็งกําไร แตก็กอใหเกิดความเสี่ยงทั่วทั้งระบบ (systemic risk) ตอเงินทุนของผูอื่น ดู Mason, 
Meltdown, p. 190.  
ดูบทรายงานเจาะลึกแนะนํา Hedge funds ไดใน Donald MacKenzie, “An Address in Mayfair”, London Review 
of Books, 30: 23 (4 December 2008), 9 – 12. นอกจากนี้ Justin Rowlatt ผูสื่อขาวรายการ Newsnight ของ BBC ยังไดทํา
สารคดีสั้นเกี่ยวกับกิจวัตรการทํางานและความคิดของผูจัดการ Hedge fund รายหนึ่งชื่อ Hugh Hendry แหง Eclectica Asset 
Management ซึ่งมีเงินลงทุนทั้งของตนเองและลูกคาในการดูแลจัดการ ๔๐๐ ลานดอลลารสหรัฐฯ ดูไดที่ Justin Rowlatt, “A day in 
the life of a financial speculator”, BBC News ‐ Newsnight, created 9 March 2010, http://news.bbc.co.uk/2/hi/ 
programmes/newsnight/8565245.stm.  

 
19 
 

‐[the originate‐to‐own model] หรือนัยหนึ่งตัวแบบเดิมที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอยางอื่น

เปนตัวการตนตอปลอยกูสินเชื่อจํานองบานแกลูกหนีแ้ ละถือครองสิทธิ์เหนือหนีจ้ ํานองบานกอนนั้นไวเอง


เพื่อรับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยและเงินตนจากลูกหนีจ้ นกวาหนี้จะถูกผอนชําระคืนหมด ไปเปน Æ  

‐[the originate‐to‐distribute model] หรือตัวแบบใหมที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอยางอื่น

เปนตัวการตนตอปลอยกูสินเชื่อจํานองบานแกลูกหนี้ แตแลวแทนที่จะถือครองไวเอง กลับขายสิทธิ


ประโยชนตาง ๆ เหนือหนีจ้ ํานองบานกอนนั้นกระจายตอไปใหบุคคลทีส่ าม-สี่-หา...ถือครองในรูป
หลักทรัพยที่ดดั แปลงสรางขึ้นจากหนี้กอนดังกลาว เพื่อใหบุคคลเหลานั้นรับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยและ
เงินตนจากลูกหนี้แทนจนกวาหนี้จะถูกผอนชําระคืนหมด 28 

แกนแทของความแตกตางระหวางธุรกรรมสินเชื่อที่อยูอ าศัยในตัวแบบเดิม [the originate‐to‐
own model] กับตัวแบบใหม [the originate‐to‐distribute model] อยูตรงความสัมพันธระหวางผู

ปลอยกูกับผูกยู ืมที่เคยมีในแบบเดิมถูกหักรานไป ทําใหเกิดภาวะสารสนเทศไมสมบูรณ (imperfect 


information) ในตัวแบบใหม หรือนัยหนึ่งเจาหนี้ปลายทางตัวจริง (นักลงทุนผูซื้อหลักทรัพยตราสารหนี้)

อยูหางไกล ไมรูจักหนาคาตาหัวนอนปลายตีน จึงยอมกุมสภาพลูกหนีจ้ ํานองบานไมได อุปมาเสมือนหนึ่ง


ตัวแบบเดิมเปนธุรกิจคลังเก็บของ (the storage business) สวนตัวแบบใหมเปนธุรกิจขนยายของ (the 
moving business) นั่นเอง โปรดสังเกตความแตกตางของตัวแบบทั้งสองตามแผนภูมิดานลางนี:้   
29

                                                       
28
 Gupta, “Financial Meltdown 101”, pp. 2 – 4. 
29
 Joseph E. Stiglitz, Freefall: Free Markets and the Sinking of the Global Economy (New York: Penguin 
Group, 2010), p. 14. 

 
20 
 

๑๔) แผนนภูมิตวั แบบธุรกรรมสินเชื่อที่อยูอาศัยแบบเดิม (ซาย) กับแบบซับ ไพรม (ขวา) 

(อางจาก “The US suub‐prime criisis in graphhics”, BBC NNews, createed 21 Novem
mber 2007,, 
news.bbc.co.uk/2//hi/businesss/7073131.sstm) 

ผลสืบเนื่องจากกระบวนกการที่วานี้จึงเปปนการขามพนทะลุ
น เพดานจจํากัดการปลออยกูของธนาคคาร
พาณิชยแแตเดิมที่ขึ้นอยูยูกับยอดปริมาณเงิ
ม นฝากขอองธนาคารอออกไป ทําใหยอดหนี
ย ้สินโดดยเฉพาะเงินกูจ ํานอง
ซับไพรมมเพิ่มปริมาณออยางรวดเร็ว Æ นําไปสูการเพิ่มกําลังซือ้ และอุปสงคคในตลาดซื้อ ขายบานที่อยูอาศัย
และอุตสสาหกรรมกอสร
ส าง Æ เกิดสภาพเศรษฐกิ
ส กิจฟองสบูของราคาบ
อ านทีอยู
่ อาศัย (ho using bubble) โปง
พองใหญ
ญโตมโหฬารใในระบบเศรษษฐกิจอเมริกา ซึ่งเริ่มปรากฏเดนชัดตัง้ แตป ค.ศ. ๒๐๐๐๑ ขึ้นถึงจุดสุสดยอด
ตนป ค.ศศ. ๒๐๐๕ แลวเริ่มตกต่ําลงงในป ค.ศ. ๒๐๐๖ จนถึงปจจุบันยังไมฟฟน ตัวชัดเจน โโดยอาจพิจารรณาได
จากแผนภูมิขางลางนี้ 
 

 
21 
 

๑๕) แผนนภูมดิ ัชนีราคาาบาน, จํานวนนประชากร, ดัชนีคากอสราง, และผลตออบแทนจากพัพันธบัตร


กระทรวงการคลังอเมมริกากําหนดชํชําระ ๑๐ ปจาก ค.ศ. ๑๘๙๐๐ – ๒๐๐๕ (ปปรับคาเงินเฟอแลว)

(อางจาก Robert Shiller, Irrationnal Exuberaance (Princeeton: Princeton Universsity Press, 22005)) 

ประวัติของเททคนิคการเงินแบบ
น Securiitization นีกํก้ าํ เนิดขึ้นเมื่อคริ
ค สตทศวรรษษที่ ๑๙๗๐300 โดย
เปลี่ยนบรรดาเงินกูทลูลี่ ูกคากูย มื จากกธนาคารไปเปปนหุน กูปลอยขายแกนักลงทุนแทน อุปปมาอุปไมยเหหมือน
หนึ่งธนาาคารวาณิชธนนกิจอเมริกันทัท้งหลายกําลังงเลนเกม “สงตอหอระเบิด” อยางรวดเร็ร็ว ยิ่งเมื่อถึงยุคตํ
ค านาน
“โลกแบ
บน” แหงโลกาาภิวัตน หนีนี้สินเหลานีก้ อ็อาจถูกพวกเขขากวานซื้อวันนี
น ้ แลวสงไปปจัดหีบหอขามคื
า นใน
31

                                                       
30
 Kevin Phillips, Bad Money: Reckless FFinance, Failed Politics, and
d the Global CCrisis of American 
Capitalism
m (New York: Viking Pengu uin, 2008), “Figgure 2.3 The EEvolution of C
Critical Derivattives, 1972‐20 005: A 
Chronoloogy of Risk Maanagement Te echniques”, p.. 35. ดังปรากฏหหลักหมายกําเนิดหลั
ห กทรัพยสําคัญญตอไปนี้คือ: ‐ 
ค.ศ. ๑๙๗๐ MBBSs – Mortgage‐backed secuurities เกิดในตลลาดรอง 
ค.ศ. ๑๙๘๓ CMMO – Collateralized mortgagge obligation ถูถกนําเสนอเปนครั้งแรกโดยบรรษัษัท Fannie Mae e 
ค.ศ. ๑๙๘๕ ABSS – Asset‐backked security ถู กพัฒนาขึ้นโดยบบริษัทการเงิน Spperry Leasing FFinance 
ค.ศ. ๑๙๘๗ CDO – Collateralized debt obl igation ถูกประดิษฐขึ้นโดยบริษัษทั วาณิชธนกิจวออลล สตรีท Drexxel 
m และพัฒนาไปม
Burnham มากในคริสตทศวรรษที่ ๑๙๙๐ 
ตนคริสตทศวรรรษที่ ๑๙๙๐ CDSss – Credit defaault swaps เริมปรากฏใช
่ม กัน แตตมาแพรหลายในนคริสตทศวรรษทีที่ ๒๐๐๐ 
31
 Thomas L.. Friedman, Th
he World Is Flaat: A Brief Hisstory of the Tw
wenty‐first Ceentury (New York: 
Farrar, Sttraus & Girouxx, 2005).  

 
22 
 

อินเดีย กอนจะขายตอใหนกั ลงทุนสถาบันในวันพรุง ยิ่งขายตอไดเร็วเทาไหร ก็ยงิ่ ทําใหรายงานประเมิน


ความเสี่ยงของธนาคารดูดีขึ้นเทานั้น ทวาถึงป ค.ศ. ๒๐๐๖ อุปทานของหลักทรัพยดังกลาวก็ลนเกินอุปสงค
ไปแลว32 
 

อวสาน ๕ ยักษวาณิชธนกิจอเมริกัน

กอนวิกฤตซับไพรม สหรัฐอเมริกามีธนาคารวาณิชธนกิจยักษใหญชั้นนําของโลก ๕ แหง ตั้งอยูใน


ยานวอลล สตรีท มหานครนิวยอรค โดยเรียงลําดับความใหญโตของเงินทุนจากมากไปหานอยไดดังนี:้  ‐

๑) Goldman Sachs 
๒) Morgan Stanley 
๓) Merrill Lynch 
๔) Lehman Brothers 
๕) Bear Stearns 
ทั้ง ๕ ธนาคารตางก็เลนเกมซับไพรมกันเต็มตัว ตามการประเมินของผูเชี่ยวชาญตลาดสินเชื่อจํานอง
บานเมื่อกลางป ค.ศ. ๒๐๐๘ พบวาเงินกูจํานองซับไพรมในตลาดทั้งสิน้ มีมูลคาสุทธิ ๒.๕๑ ลานลาน
ดอลลารสหรัฐฯ ขณะที่เงินกูจ ํานอง Alt‐A (liar’s loan หรือเงินกูขี้ฮกซึง่ เกรดดีกวาซับไพรม แตแยกวา
ไพรม) มีมูลคาสุทธิ ๒.๒๑๒ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ33 เงินกูทั้ง ๒ ประเภทตางมีสัดสวนตกประมาณ
ประเภทละ ๒๐% ของยอดหนี้จํานองบานครอบครัวเดี่ยวอเมริกันที่มีมลู คากวา ๑๐ ลานลานดอลลาร
สหรัฐฯ34 หากมองในแงตลาดหุนกูที่มหี นี้จํานองบานเปนหลักทรัพยประกัน สัดสวนเงินกูซับไพรมก็จะ
ใกลเคียงกันดังแผนภูมดิ านลางนี:้  ‐ 

                                                       
32
 Robin Blackburn, “The Subprime Crisis”, New Left Review, II/50 (March/April 2008), 77.
33
 Edward Pinto ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมการเงินดานการจํานองบานและอดีตหัวหนาเจาหนาที่ฝายสินเชื่อของบรรษัท
Fannie Mae ในคริสตทศวรรษที่ ๑๙๘๐ เปนผูเขียนบันทึกชวยจําประเมินตัวเลขดังกลาวใหแก The American Enterprise 
Institute for Public Policy Research ดู Edward Pinto, “Memorandum: Sizing Total Exposure to Subprime and Alt‐
A Loans in U.S. First Mortgage Market as of 6.30.08”, The American Enterprise Institute for Public Policy 
Research, created 30 June 2008, www.aei.org/docLib/Pinto‐Sizing‐Total‐Exposure.pdf.  
34
 “Investor Presentation: Freddie Mac Update May 2010”, Freddie Mac, accessed 20 May 2010, 
www.freddiemac.com/investors/pdffiles/investor‐presentation.pdf, p. 14. 

 
23 
 

๑๖) แผนภูมแสดงสั
แิ ดสวนเงิ
น นกูจาํ นองบบานประเภทตตาง ๆ ในตลาาดหุนกูที่มหี นี ้จํานองบานเปน
หลักทรัพย
พ ประกันขอองสหรัฐอเมริกา (ไตรมาสทที่ ๒ ของป ค.ศ. ๒๐๐๗) 

(อางอิงจจาก “The US sub‐prime crisis in graaphics”, BBCC News, acccessed 18 Jaanuary 20088, 
news.bbc.co.uk/2//hi/businesss/7073131.sstm) 

  เมื่อฟองสบูซัซบั ไพรมเริ่มแตกนั
แ บแตเดืออนสิงหาคม ค.ศ.
ค ๒๐๐๗ เปปนตนไป บรรรดาธนาคารววาณิช-
ธนกิจทั้งงหลายก็ประสสบภาวะหุนตก-หนี
ต ้ทว มอยยางหนัก ดังเหห็นไดจากแผนนภูมดิ านลาง นี:้  ‐ 

๑๗) แผนนภูมิฐานะตกตต่ําของบรรดาาธนาคารวาณิ ณิชธนกิจชวงวิวิกฤตซับไพรรม: ราคาหุนที่


เปลี่ยนไปปจาก ๑๓ มี.ค.
ค ๒๐๐๗ – ๑๑๒ มี.ค. ๒๐๐๐๘ (ซาย); หนี้สูญรายใหญญ พ.ค. ๒๐๐๘๘ (ขวา) 

 
24 
 

(ประมวลจาก “Timeline: Sub‐prime losses”, BBC News, created 19 May 2008, news.bbc.co.uk/ 
go/pr/fr/‐/2/hi/business/7096845.stm. และแหลงอื่น ๆ)

ในที่สุดยักษใหญวาณิชธนกิจอเมริกันทั้ง ๕ แหงก็ถึงกาลอวสานตามลําดับทามกลางการปะทุระเบิด
ของวิกฤตการเงินการธนาคารครั้งใหญและรายแรงที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่สองของสหรัฐฯ กลาวคือ: ‐  

  -๑๗ มีนาคม ค.ศ. ๒๐๐๘ Bear Stearns ถูกธนาคาร J.P. Morgan Chase ซื้อควบรวมกิจการโดย


การสนับสนุนทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ 
  -๗ กันยายน ค.ศ. ๒๐๐๘ รัฐบาลสหรัฐฯเขาควบคุมกิจการ (หรือโอนเปนของรัฐในทางปฏิบัติ) 
Fannie Mae และ Freddie Mac (The Federal National Mortgage Association และ The Federal 
Home Loan Mortgage Corporation) ๒ บรรษัทปลอยกูจํานองบานยักษใหญซึ่งเปนเจาหนี้จํานองบาน
คางชําระเกือบกึ่งหนึ่งและค้ําประกัน ๓ ใน ๔ ของเงินกูจ ํานองบานรายใหมในตลาดอเมริกัน เนื่องจากทั้ง ๒
บรรษัทมีหนี้สนิ คงคางสูงถึง ๕.๔ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ จนใกลลมละลายและกลายเปนความเสี่ยงตอ
เสถียรภาพทางการเงินทั้งระบบ ประมาณการณวารัฐบาลสหรัฐฯจะตองใชเงิน ๒ แสนลานดอลลารสหรัฐฯ
เพื่อกอบกูบรรษัททั้ง ๒
-๑๕ กันยายน ค.ศ. ๒๐๐๘ Lehman Brothers ลมละลายปดกิจการ 
-๑๕ กันยายน ค.ศ. ๒๐๐๘ Merrill Lynch เซ็นสัญญาตกลงให Bank of America เขาซื้อควบรวม
กิจการ  
-๑๖ กันยายน ค.ศ. ๒๐๐๘ รัฐบาลและธนาคารกลางสหรัฐฯกอบกูบรรษัท AIG (American 
International Group) อันเปนบรรษัทประกันภัยใหญทสี่ ุดของโลกจากภาวะลมละลายเนื่องจากตราสาร
CDS ที่ AIG ออก โดยซื้อหุนของบรรษัท ๗๙.๙% ในราคา ๘.๕ หมื่นลานดอลลารสหรัฐฯในลักษณะเขา
ครอบงํากิจการ35 
-๑๖ กันยายน ค.ศ. ๒๐๐๘ ตลาดเงินอเมริกนั แข็งตัวเปนอัมพาตและหยุดทํางาน ทําใหธุรกรรม
เงินตราของบริษัทธุรกิจอเมริกันพากันชะงักงันหมด เพราะกองทุนรวมตลาดเงิน ๒ แหงไดแก Reserve 
Management Corporation และ Reserve Primary Fund ได “broken the buck” หมายถึงมูลคา
สินทรัพยสุทธิของกองทุนตกลงต่ํากวาเกณฑปกติที่ ๑ ดอลลารสหรัฐฯ/หุนเหลือเพียง ๙๗ เซนต เนื่องจาก
ผลกระทบที่ตองขาดทุนและแทงหนี้สูญจากการลมละลายของ Lehman Brothers เหตุการณคับขันรอแร

                                                       
35
 ภาพยนตรสารคดีที่บรรยายวิเคราะหเหตุการณวิกฤตการเงินการธนาคารชวงนี้ไดดีเยี่ยมคือ “Breaking the Bank”, PBS 
– Frontline, created 16 June 2009, www.pbs.org/wgbh/pages/frontline/breakingthebank/.  

 
25 
 

ชวงนี้ถึงกับถูกประเมินวาเปน  “วันที่ตลาดตาย” (The Day the Market Died)  และ “สัปดาหทเี่ ศรษฐกิจ


ของอเมริกาเกือบสิ้นใจ” (The Week America’s Economy Almost Died) 36 
-๑๙ กันยายน ค.ศ. ๒๐๐๘ เพื่อตานทานภัยคุกคามที่ตลาดการเงินทัว่ โลกจะลมสลายหมด Henry 
Paulson รมว. คลังและ Ben Bernanke ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ขอใหสภาคองเกรสอนุมัติ
งบประมาณเรงดวนฉุกเฉิน ๗ แสนลานดอลลารสหรัฐฯ สําหรับนําไปรับซื้อ “สินทรัพยเปนพิษ” ที่บรรดา
ธนาคารอเมริกันถือไว อันเปนการชวยกูก จิ การธนาคารเหลานั้นไมใหลมละลายไป 37
-๒๒ กันยายน ค.ศ. ๒๐๐๘ Goldman Sachs และ Morgan Stanley ขอเปลี่ยนสถานะจาก
ธนาคารวาณิชธนกิจไปเปนบริษัทธนาคารแมที่ถือหุนใหญในธนาคารพาณิชยอนื่ (bank holding 
companies) รวมทั้งวิ่งเตนหาผูลงทุนหนาใหมเขามาซือ
้ หุนเพิ่มทุน การเปลี่ยนสถานะดังกลาวทําใหทั้ง
สองธนาคารตองขึ้นตอการกํากับควบคุมที่เขมงวดรัดกุมขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐฯ  38 
ภูมิทัศนการเงินการธนาคารอเมริกันที่เปลีย่ นไปเพราะวิกฤตซับไพรมทําให Citigroup,             
J.P. Morgan Chase, Bank of America และ Wells Fargo กลายเปน ๔ ยักษใหญที่ขึ้นมาครอบงําวงการ

ธนาคารอเมริกันแทน โดยกุมเงินฝากไวเกือบ ๔๐% ของประเทศ และตางก็เปน universal banks หรือ


ธนาคารที่ทําธุรกิจการเงินครบวงจร (full financial services) ทั้งรับฝากเงินออมกับปลอยกูแบบธนาคาร
พาณิชย (commercial bank) และก็ใหบริการนายหนาการลงทุนแบบวาณิชธนกิจ (investment banking) 
ทวาถูกรัฐกํากับควบคุมเขมงวดกวาธนาคารวาณิชธนกิจอยางเดียว 39 (ดูแผนภูมดิ านลางประกอบ) 
 

                                                       
36
 ดูรายละเอียดในรูปรายงานขาว, สารคดี ฯลฯ Adam Davidson and Alex Blumberg, “The Week America's 
Economy Almost Died”, NPR – Planet Money, created 27 September 2008, www.npr.org/templates/story/ 
story.php?storyId=95099470; Ira Glass, “Another Frightening Show About the Economy”, This American Life, 
aired 3 October 2008, www.thisamericanlife.org/radio‐archives/episode/365/Another‐Frightening‐Show‐
About‐the‐Economy?bypass=true; “Money market fund 'breaks the buck' on Lehman IOUs”, Los Angeles Times, 
created 16 September 2008, latimesblogs.latimes.com/money_co/2008/09/the‐credit‐cris.html.  
37
 ภาพยนตรสารคดีที่บรรยายวิเคราะหความพยายามของรัฐบาลและธนาคารกลางอเมริกันในการรับมือแกไขวิกฤตการเงิน
การธนาคารชวงนี้ไดดีเยี่ยมคือ “Inside the Meltdown”, PBS – Frontline, created 17 February 2009, www.pbs.org/ 
wgbh/pages/frontline/meltdown/view/.  
38
 เคาโครงลําดับเหตุการณขางตนประมวลจาก “Timeline: Credit crunch to downturn”, BBC News, created 3 
April 2009, news.bbc.co.uk/ 2/hi/ business/7521250.stm; Jason Cox and Laurie Glapa, “Credit Crisis Timeline”, 
The University of Iowa Center for International Finance & Development, created 1 July 2009, www.uiowa.edu/ 
ifdebook/timeline/ Financial_Crisis_Timeline .pdf; “Chronologie: Internet et “subprime”, La chute”, Manière de 
voir: Le krach du libéralsime, 102 (Décembre 2008 – Janvier 2009), 77, 80. 
39
 Rolfe Winkler, “Break up the big banks”, Capital Zoo, created 15 September 2009, blogs.reuters. 
com/rolfe‐winkler/2009/09/15/break‐up‐the‐big‐banks/.  

 
26 
 

๑๘) แผนนภูมิสวนแบงเงินฝากของ ๔ ธนาคารใหหญสหรัฐฯ เทีทียบสิ้นป ค.ศศ. ๒๐๐๗ กับ มิ.ย.


ค.ศ. ๒๐๐๙

   

(อางจาก Rolfe Winkkler, “Breakk up the big banks”, 20009) 

เดิมทีกิจการธธนาคารอเมริกันไมแยกระะหวางธนาคารรพาณิชย (รับฝากเงิ
บ นออม--ปลอยกู) กับธนาคาร

วาณิชธนนกิจ (นายหนาใหคําปรึกษาบริหารจัดกาารเงินทุนของงลูกคาไปเสีย่ งลงทุนในกิจจการตาง ๆ) จน

ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิกิจตกต่าํ ครั้งใหญ
ใ  (The Grreat Depresssion) เมื่อป ค.ศ. ๑๙๒๙ สสภาคองเกรสสจึงผาน
กฎหมายย The Bankinng Act of 19933 หรือที่มักกเรียกกันวา the Glass‐Steagall Act ใในป ค.ศ. ๑๙๓
๓๓ เพื่อ
แยกประเภทกิจการธนนาคารพาณิชย (ซึ่งทางการรคุมเขม) ออกกจากธนาคารวาณิชธนกิจ ((ซึ่งทางการคุคุมนอย
กวา) เพือ่อไมใหธนาคาารเอาเงินออมมลูกคาไปเสี่ยยงลงทุน หากจจะทําก็ตองเปปนเรื่องนักลง ทุนเอาเงินมาาฝากให
ไ ย่ งลงทุนนแทนใหโดยรัรับรูวามีความมเสี่ยง 40 
ธนาคารววาณิชธนกิจเปปนนายหนาไปเสี

ทวาตอมาในสมัยรัฐบาลปประธานาธิบดีบิล คลินตัน (ค.ศ. ๑๙๙๓ – ๒๐๐๑) ดววยแรงผลักดันของ



นักการเงิงินการธนาคาารวอลล สตรีท โดยเฉพาะอยางยิ่ง โรเบิบิรต รูบิน อดีตรั
ต ฐมนตรีวากการกระทรวงงการคลัง
สหรัฐฯทีที่เพิ่งออกจากกตําแหนงไป สภาคองเกรสสไดผานกฎหมาย The Financial Serviices Modernization 
Act of 11999 หรือที่เรียกกันวา the
e Gramm‐Leeach‐Bliley Act ในป ค.ศ
ศ. ๑๙๙๙ ซึ่งยยกเลิกการแยกกประเภท
ธนาคารทีที่เคยทํามาตังแต
ง้ ป ค.ศ. ๑๙๙๓๓ และเปดดชองใหธนาคารดําเนินกิจการทั
จ ้งแบบพพาณิชยและววาณิช-
ธนกิจคววบคูก นั ไปไดอกี 41 ผลของกฎหมายฉบับับนี้เทากับกาารเปดเสรีทางงการเงินในทาางปฏิบัติจริง (de 
nancial liberalization) เปดชองใหระะบบธนาคารใในเงามืดของเเฮดจ ฟนด,
facto fin กกองทุนสวนบบุคคล 
                                                       
40
 Eric Rauch
hway, The Gre eat Depressionn and the New
w Deal: A Very
y Short Introd uction (Oxforrd: Oxford 
Universitty Press, 20088), p. 59, 138. 
41
 Robert Weeissman, “Refflections on Gllass‐Steagall a
and Maniacal Deregulationn”, ZSpace, creeated 13 
Novembeer 2009, www w.zcommunica ations.org/zsppace/commen ntaries/4042. 

 
27 
 

(private equity funds), นิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicles – SPVs), นายหนารับจํานอง, 

และบรรดาสถาบันการเงินทีฐ่ านะคลุมเครืออื่น ๆ ฯลฯ เติบโตไรการกํากับควบคุม นําไปสูวิกฤตการเงินใน


ที่สุด 
 

กลุมชนชั้นนําทางอํานาจแหงภาคการเงินอเมริกัน

การที่กลุมทุนการเงินวอลล สตรีทสามารถผลักดันยกเลิกกฎหมาย the Glass‐Steagall Act of 


1933 จนผานสภาคองเกรสไดสําเร็จเปนสัญญาณสะทอนกระบวนการสําคัญ ๓ อยางที่เกิดขึ้นควบคูกันไป

ในสังคมอเมริกัน ไดแก: ‐ 

๑) น้ําหนักของภาคบริการทางการเงินเพิ่มขึน้ จนเหนือภาคอุตสาหกรรมการผลิตในระบบ
เศรษฐกิจอเมริกัน (the Financialization of the American economy) 
๒) ฐานความมั่งคัง่ ของชนชั้นนายทุนอเมริกนั เปลี่ยนยายไปสูภาคการเงินเปนหลัก (the 
Financialization of the American capitalist class) 
๓) การครอบงําของกลุมทุนการเงินเหนือรัฐอเมริกัน (the Financialization of the American 
state) 
 
กลาวโดยสรุป ทั้ง ๓ กระบวนการนี้คือการแสดงออกซึ่งการขึ้นเถลิงอํานาจของชนชัน้ นําทาง
อํานาจแหงภาคการเงินอเมริกัน (the Rise of the American financial power elite) นั่นเอง42 โดยจะขอ
บรรยายผานกระบวนการทั้ง ๓ ไปตามลําดับ 
 
๑) น้ําหนักของภาคบริการทางการเงินเพิ่มขึน้ จนเหนือภาคอุตสาหกรรมการผลิตในระบบ
เศรษฐกิจอเมริกัน (the Financialization of the American economy) 
กระบวนการนี้เห็นไดจากสัดสวนที่คอย ๆ เปลี่ยนไปจนกลับตาลปตรกันระหวางสวนแบงของ
ภาคอุตสาหกรรมการผลิต (manufacturing) กับภาคบริการทางการเงิน (financial services) ในเศรษฐกิจ
อเมริกันนับแตหลังสงครามโลกครั้งที่สองเปนตนมา จากที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเคยครอบงําในตอนตน
กลับกลายมาเปนภาคบริการทางการเงินขึน้ เหนือกวาแทน ดังตารางดานลางนี้: ‐ 

                                                       
42
 ประมวลเรียบเรียงจาก Phillips, Bad Money, Chapter 2 Finance: The New Real Economy?, pp. 29 – 68.
และ John Bellamy Foster and Hannah Holleman, “The Financial Power Elite”, Monthly Review, 62: 1 (May 
2010), accessed 31 May 2010, www.monthlyreview.org/100501foster‐holleman.php.  

 
28 
 
 
๑๙) ตารางภาคอุตสาหกรรมการผลิตกับภาคบริการรทางการเงิน: สวนแบงที่เปปลี่ยนไปในผลิตภัณฑ
มวลรวมมในประเทศของสหรัฐอเมริิกา, ค.ศ. ๑๙๙๕๐ – ๒๐๐๕
๕ 
 
  ๑๙๕๐ ๑๙๖๖๐  ๑๙๗๐ ๑๙๘๐  ๑๙๙๐  ๒๐๐๐ 
๒ ๒๐๐๐๓  ๒๐๐๔  ๒๐๐๕ 
อุตสาหกรรรมการผลิต ๒
๒๙.๓% ๒๖.๙%  ๒๓.๘%% ๒๐.๘% ๑๖.๓% ๑๔
๔.๕% ๑๒.๗๗%  ๑๒.๓%  ๑๒.๐%
บริการการเเงิิน  ๑๐.๙ ๑๓.๖ ๑๔.๐ ๑๕.๐ ๑๘.๐ ๑๙.๗
๑ ๒๐.๕๕  ๒๐.๖  ๒๐.๔
(อางจาก Phillips, Baad Money, p. 31) 
p

  จะเห็นไดจากกตารางวาชวงหั
ง วเลี้ยวหัวตตอของการเปลี่ยี นผานผกผัผันที่ภาคบริกาารการเงินพลิิกกลับ
ขึ้นเหนืออกวาภาคอุตสาหกรรมการ
ส ผลิตในเศรษฐฐกิจอเมริกันคืคอตนคริสตทศวรรษที
ท ่ ๑๙๙๙๐ หลังจากนั้น
สถานการณกย็ ังคงเปนเช
น นนั้นสืบเนื
เ ่องมาเรื่อย ๆ

หากดูจากสัดส
ด วนผลกําไรรเปรียบเทียบขของทั้งสองภาคเศรษฐกิจตตอผลิตภัณฑมมวลรวมในปประเทศ
อเมริกัน ปรากฏวากําไรของภาคกาารเงินก็พลิกกกลับขึ้นสูงกวาภาคอุตสาหกรรมการผลิตตในชวงคริสต

ทศวรรษษที่ ๑๙๙๐ เชนกั
น น ดังแผนภูภูมิขางลางนี:้  ‐ 

๒๐) แผนนภูมิเปรียบเทียบสัดสวนกําาไรตอผลิตภัณฑ
ณ มวลรวมใในประเทศขอองภาคการเงิน (เสนสี
แดง) กับภาคอุ
บ ตสาหกกรรมการผลิต (เสนสีน้ําเงิน) น อเมริกนั ค.ศ.
ค ๑๙๕๙ – ๒๐๐๕ 

(อางจาก “Financialiization”, Wiikipedia, acccessed 3 June 2010, enn.wikipedia..org/wiki/ 
Financiaalization)  

สัดสวนกําไรรของภาคการเงิน (กําไรขอองบรรษัทการรเงินทั้งหมด) ตอกําไรของงภาคบรรษัทเอกชน


อเมริกันใในประเทศโดดยรวมก็เปนไปในทํ
ไ านองเเดียวกัน คือ: ‐ 

 
29 
 

-เพิ่มจาก ๑๗
๗% (ค.ศ. ๑๙๖๖๐)  

Æ ถึงจุดสูงสุ
สด ๔๔% (ค.ศศ. ๒๐๐๒) กอนจะตกลงมมา...  

Æ ๒๗% (ค.ศ. ๒๐๐๗) ในช


ใ วงจวนจะะเกิดวิกฤตซับไพรม
บ สวนหหนึ่งเพราะภาาคอุตสาหกรรรมก็ทํา
กําไรเพิม่มขึ้นในชวงนีด้ วย แลวก็กระเตื
ร ้องกลับขึ้นไปสูงกวากกอนวิกฤตซับไพรม
บ ที่...  

Æ ๓๑% (๓ ไตรมาสแรก
กของ ค.ศ. ๒๐๐๐๙) ดวยคุณู
ณปู การของรัฐบาลสหรัฐฯทีที่ทุมงบประมมาณเขา
โอบอุมธุรกิจภาคการเงินการธนาคคาร ดังแผนภูมมิิขางลางนี้: ‐‐ 

๒๑) แผนนภูมิสัดสวนรอยละของกําไไรภาคการเงินต
น อกําไรภาคคบรรษัทเอกชชนในประเทศศอเมริกา
โดยรวม 

(อางจาก Foster andd Holleman, “The Finanncial Power Elite”, www


w.monthlyreeview.org/ 
1005011foster‐holleeman.php) 

๒) ฐานความมมั่งคัง่ ของชนชั้นนายทุนออเมริกนั เปลียนย


ย่ ายไปสูภาคการเงิ
า นเปนนหลัก (the 
Financiaalization of the Americcan capitalisst class) 

กระบวนการรนี้แสดงออกใในชุดขอมูลปประจําปที่นิตยสาร
ย Forbess ของอเมริกาาเก็บรวบรวมไวเกี่ยว
กับทรัพยยสินของเศรษษฐีอเมริกันทีร่ร่ ํารวยทีส่ ุด ๔๔๐๐ คนนับแตตตนคริสตทศวรรษที
ศ ่ ๑๙๘๘๐ เปนตนมาาถึง

 
30 
 

ปจจุบัน ในฐานะที่เศรรษฐีอเมริกัน ๔๐๐ รายนี้จดั เปน “ซูเปออรชนชั้นนําขอองชนชั้นนายยทุน” ในระบบบ


เศรษฐกิจจอเมริกัน ขอมูลทรัพยสินของพวกเขาจึจึงชวยบงชี้แนวโน
น มล้ําหนาและทิศทางโโดยรวมของชชนชั้น
นายทุนผูปกครองสังคมอเมริ
ค กันไดดดี 43

ปรากฏวาเมื่อเริ
อ ่มเกิดวิกฤตตการเงินใหญญในป ค.ศ. ๒๐๐๗ สุดยอดดเศรษฐีอเมริกกัั นทั้ง ๔๐๐ คนมี

ทรัพยสนินรวมกันทั้งสิน้ ๑.๕๔ ลานล
น านดอลลารรสหรัฐฯ คิดเป
เ น...  

-๒.๔%  ของงทรัพยสินครอบครัวอเมริกกันโดยรวม
-๗% ของทรััพยสินของชาาวอเมริกันทีร่ร่่ํารวยที่สุด ๑% แรกและ
-พอ ๆ กับทรัรัพยสินของประชากรอเมริริกนั กึ่งที่จนกวาทั้งหมดราว ๑๕๐ ลานคคนรวมกัน (ทีที่ ๑.๖
ลานลานนดอลลารสหรัรัฐฯ) 
-สัดสวนของงบรรดาเศรษฐีฐี Forbes ๔๐๐๐ ที่ร่ํารวยจาากภาคการเงินเป
น นหลักพุงงพรวดขึ้นถึง ๒๗.๓% 
-หากรวมภาคคอสังหาริมทรัพยเขาไปดววย สัดสวนก็จะเพิ
จ ม่ เปน ๓๔% หรือกวาาหนึ่งในสามขของ
“ซูเปอรช นชั้นนําของงชนชัน้ นายทุทน” อเมริกันทีเดียว ดังจะเห็นไดจากแผผนภูมิขางลางงนี:้ - 
๒๒) แผนนภูมแิ หลงที่มาหลักของทรัรัพยสินเศรษฐีฐี Forbes ๔๐๐๐ ค.ศ. ๑๙๘๒
๒ – ๒๐๐๗ 

(อางจาก Foster andd Holleman, “The Finanncial Power Elite”, www


w.monthlyreeview.org/ 
1005011foster‐holleeman.php) 

                                                       
43
 ขอถกเถียงแลละขอมูลสวนนีมาจาก
ม้ al Power Elite ”, อางแลว.
Foster annd Holleman, “The Financia

 
31 
 

โครงสรางทรัพยสินของเศรษฐี Forbes ๔๐๐ ที่เปลี่ยนแปลงไปในรอบ ๒๕ ปจาก ค.ศ. ๑๙๘๒ –


๒๐๐๗ บงชี้วา กลุมนายทุนเก็งกําไรนับวันครอบงําชนชั้นปกครองสหรัฐฯมากขึ้นทุกที โดยเขาเบียดขับ
แทนที่กลุมนายทุนอุตสาหกรรมและปโตรเลียม ในปหลัง ๆ นี้ นายทุนที่มั่งคั่งเฟองฟูที่สุดไดแกภาคการเงิน
และอสังหาริมทรัพย ซึ่งสะทอนวาทุนนิยมสหรัฐฯยายฐานไปสูธุรกิจเก็งกําไรมากขึ้นและเสี่ยงตอความไร
เสถียรภาพสูงขึ้น 

ขอมูลคาตอบแทนผูบริหารภาคการเงินอเมริกันก็บงชี้ไปทํานองเดียวกัน กลาวคือ: ‐ 

-จากป ค.ศ. ๑๙๔๘ – ๑๙๘๒ คาตอบแทนโดยเฉลี่ยในภาคการเงินอยูร ะหวางรอยละ ๙๙ – ๑๐๘


ของคาตอบแทนโดยเฉลี่ยสําหรับอุตสาหกรรมเอกชนในประเทศโดยรวมทั้งหมด  
-ทวาพอถึงป ค.ศ. ๑๙๘๓ คาตอบแทนภาคการเงินก็เริ่มพุงพรวดขึ้น จนไปถึงรอยละ ๑๘๑ ของ
คาตอบแทนสําหรับอุตสาหกรรมเอกชนในประเทศโดยรวมในป ค.ศ. ๒๐๐๗ 
-ในป ค.ศ. ๑๙๘๘ คาตอบแทนผูบริหารสูงสุดในอเมริกา ๑๐ อันดับแรกไมมีหวั หนาผูบริหารใน
ภาคการเงินรวมอยูดวยเลย 
-แตพอถึงป ค.ศ. ๒๐๐๐ คาตอบแทนผูบริหารสูงสุดในอเมริกา ๒ อันดับแรกกลับเปนหัวหนา
ผูบริหารในภาคการเงิน 
-ถึงป ค.ศ. ๒๐๐๗ คาตอบแทนผูบริหารสูงสุดในอเมริกา ๔ ใน ๕ อันดับแรกเปนหัวหนาผูบริหาร
ในภาคการเงิน 

๓) การครอบงําของกลุมทุนการเงินเหนือรัฐอเมริกัน (the Financialization of the American 
state) 

เอ็นจีโอไมแสวงกําไรของอเมริกาชื่อ Center for Responsive Politics (www.opensecrets. 
org/) ซึ่งคอยติดตามสํารวจแกะรอยการใชเงินสรางอิทธิพลในวงการเมืองผานการบริจาคเงินสนับสนุนการ

รณรงคหาเสียงของสมาชิกสภาคองเกรสและผูสมัครประธานาธิบดีรวมทั้งผลกระทบเชิงนโยบายของมัน
พบวากลุมทุนการเงินมีอิทธิพลอยางสูงในระบบการเมืองประชาธิปไตยอเมริกัน ดังขอมูลตอไปนี้: ‐ 

 
32 
 

• ภาคการเงิน (หมายรวมถึงบริษัทประกันภัย, บริษัทหลักทรัพยและการลงทุน,ธุรกิจอสังหาริมทรัพย,


ธนาคารพาณิชย, บริษัทการเงิน/สินเชื่อ เปนสําคัญ) เปนผูอุดหนุนเงินรณรงคหาเสียงแหลงใหญ
ที่สุดแกบรรดาผูสมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองอเมริกันในระดับประเทศ (federal level) 

• ภาคการเงินอุดหนุนเงินแกการเลือกตั้งระดับประเทศในอเมริกาจาก ค.ศ. ๑๙๙๐ – ปจจุบัน = 
๒,๓๗๖,๐๘๗,๗๑๔ ดอลลารสหรัฐฯโดยพรรคเดโมแครตไดสวนแบง ๔๕% พรรครีพับลิกันได
๕๕% ของเงินเหลานี ้

• เฉพาะการเลือกตั้งระดับประเทศรอบ ค.ศ. ๒๐๐๘ ภาคการเงินอุดหนุนเงินไป =  ๔๗๗,๑๖๓,๐๕๑ 


ดอลลารสหรัฐฯ โดยพรรคเดโมแครตไดสวนแบง ๕๑% พรรครีพับลิกันได ๔๙% ของเงินเหลานี้  

• ในป ค.ศ. ๒๐๐๙ มีนักวิ่งเตนกวา ๒,๖๘๓ คนคอยล็อบบี้สภาคองเกรสแทนลูกคาภาคการเงิน


๑,๐๘๔ ราย ดวยทุนรวม ๔๖๗,๑๙๖,๖๙๕ ดอลลารสหรัฐฯ 

• สมาชิกสภาคองเกรสที่โหวตให the Gramm‐Leach‐Bliley Act  of 1999 ไดเงินอุดหนุนจากภาค
การเงินเปน ๒ เทาของผูที่ไมโหวตให 44 

• ในแงบุคลากร มีการแลกเปลีย่ นหมุนเวียนผูบริหารระหวางภาคอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารกับ


ภาครัฐโดยเฉพาะในตําแหนงรับผิดชอบกํากับดูแลการเงินการคลังอยางแนบแนนชัดเจน ดังจะเห็น
ตัวอยางไดจากแผนภูมิขางลางนี:้  ‐ 
 

                                                       
44
 ประมวลจาก “Finance/Insurance/Real Estate”, OpenSecrets.org – Center for Responsive Politics, 
accessed 21 May 2010, www.opensecrets.org/industries/indus.php?ind=F; และ Kristin Schaaf, “Did Campaign 
Contributions and Lobbying by the Financial Sector Contribute to the Meltdown on Wall Street?”, OpenSecrets. 
org – Center for Responsive Politics, accessed 21 May 2010, www.opensecrets.org/news/2008/11/essay‐
winner‐campaign‐contribu.html. 

 
33 
 

๒๓) ตาราางการแลกเปลี่ยนหมุนเวียยนผูบริหารแลละบุคลากรระะหวางธนาคาาร Goldman Sachs
กับ ภาครรัฐ 

(อางจาก “Graphic: GGoldman's rrevolving dooor with goovernment”,, McClatchyy, created 29 
Decemb ber 2009, mmedia.mcclaatchydc.comm/smedia/2009/10/29/122/20091028_J_Jobs_GOLD DMAN. 
large.prrod_affiliatee.91.jpg) 

  การทิ่มทะลววงของชนชั้นนํนาทางการเงินนเขายึดกุมตําแหน
า งสําคัญทางยุ
ท ทธศาสตตรในภาครัฐอเมริ
อ กัน
ที่เกี่ยวกับบธุรกิจของตนนยังคงดําเนินสื
น บตอไปภายใตคณะผูบริหารชุดใหมของประธานา
ข าธิบดีบารัค โอบามา

(ค.ศ. ๒๐๐๐๙ – ปจจุบัน) ดังตารางรรายละเอียดขาางลางนี:้  ‐ 
 

 
34 
 

๒๔) ตาราางสายสัมพันธทางบุคลากรระหวางกลุมทุ
ม นการเงินกักบรัฐบาลโอบบามา 

(อางจากก Foster andd Holleman,, “The Finanncial Powerr Elite”, www
w.monthlyrreview.org/ 
1005011foster‐holleeman.php) 

 
35 
 

นําไปสูขอสรุปของ โจเซฟ สติ๊กลิทซ – ศาสตราจารยเศรษฐศาสตรชาวอเมริกันแหงมหาวิทยาลัย


โคลัมเบีย, อดีตประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจสมัยประธานาธิบดีคลินตัน, อดีตรองประธานอาวุโสและ
หัวหนานักเศรษฐศาสตรแหงธนาคารโลก, ผูไดรางวัลโนเบลดานเศรษฐศาสตรป ค.ศ. ๒๐๐๑ – เกี่ยวกับ
อิทธิพลของภาคอุตสาหกรรมการเงินตอการเมืองอเมริกันวา: ‐ 

“(ตลาดการเงินทั้งหลาย) ตีโตบรรดาความพยายามทีจ่ ะกํากับควบคุมตราสารอนุพันธและจํากัดการ


ปลอยกูแบบลาเหยื่อแตกพายไปหมด พวกเขาครองชัยชนะเหนืออเมริกาอยางเบ็ดเสร็จ ชัยชนะแต
ละครั้งยิ่งเพิ่มเงินใหพวกเขาใชมาสรางอิทธิพลตอกระบวนการทางการเมืองมากขึ้นไปอีก” 45
อิทธิพลการเมืองของธนาคารวาณิชธนกิจอเมริกันไมจํากัดเฉพาะระบบการเมืองอเมริกัน หากยังแผ
ขยายไปถึงยุโรปโดยอาศัยกรุงลอนดอนเปนฐาน พวกเขาพยายามกดดันกําหนดเนื้อหากฎหมายการเงินของ
สหภาพยุโรปที่ออกโดยคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ในกรุงบรัสเซลส ประเทศ
เบลเยียม46 ดังทีง่ านวิจยั เรื่องบทบาทของอุตสาหกรรมการเงินในการกําหนดกฎเกณฑขอบังคับของสหภาพ
ยุโรปสรุปวา:  

“.....คณะกรรมาธิการ (ยุโรป) วางนโยบายการเงินของตนบนพื้นฐานของคําแนะนําจากอุตสาห-


กรรมการเงินและบรรดาผูที่ไมสามารถทํานายวาจะเกิดวิกฤต (เศรษฐกิจถดถอยใหญ) แทบจะลวนๆ 
“.....การวิเคราะหองคประกอบของบรรดากลุมที่เคยใหหรือยังคงใหคําแนะนําแกคณะกรรมาธิการฯ
ในประเด็นตาง ๆ ทางการเงินแสดงวามันถูกครอบงําอยางทวมทนดวยตัวแทนจากอุตสาหกรรม
การเงิน นีห่ มายความวาธนาคารเอกชนใหญ, บริษัทประกันภัยยักษ, และวิสาหกิจการเงินนานาชนิด
มีตัวแทนมากเกินสัดสวนมหาศาลและกุมอํานาจอยางมีนยั สําคัญอยูในกระบวนการนิติบัญญัติของ
สหภาพยุโรป – ตั้งแตการรางไปจนถึงการนํายุทธศาสตรและกฎหมายของสหภาพยุโรปไปปฏิบัต ิ
“ทุกวันนี้มีกลุม ผูเชี่ยวชาญทีย่ ังคงทํางานอยูกวา ๑,๐๐๐ กลุม ในนี้มี ๑๙ กลุมคอยแนะนํานโยบาย
เกี่ยวกับภาคการเงิน ในบรรดากลุมผูเชี่ยวชาญ ๑๙ กลุมนี้ – มี ๘ กลุมที่ถูกครอบงําโดยอุตสาหกรรม
การเงิน, ๗ กลุม ถูกครอบงําโดยรัฐภาคีสมาชิกสหภาพยุโรป, กลุมหนึ่งมีสมาชิกที่มาจากเอ็นจีโอกับ

                                                       
45
 Stiglitz, Freefall, pp. 9 – 10. 
46
 ดูวิทยานิพนธมหาบัณฑิตของ Adrian Solitander, “States, Markets, the Finance Lobby and the European 
Union Savings Tax Directive” (unpublished Master’s Thesis, Faculty of Social Science, Department of Political 
Science, University of Helsinki, September 2005, ethesis.helsinki.fi/julkaisut/val/yleis/pg/solitander/statesma 
.pdf), p. 2, 68 – 78. ซึ่งเธอระบุวาศูนยกลางการเงินที่เขมแข็งที่สุดอยางนิวยอรค, ลอนดอน, สวิตเซอรแลนดยังสามารถหลบเลี่ยง
กฎเกณฑขอบังคับอันแข็งขันของสหภาพยุโรปได

 
36 
 

อุตสาหกรรมการเงินเทา ๆ กัน, และ ๓ กลุมประเมินไมไดเพราะไมยอมเปดเผยสมาชิกทั้งมวลของ


ตน 
“ภายในกลุมเหลานี้ ผูเชี่ยวชาญจากอุตสาหกรรมการเงินมีมากกวาตัวแทนจากสถาบันวิชาการ, กลุม
ผูบริโภคและสหภาพแรงงานในอัตราสวน ๔ ตอ ๑ ผูเชีย่ วชาญจากอุตสาหกรรมการเงิน ๒๒๙ คน
นี้กระทั่งยังมากกวาเจาหนาที่ของคณะกรรมาธิการฯที่รับผิดชอบวางนโยบายการเงินราว ๑๕๐ คน 
“หากพินิจดูนโยบายสําคัญของสหภาพยุโรปอยางใกลชิดขึ้นก็จะพบดวยวาบรรดาตัวแทนภาค
การเงินมีสวนเกี่ยวพันอยางแข็งขันในการออกแบบนโยบายตาง ๆ ที่มีสวนกอใหเกิดวิกฤตการเงิน
โลก บัดนี้สหภาพยุโรปยังกําลังปรึกษาหารือกับผูเชี่ยวชาญกลุมเดียวกันนี้วาจะวางแผนจัดการแกไข
วิกฤตอยางไร” 
“คณะกรรมาธิการฯจะคาดหวังวาจะปฏิรูปภาคการเงินไดอยางไรหากแมนวัตถุประสงคของบรรดา
ที่ปรึกษาของตนคือการธํารงรักษาสถานะเดิมเอาไว?” 47
ฉะนั้น อวสานของธนาคารวาณิชธนกิจอเมริกันแมจะชวยเปดทางใหการออกกฎเกณฑมากํากับ
ควบคุมภาคการเงินใหมเกิดขึ้นไดงายเขาในวงการเมืองอเมริกัน-ยุโรป แตก็ไมแนวา จะปรากฏเปนจริงหาก
ยังอยูในกรอบโครงสรางการล็อบบี้แบบเดิม 
 

จากบอเงินยักษของโลกถึงฟองสบูการเคหะอเมริกัน 

กลาวสําหรับเหยื่อนักลงทุนตางชาติผูซื้อซีดีโอหรือตราสารหนี้ที่มีหลักทรัพยค้ําประกันจากธนาคาร
วาณิชธนกิจอเมริกันซึ่งกระจายไปทั่วโลกเกือบหนึ่งในสีข่ องหนี้จํานองสหรัฐฯทั้งหมด48 ปรากฏวาเหยื่อ
รายแรก ๆ ของวิกฤตซับไพรมนับแตฤดูใบไมรวงป ค.ศ. ๒๐๐๗ไดแกเมืองเล็ก ๆ ๘ แหงทางเหนือของ
นอรเวยที่บริหารจัดการเงินทุนของตนโดยเสี่ยงซื้อหลักทรัพยที่มีเงินกูจาํ นองบานดอยคุณภาพค้ําประกันอยู
ดวยและตองสูญเงินทุนไปถึง ๖๔ ลานดอลลารสหรัฐฯ 49 ยังมีสภาเมืองทองถิ่นอีก ๓๖ แหงของออสเตรเลีย

                                                       
47
 อางและแปลจาก Kenneth Haar, et al, “A Captive Commission – the role of the financial industry in 
shaping EU regulation”, ALTERALTER‐EU Alliance for Lobbying Transparency and Ethics Regulation in the 
European Union, created October 2009, www.foeeurope.org/.../ALTER‐EU_CaptiveCommission_FINAL_ 
Nov09.pdf, executive summary pp. 2 – 4.   
48
 Stiglitz, Freefall, p. 21.  
49
 Bob Ivry, “Losses mount as unseen risks emerge”, seattlepi, created 28 December 2007, www. 
seattlepi.com/business/345187_subprime28.html.  

 
37 
 

ที่เอาภาษีชาวเมืองไปลงทุนทํานองเดียวกันแหงละหลายลานดอลลารออสเตรเลีย 50 รวมทั้งชาวบานฮองกง
ธรรมดาสามัญราว ๔ หมืน่ คนโดยเฉพาะคนชราผูอาศัยเงินออมที่อุตสาหตรากตรําทํางานเก็บหอมรอมริบมา
ชั่วชีวิตเลี้ยงชีพในบั้นปลาย และคนทุพพลภาพและไมรหู นังสือนับรอยราย ตางพากันถูกนายหนาธนาคาร
ทองถิ่นหลอกขายหนวยลงทุนหลักทรัพยของ Lehman Brothers ใหไมชานานกอนมันลมละลายใน
อเมริกา จนเงินออมหมดเกลี้ยง โดยไมมใี ครรับผิดชอบ51 

นักลงทุนเหลานี้มีที่มาจากสิ่งที่เรียกวา “บอเงินยักษของโลก” (The Global Giant Pool of 


Money) Ceyla Pazarbasioglu หัวหนาฝายวิจยั ตลาดทุนของ IMF ระบุวาทั่วโลกทุกวันนี้มีเงินออมในรูป 
52
fixed‐income securities  อยูดังตัวเลขตอไปนี:้  ‐ 

ค.ศ. ๒๐๐๐ = ๓๖ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ 

ค.ศ. ๒๐๐๖ = ประมาณ ๗๐ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ – เพิ่มขึ้นเกือบเทาตัวใน ๖ ป ขนาดของมัน


มากกวาเงินทีค่ นทั้งโลกใชจา ยในรอบหนึ่งป และแมแตงบประมาณแผนดินของทุกประเทศทั่วโลกรวมกันก็
ยังไมถึง ๑๕ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ

ค.ศ. ๒๐๐๗ = เกือบ ๘๐ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ – พบวาการประเมินปที่แลวก็ยังต่ําเกินไป

ค.ศ. ๒๐๐๙ = ๘๓ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ – เพิ่มขึ้นอีกเกือบ ๓ ลานลานดอลลารสหรัฐฯหลัง


วิกฤตซับไพรมและเศรษฐกิจถดถอยใหญทั่วโลก เนื่องจากนักลงทุนพากันดึงเงินคืนจากหุน  (variable‐
income security) ที่กําลังตกมาเก็บไวในรูป fixed‐income security แทน และรัฐบาลนานาประเทศ

ทุมเทงบประมาณกอบกูโอบอุมภาคการเงินการธนาคารและกระตุนเศรษฐกิจ 53

                                                       
50
 “AAA ratings on rate”, อางแลว.
51
 “Officials acknowledge 'vulnerable' people abused by banks”, France 24, created 6 May 2009, 
www.france24.com/en/20090506‐officials‐acknowledge‐vulnerable‐people‐abused‐banks‐hong‐kong.  
52
 fixed‐income securities หมายถึงหลักทรัพยที่ใหผลตอบแทนคงที่เปนวาระประจํา และจะไดเงินตนคืนในที่สุดเมื่อถึง
วันกําหนดชําระ เชน พันธบัตรรัฐบาลมูลคา ๑,๐๐๐ บาทที่มีกําหนดชําระ ๑๐ ปและใหอัตราดอกเบี้ยคงที่ ๕% ผูถือพันธบัตรดังกลาวจะได
ผลตอบแทนปละ ๕๐ บาทไปเรื่อย ๆ จนถึงวันกําหนดชําระก็จะไดเงินตนที่ลงทุนซื้อพันธบัตร ๑,๐๐๐ บาทคืนดวย ดู “Fixed‐Income 
Security”, Investopedia, accessed 22 May 2010, www.investopedia.com/terms/f/fixed‐incomesecurity.asp.  
53
 ประมวลจาก Ira Glass, “The Giant Pool of Money”, This American Life, aired 9 May 2008, www. 
thisamericanlife.org/radio‐archives/episode/355/the‐giant‐pool‐of‐money; และ Ira Glass, “Return to the Giant 
Pool of Money”, This American Life, aired 25 September 2009, www.thisamericanlife.org/radio‐archives/ 
episode/390/Return‐To‐The‐Giant‐Pool‐of‐Money.  

 
38 
 

เงินออมกอนยักษนวี้ ิ่งพลานหาที
า ่ลงทุนนที่คุมคาไปรออบโลก สวนหหนึ่งเพราะสิ่งงที่เรียกวา “ The 
T

pan Effect” หรือ “อิทธิฤทธิ


Greensp ฤ ์กรีนสแปปน” กลาวคือ อลัน กรีนสแแปน (Alan GGreenspan) ประธาน

ธนาคารกกลางสหรัฐฯกดดันลดอัตราดอกเบี
ร ้ยธนนาคารกลางสหหรัฐฯลงต่ําเปปนประวัติการรณในชวงป ค.ศ.

๒๐๐๑ – ๒๐๐๕ จนเหหลือแค ๑% ระหว
ร างป ค.ศศ. ๒๐๐๓ – ๐๔
๐ ซึ่งนับวาต่ตํําสุดในรอบ ๕๐ ป สงผลใให
พันธบัตรรรัฐบาลกลางงและทองถิ่นสหรั
ส ฐฯซึ่งเปนแหลงลงทุนที
น ่ปลอดภัยกลั
ก บกลายเปนนใหผลตอบแททนต่ําไม
คุมคา เงินนออมโลกจึงถูกหันเหไปททุมซื้อซีดีโอ แและตราสารหหนี้ที่สรางจากกเงินกูจ ํานอง บานประเภทอืน่   ๆ
ซึ่งเสี่ยงกกวาแตใหผลตตอบแทนสูงกว
ก าแทน 

๒๕) แผนนภูมิอัตราดอกกเบี้ยแทจริง ((ปรับคาเงินเฟฟอแลว) กับอัตราดอกเบี้ยเปปาหมายของธนาคาร


กลางสหหรัฐฯค.ศ. ๑๙๙๙๙ – ๒๐๐๙ (แถบทึบแสดดงชวงอัตราดอกเบี้ยต่ําเปนนประวัตกิ ารณ ณ) 
 

 
(อางจาก Benn Steil,, “Lessons oof the Financcial Crisis”, Council on Foreign Rellations – Ceenter for 
Geoeco onomic Studdies, Counciil’s Special RReport No. 45, March 2 2009, www w.cfr.org/ 
publicattion/18753, p. 6) 

ประจวบเหมาะกับ “อิทธิฤทธิ
ฤ ์กรีนสแปปน” ก็กระตุนให
น เกิดฟองสสบูการเคหะขึขึ้ นในอเมริกา ณ
จังหวะนันั้นอีกโสดหนึนึง่ ดวยพอดี

การลดดอกเบีบีย้ ต่ําสุดดังกลลาวขางตนสืบบเนือ่ งจากฟอองสบูห ุนเทคโนโลยีหรือหุ นดอทคอมออเมริกัน


แตกในฤฤดูใบไมผลิป ค.ศ. ๒๐๐๐ (ความจริ
( งกรีนสแปนเองนันั่นแหละที่ปลลอยใหฟองสบบูหุนดอทคอมโปง

 
39 
 

พองใหญโตขึน้ มาแตแรกเพือ่ ชวยประคองการเติบโตทางเศรษฐกิจของอเมริกาใหแขมแข็งในปลายคริสต


ทศวรรษที่ ๑๙๙๐) ปรากฏวาหุนเทคโนโลยีตกลงถึง ๗๘% ระหวางเดือนมีนาคม ค.ศ. ๒๐๐๐ – ตุลาคม ค.ศ.
๒๐๐๒ สงผลใหเศรษฐกิจอเมริกันเขาสูภาวะถดถอยในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๒๐๐๑54 

ประธานาธิบดีจอรจ บุชผูลูกที่เพิ่งเขารับตําแหนง (ตอกันสองสมัยจาก ค.ศ. ๒๐๐๑ – ๒๐๐๙) ฉวย


โอกาสอางเหตุวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยผลักดันนโยบายการคลังแบบเสรีนิยมใหมทลี่ ดภาษีใหคนรวย แต
นโยบายดังกลาวก็ไมสงผลกระตุนเศรษฐกิจเทาใดนัก ภาระจึงตกหนักอยูกับนโยบายการเงิน กรีนสแปนใน
ฐานะประธานธนาคารกลางฯจึงขานรับดวยการลดอัตราดอกเบี้ยและปลอยสภาพคลองเขาทวมตลาด ทวา
เนื่องจากกําลังผลิตอุตสาหกรรมลนเกินในระบบเศรษฐกิจอเมริกันอยูแลว อัตราดอกเบี้ยที่ต่ําลงจึงไมนําไปสู
การลงทุนสรางโรงงานและเครื่องจักรกลเพิ่มขึ้น หากกลับกอใหเกิดฟองสบูการเคหะโปงพองขึ้นมากระตุน
เศรษฐกิจแทนที่ฟองสบูหุนเทคโนโลยี ดวยกลไกดังตอไปนี้คือ:  

[อัตราดอกเบี้ยต่ําÆฟองสบูการเคหะÆอสังหาริมทรัพยเฟองฟูÆการบริโภคเฟองฟู]  

และแนนอน ฟองสบูการเคหะและธุรกิจอสังหาริมทรัพยที่เฟองฟูของอเมริกาก็เปนที่มาแหงการ
เติบโตอยางรวดเร็วของเงินกูจ ํานองบานดอยคุณภาพ, ซีดโี อและหลักทรัพยตราสารหนี้ทางการเงินที่
เกี่ยวของอื่น ๆ อันกลายเปนแหลงลงทุนใหมลอใจเงินออมทั่วโลกเพราะแมจะเสี่ยงสูงกวาแตผลตอบแทนก็
สูงกวาดวยนั่นเอง 

ผลจากนโยบายลดดอกเบีย้ ของกรีนสแปนจึงทําให: ‐  

-ในชวง ๖ ปจาก ค.ศ. ๒๐๐๑ – ๒๐๐๗ ราคาบานสรางใหมโดยเฉลี่ยในอเมริกาถีบตัวสูงขึ้นเกือบ


๕๐% จาก ๒๑๓,๒๐๐ ดอลลารสหรัฐฯ เปน Æ ๓๑๓,๖๐๐ ดอลลารสหรัฐฯ 55

-อัตราสวนมูลคาบานโดยรวมตอ GDP อเมริกันเพิ่มจาก ๑๒๓% (๑๓.๒๐ ลานลานดอลลาร


สหรัฐฯ : ๑๐ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ) ในป ค.ศ. ๒๐๐๑ เปน Æ ๑๕๖% (๒๒ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ : 
๑๓ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ) ในป ค.ศ. ๒๐๐๖56 ดังแผนภูมิดานลางนี:้  ‐ 

                                                       
54
 เรื่องราวชวงนี้เรียบเรียงจาก Stiglitz, Freefall, p. 4. และ Dean Baker, “The Housing Bubble and the 
Financial Crisis”, real‐world economics review, issue no. 46, 20 May 2008, pp. 73‐81, www.paecon.net/ 
PAEReview/issue46/Baker46.pdf.   
55
 “Median and Average Sales Prices of New Homes Sold in United States”, US Census Bureau, 
accessed 26 May 2010, www.census.gov/const/uspriceann.pdf.  

 
40 
 

 ๒๖) แผนภูมิ
มมิ ูลคาบานโดดยรวม (แทงสีแดง) ตอผลิตภั
ต ณฑมวลรวมประชาชาติติ (แทงสีฟา) ของ
อเมริกา (หนวยล
ว านลานดอลลารสหรัฐฐฯ) จาก ค.ศ. ๑๙๔๕
๑ – ไตรรมาสแรก ค.ศศ. ๒๐๐๙

(อางจาก “Is the Houusing Bubble Fuelling GGDP Growthh?”, Housingg Bubble Buust) 

-ชาวอเมริกนราว
นั ๒ ใน ๓ ซือ้ บานกอนนป ค.ศ. ๑๙๗๐ ณ ราคาเฉลีลี่ยไมถึง ๒๕, ๐๐๐ ดอลลารสหรัฐฯ
/หลัง ทววาถึงป ค.ศ. ๒๐๐๗
๒ ราคาบบานประเมินใหมของพวกเเขาก็ถีบตัวสูงขึ
ง ้นเกือบ ๑๒
๒ เทาเปนประะมาณ
๓๐๐,๐๐๐๐ ดอลลารสหรั
ห ฐฯ/หลัง577 

มูลคาสินทรัพย
พ ที่จู ๆ ก็งอกเงยขึ้นมากรระทันหันเหมืือนถูกหวยซึงเรี
ง่ ยกกันในววงการเงินวา home 
h

equity ((หุนบาน) นีถู
ถ้ ูกเจาของบานใช
น เปนหลักททรัพยไปวางคค้ําประกันเงินกู
น กอนใหมจ ากธนาคาร เหหมือน
บานกลาายเปนตูเอทีเอ็มใหเจาของกกดเบิกเงินมาจจับจายใชสอยยอยางสะดวกกสบาย 

                                                                                                                                                                           


56
 คํานวณจากขขอมูลใน “Is the
e Housing Bubbble Fuelling G
GDP Growth?””, Housing Bubbble Bust, upd
dated 8 
July 20099, www.housingbubblebustt.com/Fed/GD DPvsHSG.htmll; และ “GDP‐Re eal (Adjusted)) United State
es”, 
Data360,, accessed 26 May 2010, ww ww.data360.oorg/dataset.aspx?Data_Sett_Id=354.  
57
ประเมินจากขอมูลดิบใน “USS: Average Priice of Houses Actually Sold””, Economagicc.com, accessed 26 
May 2010, www.economagic.com/e em‐cgi/data.eexe/cenc25/c2 25q07.  

 
41 
 

เพียงชัว่ ๖ ป จาก ค.ศ. ๒๐๐๐๓ – ๐๘ ชาาวอเมริกันนําหุ


า นบานดังกลลาวไปค้ําประะกันกับธนาคคารและ
สถาบันกการเงินแลวกูเงิเ นมาหมุนเวีวียนจับจายใชชสอยถึง ๒.๓ ลานลานดอลลลารสหรัฐฯ หนีก้ อนยักษนี้ พวก
เขาแบงสันปนสวนจับจ
บ ายใชสอยไไปในดานตาง ๆ (ตามฐานขอมูลโดยเฉลีลี่ยจากป ค.ศ.. ๒๐๐๑ – ๐๘
๘) ดังนี้: - 

-ใชหนี้ผูบริโภคติ
โ ดคางทีไม
ไ่ เกี่ยวกับการรจํานองบาน ๑๗% 
-ใชซอมแซมมปรับปรุงบาน ๑๙% 
‐ใชบริโภค ๒๐%
๒  
-ใชลงทุนซือสิ
อ้ นทรัพยตาง ๆ เชนหุน ๔๔๔% (ซึ่งสูญไปเกือบหมดดเมื่อตลาดหุนนลมชวงวิกฤตตซับ
ไพรม) 
๒๗) แผนภูมิมิเงินสดที่เกิดจากการดึงมูลลคาหุนบานอออกมาดวยการกูเงินหรือกูเ เงินใหมเพื่อชําระหนี้
เกาบนฐานหุนบาน (หนวยพัย นลานดอลลลารสหรัฐฯ)) จาก ค.ศ. ๒๐๐๐๑ – ๒๐๐๘๘ (ซาย) และสสัดสวน
การใชจายมูลค
ล าหุนบานทีดึ่ งออกมาไปปในดานตาง ๆ(ขวา)

(อางจาก Martin N. BBaily, Susann Lund, and Charles Atkkins, “Will U
US consumeer debt redu
uction 
cripple the recoverry?”, McKinssey Global IInstitute, crreated Marcch 2009, ww
ww.mckinseey. 
com/mggi/reports/pdfs/us_consumers/M MGI_US_con nsumers_full_report.pddf, p.3) 

ยอดหนี้ภาคคครัวเรือนอเมริริกนั จึงพุงจากก ๗๑% ของ GDP ในป ค.ศ. ๒๐๐๑ Æ ๙๗% ของ GDP 
G ใน

ป ๒๐๐๘๘ (GDP ของสสหรัฐฯในป ค.ศ. า สหรัฐฯ), กการบริโภคระเบิด


ค ๒๐๐๘  = ๑๔.๖๑ ลานลานดอลลาร

 
42 
 

เถิดเทิงขของชาวอเมริกักนั ซึ่งเพิ่มขึ้นอย
อ างสําคัญเนืนื่องจากเงินกูทีท่เอาหุน บานไปวางค้ําประะกันดังกลาวคิคิดเปน
สัดสวนถึถึง ๗๗.๓% ของการเติ
ข บโตทางเศรษฐกิกิจของอเมริกาจากป ค.ศ. ๒๐๐๐
๒ – ๒๐๐๐๗, มันยังคิดเป
ด นราว
๗๐% ขออง GDP อเมริริกาโดยรวมในชวงเดียวกันนนั้นดวย 58

๒๘) แผนภูมิมสิ ัดสวนการใใชจายของผูบบริโภคในการรเติบโตที่แทจริ


จ งของผลิตภั ณฑมวลรวมมใน
ประเทศอเมริริกา (หนวยรอยละ)
อ จากชววงป ค.ศ. ๑๙๗ ๗๕ – ๘๐ ถึง ๒๐๐๐ – ๐๗๗

(อางจากก Martin N. Baily, Susann Lund, andd Charles Attkins, “Will U
US consumeer debt redu
uction 
cripple the recoverry?”, p. 2) 

   

                                                       
58
 ประมวลขอมูมลหลัก ๆ จาก Martin N. Baily
M y, Susan Lund,, and Charles Atkins, “Will U US consumer debt 
reduction
n cripple the rrecovery?”, McKinsey Globaal Institute, created March 2009, www.m mckinsey.com//mgi/ 
reports/p
pdfs/us_consu umers/MGI_U US_consumerss_full_report.pdf; และ Marttin N. Baily annd Susan Lund, 
“Americaan Hangover”,, The Internattional Econom my, created Su ummer 2009, w www.internattional‐econom my.com/ 
TIE_Su099_BailyLund.pdf.  
สําหรับขอถกเถียงเชิ
ย งแนวคิดทฤษษฎี, บทวิเคราะหหและรายงานทางรัฐบาลที่สําคัญในเรื่องนีไ้ ดแก Joohn Bellamy Foster and 
Fred Maggdoff, The Greeat Financial CCrisis: Causes  and Consequences (New York: Monthly  Review Presss, 2009), 
โดยเฉพาะบบท “The Houssehold Debt Buubble”, pp. 277 – 38; Stepheen S. Roach, “PPitfalls in a Poost‐Bubble Woorld”, 
Morgan SStanley, creatted 1 August 2 2008, www.sccribd.com/docc/5351746/Pittfalls‐in‐a‐Post stBubble‐World‐
Stephen‐‐Roach‐Morgaan‐Stanley; แล ละ “Housing WWealth and Consumer Spend ding”, Congresssional Budge et Office 
Backgrouund Paper, creeated Januaryy 2007, www.ccbo.gov/ftpdo ocs/77xx/doc7 7719 /01‐05‐H Housing.pdf.  

 
43 
 

๒๙) แผนภูมิมสิ ัดสวนรายจจายการบริโภคคของบุคคลใในผลิตภัณฑมวลรวมในปร


ม ระเทศสหรัฐอเมริ
อ กา
(หนวยเปนรอยละ)
อ จาก ค.ศ. ๑๙๕๐ – ๒ ๒๐๐๘

(อางจาก Stephen S.. Roach, “Pitfalls in a Poost‐Bubble World ‐ preesentation”,, Morgan Sttanley, 
createdd Novemberr 2008, www w.difc.ae/inddex.php/do ownload_file/‐/view/3773/)

ตราสารออนุพนั ธ (Derivatives) ‐ อาวุธมหาวินนาศทางการเงินกับนักคานออกคอก 

“เกือบจะแนใ จไดเลยวาตราสารเหลานี้จะเพิ่มทวีตรีคูณทัง้ ความหหลากหลายแลละจํานวนจนเหตุ-


การณบางอยางทําใหพษิ ภัยของมันปราากฏชัด เทาทีผผ่ านมาธนาคาารกลางและรัรัฐ บาลทั้งหลาายแหล
ไมพบวิธีการรใดที่จะควบคุคุมหรือแมแตเฝาสังเกตความเสีย่ งที่สัญญาเหลานี้กอ ขึ้นอยางมีประสิ
ร ทธิ-
ผผล ในความเห็นของผม ตราสารอนุพนันธเปนอาวุธมหาวิ ม นาศทางการเงิน กอปปรไปดวยภยันตรายที น ่
แมตอนนีจ้ ะยยังแฝงเรนอยูแต
แ ก็มีศักยภาาพที่จะทําใหถึถงึ ตายได” 
59
Waarren Buffettt, CEO บริษัทลงทุน Berkkshire Hathaway    

เศรษฐีอเมมริกนั ผูรวยทีส่สุดในโลกในป ค.ศ. ๒๐๐๘


๘ถึง ๖๒,๐๐๐๐ ลานดอลลาร
า สหรัฐฯ  
กลาวตอผูถือหุนบริษัทขอองตนในป ค.ศศ. ๒๐๐๒ 

                                                       
59
 อางจาก Maason, Meltdow
wn, p. 66. 

 
44 
 

ในบรรดาสินคาการเงินที่เงินออมโลกเหลานี้วิ่งเขาไปลงทุนใส ที่สําคัญไดแกตราสารอนุพันธหรือ
financial derivatives ซึ่งก็คือสินคากระดาษที่ไมมีมูลคาในตัวเอง หากอิงอาศัยมูลคาอนาคตของสิ่งอื่นใน

ลักษณะเก็งกําไร – เหมือนล็อตเตอรี่หรือหวยดี ๆ นีเ่ อง 

ตราสารอนุพันธพื้นฐานมี ๓ ประเภท ไดแก 60: - 

๑) Futures สัญญาซื้อขายลวงหนา คือขอตกลงผูกมัดซึ่งเอาไปคาตอได ในอันที่จะซื้อหรือขาย


สินทรัพยอางอิง (underlying assets) เฉพาะชนิดหนึ่ง ณ ราคาและวันที่กําหนดไวแนนอน
หนึ่ง ๆ ในอนาคต 
๒) Options ตราสารสิทธิเลือก คือขอตกลงที่ใหสิทธิ – แตไมผูกมัด – ในอันที่จะซื้อ (สิทธิในการ
ซื้อ – Call options) หรือขาย (สิทธิในการขาย – Put options) สินทรัพยอางอิงชนิดหนึ่งใน
อนาคต ณ ราคาที่ตกลงกันไว โดยแลกกับการจายเงินดาวนที่เรียกวา “คาพรีเมี่ยม” จํานวนหนึ่ง 
๓) Swaps สัญญาสวอป คือขอตกลงที่จะแลกเปลี่ยนสินทรัพยกนั อาทิแลกเปลี่ยนเงินตราตางสกุล
กัน ณ อัตราราคาแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันไว ในวันที่กําหนดแนนอนลวงหนาในอนาคต 
 
จะเห็นไดวามูลคาของตราสารอนุพันธทั้ง ๓ ประเภทขึ้นอยูกับราคาในอนาคตของสินทรัพยอางอิง
ที่จะแลกเปลี่ยนกัน เมื่อนักลงทุนซื้อ-ขายตราสารอนุพันธ พวกเขาจึงกําลังพนันเสี่ยงทายทิศทางในอนาคต
ของตลาดสินทรัพยอางอิงเฉพาะหนึ่ง ๆ ซึ่งก็คือเก็งกําไรวาราคาของมันจะขึน้ หรือลง? โดยไมไดถือครอง
สินทรัพยดังกลาวจริง ๆ ในขณะนัน้
ปรากฏรายงานขาวในหนังสือพิมพ The Financial Times ของอังกฤษวาเมื่อตนคริสตทศวรรษที่
๒๐๐๐ นายกรัฐมนตรีจูหรงจีของจีน (ดํารงตําแหนงระหวาง ค.ศ. ๑๙๙๘ – ๒๐๐๓) ไดเรียกนักวิชาการ
อาวุโสและเจาหนาที่การเงินมาติวเขมเรงรัดใหที่ประชุมลับแกนนําพรรคคอมมิวนิสตจีนในฐานทีจ่ ีนกําลัง
เปดประเทศเผชิญระบบการเงินโลกวาตราสารอนุพันธคืออะไร? คําตอบที่ดีที่สุดวันนั้นไดแก:  

                                                       
60
 นิยามและคําอธิบายตราสารอนุพันธตอไปนี้เรียบเรียงจาก Mason, Meltdown, pp. 65 – 66; นอกจากนี้โปรดดู
Elizabeth Dunn Schmitt, “Chapter 9: Derivatives: Futures, Options and Swaps”, SUNY Oswego ‐ Eco 340 Lecture 
Notes, accessed 26 May 2010, www.oswego. edu/~edunne/340ch9.htm; และ Christopher Hayes and Bart 
Chilton, “The Breakdown: What Are Derivatives?”, The Nation, created 14 May 2010, www.thenation.com/ 
audio/breakdown‐what‐are‐derivatives?rel=email Nation. 
สําหรับคําอธิบายเบื้องตนเรื่องนี้ในภาษาไทย ดูไดที่ กฤษฎา เสกตระกูล, “รูจักตราสารอนุพันธ”, Thailand Securities 
Institute, created 26 November 2008, edu.tsi‐thailand.org/index.php?option=com_content&task=view&id 
=783&Itemid =204; และ สาธิต ศรีเกษมวงศ, “ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้”. Thailand Securities Institute, created 
17 October 2008, edu.tsi‐thailand.org/index.php?option=com_content&task=view&id=735&Itemid=233.  

 
45 
 

“ตราสารอนุพันธก็เหมือนเอากระจกบานหนึ่งวางไวหนากระจกอีกบาน เพื่อใหภาพของวัตถุชิ้น
หนึ่งถูกสะทอนกลับไปกลับมาไมมีที่สิ้นสุด” 61 
รายงานของธนาคารเพื่อการชําระหนี้ระหวางประเทศ (Bank for International Settlements ทํา
หนาที่เหมือนธนาคารกลางของธนาคารกลางนานาประเทศทั่วโลก อยูท ี่สวิตเซอรแลนด) ชีว้ าตราสาร
อนุพันธคงคางอยูทั่วโลก (global outstanding derivatives) ในป ค.ศ. ๒๐๐๗ มีมูลคารวมกัน = ๑,๑๔๔
ลานลานดอลลารสหรัฐฯ (1.14 quadrillion US$) แบงออกเปนตราสารอนุพันธสินเชื่อในตลาดจด
ทะเบียน (listed credit derivatives) = ๕๔๘ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ และตราสารอนุพันธตามสัญญา
ลวงหนา/นอกตลาดทางการ (notional/OTC derivatives) อีก = ๕๙๖ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ รวมกัน
แลวเทากับผลผลิตทั่วโลกนาน ๑๗ ปครึ่ง (GDP ทั่วโลกป ค.ศ. ๒๐๐๗ = ๖๕ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ)62 

ความใหญโตมโหฬารของมูลคาตราสารอนุพันธซึ่งสวนใหญอยูน อกเหนือการกํากับควบคุมของรัฐ
หรือองคการโลกบาลทางการเงินเศรษฐกิจใด ๆ เปนภัยคุกคามสั่นคลอนเสถียรภาพของระบบการเงินโลก
อยางรายแรง63 ประเทศไทยก็ถูกเลนงานโดยตราสารอนุพันธดวยสวนหนึ่งในวิกฤตคาเงินบาทเมื่อป ค.ศ.
๑๙๙๗ ผูตกเปนเหยื่อของตราสารอนุพันธที่รูจักกันดีในประเทศไทยไดแก นายเริงชัย มะระกานนท ผูวาการ
ธนาคารแหงประเทศไทยสมัยนั้น (๑๓ ก.ค. ๑๙๙๖ – ๒๘ ก.ค. ๑๙๙๗) เนื่องจากธนาคารแหงประเทศไทย
(ธปท.) ใตการกํากับวาการของเขาไดทุมเงินตราตางประเทศสํารองทําสัญญาสวอปเงินบาทกับดอลลาร
สหรัฐฯ (currency swap) เพื่อปกปองคาเงินบาท แตลมเหลวและขาดทุนยอยยับ สงผลใหเงินตราตาง
ประเทศสํารองของ ธปท. แทบหมดเกลี้ยง ในที่สุดรัฐบาลนายกฯพลเอกชวลิต ยงใจยุทธตองประกาศลด
คาเงินบาท กอใหเกิดวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจในประเทศไทยและลุกลามไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.๑๙๙๗ 64 ตอมาในป ค.ศ. ๒๐๐๕ เริงชัยถูกศาลแพงพิพากษาในคดีที่ ธปท.และทุน
รักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศเปนโจทกยื่นฟองใหชดใชคาเสียหายรวมทั้งสิ้น
                                                       
61
 Jamil Anderlini, “Prudence guides China’s outlook”, The Financial Times, created 24 September 
2008, www.ft.com/cms/s/0/9daaeb2a-89ca-11dd-8371-0000779fd18c.html.  
62
 อางถึงใน Ed Murphy, “Global Derivatives Market Now Valued at $1.14 Quadrillion!”, Jutia Group, 
created 24 July 2008, jutiagroup.com/2008/07/24/global‐derivatives‐market‐now‐valued‐at‐114‐quadrillion/. 
และดูประกอบกับ Mason, Meltdown, p.66. 
63
 Gabriel Kolko, “Weapons of mass financial destruction”, Le Monde diplomatique (English edition), 
October 2006, pp. 1 – 3; และ Frédéric Lordon, Donald Hounam, trans., “High finance – a game of risk”, Le 
Monde diplomatique (English edition), September 2007, pp. 1 – 3. 
64
 ดูรายละเอียดใน คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ
(ศ.ป.ร.), ศ.ป.ร. รายงานผลการวิเคราะหและวินิจฉัยขอเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณวิกฤตทางเศรษฐกิจ (กรุงเทพฯ: [ม.ป.พ.], ๒๕๔๑).

 
46 
 

๑๘๖,๐๑๕,๘๓๐,๗๒๐บาทบวกดอกเบี้ย ๗.๕ ตอปนับตั้งแตป ค.ศ. ๑๙๙๘ จนกวาจะชําระหนี้เสร็จ 65 ทํา


ใหเขากลายเปนผูมีหนี้สินมากที่สุดในประวัติศาสตรประเทศไทย หากยังทํางานเปนผูว าธปท. ก็ตองทําถึง ๒
หมื่นปจึงจะชดใชหมด อยางไรก็ตาม คุณเริงชัยไดยืนกรานไมยอมรับคําวินิจฉัยเชนนี้มาแตตนแลว 66  

ลักษณะอนาธิปไตยไรระเบียบกํากับควบคุมขึ้นทุกทีของระบบการเงินโลกเปนชองใหเกิด “นักคา
นอกคอก” (rogue traders) ที่เก็งกําไรกับหลักทรัพยโดยเฉพาะตราสารอนุพันธในทํานอง “จัดการงาน
นอกสั่ง” ของนายจางเพิ่มขึน้ เรื่อย ๆ ดังนิยามของ “นักคานอกคอก” โดยแหลงอางอิงตาง ๆ ตอไปนี:้  ‐ 

-นักคาหลักทรัพยที่คาขายโดยไมไดรับอนุญาตใหทํา, นักคาที่เปนลูกจางของบริษัทนายหนาผู
คาขายหลักทรัพยโดยไมไดรบั อนุญาต (Encarta English Dictionary)67  

-นักคาผูดําเนินการอิสระจากคนอื่นและมีแบบฉบับบาระห่ําไมยั้งคิดเปนปกติจนเปนภัยตอทั้งลูกคา
และสถาบันที่วาจางเขาหรือเธอ สวนใหญแลวการคาประเภทนี้จะเสี่ยงสูงและอาจขาดทุนมหาศาล
68
(Investopedia)  

‐ลูกจางผูมีอํานาจหนาที่โดยชอบทวากลับทําการคาในนามนายจางโดยไมไดรับอนุญาต มักใชกบ

การคาทางการเงิน ดังนัน้ จึงมุง บรรยายบุคคลที่เปนนักคามืออาชีพผูประกอบธุรกรรมทางการเงิน
โดยไมไดรับความเห็นชอบ กิจกรรมเชนนีล้ ักลั่นคลุมเครือวาผิดกฎหมายแพงหรืออาญาเนื่องจาก
ผูกระทําเปนลูกจาง (Wikipedia) 69

Wikipedia ไดประมวลขอมูลเกี่ยวกับนักคานอกคอกผูท
 ําใหบริษัท/สถาบันนายจางขาดทุนเสียหาย
ใหญหลวงที่สดุ ทั่วโลกไวดังนี:้  ‐ 
 

                                                       
65
 "เริงชัย" อวมศาลใหชดใช 1.86 แสนลาน เลินเลอรายแรงปองคาบาท” และ “เปดคําพิพากษา"เริงชัย" สั่งชดใช1.86แสน
ลาน วิบากกรรมปองคาบาท”, มติชนรายวัน, ๑ มิ.ย. ๒๕๔๘, น. ๑, ๒๐.
66
 ปณฑพ ตั้งศรีวงศ, “กรณีเริงชัย มะระกานนท กรณีศึกษาการตัดสินใจเพื่อชาติ”, นิตยสารผูจัดการ, มกราคม ๒๕๔๕,
accessed 27 May 2010, www.gotomanager.com/news/printnews/aspx?id=2440.  
67
 “rogue trader”, Microsoft® Encarta® 2009 [DVD] (Redmond, WA: Microsoft Corporation, 2008). 
68
 “Rogue Trader”, Investopedia, accessed 29 May 2010, www.investopedia.com/terms/r/ 
roguetrader.asp.  
69
 “Rogue trader”, Wikipedia, accessed 29 May 2010, en.wikipedia.org/wiki/Rogue_trader.  

 
47 
 

๓๐) ตารางการขาดทุนรายยใหญที่สุดที่นนักคานอกคออกกอใหเกิดขึึ้น

(อางจาก “Rogue traader”, Wikippedia, en.wikipedia.orgg/wiki/Roguue_trader) 

  ขอยกตัวอยางนักคานอกคคอกอื้อฉาวรายใหญบางรายมาโดยสังเขปดังนี้: ‐ 

๑) กรณี Nicck Leeson แห
แ ง Bearingss Bank 
ตนป ค.ศ. ๑๙๙๙๕ Bearinggs Bank ธนาาคารวาณิชธนนกิจเกาแกทสุสี่ ดุ ถึง ๒๓๓ ป ของอังกฤษซึ่ง
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธทีสองแห
่ส งสหราาชอาณาจักรททรงเคยใชบริการเปนการสสวนพระองค ถูกนิค
ลีสัน นายหนานักคาตราสารอนุ
ต พนธ
นั ประจําตลาาดสิงคโปรของธนาคารแอ
อ อบเปดบัญชีผิ ดพลาดลับหมมายเลข
๘๘๘๘๘๘ ทําการคาสััญญาซื้อขายลลวงหนา (futures) เพื่อเก็งดั
ง ชนีตลาดหุหุนนิคเคอิของงญี่ปุน แตลีสันเก็ง
พลาดเพรราะเกิดเหตุแผนดินไหวครัรั้งใหญที่โกเบบโดยไมคาดหหมายเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคมม ค.ศ. ๑๙๙๕
๕ จนเขา
ตองขาดททุน ๑,๓๐๐ ลานดอลลารสหรั
ส ฐหรือ ๘๒
๒๗ ลานปอนนด คิดเปนสอองเทาของเงินนทุนการคาทีธนาคารมี
ธ่
ทําใหธนนาคาร Bearinngs ลมละลายย  
ลีสัน เผนหนีไปมาเลเซีย, ไทย, เยอรมนีนี แตถูกจับไปปตัดสินจําคุกที่สิงคโปรนาาน ๓ ป ระหววางถูก
คุมขัง เขาปวยเปนโรคคมะเร็งลําไสใหญและภริยยาขอหยา หลัังพนโทษเขารรักษาตัวจนหหาย แตงงานใหมและมี
ลูกอีก ๑ คน, หนังสือ Rogue Tradder บอกเลาปประสบการณ
ณนักคานอกคออกที่เขาเขียน ระหวางติดคุกขายดิบ

 
48 
 

ขายดีและถูกนําไปสรางเปนภาพยนตรชื่อเดียวกันในป ค.ศ. ๑๙๙๙, ปจจุบันเขาทํางานเปนผูจัดการทั่วไป


ของสโมสรฟุตบอลไอริช Galway United FC. และรับเชิญไปบรรยายเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยงจาก
ประสบการณพิสดารของเขาตามงานตาง ๆ 70และมีเว็บไซตสวนตัวที่
www.nickleeson.com/index.html.  
 
๒) กรณี Jerome Kerviel แหง Société générale 
เดือนมกราคม ค.ศ. ๒๐๐๘ Société générale ธนาคารใหญอันดับ ๒ ของฝรั่งเศสขาดทุน ๗,๒๐๐
ลานดอลลารสหรัฐฯหรือ ๔,๙๐๐ ลานยูโรจากการซื้อขายในตลาดตราสารอนุพันธ ดวยฝมือ เฌอโรม
แครเวียล นักคาระดับกลางของธนาคารวัย ๓๒ ปผูทําหนาที่เก็งคาดัชนีตลาดหุนยุโรป ปรากฏวาแทนที่เขา
จะเก็งวาดัชนีจะทั้งขึ้นและลงเพื่อหักกลบลบความเสี่ยงไมใหขาดทุนมากตามหนาที่ที่รับมอบหมาย
แครเวียลกลับเก็งวาดัชนีตลาดหุนยุโรปจะขึ้นถายเดียวและทุมทุนแทงสูงถึง ๗๓,๐๐๐ ลานดอลลารสหรัฐฯ
นับเปนการขาดทุนจากการคาเงินโดยนักคารายเดียวใหญที่สุดเปนประวัติการณของธนาคารทั่วโลก 
อยางไรก็ตาม แครเวียลใหการกับตํารวจวาเขาทําเชนนี้มาตั้งแตป ค.ศ. ๒๐๐๕ และเจานายของเขาที่
ธนาคารก็รับรูสิ่งที่เขาทําเปนอยางดี 71 
 
๓) กรณี Bernard L. Madoff แหง Madoff Investment Securities LLC 
เบอรนารด แมดอฟ วัย ๗๑ ป (เมื่อเรื่องแดงขึ้นมาในเดือนธันวาคม ค.ศ. ๒๐๐๘) เปนนักคา
หลักทรัพยอาวุโสของวอลล สตรีท และอดีตประธานตลาดหุนเทคโลโลยี Nasdaq ของอเมริกา แมดอฟได
ใชเครดิตฐานะตําแหนงชื่อเสียงสูงสงนาเชื่อถือในวงการเงินวอลล สตรีทของตนชักชวนเศรษฐีผูมีอันจะกิน,
บริษัทเงินทุนและมูลนิธิรายใหญ ๆ ในอเมริกาและทัว่ โลกใหเอาเงินออมมาฝากใหบริษัทนายหนาของตน
ลงทุนแทนโดยเสนออัตราผลตอบแทนสูงลิบลิ่วกวาตลาดทั่วไป จึงมีเศรษฐีทุมเงินมาฝากบริษัทของแมดอฟ
ใหลงทุนมากมาย แตปรากฏวาเอาเขาจริงสิ่งที่แมดอฟทําเปนเพียงการหลอกลวงนําเงินคนเหลานัน้ มาลงใน
แชรลูกโซยักษ (fraud in a giant Ponzi scheme) เทานั้นเองโดยไมเคยลงทุนซื้อหลักทรัพยใด ๆ จริง ๆ
เลยแลวตัวเองกับครอบครัวก็ใชเงินลูกคาเสพสุขสําราญหรูหราฟุมเฟอย  

                                                       
70
 เรียบเรียงจากขอมูลในเว็บไซตสวนตัวของ นิค ลีสัน เองที่ “Biography”, Nick Leeson, accessed 29 May 2010, 
www.nickleeson.com/index.html.  
71
 Gérard Davet, “Jérôme Kerviel, mauvais joueur”, Le Monde, created 14 February 2009, www. 
lemonde.fr/web/imprimer_element/0,40‐0@2‐1101386,50‐1155424,0.html.  

 
49 
 

จนกระทั่งเมื่อเกิดวิกฤตซับไพรมและภาวะบีบรัดตัวทางสินเชื่อขนานใหญในป ค.ศ. ๒๐๐๘ ก็


เหลือวิสัยทีแ่ มดอฟจะหมุนเงินทันอีกตอไปและเอยปากสารภาพออกมาเองเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. ๒๐๐๘
เรื่องจึงแดงขึน้ ปรากฏวามีเงินขาดหายและกําไรปนแตงในบัญชีลูกคาของแมดอฟรวมกันถึงราว ๖๕,๐๐๐
ลานดอลลารสหรัฐฯ ลูกคาเหลานี้กระจายออกไปทั่วโลกทั้งในอเมริกา, อังกฤษ, สวิตเซอรแลนด, อิตาลี,
สเปน, ฝรั่งเศส, ญี่ปุน, เกาหลีใต เปนตน จากยอดตัวเลขและวงกวางไพศาลของความเสียหาย นับวาแมดอฟ
เปน “นักคานอกคอกผูยิ่งใหญที่สุดตลอดกาล” อยางแทจริง 
ในที่สุด เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ค.ศ. ๒๐๐๙ แมดอฟถูกศาลชั้นตนอเมริกันตัดสินจําคุก ๑๕๐ ปฐาน
ฉอโกงและฟอกเงิน และยังถูกยึดทรัพยสวนตัวและครอบครัวมาเฉลี่ยใชเจาหนี้ทั้งหลายดวย 72 
 
CDSs กับ AIG 

สําหรับตราสารอนุพันธที่รายกาจและมีบทบาทสําคัญในการกอใหเกิดเศรษฐกิจโลกถดถอยใหญ
ครั้งนี้คือ Credit Default Swaps (CDSs) หรือสัญญาสวอปความเสีย่ งในการผิดนัดชําระหนี้ หมายถึงตรา
สารอนุพันธหรือสัญญาที่ค้ําประกันแกผูซื้อวาจะไดรับเงินชดเชยจากผูข ายประกันตามราคาพารหรือราคาที่
ตราไวของหุนกูในกรณีผูออกหุนกูผิดนัดชําระดอกเบีย้ หรือผิดนัดไถถอนหุนกู  73 CDSs เริ่มใชกันตอนตน
คริสตทศวรรษที่ ๑๙๙๐ และแพรหลายลุกลามไปทั่วแวดวงธุรกิจการเงินการธนาคารชวงคริสตทศวรรษที่
๒๐๐๐ 74 
ความแตกตางสําคัญระหวาง CDSs กับสัญญาประกันของบริษัทประกันภัยทัว่ ไปอยูต รงบริษัท
ประกันภัยถูกกํากับควบคุมโดยรัฐบาลใหมีเงินสํารองที่กําหนด, อยูใตขอจํากัดทางกฎหมายตาง ๆ, และถูก
เจาหนาทีเ่ ขาตรวจสอบบัญชีเปนประจําเพือ่ ใหมั่นใจวาบริษัทมีเงินพอจายคาสินไหมทดแทนที่อาจถูกผูเอา
ประกันเรียกรองได ทวา CDSs มีลักษณะเปนธุรกรรมในตลาดตอรอง (Over‐the‐counter) คือมีผูซื้อกับ
ผูขายสองฝายตอรองตกลงทําสัญญากันเองเหมือนการพนันเสี่ยงแทงสวนบุคคล ไมใชตลาดเปด ไมมีราคา
มาตรฐาน ที่ผานมาจึงไมอยูใ ตการกํากับควบคุมของรัฐ นั่นหมายความวาไมมีการกํากับควบคุมตรวจสอบ
โดยอิสระจากบุคคลหรือหนวยงานภายนอกวาผูขาย CDSs มีสินทรัพยเงินทุนในบัญชีเพียงพอทีจ่ ะชดเชยผู
                                                       
72
 ประมวลโดยตรวจสอบประกอบกับรายงานขาวตามสื่อมวลชนตาง ๆ จาก “Bernard Madoff”, Wikipedia, accessed 
29 May 2010, en.wikipedia.org/wiki/Bernard_Madoff. ดูสารคดีที่ลําดับเรื่องราวประวัติและพฤติกรรมของเบอรนารด
แมดอฟไดชัดเจนเปนระบบที่ “The Madoff Affair”, PBS – Frontline, created 12 May 2009, www.pbs.org/wgbh/pages/ 
frontline/madoff/.  
73
 “Credit Default Swap (CDS)”, Investopedia, accessed 30 May 2020, www.investopedia.com/terms/ 
c/creditdefaultswap.asp.  
74
 Phillips, Bad Money, p. 35. 

 
50 
 

ซื้อ CDSs ครอบคลุมครบถวนหรือไมในกรณีผูออกหุนกูเ กิดผิดนัดชําระดอกเบีย้ หรือผิดนัดไถถอนหุนกู


พรอม ๆ กันขึ้นมาจํานวนมาก 75 ซึ่งก็คือสิ่งที่ไดเกิดขึ้นในชวงวิกฤตซับไพรมเปนตนมานั่นเอง
แมเดิมที CDSs จะมีเปาหมายเพื่อจัดการความเสี่ยงของผูซ ื้อในการลงทุนซื้อหุนกูของบริษัทตาง ๆ
โดยซื้อการคุมครองประกันเผื่อไวในกรณีบริษัทประสบปญหากิจการเสื่อมทรุดจนบิดพลิ้วผิดนัดชําระดอก
ผลตอบแทนแกหุนกู อันเปนการชวยกระจายความเสีย่ งในหุนที่ผูซื้อไดไปลงทุนซื้อมา 76 แตแลวมันก็คอย
กลายสภาพเปนการพนันเก็งกําไรลวน ๆ กลาวคือผูซื้อ CDSs จํานวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ไมไดลงทุนซือ้ หรือถือ
ครองหุนกูจริง แตคาดเก็งฐานะกิจการของบริษัทหนึ่ง ๆ วาจะดีขึ้นหรือแยลง แลวซื้อ CDSs ในลักษณะแทง
สูงหรือแทงต่ําวาบริษัทจะสามารถชําระดอกผลแกหุนกูทตี่ นออกหรือไม? ราคาหุนบริษัทจะตกหรือไม
อยางไร?  
เหลานี้สงผลใหตลาด CDSs ขยายเติบใหญหลายเทาตัวในเวลาอันรวดเร็วยิ่งกวาตลาดการเงินอื่น ๆ
จากมูลคาประมาณ ๙ แสนลานดอลลารสหรัฐฯในป ค.ศ. ๒๐๐๐ Æ เปนกวา ๔๕.๕ ลานลานดอลลาร
สหรัฐฯในป ค.ศ. ๒๐๐๗ คิดเปน 
-ราว ๒ เทาของขนาดตลาดหุน อเมริกันทั้งหมด (ที่ ๒๑.๙ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ) 
-กวา ๓ เทาของผลิตภัณฑมวลรวมประชาชาติสหรัฐฯ (ที่ ๑๔.๕๕ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ) 
-กวา ๖ เทาของตลาดหลักทรัพยสินเชื่อจํานองบานอเมริกัน (ที่ ๗.๑ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ) และ 
-กวา ๑๐ เทาของตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ (ที่ ๔.๔ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ) ในปเดียวกัน 77 
 
ดังเห็นไดจากแผนภูมดิ านลางนี้: ‐ 
 
 
 
 
 

 
                                                       
75
 Ellen Brown, “Credit Default Swaps: Evolving Financial Meltdown and Derivative Disaster Du Jour”, 
Global Research, created 11 April 2008, www.globalresearch.ca/index.php?context=va&aid=8634; และ ฝายวิจัย
และพัฒนา ศูนยซื้อขายตราสารหนี้ไทย, “เกร็ดความรู: ตราสารหนี้และการซื้อขายแบบ OTC”, ThaiBMA, accessed 30 May 2010, 
www.thaibma.or.th/bond_tutor/pdf/OTC.pdf.  
76
 สายชล ลิสวัสดิ์, “Credit Default Swap”, ThaiBMA, accessed 30 May 2010, www.thaibma.or.th/Doc/ 
research/article/CDS.pdf.  
77
 ขอมูลเกี่ยวกับ CDSs สวนนี้และดานลางเรียบเรียงจาก Gretchen Morgenson, “Arcane Market Is Next to Face 
Big Credit Test”, The New York Times, accessed 30 May 2010, www.nytimes.com/2008/02/17/business/ 
17swap.html.  

 
51 
 

๓๑) แผนภูมิตลาดประกันความเสี
น ่ยงในนการผิดนัดชําระหนี้อเมริกักนเปรียบเทียยบกับขนาดตลาดหุน ,
ตลาดหลักทรัรัพยสินเชื่อจํานองบ
า าน, แลละตลาดพันธบัตร จากป ค.ศ.
ค ๒๐๐๐ – ๒๐๐๗

(อางจาก www.nytim magepages//2008/02/17/business/


mes.com/im b 200080217_SW
WAP_2_GRAPHIC. 
html) 
ในสภาพที่ตลาด
ล CDSs ไมมมกี ารกํากับคควบคุม นักลงงทุนจึงเลนกันมื
น อเติบเกินตั ว เกินทุนเรือนหุ
อ นที่
บริษัทผูขขายประกันมีอยู
อ จริงไปมากก นอกจากนีย้ยัังมีพฤติกรรมมการลงทุนทีเรี่ ยกวา Nettting คือซื้อขาาย CDSs 
แบบควบบขนาน เชน: ‐ 
-สมมุติบริษทั A ขาย CDSSs ใหนาย B ผูคาดเก็งวากิจการ
จ XXX จะทรุดและผิดนั ดชําระดอกผผลหุนกู  
-เสร็จแลวบริริษัท A เองก็ไปซื้อ CDSs จจากบริษัท Y อีกตอหนึ่ง โดดยคาดเก็งวากิ จการ XXX จะทรุ
จ ด
เหมือนกักัน เพือ่ เปนกาารประกันเผือเหนี
่อ ยวไว  
-ถาเกิดกิจการ XXX ทรุดขึึ้นมาจริง ๆ บบริษัท A ก็จะไไดเอา CDSs ของตนไปขึ
ข น้ นเงินจากบริษัท Y เอา
มาจายตาามสัญญาประะกัน CDSs ทีตนได ต่ ขายใหแแกนาย B
-ขณะเดียวกันบริน ษัท Y ก็อาจทํ
อ าเหมือนบริษัท A คือไปซื
ไ ้อ CDSs จากบริษัท Z อีกตอหนึ่งสืบเนื่อง
ไปไดเรือ่อย ๆ ไมมีที่สิสน้ิ สุด ฯลฯลฯฯลฯ 
 
ยิ่งกวานั้น พออกิจการบริษทั XXX เริ่มทําาทาทรุด CDSSs ของนาย B ที่ซื้อจากบริษษัท A ก็จะกลลายเปน
สินคามีรราคาขึ้นมา ใคครๆ ก็อยากซื้อไวทํากําไร นาย B สามารรถเอา CDSs ดัดงกลาวไปปลลอยขายตอใหห นาย C, 
D, E, ฯล
ลฯ เรียกคนกลลุมหลังนี้วาคูสัสญญา หรือ ccounterpartties  
ดังแผนภูมิดานล
า างไดสรุปจุ
ป ดสําคัญเดน ๆ ของธุรกรรรม CDSs ไววดังนี:้  ‐ 
   
 
 
 
 

 
52 
 

๓๒) แผนภูมิมกิ ารทําสัญญาประกั


ญ นควาามเสี่ยงในการรผิดนัดชําระหหนี้หรือ Creddit Default SSwap 

(อางจาก www.nytim magepages//2008/02/17/business/
mes.com/im b 200080217_SW
WAP_1_GRAPHIC. 
html) 

ความที่ตลาดด CDSs เปนตลาดตอรอง (OOver‐the‐coounter) ไมได


ไ เปดเผย จึงขขาดขอมูลสาธธารณะ
เรื่องคูสญ
ัญญาเหลานี้ ไม
ไ มีผูใดรูแนววาใครตอใครบริษัทไหนเปปน counterpparties ตอกันั นุงนังนัวเนีนียไปกี่
ทอดตอกี่ทอดบาง ลักษณะที
ก ก่ ระจายกวาง แตมดืดทึบลึกลับเหหมือนมะเร็งลุกลามของ CDDSs ทําใหพอบริ
อ ษัทผู
ออกหุนกกูทเี่ ปนเปาหมมายถูกเก็งแตแรกเกิ
แ ดลมละะลาย เรื่องแดดงขึ้นมา ก็สายยเกินแก เพราาะบริษัทตาง ๆ ทยอย
ลมระเนนนระนาดตามกันเปนทิวแถถวเหมือนโดมิมิโนส จนพังทลายไปทั
ท ้งระะบบ เชน กรณีณีบรรษัท AIGG เปนตน 

กรณีบรรษัท AIG 

nternationaal Group (AIIG) ซึ่งเปนบรรรษัทแมของ AIA Thailannd ไมพึงพอใใจทีจ่ ะ


American In

เปนแคบบริษัทประกันภัภยอันแข็งแกกรงมั่นคงเพราาะบริหารรอบบคอบรัดกุมดีเชนที่ผานมาา จึงฉวยใชประโยชน

จากอันดับความนาเชือถื
อ่ อ AAA ขอองตนในชวงฟฟองสบูการเคคหะอเมริกนั อาศั
อ ยสาขาขอองบริษัทยอย AIG 
on (AIGFP) ใในกรุงลอนดอ
Financiaal Products Corporatio อน ประเทศอัังกฤษ โจนเขขาสูธุรกิจขายประกัน
ตราสารออนุพันธ CDSSs อันเราใจโตตไวกําไรสูง

พอวิกฤตซับไพรมปะทุ AIG 
A พบวาตัวเอองแบกภาระป
ประกัน CDSs มูลคารวม ๕๕๑๓,๐๐๐ ลานดอล

ลารสหรััฐฯ ในจํานวนนนีเ้ ปนหนี้ทรัรี่ บั ประกันซึ่งงถูกกระทบจาากตลาดบานออเมริกันตกต่าํ าอยู ๗๘,๐๐๐๐ ลาน
ดอลลารสหรัฐฯ สภาพพเชนนีท้ ําให AIG ขาดทุนนมหาศาลถึง ๙๙,๓๐๐
๙ ลานดอลล
น ารสหรัรัฐฯ ตลอดป ค.ศ.
๒๐๐๘ ((เฉพาะไตรมาาสที่ ๔ ของปปนั้นขาดทุนถึง ๖๑,๗๐๐ ลานดอลลารสหรั
ส ฐฯ) ในสภภาพที่คูสัญญา
ญ CDSs 
ใหญ ๆ ขของ AIG ทยออยเสื่อมทรุดหรื
ห อลมละลายยไมหยุดในปป ค.ศ. ๒๐๐๘ ไมวา Lehm
man Brothers, 

 
53 
 

die Mac, etcc. AIG เองจึงท
Fannie Mae, Fredd ทําทาจะลมละะลายตามไปดดวยและถา AAIG ลม CDSs ที่หมด
ความหมมายของ AIG ก็กจะพลอยลากกโดมิโนสบริษัทการเงินตัวอื่นลมทั้งระะบบ  

  ๓๓) แผนภูมิมลิ ําดับความลลมจมของกิจกการ AIG 

(อางจาก www.nytim magepages//2008/09/27/business/


mes.com/im b 200080928_MEELT_GRAPHIC.html)

สุดทายเมื่อวันที
น ่ ๑๖ กันยาายน ค.ศ. ๒๐๐๘ รัฐบาลแลละธนาคารกลลางสหรัฐฯจึงงเขากอบกูบรรษั
ร ท
AIG โดยยซื้อหุนของบ
บรรษัท ๗๙.๙% ในราคา ๘๘.๕ หมื่นลานดอลล
น ารสหรัรัฐฯในลักษณณะเขาครอบงํากิ
า จการ
นักวิเคราาะหคาดวากววาบริษทั AIG จะกลับมามั่นนคงได คงจะกินเงินโอบอุมอุดหนุนขอองภาครัฐจากภภาษีชาว
อเมริกันไไปทั้งสิ้นถึง ๒๕๐,๐๐๐
๒ ลานดอลลารสสหรัฐฯ78 

สําหรับผลกรระทบของเศรรษฐกิจโลกถดดถอยครั้งใหญ
ญตอ ประเทศไไทย นอกเหนืนือจากที่กลาวไว

ตอนตนเเกีย่ วกับผลผลิลิตเศรษฐกิจกับการสงออกกไทยหดตัวลง คนตกงานเพิ่มขึ้น (ทีห่ น า ๗, ๑๑ – ๑๔
๔ ของ
น ณกอบบศักดิ์ ภูตระกูล ผูบริหารสถถาบันวิจัยเพือ่ อตลาดทุน เมืือ่ ตนป
งานวิจยั ชิ้นนี้) แลว ก็มีมกี ารประเมินของคุ
ค.ศ. ๒๐๐๙ วาประเทศไทยอยูในฐฐานะทีด่ ที ี่จะรัรับผลกระทบบครั้งนี้เมื่อเปรีรียบเทียบกับเเมื่อครั้งวิกฤตตคาเงิน
บาทป ค.ศ. ๑๙๙๗ โดดยเฉพาะในดานฐานะการเเงินของประเททศทั้งภาครัฐและภาคเอกชชน ซึ่งสวนหนึ่งเปน
ผลจากการปรับปรุงโคครงสรางการเงินครั้งใหญของภาครัฐแลละภาคเอกชนนไทยหลังวิกฤฤตป ค.ศ. ๑๙๙๙๗
นั่นเอง ดังตารางขางลลางนี้: ‐ 

                                                       
78
 Gretchen Morgenson, ““Behind Insureer’s Crisis, Blin
nd Eye to a Weeb of Risk”, Thhe New York TTimes, 
created 227 Septemberr 2008, www.n nytimes.com//2008/09/28/business/28m melt.html; Joe  Nocera, “Proppping Up 
a House o of Cards”, Thee New York Times, created  7 Februay 2009, www.nytimes.com/20009/02/28/business/ 
28noceraa.html; Sylvain n Cypel, “Com
mment l'assureeur AIG a perd du plus que toutes les banquues d'affaires”, Le 
Monde, ccreated 3 Marrch 2009, www w.lemonde.frr/web/imprim mer_element/0 0,40‐0@2‐11001386,50‐116 62472, 
0.html.  

 
54 
 

๓๔) ตารางเปปรียบเทียบฐาานะการเงินการคลังของภาาครัฐและภาคคเอกชนไทยปป พ.ศ. ๒๕๔๐ กับ


พ.ศ. ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๑๙๙๗ ๗ กับ ค.ศ. ๒๐๐๐๘) 

ต ล, “วิกฤตการเงิ
(อางจาก กอบศักดิ์ ภูตระกู ฤ นโลกก: ที่มาและผผลกระทบตอประเทศไทย”
ป ”, slidesharee.net, 
createdd January 20 009, www.slideshare.n et/sarinee//global‐crisis‐and‐impaact‐on‐thailaand‐jan‐
09-presentation?frrom=ss_embed)
อยางไรก็ตามม ปรากฏรายงงานขาวเกีย่ วกกับผลกระทบบของวิกฤตซับไพรม
บ ตอธนนาคารพาณิชยของไทย
บางแหง กลาวคือ นายย James MccCormack ผูออํานวยการอาาวุโสและหัวหน
ห าฝายจัดอันนดับความนาเชื่อถือ
ประเทศขของบริษัท Fiitch Ratingss ระบุวาถึงแมมธนาคารไทยยสวนใหญมสสี วนที่เสี่ยงตออตลาดสินเชือโลกน
อ่ อย
เพราะมักกจะอาศัยตลาาดในประเทศศมากกวา แตคคาดวาธนาคารรพาณิชยของไทย ๓ แหง ไไดแก ธนาคาาร
กรุงไทย, ธนาคารกรุงเทพ,
ง และธนนาคารกรุงศรีออยุธยา จะบันทึ
น กขาดทุนจาากการลงทุนใในตราสารซีดีดโี อนอก
ประเทศใในไตรมาสแรรกของป ค.ศ. ๒๐๐๘ กระะนั้นก็ตาม ผลลกระทบของตตลาดเงินกูจ ํานนองบานซับไพรม

อเมริกันตตอธนาคารทัั้ง ๓ แหงคงจะจํากัด เนื่องจจากมูลคาของงสวนที่เสี่ยงตตอซีดีโอทั้งหหมดรวมกันไมมถึง ๖% 
ของหุนธธนาคาร 79

นอกจากนี้ ผูบริหารธนาคารกรุงเทพซึ่งงเปนธนาคารพาณิชยใหญที่สดุ ของไทยยเปดเผยวาธนนาคาร


ไดรับผลลกระทบจากวิวิกฤตซับไพรมอเมริกันในวงเงินประมาาณ ๕,๒๕๐ ลานบาท ดังนี้ : ‐ 

                                                       
79
 Parista Yuthamanop, “LLocal banks m
mostly safe from
m sub‐prime ttroubles”, Banngkok Post, acccessed 
18 April 22008, www.baangkokpost.co om.  

 
55 
 

นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผูจัดการใหญ ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) เปดเผยวา ฐานะ


ของธนาคารมีความแข็งแกรง ปจจุบันมีเงินกองทุนตอสินทรัพยเสี่ยง (บีไอเอส) สูงถึง ๑๔.๕% ถือ
วาสูงมากหากเทียบกับธนาคารขนาดใหญดวยกัน สําหรับการลงทุนในตราสารหนีซ้ ีดีโอนั้น
ธนาคารไดลงทุนประมาณ ๕๐ ลานเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ ๑,๗๕๐ ลานบาท ธนาคารไดเริ่ม
ตั้งสํารองหนี้ตั้งแตปลายป ๕๐ และตั้งสํารองเกือบเต็มวงเงินเมื่อตนป ๕๑ ที่ผานมา สวนการลงทุน
ตราสารหนี้ของบริษัทเลหแมนบราเธอรสนั้นธนาคารไดลงทุนในวงเงิน ๓,๕๐๐ ลานบาท ไดมีการ
ตั้งสํารองตั้งแตตนป และสํารองเต็มวงเงินเมื่อเดือน ก.ย.ที่ผานมา..... 80 

                                                       
80
 ไทยรัฐ, ๒๗ พ.ย. ๒๕๕๑.

 
56 
 

ภาค ๒ ระเบียบการเงินโลกเบรตตัน วูดสหลังสงครามโลกครั้งที่สอง 

วิกฤตการเงินโลก-วิกฤตทุนนิยมตลาดเสรี 

“บทเรียนยืนนานบทหนึ่งของภาวะเศรษฐกิจตกต่ําครั้งใหญ (ค.ศ. ๑๙๒๙ – ๔๑ – ผูแปล) ก็คือลัทธิ


คุมครองการคาโลกเปนหนทางสูความพินาศทางเศรษฐกิจของโลก เราจึงไมยอมรับลัทธิคุมครอง
การคาในคริสตศตวรรษที่ ๒๑ ชาติของเราทั้งหลายจักตองธํารงความเชื่อมั่นในพลังของตลาดเสรี
จริงอยูระบบตลาดเสรีไมสมบูรณแบบ มันอาจมีการทําอะไรเกินเลยและฉวยใชไปในทางมิชอบได
แตกระนั้นมันก็สําคัญยิ่งที่ชาติตาง ๆ ตองตอตานทัดทานแรงเยายวนที่จะปรับแกจนเกินเหตุโดยยัด
เยียดการกํากับควบคุมที่อาจไปกดทับการริเริ่มสิ่งใหมและบีบคั้นการเติบโตจนหมดไป ทายที่สุด
ทุนนิยมจะไดรับการพิสูจนวาถูกตองและยุคใหมแหงความเจริญรุงเรืองก็จะมาถึง”
ประธานาธิบดีจอรจ ดับเบิ้ลยู บุช ผูลูก81
คําปราศรัยประชุมสุดยอด APEC  ที่เปรู, ๒๒ พ.ย. ค.ศ. ๒๐๐๘ 
 

“ผมยอมรับวาสหรัฐอเมริกาไดวางนโยบายการเงินผิดพลาดมหันตและธนาคารกลางสหรัฐฯไดบบี
บังคับชาวอเมริกันใหเขารวมงานอภิมหาบริโภคสุดเหวีย่ งอยางไมบนั ยะบันยัง”
82
Stephen Roach ประธาน Morgan Stanley Asia  
ที่ประชุม World Economic Forum เมืองเทียนจิน, ๒๗ ก.ย. ค.ศ. ๒๐๐๘ 
 

“เรากําลังอยูใจกลางคลี่นสึนะมิสินเชื่อทีร่ อยปมีหน ธนาคารกลางและรัฐบาลตาง ๆ ถูกเรียกรองให


จําตองดําเนินมาตรการที่ไมเคยทํามากอน.....ผมไดพบขอบกพรอง (ในอุดมการณเศรษฐกิจตลาด
แขงขันเสรีของผม) ผมไมรูวา มันสําคัญหรือถาวรแคไหน แตผมกลัดกลุม ใจเพราะความจริงขอนั้น
มาก.....คุณพบวาทรรศนะตอโลกของคุณ อุดมการณของคุณ ไมถูกตอง – มันไมทํางาน...นั่นแหละ
ครับเปนเหตุผลที่ผมช็อคเพราะผมไดดําเนินงานเรื่อยมาตลอด ๔๐ ปหรือกวานั้นดวยหลักฐาน
รองรับมากพอควรวามันทํางานไดดยี ิ่ง สําหรับพวกเราทีค่ าดหมายวาความเห็นแกประโยชนสว น
ตนของสถาบันปลอยสินเชือ่ จะเปนตัวปกปองมูลคาหุนของผูถือหุน – โดยเฉพาะอยางยิ่งคือตัวผม
เองนั้น – เราลวนตกอยูในภาวะช็อคและเหลือเชื่อ...ผมผิดพลาดไปที่ทกึ ทักวาผลประโยชนสวนตัว

                                                       
81
 Patrick J. McDonnell, “Bush promotes free trade at Asia‐Pacific summit in Peru”, Boston.com, 
created 23 November 2008, www.boston.com/news/world/asia/articles/2008/11/23/bush_promotes_free_ 
trade_at_asia_pacific_summit_in_peru/.  
82
 Martine Bulard, “Financial realities after the dollar”, Le Monde diplomatique (English edition), 
(November 2008), p. 1, 4 – 5.  

 
57 
 

ของธนาคารและสถาบันอื่น ๆ นั่นแหละจะทําใหพวกเขามีสมรรถภาพดีที่สุดในการปกปองผูถือหุน
ของพวกเขาเอง” 
83
Alan Greenspan อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ค.ศ. ๑๙๘๗ – ๒๐๐๖  
คําใหการตอสภาคองเกรสเกีย่ วกับบทบาทของเจาหนาทีก่ ํากับดูแลของรัฐบาล 
ในวิกฤตการเงินปจจุบัน, ๒๓ ต.ค. ๒๐๐๘
 

“ความคิดบางอยางเกีย่ วกับโลกาภิวัตนสิ้นสุดลงพรอมกับอวสานของทุนนิยมการเงินซึ่งไดยด
ั เยียด
ตรรกะของมันใหกับเศรษฐกิจทั้งหมดและมีสวนทําใหเศรษฐกิจผิดเพี้ยนไป ความคิดที่วามหิทธา-
นุภาพของตลาดจักตองไมถกู ขัดฝนดวยกฎระเบียบหรือการแทรกแซงทางการเมืองใด ๆ เปนความ
คิดที่บา ความคิดที่วาตลาดถูกตองเสมอก็เปนความคิดทีบ่ า.....วิกฤตที่เปนจริงควรตองกระตุนเราให
วางรากฐานทุนนิยมเสียใหมบนจริยธรรมของความมานะพยายามและการทํางาน ใหแสวงหาสมดุล
ใหมระหวางเสรีภาพกับกฎระเบียบ ระหวางความรับผิดชอบรวมหมูกบั ความรับผิดชอบของปจเจก
บุคคล จะตองสรางสมดุลใหมระหวางรัฐกับตลาดขึ้นมา เพื่อที่วาทุกหนแหงในโลก อํานาจ
สาธารณะจะมีพันธะผูกมัดใหเขาแทรกแซงเพื่อกอบกูระบบธนาคารไวจากความลมสลาย การ
ปลอยให (ภาคเอกชน) กํากับดูแลตัวเองในอันที่จะกํากับดูแลปญหาทั้งหมดมันเอวังลงแลว หลัก-
การที่วาใครใครทําอะไรก็ทาํ มันเอวังลงแลว ตลาดที่ถูกตองเสมอไปก็เอวังลงแลวเชนกัน”
นิโกลาส ซารโคซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส 84 
คําปราศรัยตอที่ประชุมผูนําธุรกิจฝรั่งเศสที่เมืองตูลอง, ๒๓ ก.ย. พ.ศ. ๒๐๐๘ 
 

“เมื่อเราเห็นเจาหนาทีก่ ํากับควบคุมสหรัฐฯลดเงินดาวนบานเหลือศูนย หรือสรางสิ่งที่เรียกวาหนี้


จํานองบานกลับตาลปตรขึ้นมา เราก็รําพึงกับตัวเองวานัน่ มันชางนาหัวเราะเยาะเสียนี่กระไร ภาระ
หนี้อเมริกนั ไดขึ้นไปถึงระดับที่อันตรายและรับไมไหวแลว เศรษฐกิจจริงของทั้งโลกจะตองประสบ
ผลกระทบมหาศาล แลวมันจะไปถึงจุดไหนกัน? นัน่ คงจะขึ้นอยูก ับสมดุลระหวาง “อาหารแดก
ดวน” กับ “การเคี่ยวตุนจนเปอย” แบบจีน หนี้ ๗ แสนลานดอลลารนั้นมันเปนการทําอะไรแบบ
รวด เร็วเหมือน “อาหารแดกดวน” แตไมแนวามันจะดีสําหรับกระเพาะของคุณเสมอไปหรอกนะ
                                                       
83
 Alan Greenspan, “Testimony of Dr. Alan Greenspan, Committee of Government Oversight and 
Reform, October 23, 2008”, Clips & Comment, accessed 20 June 2010, clipsandcomment.com/wp‐content/ 
uploads/2008/10/greenspan‐testimony‐20081023.pdf; “Greenspan Admits 'Flaw' to Congress, Predicts More 
Economic Problems”, PBS Newshour, created 23 October 2008, www.pbs.org/newshour/bb/business/july‐
dec08/crisishearing_10‐23.html; และ อางใน Mason, Meltdown, pp. 118 – 19.
84
 Nicolas Sarkozy, “Discours de Toulon – Texte intégral”, blog@sarkozynicolas.com, created 25 
September 2008, www.sarkozynicolas.com/nicolas‐sarkozy‐discours‐de‐toulon‐texte‐integral/.  

 
58 
 

ทายที่สุดแลว เราไดเขาใจวาหลายตอหลายอยางที่เราเรียนรูจากอาจารย (ทุนนิยม) ของเราแตกอน


นั้นมันผิด บางทีประสบการณของเราก็อาจประยุกตใชไดในประเทศพัฒนาแลวอื่น ๆ เหมือนกัน” 
หลิวหมิงกัง ประธานคณะกรรมาธิการกํากับควบคุมกิจการธนาคารจีน85 
ที่ประชุม World Economic Forum เมืองเทียนจิน, ๒๗ ก.ย. ๒๐๐๘ 
 

“กําไรของทุนการเงินตั้งอยูบ
 นการเปนหนี้เปนสินและการสรางหนี้อยางไรขีดจํากัดทั้งในระดับ
บริษัท, ครัวเรือนและรัฐบาล จนหนีเ้ ติบโตดวยความเร็วสูงกวาผลิตภัณฑมวลรวมประชาชาติหรือ
การคาของทั้งโลกรวมกัน ในสภาพเชนนี้ จะไปคาดหวังใหบรรลุเสถียรภาพของระเบียบการเงิน
ระหวางประเทศหรือประสิทธิภาพของระบบนี้ไดอยางไร? การจัดระเบียบการเงินระหวางประเทศ
ใหมจะไปกันไดกับบรรดากลุมผลประโยชนผูมีสวนไดเสียและการเปดเศรษฐกิจเสรีสุดลิ่มทิ่ม
ประตูละหรือ?” 
เฟรเดอริค แคลรมองต 86 
นักวิเคราะหการเงินการตลาดระหวางประเทศชาวแคนาดาสังกัด UNCTAD, ค.ศ. ๑๙๙๔ 
 

นับแตหลังสงครามโลกครั้งที่สองมา ระบบการเงินโลกอยูภายใตการจัดระเบียบตาง ๆ กันมา ๓


แบบจนถึงปจจุบัน ดังตารางขางลางนี:้  ‐ 

๓๕) ระเบียบการเงินโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สองเปนตนมา ๓ แบบ 


ชวงเวลา ระเบียบการเงิน  ฉันทมติรองรับ 
๑๙๔๕ – ๗๕   ระเบียบการเงินเบรตตัน วูดส ฉันทมติเคนเชียน 
สหรัฐฯเลิกใชมาตรฐานทองคําป ๑๙๗๑ 
๑๙๗๕ – ๒๐๐๘ ระเบียบการเงินโลกาภิวัตน/เสรีนิยมใหม ฉันทมติวอชิงตัน 
วิกฤตเศรษฐกิจโลกถดถอยครั้งใหญป ๒๐๐๘ 
๒๐๐๘ – ?  ระเบียบการเงินเบรตตัน วูดส ๒? ฉันทมติ? 
 

ผูวิจัยขอเริ่มอธิบายจากระเบียบการเงินเบรตตัน วูดส (ค.ศ. ๑๙๔๕ – ๗๕) ซึ่งตั้งอยูบนฐานฉันทมติ


เคนเชียน (Keynesian consensus) เปนอันดับแรก 
                                                       
85
 “Quand Pékin donne des leçons de capitalisme à l’Amérique”, Les Echos, created 29 September 
2008, www.cawa.fr/IMG/pdf/4777977.pdf.  
86
 Frédéric F. Clairmont, “Cinquante ans après, la faillite du système de Bretton Woods”, Archives 
1973 – 2008: Le Monde diplomatique [CD‐ROM] (Paris: Le Monde diplomatique, 2009). 

 
59 
 

ฉันทมติเคนเชียน 

ลอรด จอหน เมยนารด เคนส (Lord John Maynard Keynes – ค.ศ. ๑๘๘๓ – ๑๙๔๖) ชาวอังกฤษ


ไดรับยกยองจากวงการเศรษฐศาสตรบางสวนวาเปนนักเศรษฐศาสตรผูยิ่งใหญที่สุดแหงคริสตศตวรรษที่
๒๐ 87 ประสบการณฐานคิดของเขาไดแกภาวะเศรษฐกิจตกต่ําใหญทวั่ โลกระหวางป ค.ศ. ๑๙๒๙ – ๔๑, 
ความทุกขยากขัดแยงวุนวายทางสังคมและการเมืองที่ตามมา, การขึ้นเถลิงอํานาจเผด็จการเบ็ดเสร็จของ
ขบวนการนาซี-ฟาสซิสตในเยอรมนีและอิตาลี, อํานาจมหาศาลของบรรษัทเอกชน, สงครามระหวาง
ประเทศทางเศรษฐกิจการคา, และสงครามโลกครั้งที่สอง  

เคนสคัดคานการปลอยใหทําเศรษฐกิจโดยเสรี (laissez‐faire) เห็นวารัฐชาติเปนหนวยการเมือง
สูงสุด ตองไมขึ้นตอพลังเศรษฐกิจเหนือการควบคุม โดยเฉพาะนโยบายการเงินตองอยูใ ตอํานาจอธิปไตย
ของรัฐชาติ เขาสนับสนุนแนวทาง Embedded Liberalism หรือ New Liberalism หรือ Social 
Liberalism (เสรีนิยมแบบฝงตัวหรือเสรีนยิ มใหมหรือเสรีนิยมสังคม) กลาวคือถือวาตลาดเสรีโดยตัวมันเอง

มีปญหา อาจกอวิกฤตเศรษฐกิจการเงินจากการเก็งกําไร รัฐตองมีบทบาทแทรกแซงกํากับควบคุม ใชจาย


งบประมาณขาดดุลไปกระตุน อุปสงคมวลรวม สงเสริมการจางงาน เพื่อใหทุนนิยมอยูร อด ผูคนมีงานทําและ
สวัสดิการตามสมควร นั่นหมายความวาตลาดยังคงมีบทบาทจัดสรรทรัพยากรเศรษฐกิจมากโข แตจํากัด
ขอบเขตของมันไวโดยใหกระบวนการการเมืองกําหนด 88 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ เคนสเคยอธิบายจุดยืนตัวเองไวในบทความชื่อ “ผมเปนเสรีนิยมหรือเปลา?” (Am I 


a Liberal?, ค.ศ. ๑๙๒๕) วา: ‐ 

                                                       
87
 ตามผลการลงคะแนนของวงสัมมนานักเศรษฐศาสตรราว ๑๕๐ คนในการประชุมประจําปของ American Economic 
Association ที่มหานครนิวยอรกในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๙๙ และการลงคะแนนของสมาชิกวารสารออนไลน post‐autistic 
economics review จํานวน ๑,๒๔๙ คนในป ค.ศ. ๒๐๐๖ ดู Mark Skousen, “Who Is the Greatest Economist of the 20th 
Century?”, Forecasts & Strategies, created 1 September 1999, www.markskousen.com/article.php?id=1135; 
และ “Results of the post‐autistic economics review’s Greatest Twentieth‐Century Economists Poll”, post‐autistic 
economics review, 36 (24 February 2006), www.paecon.net/PAEReview/issue36/greatest20thcentury 
economists.htm.  
อนึ่ง เนื้อหาสวนนีเ้ รียบเรียงจาก Robert Skidelsky, Keynes (Oxford: Oxford University Press, 1996). 
88
 Robert Wade, “Financial Regime Change?”, New Left Review, II/53 (September/October 2008), 5 – 
6;  Catherine Audard, “Le « nouveau » liberalisme”, laviedesidees.fr, created 28 April 2009, www. 
laviedesidees.fr/IMG/pdf/20090428_audard.pdf; และ Stephen D. Tansey, Politics: The Basics (London and New 
York: Routledge, 2004), pp. 89 – 91. Tansey จําแนกวา Social Liberalism หรือเสรีนิยมสังคมเปนขั้นตอนที่ ๓ ในการพัฒนา
ของแนวคิดเสรีนิยมทางการเมืองในโลกตะวันตก

 
60 
 

“การเปลี่ยนผานจากอนาธิปไตยทางเศรษฐกิจไปสูระบอบที่จงใจมุงหมายจะควบคุมและชี้นําเหลา
พลังทางเศรษฐกิจเพื่อประโยชนแกความยุติธรรมและเสถียรภาพทางสังคมนั้นนับวายากลําบาก
มหาศาลทั้งทางเทคนิคและการเมืองพรอมกันไป อยางไรก็ตามผมใครเสนอแนะวาภารกิจที่แทจริง
ของเสรีนิยมใหมก็คือหาทางแกไขความยากลําบากดังกลาวนี้” 89
เขายังเขียนจม.ถึง Sir Percival Liesching แหงคณะกรรมาธิการการคาอังกฤษเมื่อ ค.ศ. ๑๙๔๓ วา:  

“ดังที่ทานยอมทราบดีอยู ในฐานที่ผมเปนคนขี้สงสัยแกไมหาย ผมจึงกลัวการหวนกลับไปสู


laissez‐faire แหงคริสตศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งดูเหมือนทานและกระทรวงการตางประเทศสหรัฐฯจะ
หวนหาอาลัย  
“สวนตัวผมเองคิดวาอนาคตจะอยูใ นรูป ๑) การคาสินคากันในระดับรัฐ ๒) การรวมกลุมระหวาง
ประเทศเพื่อผูกขาดครอบงําอุตสาหกรรมตาง ๆ ที่จําเปน ๓) จํากัดปริมาณสินคาเขาประเภท
ผลิตภัณฑอุตสาหกรรมที่ไมจําเปนเอาไว  
แตเครื่องมือในอนาคตดังกลาวเหลานี้ทั้งหมดที่มีไวรับใชชีวิตเศรษฐกิจที่เปนระบบระเบียบในภาย
ภาคหนานั้น ทานกลับหาทางจะทําใหมันกลายเปนของนอกกฎหมายเสีย.....” 90 
 

ขอตกลงเบรตตัน วูดสในระเบียบโลกภายใตอเมริกา

การประชุมเบรตตัน วูดส (Bretton Woods Conference) หรือนัยหนึ่งการประชุมวาดวยเงินตรา


และการเงินแหงสหประชาชาติ (the United Nations Monetary and Financial Conference) จัดขึ้น
ระหวางวันที่ ๑ – ๒๒ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๔๔ ณ ที่พักตากอากาศ Bretton Woods ในมลรัฐนิวแฮมปเชียร
สหรัฐอเมริกา มีตัวแทน ๔๔ ชาติเขารวมประชุม ผลการประชุมนําไปสูขอตกลงใหกอตั้งกองทุนการเงิน
ระหวางประเทศ (International Monetary Fund) และธนาคารระหวางประเทศเพือ่ การบูรณะและพัฒนา
หรือนัยหนึ่งธนาคารโลก (International Bank for Reconstruction and Development or World 
Bank) ขึ้นในที่สุด
91
 

                                                       
89
 John Maynard Keynes, « Suis‐je un libéral ? » อางใน Audard, “Le « nouveau » liberalisme”.
90
 อางใน James J. Martin, Revisionist Viewpoints: Essays in a Dissident Historical Tradition (Colorado 
Springs: Ralph Myles Publisher, Inc., 1971), pp. 198 – 99n**. 
91
 "Bretton Woods Conference," Microsoft® Encarta® 2009 [DVD] (Redmond, WA: Microsoft 
Corporation, 2008).

 
61 
 

ขอตกลงเบรตตัน วูดสมีเปาหมาย ๒ ประการและวางเสาหลักของระเบียบการเงินโลกไว ๓


ประการ ไดแก: ‐ 92 

• ๒ เปาหลัก: เปดเสรีทางการคา และ กํากับควบคุมการเงิน 

• ๓ เสาหลักของระเบียบการเงินโลกเบรตตัน วูดส

๑) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราคงที ่ (fixed exchange rates)

๒) กําหนดใหเงินตราสกุลดอลลารสหรัฐฯซึ่งหนุนโดยทองคํา เปนสื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนและเก็บ
รักษามูลคากลางของโลก ธนบัตรอเมริกันจึงมีคาเทียบเทาทองคํา สามารถแลกเปลี่ยนไดที่ ๓๕ ดอลลาร
สหรัฐฯ ตอทอง ๑ ออนซทั่วโลก

๓) จํากัดการเคลื่อนยายเงินทุนขามพรมแดน (closed capital accounts)

  ขอดีของระเบียบการเงินเบรตตัน วูดสที่สรางขึ้นปรากฏชัดในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ตอมาคือมันชวยสงเสริมการพัฒนาและเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก โดยระงับยับยัง้ ภาวะเสียดุลการคา
เรื้อรังของประเทศตาง ๆ ผานกลไกผลกระทบของการโอนยายทองคําและเงินดอลลารสหรัฐฯตอระดับราคา
ในประเทศนัน้ ๆ ทําใหในที่สุดการคาของประเทศที่เกีย่ วของก็กลับสูภ าวะสมดุลอีก,93 นอกจากนีใ้ นชวง
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กระแสเงินทุนไหลเวียนระหวางประเทศของภาคเอกชนก็เล็กกวาภาครัฐมาก,
ตัวแปรเสริมหลัก ๆ ทางเศรษฐกิจอยูในระดับคงที่สม่ําเสมอ ไมวาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ดัชนีตลาดหุน
อัตราดอกเบี้ย ระดับราคา, สงผลใหอัตราเติบโตเศรษฐกิจของโลกสูงและมั่นคง กลุมประเทศกําลังพัฒนา
เติบโตคอนขางเร็ว 

ขอยอนกลับไปกลาวถึงการเมืองเรื่องอํานาจระดับโลกในการประชุมเบรตตัน วูดสเอง ที่ประชุม 


ประกอบดวยผูแทน ๗๓๐ คนจาก ๔๔ ประเทศ จัดขึน้ ใตการอํานวยการขององคการสหประชาชาติ เพื่อ

                                                       
92
 ขอมูลชวงนี้เรียบเรียงจาก Robert Wade, “Choking the South”, New Left Review, II/38 (March/April 
2006), 115 – 27.  
93
 กลาวโดยคราว ๆ กลไกเศรษฐกิจการเงินที่สงผลดังกลาวเปนเชนนี้คือ [รายไดจากสินคาออกไหลเขาประเทศในรูปเงินตรา
ตางประเทศ Æ แลกเปนเงินสกุลในประเทศหมุนเวียนเพิ่มปริมาณขึ้นในระบบเศรษฐกิจ Æ กอแนวโนมเงินเฟอของแพงตนทุนผลิต
สินคาเพิ่ม Æ สินคาออกแพงขึ้นเมื่อคิดราคาเปนเงินตราสกุลตางประเทศ Æ ความสามารถในการแขงขันของสินคาออกลดลง ดุลการคา
คอยปรับสูภาวะสมดุลอีก] 

 
62 
 

พยายามฟนฟูและจัดวางระเบียบเงินตราและการเงินโลกขึ้นใหมหลังสงคราม แตในสภาพที่เปนจริง การ


ประชุมไมเปนประชาธิปไตย หากถูกครอบงําโดยคณาธิปไตยของ ๒ มหาอํานาจจักรวรรดินิยม ไดแก: ‐94 

-สหรัฐอเมริกาที่กําลังมั่งคั่งรุงเรืองที่สุดในโลก การผลิตแหงชาติของสหรัฐฯเพิ่มขึน้ เกือบเทาตัว


ระหวางสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อสิ้นสงคราม สหรัฐฯเปนผูผลิต ๔๕% ของผลผลิตทั่วโลก, มีกองทัพ
ใหญมหึมาถึง ๑๒.๓ ลานคนโดยกําลังพล ๗.๖ ลานคนประจําการอยูน อกประเทศ, ทัง้ ยังมีระเบิดปรมาณู

-สหราชอาณาจักรที่กําลังรวงโรยทรุดโทรมจากภัยสงครามและจักรวรรดิเสื่อมสลายในทุก ๆ ดาน 

มหาอํานาจทั้งคูตางก็มุงหวังขยายสวนแบงของตนในตลาดโลก การประชุมจึงสะทอนเคาโครง
รูปลักษณใหมของพลังอํานาจเศรษฐกิจระดับโลกออกมา ปรากฏวา: ‐ 

• เอาเขาจริง สหรัฐอเมริกาไมไดจะแสวงหาพันธมิตรเสมอภาค หากตองการรัฐบริวารตางหาก

• สหราชอาณาจักรทัดทานสหรัฐฯไมอยู จึงตองสละแนวทางการทูตที่มุงสรางสมดุลระหวาง
มหาอํานาจซึ่งตนเตรียมมา และหันไปสมยอมรวมมือกับสหรัฐฯแทน

ในแงนี้ขอตกลงและระเบียบการเงินเบรตตัน วูดสจึงเปนองคประกอบหนึ่งของ “ระเบียบโลก


ภายใตอเมริกา” (Pax Americana)  หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งมีเปาหมายหลักทางยุทธศาสตร ๒

ประการ ไดแก: - 95 

๑) ทําใหโลกปลอดจากภัยลัทธิคอมมิวนิสตสําหรับทุนนิยม  

-ปดลอมสหภาพโซเวียต หยุดกระแสการปฏิวัติไมใหแพรขยายพนพรมแดนโซเวียตออกมา 

-ขจัดรัฐโซเวียตใหสูญสิ้นไป 

๒) ประกันใหอเมริกาเปนมหาอํานาจอันดับหนึ่งไรเทียมทานในโลกทุนนิยม 

-ใหอังกฤษตองพึ่งพาอเมริกาทางเศรษฐกิจ 

                                                       
94
 เนื้อหาสวนนี้เรียบเรียงจาก Clairmont, “Cinquante ans après, la faillite du système de Bretton Woods”; 
และ James Buchan, “When Keynes went to America”, New Statesman, created 6 November 2008, www.
newstatesman.com/print/200811060015.  
95
 Perry Anderson, “Editorial: Force and Consent”, New Left Review, II/17 (September/October 2002), 
5 – 30.  

 
63 
 

-ตั้งกองทหารประจําไวกํากับควบคุมเยอรมนีตะวันตกและญี่ปุน 

-แบงปนดอกผลจากเศรษฐกิจอเมริกันบูมสมัยสงครามไปใหเหลาพันธมิตรและประเทศแพสงคราม
ไดรวมรับประโยชนเพื่อผูกใจภักดีไว ไมใหเอนเอียงไปทางคายคอมมิวนิสต

ในกรอบยุทธศาสตรดังกลาวนี ้ ระเบียบการเงินเบรตตัน วูดสจึงแสดงบทบาทกําหนดความเปนไป


ของเศรษฐกิจนานาประเทศหลังสงครามรวมกับกลุมทุนการเงินอเมริกนั , รับรองและสถาปนาฐานะครอบงํา
ทางการเงินของสหรัฐฯขึ้นในโลก อันประกอบไปดวยองคประกอบสําคัญไดแก: ‐ 96 

-ดอลลารสหรัฐฯเปนสื่อกลางเงินตราของโลกแทนปอนดสเตอรลิงค (เคนสพยายามเสนอใหใช
เงินตรากลางสกุล bancor แทนดอลลาร แตแพแรงกดดันของสหรัฐฯ) 

-สรางสถาบันโลกาภิบาลทางเศรษฐกิจ ไดแกธนาคารโลกสําหรับปลอยกูระยะยาวเพือ่ การพัฒนา, 


และ IMF สําหรับปลอยกูระยะสั้นเพื่อแกวกิ ฤตขาดดุลการชําระเงินของประเทศตาง ๆ 

-แผนการมารแชล (The Marshall Plan, ค.ศ. ๑๙๔๗ – ตั้งตามชื่อรัฐมนตรีวาการกระทรวงการ


ตางประเทศสหรัฐฯสมัยนัน้ คือนาย George Catlett Marshall)97 ซึ่งรัฐบาลอเมริกาทุมเงิน ๑๖,๐๐๐ ลาน
ั นายุโรป และแผนการดอดจ (The Dodge Plan, ค.ศ. ๑๙๔๙ – ตั้งตามชื่อ
ดอลลารสหรัฐฯชวยฟนฟูพฒ
ประธานธนาคารดีทรอยต ในสหรัฐอเมริกา นาย Joseph Morrell Dodge ผูรับเปนเอกอัครรัฐทูตพิเศษและ
ที่ปรึกษาโครงการสรางเสถียรภาพเศรษฐกิจในญี่ปุนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง) 98 สําหรับญี่ปุน ยิ่งเสริม
บทบาทแข็งแกรงของเงินสกุลดอลลารสหรัฐฯ, ประกันโอกาสของผูผลิตอเมริกัน, และสรางกลุม
นักการเมืองรุน ใหมในยุโรปและญี่ปุนทีข่ ึ้นสูอํานาจโดยอาศัยความไดเปรียบจากโครงการชวยเหลือเหลานี ้

  ภายใตระเบียบการเงิน Bretton Woods เศรษฐกิจทุนนิยมโลกใตการครอบงําของอเมริกาบูมใหญ
หลังสงคราม เหตุปจจัยสําคัญไดแก: อํานาจซื้อมหาศาลที่เขตอเมริกาเหนือสะสมไวระหวางสงครามโลก
ครั้งที่สอง, ตลาดใหญโตมโหฬารเพื่อการฟนฟูบูรณะนานาประเทศหลังสงครามโลกฯ, การซื้อหาอาวุธกัน

                                                       
96
 ประมวลจาก Clairmont, “Cinquante ans après, la faillite du système de Bretton Woods”; และ Martine 
Bulard, Donald Hounam, trans., “Financial realities after the dollar”, Le Monde diplomatique (English edition), 
(November 2008), p. 1, 4 – 5.  
97
 Hugh Wilford, “Should we say thank you?”, London Review of Books, 31: 8 (30 April 2009), 22 – 23.  
98
 Susan Cockerill & Colin Sparks, “Japan in Crisis”, International Socialism, 72 (September 1996), 
pubs.socialistreviewindex.org.uk/isj72/japan.htm.  

 
64 
 

ขนานใหญยุคสงครามเย็น-ตอตานคอมมิวนิสต (๒ กันยายน ค.ศ. ๑๙๔๕ – ๒๖ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๙๑)99 ,


สงครามเกาหลี (ค.ศ. ๑๙๕๐ – ๑๙๕๓) ซึ่งกระตุนเศรษฐกิจญี่ปุนใหบูม, และสงครามอินโดจีน (ค.ศ. ๑๙๕๙
– ๑๙๗๕) ซึ่งกระตุนเศรษฐกิจเกาหลีใตและไทยใหบูม 

แตไมถึง ๓๐ ปใหหลัง ปลายคริสตทศวรรษ ๑๙๖๐ วิกฤตก็มาเยือน อาศัยที่ดอลลารสหรัฐฯเปน


เงินตรากลางสกุลหลักของโลก รัฐบาลสหรัฐฯตั้งแตสมัยประธานาธิบดีลินดอน บี. จอหนสัน (ค.ศ. ๑๙๖๓ –
๑๙๖๙) เปนตนมาจึงพิมพดอลลารออกใชทําสงครามอินโดจีนและสรางสวัสดิการแกพลเมืองในประเทศ
โดยไมคํานึงวามีทองคําสํารองไมเพียงพอ สงผลใหเงินเฟอสูงและขาดดุลงบประมาณหนัก Pax 
Americana เริ่มปริราว มาตรฐานอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลารสหรัฐฯกับทองคําเริ่มออนยวบลง คูค
 านานา
ประเทศชักระแวงแคลงใจ เชน ฝรั่งเศสสมัยประธานาธิบดีเดอโกลลถึงแกตัดสินใจขนธนบัตรดอลลาร
สหรัฐฯลงเรือรบขามมหาสมุทรแอตแลนติกมาขึ้นฝงขอแลกทองคําจากอเมริกา ขางอังกฤษเห็นเชนนั้นก็เอา
บางโดยเรียกรองทองคํามูลคา ๓ พันลานดอลลารสหรัฐฯจากฟอรต น็อกซ อันเปนคลังเก็บทองคําของ
อเมริกา เปนตน100 บรรยากาศขุนเคืองราวฉานตอนนั้นถึงแกนายวาเลรี จิสการด เดสแตง รัฐมนตรี
เศรษฐกิจและการเงินฝรั่งเศส (ค.ศ. ๑๙๖๙ – ๑๙๗๔, ตอมาเขาไดรับเลือกตั้งเปนประธานาธิบดีฝรั่งเศส
ระหวาง ค.ศ. ๑๙๗๔ – ๑๙๘๑) บนอุทธรณเมื่อป ค.ศ. ๑๙๗๑ วา: “สหรัฐอเมริกามีอภิสิทธิ์ลนเหลือเหนือ
เหตุผล โดยเปนมหาอํานาจดวยเงินของคนอื่น” ทวานาย จอหน คอนแนลลี รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ (ค.ศ.

                                                       
99
 หากอิงตามการกําหนดของสหรัฐอเมริกาผูชนะสงครามเย็น ดังปรากฏวา ในมาตราที่ ๑๐๘๔ ของรัฐบัญญัติ National 
Defense Authorization Act ประจําปงบประมาณ ค.ศ. ๑๙๙๘ สภาคองเกรสสหรัฐฯไดมอบหมายใหรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯมี
อํานาจมอบ the Cold War Recognition Certificate หรือ “เกียรติบัตรสงครามเย็น” แกเจาหนาที่กองทัพและเจาหนาที่พลเรือนของ
รัฐบาลกลางสหรัฐฯผูมีคุณสมบัติครบที่ไดรับใชประเทศชาติอยางซื่อสัตยและทรงเกียรติ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งระหวางยุคสงครามเย็นพรอม
ทั้งระบุชวงเวลาดังกลาวไว (ดู Rod Powers, “Cold War Recognition Certificates”, About.com: US Military, accessed 5 
October 2010, usmilitary.about.com/od/ medalsanddecs/a/coldwar.htm; ตัวอยางเกียรติบัตรที่ระบุชวงเวลายุคสงคราม
เย็นไวชัดเจน ดูไดที่ “Cold War Recognition Certificate”, Wikipedia, accessed 5 October 2010, en.wikipedia.org/ 
wiki/Cold_War_Recognition_Certificate) 
สําหรับที่มาของการกําหนดวันทั้งสองนั้นเปนดังนี้คือ ๒ กันยายน ค.ศ. ๑๙๔๕ เปนวันลงนามสนธิสัญญายอมจํานนของคณะ
ผูแทนรัฐบาลญี่ปุนตอคณะผูแทนฝายสัมพันธมิตรบนเรือรบมิสซูรีในอาวโตเกียว อันเปนการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองอยางเปน
ทางการ, สวน ๒๖ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๙๑ เปนวันที่สภาโซเวียตผานมติสุดทายของตนที่แสดงการยอมรับวาสหภาพโซเวียตสลายตัวลงแลว
จึงถือเปนการสิ้นสุดสงครามเย็น ดู “World War II” & “Union of Soviet Socialist Republics," Microsoft® Encarta® 2009
[DVD] (Redmond, WA: Microsoft Corporation, 2008).

100
 ประมวลจาก Clairmont, “Cinquante ans après, la faillite du système de Bretton Woods”;  และ Ngaire 
Woods, “The Dollar and Dominance”, BBC‐Current Affairs, created 23 October 2008, news.bbc.co.uk/nol/…/ 
23_10_08.txt.  

 
65 
 

๑๙๗๑ – ๑๙๗๒) กลับกลาวตอบคณะผูแทนยุโรปที่มาบนปญหาคาเงินดอลลารสหรัฐฯผันผวนเมื่อเขา


เดินทางไปเยือนกรุงลอนดอนในปเดียวกันวา: “มันเปนเงินตราสกุลของอั๊ว แตมันเปนปญหาของลื้อวะ”101

ยามจนตรอกจวนตัว ประธานาธิบดีริชารด นิกสัน (ค.ศ. ๑๙๖๙ – ๑๙๗๔) จึงตัดสินใจประกาศระงับ


การรับแลกเปลี่ยนเงินดอลลารสหรัฐฯเปนทองคําเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๗๑ และขึ้นภาษีสนิ คาเขา
เปนพิเศษ ตอมาเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๗๓ รัฐบาลสหรัฐฯลดคาเงินดอลลารติดกัน ๒ ครั้งและเปลี่ยนใหม
หันไปทดลองใชระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (floating exchange rates) อยางสับสนอลหมานแทน
หลังจากโอเปค (OPEC – Organization of Petroleum Exporting Countries) ขึ้นราคาน้ํามันพุงพรวด ๔
เทาปลายป ค.ศ. ๑๙๗๓ รัฐบาลสหรัฐฯก็ตกลงใจยกเลิกระเบียบวินยั การเงินโลกตามขอตกลง Bretton 
Woods ฝายเดียวโดยพลการ ถึงแกนายฟามวันดง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม(เหนือ)สมัยนั้น (ดํารงตําแหนง

ค.ศ. ๑๙๕๕ – ๑๙๘๗) เมื่อทราบขาวประธานาธิบดีนิกสันถอนเงินดอลลารสหรัฐฯจากมาตรฐานทองคํา ก็


กลาววา “ความพินาศทางการเงินของอเมริกาเกิดจากฝมอื ประชาชนอินโดจีนมากทีเดียว”102 

ปจจุบัน เงินดอลลารสหรัฐฯยังดํารงฐานะเปนสื่อกลางการคาและเงินตราสํารองหลักของโลก กลาว
คือมันถูกใชใน ๖๐% ของการคาขามพรมแดน, มันคิดเปน ๖๒.๔% ของเงินตราตางประเทศสํารองในคลัง
ธนาคารกลางนานาชาติ (ประมาณ ๒.๗๓ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. ๒๐๐๘), มันถูกใช
ใน ๖๕% ของธุรกรรมในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา, และมันเปนเงินตราสกุลที่ถูกปลอมมากที่สุดในโลกดวย
มูลคาถึงราว ๑๐๐ ลานดอลลารสหรัฐฯ103 

บทบาทของเงินดอลลารสหรัฐฯในโลกสะทอนความจริงที่วาฐานะเศรษฐกิจของสหรัฐฯเปน
ประเทศอันดับหนึ่งในโลก (ดูจากตัวเลขผลิตภัณฑมวลรวมในประเทศหรือ GDP ทั้งโดยรวมและตอหัว)
รัฐบาลสหรัฐฯจึงเสมือนปราศจากขอจํากัดเหนีย่ วรั้งใด ๆ ในการพิมพธนบัตรใชเอง (ในรูป US Treasury 
Securities หรือพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐฯแบบตาง ๆ ที่รัฐบาลสหรัฐฯนําออกขายใหนก
ั ลงทุน
อเมริกันและตางชาติถือครองเพื่อกินดอกผลอยางมั่นคง ทั้งนี้เพื่อที่ทางการสหรัฐฯจะนําเงินรายไดจากการ
ขายพันธบัตรมาจับจายใชสอยเสริมงบประมาณที่ขาดดุล เสมือนหนึ่งกูยืมเงินจากทัว่ โลกมาใชโดยเสีย
ดอกเบี้ยให) อยากผลิตดอลลารออกมามากเทาไรก็ไดตามใจชอบ สามารถปลอยเงินดอลลารออกมาทวมโลก
                                                       
101
 อางจาก Woods, “The Dollar and Dominance”.  ขอความภาษาอังกฤษที ่ John Connally กลาวคือ “It’s our 
currency but it’s your problem.” 
102
 อางจาก Clairmont, “Cinquante ans après, la faillite du système de Bretton Woods”.
103
 อางจาก Bulard, “Financial realities after the dollar”, p.4. 

 
66 
 

เพราะถอนตัวจากมาตรฐานทองคําแลว ใครจะเอาเงินดอลลารสหรัฐฯมาแลกกลับเปนทองคํากับทางการ
สหรัฐฯไมได การผลิตเงินในสหรัฐฯจึงไมขึ้นกับปริมาณทองคําที่ธนาคารกลางสหรัฐฯถือไวตอไป สหรัฐฯ
ยอมไดเปรียบประเทศอื่น เพราะประเทศอืน่ ไมเพียงถือเงินดอลลารเปนเงินตราตางประเทศสํารองสวนใหญ
แตเวลาติดตอคาขายกับสหรัฐฯก็ตองใชเงินดอลลารดวย104 

ปจจุบันสหรัฐอเมริกาเปนประเทศลูกหนี้รายใหญที่สุดของโลก105 โดยขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
ติดตอกันมา ๒๐ ปแลว เหมือนเซ็นเช็คซื้อของที่ไมเคยมีคนเอาไปขึ้นเงิน จึงมือเติบสามารถใชเงินเกินตัวได
ตลอดเวลา อาทิทําสงครามเวียดนาม, สงครามอิรัก ฯลฯ และยังกูหนีย้ มื สินชาวโลกตอไปในเงินสกุล
ดอลลารไมหยุด โดยออกพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐฯรูปแบบตาง ๆ มาขาย 106 

กลาวเฉพาะหนี้สาธารณะทีส่ หรัฐอเมริกาติดคางตางชาติในรูปพันธบัตรกระทรวงการคลัง ณ เดือน


กรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๑๐ มีมูลคารวม = ๔,๐๖๕.๘ พันลานดอลลารสหรัฐฯ โดยมีประเทศตาง ๆ ทีถ่ ือครอง
มากที่สุดลดหลั่นไปตามลําดับดังนี้: - 107 

๑) จีน ๘๔๖.๗ พันลานดอลลารสหรัฐฯ คิดเปน ๒๐.๘๒% ของพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐฯ


ที่ตางชาติถือครองทั้งหมด
๒) ญี่ปุน ๘๒๑ พันลานดอลลารสหรัฐฯ คิดเปน ๒๐.๑๙% ของทั้งหมด 
๓) สหราชอาณาจักร ๓๗๔.๓ พันลานดอลลารสหรัฐฯ คิดเปน ๙.๒๐% ของทั้งหมด
๔) บรรดาประเทศผูสงออกน้ํามัน ๒๒๓.๘ พันลานดอลลารสหรัฐฯ คิดเปน ๕.๕๐% ของทั้งหมด
๕) บราซิล ๑๖๒.๒ พันลานดอลลารสหรัฐฯ คิดเปน ๓.๙๘% ของทั้งหมด 
(โปรดดูตารางรายละเอียดทั้งหมดในหนาถัดไป) 
ทั้งนี้กระทรวงการคลังสหรัฐฯยังดําเนินมาตรการชักนําคาเงินดอลลารสหรัฐฯใหแข็ง/ออนตามแต
ผลประโยชนเฉพาะหนาของตนดวย
                                                       
104
 ประมวลจาก Woods, “The Dollar and Dominance”. 
105
 ยอดหนี้ตางประเทศสหรัฐฯเพิ่มจาก ๒๓๐ พันลานดอลลารสหรัฐฯในปค.ศ. ๑๙๗๗ Æ ๓๔๐ พันลานดอลลารในป
๑๙๘๗ Æ ประมาณ ๖๒๐ พันลานดอลลารสหรัฐฯสิ้นป ๑๙๙๔ Æ ๑๖,๐๐๐ พันลานดอลลารสิ้นป ๒๐๐๖ อางจาก Frédéric F. 
Clairmont, “Bretton Woods, histoire d’une faillite”, Manière de voir, 102 (Décembre 2008 – Janvier 2009), 
15n14.
106
 รายงานขาวที่ใหภาพการทํางานของ Bureau of the Public Debt อันเปนหนวยงานราชการอเมริกันซึ่งทําหนาที่จัด
จําหนายและเปดประมูลพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐฯไดดีไดแก Robert Pear, “The Man Who Sells America’s I.O.U.’s”, 
The New York Times, published 23 August 2009, www.nytimes.com/2009/08/24/business/economy/ 
24debt.html.  
107
 อางจาก “Major Foreign Holders of Treasury Securities”, U.S. Department of the Treasury, accessed 
5 October 2010, www.ustreas.gov/tic/mfh.txt.  

 
67 
 

๓๖) ตางชาติิรายใหญที่ถอครองพั
อื นธบััตรกระทรวงการคลังสหรัฐฯจากเดือนกกรกฎาคม ค.ศศ. ๒๐๐๙
– กรกฎาคม ค.ศ.
ค ๒๐๑๐ (หน
( วยพันลานนดอลลารสหรั
ห ฐฯ)

(อางจาก “Major Forreign Holdeers of Treasuury Securitiees”, U.S. Department oof the Treasury, 
accesseed 5 Octobeer 2010, ww
ww.ustreas.ggov/tic/mfh
h.txt) 

 
68 
 

ภาค ๓ ระเบียบการเงินโลกาภิวัตน/เสรีนยิ มใหม ค.ศ. ๑๙๗๕ – ๒๐๐๘ 

เสรีนิยมใหม/โลกาภิวัตน: นิยาม 

มองจากมุมวิชาความสัมพันธระหวางประเทศและเศรษฐศาสตรการเมือง Peter Gowan (ค.ศ.

๑๙๔๖ – ๒๐๐๙) ศาสตราจารยดานความสัมพันธระหวางประเทศแหง London Metropolitan University


และสมาชิกกองบรรณาธิการวารสาร New Left Review ผูลวงลับ 108 ไดเสนอแนวนิยามวา เสรีนิยมใหม/
โลกาภิวัตน (Neo‐liberalism/Globalisation) เปนยุทธศาสตรใหมของสหรัฐอเมริกาในการครองโลกยุค
หลังสงครามเย็น มันเปน ๒ ดานของเหรียญเดียวกัน กลาวคือ: -  

-Neo‐liberalism มุงตอความสัมพันธภายในประเทศตาง ๆ  
-Globalisation มุงตอความสัมพันธระหวางประเทศ 
  Gowan ขยายความวา Neo‐liberalism หรือเสรีนิยมใหมมุงเปลี่ยนความสัมพันธทางสังคมและ

สัมพันธภาพเชิงอํานาจภายในของรัฐตาง ๆไปในทิศทางเกื้อกูลอุดหนุนนายทุนเงินกูแ ละกลุมทุนการเงิน ทํา


ใหภาคการผลิตตกเปนเบีย้ ลางภาคการเงิน (หรือภาคเศรษฐกิจจริงตกเปนเบี้ยลางภาคฟองสบู/ภาคเสมือน
จริง) ถายโอนทรัพยสิน อํานาจและความมัน่ คงในชีวิตไปจากประชาชนคนงานสวนใหญ 

สวนดาน Globalisation หรือโลกาภิวัตนนั้นมุงเปดเศรษฐกิจการเมืองของแตละประเทศใหอา
กวางออกรับผลิตภัณฑสินคา บริษัท กระแสการเงินและนักการเงินจากกลุมประเทศทุนนิยมศูนยกลาง ทําให
นโยบายของรัฐเหลานี้ขึ้นตอกระแสการตัดสินใจในวอชิงตันดีซี มหานครนิวยอรก ลอนดอนและศูนยกลาง
ทุนนิยมโลกแหงอื่น ๆ 

โดยทั้งสองดานของยุทธศาสตรนี้ตางปอนเลี้ยงอุมชูซึ่งกันและกันในความหมายที่วา การเปลี่ยน
สัมพันธภาพเชิงอํานาจภายในประเทศตาง ๆ ตามแนวเสรีนิยมใหมจะไปเสริมกลุมพลังตาง ๆ ที่ปลื้ม
โลกาภิวัตนในแตละประเทศใหเขมแข็ง, และในทางกลับกันกลุมพลังปลื้มโลกาภิวัตนเหลานี้กจ็ ะผลักดัน
กระแสเสรีนิยมใหมใหไปไกลหนักขอขึ้นอีก 
                                                       
108
 เขาไดรับยกยองวา “นาจะเปนผูเชี่ยวชาญดานความสัมพันธระหวางประเทศแนวมารกซิสตชั้นนําที่เขียนงานภาษาอังกฤษ
อยูในตอนนี้” โปรดดู Phil Hearse, “Peter Gowan – an appreciation”, International Viewpoint Online magazine: 
IV413 ‐ June 2009, accessed 6 October 2010, www.internationalviewpoint.org/spip.php?article1679; Misha 
Glenny, “Peter Gowan”, The Guardian, 17 June 2009, www.guardian.co.uk/politics/2009/jun/17/peter‐gowan‐
obituary; และ Tariq Ali, “Death of a Comrade: Peter Gowan: 1946–2009”, New Left Review, II/59 (September – 
October 2009), 39 – 48.  

 
69 
 

เปาหมายหลักของยุทธศาสตรเสรีนิยมใหม/โลกาภิวัตนของสหรัฐอเมริกาหลังสงครามเย็นนีก้ ็เพื่อ
สะกดใหทั้งโลกมาขึ้นตอสิ่งที ่ Gowan เรียกวา “the Dollar‐Wall Street Regime” หรือระบอบดอลลาร-
วอลล สตรีทนั่นเอง 

รัฐไหนสังคมใดริอานตอตานขัดขืนเสรีนยิ มใหม/โลกาภิวัตนก็จะถูกกีดกันจากตลาดสหรัฐฯและ
ยุโรป ตกเปนเปาเลนงานดวยอกุศโลบายเศรษฐกิจของมหาอํานาจ สาขาการผลิตในประเทศเหลานี้สวนที่มี
ศักยภาพเชิงแขงขันในเวทีระหวางประเทศสูง ก็จะถูกกดดันหวานลอมชักจูงใหหันมาสนับสนุนเสรีนิยม
ใหม/โลกาภิวตั น ดวยความกลัววาจะถูกกีดกันออกจากตลาดหลักดังกลาว 

หัวหมูทะลวงฟนของอเมริกาตามยุทธศาสตรนี้ไดแกองคการโลกาภิบาลทางเศรษฐกิจอยาง WTO, 
IMF, World Bank, OECD, เปนตน
109
 

ภูมิหลังทางแนวคิดของเสรีนิยมใหม 

Milton Friedman (มิลตัน ฟรีดแมน, ค.ศ. ๑๙๑๒ – ๒๐๐๖) ศาสตราจารยเศรษฐศาสตรแหง

มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา ผูไดรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตรปค.ศ. ๑๙๗๖ ไดรับยกยองนับถือ


กันทั่วไปวาเปนปรมาจารยเศรษฐศาสตรเสรีนิยมใหมแหงสํานักชิคาโก เขาเปนเจาทฤษฎี monetarism ผู
ตีความเผยแพร supply‐side economics, ยึดมั่นแนวคิด market fundamentalism (สรุปรวบยอดไดวา
“รัฐเลว ตลาดดี”) แบบเศรษฐศาสตรเสรีนีโอคลาสสิก, วิพากษตอตานลัทธิเคนส, แนวนโยบายสังคม
ประชาธิปไตย, และแนวทางการพัฒนาของประเทศกําลังพัฒนาในละตินอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
(Keynesianism, Social Democracy & developmentalism), และทรงอิทธิพลทางนโยบายตอรัฐบาล

หลายประเทศและสถาบันเศรษฐกิจหลักของโลก เชน ชิล,ี  อเมริกา, อังกฤษ, IMF, World Bank, WTO เปน


ตน 110 

                                                       
109
 Peter Gowan, The Global Gamble: Washington’s Faustian Bid for World Dominance (London and 
New York: Verso, 1999), Preface & Introduction pp. vii – 7. 
110
 "Milton Friedman," Microsoft® Encarta® 2009 [DVD] (Redmond, WA: Microsoft Corporation, 
2008); “Nobel economist Milton Friedman dead at 94”, CNNMoney.com, created 16 November 2006, 
money.cnn.com/2006/11/16/news/newsmakers/friedman.  สําหรับความเกี่ยวพันระหวาง Milton Friedman กับสํานัก
เศรษฐศาสตรชิคาโก โปรดดู Robert Van Horn and Philip Mirowski, “Neoliberalism and Chicago”, in Ross B. Emmett, 
ed., The Elgar Companion to the Chicago School of Economics (Northampton, MA: Edward Elgar, 2010), pp. 
196 – 206. 

 
70 
 

บุคคลผูมีอิทธิพลทางปรัชญาอยางสําคัญตอมิลตัน ฟรีดแมนและนักเศรษฐศาสตรเสรีนิยมใหม
อเมริกันคนอืน่ ๆ ไดแก Ayn Rand (เอน แรนด, ค.ศ. ๑๙๐๕ – ๑๙๘๒) นักเขียนนิยายและนักปรัชญาหญิง
ชาวรัสเซียผูอพยพลี้ภยั คอมมิวนิสตมาอยูอ เมริกาใน ค.ศ. ๑๙๒๖ เธอเปนเจาลัทธิปจเจกนิยมเห็นแกตัว
สุดโตงผูถือคําขวัญวา “ฉันจะไมมีวนั มีชีวติ อยูเพื่อคนอืน่ และจะไมมวี ันขอใหคนอืน่ มีชีวิตอยูเพื่อฉัน” ใน
ทรรศนะของแรนด สังคมอุดมคติคอื ยูโทเปยแหงความโลภ, ระบบทุนนิยมตลาดเสรีไมเพียงแตมี
ประสิทธิภาพและสอด คลองกับการปฏิบัติ หากยังชอบดวยศีลธรรมอีกตางหาก, แนวคิดที่วาตัวใครตัวมัน
นั้นถูกแลว ไมตองสนใจคนที่ถูกทิ้งไวขางหลัง, ในฉากจบนิยายเลมสุดทายของเธอเรื่อง Atlas Shrugged 
(ค.ศ. ๑๙๕๗) นั้น เธอใหตัวเอกกรีดมือเปนรูปสัญลักษณเงินดอลลารสหรัฐฯ $ กลางอากาศเหมือน
บาทหลวงกรีดรูปกางเขนทีเดียว  

หนึ่งในหมูเพือ่ นรุนหลังที่ไดอิทธิพลทางความคิดจากเอน แรนด อยางลึกซึ้ง อีกทั้งถูกเธอผลักดัน


ใหเขาไปเปนที่ปรึกษาเศรษฐกิจของประธานาธิบดีริชารด นิกสันแหงพรรครีพับลิกัน (ดํารงตําแหนง ค.ศ.
๑๙๖๙ – ๑๙๗๔) คือนาย อลัน กรีนสแปน ผูตอมาไดครองตําแหนงประธานธนาคารกลางสหรัฐฯยาวนาน
เกือบสองทศวรรษ (ค.ศ. ๑๙๘๗ – ๒๐๐๖) และนําหลักความเชื่อที่เขาไดจากแรนด ไปประยุกตใชบริหาร
จัดการเศรษฐกิจการเงินการธนาคารอเมริกันในภาคปฏิบัติ จนปูพื้นเพาะเชื้อใหเกิดวิกฤตซับไพรมในที่สุด
อันไดแกความนิยมยกยองระบบทุนนิยมเสรี, สงเสริมเหตุผลอันตั้งอยูบนความเห็นแกตัว, และถือวาคนเรา
ควรดํารงชีวิตอยูดวยเหตุผลเพื่อประโยชนสวนตน 111 

สวนแงเศรษฐศาสตร อิทธิพลความคิดสําคัญตอฟรีดแมนมาจาก Friedrich August von Hayek


(ฟรีดริช ออกัสต วอน ฮาเยค, ค.ศ. ๑๘๙๙ – ๑๙๙๒) นักเศรษฐศาสตรชาวออสเตรียผูไดรางวัลโนเบลสาขา

                                                                                                                                                                         

111
 Ayn Rand, Atlas Shrugged (New York: Random, 1957). สําหรับบทวิเคราะหวิจารณภูมิหลังสวนตัวและ
อิทธิพลของแนวคิดและนิยายของ Ayn Rand โปรดดู Mason, Meltdown, pp. 118 – 24; Jenny Turner, “As Astonishing as 
Elvis”, London Review of Books, 27: 23 (1 December 2005), 13 – 16; François Flahault, George Miller, trans., 
“Ayn Rand’s Promethean myth”, Le Monde diplomatique, January 2009, 14 – 15; Thomas F. Bertonneau, “Ayn 
Rand’s Atlas Shrugged: From Romantic Fallacy to Holocaustic Imagination”, Modern Age: A Quarterly Review, 
46: 4 (Fall 2004), 296 – 306.   
ปจจุบัน The Ayn Rand Institute ที่แคลิฟอรเนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งกอตั้งโดย Leonard Peikoff เพื่อนและทายาทของเธอ
เมื่อป ค.ศ. ๑๙๘๕ ยังเผยแพรสืบทอดแนวคิดปรัชญาของ Rand ตอไปผานสื่อตาง ๆ เชน จดหมายขาว, ศูนยวิชาการ, เปดสอนวิชาระดับ
ปริญญาตรี เปนตน ดูเว็บไซตของสถาบันนี้ไดที่ www.aynrand.org/site/PageServer?pagename=index อนึ่ง อิทธิพลความคิด
ของ Rand กําลังกลับมาเฟองฟูและหนังสือของเธอขายดิบขายดีในหมูชาวอเมริกันอนุรักษนิยมที่รวมตัวกันเปน tea parties ตอตาน
รัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามา อยูในขณะนี้ ดู Adam Kirsch, “Ayn Rand’s Revenge”, The New York Times, 29 
October 2009, www.nytimes.com/2009/11/01/books/review/Kirsch‐t.html?_r=2&nl=books&emc=.  

 
71 
 

เศรษฐศาสตร ค.ศ. ๑๙๗๔ Hayek ยึดมัน่ หลักเศรษฐศาสตรตลาดเสรีและคัดคานวิจารณจอหน เมยนารด


เคนสอยางตอเนื่องยาวนาน งานเขียนเลมเดนของเขาคือ The Road to Serfdom (ค.ศ. ๑๙๔๔) ฮาเยคเคยมา
สอนที่มหาวิทยาลัยชิคาโกชวงคริสตทศวรรษที่ ๑๙๕๐ และเปนทั้งครูและกัลยาณมิตรสวนตัวของฟรีดแมน
เขาเห็นวารัฐบาลไมควรแทรกแซงเศรษฐกิจเพื่อควบคุมเงินเฟอหรือการอื่นเพราะจะพาสังคมตามทางไปสู
ความเปนไพรทาส การทําเชนนั้นไมเพียงผิดพลาด หากยังชั่วราย 112 

ขอยอนกลับมากลาวถึงปรัชญาทางเศรษฐศาสตรของมิลตัน ฟรีดแมน ฐานคติของเขาคือลัทธิ
market fundamentalism หรือการยึดมัน
่ ถือมั่นหลักตลาดเสรีขั้นมูลฐาน เห็นวารัฐบาลยิ่งเล็กยิ่งดี ตลาด
ยิ่งเสรียิ่งเยี่ยม, ปจเจกบุคคลผูมีเสรีที่จะเลือกเองเปนสุดยอดปรารถนา, พลังตลาดเสรีจะสงผลใหเศรษฐกิจ
เติบโตอยางสมดุลโดยเงินไมเฟอไดดีที่สดุ – หาใชการปลอยใหรัฐบาลแทรกแซงเพิม่ ขึ้นไม, การปรับลด
ภาษีเพื่อใหเอกชนมีเงินเหลือเพิ่มไปลงทุนในตลาดเอง จึงเขาทากวาภาครัฐเก็บภาษีไปตั้งเปนงบประมาณ
รายจายเพื่อการลงทุนหรือจางงาน – ซึ่งเปนการแทรกแซงตลาด ดอยประสิทธิภาพและทําใหเงินเฟอ 113 

แนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตรที่ขึ้นชื่อลือชาของฟรีดแมน ไดแก monetarism (แนวคิดในเรื่อง


ปริมาณเงิน) และ supply‐side Economics (เศรษฐศาสตรดานอุปทาน) ซึ่งเขาตีความเผยแพรในแบบฉบับ
ของตน เขาเสนอวาเศรษฐกิจและระดับราคาจะมีเสถียรภาพหากธนาคารกลางกํากับควบคุมปริมาณเงิน
(money supply) ที่ไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจอยางรัดกุมดวยนโยบายอัตราดอกเบีย้ ใหมนั คอย ๆ เพิ่มขึ้น
ในอัตราคอนขางแนนอนตายตัว ปญหาเงินเฟออาจชะลอไดโดยธนาคารกลางหดลดปริมาณเงินในระบบ
เศรษฐกิจลง ทีส่ ําคัญรัฐบาลจักตองไมทุมเงินมหาศาลไปกระตุนอุปสงค (demand) ทางเศรษฐกิจ, แทรก
แซงตลาด, สรางงาน, และพยายามคุมวัฏจักรขึ้นลงทางธุรกิจแบบที่เคนส ทําเด็ดขาด เพราะนั่นนอกจากทํา

                                                       
112
 “Friedrich August von Hayek”, Microsoft® Encarta® 2009 [DVD] (Redmond, WA: Microsoft 
Corporation, 2008); Friedrich A. Hayek, The Road to Serfdom (The condensed version of The Road to Serfdom 
by F. A. Hayek as it appeared in the April 1945 edition of Reader’s Digest) (London: The Institute of Economic 
Affairs, 2001). 
สําหรับบทบาททางความคิดและการจัดตั้งของ Hayek ในการปฏิปกษปฏิวัติเสรีนิยมใหมทางเศรษฐศาสตร ดู Daniel Yergin 
and Joseph Stanislaw, The Commanding Heights: The Battle for the World Economy (New York and London: 
Touchstone, 2002); และ Richard Cockett, Thinking the Unthinkable: Think‐Tanks and the Economic Counter‐
Revolution, 1931 – 1983 (London: Fontana Press, 1995). บทวิจารณแนวคิดเสรีนิยมใหมของ Hayek ที่ลองานเขียนหลักของ
เขาไดแก Basem Ado, “The Neoliberal Road to Serfdom: The Hayekian Moral Paradigm”, Dissident Voice, created 
1 December 2008, dissidentvoice.org/2008/12/the‐neoliberal‐road‐to‐serfdom/.  
113
 “Milton Friedman Saw Free Markets as a Tool for 'Human Freedom'”, VOANews.com, broadcast 
30 November 2006, www.voanews.com/learningenglish/home/a‐23‐2006‐11‐30‐voa1‐83130462.html? 
renderforprint=1.  

 
72 
 

ใหเงินเฟอแลว ยังไปขัดขวางการแขงขันคัดกรองโดยธรรมชาติของตลาดเสรี บั่นทอนประสิทธิภาพการ


ผลิตและลดคุณภาพโดยรวมของอุปทาน (supply) เศรษฐกิจลง สุดทายกลับทําใหการจางงานไมเติบโต 114 

เราอาจเปรียบเทียบแนวคิดของเคนสกับฟรีดแมน และพวก supply‐siders (นักเศรษฐศาสตรดาน


อุปทาน) เพื่อเขาใจรูปรอยความคิดเศรษฐศาสตรของฟรีดแมน ชัดเจนขึ้น กอนอื่นปมหัวใจคือมิลตัน
ฟรีดแมนเปน market fundamentalist  ผูยึดถือวารัฐสงผลเสียตอเสรีภาพของปจเจกบุคคลและดอย
ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ สวนตลาดเปนผลดีตอเสรีภาพของปจเจกบุคคลและมีประสิทธิภาพทาง
เศรษฐกิจ 115จุดตางของเขากับเคนสคือในภาวะเศรษฐกิจตกต่ํา เคนสใหใชทั้งนโยบายการเงิน (ลดดอกเบี้ย
อัดฉีดเงินเขาตลาด) และนโยบายการคลัง (ทุมงบประมาณอยางยอมขาดดุลไปแทรกแซงตลาด ตั้งโครงการ
สรางงาน) เพือ่ เพิ่มอุปสงคมวลรวมแทจริง (real aggregate demand) ไปกระตุน เศรษฐกิจ ขณะที่
ฟรีดแมนระแวงรัฐ ไมตองการใหรัฐแทรกแซงตลาด-สรางงาน ไมใหรัฐใชงบประมาณแบบขาดดุล ใหใชแต
นโยบายการเงินที่เนนควบคุมปริมาณเงิน (money supply) เปนพอ 

สวนจุดตางสําคัญของ supply‐side economics กับเคนสคือเคนสเนนบริหารจัดการอุปสงคหรือ
demand ในระบบเศรษฐกิจ ทวา supply‐side economics เห็นวาเคนสละเลยดาน supply หรืออุปทาน

ควรหาทางเปดตลาดกวาง เพิ่มขยายปริมาณและยกระดับคุณภาพ supply และ suppliers ในตลาดจะดีกวา 

ในทางกลับกัน ฟรีดแมนมีจุดรวมกับ supply‐side economics ตรงเนนการลดภาษีเพื่อนําไปสู


ความเติบโตทางเศรษฐกิจ (tax cuts Æeconomic growth) แตจุดตางอยูตรง: - 

๑) ฟรีดแมนตองการทั้งการลดภาษีและตัดทอนงบประมาณรายจายของรัฐบาล [tax cuts + 
spending cuts] ขณะ supply‐siders ไมสนใจการตัดทอนงบประมาณรายจายของรัฐบาล เอาแตการลด

ภาษีอยางเดียวก็เชื่อวาพอแลว เรื่องอื่นไมสาํ คัญ 

๒) ฟรีดแมนชูนโยบายการเงินแบบคุมปริมาณเงิน สวน supply‐siders ชูนโยบายการเงินแบบตั้ง


เปาคาเงินที่พึงประสงคเปนสําคัญ (inflation targeting) ไมสนใจปริมาณเงิน 

                                                       
114
 “Monetarism”, Wikipedia, accessed 11 October 2010, en.wikipedia.org/wiki/Monetarism; ประกอบ
กับ "Business Cycle”, Microsoft® Encarta® 2009 [DVD] (Redmond, WA: Microsoft Corporation, 2008).
115
 Milton Friedman, "Economic Freedom, Human Freedom, Political Freedom", California State 
University East Bay ‐ The Smith Center for Private Enterprise Studies, delivered 1 November 1991, www.cbe. 
csueastbay.edu/~sbesc/frlect.html.  

 
73 
 

สวนเคนสนั้นเห็นวาที่สําคัญตองมีอุปสงค (demand) ในระบบเศรษฐกิจเพียงพอมารองรับปริมาณ
เงิน (money supply) ที่มีอยู จึงบอกวา “Money doesn’t matter.” (“เงินไมใชสิ่งสําคัญ”) 116 
หนังสือยอดนิยมเรื่อง Capitalism and Freedom (ค.ศ. ๑๙๖๒) ของมิลตัน ฟรีดแมนซึ่งภรรยา
ของเขานาง Rose D. Friedman ชวยเขียนดวยนัน้ 117 เสมือนหนึ่งคําประกาศหลักการพื้นฐานของลัทธิ
เสรีนิยมใหม โดยประมวลกฎเกณฑตลาดเสรีโลกและนําเสนอระเบียบวาระเศรษฐกิจของขบวนการอนุรักษ
นิยมใหม น้ําหนักความสําคัญของมันนั้นถึงขนาดที่อดีตประธานาธิบดีโรนัลด เรแกนของสหรัฐ-อเมริกาผู
ลวงลับ (ค.ศ. ๑๙๑๑ – ๒๐๐๔ ดํารงตําแหนงประธานาธิบดีตอกันสองสมัยระหวาง ค.ศ. ๑๙๘๑ – ๑๙๘๙)
พกหนังสือเลมนี้ติดมือตอนหาเสียงเปนประธานาธิบดี 118  

Capitalism and Freedom เสนอวาพระรัตนตรัยของเสรีนิยมใหมไดแก Deregulation, 

Privatization และ Cutbacks in Social Spending (การลดกฎเกณฑ, การโอนกิจการของรัฐเปนของ

เอกชน และการตัดทอนงบประมาณรายจายทางสังคม) 119 กลาวคือ 

๑) การลดกฎเกณฑ: รัฐบาลตองขจัดกฎเกณฑกติกาทั้งปวงที่ขัดขวางการสะสมกําไรของ
ภาคเอกชน 

                                                       
116
 ประเด็นความแตกตางระหวาง supply‐side economics กับความคิดเศรษฐศาสตรของ John Maynard Keynes
และ Milton Friedman ประมวลเรียบเรียงจาก “Supply‐side economics”, Wikipedia, accessed 8 August 2010, 
en.wikipedia.org/wiki/Supply‐side_economics; ประกอบกับ Steve Kangas, “The Rise of Supply‐Side Economics”, 
LIBERALISM RESURGENT: A Response to the Right, accessed 8 August 2010, www.huppi.com/kangaroo/ 
23More.htm; “รูทัน การเงิน:เศรษฐศาสตรดานอุปทาน (Supply‐side Economics)”, ผูจัดการรายวัน, ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑, 
www.boybdream.com/manager‐news‐content.php?newid=71725; วรากรณ สามโกเศศ, “เจาของ supply‐side 
economics ผูจากไป”, มติชนราย วัน, ๒๙ กันยายน ๒๕๔๘, www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q3/article 
2005sep29p1.htm.  
117
 Milton Friedman, Capitalism and Freedom (Chicago: University of Chicago Press, 1962).  
หนังสือเลมนี้มียอดขายรวมนับถึงปจจุบันประมาณหนึ่งลานเลม, ไดรับการกลาวขวัญจาก The Times Literary 
Supplement วาเปน “หนังสือที่ทรงอิทธิพลสูงสุดเลมหนึ่งซึ่งถูกตีพิมพออกมาหลังสงคราม (โลกครั้งที่สอง)”, ไดรับยกยองจาก
Intercollegiate Studies Institute ของอเมริกาวาเปนหนึ่งในหนังสือดีที่สุด ๕๐ เลมของคริสตศตวรรษที่ ๒๐ , และติดอันดับที่ ๑๐ ใน
รายชื่อหนังสือที่ไมใชนิยายที่ดีที่สุด ๑๐๐ เลมของคริสตศตวรรษที่ ๒๐ ตามการประเมินของนิตยสาร National Review ฝายอนุรักษ
นิยมในอเมริกา ดู “Capitalism and Freedom”, Wikipedia, accessed 12 October 2010, en.wikipedia.org/wiki/ 
Capitalism_and_Freedom. 
118
 Naomi Klein, The Shock Doctrine: The Rise of Disaster Capitalism (London: Penguin Books, 2007), 
p. 18. 
119
 Klein, The Shock Doctrine, pp. 56 – 57. เนื้อหาสวนนี้ประมวลจากงานเลมนี้เปนหลัก

 
74 
 

๒) การโอนกิจการของรัฐเปนของเอกชน: รัฐบาลตองขายเลหลังสินทรัพยใด ๆ ของตนที่บรรษัท
เอกชนเอาไปบริหารจัดการทํากําไรได 

๓) การตัดทอนงบประมาณรายจายทางสังคม: รัฐบาลตองตัดลดงบประมาณโครงการสังคม
สงเคราะหหรือสวัสดิการสังคมตาง ๆ ใหหดเหีย้ น 

สูตรนโยบายเศรษฐกิจที่อนุวัตรตามหลักรัตนตรัยเสรีนิยมใหมขางตนจะประกอบไปดวย
องคประกอบหลักดังนี้คือ: ‐ 

-ภาษีถาตองเก็บก็ใหต่ําเขาไว และจะเปนคนรวยหรือคนจนก็ใหจายอัตราเดียวกัน 

-บรรษัทเอกชนควรขายผลิตผลของตนที่ไหนในโลกก็ไดอยางเสรี รัฐบาลนานาประเทศตองไม
พยายามปกปองอุตสาหกรรมหรือกรรมสิทธิ์ทองถิ่น 

-ราคาของทุกอยางรวมทั้งคาจางควรเปนไปตามกลไกตลาด รัฐบาลไมควรกําหนดอัตราคาจางขั้นต่ํา 

-กิจการของรัฐที่ควรโอนเปนของเอกชนไดแกการแพทยและสาธารณสุข, ไปรษณีย,  การศึกษา, 
กองทุนบํานาญ, อุทยานแหงชาติ เปนตน 

สรุปคือฟรีดแมนมุงหักลางโคนลมรัฐสวัสดิการ/สวัสดิการสังคมทุกรูปแบบ คืนทุกอยางใหกลับ
เปนของเอกชนอยางเบ็ดเสร็จ 

ปรากฏวาลูกคาคนสําคัญลําดับแรก ๆ ผูซื้อหานโยบายเสรีนิยมใหมของฟรีดแมนไปดําเนินการ
ไดแกพลเอกออกุสโต ปโนเชตของชิล ี (ครองอํานาจรัฐระหวางค.ศ. ๑๙๗๓ – ๑๙๙๐), นายกรัฐมนตรีนางมา
กาเร็ต แธตเชอรของอังกฤษ (ค.ศ. ๑๙๗๙ – ๑๙๙๐) และประธานาธิบดีโรนัลด เรแกน (ค.ศ. ๑๙๘๑ – ๑๙๘๙) 
 

ลัทธิช็อก: ยุทธศาสตรยุทธวิธีของเสรีนิยมใหม

ในการนี้ Naomi Klein นักเขียน นักหนังสือพิมพและนักกิจกรรมหญิงชื่อดังผูตอตานโลกาภิวตั น


แบบเสรีนิยมใหมชาวแคนาดาไดวิเคราะหไวในหนังสือขายดีเรื่อง The Shock Doctrine: The Rise of 
Disaster Capitalism (ค.ศ. ๒๐๐๗) วาหลักการของมิลตัน ฟรีดแมนในการทําการตลาดแนวคิดเศรษฐกิจ

เสรีนิยมใหมในแวดวงการเมืองไดแก the Shock Doctrine หรือลัทธิช็อก หมายถึงการฉวยใชวกิ ฤตผลัก

 
75 
 

ดันนโยบายที่เอื้อประโยชนแกบรรษัทเอกชนแตประชาชนไมนยิ มใหผานออกมาเพือ่ รัฐบาลนําไปใชในทาง


ปฏิบัติ วิกฤตนั้นอาจเปนทางเศรษฐกิจ, การเมือง, สงคราม, ภัยธรรมชาติ ฯลฯ  

การที่เธอเรียกมันวา “ลัทธิช็อก” เพราะปกติมันจะประกอบไปดวยอาการที่ประชาชนถูกช็อก ๓
ขั้นตอน 120 ไดแก ๑) ประชาชนถูกช็อกดวยวิกฤต ๒) ประชาชนถูกช็อกดวยนโยบายเสรีนิยมใหมที่
ผลักดันผานออกมา ๓) ในความเปนจริง ประชาชนผูตอตานคัดคานนโยบายดังกลาวยังมักจะถูกรัฐบาล
กวาดลางจับกุมไปทรมานดวยวิธีการตาง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกดวยไฟฟา 121 ดังที่มิลตัน ฟรีดแมน
เองสาธยายแนวทรรศนะ “ลัทธิช็อก” ดังกลาวไวในงานเขียนชิ้นตาง ๆ ของเขาวา: ‐122 

“มีแตวกิ ฤตเทานั้น – ไมวาวิกฤตจริงหรือถูกเห็นเปนวิกฤตก็ตามที – ที่จะสรางการเปลี่ยนแปลงที่


แทจริงได 
“เมื่อวิกฤตทีว่ า นั้นเกิดขึ้น ปฏิบัติการที่คนเรากระทําจะขึ้นกับความคิดที่เรียงรายลอมรอบอยู  
“ผมเชื่อวานั่นแหละคือหนาที่พื้นฐานของเรากลาวคือ: พัฒนาทางเลือกตางหากไปจากนโยบายที่
ดํารงอยู ประคับประคองมันใหยนื ยงเผื่อไวจนกวาสิ่งที่เปนไปไมไดทางการเมืองกลายเปนสิ่งที่ไม
อาจหลีกเลี่ยงไดทางการเมือง”
(คํานํา, Capitalism and Freedom, ค.ศ. ๑๙๘๒) 

“รัฐบาลใหมมเี วลาราว ๖ – ๙ เดือนเพื่อบรรลุการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ 


“ถารัฐบาลไมชวงชิงโอกาสกระทําการอยางเด็ดขาดในชวงที่วานั้น ก็จะไมมีโอกาสอยางนั้นอีก
เลย”  
(Tyranny of the Status Quo, ค.ศ. ๑๙๘๔) 

กลาวโดยสรุป มิลตัน ฟรีดแมนเสนอวาพลันที่เกิดวิกฤต ผูนําที่สมาทานแนวนโยบายเสรีนิยมใหม


จําตองกระทําการอยางเด็ดขาดฉับไว ยัดเยียดการเปลีย่ นแปลงที่รวดเร็วและมิอาจเปลี่ยนกลับคืนไดลงไป
กอนที่สังคมซึ่งยอยยับจากวิกฤตจะลื่นไถลกลับสู “ทรราชแหงสถานะเดิม” อีก 

                                                       
120
 พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ นิยามคําวา “ช็อก” วา “...ถูกกระทบจิตใจอยางรุนแรงหรือถูกกระแสไฟฟา
ไหลผาน เปนตน จนทําใหเปนลมหรือหมดสติในทันที (อ. shock)” 
121
 Klein, The Shock Doctrine, pp. 7 – 9, 15 – 17.
122
 อางจาก Klein, The Shock Doctrine, pp. 6 – 7, 140. 

 
76 
 

นาโอมิ ไคลน ไดประมวลกรณีการฉวยใชวกิ ฤตที่ทําใหประชาชนอยูใ นอาการช็อกมาผลักดันยัด


เยียดแนวนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมใหมในประเทศตาง ๆ ไว พอจะเรียบเรียงเปนตารางไดขางลางนี ้

๓๗) กรณีตวั อยางการใชลทั ธิช็อกมายัดเยียดแนวนโยบายเสรีนิยมใหมทางเศรษฐกิจ 


ประเทศ/ทวีป/พื้นที่  อาการช็อกจากวิกฤต 
ชิลี  รัฐประหาร ค.ศ. ๑๙๗๓ 
อารเจนตินา  เผด็จการทหารนักอุมคริสตทศวรรษที่ ๑๙๗๐
ละตินอเมริกาและแอฟริกา วิกฤตหนี้คริสตทศวรรษที่ ๑๙๘๐ 
อังกฤษ  สงครามฟอลกแลนด ๑๙๘๒ 
จีน  กรณีนองเลือดเทียนอันเหมิน ค.ศ. ๑๙๘๙
รัสเซีย  กรณีรัฐบาลเยลตซินบุกโจมตีรัฐสภา ค.ศ. ๑๙๙๓
เอเชียตะวันออก-ไทย วิกฤตตมยํากุง ค.ศ. ๑๙๙๗ – ๑๙๙๘ 
อดีตยูโกสลาเวีย  องคการนาโตโจมตีกรุงเบลเกรด ค.ศ. ๑๙๙๙
เอเชียตะวันออกเฉียงใต-เอเชียใต ธรณีพิบัติภัยสึนะมิ ค.ศ. ๒๐๐๔ 
กลุมทุนเขาแยงยึดที่ชายหาดของชาวบาน 
เมืองนิวออรลีนส มลรัฐลุยเซียนา พายุเฮอรริเคนแคทรินา ค.ศ. ๒๐๐๕ 
โอนบานจัดสรรและโรงเรียนของรัฐเปนของเอกชน
(ประมวลเรียบเรียงจาก Klein, The Shock Doctrine) 
ในทางกลับกัน หากสังคมไมอยูในภาวะช็อก ถึงแมผูนํารัฐบาลจะพยายามผลักดันยัดเยียดแนว
นโยบายเสรีนยิ มใหมทเี่ อื้อประโยชนแกบรรษัทเอกชนแตประชาชนไมนิยมมาให ก็มกั ไมสําเร็จเต็มที่ตาม
เปาหมาย อาทิ ในสหรัฐอเมริกา เมื่อโรนัลด เรแกนชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีป ค.ศ. ๑๙๘๑ หรือในฝรั่งเศส
เมื่อนิโกลาส ซารโคซี ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีป ค.ศ. ๒๐๐๗ ปรากฏวาแนวนโยบายเสรีนิยมใหมของทั้ง
สองเจอแรงตอตานจากประชาชนจนตองผอนเพลาลง 123
 

กรณีตัวอยางลัทธิช็อก: ชิล ี

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กระแสชาตินยิ มโลกที่สาม, ลัทธิคุมครองทางการคา, และลัทธิการ


พัฒนา (Third World nationalism, protectionism, developmentalism) ขึ้นสูงในละตินอเมริกาตอน
ใตบางสวน ไดแกประเทศชิล,ี  อารเจนตินา, อุรุกวัย, และบราซิล ศูนยกลางของแนวคิดเหลานี้คือคณะ

                                                       
123
 Klein, The Shock Doctrine, pp. 10 – 11.

 
77 
 

กรรมาธิการเศรษฐกิจสําหรับละตินอเมริกาแหงสหประชาชาติ (UN Economic Commission for Latin 
America – ชื่อยอวา ECLA หรือ CEPAL) ซึ่งตั้งอยูในซันติอาโก เมืองหลวงของชิลี และมี Raúl Prebisch 

(ราอูล พรีบิช ค.ศ. ๑๙๐๑ – ๑๙๘๖) เปนหัวหนา 124ศูนยดังกลาวไดฝกอบรมทฤษฎีการพัฒนาใหทีมนัก


เศรษฐศาสตรไปเปนที่ปรึกษานโยบายของรัฐบาลตาง ๆ ทั่วละตินอเมริกา โดยเสนอยุทธศาสตรการพัฒนา
แบบสรางอุตสาหกรรมทดแทนการนําเขา (import‐substitution industrialization) ซึ่งไมไดซายจัดอยาง
คอมมิวนิสต แตก็ไมใชทนุ นิยมตลาดเสรี, หากเดินสายกลางแบบคอนขางเอียงไปทางซาย 125 

ปรากฏวาแนวทาง [ชาตินิยม-คุมครองการคา-การพัฒนาอุตสาหกรรมทดแทนการนําเขา] ดังกลาว
ประสบผลสําเร็จดี เศรษฐกิจของประเทศเหลานี้เจริญเติบโต กรรมกรจัดตั้งสหภาพแรงงานตอรองคาจาง รัฐ
สนองการศึกษาและสวัสดิการ สรางโครงสรางพื้นฐานและอุตสาหกรรมหนัก-เบา อุดหนุนธุรกิจทองถิ่น ตั้ง
กําแพงภาษีกีดกันสินคาเขา คนชั้นกลางเติบใหญ ชองวางระหวางคนจนกับคนรวยหดแคบลง ถึงขั้นที่ชิลีมี
ระบบการศึกษาและการแพทยสาธารณสุขดีที่สุดในทวีปละตินอเมริกา, อารเจนตินามีคนชั้นกลางมากที่สุด
ในทวีป และพลเมืองอุรุกวัยรูหนังสือสูงถึง ๙๕% และไดบริการการแพทยและสาธารณสุขฟรี  

                                                       
124
 ราอูล พรีบิช นักเศรษฐศาสตรชาวอารเจนตินาเชื้อสายเยอรมัน เปนผูกอตั้งและเลขาธิการคนแรกขององคการ UNCTAD
(United Nations Conference on Trade and Development – องคการที่ประชุมวาดวยการคาและการพัฒนาแหงสหประชาชาติ
ซึ่งกอตั้งขึ้นในป ค.ศ. ๑๙๖๔) เขานําเสนอทฤษฎีพึ่งพา (Dependency Theory) ที่อธิบายอาการทุพพัฒนา (maldevelopment or 
bad development) ของประเทศกําลังพัฒนาทั้งหลายซึ่งมีฐานะเสมือนอยูชายขอบหรือ periphery ของเศรษฐกิจโลกวาเกิดจาก
ประเทศเหลานี้เดินแนวทางมุงสงออกสินคาเกษตรและวัตถุดิบหรือพลังงานขั้นปฐม (export orientation) ไปยังประเทศอุตสาหกรรม
ที่พัฒนาแลวอันเปนเสมือนศูนยกลางหรือ center ของเศรษฐกิจโลก, และนําเขาสินคาอุตสาหกรรมที่มีมูลคาเพิ่มสูงจากประเทศที่พัฒนา
แลวซึ่งตนเองผลิตไมได อันเปนการแลกเปลี่ยนอยางไมเทาเทียม (unequal exchange) โดยฝายตนเสียเปรียบ, ทําใหเศรษฐกิจของ
ประเทศกําลังพัฒนาเหลานี้ขาดความหลากหลาย เติบโตเฉพาะดานเฉพาะแนวอยางไมสมดุล (unbalanced growth), จึงตกหลมจม
ปลักอยูในภาวะตองพึ่งพาประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแลวทางเศรษฐกิจและการคาเรื่อยไปโดยไมสามารถพัฒนาตนหลุดพนจาก
ความสัมพันธแบบพึ่งพาระหวางชายขอบกับศูนยกลางของเศรษฐกิจโลกดังกลาวได ทั้งนี้พรีบิชสรุปทฤษฎีนี้ขึ้นมาจากประสบการณของ
อารเจนตินาและประเทศละตินอเมริกาอื่น ๆ ในชวงเศรษฐกิจโลกตกต่ําครั้งใหญ ค.ศ. ๑๙๒๙ – คริสตทศวรรษ ๑๙๓๐ นั่นเอง  
ดู "Latin America, history of," Encyclopædia Britannica from Encyclopædia Britannica 2006 Ultimate 
Reference Suite DVD, accessed 13 October 2010; Vijay Prashad, “The Great Heretic”, counterpunch, created 5 
November 2009, www.counterpunch.org/prashad11052009.html; Fayza Aboulnaga, Gamani Corea, and Javad 
Zarif, “Tribute to Raul Prebisch – the 11th Raul Prebisch Lecture”, UNCTAD, delivered 11 October 2001, www. 
unctad.org/en/docs/prebisch11th_aboulnaga_en.pdf; และ Raul Prebisch, “The Crisis of Capitalism and the 
Periphery – the 1st Raul Prebisch Lecture”, UNCTAD, delivered 6 July 1982, www.unctad.org/en/docs/ 
prebisch1st_prebisch_en.pdf.  
125
 เนื้อหาสวนนี้เรียบเรียงจาก Klein, The Shock Doctrine, Chapter 2 The Other Doctor Shock: Milton 
Friedman and the Search for a Laissez‐Faire Laboratory โดยเฉพาะหนา 55 – 71. 

 
78 
 

อยางไรก็ตาม การปฏิรูปเปลี่ยนแปลงโครงสรางเศรษฐกิจในประเทศและระหวางประเทศที่
ยุทธศาสตรการพัฒนาแบบ [ชาตินิยม-คุมครองการคา-อุตสาหกรรมทดแทนการนําเขา] ขางตนนํามาทั้ง
โดยนัยและการปฏิบัติยอมกระทบกระเทือนผลประโยชนหยั่งลึกของกลุมทุนบรรษัทขามชาติและบรรดาเจา
ที่ดินไรสวนเกษตรขนาดใหญในประเทศแถบละตินอเมริกา (ที่เรียกวา latifundios หรือ haciendas)
ดังนั้น [นักรณรงคสงครามเย็นชาวอเมริกนั  + บรรษัทขามชาติตะวันตก + นักวิชาการอนุรักษนยิ ม + เจา
ที่ดินทองถิ่นในละตินอเมริกา] จึงรวมกันปลุกระดมกระแสแอนตี้คอมมิวนิสต ปายสีตอ ตานยุทธศาสตรการ
พัฒนาดังกลาววาเปนกาวแรกที่นําไปสูลัทธิคอมมิวนิสต จําตองตอตานยับยั้ง126 

กระบวนการแผอิทธิพลทางความคิดและแทรกแซงทางการเมืองของอเมริกาเพื่อตอตานยุทธศาสตร
การพัฒนาแบบชาตินิยมในละตินอเมริกาเห็นไดชดั จากกรณีโครงการชิลี (The Chile Project) ที่เลือกคณะ
เศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยชิคาโก – อันเปนศูนยกลางแนวคิดเศรษฐศาสตรเสรีนิยมใหมในอเมริกาสมัยนั้น
– ใหเปนแหลงฝกอบรมนักศึกษาชาวชิลี กลาวคือในคริสตทศวรรษที่ ๑๙๕๐ นาย Albion Patterson 
ผูอํานวยการโครงการบริหารความรวมมือระหวางประเทศของสหรัฐฯ (ที่ตอมาจะกลายเปน USAID) ประจํา
ชิลีตอนนั้นกับนาย Theodore W. Schultz ประธานคณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยชิคาโกไดรวมกันวาง
โครงการชิลีเพื่อตอตานอิทธิพลลัทธิการพัฒนาของพวกที่เขาเรียกหาวา “นักเศรษฐศาสตรสีชมพู” (หรือนัย
หนึ่งมารกซิสตแอบจิต) ในละตินอเมริกา โดยรัฐบาลอเมริกันจะใหทนุ นักศึกษาชิลมี าเรียนเศรษฐศาสตรที่
มหาวิทยาลัยชิคาโกและใหทนุ คณาจารยเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยชิคาโกไปชิลีเพื่อวิจัยเศรษฐกิจรวมทั้ง
ฝกอบรมนักศึกษาและอาจารยชาวชิลีดว ย 

เมื่อฝายสหรัฐฯลองติดตอทาบทามอธิการบดี University of Chile อันเปนมหาวิทยาลัยเอกของ
ประเทศนั้นเพือ่ เสนอใหทุนตั้งโครงการดังกลาว ปรากฏวาอธิการบดีมหาวิทยาลัยแหงชิลีไมเอาดวยเพราะ
มองวาเงื่อนไขของโครงการเทากับอเมริกามุงแทรกแซงกิจการภายในของชิลีอยางโจงแจง เวนเสียแตจะยอม
ปรับเปลี่ยนเงือ่ นไขโดยใหสิทธิ์ฝายชิลีรวมพิจารณาวาจะสงนักศึกษาชิลีไปเรียนตอที่สถาบันไหนกับใครใน
อเมริกา เห็นดังนั้นฝายสหรัฐฯจึงหันไปติดตอ Catholic University ของชิลีซึ่งดอยคุณภาพกวาและอนุรักษ
นิยมกวา อีกทัง้ ยังไมมีคณะเศรษฐศาสตรแทน ผลคืออธิการบดีของมหาวิทยาลัยแหงนัน้ ตอบรับทันที 

                                                       
126
 ดูขอมูลและบทวิเคราะหภูมิหลังเรื่องนี้โดยพิสดารใน Noam Chomsky, “Power in the Global Arena”, New 
Left Review, I/230 (July‐August 1998), 3 – 8. 

 
79 
 

ป ค.ศ. ๑๙๕๖ โครงการชิลีก็เริ่มดําเนินการ ระหวางป ค.ศ. ๑๙๕๗ – ๑๙๗๐ มีนักศึกษาชิลี ๑๐๐ คน


รับทุนมาเรียนตอระดับปริญญาโทและเอกที่มหาวิทยาลัยชิคาโกโดยรัฐบาลและมูลนิธิอเมริกันออกคาเลา
เรียนและกินอยูใหหมด ในป ค.ศ. ๑๙๖๕ Ford Foundation ใหทุนอุดหนุนขยายโครงการชิลีไปครอบคลุม
ละตินอเมริกาทั้งทวีป และไดนักศึกษาจากอารเจนตินา บราซิล เม็กซิโกมาเขารวมโครงการมากเปนพิเศษ
ในที่สุดก็นําไปสูการกอตั้ง Center for Latin American Economic Studies ขึ้นที่มหาวิทยาลัยชิคาโก มี
นักศึกษาละตินอเมริกันราว ๔๐ – ๕๐ คนเรียนเศรษฐศาสตรระดับปริญญาโท-เอกอยูที่นี่โดยตลอด คิดเปน
ราวหนึ่งในสามของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยชิคาโกทัง้ หมดทุกระดับชั้น และนับเปนแหลง
รวมนักศึกษาเศรษฐศาสตรจากละตินอเมริกาที่ใหญที่สุดในสหรัฐฯ  

ทั้งนี้สงผลใหมหาวิทยาลัยชิคาโกกลายเปนศูนยวิพากษแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจชิลโี ดยมองจากมุม
เสรีนิยมใหมมมุ เดียวอยางคับแคบทางอุดมการณ บรรดามหาบัณฑิตและดุษฎีบณ
ั ฑิตเศรษฐศาสตรชาว
ละตินอเมริกันที่จบจากทีน่ ี่ซึ่งมักเรียกกันวา los Chicago Boys กลายเปนเสมือนหมอสอนศาสนาเสรีนิยม
ใหมที่คลั่งลัทธิฟรีดแมนยิง่ กวาเจาลัทธิเองเสียอีก พวกเขาเหลานี้กลับไปเปนอาจารยประจําถึง ๑๒ คนจาก
ทั้งหมด ๑๓ คนของคณะเศรษฐศาสตรแหง Catholic University ในชิล ี และทําใหทนี่ ั่นกลายเปน little 
Chicago School หรือสํานักชิคาโกยอยกลางซันติอาโก ทั้งในแงหลักสูตร ตําราและอุดมการณ โดยมีนาย

Sergio de Castro ศิษยเกาสํานักเศรษฐศาสตรชิคาโกเปนคณบดี นอกจากนั้นแลวคณะเศรษฐศาสตรแหง 

Catholic University ของชิลียังพยายามเผยแพรเปดฟรานไชสสํานักชิคาโกไปทั่วทวีปละตินอเมริกาดวย

ผลของการนี้ทําใหตอมาภายหลังนาย Juan Gabriel Valdés รัฐมนตรีวาการกระทรวงตางประเทศชิลีใน
คริสตทศวรรษที่ ๑๙๙๐ ไดพูดถึงการฝกอบรมนักเศรษฐศาสตรชิลีหลายรอนคนในโครงการชิลีวา: “(มัน
เปน) ตัวอยางอันนาตื่นตาตืน่ ใจของการถายเทอุดมการณอยางมีการจัดตั้งจากสหรัฐฯไปยังประเทศในเขต
อิทธิพลโดยตรงของตน…การศึกษาของชาวชิลีเหลานี้มีทมี่ าจากโครงการเฉพาะที่ออกแบบเพื่อสงอิทธิพล
ตอการพัฒนาแนวคิดเศรษฐกิจของชิลีในคริสตทศวรรษที่ ๑๙๕๐” 127 

อยางไรก็ตาม เอาเขาจริงผลลัพธดานอิทธิพลความคิดของ los Chicago Boys ในสังคมการเมือง


ประชาธิปไตยชิลีเองมีไมมาก เรียกวานาผิดหวังและอาจนับเปนโครงการจักรวรรดินยิ มทางปญญาที่ลม
เหลว เห็นไดจากวิวาทะหลักเกี่ยวกับแนวทางเศรษฐกิจในชิลีไมใชเรื่องระหวางพวกทุนนิยมเสรี กับ พวก
ยึดถือการพัฒนาแบบชาตินยิ ม, แตกลับเปนระหวางพวกมารกซิสต กับ พวกเดินสายกลาง ในประเด็นที่วาจะ
เดินแนวนโยบายเอียงซายแคไหน? จะยึดกิจการเอกชนเปนของรัฐและปฏิรูปที่ดินเลยหรือไม? ตางหาก ใน
                                                       
127
 อางจาก Klein, The Shock Doctrine, p. 62. 

 
80 
 

การเลือกตั้งประธานาธิบดีป ค.ศ. ๑๙๗๐ ทั้ง ๓ พรรคการเมืองใหญในชิลีลวนสนับสนุนการยึดเหมืองทอง


แดง – อันเปนแหลงรายไดหลักของชิลีภายใตการควบคุมของบรรษัทเหมืองแรยักษใหญอเมริกัน – มาเปน
ของรัฐ ไมมีพรรคไหนที่ลงแขงขันเลือกตัง้ ในชิลีเสนอนโยบายเสรีนิยมใหมตามอยาง los Chicago Boys
เลย และในทีส่ ุด นาย Salvador Allende (ค.ศ. ๑๙๐๘ – ๑๙๗๓) นักสังคมนิยมประชาธิปไตย ผูนาํ พรรค
Popular Unity ก็ชนะเลือกตั้งขึ้นเปนประธานาธิบดีชิลี (ครองตําแหนงระหวาง ค.ศ. ๑๙๗๐ – ๑๙๗๓) และ

ประกาศนโยบายยึดกิจการเอกชนตางชาติและนายทุนทองถิ่นใหญ ๆ มาเปนของรัฐ 

เมื่อไดขาวซัลวาดอร อัลเยนเดไดรับเลือกตั้งเปนประธานาธิบดีชิลี ประธานาธิบดีนกิ สันของ


สหรัฐฯ (ดํารงตําแหนง ค.ศ. ๑๙๖๙ – ๑๙๗๔) ก็สั่งนาย Richard Helms ผูอํานวยการ CIA ให “Make the 
economy scream.” (บีบเศรษฐกิจของมันใหรองจากเลย) ปฏิกิริยารุนแรงของนิกสันมีฐานที่มาทาง
128

เศรษฐกิจอยูกลาวคือถึงป ค.ศ. ๑๙๖๘ เงินลงทุนตางชาติทั่วโลกของอเมริกันราว ๒๐% อยูในละตินอเมริกา


บริษัทขามชาติอเมริกันมีสาขายอย ๕,๔๓๖ แหงในภูมภิ าคนี้ บรรดาบริษัทเหมืองแรอเมริกันไดลงทุนใน
อุตสาหกรรมเหมืองแรทองแดงของชิลี – ซึ่งใหญที่สุดในโลก – ไป ๑,๐๐๐ ลานดอลลารสหรัฐฯในรอบ ๕๐
ป และสามารถสงกําไรกลับอเมริกาถึง ๗๒,๐๐๐ ลานดอลลารสหรัฐฯหรือนัยหนึ่งไดผลตอบแทนราว ๗๒
เทาตัว บริษัทอเมริกันอื่นทีม่ ีผลประโยชนในชิลีไดแก ITT (International Telephone and Telegraph 
Company) ซึ่งถือหุน ๗๐% ในบริษัทโทรศัพทซึ่งกําลังจะถูกโอนกิจการเปนของรัฐในชิล,ี  บริษัทอาหาร

สัตว Purina, Bank of America, บริษัทยา Pfizer Chemical เปนตน  

กลุมธุรกิจอเมริกันเหลานี้รวมตัวเปน Ad Hoc Committee on Chile (คณะกรรมการเฉพาะกิจวา
ดวยชิล)ี มุงบีบคั้นบังคับใหประธานาธิบดีอัลเยนเดเลิกรานโยบายยึดกิจการเอกชนเปนของรัฐเสีย มิฉะนั้น
จะถลมเศรษฐกิจชิลีใหพังทลาย พวกเขาไดรวมกับองคการ CIA, และกระทรวงการตางประเทศสหรัฐฯ
กดดันกลั่นแกลงชิลีทางเศรษฐกิจ, ทุมเงิน ๘ ลานดอลลารสหรัฐฯหนุนหลังฝายคาน, สมาคมธุรกิจ, นัก
เศรษฐศาสตร los Chicago Boys และทหารชิลีบางกลุมใหตอตาน บอนทําลายและโคนลมอัลเยนเด ใน
ที่สุดวันที่ ๑๑ กันยายน ค.ศ. ๑๙๗๓ พลเอกออกุสโต ปโนเชต ผูบัญชาการทหารบกชิลีก็นําคณะทหารกอ

                                                       
128
 อางจาก Klein, The Shock Doctrine, p. 64.

 
81 
 

รัฐประหารและบุกยึดทําเนียบประธานาธิบดี สงผลใหประธานาธิบดีอัลเยนเดถึงแกความตายและระบอบ
ประชาธิปไตยชิลีอายุ ๔๖ ปมีอันสิ้นสุดลง 129 

ชวง ๓๐ วันแรกหลังยึดอํานาจ คณะทหารกําจัดกวาดลางปรปกษทางการเมืองโดยเฉพาะฝายซาย


ตายไปราว ๒,๐๐๐ คน การปราบปราม จับกุมคุมขัง ทรมาน อุมหาย ลอบสังหาร ฯลฯ ผูตองสงสัยวาเปน
ฝายซายโดยเจาหนาที่รัฐยังดําเนินตอไปภายใตการปกครองของทหาร ตัวพลเอกปโนเชตเองคอย ๆ แสดง
อาการลุมหลงอํานาจ ทําตัวเสมือนพระราชา ใสเครื่องแบบเต็มยศ เดินทางดวยขบวนรถเบนซสีทองกัน
กระสุน ในไมชาเขาก็โคนผูนําคณะทหารอีก ๓ คนลง แลวตั้งตัวเองเปนตําแหนงใหมท่เี รียกวา “หัวหนา
สูงสุดแหงชาติ” (Supreme Chief of the Nation) และประธานาธิบดี (ค.ศ. ๑๙๗๓ – ๑๙๙๐) เพียงผู
เดียว 130 

หุนสวนอํานาจระหวางกองทัพกับนักเศรษศาสตรเสรีนิยมใหมศิษยเกาชิคาโกเริ่มกอรางขึ้นตั้งแต
กอนรัฐประหาร ๑๑ กันยายน ค.ศ. ๑๙๗๓ แลว ดังปรากฏวากลุมนักเศรษฐศาสตร los Chicago Boys นํา
โดย Sergio de Castro ไดรบั เงินสนับสนุนจากองคการ CIA ของอเมริกา ผานประธานสมาคมอุตสาห-
กรรมชิลีมาตั้งสํานักวิจยั และรางนโยบายเศรษฐกิจเสรีนยิ มใหมรอรับการยึดอํานาจของคณะทหาร พวกเขา
เสนอบทคัดยอหลักนโยบาย ๕ หนาตอฝายทหาร พอพลเรือเอกผูรับผิดชอบอนุมัติตามนั้น พวกเขาก็ขยาย
เปนคัมภีรนโยบายอยางละเอียดพิสดารยาว ๕๐๐ หนาเรียกวา “The Brick”(กอนอิฐ) โดยในจํานวนผูราง
นโยบายตัวหลัก ๑๐ คนนั้น ๘ คนเรียนจบเศรษฐศาสตรจากมหาวิทยาลัยชิคาโก 

ประธานาธิบดีพลเอกปโนเชตประกาศหลังยึดอํานาจไมนานวา: “เราไมใชเครื่องดูดฝุน ที่มากวาด


ลางลัทธิมารกซออกไปเพียงเพื่อคืนอํานาจใหนกั การเมืองพวกนั้น” 131 ฉะนั้น แทนที่เขาจะรีบคืนอํานาจ
ประชาธิปไตยใหประชาชนและรื้อฟนแนวนโยบายเศรษฐกิจกอนสมัยรัฐบาลอัลเยนเดกลับคืนมาอยางที่
คณะทหารบางสวนตองการ ปโนเชตกลับสนับสนุนการปฏิปกษปฏิวัตทิ างเศรษฐกิจตามแนวทางเสรีนิยม
ใหมของ los Chicago Boys หรือที่เขาชอบเรียกวา “the technos” หรือชางเทคนิค กลาวคือ: - 
                                                       
129
 ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกตั้งป ค.ศ. ๑๙๗๐, การขัดแยงตอสูทางการเมืองและความปนปวนวุนวายทางเศรษฐกิจสังคม
รวมทั้งรัฐประหาร ๙/๑๑ ของชิลีชวงนี้ใน Alan Angell, “Chile since 1958”, in Leslie Bethell, ed., Chile Since 
Independence (Cambridge: Cambridge University Press, 1998), pp. 155 – 77. 
130
 เนื้อหาสวนนี้และตอนตอไปเรียบเรียงจาก Klein, The Shock Doctrine, Chapter 3 States of Shock: The 
Bloody Birth of the Counterrevolution โดยเฉพาะหนา 77 – 87. และ Angell, “Chile since 1958”, pp. 177 – 202. ภายใต
หัวขอเรื่อง Pinochet’s Chile: Laissez‐Faire Economy and Authoritarian State
131
 อางจาก Klein, The Shock Doctrine, p. 79. 

 
82 
 

-แปรรัฐวิสาหกิจและธนาคารบางแหงเปนของเอกชน 
-อนุญาตใหเก็งกําไรทางการเงินแบบใหม ๆ 
-เปดพรมแดนรับสินคาเขาตางชาติ ยกเลิกภาษีศุลกากรที่คุมครองอุตสาหกรรมทองถิ่น  
-ตัดงบประมาณแผนดินลง ๑๐% แตเพิ่มงบประมาณทหารขึ้นมาก 
-ขจัดการควบคุมราคาสินคารวมทั้งของจําเปนอยางขนมปง น้ํามันปรุงอาหาร ฯลฯ 
ผลลัพธทางเศรษฐกิจของการทดลองเสรีนิยมใหมชวั่ ๑ ปถัดมาก็คือเงินเฟอในชิลีถึง ๓๗๕% ในป
ค.ศ. ๑๙๗๔ จัดวาสูงที่สุดในโลกตอนนั้นและสูงเกือบสองเทาของเงินเฟอสูงสุดสมัยรัฐบาลอัลเยนเด ราคา
ของจําเปนเชนขนมปงพุงพรวด คนชิลีตกงานมากเปนประวัติการณเนือ่ งจากนโยบายคาเสรีเปดใหสินคา
ราคาถูกจากตางชาติเขามาทวมตลาดในประเทศ เบียดขับสินคาทองถิ่น ธุรกิจพากันปดกิจการเพราะแขงสูไม
ไหว คนจึงตกงานเกลื่อนกลาด สวนพวกทีไ่ ดประโยชนมีแตบริษัทตางชาติกับนักเก็งกําไรการเงินที่เรียกกัน
วาพวก“ปรันญา” (ปลาทองถิ่นในทวีปอเมริกาใต ตัวเล็กกินเนื้อฟนคมกรามแข็งแรง มักโจมตีเหยือ่ เปนฝูง)
เทานั้น 

ทวาทามกลางเสียงรองทุกขคัดคานของประชาชนคนงานรวมทั้งนักอุตสาหกรรมทองถิ่น บรรดานัก
เศรษฐศาสตร los Chicago Boys กลับแนะปโนเชตใหเรงตัดงบประมาณและโอนกิจการของรัฐไปเปนของ
เอกชนเร็วขึน้ อีก และเพื่อกลอมปโนเชตใหอยูหมัด ในป ค.ศ. ๑๙๗๕ พวก los Chicago Boys จึงคบคิดกับ
“ปรันญา” อัญเชิญปรมาจารยฟรีดแมนจากชิคาโกมาเยือนชิลีเพื่อปาวรองโฆษณานโยบายเสรีนยิ มใหมและ
เขาพบปะสนทนาเปนการสวนตัวกับปโนเชตรวมทั้งเขียนจดหมายกําชับตามหลังถึงทานนายพลอีกฉบับ ดัง
มีสาระสําคัญตอไปนี:้  ‐  

ที่ผานมาทานนายพลตัดสินใจไดเฉลียวฉลาดยิ่ง แตตอไปทานควรตัดงบประมาณทัง้ แผงอีก ๒๕%


ใน ๖ เดือน, ดําเนินชุดนโยบายสนับสนุนธุรกิจเพื่อมุงสูการคาเสรีสมบูรณ คนงานภาครัฐนับ
แสน ๆ ที่ถูกปลดจะหางานไดใหมอยางรวดเร็วในภาคเอกชนที่กําลังจะบูมเมื่ออุปสรรคขัดขวาง
ตลาดเอกชนถูกขจัดไปมากที่สุดเทาที่มากได หากทานทําตามนี้จะเกิดปาฏิหาริยเศรษฐกิจ ปญหา
เงินเฟอและคนตกงานจะหมดไปในชัว่ ไมกี่เดือน เศรษฐกิจจะฟนตัวอยางรวดเร็ว แตทั้งนี้ทานตอง
ดําเนินการอยางเฉียบพลันเหมือนรักษาโรคดวยการช็อก (shock treatment ฟรีดแมนย้ําคําวาช็อก
ในจดหมายถึง ๓ ครั้ง – ผูเขียน) การคอยทําคอยไปนั้นไมนาจะทําได 

 
83 
 

มิลตัน ฟรีดแมน, ๑๙๗๕ 132 
  จอมเผด็จการทหารปโนเชตต อบจดหมายเจาสํานักเศรษฐศาสตรเสรีนิยมใหมกลับไปวา: ‐ 

 ขาพเจามีความเคารพนับถือทานศาสตราจารยอยางสูงสุด วางใจเถิดวาตอนนี้กําลังดําเนินตาม
แผนการอยางเต็มที่ 
ออกุสโต ปโนเชต ๑๙๗๕ 133 
ประธานาธิบดีปโนเชตจึงดําเนินการปฏิปกษปฏิวัติเสรีนิยมใหมระลอก ๒ ตามคําชี้แนะของ
ฟรีดแมนทันที โดยปลดรัฐมนตรีเศรษฐกิจคนเกา แลวตั้ง Sergio de Castro หัวหนา los Chicago Boys 
ขึ้นเปนแทน และยังเลื่อนเขาขึ้นเปนรัฐมนตรีคลังในเวลาตอมา ยังมี los Chicago Boys รายอื่นไดรบั แตงตั้ง
แนนขนัดคณะรัฐมนตรี รวมทั้งใหเปนผูวา การธนาคารชาติชิลีดวย  

ในป ค.ศ. ๑๙๗๕ มีการตัดงบประมาณรายจายรัฐบาลทีเดียว ๒๗% และตัดตอจนถึงป ค.ศ. ๑๙๘๐


จนงบประมาณฯเหลือครึ่งเดียวของสมัยรัฐบาลอัลเยนเด โดยเฉพาะงบประมาณดานสาธารณสุขและการ
ศึกษาโดนตัดหนักที่สุด รัฐมนตรี Sergio De Castro ยังไดโอนกิจการธนาคารและรัฐวิสาหกิจเกือบ ๕๐๐
แหง โรงเรียนอนุบาล ระบบประกันสังคมและแมกระทั่งสุสานไปเปนของเอกชน, ลดอุปสรรคการคาตาง
ประเทศลงอีก, ระบบโรงเรียนรัฐบาลถูกแทนที่ดวยระบบคูปอง-โรงเรียนจดทะเบียน, ระบบการแพทยและ
สาธารณสุขเปลี่ยนเปนใหผปู วยจายตามจริง ฯลฯ 134 

ผลลัพธทางเศรษฐกิจของการทดลองเสรีนิยมใหมระลอก ๒ ในชิลีเปนดังนี้คือ: 

                                                       
132
 อางจาก Klein, The Shock Doctrine, p. 81. 
133
 เพิ่งอาง.
134
 Klein, The Shock Doctrine, pp. 82 – 84.  
อนึ่ง ระบบคูปอง (vouchers) และโรงเรียนจดทะเบียน (charter schools) เปนมาตรการเปลี่ยนแปลงระบบโรงเรียนของรัฐ
ตามแนวทางเสรีนิยมใหมที่เสนอโดยมิลตัน ฟรีดแมน ระบบคูปองเปดโอกาสใหนักเรียนผูมีภูมิลําเนาอยูในเขตการศึกษาที่โรงเรียนรัฐบาล
ดําเนินงานลมเหลว มีสมรรถนะทางการเงินที่จะเขาโรงเรียนราษฎรได สวนโรงเรียนจดทะเบียนหมายถึงโรงเรียนที่รัฐบาลออกเงิน
งบประมาณใหแตบริหารอยางอิสระโดยเอกชน (เอกชนที่วาไดแกผูปกครองนักเรียน, นักการศึกษา, บริษัทเอกชน) จึงเปดชองใหนักเรียน
เลือกเขาเรียนไดตามความสนใจเฉพาะของตน มาตรการเหลานี้เปนที่ถกเถียงโตแยงกันมากเพราะวามันสงผลลดทอนจํานวนรวมของ
นักเรียนในโรงเรียนรัฐบาลลงและทําใหโรงเรียนรัฐบาลออนแอ ดู Rachel Cooper, “What are Vouchers and Charter 
Schools?”, Rachel's Washington, DC Blog, created 16 October 2008, dc.about.com/b/2008/10/16/charter‐
schools‐in‐washington‐dc.htm.  

 
84 
 

-จากป ค.ศ. ๑๙๗๓ – ๑๙๘๓ ตําแหนงงานภาคอุตสาหกรรมหายไป ๑๗๗,๐๐๐ ตําแหนง, ถึงกลาง


คริสตทศวรรษที่ ๑๙๘๐ สัดสวนของภาคอุตสาหกรรมในระบบเศรษฐกิจชิลีก็ตกต่ําลงเทียบเทาสมัย
สงครามโลกครั้งที่สอง 

-ชั่วปแรกของการใชลัทธิช็อกระลอก ๒ ตามคําแนะนําของฟรีดแมนใน ค.ศ. ๑๙๗๖ เศรษฐกิจชิลี


โดยรวมหดตัวลง ๑๕% คนตกงาน ๒๐% (เทียบกับคนตกงานแค ๓% สมัยรัฐบาลอัลเยนเด) 

-ในที่สุดป ค.ศ. ๑๙๘๒ เศรษฐกิจชิลีก็มีอนั ลมจม คนตกงานขึ้นสูงถึง ๓๐% (มากกวาสมัยรัฐบาล


อัลเยนเด ๑๐ เทา) เงินเฟอไฮเปอร หนี้ระเบิดเถิดเทิงเพราะพวกปรันญายืมเงินกู ๑๔,๐๐๐ ลานดอลลาร
สหรัฐฯ มาซื้อสินทรัพยของประเทศไวเก็งกําไรแลวขาดทุนยอยยับ 

ประธานาธิบดีปโนเชตจําตองยึดกิจการบริษัทการเงินเหลานี้พรอมหนีส้ ินมาเปนของรัฐแลวปลด
บรรดา los Chicago Boys และหัวหนา Sergio de Castro ออกจากตําแหนงในรัฐบาลหมด ถึง ค.ศ.
๑๙๘๘ ปลายสมัยรัฐบาลเผด็จการปโนเชต เศรษฐกิจชิลีจึงไดเริ่มกลับมามีเสถียรภาพและเติบโตใหมอยาง
รวดเร็ว แตถึงตอนนั้นปรากฏวาประชากร ๔๕% ก็ตกลงไปอยูใตเสนยากจนแลว ขณะที่คนรวยที่สุด ๑๐%
ของประเทศมีรายไดเพิ่มขึน้ ๘๓% แมกระทั่งถึงป ค.ศ. ๒๐๐๗ ชิลีก็ยงั เปนสังคมที่เหลื่อมล้ําที่สุดแหงหนึ่ง
ของโลกและถูกจัดเปนประเทศที่ไมเสมอภาคที่สุดอันดับที่ ๘ ในจํานวน ๑๒๓ ประเทศตามการสํารวจของ
องคการสหประชาชาติ 135 

นาโอมิ ไคลน ไดสรุปรวบยอดกลุมอาการทางเศรษฐกิจสังคมอันเปนผลลัพธของการผนวก [การ


ปกครองในระบอบเผด็จการ/ประชาธิปไตยภายใต “การเมืองพิเศษ” + เศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม] เขา
ดวยกันตามประสบการณของชิลีและประเทศอื่น ๆ ดัง นี้คือ: ‐ 

‐เกิดการดูดสูบโภคทรัพยจากคนชั้นลางขึน
้ ไปใหกลุมมัง่ คั่งสุดยอด 
‐คนชั้นกลางถูกช็อกทางเศรษฐกิจจนพลัดตกจากฐานะชนชั้นเดิมไปเปนจํานวนมาก 

                                                       
135
 Klein, The Shock Doctrine, pp. 83 – 86. สําหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการคลี่คลายเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจชิลี
ในชวงเสรีนิยมใหม ดู Lois Hecht Oppenheim, Politics in Chile: Democracy, Authoritarianism, and the Search for 
Development (Boulder, Colorado: Westview Press, 1999), Part 3 Chile Under Military Rule, 1973 – 1989 
โดยเฉพาะหนา 111 – 61. และ Marcus J. Kurtz, “Chile's Neo‐Liberal Revolution: Incremental Decisions and 
Structural Transformation, 1973‐89”, Journal of Latin American Studies, 31 (1999), 399 – 427. 

 
85 
 

-ในเขตเมืองศูนยกลาง เกิดฟองสบูสินทรัพยตาง ๆ จากการเก็งกําไรอยางบาคลั่ง กําไรมหาศาลพุง


พรวดผานการทําบัญชีที่ตุกติก และพฤติการณบริโภคนิยมแบบไมบันยะบันยัง 
-ดานนอกเขตเมืองศูนยกลางออกไปจะรายรอบดวยโรงงานทิ้งรางและโครงสรางพื้นฐานผุโทรมที่
ตกคางมาจากการพัฒนาในอดีต 
-ประชากรราวกึ่งหนึ่งถูกเบียดขับกีดกันออกจากระบบเศรษฐกิจ 
-คอรรัปชั่นและการเลนพรรคพวกเสนสายอุกอาจลุกลามรายแรงเหนือการควบคุม 
-ธุรกิจ SMEs ของคนในชาติลมจมเปนทิวแถว  
-ในที่สุดจะเกิดการโยกยายโภคทรัพยขนานใหญจากภาคสาธารณะไปสูมือเอกชน ตามมาดวยการ
ถายโอนหนี้เอกชนมหาศาลกลับมาใหภาคสาธารณะแบกรับแทน 136 
 

จากอุดมการณเสรีนิยมใหมสูเมนูนโยบายฉันทมติวอชิงตัน: ประเมินวิเคราะหวิจารณ
เราอาจสรุปอุดมการณลัทธิเสรีนิยมใหมโดยสังเขปได ๕ ประการดังนี้: - 137
๑) หลักเหตุผลบนฐานผลประโยชนสวนตัวถูกยกขึ้นแทนที่กฎเกณฑกํากับควบคุมและรัฐ, ความ
เห็นแกตวั ถือเปนคุณธรรมอยางหนึ่ง 
๒) ศรัทธาวาตลาดเปนหลักประกันเดียวของความเจริญรุงเรืองและประชาธิปไตย 
๓) การแทรกแซงของรัฐเพื่อใหเกิดความยุติธรรมทางสังคมรังแตเหลวเปลา 
๔) ควรปลอยใหบรรดาสถาบันและชุมชนทีผ่ ูคนรักหวงแหนถูกทําลายไปอยางสรางสรรคทาม
กลางการแขงขันปรับตัวทางเศรษฐกิจตามหลักตลาด 
๕) รัฐควรหดเล็กที่สุด ทําหนาที่แคพิทักษทรัพยสินเอกชนและบังคับใชสัญญาเทานั้นพอ 
และบนพืน้ ฐานประสบการณในการประยุกตใชลัทธิเสรีนิยมใหมของสํานักชิคาโก-ฟรีดแมนเขา
กับประเทศตาง ๆ ในทวีปละตินอเมริกาในคริสตทศวรรษที่ ๑๙๘๐ มันก็ตกผลึกกลายเปนเมนูนโยบายที่ถูก
นําเสนอตอวงการเศรษฐศาสตรอยางเปนระบบภายใตชอื่ the Washington Consensus หรือฉันทมติ
วอชิงตันในบทความ "What Washington Means by Policy Reform“ (ค.ศ. ๑๙๙๐) ของ John 

                                                       
136
 Klein, The Shock Doctrine, pp. 86 – 87, 181. 
137
 Paul Mason, “A last chance”, New Statesman, published 6 November 2008, www.newstatesman. 
com/print/200811060014.  

 
86 
 

Williamson นักเศรษฐศาสตรผูคร่ําหวอดวงการพัฒนาและการเงินระหวางประเทศ สังกัด Peterson 


138
Institute for International Economics  

วิลเลียมสันอางวาชุดนโยบาย ๙ ประการนีผ้ ูคนในองคกรตาง ๆ ในกรุงวอชิงตันดีซี สหรัฐอเมริกา


(อาทิธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหวางประเทศหรือ IMF ซึ่งตั้งสํานักงานใหญอยูที่นั่น) แสดงฉันท-
มติเห็นพองตองกันวาจะกอประโยชนปฏิรูปเศรษฐกิจและแกปญหาหนี้สาธารณะของละตินอเมริกาตอนนัน้
ได ชุดนโยบายที่วาไดแก: -139 

๑) รัฐบาลตั้งงบประมาณสมดุล  
๒) เลิกเงินอุดหนุนจากภาครัฐ  
๓) เก็บภาษีคนจนหนักขึ้น เก็บคนรวยนอยลง  
๔) ปลอยอัตราดอกเบี้ยใหเปนไปตามตลาด  
๕) ปลอยอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราใหเปนไปตามตลาด
๖) พังทลายกําแพงกีดกันการคา  
๗) พังทลายกําแพงกีดกันการลงทุนตางชาติ  
๘) แปรรูปรัฐวิสาหกิจเปนของเอกชน  
๙) ยกเลิกกฎเกณฑกํากับเศรษฐกิจใหเหลือนอยที่สุด  
๑๐) ออกกฎหมายค้ําประกันกรรมสิทธิ์ในทรัพยสินเอกชน 
 
ตอมาคําวา “ฉันทมติวอชิงตัน” นี้ถูกใชในความหมายกวางออกไปมาก ครอบคลุมการลดกฎเกณฑ
กํากับควบคุมธุรกรรมการเงิน, เปดใหเงินทุนเคลื่อนยายเสรี, ใหตางชาติเขาซื้อกิจการบริษัททองถิ่นไดไม
จํากัด, ใหบรรษัทตางชาติตั้งสาขาในประเทศตาง ๆ ไดไมจํากัด เปนตน จนตัววิลเลียมสันเองก็รับไมได140 

นับแตนนั้ มา เมนูนโยบายทีม่ าในนาม “ฉันทมติวอชิงตัน” ไดถูกนําไปประยุกตใชในประเทศ


ตาง ๆ ทั่วโลก ผานการใหคําปรึกษา ปาวรองสนับสนุน ผลักดัน ตั้งเงื่อนไขกํากับขององคการโลกบาลทาง

                                                       
138
 John Williamson, “What Washington Means by Policy Reform”, Peterson Institute for 
International Economics, accessed 15 October 2010, www.piie.com/publications/papers/paper. 
cfm?ResearchID=486. เดิมทีบทความอันเปนหลักหมายสําคัญของแนวนโยบายฉันทมติวอชิงตันนี้ตีพิมพเปน Chapter 2 ใน John 
Williamson, ed., Latin American Adjustment: How Much Has Happened? (Washington, D.C.: Peterson Institute 
for International Economics, 1990). 
139
 สรุปประเด็นจาก เพิ่งอาง.
140
 ดูบทวิเคราะหวิจารณเปรียบเทียบโดยพิสดารใน รังสรรค ธนะพรพันธุ, ฉันทมติวอชิงตัน (กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ
คบไฟ, ๒๕๔๘), ภาคที่สอง Washington Consensus หนา ๔๙ – ๘๖.

 
87 
 

เศรษฐกิจอยางธนาคารโลก, กองทุนการเงินระหวางประเทศ, องคการการคาโลก (WTO – World Trade 


Organization กอตั้ง ค.ศ. ๑๙๙๔), ประเทศมหาอํานาจเศรษฐกิจตะวันตกโดย เฉพาะสหรัฐอเมริกาและ

อังกฤษ, องคการเอกชน (เชน World Economic Forum)141 สื่อมวลชนและสถาบันวิจัย-วิชาการระหวาง


ประเทศกระแสหลักตาง ๆ อยางแพรหลาย ผลลัพธที่เกิดขึ้นจากการดําเนินนโยบายตามกรอบฉันทมติ
วอชิงตันในรอบ ๒๐ ป กอทัง้ ผลดีและผลเสีย มีทั้งผูไดประโยชนและผูเสียประโยชนในแตละประเทศที่
นําไปใช กลาวในแงบวกคือ: - 

-กลุมประเทศ OECD 142และอีกบางประเทศทีม่ ีเงื่อนไขไดเปรียบเชิงสงออกและการเกษตร เชน


ไทย จีน ฯลฯ มีเสถียรภาพและความเติบโตทางเศรษฐกิจ แมโดยเฉลี่ยจะต่ํากวาชวงระเบียบการเงิน
Bretton Woods ก็ตาม 

-ป ๑๙๘๒-๒๐๐๒ ความยากจนโดยสัมบูรณ (absolute poverty หมายถึงยากไรขัดสนจนเปน


อันตรายตอชีวติ สุขภาพ) ลดต่ําลงอยางเห็นไดชัด ผูมีรายไดต่ํากวาวันละ ๒ ดอลลารสหรัฐฯใน
เอเชียลดลง ๕๒%, ในละตินอเมริกาลดลง ๓๐%,  แตในแอฟริกากลับเพิ่มขึ้น ๓% 143 

-ผูคนมหาศาลยายจากทองนาทองไรไปสูโรงงาน (คนสวนมากของโลกเลิกยังชีพดวยเกษตรกรรม
ไปตั้งแตชว งป ค.ศ. ๑๙๕๐ – ๗๕ แลว) 144 

-คนอีก ๒๐๐ ลานคนอพยพจากประเทศยากจนไปประเทศร่ํารวย 

-ระเบียบการเงินเสรีทําใหสภาพคลองในโลกเพิ่มพูน ครอบครัวผูมีรายไดนอยไดเปนเจาของบาน
ตัวเองและเขาถึงสินเชื่อมากขึ้น 

                                                       
141
 World Economic Forum (WEF) พัฒนามาจาก European Management Forum ซึ่งกอตั้งโดย Klaus Schwab 
ศาสตราจารยดานธุรกิจชาวสวิส เมื่อป ค.ศ. ๑๙๗๑ มีสมาชิกเปนบริษัทใหญระหวางประเทศกวาพันแหง โดยจัดประชุมทุกปที่เมือง
Davos แหลงทองเที่ยวเลนสกีในสวิตเซอรแลนด ดู Mark Rupert and M. Scott Solomon, Globalization and International 
Political Economy (Lanham: Rowman & Littlefield Publishers, Inc., 2006), pp. 57 – 61.  
142
 หมายถึง Organisation for Economic Co‐operation and Development เปนองคการรวมประเทศอุตสาหกรรม
ชั้นนําของโลกเพื่อปรึกษาหารือประสานนโยบายและรวมมือกันทางเศรษฐกิจและการพัฒนา กอตั้งป ค.ศ. ๑๙๖๑ ปจจุบันมีสมาชิก ๓๓
ประเทศ ดูรายละเอียดที่เว็บไซตขององคการนี้ www.oecd.org/pages/0,3417,en_36734052_36734103_1_1_1_1_1,00.html.  
143
 เนื้อหาสวนนี้ประมวลเรียบเรียงจาก Mason, “A last chance”. 
144
 ดู Eric Habsbawm, Age of Extremes: The Short Twentieth Century 1914 – 1991 (London: Abacus, 
1996), pp. 9, 289 – 93. 

 
88 
 

-เหลาสถาบันและวัฒนธรรมที่เคยกดขีห่ วงหามคนหนุมสาวแตกอนคอยสูญสลายไป ระบบอุปถัมภ


และอํานาจพอแมในสังคมลดทอนลงในขณะที่ทกุ สิ่งทุกอยางซื้อขายไดกลายเปนสินคามากขึ้น 

ทวาในดานกลับ ก็เกิดผลลัพธเชิงลบรายแรงเปนเอนกประการ ไดแก: ‐ 145 

๑) ความไมเสมอภาคเพิ่มขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับโลก 
๒) ภาวะหนี้สูงเขาแทนที่คาจางสูง 
๓) ภาคการเงินเขาครอบงําเศรษฐกิจ (Financialization)  
๔) ชีวิตมนุษยถูกแปรเปนสินคาไมหยุดหยอนทุกมิติและรูปแบบ 
๕) ผลกระทบทางสังคม 
๖) เศรษฐกิจโลกไรเสถียรภาพ 
 
จะขอทยอยบรรยายและยกขอมูลประกอบไปทีละประการดังนี ้
 
๑) ความไมเสมอภาคเพิ่มขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับโลก 
-ระหวางป ค.ศ. ๑๙๔๗ – ๑๙๗๓ ซึ่งอยูภายใตระเบียบการเงิน Bretton Woods ครัวเรือนอเมริกนั
ที่ยากจนที่สุด ๒๐% มีรายไดเพิ่มขึ้น ๑๑๖% นับเปนอัตราเพิ่มสูงกวากลุมอื่นใดในสังคมอเมริกัน
ชวงเดียวกัน
-ปรากฏวาระหวางป ค.ศ. ๑๙๗๔ – ๒๐๐๔ ซึ่งอยูภายใตระเบียบการเงินโลกาภิวตั น/เสรีนิยมใหม
ครัวเรือนอเมริกันที่ยากจนทีส่ ุด ๒๐% มีรายไดเพิ่มขึ้นเพียง ๒.๘%  
-สงผลใหถึงป ค.ศ. ๒๐๐๙ คนอเมริกันที่รวยที่สุด ๑% ถือครองสินทรัพยถึง ๓๗.๑% ของประเทศ
ซึ่งเพิ่มขึ้น ๓.๗% จาก ๘ ปกอน ขณะคนอเมริกันผูมีรายไดต่ํากวา ๘๐% จากลางสุดขึ้นมา ถือครอง
สินทรัพยรวมกันเพียง ๑๒.๓% ของประเทศเทานั้น ซึ่งลดลง ๓.๓% จาก ๘ ปกอน (ดูแผนภูมิ
ประกอบดานลาง)
-สวนแบงในรายไดประชาชาติของคนอังกฤษที่จนที่สุด ๑๐% ลดลงจาก ๔.๒% ในป ค.ศ. ๑๙๗๙
เหลือเพียง ๒.๗% ในป ค.ศ. ๒๐๐๒ 

                                                       
145
 ประมวลเรียบเรียงจาก Mason, “A last chance”. เชนกัน

 
89 
 

๓๘) ความเหหลื่อมล้ําในกาารถือครองสินนทรัพยของประชากรอเมริริกันเปรียบ เทีทียบระหวางกกลุมรวย


ที่สุด ๑% กับกลุ
บ มรายไดตาที่ํ ส่ ุดขึ้นมา ๘๘๐% , การเปปลี่ยนแปลงในนป ค.ศ. ๒๐๐๐๙ จากป ค.ศศ. ๒๐๐๑
(หนวยเปนรอยละ)

(ขอมูลของ Levy Insttitute อางจาาก www.spieegel.de/inteernational/w 2272. 


world/bild‐‐712496‐122
html )

ขอมูลเกี่ยวกับความเหลื
บ ่อมล้
ม ําทางรายไดดระดับโลกก็ก็โนมไปในทิศทางเดียวกันนในชวงเวลากกวา ๓
ทศวรรษษภายใตระเบียบการเงิ
ย นโลกกาภิวตั น/เสรีนิยมใหมและะอิทธิพลครอบงําของเมนูนนโยบายฉันทมติ

วอชิงตัน (โปรดดูแผนนภูมิดา นลางปประกอบ) 
 

 
90 
 

๓๙) สัดสวนรอยละของราายไดเฉลี่ยในนภูมภิ าคตาง ๆ ของโลกและโลกกําลังพั ัฒนาโดยรวมมเทียบกับ


รายไดเฉลี่ยในกลุมประเทศทุนนิยมกาววหนาในซีกโลกเหนื
โ อ, ค.ศศ. ๑๙๕๐ – ๒
๒๐๐๐ 

(อางจาก Robert Waade, “Financcial Regime  Change?”, New Left RReview, II/533 (Septembber – 


October 2008), 18)) 

๔๐) สัดสวนรอยละของผลิตภัณฑมวลลรวมในประเททศเฉลี่ยตอหััวประชากรขอองกลุมประเททศกําลัง
พัฒนาในซีกโลกใตเทียบกกับของกลุมปประเทศทุนนิยมก
ย าวหนา, ค.ศ.
ค ๑๙๖๐ – ๒๐๐๕

(อางจาก Wade, “Finnancial Regime Changee?”, 18) 

 
91 
 

๒) ภาวะหนี้สูงเขขาแทนที่คาจางสูง: กรณีสสหรัฐอเมริกา 146 
-คาจางแทจริง (ปรับอัตราเงินเฟอออก)) โดยเฉลี่ยขอองคนงานชายออเมริกนั ในป ค.ศ. ๒๐๐๘ ต่ํากวา
เมื่อป ค.ศ. ๑๙๙๗๙ และยิ่งในกลุ
ใ มคนจนนที่สดุ ๒๐% แลว ก็ยิ่งต่ํากวามาก 
-ตั้งแตกอนเกิกิดวิกฤตซับไพรมในป ค.ศศ. ๒๐๐๗ ฟอองสบูหนี้สินอเมริ
อ กันก็ใหญญโตมโหฬารถึง ๔๘
ลานลานดอลลลารสหรัฐฯแแลว 
-แบงเปนหนีภ้ าครัฐ (ของรรัฐบาลระดับชาติ+มลรัฐ+ทองถิ่น) ๑๑ ลานลานดอลลลารสหรัฐฯแและหนี้
ภาคเอกชน ๓๗ ร จการเงิน, ภภาคบรรษัทธุรกิจ, 
๓ ลานลานดดอลลารสหรัฐั ฯ ไมวาจะเปปนหนี้ภาคธุรกิ
ภาคผูบริโภคค อาทิ หนี้เครดิตการด หนี้จํานองบาน เปนตน  
-ยอดหนี้ดังกลาวคิดเปน ๓๔๐%
๓ หรือเกืกือบ ๓ เทาครึรึ่งของผลิตภัณฑ
ณ มวลรวมใในประเทศ, และ

เพิ่มขึ้นถึง ๗๐๐% เมื่อเทียบกั
ย บยอดหนีนี้สินตนคริสตทศวรรษที่ ๑๙๘๐ (ดูแผน ภูมิดานลาง) 

๔๑) หนี้สินของสหรั
ข ฐอเมมริกาคิดเปนรอยละของผลิตภัณฑมวลรวมในประเท ศ – แสดงยอดหนี้
โดยรวม, หนีนีภ้ าคครัวเรือน,
น และหนี้ภาคการเงิน, เปรียี บเทียบ ค.ศศ. ๑๙๘๐ กับ ๒๐๐๗

 
(อางจาก Wade, “Finnancial Regiime Changee?”, 12) 
 
  สําหรับภาวะะคาจางสูงในสสหรัฐอเมริกาาหลังสงครามมโลกครั้งที่สองเป
อ นตนมานนั้น เราสามารรถเห็น
การเปลี่ยยนแปลงของมมันไดในระยะ ๓๐ ปหลัง นับแตหมดยุยุคระเบียบการรเงิน Bretto n Woods ตนคริ
น สต-
ทศวรรษษที่ ๑๙๘๐ รัฐบาลอมริ
บ กันก็หนั ไปดําเนินนนโยบายเศรษฐกิจเสรีนยิ มใหมแทน เริริ่มตนจากรัฐบาลของ

ประธานนาธิบดีจิมมี คารเตอร (ค.ศ. ๑๙๗๗ – ๑๙๙๘๑) ยกเลิกขอจํากัดหวงหหามเกี่ยวกับเสสนทางบินขอองสาย
                                                       
146
 ประมวลจาาก Mason, “A last chance”;  Wade, “Finan
ncial Regime CChange?”, 11 –– 12; และ Michael W. 
Hodges, “America’s To
otal Debt Repo
ort – Update 22007 $48 Trillion – and Soaring”, Financiial Sense Edito
orials, 
d 16 October 2
accessed 2010, www.finnancialsenseaarchive.com/e editorials/hodg
ges/2007/03115.html.  

 
92 
 

การบินเปปนอันดับแรกก กอนจะขยายไปสูภาคสววนเศรษฐกิจอื่น เชน การสือสารโทรคม


่ มนาคม, สื่อมววลชน,
บริการการเงิน ฯลฯ ในสมั
ใ ยรัฐบาลลชุดตอ ๆ มา1147 การเปลียนแปลงของภ
ย่ ภาวะคาจางสูงงและปจจัยทาง
เศรษฐกิจจอืน่ ทีเ่ กี่ยวเนืนือ่ ง จะดูไดจากชุ
า ดขอมูลที่สอดรับกันดังต
ง อไปนี:้  ‐ 

๔๒) แผนภูมิมแิ สดงรายไดเฉลี่ยของประะชากรอเมริกักนั ทีม่ ีรายไดลดหลั


ล ่นกัน ๓ กลุม ไดแก กลุ
ก มที่มี
รายไดสูงสุด ๕% แรก (เสสนสีเขียว), กลลุมที่มีรายไดสูสงถัดลงมา ๑๕% (เสนสีเหหลือง), และกกลุม
๘๐% ที่เหลือซึ
อ ่งมีรายไดตากว
่ํ า (เสนสีมมวง), ค.ศ. ๑๙๙๗๙ – ๒๐๐๑๑ (หนวยเปนนดอลลารสหรัรัฐฯคิด
เปนมูลคาป ค.ศ.
ค ๒๐๐๑)

 
(อางจาก Alex Bakerr, Life and DDebt: Why AAmerican Faamilies Are BBorrowing tto the Hilt (New 
York: Thhe Century Foundation n Press, 20004), p. 11) 
 
จะเห็นวาขณะกลุมเศรษฐีอเมริกันรวยทีที่สุด ๕% แรกกมีรายไดเฉลียเพิ
่ ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากราว
๑๕๐,๐๐๐๐ Æ กวา ๒๕
๕๐,๐๐๐ ดอลลลารสหรัฐฯ//ปในชวง ๒๒
๒ ปจาก ค.ศ. ๑๙๗๙ – ๒๐๐๐๑, กลุมชาววอเมริกัน
ผูมีรายไดดสูง ๑๕% ถัดมากลั
ด บมีรายยไดเพิม่ ขึ้นในนชวงเดียวกันไม
น มากนักจาากราว ๘๐,๐๐๐๐ กวา Æ ๑๐๐,๐๐๐
กวาดอลลารสหรัฐฯ/ปปโดยประมาณ
ณ สวนกลุมปประชากรที่เหลืออีก ๘๐% ซึ่งเปนผูมีรายยไดต่ํากวานัน้ รายได
ของพวกกเขาเกือบจะคคงที่ไมขยับขึนเลยตลอดช
น้ ววงเวลาดังกลาว
า 
 
 
 
 

                                                       
147
 John Cassidy, How Ma
arkets Fail: Thee Logic of Eco
onomic Calamities (London  and New Yorkk: 
Penguin Books, 2010),, p. 7. 

 
93 
 

๔๓) แผนภูมิมแิ สดงสัดสวนหนี


น ้คางชําระะตอรายไดทพึี่พงจายได (หลลังหักภาษี) ขของครัวเรือน (เสนสี
เหลือง), และะสัดสวนหนีคค้ า งชําระของคครัวเรือนตอผลิ
ผ ตภัณฑมวลลรวมในประเเทศ (เสนสีแดง),
ด ค.ศ.
๑๙๘๐ – ๒๐๐๒ (หนวยเปปนรอยละ) 

(อางจาก Baker, Life and Debt, p. 2) 
  เห็นไดชัดวาครั
ค วเรือนอเมริกนั ติดหนี้สสิินคางชําระเทีทียบกับรายไดดที่พึงจายไดโโดยเฉลี่ยสูงขึนจากราว
้น
๗๐% ขอองรายไดในปป ค.ศ. ๑๙๘๐ Æ เกือบ ๑๑๐% ของรายไไดในป ค.ศ. ๒๐๐๒
๒ ในทําานองเดียวกัน สัดสวน
ของหนี้คครัวเรือนอเมริริกันตอผลิตภัณฑมวลรวมมในประเทศก็ก็เพิ่มขึ้นจากราว ๔๗ – ๔๘๘% ของ GDPP ในป
ค.ศ. ๑๙๘๘๐ ไปเปน Æ 
Æ ประมาณ ๘๐
๘ % ของ GDDP ในป ค.ศ. ๒๐๐๒
ในทางกลับกันอัตราการออมทรัพยสวนนบุคคลของชชาวอเมริกันก็ตกลงฮวบฮา บจากราว ๑๐๐% ของ
รายไดปรระชาชาติเมื่อป ค.ศ. ๑๙๘๐๐ เหลือเพียง ๒% ในป ค.ศศ. ๒๐๐๓  

๔๔) แผนภูมิมแิ สดงอัตรากการออมสวนบบุคคลของชาววอเมริกันเทียบกับรายไดปประชาชาติ, ค.ศ.


๑๙๘๐ – ๒๐๐๓ (หนวยเปปนรอยละ) 

(อางจาก Baker, Life and Debt, p. 3) 

 
94 
 

เราอาจเห็นภาพเปรียบเทียบเศรษฐกิ
ย จออเมริกันที่ครออบคลุมและทันสมั
น ยใกลปจ จจุบนั ขึ้นจากแผนภูมิ
ดานลางนีนี้ซึ่งใหขอมูลการบริ
ล โภค, หนี้สิน, และเงินออมของชชาวอเมริกันเททียบเปนสัดสสวนกับผลิตภัณฑมวล
รวมในปประเทศในป ค.ศ.
ค ๒๐๐๐ กับ ๒๐๐๘ ซึง่งสะทอนวาในนรอบ ๘ ป คนอเมริกันบริริโภคสูงลิ่วขึน,
้น กูหนี้
ยืมสินเพิพิ่มขึ้น, และยิงอดออมน
่ง อยลลงจากทีต่ ่ําอยูยูแลว

๔๕) แผนภูมิมกิ ารบริโภค, การออม, และหนี้สินของสหรัฐอเมริกา: แสดงคาใชชจายบริโภคสสวนตัว


(สีฟา), หนี้สนครั
นิ วเรือน (สีสีแดง), และเงิงินออมสวนตัตัวสุทธิ (สีเขียว)
ย ของชาวออเมริกันเทียบเปน
สัดสวนรอยลละของผลิตภัณฑ
ณ มวลรวมใในประเทศ, ค.ศ. ค ๒๐๐๐ กัับ ๒๐๐๘ 

 
(อางจาก “Charts: Coonsumers and Economic Growth –– U.S. Consuumer Snapshhot”, America.gov, 
accesseed 27 July 20010, www.aamerica.govv/consumerr.html)  
 

 
95 
 

ความหมายนันัยของตัวเลขขขางตนในแงฐฐานะและอากการทางเศรษฐฐกิจของสหรัฐั ฯจะเปนที่เล็งเห็นได
เมื่อนํามันนไปเปรียบเทีทียบกับตัวเลขขประเภทเดียววกันของประเทศเศรษฐกิจสํ
จ าคัญอื่น ๆ ของโลกดังแผนภูมิ
ดานลางนีนี้ ซึ่งบงชี้ชัดววาสหรัฐอเมริริกาบริโภคเปนสัดสวนมากกกวาแตออมนอยกวาเพื่อน  

๔๖) แผนภูมิเปรียบเทียบสสัดสวนการอออม (สีฟา) แลละการบริโภคค (สีแดง) ของงประเทศเศรษษฐกิจ


สําคัญของโลลก คิดเปนรอยละของผลิ
ย ตภภัณฑมวลรวมมในประเทศขของแตละปร ะเทศ, ค.ศ. ๒๐๐๗
๒  

 
(อางจาก “Charts: Coonsumers and Economic Growth –– Spending vvs. Savings””, America.ggov, 
accesseed 27 July 20
010, www.aamerica.govv/consumerr.html)  
 
ในจํานวนหนีนีส้ ินที่เพิ่มสูงขึ
ง ้นของชาวออเมริกันในระยะ ๒๐ ปหลัง เปนหนี้จาํ นนองบานมากพพอควร
โดยเฉพาาะในกลุมผูมีรายไดต่ํา (ยิงยากจน
ง่ ยิ่งติดดหนี้จํานองบานเพิ่มขึ้นมาก) ดังตารางตตอไปนี:้  ‐ 

 
96 
 

๔๗) มูลคาเฉฉลี่ยของหนี้จานองบ
ํา านของคนอเมริกันจําแนกตามกลุมรายไดเปรีรียบเทียบ ค.ศศ. ๑๙๘๙
กับ ๒๐๐๑ (คิคิดเปนมูลคาดอลล
ด ารสหรัฐฐฯในป ค.ศ. ๒๐๐๑ และแแสดงรอยละทีที่เปลี่ยนไป) 

 
(อางจาก Baker, Life and Debt, p. 4) 
 
  ผลของฟองสสบูเคหสถาน (ฟองสบูบานน) อเมริกันระะหวางป ค.ศ. ๒๐๐๑ – ๒๐๐๐๕ 148 นอกกจากทํา
ใหชาวอเมริกนั โดยเฉฉพาะคนจน-คคนชั้นกลางกูหหนี้ยืมสินมาจํจํานองซื้อบานใหม
น เพื่ออยูอ อาศัยหรือเก็งกําไร
แลว ก็ยงังทําใหเจาของงบานแตเดิมผูจ ู ๆ ก็พบวารราคาประเมินบานของตนโโปงพองขึ้นพพรวดพราดตามกระแส
ฟองสบู พลอยกูหนีย้ มสิ
มื นมาจับจายใชสอยในลัลักษณะ: ‐  
-cash‐out reefinancing หรื
ห อกอหนี้จาํานองบานใหมมมาใชหนี้จํานองบ
น านเกา แแลวยังไดมูลคคาบานที่
เพิ่มขึ้นเปปนเงินสดมาใใชจาย ซึ่งคลายกั
า บการจัดโโครงสรางหนีนี้ใหม (debt restructurinng) และ  
-second moortgage หรือเอาบ
อ านที่ติดดจํานองอยูแลว แตยังมีมูลคคาบานในสวนนของเจาของงอยู – ซึ่ง
อาจเปนเเพราะราคาปรระเมินบานเพิพิ่มขึ้นอยางรววดเร็ว – ไปจํานองซ้
า ํารอบสสอง เพื่อเอาเงิงินมาใชจาย บางที

เรียกวิธกีการนี้วา  hom
me equity loaan หรือกูเงิน โดยเอาหุน
 บานไปค้ําประกัน 
เหลานี้สงผลใหสวนที่เปนของเจ
น าของบบานในมูลคาบบานของชาวออเมริกันโดยททัว่ ไปลดต่ําลงงจากราว
เกือบ ๗๐๐% เมือ่ ป ค.ศศ. ๑๙๘๐ เหลืือเพียง Æ ปรระมาณ ๕๕% ในป ค.ศ. ๒๐๐๓
๒ ดังแผนนภูมดิ านลางนี้: ‐ 
 

                                                       
148
 “Timelinee of the United States houssing bubble”, W
Wikipedia, acccessed 21 Octtober 2010, 
en.wikipeedia.org/wiki//Timeline_of__the_United_SStates_housin ng_bubble. 

 
97 
 

๔๘) สัดสวนร
น อยละที่เปนของเจ
น าของชชาวอเมริกันในมูลคาอสังหาริ
ห มทรัพย, คค.ศ. ๑๙๘๐ – ๒๐๐๓ 

 
(อางจาก Baker, Life and Debt, p. 6) 
   
  เมื่อหนี้สูงขึ้นเช
น นนี้ แมครอบครัวอเมริกกันโดยทั่วไปปที่สามีเคยทํางานหารายไดดเขาบานคนเดีดียวใน
ตนคริสตตทศวรรษที่ ๑๙๗๐
๑ จะออกกไปทํางานหาารายไดกนั สอองคนทั้งสามี-ภรรยาในตนนคริสตทศวรรษที่
๒๐๐๐ แแตกระนั้น เนืองจากค
อ่ าใชจจา ยคงทีด่ านตตาง ๆ ของครออบครัวสูงขึนราวหนึ
้น ่งเทาคครึ่ง (รวมทั้งคคาผอน
ชําระหนีนี้จํานองบาน) กลับทําใหรายได
า สวนที่เหหลือใหใชจายได
ย คลองมือตามดุ
ต ลพินิจ ( discretionary 
income) ของครอบค
ครัวลดต่ําลงเล็ล็กนอยในชวง ๓๐ ป ทั้ง ๆ ที่มีผูชวยกันทํ
น างานหารา ยไดเขาบานถึถึง ๒ คน
โปรดดูแแผนภูมิ: ‐ 

 
98 
 

๔๙) สวนแบงของคาใชจายคงที
า ่ในรายไดตอปของคครอบครัว เปรีรียบเทียบระหหวางครอบครัรัวรายได
เดี่ยวตนคริสตตทศวรรษที่ ๑๙๗๐
๑ กับครรอบครัวรายไดดคูตน คริสตทศวรรษที
ท ่ ๒๐๐๐๐ (หนวยเปนดอล
ลารสหรัฐฯตตามมูลคาในปป ค.ศ. ๒๐๐๑, แทงสีเขียวแแสดงรายไดทีท่เี หลือใหครออบครัวใชจายไดตาม
ดุลพินิจ, แทงสี
ง น้ําเงินแสดดงคาใชจายคงงทีข่ องครอบครัว เชน ผอนหนี
น จ้ ํานองบบาน, คาดูแลเดด็ก, คา
ประกันสุขภาาพ, คาใชจายเกีย่ วกับรถยนนต, ภาษี เปนตน) 

 
(อางจาก Baker, Life and Debt, p. 9) 
 
  ในทํานองเดียวกั
ย น สัดสวนของค
น าผอนชําระหนี ้ (deebt service) ในรายไดหลั งหักภาษีของง
ครัวเรือนนอเมริกันก็พงสู
งุ งขึ้นจากราาว ๑๐ – ๑๑% ตอนตนคริสต
ส ทศวรรษที่ ๑๙๘๐ เปน Æ กวา ๑๓% ในป
ค.ศ. ๒๐๐๔ ดังแผนภูภูม:ิ  ‐ 

 
99 
 

๕๐) สัดสวนรอยละของคาผอนชําระหหนีใ้ นรายไดหลั


ห งหักภาษีของครั
อ วเรือนออเมริกัน, ค.ศ. ๑๙๘๐ –
๒๐๐๔ 

 
(อางจาก Baker, Life and Debt, p. 8) 
 
  ผลโดยตรงของภาระหนีสิ้สนิ คาใชจายเพิพิ่มทวีดังกลาวก็
ว ทาํ ใหคนอเมริกนั พากันนลมละลายเพิมขึ
ม่ ้น
เรื่อย ๆ เปปน ๕ เทาในรอบ ๒๐ ป จากราว
จ ๑๐๐ กกวาคน/แสนคนในป ค.ศ. ๑๙๘๐ เปน Æ
Æ กวา ๕๐๐ คน/แสน

คนในป ค.ศ. ๒๐๐๒ (ดูแผนภูมิ) 

 
100 
 

๕๑) กรณีลมละลายสวนบุบุคคลตอประชชากรอเมริกนแสนคน,
นั จากก ค.ศ. ๑๙๘๐๐ – ๒๐๐๒ (หหนวยเปน
บุคคล) 

 
(อางจาก Baker, Life and Debt, p. 10) 
 
ภาวะหนี้สูงเขขาแทนที่คาจางสูง: กรณีอังกฤษ 149 
-รายไดแทจริงของครัวเรือนอั
อ งกฤษเพิ่มมขึน้ จริงในชวงป
ว ค.ศ. ๑๙๗
๗๙ - ๒๐๐๐ แตเพิ่มในอัตราที่ต่ํา
กวาสมัยเศรษษฐกิจบูมหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แลละนับแตตนคริ
ค สตทศวรรษษที่ ๒๐๐๐ เปปนตนมา
ก็กลับตกต่ําลง
ล 
-สัดสวนหนีภาคครั
ภ้ วเรือนของชาวอั
น งกฤฤษเพิ่มจาก ๒๐%
๒ ของผลิตภั
ต ณฑมวลรววมในประเทศศเมื่อ ๓๐
ปกอน Æ ๘๐๐% ในป ค.ศศ. ๒๐๐๘ 
 
 
 
 
 
 

                                                       
149
 Mason, ““A last chance
e”. 

 
101 
 

๓) ภาคการเงินเขาครอบงําเศรษฐกิจ (Financialization)  
  ความหมายของ Financialization ของระบบเศรษฐกิจก็คือ: ‐ 150 
-สัดสวนของสินทรัพยทางการเงินตอสินทรัพยภาคเศรษฐกิจจริงเพิ่มขึ้น 
 ‐อํานาจทางการเมืองของกลุมผลประโยชนภาคการเงินเพิ่มขึ้นโดยสัมพัทธกับกลุมผลประโยชน

ภาคเศรษฐกิจจริง 
 ‐กําไรกระจายจากบริษัทที่ไมไดทําธุรกิจการเงินไปสูภาคการเงิน 

กลาวในระดับโลก ยอดรวมสินทรัพยทางการเงินของโลกที่เคยมีมูลคาพอ ๆ กับผลิตภัณฑมวลรวม


ในประเทศทัว่ โลกเมื่อป ค.ศ. ๑๙๘๐ ไดเพิม่ ขึ้นเปน Æ ๓ เทาของผลิตภัณฑมวลรวมในประเทศทัว่ โลกในป
ค.ศ. ๒๐๐๗ แลว กลาวคือ ยอดรวมสินทรัพยทางการเงินของโลก = ๑๙๖ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ ขณะที่
ผลิตภัณฑมวลรวมในประเทศทั่วโลก = ๖๔ ลานลานดอลลารสหรัฐฯ151 
ตัวอยางของ Financializaion ในสหรัฐอเมริกาไดแก: ‐ 152 
 -ปจจุบันผลิตภัณฑมวลรวมในประเทศของอเมริกาคิดเปนสัดสวนภาคการเงินสูงสุดที่ ๒๐ – ๒๑%

ขณะที่สัดสวนภาคการผลิตอุตสาหกรรมลดลงเหลือ ๑๒ – ๑๓% (ตามตัวเลขระหวางป ค.ศ. ๒๐๐๓


– ๒๐๐๕) 
-ชวงที่สัดสวนของภาคการเงินแซงหนาขึน้ นําสัดสวนของภาคอุตสาหกรรมในผลิตภัณฑมวลรวม
ในประเทศคือราวตนคริสตทศวรรษที่ ๑๙๙๐  
-ราวป ค.ศ. ๑๙๘๘ รัฐบาลอเมริกันไดเลือกภาคการเงินเปนภาคยุทธศาสตรสําคัญทางเศรษฐกิจที่
จะตองทุมเทปกปองสงเสริมไวมิใหลมเหลวเพื่อเปนแกนนําในการขยายอิทธิพลเศรษฐกิจการเงิน
ของตนไปครอบโลก 
-ในคริสตทศวรรษที่ ๑๙๕๐ บริษัทการเงินอเมริกันทํากําไรเปนสัดสวนประมาณ ๑๐% ของกําไร
บริษัทเอกชนอเมริกันทั้งหมด สัดสวนนีเ้ พิม่ เปนÆ กวา ๔๐% ในป ค.ศ. ๒๐๐๔; ในชวงเวลา
เดียวกัน สัดสวนกําไรของบริษัทหัตถอุตสาหกรรมอเมริกันลดถดถอยจากเกือบ ๖๐% Æ เหลือแค
ประมาณ ๕% เทานั้น 
                                                       
150
 ประมวลจาก Wade, “Choking the South”, p. 117; และ Foster and Magdoff, The Great Financial Crisis, 
โดยเฉพาะ Chapter 4 The Financialization of Capitalism และ Chapter 5 The Financialization of Capital and the 
Crisis; และ Foster and Holleman, “The Financial Power Elite”. 
151
 Mason, “A last chance”. 
152
 ประมวลจาก Phillips, Bad Money, Chapter 2 Finance: The New Real Economy? โดยเฉพาะ pp. 31, 49, 
54 – 61. 

 
102 
 

สําหรับผลกระทบสําคัญของ Financialization ตอระบบเศรษฐกิจอเมริกันและตอเนื่องไปยัง


เศรษฐกิจโลกคือเกิดฟองสบูโ ปงพองแลวแตกตอเนื่องไดแกฟองสบูหนุ บริษัทไฮเทค, เคหสถาน, สินคา
ผลิตภัณฑตาง ๆ (dotcom, housing, commodity bubbles) เปนตน 153 ทุนเก็งกําไรชีพจรลงเทาเขาซื้อ
หุนควบรวมแยงยึดกิจการบริษัท, อุตสาหกรรม, กระทั่งประเทศทั้งประเทศ เหมือนฝูงแรงลงขย้ําทึ้งศพ
จากนั้นก็ตัดสินทรัพยของบริษัทที่แยงยึดไดมาเอาไปขายทิ้งทํากําไร จนบริษัทดังกลาวเหลือแตซาก แลวก็
ออกบินลาเหยือ่ รายตอไป เชนที่เกิดกับประเทศไทยและอินโดนีเซียตอนวิกฤตตมยํากุง ค.ศ. ๑๙๙๗,154 
หรือไอซแลนด 155และเศรษฐกิจกลุม “PIIGS” ในยุโรป ๕ ประเทศในปจจุบัน (มาจากตัวยอนําหนาชือ่
ประเทศโปรตุเกส - Portugal, อิตาลี - Italy, ไอรแลนด ‐ Ireland, กรีซ ‐ Greece, และสเปน - Spain)156 
 
๔) ชีวิตมนุษยถูกแปรเปนสินคาไมหยุดหยอนทุกมิติและรูปแบบ  157 
ตัวอยางเชน: ‐ 
-กรณีการแปรกิจการน้ําประปาของรัฐไปเปนของเอกชนตางชาติคือบริษัทวิศวกรรมขามชาติ
อเมริกัน Bechtel ในโบลิเวีย ทําใหเกิดจลาจลประทวงในเมืองโคชาบัมบาที่เรียกกันวา “สงครามน้ํา” หรือ 
“Water Wars” ขึ้นเมื่อป ค.ศ. ๒๐๐๐
158
 

-กรณีทหารรับจาง ๑๘๐,๐๐๐ คนของบริษัทเอกชนอเมริกนั ทําสัญญารับเหมาชวงมาปฏิบัติหนาที่


ตาง ๆ ในสงครามอิรักโดยไมตองรับผิดตอกฎหมายระหวางประเทศ ทําใหสงครามอิรักนับเปนสงครามครั้ง
แรกที่ถูกแปรเปนของเอกชนอยางกวางขวาง (the first extensively‐privatized war ) 159 
                                                       
153
 Mason, “A last chance”. และดูบทวิเคราะหวิจารณกรณีฟองสบูเหลานี้ในกรอบภาพรวมของเศรษฐกิจอเมริกันโดย
กวางขวางพิสดารใน Robert Brenner, “What Is Good for Goldman Sachs Is Good for America: The Origins of the 
Current Crisis”, eScholarship University of California, accesed 13 May 2010, escholarship.org/
uc/item/0sg0782h. 
154
 Kavaljit Singh, The Globalisation of Finance: A Citizen’s Guide (London and New York: Zed Books, 
1999), Chapter 6 – 8 โดยเฉพาะ pp. 110 – 12. และ Kasian Tejapira, “Post‐Crisis Economic Impasse and Political 
Recovery in Thailand: The Resurgence of Economic Nationalism,” Critical Asian Studies, 34: 3 (September 2002), 
323 – 56.
155
 Silla Sigurgeirsdóttir and Robert Wade, “Lessons from Iceland”, New Left Review, II/65 
(September – October 2010), 5 – 29. 
156
 สุรนันท เวชชาชีวะ, “PIGGS”, สยามรัฐ, ตีพิมพ ๒๘ พ.ค. ๒๕๕๓, suranandlive.bangkokvoice.com/
soi_sawasdee. php?id=507&title=PIIGS.  
157
 Mason, “A last chance”. 
158
 เกษียร เตชะพีระ, “กบฏน้ํา”, มติชนรายวัน, ๒๙ เม.ย. ๒๕๔๓, น. ๖; Jim Shultz, “Dignity and Defiance: Stories 
from Bolivia’s Challenge to Globalization”, Democracy Now!, created 19 April 2010, www.democracynow.org/ 
2010/4/19/jim_shultz_on_dignity_and_defiance.  

 
103 
 

-สําหรับกรณีใกลตัวก็อยางเชนกะเหรี่ยงคอยาว, การคาเด็กและคามนุษย, ผูหญิงและแรงงาน


ตางชาติเถื่อนในประเทศไทย รวมทั้งโครงการที่เรียกวา The Kingdom of Thailand Modernization 
Framework ซึ่งนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร (ค.ศ. ๒๐๐๑ – ๒๐๐๖) ไดประกาศตอที่ประชุม

ตัวแทนสถานทูตและเอกชนตางชาติ ณ ทําเนียบรัฐบาลเมื่อตนป ค.ศ. ๒๐๐๖ เชิญชวนบริษัทตางชาติมาลง


ทุนเปนหุน สวนกับรัฐเพื่อพัฒนาประเทศไทยในเมกะโปรเจคตสาขาตาง ๆ ดังตอไปนี:้ - 

๑) การกอสรางและสาธารณูปโภค 
๒) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม 
๓) เทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ 
๔) ความมัน่ คงแหงชาติ 
๕) เกษตรกรรม วิทยาศาสตร เทคโนโลยี วัฒนธรรมและบริการสาธารณสุข 
 
โดยนายกฯทักษิณใหสัญญาวารัฐบาลจะแกไขกฎกติกาตาง ๆ ไมใหเปนอุปสรรคตอความเปนหุนสวน 160
แตยังไมทนั ดําเนินการก็เกิดวิกฤตการเคลื่อนไหวมวลชนประทวงตอตานรัฐบาลในนาม “ปรากฏการณสนธิ
ลิ้มทองกุล” Æ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” เสียกอน จนกระทั่งแกนนํา ๓ เหลาทัพในนาม
“คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยท รงเปนประมุข” (คปค. – นับเปน
ชื่อของคณะรัฐประหารที่ยาวที่สุดในประวัติศาสตรการเมืองไทยสมัยใหมถึง ๒๗ พยางค) ทํารัฐประหาร
โคนรัฐบาลทักษิณในที่สุดเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ศกเดียวกัน161  
เหลานี้สงผลใหในที่สุดแลวประชาชนผูเสียภาษีตองแบกรับภาระความเสียหายทางการเงิน,
ผูบริโภคประสบอันตรายตอชีวิตสุขภาพรางกาย, และหลักความพรอมรับผิดในระบอบประชาธิปไตยมลาย
หายสูญไป 

๕) ผลกระทบทางสังคม 162 
-ความไมมนั่ คงหรือความเสีย่ งมากขึ้นทั้งทางการเงินและชีวิตสวนบุคคล (ตามแนวคิด “สังคมแหง
ความเสี่ยง” หรือ risk society ของนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน Ulrich Beck)163 
                                                                                                                                                                         
159
 Klein, The Shock Doctrine, pp. 12 – 14, 379, 381.  
160
 ทักษิณ ชินวัตร, “ทักษิณเปดทําเนียบดึงตางชาติปนเมกะโปรเจ็คตปลุกฝนอนาคตไทย”, มติชนรายวัน, ๒๗ ม.ค. ๒๕๔๙,
น. ๒.
161
 ดูรายละเอียดใน เกษียร เตชะพีระ, “รัฐประหาร ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ กับการเมืองไทย”, รัฐศาสตรสาร, ๒๙: ๓
(กันยายน – ธันวาคม ๒๕๕๑), ๑ – ๘๓.
162
 Mason, “A last chance”.

 
104 
 

-ทุนทางสังคมถูกทําลาย164 
  -อาชญากรรมสูงขึ้นและเชื่อมโยงแผกวางออกไป 165 ทั้งนีย้ ังมิพักตองกลาวถึงขอวิเคราะหวิจารณ
ที่วาการดําเนินแนวนโยบายเสรีนิยมใหมนั้นเองอาจถือเปนอาชญากรรมแบบหนึ่งไดเพราะกอใหเกิดภัย
สังคม (social harm) ซึ่งสงผลเสมือนหนึ่งอาชญากรรม (criminogenic effects) 166 
 
๖) เศรษฐกิจโลกไรเสถียรภาพ 167 
 ภายใตระบอบการเงินเสรีนิยมใหม/โลกาภิวัตน เศรษฐกิจการเงินโลกก็ยิ่งพลิกไหวปนปวนผันผวน

ไมวาจะในแงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, ดัชนีตลาดหุน, และอัตราดอกเบี้ย, อีกทั้งวิกฤตการเงินก็เพิม่ จํานวน
ถี่ขึ้นมาก ดังแผนภูมิขางลางนี้ (โปรดสังเกตความเปลี่ยนแปลงหลังป ค.ศ. ๑๙๗๑) : - 

                                                                                                                                                                         
163
 ดู Ulrich Beck, “Living In The World Risk Society”, Economy and Society,  35:  3 (August 2006), 329 
– 45.  
164
 ดูขอถกเถียงเชิงแนวคิดทฤษฎีโดยนักสังคมวิทยาชั้นนําชาวฝรั่งเศสวานโยบายเสรีนิยมใหมมุงบอนทําลายองคกรรวมหมู
และทุนทางสังคมทั้งปวงไดใน Pierre Bourdieu, Richard Nice, trans., “Neo‐liberalism, the Utopia (Becoming a 
Reality) of Unlimited Exploitation”, Acts of Resistance: Against the Tyranny of the Market (New York: The New 
Press, 1998), pp. 94 – 105. 
165
 ในระดับประเทศ ดูบทความของศาสตราจารยดานอาชญาวิทยาแหง London School of Economics and Political 
Science เกี่ยวกับอังกฤษในประเด็นนี้ไดที่ Robert Reiner, “Be tough on a crucial cause of crime – neoliberalism”, The 
Guardian, 24 November 2005, www.guardian.co.uk/ politics/2005/nov/24/ukcrime.uk/print; ในระดับภูมิภาค ดูบท
บรรณาธิการเกี่ยวกับอเมริกากลางในประเด็นนี้ไดที่ “Globalization is destroying society”, Processo 675, 30 August 1995, 
www.hartford‐hwp.com/archives/ 28/033.html . ในระดับโลก ดูรายงานการศึกษาของสหประชาชาติลาสุดที่ United 
Nations Office on Drugs and Crime, The Globalization of Crime: A Transnational Organized Crime Threat 
Assessment (Vienna: United Nations Office on Drugs and Crime, 2010). 
166
 Ifeanyi Ezeonu, “Crimes of Globalization: Health Care, HIV and the Poverty of Neoliberalism in 
Sub‐Saharan Africa”, International Journal of Social Inquiry, 1: 2 (2008), 113 – 34.  
167
 เนื้อหาสวนนี้ประมวลจาก Wade, “Choking the South”.  

 
105 
 

๕๒) แผนภูมิมติ ลาดเงินตรา แสดงแนวโโนมอัตราสวนของอั


น ตราแลลกเปลี่ยนเงินนตราสกุลหลักต
ก าง ๆ
ตอหนึ่งดอลลลารสหรัฐฯ, คริ
ค สตทศวรรษษที่ ๑๙๖๐ – ๒๐๐๐ 

เสนทึบ DDM/US$ = คคาเงินมารคเยยอรมันตอหนึนึ่งดอลลารสหรั
ห ฐฯ  
เสนไขปลา 100Yen//US$ = คาเงินเยนญี
น ป่ ุนนับบเปนหนวยรอยต
อ อหนึ่งดออลลารสหรัฐฯ  
เสนประ Euro/US$ == คาเงินยูโรตตอหนึ่งดอลลาารสหรัฐฯ 
อัตราสวนที่โนมต่ําลงงบงบอกวาคาเงิ
า นดอลลารลลดลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลต
ล าง ๆ
(อางจาก Wade, “Chhoking the SSouth”, p. 1119) 

 
106 
 

๕๓) แผนภูมิมติ ลาดหุน แสสดงแนวโนมมดัชนีตลาดหุนในญี


น ่ปุน, เยยอรมนี, และสสหรัฐอเมริกา ค.ศ.
๑๙๗๐ – ๒๐๐๕ (กําหนดใหดัชนีตลาดดหุน ป ค.ศ. ๑๙๙๕ มีคา = ๑๐๐)
๑  

เสนประ  = ดัชนีตลาดดหุนญีป่ ุน, เสนไขปลา = ดัชนีตลาดหุนเยอรมัน, เสนทึ


น บ = ดัชนีตตลาดหุนอเมริริกัน 
(อางจาก Wade, “Chhoking the SSouth”, p. 1119)

 
107 
 

๕๔) แผนภูมิมอิ ัตราดอกเบี้ย แสดงอัตราาดอกเบี้ยทีแ่ ททจริงในญี่ปน,


นุ เยอรมนี, สสหรัฐอเมริกา,, และ ๑๔
ประเทศรายไไดต่ํา คริสตทศวรรษ ๑๙๘๐ – ๒๐๐๐ (หหนวยเปนรอยละ) 

๑๔ ประเทศรายไดตาซึา่ํ ่งเลือกจากปประเทศที่มีฐาานขอมูลไดแก บังคลาเทศศ, แคเมอรูน, สสาธารณรัฐ


แอฟริกากลาง, ชาด, สาธารณรั
ส ฐคอองโก, แกมเบีบีย, อินเดีย, เคนยา, เลโซโทท, มาลาวี, ไนนจีเรีย, เซียรราลี
า โอน,
แซมเบีย, ซิมบับเว 
(อางจาก Wade, “Chhoking the SSouth”, p. 1220)

 
108 
 

๕๕) แผนภูมิมคิ วามถี่ของวิวิกฤต แสดงรออยละของโอกกาสที่จะเกิดวิกฤต/ป ใน ๔ ชวงระยะเววลา (ชวง


สุดทายแสดงง ๒ กลุมประเทศ) 

Bankingg crises = วิกฤตธนาคาร,
ก Currency c rises = วิกฤต
ตเงินตรา, Tw
win crises = วิ กฤตฝาแฝดข
ของ
ธนาคารกกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรรา, All crisess = รวมวิกฤตตทั้งหมด 
แทงกราฟฟ ๔ กลุมแรกกแสดงวิกฤตใในประเทศอุตตสาหกรรมกาวหนาและปประเทศตลาดเเกิดใหม ๒๑ ประเทศ
แทงกราฟฟกลุม ที่ ๕ รววมเอาขอมูลเพพิ่มเติมจากปรระเทศกําลังพัฒนา ๓๕ ปรระเทศเขามาดดวยเปนทั้งสิน้ ๕๖
ประเทศ
(อางจาก Wade, “Chhoking the SSouth”, p. 1220)
 

 
109 
 

สรุป

ถึงแมวิกฤตซับไพรมในสหรัฐอเมริกาที่ปะทุขึ้นเมื่อสิงหาคม ค.ศ. ๒๐๐๗ และเศรษฐกิจโลกถด


ถอยใหญในป ค.ศ. ๒๐๐๙ 168 จะทําลายอํานาจนําและความชอบธรรมของแนวนโยบายเสรีนิยมใหม/
โลกาภิวัตนลงและนําไปสูฉนั ทมติอันกวางขวางวาลัทธิเสรีนิยมใหมลม ละลายแลวทางภูมิปญญา 169 แต
กระนั้นก็ใชวาเสรีนิยมใหมทงั้ ในแงลัทธิอุดมการณและแนวนโยบายเศรษฐกิจจะปลาสนาการไปสิ้นในชัว่
เวลาอันสั้น ตรงกันขาม ทั้ง ๆ ที่เห็น ๆ กันอยูวาระเบียบเศรษฐกิจการเงินโลกาภิวตั น/เสรีนิยมใหมเปนยักษ
ตีนเลนที่เหลวไหลและอันตรายรายแรงเพียงไหน สามารถนําไปสูอะไร ทวานักเศรษฐศาสตร170
สถาบันวิจัยคลังสมอง171 รัฐบาล 172และองคกรโลกบาลทางเศรษฐกิจตาง ๆ 173จํานวนไมนอ ยทั่วโลกก็
ยังยืนกรานทองบนเทศนาและดําเนินรอยตามแนวคิดและนโยบายดังกลาวแบบใดแบบหนึ่งอยางดื้อดึง  
                                                       
168
 World Bank, Global Economic Prospects 2010, Table O.1 A modest recovery, p. 3. 
ขอมูลทางการลาสุดที่ประกาศโดย National Bureau of Economic Research คือภาวะเศรษฐกิจถดถอยของอเมริกาอัน
เปนผลกระทบจากวิกฤตซับไพรมครั้งนี้ยาวนาน ๑๘ เดือนจากมกราคม ค.ศ. ๒๐๐๘ ถึงมิถุนายน ค.ศ. ๒๐๐๙ ดู “15 Months Out of 
Recession, but Not Feeling Like It,” VOA Special English, broadcast 24 September 2010, www.voanews.com/ 
learningenglish/home/15‐Months‐Out‐of‐Recession‐but‐Not‐Feeling‐Like‐It‐‐103690954.html  
169
 อาทิเชนนักเศรษฐศาสตรรางวัลโนเบลอยาง Paul Krugman, “How Did Economists Get It So Wrong?”, The 
New York Times Magazine, published 2 September 2009,www.nytimes. com/2009/09/06/magazine/ 
06Economic‐t.html?_r=2&em=&pagewant; และ Joseph Stiglitz, “Chapter 9 Reforming Economics”, Freefall 
(New York: Allen Lane, 2010), pp. 238 – 74. นักปรัชญาการเมืองอยาง John Gray, “The end of a dream”, New 
Statesman, published 10 December 2009, www.newstatesman.com/print/200912100029; นักเขียนนักหนังสือพิมพ
อยาง Mason, “Chapter 7 Helping Is Futile: The Life and Death of Neoliberal Ideology”, Meltdown, pp. 118 ‐ 42; 
Cassidy, How Markets Fail; Adam Curtis, “The Economists’ New Clothes”, The Medium and the Message, 
created 23 February 2010, www.bbc.co.uk/blogs/adamcurtis/2010/02/the_economists_new_clothes.html; และ
Naomi Klein, “Wall St. Crisis Should Be for Neoliberalism What Fall of Berlin Wall Was for Communism”, 
Democracy Now!, created 6 October 2008, www.democracynow.org/2008/10/6/ naomi_klein.  
170
 เชนบรรดานักเศรษฐศาสตรอเมริกันที่รวมกอตั้งและทํางานแวดลอมสถาบันวิจัย Milton Friedman Institute ณ
มหาวิทยาลัยชิคาโกในป ค.ศ. ๒๐๐๙ ดูเว็บไซตของสถาบันไดที่ mfi.uchicago.edu/index.shtml; หรือกลุมนักเศรษฐศาสตรอนุรักษ
นิยมอังกฤษที่เรียกรองใหรัฐบาลที่จะไดรับเลือกตั้งเขามาใหมตัดลดงบประมาณลงทามกลางการฟนตัวทางเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง Tim 
Besley, et al, “UK economy cries out for credible rescue plan”, The Sunday Times, published 14 February 2010, 
www.timesonline.co.uk/tol/comment/letters/article7026234.ece. 
171
 อาทิ Ludwig von Mises Institute mises.org/, The Cato Institute www.cato.org/, The Heritage 
Foundation www.heritage.org/, The American Enterprise Institute for Public Policy Research www.aei.org/ 
home, เปนตน ขอเสนอในปจจุบน
ั ก็เชนใหรัฐตัดลดงบประมาณกระตุนเศรษฐกิจลงโดยดวน, รัฐไมควรเขาไปยุงเกี่ยวแทรกแซงระบบ
ประกันสุขภาพและอุตสาหกรรมการแพทยและสาธารณสุขของเอกชน, ปกปองสงเสริมระบบคูปอง-โรงเรียนจดทะเบียนแทนระบบ
โรงเรียนรัฐบาล, เนนหนักคุณคาเรื่องเสรีภาพทางเศรษฐกิจและการจํากัดอํานาจหนาที่รัฐบาลอยางคอนขางเอนเอียงดานเดียว เปนตน
172
 เชน รัฐบาลกรีซ, สเปน, อังกฤษ, ฝรั่งเศสตางมุงมั่นดําเนินนโยบายรัดเข็มขัดทางการคลัง (fiscal austerity) ดวยการตัด
ทอนจํากัดการขาดดุลงบประมาณและปรับลดสวัสดิการบํานาญลงทั้งที่เศรษฐกิจตกต่ํา แทนที่จะใชจายงบประมาณรัฐบาลกระตุน
เศรษฐกิจและการบริโภคของประชาชนตอไป ดู Tariq Ali and Mark Weisbrot, “The People of Greece Are Fighting for the 

 
110 
 

ในความเห็นของผูวิจัย ที่เปนเชนนีก้ ็เพราะมูลเหตุอยางนอย ๓ ประการ ไดแก: ‐ 


๑) ความเฉื่อยทางสถาบันและ/หรือภูมิปญญา (institutional/intellectual iniertia) กลาวคือ
แบบแผนการปฏิบัติ, กฎกติกา (หรือการลดเลิกกฎกติกา) และหนวยงานที่กอตั้งขึ้นภายใต
ระเบียบเศรษฐกิจการเงินเสรีนิยมใหม/โลกาภิวัตนยังคงดําเนินงานของมันตอไปเชนเดิมแม
ระเบียบดังกลาวจะทําใหเศรษฐกิจพังทลายและพิสูจนตวั มันเองแลววาใชการไมไดแถมยังกอ
เภทภัย,174 สวนนักวิชาการ, นักการเมือง/เจาหนาที่ผูวางนโยบาย, และเทคโนแครตที่ไดลงทุน
ทั้งความคิดจิตใจและการปฏิบัติใหลัทธิเสรีนิยมใหมไปสุดตัว ฝงใจศรัทธาเชื่อถือมันอยางหัว
ปกหัวปามาโดยตลอด กระทั่งอาจไตเตาไดดิบไดดีเปนใหญเปนโตในการงานอาชีพขึ้นมาก็ดว ย
เปนปากเสียงรางทรงใหลัทธินี้ ยอมไมงายที่จะฟนฝาเอาชนะอาการยึดมั่นถือมั่นแรงกลาขึ้น
เรื่อย ๆ ในทางจิตวิทยา (escalating commitment) เพือ่ เปลี่ยนกระบวนทัศนได, 175 ยังไม
พูดถึงกรณีที่บคุ คล, สถาบัน, กลุมที่เกี่ยวของอาจมีผลประโยชนไดเสียผูกพัน (vested 
interest) ในแนวนโยบายหรือลัทธิความเชื่อดังกลาว
176
 

                                                                                                                                                                         
Whole of Europe”, Democracy Now!, broadcast 11 May 2010, www.democracynow.org/2010/5/11/ 
the_people_of_greece_are_fighting; Mark Weisbrot and Juan Montecino, “Alternatives to Fiscal Austerity in 
Spain”, Center for Economic and Policy Research, accessed 24 July 2010, www.cepr.net/documents/ 
publications/spain‐2010‐07.pdf; Carsten Volkery, “Cameron's Risky Shock Therapy”, Spiegel Online, created 20 
October 2010, www.spiegel.de/international/business/ 0,1518,724275,00.html; Diana Johnstone, “French Fury 
in the EU Cage”, CounterPunch, created 21 October 2010, counterpunch.org/johnstone10212010.html.  
173
 เชน กองทุนการเงินระหวางประเทศและสหภาพยุโรป ดู Mark Weisbrot, “The E.U.’s Dangerous Game”, New 
York Times, published 12 May 2010, www.nytimes.com/2010/05/13/opinion/13iht‐edweisbrot.html; Mark 
Weisbrot and Juan Montecino, “The IMF and Economic Recovery: Is Fund Policy Contributing to Downside 
Risks?”, Center for Economic and Policy Research, accessed 22 October 2010, http://www.cepr.net/ 
documents/publications/imf‐and‐economic‐recovery‐2010‐10.pdf. 
174
 กรณีเชนนี้มีตั้งแตระดับกองทุนการเงินระหวางประเทศ, ธนาคารกลางยุโรป, ไปจนถึงหนวยดับเพลิงทองถิ่นประจําเทศ
มณฑลโอบีออนในมลรัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา ซึ่งยืนดูดายปลอยใหบานหลังหนึ่งถูกไฟเผาวอดทั้งหลังไมเขาไปชวยดับเพราะเจาบาน
ไมไดชําระคาธรรมเนียมปองกันอัคคีภัยปละ ๗๕ ดอลลารสหรัฐฯใหทางการเทศมณฑล ตามหลักลดภาษี-ลดอํานาจหนาที่รัฐ-ปจเจก
บุคคลดูแลรับผิดชอบตัวเองของเสรีนิยมใหม ดู Mark Weisbrot, et al, “IMF‐Supported Macroeconomic Policies and the 
World Recession: A Look at Forty‐One Borrowing Countries”, Center for Economic and Policy Research, 
accessed 24 October 2010, www.cepr.net/documents/publications/imf‐2009‐10.pdf; Mark Weisbrot, 
“Eurozone crisis is self‐inflicted”, The Guardian, created 26 May 2010, www.guardian.co.uk/commentisfree/ 
cifamerica/2010/may/26/eurozone‐crisis‐austerity‐euro; และ Bret Matthew, “Book of Matthew: Protect your 
local government from conservative insanity”, The Brandeis Hoot, created 8 October 2010, thebrandeishoot. 
com/articles/8559/print/ . 
175
 Stiglitz, Freefall, pp. 47 – 48.  
176
 ดูหัวขอ “การครอบงําของกลุมทุนการเงินเหนือรัฐอเมริกัน (the Financialization of the American state)” หนา
๓๑ – ๓๖ ของรายงานวิจัยฉบับนี้

 
111 
 

๒) การเปลี่ยนยายกระบวนทัศนทางลัทธิความเชื่อและแนวนโยบายใหพนออกไปจากเสรีนิยมใหม
เกิดขึ้นคอนขางยากในภาวะที่ปราศจากชุดลัทธิความเชื่อและแนวนโยบายใหมตางหากเปน
วิสัยทัศนทางเลือกคอยตอกรทาทาย นับแตการลมสลายของคายคอมมิวนิสตและสิ้นสุด
สงครามเย็นเมือ่ ป ค.ศ. ๑๙๙๑ เปนตนมา ลัทธิมารกซิสต-คอมมิวนิสตและแนวนโยบายสังคม
นิยมก็ออนดอยพลังลง ไมไดอยูในฐานะตัวเลือก-ทางเลือกคูปรับของระบบทุนนิยมอยางที่มนั
เคยเปนภายหลังการปฏิวัติสังคมนิยมรัสเซียป ค.ศ. ๑๙๑๗ อีกตอไป177 สภาพเสียดุลเอียง
กระเทเรทางอุดมการณและนโยบายเศรษฐกิจการเมืองระดับโลกดังกลาวเปดชองใหลัทธิเสรี
นิยมใหม/โลกาภิวัตนที่สนับสนุนระบบทุนนิยมตลาดเสรีสุดโตงผงาดขึ้นครองอํานาจนําปกแผ
ไปทั่วโลกโดยปราศจากคูตอสูทาทายที่พอฟดพอเหวีย่ งกันคอยทัดทานถวงดุล แมจนเมื่อเกิด
การเคลื่อนไหวของมวลชนนานาประเทศขึ้นตอสูทาทายมันอยางกวางขวางนับแตกลางคริสต
ทศวรรษที่ ๑๙๙๐ เปนตนมาก็แลว178 เกิดวิกฤตซับไพรมและเศรษฐกิจถดถอยใหญทั่วโลกใน
ปจจุบันก็แลว ทวาก็ยังไมอาจขามพน (transcend) เสรีนิยมใหมในทางอุดมการณและ
แนวนโยบายได กลายเปนวาเสรีนิยมใหมทอี่ าจจะผานการปรุงแตงเพิ่มกฎเกณฑกํากับเขาไป
เล็กนอยจะคงทนครอบงําอยูสืบไปโดยปริยาย (by default) ไมใชเพราะมันประสบความ
สําเร็จอยางงดงามเบ็ดเสร็จหรือเหนือกวาอยางสิ้นสงสัย แตหากเพราะไมมีวิสัยทัศนทางเลือก
อื่น – ไมวาภายในกรอบระบบทุนนิยมหรือนอกเหนือออกไป – มาทดแทนตางหาก 179 

                                                       
177
 จนปญญาชนอนุรกั ษนิยมใหมอยาง Francis Fukuyama บังอาจประกาศอยางโดงดังอหังการวาประวัติวิวัฒนาการทาง
อุดมการณของมนุษยชาติไดอวสานลงดวยระบอบเสรีประชาธิปไตยและระบบทุนนิยมตลาดเสรีแบบตะวันตกแลว ดู Francis 
Fukuyama, The End of History and the Last Man (New York: Penguin Books, 1992). 
178
 ดู Tom Mertes, ed., A Movement of Movements: Is Another World Really Possible? (London and 
New York: Verso, 2004).  
179
 Stiglitz, Freefall, pp. 35 – 37; Walden Bello, “Neoliberalism: A survivor by default”, BusinessMirror, 
created 18 November 2009, www.businessmirror.com.ph/home/opinion/18706‐neoliberalism‐a‐survivor‐by‐
default.html; Susan Watkins, “Editorial: Shifting Sands”, New Left Review, II/61 (January – February 2010), 5 – 
27.  
อยางไรก็ตาม ใชวาความพยายามนําเสนอวิสัยทัศนทางเลือกทั้งในและนอกระบบทุนนิยมดังกลาวจะไมมีเสียเลย ที่นาสนใจจับ
ตาไดแก 1) Joseph Stiglitz, et al, “Recommendations by the Commission of Experts of the President of the 
General Assembly on reforms of the international monetary and financial system”, United Nations, created 19 
March 2009, www.un.org/ga/president/63/letters/recommendationExperts200309.pdf; 2)  Joseph Stiglitz, 
Amartya Sen, and Jean‐Paul Fitoussi, “Report by the Commission on the Measurement of Economic 
Performance and Social Progress Presented to the President of the French Republic”, accessed 20 September 
2009, www.stiglitz‐sen‐fitoussi.fr; 3) “Ten Theses on New Developmentalism”, Institut d’ études internationales 
de Montréal, accessed 24 October 2010, www.ieim.uqam.ca/IMG/pdf/guillen‐strategies‐2010.pdf; 4) John 
Cavanagh, and Jerry Mander, et al, Alternatives to Economic Globalization: A Better World Is Possible; A 

 
112 
 

๓) นอกจากแรงเฉื่อยถวงทานขัดขวางทั้งทางสถาบัน บุคคล จิตวิทยาและกลุมผลประโยชน-


ชนชั้น, ปญหาการยังไมปรากฏวิสัยทัศนทางเลือกอื่นในและนอกระบบทุนนิยมแลว, สุดทายก็
คือการไมมีขบวนการจัดตั้งทางการเมืองของมวลชนเปนกลุมกอนทั้งในระดับประเทศและขาม
ชาติเปนฐานพลังผลักดันใหวิสัยทัศนและแนวนโยบายทางเลือกอื่นทีต่ อตานเสรินิยมใหม/
โลกาภิวัตนถูกนําไปปฏิบัติดาํ เนินการจริงดวยอํานาจรัฐ/อํานาจสาธารณะรูปใดรูปหนึง่ ใน
ลักษณะทํานองเดียวกับที่ลัทธิมารกซิสต-คอมมิวนิสตเคยมีพรรคคอมมิวนิสตในประเทศตาง ๆ
และองคการโคมินเทอรนระดับสากลนั่นเอง ซึ่งในระยะอันใกลนี้ ก็ยังไมเห็นความเปนไปได
ดังกลาวชัดเจน180 อยางไรก็ตาม การรวมกลุม ประเทศละตินอเมริกาที่มีรฐั บาลของ
ประธานาธิบดีฮิวโก ชาเวซแหงเวเนซุเอลาเปนแกนนําดวยทาทีประชานิยม-ชาตินิยมเอียงซาย
และตอตานอเมริกัน-ตอตานเสรีนิยมใหม/โลกาภิวัตน เปนแนวโนมสําคัญทางการเมืองภูมิภาค
และโลกที่นาจับตาสังเกตติดตามตอไป 181
 

                                                                                                                                                                         
Report of The International Forum on Globalization (San Francisco: Berrett‐Koehler Publishers, Inc., 2002); และ
5) Michael Albert, Parecon: Life after Capitalism (London and New York: Verso, 2003).  
180
 Perry Anderson, “Editorial: Jottings on the Conjuncture”, New Left Review, II/48 (November‐
December 2007), 5 – 37. การเคลื่อนไหวที่ใกลเคียงกับขบวนการตอตานเสรีนิยมใหม/โลกาภิวัตนระดับโลกที่สุดในปจจุบันคือ 
World Social Forum แตก็มีจุดออนที่ยังกําหนดบทบาทตัวเองไมถนัดชัดเจน ดู Walden Bello, “At a crossroads”, Frontline, 
24: 18 (21 September 2007), www.flonnet.com/fl2418/stories/20070921505306330.htm.
181
 Tariq Ali, Pirates of the Caribbean: Axis of Hope (London and New York: Verso, 2006); และ Marta 
Harnecker, “Latin America & Twenty‐First Century Socialism: Inventing to Avoid Mistakes”, Monthly Review, 
62:3 (July‐August 2010) www.monthlyreview.org/100701harneckerIntro.php.  

 
ภาคผนวกรายงานการวิจัยเศรษฐกิจโลกถดถอยครั้งใหญ
“คูมือซับไพรม”
โดย
ร.ศ. ดร. เกษียร เตชะพีระ
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 1


คูมือซับไพรม

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 2


ที่บริษัทนายหนารับจํานองบาน.....

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 3


บริษัทนายหนารับจํานองมือเอก
“เราทําฝนของคุณใหเปนจริง”
-งา..ผมอยากซื้อบานแตไมไดออมเงินเปนคาดาวนบานไวเลยและผมไมคิดวาจะมีปญญาจายคาผอนบานราย
เดือนดวย คุณจะชวยผมไดไหมครับ?
-แนนอนครับ! ในเมื่อมูลคาบานคุณมีแตจะยิ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ เราไมตองเรียกเงินดาวนอีกตอไปแลว!

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 4


บริษัทนายหนารับจํานองมือเอก
“เราทําฝนของคุณใหเปนจริง”
-แถมเรายังคิดอัตราดอกเบี้ยคุณต่ํามาก ๆ ในสองสามปแรกดวย แลวคอยขึ้นดอกเบี้ยทีหลัง โอเคไหมครับ?
-ไดแนครับ ไมมีปญหา อืมมม มีอีกเรื่องครับ...คือนายจางผมมันแสบจริง ๆ และอาจไมยอมรับรองวามันจางงานผม นั่น
จะเปนปญหาไหมครับ?
-ไมครับ เราจัด “เงินกูขี้ฮก” แบบพิเศษใหคุณได แลวคุณก็สามารถรับรองการงานและรายไดของคุณเองเลย!

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 5


บริษัทนายหนารับจํานองมือเอก
“เราทําฝนของคุณใหเปนจริง”
-พวกคุณนี่ยอดจริง ๆ! คุณเต็มใจจะทํางานกับคนอยางผม
-เอาเขาจริงไมใชเราหรอกครับที่ปลอยกูใหกับคุณ – ธนาคารตางหากที่ปลอย – ดังนั้นจริง ๆ แลวเราก็ไมแครวาคุณจะ
จายหนี้คืนหรือไม เพราะถึงไงเราก็ยังไดคานายหนาของเรา
-โอโฮ! งั้นเรามาเริ่มกันเลยดีกวา!

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 6


ไมกี่สัปดาหตอมา, ที่ธนาคาร......

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 7


ธนาคารเอกธนาเทศ
“เปดบัญชีคริสตมาสคลับของคุณเสียวันนี”้
-แฟมจํานองบานใหม
-เห็นทาจะตองกําจัดหนี้จํานองบานเนา ๆพวกนี้ทิ้งดีกวา มันชักจะสงกลิ่นตุ ๆ ตลบออฟฟศอั๊วหมดแลว โชคดีที่
ไอพวกหัวใสในนิวยอรกจะซื้อมันไปปลุกเสกดวยมนตวิเศษทางการเงิน! วาแลวก็โทรฯหามันซะเดี๋ยวนี้เลย!

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 8


มาดูทีรึวาไอพวกหัวใสกําลังทําอะไรกันอยู...

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 9


ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท
“จงไวใจพวกหัวใสอยางเราใหดูแลการลงทุนทั้งหมดของคุณ”
-อื้อหือ!!! รีบกําจัดหนี้จํานองขี้หมาพวกนี้ทิ้งกอนแมลงวันจะมาตอมดีกวา

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 10


ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท
“จงไวใจพวกหัวใสอยางเราใหดูแลการลงทุนทั้งหมดของคุณ”
-แตใครจะซื้อของเนา ๆ พวกนี้ละครับนาย?

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 11


ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท
“จงไวใจพวกหัวใสอยางเราใหดูแลการลงทุนทั้งหมดของคุณ”
-เฮยอั๊วรูวิธี! กอนอื่นเราจะสรางหลักทรัพยตัวใหมแลวใชหนี้จํานองเนาๆ พวกนี้เปนหลักค้ําประกัน เราจะเรียกมันวาซีดีโอ
(หรือซีเอ็มโอก็ได) แลวเราก็ขายซีดีโอนั่นใหพวกนักลงทุนและสัญญาวาจะจายคืนพวกมันเมื่อมีการชําระหนี้จํานอง
(CDO = ตราสารหนี้ที่มีหลักทรัพยค้ําประกัน; CMO = ตราสารหนี้จํานองที่มีหลักทรัพยค้ําประกัน)

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 12


ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท
“จงไวใจพวกหัวใสอยางเราใหดูแลการลงทุนทั้งหมดของคุณ”
-แตของเนามันก็ตองเนาวันยังค่ําไมใชหรือครับนาย? ผมไมเขาใจ

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 13


ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท
“จงไวใจพวกหัวใสอยางเราใหดูแลการลงทุนทั้งหมดของคุณ”
-ก็แหงละวะ หนี้พวกนี้ถาดูเปนราย ๆ มันก็คอนขางเนาแหละ แตถาเราเอามันมากองรวมกัน ก็จะมีแคบางราย
เทานั้นที่กลายเปนหนี้เสีย – ไมมีทางที่มันจะเสียไปทั้งหมด และในเมื่อราคาบานมีแตขึ้นกับขึ้น เอาเขาจริงเราก็มี
เรื่องใหกังวลนอยมาก

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 14


ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท
“จงไวใจพวกหัวใสอยางเราใหดูแลการลงทุนทั้งหมดของคุณ”
-ผมก็ยังไมเขาใจอยูดี

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 15


ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท
“จงไวใจพวกหัวใสอยางเราใหดูแลการลงทุนทั้งหมดของคุณ”
-ซีดีโอใหมมันจะทํางานอยางนี้นะ มันจะประกอบไปดวย ๓ สวน (หรือ “ทอน”) เราจะเรียกมันวา “ของดี”, “ของ
ไมคอยดี” และ “ของหวย”

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 16


ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท
“จงไวใจพวกหัวใสอยางเราใหดูแลการลงทุนทั้งหมดของคุณ”
-ถาหนี้จํานองบางรายกลายเปนหนี้เสียซึ่งก็คงมีอยูบางแหละนะ เราก็สัญญาวาจะจายนักลงทุนที่ถือทอน “ดี”
กอนเพื่อน จากนั้นเราจะจายนักลงทุนที่ถือทอน “ไมคอยดี” เปนอับดับสอง และจายนักลงทุนที่ถือทอน “หวย” ที
หลังสุด

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 17


ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท
“จงไวใจพวกหัวใสอยางเราใหดูแลการลงทุนทั้งหมดของคุณ”
-ผมชักเขาใจแลวละครับ และเนื่องจากนักลงทุนทอน “ดี” เสี่ยงนอยที่สุด เราก็จะจายดอกเบี้ยใหเขาในอัตราต่ํา
กวาคนอื่นใชไหมครับ? พวกนักลงทุนทอน “ไมคอยดี” ก็จะไดดอกเบี้ยในอัตราดีขึ้นและพวกลงทุนทอน “หวย” ก็
จะไดดอกเบี้ยเยอะในอัตราอยางงามเลยทีเดียว

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 18


ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท
“จงไวใจพวกหัวใสอยางเราใหดูแลการลงทุนทั้งหมดของคุณ”
-ใชเลย แตรอกอน ยังมีดีกวานี้อีก เราจะซื้อประกันหุนกูใหกับทอน “ดี” ถาเราทําแบบนั้นละก็ สถาบันจัดอันดับความ
นาเชื่อถือในการลงทุนจะจัดอันดับยอดเยี่ยมระหวาง AAA ถึง A ใหมันเลยทีเดียว สถาบันพวกนั้นนาจะจัดอันดับทอน
“ไมคอยดี” ระหวาง BBB ถึง B ซึ่งก็ยังนับวาคอนขางดี สวนทอน “หวย” นั้น เราจะไมแมแตเอยปากขอใหสถาบันพวก
นั้นจัดอันดับมันดวยซ้ําไป

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 19


ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท
“จงไวใจพวกหัวใสอยางเราใหดูแลการลงทุนทั้งหมดของคุณ”
-เปนอันวาเจานายสามารถสรางหลักทรัพยระดับ AAA และ BBB ขึ้นมาจากกองหนี้จํานองเหม็นเนาความ
เสี่ยงสูงพวกนี้ นายครับ นายนี่อัจฉริยะจริง ๆ
-เออ ขารู

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 20


ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท
“จงไวใจพวกหัวใสอยางเราใหดูแลการลงทุนทั้งหมดของคุณ”
-แลวเราจะเอาไอหลักทรัพย ๓ ทอนนี่ไปขายใครละครับนาย?

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 21


ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท
“จงไวใจพวกหัวใสอยางเราใหดูแลการลงทุนทั้งหมดของคุณ”
-ไอพวกบัดซบที่ก.ล.ต.มันไมยอมใหเราขายของพวกนี้ใหแมมายกับเด็กกําพราวะ ดังนั้นเราก็เลยจะขายมันให
ลูกคาสถาบันผูเปรื่องปราดรอบรูของเรา

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 22


ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท
“จงไวใจพวกหัวใสอยางเราใหดูแลการลงทุนทั้งหมดของคุณ”
-อยางบริษัทประกันภัยเอย ธนาคารเอย เมืองเล็ก ๆ ในนอรเวยเอย คณะกรรมการโรงเรียนในมลรัฐแคนซัสเอย -
สรุปคือใครก็ไดที่กําลังมองหาการลงทุนคุณภาพสูงที่ปลอดภัยอยู

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 23


ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท
“จงไวใจพวกหัวใสอยางเราใหดูแลการลงทุนทั้งหมดของคุณ”
-แตคงไมมีใครยอมซื้อหลักทรัพยทอน “หวย” ใชไหมครับ?
-ไมมีหรอก – ไมมีใครหนาโงขนาดนั้น เราจะเก็บมันไวแลวคิดดอกเบี้ยอัตราอยางงามเขากระเปาเราเองสบายใจ
เฉิบ

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 24


ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท
“จงไวใจพวกหัวใสอยางเราใหดูแลการลงทุนทั้งหมดของคุณ”
-เจงมากครับ แตวาเนื่องจากเราแคใชหนี้จํานองกลิ่นตุ ๆ มาค้ําประกันหลักทรัพยใหมเอี่ยมออง เอาเขาจริงเราก็
ไมไดกําจัดมันทิ้งอยูดี อยางงี้เรามิตองแสดงมันไวในรายการงบดุลของเราหรือครับ?

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 25


ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท
“จงไวใจพวกหัวใสอยางเราใหดูแลการลงทุนทั้งหมดของคุณ”
-ไมตองหรอกวะ ไอหมอที่วางกฏระเบียบการทําบัญชีมันยอมใหเราตั้งบริษัทกํามะลอในหมูเกาะเคยแมนมาถือ
ครองหนี้จํานองพวกนี้ ของเนากองนี้ก็จะไปอยูในงบดุลบริษัทพวกนั้น ไมใชบริษัทเรา ชื่อวิลิศมาหราของมันก็คือ
“นิติบุคคลเฉพาะกิจ” หรือ นฉก.

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 26


ธนาคารวาณิชธนกิจพหสแหงวอลล สตรีท
“จงไวใจพวกหัวใสอยางเราใหดูแลการลงทุนทั้งหมดของคุณ”
-ยอดเลยครับ แตไหงพวกมันปลอยใหเราทําอยางงั้นละครับ เราก็แคยายของเนาของเราไปเรื่อย ๆ ไมใชหรือครับ?
-ใช แตเรากลอมใหพวกนั้นเชื่อวามันสําคัญตอสุขภาพระบบการเงินสหรัฐฯยิ่งที่พวกนักลงทุนจะตองไมรูเรื่องธุรกรรม
ซับซอนเหลานี้รวมทั้งเบื้องหลังของมัน

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 27


ไปแวะเยี่ยมผูตรวจสอบบัญชีกันหนอยนะครับ.....

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 28


สํานักหัวหนาผูตรวจสอบบัญชี
“ไมมีไขเหาที่ไหนเล็กเกินกวาเราจะตามไปแคะ”
-ทานขอรับ ในฐานะนักลงทุนและพลเมืองผูหวงใย ผมขอเรียกรองใหทานบังคับสถาบันการเงินของเราใหแสดง
ความโปรงใสและเปดเผยมากกวานี้ในรายงานการเงินของพวกเขา!

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 29


สํานักหัวหนาผูตรวจสอบบัญชี
“ไมมีไขเหาที่ไหนเล็กเกินกวาเราจะตามไปแคะ”
-ไอหาเอย

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 30


แหม, เราคาดไมถึงเลยวามันจะเกิดขึ้น.....

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 31


กองทุนบํานาญหมูบานในนอรเวย/ธนาคารวาณิชธนกิจพหส
-เฮยคุณ เกิดอะไรขึ้นวะ? ทําไมเราถึงไมไดรับคาตอบแทนรายเดือนของเรา

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 32


กองทุนบํานาญหมูบานในนอรเวย/ธนาคารวาณิชธนกิจพหส
-ครับ ผมตั้งใจวาจะโทรฯหาคุณอยูแตเผอิญที่นี่มันยุงเปนบาเลย ดูเหมือนวาไอพวกบัดซบที่กูหนี้โดยเอาบานมา
จํานองค้ําประกันซีดีโอของคุณนะ มันไมมีปญญาจายหนี้คืนครับ

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 33


กองทุนบํานาญหมูบานในนอรเวย/ธนาคารวาณิชธนกิจพหส
-อาว เดี๋ยวกอน! เราซื้อทอน “ดี” AAA ของซีดีโอนะ คุณรูหรือเปลา? ไอที่วาปลอดภัยนะ เราควรตองไดชําระคืน
กอนเพื่อนซี่

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 34


กองทุนบํานาญหมูบานในนอรเวย/ธนาคารวาณิชธนกิจพหส
-แหมโชครายครับที่หนี้พวกนี้มันเนากวาที่เราคิดตอนแรกเยอะและมีเงินสดเขามานอยมาก พูดตรง ๆ นะครับ เรา
รับรองกับคุณไดวาเราก็ผิดหวังพอ ๆ กับคุณนั่นแหละ

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 35


กองทุนบํานาญหมูบานในนอรเวย/ธนาคารวาณิชธนกิจพหส
-แตคุณบอกผมวาราคาบานมีแตขึ้นกับขึ้นและลูกหนี้ของคุณก็สามารถกอหนี้ใหมชดใชหนี้จํานองเกาไดเสมอนี่
นา

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 36


กองทุนบํานาญหมูบานในนอรเวย/ธนาคารวาณิชธนกิจพหส
-ใชครับ แตนั่นมันเปนการสันนิษฐานผิด เราพลาดไปแลว โทษที

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 37


กองทุนบํานาญหมูบานในนอรเวย/ธนาคารวาณิชธนกิจพหส
-สันนิษฐานผิด ฉิบหายเอย! แลวไอ AAA ที่สถาบันจัดอันดับจัดใหละวาไง?

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 38


กองทุนบํานาญหมูบานในนอรเวย/ธนาคารวาณิชธนกิจพหส
-พวกนั้นก็พลาดเหมือนกัน

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 39


กองทุนบํานาญหมูบานในนอรเวย/ธนาคารวาณิชธนกิจพหส
-แตหลักทรัพยนี้มีประกันนี่หวา! แลวบริษัทรับประกันละ?

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 40


กองทุนบํานาญหมูบานในนอรเวย/ธนาคารวาณิชธนกิจพหส
-คุณลอเลนหรือเปลา? ไมมีทางที่พวกนั้นจะกันเงินสํารองไวพอจายขยะทั้งหมดนี่หรอก พวกมันก็พลาด
เหมือนกัน

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 41


กองทุนบํานาญหมูบานในนอรเวย/ธนาคารวาณิชธนกิจพหส
-ยอดมาก ไอบัดซบเอย! แลวจะใหผมบอกลูกบานผมวาไงหือ?

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 42


กองทุนบํานาญหมูบานในนอรเวย/ธนาคารวาณิชธนกิจพหส
-ก็บอกเขาวาคุณพลาดซีครับ

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 43


กองทุนบํานาญหมูบานในนอรเวย/ธนาคารวาณิชธนกิจพหส
-เอ็ดแออึง

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 44


กองทุนบํานาญหมูบานในนอรเวย/ธนาคารวาณิชธนกิจพหส
-เอ็ดแออึงซีวะ

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 45


อวสาน

25/10/53 ภาคผนวก: คูมือซับไพรม 46

You might also like