Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 350

คติ พ จน์ ผบ.ทบ.

ฉลาด รอบรู้ ทันสมัย มีวิสัยทัศน์


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ผู้บัญชาการทหารบก
๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

คำนำ
คู่มือปฏิบัติการทางยุทธวิธีทหารช่างสนามเล่มนี้ กองทัพบกได้มอบหมายให้กองทัพภาคที่ 1
จัดทำขึ้นเป็นคู่มือสำหรับผู้บังคับหน่วยระดับกองร้อยลงมาใช้ในการศึกษา อ้างอิง ใช้เป็นแนวทางในการ
ปฏิบัติการทางยุทธวิธีและใช้ปฏิบัติการฝึกในสถานการณ์ต่างๆ เป็นคู่มือที่รวบรวมเนื้อหามาจากหลักนิยม
คู่มือราชการสนาม ระเบียบ คำสั่งและแนวสอนของเหล่า/สายวิทยาการที่ทันสมัยล่าสุดของกองทัพบก
รวมทั้งสนธิข้อมูลที่หลากหลายจากประสบการณ์ของหน่วยปฏิบัติโดยตรง โดยผู้ใช้สามารถทำความเข้าใจ
ไปตามกลุ่มเนื้อหา ที่เปรียบเทียบให้เห็นการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บังคับหน่วยแต่ละตำแหน่ง ในแต่ละขั้น
ตอนของกิจทางยุทธวิธีอย่างชัดเจน
เนื้อหาภายในคู่มือเล่มนี้ประกอบด้วย คุณลักษณะผู้นำและระเบียบการนำหน่วย ภารกิจของ
หน่วยทหารช่างสนาม การจัดหน่วย หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้บังคับหน่วย การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
การสนับสนุนการรบและการสนับสนุนการช่วยรบ เทคนิคและการฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการทางทหารอื่นๆ ที่มิใช่สงคราม และข้อมูลสนามรบที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการทาง
ยุทธวิธี ทั้งนี้กรมยุทธศึกษาทหารบกและเหล่า/สายวิทยาการได้ให้คำแนะนำในการเรียบเรียงเพิ่มเติมสาระ
สำคัญๆ ตลอดจนได้สนับสนุนการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและข้อมูลภายในเล่มเป็นที่เรียบร้อย
แล้ว
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้บังคับหน่วยระดับกองร้อยลงมา ในการปฏิบัติ
งานในสนาม และสำหรับผู้บังคับหน่วยตั้งแต่ผู้บังคับกองพันขึ้นไป สามารถใช้เป็นเอกสารในการตรวจ
สอบและกำกับดูแลการปฏิบัติของผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่
ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่และการบรรลุภารกิจต่างๆ ที่ได้รับมอบ ส่งผลให้หน่วยมีความพร้อมสูงสุด
ที่จะทำหน้าทีใ่ นการพิทกั ษ์รกั ษาไว้ซงึ่ สถาบันหลักของชาติและผลประโยชน์ของชาติให้มคี วามมัน่ คง ยัง่ ยืน
ตลอดไป


พลเอก
( ประยุทธ์ จันทร์โอชา )
ผู้บัญชาการทหารบก
กันยายน 2555


สารบัญ
บทนำ
• ผู้นำและทหารมืออาชีพ 1
• ลักษณะผู้นำทหาร 2
• ระเบียบการนำหน่วย 3

ตอนที่ 1 ภารกิจของทหารช่างสนาม การจัดหน่วยและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับหน่วย
• ภารกิจของทหารช่างสนาม 1-1
• การจัดหน่วยทหารช่างสนาม 1-4
• หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับหน่วยทหารช่างสนาม 1-7

ตอนที่ 2 การปฏิบัติทางยุทธวิธ ี
• กล่าวทั่วไป 2-1
• หลักการใช้หน่วยทหารช่าง 2-3
• ความสัมพันธ์ทางสายการบังคับบัญชาและการสนับสนุน 2-3
• พันธกิจทางยุทธวิธีในการเข้าทำการรบของทหารช่าง 2-7
• แนวทางปฏิบัติของผู้บังคับหน่วยทหารช่างตามขั้นตอนระเบียบการนำหน่วย 2-8
• การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก 2-11
• ภารกิจของทหารช่างสนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธ์ในการรบด้วยวิธีรุก 2-13
• การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ 2-17
• ภารกิจของทหารช่างสนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธ์ในการรบด้วยวิธีรับ 2-18
• การปฏิบัติการรบด้วยวิธีร่นถอย 2-22
• ภารกิจของทหารช่างสนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธ์ในการรบด้วยวิธีร่นถอย 2-24
• การยุทธ์ข้ามลำน้ำ 2-28
• ทหารช่างจัดกำลังทำการรบอย่างทหารราบ 2-33

ตอนที่ 3 การสนับสนุนการรบ และการสนับสนุนการช่วยรบ
• การสนับสนุนการรบ 3-1
• การข่าวกรองและการต่อต้านข่าวกรอง 3-1
• การติดต่อสื่อสาร 3-4
• การสนับสนุนทางการช่วยรบ 3-4
• การส่งกำลังบำรุงในสนามของหน่วยทหารช่างสนาม 3-5
• หลักการจัดขบวนสัมภาระของหน่วยทหารช่างสนาม 3-12
• การปฏิบัติการส่งกำลังของหน่วยทหารช่างสนาม 3-17
• หมวดกระสุน 3-24

่ 4 เทคนิคและการฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัติการรบ
ตอนที
• การลาดตระเวนทางการช่าง 4 - 1
• เทคนิคการลาดตระเวนทางการช่าง 4 - 1
• การฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะการลาดตระเวนทางการช่าง 4 - 13
• เครื่องยกของหนัก 4 - 17
• การฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะการสร้างเครื่องยกของหนัก 4 - 17
• ป้อมสนาม 4 - 31
• การฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะการสร้างป้อมสนาม 4 - 31
• การสร้างสะพานและแพยุทธวิธีเบา 4 -37
• เทคนิคการสร้างสะพานเครื่องหนุนลอย M 4 เรือทุ่นโลหะผสม 4 - 37
• การฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะการสร้างสะพานเครื่องหนุนลอย M 4 เรือทุ่นโลหะผสม 4 - 40
• ประปาสนาม 4 - 41
• การฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะผลิตประปาสนาม 4 - 41
• วัตถุระเบิดและการทำลาย, สงครามทุ่นระเบิด 4 - 48
• เทคนิคการใช้วัตถุระเบิดและการทำลาย 4 - 48
• เทคนิคการสงครามทุ่นระเบิด 4 - 48
• การฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะการใช้วัตถุระเบิดและการทำลาย, สงครามทุ่นระเบิด 4 - 52

ตอนที่ 5 การปฏิบัติการทางทหารที่มิใช่สงคราม
• การปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ 5 – 1
• กล่าวทั่วไป ระบบของสหประชาชาติ 5 – 3
• หลักพื้นฐานในการดำเนินงาน 5 - 3
• บทบาทของสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน 5 – 4
• กองกำลังสหประชาชาติกับสิทธิมนุษยชนและกฎหมายสงคราม 5 – 4
• กองกำลังสหประชาชาติกับการใช้กำลังทหาร 5 – 6
• กิจเฉพาะทั่วไปในการปฏิบัติการ 5 – 7
• งานด้านกิจการพลเรือนและการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม 5 – 7
• การบังคับบัญชา การควบคุม และระบบการติดต่อสื่อสาร 5 – 8
• การเตรียมความพร้อมก่อนไปปฏิบัติภารกิจของสหประชาชาติ 5 – 9
• การฝึกมาตรฐาน 6 สถานี สำหรับการปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพ 5 - 10
• การบรรเทาสาธารณภัย 5 – 23
• ภารกิจ การจัด 5 – 23
• การปฏิบัติต่อภัยภิบัติ
• อุทกภัย 5 - 28
• อัคคีภัย 5 – 30
• แผ่นดินไหว, ดินถล่มและ คลื่นสึนามิ 5 - 31
• การรักษาความสงบเรียบร้อย 5 – 33
• ภารกิจ ขีดความสามารถ การจัด 5 – 33
• หน้าที่ ความรับผิดชอบ 5 – 35
• ยุทธวิธีการจัดรูปขบวน 5 – 36
• กฎการใช้กำลัง 5 – 37
• ขั้นตอนการปฎิบัติการใช้กำลังทางยุทธวิธีของกองร้อยรักษาความสงบเรียบร้อย 5 - 37
• ตารางเปรียบเทียบกฎอัยการศึก พรบ.ความมั่งคงฯ และ พรก.ฉุกเฉิน 5 - 39

ตอนที่ 6 ข้อมูลสนามรบที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติทางยุทธวิธ ี
• ข้อพิจารณาพื้นฐานทางยุทธวิธีปัจจัยมูลฐาน METT – TC 6 - 1
• ระบบปฏิบัติการสนามรบ 7 ประการ 6 - 3
• รูปขบวนการเคลื่อนย้ายทางยุทธวิธี 6 - 4
• การดัดแปลงที่มั่นในสนามรบ 6 - 9
• ขนาด/มิติสนามรบ 6 - 16
• สัญลักษณ์และเครื่องหมายทางทหาร 6 - 19
• คำสั่งการรบและตัวอย่าง 6 - 32
• แผ่นบริวารยุทธการ แผ่นบริวารเครื่องกีดขวางและแผ่นบริวารช่วยรบ 6 - 58
• การวางแผนและประสานการยิงสนับสนุน 6 - 62
• แบบรายงานต่างๆ 6 - 65
• แบบรายการเบิก-จ่าย ยุทโธปกรณ์ และ สป. ต่างๆ 6 - 70
• การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน 6 - 74
• อาวุธและยุทโธปกรณ์ ของกองทัพไทย 6 - 89
• อาวุธและยุทโธปกรณ์ ที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา 6 - 124
• วัตถุระเบิดทางการทหาร และวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง IED 6 - 148
• กฎการใช้กำลัง ( Rules of Engagement ) 6 - 163
• กฎหมายว่าด้วยการสงครามทางบก (The Law of Land Warfare) 6 - 169

• การใช้ประโยชน์ของคู่มือ 7
• คุณลักษณะเด่น 8
• ขุดคู่มือปฏิบัติการทางยุทธวิธีของกองทัพบก พ.ศ.2556 9,10
• คณะทำงานจัดทำคู่มือ 11

ภารกิจ การจัด หน้าที่
ตอนที่ 1
ภารกิจของทหารช่างสนาม การจัดหน่วยและหน้าทีค่ วามรับผิดชอบของผูบ้ งั คับหน่วย

1. กล่าวทั่วไป
ในตอนที่ 1 นี้ได้เรียบเรียงเนื้อหาที่สำคัญของทหารช่างสนามโดยจะกล่าวถึง ภารกิจ การจัดหน่วยและหน้าที่ความ
รับผิดชอบของผู้บังคับหน่วยของทหารช่างสนามตามเอกสาร ตำรา และคู่มือราชการสนามที่กองทัพบกกำหนด ได้แก่
รส. 3 – 34 และ รส. 5 – 34


ภารกิจของหน่วยทหารราบเบา การจัดหน่วยและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับหน่วย
• ภารกิจของทหารช่างสนาม
• การจัดหน่วยทหารช่างสนาม
• หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับหน่วยทหารช่างสนาม


2. ภารกิจของทหารช่างสนาม สามารถกำหนดขึ้น เป็นกลุ่มตามคุณลักษณะต่างๆ ของทหารช่างได้เป็น 4 กลุ่ม
ดังนี้
• ภารกิจทั่วไป เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพการรบของกองพลทหารราบ โดยการปฏิบัติงานช่างสนามทั่วไป
• ภารกิจมูลฐาน ภารกิจของทหารช่างในยุทธบริเวณโดยทั่วไป มี 3 ประการ คือ
1) การสนับสนุนการรบ ได้แก่ การปฏิบัติงานช่างที่เกี่ยวกับการ อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนที่ให้กับ

หน่วยทหารฝ่ายเดียวกัน ขัดขวางการเคลื่อนที่ของข้าศึกและช่วยเหลือกำลังฝ่ายเราให้อยู่รอดปลอดภัยในสนามรบ
2) การสนับสนุนทางการช่วยรบ ได้แก่ การปฏิบัติงานช่างที่เกี่ยวกับการดำรงความต่อเนื่องในการรบด้วยการ
ก่อสร้าง และซ่อมแซมสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต่อการรบ การส่งกำลังและซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์สายช่าง การ
ผลิตและการแจกจ่ายแผนที่ในสนาม วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการประปาในสนาม เป็นต้น
3) การรบ โดยปกติการใช้ทหารช่างเพื่อทำการรบอย่างทหารราบจะกระทำเฉพาะในเวลาจำเป็นเท่านั้น และ
จำเป็นต้องเพิ่มเติมอาวุธยิงสนับสนุนและเครื่องมือสื่อสารให้แก่ทหารช่าง มากกว่าหน่วยกำลังรบที่มีขนาดเท่ากัน
พร้อมทั้งต้องจัดผู้ตรวจการณ์หน้าหรือเจ้าหน้าที่ติดต่อของหน่วยยิงสนับสนุนมาประจำที่หน่วยทหารช่างด้วย
• ภารกิจเฉพาะ ภารกิจเฉพาะของทหารช่างในพื้นที่ยุทธบริเวณมีงานที่จะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
1) การก่อสร้าง ทำการสร้าง ซ่อมแซม ฟื้นฟู ซ่อมบำรุง ดูแลรักษา อาคาร เส้นทางคมนาคม
สิ่งอำนวยความสะดวก และเครื่องกีดขวาง
2) การทำลาย ทำลายด้วยการใช้ น้ำ ไฟ เชิงกล และวัตถุระเบิด
3) การแผนที่สนาม
4) งานดัดแปลงที่มั่นตั้งรับให้แข็งแรง
5) การประปาสนาม
6) การส่งกำลังและซ่อมบำรุงสิ่งอุปกรณ์สายทหารช่าง
7) การดำรงหน่วยของตนเอง

ภารกิจของทหารช่างสนาม 1 - 
ภารกิจ การจัด หน้าที่

• พันธกิจของทหารช่างสนาม
การใช้หน่วยทหารช่าง ผู้บังคับหน่วยดำเนินกลยุทธ์ และฝ่ายอำนวยการควรวางแผนการใช้หน่วยทหารช่างตาม
พันธกิจทางยุทธวิธีของทหารช่าง ซึ่งได้มาจาก การวิเคราะห์ภารกิจในการสนับสนุนทางการช่าง โดยกำหนดพันธกิจ
ทางยุทธวิธีได้ดังนี้
1) ความสามารถในการเคลื่อนที่ (Mobility)
2) การต่อต้านความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ (Countermobility)
3) ความอยู่รอดในสนามรบ (Survivability)
4) การปฏิบัติงานช่างทั่วไป (General Engineering)
5) การแผนที่สนาม (Topography)
1) ความสามารถในการเคลื่อนที่ (Mobility)
ความสามารถในการเคลื่อนที่ของฝ่ายเรา จะช่วยให้
ผู้บังคับหน่วยดำเนินกลยุทธ์สามารถมีเสรีในการปฏิบัติที่จะ
สามารถใช้หน่วยทางยุทธวิธีเข้าดำเนินกลยุทธ์ ณ ตำบลที่ได้
เปรียบเหนือข้าศึก ทหารช่างช่วยลดอำนาจเครื่องกีดขวาง
ของข้าศึกที่ขัดขวางการดำเนิน กลยุทธ์ของฝ่ายเรา โดยผู้
บังคับหน่วยดำเนินกลยุทธ์ จะเป็นผู้กำหนดเส้นทาง
เคลื่อนที่ของหน่วยล่วงหน้า เพื่อให้ทหารช่างทำการ
ปรับปรุงเส้นทางเท่าที่จำเป็น รวมทั้งการดำรงรักษาเส้นทาง
ให้สามารถใช้การได้เสมอ นอกจากนั้นทหารช่างยังต้องเตรียมการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับอากาศยาน
ทั้งของกองทัพบกและกองทัพอากาศในเขตหน้าอีกด้วย พันธกิจการเปิดเส้นทางเคลื่อนที่ถือเป็นหัวใจสำคัญ แห่ง
ความสำเร็จที่จะทำให้ฝ่ายเราครองความริเริ่มได้ตลอดเวลาของการปฏิบัติการ งานในหน้าที่ของทหารช่าง ในพันธกิจ
ความสามารถในการเคลื่อนที่ได้นั้น การเปิดเส้นทางเคลื่อนที่จะประกอบด้วยงานช่าง ซึ่งได้แก่ การลบล้างอำนาจ
สนามทุ่นระเบิดและเครื่องกีดขวาง การสนับสนุนการข้ามช่องว่าง การปรับปรุงถนนและสะพานทางยุทธวิธี และการ
ปรับปรุงสนามบินในเขตหน้า
2) การต่อต้านความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ (Countermobility)
การต่อต้านความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ของข้าศึก
ในสนามรบ ด้วยการพัฒนาและเสริมสร้างเครื่องกีดขวางที่มี
อยู่เดิม ด้วยเครื่องกีดขวางที่สร้างขึ้นตามแนวความคิดใน
การปฏิบัติของผู้บังคับหน่วยดำเนินกลยุทธ์ ซึ่งจะช่วยเพิ่ม
ความลึกทั้งพื้นที่และเวลาให้กับฝ่ายเรา อันเป็นการจำกัด
หรือทำลายความสามารถในการดำเนินกลยุทธ์ของข้าศึก
ด้วยการทำให้เสียรูปขบวน เบี่ยงเบน หันเห ชะลอ รั้งหน่วง
หรือถูก ปิดกั้นการเคลื่อนที่ เพื่อเปิดโอกาสสำหรับฝ่ายเรา
ให้สามารถทำลายข้าศึกได้ ทหารช่างจะให้คำแนะนำผู้บังคับ
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ถึงเครื่องกีดขวางที่ดีที่สุด ในการที่จะ
เสริมคุณค่าของเครื่องกีดขวางที่มีอยู่เดิมในภูมิประเทศ และเสนอแนะการกำหนดที่ตั้งของสนามทุ่นระเบิดและเครื่อง
กีดขวางที่สร้างขึ้นอื่นๆ ในการจะสนับสนุน แผนการดำเนินกลยุทธ์และแผนการยิงสนับสนุนของฝ่ายเราให้มี
ประสิทธิภาพสูงสุด งานในหน้าที่ของทหารช่างในพันธกิจการต่อต้านความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ประกอบด้วย
งานช่าง ซึ่งได้แก่ การสงครามทุ่นระเบิด และการพัฒนาเครื่องกีดขวาง

1 -  ภารกิจของทหารช่างสื่อสาร
ภารกิจ การจัด หน้าที่
3) ความอยู่รอดในสนามรบ (Survivability)
ความอยู่รอดในสนามรบ จะบังเกิดขึ้นด้วยการซ่อนพราง
และมีที่กำบังอันทรงประสิทธิผลต่อการป้องกันอำนาจการ
ทำลายของอาวุธยิงประเภทต่างๆ ของข้าศึก ทหารช่างมี
ความรู้ทางเทคนิค ทักษะ และเครื่องมือที่ช่วยหน่วยอื่นๆ
เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงที่มั่นรบให้เป็นจุดต้านทาน ความ
รับผิดชอบในการปฏิบัติการพราง และสร้างที่กำบังป้องกัน
ที่มั่นตนเองนั้นเป็นหน้าที่ของผู้บังคับหน่วยดำเนินกลยุทธ์
โดยทหารช่างจะให้การแนะนำและคำปรึกษาทางเทคนิคการ
พราง และอาจทำการสร้างที่มั่นตั้งรับหรือที่มั่นรบหน่วงเวลาที่เกิน ขีดความสามารถของหน่วยกำลังรบ ทั้งยังอาจ
ทำการสร้างที่กำบังให้กับที่ตั้งยิงของ ถ. หรือ ป. หรือก่อสร้าง ที่กำบังป้องกันให้กับสิ่งอำนวยความสะดวกของหน่วย
สนับสนุนการรบและหน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบเพื่อป้องกันต่อการถูกทำลายจากการโจมตีของข้าศึก รวมถึงการ
สนับสนุนยุทโธปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อจัดตั้งตำบลล้างการปนเปื้อน และช่วยเหลือในการทำลายล้างพิษปนเปื้อนตาม
เส้นทางและพื้นที่ได้ด้วยน้ำ งานในหน้าที่ของทหารช่างในพันธกิจความอยู่รอดในสนามรบ ประกอบด้วยงานช่าง ซึ่ง
ได้แก่ การจัดเตรียมที่มั่นรบ และที่มั่นที่สำคัญต่างๆ (ที่ยังไม่มีหน่วยกำลังรบเข้ามารับผิดชอบหรือเป็นที่มั่นที่มีความ
สำคัญยิ่งต่อการบรรลุภารกิจของหน่วยดำเนินกลยุทธ์ซึ่งเป็นหน่วย บังคับบัญชาทหารช่างนั้น โดยจะกำหนดไว้ในแผน
ของหน่วยดำเนินกลยุทธ์) การจัดเตรียมที่กำบัง ให้กับที่ตั้งยิงของอาวุธยิงสนับสนุน การสนับสนุนสิ่งกำบังเพื่อการ
ป้องกันสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญต่อการรบ การพราง และการประปาสนาม

4) การปฏิบัติงานช่างทั่วไป (General Engineering)


การปฏิบัติงานช่างทั่วไป จะมุ่งเน้นงานช่างเพื่อให้ฝ่าย
เราสามารถดำรงความต่อเนื่องในการรบ ด้วยการก่อสร้าง
บำรุงรักษาและซ่อมแซมเส้นหลักการส่งกำลัง การซ่อมแซม
ความชำรุดเสียหายของสนามบิน การฟื้นฟูความเสียหาย
จากการยุทธ์ และการกวาดล้างสนามทุ่นระเบิดที่จำเป็นต่อ
การปฏิบัติการยุทธ์ ทหารช่างในทุกระดับหน่วยล้วนมีพันธกิจ
ทางยุทธวิธีในการปฏิบัติงานช่างทั่วไป เพื่อการดำรงความ
ต่อเนื่องในการรบทั้งสิ้น แต่ขอบเขตการปฏิบัติงานช่างจะขึ้น
อยู่กับปัจจัยในเรื่อง ระดับของความขัดแย้ง ความสมบูรณ์ของระบบโครงสร้างพื้นฐานในยุทธบริเวณขนาดของกอง
กำลังฝ่ายเราที่ทหารช่างไปให้การสนับสนุนอยู่ และขีดความสามารถของหน่วยทหารช่างนั้น ๆ งานในหน้าที่ของ
ทหารช่างในพันธกิจการปฏิบัติงานช่างทั่วไป ประกอบด้วยงานช่างซึ่งได้แก่ การก่อสร้างและซ่อมแซมเส้นทาง
คมนาคม การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกทางการส่งกำลังบำรุง การควบคุมความเสียหายเป็นพื้นที่ และการผลิต
วัสดุก่อสร้าง
5) การแผนที่สนาม (Topography)
การแผนที่สนามจะช่วยให้ผู้บังคับบัญชาได้รับข่าวสารเกี่ยวกับภูมิประเทศและมองเห็นภาพของสนามรบเพื่อใช้ใน
การวางแผนการดำเนินกลยุทธ์ที่ประสานประโยชน์จากลักษณะภูมิประเทศได้อย่างสูงสุด ทหารช่างช่วยเหลือผู้
บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการ ด้วยการจัดทำการวิเคราะห์ภูมิประเทศเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับเส้นทางเคลื่อนที่
ลักษณะพื้นที่ปฏิบัติการและที่หมายและที่ตั้งของเครื่องกีดขวางซึ่งจะเป็นการสนับสนุนข้อมูลให้กับฝ่ายข่าวกรองของ
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่ปฏิบัติการรวมทั้งการผลิตแผนที่ที่จำเป็นต่อการวาง แผนและ
อำนวยการยุทธ์ งานในหน้าที่ของทหารช่างในพันธกิจการแผนที่สนาม ประกอบด้วยงานช่างซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์
ภูมิประเทศ การผลิตและการแจกจ่ายแผนที่ในสนาม

ภารกิจของทหารช่างสนาม 1 - 
ภารกิจ การจัด หน้าที่

3. การจัดหน่วย
กองพันทหารช่างสนาม
• ภารกิจ 1 - 6
เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพการรบของกองพลทหารราบ โดยการปฏิบัติงานช่างสนามทั่วไป
• ขีดความสามารถ
1) วางแผนการอำนวยการและกำกับดูแกองร อยทหารช
ล ในหน้ างสนาม
าที่ฝ่ายอำนวยการทหารช่ างในเรื่องการปฏิบัติงานช่าง
ของกองพลทั้งหมด
• ภารกิจ
2) การลาดตระเวนทางการช่าง
เปนสวนปฏิบัติการหลักของกองพันทหารชางสนามในการปฏิบัติงานชางทั่วไป เพื่อสนับสนุนผลการ
3) สร้าง , ซ่อมแซมและบำรุงถนน ที่ลุยข้าม ท่อน้ำ สะพานเครื่องหนุนมั่นและเครื่องหนุนลอย แพส่งข้าม
เครืปฏิ บัตดิกขวาง
่องกี ารรบของกองพลหรื
(รวมทั้งดงระเบิอดกองทั
) ที่บังพคับการและที่ตั้งการตั้งรับ
4) • ทำการก่ อสร้างในสนามโดยทั่วไป รวมทั้งการสร้างสนามบิน และสนาม ฮ.
ขีดความสามารถ
5) การทำลายและรื
1) ปฏิบัติงานช้อางสนาม
ถอนเครื่องกีดขวาง รวมทั้งดงระเบิด
6) จั2)ดเจ้โดยปกติ
าหน้าที่ทสหารช่
นับสนุางและเครื
นทางการช ่องมืางให
อสายช่
แก าง1สำหรั บการข้เมื
กรมผสม ามลำน้
่อเปนำหน
ต่อวหน้ าข้าตศึราของกองพั
ยในอั ก นทหารชางของ
7) จัดการบริ ก
กองพล ารส่ ง กำลั ง สายช่ า ง รวมทั ง
้ แหล่ ง น้ ำ 4 แห่ ง
8) ทำการรบอย่ างทหารราบเมื
3) อาจทําการรบอย ่อจำเป็น ฉุกเฉิน
างทหารราบในกรณี
• ผังการจัดหน่วยกองพันทหารช่างสนาม
• ผังการจัดหนวยกองรอยทหารชางสนาม
น. = 5
กองรอยทหารชางสนาม ส. = 92
อจย. 5-17 พลฯ = 86

น. = 2
ส. = 35 กองบังคับการกองรอย หมวดทหารชางสนาม น. = 3
พลฯ = 20 ส. = 57
พลฯ = 66
• สถานภาพยุ ทโธปกรณ์
• สถานภาพยุ หลัหกลัทีก่สทีำคั
ทโธปกรณ ่สําญคัญตาม
ตามอจย.5-15
อจย.5-17กองพั
กองรอนยทหารช
ทหารช่าางสนาม
งสนาม
ลําดั ลำดั
บ บ ยุทโธปกรณ
ยุทโธปกรณ์ อัตราอัตราลําดั ลำดั
บ บ ยุทโธปกรณ
ยุทโธปกรณ์ อัตอัราตรา
อาวุธอาวุธ เครืเครื ่องมื
่องมื อชอาช่งาง
1 ปืนพก ขนาด 11 มม. 11 1 รถตักล้อยางขุดคู 1
1 2 ปนเล็ปืกนยาว ขนาดขนาด
เล็กยาว 5.565.56
มม.มม. 1831,029 1 2รถตักบรรทุ ก ก
รถตักบรรทุ 7 1
2 3 ปนกลปืนขนาด
กล ขนาด .50 นิ้ว
.50 นิ้ว 4 18 2 3 รถถากถางขนาดกลาง
รถถากถางขนาดกลาง 10
2
4 ปืนกล 38 ขนาด 7.62 มม.แม็ก 58 38 4 รถถากถางขนาดเบาตีนเป็ด 1
3 5 ปนกลเครื38
่องยิขนาด 7.62ด ขนาด
งลูกระเบิ มม.แม็40ก มม.
58 9 100 3 5รยบ.10
รยบ.10ตัน เทท
ตันาเทท้
ย าย 62 12
ยานพาหนะ 6 รถเกลี่ย 7
4 1 เครื่อรยบ.
งยิงลู¼กระเบิ ด ขนาด 40 มม.
ตัน 4x4 19 27 4 7รถเกลีรถราดน้
่ย ำ 6 1
2 รยบ.1 ¼ยานพาหนะ
ตัน 4x4 17 5 8รถราดน้
รถบดล้
ํา อยาง 9 ล้อ 9 ตัน 5 1
3 รยบ.2 ½ ตัน 29 9 รถบดสั่นสะเทือน 1
1 4 รยบ.¼ ตัน ตั4x4
รยบ.5 น ลากจูง 4 16 6 10รถบดลรถโกยตั
อยาง ก9สายพาน
ลอ 9 ตัน¾ ลบ.หลา 5 1
5
2 รยบ.1รถกู¼้ 5ตัตันน4x4 2 1 7 11 รถโกยตักสายพาน ¾ ลบ.หลา (แขนยาว)
รถโกยตักสายพาน ¾ ลบ.หลา 2
1
6 รถบรรทุกน้ำมัน 1 12 เครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด 42
3 รยบ.2 ½ ตัน 2 8 เครื่องตรวจคนทุนระเบิด 9
41 - รยบ.5
การจัดตัหน่
น วลากจู
ย ง 3 9 รถพวงเครื่องมือใชลมอัดและเครื่องอัดลม 1
10 เข็มทิศเลเซติกส พรอมซอง 8
1-5 W แบบสะพายหลัง 5 13 เครื่องอัดลมยนต 5 ลบ.ฟ./นาที 1

ภารกิจ การจัด หน้าที่


3 ชุดวิทยุ SF/AM/SSB 1.6-29.99 MHZ 14 เลื่อยโซยนต 3
ลำดับ 10-20 W แบบติดยุตัท้งโธปกรณ์
บนยานพาหนะ
1 ลำดั15
อัตรา บ เครื่องมือชางไม ยุทชโธปกรณ์
ุดหมวด ช. อัตรา 3
4 ชุดวิทยุ VSF/FM สื30-88 ่อสาร MHZ 16 รถปั
13 เครื่อ้นงมื
จั่นอ20
ชางไม
ตัน ชุดหมู ช. 2 9
1 ชุดวิทยุ PRC-624 52 14 รถโรงงานซ่อมขั้นหน่วย 1
2 10-50
ชุดวิทWยุ แบบติ
VSF/FMดตั30-88
้งบนยานพาหนะ
MHZ 5 17 เครื อ
่ งมื อ ช า
15 รถโรงงานซ่อมเคลื่อนที่ งโยธาชุ ด หมวด ช. 4 3
5 โทรศั 1-5พW ทสแบบสะพายหลั
นาม ง 206 16
18 รถพ่
เครืว่องเครื
งมือ่อชงมืางโยธาชุ
อใช้ลมอัดดหมู
และเครื
 ช. ่องอัดลม 5 9
3 ชุดวิทยุ SF/AM/SSB 1.6-29.99 MHZ 17 ชุดเครื่องประปาสนาม 4
10-20 W แบบติดตั้งบนยานพาหนะ 4 18 เรือส่งข้าม 16 ฟุต 18
4 ชุดวิทยุ VSF/FM 30-88 MHZ 19 เครื่องยนต์ติดท้าย 25 แรงม้า 6
10-50 W แบบติดตั้งบนยานพาหนะ 20 20 สะพานแบลี่ย์ M 2 1
5 ชุดวิทยุ SF/AM/SSB 1.6-29.99 MHZ หมวดทหารชางสนาม
21 สะพานหนุ น ลอย M 4 T 6 1
200-400 W แบบกึ่งประจำที่ 1 22 เครื่องสูบน้ำ 4 นิ้ว 1
6 • ภารกิ
โทรศั พท์จสนาม 36 23 เข็มทิศเลเซติกส์ พร้อมซอง 43
เปนสวนปฏิบัติการหลักของกองรอยทหารชางสนาม ปฏิบัติงานตามที่กองรอยมอบหมาย ถาหมวดไดรับ
กองร้
เครื ่องมือยทหารช่
อเพิ่มเติมางสนาม
จะมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น
• ภารกิจ
• บขีัตดิกความสามารถ
เป็นส่วนปฏิ ารหลักของกองพันทหารช่างสนามในการปฏิบัติงานช่างทั่วไป เพื่อสนับสนุนผลการ
1) ปฏิบัติงานชอากองทั
ปฏิบัติการรบของกองพลหรื งสนาม พ
2)
• ขีดความสามารถ โดยปกติ ส นั บ สนุ น ทางการชางใหแก 1 กองพัน เมื่อเปนหนวยในอัตราของกองพันทหารชาง ของ
1) ปฏิบัตกองพล ิงานช่างสนาม
3) อาจทํ
2) โดยปกติ สนับาการรบอย
สนุนทางการช่างทหารราบในกรณี ฉุกเฉิน เมื่อเป็นหน่วยในอัตราของกองพันทหารช่างของกองพล
างให้แก่ 1 กรมผสม
3) • อาจทำการรบอย่ างทหารราบในกรณี
ผังการจัดหนวยหมวดทหารช างสนามฉุกเฉิน
• ผังการจัดหน่วยกองร้อยทหารช่างสนาม

น. = 1
หมวดทหารชางสนาม ส. = 19
( อจย. 5 – 17 ) พลฯ = 22

น. = 1
ส. = 4 กองบังคับการหมวด หมูทหารชาง ส. = 15
พลฯ = 1 พลฯ = 21

• สถานภาพยุทโธปกรณ์หลักที่สำคัญ ตาม อจย.5-17 กองร้อยทหารช่างสนาม


ลำดับ ยุทโธปกรณ์ อัตรา ลำดับ ยุทโธปกรณ์ อัตรา
อาวุธ เครื่องมือช่าง
1 ปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มม. 183 1 รถตักบรรทุก 1
2 ปืนกล ขนาด .50 นิ้ว 4 2 รถถากถางขนาดกลาง 2
3 ปืนกล 38 ขนาด 7.62 มม.แม็ก 58 9 3 รยบ.10 ตัน เทท้าย 12
4 เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 40 มม. 19 4 รถเกลี่ย 1
5 รถราดน้ำ 1

การจัดหน่วย 1 - 
ลําดับ ยุทโธปกรณ อัตรา ลําดับ ยุทโธปกรณ อัตรา
ภารกิจ การจัด หน้าที่
สื่อสาร เครื่องมือชาง
1 ชุดวิทยุ PRC624 12 11 เครื่องกําเนิดไฟฟา 5 KW 1
2 ลำดัชุดบวิ ทยุ VSF/FM 3088
ยุทโธปกรณ์
MHZ อัตรา ลำดับ
12 เครื่องอัดดินยนต ยุทโธปกรณ์ อัตรา
1
ยานพาหนะ
15
1 W รยบ.¼ ตัน 4x4 ง
แบบสะพายหลั 54 13 6 เครื่อรถบดล้
งอัดลมยนต
อยาง 95ล้ลบ.ฟ./นาที
อ 9 ตัน 11
3 ชุ2ดวิทยุรยบ.1 ¼ ตัน 4x4
SF/AM/SSB 1.629.99 MHZ 2 14 7 เลื่อยโซ
รถโกยตั
ยนตกสายพาน ¾ ลบ.หลา 13
3 รยบ.2 ½ ตัน 2 8 เครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด 9
1020
4 W แบบติ
รยบ.5 ตันดลากจู
ตั้งบนยานพาหนะ
ง 13 15 9 เครื่อรถพ่
งมือวงเครื
ชางไม
่องมืชอุดใช้หมวด
ลมอัดช.
และเครื่องอัดลม 13
10 เข็มทิศเลเซติกส์ พร้อมซอง 8
4 ชุ1ดวิทยุ VSF/FM 3088 MHZ
สื่อสาร 16 เครื่องมือชางไมชเครื
ุดหมู
่องมื ช.อช่าง 9
2
1050 ชุWดวิแบบติ
ทยุ PRC-624
ดตั้งบนยานพาหนะ 5 12 1711 เครื่อเครื งมื่อองกำเนิ ดไฟฟ้ดาหมวด
ชางโยธาชุ 5 KWช. 13
ชุดวิทยุ VSF/FM 30-88 MHZ 12 เครื่องอัดดินยนต์ 1
5 โทรศั
3 พท1-5สนาม
W แบบสะพายหลัง 65 1813 เครื่อเครื
งมื่อองอั
ชาดงโยธาชุ
ลมยนต์ด5หมูลบ.ฟ./นาที
 ช. 19
ชุดวิทยุ SF/AM/SSB 1.6-29.99 MHZ 14 เลื่อยโซ่ยนต์ 3
4 10-20 W แบบติดตั้งบนยานพาหนะ 1 15 เครื่องมือช่างไม้ชุดหมวด ช. 3
ชุดวิทยุ VSF/FM 30-88 MHZ 16 เครื่องมือช่างไม้ชุดหมู่ ช. 9
5 10-50 W แบบติดตั้งบนยานพาหนะ 5 17 เครื่องมือช่างโยธาชุดหมวด ช. 3
โทรศัพท์สนาม หมวดทหารช
6 า งสนาม
18 เครื่องมือช่างโยธาชุดหมู่ ช. 9
 ภารกิจ
เปนสวนปฏิบัติการหลักของกองรอยทหารช างสนาม ปฏิ
หมวดทหารช่ บัติงานตามที่กองรอยมอบหมาย ถาหมวดไดรับ
างสนาม
เครื
่อ• งมืภารกิ
อเพิ่มจเติม จะมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น
เป็นส่วนปฏิบัติการหลักของกองร้อยทหารช่างสนาม ปฏิบัติงานตามที่กองร้อยมอบหมาย ถ้าหมวดได้รับเครื่องมือ
 ขีดความสามารถ
เพิ่มเติม จะมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น
• ขีด1)ความสามารถ
ปฏิบัติงานชางสนาม
1) 2) ปฏิโดยปกติ
บัติงานช่สานังสนาม
บสนุนทางการชางใหแก 1 กองพัน เมื่อเปนหนวยในอัตราของกองพันทหารชาง ของ
2) โดยปกติ กองพลสนับสนุนทางการช่างให้แก่ 1 กองพัน เมื่อเป็นหน่วยในอัตราของกองพันทหารช่าง ของกองพล
3) 3) อาจทำการรบอย่
อาจทําการรบอยางทหารราบในกรณี
างทหารราบในกรณีฉุกฉเฉิ
ุกเฉินน
• ผัผังงการจั
การจัดดหน่
หนววยหมวดทหารช่
ยหมวดทหารชาางสนาม
งสนาม

น. = 1
หมวดทหารชางสนาม ส. = 19
( อจย. 5 – 17 ) พลฯ = 22

น. = 1
ส. = 4 กองบังคับการหมวด หมูทหารชาง ส. = 15
พลฯ = 1 พลฯ = 21

1 -  ภารจัดหน่วย
ภารกิจ การจัด หน้าที่
• สถานภาพยุทโธปกรณ์หลักที่สำคัญ ตาม อจย.5-17 หมวดทหารช่างสนาม

ลำดับ ยุทโธปกรณ์ อัตรา ลำดับ ยุทโธปกรณ์ อัตรา


อาวุธ เครื่องมือช่าง
1 ปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มม. 42 1 รยบ.10 ตัน เทท้าย 4
2 ปืนกล ขนาด .50 นิ้ว 1 2 เครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด 3
3 ปืนกล 38 ขนาด 7.62 มม.แม็ก 58 3 3 เข็มทิศเลเซติกส์ พร้อมซอง 2
4 เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 40 มม. 6 4 เลื่อยโซ่ยนต์ 1
ยานพาหนะ 5 เครื่องมือช่างไม้ชุดหมวด ช. 1
1 รยบ.¼ ตัน 4x4 1 6 เครื่องมือช่างไม้ชุดหมู่ ช. 3
สื่อสาร 7 เครื่องมือช่างโยธาชุดหมวด ช. 1
1 ชุดวิทยุ PRC-624 4 8 เครื่องมือช่างโยธาชุดหมู่ ช. 3
2 ชุดวิทยุ VSF/FM 30-88 MHZ 9 ขวานใหญ่พร้อมด้าม 1
1-5 W แบบสะพายหลัง 1 10 ชุดทำลายด้วยการจุดระเบิด 3
3 ชุดวิทยุ SF/AM/SSB 1.6-29.99 MHZ 11 กระโจมทั่วไปขนาดกลาง 1
10-20 W แบบสะพายหลัง 3 12 มีดเหน็บทหารช่าง 1
4 ชุดวิทยุ VSF/FM 30-88 MHZ 13 ขาหยั่งปืนกล ขนาด 7.62 มม. 6
10-50 W แบบติดตั้งบนยานพาหนะ 1 14 หน้ากากพลยิง คจตถ.3.5 นิ้ว 6

4. หน้าที่ความรับผิดชอบผู้บังคับหน่วย
• หน้าที่เป็นบุคคลของผู้บังคับกองพันทหารช่างสนาม (ชกท.1331)
หน้าที่ทั่วไป บังคับบัญชาหน่วยทหารช่างสนาม
หน้าที่เฉพาะ
1) อำนวยการและควบคุมการใช้หน่วยทางยุทธวิธีในการปฏิบัติการรบ
2) ประเมินค่าข่าวกรอง , ประมาณสถานการณ์ , และตกลงใจกำกับดูแลการปฏิบัติการตามแผน
3) สนับสนุนหน่วยรบด้วยการปฏิบัติงานช่าง เพื่อช่วยการเคลื่อนที่ของฝ่ายเรา และขัดขวางการเคลื่อนที่
ของข้าศึก
4) เมื่อขึ้นไปสมทบกับหน่วยใดก็ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับทหารช่างของหน่วยนั้น
5) อำนวยการปฏิบัติการทางยุทธวิธีของหน่วยในเรื่องการป้องกันสถานที่ , การระวังป้องกันในขณะปฏิบัติงาน
ช่าง และการสนับสนุนหน่วยรบอื่น
6) อำนวยการรื้อถอนเครื่องกีดขวางซึ่งข้าศึกวางไว้
7) วางแผนและอำนวยการปฏิบัติทางยุทธวิธีในการใช้ฉากขัดขวาง รวมทั้งการทำลาย และสนามทุ่นระเบิด
8) วางแผนและอำนวยการก่อสร้าง , การซ่อมบำรุงและการฟื้นฟูถนน สะพาน , ลานบิน สำหรับเครื่องบิน
ขนาดเบา ตำบลจ่ายน้ำ และงานป้อมสนาม ตลอดจนโครงสร้างต่าง ๆ
9) อำนวยการฝึกหน่วยทั้งทางยุทธวิธีและทางเทคนิค
10) อำนวยการทางธุรการ , การติดต่อสื่อสาร , การส่งกำลัง , การซ่อมบำรุง , การขนส่ง และการให้ความ
ปลอดภัยแก่หน่วย
• หน้าที่เป็นบุคคลของผู้บังคับกองร้อยทหารช่างสนาม (ชกท.1331)
หน้าที่ทั่วไป รับผิดชอบงานทุกชนิดในกองร้อยของตน ได้แก่ งานธุรการ งานยุทธการ และการฝึกระเบียบวินัย
การส่งกำลัง และกิจการต่าง ๆ ของกองร้อย
หน้าที่เฉพาะ
1) รับผิดชอบในความสำเร็จของงานในกองร้อยทั้งสิ้น
2) มอบหมายความรับผิดชอบตามหน้าที่ และตามความเหมาะสมให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อก่อให้เกิดความ
ริเริ่ม
หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วย 1 - 
ภารกิจ การจัด หน้าที่

3) สอดส่องสวัสดิภาพ และให้ความยุติธรรมแก่ผู้ใต้บังคับชา
4) รับผิดชอบงานด้านธุรการ เน้นการส่งกำลังทั้งปวง การเลี้ยงดู การพัก การสุขาภิบาล การปรนนิบัติบำรุง
กองร้อย การทำหลักฐาน และรายงานเกี่ยวกับกำลังพล
5) วิเคราะห์ภารกิจที่ได้รับมอบ แล้วแบ่งงานออกเป็นส่วน ๆ ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
6) กวดขันเร่งรัดงานให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และอยู่ในระดับมาตรฐานอันดีและเสร็จตามกำหนดเวลา
ที่วางแผนไว้
7) ตรวจตราให้หน่วยใต้บังคับบัญชาได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง ด้วยการประหยัดกำลังงาน
8) วางแผนการสำหรับปฏิบัติภารกิจในอนาคตอีกด้วย
9) ช่วย ผบ.พัน. และ ฝอ. และแจ้งให้ทราบสถานการณ์ของกองร้อยของตน
10) รักษาการแทน ผบ.พัน และ ฝอ. และแจ้งให้ทราบสถานการณ์ของกองร้อย และการเปลี่ยนแปลงการ
ปฏิบัติการซึ่งพิจารณาว่าจำเป็น
11) ปฏิบัติลาดตระเวนทางการช่างอย่างต่อเนื่อง และรายงานข่าวที่เหมาะสมแก่ บก.พัน. แก่หน่วยซึ่งรับการ
สนับสนุน และแก่หมวดของตน
12) แนะนำทางการช่างแก่หน่วยซึ่งรับการสนับสนุน
• หน้าที่เป็นบุคคลของรองผู้บังคับกองร้อยทหารช่างสนาม (ชกท.1331)
หน้าที่เฉพาะ
1) ช่วยเหลือ ผบ.ร้อย ในการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นที่ปรึกษากิจการของกองร้อย
2) เสนอความเห็นหรือแสดงข้อตกลงใจในสนามแทน ผบ.ร้อย เมื่อ ผบ.ร้อย ไม่อยู่หรือมอบอำนาจไว้
3) ทำหน้าที่ควบคุมงานช่างที่ต้องใช้กำลังทั้ง 2 หมวด เพื่อประหยัดแรงงานและรักษาความต่อเนื่องของงาน
นั้น ทั้งพร้อมอยู่เสมอที่จะรับหน้าที่ ผบ.ร้อย และแทน ผบ.มว. ทุกโอกาส
4) ทำหน้าที่นายทหารยานยนต์ของกองร้อย (เมื่อมิได้มีการแต่งตั้ง)
5) อาจได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทหารติดต่อของกองร้อย และเป็นผู้ช่วยบังคับทหารช่างของหน่วยที่รับการ
สนับสนุน
• หน้าที่เป็นบุคคลของผู้บังคับหมวดทหารช่างสนาม (ชกท.1331)
หน้าที่ทั่วไป รับผิดชอบเกี่ยวกับ วินัย การฝึก การปฏิบัติงาน การส่งกำลัง และการสวัสดิการภายในหมวด
ของตน
หน้าที่เฉพาะ
1) วิเคราะห์กิจเฉพาะที่หมวดได้รับ และมอบภารกิจให้กับหมู่
2) แบ่งมอบเจ้าหน้าที่และเครื่องมือในกองบังคับการหมวดให้กับหมู่ตามความจำเป็น
3) กำกับตรวจตราการปฏิบัติงานช่าง จัดพวกทำงานให้มีประสิทธิภาพ ใช้วิธีการถูกต้องดำรงการส่งวัสดุ
คาดคะเนถึงความยากลำบากและการแก้ไข การใช้เครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพและการใช้ การระวังป้องกันอย่าง
เหมาะสม
4) รับเครื่องมือจากกองร้อยเพิ่มเติมให้กับหมวด
5) ตรวจตรา เครื่องมือ อาวุธ ยานพาหนะ เสื้อผ้าให้มีอย่างเพียงพอใช้การได้ และมีการซ่อมบำรุง อย่าง
ถูกต้อง
6) ทำการลาดตระเวนทางการช่างอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง ถูกต้องและกระจายข่าวสารอย่างถูกต้องและทันเวลา
7) ทำหน้าที่ผู้บังคับทหารช่างและดำรงการติดต่อให้กับหน่วยที่ตนสนับสนุนหรือสมทบ
• หน้าที่เป็นบุคคลของรองผู้บังคับหมวดทหารช่างสนาม (ชกท.121)
หน้าที่ทั่วไป เป็นผู้บังคับบัญชาคนที่สองของหมวด และเป็นนายงานก่อสร้าง
หน้าที่เฉพาะ
1) ช่วยผู้บังคับหมวดในการกำกับดูแลการก่อสร้าง ซ่อมแซมและการทำลาย
2) ทำการลาดตระเวนทางการช่าง

1 -  หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วย
ภารกิจ การจัด หน้าที่
3) พิจารณาแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อหารายละเอียดเกี่ยวกับถนน, สะพาน, ท่าลุยข้าม, แหล่งน้ำ
4) ช่วยผู้บังคับหมวดในการแบ่งงานและการกำกับดูแลการปฏิบัติงานช่าง
5) จัดทำแผนที่สังเขปของพื้นที่สำคัญและรายงานข่าวสารที่ได้รับ
6) ตรวจเยี่ยมแหล่งงานตามระยะเวลาเพื่อทราบความก้าวหน้าและคุณภาพของงาน
7) ตรวจตราเครื่องมือและวัสดุก่อสร้างให้มีอย่างพอเพียง
8) ฝึกเจ้าหน้าที่ชั้นรองในเรื่องการทำลาย การก่อสร้างสนาม
9) แสดงวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง
• หน้าที่เป็นบุคคลของผู้บังคับหมู่ทหารช่างสนาม (ชกท.121)
หน้าที่ทั่วไป เป็นผู้บังคับบัญชาที่สูงที่สุดและใกล้ชิดที่สุดภายในหมู่
หน้าที่เฉพาะ
1) รับผิดชอบในเรื่องวินัย การฝึก การควบคุมและสั่งการปฏิบัติงานของทหารภายในหมู่
2) ดูแลทหารภายในหมู่ให้ได้รับการเลี้ยงดู การส่งกำลัง และมีเครื่องมือครบถ้วน และใช้การได้ตลอดเวลา
3) ดูแลทหารให้ปฏิบัติตามหลักสุขวิทยาและการสุขาภิบาล
4) ตรวจเครื่องมือ ยุทโธปกรณ์ อาวุธและยานพาหนะ ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้เสมอ
5) ต้องทราบยุทธวิธีของทหารราบเพื่อนำหมู่ของตนเข้าทำการรบได้เมื่อจำเป็น
6) ต้องทราบหลักการช่างสนามและงานช่างโยธา เพื่อสามารถตรวจและกำกับดูแลการปฏิบัติงานของหมู่ได้
ถูกต้อง
7) ต้องทราบหน้าที่ของนายงานก่อสร้างและพลช่างก่อสร้าง
8) สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารในหมู่ได้ทุกชนิด

-----------------
เอกสารอ้างอิง : หลักนิยมกองทัพบกว่าด้วยคู่มือทหารช่างสนาม รส.5 – 34 ก.ย.2552

หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วย 1 - 
ภารกิจ การจัด หน้าที่

บันทึก
ตอนที่ 2
การปฏิบตั กิ ารทางยุทธวิธขี องทหารช่างสนาม
1.
กล่าวทั่วไป

การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
การปฏิบัติการทางยุทธวิธีของทหารช่างสนาม ในตอนที่ 2 นี้ ได้เรียบเรียงเนื้อหาที่สำคัญและจำเป็นสำหรับ
ผู้บัง คับหน่วย โดยจะกล่าวถึงการปฏิบัติการทางยุทธวิธีของทหารช่างสนามและการปฏิบัติการรบภายใต้สภาพพิเศษ
ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติของผู้บังคับหน่วยทหารช่างสนามตาม เอกสาร ตำรา และ คู่มือราชการ
สนามที่กองทัพบกกำหนด ได้แก่ รส. 3 – 34 และ รส. 5 – 34


การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
• หลักการใช้หน่วยทหารช่าง
• ความสัมพันธ์ทางสายการบังคับบัญชาและการสนับสนุน
• พันธกิจทางยุทธวิธีในการเข้าทำการรบของทหารช่าง
• แนวทางปฏิบัติของผู้บังคับหน่วยทหารช่างตามขั้นตอนระเบียบการนำหน่วย
• การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก
• การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ
• การปฏิบัติการรบด้วยวิธีร่นถอย
• การยุทธ์ข้ามลำน้ำ
• ทหารช่างจัดกำลังทำการรบอย่างทหารราบ

การสนับสนุนทางการช่างของหน่วยทหารช่างในยุทธบริเวณนั้น โดยทั่วไปยุทธบริเวณแต่ละแห่งย่อมมีความ
ต้องการทางการช่างแตกต่างกันไป ทำให้การสนธิหน่วยทหารช่างประเภทต่างๆ เพื่อสนับสนุนทางการช่างย่อมมีการ
ปรับเปลี่ยนไปเช่นกัน ทั้งนี้แนวความคิดพื้นฐานในการสนับสนุนทางการช่าง มีดังนี้
กองพันทหารช่างสนามกองพล ควรให้ปฏิบัติงานช่างตามพันธกิจทางยุทธวิธีอยู่ในพื้นที่ของกองพลดำเนิน
กลยุทธ์
กองพันทหารช่างสนามกองทัพ ควรให้ปฏิบัติงานช่างตามพันธกิจทางยุทธวิธีใน พื้นที่ส่วนหลังของกองทัพน้อย
หากสามารถกระทำได้จะให้ปฏิบัติงานช่างในพื้นที่ของกองพลดำเนินกลยุทธ์ เพื่อเป็นการออมกำลังทหารช่างของกอง
พลดำเนินกลยุทธ์ ให้สามารถนำกำลังไปสนับสนุนทางการช่าง ให้กับกรมดำเนินกลยุทธ์ในพื้นที่ข้างหน้าได้มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามจะไม่ใช้กองพันทหารช่างสนามกองทัพเกินกว่า ขนพร. และในพื้นที่ระวังป้องกัน
กองพันทหารช่างก่อสร้าง ควรให้ปฏิบัติงานช่างตามพันธกิจทางยุทธวิธีในพื้นที่ส่วนหลังของกองทัพน้อยและเขต
หลังของยุทธบริเวณ หากไม่จำเป็นแล้วจะไม่ใช้กองพันทหารช่างก่อสร้างในพื้นที่ของ กองพลดำเนินกลยุทธ์
เนื่องจากงานช่างที่มอบให้แก่กองพันทหารช่างก่อสร้าง จะเกี่ยวกับการก่อสร้าง และฟื้นฟู ถนน สนามบิน ระบบ
สาธารณูปโภค ซึ่งเป็นงานช่างขนาดใหญ่ จึงยากลำบากต่อการระวังป้องกันแหล่งงาน และง่ายต่อการถูกทำลายจาก

กล่าวทั่วไป 2 - 
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

รูปที่ 2-1 ผังแสดงหน่วยทหารช่างที่ให้การสนับสนุนทางการช่างในยุทธบริเวณ

2 -  กล่าวทั่วไป
หลักการใช้หน่วยทหารช่าง
1. หลักการพื้นฐานในการใช้หน่วยทหารช่าง
• ควรใช้หน่วยทหารช่าง ในงานที่ต้องการความชำนาญทางเทคนิค และเครื่องมือพิเศษเป็นหลัก ควรใช้ทหาร
ช่างในงานตามลำดับความเร่งด่วนที่ได้รับอนุมัติแล้ว โดยถือความสำคัญต่อหน่วยเป็นส่วนรวม และการบรรลุภารกิจ
ของหน่วยเป็นหลัก
• โดยปกติหน่วยทหารช่าง จะเข้าทำการรบอย่างทหารราบเฉพาะในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ก่อนจะสั่งใช้ควรจะ

การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
ต้องเปรียบเทียบถึงประโยชน์ที่จะได้รับในการให้ทหารช่างเข้าทำการรบอย่างทหารราบ กับการสูญเสียการสนับสนุน
ทางการช่างในปัจจุบันและอนาคตอันเนื่องมาจากการขาดหน่วยทหารช่างเสียก่อน รวมทั้งการฝึกกำลังทหารช่างขึ้น
มาใหม่นั้นจะต้องใช้เวลามาก
2. หลักการจัดหน่วยทหารช่างเพื่อปฏิบัติการรบ
ความต้องการกำลังทหารช่าง และรูปแบบการจัดหน่วยทหารช่าง ย่อมแตกต่างกันไปตามยุทธบริเวณและ
ยุทธวิธี หลักการจัดหน่วยทหารช่างดังต่อไปนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการจัดหน่วยทหารช่างและสามารถนำไป
ประยุกต์ใช้ในการจัดกำลังทหารช่างเข้าทำการรบในทุกระดับหน่วย หลักการจัดหน่วยทหารช่างเพื่อปฏิบัติการรบมี
ดังนี้
• จัดทหารช่างร่วมเป็นกำลังรบเฉพาะกิจเท่าที่จำเป็นต่อการบรรลุภารกิจ
• ให้ความเร่งด่วนแก่ความพยายามหลัก
• ผสมผสานทหารช่างเข้ากับการดำเนินกลยุทธ์ และอำนาจการยิง
• ต้องมั่นใจว่าการปฏิบัติงานช่างในปัจจุบันจะเกื้อกูลต่อการปฏิบัติการในอนาคต
• ไม่สงวนทหารช่างไว้เป็นกองหนุน
• จัดให้มีการสนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุงอย่างเพียงพอ
• ดำรงการควบคุมบังคับบัญชาที่มีประสิทธิภาพ
• ใช้ทรัพยากรทางการช่างในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
• ให้สามารถปฏิบัติงานช่างได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดไม่ควรกระจายกำลังทหารช่างออกเป็นลักษณะ
เบี้ยหัวแตก
3. การออมกำลังทหารช่าง
หน่วยทหารช่างมักจะมีไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติงานช่างที่จำเป็นได้ทุกงานในสนามรบดังนั้นเพื่อให้มีกำลังทหาร
ช่างมากที่สุดในการปฏิบัติงานช่างที่สำคัญต่อการบรรลุภารกิจของหน่วย จึงมีความจำเป็นที่หน่วยทหารเหล่าอื่นจะ
ต้องเข้าทำงานช่างที่ไม่ต้องใช้ความชำนาญหรือเทคนิคเป็นการเฉพาะ ดังนี้
• การข้ามลำน้ำอย่างเร่งด่วน
• การสร้างเครื่องกีดขวางและสนามทุ่นระเบิดป้องกันตน
• การวางและการเจาะช่องสนามทุ่นระเบิดเร่งด่วน
• การซ่อมแซมถนนและท่อน้ำเร่งด่วน
• การปฏิบัติการพราง
• การลดอำนาจเครื่องกีดขวาง
• การสร้างป้อมสนาม และที่กำบังป้องกันตน
• การถากถางพื้นที่ขึ้นลงของเครื่องบิน และสนาม ฮ.
• การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ที่ก่อประโยชน์เฉพาะแก่หน่วยของตนเท่านั้น

ความสัมพันธ์ทางสายการบังคับบัญชาและการสนับสนุน
ในการจัดทำแผนหรือคำสั่งยุทธการนั้น จะต้องมีการกำหนดความสัมพันธ์ที่แน่ชัดระหว่างผู้บังคับหน่วยดำเนิน
กลยุทธ์กับผู้บังคับหน่วยทหารช่างให้เหมาะสม และสอดคล้องในแต่ละสถานการณ์ ของการยุทธ์ ซึ่งจะทำให้ผู้บังคับ
หน่วยทหารช่างสามารถบริหารทรัพยากรทางการช่างที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้บังเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบรรลุภารกิจ

ความสัมพันธ์ทางการบังคับบัญชา 2 - 
ของหน่วยดำเนินกลยุทธ์นั้น การกำหนดความสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถกำหนดได้เป็น 2 ลักษณะดังนี้
• ความสัมพันธ์ทางสายการบังคับบัญชา (Command Relationships) เป็นการแสดงถึงสายการบังคับบัญชา
และขอบเขตของอำนาจที่กำหนดให้
• ความสัมพันธ์ทางการสนับสนุน (Support Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์และความรับผิดชอบ
ในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยทหารช่างที่มาให้การสนับสนุนกับหน่วยรับการสนับสนุน
1.ความสัมพันธ์ทางสายการบังคับบัญชา
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ทางสายการบังคับบัญชา ระหว่างหน่วยทหารช่างกับหน่วยอื่นที่ทหารช่าง
ไปขึ้นการบังคับบัญชานั้น จะสามารถกำหนดลักษณะของความสัมพันธ์ได้ดังนี้
• หน่วยในอัตรา (Organic) เป็นการกำหนดให้หน่วยทหารช่างเป็นส่วนประกอบสำคัญของหน่วยที่มีขนาด
ใหญ่กว่าอย่างถาวรและระบุไว้ในอัตราการจัดและยุทโธปกรณ์ (อจย.) หรืออัตราเฉพาะกิจ (อฉก.) ซึ่งหน่วยทหารช่างนี้
จะอยู่ภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของหน่วยแม่อย่างสมบูรณ์ เช่น กองพันทหารช่างสนามกองพลจะเป็นหน่วยใน
อัตราของกองพลทหารราบ หรือกองพลทหารม้า เป็นต้น
• การบรรจุมอบ (Assigned) เป็นการกำหนดให้หน่วยทหารช่างเข้าไปอยู่ในองค์ประกอบการจัดของอีก
หน่วยหนึ่งในลักษณะค่อนข้างถาวร หน่วยรับการบรรจุมอบจะควบคุมบังคับบัญชาและดำเนินการด้านธุรการให้กับ
หน่วยทหารช่างที่มาบรรจุมอบ เช่น กองทัพบกได้บรรจุมอบ กองพันทหารช่างสนามกองทัพ ให้กับกรมทหารช่าง
กองทัพ เป็นต้น
• การขึ้นสมทบ (Attached) เป็นการกำหนดให้หน่วยทหารช่างเข้าไปอยู่ในองค์ประกอบการจัดของอีกหน่วย
หนึ่งในลักษณะชั่วคราว ผู้บังคับหน่วยที่ได้รับการสมทบ มีอำนาจในการควบคุมบังคับบัญชาและรับผิดชอบหน่วย
ทหารช่างที่มาขึ้นสมทบ เช่นเดียวกับหน่วยในอัตราของตนรวมถึงการส่งกำลังบำรุงด้วย ยกเว้นเรื่องธุรการกำลังพล
อันได้แก่ การเลื่อนยศ ปลด ย้าย สับเปลี่ยนตำแหน่ง ซึ่งยังคงเป็นอำนาจของผู้บังคับหน่วยทหารช่างเดิมที่หน่วย
ทหารช่างนั้นบรรจุอยู่
• การขึ้นควบคุมทางยุทธการ (Operational Control) เป็นการกำหนดให้หน่วยทหารช่าง ไปขึ้นการ
บังคับบัญชากับผู้บังคับหน่วยอีกหน่วยหนึ่ง เพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุภารกิจหรือกิจเฉพาะที่กำหนด ตามปกติแล้วจะ
กำหนดขอบเขตในเรื่องพันธกิจ ห้วงเวลาหรือพื้นที่ ผู้บังคับหน่วยที่ได้รับหน่วยทหารช่างมาขึ้นควบคุมทางยุทธการนั้น
อาจจะสั่งใช้หน่วยทหารช่างเข้าปฏิบัติการโดยสงวนอำนาจการควบคุมทางยุทธการเองหรือมอบหมายให้ผู้อื่นควบคุม
ทางยุทธการหน่วยทหารช่างนี้ก็ได้ เมื่อหน่วยทหารช่างขึ้นควบคุมทางยุทธการกับหน่วยใดแล้ว ผู้บังคับหน่วยทหาร
ช่างเดิมที่หน่วยทหารช่างนั้นบรรจุอยู่ ยังคงรับผิดชอบในทางธุรการ การส่งกำลังบำรุง การรักษาวินัย การจัดภายใน
และการฝึกอยู่เช่นเดิม อย่างไรก็ตามการขึ้นควบคุมทางยุทธการยังรวมอำนาจหน้าที่ในการให้คำแนะนำในการฝึกรวม
อยู่ด้วย
2. ความสัมพันธ์ทางการสนับสนุน
หน่วยให้การสนับสนุนกับหน่วยรับการสนับสนุนจะกำหนดความสัมพันธ์และความรับผิดชอบในการปฏิบัติ
งานไว้โดยแน่ชัดแต่ทั้งนี้หน่วยให้การสนับสนุนนั้นยังคงขึ้นการบังคับบัญชากับผู้บังคับหน่วยเหนือเดิมหรือหน่วยแม่
รวมทั้งการส่งกำลังบำรุงด้วยการกำหนดให้หน่วยทหารช่างไปให้การ สนับสนุนกับหน่วยอื่นนั้นสามารถกระทำได้ 2
ลักษณะ ดังนี้
• การสนับสนุนโดยตรง (Direct Support) เมื่อหน่วยทหารช่างได้รับมอบหมายให้การสนับสนุนโดยตรงแก่
หน่วยใดแล้ว จะมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานดังนี้
1) มอบความเร่งด่วนลำดับแรกในการสนับสนุนทางการช่างให้กับหน่วยรับการสนับสนุน
2) ให้รับการร้องขอการสนับสนุนโดยตรงจากหน่วยรับการสนับสนุน
3) ปกติจะจัดนายทหารติดต่อและจัดวางการติดต่อสื่อสารไปให้กับหน่วยรับการสนับสนุน
4) หน่วยทหารช่างที่ให้การสนับสนุน จะไม่มีความสัมพันธ์ทางสายการบังคับบัญชากับหน่วยรับการ
สนับสนุนและหน่วยรับการสนับสนุนไม่สามารถแบ่งแยกสับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงหน่วยทหารช่างนั้นได้อีก
• การสนับสนุนส่วนรวม (General Support) เมื่อหน่วยทหารช่างได้รับมอบหมายให้การสนับสนุนส่วนรวม

2 -  หลักการใช้ทหารช่าง
แก่หน่วยใดแล้ว จะมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานดังนี้
1) จะทำการสนับสนุนทางการช่างต่อกำลังทั้งหมดเป็นส่วนรวม ไม่กระทำต่อหน่วยใดหน่วยหนึ่งเป็นพิเศษ
2) จะให้การสนับสนุนทางการช่างตามลำดับความเร่งด่วนในการสนับสนุนที่กองบัญชาการหรือกองบังคับการ
หน่วยรับการสนับสนุนเป็นผู้กำหนด
3) หน่วยรองของหน่วยรับการสนับสนุนจะต้องร้องขอรับการสนับสนุนผ่านทางกองบัญชาการ หรือกอง
บังคับการของตนเอง ไม่สามารถร้องขอการสนับสนุนโดยตรงมายังหน่วยทหารช่างที่ให้การสนับสนุนส่วนรวมได้

การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
3. ข้อพิจารณาในการกำหนดความสัมพันธ์ทางสายการบังคับบัญชาและการสนับสนุน
ในการปฏิบัติการทางยุทธวิธี ภายในกรอบของหน่วยดำเนินกลยุทธ์ไม่เกินกองทัพน้อย การพิจารณากำหนด
ความสัมพันธ์ทางสายการบังคับบัญชา และการสนับสนุน ระหว่างหน่วยทหารช่างกับหน่วยดำเนินกลยุทธ์นั้น จะ
สามารถกระทำได้ 4 ลักษณะ คือ การขึ้นสมทบและการบรรจุมอบ การขึ้นควบคุมทางยุทธการ การสนับสนุน
โดยตรงและการสนับสนุนส่วนรวม โดยมีข้อพิจารณาดังนี้
• ข้อพิจารณาขั้นต้นในการเลือกกำหนดลักษณะความสัมพันธ์
1) การเลือกกำหนดความสัมพันธ์เป็นลักษณะทางสายการบังคับบัญชาหรือการสนับสนุนนั้นย่อมมีพื้นฐาน
สำคัญมาจากแผนหรือคำสั่งยุทธการของหน่วยเหนือโดยมุ่งเน้นในการบรรลุภารกิจของหน่วยเป็นสำคัญและสามารถ
ตอบสนองความต้องการทางการช่างเกือบทั้งหมดในพื้นที่ปฏิบัติการหลัก
2) ในสถานการณ์ที่ฝ่ายเรามีทรัพยากรทางการช่าง หรือมีหน่วยทหารช่างอย่างเพียงพอแล้ว มักจะกำหนด
ความสัมพันธ์ทางสายการบังคับบัญชา เพื่อให้ผู้บังคับหน่วยดำเนินกลยุทธ์ที่เป็นหน่วยรองหลักมีความอ่อนตัวในการ
ใช้หน่วยทหารช่างมากที่สุดและสามารถตอบสนองความต้องการทางการช่างได้อย่างทันทีทันใด
3) โดยปกติจะไม่กำหนดความสัมพันธ์ทางสายการบังคับบัญชาให้กับหน่วยดำเนินกลยุทธ์ที่เป็นกองหนุนซึ่งยัง
อยู่ในพื้นที่ข้างหลังทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดกำลังทหารช่างสำหรับไว้ใช้ในพื้นที่ปฏิบัติการหลักได้อย่างเพียงพอ
4) ในสถานการณ์ที่มีทรัพยากรทางการช่างจำกัดหรือมีหน่วยทหารช่างไม่เพียงพอควรพิจารณากำหนดความ
สัมพันธ์ทางการสนับสนุนเป็นลำดับแรกเนื่องจากผู้บังคับหน่วยทหารช่างจะสามารถบริหารทรัพยากรทางการช่างที่มี
อยู่อย่างจำกัดให้บังเกิดประสิทธิภาพได้สูงสุดสามารถรวมการสนับสนุนทางการช่างให้กับความพยายามหลักได้อย่าง
เพียงพอและทันเวลารวมทั้งสามารถใช้กำลังพลและยุทโธปกรณ์ของทหารช่าง แยกการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
และสอดคล้องต่อการปฏิบัติการทางยุทธวิธีของฝ่ายเราในทุกจังหวะของการรบ
5) ในกรณีที่กองบังคับการหน่วยทหารช่างที่ให้การสนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธ์นั้นไม่สามารถควบคุม
บังคับบัญชาหน่วยรองของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือทำให้การแสวงข้อตกลงใจของผู้บังคับหน่วยดำเนิน
กลยุทธ์ที่หน่วยทหารช่างไปให้การสนับสนุนเกิดความล่าช้าจนเป็นผลให้การตอบสนองความต้องการทางการช่าง
ไม่ทันเวลาหรือไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือแล้วควรพิจารณากำหนดความสัมพันธ์ทางสาย
การบังคับบัญชา
6) ความสัมพันธ์ทางสายการบังคับบัญชาและการสนับสนุนสามารถประยุกต์ใช้รวมกันได้เพื่อให้เหมาะสมกับ
สถานการณ์ทางยุทธวิธีและให้บรรลุภารกิจตามเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือ
• ข้อพิจารณาในการกำหนดความสัมพันธ์ทางสายการบังคับบัญชา
1) การให้หน่วยทหารช่างขึ้นสมทบกับหน่วยดำเนินกลยุทธ์จะมีความเหมาะสมในเมื่อ ต้องการจัดเป็นหน่วย
รบเฉพาะกิจหรือในสถานการณ์ที่การส่งกำลังบำรุงระหว่างหน่วยเหนือเดิมของหน่วยทหารช่าง (หน่วยแม่) เป็นไปด้วย
ความยากลำบากหรือในกรณีที่การติดต่อสื่อสารกระทำไม่ได้หรือมีข้อจำกัดในเรื่องเวลาและหน่วยทหารช่างนั้นอยู่ห่าง
ไกลมากจนเป็นอุปสรรคต่อการควบคุมบังคับบัญชาจากกองบังคับการหน่วยเหนือเดิมของหน่วยทหารช่าง (หน่วยแม่)
2) การให้หน่วยทหารช่างขึ้นควบคุมทางยุทธการจะเป็นข้อพิจารณาประการสุดท้าย เมื่อมีความจำเป็นที่จะ
ต้องจัดเป็นหน่วยรบเฉพาะกิจเพื่อเข้าปฏิบัติการทางยุทธวิธีในห้วงเวลาสั้นๆ โดยต้องการลดภาระทางการส่งกำลัง
บำรุงของหน่วยดำเนินกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีข้อจำกัดในการส่งกำลังบำรุงให้กับหน่วยทหารช่าง ในกรณีนี้หน่วยทหารช่าง
จะต้องรับผิดชอบในเรื่องการส่งกำลังบำรุงเอง จึงควรอยู่ภายในขีดความสามารถที่หน่วยแม่ของหน่วยทหารช่างนั้น
จะสามารถส่งกำลังบำรุงได้ ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดขอบเขตในเรื่องพันธกิจทางยุทธวิธีที่จะมอบให้ทหารช่างอย่าง

หลักการใช้ทหารช่าง 2 - 
ชัดเจน กำหนดห้วงเวลาการขึ้นควบคุมทางยุทธการและการสิ้นสุดไว้โดยแน่ชัด
3) ปกติจะไม่ให้หน่วยทหารช่างไปขึ้นสมทบหรือขึ้นควบคุมทางยุทธการกับกองหนุนที่ยังไม่เข้าปฏิบัติการรบ
อย่างไรก็ตามเพื่อให้หน่วยทหารช่างมีเวลาเตรียมการและประสานการปฏิบัติได้อย่างพอเพียง เมื่อต้องไปขึ้นสมทบ
หรือขึ้นควบคุมทางยุทธการกับกองหนุนเพื่อเข้าปฏิบัติการรบแล้วก็จะกำหนดวันเวลาที่หน่วยทหารช่างนั้นจะต้องไป
ขึ้นสมทบหรือขึ้นควบคุมทางยุทธการไว้โดยแน่ชัด
• ข้อพิจารณาในการกำหนดความสัมพันธ์ทางการสนับสนุน
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

1) การกำหนดความสัมพันธ์ทางการสนับสนุนนั้น มักจะเป็นข้อพึงประสงค์มากที่สุด และถือเป็นหลักเกณฑ์ใน


การพิจารณาเป็นอันดับแรก ทั้งนี้เนื่องจากมักจะมีกำลังทหารช่างอย่างจำกัด และไม่เพียงพอในการสนับสนุนทางการ
ช่าง ดังนั้นการบริหารทรัพยากรทางการช่างให้บังเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อการบรรลุภารกิจจึงเป็นสิ่งพึงปรารถนา โดย
ยึดถือหลัก “ควบคุมแบบรวมการและปฏิบัติแบบแยกการ”
2) โดยปกติ จะกำหนดให้มีหน่วยทหารช่าง สนับสนุนโดยตรงให้กับหน่วยดำเนินกลยุทธ์ที่เป็นหน่วยรองหลัก
ของกองบัญชาการหรือกองบังคับการหน่วยดำเนินกลยุทธ์ โดยใช้เกณฑ์หนึ่ง กองพันทหารช่างต่อหนึ่งกองพล
ดำเนินกลยุทธ์ หรือหนึ่งกองร้อยทหารช่างต่อหนึ่งกรมดำเนินกลยุทธ์ สำหรับหน่วยทหารช่างที่เหลือจะให้สนับสนุน
ส่วนรวม จากหลักการดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อพิจารณาสำคัญในการจัดหน่วยทหารช่างประการหนึ่ง จึงเห็นได้ว่า
หน่วยทหารช่างจะมีการจัดหน่วย ที่ค่อนข้างแตกต่างจากหน่วยดำเนินกลยุทธ์ที่ยึดถือหลักการจัดหน่วยแบบสาม แต่
หน่วยทหารช่างจะ ยึดถือหลักการจัดหน่วยแบบสี่ เพื่อให้มีหนึ่งหน่วยทหารช่างสามารถสนับสนุนโดยตรงต่อหนึ่ง
หน่วยรองหลักของหน่วยดำเนินกลยุทธ์ และมีอีกหนึ่งหน่วยทหารช่างเป็นหน่วยสนับสนุนส่วนรวม
• ข้อพิจารณาสำคัญในการกำหนดความสัมพันธ์ทางสายการบังคับบัญชาและการสนับสนุน
1) หน่วยทหารช่างที่มีความเหมาะสมที่จะกำหนดความสัมพันธ์กับหน่วยดำเนินกลยุทธ์ในลักษณะการขึ้น
สมทบ การขึ้นควบคุมทางยุทธการ การสนับสนุนโดยตรง การสนับสนุนส่วนรวมได้ โดยไม่ต้องมีการปรับเปลี่ยนการ
จัดหน่วยใหม่ (ใช้ อจย.เดิม) ได้แก่หน่วยทหารช่างที่มีขนาดตั้งแต่ กองร้อยทหารช่างขึ้นไป หากมีความจำเป็น อาจ
สามารถใช้หน่วยทหารช่างขนาดหมวดทหารช่างได้ในห้วงระยะเวลาจำกัด
2) ปกติแล้วจะใช้หน่วยทหารช่างระดับหมู่ทหารช่างปฏิบัติงานในกรอบของ หมวดทหารช่าง และจะไม่
แบ่งแยกให้หมู่ทหารช่างไปขึ้นสมทบ หรือขึ้นควบคุมทางยุทธการหรือสนับสนุนโดยตรงหรือสนับสนุน ส่วนรวม
เนื่องจากมีข้อจำกัดทั้งด้านยุทโธปกรณ์และจำนวนกำลังพลที่ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานช่าง

2 -  หลักการใช้ทหารช่าง
พันธกิจทางยุทธวิธีในการเข้าทำการรบของทหารช่าง
หน่วยทหารช่างสนาม มีความเชี่ยวชาญในงานช่างเฉพาะอย่าง เช่นเดียวกับทหารราบที่มีความเชี่ยวชาญในงานเฉพาะของทหารราบ ความแตกต่างอยู่ที่การเจาะจงลงไป ดังนั้น
การใช้หน่วยทหารช่าง ผู้บังคับหน่วยดำเนินกลยุทธ์และฝ่ายอำนวยการควรวางแผนการใช้หน่วยทหารช่างตามพันธกิจทางยุทธวิธีของทหารช่าง ซึ่งได้มาจากการวิเคราะห์ภารกิจ
ในการสนับสนุนทางการช่าง ตามแนวความคิดพื้นฐานในการปฏิบัติงานช่างตามหลักนิยมการรบอากาศพื้นดิน โดยกำหนดพันธกิจในการสนับสนุนการปฏิบัติทางยุทธวิธีได้ดังนี้

พันธกิจทางยุทธวิธี รุก รับ ร่นถอย
1. ความสามารถในการเคลื่อนที่ 1. การเจาะช่องผ่านสนามทุ่นระเบิดและ 1. การก่อสร้างและบำรุงรักษาถนนทาง 1. การก่อสร้างและบำรุงรักษาถนนทาง
เครื่องกีดขวาง ยุทธวิธี ยุทธวิธี
2. การข้ามช่องว่าง 2. การเจาะช่องผ่านสนามทุ่นระเบิดและ 2. การเจาะช่องผ่านสนามทุ่นระเบิดและ
3. การข้ามลำน้ำ เครื่องกีดขวาง เครื่องกีดขวาง
4. การปรับปรุงถนน, สะพานทางยุทธวิธี 3. การสนับสนุนการตีโต้ตอบของฝ่ายเรา 3. การสนับสนุนการตีโต้ตอบของฝ่ายเรา
5. การปรับปรุงสนามบินในเขตหน้า
2. การต่อต้านความคล่องแคล่วใน 1. โดดเดี่ยวสนามรบ 1. การพัฒนาเครื่องกีดขวาง 1. วางเครื่องกีดขวางและทุ่นระเบิดทางปีก
การเคลื่อนที่ 2. การสนับสนุนการออมกำลัง 2. การสงครามทุ่นระเบิด เพื่อป้องกันการตีโอบ
3. การรักษาความปลอดภัย 2. ทำลายสะพาน

3. การอยู่รอด 1. ที่มั่นรบและที่กำบังป้องกัน 1. ที่มั่นรบและที่กำบังป้องกัน 1. ที่มั่นในการรบหน่วงเวลา


2. การพราง 2. จุดต้านทาน 2. การพราง
3. การลวง 3. การพราง 3. การลวง

4. การปฏิบัติงานช่างทั่วไป 1. การบำรุงรักษาเส้นหลักการส่งกำลัง 1. การบำรุงรักษา และการก่อสร้างเส้นทาง ดำรงรักษาเส้นทางคมนาคม


2. การทดแทนสะพานทางยุทธวิธี คมนาคม
3.การปรับปรุงพื้นที่สำหรับการส่งกำลังบำรุง 2. การก่อสร้าง และซ่อมแซมสิ่งอำนวย
ความสะดวกที่สำคัญต่อการตั้งรับ

5. การแผนที่สนาม 1. การวิเคราะห์ภูมิประเทศ 1. การวิเคราะห์ภูมิประเทศ 1. การวิเคราะห์ภูมิประเทศ


2. การผลิตแผนที่ 2. การผลิตแผนที่ 2. การผลิตแผนที่
3. การแจกจ่ายแผนที่ 3. การแจกจ่ายแผนที่ 3. การแจกจ่ายแผนที่

พันธกิจทางยุทธวิธีในการเข้าทำการรบ 2 - 
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

แนวทางปฏิบัติของผู้บังคับหน่วยทหารช่างตามขั้นตอนระเบียบการนำหน่วย
ระเบียบการนำหน่วย คือ กรรมวิธีที่ผู้บังคับหน่วยใช้ในการเตรียมหน่วยเพื่อปฏิบัติให้บรรลุภารกิจทางยุทธวิธีเริ่มต้นเมื่อได้รับการแจ้งเตือนให้เตรียมปฏิบัติภารกิจและเริ่มต้นใหม่
อีกครั้งเมื่อได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติภารกิจใหม่ ตารางต่อไปนี้ เป็นแนวทางปฏิบัติของผู้บังคับหน่วยทหารช่างตามขั้นตอนระเบียบการนำหน่วย

ขั้นตอน รายละเอียดการปฏิบัติ
รับภารกิจ 1. คำสั่งที่ได้รับอาจมีได้หลายรูปแบบ (ตัวอักษร คำสั่งเตือนด้วยวาจา คำสั่งยุทธการ คำสั่งเป็นส่วนๆ) เมื่อรับภารกิจผู้บังคับหน่วยต้อง
เริ่มเตรียมการ โดยวิเคราะห์ปัจจัยในสนามรบเพื่อทำการตกลงใจในการออกคำสั่งเตือน
2. เตรียมตารางเวลาด้วยข่าวสารที่มีอยู่ กำหนดงานใดบ้างที่ต้องปฏิบัติให้สำเร็จ (กิจที่ต้องทำให้เสร็จตามเวลา) โดยการใช้ข้อพิจารณา
ของภารกิจ ข้าศึก ภูมิประเทศ และกำลังทหารที่มีอยู่ การลาดตระเวนขั้นต้น (อาจจะลาดตระเวนในแผนที่) เพื่อที่จะได้รู้ถึงเวลาที่
ต้องการ
3. ทำการพัฒนาตารางเวลาใหม่โดยเริ่มต้นจากเวลาที่เริ่มภารกิจ แล้ววางแผนย้อนหลังจนถึงเวลาปัจจุบัน จะต้องมั่นใจว่าหน่วยรองใน
ทุกระดับจะมีเวลาที่เพียงพอในการวางแผน หลักการที่ใช้กันโดยทั่วไปสำหรับผู้บังคับหน่วยในทุกระดับคือการใช้เวลาไม่เกิน หนึ่งในสาม
ของเวลาที่มีอยู่ในการวางแผนและการส่งคำสั่งยุทธการ สิ่งนี้จะช่วยให้หน่วยรองได้ใช้เวลาที่เหลือในการวางแผนและการเตรียมการ

ออกคำสั่งเตือน 1. ให้คำสั่งเตือนจากข่าวสารที่มีอยู่ไม่ต้องคอยข่าวสารที่เพิ่มเติม และปรับแก้เมื่อต้องการด้วย คำสั่งเตือนเพิ่มเติม เพื่อจะทำให้หน่วย


ได้เตรียมการปฏิบัติได้เร็วที่สุด
2. คำสั่งเตือนจะแจ้งเรื่องที่ไม่อยู่ในระเบียบปฏิบัติประจำที่จะต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะปฏิบัติภารกิจ เรื่องเฉพาะต่างๆ ในแต่ละ
คำสั่งเตือนจะแปรผัน ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์ทางยุทธวิธี

2 -  แนวทางปฏิบัติของผู้บังคับหน่วยทหารช่างตามขั้นตอนระเบียบการนำหน่วย
จัดทำแผนขั้นต้น แผนขั้นต้นจะเป็นพื้นฐานของ คำสั่งยุทธการ ผู้บังคับหน่วยจะใช้ การประมาณสถานการณ์ของผู้บังคับบัญชาในการวิเคราะห์ปัจจัยข่าว
สารทางการรบ พัฒนาและวิเคราะห์ หนทางปฏิบัติ เปรียบเทียบหนทางปฏิบัติ ทำการตกลงใจ ทั้งหมดจะเป็นการทำแผนขั้นต้น

1. ทำการเคลื่อนย้ายหน่วยรองไปยังพื้นที่รวมพลหรือฐานออกตี คำแนะนำในการเคลื่อนย้ายจะแจ้งอยู่ใน คำสั่งเตือน


เริ่มการเคลื่อนย้ายที่จำเป็น 2. ผู้บังคับหน่วยจะต้องกำหนดมาตรการการรักษาความปลอดภัย และการยิงสนับสนุนในทุกขั้นตอนของการเคลื่อนย้าย

การลาดตระเวนตรวจภูมิประเทศจะเป็นเครื่องมือของผู้บังคับหน่วย ซึ่งจะมีความต้องการข่าวสารเพิ่มเติม ในการยืนยันหรือการปรับ


ลาดตระเวนตรวจภูมิประเทศ แก้แผนขั้นต้น โดยมีการปฏิบัติดังนี้
1. เตรียมแผน ผู้บังคับหน่วยตกลงใจในเรื่อง
• ข่าวสารที่ต้องการ
• กำหนดความเร่งด่วนของความต้องการ
• เครื่องมือที่ใช้ในการหาความต้องการดังกล่าว (สามารถร้องขอเครื่องมือได้จากหน่วยเหนือ หน่วยข้างเคียง และหน่วยที่
สนับสนุนได้)
ขั้นตอน รายละเอียดการปฏิบัติ
• เวลาที่ใช้ในการรวบรวมข่าวสาร
• อะไรเป็นความวิกฤตสูงสุดในการลาดตระเวน
• ใครจะเป็นผู้ถูกกำหนดให้ทำการลาดตระเวน
2. แจกจ่ายแผน ผู้บังคับหน่วยจะเตรียมคำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อที่จะกำหนดกิจให้แก่หน่วยรองรายละเอียดจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์
เฉพาะนั้นๆ
การลาดตระเวนของผู้บังคับหน่วยที่มีหน่วยรองหลายหน่วยจะต้องการคำแนะนำเฉพาะมากขึ้นซึ่งอาจจะรวมสิ่งต่อไปนี้
• กิจเฉพาะที่อาจกำหนดเป็นบุคคลจากหน่วยรองเช่น พลวิทยุจาก มว.ช.สนามที่1
• ตารางเวลาที่แน่นอนใน การลาดตระเวน (รายงาน ตรวจ เวลาไปและกลับ)
• เส้นทางและรูปขบวนเฉพาะ
• แผนเผชิญเหตุ
• การประสานการยิงสนับสนุน
• แผนการถอนตัวจากพื้นที่ลาดตระเวน
3. เลือกเทคนิคการลาดตระเวน การลาดตระเวนที่มี ประสิทธิภาพจะทำให้ได้รับข่าวสารที่ต้องการโดยไม่ถูกตรวจพบโดย
ข้าศึก จะต้อง มีการเปรียบเทียบอัตราการเสี่ยงที่จะถูกตรวจพบและผลที่จะได้รับจากการเสียการจู่โจมกับประโยชนที่ได้รับ
จากการรวบรวมข่าวสาร โดยทั่วไป การลาดตระเวนยิ่งมีระยะใกล้ต่อที่หมายเท่าใดโอกาสในการถูกตรวจพบจะยิ่งมีมากขึ้น
มีเทคนิคหลักๆ 2 อย่างในการลาดตระเวนของ ผู้บังคับหน่วยคือ
• การตรวจการณ์และเฝ้าตรวจระยะไกล ตามปกติ การลาดตระเวนจะอยู่นอกระยะยิงของอาวุธปืนเล็กจากที่หมาย และจาก
แนวระวังป้องกันของข้าศึกด้วย ตำบลตรวจการณ์ขั้นต้นจะถูกเลือกจาก การลาดตระเวนบนแผนที่และจะยืนยันหลังจากที่หน่วยได้
เข้าจุดนัดพบ ณ ที่หมายแล้ว เทคนิคนี้จะมี ประสิทธิภาพสูงในเวลากลางวัน ถ้าเป็นไปได้ ตำบลตรวจการณ์ควรจะครอบคลุมพื้นที่ 360
องศาและต้องมีการเปลี่ยนที่ตั้งใหม่ในเวลากลางคืน
• การตรวจการณ์และเฝ้าตรวจระยะใกล้ เทคนิคนี้ต้องทำการลาดตระเวนเข้าไปในพื้นที่ ระวังป้องกันหรือในระยะยิงของอาวุธ
ปืนเล็ก การปฏิบัตินี้จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการเคลื่อนที่และการใช้การกำบังและการซ่อนพราง ทัศนวิสัยที่จำกัดจะช่วยสนับสนุน
เทคนิคนี้
4. ทำการลาดตระเวน โดยผู้บังคับหน่วยจะปฏิบัติเหมือนกับ การลาดตระเวนหาข่าวที่นำเอาเฉพาะบุคคลที่จำเป็นไปด้วยเท่านั้น
ขนาดของชุดลาดตระเวนยิ่งเล็กเท่าไรการถูกตรวจพบยิ่งยากเท่านั้น ผู้บังคับหน่วยของหน่วยหลักอาจจะเข้าร่วม การลาดตระเวนนี้ด้วย
งานที่เพิ่มเติมใน การลาดตระเวนนี้อาจจะมีได้คือ
• ทดสอบการติดต่อสื่อสารถ้าได้รับอนุญาต
• ประสานครั้งสุดท้ายเรื่องเวลาที่แน่นอน สื่อสัญญาณ ที่ตั้งของอาวุธ หรือบุคคล และความรับผิดชอบของหน่วยรอง
• สถาปนาการระวังป้องกันและเฝ้าตรวจในพื้นที่เป้าหมาย

แนวทางปฏิบัติของผู้บังคับหน่วยทหารช่างตามขั้นตอนระเบียบการนำหน่วย 2 - 
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

ขั้นตอน รายละเอียดการปฏิบัติ
ทำแผนสมบูรณ์ ผู้บังคับหน่วยต้องเตรียมปรับแก้แผนขั้นต้นโดยยึดถือผลจาก การลาดตระเวน อาจจะต้องเปลี่ยน หนทางปฏิบัติถ้าสถานการณ์ไม่ได้
เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ในกรณีนี้อาจจะใช้การปรับเปลี่ยนหนทางปฏิบัติก่อนหน้านี้เพื่อความรวดเร็วในการกำหนดแผนขั้นสุดท้าย
การประสานงานอย่างต่อเนื่องกับหน่วยสนับสนุน หน่วยเหนือและหน่วยข้างเคียง จาก การลาดตระเวนจะทำให้ ผู้บังคับหน่วยได้รับ
ข่าวสารที่ต้องการนำไปปรับแผนขั้นต้นสู่ คำสั่งยุทธการที่สมบูรณ์

ออกคำสั่ง ในการให้คำสั่งที่ดีควรจะสามารถมองเห็นแนวทางการเคลื่อนที่หรือที่หมาย การใช้เครื่องช่วยในการมองเห็นภาพให้มากที่สุด
( แผนผังภาพหรือภูมิประเทศจำลอง)จะทำให้การนำเสนอมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในเวลาที่ ผู้บังคับหน่วยทำการแจกจ่ายคำสั่งเตือน
ก่อนที่จะทำการลาดตระเวนของผู้บังคับบัญชาจะทำการแจกจ่ายคำสั่งเป็นส่วนๆ ไปจนถึงการทำแผนก่อนการปฏิบัติจริง
จัดให้มีการบรรยายสรุปกลับ การซักซ้อม การตรวจและการประสานแผนอย่างต่อเนื่อง
1. ตรวจก่อนการปฏิบัติในเรื่อง
• อาวุธและกระสุน
• เครื่องแบบและอุปกรณ์
• อุปกรณ์ที่ใช้ในภารกิจพิเศษ
• ความรู้และความเข้าใจของทหารในภารกิจตลอดจนความรับผิดชอบเฉพาะ
• การติดต่อสื่อสาร
• อาหารและน้ำ
2. การซักซ้อม เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่จะตรวจสอบถึงความเข้าใจของหน่วยรอง และการประสานงานระหว่างหน่วยที่
สมบูรณ์
คำสั่งเตือนควรจะให้รายละเอียดอย่างเพียงพอแก่ ผู้บังคับหน่วยรองในการซักซ้อมการปฏิบัติ ทั้งนี้การซักซ้อมจะปฏิบัติเหมือนกับการ

2 - 10แนวทางปฏิบัติของผู้บังคับหน่วยทหารช่างตามขั้นตอนระเบียบการนำหน่วย
ฝึกโดยทั่วไปเว้นแต่ว่าพื้นที่ที่จะซักซ้อมนั้นควรจะต้องใกล้เคียงกับที่หมายให้มากที่สุด รวมไปถึงสภาพแสงและภูมิอากาศ ในการฝึก
ควรจะจำลองที่หมายมาใช้ด้วย ผู้บังคับหน่วยจะกำหนดหัวข้อการซักซ้อมตามลำดับความเร่งด่วนจากเวลาที่มีอยู่ เช่น การปฏิบัติ
ณ ที่หมาย การฝึกการดำเนินกลยุทธ์ การปฏิบัติเมื่อปะทะข้าศึก หน่วยพิเศษ เทคนิคการเคลื่อนที่และอื่น ๆ ที่จำเป็น ทั้งนี้ระหว่าง
การซักซ้อมต้องดำรงการรักษาความปลอดภัยเสมอการซักซ้อมจะรวมการบรรยายสรุปกลับของ ผู้บังคับหน่วยรองในแต่ละงานของ
บุคคลโดยใช้โต๊ะทรายหรือแผนผังภาพในการบรรยายขั้นตอนต่างๆ ของแผน
3. ควรที่จะจัดบรรยายสรุปกลับทันทีหลังจากหน่วยรองรับคำสั่งยุทธการเพื่อมั่นใจว่าหน่วยรองได้มีความเข้าใจในคำสั่ง ระหว่างการ
บรรยายสรุปกลับแผนของหน่วยรอง อาจจะมีการแลกเปลี่ยนข่าวสาร เทคนิคซึ่งกันและกัน หรือการประสานงานระหว่างหน่วย และ
จะสามารถรับทราบการเปลี่ยนแปลงแผนขั้นต้นได้อย่างรวดเร็ว
4. การประสานงานผู้บังคับบัญชาตรวจเยี่ยม ผู้บังคับหน่วยรองและหน่วยข้างเคียงเพื่อที่จะถกแถลงแผน เพื่อให้มั่นใจว่าการเตรียมการ
ที่จำเป็นทั้งหมดได้รับการปฏิบัติ ซึ่งรวมถึงการประสานการยิงสนับสนุน การปรนนิบัติบำรุง การเพิ่มเติม สิ่งอุปกรณ์ การเคลื่อนย้าย
และการปฏิบัติอื่นๆ ที่สำคัญ

การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก
1. ความมุ่งหมาย
การยุทธ์ด้วยวิธีรุกนำมาใช้เพื่อ เอาชนะกำลังข้าศึก ควบคุมภูมิประเทศสำคัญและภูมิประเทศสำคัญยิ่ง ให้ได้มาซึ่ง
ทรัพยากรสนับสนุนการสงคราม ขัดขวางไม่ให้ข้าศึกใช้ทรัพยากร ให้ได้ข่าวสาร ลวงและหันเหข้าศึก ตรึงข้าศึกให้อยู่
ในที่มั่น และขัดขวางการเข้าตีของข้าศึก
2. โครงร่างของการปฏิบัติการรุก

การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
การปฏิบัติการรุกในระดับยุทธวิธีจะประกอบด้วยส่วนประกอบ 5 ส่วน ซึ่งส่งเสริมกันคือ

รูปที่ 2-2 โครงร่างของการปฏิบัติการรุก


• การปฏิบัติการในทางลึก การปฏิบัติการในทางลึกอย่างต่อเนื่อง จะทำให้แนวการตั้งรับของข้าศึกถูก
โดดเดี่ยวจากการเพิ่มเติมกำลังและการใช้กองหนุน ขัดขวางการประสานการปฏิบัติของกำลังรบผสมเหล่าและการ
ควบคุมบังคับบัญชาของข้าศึก เพื่อทำลายหรือลดความต่อเนื่องในการสนับสนุนของข้าศึกลง เป้าหมายในการโจมตี
ในทางลึกคือเป้าหมายที่เลยแนวปะทะออกไปซึ่งได้แก่ กองหนุน ส่วนยิงสนับสนุน สิ่งอำนวยความสะดวกในการ
ควบคุมบังคับบัญชาและเครื่องมือที่มีค่าสูงอื่นๆ ของข้าศึก และทำให้การจัดระเบียบการตั้งรับใหม่ระหว่างการถอน
ตัวของข้าศึกยุ่งยากสับสน
• การปฏิบัติการระวังป้องกัน เป็นการใช้หน่วยลาดตระเวนและหน่วยระวังป้องกันเพื่อ กำหนดที่ตั้งข้าศึก
ค้นหาช่องว่างในการตั้งรับของข้าศึก และระวังป้องกันกำลังส่วนใหญ่จากการถูกจู่โจมจากข้าศึก ใช้ในการคลี่คลาย
สถานการณ์และรั้งหน่วงข้าศึกเพื่อให้ได้เวลาและพื้นที่ในการตอบโต้การปฏิบัติของข้าศึก
• การปฏิบัติการในระยะใกล้ เป็นการปฏิบัติของส่วนเข้าตีหลัก และส่วนเข้าตีสนับสนุนในการดำเนิน
กลยุทธ์เพื่อเข้าตียึดที่หมายซึ่งอำนวยประโยชน์ให้สามารถเอาชนะฝ่ายตั้งรับ
• การปฏิบัติการของกองหนุน กองหนุนจะวางไว้เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้แก่ส่วนเข้าตีหลัก ใช้ขยายผลแห่งความ
สำเร็จ เพิ่มเติมและรักษาแรงหนุนเนื่องในการเข้าตี ทำลายการตีโต้ตอบของข้าศึก ใช้ทำลายกำลังข้าศึกให้หมดสิ้น
ใช้ยึดที่หมายในทางลึก
• การปฏิบัติการในส่วนหลัง เป็นการปฏิบัติที่จำเป็นต่อการรักษาแรงหนุนเนื่องของการรุก เพื่อให้เกิดเสรี
ในการปฏิบตั ขิ องฝ่ายเรา ระวังป้องกันไม่ให้การสนับสนุนการรบและการสนับสนุนทางการช่วยรบทีจ่ ำเป็นต้องหยุดชะงักลง
3. แบบของการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก
การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก มีอยู่ 4 แบบด้วยกัน คือ การเคลื่อนที่เข้าปะทะ การเข้าตี การขยายผล และการไล่
ติดตาม ผู้บังคับหน่วยจะใช้การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ทั้งสี่แบบนี้ตามลำดับและผสมผสานกันเพื่อให้เกิดอำนาจ
กำลังรบสูงสุด
การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก 2 - 11
4. แบบของการดำเนินกลยุทธ์
การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกมีแบบของการดำเนินกลยุทธ์อยู่ 5 แบบ คือ การโอบ การตีตลบ การแทรกซึม การตี
เจาะ และการตีตรงหน้า ปกติมักจะมีการใช้ผสมผสานกันแต่ในแต่ละแบบจะมีลักษณะ เฉพาะในการเข้าตีข้าศึกต่างกัน
แต่ละแบบจะมีความยุ่งยากต่อฝ่ายเข้าตีและมีอันตรายต่อฝ่ายตั้งรับต่างกัน ผู้บังคับบัญชากำหนด การเลือกใช้แบบ
ของการดำเนินกลยุทธ์โดยพิจารณาวิเคราะห์จากปัจจัย METT-TC

การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

• การตีโอบ
การตีโอบ จะหลีกเลี่ยงข้าศึกที่อยู่ตรงหน้าซึ่งมีการป้องกัน
มากที่สุดและสามารถรวมอำนาจการยิงได้ง่ายที่สุดด้วยการเข้าตี
สนับสนุนเพื่อตรึงข้าศึกไว้ข้างหน้า หรือหันเหความสนใจในขณะ
เดียวกันก็ทำการเข้าตีหลัก ด้วยการดำเนินกลยุทธ์อ้อมผ่าน
หรือข้ามผ่าน เพื่อโจมตีทางปีกหรือทางส่วนหลังของข้าศึก
รูปที่ 2-3 การตีโอบ
• การตีตลบ
การตีตลบ เป็นการเข้าตีที่หลีกเลี่ยงข้าศึกในแนวหน้าอย่าง
สิ้นเชิง โดยพยายามเข้าควบคุมภูมิประเทศสำคัญลึกเข้าไปใน
ส่วนหลัง และตามเส้นหลักการคมนาคมของข้าศึก เป็นผลให้
ข้าศึกจำต้อง “หันกลับ” มาเผชิญกับภัยคุกคามในส่วนหลังด้วย
ความเสียเปรียบ การตีตลบจำเป็นต้องการการสนับสนุนทาง
อากาศ หรือทางเรือเป็นอย่างมากและต่อเนื่อง เพราะต้อง
ทำการรบนอกระยะการสนับสนุนของกำลังทางพื้นดิน
รูปที่ 2-4 การตีตลบ
• การแทรกซึม
การแทรกซึม เป็นการเคลื่อนที่แบบปกปิดของกำลังเข้าตีผ่านแนว
ตั้งรับของข้าศึก เพื่อเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ส่วนหลังของข้าศึกการที่จะ
ประสบผลสำเร็จได้จะต้องป้องกันไม่ให้ข้าศึกตรวจพบและหลีกเลี่ยง
การปะทะให้มากที่สุดการปฏิบัติเช่นนี้ทำให้ต้องจำกัดขนาดและกำลัง
ของหน่วยแทรกซึมจึงยากที่จะเอาชนะข้าศึกได้โดยลำพังดังนั้นปกติจึง
มักจะนำมาใช้ร่วมกับแบบของ การดำเนินกลยุทธ์อื่น หรือนำมาใช้ใน
ภูมิประเทศที่ยากลำบาก และทัศนวิสัยไม่ดี หรือในพื้นที่ที่มีการเฝ้า
ตรวจและการยิงของข้าศึกน้อย รูปที่ 2-5 การแทรกซึม

• การตีเจาะ
การตีเจาะนำมาใช้เมื่อปีกของข้าศึกไม่เปิดและเมื่อปัจจัยเวลา
ไม่อำนวยให้ใช้การดำเนินกลยุทธ์แบบอื่น ปกติการเข้าตีเจาะจะ
แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนแรก กำลังเข้าตีเจาะจะเคลื่อนที่เข้าตีเจาะช่องในแนว
ที่มั่นของข้าศึกอย่างรวดเร็ว
ขั้นที่สอง กำลังติดตามต้องเคลื่อนที่ตาม มาอย่างใกล้ชิดแล้ว
เข้ายึดรักษา และขยายบ่าการเจาะทั้งสองข้างให้กว้างขึ้น
รูปที่ 2-6 การตีเจาะ

2 - 12 แบบการดำเนินกลยุทธ์
ขั้นที่สาม จะทำการขยายผลเพื่อยึดที่หมาย ลึกเข้าไปข้างหลัง การตีเจาะหลายแนวเป็นสิ่งพึงปรารถนาเพราะ
เป็นการกระจายอำนาจการยิงของข้าศึกและทำให้การใช้กองหนุนของข้าศึกยุ่งยากมากขึ้น

• การตีตรงหน้า
การตีตรงหน้า เป็นการโจมตีข้าศึก ตลอดกว้างด้านหน้า ด้วย
แนวทางเคลื่อนที่ที่ตรงที่สุดการตีตรงหน้าเป็นการดำเนินกลยุทธ์ที่

การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
ไม่ประหยัดที่สุด แต่ก็เป็นแบบของการดำเนินกลยุทธ์ที่ง่ายที่สุด
และดีที่สุด สำหรับการเข้าตีเร่งด่วน หรือการรบปะทะที่ต้องใช้
ความรวดเร็ว หรือความง่ายเป็นสำคัญ จึงเหมาะสมที่จะใช้ในการ
ทำลายการตั้งรับที่เบาบางหรือกำลังของข้าศึกที่เสียรูปขบวน
รูปที่ 2-7 การตีตรงหน้า

5. ภารกิจของทหารช่างสนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธ์ด้วยวิธีการรุก
ทหารช่างจะมีบทบาทในการปฏิบัติงานช่างเพื่อสนับสนุนการรบด้วยวิธีรุกให้หน่วยดำเนินกลยุทธ์และหน่วยยิง
สนับสนุนสามารถเคลื่อนที่ไปได้โดยไม่หยุด ตลอดจนช่วยในการเคลื่อนย้ายสิ่งอุปกรณ์และยุทโธปกรณ์
• ก.ทหารช่างในการเคลื่อนที่เข้าปะทะ
1) ใช้เครื่องมือเจาะช่องผ่านสนามทุ่นระเบิด
2) วางสะพานด้วยรถสายพานสำหรับข้ามช่องว่างขนาดเล็ก
3) ปรับปรุงเส้นทางการเคลื่อนที่ให้ได้อย่างเพียงพอ
4) การค้นหา การทำเครื่องหมาย และการรื้อถอนทุ่นระเบิด , กับระเบิด และเครื่องกีดขวาง
5) สร้างสะพานสำหรับหน่วยเคลื่อนที่ติดตาม
• ทหารช่างในการเข้าตีเร่งด่วนและเข้าตีประณีต
1) ช่วยให้ผู้บังคับบัญชาสามารถมองเห็นภาพสนามรบ
2) เพิ่มขีดความสามารถในการเคลื่อนที่ของหน่วยกำลังรบและหน่วยสนับสนุน ในการอ้อมผ่านหรือการเจาะ
ช่องสนามทุ่นระเบิดและเครื่องกีดขวาง
3) สนับสนุนการข้ามช่องว่างอย่างเร่งด่วน เช่น คูดักรถถัง หลุมระเบิด คลอง ด้วยการใช้สะพานวางด้วย
รถสายพานหรือการถมดิน
4) สนับสนุนการข้ามลำน้ำที่ไม่สามารถลุยข้ามได้
5) ปรับปรุงเส้นทางการเคลื่อนที่สำหรับฝ่ายเรา
6) เพิ่มการป้องกันปีกด้วยการสร้างเครื่องกีดขวาง หรือวางสนามทุ่นระเบิดแบบโปรยหว่าน
7) ช่วยเหลือในการโจมตีต่อจุดต้านทาน ( Strong Point ) ของข้าศึก ด้วยการเจาะช่องเครื่องกีดขวางขนาด
ใหญ่รอบนอกที่มั่นหลัก
8) สร้างที่กำบังอย่างเร่งด่วนให้กับรถถัง เพื่อป้องกันอาวุธต่อสู้รถถัง เมื่อจำเป็นต้องใช้รถถังเป็นฐานยิง
สนับสนุนให้กับหน่วยทหารราบเดินเท้า หรือสร้างที่กำบังเร่งด่วนให้กับปืนใหญ่สนาม เมื่อจำเป็นต้องย้ายที่ตั้งยิงขึ้นไป
ข้างหน้าในพื้นที่ยึดครองของข้าศึกเดิม
9) สร้างและรักษาเส้นหลักการส่งกำลัง
10) การลาดตระเวนทางการช่าง ทั้ง ก่อน ระหว่าง และหลังการเข้าตี
• ทหารช่างในการขยายผลและการไล่ติดตาม
1) เจาะช่องเครื่องกีดขวางและช่วยให้กำลังฝ่ายเราเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
2) รักษาเส้นหลักการส่งกำลังไม่ให้ถูกขัดขวางจากข้าศึก

ทหารช่างสนับสนุนการรบด้วยวิธีรุก 2 - 13
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

ขั้นการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกของทหารช่างสนาม

ขั้นการปฏิบัติ ผบ.ร้อย ผบ.มว. ผบ.หมู่


1. การปฏิบัติในที่รวมพล 1. ชี้แจงสรุปสถานการณ์ให้ ผบ.หน่วยรอง 1. ลว.พื้นที่ก่อนนำกำลังพลเข้าที่รวมพล 1. จัดชุด ลว.พื้นที่รวมพลและชุดระวังป้อง
ทราบ กำหนดที่ตั้งของ มว. และอาวุธประจำ มว. กันตามคำสั่งของ มว.
2. มีมาตรการระวังป้องกันที่รวมพลอย่าง 2. จัดวางกำลังป้องกันภายใน 2. รับมอบพื้นที่ตามที่ มว.กำหนด
เหมาะสม มว.ตามความเหมาะสม และกำหนดที่ตั้งอาวุธภายในหมู่
3. อาวุธทุกชนิดอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้ 3. แบ่งมอบพื้นที่ให้กับหมู่และทำแผนการ ทำแผนการยิงและหลุมบุคคล
งานได้ ยิงเสนอกองร้อย 3. ชี้แจงพื้นที่รับผิดชอบของหมู่ให้กำลัง
4. มีการกระจายกำลังและซ่อนพราง พลเข้าใจ

2 - 14 ทหารช่างสนับสนุนการรบด้วยวิธีรุก
5. ประสานการติดต่อกับหน่วยดำเนิน 4. กำกับดูแลการปฏิบัติและกวดขันเรื่อง
กลยุทธ์อย่างใกล้ชิด วินัยภายในหมู่
2. การเตรียมการเข้าตี 1. กำหนดแผนการสนับสนุนทางการช่าง 1. ชี้แจงสถานการณ์ให้กำลังพลภายใน มว. 1. รับคำสั่งเตือนจาก ผบ.มว. และทำความ
2. ทำการวิเคราะห์ภารกิจ มว.เพื่อสนับสนุน ทราบ เข้าใจ
ทางการช่างในการเข้าตีให้กับหน่วยดำเนิน 2. สั่งตรวจตราเครื่องมืออาวุธยุทโธปกรณ์ 2. ตรวจอาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องมือเครื่อง
กลยุทธ์ และยานพาหนะให้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา ใช้ภายในหมู่ ให้พร้อมปฏิบัติงาน
3. ประสานการปฏิบัติกับหน่วยดำเนิน 3. เตรียมให้การสนับสนุนทางการช่างแก่ 3. เตรียมให้การสนับสนุนทางการช่างตาม
กลยุทธ์ หน่วยดำเนินกลยุทธ์ตามที่ร้องขอ คำสั่งของ มว.
4. มอบการบังคับบัญชาให้ รอง ผบ.มว.เมื่อ 4. จัดระบบการติดต่อ สื่อสารภายในหมู่และ
จำเป็น มว.ให้เรียบร้อย
5. เตรียมเดินทางไปรับภารกิจจากผบ.ร้อย.

3. การรับคำสั่งการเข้าตี 1. แจ้งให้รอง ผบ.ร้อยทราบถึงเวลาที่จะไปรับคำสั่ง 1. รับคำสั่งจากผบ.ร้อย ซักถามข้อสงสัยใน 1. รับคำสั่ง(ภารกิจ) จากผบ.มว.ทำความเข้า
และมอบงานต่างๆ ที่จะให้กระทำหรือกำกับดูแล รายละเอียดให้ชัดเจน และตั้งเวลาให้ตรงกัน ใจในภารกิจซักถามข้อสงสัยในรายละเอียด
2. แนะนำการใช้หน่วยของตนให้สอดคล้องกับภารกิจ 2. ร้องขอเครื่องมือจากกองร้อยเพิ่มเติมให้ และปรับตั้งเวลาให้ตรงกัน
ของหน่วยเหนือได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม กับ มว. ตามความเหมาะสมกับภารกิจที่ได้ 2. วางแผนจัดชุดปฏิบัติงานและเครื่องมือ
3. ประสานการปฏิบัติกับผบ.หน่วยข้างเคียง เกี่ยว รับ เครื่องใช้
กับการผ่านแนวและข่าวสารที่จำเป็นเกี่ยวกับข้าศึก 3. วางแผนการใช้เวลา กำลังพล เครื่องมือ 3. ซักซ้อมความเข้าใจการปฏิบัติของชุด
4. วางแผนการใช้เวลา กำหนดเวลาและสถานที่ที่จะ ให้เหมาะสมกับภารกิจที่ได้รับมอบตลอดจน ปฏิบัติงานและการติดต่อสื่อสารให้ชัดเจน
ใช้เป็นที่สั่งการให้ มว.ช. การติดต่อสื่อสาร การส่งกำลัง พร้อมชี้แจง 4. เตรียมให้การสนับสนุนทางการช่างเมื่อสั่ง
5. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับหน่วย ข้อเสนอแนะต่างๆที่มี
ดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง 4. เตรียมให้การสนับสนุนทางการช่าง เมื่อสั่ง

ขั้นการปฏิบัติ ผบ.ร้อย ผบ.มว. ผบ.หมู่
4. การ ลว. ตรวจภูมิประเทศ 1. ลว.และวิเคราะห์ภูมิประเทศบนแผนที่ 1. ศึกษาวิเคราะห์ในแผนที่ก่อนออก ลว. 1. ศึกษาวิเคราะห์แผนที่ร่วมกับ มว.ก่อน
2. ลว.ตรวจภูมิประเทศจริง รวมทั้งเส้น ภูมิประเทศจริง ออก ลว. ในภูมิประเทศจริง
หลักการรุก,เส้นหลักส่งกำลังบำรุง ตามที่ได้ 2. กำหนดชุดลว.ภูมิประเทศจริงให้เหมาะสม 2. จัดชุดลว.ช.ออกปฏิบัติภารกิจตามเวลา
รับมอบ และมีประสิทธิภาพ และพิกัดที่ ผบ.มว. กำหนด
3. ทำแผนสมบูรณ์และคำสั่งยุทธการ รวมถึง 3. ชี้แจงในรายละเอียดการปฏิบัติตลอดจน 3. ชี้แจงรายละเอียดในภารกิจและการปฏิบัติ
แผนเผชิญเหตุต่างๆ พื้นที่ได้รับมอบให้ชัดเจน ให้ชัดเจน
4. มีการรักษาความลับในการปฏิบัติ 4. ทำการสรุปผลพร้อมรายงานผลการลว.ให้ 4. ส่งรายงานการลว.ให้ มว.ทราบตามเวลาที่
5. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ กองร้อยทราบทันตามเวลาที่กำหนด กำหนด
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง

5. ออกคำสั่งการเข้าตี 1. ใช้คำพูดสั้น ชัดเจน สมบูรณ์ ถูกต้องตาม 1. วางแผนประมาณการใช้กำลังพลเครื่อง 1. รับคำสั่งการเข้าตีจากผบ.มว.


แบบแผนคำสั่งยุทธการ มืออาวุธยุทโธปกรณ์ 2. จัดชุดปฏิบัติงานของหมู่เครื่องมือ
2. เน้นย้ำความเข้าใจในภารกิจของหน่วยรอง 2. เรียกผบ.หมู่มารับคำสั่งเน้นให้กะทัดรัด เครื่องใช้ยานพาหนะและตรวจตราให้พร้อม
ต่างๆโดยได้มีการซักซ้อมการปฏิบัติในแต่ละ ชัดเจนถูกต้องตามแบบฟอร์มคำสั่งยุทธการ ออก ปฏิบัติงาน
ขั้นตอนที่สำคัญ 3. ชี้แจงรายละเอียดอื่นๆ 3. ชี้แจงเรื่องการบังคับบัญชา, การติดต่อ
3. กำหนดแผนสำรองในการปฏิบัติอย่าง 1) แผนการเผชิญเหตุต่างๆ เมื่อถูกข้าศึก สื่อสาร, การส่งกำลังบำรุงให้กำลังพลของหมู่
เหมาะสม โจมตี ทราบตามที่ผบ. มว.ชี้แจง
2) การประสานกับหน่วยข้างเคียง 4. ตรวจความเรียบร้อยตลอดจนชี้แจง แผน
3) การร้องขอหน่วยเหนือเมื่อต้องการ เผชิญเหตุต่างๆ
ขอรับการสนับสนุน
6. การเคลื่อนไปยังที่หมาย 1. ควบคุมและปฏิบัติตามแผนการเคลื่อน 1. สั่งชุดปฏิบัติงานออกสนับสนุนหน่วย 1. รับคำสั่งการเข้าตีจากผบ.มว.
ย้ายของหน่วยดำเนินกลยุทธ์ ดำเนินกลยุทธ์ ตามวันเวลาและพิกัดที่กอง 2. จัดชุดปฏิบัติงานของหมู่เครื่องมือ
2. กำกับดูแลในการปฏิบัติฐานออกตีกระทำอ ร้อยกำหนดเมื่อได้รับอนุมัติและปฏิบัติตาม เครื่องใช้ยานพาหนะและตรวจตราให้พร้อม
ย่างเงียบและปกปิด การ เคลื่อนย้ายของหน่วยดำเนินกลยุทธ์ ออก ปฏิบัติงาน
3. ควบคุมการปฏิบัติ มว.ช.ที่ไปขึ้นสบทบให้กั 2. ประสานการติดต่อสื่อสารกับหน่วยที่ไป 3. ชี้แจงเรื่องการบังคับบัญชา, การติดต่อ
บหน่วยดำเนินกลยุทธ์ สนับสนุนและหน่วยข้างเคียง สื่อสาร, การส่งกำลังบำรุงให้กำลังพลของหมู่
4. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ 3. ชุดปฏิบัติงานพร้อมปฏิบัติภารกิจตลอด ทราบตามที่ผบ. มว.ชี้แจง
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง เวลา 4. ตรวจความเรียบร้อยตลอดจนชี้แจง แผน
4. ให้การระวังป้องกันอย่างเหมาะสม เผชิญเหตุต่างๆ

ทหารช่างสนับสนุนการรบด้วยวิธีรุก 2 - 15

การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

ขั้นการปฏิบัติ ผบ.ร้อย ผบ.มว. ผบ.หมู่


7. การดำเนินการเข้าตี 1. ผ่านแนวออกตีตามเวลา น. 1. ประสานการปฏิบัติกับหน่วยที่ไปสนับ 1. ประสานการปฏิบัติงานกับ มว. หรือ
2. ปฏิบัติตามแผนการเข้าตีหน่วยดำเนิน สนุนและดำรงการติดต่อสื่อสารตลอดเวลา หน่วยที่รับการสนับสนุน
กลยุทธ์ 2. ให้การสนับสนุนทางการช่างหน่วยดำเนิน 2. ดำรงการติดต่อกับหน่วยที่รับการ
3. สนับสนุนกำลังพลและเครื่องมือเมื่อ กลยุทธ์ เมื่อสั่ง สนับสนุน, ผบ.มว.และชุดระวังป้องกัน
มว.ช. ร้องขอเพิ่มเติม 3. ตรวจตรากำกับดูแลการปฏิบัติงานตลอด ตลอดเวลา
4. กำกับดูแลและเตรียมการสนับสนุนทาง จนกวดขันเรื่องวินัยอย่างเคร่งครัด 3. ปฏิบัติงานช่างสนับสนุนหน่วยดำเนิน
การช่างให้กับหน่วยดำเนินกลยุทธ์ 4. ให้การระวังป้องกันตนเองอย่างเหมาะสม กลยุทธ์ เมื่อสั่ง
5. ดำรงการติดต่อกับ ร้อย ช.เพื่อร้องขอ 4. ปฏิบัติงานร่วมกับกำลังพลภายในหมู่และ
ความช่วยเหลือ กำกับดูแลให้ถูกต้องเหมาะสม

2 - 16 ทหารช่างสนับสนุนการรบด้วยวิธีรุก
8. การจัดระเบียบใหม่และเตรียมการ 1. ตรวจสภาพการสูญเสีย เช่น บาดเจ็บ, 1. สำรวจและรายงานยอดกำลังพล,ยาน 1. สำรวจและรายงานยอดกำลังพล
เข้าตีต่อไป ตาย,อาวุธกระสุนที่ใช้หมดหรือชำรุด พาหนะเครื่องมือ, อาวุธยุทโธปกรณ์ (ชำรุด, เครื่องมือ, ยานพาหนะอาวุธ(ชำรุด,เสียหาย,
2. รายงานให้หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เสียหาย,หมดไป บาดเจ็บตาย) ให้กับ บาดเจ็บ,ตาย) มว.ทราบ
และหน่วยเหนือทราบ กองร้อยทราบ 2. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ
3. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ 2. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง

9. การเสริมความมั่นคง ณ ที่หมาย 1. เตรียมการสร้างแผนฉากขัดขวางหน่วย 1. เตรียมสร้างเครื่องกีดขวางเสริมความมั่น 1. เตรียมเครื่องมือกำลังพล ออกสร้าง


ดำเนินกลยุทธ์ คงของหน่วยดำเนินกลยุทธ์ที่มั่นใหม่ เมื่อสั่ง เครื่องกีดขวางเสริมความมั่นคง ณ
2. จัดกำลังพลและเครื่องมือ 2. จัดระบบป้องกันตนเองอย่างเหมาะสม ที่หมายที่ยึดได้ ตามคำสั่งของ ผบ.มว.
เข้าสร้างเครื่องกีดขวาง ตามหน่วยดำเนิน 3. ดำรงการติดต่อกับร้อย ช.และหน่วย 2. จัดระวังป้องกันตนเองอย่างเหมาะสม
กลยุทธ์ร้องขอ ที่ไปสนับสนุน เพื่อรับคำสั่ง ต่อไป 3. ดำรงการติดต่อสื่อสารให้คงอยู่ตลอดเวลา
3. มีมาตรการระวังป้องกันตัวเองอย่างสูง 4. รอรับคำสั่งจาก ผบ.มว. ในขั้นตอนต่อไป

การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ
1. ความมุ่งหมาย
การยุทธ์ด้วยวิธีรับกระทำเพื่อทำลายการเข้าตีของข้าศึก ให้ได้เวลารวมกำลัง ณ ตำบลอื่น ควบคุมภูมิประเทศ
สำคัญหรือภูมิประเทศสำคัญยิ่ง บั่นทอนกำลังข้าศึกเพื่อกลับไปสู่การรุกยึดที่หมายทางยุทธศาสตร์ ยุทธการ หรือ
ยุทธวิธี วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการตั้งรับก็เพื่อที่จะทำให้การเข้าตีของข้าศึกไม่ประสบผลสำเร็จส่วนความมุ่งหมาย
อื่นๆแม้จะมีความสำคัญแต่ก็ยังสำคัญรองลงไป

การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
2. โครงร่างของการปฏิบัติการตั้งรับ
การปฏิบัติการตั้งรับในระดับยุทธวิธีจะประกอบด้วยส่วนประกอบ 5 ส่วน ซึ่งส่งเสริมกันคือ

รูปที่ 2-8 โครงร่างการปฏิบัติการตั้งรับ

• การปฏิบัติการในทางลึก เพื่อขัดขวางการเคลื่อนที่ของข้าศึกในทางลึกทำลายเป้าหมายที่สูงค่าของข้าศึก
ขัดขวางการควบคุมบังคับบัญชาของข้าศึกในห้วงเวลาวิกฤต
• การปฏิบัติการระวังป้องกัน เพื่อแจ้งเตือนการเข้ามาและรบกวนการรุกของข้าศึกป้องกันการจู่โจมทำให้ฝ่าย
เรามีเวลาในการโยกย้ายกำลังเข้าเผชิญกับการเข้าตีของข้าศึก และป้องกันการถูกยิงโจมตีลงบนแนวขอบหน้าพื้นที่
การรบ (ขนพร.)
การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ 2 - 17
• การปฏิบัติการในพื้นที่การรบหลัก เพื่อหยุดยั้งและทำลายการเข้าตีของข้าศึก โดยกำหนดการปฏิบัติหลัก
และรวมกำลังการสนับสนุนต่าง ๆ ให้อย่างเหมาะสม
• การปฏิบัติการของกองหนุน เพื่อช่วยดำรงความริเริ่มและให้มีความอ่อนตัวโดยใช้กองหนุนทำการตีโต้ตอบต่อ
จุดอ่อนของข้าศึก และต้องสถาปนากองหนุนขึ้นใหม่เสมอ
• การปฏิบัติการในส่วนหลัง เพื่อดำรงเสรีในการปฏิบัติในพื้นที่ส่วนหลังให้สามารถรักษาความต่อเนื่องในการ
รบไว้ได้
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

3. แบบของการตั้งรับ
การตั้งรับสามารถจะแปรเปลี่ยนได้หลายรูปแบบ แต่ก็มักจะแบ่งประเภทของการตั้งรับออก เป็น 2 แบบได้แก่
การตั้งรับแบบคล่องตัว และ การตั้งรับแบบยึดพื้นที่

• การตั้งรับแบบคล่องตัว
เป็นแบบของการตั้งรับที่มีความมุ่งหมาย ที่จะทำลายหรือ
เอาชนะกำลังข้าศึกโดยการทำการรบแตกหักด้วยกำลังโจมตี
(Striking Force) การตั้งรับแบบคล่องตัวนี้ฝ่ายตั้งรับจะต้องมี
ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่เหนือกว่าฝ่ายเข้าตี โดยฝ่าย
ตั้งรับจะต้องใช้การปฏิบัติทั้งการรุก รับ การรบหน่วงเวลาเพื่อดึง
ข้าศึกให้เข้าสู่พื้นที่ที่ล่อแหลมต่อการตีโต้ตอบ

รูปที่ 2-9 การตั้งรับแบบคล่องตัว

• การตั้งรับแบบยึดพื้นที่
เป็นแบบของการตั้งรับที่มีวัตถุประสงค์เพื่อขัดขวางมิให้
ข้าศึกเข้าถึงภูมิประเทศที่กำหนดไว้ในห้วงเวลาที่กำหนด
แทนที่จะเป็นการทำลายข้าศึกเพียงอย่างเดียว โดยทั่วไป
การตั้งรับแบบยึดพื้นที่จะใช้ร่วมกับ การปฏิบัติการอื่นๆ
เพื่อให้บรรลุถึงผลแตกหัก
รูปที่ 2-9 การตั้งรับแบบคล่องตัว

4. ภารกิจของทหารช่างสนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธ์ด้วยวิธีการรับ
ทหารช่างจะมีบทบาทในการปฏิบัติงานช่างเพื่อสนับสนุนการรบด้วยวิธีรับ ได้แก่
• เพิ่มขีดความสามารถในการตั้งรับของหน่วยรบ
• ช่วยในการเคลื่อนที่ของกองหนุน
• วางสนามทุ่นระเบิด สร้างเครื่องกีดขวาง และปรับปรุงเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ
• การลาดตระเวนทางการช่าง
• สร้าง ซ่อมแซม และบำรุงรักษาเส้นทางคมนาคม
• อาจต้องสร้างลานบินหน้า
• การส่งกำลังสายช่าง โดยเฉพาะ สป.4
• การประปาสนาม
• ช่วยในการควบคุมการจราจร
• ทำการรบอย่างทหารราบ

2 - 18 ทหารช่างสนับสนุนการรบด้วยวิธีรับ
ขั้นการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับของทหารช่างสนาม
ขั้นการปฏิบัติ ผบ.ร้อย ผบ.มว. ผบ.หมู่
1. การปฏิบัติในที่รวมพล 1. ตรวจพื้นที่ก่อนการนำกำลังพลเข้าที่ 1. ก่อนนำกำลังเข้าที่รวมพล ต้องไปตรวจ 1. ตรวจพื้นที่ก่อนและแบ่งมอบพื้นที่ให้
รวมพล และมอบพื้นที่แน่นอนให้กับ มว. , และมอบพื้นที่รวมพลของหมู่ เขตความรับ หน่วยรอง
กำหนดที่ตั้ง บก.ร้อย. และที่ตั้งยิงปืนกล ผิดชอบกำหนดที่ตั้งบก.มว.ที่ตั้งของอาวุธ 2. กำหนดที่ตั้ง บก.หมู่ และที่ตั้งยิงอาวุธ
2. ชี้แจงสถานการณ์ให้กำลังพลภายใน ประจำหน่วย ประจำหมู่
กองร้อยทราบ 2. ในที่รวมพล ผบ.มว. 3. ชี้แจงสถานการณ์ให้กำลังพลภายในหมู่
3. จัดการระวังป้องกันในระหว่างฟังคำชี้แจง ชี้แจงสรุปสถานการณ์ให้ ผบ.หมู่ ทราบ ทราบ
4. ชี้แจงพื้นที่รับผิดชอบของกองร้อยให้ 3. มีการระวังป้องกันที่รวมพลอย่าง 4. จัดการระวังป้องกันในระหว่างฟังคำชี้แจง
กำลังพลทราบ เหมาะสม 5. ชี้แจงพื้นที่รับผิดชอบของหมู่ให้กำลังพล
5. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ 4. อาวุธทุกชนิดอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ ทราบ
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ 5. มีการกระจายกำลังและการซ่อนพราง
6. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ
กองร้อย

2. การเตรียมการตั้งรับ 1. หลังจากได้รับคำสั่งเตือนจาก ผบ.หน่วย 1. หลังจากได้รับคำสั่งเตือนจาก 1. ออกคำสั่งเตือนไปยังกำลังพลภายในหมู่


ดำเนินกลยุทธ์ ออกคำสั่งเตือนไปยังผบ.มว. ผบ.ร้อย ให้ออกคำสั่งเตือนไปยัง ผบ.หมู่
ทันที หลังจากได้รับคำสั่งเตือนจาก ผบ.มว.
ภายในกองร้อยทันที ทันทีเพื่อการเตรียมตัว 2. หลังจากออกคำสั่งเตือนไปแล้ว กำกับ
2. หลังจากออกคำสั่งเตือนไปแล้ว กำกับดูแล 2. หลังจากออกคำสั่งเตือนแล้ว ผบ.มว. ดูแลเป็นส่วนรวม
เป็นส่วนรวม กำกับดูแลการปฏิบัติในขั้นเตรียมการของ3. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ
3. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ มว.
ผบ.หมู่ ด้วยตัวเองหรือมอบหมายให้ผู้อื่น
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ กำกับดูแลแทน
3. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ
กองร้อย
3. การรับคำสั่งตั้งรับ 1. มอบหมายการบังคับบัญชาให้กับรอง ผบ. 1. ก่อนไปรับคำสั่ง ผบ.มว. 1. มอบหมายการบังคับบัญชาให้กับรอง
ร้อย ในการกำกับดูแลกองร้อยแทน มอบหมายการบังคับบัญชา ให้มีการควบคุม ผบ.หมู่ ในการกำกับดูแลแทน
2. ซักถามข้อสงสัยกับ ผบ.หน่วยดำเนิน และกำกับดูแลแทน ผบ.มว. 2. กำหนดให้บุคคลต่อไปนี้ ไปรับคำสั่งกับ
กลยุทธ์ กรณียังไม่เข้าใจในภารกิจ 2. กำหนดให้นายสิบคลังเครื่องมือ ผบ.หมู่
ไปรับคำสั่งกับ ผบ.มว. ด้วย • พลทำลาย
• พลช่างก่อสร้าง

ทหารช่างสนับสนุนการรบด้วยวิธีรับ 2 - 19
• พลวิทยุ

การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

ขั้นการปฏิบัติ ผบ.ร้อย ผบ.มว. ผบ.หมู่


3. ประสานการปฏิบัติกับหน่วยข้างเคียง 3. ลัดเลาะไปตามภูมิประเทศ มีการกำบัง 3. ซักถามข้อสงสัย,ตั้งเวลาให้ตรงกับ ผบ.มว.
4. วางแผนการใช้เวลา กำหนดเวลาและ และซ่อนพรางทั้งยานพาหนะและอาวุธ 4. ประสานการปฏิบัติกับหมู่ข้างเคียง
สถานที่ที่จะใช้เป็นที่สั่งการให้หน่วยรอง 4. ซักถามข้อสงสัย และตั้งเวลาให้ตรงกับ 5. วางแผนการใช้เวลา กำหนดเวลาและ
5. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ ผบ.ร้อย สถานที่ที่จะใช้เป็นที่สั่งการให้หน่วยรอง
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง 5. ผบ.มว. วางแผนใช้เวลา กำหนดเวลา 6. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ มว.
และสถานที่ ที่ใช้เป็นที่สั่งการตั้งรับ เมื่อสั่ง
ให้หมู่และให้ รอง มว. ไปแจ้ง ผบ.หมู่
เรื่องการรับคำสั่ง

2 - 20 ทหารช่างสนับสนุนการรบด้วยวิธีรับ
6. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ
กองร้อย เมื่อสั่ง
4. การลาดตะเวนตรวจภูมิประเทศ 1. ลว.และวิเคราะห์ภูมิประเทศบนแผนที่ 1. ลว.และวิเคราะห์ภูมิประเทศบนแผนที่ 1. ลว.และวิเคราะห์ภูมิประเทศบนแผนที่
และวางแผน การตั้งรับ 2. ลว.ตรวจภูมิประเทศจริง รวมทั้งเขตการ 2. จัดชุด ลว.ตรวจภูมิประเทศ 2. ตรวจภูมิประเทศจริง รวมทั้งเขตการวาง
วางกำลังตามที่ได้รับมอบ ทั้งในแนวและหน้าแนว หน้าการวางกำลัง กำลังตามที่ได้รับมอบ
3. ทำแผนสมบูรณ์และคำสั่งยุทธการรวมถึงแ และตรวจเขตการวางกำลังตามที่ได้รับ 3. รายงานผลการลว.ให้ มว. ทราบ
ผนเผชิญเหตุต่างๆ มอบหมาย
4. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ 3. รายงานผลการลว.ให้กองร้อย ทราบ
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง 4. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ
กองร้อยเมื่อสั่ง
5. การออกคำสั่งตั้งรับ 1. ใช้คำพูดสั้น ชัดเจน สมบูรณ์ ถูกต้องตาม 1. ใช้ที่ปกปิดกำบังเป็นที่สั่งการ และให้ 1. ใช้คำพูดสั้น ชัดเจนสมบูรณ์ ถูกต้องตามแ
แบบแผนคำสั่งยุทธการ ผบ.หมู่ เข้ารับคำสั่งในลักษณะกระจายกำลัง ผนฟอร์มคำสั่งยุทธการ
2. เน้นย้ำความเข้าใจในภารกิจของหน่วย และซ่อนพราง 2. ชี้แจงในรายละเอียดการปฏิบัติตาม
รองต่างๆโดยได้มีการซักซ้อมการปฏิบัติใน 2. ใช้คำพูดสั่งชัดเจน สมบูรณ์ ถูกต้องตาม ภารกิจที่ได้รับมอบ
แต่ละขั้นตอนที่สำคัญ แบบฟอร์มคำสั่งยุทธการ รวมไปถึงแผน 3. ชี้แจงเรื่องการบังคับบัญชา,การติดต่อ
3. กำหนดแผนสำรองในการปฏิบัติอย่าง เผชิญเหตุต่างๆ สื่อสารการส่งกำลังบำรุงให้กำลังพลของ
เหมาะสม 3. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ หมู่ทราบตามที่ผบ.มว.ชี้แจง
กองร้อย เมื่อสั่ง 4. ตรวจความเรียบร้อยตลอดจนชี้แจง
แผนเผชิญเหตุต่างๆ
ขั้นการปฏิบัติ ผบ.ร้อย ผบ.มว. ผบ.หมู่
6. การดัดแปลงภูมิประเทศ 1. ทำการดัดแปลงภูมิประเทศ การพราง 1. ในทันทีที่กำลังส่วนใหญ่เข้าพื้นที่ตั้งรับ 1. จัดยามคอยเหตุระวังป้องกันด้านหน้า ของห
และควบคุมการปฏิบัติของ มว.ในเรื่องดังกล่าว ต้องจัดยามคอยเหตุออกไปข้างหน้า และ มู่ตัวเองและสามารถติดต่อสื่อสารกับหมู่ได้
2. จัดตั้งระบบการติดต่อสื่อสารจากกองร้อย สามารถติดต่อสื่อสารกับ บก.มว. ได้ 2. ถากถางพื้นยิงและการกะระยะไปยังที่ หมาย
ไปยังหน่วยดำเนินกลยุทธ์ 2. ทำการดัดแปลงภูมิประเทศสร้าง 3. ตั้งระบบการติดต่อสื่อสารจากหมู่ไป ยัง มว.
3. จัดทำแผนการยิงในภาพรวมของกองร้อย ระบบการติดต่อสื่อสารภายใน มว. 4. เตรียมการดัดแปลงที่ตั้งและหลุมปืน
ให้กับหน่วยดำเนินกลยุทธ์ และไปยังกองร้อย 5. จัดทำแผนการยิงโดยประสานกับหน่วย
4. กำหนดที่มั่นเพิ่มเติม, ที่มั่นสำรองให้กับ มว. 3. กำหนดหลุมบุคคล ข้างเคียงและส่งแผนการยิงให้กับ ผบ.มว.
5. ดัดแปลงภูมิประเทศเพิ่มเติม 4. ผบ.มว ประสานเขตการยิง ระหว่าง มว. 6. กำหนดที่มั่นเพิ่มเติม,
6. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ ข้างเคียง ที่มั่นสำรองโดยประสานกับ ผบ. มว.
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง 5. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ 7. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ มว.
กองร้อย เมื่อสั่ง เมื่อสั่ง

7.การปฏิบัติการตั้งรับ 1. ให้กำลังพลทุกนายภายในกองร้อยพร้อม 1. ให้ทหารทุกนายพร้อมรบตลอดเวลา 1. ให้ทหารทุกนายภายในหมู่พร้อมรบ


รบตลอดเวลา 2. ควบคุมการปฏิบัติของกำลังพลให้มี ระเบียบ ตลอดเวลา
2. ดำรงการติดต่อสื่อสารกับหน่วยข้างเคียง วินัยอย่างเคร่งครัด 2. ดำรงการติดต่อสื่อสารกับหมู่ข้างเคียง
และหน่วยดำเนินกลยุทธ์ กระจายข่าวสารไปยัง - การใช้ที่กำบัง และการซ่อนพราง และ ผบ.มว. กระจายข่าวสารไปยังหน่วยรอง
หน่วยรอง และรายงานสถานการณ์ไปยังหน่วย - หลีกเลี่ยงการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน และรายงาน สถานการณ์ไปยัง มว. เมื่อมีข่าว
ดำเนินกลยุทธ์ เมื่อมีข่าวสารสำคัญตลอดเวลา 3. เพิ่มความแข็งแรง ของที่มั่นตลอดเวลา สารสำคัญตลอดเวลา
3. ควบคุมระเบียบวินัยการของกำลังพลใน (หลุมบุคคลจากนอนเป็นนั่ง,นั่งเป็นยืนยิง ) 3. ควบคุมการปฏิบัติของกำลังพลภายในหมู่
4. จัดตั้งการติดต่อสื่อสารไปยังกองร้อย อย่างเคร่งครัด
กองร้อยอย่างเคร่งครัด 5. รักษาการติดต่อสื่อสาร กับหน่วย ข้างเคียง
4. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับหน่วย และกระจายข่าวสารตลอดเวลา 4. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ มว.
ดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง 6. รายงานสถานการณ์ทางการรบไปยัง เมื่อสั่ง
หน่วยเหนือทันทีเมื่อตรวจพบสิ่งผิดปกติ
7. ผบ.มว. สั่งการแก้ไขสถานการณ์ได้อย่าง
ถูกต้อง มีเหตุผล ทันเวลามีประสิทธิภาพ
8. ผบ.มว. กำกับดูแลเพิ่มเติมกระสุน
และ ยุทโธปกรณ์ ใน มว. อย่างเพียงพอ
สามารถสนับสนุน และปฏิบัติภารกิจตามที่
กองร้อยมอบหมายได้เป็นอย่างดี
9. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับกอง ร้อย
เมื่อสั่ง

ทหารช่างสนับสนุนการรบด้วยวิธีรับ 2 - 21
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
การปฏิบัติการรบด้วยวิธีร่นถอย
1. ความมุ่งหมาย
การยุทธ์ด้วยวิธีร่นถอยนำมาใช้เพื่อ ถนอมกำลังเพื่อหลีกเลี่ยงการรบภายใต้สภาพการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อดึง
ข้าศึกเข้ามาสู่พื้นที่ที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติการของฝ่ายเรา เพื่อรบกวนข้าศึกทำให้ข้าศึกอ่อนกำลังลง เพื่อต้านทาน รั้ง
หน่วงและทำลายข้าศึก เพื่อร่นระยะการคมนาคม เพื่อให้หน่วยสามารถถอนกำลังไปใช้ในพื้นที่อื่นได้
2. รูปแบบของการร่นถอย
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

ในการปฏิบัติการรบของกองทัพน้อยและกองพล โดยปกติแล้วผู้บังคับหน่วยจะผสมผสานแบบ ของการร่นถอยเข้า


ด้วยกันตามลำดับขั้นตอนหรือพร้อมกันก็ได้ เช่น การถอนตัว มักจะกระทำก่อน การถอย และการถอยของหน่วยหนึ่ง
อาจกระทำภายใต้การกำบังของอีกหน่วยหนึ่ง ซึ่งทำการรบหน่วงเวลาอยู่ การปฏิบัติการ ร่นถอยจะมีอยู่ 3 แบบ คือ
1) การรบหน่วงเวลา
ความมุ่งหมาย
การรบหน่วงเวลาจะกระทำเมื่อหน่วยไม่มีกำลังเพียงพอที่จะเข้าตีหรือตั้งรับต่อไปได้หรือเมื่อต้องการดึงข้าศึก
เข้ามาสู่พื้นที่ที่เตรียมการตีโต้ตอบไว้ตามแผนการตั้งรับการรบหน่วงเวลาจะทำให้ได้เวลาเพื่อให้ฝ่ายเราสามารถที่จะ
สถาปนาการตั้งรับขึ้นใหม่ เพื่อกำบังหน่วยที่ทำการตั้งรับหรือกำลังถอนตัว เพื่อป้องกันปีกของฝ่ายเรา หรือเพื่อใช้
ปฏิบัติการออมกำลัง
แบบของการรบหน่วงเวลา
ผู้บังคับหน่วยอาจเลือกใช้หนทางปฏิบัติในการรบหน่วงเวลา เช่น ทำการรบหน่วงเวลาสลับขั้นในแนวทางที่
อันตรายที่สุดและรบหน่วงเวลาตามลำดับขั้นในพื้นที่ที่ถูกคุกคามน้อยแล้วใช้ที่มั่นตั้งรับในทางลึก เพื่อชะลอการ
เคลื่อนที่ของข้าศึกในพื้นที่สำคัญ ผู้บังคับ หน่วยอาจจะเปลี่ยนแบบของการรบหน่วงเวลาได้เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับ
สถานการณ์ที่คลี่คลายไป
• การรบหน่วงเวลาตามลำดับขั้น มีขั้นตอนการปฏิบัติ คือ

รูปที่ 2-11 การรบหน่วงเวลาตามลำดับขั้น

2 - 22 การปฏิบัติการรบด้วยวิธีร่นถอย
• การรบหน่วงเวลาสลับขั้น มีขั้นตอนการปฏิบัติ คือ

การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
รูปที่ 2-12 การรบหน่วงเวลาสลับขั้น
2) การถอนตัว
ความมุ่งหมาย
ผู้บังคับหน่วยจะทำการถอนตัว เพื่อเคลื่อนย้ายหน่วยออกจากการรบ เพื่อปรับการวางกำลังในการตั้งรับหรือจัด
วางกำลังทั้งหมดของหน่วยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการถอนตัวบางส่วนหรือทั้งหมด หน่วยที่ทำการรบอยู่จะผละออกจาก
การรบด้วยความสมัครใจ และทำการเคลื่อนย้ายไปข้างหลัง การถอนตัวอาจกระทำภายใต้การกดดันหรือไม่ก็ได้
และอาจจะมีหรือไม่มีการสนับสนุนจากกำลังฝ่ายเดียวกันก็ได้ อย่างไรก็ตามการถอนตัวมักจะเริ่มจากการที่ถูกข้าศึก
รบกวนหรือคุกคาม
แบบของการถอนตัว
1) การถอนตัวภายใต้การกดดันของข้าศึก ส่วนกำบังจะเข้าทำการรบหน่วงเวลาเพื่อเปิดโอกาสให้กำลัง
ส่วนใหญ่ทำการถอนตัวได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้โดยกำลังส่วนใหญ่จะเพิ่มเติมกำลังให้แก่ส่วนกำบังเมื่อจำเป็นโดยปกติ
จะทำการตั้งรับหรือรบหน่วงเวลาในทันทีที่ส่วนกำบังไม่สามารถรั้งหน่วงการเคลื่อนที่ของข้าศึกหรือไม่สามารถทำให้
ข้าศึกช้าลงได้
2) การถอนตัวนอกความกดดันของข้าศึก ส่วนกำบังจะยังคงอยู่ในที่มั่นเพื่อทำการลวงข้าศึกต่อไป ถ้า
ข้าศึกไม่โจมตีในระหว่างที่เราทำการถอนตัวส่วนกำบังและกองระวังหลังจะยังคงอยู่ระหว่างข้าศึกและกำลังส่วนใหญ่
โดยกำลังส่วนใหญ่จะทำการเคลื่อนที่ไปยังข้างหลังให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อกำลังส่วนใหญ่ได้ถอนตัวออกไปใน
ระยะที่ปลอดภัยแล้วส่วนกำบังก็จะทำการถอนตัวไปยัง ที่มั่นขั้นต่อไป
3) การถอย
การถอยเป็นการเคลื่อนที่ไปข้างหลังออกห่างจากข้าศึกของหน่วยที่ไม่ได้ปะทะกับข้าศึกโดย ปกติหน่วยที่ทำการ
ถอยมักจะได้รับการป้องกันจากหน่วยอื่นและมักจะเป็นการเคลื่อนย้ายทางยุทธวิธีหน่วยที่ปฏิบัติการถอยจะต้องมีการ
จัดกำลังให้พร้อมที่จะทำการรบเพื่อป้องกันตนเองและต้องมีแผนเผชิญเหตุเมื่อถูกโจมตีจากกองโจร การโจมตีทาง
อากาศ และจากอาวุธยิงระยะไกลของข้าศึกการระวังป้องกันและความเร็วในการปฏิบัติเป็นสิ่งที่สำคัญในการถอย
หน่วยจะทำการเคลื่อนย้ายในเวลากลางวันต่อเมื่อมีความจำเป็นหรือเมื่อข้าศึกไม่มีขีดความสามารถที่จะทำการ
รบกวนหรือขัดขวางการปฏิบัติของฝ่ายเราหากข้าศึกสามารถครองอากาศหรือสามารถขัดขวางการเคลื่อนย้ายของฝ่าย
เราในทางลึกได้แล้วการถอยจะใช้การแทรกซึมในเวลากลางวันแทน ผู้บังคับหน่วยจะต้องเข้มงวดในมาตรการรักษา
ความปลอดภัยในการปฏิบัติการตลอดเวลาการเคลื่อนย้าย

การปฏิบัติการรบด้วยวิธีร่นถอย 2 - 23
3. ภารกิจทหารช่างในการสนับสนุนการยุทธ์ด้วยวิธีร่นถอย
ทหารช่างจะมีบทบาทในการปฏิบัติงานช่างเพื่อสนับสนุนการรบด้วยวิธีร่นถอยเพื่อปฏิบัติตามแผนฉากขัดขวาง
ของกองพลหรือให้การสนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธ์โดยการสนับสนุนโดยตรงหรือขึ้นสมทบ แล้วแต่สถานการณ์ งาน
ช่างที่ต้องทำได้แก่
• สร้างเครื่องกีดขวาง และที่มั่นข้างหลัง
• ซ่อมบำรุงถนน สะพาน
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

• ปฏิบัติตามแผนฉากขัดขวางกองพลเป็นส่วนรวม
• เปิดเส้นถอยให้ใช้การได้ตลอดเวลา
• ขัดขวางการรุกของข้าศึก
• ทำลายที่ตั้ง สป. โครงสร้างที่วางแผนไว้
• วางสนามทุ่นระเบิด
• ดัดแปลงที่มั่นใหม่

2 - 24 ทหารช่างสนับสนุนการรบด้วยวิธีร่นถอย
ขั้นการปฏิบัติการรบด้วยวิธีร่นถอยของทหารช่างสนาม

ขั้นการปฏิบัติ ผบ.ร้อย ผบ.มว. ผบ.หมู่
1. การเตรียมการถอนตัว 1. ออกคำสั่งเตรียมให้หน่วยรอง หลังจากได้ 1. หลังจากได้รับคำสั่งเตือนจากหน่วย 1. หลังจากได้รับคำสั่งเตือนจาก ผบ.มว.ช จึง
รับคำสั่งเตือนจาก ผบ.หน่วยดำเนินกลยุทธ์ ดำเนินกลยุทธ์ หรือ ผบ.ร้อย.ช.สนาม ออกคำสั่งเตรียมให้กำลังพลในหมู่ทราบ
2. วางแผนและเลือกเส้นทางถอนตัว จึงออกคำสั่งเตรียมให้ หน่วยรอง 2. จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ในการทำลายอย่าง
3. เสนอแนะแผนต่อผบ.หน่วยดำเนินกลยุทธ์ 2. วางแผนและเลือกเส้นทางถอนตัว ชัดเจน
4. วางแผนจัดแบ่งกำลังให้หน่วยรองที่ต้องขึ้น 3. เสนอแนะแผนต่อผบ.หน่วยดำเนินกลยุทธ์ 3. เตรียมเครื่องกีดขวางและเตรียมการทำลาย
สมทบกับหน่วยดำเนินกลยุทธ์ 4. วางแผนจัดเตรียมการทำลาย, ถนน สะพาน อุโมงค์ ช่องแคบ ท่าส่งข้าม
1.5เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ คำนวณจำนวนดินระเบิด, เส้นทางผ่านแนวเครื่องกีดขวาง
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง เบิกไปยังหน่วยเหนือ
5. กำกับดูแลการนำดินระเบิดไปยังตำบล
จุดระเบิดให้พร้อมและนำไปประกอบตาม
ระบบจุดระเบิด
6. รายงานหน่วยเหนือเมื่อติดตั้งเรียบร้อย
เพื่อจัดกำลังมาคุ้มครองตำบลระเบิด

2. การ ลว.ตราจภูมิประเทศ 1. จัดชุดลว.เส้นทางที่จะทำการถอนตัว 1. จัดชุดลว.เส้นทางที่จะทำการถอนตัว 1. จัดชุดลว.เส้นทางที่จะทำการถอนตัวตามที่


2. กำหนดที่รวมพลของกองร้อยที่แน่นอน 2. กำหนดที่รวมพล ของ มว. ที่แน่นอน ได้รับคำสั่ง
3. กำหนดเส้นทางการเคลื่อนที่จากที่รวมพล 3. กำหนดเส้นทางการเคลื่อนที่จากที่รวมพล 2. กำหนดที่รวมพลของหมู่ที่แน่นอน
ของกองร้อย ไปยังที่รวมพลของ ทก.หน่วย ของ มว. ไปยังที่รวมพลของ ทก.หน่วย 3. กำหนดเส้นทางการเคลื่อนที่จากที่รวมพล
ดำเนินกลยุทธ์ ดำเนินกลยุทธ์ ของหมู่ ไปยังที่รวมพลของ มว.ช.
4. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ 4. กำหนดพื้นที่ในการสร้างเครื่องกีดขวาง, 4. รายงานผลการลว.ให้กับ มว.
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง ชนิดของเครื่องกีดขวาง รวมถึง แผนการ ใช้
เวลาในการ สร้างเครื่องกีดขวาง
5. วางแผนการทำลายถนน สะพาน อุโมงค์
ช่องแคบ ท่าส่งข้าม เส้นทางผ่านแนวเครื่อง
กีดขวาง
2.6 รายงานผลการลว.ให้กับ ร้อย.ช.
3. รับคำสั่งถอนตัว 1. ซักถามข้อข้องใจ ตั้งเวลาให้ตรงกับ 1. รับคำสั่งจากผบ.ร้อย ซักถามข้อสงสัยใน 1. รับคำสั่ง(ภารกิจ) จากผบ.มว. ทำความ
ผบ.หน่วยดำเนินกลยุทธ์ รายละเอียดให้ชัดเจน และตั้งเวลาให้ตรงกัน เข้าใจในภารกิจซักถามข้อสงสัยในราย
2. ประสานกับหน่วยข้างเคียงต่างๆ 2. ร้องขอเครื่องมือจากกองร้อยเพิ่มเติมให้ ละเอียดและปรับตั้งเวลาให้ตรงกัน
3. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับหน่วย กับ มว.ตามความเหมาะสมกับภารกิจที่ได้รับ 2. วางแผนจัดชุดปฏิบัติงานและเครื่องมือ

ทหารช่างสนับสนุนการรบด้วยวิธีร่นถอย 2 - 25
ดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง 3. วางแผนการใช้เวลากำลังพล เครื่องมือใ เครื่องใช้

การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

ขั้นการปฏิบัติ ผบ.ร้อย ผบ.มว. ผบ.หมู่


ให้เหมาะสมกับภาระที่ได้รับมอบตลอดจน 3. ซักซ้อมความเข้าใจการปฏิบัติของชุด
การติดต่อสื่อสาร,การส่งกำลัง พร้อมชี้แจง ปฏิบัติงานและการติดต่อสื่อสารให้ชัดเจน
ข้อเสนอแนะต่างๆ ที่มี 4. เตรียมให้การสนับสนุนทางการช่าง เมื่อสั่ง
4. เตรียมให้การสนับสนุนทางการช่าง เมื่อสั่ง

4. การออกคำสั่งถอนตัว 1. ชี้แจงในรายละเอียดการปฏิบัติตามภารกิจที่ 1. ชี้แจงในรายละเอียดการปฏิบัติตามภาร 1. ชี้แจงในรายละเอียดการปฏิบัติตามภารกิจที่


ได้รับมอบ กิจที่ได้รับมอบ ได้รับมอบ
2. ชี้แจงเรื่องการบังคับบัญชา,การติดต่อสื่อ 2. ชี้แจงเรื่องการบังคับบัญชา,การติดต่อ 2. ชี้แจงเรื่องการบังคับบัญชา,การติดต่อ
สารการส่งกำลังบำรุงให้กำลังพลของกองร้อย สื่อสารการส่งกำลังบำรุงให้กำลังพลของ สื่อสารการส่งกำลังบำรุงให้กำลังพลของหมู่
ทราบตามที่ ผบ.หน่วยดำเนินกลยุทธ์ชี้แจง หมวด ทราบตามที่ ผบ.ร้อยชี้แจง ทราบตามที่ผบ.มว.ชี้แจง

2 - 26 ทหารช่างสนับสนุนการรบด้วยวิธีร่นถอย
3. ตรวจความเรียบร้อยตลอดจนชี้แจงแผน 3. ตรวจความเรียบร้อยตลอดจนชี้แจงแผน 3. ตรวจความเรียบร้อยตลอดจนชี้แจงแผน
เผชิญเหตุต่างๆ เผชิญเหตุต่างๆ เผชิญเหตุต่างๆ
4. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ 4. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ 4. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง

5. การปฏิบัติการถอนตัวของกำลัง 1. ถอนตัวตามกำหนดเวลา รวดเร็ว 1. ถอนตัวตามกำหนดเวลา รวดเร็ว 1. ถอนตัวตามกำหนดเวลา รวดเร็ว
ส่วนใหญ่ และสงบเงียบ ไม่สับสน และสงบเงียบ ไม่สับสน และสงบเงียบ ไม่สับสน
2. ดำรงการติดต่อสื่อสารกับ ผบ.มว.ช. 2. ดำรงการติดต่อสื่อสารกับ ผบ. ร้อย.ช. 2. ดำรงการติดต่อสื่อสารกับ มว.
ที่ขึ้นสมทบ และ ผบ.หมู่.ช. และ ผบ.หน่วยดำเนินกลยุทธ์ 3. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ
3. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ 3. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง
6. การเข้าประจำที่มั่นใหม่ 1. แจ้งพิกัดที่ตั้งใหม่ให้กับ มว. ทราบ 1. แจ้งพิกัดที่ตั้งใหม่ให้กับ ร้อย.ช. ทราบ 1. แจ้งพิกัดที่ตั้งใหม่ให้กับ ผบ.มว. ทราบ
2. รอง ผบ.ร้อย. นำกำลังต่างๆ 2. รอง ผบ.มว. นำกำลังต่างๆ เข้าประจำ 2. รอง ผบ.หมู่ นำกำลังต่างๆเข้าประจำที่มั่น
เข้าประจำที่มั่น พร้อมทั้งแจ้งเขตวางกำลังและ ที่มั่นพร้อมทั้งแจ้งเขตวางกำลังและที่ตั้งให้ พร้อมทั้งแจ้งเขตวางกำลังและที่ตั้งให้ผบ.มว.
ที่ตั้ง ทก.ร้อย ทก.หน่วยดำเนินกลยุทธ์ ทราบ
3. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ 3. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง
ขั้นการปฏิบัติ ผบ.ร้อย ผบ.มว. ผบ.หมู่
7. การดัดแปลงภูมิประเทศ ณ 1. การดัดแปลงภูมิประเทศทันที ที่เข้าที่มั่นใหม่ 1. การดัดแปลงภูมิประเทศทันทีที่เข้าที่มั่น 1. การดัดแปลงภูมิประเทศทันทีที่เข้าที่มั่น
ที่มั่นใหม่ 2. ส่งยามคอยเหตุออกไปข้างหน้า ใหม่ ใหม่
3. วางการติดต่อสื่อสาร 2. ส่งยามคอยเหตุออกไปข้างหน้า 2. ส่งยามคอยเหตุออกไปข้างหน้า
4. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ 3. วางการติดต่อสื่อสาร 3. วางการติดต่อสื่อสาร
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง 4. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ 4. เตรียมการสนับสนุนทางการช่างให้กับ
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง หน่วยดำเนินกลยุทธ์ เมื่อสั่ง


8. การปฏิบัติของทหารช่างขึ้นสมทบส่ 1. ให้การสนับสนุนทางการช่างแก่หน่วยขึ้น 1. ให้การสนับสนุนทางการช่างแก่หน่วยขึ้น 1.
เชื่อมต่อเครื่องกีดขวาง
วนที่เหลือทิ้งไว้ปะทะ สมทบตามแผน สมทบตามแผน 2. ปิดช่องสนามทุ่นระเบิด (รื้อถอนแนวหมุด
2. ดำรงการติดต่อสื่อสารตลอดเวลา 2. ดำรงการติดต่อสื่อสารตลอดเวลา และเครื่องหมายทุ่นระเบิดหาก สามารถ
ทำได้) เมื่อกำลังหน้าแนวถอนตัว ออกมา
หมด (บันทึกหน่วยที่ผ่านกลับออก มา
รายงานให้หน่วยเหนือทราบ)
3. ถอนตัวให้สำเร็จตามเวลา และเข้าสมทบ
กับหน่วยของตน ณ ที่มั่นใหม่
4. ดำรงการติดต่อสื่อสารตลอดเวลา
9. การถอนตัวของทหารช่างขึ้นสมทบ 1. ทำการถอนตัวโดยไม่ให้ข้าศึกตรวจพบ 1. ทำการถอนตัวโดยไม่ให้ข้าศึกตรวจพบ 1. ทำการถอนตัวโดยไม่ให้ข้าศึกตรวจพบ
ส่วนที่เหลือทิ้งไว้ปะทะ 2. ทำลายยุทโธปกรณ์และ สป.ที่นำกลับมา 2. ควบคุม กำกับดูแลการ ทำลาย 2. ทำลายยุทโธปกรณ์และสป.ที่นำกลับมา
ไม่ได้ ยุทโธปกรณ์และ สป.ที่นำกลับมาไม่ได้, เชื่อม ไม่ได้
3. เชื่อมต่อเครื่องกีดขวาง ต่อเครื่องกีดขวาง, ปิดช่องสนามทุ่นระเบิด 3. ทำลายถนน สะพาน อุโมงค์ ช่องแคบ
4. ปิดช่องสนามทุ่นระเบิด ให้เป็นไปตามเวลา และแผนที่หน่วยเหนือ ท่าส่งข้าม เส้นทางผ่านแนวเครื่องกีดขวาง
5. ถอนตัวให้สำเร็จตามเวลา และเข้าสมทบ กำหนด เมื่อได้รับคำสั่ง
3. ถอนตัวให้สำเร็จตามเวลา และเข้าสมทบ 4. ถอนตัวให้สำเร็จตามเวลา และเข้าสมทบ
กับหน่วยของตน ณ ที่มั่นใหม่ กับหน่วยของตน ณ ที่มั่นใหม่

ทหารช่างสนับสนุนการรบด้วยวิธีร่นถอย 2 - 27
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
การยุทธ์ข้ามลำน้ำ
1. ความมุ่งหมาย
การยุทธ์ข้ามลำน้ำนำมาใช้เพื่อส่งอำนาจกำลังรบข้ามเครื่องกีดขวางลำน้ำเพื่อให้บรรลุภารกิจการยุทธ์ข้ามลำน้ำ
เป็นการปฏิบัติการที่มีลักษณะพิเศษที่ต้องใช้วิธีการโดยเฉพาะลำน้ำเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกลยุทธ์ทางพื้นดินแบบ
อื่น ๆ ลักษณะทางธรรมชาติของเครื่องกีดขวาง สถานการณ์ข้าศึก และเครื่องมือข้ามที่มีอยู่เป็นข้อจำกัดของผู้
บังคับบัญชา
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

2. ประเภทของการข้ามลำน้ำ
• การข้ามลำน้ำแบบประณีต - เมื่อไม่สามารถทำการข้ามแบบเร่งด่วนได้ หรือเมื่อการข้ามแบบเร่งด่วนล้มเหลว
หรือเมื่อจะเริ่มทำการรุก ณ แนวลำน้ำ
• การข้ามลำน้ำแบบเร่งด่วน - เป็นการปฏิบัติการยุทธ์ข้ามลำน้ำต่อเนื่องจากการเข้าตีโดยไม่หยุด ณ แนวลำน้ำ
เพื่อเตรียมการ จึงไม่เสียแรงหนุนเนื่อง ซึ่งจะกระทำได้ดีต่อเมื่อการต้านทานของข้าศึกเบาบางไม่เป็นอุปสรรคสำคัญ
ดังนั้น กรมจึงไม่ต้องวางแผนอย่างละเอียด แต่สามารถใช้ความรวดเร็ว และความห้าวหาญผลักดันกำลังให้ข้ามไปได้
• การร่นถอยข้ามลำน้ำ – เป็นการเคลื่อนย้ายหน่วยไปข้างหลังข้ามเครื่องกีดขวางลำน้ำในขณะที่กำลังปะทะกับ
ข้าศึก หน่วยจะจัดตั้งแนวตั้งรับตามแนวลำน้ำก็ได้ การข้ามลำน้ำด้วยการร่นถอยต้องใช้การวางแผน และควบคุมแบบ
รวมการเนื่องจากสะพานที่มีอยู่ รายละเอียดในการวางแผนเท่ากับ การรุกข้ามลำน้ำแบบประณีต แต่ที่สำคัญ คือ
ความล้มเหลวในการปฏิบัติบนฝั่งใกล้อาจส่งผลให้เกิดความสูญเสียทั้งหมด
3. การข้ามลำน้ำแบบประณีตของกองพล
การข้ามลำน้ำของกองพลเป็นส่วนหนึ่งของการรุกโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อข้ามสิ่งกีดขวางซึ่งเป็น ลำน้ำอย่าง
รวดเร็วเพื่อให้ยึดที่หมายให้ได้เร็วที่สุด การข้ามลำน้ำแบบประณีตเป็นการเข้าตีอย่างห้าวหาญ ซึ่งต้องใช้การวางแผน
และการประสานงานในหน่วยทุกระดับอย่างกว้างขวาง ต้องมีการลาดตระเวน และการประเมินค่าข่าวสารทั้งมวล
อย่างละเอียด ต้องมีการวางแผนและเตรียมการเป็นอย่างดี มีการควบคุมแบบรวมการ และซักซ้อมอย่างละเอียด
ซึ่งโดยรวมแล้วเป็นการปฏิบัติซึ่งต้องใช้กำลังพล ยุทโธปกรณ์ และเวลาอย่างมากมาย ปกติแล้วการข้ามลำน้ำแบบ
ประณีตกระทำเมื่อการต้านทานของข้าศึกเข้มแข็ง เมื่อการข้ามแบบเร่งด่วนกระทำไม่ได้หรือการข้ามแบบเร่งด่วน
ล้มเหลวการข้ามแบบประณีตจะต้องมีการรวบรวมอำนาจกำลังรบอย่างรวดเร็วและรุนแรงใช้ประโยชน์จากการจู่โจม
ตามปกติแล้ว กองพลมักจะเป็นหน่วยเล็กที่สุดที่สามารถทำการยุทธ์ข้ามลำน้ำแบบประณีตได้ ซึ่งการข้าม
ลำน้ำมักจะเป็นกิจแฝงในภารกิจที่ได้รับจากหน่วยเหนือการข้ามลำน้ำเป็นส่วนหนึ่งของแผนดำเนินกลยุทธ์ใน การรุก
และกองพลต้องการทำการข้ามลำน้ำเพื่อดำรงความหนุนเนื่องในการเข้าตี ในการข้ามลำน้ำกองพลจำเป็นต้องได้รับ
การสนับสนุนจากกองทัพนอกเหนือจากทหารช่างสนามที่จะใช้ในการปฏิบัติงานกับเรือบุกข้าม แล้วกองทัพจะต้องจัด
กองร้อยสะพานให้การสนับสนุนโดยตรงต่อกองพลด้วยอย่างน้อยกองพันทหารช่างสนามหนึ่งกองพันและกองร้อย
สะพานสองกองร้อยต่อหนึ่งกองพลน้อยบุกข้าม นอกจากนี้ควรจะจัดกองร้อยสารวัตรเพื่อช่วยเหลือกองพลในการ
ควบคุมการจราจร และควรระวังป้องกันเส้นทางในพื้นที่ข้ามการสนับสนุนอื่น ๆ ที่จำเป็น

รูปที่ 2-13 การข้ามลำน้ำแบบประณีต

2 - 28 การยุทธ์ข้ามลำน้ำ
4. ขั้นตอนการข้ามลำน้ำแบบประณีตของกองพล
การข้ามลำน้ำจะมีขั้นปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ซึ่งต้องการการวางแผนในแต่ละขั้นโดยเฉพาะ แต่ในการปฏิบัติจะไม่มีการ
หยุดในระหว่างขั้นใด ๆ
ขั้นที่ 1 การรุกสู่ลำน้ำ ( Advance to the river )
เป็นการปฏิบัติการขั้นแรกที่หน่วยทำการเข้าตีเพื่อยึดและป้องกันฝั่งใกล้ของลำน้ำ
ขั้นที่ 2 การบุกข้ามลำน้ำ ( Assault across the river )

การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
เป็นการปฏิบัติที่หน่วยบุกข้ามทำการบุกข้ามเพื่อจัดการป้องกันเฉพาะบริเวณบนฝั่งไกลขจัดการยิงเล็งตรงที่
คุกคามต่อท่าข้าม
ขั้นที่ 3 การรุกคืบหน้าบนฝั่งไกล ( Advance from the exit bank )
เป็นขั้นเข้าตีต่อไปเพื่อทำให้พื้นที่ฝั่งไกลมีความปลอดภัยและยึดที่หมายระหว่างทางขจัดการยิงเล็งตรงและยิงจำลองที่
คุกคามต่อท่าข้าม
ขั้นที่ 4 การป้องกันแนวหัวสะพาน ( Secure the bridgehead line )
เป็นการปฏิบัติของหน่วยในการเข้ายึดและรักษาที่หมายหัวสะพาน เพื่อป้องกันการตีโต้ตอบจากข้าศึกเพื่อให้ฝ่ายเรามี
พื้นที่และเวลาเพิ่มพูนกำลังรบสำหรับการรุกออกจากหัวสะพานต่อไป

การยุทธ์ข้ามลำน้ำ 2 - 29
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

5. หน้าที่ของ ทก.ต่าง ๆในการข้ามแบบประณีต

ขั้น การเข้าตีต่อออกจาก
ทก. การรุกเข้าสู่ลำน้ำ การบุกข้ามลำน้ำ การรุกคืบหน้าบนฝั่งไกล การสถาปนาแนวหัวสะพาน
หัวสะพาน

2 - 30 การยุทธ์ข้ามลำน้ำ
ทก.ยุทธวิธี พล. ประสาน พล.น้อยหน่วยน้ำ ประสาน พล.น้อย หน่วย ประสาน พล.น้อย ประสาน พล.น้อย หน่วยนำ ควบคุมการเข้าตีออกจากหัว
ในการเข้ายึด ทม.ฝั่งใกล้ นำในการบุกข้ามเพื่อจัดการ หน่วยนำในการยึด ในการยึด ทม.หัวสะพานป้อง สะพานของหน่วยเข้าตีต่อ มอบ
ป้องกันเฉพาะบริเวณฝั่งไกล ทม.ฝั่งไกล กันหัวสะพานเตรียมส่ง ความรับผิดชอบกำลังที่ทำการ
ทม.ระหว่างกลาง พล.น้อยกองหนุนหรือ เข้าตีให้ ทก.หลัง
หน่วยเข้า ตีต่อข้ามลำน้ำ
ทภ. หลัก พล. ประสานการปฏิบัติการทาง ประสานการปฏิบัติทางลึก ประสานการปฏิบัติทา ประสานการปฏิบัติทางลึก ประสานการปฏิบัติการทางลึก
ลึกเพื่อสนับสนุนการรุกเข้าสู่ เพื่อสนับสนุนการข้าม และ งลึกเพื่อสนับสนุนการ เพื่อสนับสนุนการยึดทม. เพื่อสนับนุนการยึดทม.ของ ทบ.
ลำน้ำ การป้องกันเฉพาะบริเวณ ยึด ทม.ฝั่งไกล และ ทม. หัวสะพานและการป้องกัน
ระหว่างกลาง หัวสะพาน
ทก. หลัง พล. ยืนหยัดการรบ ยืนหยัดการรบ ยืนหยัดการรบ ยืนหยัดการรบ เป็น บก. กำลังที่ทำการข้าม
ทก. ยุทธพล.น้อย ประสานการรุกของ พัน.ฉก. ประสานการบุกข้ามด้วยเรือ ประสานการปฏิบัติของพัน. ประสานการปฏิบัติของ พัน. เตรียมปรับกำลังติดตามหน่วย
( กรม ) ในการยึด ทม.ฝั่งไก เพื่อการป้องกันเฉพาะ ฉก. ในการเข้ายึดทม.ฝั่งไก ฉก. ในการยึดและป้องกันหัว เข้าตีต่อ
บริเวณบนฝั่งไกล และ ทม.ระหว่างทาง สะพาน
ทก.หลัก พล.น้อย เตรียมและเคลื่อนย้ายเข้า ประสานการใช้เครื่องมือใน ควบคุมการข้ามของ ควบคุมการข้ามของหน่วยใน โอนความรับผิดชอบพื้นที่ข้าม
(บก.พื้นที่ข้าม) พื้นที่ข้ามเพื่อสนับสนุน การบุกข้ามและควบคุมการ พัน.ฉก. ที่เป็นหน่วยติดตาม พล.น้อย ผ่านพื้นที่ข้ามและ ให้หน่วยทหารช่างของทน.ที่
( กรม ) เครื่องมือข้าม การจราจร ทำควัน ณ ท่าข้าม จนถึงฐานออกตีในพื้นที่ เตรียมการข้ามให้หน่วยเข้าตี สนับสนุน
และการทำควัน ป้องกันเฉพาะบริเวณ ต่อ
6. ส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมในการข้ามแบบประณีต

การยุทธ์ข้ามลำน้ำ 2 - 31
รูปที่ 2-14 ส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมในการข้ามแบบประณีต

การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
7. ภารกิจของทหารช่างในการยุทธ์ข้ามลำน้ำ
• ทำหน้าที่เป็นผู้นำทาง
• เดินเรือส่งข้ามหรือเรือเร็วส่งข้าม
• ประกอบแพ และเดินแพ
• สร้างและบำรุงสะพาน
• สร้างเครื่องป้องกันสะพาน
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

• รื้อถอนทุ่นระเบิด
• สร้างทางเข้าท่าข้าม
• ขยายข่ายถนน
• สร้างสะพานลวง
• สนับสนุนภายหลังการข้ามลำน้ำได้แล้ว

8. ภารกิจทหารช่างสนับสนุนหน่วยบุกข้าม
• สร้างปรับปรุงบำรุงเส้นทาง
• รื้อถอนสนามทุ่นระเบิด
• สร้างทางเข้าสู่ท่าแพและสะพานฝั่งใกล้
• เดินเรือส่งข้าม
• สร้างสะพานคนเดิน
• สร้างและเดินแพส่งข้าม
• สร้างสะพานเครื่องหนุนลอยและเครื่องหนุนมั่น
• สร้างทางออกบนฝั่งไกล
• สร้างเครื่องป้องกันสะพาน
• สร้างสะพานลวง
• งานช่างทั่วไป
9. การปฏิบัติของทหารช่างการสนับสนุนการยุทธ์ข้ามลำน้ำ
การปฏิบัติก่อนขั้นตอนมูลฐานในการข้ามลำน้ำของทหารช่างมีดังนี้
• ทำการลาดตระเวนทางการช่างร่วมกับชุดตรวจภูมิประเทศ เพื่อให้ได้ข่าวสารที่จำเป็นต่อการเลือกที่ข้ามที่พึง
ประสงค์ทางเทคนิค ,การกำหนดแบบเครื่องมือข้าม,เวลาในการเตรียมตลิ่งและเสนอให้กับนายทหารช่างพื้นที่ข้าม
(ในกรณีข้ามแบบประณีต)โดยพิจารณาหัวข้อดังต่อไปนี้
• กระแสน้ำ
• การวัดค่าต่างๆ เช่น ความลึกและความกว้าง
• ความเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ ภาวะน้ำหนุน มีผลต่อยานพาหนะที่ขับเคลื่อนในน้ำ
• ความแตกต่างของกระแสน้ำขึ้น - ลง
• เครื่องกีดขวาง / หิน / พืชใต้น้ำ / เครื่องกีดขวางใต้น้ำ
• การสนับสนุนทางการช่างในการสร้างที่ข้ามลำน้ำ
ภารกิจของทหารช่างในขั้นตอนมูลฐานในการข้ามลำน้ำ
ขั้นที่ 1 เคลื่อนที่ไปข้างหน้าจากที่รวมพลขั้นต้นไปยังที่รวมพลขั้นสุดท้าย
หน่วยดำเนินกลยุทธ์ทำแผนขั้นสุดท้ายอย่างสมบูรณ์ จัดชุดลงเรือและออกคำสั่งครั้งสุดท้ายก่อนออกจากที่รวมพลใน
ระหว่างที่หน่วยดำเนินกลยุทธ์เข้าที่รวมพล ผู้นำหน่วยทหารช่างจะต้องเข้าสู่ฐานออกตี และหน่วยสนับสนุนด้วยการ
ยิงจะเข้าสู่ที่ตั้งยิง

2 - 32 ทหารช่างสนับสนุนการยุทธ์ข้ามลำน้ำ
ขั้นที่ 2 เคลื่อนที่จากที่รวมพลขั้นสุดท้ายไปยังตำบลข้าม
เมื่อหน่วยดำเนินกลยุทธ์เข้าฐานออกตีจะพบกับผู้นำทางของทหารช่างซึ่งจะคอยอยู่ ณ ฐานออกตี
ขั้นที่ 3 ทำการข้าม
ก. ผู้นำทางทหารช่างจะนำหน่วยดำเนินกลยุทธ์ที่ทำการข้ามลำน้ำในคลื่นแรกไปยังที่กองเรือตามเส้นทางที่ 45
ลาดตระเวนไว้ล่วงหน้า (เมื่อลักษณะภูมิประเทศ ข่ายถนน และการรักษาความลับอำนวยให้ จะจัดกองเรือไว้ห่าง
ลำน้ำ 100 – 200 เมตร) หน่วยดำเนินกลยุทธ์ซึ่งเป็นชุดลงเรือแต่ละชุดเป็นผู้ขนเรือบุกข้ามของตนเองไปสู่ฝั่งลำน้ำ

การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
ข. เมือถึงฝั่งตรงข้ามแล้วหน่วยดำเนินกลยุทธ์ขึ้นจากเรือเพื่อเข้าตีข้าศึกส่วนทหารช่างจะนำเรือกลับ
ìĀćøߊćÜÝĆéÖĞćúĆÜìĞćÖćøøïĂ÷ŠćÜìĀćøøćï ǰ
ขั้นที่ 4 เข้าตีฝ่ายตรงข้ามเพื่อเข้ายึดที่หมายตามลำดับ
ผู้นำทางทหารช่างมีหน้าที่ควบคุม ปรนนิบัติบำรุงเครื่องข้าǰ มลำน้ำ
1.ǰÖĂÜóĆîìĀćøߊćÜ×ĂÜÖĂÜóúĒúąĀîŠü÷×ċĚîÿöìïÝąđךćìĞćÖćøøïĂ÷ŠćÜìĀćøøćïÖĘêŠĂđöČęĂ ǰ
x ךćýċÖðŜĂÜÖĆทหารช่
îĕöŠĔĀšđךาćงจั
ĕð÷ĆดÜกำลั
ĒĀúŠÜงÜćî×ĂÜĀîŠ
ทำการรบอย่ü÷ างทหารราบ
x ךćýċÖó÷ć÷ćö×ĆïĕúŠ ĀîŠü÷ìĀćøߊćÜĂĂÖÝćÖĒĀúŠÜÜćî
1. กองพันทหารช่xางของกองพลและหน่
ךćýċÖðŜĂÜÖĆîĕöŠĔĀšÿŠÜวÿĉยขึęÜĂčð้นÖøèŤ
สมทบจะเข้าทำการรบอย่างทหารราบก็ต่อเมื่อ
• ข้าศึกป้องกัxนไม่Öćøðäĉ ïĆêĉÖงćø×ĂÜך
ให้เข้าไปยั ćýċÖïĆÜÙĆïวĔĀšย ìĞćÖćøøï
แหล่งงานของหน่
• ข้าǰศึกพยายามขับไล่หน่วยทหารช่างออกจากแหล่งงาน
• ข้า2.ศึกǰßîĉ
ป้อéงกั×ĂÜõćøÖĉ
นไม่ให้ส่งÝสิǰ่งอุปกรณ์
• การปฏิบัติกxารของข้ Öćø÷čาìศึíŤกéบัšüง÷üĉคับíให้
ĊøčÖทำการรบ
x Öćø÷čìíŤ éšü÷üĉíĊøĆï
2. ชนิดของภารกิ
ǰ จ
• การยุ ทธ์ด้วยวิ÷ธöêĆ
3.ǰÖćøđêøĊ ีรุกü đךćìĞćÖćøøïǰ
• การยุทธ์ดÖŠ้วĂยวิ ธีรับ ćðąìąÖĆïךćýċÖÖĂÜïĆÜÙĆïÖćøÖĂÜóĆî
îÖćøđך ÖĂÜøšĂ÷ÖĂÜïĆÜÙĆïÖćøĒúą ïøĉÖćø ÖĂÜøšĂ÷

ìĀćøߊćÜÿîćöĒêŠúąÖĂÜøšĂ÷ ÝąÝĆéÖĞćúĆÜĂĂÖđðŨîÿŠüîĀîšćĒúąÿŠüîĀúĆÜ
3. การเตรียมตัวเข้าทำการรบ
ÿŠüîĀîšć ǰðøąÖĂïéšü÷ ĀîŠü÷ìĊęÝąðäĉïĆêĉõćøÖĉÝÖćøøï
ก่อนการเข้าปะทะกับข้าศึกกองบังคับการกองพัน กองร้อยกองบังคับการและบริการ กองร้อยทหารช่างสนาม
แต่ละกองร้อÿŠยüจะจั
îĀúĆดÜกำลัðøąÖĂïéš
งออกเป็üน÷ส่วđÙøČ ęĂÜöČ
นหน้ ĂĒúąÖĞ
าและส่ ćúĆÜงóúìĊ
วนหลั ęĕöŠÝĞćđðŨîêŠĂÖćøøï
• ส่วǰนหน้า ประกอบด้วย หน่วยที่จะปฏิบัติภารกิจการรบ
ǰÖćøÝĆ
• ส่ว4.นหลั éÖĞćúĆÜǰ วย เครื่องมือและกำลังพลที่ไม่จำเป็นต่อการรบ
ง ประกอบด้
x ÖĂÜóĆîìĀćøߊćÜ×ĂÜÖĂÜóú ǰ
4. การจัดกำลัง
• กองพันทหารช่างของกองพล

¡´œ..¡¨.

­n ªœ®œoµ ­n ªœ®¨´Š

„.¡´œ.­n ªœ®œoµ ¦o°¥.„.(­n ªœ®œoµ) ¦o°¥.­œµ¤

„.¡´œ.(­n ªœ®¨´Š) ¦o°¥.„. (­n ªœ®¨´Š) ®¨nŠ¦ª¤Á‡¦ºÉ °Š¤º°(1)

ทหารช่างสนับสนุนการยุทธ์ข้ามลำน้ำ 2 - 33
46

• กองบังคับการและกองร้อยกองบังคับการ
x ǰÖĂÜïĆÜÙĆïÖć øĒúąÖĂÜøšĂ÷ÖĂÜïĆÜÙĆïÖćøǰ

„.¨³¦o°¥. „.
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

­n ªœ®œoµ ®¤¼n„..¡¨.(1) ­nªœ®¨´Š

„.¡´œ.(­n ªœ®œoµ) ¦o°¥.„.(­n ªœ®œoµ)

„.¦o°¥. „ε¨´Š¡¨Äœ­n ªœ®œoµ ®œnª¥Â¥„˜°œ„.¡´œ.

„°Š´Š‡´„µ¦  °.2  °.3 œµ¥Â¡š¥r œµ¥š®µ¦­ºÉ °­µ¦

 °.1 œµ¥š®µ¦¨µ—˜¦³Áªœ

„.¡´œ.(­n ªœ®¨´Š) ¦o°¥„.(­n ªœ®¨´Š) ®¤ª—Á‡¦ºÉ °Š¤º°

®¤¼n›»¦„µ¦( - )  °.4 ®¤ª—Žn°¤Îµ¦» Š

2 - 34 ทหารช่างสนับสนุนการยุทธ์ข้ามลำน้ำ
x ǰÖĂÜøšĂ÷ìĀćøߊćÜÿîćö
1) ÿŠüîĀîšć đÝšćĀîšćìĊę ĒúąđÙøČęĂÜöČĂìĊęÝąðäĉïĆêĉ õćøÖĉÝÖćøøïÝĆé×ċĚîđðŨîÿŠüîĀîšć ÖĂÜøšĂ÷
• กองร้อยทหารช่างสนาม
ÝĆéĔĀšĒêŠúąĀîŠü÷öĊÖĂÜïĆÜÙĆïÖćøúą 3 ĀöüéìĀćøߊćÜÿîćöǰ
1) ส่วนหน้า เจ้าหน้าที่ และเครื่องมือที่จะปฏิบัติภารกิจการรบจัดขึ้นเป็นส่วนหน้า กองร้อยจัดให้แต่ละหน่วยมี
กองบังคับการละ 3 หมวดทหารช่างสนาม

„°Š¦o°¥š®µ¦nµŠ

การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
­n ªœ®œoµ ­nªœ®¨´Š

„.¦o°¥.­n ªœ®œoµ ®¤ª—š®µ¦n µŠ­œµ¤ „.¦o°¥.(­n ªœ®¨´Š) ­n ªœ®¨´Š…°Š®¤ª—

„°Š´Š‡´„µ¦ ®¤¼n­ºÉ°­µ¦ ®¤¼n›»¦„µ¦ ®¤¼n­¼š„¦¦¤ ®¤¼n­nŠ„ε¨´Š

„.®¤ª— ®¤¼nš®µ¦n µŠ­œµ¤ ®¤¼nÁ‡¦ºÉ °Š¤º°Â¨³Žn°¤Îµ¦» Š

2) การจัดกำลังในกองบังคับการกองร้อย
ส่วนหน้า ประกอบด้ 2) ÖćøÝĆวยหมู
éÖĞć่กúĆองบั งคับการ เพิ
ÜĔîÖĂÜïĆ ÜÙĆïÖć่มøÖĂÜøš
เติมกำลั Ă÷งด้วยช่างอาวุธ จากหมู่ส่งกำลังและหมู่สื่อสาร
1. หมู่กองบังÿŠคัüบîĀîš การ ประกอบด้
ć ðøąÖĂïéš วยกำลั
ü÷ĀöĎงพลจำนวน
ŠÖĂÜïĆÜÙĆïÖćø 10 นายดั
đóĉęöงđêĉ
นี้ öÖĞćúĆÜéšü÷ߊćÜĂćüčí ÝćÖĀöĎŠÿŠÜÖĞćúĆÜĒúą
1. ผบ. ร้ĀöĎ อย ŠÿČęĂÿćø
2. รอง ผบ. ร้อย
1. ĀöĎŠÖĂÜïĆÜÙĆïÖćø ðøąÖĂïéšü÷
3. จ่ากองร้อย
1.1 ñï. øšĂ÷
4. พลขับรถ 1/4 ตัน
5. ทหารบริการ 51.2นาย øĂÜ ñï. øšĂ÷
6. ช่างอาวุธ ( ใช้1.3
เอ็ÝŠมć. ÖĂÜøš
203 Ă) ÷
2. หมู่สื่อสาร ประกอบด้ 1.4 วóú×Ćยกำลัïøë 1/4 êĆî7 นายดังนี้
งพลจำนวน
1. ช่างวิทยุ 1.5 ìĀćøïøĉÖćø
2. พลวิทยุ 2 นาย 1.6 ìĀćøïøĉÖćø
3. พลทางสาย 21.7 นายìĀćøïøĉ Öćø93 )
( ใช้ ปก.
4. พลวิทยุโทรเลข 1.8 ìĀćøïøĉÖćø
5. พลขับรถ 3 /1.9 4 ตัìĀćøïøĉ
น Öćø
ส่วนหลัง ประกอบด้วยหมู 1.10่ธุรߊการ หมู
ćÜĂćüčí ่สูท( กรรม หมู ่ส่งกำลั
Ĕßš đĂĘö . 203 ) ง (เว้นช่างอาวุธ) หมู่
เครื่องมือและซ่อมบำรุง
1. หมู่ธุรการ ประกอบด้วย กำลังพลจำนวน 1 นาย
1. เสมียนกองร้อย
2. หมู่สูทกรรม ประกอบด้วย กำลังพลจำนวน 15 นาย
1. นายสิบสูทกรรม

ทหารช่างสนับสนุนการยุทธ์ข้ามลำน้ำ 2 - 35
2. พลสูทกรรม 14 นาย
3. หมู่ส่งกำลัง (ที่เหลือ) ประกอบด้วย
1. นายสิบส่งกำลัง
2. นายสิบส่งกำลัง สาย ช.
3. พลขับรถ 3 / 4 ตัน
4. หมู่เครื่องมือและซ่อมบำรุง ประกอบด้วย กำลังพล จำนวน 21 นาย
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

1. นายสิบยานยนต์
2. ช่างยานยนต์ล้อ 2 นาย
4. ช่างเครื่องมือกล
5. พลประจำรถตักบรรทุก 2 นาย
6. พลประจำเครื่องอัดลม 2 นาย
7. พลประจำรถถากถาง 4 นาย
8. พลขับรถบรรทุกหนัก 5 นาย
9. พลประจำรถเกลี่ย 2 นาย
10. พลประจำรถราดน้ำ 2 นาย

• หมวดทหารช่างสนาม
กองบังคับการหมวด หมู่ทหารช่างสนาม 3 หมู่
1. ผู้บังคับหมวด 1. ผู้บังคับหมู่
2. รองผู้บังคับหมวด 2. รองผู้บังคับหมู่
3. นายสิบประจำหมวด 3. พลขับบรรทุกเทท้าย
4. นายสิบคลังเครื่องมือ 4. พลช่างก่อสร้าง 3 นาย (คนแรกอัตรา ส.อ.)
5. พลขับ 1/4 ตัน 5. พลทำลาย 2 นาย
6. พลขับรถบรรทุกเทท้าย 6. พลช่างโยธา 4 นาย

อาวุธประจำหน่วยของหมวด อาวุธประจำหน่วยของหมู ่
1. ปก. 93 1 กระบอก 1. เครื่องยิงจรวด 1 กระบอก
2. ปก. เอ็ม. 60 3 กระบอก 2. เอ็ม. 203 2 กระบอก

หมวดทหารช่างสนามจัดกำลังทำการรบแบบที่ 1
ส่วนหน้า ประกอบด้วยกองบังคับการหมวด หมู่อาวุธและหมู่ปืนเล็ก 3 หมู่
1. กองบังคับการหมวด
1) ผู้บังคับหมวด
2) รองผู้บังคับหมวด
3) พลวิทยุและพลนำสาร (พลขับรถ 1/4 ตัน ของ มว. พร้อมรถ)
4) นายสิบพยาบาล (จัดจาก มว. สร. ของกองพัน)
2) หมู่อาวุธ 3 หมู่
1. ผู้บังคับหมู่อาวุธ (นายสิบประจำหมวด)
• พวก ปก. ที่ 1 (จัดจากหมู่ทหารช่างที่ 1 ตำแหน่งพลช่างก่อสร้าง)
1. พลยิง ปก. เอ็ม. 60
2. พลยิงผู้ช่วย ปก. เอ็ม. 60
3. พลกระสุน ปก. เอ็ม. 60

2 - 36 ทหารช่างสนับสนุนการยุทธ์ข้ามลำน้ำ
• พวก ปก. ที่ 2 (จัดจากหมู่ทหารช่างที่ 2 ตำแหน่งพลช่างก่อสร้าง)
1. พลยิง ปก. เอ็ม. 60
2. พลยิงผู้ช่วย ปก. เอ็ม. 60
3. พลกระสุน ปก. เอ็ม. 60
• พวก ปก. ที่ 3 (จัดจากหมู่ทหารช่างที่ 3 ตำแหน่งพลช่างก่อสร้าง)
1. พลยิง ปก. เอ็ม. 60

การปฏิบัติการทางยุทธวิธี
3. พลยิงผู้ช่วย ปก. เอ็ม. 60
3. พลกระสุน ปก. เอ็ม. 60
3. หมู่ปืนเล็ก 3 หมู่
หมู่ปืนเล็กที่ 1, 2, 3
ชุดยิงที่ 1
1. หัวหน้าชุดยิงที่ 1 (ก) : ผู้บังคับหมู่ (จ.) เอ็ม. 16
2. พลปืนเล็กหมายเลข 1 : พลทำลายหมายเลข 1 (ส). เอ็ม. 203
3. พลปืนเล็กหมายเลข 2 : พลทำลายหมายเลข 2 (พลฯ) เอ็ม. 16
4. พลปืนเล็กหมายเลข 3 : พลช่างโยธาหมายเลข 4 (พลฯ ) เอ็ม. 16
ชุดยิงที่ 2
1. หัวหน้าชุดยิงที่ 2 (ข) : รองผู้บังคับหมู่ (ส. ) เอ็ม. 203
2. พลปืนเล็กหมายเลข 1 : พลช่างโยธาหมายเลข 1 (ส.) ใช้จรวดฯ
3. พลปืนเล็กหมายเลข 2 : พลช่างโยธาหมายเลข 2 (พลฯ) ผช.จรวดฯ ใช้หน้ากาก
4. พลปืนเล็กหมายเลข 3 : พลช่างโยธาหมายเลข 3 (พลฯ) เอ็ม. เอ็ม 16

ส่วนหลัง ประกอบด้วย กองบังคับการหมวดและหมู่ทหารช่าง 3 หมู่
1. กองบังคับการหมวด
1. นายสิบคลังเครื่องมือ
2. พลขับรถบรรทุกเทท้ายของหมวด พร้อมด้วยรถและเครื่องมือของหมวด

หมวดทหารช่างสนามจัดกำลังทำการรบแบบที่ 2
ส่วนหน้า ประกอบด้วย กองบังคับการหมวด และหมู่ปืนเล็ก 3 หมู่
1. กองบังคับการหมวด
1. ผู้บังคับหมวด
2. รองผู้บังคับหมวด
3. นายสิบประจำหมวด
4. พลวิทยุและพลนำสาร (ใช้นายสิบคลังเครื่องมือ)
5. นายสิบพยาบาล (จัดจากหมวดเสนารักษ์ของกองพัน)
2. หมู่ปืนเล็ก 3 หมู่
หมู่ปืนเล็กที่ 1,2,3
ผู้บังคับหมู่ปืนเล็กที่ 1
ชุดยิงที่ 1 (ก)
1. หัวหน้าชุดยิงที่ 1 : รองผู้บังคับหมู่ (ส.) ใช้ ปลย. เอ็ม. 203
2. พลปืนเล็กหมายเลข 1 พลยิง ปก. เอ็ม. 60 (ส.)พลช่างก่อสร้างหมายเลข 1
3. พลปืนเล็กหมายเลข 2 ผช. พลยิง ปก.เอ็ม.60 (พลฯ) พลช่างก่อสร้างหมายเลข 2
4. พลปืนเล็กหมายเลข 3 พลกระสุนปก.เอ็ม.60 (พลฯ)พลช่างก่อสร้างหมายเลข 3
5. พลปืนเล็กหมายเลข 4 ใช้ ปลย.เอ็ม. 16 (พลฯ) พลช่างโยธาหมายเลข 4
ทหารช่างสนับสนุนการยุทธ์ข้ามลำน้ำ 2 - 37
ชุดยิงที่ 2 (ข)
1. หัวหน้าชุดยิงที่ 2 : พลช่างทำลายหมายเลข 1 (ส.) ใช้ ปลย. เอ็ม. 203
2. พลปืนเล็กหมายเลข 1 พลช่างทำลายหมายเลข 2 (พลฯ) ใช้ ปลย. เอ็ม. 16
3. พลปืนเล็กหมายเลข 2 พลยิงจรวดฯ (ส.) พลช่างโยธาหมายเลข 1
4. พลปืนเล็กหมายเลข 3 ผช. พลยิงจรวดฯ (พลฯ) พลช่างโยธาหมายเลข 2
5. พลปืนเล็กหมายเลข 4 ใช้ ปลย. เอ็ม. 16 (พลฯ) พลช่างโยธาหมายเลข 3
การปฏิบัติการทางยุทธวิธี

ส่วนหลัง ประกอบด้วย กองบังคับการหมวด และ หมู่ทหารช่าง 3 หมู่


1. กองบังคับการหมวด
1) พลขับรถ 1/4 ตัน
2) พลขับรถบรรทุกเทท้ายของหมวด พร้อมด้วยรถและเครื่องมือของหมวดและ ปก.93
จำนวน 1 กระบอก
2. หมู่ทหารช่าง 3 หมู่
• พลขับรถบรรทุกเทท้ายของหมู่ พร้อมด้วยรถและเครื่องมือของหมู่


----------------
เอกสารอ้างอิง : รส.3 - 34 คู่มือราชการสนามว่าด้วยการปฏิบัติการของทหารช่าง พ.ศ.2552
รส.5 - 34 คู่มือราชการสนามว่าด้วย คู่มือทหารช่างสนาม พ.ศ.2552
แนวสอนวิชา หลักปฏิบัติการรบของทหารช่าง พ.ศ.2551 โรงเรียนทหารช่าง กรมการทหารช่าง
แนวสอนวิชา การยุทธ์ข้ามลำน้ำ พ.ศ.2551 โรงเรียนทหารช่าง กรมการทหารช่าง

2 - 38 ทหารช่างจัดคำสั่งทำการรบอย่างทหารราบ
ตอนที่ 3
การสนับสนุนการรบและการสนับสนุนการช่วยรบ
การสนับสนุนการรบและการสนับสนุนการช่วยรบของทหารช่างสนามในตอนที่ 3 นี้ได้เรียบเรียงเนื้อหาที่สำคัญ
และจำเป็นสำหรับผู้บังคับหน่วยและฝ่ายอำนวยการโดยจะกล่าวถึงการปฏิบัติการสนับสนุนการรบและการสนับสนุน
การช่วยรบทางยุทธวิธีของหน่วยทหารช่างสนามซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติของผู้บังคับหน่วยทหาร
ช่างสนามและฝ่ายอำนวยการตามเอกสาร ตำราและคู่มือราชการสนามที่กองทัพบกกำหนด ได้แก่ รส.3–34 และ รปจ
. กช.


การสนับสนุนการรบ และการสนับสนุนทางการช่วยรบ

การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ
การสนับสนุนการรบ
• การข่าวกรองและการต่อต้านข่าวกรอง
• การติดต่อสื่อสาร
การสนับสนุนการช่วยรบ
• การส่งกำลังบำรุงในสนามของหน่วยทหารช่างสนาม
• หลักการจัดขบวนสัมภาระของหน่วยทหารช่างสนาม
• การปฏิบัติการส่งกำลังของหน่วยทหารช่างสนาม

การสนับสนุนการรบ

ความหมาย การสนับสนุนการรบ คือ การปฏิบัติการที่กระทำเพื่อเพิ่มอำนาจกำลังรบให้มากยิ่งขึ้นซึ่งจะดำเนินการ
โดยทหารปืนใหญ่ ทหารช่าง ทหารสื่อสาร หน่วยบินทหารบก และหน่วยทหารวิทยาศาสตร์
1. การข่าวกรอง และการต่อต้านข่าวกรอง
• ความหมาย
1) ข่าวสาร คือ เรื่องราวของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ได้มาจากการตรวจการณ์ การสื่อสาร การรายงาน ข่าวลือ
ภาพถ่าย และจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ซึ่งยังไม่ได้ผ่านการดำเนินกรรมวิธี อาจจะเป็นจริงหรือไม่จริง มีความแน่นอนหรือ
ไม่แน่นอน มีความเกี่ยวข้องและจะเป็นข่าวที่ยืนยันหรือปฏิเสธก็ได้
2) ข่าวกรอง คือ ผลผลิตอันเกิดจากการรวบรวมข่าวสารและการดำเนินกรรมวิธีซึ่ง ได้แก่ การบันทึก,
การประเมินค่า และการตีความ ต่อข่าวสารทั้งปวงที่ได้รับ
3) ข่าวกรองทางทหาร คือ ผลิตผลอันเกิดจากการรวบรวม การประเมินค่าและการตีความข่าวสารซึ่ง
เกี่ยวข้องกับแง่คิดประการหนึ่งหรือหลายประการของชาติต่างประเทศ ของพื้นที่ตามพันธกิจ หรือทางภูมิศาสตร์
ซึ่งมีความสำคัญต่อการจัดทำและการปฏิบัติการตามนโยบาย หรือต่อการปฏิบัติการทันทีหรือในอนาคต ข่าวกรอง
ทางทหารประกอบด้วย “ข่าวกรองการรบ” และ “ข่าวกรองยุทธศาสตร์”
4) ข่าวกรองการรบ คือ ความรู้เกี่ยวกับฝ่ายตรงข้ามและสภาพพื้นที่ปฏิบัติการ ซึ่งได้แก่สภาพภูมิประเทศ
สภาพลมฟ้าอากาศ รวมถึงท่าทีของประชาชนที่ผู้บังคับบัญชามีความต้องการในการวางแผนและการปฏิบัติการยุทธ์
ความมุ่งหมายของข่าวกรองการรบ เพื่อกำหนดว่า ทำอย่างไรจึงจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างดีที่สุด เพื่อบรรลุความ
สำเร็จของภารกิจ และรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของหน่วย

การข่าวกรองและการต่อต้านข่าวกรอง 3 - 
5) ข่าวกรองยุทธศาสตร์ คือ ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของชาติอื่นๆ และเกี่ยวกับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งฝ่ายเรา
ต้องเข้าปฏิบัติตามแผนทางทหารที่กำหนดขึ้น ข่าวกรองยุทธศาสตร์ มีประโยชน์ในการช่วยกำหนดนโยบายและแผน
ทางทหารชนิดต่างๆ ในระดับชาติและระหว่างประเทศ ข่าวกรองยุทธศาสตร์ จะเป็นเครื่องช่วยในการกำหนด
เป้าหมายของข่าวกรองทางทหาร ความแตกต่างระหว่างข่าวกรองยุทธศาสตร์และข่าวกรองการรบที่สำคัญได้แก่
ข่าวกรองยุทธศาสตร์มีขอบเขตกว้างขวางกว่า, ใช้เจ้าหน้าที่มากกว่า, ครอบคลุมห้วงระยะเวลานานกว่าข่าวกรอง
การรบ ข่าวกรองการรบ ถูกผลิตเพื่อจุดมุ่งหมายสนับสนุนการปฏิบัติทางยุทธวิธี ส่วนข่าวกรองยุทธศาสตร์ ผลิตเพื่อ
ใช้ในการทำสงครามหรือแผนทางทหารและแผนการยุทธ์

การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ

รูปที่ 3-1 การผลิตข่าวกรอง


• หลักพื้นฐานในการปฏิบัติงานด้านการข่าวกรองที่สำคัญ ได้แก่
1) การปฏิบัติงานด้านการข่าวกรองและการปฏิบัติทางยุทธวิธี ย่อมอาศัยซึ่งกันและกัน
2) ข่าวกรองจะต้องใช้ประโยชน์ได้
3) ข่าวกรองจะต้องทันเวลา
4) การปฏิบัติงานด้านการข่าวกรอง จะต้องมีความอ่อนตัว
5) การปฏิบัติงานด้านการข่าวกรอง จะต้องใช้มโนภาพและความรอบรู้
6) การปฏิบัติงานด้านการข่าวกรอง จะต้องมีมาตรการ รปภ. อย่างต่อเนื่อง
7) จะต้องมีการแลกเปลี่ยนข่าวสารและข่าวกรองกันอย่างเสรี
3 -  การข่าวกรองและการต่อต้านข่าวกรอง
• เครื่องมือข่าวกรองในหน่วยทหารขนาดเล็ก
หน่วยที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายการข่าวกรอง ผบ.หน่วยจะต้องจัดกำลังพลในกองบังคับการเข้าทำงานด้านการข่าว
ได้แก่ รอง ผบ.ร้อย., จ่ากองร้อย, นายสิบสื่อสาร, พลวิทยุและพลนำสารงานข่าวกรองที่สำคัญได้แก่ การรวบรวม
ข่าวสาร และการกระจายข่าวกรอง
• การรวบรวมข่าวสาร
1) การกำหนดพื้นที่ในการปฏิบัติงานด้านการข่าวกรอง แบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ คือ พื้นที่ปฏิบัติการ, พื้นที่สนใจ
และห้วงมิติการรบ โดยอาศัยปัจจัยต่าง ๆ คือ ภารกิจของหน่วย, สถานการณ์ฝ่ายตรงข้าม, ลักษณะภูมิประเทศ,
กำลังฝ่ายเราที่มีอยู่, เวลาและกิจการพลเรือน (METT-TC)
• พื้นที่ปฏิบัติการ คือ พื้นที่ที่หน่วยได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานตามภารกิจของฝ่ายเรา จะถูก
กำหนดโดย ผบ./หน่วยเหนือ โดยการกำหนดขอบเขตด้วยเส้นแบ่งเขตและครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการทางลึก, พื้นที่
การรบระยะใกล้ และพื้นที่ส่วนหลังของหน่วย
• พื้นที่สนใจ เป็นพื้นที่ที่ขยายออกไปนอกเหนือจากพื้นที่ปฏิบัติการ ซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์ของฝ่ายตรง
ข้าม อันอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติของฝ่ายเราในอนาคต ปกติแล้วพื้นที่สนใจจะมีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่

การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ
ปฏิบัติการ
• ห้วงมิติการรบ คือ ส่วนหนึ่งของสนามรบทั้ง 4 มิติ ที่ขอบเขตนั้นถูกกำหนดโดยขีดความสามารถสูงสุดของ
หน่วยที่จะเข้ายึดและควบคุมฝ่ายตรงข้ามขีดความสามารถนี้ รวมถึงการค้นหาเป้าหมายและเครื่องมือระยะไกลที่ได้รับ
การสนับสนุนจากหน่วยเหนือด้วย
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปฏิบัติการ ถือว่าเป็นงานหลักประการหนึ่ง ที่หน่วยจะต้องจัดทำขึ้น เพื่อกำหนดผลของ
พื้นที่ปฏิบัติการ ที่จะมีต่อการปฏิบัติการทางทหารของทั้งฝ่ายตรงข้ามและฝ่ายเราแบบฟอร์มของการวิเคราะห์พื้นที่
ปฏิบัติการ ประกอบด้วยหัวข้อใหญ่ๆ 4 หัวข้อ คือ
• ความมุ่งหมายและข้อจำกัด
• ลักษณะทั่วไปของพื้นที่
• ลักษณะพื้นที่ทางทหาร
• ผลของพื้นที่ปฏิบัติการ

• การกระจายข่าวกรอง
1) ลำดับความเร่งด่วนในการพิจารณากระจายข่าวกรองและข่าวสาร
• ต้องให้ถึงมือผู้รับทันเวลา
• หน่วยที่เกี่ยวข้องกับข่าวกรอง และสามารถใช้ข่าวกรองได้เท่านั้นจึงจะกระจายไปได้
• ความสำคัญและลำดับความเร่งด่วนของข่าวที่จะส่งออกไป จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
• เครื่องมือที่กระจายข่าวจะต้องเลือกให้มีการรบกวนจากข่าวสารการยุทธ์อื่นๆ ได้น้อยที่สุด
• แบบฟอร์มต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สะดวกต่อการพิจารณาข่าวสารนั้น
2) วิธีการกระจายข่าวกรอง และข่าวสาร เครื่องมือที่เหมาะสมในการกระจายข่าวอาจประกอบด้วยการประชุม
และบรรยายสรุป, ข่าวสาร (ใช้กระดาษเขียนข่าว สส.6), เอกสาร และรายงานข่าวกรองต่างๆ
• การปฏิบัติการต่อต้านการข่าวกรอง
1) ความมุ่งหมายของการต่อต้านข่าวกรอง เพื่อมุ่งทำลายประสิทธิภาพในการหาข่าวของฝ่ายตรงข้าม รวมถึงการ
ป้องกันข่าวสารของฝ่ายเราจากการจารกรรม ป้องกันบุคคลจากฝ่ายบ่อนทำลาย ป้องกันสถานที่จากการก่อ
วินาศกรรมและป้องกันระบบการติดต่อสื่อสารของฝ่ายเราจากการถูกดักฟัง
2) มาตรการต่อต้านข่าวกรอง ตามธรรมดาจะแบ่งออกเป็นมาตรการหลักๆ 2 ประเภท คือ มาตรการต่อต้าน
ข่าวกรองเชิงรุก และมาตรการต่อต้านข่าวกรองเชิงรับ
• มาตรการต่อต้านข่าวกรองเชิงรุก ได้แก่ การต่อต้านการลาดตระเวน การต่อต้านการจารกรรม
การต่อต้านการก่อวินาศกรรม และการขัดขวางการหาข่าวของฝ่ายตรงข้าม

การข่าวกรองและการต่อต้านข่าวกรอง 3 - 
• มาตรการต่อต้านข่าวกรองเชิงรับ ได้แก่ วินัยในการรักษาความลับ การป้องกันบุคคล เอกสารและสถานที่
การควบคุมการเคลื่อนย้าย การตรวจข่าว การพราง และการป้องกันโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
2. การติดต่อสื่อสาร
• หลักนิยมการสื่อสารทางยุทธวิธี ความรับผิดชอบในการวางและซ่อมบำรุงการสื่อสารระหว่างหน่วย มี
หลักการดังนี้
1) หน่วยเหนือ หน่วยที่ใหญ่กว่าจะต้องรับผิดชอบในการวางและซ่อมบำรุงการสื่อสาร ไปยังหน่วยรอง
หรือหน่วยที่ต่ำกว่า และให้ถือว่าหน่วยขึ้นสมทบเป็นเสมือนหน่วยรอง
2) หน่วยให้การสนับสนุน รับผิดชอบในการวางและซ่อมบำรุงการสื่อสารที่วางไปยังหน่วยรับการสนับสนุน
3) หน่วยเพิ่มเติมกำลัง รับผิดชอบในการวางและซ่อมบำรุงการสื่อสารที่วางไปยังหน่วยที่ได้รับการเพิ่มเติม
กำลัง
4) หน่วยที่อยู่ทางซ้าย รับผิดชอบในการวางและซ่อมบำรุงการสื่อสารที่วางไปยังหน่วยที่อยู่ทางขวา
• การสื่อสารทางยุทธวิธีของหน่วยระดับต่างๆ
1) การสื่อสารทางยุทธวิธีระดับกองร้อย การสื่อสารมักใช้ในระยะใกล้และการใช้พูดโต้ตอบสั้นๆ โดยทั่วไป
การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ

ไม่ต้องบันทึกการสื่อสาร การสื่อสารใช้วิทยุข่ายบังคับบัญชาแบบความถี่สูงมากปรุงคลื่นทางความถี่ชนิดติดหลังและ
ติดบนรถยนต์และข่ายโทรศัพท์สนามเป็นหลัก
2) การสื่อสารทางยุทธวิธีระดับกองพัน มีความต้องการสื่อสารกว้างขวางกว่ากองร้อย เครื่องมือสื่อสาร
หลักได้แก่ วิทยุ แต่มีระยะการสื่อสารยาวกว่า กองพันใช้วิทยุความถี่สูงมากปรุงคลื่นทางความถี่ในข่ายบังคับบัญชา
และข่ายส่งกำลังบำรุง และใช้วิทยุโทรพิมพ์ความถี่สูงหรือวิทยุความถี่ปรุงคลื่นแบบแถบความถี่ด้านเดียว เข้าข่ายกับ
หน่วยเหนือ รวมทั้งจัดตั้งวงจรทางสายไปยังหน่วยรองต่างๆ และจัดให้มีการนำสารใช้ในระยะใกล้
• ข่าวทางทหาร อาจเป็นข้อความธรรมดาหรือข้อความที่เข้าอักษรลับ การเขียนข่าวทางทหารมีหลักอยู่
3 ประการคือ สมบูรณ์ กะทัดรัด ชัดเจน
ความสมบูรณ์ คือ หัวเรื่องและท้ายเรื่องมีข้อความครบถ้วน เพื่อเจ้าหน้าที่สื่อสารสามารถดำเนินกรรมวิธีได้ตัว
เรื่องมีรายละเอียดครบถ้วนเพื่อผู้รับสามารถปฏิบัติได้
กะทัดรัด คือ ไม่ยาวเกินกว่า 1 หน้ากระดาษที่ใช้เขียนข่าว หากไม่จำเป็น, ใช้คำย่อตามที่ทางราชการกำหนด,
ไม่ใช้สำนวนหรือเป็นพรรณนาโวหาร และไม่ใช้คำที่มีความหมายซ้ำซ้อน
ชัดเจน คือ ตอบคำถามได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด และทำไม, ใช้ข้อความง่ายๆ ตีความหมายได้
อย่างเดียว, แบ่งวรรคตอนถูกต้อง, ผู้รับสามารถปฏิบัติได้โดยไม่ต้องตีความหรือขอคำชี้แจงเพิ่มเติม และการใช้คำย่อ
ต้องมั่นใจว่าผู้รับสามารถเข้าใจได้ถูกต้องตรงกัน
• กระดาษเขียนข่าว ของ ทบ.ไทย มี 2 แบบคือ
1) สส.6 (ทบ. 463-007) ใช้ในระดับกองพล 1 ชุดมี 4 แผ่น
2) สส.7 (ทบ. 463-008) ใช้ในระดับกรมลงมา 1 ชุดมี 3 แผ่น มีขนาดเล็กกว่า สส.6
การสนับสนุนการช่วยรบ
ความหมาย การสนับสนุนการช่วยรบ หมายถึง การปฏิบัติการที่กระทำเพื่อให้การรบ และการสนับสนุนการรบ
ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลาอันยาวนาน การสนับสนุนการช่วยรบมีกิจกรรมหลักอยู่ 3 กิจกรรม คือ
การส่งกำลังบำรุง (Logistics) การกำลังพล (Personnel) และการกิจการพลเรือน (Civil affairs) นอกเหนือจากกิจกรรม
หลักดังกล่าวแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนทางการช่วยรบอีกหลายกิจกรรมได้แก่ การจัดดิน
แดน การจัดหน่วยสนับสนุนการช่วยรบ การพิทักษ์พื้นที่ส่วนหลัง การติดต่อสื่อสารสำหรับการช่วยรบ การวางแผน
สำหรับการช่วยรบ
แนวความคิดในการสนับสนุนการช่วยรบ
1) สนับสนุนไปข้างหน้า
2) วางแผนอย่างต่อเนื่อง
3) ประหยัดในการปฏิบัติ
4) ใช้ รปจ. ให้มากที่สุด
3 -  การติดต่อสื่อสาร
5) การปฏิบัติแบบรวมการ และแยกการ
6) ใช้วิธีการแจกจ่ายด้วยการส่งไปข้างหน้าให้มากที่สุด
7.) ใช้แหล่งทรัพยากรในท้องถิ่นให้มากที่สุด
1. การส่งกำลังบำรุงในสนามของหน่วยทหารช่างสนาม
• ความมุ่งหมาย
เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการส่งกำลังบำรุงซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของงานการช่วยรบ
วัตถุประสงค์ก็คือ การจัดให้มีสิ่งอุปกรณ์อย่างพอเพียงให้แก่ส่วนกำลังรบได้ทันเวลาซึ่งประกอบด้วยการส่งกำลังบำรุง
การขนส่ง การรักษาพยาบาล การส่งกลับ และการบริการอื่นๆ การส่งกำลังในสนาม คือ การดำเนินการเกี่ยวกับ
ความต้องการ การจัดหา การเก็บรักษา การแจกจ่าย การซ่อมบำรุง การจำหน่าย
• ความรับผิดชอบ
1) ผบ.หน่วยทุกระดับรับผิดชอบกิจการส่งกำลังบำรุงภายในหน่วยของตน
2) ผบ.ร้อย, นายสิบส่งกำลังและนายสิบสูทกรรมรับผิดชอบดำเนินการปฏิบัติให้กิจการส่งกำลังบำรุงของ
หน่วยให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ
• การส่งกำลังบำรุง
1) สอดคล้องกับทางยุทธวิธี
2) แผนการส่งกำลังบำรุงต้องง่าย
3) อ่อนตัวและคล่องตัวในการเคลื่อนที่
4) ปฏิบัติการจากข้างหลังไปข้างหน้าเพื่อแบ่งเบาภาระทางธุรการของหน่วย
5) เพียงพอตรงตามที่ต้องการทันเวลา ณ ตำบลที่กำหนด
• การรายงาน
1) กองร้อยรายงานความต้องการไปยังกองพัน
2) กองพันรวบรวมความต้องการไปยังหน่วยเหนือ และดำเนินการให้ได้มาซึ่งความต้องการของหน่วย
• การจัดตั้งตำบลส่งกำลัง
กองร้อยและกองพันเมื่อเข้าพื้นที่ปฏิบัติการแล้ว ต้องพิจารณาจัดตั้งตำบลจ่าย สป. ต่างๆ ในขบวนสัมภาระ ซึ่ง
ประกอบด้วยตำบลต่างๆ ดังนี้
1) ตำบลจ่าย สป. 1
2) ตำบลจ่าย สป. 2 และ 4
3) ตำบลจ่าย สป. 3
• การส่งกำลัง
สิ่งอุปกรณ์ คือ สิ่งของทั้งมวลที่จำเป็นต้องจัดไว้ประจำหน่วยทหารเพื่อการปฏิบัติการประกอบยุทธภัณฑ์และ
การซ่อมบำรุง โดยจะมีการแบ่งประเภทสิ่งอุปกรณ์เพื่อความสะดวกในการส่งกำลังและการดำเนินการทางธุรการของ
หน่วยทหารตามลักษณะการใช้งานทั่วไป ออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1) สิ่งอุปกรณ์ประเภท 1
• สิ่งอุปกรณ์ประเภท 1 หมายถึง : เสบียงสำหรับคน และ เสบียงสำหรับสัตว์ ในอัตราที่กำหนดไว้
ตายตัวเป็นรายวัน โดยไม่คำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพการรบหรือลักษณะภูมิประเทศของท้องถิ่น และไม่
เปลี่ยนแปลงเพื่อสนองความต้องการของบุคคล โดยจะแบ่งย่อยออกเป็น 5 ประเภท
เสบียงประเภท ก : อาหารสดและอาหารแห้งทุกชนิด ซึ่งใช้บริโภคประจำวันตามรายการอาหาร
ก่อนรับประทานต้องทำการหุงต้มเสียก่อน
เสบียงประเภท ข : อาหารที่บรรจุกระป๋องหรือภาชนะอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกัน สามารถเก็บ
รักษาไว้ได้นานในอุณหภูมิปกติ ก่อนรับประทานต้องประกอบหรือปรุงเล็กน้อย
เสบียงประเภท ค : อาหารสำเร็จรูปจ่ายเป็นชุดใช้รับประทานได้ทันที โดยไม่ต้องทำการหุงต้มใดๆ
เสบียงประเภท ง : อาหารที่ย่อยง่ายใช้เป็นอาหารสำหรับคนไข้

การส่งกำลังบำรุงในสนาม 3 - 
เสบียงพิเศษ : เสบียงสำหรับแจกจ่ายให้หน่วยต่างๆ ที่ปฏิบัติการรบพิเศษหรือเสบียงอื่นใดที่
ทบ. ให้การสนับสนุน โดยไม่ต้องใช้เงินค่าเสบียงสนาม หรือเงินค่าเลี้ยงดูสนาม
• เสบียงสำรอง หมายถึง เสบียงประเภทต่างๆที่ ทบ.กำหนดให้สะสม เพื่อให้การส่งกำลัง สป. 1 เป็นไปโดย
สม่ำเสมอ
• หน่วยประกอบเลี้ยง หมายถึง หน่วยทหารที่เบิกรับอาหารมาประกอบเลี้ยงทหารในหน่วยของตน
• ตำบลจ่าย สป. 1 หมายถึง ตำบลที่รับและจ่าย สป. 1 เพื่อสนับสนุนหน่วยประกอบเลี้ยง ในพื้นที่
รับผิดชอบของหน่วยระดับกองพล
• วันส่งกำลัง หมายถึง จำนวน สป.1 ซึ่งประมาณว่าจะต้องใช้สิ้นเปลืองใน 1 วัน โดยอาศัยสถานการณ์
และกำลังพลเป็นมูลฐาน
• สป. 1 ตามอัตราพิกัด
กองพันให้สะสมเสบียง ข. ได้ 1 วัน และเสบียง ค. ได้อีก 1 วัน รวม 2 วัน และเชื้อเพลิง 1 วัน กองร้อยให้
สะสมเสบียง ค. ได้ 1 วัน
• ประมาณการ วันส่งกำลัง สป. 1 ต่อกำลังพล 100 คน ให้ถือเกณฑ์ปฏิบัติดังนี้
การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ

1) เสบียง ก.

ลำดับ รายการ หน่วยนับ จำนวน หมายเหตุ


1. ข้าวสาร กก. 100
2. เนื้อสัตว์,ปลา,ไข่ กก. 25
3. ผัก,ผลไม้ กก. 60
4. น้ำมันพืช กก. 6
5. พริกแห้ง กก. 1
6. กะปิ กก. 2
7. กระเทียม กก. 2
8. น้ำปลา กก. 10
9. น้ำตาล กก. 2
10. เกลือ กก. 1
รวม 209
2) เสบียง ข.
ลำดับ รายการ หน่วยนับ จำนวน น้ำหนัก (กก.) หมายเหตุ
1. อาหารกระป๋อง กระป๋อง 300 54
2. ข้าวสาร กก. 100 101
รวม 155
3) เสบียง ค.
ลำดับ รายการ หน่วยนับ จำนวน น้ำหนัก (กก.) หมายเหตุ
1. อาหารสำเร็จรูปบรรจุภาชนะ ชุด 100 80

รวม 80
4) เสบียง ง. - ให้กรมแพทย์ทหารบก กำหนดเกณฑ์สิ้นเปลืองแต่ละรายการตามความจำเป็น
5) แก๊สหุงต้ม - 10 กก.

3 -  การส่งกำลังบำรุงในสนาม
• การเบิก

เรื่อง เสบียง ก. เสบียง ข. เสบียง ค. เสบียง ง.


เกณฑ์การเบิก - ให้ถือยอดกำลังพลเป็นเกณฑ์เบิกโดยไม่ต้องแสดงราย - ให้ทำการเบิกทดแทน ตามจำนวนที่ใช้ไปจริง - จำนวนเบิกแต่ละรายการ
การและจำนวน = อัตราความสิ้นเปลือง X ยอด
กำลังพลที่ได้รับการสนับสนุน
วงรอบในการเบิก - ถือว่าต้องใช้บริโภคสิ้นเปลืองเป็นประจำวัน - เมื่อใช้หมดไปแล้วตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ให้เบิกทดแทนทันที - ให้เบิกเป็นครั้งคราวตามความ
จึงให้ทำการเบิกทุกวัน จำเป็น
ทางเดินใบเบิก - กองร้อย ทำใบเบิกตามแบบพิมพ์ ทบ. 465- 1 กองร้อย ทำใบเบิกตามแบบพิมพ์ ทบ. 465-564 จำนวน - ให้สถานพยาบาลที่ได้รับอนุมัติ
563 จำนวน 2 ฉบับ เก็บไว้เป็นสำเนา 1 ฉบับ 2 ฉบับ เก็บไว้เป็นสำเนา 1 ฉบับ และเสนอตัวจริงไปยัง ทำการเบิกได้โดยแสดงรายการและ
และเสนอตัวจริงไปยัง กองบังคับการกองพัน 1 ฉบับ กองบังคับการกองพัน 2 ฉบับ โดยให้ ผบ.ร้อย หรือเจ้าหน้าที่ จำนวนโดยใช้แบบพิมพ์
โดยให้ ผบ.ร้อย หรือเจ้าหน้าที่ส่งกำลังเป็นผู้ลงนามใน ส่งกำลังเป็นผู้ลงนามในใบเบิก ทบ. 465-564
ใบเบิก 3 กองพัน เมื่อได้รับใบเบิกเสบียง ข. และ ค. จากกองร้อยแล้ว
- กองพัน รวบรวมใบเบิกของทุกหน่วยภายในกองพัน ให้จ่ายเสบียงตามอัตราพิกัดทันที แล้วรีบเบิกทดแทนไปยังกองพล
แล้วสรุปยอดเป็นใบเบิกของกองพันจำนวน 2 ฉบับ โดยให้ ฝอ.4 เป็นผู้ลงนามในใบเบิก
เก็บไว้เป็นสำเนา 1 ฉบับ และเสนอตัวจริงไปยังกองพล
1 ฉบับ โดยให้ ฝอ.4 เป็นผู้ลงนามในใบเบิก
การแจกจ่าย - มี 2 วิธี คือ แจกจ่ายถึงหน่วยและแจกจ่าย ณ ตำบลส่งกำลัง
เสบียงและวิธีการ - ถือว่าเป็นเสบียงหลักสำหรับใช้ในสถานการณ์ขั้นการ - ถือว่าเป็นเสบียงหลักสำหรับ - ใช้ในเมื่อไม่สามารถเก็บครัว - จัดขึ้นใช้เป็นอาหารสำหรับผู้ป่วย
เลี้ยงดู ยุทธ์ที่ไม่มีการเคลื่อนย้ายและโอกาสอำนวยให้สามารถ ใช้ในการรบ เสบียงประเภทนี้มี เลีย้ งรวมได้
ทำการหุงต้มได้ ความมุ่งหมายเพื่อใช้แทนเสบียง
ก. ในเมื่อไม่มีสิ่งอำนวยความ
สะดวกในการเก็บเย็น

การส่งกำลังบำรุงในสนาม 3 - 
การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ
1) สิ่งอุปกรณ์ประเภท 2 และ 4
• ให้ช่างของหน่วยทำการถอดชิ้นส่วนออกทำความสะอาด ผูกป้ายประจำสิ่งอุปกรณ์ (ทบ. 400-010) จาก
นั้นแจ้งให้นายสิบส่งกำลังกองร้อยทราบและทำการส่งคืนและเบิกต่อไปยังกองพัน
• นายสิบส่งกำลังกองพันตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐาน และตรวจสอบชิ้นส่วนตามอัตราพิกัดของ
หน่วย ถ้ามีให้นำเสนอขออนุมัติจ่ายโดยทันทีและทำการเบิกทดแทนไปยังกองร้อยที่ให้การสนับสนุนการซ่อมบำรุง
เพื่อขอรับ สป. ต่อไป
• การเบิกแบตเตอรี่แห้งสายสื่อสาร ให้นายสิบส่งกำลังกองพัน ทำการเบิกเดือนละ 1 ครั้ง
2) สิ่งอุปกรณ์ประเภท 3
• เครดิต สป. 3 ของหน่วย ทภ.1 จะเป็นผู้กำหนดให้ทั้งสิ้น เช่น น้ำมันเตรียมพร้อม, น้ำมันธุรการ
• การเบิก หน่วยวางใบเบิก ( ทบ. 400-006 ) มาที่สำนักงานส่งกำลังของกองพลโดยตรง
• การแจกจ่าย ให้หน่วยมารับ ณ ตำบลจ่าย สป. 3 ของกองพล
3) สิ่งอุปกรณ์ประเภท 5
• การเบิก หน่วยใช้กระสุนมูลฐานไปประมาณ 1 ใน 3 ให้ทำการเบิกทดแทน โดยใช้ใบเบิกกระสุน (ทบ. 468
การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ

-512 ) ไปยังกองพล จากนั้น ไปรับ ณ ตำบลจ่าย สป. 5 ของกองพล


• การรับ สป. 5 ให้นายทหารสัญญาบัตรพร้อมกับกำลังพลติดอาวุธประจำกายไปคุ้มกันด้วยตามความ
เหมาะสม
5) สิ่งอุปกรณ์ประเภทเบ็ดเตล็ด
• น้ำ ตามธรรมดาแล้ว กองพันทหารช่างสนามของกองพล จัดตั้งตำบลจ่ายน้ำประปาขึ้นในพื้นที่ขบวน
สัมภาระของกรม กรมละ 1 แห่ง และแจกจ่ายให้แก่หน่วยต่างๆ ของกองพลและหน่วยขึ้นสมทบ ณ ตำบล จ่ายน้ำ
• แผนที่ พัน.ช.พล.จะรับแผนที่จำนวนมากๆ สำหรับกองพล จากคลังแผนที่ของกองทัพ แล้วทำการจ่ายให้
กับหน่วยต่าง ๆ ของกองพล และหน่วยขึ้นสมทบทั้งยังเก็บรักษาแผนที่สำรองของกองพลไว้ด้วย หน่วยใช้เสนอความ
ต้องการแผนที่ไปยัง ผบ.ช.พล.ซึ่ง ผบ.ช.พล.จะคำนวณความต้องการแผนที่ภายใต้การกำกับดูแลของ สธ.2 กองพล
การแจกจ่ายแผนที่ ในกองพล ให้ปฏิบัติตามลำดับความเร่งด่วนตามที่ สธ.2 กองพล กำหนด
• สิ่งอุปกรณ์สายสารบรรณ กองร้อยกองบัญชาการกองพล (ร้อย บก.พล.) รับผิดชอบในการกำหนดความ
ต้องการ เบิก รับเก็บรักษา และแจกจ่ายบรรดาสิ่งพิมพ์ทางการ เช่น คู่มือราชการสนาม คู่มือทางเทคนิค แบบฟอร์ม
และสิ่งพิมพ์อื่นๆ ให้แก่หน่วยต่างๆ ของกองพล หน่วยต่างๆ ระดับกองพัน เสนอใบเบิกผ่าน ร้อย บก.พล. ซึ่ง
ร้อย บก.พล.จะสรุปใบเบิกเสนอไปยังคลังสิ่งพิมพ์ของกองทัพที่ให้การสนับสนุน

3 -  การส่งกำลังบำรุงในสนาม
ตารางสรุปการส่งกำลัง สป. ทั้ง 5 ประเภท (แบบสายยุทธบริการ)

เรื่อง สป.1 สป.2 และ 4 สป.3 สป.5


ความต้องการมีมูลฐาน การใช้หมดไปประจำวันตามที่ ตามแต่จะต้องการ ตามแต่จะต้องการ โดยขึ้น ความต้องการสำหรับ การยุทธ โดย
จาก ประมาณการ อยู่กับจำนวนยานพาหนะ,แบบ อาศัยการแบ่งให้แก่กองพลในรูป
การยุทธ์,ภูมิประเทศ,ลมฟ้า อัตรากระสุนที่ใช้ได้เป็นมูลฐาน
อากาศ
แบบใบเบิกของหน่วย ใบเบิกเสบียงประจำ วันส่งไป ใบเบิกอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็น ถังน้ำมันเบนซินเปล่าๆ และ/ คำสั่งการขนย้ายของหน่วย
ยังกรมหรือผ่านกองพัพภาค ทางการแลกเปลี่ยนยุทธภัณฑ์ที่ใช้งาน หรือเติมไว้เต็มถังน้ำมัน
ไม่ได้กับที่ใช้การได ประจำรถ

ใบเบิกเสนอไปให้ผู้ใด พลาธิการกองพล สายยุทธบริการที่รับผิดชอบสป.รายการ กอง พธ.กองพล (ตจ.สป3 นายทหารการกระสุนของกองพล ณ


ในกองพล ที่ขอเบิกนั้น(ถ้าเป็น สป.รายการที่ต้อง กองพล) สำนักงานกระสุนของกองพล
ควบคุมหรือรายการที่ผบ.ควบคุมต้อง
เสนอใบเบิกผ่านสายบังคับบัญชา)
การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ รวบรวมใบเบิกของหน่วย รวบรวม หรือส่งใบเบิกของหน่วยต่อไป ส่งถังน้ำมันเบนซินเปล่าๆ ลงนามรับรองคำสั่งการขย้ายทั้งหมด
กองพล หรือหายอดกำลังพลจากฝ่าย ไปยังกองทัพภาค ของหน่วยใช้ต่างๆ
สบ.กองพล.หรือ
แผนกกำลังพลของหน่วยต่างๆ
ส่วนหลังของกองพล
แบบใบเบิกจากกองพล ใบเบิกเสบียงประจำวัน ใบเบิกอย่างเป็นทางการ ถังน้ำมันเบนซินเปล่าๆ คำสั่งการขนย้ายของหน่วย
ไปยังกองทัพภาค ไปยังกองทัพ
รับสิ่งอุปกรณ์จากสถาน ตส. สป.1 คลังหรือ ตส.สป.2 และ4 ของ กองทัพ ตส.สป.3 ตส.สป.ของกองทัพภาค
ที่ตั้งกองทัพภาค ของสายยุทธบริการซึ่งมีความรับผิดชอบ
ในการส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์รายการที่ขอ
เบิกนั้น

การส่งกำลังบำรุงในสนาม 3 - 
การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ
การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ

เรื่อง สป.1 สป.2 และ 4 สป.3 สป.5


รับจากกองทัพภาคไปให้ กองพลาธิการกองพล พลาธิการกองพลจะจัดยานพาหนะ ในการ กองพลาธิการกองพล แต่ละหน่วยใช้ยานพาหนะของตนเอง
กองพล โดย ขนส่งอุปกรณ์ สาย วศ., สส., และไปรับจาก ตส.สป.5 ของ ทภ.
พ.เมื่อมีปริมาณเกินขีดความสามารถ ของ
หน่วยเหล่านั้น ส่วนสาย ช. และสาย สพ.ใช้
ยานพาหนะตนเอง
สถานที่ตั้งของกองพล ตจ.สป.1 ของกองพลหรือ สาย วศ.จากกองพลาธิการกองพล สาย พธ., ตจ.สป.3 ของกองพล, ไม่มีในระดับกองพล
ซึ่งหน่วยต่างๆ รับสิ่งอุปกรณ์ พลาธิการกองพลอาจส่งมอบ สาย สส., จาก พบ.ส. , สาย พ. จากร้อย บก. หน่วยใช้น้ำมันจำนวนมากๆ

3 - 10 การส่งกำลังบำรุงในสนาม
ให้แก่หน่วยก็ได้ พัน.สร.พล, สาย ช. จากร้อย บก.และบร.พันช (กองพันรถถัง) อาจรับตรงจาก
.พล.จากตำบลจ่ายสาย ช.ของกองพล ,สาย ตส.สป.3 จากกองทัพภาคก็ได้
สพ.จากกอง สพบ.กองพล

ห้วงเวลาที่กองพลรับส่ง ประจำวัน ตามห้วงเวลาที่กำหนดไว ตามแต่ต้องการ ตามแต่จะต้องการ


อุปกรณ์
อัตรามูลฐานที่กองพลนำ กองพลทหารราบ 1 วัน มีรายการที่ใช้หมดเร็วอยู่เป็นจำนวนเล็กน้อย อัตรามูลฐานจำนวนน้อย พอ ณ ระดับกองพลไม่มี หน่วยต่าง ๆ
ติดหน่วยไปด้วย ให้หน่วยต่าง ๆ ของกองพล คงรักษาระดับให้มีอัตรากระสุนมูลฐาน
สามารถรับได้จากกองพล ของตน
โดยด่วน (พล.ร. 15,000
แกลลอน)
หมายเหตุ ง่ายแก่การกำหนดความต้อง ยากแก่การกำหนดความต้องการ, ง่ายแก่การกำหนดความต้อง ง่ายแก่การกำหนดความต้องการ
การ, มีรายการ 3 อย่างง่าย มีอยู่มากมายหลายรายการ, สายสพ.เกินกว่า การ ใช้เกณฑ์ที่ได้จาก ใช้เกณฑ์ที่ได้จากประสบการณ์ต่างๆ
แก่การควบคุมสิ่งอุปกรณ์, 300,000 รายการ ยากแก่การควบคุม สป. ประสบการณ์ต่างๆ, มี สำหรับแต่ละแบบการยุทธ์, มี 2 – 3
กรมและกองพันอิสระต่าง ๆ หน่วยต่างๆ และสายยุทธบริการ ต่างๆ 2-3 รายการ,การควบคุม รายการ, การควบคุม สป.เป็นปัญหา
รวบรวมคำขอ, ปัญหาเกี่ยวกับ ของกองพลมีอัตราพิกัดของชิ้นส่วนซ่อมนำ สป. ส่วนใหญ่ เรื่องน้ำหนัก, หน่วยต่างๆ มาเพื่อเพิ่ม
การเก็บเสบียงที่เสียง่าย ติดหน่วยไปด้วย เป็นปัญหาเรื่องน้ำหนัก เติมให้เต็มอัตรากระสุนมูลฐาน, อาจรับ
มาตามการใช้ที่คาดหมายไว้ก็ได้
• การซ่อมบำรุง
1) การดำเนินการซ่อมบำรุง
• การซ่อมบำรุงในสนาม ต้องจำกัดให้มีน้อยที่สุดด้วยการจัดเตรียมยุทโธปกรณ์ที่ใช้ราชการได้เท่านั้นไป
ปฏิบัติภารกิจ
• การซ่อมบำรุงขั้นประจำหน่วยจะต้องดำเนินการ ณ ที่ตั้งหน่วยให้ได้มากที่สุด
• กองร้อยต้องทำการปรนนิบัติบำรุงตามระยะเวลา
• หากเกินขีดความสามารถหรือระยะเวลาในการซ่อมบำรุงให้รายงานขอเสนอส่งซ่อมต่อหน่วยสนับสนุน
โดยตรง
2) การปฏิบัติเมื่อยุทโธปกรณ์ชำรุดหรืองดใช้การ
• ให้กองร้อยที่รับผิดชอบยุทโธปกรณ์นั้นๆ รายงานตามสายการบังคับบัญชาจนถึงผู้มีอำนาจอนุมัติซ่อม
บำรุงคือ ผบ.หน่วย หรือผู้ทำการแทนและ ฝอ.4 ของหน่วย
• ผู้มีอำนาจอนุมัติซ่อมจะต้องอนุมัติภายใน 24 ชั่วโมง และห้ามใช้ยุทโธปกรณ์นั้นต่อไปจนกว่าจะได้รับ
การซ่อมบำรุงเป็นที่เรียบร้อย

การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ
3) การปฏิบัติการซ่อมบำรุงของหน่วย
• ยุทโธปกรณ์ชำรุดตามสภาพ
เมื่อยุทโธปกรณ์ชำรุดตามสภาพการใช้งานต้องอนุมัติให้มีการซ่อมทันที โดยใช้ชิ้นส่วน ซ่อมตามอัตราพิกัดของ
หน่วย หรือถ้าหากไม่มีให้ทำการถอดของที่ชำรุดนำส่งหมู่ส่งกำลังหมู่ส่งกำลังรวบรวมชิ้นส่วนพร้อมวางใบเบิกไปยัง
กองพล
• ยุทโธปกรณ์ชำรุดผิดปกติ
เมื่อยุทโธปกรณ์ชำรุดผิดปกติหรือสูญหาย ให้ ผบ.หน่วย ทำการจัดตั้งกรรมการสอบสวนสาเหตุการชำรุดหรือ
สูญหายนั้นทันทีหมู่ส่งกำลังแนบสำเนารายงานผลการสอบสวน พร้อมกับใบส่งคืนและใบเบิก หรือใบส่งซ่อม ส่งไป
ยังกองพลเพื่อทำการส่งซ่อมหรือทำการเบิกทดแทนแล้วแต่กรณี
4) หลักฐานการนำยุทโธปกรณ์ส่งซ่อม
• ใบส่งซ่อมและสั่งงาน (ทบ.468-311)
• ซองประวัติยุทธภัณฑ์ (ทบ.468-378) พร้อมกับสมุดประวัติ
• สำเนาสรุปรายงานผลการสอบสวนของหน่วย (ถ้ามี)
• การพยาบาลและการส่งกลับ
1) กองพันและกองร้อยจัดตั้งที่ปฐมพยาบาลขั้นต้น
2) การส่งกลับผู้ป่วยเจ็บจากพื้นที่ปฐมพยาบาลขั้นต้นซึ่งอยู่หน้าสุดมายังที่ปฐมพยาบาลกองพันให้ใช้ยานยนต์
3) เมื่อภูมิประเทศและสถานการณ์ทางยุทธวิธีบังคับให้ทำการส่งกลับโดยการเดินเท้าไปยังที่ปฐมพยาบาล
กองร้อยและส่งกลับทางยานยนต์ไปที่ปฐมพยาบาลกองพัน
4) การขอการส่งกลับทางอากาศให้กระทำเมื่อจำเป็นเท่านั้น
• การขนส่ง
1) ให้ยานยนต์ทุกคันพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการขนส่งได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2) ยานยนต์ทุกคันต้องมีผู้ควบคุมและการเคลื่อนย้ายเป็นขบวนต้องมีนายทหารสัญญาบัตร
ควบคุมรถขบวน
3) ระยะต่อบนถนน 100 ม./คัน ในภูมิประเทศ 50 ม./คัน
4) ให้ดับไฟเมื่อถึงแนวห้ามแสง
5) ให้ปฏิบัติตามกฎจราจรทางบกโดยเคร่งครัด
6) เมื่อจอดบนเส้นทางให้จอดชิดขอบทางให้มาก และในเวลากลางคืนเปิดสัญญาณไฟด้วย

การส่งกำลังบำรุงในสนาม 3 - 11
หลักการจัดขบวนสัมภาระของหน่วย
• ความมุ่งหมาย
เพื่อให้การปฏิบัติขบวนสัมภาระทั้งขบวนสัมภาระรบ และขบวนสัมภาระพักเป็นไปโดยถูกต้อง ไม่สับสนและ
สามารถให้การสนับสนุนหน่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผล
• ความรับผิดชอบ
1) ฝอ.4 รับผิดชอบในเรื่องการปฏิบัติ ณ ขบวนสัมภาระรบ
2) ผบ.ร้อย บก. ช่วยเหลือ ฝอ.4 รับผิดชอบต่อขบวนสัมภาระพัก
• ขบวนสัมภาระแบ่งเป็น
1) ขบวนสัมภาระของหน่วย (ผบ.หน่วย รับผิดชอบ)
2) ขบวนสัมภาระรบ (ฝอ.4 เป็นผู้ควบคุมและเลือกที่ตั้ง)
3) ขบวนสัมภาระพัก (ผบ.ร้อย บก. ช่วยเหลือ ฝอ.4 โดยการควบคุมและเลือกที่ตั้งโดยประสานกับ ฝกบ.
กองพล)
• ในแต่ละขบวนสัมภาระจะมีสิ่งอุปกรณ์ต่างๆ บรรทุกอยู่ เพื่อให้การสนับสนุนแก่หน่วยในระหว่างการรบ โดยมี
การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ

สิ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการรบไว้เป็นส่วนหนึ่งที่ขบวนสัมภาระรบ และสิ่งอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็น ต่อการรบรวมทั้งครัวไว้


เป็นขบวนสัมภาระพัก
1) ขบวนสัมภาระรบ จะประกอบด้วยยานพาหนะ และ จนท. ต่างๆ ดังนี้
• รถบรรทุก สป.3
• รถบรรทุก สป.5
• มว.สร.
• หน่วยขึ้นสมทบ
2) ขบวนสัมภาระพักประกอบไปด้วยยานพาหนะ และ จนท.ต่างๆ ดังนี้
• บก.ร้อย บก.
• มว.ซบร.
• รถครัวของชุดสูทกรรมกองร้อย
• รถบรรทุก สป.3 แล้วแต่สถานการณ์และภารกิจ
• รถบรรทุก สป.5
• รถของหน่วยสมทบ เช่น ชุดซ่อม

• คุณลักษณะของการเลือกพื้นที่ตั้งของขบวนสัมภาระมีดังต่อไปนี้
1) สะดวกในการให้การสนับสนุนแก่หน่วยรอง
2) ไม่กีดขวางการปฏิบัติการรบของหน่วย
3) มีพื้นที่กว้างพอที่จะกระจายยานพาหนะ เพื่อมิให้เป็นอันตรายร่วมกัน
4) ซ่อนพรางจากการตรวจการณ์ทั้งทางพื้นดินและทางอากาศของข้าศึก
5) เป็นบริเวณที่พ้นจากการรวมอำนาจการยิงของ ป. เบาของข้าศึก
6) มีพื้นดินแข็งสำหรับเป็นที่จอดยานพาหนะ
7) ไม่มีสิ่งกีดขวางที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งกำลัง เช่น ลำน้ำที่ลุยข้ามไม่ได้
8) เป็นพื้นที่เกื้อกูลต่อการระวังป้องกันการโจมตีของข้าศึกทั้งทางพื้นดินและทางอากาศ
9) มีพื้นที่สำหรับทำสนาม ฮ.และทิ้งของ
10) อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของกรมโดยธรรมดาแล้ว จะอยู่ระยะห่างจากหน้าแนว 6 – 12 กม.
(เข้าตี 6 – 12 กม., ตั้งรับ 9 – 12 กม., ร่นถอย 20 กม. หรือมากกว่านั้น)
11) ใกล้แหล่งน้ำ

3 - 12 หลักการจัดขบวนสัมภาระ
• การปฏิบัติ ณ ขบวนสัมภาระในการปฏิบัติการทางยุทธวิธี
1) การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก
• การปฏิบัติ ณ ขบวนสัมภาระรบ
ฝอ.4 จะต้องจัดให้มีการระวังป้องกันและตำบลจ่ายต่างๆ ต้องอยู่ใกล้เส้นทางในการที่จะให้การ
สนับสนุนแก่หน่วยในแนวหน้า
มว.สร. จะต้องจัดเตรียมพลเปล รวมทั้งแผนการที่จะขอรับการสนับสนุนยานพาหนะในการลำเลียงคน
เจ็บรวมทั้งที่ตั้งการปฐมพยาบาล ซึ่งจะต้องสามารถให้การสนับสนุนหน่วยในแนวหน้า ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง
โดยสอดคล้องกับแผนทางยุทธวิธี
สป.3 และ สป. 4 ฝอ. 4 จะต้องเตรียมให้เพียงพอ ในการสนับสนุนแก่หน่วยในแนวหน้าโดยอาจจะ
ขอรับการสนับสนุนยานพาหนะ เพื่อใช้ในการขนส่งจากหน่วยเหนือหน่วยขึ้นสมทบจะต้องอยู่ในขบวนสัมภาระรบ
และจัดกำลังในการระวังป้องกันด้วย
• การปฏิบัติ ณ ขบวนสัมภาระพัก
คงอยู่ ณ ที่รวมพลก่อนการออกตี การที่จะให้กำลังพลรับประทานอาหารร้อนเป็นสิ่งที่ต้องกระทำเป็น

การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ
อย่างยิ่ง ผบ.ร้อย. บก. ต้องเลือกเส้นทางในการขอรับ สป. เพิ่มเติม จากหน่วยเหนือ โดยเฉพาะ สป.3และสป.5ซึ่ง
จะมีอัตราความสิ้นเปลืองสูง และในการระวังป้องกัน ผบ.ร้อย.บก.ต้องกำกับดูแลให้มีอยู่อย่างสม่ำเสมอ

2) การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ
• การปฏิบัติ ณ ขบวนสัมภาระรบ
ความเร่งด่วนในการใช้ สป.5 มีมากดังนั้นเพื่อให้การสนับสนุนแก่หน่วยรองเป็นไปอย่างต่อเนื่องให้

นายสิบกระสุนทั้ง 3 นาย และพลลำเลียงกระสุนทั้ง 4 นาย มาปฏิบัติงาน ณ ขบวนสัมภาระรบ โดย



จัดตั้งตำบลจ่าย สป.5 ขึ้น
สำหรับ สป.3 นั้น ฝอ.4 จะต้องจัดเตรียมไว้ให้เพียงพอต่อยานพาหนะต่างๆ ในขบวนสัมภาระรบ
และยานพาหนะของกองร้อยที่อยู่ในขบวนสัมภาระรบของกองร้อย
มว.สร. จะต้องเตรียมเส้นทางการส่งกลับทางสายแพทย์ไว้ โดยมีการเตรียมการในเรื่อง หมู่เปล การ
ปฐมพยาบาล และแผนการที่จะลำเลียงผู้ป่วย เจ็บไปยังที่ตั้งทางการปฐมพยาบาลของหน่วยเหนือต่อไป
ยานพาหนะต่างๆ ของกองร้อย บก.จะต้องรวบรวมไว้ในขบวนสัมภาระของกองพัน ในส่วนของ มว.
นั้นหากมิได้ขึ้นสมทบและเข้าที่ตั้งยิงแล้วก็ให้ทำการระวัง ป้องกันขบวนสัมภาระโดย ผบ.ร้อย เป็นผู ้

กำหนดที่ตั้งยิงต่างๆ ให้
หน่วยขึ้นสมทบ เช่น จนท.ซบร.ของ สพ., ชุดซ่อมจาก ร้อย ซบร.สพ.และอื่นๆ จะต้องเตรียมพร้อม
ในการที่ให้การสนับสนุนแก่กองพันได้ทันที
• ขบวนสัมภาระของกองร้อย จะตั้งใกล้ๆ กับ ทก.ร้อย เพื่อให้การสนับสนุน สป. ต่างๆ ที่จำเป็นต่อ
การรบให้กับกองร้อย โดยเฉพาะ สป.5 หมดลง 1 ใน 3 รอง ผบ.ร้อย ซี่งควบคุมขบวนสัมภาระรบจะต้อง

ส่งพลลำเลียงกระสุนซึ่งใช้กำลังพลจาก มว.ต่างๆ ในกองร้อยมาขอรับการสนับสนุน สป.5 จากตำบล

จ่าย สป.5 ณ ขบวนสัมภาระรบของกองพัน โดยมี ส.ช่างอาวุธ เป็นผู้ควบคุมและ รอง ผบ.ร้อย จะ

ต้องนำแผนที่สังเขป รวมทั้งเส้นทางและกำลังพลที่ใช้ลำเลียงกระสุนให้ ฝอ.4 ทราบด้วย
• การปฏิบัติ ณ ขบวนสัมภาระพัน
ผบ.ร้อย.บก.เป็นผู้ช่วย ฝอ.4 ในการควบคุมบังคับบัญชาต่อ จนท.ต่างๆ ที่อยู่ในขบวนสัมภาระพัก ทั้ง
ในเรื่องการปฏิบัติงานเรื่องการระวังป้องกันตนเองและต้องคอยแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ

ของหน่วยในแนวหน้าให้ ฝอ.4 ทราบอย่างต่อเนื่อง


ครัวจะตั้งในพื้นที่ที่ ผบ.ร้อย.บก. เลือกให้โดยจะอยู่ห่างไกลจากเส้นทางซึ่งเป็นเหตุให้เกิดฝุ่นละออง
ต่างๆ จนท. ต่างๆ จะต้องรักษาความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ

หลักการจัดขบวนสัมภาระ 3 - 13
สป.ต่างๆ จะอยู่ในการควบคุมดูแลของ ส.ส่งกำลัง ซึ่งจะคอยช่วยเหลือ ฝอ.4 ในขบวนสัมภาระพัก
ในการแจกจ่ายให้กับหน่วยรอง รวมทั้งให้การสนับสนุนต่อขบวนสัมภาระรบ โดยมีนายสิบน้ำมัน พลจ่าย
น้ำมัน เป็นผู้ช่วยในการจ่าย สป.3 และ ส.ส่งกำลัง จะต้องมีหน้าที่ ส.กระสุนของกองพันอีกตำแหน่งหนึ่ง

3) การปฏิบัติการรบด้วยวิธีร่นถอย
• การปฏิบัติ ณ ขบวนสัมภาระรบ
สป.3 และ สป.5 มีความสำคัญต่อภารกิจมาก แต่การให้การสนับสนุนระหว่างการเคลื่อนย้ายนั้น
กระทำได้ลำบากดังนั้น ฝอ.4 จะต้องแจ้งเวลาที่จะหยุดให้การสนับสนุนกับหน่วยรองทราบ เพื่อที่หน่วย

ของขบวนสัมภาระรบจะได้อยู่ในบริเวณด้านกลางของขบวน
ร้อย บก.จะต้องจัดชุด ลว.คุ้มกันหน้าขบวนและท้ายขบวน โดยประสานกับ มว.ช. มว.สร.จะอยู่ใน

บริเวณท้ายขบวน โดยมี หมู่ ลว.ปิดท้าย เพื่อเตรียมให้การสนับสนุนทางการรักษาพยาบาลแก่หน่วยต่างๆ

ได้หน่วยขึ้นสมทบจะอยู่บริเวณค่อนมาทางด้านท้ายขบวน เพื่อที่จะทำการให้การสนับสนุนหน่วยในการ
ถอนตัว
การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ

การปฏิบัติ ณ ที่มั่นขั้นที่สองจะปฏิบัติเช่นเดียวกับการตั้งรับ

• การปฏิบัติ ณ ขบวนสัมภาระพัก
การถอนตัวของขบวนสัมภาระพักนั้นจะเริ่มกระทำเมื่อ ผบ.พัน ให้คำสั่งแล้วฝอ.4 จะต้องแจ้งเตือนกับ
ผบ.ร้อย บก.ทราบ เพื่อเตรียมเก็บสิ่งอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นบรรทุกไว้บน รยบ. หลังจาก ผบ.พัน. แจ้งภารกิจให้ทราบ

• การแบ่ง พท.ของหน่วยต่าง ๆ ในขบวนสัมภาระและการระวังป้องกันตามแผน

รูปที่ 3-2 ขบวนสัมภาระ

3 - 14 หลักการจัดขบวนสัมภาระ
3) การระวังป้องกัน
• ในขบวนสัมภาระรบ ผบ.ร้อย.บก. จะต้องนำกำลังระวังป้องกันตามแผนในกรณีเกิดเหตุการณ์จำเป็นขึ้น
ผบ.ร้อย.บก.ต้องประสานกับหน่วยขึ้นสมทบในการจัดเวรยาม โดยจัดเป็น 2 พวก คือ เวรสายตรวจ เวรทางเข้า

การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ
รูปที่ 3-3 การระวังป้องกัน
หมายเหตุ การจัดเวรยามในเวลากลางคืน ต้องจัดเวรอยู่เสมอ สำหรับห้วงเวลาที่เข้าเวรนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับจำนวน
กำลังพล
• ในขบวนสัมภาระพัก ผบ.ร้อย.บก.แบ่งมอบเขตรับผิดชอบคร่าว ๆ ให้ จนท.ต่างๆ ที่อยู่ในขบวน
สัมภาระพัก และ จนท.ที่อาวุโสที่สุดในส่วนต่าง ๆ จะเป็นผู้มอบขอบเขตการยิงที่แน่นอนให้กับกำลังพลเพื่อกระทำ
การป้องกันตนเองเมื่อจำเป็น

รูปที่ 3-4 การระวังป้องกันขบวนสัมภาระพัก

หมายเหตุ การจัดเวลาจะต้องมีเวรทางเข้าและเวรสายตรวจ และในเวลากลางคืนต้องเป็นเวรคู่เสมอ

หลักการจัดขบวนสัมภาระ 3 - 15
• การจัดรูปขบวนในการเคลื่อนย้ายของขบวนสัมภาระ
1) ขบวนสัมภาระรบ 2) ขบวนสัมภาระพัก

ผบ.หมู่ ลว. ผบ.ร้อย.บก.

ทก.พัน.และ มว.สส. บก.ร้อย.บก.

ผบ.ร้อย.บก. มว.ซบร. (-)


การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ

ขบวนสัมภาระรบของกองร้อย รถครัว (สูทกรรม)

หน่วยขึ้นสมทบกองร้อย สป.3

รถบรรทุก สป.3 สป.5 (ติด ปก.93)

ช่าง รถของหน่วยสมทบ

รถ มว.สร. หมู่ ลว. รถกู้

หมายเหตุ มว.สร.จะต้องให้ รอง ผบ.มว. สร.อยู่กับ หมายเหตุ มว.ซบร.จะต้องจัดช่างพร้อมเครื่องมือที่


ส่วนทิ้งไว้ปะทะพร้อมพลเปล จำเป็นจำนวนหนึ่งไปกับกองขบวนสัมภาระเมื่อยาน
พาหนะของขบวนสัมภาระขัดข้องขึ้น

3 - 16 หลักการจัดขบวนสัมภาระ
การปฏิบัติการส่งกำลังของหน่วยทหารช่างสนาม

ความสัมพันธ์ทางสาย
เรื่อง หมู่ ช. มว.ช. ร้อย. ช. พัน. ช.
การบังคับบัญชา
การส่งกำลังบำรุง - ในอัตรา - รายงานความ - รายงานความต้องการไปยัง ร้อย ช. - รายงานความต้องการไปยัง - รวบรวมความต้องการไปยังหน่วย
  - บรรจุมอบ ต้องการไปยัง พัน. ช. เหนือ และดำเนินการให้ได้มาซึ่ง
 
- ขึ้นควบคุมทาง มว.ช. - จัดตั้งตำบลจ่าย สป. ต่างๆ ใน ความต้องการของหน่วย
ยุทธการ     ขบวนสัมภาระ ซึ่งประกอบไปด้วย - จัดตั้งตำบลจ่าย สป. ต่างๆ ใน
      1. ตำบลจ่าย สป.1 ขบวนสัมภาระ ซึ่งประกอบไปด้วย
2. ตำบลจ่าย สป.2และ4 1. ตำบลจ่าย สป.1
      3. ตำบลจ่าย สป.3 2. ตำบลจ่าย สป.2และ4
      3. ตำบลจ่าย สป.3
- ขึ้นสมทบ - - รายงานความต้องการไปยังหน่วย - รายงานความต้องการไปยัง -
รับการขึ้นสมทบ(กองพัน) หน่วยรับการขึ้นสมทบ(กรม)
- จัดตั้งตำบลจ่าย สป. ต่างๆ ใน
ขบวนสัมภาระ ซึ่งประกอบไปด้วย
1. ตำบลจ่าย สป.1
2. ตำบลจ่าย สป.2และ4
3. ตำบลจ่าย สป.3

 
หมายเหตุ สิ่งอุปกรณ์ประเภท 5 1. การปฏิบัติการขั้นต้นใช้อัตรามูลฐานของหน่วย
2. รายงานทันทีเมื่อมีการใช้ สป.5 และเบิกทดแทนโดยด่วน
3. เสนอความต้องการอัตราที่ต้องการได้ หากเหตุการณ์กรณีทางด้านยุทธวิธีบีบบังคับ
4. ให้มีการตรวจสอบสถานภาพและรายงานสถานภาพ สป.5 ทุกๆ 15 วัน
5. การเคลื่อนย้ายกำลังพลที่มิได้เกี่ยวกับการรบหรือฝึก ห้ามมิให้นำ สป.5 ติดตัวเป็นอันขาด
6. การปฏิบัติเมื่อมีกระสุนด้านทำเครื่องหมายไว้รายงานทันทีพร้อมหมายเลขชนิด จำนวนและตำบลกระสุนด้าน
7. การขนย้าย สป.5 จำนวนมากต้องกำหนดผู้รับผิดชอบและมีหลักฐานการเบิก-รับ ถูกต้อง

การส่งกำลังของหน่วย ช.สนาม 3 - 17
การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ
การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ

ความสัมพันธ์ทางสาย
เรื่อง หมู่ ช. มว.ช. ร้อย. ช. พัน. ช.
การบังคับบัญชา
การซ่อมบำรุง - ในอัตรา - รวบรวม สป.ชำรุด - รวบรวม สป.ชำรุดนำส่งตำบล - รวบรวม สป.ชำรุดนำส่ง - จัดตั้งตำบลรวบรวม สป.
  - บรรจุมอบ นำส่ง มว.ช. รวบรวม สป. ชำรุดของ ร้อย ช. ตำบล เก็บซ่อมขั้นหน่วย
  - ขึ้นควบคุมทาง      - รวมรวมสป. เก็บซ่อมของ - มว.ซบร.พัน.ช. เป็นผู้ดำเนินการซ่อม
  ยุทธการ     พัน ช. บำรุงยานยนต์ล้อและยานยนต์สายพาน
          ในการซ่อมบำรุงขั้นหน่วย (ขั้นที่ 1)
          - ในการ ซบร.ขั้นหน่วย (ขั้นที่ 2)
          ให้ มว.ซบร.พัน.ช. จัดช่างไปทำการ
          ซ่อม ณ ตำบลยานพาหนะจอดอยู่

3 - 18 การส่งกำลังของหน่วย ช.สนาม
          - เมื่อยานพาหนะชำรุดเกินขั้นหน่วยให้
           พัน ช. ขอรับการสนับสนุนชุดซ่อม
        เคลื่อนที่จากหน่วยสนับสนุนโดยตรง
        - หมู่สื่อสารรับผิดชอบในการส่งกลับ
        เครื่องมือสื่อสารและทำการ ซบร.
         ขั้นหน่วย (เว้นเครื่องมือถอดรหัส
        ต้องส่งไปยังพัน ส. ของกองพล)
         - มว.เสนารักษ์ รับผิดชอบในการ ซบร.
       สป. สายแพทย์ขั้นหน่วยได้อย่างจำกัด
    ในขั้นที่ 1 เช่น การทำความสะอาด
     และการใช้บริการเท่านั้น
 
 
การซ่อมบำรุง - ขึ้นสมทบ - - รวบรวม สป.ชำรุดนำส่งตำบล - รวบรวม สป.ชำรุดนำส่ง -
      รวบรวม สป. เก็บซ่อมของหน่วย ตำบล
  รับการขึ้นสมทบ (กองพัน) รวบรวมสป. เก็บซ่อมของ
  หน่วย
รับการขึ้นสมทบ (กรม)

หมายเหตุ - สิ่งอุปกรณ์ที่ยึดได้ให้ส่งกลับไปยังตำบลควบคุมการซ่อมบำรุงที่ใกล้ที่สุด
 - ผบ.หน่วยทุกระดับจะต้องสอดส่องกำกับดูแล ในการรักษาปรนนิบัติบำรุงยุทโธปกรณ์ในความรับผิดชอบของตนให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้อยู่เสมอ
ความสัมพันธ์ทางสาย
เรื่อง หมู่ ช. มว.ช. ร้อย. ช. พัน. ช.
การบังคับบัญชา
การพยาบาลและ - ในอัตรา - ปฐมพยาบาลขั้นต้น - ส่งกลับผู้ป่วยเจ็บไปยังที่ - จัดตั้งพื้นที่ปฐมพยาบาลของ - จัดตั้งที่ปฐมพยาบาล พัน ช.
การส่งกลับ -บรรจุมอบ ปฐมพยาบาลของ ร้อย ช. โดย ร้อย ช. - ส่งกลับผู้ป่วยเจ็บไปยังที่
-ขึ้นควบคุมทางยุทธการ ใช้รถพยาบาล - ส่งกลับผู้ป่วยเจ็บไปยังที่ ปฐมพยาบาลของกองพล
- เมื่อภูมิประเทศและสถาน ปฐมพยาบาลของพัน ช.
การณ์ทางยุทธวิธีบังคับ ให้ โดยยานยนต์ในทุกสถานการณ์
ทำการส่งกลับโดยใช้วิธีเดินเท้า
ไปยังที่ปฐมพยาบาลของร้อย ช.
- ขึ้นสมทบ - - ส่งกลับผู้ป่วยเจ็บไปยังที่ปฐม - จัดตั้งพื้นที่ปฐมพยาบาลของ -
พยาบาลของหน่วยรับการขึ้น ร้อย ช.
สมทบ (กองพัน) โดยใช้รถ - ส่งกลับผู้ป่วยเจ็บไปยังที่
พยาบาล ปฐมพยาบาลของหน่วย
- เมื่อภูมิประเทศและสถาน รับการขึ้นสมทบ(กองพัน)
การณ์ทางยุทธวิธีบังคับ ให้ทำ โดยยานยนต์ในทุกสถานการณ์
การส่งกลับโดยใช้วิธีเดินเท้าไป
ยังที่ปฐมพยาบาลของหน่วยรับ
การขึ้นสมทบ (กองพัน)

หมายเหตุ - การขอรับการขนส่งทางอากาศให้กระทำเมื่อจำเป็นเท่านั้น

การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ 3- 19
การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ
การสนับสนุนการรบและการช่วยรบ

ความสัมพันธ์ทางสาย
เรื่อง หมู่ ช. มว.ช. ร้อย ช. พัน ช.
การบังคับบัญชา
การทดแทน - ในอัตรา - รายงานการสูญเสีย - รายงานการสูญเสียต่อ - รายงานการสูญเสียต่อ พัน ช. - รายงานการสูญเสียต่อกองพล
กำลังพลและการ - บรรจุมอบ ต่อ มว.ช. ร้อย ช.   (ในการขอเบิกทดแทนกองพล
สูญเสีย - ขึ้นควบคุมทาง     เป็นผู้ดำเนินการเบิกทดแทน
  ยุทธการ     โดยอาศัยจากรายงานสูญเสีย
          ของ พัน ช.)
         
   - ขึ้นสมทบ - - รายงานการสูญเสียต่อหน่วย - รายงานการสูญเสียต่อหน่วยรับ -

3 - 20 การส่งกำลังของหน่วย ช.สนาม
รับการขึ้นสมทบ(กองพัน) การขึ้นสมทบ (กรม)
 
       
       
         
  หมายเหตุ - กำลังพลในเขตหน้า ที่ถูกส่งกลับไปยังโรงพยาบาลในเขตหลังจะต้องตัดยอดออกจากบัญชีได้
  - การสูญหายต้องรายงานด่วนด้วยวาจาให้ ผบ. พัน.ช. ทราบภายใน 24 ชม. กองพันต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนเป็นนายทหาร
  สัญญาบัตรไม่น้อยกว่า 3 นาย หน่วยที่กำลังพลสูญหายจำหน่ายขาด 5 วัน และจำหน่ายสูญหายในวันที่ 6 นับแต่วันสูญหาย
  - ศพจะถูกส่งไปพร้อมกับสิ่งของติดตัวจากพื้นที่ข้างหน้าด้วยเครื่องมือขนส่งซึ่งกำลังจะเดินทางกลับ
  - หน่วย นขต.พัน.ช. ในแนวหน้ารับผิดชอบในการส่งศพกลับไปยังขบวนสัมภาระพักของกองพันซึ่งตัวอยู่ในพื้นที่ขบวนสัมภาระ
           

-----------------
เอกสารอ้างอิง : ระเบียบกองทัพบกว่าด้วย การส่งกำลังกำลัง สป. 1 ในสนาม พ.ศ. 2535
: ระเบียบกองทัพบกว่าด้วย การส่งกำลังกำลัง สป. 2 และ 4 ในสนาม พ.ศ. 2534
: ระเบียบกองทัพบกว่าด้วย การส่งกำลังกำลัง สป. 3 ในสนาม พ.ศ. 2551
: ระเบียบกองทัพบกว่าด้วย การส่งกำลังกำลัง สป. 5 ในสนาม พ.ศ. 2542
: รปจ.กรมการทหารช่าง
ตอนที่ 4
เทคนิคและการฝึกเพือ่ เพิม่ พูนทักษะในการปฏิบตั กิ ารรบ
กล่าวทั่วไป
ในการปฏิบัติงานช่างทั่วไปของทหารช่างสนามนั้น มีเทคนิคในการปฏิบัติจ�ำนวนมาก ส�ำหรับในตอนที่ 4 นี้ได้รวบรวม
เทคนิคการปฏิบตั ทิ สี่ ำ� คัญและแบบการฝึกทีจ่ ำ� เป็นเพือ่ เป็นแนวทางในการฝึกเพิม่ พูนความรูค้ วามช�ำนาญให้กบั ก�ำลังพล
เหล่าทหารช่าง
เทคนิคและการฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัติการรบของทหารช่างสนาม
การลาดตระเวนทางการช่าง
• เทคนิคการลาดตระเวนทางการช่าง
• การฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะการลาดตระเวนทางการช่าง
เครื่องยกของหนัก
• การฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะการสร้างเครื่องยกของหนัก
ป้อมสนาม
• การฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะการสร้างป้อมสนาม
การสร้างสะพานและแพยุทธวิธีเบา
• เทคนิคการสร้างสะพานเครื่องหนุนลอย M4 เรือทุ่นโลหะผสม
• การฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะการสร้างสะพานเครื่องหนุนลอย M4 เรือทุ่นโลหะผสมประปาสนาม

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
• การฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะผลิตประปาสนาม
วัตถุระเบิดและการท�ำลาย, สงครามทุ่นระเบิด
• เทคนิคการใช้วัตถุระเบิดและการท�ำลาย
• เทคนิคการสงครามทุ่นระเบิด
• การฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะ การใช้วัตถุระเบิด และการท�ำลาย, สงครามทุ่นระเบิด

ลาดตระเวนทางการช่าง (Engineer Reconnaissance)


• เทคนิคการลาดตระเวนทางการช่าง
รายงานการลาดตระเวนทางการช่าง ต้องสมบูรณ์และส่งทันเวลา ข่าวสารที่ไม่สมบูรณ์แต่ส่งทันเวลา อาจมีค่ามากกว่า
ข่าวสารที่สมบูรณ์แต่ส่งไม่ทันเวลา
• ค�ำจ�ำกัดความที่ใช้ในการลาดตระเวนทางการช่าง
• เครื่องกีดขวาง สิ่งกีดขวางการเคลื่อนที่ทั้งธรรมชาติและที่สร้างขึ้น, รวมทั้งการท�ำลายด้วยทุ่นระเบิด
• วัสดุทางการช่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัสดุสร้างถนน, ไม้ใช้ส�ำหรับสร้างสะพาน, ไม้แปรรูป, เหล็ก,
วัสดุที่จะใช้ถม, กรวด, วัตถุระเบิด
• ยุทโธปกรณ์ทางการช่าง เครือ่ งย่อยหิน, โรงเลือ่ ยจักร, โรงซ่อมรถยนต์, โรงเครือ่ งจักร, เครือ่ งมือของข้าศึก
ที่ปล่อยทิ้งไว้
• พืน้ ทีพ
่ กั แรม ทางเข้าสูท่ พี่ กั แรม, มวลดิน, การระบายน�ำ้ , ขนาดทีพ่ กั แรม, การปกปิด, การซ่อนเร้น, พืน้ ทีก่ ารยิง
• สิ่งอ�ำนวยความสะดวก น�้ำ, สิ่งปฏิกูล, ไฟฟ้า, แก๊สธรรมชาติ, ระบบทางท่อ
• ต�ำบลจ่ายน�้ำ เสนอแนะต�ำบลที่ตั้ง
• ความคลาดเคลื่อนของแผนที่

การลาดตระเวนทางการช่าง 4 - 1
• การประมาณงาน ส�ำหรับการก่อสร้าง, การซ่อมแซม, หรือการรือ้ ถอนสิง่ ต่างๆ ทีพ่ บในการลาดตระเวนนัน้ ออก
แผนที่บริวารการลาดตระเวนเส้นทาง
แผนที่บริวารการลาดตระเวนเส้นทาง เป็นรายงานที่ละเอียดและสั้นของสภาพต่างๆ ที่กระทบกระเทือนต่อ
การจราจรตามเส้นทางนัน้ และเป็นวิธที นี่ า่ จะกระท�ำการเตรียมท�ำรายงานการลาดตระเวนเส้นทาง ถ้าการลาดตระเวน
ในครั้งนั้น ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมขึ้นอีกแล้วก็ใช้แผนบริวารพร้อมกับรายงานทางลายลักษณ์อักษร อธิบาย
ลักษณะส�ำคัญประกอบกับเส้นทางนั้นในรายละเอียดที่ต้องการเพิ่มเติม
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

4 - 2 การลาดตระเวนทางการช่าง
สัญลักษณ์แหล่งวัสดุทางการช่างประกอบแผ่นบริวาร
เครื่องมือสนับสนุน
งานอิฐก่อ
ไฟฟ้า
บริษัททางการช่าง
มวลรวม
ของพลเรือน
ผลิตภัณฑ์ซีเมนต์-
ป่าไม้ซุง
คอนกรีต
ผลิตภัณฑ์ยิบซั่ม
วัตถุดิบของแก้ว
และหินอ่อน

อุตสาหกรรมแก๊ส โรงเลื่อยจักร

เครื่องก่อสร้าง
อุปกรณ์ย่อยหิน
รถยนต์หนัก
เครื่องมือประปา สัญลักษณ์โรงงาน
(ทางพลเรือน) และผลิตภัณฑ์

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
เครื่องมือเก็บของ
ผู้รับเหมาก่อสร้าง
และขนส่ง
ประปาทางทหาร
ทราย
ที่ทำ�ได้

วัตถุดิบเหล็ก หิน

วัตถุดิบแอสฟัลท์
สี
และบิทูมินัส
เครื่องเชือก ตาข่าย
โรงงาน
ขนสัตว์
โรงงานถลุงเหล็ก
เครื่องมือ
โรงหล่อ
สัญลักษณ์สำ�หรับใช้ในการรายงานการลาดระเวน
การลาดตระเวนทางการช่าง 4 - 3
สัญลักษณ์ ลักษณะและกฎเกณฑ์
โค้งแคบ : เขียน(OB) เมื่อรัศมีน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 เมตรอย่างไรก็
ดีโค้งที่มีรัศมีมากกว่า 30 เมตร แต่น้อยกว่า 45 เมตรให้รายงานด้วยถ้า
ทำ�ได้
โค้งแคบเชื่อมต่อกัน : ตัวเลขทางด้านซ้ายแสดงจำ�นวนโค้ง, ตัวเลขทาง
ด้านขวาคือ รัศมีของโค้งที่สั้นที่สุดเป็นเมตร

ลาดชัน : เขียน (OB) เมื่อลาดชันตั้งแต่ 7 % หรือมากกว่า % ของลาด


ที่แท้จริงให้แสดงไว้ด้วยหัวของลูกศร ต้องชี้ขึ้นลาดเสมอ , และความยาว
ของลูกศรใช้แทนความยาวของลาดตามมาตราส่วนของแผนที่ที่ใช้

ความกว้างจำ�กัด : (OB) เมื่อความกว้างของทางรถแคบกว่ามาตรฐาน


ต่ำ�สุดตัวเลขทางด้านซ้ายแสดงความกว้างจำ�กัด ตัวเลขทางด้านขวา
เป็นความยาวที่จำ�กัดทั้งหมดค่าทั้งสองเป็น เมตร

ทางลอดผ่าน : แสดงรูปร่างของโครงสร้าง เขียน(OB) เมื่อช่องว่าง


เหนือศีรษะน้อยกว่า 4.3 เมตร หรือเมื่อทางรถต่ำ�กว่ามาตรฐาน

อุโมงค์ : (รวมทั้งอุโมงค์หิมะที่มนุษย์สร้างขึ้น) แสดงรูปร่างของ


โครงสร้างเขียน (OB) เมื่อช่องว่างเหนือศีรษะน้อยกว่า 4.3 เมตร หรือ
เมื่อทางรถต่ำ�กว่ามาตรฐาน
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

ทางเบี่ยง : คือเส้นทางสำ�รองในท้องถิ่นซึ่งสามารถใช้ในการจราจรเพื่อ
หลีกเลี่ยงเครื่องกีดขวางได้ ทางเบี่ยงแบ่งออกเป็นทางเบี่ยงทำ�ง่าย, ทำ�
ยาก และทำ�ไม่ได้ ทางเบี่ยงแต่ละชนิดใช้แสดงด้วยสัญลักษณ์ โดยเขียน
ลงบนเส้นแสดงตำ�บลที่ตั้งในแผนที่และมีความหมายดังนี้

ทางเบี่ยงทำ�ง่าย : คือเครื่องกีดขวางที่สามารถข้ามได้โดยใช้พื้นที่ใน
บริเวณนั้นด้วยรถบรรทุก 2.5 ตัน โดยไม่มีงานในการปรับปรุงทางเบี่ยง

ทางเบี่ยงทำ�ยาก : คือเครื่องกีดขวางที่สามารถข้ามได้โดยใช้พื้นที่
ในบริเวณนั้นแต่บางทีอาจมีงานที่จำ�เป็นเพื่อเตรียมการเกี่ยวกับการ
ดัดแปลงทางเบี่ยงนั้นบ้าง
ทางเบี่ยงทำ�ไม่ได้ : คือเครื่องกีดขวางที่สามารถข้ามได้ด้วยวิธีใดวิธี
หนึ่งดังนี้ :- 1. ซ่อมสิ่งที่ชำ�รุดเช่น สะพาน 2. สร้างขึ้นใหม่ 3. อ้อมผ่าน
เครื่องกีดขวางโดยใช้เส้นทางซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปจากพื้นที่บริเวณนั้น

4 - 4 การลาดตระเวนทางการช่าง
สัญลักษณ์ ลักษณะและกฎเกณฑ์
ทางรถไฟตัดกับถนนในระดับเดียวกัน : การผ่านของรถไฟจะขัดขวาง
ต่อการจราจรตัวเลขแสดงช่องว่างเหนือศีรษะเป็นเมตร

ท่าลุยข้าม : ท่าลุยข้ามทุกแห่งต้องพิจารณาเป็นเครื่องกีดขวาง(OB)
ต่อการจราจรทั้งสิ้นสภาพความสามรถรับการจราจร
ประเภทของท่าลุยข้าม V = ยวดยาน P = ทหารเดินเท้า
ปัจจัยจำ�กัดเกี่ยวกับฤดูกาล
ยาก ง่าย
ลักษณะของพื้นท้องน้ำ� M = โคลน, C = ดินเหนียว, S = ทราย,
G = กรวด, R = หิน, P = ผิวที่คาดขึ้น
แพส่งข้าม : แพส่งข้ามทุกแห่งต้องพิจารณาเป็นเครื่องกีดขวาง(OB) ต่อ
การจราจรทั้งสิ้น
สภาพทางเข้าสู่ ยาก ง่าย
ประเภทของแพส่งข้าม V = แพส่งข้ามยวดยาน, P = แพส่งข้ามทหาร
เดินเท้า

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
ตอนจำ�กัดเขต : คือตอนของถนนและเส้นทางที่ทำ�การลาดตระเวนที่มี
สภาพที่ใช้สูตรการแบ่งชั้นสูตรเดียวกัน

การกำ�หนดหมายเลขเส้นทาง : หมายเลขเส้นทางในทางพลเรือน
หรือทางทหารที่กำ�หนดขึ้นนั้นในการรายงานเส้นทางให้เขียนไว้ในวงเล็บ
ตามเส้นทางนั้นด้วย
การเคลื่อนที่นอกเส้นทาง (ทางแยก) และการซ่อนเร้น : (หัวลูกศรจะ
ชี้ไปทางขวาหรือซ้ายจากเส้นทางสู่ทางแยกนั้น
(1) ทางแยกที่สามารถใช้ได้
(2) ทางแยกสำ�หรับยานสายพานเข้าสู่ป่าทึบมีการซ่อนเร้น
(3) ทางแยกสำ�หรับยานล้อเข้าสู่ป่าโปร่งมีการซ่อนเร้น
(4) ทางแยกที่สามารถใช้ได้เข้าสู่ป่าทึบและป่าโปร่งมีการซ่อนเร้น

การลาดตระเวนทางการช่าง 4 - 5
สัญลักษณ์ ลักษณะและกฎเกณฑ์
ตำ�บลคับขัน : ใช้ลำ�ดับหมายเลขบอกลักษณะรายละเอียดเพื่อผนวก
กับแบบฟอร์มลาดตระเวนหรือเอกสาร, เพราะลักษณะต่างๆ เหล่านั้น
ไม่สามารถจะเขียนแสดงด้วยสัญลักษณ์ของการลาดตระเวนบนแผ่น
บริวารได้อย่างเพียงพอ

เครื่องกีดขวาง : (เครื่องปิดกั้นถนน,หลุมระเบิด, สะพานที่ถูกทำ�ลาย,


ดินพัง ฯลฯ)
(1) เครื่องกีดขวางที่คาดว่าจะวาง
(2) เครื่องกีดขวางที่วางไว้แล้วแต่ยังสามารถผ่านไปได้
(3) เครื่องกีดขวางที่วางไว้สมบูรณ์แล้ว
ข่าวสารที่ยังไม่ทราบหรือยังสงสัย : ใช้กับสัญลักษณ์ได้ทุกชนิดในเมื่อ
ข่าวสารนั้นไม่ทราบได้หรือยังสงสัยอยู่

แผ่นบริวาร จะต้องประกอบด้วย
1. เส้นกริชทีอ่ า้ งอิง 2 แห่ง
2. ลูกศรชีท้ ศิ เหนือแม่เหล็ก
3. ภาพวาดเส้นทางทีถ่ กู มาตราส่วน
4. ช่องสำ�หรับกรอกข้อความของ หน. ชุด ลว.
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

5. สูตรการแบ่งชัน้ เส้นทาง
6. ระยะห่าง (กม, ไมล์) ระหว่างจุดทีท่ ำ�การ ลว.
7. ลักษณะเส้นทางทีเ่ ป็นอุปสรรค หรือมีอปุ สรรค เช่นลักษณะลาดชัน, ความกว้างทีจ่ ำ�กัดของ ถนน,
สะพาน, อุโมงค์ ฯลฯ ทางลอดผ่านจำ�กัด, ลักษณะของทางเบีย่ ง
8. หมายเลขถนนของทางพลเรือนหรือทหาร
9. ทางแยกออกจากถนน
10. สภาพพิเศษ เช่น น้ำ�ท่วม เป็นต้น
หมายเหตุ แผ่นบริวาร จะต้องมี 1- 5 เสมอ

สูตรตำ�บลจ่ายน้ำ�
Q = (A) (V) (6.4)
Q = ปริมาณของน้ำ�เป็นแกลลอน / นาที
A = พืน้ ทีห่ น้าตัดของลำ�น้ำ�เป็นตารางฟุต
6.4 = ตัวคงที่
A = h ( a + b )
2
รูปที่ 4-2 แบบพื้นที่หน้าตัดของลำ�น้ำ�
V = ( 60 ) (ระยะทางเป็นฟุต)
(เวลาเป็นวินาที)

4 - 6 การลาดตระเวนทางการช่าง
ชนิดของทอดสะพาน
สัญลักษณ์ที่จะเขียนลงในแบบฟอร์มรายงานการลาดตระเวนสะพาน (D A 1249)
โดยใช้ตัวเลข (ชนิดการสร้าง) และการใช้ตัวอักษร (วัสดุที่ใช้สร้าง)
ตัวอย่าง 3 ak = สะพานแบบใช้คาน (BEAM) คอนกรีตเสริมเหล็ก
รูปที่ 4-3 ชนิดของทอดสะพาน

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
(9) ใช้เลข 9 สำ�หรับชนิดของการสร้างทอดอื่นๆ ทั้งหมด (เช่น สะพานหัน, สะพานบก, สะพานถ่วง, สะพานหก)
โดยให้เขียนชนิดของสะพานนั้นไว้ในรายงาน

วัสดุที่ใช้ในการสร้างทอด
เหล็กหรือโลหะอื่นๆ a
คอนกรีต k
คอนกรีตเสริมเหล็ก ak
คอนกรีตอัดแรง kk
หินหรืออิฐ p
ไม้ n

1 ระยะทอดซึง่ ไม่สามารถใช้ได้เนือ่ งจากเสียหายให้ใช้สญ ั ลักษณ์ “X” เขียนไว้หลังมิตคิ วามยาวของระยะทอด


2 ระยะทอดซึง่ อยูเ่ หนือน้ำ�ให้แสดงโดยการใช้ สัญลักษณ์ “N” เขียนไว้หลังมิตคิ วามยาวของระยะทอด
สูตรการแบ่งชัน้ เส้นทาง
สูตรการแบ่งชัน้ เส้นทาง จะเขียนเป็นแบบมาตรฐานโดยเรียงตามลำ�ดับดังนี้ : ความกว้างของทางรถทีน่ อ้ ยทีส่ ดุ ,
ประเภทเส้นทาง, ชัน้ รับน้ำ�หนักทางทหารทีต่ ำ�่ ทีส่ ดุ , เครือ่ งกีดขวาง (ถ้ามี) และสภาพพิเศษ (ถ้ามี)

การลาดตระเวนทางการช่าง 4 - 7
1. ความกว้าง : ความกว้างของเส้นทางทีแ่ คบทีส่ ดุ จะแสดงเป็นเมตรหรือฟุตก็ได้
2. ประเภทเส้นทาง : X, Y, หรือ Z จะหาได้จากตอนของเส้นทางทีเ่ ลวทีส่ ดุ
• ประเภท X : เส้นทางที่ใช้ได้ทุกฤดูกาล
คือเส้นทางซึ่งทำ�การซ่อมบำ�รุงอย่างง่ายๆ ก็สามารถผ่านได้ตลอดปีด้วยปริมาณที่ไม่น้อยกว่าที่เส้น
ทางเคยรับได้สูงสุดเส้นทางประเภทนี้ตามปกติจะมีผิวกันน้ำ�ซึมได้ จะกระทบกระเทือนบ้างจากการซึมของน้ำ�หรือ
สภาพอุณหภูมเิ ปลีย่ นแปลงแต่กเ็ ป็นเพียงเล็กน้อย โดยไม่ตอ้ งเสียเวลาปิดการจราจรเลย และอาจกระทบกระเทือนบ้าง
จากสภาพลมฟ้าอากาศอื่นๆ เช่น หิมะหรือน้ำ�ท่วมแต่ก็เป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น
• ประเภท Y : เส้นทางที่ใช้ได้ทุกฤดูกาล ( หากแต่มีขีดจำ�กัดเนื่องจากสภาพอากาศ )
คือเส้นทางซึ่งทำ�การซ่อมบำ�รุงอย่างง่ายๆ ก็สามารถเปิดการจราจรได้ทุกสภาพลมฟ้าอากาศ แต่
บางครั้งปริมาณการจราจรอาจจะน้อยกว่าปริมาณการจราจรที่เคยได้รับสูงสุดเส้นทางประเภทนี้ตามปกติจะมีผิวกัน
น้ำ�ซึมไม่ได้ และจะกระทบกระเทือนจากการซึมของน้ำ�หรือสภาพอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงการจราจรอาจหยุดชะงักเป็น
ระยะเวลาสั้น ๆ การใช้เส้นทางอย่างหนักในระหว่างลมฟ้าอากาศเลว อาจทำ�ให้ผิวทางเสียหายอย่างหนัก
• ประเภท Z : เส้นทางที่ใช้ได้เฉพาะลมฟ้าอากาศดี
คือเส้นทางซึ่งไม่สามารถผ่านได้ในสภาพลมฟ้าอากาศเลว และไม่สามารถเปิดการจราจรได้ด้วยการ
ซ่อมบำ�รุงที่มีงานก่อสร้างขนาดใหญ่ เส้นทางประเภทนี้จะกระทบกระเทือนอย่างมากต่อสภาพลมฟ้าอากาศ ซึ่งการ
จราจรในครั้งนั้น อาจทำ�ให้เกิดผลเสียหายคือต้องปิดการจราจรเป็นระยะเวลายาวนานได้
3. ชั้นรับน้ำ�หนักทางทหาร : ตามธรรมดาใช้ชั้นรับน้ำ�หนักของสะพานทางทหารต่ำ�สุดที่มีอยู่ตามเส้นทาง
มาเป็นข้อกำ�หนดชั้นรับน้ำ�หนักทางทหารของเส้นทาง ถ้าไม่มีสะพานอยู่ตามเส้นทางสายนั้น ชั้นของเส้นทางจะหา
ได้จากตอนของถนนที่มีสภาพเลวที่สุด
4. เครื่องกีดขวาง : (OB) เป็นปัจจัยจำ�กัดต่อชนิด, ปริมาณและความเร็วของการจราจร ซึ่งได้แก่ช่องว่าง
เหนือศีรษะที่น้อยกว่า 4.3 เมตร, ความกว้างของทางรถที่ต่ำ�กว่ามาตรฐานในตารางลาดแนวทาง ตั้งแต่ 7% หรือ
มากกว่ารัศมีของโค้งที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 เมตร (100 ฟุต) แพส่งข้ามและท่าลุยข้าม
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

5. สภาพพิเศษ : เครื่องปิดกั้นด้วยหิมะ (T) และน้ำ�ท่วม (W) จะใช้ต่อเมื่อสภาพดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นประจำ�,


ตามวงรอบหรือเลวร้ายรุนแรง
ตัวอย่าง
6.7 mY 30 : คือเส้นทางกว้าง 6.7 เมตร, เป็นเส้นทางใช้ได้ทุกฤดูกาล หากแต่มีขีดจำ�กัด เนื่องจาก
สภาพอากาศ, รับน้ำ�หนักได้ชั้น 30, ไม่มีเครื่องกีดขวาง
21 ft z 10 (OB)(W) : คือเส้นทางกว้าง 21 ฟุตเป็นเส้นทางที่ใช้ได้เฉพาะลมฟ้าอากาศดี, รับน้ำ�หนักได้
ชั้น 10, มีเครื่องกัดขวางอยู่บนเส้นทางสายนี้ และทางมีน้ำ�ท่วมด้วย
10.5 m X 120 (OB) : คือเส้นทางกว้าง 10.5 เมตร เป็นเส้นทางทีใ่ ช้ได้ทกุ ฤดูกาล, รับน้ำ�หนักได้ชน้ั 120
มีเครื่องกีดขวางอยู่บนเส้นทางสายนี้ด้วย

สูตรการแบ่งชั้นถนน
สูตรการแบ่งชั้นถนนจะเขียนแบบมาตรฐานโดยเรียงตามลำ�ดับดังนี้ : อักษรนำ�หน้า, ลักษณะจำ�กัด (ถ้ามี)
ความกว้างของทางรถ/ความกว้างของทางรถรวมกับไหล่ทางทัง้ สองข้าง, วัสดุทใ่ี ช้สร้างผิวถนน, ความยาว (ถ้าต้องการ),
เครื่องกีดขวาง (ถ้ามี), และสภาพพิเศษ (ถ้ามี)
1. อักษรนำ�หน้า : ถ้าไม่มีลักษณะจำ�กัด สูตรจะขึ้นต้นด้วยอักษร “A” แต่ถ้ามีลักษณะจำ�กัดหนึ่งอย่าง หรือมากกว่า
สูตรจะขึ้นต้นด้วย “B” เสมอ

4 - 8 การลาดตระเวนทางการช่าง
2. ลักษณะจำ�กัดของถนนและสัญลักษณ์
ลักษณะจำ�กัด สัญลักษณ์
โค้ง (รัศมีน้อยกว่า 25 ม.หรือน้อยกว่า) c
อัตราลาด 7% หมือมากกว่า g
การระบายน้ำ� (คูหรือท่อไม่เพียงพอ) d
ฐานราก (ไม่คงตัว) f
สภาพผิวทาง (เป็นหลุมเป็นบ่อ ขรุขระ หรือมีหลุมใหญ่) s
ความนูนกลางหรือการยกโค้ง j
ลักษณะที่ไม่ทราบ(ถูกใช้กับสัญลักษณ์ในวงเล็บอื่น) เช่น (C?) = ไม่ทราบรัศมี
หมายเหตุ รายงานทั้งหมดต้องถูกยื่นในระบบเมตริก
ความกว้าง : ความกว้างของทางรถจะแสดงเป็นเมตรหรือฟุตก็ได้แล้วตามด้วยเส้นเฉียง แสดงความกว้างของทาง
รถรวมกับไหล่ทางทั้งสองข้างเช่น (14/16 เมตร)
3. วัสดุที่ใช้สร้างผิวถนน : วัสดุที่ใช้สร้างผิวถนนจะใช้สัญลักษณ์ต่อไปนี้แทน

วัสดุปูผิว
คอนกรีต K
บิทูมินัสหรือแอสฟัลท์ติกคอนกรีต (ผสมจากโรงงาน) kb
ผิวบิทูมินัสบนดินธรรมชาติ ดินมีความคงตัว ดินเหนียวปนทราย หรือวัสดุเลือกสรรอื่นๆ nb
ถูกใช้เมื่อแบบของการก่อสร้างบิทูมินัสไม่สามารถพิจารณาได้ b

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
บิทูมินัสบนผิวปูด้วยอิฐหรือหิน pb
บิทูมินัสแมคคาดัมทะลุทะลวง แมคคาดัมปนน้ำ�ด้วยแอสฟัลท์เทียมหรือดินน้ำ�มัน rb
การปูด้วยอิฐหรือหิน p
แมคคาดัมปนน้ำ� หินย่อย หรือปะการัง r
กรวด l
ดินธรรมชาติ ดินคงตัว ดินเหนียวปนทราย หินแกรไนท์ที่ไม่รวมตัว หรือวัสดุเลือกสรรอื่นๆ n
แบบอื่นที่ไม่ระบุ (ระบุความยาวถ้าสัญลักษณ์นี้ถูกใช้) v

4. ความยาว : ความยาวจะแสดงเป็นกิโลเมตรหรือไมล์ก็ได้หรือจะไม่แสดงไว้ก็ได้เช่น (7.2 km)


5. เครื่องกีดขวาง : แสดง (OB) เมื่อมีอยู่ตามถนนได้แก่ช่องว่างเหนือศรีษะที่น้อยกว่า 4.3 เมตร ทางรถที่ต่ำ�กว่า
มาตรฐานในตาราง 3 ลาด, 7 % หรือมากกว่า, โค้งแคบรัศมีน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 เมตร (100 ฟุต)
6. สภาพพิเศษ : เครื่องปิดกั้นด้วยหิมะ (T), และน้ำ�ท่วม (W) มีเป็นประจำ�ตามวงรอบและเลวร้ายรุนแรง
ตัวอย่าง
A 5.4/6.2 mk : เป็นถนนทีไ่ ม่มลี กั ษณะจำ�กัด, ทางรถกว้าง 5.4 เมตร, ทางรถรวมกับไหล่ทง้ั สองกว้าง 6.2 เมตร
และผิวถนนเป็นคอนกรีต
Bcgs 14/16 ft l (2.4 mi) (OB) : เป็นถนนที่มีลักษณะจำ�กัดโค้งแคบ, ลาดชัน, สภาพของผิวขรุขระ, ทางรถ
กว้าง 14 ฟุต, ทางรถรวมกับไหล่ทางทั้งสองกว้าง 16 ฟุต, ผิวถนนเป็นกรวดหรือเศษตะกรันโลหะความยาว 2.4 ไมล์,
และมีเครื่องกีดขวางด้วย
การลาดตระเวนทางการช่าง 4 - 9
Bcgd (f ?) s 3.2/4.8 m nb, (4.3 km) (OB) (T) : เป็นถนนที่มีลักษณะจำ�กัดคือมีโค้งแคบ, ลาดชัน,
การระบายน้ำ�ไม่ดี, สภาพของฐานทางไม่ทราบ, ผิวถนนขลุขละ, ทางรถกว้าง 3.2 เมตร, ทางรถรวมกับไหล่ทั้งสอง
กว้าง 4.8 เมตร, ผิวถนนลาดด้วยบีทูมินัส, ความยาว 4.3 กิโลเมตร, มีเครื่องกีดขวางอยู่บนถนนสายนี้, และถนน
มีเครื่องปิดกั้นด้วยหิมะด้วย

รูปที่ 4-4 สัญลักษณ์การลาดตระเวนสะพาน


เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

รูปที่ 4-5 สัญลักษณ์สะพานแบบสมบูรณ์

สัญลักษณ์สะพานแบบย่อ
(เมื่อใช้สัญลักษณ์นี้ จะต้องส่งแผ่นบริวารไปพร้อมกับแบบฟอร์ม DA 1249 หรือรายละเอียด)

รูปที่ 4-6 สัญลักษณ์สะพานแบบย่อ

4 - 10 การลาดตระเวนทางการช่าง
สัญลักษณ์ของสะพานแบบย่อจะใช้เฉพาะการจราจรทางเดียวเท่านั้น สำ�หรับสะพานที่แบ่งชั้นยานล้อ และ
ยานสายพาน ให้แสดงชั้นที่ต่ำ�กว่าเท่านั้น ถ้าสะพานมีมากกว่าหนึ่งชั้น ตัวเลขชั้นให้ใส่เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) ไว้
และชั้นที่สมบูรณ์ ให้แสดงไว้ในรายงานที่แนบไปด้วย
หมายเหตุ 1 (หมายเลขลำ�ดับ) หมายเลขลำ�ดับจะเขียนเรียงกันไปแต่ล่ะแห่งของสะพาน, อุโมงค์, ท่าลุยข้าม, และแพ
ส่งข้าม หมายเลขลำ�ดับนี้ ต้องไม่ซ้ำ�กันบนแผนที่,แผ่นบริวาร, หรือเอกสารฉบับเดียวกัน
หมายเหตุ 2 (ความกว้างของทางรถ) ถ้ามีทางเดินเท้าจะอำ�นวยสะดวกในการผ่านของยานพาหนะทีม่ คี วามกว้างมากกว่า
ดังนั้น จะต้องบันทึกความกว้างของทางเดินเท้าไว้ในสัญลักษณ์ด้วย เช่น ทางรถ/ความกว้างทั้งหมด เช่น (5.0/5.9m)
หมายเหตุ 3 (การกำ�หนดฝั่งลำ�น้ำ�) ฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของลำ�น้ำ�จะกำ�หนดได้โดยการมองไปตามทิศทางการไหลของน้ำ�
ที่ต้องสนใจเป็นพิเศษ ก็ต่อเมื่อบันทึกสภาพของทางเข้าสู่ลงบนสัญลักษณ์ และเพื่อความถูกต้องแน่นอนในการกำ�หนด
ฝั่งซ้ายและฝั่งขวา
หมายเหตุ 4 (มิติที่สำ�คัญ) ช่องว่างเหนือศีรษะของสะพานที่น้อยกว่ามาตรฐานในตาราง 1 หน้า 12 ให้ขีดเส้นใต้ไว้
ความกว้างของสะพานแนวเดียวซึง่ น้อยกว่ามาตรฐานในตาราง 2 หน้า 12 ให้ลดชัน้ ของสะพานสองแนวลง ความกว้าง
ของทางรถน้อยกว่าความกว้างของเส้นทางซึ่งอยู่ด้านนอก ให้ขีดเส้นใต้ไว้ด้วย

มิติที่สำ�คัญของสะพาน
ความกว้างของช่องสะพานอย่างน้อยที่สุด
ชั้นสะพาน ความกว้างระหว่างตงอย่างน้อยที่สุด
ช่องว่างเหนือศีรษะอย่างน้อยที่สุดสำ�หรับสะพาน แนวเดียว ( เมตร ) สองแนว ( เมตร )
ชั้นสะพาน ช่องว่างเหนือศีรษะอย่างน้อยที่สุด 4 - 12 2.75 ( 9’-0” ) 5.50 ( 18’-0” )
ถึงชั้น 70 4.3 เมตร ( 14 ฟุต 0 นิ้ว ) 13 - 30 3.35 ( 11’-0” ) 5.50 ( 18’-0” )
31 - 60 4.00 ( 13’-2” ) 7.30 ( 24’-0” )

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
เกินชั้น 70 4.7 เมตร ( 15 ฟุต 6 นิ้ว )
61 – 100 4.50 ( 14’-9” ) 8.20 ( 27’-0” )

ความกว้างของเส้นทาง

กระแสการจราจรที่ใช้ได้ ความกว้างสำ�หรับยานล้อ ความกว้างสำ�หรับยานสายพาน


กระแสทางเดียว 5.50 เมตร ถึง 7.0 เมตร 6.0 เมตร – 8.0 เมตร
( 18 ฟุต ถึง 23 ฟุต ) ( 19.1/2 ถึง 26 ฟุต )
กระแสสองทาง เกิน 7 เมตร ( 23 ฟุต ) เกิน 8 เมตร ( 26 ฟุต )

การลาดตระเวนทางการช่าง 4 - 11
การวัดความกว้างของเขตทาง, ช่องว่างทางระดับ, และช่องว่างทางดิ่งสำ�หรับ
อุโมงค์, ทางลอดผ่านและสะพานโครงเหล็ก
หมายเลข 1 ช่องว่างเหนือศีรษะ อย่างน้อยทีส่ ดุ ให้วดั จากขอบของทางรถขึน้ ไปทางดิง่
หมายเลข 2 ความกว้างของทางรถทีบ่ งั เกิดผลให้วดั จากริมในของทางเดินเท้าทัง้ สองข้าง
หมายเลข 3 ช่องว่างทางระดับคือความกว้างอย่างน้อยทีส่ ดุ ซึง่ วัดเหนือทางรถอย่างน้อย
4 ฟุต
รูปที่ 4-7
อุ โมงค์ ,ทางลอด
หมายเลข 4 ช่องว่างเหนือศีรษะอย่างมากที่สุด คือ ระยะ ช่องว่างอย่างน้อยที่สุด
ระหว่างยอดทางรถกับ ขอบล่างของช่องว่างเหนือศีรษะหรือเครื่องกีดขวางที่อยู่ต่ำ�กว่าช่องว่าง เช่น ลอดที่แขวน หรือ
สายไฟแรงต่ำ� หมายเลข 4 ก. ลาดขึ้นหรือโค้ง (รัศมีหรือส่วนของโค้ง)

การใช้เข็มทิศวัดความกว้างของลำ�น้ำ�พอประมาณ

• เลือกที่หมายเด่น B (เช่นต้นไม้) บนฝั่งไกล


• ยืนที่จุด A ตรงกับจุด B และอ่าน Azimuth xº
• เคลื่อนที่ไปจุด C ทางเหนือ หรือใต้ล�ำน�้ำ ดังนั้น
Azimuth B จะมีค่าเท่ากับ x + 45º หรือ x - 45º
• ดังนั้นระยะ AC จะเท่ากับช่องว่าง AB

การวัดรัศมีของโค้ง
C = ความยาวของเส้นคอร์ด
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

m = ระยะเส้นตั้งฉากจากศูนย์กลางคอร์ดถึงแนวศูนย์กลางถนน
R = รัศมีของวงกลม โดยให้ค่าของ m เป็น 2 เมตรเสมอ ดังนั้น
สูตรจะเป็น R = ( C2/8m ) + ( m/2 )

การหาเปอร์เซ็นต์ (%) ของลาด

สูตรเปอร์เซ็นต์ลาด = (Vd/Hd)x100

ใช้เครื่องมือวัดความลาดเอียงเพื่อหาเปอร์เซ็นต์ของลาดหรือหาค่า H โดยการวัดจากแผนที่หาค่า V ด้วยความต่าง


ของเส้นชั้นความสูง

หมายเหตุ ระยะทางดิ่ง (Vd) และระยะทางราบ (Hd)ต้องมีหน่วยของการวัดเดียวกัน

4 - 12 การลาดตระเวนทางการช่าง
การฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะการการลาดตระเวนทางการช่าง
แบบฝึกที่ 1 การลาดตระเวนขั้นต้น
วิธีการดำ�เนินการ :
1. ให้ผู้รับการฝึกร่วมกันจำ�แนกภูมิประเทศในบริเวณนั้น
การจำ�แนกพืชพันธ์ พืชพันธ์ (Vegetation) พันธ์ไม้ในภูมิประเทศประกอบด้วยไม้ยืนต้น และล้มลุก ซึ่งเป็น
พันธ์ไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและพันธ์ไม้ที่มนุษย์ปลูกขึ้น การจำ�แนกพืชพันธ์ไม้ให้ปฏิบัติดังนี้
• การจำ�แนกไม้ยืนต้นที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติให้จำ�แนกความสูง - ต่ำ�ขนาดของต้นไม้, พุ่ม และร่มเงา
สำ�หรับไม้ยนื ต้นนอกจากจำ�แนกเช่นเดียวกับไม้ทเ่ี กิดขึน้ ตามธรรมชาติแล้วยังจะต้องพิจารณาระยะห่างระหว่างต้น, แถว
และความยาวของแถวด้วย
• การจำ�แนกไม้ล้มลุกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติให้พิจารณาลักษณะพุ่มขนาดของพุ่มและร่มเงาของพุ่มไม้
ดังกล่าว ส่วนไม้ลม้ ลุกทีป่ ลูกเป็นไร, สวน ให้พจิ ารณาขนาดของร่อง ถ้ามีนำ�้ ในร่องให้พจิ ารณาความลึกกว้างของร่อง,
ลักษณะดิน นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาร่มเงาของพืชพันธ์ด้วย
การจำ�แนกพื้นที่สูง - ต่ำ�, ธารน้ำ�ไหล
• ให้ผู้รับการฝึกจับคู่กับเพื่อนเพื่อจำ�แนกที่สูงต่ำ�, เนิน, ภูเขา, รวมถึงที่ลาด
• จำ�แนก ธารน้ำ�ไหล โดยพิจารณาความกว้าง, ความลึก รวมทั้งลาดตลิ่ง
2. ให้ผู้รับการฝึกจำ�แนกสิ่งปลูกสร้าง โดยจำ�แนกมิติ, ทรวดทรง รวมทั้งร่มเงาของสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนจำ�นวน
และพิกัด ของสิ่งปลูกสร้าง
มาตรฐานในการตรวจสอบ :
1. ผู้รับการฝึกทำ�การจำ�แนก พืชพันธ์ไม้ได้อย่างถูกต้อง
1. ต้นไม้ยืนต้น ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ และปลูกขึ้น
2. ต้นไม้ล้มลุกที่ขึ้นเองตามธรรมชาติและปลูกขึ้น
2. ผู้รับการฝึกทำ�การจำ�แนกพื้นที่สูง – ต่ำ� และธารน้ำ�ไหลให้แล้วเสร็จภายใน 8 นาทีได้อย่างถูกต้อง

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
3. ผู้รับการฝึกทำ�การจำ�แนกสิ่งปลูกสร้างให้แล้วเสร็จภายใน

แบบฝึกที่ 2 การฝึกร่างแผนที่จากการลาดตระเวน (ขั้นต้น)


วิธีการดำ�เนินการ :
1. เครื่องช่วยฝึกประกอบด้วย
• เข็มทิศเลนส์เซติค
• กระดานรอง
• มีดเหลาดินสอ
• กระดาษ
• ไม้บรรทัด
2. ให้ผู้รับการฝึกจับคู่ ร่างแผนที่ จากการฝึกการลาดตระเวนตามแบบฝึกที่ 1 โดยใช้เครื่องช่วยฝึกที่มีอยู่
ร่างบนกระดาษ โดยที่เข็มทิศ ใช้วัดทิศทางและหาพิกัด, ไม้บรรทัด ใช้วัดขนาด และระยะทาง, ดินสอ ใช้ร่างแนวระดับ
และแนวดิ่ง
มาตรฐานในการตรวจสอบ :
1. ผู้รับการฝึกทหารสามารถตรวจเครื่องช่วยฝึกก่อนการใช้
2. เสร็จภายใน 5 นาที ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมผู้รับการฝึกทหารสามารถทำ�แผนที่ร่างในพื้นที่รับผิดชอบ
ให้แล้วเสร็จภายใน 30 นาที ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

การฝึกเพิ่มพูนทักษะการลว.ทางการช่าง 4 - 13
แบบฝึกที่ 3 การฝึกการลาดตระเวนถนน
วิธีการดำ�เนินการ :
1. กำ�ลังพล : 9 – 14 นาย
2. เครื่องช่วยฝึก
• อุปกรณ์ลาดตระเวนถนนตามแบบฟอร์ม DA 1248 จำ�นวน 1 ชุด
• อุปกรณ์เพิ่มเติมเช่น เครื่องหาพิกัดด้วยดาวเทียมเป็นต้น
การดำ�เนินการฝึก :
1. แบ่งชุดลาดตระเวนเป็นพวกดังนี้
• พวก ระวังป้องกัน จำ�นวน 3 – 5 นาย
• พวก จดบันทึก จำ�นวน 2 – 3 นาย
• พวก วัดระยะ จำ�นวน 3 – 5 นาย
• หัวหน้าชุด 1 นาย
2. ก่อนทำ�การลาดตระเวนแต่ละพวกต้องกำ�หนดหน้าที่ในพวกและซักซ้อมการปฏิบัติให้เกิดความชำ�นาญ ภายใต้
การกำ�กับและอำ�นวยการของหัวหน้าชุด เพื่อหาข่าวสารดังนี้
• ลักษณะจำ�กัด (Limiting Characteristics) ตามตารางลักษณะจำ�กัดของถนน
• ความกว้างของถนน (คือความกว้างของทางรถกับความกว้างของตัวทาง ใช้ความกว้างตรงที่แคบกว่า
ปกติแต่ไม่เป็นเครื่องกีดขวาง)
• วัสดุที่ใช้สร้างผิวถนน (Road Surface Materials)
3. ความยาว (Length) ความยาวของถนนจะเขียนเป็นกิโลเมตร หรือ เป็นไมล์ก็ได้ ให้เขียนไว้ในวงเล็บต่อจาก
วัสดุที่ใช้สร้างผิวถนน เช่น (6.5 KM) หรือ (4.5 MI.)
4. เครื่องกีดขวาง (Obstruction) ที่เป็นปัจจัยจำ�กัดต่อชนิด จำ�นวน หรือ ความเร็วของการจราจร ซึ่งมีดังนี้
• ช่องว่างเหนือศีรษะ
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

• ทางรถที่แคบกว่าปกติ
• ลาดชัน
• โค้งแคบ
• ท่าลุยข้าม
• แพส่งข้าม
5. สภาพพิเศษ
• เครื่องปิดกันด้วยหิมะ
• น้ำ�ท่วม
6. การกำ�หนดหมายเลขถนน (Road Flooding) หมายเลขทางทหารหรือทางพลเรือนจะเขียนไว้ในวงเล็บต่อท้าย
เช่น (RT 69) หรือ (317)
มาตรฐานในการตรวจสอบ :
1. ทหารสามารถใช้เครื่องช่วยฝึกและเครื่องช่วยฝึกเพิ่มเติมได้อย่างถูกต้อง, เหมาะสม
2. ทหารสามารถหาข่าวสารได้ถูกต้อง เหมาะสมแล้วเสร็จภายใน 20 นาที
3. ทหารสามารถกำ�หนดข่าวสารลงบนแผ่นบริวารและลงบนแบบฟอร์มการลาดตระเวนได้ถูกต้อง, เหมาะและ
แล้วเสร็จภายใน 20 นาที

4 - 14 การลาดตระเวนทางการช่าง - ลว.ถนน
แบบฟอร์มการรายงานลาดตระเวนถนน
รายงานการลาดตระเวนถนน วันที่ 20 ก.ค.22
(บก.หน่วยที่สั่งให้ทำ�การลาดตระเวน) จาก (ยศ,ชื่อ,หน่วยของนายทหารหรือนายสิบที่ทำ�
ช.พัน.11 การลาดตระเวน)
ร.ท.รบ รักเรียน ช.พัน.11 ร้อย.1
1. แผนที่ ก. ตัวเมือง ข. มาตราส่วน ค. หมายเลขแผ่น 2.หมู่วันเวลาเมื่อลงชื่อ
ประเทศไทย จ. เพชรบุรี 1 : 50,000 ระวาง 4935-II 201800 ก.ค.22
ตอนที่ 1 ข่าวสารของถนนทั่วไป
3. พิกัดกริดของถนน จาก 4. หมายเลขของถนน 5. ความยาวของถนน
NQ 895635 ถึง NQ 988501 4 16 กม.
6. ความกว้างของถนน 8. ลมฟ้าอากาศในระหว่างทำ�การลาดตระเวนอากาศแจ่มใส
6.7 - 9.3 ม. อุณหภูมิ 88 ํ F ฝนตกครั้งสุดท้ายเมื่อ 18 ก.ค.22
7. การลาดตระเวน (วัน, เวลา)
วันที่ 20 ก.ค.22 เวลา 0800
ตอนที่ 2 ข่าวสารรายละเอียดของถนน
9. ลาดแนวทาง (กาข้อเดียว) 10. การระบายน้ำ� (กาข้อเดียว)
1) ลาดและโค้งตามเกณฑ์ 1) คูระบายน้ำ�เพียงพอ ความนูนกลางและ
2) ลาดชัน (ตั้งแต่ 7% ขึ้นไป) การยกโค้งตามเกณฑ์ ท่อระบายน้ำ�
3) โค้งแคบ (รัศมีน้อยกว่า 100 ฟุต หรือ อยู่ในสภาพดี

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
น้อยกว่า 30 เมตร) 2) คูระบายน้ำ�ไม่เพียงพอ, ท่อระบายน้ำ�ถูก
4) ลาดชันและโค้งแคบ อุดตันหรืออยู่ในสภาพเลว
11. ฐานทาง (กาข้อเดียว)
1) วัสดุที่ใช้บดทับ มีคุณภาพดี 2) วัสดุที่ใช้ ยุบตัวบดทับไม่แน่น
12. ลักษณะของผิวทาง (รายการที่สมบูรณ์อยู่ในข้อ 12 ก. และ ข.)
ก. ผิวทาง (กาข้อเดียว)
1) ไม่เป็นหลุมลูกคลื่นหรือร่องซึ่งไม่ต้องลดความเร็ว 2) เป็นลูกคลื่น, ร่อง, หรือหลุม ซึ่งต้องลดความเร็ว
ข. ชนิดของผิวทาง (กาข้อเดียว)
1) คอนกรีต 7) โรยด้วยกรวด
2) บิทูมินัส (บอกชนิดถ้าทราบ) - แมคคาดัม 8) โรยด้วยขี้ตะกรันโลหะ
3) ปูด้วยอิฐ 9) ดินธรรมชาติหรือแน่นคงตัว,ดินเหนียวปนทราย
4) ปูด้วยหิน เปลือกหอย, เศษตะกรันถ่านหิน,
5) โรยด้วยหินย่อยหรือปะการัง เศษหินแกรนิต
6) วอเตอร์บาวด์ แมคคาดัม 10) วัสดุอื่น ๆ

การลาดตระเวนทางการช่าง - ลว.ถนน 4 - 15
ตอนที่ 3 เครื่องกีดขวาง
(บันทึกเครื่องกีดขวางต่อไปนี้ ซึ่งเป็นผลกระทบกระเทือนต่อการจราจร ถ้าข่าวสารใดไม่สามารถพิจารณาได้ให้เขียน
คำ�ว่า “ไม่ทราบ”)
1) ช่องว่างเหนือศีรษะทีน่ อ้ ยกว่า 14 ฟุต (4.30 เมตร) เช่น อุโมงค์, สะพาน, สายไฟ และสายโทรศัพท์ อาคารทีย่ น่ื ล้ำ�
2) ถนนแคบกว่าปกติซึ่งจำ�กัดการจราจร เช่น หลุมระเบิด, สะพานแคบ, ทางโค้ง, และอาคารที่ยื่นล้ำ�
3) ลาดชัน (ตั้งแต่ 7% ขึ้นไป)
4) โค้งแคบ (รัศมีน้อยกว่า 100 ฟุต หรือ 30 เมตร)
5) ท่าลุยข้าม

ลำ�ดับ ชนิดเครื่องกีดขวาง พิกัดกริด หมายเหตุ


1. โค้งแคบ รัศมี 27.5 ม. NQ 953508 ดูแผ่นบริวาร
2. ลาดชัน 8 % ขึ้นไป NQ 934526 ความยาว 300 ม.
3. เครื่องกีดขวางชนิดเสาปัก NQ 917549 ดู DA 1711-R
4. ทางลอดผ่าน 4.05 ม. NQ 974504 ดูแผ่นบริวาร
5. หลุมระเบิด ความยาว 7.5 มม. NQ 915554 ดู DA 1711-R

แบบฝึกที่ 4 แบบฝึกการลาดตระเวนสะพาน
วิธีการดำ�เนินการ :
1. กำ�ลังพล : 9 – 14 นาย
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

2. เครื่องช่วยฝึก
• อุปกรณ์ลาดตระเวนตามแบบฟอร์มการลาดตระเวนสะพาน DA 1249 จำ�นวน 1 ชุด
• อุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น เครื่องหาพิกัดด้วยดาวเทียมเป็นต้น
3. การดำ�เนินการฝึก
• แบ่งชุดลาดตระเวนเป็นพวกดังนี้
พวก ระวังป้องกัน จำ�นวน 3 – 5 นาย
พวก จดบันทึก จำ�นวน 2 – 3 นาย
พวก วัดระยะ จำ�นวน 3 – 5 นาย
หัวหน้าชุด 1 นาย
• ก่อนทำ�การลาดตระเวนแต่ละพวกต้องกำ�หนดหน้าที่ในพวกและซักซ้อมการปฏิบัติให้เกิดความ
ชำ�นาญ ภายใต้การกำ�กับและอำ�นวยการของหัวหน้าชุด เพื่อหาข่าวสารดังนี้
1) ตำ�บลที่ตั้งสะพาน
2) หมายเลขลำ�ดับ
3) ชั้นรับน้ำ�หนักทางทหาร
4) ช่องว่างเหนือศีรษะ
5) ความกว้าง
6) ความยาว
7) สภาพทางเบี่ยง
• นำ�ข่าวสารที่หามาได้ลงในแผ่นบริวารและแบบฟอร์มรายงานการลาดตระเวนสะพาน DA 1249
ใส่แบบฟอร์มสะพาน

4 - 16 การลาดตระเวนทางการช่าง - ลว. สะพาน


มาตรฐานในการตรวจสอบ :
1. ทหารสามารถใช้เครื่องช่วยฝึก และเครื่องช่วยฝึกเพิ่มเติมได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
2. ทหารสามารถหาข่าวสารได้ถูกต้อง เหมาะสมแล้วเสร็จภายใน 20 นาที
3. ทหารสามารถกำ�หนดข่าวสารลงบนแผ่นบริวารและลงบนแบบฟอร์มการลาดตระเวนได้ถูกต้อง, เหมาะสมและ
แล้วเสร็จภายใน 20 นาที
เครื่องยกของหนัก
การฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะการสร้างเครื่องยกของหนัก
แบบฝึกที่ 1 การสร้างปั้นจั่นแกว่ง
1. ก�ำลังพล
- นายสิบ 2 นาย
- พลทหาร 20 นาย

รูปที่ 4-8 ปั้นจั่นแกว่ง

2. เครื่องช่วยฝึก
• เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว ยาว 300 ฟุต 2 เส้น (ขนาดหนวดพราหมณ์)
• เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 3/4 นิ้ว ยาว 200 ฟุต 1 เส้น (ร้อยรอกผูกคันแกว่ง)
• เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 3/4 นิ้ว ยาว 100 ฟุต 1 เส้น (ร้อยยกของหนัก)
• เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 3/4 นิ้ว ยาว 30 ฟุต 4 เส้น (มัดรอก)
• เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 1/2 นิ้ว ยาว 70 ฟุต 2 เส้น (ผูกง่ามคันแกว่ง)

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
• เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 3/4 นิ้ว ยาว 30 ฟุต 2 เส้น
• เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 3/4 นิ้ว ยาว 40 ฟุต 2 เส้น (สลิง)
• เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 3/4 นิ้ว ยาว 30 ฟุต 1 เส้น (ยึดโคนเสา)
• เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 1/2 นิ้ว ยาว 50 ฟุต 8 เส้น (หลักสมอบก)
• เชือกมาลีนยาว 4 ฟุต 9 เส้น (ผูกปากรอก)
• รอกคู่ 4 ตัว
• รอกบานพับ 2 ตัว
• รอกเดี่ยว 2 ตัวหลัก
• สมอบก 12 ต้น
• ชะแลงขุดดิน 1 อัน
• ขวานเหล็ก 2 เล่ม
• ไม้ไผ่ 4 ลำ�
• เชือกผูกมัด 22 เส้น
• ไม้หมอน 2 ท่อน
• ไม้ตะบิดเชือก 8 อัน
• ตัวปลิงสั้น 20 ตัว
• ตะลุมพุก 4 อัน
• เสาปั้นจั่นเส้นผ่านศูนย์กลาง 20-25 ซม. ยาว 8 เมตร 1 ต้น
• คันแกว่งเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 ซม. ยาว 4-6 เมตร 1 ต้น
• ไม้ง่ามคันแกว่ง 2x4 นิ้ว ยาว 2 1/2 ฟุต

การสร้างเครื่องยกของหนัก 4 - 17
3. ตารางงานปั้นจั่นแกว่ง
พนักงานหมายเลข งานที่ 1 งานที่ 2 งานที่ 3
นายสิบ กำ�หนดที่ตั้ง ทำ�การกรุย อำ�นวยการสร้าง
1 ยกเสามาวางไว้บนหมอนและขุด ถือกระดานเลื่อนโคนเสายก กลบหลุมเสาและกระทุ้งดิน
2 หลุม เสาตั้ง
3 ยกคันแกว่งมาเตรียมและผูกรอก ยกเสาตั้ง ผูกรอกยกคันแกว่งที่ปลายคัน
4 แกว่ง
5 ร้อยรอกยกคันแกว่งและผูกติดกับ ยกเสาตั้ง ผูกรอกยกคันแกว่งที่ปลายคัน
เสาปั้นจั่นรอกเป็นผูกที่โคนเสา แกว่ง
6
7 ผูกสายหนวดพราหมณ์ขวาและ คุมสายหนวดพราหมณ์ขวา ผูกเชือกหนวดพราหมณ์ขวา
8 ตอกหลักสมอบก แล้วยกเสาตั้ง กับหลักสมอบก
9 ผูกหนวดพราหมณ์สายซ้ายและ คุมสายหนวดพราหมณ์ซ้าย ผูกเชือกหนวดพราหมณ์หน้า
10 ตอกหลักสมอบก แล้วยกเสาตั้ง กับหลักสมอบก
11 ผูกหนวดพราหมณ์สายหน้าและ คุมสายหนวดพราหมณ์ซ้าย ผูกเชือกหนวดพราหมณ์หน้า
ตอกหลักสมอบก แล้วยกเสาตั้ง กับหลักสมอบก
12
13 ผูกหนวดพราหมณ์สายหลังและ คุมสายหนวดพราหมณ์หลัง ผูกเชือกหนวดพราหมณ์กับ
ตอกหลักสมอบก และยกเสาตั้ง สมอบก
14
15 ผูกไม้ขาทรายค้ำ�ตั้งเสา 2 อัน ใช้ขาทรายค้ำ�เสาตั้ง ผูกรอกบานพับที่โคนเสา
16
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

17 ช่วยทั่วไปแล้วแต่นายสิบจะ ช่วยในการยกเสาตั้ง ช่วยในการยกคันแกว่ง,ซ้าย


18 มอบงานให้ ช่วยผูกมัดและเก็บของ
19
20

4. มาตรฐานในการตรวจสอบ :
• ทำ�การสร้างปั้นจั่นแกว่ง
1) สร้างปั้นจั่นแกว่งได้ถูกต้องตามคำ�สั่ง
2) ปั้นจั่นแกว่งมีความมั่นคงแข็งแรง
3) สร้างปั้นจั่นแกว่งได้ภายใน 30 นาที อย่างถูกต้องและเหมาะสม
• ทราบประโยชน์และการใช้งานของปั้นจั่นแกว่ง
1) สามารถตอบคำ�ถามได้ว่า ปั้นจั่นแกว่ง นำ�ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
2) สามารถอธิบายขั้นตอนการสร้างปั้นจั่นแกว่ง ได้ถูกต้อง

4 - 18 การสร้างเครื่องยกของหนัก
21

แบบฝึกที่ 2 การสร้างสายส่งข้ามด้วยเชือก

รูปที่ 4-9 สายส่งข้ามด้วยเชือก

1. กำ�ลังพล : นายสิบ 2 นาย


พลทหาร 10 นาย
2. เครื่องช่วยฝึก
• เชือก 1 นิ้ว ยาว 100 ฟุต 4 เส้น (หนวดพราหมณ์ฝั่งละ 2 เส้น)
• เชือก 1 นิ้ว ยาว 300 ฟุต 1 เส้น (สายสาลี่)
• เชือก 3/4 นิ้ว ยาว 300 ฟุต 2 เส้น (สายดึงหรือสายฉุด)
• เชือก 3/4 นิ้ว ยาว 100 ฟุต 1 เส้น (ร้อยรอก)
• เชือก 3/4 นิ้ว ยาว 50 ฟุต 2 เส้น (ผูกขาทราย)
• เชือก 3/4 นิ้ว ยาว 50 ฟุต 2 เส้น (ยึดโคนเสา)

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
• เชือก 3/4 นิ้ว ยาว 30 ฟุต 1 เส้น (สลิงยกของ)
• เชือก 3/4 นิ้ว ยาว 30 ฟุต 1 เส้น (เกี่ยวกับรอกบานพับคล้องขาทราย)
• เชือก 3/4 นิ้ว ยาว 50 ฟุต 18 เส้น (หลักสมอบก)
• รอกคู่ 1 ตัว
• รอกบานพับ 2 ตัว
• รอกเดี่ยว 1 ตัว
• ตัวปลิง 16 ตัว
• ขวานเล็ก 2 เล่ม (ฝั่งละเล่ม)
• ชะแลงขุดดิน 2 เล่ม (ฝั่งละเล่ม)
• หลักสมอบก 27 ต้น
• ตะลุมพุก 4 อัน (ฝั่งละเล่ม)
• เสาขาทราย ยาว 20 ฟุต 4 ต้น
• ไม้รอง 4 ท่อน (ฝั่งละ 2 ท่อน)
• เชือกผูกมัด 16 เส้น
• เชือกมาลีน ยาว 4 ฟุต 4 เส้น (ผูกมัดปากรอก)
• ไม้ตะบิดเชือก 18 อัน

การสร้างสายส่งข้ามด้วยเชือก 4 - 19
ผังการวางอุปกรณ์ก่อนการสร้างสายส่งข้าม

รูปที่ 4-10 ผังการวางอุปกรณ์ก่อนการสร้างสายส่งข้าม

1. ขอนไม้ 1 ท่อน
2. เสาขาทราย 2 ต้น
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

3. ไม้กระดาน 2 แผ่น
4. เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 1/2 นิ้ว 11 เส้น
5. เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 3/4 นิ้ว 4 เส้น
6. เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว 1 เส้น
7. ชะแลง 1 อัน
8. สมอบก สั้น 8 ต้น, ยาว 6 ต้น
9. ตะลุมพุก 2 อัน
10. รอกเดี่ยว 2 ตัว
11. รอกคู่ 2 ตัว
12. รอกบานพับ 1 ตัว
13. ฆ้อน 1 เต้า
14. ตะปู 20 ตัว
15. พุกไม้ 3 อัน
16. เชือกมาลีน 1 กลุ่ม
17. ไม้ไผ่ 4 ลำ�

4 - 20 การสร้างสายส่งข้ามด้วยเชือก
3. การดำ�เนินการฝึก
• การกำ�หนดที่สร้าง
1) กำ�หนดจุดทีต่ ง้ั เครือ่ งรองรับของปลายระยะทอดทัง้ สองข้าง ถ้าทำ�ได้ควรใช้เครือ่ งรองรับธรรมชาติขา้ งหนึง่
และสร้างขาทรายข้างหนึ่ง
2) เมื่อรู้ตำ�บลที่จะต้องการสร้างขาทรายแล้ว ให้กำ�หนดการกรุยเช่นเดียวกับการสร้างขาทราย เว้นแต่สาย
หนวดพราหมณ์หน้าให้เฉียงมาทางซ้ายพอควร เพื่อมิให้กีดขวางแคร่ยกของสายหนวดพราหมณ์หลัง
เฉียงมาทางขวาเช่นเดียวกัน
• การปฏิบัติการสร้าง
1) เช่นเดียวกันกับการสร้างขาทราย
2) นายงานทั้งสองฝั่ง สั่งการ “สร้างเครื่องรองรับขาทราย ตามจุดที่กำ�หนดให้ โดยให้ด้านหน้าอยู่ทางทิศ
สมมุติตามต้องการและสร้างสมอบกปักผสมท่อนซุง 1 ชุด (1 ชุด มีสมอบก 1/1 สี่ชุด) ด้านหลังตามจุด
ที่กำ�หนดให้ เริ่มงาน” (ถ้าใช้เครื่องรองรับขาทรายทั้งสองฝั่ง)
3) ดำ�เนินการสร้างเครื่องรองรับขาทรายทั้งสองฝั่ง เช่นเดียวกับการสร้างขาทรายเว้นแต่ไม่ต้องมีขบวนรอก
ยกของแต่รอกบานพับแขวนไว้ที่สายหิ้วหัวขาทรายเพื่อขึงสายส่งข้ามฝั่งใกล้เท่านั้นฝั่งไกลไม่ต้อง
4) ถ้าไม่มีสมอบกธรรมชาติ เพื่อยึดสายขึงข้ามแล้วต้องใช้สมอบกปักผสมท่อนซุง
5) นำ�สายขึงข้ามด้านหนึ่งร้อยเข้าไปในรอกบานพับที่หัวเสาขาทราย
6) ประกอบรอกเดินเข้ากับสายขึงข้าม แล้วผูกสายยึดไว้ (สายหนวดแมว)
7) ยกขาทรายตั้งขึ้นและยึดตรึงให้แน่น
8) นำ�ปลายสายขึงข้ามไปยึดเข้ากับขบวนรอกที่สมอบกปักผสมท่อนซุง ด้วยเงื่อนกะช้อนเชือก
9) สร้างสมอบกปัก 1/1/1 หนึ่งชุดเพื่อยึดสายดึงปรับสายขึงข้ามให้หย่อนและตึงตามความต้องการ
10) ประกอบแคร่ยกของเข้ากับรอกเดินบนสายขึงข้าม
11) สายดึงไม่ควรเกิน 2 เท่าของระยะทอด เพื่อให้ดึงกลับไปมาได้สะดวก

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
12) ปรับสายขึงข้ามให้ดึง มีระยะตกท้องช้างประมาณ 5 % ของระยะทอด
13) อย่ากระตุกสายขึงข้าม เมื่อบรรทุกน้ำ�หนักแล้ว (ขณะปรับสายขึงข้ามให้ตึง)
14) ฟังคำ�สั่งนายงานฝั่งใกล้เป็นหลัก ขณะใช้ขนส่งของ

การสร้างสายส่งข้ามด้วยเชือก 4 - 21
4. ตารางสร้างสายขนส่ง
พนักงาน
งานที่ 1 งานที่ 2 งานที่ 3
หมายเลข
นายสิบแต่ละฝั่งกำ�หนดที่ทำ�การกรุย และอำ�นวยการสร้าง
1-2 มัดเสาขาทราย และขุดหลุม ใช้ไม้กระดานกันโคนเสา กลบดิน และผูกเชือก
คนละ 1 หลุม คนละ 1 เส้น ยึดโคนเสา
ผูกสายหนวดพราหมณ์หน้าซ้าย
ปักสมอบกสำ�หรับหนวดพราหมณ์ ผูกสาย
3-4 แล้วเอาปลายคล้องสมอบก
หน้าเฉียงซ้าย 1 ชุด หนวดพราหมณ์แน่น
1 รอบ
ผูกสายหนวดพราหมณ์หลังขวา
ปักสมอบกสำ�หรับหนวดพราหมณ์ ผูกสาย
5-6 แล้วเอาปลายคล้องสมอบก
หลังเฉียงขวา 1 ชุด หนวดพราหมณ์แน่น
1 รอบ
เก็บไม้ค้ำ�ยันแล้วไปช่วย
7-8 ผูกไม้ค้ำ�ยัน 2 ชุด ใช้ไม้ค้ำ�ยัน 1 คู่ ยกเสาตั้ง
ประจำ�ที่ขบวนรอก
ผูกหนวดพราหมณ์สายซ้ายและตอก คุมสายหนวดพราหมณ์ซ้ายแล้ว ผูกเชือกหนวดพราหมณ์
9
หลักสมอบก ยกเสาตั้ง กับหลักสมอบก
ผูกหนวดพราหมณ์สายขวาตอกหลัก คุมสายหนวดพราหมณ์ขวาแล้ว ผูกเชือกหนวดพราหมณ์
10
สมอบก ยกเสาตั้ง กับหลักสมอบก
1-2 ผูกปลายสายขึงข้ามฝั่งไกลเข้าขา เก็บของใช้เข้าที่เดิม
ช่วยยกเสาขาทรายตั้งขึ้นด้วยมือ
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

ทรายธรรมชาติ ให้หมด
ทำ�สายหิ้วแขวนรอกที่หัวขาทรายฝั่ง ติดตั้งรอกเดินเข้ากับสายขึงข้าม ประจำ�สายหนวดแมวฝั่ง
3-4
ใกล้และแขวนรอกบานพับ 1 ตัว และผูกสายฉุด (หนวดแมว) ละคน
ร้อยรอก ขึงสายขึงข้าม 1 ชุด ตอกสมอบกพักสายหนวด
5-6 ช่วยยกเสาขาทรายด้วยมือ
ประกอบสมอบกท่อนซุง แมวฝั่งละ 1 คน
ใช้รอกบานพับประกอบแคร่ เอาแคร่ยกของใส่กับรอก
7-8 ใช้ขาทรายค้ำ�ยัน 1 คู่ยกเสา
ยกของใส่กับสายขนส่ง เดินบนสายขนส่ง
ช่วยปักสมอบกผสมท่อนซุง ประจำ�สมอบกผสม
9 สำ�หรับสายขนส่งและยึดสาย ช่วยยกเสาขาทรายตั้งด้วยมือ 1/1/1
ขนส่งฝั่งใกล้สร้าง เพื่อยึดสายขบวนรอก
สร้างสมอบกปักผสม 1/1/1
10
ยึดสายขบวนรอก
มาตรฐานในการตรวจสอบ :
1. ผู้รับการฝึกสามารถสร้างสายส่งข้ามได้
• สร้างสายส่งข้ามได้ถูกต้องตามคำ�สั่ง
• สายส่งข้ามมีความมั่นคงแข็งแรง
• สร้างสายส่งข้ามเสร็จภายใน 60 นาที อย่างถูกต้องมั่นคงแข็งแรง
• สามารถใช้ส่งข้ามวัสดุได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย

4 - 22 การสร้างสายส่งข้ามด้วยเชือก
2. ทราบประโยชน์และการใช้งานของสายส่งข้าม
• สามารถตอบคำ�ถามได้ว่า สายส่งข้าม นำ�ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง
• ผู้รับการฝึกสามารถอธิบายขั้นตอนการสร้างสายส่งข้าม ได้อย่างถูกต้อง

แบบฝึกที่ 3 การสร้างขาทราย

รูปที่ 4-11 การสร้างขาทราย

1. กำ�ลังพล : นายสิบ 1 นาย


พลทหาร 10 นาย

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
2. เครื่องช่วยฝึก
• ขอนไม้ขนาด 4 นิ้ว x 6 นิ้ว ยาว 1.80 เมตร 1 ท่อน
• ไม้กระดาน 1x6 นิ้ว ยาว 2.00 เมตร 2 แผ่น
• เสาขาทรายเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว ยาว 6.00 เมตร 2 ต้น
• ไม้ไผ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 4.00 เมตร 4 ลำ�
• ไม้พุกขนาด 1 1/2 x 3 นิ้ว ยาว 1.00 เมตร 3 ท่อน
• ชะแลงเหล็กเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว ยาว 1.00 เมตร 2 อัน
• ตะลุมพุก 2 อัน
• ฆ้อนหางเหยี่ยวขนาด 4 ปอนด์ 1 เต้า
• ตะปูขนาด 3 นิ้ว 20 ตัว
• เชือกมาลีน 1 กลุ่ม ยาวไม่น้อยกว่า 15 ฟุต 1 กลุ่ม
• รอกเดี่ยว (ร่องรอก 3/4 นิ้ว) 2 ตัว
• รอกคู่ (ร่องรอก 3/4 นิ้ว) 2 ตัว
• รอกบานพับ (ร่องรอก 3/4 นิ้ว) 1 ตัว
• สมอบกเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว ยาว 5 ฟุต 6 ต้น
• สมอบกสั้นเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว ยาว 2 ฟุต 8 ต้น
1) ทำ�หลักกรุยและทำ�ไม้ขันชะเนาะ 4 อัน
2) พักรอกผ่อนแรงดึงสายหนวดพราหมณ์หลัง 1 อัน
3) พักรอกยกของหนัก 1 อัน

การสร้างขาทราย 4 - 23
4) ทำ�หลักกรุยขาทราย 2 อัน
5) เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว ยาว 200 ฟุต 1 เส้น (สายหนวดพราหมณ์)
• เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 3/4 นิ้ว ยาว 100 ฟุต 1 เส้น
• เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 3/4 นิ้ว ยาว 40 ฟุต 3 เส้น
1) ทำ�บ่วงคล้องหัวขาทรายแขวนขบวนรอก 1 เส้น
2) มัดขาทราย 1 เส้น
3) ร้อยขบวนรอกผ่อนแรง 1 เส้น
• เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 1/2 นิ้ว ยาว 20 ฟุต 11 เส้น
1) ผูกสมอบก 2 แห่ง 8 เส้น
2) ผูกรอกบานพับที่โคนเสาขาทราย 1 เส้น
3) ผูกรอกผ่อนแรงดึงที่สายหนวดพราหมณ์หลัง 1 เส้น
4) ผูกโคนขาทรายกันถ่าง 1 เส้น
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

รูปที่ 4-12 ผังการวางอุปกรณ์ก่อนการสร้างขาทราย


1. ขอนไม้ 1 ท่อน
2. เสาขาทราย 2 ต้น
3. ไม้กระดาน 2 แผ่น
4. เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 1/2 นิ้ว 11 เส้น
5. เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 3/4 นิ้ว 4 เส้น
6. เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว 1 เส้น
7. ชะแลง 1 อัน
8. สมอบก สั้น 8 ต้น, ยาว 6 ต้น
9. ตะลุมพุก 2 อัน
10. รอกเดี่ยว 2 ตัว
11. รอกคู่ 2 ตัว
12. รอกบานพับ 1 ตัว
13. ฆ้อน 1 เต้า

4 - 24 การสร้างขาทราย
14. ตะปู 20 ตัว
15. พุกไม้ 3 อัน
16. เชือกมาลีน 1 กลุ่ม
17. ไม้ไผ่ 4 ลำ�

3. การดำ�เนินการฝึก
นายงาน ก่อนเรียกแถวควรเลือกที่ๆ เหมาะสม พอที่จะเข้าแถวได้ การเรียกแถวให้หันหน้าเข้าหาแถวแล้วจึง
เรียกแถว
“ชุดสร้างขาทรายมาหาข้าพเจ้า” “นิ่ง” “นับ” (เพื่อให้ทุกคนทราบหมายเลขของตน)
“พัก” ชี้แจงให้ผู้รับการฝึกทราบ และกำ�หนดจุดกรุยในการตั้งขาทราย
สร้างขาทราย ณ จุดกรุยที่กำ�หนดให้ “เริ่มสร้าง”
“ขาทรายประจำ�ที่” หมายถึงทุกคนมาประจำ�ที่ขาทรายเพื่อจะยก
“ขาทรายพร้อม” หมายถึงทุกคนพร้อมที่จะยกขาทราย
“ยก” “เดิน” “หยุด” “วาง”
ขั้นตอนการสร้าง แบ่งออกได้เป็น 3 งาน คือ
งานที่ 1 เตรียมการสร้างขาทราย
นายงาน กำ�หนดที่ขุดหลุมที่จะตั้งขาทรายต้องให้แต่ละหลุมห่างกันครึ่งหนึ่งของความยาวของเสา
การขุดหลุม ต้องขุดให้โตกว่าเสาเพียงเล็กน้อยลึกประมาณ 1 ฟุต ถ้าเป็นดินร่วนต้องใช้ อิฐ หิน ไม้กระดาน หรือสิ่ง
อื่นๆ ทำ�ให้แน่นเพื่อกันเสาขาทรายทรุด
หมายเลข
1-2 ยกขอนไม้ไปวาง ณ ที่ทำ�การผูกขาทรายติดกัน
3-10 ช่วยกันยกเสาขาทรายไปวางบนขอนไม้ ให้ปลายเสาพาดขอนไม้

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
1-2 หยิบเชือกและมัดเสาให้ติดกัน
3-4 ขุดหลุมคนละหลุมที่หลักกรุย
5-6 สร้างสมอบกหลัง และประกอบขบวนรอกผ่อนแรงดึงสายหนวดพราหมณ์หลัง
7-8 สร้างสมอบกหน้า และผูกสายหนวดพราหมณ์กบั หัวขาทราย แล้วส่งปลายสายหนวดพราหมณ์ไปยังสมอบกหลัง
9-10 ประกอบขบวนรอก
การมัดหัวเสาขาทราย
• วางเสา 2 ต้น ให้ห่างกัน 1/2 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเสา
• มัดเสาต้องเว้นปลายเสาไม่น้อยกว่า 1 ฟุต
• วิธีมัด ดูรูป
• การใช้ไม้พุกกันเลื่อน ดูรูป
• ใช้เงื่อนตะกรุดเบ็ด พันรอบ 9 รอบ คาดคอตะกรุดเบ็ด
การทำ�สมอบก
• กะระยะตัง้ สมอบก โดยทำ�มุมฉากกึง่ กลางระหว่างมุมทัง้ สอง เดินตรงไปในแนวตัง้ ฉากให้มรี ะยะไม่นอ้ ยกว่า 3 เท่า
ของความยาวของเสา
• ตอกสมอบกลงดินทำ�มุม 45 องศา โดยหันมุมมาทางแนวขาทราย ตอกลงไปในดินประมาณ 3-4 ฟุต การตอก
ต้นสมอบกต้นต่อๆ ไปให้ห่างในระยะ 3-6 ฟุต ทางเส้นตรง
• การยึดสมอบก ดูรูป
• ใช้เงื่อนพิรอด

การสร้างขาทราย 4 - 25
งานที่ 2 เตรียมการตั้งขาทราย
หมายเลข
1-10 ช่วยกันพลิกเสาและกางโคนขาทรายเลื่อนไปที่ปากหลุม
1-2 ตอกไม้กันเลื่อน
3-4 ผูกเชือกโคนขาทราย ผูกรอกบานพับโคนเสา
5-6 ผูกสายหนวดพราหมณ์หลัง กับขบวนรอกผ่อนแรง
7-8 ผูกมัดไม้ไผ่ทำ�ขาทรายช่วยค้ำ�ยัน
9-10 ทำ�ห่วงเชือกคล้องหัวเสาแขวนขบวนรอกและผูกรอกกันรอกแกว่งเวลายกขาทราย
การมัดเชือกโคนเสาที่จะลงหลุม ให้ห่างจากปลายโคนเสาประมาณ 1ฟุต
การผูกสายหนวดพราหมณ์กับหัวเสา ดูรูป
การผูกยึดรอกบานพับที่โคนเสา
• ดูรูป
• ใช้เงื่อนตะกรุดเบ็ด
การร้อยรอกและการทำ�ห่วงรอกแขวนขบวนรอก
• การร้อยรอกตามระเบียบ
• การทำ�ห่วงแขวนขบวนรอกกับหัวเสา ทำ�เป็นห่วงคล้องหัวเสา 2 รอบ แล้วปลายเชือกทั้งสองต่อกัน
ด้วยเงื่อนพิรอด
งานที่ 3 การตั้งขาทราย
หมายเลข
1-2 ช่วยยกขาทรายตั้ง และใช้ไม้ค้ำ�ยันขาทรายคนละคู่
1-4 ใช้ไม้กระดานบังคับขาทรายให้ลงหลุม แล้วกลบดินที่โคนเสาขาทราย
1-6 ดึงสายหนวดพราหมณ์หลัง ด้วยรอกผ่อนแรงดึง
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

1-8 ช่วยยกขาทรายตั้ง และคอยดึงสายหนวดพราหมณ์หน้า


9-10 ช่วยกันเก็บเครื่องมือเครื่องใช้ วางรวมกันให้เป็นระเบียบ

4. มาตรฐานในการตรวจสอบ :
- ทำ�การสร้างขาทราย
1) สร้างขาทรายได้ถูกต้องตามคำ�สั่ง
2) ขาทรายมีความมั่นคงแข็งแรง
3) สร้างขาทรายเสร็จภายใน 30 นาที อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- ทราบประโยชน์และการใช้งานขาทราย
1) สามารถตอบคำ�ถามได้ว่า ขาทรายนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
2) สามารถอธิบายขั้นตอนการสร้างขาทรายได้อย่างถูกต้อง

รูปที่ 4-13 สมอบกปักดิน



4 - 26 การสร้างขาทราย
แบบฝึกที่ 4 การสร้างขาหยั่ง

รูปที่ 4-14 การสร้างขาหยั่ง

1. กำ�ลังพล : นายสิบ 1 นาย


พลทหาร 10 นาย
2. เครื่องช่วยฝึก
• ขอนไม้ขนาด 4 x 6 นิ้ว ยาว 1.80 เมตร 3 ท่อน
• ไม้กระดาน 1 x 6 นิ้ว ยาว 2.00 เมตร 2 ท่อน
• เสาไม้เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 5.00 เมตร 3 ต้น
• ไม้ไผ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 4.00 เมตร 4 ลำ�
• พุกไม้ขนาด 1 1/2 นิ้ว X 3 นิ้ว ยาว 1 ฟุต 4 ท่อน
• ชะแลงเหล็กเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว ยาว 1.00 เมตร 3 อัน

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
• ตะลุมพุก 1 อัน
• ฆ้อนหางเหยี่ยว ขนาด 2 ปอนด์ 1 เต้า
• ตะปูขนาด 3 นิ้ว 20 ตัว
• เชือกมาลีน 1 กลุ่ม ยาวไม่น้อยกว่า 15 ฟุต 1 กลุ่ม
• รอกเดี่ยว (ร่องรอก 3/4 นิ้ว ตัวรอกยาว 1 ฟุต) 1 ตัว
• รอกคู่ (รอก 3/4 นิ้ว ตัวรอกยาว 1 ฟุต) 1 ตัว
• รอกบานพับ (ร่องรอก 3/4 นิ้ว ตัวรอกยาว 1 ฟุต) 1 ตัว
• สมอบกสั้นเส้นผ่านศูนย์กลาง ยาว 2 ฟุต 4 ต้น
- พักรอกยกของหนัก 1 ต้น
- ทำ�หลักกรุย 3 ต้น
• เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 3/4 นิ้ว ยาว 100 ฟุต (ร้อยขบวนรอก) 1 เส้น
• เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 3/4 นิ้ว ยาว 40 ฟุต 2 เส้น
- มัดขาหยั่ง 1 เส้น
- ทำ�บ่วงคล้องรอกยึดหัวเสา 1 เส้น
• เชือกมะนิลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 1/2 นิ้ว ยาว 20 ฟุต 4 เส้น
- ผูกรอกยึดบานพับติดกับโคนเสา 1 เส้น
- ผูกยึดเสาขาหยั่ง 3 เส้น

การสร้างขาหยั่ง 4 - 27
รูปที่ 4-15 ผังการวางอุปกรณ์ก่อนการสร้างขาหยั่ง

1. ขอนไม้ 3 ท่อน 9. รอกเดี่ยว 1 ตัว


2. เสาขาหยั่ง 3 ต้น 10. รอกคู่ 1 ตัว
3. ไม้กระดาน 2 แผ่น 11. รอกบานพับ 1 ตัว
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

4. เชือกเส้นผ่านศูนย์กลาง 1/2 นิ้ว 4 เส้น 12. ค้อน 1 เต้า


5. เชือกเส้นผ่านศูนย์กลาง 3/4 นิ้ว 3 เส้น 13. ตะปู 20 ตัว
6. ชะแลง 3 อัน 14. ไม้พุก 4 ท่อน
7. สมอบกสั้น 4 ต้น 15. เชือกมาลีน 1 กลุ่ม
8. ตะลุมพุก 1 อัน 16. ไม้ไผ่ 4 ลำ�

3. การดำ�เนินการฝึก
- คำ�บอกคำ�สั่งในการสร้างขาหยั่ง
นายงาน เรียกแถว “ชุดสร้างขาหยั่งมาหาข้าพเจ้า” “นิ่ง” “นับ” (เพื่อให้ทุกคนทราบหมายเลขของตน) “พัก”
ชี้แจงให้ผู้รับการฝึกทราบและกำ�หนดจุดกรุยในการตั้งขาหยั่ง
- “สร้างขาหยั่ง ณ จุดกรุยที่กำ�หนดให้ เริ่มสร้าง”
- “ขาหยั่งประจำ�ที่” หมายถึงทุกคนมาประจำ�ที่ขาหยั่งเพื่อจะยก
- “ขาหยั่งพร้อม” ทุกคนพร้อมที่จะยกขาหยั่ง
- คำ�สั่งที่ได้ ได้แก่ “ยก” “เดิน” “หยุด” “วาง”
- ขั้นตอนการสร้างขาหยั่ง
มี 3 ขั้นตอน คือ การเตรียมการ, การขุดหลุม, และการตั้งเสา
งานที่ 1 เตรียมการสร้างขาหยั่ง
นายงาน กำ�หนดที่ขุดหลุมและที่จะตั้งเสาขาหยั่ง โดยให้แต่ละหลุมห่างกันเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าห่างกัน
แต่ละด้านเป็น 1/2 เท่า ของความยาวของเสา

4 - 28 การสร้างขาหยั่ง
หมายเลข
1-2 - ยกขอนไม้ท่อนที่ 1
- ยกเสาต้นที่ 2 (ต้นกลางปลายเสาชี้สวนกับต้นที่ 1 และ 3 ร่วมกับหมายเลข 5-6)
3-4 - ยกขอนไม้ท่อนที่ 2 ท่อนกลาง
- จัดระยะในกาสรวางเสาและขอนรองให้สะดวกในการมัดเสา
1-6 - ยกขอนไม้ท่อนที่ 3
- ยกเสาต้นที่ 3 ร่วมกับหมายเลข 1-2
7-8 - ยกเสาต้นที่ 1 ร่วมกับหมายเลข 9-10
- ยกเสาต้นที่ 3 ร่วมกับหมายเลข 9-10
9-10 - ยกเสาต้นที่ 1 ร่วมกับหมายเลข 7-8
- ยกเสาต้นที่ 3 ร่วมกับหมายเลข 7-8
รูปที่ 4-16 การยกขอนไม้และเสางานที่ 1
งานที่ 2 ขุดหลุมและร้อยขบวนรอก
การขุดหลุม ต้องขุดหลุมให้โตกว่าเสาเพียงเล็กน้อยลึกประมาณ 1 ฟุต ถ้าหากเป็นดินร่วนต้องใช้ อิฐ หิน ไม้
กระดาน หรือสิ่งอื่นใด ทำ�ให้แน่นเพื่อกันเสาขาหยั่งทรุด
หมายเลข
1-2 - ขุดหลุมขาหยั่งคนละหลุม
1-4 - มัดปลายเสาขาหยั่งติดกัน
1-6 - ขุดหลุมขาหยั่งที่เหลือ 1 หลุม และช่วยหมายเลข 3-4
1-8 - ร้อยขบวนรอก และทำ�บ่วงเชือกคล้องหัวขาหยั่ง แขวนขบวนรอก และผูกรอกกันรอกแกว่งเวลายก
9-10 - มัดขาทรายไม้ไผ่คนละคู่ และช่วยหมายเลข 3-4
งานที่ 3 ตั้งเสาขาหยั่งและยึดโคนเสา

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
หมายเลข
1-10 - ช่วยกันตั้งเสาขาหยั่ง และเก็บเครื่องมือเครื่องใช้วางเก็บที่
1-2 - ใช้ไม้กระดานบังคับเสาขาหยั่งลงหลุม และกลบโคนเสา
3-4 - ดูแลความเรียบร้อยของเชือกที่ผูกคล้องหัวเสา แขวนขบวนรอกและช่วยหมายเลข 7-8
5-6 - ยึดโคนเสาขาหยั่งด้วยเชือก กันขาหยั่งถ่าง
7-8 - ผูกรอกบานพับให้ติดโคนเสาขาหยั่ง และปรับขบวนรอก ให้พร้อมที่จะใช้การได้
9-10 - ยึดโคนเสาขาหยั่งร่วมกับหมายเลข 5-6
การมัดเสาขาหยั่งมี 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 เป็นวิธีที่มัดขาหยั่งอย่างแพร่หลายและใช้ในการฝึก ดูรูปที่ 1
- วางเสาสองต้นให้ขนานกัน ปลายอยู่ทางเดียวกัน ซึ่งมีขอนไม้รองที่ปลายและ ที่โคนเสาวางเสาอีกต้นหนึ่ง
ลงระหว่างเสาทั้งสองต้น ให้โคนเสาชี้ไปตรงกันข้ามกับเสาอีก 2 ต้น ให้รอยขีดที่กะไว้ตรงกัน (รอยขีดห่างจาก
ปลายเสาแต่ละต้นต้องไม่น้อยกว่า 1 ฟุต)
- วางปลายเสาให้ห่างกัน 1/2 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเสา
- ปลายเชือกผูกเสาต้นนอกสุดด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ด ห่างขีดหมายลงมาประมาณ 4 นิ้ว แล้วพันเชือกรอบเสา
ทั้ง 3 ต้น ประมาณ 7-9 รอบ และให้ระวังช่องว่างระหว่างเสาจะเคลื่อนในขณะพันเชือกด้วยแล้วพันคาดคอ
ระหว่างทุกคู่ 2 รอบ และอย่าดึงให้แน่นแล้วผูกเชือกไว้ที่เสาต้นกลาง เหนือรอยพัน ด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ด
วิธีที่ 2 เป็นเสาชนิดเรียวมาก ยาวประมาณ 15-20 ฟุต ดูรูปที่ 2
- วางเสา 2 ต้น เรียงกันขนขอนไม้รองที่โคนเสาและปลายเสา
- วางปลายเสาเรียงกัน วางห่างกันแต่ละต้น ให้ห่างกันไม่น้อยกว่า 1/2 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเสา
- ปลายเชือกผูกเงื่อนตะกรุดเบ็ดกับเสาต้นนอกสุด ห่างจากปลายประมาณ 2 ฟุต

การสร้างขาหยั่ง 4 - 29
- ทำ�การพันข้ามเสาต้นกลาง ลอดรอบเสาริมและรอดเข้าเสากลางแล้วพันข้ามเสาริมอีกต้นหนึ่งแล้วพันลอด
ข้ามดังนี้ 9 รอบ (เงื่อนเลขแปดระหว่างต้นต่อต้น) แล้วผูกปลายเชือกด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ด ที่เสาต้นนอกอีก
ต้นหนึ่ง
การมัดเชือกโคนเสาขาหยั่ง ให้มัดด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ดแล้วพันรอบ และติดพื้นดิน
การร้อยรอกและการทำ�บ่วงคล้องหัวเสา แขวนขบวนรอก
- การร้อยรอกตามแบบฝึก
- การทำ�บ่วงแขวนขบวนรอกกับหัวเสา ทำ�เป็นบ่วงคล้องหัวเสาแล้วปลายเชือกทั้งสองต่อกันด้วย
เงื่อนพิรอด
การผูกรอกบานพับติดกับเสาขาหยั่ง
- ใช้เงื่อนตะกรุดเบ็ดพันรอบ 2-3 รอบ เอาขอรอกมาใส่
- พันเชือกพันขอรอกติดกับเสาอีก 2 รอบ
- พันเสาต่อไปอีก 2-3 รอบ แล้วจบด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ดกับเสา
4. มาตรฐานในการตรวจสอบ
• ทำ�การสร้างขาหยั่ง
1) สร้างขาหยั่งได้ถูกต้องตามคำ�สั่ง
2) ขาหยั่งมีความมั่นคงแข็งแรง
3) สร้างขาหยั่งเสร็จทันเวลาภายใน 30 นาที อย่างถูกต้องและเหมาะสม
• ทราบประโยชน์และการใช้งานของขาหยั่ง
1) สามารถตอบคำ�ถามได้ว่าขาหยั่งนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
2) สามารถอธิบายการก่อสร้างขาหยั่งได้อย่างถูกต้อง
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

รูปที่ 4-17 การผูกขาหยั่ง

4 - 30 การสร้างขาหยั่ง
ป้อมสนาม
การฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะการสร้างป้อมสนาม
แบบฝึกที่ 1 การสร้างลวดกระโจมสูง 4 – 2 ก้าว

รูปที่ 4-18 ป้อมสนาม

1. กำ�ลังพล : นายงาน 1 นาย


ผู้รับการฝึก 12 นาย

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
2. เครื่องช่วยฝึก
• เสาเหล็กเกลียวยาว จำ�นวน 9 ต้น
• เสาเหล็กเกลียวสมอบก จำ�นวน 18 ต้น
• ลวดหนามยาวขดละ 35 เมตร จำ�นวน 12 ขด
• ไม้ตะบิดลวดปลายเรียว 6 อัน
• ไม้เมตรหรือตลับเมตร 1 อัน
• หลักกรุย 2 หลัก
• ถุงมือจัดลวดหนาม 12 คู่

การสร้างป้อมสนาม 4 - 31
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

3.ตารางงานสร้างลวดกระโจมสูง 4 ก้าว 2 ก้าว (ยาวประมาณ 30 ม.)


หมายเลข งาน 1 งาน 2 งาน 3
1 นำ�เสาเหล็กเกลียวยาวคนละ4 และ 5 ต้น
ช่วยกันปักเสาเหล็กเกลียวยาวกึ่งกลาง 3 ขึงลวดเส้นที่ 1 ทะแยงหน้าเริ่มต้นจากเสาเหล็กเกลียวสมอบกต้นแนวและขึง
ลักษณะพาดแขนท่อนล่างโคนเสา
2 ต้นจากต้นแนว ลวดเส้นที่ 7 แนวกลางเส้นที่ 2 เริ่มจากเสาเหล็กเกลียวยาวต้นที่ 1 ต้นแนว
ชี้ไปทางข้าศึกตามหลังนายงาน
3 ขึงลวดเส้นที่ 2 ล่างหน้าเริ่มต้นจากเสาเหล็กเกลียวสมอบกต้นแนวสูงจากพื้น
เอาเสาเหล็กเกลียวยาว ที่หมายเลข 1 และ ช่วยกันปักเสาเหล็กเกลียวยาวกึ่งกลาง 3
ประมาณ 4 นิ้วและขึงลวดเส้นที่ 8 บนแนวกึ่งกลางเริ่มจากเสาเหล็กเกลียว
2 วางตามจุดที่นายงานกำ�หนด ต้น ต่อจากคู่ที่ 1
4 ยาวต้นที่ 1
5 นำ�เสาเหล็กเกลียวสมอบกคนละ 4 ต้น
ช่วยกันปักเสาเหล็กเกลียวสมอบกด้าน ขึงลวดเส้นที่ 3 กลางหน้าเริ่มต้นจากเสาเหล็กเกลียวสมอบกต้นแนว และขึง

4 - 32 การสร้างรั้วลวดกระโจมสูง 4 ก้าว 2 ก้าว


เดินขนานกับแนวกึ่งกลางห่าง 2 ก้าว ด้าน
ข้าศึกจากต้นแนวไปปลายแนว ลวดเส้นที่ 9 ทะแยงหลังเริ่มจากเสาเหล็กเกลียวสมอบกต้นแนว
6 ข้าศึก
7 นำ�เสาเหล็กเกลียวสมอบกคนละ 4 ต้น
ช่วยกันปักเสาเหล็กเกลียวสมอบกด้าน ขึงลวดเส้นที่ 4 บนหน้าเริ่มจากเสาเหล็กเกลียวสมอบกต้นแนว และขึงลวด
8 เดินขนานกับแนวกึ่งกลางห่าง 2 ก้าว
ฝ่ายเราจากต้นแนว เส้นที่ 10 บนหลังเริ่มจากเสาเหล็กเกลียวสมอบกต้นแนว
ด้านฝ่ายเรา
9 เอาเสาเหล็กเกลียวสมอบก1 ต้นวางต้น
แนวแล้วไปช่วยคู่ที่ 3 วางเสาเหล็กเกลียว ช่วยปักเสาเหล็กเกลียวสมอบกต้นแนว
ขึงลวดเส้นที่ 5 ล่างแนวกึ่งกลางเริ่มจากเสาเหล็กเกลียวยาวต้นที่ 1 และขึง
10 สมอบกช่วยคู่ที่ 4 วางเสาเหล็กเกลียวเอา และ ปลายแนวตลอดจนด้านข้าศึกและ
ลวดเส้นที่ 11 กลางหลังเริ่มจากเสาเหล็กเกลียวสมอบกต้นแนว
เหล็กเกลียวสมอบกเมื่อเสร็จแล้วเอกเหล็ก ฝ่ายเรา
เกลียวสมอบก 1 ต้นวางปลายแนว
11 ขดลวดหนาม 12 ขด ไปวางที่เสาเหล็ก
ช่วยกันปักเสาเหล็กเกลียวยาวกึ่งกลาง 3 ขึงลวดเส้นที่ 6 แนวกึ่งกลางเส้นที่ 1เริ่มจากเสาเหล็กเกลียวยาวต้นที่ 1 และ
เกลียว สมอบกต้นแนว
ต้น ที่เหลือ ขึงลวดเส้นที่ 12 ล่างหลังเริ่มจากเสาเกลียวสมอบกต้นแนว
12
4.มาตรฐานในการตรวจสอบ:
• ทำ�การเตรียมการสร้าง, เครื่องมือและเครื่องใช้ได้ถูกต้องเหมาะสม
• ทำ�การพันลวดหนามกับเสาเหล็กเกลียวให้แล้วเสร็จภายใน 5 นาที ได้ถูกต้องและเหมาะสม
• ทำ�การสร้างลวดกระโจมสูง 4 และ 2 ก้าว ให้แล้วเสร็จภายใน 30 นาที ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
แบบฝึกที่ 2 การสร้างลวดหีบเพลงมาตรฐาน 3 วง

รูปที่ 4-19 การสร้างลวดหีบเพลงมาตรฐาน 3 วง

1. กำ�ลังพล : นายงาน 1 นาย


ผู้รับการฝึก 12 นาย
2. เครื่องช่วยฝึก

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
• ลวดหีบเพลงมาตรฐาน 16 วง
• เสาเหล็กเกลียวยาว 48 ต้น
• เสาเหล็กเกลียวสมอบก 4 ต้น
• ลวดหนามยาวขดละ 50 หลา 4 ขด
• ไม้ตะบิดลวด 6 อัน
• ถุงมือหนังจับลวดหนาม 12 คู่
• หลักกรุย 4 ต้น
• ไม้เมตร หรือตลับเมตร 1 อัน
• เหล็กรูปตัวยู 100 ตัว
• ลวดเกลี้ยง(เบอร์16) ยาว 6 นิ้ว 100 ท่อน

การสร้างลวดหีบเพลงมาตรฐาน 3 วง 4 - 33
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

3.ตารางงานสร้างรั้วลวดหีบเพลงมาตรฐาน 3 วง (ใช้เสาเหล็กเกลียว)
หมายเลข
งาน 1 งาน 2 งาน 3

1 นำ�เสาเหล็กเกลียวยาวคนละ4ต้นเดินตามหลัง ช่วยกันปักเสาเหล็กเกลียวยาวแนวหน้าก่อนที่จะ คลี่ลวดหีบเพลงที่เสาแนวหน้าต้นที่ 3 และยกขึ้นสวมกับ


นายงานด้านหน้า เริม่ ปักให้ก้าวถอยหลังจากเสายาวต้นแนว 2 ก้าว เสาเหล็กเกลียวต้นแนวและขึงต่อๆ ไปจนเสร็จ
2 เพื่อปักเสาเหล็กเกลียวสมอบก
3 นำ�เสาเหล็กเกลียวยาว คนละ 4 ต้น เดินขนาน ช่วยกันปักเสาเหล็กเกลียวยาวแนวหลังก่อนจะเริ่ม ช่วยคู่ที่ 1 คลี่และขึงลวดหีบเพลงแนวหน้าจนเสร็จและ
กับแนวด้านหน้าห่างจากแนวหน้า 3 ฟุตอยู่ ปักให้ก้าวถอยหลังจากเสายาวต้นแนว 2 ก้าว เพื่อ ช่วยคู่ที่ 1 ขึงลวดระดับบนลวดหีบเพลงแนวหน้าด้วย
4 ตรงกึ่งกลางเสาต้นที่1กับต้นที่ 2 ปักเสาเหล็กเกลียวสมอบก

4 - 34 การสร้างรั้วลวดหีบเพลงมาตรฐาน 3 วง
5 นำ�เสาเหล็กเกลียวยาวคนละ 4 ต้น เดินตามคู่ ช่วยกันปักเสาเหล็กเกลียวยาวแนวหน้า คลี่ลวดหีบเพลงเสาต้นที่ 1 แนวหลัง และยกขึ้นสวมกับ
6 ที่ 1 เมื่อเสาหมดกลับไปนำ�มาใหม่ให้พอ เสาเหล็กเกลียวยาวต้นแนวและวงต่อๆ ไปจนเสร็จ
7 นำ�เสาเหล็กเกลียวยาวคนละ 4 ต้น เดินตามคู่ ช่วยกันปักเสาเหล็กเกลียวยาวแนวหลัง ช่วยคู่ที่ 3 คลี่และขึงลวดหีบเพลงแนวหลังจนเสร็จและ
8 ที่ 2 เมื่อเสาหมดกลับไปนำ�มาใหม่ให้พอ ช่วยคู่ที่ 3 ขึงลวดระดับบนลวดหีบเพลงแนวหลังด้วย
9 ขนลวดหีบเพลงวางที่เสายาวต้นที่ 3 และทุกๆ ช่วยกันปักเสาเหล็กเกลียวยาวแนวหน้าและช่วย คลี่ลวดหีบเพลงเสาต้นที่ 3 แนวหลัง และยกขึ้นซ้อนบน
ต้นที่ 4 แนวหน้า เสร็จแล้วมาช่วยคู่ที่ 6 ปักเสาเหล็กเกลียวสมอบกห่างจากเสายาวปลาย ลวดหีบเพลงแนวหน้าและแนวหลังจะหมดแนวและช่วย
10 แนว 1 ต้น ยึดลวดหีบเพลงวางบนลวดระดับจนเสร็จ
11 ขนลวดหีบเพลงวางที่เสายาวต้นที่ 3 แนวหลัง ช่วยกันปักเสาเหล็กเกลียวยาวแนวหลังและช่วย ช่วยคู่ที่ 5 คลี่และขึงลวดหีบเพลงซึ่งใช้ซ้อนแนวหน้าและ
และทุกๆ ต้นที่ 4 กองละ 2 ขด ปักเสาเหล็กเกลียวสมอบกห่างจากเสายาวปลาย แนวหลังจนเสร็จแนวและช่วยกันยึดลวดหีบเพลงบนกับ
12 แนว 1 ต้น ลวดระดับแนวหลังและแนวหน้าจนเสร็จ
4.มาตรฐานในการตรวจสอบ
• ทำ�การวางเครื่องมือ เครื่องใช้ได้ถูกต้อง เหมาะสม
• สร้างลวดหีบเพลงมาตรฐาน 3 วงระยะทาง 100 หลาให้แล้วเสร็จภายใน 20 นาที ได้ถูกต้องและเหมาะสม


แบบฝึกที่ 3 การสร้างจำ�หล่อลวด

รูปที่ 4-20 จำ�หล่อลวด


1. กำ�ลังพล : นายงาน 1 นาย
ผู้รับการฝึก 12 นาย
2. เครื่องช่วยฝึก
• ไม้แกน (ชนิดกลม หรือเหลี่ยม) ขนาดโตไม่น้อยกว่า 10 ซม.ยาว 3 เมตร
• ไม้ตีนกา ขนาดโตเช่นเดียวกับไม้แกนยาว 1.50 เมตร จำ�นวน 4 ท่อน เสี้ยมปลายแหลม
• ถุงมือจับลวดหนาม
• ค้อนหางแซงแซว 2 เต้า

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
• ลวดหนาม 1 ขด
• เชือกผูกมัด 4 เส้น (อาจใช้ลวดเกลี้ยงแทนได้)
• คีมตัดลวดปากจิ้งจก 1 อัน
• ชอล์กขาว 1 แท่ง
• ตะปูขนาด 3 นิ้ว 40 ตัว

รูปที่ 4-21 การวางเครื่องมือเครื่องใช้และการจัดแถว

3. การดำ�เนินการฝึก
• ให้ผู้รับการฝึกแต่ละพวกเข้าแถวเรียงตามลำ�ดับ แต่ละพวกห่างกัน 3 ก้าว
• ให้แต่ละพวกขานตำ�แหน่ง
• เริ่มทำ�การสร้าง แต่ละพวกอาจทำ�ได้พร้อมๆ กัน โดยมีขั้นตอนดังนี้

การสร้างจ�ำหล่อลวด 4 - 35
นายพวกยืนห่างจากเครื่องมือ 3 ก้าว หันหน้าเข้าหากองเครื่องมือเครื่องใช้ ส่วนพวกพนักงานสร้างก็เข้าแถว
หน้ากระดานเปิดระยะต่อจากหัวหน้าพวก
4. ระเบียบการฝึก
• ก่อนฝึก เมื่อวางเครื่องมือเครื่องใช้และเข้าแถวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ฝึกใช้คำ�สั่ง “แถวตรง” แล้วสั่ง
“ขานตำ�แหน่ง”
• หัวหน้าพวกจะขานตำ�แหน่ง พนักงานจำ�หล่อลวดพวกที่ 1 นายสิบ 1 พลทหาร 4 (ถ้าหาก มีพวก
อื่นอีก หัวหน้าพวกของแต่ละพวกก็จะขานตำ�แหน่ง เช่นเดียวกับพวกที่ 1 แต่ขาน เป็นพวกที่ 2 และที่ 3 ตาม
ลำ�ดับ จนครบทุกพวก)
• จากนั้นผู้ฝึกใช้คำ�สั่ง “เริ่มงาน”
5. ขั้นการปฏิบัติ
เมื่อผู้ฝึกเริ่มงาน นายงานสั่งลูกแถวของตนขวาหัน พร้อมกับตนเองหันตามและตบเท้า 3 ก้าว นำ�
ลูกแถวของตนวิ่งอ้อมมาทางด้านหน้าของเครื่องมือ ทำ�ซ้ายหัน พนักงานต่างหยิบเครื่องมือของตนไปประกอบ
การปฏิบัติงาน แบ่งพนักงานออกเป็น 2 คู่
งานขั้นที่ 1 งานประกอบไม้
คู่ที่ 1 ประกอบไม้ตีกาอันที่ 1 อาจใช้เชือกหรือตาปู ประกอบให้ไม้ตีนกาไขว้กัน
คู่ที่ 2 ประกอบเช่นเดียวกับคู่ที่ 1
เมื่อประกอบไม้ตีกาเสร็จทั้ง 2 อัน พนักงานทั้ง 2 คู่ ช่วยกันนำ�ไม้แกนมาประกอบให้ปลายไม้แกน
ห่างจากไม้ตีนกา ประมาณข้างละ 30 ซม.
งานขั้นที่ 2 งานขึงลวด
ให้พนักงานแต่ละคู่ประจำ�ไม้ตีนกาของตน ให้คนหนึ่งเป็นคนผูก อีกคนหนึ่งเป็นคนคลี่ลวดและต้องเป็นคนส่ง
ขดลวดให้กับอีกคู่หนึ่ง การผูกต้องสลับไม้ตีนกา
การผูก ผูกตามลำ�ดับหมายเลขที่กำ�กับ 1764 3582 1526 5418 4783 7236
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

เมื่อขึงเสร็จดังนี้แล้ว ใช้ลวดหนามหรือลวดเกลี้ยง มัดลวดหนามเส้นที่ไขว้จากไม้ตีนกาหนึ่งไปอีกอันหนึ่งเข้า


กับกึ่งกลางไม้แกน เพื่อเพิ่มความตึงให้กับลวดหนามยิ่งขึ้น
หน้าที่นายงาน นายงานต้องกำ�กับสั่งการ และแนะนำ� พนักงานของตนตลอดเวลา และจะต้องบอกพนักงาน
ว่า ลวดหนามต้องผูกที่ใดบ้าง
เมื่อสร้างเสร็จ
• ให้เก็บเครื่องมือวางเรียงไว้หน้าแถวแบบเดิม นายงาน และพนักงานเข้าแถว ตามรูปเดิม
• นายงานบอกแถวทำ�ความเคารพผู้ฝึก และวิ่งไปรายงานว่า “ตามคำ�สั่งของ ผู้ฝึกให้
กระผม ส.อ. ……… สร้างจำ�หล่อลวด บัดนี้กระผมได้ปฏิบัติเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครับ”
จากนั้นกลับเข้าแถวและสั่งพักรออยู่ในแถว เพื่อรอฟังคำ�สั่งต่อไป
6. มาตรฐานในการตรวจสอบ:
• ทำ�การเตรียมการสร้าง, เครื่องมือ และเครื่องใช้ได้ถูกต้อง
• ทำ�การประกอบไม้และขึงลวดแล้วเสร็จภายใน 20 นาทีได้ถูกต้องและเหมาะสม
• ทำ�การเก็บเครื่องมือ, เครื่องใช้ได้ถูกต้อง

4 - 36 การสร้างจ�ำหล่อลวด
การสร้างสะพานและแพยุทธวิธีเบา

สะพานเครื่องหนุนลอย M4 เรือทุ่นโลหะผสม
เทคนิคการสะพานเครื่องหนุนลอย M4 เรือทุ่นโลหะผสม
เหล่าทหารช่างมีภารกิจในการยุทธที่มีความสำ�คัญมากประการหนึ่ง คือ อำ�นวยความสะดวกในการเคลื่อนที่
ให้กบั ทหารฝ่ายเดียวกันจากภารกิจดังกล่าว ทหารช่างมีเครือ่ งมือข้ามลำ�น้ำ� ในอัตราทีส่ ำ�คัญ คือ สะพานเครือ่ งหนุนลอย
M4 T6 ซึ่งสามารถสร้างเป็นสะพานเครื่องหนุนลอย ได้ยาวตามต้องการ มีขีดความสามารถรับน้ำ�หนัก ยานพาหนะที่
หนักที่สุดของกองพลได้ คือ รถถัง M48A5 ซึ่งมีน้ำ�หนักสูงสุดไม่เกิน 60 ตัน แต่เนื่องจากเครื่องล่างของสะพาน เครื่อง
หนุนลอย M4 T6 ซึ่งเป็นทุ่นยางใช้ลมอัด มีอายุการใช้งานไม่เกิน 10 ปี ได้ชำ�รุดเกือบหมด (ประมาณ 90%) ซึ่ง ทบ.
โดย กช. จึงได้คิดที่จะวิจัยเรือทุ่นโลหะผสมโดยใช้อะลูมิเนียมอัลลอยมารีนเกรดหนา 3 มม. ที่มีน้ำ�หนักเบา มาใช้แทน
ทุ่นยางลมอัด เพื่อประกอบสร้างเป็นสะพานเครื่องหนุนลอยหรือแพ เพื่อใช้ในภารกิจการข้ามลำ�น้ำ�ต่อไป
1. ส่วนประกอบของสะพาน M4 เรือทุ่นโลหะผสม
เครื่องบน เครื่องล่าง
1) คานต่อตงพื้น 1) เรือทุ่นโลหะผสม
2) ตงพื้น ยาว 2) แผ่นกันทรุด,สลักต่อตงพื้น
3) ตงพื้นสั้น และปลายเรียว 3) เครื่องยนต์ติดท้าย 55 แรงม้า
4) เหล็กเสริมตงกระหนาบ 4) สมอน้ำ�, สมอบก เชือกสายหนวดพราหมณ์

เครื่องบน
1) ตงพื้นยาว

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
รูปที่ 4-22 ตงพื้นยาว

กว้าง 8 3/4 นิ้ว ยาว 15 ฟุต สูง 9 1/4 นิ้ว


น้ำ�หนัก 225 ปอนด์ (ประมาณ) ระวางขับน้ำ� 300 ปอนด์
2) ตงพื้นสั้น

รูปที่ 4-23 ตงพื้นสั้น

กว้าง 8 3/4 นิ้ว ยาว 8 ฟุต 4 นิ้ว สูง 9 1/4 นิ้ว


น้ำ�หนัก 122 ปอนด์ (ประมาณ) ระวางขับน้ำ� 160 ปอนด์
3) ตงพื้นปลายเรียว 4) เหล็กเสริมตงกระหนาบ
การสร้างสะพานและแพยุทธวิธีเบา 4 - 37
6”

รูปที่ 4-24 ตงพื้นปลายเรียว รูปที่ 4-25 เหล็กเสริมตงกระหนาบ


กว้าง 8 3/4 นิ้ว
ยาว 6 ฟุต 8 นิ้ว
สูง 9 1/2 นิ้ว (มากที่สุด)
น้ำ�หนัก 100 ปอนด์ (ประมาณ)

• เครื่องล่าง
1) เรือทุ่นโลหะผสม

กว้าง 2.03 เมตร


ยาว 5.50 เมตร
ลึก 1.10 เมตร
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

น้ำ�หนัก 500 กก/ลำ�

รูปที่ 4-26 เครื่องล่าง

2) คานต่อตงพื้น

รูปที่ 4-27 คานต่อตงพื้น

กว้าง 20 ฟุต 10 นิ้ว ยาว 7 นิ้ว สูง 5 5/8 นิ้ว น้ำ�หนัก 250 ปอนด์ (ประมาณ)

4 - 38 การสร้างสะพานและแพยุทธวิธีเบา
3) แผ่นปิดรอยต่อ

รูปที่ 4-28 แผ่นปิดรอยต่อ

แผ่นปิดรอยต่อยาว แผ่นปิดรอยต่อสั้น
ยาว 5 ฟุต 4 นิ้ว ยาว 1 ฟุต 6 นิ้ว
หนัก 97 ปอนด์ หนัก 28 ปอนด์

4) แผ่นรับแรงอัด
แผ่นรับแรงอัดสองแผ่น ประกอบติดกับคานต่อตงพื้นแล้วใช้เป็นตะม่อตลิ่ง สำ�หรับสะพาน
เครื่องหนุนมั่น

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
รูปที่ 4-29 แผ่นรับแรงอัด
กว้าง 1 ฟุต สูง 3 3/8 นิ้ว
ยาว 5 ฟุต 9 3/4 นิ้ว น้ำ�หนัก 165 ปอนด์ (ประมาณ)

2. ความสามารถของสะพาน M4 เรือทุ่นโลหะผสม
แต่ละกองพันทหารช่างสนามของกองพลทหารราบจะได้รับเรือทุ่นโลหะผสม จำ�นวน 30 ลำ� สามารถ
นำ�ไปประกอบสร้างสะพานเครื่องหนุนลอย แบบ 3-3-3-3 ทอดยื่นยาว 21 ฟุต 8 นิ้ว ได้ยาว 156 ฟุต 8 นิ้ว
(47.7 เมตร) และยังเหลือเรือทุ่นสำ�รองไว้อีก 6 ลำ� ซึ่งถ้าต้องการสร้างให้ยาวขึ้นไปอีกต้องหาอุปกรณ์มาเพิ่ม
เติม สำ�หรับสะพานนี้สามารถรับน้ำ�หนักของรถถัง M48A5 ซึ่งหนัก 54 - 57 ตัน (ชั้น 55) ได้

รูปที่ 4-30 การประกอบแบบ 3-3-3-3

การสร้างสะพานและแพยุทธวิธีเบา 4 - 39
การฝึกเพิ่มพูนทักษะการสร้างสะพานเครื่องหนุนลอย M4 เรือทุ่นโลหะผสม

1. กำ�ลังพล : พนักงานประกอบสร้าง (84 นาย)


• ที่ตำ�บลประกอบสร้าง
1) ประกอบเรือทุ่น ส.1, พลฯ. 10
2) ประกอบแพ ส.1, พลฯ. 24
3) พวกส่งแพ ส.1, พลฯ. 4
• ที่แนวศูนย์กลางสะพาน
1) พวกตลิ่งฝั่งไกล ส.1, พลฯ. 8
2) พวกต่อสะพาน ส.1, พลฯ. 10
3) พวกโยงยึด ส.1, พลฯ. 12
4) พวกตลิ่งฝั่งใกล้ ส.1, พลฯ. 8
รวมนายทหาร 1 นาย, นายสิบ 7 นาย และพลทหาร 76 นาย
2. การประกอบสร้างสะพาน แบบ 3-3-3-3
• พนักงานประกอบแพ นำ�ตงพื้นยาวต่อเรือทุ่น 2 ทุ่นเข้าด้วยกันโดยใส่ตงหมายเลขคี่ทางขวาและ
หมายเลขคู่ทางซ้าย พร้อมใส่เหล็กเสริมตรงกระหนาบที่ช่อง 11
• นำ�เครื่องเรือติดท้าย 55 แรงม้าติดท้ายเรือทุ่นลำ�ที่ 2 ทางท้ายน้ำ�
• นำ�เรือทุ่นลำ�ที่ 3 เข้ามาต่อกับทุ่นที่ 2 โดยใส่ตงพื้นยาวเลขคู่ทางขวาเลขคี่ทางซ้าย ช่อง 11 ใส่เหล็ก
เสริมตงกระหนาบ
• นำ�ตงพื้นยาวที่เหลือวางบนเรือทุ่นลำ�ที่ 3 ทั้งหมด เพื่อใช้เติมช่องว่าง เมื่อต่อสะพาน
• ประกอบทอดยื่นของทอดปลายฝั่งใกล้ ยาว 21 ฟุต 8 นิ้ว โดยวางคานแรกบนตลิ่ง และตัวที่ 2 ให้ห่าง
จากคานแรกระยะ 6 ฟุต 8 นิ้ว คานที่ 3 ห่างจากคานที่ 2 ระยะ 8 ฟุต 4 นิ้ว จากนั้นประกอบตงลง
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

คานทางซ้ายช่อง 7, 8 และทางขวา 8, 7 แล้วยกไปยึดกับคานของแพทอดปลาย และเติมตงพื้นจนเต็ม


• ประกอบทอดยื่นของทอดปลายฝั่งไกล ทำ�เช่นเดียวกันแล้วนำ�ไปยังฝั่งไกล
• ประกอบชุดแพ 3 ทุ่น ชุดอื่นๆ โดยใช้เครื่องเรือติดท้าย 55 แรงม้า นำ�เข้าไปต่อกับทอดปลายและ
ทอดต่อๆ ไป จนปิดสะพาน
• แพแต่ละชุดให้นำ�สมอน้ำ�ไว้ในเรือทุ่นลำ�กลางทางเหนือของน้ำ�และเตรียมตงพื้นยาว ที่เหลือไว้บนแพ
เพื่อเติมช่องว่างเมื่อต่อสะพาน
• ระยะห่างของแต่ละแพที่นำ�ไปต่อกันนั้นคือ 6 ฟุต 8 นิ้ว

4 - 40 การสร้างสะพานเครื่องหนุนลอย M4 เรือทุ่นโลหะผสม
ประปาสนาม
การฝึกเพิ่มพูนทักษะการผลิตประปาสนาม
แบบฝึกที่ 1 การลาดตระเวนแหล่งน้ำ�
1. กำ�ลังพล : จำ�นวน 10 -12 นาย
2. เครื่องช่วยฝึก
• แผนที่
• เข็มทิศ
• อุปกรณ์บอกพิกัดด้วยดาวเทียม (GPS)
• เทปวัดระยะ
• ลูกดิ่ง
• แบบฟอร์มรายงาน
• เครื่องเขียนเช่น ปากกา ดินสอ ยางลบ
3. การดำ�เนินการฝึก
• ครูฝึกทำ�การแบ่งผู้รับการฝึกเป็นหมู่ฝึกจำ�นวน 10-12 นายหรืออาจแบ่งเป็นชุดย่อยกว่านี้ได้ตามความ
เหมาะสม
• ให้ผู้รับการฝึกทำ�การศึกษาแผนที่บริเวณที่จะเข้าทำ�การลาดตระเวนแหล่งน้ำ�เพื่อให้ทราบลักษณะพื้นที่ ก่อน
ทำ�การสำ�รวจลาดตระเวนจริง พร้อมกับให้ทหารอภิปรายในกลุ่มของตนเอง 30นาที
• นำ�ผู้รับการฝึกไปยังพื้นที่ที่กำ�หนดไว้ เมื่อถึงที่หมายแล้ว ให้ผู้รับการฝึกทำ�งานเป็นกลุ่มตามที่ได้แบ่งไว้ โดย
แยกกันสำ�รวจพื้นที่นั้นในแง่ของความเหมาะสมในการจัดตั้งเป็นตำ�บลจ่ายน้ำ� โดยผู้รับการฝึกต้องทำ�การบันทึกข้อมูล
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ลงในแบบฟอร์มที่กำ�หนดให้ถูกต้องตามหลักการ ให้เวลา 30 นาที
• ทำ�การเรียกแถวผู้รับการฝึกให้ผู้รับการฝึกทำ�การอภิปรายข้อมูลในกลุ่มของตนเอง และจัดเตรียมข้อมูลที่ได้
บันทึก เพื่อทำ�การตรวจสอบโดยครูฝึก ให้เวลา 15 นาที

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
• ทำ�การตรวจสอบ โดยครูฝึก
4. มาตรฐานในการตรวจสอบ
• ทำ�บรรยายลักษณะพื้นที่ที่ทำ�การพิจารณาจัดตั้งตำ�บลจ่ายน้ำ�ตามหลักประปาสนาม
1) ปริมาณและคุณภาพน้ำ�
2) การกำ�บังซ่อนพราง
3) ลักษณะเส้นทาง และการเข้าถึงแหล่งน้ำ�
4) สภาพดินและสภาพตลิ่ง
• ทราบวิธีการปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นตำ�บลจ่ายน้ำ�ที่ถูกต้องตามหลักการประปาสนามได้
1) ทราบวิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำ�
2) ทราบวิธีการปรับปรุงการกำ�บังซ่อนพราง
3) ทราบวิธีการปรับปรุงสภาพพื้นที่และการระบายน้ำ�
4) ทราบวิธีการปรับปรุงการจราจร
• ทำ�การสำ�รวจพื้นที่บันทึกข้อมูลและวาดแผนผังตำ�บลจ่ายน้ำ�ถูกต้องตามหลักประปาสนามและทันเวลาที่
กำ�หนด 30 นาที

การผลิตประปาสนาม 4 - 41
แบบฝึกที่ 2 การทดสอบความเป็นกรด ด่าง ของน้ำ�

1. กำ�ลังพล : รายบุคคล
2. เครื่องช่วยฝึก : ชุดทดสอบค่าความเป็นกรดด่าง Lovibond ของน้ำ� 1 ชุด
3. การดำ�เนินการฝึก
• ครูฝึกอธิบายจุดประสงค์ของการฝึก เพื่อหาค่าเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ� ที่พิจารณานั้น เช่น น้ำ�จากแหล่งน้ำ�
ที่ทำ�การสำ�รวจลาดตระเวน หรือ ทำ�การทดสอบน้ำ�ที่ผ่านการบำ�บัดแล้ว ว่าค่าความเป็นกรดด่างอยู่ในช่วงที่ถูก
ต้องหรือไม่ สำ�หรับค่า pH ที่ยอมรับได้ในทางทหาร คือ 6.5-8.5 โดยทำ�การฝึกแบบเป็นรายบุคคล
• ครูฝึกสาธิตการใช้อุปกรณ์ โดยทำ�การทดสอบความเป็นกรดด่างด้วยเครื่องทดสอบเปรียบเทียบ Lovibond ( ดู
ภาพ ) โดยใช้แผ่นอ่านค่ากรด / ด่าง และสารละลาย BHD 4080

รูปที่ 4-31 การทดสอบความเป็นกรด ด่าง ของน้ำ�

ขั้นแรก เติมน้ำ�ตัวอย่างที่ต้องการทดสอบลงไปในหลอดทดสอบทั้งสองหลอด นำ�หลอดที่หนึ่ง มาเติม


เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

สารละลายทดสอบ ลงไปจำ�นวน 10 หยด เขย่า แล้วใส่หลอดนั้นลงไปในช่องหมายเลข 1


ขั้นที่สองนำ�หลอดที่ไม่ใส่สารละลายทดสอบลงไปในช่องที่ 2 ใช้จานสี สอดเข้าไปในช่องของเครื่องทดสอบ
แล้วทำ�การอ่านค่าสี เปรียบเทียบที่ใกล้เคียงที่สุดโดยการปรับหมุนจานสี ค่าที่ได้ เป็นค่า pH ของน้ำ�ตัวอย่างที่ทำ�การ
ทดสอบนี้
• ครูฝึกให้ผู้รับการฝึกทำ�การทดสอบ เป็นรายบุคคล และให้ผู้รับการฝึก อ่านค่าความเป็นกรดด่าง ของน้ำ�
ที่ทำ�การทดสอบ
4. มาตรฐานในการตรวจสอบ
• ผู้รับการฝึกสามารถทำ�การทดสอบหาค่าความเป็นกรดด่างได้ถูกต้องตามขั้นตอนภายในเวลา 5 นาที
1) ใส่หลอดทดลองในช่องที่ถูกต้อง
2) สามารถหยดสารละลาย ลงในหลอดทดลองได้ ถูกต้อง
3) เขย่าสารละลาย ในหลอดทดลอง ให้ละลายได้ถูกต้อง
• ผู้รับการฝึกอ่านค่าความเป็นกรดด่างจากจานสีเปรียบเทียบ ได้ถูกต้อง

แบบฝึกที่ 3 วิชาการทดสอบปริมาณคลอรีนในน้ำ�
1. กำ�ลังพล : ฝึกเป็นรายบุคคล
2. เครื่องช่วยฝึก : ชุดทดสอบค่าปริมาณคลอรีนในน้ำ� Lovibond จำ�นวน 1 ชุด
3. การดำ�เนินการฝึก
• ครูฝึกอธิบายจุดประสงค์ของการฝึก เพื่อหาค่าคลอรีนในน้ำ� ที่พิจารณานั้น เช่น น้ำ�จากแหล่งน้ำ�ที่ทำ�การสำ�รวจ
ลาดตระเวน หรือ ทำ�การทดสอบน้ำ�ที่ผ่านการบำ�บัดแล้วด้วยเครื่องทำ�น้ำ�ให้สะอาด STELLA ว่าค่าปริมาณ
คลอรีนอยู่ในช่วงที่ถูกต้องหรือไม่ สำ�หรับค่าคลอรีนในน้ำ�ที่ผ่านการบำ�บัดด้วยเครื่องทำ�น้ำ�ให้สะอาดจะอยู่ระหว่าง

4 - 42 การทดสอบความเป็นกรด ด่าง ของน�้ำ


2-6 ppm เมื่อครูฝึกทำ�การสาธิตเสร็จแล้ว ให้ผู้ฝึกทำ�การฝึกเป็นรายบุคคล
• การทดสอบปริมาณคลอรีนในน้ำ�

รูปที่ 4-32 การทดสอบความเป็นกรด ด่าง ของน้ำ�

1) เปิดช่องประตูของเครือ่ งเปรียบเทียบ (3) แล้วนำ�หลอดเปรียบเทียบ (5) ออกมาจากช่องเก็บทีด่ า้ นข้าง เปิดฝา (6)


ของหลอดทั้งสองออก ใส่แผ่นคลอรีน (4) ลงไปโดยให้แน่ใจว่าด้านที่เป็นตัวเลขหงายขึ้นด้านบน ตรวจสอบให้แก้วใส
ของแผ่นกัน้ หลังหันเข้าด้านใน แล้วปิดช่องประตูของเครือ่ งเปรียบเทียบนำ�ตัวอย่างน้ำ�ทีผ่ า่ นกรองแล้วทีป่ ล่อยทิง้ ไว้นง่ิ ๆ
15 นาทีแล้ว ให้เติมน้ำ�ที่ผ่านการกรองแล้วนี้ลงในหลอดตัวอย่างหลอดหนึ่งให้ถึงระดับเครื่องหมาย 10 มล. แล้วปิดฝา
ไว้ตามเดิม แล้วใส่หลอดตัวอย่างลงในช่องน้ำ�ตัวอย่างธรรมดา (2)
2) กรอกล้างหลอดทดสอบด้วยน้ำ�ตัวอย่าง ให้เผื่อระดับที่จะท่วมเม็ดยาเคมีได้เม็ดหนึ่ง ใส่เม็ดยาเม็ดเคมี
DPD NO.1 ลงไปแล้วปล่อยให้ละลาย แล้วจึงเติมน้ำ�ตัวอย่างต่อไปให้เต็มเขย่าน้ำ�ยานี้แล้วใส่หลอดน้ำ�ยาลงช่องน้ำ�ยา
ตัวอย่างที่ได้ผสมยาทดสอบแล้ว (1)
3) หมุนแผ่นคลอรีนจนกระทั่งสีของน้ำ�ยานั้นเทียบเคียงแล้วเท่ากับหลอดแก้วมาตรฐานหลอดใดหลอดหนึ่ง

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
ส่วนผสมของคลอรีนก็จะอ่านค่าได้จากช่องอ่านค่า สำ�หรับน้ำ�ที่ผ่านการบำ�บัดด้วยเครื่องทำ�น้ำ�ให้สะอาด ควรจะมีค่า
อยู่ระหว่าง 2.0-6.0ppm หนึ่งส่วนต่อล้านส่วน
4. มาตรฐานในการตรวจสอบ
• ผู้รับการฝึกสามารถทำ�การทดสอบหาค่าปริมาณคลอรีนในน้ำ�ได้ถูกต้องตามขั้นตอนภายในเวลา 5 นาที
1) ใส่หลอดทดลองในช่องที่ถูกต้อง
2) สามารถใส่ ยาเม็ดเคมี DPD ลงในหลอดทดลองได้ ถูกต้อง
3) เขย่าให้ยาเม็ด DPD ละลายน้ำ� ในหลอดทดลอง ได้ถูกต้อง
• ผู้รับการฝึกอ่านค่าปริมาณคลอรีนในน้ำ�จากจานสีเปรียบเทียบได้ถูกต้อง

แบบการฝึกที่ 4 การทำ�น้ำ�ให้สะอาดด้วยเครื่อง STELLA


1. กำ�ลังพล : จำ�นวน 10 นาย
2. เครื่องช่วยฝึก : ชุดเครื่องทำ�น้ำ�ให้สะอาด รุ่น STELLA
3. การดำ�เนินการฝึก
4. การเตรียมการอุปกรณ์

การท�ำน�้ำให้สะอาดด้วยเครื่อง STELLA 4 - 43
รูปที่ 4-33 ชุดเครื่องทำ�น้ำ�ให้สะอาด รุ่น STELLA

1) เครื่องยนต์และเครื่องสูบน้ำ� 1 ชุด 2) กล่องเครื่องมืออุปกรณ์ 1 ชุด


3) เครื่องกรอง 1 ชุด 4) ถังเก็บผงเคมี 1 ชุด
5) เครื่องเติมคลอรีน 1 ชุด 6) ท่ออ่อนจ่ายน้ำ�แบบพับแบน 1 ชุด
7) ข้อต่องอ 1 ชุด 8) กระบอกตวงผงเคมี 1 ชุด
9) ท่อ (อ่อน) ดูด 1 ชุด 10) ถ้วยกรองด้านดูด 1 ชุด
11) ชุดทดสอบเครื่องเปรียบเทียบ 1 ชุด 12) มือหมุนติดเครื่องยนต์ 1 ชุด
13) ท่อ (อ่อน) ดูด 1 ชุด 14) ถังเก็บน้ำ� 4 ถัง
5. ขั้นตอนการปฏิบัติงานเครื่องทำ�น้ำ�ให้สะอาด
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

ขั้นที่ 1 - ก่อนติดเครื่อง
• ให้ดำ�เนินการตรวจสอบต่อไปนี้ก่อนติดเครื่องยนต์
1) ตรวจวาล์วและจุกอุดท่อทุกตัวเปิดเรียบร้อย ในเครื่องกรองว่าง และท่อต่างๆ ต่อ
เรียบร้อยแล้วตามที่แสดงไว้ในภาพที่ 1
2) ตรวจเครื่องเติมคลอรีนว่าได้เติมแคลเซียมไฮโปคลอไรท์
3) ตรวจว่าได้ปิดวาล์วจ่ายน้ำ�ที่ท่อร่วมหัวจ่ายน้ำ�หลายหัวไว้หมดแล้ว
ขั้นที่ 2 - การติดเครื่องยนต์และเครื่องกรอง
• ติดเครื่องยนต์ และเครื่องสูบน้ำ�ตามขั้นตอน
1) ตรวจสอบตะแกรงหัวท่อดูดว่าปราศจากวัชพืช ฯลฯ มาอุดตัน
2) เติมน้ำ�ลงในปั๊มน้ำ� เข้าทางช่องสำ�หรับเติมน้ำ�ล่อก่อนเดินเครื่อง
3) ตรวจระดับน้ำ�มันเชื้อเพลิง และน้ำ�มันหล่อลื่นของเครื่องยนต์ เติมให้ได้ระดับตามความ
จำ�เป็นตรวจกรองอากาศ พัดลม และตรวจความปลอดโปร่งของช่องถ่ายเทอากาศ ดูให้แน่ใจว่าฝาครอบ
เครื่องทุกอันอยู่ในตำ�แหน่งที่ถูกต้อง
4) เปิดวาล์วทางรับเข้าของเครือ่ งกรอง (1) และเปิดวาล์วถ่ายตะกอนออกของเครือ่ งกรอง (8)
5) ตั้งคันบังคับการเดิน/หยุดไว้ที่ตำ�แหน่ง “RUN”
6) โยกคันบังคับแรงอัดขึ้นด้านบนสุดเพื่อปล่อยแรงอัด แล้วดันไว้ในตำ�แหน่งนั้น ใส่คันหมุน
สตาร์ทแล้วหมุนคันหมุนช้าๆ จนได้ยินเสียงหัวฉีดทำ�งาน
7) กระตุกคันสตาร์ทให้หมุนเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ ขณะเดียวกันโยกคันบังคับแรงอัดกลับลง
ด้านล่างให้เกิดแรงอัด เครื่องจะจุดระเบิดขึ้น
8) เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้ว ปลดคันหมุนสตาร์ทออก

4 - 44 การท�ำน�้ำให้สะอาดด้วยเครื่อง STELLA
รูปที่ 4-34 ชุดเครื่องทำ�น้ำ�ให้สะอาด รุ่น STELLA
ขั้นที่ 3 – การบรรจุกรอง และกำ�หนดการเคลือบไส้กรองล่วงหน้า
• การบรรจุกรอง และการเคลือบไส้กรองล่วงหน้าด้วยผงช่วยกรองดังนี้ ดูภาพประกอบ
1) ตรวจสอบว่าได้เปิดวาล์ว (1) และวาล์ว (9) แล้ว
2) ขณะที่เครื่องยนต์และเครื่องสูบน้ำ�กำ�ลังเดิน ไขสกรูสำ�หรับเปิดฝาเครื่องช่วยกรองได้เร็ว (14) ออก
แล้วค่อยๆ เปิดวาล์วจ่ายเข้าหัวฉีดเครื่องช่วยกรอง (5) และถังควบคุมการจ่ายสารเคมีของ
เครื่องช่วยกรอง (13)
3) เมื่อระดับน้ำ�ภายในเครื่องช่วยกรองท่วมร่องไส้กรองและพ่นเป็นฝอย (ประมาณครึ่งหนึ่งของความจุ
หม้อกรอง) ให้ปิดวาล์วจ่ายเข้าหัวฉีดเครื่องช่วยกรอง (5)
4) เติมผงช่วยกรองลงในเครื่องช่วยกรองจำ�นวน 2.25 (5 ปอนด์) หรือประมาณ 10 ถ้วยตวง แล้วปิด
ฝาเครื่องช่วยกรอง (14)
5) ปิดวาล์วถ่ายตะกอนของเครื่องกรอง (9)

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
6) เปิดวาล์วส่งเข้าและวาล์วปล่อยออกของเครื่องช่วยกรอง (3) และ (4) แล้วรีบเปิดวาล์วเดินเครื่อง
ขั้นแรก (2) ทันที ง้างเปิดฝาเครื่องช่วยกรอง (14) เพื่อให้น้ำ�เต็ม และเมื่อระดับน้ำ�เริ่มขึ้นมาให้เห็นถึง
รอบรอยต่อฝา กดฝาให้ปิดแน่นและใส่สกรูทันที ผงช่วยกรองครึ่งซีกด้านบนของเครื่องช่วยกรองและ
ไปจับอยู่บนไส้กรองเพื่อทำ�หน้าที่เคลือบล่วงหน้า ทั้งนี้จะใช้เวลาระหว่าง 5 ถึง 10 นาที
ขั้นที่ 4 – การติดการทำ�งานของเครื่องกรอง และการช่วยกรอง
• ตรวจสอบว่า หลังจากผ่านไป 5 ถึง 10 นาที น้ำ�จากการเดินเครื่องครั้งแรกกลายเป็นน้ำ�ใสให้ดำ�เนินการ
ขั้นต่อไป ดังนี้
1) ตรวจสอบว่ามีการส่งน้ำ�ไปที่ปล่อยน้ำ�ทิ้งแล้วจึงเปิดวาล์วส่งออกของเครื่องกรอง (7) จากนั้นเปิด
วาล์วเดินเครื่องครั้งแรก (2)
2) เปิดวาล์วรับน้ำ�หัวฉีด และวาล์วส่งน้ำ�ออกของเครื่องช่วยกรอง (5) และ (6) เปิดวาล์วส่งน้ำ�เข้าหัวฉีด
และวาล์วส่งน้ำ�ออกของเครื่องช่วยกรอง (3) และ (4)
3) ปรับถังควบคุมเครื่องช่วยกรอง (13) เพื่อให้จ่ายผงช่วยกรองตามจำ�นวนที่ต้องการ เป็นการช่วย
เครื่องกรอง เพื่อความสะดวกถังควบคุมนี้จะต้องวัดปริมาตรตามค่าควบคุมที่ตั้งไว้การตั้งการวัด
ปริมาตรที่ “0” การช่วยเครื่องกรองจะเป็นศูนย์ขึ้นไปถึงการวัดปริมาตราสูงสุดที่หมายเลข “9”
จำ�นวนผงช่วยกรองที่แท้จริงของการช่วยเครื่องกรองต้องการจะต้องคำ�นวณหาค่าโดยการทดลอง
การบ่งชี้จำ�นวนผงกรองที่ผ่านไปยังเครื่องกรองสามารถมองเห็นผ่านท่อใสของเครื่องช่วยกรอง
โดยน้ำ�ที่ไหลผ่านจะผสมผงช่วยกรองเป็นสีขุ่น
4) ตรวจสอบ เกจ์วัดแรงดันของเครื่องกรองระหว่างเดินเครื่อง อัตราที่ประหยัดที่สุดของความสิ้นเปลือง
ของการช่วยกรองเมื่อความดันค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำ�เสมอตลอดเวลาการเดินเครื่อง ตัวอย่างเช่น
สูงขึ้น 2 บาร์ (30 ฟุตปอนด์/ชม.) การเดินเครื่องให้น้ำ�สกปรกผ่านเต็มอัตรา หรือสูงขึ้น 0.7 บาร์ถึง

การท�ำน�้ำให้สะอาดด้วยเครื่อง STELLA 4 - 45
1.4 บาร์ (10 ถึง 20 ฟุตปอนด์/ตารางนิ้ว ต่อชั่วโมงสำ�หรับสภาพน้ำ�โดยเฉลี่ย)
ขั้นที่ 5 – การติดเครื่องเติมคลอรีน และการกำ�หนดอัตราการไหลของเครื่องเติมคลอรีน
• ปรับตั้งอัตราการไหลของเครื่องเติมคลอรีน เพื่อให้ได้ปริมาตรที่แน่นอนดังต่อไปนี้
1) ตรวจสอบขนาดรูที่แผ่นกั้น ต้องมีเครื่องหมายมาตรฐาน STU
2) เปิดวาล์ว 30 และเมื่อปล่อยของเหลวออกทางวาล์ว 40 แล้วปิดวาล์ว 40 รวมทั้งเมื่อปล่อย
ของเหลวออกจากวาล์ว 50 แล้วให้ปิดวาล์ว 50 ด้วย
3) เริ่มปล่อยคลอรีนให้ไหล โดยเปิดวาล์วควบคุมการไหล (60) ของเครื่องเติมคลอรีนให้ปรับอัตราการ
ไหลจนอ่านค่าได้ว่าอยู่ที่ 6 มก. จากมาตรควบคุมการไหล คลอรีนจะไหลสู่แท้งค์เก็บพักน้ำ�
4) เก็บตัวอย่างน้ำ�ที่เข้ามาในแท้งค์เก็บพักน้ำ� และเก็บไว้นิ่งๆ เป็นเวลา 15 นาที ตัวอย่างน้ำ�นี้จะถูก
นำ�ไปใช้ในขั้นตอนที่ 6 ต่อไป
5) หากมาตราวัดอัตราการไหลแสดงค่าเบี่ยงเบนไปหรือระดับของเหลวในเครื่องกรองลดระดับลด
แสดงว่าสารฆ่าเชื้อหมด ปกติจะควบคุมไปกับการครบรอบการทำ�งานของเครื่องกรองรอบหนึ่ง
อย่างไรก็ตามถ้าไม่เป็นตามที่กล่าวมา ให้เติมคลอรีนเพิ่มลงในเครื่องเติมคลอรีน โดยการปิดวาล์ว
30 ก่อน แล้วดำ�เนินการตามขั้นตอนต่อไป
ขั้นที่ 6 – การทดสอบคลอรีนอิสระ และการปรับอัตราการไหลของเครื่องเติมคลอรีน
• การทดสอบคลอรีนอิสระที่มีอยู่ในน้ำ�จะทำ�โดยใช้ชุดทดสอบด้วยการเปรียบเทียบของ Lovibond
ดังต่อไปนี้
1) เปิดช่องประตูของเครื่องเปรียบเทียบ แล้วนำ�หลอดเปรียบเทียบ (5) ออกมาจากช่องเก็บที่ด้านข้าง
เปิดฝา (6) ของหลอดทั้งสองออก ใส่แผ่นคลอรีน (4) ลงไปโดยให้แน่ใจว่าด้านที่เป็นตัวเลขหงายขึ้น
ด้านบน ตรวจสอบให้แก้วใสของแผ่นกั้นหลังหันเข้าด้านใน แล้วปิดช่องประตูของเครื่องเปรียบเทียบ
นำ�ตัวอย่างน้ำ�ที่ผ่านกรองแล้วที่ปล่อยทิ้งไว้นิ่งๆ 15 นาทีแล้ว ให้เติมน้ำ�ที่ผ่านการกรองแล้วนี้ลงใน
หลอดตัวอย่างหลอดหนึ่งให้ถึงระดับเครื่องหมาย 10 มล. แล้วปิดฝาไว้ตามเดิม แล้วใส่หลอดตัวอย่าง
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

ลงในช่องน้ำ�ตัวอย่างธรรมดา (2)
2) กรอกล้างหลอดทดสอบด้วยน้ำ�ตัวอย่าง ให้เผื่อระดับที่จะท่วมเม็ดยาเคมีได้เม็ดหนึ่ง ใส่เม็ดยาเคมี DPD
NO.1 ลงไปแล้วปล่อยให้ละลาย แล้วจึงเติมน้ำ�ตัวอย่างต่อไปให้เต็มเขย่าน้ำ�ยานีแ้ ล้วใส่หลอดน้ำ�ยาลงช่องน้ำ�ยา
ตัวอย่างที่ได้ผสมยาทดสอบแล้ว (1)
3) หมุนแผนคลอรีนจนกระทั่งสีของน้ำ�ยานั้นเทียบเคียงแล้วเท่ากับหลอดแก้วมาตรฐานหลอดใดหลอดหนึ่ง
ส่วนผสมของคลอรีนอิสระก็จะอ่านค่าได้จากช่องอ่านค่า การอ่านค่าที่ถูกต้องควรที่จะอยู่ที่ 2.0 ppm
(หนึ่งส่วนต่อล้านส่วน)
4) ถ้าจำ�เป็นให้ควบคุมอัตราการไหลของคลอรีนโดยวาล์วควบคุมอัตราที่เครื่องเติมคลอรีน 60 ตามการ
อ่านค่าที่ได้จากเครื่องเปรียบเทียบ และให้ทำ�ซ้ำ�จนกว่าจะอ่านค่าได้ 2.0 เป็นอย่างน้อย
5) ขั้นสุดท้าย ดำ�เนินการทดสอบเหมือนๆ กันกับตัวอย่างที่นำ�มาจากถังที่น้ำ�เต็มแล้ว และบันทึกค่า
ที่อ่านได้ไว้
ขั้นที่ 7 – การล้างเครื่องกรอง
• เมื่อค่าความดันจากเกจ์ที่ติดบนปลอกเครื่องกรองขึ้นถึง 4 บาร์ (60 ฟุตปอนด์/ตารางนิ้ว) ร่องไส้กรองของ
เครื่องจะต้องทำ�ความสะอาดด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
1) ปิดวาล์วน้ำ�ฉีดเข้าเครื่องช่วยกรอง และวาล์วส่งน้ำ�ออก (4) และ (5)
2) ปิดวาล์วควบคุมอัตราการไหลของเครื่องเติมคลอรีน (60) ที่อยู่บน VVD
3) เปิดวาล์วส่งน้ำ�ออก (6) ของเครื่องกรอง
4) เมื่อเกจ์วัดความดันที่ติดตั้งอยู่บนผนังของหม้อกรองแสดงค่าถึง 4 บาร์ (60 ฟุตปอนด์/ตารางนิ้ว) หรือ
มากกว่านั้น (ให้สังเกต เกจ์ตัวนี้เป็นหนึ่งในสองตัว มีตำ�แหน่งอยู่ด้านล่าง) แล้วจึงปิดวาล์วส่งน้ำ�เข้า
เครื่องกรอง (1) คอยสักครู่เพื่อปล่อยให้ความดันในหัวเครื่องกรองและเปลือกหม้อกรองที่มีค่าเท่ากันกับ

4 - 46 การท�ำน�้ำให้สะอาดด้วยเครื่อง STELLA
ค่าความดันที่อ่านได้จากเกจ์การบำ�รุงรักษา ถ้าจำ�เป็นให้เปิดเผยออกเล็กน้อยแล้วปิดใหม่ วาล์ว (1) เพื่อ
รักษาค่าความดันที่ 4 บาร์ (60ฟุตปอนด์/ตารางนิ้ ) เกจ์ทั้งสองตัวนี้จะมีเส้นแดงที่หน้าปัดแสดงค่าความ
ดันที่ 60 ฟุตปอนด์/ตารางนิ้ว
5) ให้เปิดวาล์วระบายอากาศ “AUTOPACT” (7) โดยเร็ว ทั้งนี้เพื่อปล่อยความดันลมที่เปลือกเครื่องกรอง
ออกอย่างฉับพลัน ทำ�ให้น้ำ�สะอาดที่อยู่บนหัวเครื่องกรองถูกปล่อยให้ไหลกลับทิศทางผ่านไส้กรอง
อย่างรวดเร็ว และผลักดันสิ่งสกปรกในร่องไส้กรอง ออกมาทางด้านฐานของเครื่องกรอง
6) เปิดวาล์วถ่ายตะกอนของเครื่องกรอง (8) เพื่อระบายสิ่งสกปรกออกจากเปลือกหม้อกรองแล้วเปิดวาล์ว
ส่งน้ำ�เข้าเครื่องกรอง (1) แล้วปล่อยให้น้ำ�ชะล้างตะกอนที่ตกค้างออกจากตัวเครื่องกรองและท่อ
7) ปิดวาล์วทั้งหมดทุกตัว
8) ให้เปิดวาล์วส่งน้ำ�ออกของเครื่องกรอง (2) เพียงเล็กน้อย แต่เปิดวาล์วส่งน้ำ�เข้าเครื่องกรอง (1) ให้เต็มที่
9) เมื่อปรากฏว่ามีน้ำ�ออกมาที่ทางส่งน้ำ�ออกทางที่เดินเครื่องครั้งแรก ให้ปิดวาล์วการเดินเครื่องครั้งแรก
10) ปฏิบัติตามขั้นตอนจากข้อ 3) ถึงข้อ 7) ซ้ำ�อีก
11) ขณะนี้เครื่องกรองพร้อมที่จะเริ่มรอบการทำ�งานใหม่อีกครั้งหนึ่งแล้ว ให้เปิดวาล์วควบคุมการไหลของ
เครื่องเติมคลอรีน (6) และดำ�เนินการตามขั้นที่ 3, 4 และ 5
12) หากจะต้องปิดการทำ�งานของเครื่องอุปกรณ์ ให้ดำ�เนินการตามขั้นที่ 8
ขั้นที่ 8 - การปิดเครื่อง
• ปฏิบัติขั้นตอนที่ 7 เพื่อทำ�ความสะอาดเครื่องกรอง ให้ปิดวาล์วควบคุมอัตราการไหลของเครื่องเติม
คลอรีน (60) ที่ VVD เสียก่อนถ้ายังไม่ได้ปิด แล้วจึงเปิดการทำ�งานของเครื่องอุปกรณ์ตามขั้นตอน
ดังต่อไปนี้
1) ถ้าหากจะย้ายเครื่องอุปกรณ์นี้ไปทำ�งานในพื้นที่แห่งใหม่ หรือจะปิดการทำ�งานเป็นเวลาหลายวัน ให้ใช้
น้ำ�โกรกเครื่องช่วยกรอง โดยปิดวาล์วส่งน้ำ�เข้าเครื่องกรอง และปิดการใช้งานเครื่องยนต์และเครื่องสูบ
น้ำ� แล้วฝาปิดแล้วเปิดวาล์วตัวที่ (6) และที่ (5) และถังควบคุมการทำ�งานของเครื่องช่วยกรอง (13) โดย

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
ปล่อยให้น้ำ�โกรกผ่านและชะล้างเคมีช่วยกรองที่ตกค้างออกจากนั้นระบายทิ้งผ่านออกทางท่อระบายที่มี
จุกอุดไว้ (12)
2) ปิดเครื่องยนต์โดยยกคันบังคับ STOP/RUN ไปไว้ที่ตำ�แหน่ง “STOP” ห้ามใช้คันบังคับปล่อยแรงอัดใน
เครื่องยนต์
3) ปิดวาล์วทั้งหมดทุกตัว
ขั้นที่ 9 - การถอดส่วนประกอบ
• หลังจากปิดการทำ�งานของเครื่องอุปกรณ์แล้ว ชุดอุปกรณ์อาจปล่อยไว้ที่เดิมเพื่อการใช้งานในครั้งต่อไป
หรืออาจจะปลดการต่อโยงกันออกและเก็บตามความต้องการก็ได้ ขั้นตอนสำ�หรับถ่ายน้ำ�ออกทิ้ง และการ
เก็บถังกักเก็บน้ำ�เข้าหีบห่อ (ถ้าจะจัดส่งต่อไป) มีดังต่อไปนี้ :
1) ให้ระบายน้ำ�ทั้งหมดออกทางปลอกปล่อยน้ำ�ที่ก้นถัง และปล่อยออกจากยางขอบถังน้ำ�
2) ให้ใช้รถติดกว้านหรือรถยก folk lift (ถ้ามี) เพื่อใช้ยกถังน้ำ�ด้านข้างที่ตรงข้ามกับด้านที่เป็นปลอกที่ปล่อย
น้ำ�ให้ตะแคงเพื่อเทน้ำ�ที่เหลืออยู่ในแท้งค์
3) ถ้าไม่มีอุปกรณ์ทุ่นแรงเหล่านั้น ให้ใช้วิธีกดยางขอบถังให้แบน ปล่อยให้น้ำ�ล้นออกไป จนน้ำ�ที่เหลือมี
จำ�นวนน้อยพอที่จะยกตะแคงด้วยแรงคนจนน้ำ�หมด
4) ถ้าเป็นไปได้ให้ปล่อยให้ถังให้แห้งเสียก่อนเก็บเข้าลัง
5) ให้พับถังให้มีขนาดเล็กลงจน สามารถบรรจุเข้าลังเก็บได้
6. มาตรฐานในการตรวจสอบ
• สามารถต่อชุดอุปกรณ์ทำ�น้ำ�ให้สะอาดได้ถูกต้องตาม ลำ�ดับ และขั้นตอน ภายในเวลา 30 นาที
1) สามารถต่ออุปกรณ์เครื่องยนต์ได้ถูกต้อง
2) สามารถต่ออุปกรณ์กรองน้ำ� ได้ถูกต้อง

การท�ำน�้ำให้สะอาดด้วยเครื่อง STELLA 4 - 47
3) สามารถต่ออุปกรณ์ทำ�ลายเชื้อโรคได้ถูกต้อง
• สามารถปฏิบัติงานเครื่องทำ�น้ำ�ให้สะอาดได้ อย่างถูกต้อง
1) สามารถติดเครื่องยนต์ได้
2) ตรวจสอบการอุดตันของหัวดูดน้ำ� ก่อนใช้งาน
3) การเปิด-ปิดวาล์ว ถูกต้องตามขั้นตอน
4) ตรวจสอบหน้าปัดวัดความดันขณะปฏิบัติหน้าที่
• น้ำ�ที่ผ่านการบำ�บัดด้วยเครื่องทำ�น้ำ�ให้สะอาดมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ โดยค่าคลอรีน อยู่ระหว่าง
2-6 ppm ค่า pH อยู่ระหว่าง 6.5-8.5

วัตถุระเบิดและการทำ�ลาย, สงครามทุ่นระเบิด
1. เทคนิคการใช้วัตถุระเบิด และการทำ�ลาย และเทคนิคการสงครามทุ่นระเบิด
• คุณลักษณะของวัตถุระเบิด
ความมุ่งหมาย หลักในการใช้วัตถุระเบิดในการทำ�ลายนั้นเพื่อมุ่งหวังที่จะทำ�ลายให้เกิดเป็นเครื่องกีดขวาง
ที่สร้างขึ้นอย่างเร่งด่วนรวมทั้งเครื่องกีดขวางต่างๆ ที่ข้าศึกได้สร้างขึ้นไว้เพื่อป้องกันตนเองการทำ�ลายเพื่อให้
เกิดเป็นเครื่องกีดขวางเป็นความต้องการหลักเกี่ยวกับการส่งกำ�ลังบำ�รุง เพื่อเป็นการประหยัดเวลาแรงงาน
สำ�หรับการใช้วางการทำ�ลาย
สำ�หรับการใช้วัตถุระเบิดหลักทางทหารและสำ�รวจการระเบิดของวัตถุระเบิดแต่ละชนิด (ตัวกำ�ลัง
เปรียบเทียบ) จะต้องประเมินค่าภารกิจ และพิจารณาเลือกจุดอ่อนแอของเป้าหมายที่จะทำ�ลาย เพี่อตกลง
ใจในการใช้ชนิดของวัตถุระเบิดและปริมาณที่จะต้องใช้ และสามารถประเมินค่าผลที่ได้จากการทำ�ลาย
จากการคำ�นวณ ด้วยสูตรการทำ�ลาย ซึ่งได้ค่าจำ�นวนวัตถุระเบิดไว้เป็นปอนด์ (TNT.) ที่ต้องการ
ถ้าต้องการใช้วัตถุระเบิดชนิดอื่นต้องเปรียบเทียบกับค่าของวัตถุระเบิด TNT. ต้องเอาค่าตัวกำ�ลังเปรียบเทียบ
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

อำ�นาจการระเบิดไปหารค่าของวัตถุระเบิด TNT. จะได้ค่าของวัตถุระเบิดที่ต้องการใช้


*** ค่าที่ได้นั้นจะต้องใช้ให้เป็นไปตามลักษณะรูปร่างของขนาดของวัตถุระเบิดนั้นๆ

ตัวอย่าง TNT. 20 ปอนด์ จะใช้ดินระเบิด COM.C-4 กี่ปอนด์


C-4 = 20/1.34 = 14.91 ปอนด์
ใช้ M 112 = 14.91/1.25 = 11.9 แท่ง ใช้ 12 แท่ง

4 - 48 เทคนิคการใช้วัตถุระเบิด และการท�ำลาย
คุณลักษณะของวัตถุระเบิดทางทหาร
อัตราเร็วใน ค่าปัจจัยความ
ขนาด, น้ำ�หนัก และการบรรจุ
วัตถุระเบิด การใช้ การระเบิด มีประสิทธิผล
หีบห่อ
(ฟ/วินาที) สัมพันธ์ (RI)
ที.เอ็น.ที ระเบิดเจาะ 23,000 1.00 1 ปอนด์ 48 – 56 แท่ง / หีบ
เท็ตติตอล ระเบิดเจาะ 23,000 1.20 2 ½ ปอนด์ 8 แท่ง / ถุง, 2 ถุง
ดินระเบิด C – 4 ใช้ทำ�ดินระเบิดตัด 26,000 1.34 ดินระเบิด M5A1 : ขนาด 2 ½
, ดินระเบิดแท่ง และระเบิดเจาะ
M5A1, ดินระเบิด 24 แท่ง
M112 ดินระเบิด M112: ขนาด 1 ¼
ปอนด์
30 แท่ง
ดินระเบิดแผ่น ใช้ในการระเบิดตัด 24,000 1.14 ½ ปอนด์ / ชิ้น 4 ชิ่น / แท่ง
M 118 20 แท่ง / หีบ
ดินระเบิดม้วน 25 ปอนด์ / ม้วน 3 ม้วน / หีบ
M 186

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
ดินระเบิดไดนาไมท์ ใช้ระเบิดหิน,ขุดคู 20,000 0.92 ขนาด ½ ปอนด์ 100 แท่ง/หีบ
ฝักแคระเบิด ดินระเบิดนำ� 20,000 1,000 ฟุต / ม้วน 3 ม้วน / หีบ
24,000 500 ฟุต / ม้วน 8 ม้วน / หีบ
ดินระเบิดหลุม ใช้ทำ�หลุมระเบิด 8,900 0.42 40 ปอนด์ / ถัง / หีบ
บังกะโลตอร์ปิโดร์ ทำ�ลายเครื่อง 25,600 1.17 5 ท่อน 10 ท่อน/หีบ
M1A2 กีดขวางลวดหนาม
และเจาะช่อง
ดินระเบิดเชพชาร์จ ทำ�ระเบิดตัดเจาะรู 25,600 1.17 15 ปอนด์ 3 ลูก / หีบ
M2A4, M3A1 25,600 1.17 40 ปอนด์ 1 ลูก / หีบ
หมายเหตุ
1. ดินระเบิดไดนาไมท์จะใช้วางใต้น้ำ�เป็นระยะเวลานานกว่า 24 ช.ม. จะต้องได้รับการผนึกกันน้ำ�ด้วยวัสดุ
ป้องกันน้ำ�ซึม
2. ดินระเบิด C – 4 ที่จะนำ�มาใช้วางระเบิดใต้น้ำ�จะต้องบรรจุหีบห่อที่ปิดกันน้ำ�เพื่อป้องกันความชื้น
3. ดินระเบิดสำ�หรับทำ�หลุมระเบิดจะด้านถ้าแอมโมเนียมไนเตรทโดนความชื้น
4. ควันซึ่งเกิดจากการระเบิดหรือการเผาไหม้ของวัตถุระเบิดจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

เทคนิคการใช้วัตถุระเบิด และการท�ำลาย 4 - 49
ระยะปลอดภัยต่อบุคคลในที่โล่งแจ้ง
วัตถุระเบิด ระยะปลอดภัย ระยะปลอดภัย วัตถุระเบิด ระยะปลอดภัย ระยะปลอดภัย
ปอนด์ เมตร ฟุต ปอนด์ เมตร ฟุต
1-27 300 985 150 532 1,745
30 311 1,020 175 560 1,831
35 327 1,072 200 585 1,919
40 342 1,121 225 609 1,997
45 356 1,168 250 630 2,066
50 369 1,210 275 651 2,135
60 392 1,285 300 670 2,198
70 413 1,352 325 688 2,257
80 431 1,413 350 705 2,312
90 449 1,470 375 722 2,365
100 465 1,525 400 737 2,420
125 500 1,640 425 750 2,460
หมายเหตุ
ใช้ระยะปลอดภัยที่กล่าวมาในตารางข้างบนนี้ ตามจำ�นวนวัสดุระเบิดในตารางข้างบน แต่ถ้าจำ�นวน
วัตถุระเบิดมากกว่าใน ตารางข้างบนนี้ ให้ใช้การคำ�นวณระยะปลอดภัย จากสูตร
ระยะปลอดภัยเมตร = 100
ระยะปลอดภัยดังกล่าวนี้ ถ้ามีชิ้นส่วนของเป้าหมายที่ระเบิดจะต้องเพิ่มระยะปลอดภัยขึ้นอีก
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

ระยะปลอดภัยที่ใช้กับอาวุธจรวดซึ่งต้องใช้ที่กำ�บัง = 100 เมตร


ความปลอดภัย
1. อ้างถึง AR 385-63 กำ�หนดการระมัดระวังเกี่ยวกับความปลอดภัยไว้ล่วงหน้า เกี่ยวกับการใช้วัตถุระเบิด
2. อ้างถึง FM 5-25 วัตถุระเบิดและการทำ�ลาย สำ�หรับบุคคลที่จะใช้วัตถุระเบิดหลักทางทหาร
3. ตามรายงานที่ได้รับเกี่ยวกับ การชำ�รุดเสียหายหรือการเสื่อมสภาพของวัตถุระเบิดที่ไม่เป็นที่น่าไว้ใจ ตามแบบ
ฟอร์ม DD ข้อ 6ในแบบฟอร์ม AR 700-58
4. ต้องพิจารณาถึงความล้มเหลวในการใช้วัตถุระเบิด ใน AR 75-1
5. จะต้องระมัดระวังถึงการระเบิด หรือการลุกไหม้ของวัตถุระเบิด ซึ่งจะเกิดเป็นแก็สพิษ และถูกดูดหายใจเข้าไป
การเผาไหม้ของวัตถุระเบิดจะเป็นความร้อน ความร้อนที่เกิดขึ้นนี้ห้ามนำ�ไปใช้ในการหุงต้มเพราะจะเกิด
อันตรายจากควันพิษ ต่อร่างกายถึงตายได้
6. ต้องมีการระมัดระวังและฝึกให้มีความคุ้นเคยเป็นพิเศษสำ�หรับการจับถือ การลำ�เลียงขนส่ง, การจัดระเบิด
ตาม TM 9-1300-1300-206,TM 9-1375-213-12 และ FM 5-25
7. สำ�หรับวัตถุระเบิดด้านเดียว
• ควรเข้าไปเพียงคนเดียว หลังจากการจุดระเบิดผ่านพ้นไปแล้ว 30 นาที
• ระเบิดด้านอยู่เหนือพื้นดิน ควรใช่วัตถุระเบิด 1 ปอนด์ไปวางเพื่อการทำ�ลาย
• ระเบิดด้านที่ยังอยู่ใต้ดิน ต้องขุดขึ้นอย่างระมัดระวังอย่าขุดใกล้วัตถุระเบิด ในระยะ 1 ฟุต ถ้าจะใช้การ
ทำ�ลาย ณ ที่วัตถุระเบิดยังอยู่ต้องใช้วัตถุระเบิดอย่างน้อย 2 ปอนด์ วางการทำ�ลาย
• อย่าปล่อยวัตถุระเบิดด้านทิ้งไว้โดยไม่จัดการอย่างหนึ่งอย่างใด
• อย่าพยายามเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดด้านออกไป เมื่อไม่มีความรู้หรือมีประสบการณ์เพียงพอ
8. ต้องจับถือวัตถุระเบิดด้วยความระมัดระวังอย่าโยนวัตถุระเบิด

4 - 50 เทคนิคการใช้วัตถุระเบิด และการท�ำลาย
วิธีทำ�ดินระเบิด
1. การใช้ชนวนฝักแคระเบิด จะต้องทำ�ปลายสุดของชนวนฝักแคระเบิดให้เกิดเป็นปม (เงื่อนเชือก) เสียก่อน แล้วนำ�
ปมนี้บรรจุไว้ภายในวัตถุระเบิดชนิดที่เป็นวัตถุระเบิดชนิดปั้นได้ และใช้ชนวนฝักแคระเบิดพันเป็นเงื่อนเชือกผูก
แน่นติดกับวัตถุระเบิดตรงบริเวณที่มีดินขยายการระเบิด ชนวนฝักแคระเบิดนี้จะจุดระเบิดขึ้นได้โดยใช้เชื้อปะทุ
ไฟฟ้าหรือเชื้อปะทุชนวนตามระบบการจุดระเบิดด้วยเชื้อปะทุไฟฟ้าหรือเชื้อปะทุชนวน ในการพันฝักแคระเบิดให้
เป็นปม (เงื่อนเชือก) การใช้ฝักแคระเบิดจุดระเบิด เมื่อใช้ดินระเบิดพลาสติก

รูปที่ 4-35 การทำ�ดินระเบิด


2. การใช้เชื้อปะทุไฟฟ้า การจุดระเบิดด้วยระบบนี้สามารถควบคุมเวลาในการจุดระเบิดได้แน่นอน แต่ยากต่อการ
ต่อวงจรและต้องใช้ผู้ชำ�นาญ
3. การใช้เชื้อปะทุชนวน ระบบนี้เป็นระบบหนึ่งที่เป็นการจุดระเบิดอย่างธรรมดา นิยมใช้กันมาก กระทำ�ได้ง่าย แต่

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
ไม่สามารถควบคุมเวลาในการจุดระบิดได้
4. การจุดระเบิดวัตถุระเบิดเป็นจำ�นวนมาก จะต้องใช้การจุดระเบิดคู่
ระบบการจุดระเบิด
ระบบการจุดระเบิดที่ใช้ได้ผลสมบูรณ์นั้น จะต้องใช้ระบบการจุดระเบิดคู่เสมอ ระบบการจุดระเบิดคู่นี้จะมี
การจุดระเบิด 2 วงจรการจุดระเบิด แต่ละวงจรการจุดระเบิด จะจุดระเบิดวัตถุระเบิดโดยตรง ระบบ
การจุดระเบิดคู่ ประกอบด้วย
1. ระบบคู่เชื้อประทุไฟฟ้า
2. ระบบคู่เชื้อปะทุชนวน
3. ระบบคู่ผสม (1 เชื้อปะทุไฟฟ้า 1 เชื้อปะทุชนวน)

รูปที่ 4-36 ระบบการจุดระเบิดคู่ผสม


หมายเหตุ การจุดระเบิดเมื่อใช้เชื้อปะทุไฟฟ้าแล้วในวงจรนั้นๆ ต้องใช้เชื้อปะทุไฟฟ้าชนิดเดียวกัน

เทคนิคการใช้วัตถุระเบิด และการท�ำลาย 4 - 51
การฝึกเพื่อเพิ่มทักษะการใช้วัตถุระเบิดและการทำ�ลาย, สงครามทุ่นระเบิด
การคำ�นวณวัตถุระเบิด
การระเบิดตัดเหล็ก
การระเบิดตัดเหล็กให้ได้ผลดีที่สุดนั้น จะต้องทราบขนาดของเป้าหมายและจุดสำ�คัญที่จะต้องการทำ�ลายใน
การตัดเหล็กด้วยวัตถุระเบิดวิธีการต่อไปนี้เป็นวิธีการใช้วัตถุระเบิดอย่างง่ายๆ ในการปฏิบัติภารกิจที่จะต้องวางการ
ทำ�ลายโดยการตัดเหล็กในลักษณะต่างๆ
1. แบบริบบิ้น ใช้สำ�หรับตัดเหล็กก่อสร้างหรือแผ่นเหล็ก(เหล็กรูป 1 หรือตงเหล็กปีกกว้าง เหล็กแผ่น ฯลฯ) ที่มี
ความหนาจนถึง3 นิ้ว ด้วยการปฏิบัติตามข้างล่างนี้
ความหนาดินระเบิด (TC) = ½ ของความหนาแผ่นเหล็ก (TS)
ความกว้างดินระเบิด (WC) = 3 เท่าความหนาดินระเบิดที่วาง (TC)
ความยาวของดินระเบิด (TC) = ความยาวที่ต้องการตัดเหล็ก (LS)
LC = LS
• ความหนาของดินระเบิดต้องหนาไม่น้อยกว่า ½ นิ้ว แผ่นเล็กจะหนาไม่ได้ตามเกณฑ์ก็ตาม ดินระเบิด
พลาสติกที่ปั้นได้ ซี – 4 ต้องใช้การตัดไม่ใช่ปั้นเพราะเกี่ยวกับความแน่นของเนื้อวัตถุระเบิด
• การระเบิดแบบริบบิ้นนี้ อาจใช้วัตถุระเบิดแผ่น เอ็ม 118 หรือวัตถุระเบิดแท่ง เอ็ม 112 ของ ซี -4 ซึ่งอาจ
จะตัดให้เข้าพอดีและวางแนบสนิทกับผิวหน้าของเป้าหมาย
• การวางระเบิดแบบริบบิ้นนี้ ถือเอาความเหมาะสมของรูปร่างดินระเบิดและการวางสัมผัสกับเป้าหมายที่
เหมาะสมด้วยเป็นหลัก
1. คานเหล็กหนาน้อยกว่า 2” วางดินระเบิดเป็นรูป C
ทางด้านใดด้านหนึ่ง
2. เพื่อตัดอกและปีกครึ่งหนึ่งทั้งด้านบนและล่าง
3. ส่วนปีกที่เหลืออีกด้านหนึ่งวางดินระเบิดทางด้านบน
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

และล่างให้ปลายอยู่ตรงข้ามกับดินระเบิดรูป C

1. ตงเหล็กหนา 2” หรือมากกว่าให้วาง 1. การจุดระเบิด : ฝักแคระเบิดต้องยาวเท่ากัน


เหมือนกันแต่ตรงข้ามรูป C นั้นวาง 2. ท�ำดินระเบิดน�ำทั้ง 3 แท่ง
เยื่องกัน
รูปที่ 4-37 การระเบิดตัดเหล็ก

2. แบบอานม้า เพือ่ ตัดเหล็กก่อสร้างทีม่ ลี กั ษณะเป็นรูปกลมหรือเส้นทีม่ ขี นาดเส้นผ่านศูนย์กลางได้จนถึง 6 นิว้


โดยใช้ความหนาของแท่งดินระเบิดหนา 1 นิว้ ความยาวของดินระเบิดทีเ่ รียกว่าแกนยาว ยาวเท่ากับเส้นรอบวง และ
ความกว้างซึ่งเรียกว่า แกนสั้นนั้น จะมีความยาวเท่ากับ½ ของเส้นรอบวง หลักการนี้อาจใช้กับเหล็กกลม,
เหล็กเหลี่ยมหรือเหล็กสี่เหลี่ยมผืนผ้าได้ (จนถึงหน้าตัดกว้าง 8 นิ้ว) การวางดินระเบิดใช้วิธีการวางเป็นรูป
สามเหลี่ยม การจุดระเบิดใช้เชื้อปะทุไฟฟ้าหรือเชื้อปะทุชนวนวางที่ปลาย – ของแกนยาว ซึ่งแกนยาวจะวาง
ขนานไปกับเป้าหมายดินระเบิดจะต้องตัดให้ได้รปู และขนาดถูกต้อง (ไม่ใช่ปน้ั ) และวางให้สมั ผัสกับเป้าหมาย

4 - 52 เทคนิคการใช้วัตถุระเบิด และการท�ำลาย
รูปที่ 4-38 แบบอานม้า

3. แบบข้าวหลามตัด ใช้สำ�หรับตัดเหล็กทีม่ ลี กั ษณะเป็นรูปกลมหรือเหล็กเส้นทีม่ ขี นาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 6 นิว้


รูปข้าวหลามตัดมีความหนาของดินระเบิด 1 นิ้ว แกนยาวมีความยาวเท่ากับเส้นรอบวง แกนสั้นมีความ
ยาวเท่ากับ ½ เส้นรอบวง และอาจใช้กับเหล็กที่มีหน้าตัดกลมหรือเหลี่ยม การจุดระเบิดจะต้องจุดที่ปลาย
ของแกนสั้น ให้ระเบิดพร้อมกันทั้งสองแท่ง ซึ่งกระทำ�ได้โดยใช้ชนวนฝักแคระเบิด ซึ่งตัดให้มีความยาวเท่ากัน
ทำ�ดินระเบิดแล้วนำ�ผูกเชื้อปะทุ ชนวนเข้าที่ปลายทั้งสองข้างของชนวนฝักแคระเบิด อาจใช้เชื้อปะทุไฟฟ้าก็ได้
การวางดินระเบิด ให้เอาดินระเบิดที่ตัดเป็นรูปข้าวหลามตัดหุ้มรอบเป้าหมายที่จะตัด ให้ปลายของแกนยาว
ชนกัน อาจต้องเพิ่มขนาดของดินระเบิดขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้ดินระเบิดติดแนบแน่นกับเป้าหมายดีขึ้น

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
รูปที่ 4-39 แบบข้าวหลามตัด
4. สูตรการระเบิดตัดเหล็ก สำ�หรับใช้กับวัตถุระเบิดที่แข็งเป็นแท่ง
สูตรระเบิดตัดเหล็ก
P = TNT. เป็นปอนด์ที่ต้องการใช้
P = (3/8) A 3/8 = ตัวคงที่
A = พื้นที่หน้าตัดของเหล็กเป็นตารางนิ้ว
5. กฎหัวแม่มือ (ตัดเหล็ก) กฎหัวแม่มือสำ�หรับการตัดเหล็กสำ�หรับวัตถุระเบิด TNT. ซึ่งได้ประมาณการใช้
เรียบร้อยแล้ว ถ้าจะใช้วัตถุระเบิดอื่นให้เอาตัวกำ�ลังเปรียบเทียบของวัตถุระเบิดชนิดนั้นๆ มาหาร
• รางรถไฟ (ตัดที่ทางผ่าน, กุญแจหัวตะเข้หรือทางโค้ง) ในการตัดรางรถไฟนั้นควรมีระยะห่างกันอย่างน้อย
500 ฟุต
1) รางรถไฟสูงน้อยกว่า 5 นิ้ว ใช้ TNT. ½ ปอนด์
2) รางรถไฟสูง 5 นิ้ว หรือมากกว่าใช้ TNT. 1 ปอนด์
3) ทางตัดผ่านหรือกุญแจใช้ TNT. 1 ปอนด์
4) หัวตะเข้ ใช้ TNT. 2 ปอนด์

เทคนิคการใช้วัตถุระเบิด และการท�ำลาย 4 - 53
• เหล็กสายเคเบิ้ล, โซ่เหล็ก, เหล็กกลม
1) เส้นผ่าศูนย์กลางถึง 1 นิ้ว ใช้ 1 ปอนด์ TNT.
2) เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1 นิ้ว ถึง 2 นิ้ว ใช้ 2 ปอนด์ TNT.
3) เส้นผ่าศูนย์กลางเกินกว่า 2 นิ้ว ใช้ P = 3/8 A
• หมายเหตุ ใช้เหล็กหรือสายเคเบิ้ล ตามกฎนี้ใช้สำ�หรับวางการระเบิด ตรงส่วนรับแรงดึง ถ้าเป็นโซ่
เหล็กให้วางการระเบิดทั้ง 2 ข้าง ของห่วงโซ่
การคำ�นวณวัตถุระเบิด สำ�หรับการระเบิดแตกหัก
สูตรการระเบิดแตกหัก
P = TNT. เป็นปอนด์ , R = รัศมีแตกหักเป็นฟุต (ความหนา)
P = R3KC เมื่อ K = ค่าความเหนียวแน่นของวัตถุ ดูตาราง
C = ค่าของการอัดลม ดูตาราง
หมายเหตุ 1. สำ�หรับการวางดินระเบิดแบบการวางภายนอก ใช้ P = R3KCใช้วัตถุระเบิดน้อยที่สุด 5 ปอนด์
สำ�หรับคอนกรีตเสริมเหล็ก และ 3 ปอนด์ สำ�หรับคอนกรีตเนื้อแน่น
2. ค่าของ R ปัดขึ้นใกล้เคียง ½ ฟุต
3. ถ้าไม่ทราบว่าเป็นคอนกรีตชนิดใด ให้ใช้ค่าเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
ค่าของ K (ความเหนียวแน่นของวัสดุ) ต่อการระเบิดแตกหัก
วัสดุ รัศมีแตกหัก ค่า K
ดินธรรมดา ไม่แน่นอน 0.07
อิฐก่อชนิดเลว, หินดินดาล, ดินดาล น้อยกว่า 5 ฟุต 0.32
แข็ง, ต้นไม้และดินก่อสร้าง 5 ฟุต หรือมากกว่า 0.29
อิฐก่อชนิดดี 1 ฟุต หรือน้อยกว่า 0.88
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

คอนกรีตสามัญ 1.0 > 3.0 ฟุต 0.48


หิน 3.0 > 5.0 ฟุต 0.40
5.0 > 7.0 ฟุต 0.32
7 ฟุต หรือมากกว่า 0.27
คอนกรีตเนื้อแน่น 1 ฟุต หรือน้อยกว่า 1.14
อิฐก่อชั้นเยี่ยม (ชั้นหนึ่ง) 1.0 > 3.0 ฟุต 0.62
3.0 > 5.0 ฟุต 0.52
5.0 > 7.0 ฟุต 0.41
7 ฟุต หรือมากกว่า 0.35
คอนกรีตเสริมเหล็ก (เฉพาะคอนกรีตเท่านั้นไม่อาจตัด 1 ฟุต หรือน้อยกว่า 1.76
เหล็กเสริม) 1.0 > 3.0 ฟุต 0.96
3.0 > 5.0 ฟุต 0.80
5.0 > 7.0 ฟุต 0.63
7 ฟุต หรือมากกว่า 0.54

4 - 54 เทคนิคการใช้วัตถุระเบิด และการท�ำลาย

ถ้ารัศมีแตกหักมากกว่าความลึกของน้ำ� ใช้ 2.0, ถ้าเท่ากันหรือน้อยกว่าความลึกของน้ำ�ใช้ 1.0


ตารางการใช้วัตถุระเบิดสำ�หรับการระเบิดแตกหัก
ให้ค่าของ TNT. เป็นปอนด์ สำ�หรับการระเบิดเป้าหมายแตกหักคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยการใช้จากสูตร
การคำ�นวณ P = R3KC สำ�หรับใช้กับคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่ถ้าไม่ใช้คอนกรีตเสริมเหล็กให้เอาค่าของวัตถุ
นั้นๆ ไปหารค่าของปอนด์ TNT.
การระเบิดต้นไม้
ไม้ชนิดต่างๆ ในท้องถิ่นต่างกันย่อมต้องการใช้วัตถุระเบิดแตกต่างกันด้วย ไม้เนื้อแข็งย่อมใช้วัตถุระเบิด
มากกว่าไม้เนื้ออ่อน เพราะฉะนั้นจึงไม่มีสูตรการระเบิดใดๆ ที่จะให้การระเบิดตัดไม้ชนิดต่างๆ ได้โดยแน่นอน
จึงควรทำ�การจุดระเบิดทดสอบเสียก่อน เพื่อหาจำ�นวนดินระเบิดที่แน่นอนสำ�หรับไม้แต่ละชนิดนั้นๆ
1. การวางดินระเบิดแบบการวางภายนอก
P (TNT.) เป็นปอนด์ = /40 * ( Ø เป็นนิ้ว )/(ตัวคงที่)
ใช้สำ�หรับตัดต้นไม้, เสาตอม่อ, เสา, คานไม้อื่นๆ ควรใช้สูตรนี้ ในการทดสอบหาจำ�นวนวัตถุระเบิด และอาจ
ใช้แผนภูมิ ใช้สำ�หรับการคำ�นวณหาจำ�นวนวัตถุระเบิดหรืออาจใช้หา (D = เส้นผ่าศูนย์กลางเป็นนิ้ว)
2. การวางดินระเบิดแบบการวางภายใน
P (ดินระเบิดใดๆ ก็ได้) = /250 ใช้แผนภูมิ สำ�หรับทดสอบการคำ�นวณวัตถุระเบิด
(D = เส้นผ่าศูนย์กลางเป็นนิ้ว)

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
3. ไม้ล้มค้างตอ (เป็นเครื่องกีดขวาง)
P (TNT.) = /50 * (Ø เป็นนิ้ว)/(ตัวคงที่)
ใช้สำ�หรับเป็นเครื่องกีดขวางไม้ล้ม โดยใช้แผนภูมิ ในการคำ�นวณหาวัตถุระเบิด เป็นการวางดินระเบิด
ภายนอก ซึ่งจะต้องการให้ตอไม้สูง 3-5 ฟุต ไม้ควรมีขนาด Ø 18 นิ้ว สำ�หรับยานล้อ และ Ø 24 นิ้ว สำ�หรับยาน
สายพาน (D = Ø เป็นนิ้ว)
4. การวางดินระเบิดแบบวงแหวน (ใช้สำ�หรับไม้ Ø 30 นิ้วหรือน้อยกว่า)
การคำ�นวณหาวัตถุระเบิด
1) วัตถุระเบิดแบบ M 118 หรือ M 186
½ × เส้นรอบวง ( ฟุต ) × จำ�นวนแถบ = ปอนด์
2) ซี – 4
1.1 × เส้นรอบวง ( ฟุต ) × จำ�นวนแถบ = ปอนด์
3) ใช้วิธีการคำ�นวณจากสูตร P = /40 * ( Ø เป็นนิ้ว )/(ตัวคงที่)
การวางดินระเบิด
1) แถบของวัตถุระเบิดจะต้องวางโดยรอบของไม้
2) การบังคับการล้มของไม้อาจใช้เชือกหรือสายเคเบิ้ล

เทคนิคการใช้วัตถุระเบิด และการท�ำลาย 4 - 55
การระเบิดแตกหัก (คอนกรีตเสริมเหล็ก)
การทำ�ดินระเบิดแตกหัก (Breaching Charges)
จำ�นวนของดินระเบิดสำ�หรับการระเบิดคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงจากรูปเพื่อหาปริมาณ
สำ�หรับวัสดุอื่น
สูตรในการคำ�นวณ P = R3 KC
เมื่อ
P = ปริมาณดินระเบิด T.N.T. เป็นปอนด์
R = รัศมีการแตกหัก (ดูรูป 6 – 4)
K = ปัจจัยการแตกหัก (ดูตาราง 6 – 6)
C = ปัจจัยการอัดลม (ดูตาราง 6 – 7)
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

4 - 56 เทคนิคการใช้วัตถุระเบิด และการท�ำลาย
การคำ�นวณระเบิดแตกหัก
ในการคำ�นวณระเบิดแตกหัก ปฏิบัติดังต่อไปนี้
1 พิจารณาชนิดของวัสดุที่ท่านจะทำ�ลายตามแผน ถ้าสงสัย ให้ตัดสินใจว่าเป็นวัสดุแบบที่แข็งแรงกว่า
ยกตัวอย่าง สมมุติเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กนอกเสียจากท่านทราบชนิด
2. วัดความหนาของวัตถุ
3. เลือกวิธีการวางดินระเบิดกับวัตถุ เปรียบเทียบวิธีการวางของท่านกับแผนผังด้านบน ถ้ามีปัญหาในการ
เลือกช่องที่จะใช้ โปรดเลือกใช้ช่องที่ให้ปริมาณ C 4 ที่มากกว่า
4. พิจารณาปริมาณของ C 4 ที่จำ�เป็นต้องใช้ถ้าวัตถุเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
5. คูณจำ�นวนปอนด์ของ C4 (ดูย่อหน้าบน) โดยปัจจัยของค่าการปรับเปลี่ยน
ตัวอย่าง ท่านมีกำ�แพงดินไม้หนา 2 ม. ด้วยการวางดินระเบิด (โดยไม่อัดลม) ที่ฐานของมัน (ถ้ากำ�แพงนี้ทำ�ด้วย
คอนกรีตเสริมเหล็ก ท่านจำ�เป็นต้องใช้ดิน C4 จำ�นวน 465 ปอนด์ เพื่อระเบิดแตกหัก) ปัจจัยของค่าการปรับเปลี่ยน
คือ 0.5 จากนั้นคูณ 0.5 ด้วย 465 ก็จะได้ดิน C 4 จำ�นวน 232.5 ปอนด์ สำ�หรับการระเบิดแตกหักกำ�แพงดินไม้

รัศมีแตกหัก
ตำ�แหน่งการวางดินระเบิด
ภายใน ภายนอก
ตรงศูนย์กลาง นอกศูนย์กลาง

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
R = รัศมี ,T = ความหนา R = T ลบความลึกของช่องเจาะ
เป้าหมาย

ค่าความแข็งแรงของวัตถุ (K) สำ�หรับดินระเบิดแตกหัก

ชนิดของวัตถุ รัศมีแตกหัก K
ชนิดดินธรรมดา ทุกระยะ 0.70
ปูนฉาบก่อฉาบผิวชั้นเลว, น้อยกว่า 5 ฟุต 0.32
หินดินดาน,ไม้เนื้อแข็งและ 5 ฟุต หรือ มากกว่า 0.29
กำ�แพงดิน

เทคนิคการใช้วัตถุระเบิด และการท�ำลาย 4 - 57
ชนิดของวัตถุ รัศมีแตกหัก K
ปูนก่อฉาบผิวชั้นดี, คอนกรีต,หิน 1 ฟุต หรือ น้อยกว่า 0.88
เกินกว่า 1 ฟุต ถึง ต่ำ�กว่า 3 ฟุต 0.48
3 ฟุต - ต่ำ�กว่า 5 ฟุต 0.40
5 ฟุต – ต่ำ�กว่า 7 ฟุต 0.32
7 ฟุต หรือ มากกว่า 0.27
คอนกรีตแข็งเนื้อแน่น, ปูนก่อ 1 ฟุต หรือ น้อยกว่า 1.14
ฉาบผิวชั้นดี เกิน 1 ฟุต - ต่ำ�กว่า 3 ฟุต 0.62
3 ฟุต - ตำ�กว่า 5 ฟุต 0.52
5 ฟุต - ต่ำ�กว่า 7 ฟุต 0.41
7 ฟุต หรือ มากกว่า 0.35
คอนกรีตเสริมเหล็ก 1 ฟุต หรือ น้อยกว่า 1.76
(เฉพาะคอนกรีตเท่านั้นไม่ตัด เกินกว่า 1 ฟุต - ต่ำ�กว่า 3 ฟุต 0.96
เหล็กเสริม) 3 ฟุต - ตำ�กว่า 5 ฟุต 0.80
5 ฟุต - ตำ�กว่า 7 ฟุต 0.63
7 ฟุต หรือ มากกว่า 0.54
จำ�นวนดินระเบิดและความหนาหาได้จากสูตร N = W/2R
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

เมื่อ N = จำ�นวนดินระเบิด, W = ความกว้างของเป้าหมาย, R = รัศมีแตกหัก


การปัดเศษค่า N น้อยกว่า 1.25 ใช 1้ ปอนด์ , 1.25 ถึง 2.49 ใช้ .2 ปอนด์, 2.5 ขึน้ ไปให้ปดั ขึน้ เป็นจำ�นวนเต็ม
เพือ่ ผลของคำ�ตอบทีด่ ที ส่ ี ดุ วางดินด้านเรียบ หรือด้านราบของรูปสีเ่ หลีย่ ม ถ้าระบิดเจาะพืน้ ผิวแข็ง ใช้ดนิ ระเบิด 1 ปอนด์
ต่อความหนาของพืน้ ผิว 2 นิว้
ความหนาของดินระเบิดแตกหัก
จำ�นวนของดินระเบิด ความหนาของดิน จำ�นวนของดินระเบิด ความหนาของดินระเบิด
ระเบิด
น้อยกว่า 5 ปอนด์ 1 นิ้ว 40 ปอนด์ ถึง น้อยกว่า 4 นิ้ว
5 ปอนด์ ถึง น้อยกว่า 2 นิ้ว 300 ปอนด์ 8 นิ้ว
46 ปอนด์ 300 ปอนด์ หรือมากกว่า
* หมายเหตุ ความหนาของการระเบิดแตกหักจะมีค่าโดยประมาณเมื่อใช้ TNT
หลุมระเบิด
1. ความต้องการ
หลุมระเบิดบนถนนจะเป็นเครื่องกีดขวางที่ให้ผลดีจะมีความกว้างเกินกว่าที่รถถังมีสายพานทอดข้ามได้ และ
ต้องลึกมาก ด้านข้างของหลุมต้องชันมาก เพื่อมิให้ยานพาหนะผ่านไปได้ถนนที่ถูกระเบิดเป็นหลุมแล้วไม่อาจหยุดยั้ง
รถถังสมัยใหม่ได้อย่างเด็ดขาด เพราะรถถังจะพยายามกลบดินที่หลวมๆ อยู่ข้างหลุมให้ลาดลงไปในก้นหลุม เพื่อลด
ความลึกและความชันลง หลุมระเบิดบนถนนที่จะถือว่าเป็นเครื่องกีดขวางรถถังได้ผลดีจริงๆนั้นจะต้องใช้รถถังวิ่งไป
มา 3 แนว จึงจะกลบหลุมได้ โดยวิธีนั้นจะทำ�ให้อาวุธต้อสู่รถถังมีแรงใจในการทำ�ลายรถถังได้ หลุมระเบิดดักรถถังจะ
ต้องมีความกว้างพอและหัวท้ายของหลุมระเบิดต้องเชื่อมกับเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติหรือสร้างขึ้น หลุมระเบิด

4 - 58 เทคนิคการใช้วัตถุระเบิด และการท�ำลาย
อาจปรับปรุงได้ผลดีขึ้น โดยการใช้ไม้ซุงปักเป็นรั้วก้ันทั้งสองฝั่ง และขุดลาดทางฝ่ายเราให้ตั้งเป็นแนวดิ่ง รวมทั้งการ
วางระเบิดดักรถถัง และทุ่นระเบิดสังหารไว้ด้วย หลุมระเบิดบนถนนควรวางให้ทำ�มุม 45 องศา ขุดหลุมสำ�หรับวางดิน
ระเบิดนั้นอาจใช้
• เครื่องมือธรรมดา
• สว่านเจาะดิน
• ดินระเบิดโพรง 40 ปอนด์พร้อมขาตั้ง 5 ฟุต
• ดินระเบิดโพรง 15 ปอนด์พร้อมขาตั้ง 3.5 ฟุต
2. หลุมระเบิดประณีต
• จำ�นวนหลุมระเบิด (N) = L – 16 /5 + 1 เมื่อ L = ความยาวของหลุมระเบิดเป็นฟุต
• ระยะห่างหลุม 5 ฟุต หลุมปลายทั้ง 2 ข้างลึก 7 ฟุต หลุม ต่อไปลึก 5 ฟุต และ 7 ฟุตสลับกัน
• บรรจุดินระเบิด 80 ปอนด์ ในหลุมลึก 7 ฟุต และ 40 ปอนด์ ในหลุมลึก 5 ฟุต
• หลุมระเบิดเมื่อระเบิดแล้ว จะมีความยาวออกไปทางข้าง ประมาณ 8 ฟุต หลุมแต่ละข้าง
3. หลุมระเบิดแบบหน้าผา
• จำ�นวนหลุมระเบิด (ด้านฝ่ายเรา)
L = ความยาวของหลุมระเบิด (หลุมลึก 5 ฟุต)จำ�นวนหลุมระเบิด (ด้านข้าศึก) N-1 (หลุมลึก 4 ฟุต)
• วางดินระเบิด 2 แถวห่างกัน 8 ฟุต แต่ละหลุมห่างกัน 7 ฟุต หลุมแถวหน้ากึ่งกลางระหว่างหลุมแถวหลัง
• แถวทางด้านฝ่ายข้าศึกจุดระเบิดขึ้นก่อน แถวด้านดินระเบิด ฝ่ายเราจุดระเบิดถ่วงเวลา 1-1 1/2 วินาที แถว
ทางด้านข้าศึกจุดระเบิดก่อนจะได้ผลดีมาก ถ้าวัตถุระเบิดทางฝ่ายเราจุดระเบิดขึ้นในขณะที่ทางฝ่ายข้าศึกกำ�ลัง
ลอยตัวอยู่ในกลางอากาศ
4. หลุมระเบิดเร่งด่วน
• แต่ละหลุมขุดลึก 5 ฟุตเท่าๆ กัน บรรจุระเบิด 10 ปอนด์ ต่อความลึก 1 ฟุต ผลที่ได้จากการระเบิดจะได้ความ
ลึก ประมาณ 1 ½ เท่าของความลึก ของหลุมเดิมและความกว้าง ประมาณ 5 เท่าของความลึก

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
• หลุมที่ขุดบรรจุดินระเบิดจะต้องมีความลึกอย่างน้อย 5 ฟุต
• จำ�นวนหลุม N = L – 16 /5 + 1
• หลุมระเบิดนี้จะไม่ได้ผลดีเท่าหลุมระเบิดแบบประณีต หรือหลุมระเบิดแบบหน้าผา แต่จะได้ผลดีเมื่อมีการ
เตรียมการอย่างดีก่อนการจุดระเบิด
หลุมปลายทั้ง 2 ข้าง 7 ฟุต ผลของการระเบิดได้หลุมกว้างประมาณ 25 ฟุต ลึก 8 ฟุต

รูปที่ 4-40 การวางดินระเบิดสำ�หรับหลุมระเบิดประณีต

เทคนิคการใช้วัตถุระเบิด และการท�ำลาย 4 - 59
รูปที่ 4-41 หลุมระเบิดแบบหน้าผา

ความลึกของรูเท่ากับระยะห่าง 5 ฟุต ศูนย์กลางถึงศูนย์กลางหลุมใช้ดนิ ระเบิด 10 ปอนด์ ต่อความลึก 1 ฟุต


ความลึกของหลุมระเบิดทีไ่ ด้ประมาณ 1 ½ เท่าของความลึกของรูท้ เ่ี จาะ, ความกว้างประมาณ 5 เท่า ของความลึก
ของรูทเ่ี จาะ
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

รูปที่ 4-42 การวางดินระเบิดสำ�หรับหลุมระเบิดเร่งด่วน

การวางดินระเบิดสำ�หรับหลุมระเบิดเร่งด่วน
ยานรบทหารช่าง (CEV) มีปนื ยิงดินระเบิดขนาด 165 มม. ระยะยิงไกลสุด 900 ม. สามารถยิงเป้าหมายขนาด
6” × 6” อย่างแม่นยำ�, ระยะปลอดภัยต่ำ�สุดต่อบุคคลในทีโ่ ล่งจากจุดกระทบ 1200 ม. วัตถุประสงค์กเ็ พือ่ เปิดช่องเครือ่ ง
กีดขวาง เช่นเครือ่ งปิดกัน้ ถนน, หมอนไม้, ทำ�ลายบังเกอร์ขา้ ศึก ทีไ่ ม่มกี ารยิงด้วยปืนเล็กจากข้าศึก ถ้าเกิดมีกระสุนด้าน
ให้ยงิ ต่อไป
การทำ�ลายเครือ่ งกีดขวางของข้าศึก
1. ยานรบของทหารช่าง (CEV) จัดไว้สนับสนุนการปฏิบัติการทางพื้นดินของหน่วยทหารช่างสนาม ในการ
ทำ�ลายและรื้อถอนเครื่องปิดกั้นถนน, ถมช่องแคบ, ขุดคูและปฏิบัติงานอื่น ๆ ยานรบทหารช่างมีอาวุธปืนทำ�ลาย
ขนาด 165 มม. ซึ่งสามารถปฏิบัติการได้ผลในระยะ 900 ม.ระยะปลอดภัยสำ�หรับบุคคลในที่โล่งแจ้ง 1200 ม. อาวุธ
ปืนที่ใช้เป็นหลักได้แก่การรื้อถอนเครื่องกีดขวางที่เป็นแบบเครื่องปิดกั้นถนน เครื่องกีดขวางท่อนซุง เล้าหมู ต้นไม้ และ
ทำ�ลายพักกำ�บังข้าศึกซึ่งปราศจากการยิงจากอาวุธปืนเล็กของข้าศึก

4 - 60 เทคนิคการใช้วัตถุระเบิด และการท�ำลาย
2. กฏหัวแม่มือสำ�หรับการทำ�ลายเครื่องกีดขวาง (ในสถานการณ์รบ)
• เครื่องกีดขวางแท่งคอนกรีต ใช้วัตถุระเบิด 1 ปอนด์ต่อ 1 ลบ.ฟุต ใช้ได้จนถึง 100 ลบ.ฟุต
• เครื่องกีดขวางท่อนซุง โดยทั่วไปแล้วจะวางดินระเบิดตรงรอยต่อของเครื่องกีดขวางท่อนซุงเล้าหมู
ใช้ดินระเบิดถึง 30 ถึง 40 ปอนด์ในจุดกึ่งกลางของดินถม ลึก 2/3 เท่าของความลึกเล้าหมู และอัดลม ระยะ
ห่าง 8 ฟุต ตลอดความยาวของเครื่องกีดขวาง ดินระเบิดที่วางจะทำ�ลายเครื่องกีดขวางที่วางไว้ทั้งหมด และจะลึกลง
ไปใต้ผิวถนนโดยตลอด
3. กำ�แพง
• กำ�แพงคอนกรีตที่ไม่มีดินถมอยู่ด้านหลัง ใช้การระเบิดแตกหักตามสูตร
• กำ�แพงที่มีดินถม อยู่ด้านหลัง ให้คูณจำ�นวนวัตถุระเบิด 1.2 ของ การทำ�ลายกำ�แพงที่ไม่มีดินถม
อยู่ข้างหลัง
2. เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
CLUSTER คือ กลุ่มของสนามทุ่นระเบิด ภายในรัศมีครึ่งวงกลมซึ่งรัศมี 2 เมตร จะประกอบด้วย ดถ. 1 ทุ่น
เท่านั้นแล้วจะเพิ่ม สห.กด. หรือ สห.รบ. ได้อีกไม่เกิน 4 ทุ่น รวม 1 CLUSTER จะมีทุ่นระเบิดได้ ไม่เกิน 5 ทุ่น
แถบไม่มีระเบียบ (IOE) วัตถุประสงค์ เพื่อให้ข้าศึกสับสนจะอยู่แถบหน้าสุดของสนามทุ่นระเบิด
ความแน่น หมายถึงจำ�นวนและชนิดของทุ่นระเบิดต่อความกว้างด้านหน้าของสนามทุ่นระเบิด 1 เมตร เช่น
ความหนา 1 : 2 : 3 หมายถึง พ.ท. กว้าง ด้านหน้า 1 เมตร ความยาวเท่ากับความลึกของสนาม
จะพบ ดถ. = 1 ทุ่น สห.รบ. = 2 ทุ่น, สห.กด. = 2 ทุ่น
การประมาณการวัสดุทใ่ี ช้ในสนามทุน่ ระเบิด
เนื่องจากในปัจจุบันนี้ได้มีปัญหามากในการรื้อถอน เพราะเราใช้เป็นก้าว ซึ่งก้าวของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน
ทำ�ให้เราต้องสูญเสียทหารช่างและทหารเหล่าอื่นๆ ไปหลายนายจึงขอเสนอแนะว่าควรใช้ระยะนี้เป็นเมตรจะแน่นอน
กว่าแม้จะลดประสิทธิภาพของสนามลงไปก็ไม่มากนักและผ้าแถบหมายแนวนั้นควรทำ�เครื่องหมายทุก ๆ 3 เมตร จะ
สะดวกแก่การสร้างลวด

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
ตัวอย่าง ให้ท่านดำ�เนินการสร้างสนามทุ่นระเบิด ณ บริเวณพิกัด (ทุ่งปาก้าง) ให้มีความแน่น 1 : 4 : 8
ความแน่นของแถบ IOE = 1 : 2 : 2 ซึ่งมีกว้างด้านหน้า 200 ม. ให้ท่านประมาณการวัสดุในการสร้าง, คน/ซม.,
รถที่ใช้บรรจุวัสดุ
วิธที ำ� ความแน่น = 1 : 4 : 8
ความแน่นแถบ IOE = 1 : 2 : 2
1.จำ�นวนกลุม่ ทุน่ ระเบิดในแถบ IOE = กว้างด้านหน้า /9 กลุม่
= 200/9 = 22.22 กลุม่
= 23 กลุม่
2. ใช้ทนุ่ ระเบิดในแถบ IOE = กลุม่ แถบ IOE (ความแน่นของแถบ IOE)
= 23 (1:2:2)
= 23 : 46 : 46
3. จำ�นวนกลุม่ ในแถบมีระเบียบ = กว้างด้านหน้า (ความแน่น)
= 200 (1 : 4 : 8)
= 200 : 800 : 1600
4. รวมทุน่ ระเบิดทีใ่ ช้ทง้ั หมด
แถบ = IOE = 23 : 46 : 46 +
แถบมีระเบียบ = 200 : 800 : 1600
รวม = 223 : 846 : 1646
5. เพิม่ อีก 10 % (เศษปัดขึน้ )
เพิม่ อีก = 23 : 85 : 165
รวมทัง้ สิน้ (4+5) = 246 : 931 : 1811
เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 61
6. เวลาในการวางของแต่ละแบบ
ทุน่ ระเบิดดักรถถัง = 4 ทุน่ /คน/ชม.
ทุน่ ระเบิด สห. กด. = 8 ทุน่ /คน/ชม.
ทุน่ ระเบิด สห. รบ. = 16 ทุน่ /คน/ชม.
7. ประมาณการ คน/ชม.
เวลาทีว่ าง ดถ. = 246/4 = 62 คน/ชม.
เวลาทีใ่ ช้วาง สห.กด. = 931/8 = 117คน/ชม.
เวลาทีใ่ ช้วาง สห.รบ. = 1811/16 = 114คน/ชม.
รวม = 62 + 117 + 114 = 293 คน/ชม.
หมายเหตุ 1.ความต้องการของแรงงานให้เพิม่ อีก 20 %
2. ถ้าทำ�งานตอนกลางคืนเดือนมืด เพิม่ ขึน้ อีก 50 % จากข้อหมายเหตุ 1.
ความต้องการของแรงงาน = 293x1.2 = 352 คน/ชม.
8. ในการหาจำ�นวนแถบทีม่ รี ะเบียบ โดยนำ�ผลรวมความแน่นทีก่ ำ�หนดให้
(ในทีม่ ใี ช้ระยะเป็นเมตร หากใช้ระยะเป็นก้าวหรือหลาต้องปรับก่อน)
ความแน่น = 1 : 2 : 8 = 1 + 4 + 8 = 13
9. รวมความแน่นจากข้อ 8 แล้วคูณด้วย 3/5 = 13 x 3/5 = 7.8 ≈ 8 แถบ
10. เอาความแน่นของ ดถ. คูณด้วย 3 = 1 x 3 = 3 แถบ
หมายเหตุ ให้เปรียบเทียบข้อ 9, 10 ว่า ข้อใดใช้แถบมากให้ใช้จำ�นวนแถบทีม่ ากกว่า
11. นัน่ คือใช้ 8 แบบ
12. จัดส่วนประกอบในทุ่นของแถบมีระเบียบ แล้วคูณด้วย 3 (ในระยะทีใ่ ช้เป็นเมตร, หากเป็นหลา, ก้าวต้องปรับก่อน)
. . ความแน่น = 1:4:8
3 คูณ ความแน่น = 3 (1 : 4 : 8) = 3 : 12 : 24
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

13. จัดส่วนประกอบของทุ่นระเบิด
หมายเลข
ด.ถ. สห.รบ. สห.กด. รวม หมายเหตุ
แถบ IOE
A 1 1 3 5 แต่ละกลุ่มจะต้องไม่เกิน 5 ทุ่น
B 0 2 3 5
C 0 1 3 4
D 1 1 3 5
E 0 2 3 5
F 0 2 3 5
G 1 1 3 5
H 0 2 3 5
รวม 3 12 24 - ผลรวมต้องเท่ากับข้อ 12
ในแถบ IOE
14. แนวรั้ว การทำ�รั้ว 4 ด้าน (เมตร) 1 แนว
สูตร = 1.4 (2 เท่าของความลึก + 2 เท่าของความกว้าง + 160 ม. )
หมายเหตุ แต่ละแถบห่างกันอย่างน้อย = 15 ม. รวมแถบ IOE ด้วยรั้วลวดหนามห่างจากแนวสนามทุ่นระเบิด
ด้านละ 20 เมตร หรือห่างจากตัวทุ่นนอกสุด = 158 เมตร)

4 - 62 เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
สูตร = 1.4 {(2x160)+(2x200)+160}
= 1232 เมตร
15. ถ้าใช้กี่แนวก็เอาจำ�นวนคูณกับความยาว 1 แนว
หมายเหตุ ขดลวดหนาม 1 ขด ยาว 400 เมตร ส่งประมาณการให้ส่งเป็นขด เศษเท่าไรให้ปัดขึ้นเป็น
จำ�นวนเต็ม ถ้าใช้ 2 แนว = 2 x 1232 = 2464/400 = 6.16 ขด ≈ 7 ขด
16. จำ�นวนสมอบก = ความยาวของรั้ว 4 ด้าน /15
= 1232/15 = 82.13 ใช้ 83 ต้น
17. เครื่องหมายทุ่นระเบิด = จำ�นวนสมอบก
= 83 ป้าย
18. ผ้าแถบหมายแนว 1 ม้วนยาว 170 เมตร ใช้สำ�หรับ
• กำ�หนดขอบเขตสนามทุ่นระเบิด = 1232 เมตร
• เส้นศูนย์กลางแถบ (รวม IOE ด้วย) = 200 x 8 = 1600 เมตร
• ช่องทางผ่าน 2 แถบ1 = 2 x 160 = 320 เมตร
• ช่องว่างเป็นพื้นที่ว่างตลอดสนามทุ่นระเบิด ซึ่งมีความกว้างพอที่จะให้หน่วยทหาร
ฝ่ายเราออกปฏิบัติภารกิจได้
• เส้นปลอดภัยอยู่ระหว่างแนวทุ่นระเบิดแต่ละแนว มีความยาวตลอดกว้างด้านหน้า
= 8 x 200 = 1600 เมตร
รวมทั้งหมด = 1.4 (1232 + 1600 + 320 + 1600)
= 6652.8 ≈ 6653/170 = 39.14 ม้วน ≈ 40 ม้วน
19. กระสอบทราย (กลุ่มระเบิดละ 3 ใบ ใช้สำ�หรับใส่ดินที่ขุดขึ้นมา)
• กระสอบทรายในแถบ IOE = 23 x 3 = 69 ใบ
• กระสอบทรายในแถบมีระเบียบ

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
• ติดใน 1 แถบ = 200/3 = 66.67 = 67 กลุ่ม
• มี 8 แถบ
• ใช้กระสอบทรายในแถบมีระเบียบ = 67 กลุ่ม/แถบ x 8 แถบ x 3 ใบ / กลุ่ม = 1608 ใบ
• รวมทั้งสิ้น 69 + 1608 = 1677 ใบ
20. ไม้เสาขนาด 2” x 2” x 12” ใช้สำ�หรับ
• ทุกจุดที่เลี้ยว
• จุดเริ่มต้น และจุดท้ายของแถบจากขวาไปซ้าย
• จุดเริม่ ต้นและจุดสุดท้ายของแถบ IOE ทีแ่ ป้นแถบสัน้ ขึน้ อยูก่ บั การออกแบบของ น.อำ�นวยการ ฯ
21. ส่งประมาณการให้สรุปส่งตามที่คำ�นวณได้ ตัวอย่างนี้เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น เพราะต่างภูมิประเทศก็ต่างวิธี
ลบและต่างวิธีสร้าง
22. เวลาในการก่อสร้างที่คำ�นวณได้จากข้อ 8 ได้ 352 คน / ชม. หากมีกำ�ลังพล 30 คน จะใช้เวลาในการก่อสร้าง
352/30 = 11.73 ชม.

เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 63
ความสามารถของยานพาหนะทางทหารในการลำ�เลียงสำ�หรับทุ่นระเบิดเท่านั้น
แบบของทุ่นระเบิด รยบ. 2 1/2 ตัน รยบ. เทท้าย 2 1/2 ตัน รยบ. เทท้าย 5 ตัน รถพ่วง 1 1/2 ตัน
M 15 103 56 90 61
M 19 126 80 196 74
M 21 224 160 192 132
M 14 10260 4320 6480 6120
M 16 A 1 448 320 672 264
M 18 A 1 1165 480 1260 700
M 24 1260 900 1440 774
M 25 12000 6720 9215 7200
สนามทุ่นระเบิด
กล่าวนำ� ในเรื่องนี้ได้อธิบายถึงการสร้างสนามทุ่นระเบิดบก วางลวดลายแบบคลัสเตอร์ เพื่อให้รู้จักหลักการ
สร้างในการวาง การบันทึกและการวางทุ่นระเบิดแบบคลัสเตอร์
สนามทุ่นระเบิด คือ พื้นที่บนพื้นดินซึ่งมีทุ่นระเบิด แม้จะวางตามแบบมาตรฐาน หรือจะวางกระจัดกระจาย
โดยไม่มีแบบก็ได้
การจัดกำ�ลังในการสร้าง และเครื่องมือ
การเริ่มงานสร้างสนามทุ่นระเบิด
1. นายทหารอำ�นวยการสร้าง

รายการ น. ส. พ. เครื่องมือเครื่องใช้
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

นายทหารอำ�นวยการสร้าง 1 1 - แผนที่, เข็มทิศ, สมุดพก, และแบบฟอร์มต่าง ๆ


และกองอำ�นวยการสร้าง
พวกกำ�หนดที่ตั้ง - 1 3 หลักสมอบก, ผ้ากรุยแนว, ตะปู, ค้อน
พวกทำ�เครื่องหมาย - 1 3 วัสดุ, ทำ�รั้ว, ทำ�เครื่องหมายสนามทุ่นระเบิด
กรรไกรตัดลวด, ถุงมือ, เสา, ฆ้อนพะเนิน
พวกบันทึก - 1 2 ชุดเขียนภาพ, เข็มทิศ, แผนที่, แบบฟอร์มหลักฐาน
สมุดพก, เทปวัดระยะ
พวกทำ�การวาง  

- ชุดที่ 1 - 1 6-8 สมุดพก, ทุ่นระเบิด, ชนวน, พลั่ว, กระสอบทราย, ลวด,


เสียบใหญ่, แชลงใหญ่ และเครื่องมืออื่น ๆ
- ชุดที่ 2 - 1 6-8 -------------------------”--------------------

- ชุดที่ 3  - 1 6-8 -------------------------”--------------------


รวมกำ�ลังพลทั้งหมด น. 1 ส. 7 พ. 26 - 32 (พ.อ่อนตัวในการฝึกลดกำ�ลังตามความเหมาะสม )

4 - 64 เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
รายการ งานขั้นที่ 1 งานขั้นที่ 2 งานขั้นที่ 3
นายทหาร สั่งการ เริ่มงาน
- รับผิดชอบการปฎิบัติ
อำ�นวย - กำ�หนดที่ตั้งและขอบ - ตรวจสอบและสั่งการ
งานทั้งหมด
การสร้าง เขตสนามทุ่นระเบิด บันทึก
 - วางแผนร่วมกับ ผบ.ร้อย
- ความแน่นและจำ�นวน - รองฯ ฝังสลักต่างๆ
 
ทุ่นระเบิดแต่ละแนว ไว้ให้แนวห่าง 1 ฟุต
  - ช่องทางผ่าน
  - หมุดหลักฐานหลัก
  รองและลายทาง  
 
   
ชุดกำ�หนดที่ตั้ง - เริ่มกำ�หนดที่ - ทำ�เครื่องหมายช่อง - เก็บผ้าแถบหมายแนว
  ตั้งตาม คำ�สั่ง ทางผ่าน ทั้งหมดเมื่อฝังเสร็จ
 - ขึงผ้าแถบ - ตอกสมอบกที่หักมุม
  หมายแนวจาก เลี้ยว ลงไปในดินให้
  กองเครื่องมือไป เหลือสูงจากพื้นดิน,
 จนเสร็จตาม ประมาณ 2 นิ้ว
  แนวที่กำ�หนด
   
ชุดหมายแนว - วางเสาเหล็กเกลียว,   - ขึงลวดหนาม 2 เส้น - ติดป้ายบอกขอบเขต

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
  และฝังเสาตามรูปของ สนามทุ่นระเบิด
สนามทุ่นระเบิด
     
ชุดบันทึก - เริ่มหาหมุด   - เล็งเข็มทิศบันทึกตาม ส. - ช่วยนายทหารอำ�นวย
หลักฐานหลัก ชุดกำ�หนดที่ตั้ง การสร้างบันทึกเพิ่มเติม
    - หาหมุดหลักฐานรอง
      พ. - ไปช่วยชุดกำ�หนด
ที่ตั้งทำ�ช่องทางผ่าน
     
     
พวกวางทั้ง 3 ชุด - ตรวจแยกทุ่นระเบิด   - นำ�ไปวางตามแนว - ขนดินที่เหลือใส่กระสอบ
ออกจากหีบห่อ   ที่กำ�หนด ทรายมาไว้ที่หัวแต่ละแนว
ทำ�ความสะอาด - ขุดหลุมฝัง - ทำ�สลักระเบิดให้รองฯ
    - ชุดตั้งฉนวนตั้งฉนวน - ช่วยงานอื่น ๆ ที่ยังไม่
  - ขุดหลุมฝังและกลบ เสร็จตามคำ�สั่ง
   
 
 
 

เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 65
การเริ่มงานสร้างสนามทุ่นระเบิด
1. นายทหารอำ�นวยการสร้าง
. สั่งการขอบเขตสนามทุ่นระเบิด (ตามกว้างและลึก)
. กำ�หนดที่หมายหลักและรองตลอดจนช่องทางผ่าน
. ความแน่นของสนามทุ่นระเบิดแต่ละแนว และชนิดของทุ่นระเบิด
. เวลาในการสร้างแล้วเสร็จ
2. ชุดกำ�หนดที่ตั้ง
. สร้างหันหน้าไปทางทิศทางข้าศึกเสมอ
. สร้างจาก ขวาไปซ้าย จากข้างหน้าทิศทางข้าศึก
. เริ่มวางผ้าแถบจากกองเครื่องมือไปยังจุดกำ�หนดแนวสุดท้าย ฝ่ายเราแล้วก็ขึงผ้าแถบหมายแนวไปยัง IOE
. เมื่อได้แนว IOE แล้วให้ขึงผ้าแถบหมายแนวมาทำ�ช่อทางผ่าน
. แต่ละแนวเมื่อกำ�หนดที่ตั้งต้องไม่ชิดกันน้อยกว่า 18 ก้าว
. เมือ่ กำ�หนดแต่ละแนวขึน้ แล้วต้องขึงผ้าแถบหมายแนวเพือ่ กำ�หนดแนวปลอดภัยห่างจากแนวหลัง 10 ก้าวขนานกันเสมอ
. เมื่อหักมุมเลี้ยวทุกครั้งต้องตอกสมอบกทุกครั้ง
. ระยะห่างเกิน 10 ก้าว จะต้องใช้ตาปูตรึงผ้าแถบเพื่อกันลมพัด
. การฝังเสารูปตัวยูชาองทางผ่านห่างกัน 30 ก้าว
. ช่องทางผ่านเดี่ยวกว้าง 8 ม. คู่กว้าง 16 ม.
. ติดป้ายลูกศรหันเข้าหาช่องทางผ่านทั้ง 2 ด้าน
. ขึงลวดหนามช่องทางผ่าน 2 เส้น ล่างข้อเท้า บนระดับเอว
. ติดไฟฉายที่ป้ายลูกศร เพื่อใช้ในเวลากลางคืน
. ทางเข้าติดป้ายบอกสนามทุ่นระเบิด และช่องทางผ่าน
. ช่องทางผ่านทุก 15 ก้าว ติดป้าย บอกขอบเขต
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

3. พวกทำ�เครื่องหมาย
. เริ่มทำ�งานจากแนว IOE ทางด้านหน้าทางขวาสุดห่าง 20 ก้าวขึ้นไป
. หันหน้าเข้าหาสนามทุ่นระเบิดปักเสารั้ววางเครื่องหมาย
. ขึงลวด 2 เส้น เส้นล่างแค่ข้อเท้า เส้นบนแค่เอว
. ผูกป้าย ทุก 15 ก้าวบนลวดเส้นบน
.ทำ�เครื่องหมายของทางผ่าน
4. พวกบันทึก
. กรอกข้อความบนแบบฟอร์มหลักฐาน
. เริ่มงานหาหมุดหลักฐาน หลักและรอง
. ถ้าหมุดหลักฐานหลักห่างเกิน 75 ก้าว ต้องสร้างหมุดหลักฐานรายทาง การบันทึกเป็นก้าวและองศา (260
องศา) 30
5. พวกวาง
. วางแนวหน้าด้านทิศทางข้าศึกก่อน (แนว IOE) น้อยกว่าแถบหลัก 1/3
. ให้ทหารทุกคนถือทุน่ ระเบิดศูนย์กลางแบ่งออก 2 แถว อยูค่ นละข้างของแถบผ้า กรุยศูนย์กลางข้างละ 3 หลา
(3 ก้าว)
. ก้าวออกไป 3 ก้าว แล้วชี้ให้วางทางด้นข้าศึกก่อน (วางทุ่นระเบิดหลัก) แล้วเดินไปอีก 3 ก้าว วางทิศทางด้าน
ฝ่ายเราทำ�อย่างนี้ตลอดแนว
. วางตลอดแนวแล้วให้ทหารขุดหลุมฝังทุ่นระเบิดหลักแต่ยังไม่ตั้งชนวน
. เมื่อจะเพิ่มทุ่นระเบิด แต่ละกลุ่มให้นำ�ไปวางต่อจากทุ่นระเบิดศูนย์กลางออกไปในรัศมี 2 ก้าว ครึ่งวงกลมเรียก
ว่ากลุ่มคัสเติอร์ (กลุ่มคัสเตอร์)
• 1 กลุ่มคัสเตอร์ วางทุ่นระเบิดได้ไม่เกิน 5 ทุ่น
4 - 66 เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
• แนว IOE วางทุ่นระเบิดน้อยกว่าแนวระเบิดหลัก 1/3 จะวางกลุ่ม เว้นกลุ่มก็ได้เพื่อมิให้ข้าศึกทราบจำ�นวน
และเจาะเข้ามายาก
• แนวทุ่นระเบิดหลักทุกแนวต้องวางจำ�นวนทุ่นระเบิดแต่ละกลุ่มคลัสเตอร์เท่ากันตลอดทั้งแนวนั้น
• การหักมุมเลี้ยวถ้าถึง 3 ก้าวพอดีหรือไม่ถึงให้เริ่มนับจากมุมเลี้ยวใหม่ แล้วเริ่มเดินเมื่อครบ 3 ก้าว
จึงวางตรงข้ามทิศทางที่วางแล้ว
• พวกวางขนทุ่นระเบิดติดตัวไปได้ครั้งละ 60 ปอนด์
• ให้แบ่งพวกวางออกอีกเป็นพวกๆ เมื่อทำ�การวางเสร็จแล้ว
พวกขุดหลุม
• ทำ�การขุดหลุมฝังทุ่นระเบิดแต่ยังไม่ตั้งขนวน
• เมื่อขุดหลุมฝังทุ่นระเบิดเสร็จแล้วทำ�งานอื่นๆ เมื่อได้รับคำ�สั่ง
พวกขนชนวน
• ตรวจชนวน,ถอดสลักและสอดขนวน
• สอดชนวนแต่ไม่ลอดสลักสำ�หรับ
• นำ�ชนวนติดเข้ากับทุ่นระเบิดสังหารกระโดด ดก. M7
• ตรวจเครื่องนิรภัย M.14
พวกทำ�ให้พร้อมระเบิด
• ทำ�กลุ่มคัสเตอร์ให้พร้อมระเบิด
• กดแห่งความปลอดภัย 1 คน ต่อ 1 คัสเตอร์
• ทำ�ห่างกันอย่างน้อย 25 หลา
• ทำ�จากฝ่ายข้าศึกมาหาฝ่ายเรา
• เดินตามผ้าแถบเส้นศูนย์กลางตลอดเวลา

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
• ทำ�ทุ่นระเบิดให้เป็นกับระเบิด เช่นกันเขยื้อนและทุ่นระเบิดกับระเบิดให้พร้อมระเบิดให้ห่างกัน 50 หลา
• การขึงลวดสะดุดให้ทำ�ด้านทิศทางข้าศึกเท่านั้นในกลุ่มที่ 4 - 5 ให้ขึงลวดสะดุดห่างจากแนวปลอดภัยอย่างน้อย
2 ก้าวและห่างกันระยะปลายหลัก 2 ก้าว

การสร้างสนามทุ่นระเบิดแบบกระจัดกระจาย
สนามทุ่นระเบิดแบบกระจัดกระจาย
สนามทุน่ ระเบิดแบบกระจัดกระจาย ฝ่ายตรงข้ามใช้กนั อย่างกว้างขวางมาก โดยเฉพาะกับระเบิดการขาดการฝึก
หรือขาดการแนะนำ� อาจจะได้รับอันตรายจากฝ่ายเดียวกันมาก รวมทั้งการบันทึก และรับโอนพื้นที่รับผิดชอบ ไม่ได้
กระทำ�กัน จึงต้องทำ�การฝึกให้เป็นแบบอย่างเดียวกันความมุ่งหมาย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกคนได้ศึกษา ให้มีความเข้าใจ
และสามารถปฎิบัติได้ ทั้งนี้เพราะคำ�แนะนำ�นี้ได้กำ�หนดหลักการและได้พัฒนาการบันทึกให้เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด โดย
มีตัวอย่าง และการอธิบายอย่างชัดเจนอยู่แล้ว
ทุ่นระเบิดหรือกับระเบิดก็ตามเมื่อวางแล้ว
1. จะต้องทำ�บันทึกหลักฐาน
2. รายงานให้หน่วยเหนือทราบ เพื่อแจ้งให้หน่วยข้างเดียวทราบพิกัดที่วาง พร้อมกับบันทึกหลักฐาน
3. ถ้าเคลื่อนย้ายหน่วยไปให้รื้อถอนให้หมด ถ้ารื้อถอนไม่ได้ให้ทำ�ลายเสียด้วยวิธีการต่าง ๆ
4. ถ้ามีหน่วยอื่นมาสับเปลี่ยน ให้ส่งมอบโดยมีหลักฐาน พร้อมด้วยการบันทึก และพาไปดูที่วาง
5. ผู้ใดวางควรใช้ผู้นั้นรื้อถอน ควรจะให้ร่วมกันซักสองสามคน
6. เมื่อวางแล้วควรตรวจสอบเป็นประจำ�เพื่อกันสูญหาย
7. การผลัดเปลีย่ นหน่ยควรจะได้มเี วลารับส่งมอบการวางทุน่ ระเบิด กับระเบิดให้ชดั เจนเพือ่ สะดวกกับผูร้ บั มอบ
8. ถ้าไม่มหี น่วยมาสับเปลีย่ นก็ควรมีเวลาให้ทำ�การรือ้ ถอนให้หมดก่อนเคลือ่ นย้ายไป

เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 67
ตารางการจัดกำ�ลัง (1 หมู่ ช.)

รายการ ส. พ. เครื่องมือเครื่องใช้
พวกวาง 1 5 ทุ่นระเบิด,ชนวน,ผ้าแถบหมายแนว,สมอบก,
ตาปู,พลั่ว,สมุดพก,ชุดทำ�ลายประจำ�กาย,
แผนที่,แผ่นบันทึก,สมุดพก,เข็มทิศ,ดินสอ
พวกบันทึก 1 2 ยางลบ,วงเวียนดินสอ,ไม้โปร หรือโค้งโปร
แทรกเตอร์,หลักเล็ง,กระดาษแข็งรองเขียน,
กระดาษก๊อปปี้
รวม 2 7

การปฏิบัติ

รายการ งานขั้นที่ 1 งานขั้นที่ 2 งานขั้นที่ 3


พวกวาง กรุยแนวขึงผ้าแถบหมายแนวจากกองเครื่องมือ - ขุดหลุมฝัง - ขึงผ้าแถบหมายแนว
ไปยังจุดหมุดหลักฐานรายทางอันแรกแล้วก็ - ตั้งชนวน กับเมื่อชุดบันทึกบันทึก
จากไปยังตำ�บลที่วางจนหมดทุ่นระเบิดพร้อม - ทำ�กับระเบิด เสร็จแล้ว
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

กับตอกหมุดหลักฐานรายงานทางทุกครั้งที่วาง - ใช้หลักการสร้าง - ตอกสมอบกรายทางลงไป


แล้ววางระเบิดไปทิศทางข้าศึกห่างจากหมุด สนามทุ่นระเบิดมาตรฐาน ในดินให้สูงจากพื้นดิน 2 นิ้ว
1 ก้าว - ทำ�การกลบดินและพราง
พวกบันทึก หาหมุดหลักฐานหลัก แล้วเล็งไปยังหมุด
หลักฐานรายทางอันแรก ลงบันทึกในแผ่นบันทึก เล็งเข็มทิศไปยัง ส.หาหมุดหลักฐานเอง
เป็นเมตร (ถ้าเป็นก้าวต้องก้าวมาตรฐาน ทุ่นแรกแล้วก็บันทึก เพื่อบันทึกเพิ่มเติมทุกครั้ง
1 ก้าวต่อ 75 ซม.) แล้วย่อมมาตรฐานส่วน เหมือนงานขั้นที่ 1
ลงมาในแผ่นบันทึกเป็น (จริงเหมือนในภูมิ จนหมดจำ�นวนทุ่น -ส่งการบันทึกให้ ผบ.มว.
ประเทศ) ระเบิดที่พวกวางเอาไว้ พ.ช่วยพวกวางเก็บผ้าแถบ
และดอกสมอบก

4 - 68 เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 69
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

4 - 70 เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
แบบฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะการใช้วัตถุระเบิดและการทำ�ลาย, สงครามทุ่นระเบิด
แบบฝึกที่ 1 การตรวจค้นทุ่นระเบิดด้วยของแหลม
กำ�ลังพล : 1 หมวดทหารช่าง
เครื่องช่วยฝึก
1. ของแหลมตรวจค้น 8 อัน
2. ผ้าแถบหมายแนว 10 ม้วน
3. ทุ่นระเบิดดักรถถัง M 6A2 16 ทุ่น
4. ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล M14 16 ทุ่น
5. เครื่องจุดระเบิด 16 อัน
6. ครอบทุ่นระเบิด 50 อัน
7. โยธะกา 1 อัน
8. เชือกมะนิลาขนาด ¼ นิ้ว ยาวอย่างน้อย 50 เมตร 1 เส้น
9. พลั่วสนาม หรือชะแรง 4 อัน
10. สมอบกไม้ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว 20 อัน
11. ขวาน 1 เล่ม
การดำ�เนินการฝึก
1. การดำ�เนินการตรวจค้นทุน่ ระเบิดด้วยของแหลมนี้ จะกระทำ�เมือ่ ไม่สามารถทำ�การตรวจด้นด้วยวิธอี น่ื
หรือสนามทุน่ ระเบิดนัน้ มีทนุ่ ระเบิดอโลหะขนาดเล็ก เช่น ทุน่ ระเบิดสังหารบุคคล M 14 เป็นจำ�นวนมาก ซึง่ การตรวจค้น
ทุ่นระเบิดด้วยของแหลมเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำ�หรับสนามทุ่นระเบิดชนิดนี้ ทุ่นระเบิดที่พบให้ใช้วิธีการทำ�ลาย ณ ที่วาง
หรือทำ�การรื้อถอนโดยการใช้เชือกดึงด้วย ขนาดสนามที่ใช้ในการฝึกใช้ขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 15 เมตร
2. ขั้นตอนการฝึกการตรวจค้นทุ่นระเบิดด้วยของแหลมเป็นรายบุคคล
1) ผู้รับการฝึกจะต้องพับแขนเสื้อตลอดเวลา
2) การจับของแหลมตรวจค้นทุ่นระเบิดจะต้องจับในลักษณะหงายมือขวา ด้ามของแหลมจะต้อง

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
อยู่ในอุ้งมือขวาตลอดเวลา (รูปที่ 2) การจับของแหลมลักษณะนี้เมื่อแทงของแหลมไปกระทบกับวัตถุที่อยู่ใต้ล่างด้าม
ของแหลมจะรูดตามอุ้งมือขึ้นมาทำ�ให้แรงกดที่กระทำ�ต่อวัตถุมีน้อย

รูปที่ 4-45 ของแหลมตรวจค้น รูปที่ 4-46 วิธีการจับของแหลมที่ถูกต้อง


3) แทงของแหลมลงในดินทุกระยะ 2 นิ้ว โดยออกแรงกดเพียงเล็กน้อย ในการแทงลงไปในดิน
มือซ้ายจะต้องประคองของแหลมไว้ในลักษณะทำ�มุม 45 องศา กับพื้นดิน
4) เมื่อแทงของแหลมลงไปถูกกับวัตถุที่เป็นของแข็งที่อยู่ใต้ดินให้หยุดแทง และค่อยๆ คุ้ยดินออก
เพื่อตรวจสอบว่าเป็นทุ่นระเบิดหรือไม่
5) ผูร้ บั การฝึกทุกคนจะต้องนำ�ผ้าแถบหมายแนวเข้าไปด้วย จำ�นวน 2 ม้วน เพือ่ ใช้ผา้ แถบหมายแนว
ทำ�ช่องทางที่ได้ตรวจค้นแล้วกว้างด้านหน้าคนละ 1 เมตร
3. การใช้ของแหลมตรวจค้นทุ่นระเบิดในท่านั่งคุกเข่า
4. การใช้ของแหลมตรวจค้นทุ่นระเบิดในท่านอน

เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 71
รูปที่ 4-47 การใช้ของแหลมตรวจค้นทุ่นระเบิด รูปที่ 4-48 การใช้ของแหลมตรวจค้นทุ่นระเบิดในท่านอน
ในท่านั่งคุกเข่า
เจ้าหน้าที่ นายทหาร นายสิบ พลฯ เครื่องมือเครื่องใช้
- - - - - แผนที่, เข็มทิศ, วิทยุ และข่าวอันพึงจะได้
เกี่ยวกับทุ่นระเบิดบริเวณนั้น
เจ้าหน้าที่ตรวจค้น - 1 8 - ของแหลมตรวจค้น
ทุ่นระเบิดด้วยของแหลม - ผ้าแถบหมายแนว
ระดับหมู่ - ครอบทุ่นระเบิด
- โยธะกา
- เชือกมะนิลาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ¼ นิ้ว
ยาวอย่างน้อย 50 เมตร
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

- ลวดเกลี้ยง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 มม.


และ 2 มม. ยาว 18 นิ้ว 10 เส้น
- เครื่องมือทำ�ลาย
- พลั่ว,เครื่องขุดสนามเพลาะ
- วิทยุ
- สมอบกไม้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว
-เครื่องมือชุดทำ�ลาย
พลทำ�ลาย - - 3
รวม - 1 11

• หน้าทีแ่ ละวิธกี ารตรวจค้นด้วยของแหลม ผูบ้ งั คับหมูเ่ ป็นผูก้ �ำ หนดบริเวณและขอบเขตของพืน้ ทีท่ จ่ี ะทำ�การตรวจค้น,
กำ�หนดจุดเริ่มต้นของหมู่ตรวจค้น กำ�หนดวิธีการและเทคนิคการรื้อถอนทุ่นระเบิดและกับระเบิด และเป็นผู้ตรวจสอบ
พื้นที่ที่ทำ�การตรวจค้นแล้ว ตลอดจนทำ�รายงาน, ทำ�บันทึกพื้นที่ที่ได้ทำ�การตรวจค้นแล้ว โดยปกติจะทำ�การตรวจค้น
จากทางด้านฝ่ายเดียวกันไปทางด้านข้าศึก หมู่ตรวจค้นด้วยของแหลมจะได้รับกว้างด้านหน้าในการตรวจค้นเป็นแถบ
กว้าง 8 เมตร โดยใช้ผ้าแถบหมายแนวขึงกว้าง 8 เมตร เป็นจุดเริ่มต้น
• การออกคำ�สั่ง เริ่มจากคำ�สั่งเตรียม ตรวจความพร้อมอุปกรณ์, ตรวจยอด, รายงาน
• การดำ�เนินการฝึก ผู้บังคับหมู่จะสั่งนับ เพื่อให้ผู้รับการฝึกทุกคนได้ทราบว่าตัวเองหมายเลขอะไร ต่อจากนั้น
ผู้บังคับหมู่จะบอกให้แต่ละหมายเลขทราบหน้าที่ งานและอุปกรณ์ของตนเอง ผู้บังคับหมู่จะกำ�หนดพื้นที่และขอบเขต
ของสนามฝึกให้ทุกคนทราบ และสั่ง “หมู่ตรวจค้นด้วยของแหลมเริ่มงาน”

4 - 72 เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
หมายเลข 1
- ถือของแหลม, ครอบทุน่ ระเบิดและผ้าแถบหมายแนว 2 ม้วน เข้าทางด้านขวาของแถบ รับผิดชอบกว้างด้านหน้า
1 เมตร ตอกสมอบกที่พื้นดิน และผูกผ้าแถบหมายแนวกับสมอบกที่จุดเริ่มต้น เมื่อท�ำการตรวจค้นด้วยของแหลม
คืบหน้าไปแล้ว ก็จะท�ำเครื่องหมายขอบเขตของตนทางซ้ายและขวา โดยคลี่ม้วนผ้าแถบหมายแนวไปข้างหน้า และ
ตรึงติดกับพื้น ถ้าตรวจพบทุ่นระเบิดใช้ครอบทุ่นระเบิดครอบ ถ้ามีลวดสะดุดให้ปลดลวดสะดุดออกจากทุ่นระเบิด
หมายเลข 2
- เข้าท�ำการตรวจค้น เมือ่ หมายเลข 1 ตรวจค้นเข้าไปได้ระยะประมาณ 25 เมตร โดยถือของแหลม, ครอบทุน่ ระเบิด
และผ้าแถบหมายแนว 1 ม้วน ท�ำเครือ่ งหมายขอบเขตของตนทางซ้ายของ หมายเลข 1 ตอกสมอ และผูกผ้าแถบหมาย
ห่างประมาณ 1 เมตร เมื่อท�ำการตรวจค้นด้วยของแหลมคืบหน้าไปแล้ว ก็จะท�ำเครื่องหมายขอบเขตของตน โดยคลี่
ม้วนผ้าแถบหมายแนวไปข้างหน้า และยึดตรึงติดกับพืน้ ดิน ถ้าตรวจพบทุน่ ระเบิดใช้ครอบทุน่ ระเบิดครอบ ถ้ามีลวดสะดุด
ให้ปลดลวดสะดุดออกจากทุน่ ระเบิด หมายเลข 3-8 ปฏิบตั เิ ช่นเดีย่ วกันหมายเลข 2 โดยถือระยะต่อประมาณ 35 เมตร
เสมอ
- เมือ่ คนที่ 8 เข้าไปในสนามได้ 25 เมตร คนหมายเลข 9, 10 และ 11 เป็นผูท้ �ำการรือ้ ถอนหรือวางการท�ำลาย
ทุ่นระเบิดที่เอาครอบทุ่นระเบิดครองไว้ เมื่อก�ำลังพลภายในหมู่กลับเข้าที่ก�ำบังที่ปลอดภัยเรียบร้อยแล้วผู้บังคับหมู่สั่ง
จุดระเบิด
- ผู้บังคับหมู่ตรวจสอบความเรียบร้อย 100 % และรายงานให้ ผบ.มว. ทราบ

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 73
การจัดก�ำลัง และเครื่องมือส�ำหรับการกวาดล้างด้วยของแหลม หน่วยระดับหมวด
บุคคล นายทหาร นายสิบ พลทหาร เครื่องมือ
ผบ.มว. 1 - แผนที่, เข็มทิศ, วิทยุ และข่าวอันพึงจะได้เกี่ยวกับ
ทุ่นระเบิดในบริเวณนั้น
หมู่ที่ 1 1 11 ของแหลมตรวจค้น, ผ้าแถบหมายแนว,
ครอบทุ่นระเบิด, โยธะกา, เชือกมะนิลา
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ¼ นิ้ว ยาวอย่างน้อย
50 เมตร ลวดเกลี้ยงยาว 18 นิ้วใช้ขนาดเส้นผ่า
ศูนย์กลาง 1 มม. และ 2 มม. เครื่องมือทำ�ลาย,
พลัว่ และวิทยุพร้อมด้วยวัตถุระเบิดตามความจำ�เป็น
หมู่ที่ 2 - 1 11 เหมือนหมู่กวาดล้างที่ 1
หมู่ที่ 3 - 1 11 เหมือนหมู่กวาดล้างที่ที่ 1
หมู่ติดต่อและ 1 2 แผนที่, เข็มทิศ,วิทยุ 2 เครื่อง สำ�หรับภายใน
บังคับการ หมวดและติดต่อในข่ายของกองร้อย
รวม 1 4 35

1. หน้าที่และวิธีการกวาดล้างด้วยของแหลมของหน่วยระดับหมวด
• ผู้บังคับหมวด เป็นผู้ก�ำหนดวิธีการตรวจค้น, ก�ำหนดบริเวณและขอบเขตของพื้นที่ที่จะท�ำการ ตรวจค้น,
จุดเริ่มต้นของหมู่ตรวจค้นแต่ละหมู่ ก�ำหนดวิธีการและเทคนิคของการรื้อถอนทุ่นระเบิด ถ้าจ�ำเป็นก�ำหนดการสร้างที่
เก็บทุ่นระเบิดและชนวน ควบคุมการจุดระเบิดทุกครั้ง และเป็นผู้ตรวจสอบพื้นที่ที่ท�ำการตรวจค้นว่าได้ท�ำการตรวจค้น
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

หมดแล้ว ตลอดจนท�ำรายงานและท�ำบันทึกไว้ว่าได้ท�ำการตรวจค้นพื้นที่นั้นแล้ว
• การตรวจค้นสนามทุ่นระเบิด โดยปกติจะท�ำการตรวจค้นจากทางด้านฝ่ายเดียวกันไปทางด้านข้าศึก
หมู่ตรวจค้นแต่ละหมู่จะได้รับกว้างด้านหน้าในการตรวจค้นเป็นแถบกว้าง 8 เมตร แต่ละหมู่ห่างกันอย่างน้อยที่สุด
25 เมตร การก�ำหนดขอบเขตให้ใช้ลักษณะภูมิประเทศ เช่น คูระบายน�้ำทางเดินแนวรั้ว ต้นไม้ ถ้าไม่มีภูมิประเทศ
ที่เด่นชัด ให้ใช้ผ้าแถบหมายแนวขึงกว้าง 8 เมตร เป็นจุดเริ่มต้น
• หมู่ที่ 1 เมื่อได้รับมอบพื้นที่แล้ว เริ่มท�ำการตรวจค้น
1) หมายเลข 1 ถือครอบทุ่นระเบิดและผ้าแถบหมายแนว 2 ม้วน เข้าทางด้านขวาของแถบ รับผิดชอบกว้าง
ด้านหน้า 1 เมตร ผูกผ้าแถบหมายแนวกับจุดเริม่ ต้น เมือ่ ท�ำการตรวจค้นพืน้ ทีค่ บื หน้าไปก็ท�ำเครือ่ งหมายขอบเขตของตน
ทั้งซ้ายและขวา โดยคลี่ม้วนผ้าแถบไปข้างหน้าและตรึงติดกับพื้น ถ้าตรวจพบทุ่นระเบิดใช้ครอบทุ่นระเบิดครอบ ถ้ามี
ลวดสะดุดให้ปลดลวดสะดุดออกจากทุ่นระเบิด
2) หมายเลข 2 เข้าท�ำการตรวจค้นเมื่อหมายเลข 1 ตรวจค้นไปได้ระยะประมาณ 25 เมตร โดยมีครอบ
ทุ่นระเบิด และผ้าแถบหมายแนว 1 ม้วน ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับหมายเลข 1 ท�ำเครื่องหมายขอบเขตของตนห่างจาก
ผ้าแถบหมายแนวทางซ้ายของหมายเลข 1 ประมาณ 1 เมตร
3) หมายเลข 3 - 8 ปฏิบัติอย่างเดียวกันโดยถือระยะต่อประมาณ 25 เมตร เสมอ
4) เมื่อ 8 หมายเลข เข้าไปในสนามได้ 25 เมตร หมายเลข 9, 10 และ 11 เป็นผู้ท�ำการรื้อถอน หรือวาง
การท�ำลายทุ่นระเบิดที่เอครอบทุ่นระเบิดครอบไว้ เมื่อทุกหมู่กลับเข้าที่ก�ำบังที่ปลอดภัยท�ำการจุดระเบิด หรือรวบรวม
ทุ่นระเบิด และชนวนที่รื้อถอนด้วยมือไปไว้ยังที่เก็บ (ทุ่นระเบิดของฝ่ายเรา)
5) เมื่อได้ตรวจสอบดูว่าการตรวจค้นเรียบร้อย 100 % แล้ว ผบ.หมู่ รายงาน ผบ.มว. ถึงผลการปฏิบัติ
• หมู่ที่ 2 และ หมู่ที่ 3 การปฏิบัติเช่นเดียวกันกับหมู่ที่ 1

4 - 74 เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
• พวกติดต่อและบังคับการ
1) อยู่ในความควบคุมของนายทหารอ�ำนวยการ (ผบ.มว.)
2) ท�ำการติดต่อกับหมู่ตรวจค้นทุกหมู่และด�ำรงการติดต่อกับกองร้อย
3) รายงานผลการปฏิบัติและหรือสิ่งที่เกิดเหตุขึ้น ถ้ามีอุบัติเหตุก็ให้รายงาน
มาตรฐานการตรวจสอบ :
1. การตรวจค้นทุ่นระเบิดด้วยของแหลมได้อย่างถูกต้อง และครบตามจ�ำนวน 100%หรือไม่
• ผู้รับการฝึกแต่งกายถูกต้องหรือไม่ (พับแขนเสื้อ)
• การใช้ของแหลมตรวจค้นเป็นสื่อไฟฟ้าหรือไม่
• วิธีการแทงของแหลมลงไปในพื้นดินทุกๆ ระยะ 2 นิ้ว (5 ซม.) ท�ำมุมประมาณ 45 องศากับแนวพื้นดิน
ได้ถูกต้องหรือไม่
• ผู้รับการฝึกเคลื่อนที่เข้าไปในสนามทุ่นระเบิด
2. ตรวจสอบการแทงของแหลมตรวจค้นท�ำมุมกับเส้นระดับได้อย่างถูกต้อง
• ผู้รับการฝึกมีการวางตัวระยะห่างต่อคนได้อย่างถูกต้องหรือไม่
• ผู้รับการฝึกสามารถก�ำหนดขอบเขตของตนเอง (วางผ้าแถบ) ได้อย่างถูกต้อง
แบบฝึกที่ 2 การตรวจค้นด้วยเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด
วิธีการด�ำเนินการ
ก�ำลังพล : 1 หมวดทหารช่าง
เครื่องช่วยฝึก
1. เครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด 4 เครื่อง
2. ผ้าแถบหมายแนว 7 ม้วน
3. ทุ่นระเบิดดักรถถัง M 6A2 4 ทุ่น
4. ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล M14 4 ทุ่น

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
5. เครื่องจุดระเบิด 4 อัน
6. ลวดสะดุด 4 ม้วน
7. สายไฟฟ้า ยาว 2 เมตร 4 เส้น
8. ครอบทุ่นระเบิด 20 อัน
9. โยธะกา 4 อัน
10. เชือกมะนิลาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง1/4 นิ้ว ยาวอย่างน้อย 50 เมตร 1 เส้น
11. พลั่วสนามหรือชะแรง 4 อัน
12. สมอบกไม้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว 10 อัน
13. ขวาน 1 เล่น
การด�ำเนินการฝึก
1. ให้ผู้รับการฝึกรู้จักคุณลักษณะทั่วไปของเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิดแต่ละรุ่นก่อนที่จะน�ำออกไปใช้ รวมถึงข้อ
จ�ำกัดและขีดความสามารถของเครื่องตรวจค้นในแต่ละเครื่อง

รูปที่ 4-49 คุณลักษณะทั่วไปของเครื่องตรวจ รูปที่ 4-50 ส่วนประกอบของเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด

เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 75
2. ให้ผู้รับการฝึกรู้จักส่วนประกอบที่ส�ำคัญของเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 ส่วน ได้แก่
จานตรวจค้นฯ, ด้ามจับมือถือ, กล่องควบคุม, หูฟัง ค้นทุ่นระเบิด
3. ให้ผู้รับการฝึกท�ำการประกอบเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิดตามขั้นตอนที่ถูกต้อง(ตามคู่มือการใช้ของเครื่อง
ตรวจค้นแต่ละรุ่น) โดยการปฏิบัตินั้นผู้รับการฝึกจะต้องประกอบเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิดอย่างถูกวิธีได้ทุกนาย
4. ให้ผู้รับการฝึกฝึกทดสอบการประกอบเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิดโดยการจับเวลา
5. ให้ผู้รับการฝึกท�ำการฝึกประกอบเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิดทั้งกลางวันและกลางคืน การฝึกประกอบเครื่อง
ตรวจค้นในเวลากลางคืน ถ้าท�ำได้ให้ใช้ร่วมกับกล้องอินฟราเรด

รูปที่ 4-51 การทดสอบเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด


6. ให้ผู้รับการฝึกปรับเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิดที่สวิทซ์ควบคุมต่างๆ ให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง(ตาม
คู่มือการใช้ของเครื่องแต่ละรุ่น)รูปที่ 3
7. ให้ผู้รับการฝึกการใช้เครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิดโดยฝึกท่าทางที่ใช้ในการตรวจค้นซึ่งมีด้วยกัน 3 ท่า ท่ายืน,
ท่านั่ง, และท่านอนถูกวิธีหรือไม่ รูปที่ 4
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

รูปที่ 4-55 การปรับจานตรวจค้นและระยะความสูง รูปที่ 4-56 ระยะความสูงจากพื้นดินเมื่อ


ของจานตรวจค้นจากพื้นดิน ตรวจพบโลหะ
4 - 76 เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
8. ให้ผู้รับการฝึก ฝึกการกวาดจานตรวจค้นทุ่นระเบิดโดยปรับจานตรวจค้นฯ ให้ขนานกับพื้นดิน หัวจานตรวจ
สูงจากพื้นดิน 2 - 4 นิ้ว เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณดังให้ลดจานตรวจลงสูงจากพื้นดิน 1 นิ้ว (รูปที่ 6) ความเร็วในการ
กวาดจานตรวจค้นทุ่นระเบิดขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของเครื่องแต่ละรุ่น ดูตามคู่มือของเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิดของ
บริษัทนั้นๆ
9. ให้ผู้รับการฝึก เริ่มฝึกส่ายจานตรวจค้นไปทางซ้ายมาขวา และจากขวามาซ้ายเป็นรูปครึ่งวงกลมท�ำมุม
ประมาณ 180 องศา กว้างด้านหน้าประมาณ 2 เมตรและเหลื่อมออกทางด้านข้างอีกข้างละประมาณ 10 ซม. หรือ
ครึ่งจานตรวจค้น แล้วเลื่อนจานตรวจค้นไปข้างหน้าอีกประมาณครึ่งจานตรวจค้น เริ่มส่ายจานตรวจต่อไป ท�ำซ�้ำเช่นนี้
ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะปรากฏเสียงดังขึ้นที่หูฟัง

รูปที่ 4-57 ภาพการส่ายและเลื่อนจานตรวจค้นทุ่นระเบิด


10. ให้ผู้รับการฝึก ฝึกการกวาดจานตรวจค้นทุ่นระเบิดในพื้นที่ไม่สม�่ำเสมอหรือในหลุม, บ่อ

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
11. ให้ผรู้ บั การฝึก ท�ำการฝึกการใช้เครือ่ งตรวจค้นทุน่ ระเบิดโดยท�ำช่องทาง 2 เมตร ในช่องทางนัน้ ให้น�ำลวดสะดุด
และสายไฟฟ้าขึงผ่านช่องทาง ทุ่นระเบิดขนาดเล็ก ทุ่นระเบิดขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ไม่ประกอบชนวนกลาง
น�ำมาฝังในช่องทางรวมถึงเครื่องจุดระเบิดชนิดต่างๆ ให้ผู้รับการฝึกฟังเสียงเพื่อแยกสัญญาณเสียงให้ออกว่าเป็น
ทุ่นระเบิดขนาดเล็กหรือใหญ่ ขนาดกลาง, ขนาดใหญ่, เครื่องจุดระเบิด, สายไฟหรือเป็นลวดสะดุด

รูปที่ 4-58 การฝึกการใช้เครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด

เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 77
12. ให้ผรู้ บั การฝึก ฝึกการใช้เครือ่ งตรวจค้นทุน่ ระเบิดเป็นรายบุคคล และท�ำสัญลักษณ์ไว้ หรือ ให้บอกลักษณะ
ว่าวัตถุที่ตรวจพบเป็นอะไรได้อย่างถูกต้อง อย่างน้อย 80 % ขึ้นไป
13. สนามส�ำหรับฝึกการใช้เครื่องตรวจค้นเป็นรายบุคคล ขนาด 4 x 15 เมตร ขอบเขตของสนามฝึกอาจล้อม
ด้วยเชือกหรือวัสดุอื่นที่ไม่เป็นโลหะ หากต้องการฝึกการใช้เครื่องตรวจหลายๆ เครื่อง พร้อมกัน สนามฝึกอาจมีความ
ยาวมากกว่า 15 เมตร ก็ได้ แต่ในระหว่างการฝึกจะต้องให้เครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด แต่ละเครื่องห่างกันอย่างน้อย 6
เมตร
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

รูปที่ 4-59 สนามฝึกการใช้เครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด


14. ขั้นตอนการฝึก
• ก่อนท�ำการฝึก ต้องได้รับการฝึกให้มีความรู้เกี่ยวกับทุ่นระเบิด และกับระเบิด ตลอดจนการใช้และการ
ปรนนิบัติบ�ำรุงเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิดเป็นอย่างดีเสียก่อน
• การฝึกขั้นที่ 1
1) ให้วางทุน่ ระเบิดและกับระเบิดรวมทัง้ ลวดสะดุด บนพืน้ ดินในสนามฝึก ไม่ใช้สงิ่ ปกคลุม วางให้หา่ งกัน
ไม่น้อยกว่า 2 เมตร
2) ความส�ำคัญของการฝึกในขั้นนี้ ต้องการให้ผู้รับการฝึกฟังเสียงสัญญาณของเครื่องตรวจค้นทุ่น
ระเบิดจนสามารถจ�ำได้ว่าสัญญาณที่เกิดขึ้นนั้นเป็นทุ่นระเบิดหรือกับระเบิดชนิดใด
3) ท�ำป้ายชื่อทุ่นระเบิดและกับระเบิดปักไว้ที่ด้านข้างของสนามฝึกตรงจุดที่วางทุ่นระเบิด และกับ
ระเบิดแต่ละชนิด
• การฝึกขั้นที่ 2
1) ท�ำเช่นเดียวกับข้อ ข:1) แตกต่างกันตรงที่ให้ฝังทุ่นระเบิดหรือกับระเบิด แล้วพรางให้เรียบร้อย
2) การฝังทุ่นระเบิดและกับระเบิดใต้พื้นดินจะต้องให้ถูกต้องตามหลักการฝังทุ่นระเบิด
3) ให้ขุดหลุมเปล่าและปักป้ายไว้ด้วย เพื่อได้ทราบว่าเมื่อเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิดผ่านหลุมเปล่าจะ
มีสัญญาณอย่างไร
4) การฝึกขั้นนี้ ต้องการให้ผู้รับการฝึกฟังเสียงสัญญาณให้สามารถจ�ำได้ เช่นเดียวกับข้อ ข:2)

4 - 78 เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
• การฝึกขั้นที่ 3
1) กระท�ำเมื่อได้การฝึกในขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 จนสามารถจดจ�ำเสียงสัญญาณได้พอสมควรแล้วื่อ
ได้การฝึกในขั้นที่ พลประจ�ำฟังเสียงสัญญาณให้สามารถจ�ำได้ เช่นเดียวกับข
2) ฝังทุ่นระเบิดและกับระเบิดท�ำการพรางให้เรียบร้อย พร้อมทั้งขุดหลุมเปล่าและวางลวดสะดุดไว้
ด้วย โดยไม่ปักป้ายชื่อระยะห่างระหว่างจุดไม่ก�ำหนดแน่นอนอาจใกล้หรือห่างกันเท่าไร ก็ได้
3) ตามข้อ ง:2) ผู้รับการฝึกจะไม่ทราบว่ามีทุ่นระเบิด, กับระเบิด หลุมเปล่า และลวดสะดุด เป็นชนิด
ใดจ�ำนวนเท่าใดและฝังอยู่ที่ใด
4) การฝึกขั้นนี้ ผู้รับการฝึกจะต้องตรวจค้นและสามารถบอกชนิด จ�ำนวนทุ่นระเบิด, กับระเบิด,
หลุมระเบิด และลวดสะดุดได้อย่างถูกต้องอย่างน้อย 80% ขึ้นไป จึงจะถือว่า มีความสามารถในการใช้เครื่องตรวจค้น
ทุ่นระเบิดได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
• การฝึกทบทวน
1) การฝึกการใช้เครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิดนั้นจ�ำเป็นจะต้องมีการฝึกอยู่อย่างสม�่ำเสมอ แม้การฝึก
ขั้นที่ 3 จะได้ผลแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย และเคยชินกับเสียงสัญญาณอยู่ตลอดเวลา
2) ผูบ้ งั คับหน่วยจ�ำเป็นต้องก�ำหนดการฝึกใช้เครือ่ งตรวจค้นทุน่ ระเบิดเป็นประจ�ำอย่างน้อยสัปดาห์ละ
2 ครัง้
3) ถ้าสามารถท�ำได้ควรฝึกก�ำลังพลอื่นที่มิใช่เป็นพลประจ�ำควบคู่กันไปด้วย ทั้งนี้เพื่อสามารถ
ปฏิบัติหน้าที่แทนกันได้
15. ให้ผู้รับการฝึก ฝึกการใช้เครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด และการตรวจค้นของหน่วยระดับหมู่
16. ให้ผู้รับการฝึกรู้จักเครื่องมือประจ�ำตัวของชุดตรวจค้นทุ่นระเบิด และต�ำแหน่งหน้าที่ของชุดตรวจค้นทุ่น
ระเบิดด้วยเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด

ผังการจัดต�ำแหน่งและเครื่องมือเครื่องใช้ของการฝึกหน่วยระดับหมู่

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
นายทหาร นายสิบ พลฯ เครื่องมือ

เจ้าหน้าที่ใช้เครื่องตรวจค้นทุ่น - 1 - - แผนที่, เข็มทิศ, วิทยุ


ระเบิด ระดับหมู่ - - 8 - เครื่องตรวจค้นฯ 3 เครื่อง
- ของแหลมตรวจค้น
- แถบผ้าหมายแนว
- ครอบทุ่นระเบิด
- โยธะกา
- เชือกมะนิลาขนาด Ø ¼ นิ้ว ยาวอย่าง
น้อย 50 เมตร
- ลวดเกลี้ยงขนาด Ø 2 มม.และ 3 มม.
- เครื่องมือทำ�ลาย
- พลั่วหรือชะแรง
- สมอบกไม้ขนาด Ø 2 นิ้ว
- ขวาน
พลทำ�ลาย - - 3 - เครื่องมือชุดทำ�ลาย
รวม - 1 11

เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 79
ผังการจัดตำ�แหน่งและเครื่องมือเครื่องใช้ของการฝึกหน่วยระดับหมู่
หมายเลข เจ้าหน้าที่ เครื่องมือ
- ผู้บังคับหมู่ วิทยุ 1 เครื่อง
1 พลตรวจค้น เครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด 1 เครื่อง
2 ผู้ช่วย ครอบทุ่น (อย่างน้อย 3 อัน) ผ้าแถบหมายแนว 2 ม้วน, ของแหลม
ตรวจค้น 1 อัน สมอบก 2 อัน ขวาน 1 เล่ม
เครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด 1 เครื่อง เหมือนหมายเลข 1
3 พลตรวจค้น เหมือนหมายเลข 2 มีผ้าแถบหมายแนว 1 ม้วน สมอบก 1 อัน
(ขานใช้ร่วมกันกับหมายเลข 2)
4 ผู้ช่วย เหมือนหมายเลข 3
เหมือนหมายเลข 4
5 พลตรวจค้น เหมือนหมายเลข 3
6 ผู้ช่วย เหมือนหมายเลข 4
7 พลตรวจค้น เชือกมะนิลาขนาด Ø 1/4 นิ้ว
8 ผู้ช่วย ยาวอย่างน้อย 50 เมตร 1 เส้น โยธะกา 1 อัน ลวดขนาด Ø 2 มม. และ
9, 10, 11 พลรื้อถอนและทำ�ลาย 3 มม.ยาว 18 นิว้ 10 เส้น ชนวนฝักแคระเบิด 1 ม้วน, เชือ้ ปะทุไฟฟ้า
สายไฟยาวอย่างน้อย 50 ม. 1 เส้น ผ้าเทปพันสายไฟ 1 ม้วน,
พลั่วสนามหรือชะแรง เครื่องจุดระเบิด, ดินระเบิด ที.เอ็น.ที. ชนิดแท่ง
เครื่องตรวจวงจร กัลป์วานอมิเตอร์, ย่าม 1 ใบ สำ�หรับใส่อุปกรณ์
ชุดทำ�ลายทั้งหมด
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

17. ขั้นตอนการฝึกเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิดของหน่วยระดับหมู่
• หน้าทีแ่ ละวิธกี ารตรวจค้นด้วยเครือ่ งตรวจค้นทุน่ ระเบิด ผูบ้ งั คับหมูเ่ ป็นผู้ ก�ำหนด 7 ขอบเขต ของพืน้ ที่
ทีจ่ ะท�ำการตรวจค้น, ก�ำหนดจุดเริม่ ต้นของหมูต่ รวจค้น ก�ำหนดวิธกี ารรือ้ ถอนทุน่ ระเบิดและกับระเบิด และเป็นผูต้ รวจสอบ
พื้นที่ที่ท�ำการตรวจค้นแล้ว ตลอดจนท�ำรายงาน, ท�ำบันทึกพื้นที่ที่ได้ท�ำการตรวจค้นแล้ว โดยปกติจะท�ำการตรวจค้น
จากทางด้านฝ่ายเดียวกันไปทางด้านข้าศึก หมู่ตรวจค้นด้วยเครื่องตรวจค้น จะได้รับกว้างด้านหน้าในการตรวจค้น
เป็นแถบกว้าง 8 เมตร โดยใช้ผ้าแถบหมายแนวขึงกว้าง 8 เมตร เป็นจุดเริ่มต้น
• การออกค�ำสั่งเริ่มจากค�ำสั่งเตรียม ตรวจความพร้อมอุปกรณ์, ตรวจยอด, รายงาน
• การด�ำเนินการฝึก ผู้บังคับหมู่จะสั่งนับ เพื่อให้ผู้รับการฝึกทุกคนได้ทราบว่าตัวเองหมายเลขอะไร
ต่อจากนั้น ผู้บังคับหมู่จะบอกให้แต่ละหมายเลขทราบหน้าที่ งาน และอุปกรณ์ของตนเอง ผู้บังคับหมู่จะก�ำหนดพื้นที่
ขอบเขตของสนามฝึกให้ทุกคนทราบ และสั่ง “หมู่ตรวจค้นด้วยเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิดเริ่มงาน”
หมายเลข 1 ประกอบ และปรับเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด เริ่มตรวจตั้งแต่แถบขวาของพื้นที่ ตรวจในพื้นที่
รับผิดชอบของตัวเองกว้างด้านหน้า 2 เมตร
หมายเลข 2 ถือครอบทุ่นระเบิดของแหลมตรวจค้นและผ้าแถบหมายแนว 2 ม้วน ตามหลังหมายเลข 1
ตอกสมอบกที่พื้นดินแล้วผูกผ้าแถบหมายแนวกับสมอบกที่จุดเริ่มต้นทางขวาและซ้ายของขอบเขตข้างละ 1 ม้วน
คลี่ม้วนผ้าแถบหมายแนวไปข้างหน้าและยึดตรึงให้ติดกับพื้นดินใช้ของแหลมแทงตรวจสอบตรงจุดที่หมายเลข 1
ได้ยินเสียงสัญญาณเพื่อตรวจสอบซ�้ำ ถ้าเป็นทุ่นระเบิดให้เอาทุ่นระเบิดครอบไว้ ถ้ามีลวดสะดุดให้ปลดลวดสะดุดออก
จากทุ่นระเบิด และค่อยเปลี่ยนการใช้เครื่องตรวจค้นกับหมายเลข 1 เมื่อท�ำงานแล้ว 20 นาที
หมายเลข 3 การปฏิบัติเช่นเดียวกับหมายเลข 1 เมื่อหมายเลข 1 และ 2 เคลื่อนที่ไปแล้วประมาณ 25 เมตร
ให้เริม่ งานจากซ้ายมือของพืน้ ทีท่ หี่ มายเลข 1 ตรวจค้นแล้ว ให้สา่ ยจานตรวจค้นกว้างประมาณ 2 เมตร และเหลือ่ มเข้าไป
ทางซ้ายและทางขวาของพื้นที่ประมาณครึ่งจานตรวจค้นหรือประมาณ 10 ซม. (รูปที่ 7)

4 - 80 เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
หมายเลข 4 เป็นผู้ช่วย หมายเลข 3 มีเครื่องเหมือนหมายเลข 2 ปฏิบัติเช่นเดียวกับหมายเลข 2 ตอกสมอบก
ที่พื้นดินทางซ้ายมือผูกผ้าแถบหมายแนวกับสมอบก 1 ม้วน เพื่อก�ำหนดขอบเขตกว้าง 2 เมตร
หมายเลข 5 ปฏิบตั เิ ช่นเดียวกับหมายเลข 3 เมือ่ หมายเลข 3 และ หมายเลข 4 เคลือ่ นทีไ่ ปแล้วประมาณ 25 เมตร
ให้เริม่ งานจากทางซ้ายของพืน้ ทีท่ หี่ มายเลข 3 ตรวจค้นแล้วให้สา่ นจานตรวจค้นกว้างประมาณ 2 เมตร และเหลือ่ มเข้าไป
ทางซ้ายและทางขวาของพื้นที่ประมาณครึ่งจานตรวจค้นหรือประมาณ 10 ซม. (รูปที่ 7)
หมายเลข 6 เป็นผูช้ ว่ ยหมายเลข 5 มีเครือ่ งมือเหมือนหมายเลข 2 ปฏิบตั เิ ช่นเดียวกับหมายเลข 2 ตอกสมอบก
ที่พื้นที่ทางซ้ายมือ ผูกผ้าแถบกับสมอบก 1 ม้วน เพื่อก�ำหนดขอบเขต 2 เมตร
หมายเลข 7 การปฏิบัติเช่นเดียวกับหมายเลข 3 เมื่อหมายเลข 5 และ 6 เคลื่อนไปแล้ว ประมาณ 25 เมตร
ให้เริ่มงานจากซ้ายของพื้นที่ที่หมายเลข 5 ตรวจค้นแล้ว และให้จานตรวจค้นเหลื่อมเข้าไปในพื้นที่ของหมายเลข 5
ประมาณครึ่งจานตรวจค้นประมาณ 10 ชม. (รูปที่ 7)
หมายเลข 8 เป็นผู้ช่วยหมายเลข 7 มีเครื่องมือหมายเลข 2 ปฏิบัติเช่นเดียวกับหมายเลข 2 ตอกสมอบกที่พื้น
ทางซ้ายผูกผ้าแถบหมายแนวกับสมอบก 1 ม้วนเพื่อก�ำหนดขอบเขตกว้าง 2 เมตร
หมายเลข 9, 10 และ 11 เมื่อหมายเลข 7, 8 ตรวจค้นไปได้ระยะประมาณ 25 เมตร เข้าไปท�ำการรื้อถอนดิน
ระเบิดท�ำลายทุ่นระเบิดที่พลตรวจค้นเอาครอบทุ่นระเบิดครอบไว้ เมื่อก�ำลังพลภายในหมู่กลับเข้าที่ก�ำบังที่ปลอดภัย
เรียบร้อยแล้ว ผู้ยังคับหมู่สั่งจุดระเบิด
- ผู้บังคับหมู่ตรวจความเรียบร้อย 100% และ รายงานให้ ผบ.มว. หมู่
18. ให้ผู้รับการฝึก ฝึกการตรวจค้นระดับหมู่

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

รูปที่ 5-60 ภาพแสดงการตรวจค้นด้วยเครื่องตรวจค้น ของหน่วยระดับหมู่

มาตรฐานการตรวจสอบ :
1. ประกอบเครื่องตรวจค้นถูกต้องหรือไม่ ภายในเวลา 5 นาที
2. ทดสอบเครื่องสามารถใช้งานได้จริงหรือไม่
3. สามารถเรียกชื่อส่วนประกอบได้ถูกต้องหรือไม่
4. สามารถใช้งานในการตรวจค้นได้ถูกต้อง และสามารถตรวจหาทุ่นระเบิดได้อย่างน้อย 80%
5. สามารถทราบต�ำแหน่งและหน้าที่ของตัวเอง และการจัดชุดตรวจค้นหรือไม่

เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 81
แบบฝึกที่ 3 การทำ�กับระเบิดแสวงเครือ่ ง
กำ�ลังพล : เฉพาะหน้าที่
เครือ่ งช่วยฝึก
1. ดินระเบิดฝึก TNT 1 แท่ง
2. เชือ้ ปะทุไฟฟ้าใช้ฝกึ (ปลอม) 1 ดอก
3. สายไฟฟ้าคู่ เบอร์ 18 ยาว 100 ม. 1 เส้น
4. สวิตซ์จดุ ระเบิด (ดึง, กด, ดึง-เลิกดึง, กด-เลิกกด) 4 อัน
5. แบตเตอรี่ (ถ่านไฟฉาย) 4 ก้อน
6. ลวดสะดุด 1 เส้น
7. เทปพันสายไฟ 1 ม้วน
8. คีมปากขนานหรือคีมปอกสายไฟ 1 อัน
9. มีด 1 เล่ม
10. หลอดไฟใช้ทดสอบวงจร 1 หลอด
การดำ�เนินการ
1. กับระเบิดแสวงเครื่อง คือ การนำ�เอาวัสดุที่หาได้มาประดิษฐ์หรือประกอบขึ้นได้ในความมุ่งหมายหลายๆ
อย่าง กับระเบิดชนิดนี้ประกอบด้วย ดินระเบิดหลัก (ถ้าไม่มีดินระเบิดอาจดัดแปลงได้โดยใช้ลูกกระสุนปืน, ลูกระเบิด
ขว้างหรือสิ่งที่มีวัตถุระเบิดบรรจุอยู่ภายใน) และเครื่องจุดระเบิดหรือสวิตช์จุดระเบิด โดยมีความมุ่งหมายเพื่อทำ�ลาย
ชีวติ , ทำ�ลายทรัพย์สนิ , ก่อวินาศกรรม หรือเพือ่ สร้างสถานการณ์กอ่ ให้เกิดความไม่สงบ โดยผูไ้ ม่หวังดีหรือผูก้ อ่ การร้าย
2. การทำ�งานของกับระเบิดแสวงเครื่องกับระเบิดแสวงเครื่องที่พบส่วนมากเป็นกับระเบิดแสวงเครื่องระบบ
ไฟฟ้า เพราะทำ�ได้ง่าย และกำ�หนดการทำ�งานได้หลากหลาย ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำ�คัญ 4 ส่วน คือ แบตเตอรี่, สวิตช์
จุดระเบิด, เชื้อปะทุไฟฟ้า และดินระเบิด เมื่อมีบุคคลไปกระทำ�ให้วงจรไฟฟ้าบรรจบกันหรือใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์
ให้เกิดการครบวงจร จะทำ�ให้เชื้อปะทุไฟฟ้าจุดระเบิดขึ้น การทำ�งานนั้นขึ้นอยู่กับสวิตช์จุดระเบิดที่ประดิษฐ์ขึ้น โดย
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

ออกแบบให้สามารถทำ�งานได้ในลักษณะอาการ ดึง, ดึง - เลิกดึง, กด และเลิกกด ส่วนวิธีการวางนั้นผู้วางจะต้องเลือก


ใช้ให้เหมาะสมโดยอาศัยปัจจัยเกี่ยวกับ นิสัย, ความอยากรู้อยากเห็น, ความสะดวกสบาย และความไม่สะดวก เป็น
แนวทางในการพิจารณาการวางภาพต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของสวิตช์จุดระเบิดที่ทำ�งานแบบต่างๆ

รูปที่ 4-61 สวิตช์จดุ ระเบิดแบบดึง

วิธกี ารทำ�
1. นำ�ไม้ไผ่ยาวประมาณ 30 ซม. มาผ่าซีกแล้วใช้ลวดทองแดงพันที่ปลายส่วนที่ผ่าไว้ประมาณ 5 รอบ ทั้ง
สองด้าน
2. ใช้สายไฟต่อกับส่วนที่พันไว้ที่ปลายทั้งสองด้าน
3. ทำ�ลิ่มไม้เสียบเข้ากับส่วนที่ผ่าบริเวณที่พันสายไฟไว้ ปลายลิ่มอีกด้านหนึ่งผูกลวดสะดุดหรือเชือก
4. เมื่อดึงลิ่มออกสวิตช์จะครบวงจร และทำ�งาน

4 - 82 เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
รูปที่ 4-62 สวิตช์จดุ ระเบิดแบบดึง – เลิกดึง
วิธกี ารทำ�
1. นำ�สายไฟชนิดแข็งสองเส้น ปอกสายไฟยาวประมาณ 3 นิ้ว
2. สายไฟสองเส้นที่ปอกมาทำ�เป็นห่วงวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ½ นิ้ว
3. นำ�ปลายสายไฟด้านที่ไม่ได้ปอกของแต่ละเส้นไปใส่ในห่วงวงกลมสลับกัน โดยให้ห่วงวงกลมอยู่ตรงบริเวณสายไฟที่
ไม่ได้ปอก
4. ขึงลวดสะดุดจากหลักสมอบกมายังสายไฟตึงพอประมาณ
5. เมื่อมีบุคคลมาเตะ (ดึง) หรือตัด (เลิกดึง) สวิตช์จะครบวงจร และทำ�งาน

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
รูปที่ 4-63 สวิตช์จดุ ระเบิดแบบกด

วิธกี ารทำ�
1. นำ�แผ่นไม้ขนาดประมาณ1/2 X 3 X 12 นิว้ จำ�นวน 2 อัน มาประกอบเข้าด้วยกัน ปลายทัง้ สองด้านหนุนด้วยไม้เล็กๆ
ขนาดประมาณ 1/2 นิว้
2. ตรงกึง่ กลางของแผ่นไม้ทง้ั สองใช้ตะปูหรือหมุดโลหะตอก พร้อมกับนำ�สายไฟมาเชือ่ มต่อกับหมุดโลหะทัง้ สอง
3. เมือ่ มีบคุ คลมาเหยียบ (กด) ทำ�ให้สวิตช์ครบวงจร และทำ�งาน

เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 83
รูปที่ 4-64 สวิตช์จดุ ระเบิดแบบเลิกกด
วิธีการทำ�
1. นำ�ไม้หนีบผ้า (ชนิดไม้หรือที่ไม่เป็นโลหะ) ด้านที่ใช้หนีบเอาตะปูหรือหมุดโลหะตอก พร้อมนำ�สายไฟเชื่อมต่อเข้าที่
ปลายทั้งสอง
2. นำ�สิ่งของหรือก้อนหินน้ำ�หนักพอประมาณมาวางทับปลายอีกด้านหนึ่ง
3. เมื่อมีบุคคลมายกสิ่งของหรือก้อนหินที่วางทับ (เลิกกด) สวิตช์จะครบวงจร และทำ�งาน
ขั้นตอนในการติดตั้งและรื้อถอน :
1. ขั้นตอนการติดตั้ง
• วางสายไฟให้ยาวสุดสาย สายที่ต่อกับแบตเตอรี่ต้องลัดวงจรเสมอ (สายไฟคู่เบอร์ 18)
• คลี่สายเชื้อปะทุไฟฟ้าออกให้สุดแล้วต่อเข้ากับสายไฟจุดระเบิด แล้วนำ�เชื้อปะทุไฟฟ้า ประกอบเข้ากับดิน
ระเบิด
• ต่อสายไฟจุดระเบิดเส้นหนึ่งเข้ากับสายไฟสวิตช์จุดระเบิด และอีกเส้นหนึ่งต่อเข้ากับสายไฟของแบตเตอรี่
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

• ใช้หลอดไฟทดสอบสวิตช์จุดระเบิด (หลอดไฟไม่ติด)
• นำ�สายไฟของแบตเตอรี่อีกเส้นหนึ่งต่อเข้ากับสายไฟของสวิตช์จุดระเบิด
• พร้อมระเบิดเมื่อมีบุคคลมากระทำ�ต่อสวิตช์จุดระเบิดตามที่ได้ออกแบบการทำ�งานไว้
• ทหารทุกคนต้องอยู่พ้นรัศมีอันตรายจากดินระเบิด
2. การรื้อถอน
• ปลดสายไฟของแบตเตอรี่ออกจากสวิตช์จุดระเบิด
• ปลดสายไฟของสวิตช์จุดระเบิดอีกเส้นหนึ่งออกจากสายไฟจุดระเบิด
• ปลดสายของแบตเตอรี่อีกเส้นหนึ่งออกจากสายไฟจุดระเบิด แล้วทำ�การลัดวงจรไว้
• แยกเชื้อปะทุไฟฟ้าออกจากดินระเบิด
• ปลดสายไฟเชื้อปะทุไฟฟ้าออกจากสายไฟจุดระเบิด แล้วทำ�การลัดวงจรไว้
3. กับระเบิดแสวงเครื่อง การใช้จะอยู่ใน 2 ลักษณะ คือ
• ลักษณะให้เห็น หมายถึง ให้เห็นเหยื่อล่อทำ�ให้เข้าใจผิด เช่น ไปยกหรือไปเคลื่อนสิ่งของ ที่ดูเหมือนว่าไม่มี
อันตรายแล้วเกิดระเบิดขึ้น เช่น ปืนพก หรือยุทโธปกรณ์ที่ทิ้งไว้ในสนามรบเมื่อเราไปหยิบหรือเคลื่อนที่ก็จะเกิดการ
ระเบิดขึ้น
• ลักษณะไม่ให้เห็น คือ กับระเบิดที่ฝังดินหรือซุกซ่อนไว้ ทำ�การพรางให้เห็นยาก ส่วนมากจะเป็นแบบกด
ระเบิด และดึงระเบิด เช่น เดินไปตามถนนหรือตามเส้นทางแล้วไปเหยียบหรือสะดุดก็เกิดระเบิดขึ้น
ในปัจจุบันเทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้น การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุระเบิดหรือวัตถุที่สามารถนำ�มาประดิษฐ์
เป็นวัตถุระเบิดพบเห็นกันอย่างกว้างขวาง ทำ�ให้การทำ�ระเบิดแสวงเครื่องมีความซับซ้อนมากขึ้นและสามารถควบคุม
การทำ�งานได้จากระยะไกล (Remote Control) ส่งผลให้การเก็บกู้ระเบิดแสวงเครื่องเป็นไปด้วยความยุ่งยาก และ

4 - 84 เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
อันตรายมากขึ้น ซึ่งในการเก็บกู้นั้นจำ�เป็นต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษต่างๆ เข้าช่วยในการปฏิบัติงาน และสิ่งสำ�คัญที่สุด
คือต้องอาศัยการข่าวที่ถูกต้องและแม่นยำ� เพื่อเป็นข้อมูลในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย

ขั้นตอนในการปฏิบัติ :
1. ให้ผู้รับการฝึกทำ�กับระเบิดแสวงเครื่องตามที่ได้แนะนำ�มา คนละ 1 อย่าง
2. แบ่งผู้รับการฝึกออกเป็น 2 ชุด แล้วไปทำ�การวางและติดตั้งยังพื้นที่ที่กำ�หนดให้
3. ให้ผู้รับการฝึกเปลี่ยนชุดตรวจค้นรื้อถอน
มาตรฐานในการตรวจสอบ :
1. ทำ�กับระเบิดแสวงเครื่องถูกต้องและเหมาะสม
• วัสดุที่ใช้มีความเหมาะสม
• ขนาดและรูปร่างมีความเหมาะสม
2. ทำ�การวางในภูมิประเทศ
• พิจารณาพื้นที่วางเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
• มีการซ่อนพรางอย่างเหมาะสม
3. ขั้นตอนการปฏิบัติในการติดตั้งกับระเบิดแสวงเครื่อง
• วางสายไฟจุดระเบิด ปลายสายไฟที่จะต่อกับแบตเตอรี่ต้องลัดวงจร
• คลี่สายเชื้อปะทุไฟฟ้าออกแล้วต่อเข้ากับสายไฟจุดระเบิด นำ�เชื้อปะทุไฟฟ้าประกอบกับดินระเบิด
• ต่อสายไฟเส้นหนึ่งเข้ากับสายไฟสวิตช์จุดระเบิดอีกเส้นหนึ่งต่อเข้ากับแบตเตอรี่
• สายไฟแบตเตอรี่อีกเส้นหนึ่งต่อเข้ากับสายไฟ
4. สวิตช์จุดระเบิด ขั้นตอนการรื้อถอน
• ปลดสายไฟของแบตเตอรี่ออกจากสวิตช์จุดระเบิด
• ปลดสายไฟของสวิตช์จุดระเบิดอีกเส้นหนึ่งออกจากสายไฟจุดระเบิด

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
• ปลดสายของแบตเตอรี่อีกเส้นหนึ่งออกจากสายไฟจุดระเบิด แล้วลัดวงจร
• แยกเชื้อปะทุไฟฟ้าออกจากดินระเบิด
• ปลดสายไฟเชื้อปะทุไฟฟ้าออกจากสายไฟจุดระเบิด แล้วลัดวงจร
5. การกลบเกลื่อนร่องรอย และเก็บวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องออกมาหมดหรือไม่
แบบฝึกที่ 4 การประกอบวัตถุระเบิดให้พร้อมระเบิด
กำ�ลังพล : เฉพาะหน้าที่
เครื่องช่วยฝึก
1. ชนวนฝักแคเวลา 1 ม้วน
2. เชื้อปะทุชนวน 1 กล่อง
3. เครื่องจุดชนวนฝักแคเวลา 1 กล่อง
4. ไม้ขีด 1 กล่อง
5. คัดเตอร์หรือมีดพับ 1 เล่ม
6. คีมบีบเชื้อปะทุชนวน 1 เล่ม
7. เทปพันสายไฟหรือจุกเกลียว 1 ม้วน
8. เชื้อปะทุไฟฟ้า 1 กล่อง
9. เครื่องตรวจกัลป์วานอมิเตอร์ 1 เครื่อง
10. สายไฟฟ้าเบอร์ 18 ยาว 100 เมตร 1 เส้น
11. ดินระเบิด TNT ขนาด ¼ ปอนด์ 1 แท่ง
12. เครื่องจุดชนวน M 60 1 อัน
หมายเหตุ จัดเตรียม สป. 5 ที่ใช้จุดระเบิดจริง จัดตามยอดกำ�ลังพลที่เข้ารับการฝึก

เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 85
การดำ�เนินการ
1. อธิบายคุณลักษณะและวิธีการใช้อุปกรณ์ทั้งหมดก่อน
• ชนวนฝักแคเวลา มี 2 ชนิด คือ ชนวนปลอดภัย (Safety fuse) กับชนวนฝักแคเวลา M 700
1) ชนวนฝักแคเวลา ปลอดภัย (Safety fuse) ใช้ในการทำ�ลายทั่วๆ ไปประกอบด้วยดินดำ� ห่อหุ้ม
ด้วยวัสดุป้องกันน้ำ�ซึมมีหลายสี แต่ส่วนมากแล้วจะเป็นสีส้ม มีอัตราการลุกไหม้ 30 ถึง 45 วินาที/ฟุต แต่ละ
ม้วนอัตราการลุกไหม้จะเหมือนกัน หรือแตกต่างกันอยู่ที่สภาพอากาศและก่อนที่จะนำ�ไปใช้ทุกม้วน จะต้อง
ทดสอบการลุกไหม้ก่อนเพื่อความปลอดภัยโดยเฉพาะในการใช้ใต้น้ำ�การลุกไหม้อาจจะเร็วขึ้นจึงต้องมีการ
ทดสอบการลุกไหม้ในน้ำ�ด้วย
2) ชนวนฝักแคเวลา M 700 ชนวนชนิดนี้เหมือนกับชนวนฝักแคเวลา แบบปลอดภัยและการใช้ก็ใช้
เหมือนกัน แต่สามารถกำ�หนดเวลาการลุกไหม้ได้แน่นอนกว่าชนวนฝักแคเวลา แบบธรรมดา สีเป็นสีเขียวเข้ม
มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2 นิ้ว ห่อหุ้มด้วยพลาสติกผิวเรียบ ในระยะ 45 ซม. จะมีแถบสีเหลือง คาด 1 แถบ ใน
ระยะ 225 ซม. มีแถบคาด 2 แถบ แถบคาดนี้เพื่อให้ง่ายในการวัดระยะ ชนวนฝักแคเวลามีอัตราการลุกไหม้
40 วินาที/ฟุต แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะนำ�ไปใช้ต้องมีการทดสอบ อัตราการลุกไหม้เหมือนกับชนวนฝักแคเวลา
ปลอดภัยเสมอ


รูปที่ 4-65 ชนวนฝักแคเวลาแบบปลอดภัย รูปที่ 4-66 ชนวนฝักแคเวลา M700
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

• เชื้อปะทุชนวน เชือ้ ปะทุชนวนจะถูกทำ�ให้ระเบิดขึน้ ด้วย ชนวนฝักแคเวลา เครือ่ งจุดระเบิดและชนวนฝักแค


ระเบิด เชื้อปะทุชนวนไม่สามารถจุดระเบิดใต้น้ำ� หรือที่เปียกชื้นได้ เพราะว่ายากในการป้องกันน้ำ�ซึมเข้าได้ แต่ถ้ามี
ความจำ�เป็นจริงๆ แล้วก็ต้องใช้เครื่อง ป้องกันน้ำ�ซึมปิดทับให้ดี เชื้อปะทุชนวนทางการค้ามี แบบ J1, เบอร์ 6 และ
เบอร์ 8 ส่วนทางทหาร ก็มีเชื้อปะทุชนวน แบบ M7
• เครื่องจุดชนวน
1. เครือ่ งจุดชนวนแบบ M2 เป็นเครือ่ งจุดชนวน ทีใ่ ช้ได้ทกุ สภาพอากาศ ใช้จดุ ชนวนฝักแคเวลา การประกอบ
ชนวนฝักแคเวลา เข้ากับเครือ่ งจุดชนวน กระทำ�ได้โดยการดึงครอบกระดาษออก ดึงจุกยางออกจากเครือ่ งจุดชนวน
พยายามอย่าให้สารเหนียวทีต่ ดิ อยูร่ ะหว่างจุกยางกับเครือ่ งจุดชนวน หลุดออกจากเครือ่ งจุดชนวน สอดปลายชนวน
ฝักแคเวลาเข้าไปตรงช่องทีด่ งึ จุกยางออกจนแน่น รูดสารเหนียวทีต่ ดิ อยูท่ ส่ี ว่ นปลายของเครือ่ งจุดชนวนลงมาปิดรอบ
รอยต่อระหว่างชนวนฝักแคเวลาและเครือ่ งจุดชนวน เพือ่ ป้องกันน้�ำ ซึมเข้าไป การจุดใช้มอื หนึง่ จับตัวเครือ่ งจุดชนวน
อีกมือหนึ่งดึงที่ห่วงสลักขัดเข็มแทงชนวนจนกระทั่งหลุดออกมา เข็มแทงชนวนจะพุ่งไปกระแทกจอกกระทบแตก
เกิดประกายไฟไปจุดชนวนฝักแคเวลา

รูปที่ 4-67 เชื้อปะทุชนวน M7 รูปที่ 4-68 เครื่องจุดชนวน M2


4 - 86 เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
2. เครื่องจุดชนวนแบบ M60 เป็นเครื่องจุดชนวนทุกสภาพอากาศ ใช้จุดชนวนฝักแคเวลา การประกอบชนวน
ฝักแคเวลาเข้ากับเครื่องจุดชนวน กระทำ�โดยหมุนครอบปลายเครื่องจุดชนวนให้หลวม จนสามารถดึงจุกอุดเครื่อง
จุดชนวนออกมาได้สะดวก แล้วสอดปลายชนวนฝักแคเวลาเข้าแทนจุกจนปลายของชนวนฝักแคเวลาชนกับจอกกระทบแตก
ทีอ่ ยูด่ า้ นใน (ดันต่อไปไม่ได้) หลังจากนัน้ หมุนครอบปลายเครือ่ งจุดชนวนเข้าทีใ่ ห้แน่น ชนวนฝักแคเวลาติดจะแน่นกับ
เครื่องจุดชนวน ทำ�การจุดชนวนโดยถอดสลักนิรภัยออกแล้วดึง ที่ห่วงรับแรงดึง เข็มแทงชนวนจะหลุดออกพุ่งไป
กระแทกจอกกระทบแตก ทำ�ให้เกิดประกายไฟไปจุดชนวนฝักแคเวลา การดึงจะต้องดึงช้าๆ ก่อนแล้วดึงแรงๆ
ในตอนสุดท้าย ในกรณีที่จุดไม่ติดเครื่องจุดชนวนชนิดนี้สามารถทำ�การจุดใหม่ได้ โดยการดันแกนยึดเข็มแทงชนวน
เข้าไปอย่างรวดเร็ว แล้วดึงออก และกระทำ�ซ้ำ�ๆ จนกว่าจะจุดติด

รูปที่ 4-69 เครื่องจุดชนวน M60

• ดินระเบิดที่ใช้ทางทหารมีหลายชนิด เช่น TNT, ไดนาไมท์, M112

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
รูปที่ 4-70 ดินระเบิด TNT

รูปที่ 4-71 ไดนาไมท์

รูปที่ 4-72 M112

เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 87
• คีมบีบเชื้อปะทุ M2
ใช้ในการบีบเชื้อปะทุชนวนให้ติดกับ ชนวนฝักแคเวลา
ฐานเครื่องจุดระเบิดมาตรฐาน หรือชนวนฝักแคระเบิด
เพื่อให้ติดแน่นไม่สามารถที่จะดึง ให้หลุดออกมาได้ จะมี
ปุ่มเพื่อป้องกันไม่ให้คีมบีบเชื้อปะทุบีบเชื้อปะทุมาก
เกินไปอยู่ที่ด้ามคีมด้านหนึ่ง ช่องว่างของปากคีมด้านนอก
ใช้สำ�หรับบีบเชื้อปะทุให้ติด ช่องว่างด้านในใช้สำ�หรับตัด
ชนวนฝักแคเวลา หรือชนวนฝักแคระเบิด ปลายด้านหนึ่ง
ของคีมมีปลายแหลมใช้สำ�หรับเจาะดินระเบิดให้เป็นรู รูปที่ 4-73 คีมบีบเชื้อปะทุ M2
สำ�หรับเสียบ เชื้อปะทุเข้าไป ปลายอีกด้านหนึ่งแบนสำ�หรับใช้เป็นไขควง คีมบีบเชื้อปะทุทำ�ด้วยวัสดุอโลหะที่บอบบาง
จึงต้องไม่ใช้ในความมุง่ หมายอืน่ ซึง่ อาจจะทำ�ให้คมี นีเ้ สียหายได้ ปากของคีมจะต้องระวังรักษาให้สะอาด และใช้ส�ำ หรับ
ตัดชนวนฝักแคระเบิดหรือชนวนฝักแคเวลาเท่านั้น
1. ขั้นตอนการฝึกปฏิบัติ การประกอบระบบการจุดระเบิดด้วยเชื้อปะทุชนวน
ให้ผู้รับการฝึกประกอบระบบการจุดระเบิดด้วยเชื้อปะทุชนวน ใช้ในการเตรียมดินระเบิด สำ�หรับการ
จุดระเบิด ประกอบด้วย เชื้อปะทุชนวนจะเป็นตัวที่ทำ�ให้ดินระเบิดเกิดการระเบิด ชนวนฝักแคเวลาจะมีประกายไฟ
สำ�หรับจุดเชื้อปะทุชนวน วิธีการประกอบการจุดระเบิดระบบนี้มีดังนี้
• ตัดชนวนฝักแคเวลาที่ปลายด้านหนึ่งทิ้งไป 6 นิ้ว ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ชนวนฝักแคเวลา มีความชื้น
เหลืออยู่ เพราะดินดำ�สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้ แล้วตัดออกอีก 3 ฟุต เพื่อทดสอบอัตราการลุกไหม้ของ
ชนวนฝักแคเวลา โดยใช้เครื่องจุดชนวน หรือผ่าปลายด้านหนึ่งของชนวนฝักแคเวลา ใส่หัวไม้ขีดที่ปลายผ่านั้น แล้วจุด
หัวไม้ขีดนั้นด้วยไม้ขีดก้านอื่น เมื่อชนวนฝักแคเวลานั้นลุกไหม้จนหมด แล้วคำ�นวณ อัตราการลุกไหม้เป็น วินาทีต่อฟุต
• ตัดชนวนฝักแคเวลาให้มคี วามยาวเพียงพอที่ บุคคลผูจ้ ดุ ระเบิดสามารถเดินตามปกติ เข้าไปยังทีห่ ลบภัย
อย่างปลอดภัยก่อนดินระเบิดจะระเบิด เมื่อตัดแล้วจะต้องดูที่ปลายทั้งสองให้เรียบร้อย
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

• นำ�เชือ้ ปะทุชนวนออกจากกล่องใส่เชือ้ ปะทุชนวน จะต้องตรวจโดยมองเข้าไปในปลายเปิด ถ้ามีวสั ดุอน่ื หรือ


ฝุน่ ผงอยูจ่ บั ด้านปลายเปิดคว่�ำ ลงแล้วเขย่าอย่างเบาๆ หรือเคาะกับมืออีกมือหนึง่ (ถ้าวัสดุนน้ั ไม่ออกมาอย่าใช้เชือ้ ปะทุอนั
นัน้ ) ห้ามเคาะเชือ้ ปะทุชนวนกับวัสดุทแ่ี ข็งหรือใช้วสั ดุแข็งๆ เคาะเชือ้ ปะทุชนวนห้ามใช้ปากเป่าเชือ้ ปะทุชนวน ไม่ใช้วสั ดุอน่ื
ใส่เข้าไปในเชือ้ ปะทุ เพือ่ แคะสิง่ สกปรก หรือวัตถุทอ่ี ยูใ่ นเชือ้ ปะทุออก
• จับชนวนฝักแคเวลาโดยเอาปลายด้านเรียบตัง้ ขึน้ แล้วสวมเชือ้ ปะทุชนวนลงไปบนชนวน ฝักแคเวลา
จนกระทัง่ แผ่นจุดระเบิด ในเชือ้ ปะทุชนวนชนกับปลายของชนวนปรับให้ตดิ กัน ฝักแคเวลา ถ้าไม่ชนกันแล้วอาจจะจุดระเบิด
ไม่ตดิ ห้ามใส่ชนวนฝักแคเวลาลงไปในเชือ้ ปะทุ โดยการหมุนอย่างแรงหรือโดยวิธอี น่ื ๆ
• หลังจากใส่เชือ้ ปะทุชนวนเรียบร้อยแล้ว จับชนวนฝักแคเวลาด้วยนิว้ หัวแม่มอื กับนิว้ กลาง ของมือซ้าย
ใช้นว้ิ ชีก้ ดเหนือปลายของเชือ้ ปะทุเพือ่ ให้แนบสนิทติดกับปลายของชนวน ฝักแคเวลา ระวังอย่าให้นว้ิ ไปปิดทางช่องทำ�ให้
เกิดการอัดลมเลือ่ นนิว้ หัวแม่มอื กับนิว้ กลางลงข้างล่าง ให้พน้ ปลายเชื้อปะทุชนวน นำ�คีมบีบเชื้อปะทุชนวนออกมา โดย
ใช้ปากนอกวางที่เชื้อปะทุชนวน บีบเชื้อปะทุ
ชนวนให้ห่างจากปลายเปิดประมาณ
1/8 นิว้ ถึง 1/4 นิว้ จะต้องไม่บบี เชือ้ ปะทุชนวน
ให้ใกล้ดนิ ระเบิดของเชือ้ ปะทุชนวน อาจจะทำ�ให้
เกิดการระเบิดขึ้นได้ในระหว่างบีบเชื้อปะทุชนวน
ต้องยื่นออกไปให้ห่างจากตัว
• นำ�จุกเกลียวใส่เข้ากับชนวนฝักแค
เวลาให้ตดิ กับดินระเบิด ถ้าไม่มจี กุ เกลียวให้ใช้เชือก
หรือเทปพันสายยึดเชือ้ ปะทุชนวนให้ตดิ กับดิน
ระเบิด

4 - 88 เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
• ประกอบเครือ่ งจุดชนวน M2 หรือ M 60 ทีป่ ลายชนวนฝักแคเวลา เพือ่ ทำ�การจุดชนวนฝักแคเวลา ถ้าไม่มี
เครือ่ งจุดชนวน ให้ใช้ไม้ขดี ไฟจุดชนวนฝักแคเวลาโดยการผ่าปลายชนวนฝักแคเวลา
• นำ�เชือ้ ปะทุชนวนสอดใส่เข้าไปในดินระเบิด
ข้อควรระวัง เมื่อระบบเชื้อปะทุชนวนด้านต้องรอคอย 30 นาที ก่อนเข้าตรวจสอบ

รูปที่ 4-75 รูปการตัดชนวนฝักแคเวลา และการใช้คีบบีบเชื้อปะทุชนวน

รูปที่ 4-76 รูปตำ�แหน่งที่ปลอดภัย รูปที่ 4-77 รูปการจุดชนวนฝักแคเวลาด้วยไม้ขีดไฟ

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
สำ�หรับการบีบเชื้อปะทุชนวน

รูปที่ 4-78 วงจรระบบการจุดระเบิดด้วยเชื้อปะทุชนวน


1. อุปกรณ์การประกอบระบบการจุดระเบิดด้วยเชื้อประทุไฟฟ้า
• เชื้อปะทุไฟฟ้า ใช้ในการจุดระเบิดด้วยระบบไฟฟ้าระเบิดขึ้นด้วยเครื่องกำ�เนิดไฟฟ้าชนิดต่างๆ เช่น
เครื่องจุดระเบิด แบตเตอรี่ ที่สามารถหาได้ ที่ใช้อยู่มี 2 ชนิด คือ ที่ใช้ในกิจการทหาร และทางการค้าทางทหาร
เป็นแบบทันทีทันใด และแบบถ่วงเวลาของทางการค้า สามารถถ่วงเวลาตั้งแต่ 0.025 วินาที ถึง 12 วินาที สำ�หรับ
แบบถ่วงเวลาทีใ่ ช้ทางทหารสามารถ ถ่วงเวลาได้ตง้ั แต่ 1.00 วินาที ถึง 1.53 วินาที เชือ้ ปะทุไฟฟ้ามีสายไฟฟ้าความยาว

เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 89
ขนาดต่างๆ สำ�หรับต่อกับวงจรไฟฟ้า โดยมากตามปกติสายคู่ยาว 12 ฟุต ปลายสายจะทำ�การลัดวงจรไว้ซึ่งจะต้อง
ไม่แยกออกจากกันก่อนทำ�การจุดระเบิดเชื้อปะทุไฟฟ้าทางทหารที่มาตรฐาน คือ เชื้อปะทุไฟฟ้า แบบ M6

รูปที่ 4-79 เชื้อปะทุไฟฟ้า M6

• เครื่องตรวจวงจรกัลป์วานอมิเตอร์ เครื่องตรวจวงจร
กัลป์วานอมิเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ ระบบการจุดระเบิด
ด้วยไฟฟ้าซึ่งใช้ตรวจวงจร (เชื้อปะทุไฟฟ้า, สายไฟจุดระเบิด, สายต่อ)
เมื่อปลายสาย สองปลายติดกันใช้เครื่องตรวจกัลป์วานอมิเตอร์
ตรวจเข็มบนหน้าปัดจะชี้ไปทางขวา เครื่องตรวจวงจร กัลป์วานอมิเตอร์
เวลาใช้จะต้องระมัดระวังรักษาให้ดีสามารถทดสอบก่อนนำ�ไปใช้ได้
โดยใช้วัสดุที่เป็นโลหะ วางพาดลงไปที่ปุ่มสองปุ่ม ถ้าเข็มไม่กระดิก
แสดงว่าถ่านอ่อนต้องเปลี่ยนถ่านใหม่ (ถ่านที่ใช้ถ่านซิลเวอร์ คลอไรด์
มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเพียง 0.9 โวลท์)
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

รูปที่ 4-80 เครื่องตรวจวงจรกัลป์วานอมิเตอร์

• เครื่องจุดระเบิด ชนิด 10 ดอก เป็นเครื่องกำ�เนิดไฟฟ้า


กระแสตรงขนาดเล็ก ซึง่ ผลิตขึน้ มา มีกระแส 1.5 แอมแปร์ เพียงพอทีจ่ ะ
จุดเชื้อปะทุไฟฟ้าได้ 10 ดอก ต่อแบบเรียงอันดับ มีน้ำ�หนัก
ประมาณ 5 ปอนด์ วิธีการใช้ดังต่อไปนี้.-
1) ต้องนำ�เครื่องจุดระเบิดติดตัวตลอดเวลา
ในขณะที่ต่อวงจรการจุดระเบิด
2) ต่อสายไฟฟ้าเข้าในเครื่องจุดระเบิดให้แน่น รูปที่ 4-81 เครื่องจุดระเบิด
3) สอดมือเข้าไปในห่วงหิ้ว
4) มือซ้ายสอดเข้าไปในห่วงหิ้ว และถือเครื่องจุดระเบิดให้อยู่กึ่งกลางให้แน่น
5) จับมือถือด้วยมือขวา และหมุนอย่างแรงตามเข็มนาฬิกาอย่างเร็ว
* ถ้าไม่มีเครื่องจุดระเบิดให้ใช้แบตเตอรี่แทน *
• สายไฟฟ้าทีใ่ ช้ส�ำ หรับจุดระเบิดด้วยระบบเชือ้ ปะทุไฟฟ้า เป็นสายไฟฟ้าสองสายเบอร์ 18 ห่อหุม้ ด้วยฉนวน
4. ขั้นตอนการฝึกปฏิบัติ การประกอบระบบการจุดระเบิดด้วยเชื้อปะทุไฟฟ้า
ระบบการจุดระเบิดด้วยเชื้อปะทุไฟฟ้า เป็นวิธีการหนึ่งซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าเป็นตัวจุดระเบิด กระแสไฟฟ้า
ซึ่งถูกส่งมาจากตัวต้นกำ�เนิดไฟฟ้า จะเป็นตัวจุดให้เชื้อปะทุไฟฟ้าระเบิดขึ้น ตามปกติ กระแสไฟฟ้าจากเครื่องกำ�เนิด
ไฟฟ้าจะเคลื่อนที่ไปตามสายไฟฟ้า และสายไฟฟ้าของเชื้อปะทุไฟฟ้า แล้วจึงจุดระเบิดเชื้อปะทุไฟฟ้า อุปกรณ์ในการ
จุดระเบิดระบบนี้มีเชื้อปะทุไฟฟ้า สายไฟฟ้า และเครื่องจุดระเบิด อุปกรณ์และวิธีการประกอบวงจรของระบบการจุด
4 - 90 เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
ระเบิดด้วยเชื้อปะทุไฟฟ้ามีดังนี้ .-
• ผูร้ บั การฝึกต้องรูส้ ถานทีจ่ ดุ ระเบิดหรือเป้าหมายในการวางดินระเบิด เมือ่ รูเ้ ป้าหมายแล้วเราต้องเตรียมอุปกรณ์
• หลังจากกำ�หนดสถานที่จุดระเบิดแล้ว ให้ผู้รับการฝึกวางสายไฟฟ้าจากสถานที่จุดระเบิดมายังสถานที่
หลบภัยแล้วทำ�การทดสอบสายไฟฟ้าจุดระเบิดด้วยเครือ่ งตรวจกัลวานอมิเตอร์แล้วทำ�การลัดปลายสายไฟฟ้าทัง้ 2 ข้าง
• ทดสอบเชื้อปะทุไฟฟ้าทุกดอกที่ใช้ในการจุดระเบิดด้วยระบบนี้ โดยใช้เครื่องตรวจ วงจรกัลป์วานอมิเตอร์
ถ้าจุดระเบิดด้วยเชื้อปะทุไฟฟ้ามากกว่าสองดอกขึ้นไป ต่อสายไฟฟ้าเชื้อปะทุเข้าด้วยกันเป็นวงจรเรียงอันดับ แล้วต่อ
สายเชื้อปะทุไฟฟ้าที่เหลือเข้ากับสายไฟฟ้าจุดระเบิดสอดเชื้อปะทุไฟฟ้าเข้าไปในดินระเบิด ยึดเชื้อปะทุไฟฟ้าติดแน่น
ด้วยจุกเกลียวหรือเชือก, ผ้าเทป แล้วกลับไปยังสถานที่หลบภัย
• การทดสอบเมื่อกลับมายังสถานที่หลบภัยแล้วทดสอบวงจรการจุดระเบิดด้วยเครื่องตรวจกัลวานอมิเตอร์
แล้วลัดปลายสายไฟฟ้าไว้
• ตรวจสอบเครื่องจุดระเบิดให้แน่ใจว่ามีกระแสไฟฟ้า แล้วจึงต่อสายไฟฟ้าจุดระเบิด โดยการแก้ลัดสายวงจร
ไฟฟ้าจุดระเบิดออก แล้วนำ�ไปต่อเข้ากับเครื่องจุดระเบิด รอคำ�สั่งการจุดระเบิด
ข้อระมัดระวัง การจุดระเบิดด้วยเชื้อปะทุไฟฟ้าถ้ามากกว่า 2 ดอกขึ้นไป ต้องมั่นใจว่าเป็นชนิดเดียวกันและผลิต
มาจากบริษัทเดียวกันเพื่อป้องกันการระเบิดด้าน และต้องไม่แบ่งความรับผิดชอบในการเตรียมวงจรหลายคน เพื่อ
ความปลอดภัย เมื่อระบบเชื้อปะทุไฟฟ้าด้าน ก่อนเข้าตรวจสอบ ให้ปลดสายไฟฟ้าออกจากเครื่องจุดระเบิด หรือ
แบตเตอรี่และลัดวงจรปลายสายไฟฟ้าจุดระเบิดไว้

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
รูปที่ 4-82 ระบบการจุดระเบิดด้วยเชื้อปะทุไฟฟ้า

รูปที่ 4-83 รูปการต่อวงจรอนุกรมแบบธรรมดา รูปที่ 4-84 การต่อวงจรแบบอนุกรมกบกระโดด


การต่อสายไฟฟ้า
เพื่อป้องกันมิให้สายไฟฟ้าหลุดออกจากกัน ก่อนต่อสายไฟฟ้าจะต้องปอกปลายสายออก ประมาณ 3 นิ้ว
แล้วต่อสายไฟฟ้าเข้าด้วยกันด้วยเงื่อนขัดสมาธิ แล้วจึงต่อสายไฟฟ้าด้วยเงื่อนหางหมู ตามรูป

เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 91
รูปที่ 4-85 รูปแบบการต่อสายไฟฟ้าสำ�หรับจุดระเบิด
มาตรฐานในการตรวจสอบ :
1. การเตรียมอุปกรณ์ในการจุดระเบิดแต่ละชนิดแล้วเสร็จภายในเวลา 10 นาทีได้อย่างถูกต้อง
2. เตรียมอุปกรณ์ประกอบการจุดระเบิดด้วยเชื้อปะทุชนวน ให้แล้วเสร็จภายในเวลา 5 นาทีได้อย่างถูกต้อง
• ทดสอบอัตราการลุกไหม้ของชนวนฝักแคเวลาได้อย่างถูกต้อง
• ประกอบชนวนฝักแคเวลากับเครื่องจุดได้ถูกต้อง
• นำ�เชื้อปะทุชนวนสวมเข้ากับชนวนฝักแคเวลาได้อย่างถูกต้อง
• บีบเชื้อปะทุชนวนติดกับชนวนฝักแคเวลาได้อย่างถูกต้อง
3. เตรียมอุปกรณ์การประกอบการจุดระเบิดด้วยเชือ้ ปะทุไฟฟ้าให้แล้วเสร็จภายในเวลา 5 นาทีได้อย่างถูกต้อง
• มีการใช้กัลป์วานอมิเตอร์ได้อย่างถูกต้อง
• ตรวจสอบเชื้อปะทุไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง
• ตรวจสอบสายไฟฟ้าจุดระเบิดได้อย่างถูกต้อง
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

แบบฝึกที่ 5 การติดตั้งทุ่นระเบิดสังหารบุคคล M18A1

กำ�ลังพล : 1 หมู่
เครื่องช่วยฝึก
1. ทุ่นระเบิด M 18A1 1 ทุ่น
2. เชื้อปะทุไฟฟ้า M4 (ปลอม) พร้อมสายไฟยาว 100 ฟุต 1 ชุด
3. เครื่องตรวจสอบวงจรไฟฟ้า M40 1 อัน
4. เครื่องจุดระเบิด M57 1 อัน
5. สมอบกไม้ 1 อัน
6. ค้อน หรือขวาน 1 เต้า
7. เป้าหุ่นกระดาษ อย่างน้อย 3 เป้า
การดำ�เนินการ : ทุ่นระเบิดสังหารบุคล M18A1 เป็นทุ่นระเบิดสำ�หรับบุคคลชนิดมีสะเก็ดระเบิดที่ออกแบบมาเพื่อ
ทำ�ให้บุคคลบาดเจ็บ ตาย หรือไร้สมรรถภาพ

4 - 92 เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
คุณลักษณะและส่วนประกอบ

ชื่อ M18A1/เคลโมร์
ผู้ผลิต สหรัฐอเมริกา
น้ำ�หนัก 3.5 ปอนด์
ขนาด กว้าง 8 1/2 นิ้ว
หนา 1 3/8 นิ้ว
สูง 3 1/4 นิ้ว
วัตถุระเบิด C-4 1.5 ปอนด์
สะเก็ดลูกปลาย 700 ลูก
เปลือก พลาสติกไฟเบอร์
สี กากีแกมเขียว


รูปที่ 4-86 ระเบิด M18A1/เคลโมร์

- ผู้จุดระเบิดต้องอยู่ในที่กำ�บัง ห่างจากทุ่นระเบิดไปด้านหลัง
อย่างน้อย 16 เมตร

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
- ทหารฝ่ายเดียวกันอยู่ในที่กำ�บังห่างจากทุ่นระเบิดไปด้านข้าง
และด้านหลัง 100 เมตร
- ทิศทางด้านหน้า มุม 60 องศา
- รัศมีสังหาร 50 เมตร
- รัศมีอันตราย 250 เมตร

รูปที่ 4-87 รัศมีอันตรายและรัศมีปลอดภัย

รูปที่ 4-88 ระยะปลอดภัยการจุดระเบิด


การติดตั้ง
1. พิจารณาเลือกพื้นที่ติดตั้งทุ่นระเบิด ระยะห่างระหว่างทุ่นระเบิดกับผู้จุดระเบิด และทหารฝ่ายเดียวกัน
เมื่อได้พื้นที่แล้วหันด้านหน้าทุ่นระเบิดไปยังทิศทางข้าศึก ตอกขายึดทุ่นระเบิดกับพื้นดินให้แน่น โดยให้ขาเสมอกัน
ทั้ง 2 ข้าง นำ�เป้าหุ่นกระดาษไปตั้งด้านหน้าระยะประมาณ 50 เมตร
เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 93
2. ทำ�การเล็ง ผู้ทำ�การติดตั้งนอนคว่ำ�ลงกับพื้น เล็งให้สายตาห่างจากช่องเล็งของทุ่นระเบิดประมาณ 6 นิ้ว
เล็งผ่านช่องเล็งไปข้างหน้าในทางลึก ระยะ 50 เมตร ใช้ระยะความสูงระดับข้อเท้าถึงหัวเข่าของเป้าหมาย

รูปที่ 4-89 ภาพการเล็งทุ่นระเบิดกับเป้าหมาย

3. ตอกสมอบกหลังทุ่นระเบิด ห่างประมาณ 1 เมตร เฉียงมาทางข้างเล็กน้อย คลี่สายไฟออกจากม้วน ผูกยึด


สายไฟกับสมอบก ลากสายไฟจากทุ่นระเบิดไปยังตำ�บลจุดระเบิด ถอดจุกกันฝุ่นออก นำ�เชื้อปะทุไฟฟ้าสอดเข้าไปในรู
เสียบเชือ้ ปะทุ ขันจุกเกลียวยึดเชือ้ ปะทุไฟฟ้าให้ตดิ แน่นกับรูเสียบเชือ้ ปะทุ (ใช้รเู สียบเชือ้ ปะทุขา้ งใดข้างหนึง่ ) ตรวจสอบ
ตำ�แหน่งเล็งอีกครั้ง
4. ตรวจสอบวงจร (ที่ตำ�บลจุดระเบิด) นำ�ปลั๊กสายไฟจุดระเบิดเสียบเข้ากับเครื่องตรวจสอบวงจร M 40 และ
นำ�ไปเสียบเข้ากับเครื่องจุดระเบิด M 57 ปลดห่วงนิรภัยกับคันบังคับออกจากตำ�แหน่งปลอดภัย แล้วใช้มือกดคันบังคับ
จะปรากฏแสงไฟสว่างทีช่ อ่ งกระจก แสดงว่าวงจรไฟฟ้าทัง้ หมดสมบูรณ์ ดันคันบังคับกลับเข้ายังตำ�แหน่งปลอดภัยเช่นเดิม
5. การจุดระเบิด นำ�ปลั๊กสายไฟจุด
ระเบิดมาเสียบเข้ากับเครื่องจุดระเบิด M 57
ปลดห่วงนิรภัยกับคันบังคับออกจากตำ�แหน่ง
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

ปลอดภัย แล้วใช้มือกดคันบังคับอย่างแรง

รูปที่ 4-90 กาตรวจสอบการจุดระเบิด


การรื้อถอน
1. ให้ปฏิบัติย้อนกลับกันกับขั้นตอนการติดตั้ง โดยเริ่มจากดันคันบังคับนิรภัยกลับเข้ายังตำ�แหน่งปลอดภัย
ถอดปลั๊กสายไฟจุดระเบิดออกจากเครื่องจุดระเบิด M 57 พร้อมลัดวงจร
2. นำ�เชื้อปะทุไฟฟ้าออกจากรูเสียบเชื้อปะทุของทุ่นระเบิด ปิดรูเสียบเชื้อปะทุด้วยจุกกันฝุ่นปลดสายไฟจาก
สมอบก ม้วนเก็บสายไฟให้เรียบร้อย ถอนสมอบก
3. นำ�ทุ่นขึ้น พับขาเก็บทุ่นระเบิดให้เรียบร้อย ตรวจเช็คอุปกรณ์ทั้งหมดอีกครั้ง
มาตรฐานในการตรวจสอบ
1. ทำ�การติดตั้งตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และทันเวลาที่กำ�หนดไว้ 15 นาทีมีการตรวจสอบความ
เรียบร้อยของทุ่นระเบิด และอุปกรณ์ทั้งหมด ให้พร้อมใช้งาน
• ตรวจทุ่นระเบิด
• ตรวจสอบเครื่องจุด M 57 และเครื่องทดสอบวงจร M 40
• ตรวจสอบเชื้อปะทุพร้อมสายไฟ M 4
• เตรียมอุปกรณ์ยึดตรึงได้เรียบร้อย

4 - 94 เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
2. ทำ�การติดตั้งตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และทันเวลาที่กำ�หนดไว้ 15 นาที
• เลือกพื้นที่ติดตั้งทุ่นระเบิดได้อย่างเหมาะสม
• ยึดทุ่นระเบิดกับพื้นดินโดยทุ่นระเบิดไม่เกิดการชำ�รุดเสียหาย
• ยึดตรึงสายไฟจุดระเบิดได้ถูกต้อง
• ทำ�การเล็งได้อย่างถูกต้อง
• ตรวจสอบวงจรไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย
3. ทำ�การรื้อถอนตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย
• ถอดสายไฟจุดระเบิดออกและลัดวงจร
• ถอดเชื้อปะทุไฟฟ้าออกจากรูเสียบเชื้อปะทุ
• เก็บทุ่นระเบิด ตรวจอุปกรณ์ทุกอย่าง

แบบฝึกที่ 6 การติดตั้งและรื้อถอนทุ่นระเบิดดักรถถัง M 6 A 2
กำ�ลังพล : 1 หมู่ทหารช่าง
เครื่องช่วยฝึก
1. ทุ่นระเบิดดักรถถัง M 6 A 2 1 ทุ่น
2. ชนวน M 603 1 ชนวน
3. ชนวนกันเขยื้อน M1 1 ชนวน
4. ทุ่นระเบิดฝึก M 12 (สีฟ้า) 1 ทุ่น
5. ชนวนฝึก M 604 (สีฟ้า) 1 ชนวน
6. ชนวนกันเขยื้อนฝึก (สีฟ้า) 2 ชนวน
7. เครื่องจุดระเบิดมาตรฐาน M ดึง 1 อัน

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
8. เครื่องจุดระเบิดมาตรฐาน M 5 เลิกกด 1 อัน
9. พลั่วหรือชะแลง 1 อัน
10. กระสอบทราย 1 ใบ
11. ลวดเกลี้ยง Ø 1 มม. ยาว 10 นิ้ว 2 เส้น
12. ลวดเกลี้ยง Ø 2 มม. ยาว 18 นิ้ว 1 เส้น
13. ลวดเกลี้ยง Ø 3 มม. ยาว 18 นิ้ว 1 เส้น
14. สมอบกไม้ขนาด Ø 2 นิ้ว 2 อัน
15. ขวาน 1 เล่ม
การดำ�เนินการ
1. ทุ่นระเบิดดักรถถัง คือ วัตถุระเบิดที่บรรจุในภาชนะหรือวัสดุอื่นๆ ออกแบบเพื่อยับยั้งการเคลื่อนที่ หรือ
ทำ�ลายรถถัง ยานยนต์หุ้มเกราะ และยานยนต์ล้อ
2. ส่วนประกอบของทุ่นระเบิดดักรถถัง M 6 A 2 มีดังนี้
• ชนวน ใช้ชนวน M 603
• ดินนำ�หรือดินปะทุ อยู่ทางด้านล่างของชนวน
• ดินขยายการระเบิด M 120
• ดินระเบิดหลักดินระเบิด TNT 12 ปอนด์
• เปลือกทุ่นระเบิดเป็นโลหะ สีกากีแกมเขียว

เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 95
3. การแบ่งชนิดของทุ่นระเบิดดักรถถัง แบ่งออกเป็น
• ทุ่นระเบิดดักรถถังชนิดระเบิดอยู่กับที่
• ทุ่นระเบิดดักรถถังชนิดทำ�ลายทางดิ่ง
• ทุ่นระเบิดดักรถถังชนิดระเบิดทางราบ
ซึ่งทุ่นระเบิดดักรถถัง M 6 A 2 เป็นทุ่นระเบิดดักรถถังชนิด
ระเบิดอยู่กับที่ การทำ�งาน เมื่อมีน้ำ�หนักกด 300 – 400 ปอนด์ มากดทับ
บริเวณแป้นรับน้ำ�หนักกด

รูปที่ 4-91 ทุ่นระเบิดดักรถถัง M6A2


4. การติดตั้ง
• อธิบายถึง การเตรียมหลุมสำ�หรับฝังทุ่นระเบิด ขุดหลุมขนาด Ø ประมาณ 32 ซม. ลึกประมาณ 6 ซม.
เพื่อนำ�ทุ่นระเบิดลงฝัง โดยเมื่อฝังทุ่นระเบิดลงไปแล้วแป้นรับน้ำ�หนักกดของทุ่นระเบิดจะต้องอยู่เหนือระดับพื้นดิน
เดิมประมาณ 1 ซม. ดินที่ขุดขึ้นมาต้องนำ�มาใส่ไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้ เพื่อไม่ให้เป็นสิ่งบอกเหตุแก่ฝ่ายตรงข้าม

รูปที่ 4-92 ภาพการขุดหลุมสำ�หรับฝังทุ่นระเบิด


เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

• นำ�ทุ่นระเบิดดักรถถัง M 6 A 2 มาตรวจสอบความเรียบร้อยของทุ่นระเบิดอธิบายส่วนประกอบของทุ่น
ระเบิดดักรถถัง
1) ด้านบนมีแป้นรับน้ำ�หนักกด ซึ่งมีแป้นตั้งชนวนอยู่ตรงกลาง ที่แป้นตั้งชนวนมีตำ�แหน่งในการติดตั้ง
สามตำ�แหน่ง ได้แก่ ตำ�แหน่ง SAFE คือตำ�แหน่งปลอดภัย, ตำ�แหน่ง DANGER คือตำ�แหน่งอันตราย และตำ�แหน่ง
ARMED เป็นตำ�แหน่งพร้อมระเบิด
2) ทุ่นระเบิดดักรถถัง M 6 A 2 มีที่ทำ�กันเขยื้อน 2 แห่ง โดยใช้ชนวน
กันเขยื้อน M 1 ประกอบกับเครื่องจุดมาตรฐาน M 1 ดึง ติดตั้งด้านข้าง และ M 5
เลิกกดติดตั้งที่ด้านล่างของตัวทุ่น
3) ถอดแป้นตั้งชนวนออกมาตรวจสอบความเรียบร้อย ให้สังเกตเหล็ก
รูปเกือกม้าด้านล่างจะอยู่ด้านข้างขณะที่แป้นตั้งชนวนอยู่ที่ตำ�แหน่ง SAFE
แล้วลองหมุนแป้นตั้งชนวนให้มาอยู่ที่ตำ�แหน่ง ARMED สังเกตดูเหล็กรูปเกือกม้า
อีกครั้งจะอยู่ตรงกลาง แสดงว่าแป้นตั้งชนวนสมบูรณ์ ให้หมุนแป้นตั้งชนวนมายัง รูปที่ 4-93 แป้นตั้งชนวน
ตำ�แหน่ง SAFE อีกครั้งตรวจความเรียบร้อยของชนวน M 603 สังเกต
ดินปะทุด้านล่าง ปกติหรือไม่ และถอดคลิปนิรภัยออกจากชนวน M 603
โดยใช้ข้อนิ้วหัวแม่มือและข้อนิ้วชี้จับที่ตัวชนวนลักษณะหงายมือดึง
คลิปนิรภัยออกมาตรงๆ ไม่งัดขึ้นหรืองัดลง
4) ใส่ชนวน M 603 ในช่องติดตั้งชนวน โดยให้ส่วนรับน้ำ�หนัก
กดอยู่ด้านบน
5) ใส่แป้นตั้งชนวนเข้ากับตัวทุ่นระเบิด หมุนให้แน่น รูปที่ 4-94 ชนวน M 603 และคลิปนิรภัย

4 - 96 เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด
6) อธิบาย การฝังทุ่นระเบิด เมื่อฝังแล้ว ให้แป้นรับน้ำ�หนักกดอยู่เหนือ
ระดับพื้นดินเล็กน้อย ประมาณ 1 เซนติเมตร
7) การทำ�พร้อมระเบิด หมุนแป้นตั้งชนวนให้หัวลูกศรชี้ที่ตำ�แหน่ง ARMED
8) อธิบาย เมือ่ ทำ�การกลบดินและพรางแล้วควรให้มคี วามนูน 2 – 4 เซนติเมตร
9) อธิบาย ในการทำ�ให้ไม่พร้อมระเบิด ค่อยๆ รือ้ สิง่ ปกคุมออกจากทุน่ ระเบิด รูปที่ 4-95 ใส่แป้นตั้งชนวน
ตรวจหาชนวนกันเขยื้อนด้านข้าง โดยคุ้ยดินรอบๆ ทุ่นระเบิดออก คุ้ยลงไปถึงขอบล่างของทุ่นระเบิด ถ้าพบเครื่อง
จุดระเบิด M 1 ดึงให้ทำ�ให้ไม่พร้อมระเบิด โดยใส่สลักห้ามก่อนสลักขัด จากนั้นจึงแบ่งพื้นที่รอบทุ่นระเบิดออกเป็น 3
ส่วน ขุดทีละส่วนจากด้านนอกห่างทุ่นระเบิดประมาณ 1 ฟุต ลึกกว่าขอบล่างของทุ่นระเบิดประมาณ 6 นิ้ว ค่อยๆ
ใช้ลวด สอดเข้าไปใต้ตัวทุ่นระเบิดประมาณ 6 นิ้ว หากไม่ไปชนกับเครื่องจุดระเบิดให้กลบส่วนนั้นแล้วทำ�การขุดส่วน
ที่ 2 หรือส่วนที่ 3 ต่อไป ถ้าใช้ลวดตรวจแล้วไปชนกับเครื่องจุดระเบิด M 5 ค่อยๆ เซาะดินใต้ทุ่นระเบิดจนเห็นเครื่อง
จุดระเบิด นำ�ลวดใหญ่ใส่ในช่องสลักห้าม ให้ปลายลวดโผล่เหนือพื้นดินอีกด้านหนึ่ง งอปลายลวดทั้งสองด้าน และถ้า
ทำ�ได้ให้เอาลวดเล็กใส่ในช่องสลักขัดด้วย จากนั้นจึงหมุนแป้นตั้งชนวนให้หัวลูกศรชี้ที่ตำ�แหน่ง SAFE
10) อธิบาย ยกทุน่ ระเบิดขึน้ มาจากหลุม
11) ถอดแยกชนวนกันเขยือ้ นออกจากตัวทุน่ ระเบิด และเครือ่ งจุด หมุนแป้นตัง้ ชนวนออกจากตัวทุน่ ระเบิด
และนำ�ชนวน M 603 ออกมาใส่คลิปนิรภัย ปิดแป้นตัง้ ชนวนเข้ากับทุน่ ระเบิด
ขัน้ ตอนในการปฏิบตั ิ :
1. ให้ผู้เข้ารับการฝึกเตรียมหลุม เพื่อจะทำ�การฝังทุ่นระเบิด
2. ให้ผู้เข้ารับการฝึกนำ�ทุ่นระเบิดฝึก M 12 มาอธิบายเกี่ยวกับทุ่นระเบิดดักรถถัง M6 A2 พอสังเขป
3. ให้ผู้เข้ารับการฝึกทำ�การตั้งชนวน ใช้ทุ่นระเบิดฝึก M 12
• ถอดแป้นตั้งชนวนออกมาตรวจสอบความเรียบร้อย ให้สังเกตเหล็กรูปเกือกม้าด้านล่างจะอยู่ดา้ นข้าง
ขณะทีแ่ ป้นตัง้ ชนวนอยูท่ ต่ี �ำ แหน่ง SAFE แล้วลองหมุนแป้นตัง้ ชนวนให้มาอยูท่ ต่ี �ำ แหน่ง ARMED สังเกตดูเหล็กรูปเกือก
ม้าอีกครั้งจะอยู่ตรงกลาง แสดงว่าแป้นตั้งชนวนสมบูรณ์ ให้หมุนแป้นตั้งชนวนมายังตำ�แหน่ง SAFE อีกครั้ง

เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ
• ตรวจความเรียบร้อยของชนวนฝึก M 604 ดูว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่ และถอดคลิปนิรภัยออก
จากชนวนฝึก M 604 โดยใช้ขอ้ นิว้ หัวแม่มอื และข้อนิว้ ชีจ้ บั ทีต่ วั ชนวนลักษณะหงายมือ ดึงคลิปนิรภัยออกมาตรงๆ ไม่งดั ขึน้
หรืองัดลง
• ใส่ชนวน M 604 ในช่องติดตั้งชนวน โดยให้ส่วนรับน้ำ�หนักกดอยู่ด้านบน
• ใส่แป้นตั้งชนวนเข้ากับตัวทุ่นระเบิด หมุนให้แน่น

รูปที่ 4-96 ใส่แป้นตั้งชนวน


4. ให้ผู้เข้ารับการฝึกทำ�การฝังทุ่นระเบิดในหลุมที่เตรียมไว้ โดยให้แป้นรับน้ำ�หนักกดอยู่เหนือระดับ
พื้นดินเล็กน้อย ประมาณ 1 เซนติเมตร
5. ให้ผู้เข้ารับการฝึกทำ�พร้อมระเบิด โดยหมุนแป้นตั้งชนวนให้หัวลูกศรชี้ที่ตำ�แหน่ง ARMED
6. ให้ผู้เข้ารับการฝึกทำ�การกลบดินและพราง ควรให้มีความนูน 2 – 4 เซนติเมตร
7. ให้ผู้เข้ารับการฝึกทำ�ไม่พร้อมระเบิด

เทคนิคสงครามทุ่นระเบิด 4 - 97
• ให้ผู้เข้ารับการฝึกค่อยๆ รื้อสิ่งปกคลุมออกจากทุ่นระเบิด ตรวจหาชนวนกันเขยื้อนด้านข้าง โดยคุ้ยดิน
รอบๆ ทุ่นระเบิดออก โดยคุ้ยลงไปถึงขอบล่างของทุ่นระเบิด จากนั้นจึงแบ่งพื้นที่รอบทุ่นระเบิดออกเป็น 3 ส่วน
ขุดทีละส่วนจากด้านนอกห่างทุ่นระเบิดประมาณ 1 ฟุต ลึกกว่าขอบล่างของทุ่นระเบิดประมาณ 6 นิ้ว ค่อยๆ ใช้
ลวดสอดเข้าไปใต้ตวั ทุน่ ระเบิด ประมาณ 6 นิว้ จากนัน้ ให้กลบส่วนที่ 1 แล้วทำ�การขุดส่วนที่ 2 และ ส่วนที่ 3 ต่อไป
จากนั้นจึงหมุนแป้นตั้งชนวนให้หัวลูกศรชี้ที่ตำ�แหน่ง SAFE
• ถอดแป้นตั้งชนวนออกจากตัวทุ่น และนำ�ชนวนออกมาใส่คลิปนิรภัย ปิดแป้นตั้งชนวนเข้ากับทุ่นระเบิด
• ยกทุ่นระเบิดขึ้นมาจากหลุม
มาตรฐานในการตรวจสอบ :
1. มีการตรวจสอบความเรียบร้อยของทุ่นระเบิด และชนวน
• ตรวจสอบแป้นตั้งชนวนว่าใช้งานได้
• ตรวจสอบว่ามีช่องสำ�หรับทำ�กันเขยื้อนด้านข้าง และด้านล่าง
• ตรวจสอบช่องบรรจุชนวน
• ตรวจสอบชนวน M 603
2. พิจารณาพื้นที่วางเหมาะสมกับเป้าหมาย
3. ลำ�ดับและขั้นตอนการติดตั้งและทำ�พร้อมระเบิดถูกต้อง
• เตรียมหลุมสำ�หรับฝังทุ่นระเบิดที่เหมาะสม โดยดินที่ขุดต้องนำ�มาใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้
• ถอดคลิปนิรภัยออกจากชนวนด้วยท่าที่ปลอดภัย
• ทำ�การตั้งชนวนได้ถูกต้อง คือยังไม่ทำ�พร้อมระเบิด
• ทำ�พร้อมระเบิด โดยหมุนแป้นตั้งชนวนไปยังตำ�แหน่ง ARMED ไม่อยู่ระหว่าง DANGER กับ ARMED
• ระยะเวลาในการติดตั้งและทำ�พร้อมระเบิดไม่เกิน 15 นาที
4. มีการฝังและพรางอย่างเหมาะสม
• ไม่ฝังทุ่นระเบิดในที่ลุ่มเป็นแอ่ง
เทคนิคและการฝึกเพื่อพูนทักษะ

• เมื่อฝังทุ่นระเบิดแล้ว แป้นรับน้ำ�หนักกดอยู่สูงจากระดับพื้นดินเล็กน้อย ประมาณ 1 เซนติเมตร


• เมื่อทำ�การกลบดิน และพรางแล้วควรให้มีความนูน 2 – 4 เซนติเมตร
5. ลำ�ดับและขั้นตอนการรื้อถอนถูกต้อง ปลอดภัย
• รื้อสิ่งปกคุมออกจากทุ่นระเบิด ด้วยความระมัดระวัง
• ตรวจหาชนวนกันเขยื้อนด้านข้าง
• ตรวจหาชนวนกันเขยื้อนด้านล่าง
• การทำ�ให้ไม่พร้อมระเบิด โดยหมุนแป้นตั้งชนวน ให้หัวลูกศรชี้ที่ไปยังตำ�แหน่ง SAFE
• การแยกชนวนออกจากทุ่นระเบิด โดยถอดแป้นตั้งชนวนออกจากตัวทุ่น และนำ�ชนวนออกมาใส่
คลิปนิรภัย ปิดแป้นตั้งชนวนเข้ากับทุ่นระเบิด
• ยกทุ่นระเบิดขึ้นมาจากหลุม
• ระยะเวลาในการรื้อถอนทุ่นระเบิดไม่เกิน 30 นาที

----------------
เอกสารอ้างอิง : 1. คู่มือการฝึกผู้ชำ�นาญทหารช่างของเหล่าทหารช่าง พ.ศ.2551
2. รส. 5-34 หลักนิยมกองทัพบกว่าด้วยคู่มือทหารช่างสนาม ก.ย.2552

4 - 98
ตอนที่ 6
ข้อมูลสนามรบทีม่ คี วามสำคัญต่อการปฏิบตั กิ ารทางยุทธวิธี
กล่าวนำ
ในการปฏิบัติการทางยุทธวิธีของผู้บังคับหน่วยทหารช่างสนามนั้น นอกจากจะต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบ
ของการดำเนินกลยุทธ์ การยิงสนับสนุน การสนับสนุนการรบและการสนับสนุนการช่วยรบของหน่วยแล้ว ผู้บังคับหน่วย
จะต้องคำนึงถึงข้อมูลต่างๆที่มีความสำคัญต่อการวางแผนและการปฏิบัติทางยุทธวิธีด้วย ซึ่งเนื้อหาในตอนที่ 6 นี้ จะ
กล่าวถึงข้อมูลต่างๆ ในสนามรบที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการปฏิบัติภารกิจของหน่วย โดยข้อมูลเหล่านี้
จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ ผู้บังคับหน่วย ได้ทบทวน เตือนความจำ หรือใช้เป็นเครื่องมือ ในการวางแผนการปฏิบัติภารกิจต่าง
ๆอย่างสมบูรณ์และครอบคลุมในด้านต่างๆ ส่งผลให้หน่วยสามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบจากหน่วยเหนือได้
ประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ


ข้อมูลสนามรบทีม่ คี วามสำคัญต่อการปฏิบตั กิ ารทางยุทธวิธ ี
• ข้อพิจารณาพื้นฐานทางยุทธวิธี ปัจจัยมูลฐาน METT – TC
• ระบบปฏิบัติการในสนามรบ 7 ประการ
• การใช้รูปขบวนในสนามรบ เทคนิคการเคลื่อนที่ของหน่วยทหารช่างสนาม
และการใช้ทัศนสัญญาณ
• การดัดแปลงที่มั่นในสนามรบ
• มิติสนามรบ
• สัญลักษณ์และเครื่องหมายทางทหาร
• คำสั่งการรบและตัวอย่าง
• แผ่นบริวารยุทธการ แผ่นบริวารเครื่องกีดขวางแการช่วยรบในรูปแบบทางยุทธวิธี
• แผนการยิง แผ่นบริวารการยิงสนับสนุน แผ่นจดระยะ
• แบบรายงานต่างๆ
• แบบรายการเบิกจ่ายยุทโธปกรณ์ และ สป.ประเภทต่างๆ
• การปฏิบัติร่วมกับอากาศยาน
• อาวุธ ยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทย
• อาวุธ ยุทโธปกรณ์ ที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา
• วัตถุระเบิดทางการทหารและวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง (IED)
• กฎการใช้กำลัง (Rules of Engagement)
• กฎหมายว่าด้วยการสงครามทางบก (The Law of Land Warfare)

1. ข้อพิจารณาพื้นฐานทางยุทธวิธีปัจจัยมูลฐาน METT – TC
เมื่อผู้บังคับหน่วยได้รับภารกิจแล้วจะทำการประมาณสถานการณ์ โดยจะต้องใช้ปัจจัยมูลฐาน (METT-TC) ซี่ง
ในปัจจุบันมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสนามรบมากขึ้น เช่น ประชากร, สังคม, วัฒนธรรม จึงต้องเพิ่มปัจจัย เรื่องข้อ
ข้อมูลสนามรบ

พิจารณาด้านพลเรือน (Civil consideration) เพื่อให้ ผบ.หน่วยได้นำมาวิเคราะห์ และสามารถประมาณสถานการณ์ได้


ครอบคลุมเหมาะสมต่อสนามรบในปัจจุบัน

ปัจจัย METT-TC 6 - 
M = Mission (ภารกิจ) ผบ.หน่วย ต้องวิเคราะห์ภารกิจจากคำสั่งที่ได้รับมอบ ได้แก่ ภารกิจ, เจตนารมณ์
ของ ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป 2 ระดับ, การปฏิบัติทางยุทธวิธี และการช่วยรบ แล้วกำหนดกิจสำคัญยิง่ (essential task
) พร้อมทัง้ ความมุง่ หมายของกิจที่แน่ชัด โดยจะระบุถึงงาน ที่ต้องปฏิบัติให้สำเร็จ , ใครที่ต้องปฏิบัติงานนั้น, ที่ไหน,
เมื่อใด และ ทำไม
E = Enemy (ข้าศึก) พิจารณา ข้อมูลด้านกำลังและ ยุทโธปกรณ์, ที่ตั้ง, การปฏิบัติ และ ขีดความสามารถ
ของข้าศึก นำมากำหนดหนทางปฏิบัติที่เป็นไปได้มากที่สุดของข้าศึกที่กระทบต่อฝ่ายเรา และจุดอ่อนที่สำคัญที่สุดของ
ฝ่ายข้าศึก
T = Terrain and Weather (ภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศ)
การวิเคราะห์ภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศทำให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลกระทบ ต่อกำลังฝ่ายเราและฝ่าย
ข้าศึก ตามข้อพิจารณาลักษณะภูมิประเทศทางทหาร (OCOKA)
O = (Observation and field to fire) การตรวจการณ์และ พื้นการยิงพิจารณาที่ตั้งบนพื้นดิน ซึ่ง
สามารถตรวจการณ์ฝ่ายข้าศึกได้ทั่วทั้งพื้นที่ปฏิบัติการ สำหรับพื้นการยิงนั้นพิจารณาตามคุณลักษณะของอาวุธแต่ละ
ชนิดที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่น ระยะยิงหวังผลสูงสุด และระบบยิง/เวลาแล่นของอาวุธต่อสูร้ ถถังชนิดต่างๆ เป็นต้น
C = (Cover and Concealment) การกำบังและการซ่อนพราง พิจารณาลักษณะภูมิประเทศ ที่ให้การ
ป้องกันการยิงจากอาวุธยิงเล็งตรงและเล็งจำลอง และให้การป้องกันการตรวจการณ์ของข้าศึกทั้งจากพื้นดินและทาง
อากาศ
O = (Obstacle) เครื่องกีดขวาง ในการเข้าตีจะต้องพิจารณาผลกระทบของภูมิประเทศบังคับที่จะ
ขัดขวางการดำเนินกลยุทธ์ฝ่ายเรา ในการตั้งรับพิจารณาผสมผสานเครื่องกีดขวางที่มีอยู่เข้ากับลักษณะภูมิประเทศ
เพื่อขัดขวาง หันเห ตรึง หรือสกัดกั้นกำลังฝ่ายข้าศึก และเพื่อป้องกันกำลังฝ่ายเราจากการจู่โจมของข้าศึก
K = (Key terrain) ภูมิประเทศสำคัญ หมายถึงตำบลหรือพื้นที่ใด ซึ่งหาก ฝ่ายใดยึดหรือครอบครอง
เอาไว้ได้จะเกิดความได้เปรียบอย่างเห็นได้ชัด ในการเลือกที่ตั้งที่สำคัญ เช่น ที่หมาย ที่ตั้งส่วนสนับสนุนการเข้าตี
เส้นทางเข้าตี ที่มั่นตั้งรับ ฯลฯ เหล่านี้จะพิจารณาใช้ภูมิประเทศสำคัญเป็นหลัก
A = (Avenue of Approach) แนวทางเคลื่อนที่ หมายถึงเส้นทางบนพื้นดินหรือในอากาศสำหรับ
หน่วยที่เข้าตีขนาดใดขนาดหนึ่ง ทิศทางมุ่งไปยังที่หมาย หรือผ่านไปตามแนวภูมิประเทศสำคัญ ในการเข้าตี แนวทาง
เคลื่อนที่ที่ดีคือ แนวทางที่ให้การระวังป้องกันสูงสุดและมุ่งไปสู่บริเวณที่เป็นจุดอ่อนของข้าศึก ในการตั้งรับต้องวาง
อาวุธยิงไว้ตามแนวทางเคลื่อนที่ที่คาดว่าข้าศึกน่าจะใช้มากที่สุด
• ลมฟ้าอากาศ พิจารณาผลกระทบทีม่ ตี อ่ การดำเนินกลยุทธ์, ทัศนวิสยั , การสนับสนุนทางอากาศ,
ความสามารถในการจราจร, การสนับสนุนการรบอืน่ ๆและ การสนับสนุนการช่วยรบ
T = Troop and Support (กำลังที่มีอยู่) พิจารณาสถานภาพกำลังพลของหน่วยรอง คุณลักษณะขีดความ
สามารถของระบบอาวุธ และขีดความสามารถของหน่วยที่มาขึ้นสมทบก่อนที่จะมอบกิจเฉพาะแก่หน่วยรอง
T = Time Available (เวลาที่มีอยู่) วางแผนการใช้เวลาโดยยึดถือแผนขั้นต้นเป็นหลัก และปรับแก้ตาม
สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
C = Civil consideration (การปฏิบัติการกิจการพลเรือน) ข้อพิจารณาในด้านกิจการ พลเรือนทีเ่ กีย่ วข้องกับ
วัฒนธรรม, ประชากร, องค์กร, ผูน้ ำในท้องที่ และรวมถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติภารกิจทั้งทาง
ตรงและทางอ้อม

--------------
เอกสารอ้างอิง : รส.7 - 8 คู่มือราชการสนามว่าด้วย หมู่ หมวดปืนเล็กทหารราบ พ.ศ.2548

ข้อมูลสนามรบ

6 -  ปั จจัย METT-TC
2. ระบบปฏิบัติการในสนามรบ 7 ประการ
ระบบปฏิบัติการในสนามรบ ซึ่งมีทั้งหมด 7 ระบบ จะทำให้ผู้บังคับหน่วยสามารถวิเคราะห์งาน ที่แตกต่างกันไป
ของหน่วยในการรบ โดยแผนการปฏิบัติของผู้บังคับหน่วย จะสนธิแต่ละระบบดังกล่าวนี้ เพื่อให้บรรลุภารกิจอย่างมี
ประสิทธิภาพ
1. ระบบการข่าวกรอง ผู้บังคับกองร้อยแม้ว่าโดยปกติจะอาศัยข่าวกรองจากหน่วยเหนือเป็นหลัก ในการ
ปฏิบัติทุกครั้ง แต่อย่างไรก็ตามผู้บังคับกองร้อยสามารถรวบรวมข่าวสารที่สำคัญตามที่ต้องการ เพื่อให้แผนการปฏิบัติ
ของตนมีความสมบูรณ์ ทั้งนี้ผู้บังคับกองร้อยสามารถมอบหมายงานด้านการลาดตระเวน และระวังป้องกันให้กับหมวด
ปืนเล็กของตน สิ่งอุปกรณ์ในอัตรา เช่น เครื่องมือแจ้งเตือน และเครื่องมือตรวจการณ์ในเวลากลางคืน จะช่วยเพิ่ม
ขีดความสามารถในการรวบรวมข่าวสารข้าศึกให้กับกองร้อย
2. ระบบการดำเนินกลยุทธ์ เครื่องมือหลักในการดำเนินกลยุทธ์ของ ผบ.ร้อย. ก็คือ มว.ปล. ซึ่งมีอยู่ใน
อัตรา 3 มว.ปล. จะทำให้ ผบ.ร้อย.สามารถดำเนินกลยุทธ์ได้อย่างอิสระ การดำเนินกลยุทธ์และการวางกำลัง ของ มว
.ปล. จะต้องอำนวยให้ ผบ.ร้อย. สามารถใช้อำนาจการยิงกดดันไปยังข้าศึก ผบ.ร้อย. จะต้องรู้ถึงขีดความสามารถของ
มว.ปล. การใช้อาวุธต่อสู้รถถังและเครื่องยิงลูกระเบิดเป็นอย่างดี เพื่อให้มีอำนาจการยิง ที่ส่งผลกระทบต่อข้าศึก
อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ระบบการยิงสนับสนุน ระบบการยิงสนับสนุนหลักตามอัตราสำหรับ ร้อย.ร.(ก) ก็คือ มว.อาวุธ (ค.81 มม.)
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำให้ ผบ.ร้อย. สามารถสนองตอบ การร้องขอการยิงสนับสนุนภายในกองร้อย ได้อย่างทันที ผบ.
ร้อย. จะต้องรอบรู้ถึงขีดความสามารถและขีดจำกัดของอาวุธดังกล่าวนี้ รวมถึงอาวุธยิงสนับสนุนที่ได้รับมอบจาก
หน่วยเหนือ พร้อมทัง้ ต้องสามารถรวมอำนาจการยิงได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกการปฏิบตั กิ ารยุทธ์
4. ระบบความคล่องแคล่ว การต่อต้านความคล่องแคล่วและการดำรงความอยูร่ อด แม้ว่าจะไม่ได้รับการ
สนับสนุนเพิ่มเติม ในระหว่างการปฏิบัติ ร้อย.ร. อาจได้รับการสนับสนุนจากหน่วยเหนือและเครื่องมือ ช่างสนาม
ผบ.ร้อย. ต้องมีความเข้าใจถึงขีดความสามารถของหน่วยและเครื่องมือช่างสนาม จะต้องกำหนด ความเร่งด่วนของ
งานช่างสนาม และต้องมั่นใจได้ว่างานช่างสนามทั้งปวง สามารถสนับสนุนแผนการดำเนินกลยุทธ์และการยิง
สนับสนุน ให้กับกำลังฝ่ายเดียวกันได้ตามลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
5. ระบบการป้องกันภัยทางอากาศ หนทางปฏิบัติหลักในการป้องกันภัยทางอากาศ คือ การปฏิบัติตาม
มาตรการเชิงรับ เพื่อป้องกันการตรวจจับและโจมตีจากข้าศึก การเคลื่อนที่ภายใต้ทัศนวิสัยที่จำกัด การใช้การกำบัง
และการซ่อนพราง รวมทั้งการพรางอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นมาตรการเชิงรับหลักที่กองร้อยใช้ นอกจากนี้
กองร้อยยังสามารถใช้ระบบอาวุธยิงเล็งตรงในการป้องกันภัยทางอากาศได้เช่นเดียวกัน
6. ระบบการช่วยรบ กองร้อย มีโครงสร้างการสนับสนุนการช่วยรบตามอัตราอย่างจำกัด ซึ่ง ผบ.ร้อย.จะต้อง
มีการปรับปรุงเทคนิคทั้งการเพิ่มเติมสิ่งอุปกรณ์ การรักษาพยาบาลและการส่งกลับสายแพทย์ โดยมี รอง ผบ.ร้อย.
จ่ากองร้อย และนายสิบส่งกำลัง เป็นผู้ปฏิบัติงานหลักทางด้านระบบงานช่วยรบของกองร้อย
7. ระบบการบังคับบัญชาและการควบคุม ประกอบด้วยกิจกรรมและกรรมวิธีที่ใช้โดยผูบ้ งั คับบัญชา เพือ่
วางแผน สัง่ การ ประสานงาน และควบคุมกองร้อย ซึง่ จะรวมไปถึงกำลังพลและสิ่งอุปกรณ์ที่ช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาใน
การบังคับบัญชาและควบคุม ผบ.ร้อย. ใช้หน่วยของตนให้เหมาะสมสอดคล้องกับแนวทางและคำสั่งที่ได้รับจาก
กองพัน โดยกระจายอำนาจให้กับ ผบ.หน่วยรอง และแบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบ ให้หน่วยรองปฏิบัติภายใต้
กรอบแนวความคิดของตนเอง ดังนั้น ผบ.ร้อย. จึงต้องกำหนดเจตนารมณ์ของตนให้ชัดเจน เพื่อให้ทุกคนภายในหน่วย
สามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุภารกิจโดยสูญเสียกำลังพลและยุทโธปกรณ์น้อยที่สุด

--------------
เอกสารอ้างอิง : รส.71 - 1 คู่มือราชการสนามว่าด้วย หมู่ หมวดปืนเล็กทหารราบ

ข้อมูลสนามรบ

ระบบปฏิบัติการในสนามรบ 6 - 

3. การเคลื่อนย้ายทางยุทธวิธ ี
1.การเดินทางยุทธวิธี คือ การเคลื่อนย้ายที่กระทำภายใต้สภาพการรบ หรือในพื้นที่ที่อยู่ในการคุกคามของข้าศึก
• รูปขบวน
1) ในการเคลื่อนย้ายทั้งกองพันจะมีลำดับขบวน คือ ร้อย.1, ร้อย.2, ร้อย. 3, ร้อย.4 และร้อย.บก.และ บร.
2) ในการเคลื่อนย้ายทีละกองร้อยการจัดยานพาหนะในขบวนของกองร้อย รถ ผบ.ร้อย.,รถ มว.1,รถ มว.2 ,
รถ รอง ผบ.ร้อย. ,รถ บก.ร้อย. ,รถ มว. 3
3) การปฏิบัติระหว่างการเคลื่อนย้าย
• ยานพาหนะทุกคันจัดยามอากาศได้ 1 คน เสมอ
• อาวุธกลต่างๆ อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา
• กำลังพลที่นั่งอยู่ในรถ อาวุธประจำกาย ต้องพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา
• การควบคุมการเดิน มาตรการควบคุมต่อไปนี้จะช่วยในการควบคุมการเคลื่อนย้ายให้เป็นไปโดยราบรื่น
1) จุดเริ่มต้น (จร.) เป็นจุดที่สังเกตเห็นได้ง่าย ทางพื้นดินและปรากฏอยู่ในแผนที่ด้วย รถคันแรกต้องแผนจุด
เริ่มต้นตามเวลาที่กำหนด การพิจารณาจุดเริ่มต้นจะต้องเป็นจุดที่สะดวกแก่ทุกกองร้อยในการเคลื่อนย้ายผ่านจุดนี้
2) จุดตรวจสอบ (จต.) หรือจุดควบคุม (จค.) เป็นจุดที่เห็นได้ชัดในแผนที่ใช้สำหรับการเคลื่อนที่ของขบวน
และอาจใช้เป็นจุดอ้างอิงหรือเป้าหมายในการยิงคุ้มครองขบวนก็ได้
3) จุดแยกขบวน (จย.) เป็นจุดที่เห็นเด่นชัดในภูมิประเทศ และปรากฏอยู่ในแผนที่ รถคันสุดท้ายของขบวน
จะต้องผ่านจุดนี้ตามเวลาที่กำหนด ณ จุดแยกขบวนนี้จะมีคนนำทาง ของแต่ละขบวนมารับ เพื่อนำขบวนของตนเอง
เข้าไปที่ตั้งต่อไป ซึ่งไม่ควรใช้บริเวณที่เป็นช่องเขา เนินเขา หรือโค้งหักมุม
4) จุดปล่อย (จป.) เป็นจุดที่เห็นเด่นชัดในภูมิประเทศ และปรากฏในแผนที่เพื่อให้หน่วยรองมีเสรี ในการ
บังคับบัญชาหน่วยของตนเองในการปฏิบัติ
5) จุดนัดพบ คือจุดที่เด่นชัดและปรากฏในภูมิประเทศ และในแผนที่ใช้สำหรับรวบรวมขบวน เมื่อขบวนต้อง
กระจัดกระจาย เพราะถูกข้าศึกโจมตี จุดนัดพบนี้ควรอยู่ใกล้เส้นทางรองที่จะเข้าสู่ที่ตั้งแห่งใหม่
• ขบวนเดิน คือ ส่วนประกอบทั้งหมดของขบวนที่เคลื่อนย้ายในครั้งหนึ่งๆ โดยใช้เส้นทางเดียวกัน ขบวนเดิน
ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญคือ ส่วนหัวขบวน ส่วนใหญ่ (ประกอบด้วยตอนการเดิน และหน่วยการเดินหลายหน่วย)
และส่วนท้ายขบวน
1) ขบวนปิด ระยะห่างระหว่างรถแต่ละคัน 25 เมตร ในเวลากลางวัน ส่วนในเวลากลางคืน ห่างกันในระยะ
ที่พลขับสามารถมองเห็นไฟท้ายของรถคันหน้าได้ชัดเจน และใช้ไฟพราง
2) ขบวนเปิด ระยะห่างระหว่างรถเพิ่มขึ้นคือ 50 เมตร หรือมากกว่าแล้วแต่สถานการณ์ ใช้ในเวลากลางวัน
3) ขบวนทยอย หรือขบวนแทรกซึมจะปล่อยเป็นกลุ่ม ระยะห่างไม่แน่นอน เหมาะสำหรับการเดินทาง
ยุทธวิธี เมื่อมีเวลาพอ ถนนว่าง ควรใช้เฉพาะเมื่อถูกข้าศึกคุกคามอย่างหนัก
• การหยุดพักขบวน
1) สำหรับการเคลื่อนย้ายทางยุทธวิธี ตามปกติแล้วจะไม่มีการหยุด
2) การเดินทางเป็นเวลานานจากพื้นที่ส่วนหลังไป พื้นที่การรบ หากจำเป็นจะต้องหยุดพักเป็นระยะๆ พื้นที่ที่
เหมาะสมสำหรับการหยุดพักคือ พื้นที่ที่เป็นป่าหรือทางโค้ง เพื่อมิให้ขบวนเป็นเส้นตรงอันจะเป็นเป้าหมายที่ดีในการ
โจมตีทางอากาศ
3) เมื่อหยุดพักจะต้องดำเนินการดังนี้
• ยานพาหนะไม่ปิดระยะเข้ามาชิดกันหรือถ้าเป็นไปได้ควรออกนอกถนน
• ระยะประมาณ 200 เมตร จาก หัว – ท้าย ขบวนควรจะตรวจการณ์ได้ชัดเจนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ หรือ
การตรวจพบจากการลาดตระเวนของข้าศึก
• เมื่อหยุดพักให้ลงจากยานพาหนะทั้งหมด และอยู่นอกถนน ยกเว้นพลประจำ ปก.93
ข้อมูลสนามรบ

• พลขับ ปรนนิบัติบำรุงยานพาหนะของตนและตรวจสอบ แก้ไข ซ่อมบำรุง ในส่วนที่ชำรุด


• ในกรณียานพาหนะชำรุดเสียหายเพื่อมิให้เสียเวลาในการปฏิบัติภารกิจ จะต้องถ่ายกำลังพลและ
6 -  การเคลื
่อนย้ายทางยุทธวิธี
ยุทโธปกรณ์ไปกับยานพาหนะคันอื่น โดยทิ้งพลประจำและชุดช่างซ่อมบำรุงให้ดำเนินการต่อไป
• ขบวนการเคลื่อนย้ายทางยุทธวิธีในเวลากลางวัน จะไม่เปิดไฟหน้า ของยานพาหนะแต่ในเวลากลางคืนจะ
ใช้ไฟพราง
• การเคลื่อนย้ายในการควบคุม จะใช้วิทยุและทัศนสัญญาณในการควบคุมขบวน ซึ่งโดยมากจะใช้วิทยุเป็น
หลัก
• การปฏิบัติของขบวนเคลื่อนย้ายเมื่อถูกโจมตี
(1) การปฏิบัติเมื่อขบวนถูกยิงด้วยปืนใหญ่
• พยายามเคลื่อนที่ออกจากพื้นที่อันตรายโดยเร็วที่สุด
• รายงานสถานการณ์ให้หน่วยเหนือทราบโดยเร็วที่สุด
(2) การปฏิบัติเมื่อขบวนถูกโจมตีทางอากาศ
• ยิงโต้ตอบด้วยอาวุธอัตโนมัติ (ปก.93, ปก.เอ็ม. 60)
• ขณะเดียวกันให้กระจายกำลังออกเป็น 2 ฟากของถนน โดยวางกำลังสลับฟันปลา การยิงอากาศยานที่
มีสมรรถนะสูงนั้น ทุกคนจะต้องทำการยิงเป็นฉากหรือกำแพงกระสุน ตัดหน้าอากาศยานไว้ด้วยอัตราการยิงเร็วที่สุด
อย่างต่อเนื่อง
(3) เมื่อถูกโจมตีทางภาคพื้นดิน การซุ่มโจมตีขบวนยานพาหนะมี 2 แบบ คือการซุ่มโจมตีประกอบกับการ
ปิดกั้นถนน และการซุ่มโจมตีที่ไม่ปิดกั้นถนน การตอบโต้การซุ่มโจมตีทั้ง 2 แบบ มีหลักการเหมือนกัน กล่าวคือ นำ
กำลังออกจากพื้นที่สังหารโดยเร็วที่สุด แล้วทำลายข้าศึกด้วยการยิง
• การปฏิบัติ เมื่อถูกซุ่มโจมตีประกอบกับการปิดกั้นถนน เมื่อถูกซุ่มโจมตีแบบนี้ รถขบวนของกองร้อย ไม่
สามารถเคลื่อนที่ต่อไปได้หรือถอนตัวกลับ เมื่ออยู่ในพื้นที่สังหารเป็นอันตรายมากยิ่งขึ้น
• หลักการตอบโต้ฉับพลันคือ
1) ทุกคนเปิดฉากการยิงอย่างหนาแน่นและรุนแรงไปยังพื้นที่ที่คาดว่าข้าศึกจะวางกำลังอยู่ ลูกระเบิดขว้าง
เอ็ม. 79 เป็นอาวุธที่เหมาะสม
2) รถที่อยู่ในพื้นที่สังหารซึ่งไม่สามารถวิ่งผ่านไป หรือถอยออกไปได้ ให้จอดแล้วให้กำลังพลทุกนายลงจาก
รถอย่างรวดเร็ว เข้ายึดพื้นที่ตามกำหนด และซักซ้อมไว้แล้ว หากมีระเบิดควันกำบัง การปฏิบัติตอนนี้อาจจะมี
ประโยชน์มาก
3) รวมกำลังตรึงไว้อย่างหนาแน่น อย่าให้ข้าศึกมีเสรีในการปฏิบัติได้ แล้วขอให้กำลังส่วนอื่นที่อยู่นอก
พื้นที่สังหารดำเนินกลยุทธ์เข้าทำลายข้าศึก
4) รวมกำลังทั้งหมดเข้าตีข้าศึก
5) รถที่มีเกราะหรือสิ่งป้องกันแข็งแรง อาจไม่ต้องลงจากรถโดยทันทีก็ได้ ให้เปิดฉากการยิงตอบโต้ ด้วย
อาวุธทุกชนิดที่มีอยู่ จนกระทั่งการยิงของข้าศึกสงบหรือเบาบางลง หรือได้รับการยิงสนับสนุนจากฝ่ายเราอย่าง
เพียงพอแล้ว จึงรีบลงจากรถเพื่อรวมกำลังโต้ตอบทำลายข้าศึกต่อไป
6) รถที่อยู่นอกพื้นที่สังหาร ให้รีบหยุดและทำการยิงตอบโต้ข้าศึกอย่างรุนแรง ด้วยอาวุธทุกชนิด เพื่อลด
ความกดดันจากพื้นที่สังหาร
7) รวมกำลังเข้าดำเนินกลยุทธ์เข้าตีทางปีกของข้าศึกในทันทีที่ทำได้
8) รายงานให้หน่วยเหนือทราบ และขอความช่วยเหลือจากส่วนอื่นๆ ฮ. ติดอาวุธ , บ. โจมตี รวมทั้ง
หน่วยเคลื่อนที่เร็วส่วนอื่นๆ ถ้ามีการสนับสนุน
• การปฏิบัติเมื่อถูกซุ่มโจมตีโดยไม่ปิดกั้นถนน เมื่อกองร้อยถูกซุ่มโจมตีให้ปฏิบัติดังนี้
1) รถที่อยู่ในพื้นที่สังหารให้เพิ่มความเร็ววิ่งผ่านไปโดยเร็ว พร้อมกับเปิดฉากการยิงด้วยอาวุธทุกชนิดที่มี
อยู่
2) รถที่ยังไม่เข้าพื้นที่สังหารให้หยุดรถ แล้วทำการระดมยิงข้าศึกอย่างรุนแรง เพื่อช่วยเหลือส่วนที่อยู่ใน
ข้อมูลสนามรบ

พื้นที่สังหาร ให้หลุดรอดออกไปดำเนินกลยุทธ์เข้าตีทางปีกทำลายข้าศึก
3) รถที่ชำรุดหรือไม่สามารถวิ่งผ่านไปได้ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 1)

การเคลื่อนย้ายทางยุทธวิธี 6 - 
2. การลาดตระเวนเลือกที่รวมพล
• ขนาดที่รวมพล ขนาดที่รวมพลไม่มีขนาดที่แน่นอน แต่อาจจะประมาณขนาดเพื่อการวางแผนได้ดังนี้
1) กองพัน ช.สนาม ใช้พื้นที่ประมาณ 900 X 900 ม. ถึง 5 ตารางกิโลเมตร
2) กองร้อย ช.สนาม 1 กองร้อยใช้พื้นที่ประมาณ 300 X 300 ม. ถึง 1 ตารางกิโลเมตร
3) กองร้อย บก.ฯ ใช้พื้นที่ประมาณ 600 X 600 ม. ถึง 1 ตารางกิโลเมตร
• การลาดตระเวน
1) การจัดชุดลาดตระเวน
• กองพันมีรถดังนี้
(1) รยบ. ¼ ตัน ของ ผบ.พัน.(ผบ.พัน. ,ฝอ. 3)
(2) รยบ. ¼ ตัน ของ น.สื่อสาร ฝอ. 2
(3) รยบ. ¼ ตัน ร้อย บก. และ บริการ
• กองร้อย
(1) รยบ. ¼ ตัน ของ ผบ.ร้อย.
(2) รยบ. ¼ ตัน ของ จ่ากองร้อย
• เมื่อจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายขบวนสัมภาระจะประกอบด้วย
(1) รยบ. ¼ ตัน ของ รอง. ผบ. พัน.
(2) รยบ. ¼ ตัน ของ ฝอ. 4
(3) รยบ. ¼ ตัน ของ มว. เครื่องมือ
2) การสั่งการและการรับคำสั่งการสั่งการของ ผบ.พัน. และ ผบ.ร้อย. แก่ชุดลาดตระเวนที่ตั้ง ใช้แบบฟอร์มคำ
สั่งยุทธการ 5 ข้อ ซึ่งปกติแล้วจะออกคำสั่งด้วยวาจาเสมอ
3) การดำเนินการลาดตระเวน
• เมื่อถึงเวลาที่ ผบ.หน่วย กำหนดให้ชุดลาดตระเวนพร้อมออกเดินทาง ให้ ผบ.หน่วยนำชุดลาดตระเวนที่
ขึ้นตรวจ ผ่านจุดเริ่มต้นตามลำดับขบวนที่ได้สั่งการไป และให้ยานพาหนะทุกคันเปิดวิทยุเฝ้าฟังตลอด ยกเว้นที่มีคำสั่ง
ให้ระงับการใช้วิทยุหรือการงดใช้
• การลาดตระเวนให้กระทำดังนี้
(1) ผบ.พัน. เป็นผู้ควบคุมชุดลาดตระเวนของกองพัน
(2) เมื่อถึงจุดแยกขบวนของกองพัน (หรือบริเวณกึ่งกลางที่ตั้งของกองพัน) ผบ.พัน. จะให้กองร้อยแยกไป
เลือกที่ตั้งของตนโดย ผบ.พัน. จะกำหนดทิศทางหลักๆ ให้กองร้อย
(3) ผบ.ร้อย. ทำการลาดตระเวนตามคำสั่งของ ผบ.พัน. และปฏิบัติตาม รปจ.
(4) ผบ.ร้อย. จะกำหนดศูนย์กลางกองร้อย จุดแยก มว. ของตนเอง
• ในขณะที่ชุดลาดตระเวนเริ่มเคลื่อนที่ อาจมีความจำเป็นต้องหยุดขบวนเพื่อตรวจสอบที่อยู่ให้ปฏิบัติดังนี้
(1) ยานพาหนะหลบลงข้างเส้นทาง
(2) กำลังพลทุกนายลงจากรถ จัดการระวังป้องกันรอบตัว
4) การเตรียมการเข้าที่ตั้งของกองพัน
• เตรียมที่ตั้งของกองร้อย ช.สนาม ตาม ข้อ (3)
• กำหนดที่ตั้งต่างๆ ของ ร้อย บก. และบริการ ได้แก่
(1) ทก.พัน. (5) มว.สร.
(2) บก.ร้อย. (6) มว.ซ่อมฯ
(3) ทก.พัน. (7) มว.เครื่องมือ
(4) หมู่สื่อสาร (8) มว.สะพาน (ถ้าออกปฏิบัติภารกิจด้วย)
ข้อมูลสนามรบ

• ฝอ.3 กำหนดจุดแยกขบวนของกองพันและปักป้ายไว้ กองร้อยต่างๆ ส่งเจ้าหน้าที่ 1 นาย มารับขบวนตัว


เองที่จุดแยกขบวนของกองพัน (โดยปกติแล้วจะให้จ่ากองร้อยเป็นผู้ปฏิบัติ)

6 -  การเคลื
่อนย้ายทางยุทธวิธี
• ให้กองร้อยรับผิดชอบการดัดแปลงเส้นทางจากจุดแยกขบวนกองพันไปยังจุดแยกของกองร้อย
• จัดคนนำขบวนและจุดแยกขบวน
• วางการระวังป้องกัน
• จัดยามคอยเหตุและทำแผนการระวังป้องกันรอบตัว
5) ในการเคลื่อนย้ายจากที่รวมพลไปยังจุดแยกขบวน
รอง ผบ.พัน. จะเป็นผู้ควบคุมกำลังส่วนใหญ่ เมื่อได้รับคำสั่งการเคลื่อนย้ายจาก ผบ.พัน., รอง ผบ.พัน. ก็จะ
ต้องควบคุมขบวนกองพันเคลื่อนที่ไปยังจุดแยกขบวนกองพันโดยมีรายละเอียดการปฏิบัติดังนี้ (ถ้าจัดเป็นขบวน
สัมภาระ รอง ผบ.พัน. จะไม่ไป ต้องจัดลำดับขบวนตามที่ ผบ.พัน. ได้สั่งการ)
การควบคุมการเดินทาง
• ให้ รอง ผบ.ร้อย. ควบคุมขบวนของกองร้อยจากที่ตั้งเดิม มายังจุดเริ่มต้น
• ให้ รอง ผบ.พัน. ควบคุมขบวนจากจุดเริ่มต้น ไปยังจุดแยกขบวน
• ให้ ผบ.พัน. กำหนดเวลาให้ขบวนของกองร้อยแรกผ่านจุดเริ่มต้น และกำหนดระยะต่อให้แต่ละขบวน
• การระวังป้องกัน
การระวังป้องกันเป็นความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น จึงกำหนดให้รองผู้บังคับหน่วยเป็นนายทหาร
ระวังป้องกันของหน่วย
• รองผู้บังคับกองพันของหน่วย เป็นนายทหารระวังป้องกันกองพัน
• รองผู้บังคับกองร้อยของหน่วย เป็นนายทหารระวังป้องกันกองร้อย
การระวังป้องกันขณะเคลื่อนย้าย ในการเคลื่อนย้ายทางยุทธวิธี ให้นายทหารระวังป้องกันของหน่วยจัดการระวัง
ป้องกันดังนี้คือ
1) ให้กำลังพลทุกนาย ถืออาวุธในลักษณะที่พร้อมใช้ได้ทันที และห้ามพูดคุยเสียงดังขณะเดินทาง
2) ให้จัดยามอากาศประจำยานพาหนะแต่ละคัน ซึ่งมีหน้าที่เฝ้าตรวจการโจมตีทางอากาศ
3) อาวุธต้องมีกระสุนตามอัตราทั้งอาวุธประจำกาย และอาวุธประจำหน่วย และต้องพร้อมที่จะใช้การได้ทันที
เช่น ปก.เอ็ม. 60 และ ปก.เอ็ม. 93 ควรวางในตำแหน่งที่สามารถใช้ได้
4) การเคลื่อนย้ายผ่านพื้นที่ปฏิบัติการของหน่วยอื่น จะต้องมีการประสานกับหน่วยอื่นอย่างใกล้ชิด
5) เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องหยุดหน่วยในระหว่างการเคลื่อนย้ายทางยุทธวิธี ต้องไม่ปิดขบวนและควรเพิ่ม
การระวังป้องกันรอบตัวมากขึ้น
6) จัดให้มีกระสอบทราย หรือสิ่งป้องกันกระสุนของข้าศึกวางด้านข้างของกระบะ
7) สำหรับการเคลื่อนย้ายเวลากลางคืน ให้ใช้ไฟได้
8) ผบ.หน่วยเคลื่อนย้ายต้องประสาน ผบ.หน่วยปืนใหญ่หรืออาวุธยิงสนับสนุนเกี่ยวกับการกำหนดตำบลยิง
คุ้มครองขณะเคลื่อนที่ไว้อย่างต่อเนื่อง ตลอดเส้นทางสามารถร้องขอการยิงได้ทันทีเมื่อต้องการ
9) สำหรับการเคลื่อนย้ายในพื้นที่อันตรายนั้นให้พิจารณาใช้อาวุธที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด นอกจากนั้นจะ
ต้องตื่นตัวอยู่เสมอ ผบ.หน่วยเคลื่อนย้าย ต้องให้ข่าวสารตามสมควรแก่พลประจำรถ อาวุธทุกชนิดจะต้องอยู่ใน
ลักษณะปฏิบัติการได้ทันที
10) ยานพาหนะจะต้องทำการพรางกระจก ไฟ นามหน่วย เพื่อลดการสะท้อนแสงให้น้อยลง
• การยิงต่อต้านการซุ่มโจมตี
ในระหว่างการเคลื่อนย้ายอาจถูกซุ่มโจมตีจากข้าศึกหลายลักษณะ ซึ่ง ผบ.หน่วย จะต้องมีการเตรียมแผน และวิธี
ปฏิบัติล่วงหน้าในการต่อสู้กับการถูกซุ่มโจมตี สำหรับการต่อต้านการซุ่มโจมตีนั้น พลประจำเมื่อถูกซุ่มโจมตีจากข้าศึก
ซึ่งพอจะแยกออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆ ได้ดังนี้
1) กรณียานพาหนะสามารถผ่านไปได้เมื่อถูกซุ่ม คือ ยานพาหนะไม่ได้รับความเสียหาย หรือไม่มีเครื่องปิดกั้น
ถนนควรปฏิบัติดังนี้
ข้อมูลสนามรบ

• รถทุกคันใช้ความเร็วสูงสุด เพื่อยานพาหนะหนีเขตสังหารให้เร็วที่สุด

การเคลื่อนย้ายทางยุทธวิธี 6 - 
• พลประจำรถทุกคันรวมอำนาจการยิงอย่างหนาแน่นไปยังตำบลที่ข้าศึกวางตัวด้วยการยิงอย่างรุนแรง
ต่อเนื่อง รวมทั้งยานยนต์คันต่อมาก็ให้ทำการยิงเช่นกัน จนกว่าจะผ่านตำบล ที่ข้าศึกดักซุ่มโจมตี
• พลขับทุกนายจะต้องพยายามรักษาระยะต่อระหว่างคันให้ได้ อย่าให้ขบวนขาดหรือชิดกันมากเกินไป
2) กรณียานพาหะไม่สามารถเคลื่อนย้ายต่อไปได้ เนื่องจากยานพาหนะสูญเสีย หรือมีเครื่องปิดกั้นถนน ขบวน
เคลื่อนย้ายควรปฏิบัติดังนี้
• แยกขบวนแล้วนำรถออกจากถนน
• พลประจำรีบลงจากรถ เข้าที่กำบังทันที ในลักษณะการกระจายกำลัง
• พลประจำรถทุกนายใช้อาวุธเบาที่มีอยู่ทั้งหมดยิงตอบโต้ข้าศึก
• การปฏิบัติเมื่อถูกซุ่มโจมตีในลักษณะต่างๆ
(1) เมื่อหัวขบวนถูกซุ่มให้ยานพาหนะวิ่งลงมาข้างทางฝั่งตรงข้ามกับข้าศึก ทหารที่อยู่หัวขบวนยิงโต้ตอบ
ด้านเดียวกับรถ ส่วนทหารจากรถกลางขบวนและท้ายขบวนข้ามถนนไปยิงด้านที่ข้าศึกซุ่ม และยิงประกอบการ
เคลื่อนที่ โดยให้ทหารที่อยู่กับหัวขบวนทำการยิงตรึงข้าศึกไว้ ส่วนทหารจากกลางขบวนและท้ายขบวนเคลื่อนที่เข้า
กวาดล้างข้าศึก
(2) เมื่อกลางขบวนถูกซุ่ม ให้ยานยนต์วิ่งลงไปข้างทางฝั่งตรงข้ามกับข้าศึกทหารที่อยู่กลางขบวนทำการยิง
ต่อสู้กับข้าศึก ทหารที่อยู่ด้านท้ายขบวน ทำการเคลื่อนที่ข้ามถนนเข้ากวาดล้างข้าศึก
(3) เมื่อท้ายขวบถูกซุ่ม ให้ปฏิบัติกลับกันกับที่ถูกซุ่มยิงที่หัวขบวน
(4) เมื่อถูกซุ่มทั้งขบวนให้ยานยนต์วิ่งลงไปข้างทางฝั่งตรงข้ามกับข้าศึก ทำการยิงไปยังข้าศึกอย่างรุนแรง
และพยายามใช้อาวุธยิงอื่นๆ สนับสนุนการยิงไปยังแนวซุ่มโจมตีของข้าศึก ใช้ฉากควันช่วย (ถ้ามี) ในการถอนตัว แล้ว
ทำการโจมตีข้าศึกในทิศทางที่เหมาะสม (ด้านที่ข้าศึกอ่อนกำลังลง)
(5) การปฏิบัติเมื่อพบสิ่งกีดกั้นถนน ข้าศึกมักสร้างขึ้นเพื่อจะให้ขบวนยานยนต์ต้องหยุด เพื่อเข้าโจมตีมักจะ
สร้างบริเวณทางโค้ง จะมีทุ่นระเบิด กับระเบิดประกอบด้วยอาวุธยิงคุ้มครองหรือมีกำลังคอยซุ่มโจมตี เมื่อพบ สิ่ง
กีดขวางมีแนวทางปฏิบัติดังนี้
• ยานยนต์คันแรกหยุดและให้สัญญาณแก่คันหลังแล้วรีบลงจากรถเพื่อตรวจการณ์ที่ถนน
• ยานยนต์คันอื่นๆ เข้าที่ปกปิดซ่อนเร้น
• ทหารลงจากรถอย่างรวดเร็ว
• ทหารที่อยู่กลางขบวนเตรียมเข้าโจมตีเมื่อสั่ง
• ทหารที่อยู่ท้ายขบวนมีการป้องกันด้านข้างและด้านหลัง
• ทหารที่อยู่หัวขบวนเคลื่อนที่เข้ารื้อถอนเครื่องปิดกั้น
• ก่อนรื้อถอนให้ตรวจดูทุ่นระเบิดและกับระเบิดเสียก่อน
• ปืนกลเตรียมยิงไปยังบริเวณที่อาจมีข้าศึกคุ้มครองเครื่องกีดขวาง
สำหรับการต่อต้านการซุ่มโจมตีที่กล่าวมาผบ.หน่วย เคลื่อนย้าย ต้องมีการเตรียมแผนการปฏิบัติและชี้แจงให้
แก่กำลังพลทุกนายทราบ โดยต้องมีการซักซ้อมแผนก่อนการออกเดินทาง

ข้อมูลสนามรบ

6 -  การเคลื
่อนย้ายทางยุทธวิธี
2) กําหนดที่ตงั้ อาวุธ
3) การถากถางพื้นที่ยิงรื้อถอนวัสดุที่กําบังการยิงออกไปและหาระยะยิงไปยังเปาหมาย
4) วางขายการติดตอสื่อสาร
4.5) เตรี
การดั ดแปลงที
ยมดั ดแปลงที ่มั่น่ตในสนามรบ
ั้งอาวุธ หลุมบุคคลและที่กําบังเหนือศีรษะ
1. 6)ลำดั
วางสนามทุ
บความเร่นงด่ระเบิ ด เตรียมทําลายตํยามที
วนของงานในการเตรี บลที
่มั่น่ส ําคัญ
7)• สรการจั ดการระวั
างเครื ่องกีดขวางงป้องกัน
• การกำหนดที่ตั้งอาวุธยิง
8)• เตรี ยมเสนทางเคลื
การถากถางพื ้นยิง, ่อการรื
นที่ ้อการส
ถอนสิง่งกํกีาดลัขวาง

9)• เตรี
จัดยระบบการติ
มที่ตั้งสํารองดต่อสืและเพิ
่อสาร ่และการตรวจการณ์
มเติม
10)• เตรี
วางสนามทุ
ยมที่ปอ่นงกั
ระเบิ น ด(หลุ และเตรี
มหลบภั ยมการทำลายสิ
ย) อาวุธ เคมี ่งสำคั ชีวญะ รังสี
• การขุดที่ตั้งอาวุธยิง และหลุมบุคคล ที่กำบังเหนือศีรษะ
11)• เตรี ยมสร
การสร้ างสิ
างเครื ่งลวง
่องกี ดขวาง ตามแผนของหน
(เว้นสนามทุ่นระเบิ วยเหนื
ด) อ
• สร้างเส้นทางสำหรับการเคลื่อนย้าย การส่งกำลัง การส่งกลับ
• การสร้างที่มั่นสำรอง ที่มั่นเพิ่มเติม
 หลุ• มการสร้
บุคคลางที(Fighting Positions)
่พักกำบังซึ่งป้องกัน นชค. ตามความต้องการ
การเตรี
• การสร้ ยมหลุ
างสิ่งมก่บุอคสร้คลตามลํ าดับขั้นจะแบงกําลังวเปยเหนื
างลวงตามแผนการลวงของหน่ น 2อส วนคือ สวนหนึ่งเตรียมหลุมบุคคลอีกสวนหนึ่งระวัง
ปองกั2.นหลุมบุคคล (Fighting Positions)
การเตรียมหลุมบุคคลตามลำดับขั้นจะแบ่งกำลังเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนหนึ่งเตรียมหลุมบุคคล อีกส่วนหนึ่งระวัง
ป้อขังกั
้นทีน ่ 1 ผูบังคับหมูตรวจสอบพื้นการยิง จากหลุมบุคคลนอนยิง แลวใหทหารตอกหลักการยิง
ขั้นที่ 1 ผู้บังคับหมู่ตรวจสอบพื้นการยิง จากหลุมบุคคลนอนยิง แล้วให้ทหารตอกหลักการยิง
การเตรียมหลุมบุคคล ขั้นที่ 1

ขั้นที่ 2 การสร้างแนวที่กำบังรอบหลุมบุคคลด้วยกระสอบทราย
ขั้นที่ 2 การสรางแนวที่กําบังรอบหลุการเตรี ยยมหลุ
มการเตรี
บุคคลด มมบุบุคคคล
วมหลุ คลขัขั้น้นที่ที2 ่ 1
ยกระสอบทราย
ข้อมูลสนามรบ

การเตรียมหลุมบุคคล ขั้นที่ 2 การดัดแปลงที่มั่นรบ 6 - 

ขั้นที่ 3 การขุด และโกยดินออกมากองตามแนวที่กําบังทั้ง 4 ดาน


ขั้นที่ 3 การขุด และโกยดินออกมากองตามแนวที่กําบังทั้ง 4 ดาน

การเตรียมหลุมบุคคล ขั้นที่ 2

ขั้นดที่ และโกยดิ
ขั้นที่ 3 การขุ 3 การขุด นและโกยดิ นออกมากองตามแนวที
ออกมากองตามแนวที ่กำบังทั่ก้ง ํา4บังด้ทัา้งน 4 ดาน

ประเภทของหลุมบุคคล (Typesการเตรี Of Fighting


ยธมหลุ Positions) ขัหลุ
้นทีม่ บุ3ละลั
คคลมีหลายประเภทเชนหลุมบุคคล
ตามจํานวนทหารที่จะประจําอยูตามประเภทของอาวุ ประเภทของหลุ มมบุ้งบุคยิคคล
ที่จะตั
คล(Types
งเวลาที ่มีอยูแOf Fighting
กษณะภูมPositions)
ิประเทศ หลุมบุคคลมีหลายประเภทเชนหลุมบุคคล
หลุมบุคคลเรงดวน (Hasty ตามจํFighting
านวนทหารที ่จะประจําใชอยูเมืต่อามประเภทของอาวุ
Positions) มีเวลานอยหรือไมมธทีีเวลาพอที
่จะตั้งยิงเวลาที
่จะเตรี่มยีอมหลุ
ยูและลั
ม กษณะภูมิประเทศ
ขั น
้ ที ่ 4 เตรี ยมที ก
่ า
ํ บั ง เหนื อ ศี ร ษะ หลุมเตรี
บุคยคลเร
มหลุงดมวบุนค(Hasty
คล ขั้นทีFighting
่ 3 Positions) ใชเมื่อมีเวลานอยหรือไมมีเวลาพอที่จะเตรียมหลุม
บุคคลอื่นๆ จัดทําหลุมหรือแองสําหรับนอนยิงลึกอยางนอย 18 นิ้ว
ขั้นที่ 4 เตรียมที่กำบังเหนือศีรษะ บุคคลอื่นๆการเตรี จัดทําหลุยมหลุ
มหรือมแอบุคงสํคลาหรัขับ้นนอนยิ
ที่ 3 งลึกอยางนอย 18 นิ้ว

การเตรียมหลุ ขั้นมที่ บุ4คเตรี
คลยขัมที้น่กทีํา่ บั4 งเหนือศีรษะ

ประเภทของหลุมบุคคล (Types of Fighting Positions)
หลุมบุคคลมีหลายประเภทเช่นหลุมบุคคลตามจำนวนทหารที่
จะประจำอยู่ตามประเภทของอาวุธที่จะตั้งยิงเวลาที่มีอยู่และ
ประเภทของหลุมบุคคล (Types Of Fighting Positions) หลุมบุคคลมีหลายประเภทเชนหลุมบุคคล
ตามจํานวนทหารที ลัก่จษณะภู
ะประจํามอยูิปตระเทศ
ามประเภทของอาวุธที่จะตั้งยิงเวลาที่มีอยูและลักษณะภูมิประเทศ
หลุมบุค คลเรหลุ
งดวมนบุ(Hasty
คคลเร่งFighting ด่วน (HastyPositions) Fighting
ใชเมืPositions) ใช้เอมืไม่อมมีีเวลาพอที่จะเตรียมหลุม
่อมีเวลานอยหรื
บุคคลอื่นๆ จัดทําเวลาน้
หลุมหรืออยหรื
แองสํอาไม่
หรัมบนอนยิ
ีเวลาพอที
งลึกอย่จะเตรี างนอยยมหลุ
18 นิ้วมบุคคลอื ่นๆ จัดทำ
หลุมบุคคลเรงดวน
หลุมหรือแอ่งสำหรับนอนยิงลึกอย่างน้อย 18 นิ้ว หลุมบุคคลเรงดวน

การเตรี ย มหลุ ม บุ คคล ขั ้ นที ่ 4

การเตรียมหลุมบุคคล ขั้นที่ 4

หลุมบุคคลเร่งด่วน หลุมบุคคลเรงดวน
หลุมบุคคลนอนยิง (การดัดแปลงภูมิประเทศ เปนที่มั่นเรงดวน)
หลุมบุคคลนอนยิง (การดัดแปลงภูมิประเทศ เป็นที่มั่นเร่ หลุงมด่บุวคคลนอนยิ
น) ง (การดัดแปลงภูมิประเทศ เปนที่มั่นเรงดวน)
หลุมบุคคลเดี่ยหลุ
ว ม(One-soldier
บุคคลเดี่ยว (One-soldier Fighting
Fighting Positions) Positions)
สำหรั
หลุมบุคคลเดี สําหรับทหารคนเดี
่ยว บ(One-soldier
ทหารคนเดี วพร้อยมเครื
ยFighting วพร อ่อมเครื ่องสนาม
งสนาม
Positions) สําหรับทหารคนเดียวพรอมเครื่องสนาม

ข้อมูลสนามรบ

หลุมบุคคลนอนยิง (การดัดแปลงภูมิประเทศ เปนที่มั่นเรงดวน)

หลุมบุคคลเดี
6 - ่ย10 การดัดแปลงที
ว (One-soldier หลุมบุคยคลเดี
่มั่นรบ Positions) สําหรับทหารคนเดี
Fighting วพรอ่ยมเครื
ว ่องสนาม หลุมบุคคลเดี่ยว
หลุมบุคคลเดี่ยว
หลุมบุคคลคู่ (Two – solder Fighting Positions) หลุมบุคคลคู่สามารถค้นหาและยิงเป้าหมายด้านหน้าได้อย่าง
ต่อเนื่อง

หลุมบุคคลคู่
หลุมบุคคลแบบสามคน (Three-soldier Fighting Positions) หลุมบุคคลที่ได้เปรียบมากกว่าหลุมบุคคลประเภทอื่น
สามารถตรวจการณ์และยิงได้รอบตัว

หลุมบุคคลแบบสามคน
หลุมปืนกล (Machine Gun Positions) เขตการยิงหลักของปืนกลควรเป็นแนวเฉียงเพื่อยิงพาดผ่านด้านหน้า ของ
หมวด
ข้อมูลสนามรบ

การดัดแปลงที่มั่นรบ 6 - 11
หลุมปืนกล











ตั้งยิงปนกล แบบเกือกมา
ตั้งยิงปืนกล แบบเกือกม้า
ตั้งตัยิ้งงยิปงนปกล
นกล แบบเกื
แบบเกืออกม
กมาา











ที่ตั้งยิง ปก.เอ็ม 60 แบบหลุมบุคคลสองหลุม
ที่ตทีั้ง่ตยิั้งงยิงปก.เอ็
ปก.เอ็มม 60 แบบหลุมบุมคบุคลสองหลุ
60 แบบหลุ ม ม
คคลสองหลุ
ที่ตั้งยิง ปก.เอ็ม 60 แบบหลุมบุคคลสองหลุม
หลุมอาวุธต่อสู้รถถัง อาวุธต่อสู้รถถังมีการปรับปรุงลักษณะของหลุมตามลักษณะ เฉพาะของอาวุธ
หลุมอาวุธตอสูรถถัง อาวุธตอสูรถถังมีการปรับปรุงลักษณะของหลุมตามลักษณะ เฉพาะของอาวุธ
หลุมอาวุธตอสูรถถัง อาวุธตอสูรถถังมีการปรับปรุงลักษณะของหลุมตามลักษณะ เฉพาะของอาวุธ
หลุมอาวุธตอสูรถถัง อาวุธตอสูรถถังมีการปรับปรุงลักษณะของหลุมตามลักษณะ เฉพาะของอาวุธ
ข้อมูลสนามรบ

หลุมอาวุธตอสูรถถัง
หลุมอาวุธตอสูรถถัง
หลุมอาวุธตอสูรถถัง
6 - 12 การดัดแปลงที่มั่นรบ
หลุมอาวุธต่อสู้รถถัง











ที่ตทีั้ง่ตยิั้งงยิงเครื
เครื่อ่องยิงยิงงลูลูกกจรวจต่
จรวจตออสูสู้ร ถถังแบบบ่
แบบบออ
ที่ตั้งยิง เครื่องยิงลูกจรวจตอสูรถถังแบบบอ













ที่ตั้งยิง เครื่องยิงลูกจรวดต่อสู้รถถังแบบหลุมบุคคลสองหลุม
ที่ตั้งยิง เครื่องยิงลูกจรวดตอสูรถถังแบบหลุมบุคคลสองหลุม
ที่ตั้งยิงเครื่องยิงลูกระเบิดขนาดที่ต60 ั้งยิงมม.
เครื่อมีงยิ2งแบบ
ลูกจรวดต อสูรถถังมแบบหลุ
คือ แบบหลุ มบุคแบบหลุ
เปิด และ คลสองหลุ
มบุมคคลสองหลุม
แบบหลุมเปิด ที่ตั้งยิงแบบนี้ มีรูปร่างลักษณะเป็นบ่อธรรมดารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 4 ฟุต (1.2 ม.) ยาว 6 ฟุต
(1.80 ม.) ลึก 3 ½ ฟุต (1.05 ม.) ก้นหลุมกว้าง 4 ฟุต (1.2 ม.) ยาว 4 ฟุต (1.2 ม.) ซึ่งเป็นขนาดที่พอบรรจุเครื่องยิง
พลยิง พลยิงผู้ช่วยและกระสุนได้ตามสมควร ปากหลุมทางด้านทิศทางข้าศึกทำเป็นที่ลาด ตรงหน้าต้องมีพื้นที่ว่างออก
ไปประมาณ 10 หลา (9.00 ม.) เพื่อใช้สำหรับปักหลักเล็งและให้สามารถเล็งได้ถนัด รวมทั้งต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง ทิศทาง
ของกระสุนเวลายิงออกไป ดินที่ขุดขึ้นมาทำมูนดินโดยรอบที่ตั้งยิงเช่นเดียวกับที่ตั้งยิง อาวุธอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว
สำหรับหลุมบุคคลในหมู่เครื่องยิง ให้ขุดอยู่ใกล้ๆ กับที่ตั้งยิง

ข้อมูลสนามรบ

คูติดตอ (Trenches) ขุดคูติดตอแบบคลานลึกประมาณ3ฟุตกวาง2ฟุตแนวคูติดตอควรเปนเสนหัก


คูติดตอ (Trenches) ขุดคูติดตอแบบคลานลึกประมาณ3ฟุตกวาง2ฟุตแนวคูติดการดั ดแปลงที
ตอควรเป หัก 6 - 13
นเส่มั่นนรบ
แบบหลุมเปิด แบบหลุมบุคคลสองหลุม
แบบหลุมบุคคลสองหลุม ที่ตั้งยิงแบบนี้โอกาสที่ใช้ เมื่อ ค. 60 มม. อยู่ในพื้นที่ อับกระสุนเป็นหลุมชนิดเร่งด่วน
ลึกระดับเอว ที่ตั้งยิงประกอบด้วยหลุมบุคคลเดี่ยว 2 หลุม ขุดเอาข้างหลุมเข้าหากันโดยให้ข้างหลุมพุ่งเข้าหากันเป็น
รูปตัววี แต่ไม่จรดกัน ให้ทางด้านปลายแหลมพุ่งไปทางข้าศึก ให้ขอบหลุมห่างกันประมาณ 2 ฟุต (60 ซม.) หรือขนาด
ความกว้างของขาหยั่ง ดินที่ขุดขึ้นมาจากหลุมทำมูนดินโดยรอบ กว้าง 3 ฟุต (90 ซม.) สูง 6 นิ้ว (15 ซม.)


















ที่ตั้งยิงปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังขนาด 106 มม. โดยธรรมดาแล้วจะติดตั้งอยู่บนรถขนาด¼ ตัน ที่ตั้งยิงต้องขุด
ดินลงไปให้มีลาดและขนาดของหลุม เพียงพอแก่การนำรถแล่นเข้าไป ขนาดของหลุมกว้าง 8 ฟุต (2.40 ม.) ยาว 12
ฟุต (3.60 ม.) ลึก 2 ½ ฟุต (75 ซม.) การขุดหลุมให้หันด้านยาวของหลุมไปทิศทางยิง ด้านหลังของหลุม ทำเป็นลาด
จากระดับพื้นดินลงไปถึงก้นหลุม ยาว 15 ฟุต (4.50 ม.) ไว้สำหรับแล่นลงไป ทางท้ายสุดทางลาดวัดจากแนวลำกล้อง
ปืน จากทิศทางยิงหลักขีดเส้นตรงมาข้างหลังกว้างข้างละ 10 ฟุต (3.10 ม.) มูนดินกว้าง 4 ฟุต (1.20 ม.) สูง 1 ฟุต
(30 ซม.) รอบสามด้าน ด้านหน้าและด้านข้าง 2 ด้าน ชานกันดินกว้าง 1 ฟุต ( 30 ซม.) ถ้าจะใช้ ปรส. ขนาด 106
มม. เป็นอาวุธตั้งขาหยั่งบนพื้นดิน ก็ควรขยายที่ตั้งยิงสำหรับ ปรส. ที่ได้กล่าวมาแล้วให้เหมาะสม
ข้อมูลสนามรบ

6 - 14 การดัดแปลงที่มั่นรบ
คูติดต่อ (Trenches) ขุดคูติดต่อแบบคลานลึกประมาณ 3 ฟุตกว้าง 2 ฟุตแนวคูติดต่อควรเป็นเส้นหัก

ข้อมูลสนามรบ

การดัดแปลงที่มั่นรบ 6 - 15
5. ขนาด/มิติสนามรบขนาดความกว้าง – ลึก และระยะทาง ในการวางแผนการรบ

พื้นที่รับผิดชอบกว้างด้านหน้าในการเข้าตีของหน่วยระดับกองพลลงมา

ระดับหน่วย พื้นที่รับผิดชอบ (กลางวัน) พื้นที่รับผิดชอบ (กลางคืน)


หมู่ ปล. 50 - 125 ม. 50 – 100 ม.
มว.ปล. 100 – 250 ม. 100 – 150 ม.
ร้อย.อวบ. 200 – 500 ม. 200 – 300 ม.
พัน.ร. 500 – 1,000 ม. 400 – 600 ม.
กรม ร. 1,000 ม. ขึ้นไป 600 – 1,200 ม.
พล.ร. 20 กม. 20 กม.

พื้นที่ในการวางกำลังและรับผิดชอบในการตั้งรับของหน่วยระดับกองพลลงมา
ระดับหน่วย พื้นที่วางกำลัง พื้นที่รับผิดชอบ ความลึก
หมู่ ปล. 30 – 100 ม. 100 ม. (+/-) -
มว.ปล. 400 ม. 750 ม. (+/-) 50 – 200 ม.
ร้อย.อวบ. - 1,500 ม. 1,100 ม. (+/-)
พัน.ร. - 2,400 – 5,000 ม. 2,500 ม. (+/-)
กรม ร. - 5 – 10 กม. 6 – 12 กม.
พล.ร. - 20 – 25 กม. 15 – 30 กม.

การจัดกำลังของส่วนระวังป้องกัน
ส่วนระวังป้องกัน ระยะจาก ขนพร. กำลังที่จัด ผู้รับผิดชอบ
ไปข้างหน้า
เฉพาะบริเวณ ระยะยิงหวังผล ปล. 1 ชุดยิง – 1 หมู่ ปล.
ผบ.ร้อย.
กดร. (ฉากกำบัง) 1,000 – 2,400 ม. 1 มว.ปล. (+) - ผบ.กรม
1 กองร้อย (+)
กดป. 8 – 16 กม. 1 พัน.ร.(+)/พัน.ร.ยก.- ผบ.พล.
1 กรมอิสระ
ส่วนกำบัง 75 กม. 1 กรมอิสระ/กรม แม่ทัพภาค
กำลังทางอากาศ ม.ยก. – 1 พล.ร. ทอ.

ข้อมูลสนามรบ

6 - 16 ขนาด/มิติสนามรบ
ขนาดความกว้าง – ลึก และระยะทาง ในการวางแผนการรบของทหารราบยานเกราะ

พื้นที่รับผิดชอบกว้างด้านหน้าในการเข้าตีของหน่วยระดับกองพลลงมา
ระดับหน่วย พื้นที่รับผิดชอบ (กลางวัน) พื้นที่รับผิดชอบ (กลางคืน)
หมู่ ปล. 50 - 125 ม. 25 – 50 ม.
มว.ปล. 200 – 400 ม. 100 – 150 ม.
ร้อย.ร.(ก) 500 – 1,000 ม. 200 – 300 ม.
พัน.ร.(ก) 1,000 – 2,000 ม. 400 – 600 ม.
กรม ร.(ก) 1,000 ม. ขึ้นไป 600 – 1,200 ม.
พล.ร.(ก) 20 กม. 20 กม.

พื้นที่ในการวางกำลังและรับผิดชอบในการตั้งรับของหน่วยระดับกองพลลงมา
ระดับหน่วย พื้นที่วางกำลัง พื้นที่รับผิดชอบ ความลึก
หมู่ ปล. 30 – 100 ม. 100 ม. (+/-) -
มว.ปล. 400 ม. 750 ม. (+/-) 50 – 200 ม.
ร้อย.ร.(ก) - 1,500 ม. 1,100 ม. (+/-)
พัน.ร.(ก) - 2,400 – 5,000 ม. 2,500 ม. (+/-)
กรม ร.(ก) - 5 – 10 กม. 6 – 12 กม.
พล.ร.(ก) - 20 – 25 กม. 15 – 30 กม.

การจัดกำลังของส่วนระวังป้องกัน
ระยะจาก ขนพร.
ส่วนระวังป้องกัน กำลังที่จัด ผู้รับผิดชอบ
ไปข้างหน้า
เฉพาะบริเวณ ระยะยิงหวังผล ปล. 1 ชุดยิง – 1 หมู่ ปล.
ผบ.ร้อย.
กดร. (ฉากกำบัง) 1,000 – 2,400 ม. 1 มว.ปล. (+) - ผบ.กรม
1 กองร้อย (+)
กดป. 8 – 16 กม. 1 พัน.ร.(+)/พัน.ร.ยก.- ผบ.พล.
1 กรมอิสระ
ส่วนกำบัง 75 กม. 1 กรมอิสระ/กรม แม่ทัพภาค
กำลังทางอากาศ ม.ยก. – 1 พล.ร. ทอ.

ข้อมูลสนามรบ

ขนาด/มิติสนามรบ 6 - 17
ความกว้าง – ลึก และระยะทางในการวางแผนการรบของทหารราบเบา

พื้นที่รับผิดชอบกว้างด้านหน้าในการเข้าตีของหน่วยระดับกองพันลงมา
ระดับหน่วย พื้นที่รับผิดชอบ
หมู่ ปล. 50 – 125 ม.
มว.ปล. 100 – 250 ม.
ร้อย.อวบ. 200 – 500 ม.
พัน.ร. 500 – 1,000 ม.

พื้นที่รับผิดชอบในการตั้งรับของหน่วยระดับกองพันลงมา
ระดับหน่วย ความกว้างด้านหน้า ความลึก
หมู่ ปล. 100 – 125 ม. -
มว.ปล. 750 ม. 150 – 500 ม.
ร้อย.อวบ. 1,500 ม. 1,100 ม.
พัน.ร. 2.4 – 5 กม. 6 – 12 กม.

ระยะต่อระหว่างหน่วยในการจัดรูปขบวนเคลื่อนย้ายทางยุทธวิธีด้วยเท้า
หน่วย กลางวัน หมายเหตุ
กองร้อย – กองร้อย 100 ม.
หมวด – หมวด 50 ม. รูปขบวนการเคลื่อนย้าย
หมู่ – หมู่ 25 ม. 1.ขบวนการเดิน
บุคคล – บุคคล 2 – 5 ม. 2.ตอนการเดิน
ความเร็วบนถนน 4 กม. / ชม. 3.หน่วยการเดิน
ความเร็วในภูมิประเทศ 2.4 กม. / ชม.

ความกว้างของฉากการยิงของอาวุธประจำหน่วยและระยะยิงไกลสุด
ชนิดอาวุธ หน่วยยิง ความกว้างของฉากการยิง ระยะยิงไกลสุด
ค.60 มม. หมู ่ 50 ม. 1,750 – 2,550 ม.
ค.81 มม. หมู่ / ตอน 50 ม. / 100 ม. 3,300 หลา-4,737 ม.
ค.4.2 นิ้ว / ค.120 มม. หมู่ 50 ม. 6,500 – 7,200 ม.
ค.4.2 นิ้ว / ค.120 มม. 2หมู่ 100 ม. 6,500 – 7,200 ม.
ค.4.2 นิ้ว / ค.120 มม. 4หมู่ / 1 มว. 200 ม. 6,500 – 7,200 ม.
ป.105 มม. กองร้อย 200 ม. 11.5 กม.
ป.155 มม. กองร้อย 300 ม. 17.5 กม.

----------------
เอกสารอ้างอิง : 1. รส.7 - 8 คู่มือราชการสนามว่าด้วย หมู่ หมวดปืนเล็กทหารราบ พ.ศ.2548
ข้อมูลสนามรบ

2. รส.7 - 10 ร่างคู่มือราชการสนามว่าด้วย กองร้อยอาวุธเบา


3. รส.7 - 20 คู่มือราชการสนามว่าด้วย กองพันทหารราบ พ.ศ.2549

6 - 18 ขนาด/มิติสนามรบ
6. สัญลักษณ์และเครื่องหมายทางทหาร

สัญลักษณ์ทางทหาร เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่ประกอบด้วยภาพแผนผัง ตัวเลข ตัวอักษร คำย่อ สีหรือสิ่งที่
กล่าวมาแล้วผสมกัน เพื่อแสดงถึงหน่วยทหาร กำลัง ที่ตั้ง หรือกิจกรรมใดๆ อันเกี่ยวกับกิจกรรมของทหาร
1. การใช้
1) สัญลักษณ์ทางทหารปกติจะใช้เขียนกับแผนที่สถานการณ์, แผนที่สังเขปและแผ่นบริวาร, ภาพถ่ายทาง
อากาศ, แผนผังการจัดกำลัง
2) สัญลักษณ์ทางทหาร เป็นภาพเขียนทีช่ ว่ ยแสดงรายการต่างๆ อย่างถูกต้องเกีย่ วกับการปฏิบตั กิ ารทางทหาร
ควรใช้เครื่องหมายที่ทราบกันอยู่แล้วโดยทั่วไป ถ้าเป็นสัญลักษณ์ที่เขียนขึ้นเพื่อใช้เอง ต้องทำหลักฐานให้ คำอธิบาย
ความหมายไว้ด้วยทุกครั้ง
3) สีที่ใช้เขียนสัญลักษณ์ทางทหาร
สีนำ้ เงิน (ฝ่ายเราหรือฝ่ายเดียวกัน) สีแดง (ฝ่ายตรงข้ามหรือข้าศึก)
สีเขียว (เครื่องกีดขวาง) สีเหลือง (พื้นที่ที่มีพิษ)
4) เมื่อไม่ใช้สีประกอบ
: หน่วยหรือกิจการของฝ่ายเราแสดงด้วยเส้นสีดำทึบเดี่ยว
: หน่วยหรือกิจการของฝ่ายข้าศึกแสดงเส้นสีดำทึบคู ่
5) หลักนิยมในการเขียนสัญลักษณ์ทางทหารที่ดี คือ ง่าย เป็นแบบเดียวกัน และมีความชัดเจน
2. องค์ประกอบของสัญลักษณ์ทางทหาร
โดยทั่วไปประกอบด้วย
1) สัญลักษณ์หลัก
2) สัญลักษณ์ขนาดหน่วย
3) สัญลักษณ์เหล่า และ/หรือ
สัญลักษณ์ของการปฏิบัติการ
4) หน่วย ตำบล หรือกิจการ
5) รายการอื่นๆ (ถ้ามี)

ข้อมูลสนามรบ

รูปที่ 19 สัญลักษณ์ขนาดหน่วย

สัญลักษณ์ทางทหาร 6 - 19
ตระเวน

รูปที่ 20 สัญลักษณ์หลัก รูปที่ 21 สัญลักษณ์ขนาดหน่วย

รูปที่ 22 ตำบลส่งกำลัง หรือ รูปที่ 23 ตำบลส่งกำลัง หรือ


กิจกรรมอื่นๆ กิจกรรมอื่นๆ
ข้อมูลสนามรบ

6 - 20 สัญลักษณ์ทางทหาร
รูปที่ 25 ตำบลส่งกำลัง หรือกิจกรรมอื่นๆ
รูปที่ 24 สัญลักษณ์อาวุธ

รูปที่ 27 สัญลักษณ์อาวุธ

รูปที่ 26 สัญลักษณ์อาวุธ

รูปที่ 28 สัญลักษณ์ตามภารกิจ
ข้อมูลสนามรบ

รูปที่ 29 สัญลักษณ์อาวุธ

สัญลักษณ์ทางทหาร 6 - 21
3. หลักการประกอบสัญลักษณ์

3.1. หน่วยที่ระบุถึง หมายถึงหน่วยเล็กที่สุดที่ต้องเขียน


3.2 ขนาดหน่วย เป็นการแสดงขนาดของหน่วยที่ระบุถึง
3.3 สัญลักษณ์ เหล่า หรืออักษร เป็นการแสดงเหล่าของ
หน่วยที่ระบุถึงถ้าไม่มีให้ใช้อักษรย่อแทน
รูปที่ 30 หลักการประกอบสัญลักษณ์

3.4 อาวุธประจำหน่วย สำหรับหน่วยบางหน่วยที่มีอาวุธประจำหน่วยเท่านั้น


3.5 หน่วยเหนือ หมายถึงหน่วยบังคับบัญชาตามลำดับของหน่วยที่ระบุถึง
3.6 กรณีที่หน่วยเหนือไม่เป็นไปตามลำดับชั้นของหน่วยที่ระบุถึง ให้เขียนสัญลักษณ์ “ขนาดหน่วย” ไว้ส่วน
บนของ “ตัวเลขหน่วย” นั้นด้วย เช่น
หมู่ลาดตระเวนที่ 1 หมวดลาดตระเวน
กองร้อยสนับสนุนการรบ กองพันทหารราบที่ 1
3.7 กรณีที่ต้องเขียนหน่วยหนึ่งหน่วยใดเพียงหน่วยเดียว โดยไม่ต้องเขียนหน่วยเหนือ ให้เขียนหน่วยนั้นไว้
“ทางขวา”ของสัญลักษณ์หน่วยทหาร เช่น

กองพันทหารราบที่ 1

ตัวอย่างการเขียนสัญลักษณ์และกิจกรรมทางทหาร
ข้อมูลสนามรบ

รูปที่ 31 ตัวอย่างการเขียนสัญลักษณ์หน่วยทหาร รูปที่ 32 ตัวอย่างการเขียนสัญลักษณ์นามหน่วย

6 - 22 สัญลักษณ์ทางทหาร
รปท 33 สญลกษณปอมสน ม

รปท 34 สญลกษณ ครองกดขว ง


ข้อมูลสนามรบ

รปท 36 ครองป ดกนถนนหลมระ บด ละท ล ยสะพ น รปท 35 ตวอย งก ร ขยนสญลกษณทตงกจก ร

สัญลักษณ์ทางทหาร 6 - 23
รปท 37 สญลกษณทนระ บด
ข้อมูลสนามรบ

รปท 38 สญลกษณสน มทนระ บด

6 - 24 สัญลักษณ์ทางทหาร
เครื่องหมายทางทหาร
คำจำกัดความ “เครื่องหมายทางทหาร” คือ เครื่องหมายชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยการเขียนรูป ตัวเลข อักษร
คำย่อ สี แล้วผสมกัน เพื่อใช้แสดงให้รู้จักหน่วยทหาร หรือกิจการ หรือสถานที่ตั้งทางทหาร
1. ระบบเครื่องหมายแสดงหน่วยทหาร

เครื่องหมาย คำอธิบาย
เครื่องหมายแสดงหน่วยทหาร
คือรูปสี่เหลี่ยม

เครื่องหมายแสดงหน่วยทหาร อาจเขียนเส้นกึ่งกลาง
ด้านล่างต่อตรงลงไป หรือโค้งไปตามต้องการก็ได้
ปลายของเส้นที่ต่อนี้แสดงที่ตั้งที่แน่นอนของหน่วย
ทหารในแผนที่

กองบังคับการของหน่วย แสดงด้วยเส้นด้านธง เขียน
ทับด้านซ้ายของเครื่องหมายของหน่วย ปลายของ
เส้นด้ามธง หมายถึง ที่ตั้งที่แน่นอนของกอง
บังคับการนั้น เส้นนี้อาจตรงหรือโค้งก็ได้

กองบังคับการหลายๆหน่วยตั้งอยู่ในที่เดียวกัน ให้
เขียนรูปธงสี่เหลี่ยมตามจำนวนของกองบังคับการนั้น
ๆ ซ้อนกัน แต่ละรูปธงสี่เหลี่ยมแทนกองบังคับการ
หนึ่งแห่ง


หลัก ที่บังคับการหลัก



หลัง ที่บังคับการหลัง

ยุทธ ที่บังคับการทางยุทธวิธี



ตู้สลับสาย ณ กองบัญชาการ

ข้อมูลสนามรบ

เครื่องหมายทางทหาร 6 - 25
เครื่องหมาย คำอธิบาย

ชุมสายโทรศัพท์


ที่ตั้งขบวนสัมภาระ



หากไม่มีเครื่องหมายแสดงประเภทของเหล่าทหาร
รปภ. กำหนดไว้ อาจใช้คำย่อที่แสดงภารกิจของหน่วย
เขียนไว้ภายในรูปสีเ่ หลีย่ ม

เส้นแบ่งเขตทางข้าง แสดงด้วยเส้นทึบ พร้อมด้วย
เครื่องหมายแสดงขนาดหน่วยเขียนไว้ตรงช่องว่าง
2 3 ตามหน่วย เหล่า และชาติ ถ้าจำเป็นให้เขียนไว้
แต่ละด้านของเครื่องหมายแสดงขนาด ถ้าเส้นแบ่ง
เส้นแบ่งเขต เขตทางข้างของหน่วยที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้ใช้
ระหว่างกองพันทหารราบที่ 2 และ 3 สัญลักษณ์ของหน่วยที่ใหญ่กว่า

ร.ยก.12 เส้นเขตหลัง ให้ใช้เครื่องหมายแสดงขนาดของ
หน่วยที่เล็กกว่า หรือ ให้ใช้สัญลักษณ์ของหน่วย
ทน.1 รับการบังคับบัญชา แสดงไว้เพื่อป้องกันการ
สับสน



ฉก.พัน.ร.121 เส้นแบ่งเขตที่เสนอ เส้นแบ่งเขตในอนาคต แสดง
มีผลใน ด้วยเส้นปะพร้อมกับเวลาหรือสภาพการมีผลใช้
(หมู่วันเวลา)
ฉก.พัน.ร.122 บังคับ และกองบังคับการที่กำหนดเส้นแบ่งเขตนั้น


จุดประสานเขต แสดงด้วยรูปวงกลมมีเครื่องหมาย “X”
อยู่ภายในตรงกลาง และเขียนบนเส้นแบ่งเขต เมื่อ
เขียนบนแนวขอบหน้าที่มั่น และแนวที่มั่นรักษาด่าน
ทั่วไปต้องเขียนชื่อแนวนั้นๆ ประกอบด้วยเช่น“ขนพร.
”และ“นทดป.”



ขนพร. ขนพร.
ขอบหน้าพื้นที่การรบ โดยทั่วไป
ขนพร. ขนพร. ขอบหน้าพื้นที่การรบ ในอนาคต(ที่คาดไว้)
ขนพร. ขนพร. ขอบหน้าพืน้ ทีก่ ารรบ ยังซึง่ ไม่มกี ารวางกำลัง
ข้อมูลสนามรบ

6 - 26 เครื่องหมายทางทหาร
เครื่องหมาย คำอธิบาย

ขนพร. ขนพร. ขอบหน้าพืน้ ทีก่ ารรบ ทีม่ กี ารวางกำลังของฝ่ายเรา


เมื่อไม่อาจเขียนเส้นแบ่งเขตระหว่างหน่วยต่างๆ ได้ แต่
มีความจำเป็นแสดงพื้นที่ของหน่วยนั้นๆ ให้เขียนเส้น
ล้อมรอบแสดงเป็นพืน้ ที่ และเขียนเครือ่ งหมายแสดง
พืน้ ทีข่ องหมวด พืน้ ทีข่ องหมวดทหารราบ ขนาดหน่วยตรงช่องว่างระหว่างเส้น หรือเขียนเครือ่ งหมาย
แสดงหน่วยไว้ภายในเส้นล้อมรอบนี้ก็ได้

พื้นที่ที่ตั้งใจจะเข้าไปยึดครองให้แสดงด้วยเส้นปะ และ
อาจจะเขียนเครื่องหมายแสดงหน่วยหรือเครื่องหมาย
แสดงหน่วยประกอบกับเส้นนี้ก็ได้
พื้นที่ที่คิดจะให้กองร้อยยึดครอง

หากมีหน่วยทหารหลายหน่วยตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
ให้เขียนเครื่องหมายแสดงหน่วยทั้งหลายนั้นเรียงซ้อน
กัน แล้วเขียนเส้นตรงไปยังพื้นที่ที่หน่วยเหล่านั้นตั้งอยู่


แนวหน้าของการวางกำลังฝ่ายเรา แสดงด้วยเส้นโค้ง
ติดต่อกัน

แนวหน้าของการวางกำลังข้าศึก แสดงด้วยเส้นโค้งคู่
ติดต่อกัน

แนวที่หน่วยลาดตระเวนฝ่ายเรายึดอยู่อย่างบางๆ (
วางกำลังข้างหน้าฝ่ายเรา) แสดงด้วยจุดโค้งติดต่อกัน


แนวที่หน่วยลาดตระเวนของข้าศึกยึดอยู่อย่างบางๆ (
วางกำลังข้างหน้าของข้าศึก)แสดงด้วยจุดวงกลมเล็กๆ
ติดต่อกัน

ที่หมายต่างๆ แสดงด้วยเส้นทึบล้อมรอบพื้นที่และ
ทม. ทม.
หรือ พล.ร.2 รอ. เขียนคำย่อ “ทม.” ไว้ภายใน เมื่อต้องการแสดงราย
ละเอียดเพิ่มเติมให้เขียน หน่วยเจ้าของที่หมายลงไป
ด้วย
นต.

เมื่อต้องการแสดงทิศทางเข้าตีไปยังที่หมาย ให้เขียน
ทม. ลูกศรเพิ่มขึ้นจากแนวออกตีไปยังที่หมาย ( ลูกศรไม่ได้
พล.ร.2 รอ.
แสดงเส้นทางที่แน่นอนสำหรับการเข้าตี แต่จะแสดง
ข้อมูลสนามรบ

นต.
เพียงทิศทางเข้าตีเท่านั้น )

เครื่องหมายทางทหาร 6 - 27
เครื่องหมาย คำอธิบาย

เมื่อต้องการจะแสดงทิศทางเคลื่อนที่โดยทั่วไปของ
หน่วย ให้เขียนเครื่องหมายลูกศรประกอบกับคำ
เขียนว่า “เส้นหลักการรุก” ประกอบด้วยก็ได้

ทิศทางเข้าตีรอง


ทิศทางเข้าตีหลัก



เส้นหลักการรุกทางอากาศ



ช่องทาง



ขนม. ขนม. ขอบหน้าที่มั่นตั้งรับ


ออกตี ฐานออกตี


นทดร. นทดร. แนวที่มั่นรักษาด่านรบ

นทดป. นทดป.
แนวที่มั่นรักษาด่านทั่วไป

ขั้นเขียว ขั้นเขียว
ขั้น ก. ขั้น ก.
ขั้น 2 ขั้น 2 ขัน้ การเคลือ่ นที่ (ใช้รหัส ,อักษร หรือ ตัวเลข)


นต. นต. แนวออกตี




แนวประสานการยิงสนับสนุน (สีดำทึบ)
นปยส. นปยส. (แนวประเทศเด่นชัดสำหรับ บ.และ ป.)

ข้อมูลสนามรบ

6 - 28 เครื่องหมายทางทหาร
เครื่องหมาย คำอธิบาย

นปย. นปย. แนวประสานการยิง (สีดำประ)




นป.ขัน
้ สุดท้าย นป.ขัน้ สุดท้าย แนวประสานขั้นสุดท้าย


แนวทางการแทรกซึม แนวทางแทรกซึม


นต. / คือ ทป. นต. / คือ ทป. แนวออกตี คือ ที่ตั้งปัจจุบัน

นต. / นป. นต. / นป. แนวออกตี คือ แนวปะทะ


นต./คือ นกฝ. นต./คือ นกฝ. แนวออกตี คือ แนวหน้าของการวางกำลัง
ฝ่ายเดียวกัน

พื้นที่รวมพล

พื้นที่อาบพิษ
อาบพิษ

ฟ แนวพรางแสงไฟ


จต.
จุดตรวจสอบ

จร. จุดเริ่มต้น



จย.
จุดแยก



จุดติดต่อ/ประสาน




จุดตัดสินใจ
ข้อมูลสนามรบ

เครื่องหมายทางทหาร 6 - 29
2. มาตรการประสานการยิงสนับสนุน
มาตรการที่ทำให้การโจมตีต่อเป้าหมายได้ง่ายขึ้น เขียนเป็นสัญลักษณ์และกำกับตัวอักษรสีดำ ถ้ากองร้อย
ชุดรบเคลื่อนที่ผ่านแนวที่เป็นมาตรการอำนวยความสะดวก อาจเสี่ยงต่อการโจมตีด้วยกำลังทางอากาศและปืนใหญ่
ของฝ่ายเรา การเข้าไปถึงและข้ามแนวเหล่านี้ต้องรายงานไปยังข่ายอำนวยการยิงของปืนใหญ่และข่ายบังคับบัญชา
ของกองพัน

สัญลักษณ์ คำอธิบาย
แนวประสานการยิง (นปย.) คือ แนวทีอ่ าวุธ
ยิงสนับสนุนภาคพื้นสามารถจะทำการยิง
ข้ามไปได้โดยไม่ต้องมีการประสานเพิ่มเติม
กำหนดโดย กรม หรือสูงกว่า

แนวประสานการยิงสนับสนุน (นปยส.) คือ


แนวที่อาวุธยิงสนับสนุนทุกระบบสามารถ
ทำการโจมตีเป้าหมายที่อยู่เลยแนวนี้ออกไป
โดยไม่ต้องมีการประสานเพิ่มเติม ถ้าหากผล
ของการยิงไม่กระทบต่อหน่วยทหารฝ่ายเรา
หรือตกหน้าแนวนี้ ปกติจะกำหนดลงบน
ภูมิประเทศที่เห็นเด่นชัด
กำหนดโดย กองทัพน้อย หรือกองพลอิสระ


พืน้ ทีย่ งิ เสรี (พยร.) คือ พืน้ ทีซ่ งึ่ อาวุธทุกชนิด
สามารถทำการยิงโดยไม่ต้องมีการประสาน
เพิ่มเติม ปกติจะกำหนดบนภูมิประเทศที่
เห็นเด่นชัด มาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อความ
ปลอดภัยของกำลังทหารฝ่ายเดียวกันเป็น
มาตรการจำกัดนั้น มาตรการจำกัดทุกชนิด
เขียนเป็นสัญลักษณ์ กำกับด้วยอักษรสีดำ
กำหนดโดย กองพล หรือสูงกว่า


แนวจำกัดการยิง (นจย.) เป็นแนวที่กำหนด
ขึ้นระหว่างหน่วยสองหน่วยที่เคลื่อนที่เข้าหา
กัน ห้ามทำการยิงใดๆ ข้ามแนวนี้โดยไม่
ประสานกับหน่วยที่อยู่อีกด้านหนึ่งของแนว
เสียก่อน
กำหนดโดย ผู้บังคับบัญชาของหน่วย
ข้อมูลสนามรบ

ที่มาบรรจบกัน


6 - 30 มาตรการประสานการยิงสนับสนุน
สัญลักษณ์ คำอธิบาย
พื้นที่จำกัดการยิง (พจย.) คือ พื้นที่กำหนด
เขตจำกัดการยิงไว้ การยิงใดๆ ที่นอกเหนือ
ข้อจำกัดที่กำหนดจะต้องประสานกับ
กองบังคับการหน่วยที่จัดตั้งเสียก่อน
กำหนดโดย กองพัน หรือสูงกว่า





พืน้ ทีห่ า้ มยิง (พหย.) คือ พืน้ ทีซ่ งึ่ ห้ามทำการ
ยิงเข้าไปหรือผลของการยิงอาจมีผลกระทบ
เว้นเมื่อภารกิจกำหนดหลังจากที่ได้มีการ
ประสานกับกองบังคับการหน่วยทีจ่ ดั ตัง้ เสียก่อน
กำหนดโดย กองพล หรือสูงกว่า

-----------------
เอกสารอ้างอิง : 1. แนวสอน วิชาแผนที่ รร.ร.ศร.
2. คู่มือ ว่าด้วยการยิงสนับสนุน พ.ศ. 2536
3. The Battle Staff Smartbook (Third Revised Edition) 2010

ข้อมูลสนามรบ

มาตรการประสานการยิงสนับสนุน 6 - 31
7. คำสั่งการรบ
1. คำสั่งทางทหารในการยุทธ์ มี 3 ประเภทได้แก่ คำสั่งเตือน (Warning Order) คำสั่งยุทธการ (Operation
Order) คำสั่งเป็นส่วน ๆ (FRAGO – Fragmentary Order)
• คำสั่งเตือน เป็นคำสั่งที่แจ้งล่วงหน้าถึงการปฏิบัติ หรือคำสั่งต่าง ๆ ที่ต้องปฏิบัติตาม ที่ได้รับจากหน่วยเหนือ
เป็นได้ทั้งลายลักษณ์อักษร และด้วยวาจาเมื่อ ผบ.หน่วย ได้รับคำสั่งเตือนแล้ว จะต้องรีบกระจายข่าวหรือคำสั่งให้
หน่วยรองทราบ เพื่อเตรียมการในส่วนที่สามารถกระทำได้ คำสั่งเตือนสามารถออกให้หน่วยรองได้หลายๆ ครั้ง แต่
เมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้ว ควรครอบคลุมเรื่องต่างๆ ดังนี้
1) สถานการณ์ฝ่ายข้าศึก
2) สถานการณ์ฝ่ายเรา
3) ภารกิจของหน่วย
4) แผนการใช้หน่วยต่างๆ ที่สามารถตกลงใจได้
5) การเตรียมการ ได้แก่ การเบิกรับยุทโธปกรณ์พิเศษ กระสุน เสบียง การส่งคืนยุทโธปกรณ์ที่เกินอัตรารวมถึง
การเคลื่อนย้ายที่จำเป็น
6) ข้อห้ามข้อห่วงใย
7) การนัดหมายไปรับคำสั่ง
• คำสั่งยุทธการ เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการปฏิบัติการที่ต้องมีการประสาน เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงใจของผู้
บังคับบัญชาในการดำเนินกลยุทธ์คราวหนึ่ง คำว่า “คำสั่งยุทธการ” เป็นคำกว้าง ๆ และหมายรวมถึงคำสั่งยุทธการ
สำหรับการปฏิบัติทางยุทธวิธี และ คำสั่งการเคลื่อนย้ายทางยุทธวิธีด้วย ผู้บังคับหน่วยช่วยรบจะใช้คำสั่งยุทธการเพื่อ
สั่งการทำงานในหน่วยของตนด้วย
• คำสั่งเป็นส่วน ๆ เป็นคำสั่งที่กล่าวถึงบางส่วนของคำสั่งที่ละเอียดอื่น ๆ หรือ กล่าวถึงข้อเปลี่ยนแปลงจากคำ
สั่งที่ออกไว้เดิม คำสั่งนี้มักจะออกมาในรูปแบบสั้น ๆ ด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร เช่นเดียวกันกับคำสั่งเตือน เพื่อ
จะแจ้งข่าวสารที่แยกออกมาจากคำสั่งสมบูรณ์ที่มีรายละเอียดมากเกินไป เป็นคำชี้แจงของผู้บังคับบัญชาในขณะที่คำ
สั่งสมบูรณ์กำลังดำเนินการจัดทำอยู่หรือก่อนที่จะทำเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ใช้เป็นเครื่องมือที่ให้คำแนะนำเฉพาะ ผู้บังคับ
หน่วยรองที่ไม่จำเป็นต้องรับทราบคำสั่งสมบูรณ์ทั้งฉบับ โดยปกติจะใช้เพื่อแก้ไขคำสั่งฉบับปัจจุบันให้ทันต่อเหตุการณ์
2. แบบฟอร์มคำสั่งการรบ

คำสั่งเตือน
1. สถานการณ์ (SITUATION) มุ่งรายละเอียดสั้นๆ หน่วยสบทบและหน่วยแยก
2. ภารกิจ (MISSION) ได้จากกิจแถลงใหม่ (RESTATE MISSION) ในขั้นตอนการวิเคราะห์ภารกิจ
3. คำแนะนำทั่วไป (GENERAL INSTRUCTIONS)
• สายการบังคับบัญชา
• ชุดปฏิบัติการพิเศษ หรือการจัดกำลังตามภารกิจ
• เครื่องแบบและยุทโธปกรณ์ที่เปลี่ยนไปจาก รปจ. เช่น ไม่นำเป้สนามไป นำหรือไม่นำหมวกเหล็กไป
• อาวุธพิเศษ กระสุน หรือยุทโธปกรณ์นอกจาก รปจ. เช่น ทุนระเบิด โยทะกา
• ตารางเวลาขั้นต้น คิดจากการวิเคราะห์ภารกิจ
1) เวลาเริ่มเคลื่อนย้าย
2) เวลาและสถานที่รับคำสั่ง และผู้ที่ไปรับคำสั่ง (นอกเหนือจาก รปจ.)
3) เวลาที่คาดว่าจะเริ่มปฏิบัติ
4) เวลาตรวจ และสิ่งที่จะตรวจ
ข้อมูลสนามรบ

5) เวลาซักซ้อม และการปฏิบัติที่ต้องซักซ้อม เช่น การปฏิบัติ ณ ที่หมาย การสร้างสะพาน การ


ค้นหาเชลยศึก และการปฏิบัติอื่นๆ ถ้ามีเวลา
6 - 32 คำสั่งการรบ
6) คำแนะนำเพิ่มเติมที่ต้องการ หรือตาม รปจ.
4. คำแนะนำพิเศษ (SPECIAL INSTRUCTIONS)
• ต่อบุคคลต่างๆ เช่น รอง ผบ.หน่วย ผบ.หน่วยรอง จนท.สื่อสาร จนท.พยาบาล ผตน. และส่วนสมทบ
• ผู้ที่จะช่วยในการเตรียมการเรื่องคำสั่งยุทธการ (ตาม รปจ.)
• อื่นๆ ที่ต้องการ

คำสั่งยุทธการ

1. สถานการณ์
• ฝ่ายข้าศึก
1) กำลัง (การประกอบกำลัง/อาวุธ การวางกำลัง การส่งกำลังบำรุง ประสิทธิภาพในการรบ และขวัญของข้าศึก)
2) ขีดความสามารถของข้าศึก
3) สรุปแนวโน้มการปฏิบัติของข้าศึก
• ฝ่ายเรา (ระบุภารกิจ ที่ตั้งของหน่วยซึ่งมีผลกระทบต่อการปฏิบัติภารกิจ)
1) หน่วยเหนือ (ระบุภารกิจ ที่ตั้ง และ ให้ระบุ เจตนรมย์ของ ผบ.หน่วยเหนือ ไว้ในข้อนี้ด้วย)
2) หน่วยทางซ้าย
3) หน่วยทางขวา
4) หน่วยข้างหน้า (ถ้ามี)
5) กองหนุนหรือหน่วยข้างหลัง
6) อาวุธยิงสนับสนุน (ระบุระบบอาวุธที่จะเข้ามาสัมพันธ์กับหน่วยซึ่งหน่วยรองควรจะทราบ)
• หน่วยสมทบและหน่วยแยก
• สมมุติฐาน (จะระบุเมื่อเป็นแผนยุทธการ)
2. ภารกิจ (ระบุงานของหน่วย “ใคร ทำอะไร เมื่อไร ที่ไหน ทำไม” (ไม่มีอย่างไร))
3. การปฏิบัต ิ
• แนวความคิดในการปฏิบัติ
1) เจตนารมณ์ (ของตนเอง)
2) กลยุทธ์
3) การยิง
• การสั่งส่วนดำเนินกลยุทธ์หลัก (เรียงจากหน่วยดำเนินกลยุทธ์หลัก ตามลำดับความสำคัญในการใช้หน่วย)
• การสั่งหน่วยรองอื่นๆ (ตามจำนวนที่มีทั้งหมดจนครบถ้วน ในข้อ ง., จ.,... ยกเว้น หน่วยรองที่ทำหน้าที่
เป็นกองหนุน)
(ตัวอักษรต่อจากหน่วยดำเนินกลยุทธ์). การสั่งหน่วยยิงสนับสนุนในอัตรา
(ตัวอักษรต่อมา). การสั่งหน่วยสมทบ
(ตัวอักษรต่อมา). การสั่งหน่วยกองหนุน
(ตัวอักษรตัวสุดท้าย). คำแนะนำในการประสาน (ควรแจ้งแผนเผชิญเหตุที่สำคัญให้ ผบ.หน่วยรองไปเตรียมการ)
4. การช่วยรบ
ก. กล่าวทั่วไป ระบุที่ตั้งตำบลส่งกำลัง ขบวนสัมภาระ
ข. การส่งกำลัง
1) สป.1 (อาหาร/น้ำ)
2) สป.2 และ 4 (สิ่งของในอัตราและนอกอัตรา)
ข้อมูลสนามรบ

3) สป.3 (น้ำมัน)
4) สป.5 (กระสุน/วัตถุระเบิด)
คำสั่งการรบ 6 - 33
ค. การซ่อมบำรุง
1) ข้อกำหนดในการซ่อมบำรุง
2) การรวบรวม ป.เก็บซ่อม
ง.การรักษาพยาบาลและการส่งกลับ
จ.กำลังพล
ฉ.กิจการพลเรือน
5. การบังคับบัญชาและการติดต่อสื่อสาร
ก. การบังคับบัญชา
1) ที่ตั้งของ ทก.หน่วย
2) ที่อยู่ของ ผบ.หน่วย ในระหว่างการรบ
3) การแต่งตั้งทำการแทนเมื่อ ไม่สามารถควบคุมการรบได้
ข. การติดต่อสื่อสาร
1) สัญญาณต่างๆ ที่กำหนด
2) นามเรียกขาน, ความถี่วิทยุ หรือ นปส. ที่ใช้
3) ข้อห้าม/ข้อจำกัดในการสื่อสาร

คำสั่งเป็นส่วน ๆ

1. หน่วยที่ออกคำสั่ง/ผู้สั่ง
2. วันเวลาที่สั่ง
3. ผู้รับทราบ/ผู้รับปฏิบัติ
4. อ้างถึงคำสั่งหรือข้อมูลเดิม(ถ้ามี)
5. เนื้อหาของคำสั่งโดยระบุ(ใคร ทำอะไร เมื่อไร ที่ไหน ทำไม และอย่างไร) เท่าที่จำเป็นและเพียงพอที่จะทำให้
ผู้รับคำสั่งเข้าใจได้
3. แนวทางการให้คำสั่งยุทธการด้วยวาจา
• ปัจจัยของการนำไปสู่ความสำเร็จของการปฏิบัติภารกิจประการหนึ่ง คือการถ่ายทอดคำสั่งด้วยวาจาระหว่างผู้
บังคับบัญชา และ ผบ.หน่วยรอง หรือหน่วยรับปฏิบัติ ซึ่งจะมีการให้คำสั่ง 2 ลักษณะคือ คำสั่งเตือน(ข้อความหรือ
ข้อเขียน) และการให้คำสั่งยุทธการด้วยวาจาของ ผบ.หน่วย แก่หน่วยรองของตน ทั้งนี้การให้คำสั่งหรือการนำเสนอ
ข้อมูลจะต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่เหมาะสมก่อน-หลัง-มีการจัดเตรียมทีมงาน – สิ่งอุปกรณ์ - มีการซักซ้อมการ
ปฏิบัติในขั้นตอนการให้คำสั่งยุทธการด้วยวาจาเป็นอย่างดี
• ความสำเร็จการให้คำสั่งด้วยวาจา ขึ้นอยู่กับ
ผู้ให้คำสั่งยุทธการด้วยวาจาจะต้องสร้างความพร้อม และความเชื่อมั่นของตนเองด้วยการ
• ศึกษารายละเอียดในคำสั่งยุทธการและรายละเอียดประกอบคำสั่งยุทธการของหน่วยเหนือให้มากที่สุดโดยมุ่ง
ไปในประเด็นเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับหน่วยตนเอง
• ทำการ ลว. ทั้งในภูมิประเทศจริง และบนแผนที่ เพื่อกำหนดจุดที่เหมาะสมในการให้คำสั่งฯ
• หน่วยระดับกองร้อยลงมาให้ ผบ.หน่วยพิจารณาเลือกตัวบุคคล (จัดทีมงานการให้คำสั่ง) และแบ่งมอบงานที่
เหมาะสมให้ เช่น การจัดทำภูมิประเทศจำลองหรือโต๊ะทราย และช่วยเหลือ ผู้บังคับหน่วยในระหว่างให้คำสั่งด้วย
วาจา
• ผบ.หน่วยจะต้องทำการซักซ้อมการให้คำสั่งกับเจ้าหน้าที่ (ทีมงานให้คำสั่ง) ที่เกี่ยวข้องตามลำดับขั้นตอนที่
กำหนดก่อนให้แก่หน่วยรองทุกครั้ง
ข้อมูลสนามรบ

• นำลักษณะภูมิประเทศจริงมาใช้อ้างอิงประกอบในแผนที่ หรือภูมิประเทศจำลอง หรือโต๊ะทราย


• ผบ.หน่วยควรพิจารณาให้คำสั่งยุทธการด้วยวาจาด้วยความเข้าใจคำสั่ง ในลักษณะเป็นไปตามภาพลำดับการ
6 - 34 คำสั่งการรบ
ปฏิบัติทางยุทธวิธี (รุก - รับ - ร่นถอย)
• จัดเตรียมสิ่งอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการให้คำสั่งให้ครบถ้วน รวมไปถึงสิ่งที่จะต้องจัดทำขึ้นใหม่ โดย
แจกจ่ายให้กับหน่วยที่มารับคำสั่งอย่างเพียงพอ
• ศึกษาทำความเข้าใจในรายละเอียดของแบบรายการคำสั่งยุทธการ ทั้ง 5 ข้อให้ชัดเจน (ว่าด้วยเรื่องอะไร –
เขียนอย่างไร – จะนำข้อมูลจากไหนมาลง - มีความเชื่อมโยงกับรายละเอียดในข้ออื่นๆ อย่างไร)
• ผบ.หน่วย ไม่ควรอ่านคำสั่งยุทธการให้หน่วยรองฟัง ควรทำการจดบันทึกรายละเอียดข้อความที่สำคัญ หรือที่
จดจำได้ยาก (หมายเลขพิกัด/ตัวเลขต่างๆ) และอาจที่ให้ผิดพลาด ใส่กระดาษแผ่นเล็กไว้เตือนความจำ ตัวอย่างเช่น
เจตนารมณ์ของหน่วยเหนือ ภารกิจหน่วยเหนือ/ของตน หมายเลขพิกัดที่ตั้งต่างๆ และอื่นๆ
• สิ่งอุปกรณ์ (เครื่องช่วยให้มองเห็นภาพสนามรบ) เป็นเครื่องช่วยให้ผู้ที่เข้ารับฟังได้มองเห็นภาพของสนามรบ
หรือภาพของการปฏิบัติของหน่วยบางประการ และสามารถทำความเข้าใจแผนได้ง่ายและดียิ่งขึ้น สิ่งอุปกรณ์ที่
ช่วยเหลือ ผบ.หน่วยในการให้คำสั่งฯ จะประกอบด้วย
• ภูมิประเทศจำลองหรือโต๊ะทราย : เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายควรพิจารณาถอดรายละเอียดที่มีอยู่ในคำ
สั่งนำลงไปวางเป็นสัญลักษณ์ในภูมิประเทศจำลองหรือโต๊ะทรายให้มากที่สุด เพื่อประโยชน์ในการให้คำสั่งและทำให้ผู้
มารับฟังคำสั่ง มองเห็นภาพของพื้นที่ปฏิบัติการ หรือภาพการปฏิบัติการรบได้
• คำสั่งยุทธการ แผ่นบริวาร และรายละเอียดอื่นๆ ประกอบ
• ตารางการปฏิบัติของหน่วย
• ภาพร่างแนวความคิดในการปฏิบัติ
• แผนที่สังเขป
• และอื่นๆ
หมายเหตุ ผบ.หน่วย ควรถอดภาพการปฏิบัติต่างๆ ของภารกิจที่เป็นร้อยแก้วในคำสั่งยุทธการของหน่วยเหนือที่ได้
รับมา รวมทั้งข้อมูลข่าวสาร และ หขส. ที่สำคัญอื่นๆ ออกมาเป็นสัญลักษณ์ทางทหาร แล้วนำไปลงไว้ใน ภูมิประเทศ
จำลอง หรือโต๊ะทรายให้มากที่สุด
• ลำดับขั้นตอนการชี้แจงในการให้คำสั่งยุทธการ ผบ.หน่วยควรนำเสนอในลักษณะตามลำดับขั้นตอนของการ
ปฏิบัติการทางยุทธวิธี เพื่อผู้รับฟังคำสั่งยุทธการด้วยวาจาจะได้รับทราบ - เข้าใจภาพการปฏิบัติ
• การรบด้วยวิธีรุก ควรกำหนดลำดับขั้นการชี้แจงให้เห็นภาพการปฏิบัติการจากที่รวมพลขั้นต้นไปจนถึง การ
เสริมความมั่นคงและการจัดระเบียบใหม่ ณ ที่หมาย หรืออื่นๆ
• การรบด้วยวิธีรับ ควรกำหนดลำดับขั้นการชี้แจงให้เห็นภาพการปฏิบัติการจากการปฏิบัติของหน่วยด้านหน้า
แนว ขนพร. (กดป. – กดร.) การปฏิบัติของหน่วยบนแนว ขนพร. ไปจนถึงพื้นที่ส่วนหลัง หรืออื่นๆ
• การรบด้วยวิธีร่นถอย ควรกำหนดลำดับขั้นการชี้แจงให้ เห็นภาพการปฏิบัติการ ณ ที่อยู่ปัจจุบันของหน่วย ไป
จนถึงที่มั่นแห่งใหม่ และหรืออื่นๆตามที่สถานการณ์ทางยุทธวิธีกำหนดไว้
หมายเหตุ ลำดับขั้นการชี้แจง ผบ.หน่วยจะพิจารณาแบ่งเป็นกี่ขั้นของการนำเสนอก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
ของเนื้อหา และความสามารถของผู้ให้
• สถานที่ในการให้คำสั่ง พิจารณาเลือกจุด หรือตำบลที่ทั้งผู้ให้คำสั่งยุทธการด้วยวาจาและผู้ที่มารับคำสั่ง
สามารถมองเห็นพื้นที่ปฏิบัติการได้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการได้มากที่สุด และจะต้องปลอดภัยจากการตรวจการณ์
จากฝ่ายตรงข้ามมากที่สุด
• ลำดับการให้คำสั่ง การให้คำสั่งยุทธการด้วยวาจา จะต้องศึกษาคำสั่งยุทธการที่รับมาจากหน่วยเหนือ, ราย
ละเอียดต่างๆ ให้เข้าใจ กำหนดรูปแบบการให้คำสั่งฯให้มีความสอดคล้องกับลำดับขั้นการปฏิบัติทางยุทธ์วิธีในภารกิจ
ที่ได้รับมอบ จัดลำดับความคิดและลำดับขั้นในการให้คำสั่งยุทธการดังนี้ (ไม่จำเป็นจะต้องเรียงตามหัวข้อในคำสั่ง
ยุทธการแต่องค์ประกอบของเนื้อหาที่ให้คำสั่งจะต้องครบถ้วนสมบูรณ์)
• ลำดับที่ 1 อธิบายลักษณะภูมิประเทศ (ที่เด่น) ของพื้นที่ปฏิบัติการในภาพรวม ประกอบภูมิประเทศจำลองหรือ
ข้อมูลสนามรบ

โต๊ะทราย กับภูมิประเทศจริง (ถ้าทำได้) ตัวอย่างเช่น


1) ทิศเหนือ-ใต้-ตะวันตก-ตะวันออก-เทือกเขา-แม่น้ำลำธาร

คำสั่งการรบ 6 - 35
2) ที่สูงต่ำ-ทางน้ำไหล-ลักษณะพืชพันธุไม้-ลักษณะพื้นผิวดิน
3) ลักษณะภูมิอากาศกลางวันและกลางคืน (ความชื้น ความร้อน ความเร็วลมและทิศทาง)
4) เริ่ม/สิ้นแสงทางทหาร
5) และอื่นๆ
• ลำดับที่ 2 อธิบายลักษณะภูมิประเทศบริเวณใกล้เคียงและภายในพื้นที่ปฏิบัติการ ในลักษณะการเปรียบเทียบ
(เกื้อกูล/ไม่เกื้อกูล) ลักษณะภูมิประเทศบริเวณรอบพื้นที่ปฏิบัติการที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อการปฏิบัติ และในพื้นที่
ปฏิบัติการโดยการนำหัว ข้อพิจารณาลักษณะภูมิประเทศทางทหาร “OCOKA” มาประกอบในการพิจารณา ซึ่งจะ
เป็นการอธิบายเปรียบเทียบความเชื่อมโยงของการปฏิบัติการกับลักษณะภูมิประเทศและบ่งชี้เฉพาะเจาะจงลงไปใน
ลักษณะภูมิประเทศใด เกื้อกูลต่อฝ่ายเรา/ฝ่ายข้าศึก ไม่เกื้อกูลต่อฝ่ายเรา/ฝ่ายข้าศึก เพื่อนำไปใช้ประโยชน์วางแผน
ดำเนินกลยุทธ์ ตัวอย่าง แผนการยิงสนับสนุนไปยังพื้นที่และตำบลต่างๆทั้งที่เป็นภูมิประเทศสำคัญ หรือตำบลอับ
กระสุน, แผนการเคลื่อนที่ของหน่วยดำเนินกลยุทธ์ในพื้นที่ต่างๆ และอื่นๆ
• ลำดับที่ 3 อธิบายถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ที่นำลงไปวาง หรือเขียนลงบนภูมิประเทศจำลองหรือโต๊ะทราย หน่วย
ทางซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-เรา-รอง-อื่นๆ ประกอบด้วยตัวอย่างเช่น ที่ตั้ง ขนาด (นามหน่วย หน่วย ขนาดพื้นที่) ถ้า
สัญลักษณ์มีลักษณะเป็นเส้น เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างหน่วย.......ทอดตัวไปตาม..... จุดประสานการปฏิบัติพิกัด.........
• ลำดับที่ 4 สถานการณ์ฝ่ายข้าศึก กำลัง การวางกำลัง การประกอบกำลัง ที่ตั้ง พฤติกรรม ขวัญ อาวุธ แนวโน้ม
ในการปฏิบัติการในระยะอันใกล้ และอื่นๆ
• ลำดับที่ 5 สถานการณ์ฝ่ายเรา เจตนารมณ์ของหน่วยเหนือ ( 1 หรือ 2 ระดับ) เจตนารมณ์ของ ผบ.หน่วย
กำลัง การประกอบกำลัง และอื่นๆ
• ลำดับที่ 6 ภารกิจ
• ลำดับที่ 7 การปฏิบัติ กลยุทธ, การยิง (ฉากการยิง จุดระดมยิง การเปลี่ยนย้ายที่ตั้งยิง และอื่นๆ) การ
สนับสนุนการรบ/ช่วยรบ
1) กรณีที่หน่วยเคลื่อนที่ {การรบด้วยวิธีรุก การรบด้วยวิธีร่นถ่อย หรือการเคลื่อนย้ายหน่วย} ให้นำแนวขั้นการ
เคลื่อนที่เป็นลำดับการอธิบายไปจนจบภารกิจ และเจาะจงรายละเอียดในการปฏิบัติลงไปในแต่ละแนวขั้นนั้นๆ
2) กรณีปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ ให้นำขั้นการปฏิบัติในการตั้งรับอธิบาย การปฏิบัติของหน่วย กดป. และ กดร,
การปฏิบัติในพื้นที่ตั้งรับและการปฏิบัติบนแนวตั้งรับ การปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ และการปฏิบัติในพื้นที่ส่วนหลัง (
ถ้ามี)
• ลำดับที่ 8 คำแนะนำในการประสานการปฏิบัติ และอื่นๆ
หมายเหตุ
• การอธิบายสัญลักษณ์ต่างๆในภูมิประเทศจำลองหรือบนแผนที่สถานการณ์ สามารถเลือกรูปแบบการอธิบาย
ได้หลายแบบตามความเหมาะสม เช่น การอธิบายตามระบบนาฬิกา ตามเข็ม หรือ ทวนเข็มนาฬิกา, จากซ้ายไปขวา
หรือ จากขวามาซ้าย, การอธิบาย จากล่างขึ้นบน หรือ จากบนลงล่าง และอธิบายไปตามลำดับขั้นในการปฏิบัติทาง
ยุทธวิธี หรือลำดับขั้นการปฏิบัติของหน่วย
• การอธิบายต่างๆนั้น อาจเรียงลำดับของหน่วยดังนี้ เหนือ-เคียง-รอง-เรา-หน้า-หลัง
• ผบ.หน่วยจะต้องทำในลำดับขั้นตอนการให้คำสั่งยุทธการคือ จะต้องอธิบายในลำดับที่ 1 และ 2 ก่อนเสมอ
(ตามลำดับ) ส่วนในลำดับอื่นๆนั้น ผบ.หน่วย จะต้องพิจารณานำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม (ข้อมูล-ความสามารถของ
ผู้ให้)
• ตัวอย่าง แนวทางในการให้คำสั่งยุทธการ (ภารกิจเข้าตีเวลากลางคืน)
ผบ.หน่วย (ผบ.ร้อย) ให้คำสั่งแก่ส่วน ลว. (การลาดตระเวนหาข่าวเป็นเขต) ของหน่วยเพื่อทำการ ลว.ตรวจ
ภูมิประเทศ กำหนด (เส้นทางการเคลื่อนที่เวลาการคืน แนววางกำลัง ที่ตั้งจุดแยก มว. หมู่ และอื่นๆ) แนวปรับรูป
ขบวน ลักษณะของที่หมาย พฤติกรรมของข้าศึก และอื่นๆ เพื่อนำข้อมูลข่าวสารล่าสุดให้ ผบ.หน่วยใช้ในการวางแผน
ข้อมูลสนามรบ

และให้คำสั่งด้วยวาจาในภารกิจเข้าตีเวลากลางคืนสามารถกำหนดขั้นการปฏิบัติได้กว้างๆ เป็น 3 ขั้น




6 - 36 คำสั่งการรบ
• ขั้นการศึกษา - จัดเตรียมข้อมูล
1) ผบ.หน่วย จะต้องทำการศึกษาข้อมูลข่าวสารทั้งหมดที่ได้รับมา แล้วทำการถอดข้อความออกมาเป็น
สัญลักษณ์ทางทหาร หรือใช้สัญลักษณ์อื่นใดที่มีการตกลง ทั้งนี้ ผบ.หน่วย จะต้องมีการชี้แจงให้ทราบก่อนล่วงหน้า
หรือก่อนให้คำสั่ง เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปลงในโต๊ะทราย หรือภูมิประเทศจำลองให้มากที่สุด ตัวอย่างข้อมูลที่จะต้อง
ศึกษา เช่น
• คำสั่งยุทธการของหน่วยเหนือและรายละเอียดประกอบ
• ลักษณะภูมิประเทศ ที่สูงต่ำ ทางน้ำไหล พืชพันธุ์ไม้ ลักษณะพื้นผิวดินและลักษณะการลาดเอียง (ในขั้นต้น
ด้วยการ ลว.บนแผนที่) สภาพลมฟ้าอากาศ สิ้น/เริ่มแสงทางทหาร
• ข้อพิจารณาภูมิประเทศทางทหาร “OCOKA” ณ จุดหรือพื้นที่ใดที่เกื้อกูล-ไม่เกื้อกูลต่อฝ่ายเรา/ข้าศึก
• ข้อมูลฝ่ายเรา/ฝ่ายข้าศึก ที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วย ลว.
• ข้อมูลจุดผ่านหน่วยในแนวหน้า เพื่อออก ลว.
• อื่นๆ
2) ผบ.หน่วย ซักซ้อมทำความเข้าใจ กำหนดแบ่งพื้นที่การให้คำสั่งฯ เพื่อการเจาะจงลงในรายละเอียดที่สำคัญ
และหรือ กำหนด หขส. ต่างๆ ในขั้นนั้นๆ ตัวอย่างการกำหนดพื้นที่เช่น
• จากหน้าแนววางกำลังฝ่ายเดียวกันไปจนถึงแนวปรับรูปขบวน (อาจแบ่งย่อยเป็น 2 หรือ 3 พื้นที่เพิ่มเติมได้
ตามความเหมาะสม)
• หรือ อาจแบ่งไปตามลักษณะในความรับผิดชอบในการ ลว. (จุดแยกต่างๆ)ตัวอย่างเช่น จากจุดออกตี ไปถึง
จุดแยก มว. จากจุแยก มว. ไปถึง จุดแยก หมู่ จากจุดแยกหมู่ ไปถึง แนวปรับรูปขบวน จาก แนวปรับรูปขบวน ไปถึง
ที่หมาย และแนววางกำลังในการเสริมความมั่นคงและจัดระเบียบใหม่
• ขั้นการกำหนด หขส.
• จากจุดออกตีจนถึงแนวประสานการปฏิบัติขั้นสุดท้าย ตัวอย่างเช่น ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ? ทั้ง
เกื้อกูล/ไม่เกื้อกูลต่อฝ่ายเรา [ ให้นำข้อพิจารณาภูมิประเทศทางทหาร “OCOKA”มาใช้ ]
• จากแนวปรับรูปขบวน ไปถึง ที่หมาย (ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ? ทั้งเกื้อกูล/ไม่เกื้อกูลต่อฝ่ายเรา) ขนาด
ของที่หมาย? จำนวนข้าศึก? ชนิดของอาวุธและที่ตั้ง? ที่ตั้งในส่วนการควบคุมบังคับบัญชา? พฤติกรรมของข้าศึก (
ขวัญ วินัย)? ลักษณะในการดัดแปลงที่หมาย? ภาพถ่ายของที่หมาย และอื่นๆ [ ให้นำข้อพิจารณาภูมิประเทศทาง
ทหาร “OCOKA”มาใช้ ]
• ขั้นการชี้แจงแก่หน่วย ลว.
• ลำดับที่ 1 กล่าวทักทายต่อกำลังพลทั่วๆ ไปพร้อมตรวจยอดและความพร้อมของหน่วย ลว.
ข้อมูลสนามรบ

• ลำดับที่ 2 ชี้แจงสัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีอยู่บนโต๊ะทราย หรือภูมิประเทศจำลอง ประกอบกับ ภูมิประเทศ


จริง (ถ้าทำได้) และลำดับภาพหรือพื้นที่ในการชี้แจง

คำสั่งการรบ 6 - 37
• ลำดับที่ 3 ชี้แจงลักษณะภูมิประเทศในภาพรวม(ที่สูงต่ำ-ทางน้ำไหล-พืชพันธุ์ไม้ ลักษณะพื้นผิวดินและ
ลักษณะการลาดเอียง-สภาพลมฟ้าอากาศ-สิ้น-เริ่มแสงทางทหาร และอื่นๆ) เท่าที่
ผบ.หน่วยมี และ ด้วยการ ลว.บนแผนที่
• ลำดับที่ 4 ชี้แจงลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปฏิบัติการในลักษณะเชิงชี้โดยนำข้อพิจารณาภูมิประเทศทาง
ทหาร “OCOKA” มาใช้ทั้งระบุในขั้นต้นว่า ณ จุดหรือพื้นที่ใดที่เกื้อกูล - ไม่เกื้อกูลต่อฝ่ายเรา/ข้าศึก
• ลำดับที่ 5 ข้อมูลฝ่ายเรา (การสนับสนุน การช่วยเหลือ เครื่องมือพิเศษ และอื่นๆ) ที่เป็นประโยชน์ต่อ
หน่วย ลว.
• ลำดับที่ 6 ข้อมูลฝ่ายข้าศึก (ขีดความสามารถ ขวัญ อุปกรณ์พิเศษในการตรวจการณ์ หรือตรวจจับความ
เคลื่อนไหว และอื่นๆ) ที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วย ลว.
• ลำดับที่ 7 ข้อมูลจุดผ่านหน่วยในแนวหน้า เพื่อออกไป ลว.
• ลำดับที่ 8 หขส. ที่ ผบ.หน่วยต้องการจะต้องเรียงลำดับความสำคัญตามแนวการแบ่งพื้นที่การชี้แจงตามที่
กล่าวไว้ในลำดับที่ 2
• ลำดับที่ 9 งานการปรับเส้นทางเคลื่อนที่และพื้นที่วางกำลังแต่จะต้องไม่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามตรวจพบ /ไม่
เสียภารกิจส่วนรวม จะกระทำเมื่อมีความจำเป็นและสถานการณ์ทางยุทธวิธีเอื้ออำนวยให้ส่วน ลว. ที่ได้รับมอบหมาย
ให้เฝ้าดูแลพื้นที่ในความรับผิดชอบของตนสามารถดำเนินการได้ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อหน่วยในการเคลื่อนที่ใน
เวลากลางคืน (เศษไม้กิ่งไม้ที่อาจทำให้เกิดเสียงดัง เจาะช่องทางเคลื่อนที่)
• ลำดับที่ 10 ส่วนเฝ้าตรวจระวังป้องกัน ณ ตำบลที่สำคัญ เช่น ที่ตั้งการสนับสนุนต่างๆ จุดออกตี เส้นทาง
ในภูมิประเทศที่สำคัญ จุดแยกต่างๆ และแนวปรับรูปขบวน เพื่อเป็นมาตรการป้องกันในการถูกซุ่มโจมตีจากฝ่ายข้าศึก
• ลำดับที่ 11 คำแนะนำในการประสานการปฏิบัติ เวลาที่ข้อรับข้อมูล (ตำบล เวลา) และอื่นๆ
หมายเหตุ ผบ.หน่วยจะต้องสอบถามความเข้าใน
ภารกิจก่อนแยกไปปฏิบัติและตั้งเวลาให้ตรงกัน การให้คำสั่ง
ยุทธการด้วยวาจาแก่หน่วยรองจะเป็นโอกาสอันดีที่ ผู้บังคับ
หน่วยจะได้แสดงศักยภาพและขีดความสามารถของตนเองให้
ผู้บังคับบัญชา, หน่วยรองและผู้ใต้บังคับบัญชา ได้เห็นและ
รับรู้ถึงขีดความสามารถ ผบ.หน่วย และจะยังเป็นการ
แสดงออกถึงลักษณะผู้นำในหลายประการตัวอย่างเช่น การ
เป็นผู้ที่มีความรู้ (Knowledge) เป็นสิ่งที่จะต้องมีอยู่ในตัวผู้
บังคับบัญชามิใช่แต่เฉพาะงานในหน้าที่เท่านั้นหรือในวงการ
ทหาร แต่ควรมีความรู้ครอบคลุมไปในสาขาวิชาชีพอื่นๆ
ด้วย การเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น เป็นการแสดงออกถึง
ความสนใจเอาใจใส่ในงานนั้นตามที่ได้รับมอบ และ ความ
เป็นผู้เชื่อถือได้ เป็นลักษณะของการได้รับความเชื่อถือ ความ
ไว้วางใจ ความเชื่อมั่นในการปฏิบัติภารกิจจากผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา แนวทางในข้างต้นนี้เป็นเพียง
แนวทางหนึ่งเท่านั้น จึงขอให้นำไปประยุกต์ใช้

4. การบรรยายสรุปกลับของ ผบ.หน่วยรอง
1) การบรรยายสรุปกลับ เป็นส่วนหนึ่งของกรรมวิธีการบังคับบัญชาและการควบคุมหน่วยของผู้บังคับบัญชา
ซึ่งจะเป็นกระบวนการหนึ่งที่อยู่ในระเบียบการนำหน่วย 8 ขั้น
ขั้นที่ 1 รับภารกิจ (Receive mission)
ขั้นที่ 2 การออกคำสั่งเตือน (Issue Warning Order)
ข้อมูลสนามรบ

ขั้นที่ 3 จัดทำแผนขั้นต้น (Make a tentative Plan)


ขั้นที่ 4 เริ่มต้นการเคลื่อนย้ายที่จำเป็น (Initiate Movement)

6 - 38 การบรรยายสรุปกลับ
ขั้นที่ 5 การลาดตระเวนตรวจภูมิประเทศ (Conduct Reconnaissance)
ขัน้ ที่ 6 การทำแผนสมบูรณ์ (Complete Plan)
ขั้นที่ 7 ให้คำสั่งสมบูรณ์ (Issue the Complete Order)
[ครั้งที่ 1] การบรรยายสรุปกลับของหน่วยรอง จะกระทำทันที หลังจากที่ ผบ.หน่วยได้ให้คำสั่งยุทธการแก่
หน่วยรองแล้ว
ขั้นที่ 8 กำกับดูแล (Supervise)
[ครั้งที่ 2] การบรรยายสรุปกลับของหน่วยรองจะกระทำก่อนที่ ผบ.หน่วยรองให้คำสั่งยุทธการด้วยวาจาแก่
หน่วยของตนเอง หรือจะอยู่ในขั้นที่ 6 การทำแผนสมบูรณ์ (Complete plan ) ของหน่วยรอง
การบรรยายสรุปกลับ และการซักซ้อม เป็นการปฏิบัติในลักษณะการบังคับบัญชาและการควบคุมของ ผบ.หน่วย
ต่อ ผบ.หน่วยรอง
2) การบรรยายสรุปกลับจะมุ่งเน้นไปยังความเข้าใจ และการดำเนินกรรมวิธีของแผน (ความเข้าใจ การแปลง
แผนของหน่วยเหนือเป็นแผนของหน่วยตนเอง)
3) การซักซ้อมจะมุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติของหน่วย (การปฏิบัติแต่ละขั้นตอนของหน่วยรองมีความประสาน
สอดคล้องกันหน่วยเหนือ-หน่วยรอง-หน่วยทางซ้าย-หน่วยทางขวา)
4) การบรรยายสรุปกลับกระทำได้ 2 กรณี
• กรณีที่หน่วยไม่มีเวลา หน่วยจะทำการการบรรยายสรุปกลับของ ผบ.หน่วยรอง จำนวน 1 ครั้ง โดยมี
กรอบแนวคิดในการปฏิบัติดังนี้
1) การปฏิบัติการบรรยายสรุปกลับจะอยู่ในขั้นที่ 7 การให้คำสั่งสมบูรณ์ (Issue the
Complete Order) ของระเบียบการนำหน่วย 8 ขั้น ของหน่วยเหนือ
2) การบรรยายสรุปกลับของหน่วยรองจะกระทำทันที หลังจากที่ ผบ.หน่วยได้ให้คำสั่งยุทธการแก่หน่วยรอง
จบลงแล้ว (ตารางที่ 1)
3) สถานที่ จะกระทำ ณ ที่ที่ ผบ.หน่วยให้คำสั่งยุทธการด้วยวาจาแก่หน่วยรอง
4) เพื่อเป็นการ สร้างความมั่นใจของ ผบ.หน่วย ว่า ผบ.หน่วยรอง มีความเข้าใจในแผนและ
คำสั่งฯ ที่ ผบ.หน่วย ได้ให้แก่หน่วยรองหรือไม่
5) ผบ.หน่วยรอง สามารถทำการซักถาม กรณีที่มีข้อสงสัย
6) ในขั้นตอนนี้
• อาจมีการแลกเปลี่ยนข่าวสาร, เทคนิคการปฏิบัติซึ่งกันและกัน หรือการประสานงานระหว่างหน่วย
• ผบ.หน่วยรอง จะทำการชี้แจงในส่วนของแผนที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ที่รับจาก ผบ.หน่วยตนเอง
7) อื่นๆ (แต่จะใช้เวลาไม่มาก เพื่อไม่ให้กระทบกับเวลาของหน่วยรอง)
บรรยายสรุปกลับ ผบ.หน่วย(รอง)
ครั้งที่ 1
ลำดับที่ 1 ผู้บังคับหน่วยชี้แจงลำดับขั้นการสรุปกลับและให้หน่วยรองชี้แจง
ลำดับที่ 2 หน่วยรบ [หลัก] : หน่วยที่ได้รับมอบอำนาจการยิงหรือ
การสนับสนุนต่างๆ เป็นลำดับแรก
ลำดับที่ 3 หน่วยรบ [สนับสนุน] : หน่วยที่ได้รับมอบอำนาจการยิงหรือ
การสนับสนุนต่างๆ เป็นลำดับสอง
ลำดับที่ 4 หน่วยรบ [กองหนุน] : หน่วยที่ได้รับมอบอำนาจการยิงหรือ
การสนับสนุนต่างๆ เป็นลำดับสาม
ลำดับที่ 5 หน่วยสนับสนุนการรบ (ถ้ามี)
ลำดับที่ 6 หน่วยสนับสนุนการช่วยรบ (ถ้ามี)
ข้อมูลสนามรบ

ลำดับที่ 7 อื่นๆ (ถ้ามี)


ตารางที่ 1 ลำดับการบรรยายสรุปครั้งที่ 1
การบรรยายสรุปกลับ 6 - 39
• กรณีที่หน่วยมีเวลา และไม่กระทบกระเทือนของเวลาการนำหน่วยของหน่วยรองมากเกินไป หน่วยจะ
ทำการบรรยายสรุปกลับของ ผบ.หน่วยรอง จำนวน 2 ครั้งดังนี้
1) ครั้งที่ 1 การบรรยายสรุปกลับของหน่วยรอง ตามแนวทางปฏิบัติตามที่นำเสนอให้ในข้างต้น
2) ครั้งที่ 2 การบรรยายสรุปกลับของหน่วยรองจะกระทำก่อนหน่วยรองให้คำสั่งยุทธการด้วยวาจา จะอยู่ใน
ขั้นที่ 8 กำกับดูแล (supervise) ของหน่วยเหนือ หรือในขั้นที่ 6 การทำแผนสมบูรณ์ (Complete Plan) ของหน่วยรอง (
ตารางที่ 2) โดยจะมีกรอบแนวความคิดในการปฏิบัติดังนี้
1) การปฏิบัติการบรรยายสรุปกลับจะอยู่ในขั้นที่ 8 การกำกับดูแล (Supervise) ของหน่วยเหนือ การบรรยาย
สรุปกลับของหน่วยรองจะกระทำก่อนที่หน่วยรองให้คำสั่งยุทธการด้วยวาจา หรือจะอยู่ในขั้นที่ 6 การทำแผนสมบูรณ์
(Complete Plan) ของหน่วยรอง
2) สถานที่ จะกระทำการบรรยายสรุปกลับ ณ ที่ที่ ผบ.หน่วยเป็นผู้กำหนด
3) เป็นการกระทำหลังจากที่ ผบ.หน่วย ได้ให้คำสั่งยุทธการด้วยวาจาแก่หน่วยรองเสร็จ
เรียบร้อยแล้ว (ขั้นตอนนี้จะกระทำ ก่อน ที่ ผบ.หน่วยรองของตนจะให้คำสั่งยุทธการด้วยวาจาแก่หน่วยตน)
4) เวลา ในการบรรยายสรุปกลับ ที่ ผบ.หน่วยเหนือจะเลือกใช้ จะอยู่ในขั้นที่ 6 การทำแผนสมบูรณ์ของหน่วย
รอง คือเป็นเวลาก่อนที่หน่วยรองจะทำการให้คำสั่งยุทธการด้วยวาจาแก่หน่วยของตนเอง (หน่วยรองทำแผนสมบูรณ์
เสร็จเรียบร้อยแล้ว)
5) เพื่อสร้างความมั่นใจของ ผบ.หน่วย ว่า ผบ.หน่วยรอง
• มีความเข้าใจในคำสั่งยุทธการที่ ผบ.หน่วย ได้ให้แก่ ผบ.หน่วยรอง หรือไม่
• ผบ.หน่วยรอง ในทุกระดับ สามารถแปลงคำสั่งยุทธการของหน่วย เป็นแผนและคำสั่งยุทธการของหน่วยตนเอง
(หน่วยรอง) ได้หรือไม่
• แผนและคำสั่งยุทธการของหน่วยรองไม่ขัดกับแผน/คำสั่งฯ/วัตถุประสงค์/เจตนารมณ์
ของหน่วยเหนือ
• ในโอกาสนี้ ผบ.หน่วยจะได้รับทราบแนวความคิดในการจัดทำแผน/คำสั่งยุทธการของหน่วยรองพร้อมกันทุกหน่วย
• และยังเป็นโอกาสที่ ผบ.หน่วย จะใช้ห้วงเวลานี้ทำการปรับแก้ไขแผน/คำสั่งฯ ของหน่วยรอง เพื่อให้แผน
ปฏิบัติการของหน่วยในภาพรวมมีการประสานสอดคล้องของแผนต่างๆ ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
6) ในขั้นตอนนี้
• อาจมีการแลกเปลี่ยนข่าวสาร, เทคนิคการปฏิบัติซึ่งกันและกัน หรือการประสานงานระหว่างหน่วยเพิ่มเติมของ
แผน/คำสั่งฯ
• ผบ.หน่วย อาจมีการสั่งการเพิ่มเติมเน้นย้ำในข้อห้วงใยบางประเด็น หรือในบางสถานการณ์ทางยุทธวิธี เพื่อ
ให้ ผบ.หน่วยรอง ได้มุ่งประเด็นไปที่สถานการณ์นั้นๆ ให้มากขึ้น พร้อมกับเตรียมแผนรองรับต่อผลที่จะเกิดขึ้น

บรรยายสรุปกลับ ผบ.หน่วย (รอง)
ครั้งที่ 2
ลำดับที่ 1 ผู้ดำเนินรายการชี้แจงวัตถุประสงค์-เป้าหมายที่ต้องการ-ลำดับขั้นการสรุปกลับ
ลำดับที่ 2 ผู้ดำเนินรายการชี้แจงเจตนารมณ์/ภารกิจของหน่วยเหนือและ หน่วยตนเองเพื่อทบทวนความเข้าใจ
ลำดับที่ 3 หน่วยรบ [หลัก] (เข้าตีหลัก-ตั้งรับหลัก) ชี้แจง ภารกิจ การปฏิบัติกลยุทธ์ การยิง การรบ/การ
สนับสนุนการช่วยรบ ( แผนหลัก-แผนเผชิญเหตุ) และอื่นๆ
ลำดับที่ 4 หน่วยรบ [สนับสนุน] (เข้าตีรอง-ตั้งรับรอง)ชี้แจง ภารกิจ การปฏิบัติ กลยุทธ์ การยิง การรบ/ การ
สนับสนุนการช่วยรบ ( แผนหลัก-แผนเผชิญเหตุ) และอื่นๆ
ลำดับที่ 5 หน่วยรบ [กองหนุน]
ลำดับที่ 6 หน่วยสนับสนุนการรบ (ถ้ามี)
ลำดับที่ 7 หน่วยสนับสนุนการช่วยรบ (ถ้ามี)
ลำดับที่ 8 อื่นๆ (ถ้ามี)
ข้อมูลสนามรบ

ลำดับที่ 9 ผู้ดำเนินรายการสรุปหรือ ผบ.หน่วย กล่าวเน้นย้ำสิ่งสำคัญบางประการ



ตารางที่ 2 ลำดับขั้นการบรรยายสรุปครั้งที่ 2
6 - 40 การบรรยายสรุปกลับ
ตารางเปรียบเทียบการบรรยายสรุปกลับ
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2
1. ตรวจสอบว่า ผบ.หน่วยรองเข้าใจในแผน/คำสั่ง 1. ผบ.หน่วยรับทราบแผนปฏิบัติการของหน่วยรอง
ที่ ผบ.หน่วยให้หรือไม่ 2. ผบ.หน่วยปรับแก้แผน(ถ้าจำเป็น)ของหน่วยรอง เพื่อ
2. ผบ.หน่วยรอง ทำการประสานแผน- ให้ให้แผนของหน่วยรองทุกหน่วยมีความประสาน
แลกเปลี่ยนข่าวสารในขั้นต้นกับส่วนที่ สอดคล้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และเป็นไปตาม
เกี่ยวข้อง(หน่วยเหนือ-หน่วยข้างเคียง และอื่นๆ เจตนารมณ์ของตนเองและหน่วยเหนือ
)เพื่อนำข้อมูลไปจัดทำแผนของตนเอง 3. ผบ.หน่วยรองทำการประสานกับส่วนที่เกี่ยวข้องกรณี
3. ผบ.หน่วยรองทำการสอบถามกรณีที่ไม่เข้าใจใน ที่ ผบ.หน่วยเหนือทำการปรับแก้แผน
แผนและคำสั่ง และอื่นๆที่ ผบ.หน่วยเหนือให้ 4. อยู่ใน ขั้นที่ 8 การกำกับดูแล ของระเบียบการนำ
คำสั่งฯ หน่วยของหน่วยเหนือ และจะอยู่ใน ขั้นที่ 6 ทำ
4. อยู่ใน ขั้นที่ 7 ให้คำสั่งด้วยวาจา ของ แผนสมบูรณ์ของระเบียบการนำหน่วยของหน่วย
ระเบียบการนำหน่วยของหน่วยเหนือ รอง
5. สถานที่ กระทำ ณ ที่ที่ ผบ.หน่วยเหนือให้คำสั่ง 5. สถานที่ จะให้ที่ใดก็ได้อยู่ในดุลยพินิจของ ผบ.หน่วย
ยุทธการด้วยวาจาผบ.หน่วยกล่าวเน้นย้ำ แต่จะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการบรรยาย
6. ข้อห้วงใย แก่ ผบ.หน่วยรองเกี่ยวกับ สรุปกลับอย่างเหมาะสม เช่น แผนที่สถานการณ์ หรือ
- การจัดทำแผน โต๊ะทราย และอื่นๆ
- และอื่นๆ 6. ทบทวน ภารกิจ/เจตนารมณ์ของหน่วยตนเองและ
หน่วยเหนือ 1 ระดับ
7. ข้อห่วงใย ผบ.หน่วยกล่าวเน้นย้ำ แก่ ผบ.หน่วยรอง
เกี่ยวกับ
- การปรับแก้แผน(ถ้ามี)
- สถานการณ์ทางยุทธวิธีบางประการ
- และอื่นๆ

ดังนั้นกรณีที่ ผบ.หน่วย ตกลงใจให้มีการดำเนินการบรรยายการสรุปกลับของ ผบ.หน่วยรอง ควรจะต้องมีการแจ้ง
เตือนแก่หน่วยรองให้รับทราบถึงลำดับขั้นการปฏิบัติให้ทราบก่อนล่วงหน้า แนวทางการบรรยายสรุปกลับ
หมายเหตุ
• ผบ.หน่วยเหนือจะต้องพิจารณาแล้วว่าเวลาที่ใช้ไปในการสรุปกลับของ ผบ.หน่วยรองและหน่วยที่เกี่ยวข้อง
จะไม่ทำให้เวลาของหน่วยรองและหน่วยที่เกี่ยวข้องน้อยลงในการปฏิบัติตามระเบียบการนำหน่วย
• เป็นเพียงแนวทางหนึ่งเท่านั้น หน่วยสามารถนำไปดัดแปลงใหม่ได้
• กรณีที่ 1 หน่วยไม่มีเวลาจะกระทำครั้งเดียว คือจะกระทำหลังจากรับคำสั่งยุทธการจบทันที
• กรณีที่ 2 หน่วยมีเวลาเพียงพอจะกระทำ 2 ครั้ง คือจะกระทำหลังจากรับคำสั่งยุทธการจบทันที และจะกระทำ
อีกครั้งก่อนที่ ผบ.หน่วยรองจะให้คำสั่งยุทธการแก่หน่วยตนเอง

ข้อมูลสนามรบ

การบรรยายสรุปกลับ 6 - 41
คำสั่งยุทธการ (Operation Order (OPORD))
เป็นคำสั่งที่ออกโดยผู้บังคับบัญชาไปยังผู้บังคับหน่วยรองเพื่อให้ทราบข้อมูลข่าวสารที่สำคัญต่อการปฏิบัติการยุทธ์
คำสั่งยุทธการโดยปกติจะระบุเวลาและวันที่ปฏิบัติ

ตัวอย่างแบบฟอร์มคำสั่งยุทธการของกองร้อยทหารช่างสนาม

(ประเภทเอกสาร)
(แสดงประเภทเอกสารไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษด้านบน และด้านล่าง ทุกหน้าของแผน/คำสั่ง)

ชุดที่ ของ ชุด
หน้าที่ ของ หน้า
บก.หน่วยที่จัดทำ
สถานที่ออกคำสั่ง/แผน
กลุ่ม วัน – เวลา ที่ลงนาม
หมายเลขอ้างอิง
(หมายเลข)
คำสั่งยุทธการ (แผนยุทธการ).................. (รหัส)
อ้างอิง : แผนที่หรือสิ่งอ้างอิงอื่นถ้ามีความจำเป็น
เขตเวลาที่ถูกใช้ตลอดคำสั่ง : (ตามความจำเป็น)
การจัดเฉพาะกิจ : ตามระยะการปฏิบัติ โดยอธิบายถึงหมวดและเครื่องมือพิเศษทั้งหมด รวมถึงการบังคับบัญชาหรือ
การสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง
1. สถานการณ์
ก.ฝ่ายตรงข้าม
1) สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ประกอบด้วย
ก) คุณลักษณะของภูมิประเทศที่สำคัญและรายละเอียดที่สำคัญต่อการรบ (OCOKA)
ข) ความได้เปรียบและเสียเปรียบทางยุทธวิธีและการปฏิบัติการทางช่างของฝ่ายตรงข้ามและฝ่ายเรา
ค) ข้อมูลที่จำเป็น และสภาพภูมิอากาศที่คาดว่ามีผลกระทบภารกิจ
2) การประกอบกำลัง อำนาจในการควบคุม และจุดแข็งของฝ่ายตรงข้าม ประกอบด้วย
ก) ค้นหาจุดสมดุลของข้าศึกที่เป็นหน่วยสนับสนุนและคาดว่าจะทำการเข้าตีในส่วนนั้น (หรือเป็นที่ตั้ง
ของกองพัน หรือจุดแข็งแรง) หรือในเขต รวมทั้งระบุหน่วยข้างเคียงของข้าศึก – ที่สามารถเป็นกองหนุนของข้าศึก ทั้ง
การเข้าตีและการป้องกันตน
ข) รายนามหน่วยและชนิดของฝ่ายตรงข้าม ลงรายละเอียดถึงการประกอบกำลัง จุดมุ่งหมายในการจัดตั้ง
หน่วย ที่ตั้งหน่วย ขนาด และขีดความสามารถ
ค) รายละเอียดการปฏิบัติของฝ่ายตรงข้ามที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน
ง) จำแนกข้อมูลที่ควรทราบ และสถานที่ตั้งของฝ่ายตรงข้าม หรือการปฏิบัติของฝ่ายตรงข้าม
3) ขีดความสามารถของฝ่ายตรงข้าม ประกอบด้วย
ก) ขีดความสามารถในการรบ (ระยะ และทิศทางของอาวุธยิงเล็งตรงและเล็งจำลอง กำลังตีโต้ตอบ
กองหนุน นคช. และความสามารถในการสนับสนุน)
ข) การสนับสนุนในการเคลื่อนที่ การต่อต้านการเคลื่อนที่ และความอยู่รอดในสนามรบ ทั้งนี้รวมถึงจำนวน
แบบ ที่ตั้ง และการใช้เครื่องมือในการเจาะ และจำนวน แบบ ที่ตั้ง และในการใช้เครื่องกีดขวางทางยุทธวิธี และ เครื่อง
ข้อมูลสนามรบ

กีดขวางป้องกันตน จำนวน แบบ และการใช้ทุ่นระเบิดแบบโปรยหว่าน และระดับของงานป้อมสนาม สำหรับยาน


พาหนะ และทหารราบ มีมากน้อยเพียงใด
6 - 42 คำสั่งยุทธการ
4) เจตนารมณ์ ประกอบด้วย
ก) หนทางการปฏิบัติ (หป.) ที่มีความเป็นไปได้ และหนทางปฏิบัติ (หป.) อันตรายที่สุดของฝ่ายตรงข้าม
ข) วิธีการตอบโต้ของข้าศึกต่อการเข้าตี หรือการป้องกันตนของฝ่ายเรา (โดยเฉพาะการใช้รูปแบบการ
เคลื่อนที่ การต่อต้านการเคลื่อนที่ และการปฏิบัติเพื่อความอยู่รอดของข้าศึก)
ค) การปฏิบัติที่สำคัญของข้าศึกที่ซึ่ง ผบ.มว. ควรจะมองหาในระหว่างการรบ

หมายเหตุ เมื่อบรรยายสรุปคำสั่งยุทธการ ควรใช้แผนที่สังเขป หรือใช้โต๊ะทรายสำหรับการอธิบายสถานการณ์ของ
ข้าศึก หรือใช้แผนที่พร้อมแผ่นบริวารสำหรับการอธิบายในกลุ่มย่อย

ข. ฝ่ายเรา
1) หน่วยเหนือ ประกอบด้วย
ก) ภารกิจของกำลังเฉพาะกิจ ความตั้งใจของผู้บัญชาการกองกำลังเฉพาะกิจ แผนทางยุทธวิธีของกำลัง
เฉพาะกิจ/แนวความคิดของยุทธวิธี ทั้งนี้ต้องมีความสมบูรณ์อย่างเพียงพอที่ ผบ.มว. เข้าใจการยิง (รวมถึงแผนการยิง
ด้วยอาวุธยิงเล็งตรงและยิงเล็งจำลอง) และแผนทางยุทธวิธีของหน่วยสนับสนุน)
ข) แผนของการปฏิบัติการทางการช่าง เพื่อสนับสนุนแผนทางยุทธวิธีของกำลังเฉพาะกิจและอนุผนวก
แนบท้าย
2) หน่วยข้างเคียง
ก) รวมถึงภารกิจ/ผลที่ตามมา/กำลังทางยุทธวิธีของหน่วยข้างเคียง เมื่อสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อหน่วย
สนับสนุนและต่อภารกิจของกองร้อยทหารช่างสนาม โดยเฉพาะรวมถึงหน่วยทหารช่างข้างเคียง ถ้ามีความเหมาะสม
ข) ระบุหน่วยที่ด้านปีก ด้านหน้า และที่เป็นไปได้ที่ด้านหลัง
ค. การขึ้นสมทบและการเลิกสมทบ
1) จะไม่รวมอยู่ในย่อหน้านี้ ถ้าหน่วยขึ้นสมทบหรือหน่วยเลิกสมทบ มีความชัดเจนในการบรรยายสรุปการ
จัดหน่วยตามภารกิจ ณ.จุดเริ่มของคำสั่งยุทธการ
2) รวมถึงการขึ้นสมทบและการเลิกสมทบให้กับ หรือจาก อจย.ของกองร้อยทหารช่างสำหรับภารกิจและ
ช่วงเวลาที่มีผลบังคับใช้

ตัวอย่าง
การขึ้นสมทบ : ชุดติดต่อการซ่อมบำรุง และชุดแพทย์ถูกจัดให้ขึ้นสมทบกับกองร้อยมีผลบังคับใช้
การเลิกสมทบ : มว.ช.ที่ 1 ขึ้นควบคุมทางยุทธการกับพัน.ร.ที่ .........ในขั้นที่ 1-3 มีผลบังคับใช้.............
: มว.ช.ที่ 2 ขึ้นควบคุมทางยุทธการกับพัน.ร.ที่ .........ในขั้นที่ 1-3 มีผลบังคับใช้..............

หมายเหตุ
1. เมื่อบรรยายสรุปคำสั่งยุทธการ ใช้แผ่นภาพสังเขปหรือโต๊ะทรายสำหรับการอธิบายสถานการณ์ฝ่ายเรา หรือ
ใช้แผนที่ประกอบแผ่นบริวารสำหรับการอธิบายให้กับกลุ่มย่อย ทั้งนี้อาจประกอบรวมไปด้วยแผ่นภาพสังเขป
สถานการณ์ของข้าศึก
2. เมื่อบรรยายสรุปคำสั่งยุทธการ ใช้แผ่นภาพสังเขปหรือโต๊ะทรายสำหรับการอธิบายแผนการปฏิบัติของทหาร
ช่าง หรือใช้แผนที่ประกอบแผ่นบริวารสำหรับการอธิบายให้กับกลุ่มย่อย ทั้งนี้อาจรวมถึงการประกอบกันของแผ่นภาพ
สังเขปของสถานการณ์ของฝ่ายเรา

2. ภารกิจ
ข้อมูลสนามรบ

ก. ประกอบด้วยข้อความที่ชัดเจน กะทัดรัด ของภารกิจของกองร้อยทหารช่างแสดงถึง ใคร ทำอะไร ที่ไหน


เมื่อไร และอย่างไร ใครในที่นี้หมายถึงกองร้อยทหารช่าง ผู้บังคับกองร้อยทหารช่าง ตกลงใจบนพื้นฐานของการ

คำสั่งยุทธการ 6 - 43
วิเคราะห์ภารกิจในหัวข้อ อะไร เมื่อไร ที่ไหน และอย่างไร ภารกิจสำคัญที่ผู้บังคับกองร้อยทหารช่างระบุเป็นพื้นฐาน
ตามแบบฟอร์มของกองร้อยทหารช่างเกี่ยวกับภารกิจ
ข. ผู้บังคับกองร้อยทหารช่างควรมีลักษณะเฉพาะตัวเท่าที่จะเป็นไปได้การจัดกำลังตามภารกิจ ความสัมพันธ์
ของการบังคับบัญชาและการสนับสนุน หรือปัจจัยอื่นที่อาจจะจำกัดความเป็นเฉพาะตัวของการเขียนข้อความตาม
ภารกิจ

ตัวอย่าง
การเข้าตี : ร้อย.ช.สนาม สร้างช่องทางผ่าน 2 ช่องทางบนแกนแดงและที่จุดหมายซูลู และวางเครื่อง
กีดขวางสถานการณ์บริเวณใกล้เคียงแนวขั้นเขียว 030500 ธ.ค.2555 เพื่อสนับสนุนกำลัง กรม.ร.ฉก. ในการเข้า
ตีและยอมให้การเปิดเส้นทางไปข้างหน้าของกำลังที่ตามมา
การตั้งรับ : ร้อย.ช.สนาม สร้างเครื่องกีดขวางและเตรียมที่ตั้งต่อสู้เพื่อสนับสนุนการตั้งรับของกรม.ร.
ฉก.ใน 030500 ธ.ค.2555 เพื่อยอมให้ กรม.ร.เฉพาะกิจ ได้รับชัยชนะในการเข้าตีบนเส้นหลักการส่งกำลัง

3. การปฏิบัติ
เจตนารมณ์
1) ควรข้อความที่สั้น กะทัดรัด และชัดเจน ว่ากองกำลังจะทำอะไรเพื่อความก้าวหน้าให้สอดคล้องกับข้าศึกและ
ภูมิประเทศและเจตนารมณ์ที่ระบุไว้ท้ายสุด
2) ให้การเชื่อมต่อระหว่างภารกิจและแนวความคิดการปฏิบัติโดยเน้นย้ำภารกิจหลัก กับภารกิจที่เป็นพื้นฐาน
สำหรับหน่วยรองใช้เป็นแนวทางการฝึกการริเริ่มเมื่อโอกาสที่คาดไม่ถึงบังเกิดขึ้น หรือเมื่อการปฏิบัติตามแนวความคิด
ไม่ถูกนำมาใช้อีกต่อไป
3) เจตนารมณ์สั้นๆ ใน 4 หรือ 5 ประโยค เป็นสิ่งที่จะนำไปใช้สำหรับการออกคำสั่งทั้งหมด

ตัวอย่าง จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติของฝ่ายเราก็เพื่อการเอาชนะผลกระทบของเครื่องกีดขวางทางยุทธวิธี
ของข้าศึก โดยการเจาะหรือการอ้อมผ่านให้กับกรม.ร.เฉพาะกิจ ไปยังด้านปีกของที่หมาย การเน้นย้ำท้ายสุด
จากวิสัยทัศน์ จะเป็นสองช่องทางอ้อมผ่านหรือสองช่องทางที่เจาะผ่านและทำเครื่องหมายสำหรับการใช้งาน
ของ พัน.ร. ที่ .....ซึ่งเป็นกำลังบุกโจมตีของกรม.ร.เฉพาะกิจเราจะเป็นส่วนแยกข้างหน้าของเครื่องกีดขวางของ
ข้าศึกแต่อยู่ด้านหลังของที่หมาย ต้องเตรียมการสำหรับการเคลื่อนไปข้างหน้าสำหรับการสนับสนุนกรม.ร.
เฉพาะกิจในงานการสร้างการป้องกันเร่งด่วน

ก. แนวความคิดในการปฏิบัติ
1) ในย่อหน้าหนึ่งอาจประกอบไปด้วยสองหรือสามย่อหน้าย่อย
2) ต้องมีความกะทัดรัดและเข้าใจได้ง่าย
3) การอธิบาย......
...... การใช้หน่วยของหน่วยรอง
...... การรวมกันของหน่วย หรือระบบอื่นๆ ภายในปฏิบัติการ
...... รูปแบบอื่นใดๆ ของการปฏิบัติการที่ผู้บังคับบัญชาพิจารณาว่าเหมาะสม
สำหรับการอธิบายแนวความคิดและมั่นใจความเป็นเอกภาพของกำลัง

หมายเหตุ เมื่อบรรยายสรุปคำสั่งยุทธการ แผนภาพสังเขปและโต๊ะทรายควรถูกใช้สำหรับการอธิบายแนวความคิด
ข้อมูลสนามรบ

ของปฏิบัติการ หรือใช้แผนที่ประกอบแผ่นบริวารสำหรับการอธิบายให้กับกลุ่มย่อย

6 - 44 คำสั่งยุทธการ
ข. ภารกิจสำหรับหน่วยรอง
1) เขียนรายการภารกิจเฉพาะให้กับหน่วยรองภายใต้การควบคุมของกองร้อย (หมวด ศูนย์การ
ปฏิบัติทางยุทธวิธี การฝึกการรบ การฝึกภาคสนามของกองร้อย และอื่นๆ ตามข้อพิจารณาของผู้บังคับบัญชา)
2) เขียนรายชื่อหน่วยรองในลักษณะเดียวกันนี้ในการจัดหน่วยตามภารกิจ
3) รวมถึงภารกิจตามคำสั่งและภารกิจที่ต้องเตรียมการ และเขียนลักษณะของย่อหน้าของหน่วย
รอง ในลักษณะที่พวกมันจะถูกกระทำ
4) แบ่งภารกิจหรือกิจเฉพาะปกติให้กับหน่วยรองสองหรือสามหน่วยโดยคำแนะนำในการ
ประสาน

ตัวอย่าง
1) มว.ช.ที่ 1
ก) ขั้นที่ 1 การเคลื่อนย้ายจากพื้นที่ก่อกำลังเข้าพื้นที่รวมพล
ก) ลาดตระเวนทางการช่างต่อเส้นทางเคลื่อนที่ไปยังที่รวมพล
ข) เตรียมการเปิดเส้นทางเคลื่อนที่ให้กับหน่วยต่างๆเคลื่อนย้ายเข้าที่รวมพล
ข) ขั้นที่ 2 การเข้าตีต่อที่หมาย
ก) เตรียมการเปิดเส้นทางการเคลื่อนที่ด้วยการเจาะช่องเร่งด่วน และเจาะช่องประณีตเมื่อ
สถานการณ์เอื้ออำนวย
ข) เตรียมการปรับปรุงเส้นทางในภูมิประเทศเพื่อเปิดเส้นทางตามแนวทางเคลื่อนที่ของหน่วย
ดำเนินกลยุทธ์ โดยลำดับความเร่งด่วนให้กับความพยายามหลัก และความพยายามสนับสนุน ตามลำดับ
ค) สนับสนุนการปฏิบัติงานช่างเป็นส่วนรวม
ค) ขั้นที่ 3 การสถาปนาความมั่นคงตามแนวชายแดน
ก) ซ่อมปรับปรุงเส้นทางการเคลื่อนที่ บริเวณ…………….. พิกัด PS …………………..

2) มว.ช.ที่ 2
3) มว.ช.ที่ 3
4) ชุดประปาสนาม
ก) ขั้นที่ 1 การเคลื่อนย้ายจากพื้นที่ก่อกำลังเข้าพื้นที่รวมพล
ก) เตรียมจัดตั้งตำบลจ่ายน้ำบริเวณพื้นที่รวมพลจำนวน 1 แห่ง
ข) ขั้นที่ 2 การเข้าตีต่อที่หมาย
ก) จัดตั้งตำบลจ่ายน้ำบริเวณพื้นที่รวมพลจำนวน 1 แห่ง
ค) ขั้นที่ 3 การสถาปนาความมั่นคงตามแนวชายแดน
ก) จัดตั้งตำบลจ่ายน้ำบริเวณพื้นที่รวมพลจำนวน 1 แห่ง
ค. คำแนะนำเพื่อการประสาน
1) ให้รายการภารกิจ รายงานตามความจำเป็น และให้คำแนะนำเพื่อการประสานที่ใช้กับสองหรือสามหน่วยย่อย
ภายในกองร้อย
2) ไม่รวมถึงรายการตาม รปจ.ยกเว้นมีความจำเป็นสำหรับการเน้นย้ำหรือมีการเปลี่ยนแปลงจาก รปจ.ปกติ
3) รวมถึง อย่างน้อยที่สุด ดังนี้
ก) อ้างถึงการปฏิบัติของเครื่องกีดขวางหรืองานสร้างเพื่อการอยู่รอด
ข) ความต้องการในข่าวสารวิกฤติของผู้บังคับบัญชา
ค) คำแนะนำที่เปิดเผยเกี่ยวกับการปฏิบัติ
ข้อมูลสนามรบ

ง) สถานะของลักษณะป้องกันตามภารกิจบังคับ (MOPP) (ระดับและห้วงระยะเวลาที่มีประสิทธิผล) และการ


เปลี่ยนแปลงใดๆ ในระดับของลักษณะป้องกันตามภารกิจบังคับ
คำสั่งยุทธการ 6 - 45
จ) สถานการณ์เตือนการป้องกันภัยทางอากาศและสถานะของการควบคุมอาวุธ
ฉ) การประสานโดยตรงระหว่างหน่วยรองหรือหน่วยข้างเคียง
ช) แผนการนอนเพื่อการพักผ่อน
ซ) ความเร่งด่วนของงาน
ฌ) ระบบการทำเครื่องหมายช่องทางผ่าน
ญ) ความจำกัดของเครื่องกีดขวาง แนว หรือเขต ที่มีผลกระทบต่อกำลังเฉพาะกิจ
ฎ) การซักซ้อม
4) กฎการปะทะ (ROE = Rule Of Engagement)
5) ข้อพิจารณาสภาพแวดล้อม
6) ข้อแนะนำเกี่ยวกับการแยกการปฏิบัติหรือการรวมการปฏิบัติ
หมายเหตุ
1. ผลรวมของภารกิจของหน่วยย่อยทั้งหมดและคำแนะนำเพื่อการประสานสมดุลด้วยภารกิจเฉพาะ และภารกิจ
ที่มีความหมายว่า ผู้บังคับบัญชาระบุระหว่างกรรมวิธีการวางแผน
2. คำสั่งยุทธการควรจะหมายถึงการสร้างเครื่องกีดขวางหรืองานสร้างอื่นๆ งานสร้างเพื่อการอยู่รอด ตาราง
เวลา หรือข่าวสารอื่นๆ ในลักษณะเดียวกันนี้ในย่อหน้า 3.ข หรือ 3.ค รายการเหล่านี้เป็นอนุผนวกของคำสั่งยุทธการ

ตัวอย่าง
1) คำแนะนำการประสาน
ก) ให้รายละเอียดสำหรับกลุ่มของเครื่องกีดขวางโดยตรงที่อยู่ในงานสร้างเครื่องกีดขวางโดยตรง
ข) ......

4. การสนับสนุนการช่วยรบ
ก. แนวความคิดการสนับสนุน
หมายเหตุ : เขียนเฉพาะรายการที่แตกต่างออกไปจาก รปจ.ประกอบด้วยข้อมูลมากมายในย่อหน้าที่ 4 ที่สามารถถูก
รวมอย่างง่าย ใน รปจ.ต้องเป็นที่เข้าใจและได้รับการซักซ้อม
1) รวมถึงแนวความคิดสำหรับให้หน่วยย่อยด้วยการสนับสนุนการรบ (CSS) ก่อน ระหว่าง และในทันที
ภายหลังการปฏิบัติ
2) ระบุเส้นทางส่งกำลังบำรุงหลักและรองสำหรับการสนับสนุนในแต่ละหมวด (ยกตัวอย่าง ทางเส้นทางการส่ง
กำลังของกองร้อย หรือทางระบบการสนับสนุนของหน่วยส่งกำลัง หรือผสมกันระหว่างกองร้อยและหน่วยส่งกำลัง)
3) มั่นใจว่าแนวความคิดการส่งกำลังสอดคล้องกับการจัดหน่วยตามภารกิจของกองร้อย สำหรับการปฏิบัติ
ภารกิจและการบังคับบัญชา หรือความสัมพันธ์ทางการส่งกำลัง
4) ระบุวิธีการส่งกำลังเพิ่มเติม/หีบห่อเพิ่มเติมของกองร้อยที่จะถูกใช้ (สถานีบริการหรือตำบลการส่งกำลัง)
และให้สถานที่และเวลาการส่งกำลังเพิ่มเติม เมื่อเหมาะสม)
5) ใช้การสนับสนุนด้วยการลากเส้นกราฟแสดงการสนับสนุนการรบ (CSS) ของหน่วยเพื่อช่วยการรวม
แผนการสนับสนุนการรบ (CSS) ของกองร้อยเป็นแผนการสนับสนุนการส่งกำลังของหน่วย
6) ให้สถานที่การเคลื่อนที่และสถานที่ต่อมาของตำบลการสนับสนุนการรบวิกฤตก่อนระหว่างและหลังการรบ
สิ่งเหล่านี้รวมถึง.-
ก) การฝึกกองร้อยทหารช่าง
ข) การฝึกกองพันทหารช่าง
ค) การฝึกการรบและการฝึกในสนามของกำลังเฉพาะกิจ
ข้อมูลสนามรบ

ง) สถานีการปฐมพยาบาลหลักและรองของกำลังเฉพาะกิจ จุดรวบรวมผู้ป่วย และจุดเปลี่ยนการรักษา


พยาบาล (AXP)
6 - 46 คำสั่งยุทธการ
จ) ตำบลรวบรวมการซ่อมบำรุง (UMCP) ของกำลังเฉพาะกิจและของทหารช่าง
ฉ) ตำบลรวบรวมผู้บาดเจ็บ (CCP) และเชลยศึก (EPW) ของกำลังเฉพาะกิจและของทหารช่าง
ช) ตำบลแจกจ่าย สป.การส่งกำลังของกำลังเฉพาะกิจ
ซ) ตำบลส่งกำลัง สป.4 และ สป.5
ฌ) ตำบลขจัดสารพิษ
ญ) ตำบลของรูปแบบการสนับสนุนการรบ (CSS) สายช่างค่อนไปข้างหน้า
ฎ) การรวบรวมรูปแบบ/ตำบลการสนับสนุนการรบ (CSS) ของทหารช่างและหน่วยสนับสนุน
ฏ) ตำบลรวบรวมวัสดุเป็นอันตรายและของเสีย
หมายเหตุ : เมื่อบรรยายสรุปคำสั่งยุทธการ ไม่บรรยายตำบลของที่ตั้งการสนับสนุนการรบถ้ามีการแจกจ่ายแผ่น
บริวาร ตำบลการสนับสนุนการรบหรือแผ่นสำเนาที่ให้ข้อมูลเหมือนกันอยู่แล้ว จงบอกผู้บังคับหมวดว่ามีข้อมูลเหล่านี้
อยู่แล้วในแผ่นบริวารหรือแผ่นสำเนา
ข. วัสดุและการบริการ
1) เขียนโครงร่างการจัดสรรวัสดุของ มว.
2) เน้นย้ำว่าการบริการที่มีอยู่สำหรับ มว.ถึงกองร้อยถึงหน่วยสนับสนุน
3) รวมสิ่งที่ได้รับส่วนแบ่งพิเศษ/หรือแผนที่ถูกกระทำสำหรับการคงอยู่ของยุทโธปกรณ์สายช่างพิเศษ หรือ
กำลังรบ (ยกตัวอย่าง ถังน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับรถถากถาง ซึ่งถูกตั้งอยู่ ณ.ตำบลส่ง
กำลัง สป.4 และ สป.5)
ก) การส่งกำลัง ลงรายการ .........
• ตามอัตรามูลฐานของหน่วย
• วิธีการรับสิ่งอุปกรณ์ถ้ามีความแตกต่างออกไปจากแนวความคิดการสนับสนุน
(1) ขั้นที่ 1 (สป.1)
• วงรอบของเสบียงใน 1 วัน
• อัตรามูลฐานที่หมวด (วันส่งกำลัง) และกองร้อยฝึกหรือดำรงการฝึกในสนาม
(2) ขั้นที่ 3 (สป.3)
• เวลาและสถานที่เติมน้ำมันเชื้อเพลิง
• สถานที่เติม สป.3 ฉุกเฉิน ณ.กองร้อยและกำลังเฉพาะกิจ
(3) ขั้นที่ 4 และ 5 (สป.4 และ 5)
• การแบ่งมอบของหมวด/อัตรามูลฐานของอาวุธขนาดเล็ก
• การแบ่งมอบของหมวด/อัตรามูลฐานของวัตถุระเบิด
• การแบ่งมอบของหมวด/อัตรามูลฐานของทุ่นระเบิด/สป.4
• สป.4 และ 5 ตามระดับสะสม (ระดับมีอยู่ตามปกติหรือตามที่ผู้บังคับบัญชาชั้นที่สูงกว่าอนุมัติ) หรือการ
แบ่งมอบของหมวดตามแผนที่ถูกกำหนดโดยกลุ่มของเครื่องกีดขวาง)
• แบบของทุ่นระเบิดเพิ่มเติมที่ถูกใช้
• สถานที่ แบบ และปริมาณของ สป.5 ฉุกเฉิน ณ ระดับกองร้อย หรือกำลัง เฉพาะกิจ
• แผนการแจกจ่ายเพิ่มเติมระบบทุ่นระเบิดส่งทางอากาศและพื้นดิน /ระเบิดสายเจาะช่องทุ่นระเบิด/ระบบ
ทุ่นระเบิดบรรจุเป็นห่อ
(4) สป.ประเภทอื่นๆ ตามความจำเป็น
ข) การขนส่ง รวมถึง
(1) ขบวนสัมภาระของกำลังเฉพาะกิจและของกองร้อยทหารช่าง ถูกแบ่งมอบให้กับหมวดและตามความเร่ง
ด่วนโดยหน่วยรอง
ข้อมูลสนามรบ

(2) ใช้เป็นหลัก สลับกัน กับชุดทำลายสมัยใหม่ที่สกปรก


(3) กำหนดเส้นทางจากตำบลส่งกำลัง สป.4 และ 5 ไปยังกลุ่มของเครื่องกีดขวาง

คำสั่งยุทธการ 6 - 47
ค) การบำรุงรักษา
(1) รวมถึงการบำรุงรักษา/การคืนสู่สภาพเดิมของการสนับสนุนจากกองร้อยทหารช่าง กองพันทหารช่างซึ่งเป็น
หน่วยแม่ หรือการสนับสนุนหน่วยทางยุทธศาสตร์
(2) เน้นย้ำความเร่งด่วนของการบำรุงรักษาโดยยานพาหนะ โดยหน่วย หรือการผสมกันของทั้งสอง
(3) รวมถึงอำนาจสำหรับการทดแทนที่ถูกควบคุม
ค. การส่งกลับสายแพทย์และการรักษาพยาบาล รวมถึง
1) แผนการส่งกลับผู้บาดเจ็บจากการปฏิบัติการ (เร่งด่วนและรอง) ....... โดยหน่วยสนับสนุนหรือกองร้อยทหาร
ช่าง
2) สถานที่และเวลาการส่งป่วยตามระเบียบปฏิบัติ
3) สถานที่ เวลา และการจัดสรรการส่งกำลัง สป.สายแพทย์เพิ่มเติม
ง. การสนับสนุนด้านบุคคล รวมถึง
1) วิธีการของการปฏิบัติต่อเชลยศึก .... โดยหน่วยสนับสนุนหรือกองร้อยทหารช่าง
2) การไปรษณียภัณฑ์
3) การบริการทางการศาสนา
4) การลงทะเบียนการศพ
จ. กิจการพลเรือน – ทหาร จำแนก สป. สาย ช.การบริการ หรือเครื่องมือที่สนับสนุน

5. การบังคับบัญชาและการติดต่อสื่อสาร
ก. การบังคับบัญชา รวมถึง
1) ที่ตั้งของ ผบ.หน่วยในระหว่างแต่ละระยะของการรบ (ระดับกองร้อยและกำลังเฉพาะกิจ)
2) ที่ตั้งของจุดบังคับบัญชาและการควบคุมระหว่างแต่ละระยะของการรบ (ระดับกองร้อยและระดับกำลัง
เฉพาะกิจ)
3) ความต่อเนื่องของการบังคับบัญชาที่ให้การสนับสนุนการควบคุมในระหว่างการรบ
ตัวอย่าง
1) การบังคับบัญชา
ก) ผบ.ร้อย จะอยู่กับทก.หลักกรม ฉก.
ข) ที่ทำการของกองร้อยจะอยู่กับ ทก.หลักของกรม ฉก. ที่ตั้งเริ่มแรกคือ ....
ค) ระดับอาวุโสของการบังคับบัญชาคือ รอง ผบ.ร้อย. ผบ.มว.ช.ที่ 1 ผบ.มว.ช.ที่ 2 และ
ผบ.มว.ช.ที่ 3
2) ....
ข. การติดต่อสื่อสาร รวมถึง
1) คุณสมบัติเฉพาะของการคมนาคมและการติดต่อสื่อสารสำหรับการปฏิบัติการ (คำเข้ารหัสเฉพาะ) ถ้ามิได้
กำหนดเรื่องนี้ไว้ใน รปจ. คำแนะนำในการสื่อสารอาจอ้างถึงผนวกก็ได้ แต่อย่างน้อยที่สุด ควรจะเขียนตัวเรื่องและ
จ่ายหมายเลขกำกับของ คำแนะนำกาปฏิบัติการสื่อสาร (นปส.) ที่ใช้อยู่ในขณะนั้นไว้ด้วย
2) สัญญาณมือและสัญญาณที่ได้ยินวิกฤตกับการรบหรือสำหรับการใช้ในกรณีฉุกเฉิน
3) ดัชนีและเวลาของคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อการสื่อสารเมื่อการรับฟังวิทยุมีผลกระทบ
4) วิธีการสำหรับการติดต่อสื่อสารและความเร่งด่วน ข่ายวิทยุ FM ที่ผู้บังคับบัญชาต้องการกับหน่วยย่อย
สำหรับความสะดวกในการบังคับบัญชาและการติดต่อสื่อสาร
5) รายงานที่ผู้บังคับกองร้อยทหารช่างต้องการจากหน่วยย่อย
ข้อมูลสนามรบ

ข้อนี้เป็นส่วนหนึ่งของท้ายคำสั่งซึ่งระบุไว้ในที่นี้ เป็นการแสดงว่าผู้รับจะต้องตอบว่าได้รับ และเข้าใจคำสั่งแล้ว


โดยใช้หมายเลขอ้างอิงที่กำหนดไว้ในหัวข้อคำสั่ง

6 - 48 คำสั่งยุทธการ
ผนวก : ผนวกที่เป็นไปได้ รวมถึง
อนุผนวก :
• การจัดเฉพาะกิจหน่วยทหารช่าง
• แผ่นภาพสถานการณ์ทหารช่างข้าศึก
• เครื่องกีดขวาง
• การเปิดเส้นทางการเคลื่อนที่
• การขัดขวางการเคลื่อนที่
• งานป้อมสนาม
• งานช่างทั่วไป
• ที่ตั้งหน่วยทหารช่าง (แสดงถึงที่ตั้งในแต่ละขั้นการปฏิบัติ)
การแจกจ่าย :
การรับรองสำเนา :
ยศ,ชื่อ
( )

ตัวอย่างแบบฟอร์ม
อนุผนวก...(ฉากขัดขวาง) ประกอบผนวก...(ทหารช่าง) ประกอบแผน/คำสั่งยุทธการ... - (หน่วย)...
อ้างถึง : แผนที่, แผ่นภาพหรือเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. สถานการณ์
ก. คำสั่งฝ่ายข้าศึก : ผนวก ก (ข่าวกรอง)
ข. กำลังฝ่ายเรา : การจัดเฉพาะกิจ
ค. หน่วยขึ้นสมทบและหน่วยแยก : ข้อ 1 ค. ผนวก.....(ทหารช่าง)
ง. สมมุติฐาน
1) เช่นเดียวกับแผนของหน่วยบังคับบัญชา
2) ความสามารถในการสนับสนุน สป.5, สป. 2-4 (ป้อมสนาม) ของหน่วยเหนือ
3) ความสามารถของหน่วยเหนือที่ให้การคุ้มครองฉากขัดขวางที่สร้างขึ้นด้วยการตรวจการณ์และอาวุธยิง ที่มี
อยู่
2. ภารกิจ
เช่
น เดีย วกับ ผนวก.....(ทหารช่ าง) หรือหน่วยที่ให้การสนับสนุน
ผบ.กรม ฉก.
3. การปฏิบัต ิ
การตอบรั บ (ตามความจำเป็น)
ก. แนวความคิดในการปฏิบัติ

อธิบายแนวความคิดในการใช้ฉากขัดขวางเพื่อสนับสนุนแผนของหน่วยที่ให้การสนับสนุน ตั้งแต่เริ่มสร้างฉาก
ขัดขวางจนจบภารกิจ โดยกล่าวถึงหน่วยที่รับผิดชอบในการสร้าง ความเร่งด่วนในการสร้าง รวมถึงการสนับสนุนของ
ทหารช่างด้วยเครื่องมือช่างและให้ข้อแนะนำทางเทคนิคด้วยความชำนาญ การบรรยายดังกล่าวเพิ่มเติมด้วย แผน
แสดงที่ตั้งโดยประมาณของแนวเครื่องกีดขวางซึ่งอาจไม่ได้แสดงถึงความหนาแน่น ความลึก หรือจำนวนเครื่อง
กีดขวางแต่ละแห่งไว้ ส่วนการทำพื้นที่ให้เป็นพิษต้องได้รับอนุมัติจากหน่วยเหนือ
ข. การปฏิบัติของหน่วยดำเนินกลยุทธ์และหน่วยรอง (ตามตาราง)
ค. เช่นเดียวกับ ข้อ ข.
ง. หน่วย ช. ความสัมพันธ์ทางการบังคับบัญชา หรือทางการสนับสนุน
ข้อมูลสนามรบ

ผนวกฉากขัดขวาง 6 - 49
ฉากขัดขวางหรือที่หมาย ลำดับความเร่งด่วน วันเวลาแล้วเสร็จ รายการปฏิบัติ






ตัวอย่าง
1) ฉก.ร.11 พัน.1
แนว ฉ/ปม. ลำดับความเร่งด่วน วันเวลาแล้วเสร็จ รายการปฏิบัติ
กขค 1 251000 ม.ค.- สร้างฉากขัดขวาง
กดต 2 260000 ม.ค.- สร้างฉากขัดขวางทางปีก และ
ช่องทาง 2 แห่ง
ขซ 3 270000 ม.ค.- สร้างฉากขัดขวางสกัดกั้น
คชถ 4 280000 ม.ค.- สร้างฉากขัดขวางสกัดกั้น

2) ฉก.ร.11 พัน.2
แนว ฉ/ปม. ลำดับความเร่งด่วน วันเวลาแล้วเสร็จ รายการปฏิบัติ
สร้างฉากขัดขวางหน้า
คงจ 1 251000 ม.ค.-
สร้างฉากขัดขวางสกัดกั้นและช่องว่างช่อง
งฉ 2 261000 ม.ค.-
ทาง 2แห่ง

3) มว.ช.ที่ 1
ความเร่ง บริเวณ หมายเลข วันเวลาแล้วเสร็จ รายการปฏิบัติ
ด่วน ฉ/ปม.
1 ช่องตะกั่วปิดทอง 1 251000 ม.ค.- สร้างสนามทุ่นระเบิดมาตรฐานกว้างด้านหน้า
(NQ 185105) 300 ม.ลึก 200 ม.
2 ช่องเขากระโจม 2 261000 ม.ค.- สร้างสนามทุ่นระเบิดมาตรฐาน
(NQ 183005) กว้างด้านหน้า 200 ม.ลึก 200 ม.
3 เส้นทางห้วยน้ำอุ่น 3 271000 ม.ค.- สร้างลวดหีบเพลงหลายชั้น
(NQ 215175)
4 สะพานห้วยน้ำใส 1 281000 ม.ค.- เตรียมยุทธภัณฑ์ เพื่อทำลายสะพาน คสล.
(NQ 219318) เมื่อ ฉก.ร.11 สั่ง
5 สะพานห้วยห้า 2 291000 ม.ค.- เตรียมยุทธภัณฑ์เพื่อทำลายสะพาน
(NQ 276002) คสล. เมื่อ ฉก.ร.11 สั่ง

4) มว.ช.ที่ 2
ความ บริเวณ หมายเลข วันเวลาแล้วเสร็จ รายการปฏิบัติ
เร่งด่วน ฉ/ปม.
1 ถุงการเจาะ 4 251000 ม.ค.- สร้างสนามทุ่นระเบิดมาตรฐานกว้างด้านหน้า
(NQ 270888) 300 ม.ลึก 200 ม.
2 ถุงการเจาะ 5 261000 ม.ค.- สร้างสนามทุ่นระเบิดมาตรฐาน
(NQ 280873) กว้างด้านหน้า 300 ม.ลึก 200 ม.
ข้อมูลสนามรบ

3 เส้นทางห้วยบ่อคลัง 6 271000 ม.ค.- สร้างลวดหีบเพลงหลายชั้น


(NQ 285923)


6 - 50 ผนวกฉากขัดขวาง
5) มว.ช.ที่ 3
ความ เร่ง บริเวณ หมายเลข วันเวลาแล้วเสร็จ รายการปฏิบัติ
ด่วน ฉ/ปม.
1 สะพานบ้านสวนผึ้ง 5 291000 ม.ค.- เตรียมยุทธภัณฑ์ เพื่อทำลายสะพาน
(NQ 372941) คสล.เมื่อ ฉก.ร.11 สั่ง
2 สะพานบ้านป่าหลาย 6 301000 ม.ค.- เตรียมยุทธภัณฑ์เพื่อทำลายสะพาน
(NQ 374982) คสล. เมื่อ ฉก.ร.11 สั่ง

และเตรียมสนับสนุนงานช่างโดยให้ความเร่งด่วนแก่ มว.ช.ที่2 และ มว.ช.ที่1 ตามลำดับ



จ.คำแนะนำในการประสานการปฏิบัติ
1) ประสานเกี่ยวกับที่ตั้งฉากขัดขวาง เส้นประสานเขต,เส้นทางเดิน,ช่องว่าง
2) การปิด – เปิดช่องว่างอยู่ในความรับผิดชอบของใคร
3) การระเบิดทำลายแต่ละเขตอยู่ในความรับผิดชอบของใคร
4) การรื้อถอนป้ายแสดงที่ตั้งสนามทุ่นระเบิดเป็นหน้าที่ของใคร และรื้อถอนได้เมื่อไร
4. การช่วยรบ
ผนวก...(การช่วยรบ) ประกอบ แผน/คำสั่งยุทธการ....(หน่วย)....
5. การบังคับบัญชาและการสื่อสาร
ก. การบังคับบัญชา : แผน/คำสั่ง.....
ข. การสื่อสาร : ผนวก (การสื่อสาร) ประกอบแผน/คำสั่ง.....
ค. การรายงาน
1) รายงานสนามทุ่นระเบิด รายงานถึงแนวความคิดในการวาง เวลาเริ่มวางเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จ และทุกครั้งที่
มีการเปลี่ยนแปลงสนามทุ่นระเบิดด้วยวิธีการสื่อสารที่เร็วที่สุด กับเสนอสำเนาบันทึกสนามทุ่นระเบิดทุกแบบ ตาม
แบบฟอร์มที่หน่วย ช. กำหนดแก่หน่วยเหนือโดยเร็ว
2) รายงานวิธีการขัดขวาง ที่ตั้ง ชนิด ขอบเขต และเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จ หน่วยรับผิดชอบการปฏิบัติ
ระยะเวลาที่คาดว่าจะรั้งหน่วงข้าศึกจากผลการปฏิบัติการขัดขวางนั้น ๆ ตามแบบฟอร์มที่ทหารช่างกำหนดเสนอ
หน่วยเหนือ
3) เครื่องกีดขวางอื่น ๆ ให้รายงานที่ตั้ง แบบ ความกว้าง ความลึกและเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จ
การตอบรับ :
ยศ,ชื่อ
( )
ผบ.กรม ฉก.
การแจกจ่าย :
การรับรองสำเนา :
เป็นคู่ฉบับ
ยศ,ชื่อ
( )
ผบ.ร้อย.ช.สนาม

ข้อมูลสนามรบ

ผนวกฉากขัดขวาง 6 - 51
อนุผนวก 2 (แผนการทำลาย) ประกอบผนวก...(ทหารช่าง) ประกอบแผน/คำสั่งยุทธการ... - (หน่วย)...
อ้างถึง 1. คำสั่งยุทธการที่ ....... – กรม ฉก.......
2. แผนที่ , แผ่นภาพหรือเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

1.สถานการณ์
ก. คำสั่งฝ่ายข้าศึก : ผนวก ก (ข่าวกรอง)
ข. กำลังฝ่ายเรา : การจัดเฉพาะกิจ
ค. หน่วยขึ้นสมทบและหน่วยแยก : ข้อ 1 ค. ผนวก.....(ทหารช่าง)
ง. สมมุติฐาน
1) เช่นเดียวกับแผนของหน่วยบังคับบัญชา
2) ความสามารถในการสนับสนุน สป.5, สป. 2-4 (ป้อมสนาม) ของหน่วยเหนือ
3) ความสามารถของหน่วยเหนือที่ให้การคุ้มครองฉากขัดขวางที่สร้างขึ้นด้วยการตรวจการณ์และอาวุธยิงที่มี
อยู่
2. ภารกิจ เช่นเดียวกับ ผนวก.....(ทหารช่าง) หรือหน่วยที่ให้การสนับสนุน
3. การปฏิบัต ิ
ก. การปฏิบัติของแต่ละหน่วยตามตารางเป้าหมาย

ลำดับ
ที่ตั้ง ดินระเบิด ทุ่นระเบิด หมู่
ความ วันเวลา
แนว ฉ./ เป้าหมาย TNT ที่ใช้ ที่ใช้ ต่อ หน่วย หมา
เร่ง แล้วเสร็จ
ปม. (ปอนด์) ชม. ปฏิบัติ ยเหตุ
ด่วน
ชื่อสถานที่ พิกัด ดถ. สห.












ข้อมูลสนามรบ

6 - 52 แผนการทำลาย
ตัวอย่างตารางเป้าหมาย

ลำดับ
ที่ตั้ง ดินระเบิด ทุ่นระเบิดที่ใช้ หมู่
ความ วันเวลาแล้ว
แนว ฉ./ปม. ชื่อสถานที่ พิกัด เป้าหมาย TNT ที่ใช้ ดถ. สห. ต่อ
เร่ง เสร็จ หน่วยปฏิบัติ หมายเหตุ
(ปอนด์) ชม.
ด่วน
1 201600 ธ.ค. สะพานห้วย NR253037 72–xx-1 215 30 70 1 มว.ช.ที่..... ทำลายเมื่อ กกล.ฯ สั่ง
หวายน้อย
2 251600 ธ.ค. สะพาน NQ 265025 72–xx-2 215 30 70 1 มว.ช.ที่..... ทำลายเมื่อ กกล.ฯ สั่ง
คอนกรีต
ห้วยบ้านบ่อ
3 301600 ธ.ค. สะพาน NQ 317799 72–xx-3 215 30 70 1 มว.ช.ที่..... ทำลายเมื่อ กกล.ฯ สั่ง
คอนกรีต
ห้วยบ้านบ่อ
4 051600 ม.ค. สะพานลำ NQ276004 72–xx-4 500 100 200 1.5 มว.ช.ที่..... ทำลายเมื่อ กกล.ฯ สั่ง
พาชี
5 101600 ม.ค. สะพานห้วย NR 277998 72–xx-5 215 30 70 1 มว.ช.ที่..... ทำลายเมื่อ กกล.ฯ สั่ง
บ.บ่อ
6 151600 ม.ค. สะพาน NR 285990 72–xx-6 215 30 70 1 มว.ช.ที่..... ทำลายเมื่อ กกล.ฯ สั่ง
คอนกรีต
7 201600 ม.ค. สะพาน NR 386969 72–xx-7 215 30 70 1 มว.ช.ที่..... ทำลายเมื่อ กกล.ฯ สั่ง
คอนกรีต

แผนการทำลาย 6 - 53
ข้อมูลสนามรบ
4. การช่วยรบ
ก. การช่วยรบ : ผนวก ........ (การช่วยรบ)
5. การบังคับบัญชาและการติดต่อสื่อสาร
ก. การบังคับบัญชา : แผน/คำสั่ง.....
ข. การสื่อสาร : ผนวก (การสื่อสาร) ประกอบแผน/คำสั่ง.....
ค. การรายงาน
1) รายงานสนามทุ่นระเบิด รายงานถึงแนวความคิดในการวาง เวลาเริ่มวางเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จ และทุก
ครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงสนามทุ่นระเบิดด้วยวิธีการสื่อสารที่เร็วที่สุด กับเสนอสำเนาบันทึกสนามทุ่นระเบิด ทุกแบบ
ตามแบบฟอร์มที่หน่วย ช. กำหนดแก่หน่วยเหนือโดยเร็ว
2) รายงานวิธีการขัดขวาง ที่ตั้ง ชนิด ขอบเขต และเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จ หน่วยรับผิดชอบการปฏิบัติ ระยะ
เวลาที่คาดว่าจะรั้งหน่วงข้าศึกจากผลการปฏิบัติการขัดขวางนั้น ๆ ตามแบบฟอร์มที่ทหารช่างกำหนดเสนอหน่วย
เหนือ
3) เครื่องกีดขวางอื่น ๆ ให้รายงานที่ตั้ง แบบ ความกว้าง ความลึกและเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จ
การตอบรับ :

ยศ,ชื่อ
( )
ผบ.กรม ฉก.
การแจกจ่าย :
การรับรองสำเนา :
เป็นคู่ฉบับ
ยศ,ชื่อ
( )
ผบ.ร้อย.ช.สนาม

ข้อมูลสนามรบ

6 - 54 แผนการทำลาย
ตัวอย่างแบบฟอร์ม

ใบแทรก.......(ประมาณการสร้างสนามทุ่นระเบิด) ประกอบอนุผนวก.....แผนที่ตั้งสนามทุ่นระเบิด ประกอบแผน


/คำสั่งยุทธการ... - (หน่วย)...
สนามทุ่นระเบิดกว้างด้านหน้า 300 ม. ลึก 200 ม. สร้าง 2 แห่งคือ
1. เครื่องกีดขวางหมายเลข 1 (บริเวณ ช่องตะกั่วปิดทอง (NQ 185105))
2. เครื่องกีดขวางหมายเลข 4 (บริเวณ ถุงการเจาะ (NQ 270888))
ความหนาแน่นแถบไม่มีระเบียบ 1:1:1
ความหนาแน่นแถบมีระเบียบ 1:2:4
ทุ่นระเบิดกับระเบิด 5%
1. จำนวนทุ่นระเบิดที่ต้องการ
1.1 จำนวนกลุ่มทุ่นระเบิดแถบไม่มีระเบียบ = กว้างหน้าด้านสนามทุ่นระเบิด/9
= 300/9
= 34
1.2 จำนวนทุ่นระเบิดที่ใช้ในแถบไม่มีระเบียบ
ดถ. = 1 * 34 = 34
สห.กด. = 1 * 34 = 34
สห.รบ. = 1 * 34 = 34
1.3 จำนวนทุ่นระเบิดที่ใช้ในแถบมีระเบียบ
ดถ. = 1 * 300 = 300
สห.กด. = 2 * 300 = 600
สห.รบ. = 4 * 300 = 1,200
1.4 จำนวนทุ่นระเบิดทั้งหมดที่ใช้ (ผลรวมข้อ1.2,1.3และเพิ่ม 10%)
ดถ. = 334+33 = 367
สห.กด. = 634+63 = 697
สห.รบ. = 1,234+123 = 1,357
2. หาจำนวนแถบของทุ่นระเบิดมีระเบียบ
2.1 ผลรวมความหนาแน่นของแถบมีระเบียบ
ดถ.+สห.กด.+สห.รบ. = 1+2+4 = 7
2.2 0.6 *ผลข้อ2.1 = 0.6*7 = 5
2.3 ความหนาแน่น ดถ. *3 = 1*3 = 3
2.4 จำนวนแถบ (ค่าที่มากที่สุดระหว่างข้อ2.2,2.3) = 5 แถบ
3. หาจำนวนทุ่นระเบิดที่ติดตั้งชนวนกันเขยื้อน
% ของการติดตั้งชนวนกันเขยื้อน*จำนวน ดถ. = 0.05*367 = 19
4. พิจารณากลุ่มทุ่นระเบิดและจำนวนทุ่นระเบิดในแต่ละแถบ
ดถ. = 1 * 3 = 3
สห.กด. = 2 * 3 = 6
สห.รบ. = 4 * 3 = 12

ข้อมูลสนามรบ

ประมาณการสร้างสนามทุ่นระเบิด 6 - 55
แถบ ดถ. สห.กด. สห.รบ. รวม
A 1 0 3 4
B 0 2 2 4
C 1 1 2 4
D 0 2 2 4
E 1 1 3 5
รวม 3 6 12 21

5. พิจารณาจำนวนคน/ชม.ที่ใช้สร้าง
5.1 สร้างในเวลากลางวัน
ดถ./4 = (367 /4)*1.2
สห.กด./8 = (697/8)*1.2
สห.รบ./16 = (1,357/16)*1.2
ผลรวม = 317 คน/ชม.
มีกำลังพลในการสร้าง 1 มว.ช. = 40 นาย
ใช้เวลาสร้าง = 8 ชม.
5.2 สร้างในเวลากลางวคืน
ดถ./4 = (367 /4)*1.5
สห.กด./8 = (697/8)*1.5
สห.รบ./16 = (1,357/16)*1.5
ผลรวม = 396 คน/ชม.
มีกำลังพลในการสร้าง 1 มว.ช. = 40 นาย
ใช้เวลาสร้าง = 10 ชม.
6. พิจารณาจำนวนวัสดุการสร้างรั้ว
6.1 ลวดหนาม
= ((กว้างด้านหน้า*4) + (ความลึก*4) + 320) * 1.4
= ((300*4) + (200*4) + 320)* 1.4
= 3,248 เมตร
6.2 เสาเหล็กเกลียว
= ความยาวของลวดหนาม/30
= 3,248/30
= 109 ต้น
6.3 จำนวนเครื่องหมายสนามทุ่นระเบิด (เท่ากับจำนวนเสาเหล็กเกลียว) = 109 ต้น
7. พิจารณาจำนวนรถที่ใช้สำหรับการบรรทุก
ชนิดของทุ่นระเบิด
- ดถ. ใช้ M15
- สห.กด. ใช้ M16A1
- สห.รบ. ใช้ M14
ชนิดของรถบรรทุก ใช้รถบรรทุกเทท้าย 5 ตัน
7.1 จากตาราง 3.3 ( รส. 5–34 ปี 2552 ) จำนวนทุ่นระเบิดที่รถสามารถบรรทุกได้
ดถ. = 90 ทุ่น
สห.กด. = 672 ทุ่น
สห.รบ. = 6,480 ทุ่น
7.2 จำนวนรถที่ใช้
ข้อมูลสนามรบ

ดถ. = 367/90 = 4.08


สห.กด. = 697/672 = 1.04
สห.รบ. = 1,357/6,480 = 0.21
6 - 56 ประมาณการสร้างสนามทุ่นระเบิด
7.3 ผลรวมจำนวนรถจากข้อ 7.2 (ปัดเศษ) = 4.08 + 1.04 + 0.21 = 6 คัน
7.4 เพิ่มจำนวนรถอะไหล่ 1 คัน = 6 + 1 = 7 คัน
8. จำนวนผ้าแถบหมายแนว
8.1 ขอบเขตสนามทุ่นระเบิด = ความลึก*2 = 200*2 = 400 เมตร
8.2 แถบมีระเบียบ
= กว้างด้านหน้า * จำนวนแถบมีระเบียบ
= 300*5 = 1,500 เมตร
8.3 แถบไม่มีระเบียบ
= กว้างด้านหน้า + (กลุ่ม IOE * 3)
= 300 + ( 34 * 3 ) = 402 เมตร
8.4 ช่องว่างและช่องทางผ่าน
= ความลึก * 2 * จำนวนช่องว่างช่องทาง
= 200 * 2 * 1 = 400 เมตร
8.5 เส้นปลอดภัย
= กว้างด้านหน้า * จำนวนแถบมีระเบียบ
= 300 *5 = 1,500 เมตร
8.6 ผลรวมจำนวนผ้าแถบหมายแนว(ข้อ8.1-8.5)และเพิ่มอีก 20 %
= (400 + 1,500 + 402 + 400 + 1,500) * 1.2
= 5,043 เมตร
8.7 จำนวนม้วนผ้าแถบหมายแนว ( 1 ม้วนยาว 170 เมตร )
= 5,043/170 = 30 ม้วน
สรุปผลประมาณการสร้างสนามทุ่นระเบิด
ลำดับ รายการ จำนวน หน่วยนับ หมายเหตุ
1. ทุ่นระเบิด ดถ. 367 ทุ่น
2. ทุ่นระเบิด สห.กด. 697 ทุ่น
3. ทุ่นระเบิด สห.รบ 1,357 ทุ่น
4. จำนวนแถบไม่มีระเบียบ 5 แถบ
5. เวลาในการสร้าง 8 ชม. กลางวัน
6. เวลาในการสร้าง 10 ชม. กลางคืน
7. ลวดหนาม 3,248 เมตร
8. เสาเหล็กเกลียว 109 ต้น
9. เครื่องหมายสนามทุ่นระเบิด 109 ป้าย
10. จำนวนรถบรรทุก 7 คัน
11. จำนวน ดถ. ที่ทำเป็นทุ่นระเบิดกับระเบิด 19 ทุ่น
12. ผ้าแถบหมายแนว 30 ม้วน

การตอบรับ :

ยศ,ชื่อ
( )
ผบ.กรม ฉก.
การแจกจ่าย :
การรับรองสำเนา :
ข้อมูลสนามรบ

เป็นคู่ฉบับ
ยศ,ชื่อ
( )
ผบ.ร้อย.ช.สนาม
ประมาณการสร้างสนามทุ่นระเบิด 6 - 57
8. แผ่นบริวารยุทธการ แผ่นบริวารเครื่องกีดขวาง

แผ่นบริวารการรบด้วยวิธีรับ
ข้อมูลสนามรบ

6 - 58 แผ่นบริวารยุทธการ
ข้อมูลสนามรบ

แผ่นบริวารยุทธการ 6 - 59
ข้อมูลสนามรบ

6 - 60 แผ่นบริวารการช่วยรบ
ข้อมูลสนามรบ

แผ่นบริวารเครื่องกีดขวาง 6 - 61
9. แผ่9.น9.แผนการยิ
จดระยะ
แผนการยิง แผ นบริ
ง แผ วารการยิ
นบริ งสนั
วารการยิ บสนุ
งสนั น นแผแผ
บสนุ นจดระยะ
นจดระยะ
แผแผ่
แผนนจดระยะ
นจดระยะ
จดระยะ
ตัตัววตัอย าางงาแผ
วอย
อย่ นนจดระยะของพลป
งแผ่แผ นนเล็นเล็เล็
นจดระยะของพลปื
จดระยะของพลป กกก
ข้ าศึข้กาศึก
NN
45 45 4545
ทิศทิเหนื อแม่
ศเหนื เหล็เหล็
อแม่ กก

เขตการยิ งซ้ างยซ้ าย


เขตการยิ เขตการยิ งขวา
เขตการยิ งขวา

ทิศทิทางยิ งหลังหลั
ก ก ทิศทิทางยิ งรอง
ศทางยิ งรอง
ศทางยิ
1010
ซม.ซม.
500500 400400300300200200100จุ100
ดจุทีด�ตทีั � ง�ตปืั � งนปื น
จุดทีจุด�ตทีั�ง�ปืตัน�งปื น
(ที
(ที�ว�ว(ที
างตั วว) )วว) )
�ว�วางตั
างตั
(ทีางตั
ชื�อชื.....................................................
�อ .....................................................
ชื�อชื.....................................................
�อ .....................................................
หมูหมู
.่ .........หมวด.............ร้ อย.............
..่่ .........หมวด.............ร้ ออย............. แผ่แผ่
นจดระยะ
หมูหมู
.่ .........หมวด.............ร้ อย.............
.........หมวด.............ร้ ย............. นจดระยะ
............./................./....................
............./................./....................
............./................./....................
............./................./.................... อาวุอาวุ
ธอาวุ
อาวุ........................................
ธธ...ปลย.เอ็ ม16...........
........................................
ธ...ปลย.เอ็ ม16...........
15 15
ซม.ซม.

ตัวตัอย่วตัอย าแผ่
งาแผ
าวงอย นจดระยะของพลยิ
งนแผ งงเอ็เอ็
นจดระยะของพลยิ
จดระยะของพลยิ งมเอ็ม 203
ม203
203

ข้ าศึข้กาศึก
NN

45 45 4545
ทิศทิเหนื อแม่
ศเหนื เหล็เหล็
อแม่ กก
2 2
3 3

เขตการยิ งทางซ้
เขตการยิ าย าย
งทางซ้ 1 1 เขตการยิ งทางขวา
เขตการยิ งทางขวา
1 1
ทิศทิทางยิ งง
ศทางยิ
1010
ซม.ซม.
500500 400400300300200200100จุ100
ดจุทีด�ตทีั � ง�ตปืั � งนปื น
จุดทีจุด�ตทีั�ง�ปืตัน�งปื น
(ที
(ที�ว�ว(ที
างตั
(ทีางตั วว) )วว) )
�ว�วางตั
างตั
ชื�อชื.....................................................
�อ .....................................................
ชื�อชื.....................................................
�อ .....................................................
หมูหมู
.่ .........หมวด.............ร้ อย.............
.่ .........หมวด.............ร้ อย............. แผ่แผ่
นจดระยะ
หมูหมู
.่ .........หมวด.............ร้ อย.............
.่ .........หมวด.............ร้ อย............. นจดระยะ
............./................./....................
............./................./.................... อาวุ
อาวุ ธธ........................................
......ปลย.เอ็ ม 203...........
............./................./....................
............./................./.................... อาวุ
อาวุ ธธ........................................
......ปลย.เอ็ ม 203...........
ข้อมูลสนามรบ

15 15
ซม.ซม.
* หมายเหตุ 1,2,31,2,3
* หมายเหตุ คือ คืจุอดระดมยิ งต่องทีต่�หอทีมาย
จุดระดมยิ �หมาย

6 - 62 แผ่นจดระยะ
ข้อมูลสนามรบ

ตัตัววอย่
อยางางแผ่แผ
นจดระยะแบบมาตรฐาน ปืนกลปM60
นจดระยะแบบมาตรฐาน นกล M60

แผ่นจดระยะ 6 - 63
ข้อมูลสนามรบ

ตัวอย่าง แผ่นจดระยะแบบมาตรฐานปืนกล 93
ตัวอยาง แผนจดระยะแบบมาตรฐานปนกล 93
6 - 64 แผ่นจดระยะ
10. แบบรายงานต่างๆ

แบบรายงานการลาดตระเวน

1. ขนาด…………………………………………………………………………………(การจัดหน่วยลาดตระเวน)
2. ภารกิจ.........................................................................................................................................
3. เวลาไป.............................................................เวลากลับ………………………….………………………….
4. เส้นทางไป......................................................... เส้นทางกลับ......................................................
5. ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพทั่วไป………………..………………………………………………………………………......................
สภาพเส้นทาง………………………………………………………..…………………………….....................
เครื่องกีดขวาง……………………………………………………..…………………………………………….....
สภาพสะพาน.....................................................................................(ขนาด ความแข็งแรง)
6. ข้าศึก ..................................................................................(ตามหัวข้อการรายงานข่าวสารข้าศึก)
7. ผลการเผชิญข้าศึก ……………………………………………….…….(เชลยศึก สิ่งพิสูจน์ทราบ
ความเสียหายของข้าศึก เอกสารและยุทโธปกรณ์ที่ยึดได้)
8. การแก้ไขแผนที่ ………………………………………………………………..…………………………………
9. ข่าวสารอื่นๆ ……………………………………………………………………………………………………
10. สภาพของหน่วยลาดตระเวน …………………………………….………………………………………………….
11. สรุปและข้อเสนอแนะ ......................................................(รวมทั้งปฏิบัติต่างๆ ที่ทำให้การปฏิบัติ
ภารกิจได้สำเร็จ และคำแนะนำในเรื่องยุทโธปกรณ์ และยุทธวิธีของหน่วยลาดตระเวน)

การรายงานข่าวข้าศึก (SALUTE)

1. ขนาดหน่วย (S=Size)……………………………………………………….......(จะต้องกำหนดให้ได้ว่าเป็น
หน่วยขนาดใด เช่น หมู่ หรือ หมวด)
2. การปฏิบัติการของข้าศึก (A=Action) ...........................................(ข้าศึกมีการปฏิบัติอะไรบ้าง
เช่น อยู่ในที่รวมพล , เคลื่อนที่)
3. ที่ตั้งข้าศึก (L=Location)…………………………………………………......(ข้าศึกอยู่ที่ไหน อาจรายงาน
เป็นพิกัด หรือลักษณะภูมิประเทศ)
4. หน่วย/สังกัด (U=Unit)..................................................................(สังเกตจาก อาวุธยุทโธปกรณ์
การแต่งกาย เช่น ทหารราบ ทหารปืนใหญ่)
5. วันเวลาที่ตรวจพบ (T=Time)………………………….………………………………………………………………
6. ยุทโธปกรณ์ของข้าศึก (E=Equipment)…………………….………………(ชนิด จำนวนยุทโธปกรณ์)

ข้อมูลสนามรบ

แบบรายงานต่างๆ 6 - 65
การรายงานการใช้สารเคมีชีวะของข้าศึก
รายงานด้วยเครื่องมือสื่อสารที่เร็วที่สุด จัดเป็นรายงานด่วนที่สุด
หัวข้อการรายงาน
1. ชื่อหน่วย...............................................................................................(หน่วยที่รายงาน)
2. ชื่อหน่วย ..............................................................................................(หน่วยที่ถูกโจมตี)
3. ที่ตั้งตำบล ..........................................................(บริเวณที่ถูกโจมตี และพื้นที่ที่เปื้อนพิษ)
4. เวลาที่ถูกโจมตี ..................................................เวลาสิ้นสุด………………………………………
5. สารเคมี ชีวะ ................................................................(วิธีการและชนิดที่ใช้ในการโจมตี)
6. ผลการโจมตี
- จำนวนผู้ได้รับสารพิษ…………………………………………………………………………………
- จำนวนผู้เสียชีวิต………………………………………………………..………………………………
- จำนวนที่ได้รับบาดเจ็บ………………………………………………………………………..……
- การปฏิบัติของหน่วยที่ถูกโจมตี ............................................................................

หัวข้อการรายงานการจัดระเบียบใหม่

1. ฝ่ายข้าศึก ………………………………………………………………………….(ข้าศึกที่พิสูจน์ทราบได้)เป็น.........
...............................กำลังประมาณ.........................................................อาวุธที่ตรวจพบมีดังนี้................................
...........................................................................( ระบุชนิดและจำนวน )
ข้าศึกตาย.........คนจับได้...........คนมีผู้บาดเจ็บ..........คน (ยอดผู้บาดเจ็บเป็นส่วนหนึ่งของที่จับได้)
2. ฝ่ายเรา
กำลังพล ตาย........................นาย บาดเจ็บ................................นาย สูญหาย..........................นาย
สภาพ
ขวัญ…………………………………………………………………………………………………………………………
อาวุธ .............................................................(ระบุชนิดของอาวุธ ยอดที่ถูกทำลาย , ชำรุด, สูญหาย)
กระสุน ...........................................................(แยกแต่ละประเภทรายงานยอดใช้ไปและคงเหลือ)
เครื่องมือสื่อสาร......................................................................................(ถูกทำลาย, ชำรุด, สูญหาย)
ยุทโธปกรณ์หลัก อื่นๆ.............................................................................(ถูกทำลาย, ชำรุด, สูญหาย)
3. ความต้องการทดแทน .........................................................................(ให้ระบุเฉพาะ กำลังพล
ยุทโธปกรณ์ หรือ สป.ที่เห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน ต้องใช้เพื่อปฏิบัติภารกิจต่อไป การพิจารณาเพื่อทดแทนให้เต็ม
ตามจำนวนเดิมหน่วยเหนือจะดำเนินการให้เองเมื่อมีเวลาและได้รับของที่ต้องการมาแล้ว)

ข้อมูลสนามรบ

6 - 66 แผ่นจดระยะ
แบบรายงานสถานการณ์ประจำวัน

จาก…….…………………………………….………………………….………………………….……………………..
ถึงผู้รับปฏิบัติ…………………………………………………………………………………………………….…………
ผู้รับทราบ………..……………………………………………………………………………………………….………
ที่……………………………………………………วันที่………………...………………………………….………….
สรุปรายงานสถานการณ์ประจำวันในห้วงระยะเวลา
ตั้งแต่……………………………ถึง…………………………………….
1. กำลังพล (แยกรายงาน)
2. การข่าว (แยกรายงาน)
3. การยุทธ์
3.1 การปฏิบัติในรอบ 24 ชม. ที่ผ่านมา...................................................................................................
(สรุปการปฏิบัติของหน่วยรองจนถึงหน่วยระดับหมวด หรือ ชุดปฏิบัติการของหน่วยที่รายงานตลอดจนผลการ
ปฏิบัติและการตอบโต้ของฝ่ายตรงข้าม) เช่น
3.1.1 นามหน่วยกองร้อย หรือหมวด……………………..……………………………….………………………
(รายงานการปฏิบัติของกองร้อยหรือหมวดต่าง ๆ และผลการปฏิบัติตลอดจนเหตุการณ์ในเขตรับผิดชอบของ
หน่วยดังกล่าว)
3.1.2…………………………………..……………………………………………………………………………
ฯลฯ
3.1.3 รายงานการปฏิบัติของหน่วย ป. หรือ ค.หนัก เป้าหมายที่ทำการยิงและผลการยิง
3.1.4 รายงานการปฏิบัติของหน่วย ถ. และ รสพ.
3.1.5 การขอการโจมตีทางอากาศ เป้าหมาย และผลการโจมตีทางอากาศ ฯลฯ
3.1.6 สรุปผลการสูญเสียของฝ่ายตรงข้าม
- การสูญเสียกำลังพล (ตาย,บาดเจ็บ,ถูกจับ,มอบตัว)
- ยุทโธปกรณ์ที่ยึดได้จากฝ่ายตรงข้าม (ลงรายงานสิ่งต่าง ๆ ที่ยึดหรือทำลายได้)
3.2 การปฏิบัติในรอบ 24 ชม.ต่อไป (สรุปสั้น ๆ ว่าหน่วยใดจะ ทำอะไร,ที่ไหน)
4. การช่วยรบ
สถานการณ์การช่วยรบเฉพาะที่มีผลกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติของหน่วยในทันทีตลอดจนการสูญเสีย
ยุทโธปกรณ์ของหน่วย ทั้งจากการรบ และมิใช่จากการรบ
5. กิจการพลเรือน (แยกการรายงาน)
6. อื่น ๆ เรื่องอื่น ๆ ที่เห็นสมควรรายงานให้หน่วยเหนือทราบ เช่น การตรวจเยี่ยมของผู้บังคับบัญชา หรือฝ่าย
อำนวยการ

(ลงชื่อ)…………………………………………….
ผบ.หน่วย

ข้อมูลสนามรบ

แบบรายงานต่างๆ 6 - 67
รายงานยุทธการตามระยะเวลา

หน่วย………………………………….
ที่ตั้ง…………………………….…..…
วัน,เดือน,ปี……………………….......
รายงานยุทธการตามระยะเวลา (ประจำเดือน) ที่……………………………………………………………….………
ห้วงระยะเวลา…………….…..(วัน,เดือน,พ.ศ..)……....………….ถึง………..…...…….(วัน,เดือน,พ.ศ..)………….
อ้างถึง : แผนที่ประเทศไทย มาตราส่วน 1 : 50,000 ระวาง………….………และระวาง……………………
1. สถานการณ์ในห้วงระยะเวลา
- ที่ตั้งหน่วยรอง (ควรแยกเป็นผนวกต่างหาก บอกพิกัดที่ตั้งของหน่วยต่างๆ )
- รายงานสถานการณ์โดยทั่วไป ซึ่งเห็นว่าหน่วยรับรายงานและหน่วยรับทราบควรจะต้องทราบ
2. ข่าวสารของหน่วยข้างเคียงและหน่วยสนับสนุน
- ข่าวสารของหน่วยข้างเคียงและหน่วยสนับสนุน ทั้งทางพื้นดินและทางอากาศ ตามลำดับหน่วยภายในห้วงระยะ
เวลารายงาน
3. การปฏิบัติของหน่วยในห้างระยะเวลา
- สรุปการปฏิบัติที่สำคัญของหน่วย และหน่วยรองที่ขึ้นตรงตามลำดับภายในห้วงระยะเวลารายงาน
4. ประสิทธิภาพในการรบ
4.1 สถานภาพกำลังพล (ลงสถานภาพกำลังพลที่ปฏิบัติงานอยู่ในห้วงระยะเวลารายงานโดยคิดเป็นร้อยละของ
ยอดกำลังพลอนุมัติ)
4.2 สถานภาพในด้านขวัญ (ลงสถานภาพด้านขวัญโดยทั่ว ๆ ไปในห้วงระยะเวลารายงาน)
4.3 สถานภาพในด้านสุขภาพ (ลงสถานภาพทางด้านสุขภาพของกำลังพลโดยทั่วๆ ไป เช่น “สุขภาพโดยทั่วไปดี”
หรือถ้าสุขภาพไม่ดีก็ให้บอกว่าส่วนใหญ่เกิดจากอะไร)
4.4 สถานภาพในด้านการฝึก (ลงสถานภาพในด้านการฝึกว่า หน่วยใดที่มีการฝึกพิเศษหรือฝึกทบทวนในเรื่องอะไร
บ้าง และผลการฝึกโดยทั่วๆ ไป)
4.5 สถานภาพในการส่งกำลังบำรุง (ลงเฉพาะเรื่องที่ประสพความขัดข้องหรือขาดแคลนเป็นพิเศษ)

ข้อมูลสนามรบ

6 - 68 แผ่นจดระยะ
แบบฟอร์มสรุปข่าวประจำวัน/ประจำสัปดาห์

(ประเภทเอกสาร)
หน่วย..........................................
ที่ตั้ง.............................................
วันที่.............................................
ที่..................................................
สรุปความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้าม
ห้วงระยะเวลา.....................................
อ้างถึง : แผนที่ประเทศไทย มาตราส่วน 1 : 50,000 ระวาง...............................................................
1. ความเคลื่อนไหวของฝ่าย........................................
1.1.......................................................................................................................................
1.2.......................................................................................................................................
2. ความเคลื่อนไหวของฝ่าย........................................
2.1.......................................................................................................................................
2.2.......................................................................................................................................
3. ความเคลื่อนไหวของฝ่าย........................................
3.1.......................................................................................................................................
3.2........................................................................................................................................
4. พฤติกรรมของบุคคล
4.1........................................................................................................................................
4.2........................................................................................................................................
5. ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือแนวโน้ม
5.1........................................................................................................................................
5.2........................................................................................................................................

(ลงชื่อ).................................................
ผบ.หน่วย

ข้อมูลสนามรบ

แบบรายงานต่างๆ 6 - 69
11. เอกสารตัวอย่างการ เบิก-รับ สป.ประเภทต่างๆ
เอกสารตัวอย่างการเบิก-รับ สป.ประเภทต่างๆ
ตัวอย่าง
ใบเบิกเสบียงประจำวัน ( ประเภท ก. )

ใบเบิกที่………………………………….. วันเบิก ……………………………………………
หน่วยเบิก ……………………………….. สำหรับมื้อ ………. วันที่ …………………………
ที่ตั้ง ……………………………………... ถึงมื้อ …………… วันที่…………………………
หน่วยจ่าย ………………………………. วันจ่าย …………………………………………...

ที่ตั้ง ……………………………………... ยอดกำลังพล


หน่วย นามหน่วย ยอดวันเบิก ยอดวันบริโภค หมายเหตุ
หน่วยในอัตรา
หน่วยสมทบ
หน่วยฝาก
รวม
พลเรือน
เชลยศึก
อื่น ๆ
รวม
รวมทั้งสิ้น

หมายเหตุ
1. สำหรับหน่วยเบิกและตำบลส่งใช้
2. ยอดเบิกแสดงเป็นยอดกำลังพล
3. อ้างคำสั่งเมื่อเป็นหน่วยสมทบ
4. อื่นๆ หมายถึง ทอ. , ทร. , ตร. ฯลฯ
5. ที่ตั้งใช้พิกัด………………………
6. ทำขึ้น 2 ฉบับ ตัวจริงส่งไป 1 ฉบับ , สำเนาเก็บไว้ 1 ฉบับ


ข้อมูลสนามรบ

6 - 70 ใบเบิกเสบียง ก
ตัวอย่าง

ใบเบิกเสบียงประเภท ข. , ค. , และ ง.
ที่ใบเบิก ………………………..แผ่นที่ ………………ในจำนวน ……………………….. แผ่น
หน่วยเบิก ……………………………………. หน่วยจ่าย ……………………………………..
เบิกกำลังพล ต่อ คน
ลำดับ รายการ หน่วยนับ หมายเหตุ
เกณฑ์จ่าย คงคลัง เบิก
  เสบียงประเภท          
             
             
             
             
             
  รวมรายการ          
             

( ลงชื่อ ) ………………………………… ผู้เบิก ( ลงชื่อ ) …………………………. ผู้รับใบเบิก


ตำแหน่ง ……………………….. ตำแหน่ง ………………………...........................................
วันเบิก ……/……../…….. วันรับใบเบิก ……/……../……......................................................

หมายเหตุ
1. หน่วยเบิกและตำบลส่งใช้เบิกเสบียงประเภท ข. , ค. , และ ง.
2. คลังใช้เบิกเสบียงทุกประเภท
3. ให้เบิกเป็นรายการตามจำนวนเกณฑ์จ่าย
4. แยกเบิกเป็นประเภทของเสบียงตามลำดับ
5. หน่วยแจกจ่ายอาจให้ทำใบเบิกเสบียงประเภทละ 1 ฉบับก็ได้
6. ทำ 2 ชุด ตัวจริงส่งไป 1 ชุด , สำเนาเก็บไว้ 1 ชุด

ข้อมูลสนามรบ

ใบเบิกเสบียง ข,ค.ง 6 - 71
ใบเบิก ทบ.400-006
ทบ.400 - 006
แผ่นที่..........................ในจำนวน.........................
ใบเบิก
.แผ่น
ที่ สายงานที่ควบคุม
จาก หน่วยจ่าย
เบิกในกรณี ประเภทสิ่งอุปกรณ์
หน่วยเบิก ขั้นต้น ทดแทน ยืม ประเภทเงิน
ถึง
เบิกให้ เลขที่งาน
จ่าย
หมายเลข คงคลัง
จำนวน หน่วย ราคา จริง/
สิ่ง รายการ ค้างรับ จำนวน ราคารวม
ลำดับ อนุมัติ นับ หน่วยละ ค้าง
อุปกรณ์ ค้างจ่าย เบิก
จ่าย
















หลักฐานที่ใช้ในการเบิก
ตรวจแล้วเห็นว่า............................................................. ขอเบิกสิ่งอุปกรณ์ตามที่ระบุไว้ในช่อง “จำนวนเบิก” และขอมอบ
.............................................................................................. ให้..............................................................เป็นผู้รับแทน
............................................ ............................................ .........................................................................................
.
(ลงนาม) ผู้ตรวจสอบ วัน เดือน ปี (ลงนาม) ผู้เบิก วัน เดือน ปี
วัน เดือน ปี
อนุมัติให้จ่ายได้เฉพาะในรายการและจำนวนที่ผู้ตรวจสอบเสนอ ได้รับสิ่งอุปกรณ์ตามรายการและจำนวนที่แจ้งไว้ในช่อง “จ่ายจริง/ค้างจ่าย” แล้ว
............................................ ............................................ ................................................. .....................................
.
(ลงนาม) ผู้สั่งจ่าย วัน เดือน ปี (ลงนาม) ผู้รับ วัน เดือน ปี
วัน เดือน ปี
ได้จ่ายตามรายการและจำนวนที่แจ้งไว้ในช่อง “จ่ายจริง/ค้างจ่าย” แล้ว
.......................................................... ........................................................ ทะเบียนหน่วยจ่าย
(ลงนาม) ผู้จ่าย วัน เดือน ปี
ข้อมูลสนามรบ

(พิมพ์ตามระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ประเภท 2 และ 4 พ.ศ.2534)

6 - 72 แบบทบ.400 - 006
ตัวอย่าง ใบเบิกหรือใบส่งคืนสิ่งอุปกรณ์
ทบ. 400 - 007 - 1
ใบเบิกหรือใบส่งคืนสิ่งอุปกรณ์ 1. ที่ 2.แถว
3. หน่วยจ่ายหรือหน่วยรับคืน 4. หน่วยเบิกหรือหน่วยส่งคืน 5.เบิกให้
7. แบบ
6. ชื่อยุทธภัณฑ์หลัก 9. หลักฐานอ้างอิง ปี และหน้า
8. หมายเลขลำดับ สป.
10. หมายเลขสิ่งอุปกรณ์ 11. หมายเลขที่ใช้แทนกันได้ 12. รายการละเอียด
หมายเลข สป. ที่เปลี่ยนแปลง
13. ความต้องการ 14.จำนวนและ 15. จำนวนที่แสดงเป็นจำนวน 16. ผู้มีสิทธิเบิกหรือส่งคืน (ลงนามและวันที่)
หน่วยนับ
ส่ง พิเศษ ต้องการรับ ส่งคืน
คืน ทดแทน
ผู้ตรวจสอบ ว.ด.ป 17. ผู้รับ สป.แทน
18.วันรับ 19. เลขทะเบียน 20. จ่ายจริง ราคาหน่วยละ 21. การดำเนินการทางบัญชี
เอกสาร
ค้างจ่าย ราคารวม เจ้าหน้าที่ ว.ด.ป
รับคืน
22. ที่เก็บ 23. จำนวนดัง ได้รับจริง ผู้จ่าย 24. ผู้ตรวจสอบ
กล่าวเป็นจำนวน
ได้จ่ายจริง
25. จำนวนและประเภท 26. น้ำหนัก 27. ปริมาตร 28. เจ้าหน้าที่บรรจุ 29. อนุมัติจ่ายหรือรับคืนได้
หีบห่อ
30. เจ้าหน้าที่ สขส. 32. เจ้าหน้าที่ตรวจรับหีบห่อ 34. กรรมการตรวจรับ สป. 35. หมายเหตุ
ต้นทาง 1.
2.
3.
31.เจ้าหน้าที่ สขส. 33. เจ้าหน้าที่รับ สป.
ปลายทาง

ตัวอย่าง ทบ.468-311
ใบส่งซ่อมและรับของ
....................25................  
หน่วยส่งซ่อม........................................จังหวัด...................................................
ยุทโธปกรณ์ สพ. พธ. สส. ช. ขส. วศ. พบ.
ใบส่งซ่อมที่............... ยุทโธปกรณ์ที่ส่งซ่อม
ลงวันที่..................... ............................หมายเลข.....................................
รายการชำรุด....................................................................................................
...................................................................................................................
...................................................................................................................
ผู้อนุมัติให้ส่งซ่อม.............
........................... ตำแหน่ง.........................................
ผู้ส่ง........................................................... ตำแหน่ง.........................................
ผู้รับ........................................................... ตำแหน่ง.........................................
ข้อมูลสนามรบ

ลงรายการส่งซ่อมข้างบนนี้

ใบเบิก - ใบส่งคืน 6 - 73
12. การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน
แนวความคิดในการปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน ได้แก่ การแทรกซึมเข้าและ ออกทางอากาศ ด้วยกำลัง
ระดับ ชุดหรือ มว. การปฏิบัติการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ การส่งกำลังเพิ่มเติมทางอากาศ การเคลื่อนย้ายทาง
อากาศและการส่งกลับผู้บาดเจ็บ
ความรู้พื้นฐานการนำอากาศยาน
อากาศยานทีม่ าสนับสนุนการปฏิบตั ขิ องหน่วยภาคพืน้ ดิน ในภารกิจต่างๆ โดยเฉพาะในการปฏิบตั กิ ารทางลึก
หรือในพืน้ ทีท่ ฝี่ า่ ยเราไม่คนุ้ เคย จำเป็นต้องใช้ผนู้ ำอากาศ ยานหน้า เพือ่ ให้มนั่ ใจว่า อากาศยานไปถึงทีห่ มายได้ถกู ต้อง
ดังนั้นหน่วยภาคพื้นจะต้องทำการประสานการปฏิบัติร่วมกับอากาศยาน ตั้งแต่ยามปกติ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจ
ทางยุทธวิธีและทางยุทธการในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อุปกรณ์ ของผู้นำอากาศยาน
1. เครื่องช่วยนำทิศ
1) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เช่น (วิทยุ PRC 77)
2) เครื่องช่วยนำทางด้วยสายตา
• แผ่นผ้าสัญญาณ มาตรฐาน VS17 เทคนิคการใช้เมื่อต้อง ปูแผ่นผ้า ควรยึดตรึง ให้แน่นหนา
ไม่ให้ปลิวเมื่อโดนลมจากใบพัดของอากาศยานเพราะอาจจะทำให้อากาศยานชำรุดเสียหายได้
• ลข.ควัน
• กระจกสัญญาณ
• แผ่นผ้าสัญญาณ อื่นๆ (กำหนด ในขั้นการประสาน)
• พลุสัญญาณ
• สัญญาณที่ทำจากวัสดุในสนาม
• ไฟสว่างกระพริบ (Strobe light)
2. เครือ่ งช่วยนำทางด้วยอินฟราเรด ใช้กบั อากาศยานทีม่ กี ล้องเวลากลางคืน เพือ่ ช่วยนำทิศ ในเวลากลางคืน
3. อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร
4. อุปกรณ์ ช่วยในการรวมพลหลังส่งลง
5. อุปกรณ์อื่นๆ
การรักษาความปลอดภัยในการติดต่อสื่อสาร
ผู้นำอากาศยาน จะต้องระมัดระวังและพึงระลึกไว้เสมอในการรักษาความปลอดภัยในการติดต่อสื่อสาร รวม
ทั้งมาตรการการตอบโต้การต่อต้านทางอิเล็กทรอนิกส์

สนามอากาศยานปีกหมุน (Helicopter Landing Zone)
การเลือกพื้นที่ส่งลงและจุดส่งลง ผบ.หน่วยภาคพื้นจะประสานกับหน่วยบินที่มาสนับสนุนในการเลือกพื้นที่
ส่งลงเพื่อให้สามารถสนับสนุนการปฏิบัติทางยุทธวิธีภาคพื้นดินได้ดีที่สุด


ข้อมูลสนามรบ

รูปที่ 6-45การจัดพื้นที่สนาม ฮ. ขนาดใหญ่

6 - 74 การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน
ปัจจัยในการเลือกพื้นที่ส่งลง
ความกว้าง พืน้ ทีท่ ตี่ อ้ งการ และระยะระหว่างอากาศยาน บนพืน้ ดิน ขึน้ กับองค์ประกอบหลายอย่าง ข้อกำหนดเหล่านี้
มักจะอยู่ใน รปจ. ของหน่วยบินที่มาสนับสนุน หรือการประสานขั้นต้นของ ผบ.หน่วยบิน และ ผู้นำอากาศยาน การตัดสินใจ
ขั้นสุดท้ายขึ้นกับ ผบ.หน่วยบิน (ดังนั้น ผบ.หน่วยบินจึงจะเป็นจะต้องอยู่ร่วมในขั้นตอนสุดท้ายก่อนออกคำสั่งทุกครั้ง) โดยมี
ปัจจัย ต่อไปนี้
• จำนวนอากาศยาน
• รูปขบวนการร่อนลง
• สภาพผิวพื้น
• ความลาดชัน
ความลาดชันเป็น องศา = VD X 100
HD
ความลาดชันเป็นร้อยละ หาจากการนำ ระยะทางดิ่ง VD มาหารด้วยระยะทางระดับ HD


ความลาดชันเป็นร้อยละ
= VD x 100
HD
= 20 x 100
400
= 5%

ฮ. ใช้งานทัว่ ไปและ ฮ. ตรวจการณ์สามารถลงจอดในพืน้ ทีล่ าดเอียงไม่เกิน 7 องศา โดยลงจอดโดยหันหัวเครื่อง


หรือ ด้านข้างเครื่องเข้าหาเนิน ถ้าในพื้นที่ที่มีความลาดเอียงเกิน 7 องศาแต่ไม่เกิน 10 องศา สามารถลงจอดโดยหัน
ด้านข้างเข้าหาเนินเท่านั้น แต่ถ้าหากพื้นที่มีความลาดเอียงเกิน 10 องศา เครื่องสามารถลอยตัว (Hover) ส่งลง หรือ
รับขึ้นได้ ขึ้นกับฝีมือนักบินและสภาพอากาศ ทิศทางการบินเข้าและออก
• ทิศทางการบินเข้าที่พึงประสงค์ ควรอยู่เหนือสิ่งกีดขวางที่ต่ำที่สุด และอยู่ในทิศทางทวนลม แต่ถ้าทวนลม
ไม่ได้ ฮ. โดยทั่วไปสามารถลงขวางลมได้ โดยที่ความเร็วลม ไม่เกิน 6 - 9 นอต หรือตามลมระหว่าง 0 - 5 นอต
• ความเร็วและทิศทางลม ซึ่งสามารถสังเกตได้โดยการใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือการโปรยเศษหญ้า ดังนี้
1. ถ้าลมสงบ วัตดุที่ใช้จะไม่แกว่งหรือไม่ลอย
2. ความเร็วลม 4 – 6 นอต เศษผ้าจะแกว่งเป็นมุมประมาณ 45 องศา หรือเศษหญ้าลอยตกเป็นมุม
ประมาณ 45 องศา
3. ความเร็วลม 8 – 12 นอต เศษผ้าจะแกว่งเป็นมุมประมาณเกือบ 90 องศา หรือเศษหญ้าลอยตามลม
เกือบที่จะขนานกับพื้น
• เส้นทางการบิน เข้า - ออก
• ความกดอากาศ และความสูง พื้นที่เหนือระดับน้ำทะเล
• น้ำหนักบรรทุก หาก ฮ. บรรทุกน้ำหนักมาก หรือเกือบเต็มอัตราพิกัด จะไม่สามารถวิ่งขึ้นหรือร่อนลงใน
แนวดิ่งได้ ฉะนั้น เมื่อต้องบรรทุกน้ำหนักมากหรือเกือบเต็มอัตราพิกัดนั้นเครื่องจะต้องใช้ระยะทางในการวิ่งขึ้นหรือ
ร่อนลงมากกว่าปกติ
• สิ่งกีดขวางพื้นที่ส่งลงไม่ควรมีสิ่งกีดขวาง เช่น ก้อนหินขนาดใหญ่ หลุมลึกและกว้าง หญ้าหรือพุ่มไม้ ( สูง
ข้อมูลสนามรบ

กว่า 0.45 ม. หรือ 18 นิ้ว )


ทั้งนี้สิ่งที่ ต้องเตรียมไว้เสมอในการปฏิบัติทางยุทธวิธี คือ สนามสำรอง

การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน 6 - 75
การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน

ในการร่อนลงในเวลากลางวันมุมความสูงของสิ่งกีดขวาง จากจุดส่งลง จะต้อง ไม่เกิน 6 องศา ซึ่งแปลงมา


เป็นอัตราส่วนที่ใช้ง่ายคือ 1 ต่อ 10
ข้อพิจารณาอื่นๆในการเลือกพื้นที่รับขึ้นและส่งลง
• พื้นที่รับขึ้นมีความสัมพันธ์กับที่หมายหรือพื้นที่ส่งลง
• ความสามารถของหน่วยภาคพื้นในการรักษาความปลอดภัย
• ที่ตั้ง ขีดความสามารถ และกำลังฝ่ายตรงข้าม
• การกำบังและการซ่อนพราง
• สิ่งกีดขวาง (ทำเครื่องหมายไว้)
• การพิสูจน์ทราบและการลาดตระเวนทางอากาศ
• ทิศทางของแนววิ่งขึ้นและร่อนลง
• สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิและทัศนวิสัย
• ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเล
จุดร่อนลง (Landing Point)
คือ พืน้ ทีห่ รือจุดทีส่ ามารถรองรับน้ำหนักเครือ่ งได้ โดยมีขนาด ตัง้ แต่ 25 – 100 ม. ขึ้นกับขนาด และสภาพ
แวดล้อมอื่นๆ เช่น ฮท.1 และ ฮท.212 ต้องการพื้นที่ราบระดับ เส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 35 เมตร ในเวลากลางวัน
และ 50 เมตรในเวลากลางคืน และต้องการระยะห่างของแต่ละลำในพืน้ ทีล่ งจอดอย่างน้อย 35 เมตร ในเวลากลางวัน
และ 50 ม. ในเวลากลางคืน หรืออาจมีพื้นที่ลงจอดหลายแห่งหรือลงจอด ครั้งละลำ
จุดส่งลง(ทหารบก) หรือจุดร่อนลง (นาวิกโยธิน) - TDP
จุดส่งลง
เป็นพืน้ ทีท่ เี่ คลียร์แล้วหญ้าสูงได้ไม่เกิน 2 ฟุต
พืน้ แข็งสามารถรองรับ ฮ.
ได้หญ้าสูงไม่เกิน 1 ฟุต เป็นพืน้ ทีท่ เี่ คลียร์แล้วหญ้าสูงได้ไม่เกิน 1 ฟุต

ขนาดที่ 1
(ชนิดอากาศยาน OH6, OH58, ฮท.206)

ขนาดที่ 2 (ชนิดอากาศยาน UH1, ฮท.1, ฮจ.1, ฮท.212) ขนาดที่ 3 (ชนิดอากาศยาน UH60, ฮท.60)

ขนาดที่ 4 (ชนิดอากาศยาน CH47, MI53, MI17) ขนาดที่ 5 (ลงได้ทกุ ชนิดอากาศยาน)


ข้อมูลสนามรบ

6 - 76 การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน
การสร้างสนามลงจอดเฮลิคอปเตอร์
• รูปแบบการสร้างสนามลงจอดเฮลิคอปเตอร์ แบบ ฮท.1 และ ฮท.212

• รูปแบบการสร้างสนามลงจอดเฮลิคอปเตอร์แบบ ฮท.60

ข้อมูลสนามรบ

การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน 6 - 77
• รูปแบบการสร้างสนามลงจอดเฮลิคอปเตอร์แบบ ฮล.47

การจัด และหน้าที่ต่างๆ ของชุดนำอากาศยาน


1.ส่วนควบคุม
หน้าที่คือการประสานอากาศยานในและรอบๆ พื้นที่ส่งลง เพื่อความปลอดภัย โดยที่พื้นที่ จะต้องเป็นที่ ที่
สามารถตรวจการณ์เห็นอากาศยานในพื้นที่ส่งลง และอากาศยานรอบๆ พื้นที่ส่งลง โดยที่พื้นที่ที่พึงประสงค์ จะต้อง
อยู่ในแนว เส้นทางการบิน แต่ไม่อยู่ในสนามส่งลง เพื่อลดโอกาสของฝ่ายตรงข้าม ในการตรวจพบ ด้วยมาตรการทาง
สงครามอิเลคทรอนิคส์ เช่นการดักรับสัญญาณ เมื่อที่ร่อนลงมากกว่า 1 แห่ง ในพื้นที่ส่งลง จุดควบคุมอาจจะอยู่ที่จุด
แยกเพื่อช่วยนำทาง ให้กับอากาศยาน ให้ลงได้ถูกที่
ข้อมูลสนามรบ

6 - 78 การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน
• จุดแยก (RP) เป็นจุด ตรวจสอบการนำทิศจุดสุดท้ายก่อนเข้าสู่สนามบินลงจอด สำหรับอากาศยาน
• จุดแยก ยังใช้ในการประสานขั้นสุดท้าย ของตอนการบิน (Serial) ในเรื่องการลงสู่พื้น และ / หรือ การยิง
สนับสนุนทางอากาศ
การเลือกจุดแยกควรเลือกจุดที่สังเกตได้ง่าย และเป็นพื้นที่ที่สามารถใช้เครื่องช่วยนำทาง ระยะไกล (Long-
Range Electronic And Visual Navigation Aids) ได้สำหรับ สนาม ฮ. หรือพืน้ ทีส่ ง่ ลงเดีย่ วๆ จุดทีค่ วบคุมควรอยูใ่ นสนาม
โดยเฉพาะกลางคืนโดยทีจ่ ะต้องเป็น จุดทีต่ รวจการณ์เห็นรูปขบวน ฮ. ทีจ่ ะลงสนามได้ในช่วง สุดท้าย (Final Approach)
ชุดควบคุมประกอบด้วย
• ผบ.สนาม (LZ commander)
• พนักงานวิทยุที่ประสานอากาศยาน (GTA)
• ผู้บันทึกข่ายภายใน (ไม่จำเป็นต้องมี เมื่อ อากาศยาน ที่ ใช้สนามมีน้อย) ทำหน้าที่ ในการช่วยเหลือ
พนักงานวิทยุ ในการปฏิบัติในลักษณะของชุดขนาดเล็ก นั้น ผบ.สนาม อาจทำหน้าที่ ในการประสานเองได้
2. ส่วน ทำสนาม (Landing Site Party or Marking Party)
หน.ชุด รับผิดชอบในการ ลว.สนาม ทำสนามและควบคุมการใช้สนาม โดยมีความรับผิดชอบในการปฏิบตั ติ อ่ ไปนี ้
1) จัดแบ่งหน้าที่ในการเตรียมสนามให้แต่ละส่วนในทีม
2) หา • แนวแกนยาวของสนาม • พื้นที่ที่ไม่ใช้
• คำนวณความลาดชัน • ทิศทางการร่อนลง
3) หารูปขบวนที่น่าจะลงได้
4) หาจุดที่จะใช้ในการรับของที่บรรทุกภายนอกด้วยสลิง (ถ้ามี)
5) วางจุดและชี้แจงให้พนักงานวิทยุ หรือผู้ที่จะประสานอากาศยาน
6) เตรียมจุดที่ ฮ. จะลงแตะพื้น
7) จัดการบรรทุก (ถ้ามี)
8) กำจัด หรือทำเครื่องหมายสิ่งกีดขวางในสนาม
9) เตรียมสนาม เวลากลางวันและกลางคืน
10) พัฒนาสนามให้ดีขึ้น
ข้อมูลสนามรบ

การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน 6 - 79
ตัวอย่างการติดต่อสื่อสาร

ผู้นำอากาศยาน อากาศยาน หมายเหตุ



อินทรีย์.......จาก......... ขุนศึก....... เมือ่ อากาศยานมาถึงจุดตรวจสอบ
ขุนศึก.......เปลี่ยน จาก....... อินทรีย์ การติดต่อสือ่ สาร (CCP)

อินทรีย์ เข้าเขต
การติดต่อ...........เปลี่ยน

อินทรีย์...จาก กรณี ที่มีการใช้อากาศยาน
ขุนศึก ...แจ้งจำนวน ชนิด และ หลายลำ
ภารกิจ ของท่าน

อินทรีย์...จาก ขุนศึก....ขณะนี้ ขุนศึก จาก
ขุนศึกอยู่ทาง....นาฬิกา ระยะ...... อินทรีย์ ทราบ
เมตร

อินทรีย์...จาก ขุนศึก.... ขุนศึก จาก อินทรีย์ กรณีไม่เห็นอาจจะใช้ สัญญาณอื่น
เห็นทัศนะสัญญาณ แผ่นผ้าสัญญาณ สีส้ม เพิ่มเติม
หรือ ไม่ .......เปลี่ยน ถูกต้องหรือไม่ เปลี่ยน

ขุนศึก จาก อินทรีย์
ถูกต้อง เข้ามาตามสัญญาณ
เปลี่ยน

ขุนศึก จาก อินทรีย์...... ขุนศึก จาก อินทรีย์..... เมื่อ อากาศยานอยู่ถึง
ลม ทิศทาง.......... ถึงจุดร่อนลงเปลี่ยน Final leg หากมีเหตุฉุกเฉิน เช่น
ความเร็ว.......นอต พบข้าศึกกำลังเคลื่อนที่เข้ามา
จำนวนมาทำให้สนามไม่ปลอดภัย
พร้อมให้อินทรีย์ลงได้ ดูทัศนะ หรือ เหตุอื่นๆ จนท.สามารถ แจ้ง
สัญญาณจาก เจ้าหน้าที่ ยกเลิก การร่อนลงให้กับนักบินได้
รับอากาศยาน เปลี่ยน
ข้อมูลสนามรบ

6 - 80 การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน
หัวข้อการประสานอากาศยาน (ก่อนเตรียมสนาม)

ข้อมูลจุด รับ ขึ้น
ภารกิจ..............................................................................................................
พื้นที่รับขึ้นหลัก/ รอง อยู่ที่ (ชื่อสถานที่).....................................................พิกัด.............................................
พื้นที่ส่งลงหลัก/ รอง อยู่ที่ (ชื่อสถานที่)......................................................พิกัด ..............................................
**จุด ตรวจสอบการติดต่อสื่อสาร ของ พื้นที่ส่งลงในภารกิจ อยู่ที่ (ชื่อสถานที่).................................พิกัด ..................
ข้อมูลอากาศยาน ณ จุดรับขึ้น
ชนิดอากาศยาน ....................UH 1จำนวน...................ลำ UH 60 จำนวน..........................ลำ
BELL212 จำนวน.................ลำ CH 47 จำนวน...................ลำ AH1 -F จำนวน......................ลำ
รูปขบวนที่ร่อนลง.......................................................................
น้ำหนักบรรทุกรวมเท่าใด (ACL)….........................................……..ปอนด์ (1 กก. = 2.2ปอนด์)
มีอากาศยาน ที่มีการบรรทุกภายนอกหรือไม่ (Sling Load) ถ้ามีเป็นอะไร (ข้อมูล ของที่บรรทุก)
ข้อมูลอากาศยานที่จำเป็นในการเตรียมสนามปลายทาง
ชนิดอากาศยาน ....................UH 1จำนวน...........................ลำ UH 60 จำนวน...........................ลำ
BELL 212 จำนวน.......................ลำ CH 47 จำนวน...........................ลำ AH1 -F จำนวน....................ลำ
รูปขบวนที่ร่อนลง..........................................................................
น้ำหนักบรรทุกรวมเท่าใด (ACL)………..ปอนด์ (1 กก. = 2.2ปอนด์)
มีอากาศยาน ทีม่ กี ารบรรทุกภายนอกหรือไม่ (Sling Load) ถ้ามีเป็นอะไร (ข้อมูลของทีบ่ รรทุก)
มีพื้นที่ห้ามบินที่ไหนหรือไม่..................................................ถ้ามี พิกัด .............................................................
มีจุดรับของบรรทุกด้วยสลิง กี่จุด........................................................................................
มีจุดแตะพื้น...........................................จุด (ที่ ฮ. ลงได้) เป็นขนาดใด ...................................................
พื้นที่ ที่จะเตรียมใช้ในการ ส่งกำลังเข้า หรือ รับออก ส่งเข้า ใช่ ..................................ไม่ใช่.....................................
รับออก ใช่ ........................................ไม่ใช่ ................................................
นามเรียกขานอากาศยาน ............................ความถี่ อากาศยาน หลัก.......................... รอง.....................................
นามเรียกขาน พื้นที่รับขึ้น .............................................................................................................................
นามเรียกขาน พื้นที่สนามที่จะใช้ในการปฏิบัติ...............................................................................................
ความถี่สนามที่ใช้ หลัก................................................. รอง ...........................................................................
นามเรียกขาน อากาศยาน ...............................................................ผบ.หน่วยบิน ......................................
ผบ.หน่วยภาคพื้น.................................................นามเรียกขานผู้นำอากาศยาน .......................................
การให้ทัศนะสัญญาณ หลัก จะใช้ ..................(ควัน , วิทยุสื่อสาร ............................ฯลฯ) รอง................................
การทำเครื่องหมายสนาม ที่จุดแตะที่ 1 เป็นรูป....ตัว NATO T (หรือ invert Y)
* จะมีไฟดวงที่ 5 หรือไม่
สามารถลดอัตราส่วน สิ่งกีดขวางได้หรือไม่ ............................ถ้าได้จะเหลือไม่เกินเท่าใด
สามารถเปลี่ยน รูปขบวนในการลงได้หรือไม่
ผมจะสามารถลดขนาดของจุดแตะ (ขนาดสนาม) ได้หรือไม่

แผนผังสนาม อากาศยานปีกหมุน
พื้นที่ที่ไม่ใช้ .........................................ม. อัตราส่วน …….........................…../…….........................…
พื้นที่ที่ไม่ใช้ .........................................ม. อัตราส่วน ….........................……../…….........................…
ข้อมูลสนามรบ

การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน 6 - 81
คำแนะนำ ลม 20 น็อต
ผู้ให้ทัศนสัญญาณ : อยู่ห่างจากจุด TDP 40 เมตร ขึ้นไป / (10 ไมล์ / ชม.)
อยู่ข้างหน้าทางขวาของเครื่องนำ
วิทยุสื่อสาร : แยกออกจากกันเพื่อป้องกันการรบกวน
ขนาดจุดร่อนลง : ขนาดที่ 3 (อากาศยาน ฮท.60)
ขบวนบิน : ขบวนบินไต่ทางขวาทำมุม 45 องศา กับทิศทางร่อนลง
การบินเข้า : สามารถบินข้ามเครือ่ งกีดขวางทีต่ ำ่ ทีส่ ดุ และบินทวนลมถ้าเป็นไปได้

อัตราส่วน............/............ม.
ใส่มุมภาคสนาม

การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน
ความถี่การส่งกลับสายแพทย์ ทางอากาศ หลัก.....................นามเรียกขาน........................
อากาศยานที่จะมาลง
ชนิดอากาศยาน จำนวน ขนาดจุดแตะ(TDP) หมายเหตุ
ข้อมูลสนามรบ

เครื่องหมาย ที่จุดแตะที่ 1 ..............


เครื่องหมาย จุดรับของที่บรรทุกด้วยสลิง....................

6 - 82 การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน
การทำเครื่องหมายสิ่งกีดขวาง
กลางวัน กลางคืน
หลัก
รอง

ทิศทางร่อนลง
มุมภาคไปยังจุด ตรวจสอบการติดต่อสื่อสาร ( CCP )
ขนาดที่ต้องการ กว้าง x ยาว
หมายเหตุ...................

การรายงานสนามลงจอดเครื่องบินปีกหมุน
1. นามรหัสอักษร ชื่อของสนาม (จาก นปส.)
2. ที่ตั้งของสนาม (พิกัด 6 ตัวของจุดศูนย์กลาง)
3. แกนยาว มุมภาคของแกนยาวทางวิ่ง อาจระบุทิศทางที่ใช้ทางลงทางอื่นตามการเปลี่ยนแปลงของลมไว้ก็ได้
4. ลักษณะพื้นที่ พื้นผิว ความกว้าง ความยาวทางวิ่ง
5. มุมเปิด มุมที่อำนวยให้เครื่องบิน บินเข้าได้ดี วัดจากจุดศูนย์กลางเป็นมุมภาคทิศเหนือวัดตามเข็มนาฬิกา
6. ทิศทางบินเข้า มุมภาคของทิศของเส้นทางบินเข้า
7. สิ่งกีดขวาง เครื่องกีดขวางที่สูงกว่า 90 ม. ในรัศมี 8 กม. รอบๆ สนาม ที่ไม่มีเขียนไว้ในแผนที่ ให้รายงาน
ลักษณะของเครื่องกีดขวาง มุมภาคของทิศ และระยะห่างจากจุดศูนย์ กลางสนาม จุดอ้าง ภูมิประเทศเด่นที่กำหนดที่
ตั้งในภูมิประเทศได้ ให้รายงานว่าเป็นอะไร มุมภาคของทิศ และระยะห่าง จากจุดศูนย์กลางสนาม
8. วันเวลาที่ร้องขอในการปฏิบัติภารกิจชิ้นส่วนหรือรายการที่จะทำการแทรกซึมเข้า หรือส่งกลับสัญลักษณ์ใน
การรับอากาศยาน ตัว Y ส่วนมากใช้ในการลงกลางคืน

รูปที่ 6-46 ตัวอย่างการทำสนามกลางคืน


รูปที่ 6-47 ตัวอย่างการทำสนามกลางวัน
ด้วยไฟสัญลักษณ์ตัว Y
ข้อมูลสนามรบ

การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน 6 - 83
การเคลื่อนย้ายด้วยอากาศยานปีกหมุน
ผบ.หน่วย ( ชุด , หมวด , กองร้อย )
1. จัดเตรียมการบรรทุก
• กำหนดผู้ควบคุมรับผิดชอบแต่ละลำ
• ดำรงความเป็นหน่วยไว้
• เฉลี่ยกำลังพลและยุทโธปกรณ์ให้มีแยกบรรทุกในลำต่าง ๆ
• กำหนดความเร่งด่วนในการบรรทุก
• กำหนดบุคคลที่อาจต้องย้ายไปบรรทุกลำอื่น เมื่อจำเป็น
• ย้ำเตือนให้มนั่ ใจว่าบุคคลทีต่ อ้ งแยกไปบรรทุกลำอืน่ ได้ไปรายงานตัว ณ จุดควบคุม
• ตรวจสอบให้มั่นใจว่าอากาศยานแต่ละลำได้ถูกบรรทุกเพื่อให้กำลังพลสามารถปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็ว

2. ชี้แจงสรุปให้กำลังพลทราบเกี่ยวกับ
• การรวมพล จุดนัดพบ ณ พื้นที่รับขึ้น และตารางเวลา
• ชนิดของอากาศยาน
• การจัดบรรทุกของอากาศยาน
• แนวเส้นทางบิน
• แผนเผชิญเหตุในกรณีอากาศยานตก (สำหรับกำลังพลบนอากาศยานและกำลังพลที่เหลือของหน่วย)
• จุดนัดพบ ณ พื้นที่บินลงและการปฏิบัติการทางพื้นดิน

3. ผู้รับผิดชอบอากาศยานแต่ละลำกำหนดการบรรทุกในรายละเอียดเป็นบุคคลและชี้แจงกำลังพล
• การนัดหมายเวลา จุดรวมจัดรูปขบวนก่อนขึ้นเครื่อง
• เวลาที่จะบรรทุก และที่นั่งของแต่ละบุคคล
• ระเบียบและขั้นตอน การปฏิบัติในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

4. การปฏิบัติของกำลังพล
1. การบรรทุก
• กระจายกำลัง ปกปิด และซ่อนพรางในขณะรออากาศยาน
• เข้าไปใกล้อากาศยานจากด้านหน้าและด้านข้างเมื่อบินลงสู่พื้นเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
(อย่าเข้าด้านหลังโดยเด็ดขาด)
• ทำการบรรทุก ณ พื้นที่ และเวลา ตามที่กำหนด
• ทำตัวต่ำเมื่อเข้าใกล้อากาศยานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจอดในพื้นที่ลาดเอียง
• ห้ามไกอาวุธทุกชนิด ผู้ที่อยู่ใกล้ประตูหันปากลำกล้องออกข้างนอกเพื่อการระวังป้องกัน
• ลดเสาวิทยุลงและป้องกันให้เรียบร้อย
• เก็บรักษาลูกระเบิดขว้างให้อยู่ในที่ปลอดภัย
2. การลงจากเครื่องบิน
• ผบ.หน่วยตรวจสอบให้มั่นใจว่ากำลังพลจะลงได้อย่างรวดเร็วเมื่อลงสู่พื้น
• ห้ามกระโดดลงจาก ฮ.ที่ลอยตัวอยู่ นอกจากจะได้รับคำสั่งจากพลประจำอากาศยาน
• เคลื่อนที่ออกทางด้านข้างของอากาศยาน
• เคลื่อนที่ไปยังตำบลที่กำหนด เพื่อจัดการระวังป้องกันรอบตัว
• หากได้รบั บาดเจ็บหรือสูญเสีย ให้สง่ กลับผูบ้ าดเจ็บไปโดย ฮ. ทีก่ ำลังจะแยกจากไป
ข้อมูลสนามรบ

• ปฏิบัติตามคำสั่งยุทธการต่อไป

6 - 84 การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน
การบินเพื่อส่งลงในเที่ยวบินเดียว (ฮท.1 จำนวน 3 ลำ)

ลำที่ 1 จำนวน 6 นาย ลำที่ 2 จำนวน 5 นาย ลำที่ 3 จำนวน 5 นาย
ผบ.ชุด รอง ผบ.ชุด หน.ส่วน รวป.
พงว. 1 พงว. 2 พล ปล.1
ส.พยาบาล 1 ส.พยาบาล 2 หน.พวกพลทำลาย 2
หน.ส่วนโจมตี พล ปก. 1 พลทำลาย 2
หน.พวกพลทำลาย 1 พลทำลาย 1 พล ปล. 2
พล ปก. 2

หมายเหตุ
กระจายระดับ ผบ.และ หน.ส่วนรวมทั้งให้ทุกลำมีอำนาจการยิงที่สมดุลกับยุทโธปกรณ์สำคัญยิ่ง ที่ต้องใช้ใน
การปฏิบัติภารกิจ


คุณลักษณะของอากาศยาน ของ ทบ.ไทย

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 155 18/9/2555 18:48:06


ข้อมูลสนามรบ

การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน 6 - 85
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 156 18/9/2555 18:48:09

6 - 86 การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 157 18/9/2555 18:48:09

การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน 6 - 87
------------------
เอกสารอ้างอิง : 1. รส.31– 20คู่มือราชการสนามว่าด้วยเทคนิคการปฏิบัติของหน่วยรบพิเศษ พ.ศ.2519
2. คฝ.7–8คู่มือการฝึกว่าด้วยการประเมินผล หมู่ หมวดปืนเล็กทหารราบ พ.ศ.2541
3. คู่มือกองทัพบกว่าด้วยหน่วยทหารขนาดเล็ก(เล่มเล็ก) พ.ศ.2554
ข้อมูลสนามรบ

4. หนังสือวิชา การบินทหารบกทางยุทธวิธี กองการศึกษา โรงเรียนการบินทหารบก

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 158 18/9/2555 18:48:10

6 - 88 การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน
13. อาวุธ ยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทย

1.อาวุธประจำกายและอาวุธประจำหน่วย

ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 159 18/9/2555 18:48:11

อาวุธประจำกายของกองทัพไทย 6 - 89
ข้อมูลสนามรบ

6 �����6-2
- 90 A5-ok(data
อาวุธประจำกายของกองทั
a5).indd 160
พไทย 18/9/2555 18:48:12
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 161 อาวุธประจำกายของกองทัพไทย 6 - 18:48:14


18/9/2555 91
ข้อมูลสนามรบ

6 -�����6-2
92 A5-ok(data a5).indd 162
อาวุธประจำกายของกองทัพไทย
18/9/2555 18:48:15
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 163 18/9/2555 18:48:16


อาวุธประจำกายของกองทัพไทย 6 - 93
ข้อมูลสนามรบ

6�����6-2
- 94 A5-ok(data
อาวุธประจำกายของกองทั
a5).indd 164 พไทย 18/9/2555 18:48:17
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 165 รสพ. และ รยก. ของกองทัพไทย 6 - 18:48:18


18/9/2555 95
ข้อมูลสนามรบ

6 - 96 รสพ. และ รยก. ของกองทัพไทย


�����6-2 A5-ok(data a5).indd 166 18/9/2555 18:48:18
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 167 รสพ. และ รยก. ของกองทัพไทย 18/9/2555


6 - 9718:48:18
ข้อมูลสนามรบ

6 - 98 รสพ. และ รยก. ของกองทัพไทย


�����6-2 A5-ok(data a5).indd 168 18/9/2555 18:48:19
ข้อมูลสนามรบ

รสพ. และ รยก. ของกองทัพไทย 6 - 99


�����6-2 A5-ok(data a5).indd 169 18/9/2555 18:48:19
ข้อมูลสนามรบ

6 - 100 รสพ. และ รยก. ของกองทัพไทย


�����6-2 A5-ok(data a5).indd 170 18/9/2555 18:48:20
ข้อมูลสนามรบ

รสพ. และ รยก. ของกองทัพไทย 6 - 101


�����6-2 A5-ok(data a5).indd 171 18/9/2555 18:48:20
ข้อมูลสนามรบ

6 - 102 รสพ. และ รยก. ของกองทัพไทย


�����6-2 A5-ok(data a5).indd 172 18/9/2555 18:48:21
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 173 18/9/2555 18:48:21

รสพ. และ รยก. ของกองทัพไทย 6 - 103


ข้อมูลสนามรบ

6 - 104 รถถังของกองทัพไทย
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 174 18/9/2555 18:48:22
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 175


รถถังของกองทัพไทย 18/9/2555
6 - 105
18:48:22
ข้อมูลสนามรบ

6 - 106 รถถังของกองทัพไทย
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 176 18/9/2555 18:48:23
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 177 รถถังของกองทัพไทย 18/9/2555


6 - 107
18:48:23
ข้อมูลสนามรบ

6 - 108 รถถังของกองทัพไทย
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 178 18/9/2555 18:48:26
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 179 18/9/2555 18:48:26


เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพไทย 6 - 109
ข้อมูลสนามรบ

6 - 110 เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพไทย
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 180 18/9/2555 18:48:27
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 181 18/9/2555 18:48:27

เครื่องบินของกองทัพไทย 6 - 111
ข้อมูลสนามรบ

6 - 112 เครื่องบินของกองทัพไทย
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 182 18/9/2555 18:48:28
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 183 18/9/2555 18:48:28

ปืนใหญ่ของกองทัพไทย 6 - 113
ข้อมูลสนามรบ

6 - 114 ปืนใหญ่ของกองทัพไทย
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 184 18/9/2555 18:48:29
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 185


ปืนใหญ่ของกองทัพไทย 18/9/2555 18:48:29
6 - 115
ข้อมูลสนามรบ

6 - 116 เครื่องมือติดต่อสื่อสารของกองทัพไทย
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 186 18/9/2555 18:48:29
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 187 เครื่องมือติดต่อสื่อสารของกองทัพไทย 18/9/2555


6 - 11718:48:30
ข้อมูลสนามรบ

6 - 118 เครื่องมือติดต่อสื่อสารของกองทัพไทย
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 188 18/9/2555 18:48:30
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 189 เครื่องมือติดต่อสื่อสารของกองทัพไทย 18/9/2555


6 - 11918:48:30
ข้อมูลสนามรบ

6 - 120 เครื่องมือติดต่อสื่อสารของกองทัพไทย
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 190 18/9/2555 18:48:31
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 191 เครื่องมือติดต่อสื่อสารของกองทัพไทย 18/9/2555


6 - 121
18:48:31
ข้อมูลสนามรบ

6 - 122 เครื่องมือติดต่อสื่อสารของกองทัพไทย
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 192 18/9/2555 18:48:32
ข้อมูลสนามรบ

เครื่องมือติดต่อสื่อสารของกองทัพไทย 6 - 123
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 193 18/9/2555 18:48:32
ข้อมูลสนามรบ

6 - 124 อาวุธประจำกายที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 194 18/9/2555 18:48:32
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 195


อาวุธประจำกายที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา 18/9/2555
6 - 125
18:48:33
ข้อมูลสนามรบ

6 - 126 อาวุธประจำกายที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 196 18/9/2555 18:48:33
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 197


อาวุธประจำหน่วยที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา 18/9/2555
6 - 127
18:48:34
ข้อมูลสนามรบ

6 - 128 อาวุธประจำหน่วยที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 198 18/9/2555 18:48:34
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 199


อาวุธประจำหน่วยที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา 18/9/2555
6 - 129
18:48:35
ข้อมูลสนามรบ

6 - 130 รถยานเกราะที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 200 18/9/2555 18:48:35
ข้อมูลสนามรบ

รถยานเกราะที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา 6 - 131
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 201 18/9/2555 18:48:36
ข้อมูลสนามรบ

6 - 132 รถยานเกราะที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 202 18/9/2555 18:48:36
ข้อมูลสนามรบ

รถยานเกราะที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา 6 - 133
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 203 18/9/2555 18:48:37
ข้อมูลสนามรบ

6 - 134 รถถังที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 204 18/9/2555 18:48:37
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 205


รถถังที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา 18/9/2555
6 - 135
18:48:38
ข้อมูลสนามรบ

6 - 136 รถถังที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 206 18/9/2555 18:48:38
ข้อมูลสนามรบ

àÎÅԤͻàµÍÏ·ÕèäÁ‹ãª‹½†ÒÂàÃÒ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 207


เฮลิคอปเตอร์ที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา 24/9/2555
6 - 137
18:27:02
ข้อมูลสนามรบ

6 - 138 เฮลิคอปเตอร์ที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 208 18/9/2555 18:48:39
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 209 เครื่องบินที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา 18/9/2555


6 - 139
18:48:39
ข้อมูลสนามรบ

6 - 140 เครื่องบินที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 210 18/9/2555 18:48:40
ข้อมูลสนามรบ

เครื่องบินที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา 6 - 141
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 211 18/9/2555 18:48:41
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 212 18/9/2555 18:48:41

6 - 142 อาวุธยิงสนับสนุนที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 213 อาวุธยิงสนับสนุนที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา 18/9/2555


6 - 143
18:48:41
ข้อมูลสนามรบ

6 - 144 อาวุธยิงสนับสนุนที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 214 18/9/2555 18:48:42
ข้อมูลสนามรบ

อาวุธยิงสนับสนุนที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา 6 - 145
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 215 18/9/2555 18:48:42
ข้อมูลสนามรบ

6 - 146 อาวุธยิงสนับสนุนที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 216 18/9/2555 18:48:42
----------------
เอกสารอ้างอิง : 1. เว็บไซต์สารนุกรมเสรี วิกีพีเดีย (www.wikipedia.org)
2. คู่มือผู้บังคับหมู่ หมวด กองร้อย (ม.)
ข้อมูลสนามรบ

3. คูม่ ือผู้บังคับหน่วยและฝ่ายอำนวยการ ร.ร.เสธ.ทบ.

อาวุธยิงสนับสนุนที่ไม่ใช่ฝ่ายเรา 6 - 147
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 217 18/9/2555 18:48:43
ข้อมูลสนามรบ

6 - 148 วัตถุระเบิดทางทหาร
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 218 18/9/2555 18:48:43
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 219


วัตถุระเบิดทางทหาร 6 - 149
18/9/2555 18:48:43
ข้อมูลสนามรบ

6 - 150 วัตถุระเบิดทางทหาร
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 220 18/9/2555 18:48:44
ข้อมูลสนามรบ

วัตถุระเบิดทางทหาร 6 - 151
�����6-2 A5-ok(data a5).indd 221 18/9/2555 18:48:44
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 222 18/9/2555 18:48:44


6 - 152 วัตถุระเบิดทางทหาร
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 223 18/9/2555 18:48:45


วัตถุระเบิดทางทหาร 6 - 153
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 224 18/9/2555 18:48:45


6 - 154 วัตถุระเบิดทางทหาร
ข้อมูลสนามรบ

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 225


วัตถุระเบิดทางทหาร 18/9/2555 18:48:45
6 - 155
วัตถุระเบิดแสวงเครื่อง
(Improvised Explosive Devices - IED)

1. วัตถุระเบิดแสวงเครื่อง (IED)
วัตถุระเบิดแสวงเครือ่ ง (IED) เป็นการนำเอาวัสดุทมี่ อี ยูห่ รือวัสดุทสี่ ามารถจัดหาได้งา่ ยมีอยูท่ วั่ ไป นำมาประดิษฐ์
เป็นระเบิดโดยมีความมุ่งหมายเพื่อทำลายชีวิต, ทำลายทรัพย์สิน, ก่อวินาศกรรม หรือเพื่อสร้างสถานการณ์ก่อให้เกิด
ความไม่สงบโดยผู้ไม่หวังดีหรือผู้ก่อการร้าย ซึ่งปัจจุบันระเบิดแสวงเครื่อง ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในทุกภูมิภาค
ของโลกตัวอย่างของระเบิดแสวงเครื่องที่พบเห็นได้บ่อยและใช้กันในปัจจุบัน เช่น รถยนต์ หรือรถบรรทุกระเบิด
(Car or Truck Bomb),ไปรษณีย์ระเบิด (Letter and Package Bomb), ระเบิดพลีชีพ (Suicide Bomb), ระเบิดท่อ
(Pipe Bomb), กล่องระเบิดหรือ กระเป๋าระเบิดเป็นต้น
ปัจจุบันเทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้น ทำให้การทำระเบิดแสวงเครื่องมีความซับซ้อนมากขึ้น และสามารถควบคุม
การทำงานได้จากระยะไกล (Remote Control) ส่งผลให้การเก็บกู้ระเบิดแสวงเครื่องเป็นไปด้วยความยุ่งยากและ
อันตรายมากขึ้น ซึ่งในการเก็บกู้นั้นจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษต่างๆ เข้าช่วยในการปฏิบัติงานและสิ่งสำคัญที่สุด
คือ ต้องอาศัยการข่าวที่ถูกต้องและแม่นยำเพื่อเป็นข้อมูลในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย
2. ระบบการทำงานของวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง (IED)
วัตถุระเบิดแสวงเครื่องสามารถแบ่งประเภทตามลักษณะของระบบการทำงานได้ 3 ระบบ คือ
• ระบบสารเคมี เป็นการใช้สารเคมีซึ่งเป็นส่วนผสมของระเบิดผสมกันทำให้เกิดปฏิกิริยากันแล้วเกิด
ข้อมูลสนามรบ

การระเบิดขึ้น ระบบนี้ไม่เป็นที่นิยมมากนักเพราะ ขั้นตอนการประดิษฐ์ยุ่งยากไม่สามารถควบคุมเวลาที่จะทำให้เกิด


การระเบิดได้แน่นอน และที่สำคัญ คืออาจจะเป็นอันตรายแก่ผู้ประดิษฐ์

�����6-2 A5-ok(data a5).indd 226 18/9/2555 18:48:46


6 - 156 วัตถุระเบิดแสวงเครื่อง
• ระบบกลไก เป็นการใช้อุปกรณ์ทางกลต่างๆ เป็นตัวทำให้เกิดการทำงานของระเบิดแสวงเครื่อง
ระบบนี้ส่วนใหญ่จะต้องอาศัยสิ่งอื่นๆ มากระทำต่ออุปกรณ์ระเบิด ระเบิดจึงจะเริ่มทำงาน นิยมใช้เพื่อการข่มขู่หรือมุ่ง
ประสงค์ต่อชีวิต หรือทำให้บาดเจ็บล้มตายเฉพาะบุคคล
• ระบบไฟฟ้า เป็นการใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์มาเป็นตัวทำให้ระเบิด
เกิดการทำงาน ระเบิดแสวงเครื่องแบบนี้เป็นที่นิยมกันมาก เนื่องจากประดิษฐ์ได้ง่ายสามารถกำหนดเวลา, ควบคุม
จังหวะการทำงานได้แน่นอนควบคุมการทำงานได้ในระยะไกลและสามารถสร้างความซับซ้อนตอบสนองต่อวัตถุประสงค์
ของผู้ประดิษฐ์ได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของผู้ประดิษฐ์
3. การแบ่งประเภทของระเบิดแสวงเครื่อง สามารถแบ่งตามวิธีการจุดระเบิดได้เป็น 4 ประเภท
• จุดระเบิดโดยการกระทำของเหยื่อ (Victim Operated IED) ใช้โจมตีบุคคล กลุ่มยานพาหนะ ซึ่ง
อาจถูกลวงเข้าพื้นที่ที่กำหนด หรือสถานที่เกิดเหตุ ฯลฯ มากระทำให้เกิดการจุดระเบิด เช่น ดึง เลิกดึง ปล่อย สะดุด
กด เลิกกด การเคลื่อนไหว หรือการทำงานของสวิทช์อเิ ล็กทรอนิกส์แบบต่างๆ ทีไ่ วต่อเสียง แสง และแสงอินฟราเรด
เป็นต้น
• จุดระเบิดโดยการบังคับจุด (Commanded IED ) ผู้จุดระเบิดเลือกเวลาได้ตามต้องการ มักใช้กบั
เป้าหมายทีม่ กี ารเคลือ่ นไหว หรือมีรปู แบบการปฏิบตั แิ บบซ้ำๆ กัน ประเภทที่นิยมใช้ได้แก่ การจุดระเบิดด้วยสายไฟฟ้า
และแบบระยะไกลไร้สายด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิทยุรับ-ส่ง โทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์ไร้สาย วิทยุติดตามตัว
อุปกรณ์รีโมทคอนโทรลต่างๆ
• จุดระเบิดโดยการตั้งเวลา (Time IED) ใช้อุปกรณ์ตั้งเวลาในการ จุดระเบิดเพื่อให้ผู้จุดมีเวลาหลบ
หนี หรือโจมตีเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตามเวลาหรือมีรูปแบบตายตัว เช่น ใช้ชนวนเวลา นาฬิกา วงจรนับเวลาแบบ
อิเลคทรอนิคส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ทางกลที่ตั้งเวลาได้ เป็นต้น
• ระเบิดรถยนต์ (Vihicle Borne IED ) มักมีวัตถุระเบิดปริมาณมาก สร้างความเสียหายรุนแรง
โดยใช้รถยนต์บรรทุกวัตถุระเบิดวิ่งชนหรือจอดใกล้เป้าหมายและทำการจุดได้ทั้งขณะเคลื่อนที่ หรือจอดอยู่กับที่
4. องค์ประกอบของวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง (IED)
ระเบิดแสวงเครื่องที่ฝ่ายตรงข้ามนิยมใช้กันมากเป็นการใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์
มาเป็นตัวทำให้ระเบิดเกิดการทำงาน เนื่องจากประดิษฐ์ได้ง่ายสามารถกำหนดเวลา, ควบคุมจังหวะการทำงานได้
แน่นอน ควบคุมการทำงานได้ในระยะไกลและสามารถสร้างความซับซ้อนตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของผู้ประดิษฐ์ได้
หลายรูปแบบ ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญโดยทั่วไปดังนี้.-

• แหล่งพลังงาน (แบตเตอรี่) : มีใช้หลายแบบ แต่ที่พบส่วนมากในพื้นที่ จชต. จะเป็นแบตเตอรี่


ขนาด 6, 9, 12 โวลท์ ทัง้ แบบแห้ง และแบบเติมน้ำกลัน่ เป็นตัวจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ตัวจุดระเบิด (เชื้อปะทุไฟฟ้า) และ
ข้อมูลสนามรบ

วงจรอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์

วัตถุระเบิดแสวงเครื่อง 6 - 157
• สวิทช์ควบคุมการจุดระเบิด :
เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้ระเบิดแสวงเครื่องเกิดระเบิดขึ้นตามเวลา
ทีต่ อ้ งการ โดยสวิทช์ดงั กล่าวอาจเป็นสวิทช์ทางกล, ทางไฟฟ้าทีป่ ดิ -เปิด
ด้วยการมือ หรือ ควบคุมจากระยะไกลด้วยโทรศัพท์มือถือ วิทยุบังคับ
วิทยุรบั ส่ง การใช้รโี มทคอนโทรลแบบต่างๆ การใช้สายไฟจุดระเบิดโดยตรง
การตัง้ เวลาให้ระเบิดทีว่ างไว้เกิดระเบิดด้วยนาฬิกา วงจรอิเล็กทรอนิกส์
อุปกรณ์ตงั้ เวลาทางกล หรือการกระทำโดยเป้าหมายตรง เช่น การยกกด
เลิกกด ดึง เลิกดึง เปิด ปิด ขยับหรือเคลื่อนย้าย ฯลฯ
• ตัวจุดระเบิด (เชื้อปะทุ) โดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ.-
1) เชื้อปะทุชนวน ใช้เปลวไฟหรือประกายไฟ
ในการจุดหรือนำมาดัดแปลงให้สามารถจุดได้ด้วยไฟฟ้า
2) เชื้อปะทุไฟฟ้า ต้องใช้กระแสไฟฟ้าในการจุดซึ่งมักใช้แบตเตอรี่เป็นแหล่งจ่าย ปลายด้านหนึ่ง
จะมีสายไฟยื่นออกมาสองเส้นสีของสายไฟมีหลายสีขึ้นอยู่กับโรงงานที่ผลิต






• วัตถุระเบิดสะเก็ดระเบิดและภาชนะบรรจุ วัตถุระเบิดที่ผู้ก่อความ ไม่สงบนำมาใช้ในการก่อเหตุ
แบ่งเป็น 2 ชนิด
1) วัตถุระเบิดแรงต่ำ จุดระเบิดด้วยไส้ความร้อน/
ไส้หลอดไฟ ชนวนไส้ไม้ขีด หรือความร้อนจากไฟถ่าน/เปลวไฟ ไม่จำเป็น
ต้องจุดด้วย เชื้อปะทุ ได้แก่ ดินดำ , ดินกลุ่มคลอเรท ( ดินเทา :
โปตัสเซียมเปอร์คลอเรท, ดินที่ใช้โปตัสเซียมและโซเดียม
เป็นส่วนประกอบหลัก
2) วัตถุระเบิดแรงสูง จุดระเบิดต้องจุดด้วย
เชือ้ ปะทุ ได้แก่ ดินระเบิด TNT, ดินระเบิด Comp.C-4, ดินระเบิดไดนาไมค์
(แอมโมเนียมไดนาไมท์, เจลาติลไดนาโมท์), ดินระเบิด Water Gel
ดินระเบิดแอมโมเนียมไนเตรทผสมน้ำมัน (ANFO) ฯลฯ
วัตถุระเบิดแสวงเครื่อง
• สะเก็ดระเบิด : เป็นส่วนที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย

และการสูญเสีย สะเก็ดระเบิดจะเกิดจากตัวภาชนะที่ใช้บรรจุโดยเฉพาะที่
ทำจากโลหะ เช่น กล่องโลหะ ถังดับเพลิง รถยนต์ ฯลฯ และเพิ่มเติม
โดยการนำเอาชิ้นวัสดุต่างๆ บรรจุรวมกับวัตถุระเบิดเช่น ตะปู เหล็กเส้น
โซ่รถ กระทะ ฯลฯ
• ภาชนะบรรจุ : เป็นส่วนที่ใช้ในการบรรจุวัตถุระเบิด
และป้องกันความชืน้ โดยชนิดวัสดุ,ขนาดและรูปร่างทีใ่ ช้จะมีความหลากหลาย
อาจเป็นกล่อง, หีบห่อบรรจุของใช้ทั่วไปในครัวเรือน จนถึงอุปกรณ์
ทางอุตสาหกรรม หรือประดิษฐ์ดัดแปลงขึ้นเอง ตามความต้องการ
ของผู้ก่อเหตุรุนแรงที่จะก่อให้เกิดผลต่อ เป้าหมายจุดที่วางการซ่อนพลาง
ข้อมูลสนามรบ

แต่ที่นิยมนำมาใช้ได้แก่ กล่องโลหะ ถังดับเพลิง ฯลฯ และ เป็นองค์ประกอบ


ที่มีโอกาสสังเกต ตรวจพบได้ง่ายที่สุด
6 - 158 วัตถุระเบิดแสวงเครื่อง
5. บริเวณที่อาจมีวัตถุระเบิดซุกซ่อน/ข้อสังเกตและสิ่งบอกเหตุ

บริเวณและขนาดของวัตถุระเบิดที่ผู้ก่อความไม่สงบลอบวางระเบิดจะขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่ต้องการโจมตี
และวิธีการควบคุมการจุดระเบิดที่ต้องการ
• อาจซ่อนไว้ไหล่ถนนหรือใต้ผิวถนน
• แขวนบนต้นไม้ เสาไฟ ป้ายบอกทางข้างถนน รั้วกั้นแนวถนน สะพานลอย คอสะพาน
• ภายใน ข้าง หรือใต้วัสดุหีบห่อต่าง ๆ ซุกซ่อนในบริเวณพื้นที่สาธารณะทั่วไป
• ซ่อนในรถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถบรรทุก ซากสัตว์ ร่างคน หรือ รถลาก
• ซ่อนไว้เป็นระเบิดลูกที่ 2 ใกล้กับที่เกิดเหตุหรือ IED ลูกอื่น
• วางไว้เพือ่ ใช้โจมตีเป้าหมายเจ้าหน้าทีท่ เี่ ข้าตรวจสอบทีเ่ กิดเหตุ ในพืน้ ทีก่ ั้นเขต จุดตรวจ และ บก.
เหตุการณ์
• อาจวางมากกว่า 1 ลูก เป็นแนวติดต่อกันเพือ่ สร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่เมือ่ ลูกหนึง่ ลูกใดเกิดระเบิดขึน้

ข้อสังเกตและสิ่งบอกเหตุของวัตถุต้องสงสัยหรือวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง
• การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิต ตื่นตัวคอยเฝ้าระวังเมื่อพบว่ามี ความพลุกพล่านของประชาชน
และยานพาหนะลดลงผิดปกติ
• ร่องรอย สังเกตร่องรอยที่ฝ่ายตรงข้ามทิ้งไว้โดยไม่ตั้งใจ เช่น การปรากฏสีของฝักแคระเบิดหรือ
ส่วนต่าง ๆ ของวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง ความแตกต่างของสีและความใหม่ของดินที่เพิ่งถูกรบกวน (สีจะเข้มกว่า) หรือ
ปูนที่ไม่เข้ากับพื้นที่รอบๆ ร่องรอยของดินที่ถูกขุดใหม่ๆ ,รอยรบกวนวัชพืช และรอยเท้า
• เครือ่ งหมายต่างๆ มองหาสิง่ บอกเหตุขา้ งทางเช่น ยางรถยนต์ กองหิน ดินทราย ผ้าเทปหรือริบบิ้น
ที่ใช้บอกตำแหน่ง หรือใช้เป็นจุดอ้างอิงในการเล็ง
• รูปร่าง เป็นวัตถุหรือสิ่งของเครื่องใช้ ที่มีลักษณะภายนอกผิดปกติหรือผิดไปจากรูปเดิม เช่น
กล่องมีร่องรอยเปรอะเปื้อน, กล่องปิดผนึกไม่เรียบร้อยหรือมีรอยผนึกใหม่, มีรอยยับหรือรอยขูดขีดต่างๆ หรือมีสที ี่
เปลีย่ นแปลงไปจากลักษณะเดิม เป็นต้น
• ที่อยู่ เป็นวัตถุที่ไม่มีเจ้าของ หรือ หาเจ้าของไม่พบ เป็นวัตถุที่ไม่เคยพบเห็น และควรจะอยู่ในที่
อื่นมากกว่าจะอยู่ตรงนั้น เช่น กระเป๋าเอกสารที่ถูกแขวนไว้ ตามต้นไม้หรือเสาไฟฟ้า เป็นต้น
• รอยเขียนพ่นสี พึงระวังถึงสัญลักษณ์ หรือรอยเขียนบนฝาผนัง สิง่ ก่อสร้าง ที่อาจเป็นเครื่องหมายแจ้ง
เตือนคนท้องถิ่น
• ป้าย ให้ความสนใจกับป้ายประกาศที่เพิ่งปัก ติดตั้งใหม่ๆ และอยู่ผิดที่ ซึ่งฝ่ายตรงข้ามอาจใช้เพื่อ
แจ้งเตือนคนท้องถิ่นและ สื่อความหมายให้กับฝ่ายเดียวกัน

หลักการสังเกตวัตถุระเบิดแสวงเครื่องเบื้องต้น (3 ไม่ 1 ดู)
1. ไม่ เคยเห็น : ไม่ คุ้นตา
2. ไม่ เป็นของใคร : ไม่ มีเจ้าของ
3. ไม่ ใช่ที่อยู่ : ไม่ ควรอยู่ตรงนั้น
4. ดู ไม่เรียบร้อย : ดู ไม่ปกติ

6. เทคนิคการลาดตระเวน
กุญแจสำคัญในการเพิ่มโอกาสการมีชีวิตรอดในระหว่างการปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ จชต. คือ
1) ผบ.หน่วย จะต้องแก้ปัญหา ณ จุดวิกฤตที่หน่วยของตนกำลังเผชิญอยู่ได้ อย่างทันท่วงที สามารถตอบโต้
ข้อมูลสนามรบ

ผู้ก่อความไม่สงบได้ด้วยการยิงเร็วและปฏิบัติการเร็ว

วัตถุระเบิดแสวงเครื่อง 6 - 159
2) นำเทคนิคการลาดตระเวนในระบบคู่บัดดี้ประกอบการสังเกตสิ่งผิดปกติมาเป็นแนวทางการปฏิบัติโดย
เคร่งครัด กล่าวคือต้องมีกำลังส่วนหนึ่งปฏิบัติและอีกส่วนหนึ่งทำการระวังป้องกัน เมือ่ มีเหตุการณ์สามารถเป็นฐานยิง
และให้ความช่วยเหลือซึง่ กันและกันได้
3) ผบ.หน่วยต้องไม่ละเลยการวิเคราะห์ภูมิประเทศและข้าศึก ต้องรู้เขา รู้เรา เข้าใจภูมิประเทศทุกครั้งก่อน
ออกปฏิบัติภารกิจ

สิ่งที่ต้องปฏิบัติก่อนการปฏิบัติภารกิจ

• เมื่อมีเหตุการณ์หรือได้รับมอบภารกิจ ผบ.หน่วยทุกระดับชั้นต้องปฏิบัติตาม ขัน้ ตอนระเบียบการนำหน่วย
ทุกครัง้ โดยเฉพาะการวิเคราะห์ภารกิจทีต่ อ้ งพิจารณาถึงปัจจัยภูมปิ ระเทศและการปฏิบตั ขิ องผูก้ อ่ ความไม่สงบ แล้วนำไปสู่
การวางแผนปฏิบตั ขิ องหน่วยทีร่ ดั กุม
• ผู้ก่อความไม่สงบเลือกใช้ภูมิประเทศที่ได้เปรียบกระทำต่อฝ่ายเรา ดังนั้นควรทำการ ลว. พื้นที่ปฏิบัติการ
ก่อน เพื่อศึกษาภูมิประเทศ จุดล่อแหลมหรือพื้นที่อันตราย
• ก่อนการปฏิบัติภารกิจทุกครั้ง ต้องมีการซักซ้อมแผนการปฏิบัติ และแผนเผชิญเหตุที่วางไว้ด้วย
• ต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการปฏิบัติเสมอ ๆ เพื่อป้องกันฝ่ายตรงข้ามเฝ้าตรวจและติดตาม
• ฝึกให้กำลังพลทุกคนภายในหน่วยมีนิสัยรักการสังเกตโดยทำการฝึกทบทวนเรื่องการสังเกตและตรวจการณ์
IED ภายในฐานที่ตั้งของตนเองเป็นประจำ
• ทหารทุกนายต้องทำการสังเกตและตืน่ ตัวกับสิง่ บอกเหตุตา่ งๆ ทีต่ รวจการณ์พบ และรีบรายงาน ผบ.หน่วย
ทันที เพือ่ นำมาวิเคราะห์และประเมินการปฏิบตั ขิ องผูก้ อ่ ความไม่สงบ
• ชุดลาดตระเวนต้องดำรงการติดต่อซึ่งกันและกันภายในหมู่ของตนได้ตลอดเวลาโดยแต่ละคนจะต้อง
ตรวจการณ์เห็นคู่บัดดี้ของตน และหน.ชุดยิง สามารถส่งทัศนสัญญาณต่อไปยัง ผบ. หมู่ได้
• ขณะเคลือ่ นทีห่ ากตรวจพบสิง่ ผิดปกติ เช่น สัญลักษณ์หรือเครือ่ งหมายทีท่ ำขึน้ ใหม่ ต้องทำการตรวจสอบก่อน
การเคลือ่ นทีผ่ า่ นโดยการหยุดหน่วยห่างจากจุดทีต่ รวจพบประมาณ 80-100 ม. ตรวจความปลอดภัยจุดทีอ่ ยูด่ ว้ ยวิธี 5-15-25
แล้วจึงส่งชุดลาดตระเวนนำออกพิสจู น์ทราบเพือ่ หาสายไฟจุดระเบิด ห่างจากเส้นทางทัง้ สองด้าน ด้านละ 20-50 ม.
• เมื่อถูกซุ่มโจมตีต้องทำการยิงโต้ตอบทันทีและรีบเข้าที่กำบัง ส่วนที่ไม่ปะทะโดยตรงทำการยิงคุ้มครองให้กับ
ส่วนที่ถูกโจมตี ด้วยการยิงกดไปยังทิศทางข้าศึก หากไม่ทราบ แน่ชัดว่าข้าศึกอยู่ที่ใด ให้ทำการยิงคุ้มครองซ้ายขวาให้
กับส่วนที่ถูกโจมตีเป็นระยะ เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามเข้ามายิงซ้ำหรือแย่งชิงยุทโธปกรณ์ได้

การสังเกตและตรวจสอบจุดที่อยู่ของตนเองให้ปลอดภัยจากระเบิดแสวงเครื่อง ด้วยวิธี 5 – 15 – 25

7. การปฏิบัติเมื่อตรวจพบวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง
หรือวัตถุต้องสงสัย
เมื่อตรวจพบวัตถุระเบิดแสวงเครื่องหรือวัตถุต้อง
สงสัยให้แจ้งหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการเก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิด
โดยตรง ห้ามดำเนินการเก็บกู้ รื้อถอน โดยเด็ดขาด การเก็บ
กู้ รื้อถอน ทำลาย วัตถุระเบิดโดยผู้ที่ไม่มีหน้าที่โดยตรง ถือได้
ว่าเป็นการปฏิบัติโดยประมาท นอกจากจะเป็นอันตรายถึงแก่
ชีวิตแล้ว อาจจะส่งผลกระทบถึงสิทธิกำลังพลที่ได้รับ รวมทั้ง
ลดความน่าเชื่อถือของประชาชนในพื้นที่ และทำให้บรรลุผล
ตามความต้องการของฝ่ายตรงข้าม เว้นได้รับการอนุมัติจาก
ข้อมูลสนามรบ

บก.หน่วยเหนือให้ดำเนินรื้อถอน ทำลายได้แต่ต้องจำกัด
**เริ่มตรวจจุดที่อยู่ของตนเองในรัศมี 5 ม. โดยรอบ
เฉพาะการปฏิบัติในระยะไกลเท่านั้นและคำนึงถึงความ
แล้วขยายระยะออกไปเป็น 15 ม. และ 25 ม. ตามภาพ
ปลอดภัยเป็นลำดับแรก
6 - 160 วัตถุระเบิดแสวงเครื่อง
การปฏิบัติตามมาตรการขั้นต้น (4 C)
เมื่อตรวจพบวัตถุระเบิดแสวงเครื่องหรือวัตถุต้องสงสัยต้องปฏิบัติตามมาตรการดังนี้
• การยืนยันและอพยพ (CLEAR) อพยพทุกคนออกจากพื้นที่ กำหนดตำแหน่งที่อยู่ตนเองและสังเกต
ทิศทางและระยะถึงวัตถุต้องสงสัย เคลื่อนที่ออกให้ห่างระยะ 300 เมตร จากจุดที่พบวัตถุต้องสงสัยการตัดสินใจว่า
ขนาดพื้นที่ที่ต้องอพยพคนออกควรมีขนาดเท่าใด ผบ.ขบวนยานยนต์ หรือ หน่วยลาดตระเวน ณ ที่เกิดเหตุควรต้อง
นำปัจจัย METT-TC มาใช้ประกอบการพิจารณา การระเบิดอาจเกิดขึ้นถ้าอุปกรณ์ระเบิดพร้อมทำงานก่อนตรวจพบ
จึงควรใช้ประโยชน์จากสิ่งกำบังแข็งแรงและต้องไม่มีคนอยู่ในแนวเส้นตรงจากพื้นที่ต้องสงสัยกับตำแหน่งที่อยู่ในที่โล่ง
• ตรวจสอบ (CHECK) ทุกคนต้องตรวจสอบพืน้ ทีร่ อบ ๆ ตนเอง เพือ่ ตรวจสอบว่ามีระเบิดลูกที่ 2 หรืออืน่ ๆ
อีกหรือไม่ โดยใช้เทคนิคการตรวจ 5-15-25 เมตร กวาดสายตารอบตัวจากจุดที่อยู่ โดยการมองหาวัสดุที่เป็นวัสดุและ
อุปกรณ์ส่วนประกอบของวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง (ฝักแคระเบิด เครื่องรับ–ส่ง วิทยุ โทรศัพท์ เสาอากาศ อื่นๆ) ที่จะนำ
ไปสู่การพบระเบิดที่ล้อมหน่วย วัตถุต้องสงสัยใดๆ ที่พบต้องรายงานให้ ผบ.ขบวนยานยนต์ หรือ หน่วยลาดตระเวน
ทราบทันที และทำเครื่องหมายตรงบริเวณนั้นตามที่หน่วยกำหนด และทำการปรับแนวการกั้นเขตเพื่อให้พื้นที่
ปลอดภัยและดำเนินการตรวจ 5-15-25 เมตร ต่อไป
• การกั้นเขต (CORDON) พื้นที่ที่กำหนดเป็นพื้นที่อันตรายจะต้องทำการปิดกั้นโดยการจัดตั้ง บก. ควบคุม
เหตุการณ์ (ICP) สำหรับหน่วยงานอื่นที่จะตามมา วัตถุประสงค์ในการกั้นเขตคือป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปใน
พื้นที่ (เพื่อความปลอดภัยของตนเองและเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงาน) เพื่อรักษาสภาพในการใช้ขยายผล และก่อให้เกิด
ความปลอดภัยจากภายนอกและป้องกันการจุดระเบิดแบบบังคับจุด ขณะอพยพคนออกจากพื้นที่ ลองสุ่มตรวจคน
เพื่อป้องปรามคนร้ายที่อาจแฝงตัวอยู่ในระยะจุดระเบิด กำลังพลที่มีอยู่ต้องวางกำลังควบคุมขอบเขตจนกว่ากำลัง
เพิ่มเติมจะมาถึง
• การควบคุม (CONTROL) พื้นที่ในที่กั้นเขตจะต้องควบคุมให้เข้าได้เฉพาะผู้ได้รับอนุญาตเข้าได้เท่านั้น
จราจรทางพลเรือนทั้งหมดจะต้องหักเหให้มุ่งออกห่างพื้นที่ดังกล่าว เฝ้าตรวจให้แน่ใจว่าจะไม่มีการรบกวนใดๆ ต่อ
วัตถุต้องสงสัย ด้วยสายตา กล้องส่องทางไกล รีบรายงานหากมีผู้เข้าใกล้วัตถุต้องสงสัยตาม รปจ. พื้นที่ปิดจะต้องได้
รับการรักษาความปลอดภัยจนกว่าเจ้าหน้าที่ทำลาย (EOD)จะให้สัญญาณว่าปลอดภัย เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
ต้องตื่นตัวและคอยมองตรวจหาคนจุดระเบิดที่แฝงตัวบริเวณใกล้ๆ

8. การทำลายวัตถุต้องสงสัยหรือระเบิดแสวงเครื่อง (IED) จากระยะไกล
การทำลายวัตถุต้องสงสัยหรือระเบิดแสวงเครื่อง (IED) จากระยะไกล ที่จะกล่าวนี้เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มพูนขีดความ
สามารถทางด้านการต่อต้านระเบิดแสวงเครื่องด้วยการยิงทำลายจากระยะไกลให้กับหน่วยที่ปฏิบัติภารกิจทางด้าน
ยุทธวิธีในพื้นที่ จชต.สำเร็จได้และปลอดภัยจากระเบิดแสวงเครื่อง (IED)
จากเหตุการณ์การก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้นใน จชต.ของไทย ผู้ก่อความไม่สงบมักใช้วิธีวางวัตถุต้องสงสัยไว้ใน
พื้นที่ต่างๆ เช่น
1) วางไว้เพื่อรั้งหน่วงการติดตามของ จนท. เพื่อเพิ่มเวลาในการหลบหนีหลังจากที่ได้ก่อเหตุขึ้นแล้ว
2) การวางวัตถุต้องสงสัยไว้อย่างเปิดเผย เพื่อลวงให้ จนท. เข้าไปพิสูจน์ทราบ แล้วจึงทำการกดชนวนระเบิด
จริงที่ได้แอบติดตั้งไว้แล้วใกล้ ๆ วัตถุต้องสงสัยนั้น เพื่อสังหาร จนท.
3) ทิ้งวัตถุต้องสงสัยที่ประดิษฐ์ขึ้นให้มีลักษณะที่ดูแล้วว่าไม่น่าจะเป็นอันตราย หรือดูเหมือนว่าเป็นวัตถุที่
เจ้าของวางลืมทิ้งไว้ เมื่อ จนท. ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ไปทำการหยิบ,ยก,เคลื่อนย้ายก็จะเกิดการระเบิดขึ้นทันที และได้
สร้างความเสียหายแก่ชีวิต จนท. ฝ่ายเรามาแล้วเป็นจำนวนมาก
ข้อมูลสนามรบ

วัตถุระเบิดแสวงเครื่อง 6 - 161
การทำลายวัตถุตอ้ งสงสัยหรือระเบิดแสวงเครือ่ ง (IED) จากระยะไกล แบ่งได้ 3 วิธดี งั นี ้
ก. การใช้ปืนยิงน้ำแรงดันสูงแบบแสวงเครื่อง ชนิด BOTTLE-BOMB
ความมุ่งหมายการใช้
1) ใช้พิสูจน์ทราบวัตถุต้องสงสัย (เปิดหีบห่อและทำลาย IED
ที่บรรจุในภาชนะที่ประเภท กล่องกระดาษ พลาสติก หรือลังไม้ เป็นต้น)
2) มีขดี ความสามารถในการทำลาย IED ได้โดยทำให้สว่ นประกอบ
ของระเบิดแสวงเครื่องแยกกระจายออกจากกัน และส่วนของวงจร IED
เกิดการชำรุดเสียหาย หรืออาจทำให้ดินระเบิดแตกกระจาย และเชื้อปะทุ
หลุดออกจากแท่งดินระเบิดเป็นการลดอำนาจการระเบิดได้
(เกิดการระเบิดเฉพาะเชื้อปะทุ)
ข. การใช้ปืนยิงน้ำแรงดันสูงแบบแสวงเครื่อง ชนิด Blow-Charge
ความมุ่งหมายการใช้
1. เปิด-ทำลาย IED ที่อยู่ภายในภาชนะที่มีความแข็งแรง เช่น กล่องเหล็ก รถยนต์ ฯลฯ
2. ทำลายระเบิดแสวงเครือ่ ง ด้วยแรง JET จากน้ำทีพ่ งุ่ เข้าเจาะทำลาย
วงจรการจุดระเบิด และทำให้ส่วนประกอบของระเบิดแสวงเครื่องแยก
กระจายออกจากกันจนไม่สามารถระเบิดได้
3. สามารถเลือกทำลายเป้าหมายเป็นจุดได้ (รัศมีวงกว้างของ JET
ขึน้ กับขนาด ของภาชนะทีใ่ ช้ทำ และระยะห่างระหว่างฐานกรวยกับเป้าหมาย
ค. การยิงทำลายวัตถุต้องสงสัยหรือ IED ด้วยอาวุธปืน
ในการใช้ปืนยิงวัตถุระเบิดนี้ ถือเป็นวิธีทำลายวัตถุระเบิดวิธีหนึ่ง
ที่ช่วยลดอันตรายและทำให้ทราบว่าวัตถุต้องสงสัยนั้นเป็นวัตถุระเบิดหรือไม่
เพื่อหน่วยสามารถดำเนินภารกิจต่อไปได้ และผู้เขียนขอเน้นย้ำว่า
“การยิงวัตถุต้องสงสัยหรือระเบิดแสวงเครื่อง (IED) จะกระทำก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น และห้าม
ใช้วิธีนี้ในเขตเมืองหรือชุมชน” โดยเริ่มดำเนินการดังนี้
1) ทำการตรวจสอบวัตถุตอ้ งสงสัย ด้วยกล้องส่องสองตาก่อนทำการยิงเพือ่ หาตำบลยิงทีด่ ที สี่ ดุ เช่น ตรงบริเวณ
ที่คาดว่าเป็นสวิทช์จุดระเบิด หรือถ้าไม่ทราบทำการยิงบริเวณกึ่งกลาง เป้าหมาย
2) ระยะที่ทำการยิงจะขึ้นอยู่กับขนาดของวัตถุต้องสงสัยที่พบ
- วัตถุขนาดเล็ก ยิงในระยะ 25 เมตร หลังที่กำบัง
- วัตถุขนาดใหญ่ ยิงในระยะ 50 เมตร หลังที่กำบัง
ข้อควรระวัง : ผู้ควบคุมการจุดระเบิด จะต้องอยู่ในรัศมีของวิทยุ
รับ-ส่ง และจะแฝงตัวหรือปะปนอยู่ในบริเวณที่สามารถตรวจการณ์เห็นเป้าหมาย
และตำบลระเบิดได้ชัดเจน ให้ทำการ กั้นเขต / ค้นหา จนมั่นใจว่าไม่มี
ผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าวแล้ว จึงเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน
: ใช้การสังเกตเพื่อพิสูจน์ทราบด้วยสายตาและเครื่องมือ
ช่วยตรวจการณ์จากระยะที่ปลอดภัยและมีที่กำบัง
: ให้ระลึกอยู่เสมอว่า อาจมีระเบิดลูกที่สองอยู่ในบริเวนนั้นด้วยเสมอ
การยิง : โดยทำการยิงด้วย ปืนลูกซอง/ ปลย. เอ็ม 16 A1-A2 / ปลย. 11 / ปืนซุ่มยิง / ปก.38 หรือ ปก.
เอ็ม.60 ( บรรจุทีละนัด) ต้องคำนึงถึงทิศทางการยิงด้วยว่าวิถีกระสุนที่ทำการยิงออกไปนั้นจะส่งผลกระทบและสร้าง
ความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนใกล้เคียงหรือไม่
ในกรณีทที่ ำการยิงแล้วพบว่าวัตถุตอ้ งสงสัยนัน้ เป็นระเบิดแสวงเครือ่ ง และมีความจำเป็นต้องเคลือ่ นทีผ่ า่ นไป
ข้อมูลสนามรบ

โดยที่ท่านยังไม่แน่ใจว่าปลอดภัยแล้วหรือไม่ ให้ทำการสังเกตและตรวจสอบให้ชัดเจนด้วยกล้องส่องสองตา เพื่อหาตัว

6 - 162 วัตถุระเบิดแสวงเครื่อง
จุดระเบิดแล้วทำการยิงให้เกิดความเสียหายหรือถูกทำลายเสียก่อน (อย่าลืมทำการตรวจสอบพื้นที่ใกล้เคียงด้วยว่ามี
ระเบิดลูกที่สองอีกหรือไม่)แล้วแจ้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นหรือพนักงานสอบสวนมาดำเนินการต่อก่อนที่จะเคลื่อนที่ผ่านไป
หมายเหตุ
1. ใช้ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนซึง่ ไม่สามารถใช้กำลังของหน่วย EOD และได้รบั อนุมตั จิ ากผูบ้ ริหารเหตุการณ์แล้วเท่านัน้
2. ห้ามทำการยิงวัตถุต้องสงสัยในเขตเมืองหรือชุมชน หากมีความจำเป็นต้องทำให้ใช้ปืนลูกซองเท่านั้น และ
ต้องแน่ใจว่าไม่มีคนอยู่ในทิศทางการยิง
3. ผู้ที่จะทำการยิงต้องมีขีดความสามารถในการยิงปืนระดับพลแม่นปืน
4. กรณีเป็นกล่องที่ไม่สามารถตรวจการณ์เห็นตัวจุดได้ ให้ทำการยิงตรงบริเวณกึ่งกลางของวัตถุนั้น เพื่อทำให้
ระเบิดแสวงเครื่องแตกออกจนเห็นสิ่งที่บรรจุอยู่ภายใน เนื่องจากใน จชต. ใช้แอมโมเนียมไนเตรทเป็นดินระเบิดหลัก
เมื่อโดนยิงจะไหลหรือแตกกระจายออกมาให้เห็นได้โดยง่าย
-----------------
เอกสารอ้างอิง : คู่มือว่าด้วยการต่อต้านวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง พ.ศ. 2554

16. กฎการใช้กำลัง (Rules of Engagement)

กฎการใช้กำลัง คือ คำสั่งที่ออกโดยผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจหน้าที่ ซึ่งอธิบายถึงขอบเขตที่ทหารหรือหน่วย
ทหาร รวมทั้งกำลังที่อยู่ในความควบคุมของทหาร อาจใช้กำลังในการป้องกันตนเอง หรือเพื่อบรรลุภารกิจ
1. กล่าวทั่วไป กฎการใช้กำลังเฉพาะในการปฏิบัติการทางบก จะเป็นแนวทางการปฏิบัติการใช้กำลังทหาร
ที่อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายทั้งภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องให้ผู้บังคับบัญชาในทุกระดับ
ชั้น ทุกพื้นที่ปฏิบัติการ สามารถตัดสินใจการใช้กำลังได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม กับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่าง
เป็นขั้นตอน และสอดคล้องกับระดับความรุนแรงของสถานการณ์ โดยไม่เป็นการจำกัดเสรีในการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้
กำลังมากเกินไป จนทำให้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับ อย่างไรก็ตาม ผบ.หน่วยทหารทุกระดับยังคงมี
ความรับผิดชอบในการกำหนดรายละเอียดแนวทางการปฏิบัติการใช้กำลังทางทหารเป็นมาตรการเสริมของหน่วยได้
ตามความจำเป็นอย่างสอดคล้อง และเหมาะสมเพื่อให้บรรลุภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
2. หลักการทั่วไป
1) การป้องกันตนเอง
หน่วยทหารทุกระดับมีสิทธิในการใช้กำลังในการป้องกันตนเองในทุกกรณี ตามความเหมาะสม
และความจำเป็นของสถานการณ์ ซึ่งเป็นการป้องกัน จากการโจมตีหรือการคุกคามที่เป็นอันตรายใกล้จะถึง
2) การใช้กำลังเท่าที่จำเป็นและได้สัดส่วนกับภัยคุกคาม
(1) หากสถานการณ์เอื้ออำนวย ควรหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง โดยผู้บังคับบัญชา อาจพิจารณาใช้
การปฏิบัติในลักษณะอื่นๆ ที่ไม่มีการใช้อาวุธโดยตรงได้ นอกจากนี้ก่อนที่จะใช้กำลังทหารควรจะปฏิบัติตามลำดับขั้น
ตอนในลักษณะจากเบาไปหาหนักเพื่อให้บุคคล หรือกลุ่มบุคคลล้มเลิกเจตนาในการคุกคาม ดังนี้
• การเจรจาต่อรองกับฝ่ายตรงข้ามหรือกลุ่มอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
• การใช้กำลังที่ไม่ติดอาวุธ เช่น การเตือนด้วยวาจา
• การติดอาวุธเพื่อแสดงกำลังให้ฝ่ายตรงข้ามเห็น
• ยิงเตือน/ทีละนัด ไปในทิศทางที่ปลอดภัย เช่น ยิงขึ้นฟ้า
• การใช้อาวุธ ในกรณีที่ได้นำทุกมาตรการข้างต้นมาใช้อย่างครบถ้วนแล้วแต่ไม่ประสบความ
สำเร็จให้ใช้อาวุธได้ แต่การตัดสินใจในการยิงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว เว้นแต่ในกรณี
ไม่มีเวลา และสถานการณ์กระชั้นชิด ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้มาตรการต่างๆ ประกอบกับภัยได้มาใกล้ถึงตัวแล้ว
(2) การใช้กำลังต้องมีขอบเขต ได้สัดส่วนกับการคุกคาม และให้พึงระวังความเสียหายข้างเคียงที่
อาจจะเกิดขึ้นด้วย
ข้อมูลสนามรบ

กฏการใช้กำลัง 6 - 163
3) ข้อห้าม/ข้อควรระวัง :
(1) ห้ามใช้ทุ่นระเบิด/กับระเบิดสังหารบุคคล อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapons of
Mass Destructions; WMD) ได้แก่ อาวุธนิวเคลียร์, อาวุธชีวภาพ, อาวุธเคมี และเครื่องส่ง (นชค.) เว้นสารควบคุมการ
จลาจล
(2) ห้ามใช้ระเบิดเพื่อจุดประสงค์อื่นนอกจากที่ได้รับอนุญาตไว้ เช่น ชุดทำลายล้างทุ่นระเบิด
(3) ห้ามปล้นสะดม ทำลายทรัพย์สิน สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภคของพลเรือน ซึ่งไม่
ได้เป็นเป้าหมายทางทหาร พยายามหลีกเลี่ยงความเสียหายข้างเคียง
(4) ห้ามการลงโทษโดยเป็นกลุ่มหรือการกระทำในลักษณะการแก้แค้น
(5) ห้ามใช้อาวุธโดยไม่ได้แยกแยะกลุ่มบุคคลหรือพิสูจน์ฝ่าย
(6) การใช้ลูกระเบิดขว้างจะกระทำได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วนในการป้องกันตนเองหรือ
บุคคลอื่น และไม่มีหนทางอื่นที่ดีกว่า
(7) การจับกุม/ตรวจค้น จะต้องไม่ให้เกิดความอับอายกับผู้ถูกจับกุม หรือผู้ถูกกระทำ
(8) การปฏิบัติการทางทหารในทุกกรณีต้องเคารพขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น
(9) ห้ามมิให้สิทธิพิเศษแก่กลุ่มบุคคล เชื้อชาติ ศาสนาใด เป็นการเฉพาะ (ไม่เลือกปฏิบัติ)
(10) กำลังพลทุกนายต้องประพฤติตนอยู่ในแบบธรรมเนียมของทหารอย่างเคร่งครัด
(11) การฝ่าฝืนละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎการใช้กำลัง นอกจากจะทำให้เสียผลต่อเกียรติภูมิของ
ประเทศไทยและกองทัพไทยแล้ว ยังเป็นการบ่อนทำลายภารกิจทีไ่ ด้รบั มอบ และอาจจะต้องรับผิดทางอาญา หรือทางวินยั

กฎการใช้กำลังในการป้องกันประเทศ

เป็นการดำเนินการตั้งแต่ยามปกติ ในการสถาปนาความมั่นคงตามแนวชายแดน ทั้งนี้ ในการดำเนินการให้
ผสมผสาน อำนาจกำลังรบและมาตรการทั้งปวง ตลอดจนยึดถือหลักการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศ
เพื่อนบ้านเป็นลำดับแรก โดยการใช้กำลังจะต้องสอดคล้องกับสถานการณ์และพื้นที่ปฏิบัติการ
1. หลักปฏิบัติการใช้กำลัง
1) หลักพื้นฐาน
(1) ห้ามละเมิดกฎการใช้กำลัง
(2) ให้ใช้กำลังเฉพาะต่อข้าศึก โจมตีเฉพาะเป้าหมายทางทหารเท่านั้น หลีกเลี่ยงความสูญ
เสียข้างเคียงต่อพลเรือน และทรัพย์สินของพลเรือนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการทางทหารของฝ่ายตรงข้าม ห้าม
โจมตีทำลายสถานพยาบาล ยานพาหนะ สิ่งสนับสนุนทางการแพทย์รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์, ห้ามโจมตีทำลาย
ทรัพย์สินที่ได้รับการคุ้มครองทางวัฒนธรรม, ห้ามโจมตีทำลายสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน
พลเรือน ,ห้ามโจมตีทำลายสถานที่ที่บรรจุพลังงานอันตราย
(3) เชลยศึกต้องได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรม ห้ามทำร้ายข้าศึกซึ่งไม่สามารถทำการ
รบได้อกี หรือผูซ้ งึ่ ยอมจำนนให้ปลดอาวุธและส่งตัวไปยังหน่วยเหนือเพือ่ ดำเนินการซักถามต่อไป,ห้ามจับเป็นตัวประกัน
(4) ให้การดูแลผู้บาดเจ็บ และผู้ป่วยไข้ไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายเราหรือฝ่ายตรงข้าม
2) การใช้กำลัง (การจับกุมและตรวจค้น)
(1) ในเขตพื้นที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเต็มที่ในการตรวจค้น
บุคคล ยานพาหนะ เคหสถาน รวมถึงสิ่งของต่างๆ และสามารถกักผู้ต้องสงสัย เพื่อสอบถามหรือเพื่อความ
จำเป็นทางทหารได้ แต่ต้องไม่เกิน 7 วัน
(2) ในเขตพื้นที่ที่ไม่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารสามารถกระทำได้ ใน
กรณีปฏิบัติภารกิจสนับสนุนเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจในฐานะผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน หรือในกรณีใช้อำนาจ
ข้อมูลสนามรบ

หน้าที่ตามกฎหมายอื่น

6 - 164 กฏการใช้กำลังในการป้องกันประเทศ
2. แนวทางการใช้อาวุธตามแนวชายแดนของกองทัพบก
1) เมื่อปรากฏแน่ชัดว่า กำลังทหารหรืออาวุธยุทโธปกรณ์ของฝ่ายตรงข้ามล่วงล้ำเขตแดนไทย
และการล่วงล้ำนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหาย และเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ หรือหน่วยทหารของฝ่ายเรา หรือ
เมื่อมีการปะทะเกิดขึ้นแล้ว ให้ฝ่ายเราใช้อาวุธเพื่อขัดขวางและสกัดกั้นการล่วงล้ำเข้ามาของฝ่ายตรงข้ามได้ทันที
2) หากหน่วยทหารหรือราษฎรถูกโจมตีด้วยอาวุธหรืออาวุธยิงจากอากาศยานของฝ่ายตรงข้าม
จากนอกเขตแดนประเทศ และจะเป็นผลเสียหายของฝ่ายเรา ให้ดำเนินการใช้อาวุธตอบโต้ได้ในลักษณะที่ข่มการยิง
ของฝ่ายตรงข้าม โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บังคับหน่วยทหาร
3) การสนับสนุนจากกำลังทางอากาศ
3.1) ห้ามอากาศยานบินล่วงล้ำหรือปฏิบัติการในเขตพม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย นอกจาก
จะได้รับอนุมัติเป็นพิเศษ
3.2) ให้นักบิน ทบ. ที่ปฏิบัติการต่อเป้าหมายที่อยู่ในระยะ 5 กิโลเมตร จากเส้นแบ่ง
เขตแดนระหว่างประเทศ มีแผนที่มีมาตราส่วน 1 : 50,000 บริเวณ พื้นที่ปฏิบัติการติดตัวไปด้วย
3.3) การขอใช้เครื่องบินโจมตีเป้าหมายในระยะ 5 กิโลเมตร จากเส้นแบ่งเขตแดนระหว่าง
ประเทศ ให้มีผู้ควบคุมอากาศยานหน้าในอากาศหรือผู้ชี้เป้าหมายของหน่วยทหารภาคพื้นปฏิบัติภารร่วมในการชี้
เป้าหมายให้เครื่องบินด้วย
3.4) การโจมตีเป้าหมายนอกประเทศ
3.4.1) เมื่อมีการปะทะเกิดขึ้น หน่วยที่ปะทะสามารถร้องขอการสนับสนุนทางอากาศ
โดยใกล้ชิดได้ และให้ ทอ. ให้การสนับสนุนตามคำขออย่างรวดเร็วที่สุด ทั้งนี้ให้หน่วยที่ปะทะส่งคำขอต่อหน่วย
ควบคุมทางอากาศยุทธวิธีของ ทอ. ในพื้นที่
3.4.2) เมื่อถูกโจมตีด้วยฝ่ายอาวุธยิงของฝ่ายตรงข้ามเกินขีดความสามารถของหน่วยกำลัง
ภาคพื้นของฝ่ายเราที่จะดำเนินการตอบโต้ได้ หรือถูกโจมตีด้วยกำลังของฝ่ายตรงข้าม ให้หน่วยที่ถูกโจมตีร้องขอการ
สนับสนุนการโจมตีทางอากาศ โดยให้ส่งคำขอไปยังหน่วย ทอ. ตามข่ายการสื่อสารระบบควบคุมทางอากาศยุทธวิธี
พร้อมทั้งส่งคำขอผ่านสายการบังคับบัญชาจนถึง มทภ. ทั้งนี้ให้ มทภ. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ
เป้าหมายแล้วส่วนคำอนุมัติเป้าหมายนั้นถึง ศสอต. หรือ ชสอต.
3.4.3) เมื่อจำเป็นต้องทำการโจมตีทางอากาศต่ออาวุธยิงหรือที่ตั้งของฝ่ายตรงข้ามที่อาจ
ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายโดยตรงต่อฝ่ายเราให้หน่วยภาคพื้นร้องขอการสนับสนุนโดยส่งคำขอการโจมตี
โดยข่ายการสื่อสารหน่วยภาคพื้นตามสายการบังคับบัญชา จนถึง ผบ.ทบ. เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติเป้าหมาย ขณะ
เดียวกันให้ส่งคำขอผ่านหน่วยในระบบควบคุมทางอากาศยุทธวิธีของ ทอ. จนถึง ศยอ.ศปก.ทอ.
3.4.4) ในกรณีการประกาศใช้แผนป้องกันประเทศถึงขัน้ ที่ กปช.จต. แปรสภาพเป็น กกล.นย.
ขึ้นการควบคุมทางยุทธการกับ ทบ. การโจมตีเป้าหมายนอกประเทศตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ด้าน จ. จันทบุรี
และ จ.ตราด ตามข้อ 3.4.2) ให้ มทภ. เป็นผู้อนุมัติเป้าหมาย และตามข้อ 3.4.3) ให้ ผบ.ทบ. เป็นผู้อนุมัติ
4) การใช้ปืนใหญ่ เครื่องยิงระเบิด
4.1) การยิงปืนใหญ่ เครื่องยิงระเบิด สนับสนุนต่อพื้นที่เป้าหมายในบริเวณที่ระหว่าง 2
กิโลเมตร จากเส้นแบ่งเขตแดน ระหว่างประเทศจะต้องมีการตรวจการณ์
4.2) การยิงปืนใหญ่ เครื่องระเบิด สนับสนุนต่อพื้นที่เป้าหมาย ในบริเวณที่ระหว่าง 2 กิโลเมตร
จากเส้นแบ่งเขตแดน ระหว่างประเทศอาจมีการตรวจการณ์หรือไม่มีการตรวจการณ์ก็ได้
4.3) ในการยิงด้วยกระสุนที่จะทำให้เกิดการเผาไหม้ต่อพื้นที่เป้าหมายในระยะ 2 กิโลเมตร จาก
เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศให้กระทำด้วยการระมัดระวังและการยิงเมื่อจำเป็นเท่านั้น
5) หน่วยทหารซึ่งวางกำลังอยู่ในบริเวณพื้นที่จากเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศเข้ามา 5 กิโลเมตร
ต้องมีแผ่นมาตราส่วน 1 : 50,000 หรือใหญ่กว่า มีเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศแสดงไว้โดยชัดเจนสำหรับใช้ใน
ข้อมูลสนามรบ

การวางแผนและการปฏิบัติการ

กฏการใช้กำลังในการป้องกันประเทศ 6 - 165
กฎการใช้กำลังในการปฏิบัติภารกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.)

กฎการใช้กำลัง อนุญาตให้ใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชา ในทุกระดับชั้น ทุกพื้นที่
ปฏิบตั กิ าร สามารถตัดสินใจใช้กำลังได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับสถานการณ์ทเี่ กิดขึน้ อย่างเป็นขัน้ ตอน และสอดคล้อง
กับระดับความรุนแรงของ โดยการใช้มาตรการจากเบาไปหนัก เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับทรัพย์สิน
และประชาชนผู้บริสุทธิ์ให้ได้มากที่สุด
1. หลักปฏิบัติการใช้กำลัง
1) หลักพื้นฐาน
(1) กฎการใช้กำลังนี้ใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นของหน่วยที่มีอยู่ภายใต้
การบังคับบัญชาของ ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ในการใช้กำลังในพื้นที่รับผิดชอบ ให้สามารถปรับ
ระดับและวิธีใช้กำลังได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติการจะมีการควบคุมและเป็นไปตามกฎหมาย
(2) กฎการใช้กำลังมิได้เป็นข้อจำกัดในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคาม เจ้าหน้าที่ทุกนาย มี
สิทธิป้องกันตนเองได้อย่างเหมาะสมตามความจำเป็นของสถานการณ์
(3) การใช้สิทธิป้องกันตนเองก่อน เพื่อต่อต้านการโจมตีที่คาดหมายว่าจะเกิดขึ้น สามารถ
กระทำได้ หากบุคคลต้องสงสัยมีท่าทีหรือส่อเจตนาว่าจะทำการโจมตีฝ่ายเราโดยทันทีทันใด
(4) หากสถานการณ์เอื้ออำนวย เจ้าหน้าที่ จะต้องพยายามนำวิธีการที่ไม่รุนแรงมาใช้แก้ไข
ปัญหาเพื่อลดการเผชิญหน้ากับบุคคลต้องสงสัย หรือผู้ก่อเหตุรุนแรง แทนการใช้กำลัง เช่น การเจรจาต่อรอง เป็นต้น
(5) การใช้กำลังต้องเหมาะสมกับระดับของการคุกคาม และต้องมีการจำกัดระดับความรุนแรง
และห้วงระยะเวลาปฏิบัติการไว้เพียงเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เท่านั้น
2) การใช้กำลัง
(1) ในพื้นที่ จังหวัดยะลา, จังหวัดปัตตานี และ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการประกาศ
กฎอัยการศึก เจ้าหน้าทีท่ หารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าทีพ่ ลเรือนในส่วนทีเ่ กีย่ วกับการยุทธ์หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย
(2) ในพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกและมีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติการ
รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 แทนการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ทหารมี 2 กรณีคือ กรณีที่ 1 หาก
ได้รบั การแต่งตัง้ ให้เป็นพนักงานตามกฎหมายพิเศษ ให้เจ้าหน้าทีท่ หารใช้อำนาจหน้าทีต่ ามทีก่ ำหนดไว้ในกฎหมายนัน้ ๆ
กรณีที่ 2 หากไม่มีกฎหมายให้อำนาจพิเศษไว้เป็นการเฉพาะ ให้เจ้าหน้าที่ทหารปฏิบัติภารกิจสนับสนุนเจ้าหน้าที่ฝ่าย
ปกครองหรือตำรวจ ในฐานะผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน
2. แนวทางการใช้อาวุธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.)
แนวทางการปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ สำหรับดำเนินการต่อภัยคุกคามในกรณีต่างๆ ได้แก่ การแจ้งเตือน การ
ยิงเตือน การปฏิบตั ภิ ายหลังการยิง การตรวจค้น การจับกุม การปฏิบตั ใิ นสถานการณ์วกิ ฤติ การบันทึกและรายงาน
1) การแจ้งเตือน : โดยปกติแล้วการใช้อาวุธจะเป็นวิธีการสุดท้ายที่นำไปใช้ตอบโต้การกระทำที่
เป็นการคุกคามหรือการแสดงเจตนาที่จะคุกคามต่อฝ่ายเรา การแจ้งเตือนเป็นวิธีการหนึ่งที่อาจจะช่วยยับยั้งการ
คุกคามหรือเจตนาที่จะคุกคามดังกล่าวได้ เจ้าหน้าที่ ต้องพยายามใช้การแจ้งเตือนต่อการคุกคามที่เกิดขึ้น หรืออาจจะ
เกิดขึ้น จุดประสงค์เพื่อระงับการกระทำของบุคคล ซึ่งหากยังไม่ประสบผล จะต้องใช้กำลัง หรือการยิงเป็นลำดับต่อไป
การแจ้งเตือนมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้
(1) เตือนด้วยคำพูด พร้อมทั้งแสดงออกโดยใช้ท่าทางให้เห็นอย่างชัดเจน
(2) “หยุด ไม่อย่างนั้นจะยิง” (พร้อมทั้งยกมือในลักษณะห้ามปราม)
(3) การเตือนด้วยคำพูดและการแสดงออก ควรทำซ้ำกันหลายๆ ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าบุคคลต้อง
สงสัยนั้นเข้าใจ หรือไม่ยอมปฏิบัติตาม
2) การยิงเตือน หากบุคคลต้องสงสัยไม่ปฏิบัติตามการแจ้งเตือน เจ้าหน้าที่ ควรใช้การยิงเตือนเป็น
ข้อมูลสนามรบ

ลำดับต่อไป โดยมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้
(1) ยิงเตือนไปในทิศทางที่ปลอดภัยทีละนัด จำนวน 3 นัด โดยหันปากกระบอกปืนชี้ขึ้นฟ้า เพื่อ
หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บและความเสียหายข้างเคียง
6 - 166 กฏการใช้กำลังใน จชต.
(2) หากปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวพยายามหลบหนี หรือยังคงมีท่าทีที่จะคุกคามหรืออาจเป็น
อันตราย ต่อฝ่ายเรา ให้ใช้อาวุธประจำกายยิงเพื่อให้ได้รับบาดเจ็บ
(3) สามารถใช้การยิงที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หากแน่ใจว่าบุคคล มีอาวุธที่สามารถทำอันตราย
ถึงแก่ชีวิต และได้ใช้หรือคาดว่าจะใช้อาวุธนั้นทำอันตรายต่อฝ่ายเรา รวมทั้งการเจตนาขับยานพาหนะ พุ่งชนตัว
เจ้าหน้าที่ และการขว้างระเบิดหรืออุปกรณ์เพลิงไปยังเจ้าหน้าที่
(4) สามารถทำการยิงได้โดยไม่ต้องเตือน ในกรณีที่ถูกโจมตีโดยไม่คาดหมาย ซึ่งการใช้เวลา ใน
การเตือนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัสของฝ่ายเรา
(5) การยิงจะต้องมีเป้าหมายที่แน่ชัด โดยใช้การยิงทีละนัดเป็นหลัก การยิงอัตโนมัติควรใช้เป็น
หนทางสุดท้าย โดยการยิงทั้งสองรูปแบบดังกล่าว อนุญาตให้ยิงได้ในห้วงระยะเวลาที่ยาวนานเท่าที่จำเป็นเพียงพอที่
จะป้องกันตนเอง ป้องกันบุคคลหรือทรัพย์สินที่กำหนด
3) การปฏิบัติภายหลังการยิง หลังจากยิงอาวุธใดๆ เมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว ต้องดำเนินการ
ดังนี้
(1) การช่วยเหลือทางการแพทย์ให้แก่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด ควรได้รับการปฐมพยาบาล
โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
(2) การปิดกั้นบริเวณพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์ และส่งมอบต่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเก็บ
รวบรวมหลักฐานสำหรับใช้ดำเนินการทางกฎหมายต่อไป
4) การตรวจค้น
(1) อำนาจหน้าที่ในการตรวจค้น
• บุคคลที่ประสงค์จะเข้าไปในบริเวณที่ตั้ง หรืออาคารสถานที่ รวมทั้งบริเวณพื้นที่ของกอง
อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า หรือบริเวณที่เจ้าหน้าที่ รับผิดชอบ เช่นจุดตรวจ ต้องยินยอมให้
ตรวจค้นตัวบุคคล ยานพาหนะ หรือสิ่งของต่างๆ การไม่ยินยอมให้ตรวจค้น หรือปฏิเสธที่จะส่งมอบอาวุธใน
ครอบครองจะเป็นเหตุให้ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในสถานที่ดังกล่าวข้างต้น หรือไม่ได้รับอนุญาตให้ผ่านจุดตรวจ หรือ
ถูกกักตัว หรือถูกควบคุมตัว แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
• บุคคลที่กำลังพยายามจะเข้าหรือได้เข้าไปแล้วในบริเวณที่ตั้ง อาคารสถานที่ หรือบริเวณ
ที่เจ้าหน้าที่ รับผิดชอบโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือมีพฤติกรรมที่ทำให้เจ้าหน้าที่ เชื่อได้ว่าถูกคุกคาม จะต้องหยุดยั้งและ
ตรวจค้นเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาความปลอดภัย โดยใช้กำลังแต่น้อยเท่าที่จำเป็น
(2) หลักปฏิบัติในการตรวจค้นในระหว่างการตรวจค้น เจ้าหน้าที่ จะต้องดำเนินการดังนี้
• ผู้ตรวจจะต้องไม่ทำให้ผู้ถูกตรวจค้นได้รับความอับอาย หรือเสียหน้า
• การใช้วิธีการตรวจค้นใดๆ จะต้องคำนึงถึงเพศของผู้ถูกตรวจค้น รวมทั้งรายละเอียด ใน
เรื่องที่อาจจะเป็นเงื่อนไขได้ เช่น ศาสนา เชื้อชาติ ประเพณี เป็นต้น
• ผู้ตรวจค้นจะต้องได้รับการคุ้มครองตลอดเวลาในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ โดย
เจ้าหน้าที่ที่ถืออาวุธของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า
• การตรวจค้นสถานที่ที่อาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนในท้องถิ่น เช่น
โรงเรียนสอนศาสนา ศาสนสถาน ผู้ตรวจค้นต้องพยายามลดผลกระทบดังกล่าว และป้องกันความเข้าใจผิด โดยอาจ
ประสานกับผู้นำศาสนา หรือผู้นำชุมชน ให้ช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหรือร่วมกันดำเนินการตรวจค้น รวม
ทั้งต้องใช้เครื่องมือหรือวิธีการอันเหมาะสม เพื่อป้องกันมิให้เกิดเงื่อนไขการดูหมิ่น หรือการละเมิดข้อห้ามทางศาสนา
เช่น ไม่ควรนำสุนัขเข้าไปตรวจค้นมัสยิด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลสถานที่ เป็นต้น
• จะต้องรายงานผลการตรวจค้นไปยังหน่วยเหนือโดยทันที
5) การจับกุม
(1) บุคคลที่ถูกจับกุม อาวุธ รวมทั้งของกลางที่ถูกยึดทั้งสิ้น จะต้องถูกส่งมอบให้กับ
ข้อมูลสนามรบ

ผูบ้ งั คับหน่วยเฉพาะกิจ ทีร่ บั ผิดชอบพืน้ ทีบ่ ริเวณนัน้ โดยเร็วทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะเป็นไปได้ เพือ่ ดำเนินการควบคุม ซักถาม และ
ส่งมอบให้กองอำนวยการรักษาความมัน่ คงภายในภาค 4 ส่วนหน้า หรือเจ้าหน้าทีบ่ า้ นเมืองทีม่ อี ำนาจตามกฎหมายต่อไป

กฏการใช้กำลังใน จชต. 6 - 167


(2) หากผู้ถูกควบคุม หรือผู้ถูกจับกุมพยายามหลบหนี ให้เจ้าหน้าที่ ใช้กำลังได้เท่าที่จำเป็น
เพื่อป้องกันการหลบหนี
(3) หากผู้ถูกควบคุม หรือผู้ถูกจับกุมใช้กำลังทำร้าย หรือพยายามทำร้ายเจ้าหน้าที่ให้
เจ้าหน้าที่ใช้กำลังได้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อป้องกันตนเองโดยสามารถใช้กำลังแต่น้อยจนถึงกำลังที่ทำให้ถึงแก่ชีวิต
(4) ผู้ถูกควบคุมจะต้องไม่ถูกข่มขู่ หรือทำให้ได้รับความอับอายและมีสิทธิที่จะได้รับการ
ดูแลตามหลักมนุษยธรรม เช่น อาหาร การดูแลรักษาทางการแพทย์ เป็นต้น
6) การปฏิบัติในสถานการณ์วิกฤต ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ มีความจำเป็นต้องใช้กำลังเพื่อแก้ไข
ปัญหาเฉพาะหน้าในสถานการณ์วิกฤต ตัวอย่างเช่น การขยายผลการปฏิบัติหลังการปะทะกับกลุ่มก่อเหตุรุนแรง การ
ไล่ติดตาม ผู้ถูกควบคุม หรือผู้ถูกจับกุมที่หลบหนีและมีอาวุธ หรือสงสัยว่าจะมีอาวุธในครอบครอง การล้อมปราบ
กลุ่มโจร ที่หลบหนีเข้าไปในบริเวณสิ่งปลูกสร้าง การถูกโจมตีโดยไม่คาดคิดฯลฯ ซึ่งหากไม่กระทำการดังกล่าวแล้ว
อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ หรือประชาชนได้ ให้ยึดถือแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
(1) พึงระลึกอยู่เสมอว่ากลุ่มผู้เหตุรุนแรงเป็นคนไทยเช่นเดียวกันกับเจ้าหน้าที่ ดังนั้น จึง
ควรพยายามใช้มาตรการในการดำเนินการจากเบาไปหาหนัก ความมุ่งประสงค์หลัก คือการได้ตัวของบุคคลเหล่านั้น
โดยปราศจากการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ดังนั้น หากสถานการณ์เอื้ออำนวย จึงควรใช้วิธีการที่ไม่รุนแรง ก่อนในขั้นแรก
โดยใช้การเจรจาต่อรองและทำการปิดล้อมให้ยอมมอบตัว
(2) หากการเจรจาและปิดล้อมไม่เป็นผล และกลุ่มก่อเหตุรุนแรงมีท่าทีไม่ยอมจำนนให้ใช้
วิธีการที่มีผลทางจิตวิทยาเพื่อให้ยอมมอบตัว ตัวอย่างเช่น การขู่ว่าจะใช้กำลังหรือการแสดงกำลังเป็นต้น
(3) หากการใช้วิธีการที่มีผลทางจิตวิทยาไม่เป็นผล ให้เจ้าหน้าที่ สามารถใช้กำลังได้ เพื่อ
บรรลุวัตถุประสงค์ในการจับเป็น
(4) หากกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงใช้อาวุธโจมตีต่อเจ้าหน้าที่ ที่ทำการปิดล้อมอยู่ ให้สามารถใช้
อาวุธตอบโต้ได้ อย่างไรก็ตามในการใช้อาวุธนั้นจะต้องกระทำไปโดยพอสมควรแก่เหตุ เพียงเพื่อสามารถนำไปสู่การ
จับกุม เนื่องจากข้อมูลที่ได้จากการสอบสวนผู้ที่ถูกจับกุมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์สำหรับขยายผลการปฏิบัติต่อไป
สำหรับผู้มีอำนาจในการสั่งใช้อาวุธ ได้แก่ผู้บังคับหน่วยปฏิบัติการชั้นสูงสุดที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในบริเวณพื้นที่นั้น
7) อาวุธที่ใช้ ในสถานการณ์จำเป็นที่ต้องมีการใช้อาวุธ เจ้าหน้าที่ของ กองอำนวยการรักษา
ความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า จะต้องพิจารณาเลือกใช้ประเภทอาวุธให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์
เพื่อเป็นการจำกัดความรุนแรงของสถานการณ์ และความเสียหายข้างเคียงให้น้อยที่สุด โดยมีแนวทางดังนี้
(1) อาวุธที่อนุญาตให้ใช้ ได้แก่ อาวุธประจำกาย รวมทั้งเครื่องยิงลูกระเบิด เอ็ม 203
อาวุธประจำหน่วยบางชนิด ได้แก่ เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มิลลิเมตร และปืนกลขนาด 7.62 มิลลิเมตร
(2) การใช้ระเบิดเพื่อทำลายวัตถุระเบิดหรือระเบิดแสวงเครื่องสามารถกระทำได้ สำหรับ
การใช้ลูกระเบิดขว้างให้กระทำได้ต่อเมื่อถูกโจมตีก่อน ด้วยลูกระเบิดขว้าง วัตถุระเบิด หรือระเบิดแสวงเครื่อง
(3) ห้ามใช้อาวุธต่อไปนี้ทำการยิงโดยเด็ดขาด เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก ผู้อำนวยการ
รักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้แก่ ระเบิดเคลย์โม ปืนกลที่มีกว้างปากลำกล้องขนาด .50 นิ้ว ขึ้นไป ปืนใหญ่ต่อสู้
อากาศยาน ปืนใหญ่ และอาวุธที่ติดตั้งอยู่บนอากาศยาน

----------------
เอกสารอ้างอิง : 1.แผนพัฒนากองทัพบก ปี พ.ศ.2555 - 2559
2.กฎการใช้กำลัง ประกอบคำสั่งการป้องกันชายแดน ประจำปี 2555 – ทภ.1/ศปก.ทภ.1
3.กฎการใช้กำลัง ประกอบคำสั่งการป้องกันชายแดน ไทย – กัมพูชา ประจำปี 2555 – กกล.บูรพา/กอ.รมน.ภาค 1 สย.1
4.กฎการใช้กำลัง ประกอบแผนเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ ประจำปี 2555 – ฉก.สงขลา
5.คำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ 132/2528 เรื่อง แนวทางการใช้อาวุธตามแนวชายแดน

ข้อมูลสนามรบ

6 - 168 กฏการใช้กำลังใน จชต.


17. กฎหมายว่าด้วยการสงครามทางบก (The Law of Land Warfare)

1. กล่าวทั่วไป
บุคลากรทางทหารจำเป็นต้องยึดถือแนวทางในการปฏิบัติในเรื่องต่างๆภายใต้สภาวะสงคราม ไม่ว่าจะ
เป็นการยุทธหรือไม่ใช่การยุทธ เพื่อเป็นหลักประกันว่าบุคลากรทางทหารจะไม่กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อ
กฎหมายดังกล่าว เพราะการละเมิดกฎหมาย นอกจากจะเป็นความผิดที่ต้องได้รับโทษทางอาญาแล้ว ยังมีผลต่อ
ภาพพจน์และภาพลักษณ์ของประเทศ แม้ว่าจะทราบกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ซึ่งเนื้อหาในตอนนี้ได้กล่าวถึงหลักการ
สำคัญอยู่ 3 ประการดังนี้
• ปกป้องกำลังรบ และบุคคลที่ไม่ใช่กำลังรบจากความทุกข์ทรมานที่เกินกว่าเหตุ
• ปกป้องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะเชลยศึก, ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และพลเรือน
• ช่วยเหลือให้การฟื้นฟูสันติภาพได้สะดวกขึ้น
2. หลักการพื้นฐานของกฎหมายว่าด้วยการขัดกันด้วยอาวุธ (Basic for Law of Armed Conflict)
หลักการพื้นฐานของกฎหมายว่าด้วยการขัดกันด้วยอาวุธนั้น มีความมุ่งหมายเพื่อลดความน่า
สะพรึงกลัวของความขัดแย้ง หรือสงคราม ซึ่งจะมิได้จำกัดกิจกรรมทางทหารของคู่พิพาทในจุดมุ่งหมายที่จะเอาชัย
ชนะ เพื่อให้เข้าใจหลักการนี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจคำจำกัดความของคำต่อไปนี้
• ความจำเป็นทางทหาร
เป็นหลักการซึ่งคู่พิพาทให้เหตุผลในการใช้กำลังใดๆ ในขอบเขตที่จำเป็น เพื่อจุดประสงค์ของการ
สงครามอันได้แก่ การยอมแพ้โดยสิ้นเชิงของศัตรูโดยเร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ โดยใช้กำลังคน ทรัพยากร และเงิน น้อย
ทีส่ ดุ หรือเท่าทีจ่ ำเป็น และกำลังดังกล่าวจะต้องมีการควบคุม และสามารถควบคุมได้ เพราะหลังจากสงครามโลกครัง้ ที่ 2
ได้มีการออกกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติทางทหารรวมทั้งความจำเป็นทางทหาร
• มนุษยธรรม
หลักการนี้เกี่ยวข้องกับการกระทำที่ทำให้เกิดความทรมาน การบาดเจ็บ หรือการทำลายที่เกินความ
จำเป็นในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางทหารที่ชอบด้วยกฎหมาย (Unnecessary Suffering) แต่หลักการนี้มิได้ครอบคลุม
ไปถึงประชากรและพลเรือนที่ตกเป็นเป้าหมายระหว่างการโจมตีระหว่างการขัดกันด้วยอาวุธที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ
อันไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทั้งนี้ต้องไม่มากเกินกว่าความได้เปรียบทางทหารที่ชัดเจนหรือผลโดยตรงที่คาดว่าจะได้รับ
จากการโจมตีนั้น
• หลักอัศวิน
ปัจจุบันการสงครามมักจะมิได้เป็นการต่อสู้กันอย่างสุภาพบุรุษ เช่นในเรื่องการกระทำที่ไร้เกียรติและ
ฉ้อฉล การใช้ธงฝ่ายตรงข้ามหรือธงขาวโดยมิชอบ ลดการใช้อาวุธป่าเถื่อน และขณะเดียวกันแนวคิดนี้ยังช่วยเหลือใน
เรื่องการเจรจาร่วมกันและทำให้อีกฝ่ายที่พิพาทกันสามารถสื่อสารกันได้
หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
1) การแยกแยะและการพิสูจน์ฝ่าย (Distinction and Identification) ผู้บังคับบัญชาต้องแยกแยะ
ระหว่างเป้าหมายทางทหารที่ชอบด้วยกฎหมายกับวัตถุของพลเรือน/ประชากร ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของข่าวสารที่
ผู้บังคับบัญชามีอยู่ ในการใช้ตัดสินใจ
ในกรณีที่ได้ใช้ความพยายามในการรวบรวมข่าวสารอย่างที่สุดแล้ว และได้ตัดสินใจโดยสุจริตว่าได้
โจมตีต่อเป้าหมาย แม้ว่าความเป็นจริงจะเต็มไปด้วยผู้อพยพ การกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการละเมิดหลักการนี้
2) การไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discrimination) ในข้อนี้จะพิจารณาออกเป็น 2 กรณี คือ ในความ
ขัดแย้งนั้นไม่สามารถตราหน้าอีกฝ่ายว่าเป็นผู้รุกรานแล้วจะปฏิบัติด้วยวิถีทางที่ต่างออกไปได้ และกฎหมายนี้จะเลือก
ปฏิบัติต่อเฉพาะเชื้อชาติ สีผิว ศาสนา เพศ ที่เกิด หรือฐานะความมั่งคั่งมิได้
3) ความเป็นสัดส่วน (Proportionality) หลักข้อนี้จะเชื่อมโยงระหว่างหลักเรื่องความจำเป็นทางทหาร
ข้อมูลสนามรบ

และมนุษยธรรม ซึ่งก็คือ ผู้บังคับบัญชาไม่ได้รับอนุญาตให้ทำความเสียหายแก่ผู้ที่ไม่ใช่พลรบ (Non Combatant) โดย


จะต้องมีการชั่งน้ำหนักระหว่างผลสำเร็จในการปฏิบัติการกับผลร้ายที่อาจเกิดขึ้น แก่บุคคลหรือสิ่งของที่ได้รับการ

กฏหมายว่าด้วยการสงครามทางบก 6 - 169
คุ้มครอง เช่น ไม่สามารถทิ้งระเบิดใส่ค่ายผู้อพยพ เพียงเพราะผู้หญิงในค่ายนั้นถักถุงเท้าให้ทหาร หรือในทางกลับกัน
ท่านไม่จำเป็นต้องชะลอการทิ้งระเบิดคลังกระสุน เพียงเพราะมีชาวนาไถนาอยู่ในบริเวณนั้น
3. การสงครามทางบก (Land Warfare)
วิธีในการรบ
• กลอุบายที่ชอบด้วยกฎหมายและมิชอบด้วยกฎหมาย (Ruses and Perfidies)
กลอุบายในสงคราม (Tricks of War) คือ มาตรการที่มีขึ้นเพื่อสร้างความได้เปรียบต่อข้าศึก โดยการ
หลอกล่อหรือล่อลวง เรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำได้ หากปราศจากข้อเคลือบแคลงสงสัยว่าเป็นการโกงหรือฉ้อฉลที่ไม่
ชอบและไม่ได้ละเมิดข้อตกลงทำไว้โดยเปิดเผยหรือโดยปริยาย
กลอุบายที่ชอบด้วยกฎหมาย (Ruses) จะมีความสอดคล้องกับหลักอัศวิน ได้แก่ การจู่โจม การซุ่ม
โจมตี การแสร้งโจมตี,ถอย หรือหลบหนี การใช้กำลังขนาดเล็กดูแลจุดสำคัญขนาดใหญ่ การส่งเอกสารหรือข้อความ
หลอกทีค่ าดว่าฝ่ายตรงข้ามจะชิงเอาไป สงครามอิเล็กทรอนิคส์ การสร้างของจำลองเพือ่ หลอกว่าเป็นของจริง การปลด
เครื่องหมายออก เป็นต้น
กลอุบายที่มิชอบด้วยกฎหมาย (Perfidies) อ้างอิงจาก พิธีสารเพิ่มเติมอนุสัญญา เจนีวา ฉบับที่ 1
(จ.พ.1) เมื่อ 12 ส.ค.1977 ได้แก่
1) การแสร้งว่าจะมีเจตนาจะเจรจาภายใต้ธงพักรบหรือธงยอมจำนวน
2) การแสร้งว่าไร้ความสามารถ เพราะบาดแผลหรือป่วยไข้
3) การแสร้งว่าเป็นพลเรือน หรือมีฐานะมิใช่พลรบ
4) การแสร้งว่ามีฐานะที่ได้รับคุ้มครอง โดยใช้เครื่องสัญญาณ เครื่องหมาย หรือเครื่องแบบของ
สหประชาชาติ หรือของรัฐที่เป็นกลางหรือรัฐอื่นที่ไม่ใช่คู่พิพาท
• ต้องไว้ชีวิต
1) การสั่งหรือข่มขู่ว่าไม่มีการจับเชลย หรือไม่ให้มีผู้รอดชีวิต เป็นสิ่งต้องห้าม
2) บุคคลจะไม่ถูกโจมตี และถือว่าออกจากการรบเมื่อ บุคคลที่อยู่ภายใต้อำนาจฝ่ายภาคี
ปรปักษ์, แสดงเจตนาที่จะยอมจำนน หรือบุคคลนั้นถูกทำให้หมดสติ ได้รับบาดแผล ทำให้ไม่สามารถป้องกันตนเองได้
ทั้งนี้บุคคลนั้นจะต้องละเว้นจากการกระทำที่เป็นปรปักษ์ และไม่พยายามจะหลบหนี
• การทำให้อดอยากและทำลายล้าง (Starvation and Devastation)
1) ตามกฎหมายดั้งเดิมนั้น การทำลายและยึดทรัพย์สินของศัตรูเป็นสิ่งต้องห้าม เว้นแต่มีความ
จำเป็นทางทหาร เพื่อตัดกำลังข้าศึกที่เข้ามาในดินแดน ของตน จะไม่ผิดต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
2) ห้ามใช้วิธีการทำให้พลเรือนอดอยาก เป็นวิธีหนึ่งของการรบ เช่น ใช้การทำลาย หรือเคลื่อน
ย้าย ซึ่งจะทำให้หมดประโยชน์ในสิ่งจำเป็นต่อความอยู่รอด
3) ห้ามใช้สนับสนุนกองทัพแต่เพียงผู้เดียว จนเป็นเหตุให้พลเรือนขาดแคลน
• การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในการทำสงครามให้ใช้ความระมัดระวัง
เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อม ตามธรรมชาติไม่ให้ได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง ระยะยาว และร้ายแรง
• การจารกรรมและการก่อวินาศกรรม (Espionage and Sabotage)
1) การก่อวินาศกรรมนั้นไม่ขัดต่อกฎหมายก็ต่อเมื่อเป้าหมาย ในการก่อวินาศกรรมนั้นเป็น
เป้าหมายทางทหารที่ชอบด้วยกฎหมาย
2) การก่อวินาศกรรม คือการกระทำหลังแนวฝ่ายตรงข้าม เพื่อการทำลายล้าง หากสามารถจำผู้
ก่อวินาศกรรมได้ ในชุดของพลรบ จะได้รับสถานะเชลยศึก แต่ถ้าเป็นในชุดพลเรือน จะต้องรับผิดชอบ เยี่ยงจารชน
3) ผลของการกระทำทั้ง 2 แบบ มีผลดังนี้
ก่อเหตุ ถูกจับได้ ถูกจับในรัฐที่ก่อเหตุ ถูกจับนอกรัฐที่ก่อเหตุ

ข้อมูลสนามรบ

ในชุดพลรบ ได้รับฐานะเชลย ได้รับฐานะเชลย ไม่มีผลเมื่อถูกจับภายหลัง


ในชุดพลเรือน ต้องดำเนินคดีในฐานะจารชน ต้องดำเนินคดีในฐานะจารชน ไม่มีผลเมื่อถูกจับภายหลัง

6 - 170 กฏหมายว่าด้วยการสงครามทางบก
• การลอบสังหารเป็นสิ่งต้องห้าม (Assassination is Forbidden) โดยเฉพาะการตั้งค่าหัว และการ
การจ้างพลรบหรือพลเรือนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นสิ่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย
• การสงครามปิดล้อม (Siege Warfare) คือ การใช้กำลังปิดล้อมเมืองหรืออาคาร เพื่อตัดการส่ง
กำลังและบังคับให้อีกฝ่ายยอมแพ้ สามารถกระทำได้โดยมีเงื่อนไขดังนี้
1) การโจมตีต่อพื้นที่ปิดล้อมจะต้องคัดเฉพาะเป้าหมายที่ถูกนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ทางทหาร
2) เจ้าหน้าที่ทางการทูตและกงสุลจะต้องได้รับการเคลื่อนย้าย ออกมาพื้นที่ปิดล้อมก่อนเริ่มการ
ปะทะ สิทธิ์นี้ไม่อาจใช้ได้เมื่ออยู่ในระหว่างการปะทะ
3) ผบ.หน่วยปิดล้อม มีสิทธิ์ในการห้ามติดต่อสื่อสารและ การเข้า-ออก ซึ่งจะต้องพิจารณาใน
ส่วนของสิ่งอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิต
ข้อจำกัดในการใช้อาวุธ
ข้อจำกัดนี้ก็จะสอดคล้องกับหลักการที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น กล่าวคือ จะต้องมีการแยกแยะผล
ของอาวุธ เช่น การยิงกระสุนทวิประสงค์ ซึ่งมีการโปรยกับระเบิด ไม่สามารถกำหนดผลต่อเป้าหมายที่ไม่ต้องการได้
เป็นต้น, จะต้องมีการแบ่งสัดส่วน คือ ผลการทำลายล้างของอาวุธจะต้องไม่สร้างความเสียหายต่อพลเรือนเกินกว่า
ประโยชน์ที่ได้รับทางการทหาร, จะต้องไม่ก่อความทุกข์ทรมานเกินความจำเป็นในการบรรลุผลทางทหาร การบาดเจ็บ
สามารถรักษาได้ และไม่เจ็บป่วยทุกข์ทรมาน
อาวุธต้องห้าม ได้แก่ กระสุนระเบิดเมื่อกระทบผิวมนุษย์, กระสุนที่ขยายหรือเปลี่ยนรูปร่าง (เช่น
กระสุนดัมดัม), อาวุธอาบยาพิษ, ทุ่นระเบิด, กับดัก (Booby Traps), อาวุธนิวเคลียร์, อาวุธเคมี, อาวุธชีวภาพ และ
อาวุธเพลิง
ข้อจำกัดในการกำหนดเป้าหมาย
ข้อจำกัดนี้จะสอดคล้องกับหลักการแบ่งสัดส่วน กล่าวคือ ในการโจมตี จะต้องกระทำต่อวัตถุประสงค์
ทางทหาร โดยระมัดระวังตามสมควรที่หลีกเลี่ยงการเสียชีวิตของพลเรือน และความเสียหายต่อพลเรือนเมื่อทำการ
โจมตี ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการกำหนดเป้าหมายได้จากการรวบรวมข่าวกรอง ทั้งนี้ก็ยังมีดอกาสที่จะเกิด
ความเสียหายหรือการสูญเสียต่อชีวิตพลเรือนได้ เนื่องจากความเสี่ยงที่มีอยู่ในสภาวะดังกล่าว ที่เรียกว่า “ความ
เสียหายข้างเคียง” (Collateral Damage) ที่ไม่นับว่าละเมิดกฎหมาย ถ้าหากมีการวิเคราะห์และไตร่ตรองแล้วในการ
ทำลายเป้าหมายดังกล่าว
สรุปกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมาย
1. สามารถทำการโจมตีได้ ได้แก่ พลรบ, พลเรือนที่มีส่วนร่วม ในการรบ และเป้าหมายทาง
ทหารอื่นๆ
2. ห้ามโจมตีต่อเป้าหมายดังต่อไปนี้ พลเรือน, วัตถุของพลเรือน, สถานที่และสิ่งอำนวยความ
สะดวกทางการแพทย์, บุคคลากรทางการแพทย์และอนุศาสนาจารย์, อากาศยานและยานพาหนะทางการแพทย์, เรือ
โรงพยาบาล, ผู้ป่วยและ ผู้ได้รับบาดเจ็บ และเชลยศึก
ทรัพย์สินในสนามรบ
การทำลายหรือยึดทรัพย์สินของศัตรูไม่ว่าจะเป็นของส่วนบุคคลหรือของรัฐเป็นสิ่งต้องห้ามเว้นแต่
ความเสียหายหรือการยึดครองนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำสงคราม และการปล้นสะดมด้วยการใช้ความรุนแรงเพื่อให้
ได้มาซึ่งทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์ส่วนตัวเป็นสิ่งที่ต้องห้าม
4. การปฏิบัติต่อเชลยศึก (Prisoners of War)
การปฏิบัติต่อเชลยศึกนั้นเป็นความรับผิดชอบของประเทศผู้ควบคุมเชลยศึก ไม่ใช่เฉพาะหน่วย ที่
ควบคุมตัวเชลยศึก ดังนั้นหน่วยปฏิบัติจึงควรทราบหลักการในการปฏิบัติต่อเชลยศึก เพื่อไม่ให้นำไปสู่การต่อรองใน
ระดับการเมืองที่ล้มเหลว
1) การเลือกปฏิบัติที่มิชอบ คือ หน่วยจะต้องปฏิบัติต่อเชลยศึกที่มีความแตกต่างกันทางเชื้อชาติ สีผิว
ข้อมูลสนามรบ

ความเชื่อ ศาสนา และเพศ อย่างเท่าเทียมกันทั้งหมด

กฏหมายว่าด้วยการสงครามทางบก 6 - 171
2) การปฏิบตั ติ อ่ เชลยศึกอย่างมีมนุษยธรรม คือ การจัดให้มปี จั จัยพืน้ ฐานในการดำรงชีวติ พอสมควร
มีสิทธิในการประดับเครื่องหมายยศ หรือบรรดาศักดิ์เดิมตลอดเวลาที่เป็นเชลยศึก และได้รับสิทธิ์ในการรักษาพยาบาล
3) การปฏิบัติต่อเชลยศึกที่เป็นสตรี จะต้องได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกับเชลยศึกที่เป็นชายทุกประการ
แต่จะต้องได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษในเรื่องการข่มขืน และการใช้แรงงานในงานที่เหมาะสมแก่สตรี
4) การสอบสวน เชลยศึกอาจถูกสอบสวนได้ แต่มีหน้าที่ให้การเฉพาะเพียงชื่อ นามสกุล ยศ
หมายเลขประจำตัว วันเดือนปีเกิด ถ้าหากเจตนาปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล เนื่องจากยศและสถานะของตน หน่วยห้าม
กระทำการใดๆที่เป็นการข่มขู่เชลยศึก
5) ห้ามการตอบแทนการแก้แค้น เพราะเชลยศึกไม่สามารถแบกรับ ผลกระทบที่รัฐบาลของประเทศ
ตนเองทำลงไปได้
6) ห้ามสังหารเชลยศึก เพียงเพราะไม่สามารถกำกับดูแลได้อย่างทั่วถึง โดยหน่วยจะต้องทำการ
ปล่อยตัวเชลย หากเป็นพืน้ ทีธ่ รุ กันดารหรือมีอนั ตราย หน่วยจะต้องจัดอาวุธป้องกันตัว และเสบียงเพียงพอต่อการดำรงชีพ
7) ทรัพย์สินของเชลยศึก เชลยศึกจะได้รับอนุญาตให้เก็บทรัพย์สินส่วนตัว ยกเว้น รถ อาวุธ และ
ยุทโธปกรณ์ทางทหาร หรือเอกสารราชการ สำหรับเงินตรา ที่ยึดมาจากเชลยศึกนั้นจะต้องมีการจดบันทึกไว้เพื่อจ่าย
ให้แก่เชลยศึก เมื่อจบภารกิจ
8) การใช้อาวุธต่อเชลยศึก เป็นสิ่งทีไม่ควรกระทำ แม้ว่าเชลยศึกจะพยายามหลบหนี เว้นเสียแต่จะ
เป็นมาตรการรุนแรงที่สุด แต่ทั้งนี้จะต้องเกิดขึ้นหลังจากที่มีการเตือนอย่างเหมาะสมแล้วเท่านั้น
9) การติดต่อสื่อสาร หลังจากที่จับกุมเชลยเข้ามาระยะหนึ่งประมาณ 1 สัปดาห์ หรือในกรณีที่
เจ็บป่วย จะต้องให้สิทธิเชลยในการติดต่อกับครอบครัวของตนเอง รวมไปถึงในการรับพัสดุที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต
สำหรับในการรับ-ส่งพัสดุหรือจดหมายต่างๆจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษี
10) กฎหมายที่ใช้บังคับการปฏิบัติของเชลยศึก นอกจากจะต้องปฏิบัติตามวินัยทหารของประเทศที่
ควบคุมแล้ว เชลยศึกยังอยู่ภายใต้กฎหมายทหารของประเทศตนเอง สำหรับในการพิจารณาและการลงโทษสามารถ
ดำเนินการโดยผู้บังคับบัญชา ค่ายเชลยศึกหรือผู้แทนเท่านั้น ทั้งนี้ต้องมีหลักประกันว่าเจ้าหน้าที่พิจารณานั้นจะให้
ความปราณีอย่างที่สุดแก่เชลยศึก
11) การละเมิดอนุสัญญาเกี่ยวกับเชลยศึก ได้แก่ การฆ่าโดยเจตนา การทรมาน หรือการปฏิบัติที่ไร้
มนุษยธรรม รวมทั้งการทดลองทางชีววิทยา การกระทำที่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส หรือทำอันตราย
แก่ร่างกายหรืออนามัยอย่างร้ายแรงโดยเจตนา บุคคลที่มีส่วนรับผิดชอบในการกระทำที่ละเมิดอนุสัญญาดังกล่าว จะ
ต้องถูกพิจารณาดำเนินคดีจากรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาโดยไม่ต้องคำนึงถึงสัญชาติ
5. การปฏิบัติต่อผู้ป่วยและผู้ได้รับบาดเจ็บ (Wounded and Sick)
• การคุ้มครองบริการทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่แพทย์จะต้องได้รับการคุ้มครอง ไม่ถูกโจมตีและ
ต้องได้รับการเคารพจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะเจ้าหน้าที่แพทย์ปฏิบัติหน้าที่เพื่อมนุษยธรรม ให้การช่วยเหลือแก่ผู้
ประสบภัยจากการขัดกันด้วยอาวุธ ทั้งนี้อาคาร สถานที่ วัสดุ และการขนส่งทางการแพทย์ ก็จะต้องได้รับการคุ้มครอง
ด้วยเช่นกัน โดยการระบุหรือแสดงตนว่าบุคคลหรือสิ่งเหล่านั้น ด้วยเครื่องหมาย กากบาท (Red Cross) หรือ
เครื่องหมายเสี้ยววงเดือน (Red Crescent) นอกจากนี้หน่วยบริการทางการแพทย์จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อกำบัง
เป้าหมายทางทหารจากการโจมตี
• ข้อจำกัดในการใช้เครื่องหมายกาชาด เครื่องหมายกาชาดนี้ใช้ได้แต่เฉพาะเพื่อระบุหรือคุ้มครอง
หน่วยหรือสถานที่ทางการแพทย์ พนักงานและสิ่งอุปกรณ์เท่านั้น การปฏิบัติที่นอกเหนือจากนี้ถือว่าขัดกับระเบียบ
และหากมีการทำเลียนแบบจะต้องได้รับโทษ
• การเสียไปซึ่งการคุ้มครอง เช่น การใช้รถพยาบาลในการขนส่งอาวุธ, การใช้สถานพยาบาลเพื่อ
เป็นฐานบัญชาการรบ เป็นต้น อย่างไรก็ตามในกรณีดังกล่าวฝ่ายขัดแย้งมิสามารถโจมตีได้ทันที จะต้องมีการเตือน
ตามสมควรโดยมีการแจ้งเวลาที่เหมาะสม ซึ่งหากมีการเพิกเฉยก็โจมตีได้ แต่ก็มีกรณีดังต่อไปนี้ที่จะไม่ถือว่าเสียสิทธิ์ใน
ข้อมูลสนามรบ

การคุ้มครอง

6 - 172 กฏหมายว่าด้วยการสงครามทางบก
1) พนักงานของหน่วยที่มีอาวุธ ได้ใช้อาวุธประจำกาย เพื่อป้องกันตนเอง ผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บ
ที่อยู่ในความดูแลของตน (พิธีสารเพิ่มเติมอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 ข้อ 13) ในกรณีที่
2) ในกรณีที่สถานที่ทางการแพทย์นั้น ไม่มีพยาบาลถืออาวุธประจำการอยู่ สถานที่นั้นจะได้รับ
การคุ้มครองจากหน่วยรบ ยามรักษาการณ์ หรือขบวนคุ้มกัน
3) หากได้มีการค้นพบอาวุธขนาดเล็กและกระสุนภายในสถานที่ทางการแพทย์ โดยได้ยึดมาจาก
ผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วย และยังไม่ได้มีการส่งมอบอาวุธและกระสุนนั้นๆ ให้แก่หน่วยที่เกี่ยวข้อง
4) ในการขนส่งผู้ป่วยด้วยยานพาหนะต่างๆ ทั้งทางบก, เรือ, อากาศนั้น จะต้องไม่ทำยาน
พาหนะนั้นมาแสวงประโยชน์ในการปฏิบัติการทางทหาร เช่น ใช้ในการลาดตระเวนหาข่าว, การใช้อาวุธเกินกว่าความ
จำเป็นในการป้องกันตนเอง, การใช้ค้นหาผู้ประสบภัยในดินแดนฝ่ายตรงข้าม เป็นต้น

6. การปฏิบัติต่อพลเรือน (Civilian Persons)

บุคคลที่ได้รับความคุ้มครองและระยะเวลาในการคุ้มครอง
หลักการนี้ได้มีขึ้นเพื่อคุ้มครองพลเรือนที่อยู่ในดินแดนที่อยู่ในความควบคุมของฝ่ายในความขัดแย้ง
และพลเรือนที่ได้รับผลกระทบจากการรบ
• บุคคลที่ได้รับความคุ้มครอง
1) บุคคลที่จะได้รับความคุ้มครองจะต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายหนึ่งการพิพาท หรือ
ประเทศที่เข้ามายึดครองซึ่งตนไม่ได้เป็นคนในชาตินั้น แต่ในอีกในหนึ่ง จะถือได้ว่าบุคคลที่อยู่หลังแนวข้าศึก (Enemy
Lines) ไม่ได้เป็นคนที่ได้รับความคุ้มครอง
2) คนในชาติของรัฐที่ไม่ได้เป็นภาคีของพิธีสารอนุสัญญาเจนีวาจะไม่ได้รับความคุ้มครอง
3) คนในชาติของรัฐที่เป็นกลาง หรือคนในชาติของรัฐคู่พิพาทไม่ถือว่าเป็นบุคคลที่ได้รับความ
คุ้มครอง แต่จะได้รับสถานะตามความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามปกติที่รัฐของตนมีต่อรัฐที่ตกอยู่ในความควบคุม
• บุคคลบางประเภทที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง
1) หากว่าในเขตของฝ่ายหนึ่งในคู่พิพาท มีเหตุอันเป็นที่พอใจว่าบุคคล ผู้ได้รับความคุ้มครองเป็นผู้ที่
ต้องสงสัยอย่างแน่ชัดว่า ได้กระทำหรือเกี่ยวข้องในการกระทำกิจการต่างๆ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อความมั่นคงของรัฐนั้น
บุคคลนั้นก็จะไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องบรรดาสิทธิในการคุ้มครอง
2) ในดินแดนที่ถูกยึดครอง บุคคลที่ได้รับความคุ้มครองผู้ใดที่ถูกควบคุมตัวในฐานที่เป็นจารบุรุษหรือ
ผู้ก่อวินาศกรรม หรือในฐานะที่เป็นบุคคลที่ต้องสงสัยอย่างแน่ชัดว่าได้กระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความมั่นคงของ
ประเทศที่ยึดครองแล้ว ให้ถือว่าบุคคล ผู้นั้นถูกจำกัดสิทธิ
3) อย่างไรก็ตามในทั้งสองกรณี บุคคลดังกล่าวจะยังคงได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรม และห้าม
ตัดสิทธิที่จะได้รับพิจารณาคดีโดยเที่ยงธรรม
• ห้วงเวลาการบังคับใช้
1) เริ่มต้นเมื่อเกิดการเป็นปฏิปักษ์หรือการเข้ายึดครอง และสิ้นสุด เมื่อการปฏิบัติทางทหาร ในดิน
แดนคู่พิพาทจบลง
2) ในกรณีดินแดนที่ถูกยึดครองนั้น แต่ฝ่ายยึดครองนั้นยังใช้อำนาจบริหารต่อไปในดินแดนที่ยึดครอง
จะมีการต่อเวลาบังคับใช้ไปอีก 1 ปีหลังจากการปฏิบัติการทางทหารดังกล่าวได้สิ้นสุดลง

-------------------
เอกสารอ้างอิง : 1. หนังสือกฏหมายว่าด้วยการสงครามทางบก กรมพระธรรมนูญ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
2. FM 27-10 The Law Of Land War Fare

ข้อมูลสนามรบ

กฏหมายว่าด้วยการสงครามทางบก 6 - 173
การใช้ ป ระโยชน์ ข องคู่ มื อ

คู่มือปฏิบัติการทางยุทธวิธีของกองทัพบก ประกอบด้วยสาระสำคัญด้านหลักการ แนวทางการปฏิบัติการ
เทคนิค ตลอดจนข้อมูลสำคัญทางการทหารที่มีความจำเป็นของแต่ละหน่วย/เหล่า เนื้อหามีความทันสมัยและถูกต้อง
ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติการหรือเป็นเครื่องมือช่วยเหลือในการปฏิบัติการทางยุทธวิธีของหน่วยในสนามได้อย่าง
มั่นใจ นอกจากนี้เรื่องราวที่รวบรวมไว้ในคู่มือยังเป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุนการปฏิบัติงานระหว่างหน่วย/เหล่าและ
การพัฒนาการฝึกศึกษา e-Learning ตลอดจนการค้นคว้าวิจัยของกองทัพไทยในสาขาและสถาบันระดับต่างๆ อย่าง
กว้างขวางอีกด้วย

7 การใช้ประโยชน์ของคู่มือ
คุ ณ ลั ก ษณะเด่ น ของคู่ มื อ

ขนาด A4 ปกมัน โลโก้ ทบ.ปั๊มนูน


(สำหรับศึกษา/อบรม) สีทองด้าน

ขนาด A5 กะทัดรัด น้ำหนักเบา มุมสันโค้งมน
ปกด้าน (สำหรับพกพา) พกพาได้สะดวก

แถบสีแยกตอน
มีสารบัญประจำตอน
ค้นหาได้ง่าย

แบ่งสีตามเหล่า

เนื้อในเป็นกระดาษถนอมสายตา
(Green read)

มีความทันสมัย สามารถขยายผลไปสู่ระบบ e - Lerning ได้


มีเนื้อหาของทุกเหล่า พร้อมเอกสารอ้างอิงที่ทันสมัย
สามารถใช้ในการฝึก นำไปปฏิบัติการ การศึกษา/อบรมทั้งใน รร.ของเหล่า/สายวิทยาการ
และUnit School ของหน่วย

คุณลักษณะเด่นของคู่มือ 8
ชุ ด คู่ มื อ ปฏิ บั ติ ก ารทางยุ ท ธวิ ธี
1. ทหารราบมาตรฐาน
เป็นคู่มือที่มีเนื้อหาครอบคลุมทุกมิติ สำหรับ ผบ.หน่วยตั้งแต่ระดับกองร้อยลงมา
จนถึงระดับหมู่ทั้งการปฏิบัติการทางยุทธวิธี การฝึก การศึกษา และใช้อ้างอิงได้




2. ทหารราบยานเกราะ
รวมหลักการปฏิบัติการทางยุทธวิธีของทหารราบยานเกราะทั้งแบบสายพานและ
ล้อยางในการรบตามแบบ การรบภายใต้สภาพพิเศษและการปฏิบัติภารกิจรักษา
สันติภาพ



3. ทหารราบเบา
อ่านแล้วเข้าใจง่าย สามารถนำไปปฏิบัติได้โดยทันที มีภาพ ประกอบชัดเจน มีการ
รวบรวมเนื้อหาเป็นหมวดหมู่และสามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็ว




4. ทหารม้ารถถัง
เป็นคู่มือที่ครอบคลุมเนื้อหาทางด้านเทคนิค ซึ่งมีความจำเป็นและสำคัญต่อการ
ปฏิบัติการทางยุทธวิธีของทหารม้ารถถัง ตลอดจนกล่าวถึงหลักการทางยุทธวิธีของ
ชุดรบผสมเหล่า



5. ทหารม้าลาดตระเวน
สามารถใช้ได้ครอบคลุมทุกระดับ มีรูปเล่มกะทัดรัด ทันสมัยพกพาสะดวก สามารถ
นำไปใช้ได้ทั้งในการฝึกหรือปฏิบัติงาน ในสนามได้เป็นอย่างดี

9 ชุดคู่มือปฏิบัติการทางยุทธวิธี
ชุ ด คู่ มื อ ปฏิ บั ติ ก ารทางยุ ท ธวิ ธี
6. ทหารปืนใหญ่
ทำให้ ผบ.หน่ ว ย ป.เข้ า ใจในหน้ า ที่ ข องตนเอง และสามารถใช้ อ ำนาจการยิ ง
สนับสนุนได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และทันเวลา ดังสมญานามที่ว่า “ราชาแห่ง
สนามรบ”



7. ทหารช่างสนาม
ครอบคลุมการปฏิบัติ ตามพันธกิจ ๕ ประการของทหารช่าง และเป็นคู่มือให้ ผบ.
หน่วยใช้เพิ่มพูนขีดความสามารถด้านการช่างให้กับหน่วยดำเนินกลยุทธ์ในการ
ปฏิบัติการรบ



8. ทหารช่างก่อสร้าง
กำหนดกิจของทหารช่างก่อสร้างในยุทธบริเวณได้อย่างชัดเจน และรวบรวมแบบ
ฝึกในเรื่องที่จำเป็น นอกจากนี้สามารถใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี




9. ทหารสื่อสารกองพล
เป็นคู่มือสำหรับ ผู้บังคับหน่วยทหารสื่อสารกองพล ในการสนับสนุนการติดต่อ
สื่อสารทางยุทธวิธี ตลอดจนเทคนิคที่สำคัญ ในการติดต่อสื่อสารทั้งปวง




10. ทหารสื่อสารกองทัพภาค
เป็นคู่มือปฏิบัติในการสนับสนุนการติดต่อสื่อสารทางยุทธวิธี รวมถึงการส่งกำลัง
ทางการสื่อสารในยุทธบริเวณของทหารสื่อสารกองทัพภาค

ชุดคู่มือปฏิบัติการทางยุทธวิธี 10
รายชื่ อ คณะทำงานคู่ มื อ ปฏิ บั ติ ก ารทางยุ ท ธวิ ธี ข องกองทั พ บก
คู่ มื อ ทหารช่ า งสนาม
• กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 1 • กองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์
พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร มทภ.1 พ.ท.กิตติ คงหอม ผบ.ช.พัน.1 รอ.
พล.ต.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รอง มทภ.1 (1) ร.อ.วัลลภ ตันติวรรธณ์ ฝอ.3 ช.พัน.1 รอ.
พล.ต.ศุภวัฒน์ เชิดธรรม เสธ.ทภ.1 ส.อ.วิทยา สุขอุ้ม พลช่างก่อสร้าง ช.พัน.1 รอ.
พ.อ.ณฐพนธ์ ศรีสวัสดิ์ รอง เสธ.ทภ.1 (1)
พ.อ.กันตภณ อัครานุรักษ์ ผอ.กยก.ทภ.1 • กองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์
พ.อ.ไกรภพ ไชยพันธุ์ นปก.ประจำ มทบ.11 พ.ท.วีรพจน์ ศุภธีระ ผบ.ช.พัน.2 รอ.
ชรก.ทภ.1 ร.อ.นิคม ธรรมนารถสกุล ฝอ.3 ช.พัน.2 รอ.
พ.อ.ธารา เจนตลอด นฝป.ทภ.1 ร.อ.ณัฐวัฒน์ อนุเมธางกูร ผบ.ร้อย.ช.ช.พัน.2 รอ.
ส.อ.สุชาติ กันเที้ยม พลวิทยุ ช.พัน.2 รอ.
• กรมยุทธศึกษาทหารบกและเหล่า/สายวิทยาการ
พ.อ.วัชระ ถนัดรบ หน.วช.กวก.ศร. • กองพันทหารช่างที่ 9
พ.อ.สุรชาย เทพหัสดินทร์รตั น์ อจ.หน.กศน.กศ.รร.ร.ศร. พ.ท.พิเชฐ ชุวัสวัต ผบ.ช.พัน.9
พ.อ.สุเมศ พูลมี อจ.หน.ยว.กศ.รร.ร.ศร. พ.ต.วุฒิพงศ์ แก้วบัวเงิน ฝอ.3 ช.พัน.9
พ.อ.วัชรินทร์ อิ่มท้อง อจ.หน.อก.กศ.รร.ร.ศร. จ.ส.อ.เดชา สาระพันธุ์ ส.ยุทธการ ช.พัน.9
พ.ท.สุพจน์ ปานแพร หน.วพ.กวก.ศร. ส.อ.วราวุฒิ เพ็ชร์คง ส.การสร้างสะพาน ช.พัน.9
พ.อ.ณัฎธชัย บุญมาก รอง ผอ.กวก.ศม. ส.อ.จุมพล มากมาย ส.การประปา ช.พัน.9
พ.อ.อัมพร คงนวล หน.วิชาการ กวก.ศป.
ร.อ.วิทิต ทวีสุข ประจำแผนก กยข.ศป.
พ.ท.จเร ทรัพย์เที่ยง หน.วิชาการ กวก.กช.
พ.ท.อวกาศ สุขเอี่ยม หน.วิชาการ กวก.สส.

11 รายชื่อคณะทำงานคู่มือปฏิบัติการทางยุทธวิธี

You might also like