สำเร็จwean

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 19

แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ

ยุพา วงศ์รสไตร* พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)


อรสา พันธ์ภักดี** พย.ด.
สุปรีดา มั่นคง*** Ph.D. (Nursing)

บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ การสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริม


ความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ แนวปฏิบัติการพยาบาลสร้างขึ้นตามกระบวนการใช้
ผลการวิจัย เพื่อช่วยให้บุคลากรในทีมสุขภาพให้การดูแลผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ แนวปฏิบัติการพยาบาลยังช่วยส่งเสริมในการติดต่อสื่อสารภายในทีมสุขภาพ และได้รับ
ข้อมูลที่จำเป็นในการวางแผนการพยาบาลแก่ผู้ป่วยในการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยและผลงานอ้างอิงทางวิชาการจำนวน 42 เรื่อง
แนวปฏิบัติการพยาบาลจำแนกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ระยะหย่า
เครื่องช่วยหายใจ และระยะหลังการหย่าเครื่องช่วยหายใจ แนวปฏิบัติได้มุ่งเน้นในเรื่องการ
ประเมินความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ การติดตามและเฝ้าระวังผู้ป่วยขณะหย่าเครื่อง
ช่วยหายใจ รวมทั้งการประเมินผลลัพธ์ในแต่ละระยะของการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และแนว
ปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างขึ้นผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในแง่ของความถูกต้องของเนื้อหา
และผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นว่าสามารถนำไปปฏิบัติได้ในคลินิก การศึกษาครั้งนี้ มีข้อเสนอ
แนะว่าควรนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเข้าสู่การปฏิบัติการพยาบาล เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีรูปแบบ
ในการดูแลผู้ป่วยที่หย่าเครื่องช่วยหายใจ และควรนำแนวปฏิบัตินี้ไปทดลองปฏิบัติในคลินิก เพื่อ
ประเมินแนวปฏิบัติว่าสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เหมาะสมกับหน่วยงาน และติดตามดูผลลัพธ์
ของการใช้แนวปฏิบัติ นอกจากนั้นควรมีการพัฒนา ปรับปรุงแนวปฏิบัติการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้เกิดคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยต่อไป

คำสำคัญ: แนวปฏิบัติทางการพยาบาล ความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจ เครื่องช่วย


หายใจ



*อาจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์


**รองศาสตราจารย์ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
***ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Vol. 14 No. 3 347


แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา Knebel, 1991) แต่ก็พบว่ามีผู้ป่วยไม่สามารถหย่า


เครื่องช่วยหายใจได้สำเร็จถึงร้อยละ 37 (Cook et al., 2003)
ในยุ ค ปั จ จุ บั น เทคโนโลยี ด้ า นสุ ข ภาพมี ค วาม ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจใหม่หลังจากหย่าเครื่องช่วย
ก้าวหน้าอย่างมาก เครื่องช่วยหายใจเป็นตัวอย่างหนึ่ง หายใจร้อยละ 24 (Vassilakopoulos, 1999 อ้างใน
ของเทคโนโลยีขั้นสูง (technological advance) ที่ใช้ ศิริวัลห์ วัฒนสินธ์, 2545) ทำให้เพิ่มค่าใช้จ่าย ผู้ป่วย
ช่วยชีวิตผู้ป่วยวิกฤตที่มีระบบหายใจล้มเหลวให้ได้รับ อยู่โรงพยาบาลนานขึ้น อัตราเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน
ออกซิเจน และมีการแลกเปลี่ยนก๊าซที่เพียงพอต่อร่างกาย เพิ่มขึ้น เกิดภาวะเครียด ภาวะหมดหนทางช่วยเหลือ
(Esteban et al., 2004) ถึงแม้ว่าเครื่องช่วยหายใจจะ (helplessness) และภาวะสิ้นหวัง (hopelessness)
มีความสำคัญในการช่วยชีวิตของผู้ป่วย แต่การใช้เครื่อง (อรสา พันธ์ภักดี, 2542; Burns, Burns, & Truwit, 1994)
ช่วยหายใจมากกว่า 3 วัน ก็ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะ ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลซึ่งเป็นผู้
แทรกซ้ อ นทั้ ง ด้ า นร่ า งกายและจิ ต ใจตามมาเช่ น กั น ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด จึงควรให้ความสนใจและเอาใจใส่
(Burns, 1999) ภาวะแทรกซ้อนทางด้านร่างกาย ได้แก่ ต่อปัจจัยต่างๆที่มีผลกับความสำเร็จ หรือล้มเหลวใน
ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (ventilator การหย่าเครื่องช่วยหายใจ เพื่อช่วยส่งเสริมและช่วย
associated pneumonia) (Tobin, 1994 อ้างใน วิภา เหลือผู้ป่วยสามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจได้สำเร็จ
ภัทร ซังขาว, 2544) ถุงลมปอดแตกจากความดันบวก ปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่อง
(barotraumas) พิษจากออกซิเจน เลือดออกใน ช่วยหายใจ ประกอบด้วย 1) การประเมินความพร้อม
กระเพาะอาหาร (ศิริวัลห์ วัฒนสินธ์, 2545; อภิรักษ์ ในการหย่าเครื่องช่วยหายใจทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ปาลวัฒน์วิไชย, 2546) กล้ามเนื้อหายใจอ่อนล้าจาก (Brochard et al., 1994; Cook et al., 2003; Esteban
การใช้งานน้อยลง และหลอดลมตีบจากการใส่ท่อช่วย et al., 1995; Knebel 1991; MacIntyre, 2001) 2)
หายใจนาน (อภิรักษ ปาลวัฒน์วิไชย, 2546) นอกจาก กระบวนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ รวมทั้งวิธีการหย่า
นั้น การใส่เครื่องช่วยหายใจยังทำให้ผู้ป่วยไม่สุขสบาย เครื่องช่วยหายใจแบบต่างๆ (จิราพร ชลธิชาชลาลักษณ์,
เจ็บปวด จากการถูกจำกัดการเคลื่อนไหว การดูดเสมหะ 2547; Brochard et al., 1994; Esteban et al.,
ทำให้ผู้ป่วยพักผ่อนไม่เพียงพอ นอกจากนี้ การใส่เครื่อง 1995; Knebel et al., 1994) และสมรรถนะของ
ช่วยหายใจยังทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารได้อย่างปกติ บุ ค คลากรทางสุ ข ภาพในการหย่ า เครื่ อ งช่ ว ยหายใจ
รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ยิ่งทำให้ผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งการทำงานแบบสหสาขาวิชาชีพ (สุนทรี เจียร
มีความวิตกกังวลมากยิ่งขึ้น (พูนทรัพย์ วงศ์สุรเกียรติ์, วิทยกิจ, 2546; Ely et al., 1996; Kollef et al.,
2545; อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย, 2546; Burns, Fahey, 1997) นอกจากนี้ การมีแนวปฏิบัติในการหย่าเครื่อง
Barton, & Slach, 1991; Knebel, 1991) ช่วยหายใจ จะช่วยส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่อง
ด้ ว ยเหตุ นี้ เ มื่ อ ผู้ ป่ ว ยได้ รั บ การแก้ ไ ขสาเหตุ ที่ ช่ วยหายใจได้ ร วดเร็ ว และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากยิ่ ง ขึ้ น
ทำให้ใส่เครื่องช่วยหายใจจนอาการดีขึ้นแล้ว ควรเริ่ม (กันทิมา พิสิษฐ์กุล, อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย, และ
หย่าเครื่องช่วยหายใจทันที (Epstien, EL-Mokadem, สถาพร ธิติวิเชียรเลิศ, 2545; ทนันชัย บุญบูรพงศ์,
& Purless, 2002) เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ค่าใช้จ่าย 2543; Ely et al., 1996; Kollef et al., 1997)
และจำนวนวันนอนพักรักษาในโรงพยาบาล (Burns, 1999;

348 Rama Nurs J ë September - December 2008


ยุพา วงศ์รสไตร และคณะ

จากประสบการณ์การทำงานในหอผู้ป่วยวิกฤต วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
ของผู้ศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การหย่าเครื่องช่วยหายใจ
จะปฏิบัติตามแบบที่เคยทำมา โดยจะเริ่มหย่าเครื่อง การหย่าเครื่องช่วยหายใจ คือ กระบวนการลด
ช่วยหายใจเมื่อแพทย์เป็นผู้พิจารณาให้เริ่มหย่าเครื่อง การช่ ว ยหายใจในผู้ ป่ ว ยที่ ใ ช้ เ ครื่ อ งช่ ว ยหายใจให้
เท่านั้น บุคลากรจบใหม่มีประสบการณ์น้อยในการประเมิน สามารถกลับมาหายใจได้เอง หรือหยุดการใช้เครื่อง
ผู้ป่วย ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ช่วยหายใจ และผู้ป่วยสามารถถอดเครื่องช่วยหายใจ
ไม่มีแนวทางการปฏิบัติในการหย่าเครื่องช่วยหายใจที่ และท่อช่วยหายใจได้ในที่สุด (อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย,
ชัดเจนเพื่อสื่อสารกันในทีมสุขภาพ การหย่าเครื่องช่วย 2546; Knebel et al., 1994; Martennson & Fridlund,
หายใจจึงไม่มีความต่อเนื่อง เกิดความล่าช้าในการเริ่ม 2002) การหย่าเครื่องช่วยหายใจเป็นกระบวนการที่
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ และใช้เวลาในการหย่าเครื่องช่วย ซับซ้อน ส่งผลให้มีการศึกษาเป็นจำนวนมากในเรื่อง
หายใจมากขึ้น การหย่ า เครื่ อ งช่ ว ยหายใจให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและ
การหย่าเครื่องช่วยหายใจให้ประสบผลสำเร็จ ประสบผลสำเร็จ แนวคิดต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นส่วนใหญ่
ยังเป็นปัญหาในการปฏิบัติ และมีความยากลำบาก สำหรับ จะเสนอประเด็นหลักๆ คือ การแก้ไขสาเหตุของการ
พยาบาลและทีมสุขภาพ เนื่องจากปัจจัยด้านความพร้อม หายใจล้มเหลวจนอาการดีขึ้น แล้วจึงเริ่มการหย่าเครื่อง
ของผู้ ป่ ว ยทั้ ง ด้ า นร่ า งกายและจิ ต ใจที่ แ ตกต่ า งกั น ช่วยหายใจ ประกอบด้วย การประเมินความพร้อม
ความสามารถของบุคลากรในทีมสุขภาพ การสื่อสาร ของผู้ป่วยทางด้านร่างกายและจิตใจ การเริ่มการหย่า
และความร่วมมือในทีมสุขภาพ ความเข้าใจความต้องการ เครื่องช่วยหายใจ และเลือกวิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ของผู้ ป่ ว ยที่ ส่ ง ผลต่ อ ความสำเร็ จ ในการหย่ า เครื่ อ ง ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ถ้าหากผู้ป่วยไม่สามารถหายใจ
ช่วยหายใจ การศึกษาครั้งนี้มุ่งที่สังเคราะห์ความรู้ เองต่อได้ ให้หยุดการหย่าเครื่องช่วยหายใจไว้ก่อนแล้ว
จากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง มาสร้างแนวปฏิบัติการ จึงค่อยเริ่มหย่าเครื่องใหม่เมื่อผู้ป่วยพร้อม และสุดท้าย
พยาบาลในการหย่าเครื่องช่วยหายใจให้ประสบผลสำเร็จ จึงเป็นขั้นตอนการถอดท่อช่วยหายใจถ้าผู้ป่วยสามารถ
เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยในการหย่าเครื่อง หายใจได้เองตามที่กำหนด รวมถึงการติดตามดูแลผู้ป่วย
ช่วยหายใจ เพิ่มพูนความรู้ของทีมสุขภาพในการปฏิบัติ หลังถอดท่อช่วยหายใจแล้ว (Burns, 1999; Burns et al.,
พยาบาล เพื่อส่งเสริมคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยให้มี 1991; Knebel, 1991, Fernando & Esteban, 2003)
ประสิทธิภาพต่อไป การประเมินความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วย
หายใจ จะเริ่มขึ้นเมื่อผู้ป่วยได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ
วัตถุประสงค์ แล้ว 24 ชั่วโมง (Burns et al., 1991; Burns et al.,
2003; Knebel, 1991; MacIntyre, 2001) แพทย์
เพื่อสังเคราะห์แนวปฏิบัติการพยาบาลในการ จะเป็นผู้พิจารณาร่วมกับทีมการพยาบาลให้ประเมิน
หย่าเครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถถอด ความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจทันที การประเมิน
เครื่องช่วยหายใจและหายใจเองได้ ความพร้อมประกอบด้วยการประเมินความพร้อมทั้ง
ทางด้านร่างกายและจิตใจ ได้แก่ 1) ระบบไหลเวียนโลหิต
และการขนส่งออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อของร่างกาย ขึ้นอยู่

Vol. 14 No. 3 349


แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ

กับระบบการทำงานของหัวใจและปริมาณเลือดที่ออก สูงสุดขณะหายใจเข้า (maximal inspiratory pressure)


จากหัวใจใน 1 นาที (cardiac output) ประเมินจาก มากกว่า -20 เซ็นติเมตรน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ ยัง
อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต จังหวะการ มีปัจจัยอื่นๆอีกที่ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จในการ
เต้นของหัวใจอยู่ในเกณฑ์ปกติ และผู้ป่วยควรได้รับยา หย่าเครื่องช่วยหายใจ (ศิริวัลห์ วัฒนสินธ์, 2545;
เพิ่มความดันโลหิตในปริมาณน้อยไม่เกิน 5 ไมโครกรัม Burns et al., 1991; Knebel, 1991)
ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมต่อนาที รวมทั้งการขนส่ง ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วย
ออกซิเจนที่อาศัยเม็ดเลือดแดงเป็นตัวพาออกซิเจนไป หายใจ ได้แก่ 1) การส่งเสริมให้ลดการใช้พลังงาน โดย
ยังเนื้อเยื่อร่างกาย ดังนั้น ผู้ป่วยไม่ควรมีภาวะซีด ประเมิน ลดงานของการหายใจ (work of breathing) ด้วยการ
ได้จาก ฮีโมโกลบินและฮีมาโตคริต (Burns et al., เลือกวิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
1991) 2) การสร้างสารประกอบคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ละราย (Knebel, 1991) วิธีการหย่าเครื่องที่นิยม
(CO2 product) ถ้ามีการเผาผลาญอาหารในร่างกาย มากที่สุดมี 4 วิธีคือ T-piece method (T-piece),
เพิ่มขึ้น เช่น ภาวะชัก ไข้ ติดเชื้อ และได้รับสารอาหาร Continuous Positive Airway Pressure (CPAP),
ประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป จะเกิด CO2 product Synchronized Intermittent Mandatory Ventilation
มากขึ้น ทำให้งานของการหายใจมากขึ้น กล้ามเนื้อจะ (SIMV), Pressure Support Ventilation (PSV)
อ่อนแรง ทนการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้น้อย 3) (ศิริวัลห์ วัฒนสินธ์, 2545; อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย,
ความต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านจิตใจ 2546; Knebel,1991) การเลือกวิธีการหย่าเครื่อง
ถ้าผู้ป่วยมีความกลัว วิตกกังวล และเจ็บปวด ทำให้ผู้ ช่วยหายใจนั้น จะเลือกใช้วิธีไหนมีโอกาสหยุดการใช้
ป่วยหายใจเร็วขึ้น ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้น เครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จได้
ดังนั้นการลดความวิตกกังวล ความเจ็บปวดจะช่วยลด ใกล้เคียงกัน (อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย, 2546) การเลือก
ความต้องการออกซิเจนในร่างกายลง 4) ความแข็งแรง วิธีใดก็ตามควรเป็นวิธีที่เหมาะสมแต่ละรายมากที่สุด
ของกล้ามเนื้อ ซึ่งขึ้นอยู่กับภาวะโภชนาการ น้ำและ (ศิริวัลห์ วัฒนสินธ์, 2545; สุมาลี เกียรติบุญศรี,
เกลือแร่ ถ้าผู้ป่วยได้รับอาหารไม่เพียงพอ หรือไม่มี 2545; Knebel, 1991) 2) การดูแลผู้ป่วยให้ลด
ความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อ ความวิตกกังวลและความกลัว จากการที่ผู้ป่วยใส่เครื่อง
อ่อนแรง ลีบเล็ก ไม่สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ ช่วยหายใจนาน กลัวว่าตนเองจะหายใจเองไม่ได้และ
สำเร็จ 5) ระบบหายใจ ผู้ป่วยต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องตาย โดยเฉพาะผู้มีประสบการณ์หย่าเครื่องช่วย
ก๊าซที่เพียงพอ ได้แก่ มีค่าความดันออกซิเจนในเลือด หายใจไม่สำเร็จมาก่อน รวมทั้งผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ
แดง (PaO2) มากกว่า 60 มิลลิปรอท โดยใช้ความ ไม่สามารถสื่อสารได้ตามปกติ ไม่สามารถบอกความ
เข้มข้นของออกซิเจนน้อยกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 40 ต้องการได้ ทำให้ผู้ป่วยหายใจเร็ว เหนื่อยมากขึ้น
(FiO2) และใช้แรงดันบวก (PEEP) น้อยกว่าหรือ การแลกเปลี่ยนก๊าซไม่มีประสิทธิภาพ ใช้แรงหายใจ
เท่ากับ 5 เซ็นติเมตรน้ำ ขจัดเสมหะในทางเดินหายใจ มากขึ้น (ทนันชัย บุญบูรพงศ์, 2543; Thomas,
ได้ดี มีความแข็งแรงและมีความทนทานของกล้ามเนื้อ 2003) วิธีการช่วยเหลือ คือ ลดความความกลัว วิตก
ในการหายใจ เช่น ปริมาตรลมหายใจออกต่อนาที กังวล และความเจ็บปวด เช่น การให้ข้อมูล การ
(minute ventilation) มีค่า 5-10 ลิตรต่อนาที ความดัน สื่อสารกับญาติและทีมสุขภาพ การใช้ดนตรีบำบัด

350 Rama Nurs J ë September - December 2008


ยุพา วงศ์รสไตร และคณะ

การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (จิราพร ชลธิชาชลาลักษณ์, การวิเคราะห์ผลงานวิจัย


2547; ทิพย์พร แซ่เฉิน, 2545; ประไพ มีทรัพย์
และกัญญารัตน์ พึ่งบรรหาร, 2542; วิภาภัทร ซังขาว, 1. การสืบค้นแหล่งข้อมูล ทบทวนวรรณกรรม
2544; Menzel, 1997; Thomas, 2003) 3) การส่งเสริม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
การเพิ่มพลังงาน ทำให้กล้ามเนื้อหายใจมีแรงทนต่อ จากตำรา วารสารทางการพยาบาลและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
การหย่าเครื่องได้ดี (Burns et al., 1991; Cook et al., ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ งานวิจัย และฐาน
2003) ได้แก่ ภาวะโภชนาการที่ดี การนอนหลับที่ ข้อมูลอิเลคโทรนิกส์ ได้แก่ CINAHL, PubMed, Ovid,
เพียงพอ 4) การใช้แนวทางการปฏิบัติ (protocol) Mulinet library catalog (Mahidol University
และโปรแกรมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจซึ่งปฏิบัติ Library) และ Website google.com, arhq.gov,
โดยทีมสุขภาพจะช่วยให้ผปู้ ว่ ยได้รบั การประเมินความพร้อม thesis.tiac.or.th กำหนดคำสำคัญหลัก (keyword) ที่
ติดตามการเปลี่ยนแปลงของอาการขณะการหย่าเครื่อง ใช้ในการสืบค้น ได้แก่ “weaning” และ “mechanical
ช่วยหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความล่าช้า ส่งเสริม ventilation” โดยเพิ่มเติมคำสำคัญเพื่อได้ข้อมูลเฉพาะ
ทำงานร่วมกันระหว่างสหสาขาวิชาชีพ (Burns et al., มากขึ้น ได้แก่ “adult” “assessment” “protocol”
2003; Brochard et al., 1994; Ely et al., 1996; “method” “nutrition” “nursing or intervention”
Kollef et al., 1997) 5) การดูแลหลังการถอดท่อ รวมทั้งมีการสืบค้นจากเอกสารอ้างอิงของบทความ
ช่วยหายใจ เป้าหมายคือ ผู้ป่วยสามารถหายใจได้เอง ตำราและงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ
อย่างมีประสิทธิภาพหลังถอดท่อช่วยหายใจ โดยประเมิน 2. คัดเลือกงานวิจัยและบทความที่เกี่ยวข้องกับ
จาก 1) ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี 2) ไม่มีการตีบแคบของทาง ปัญหา ด้วยการอ่านบทคัดย่อและนำมาค้นหาฉบับ
เดินหายใจตอนบน โดยการตรวจ cuff leak รวมทั้งผู้ป่วย สมบูรณ์ โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือก คือ หลักฐาน
สามารถไอได้ดีเมื่อดูดเสมหะ (Fernando & Esteban, ทางวิชาการนัน้ เป็นการศึกษาทีเ่ กีย่ วข้องกับการหย่าเครือ่ ง
2003) ผู้ป่วยจะได้รับการถอดท่อช่วยหายใจและดูแล ช่วยหายใจในกลุ่มผู้ป่วยผู้ใหญ่ในหน่วยบำบัดวิกฤต
ใกล้ชิดอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ที่ตีพิมพ์ระหว่างปี ค.ศ. 1990 ถึง ค.ศ. 2004
3. นำหลักฐานมาประเมินคุณภาพ โดยใช้
วิธีการดำเนินการ หลั ก เกณฑ์ ก ารประเมิ น คุ ณ ภาพของราชวิ ท ยาลั ย
อายุรแพทย์แห่งประเทศไทย (2544) มีการแบ่งระดับ
ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ ของหลักฐาน (level of evidence) ดังนี้
1. การวิเคราะห์ผลงานวิจัย ระดับที่ A หมายถึง หลักฐานที่ได้จากงานวิจัย
2. การสั ง เคราะห์ ผ ลงานวิ จั ย เพื่ อ สร้ า งแนว เชิงทดลองหรืองานวิจัยในลักษณะสังเคราะห์ผลจาก
ปฏิบัติการพยาบาล งานวิจัยอื่น (systematic review) ชนิดที่มีการสุ่มเข้า
กลุ่ม
ระดับที่ B หมายถึง หลักฐานที่ได้จากงานวิจัยเชิง
ทดลองหรืองานวิจัยในลักษณะสังเคราะห์ผลจากงาน
วิจัยอื่น (systematic review) ชนิดที่ไม่มีการสุ่มเข้า

Vol. 14 No. 3 351


แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ

กลุ่ม ได้แก่ การศึกษาเชิงทดลองทางคลินิกชนิดที่ไม่มี การสังเคราะห์หลักฐานทางวิชาการเพื่อสร้าง


การสุ่ม (non-randomized controlled trials) การ แนวปฏิบัติการพยาบาล
ศึ ก ษาทางระบาดวิ ท ยาในการหาสาเหตุ ก ารเกิ ด โรค
(cohort study) การศึกษาเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบการเกิด 1. นำหลักฐานทางวิชาการที่ได้จำนวน 42 เรื่อง มา
โรคและไม่เกิดโรค (case control study) เป็นต้น ทำการสังเคราะห์ข้อมูลในตาราง ซึ่งดัดแปลงมาจาก
ระดับที่ C หมายถึง หลักฐานที่ได้จากงานวิจัยที่ แบบการวิเคราะห์ของรอสส์รุมและลาราบี (Rosswurm
เป็นงานเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์หรืองานวิจัยเชิง & Larrabee, 1999) ประกอบด้วย ชื่อผู้วิจัย การออกแบบ
บรรยาย (descriptive study) งานวิจัย ระดับของงานวิจัย ผลของงานวิจัย และความ
ระดับที่ D หมายถึง หลักฐานที่ได้จากความคิด เป็นไปได้ในการนำไปใช้ พบว่า มีหลักฐานวิชาการ
เห็นจากผู้เชี่ยวชาญ (expert consensus) ระดับ A จำนวน 8 เรื่อง ระดับ B จำนวน 6 เรื่อง ระดับ
กรณีความเป็นไปได้ของผลงานที่จะนำไปใช้ใน
C จำนวน 12 เรื่อง ระดับ D จำนวน 16 เรื่อง
คลินิก โดยพิจารณาตามเกณฑ์ Research Utilization
2. สร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริม
Criteria ของ โพลิทและฮังเลอร์ (Polit & Hungler,
1997) ดังนี้ ความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ โดยตรวจสอบ
1. ตรงกับปัญหาทีต่ อ้ งการแก้ไข (clinical relevance) ความถูกต้องเหมาะสมของเนื้อหา และพิจารณาความ
2. มี ค วามน่ า เชื่ อ ถื อ เพี ย งพอที่ จ ะนำไปใช้ ใ น เป็นไปได้ของการนำไปใช้ในคลินิก จากผู้ทรงคุณวุฒิที่
การปฏิบัติได้ (scientific merit) มีความเชี่ยวชาญในสาขาโรคปอดทางอายุรกรรม การ
3. มีความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติ พยาบาลผู้ป่วยวิกฤต การพยาบาลระบบทางเดินหายใจ
(implementation potential) โดยคุณสมบัติดังนี้ี รวม 3 ท่าน และนำมาแก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ
3.1 ความเหมาะสม (transferability of the ผลลัพธ์: แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความ
finding) กับหน่วยงาน กลุ่มผู้ป่วย และปรัชญาในการดูแล สำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ แสดงในแผนภูมิที่ 1
3.2 พยาบาลมีสิทธิ์โดยชอบในการปฏิบัติ
(feasibility of the implementation) วิธีการไม่ยุ่งยาก
3.3 ความคุ้มค่าในการนำไปใช้ (cost-benefit ratio)
โดยไม่มีความเสี่ยงในการปฏิบัติ ก่อให้เกิดประโยชน์
ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

352 Rama Nurs J ë September - December 2008


ยุพา วงศ์รสไตร และคณะ

แผนภูมิที่1 แสดงขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
SBT*= Spontaneous Breathing Trial

Vol. 14 No. 3 353


แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ

วัตถุประสงค์ 2.1 ใช้แบบประเมินที่ประยุกต์จาก Burns


weaning assessment program (BWAP) ประกอบ
เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อ ด้วย การประเมินระบบหายใจ 14 ข้อ และระบบ
ส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ทั่วไป 12 ข้อ (ระดับ B: Burns et al., 2003 : ระดับ
C: Burns, Burns, & Truwit, 1994; MacIntyre,
คำจำกัดความ 2001; Walsh, Dodds, & McArdl, 2004)
2.2 ใช้การคำนวณค่า f/Vt ถ้าค่า f/Vt< 105
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ คือ กระบวนการลด แสดงว่ามีโอกาสหย่าเครื่องสำเร็จสูง f = อัตราการหายใจ
การช่ ว ยหายใจในผู้ ป่ ว ยที่ ใ ช้ เ ครื่ อ งช่ ว ยหายใจให้ (ครั้ง/นาที), Vt = tidal volume (liters) (ระดับ A:
สามารถกลับมาหายใจได้เอง หรือหยุดการใช้เครื่อง Kollef et al., 1997: ระดับ D: สุมาลี เกียรติบุญศรี, 2545)
ช่วยหายใจได้ และผู้ป่วยสามารถถอดเครื่องช่วยหายใจ
2.3 เกณฑ์ ใ นการตั ด สิ น ว่ า ผู้ ป่ ว ยมี ค วาม
และท่อช่วยหายใจได้ในที่สุด
พร้อมในการเริ่มหย่าเครื่องช่วยหายใจ คือ คะแนนของ
แนวปฏิบัติการพยาบาล BWAP 50 % และ f/Vt < 105 ถ้าผู้ป่วยมีคะแนน
ของ BWAP < 50% และ f/Vt > 105 แสดงว่าผู้ป่วย
การพัฒนาแนวปฎิบัติการพยาบาล แบ่งเป็น 3 ไม่พร้อมหย่าเครื่องช่วยหายใจ จึงร่วมปรึกษากับแพทย์
ระยะ คือ เพื่อค้นหาปัญหาและจัดการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น
I. ระยะก่อนหย่าเครือ ่ งช่วยหายใจ (pre-weaning 3. แนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่พร้อมของ
phase) การหย่าเครื่องช่วยหายใจ
1. ประเมินสาเหตุของ respiratory failure (ระดับ 3.1 ดูแลเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เพื่อลด
A: Esteban et al., 1995: ระดับ D: พิกุล ตันติธรรม, งานของการหายใจ (ระดับ B: สุนทรี เจียรวิทยกิจ,
2547; สุมาลี เกียรติบุญศรี, 2545; Burns et al., 2546 : ระดับ D: ทนันชัย บุญบูรพงศ์, 2543; พิกุล
1991; MacIntyre, 2001) ตันติธรรม, 2547; อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย, 2546) โดย
1.1 ร่วมปรึกษากับแพทย์ในการแก้ไขสาเหตุ - เลือกขนาดของ ET tube ที่เหมาะสม
ที่ทำให้ผู้ป่วยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ก่อนใส่ท่อช่วยหายใจ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อ
1.2 ประเมินสภาพผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ ช่วยหายใจ ผู้หญิงไทย 7.0-7.5 มม. ผู้ชายไทย 7.5-
มากว่า 24 ชม. ทุกวันในเวลาเช้า ได้แก่ การตรวจร่างกาย 8.0 มม. (ระดับ D: ทนันชัย บุญบูรพงศ์, 2543)
chest x-ray, ผล lab, arterial blood gas เป็นต้น
- ตัดปลาย ET tubeให้เหลือประมาณ
2. ประเมินความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วย
หายใจ (weaning readiness assessment) ทุกวันเวลาเช้า 1-2 นิ้ว เหนือริมฝีปาก หลังจากประเมินตำแหน่งที่
โดยแพทย์หรือพยาบาลประจำการ แบบประเมินความพร้อม เหมาะสมแล้ว ติดพลาสเตอร์ป้องกันการเลื่อนหลุด
ในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ เป็นแบบ check list (ระดับ C: Marik, 1996)
ประกอบด้วย (ระดับA: Ely et al., 1996: ระดับ B: - ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยการ
กันทิมา พิสิษฐ์กุล และคณะ, 2545; Burns et al., ดูดเสมหะอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันเสมหะอุดตันท่อ
2003) ทางเดินหายใจ (ระดับ D: ทนันชัย บุญบูรพงศ์, 2543)

354 Rama Nurs J ë September - December 2008


ยุพา วงศ์รสไตร และคณะ

- เปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชม. และเคาะ 18.5-24.9 กิโลกรัม/เมตร2)


ปอดวันละ 1-2 ครั้ง (ถ้าไม่มีข้อห้าม) สอนและ - ติดตามค่า serum albumin ( ควร
กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำ deep breathing exercise และไอ > 2.5 gm./dl.)
อย่างมีประสิทธิภาพ (ระดับ A: Esteban et al., 3.4 การจัดการกับความปวด (Pain management)
2004: ระดับ B: สุนทรี เจียรวิทยกิจ, 2546) (ระดับ B: สุนทรี เจียรวิทยกิจ, 2546: ระดับ D:
- ดูแลให้ยาขยายหลอดลมตามแผนการ อุบลรัตน์ ดีพร้อม, 2546; Thomas, 2003)
รักษา เพื่อป้องกันภาวะหลอดลมตีบแคบ ซึ่งจะทำให้มี - ประเมินความรุนแรงของความเจ็บปวด
airway resistance สูงขึ้น (ระดับ A: Esteban et al., 2004) โดยใช้ numeric rating scales หรือใช้ visual
- ติดตามผล Arterial blood gas analogue scales: VAS
(ABG) เป็นระยะๆ เพื่อประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซ - ดูแลจัดการกับความปวดในระยะแรก
ของปอด (ระดับ D: สุมาลี เกียรติบุญศรี, 2545) ก่อนที่จะมีอาการปวดรุนแรง โดยร่วมปรึกษากับแพทย์
3.2 ดูแลระบบการเผาผลาญของร่างกาย ในการใช้ยา หรือวิธีอื่นๆช่วยบรรเทาปวด เช่น ให้การ
(Metabolism status) (ระดับ B: สุนทรี เจียรวิทยกิจ, ดูแลเรื่องความสุขสบาย การใช้เทคนิคการผ่อนคลาย
2546: ระดับ C: Martennson & Fridlund, 2002) หรือดนตรีบำบัด เป็นต้น
- ติดตามผลอิเล็คโตลัยท์และเกลือแร่ 3.5 ดูแลเรื่องการนอนหลับและการพักผ่อน
โดยเฉพาะ Ca2+, Mg2+, PO4-, K+ ร่วมมือกับแพทย์ (ระดับ B: สุนทรี เจียรวิทยกิจ, 2546: ระดับ D:
แก้ไขเมื่อพบว่าผิดปกติ พิกุล ตันติธรรม, 2547; อุบลรัตน์ ดีพร้อม, 2546;
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำอย่างเพียงพอ Christiane, 2000)
เพื่อไม่ให้เสมหะเหนียว บันทึกน้ำเข้าและออกทุก 8 ชม. - ประเมินแบบแผนการนอนหลับของผูป้ ว่ ย
- ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพ - ดูแลให้นอนหลับอย่างต่อเนื่อง 4–
เพื่อแก้ไข การติดเชื้อ ภาวะไข้ เพื่อลดการเผาผลาญ 6 ชม. ในเวลากลางคืน และงีบหลับ ½–1 ชม. ใน
ในร่างกาย เวลากลางวัน จัดกิจกรรมการพยาบาลที่ไม่รบกวนผู้ป่วย
3.3 ดูแลภาวะโภชนาการ (Nutrition) จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ลดการใช้เสียง
(ระดับB: สุนทรี เจียรวิทยกิจ, 2546: ระดับ C: 3.6 การออกกำลังกาย (Exercise) (ระดับ
ชฎาภรณ์ เปรมปรามอมร, 2545) B: สุนทรี เจียรวิทยกิจ, 2546: ระดับ D: พิกุล ตันติ
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ธรรม, 2547; สุมาลี เกียรติบุญศรี, 2545)
กับความต้องการของร่างกาย (25-35 kcal/น้ำหนัก - ทำ passive rang of motion ให้
เป็นกิโลกรัม) เน้นให้พลังงานจากไขมันมากกว่าคาร์โบไฮเดรต ผู้ป่วย อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง (ถ้าไม่มีข้อห้าม)
- ประเมินและแก้ไขระบบการย่อยอาหาร - กระตุ้นและช่วยเหลือผู้ป่วยปฏิบัติ
ได้แก่ ภาวะท้องอืด แน่นอึดอัด ท้องผูก ท้องเสีย กิจวัตรประจำวัน เท่าที่สามารถทำเองได้
- ชั่งน้ำหนักอย่างน้อย 1 ครั้ง/สัปดาห์ - จัดให้ผู้ป่วยนั่งห้อยขาบนเตียงหรือลง
ใช้ในการคำนวณค่า BMI (weight/hight2) เพื่อ นั่งข้างเตียงเท่าที่จะทำได้
ประเมินภาวะโภชนาการ (ค่าปกติของคนไทย = 3.7 การสนับสนุนทางด้านจิตใจ (Psychological

Vol. 14 No. 3 355


แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ

support) (ระดับ B: สุนทรี เจียรวิทยกิจ, 2546:ระดับ 30–120 นาที โดยเลือกวิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจ


C: Twibell, Sicla, & Mahmoodi, 2003 : ระดับ D: ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ซึ่ง มี 3 วิธี คือ (ระดับ A:
ทนันชัย บุญบูรพงศ์, 2543) Esteban et al., 1995; Ely et al., 1996; Kollef et al., 1997)
- สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย เพื่อเกิด วิธีที่ 1. T-piece ให้ FiO2 ขณะใส่เครื่อง
ความไว้วางใจ และรู้สึกมั่นใจในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ช่วยหายใจ แต่ไม่ควรมากกว่า 0.5
- ประเมินระดับความวิตกกังวล เพื่อ วิธีที่ 2. CPAP โดยตั้ง CPAP น้อยที่สุด
ให้การช่วยเหลือได้ตรงกับความต้องการของผู้ป่วย ไม่ควรเกิน 3-5 cmH2O
- มีการประเมินและเลือกหาวิธีการ วิธีที่ 3. PSV โดยตั้ง PSV ในระดับต่ำ
ติดต่อสื่อสารที่เหมาะสมร่วมกันระหว่างผู้ป่วย และ ประมาณ 3-5 cmH2O
เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ เช่น การแสดงท่าทาง การเขียน การดูแลผู้ป่วยขณะทดลองหายใจเอง (SBT)
การใช้รูปภาพ (ระดับ C: ทิพย์พร แซ่เฉิน, 2545; มีดังนี้ (ระดับ D: ทนันชัย บุญบูรพงศ์, 2543;
Menzel, 1997: ระดับ D: อุบลรัตน์ ดีพร้อม, 2546) พิกุล ตันติธรรม, 2547; อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย, 2546)
- ให้ ข้ อ มู ล ผู้ ป่ ว ยในเรื่ อ งการหย่ า 1. เลือกเวลาในการเริ่มหายใจเองที่เหมาะสม
เครื่องช่วยหายใจ เป้าหมาย วิธีการรักษา ขั้นตอน เป็นเวลาเช้า
การหย่าเครื่อง และการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย ด้วยภาษา 2. ให้ข้อมูลและอธิบายการหย่าเครื่องช่วย
ที่เข้าใจง่าย (ระดับ B: วิภาภัทร ซังขาว, 2544) หายใจให้ผู้ป่วยเข้าใจก่อนการเริ่มหายใจเอง ให้ความ
- ส่งเสริมการใช้บำบัดเสริมเพื่อคลาย มั่นใจแก่ผู้ป่วย และถ้ามีอาการเหนื่อยมากขึ้นต้องบอก
ความเครียดและความกลัว เช่น การนวด การใช้ ให้ทราบ (ระดับ B: วิภาภัทร ซังขาว, 2544)
ดนตรี เทคนิคการผ่อนคลาย ขณะหย่าเครื่องช่วย 3. จัด position ให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง 45 องศา
หายใจ (ระดับ A: Richards, 1998: ระดับ B: (ถ้าไม่มีข้อห้าม) เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อกระบังลมเคลื่อนไหว
จิราพร ชลธิชาชลาลักษณ์, 2547; ประไพ มีทรัพย์ ได้ดี (ระดับ A: Burns Egloff, Carpenter, & Burns,
และกัญญารัตน์ พึ่งบรรหาร, 2542: ระดับ D: al., 1994)
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2539) 4. ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยดูดเสมหะ
- สนับสนุนให้ญาติเข้ามามีส่วนร่วม ก่อนหย่าเครื่อง และบีบ self–inflating bag 2–3 ครั้ง
ให้กำลังใจ และอยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วย หรือจนกระทั่งผู้ป่วยหายเหนื่อย จึงเริ่ม wean (ระดับ D:
II. ระยะหย่าเครือ ่ งช่วยหายใจ (weaning-phase) ทนันชัย บุญบูรพงศ์, 2543; พิกุล ตันติธรรม, 2547;
เมื่อผู้ป่วยมีความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วย อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย, 2546)
หายใจ มีการปรึกษาร่วมกับแพทย์เพื่อวางแผนใน 5. ดูแลเพื่อป้องกันปอดแฟบ จากการหายใจ
การเริ่มให้ผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งมี 2 ขั้นตอน เองเป็นเวลานานโดยบีบ self–inflating bag 3–5 ครั้ง
รายละเอียดดังต่อไปนี้ ต่อชั่วโมง (ระดับ D: ทนันชัย บุญบูรพงศ์, 2543)
1. เริม่ ให้ผปู้ ว่ ยทดลองหายใจเอง (Spontaneous 6. สอนและกระตุ้นให้ผู้ป่วย หายใจเข้าช้าๆ
Breathing Trail: SBT) และผ่อนลมหายใจออกช้าๆ หรือ deep breathing
- เริ่มทดลองให้ผู้ป่วยหายใจเองเป็นเวลา exercise (ระดับ D: พิกุล ตันติธรรม, 2547;

356 Rama Nurs J ë September - December 2008


ยุพา วงศ์รสไตร และคณะ

อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย, 2546) 10. ถ้าผู้ป่วยหายใจเองได้ดีนาน 2 ชม. และ


7. ดูแลให้ยาขยายหลอดลมเพือ่ ลดภาวะหลอดลม ไม่มีข้อบ่งชี้ให้หยุดการหายใจเอง ให้ปรึกษาร่วมกับ
ตีบแคบ เช่น การให้ bronchodilator หรือ aerosol แพทย์เพื่อพิจารณาถอดท่อช่วยหายใจ (ระดับ A: Ely
เพื่อละลายเสมหะที่แห้งและเหนียว ตามแผนการรักษา et al., 1996; Kollof et al., 1997)
(ระดับ D: อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย, 2546) 11. ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถหายใจเองได้นาน 2
8. ขณะทดลองให้ผู้ป่วยหายใจเอง ควรบันทึก ชม. ให้กลับใส่เครื่องช่วยหายใจแบบเดิมและให้ผู้ป่วย
ข้อมูลการหย่าเครื่องช่วยหายใจให้เห็นชัดเจน ในแบบ พักเป็นเวลา 24 ชม. ให้ผู้ป่วยเริ่มหายใจเองใหม่ในวันรุ่ง
บันทึกข้อมูล (weaning record) ได้แก่ ค่า ABG, MV, Vt, ขึ้น ตามความเหมาะสม (ระดับ D: Fernando &
vital signs, เวลาที่เริ่มต้นและยุติการหย่าเครื่อง และเหตุผล Esteban, 2003; MacIntyre, 2001)
ที่ยุติการหย่าเครื่อง (ระดับ D: สุมาลี เกียรติบุญศรี, 2545) 12. ค้นหาสาเหตุหรือปัญหาร่วมกับแพทย์
9. เฝ้าติดตามความสามารถในการหายใจ เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่พร้อมในการหย่าเครื่องช่วย
เองใน 30 นาที อย่างน้อย 3 ครั้ง ถ้ามีการ หายใจ (ดูแนวทางแก้ไขปัญหาความไม่พร้อมในการ
เปลี่ยนแปลงของสิ่งต่อไปนี้ ให้ยกเลิกการทดลองให้ หย่าเครื่องช่วยหายใจ)
หายใจเอง (ระดับ A: Ely et al., 1996; Kollof et 13. ประเมินความพร้อมใหม่อกี ครัง้ ถ้าผูป้ ว่ ย
al., 1997: ระดับ D: สุมาลี เกียรติบุญศรี, 2545; มีความพร้อมตามทีเ่ กณฑ์ทกี่ ำหนด ร่วมปรึกษากับแพทย์
MacIntyre, 2001) เพื่อใช้วิธี gradual weaning technique ต่อไป
เกณฑ์ที่บ่งชี้ให้หยุดการลองหายใจเองมีดังนี้ (ระดับ D: ทนันชัย บุญบูรพงศ์, 2543; อภิรักษ์
9.1. ความดันโลหิตเพิ่มจากเดิม > 20 mmHg ปาลวัฒน์วิไชย, 2546)
9.2. อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นจากเดิม 2. การหย่าเครื่องแบบค่อยเป็นค่อยไป (Gradual
> 20 beat/min อัตราการหายใจ > 35 BPM weaning technique) (ระดับ A: Esteban et al., 1995;
9.3. EKG show arrhythmia, ischemic, Kollof et al., 1997: ระดับ D: ทนันชัย บุญบูรพงศ์, 2543;
bradycardia พิกุล ตันติธรรม, 2547; สุมาลี เกียรติบุญศรี, 2545;
9.4. ABG: Pa CO2 เพิ่มขึ้น > 10 mmHg อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย, 2546; Fernando & Esteban,
ทำให้ pH ต่ำกว่า 7.35 2003; MacIntyre, 2001)
9.5. Vt < 200 ml., MV < 5 liters วิธกี ารหย่าเครือ่ งแบบค่อยเป็นค่อยไป มี 4 วิธี คือ
หรือ > 12 liters, f/Vt > 105 วิธีที่ 1. T-piece weaning มีขั้นตอนการปฏิบัติ
9.6. Skin มีเหงื่อออกมาก ระดับความรู้สึก ดังนี้คือ
ตัวเปลี่ยนไป 1. ให้ O2 T–piece ที่ FiO2 ไม่ต่ำกว่า FiO2 ที่
9.7. อาการแสดงว่ากล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น ใช้กับเครื่องช่วยหายใจ
การใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจ 2. ให้ผู้ป่วยหายใจเองนาน 5-10 นาที
หรือหายใจแบบ paradoxical สลับใส่เครื่องช่วยหายใจให้ผู้ป่วยพัก 1 ชั่วโมง และ
9.8. ผู้ป่วยบอกหรือบ่นแน่น หายใจเองไม่ เพิ่มระยะเวลาหย่าเครื่องเป็น 30 นาที 1....2 ...3 ชม.
ไหว อ่อนเพลีย ตามลำดับ และให้ผู้ป่วยพักในเวลากลางคืน

Vol. 14 No. 3 357


แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ

3. ไม่ควรหย่าเครือ่ งนานจนผูป้ ว่ ยไม่สามารถทน (ระดับ B: วิภาภัทร ซังขาว, 2544: ระดับ C: ศิริวัลห์


ต่อการหายใจเองจึงใส่เครื่อง วัฒนสินธ์, 2545; Martennson & Fridlund, 2002)
4. หย่าเครื่องช่วยหายใจติดต่อกัน 1-2 วัน จน 2.2 ขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจควรอยู่ข้าง
ผู้ป่วยสามารถหายใจเองได้ทั้งวันทั้งคืนในที่สุด เตียงผู้ป่วย ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียว จนกว่า
วิธที ี่ 2. Synchronized intermittent mandatory ผู้ป่วยมีความมั่นใจ ไม่กระสับกระส่าย (ระดับ C:
ventilation with pressure support (SIMV with PSV) Martennson & Fridlund, 2002)
1. ค่อยๆ ลดอัตราการช่วยหายใจของเครื่อง 2.3 หันเหความสนใจ และหาวิธีผ่อนคลาย
ช่วยหายใจ 2-4 ครั้ง/นาที ถ้าผู้ป่วยมีอาการดีอาจลด ความเครียด เช่น การนวด การใช้เทคนิคผ่อนคลาย
ได้บ่อยขึ้น ทุก 1-2 ชม. อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การฝึกการหายใจ การใช้ดนตรีบำบัด (ระดับ A:
2. ลด rate ลงเรื่อยๆ จน SIMV 4 ครั้ง Richards, 1998: ระดับ B: จิราพร ชลธิชาชลาลักษณ์,
แล้วจึงค่อยๆ ปรับลด PSV ครั้งละ 2-4 cmH2O. วันละ 2547; ประไพ มีทรัพย์ และกัญญารัตน์ พึ่งบรรหาร,
2-3 ครั้ง จน PSV อยู่ที่ระดับ 5 cmH2O 2542: ระดับ D: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข,
วิธที ี่ 3. Pressure support ventilation (PSV) 2539)
1. หากผู้ป่วยอยู่ใน assist control mode ให้ 2.4 ดูแลส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถติดต่อสื่อสาร
เปลี่ยนไปที่ PSV mode เริ่มด้วยการตั้ง PS max ให้ กับญาติ และเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
ได้ Vt 5-7 ml/kg และมีอัตราการหายใจประมาณ เพื่อบอกความต้องการและขอความช่วยเหลือ (ระดับ
16-20 ครั้ง/นาที B: สุนทรี เจียรวิทยกิจ, 2546: ระดับ C: ทิพย์พร
2. ปรับลด PSV ครั้งละ 2- 4 cmH2O แซ่เฉิน , 2545; Menzel, 1997)
ทุก 1-2 ชม. วันละ 2-3 ครั้งจนสามารถลดระดับ 2.5 ประเมินและบันทึก vital signs, O2
pressure support อยู่ที่ 5 cmH2O Saturation, Vt, minute volume ก่อนเริ่มหย่าเครื่อง
วิธที ี่ 4. Continuous positive airway pressure และขณะหย่าเครื่อง ในระยะแรกบันทึกทุก 15-30 นาที
(CPAP) ต่อมาทุก 1 ชม. (ระดับ D: พิกุล ตันติธรรม, 2547;
เริ่มด้วยการลดระดับ CPAP ลงเรื่อยๆ ครั้ง สุมาลี เกียรติบุญศรี, 2545)
ละ 2-3 cmH2O จนถึงระดับ 5 cmH2O หากผู้ป่วยทน 2.6 เฝ้าติดตามประเมินผลความสามารถใน
ได้ดี ลด CPAP = 0 cmH2O เท่ากับ spontaneous การทนต่อการหายใจเอง ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงของสิ่ง
breathing เหล่านี้ ให้หยุดการหย่าเครื่อง (ระดับ A: Kollef et al.,
การดูแลผู้ป่วยขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจแบบ 1997: ระดับ D: สุมาลี เกียรติบุญศรี, 2545;
ค่อยเป็นค่อยไป มีดังนี้ ชัยวัฒน์ บำรุงกิจ, 2545; MacIntyre, 2001)
1. ปฏิบัติเช่นเดียวกับการดูแลผู้ป่วยเริ่มให้ผู้ป่วย เกณฑ์บ่งชี้การหยุดการหย่าเครื่องช่วยหายใจมี
ทดลองหายใจเอง ข้อ 1-7 ดังนี้
2. ลดความวิตกกังวลขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจโดย 1. Restless, distress, diaphoresis
2.1 อธิบายเป้าหมาย ขั้นตอนของการหย่า 2. BP change > 20 % baseline, systolic BP
เครื่องช่วยหายใจ เพื่อเกิดความเข้าใจและให้ความร่วมมือ 160 mmHg, หรือ diastolic BP  90 mmHg

358 Rama Nurs J ë September - December 2008


ยุพา วงศ์รสไตร และคณะ

3. HR change > 20 % from baseline, ช่วยหายใจด้วยวิธี gradual weaning technique


HR  140 beats/min ตาม CNPG weaning ใหม่อกี ครัง้ (ระดับ D: ทนันชัย
4. Vt<200 ml, RR > 35 breath/min บุญบูรพงศ์, 2543)
5. f/Vt > 105 , MV < 5 liters or > 12 liters. III. ระยะหลังการหย่าเครือ่ งช่วยหายใจ (post–
6. PaCO2 > 45 m mHg (except COPD), weaning phase/waning outcome)
pH < 7.35, PaO2 < 60 mmHg, SaO2 < 90 % เมื่อผู้ป่วยสามารถหายใจได้เองนาน 2 ชม. หรือ
ถ้าผู้ป่วยสามารถหายใจ ได้ดีนาน 24 ชม.ขึ้นไป 24 ชม. (ในกรณีการหย่าแบบค่อยเป็นค่อยไป) ให้
ปรึกษากับแพทย์เพื่อประเมินการถอดท่อช่วยหายใจ ปรึกษาร่วมกับแพทย์เพื่อพิจารณาถอดท่อช่วยหายใจออก
(ระดับ C: Fernando & Esteban, 2003; MacIntyre, 2001) เกณฑ์ประเมินในการถอดท่อช่วยหายใจ (ระดับ
ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถหายใจได้นาน 24 ชม. A: Esteban et al., 2004: ระดับ C: Khamices, Raju,
หรือมีเกณฑ์หยุดการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ให้ผู้ป่วย DeGiralamo, Amoateng, & Manthous, 2001: ระดับ
พักนาน 24 ชม. โดยต่อเครื่องไว้ที่ mode CMV D: Darmom et al., 1992; MacIntyre, 2001)
1. ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี
(ปรึกษากับแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไข)
2. ผู้ป่วยไอได้แรงดีขณะดูดเสมหะ ประเมิน
แนวทางแก้ไขปัญหาเมื่อผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วย
ปริมาณเสมหะไม่ควรมากเกินไป
หายใจไม่สำเร็จ (ระดับ D: ทนันชัย บุญบูรพงศ์,
2.1 สังเกตขณะดูดเสมหะ ผู้ป่วยสามารถไอ
2543; สุมาลี เกียรติบุญศรี, 2545; Fernando & ได้แรงดี
Esteban, 2003; MacIntyre, 2001) 2.2 ฟังเสียงปอดหลังดูดเสมหะ หากพบว่า
1. ลดความต้ า นทานต่ อ การไหลของอากาศ มีเสียงเสมหะมาก แสดงว่าผู้ป่วยยังไม่สามารถขับเสมหะ
(decreased of airflow resistance) ให้การดูแลและ ออกได้เอง ผู้ป่วยยังไม่สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้
แก้ไขปัญหาเช่นเดียวกับการดูแลผู้ป่วยไม่พร้อมหย่า 2.3 วัด MIP <-20 cmH2O, FVC > 10 ml/kg
เครื่องช่วยหายใจข้อที่ 3.1 3. ผู้ป่วยมีเสมหะปริมาณน้อยหลังดูดเสมหะ
2. การขยายตัวของปอดลดลง (decrease of แล้ว 2 ชม.
compliance) จากภาวะ pulmonary edema, atelectasis, 4. ผู้ป่วยไม่มีเสียง stridor ซึ่งไม่มีอาการแสดง
ARDS, pneumonia, bronchospasm เป็นต้น ควรได้ ของทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบ
รับการแก้ไขให้หมดไปก่อนที่จะเริ่มหย่าเครื่องใหม่ การดูแลระยะก่อนถอดท่อช่วยหายใจ (ระดับ
3. ดู แ ลแก้ ไ ขภาวะกล้ า มเนื้ อ หายใจอ่ อ นแรง B: สุนทรี เจียรวิทยกิจ, 2546: ระดับ D: ทนันชัย
(respiratory muscle fatigue) ได้แก่ โภชนาการ การ บุญบูรพงศ์, 2543)
เผาผลาญอาหาร ความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ การ 1. ดูแลให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่
นอนหลับ ดูแลเช่นเดียวกับการดูแลผู้ป่วยไม่พร้อมหย่า เพื่อให้กล้ามเนื้อหายใจได้พัก
เครื่องช่วยหายใจข้อที่ 3.2–3.7 2. ควรถอดท่อช่วยหายใจเวลาเช้า เนือ่ งจากบุคลากร
เมื่ อ ค้ น หาสาเหตุและแก้ไขปัญหาที่ทำให้ ก าร มีจำนวนมากสามารถสังเกตอาการได้ใกล้ชิด
หย่าเครื่องไม่สำเร็จแล้ว ให้ประเมินความพร้อมของ 3. ให้งดน้ำและอาหารผู้ป่วยอย่างน้อย 4 ชม.
ผูป้ ่วยอีกครั้ง เมื่อมีความพร้อมจึงเริ่มการหย่าเครื่อง
เพื่อป้องกันการสำลัก หากจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจใหม่

Vol. 14 No. 3 359


แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ

4. ถ้าผู้ป่วยมีปัญหา bronchospasm ควรให้ยา อภิปรายผล


ขยายหลอดลมพ่น 15 นาที ก่อนถอดท่อ
5. เตรียมอุปกรณ์ เช่น หน้ากาก (face mask) การศึ ก ษาครั้ ง นี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ สร้ า งแนว
ออกซิเจน ท่อออกซิเจน (corrugated tube) ให้พร้อม ปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่า
การดูแลขณะถอดท่อช่วยหายใจ (ระดับ B: เครื่องช่วยหายใจ โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์และ
สุนทรี เจียรวิทยกิจ, 2546: ระดับ D: ทนันชัย บุญบูรพงศ์, สังเคราะห์ผลงานวิจัยและหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการ
2543) สำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ระยะวิกฤต ซึ่งได้รับการตรวจสอบ
1. ให้ดูดเสมหะทั้งในหลอดลมและในปากให้หมด ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในคลินิก โดย
2. จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนศีรษะสูง 45 องศา ผูท้ รงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบ่งเป็น 4 ส่วน ดังนี้
ให้กระบังลมทำงานได้เต็มที่ และป้องกันการสำลัก ส่วนที่ 1 จำนวนและความเพียงพอของหลัก
3. ปล่อยลมจาก cuff ฐานอ้างอิงทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง หลักฐานอ้างอิงมี
4. ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่ แล้วจึงถอดท่อช่วย จำนวน 42 เรื่อง แบ่งเป็น ระดับ A จำนวน 8 เรื่อง
หายใจออก ระดับ B จำนวน 6 เรื่อง ระดับ C จำนวน 12 เรื่อง
การดูแลหลังถอดท่อช่วยหายใจ (ระดับ B: ระดับ D จำนวน 16 เรื่อง
สุนทรี เจียรวิทยกิจ, 2546: ระดับ D: ทนันชัย บุญบูรพงศ์, ส่วนที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมและ
2543) ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ โดยมีทรงคุณวุฒิในด้าน
1. ดู แ ลให้ ผู้ ป่ ว ยให้ ไ ด้ รั บ ออกซิ เ จนที่ มี ฝ อย โรคปอดทางอายุรกรรม การดูแลผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม
ละอองน้ำ เพื่อลดความเหนียวของเสมหะ และอาจารย์พยาบาลที่มีประสบการณ์ในหอผู้ป่วยกึ่ง
2. ดูแลความสะอาดในช่องปากบ่อยๆ หลังเอาท่อ วิกฤต จำนวน 3 ท่าน
ช่วยหายใจออก ส่วนที่ 3 รายละเอียดของแนวปฏิบตั กิ ารพยาบาล
3. เฝ้าสังเกตอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด 12–24 ชม. ผู้ศึกษาใช้กรอบแนวคิดของรูปแบบการหย่าเครื่องช่วย
ได้แก่ vital signs, oxygen saturation ทุก 1 ชม. หายใจของสมาคมพยาบาลวิกฤตแห่งสหรัฐอเมริกา
ติดต่อกันนาน 8 ชม. เป็นอย่างน้อย (The American Association of Critical Care Nurses,
4. ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะ AACN) ประกอบด้วย ระยะก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจ
หายใจลำบาก ได้แก่ ระยะหย่าเครื่องช่วยหายใจ และระยะหลังการหย่าเครื่อง
1) RR > 30 ครั้ง/นาที หรือ RR < 10 ครั้ง/นาที ช่วยหายใจ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์เข้าใจง่าย อธิบาย
2) หายใจมีเสียง stridor ขั้นตอนอย่างชัดเจน นอกจากนั้น แนวปฏิบัติการ
3) PaO2 < 60 mmHg พยาบาลที่สร้างขึ้นยังช่วยลดช่องว่างของการใช้ผลงาน
4) PCO2 > 15% ทางวิชาการกับการปฏิบัติพยาบาลในคลินิก
ถ้าผู้ป่วยมีภาวะหายใจลำบาก กล่องเสียงบวม ส่วนที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความ
หรือทางเดินหายใจส่วนบนตีบ ปรึกษาร่วมกับแพทย์ พร้ อ มในการประเมิ น การหย่ า เครื่ อ งช่ ว ยหายใจ
เพื่อใส่ท่อช่วยหายใจใหม่ หรือทำการเจาะคอ ประกอบด้ ว ยการประเมิ น ที่ ค รอบคลุ ม ปั จ จั ย ด้ า น
ร่างกายและจิตใจ

360 Rama Nurs J ë September - December 2008


ยุพา วงศ์รสไตร และคณะ

บทสรุป ข้อเสนอแนะ

แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จ เมื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสำเร็จแล้ว
ในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ประกอบด้วย 3 ส่วน เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด การนำไปใช้ ใ นหน่ ว ยงานมี แ นว
1) ระยะก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจ จะช่วยให้ ปฏิบัติดังนี้
บุ ค ลากรทางการแพทย์ ส ามารถค้ น หาปั ญ หาหรื อ 1. นำเสนอแนวปฏิบัติการพยาบาลกับหัวหน้า
อุปสรรคต่างๆและแก้ไขอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วย หน่วยงาน รวมทั้งแพทย์และบุคลลากรในหน่วยงาน
สามารถเริ่มหย่าเครื่องช่วยหายใจได้เร็วขึ้น 2) ในแต่ละ 2. นำเสนอให้เห็นความสำคัญในการนำแนว
ระยะของการหย่าเครื่องช่วยหายใจ จะช่วยส่งเสริมให้ ปฏิบัติการพยาบาลมาใช้ในหน่วยงาน
บุ ค ลากรทางการแพทย์ มี แ นวทางปฏิ บั ติ ที่ ชั ด เจน 3. ให้ ค วามรู้ แ ละสาธิ ต การใช้ แ นวปฏิ บั ติ ก าร
ทำให้การหย่าเครื่องช่วยหายใจมีประสิทธิภาพและ พยาบาลเพื่ อ ช่ ว ยให้ บุ ค ลากรในหน่ ว ยงานสามารถ
ประสบผลสำเร็จมากขึ้น 3) ระยะหลังหย่าเครื่องช่วย ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องได้มาตรฐาน
หายใจ จะให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกัน 4. นำแนวปฏิบัติมาทดลองใช้ในหน่วยงานและ
การใส่ท่อช่วยหายใจกลับซ้ำอีก โดยแนวปฏิบัติการ ติดตามประเมินผลในการใช้งาน เพื่อปรับปรุงแนว
พยาบาลแสดงให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญของพยาบาล ปฏิบัติให้เหมาะสมกับหน่วยงานมากขึ้น
การทำงานร่วมกันอย่างเป็นสหสาขาวิชาชีพ สอดคล้อง 5. นำแนวปฏิ บั ติ ก ารพยาบาลลงตี พิ ม พ์ เ ผย
กั บ ปั ญ หาของผู้ ป่ ว ยแต่ ล ะรายและตรงตามความ แพร่ในวารสาร สื่อทางอิเลคโทรนิกส์ เพื่อแลกเปลี่ยน
ต้องการของผู้ป่วย กับบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติ
ให้มีคุณภาพมากขึ้น
ข้อจำกัด 6. ส่งเสริมให้นำแนวปฏิบัติการพยาบาลเป็น
มาตรฐานในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในหน่วยงาน
1. ในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ใน อื่นๆ ต่อไป
คลินิก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ก่อนการนำไปใช้
ควรมีการให้ความรู้ สาธิต รวมทั้งฝึกปฏิบัติในส่วน เอกสารอ้างอิง
แนวปฏิ บั ติ ก ารพยาบาลและเครื่ อ งมื อ ให้ เ กิ ด ความ
เข้าใจและให้เกิดความชำนาญ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2539). คู่มือ
2. แนวปฏิบัติการพยาบาลนี้เหมาะสมกับผู้ป่วย คลายเครียดด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์
ที่ใส่เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานานมากกว่าผู้ป่วยหลัง การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ผ่าตัดหรือได้รับยาสลบ กันทิมา พิสิษฐ์กุล, อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย, และสถาพร
3. แนวปฏิ บั ติ ก ารพยาบาลนี้ ค วรได้ รั บ การ ธิติวิเชียรเลิศ. (2545). การลดระยะเวลาในการหย่า
เครื่องช่วยหายใจโดยใช้ Ventilator weaning protocol
ทดลองใช้และประเมินผลการใช้ในคลินิก ในเรื่องความ ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก,
เหมาะสมกับหน่วยงานที่นำไปใช้ 23(2), 63-71.

Vol. 14 No. 3 361


แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ

จิราพร ชลธิชาชลาลักษณ์. (2547). ผลของดนตรีบำบัดต่อ วิภาภัทร ซังขาว. (2544). ผลของการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผน


ความวิตกกังวล การตอบสนองทางสรีระ และตัวแปรใน ร่วมกับการใช้เทคนิคผ่อนคลายต่อความวิตกกังวลในการ
การหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยระหว่างหย่าเครื่องช่วย หย่าเครื่องช่วยหายใจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร
หายใจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตมหาวิทยาลัย,
สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตมหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหิดล. ศิริวัลห์ วัฒนสินธ์. (2545). การหย่าเครื่องช่วยหายใจ: ตอนที่ 1
ชฎาภรณ์ เปรมปรามอมร. (2545). ภาวะโภชนาการและความ ผู้ป่วยพร้อมแล้วหรือยัง, ตอนที่ 2 ระยะการหย่าเครื่อง
เพียงพอของการได้รับสารอาหารของผู้ป่วยอายุรกรรมที่ใส่ ช่วยหายใจ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา,
เครื่องช่วยหายใจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร 10(1), 25-37.
มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตมหาวิทยาลัย, สุนทรี เจียรวิทยกิจ. (2546). ผลของโปรแกรมการส่งเสริม
มหาวิทยาลัยมหิดล. ความสามารถของพยาบาลในการหย่าเครื่องช่วยหายใจต่อ
ชัยวัฒน์ บำรุงกิจ. (2545). การหย่าเครื่องช่วยหายใจ. ใน การปฏิบัติและความพึงพอใจของพยาบาลในการหย่าเครื่อง
ชายชาญ โพธิรัตน์ (บก.), การดูแลด้านระบบการหายใจ ช่วยหายใจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
และเครื่องช่วยหายใจ 2002 (หน้า 244-264). กรุงเทพฯ: สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตมหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย
ธนบรรณการพิมพ์. มหิดล.
ทนันชัย บุญบูรพงศ์. (2543). การเลิกช่วยหายใจ. ใน ดุสิต สุมาลี เกียรติบุญศรี. (2545). การหย่าเครื่องช่วยหายใจ. ใน
สถาวร และอดิศร วงษา (บก.), What you shoud know สุมาลี เกียรติบุญศรี (บก.), การดูแลรักษาโรคระบบ
in critical care (หน้า 141 - 176). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์. หายใจในผู้ใหญ่ (หน้า 313-378). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ทิพย์พร แซ่เฉิน. (2545). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและ อรสา พันธ์ภักดี. (2542). การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤต. ใน
ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาล สมจิต หนุเจริญกุล (บก.), การพยาบาลทางอายุรศาสตร์
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิต เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 13, หน้า 185-227). กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล. วี เจ พริ้นติ้ง.
ประไพ มีทรัพย์, และกัญญารัตน์ พึ่งบรรหาร. (2542). ผล อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย. (2546). การหย่าเครื่องช่วยหายใจ.
ของการใช้เทคนิคการผ่อนคลายต่อการลดความทุกข์ทรมาน ใน ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล และดุสิต สถาวร (บก.), Practical
ในผู้ป่วยในระหว่างใส่เครื่องช่วยหายใจ. พุทธชินราชสาร, points in critical care (หน้า 96-115). กรุงเทพฯ:
16(3), 128-134. บียอนด์ เอนเทอร์ไพรซ์.
พิกุล ตันติธรรม. (2547). การหย่าเครื่องช่วยหายใจ. ใน อุบลรัตน์ ดีพร้อม. (2546). การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่ท่อเครื่อง
คณะอนุกรรมการพัฒนาประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยภาวะ ช่วยหายใจ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 9(3), 191 - 199.
วิกฤต ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล Brochard, L., Rauss, A., Benito, S., Conti, G., Mancebo,
รามาธิบดี. การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต (พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า J., Rekik, J. N., et al. (1994). Comparison of three
46-63). กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ. methods of gradual withdrawal from ventilatory
พูนทรัพย์ วงศ์สุรเกียรติ์. (2545). Weaning and discontinuing support during weaning from mechanical ventilation.
ventilatory support: ART, science, evidences and a American Journal of Respiratory Critical Care
guideline. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต, Medicine, 1(5), 896-903.
24(1), 29–34. Burns, S. M. (1999). Making weaning easier. Critical Care
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย. (2544). คำแนะนำ Nursing Clinic of North America, 11(4), 465-479.
การสร้าง “แนวทางเวชปฏิบัติ” (Clinical practice Burns, S. M., Burns, J. E., & Truwit, J. D. (1994).
guidelines). สารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย, Comparison of five clinical weaning indices. American
18(6), 36-47. Journal of Critical Care, 3(5), 342-352.

362 Rama Nurs J ë September - December 2008


ยุพา วงศ์รสไตร และคณะ

Burns, S. M., Egloff, M. B., Carpenter, R., & Burns, J. E. Esteban, A., Frutos-Vivar, F., Ferguson, N. D., Aradi,
(1994). Effect of body position on spontaneous Y., Apezteufa, C., Gonzales, M., et. al. (2004).
respiratory rate and tidal volume in patients with Noninvasive positive-pressure ventilation for
obesity, abdominal distention, and ascities. American respiratory failure after extubation. The New England
Journal of Critical Care, 3(2), 102 – 106. Journal of Medicine, 350(24), 2452–2460.
Burns, S. M., Fahey, S. A., Barton, D. M., & Slach, D. Fernando, F. V., & Esteban, A. (2003). When to wean
(1991). Weaning from mechanical ventilation: A from a ventilator: An evidence-base strategy.
method for assessment and planning. Advanced Cleveland Clinic Journal of Medicine, 70(5), 389–400.
Practice in Acute and Critical Care, 2(3), 372-387. Khamices, M., Raju, P., DeGiralamo, A., Amoateng, A.
Burns, S. M., Fisher, C., Lewin, R., Merrell, P., Schabart, Y., & Manthous, C. A. (2001). Predictors of
J. R., & Trawit, J. D. (2003). Implementation of an extubation outcome in patients who have successfully
institutional program to improve clinical and financial completed a spontaneous breathing trail. Chest,
outcomes of mechanically ventilated patient: One 120(4), 1262 - 1270.
year outcome and lesson learned. Critical Care
Knebel, A. R. (1991). Weaning from mechanical
Medicine, 31(12), 280-289.
ventilation: Current controversies. Heart & Lung,
Cook, D., Rocker, G., Marshall, J., Sjokvist, P., Dodek,
20(4), 321–330.
P., Griffith, L., et al. (2003). Withdrawal of
mechanical ventilator in anticipation of death in the Knebel, A. R., Shekleton, M. E., Burns, S., Clochesy, J.
intensive care unit. The New England Journal of M., Hanneman, S. G., Ingersoll, G. L., et al.
Medicine, 349(3), 1123-1132. (1994). Weaning from mechanical ventilation:
Christiane, M. D., (2000). Promoting sleep in the ICU. Concept development. American Journal of Critical
Nursing, 3(4), 6-8. Care, 3(6), 416-420.
Darmon, J. Y., Rauss, A., Dreyfuss, D., Blerchner, G., Kollef, M. H., Shapiro, S. D., Silver, P., St. John, R. E.,
Elkharrat, D., Schlemmer, B., et al. (1992). Prentice, D., Sauer, S., et al. (1997). A randomized
Evaluation of risk factors for laryngeal edema after controlled of protocol-directed versus physician-
tracheal extubation in adults and its prevention by directed weaning from mechanical ventilation. Critical
dexamethasone. Anesthesiology, 77(2), 245-251. Care Medicine, 25(4), 567-574.
Ely, E. W.,Baker, A. M., Dunagan, D. P., Burke, H. L., MacIntyre, N. R. (2001). Evidence-based guidelines for
Smith, A.C., Kelly, P. T., et al. (1996). Effect on weaning and discontinuing ventilatory support.
the duration of mechanical ventilation of identifying Chest, 120(6), 375-396.
patients capable of breathing spontaneously. The New Marik, P. E. (1996). The cuf–leak test as a predictor of
England Journal of Medicine, 335(25), 1864 -1969. postextubation stridor: A prospective study.
Epstein, C. D., EL-Mokadem, N., & Purless, J. R. Respiratory Care, 41(6), 509-511.
(2002). Weaning older patients from long term Martennson, I. E., & Fridlund, B. (2002). Factor
mechanical ventilation: A pilot study. American influencing the patient during weaning from
Journal of Critical Care, 11, 369-377. mechanical ventilation: A national survey. Intensive
Esteban, A., Frutos, F., Tobin, M. J., Solsona, J. F., and Critical Care Nursing, 18(5), 219–229.
Valverdu, I., Rufael, F., et al. (1995). A comparison Menzel, L. K. (1997). A comparison of patients’
of four methods of weaning patient from mechanical communication-related responses during intubation
ventilation. The New England Journal of Medicine, and after extubation. Heart & Lung, 26(5), 363–371.
332(6), 345-350.

Vol. 14 No. 3 363


แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ

Polit, D., & Hungler, B. (1997). Essential of nursing Twibell, R., Sicla, D., & Mahmoodi, M., (2003).
research: A text and work book (pp. 261-280). Subjective perception and physiological variables
Philadelphia: Lippincott. during weaning from mechanical ventilation. American
Richards, K. (1998). Effect of back massage and relaxation Association of Critical Care, 12(2), 104-112.
intervention on sleep in critically ill patient. American Walsh, T. S., Dodds, S., & McArdl, F. (2004).
Journal of Critical Care, 7(4), 288 – 299. Evalution of simple criteria to predict successful
Rosswurm, M. A., & Larrabee, J. H. (1999). A model weaning form mechanical ventilation in intensive
for change to evidence-based practice. Journal of care patients. British Journal of Anaesthesia, 92(6),
Nursing Scholarship, 31(4), 317-322. 793–799.
Thomas, L. A. (2003). Clinical management of stressors perceived
by patient on mechanical ventilation. American
Association of Critical Care Nurses, 14(1), 73–81.

364 Rama Nurs J ë September - December 2008


ยุพา วงศ์รสไตร และคณะ

Clinical Nursing Practice Guideline for Successful Weaning


from Mechanical Ventilation
Yupha Wongrostrai* M.N.S. (Adult Nursing)
Orasa Panpakdee** D.N.S.
Supreeda Monkong*** Ph.D. (Nursing)
Abstract: The objectives of this study were to establish clinical nursing practice
guideline (CNPG) using a research utilization process to promote the successful
weaning the patients from mechanical ventilation. This CNPG could help the
healthcare providers, especially nurses, to perform the effective weaning from
mechanical ventilation. Moreover, the CNPG would be useful in promoting the
communications within the healthcare team, and providing necessary information
for nurses and physicians. This information could be used to achieve the best
decision in giving proper treatment and care for ventilated patients to ensure
successful weaning. The development of CNPG was done from analysis and
synthesis of 42 relevant studies and was approved by three experts. The results of
the CNPG development consisted of the nursing intervention in three phases
including: pre-weaning phase, weaning phase, and post-weaning phase. In
addition, the CNPG focused on the assessment of the readiness weaning, the
monitoring the patients’ weaning abilities and the evaluation of the outcome in each
phase of weaning. In addition, the CNPG was reviewed by experts in terms of
content validity and feasibility of clinical practice. The investigator recommended
that the CNPG should be implemented in the clinical setting to evaluate its
feasibility for practice and develop acare model for patients who required
mechanical ventilation. Furthermore, a pilot study should be conducted in clinical
setting to evaluate the effective of the CNPG and outcomes. In addition, the CNPG
should be improved continuously for the quality of nursing care.
Keywords: Clinical nursing practice guideline, Successful weaning, Mechanical
ventilation

*Lecturer, Department of Medical-Surgical Nursing, Kuakarun Nursing College


**Associate Professor, Department of Nursing, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University
***Assistant Professor, Department of Nursing, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University

Vol. 14 No. 3 365

You might also like