Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 84

กระทรวงคมนาคม

กรมการขน ่งทางบก
คำนำ

ปัญหาความบกพร่องของตัวรถที่เกิดขึ้นจากการขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้รถ ที่ถูกต้อง
ของผู้ใช้รถ สามารถป้องกันและแก้ไขได้ด้วยการให้ความรู้ด้านการใช้งาน การบำรุงรักษา และข้อมูล
ที่สำคัญของตัวรถแก่ผู้ใช้รถหรือพนักงานขับรถ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาด้านการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง

และลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง อันเกิดจากความผิดพลาดของผู้ใช้รถ ดังนั้น ผู้ใช้รถ พนักงานขับรถ
จึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของตัวรถ การใช้รถ การบำรุงรักษาและเทคนิค

การขับรถอย่างถูกต้อง
หนังสือคู่มือหลักเบื้องต้นในการขับรถบรรทุกเล่มนี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความ
รู้เบื้องต้นก่อนการใช้รถบรรทุก การตรวจสภาพรถบรรทุกก่อนใช้งาน เทคนิค การขับรถประหยัด
น้ ำ มั น เชื ้ อ เพลิ ง การแก้ ปั ญ หาเฉพาะหน้ า เมื่ อ รถเสี ย การเตรี ย มความพร้ อ มก่ อ นเดิ น ทาง

การบรรทุกและการถ่ายสินค้า เทคนิคการขับรถปลอดภัยในสภาวการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นความรู้เบื้องต้น
ที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ขับรถบรรทุกก่อนที่จะนำรถบรรทุกไปใช้งาน ถึงแม้ว่าบางท่านจะคุ้นเคยกับ

รถบรรทุกมานานแล้วก็ตาม หนังสือคู่มือเล่มนี้จะช่วยให้เข้าใจถึงวิธีการใช้รถและการบำรุงรักษา

รถได้เป็นอย่างดี ถ้าผู้ขับรถนำไปใช้และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การตรวจบำรุงรักษารถอย่าง
สม่ำเสมอ จะทำให้ใช้รถได้อย่างคุ้มค่า ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม
นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่อีกด้วย
กรมการขนส่งทางบก ขอขอบคุณอาจารย์สมพงษ์ ใจซื่อ และอาจารย์สมปอง คงนิ่ม วิทยากร
การอบรมหลั ก สู ต รการขั บ รถเชิ ง ป้ อ งกั น อุ บั ต ิ เ หตุ ซึ่ ง เป็ น ผู ้ ใ ห้ ข ้ อ มู ล สำหรั บ จั ด ทำหนั ง สื อ

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือคู่มือหลักเบื้องต้นในการขับรถบรรทุกเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับ

ผู้ขับรถบรรทุกและผู้สนใจทั่วไป ได้นำไปศึกษาและพัฒนาทักษะในการใช้งานและขับขี่รถบรรทุก

ให้ถูกต้องและปลอดภัย

กรมการขนส่งทางบก

สารบัญ
หน้า
พร้อมรถ 1
1. ความรู้เบื้องต้นก่อนการใช้รถบรรทุก 1
◆ เครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ 1
◆ ศึกษาคู่มือก่อนการใช้รถ 3
◆ การสตาร์ทเครื่องยนต์ 4
◆ หลอดไฟเตือนและเกจวัดที่แผงหน้าปัด 5
◆ อุณหภูมิทำงานปกติของเครื่องยนต์ 6
◆ เบรกไอเสีย 8
◆ ดิฟเฟอร์เรนเชียลล็อก (ล็อกเฟืองท้าย) 8
◆ ระบบเบรกรถสิบล้อ 9
◆ ระบบคลัตช์ 10
◆ ระบบกันสะเทือนแบบถุงลม 10
◆ พวงมาลัยเพาเวอร์ช่วยผ่อนแรงผู้ขับขี่ 11
◆ เทอร์โบชาร์จเจอร์ 11
◆ ความหมายของขนาดและสัญลักษณ์ของยางเรเดียล 12
2. การตรวจสภาพรถบรรทุกก่อนใช้งาน 14
◆ การตรวจสภาพรถก่อนใช้งานด้วยคำนิยามง่ายๆ บี-แวกอน (BE-WAGON) 14
◆ ตรวจระบบเบรก 14
◆ ตรวจระบบไฟฟ้า 18
◆ ตรวจระดับน้ำหล่อเย็นในหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ 20
◆ ตรวจยางและกระทะล้อ 22
◆ ตรวจระบบน้ำมันเชื้อเพลิง 25
◆ ตรวจน้ำมันเครื่อง 27
◆ ตรวจเสียงดังตามจุดต่างๆ 28
3. เทคนิคการขับรถประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง 29
4. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อรถเสีย 30
◆ การพ่วงแบตเตอรี่ 30
◆ เครื่องยนต์ร้อนจัด 31
◆ ยางระเบิด 32
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
พร้อมขับ 33
1. การเตรียมการก่อนเดินทาง 33
◆ การบรรทุกและการขนถ่ายสินค้า : 33
2. เตรียมพร้อมก่อนขับ 336
6 ◆ รู้จักทัศนคติและแนวความคิด : 36
◆ การบริหารจัดการกับความเหนื่อยล้า : 38
◆ เหล้า (สุรา) เมาขับ : 40
◆ การบริหารจัดการความเครียด : 42
ความโกรธ :
● 42
รถเสีย :
● 44
ความรีบเร่ง :
● 44
ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ :
● 45
แรงกดดันเกี่ยวกับงาน :
● 45
เทคนิคการขับรถปลอดภัยในสภาวการณ์ต่างๆ 46
◆ ความพร้อมในการขับรถของผู้ขับขี่ : 46
◆ เทคนิคการขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุ : 49
◆ ระยะห่างโดยรอบที่ปลอดภัย : 51
◆ การขับรถกลางคืน : 53
◆ การขับรถลุยฝน : 54
◆ การขับรถฝ่าหมอก : 55
◆ การขับรถลงที่ลาดชัน : 56
◆ การขับรถผ่านทางรถไฟ : 56
◆ การขับรถในสภาวะที่มีแสงน้อย : 57
◆ การขับรถในสภาวะที่แสงจ้า : 57
◆ การขับรถถอยหลัง : 58
◆ ทางร่วมทางแยก : 59
◆ การขับรถสวนเลน และงานซ่อมถนน (Contraflows and Roadworks) : 61
◆ การแซงรถ : 63
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
◆ ทำอย่างไรเมื่อถูกแซง : 65
◆ ผู้ขับขี่ที่ก้าวร้าว : 67
◆ รถคว่ำ : 69
◆ รถลื่นไถลและรถหมุน : 71
◆ อุบัติเหตุ : 73
◆ การใช้เกียร์และการเปลี่ยนเกียร์ : 75
หมวดที่ 1

พร้อมรถ

1. ความรู้เบื้องต้นก่อนการใช้รถบรรทุก

1.1 เครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ






คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
ดร.รูดอล์ฟ ดีเซล (Rudolf Diesel) วิศวกรชาวเยอรมันผู้ประดิษฐ์เครื่องยนต์ดีเซล

รถบรรทุกส่วนมากใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นต้นกำเนิดกำลังงานเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน
ตัวรถให้เคลื่อนที่ ดังนั้น เราควรรู้หลักการทำงานเบื้องต้นของเครื่องยนต์ดีเซลเสียก่อนว่า

มันทำงานอย่างไร

เครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ
หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ มีดังนี้
จั ง หวะดู ด ลู ก สู บ เลื่ อ นลงจากศู น ย์ ต ายบน วาล์ ว ไอดี เ ปิ ด อากาศถู ก ดู ด เข้ า ไป

ในกระบอกสูบ เมื่อลูกสูบเลื่อนลงถึงศูนย์ตายล่าง วาล์วไอดีปิด


จั ง หวะอั ด วาล์ ว ไอดี แ ละวาล์ ว ไอเสี ย ปิ ด ลู ก สู บ เลื่ อ นขึ ้ น จากศู น ย์ ต ายล่ า งไปยั ง

ศูนย์ตายบน อากาศถูกอัดตัวทำให้ความดันและอุณหภูมิในกระบอกสูบสูงขึ้น
จังหวะกำลัง ก่อนที่ลูกสูบจะเลื่อนขึ้นถึงศูนย์ตายบนเล็กน้อย หัวฉีดจะฉีดน้ำมัน

เชื้อเพลิงออกมาทำให้เกิดระเบิดผลักดันลูกสูบให้เลื่อนลงได้กำลังงาน
จั ง หวะคาย เมื่ อ ลู ก สู บ เลื่ อ นลงถึ ง ศู น ย์ ต ายล่ า ง วาล์ ว ไอเสี ย เปิ ด จากนั ้ น ลู ก สู บ

เลื่อนขึ้นไปยังศูนย์ตายบนเพื่อไล่แก๊สไอเสียให้ออกไปนอกกระบอกสูบ


วาล์วไอดี วาล์วไอเสีย
หัวฉีด

ฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง

จังหวะดูด จังหวะอัด
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

จังหวะกำลัง จังหวะคาย

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ


1.2 ศึกษาคู่มือก่อนการใช้รถ








ก่อนที่ท่านจะนำรถบรรทุกไปใช้งาน ท่านควรอ่านคู่มือการใช้รถอย่างละเอียด ถึงแม้ว่า
บางท่านจะคุ้นเคยกับรถบรรทุกมานานก็ตาม หนังสือคู่มือการใช้รถจะช่วยให้ท่านเข้าใจถึงวีธี
การใช้และบำรุงรักษารถได้เป็นอย่างดี ท่านควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การตรวจบำรุง
รักษารถอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ท่านใช้รถได้อย่างคุ้มค่า ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและ

ค่าใช้จ่ายในการซ่อม นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่อีกด้วย

รถไม่พร้อมถ้านำมาใช้งานถือว่าผิดกฎหมาย
มาตรา 6 พ.ร.บ. จราจรทางบก ห้ า มมิ ใ ห้ ผู ้ ใ ดนำรถที่ ม ี ส ภาพไม่ มั่ น คงแข็ ง แรง

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
หรื อ อาจเกิ ด อันตราย หรืออาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้ คนโดยสาร หรือ
ประชาชนมาใช้ในทางเดินรถ
โทษ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

(มาตรา 148)

ผลดีของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
• ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
• ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อม
• ลดมลพิษของแก๊สไอเสีย
• อายุการใช้งานยาวนาน
• ปลอดภัยและไว้ใจได้
• สนุกสนานกับการขับขี่
• ถูกต้องตามกฎหมาย


1.3 การสตาร์ทเครื่องยนต์
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในขณะสตาร์ท ท่านคงเคยได้ยิน ถ้าสตาร์ทเครื่องไม่ถูกวิธีอาจทำให้

ผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ บางครั้งอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น การสตาร์ทเครื่อง

จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ขับขี่ไม่ควรมองข้าม
ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ทุกครั้งจะต้องปฏิบัติดังนี้
1. ดึงเบรกมือให้สุด
2. เกียร์อยู่ในตำแหน่งว่าง
3. เหยียบคลัตช์ให้สุด
หมายเหตุ รถในต่างประเทศ ถ้าไม่เหยียบคลัตช์จะสตาร์ทไม่ติด เพื่อป้องกันการสตาร์ท

จากภายนอก
4. บิดสวิตช์กุญแจอยู่ที่ตำแหน่ง ON เพื่อตรวจเกจวัดและไฟเตือนต่างๆ
5. สตาร์ทเครื่องไม่เกิน 15 วินาที
6. เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้ว ตรวจเกจวัดและไฟเตือนอีกครั้งหนึ่งก่อนออกรถ


การสตาร์ทเครื่องยนต์
แต่ละครั้งไม่ควรเกิน

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

15 วินาที





คำแนะนำ
• ทั น ที ท ี่ เ ครื่ อ งยนต์ ต ิ ด ไม่ ค วรเร่ ง เครื่ อ งทั น ที ทั น ใด เพราะจะทำให้ เ ครื่ อ งยนต์

เกิดการสึกหรออย่างรวดเร็ว
• ไม่ควรสตาร์ทนานเกินไป เพราะอาจทำให้มอเตอร์สตาร์ทไหม้และแบตเตอรี่ไฟหมด
จะต้องทิ้งไว้อย่างน้อย 30 วินาที ก่อนเริ่มต้นสตาร์ทครั้งต่อไป
• ไม่ควรเร่งแซงในขณะที่เครื่องยนต์ยังเย็นอยู่โดยเด็ดขาด


1.4 หลอดไฟเตือนและเกจวัดที่แผงหน้าปัด
ก่อนที่รถยนต์จะเกิดข้อขัดข้องขึ้น มักจะมีอาการเตือนให้ผู้ขับขี่ทราบล่วงหน้าก่อนเสมอ
และสิ่งที่ผู้ขับขี่จะต้องให้ความสำคัญในขณะขับรถก็คือหมั่นสังเกตไฟเตือนที่แผงหน้าปัด








หลอดไฟเตือนที่แผงหน้าปัดที่สำคัญ มีดังนี้




ไฟเตือนไฟชาร์จ ไฟเตือนแรงดันน้ำมันเครื่อง ไฟเตือนเบรกมือ

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง




ไฟเตือนแรงดันลมเบรก ไฟเตือนระดับน้ำมันเบรก ไฟเตือนเบรกหาง





ไฟเตือนฝักเบรกห่าง ไฟเตือนเบรกไอเสีย ไฟเตือนดิฟล็อก





ไฟเตือนหัวเผา ไฟเตือนระดับน้ำมันเครื่อง ไฟเตือนตรวจเครื่องยนต์




ไฟเตือนแรงดันเทอร์โบ ไฟเตือนระดับน้ำในหม้อน้ำ เกียร์ต่ำ





เพิ่มรอบ
ลดรอบ
เกียร์สูง ปุ่มปรับรอบเดินเบา

บันทึกระยะทางวิ่ง
ช่องสีเขียว

ช่องสีแดง


ปุ่มปรับตั้ง
มิเตอร์วัดความเร็วรถ เกจวัดรอบเครื่องยนต์

เกจวัดรอบเครื่องยนต์มีหน่วยวัดเป็นรอบต่อนาที เพื่อป้องกันไม่ให้ขับรถลากเกียร์

ทุกครั้งที่ผู้ขับขี่เปลี่ยนเกียร์ควรชำเลืองดูเกจวัดรอบเครื่องที่แผงหน้าปัด ไม่ควรฟังเสียง
ช่วงสีเขียว เป็นช่วงที่รอบเครื่องเหมาะสมที่สุดในการขับขี่ ช่วงนี้จะทำให้ประหยัด

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

น้ำมันเชื้อเพลิงมากที่สุด
ช่วงสีแดง เป็นช่วงที่รอบเครื่องยนต์หมุนเร็วเกินไป รถบางรุ่นจะได้ยินเสียงออดดังขึ้น
ไม่ควรใช้งานให้อยู่ในช่วงนี้

1.5 อุณหภูมิทำงานปกติของเครื่องยนต์

เย็น
ใช้งานปกติ

ร้อนจัด (สีแดง)



มาตรวัดอุณหภูมิ 1 ไฟเตือน มาตรวัดอุณหภูมิเครื่องยนต์

มาตรวั ด อุ ณ หภู ม ิ ห รื อ ที่ เ รี ย กกั น ทั่ ว ไปว่า เกจความร้ อ นทำหน้ า ที่ วั ด อุ ณ หภู ม ิ ข อง
เครื่ อ งยนต์ข ณะทำงาน ในขณะขับรถผู้ขับขี่จะต้องหมั่นสังเกตเกจวัดและไฟเตือนต่างๆ

ที่แผงหน้าปัดตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะรถติดนานๆ


ถ้ า ความร้ อ นสู ง มากเกิ น ไปจะทำให้ ช ิ ้ น ส่ว นที่ เ คลื่ อ นที่ ภ ายในเครื่ อ งยนต์เ สี ย หาย

ฟิล์มน้ำมันเครื่องถูกทำลายขาดคุณสมบัติในการหล่อลื่น ทำให้เครื่องยนต์น็อก
จากการทดลองพบว่า อุณหภูมิทำงานของเครื่องยนต์ที่ดีที่สุดจะอยู่ประมาณ 80-100
องศาเซลเซียส ขณะที่เครื่องยนต์ทำงานถ้าเข็มเกจความร้อนชี้อยู่ที่บริเวณดังกล่าวจะมีผล

ต่อเครื่องยนต์ดังนี้
1. การสึกหรอของกระบอกสูบน้อยมาก
2. ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงมากที่สุด
3. ได้กำลังงานหรือแรงม้าสูง
ในทางตรงกันข้ามถ้าอุณหภูมิของเครื่องยนต์ต่ำเกินไปก็มีผลเสียเช่นเดียวกัน ตัวที่
ทำให้เครื่องยนต์ร้อนถึงอุณหภูมิทำงานปกติได้เร็วขึ้นก็คือ เทอร์โมสตัตหรือที่ช่างเรียกว่า
วาล์วน้ำนั่นเอง
การทำงานของวาล์วน้ำ ขณะเครื่องเย็น วาล์วน้ำจะปิด ขณะเครื่องร้อน วาล์วน้ำ

จะเปิด
1. เรือนสูบหรือเสื้อสูบ
2. ฝาสูบ
3. ท่อทางลัด (bypass)
4. ฝาปิดหม้อน้ำ

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
5. หม้อน้ำ
6. ปั๊มน้ำ
7. พัดลม
8. สายพานพัดลม
9. เทอร์โมสตัต (วาล์วน้ำ)

ส่วนประกอบของระบบระบายความร้อน

คำเตือน ไม่ ค วรถอดวาล์ ว น้ ำ ออกเพราะจะทำให้ เ ครื่ อ งยนต์ เ กิ ด การสึ ก หรอมากและ

สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากเช่นกัน

Thermometer



Thermostal
Hot Plate



การตรวจวาล์วน้ำโดยนำไปต้ม


1.6 เบรกไอเสีย
เบรกไอเสียหรือที่นักขับรถบรรทุกโดยทั่วไปเรียกว่า ชอร์ตเบรก เป็นระบบที่ออกแบบมา
เพื่อใช้หน่วงเครื่องยนต์ในขณะขับรถลงทางลาดชัน การขับรถลงทางลาดชันนอกจากจะใช้
เกียร์ต่ำแล้วยังจะต้องใช้เบรกไอเสียร่วมด้วย เมื่อเบรกไอเสียทำงานจะมีวาล์วพิเศษซึ่งติดตั้ง
อยู่ที่ท่อไอเสียปิดไม่ให้ไอเสียออก เครื่องยนต์จะมีเสียงดังเปลี่ยนไป เมื่อใช้เบรกไอเสีย

หลอดไฟเตือนที่แผงหน้าปัดจะติด
การใช้เบรกเท้าบ่อยๆ ขณะลงเขาหรือทางลาดชันจะทำให้ผ้าเบรกร้อนจัด ทำให้
ประสิ ท ธิ ภ าพในการเบรกลดลง บางครั้งอาจทำให้
น้ำมันเบรกร้อนจัดจนระเหยเป็นไอ และในที่สุดทำให้
เบรกไม่อยู ่

เบรกไอเสียไม่ทำงานในกรณี
• เหยียบคันเร่ง
• เหยียบคลัตช์
• เกียร์ว่าง

1.7 ดิฟเฟอร์เรนเชียลล็อก (ล็อกเฟืองท้าย)


คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง






ดิฟล็อกไม่ทำงาน ดิฟล็อกทำงาน
ดิฟเฟอร์เรนเชียลล็อก (ล็อกเฟืองท้าย) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ดิฟล็อก ส่วนมาก

จะติดตั้งไว้ที่ชุดเพลาท้าย ในขณะที่ดิฟล็อกทำงานไฟเตือนที่แผงหน้าปัดจะติดเฟืองท้าย

แบบธรรมดา เมื่ อ รถวิ่ ง บนผิ ว ถนนลื่ น จะทำให้ ก ารเกาะถนนไม่ ด ี และทำให้ ร ถเกิ ด การ

ลื่นไถลได้ ท่านคงเคยเห็นรถติดหล่มล้อจะหมุนฟรีข้างเดียวส่วนล้ออีกข้างหนึ่งจะไม่หมุน
ทำให้รถขึ้นจากหล่มไม่ได้
ดิฟล็อกใช้ในกรณีผิวถนนลื่น ทำให้รถเกาะถนนดีขึ้น เมื่อใช้ดิฟล็อกจะทำให้เกิด

การล็อกระหว่างชุดเพลาท้ายทั้งสองให้ขับเคลื่อนพร้อมกันตลอดเวลา ควรใช้ก่อนที่รถจะวิ่งไป
บนถนนลื่นและเลิกใช้เมื่อรถวิ่งผ่านถนนลื่นไปแล้ว

ข้อควรระวัง
• ขณะที่ดิฟล็อกทำงานอยู่ ไม่ควรเลี้ยวรถเพราะจะทำให้ชุดเพลาท้ายเสียหาย
• ห้ามเลี้ยวรถบนผิวถนนที่ลื่นด้วยดิฟล็อก

1.8 ระบบเบรกรถสิบล้อ

แป๊บลม
แป๊บน้ำมันเบรก
สายอ่อนเบรก












ส่วนประกอบของระบบเบรกแบบใช้ลมดันน้ำมัน

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

A เกจวัดแรงดันลม E ถังเก็บลมล้อขับ I กระบอกเบรกล้อหน้า
B ปั๊มลม F วาล์วเปิด-ปิดลมเบรก J กระบอกเบรกล้อหลัง (ล้อขับ)
C ถังเก็บลมหลัก G หม้อลมเบรกลูกใหญ่ (ล้อหน้าและล้อขับ) K กระบอกเบรกล้อหลัง (ล้อพ่วง)
D ถังเก็บลมหลัก H หม้อลมเบรกลูกเล็ก (ล้อพ่วง) L กระปุกน้ำมันเบรก

ระบบเบรกที่ใช้กับรถบรรทุก มี 3 แบบ ได้แก่
• แบบใช้สุญญากาศ แบบนี้มีหม้อลมเบรกช่วยผ่อนแรงใช้กับรถบรรทุกขนาดเล็ก
จนถึงขนาดกลาง
• แบบใช้ลมดันน้ำมัน แบบนี้ใช้กับรถบรรทุกขนาดใหญ่ มีน้ำมันเบรก
• แบบใช้ลมล้วน แบบนี้ใช้กับรถบรรทุกขนาดใหญ่ไม่มีน้ำมันเบรก เป็นระบบเบรก

ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด


1.9 ระบบคลัตช์
1. ที่เก็บน้ำมันคลัตช์
2. แม่ปั๊มคลัตช์
3. แป้นคลัตช์
4. หม้อลมคลัตช์
5. ท่อลม
6. ก้านดัน




ส่วนประกอบของระบบคลัตช์ที่ใช้น้ำมันดันลม

ระบบคลัตช์ที่ใช้ในรถบรรทุกส่วนมากจะเป็นแบบใช้น้ำมันดันลม

การทำงานโดยย่อ
• เมื่อผู้ขับขี่เหยียบแป้นคลัตช์จะทำให้น้ำมันถูกดันออกจากแม่ปั๊มคลัตช์ไปที่หม้อลม
คลัตช์ น้ำมันจะไปเปิดลมแรงดันสูงจากถังเก็บ ลมจะดันแผ่นไดอะแฟรมที่อยู่ใน
หม้อลมคลัตช์ให้ชนะแรงกดของสปริง ทำให้ก้านดันดันแผ่นคลัตช์ให้แยกออก
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

1.10 ระบบกันสะเทือนแบบถุงลม
รถบั ส และรถบรรทุ ก บางรุ่ น ติ ด ตั ้ ง ระบบ

กันสะเทือนแบบถุงลมไว้ที่เพลาหลัง ซึ่งจะช่วยทำให้
การขับขี่นิ่มนวล นอกจากนี้ระบบกันสะเทือนแบบถุงลม
มีน้ำหนักเบา ช่วยลดน้ำหนักของตัวรถ ทำให้ประหยัด
ค่าใช้จ่ายเนื่องจากการบำรุงรักษาน้อย

ระบบกันสะเทือนแบบถุงลม

10
1.11 พวงมาลัยเพาเวอร์ช่วยผ่อนแรงผู้ขับขี่
รถบรรทุ ก ส่ ว นมากจะติ ด ตั ้ ง ระบบพวงมาลั ย

เพาเวอร์เพื่อช่วยทำให้หมุนพวงมาลัยได้เบาแรง

ข้อควรระวัง
• ถ้ า ในกรณี ล ้ อ หน้ า เบี ย ดขอบทาง ไม่ ค วร
พยายามที่ จ ะเลี ้ ย วรถโดยออกแรงหมุ น

อย่างมาก เพราะแรงหมุนที่เพิ่มขึ้นจะไปเปิด
วาล์วควบคุม ทำให้แรงดันน้ำมันเพิ่มขึ้นและ
ถ้าแรงดันน้ำมันเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุด ทำให้อุณหภูมิของน้ำมันในกระปุกเกียร์เพิ่มขึ้นด้วย
ทำให้ปั๊มน้ำมันเกิดความร้อนสูงเกินไปและอาจทำให้ปั๊มชำรุดเสียหายได้
• จอดรถควรหมุนล้อหน้าให้ขนานกับตัวรถ

1.12 เทอร์โบชาร์จเจอร์

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง








เทอร์โบชาร์จเจอร์ทำหน้าที่คล้ายเครื่องอัดอากาศหมุนได้โดยใช้พลังงานของแก๊ส

ไอเสี ย ที่ อ อกจากเครื่ อ งยนต์ ไ ปดั น ใบเทอร์ โ บให้ ห มุ น และในขณะเดี ย วกั น ก็ ท ำหน้ า ที่ ดู ด

และอัดอากาศหรือไอดีเข้าไปในกระบอกสูบโดยการหมุนของคอมเพรสเซอร์ ทำให้แรงบิด
และกำลังของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ต้องเพิ่มขนาดเครื่องยนต์

11
ข้อควรระวัง
• ไม่ควรดับเครื่องยนต์ทันทีหลังจากขับรถมาด้วยความเร็วสูงเป็นระยะเวลานาน

หรือขับรถขึ้นเขาลงเขานานๆ ควรปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาสักพักก่อน จากนั้น


จึงดับเครื่อง ถ้าดับเครื่องยนต์ทันทีจะเกิดผลเสีย คือ แกนเพลายังคงหมุนอยู่

ด้วยความเร็วสูง แต่ไม่มีน้ำมันเครื่องไปหล่อลื่นและระบายความร้อนเพราะปั๊ม
น้ำมันเครื่องไม่ทำงาน ทำให้แกนเพลาเทอร์โบติดตาย
• ไม่ควรถอดไส้กรองอากาศออกขณะเครื่องยนต์ทำงาน เพราะอาจทำให้สิ่งสกปรก
ต่างๆ ไหลเข้าไปในเทอร์โบและทำให้คอมเพรสเซอร์และเทอร์ไบน์เสียหายได้

1.13 ความหมายของขนาดและสัญลักษณ์ของยางเรเดียล
ชนิดใช้ยางใน 10.00 R 20 XZE 146/143 K TT
10 = ความกว้างของหน้ายาง (นิ้ว)
R = โครงสร้างยางเป็นแบบเรเดียล
20 = เส้นผ่านศูนย์กลางของกระทะล้อ (นิ้ว)
XZE = รุ่นดอกยาง
146 = ดัชนีรับน้ำหนักบรรทุกแบบล้อเดี่ยว
143 = ดัชนีรับน้ำหนักบรรทุกแบบล้อคู่
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

K = สัญลักษณ์ความเร็ว
TT = ยางชนิดใช้ยางใน

ชนิดไม่ใช้ยางใน 295/80 R 22.5 XZA1 152/148 M TL
295 = ความกว้างของหน้ายาง (มิลลิเมตร)
80 = อัตราส่วนขนาดยาง (ความสูง/ความกว้าง) เป็นเปอร์เซ็นต์
R = โครงสร้างยางเป็นแบบเรเดียล
22.5 = เส้นผ่านศูนย์กลางของกระทะล้อ (นิ้ว)
XZA1 = รุ่นดอกยาง
152 = ดัชนีรับน้ำหนักบรรทุกแบบล้อเดี่ยว (3,550 กิโลกรัม/เส้น)
148 = ดัชนีรับน้ำหนักบรรทุกแบบล้อคู่ (3,150 กิโลกรัม/เส้น)
M = สัญลักษณ์ความเร็ว (130 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
TL = ยางชนิดไม่ใช้ยางใน

12
ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีการรับน้ำหนัก (Load Index : LI) กับ
ความสามารถในการรับน้ำหนักของยาง (The Load Capacity : TLCC)
LI TLCC LI TLCC LI TLCC LI TLCC LI TLCC LI TLCC LI TLCC
กก. กก. กก. กก. กก. กก. กก.
0 45 40 140 80 450 120 1,400 160 4,500 200 14,000 240 45,000
1 46.2 41 145 81 462 121 1,450 161 4,625 201 14,500 241 46,250
2 47.5 42 150 82 475 122 1,500 162 4,750 202 15,000 242 47,500
3 48.7 43 155 83 487 123 1,550 163 4,875 203 15,500 243 48,750
4 50 44 160 84 500 124 1,600 164 5,000 204 16,000 244 50,000
5 51.5 45 165 85 515 125 1,650 165 5,150 205 16,500 245 51,500
6 53 46 170 86 530 126 1,700 166 5,300 206 17,000 246 53,000
7 54.5 47 175 87 545 127 1,750 167 5,450 207 17,500 247 54,500
8 56 48 180 88 560 128 1,800 168 5,600 208 18,000 248 56,000
9 58 49 185 89 580 129 1,850 169 5,800 209 18,500 249 58,000
10 60 50 190 90 600 130 1,900 170 6,000 210 19,000 250 60,000
11 61.5 51 195 91 615 131 1,950 171 6,150 211 19,500 251 61,500
12 63 52 200 92 630 132 2,000 172 6,300 212 20,000 252 63,000
13 65 53 206 93 650 133 2,060 173 6,500 213 20,600 253 65,000
14 67 54 212 94 670 134 2,120 174 6,700 214 21,200 254 67,000
15 69 55 218 95 690 135 2,180 175 6,900 215 21,800 255 69,000
16 71 56 224 96 710 136 2,240 176 7,100 216 22,400 256 71,000
17 73 57 230 97 730 137 2,300 177 7,300 217 23,000 257 73,000
18 75 58 236 98 750 138 2,360 178 7,500 218 23,600 258 75,000
19 77.5 59 243 99 775 139 2,430 179 7,750 219 24,300 259 77,500
20 80 60 250 100 800 140 2,500 180 8,000 220 25,000 260 80,000
21 82.5 61 257 101 825 141 2,575 181 8,250 221 25,750 261 82,500
22 85 62 265 102 850 142 2,650 182 8,500 222 26,500 262 85,000
23 87.5 63 272 103 875 143 2,725 183 8,750 223 27,250 263 87,500
24 90 64 280 104 900 144 2,800 184 9,000 224 28,000 264 90,000
25 92.5 65 290 105 925 145 2,900 185 9,250 225 29,000 265 92,500
26 95 66 300 106 950 146 3,000 186 9,500 226 30,000 266 95,000
27 97.5 67 307 107 975 147 3,075 187 9,750 227 30,750 267 97,500
28 100 68 315 108 1,000 148 3,150 188 10,000 228 31,500 268 100,000

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
29 103 69 325 109 1,030 149 3,250 189 10,300 229 32,500 269 103,000
30 106 70 335 110 1,060 150 3,350 190 10,600 230 33,500 270 106,000
31 109 71 345 111 1,090 151 3,450 191 10,900 231 34,500 271 109,000
32 112 72 355 112 1,120 152 3,550 192 11,200 232 35,500 272 112,000
33 115 73 365 113 1,150 153 3,650 193 11,500 233 36,500 273 115,000
34 118 74 375 114 1,180 154 3,750 194 11,800 234 37,500 274 118,000
35 121 75 387 115 1,215 155 3,875 195 12,150 235 38,750 275 121,000
36 125 76 400 116 1,250 156 4,000 196 12,500 236 40,000 276 125,000
37 128 77 412 117 1,285 157 4,125 197 12,650 237 41,250 277 128,500
38 132 78 425 118 1,320 158 4,250 198 13,200 238 42,500 278 132,000
39 136 79 437 119 1,360 159 4,375 199 13,600 239 43,750 279 136,000

ตารางเครื่องหมายกำหนดความเร็วสูงสุดที่ยางทนได้
เครื่องหมาย ความเร็วสูงสุด เครื่องหมาย ความเร็วสูงสุด เครื่องหมาย ความเร็วสูงสุด
กำหนดความเร็ว (กม./ชม.) กำหนดความเร็ว (กม./ชม.) กำหนดความเร็ว (กม./ชม.)
A1 5 C 60 N 140
A2 10 D 65 P 150
A3 15 E 70 Q 160
A4 20 F 80 R 170
A5 25 G 90 S 180
A6 30 J 100 T 190
A7 35 K 110 U 200
A8 40 L 120 H 210
B 50 M 130 V 240
ZR, ZB มากกว่า 240
Y >300 W 270

13
2. การตรวจสภาพรถบรรทุกก่อนใช้งาน

2.1 การตรวจสภาพรถก่อนใช้งานด้วยคำนิยามง่ายๆ บี-แวกอน (BE-WAGON)
• บี (Brake) ตรวจระบบเบรก ได้ แ ก่ ระดั บ น้ ำ มั น เบรก

และสภาพ ระดั บ น้ ำ มั น คลั ต ช์ แ ละสภาพ เบรกมื อ และ

รอยรั่วซึมตามจุดต่างๆ เป็นต้น
• อี (Electricity) ตรวจระบบไฟฟ้ า ได้ แ ก่ ระดั บ น้ ำ กรด

ในแบตเตอรี่ สภาพขั้วแบตเตอรี่ ไฟสูง-ไฟต่ำ ไฟท้าย ไฟเบรก


ไฟส่องป้ายทะเบียน ไฟเลี้ยว ไฟฉุกเฉิน ไฟตัดหมอก แตร
และที่ปัดน้ำฝน เป็นต้น
• ดั บ เบิ้ ล ยู (Water) ตรวจน้ำหล่อเย็น ได้แก่ ระดับน้ำในหม้อน้ำและหม้อพัก
สายพาน สภาพท่อยางหม้อน้ำ และฝาปิดหม้อน้ำ เป็นต้น
• เอ (Air) ตรวจความดันลมยางและกระทะล้อ ได้แก่ ตรวจความดันลมยางแต่ละล้อ
รวมทั้งยางอะไหล่ ตรวจสภาพกระทะล้อ เป็นต้น
• จี (Gasoline) ตรวจระบบน้ ำ มั น เชื ้ อ เพลิ ง ได้ แ ก่ รอยรั่ ว ซึ ม ตามจุ ด ต่ า งๆ

ตรวจไส้กรองอากาศ กรองดักน้ำ (เครื่องยนต์ดีเซล) เป็นต้น


• โอ (Oils) ตรวจน้ ำ มั น หล่ อ ลื่ น ได้ แ ก่ รอยรั่ ว ซึ ม ตามจุ ด ต่ า งๆ ตรวจระดั บ

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

น้ำมันเครื่องและสภาพ ตรวจระดับน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์และสภาพ เป็นต้น


• เอ็น (Noise) ตรวจเสียงดังต่างๆ

2.2 ตรวจระบบเบรก
ฝาครอบกันฝุ่น

ช่องตรวจ

กระปุกน้ำมันเบรก

14
จุดที่ผู้ขับขี่ต้องตรวจ ได้แก่
• ระดับน้ำมันเบรกและสภาพ ระดับน้ำมันเบรกจะต้องอยู่ระหว่างขีดสูงสุด (MAX)
กับขีดต่ำสุด (MIN) ถือว่าระดับปกติ ถ้าต้องการเติมให้ใช้ DOT เดียวกัน ที่ฝาปิด

จะเขียนบอกไว้ DOT 3 จุดเดือดต่ำกว่า DOT 4


• สภาพของสายอ่อนเบรกและแป๊บน้ำมันเบรก
• รอยรั่วซึมของน้ำมันเบรกตามจุดต่างๆ
• เสียงลมรั่วที่แป็บเบรก
• การทำงานของเบรกมือ
• ตรวจระยะฟรีและความสูงของแป้นเบรกขณะเหยียบ

ตรวจเบรกมือ





คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
รูปเบรกมือแบบใช้กลไกและการปรับตั้ง

ข้อควรระวัง
• รถบรรทุ ก ที่ ใ ช้ เ บรกมื อ ล็ อ กที่ เ พลากลางจะต้ อ งระมั ด ระวั ง ให้ ม าก อย่ า ให้
เครื่องยนต์ดับขณะขึ้นเนินหรือสะพานสูง เพราะถ้าลมหมดจะทำให้รถไหลอาจเกิด
อันตรายได้ เนื่องจากเบรกไม่อยู่ ความปลอดภัยสู้รถบรรทุกที่ใช้ระบบเบรกแบบลม
ล้วนไม่ได้ (เบรกมือล็อกที่ล้อ ถ้าลมหมดเบรกมือจะล็อกทันที)

0 = ปลดเบรกมือ
1 = เบรกที่หัวลากและเบรกที่หางพ่วง
2 = เบรกที่หัวลากและเบรกที่หางพ่วงถูกปลด
(ตำแหน่งจอดรถ)

เบรกมือแบบใช้ลมดัน

15
ตรวจแรงดันลมในถังและรอยรั่วตามจุดต่างๆ
ช่วงสีแดง





เกจวัดแรงดันลม ไฟเตือนแรงดันลม

Pedal
Free Play
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

ตรวจระยะฟรีของแป้นเบรก

ตรวจเสียงลมเบรกรั่ว









การถ่ายน้ำออกจากถังลม
น้ำเกิดจากการควบแน่นที่สะสมอยู่ในถังลมในสภาพอากาศชื้น ควรถ่ายออกหลังการ
ขับขี่ในแต่ละวัน ทางด้านของถังลมจะมีวาล์วถ่ายน้ำติดตั้งอยู่ ถ้าไม่ถ่ายน้ำออกจะทำให้

ระบบเบรกเสียหาย

16
หม้อกรองความชื้น

รูระบาย

หม้อกรองความชื้นบางครั้งเรียกว่าตัวจาม ปลั๊กถ่ายน้ำ

ตรวจน้ำมันคลัตช์






คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

จุดที่ผู้ขับขี่ต้องตรวจ ได้แก่
• ระดับน้ำมันคลัตช์และสภาพ
• สภาพของสายอ่อนคลัตช์และแป๊บน้ำมันคลัตช์
• รอยรั่วซึมของน้ำมันคลัตช์ตามจุดต่างๆ

ระดับน้ำมันคลัตช์จะต้องอยู่ระหว่าง MAX (สูงสุด) กับ MIN (ต่ำสุด)
คำแนะนำ
• ถ้าจำเป็นต้องเติมน้ำมันคลัตช์ ควรทำความสะอาดฝาปิดก่อนเปิดทุกครั้ง เพราะถ้า
มีสิ่งสกปรกหรือใช้น้ำมันผิดประเภทจะทำให้ลูกยางปั๊มคลัตช์เกิดความเสียหายได้
• เมื่ อ เติ ม น้ ำ มั น คลั ต ช์เ สร็ จ แล้ ว ต้ อ งปิ ด ฝาให้ ส นิ ท เพื่ อ ป้ อ งกั น ไม่ใ ห้ น ้ ำ มั น คลั ต ช์

ไหลออกมา
• อย่าเติมน้ำมันคลัตช์เกินระดับ เพราะเมื่อยกหัวเก๋งจะทำให้น้ำมันคลัตช์ไหลออกมา

17
2.3 ตรวจระบบไฟฟ้า
ตรวจระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่


เส้นระดับบน ต่ำ ปกติ


เส้นระดับล่าง



• ถ้าระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่อยู่ต่ำกว่าระดับต่ำสุด ให้เติมน้ำกลั่น ระมัดระวัง

อย่าเติมเกินระดับสูงสุด ถ้าเกินขณะที่เครื่องยนต์ทำงานไดชาร์จจะชาร์จไฟเข้า
แบตเตอรี่จะทำให้น้ำกรดกำมะถันล้นออกมาทำให้ขี้เกลือเกาะที่ขั้วแบตเตอรี่
• สายขั้วแบตเตอรี่ต้องแน่น ถ้ามีขี้เกลือเกาะให้ใช้น้ำร้อนราดหรือถอดขั้วแบตเตอรี่
ออกมาทำความสะอาด
• ถ้าจำเป็นต้องถอดขั้วแบตเตอรี่ออกให้ถอดขั้วลบออกก่อนทุกครั้ง
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

• ถ้าแบตเตอรี่มีไฟไม่พอ อาจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยการพ่วงแบตเตอรี่

สายขั้วลบ

18
ตรวจฟิวส์ต่างๆ

แบบ ก



ดี ขาด
แบบ ข


ดี ขาด
แบบ ค


ดี ขาด

ฟิวส์แบบต่างๆ

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
ตรวจระบบไฟแสงสว่าง
ได้ แ ก่ ไฟสู ง -ไฟต่ ำ ไฟท้ า ย ไฟส่ อ งป้ า ยทะเบี ย น ไฟถอยหลั ง ไฟเลี ้ ย ว ไฟเบรก

ไฟฉุกเฉิน ไฟตัดหมอก ไฟหลังคา แตร ที่ปัดน้ำฝนและที่ฉีดน้ำล้างกระจก ถ้าไม่ทำงาน

ให้ตรวจฟิวส์ก่อน ถ้าฟิวส์ขาดให้เปลี่ยนฟิวส์ตัวใหม่ที่มีแอมแปร์เท่าเดิม

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการเปลี่ยนหลอดไฟ
• ขณะทำการเปลี่ยนหลอดไฟต้องไม่ให้นิ้วมือสัมผัสโดยตรงกับหลอดไฟใหม่ คราบจาระบี
และน้ำมันจะกลายเป็นไอเมื่อหลอดไฟร้อนจะทำให้การสะท้อนแสงเสื่อมลงได้

ขั้วเสียบ

หลอดไฟ

19
2.4 ตรวจระดับน้ำหล่อเย็นในหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ

ฝาหม้อน้ำ


ฝาปิด
FULL

หม้อพักน้ำ




จุดที่ผู้ขับขี่จะต้องตรวจ ได้แก่
• ระดับน้ำในหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ
• ฝาปิดหม้อน้ำ
• สายพานขับปั๊มน้ำ ไดชาร์จ แอร์ และปั๊มน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์
• ท่อยางหม้อน้ำ
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

• รอยรั่วของน้ำตามจุดต่างๆ




ก้านลดแรงดัน ลดแรงดัน
มีแรงดัน

ลิ้นสุญญากาศ ลิ้นระบายความดัน



ฝาหม้อน้ำมีลิ้นระบายความดันและลิ้นสุญญากาศ ก่อนเปิดให้ยกก้านลดแรงดันขึ้น

20
ตรวจความตึงของสายพานและสภาพ








มีรอยแตก มีคราบ เป็นเงามัน หลุดลุ่ย

น้ำมันเครื่อง

ตรวจสภาพท่อยางหม้อน้ำ



คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง


คัตเตอร์


ไม่ทาจาระบีในท่อยาง ทาจาระบีที่ท่อหม้อน้ำ จาระบีอยู่ด้านนอก


ทาจาระบีในท่อยาง ไม่ทาจาระบี จาระบีอยู่ด้านในอาจทำให้


ที่ท่อหม้อน้ำ หม้อน้ำอุดตันได้

21
2.5 ตรวจยางและกระทะล้อ
จุดที่ผู้ขับขี่จะต้องตรวจเกี่ยวกับยาง
• แรงดันลมยางและยางอะไหล่
• สภาพแก้มยาง
• ความลึกของดอกยาง
• วันผลิตยาง
• ฝาปิดจุ๊บเติมลม








อ่อนไป พอดี แข็งไป


คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

ถ้าแรงดันลมยางน้อยเกินไป จะทำให้
• เกิ ด ความฝื ด ระหว่ า งยางกั บ ผิ ว ถนนมากทำให้ ก ิ น กำลั ง เครื่ อ งและสิ ้ น เปลื อ ง

น้ำมันเชื้อเพลิงมาก
• เกิดความร้อนสูงทำให้แก้มยางฉีกขาดได้ง่าย
• ทำให้พวงมาลัยหนัก
• ทำให้ดอกยางทางด้านข้างทั้งสองสึกหรอเร็วกว่าปกติ

22
ถ้าแรงดันลมยางมากเกินไป จะทำให้
• ทำให้เกิดการลื่นไถลได้ง่าย ทำให้ความสามารถในการเกาะถนนน้อยลง
• ทำให้ดอกยางตรงกลางสึกหรอเร็วกว่าปกติ
• ทำให้การขับขี่ไม่นิ่มนวล

คำแนะนำ
• ตรวจลมยางขณะยางเย็นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และปรับให้ได้ตามค่ากำหนด
• ห้ามปล่อยลมยางออกขณะยางร้อน เนื่องจากขณะร้อนจะมีลมยางสูงกว่าปกติ
• ตรวจฝาครอบวาล์วเพื่อป้องกันยางรั่วซึม
• ยางล้อคู่ต้องมีลมยางเท่ากัน
• ใช้อัตราลมยางให้เหมาะสมกับน้ำหนักบรรทุก

น้ำหนักบรรทุกและความดันลมยางของยางขนาดต่างๆ

น้ำหนักบรรทุกสูงสุด น้ำหนักบรรทุกสูงสุด ความดันลมยางสูงสุด
ขนาดยาง ต่อเพลา (กิโลกรัม) ต่ อ คั น (กิ โ ลกรั ม ) (ปอนด์/ตารางนิ้ว)

ล้อเดี่ยว ล้อคู่ 6 ล้อ 10 ล้อ 6 ล้อ 10 ล้อ

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
7.00 R16 2,570 5,000 7,570 - 85 85
7.50 R16 3,000 5,800 8,800 - 100 100
8.25 R16 3,600 6,800 10,400 - 100 100
9.00 R20 5,000 9,200 14,200 23,400 150 105
10.00 R20 6,000 10,900 16,900 27,800 120 120
11.00 R20 6,700 12,000 18,700 30,700 120 120
11 R22.5 6,300 11,600 17,900 29,500 115 115
295/80 R22.5 7,100 12,600 19,700 32,300 125 125


ฝาครอบจุ๊บเติมลมสิ่งที่ผู้ขับขี่มองข้าม
ถ้าไม่ใส่ฝาครอบจุ๊บเติมลมจะทำให้ลมยางอ่อนจากการรั่วซึมอย่างเช่นในกรณีไส้ไก่
เสียหาย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันฝุ่น ทรายเกาะติดบริเวณไส้ไก่

23
ตรวจความสึกหรอของดอกยาง













ถ้าดอกยางเหลือน้อยกว่า 1.6 มิลลิเมตร ควรเปลี่ยนยางใหม่

วันผลิตยาง
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง




12 = สัปดาห์ของปีที่ผลิต
03 = ปี ค.ศ. ที่ผลิต





จากตัวอย่าง ยางเส้นนี้ผลิตเมื่อสัปดาห์ที่ 12 ของปี ค.ศ. 2003

24
2.6 ตรวจระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
จุดที่ผู้ขับขี่จะต้องตรวจ
• รอยรั่วซึมของน้ำมันเชื้อเพลิงตามจุดต่างๆ
• น้ำในหม้อกรองดักน้ำ
• ไส้กรองอากาศ











คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง







ปลั๊กถ่ายน้ำ

• กรองดักน้ำเป็นอุปกรณ์ที่ใช้แยกน้ำออกจากน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำปน
กับน้ำมัน เพราะถ้ามีน้ำปนจะทำให้ปั๊มและหัวฉีดเสียหาย
• ตรวจสอบโดยการคลายปลั๊กถ่ายน้ำออก

25
ตรวจไส้กรองอากาศ

ปุ่มปรับตั้ง

เครื่องชี้สภาพกรองอากาศ





เครื่องยนต์บางรุ่นจะมีหลอดไฟเตือนกรองอากาศอยู่ที่แผงหน้าปัด ถ้าไฟเตือนติดขึ้นมา
ต้องทำความสะอาดหรือเปลี่ยนกรอง บางรุ่นจะมีเครื่องชี้สภาพกรองอากาศติดอยู่ที่ข้าง
กรองอากาศ ถ้าสัญลักษณ์สีแดงติดให้ถอดไส้กรองออกมาทำความสะอาดและหลังจาก
ทำความสะอาดแล้ว ให้กดปุ่มปรับตั้งที่เครื่องชี้สภาพให้สัญลักษณ์สีเหลืองติดขึ้นมาแทน

การทำความสะอาดไส้กรองอากาศ

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง







• ห้ า มเคาะไส้ ก รองอากาศเพื่ อ ขจั ด ฝุ่ น ละออง เพราะจะทำให้ ไ ส้ ก รองบิ ด เบี ้ ย ว

และเสียหาย
• ใช้ลมที่มีความดันไม่เกิน 100 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป่าจากด้านในออกมา พร้อมทั้ง
หมุนไส้กรองไป-มาด้วย
• อย่าใช้ลมเป่าที่ผิวด้านนอกของไส้กรองอากาศ เพราะลมจะดันฝุ่นละอองให้ทะลุ
เข้าไปอยู่ด้านใน

26
2.7 ตรวจน้ำมันเครื่อง




ต่ำสุด “L”
สูงสุด “H”

ตรวจระดับน้ำมันเครื่องและสภาพ
• ดึงก้านวัดระดับน้ำมันเครื่องออกและเช็ดด้วยผ้าสะอาด
• ใส่เหล็กวัดกลับเข้าไปอีกครั้งและดึงออกมา
• ถ้าระดับน้ำมันเครื่องอยู่ระหว่างขีดสูงสุดกับขีดต่ำสุดแสดงว่าระดับปกติ
• ถ้าระดับน้ำมันเครื่องอยู่ต่ำกว่าขีดต่ำสุด ให้เติมน้ำมันเครื่อง และต้องระมัดระวัง
อย่าเติมให้สูงกว่าขีดสูงสุด

ถ้าเติมน้ำมันเครื่องมากเกินไปจะมีผลเสีย ดังนี้
• เครื่องยนต์เร่งไม่ขึ้น

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
• เครื่องยนต์ร้อนจัด
• ทำให้ซีลหน้า–หลังเพลาข้อเหวี่ยงรั่วได้ง่าย
• สิ้นเปลืองน้ำมันเครื่อง
• เครื่องยนต์เกิดการสึกหรอมาก

ถ้าเติมน้ำมันเครื่องน้อยเกินไปจะมีผลเสีย ดังนี้
• ปั๊มน้ำมันเครื่องจะไม่สามารถดูดน้ำมันเครื่องไปหล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ได้ทั่วถึง
ทำให้ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์เกิดการสึกหรออย่างรวดเร็ว

การตรวจสภาพน้ำมันเครื่อง
• ให้ สั ง เกตสภาพของน้ ำ มั น เครื่ อ ง
ฝากันฝุ่น
ถ้าพบว่าสกปรกมากควรเปลี่ยนใหม่
กระปุกเก็บน้ำมัน

ตรวจน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ สูง
ต่ำ

27
ตรวจระดับน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์และสภาพ
• ทุกครั้งที่เติมน้ำมันต้องใช้ชนิดและยี่ห้อเดียวกัน ถ้าใช้หลายชนิดผสมกันจะทำให้

ซีลยางชำรุด
• ทำความสะอาดฝาปิ ด ก่ อ นเปิ ด ทุ ก ครั ้ ง เพื่ อ ป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ ส ิ่ ง สกปรกตกเข้ า ไป

ในถังเก็บ
• ถ้าระดับน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์สูงเกินไปจะทำให้เกิดฟองอากาศภายในระบบ

ระยะฟรี





ตรวจในขณะติดเครื่องยนต์หมุนพวงมาลัยไปมาแต่อย่าให้ล้อขยับ ถ้ามากเกินกว่า

ค่ากำหนดอาจเกิดจากลูกหมากสึกหรอมาก หรือระยะฟรีที่กระปุกพวงมาลัยมากเกินไป

ต้องนำรถไปให้ช่างทำการปรับตั้งใหม่

2.8 ตรวจเสียงดังตามจุดต่างๆ
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง











ติดเครื่องยนต์เพื่อตรวจเสียงดังตามจุดต่างๆ ได้แก่ เสียงวาล์วดัง เสียงลูกปืนปั๊มน้ำดัง
เสียงลูกปืนไดชาร์จดัง และเสียงท่อไอเสียดัง ให้ทดลองเหยียบคลัตช์เพื่อตรวจดูว่ามีเสียงดัง
หรือไม่ ในขณะขับรถผู้ขับขี่จะต้องหมั่นสังเกตอาการของรถตลอดเวลา ถ้าพบว่ามีอาการ

ผิดปกติจะต้องนำรถจอดในที่ปลอดภัยเพื่อตรวจหาสาเหตุของความผิดปกตินั้นมาจากจุดใด

28
3. เทคนิคการขับรถประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง

ผู ้ ขั บ ขี่ นั บ ว่ า มี ส่ ว นสำคั ญ ที่ สุ ด ในการทำให้ ป ระหยั ด น้ ำ มั น เชื ้ อ เพลิ ง ต่ อ ไปนี ้ เ ป็ น

คำแนะนำในการขับรถประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
• ศึกษาคู่มือก่อนการใช้รถ
• วางแผนการเดินทางล่วงหน้า ศึกษาเส้นทางให้ดี และเลือกเวลาที่ใช้รถ (ถ้าเลือกได้)
• ขณะที่เครื่องยนต์ติดใหม่ๆ ไม่ควรเบิ้ลคันเร่งทันที
• ขณะที่ เ ครื่ อ งยนต์ ส ตาร์ ท ติ ด ใหม่ ๆ ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งอุ่ น เครื่ อ งอยู่ กั บ ที่ น าน ทั น ที

ที่ เ ครื่ อ งยนต์ เ ดิ น เรี ย บก็ ค่ อ ยๆ ขั บ รถออกไปได้ แ ต่ อ ย่ า เพิ่ ง ใช้ ค วามเร็ ว สู ง

รอจนกระทั่งเครื่องยนต์ร้อนถึงอุณหภูมิทำงานปกติเสียก่อน
• ออกรถอย่างนิ่มนวลทุกครั้งโดยค่อยๆ เหยียบคันเร่งเบาๆ
• ใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับสภาพถนนและการขับขี่เปลี่ยนเกียร์ให้ชำเลืองมองดูเกจวัด
รอบให้อยู่ในเขตสีเขียว หลีกเลี่ยงการขับรถลากเกียร์
• อย่าเปลี่ยนช่องทางเดินรถไปมาตลอดเวลาโดยไม่จำเป็น
• หลีกเลี่ยงการติดเครื่องยนต์เดินเบาทิ้งไว้นานๆ
• หลีกเลี่ยงการบรรทุกสิ่งของที่ไม่จำเป็นไว้ในรถ
• อย่าวางเท้าบนแป้นคลัตช์ขณะขับรถ จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมาก

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
• เติมแรงดันลมยางให้ได้ตามค่าที่กำหนด
• เลือกยางให้เหมาะสม ยางเรเดียลจะมีแรงเสียดทานน้อยกว่า ประหยัดน้ำมัน

เชื้อเพลิงกว่า
• ตรวจศูนย์ล้อหน้า จะช่วยลดแรงเสียดทาน ทำให้ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง

ถ้าศูนย์ล้อไม่ดีจะเพิ่มแรงเสียดทานและยางสึกหรอเร็ว
• ชุดสปอยเลอร์ติดหลังคาจะช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ถ้ามีการปรับตั้งถูกต้อง
• ถ้าเบรกติดจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมาก ควรตรวจเบรกตามกำหนดเวลา
• ทำความสะอาดไส้กรองอากาศอยู่เสมอ
• เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามกำหนดเวลา

29
4. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อรถเสีย

ปัญหารถเสียที่เกิดขึ้นบ่อยๆ
• เครื่องยนต์ร้อนจัด
• ยางแบน
• ยางระเบิด
• แบตเตอรี่ไฟหมด
• เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด
• ระบบไฟแสงสว่างไม่ติด
• ไฟไหม้รถ
• กระจกหน้าแตก
• แอร์ไม่เย็น
• เบรกแตก
• ล้อหลุด
• น้ำมันเชื้อเพลิงหมด
• ลูกปืนล้อแตก
• คลัตช์ลื่น
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง


คำเตือน ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะเครื่องร้อนโดยเด็ดขาด

4.1 การพ่วงแบตเตอรี่

โครงรถ

แบตเตอรี่ไม่มีกระแสไฟ แบตเตอรี่ซึ่งมีกระแสไฟเต็ม

30
การพ่วงแบตเตอรี่ มีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
1. ดับเครื่องยนต์รถคันที่จะให้พ่วง (แบตเตอรี่มีไฟเต็ม)
2. นำปลายสายพ่วงสีแดงคีบเข้ากับขั้วบวกของแบตเตอรี่รถคันที่ไฟหมดก่อน จากนั้น
นำปลายสายพ่วงอีกด้านหนึ่งคีบเข้ากับขั้วบวกของแบตเตอรี่ที่ไฟเต็ม
3. นำปลายสายพ่วงสีดำคีบเข้ากับขั้วลบของแบตเตอรี่รถคันที่ไฟเต็ม จากนั้นนำปลาย
สายพ่วงอีกด้านหนึ่งคีบเข้ากับตัวเครื่องยนต์หรือโครงรถ
4. สตาร์ทเครื่องรถคันที่แบตเตอรี่ไฟเต็มก่อน ต่อมาให้สตาร์ทรถคันที่แบตเตอรี่

ไฟหมด
5. เมื่ อ เครื่ องยนต์ต ิด แล้ว ถ้ า รถคั น ที่ไ ฟหมดมีก ล่องควบคุ ม ให้ เ ปิ ด แอร์ก่อ นเพื่อ
ป้องกันไม่ให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียหาย และให้ถอดสายพ่วงย้อนกลับขั้นตอน
การใส่

4.2 เครื่องยนต์ร้อนจัด

เข็มขัดรัดท่อน้ำ
ไม่แน่น
เกิดสนิมที่โพรงน้ำในเสื้อสูบ วาล์วน้ำชำรุด
ถังน้ำบนมีรอยร้าวและรั่ว
ท่อยางหม้อน้ำ

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
อันบนชำรุด ฝาปิดหม้อน้ำชำรุด


ปะเก็นรั่ว ท่อน้ำในหม้อน้ำอุดตัน

สายพานพัดลมหย่อนหรือขาด

ใบพัดลมไม่แน่น
ลูกปืนปั๊มน้ำสึกหรอมาก

ซีลปั๊มน้ำรั่ว

ใบพัดปั๊มน้ำแตก

น้ำรั่วรอบๆ ท่อยาง

ท่อน้ำในหม้อน้ำรั่ว

รั่วภายนอก ก๊อกถ่ายน้ำรั่ว
ท่อยางหม้อน้ำ
รั่วภายใน อันล่างยุบตัว ตัวหล่อเย็นน้ำมันเกียร์รั่ว


สาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เครื่องยนต์ร้อนจัด

31
4.3 ยางระเบิด
สาเหตุเกิดจาก
• ยางเสื่อมสภาพหรือหมดอายุการใช้งาน เช่น แก้มยางแตกลายงา บวม ฉีกขาด
ดอกยางหมด
• ยางเก่าเก็บ
• ใช้ความเร็วสูงกว่าอัตราที่ยางกำหนดไว้
• บรรทุกน้ำหนักเกินกว่าอัตราที่ยางกำหนดไว้
• สูบลมยางไม่ถูกต้อง
• แก้มยางเบียดกับฟุตบาท
• มีเศษหินอยู่ในซอกล้อหลัง

ไลเนอร์
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

ยางใน

ยางแบบไม่ใช้ยางใน ยางแบบใช้ยางในเมื่อตะปูทิ่มแทง
ลมภายในยางจะรั่วออกอย่างรวดเร็ว

32
หมวดที่ 2
พร้อมขับ
การเตรียมการก่อนเดินทาง

การบรรทุกและการขนถ่ายสินค้า :
“นอกเหนือจากความรับผิดชอบในเรื่องการขับขี่ให้ปลอดภัยแล้ว ผู้ขับขี่มืออาชีพ

ยังต้องรับผิดชอบในการบรรทุกและการขนถ่ายสินค้าให้ถูกต้องปลอดภัย เพราะผลของการ
บรรทุกมีผลต่อการขับรถด้วยเช่นเดียวกัน จึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน การบรรทุก
และขนถ่ายที่มีประสิทธิภาพและถูกต้องนั้น นอกจากจะแสดงถึงความเป็นมืออาชีพแล้ว

ยังมีผลโดยตรงต่อการทรงตัวและลดแรงกระทำจากกฎธรรมชาติอีกด้วย ในฐานะมืออาชีพ

ที่ต้องรับผิดชอบดังกล่าว จึงต้องเข้าใจและเรียนรู้วิธีการในการบรรทุกและการขนถ่ายติดตัว
เอาไว้บ้าง”
เรื่ อ งแรกๆ ที่ ต ้ อ งเข้ า ใจ คื อ การกระจายน้ ำ หนั ก บรรทุ ก ตามชนิ ด ของสิ น ค้ า

ตามประเภทของรถ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับน้ำหนักบรรทุกตามที่กฎหมายบังคับไว้

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
1) การบรรทุกสิ่งของประเภทหีบห่อ-การจัดเรียง และการกระจายน้ำหนักบรรทุก

(ดูรูปประกอบ)








2) การบรรทุกหีบห่อ หรือกล่องที่มีน้ำหนักมากๆ-เฉลี่ยน้ำหนักลงเพลาให้เท่าๆ กัน




33
3) การบรรทุ ก น้ ำ และของเหลว-เช่ น รถบรรทุ ก น้ ำ น้ ำ นม น้ ำ เชื่ อ ม น้ ำ มั น

และของเหลวอื่นๆ รถประเภทบรรทุกวัสดุอันตราย วัสดุไวไฟ หรือวัสดุมีพิษ หรือวัสดุประเภท
อาหารดื่มกิน รถเหล่านี้เจ้าของสินค้าจะมีกฎเกณฑ์กำกับรถ หรือไม่ก็จะทำการอบรม

พนั ก งานผู ้ ขั บ ขี่ ใ ห้ ม ี ค วามรู ้ ค วามเข้ า ใจ สามารถปฏิ บั ต ิ ง านได้ อ ย่า งปลอดภั ย ซึ่ ง ผู ้ ขั บ ขี ่

ต้ อ งให้ ค วามสนใจและปฏิ บั ต ิ ต ามกฎระเบี ย บอย่า งเคร่ง ครั ด เพราะสิ น ค้ า บางชนิ ด มิ ใ ช่

มีอันตรายเพียงแค่อุบัติเหตุ แต่ยังเกี่ยวเนื่องไปถึงอัคคีภัยร้ายแรงอีกด้วย
4) รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ (Freight Containers) :
◆ ตู้คอนเทนเนอร์ส่วนมาก จะมีขนาดกว้าง ยาว และสูงตามมาตรฐานสากล ISO

แต่ ก็ อ าจมี ข นาดเพี ้ ย นไปจากมาตรฐานแปลกปลอมปนมาได้ เ หมื อ นกั น



นอกจากนั ้ น ความสู ง ของคาน สะพาน หรื อ ทางด่ ว นลอยฟ้ า บนทางที่

จะสัญจรในบ้านเราก็ใช่ว่าจะสูงต่ำเท่ากันทุกจุดเสมอไป ผู้ขับขี่จึงต้องคำนึงถึง
และถือเป็นหน้าที่ตรวจสอบความสูงหลังจากการบรรทุกทุกครั้ง
◆ เมื่ อ บรรทุ ก แล้ ว พบว่ า น้ ำ หนั ก เกิ น กว่ า ที่ ก ฎหมายกำหนด หรื อ รถเกิ ด อาการ

เอี ย งไม่ ส มดุ ล เพราะการเฉลี่ ย น้ ำ หนั ก ของสิ น ค้ า ที่ บ รรจุ อ ยู่ ใ นตู ้ ไ ม่ ด ี พ อ

หากเป็นเช่นนี้ผู้ขับขี่ต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบโดยด่วน มิควรฝืน
ขับไปทั้งๆ ที่รู้ หรือเพราะเกรงใจ
◆ ต้ อ งล็ อ ก “เต้ า ล็ อ ก” หรื อ ใส่ ส ลั ก ล็ อ ก เพื่ อ ตรึ ง ตู ้ ต ิ ด กั บ คานบรรทุ ก ทุ ก ครั ้ ง

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

ก่ อ นออกเดิ น ทาง เพราะนี่ เ ป็ น ทั ้ ง การป้ อ งกั น อุ บั ต ิ เ หตุ และคุ ณ ธรรมของ



ผู้ขับขี่ควบคู่กันไป
5) รถบรรทุกปศุสัตว์ :
ระบบการขนส่ ง ที่ ด ี ท ี่ สุ ด คื อ

การกั้นเป็นช่องๆ เฉพาะตัวสัตว์ แต่หาก

ทำไม่ ไ ด้ ต้ อ งใช้ ว ิ ธ ี ผู ก โยงหั ว หั น เข้ า หา
กระบะบรรทุก (ดูรูปประกอบ)




34
6) การจัดเรียง และการผูกยึด-มีข้อที่ควรเข้าใจเป็นพื้นฐานดังนี้
◆ ความฝื ด ความลื่ น ของพื ้ น ผิ ว บรรทุ ก บนรถที่ แ ตกต่ า งกั น พื ้ น ผิ ว ที่ เ ป็ น เหล็ ก

หรื อ โลหะ จะมี ค วามลื่ น มากกว่ า พื ้ น ผิ ว ที่ เ ป็ น ไม้ พื ้ น ผิ ว บรรทุ ก บนรถที่



เป็นเหล็กหรือโลหะ ควรใช้ไม้รองป้องกันลื่น
◆ สำหรั บ สิ น ค้ า ที่ บ รรจุ อ ยู่ ใ นลั ง ใหญ่ ๆ และมี น ้ ำ หนั ก มากๆ ควรใช้ ไ ม้ ล ิ่ ม ค้ ำ ยั น

ป้องกันเลื่อนจะปลอดภัยกว่า (ดูรูปประกอบ)
ผูกยึด

ลิ่ม





◆ สินค้าหรือสิ่งของที่ขนส่งโดยใช้กระบะ (Pallets) มีข้อพึงระวังบางประการ

ที่ต้องใส่ใจไว้บ้าง กล่าวคือ ในเรื่องการผูกยึดเพื่อตรึงกระบะหรือกล่องหรือ
หีบห่อไม่ให้เลื่อนไปข้างหน้า ข้างหลัง หรือแกว่งออกด้านข้าง กระบะวางซ้อนกัน

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
ควรผู ก ตรึ ง ยึ ด ไว้ กั น การเลื่ อ นไถลทุ ก ชั ้ น โดยเฉพาะสิ น ค้ า ที่ ม ี น ้ ำ หนั ก มาก

การเฉลี่ยน้ำหนักบรรทุก การจัดการบรรทุก การผูกยึดที่ถูกต้อง มีผลโดยตรง
กั บ การสมดุ ล และการทรงตั ว ของรถ รวมทั ้ ง การจั บ เกาะถนน ตลอดจน

การเบรกของรถด้ ว ย การจั ด การบริ ห ารที่ ด ี เ ป็ น องค์ ป ระกอบหนึ่ ง ของ

การขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุ









นี่ก็เป็นอีกแบบหนึ่งของการบรรทุกและการผูกยึดที่ควรศึกษาไว้


35
หมวดที่ 2

เตรียมพร้อมก่อนขับ (1)

รู้จักทัศนคติและแนวความคิด :
“การเปลี่ยนที่ยากที่สุดของมนุษย์ คือ การปรับเปลี่ยนแนวความคิด และความเชื่อ

ที่ฝังติดตัวมาช้านาน และมิใช่ว่าทุกคนจะปรับเปลี่ยนทัศนคติแนวความคิดไปสู่จุดหมาย

ได้สำเร็จเท่ากัน หรือเหมือนกันทุกคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจ การอบรมสั่งสม
สังคม และความเชื่อเดิมๆ ที่เสมือนต้นทุนติดตัวมา มูลเหตุที่มาของอุบัติเหตุในประเทศไทย
มากกว่าครึ่ง เกิดจากพฤติกรรมที่มาจากความเชื่อและแนวความคิดมากกว่าความอ่อนด้อย

ทางทักษะ องค์กรที่ดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัย และวิทยากรทั้งไทยและเทศ ต่างมีความเห็น
ตรงกันว่า ทัศนคติหรือแนวคิดเกี่ยวกับการขับขี่เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง และพัฒนายากที่สุด

มีคนเพียงคนเดียวเท่านั้นที่จะทำสำเร็จ และคนๆ นั้นก็คือตัวผู้ขับขี่เอง”
ลองพิจารณา มูลเหตุของอุบัติเหตุหลักๆ ที่เกิดในบ้านเราดู จะรู้ว่า แท้ที่จริงแล้ว
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

พฤติกรรมที่นำไปสู่อุบัติเหตุนั้นมาจากพื้นฐานภายใต้แนวความคิดของผู้ขับขี่เสียเป็นส่วนใหญ่
อาทิเช่น :
◆ ขับรถเร็ว หรือใช้ความเร็วไม่สอดคล้องกับสถานการณ์

◆ ตัดหน้ารถอื่นในระยะกระชั้นชิด

◆ เมาขับ หรือขับทั้งๆ ที่เมา

◆ การแซงรถที่ไม่ปลอดภัย

◆ ขับรถจี้ท้ายรถคันหน้า

◆ ฝ่าฝืนสัญญาณไฟและเครื่องหมายจราจร

◆ ไม่ให้สัญญาณก่อนชะลอรถ เบารถ เบรกรถ หรือจะเลี้ยวรถ

ฯลฯ
การปรับเปลี่ยนทัศนคติหรือแนวความคิด เป็นเรื่องที่ผู้ขับขี่จะต้องทำและเอาชนะ

ตัวเอง อุปสรรคขวางกั้นที่สำคัญก็คือ ต้องฝืนใจตัวเอง ว่ากันว่าเป็นเรื่องยาก และที่ว่ายาก

ก็เพราะคนเรามักชอบตามใจตัวเอง รวมทั้งมักเข้าข้างตัวเองโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง

ดังนั้น การที่จะพัฒนาแนวคิดดังว่านี้ให้สำเร็จ ผู้ขับขี่ต้องมีความตั้งใจจริง มีปณิธานที่แน่วแน่
ต่อไปนี้เป็นแนวคิดพื้นฐานสำหรับผู้ที่ตั้งใจจะปรับเปลี่ยนทัศนคติหรือแนวคิด :

36
1) ความเชื่อกับความเป็นจริงอาจไม่ใช่สิ่งเดียวกัน :
◆ เช่น เชื่ อ ว่ า อุ บั ต ิ เ หตุ จ ากการใช้รถใช้ถนนเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ (เพราะ

ผู ้ ขั บ ขี่ ส่ ว นมากเคยเกิ ด อุ บั ต ิ เ หตุ ม าแล้ ว ) แต่ ค วามจริ ง อุ บั ต ิ เ หตุ เ ป็ น สิ่ ง

ที่ป้องกันได้
◆ เช่ น เชื่ อ ว่ า เราทำผิ ด หรื อ ฝ่ า ฝื น กฎ หรื อ ระเบี ย บน้ อ ยมาก แต่ ค วามจริ ง

เราอาจทำหรือฝ่าฝืนเป็นประจำ
◆ เช่ น เราเชื่ อ ว่ า เราไม่ เ คยฝ่ า ไฟเหลื อ ง แต่ ค วามจริ ง ก็ ฝ่ า แทบทุ ก ครั ้ ง

(ถ้ามีโอกาส)
◆ เช่ น เราเชื่ อ ว่ า เราขั บ รถเก่ ง กว่ า คนอื่ น แต่ ค วามจริ ง เราขั บ ไม่ เ ก่ ง เท่ า ที่ คุ ย

(นิสัยขี้คุย)
◆ เช่ น เราเห็ น และเชื่ อ ว่ า คนอื่ น ขั บ รถไม่ ม ี น ้ ำ ใจ แต่ ค วามจริ ง เราก็ ไ ม่ เ คย

ให้ทางแก่ใครเหมือนกัน
เราต้องแยกความเชื่อออกจากความจริง และยึดถือความจริงเป็นหลัก ถ้าเอาความเชื่อ
มาเป็นความจริง นั่นหมายความว่า เรากำลังหลงทาง
2) การปรับเปลี่ยน “การยอมรับ” เป็น “ความคิด” :
◆ เราและสั ง คมยอมรั บ ได้ ไ หมว่ า ทุ ก ปี ม ี ค นต้ อ งตายบนท้ อ งถนนเพราะ

อุบัติเหตุ ไม่ต่ำกว่า 10,000 คน

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
◆ เราและสั ง คมยอมรั บ ได้ ไ หมว่ า มี ผู ้ บ าดเจ็ บ จากอุ บั ต ิ เ หตุ วั น ละไม่ ต่ ำ กว่ า

160 คน
หากเราและสังคมรับได้ และถือเป็นเรื่องปกติ นั่นหมายถึงว่า เราและสังคมขาดแรง
กระตุ้นที่จะพัฒนาแนวความคิดด้านความปลอดภัย ทิ้งไว้ให้โชคชะตาดูแลแทน ผู้ขับขี่ต้องมี
ปณิธานที่แน่วแน่ไม่ขอมีส่วนร่วมในสถิติที่กล่าวถึง ผู้ขับขี่ต้องคิดให้ได้ว่า อุบัติเหตุไม่ใช่ของ
ไกลตัว จะมาถึงเมื่อไหร่ก็ได้ ถ้าไม่ได้ป้องกัน หรือเตรียมพร้อมเอาไว้...นี่คือการเตรียมพร้อม
ก่อนขับรถอีกทางหนึ่ง

37
หมวดที่ 2

เตรียมพร้อมก่อนขับ (2)

การบริหารจัดการกับความเหนื่อยล้า :
“ผู้ขับขี่ส่วนมาก มักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับสัญญาณเตือนของความเหนื่อยล้า และ
ส่วนมากอีกเช่นกันที่ชอบฝืนใจฝืนขับ ผลัดผ่อนไปเรื่อย...อีกสักประเดี๋ยวน่า! ...เดี๋ยวจะไม่ทัน
บ้างล่ะ ทำเหมือนกลัวว่าจะไปไม่ทันอุบัติเหตุ โดยสัจธรรมแล้ว ความเหนื่อยล้าเกิดแก่ทุกคน
ที่ทำงาน เพียงแต่มากกว่าหรือน้อยกว่ากันตามชนิดและเนื้องาน ทุกปัญหาที่เกิดได้ก็ย่อมต้อง
แก้ได้หรือมีทางแก้ สุดแต่ว่าเราได้พยายามแล้วหรือยัง การบริหารจัดการกับความเหนื่อยล้า
เป็นเรื่องสำคัญในการขับรถเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ”

ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าคืออะไร? :
ก่อนจะจัดการบริหารแก้ไข ผู้ขับขี่ต้องเข้าใจเสียก่อนว่าความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าคือ
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

อะไรและมีต้นตอมาจากไหน ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าวัดได้จากความรู้สึกและพฤติกรรม
◆ ความเหน็ ด เหนื่ อ ยเมื่ อ ยล้ า คื อ ความอิ ด โรย อ่ อ นเพลี ย ภายหลั ง จากทำงาน

หรือขับรถ
◆ ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า คือ การรู้สึกเหนื่อย ง่วงนอนอย่างมาก และต้องการ

พักผ่อน
◆ ความเหน็ ด เหนื่ อ ยเมื่ อ ยล้ า คื อ รู ้ ส ึ ก เหมื อ นไม่ ม ี ก ำลั ง วั ง ชา เฉื่ อ ยชา ท้ อ แท้

ไม่อยากทำการงาน ผลัดวันประกันพรุ่งฯ
◆ ความเหนื่ อ ยล้ า ทางอารมณ์ จ ะสะท้ อ นถึ ง ความอ่ อ นแอทางอารมณ์ ท ำให้ ข าด

แรงกระตุ้นฯ

สัญญาณทางร่างกายที่บ่งบอกถึงความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า :
◆ สมรรถนะและประสิทธิภาพในการทำงานหรือการขับรถลดลง
◆ ความอ่อนเพลียทางร่างกายและจิตใจ
◆ หาวและรู้สึกง่วงนอน/อยากนอน
◆ ความจำแย่ลง หลงๆ ลืมๆ อาจจำไม่ได้ว่าขับผ่านอะไรมาบ้างในช่วง 2-3 กิโลเมตร

ที่ผ่านมา
38
◆ สายตาพร่ามัว
◆ หงุดหงิดง่าย/ใจร้อน
◆ ประสาทสั่งการช้า/คิดช้า
◆ โกรธง่าย/ฉุนเฉียว
◆ เข้าเกียร์ผิดๆ ถูกๆ
◆ รถส่ายไปมา หรือคร่อมเลน

สิ่งที่ต้องเข้าใจ ข้อควรคำนึง และแนวทางแก้ ไข :
1) การนอน–การนอนไม่พอ หรือการนอนที่ไม่สมบูรณ์ เป็นเหตุข้อใหญ่ข้อหนึ่งของ
ความเหน็ ด เหนื่ อ ยเมื่ อ ยล้ า เพราะร่ า งกายต้ อ งการการพั ก ผ่ อ นเพื่ อ ชดเชย

ส่วนบกพร่องที่ขาดไป ในแง่ของสรีรศาสตร์ร่างกายมีความจำเป็นต้องหลับนอน
และความต้องการในการพักผ่อนนอนหลับของร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามวัย

และสภาพร่างกายของแต่ละคน หลักเกณฑ์ในการนอนที่ดี หรือสมบูรณ์ คือ
◆ พยายามนอนให้ตรงเวลา และให้มากพอ (6-7.5 ชั่วโมง)

◆ หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ

◆ ไม่นอนหลับในเวลากลางวันมากเกินไป

◆ ความรู้สึกผ่อนคลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้นอนหลับดี...พยายามทำ!

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
◆ เลื อ กรั บ ประทานอาหารชนิ ด ที่ ไ ม่ ม ี ไ ขมั น สู ง ควรเลื อ กอาหารประเภทที ่

ย่อยง่ายๆ และไม่มากเกินไป
◆ การนอนในเวลากลางวั น ส่ ว นมากมั ก จะไม่ ส มบู ร ณ์ เ พราะหลั บ ไม่ ส นิ ท

ถ้าต้องนอนในเวลากลางวัน พยายามขจัดสิ่งและเสียงรบกวนออกไป พยายาม


ทำห้ อ งนอนให้ ส บายที่ สุ ด บอกครอบครั ว ให้ เ ข้ า ใจถึ ง ความจำเป็ น ที่ ต ้ อ ง

นอนกลางวัน ไม่เปิดวิทยุ หรือโทรทัศน์ทิ้งไว้
2) การออกกำลั ง กายที่ พ อเหมาะและสม่ ำ เสมอ-เป็ น สิ่ ง ที่ ด ี แ ละสำคั ญ มากๆ

ในการต่อต้านความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า แต่คนไม่มากนักหรอกที่ทำได้จริงๆ
เพราะต้องฝืนใจและเอาชนะตัวเอง ทำได้เมื่อใดเมื่อนั้นท่านจะได้คำตอบด้วยตัวเอง
3) การบริหารการเดินทาง–ผู้ขับขี่ต้องใส่ใจและจัดการกับความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า
ของตน จะต้ อ งรู ้ แ ละรั บ ผิ ด ชอบว่ า ขั บ รถเกิ น กำหนด เกิ น เวลาที่ จ ะหยุ ด พั ก

หรื อ ไม่ อย่า งไร คิ ด ถึ ง ความรั บ ผิ ด ชอบที่ ม ิ ใ ช่ม ี เ พี ย งแค่ตั ว เอง ต้ อ งรวมไปถึ ง
ครอบครัว และผู้อื่นด้วย
ฝากสิ่งที่ต้องเข้าใจ ข้อควรคำนึง และแนวทางแก้ไขที่กล่าวรวมๆ มาให้ท่านพิจารณา
ในฐานะมืออาชีพเพื่อหาทางออกให้กับตัวเอง

39
หมวดที่ 2

เตรียมพร้อมก่อนขับ (3)

เหล้า (สุรา) เมาขับ :


“เมาเป็นมูลเหตุของอุบัติเหตุทางถนน ลำดับที่ 1 ในช่วง 7 วันอันตราย ทั้งในช่วง
สงกรานต์ และช่วงฉลองปีเก่าปีใหม่ทุกปี นอกจากนี้ยังมีดีกรี รองแชมป์ไม่เกินอันดับ 5 จาก
ค่าเฉลี่ยของมูลเหตุทั้งปี จากสถิติข้อเท็จจริงรวบรวมโดย มูลนิธิเมาไม่ขับ และ สสส. ระบุว่า
กว่ า ครึ่ ง หนึ่ ง ของอุ บั ต ิ เ หตุ ท ี่ เ กิ ด ขึ ้ น มี ส าเหตุ ม าจากการเมาแล้ ว ขั บ และมี ค นไทย

เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเมาแล้วขับเฉลี่ยปีละ 6,534 คน หรือเฉลี่ยวันละประมาณ 18 คน
(ข้อมูลระหว่างปี 2543-2549) เป็นข้อมูลที่น่าตกใจ แต่ผู้ขับขี่ส่วนมากก็ยังไม่หวั่นไหว

ยังสมัครใจเดินตามรอยไปโดยไม่ยั้งคิด”
ประเทศไทยกำหนดระดั บ แอลกอฮอล์ใ นเลื อ ดไว้ ไ ม่เ กิ น 50 มิ ล ลิ ก รั ม เปอร์เ ซ็ น ต์

(50 มก.%) เกินกว่านี้ถือเป็นผู้ขับขี่ที่เมาสุราและมีความผิดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ วิธีการ
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

ตรวจหาระดับแอลกอฮอล์ในเลือดปัจจุบันกระทำโดย 3 วิธีหลักๆ คือ


◆ ทางลมหายใจ โดยเป่าลมออกจากปากเข้าไปในเครื่องตรวจ

◆ ทางเลือดโดยตรง

◆ ทางปัสสาวะ


เปรียบเทียบระดับแอลกอฮอล์ในเลือดกับโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุจราจร :

ระดับแอลกอฮอล์
โอกาสเกิดอุบัติเหตุเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มสุรา
ในเลือด (มก.%)
20 ใกล้เคียงกับคนไม่ดื่มสุรา
50 โอกาสเกิดอุบัติเหตุเพิ่มเป็น 2 เท่า
80 โอกาสเกิดอุบัติเหตุเพิ่มเป็น 3 เท่า
100 โอกาสเกิดอุบัติเหตุเพิ่มเป็น 6 เท่า
150 โอกาสเกิดอุบัติเหตุเพิ่มเป็น 40 เท่า
มากกว่า 200 ไม่สามารถวัดได้ เนื่องจากควบคุมการทดลองไม่ได้

(ข้อมูลเผยแพร่โดย มูลนิธิเมาไม่ขับ/สสส.)

40
ข้อคิดและข้อแนะนำ :
1) ไม่ดื่มในขณะขับรถ หรือก่อนขับรถจะเป็นการดีที่สุด สุราและความเมาเป็นที่มา
ของปัญหาสังคมมากมาย การทะเลาะวิวาทถึงเหตุฆ่ากันตาย ความแตกแยก

ในครอบครั ว คดี ข่ ม ขื น ชำเรา อุ บั ต ิ เ หตุ จ ราจร ตลอดจนปั ญ หาเศรษฐกิ จ ใน
ครอบครัว เงินหายากและอาจหาได้น้อยด้วยแต่ต้องมาหมดไปเพราะเหล้า เงินที่
ต้องจ่ายไป อาจซื้อกับข้าวได้หลายมื้อ หรือเป็นค่าขนมให้ลูกไปโรงเรียนได้หลายวัน
ก็มีอันต้องหมดไปเพราะซื้อเหล้าให้ตนเอง เกียรติยศชื่อเสียง ความไว้เนื้อเชื่อใจ

ก็ย่อมยากที่จะรักษาไว้ได้ สิ่งที่กล่าวเล่ามาไม่จำเป็นต้องแจงให้ลึกกว่านี้ หรือ

ยังมีใครที่ยังไม่ประจักษ์ในสัจธรรมที่ว่านั้นก็ให้รู้ไป
2) สุขภาพร่างกายถูกเซาะทำลายไปทีละน้อย จนบางคนกลายเป็นคน “สิ้นสภาพ”

ไปเลยก็มี การขับรถเป็นงานหนักตรากตรำจำต้องใช้พละแรงกายและสมาธิสูง

จึ ง จำเป็นที่จะต้องดูแลรักษาสุขภาพตัวเองไว้ให้ดีอยู่เสมอ ไม่ใช่คอยแต่หาสิ่ง

บ่อนเซาะมาทำลายตนเอง
3) ถ้าจะต้องดื่ม (อดไม่ได้) จะดื่มอย่างไร? :
ถ้ า หลี ก ไม่ พ ้ น หรื อ เลี่ ย งไม่ ไ ด้ ...และต้ อ งก่ อ นไม่ น ้ อ ยกว่ า 1 ชั่ ว โมงก่ อ นขั บ รถ

และต้องไม่มากกว่านี้ :
◆ สุรา 6 แก้ว ผสมสุราแก้วละ 1 ฝา (ฝาขวดสุรา)

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
◆ ไล้ท์เบียร์ 4 กระป๋อง หรือ 4 ขวดเล็ก

◆ เบียร์ปกติ 2 กระป๋อง หรือ 2 ขวดเล็ก

◆ ไวน์ 2 แก้ว (แก้วละ 80 ซีซี)

(ข้อมูลเผยแพร่โดย มูลนิธิเมาไม่ขับ/สสส.)

สำหรับชั่วโมงต่อไป ดื่มได้เพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนที่กล่าวมา หากดื่มในปริมาณมาก
กว่านี้จะมีแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด คือ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

รู้ว่ายากที่จะห้าม เพราะคนเรานั้นจะเปลี่ยนได้ต่อเมื่อใจพร้อมจะเปลี่ยน ฝากไปให้คิดเอง

ว่ามันคุ้มกันหรือไม่ที่จะเสี่ยงแลกกับอุบัติเหตุ ปัญหาทางสังคม และปัญหาทางเศรษฐกิจ

ในครัวเรือน หากคิดได้ แล้วลด ละ เลิก ก็ขอแสดงความยินดีไว้ล่วงหน้า

41
หมวดที่ 2

เตรียมพร้อมก่อนขับ (4)

การบริหารจัดการความเครียด
“ทุกวันนี้ คนเป็นโรคเครียดกันมาก และนับวันจะมากและมากขึ้นทุกทีด้วยปัญหาต่างๆ
ทั ้ ง ปั ญ หาเศรษฐกิ จ สั ง คม และการเมื อ ง โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง กั บ ผู ้ ท ี่ ใ ช้ ช ี ว ิ ต ขั บ รถอยู

บนท้องถนน เมื่อเร็วๆ นี้ มีรายงานจากกองสถิติสาธารณสุขว่า ปี 2551 มีผู้ป่วยทางจิต

รวมทั่วประเทศ 1,340,064 คน เฉพาะในกรุงเทพฯ ครองโควตาได้ถึง 144,193 คน บางราย


ป่วยถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง สถิติที่กล่าวมาเป็นตัวเลขที่เป็นทางการ

ยังไม่นับรวมถึงพวกเพี้ยนๆ อยู่นอกระบบ ซึ่งเชื่อว่ามีอีกมาก เห็นสถิตินี้แล้วทำให้เกิดความ
ห่วงใยมืออาชีพที่ต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนท้องถนนที่ต้องผจญกับแรงกดดันมากมายหลายอย่าง

ไม่ว่าจะเป็นสภาพการจราจร พฤติกรรมแย่ๆ ของผู้ขับขี่คนอื่นๆ รวมทั้งอากาศและทัศนวิสัย
ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด ความเครียดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

อารมณ์และสะสมอุณหภูมิเครียดให้กับผู้ขับขี่ตลอดเวลา ความเครียดมิใช่เพียงแค่ทางเดิน
ของอุบัติเหตุเท่านั้น แต่ยังแผ่รังสีอำมหิตไปถึงสุขภาพโรคภัยไข้เจ็บอีกมาก จำเป็นครับ
จำเป็ น ที่ จ ะต้ อ งรู ้ ว ิ ธ ี จั ด การกั บ ความเครี ย ดก่ อ นที่ จ ะสายและเลยเถิ ด ไปถึ ง อุ บั ต ิ เ หตุ

หรือถึงขั้นทำร้ายสังคม”

ปัญหาพื้นๆ และที่มาของความเครียดที่ต้องหาให้เจอและแก้ ไข :
◆ ความโกรธ?
◆ รถเสีย?
◆ ความรีบเร่ง?
◆ ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้?
◆ แรงกดดันเกี่ยวกับงาน?

ข้อคิดและการจัดการกับความเครียด :
ความโกรธ :
อาจถือได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชน เรื่องที่ทำให้โกรธแบบเดียวกันแต่มีผลกระทบ

42
ต่ อ อารมณ์ แ ละพฤติ ก รรมของคนแต่ ล ะคนไม่ เ หมื อ น หรื อ ไม่ เ ท่ า กั น ความโกรธทำให้
พฤติกรรมในการขับรถเปลี่ยนแปลงไป ขาดความยั้งคิด ตัดสินใจผิดพลาด (นึกได้ภายหลัง)
กล้าแลกกับความเสี่ยงที่อาจนำพาไปสู่อุบัติเหตุรูปแบบต่างๆ หรืออาจถึงขั้นติดคุกติดตะราง
ไปเลยก็ ม ี ยิ่ ง ในสภาวะการจราจรที่ แ ออั ด ติ ด ขั ด ไม่ เ ลิ ก ราอย่ า งทุ ก วั น นี ้ ด ้ ว ยแล้ ว

ถือเป็นเรื่องยากที่จะหลีกพ้นได้ โดยเฉพาะกับผู้ขับขี่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันตัวเองซึ่งในที่สุดก็ตกเป็น
“ทาสอารมณ์ ” และเมื่ อ เก็ บ สะสมไว้ ม ากๆ เข้ า ก็ ต กผลึ ก กลายสภาพเป็ น ความเครี ย ด

เป็นผู้ป่วยทางจิต บางรายหาทางออกที่นึกว่า “ใช่” ด้วยการใช้ยา สิ่งเสพติดผิดกฎหมาย

ที่กว่าจะรู้ว่าเดินทางผิดก็สายเกินแก้
ทางแก้ ไ ขฟื ้ น ฟู ท ี่ เ ป็ น รู ป ธรรม คื อ ยึ ด อยู่ กั บ ความจริ ง วิ เ คราะห์ ไ ด้ แ ละคิ ด เป็ น

เริ่มต้นด้วยการถามตัวเองว่า “อะไรที่ทำให้เราโกรธ และทำไมเราจึงโกรธ” เพราะเขาขับรถ
ปาดหน้า จี้ท้าย ไร้มารยาท ก้าวร้าว เห็นแก่ตัวฯ อย่างนี้ใช่ไหมที่ทำให้เราโกรธ? เหตุผลลึกๆ

ที่เราโกรธคืออะไร... ใช่ หรือไม่ที่เราเอาตัวเราเป็นตัวตั้งเป็นเกณฑ์ตัดสิน? เราเอากรอบ
กติกาของเราเข้าไปครอบเขาไว้ใช่ไหม? เขาจะต้องทำหรือเป็นไปตามกรอบความคิดของเรา

เราจึงจะชอบและไม่โกรธ...อย่างนั้นหรือ? แต่ความเป็นจริงที่เป็นสัจธรรมคือ :
◆ เราจะสร้างกรอบครอบผู้อื่นคนอื่นในท้องถนนทุกคนไม่ได้
◆ เราจะทำให้ทุกคนคิดเหมือนเราทุกคนก็ไม่ได้
◆ เราจะแบ่งแยกถนนไปตามพฤติกรรมของผู้ขับขี่แต่ละประเภทไม่ได้

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
◆ เราจะตัดสิทธิ์ไม่ให้เขาขับ หรือให้ไปขับขี่ในประเทศอื่นๆ ได้ไหม? ...ก็ไม่ได้อยู่ดีฯ
จากแนวคิ ด และวิ เ คราะห์ สู่ สั จ ธรรมความเป็ น จริ ง ว่ า ถึ ง อย่ า งไรเราก็ ไ ม่ ส ามารถ

หลุดพ้นไปจากสภาวะและพฤติกรรมที่เป็นอยู่ได้ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม ด้วยสัจธรรมที่

ว่ามาข้างต้น ผู้ขับขี่ที่ตั้งรับได้ย่อมมองเห็นทางออกที่จะระงับความโกรธได้จากพื้นฐานของ
การยอมรั บ ความเป็นจริง ยึดหลักของความอดทน อดกลั้น ถือเอาความปลอดภัยเป็น

เป้าหมาย ...ต้องทนให้ได้และคิดให้เป็น
พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ในโอวาทปาติโมกข์ เป็นคาถาบทแรก คือเรื่อง “ขันติ”
หมายถึง ความอดทน อดกลั้น ซึ่งเป็นความสำคัญยิ่งในการดำเนินชีวิตทุกขั้นตอน และเป็น
คาถาชีวิตที่ใช้ได้ตลอดกาล กล่าวได้ว่าทุกชีวิตที่ดำเนินอยู่บนโลกนี้ได้ต้องอาศัยความอดทน
เป็นพื้นฐาน ความอดทนที่จะไม่กลายเป็นความเครียดต้องเป็นความอดทนที่เต็มใจ ไม่ฝืนใจทน
ยอมรั บ ปั ญ หาและความเป็ น จริ ง ซึ่ ง จะเป็ น ไปได้ ก็ ต ้ อ งเริ่ ม ต้ น มาจากแนวความคิ ด และ
วิเคราะห์ของผู้ขับขี่เอง
บทสรุ ป ของทางแก้ ไ ข ต้ อ งคิ ด ให้ ไ ด้ ใช้ ค วามอดทน ต้ อ งอดได้ ทนได้ และ

ต้องทำใจให้ได้ จึงจะกำจัดความเครียดได้...โกรธให้โทษและเป็นทุกข์ การให้อภัยเป็น


คุณแก่ตัว...ท่านเป็นผู้เลือก

43
หมวดที่ 2

เตรียมพร้อมก่อนขับ (5)

รถเสีย :
“ไม่ใช่แค่รถเสียแล้วเครียดเท่านั้น แม้ยังไม่เสียแต่สภาพรถไม่พร้อม ก็เครียดไม่แพ้กัน
คนที่ เ คยมี ป ระสบการณ์ ร ถเสี ย ด้ ว ยสาเหตุ ป ระการทั ้ ง ปวงย่ อ มซาบซึ ้ ง ถึ ง อารมณ์ แ ละ
ความเครี ย ดนั ้ น ดี ยิ่ ง ไปเสี ย ในป่ า บนเขา ในท้ อ งถิ่ น ทุ ร กั น ดาร หรื อ กลางค่ ำ กลางคื น

แถมทางด่วนอีกหน่อย เชื่อว่าลืมยากทั้งที่อยากลืม...เครียดแน่ๆ ขับรถที่สภาพพร้อมพัง

จะบ่อนเซาะสมาธิไปตลอดทาง จนเหมือนคนเป็นโรคจิต”
ข้อคิดและการแก้ไข ไม่สู้ยากเย็นนัก ใช้หลักป้องกันไว้ก่อนกับหลักของความ “ใส่ใจ”
เป็นเครื่องมือ
◆ ตรวจรถ (อย่ า งตั ้ ง ใจ) ก่ อ นนำออกใช้ ง าน ลงทุ น ด้ ว ยความใส่ ใ จไม่ ล ำบากมาก

แต่ คุ ้ ม แน่ กั บ การป้ อ งกั น อุ บั ต ิ เ หตุ และความเครี ย ดระหว่ า งทาง พบข้ อ เสี ย

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

ข้อบกพร่องรีบแก้ไขเสียก่อน (สบายใจและไม่พะวง)
◆ ใช้ และตรวจสอบเสมอว่ารถที่ใช้ถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ฝ่าฝื นกฎจราจร

(ป้องกันความเครียดที่เกิดขึ้นจากความกลัวที่อาจต้องตกเป็นเหยื่อ?)

ความรีบเร่ง :
“ความรีบเร่งหรือรีบร้อนจะเพราะด้วยเหตุใดก็ตามนั้น นอกเหนือจากการเสี่ยงต่อ
อุบัติเหตุแล้ว ยังมีส่วนผลักดันให้ผู้ขับขี่พยายามฝ่าฝืนกฎและทำลายความดีงามที่เคยมี
อารมณ์ ห งุ ด หงิ ด ตะบะแตก โกรธง่ า ย เป็ น ทางเดิ น ของความเครี ย ดอี ก สายหนึ่ ง

ความเอื้อเฟื้อเอื้ออาทรต่อเพื่อนร่วมทางที่เคยมี ก็พลอยหลุดหายไปด้วย ...นานๆ เข้าก็จะ
กลายเป็นนิสัยที่เคยชิน”
ข้อคิดและการแก้ไข ต้องแก้ที่วินัยตัวเอง และความรับผิดชอบ บางคนไม่ยอมแก้ไขทั้งๆ
ที่สามารถทำได้ไม่ยาก เคยเห็นคุณพ่อท่านหนึ่งขับรถไปส่งลูกสาวตัวเล็กๆ ที่โรงเรียน สายทุกวัน
จนบางครั้งคุณครูเวรที่คอยรับคอยดูแลเด็กกลับไปแล้วก็เคย จนวันหนึ่ง คุณครูเองทนไม่ไหว
เลยพูดแบบหยิกแกมหยอกกับเด็กแต่หวังผลไปถึงคุณพ่อด้วย “หนูมาสายทุกวันเลยนะจ๊ะ
เพื่อนๆ ในห้องเขารอหนูอยู่แน่ะ ลองไปถามคุณแม่ดูว่าถ้าจะใช้บริการรถโรงเรียนก็ได้นะ”

44
ก็ยังสายต่อไปอีก รถโรงเรียนก็ไม่เอา ...เออแน่ะ แล้ววันแตกหักก็มาถึงในวันหนึ่ง เมื่อคุณครู
ทักว่ามาสายอีกแล้ว หนูน้อยก็โพล่งออกมาดังๆ พร้อมน้ำตาปริ่มๆ หนูตื่นเช้าแล้วก็แต่งตัวรอ
คุณพ่อทุกวัน แต่คุณพ่อซิคะ มัวแต่อ่านหนังสือพิมพ์ จิบกาแฟเป็นชั่วโมง หนูอายเพื่อน

เป็นยายสายเสมอของห้องเลยค่ะ ...แบบนี้เรียกว่าไม่เปลี่ยนพฤติกรรมเพราะความคุ้นเคย
เรื่องนี้ไม่ยาก หากเรามีความตั้งใจที่จะแก้ไขกันจริงๆ แค่การบริหารจัดการตัวเอง

ไม่เข้าข้างตัวเอง หรือหาข้ออ้างให้ตัวเอง ให้ความสำคัญในงานที่รับผิดชอบ แค่นี้ก็จบ

แม้มีความผิดพลาดที่คาดไม่ถึง หรือเพราะเป็นสิ่งที่เราควบคุมเองไม่ได้ ก็สามารถแก้ไขได้
ด้วยการจดบันทึกไว้ พร้อมที่จะชี้แจง และเมื่อประกอบกับประวัติในการทำงานดีก็ไม่มีอะไร

ที่ต้องห่วง เมื่อไม่ต้องห่วงก็มีความมั่นใจและไม่เครียด

ปัจจัยที่ ไม่สามารถควบคุมได้ :
“ปั จ จั ย ที่ ไ ม่ ส ามารถควบคุ ม ได้ มี ม ากหลายเหมื อ นกั น เช่ น ในเรื่ อ งทั ศ นวิ สั ย

ฝนตก แดดจ้า หมอกหนา ความมืด น้ำท่วม หรือขึ้นเขาลงเนิน รวมทั้งพฤติกรรมของผู้อื่น...
ควบคุมไม่ได้ แต่ทำให้เครียดได้ สิ่งทั้งหลายที่กล่าวมาไม่จำเป็นต้องชักตัวอย่างก็มองเห็นภาพ
เพราะเชื่อว่า ผู้ขับขี่แทบทุกคนเคยผ่านประสบการณ์อย่างนี้มาแล้ว แต่ที่ทั้งเคยและไม่เคย

คือเรื่องความเครียดและอุบัติเหตุที่แฝงมากับสิ่งที่เรามิอาจควบคุมได้”

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
การควบคุมและการแก้ ไขปรับตัว :
◆ หาทางลดความเสี่ยงโดยเร็วและทันการณ์ เช่น การหยุด หรือจอดรถในที่ปลอดภัย

รอเวลาหรือเปลี่ยนเส้นทาง (ถ้าทำได้)ฯ
◆ ตั้งสติ มีสมาธิ รักษาความพร้อมในการขับขี่ฯ

◆ หาข้อมูลและใส่ใจให้ความสำคัญก่อนเดินทางฯ


แรงกดดันเกี่ยวกับงาน :
“คนเราส่วนมากจะโทษงาน ว่าทำให้เกิดเหตุโน้นเหตุนี้ เช่น งานมันมาก งานมันเร่ง

งานมันยุ่ง งานน่าเบื่อ งานมากเงินน้อย เงินน้อยไม่คุ้มงาน สารพัดที่อัดเข้าไปหางาน ...นี่ละมัง
ที่ทำให้คนหลบเลี่ยงงาน หนีงาน? ทั้งๆ ที่ไปบอกเขาไว้ว่า ฉันชอบงานนี้ ...จริงๆ แล้วตัวงาน
ไม่ได้ทำให้คนเครียดหรอก คนนั่นแหละที่ทำให้งานยุ่งและเครียด”
การจัดลำดับความสำคัญของงาน เรียนรู้งาน รู้กฎให้ถ่องแท้ ปรึกษาและขอความช่วยเหลือ
จากผู้รู้หรือที่เขาเก่งกว่าฯ คือทางแก้ไขและป้องความเครียดไปพร้อมกัน

45
หมวดที่ 3

เทคนิคการขับรถปลอดภัยในสภาวการณ์ต่างๆ (1)

ความพร้อมในการขับรถของผู้ขับขี่ :
“คำกล่าวที่ใครอยากจะพิสูจน์ก็ได้ คือ ขาดอาหารอยู่ได้ถึง 3-4 อาทิตย์ ขาดน้ำ

อยู่ได้ถึง 3-4 วัน ทนอยู่ในความร้อนระอุได้ถึง 3-4 ชั่วโมง แต่ถ้าหลับในบนถนน คงอยู่ได้

ไม่เกิน 3-4 วินาที ไม่ว่าท่านจะมากมายด้วยความรู้ หรือมีความชำนาญเจนจัดเพียงใดก็ตาม
หากขาดความพร้อมในการขับขี่ก็ยากที่จะหนีอุบัติเหตุไปได้พ้น ผู้ขับขี่ส่วนมากล้วนเคยผ่าน
ประสบการณ์ ง่วง เบลอ วูบ ไม่มีสมาธิ ขาดสติเพราะอารมณ์ ผู้ขับขี่บางคนหรือหลายคน
ต้องอำลาโลกไปอย่างไม่มีทางแก้ตัวเพราะมูลเหตุดังที่กล่าวมา ความไม่พร้อมในการขับขี ่

เป็นศัตรูกับการขับรถปลอดภัยในทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นการสังเกตการณ์ การคาดการณ์ หรือ


การแก้ไขสถานการณ์ รถพลิกคว่ำ รถหมุน ชนประสานงา พาไปจบลงที่อุบัติเหตุชนิดร้ายแรง”

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

ความไม่พร้อมในการขับขี่แยกได้เป็น 3 สายพันธุ์ หรือ 3 พวก กล่าวคือ


สายพันธุ์ที่ 1 : เป็นความไม่พร้อมทางร่างกาย–เช่น อดหลับอดนอน อ่อนเพลีย การขับรถ
ยาวจนเกินกำลัง ตรากตรำทำงานหนัก พักผ่อนไม่พอเพียง ความง่วงโดยตรง
ความง่วงสะสม หลับใน และผลกระทบจากฤทธิ์ข้างเคียงของยาบางชนิด
สายพันธุ์ที่ 2 : ความไม่พร้อมเพราะสภาวะทางอารมณ์-หมายถึง ผู้ขับขี่เสียสมาธิไปด้วย
สภาวะทางอารมณ์ โดยเฉพาะเรื่องราวต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความวิตก หรือ
หมกมุ่ น ความฟุ ้ ง ซ่ า นรำคาญใจ ความโกรธ ความริ ษ ยาอาฆาต พู ด รั บ
โทรศัพท์มือถือ รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้า ความเร่งรีบ
หรื อ รี บ ร้ อ นโดยนิ สั ย ฯลฯ แน่ น อน
สมาธิ ท ี่ เ สี ย ไปย่ อ มมี ผ ลโดยตรงกั บ

การควบคุ ม รถควบคุ ม ทาง แก้ ไ ข



ไม่ทันกาล หลงลืม เผลอพลาด

46
สายพันธุ์ที่ 3 : พฤติกรรมเบี่ยงเบนของผู้ขับขี่ ว่ากันที่จริงแล้ว มันก็เกี่ยวกับสมาธิคล้ายๆ
กับสายพันธุ์ที่ 2 แต่ที่แตกต่างออกไปคือเป็นการเสียสมาธิที่เกิดขึ้นเพราะ

มีสิ่งอื่น หรือคนอื่นทำให้เสียสมาธิ พูดง่ายๆ ก็คือสิ่งอื่น หรือผู้อื่นดึงสมาธิไป
การแยกสมาธิที่เสียไปแบบนี้จะทำให้เราเข้าใจความผันผวนในอารมณ์ตนเองดีขึ้น
เช่น ทิวทัศน์ข้างทาง คนสวยคนงามเดินถนน แสง หรือเสียงแปลกๆ แม้กระทั่ง
หมากัดกัน เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นตัวเหตุดึงสมาธิไปจากผู้ขับขี่ได้ทั้งสิ้น
ยอมรับว่าการแก้ไขและพัฒนาเป็นเรื่องไม่ง่าย มันขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ความเชื่อมั่น

ในตั ว เองว่ า ทำได้ เคยทำ และศั ก ดิ์ ศ รี แ ห่ ง ตนคื อ ตั ว ถ่ ว ง บางคนเชื่ อ และทำได้ ต่ อ เมื่ อ

ได้ ผ่ า นบทเรี ย นมาแล้ ว หรื อ ด้ ว ยวั ย ที่ เ ปลี่ ย นไป ดั ง นั ้ น ต่ อ ไปนี ้ จ ะเป็ น ทั ้ ง ข้ อ ชี ้ แ จงและ

ข้อควรปฏิบัติ :

ผลกระทบที่เกิดจากความไม่พร้อมในการขับขี่ :
◆ ขาดสมาธิในการขับรถ (สมาธิเกินๆ ขาดๆ)
◆ ตัดสินใจช้า และผิดพลาด
◆ ขาดความรอบคอบ
◆ กระทบต่อการสังเกตการณ์ และการคาดการณ์ (ไม่สามารถแยกแยะสรรพสิ่ง

ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย อีกทั้งไม่สามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
ทันกาลทันเวลา)
◆ แก้ไขเหตุการณ์ล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์

◆ มักเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น การชนประสานงา หรือรถคว่ำ เป็นต้น

ฯลฯ

สัญญาณเตือนภัย :
สัญญาณเตือนภัย หรือลางบอกเหตุต่อไปนี้ เตือนว่าถึงเวลาที่จะต้องพัก ต้องหยุด
หรือหาทางแก้ไขแล้ว :
◆ เซื่องซึม ไม่กระปรี้กระเปร่า เหมือนเบื่อๆ อยากๆ

◆ จำไม่ได้ว่าขับผ่านอะไรมาบ้าง

◆ ฝ่ า ฝื น สั ญ ญาณและเครื่ อ งหมายจราจร

โดยไม่ ไ ด้ ตั ้ ง ใจ (ป้ า ยบั ง คั บ /ป้ า ยเตื อ น


เป็นต้น)
◆ ขับรถคร่อมเลน หรือผิดเลน

47
◆ ขับเลยเป้าหมาย
◆ หนังตาหนัก/ตาล้า
◆ หาวนอนบ่อยๆ
◆ เข้าเกียร์ผิด หรือใช้เกียร์ไม่สัมพันธ์กับความเร็ว
◆ ตกใจง่าย
◆ เบลอมองภาพไม่ชัด
◆ รู้สึกหูอื้อ ไม่ค่อยได้ยินเสียงแตกต่าง
◆ เกิดอาการวูบเป็นบางครั้ง
◆ เหมือนมีอาการเคลิ้มฝัน
◆ รู้สึกเมื่อยล้าตามแขนขา
ฯลฯ

การพัก/หยุดพัก :
ยั ง ไม่ ม ี ว ิ ธ ี แ ก้ ไ ขทางธรรมชาติ แ บบไหนที่ ใ ห้ ผ ลแน่ น อนเท่ า กั บ การหยุ ด พั ก หรื อ

พักนอนในที่ปลอดภัย (หลังพบสัญญาณเตือนดังที่ว่า)
โดยหลักปฏิบัติที่ถือเป็นสากล คือ ไม่ควรขับรถยาวต่อเนื่องกันเกินกว่า 4 ชั่วโมง

หรือไม่เกิน 300 กิโลเมตร สำหรับการขับรถในเวลากลางวันที่มีทัศนวิสัยเป็นปกติ สำหรับ
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

กลางคืน ไม่ควรขับรถต่อเนื่องเกิน 2 ชั่วโมง หรือไม่เกิน 150 กิโลเมตร และพักครั้งละ



ไม่น้อยกว่า 20 นาที สำหรับผู้มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป ควรพักให้มากกว่า 20 นาที

ทั้งนี้เพื่อการฟื้นคืนสภาพที่ใกล้เคียงดุจเดิม
อนึ่ง ภายหลังการนอน หรือระหว่างการพัก ควรออกกำลังกายเบาๆ เช่น ยืดแข้ง

ยืดขา สะบัดหรือแกว่งแขน เดินรอบๆ รถโดยถือโอกาสตรวจรถไปด้วย ดื่มน้ำเย็น และ



ล้างหน้าล้างตาก่อนออกเดินทางต่อไป
ลองคิดและปฏิบัติดู รับรองว่าผลที่จะเกิดขึ้นตามมา
คุ้มค่าคุ้มเวลาแน่นอน ...เลิกเถอะบรรดายาผิดกฎหมาย

ทั้งปวง เพราะมันมีทั้งโทษปัจจุบันและโทษในอนาคต



48
หมวดที่ 3

เทคนิคการขับรถปลอดภัยในสภาวการณ์ต่างๆ (2)

เทคนิคการขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุ :
“ต้องเข้าใจว่าผู้ร่วมใช้รถใช้ทางส่วนมากไม่ใช่มืออาชีพอย่างท่านทั้งหมด มืออาชีพ
อย่างท่านจำต้องแสดงทักษะ พฤติกรรม และทัศนคติที่ดี รวมทั้งความเอื้อเฟื้อเอื้ออาทร

ให้ประจักษ์เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมจราจร นักขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุมืออาชีพนั้น
นอกจากจะขับรถป้องกันอุบัติเหตุมิให้เกิดแก่ผู้อื่นแล้ว ยังต้องสามารถป้องกันอุบัติเหตุ

ที่เกิดจากความผิดพลาดของผู้อื่นให้ได้อีกด้วย”
การที่จะบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าว จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ขับขี่มืออาชีพจะต้องมีทักษะ
และฝึกฝนเทคนิค การขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุให้ถ่องแท้และปฏิบัติจนคุ้นเคยติดเป็นนิสัย

ทักษะการสังเกตการณ์ :

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
นักขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุจะต้องพัฒนาทักษะการสังเกตการณ์ให้เจนจัด จะต้อง

รู้ให้ได้ก่อนว่าสิ่งใด หรืออันตรายใดกำลังจะเกิดขึ้น หรือกำลังจะเกิดขึ้นตามมา แม้ว่า

ผู้ขับขี่จะมองไกลไปข้างหน้าก็จริง แต่อาจจะไม่ไกลพอที่จะเห็นจะทราบว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น
ตั้งแต่เนิ่นๆ จึงทำให้แก้ไขสถานการณ์ไม่ทันท่วงที ทั้งที่ควรจะมีเวลาเหลือเฟือในการแก้ไข

เหตุกะทันหันนั้นๆ อีกอย่างหนึ่งที่เป็นจุดด้อยของผู้ขับขี่ส่วนมาก คือการมองอย่างไม่ตั้งใจ

หรือแค่มองผ่านๆ ไป ไม่ผ่านขบวนการวิเคราะห์ทางสมอง เรียกว่าได้แต่แค่มอง แต่ไม่รู้

ความหมาย

ข้อแนะนำในการฝึกมองแบบมีทักษะ :
1) มองไปให้ไกลสุด ในระยะประมาณ 12-15 วินาที ซึ่งมีวิธีคิคง่ายๆ ดังนี้ เช่น

ขณะขั บ อยู่ ท ี่ ค วามเร็ ว 60 กิ โ ลเมตร/ชั่ ว โมง จะต้ อ งหาให้ ไ ด้ ว่ า 1 วิ น าที

รถวิ่งไปได้กี่เมตรเสียก่อน แล้วเอาผลที่ได้ว่ากี่เมตรนั้นไปคูณกับ 12-15 วินาที

ก็จะได้ระยะที่จะต้องมองไปไกลสุด รายละเอียดในการคำนวณเป็นอย่างนี้ครับ : 60
คูณ 1,000 (เมตร) หารด้วย 3,600 (วินาที) ผลที่ได้คือ 17 เมตรต่อ 1 วินาที แล้วเอา
17 ไปคูณ 12-15 วินาที ก็จะได้ระยะที่มองไปไกลสุด ประมาณ 204-255 เมตร

49
เมื่อได้ระยะที่มองไปไกลสุดแล้ว ก็สามารถหาจุดกึ่งกลางได้ด้วยวิธีกะแบ่งครึ่งเอา
(หารด้วย 2) จากจุดกึ่งกลาง มาถึงตัวรถ ก็แบ่งครึ่งอีกครั้ง (หาร 2 อีกครั้ง) เมื่อแบ่ง
ได้ครบตามที่กล่าวมา ก็จะได้โซนเพื่อใช้ฝึกมอง 3 โซน คือ จากจุดไกลสุด มาถึงจุด
กึ่งกลาง เรียกว่า “โซนไกล” จากจุดกึ่งกลางมาถึงจุดแบ่ง (ระหว่างจุดกึ่งกลางกับ
ตัวรถ) เรียกว่า “โซนกลาง” โซนที่เหลือที่ทอดมาถึงรถจึงได้ชื่อว่า “โซนใกล้”

วิธีการประยุกต์แบบนี้ถือว่าใช้ได้ ถ้าไม่ปวดหัวตายเสียก่อน
มีวิธีประยุกต์ที่ง่ายกว่า แต่ได้ผลไกล้เคียงกัน คือ เอา 5 เท่า หรือเอา 5 คูณกับ
ความเร็วที่เกจ์วัดความเร็วที่เห็นได้จากหน้าปัด ผลคูณได้เท่าไรก็ถือเป็นระยะ

มองไกลสุด (วิธีคิค ก่อนคูณก็ปัดขึ้นปัดลงซะก่อน เช่น เข็มความเร็วชี้อยู่ที่ 35
กิโลเมตร/ชั่วโมง ปัดลงมาที่ 30 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ถ้ามันชี้ไปที่ 36 กิโลเมตร/
ชั่วโมง ก็ปัดขึ้นไปเป็น 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง แล้วค่อยเอาไปคูณ 5 อย่างนี้ก็ง่ายขึ้น)

ต่อ จากนั ้ น ก็ ใ ช้ ร ะยะแบ่ง ดั ง ที่ ก ล่า วมา แยกเป็ น “โซนไกล” “โซนกลาง” และ

“โซนใกล้” ดูว่าจะง่ายกว่า
จุดประสงค์สำคัญในการแบ่งโซนที่กล่าวมา คือ การมองและแยกแยะหาสิ่งที่จะ
ก่อให้เกิดอันตรายและความเสี่ยงในแต่ละโซนอย่างทั่วถึงและรอบคอบ มิใช่ให้มาหัดคิดเลข
2) การมองกวาดตา
เมื่ อ ความเร็ ว ของรถเพิ่ ม ขึ ้ น ความสามารถในการมองเห็ น ด้ า นข้ า งจะลดลง

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

ยิ่งเร็วมากขึ้นเท่าใด ความสามารถในการมองเห็นด้านข้างก็จะลดลงมากเท่านั้น
การมองกวาดตาจึงเป็นการชดเชยภาพหรือข้อมูลที่เสียหรือขาดหายไปเพราะ
ความเร็วที่เพิ่มขึ้น เทคนิคสากลแนะให้มองกวาดตาประกอบการมอง 3 โซน
ทุกๆ 1-2 วินาที และมองอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
3) กระจก
อันตรายจากด้านข้างและด้านหลังก็มีได้ตลอดเวลาเช่นกัน จึงต้องฝึกปรือมอง
กระจก (ทั้ง 2 ด้าน) เพื่อเห็นข้างและรู้หลัง (รู้สภาวะการจราจรข้างหลัง) แนะนำ
ให้ฝึกมองทุกๆ 5-8 วินาที หรืออย่างน้อยๆ ก็ทุกๆ 10 วินาทีสำหรับการขับขี่
บนทางหลวง หรือบนมอเตอร์เวย์ สำหรับในเขตเมืองหรือในเขตชุมนุมชน
จะต้องมองให้ถี่มากกว่าตามความวุ่นวายของการจราจร
โดยสรุปแล้ว การสังเกตการณ์จากด้านหน้าด้วยเทคนิคการมอง 3 ระยะ และมอง
สังเกตการณ์ด้านข้างด้วยการมองกวาดตาทุกๆ 1-2 วินาที และสังเกตการณ์ด้านหลังผ่าน
กระจกมองข้าง ถ้าฝึกมองได้ครบถ้วนทุกด้านก็จะเห็นและรู้สถานการณ์โดยรอบตลอดเวลา
ทั้งนี้เพื่อค้นและมองหาสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เพื่อปรับแผนแก้ไขได้แต่เนิ่นๆ ...นี่ถือเป็น
คาถาป้องกันอุบัติเหตุที่สำคัญอีกบทหนึ่ง

50
หมวดที่ 3

เทคนิคการขับรถปลอดภัยในสภาวการณ์ต่างๆ (3)

ระยะห่างโดยรอบที่ปลอดภัย :
“วั ต ถุ ป ระสงค์ แ ละประโยชน์ ข องการขั บ รถที่ รั ก ษาระยะห่ า งจากรถคั น หน้ า

และระยะห่างรอบๆ รถ มีนัยยะความสำคัญอยู่ 3 ประการ กล่าวคือ เพื่อให้มีทัศนวิสัย

ในการมองเห็นด้านหน้าเปิดกว้างขณะที่รถวิ่ง สามารถหยุดรถได้ทันหากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น
และประการสุดท้าย คือ มีระยะทางหรือพื้นที่หลบหลีกหนีเมื่อจำเป็น”
ผู ้ ขั บ ขี่ จ ึ ง จำเป็ น ที่ จ ะต้ อ งพยายามรั ก ษาระยะห่ า งรอบๆ รถไว้ ต ลอดเวลาที่ ขั บ ขี่

ซึ่งแยกออกเป็นกรณีๆ ไปดังนี้
1) ระยะห่างด้านหน้า :
มี ห ลั ก ปฏิ บั ต ิ อ ยู่ 2 แนวทาง แนวทางแรก คื อ การใช้ ห ลั ก แห่ ง สามั ญ สำนึ ก

และหลักการทดสอบระยะห่างเป็นวินาที

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
หลักแห่งสามัญสำนึก : หลักการข้อนี้ไม่ยาก โดยผู้ขับขี่ขับทิ้งช่วงห่างจากรถ

คันหน้าในระยะที่ตนเองคิดว่าจะสามารถหยุดรถได้ทัน หากรถคันหน้าหยุดกะทันหัน
จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม หลักการนี้จะใช้ได้อย่างปลอดภัยถ้าผู้ขับขี่รู้ระยะหยุดรถ
ของตนในขณะนั้นๆ ซึ่งก็เป็นไปตามสัญชาตญาณป้องกันตัวของมนุษย์
หลักการทดสอบระยะห่างเป็นวินาที : เป็นหลักการที่ใช้เพื่อการทดสอบว่า

มีระยะห่างจากรถคันหน้าคิดเป็นกี่วินาที เมื่อผู้ขับขี่ได้รู้ระยะห่างดังกล่าวแล้ว

ผู้ขับขี่จะปรับระยะห่างให้มากขึ้น น้อยลง หรือยังคงระยะห่างเอาไว้อย่างเดิม

ต่อไปก็สุดแต่การตัดสินใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความจำเป็นระยะทิ้งห่าง
จากรถคันหน้าสำหรับรถบรรทุกทั่วไปตามหลักสากลจะยึดหลักระยะห่าง
ประมาณ 6-8 วินาที
วิ ธ ี ท ดสอบระยะห่ า งดั ง ว่ า ทำได้ ดั ง นี ้ ปรั บ ความเร็ ว รถให้ ใ กล้ เ คี ย งกั บ รถ

คันหน้าที่จะทดสอบ เล็งหาเป้าหมายข้างทางเพื่อใช้เป็นจุดกำหนด ทันทีที่ท้ายรถ
คั น นั ้ น ผ่ า นจุ ด ที่ ก ำหนด ก็ นั บ เลข 3 พยางค์ (นั บ ให้ ล งตั ว ครั ้ ง ละ 1 วิ น าที )

“หนึ่ง–พัน–หนึ่ง” “หนึ่ง-พัน สอง” “หนึ่ง-พัน-สาม” เรื่อยๆ ไป และหยุดนับทันที
เมื่ อ ถึ ง จุ ด ที่ ก ำหนดนั ้ น นั บ ได้ เ ท่ า ใดก็ เ ป็ น ระยะห่ า งเท่ า นั ้ น วิ น าที เช่ น นั บ ได้

“หนึ่ง-พัน-แปด” ก็คือ ระยะที่ห่างจากรถคันหน้า 8 วินาที

51
2) ระยะความปลอดภัยด้านหลัง :
การป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นจากด้านหลังโดยเฉพาะการถูกชนจากรถคันหลัง

มีหลักเกณฑ์ที่พึงระวังและปฏิบัติเมื่อมีรถขับจี้ท้ายดังนี้
ก) เบื้องต้น รักษาช่องทางและความเร็วเอาไว้ให้คงที่
ข) ใช้สัญญาณไฟเบรกเตือนให้เขาระวังให้มากขึ้น (เพียงแค่แตะเบรก อย่าเหยียบ
เบรกหยุด เพราะอาจถูกชนท้าย)
ค) ค่อยๆ ลดความเร็วลงและขับชิดซ้าย แต่ไม่ต้องถึงกับลุยลงไหล่ทาง เพื่อเปิดทาง
ให้เขาแซงไปโดยสะดวก
ง) เมื่อมีจังหวะ พยายามเพิ่มระยะห่างจากรถคันหน้าให้มากขึ้นด้วยการถอนเท้า
ออกจากคันเร่งแบบว่าให้ความเร็วค่อยๆ ลดลงเองโดยไม่ต้องเหยียบเบรกหรือ
แตะเบรกอีก
จ) เมื่อเขาแซงขึ้นหน้าไป ปรับระยะขับตามใหม่ที่ปลอดภัย
ฉ) ถ้ายังตามจี้ตื้อไม่เลิก อย่างนี้ก็ต้องใช้วิชามารกันหน่อยล่ะ ใช้ลูกเล่นแตะเบรก
บ่อยๆ แบบไม่มีจังหวะ (เหลืออดจริงๆ และที่ทำก็เพราะเพื่อป้องกันตัวเอง)
อย่าขับปิดทาง หรือหวังสั่งสอน เพราะนั่นคือที่มาของอุบัติเหตุที่มีฐานมาจากอารมณ์
3) ระยะความปลอดภัยด้านบน :
อุบัติเหตุที่เกิดเพราะรถชนหลังคา ชนสะพาน ครูดเพดาน เกี่ยวสายโทรศัพท์

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

มีให้เห็นกันบ่อยๆ นี่คือความเป็นจริงที่ผู้ขับขี่มักจะมองข้าม การปฏิบัติเชิงป้องกัน



ที่ควรคำนึง คือ
ก) ต้องรู้ขนาดความกว้างและความสูงของรถคันที่ขับ (ไม่ใช่รู้แค่เดา)
ข) ใช้การสังเกตการณ์ที่รอบคอบให้เป็นประโยชน์
ค) อ่าน ตรวจสอบ และให้ความสำคัญกับป้ายเตือน
ง) คิ ด ไว้ เ สมอว่ า สะพาน เพดาน คานรู ป แบบต่ า งๆ ฯลฯ เป็ น สิ่ ง ที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด
อันตรายได้เสมอ
จ) มีความพร้อมและตื่นตัวทุกครั้งที่ขับเข้าหรือขับผ่านจุดต่างๆ เหล่านั้น
กล่ า วโดยสรุ ป แล้ ว ความปลอดภั ย โดยรอบที่ ผู ้ ขั บ ขี่ ต ้ อ งระวั ง และใส่ ใ จนั ้ น มี ถ ึ ง

6 ด้ า น ประกอบด้ ว ย ด้ า นหน้ า ด้ า นซ้ า ย ด้ า นขวา ด้ า นหลั ง ด้ า นบน และด้ า นล่ า ง

(หลุม บ่อ สภาพผิวจราจร รวมทั้งเนินสะดุดฯ)
ทุ ก ๆ ด้ า นก่ อ ให้ เ กิ ด เป็ น อุ บั ต ิ เ หตุ ทั ้ ง ที่ เ ล็ ก น้ อ ย หรื อ ร้ า ยแรงได้ ไ ม่ แ พ้ กั น

การสังเกตการณ์ที่ดี และความรอบคอบคือคำตอบที่สำคัญของความปลอดภัย

52
หมวดที่ 3

เทคนิคการขับรถปลอดภัยในสภาวการณ์ต่างๆ (4)

การขับรถกลางคืน :
“สำหรับผู้ขับขี่ขนส่งมืออาชีพแล้ว ยากที่จะเลี่ยงพ้นการขับรถกลางคืนไปได้ อุปสรรค
และข้อจำกัดมากมายเมื่อเปรียบเทียบกับการขับรถในเวลากลางวัน ระยะทางการมองเห็น
จำกัดลง ซึ่งก็แน่นอน มีผลโดยตรงต่อการสังเกตการณ์ ความเครียดทางสายตาและร่างกาย
มีมากกว่ากลางวัน ตามด้วยอัตราเสี่ยงต่ออุบัติเหตุร้ายแรงที่สูงกว่า จำเป็นที่ผู้ขับขี่จะต้อง
เรียนรู้ และเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ให้มากยิ่งขึ้น”

ข้อแนะนำและข้อพึงปฏิบัติ :
1) ดูแลและตรวจสภาพรถให้อยู่ในสภาพพร้อมจริงๆ ก่อนนำออกใช้งาน
2) ไฟส่องสว่างต้องใสสะอาด ไฟเลี้ยว ไฟเบรก ไฟส่องป้าย ไฟหลังคา อยู่ในสภาพ

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
การใช้งานได้ดี และปรับไว้อย่างถูกต้อง
3) ใช้ไฟต่ำเมื่อมีรถสวน และใช้ไฟสูงเมื่อไม่มีรถสวนมา
4) ใช้ไฟสูงตรวจ “กับดัก” ก่อนเข้าบริเวณจุดที่รถจะขับสวนกัน
5) ใช้ อั ต ราความเร็ ว ที่ จ ะสามารถหยุ ด รถได้ ใ นระยะที่ แ สงไฟหน้ า รถส่ อ งไปถึ ง

และเห็นได้ชัด
6) ระวังเรื่องการแซงรถให้มาก จะแซงเมื่อมีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น
7) บนถนนเงียบๆ สลับไฟสูง-ต่ำ เตือนเป็นระยะๆ
8) หยุ ด พั ก ในที่ ป ลอดภั ย เมื่ อ รู ้ ส ึ ก ง่ ว ง หรื อ อ่ อ นเพลี ย (ไม่ ค วรขั บ รถต่ อ เนื่ อ งกั น

เกินกว่า 2 ชั่วโมง หรือเกินกว่า 150 กิโลเมตร โดยไม่พัก)
9) สังเกตและระวังพฤติกรรมของรถที่ขับสวนทาง เพราะเขาอาจจะหลับในมาก็ได้

ในกรณีที่เห็นว่าผิดปกติ เปลี่ยนช่องทางขับชิดซ้ายเอาไว้ ลดมาอยู่ที่เกียร์ต่ำลง
เตรียมหลบลงทางด้านซ้าย และสามารถไต่ขึ้นมาบนถนนได้อย่างปลอดภัย
การคำนึงถึงขีดจำกัด ในเวลาค่ำคืนและการเตรียมตัวเตรียมการก่อนและขณะเดินทาง
เป็นข้อพึงระลึกพึงปฏิบัติที่ไม่อาจมองข้ามไปได้

53
การขับรถลุยฝน :
“การขั บ รถทั ้ ง ในขณะฝนตกหนั ก หรื อ ตกปรอยๆ แม้ ก ระทั่ ง หลั ง ฝนตกหมาดๆ

ต้องถือว่าเป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายหรือเสี่ยงต่ออุบัติเหตุสูงในรูปแบบต่างๆ เช่น
การชนท้ายกัน รถไถลลงข้างทาง รถลื่นไถลและหมุน เป็นต้น นอกจากนั้น ทัศนวิสัยในการ
ขับขี่ก็ลดลง ระยะหยุดรถ และระยะเบรกก็เอาแน่นอนไม่ได้ ผู้ขับขี่เองก็มีดีกรีความเครียด

สูงกว่าปกติ ยิ่งมีน้ำท่วมขังอาจเป็นเหตุส่งผลไปถึงเครื่องยนต์เสียเครื่องยนต์ดับอีกด้วย”

ข้อแนะนำและข้อพึงปฏิบัติก่อนการขับลุยฝน :
1) ตรวจสอบความพร้อมของรถก่อนใช้งาน (ยางรถ-ดอกยาง ศูนย์ล้อ ระบบไฟ

ใบปัดน้ำฝนและน้ำฉีดกระจก อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ผ้าใบ หมอนรองล้อฯ)
2) ในกรณี ท ี่ ฝ นตกหนั ก มากๆ จนแทบมองไม่ เ ห็ น ทางข้ า งหน้ า โดยเฉพาะฝนตก

และเป็นเวลากลางคืน การหาที่ปลอดภัยหยุดพักดีกว่าเสี่ยงขับไปเหมือนคนตาบอด
ถึงจะช้าไปบ้างก็ดีกว่าไม่ถึงเลย
3) ใช้ความเร็วได้เท่าที่จะหยุดรถได้ในระยะที่มองเห็น
4) ถ้าเป็นไปได้ พยายามขับในเลนกลาง เนื่องจากน้ำฝนมักจะระบายและขังอยู่บริเวณ
ด้านข้าง
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

5) ถ้ามีน้ำขังให้พยายามขับตามรอยล้อของรถคันหน้าไว้เสมอ
6) พยายามสังเกตพฤติกรรมของรถคันหน้าไว้ด้วยเช่นเดียวกัน
7) ทิ้งช่วงห่างจากรถคันหน้าไว้ให้มาก อย่างน้อยประมาณ 2 เท่าของระยะทิ้งห่าง

ในการขับในภาวะปกติ
8) ในกรณี ท ี่ ฝ นตกและฟ้ า หลั ว มื ด ครึ ้ ม ไม่ส ามารถมองเห็ น สรรพสิ่ ง ต่า งๆ ในทาง

ได้ชัดแจ้งในระยะ 150 เมตร ให้เปิดไฟใหญ่ (ไฟต่ำ)
9) ในกรณีที่มีน้ำเข้าไปในระบบเบรก ราเบรกให้แห้ง
เมื่อขึ้นมาพ้นน้ำ และก่อนจะขับเร็ว
10) กรณีฝนตกกลางคืนและมีน้ำท่วมขัง พยายาม
มองและใช้ แ นวรั ้ ว แนวขอบถนน หรื อ ที่ กั ้ น
ประกอบการตัดสินใจ
ความพร้ อ มทางร่ า งกาย และยึ ด ถื อ ข้ อ แนะนำ

ที่กล่าวมา จะทำให้ผู้ขับขี่ที่ไม่ประมาทลุยฝนไปได้อย่าง
ปลอดภัย

54
หมวดที่ 3

เทคนิคการขับรถปลอดภัยในสภาวการณ์ต่างๆ (5)

การขับรถฝ่าหมอก :
“การขับรถฝ่าหมอกหนาๆ เสมือนการขับรถโดยมีผ้าผูกตาเอาไว้ นอกจากทัศนวิสัย

ที่เลวร้ายแล้ว ยังส่งผลให้ถนนลื่น ระยะเบรก ระยะหยุดรถยืดยาวกว่าปกติ มีภาวะที่เสี่ยง



ต่ออุบัติเหตุสูงไม่แพ้การขับรถลุยฝนแต่ประการใด”

ข้อพึงระลึกและควรปฏิบัติ :
1) ถ้าพอรอได้ หาที่ปลอดภัยจอดรอให้หมอกจางลงก่อนจะดีกว่า
2) ถ้าต้องขับไป ตรวจเช็กทำความสะอาดกระจกให้ดีเสียก่อน น้ำฉีดกระจก ใบปัดน้ำฝน
ต้องมีและใช้การได้ เพราะต้องใช้แน่
3) เปิดไฟต่ำ และไฟตัดหมอก (ถ้ามีและใช้ได้)

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
4) อย่าใช้ไฟสูงวิ่งโดยไม่จำเป็น เพราะไฟจะไปสะท้อนกับละอองน้ำที่ลอยอยู่ในอากาศ
ซึ่งจะทำให้เกิดแสงสะท้อนแยงตาได้
5) ใช้ความเร็วได้เท่าที่จะหยุดรถได้ในระยะที่มองเห็น
6) ขับทิ้งช่วงห่างจากรถคันหน้าให้มาก อย่างน้อย 2 หรือ 3 เท่า ของการขับปกติ
7) อย่าเปิดไฟฉุกเฉินวิ่ง เพราะจะทำให้ผู้อื่นสับสน
8) พยายามตรวจสอบความเร็วที่หน้าปัดไว้เสมอ (จากข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ขับขี่

ส่วนใหญ่จะขับรถเร็วขึ้นโดยไม่รู้ตัว)
9) ใช้ปัดน้ำฝน และความร้อนไล่ฝ้า (ถ้ามี)
10) ระวังรถอื่นที่อาจไม่เปิดไฟวิ่ง
11) ถ้าจำเป็นต้องเบรก ต้องเบรกอย่างนุ่มนวล (โอกาสเสี่ยงต่อการลื่นไถลและหมุน

มีสูง)

55
การขับรถลงที่ลาดชัน :
“ความเร็วสะสม ลักษณะความคดเคี้ยวของถนน และผิวจราจร รวมทั้งทักษะของ

ผู้ขับขี่เอง เป็นมูลเหตุพื้นฐานนำไปสู่อุบัติเหตุอุบัติภัยอยู่บ่อยๆ”

ข้อควรคำนึงและพึงปฏิบัติ :
1) ประเมินความลาดชันที่จะขับลงให้ถี่ถ้วน เพื่อการใช้ความเร็วและเกียร์ที่ถูกต้อง
2) ใช้เกียร์ให้สอดคล้องกับความลาดชันนั้นๆ
3) ใช้เบรกเสริมช่วยก่อนเริ่มต้นขับลงที่ลาดชัน (Auxiliary Brake)
4) ถ้ามีปัญหาในการใช้เบรกเสริมช่วย เช่น ความเร็วที่สูงขึ้นมาก ต้องใช้วิธีลดเกียร์ช่วย
5) ถ้ามีทางโค้งบนทางลาดชันที่ขับลง ต้องปรับเปลี่ยนเกียร์ให้เสร็จก่อนเข้าโค้ง
6) ทิ้งช่วงห่างจากรถคันหน้าให้มากๆ
7) มองหาทางออก ทางหลบเอาไว้ล่วงหน้า เผื่อเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น

การขับรถผ่านทางรถไฟ :
“แม้ จ ะมี จุ ด ตั ด ระหว่ า งทางรถไฟกั บ ทางรถยนต์ ไ ม่ ม ากเท่ า จุ ด ตั ด ของถนนก็ ต าม
อุ บั ต ิ เ หตุ ร ถไฟชนกั บ รถยนต์ หรื อ รถยนต์ ไ ปชนรถไฟ มั ก มี ใ ห้ รู ้ ใ ห้ เ ห็ น อยู่ เ สมอๆ ปี ห นึ่ ง

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

หลายๆ ครั้ง จึงควรที่ผู้ขับขี่พึงต้องให้ความสำคัญไว้ด้วยเช่นเดียวกัน”



ข้อพึงระลึกและพึงปฏิบัติ :
1) มองหาป้ายเตือน และยึดถืออย่างเคร่งครัด
2) หยุดดู หรือดูให้แน่ ว่าไม่มีขบวนรถไฟจะผ่านไปมา
3) ลดความเร็วลงเพื่อความปลอดภัย และป้องกันความเสียหายจากการสั่นสะเทือน
4) ไม่เปลี่ยนเกียร์ขณะขับผ่านรางรถไฟ
5) ไม่หยุดคารางรถไฟอย่างเด็ดขาด
6) อย่าพยายามขับแข่ง หรือ “ชิงดำ” กับรถไฟ
7) ถ้ารถเสียต้องพยายามเอาออกให้พ้นทางรถไฟให้จงได้
8) อย่าเชื่อและขับตามผู้อื่นโดยไม่เห็นด้วยตาตัวเอง
อย่าคิดว่าแค่ขับผ่านทางรถไฟเพียงระยะสั้นๆ จะเป็น “ของตาย” เสมอไป

56
หมวดที่ 3

เทคนิคการขับรถปลอดภัยในสภาวการณ์ต่างๆ (6)

การขับรถในสภาวะที่มีแสงน้อย :
“การขับรถในช่วงโพล้เพล้ หรือในขณะที่ทัศนวิสัยมืดสลัว เป็นเรื่องยากและเสี่ยง

ต่อการเกิดอุบัติเหตุต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้น ทั้งนี้รวมถึงการขับเข้าสู่จุดขนถ่ายในที่คับแคบ
และมีแสงสว่างไม่เพียงพอด้วย เพราะการมองเห็นอยู่ในขอบเขตจำกัด การสังเกตหาสิ่งที ่

อาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งบนพื้นผิวถนน ด้านข้างและด้านล่าง ด้านบน ก็พลอยจำกัดลงด้วย


อุบัติเหตุประเภท เกี่ยว ชน ติดหล่ม มักจะมีให้ได้ยินได้ฟังกันอยู่เสมอ”

ข้อควรคำนึงและพึงปฏิบัติ :
1) ยึดถือไว้เสมอว่าสภาพการณ์เช่นนี้เป็นจุดหรือบริเวณอันตราย
2) ลดความเร็วลงก่อนขับเข้าจุดหรือบริเวณที่มีแสงสว่างน้อย จนกว่าสายตาปรับ

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
รับสภาพได้แล้ว
3) ประยุกต์ใช้หลักเกณฑ์และเทคนิคเดียวกันกับการขับรถกลางคืน
4) ในกรณี ขั บ ถอยหลั ง เข้ า ที่ คั บ แคบเพื่ อ

การขนถ่ายสินค้า ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ
ควรลงมาดูด้วยตาตัวเองก่อนถอยทุกครั้ง
5) ใช้ตามองประกอบการดูกระจกขณะถอย
6) ใช้สัญญาณแตรประกอบ หากเห็นว่าจำเป็น

การขับรถในสภาวะที่แสงจ้า :
“แสงจ้ า ที่ ส่ อ งตรงเข้ า ตานั ้ น นอกจากจะทำให้ เ กิ ด ตาพร่ า หรื อ ภาพซ้ อ น

มีผลกระทบต่อการสังเกตการณ์ เพิ่มความเหนื่อยล้าที่มีมูลเหตุมาจากสายตา นอกจากนั้น

ยังมีผลทำให้เกิดโรคตาบางชนิดได้อีก เช่น ต้อกระจก เป็นต้น จำต้องเรียนรู้ข้อพึงระลึก

และข้อพึงปฏิบัติติดตัวไว้บ้าง”

57
ข้อพึงระลึกและพึงปฏิบัติ :
1) หลีกเลี่ยงไม่มองตรงไปยังจุดกำเนิดแสง เช่น ดวงอาทิตย์ หรือกระจกร้านข้างทาง
2) มองให้ไกลไปก่อน จนกว่าสายตาจะปรับสภาพได้ในสภาพปกติ (สายตาต้องการ
เวลาในการปรับสภาพระยะหนึ่ง)
3) ไม่ใช้ความเร็วสูงบนถนนที่ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะมีเงามืดและ
สว่างสลับกันไป ทำให้สายตาปรับสภาพไม่ทัน
4) การสวมแว่นตากันแดดจะช่วยได้มาก (ควรเลือกใช้ สีดำ–สีชา และสีฟ้า)

การขับรถถอยหลัง :
“การขับรถถอยหลังนับเป็นยุทธการที่เสี่ยงภัยอีกแบบหนึ่ง โดยเฉพาะรถขนาดใหญ่
อย่างรถบรรทุกด้วยเพราะมีจุดบอดมากกว่ารถเล็กทั่วๆ ไป และผู้ขับขี่จำนวนไม่น้อยที่ขาด
ความเจนจัดในการขับถอยหลัง ประมาณว่าปีหนึ่งๆ การขับรถถอยหลังไม่ถึง 1% ของการขับ
เดินหน้า จึงทำให้ผู้ขับขี่บางคนขาดทักษะในเรื่องนี้ เพราะความที่เป็นคันใหญ่มีจุดบอดมาก

จึงทำให้ผู้ขับขี่จำต้องใช้ความละเอียดรอบคอบมากขึ้น”

ข้อพึงระลึกและพึงปฏิบัติ :
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

1) ตรวจสอบบริ เ วณรอบรถและทางที่ จ ะถอยให้ ถ ี่ ถ ้ ว นก่ อ นขึ ้ น ขั บ ถอยหลั ง



(คน สัตว์เลี้ยง และเศษวัสดุที่อาจมีคนหลงลืมทิ้งไว้ฯ)
2) มองกวาดตาและดูกระจกอีกครั้งหนึ่งก่อนถอย
3) หลังการตรวจสอบแล้ว ต้องไม่ทิ้งเวลาให้เนิ่นนาน ถ้าทิ้งเวลาไว้นานไป ต้องลงมา

ตรวจสอบสถานการณ์ด้วยตัวเองใหม่อีกครั้ง เพราะสถานการณ์อาจเปลี่ยนไป
4) อย่าดูกระจกซ้าย–ขวาเพียงอย่างเดียว ใช้ตามองประกอบเท่าที่ทำได้ ในขณะ

ขับถอย
5) อย่ามองจับตายอยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดนานเกินไป ถ้าจำเป็นต้องมองนานๆ...หยุดรถ
6) ใช้ความเร็วต่ำๆ ไม่ควรเกิน 2–3 กิโลเมตร/ชั่วโมง
7) ให้คนช่วยดูท้ายให้ (ถ้ามี)
8) ตรวจดูสภาวะการจราจรด้านหลังและด้านข้าง ทั้งซ้ายและขวาให้ดี ก่อนถอย

ลงสู่ถนนใหญ่
9) ใช้ทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า เช่น หาบริเวณกลับรถที่ปลอดภัยดีกว่าการถอยหลัง
เพื่อกลับรถ
ทางเลือกที่ดีที่สุด (ถ้าเลือกได้) ในการกลับรถ คือ จอดในที่ที่สามารถออกรถได้

โดยไม่ต้องถอยหลัง แม้จะต้องขับไกลอีกสักหน่อยก็น่าจะคุ้มกว่า

58
หมวดที่ 3

เทคนิคการขับรถปลอดภัยในสภาวการณ์ต่างๆ (7)

ทางร่วมทางแยก :
“ทางร่วมทางแยก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหนย่อมเป็นที่บรรจบรวมและแยกกันของรถ
เมื่อเป็นที่รวม ที่แยกของรถ จึงกลายเป็นแหล่งที่มาของอุบัติเหตุด้วย ทุกแยกทุกร่วมไม่ใช่แค่
เมืองไทยเท่านั้นหรอก แต่หมายถึงทุกๆ แห่งในโลกนี้ที่มีถนน มีการขับขี่ ก็มีทางแยกทางร่วม
ด้วยกันทั้งนั้น และต่างก็มีอุบัติเหตุในทางร่วมทางแยกไม่น้อยหน้ากัน ทางร่วมทางแยกจึงเป็น
จุดหรือบริเวณที่มีความเสี่ยงและอันตรายสูงกว่าถนนหรือบริเวณอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

ในเมืองไทยบ้านเรา ซึ่งกล้าที่จะกล่าวว่า ไม่มีทางร่วมทางแยกที่ใดเป็นสีขาว (หมายถึง ไม่เคยมี


อุบัติเหตุแม้แต่ครั้งเดียวนับตั้งแต่เปิดใช้มา) ด้วยเหตุดังกล่าว เทคนิคและวิธีการปฏิบัติในการ
ขับรถเข้า-ออกจากทางร่วมทางแยกจึงต้องมีความพิเศษตามไปด้วย”

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
ข้อพึงระลึกและข้อแนะนำ :
1) ต้องรู้และเข้าใจธรรมชาติของทางแยกทางร่วม (ในบ้านเรา)–พฤติกรรมในเขตเมือง
ในเขตชุ ม นุ ม ชน ที่ แ สนจะธรรมดาที่ สุ ด คื อ เรื่ อ งวิ นั ย อาทิ เ ช่ น เข้ า เลนตรงไป

แต่ พ อได้ สั ญ ญาณไฟ พวกก็ เ ลี ้ ย วขวาโดยไม่ ส นใจ ว่ า ใครจะคิ ด อย่ า งไร

คร่อมเลนตี “กั๊ก” เอาไว้เผื่อเลือก ส่งไฟเหลือง ชิงไฟเขียว ตามด้วยไฟแดงอุ่นๆ
แทบเป็ น เรื่ อ งธรรมดาๆ ในต่ า งจั ง หวั ด เรื่ อ งตาบอดสี ม ี เ ยอะ (ไม่ ส นใจว่ า ไฟ

จะเป็นสีอะไร ไปได้ทั้งนั้น)
ข้ อ แนะนำในประเด็ น นี ้ คื อ อย่ า รี บ ออกรถทั น ที ท ี่ ไ ด้ สั ญ ญาณไฟเขี ย ว

ให้พวกหน่วยกล้าตายเขาไปกันก่อน และถ้าจอดรออยู่หลังเส้นหยุดเป็นคันแรก

ให้ ร อ 3 วิ น าที (เข้ า เกี ย ร์ กุ ม เบรกมื อ เตรี ย มตั ว เอาไว้ ) รอให้ พ วกไฟเหลื อ ง

คั น สุ ด ท้ า ย กั บ พวกไฟเขี ย วคั น แรกเขาไปเสี ย ก่ อ น แต่ ถ ้ า ไม่ ใ ช่ คั น แรกที่ ห ยุ ด

หลังเส้นหยุด ก็ไม่ต้องทำอะไรเป็นพิเศษอย่างที่ว่า คอยตามเขาไปเหมือนเคย

59
2) การมองและการใช้กระจก–มองระยะไกล-กลาง–ใกล้ ตรวจสภาวะการจราจร

บวกมองกวาดตาด้านข้าง ทั้งซ้ายและขวา เข้าช่องทางให้ถูก มองกระจกมองข้าง
(ซ้ า ยและขวา) ก่ อ นจะเหยี ย บเบรกหยุ ด ก่ อ นออกรถก็ ต ้ อ งมองข้ า งหน้ า

มองกวาดตา และมองกระจกสำรวจอันตรายด้านหลังอีกที ก่อนจะออกรถไป
3) ใช้และให้สัญญาณให้ถูกต้อง (ไม่น้อยกว่า 30 เมตร ก่อนลงมือปฏิบัติการใดๆ)

อนึ่ง ต้องไม่ลืมว่าไฟเบรกเป็นสัญญาณประเภทหนึ่งที่ต้องใช้ให้ถูกต้องเช่นกัน
4) การใช้เบรกมือและเกียร์–หยุดรถ ณ ที่สัญญาณไฟ ขึ้นเบรกมือทันที แล้วปลดเกียร์
ในทางตรงกันข้าม เมื่อจะออกรถ เข้าเกียร์ก่อน แล้วจึงค่อยปลดเบรกมือ (ป้องกัน
ความผิดพลาดด้วยประการทั้งปวง)
5) ความเร็ว–ใช้ความเร็วให้เพียงพอแก่ความปลอดภัย ขณะขับเข้าหรือขณะขับผ่าน
ทางร่วมทางแยก และที่สำคัญคือ ต้องลดความเร็วก่อนถึงทางร่วมทางแยก ไม่ใช่
เร่งความเร็วเข้าไปเพราะไฟนับถอยหลังกำลังจะหมดเวลา
6) การหยุดรถขณะจอดรอสัญญาณไฟอยู่ ณ ทางร่วมทางแยก–ตามกฎแล้วให้ถือ

ช่วงห่าง 1 ช่วงตัวรถของคันที่เราขับ สำหรับรถเล็กทั่วไป กฎเกณฑ์นี้ไม่ใช้กับ



รถขนาดใหญ่ รถใหญ่ให้ทิ้งช่วงห่างจากรถคันหน้าไว้ให้พอเหมาะ คือพอเหมาะ

ที่ จ ะออกได้ ส ะดวก ถ้ า รถคั น หน้ า เกิ ด เสี ย ขึ ้ น มาประการหนึ่ ง

อี ก ทั ้ ง เพื่ อ ให้ ม ี ช่ อ งพอขยั บ หนี ไ ด้

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

สักหน่อยเมื่อคันหลังที่วิ่งมาทำท่าว่า
จะหยุ ด แต่ห ยุ ด ไม่อ ยู่ และประการ
สุดท้าย เผื่อทางหนีทีไล่เอาไว้เมื่อถึง
คราวจำเป็น
ขอให้ ผู ้ ขั บ ขี่ ท ี่ ป รารถนาความปลอดภั ย
หมั่ น ทำความเข้ า ใจ ทบทวนและฝึ ก ฝนเอาไว้

เป็น “คาถา” ป้องกันตัวให้พ้นภัยจากอุบัติเหตุ

ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในทางแยกทางร่วม...รู้ไว้ใช่ว่า
ใส่บ่าแบกหาม



60
หมวดที่ 3

เทคนิคการขับรถปลอดภัยในสภาวการณ์ต่างๆ (8)

การขับรถสวนเลน และงานซ่อมถนน (Contraflows and Roadworks) :


“อุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยๆ ในทางที่แบ่งเลนให้รถสวนทางกันวิ่งชั่วคราวบนถนนวันเวย์

อันเนื่องมาจากการซ่อมถนน หรือเพราะการแก้ไขสภาวะการจราจรบางช่วงเวลา จึงนับได้ว่า
เป็ น จุ ด หรื อ บริ เ วณอั น ตรายที่ ผู ้ ขั บ ขี่ พ ึ ง ต้ อ งระวั ง ด้ ว ยเช่ น กั น โดยเฉพาะในเวลาค่ ำ คื น

บางแห่งก็มีเครื่องหมายป้ายสัญญาณเตือนชัดเจน แต่บางแห่งก็ไม่มี หรือมีแต่ไม่ชัดเจน

รวมทั้งพฤติกรรมเสี่ยงๆ ของผู้ขับขี่คนอื่นๆ ก็เป็นปัจจัยเสริมก่อใหัเกิดอุบัติเหตุได้ด้วย

หลายกรณีถึงขั้นบาดเจ็บและเสียชีวิตมาแล้ว ทั้งคนภาครัฐและภาคเอกชน ดังที่เคยเป็นข่าว

ในสื่อมวลชนอยู่บ่อยๆ จึงถือเป็นสิ่งที่ควรนำมาชี้แจงพูดจากัน”
ก่อนเปิดยุทธการขับเข้า-ขับผ่านจุด หรือบริเวณที่กล่าวมา ผู้ขับขี่ควรรู้ ควรคำนึงถึง
ข้อควรปฏิบัติเอาไว้บ้างก็ดี ดังนี้ครับ

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
1) รักษา และมีสมาธิทั้งก่อนและขณะขับเข้า–ออก สลัดทิ้งสิ่งรบกวนสมาธิหนักๆ

ออกไปก่อน
2) อย่ า ให้ อุ ป กรณ์ แ ละเครื่ อ งมื อ มากำบั ง ทั ศ นวิ สั ย ขณะขั บ ในทางดั ง กล่ า ว

(เช่น รถตัก รถแบคโฮ หรือรถเครนฯ-ในกรณีการซ่อมถนน)
3) ระวัง และไม่ใช้ความเร็วสูง (ความเร็วตามป้ายอาจไม่ใช่ความเร็วที่ปลอดภัยเสมอไป
ความเร็วที่ใช้ต้องเป็นความเร็วปลอดภัยที่ควบคุมได้)
4) ทิ้งช่วงห่างและรักษาระยะขับตามรถคันหน้าที่ปลอดภัย หยุดได้แน่นอนหากมี

เหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น
5) พยายามมองให้ ไ กลไปข้ า งหน้ า ใช้ ก ารสั ง เกตการณ์ และการคาดการณ์ ท ี่ ด ี

ตลอดเวลา เพื่อป้องกันมิให้ต้องเบรกรุนแรง และมีระยะทางระยะเวลาแก้ไข
เหตุการณ์ได้ทัน

61
6) เชื่อและปฏิบัติตามเครื่องหมายป้ายเตือนเสมอ ดูให้แน่ใจด้วยว่ารถใหญ่เขากำหนดไว้
ให้วิ่งเลนไหน หากไม่มีเครื่องหมายป้ายเตือนก็ต้องพึ่งความรอบคอบของตนเอง
เป็นหลัก
7) ให้ความสำคัญกับงานซ่อมถนน ไม่ว่าซ่อมใหญ่หรือซ่อมเล็ก แม้กระทั่งงานขีดสี
ตีเส้นบนถนน โดยเฉพาะบนมอเตอร์เวย์ (ใช้ความระมัดระวังในระดับเดียวกัน)
8) ไม่หมุน หรือหักพวงมาลัยรถแบบกะทันหัน หรือเปลี่ยนช่องทางอย่างรวดเร็ว
วูบวาบ การกระทำดังกล่าวจะทำให้รถเสียการทรงตัว โดยเฉพาะรถขนาดใหญ่
9) อย่าเร่งหรือเพิ่มความเร็วจนกว่าจะผ่านพ้นบริเวณอันตรายนั้นไปแล้ว
10) ในเวลากลางคืนใช้ไฟต่ำสลับไฟสูงตรวจดู “กับดัก” ตรวจดูผิวจราจรให้แน่ว่าแข็งแรง
ไว้ใจได้เพียงใด ผิวจราจรอ่อนๆ ถือเป็นกับดักด้วยเช่นกัน
อุบัติเหตุที่เกิดในทางที่แบ่งเลนให้รถสวนกันวิ่งนี้ มักเกิดขึ้นในเวลากลางคืน เนื่องจาก
ความสามารถในการมองเห็นอยู่ในขอบเขตจำกัด รวมทั้งการขาดความพร้อมของผู้ขับขี่เอง
งานซ่อมถนนกลางคืนบางแห่งมีการ “ตามไฟ” เพื่อแสดงตำแหน่ง และเป็นที่สังเกตของผู้ขับขี่
ในขณะที่บางแห่งก็ไม่มีการตามไฟเอาไว้ หรือมีเหมือนกันแต่ไม่พอที่จะเข้าใจหรือเห็นทาง
(บางที่มีไฟแค่ 2 ดวงหัวท้ายทั้งที่ระยะยาวเป็นกิโล เอาเถอะ ถึงอย่างไรก็ยังดีกว่าไม่มีเอาเสียเลย)
สถานการณ์อาจเลวร้ายไปกว่านั้น หากมีฝนตก หรือหมอกลงจัดมาผสม...ไม่มีอะไรดีไปกว่า
ความระมัดระวังและความรอบคอบ
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

สถิติอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และเสียชีวิตที่มาจากอุบัติเหตุประเภทนี้จะยังคงมีต่อไป


หากผู้ขับขี่ยังไม่ใส่ใจและให้ความสำคัญ หลายคนผ่านสิ่งยากๆ มามากมาย แต่ต้องมาตาย
เพราะระยะทางสั้นๆ หรือง่ายๆ แบบนี้ มันสมควรหรือ?...เป็นข้อคิดที่ฝากไว้


62
หมวดที่ 3

เทคนิคการขับรถปลอดภัยในสภาวการณ์ต่างๆ (9)

การแซงรถ :
“การแซงรถถือเป็นยุทธการที่เสี่ยงภัยสูงอีกรูปแบบหนึ่งของการขับรถ โดยเฉพาะ

รถบรรทุ ก แซงไม่พ้นชนประสานงา เป็นสถิติที่ถูกบันทึกกันมายาวนาน และเป็นมูลเหตุ

ของอุบัติเหตุลำดับต้นๆ ในบ้านเรา อันที่จริงไม่ได้เกิดขึ้นเพราะขาดทักษะในการขับขี่หรอก

มู ล เหตุ พ ื ้ น ฐานที่ แ ท้ จ ริ ง มั น มาจากแนวความคิ ด ตั ด สิ น ใจผิ ด ใจร้ อ น ขาดความอดทน

เสียมากกว่า หลายคนไม่มีโอกาสแก้ตัวด้วย เพราะเหตุที่เป็นความผิดครั้งสุดท้าย ทางแก้

จึงต้องแก้ที่ตัวผู้ขับขี่เป็นหลัก”

ข้อควรจำและข้อพึงปฏิบัติ :
1) ก่อนจะแซง ถามตัวเองก่อนว่าจำเป็นที่จะต้องแซงหรือไม่? หรือเพียงแค่ทนไม่ไหว

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
หรือรำคาญ หรือเพราะคันข้างหน้าขับช้าเหลือกำลังลาก หรือเพราะรถข้างหน้า

มีปัญหาไปไม่ได้
2) ดู แ ละคิ ด ก่ อ นว่ า ไม่ ฝ่ า ฝื น กฎหมาย (ฝ่ า ฝื น “กฎหมาย” อาจเป็ น ไปตาม

“กฎแห่งกรรม”) อีกทั้งต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และที่สำคัญต้องปลอดภัย
ภาวะและสถานะก่อ นแซงเป็ น อย่า งไร ไม่แ ซงในที่ คั บ ขั น ณ ทางแยกทางร่ว ม

เขตปลอดภัย หรือขณะกำลังขึ้นเขาลงเนินทางชัน ถนนหนทางวกวนหรือไม่ อย่างไร
วั น เวย์ หรื อ บนถนนที่ ร ถวิ่ ง สวนทางกั น มี ช่ ว งระยะการแซงพอเพี ย งหรื อ ไม่
ทัศนวิสัยเป็นใจโล่งชัดเพียงใดหรือไม่...คิดให้รอบคอบก่อนแซง จะได้มีโอกาส

ได้แซงอีกในวันข้างหน้า
3) “รู ้ เขา รู้เรา” ประเมินและประมาณว่ารถคันที่เราจะแซงผ่านนั้น ใช้ความเร็ว

อยู่เท่าใด จากนั้นก็ประเมินสังขารตัวเองว่า กำลังลากสูงสุดมีเท่าใด (ไม่เกินอัตรา



ที่กฎหมายกำหนด) จะใช้เวลา ใช้ระยะทางสักเท่าใดจึงจะแซงสำเร็จ (เวลามาก
ระยะทางยาวเท่าไร ย่อมหมายถึงอัตราเสี่ยงที่ยาวตามไปด้วย)

63
4) เมื่อตกลงตัดสินใจแซงแน่ ใช้สูตร กสป. คือ ดูกระจกข้างทั้งซ้าย–ขวา และหลัง

ว่าปลอดภัย ไม่มีใครมาเกาะแซงตาม ให้สัญญาณไฟหรือแตร (ในกรณีที่มอง



ผ่านกระจกข้างของคันที่จะแซงแล้วไม่เห็นคนขับ) เมื่อแน่ใจว่ารถคันที่เราจะแซง

รับทราบแล้ว ก็ปฏิบัติการเร่งความเร็ว (ไม่เกินพิกัดที่กฎหมายกำหนด) แซงผ่าน

ให้ปลอดภัย
5) ในกรณีเร่งแซงช่วงสั้น ลดเกียร์เพื่อเพิ่มแรงขับเคลื่อน
(สำรองเกียร์) และผลักกลับไปเป็นเกียร์เดิมขณะที่
กำลังจะแซงพ้น
6) ไม่แซงตามคนอื่นทั้งๆ ที่มองไม่เห็นข้างหน้าด้วยตัวเอง
(แห่ตามเขาไป)
7) เมื่อแซงพ้นไปแล้ว ในระยะที่พอเหมาะ (ไม่ตัดหน้าเขา
ในระยะกระชั้นชิด) ให้สัญญาณกลับสู่เลนซ้ายดังเดิม

ข้อคิดจากภาพ : สมมุติว่ารถที่กำลังจะแซงกับรถคันที่จะถูกแซง
ต่างก็วิ่งตามกันไปด้วยความเร็วประมาณ 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง
(ประมาณ 11.1 เมตรต่อวินาที) และจะแซงด้วยอัตราความเร็ว
60 กิโลเมตร/ชั่วโมง รถคันที่จะแซง ขับอยู่ห่างจากรถคันที ่

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

จะถูกแซงประมาณ 66 เมตร รถคันที่จะถูกแซงมีความยาว



8 เมตร เมื่อแซงพ้นไปแล้ว 66 เมตร รถคันที่แซงจะขับกลับ

เข้าเลนซ้ายดังเดิม
ถามว่า รถคันที่จะแซงจะต้องใช้เวลากี่วินาที และต้องวิ่ง
ในระยะทางเท่าใด นับตั้งแต่เริ่มแซงจนถึงจุดที่ขับกลับเข้าสู่เลนซ้าย?
คำตอบคือ รถคันที่จะแซงจะต้องใช้เวลา 25.2 วินาที และต้องใช้ระยะทางวิ่งถึง

420 เมตร หรื อ เกื อ บครึ่ ง กิ โ ลเมตร คำตอบนี ้ ส ะท้ อ นไปถึ ง ข้ อ แนะนำทุ ก ข้ อ ที่ ก ล่ า วมา

และย้ำสุดท้ายว่า จะแซงก็ต่อเมื่อเห็นว่าจำเป็นจริงๆ รวมทั้งต้องปลอดภัยและไม่ผิดกฎหมาย

64
หมวดที่ 3

เทคนิคการขับรถปลอดภัยในสภาวการณ์ต่างๆ (10)

ทำอย่างไรเมื่อถูกแซง :
“เป็นธรรมดา เมื่อแซงเขาได้ก็ถูกแซงได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะรถใหญ่รถบรรทุก

ดูว่าจะถูกแซงเสียมากกว่า เพราะเป็นรถความเร็วต่ำ บางทีหรือหลายๆ ทีด้วยซ้ำที่ถูกแซง



ทั ้ ง ซ้ า ยและขวาพร้ อ มๆ กั น อุ บั ต ิ เ หตุ ส่ว นมากเกิ ด จากการแก้ ไ ขเหตุ ฉุ ก เฉิ น เช่น หั ก หลบ

เพราะรถที่แซงปาดหน้าเข้าทางอย่างกะทันหัน หรือประเภทรถที่แซงปาดเข้าทางข้างหน้า

แล้วลดความเร็วกะทันหันโดยไม่มีปี่หรือขลุ่ยสนับสนุนก็เลยเป็นกรรมของรถที่ถูกแซงเพราะ
หยุดรถไม่ทันดันไปทิ่มท้ายเขาเข้าก็มี บ้างก็หักหลบไปเจอต้นไม้ถึงตายไปก็มี โดยเจ้าคน

ที่เป็นต้นเหตุลอยนวลไปเฉยเลย จึงต้องถือว่าการถูกแซงไม่ใช่ “ของตาย” เสมอไป”

ข้อควรจำและข้อพึงปฏิบัติ :

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
1) ใช้ ทักษะสำคัญของการขับรถป้องกันอุบัติเหตุ (ซึ่งก็ใช้อยู่ก่อนจะถูกแซง) คือ

การสังเกตการณ์ที่รอบคอบ การคาดการณ์ที่ดี และแก้ไขให้ทันกาล ซึ่งในที่นี้

ก็เน้นไปที่การดูกระจกอย่างสม่ำเสมอ การดูกระจกทำให้ผู้ขับขี่ที่ถูกแซงรู้เห็น
พฤติ ก รรมของผู ้ แ ซงมาตั ้ ง แต่ต ้ น นั่ น หมายถึ ง มี เ วลาตั ้ ง รั บ และไม่ต กใจ เคยมี
อุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับรถทัวร์นำเที่ยวสองชั้น อันเนื่องมาจากผู้ขับขี่ตกใจ

หักพวงมาลัยหลบรถที่แซงซ้ายไหล่ทางโดยกะทันหัน รถสองชั้นคว่ำลงส่งผลให้
คณะทัวร์ฝรั่งเศสเสียชีวิตกว่าสิบคน (แถววังมะนาว ถนนพระราม 2) ...ดังนั้นจึงขอ
ยืนยันความสำคัญของทฤษฎี การสังเกตการณ์ การคาดการณ์ และการแก้ไข

ก่อนเกิดอุบัติเหตุอีกครั้ง... เพียงแต่ครั้งนี้เน้นไปที่การมองกระจก
2) ไม่ เ ร่ ง ความเร็ ว ปิ ด ทางหวั ง สั่ ง สอน อย่ า ลื ม เรื่ อ งของอารมณ์ ใ นบทที่ ก ล่ า วถึ ง

ความพร้อมในการขับขี่ “อารมณ์ทำให้คนโง่ ไม่มีปัญญา” แม้ว่าเขาจะทำผิด

ก็ไม่ใช่หน้าที่ของเราที่ต้องสอนบทเรียนให้เขา เพราะตัวครูอาจจะรับกรรมเสียเอง
เพราะอารมณ์เป็นเหตุ

65
3) รั ก ษาความเร็ว และช่องทางเดินรถเอาไว้ให้คงที่ สังเกตพฤติกรรมของเขาไว้

ตลอดเวลา ให้ เ ขาตั ด สิ น ใจโดยไม่ ลั ง เล การกระทำลั ก ษณะนี ้ ใ นแง่ ศ ิ ล ปะของ

การขับรถ ถือว่าได้ช่วยผู้แซงแล้วในระดับหนึ่ง
4) ถ้ า เป็ น ไปได้ และไม่ ล ำบากเกิ น ไปก็ ค่ อ ยๆ ขั บ ชิ ด ซ้ า ย เปิ ด ไฟสั ญ ญาณซ้ า ย

เพื่อเปิดทางให้เขาแซงไปโดยสะดวกไม่ผูกเวรผูกกรรมกันไปภายหน้า
5) เมื่ อ ผู ้ แ ซงปาดเข้ า ทางข้ า งหน้ า ต้ อ งไม่ ล ื ม อย่ า งเด็ ด ขาดที่ จ ะต้ อ งปรั บ ระยะขั บ

ตามที่ปลอดภัยเสียใหม่ (ถ้ามีการสังเกตการณ์ดีผู้ขับขี่จะเห็น “แวว” มาตั้งแต่แรก


แล้วว่าจะตั้งรับด้วยกระบวนท่าอะไร)
6) ขณะขั บ บนทางหลวงต้ อ งขอร้ อ งบรรดามื อ อาชี พ ทั ้ ง หลายว่ า อย่ า จั บ กลุ่ ม วิ่ ง

แบบคอนวอย (Convoy) เนื่องจากเป็นอุปสรรคต่อการแซงของบรรดารถอื่นทั้งปวง
(บนถนนที่รถวิ่งสวนทางกัน)...ชาวบ้านเขาฝากมา
ถ้ามองอย่างผิวเผินแล้ว เหมือนผู้เสียสละ เหมือนเสียศักดิ์ศรี แต่ในความเป็นจริง

ในความเป็นมืออาชีพแล้ว มันคือคุณธรรมของนักขับรถที่ปนมากับเทคนิคของการขับรถ

เชิงป้องกันอุบัติเหตุ คำว่ามืออาชีพมีความหมายสูงกว่าและเหนือกว่า “มือสมัครเล่น” ก็ตรงที่ว่า
ต้องปลอดภัย และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่สังคมจราจร


คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

66
หมวดที่ 3

เทคนิคการขับรถปลอดภัยในสภาวการณ์ต่างๆ (11)

ผู้ขับขี่ที่ก้าวร้าว :
“การขับรถในสภาวะการจราจรปัจจุบันนั้น ยากที่หลีกพ้นผู้ขับขี่ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
ไปได้ ความเห็นแก่ตัว ไม่เคารพกฎเกณฑ์กติกา ไร้มารยาท เร่งรีบโดยไม่คำนึงถึงความ
ปลอดภัย และความเดือดร้อนของผู้อื่น เหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ขับขี่ทุกคนได้พบเห็นและ
ตระหนักดี หากมองอย่างผิวเผินอาจเห็นว่าไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญอะไร แต่ทว่าในความเป็นจริง
มันคือมูลเหตุพื้นฐานที่มาของความเครียด ก่ออารมณ์ และก่อให้เกิดอุบัติเหตุในรูปแบบต่างๆ
อย่างนึกไม่ถึงเอาเลยทีเดียว”
ก่อนก้าวไปถึงข้อยึดเหนี่ยวและข้อพึงระลึก อยากยกตัวอย่างรูปแบบบางส่วนเกี่ยวกับ
พฤติกรรมก้าวร้าวที่มักจะปรากฏให้เห็นเสมอๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อสังเกต และเพื่อให้ “ตั้งรับ”
ได้ถูกที่ถูกทาง พวกนี้คือพวก :

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
◆ ขับรถด้วยความเร็วสูง ปาดหน้าปาดหลัง

◆ ไม่สนใจผู้อื่น และไม่สนใจเครื่องหมายป้ายทาง

◆ เปลี่ยนเลนโดยปราศจากความเกรงใจคนอื่น

◆ ไม่ให้สัญญาณก่อนปฏิบัติการใดๆ

◆ มีพฤติกรรมเยาะเย้ยผู้อื่น

◆ พูดจาหยาบคายไม่สุภาพ

◆ ขับรถจี้ท้ายอย่างประมาท และข่มขู ่

◆ ขับรถและหยุดรถกีดขวางทางผู้อื่น

◆ ใช้สัญญาณไฟ หรือแตรไล่ หรือข่มขู่

◆ วางท่าด้วยท่วงที “นักเลง”

67
ข้อยึดเหนี่ยวและข้อพึงระลึก :
1) จงขับรถด้วยความปลอดภัย รักษาวินัย และมีน้ำใจ
2) อย่าขับรถในสภาพที่ร่างกายขาดความพร้อม ทั้งนี้เพราะคนที่ร่างกายขาดความพร้อม
มักมีอารมณ์แปรปรวน อาจเผลอโต้ตอบได้ง่าย
3) หลีกเลี่ยงการโต้แย้งและตอบโต้ เพราะการโต้แย้ง หรือตอบโต้จะนำไปสู่อารมณ์
และอารมณ์นำไปสู่อุบัติเหตุ หรือการวิวาท ถามตัวเองก่อนว่ามันคุ้มหรือไม่ที่จะทำ
เหมือนคำโบราณที่เคยสอนไว้ว่า “อย่าเอาไม้สั้นไปรันขี้”
4) สุภาพและยกประโยชน์ให้ผู้อื่นในกรณีที่ไม่แน่ใจ
5) รักษาระยะห่างและให้ช่องว่างแก่ผู้ก้าวร้าว ถือว่าเขาเป็นคนที่น่าสงสารเพราะ

หลงผิดในตัวเอง
คิดเสมอว่ารถเป็นอาวุธชนิดหนึ่งที่ทำร้ายผู้อื่นได้ทุกเมื่อ ท่านอาจเป็นผู้ก่ออาชญากรรม
หากได้รับการกระตุ้นจากผู้ที่ก้าวร้าว...จงให้อภัยเขา และอย่าเอาเป็นเยี่ยงอย่าง
ท่ า นอาจคิ ด ว่ า ข้ อ แนะนำและข้ อ พึ ง ระลึ ก ที่ ก ล่ า วมาเป็ น เสมื อ นคำเตื อ นที่ เ พ้ อ ฝั น

หากได้พิจารณาอย่างจริงจังแล้วก็จะเข้าใจว่าเป็น “สัจธรรม” ที่หลายๆ คนได้รู้ซึ้งเมื่อสายแล้ว


คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

68
หมวดที่ 3

เทคนิคการขับรถปลอดภัยในสภาวการณ์ต่างๆ (12)

รถคว่ำ :
“การพลิกคว่ำของรถบรรทุก มิใช่เพียงแค่อุบัติเหตุร้ายแรงเท่านั้น หากแต่ยังเกี่ยวพัน
ถึ ง เรื่ อ งมลพิ ษ และสิ่ ง แวดล้ อ ม ตลอดจนถึ ง ปั ญ หาการจราจรติ ด ขั ด คราวละหลายๆ

ชั่วโมง มูลเหตุพื้นฐานสำคัญที่นำไปสู่การคว่ำของรถ ส่วนมากมาจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่
อย่างเช่น อ่อนเพลีย หลับใน ขับเร็ว ประมาทขาดทักษะ และความแปรปรวนทางอารมณ์
รวมทั้งชนิดและสิ่งของที่บรรทุก ของเหลว ของแข็ง ตู้เล็กตู้ใหญ่ สภาพถนน ผิวจราจร
ทัศนวิสัย ฝนตก หมอกลงฯ ก็มีส่วนด้วยเหมือนกัน”

ปัจจัยหลักที่เป็นมูลเหตุชักนำไปสู่การคว่ำของรถ :
1) การเบรกที่รุนแรง :

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
การเบรกทำให้ โ มเมนตั ม โยนไปข้ า งหน้ า มี ผ ลต่ อ การทรงตั ว ของรถ และจะยิ่ ง

เลวร้ายยิ่งขึ้น ถ้าเกิดต้องเบรกรุนแรงในโค้ง อาการลื่นไถล หรือล้อล็อก อาจเกิด


ตามมาเป็นของแถม ทางแก้ไข คือ หลี ก เลี่ ย งการเบรกรุ น แรง ทั้ ง ขณะขั บ

ในทางตรงและทางโค้ง
2) จุดศูนย์ถ่วง (Centre of Gravity) :
คือจุดกลางที่น้ำหนักกระจายออกและก่อให้เกิดความสมดุล จุดศูนย์ถ่วงของรถ

จะแปรเปลี่ ย นไปเพราะลั ก ษณะตั ว รถ น้ ำ หนั ก และการบรรทุ ก ที่ ส ำคั ญ มากๆ

คือ พฤติกรรมการขับของผู้ขับขี่ โดยทั่วไปความสูงและช่วงความยาวของฐานล้อ

จะเป็นตัวกำหนดการทรงตัวของรถ การป้องกันในสาเหตุนี้ คือความระมัดระวัง
พฤติกรรมในการขับขี่ โดยเฉพาะในเรื่องความเร็ว (ความเร็วเป็นต้นเหตุใหญ่

ที่ทำให้แรงต่างๆ มีพลัง) การเลี้ยว การขับเข้า–ออกโค้ง การขับบนถนน

ที่ ช ำรุ ด หรื อ ลาดเอี ย งฯ เหล่ า นี ้ เ ป็ น มู ล เหตุ ตั ว แปรที่ ช่ ว ยให้ ก ารคว่ ำ ของรถ

ประสบความสำเร็จได้ทั้งสิ้น

69
3) แรงเหวี่ยงหนีศูนย์ :
คื อ แนวโน้ ม ของวั ต ถุ (รถ) ที่ จ ะดึ ง ตั ว เองออกจากศู น ย์ ก ลาง ต้ น เหตุ ก็ ค ื อ

การขับเข้าโค้ง หรือวงเลี้ยวด้วยความเร็วสูง โดยเฉพาะกับโค้งที่วกไปวนมา ฉะนั้น
จึงต้องระมัดระวังในการใช้ความเร็ว ในการขับเข้าโค้งหรือวงเลี้ยว การหมุน
หรือหักพวงมาลัยอย่างรวดเร็วหรือรุนแรงก็เป็นต้นเหตุได้ด้วยเหมือนกัน
4) ลักษณะสภาพถนนและผิวจราจร :
ถนนที่ ไ ม่ ไ ด้ ล าดยาง ถนนที่ ม ี ค วามลาดเอี ย ง ถนนแคบ ทางโค้ ง ถนนชำรุ ด

ผิวจราจรที่บดอัดด้วยลูกรังหรือดิน ถนนที่เป็นกรวดเป็นทราย เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง

ที่ส่งผลต่อการทรงตัวของรถทั้งนั้น ผู้ขับขี่จะต้องใช้การสังเกตการณ์ที่รอบคอบ
คาดการณ์ดี และมีความพร้อมในการขับขี่ตลอดเวลา

สิ่งที่ควรคำนึง :
◆ ต้องมีความพร้อมในการขับขี่ตลอดเวลา (ทั้งทางกายและสภาวะทางอารมณ์)
◆ ใช้ ก ารสั ง เกตการณ์ ท ี่ ด ี ใช้ ก ารคาดการณ์ ท ี่ ร อบคอบในสถานการณ์ ท ี่ ผั น แปร

เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเกี่ยวด้วยเรื่องถนนหนทาง ทัศนวิสัย และพฤติกรรมของผู้อื่นฯ


◆ ลดและใช้ความเร็วให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในทุกสภาวการณ์

◆ ใช้เกียร์ให้ถูกต้องสัมพันธ์กับความเร็ว
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

◆ ใช้และหมุนพวงมาลัยอย่างนุ่มนวล
◆ ทิ้งช่วงให้ห่างจากรถคันหน้ามากๆ เอาไว้ (สามารถแก้ไขเหตุฉุกเฉินได้แต่เนิ่นๆ)
◆ ระวังเสมอเมื่อจะขับเข้า–ออกโค้ง และขณะเลี้ยว

◆ หลีกเลี่ยงการใช้ทางแคบๆ (ถ้าทำได้) หรือทางลาดชันมากๆ

◆ ระวังไหล่ทางอ่อนเวลากลับรถ

◆ ระวังรถเล็กแทรกขณะเลี้ยว ใช้สัญญาณแตรเตือนหากเห็นว่าสมควรหรือจำเป็น

◆ ใช้สัญญาณให้ถูกต้อง (ให้ผู้อื่นได้มีเวลาเตรียมตัวเตรียมการบ้างพอสมควร)

อุบัติเหตุรถพลิกคว่ำไม่ใช่เรื่องของเวรกรรม แต่เกิดจากการกระทำของคน (ผู้ขับขี่)


เสี ย เป็ น ส่ ว นใหญ่ การดู แ ลแก้ ไ ขจึ ง ไม่ พ ้ น คนผู ้ ขั บ ขี่ การมี ส่ ว นสร้ า งมลพิ ษ และทำลาย

สิ่งแวดล้อมที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อถือเป็นการทำร้ายสังคมโดยรู้ล่วงหน้า จะว่า

สร้างเวรสร้างกรรมก็คงไม่ผิด

70
หมวดที่ 3

เทคนิคการขับรถปลอดภัยในสภาวการณ์ต่างๆ (13)

รถลื่นไถลและรถหมุน :
“รถลื่นไถล หรือหมุน หากถึงขั้นกลายเป็นอุบัติเหตุ ย่อมหมายถึงบทเรียนที่ขมขื่นของ
ผู้ขับขี่ หากยังไม่ถึงขั้นเป็นอุบัติเหตุก็แค่ฝันร้ายที่ไม่มีผู้ขับขี่คนไหนอยากเจอ มูลเหตุใหญ่

มักหนีไม่พ้นพฤติกรรมและทักษะของผู้ขับขี่ เช่น การใช้ความเร็วสูงเกินไป การเบรกอย่างรุนแรง


การเหยียบคันเร่งเร่งเร็วเกินไป การหมุนพวงมาลัยรวดเร็ว เป็นต้น อาจมีทัศนวิสัย สภาพถนน
และพฤติ ก รรมของผู ้ ขั บ ขี่ ค นอื่ น ๆ มาเกี่ ย วข้ อ งบ้ า งเป็ น ครั ้ ง คราว รถบรรทุ ก ตอนเดี ย ว

จะออกอาการคล้ายๆ กับรถเล็กทั่วไป แต่รถพ่วง หรือกึ่งพ่วงจะออกอาการไถลออกด้านข้าง
ดังนั้นการแก้ไขจึงแตกต่างกันในบางส่วน”

สาเหตุและการแก้ ไขการลื่นไถลและหมุนของรถบรรทุกทั่วๆ ไป :

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
1) การลื่นไถลและหมุนที่เกิดจากล้อขับเคลื่อน (ล้อจักร) :
สาเหตุเกิดจากล้อปั่นฟรีเพราะการเร่งความเร็ว การเบรกจนล้อล็อก หรือหัก

พวงมาลัยมากเกินพอดี การแก้ไขในกรณีที่เร่งความเร็วและรถออกอาการลื่นไถล

ผู้ขับขี่ต้องถอนเท้าจากคันเร่งจนรถเริ่มจับเกาะถนน แล้วจึงแตะคันเร่งเบาๆ อีกครั้ง
ในกรณีที่เกิดขึ้นเพราะการเบรกรุนแรง ผู้ขับขี่ต้องถอนเท้าจากเบรก เมื่อรถ

เริ่มจับเกาะถนนแล้วจึงค่อยเหยียบเบรกเบาๆ อีกครั้ง
หากรถออกอาการไถลหรื อ หมุ น ออกด้ า นข้ า ง ผู ้ ขั บ ขี่ ต ้ อ งปรั บ แต่ ง หมุ น

พวงมาลัย (ไม่มากไม่น้อยเกินไป) ไปตามทิศทางที่ท้ายรถไถลหรือหมุนไป
ในกรณี ท ี่ เ ป็ น รถกึ่ ง พ่ ว ง การเบรกเบาๆ ที่ ห างจะช่ ว ยให้ ก ารทรงตั ว ดี ข ึ ้ น

และวิ่งไปตามแนวทางเดิม
2) การลื่นไถลและหมุนที่เกิดจากล้อหน้า :
สาเหตุที่เกิดอาการดังกล่าว ส่วนมากมีพื้นฐานมาจากการกระจายน้ำหนักบรรทุก
ไม่ถูกต้อง คือบรรทุกในตอนหน้าเบาเกินไป รวมทั้งการใช้ความเร็วสูง หรือไม่ก็หัก
พวงมาลัยกะทันหัน เป็นต้น

71
ข้อพึงระวังในเรื่องน้ำหนักบรรทุก คือการกระจายน้ำหนักบรรทุกที่สมดุล และ

ผู้ขับขี่พึงต้องตรวจตราให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทาง หากไม่สามารถแก้ไขเรื่อง

น้ำหนักบรรทุกได้ต้องใช้ความระมัดระวังให้มากๆ โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ความเร็ว

ที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์
ในกรณีที่การลื่นไถลและหมุนเกิดจากการใช้ความเร็วสูง :
◆ ถอนเท้าออกจากคันเร่ง

◆ ตั้งล้อหน้าให้ตรง

◆ แตะเบรกเบาๆ หรือราเบรก

ในกรณีที่รถลื่นไถลและหมุนที่เกิดจากการเบรกอย่างรุนแรง :
◆ ถอนเท้าออกจากเบรก

◆ ตั้งล้อให้ตรง

◆ เมื่อรถหยุดหมุนหรือหยุดลื่นไถลค่อยๆ เหยียบเบรกเบาๆ อีกครั้งหนึ่ง

3) การลื่นไถลและหมุนที่เกิดจากทั้งล้อหน้าและล้อหลังพร้อมกัน :
สาเหตุส่วนมากเกิดเพราะการใช้ความเร็วสูง การเบรกกะทันหัน หรือเพราะถนนลื่น
การแก้ไขการลื่นไถลและหมุนที่เกิดเพราะการเบรกกะทันหัน ผู้ขับขี่ต้องถอนเท้า
ออกจากเบรก จนกระทั่งล้อเริ่มหมุนหรือหันได้ ลดความเร็วลงให้เหมาะสมนุ่มนวล
แล้วจึงแตะเบรกเบาๆ เมื่อรักษาแนวทางขับขี่ได้แล้ว
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง


การลื่นไถลและหมุนของรถพ่วง :
มูลเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นเพราะตัวหางไม่ได้บรรทุกสิ่งของ หรือบรรทุกแต่เบา

เกินไป ส่วนสาเหตุอื่นๆ ก็เหมือนๆ กัน หนีไม่พ้นเรื่องการใช้ความเร็วสูง และการเบรกรุนแรง
หรื อ เบรกกะทั น หั น การลื่ น ไถลเพราะตั ว พ่ ว งหรื อ ตั ว ลู ก จะไม่ ส่ ง สั ญ ญาณบอกล่ ว งหน้ า

ผู้ขับขี่จะรู้ก็ต่อเมื่อการลื่นไถล หรือหมุนเกิดขึ้นแล้ว

วิธีและทางแก้ ไข :
ก) ถอนเท้าออกจากเบรกจนกระทั่งรถมีอาการจับเกาะถนนดีขึ้น และแตะคันเร่ง

เพิ่มความเร็วเล็กน้อย จะช่วยดึงหางให้เข้าแนวขนานกับตัวหัวลาก
ข) ถ้าพอมีความรู้อยู่บ้าง ลองเช็กการตั้งวาล์วเบรกหางดู ว่าได้สัดส่วนถูกต้องดีหรือไม่
ทั้งนี้เพื่อป้องกัน “หวยออกซ้ำ”
จะอย่างไรก็ตามการป้องกัน ย่อมดีกว่าการแก้ไข หลักที่สำคัญ คือ การใช้ความเร็ว

ที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ และเทคนิคการใช้เบรกแก้ไขสถานการณ์


72
หมวดที่ 3

เทคนิคการขับรถปลอดภัยในสภาวการณ์ต่างๆ (14)

อุบัติเหตุ :
“ในฐานะมืออาชีพ ท่านใช้เวลาอยู่บนท้องถนนมากกว่าผู้อื่น ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เอง

ที่ต้องอยู่ภายใต้ความเสี่ยงมากกว่าผู้อื่นเช่นกัน นอกจากความเสียหายร้ายแรงแล้ว บางครั้ง
ยังมีเรื่องมลพิษ เรื่องสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวด้วย เช่น อุบัติเหตุที่เกิดกับรถบรรทุกสินค้า
อั น ตราย หรื อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ไ วไฟ เป็ น ต้ น อุ บั ต ิ เ หตุ เ ป็ น เสมื อ นบทเรี ย นบทสุ ด ท้ า ยของ

ความปลอดภัย แม้ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ขับขี่คนใดต้องการ แต่ก็ยากที่จะการันตีว่าชาตินี้จะไม่พบพาน

จึงควรรู้ไว้ (ไม่ต้องใส่บ่าแบกหาม) ก็ไม่เสียหาย”

ข้อพึงระลึกและพึงกระทำโดยหลักเกณฑ์ทั่วๆ ไป :
1) หยุดรถและดับเครื่องยนต์ทันที โดยเฉพาะกับรถบรรทุกวัตถุไวไฟ

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
2) เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน
3) จัดการและขอความช่วยเหลือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์ เพื่อเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ
ออกจากรถโดยเร็ว (ในกรณีที่มีไฟลุกไหม้รถ หรือขณะมีน้ำมันรั่วไหล หรือมีผู้บาดเจ็บ
ตกลงมาและมีอัตราเสี่ยงที่จะถูกชนจากรถอื่นที่วิ่งไปมา)
4) จั ด ตั ้ ง ป้ า ยเครื่ อ งหมายสามเหลี่ ย ม (ทั ้ ง ด้ า นหน้ า และด้ า นหลั ง ด้ ว ยระยะห่ า ง

ไม่น้อยกว่า 50 เมตร)
5) ใส่เสื้อสะท้อนแสงเพื่อให้เป็นที่สังเกตเห็นแต่ไกล (ถ้ามี)
6) แจ้ ง หน่ ว ยงานองค์ ก รภาครั ฐ หรื อ มู ล นิ ธ ิ หรื อ เอกชนเพื่ อ ขอความช่ ว ยเหลื อ

โดยใช้โทรศัพท์มือถือ หากขัดข้องไม่สามารถทำได้เพราะขาดเครื่องมือสื่อสาร หรือ
เหตุเกิดในที่ห่างไกล อาจต้องขอความช่วยเหลือจากรถที่ผ่านไปมา มอเตอร์ไซค์
หรือประชาชนละแวกใกล้เคียงให้ช่วยแจ้งขอความช่วยเหลือ
7) เมื่อรถพยาบาล หรือหน่วยงานบรรเทาเหตุฉุกเฉินมาถึง และได้รับการร้องขอ

ก็ ช่ ว ยเหลื อ ผู ้ บ าดเจ็ บ ต่อ ไปในฐานะ “ลู ก มื อ ” และปฏิ บั ต ิ ต ามคำแนะนำอย่า ง
เคร่งครัด

73
8) ในกรณีสินค้าที่ขนส่งเป็นวัตถุอันตรายหรือวัตถุไวไฟ ให้ดำเนินการแก้ไขตามลำดับ
ขั้นตอนที่กำหนดโดยบริษัทเจ้าของสินค้า หรือองค์กรนั้นๆ (ปกติแล้ว บริษัท หรือ
องค์กรเจ้าของสินค้า จะมีคู่มือที่กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

มอบให้ผู้ขับขี่ หรือติดรถไว้อยู่แล้ว)
9) เก็บรายละเอียดข้อมูลที่จำเป็น :
◆ ชื่ อ และที่ อ ยู่ ท ี่ ต ิ ด ต่ อ ได้ ข องผู ้ ขั บ ขี่ ท ี่ ร่ ว มก่ อ อุ บั ต ิ เ หตุ ชื่ อ และที่ อ ยู่ ข องบุ ค คล

ที่โดยสารมากับรถคันนั้น (คันที่ร่วมก่ออุบัติเหตุ)
◆ ชื่อและที่อยู่ของผู้เห็นเหตุการณ์ หรือรู้เห็นเหตุการณ์

◆ ชนิดและหมายเลขใบอนุญาตขับรถของผู้ขับขี่ที่เกี่ยวข้อง

◆ วัน เวลา สถานที่ ทัศนวิสัย ความเร็ว และความเสียหาย (เช่น ความเสียหาย


ต่อรถ และรถของคู่กรณี สินค้า (ปริมาณและหีบห่อฯ) ผู้บาดเจ็บฯ หากประเมิน


เป็นมูลค่าเบื้องต้นได้ก็จะยิ่งดี ข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์อย่างมากในภายหลัง
ตัวท่านเองก็ต้องพร้อมและยอมให้ข้อมูลแบบเดียวกันกับคู่กรณี หรือผู้เกี่ยวข้อง
เช่นเดียวกัน
10) ในกรณีที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจัดการ ต้องพยายามแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ

ทราบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ (อย่างช้าที่สุดไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง)
11) รายงานให้ผู้บังคับบัญชา หรือเจ้าของสินค้า และบริษัทประกันภัยทราบโดยด่วน
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง

การแจ้งเหตุ หรือรายงานช้าโดยขาดเหตุผลสนับสนุน อาจเข้าข่ายหลบหนีซึ่งในมุมมอง


ของกฎหมายจะสันนิษฐานไว้ก่อนว่าท่านเป็นผู้กระทำผิด และจะทำให้เหตุการณ์บานปลาย

ไปได้อย่างเหลือเชื่อ
คู่มือแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่บริษัทหรือองค์กร หรือเจ้าของสินค้ามอบให้
เป็นสิ่งที่ทรงประโยชน์อย่างยิ่งอย่าทิ้งหาย ควรทบทวนบ่อยๆ จนขึ้นใจ รวมทั้งเก็บรักษาไว้ให้ดี
พบบ่อยๆ ที่ผู้ขับขี่ไม่รู้ว่าเก็บไว้ที่ไหน ของที่มองว่าไม่มีค่า
หรื อ ไม่ ม ี ค วามสลั ก สำคั ญ นั่ น แหละ อาจช่ ว ยชี ว ิ ต และ

ลดความร้ายแรงให้ท่านได้อย่างนึกไม่ถึงเมื่อถึงคราวจำเป็น
หากได้ใช้เทคนิคการขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุผนวกกับ
ความรอบคอบตลอดเวลาที่ขับ ก็จะไม่จบลงที่บทสุดท้าย
ของความปลอดภัย

74
หมวดที่ 3

เทคนิคการขับรถปลอดภัยในสภาวการณ์ต่างๆ (15)

การใช้เกียร์และการเปลี่ยนเกียร์ :
“การใช้เกียร์และการเปลี่ยนเกียร์ มีผลโดยตรงต่อความคล่องตัวและการทรงตัวของรถ
มี แ รงและมี ก ำลั ง ที่ จ ะแก้ ไ ขเหตุ ก ารณ์ และสถานการณ์ฉุ ก เฉิ น ได้ ทั น เหตุ ก ารณ์ทั น เวลา
นอกจากการป้ อ งกั น อุ บั ต ิ เ หตุ แ ล้ ว ยั ง แผ่อ านิ ส งส์ไ ปถึ ง การประหยั ด น้ ำ มั น เชื ้ อ เพลิ ง และ

ค่าใช้จ่ายอีกด้วย”
สิ่งสำคัญในการเปลี่ยนเกียร์สำหรับนักขับรถมืออาชีพ คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง
ความเร็วกับรอบเครื่องยนต์ รถระบบเกียร์ธรรมดาบางยี่ห้อ ถ้าความเร็วไม่สัมพันธ์กับรอบเครื่อง
แม้จะดันจนก้านเกียร์งอก็เข้าไม่ได้ บางยี่ห้ออาจเข้าได้ด้วยการข่มขืน ไม่ช้าไม่นานก็เสียหาย
กลายเป็ น รถที่ เ ข้ า เกี ย ร์ ไ ด้ เ ฉพาะคนขั บ ประจำเพี ย งคนเดี ย วไป ก็ ม ี ผู ้ ขั บ ขี่ ท ี่ ใ ช้ ร ะบบ

เกียร์เดินหน้า 5 หรือ 6 เกียร์เดินหน้า อาจไม่มีปัญหากวนใจอะไรมาก แต่สำหรับ “มือใหม่”

คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง
ที่ต้องขับรถที่มีเกียร์เดินหน้าตั้งแต่ 8 เกียร์ขึ้นไป คงยุ่งยากไม่น้อยในช่วงแรกๆ”
การที่จะเปลี่ยนเกียร์ให้ง่ายๆ และนุ่มนวลนั้น อาจต้องเรียนรู้เทคนิค รู้ใจกันเอาไว้บ้าง
ระบบที่จะแนะนำต่อไปนี้ เรียกกันทั่วไปว่า “ระบบเบิ้ลคลัตช์” (Double De–clutch) :

เปลี่ยนเป็นเกียร์สูงขึ้น เปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำลง
1. ถอนเท้าจากคันเร่ง เพื่อลดความเร็ว 1. เหยียบคลัตช์ลงให้สุด ขณะเดียวกัน
ขณะเดียวกัน เหยียบคลัตช์ลงให้สุด ก็ถอนเท้าจากคันเร่งเล็กน้อยให้พอเหมาะ
กับความเร็วที่จะเปลี่ยนเกียร์ (ไม่ถึงกับสุด
ปลายคันเร่ง)
2. เลื่อนคันเกียร์มายังตำแหน่งเกียร์ว่าง 2. เลื่อนคันเกียร์มายังตำแหน่งเกียร์ว่าง
(ขณะที่ความเร็วลดลง) และปรับความเร็วให้สูงขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย
3. เมื่อรอบเครื่องลดลงพอเพียงกับการ 3. ปล่อยคลัตช์ เมื่อเพิ่มความเร็วขึ้นมา
เปลี่ยนเกียร์แล้ว ขยับปล่อยคลัตช์ พอเหมาะกับรอบเครื่องที่จะเปลี่ยนเกียร์
นิดหน่อย แล้วเหยียบคลัตช์ซ้ำลงสุด เหยียบคลัตช์อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้
ทั้งนี้เพื่อปรับให้เกียร์เข้าได้อย่างนิ่มนวล เข้าเกียร์ง่ายขึ้น

75
เปลี่ยนเป็นเกียร์สูงขึ้น เปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำลง
4. เลื่อนคันเกียร์ไปยังตำแหน่งเกียร์สูง 4. เลื่อนคันเกียร์ไปยังตำแหน่งเกียร์ต่ำ
ที่ต้องการ ที่ต้องการ
5. ปล่อยคลัตช์อย่างนิ่มนวล ขณะเดียวกัน 5. ปล่อยคลัตช์อย่างนิ่มนวล ขณะเดียวกัน
ก็ค่อยๆ กดคันเร่งเพิ่มความเร็ว ก็ค่อยๆ กดคันเร่งเพิ่มความเร็ว
อย่างนุ่มนวลและต่อเนื่อง อย่างนุ่มนวลและต่อเนื่อง

ตัวอย่างการเปลี่ยนเกียร์สำหรับรถสายพันธุ์ยุโรปทั่วๆ ไปที่อาจใช้เป็นแนวทางได้บ้าง :

เกียร์ รอบเครื่อง (ประมาณ)
1 ไป 2 1,200 r.p.m.
2 ไป 3
1,400 r.p.m.
3 ไป 4 1,600 r.p.m.
4 ไป 5 1,800 r.p.m.
5 ไป 6 1,800 r.p.m.
ตั้งแต่ 6 ขึ้นไป 1,800 r.p.m.
คู่ มื อ ห ลั ก ก า ร ขั บ ร ถ ข น ส่ ง


อย่างไรก็ตามการศึกษาจากคู่มือเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ฝึกใช้และเปลี่ยนเกียร์ให้ถูกต้อง

เสียตั้งแต่แรก จะเป็นประโยชน์กับตน และสมเป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง

พิมพ์ที ่ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด


79 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทร. 0-2561-4567 โทรสาร 0-2579-5101
นายโชคดี ออสุวรรณ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา พ.ศ. 2552

76
ด้วยความห่วงใยจาก
งานผลิตสื่อและส่งเสริมความปลอดภัย
สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก โทร. 0-2271-8621
ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารและรับเรื่องร้องเรียน โทร. 1584
สนับสนุนโดย
กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม
www.dlt.go.th
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
พร้อมรถ 1
1. ความรู้เบื้องต้นก่อนการใช้รถบรรทุก 1
◆ เครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ 1
◆ ศึกษาคู่มือก่อนการใช้รถ 3
◆ การสตาร์ทเครื่องยนต์ 4
◆ หลอดไฟเตือนและเกจวัดที่แผงหน้าปัด 5
◆ อุณหภูมิทำงานปกติของเครื่องยนต์ 6
◆ เบรกไอเสีย 8
◆ ดิฟเฟอร์เรนเชียลล็อก (ล็อกเฟืองท้าย) 8
◆ ระบบเบรกรถสิบล้อ 9
◆ ระบบคลัตช์ 10
◆ ระบบกันสะเทือนแบบถุงลม 10
◆ พวงมาลัยเพาเวอร์ช่วยผ่อนแรงผู้ขับขี่ 11
◆ เทอร์โบชาร์จเจอร์ 11
◆ ความหมายของขนาดและสัญลักษณ์ของยางเรเดียล 12
2. การตรวจสภาพรถบรรทุกก่อนใช้งาน 14
◆ การตรวจสภาพรถก่อนใช้งานด้วยคำนิยามง่ายๆ บี-แวกอน (BE-WAGON) 14
◆ ตรวจระบบเบรก 14
◆ ตรวจระบบไฟฟ้า 18
◆ ตรวจระดับน้ำหล่อเย็นในหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ 20
◆ ตรวจยางและกระทะล้อ 22
◆ ตรวจระบบน้ำมันเชื้อเพลิง 25
◆ ตรวจน้ำมันเครื่อง 27
◆ ตรวจเสียงดังตามจุดต่างๆ 28
3. เทคนิคการขับรถประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง 29
4. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อรถเสีย 30
◆ การพ่วงแบตเตอรี่ 30
◆ เครื่องยนต์ร้อนจัด 31
◆ ยางระเบิด 32

You might also like