คู่มือการปรับแต่งหัวเผา

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 108

โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม

ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535


คูมือการปรับแตงหัวเผา

คํานํา
กรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึง่ มีอาํ นาจหนาทีก่ าํ กับดูแลการประกอบกิจการโรงงานใหเกิดความ
ปลอดภัยตอคน ทรัพยสนิ ชุมชน สิง่ แวดลอม และสงเสริมการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมได
ดําเนินโครงการอนุรกั ษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมทีน่ อกเหนือจากโรงงานควบคุมตามพระราชบัญญัติ
การสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535 (งบประมาณป 2547) โดยมีวัตถุประสงคเพื่อใหผูประกอบ
กิจการอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดเล็กมีความเขาใจการปฏิบตั ิ วิเคราะหประเมินการอนุรกั ษพลังงาน
ในโรงงานของตัวเอง สรางแนวทางมาตรการ และยกระดับการปฏิบัติงานใหเกิดการอนุรักษพลังงานใน
โรงงานอยางแทจริง รวมทั้งการลดการใชพลังงานในภาคอุตสาหกรรมและในระดับประเทศ
คูม อื การปรับแตงหัวเผาฉบับนีเ้ ปนหนึง่ ในผลการดําเนินงานดังกลาว โดยคูม อื ฉบับนีไ้ ดเสนอแนะ
แนวทางหลั ก การและเทคนิ ค การปรับ แตง หัว เผาน้ํามั น ในหม อ ไอน้ํา สําหรับ ใชเ ปน แนวทางใหผู
ประกอบการนําไปปฏิบัติ เพื่อลดปริมาณและคาใชจายดานน้ํามันเชื้อเพลิงอยางยั่งยืน ภายในคูมือการ
ปรับแตงหัวเผาแบงออกเปน 6 บท ไดแก
บทที่ 1 ความรูพื้นฐานของหัวเผาที่ใชน้ํามันเชื้อเพลิง กลาวถึงความรูเบื้องตนสําหรับการสันดาป
การแบงเกรดน้ํามันเชื้อเพลิง คุณสมบัติของน้ํามันเชื้อเพลิง และชนิดของหัวเผาน้ํามัน
บทที่ 2 ขั้นตอนการดําเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพหมอไอน้ําโดยการปรับแตงหัวเผา เปนการ
ปูพื้นฐานใหเห็นถึงภาพรวมของขั้นตอนการดําเนินการปรับแตงหัวเผา โดยรายละเอียดของแตละขั้นตอน
ดําเนินงานกลาวไวในบทที่ 3 ถึง บทที่ 6
บทที่ 3 การตรวจวัดวิเคราะหประสิทธิภาพหมอไอน้ําและการทํางานของหัวเผา กลาวถึงวิธีการ
ตรวจวัดวิเคราะหประสิทธิภาพหมอไอน้ําและการทํางานของหัวเผา อุปกรณที่ใชในการตรวจวัดวิเคราะห
และเกณฑการพิจารณาผลการตรวจวัด
บทที่ 4 หลักการและเทคนิคการปรับแตงหัวเผา กลาวถึงหลักการและเกณฑการปรับแตงหัวเผา
น้ํามันใหประหยัดพลังงาน การตรวจสอบสภาพ การบํารุงรักษา และการปรับปรุงหัวเผา รวมถึงเทคนิค
การปรับแตงหัวเผาชนิดตางๆ
บทที่ 5 การประหยัดพลังงานในหมอน้ําอยางยั่งยืน กลาวถึงหลักการบริหารจัดการดานพลังงาน
ดัชนีการใชพลังงาน และการบํารุงรักษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหมอไอน้ํา
บทที่ 6 กรณีศึกษา แสดงตัวอยางการปรับแตงหัวเผาในหมอไอน้ํา เพื่อใหผูประกอบการไดเห็น
ตัวอยางของการนําหลักการและแนวทางในบทที่ 1 ถึงบทที่ 5 ไปปฏิบัติ เพื่อที่ผูประกอบการสามารถนํา
หลักการและแนวทางดังกลาว ไปประยุกตเพื่อปฎิบัติกับโรงงานของตนเองไดดียิ่งขึ้น

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม คํานํา-1


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม ขอขอบคุณผูป ระกอบการอุตสาหกรรมที่


เขารวมโครงการฯ เปนอยางยิง่ โดยไดรบั ความรวมมือในการใหขอ มูลและดําเนินโครงการจนบรรลุวตั ถุประสงค
รวมทัง้ ไดเปนกรณีตวั อยางใหแกผปู ระกอบการโรงงานอุตสาหกรรมอืน่ ๆ ทีใ่ ชหมอไอน้าํ ในขบวนการผลิต
และหวังเปนอยางยิ่งวาคูมือฉบับนี้จะเปนประโยชนตอผูประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมเปนอยางดี
อยางไรก็ตามการนําคําแนะนําในคูมือฉบับนี้ไปปฏิบัติ ผูประกอบการควรคํานึงถึงความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพยสินเปนสําคัญ

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
มกราคม 2548

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม คํานํา-2


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

สารบัญ
คูมือการปรับแตงหัวเผา

หนา

คํานํา

บทที่ 1 : ความรูพื้นฐานของหัวเผาทีใ่ ชน้ํามันเชื้อเพลิง


1.1 การสันดาปเบือ้ งตน ................................................................................................................1-1
1.2 น้ํามันเชื้อเพลิง ........................................................................................................................1-4
1.3 ชนิดและคุณสมบัติของหัวเผาน้ํามัน (Oil Burner)................................................................1-11

บทที่ 2 : ขั้นตอนการดําเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพหมอไอน้าํ โดยการปรับแตงหัวเผา


2.1 การตรวจวัดวิเคราะหประสิทธิภาพหมอไอน้ําและการทํางานของหัวเผา...............................2-1
2.2 การตรวจสอบสภาพ การบํารุงรักษา และการปรับปรุงหัวเผา.................................................2-3
2.3 การปรับแตงหัวเผา..................................................................................................................2-3
2.4 การประเมินผลการปรับแตง....................................................................................................2-3
2.5 การปรับปรุงประสิทธิภาพหัวเผาอยางยั่งยืน ...........................................................................2-4
บทที่ 3 : การตรวจวัดวิเคาระหประสิทธิภาพหมอไอน้ําและการทํางานของหัวเผา
3.1 การตรวจวัดวิเคราะหไอเสีย ....................................................................................................3-3
3.2 การตรวจวัดการสูญเสียความรอนผานผนัง .............................................................................3-9
3.3 การตรวจวัดคุณภาพน้ําในหมอไอน้ํา และการโบลวดาวน....................................................3-11
3.4 การตรวจวัดปริมาณและคุณภาพน้ําปอน ..............................................................................3-12
3.5 การตรวจวัดน้าํ มันเชื้อเพลิง และอากาศ ................................................................................3-13
3.6 การตรวจวัดความดันและอุณหภูมิไอน้ํา ...............................................................................3-15
3.7 เกณฑการพิจารณาผลการตรวจวัด ........................................................................................3-16

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม สารบัญ -1


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

สารบัญ (ตอ)
คูมือการปรับแตงหัวเผา

หนา

บทที่ 4 : หลักการและเทคนิคการปรับแตงหัวเผา
4.1 หลักการและเกณฑการปรับแตงหัวเผาน้ํามันใหประหยัดพลังงาน.........................................4-1
4.2 การตรวจสอบสภาพ การบํารุงรักษา และการปรับปรุงหัวเผา.................................................4-5
4.3 เทคนิคการปรับแตงหัวเผาน้าํ มัน...........................................................................................4-12

บทที่ 5 : การประหยัดพลังงานในหมอไอน้ําอยางยั่งยืน
5.1 หลักการบริหารจัดการดานพลังงาน........................................................................................5-1
5.2 ดัชนีการใชพลังงาน ................................................................................................................5-2
5.3 การบํารุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพหมอไอน้ํา .....................................................................5-3

บทที่ 6 : กรณีศึกษา
6.1 กรณีศึกษาที่ 1 การปรับแตงหัวเผาชนิดพนฝอยดวยความดันน้ํามัน........................................6-1
และควบคุมแบบตอ-ตัด
6.2 กรณีศึกษาที่ 2 การปรับแตงหัวเผาชนิดพนฝอยดวยอากาศ...................................................6-14
และควบคุมแบบไฟนอย-ไฟมาก

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม สารบัญ -2


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

สารบัญตาราง

หนา

ตารางที่ 1.1 Detailed Requirement for Fuel Oils.................................................................................1-6


ตารางที่ 1.2 คุณภาพน้ํามันเตากําหนดโดยกรมธุรกิจพลังงาน (1 ก.ย. 2547) .......................................1-7
ตารางที่ 1.3 GROSS AND NET HEAT CONTENTS ........................................................................1-9
ตารางที่ 1.4 ยี่หอหัวเผาน้ํามันที่ใชในประเทศไทย ............................................................................1-17
ตารางที่ 3.1 สรุปคาพารามิเตอรและคาที่เหมาะสมของการทํางาน....................................................3-16
ตารางที่ 4.1 แนวทางการพิจารณาปริมาณไอน้ําเพื่อการปรับแตงหัวเผา..............................................4-2
ตารางที่ 4.2 เปรียบเทียบประสิทธิภาพการเผาไหมที่เปอรเซ็นตภาระตาง ๆ........................................4-3
ตารางที่ 4.3 เกณฑแนะนําการกําหนดระดับคาอากาศสวนเกินและเปอรเซ็นตออกซิเจน....................4-3
ในกาซไอเสีย
ตารางที่ 4.4 เกณฑแนะนําคาอุณหภูมิน้ํามันเชื้อเพลิง ..........................................................................4-4
ตารางที่ 4.5 การพิจารณาผลการตรวจวัดไอเสียและแนวทางการปรับแตง ..........................................4-4
ตารางที่ 4.6 ขอแนะนําใหทําการตรวจสอบหัวเผา...............................................................................4-6
ตารางที่ 6.1 แบบฟอรมการบันทึกขอมูลติดตั้ง ....................................................................................6-2
ตารางที่ 6.2 แบบฟอรมบันทึกขอมูลตรวจวัดหมอไอน้าํ .....................................................................6-3
ตารางที่ 6.3 ขอมูลติดตั้งหมอไอน้ํากรณีศึกษาที่ 1...............................................................................6-4
ตารางที่ 6.4 ผลการตรวจวัดหมอไอน้ํากรณีศึกษาที่ 1..........................................................................6-5
ตารางที่ 6.5 รายการวิเคราะหผลการตรวจวัดหมอไอน้าํ กรณีศึกษาที่ 1 ...............................................6-6
ตารางที่ 6.6 แบบฟอรมการตรวจสอบหัวเผา.......................................................................................6-8
ตารางที่ 6.7 ผลการตรวจสอบสภาพหัวเผา และบํารุงรักษาหัวเผาหมอไอน้ํากรณีศกึ ษาที่ 1 ...............6-9
ตารางที่ 6.8 ผลการปรับแตงหัวเผาหมอไอน้ํากรณีศกึ ษาที่ 1.............................................................6-11
ตารางที่ 6.9 ขอมูลติดตั้งหมอไอน้ํากรณีศึกษาที่ 2.............................................................................6-14
ตารางที่ 6.10 ผลการตรวจวัดหมอไอน้ํากรณีศึกษาที่ 2........................................................................6-15
ตารางที่ 6.11 รายการวิเคราะหผลการตรวจวัดหมอไอน้าํ กรณีศึกษาที่ 2 .............................................6-16
ตารางที่ 6.12 ผลการตรวจสอบสภาพหัวเผา และบํารุงรักษาหัวเผาหมอไอน้ํากรณีศกึ ษาที่ 2 .............6-18
ตารางที่ 6.13 ผลการปรับแตงหัวเผาหมอไอน้ํากรณีศกึ ษาที่ 1.............................................................6-20

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม สารบัญ -3


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

สารบัญรูป

หนา

รูปที่ 1.1 แสดงการสันดาปในหมอไอน้ํา ...............................................................................................1-1


รูปที่ 1.2 การเผาไหมทใี่ ชอากาศสวนเกินนอยไมเพียงพอสําหรับการเผาไหม ......................................1-2
รูปที่ 1.3 การเผาไหมทใี่ ชอากาศสวนเกินพอดี ......................................................................................1-3
รูปที่ 1.4 การเผาไหมทใี่ ชอากาศสวนเกินมากเกินไป ............................................................................1-3
รูปที่ 1.5 หัวเผาชนิดพนฝอยดวยความดันน้ํามัน .................................................................................1-12
รูปที่ 1.6 หัวเผาชนิดพนฝอยดวยอากาศหรือไอน้ํา ..............................................................................1-12
รูปที่ 1.7 หัวเผาชนิดถวยสลัดน้ํามัน ....................................................................................................1-13
รูปที่ 1.8 การทํางานของหัวเผาที่ควบคุมแบบตัด-ตอ...........................................................................1-14
รูปที่ 1.9 การทํางานของหัวเผาที่ควบคุมแบบไฟนอย-ไฟมาก.............................................................1-14
รูปที่ 1.10 การทํางานของหัวเผาที่ควบคุมแบบไฟนอย-ไฟปานกลาง-ไฟมาก.......................................1-15
รูปที่ 1.11 การทํางานของหัวเผาที่ควบคุมแบบ Modulating 2 stage......................................................1-16
รูปที่ 1.12 การทํางานของหัวเผาที่ควบคุมแบบ Proportional Modulating.............................................1-16
รูปที่ 2.1 แผนผังขั้นตอนการดําเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพหมอไอน้ํา โดยการปรับแตงหัวเผา......2-2
รูปที่ 3.1 การวัดคาพารามิเตอรที่ตําแหนงตางๆ ของหมอไอน้ํา.............................................................3-2
รูปที่ 3.2 แสดงเครื่องวัดแบบอิเล็คทรอนิคส..........................................................................................3-3
รูปที่ 3.3 แสดงการติดตัง้ หัววัดกาซไอเสียเขากับปลองไอเสีย ...............................................................3-5
รูปที่ 3.4 แสดงตัวอยางของการตรวจวัดที่พิมพออกทางเครื่องพิมพ......................................................3-5
รูปที่ 3.5 เครื่องวิเคราะหแบบ Orsat.......................................................................................................3-7
รูปที่ 3.6 เครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบสัมผัส ...........................................................................................3-10
รูปที่ 3.7 แสดงเครื่องวัดคา TDS และเครื่องวัดคา pH..........................................................................3-11
รูปที่ 3.8 แสดงลักษณะของมาตรวัดปริมาณน้ําปอนหมอไอน้ํา ..........................................................3-12
รูปที่ 3.9 แสดงมาตรวัดปริมาณน้ํามัน .................................................................................................3-14
รูปที่ 3.10 แสดงเกจวัดความดันน้ํามันและอุณหภูมนิ า้ํ มัน.....................................................................3-14
รูปที่ 3.11 แสดงเกจวัดความดันไอน้ํา ....................................................................................................3-15
รูปที่ 4.1 หัวฉีดใชงานมานานกวา 3 ป ทําใหมีปญหาการฉีดน้ํามัน.......................................................4-8
รูปที่ 4.2 มีปญหาการฉีดน้ํามันทําใหเกิดการกองของน้ํามันในหองเผาไหม .........................................4-8

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม สารบัญ -4


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

สารบัญรูป (ตอ)

หนา

รูปที่ 4.3 การบํารุงรักษาใชลวดแข็งแยงรูหัวฉีดทําใหการฉีดน้ํามันไมเปนฝอย ....................................4-9


รูปที่ 4.4 การตั้งระยะกระจังลมหางจากหัวฉีดมาก ทําใหฉีดน้ํามันชนกระจังลม ..................................4-9
รูปที่ 4.5 การตั้งระยะเขีย้ วสปารคหางจากหัวฉีดมาก ใหฉีดน้ํามันชนเขี้ยว.........................................4-10
รูปที่ 4.6 ลูกเบี้ยวควบคุมอากาศชํารุด ..................................................................................................4-10
รูปที่ 4.7 กรวยไฟเสียรูปและสึกหรอ...................................................................................................4-11
รูปที่ 4.8 ใบพัดของพัดลมดูดอากาศสกปรก........................................................................................4-11
รูปที่ 4.9 ไดอะแกรมการควบคุมน้ํามัน................................................................................................4-12
รูปที่ 4.10 ไดอะแกรมการปอนอากาศเขามาไหม ..................................................................................4-13
รูปที่ 4.11 แสดงตําแหนงสําหรับแดมเปอรปอนอากาศ.........................................................................4-13
รูปที่ 4.12 หัวฉีดแบบไฟนอย – ไฟมาก.................................................................................................4-14
รูปที่ 4.13 ไดอะแกรมหัวฉีดแบบน้ํามันไหลกลับ (Oil Return).............................................................4-15
รูปที่ 4.14 ชุดควบคุมแบบชุดสวิตชลูกเบี้ยว..........................................................................................4-16
รูปที่ 4.15 ชุดควบคุมแบบตัวหยุด (Stopper) .........................................................................................4-17
รูปที่ 4.16 ตําแหนงการปรับแตงอากาศและน้ํามันของชุดควบคุมแบบชุดสวิตชลูกเบี้ยว......................4-18
รูปที่ 4.17 หัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้ํามัน ควบคุมแบบไฟนอย – ไฟกลาง – ไฟมาก..................4-20
รูปที่ 4.18 หัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้ํามัน ควบคุมแบบตอเนื่อง 2 ระดับ (Modulate 2 Stage).....4-22
รูปที่ 4.19 แสดงการคลายสกรูลอก สกรูปรับแตง Spring band.............................................................4-23
รูปที่ 4.20 แสดงการใชประแจหกเหลี่ยมปรับ สกรูปรับแตง Spring band.............................................4-23
รูปที่ 4.21 แสดงการแบงชวงตําแหนงทีท่ ําการปรับแตง ........................................................................4-25
รูปที่ 4.22 แสดงลักษณะชุดลูกเบี้ยวควบคุมน้ํามัน (Metering Cam) .....................................................4-26
รูปที่ 4.23 แสดงกลไกควบคุมแดมเปอร ................................................................................................4-26
รูปที่ 4.24 แสดงชุดลูกเบีย้ วควบคุมน้ํามัน (Metering Cam) ..................................................................4-28
รูปที่ 4.25 แสดงการปรับปริมาณน้ํามัน .................................................................................................4-28
รูปที่ 4.26 หัวเผาชนิดพนฝอยดวยถวยหมุนสลัดน้ํามัน ควบคุมแบบตอเนื่อง (Modulating).................4-29
รูปที่ 4.27 ชุดควบคุมน้ํามันและอากาศ..................................................................................................4-30

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม สารบัญ -5


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

สารบัญรูป (ตอ)

หนา

รูปที่ 6.1 การสูญเสียไปกับแกสไอเสียเมื่อใชน้ํามันเตาเปนเชื้อเพลิง ...................................................6-12

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม สารบัญ -6


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

บทที่ 1
ความรูพื้นฐานของหัวเผาที่ใชน้ํามันเชื้อเพลิง

1.1 การสันดาปเบื้องตน
การสันดาป หรือที่เรียกกันทั่วไปวาการเผาไหมนั้น เปนปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) ที่เกิดขึ้น
จากการผสมระหวางเชื้อเพลิงกับอากาศ โดยมีความรอนเปนตัวเรงใหเกิดการเผาไหม ซึ่งผลที่ไดจากการ
เผาไหม คือ พลังงานความรอน และกาซไอเสียที่เกิดขึน้ เราจึงใชประโยชนจากพลังงานความรอนไปใชงาน
เชน ใชผลิตไอน้ําในหมอไอน้ํา เปนตน สําหรับหมอไอน้ําการสันดาปสามารถแสดงเปนไดอะแกรมอยางงาย
ได ดังรูปที่ 1.1

ไอเสียออกบรรยากาศ
ประกอบดวย
- ความรอนบางสวน
- CO2 - CO
- H2O - SO2
ความรอนนําไปใชงาน

อากาศ
ประกอบดวย
- ออกซิเจน (O2)
- ไนโตรเจน (N2)

หองเผาไหม
น้ํามันเชื้อเพลิง C + O2 = CO2
ประกอบดวย C + 1/2O2 = CO
- คารบอน (C) H2 + 1/2O2 = H2O
- ไฮโดรเจน (H) S + O2 = SO2
- กํามะถัน (S)

รูปที่ 1.1 แสดงการสันดาปในหมอไอน้ํา

กาซไอเสียที่เกิดจากการเผาไหมประกอบไปดวย กาซคารบอนไดออกไซด (CO2) คารบอนมอน


ออกไซด (CO) ไอน้ํา (H2O) และ ซัลเฟอรไดออกไซด (SO2) กาซไนโตรเจน (N2) จากรูปที่ 1.1 จะเห็นวา
การเผาไหมมีองคประกอบ 2 สวน คือ เชื้อเพลิง และอากาศ อัตราสวนของปริมาณทั้งสองเรียกวาอัตราสวน

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-1


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

อากาศตอน้ํามันเชื้อเพลิง (Air-Fuel Ratio) ซึ่งในเชิงทฤษฎีตองใชปริมาณอากาศจํานวน 14.1 kg ตอเชื้อเพลิง 1 kg


จึงเกิดปฏิกิริยาการสันดาปไดสมบูรณ เราจะเรียกวาปริมาณอากาศนี้วาเปนปริมาณอากาศใชเผาไหมตาม
ทฤษฎี โดยในการเผาไหมจริงแลวเปนการยากที่จะทําใหอากาศ และเชื้อเพลิงผสมเขาทําปฏิกิริยากันได
อยางสมบูรณ จึงตองใชอากาศในการเผาไหมมากกวาปริมาณอากาศใชเผาไหมตามทฤษฎี เพื่อใหเชื้อเพลิง
เผาไหมหมด อากาศสวนที่มากขึ้นนี้เรียกวาอากาศสวนเกินที่ใชในการเผาไหม (Excess Air) ดังนั้นลักษณะ
การเผาไหมที่เกิดขึ้นจริงจะมี 3 ลักษณะคือ
1. ใชอากาศสวนเกินนอยไมเพียงพอตอการเผาไหม
2. ใชอากาศสวนเกินพอดีเผาไหมหมด
3. ใชอากาศสวนเกินมากเกินความจําเปน

ไอเสียออกบรรยากาศ
ประกอบดวย
- ความรอนบางสวน
- CO2 - CO
ความรอนนําไปใชงาน

- H2O - SO2
อากาศ
ประกอบดวย
- ออกซิเจน (O2)
- ไนโตรเจน (N2)
หองเผาไหม
น้ํามันเชื้อเพลิง C + O2 = CO2
ประกอบดวย C + 1/2O2 = CO
- คารบอน (C) H2 + 1/2O2 = H2O
- ไฮโดรเจน (H) S + O2 = SO2
- กํามะถัน (S)

รูปที่ 1.2 การเผาไหมที่ใชอากาศสวนเกินนอยไมเพียงพอสําหรับการเผาไหม

การเผาไหมทใี่ ชอากาศสวนเกินนอยทําใหไมเพียงพอสําหรับการเผาไหมเชื้อเพลิงใหหมดสมบูรณ
จะทําใหเกิดควันดําออกที่ปลองไอเสีย โดยไอเสียสีดาํ ที่เกิดขึ้นประกอบไปดวย เขมาดําที่เกิดจากน้าํ มัน
เชื้อเพลิงทีเ่ ผาไหมไมหมด กาซคารบอนไดออกไซด และกาซคารบอนมอนออกไซดในปริมาณรวม รวมทั้งน้าํ
และออกซิเจนที่เหลือ การเผาไหมไมหมดเปนการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง และทําใหเกิดมลภาวะในบริเวณ
โรงงาน

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-2


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

ไอเสียออกบรรยากาศ
ประกอบดวย
- ความรอนบางสวน
- CO2 - SO2
- H2O

ความรอนนําไปใชงาน
อากาศ
ประกอบดวย
- ออกซิเจน (O2)
- ไนโตรเจน (N2)
หองเผาไหม
น้ํามันเชื้อเพลิง C + O2 = CO2
ประกอบดวย H2 + 1/2O2 = H2O
- คารบอน (C) S + O2 = SO2
- ไฮโดรเจน (H)
- กํามะถัน (S)

รูปที่ 1.3 การเผาไหมที่ใชอากาศสวนเกินพอดี


การเผาไหมทใี่ ชอากาศสวนเกินพอดี เปนการเผาไหมทดี่ ีที่สุด เชื้อเพลิงถูกเผาไหมหมดไมเกิดเขมา
และประหยัดพลังงานที่สุด ขอสังเกตุในจุดนี้ คือ ไอเสียออกปลองมีลักษณะเปนควันบางๆ เหมือนควันบุหรี่

ไอเสียออกบรรยากาศ
ประกอบดวย
- ความรอนสูญเสียมาก
- CO2 - SO2
ความรอนนําไปใชงาน

- H2O
อากาศ
ประกอบดวย
- ออกซิเจน (O2)
- ไนโตรเจน (N2)
หองเผาไหม
น้ํามันเชื้อเพลิง C + O2 = CO2
ประกอบดวย H2 + 1/2O2 = H2O
- คารบอน (C) S + O2 = SO2
- ไฮโดรเจน (H)
- กํามะถัน (S)

รูปที่ 1.4 การเผาไหมที่ใชอากาศสวนเกินมากเกินไป

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-3


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

การเผาไหมที่ใชอากาศสวนเกินมากเกินไป เปนการเผาไหมที่ทําใหเชื้อเพลิงเผาไหมหมด และไมมีเขมา


แตสิ้นเปลืองพลังงาน เนื่องจากอากาศสวนที่เกินจะนําพาพลังงานความรอนบางสวนจากการเผาไหมทิ้ง
ออกทางปลองไอเสียในปริมาณมาก ขอสังเกตุในจุดนี้ คือ ไอเสียออกปลองมีลักษณะเปนควันใสๆ

1.2 น้ํามันเชื้อเพลิง
เชื้อเพลิงเหลว หรือน้ํามันเชื้อเพลิงที่ใชกบั หมอไอน้ําในอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดยอม
สวนใหญใชนา้ํ มันเตาทั้งสิ้น มีบางสวนทีใ่ ชน้ํามันดีเซล ซึ่งในคูมือเลมนี้จึงขอนําเสนอคุณสมบัติและการ
แบงเกรดเฉพาะน้ํามันเตาและน้ํามันดีเซลเทานั้น

1.2.1 น้ํามันดีเซล
น้ํามันดีเซลแบงออกใหเปน 2 ชนิด คือ ดีเซลหมุนเร็ว และดีเซลหมุนชา

1) น้ํามันดีเซลหมุนเร็ว
น้ํามันดีเซลหมุนเร็ว หรือน้าํ มันโซลา เปนน้ํามันที่ไดจากการกลั่นน้ํามันดิบเปนเชื้อเพลิงที่เผาไหม
สะอาด ใชเปนเชื้อเพลิงเครือ่ งยนตดีเซลหมุนเร็ว เครื่องกังหันกาซ มีนอยที่ใชเปนเชื้อเพลิงใหกับหมอไอน้ํา
ขนาดเล็กๆ สามารถใชไดโดยไมตองอุน เพราะน้ํามันใสพนฝอยไดละเอียด จุดติดไฟไดงาย ใชกบั หมอน้ําที่
เดินๆ หยุดๆ บอย เชนหมอไอน้ําทอน้าํ แบบแนวตั้ง สามารถใชในชุมชนแออัดได เพราะเผาไหมสะอาด
เกือบไมมีเขมาควัน แตเปนเชื้อเพลิงที่มีราคาแพง

2) น้ํามันดีเซลหมุนชา
น้ํามันดีเซลหมุนชา หรือน้ํามันขี้โล เปนน้ํามันที่ไดจากการผสมของน้ํามันดีเซล 80% และน้ํามันเตา
20% ใชเปนเชือ้ เพลิงเครื่องยนตดีเซลหมุนปานกลาง 600-700 รอบ/นาที เตาเผาหรือเตาอบในอุตสาหกรรม
ที่ตองการความสะอาดของการเผาไหม และไมตองมีการอุนน้ํามัน

1.2.2 น้ํามันเตาหนัก
น้ํามันเตาหนัก (Heavy Fuel Oil) เปนสวนที่เหลือจากการกลั่น หรือเรียกวากากกลั่น (Residual
Fuel) มีสวนเบาๆ ของน้ํามันดีเซลปนอยูเล็กนอย และมีสิ่งสกปรกเจือปนอยู แตมีราคาถูก มีการใชใน
อุตสาหกรรมมากไดแก
- ใชเปนเชื้อเพลิงของหมอไอน้ํา ผลิตไอน้ํา
- ใชเปนเชื้อเพลิงในการ ถลุงแร เผาเตาหรือเบาหลอมโลหะ เตาหลอมแกว ใชเผาโลหะ เพื่อรีดเปน
เสน ตีขึ้นรูป หรือการชุบผิวแข็ง ใชในการเผาเซรามิค เผาอิฐ เผาปูนซีเมนต ปูนขาว ฯลฯ
- ใชเปนเชื้อเพลิงเครื่องยนตดีเซลหมุนปานกลางผลิตกระแสไฟฟา เครื่องยนตดีเซลหมุนชา
ขนาดใหญใช ขับเรือเดินสมุทร เรียกน้ํามันเชื้อเพลิงนี้วา Bunker Fuels.

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-4


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

1) การจัดแบงเกรดน้ํามันเตาตามมาตรฐานอเมริกัน
การจัดแบงเกรดน้ํามันเตาตามมาตรฐานอเมริกัน ASTM D-396 (American Society for Testing and
Materials) มี 6 เกรด คือ (ดู ตารางที่ 1.1)
Fuel Oil No.1 เทียบไดกับ น้ํามันกาด
Fuel Oil No.2 เทียบไดกับ น้ํามันดีเซลหมุนเร็ว หรือโซลา
Fuel Oil No.4 (Light) เทียบไดกับ น้ํามันแกสออยล
Fuel Oil No.4 เทียบไดกับ น้ํามันขี้โล (Industrial Diesel Oil)
Fuel Oil No.5 (Light) เทียบไดกับ IFO (Intermediat Fuel Oil)
Fuel Oil No.5 (Heavy) เทียบไดกับ น้ํามันเตาชนิดที่ 1 หรือ เตาเอ
Fuel Oil No.6 เทียบไดกับ น้ํามันเตาชนิดที่ 2, 3, 4 หรือ เตาซี เตาดี

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-5


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

ตารางที่ 1.1 Detailed Requirement for Fuel Oils


Property ASTM Test No. 1 Low No. 1 No. 2 Low No. 2 Grade No. 4 No. 4 No. 5 No. 5 No. 6
Method Sulfur Sulfur (Light) (Light) (Heavy)
Flash Point oC, min D 93 – Proc. A 38 38 38 38 38 … … … …
D 93 – Proc. B … … … … … 55 55 55 60
Water and sediment, % Vol, max D 2709 0.05 0.05 0.05 0.05 … … … … …
D 95 + D 473 … … … … (0.50) (0.50) (1.00) (1.00) (2.00)
Distillation temperature oC D 86
10% Volume recovered, max 215 215 … … … … … … …
90% Volume recovered, min … … 282 282 … … … … …
90% Volume recovered, max 288 288 338 338 … … … … …
Kinematic viscosity at 40oC, mm2/s D 445
min 1.3 1.3 1.9 1.9 1.9 >5.5 … … …
max 2.1 2.1 3.4 3.4 5.5 24.0
Kinematic viscosity at 100oC, mm2/s D 445
min … … … … … … 5.0 9.0 15.0
max … … … … … … 8.9 14.9 50.0
Ramsbottom carbon residue on 10% D 524 0.15 0.15 0.35 0.35 … … … … …
distillation residue % mass, max
Ash, % mass, max D 482 … … … … 0.05 0.10 0.15 0.15 …
Sulfur, % mass, max D 129 … 0.50 … 0.50 … … … … …
D 2622 0.05 0.05
Copper strip corrosion rating, max, D 130 No. 3 No. 3 No. 3 No. 3 … … … … …
3 h at 50oC
Density at 15oC, kg/m3 D 1298
min … … … … >876 … … … …
max 850 850 876 876 … … … … …
Pour Pont oC, max D 97 -18 -18 -6 -6 -6 -6 … …

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-6


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

2) คุณภาพน้ํามันเตากําหนดโดยกระทรวงพาณิชย

ตารางที่ 1.2 คุณภาพน้ํามันเตากําหนดโดยกรมธุรกิจพลังงาน (พ.ศ. 2547)


อัตรา น้ํามันเตา
รายการ ขอกําหนด วิธีทดสอบ
สูงต่ํา ชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 ชนิดที่ 3 ชนิดที่ 4 ชนิดที่ 5
1. ปริมาณกํามะถัน รอยละโดยน้ําหนัก ไมสูงกวา 2.0 2.0 2.0 2.0 0.5 ASTM D 4294
(Sulphur Content, %wt)
2. ความถวงจําเพาะ ณ อุณหภูมิ 15.6/15.6 °ซ ไมสูงกวา 0.985 0.990 0.995 0.995 0.995 ASTM D 1298
(Specific Gravity at 15.6/15.6 °C)
3. ความหนืด
(Viscosity, cSt)
ณ อุณหภูมิ 50 °ซ. เซนติสโตกส ไมต่ํากวา 7 81 181 231 -
ไมสูงกวา 80 180 230 280 -
ณ อุณหภูมิ 100 °ซ. เซนติสโตกส ไมต่ํากวา - - - - 3
ไมสูงกวา - - - - 30
4. จุดวาบไฟ °ซ. ไมต่ํากวา 60 60 60 60 60 ASTM D 93
(Flash Point, °C)
5. จุดไหลเท °ซ. ไมสูงกวา 24 24 30 30 57 ASTM D 97
(Pour Point, °C)
6. ปริมาณความรอน แคลอรี่/กรัม ไมต่ํากวา 10,000 9,900 9,900 9,900 9,900 ASTM D 240
(Gross Heat of Combustion, cal/g)
7. เถา รอยละโดยน้าํ หนัก ไมสูงกวา 0.1 0.1 0.1 0.1 0.1 ASTM D 482
(Ash Content, %wt.)
8. น้ําและตะกอน รอยละโดยปริมาตร ไมสูงกวา 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 ASTM D 1796
(Water and Sediment, %vol.)
9. สี ไมต่ํากวา 8.0 - - - - ASTM D 1500
(Colour)

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-7


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

3) คุณสมบัติที่สําคัญของน้ํามันเตา
3.1) ความถวงจําเพาะ (Specific Gravity) ที่ 15.6/15.6 °C แสดงความหนัก-เบา เมื่อเทียบกับน้ํา
3.2) ความถวง เอพีไอ (API Gravity) ที่ 60°F เปนกราวิตี้ทบี่ ริษัทน้ํามันนิยมใชกนั มาก โดยมีความ
สัมพันธกับความถวงจําเพาะ ดังนี้
API Gravity @ 60°F = 141.5 − 131.5
Sp.Gr.@60/60°F

จากตารางที่ 1.3 จะเห็นวาน้าํ มันหนักขึ้น คา API จะนอยลง คาความรอนตอหนวยน้ําหนักจะ


นอยลง และปริมาณ H2 จะนอยลงดวย
3.3) ความหนาแนน (Density) แสดงน้ําหนักตอหนึ่งหนวยปริมาตร (กก./ลิตร) ที่ 15°C
3.4) ความหนืด (Viscosity) หนวยเซนติสโตก (cSt) วัดที่ 50°C. ใชเปนเกณฑในการจัดแบงเกรด
น้ํามัน น้ํามันเตาที่มีความหนืดมากตองอุน ใหรอน เพือ่ ใหพนฝอยไดละอองละเอียด จาก
กราฟน้ํามันบอกใหรวู าใช น้ํามันเตาเกรดใดกับหัวฉีดแบบใดจะตองอุน ใหรอนเทาใด
3.5) จุดวาบไฟ (Flash Point) เปนอุณหภูมิที่นา้ํ มันระเหยเปนไอ เมื่อเอาไฟเขามาจุดจะติดไฟ เปน
เครื่องชี้ถึงอันตรายจากไฟไหมน้ํามัน เพื่อกําหนดมาตรการในทางกฎหมายตอการประกันภัย
และการควบคุมไฟไหม สําหรับน้ํามันเตาสามารถเก็บสูบสงในบรรยากาศปกติไดอยาง
ปลอดภัย
3.6) จุดไหลเท (Pour Point) มีความสําคัญตอการเก็บและสูบสงในชวงฤดูหนาว หรือฤดูฝนที่ตก
หนักติดตอกันหลายวัน น้ํามันดิบที่มีไข (Wax) สูง เมื่อกลั่นแลวปริมาณไขจะมาสะสมอยูใน
น้ํามันเตา หากโรงงานมีปญหาควรหาทางอุนน้ํามันในถังเก็บ
3.7) กํามะถันในน้ํามันเตาเมื่อเผาไหมจะได SO2 และ SO3 และเมื่อรวมตัวกับน้ําจะกลายเปนกรด
กํามะถันมีคุณสมบัติเกาะติด (Cementing Agent) ในการรวมตัวกับเขมาคารบอนเกาะเหนียวภายใน
ปลอง และ ทุกครั้งที่หมอไอน้ําจุดสตารทจะพนเขมาออกไปทําความเสียหายบริเวณโดยรอบ SO2
และ SO3 ที่พนออกสูบรรยากาศ เปนมลพิษตอมนุษย และพืช (ฝนกรด) กํามะถันในน้ํามันเตามี
ผลกระทบตอผลิตภัณฑกระจก แกว เซรามิค และอิฐทนไฟประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมป 2543
กําหนดคาปริมาณสาร SO2 ที่ออกจากปลองโรงงานที่ใชน้ํามันเตาเปนเชื้อเพลิงตองไมเกิน 1,250
สวนในลานสวนวัดที่ปริมาณอากาศที่เกินตองไมเกิน 20% หรือปริมาณ O2 ในแกสเสียไมเกิน 3.5%

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-8


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

ตารางที่ 1.3 GROSS AND NET HEAT CONTENTS

GROSS AND NET HEAT CONTENTS


Gross Heat Net Heat Gross Heat Net Heat CHx
API SG Btu/lb Btu/lb kcal/kg kcal/kg H2% x=
2 1.060 17 820 16 960 9 900 9 422 9.0 1.28
4 1.045 17 940 17 040 9 970 9 467 9.4 1.31
6 1.030 18 060 17 085 10 030 9 492 9.7 1.34
8 1.015 18 175 17 220 10 090 9 567 10.0 1.39
10 1.000 18 290 17 310 10 150 9 617 10.3 1.44
12 0.985 18 400 17 390 10 220 9 661 10.6 1.48
14 0.972 18 510 17 480 10 290 9 711 10.8 1.52
16 0.959 18 630 17 580 10 350 9 767 11.0 1.56
18 0.946 18 750 17 680 10 420 9 822 11.2 1.58
20 0.934 18 870 17 780 10 480 9 878 11.4 1.60
22 0.922 18 975 17 870 10 540 9 928 11.6 1.62
24 0.910 19 080 17 955 10 600 9 975 11.8 1.64
26 0.898 19 180 18 035 10 650 10 019 12.0 1.66
28 0.887 19 280 18 115 10 710 10 064 12.2 1.69
30 0.876 19 380 18 200 10 760 10 111 12.4 1.72
32 0.865 19 465 18 265 10 810 10 147 12.6 1.75
34 0.855 19 550 18 330 10 860 10 183 12.8 1.78
36 0.845 19 620 18 380 10 900 10 211 13.0 1.80
38 0.835 19 685 18 425 10 940 10 236 13.2 1.83
40 0.825 19 750 18 470 10 980 10 261 13.4 1.86

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-9


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

3.8) คาความรอน (Heating Value : Calory/gram) คือ จํานวนความรอนทีไ่ ดจากการเผาไหมอยาง


สมบูรณตอ 1 หนวยน้ําหนักของเชื้อเพลิง ซึ่งคาความรอนมี 2 แบบคือ 1) คาความรอนสูง
(Gross or High Heating Value) หมายถึงคาความรอนที่ไดจากการเผาไหมรวมกับคาความรอน
แฝงที่ไดจากการกลั่นตัวของไอน้ําที่เกิดจากการเผาไหม 2) คาความรอนต่ํา (Net or Low
Heating Value) หมายถึงคาความรอนที่ไดจากการเผาไหมโดยไมรวมกับคาความรอนแฝงที่ได
จากการกลั่นตัวของไอน้ําที่เกิดจากการเผาไหม
3.9) ปริมาณเถา (Ash) คือ สารประกอบของโลหะ Na, V, Ca, Mg, Ni, Fe, Si ซึ่งมีอยูในน้ํามันดิบ
ตามธรรมชาติ จากการที่น้ําทะเลที่ปนกับน้ํามันดิบในระหวางขนสง จากสนิมในถัง และจาก
กระบวนการกลั่นน้ํามันดิบเอง ทําใหปริมาณเถาในน้ํามันเตาเพิ่มขึ้นได โดยทัว่ ไปน้ํามันเตาจะ
มีเถาที่ไมสามารถเผาไหมไดไมเกิน 0.1% แตก็กอปญหาใหหมอน้ําได เถาประเภทโซเดี่ยมและ
วานาเดียม เปนตัวอันตรายที่สุด มันจะทําปฏิกิริยากันเปนโซเดียมวานาเดท เปนสารประกอบที่
มีจุดหลอมละลายต่ําประมาณ 620-650 °C มันจะเกาะสะสมบนทอซุปเปอรฮีท เรียกวา
Slagging มันจะกัดกรอนทอได เรียกวา การกัดกรอนที่อุณหภูมสิ ูง (High Temperature
Corrosion) เถาในน้ํามันเตา อาจมีผลตอการทําลายอิฐทนไฟภายในเตา หมอน้ํา, เตาเผา หรือ
Kiln ได
3.10) น้ําและตะกอน (Water and Sediment) ตะกอน คือ สารหรือของแข็งที่ไมละลาย พวกเกลือ
ทราย สิ่งสกปรกและเสนใยของสารตางๆ ที่ติดมากับน้ํามันดิบ และเหลือตกคางอยูใ นน้ํามันเตา
สําหรับน้ํามาจากการขนสงทางเรือ หรือความชื้นในอากาศ เมื่อน้ํากับตะกอนมีรวมกันมากๆ
จะกลายเปนตะกอนโคลน (Sludge) อาจอุดตันหมอกรองน้ํามันเกาะสะสมในหมออุนน้ํามัน
อาจอุดตันภายในหัวฉีดได ควรมีการระบายน้ําจากกนถังเก็บน้ํามันเปนประจํา และทําความ
สะอาดถังน้ํามันทุก 2-3 ป
3.11) สีมาตรฐาน ASTM น้ํามันเตาจะมีสีน้ําตาลดํา เบอร 8
3.12) กากถาน (Carbon Residue) คุณสมบัติขอนี้กระทรวงพาณิชยไมไดกําหนดไวเปนมาตรฐาน
เพราะเหตุวาการกลั่นน้ํามันดิบแบบกลั่นตรง (Atmospheric Straight – Run Process) น้ํามันเตา
จะมีปริมาณกากถานนอยประมาณ 4-8% แตในปจจุบันน้ํามันเตาจากกระบวนการแตกตัว
(Cracking Process) จะมีกากถานสูง 12-16% จะกอปญหา เชน ในหมออุนน้ํามันจะมีกาก
ตะกอนคารบอนสะสมมาก ประสิทธิภาพการถายเทความรอนลดลง เกิดคราบคารบอนอุดตัน
ในรูหวั ฉีดไดงา ยและเร็ว

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-10


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

1.3 ชนิดและคุณสมบัติของหัวเผาน้ํามัน (Oil Burner)


หัวเผาน้ํามันเปนอุปกรณกําเนิดความรอนใหกับหมอไอน้ําที่ใชน้ํามันเปนเชื้อเพลิงมีหนาที่สําคัญ 2
ประการ คือ
1. ฉีดพนน้ํามันใหเปนฝอยละเอียดเพื่อใหน้ํามันระเหยเปนไออยางรวดเร็ว และปอนอากาศเขา
ผสมกับไอน้ํามันในอัตราสวนที่เหมาะสม เพื่อใหเกิดการเผาไหมที่สมบูรณ
2. ควบคุมการเผาไหม ทัง้ ในสวนของอัตราสวนผสมอากาศตอน้ํามันเชื้อเพลิง การเรงหรีก่ ารเผาไหม
และสตารทจุดติดเตา

1.3.1 ชนิดหัวเผาน้ํามันที่ใชกับหมอไอน้ําในโรงงานอุตสาหกรรม
หัวเผาน้ํามันแบงออกตามลักษณะการพนฝอยไดเปน 3 ชนิด ดังนี้
1. ชนิดพนฝอยดวยความดันน้ํามัน (pressure Atomized)
2. ชนิดพนฝอยดวยอากาศหรือไอน้ํา (Air Atomized/(Steam Atomized)
3. ชนิดถวยสลัดน้ํามัน (Rotary Cup Atomized)

1) หัวเผาชนิดพนฝอยดวยความดันน้ํามัน
ชนิดที่ใชแรงดันของน้ํามันเองดันผานหัวฉีดขนาดเล็ก (nozzle) (mechanical atomizers หรือ
pressure jet burners)
หลักการทํางานคือ น้ํามันถูกปมดวยความดันสูง ผานเขาไปยังปลายหัวฉีดที่มีรูเล็กๆ รูเดียว หรือ
หลายรู ที่ถูกออกแบบใหน้ํามันฝอยละเอียดที่ผานออกจากหัวฉีดเปนรูปกรวยและเหวี่ยงเปนเกลียว (Swirling
motion) ซึ่งจะสวนทางกับการหมุนเหวี่ยงของอากาศที่ปอนเขาเผาไหม เพื่อใหไดการคลุกเคลา (Mixing) ที่
ดี และฝอยละเอียดของน้ํามันจะระเหยเปนไอไดรวดเร็ว ทําใหไดการเผาไหมสมบูรณและสะอาด
หัวฉีดทีใ่ ชในหัวเผาชนิดพนฝอยดวยความดันน้ํามัน สามารถแบงตามลักษณะการไหลของน้ํามัน
ผานหัวฉีดไดเปน 2 แบบ คือ
1. หัวฉีดแบบไมมีน้ํามันไหลกลับ (Non-Oil Return or Non-recirculation Nozzle)
2. หัวฉีดแบบมีนา้ํ มันไหลกลับ (Oil Return or Recirculation Nozzle)

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-11


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

OIL

AIR

AIR

รูปที่ 1.5 หัวเผาชนิดพนฝอยดวยความดันน้ํามัน

2) หัวเผาชนิดพนฝอยดวยอากาศหรือไอน้ํา
ชนิดที่ใชไอน้าํ หรืออากาศภายใตความดัน ดันน้ํามันใหแตกออกเปนหยดเล็กๆ (Steam or air
atomizers)
หลักการทํางานคือ น้ํามันภายใตความดันไหลผานในทอขนาดเล็ก ซึง่ วางอยูใ นทอใหญ ไอน้ําหรือ
อากาศไหลผานทอใหญ เมื่อน้ํามันพุงออกมาจากปลายทอเล็กจะกระทบกับกระแสของไอน้ําหรืออากาศที่
ออกมาจากทอใหญ แลวถูกดันออกสูปลายหัวเผา ทําใหนา้ํ มันแตกออกเปนฝอย
หัวเผาชนิดนี้อาจแบงออกไปตามระดับความดันของไอน้าํ หรืออากาศทีใ่ ชคือ
แบบความดันต่ํา (Low air pressure) ใชอากาศความดันประมาณ 24 นิ้วน้ํา และปริมาณอากาศสวนนี้
ประมาณ 20-25% ที่ตองการตามทฤษฎี เหมาะสําหรับหมอไอน้ําขนาดเล็กและกลาง
แบบความดันปานกลาง (Medium air pressure) ใชอากาศความดันประมาณ 3-15 PSIG และ
ปริมาณอากาศ 3-10% ที่ตองการตามทฤษฎีสวนใหญใชกบั เตาถลุงโลหะ
แบบความดันสูง (High air pressure) ใชอากาศความดันประมาณ 15 PSIG และปริมาณอากาศ
2-3% ที่ตองการตามทฤษฎี

OIL

STEAM OR AIR

รูปที่ 1.6 หัวเผาชนิดพนฝอยดวยอากาศหรือไอน้ํา


สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-12
โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

3) หัวเผาชนิดถวยสลัดน้ํามัน
ชนิดที่ใชแรงเหวีย่ งหนีศนู ยกลาง ปนใหฟลมของน้ํามันฉีกขาดออกเปนหยดเล็กๆ (rotary cup
atomizers) หลักการทํางานคือ น้ํามันถูกปอนเขาแกนถวยเขาสูดานในของถวยที่กําลังหมุนดวยความเร็ว
3,500-4,000 รอบตอนาที น้ํามันจะถูกเหวี่ยงไปแนบกับผนังดานในถวยแผออกเปนแผนบางและถูกสะบัด
ออกจากปากถวยดวยแรงหนีศูนยกลางมาพบกับอากาศสวนแรก (primary air) ที่หมุนเหวี่ยงออกมาจาก air
nozzle ที่อยูรอบถวยในทิศตรงกันขามกับการหมุนเหวีย่ งของน้ํามันทําใหฟลมน้ํามันถูกตีแผออกเปนฝอย
ละเอียดระเหยเปนไอ และติดไฟทันที อากาศสวนแรกประมาณ 15-20% ของอากาศทั้งหมด อากาศสวนที่
สอง (secondary air) ไหลทางดานขางของหัวเผา หัวเผาชนิดนี้เหมาะสําหรับน้ํามันความหนืดสูงโดยไมตอง
อุนกอน ให Turn Down Ratio สูงถึง 10:1 โดยใหละอองน้ํามันละเอียดสม่ําเสมอกันทุกชวงการปอนน้ํามัน
ขอเสียคือการสึกหรอมักเกิดที่ขอบถวย ทําใหน้ํามันแตกเปนฝอยละเอียดไมสม่ําเสมอ และอาจเกิดตะกอน
น้ํามันสะสมภายในถวยมาก จึงจําเปนตองถอดออกทําความสะอาดบอยๆ
AIR
OIL SWIRLS
COUNTER CLOCKWISE

CUP
CUP OIL

AIR NOZZLE
AIR SWIRLS CLOCKWISE

AIR

รูปที่ 1.7 หัวเผาชนิดถวยสลัดน้ํามัน

1.3.2 การควบคุมการทํางานของหัวเผา
การควบคุมการทํางานของหัวเผา มี 4 แบบ คือ
1) แบบตอ – ตัด (ON – OFF) หรือแบบขั้นเดียว (Single Stage Regulation)
แบบตัด – ตอ มีหัวฉีดหัวเดียว เมื่อหมอน้ําจุดสตารท หัวเผาจะตอ (ON) โซลินอยลวาลวเปด น้ํามัน
ถูกฉีดออกดวยอัตราสูงสุด เมื่อความดันไอน้ําสูงเกินจุดที่ตั้งไว (ใชไอน้ํานอยลง) จะมีสัญญาณมาตัด (OFF)
คือปดโซลินอยลวาลว และเมื่อความดันไอน้ําลดต่ําลงถึงจุดที่ตั้งไวก็จะมีสัญญาณมาตอ (ON) อีก มักใชกับ
หมอน้ําเล็กๆ ที่ใชน้ํามันดีเซล (โซลา) เปนเชื้อเพลิง หัวเผาแบบพนฝอยดวยความดันน้ํามัน และไมมี Turn
Down Ratio

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-13


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

การทํางาน

ตอ

ตัด

เวลา
รูปที่ 1.8 การทํางานของหัวเผาที่ควบคุมแบบตัด-ตอ

2) แบบไฟนอย – ไฟมาก (Low Fire - High Fire : LF - HF)


ใชหัวฉีด 2 หัว เมื่อหมอน้ําจุดสตารท โซลินอยลวาลวที่ 1 เปด เฉพาะหัวฉีดที่ 1 ฉีดน้ํามันเปนการ
ทํางานแบบไฟนอย (Low Fire) และเมื่อโซลินอยลวาลวที่ 2 เปด หัวฉีดที่ 2 จะฉีดน้ํามันเพิ่มเขาไปในหอง
เผาไหมเปนการทํางานแบบไฟมาก (High Fire หรือ Full Load) ดังนั้นการควบคุมโหลดของหมอน้ํา คือการ
เปดและปดโซลินอยลวาลวที่ 2 การควบคุมแบบนี้ทาํ ใหหัวเผาสามารถรองรับโหลดทีเ่ ปลี่ยนแปลงของหมอน้าํ
ไดกวางขึ้น เชน หัว 1 ฉีดน้ํามัน 70% หัว 2 ฉีดอีก 30% รวมเปน 100% มี Turn Down Ratio ประมาณ
1.4 : 1 หรือ หัว 1 ฉีด 30% หัว 2 ฉีด 70% จะมี Turn Down Ratio ประมาณ 3.3 : 1 แลวแตตองการรองรับ
โหลดเปนแบบไหน ซึ่งสามารถเลือกขนาดหัวฉีดไดตามตองการ

การทํางาน

High Fire (ไฟมาก)

Low Fire (ไฟนอย)

ตัด

เวลา

รูปที่ 1.9 การทํางานของหัวเผาที่ควบคุมแบบไฟนอย – ไฟมาก (Low Fire - High Fire )

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-14


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

3) แบบไฟนอย-ไฟปานกลาง-ไฟมาก (Low Fire –Medium Fire - High Fire : LF-MF-HF)


ใชหัวฉีด 3 หัว ชวงที่ตองการอัตราการผลิตไอน้ํานอยโซลินอยลวาลวที่ 1 เปดหัวฉีดที่ 1 ทํางาน
หัวเผาทํางานที่ไฟนอย (Low Fire) เมื่อตองการอัตราการผลิตไอน้ําเพิ่มขึ้น โซลินอยลวาลว 2 เปด หัวฉีดที่ 2
ทํางานพรอมกับหัวที่ 1 หัวเผาทํางานที่ไฟกลาง (Medium Fire) และ เมื่อตองการอัตราการผลิตไอน้ําสูงสุด
โซลินอยลวาลว 3 เปด หัวฉีดที่ 3 ฉีดน้ํามันเพิ่มเขาหองเผาไหม หัวฉีดทั้ง 3 ทํางานทั้งหมด หัวเผาทํางานที่
ไฟมาก (High Fire หรือ Full Load) ดังนั้นการควบคุมโหลดของหมอน้ํา คือการเปดและปดโซลินอยลวาลว
2 และ 3

การทํางาน

High Fire (ไฟมาก)

Medium Fire (ไฟกลาง)

Low Fire (ไฟนอย)

ตัด

เวลา

รูปที่ 1.10 การทํางานของหัวเผาที่ควบคุมแบบไฟนอย-ไฟปานกลาง-ไฟมาก


(Low Fire –Medium Fire - High Fire )

4) การควบคุมการทํางานแบบตอเนื่อง (Modulating Regulation)


มีหัวฉีดหัวเดียว ปมจะปอนน้ํามันไปยังหัวฉีด และออกไปยังวาลวควบคุมน้ํามัน (Oil Regulator)
เมื่อเข็มหัวฉีด (Needle Nozzle) เปด น้าํ มันบางสวนถูกฉีดออกไปในปริมาณทีใ่ ชจุดติดสตารท (Ignition
Load) ปริมาณน้ํามันสวนใหญจะไหลกลับผานวาลวควบคุมน้ํามัน จากนั้นเซอรโวมอเตอร (Servomotor)
จะหมุนขับวาลวควบคุมน้ํามันชาๆตามความดันไอน้ําที่เพิ่มขึ้นและลดลง เพื่อลดหรือเพิ่มปริมาณน้ํามันที่
ฉีดออกจากหัวฉีด ในขณะเรงเต็มที่ (Full Load) ปริมาณน้ํามันจะฉีดออกทางหัวฉีดในปริมาณมาก และ
ปริมาณน้ํามันสวนนอยจะไหลกลับผานวาลวควบคุมน้ํามัน การควบคุมการทํางานแบบนีห้ ัวเผามีความ
สามารถเรงขึ้นสุดและหรี่ลงต่ําสุดไดมาก คือ มี Turn Down Ratio สูงตั้งแต 3 : 1 จนถึง 10 : 1ได และแบงได
เปน 2 แบบ คือ แบบ Modulating 2 stage และ แบบ Proportional Modulating

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-15


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

การควบคุมการทํางานหัวเผาแบบ Modulating 2 stage นั้นเมื่อหัวเผาจุดติดเตาครั้งแรก จะฉีดน้ํามัน


ดวยปริมาณ Ignition Load แลวจึงคอยๆ เพิ่มปริมาณการฉีดจนถึงปริมาณโหลดสูงสุด (Full Load) และเมื่อ
โหลดนอยลง ก็จะหรี่ลงมาหยุดที่โหลดบางสวน (Partial Load)

การทํางาน

High Fire (ไฟมาก)

Low Fire (ไฟนอย)

ตอ
ตัด
เวลา

รูปที่ 1.11 การทํางานของหัวเผาที่ควบคุมแบบ Modulating 2 stage

การควบคุมการทํางานหัวเผาแบบ Proportional Modulating วาลวควบคุมน้ํามัน (Oil Regulator)


สามารถจะหรี่ลงมาหยุดหรือเรงเพิ่มขึ้นไปหยุด ณ ตําแหนงใดๆ ก็ไดระหวาง Partial Load และ Full Load

การทํางาน
High Fire (ไฟมาก)

Low Fire (ไฟนอย)


ตอ
ตัด

เวลา

รูปที่ 1.12 การทํางานของหัวเผาที่ควบคุมแบบ Proportional Modulating

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-16


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

1.3.3 ยี่หอหัวเผาที่ใชในประเทศไทย
หัวเผาน้ํามันทีใ่ ชในประเทศไทยโดยสวนใหญนําเขาจากประเทศตางๆ หลายประเทศ และมี
หลากหลายยีห่ อ ซึ่งพอจะสรุปตามชนิดไดดังนี้

ตารางที่ 1.4 ยีห่ อหัวเผาน้ํามันที่ใชในประเทศไทย


ชนิด ยี่หอ
Pressure Atomized Weishaupt/Monarch, Olympia, Elco Klockner, Bentone, Baltur Riello, Oertli,
Nuway, Ray Henchel, Wanson (Thermo Pac) etc.
Air Atomized Cleaver Brooks, Kewanee, Yorkshipley, Ray, Hauwk etc.
Steam Atomized IHI, Takuma, Kure etc.
Rotary Cup Saacke, Hamworthy, MP.Boiler, Sunray, Ray etc.

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 1-17


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

บทที่ 2
ขั้นตอนการดําเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพหมอไอน้ําโดยการปรับแตงหัวเผา

การปรับปรุงประสิทธิภาพหมอไอน้ําโดยการปรับแตงหัวเผานั้น ผูดําเนินการตองเขาใจและมี
ความรูพื้นฐานเกี่ยวกับหัวเผา และน้ํามันเชื้อเพลิง ซึ่งไดอธิบายไวในบทที่ 1 เมื่อเขาใจพื้นฐานเกี่ยวกับ
หัวเผาแลว ผูดาํ เนินการปรับแตงหัวเผาตองทราบถึงขั้นตอนในการดําเนินการเพื่อใหการปฏิบัติทําไดถูกตอง
รวดเร็ว และใหเกิดผลอยางดียิ่งขึ้น จึงขอเสนอแนะแนวทางการดําเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพหมอไอน้ํา
โดยการปรับแตงหัวเผาตามขั้นตอนดังตอไปนี้
1. การตรวจวัดวิเคราะหประสิทธิภาพหมอไอน้ําและการทํางานของหัวเผา
2. การตรวจสอบสภาพหัวเผา
3. การบํารุงรักษาและการปรับปรุงหัวเผา
4. การปรับแตงหัวเผา
5. การประเมินผลการปรับแตง
6. การปรับปรุงประสิทธิภาพหัวเผาอยางยั่งยืน

2.1 การตรวจวัดวิเคราะหประสิทธิภาพหมอไอน้ําและการทํางานของหัวเผา
ขั้นตอนแรกสุดของการดําเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพของหมอไอน้ําโดยการปรับแตงหัวเผา
ไดแก การตรวจวัดวิเคราะหการทํางานของหัวเผา ซึ่งดําเนินการโดยการตรวจวัดปริมาณกาซ CO2, O2 และ
CO ในกาซไอเสีย เพื่อใหทราบสภาพการทํางานของหัวเผาในปจจุบัน และใชเปนขอมูลสําหรับการ
ปรับแตงหัวเผา อยางไรก็ตาม เพื่อเปนการหาโอกาสอื่นๆที่นอกเหนือจากการปรับแตงหัวเผาในการ
ปรับปรุงประสิทธิภาพของหมอไอน้ํา การตรวจวัดวิเคราะหการทํางานของหัวเผาควรทําควบคูกับการ
ตรวจวัดวิเคราะหประสิทธิภาพหมอไอน้ํา ซึ่งไดแก การตรวจวัดการสูญเสียความรอนผานผนัง การตรวจวัด
คุณภาพน้ําในหมอไอน้ําและการโบลวดาวน การตรวจวัดปริมาณและคุณภาพน้ําปอน การตรวจวัดเชื้อเพลิง
และอากาศ และการตรวจวัดความดันและอุณหภูมิไอน้าํ รายละเอียดการตรวจวัดวิเคราะหเหลานีก้ ลาวไวใน
บทที่ 3 การตรวจวัดวิเคราะหประสิทธิภาพหมอไอน้ํา และการทํางานของหัวเผา

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 2-1


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

การตรวจวัดวิเคราะหประสิทธิภาพหมอไอน้ํา
และการทํางานของหัวเผา

การตรวจสอบสภาพหัวเผา

การบํารุงรักษาและปรับปรุงหัวเผา

การปรับแตงหัวเผา

การประเมินผลการปรับแตง

การปรับปรุงประสิทธิภาพหัวเผา
อยางยัง่ ยืน

รูปที่ 2.1 แผนผังขั้นตอนการดําเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพหมอไอน้ํา โดยการปรับแตงหัวเผา

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 2-2


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

2.2 การตรวจสอบสภาพ การบํารุงรักษา และการปรับปรุงหัวเผา


เงื่อนไขที่สําคัญที่สุดของการปรับแตงหัวเผาที่สัมฤทธิ์ผลคือ หัวเผาตองอยูในสภาพดีทํางานได
ตามปกติ การตรวจสอบสภาพ การบํารุงรักษา และการปรับปรุงหัวเผาจึงเปนขัน้ ตอนสําคัญ เพื่อเปน
หลักประกันวาหัวเผาอยูในสภาพดีในขณะปรับแตงหัวเผา หัวขอที่ 4.2 กลาวถึงการตรวจสอบสภาพ การ
บํารุงรักษา และการปรับปรุงหัวเผา

2.3 การปรับแตงหัวเผา
การปรับแตงหัวเผาคือการปรับอากาศสวนเกินเพื่อใหเกิดการเผาไหมทมี่ ีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด หัว
เผาที่ตางชนิดกัน และ วิธีการควบคุมทีแ่ ตกตางกันมีเทคนิคการปรับแตงหัวเผาทีแ่ ตกตางกัน หัวขอที่ 4.3
กลาวถึงเทคนิคการปรับแตงหัวเผาตามชนิดของหัวเผาและชนิดของการควบคุมการทํางาน

2.4 การประเมินผลการปรับแตง
วั ต ถุ ป ระสงค ข องการปรั บ แต ง หั ว เผาคื อ การปรั บ อากาศส ว นเกิ น เพื่ อ ให เ กิ ด การเผาไหม ที่ มี
ประสิทธิภาพสูงที่สุดและบํารุงรักษาหัวเผาใหอยูใ นสภาพดี ทํางานไดตามปกติ เพื่อใหเกิดการประหยัด
น้ํามันเชื้อเพลิง อยางไรก็ตาม การปรับแตงหัวเผามีคาใชจายสําหรับการปรับแตง อาทิเชน เครื่องตรวจวัด
วิเคราะหไอเสียในกรณีที่สถานประกอบการมีบุคลากรที่สามารถปรับแตงหัวเผาไดดว ยตนเอง หรือการจาง
บริษัทภายนอกเขามาทําการตรวจวัดสภาพการเผาไหมและทําการปรับแตงหัวเผา โดยคาใชจายสําหรับการ
ปรับแตงหัวเผานั้นขึ้นอยูก ับปจจัยดังนี้
• สถานประกอบการดําเนินการปรับแตงหัวเผาดวยตนเอง หรือ จางบริษัทภายนอกเขามาทํา
การปรับแตง
• ความถี่ของการปรับแตง ซึ่งอาจจะมีตั้งแตทุก 2 เดือนจนถึงทุก 1 ป
หนึ่งในตัวชีว้ ดั ที่เหมาะสมสําหรับการประเมินผลการปรับแตง ไดแกผลตอบแทนที่ไดจากการ
ประหยัดน้ํามันเชื้อเพลิง และคาใชจายในการปรับแตงหัวเผา ซึ้งสามารถแสดงไดในรูปแบบของระยะเวลา
คืนทุนเบื้องตนดังนี้

ระยะเวลาคืนทุนเบื้องตน = คาใชจายในการปรับแตง
ผลตอบแทนที่ไดจากการประหยัด

การปรับแตงทีไ่ ดผลคือ การปรับแตงที่ใหผลตอบแทนมากกวาคาใชจาย แตการปรับแตงที่ให


ผลตอบแทนสูงที่สุดคือการปรับแตงที่ใหระยะเวลาคืนทุนเบื้องตนนอยที่สุด สถานประกอบการควรจะทํา
การประเมินผลการปรับแตงทุกครั้ง เพื่อเก็บเปนขอมูลสถิติ และใชเปนแนวทางในการปรับแตงเพื่อใหเกิด
ผลตอบแทนสูงที่สุด หัวขอที่ 6.1.4 และ 6.2.4 แสดงตัวอยางการประเมินผลการปรับแตง

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 2-3


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

2.5 การปรับปรุงประสิทธิภาพหัวเผาอยางยัง่ ยืน


การปรับปรุงประสิทธิภาพหัวเผาอยางยั่งยืนคือการดําเนินการเพื่อรักษาใหหวั เผาทํางานโดยมี
ประสิทธิภาพสูงที่สุดอยางตอเนื่องตลอดชวงเวลาการทํางาน ซึ่งกอใหเกิดการประหยัดน้ํามันเชือ้ เพลิงใน
ระยะยาว การดําเนินการเพื่อใหเกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพหัวเผาอยางยั่งยืนนัน้ จําเปนจะตองไดรบั
ความรวมมือจากทุกฝายที่เกีย่ วของ เริ่มตั้งแตฝายปฏิบัตกิ ารไปจนถึงฝายบริหาร และจะตองดําเนินการอยาง
ตอเนื่องโดยมีการบริหารจัดการที่ดี
การปรับปรุงประสิทธิภาพของหัวเผาอยางยั่งยืนถือเปนหนึ่งในโปรแกรมการประหยัดพลังงานใน
หมอไอน้ําอยางยั่งยืน โดยมีรายละเอียดกลาวไวในบทที่ 5

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 2-4


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

บทที่ 3
การตรวจวัดวิเคราะหประสิทธิภาพหมอไอน้ํา
และการทํางานของหัวเผา

เราตองทําการตรวจวัด วิเคราะหประสิทธิภาพหมอไอน้ําและการทํางานของหัวเผา เพื่อใหทราบวา


หมอไอน้ําทํางานอยางมีประสิทธิภาพหรือไม สูงต่ําเพียงไร มีจุดไหนทีผ่ ิดปกติ จุดไหนที่เปนปญหา หรือจุด
ไหนที่มกี ารสิ้นเปลืองพลังงาน ทําใหหมอไอน้ํามีประสิทธิภาพต่ํา การตรวจวัดจะทําการวัดคาพารามิเตอร
ตางๆ ที่เกี่ยวของเพื่อนําไปคํานวณหาประสิทธิภาพหมอไอน้ํา ซึ่งสามารถแบงเปนสวนๆ ไดดังนี้

1. การตรวจวัดวิเคราะหไอเสีย
2. การตรวจวัดการสูญเสียความรอนผานผนัง
3. การตรวจวัดคุณภาพน้ําในหมอไอน้ํา และการโบลวดาวน (Blow Down)
4. การตรวจวัดปริมาณและคุณภาพน้ําปอน
5. การตรวจวัดเชือ้ เพลิงและอากาศ
6. การตรวจวัดความดันและอุณหภูมิไอน้ํา

การตรวจวัดวิเคราะหประสิทธิภาพหมอไอน้ําและการทํางานของหัวเผานั้น ตองวัดคาพารามิเตอรที่
ตําแหนงตางๆ ของหมอไอน้าํ แสดงดังรูปที่ 3.1

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-1


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

ปลองไอเสีย
: ตรวจวัดวิเคราะหไอเสีย
เกจวัดความดันและอุณหภูมิ
-วัดปริมาณออกซิเจน คารบอนมอนออกไซด
: ตรวจวัดความดันและอุณหภูมิใชงาน
ของไอเสีย
-วัดความดันและอุณหภูมไิ อน้ํา
-วัดอุณหภูมไิ อเสีย

ทอน้ําปอน
: ตรวจวัดปริมาณและคุณภาพปอนน้ํา
-วัดอัตราการไหลน้ําปอน
ผนังหมอไอน้ํา -วัดอุณหภูมิน้ําปอน
:ตรวจวัดการสูญเสียความรอน -วัดปริมาณสารละลายในน้ํา คา pH และ
-วัดอุณหภูมทิ ี่ผนังหมอไอน้ํา ความกระดาง (Hardness)

หัวเผา
: ตรวจวัดปริมาณเชื้อเพลิงและอากาศ
-วัดอัตราการไหลเชื้อเพลิง ทอน้ําระบาย (Blow Down)
-วัดอุณหภูมิเชือ้ เพลิง :ตรวจวัดคุณภาพของน้ําในหมอไอน้ํา
-วัดอุณหภูมอิ ากาศ -วัดปริมาณสารละลายในน้ําและคา PH
-วัดปริมาณอากาศ -วัดความสูญเสียจากการ Blow Down
: ปรับแตงหัวเผา

รูปที่ 3.1 การวัดคาพารามิเตอรที่ตําแหนงตางๆ ของหมอไอน้ํา

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-2


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

3.1 การตรวจวัดวิเคราะหไอเสีย
การตรวจวัดวิเคราะหไอเสียของหมอไอน้าํ มีวัตถุประสงค 2 ประการหลัก คือ
1. เพื่อหาอัตราสวนอากาศตอเชื้อเพลิง (Air-to-Fuel Ratio)
2. เพื่อหาประสิทธิภาพการเผาไหม
การตรวจวัดจําเปนจะตองใชอุปกรณหรือเครื่องมือวัด เพื่อวัดคาปริมาณกาซออกซิเจน คาปริมาณ
กาซคารบอนไดออกไซด และคาปริมาณกาซคารบอนมอนออกไซด ซึ่งปริมาณกาซทั้ง 3 ชนิด ในกาซไอเสีย
จะบงบอกถึงประสิทธิภาพการเผาไหม และปริมาณอากาศสวนเกิน (Excess Air) ในคูมือเลมนี้จะขอกลาวถึง
เครื่องมือที่ใชวัดคาปริมาณกาซในกาซไอเสีย 2 แบบ คือ
1. เครื่องวิเคราะหกาซไอเสียแบบอิเล็คทรอนิคสที่เปนชนิดเคลื่อนยายได (Portable)
2. แบบออรเซท (Orsat)

3.1.1 การตรวจวัดดวยเครื่องวัดวิเคราะหไอเสียแบบอิเล็คทรอนิคส
เครื่องวัดวิเคราะหไอเสียแบบอิเล็คทรอนิคสเปนที่นิยมใชกันมากในปจจุบัน เนือ่ งจากใชงานงาย
ไดผลรวดเร็ว สามารถวัดอุณหภูมไิ ดในตัว และมีฟงกชนั่ ในการคํานวณหาประสิทธิภาพการเผาไหมรุนใหมๆ
นั้น สามารถวัดคาไดตอเนื่อง และมีหนวยความจําในตัว โดยมีขอเสีย คือ ราคาแพง
1.) โครงสรางของเครื่องวิเคราะหกาซแบบอิเล็คทรอนิคส
เครื่องวิเคราะหกาซแบบอิเล็คทรอนิคสมีโครงสรางดังแสดงในรูปที่ 3.2 ซึ่งประกอบ 2 สวน
คือ สวนหัววัด (Probe) และสวนเครื่องวิเคราะหกาซ

1 หัววัด(Probe)

4. สายสงกาซ

3. สายสัญญาณ

2 เครื่องวิเคราะห

รูปที่ 3.2 แสดงเครื่องวัดแบบอิเล็คทรอนิคส

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-3


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

สวนที่ 1 หัววัด (Probe) เปนสวนเก็บตัวอยางของกาซไอเสียผานเขาเครื่องวิเคราะหกาซ และมี


ตัววัดอุณหภูมิ (เทอรโมคัปเปล) สําหรับสงสัญญาณอุณหภูมิเขาเครื่องวิเคราะห
สวนที่ 2 เปนสวนของเครื่องวิเคราะห มีองคประกอบและหนาทีห่ ลายประการ ดังนี้
1. ปม ทําหนาที่ดดู ตัวอยางกาซผานหัววัด
2. เซลลวัดปริมาณกาซ ทําหนาที่วัดปริมาณกาซชนิดตางๆ และสงออกเปนสัญญาณไฟฟา
3. สวนวิเคราะหผล ทําหนาที่นําสัญญาณคาปริมาณกาซ และอุณหภูมิ มาวิเคราะหและ
แสดงผลผานทางหนาจอ
4. หนาจอแสดงผล ทําหนาที่แสดงผลการวัดและวิเคราะห

2.) การเตรียมและการวัด
กอนทําการวัดคาตองทําการเตรียมเครื่องกอนวัดดังนี้
1. ประกอบสวนหัววัด และตัวเครื่องวิเคราะหเขาดวยกัน
2. เปดเครื่องวัด
3. ตรวจสอบโดยการวัดคาเปอรเซ็นตออกซิเจนในอากาศวาได 21% หรือไม
4. เซทคาพารามิเตอรตางๆ ที่ใชคํานวณตามที่เครื่องตองการ (ขึ้นอยูกับยีห่ อและรุนของ
เครื่อง) เชน ชนิดเชื้อเพลิง อุณหภูมิเชื้อเพลิง
5. ทําการติดตั้งหัววัดเขากับปลองไอเสีย โดยเสียบใหปลายหัววัด อยูบ ริเวณกึ่งกลางของ
ปลองไอเสีย

การวัดคา
1. เปดสวิตชใหปมดูดสารตัวอยางทํางานปริมาณ 30-60 วินาที หรือพิจารณาจากคาที่แสดงที่
หนาจอนิ่งแลวใหปด สวิตชหยุดปม
2. บันทึกคาที่เครือ่ งแสดงผลบนหนาจอ ในปจจุบันเครื่องแบบอิเล็คทรอนิคสสามารถพิมพ
ผลการวัดออกทางเครื่องพิมพไดเลย
3. คาที่วัดได ไดแก
- เปอรเซ็นตออกซิเจนในกาซไอเสีย
- เปอรเซ็นตคารบอนไดออกไซดในกาซไอเสีย
- ปริมาณคารบอนมอนออกไซด เปน ppm
- ประสิทธิภาพการเผาไหม เปน เปอรเซ็นต
- ฯลฯ

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-4


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

รูปที่ 3.3 แสดงการติดตัง้ หัววัดกาซไอเสียเขากับปลองไอเสีย

รูปที่ 3.4 แสดงตัวอยางของการตรวจวัดที่พิมพออกทางเครื่องพิมพ

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-5


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

3.1.2 เครื่องวิเคราะหกาซแบบ Orsat


เครื่องวิเคราะหกาซแบบ Orsat ปจจุบันไมนิยมใช เนื่องจากมีความยุงยากในการใชงาน ทํางานโดย
สงกาซตัวอยางผานสารละลายดูดซึมแลววัดปริมาตรของกาซตัวอยางทีล่ ดลงเพื่อหาคาความเขมขนของกาซ
ถูกดูดซึม เครื่องวัดแบบนี้จะสามารถวิเคราะหกาซ CO2, O2, CO และอื่นๆ โดยใชสารละลายดูดซึมเฉพาะ
กาซชนิดนั้นๆ

1.) โครงสรางเครือ่ งวิเคราะหกาซแบบ Orsat


เครื่องวิเคราะหกาซแบบ Orsat มีโครงสราง ดังแสดงในรูปที่ 3.5 นอกจากที่แสดงไวในรูปแลว
ยังประกอบดวยสเปรยลูกกลมคูสําหรับดึงกาซตัวอยาง ทอเก็บกาซตัวอยาง และสารละลายดูดซึม ซึ่ง
สารละลายดูดซึมที่ใชมีดังนี้
ก. สารละลายดูดซึม CO2- เปนสารละลายของ KOH 30 g ในน้ํา 100 ml ถาความเขมขนสูง
จะหนืด เมื่อเสือ่ มสภาพของเหลวนี้จะขุน
ข. สารละลายดูดซึม O2 – เปนสารละลายผสมระหวางสารละลายของ KOH 60 g ในน้ํา
100 ml กับสารละลายของ Pyrogallol 12 g ในน้ํา 100 ml (ปกติจะผสมไวอยางละ 500 ml
แลวนํามาผสมกันแลวเก็บไวในที่ที่อากาศเขาไมได) สารละลายดูดซึมนี้ 100 ml เมือ่
ใชดูดซึมกาซ O2ไปได 350 ml ใหทําการเปลี่ยนใหม
ค. สารละลายดูดซึม CO – เปนสารละลายแอมโมเนียของ CuCl2
ง. สารละลายปดกั้น – เปนสารละลายอิ่มตัวของเกลือแกงที่เติม Methyl red ลงไปจากนัน้
เติมกรดกํามะถันจนสารละลายเริ่มเปลี่ยนเปนสีแดงเพื่อทําใหมีสภาพเปนกรดเล็กนอย

2.) ขอควรระวังในการใช
ก. สารละลายดูดซึมที่เย็นใหทําการอุนเวลาใช (การดูดซึมขณะอุณหภูมิ 10°C และ 5°C
จะตองใชเวลามากขึ้นกวาขณะอุณหภูมิ 25°C 150% และ 200% ตามลําดับ)
ข. ลําดับการดูดซึมกาซตองถูกตอง คือทําการดูดซึมจาก CO2, O และ CO ตามลําดับเสมอ
ค. คาที่ต่ํากวา 0.1% จะไมสามารถอานไดถูกตอง
ง. ใหอานคาหลังจากหยดน้ําทีเ่ กาะที่ผนังดานในของ burtette หลนลงมาหมดเสียกอน
(จาระบีทใี่ ชทาปองกันการรัว่ จะไมใชกับสวนทางกาซผาน)
จ. คา O2 ที่วัดจากเครื่องวัดนี้เปนคาที่ใชกาซแหงที่เปนฐานคิด

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-6


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

A : Gas Burette (ปริมาตร 100 ml, สเกล 0.1 ml)


B : ขวดบรรจุสารละลายปดกัน้ (ปริมาตร 250 ml, สารละลายปดกัน้ ประมาณ 200 ml)
C : ขวดบรรจุสารละลายดูดซึม CO2
D : ขวดบรรจุสารละลายดูดซึม O2
E : ขวดบรรจุสารละลายดูดซึม CO
F : ทอหลอเย็น Gas burette
P : ชองระบายออก
R : ลูกโปงยาง (ปริมาตรประมาณ 150 ml)
S : ทอจายแยก
c,d,e : กอก 2 ตา (ทอแกวรูเข็ม)
f : กอก 3 ตา (ทอแกวรูเข็ม)
G : ทอยางใชสําหรับตอ (ทอยางที่คอนขางแข็ง)
U : หลอดรูปตัว U (ทอแกวที่บรรจุ cotton wool หรือ asbestos)

รูปที่ 3.5 เครื่องวิเคราะหแบบ Orsat

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-7


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

3.) การเตรียมการวัด และการวัด

ขั้นตอน
จุดมุงหมาย f B
ลําดับ อื่นๆ
(ตําแหนง กอก) (ขวดสารละลายปดกั้น)
การเตรียมตัว ¦ ยกขึ้นสูง - ยกลงต่ํา ปรับระดับสารละลายใน C. D. E ใหไดระดับ
ตรงขีดที่กํากับไว
§ ยกขึ้นสูง ปรับระดับสารละลายปดกั้นใน A ใหไดระดับ
100 ml ตรงขีดที่กํากับไว
การแทนที่ดวยกาซ ¨ วางไวดานบนเครื่อง ผานกาซตัวอยางในสเปรยลูกกลมคูเขาสูหลอด
ตัวอยาง รูปตัว U
ผานกาซตัวอยาง ©* ยกลงชา ใสเขาที่ A มากกวา 100 ml
เขาสู A
ปรับกาซที่ A ใหเทากับ ª* ปรับระดับสูงต่ํา 1. ปรับระดับของของเหลวของ B ใหตรงกับ
100 ml อยางเที่ยงตรง หมุนกลับอยาง สเกล 0 ของ A
รวดเร็ว 2. บีบทอยางไลกาซที่คางใน f ออก
3. ปรับระดับสารละลายใน A, B ใหตรงกับ
สเกลของ A…. แลวทําซ้ํา
ผานกาซให C ดูดซึม «* ยกขึ้น - ยกลง เปดจุด C ใหกาซผานเขาขวด C (ทําซ้ํา)
มากกวา 10 ครั้ง
อานคาการดูดซึมของ C —* ยกลงต่ํา 1. ปรับระดับสารละลายในขวด C ใหตรงกับขีด
ที่กํากับไวที่ขวด C
2. ปรับระดับของ A และ B ใหตรงกันแลวอาน
ปริมาตรของ [a]
อานคาการดูดซึมของ D ˜* ยกขึ้น - ยกลง เปด d แลวอานคาปริมาตรของ A [b] โดย
ทําเหมือน « —

* ขั้นตอน - . - และ แตละขั้นตอน จะตองทําซ้ํามากกวา 2 ครั้ง

4.) คาที่วัดได
คา [a] ที่วัดไดในขัน้ ตอน ในตารางจะแสดงอัตราสวนรอยละเชิงปริมาตรของ CO2 และ
ผลตางของคาที่วัดไดจากขั้นตอน และ คือ [b] – [a] จะแสดงอัตราสวนรอยละเชิงปริมาตรของ O2

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-8


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

3.1.3 หลักเกณฑการตรวจวัดและขอควรระวัง

หลักเกณฑการตรวจวัด

หลักเกณฑที่ควรพิจารณายึดถือในการตรวจวัดวิเคราะหไอเสีย มีดังตอไปนี้
1. ตําแหนงการวัดตองหางจากหมอไอน้ําไมเกิน 50 cm.
2. ปลายหัววัดควรอยูที่บริเวณกึง่ กลางของปลองไอเสีย
3. ควรตรวจวัดทุกสภาวะการทํางาน ดังแสดงในตาราง

การควบคุม การวัด
ON - OFF วัดที่ตําแหนง ON
Low Fire – High Fire วัดทั้งตําแหนง Low Fire และ High Fire
Modulating (2 Stage) วัดที่ตําแหนง Stage ที่ 1 (Low Fire) และ Stage ที่ 2 (High
Fire) ชวงระหวางที่มีการเปลี่ยน และควรพิจารณาตําแหนง
จุดติดไฟวามีควันหรือไม
Modulating วัดตลอดชวงการทํางานโดยแบงออกเปน 5 ชวง ตั้งแต 0%
(Low Fire), 25%, 50%, 75% และ 100% (High Fire)

4. การตรวจวัดทีเ่ ปนการสุมวัดควรวัด 5 ครั้ง เพื่อนําไปหาคาเฉลี่ย

ขอควรระวังในการตรวจวัดวิเคราะหไอเสีย
1. การตรวจหารอยรั่วของหองเผาไหม หรือทอไอเสียวามีการรั่วหรือไม เนื่องจากขณะเดิน Low
Fire อาจทําใหหองเผาไหมมีความดันต่ํากวาความดันบรรยากาศ จะทําใหมีอากาศไหลเขาหองเผาไหม หรือ
ทอไอเสียตามรอยรั่วตางๆ เปนเหตุใหคาที่วัดไดมีเปอรเซ็นตออกซิเจนสูงกวาความเปนจริง การตรวจสอบ
อาจทําไดโดยใชควันธูป
2. รูปที่ใชเสียบหัววัดไอเสียไมควรใหญมาก และขณะเสียบหัววัดควรมีการซีลไมใหอากาศไหล
เขาไปได

3.2 การตรวจวัดการสูญเสียความรอนผานผนัง
การตรวจวัดการสูญเสียความรอนผานผนัง มีพารามิเตอรที่ตองทําการวัดคือ
1. อุณหภูมิผิวนอกดานตางๆ ของหมอไอน้ํา
2. ขนาดพื้นผิวทีท่ ําการวัด
3. ลักษณะสีผิวของหมอไอน้ํา เพื่อใชหาคาสัมประสิทธิ์การแผรังสีของหมอไอน้ํา

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-9


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

การตรวจวัดอุณหภูมิผิวหมอไอน้ํา
การตรวจวัดอุณหภูมิจะใชเครื่องวัดอุณหภูมิแบบสัมผัส โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. แบงพื้นที่ตรวจวัดออกเปนสวนๆ ในแตละดาน เชน ดานขางหมอไอน้ําแบงออกเปน 9 สวน
2. วัดอุณหภูมิบนพื้นที่ของแตละสวน และวัดขนาดพืน้ ที่ของแตละสวนดวยตลับเมตร
3. หาคาอุณหภูมิเฉลี่ยของแตละดาน
4. หาพื้นที่รวมของแตละดาน
5. ระบุสีผิวของหมอไอน้ํา

รูปที่ 3.6 เครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบสัมผัส

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-10


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

3.3 การตรวจวัดคุณภาพน้ําในหมอไอน้ํา และการโบลวดาวน


การตรวจวัดคุณภาพน้ําในหมอไอน้ํา และการโบลวดาวน มีวัตถุประสงคเพื่อใหทราบถึงคุณภาพน้ําใน
หมอไอน้ํา การสูญเสียของการโบลวดาวนวาเหมาะสมหรือไมมากนอยเพียงใด และยังสามารถใชเปนขอมูล
ในการคํานวณหาประสิทธิภาพหมอไอน้ําดวยพารามิเตอรที่ตองวัดมีดังนี้
1. คา TDS ของน้าํ โบลวดาวน
2. คา pH ของน้ําโบลวดาวน
3. เวลาที่ทําการโบลวดาวนเปนวินาที
4. จํานวนครั้งที่โบลวดาวนใน 1 ชั่วโมง

การตรวจวัดสามารถปฏิบตั ิไดดังขั้นตอนตอไปนี้
1. บันทึกจํานวนครั้งที่ทําการโบลวดาวนใน 1 ชั่วโมง
2. รอถึงเวลาหรือรอบที่จะตองทําการโบลวดาวนตามปกติ แลวทําการโบลวดาวน โดยใชภาชนะ
รองน้ําโบลวดาวนไว พรอมกับจับเวลาทีโ่ บลวดาวน แลวทําการบันทึกเวลาที่ใชในการโบลว
ดาวน
3. นําน้ําโบลวดาวนมาทิ้งไวใหอุณหภูมิลดลง (เหลือต่ํากวา 45°C)
4. ทําการวัดคา TDS ของน้ําโบลวดาวน ดวยเครื่องวัดคา TDS และทําการบันทึกคา
5. ทําการวัดคา pH ของน้ําโบลวดาวน ดวยเครื่องวัดคา pH หรือใชกระดาษวัดคา pH แบบยูนิเวอร
เซลอินดิเคเตอร และทําการบันทึกคา

หัววัด TDS

หัววัดคา pH
รูปที่ 3.7 แสดงเครื่องวัดคา TDS และเครื่องวัดคา pH

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-11


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

3.4 การตรวจวัดปริมาณและคุณภาพน้าํ ปอน


การตรวจวัดปริมาณและคุณภาพน้ําปอน เพื่อใหทราบถึงอัตราการผลิตไอน้ํา และทราบถึงคุณภาพ
น้ําปอนวาเหมาะสมหรือไม พารามิเตอรที่ตองทําการวัด มีดังนี้
1. ปริมาณการปอนน้ําเขาหมอไอน้ําใน 1 ชั่วโมง
2. อุณหภูมิน้ําปอน
3. คา TDS ของน้าํ ปอน
4. คาความกระดางของน้ําปอน(Hardness)

การวัดปริมาณน้ําปอนเขาหมอไอน้ําใน 1 ชั่วโมง หรืออัตราการปอนน้ําเขาหมอไอน้ํา สามารถ


ทําไดโดยใชเครื่องมือหรือมาตรวัดอัตราการไหล ซึ่งมีหลายชนิดไดแก
1. เครื่องวัดแบบ Roots (oval)
2. เครื่องวัดแบบ Orifice
3. เครื่องวัดแบบ Rotameter
4. เครื่องวัดแบบใบพัดหมุน
5. เครื่องวัดแบบหลอดปโตต
6. เครื่องวัดแบบแมเหล็กไฟฟา

แบบทีน่ ยิ มและเหมาะสมกับการวัดอัตราการปอนน้าํ เขาหมอไอน้าํ คือแบบใบพัดหมุน ซึ่งมีสถานะ


เหมือนกับมาตรวัดน้ําประปาตามบานนัน่ เอง มีลักษณะดังรูปดานลาง

มาตรวัดปริมาณน้ําปอน

รูปที่ 3.8 แสดงลักษณะของมาตรวัดปริมาณน้ําปอนหมอไอน้ํา

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-12


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

การที่จะวัดหาปริมาณน้ําปอนเขาหมอไอน้าํ จําเปนจะตองติดตั้งเครื่องวัดหรือมาตรวัดเขากับ
ทอจายน้ําปอนระหวางถังน้าํ ปอนกับหมอไอน้ํา ซึ่งผูประกอบการสวนใหญไมนิยมติดตั้งมาตรวัดไว ทําให
ไมทราบถึงอัตราการผลิตไอน้ําที่แทจริงของหมอไอน้ํา จึงขอแนะนําใหติดตั้งเพื่อใหงา ยตอการวัดและทราบ
ขอมูลไดอยางรวดเร็วและตอเนื่อง การตรวจวัดสามารถทําไดตามลําดับขั้นตอนดังนี้
1. เวลาทําการโบลวดาวนตามเวลาปกติ ใหอา นคาเลขมิเตอรบนมาตรวัด และจดบันทึกคามิเตอร
และเวลาที่อาน
2. ปลอยใหหมอไอน้ําทํางานตามปกติ 1 ชั่วโมง
3. ทําการอานคาเลขมิเตอรบนมาตรวัดอีกครัง้ แลวบันทึกคาและเวลาที่อาน
4. หาปริมาณน้ําปอนโดยนําเลขมิเตอรหลังลบออกดวยเลขมิเตอรกอนจะไดปริมาณน้ําปอนเขา
หมอไอน้ําใน 1 ชั่วโมง

การวัดคา TDS ของน้ําปอนทําไดโดยการสุมน้ําปอนจากถังน้ําปอนมาทําการวัด ซึ่งเครือ่ ง


วัดคา TDS นั้นคือ ชนิดเดียวกับที่ใชวัดน้าํ โบลวดาวนนนั่ เอง สวนการวัดอุณหภูมนิ า้ํ ปอนนั้นสามารถทําได
โดยใชเทอรโมมิเตอร หรือเครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอลชนิดจุม สวนการวัดความกระดางของน้าํ ทําไดโดย
ใชน้ํายาวัดความกระดาง (Hardness Indicator) หยดลงบนตัวอยางน้ําปอนแลวสังเกตสีของน้ํา สีของน้ําจะ
เปนตัวบอกวาน้ําดังกลาวเปนน้ําออนหรือน้ํากระดาง

3.5 การตรวจวัดน้าํ มันเชื้อเพลิง และอากาศ


การตรวจวัดน้าํ มันเชื้อเพลิง และอากาศนั้น เพือ่ ใหทราบถึงปริมาณเชื้อเพลิงทีใ่ ช และสภาวะของ
น้ํามันเชื้อเพลิง และอากาศวามีความดันอุณหภูมิใชงานเทาไร เหมาะสมหรือไม ตรงตามที่ผูผลิตกําหนดไว
หรือไม พารามิเตอรที่ตองทําการวัดมีดังนี้
1. ปริมาณน้ํามันเชื้อเพลิงที่ใชใน 1 ชั่วโมง
2. ความดันน้ํามันเชื้อเพลิงกอนเขาหัวฉีด
3. อุณหภูมิน้ํามันเชื้อเพลิงกอนเขาหัวฉีด
4. อุณหภูมิอากาศปอนเขาหองเผาไหม

การวัดปริมาณน้ํามันเชือ้ เพลิง สามารถทําไดโดยใชเครื่องวัดอัตราการไหลหรือมาตรวัดปริมาณที่ไหล


ผาน ซึ่งที่นิยมใชคือมาตรวัดปริมาณที่ไหลผาน โดยมาตรวัดเปนแบบใบพัดหมุนทํางานในลักษณะเดียวกับ
มาตรวัดปริมาณน้ํา การตรวจวัดควรทําพรอมๆ กับการวัดปริมาณ และการวัดสามารถปฏิบัติไดตามขั้นตอน
เหมือนกันกับการวัดปริมาณน้ําปอนเขาหมอไอน้ํา

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-13


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

รูปที่ 3.9 แสดงมาตรวัดปริมาณน้ํามัน

การติดตั้งมาตรวัดควรติดตั้งในตําแหนงที่เปนการวัดน้ํามันที่จายเขาหมอไอน้ําจริง ซึ่งหมอไอน้ําที่
มีวงจรน้ํามันเปนแบบวนกลับใหติดตั้งกอนเขาวงจรวนกลับ
สําหรับการวัดคาความดันและอุณหภูมิของน้ํามันเชื้อเพลิงนั้น โดยปกติหัวเผาจะมีเกจบอกความดัน
และอุณหภูมิของน้ํามันเชื้อเพลิงติดตั้งอยูแลว สามารถอานคาความดันและอุณหภูมิของน้ํามันเชื้อเพลิงไดจาก
เกจวัดแลวทําการจดบันทึก ในกรณีที่หวั เผาไมมีเกจวัดติดตั้งไว ขอแนะนําใหทําการติดตั้งเพิ่มเติม ทั้งนี้เพื่อ
ประโยชนในการปรับแตง และการวิเคราะหสาเหตุในกรณีที่เกิดปญหากับการเผาไหม

เกจวัดความดันน้ํามัน เกจวัดอุณหภูมิน้ํามัน

รูปที่ 3.10 แสดงเกจวัดความดันน้ํามันและอุณหภูมิน้ํามัน


สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-14
โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

การตรวจวัดอุณหภูมิอากาศสามารถทําไดโดยการใชเทอรโมมิเตอร หรือเทอรโมคัปเปลวัดอุณหภูมิ
อากาศที่ปอนเขาหมอไอน้ํา ซึ่งปกติคืออุณหภูมิของบรรยากาศนั่นเอง เนื่องจากหมอไอน้ําขนาดกลางและ
เล็กไมนิยมใชเครื่องอุนอากาศ

3.6 การตรวจวัดความดันและอุณหภูมิไอน้ํา
การตรวจวัดความดันและอุณหภูมิไอน้ํา มีวัตถุประสงคเพื่อใหทราบความดันและอุณหภูมใิ ชงาน
รวมทั้งใชเปนขอมูลในการประเมินประสิทธิภาพหมอไอน้ํา พารามิเตอรที่ตองทําการวัด คือ ความดันของ
ไอน้ํา สวนอุณหภูมิไอน้ําสามารถหาไดจากตารางไอน้ํา ซึ่งจะแปรผันตามความดัน
การวัดความดันของไอน้ําในหมอไอน้ํา สามารถอานที่เกจวัดความดันที่ติดตั้งบนหมอไอน้ําไดทันที
โดยการวัดความดันควรวัดทุกๆ 5 นาที ตลอดชวง 1 ชั่วโมงที่ทําการวัด เพื่อนําคาความดันที่ไดมาเฉลี่ยเปน
ความดันใชงานของหมอไอน้ํา ซึ่งในการวัดความดันควรทําพรอมๆ กับการตรวจวัดในสวนอืน่ ๆ ของหมอ
ไอน้ําที่ไดกลาวมาแลว

เกจวัดความดัน

รูปที่ 3.11 แสดงเกจวัดความดันไอน้าํ

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-15


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

3.7 เกณฑการพิจารณาผลการตรวจวัด
คาพารามิเตอรตางๆ ที่ไดจากการตรวจวัดสามารถสรุปไดดังตารางที่ 3.1 ซึ่งการพิจารณาวาผลการ
วัดที่ไดนั้นบงบอกวาหมอไอน้ําทํางานดีอยูหรือไม มีสวนไหนมีปญ
 หาหรือมีขอบกพรองในสวนไหนตอง
อาศัยเกณฑที่เหมาะสมของคาพารามิเตอรตางๆ เพื่อเปรียบเทียบ ซึ่งไดสรุปไวในตารางที่ 3.1

ตารางที่ 3.1 สรุปคาพารามิเตอรและคาที่เหมาะสมของการทํางาน

พารามิเตอรที่ตองวัด เกณฑใชงานทีเ่ หมาะสม


การตรวจวัดวิเคราะหไอเสีย
1. เปอรเซ็นตกาซออกซิเจน %O2 3.4% - 4% สําหรับน้ํามันเตา
2.3% – 3.5% สําหรับน้ํามันดีเซล
2. เปอรเซ็นตกาซคารบอนไดออกไซด %CO2 > 12 %
3. ปริมาณกาซคารบอนมอนออกไซด (CO ppm) <50 ppm
4. อุณหภูมิไอเสีย <อุณหภูมิไอน้ํา + 60°C
การตรวจวัดการสูญเสียความรอนผานผนัง
1. อุณหภูมิผนัง < 60°C
2. พื้นที่ผนัง -
การตรวจวัดคุณภาพของน้ําในหมอไอน้ํา
1. คา TDS ของน้ําโบลวดาวน < 3,500 ppm
2. เวลาในการโบลวดาวน < 10 วินาที
3. คา pH ของน้ําโบลวดาวน 9.0 < pH < 11.5
ตรวจวัดปริมาณและคุณภาพน้ําปอน
1. อัตราการปอนน้ําเขาหมอไอน้ํา -
2. อุณหภูมิน้ําปอน ยิ่งสูงยิ่งดี แตควรระวังคารวิเตชั่น
3. คา TDS ของน้ําปอน < 200 ppm
4. ความกระดางของน้ําปอน น้ําออน หรือความกระดางนอยกวา 1 mgCaCO3/l
ตรวจวัดเชื้อเพลิงและอากาศ -
1. อัตราการปอนน้ํามันเชื้อเพลิง อยูในชวงที่ผูผลิตกําหนด
2. อุณหภูมิน้ํามันเชื้อเพลิง สําหรับน้ํามันเตา60 – 120 oC ขึ้นกับชนิดหัวเผา
3. ความดันน้ํามันเชื้อเพลิง ตามผูผลิตกําหนด
4. อุณหภูมิอากาศ ยิ่งสูงยิ่งดี
ตรวจวัดความดัน และอุณหภูมิใชงาน
1. ความดันไอน้ํา การใชงานไมควรนอยกวา 3 bar
หมายเหตุ ใชสําหรับหมอไอน้าํ ทอไฟ ความดันใชงานไมเกิน 10 bar

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3-16


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

บทที่ 4
หลักการและเทคนิคการปรับแตงหัวเผา

การปรับแตงหัวเผานั้นจําเปนตองเขาใจถึงหลักการทํางานของหัวเผาวาทํางานอยางไร ควบคุมการ
เผาไหมอยางไร ซึ่งไดกลาวมาแลวในบทที่ 2 ในบทนีจ้ ะกลาวถึงหลักการตางๆ ที่ใชพิจารณาปรับแตงหัวเผา
และเทคนิคการปรับแตงหัวเผาชนิดตางๆ ตามลักษณะการควบคุมการทํางานของหัวเผา

4.1 หลักการและเกณฑการปรับแตงหัวเผาน้ํามันใหประหยัดพลังงาน
นอกจากการมีอากาศสวนเกินที่เหมาะสมแลว การสันดาปที่มีประสิทธิภาพจะตองมีองคประกอบที่
ดี 3 องคประกอบ ซึ่งสามารถจดจําไดงายๆวา องคประกอบ 3T ซึ่งไดแก การผสมกันระหวางอากาศกับ
เชื้อเพลิง (Turbulence) อุณหภูมิ (Temperature) และเวลา (Time)

1. การผสมกันระหวางอากาศกับเชื้อเพลิง (Turbulence)
หัวเผาทําหนาที่ฉีดพนน้ํามันใหเปนฝอยละเอียดเพื่อใหนา้ํ มันระเหยเปนไออยางรวดเร็ว และปอน
อากาศเขาผสมกับไอน้ํามันเพื่อกอใหเกิดปฏิกิริยาสันดาป ดังนั้นการสันดาปที่มีประสิทธิภาพจะตองมีการ
ผสมกันระหวางอากาศและเชื้อเพลิงอยางทั่วถึง การผสมกันที่ไมทั่วถึงทําใหเกิดอากาศที่มากเกินความ
จําเปนในบางจุดของหองเผาไหม ในขณะเดียวกันเกิดการขาดแคลนอากาศสําหรับการสันดาปทีส่ มบูรณใน
จุดอื่นๆ ซึ่งเปนการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง หัวเผาที่ชํารุด หัวเผาที่อุดตัน น้ํามันที่มีความหนืดมากเกินไป หรือ
แรงดันน้ํามันที่นอยเกินไป เปนหนึ่งในสาเหตุของการผสมกันระหวางอากาศกับเชื้อเพลิงที่ไมเพียงพอ

2. อุณหภูมิ (Temperature)
การสันดาปเกิดขึ้นไดก็ตอเมือ่ อุณหภูมิของเชื้อเพลิงสูงจนถึงอุณหภูมิตดิ ไฟ (Fire Point) ดังนั้นการ
สันดาปที่สมบูรณเกิดขึน้ เมื่ออุณหภูมิภายในหองเผาไหมถูกรักษาใหสูงเพียงพออยูตลอดเวลา เชื้อเพลิงที่ตดิ
ไฟอยางตอเนือ่ งจึงมีประสิทธิภาพการเผาไหมดีกวาเชือ้ เพลิงที่มีการติดๆ ดับๆ คราบเขมาที่เกาะบนพืน้ ผิว
เกิดขึ้นจากเปลวที่สัมผัสกับพื้นผิวที่มีอณ
ุ หภูมิต่ํากวา และเมื่อหมอไอน้ําผลิตไอน้ํานอยกวาพิกดั มาก
อุณหภูมิของหองเผาไหมจะไมสูงตามที่ออกแบบเอาไว จึงเกิดการสันดาปที่ไมสมบูรณและเกิดเขมาในกาซ
ไอเสีย

3. เวลา (Time)
ปริมาณอากาศ การผสมกันระหวางอากาศและเชื้อเพลิง และ อุณหภูมิเปนตัวกําหนดอัตราการ
สันดาป อยางไรก็ตาม การสันดาปที่สมบูรณตองการระยะเวลาที่เพียงพอ ปริมาตรหองเผาไหมตอ งมีขนาด
สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-1
โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

เหมาะสมกับเชื้อเพลิงแตละชนิด เชื้อเพลิงที่เผาไหมงายอาจใชไดกบั หองเผาไหมขนาดเล็ก ในขณะที่


เชื้อเพลิงที่สันดาปยากกวาจําเปนตองใชหองเผาไหมที่มีขนาดใหญกวา นอกจากนี้เมื่อหมอไอน้ําทํางานมาก
เกินกวาพิกัด ระยะเวลาสําหรับการสันดาปอาจไมเพียงพอตอการเกิดการสันดาปที่สมบูรณ

ซึ่งอุปกรณที่ควบคุมอัตราสวนอากาศตอน้ํามันเชื้อเพลิงคือ หัวเผาน้ํามัน ดังนั้นการปรับแตงหัวเผา


คือการปรับใหมีอัตราสวนอากาศตอน้ํามันเชื้อเพลิงที่เหมาะสม และมีองคประกอบ 3T ครบถวน นอกจากการ
เผาไหมที่ดีแลว การปรับแตงยังตองคํานึงถึงปจจัยอื่นตามสภาพการใชงานหมอไอน้ําดวย เชน ปริมาณการ
ใชไอน้ํา ชนิดของน้ํามันเชื้อเพลิง ชนิดของหัวเผา เปนตน การปรับแตงจึงควรพิจารณาถึงปจจัยดังตอไปนี้

4.1.1 ปริมาณไอน้ําที่ตองการ
หมอไอน้ําที่ใชในโรงงานทัว่ ไปจะถูกปรับตั้งใหมกี ารปอนปริมาณน้าํ มันมากเพียงพอตอการผลิตอยู
แลว ยกเวนกรณีที่มีการขยายขบวนการผลิตทําใหมีความตองการใชไอน้ําเพิ่มขึ้น และเปนผลใหปริมาณไอ
น้ําที่ผลิตจากหมอไอน้ําไมเพียงพอตอการใชงาน แนวทางการพิจารณาปริมาณไอน้ําเพื่อการปรับแตง หัว
เผาแสดงดังตารางที่ 4.1

ตารางที่ 4.1 แนวทางการพิจารณาปริมาณไอน้ําเพื่อการปรับแตงหัวเผา


ปริมาณน้าํ มัน ขอสังเกต หลักการปรับแตง
เพียงพอตอการใชไอน้ํา หัวเผาทํางานตอเนื่อง มีการเรงหรี่ ปรับแตงเฉพาะปริมาณอากาศให
ตามภาระการใชไอน้ํา ไมตัด-ตอการ เหมาะสมกับปริมาณน้ํามัน
ทํางานบอยครัง้
มากเกินพอตอการผลิตไอน้ํา สามารถเรงผลิตไอน้ําไดดี ลดปริมาณน้ํามันใหเหมาะสมกับ
หัวเผาตัด-ตอบอย การใชไอน้ํา โดยพิจารณาในชวง
ที่มีการใชไอน้าํ มากที่สุด
และปรับปริมาณอากาศตามให
เหมาะสมกับปริมาณน้ํามัน
ไมเพียงพอตอการผลิตไอน้ํา หัวเผาทํางานในจังหวะเรงหรือ เพิ่มปริมาณน้ํามันใหเหมาะสมกับ
High Fire ตลอดเวลา ความดันไอน้ํา การใชงาน และปรับปริมาณ
ต่ํากวาที่ตองการใช อากาศตามใหเหมาะสมกับปริมาณ
น้ํามัน

สําหรับกรณีทคี่ วามตองการไอน้ํามีการเปลี่ยนแปลงสูง แนะนําใหสถานประกอบการเปลี่ยนไปใช


หัวเผาที่มีคา Turn Down Ratio ( หัวเผาควบคุมแบบไฟนอย-ไฟมาก หัวเผาควบคุมแบบ ไฟนอย-ไฟปาน

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-2


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

กลาง-ไฟมาก หัวเผาควบคุมการทํางานแบบตอเนื่อง ) แทนการใชหวั เผาควบคุมแบบตอ-ตัด เพราะหัวเผา


ควบคุมแบบตอ-ตัด ซึ่งใชการตอและตัดการทํางานของหัวเผาเพื่อควบคุมการสันดาปใหเหมาะสมกับความ
ตองการ จะตองมีการไลอากาศทุกครั้งทีม่ ีการตอ-ตัด ทําใหเกิดการสูญเสียความรอน ซึ่งการสูญเสียความ
รอนนี้ทําใหอณ
ุ หภูมิของหองเผาไหมลดต่าํ ลง ทําใหเกิดการสันดาปทีไ่ มสมบูรณ ตารางที่ 4.2 เปรียบเทียบ
ประสิทธิภาพของการเผาไหมระหวางหัวเผาควบคุมแบบตอ-ตัด หัวเผาควบคุมแบบไฟนอย-ไฟมาก และหัว
เผาควบคุมการทํางานแบบตอเนื่อง ที่เปอรเซ็นตภาระตางๆ

ตารางที่ 4.2 เปรียบเทียบประสิทธิภาพการเผาไหมที่เปอรเซ็นตภาระตางๆ


เปอรเซ็นตภาระ
ชนิดการควบคุม
25% 50% 75% 100%
แบบตอ-ตัด (ON-OFF) 70.3 74.4 75.6 76.3
แบบไฟนอย-ไฟมาก (Low Fire- High Fire) 76.9 76.5 76.4 76.3
แบบตอเนื่อง (Modulating) 76.9 77.7 77.2 76.3
ที่มา : Taplin, R., Harry, Boiler Plant and Distribution System Optimization Manual, The Fairmont Press, 1997,Second Edition

4.1.2 ชนิดของน้าํ มันเชื้อเพลิง


น้ํามันเชื้อเพลิงมีหลายชนิด ดังที่ไดกลาวมาแลวในบทที่ 1 แตละชนิดมีคณ
ุ สมบัติที่แตกตางกัน
ดังนั้นการปรับแตงควรคํานึงถึงชนิดของน้ํามันเชื้อเพลิงวาเปนชนิดใด
การปรับอัตราสวนอากาศตอเชื้อเพลิงใหเหมาะสมตามชนิดของน้ํามันเชื้อเพลิง สามารถพิจารณา
ไดจาก อากาศสวนเกิน หรือ เปอรเซ็นตออกซิเจนในกาซไอเสีย ซึ่งคาที่เหมาะสมแสดงดังตารางที่ 4.3

ตารางที่ 4.3 เกณฑแนะนําการกําหนดระดับคาอากาศสวนเกินและเปอรเซ็นตออกซิเจนในกาซไอเสีย


เชื้อเพลิง อากาศสวนเกิน (%) ออกซิเจนในแกสไอเสีย (%)
ต่ําสุด (min) สูงสุด (max) ต่ําสุด (min) สูงสุด (max)
แกสธรรมชาติ 10.0 15.0 2.0 2.7
น้ํามันเชื้อเพลิง :
น้ํามันชนิดเบา 12.5 20.0 2.3 3.5
น้ํามันเตา 20.0 25.0 3.3 4.2
หมายเหตุ : คาที่กําหนดไวในตารางเปนคาต่ําสุดของปริมาณอากาศสวนเกินสําหรับหมอไอน้ําที่
ไมมีอุปกรณการปรับเปลี่ยนอากาศสวนเกิน

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-3


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

4.1.3 ชนิดของหัวเผา
หัวเผาแตละชนิดมีกลไกการพนน้ํามันใหเปนฝอยตางกัน ดังนั้นการปรับตั้งอุณหภูมิน้ํามันเชื้อเพลิง
ปอนเขาหัวฉีดจึงตองตางกันตามชนิดของการพนฝอย และชนิดของน้ํามัน การปรับแตงจึงแนะนําให
ปรับตั้งคาอุณหภูมิของน้ํามันเชื้อเพลิงตามตารางที่ 4.4

ตารางที่ 4.4 เกณฑแนะนําคาอุณหภูมิน้ํามันเชื้อเพลิง


ชนิดหัวเผา ความหนืด น้ํามันเตา A น้ํามันเตา C น้ํามันเตา D
Air Atomize 12-17 cst 90-105 °C 108-125 °C
Pressure Atomize 12-20 cst 85-105 °C 100-125 °C
Steam Atomize 20-40 cst 66-85 °C 80-100 °C 90-110 °C
Rotary Cup 30-60 cst 60-75 °C 75-90 °C 82-100 °C

4.1.4 การพิจารณาผลการตรวจวัดกาซไอเสีย
การตรวจวัดวิเคราะหไอเสียจะทําใหทราบคา เปอรเซ็นตออกซิเจน(%O2) เปอรเซ็นต
คารบอนไดออกไซด (%CO2) ปริมาณคารบอนมอนออกไซด (CO เปน ppm) และคาอุณหภูมิของไอเสีย ซึ่ง
สามารถวิเคราะหและพิจารณาคาตางๆ เพือ่ การปรับแตงหัวเผาไดดังตารางตอไปนี้

ตารางที่ 4.5 การพิจารณาผลการตรวจวัดไอเสียและแนวทางการปรับแตง


ลําดับที่ กรณี การวิเคราะห การปรับแตง
1. คา % O2 สูงกวาเกณฑ ใชอากาศสวนเกินมากเกินไป จะทําให ปรับลดอากาศปอนเขาเผาไหม
คา % CO2 ต่ํากวาเกณฑ การสูญเสียความรอนไปกับกาซไอเสีย
คา CO นอยมาก (0-10 ppm) มาก
2. คา % O2 ต่ํากวาหรืออยูในเกณฑ การเผาไหมมีประสิทธิภาพดี ไมตองปรับแตง ควรตรวจสอบ
คา % CO2 สูงกวาหรืออยูในเกณฑ เปนประจําเพื่อรักษาใหหัวเผา
คา CO อยูในเกณฑ ทํางานในสภาวะนี้ตลอด
3. คา % O2 สูงกวาเกณฑ 1. อุปกรณชํารุด 1. ตรวจสภาพอุปกรณในหัวเผา
คา % CO2 ต่ํากวาเกณฑ เชน หัวฉีดสึก เนื่องจากใชมานาน เชน หัวฉีด กระจังลม เขี้ยว
คา CO สูงกวาเกณฑ กระจังลมบิดงอไมไดรูปทรง สปารค แลวทําการปรับตั้ง
2. ปรับตั้งอุปกรณไมถูกตอง เชน ปรับ ใหม หากติดตั้งไมถูกตอง
ตั้งกระจังลมผิดตําแหนง อุณหภูมิ หรือเปลี่ยนถาชํารุด
น้ํามันปอนเขาต่ํากวาเกณฑ เปนตน 2. ตรวจสอบหารอยรั่วแลวทํา
3. หองเผาไหมมีรูรั่ว และความดัน การปด หรือปรับเพิ่มอากาศ
ในหองเผาไหมต่ํากวาบรรยากาศ ใหคา CO อยูในเกณฑ โดย
ทําใหมีอากาศภายนอกที่ไมมีสวน ไมตองพิจารณาคา %O2
กับการเผาไหมเขาไปผสมกับกาซ และ %CO2
ไอเสีย

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-4


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

ลําดับที่ กรณี การวิเคราะห การปรับแตง


4. อุณหภูมิสูงกวาเกณฑ 1. ทอไฟสกปรกมีเขมาจับตามผนังทอ 1. ทําความสะอาด โดยการแยง
มาก ทอแลวโกยเขมาออก
2. ทางดานน้ํามีตะกรันจับทอมาก 2. ทําความสะอาด เอาตะกรันออก
3. ผนังกันทางไฟชํารุด และปรับปรุงสภาพนั้นกอน
4. หองเผาไหมเล็ก หรือใชหัวเผาใหญ เขาหมอไอน้ําใหมี TDS ตรง
เกินไป คากําหนด
3. ซอมผนังกันทางไฟ
4. พิจารณาเลือกหัวฉีดใหเล็กลง
หรือพิจารณาเปลี่ยนหมอไอน้ํา
หรือหัวเผาใหม

4.2 การตรวจสอบสภาพ การบํารุงรักษา และการปรับปรุงหัวเผา


กอนการปรับแตงหัวเผาเราควรตรวจสอบสภาพหัวเผาวาอุปกรณแตละสวนอยูในสภาพดี มีความ
สกปรก หรือติดตั้งในตําแหนงที่ถูกตองหรือไม และทําการปรับปรุง หรือทําการบํารุงรักษากอนการปรับแตง
เพื่อใหการปรับแตงทําไดงาย และใชเปนขอมูลในการตัดสินใจระหวางการปรับแตงหัวเผา
การตรวจสอบหัวเผาขอแนะนําใหทําการตรวจสอบในหัวขอหลักๆ ดังนี้
1. หัวฉีด
2. กระจังลม
3. กรวยไฟ
4. เขี้ยวสปารค
5. ชุดควบคุมการเผาไหม
6. การหมุนเวียนของเปลวไฟ และกาซไอเสีย

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-5


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

ตารางที่ 4.6 ขอแนะนําใหทําการตรวจสอบหัวเผา


หัวขอ การตรวจ การพิจารณา การแกไข
หัวฉีด - มีคราบน้ํามันจับบนหัวฉีดมากหรือไม - มีการฉีดชนเขี้ยวสปารค หรือกระจังลม - ปรับตั้งระยะเขี้ยวสปารค หรือกระจังลมใหม
- หัวฉีดสึก (ควรพิจารณาคูก บั อายุการใชงาน) - เปลี่ยนหัวฉีด
- อุณหภูมิน้ํามันต่ํา - ปรับตั้งฮีทเตอรใหอุณหภูมเิ หมาะสมและทําความ
สะอาดฮีทเตอร
- ใชงานหัวฉีดมานานหรือไม สําหรับหัวฉีดของแรงดันน้ํามัน
- ใชงาน 24 ชม./วัน ใหพิจารณาเปลี่ยนเมื่อใชงาน
เกิน 6 เดือน
- ใชงาน 8-12 ชม./วัน ใหพิจารณาเปลี่ยนเมื่อ
ใชงานเกิน 1 ป
- รูหัวฉีดเสียรูป - ใชงานมานาน - เปลี่ยนหัวฉีดใหม
- น้ํามันสกปรก - เปลี่ยนแหลงซื้อน้ํามัน หรือติดตั้งตัวกรองน้ํามัน
- บํารุงรักษาผิดวิธี - ไมควรใชของแข็งแยงรูหวั ฉีด
กระจังลม - มีคราบน้ํามันบนกระจังลมหรือไม - เกิดจากการฉีดน้ํามันชนกระจังลม - ปรับตั้งระยะกระจังลมใหมใหตรง Spec กําหนด
- ติดตั้งกระจังลมเบี้ยว - วัดระยะหางระหวางปากหัวเผาไปถึงกระจังลม 3 จุด - ปรับตั้งกระจังลมใหมใหตรง หรือเปลี่ยนใหมหาก
วาเทากันหรือไม หรือสังเกตเปลวไฟวาเบีย้ วหรือไม เบี้ยว เนื่องจากชํารุด
เขี้ยวสปารค - มีคราบน้ํามันบนเขี้ยวสปารคหรือไม - ฉีดน้ํามันชนเขี้ยวสปารค - ปรับตั้งระยะเขี้ยวสปารคใหตรง Spec กําหนด
- เขีย้ วสปารคทํางานไดหรือไม - เขี้ยวสปารคลงกราวด หรือมีคราบน้ํามันจับมาก - ตรวจสอบระบบไฟฟา
- ทําความสะอาดคราบน้ํามันแลวตั้งระยะเขี้ยวใหม

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-6


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

หัวฉีด การตรวจ การพิจารณา การแกไข


ชุดควบคุมการ - การควบคุมปกติหรือไม - การตอวงจรไฟฟาไมถูกตอง - ตรวจสอบระบบไฟฟาใหม
เผาไหม - อุปกรณชุดควบคุมชํารุด - เปลี่ยนอุปกรณที่ชํารุดใหมหรือซอมแซม
การหมุนเวียน - มีคราบเขมาบริเวณขอบตางๆของ - อาจเกิด Fire Back
เปลวไฟและ หัวเผา
กาซไอเสีย - มีการลัดทางไฟหรือไม - อุณหภูมิที่ปลองสูงผิดปกติมากกวา 300°C - ทําผนังกันทางไฟใหม
ควรเปดทายเตาตรวจสอบใหแนชัด
กรวยไฟ - รูปรางของกรวยไฟเสียรูป - เปลวไฟเผาปลายกรวยไฟ - ปรับตั้งระยะกระจังลมใหเปลวไฟพนกรวยไฟ

(Flame Tube) - มีคราบน้ํามันบนกรวยไฟ - หัวฉีดสึก - เปลี่ยนหัวฉีด


- อุณหภูมิต่ํา - ปรับตั้งอุณหภูมิใหม
- น้ํามันสกปรก - ติดตั้งตัวกรองน้ํามัน

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-7


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

ตัวอยางการตรวจสอบหัวเผา

รูปที่ 4.1 หัวฉีดใชงานมานานกวา 3 ป ทําใหมีปญหาการฉีดน้ํามัน

รูปที่ 4.2 มีปญหาการฉีดน้าํ มันทําใหเกิดการกองของน้าํ มันในหองเผาไหม

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-8


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

รูปที่ 4.3 การบํารุงรักษาใชลวดแข็งแยงรูหัวฉีดทําใหการฉีดน้ํามันไมเปนฝอย

รูปที่ 4.4 การตัง้ ระยะกระจังลมหางจากหัวฉีดมาก ทําใหฉีดน้ํามันชนกระจังลม

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-9


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

รูปที่ 4.5 การตัง้ ระยะเขี้ยวสปารคหางจากหัวฉีดมาก ทําใหฉีดน้ํามันชนเขี้ยว

Spring band แตกราว

รูปที่ 4.6 ลูกเบี้ยวควบคุมอากาศชํารุด

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-10


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

กรวยไฟสึกหรอ

รูปที่ 4.7 กรวยไฟเสียรูปและสึกหรอ

รูปที่ 4.8 ใบพัดของพัดลมดูดอากาศสกปรก

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-11


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

4.3 เทคนิคการปรับแตงหัวเผาน้าํ มัน


ในหัวขอนี้จะกลาวถึงวิธีการปรับแตงหัวเผาที่ใชน้ํามันเปนเชื้อเพลิง โดยจะขอนําเสนอตามชนิด
ของหัวเผา และชนิดของการควบคุมการทํางาน ซึ่งอาจจะไมครอบคลุมทั้งหมด แตจะเนนที่ใชกนั มากใน
ประเทศไทย ดังนี้
1. หัวเผาชนิดแรงดันน้ํามัน ควบคุมแบบตอ - ตัด (ON - OFF)
2. หัวเผาชนิดแรงดันน้ํามัน ควบคุมแบบไฟนอย – ไฟมาก (Low fire – High Fire)
3. หัวเผาชนิดแรงดันน้ํามัน ควบคุมแบบตอเนื่อง 2 ระดับ (Modulate 2 Stage)
4. หัวเผาชนิดแรงดันน้ํามัน ควบคุมแบบตอเนื่อง (Modulate)
5. หัวเผาชนิดพนฝอยดวยอากาศ ควบคุมแบบตอเนื่อง (Modulate)
6. หัวเผาชนิดพนฝอยดวยไอน้ํา ควบคุมแบบตอเนื่อง (Modulate)
7. หัวเผาชนิดตัวหมุน ควบคุมแบบตอเนื่อง (Modulate)

4.3.1 หัวเผาชนิดแรงดันน้ํามัน ควบคุมแบบตอ – ตัด (ON – OFF)


หัวเผาชนิดนีท้ ํางานใชสวิตชความดันไอน้ําควบคุม 2 ระดับ คือ ความดันต่ําและความดันสูง เมือ่
ความดันไอน้ําสูงถึงระดับความดันสูงที่ตองใชจะตัดการทํางาน และเมื่อใชงานไอน้าํ ไประยะหนึ่งความดัน
ไอน้ําในหมอไอน้ําลดถึงระดับความดันต่าํ ที่ตั้งไวหวั เผาจะเริ่มทํางานอีกขั้นจนกระทัง่ ความดันไอน้าํ สูงถึง
ระดับความดันสูงก็จะตัดการทํางาน

1) ลักษณะการควบคุมน้ํามันของหัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้ํามัน ควบคุมแบบตอ – ตัด


ใชหัวฉีดน้ํามันหัวเดียวถูกควบคุมการจายน้ํามัน โดยโซลินอยดวาวลวที่รับสัญญาณความดัน
จากสวิตชควบคุมความดัน

รูปที่ 4.9 ไดอะแกรมการควบคุมน้ํามัน

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-12


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

ปริมาณน้ํามันที่ปอนเขาจะถูกกําหนดดวยขนาดของหัวฉีดและความดันน้ํามันใชงาน ซึ่งจะอยูในชวง
20-25 บาร

2) ลักษณะการควบคุมอากาศของหัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้ํามันควบคุมแบบตอ - ตัด
หัวเผาแบบนี้จะไมมีการควบคุมอากาศขณะทํางาน เนื่องจาก มีสภาพการเผาไหมเพียงสภาวะ
เดียวแตสามารถปรับตั้งปริมาณอากาศใหเหมาะสมกับการเผาไหมไดโดยการปรับแคมเปอรที่ทอปอน
อากาศเขา

แดมเปอรควบคุมอากาศ

รูปที่ 4.10 ไดอะแกรมการปอนอากาศเขามาไหม

ตําแหนงสําหรับปรับแดมเปอร
ควบคุมอากาศ

รูปที่ 4.11 แสดงตําแหนงสําหรับแดมเปอรปอนอากาศ

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-13


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

3) การปรับแตงหัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้ํามันควบคุมแบบตอ - ตัด
ขั้นตอนการปรับแตงสามารถปฏิบัติไดดังนี้
1. ปดสวิตชการทํางานและเปดหัวเผาตรวจสอบหัวฉีด กระจังลม เขี้ยวสปารค และกรวยไฟ
การตรวจสอบและการปรับตัง้ ใหปฏิบัติตามหัวขอ 4.2
2. ปดหัวเผาเขากับหมอไอน้ําแลวเปดสวิตชใหหวั เผาทํางานเพื่อตรวจสอบความดันและ
อุณหภูมิของน้าํ มันเชื้อเพลิง การตรวจสอบและปรับตั้งใหปฏิบัติตามตาราง 4.4
3. ทําการวัดคาเปอรเซ็นตออกซิเจน (% O2) คาเปอรเซ็นตคารบอนไดออกไซด (% CO2) และ
ปริมาณคารบอนมอนออกไซด (CO เปน ppm) ในกาซไอเสีย
4. พิจารณาผลการวัดกาซไอเสียและกําหนดแนวทางการปรับแคมเปอรตามกรณีและเกณฑ
ในตารางที่ 4.5
5. คลายนอตลอคตําแหนงแดมเปอรแลวปรับแดมเปอรไปในทิศทางที่ไดกําหนดใชในขอ 4
จนกวาคา % O2, % CO2, และ CO จะอยูในเกณฑที่กําหนด
6. ทําการลอคนอตที่ยึดแดมเปอร

4.3.2 หัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้ํามัน ควบคุมแบบไฟนอย - ไฟมาก


หัวเผาชนิดนี้เปนที่นิยมใชกนั มาก เนื่องจาก ราคาไมแพงมาก และสามารถเรงหรี่ได 2 ระดับ คือ
ทํางานที่ตําแหนงไฟนอย (Low Fire) เมื่อตองการอัตราการผลิตไอน้ํานอย และทํางานที่ตําแหนงไฟมาก
(High Fire) เมื่อตองการอัตราการผลิตไอน้ํามาก

1) การควบคุมน้ํามันของหัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้ํามัน ควบคุมแบบไฟนอย – ไฟมาก


มีหัวฉีด 2 หัว และใชโซลินอยดวาลว 2 ชุด ควบคุม หัวฉีดทั้ง 2 หัว หัวฉีดที่ใชกับหัวเผา
ชนิดนี้จะมี 2 แบบ คือ แบบไมมีน้ํามันไหลกลับ (Non – Oil Return) ใชกับหัวเผาที่ใชน้ํามันดีเซลเปน
เชื้อเพลิง และแบบน้ํามันไหลกลับ (Oil Return) มักใชกบั หัวเผาที่ใชนา้ํ มันเตาเปนเชือ้ เพลิง และมีใชกันมาก
ในประเทศไทย

รูปที่ 4.12 หัวฉีดแบบไฟนอย – ไฟมาก

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-14


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

รูปที่ 4.13 ไดอะแกรมหัวฉีดแบบน้ํามันไหลกลับ (Oil Return)

การทํางานเริ่มจากหัวเผาไลอากาศในเตา (Pre-purge Period) น้ํามันจากปม ผานฮีทเตอรไปยังหัวฉีด และ


ออกจากหัวฉีดผานโซลินอยดวาลว (10) ทีเ่ ปดอยู (Normally Open = NO) กลับไปตามทอน้ํามันกลับ (8)
จะเห็นวาหัวฉีดจะรอนพรอมที่จะพนน้ํามันออกตลอดเวลา ขณะนี้วาลวหัวฉีด (3) ยังคงปดสนิทอยู เมื่อไล
อากาศเสร็จ โซลินอยดวาลว (10) ปด น้ํามันไมมีทางกลับความดันเพิม่ สูงขึ้นประมาณ 20-25 บาร ทําให
วาลวหัวฉีด (3) เปดออกได และน้ํามันฉีดออกจากหัวฉีด (1) จะมีน้ํามันเล็กนอยรั่วผานวาลวลูกสูบ (9)
กลับไปตามทอ (7) และ (8) ปริมาณน้ํามันที่ฉีดออกจากหัวฉีด 1 เรียกวาไฟนอย (LF หรือ Partial Load) การ
ทํางานที่ตําแหนงไฟมาก (HF หรือ Full Load) โซลินอยดวาลว (11) จะเปดน้ํามันใหไหลไปยังหัวฉีด (2)
ผานบอลวาลว (4) ขณะนี้หัวเผาจะทํางานดวยหัวฉีด 2 หัวพรอมกัน บอลลวาลว (4) จะกักน้ํามันระหวาง
โซลินอยดวาลวกับหัวฉีด (2) เมื่อไมทํางาน เปนการปองกันความดันน้ํามันตก เมื่อเปลี่ยนจากหัวฉีด 1 ไปยัง
หัวฉีด 2 เมื่อหัวเผาไมทํางานโซลินอยดวาลว (10) จะเปด ความดันน้ํามันจะผอนลงไปตามทอทางน้าํ มันกลับ
และวาลวหัวฉีด (3) จะปดอยางรวดเร็ว

2) การควบคุมอากาศของหัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้าํ มัน ควบคุมแบบไฟนอย - ไฟมาก


การควบคุมปริมาณอากาศเขาหัวเผาไหมใชเซอรโวมอเตอรขับเพลาแดมเปอรใหไปอยูในตําแหนง
ที่ตองการตามตําแหนงการทํางานไฟนอยหรือไฟมาก ซึ่งการควบคุมมีกลไกที่นยิ มใชกันอยู 2 แบบ ไดแก
แบบควบคุมดวยชุดสวิตชลกู เบี้ยว (Limit Switch) ที่ขับดวยเซอรโวมอเตอร และแบบตัวหยุด (Stopper)

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-15


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

2.1) การควบคุมแบบชุดสวิตชลกู เบี้ยว


การควบคุมแบบนี้ที่ชองทางอากาศเขามีแดมเปอร และกานแดมเปอรตอกันกับเพลาเซอรโวมอเตอร
ที่มีชุดสวิตชลูกเบี้ยวทําหนาที่ควบคุมใหสวิตชตางๆ ทํางาน ลูกเบี้ยวมีทั้งหมด 4 ลูก แตละลูกใชควบคุม
แดมเปอรและโซลินอยดวาลวน้ํามัน โดยการเรียงลําดับจะขึ้นอยูกับยีห่ อ แตสามารถดูไดอะแกรมที่ติดอยู
กับฝาครอบชุดสวิตชลูกเบีย้ ว ซึ่งจะยกตัวอยางการควบคุมไดดังนี้
(1) สวิตชลูกเบี้ยว I ควบคุมตําแหนงแดมเปอรสภาวะไฟมาก (High Fire)โดยใหแดมเปอรเปด
ประมาณ 50-60 องศา
(2) สวิตชลูกเบี้ยว II ควบคุมตําแหนงแดมเปอรสภาวะปด (Closed) ที่ 0 องศา
(3) สวิตชลูกเบี้ยว III ควบคุมตําแหนงแดมเปอรสภาวะไฟนอย (Low Fire) โดยใหแดมเปอรเปด
ประมาณ 10-15 องศา
(4) สวิตชลูกเบีย้ ว IV ควบคุมโซลินอยดวาลวน้ํามันของหัวฉีด2 ใหเปด เพื่อฉีดน้ํามัน

รูปที่ 4.14 ชุดควบคุมแบบชุดสวิตชลูกเบี้ยว

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-16


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

2.2) แบบตัวหยุด (Stopper)


ทางเขาอากาศมีแดมเปอรปด-เปด เพื่อควบคุมปริมาณอากาศเขาเผาไหม โดยมีระดับการเปดและปด
2 ตําแหนง คือตําแหนง Low Fire (เปดนอย) และตําแหนง High Fire (เปดมาก) ระดับการเปดของตําแหนง
ทั้ง 2 มีนอตเปน Stopper ตามรูปที่ 4.15 หัวเผาทํางานอยูใ นตําแหนง Low Fire (Stopper ตําแหนงที่ 1) เมื่อ
หัวเผาเปลี่ยนการทํางานจาก Low Fire ไปเปน High Fire เซอรโวมอเตอรจะขับแดมเปอรใหหมุนไปใน
ทิศทางที่เปดทางเขาอากาศใหมากขึ้น และจะไปหยุดเมือ่ แขนไปชนกับ Stopper ตําแหนงที่ 2 ซึ่งเปน
ตําแหนงที่ชองอากาศเขาเปดมาก โดยการเปลี่ยนการทํางานจาก Low Fire ไปเปน High Fire นั้นจะอาศัย
สัญญาณจากสวิตชความดันไปสั่งใหมอเตอรขับแดมเปอรทํางาน พรอมกับสั่งใหโซลินอยลวาลวน้ํามันของ
หัวฉีดที่ 2 ปด (สําหรับหัวฉีดแบบ Oil Return) และเมื่อความดันไอน้ําสูงถึงระดับที่กําหนด สวิตชความดัน
จะสงสัญญาณใหโซลินอยลวาลวน้ํามันเปดทําใหหัวฉีดที่ 2 ไมทํางาน และใหมอเตอรขับแดมเปอรไปใน
ทิศทางปดทางเขาอากาศจนกระทั่งแขนแดมเปอรไปชน Stopper ตําแหนงที่ 1 ซึ่งเปนตําแหนงที่ชอ งอากาศ
เขาเปดนอย

1
2 Stopper ตําแหนงที่ 1

Stopper ตําแหนงที่ 2

รูปที่ 4.15 ชุดควบคุมแบบตัวหยุด (Stopper)

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-17


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

3) การปรับแตงหัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้ํามันควบคุมแบบไฟนอย – ไฟมาก

3.1) กรณีควบคุมอากาศแบบสวิตชลูกเบี้ยว

การปรับแตงสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนดังตอไปนี้
1. ปดสวิตชการทํางาน และเปดหัวเผาเพื่อตรวจสอบหัวฉีด กระจังลม เขี้ยวสปารค และ
กรวยไฟ การตรวจสอบและการปรับตั้งใหปฏิบัติตามหัวขอ 4.2
2. ปดหัวเผาเขากับหมอไอน้ําแลวเปดสวิตชใหหวั เผาทํางาน เพื่อตรวจสอบความดันและ
อุณหภูมิของน้าํ มันเชื้อเพลิง การตรวจสอบและปรับตัวใหปฏิบัติตามตารางที่ 4.4
3. เปดสวิตชลอคตําแหนงใหหวั เผาทํางานทีต่ ําแหนงไฟนอย (Low Fire)
4. ทําการวัดคาเปอรเซนตออกซิเจน (%O2) คาเปอรเซนตคารบอนไดออกไซด (%CO2)
และปริมาณคารบอนมอนออกไซด (CO เปน ppm) ในกาซไอเสีย
5. พิจารณาผลการวัดกาซไอเสียและกําหนดแนวทางการปรับปริมาณอากาศตามกรณี
และเกณฑในตารางที่ 4.5
6. เปดฝากลองชุดสวิตชลูกเบีย้ ว (Limit Switch) และตรวจสอบหาตําแหนงลูกเบี้ยวที่
ควบคุมแดมเปอรในภาวะไฟนอย (Low Fire) จากรูปที่ 4.16 คือตําแหนงที่ III

ขั้นตอนที่ 9 6 10

รูปที่ 4.16 ตําแหนงการปรับแตงอากาศและน้ํามันของชุดควบคุมแบบชุดสวิตชลูกเบีย้ ว

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-18


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

7. ปรับปริมาณอากาศใหมากขึน้ หรือนอยลงตามที่พิจารณาจากขอ 5 โดยปรับหมุนลูก


เบี้ยวใหตําแหนงองศามากขึน้ ถาตองการเพิ่มปริมาณอากาศ และปรับใหองศานอยลงค
ถาตองการลดปริมาณอากาศ การปรับควรปรับทีละนอยพรอมกับตรวจสอบคา %O2
คา %CO2 และ CO ใหอยูในเกณฑ
8. ปรับสวิตชควบคุมใหหวั เผาทํางานที่ตําแหนง High Fire
9. ปฏิบัติเหมือนกับขอ 4 ถึงขอ 7 แตตําแหนงลูกเบี้ยวที่ทําการปรับปริมาณอากาศคือ
ตําแหนงที่ I
10. การปรับลูกเบี้ยวทั้ง 2 ตําแหนง ตองพิจารณาถึงตําแหนงองศาของลูกเบี้ยวควบคุม
โซลินอยดวาลวน้ํามัน จะตองอยูระหวางตําแหนงของลูกเบี้ยวควบคุมแดมเปอรที่
ตําแหนง Low Fire และตําแหนง High Fire เนื่องจากน้ํามันตองฉีดกอนที่แดมเปอร
อากาศจะเปดสุด เพื่อไมใหเกิดปญหาเปลวไฟดับ
11. เปดฝาครอบชุดสวิตชลูกเบีย้ ว

3.2) กรณีควบคุมอากาศแบบตัวหยุด (Stopper)

การปรับแตงสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนดังตอไปนี้
1. การดําเนินการปฏิบัติตามหัวขอ 3.1 หัวขอยอย ขอ 1 ถึง ขอ 5
2. ปรับระยะนอต ปรับระยะการเปดของแคมเปอรตําแหนงไฟนอย (Low Fire) ใหมโดย
การขันนอตในทิศทางใหแคมเปอรเปดมากขึ้น ถาตองการปริมาณอากาศเพิ่มขึ้น หรือ
ในทิศทางใหแคมเปอรปดลงมากขึ้น ในกรณีที่ตองการลดปริมาณอากาศ พรอมกับ
ตรวจวัดคา %O2, %CO2 และ CO ปรับปริมาณอากาศจนกวาคาทั้ง 3 จะอยูในเกณฑ
3. ปรับสวิตชใหหัวเผาทํางานที่ตําแหนงไฟมาก (High Fire)
4. ดําเนินการตามหัวขอ 3.1 หัวขอยอย 4 และ 5
5. จากนั้นดําเนินการขันนอตปรับระยะการเปดของแคมเปอรตําแหนงไฟมาก (High
Fire) ใหแคมเปอรเปดมากขึ้น หรือนอยลงตามปริมาณอากาศที่ตองการโดยให
พิจารณาผลการวัด %O2, CO2 และปริมาณ CO พรอมการปรับไปดวย ปรับระยะนอต
ทีละนอยจนกวา คาตรวจวัดทั้ง 3 อยูในเกณฑที่กําหนด

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-19


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

4.3.3 หัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้ํามัน ควบคุมแบบไฟนอย – ไฟกลาง - ไฟมาก


การควบคุมแบบนี้มีใชกนั นอยในประเทศไทย เมื่อเทียบกับแบบไฟนอย – ไฟมาก ทํางาน
เหมือนกับแบบไฟนอย – ไฟมาก เพียงแตเพิ่มระดับขัน้ ของการควบคุมเพิ่มอีก 1 ขั้น คือ ไฟกลาง การ
ควบคุมน้ํามันจะเพิ่มจากใชโซลินอยดวาลว 2 ตัว เปนใชโซลินอยด 3 ตัว สําหรับหัวฉีดที่ 1, 2 และ 3 การ
ควบคุมอากาศจะเปนแบบใชสวิตชลูกเบี้ยว โดยจะมีสวิตชลูกเบี้ยวเพิ่มจากแบบไฟนอย – ไฟมาก ขึ้นมาอีก 1
สวิตช
หลักการปรับแตงสามารถปฏิบัติทํานองเดียวกับการปรับแตงแบบไฟนอย – ไฟมาก โดยมีการ
เพิ่มเติมการปรับแตงในสวนของไฟกลาง (Medium Fire) ขึ้นมาอีก 1 ขั้น แตวิธกี ารปรับเหมือนเดิม

ไฟนอย
ไฟกลาง
ไฟมาก

รูปที่ 4.17 หัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้ํามัน ควบคุมแบบไฟนอย – ไฟกลาง - ไฟมาก

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-20


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

4.3.4 หัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้ํามันควบคุมแบบตอเนือ่ ง 2 ระดับ (Modulate 2 Stage)


หัวเผาชนิดนี้มลี ักษณะกลไกการทํางานและอุปกรณตางๆ เหมือนกับการควบคุมแบบตอเนือ่ ง
(Modulating) เพียงแตไมมีบอรดหรืออุปกรณอิเล็คทรอนิคสควบคุมการทํางานแบบตอเนื่อง แตใชสวิตช
ความดันควบคุมจึงมี 2 ระดับ คือไฟนอย และไฟมาก ทั้งนี้ในชวงจุดติดเตาจะมีสภาวะการเผาไหมคนละ
ตําแหนงกับไฟนอย ซึ่งตางจากการควบคุมแบบไฟนอย – ไฟมาก

1) การควบคุมปริมาณน้ํามัน
การควบคุมน้ํามันของหัวเผาแบบนี้ใชเซอรโวมอเตอรขับวาลวควบคุมปริมาณน้ํามัน (Fuel
Regulating Value) ใหจายน้าํ มันใหหัวฉีดเพียงหัวเดียว ปริมาณน้ํามันที่ฉีดจะมากหรือนอยตามการเปดของ
วาลวควบคุม ซึ่งเซอรโวมอเตอรถูกควบคุมโดยสวิตชลูกเบี้ยวใหหยุดที่ตําแหนงจุดเตา ตําแหนงไฟนอย
และตําแหนงไฟมาก แตละตําแหนงวาลวควบคุมน้ํามันจะเปดใหน้ํามันผานในปริมาณที่มากนอยตางกัน
ตามที่ปรับตั้งไว

2) การควบคุมปริมาณอากาศ
การควบคุมปริมาณอากาศใชการควบคุมเปด-ปดของแดมเปอรบริเวณทางเขาอากาศ แดมเปอร
มีกลไกเชื่อมโยงกับลูกเบีย้ วควบคุมอากาศ (Adjustable Cam) ที่อยูบนแกนเพลาเดียวกันกับเซอรโวมอเตอร
ที่ขับวาลวควบคุมน้ํามัน ดังนั้นเมื่อเซอรโวมอเตอรทํางาน เชน เปลี่ยนสภาวะจากไฟนอยเปนไฟมากเซอร
โวมอเตอรจะขับวาลวน้ํามันใหเปดพรอมกันกับขับลูกเบี้ยวควบคุมอากาศใหหมุนไปพรอมกัน ลูกเบี้ยวที่
หมุนไปจะไปดันใหแขนกลไกทํางาน โดยจะทําใหแดมเปอรเปดมากขึ้น เพื่อปอนอากาศเขาเผาไหมใหมาก
ขึ้นตามปริมาณน้ํามัน สวิตชลูกเบี้ยวทีใ่ ชควบคุมเซอรโวมอเตอรถูกกําหนดเปนมาตรฐานดังนี้
I - แดมเปอรเปด 130 องศา
II - แดมเปอรปด 0 องศา
III - โหลดจุดติดไฟ (Ignition Load) ที่ 30 องศา
IV - สวิตชตอที่จังหวะ 2 เพิ่มน้ํามันที่ 100 องศา
V และ VI - ไมใช
VII - โหลดไฟนอย (Partial Load) 50 องศา

แดมเปอรจะเปดมากหรือนอยที่ตําแหนงนั้นๆ ขึ้นอยูกบั รูปรางของ Cam ซึ่งสามารถปรับตั้งได

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-21


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

ลูกเบี้ยวควบคุมอากาศ

แขนกลไกปรับแดมเปอร

สวิตชลูกเบี้ยว

รูปที่ 4.18 หัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้ํามัน ควบคุมแบบตอเนื่อง 2 ระดับ (Modulate 2 Stage)

3) การปรับแตงหัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้ํามันควบคุมแบบตอเนื่อง 2 ระดับ (Modulate


2 Stage)
การปรับแตงสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนดังตอไปนี้
1. ปดสวิตชการทํางาน และเปดหัวเผาเพื่อตรวจสอบหัวฉีด กระจังลม เขี้ยวสปารค และ
กรวยไฟ การตรวจสอบและการปรับตั้งใหปฏิบัติตามหัวขอ 4.2
2. ปดหัวเผาเขากับหมอไอน้ําแลวเปดสวิตชใหหวั เผาทํางาน เพื่อตรวจสอบความดันและ
อุณหภูมิของน้าํ มันเชื้อเพลิง การตรวจสอบและปรับตัวใหปฏิบัติตามตารางที่ 4.4
3. เปดสวิตชลอคตําแหนงใหหวั เผาทํางานทีต่ ําแหนงไฟนอย (Low Fire)
4. ทําการวัดคาเปอรเซ็นตออกซิเจน (%O2) คาเปอรเซ็นตคารบอนไดออกไซด (%CO2) และ
ปริมาณคารบอนมอนออกไซด (CO เปน ppm) ในกาซไอเสีย
5. พิจารณาผลการวัดกาซไอเสียและกําหนดแนวทางการปรับปริมาณอากาศตามกรณี และ
เกณฑในตารางที่ 4.5
6. เปดฝากลองชุดสวิตชลูกเบีย้ ว (Limit Switch) และตรวจสอบตําแหนงลูกเบี้ยวที่ควบคุม
แดมเปอรในภาวะไฟนอย (Low Fire) วาอยูใ นชวงองศาที่ Spec กําหนดหรือไม
7. ปรับปริมาณอากาศใหมากขึน้ หรือนอยลงตามที่พิจารณาจากขอ 5 การปรับสามารถทําได
โดยคลายสกรูลอก สกรูปรับแตง Spring band แลวใชประแจหกเหลี่ยมปรับที่ตัวสกรูให
ขึ้นหรือลง เพื่อปรับปริมาณอากาศใหมากขึ้นหรือนอยลง การปรับควรปรับทีละนอย

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-22


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

พรอมกับตรวจสอบคา %O2 คา %CO2 และ CO ใหอยูในเกณฑ แลวทําการลอคนอตเพื่อ


ไมใหสกรูปรับแตง Spring band เคลื่อนตัวได

สกรูลอก สกรูปรับแตง Spring band

สกรูปรับแตง Spring band

รูปที่ 4.19 แสดงการคลายสกรูลอก สกรูปรับแตง Spring band

รูปที่ 4.20 แสดงการใชประแจหกเหลี่ยมปรับ สกรูปรับแตง Spring band

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-23


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

8. ปรับสวิตชควบคุมใหหวั เผาทํางานที่ตําแหนง High Fire


9. ตรวจสอบตําแหนงลูกเบีย้ วทีค่ วบคุมแดมเปอรในภาวะไฟมาก (Low Fire) วาอยูในชวง
องศาที่ Spec กําหนดหรือไม
10. ปฏิบัติเหมือนกับขอ 4 ถึงขอ 7 แตตําแหนงสกรูปรับแตง Spring band ที่ทําการปรับ
ปริมาณอากาศคือตําแหนงที่ High Fire
11. การปรับปริมาณอากาศทั้ง 2 ตําแหนง ตองปรับแตงที่ตําแหนงที่อยูระหวางกลางของไฟนอย
และไฟมากดวย ซึ่งทําไดโดยการปรับไลระดับ Spring band ใหมีลักษณะเรียบไมสูงโดง

4.3.5 หัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้ํามันควบคุมแบบตอเนือ่ ง (Modulating)


การควบคุมแบบนี้มีการทํางานเหมือนกับแบบตอเนื่อง 2 ระดับ (Modulate 2 Stage) ทั้งในเรื่องของ
การทํางานของหัวฉีด การควบคุมน้ํามัน และการควบคุมอากาศ แตระดับการทํางานมีมากกวา 10-20 ระดับ
มีบอรดหรืออุปกรณอิเล็คทรอนิคสควบคุมการทํางาน โดยใชสัญญาณความดันไอน้ําแบบตอเนื่องจาก
อุปกรณวดั ความดัน ทําใหควบคุมการทํางานไดอยางตอเนื่อง
การปรับแตงสามารถปฏิบัติไดตามขั้นตอนในหัวขอ 4.3.4 หัวขอยอยที่ 3 แตตองทําการปรับแตงใน
ตําแหนงที่อยูในชวงระหวาง ไฟนอย(Low Fire) และ ไฟมาก (Low Fire) เพื่อใหหัวเผาทํางานไดดีตลอด
ชวงการควบคุม และเพื่อใหงายและสะดวกในทางปฏิบตั ิขอเสนอแนะใหแบงชวงตําแหนงที่ทําการปรับแตง
ออกเปน 5 ระดับดังนี้

1). ตําแหนง 0 % ของชวงการควบคุม (ตําแหนงไฟนอย)


2). ตําแหนง 25 % ของชวงการควบคุม
3). ตําแหนง 50 % ของชวงการควบคุม
4). ตําแหนง 75 % ของชวงการควบคุม
5). ตําแหนง 100 % ของชวงการควบคุม (ตําแหนงไฟมาก)

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-24


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

0% 25%
50%

สกรูปรับแตง

75%

100%

รูปที่ 4.21 แสดงการแบงชวงตําแหนงที่ทําการปรับแตง

4.3.6 หัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันอากาศ/ไอน้ํา ควบคุมแบบตอเนื่อง (Modulating)


หัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันอากาศ/ไอน้าํ เกือบทัง้ หมดเปนการควบคุมแบบตอเนื่อง มีการทํางาน
คลายกับหัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้าํ มันควบคุมแบบตอเนื่อง ตางกันตรงที่กลไกการฉีดน้าํ มันทีห่ ัวฉีดใช
แรงดันอากาศหรือไอน้ําชวยในการฉีดใหเปนฝอย

1) การควบคุมปริมาณน้ํามัน
มีจํานวนหัวฉีดมีเพียงหัวเดียว การควบคุมน้ํามันเปนแบบใชเซอรโวมอเตอรขับลูกเบี้ยวไปกด
วาลวควบคุมน้ํามัน (Metering Cam) ใหเปดมากนอยตามที่ปรับตั้งไว

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-25


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

วาลวควบคุมน้ํามัน(Metering Cam)

รูปที่ 4.22 แสดงลักษณะชุดลูกเบี้ยวควบคุมน้ํามัน(Metering Cam)

2) การควบคุมปริมาณอากาศ
การควบคุมอากาศไดโดยกลไกที่เชื่อมโยงกับเพลาของเซอรโวมอเตอร มีแขนกลไกที่เชื่อม
ตอมาหมุนลูกเบี้ยวและเปด-ปดแดมเปอรลม (Rotary Damper) ใหเปด-ปดสอดคลองกับวาลวน้ํามัน

แขนปด-เปด แดมเปอร
ชุดเซอรโวมอเตอร

รูปที่ 4.23 แสดงกลไกควบคุมแดมเปอร

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-26


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

3) การปรับแตงหัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันอากาศ/ไอน้าํ ควบคุมแบบตอเนื่อง (Modulating)


การปรับแตงสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนดังตอไปนี้
1. ปดสวิตชการทํางาน และเปดหัวเผาเพือ่ ตรวจสอบสภาพหัวฉีด ถาสกปรกใหทําความ
สะอาด
2. ปดหัวเผาเขากับหมอไอน้ําแลวเปดสวิตชใหหวั เผาทํางาน เพื่อตรวจสอบความดันและ
อุณหภูมิของน้าํ มันเชื้อเพลิง การตรวจสอบและปรับตัวใหปฏิบัติตามตารางที่ 4.4 ปรับตั้ง
ความดันตามที่ Spec กําหนด
3. เปดสวิตชลอคตําแหนงใหหวั เผาทํางานทีต่ ําแหนงไฟนอย (Low Fire)
4. ทําการวัดคาเปอรเซ็นตออกซิเจน (%O2) คาเปอรเซ็นตคารบอนไดออกไซด (%CO2) และ
ปริมาณคารบอนมอนออกไซด (CO เปน ppm) ในกาซไอเสีย
5. พิจารณาผลการวัดกาซไอเสียและกําหนดแนวทางการปรับปริมาณอากาศตามกรณี และ
เกณฑในตารางที่ 4.5
6. ปรับปริมาณน้าํ มันใหมากขึน้ หรือนอยลงตามที่พิจารณาจากขอ 5 การปรับสามารถทําได
โดยคลายสกรูลอก สกรูปรับแตง Spring band แลวใชประแจหกเหลี่ยมปรับที่ตัวสกรูให
ขึ้นหรือลง เพื่อปรับปริมาณอากาศใหมากขึ้นหรือนอยลง การปรับควรปรับทีละนอย
พรอมกับตรวจสอบคา %O2 คา %CO2 และ CO ใหอยูในเกณฑ แลวทําการลอคนอตเพือ่
ไมใหสกรูปรับแตง Spring band เคลื่อนตัวได
7. ปรับแตงในตําแหนง
1). ตําแหนง 25 % ของชวงการควบคุม
2). ตําแหนง 50 % ของชวงการควบคุม
3). ตําแหนง 75 % ของชวงการควบคุม
4). ตําแหนง 100 % ของชวงการควบคุม (ตําแหนงไฟมาก)
โดยปฏิบัติเหมือนกับขอ 4 ถึงขอ 6

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-27


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

สกรูลอค

รูปที่ 4.24 แสดงชุดลูกเบี้ยวควบคุมน้ํามัน (Metering Cam)

สกรูปรับน้ํามัน

รูปที่ 4.25 แสดงการปรับปริมาณน้ํามัน

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-28


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

4.3.7 หัวเผาชนิดพนฝอยดวยถวยหมุนสลัดน้ํามัน ควบคุมแบบตอเนื่อง (Modulating)


หัวเผาชนิดพนฝอยดวยถวยหมุนสลัดน้ํามัน เกือบทั้งหมดเปนการควบคุมแบบตอเนื่อง มีการ
ทํางานเหมือนกับหัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้ํามันควบคุมแบบตอเนื่อง ทั้งในเรื่องของการควบคุม
น้ํามันเปนแบบใชเซอรโวมอเตอรขับวาลวควบคุมน้ํามัน และเชือ่ มโยงกับกลไกการควบคุมอากาศดวย
แดมเปอร หัวเผามีระดับการทํางาน 10-20 ระดับ มีบอรดหรืออุปกรณอิเลคทรอนิคสควบคุมการทํางาน
โดยใชสัญญาณความดันไอน้ําแบบตอเนื่องจากอุปกรณวดั ความดัน ทําใหควบคุมการทํางานไดอยางตอเนื่อง
ตางกันตรงทีก่ ลไกการทําน้ํามันใหเปนฝอยซึ่งใชถวยหมุนสลัดน้ํามันใหเปนฝอย

ถวยสลัดน้ํามัน

รูปที่ 4.26 หัวเผาชนิดพนฝอยดวยถวยหมุนสลัดน้ํามัน ควบคุมแบบตอเนื่อง (Modulating)

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-29


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

รูปที่ 4.27 ชุดควบคุมน้ํามันและอากาศ

1) การปรับแตงหัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันอากาศ/ไอน้าํ ควบคุมแบบตอเนื่อง (Modulating)


การปรับแตงสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนดังตอไปนี้
1. ปดสวิตชการทํางาน และเปดหัวเผา เพื่อตรวจสอบสภาพถวยถาสกปรกใหทําความสะอาด
2. ปดหัวเผาเขากับหมอไอน้ําแลวเปดสวิตชใหหวั เผาทํางาน เพื่อตรวจสอบความดันและอุณหภูมิ
ของน้ํามันเชื้อเพลิง การตรวจสอบและปรับตัวใหปฏิบตั ิตามตารางที่ 4.4 ปรับตั้งความดัน
ตามที่ Spec กําหนด
3. เปดสวิตชลอคตําแหนงใหหวั เผาทํางานทีต่ ําแหนงไฟนอย (Low Fire)
4. ทําการวัดคาเปอรเซ็นตออกซิเจน (%O2) คาเปอรเซ็นตคารบอนไดออกไซด (%CO2) และ
ปริมาณคารบอนมอนออกไซด (CO เปน ppm) ในกาซไอเสีย
5. พิจารณาผลการวัดกาซไอเสียและกําหนดแนวทางการปรับปริมาณอากาศตามกรณี และเกณฑ
ในตารางที่ 4.5
6. ปรับปริมาณอากาศใหมากขึน้ หรือนอยลงตามที่พิจารณาจากขอ 5 การปรับสามารถทําไดโดย
คลายสกรูลอก สกรูปรับแตง Spring band แลวใชประแจหกเหลี่ยมปรับที่ตัวสกรูใหขึ้นหรือลง
เพื่อปรับปริมาณอากาศใหมากขึ้นหรือนอยลง การปรับควรปรับทีละนอยพรอมกับตรวจสอบ
คา %O2 คา %CO2 และ CO ใหอยูในเกณฑ แลวทําการลอคนอตเพื่อไมใหสกรูปรับแตง
Spring band เคลื่อนตัวได
สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-30
โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

7. ปรับแตงในตําแหนง
1). ตําแหนง 25 % ของชวงการควบคุม
2). ตําแหนง 50 % ของชวงการควบคุม
3). ตําแหนง 75 % ของชวงการควบคุม
4). ตําแหนง 100 % ของชวงการควบคุม (ตําแหนงไฟมาก)
โดยปฏิบัติเหมือนกับขอ 4 ถึงขอ 6

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 4-31


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

บทที่ 5
การประหยัดพลังงานในหมอไอน้ําอยางยั่งยืน

5.1 หลักการบริหารจัดการดานพลังงาน

เพื่อใหเ กิดการใชพ ลังงานอยางมีประสิทธิภาพและสามารถลดคาใชจายในดา นพลังงาน โดย


การจัดการบริหารที่ดีอันจะนําไปสูการลดตนทุน และลดปญหาสิ่งแวดลอม
5.1.1 ปจจัยสูความสําเร็จในการบริหารจัดการดานพลังงาน
• นโยบายการบริหารจัดการดานพลังงานเปนที่ยอมรับจากผูบริหารระดับสูง
• มีบุคลากร/องคกรที่สามารถดําเนินการและชี้นําเรื่องการจัดการพลังงาน
• พนักงานในองคกรตระหนักถึงความสําคัญของการจัดการพลังงานอยางกวางขวาง
• มีแผนปฏิบัติการดานพลังงานอยางชัดเจน
• มีการปฏิบัติตามแผนอยางจริงจังและตอเนื่อง
• มีการติดตามประเมินผลและปรับปรุงการปฏิบัติการอยางใกลชิดและตอเนื่อง
• รณรงคและประชาสัมพันธผลงานอยางตอเนื่อง
กลยุทธและวิธีการดําเนินการ
1. ผูบริหารกําหนดเรื่องพลังงานเปนนโยบายสําคัญขององคกรที่พนักงานจะตองปฏิบัติ
2. แตงตั้งบุคลากร/องคกรเพื่อรับผิดชอบเปนผูนํา จัดทําแผน ติดตาม การปฏิบัติอยางตอเนื่อง
3. พัฒนาบุคลากรและองคกรในเรื่องพลังงาน
• สรางจิตสํานึกดานพลังงาน
• เผยแพรใหความรูดานพลังงาน
4. รณรงคเรื่องการจัดการดานพลังงานอยางตอเนื่อง
5. จัดใหมีฐานขอมูลดานพลังงาน
• คาใชจายพลังงาน
• สถิติการใชพลังงาน
6. ตรวจวัดและวิเคราะหการใชพลังงาน
7. จัดทําแผนปฏิบัติการ จัดการพลังงาน
8. ติดตามประเมินผลการดําเนินงานและประชาสัมพันธ
9. รายงานตอผูบริหาร

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 5-1


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

ในคูมอื เลมนีจ้ ะขอเนนเนื้อหาในสวนของภาคปฏิบัติเกี่ยวกับหมอไอน้ํา 2 หัวขอสําคัญคือ การจัดทํา


ดัชนีการใชพลังงานซึ่งอยูในสวนของการจัดทําฐานขอมูล และการบํารุงรักษาหมอไอน้ํา ทั้งสองหัวขอนี้
จะชวยใหสามารถติดตามผลการประหยัด และทําใหเกิดการประหยัดพลังงานอยางยั่งยืนได

5.2 ดัชนีการใชพลังงาน
การเปรียบเทียบปริมาณการใชพลังงานโดยตรงนั้นไมใชวิธีท่ีถูกตองที่จะสามารถชี้วัดไดชัดเจนวา
โรงงานมีประสิทธิภาพการใชพลังงานดีขนึ้ หรือแยลงมากนอยเพียงใด ยกตัวอยางเชน โรงงานที่มีการผลิต
มากขึ้น เนือ่ งจากมีคําสั่งซื้อเขามามากขึ้นยอมจะมีการใชพลังงานเปนปริมาณสูงขึ้นอยางแนนอน หรือ
ในทางกลับกันโรงงานที่มีการใชพลังงานนอยลง เนื่องจากมียอดการผลิตลดลงก็ไมไดหมายความวาโรงงาน
แหงนัน้ มีประสิทธิภาพการใชพลังงานที่ดขี ึ้น
ดวยเหตุนี้ ตัวชี้วดั ประสิทธิภาพการใชพลังงานจึงควรจะสื่อถึงผลระหวางปริมาณการใชพลังงาน
และปริมาณการผลิตของโรงงานไปพรอมกัน ดังนั้น ดัชนีการใชพลังงานจึงกําหนดใหหมายถึงสัดสวนของ
ปริมาณพลังงานที่ใชตอปริมาณการผลิต

ดัชนีการใชพลังงาน = ปริมาณพลังงานที่ใช / ปริมาณการผลิต

ดัชนีการใชพลังงานสามารถมองวาหมายถึง ปริมาณการใชพลังงานตอหนึ่งหนวยผลผลิตได ซึ่งจะ


เห็นไดวาการเลือกหนวยของพลังงานและหนวยของผลผลิตที่เหมาะสมจะมีความสําคัญมากในการที่จะสื่อ
หรือเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใชพลังงานในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน หรือแมกระทั่งเปรียบเทียบ
ระหวางอุตสาหกรรมตางประเภทกันได
หนวยของปริมาณการใชพลังงานควรใชเปนหนวยกลางหรือหนวยมาตรฐาน สําหรับพลังงานไฟฟา
จะมีหนวยเปนกิโลวัตต-ชั่วโมง (kWh) สวนพลังงานความรอนเชน เชื้อเพลิงที่ใชในหมอไอน้ํา ควรแปลง
หนวยใหเปนจูล (J) หรือเมกกะจูล (MJ) ซึ่งเปนหนวยพลังงานมาตรฐาน
หนวยของผลผลิตควรใชเปนหนวยมาตรฐาน ซึ่งไดแก น้ําหนัก ความยาว พืน้ ที่ หรือปริมาตร
ตัวอยาง เชน ผลผลิตที่เปนอาหารควรใชหนวยเปนน้ําหนักซึ่งอาจเปนกิโลกรัมหรือเปนตัน การผลิต
กระดาษควรใชหนวยเปนพืน้ ที่ของกระดาษที่ผลิตไดซึ่งอาจเปนตารางเมตรหรือตารางฟุต ทอหรือเหล็กเสน
ควรใชหนวยความยาวเปนเมตรหรือฟุต น้ําดื่มหรือน้ําอัดลมควรใชหนวยปริมาตรเปนลิตรหรือลูกบาศกเมตร
หนวยของผลผลิตที่มีความคลุมเครือ เชน กลอง หีบ ชิ้น อัน ขวด ฯลฯ มักจะใชประโยชนไดเฉพาะการ
ติดตามประสิทธิภาพการใชพลังงานภายในโรงงานใดโรงงานหนึ่งเทานั้น ไมสามารถใชเปรียบเทียบกับ
โรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 5-2


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

5.3 การบํารุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพหมอไอน้ํา
การบํารุงรักษาหมอไอน้ํามีความสําคัญมาก จุดประสงคไมเพียงแตการยืดอายุการใชงาน หรือการ
คงสภาพและประสิทธิภาพเทานั้น แตยังมีความหมายรวมไปถึงความปลอดภัยและปองกันอันตรายอัน
อาจจะเกิดขึ้นในการใชหมอไอน้ํา

การบํารุงรักษาหมอไอน้ํา แบงออกไดเปน 2 สวนใหญ คือ


1. สวนที่เกีย่ วของกับการเผาไหม (Fire Side) ซึ่งจะเริ่มตนตั้งแตน้ํามันเชื้อเพลิงหรือเชื้อเพลิง
อยางอื่น ระบบสั่งจายเชื้อเพลิง ระบบควบคุมสวนผสมเชื้อเพลิงอากาศ หองเผาไหม สุดทายที่
ปลองทางออกของกาซรอน
2. สวนที่เกีย่ วของกับน้ํา (Water Side) จะเริ่มตนจากน้ําดิบที่จะปอนใหกับหมอไอน้าํ อุปกรณ
ปรับปรุงคุณภาพน้ํา เครื่องอุนน้ํา และการกําจัดออกซิเจน ปมน้ําเขาหมอไอน้ําระบบควบคุม
ระดับน้ํา ระบบควบคุมความดันไอน้ํา

นอกจากนั้น ยังมีสวนยอยที่รวมไปถึงระบบอุปกรณเพื่อความปลอดภัยของหมอไอน้ํา ซึ่งสวนนี้มี


ความสําคัญมาก ถาขาดการบํารุงรักษาจะกอผลใหเกิดอันตราย และเสียหายอยางมาก
การบํารุงรักษาหมอไอน้ําไมวาจะสวนใดก็ตาม ควรจะไดมีการวางแผนไวเพราะการวางแผนทีด่ ี จะ
ชวยใหประหยัดคาใชจายในการซอม และหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นทุกเวลา และสามารถทําใหหมอไอน้ํา
ทํางานไดอยางปกติ การบํารุงรักษาหมอไอน้ําควรกําหนดเปนเวลาทีแ่ นนอน และปฏิบัติเปนประจํา อาจ
กําหนดเวลาเปนการบํารุงรักษาประจําวัน ประจําสัปดาห ประจําเดือน ประจําหกเดือนและประจําป ขึ้นอยู
กับการวางแผนการบํารุงรักษาและปฏิบัตสิ วนใดของหมอไอน้ํา
การเพิ่มประสิทธิภาพทางดานการเผาไหม คือ วิธีการปฏิบัติการควบคุมการเผาไหมใหเปนไปอยาง
สมบูรณที่สุด ปรับสวนผสมระหวางน้ํามันหรือเชื้อเพลิงกับอากาศใหเหมาะสม ตรวจสอบปริมาณ
คารบอนไดออกไซด หรือออกซิเจนที่ออกมากับกาซรอนทางปลองไอเสียหรือตรวจสอบสิ่งของควันไอเสีย
การเพิ่มประสิทธิภาพหมอไอน้ําทางดานเกี่ยวกับน้ํา ก็เชนเดียวกันน้ําดิบที่จะปอนเขาหมอไอน้ํา
ควรไดรับการปรับปรุงคุณภาพใหอยูในตามเกณฑมาตรฐานของหมอไอน้ํานั้น ควรเก็บตัวอยางน้ําที่ใชกับ
หมอไอน้ํามาทําการตรวจสอบอยางนอยวันละ 1 ครั้ง การบํารุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพหมอไอน้ําจะ
เปนสิ่งที่ไปควบคูกันเสมอ

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 5-3


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

5.3.1 การบํารุงรักษาหมอไอน้ํา
การบํารุงรักษาหมอไอน้ําอยางถูกตอง ยอมจะทําใหการใชงานหมอไอน้ําอยางมีประสิทธิภาพ ทนทาน
และปลอดภัย การบํารุงรักษาที่ดี และถูกตองตามหลักการ ควรจะตองประกอบดวยดังนี้
1. การจดบันทึกขอมูลประจําวัน
2. การวางแผนการบํารุงรักษาหมอไอน้ํา

1. การจดบันทึกขอมูลประจําวัน
จะไดรับประโยชน ดังนี้
1. เพื่อเปนรายงานการทํางานของเครื่องและผูดูแลเครื่อง
2. เปนสถิติ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทํางานของเครื่องใหเพิ่มขึน้
3. ตัวเลขจากขอมูลที่บันทึก สามารถบอกถึงขอบกพรองของเครื่องทําใหแกไขไดทันกอนที่
เครื่องจะเสียหายมาก
4. ขอมูลที่บันทึก สามารถนํามาใชสอบหาสาเหตุการเสียหรือการเกิดอุบัติเหตุของเครื่องได

ขอมูลตางๆ ที่ควรจดบันทึก ดังนี้


1. ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช
2. ปริมาณไอน้ําที่หมอไอน้ําผลิตได หรือปริมาณน้ําที่เขาหมอไอน้ํา
3. จํานวนชั่วโมงการใชงาน
4. อุณหภูมิของน้าํ ที่เขาหมอไอน้ํา
5. อุณหภูมิของน้าํ มันเชื้อเพลิง
6. อุณหภูมิของไอเสียที่ปลองไอเสีย
7. ความดันของไอน้ําที่ใชงาน
8. ความดันลม เชน ลมที่หัวฉีด ลมจากพัดลมอัดอากาศไปชวยเผาไหม
9. ความดันน้ํามัน เชน ความดันน้ํามันกอนเขาหัวฉีด
10. ความดันน้ําที่เขาหมอไอน้ํา
11. ความกระดางของน้ําที่เขาหมอไอน้ํา
12. ปริมาณสารละลายในน้ํากอนเขาหมอไอน้าํ
13. ปริมาณสารละลายในหมอไอน้ํา
14. บันทึกการซอม หรือปรับแตงเครื่อง

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 5-4


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

การบันทึกขอมูลตางๆ ในแตละวัน สามารถนํามาวิเคราะหเปรียบเทียบกัน ทําใหสามารถปรับปรุง


ประสิทธิภาพ หรือหาขอบกพรองของเครื่องไดดังนี้

1. จากปริมาณเชื้อเพลิงที่ใชกับปริมาณไอน้ําที่ผลิตได สามารถนํามาเปรียบเทียบอัตราสวนเชื้อเพลิง
ตอไอน้ําได ตามปกติสําหรับเชื้อเพลิงแตละชนิดไมควรจะไดต่ํากวาที่กําหนดไวดงั นี้

เชื้อเพลิง ไอน้ํา
น้ํามัน 1 ปอนด 15 ปอนด
1 ลิตร 14 กิโลกรัม

2. ชั่วโมงการใชงานสามารถชี้ถึงอายุการทํางานของชิ้นสวนตางๆ เชน เครื่องควบคุมทางไฟฟา


พวกลูกปนตางๆ เปนตน ถาถึงอายุการใชงานของชิ้นสวนเหลานั้นแลวก็ควรจะเตรียมอะไหลไวเปลี่ยนเสียใหม
3. อุณหภูมิของน้าํ ที่ปอนเขาหมอไอน้ําถายิ่งสูงก็จะประหยัดน้ํามันไดมาก จากผลการทดลองในเรื่อง
นี้ ปรากฏวาถาเพิ่มอุณหภูมนิ า้ํ ปอนเขาหมอไอน้าํ เพิม่ ขึ้นจากเดิมทุกๆ 6°C จะประหยัดน้ํามันได 1 เปอรเซ็นต
4. อุณหภูมิน้ํามันเชื้อเพลิง เชน พวกน้ํามันเตา ถาอุน ใหรอนขึน้ จะสะดวกในการพนฝอยและ
เผาไหมไดสมบูรณขึ้น ตามปกติอุณหภูมทิ ี่เหมาะสมจะอยูระหวาง 82-104°C
5. อุณหภูมิของไอเสียที่ปลองไอเสีย จะเปนตัวชี้ถึงสภาพของหมอไอน้าํ ได สําหรับหมอไอน้ําใน
สภาพปกติอณ ุ หภูมิไอเสียไมควรสูงกวาอุณหภูมิไอน้ําอิ่มตัวที่ความดันนั้นๆเกิน 60°C

สาเหตุของอุณหภูมิไอเสียสูงมากกวาปกติ เพราะ :-
5.1) เขมาจับที่ผิวมากความรอนจากแกสรอนถายเทใหน้ําไดไมเต็มที่ เพราะเขมาเปนฉนวนความรอน
5.2) ตะกรันมาก ตะกรันเปนฉนวนความรอนเชนเดียวกับเขมา
5.3) ผนังกั้นชั้นไฟสึก ทําใหเกิดการรั่วระหวางชั้นไฟ
5.4) ลมชวยในการเผาไหมมากเกินไป แกสรอนจะถูกพาออกเร็วเกินไป ทําใหถายเทความรอนได
ไมหมด

ขอสังเกต : ถาเปนกรณีที่ 5.1 และ 5.2 อุณหภูมิไอเสียจะคอยๆ เพิม่ และจะไมสูงจากอุณหภูมิปกติมากนัก


ถาเปนในกรณีที่ 5.3 อุณหภูมไิ อเสียจะเพิ่มขึ้นโดยกะทันหัน และอุณหภูมิจะสูงกวาปกติมาก

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 5-5


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

6. ความดันไอน้ํา การบันทึกความดันไอน้ําจะชวยเปนประโยชนในการควบคุมคุณภาพของผลผลิต
7. สําหรับหัวเผาชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้ํามัน ความดันน้ํามันที่เขาหัวฉีดสูงมากกวาปกติ แสดงวา
หัวฉีดตัน
8. ความดันน้ําที่ปอนเขาหมอไอน้ําตามปกติจะสูงกวาความดันของไอน้ําในหมอไอน้ําประมาณ
20-50 psi ถาความดันสูงกวานี้มากๆ แสดงวาทอทางเขาของน้ําปอนเขาหมอไอน้ําเริ่มตีบตัน
เนื่องจากตะกรันจับในทอ
9. ความกระดางของน้ําปอนเขาหมอไอน้าํ ตามปกติจะตองควบคุมใหต่ําทีส่ ุดเทาทีจ่ ะทําได ถาเกิน
มาตรฐาน โอกาสที่ตะกรันจะจับตัวกันมีมากขึ้น เมื่อพบน้ํากระดางเกินกําหนด ควรดําเนินการ
Regenerate เครื่องทําน้ําออน (Softener)
10. ปริมาณสารละลายในหมอไอน้ําที่ใชความดันไมเกิน 10 bar ตามปกติไมควรเกิน 3,500 สวนใน
ลานสวน ถาเกินจากนี้จะเกิดการเดือดปะทุ ทําใหไอน้ํามีน้ําปนมาก มีโอกาสเกิด Water Hammer
ที่ระบบการใชไอน้ําได
11. คา pH ของน้ําในหมอไอน้ําควรมีคาระหวาง 9.0 – 11.5 หากคา pH ต่ําเกินไปจะเกิดการกัดกรอน
เนื่องจากสภาพกรด แตถาสูงเกินไป จะเกิดฟอง และโครงสรางแตกราวไดงาย

5.3.2 การวางแผนการบํารุงรักษา
การจัดแผนการบํารุงรักษาที่ดีควรจะจัดชวงจังหวะการบํารุงรักษาออกเปนชวงๆ และใหสัมพันธกับ
การผลิตของโรงงาน เพื่อจะไดไมกระทบกระเทือนการผลิตของโรงงาน ชวงเวลาการบํารุงรักษาควรแบงดังนี้ :-
1. การบํารุงรักษารายวัน
2. การบํารุงรักษารายสัปดาห
3. การบํารุงรักษารายเดือน
4. การบํารุงรักษาตอนสิ้นป

การบํารุงรักษารายวัน
เปนการกําหนดงานที่จะตองปฏิบัติในแตละวัน ซึ่งมีดังนี้
1. ระบายน้ําในหลอดแกวดูระดับน้ํา
2. ระบายน้ําในลูกลอยควบคุมระดับน้ํา
3. ระบายน้ําจากใตหมอไอน้ํา (Blowdown)
4. ตรวจระดับน้ํามันเครื่องของปมลม (ถามี)
5. บันทึกประจําวัน
6. สังเกตดูพวกเกจตางๆ วาวัดคาตางๆ อยูในเกณฑปกติหรือไม

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 5-6


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

การบํารุงรักษารายสัปดาห
งานที่จะตองปฏิบัติ มีดังนี้
1. ทําความสะอาดหัวฉีด
2. ทําความสะอาดเตาไฟ
3. ทําความสะอาดไสกรองน้ํามัน
4. ตรวจดูปะเก็นฝาหมอไอน้ําวามีรอยรั่วของไอเสียหรือไม
5. ตรวจดูปะเก็นฝาหอยวามีรอยรั่วซึมหรือไม ถามีจะเห็นเปนเกลือเกาะที่ฝาหอยเปนกอน ควรขูด
ออกใหหมดอยาใหสะสม
6. ทําความสะอาดกระจกมองไฟ
7. ทําความสะอาด และตรวจสอบระยะเขี้ยวหัวเทียน
8. ทดสอบระบบควบคุมความปลอดภัย
- ลูกลอยควบคุมระดับน้ํา
- สวิตซควบคุมความดัน
9. เปลี่ยนน้ําในหมอไอน้ํา (ถามีเวลามากพอทีจ่ ะทําได)
10. วัดประสิทธิภาพการเผาไหม ปรับแตงใหไดคาสูงสุด

การบํารุงรักษารายเดือน
1. ลางถังเก็บน้ํากอนเขาปมน้ํา
2. ลางไสกรองน้ํากอนเขาปมน้าํ
3. ทําความสะอาดทอไฟ (ลางเขมาออกโดยใชแปรง)
4. ตรวจสภาพอิฐทนไฟ วัสดุทนไฟ ปะเก็นฝาหมอไอน้ํา
5. ลางทําความสะอาดภายในหมอไอน้ํา (ดานสัมผัสน้ํา) โดยใชน้ําความดันสูงฉีดเอาตะกรันและ
ตะกอนออก
6. ลางลูกลอยควบคุมระดับน้ําลาง เอาตะกอนที่ตกในหองลูกลอยและตามขอตออก
7. ตรวจสอบระบบกลไกของลูกลอยวาทํางานไดโดยไมตดิ ขัด
8. ทดสอบระบบกลไกของลูกลอยวาทํางานไดโดยไมตดิ ขัด
9. ทําความสะอาดพวกเครื่องควบคุมไฟฟา อยาใหมีฝนุ เกาะมากโดยใชลมแหงเปา
10. ทดสอบลิ้นนิรภัยวาทํางานดีอยูหรือไม

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 5-7


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

การบํารุงรักษาตอนสิ้นป
งานที่จะตองปฏิบัติมีดังนี้
1. ตรวจสภาพลิ้นนิรภัยวารั่วหรือไมทํางานตรงตามคาความดันที่กําหนดหรือถาไมดีจะตองเปลี่ยน
หรือซอม
2. ตรวจสภาพวาลวทุกตัววายังทํางานไดดหี รือไม ปดไดสนิทหรือเปลา
3. ตรวจสภาพลูกปนมอเตอรทั้งหมด ลูกปนปมน้ํา ถาเสียหายหรือสึกหรอมากควรเปลี่ยนใหม
4. ทําความสะอาดภายในหมอไอน้ํา (ดานสัมผัสน้ํา) โดยการกําจัดตะกรันที่เกาะแข็งตัวอยูออก
ใหหมด
5. ทดสอบความแข็งแรงของหมอไอน้ําโดยการอัดความดันดวยน้ํา ตามกําหนดของกรมโรงงาน
อุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้หลังจากการอัดทดสอบจะตองสงผลการทดสอบ
พรอมการเซ็นตรับรองวิศวกรเครื่องกล ซึ่งมีใบ ก.ว.

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 5-8


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

บทที่ 6
กรณีศึกษา

6.1 กรณีศึกษาที่ 1 การปรับแตงหัวเผาชนิดพนฝอยดวยความดันน้ํามันและควบคุมแบบตอ-ตัด

โรงงานทอผาแหงหนึ่ง มีการใชพลังงานความรอนจากไอน้ําในกระบวนการผลิต การอบผา การอบ


พิมพลายผา โดยมีการติดตั้งและใชงานหมอไอน้ํา 1 ลูก ขนาด 0.68 ตัน/ชม. ใชน้ํามันเตาเกรด A เปนเชื้อเพลิง
มีปริมาณการใชเชื้อเพลิง 144,000 ลิตร/ป การตรวจสอบประสิทธิภาพหมอไอน้ํา และปรับแตงหัวเผา
มีขั้นตอนดําเนินการดังนี้

1. ตรวจวัด วิเคราะห ประสิทธิภาพหมอไอน้ํา


และการทํางานของหัวเผา

2. ตรวจสอบสภาพหัวเผา

3. บํารุงรักษาและปรับปรุงหัวเผา

4. ปรับแตงหัวเผา

5. ประเมินผลการปรับแตง

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-1


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

6.1.1 การตรวจวัด วิเคราะห ประสิทธิภาพหมอไอน้ําและการทํางานของหัวเผา


การตรวจวัดวิเคราะหประสิทธิภาพหมอไอน้ํา และการทํางานของหัวเผา ตองตรวจวัดคาพารามิเตอร
ตางๆ ทั้งขอมูลประเภทรายละเอียดของหมอไอน้ํา และขอมูลที่ใชเครื่องมือตรวจวัด โดยใชตารางที่ 6.1 และ
6.2 เปนแนวทางในการเก็บขอมูล และใชบนั ทึกขอมูล

ตารางที่ 6.1 แบบฟอรมการบันทึกขอมูลติดตัง้


ขอมูลติดตั้ง
รายละเอียด หนวย หมายเหตุ
เครื่องที่ 1 เครื่องที่ 2 เครื่องที่ 3
ประเภทหมอไอน้ํา
ผูผลิต/รุน
ขนาดหมอไอน้ํา ตัน/ชม.
ความดันไอน้ําสูงสุด kg/cm2 (g)
พื้นที่ผิวถายเทความรอน m2
ชนิดของเชื้อเพลิง
คาความรอนของเชือ้ เพลิง kCal/kg
ความหนาแนนเชื้อเพลิง kg/l
คาความรอนจําเพาะของเชือ้ เพลิง kCal/kg.°C
ราคาเชื้อเพลิง บาท/ลิตร
การอุนเชื้อเพลิง
แรงดันเชื้อเพลิง bar
เสนผาศูนยกลาง m
ยาว m
ขนาด
พื้นที่ผิวหมอไอน้ํา-ดานหนา-ดานหลัง sq.m
พื้นที่ผิวหมอไอน้ํา-ดานขาง sq.m
ชนิด
ผูผลิต/รุนหัวเผา
หัวเผา
การควบคุม
กําลังไฟฟาของ Blower kW
เดือน/ป ที่ติดตั้งใชงาน
สถานที่ใชงาน
ชั่วโมงที่ใชงาน/ป hr/y
การบํารุงรักษา
หมายเหตุ ใชกบั หมอไอน้ําแบบทอไฟที่ใชหัวเผาน้ํามัน หรือทอน้ําแบบทิ้งที่ใหหวั เผาน้ํามัน

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-2


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

ตารางที่ 6.2 แบบฟอรมบันทึกขอมูลตรวจวัดหมอไอน้ํา


ขอมูลการตรวจวัด
รายละเอียด หนวย เครื่องที่ 1
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 ครั้งที่ 5 เฉลี่ย
ชนิดของเชื้อเพลิง m
เชื้อเพลิง

อัตราการใชเชื้อเพลิง l/h
o
อุณหภูมิเชื้อเพลิง C
o
อุณหภูมิแวดลอม C
อากาศ

o
อุณหภูมิอากาศปอน C
ปริมาณอากาศ m3/h
ปริมาณน้ําปอน m3/h
o
อุณหภูมิน้ําปอน C
น้ําปอน

สารละลายของน้ําปอน ppm
คา pH
อัตราการระเหย ton/h
ไอน้ํา

ความดันไอน้ํา kg/cm2(g)
ความดันไอน้ําสูงสุด kg/cm2(g)
ปริมาณ CO ในกาซไอเสีย ppm
กาซไอเสีย

ปริมาณ CO2 ในกาซไอเสีย %


ปริมาณออกซิเจนในกาซไอเสีย %
o
อุณหภูมิกาซไอเสีย C
Eff. การเผาไหมจากเครื่องวัด %
สารละลายของน้ําโบลวดาวน ppm
Blowdown

คา pH
ดาน m2 หนา ขาง หลัง
ผิวหมอไอน้ํา

o
อุณหภูมิผิวหมอไอน้ํา(เฉลี่ย) C
คา Emissivity
หมายเหตุ ใชกบั หมอไอน้ําแบบทอไฟที่ใชหัวเผาน้ํามัน หรือทอน้ําแบบทิ้งที่ใชหวั เผาน้ํามัน

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-3


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

ซึ่งผลจากการตรวจวัดหมอไอน้ําของโรงงานแหงนี้แสดงดังตารางที่ 6.3 และ6.4

ตารางที่ 6.3 ขอมูลติดตัง้ หมอไอน้ํากรณีศกึ ษาที่ 1


ขอมูลติดตัง้
รายละเอียด หนวย หมายเหตุ
เครื่องที่ 1 เครื่องที่ 2 เครื่องที่ 3
ประเภทหมอไอน้ํา ทอไฟนอน
ผูผลิต/รุน -
ขนาดหมอไอน้ํา ตัน/ชม. 0.678
ความดันไอน้ําสูงสุด kg/cm2 (g) -
พื้นที่ผิวถายเทความรอน m2 24.15
ชนิดของเชื้อเพลิง น้ํามันเตาเกรดA
คาความรอนของเชือ้ เพลิง kCal/kg 9,805
ความหนาแนนเชื้อเพลิง kg/l 0.93
คาความรอนจําเพาะของเชือ้ เพลิง kCal/kg.°C 0.45
ราคาเชื้อเพลิง บาท/ลิตร 10
การอุนเชื้อเพลิง ไฟฟา
แรงดันเชื้อเพลิง bar -
เสนผาศูนยกลาง m 1.6
ยาว m 2.7
ขนาด
พื้นที่ผิวหมอไอน้ํา-ดานหนา-ดานหลัง sq.m 2.0
พื้นที่ผิวหมอไอน้ํา-ดานขาง sq.m 13.6
ชนิด แรงดันน้ํามัน
ผูผลิต/รุนหัวเผา -
หัวเผา
การควบคุม On-Off
กําลังไฟฟาของ Blower kW 0.75
เดือน/ป ที่ติดตั้งใชงาน -
สถานที่ใชงาน โรงงาน
ชั่วโมงที่ใชงาน/ป hr/y 4,800
การบํารุงรักษา 6 เดือน/ครั้ง

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-4


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

ตารางที่ 6.4 ผลการตรวจวัดหมอไอน้ํากรณีศึกษาที่ 1


ขอมูลการตรวจวัด
รายละเอียด หนวย เครื่องที่ 1
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 ครั้งที่ 5 เฉลี่ย
ชนิดของเชื้อเพลิง m น้ํามันเตาเกรด A
เชื้อเพลิง

อัตราการใชเชื้อเพลิง l/h 30 30
o
อุณหภูมิเชื้อเพลิง C 150 150
o
อุณหภูมิแวดลอม C 31.3 31.3
อากาศ

o
อุณหภูมิอากาศปอน C 31.3 31.3
ปริมาณอากาศ m3/h - -
ปริมาณน้ําปอน m3/h - -
o
อุณหภูมิน้ําปอน C 36.1 36.1
น้ําปอน

สารละลายของน้ําปอน ppm 147 147


คา pH 7.5 7.5
อัตราการระเหย ton/h - -
ไอน้ํา

ความดันไอน้ํา kg/cm2(g) 4 4
ความดันไอน้ําสูงสุด kg/cm2(g) 5.5 5.5
ปริมาณ CO ในกาซไอเสีย ppm 157 159 158 158
กาซไอเสีย

ปริมาณ CO2 ในกาซไอเสีย % 8.58 7.89 8.13 8.2


ปริมาณออกซิเจนในกาซไอเสีย % 9.55 10.6 10.15 10.1
o
อุณหภูมิกาซไอเสีย C 299 301.2 299.8 300
Eff. การเผาไหมจากเครื่องวัด % 81.24 77.1 77.83 78.73
สารละลายของน้ําโบลวดาวน ppm 3,400 3,400
Blowdown

คา pH 9.0 9.0

ดาน m2 หนา ขาง หลัง


ผิวหมอไอน้ํา

o
อุณหภูมิผิวหมอไอน้ํา(เฉลี่ย) C 85 50 75 56.9
คา Emissivity 0.6 0.6 0.6 0.6

จากการตรวจวัดพบวา หมอไอน้ํามีประสิทธิภาพการเผาไหมต่ํา โดยมีคาเฉลี่ย 78.73% ทั้งนี้


เนื่องมาจากมีการสูญเสียออกทางปลองไอเสียมาก ซึ่งพิจารณาไดจากอุณหภูมไิ อเสียและคาเปอรเซ็นต
ออกซิเจน โดยพิจารณาตามเกณฑในตารางที่ 3.1 อุณหภูมไิ อเสียสูงถึง 300°C ซึ่งสูงกวาอุณหภูมิไอน้ําที่ 4 bar
(143.6 °C) อยู 156.4 °C จะเห็นวาสูงกวาเกณฑ (60°C) มาก และเมื่อพิจารณาที่เปอรเซ็นตออกซิเจนที่มีคา
10.1% พบวาสูงกวาเกณฑ (3.4% - 4%) สําหรับน้ํามันเตามาก แสดงวาการปรับตั้งอากาศเขาเผาไหมไม

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-5


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

ถูกตองใชอากาศเขาเผาไหมมากทําใหอากาศสวนที่เหลือจากการเผาไหมรับความรอนที่ไดจากการเผาไหม
เชื้อเพลิงแลวทิ้งออกที่ปลอง ซึ่งเปนการสูญเสียอยางมาก การวิเคราะหในสวนอื่นแสดงดังตารางที่ 6.5

ตารางที่ 6.5 รายการวิเคราะหผลการตรวจวัดหมอไอน้ํากรณีศึกษาที่ 1


ผลการตรวจสอบ
รายงานตรวจสอบหมอไอน้ํา หมายเหตุ
ปกติ ปรับปรุง
1 เชื้อเพลิงและอากาศปอน
1.1 ปริมาณการใชเชื้อเพลิง 9
1.2 อุณหภูมิเชื้อเพลิง 9 อุณหภูมิเชื้อเพลิงควรใชในชวง85-105 °C
1.3 อุณหภูมิอากาศปอน 9
2 น้ําปอนหมอไอน้ํา
2.1 ปริมาณน้ําปอน 9
2.2 อุณหภูมิน้ําปอน 9 ควรนําคอนเดนเสทกลับมาใชเปนน้ําปอน
2.3 สารละลายน้ําปอน 9
2.4 คา pH น้ําปอน 9
3 น้ําโบลวดาวน (Blown Down)
3.1 สารละลายน้ําโบลวดาวน 9
3.2 คา pH 9
4 การใชไอน้ํา
4.1 ความดันไอน้ําใชงาน 9
4.2 การรั่วของไอน้ํา 9
4.3 ฉนวนของวาลวและทอสงไอน้ํา 9 ควรหุมฉนวนวาลวในระบบสงจายไอน้ํา
5 ผิวหมอไอน้ํา
5.1 ฉนวนหมอไอน้ํา 9
5.2 อุณหภูมิผิวหมอไอน้ํา 9
6 กาซไอเสีย
6.1 อุณหภูมิกาซไอเสีย 9 มีเขมาจับทอไฟมาก ควรบํารุงรักษาทอไฟ
6.2 ปริมาณออกซิเจน 9 ควรดําเนินการปรับแตงหัวเผา
6.3 ปริมาณ CO 9 ปริมาณ CO สูงกวาเกณฑ 50 ppm

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-6


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

รายละเอียดและวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพหมอไอน้ํา
1. ตรวจสอบเชื้อเพลิงและอากาศปอน
พบวา อุณหภูมิเชื้อเพลิงที่ใชในการเผาไหมสูงถึง 150 °C อุณหภูมิเชื้อเพลิงที่เหมาะสมในการเผาไหมของน้ํามันเตา
เกรด A และหัวฉีดชนิดพนฝอยดวยแรงดันน้ํามัน จะอยูระหวาง 85-105 °C ควรปรับลดอุณหภูมิที่ฮีตเตอรน้ํามัน ทําให
ประหยัดพลังงานได

2. ตรวจสอบน้ําปอนหมอไอน้ํา
พบวา อุณหภูมิน้ําปอนต่ํา 36.1 °C ควรนําน้ําคอนเดนเสทจากกระบวนการผลิตกลับมาผสมใชเปนน้ําปอน
หมอไอน้ํา และปริมาณสารละลายในน้ําปอน 147 ppm อยูในเกณฑปกติ (ไมเกิน 200 ppm)

3. ตรวจสอบน้ําโบลวดาวน
พบวา ปริมาณสารละลายน้ําโบลวดาวน 3,400 ppm อยูในเกณฑ (ไมเกิน 3,500 ppm สําหรับหมอไอน้ําทอไฟ
แนวนอน)

4. ตรวจสอบการใชไอน้ํา
พบวา ความดันไอน้ํา 4 bar เหมาะสมกับอุปกรณใชไอน้ําในกระบวนการผลิต และไมมีการรั่วของไอน้ําวาลวและ
หนาแปลนยังไมไดหุมฉนวน การดําเนินการจะลดการสูญเสียความรอนได

5. ตรวจสอบผิวหมอไอน้ํา
พบวา ฉนวนหมอไอน้ําปกติ อุณหภูมิผิวหมอไอน้ําเฉลี่ย 56.9°C อยูในเกณฑดี ไมตองปรับปรุง

6. ตรวจสอบกาซไอเสีย
พบวา อุณหภูมิของกาซไอเสีย 300°C คอนขางสูง (อุณหภูมิแตกตางระหวางกาซไอเสีย และไอน้ําที่เหมาะสม
ไมควรสูงเกิน 60°C) สาเหตุอาจมาจากมีเขมาจับทอไฟมาก ทําใหการถายเทความรอนใหกับน้ําในหมอไอน้ําต่ําลง
ควรตรวจสอบทําความสะอาดทอไฟ
ปริมาณ O2 ในไอเสียสูง ควรทําการปรับลดปริมาณอากาศที่ใชในการเผาไหม และปรับแตงหมอไอน้ํา
(ปริมาณ O2 ในกาซไอเสีย ควรอยูระหวาง 3.5-4%)

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-7


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

แนวทางการแกไขปรับปรุง

ในสวนของอากาศที่เขาเผาไหมมากเกินตองทําการปรับแตงหัวเผาเพื่อลดอากาศเขาเผาไหมใหมีคา
ออกซิเจนในกาซไอเสียอยูในชวง 3.4% - 4%
สําหรับกรณีอณ
ุ หภูมิไอเสียสูง ตองทําการตรวจสอบความสะอาดของทอทั้งดานน้ําและดานไฟ ถา
พบวาสกปรกใหทําความสะอาด และทําการตรวจสอบผนังกั้นทางไฟวาชํารุดทําใหเกิดการลัดทางไฟหรือไม

6.1.2 การตรวจสภาพและการบํารุงรักษาหัวเผา
หลังจากการพิจารณาแลววาตองทําการปรับแตงหัวเผาตองทําการตรวจสภาพหัวเผากอนการปรับแตง
การตรวจสอบหัวเผาจะตรวจสอบจุดสําคัญๆ ของหัวเผาเพื่อดูวาอยูในสภาพใชงานไดดีหรือไม สกปรก
หรือไม ตองทําการบํารุงรักษาในสวนใดบาง โดยใชแบบฟอรมตามตารางที่ 6.6 เปนแนวทาง

ตารางที่ 6.6 แบบฟอรมการตรวจสอบหัวเผา


ผลการตรวจสอบ
รายงานตรวจสอบการทํางานหัวเผา หมายเหตุ
ผาน ไมผาน
1 การฉีดน้ํามันของหัวฉีด
2 การทํางานของชุดควบคุมการเผาไหม
3 การทํางานของกระจังลม
4 ระบบและลําดับขั้นตอนการทํางานของหัวเผา
5 การหมุนเวียนของเปลวไฟ และไอเสีย
6 เขี้ยวสปารค และระยะของอุปกรณชุดหัวฉีด
7 การทํางานของระบบไฟฟา และระบบควบคุม

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-8


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

จากการตรวจสภาพหัวเผาไดผลแสดงดังตารางที่ 6.7

ตารางที่ 6.7 ผลการตรวจสอบสภาพ และบํารุงรักษาหัวเผาหมอไอน้ํากรณีศึกษาที่ 1


ผลการตรวจสอบ
รายงานตรวจสอบการทํางานหัวเผา หมายเหตุ
ผาน ไมผาน
1 การฉีดน้ํามันของหัวฉีด 9
2 การทํางานของชุดควบคุมการเผาไหม 9
3 การทํางานของกระจังลม 9
4 ระบบและลําดับขั้นตอนการทํางานของหัวเผา 9
5 การหมุนเวียนของเปลวไฟ และไอเสีย 9
6 เขี้ยวสปารค และระยะของอุปกรณชุดหัวฉีด 9
7 การทํางานของระบบไฟฟา และระบบควบคุม 9

รายละเอียดและวิธีการปรับแตงหัวเผา
1. ตรวจสอบหัวฉีดน้ํามัน
พบวา หัวฉีดมีคราบน้ํามันติดอยูมาก มีน้ํามันไหล
ตลอดเวลา ในชวงเดินหมอไอน้ํา มีน้ํามันรั่วไหลหยด
ออกมาจากชุดหัวฉีด
จึงเสนอให เปลี่ยนชุดหัวฉีดใหม โดยในชวงการ
ปรับแตงยังไมมีการเปลี่ยนหัวฉีด

2. ตรวจสอบระบบ และลําดับการทํางาน
พบวา ลําดับการทํางานถูกตองดังนี้
(1) ไลอากาศ 30 วินาที
(2) เริ่มจุดไฟ
(3) ทํางาน

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-9


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

รายละเอียดและวิธีการปรับแตงหัวเผา
3. ตรวจสอบกระจังลม
พบวา กระจังลมอยูในสภาพชํารุด ขายึดหลัก มีกอน
น้ํามันแข็งจับดานหลังในปริมาณมาก กระจังลมเบี้ยว มีรอย
คราบน้ํามันชนปะทะ และ Flame Tube มีกอนน้ํามันแข็ง
เกาะในปริมาณมาก
หมายเหตุ ไมสามารถซอมแซม และทําความสะอาดได
ใชชวงการปรับแตง จึงใหผูควบคุมดูแลหมอไอน้ําทําความ
สะอาดในชวงของการหยุดการทํางานของหมอไอน้ํา เพื่อ
การบํารุงรักษา
เสนอใหติดตอทีมบํารุงรักษาจากบริษัทภายนอกใหมา
ดูแลให เนื่องจากชางในโรงงานไมมีความเชี่ยวชาญเพียงพอ

4. ตรวจสอบการหมุนเวียนของไอเสีย และเปลวไฟ
พบวาการหมุนเวียนของไอเสียดี ไมมี Fire Back แตมี
การรั่วที่ประเคนฝาหนา และหลัง

5. ตรวจสอบเขี้ยวสปารค
พบวาเขี้ยวสปารค มีคราบน้ํามันเลอะอยูเล็กนอย แสดง
วามีระยะที่เหมาะสมแลว สําหรับคาที่แนนอนโรงงานไมมี
Spec. ของหัวเผาเปรียบเทียบ

สรุปปญหาและอุปสรรค แนวทางการแกไขปรับปรุง
1. หัวฉีดสึก 1. เปลี่ยนอุปกรณที่ชํารุด
2. ชุดรองรับหัวฉีดชํารุดรั่ว 2. ทําความสะอาดชุดหัวเผาสัปดาหละครั้ง
3. กระจังลมชํารุด หัก เบี้ยว ระยะหางแตไมตรงแนว 3. เปลี่ยนหัวฉีดน้ํามัน
4. กรวยไฟสกปรก มีกอนน้ํามันเกาะติดในปริมาณมาก 4. หา Spec. หัวเผา เพื่อตรวจสอบระยะตาง ๆ สําหรับปรับตั้ง

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-10


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

6.1.3 การปรับแตงหัวเผา
จากการวิเคราะหพบวา ตองทําการลดปริมาณอากาศเขาเผาไหมโดยใชเกณฑการปรับแตง คือ ปรับ
ใหเปอรเซ็นตออกซิเจนในกาซไอเสียอยูในชวง 3.4% - 4% โดยที่คาคารบอนมอนออกไซด ไมควรเกิน 50
ppm การปรับแตงไดดําเนินการตามขั้นตอนที่ไดกลาวไวในบทที่ 4 ซึ่งไดผลดังแสดงในตารางที่ 6.8

ตารางที่ 6.8 ผลการปรับแตงหัวเผาหมอไอน้ํากรณีศึกษาที่ 1


สภาพกอนปรับแตงหัวเผา สภาพหลังปรับแตงหัวเผา
รายการตรวจวัด รายการตรวจวัด
O2 (%) 10.1 O2 (%) 3.49
CO2 (%) 8.2 CO2 (%) 13.17
CO (PPM) 158 CO (PPM) 60
NO (PPM) N.A. NO (PPM) N.A.
SO2 (PPM) N.A. SO2 (PPM) N.A.
Ambient gas temp (oC) 31.3 Ambient gas temp (oC) 35.0
o o
Flue gas tem ( C) 300 Flue gas tem ( C) 293.6
Pressure (kPa) N.A. Pressure (kPa) N.A.
ผลการวิเคราะห ผลการวิเคราะห
Excess Air 92.66 Excess Air 19.93
Loss (%) 19.62 Loss (%) 12.37
Efficiency 80.38 Efficiency 87.63

6.1.4 ประเมินผลการปรับแตง
การประเมินผลการปรับแตงแสดงรายละเอียดดังนี้
ชนิดเชื้อเพลิง = น้ํามันเตา
ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช = 30 ลิตร/ชั่วโมง
ราคาเชื้อเพลิง = 10.0 บาท/ลิตร
เวลาการใชงาน = 4,800 ชั่วโมง/ป
ผลการตรวจวัดแกสไอเสีย
อุณหภูมิแกสไอเสีย = 300 °C
เปอรเซ็นตออกซิเจน = 10.10 %

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-11


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

กอนปรับ หลังปรับ

รูปที่ 6.1 การสูญเสียไปกับแกสไอเสีย เมื่อใชน้ํามันเตาเปนเชื้อเพลิง

กอนปรับปรุง
จากกราฟที่เปอรเซ็นตออกซิเจน 10.1% อุณหภูมิแกสไอเสีย 300 °C จะได
เปอรเซ็นตการสูญเสียไปกับแกสไอเสียเมื่อเทียบกับเชือ้ เพลิงที่ใชประมาณ = 24 %

หลังปรับปรุง
ปรับแตงหัวเผาเพื่อลดเปอรเซ็นตออกซิเจนลงเหลือประมาณ 3.49%
จากกราฟที่เปอรเซ็นตออกซิเจน 3.49% อุณหภูมิแกสไอเสีย 293.6 °C จะได
เปอรเซ็นตการสูญเสียไปกับแกสไอเสียเมื่อเทียบกับเชือ้ เพลิงที่ใชประมาณ = 17 %

ผลประหยัด
เปอรเซ็นตการสูญเสียไปกับแกสไอเสียเมื่อเทียบกับเชือ้ เพลิงที่ใชลดลง = 7.0 %
เทียบเปนปริมาณเชื้อเพลิงทีใ่ ชลดลง = 30.0x4,800.0x7.0/100
= 10,080.0 ลิตร/ป
= 10,080.0x10.00
= 100,800 บาท/ป

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-12


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

การลงทุนและผลตอบแทน
จางบริษัทมาทําการตรวจวัดสภาพการเผาไหมพรอมกับทําการปรับแตงหัวเผา
เงินลงทุนคาปรับแตง = 7,000 บาท/ครั้ง
จํานวนครั้งในการปรับแตงประมาณ = 1 ครั้ง/ป
รวม = 7,000 บาท/ป
คาภาษีมูลคาเพิ่ม 7 % = 490 บาท/ป
รวมเงินลงทุน = 7,490 บาท/ป
ระยะเวลาคืนทุนเบื้องตน = 0.074 ป
= 0.89 เดือน
หรือ 27 วัน

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-13


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

6.2 กรณีศึกษาที่ 2 การปรับแตงหัวเผาชนิดพนฝอยดวยอากาศและควบคุมแบบไฟนอย-ไฟมาก

โรงงานฟอกกางเกงยีนส ใชไอน้ําสําหรับซัก อบและรีดผา โดยหมอไอน้ําที่พิจารณาเปนหมอไอน้ํา


ขนาด 2.29 ตัน/ชม มีการใชเชื้อเพลิง 226,800 ลิตร/ป

6.2.1 การตรวจวัด วิเคราะห ประสิทธิภาพหมอไอน้ําและการทํางานของหัวเผา

ตารางที่ 6.9 ขอมูลติดตัง้ หมอไอน้ํากรณีศกึ ษาที่ 2


ขอมูลติดตัง้
รายละเอียด หนวย หมายเหตุ
เครื่องที่ 1 เครื่องที่ 2 เครื่องที่ 3
ประเภทหมอไอน้ํา ทอไฟนอน
ผูผลิต/รุน -
ขนาดหมอไอน้ํา ตัน/ชม. นอน
ความดันไอน้ําสูงสุด kg/cm2 (g) 10
พื้นที่ผิวถายเทความรอน m2 81.3
ชนิดของเชื้อเพลิง น้ํามันเตาเกรด A
คาความรอนของเชือ้ เพลิง kCal/kg 9,805
ความหนาแนนเชื้อเพลิง kg/l 0.93
คาความรอนจําเพาะของเชือ้ เพลิง kCal/kg.°C 0.45
ราคาเชื้อเพลิง บาท/ลิตร 10
การอุนเชื้อเพลิง ไฟฟา
แรงดันเชื้อเพลิง bar -
เสนผาศูนยกลาง m 1.57
ยาว m 3.70
ขนาด
พื้นที่ผิวหมอไอน้ํา-ดานหนา-ดานหลัง sq.m 1.90
พื้นที่ผิวหมอไอน้ํา-ดานขาง sq.m 18.2
ชนิด แรงดันอากาศ
ผูผลิต/รุนหัวเผา -
หัวเผา
การควบคุม High Fire – Low Fire
กําลังไฟฟาของ Blower kW 7.5
เดือน/ป ที่ติดตั้งใชงาน -
สถานที่ใชงาน โรงงาน
ชั่วโมงที่ใชงาน/ป hr/y 3,600
การบํารุงรักษา ทุก 1 เดือน

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-14


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

ตารางที่ 6.10 ผลการตรวจวัดหมอไอน้ํากรณีศึกษาที่ 2


ขอมูลการตรวจวัด
รายละเอียด หนวย เครื่องที่ 1
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 ครั้งที่ 5 เฉลี่ย
ชนิดของเชื้อเพลิง m น้ํามันเตาเกรด A
เชื้อเพลิง

อัตราการใชเชื้อเพลิง l/h 63.0 63.0


o
อุณหภูมิเชื้อเพลิง C 108 108
o
อุณหภูมิแวดลอม C 34.7 34.7
อากาศ

o
อุณหภูมิอากาศปอน C 39.4 39.4
ปริมาณอากาศ m3/h - -
ปริมาณน้ําปอน m3/h - -
o
อุณหภูมิน้ําปอน C 96 96
น้ําปอน

สารละลายของน้ําปอน ppm 389 389


คา pH - -
อัตราการระเหย ton/h - -
ไอน้ํา

ความดันไอน้ํา kg/cm2(g) 6.50 6.50


ความดันไอน้ําสูงสุด kg/cm2(g) 7.00 7.00
Low Fire High Fire
ปริมาณ CO ในกาซไอเสีย ppm 32 459
กาซไอเสีย

ปริมาณ CO2 ในกาซไอเสีย % 13.11 4.97


ปริมาณออกซิเจนในกาซไอเสีย % 3.57 14.4
o
อุณหภูมิกาซไอเสีย C 220.7 244.2
Eff. การเผาไหมจากเครื่องวัด % 86.1 71.4
สารละลายของน้ําโบลวดาวน ppm 6,280
Blowdown

คา pH 10.0
ดาน m2 หนา ขาง หลัง
ผิวหมอไอน้ํา

o
อุณหภูมิผิวหมอไอน้ํา(เฉลี่ย) C 98 57 73
คา Emissivity 0.89 0.89 0.89

จากการตรวจวัดหมอไอน้ํา มีขอควรสังเกตดังแสดงในตารางที่ 6.11

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-15


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

ตารางที่ 6.11 รายการวิเคราะหผลการตรวจวัดหมอไอน้ํากรณีศึกษาที่ 2


ผลการตรวจสอบ
รายงานตรวจสอบหมอไอน้ํา หมายเหตุ
ปกติ ปรับปรุง
1 เชื้อเพลิงและอากาศปอน
1.1 ปริมาณการใชเชื้อเพลิง 9
1.2 อุณหภูมิเชื้อเพลิง 9 อุณหภูมิเชือ้ เพลิงอยูในชวง 90-105 °C
1.3 อุณหภูมิอากาศปอน 9
2 น้ําปอนหมอไอน้ํา
2.1 ปริมาณน้ําปอน 9
2.2 อุณหภูมิน้ําปอน 9 มีการนําคอนเดนเสทมาใชเปนน้ําปอน
2.3 สารละลายน้ําปอน 9 สูงกวาเกณฑ 200 ppm
2.4 คา pH น้ําปอน - -
3 น้ําโบลวดาวน (Blown Down)
3.1 สารละลายน้ําโบลวดาวน 9 สูงกวาเกณฑ 3,500 ppm
3.2 คา pH 9 อยูในเกณฑ 9.0 – 11.5
4 การใชไอน้ํา
4.1 ความดันไอน้ําใชงาน 9
4.2 การรั่วของไอน้ํา 9
4.3 ฉนวนของวาลวและทอสงไอน้ํา 9 ควรหุมฉนวนวาลวในระบบสงจายไอน้ํา
5 ผิวหมอไอน้ํา
5.1 ฉนวนหมอไอน้ํา 9
5.2 อุณหภูมิผิวหมอไอน้ํา 9 อุณหภูมิผนังสูงเกิน 60 °C ควรปรับปรุง
ฉนวน
6 กาซไอเสีย
6.1 อุณหภูมิกาซไอเสีย 9 อุณหภูมิเฉลี่ยของกาซไอเสีย 232.5 °C สูง
กวาเกณฑ 228 °C (อุณหภูมิไอน้ําอิ่มตัว
168 °C + 60 °C ) เล็กนอย
6.2 ปริมาณออกซิเจน 9 ควรดําเนินการปรับแตงหัวเผาที่ High Fire
เพราะปริมาณออกซิเจนสูงถึง 14.4 %
6.3 ปริมาณ CO 9 ปริมาณ CO ที่ High Fire เกินเกณฑ 50 ppm

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-16


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

รายละเอียดและวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพหมอไอน้ํา
1. ตรวจสอบเชื้อเพลิงและอากาศปอน
พบวา อุณหภูมิเชื้อเพลิง 108 °C อยูในเกณฑ 90 – 105 °C ซึ่งเปนอุณหภูมิเชื้อเพลิงที่เหมาะสมสําหรับน้ํามันเตา A
ที่จายใหหัวเผาชนิดพนฝอยดวยอากาศ

2. ตรวจสอบน้ําปอนหมอไอน้ํา
พบวา มีการใชน้ําคอนเดนเสทจากกระบวนการผลิตกลับมาผสมใชเปนน้ําปอนซึ่งเหมาะสมดีแลว อยางไรก็ตาม
ปริมาณสารละลายของน้ําปอนสูงถึง 389 ppm ซึ่งมากกวาเกณฑ 200 ppm จึงควรพิจารณาบําบัดน้ําปอน

3. ตรวจสอบน้ําโบลวดาวน
พบวา น้ําโบลวดาวนมีปริมาณสารละลายสูงถึง 6,280 ppm ซึ่งสูงกวาเกณฑ 3,500 ppm มาก ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก
คุณภาพน้ําปอนที่สูงเกินมาตรฐาน (ขอ 2) ควรพิจารณาบําบัดน้ําปอนควบคูกับการเพิ่มปริมาณการโบลวดาวน เพื่อควบคุม
ปริมาณสารละลายในน้ําโบลวดาวนใหอยูในเกณฑ
4. ตรวจสอบการใชไอน้ํา
พบวา ความดันไอน้ํา 6.5 บารเหมาะสมกับความตองการของอุปกรณในกระบวนการผลิตดีแลว อยางไรก็ตามมี Globe
Valve หลายตัวที่ยังไมไดหุมฉนวน ควรดําเนินการหุมฉนวนวาลวดังกลาวเพื่อลดการสูญเสีย

5. ตรวจสอบผิวหมอไอน้ํา
พบวา อุณหภูมิผิวหมอไอน้ําสูงเกิน 60 °C ควรพิจารณาปรับปรุงฉนวนหมอไอน้ํา

6. ตรวจสอบกาซไอเสีย
พบวา อุณหภูมิเฉลี่ยของกาซไอเสีย 232.5 °C สูงกวาเกณฑเล็กนอย (อุณหภูมิไอน้ําอิ่มตัว 168 °C + 60 °C = 228 °C )
ที่ Low Fire ปริมาณออกซิเจนและ CO อยูในเกณฑ แตที่ High Fire ปริมาณออกซิเจน 14.4 % สูงกวาเกณฑ 4 % และปริมาณ
CO 459 ppm สูงกวาเกณฑ 50 ppm ทั้งนี้เนื่องจาก การจายอากาศมากเกินไปทําใหมีปริมาณออกซิเจนในกาซไอเสียสูงเกิน
เกณฑ นอกจากนี้ การจายอากาศที่มากเกินทําใหความเร็วของกาซไอเสียสูงเกินไป ทําใหมีระยะเวลาที่จะเผาไหม CO ลดลง
CO .ในกาซไอเสียจึงสูงเกิน ดังนั้นจึงควรพิจารณาปรับแตงหัวเผาที่ High Fire เพื่อลดปริมาณอากาศที่จายใหกับหัวเผา

แนวทางการแกไขปรับปรุง
อากาศเขาเผาไหมที่ High Fire มากเกินไป ตองทําการปรับแตงหัวเผาเพื่อลดอากาศที่ใชเผาไหมให
มีคาออกซิเจนในกาซไอเสียอยูในเกณฑ 3.4%-4.0% หลังจากทําการปรับแตงหัวเผาแลว ปริมาณ CO ใน
กาซไอเสียควรลดลง เพราะความเร็วของกาซไอเสียลดลง จึงมีเวลาสําหรับเผาไหม CO ใหสมบูรณมากขึน้

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-17


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

หากปริมาณ CO ในกาซไอเสียยังอยูใ นเกณฑที่สูงอยู แสดงวาเกิดการผสมกันระหวางอากาศ และเชื้อเพลิงที่


ไมดีพอ จึงตองทําการตรวจสอบหัวเผาอยางละเอียด เพือ่ พิจารณาซอมแซมหรือเปลี่ยนหัวเผาตอไป

6.2.2 การตรวจสภาพและการบํารุงรักษาหัวเผา
จากการตรวจสภาพหัวเผาไดผลแสดงดังตารางที่ 6.12

ตารางที่ 6.12 ผลการตรวจสอบสภาพ และบํารุงรักษาหัวเผาหมอไอน้ํากรณีศึกษาที่ 2


ผลการตรวจสอบ
รายงานตรวจสอบการทํางานหัวเผา หมายเหตุ
ผาน ไมผาน
1 การฉีดน้ํามันของหัวฉีด 9 มีคราบน้ํามันหยด
2 การทํางานของชุดควบคุมการเผาไหม 9
3 การทํางานของกระจังลม 9 มีการชนของน้ํามันที่กระจังลม
4 ระบบและลําดับขั้นตอนการทํางานของหัวเผา 9
5 การหมุนเวียนของเปลวไฟ และไอเสีย 9
6 เขี้ยวสปารค และระยะของอุปกรณชุดหัวฉีด 9
7 การทํางานของระบบไฟฟา และระบบควบคุม 9

รายละเอียดและวิธีการปรับแตงหัวพนไฟ
1. ตรวจสอบหัวฉีดน้ํามัน
พบวา หัวฉีดสกปรก มีคราบน้ํามันเกาะ จึงถอดหัวฉีด
ออกมาลางทําความสะอาด

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-18


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

2. ตรวจสอบระบบ และลําดับการทํางาน
พบวา ลําดับการทํางานถูกตองดังนี้
(1)ไลอากาศ 90 วินาที
(2) เริ่มจุดไฟ
(3) ทํางาน

รายละเอียดและวิธีการปรับแตงหัวเผา
3. ตรวจสอบกระจังลม
พบวา เกิดการชนของน้ํามัน จึงถอดมาทําความสะอาด
และตั้งระยะใหม

4. ตรวจสอบการหมุนเวียนของไอเสีย และเปลวไฟ
พบวา การหมุนเวียนของไอเสียดี ไมมี Fire Back

5. ตรวจสอบเขี้ยวสปารคและชุดหัวจุดแกส
ไมพบปญหาที่เขี้ยวสปารคและชุดหัวจุดแกส สามารถ
จุดติดไดตามปรกติ

สรุปปญหาและอุปสรรค แนวทางการแกไขปรับปรุง
1. หัวฉีดสกปรก 1. ถอดออกมาทําความสะอาด
2. น้ํามันชนกระจังลม 2. ถอดออกมาทําความสะอาดและปรับตั้งระยะใหม

6.2.3 การปรับแตงหัวเผา
จากการวิเคราะหพบวา ตองทําการลดปริมาณอากาศเขาเผาไหมในภาวะ High Fire โดยใชเกณฑ
การปรับแตง คือ ปรับใหเปอรเซ็นตออกซิเจนในกาซไอเสียอยูในชวง 3.4% - 4% โดยที่คา

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-19


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

คารบอนมอนออกไซด ไมควรเกิน 50 ppm การปรับแตงไดดําเนินการตามขั้นตอนที่ไดกลาวไวในบทที่ 4


ซึ่งไดผลดังแสดงในตารางที่ 6.13

ตารางที่ 6.13 ผลการปรับแตงหัวเผาหมอไอน้ํากรณีศึกษาที่ 2


ผลการตรวจวัดวิเคราะหการเผาไหม
สภาพกอนปรับแตงหัวเผา สภาพหลังปรับแตงหัวเผา
รายการตรวจวัด Low-Fire High-Fire รายการตรวจวัด High-Fire
O2 (%) 3.57 14.40 O2 (%) 4.17
CO2 (%) 13.11 4.97 CO2 (%) 12.67
CO (PPM) 32 459 CO (PPM) 88
NO (PPM) 243 102 NO (PPM) 242
SO2 (PPM) 930 289 SO2 (PPM) 773
Ambient gas temp (oC) 37.2 37.1 Ambient gas temp (oC) 35.7
o o
Flue gas temp ( C) 220.7 244 Flue gas temp ( C) 227.8
Pressure (kPa) - - Pressure (kPa) -
ผลการวิเคราะห ผลการวิเคราะห
Excess Air - Excess Air -
Loss (%) - Loss (%) -
Efficiency - Efficiency -

6.2.4 ประเมินผลการปรับแตง
การปรับแตงหัวเผาที่ High Fire ลดปริมาณออกซิเจนในกาซไอเสียจาก 14.40% เปน 4.17%
สามารถประหยัดเชื้อเพลิงได 20,973 ลิตรตอป คิดเปนมูลคา 209,730 บาทตอป (คิดที่ราคาน้ํามันเตา 10
บาทตอลิตร) การลงทุนและผลตอบแทนของการปรับแตงสามารถสรุปไดดังนี้

การลงทุนและผลตอบแทน
จางบริษัทมาทําการตรวจวัดสภาพการเผาไหมพรอมกับทําการปรับแตงหัวเผา
เงินลงทุนคาปรับแตง = 7,000 บาท/ครั้ง
จํานวนครั้งในการปรับแตงประมาณ = 1 ครั้ง/ป
รวม = 7,000 บาท/ป
คาภาษีมูลคาเพิ่ม 7 % = 490 บาท/ป

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-20


โครงการอนุรักษพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากโรงงานควบคุม
ตามพระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535
คูมือการปรับแตงหัวเผา

รวมเงินลงทุน = 7,490 บาท/ป


ระยะเวลาคืนทุนเบื้องตน = 0.036 ป
= 0.42 เดือน
หรือ 13 วัน

สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม 6-21


ชื่อหนังสือ : คูมือการปรับแตงหัวเผา
เจาของลิขสิทธิ์ : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
75/6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
กรมโรงงานอุตสาหกรรมขอสงวนลิขสิทธิ์ หามมิใหผูใดนําสวนหนึ่ง
สวนใดหรือตอนหนึ่งตอนใดของเนื้อเรื่อง และอื่น ๆ ที่ประกอบในคูม ือนี้
ไปคัดลอก โดยวิธีพิมพดีด เรียงตัว คัดสําเนา ถายฟลม ถายเอกสาร
พิมพโดยเครื่องจักรหรือวิธีการอื่นใด เพื่อนําไปแจก จําหนาย เวนแต
ไดรับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมเปนลายลักษณอักษร
พิมพเมื่อ : มกราคม 2548 จํานวน 100 เลม
คณะกรรมการประสานและรับมอบงาน : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
นายศุภชัย ศิรวิ ัฒนเจริญชัย ผูอํานวยการสํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย
นายวิโรจน เชาวจิรพันธุ
นายศุภวัฒน ธาดาจารุมงคล
นายชูสงา วัชรสินธุ
นายศุภกิจ บุญศิริ
นายวิศษิ ยศกั ดิ์ กฤษณะพันธุ
ที่ปรึกษา : ดร. ประเสริฐ ตปนียางกูร
รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ที่ปรึกษาโครงการ : บริษัท ทีม เอ็นเนอรยี่ แมเนจเมนท จํากัด

You might also like