Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 160

สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

สาระการประชุมวิชาการประจ�ำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ


ครั้งที่ 16

กลุ่มงานวิชาการและคลังความรู้ กองวิชาการและแผนงาน
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

Position-5.indd 1 9/13/19 16:05


(2)

สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย


สาระการประชุมวิชาการประจ�ำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ
ครั้งที่ 16
วันที่ 6-8 มีนาคม 2562
ณ ห้องประชุมฟีนิกซ์ 1-6 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี นนทบุรี

ที่ปรึกษา
นายแพทย์ลือชา วนรัตน์ แพทย์หญิงวิลาวัณย์ จึงประเสริฐ
นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ นายแพทย์ปราโมทย์ เสถียรรัตน์
บรรณาธิการบริหาร
นายแพทย์สรรพงศ์ ฤทธิรักษา ดร.เภสัชกรหญิงอัญชลี จูฑะพุทธิ
บรรณาธิการ
นายแพทย์สุริยะ วงศ์คงคาเทพ ดร.เภสัชกรหญิงดวงแก้ว ปัญญาภู
ดร.รัชนี จันทร์เกษ
กองบรรณาธิการ
สุภาพร ยอดโต วัชราภรณ์ นิลเพ็ชร์ ศรัณยา คงยิ่ง
สุนิสา หลีหมุด ประดิษฐา ดวงเดช ศตพร สมเลศ
กุลธนิต วนรัตน์ บุญใจ ลิ่มศิลา ขวัญเรือน สมพิมาย
เมธาวุธ ธนพัฒน์ศิริ วิทูรย์ ยวงสะอาด ณัฐวุฒิ ปราบภัย

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data
สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย สาระการประชุมวิชาการประจ�ำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พนื้ บ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ
ครัง้ ที่ 16. -- นนทบุร:ี กลุม่ งานวิชาการและคลังความรู้ กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข, 2562.
156 หน้า
1. สมุนไพร. 2. การนวด. 3. การแพทย์แผนไทย. I. ชื่อเรื่อง.
615.321
ISBN : 978-616-11-4069-4

ออกแบบ ชนิสรา นาถนอม


ประสานงาน จินตนา ศรีสุวรรณ์ ชลทิวา ทองรัตน์ รสรินทร์ ไพฑูรย์
พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2562
พิมพ์ที่ บริษัท แกรนด์พ้อยท์ จ�ำกัด
จัดพิมพ์โดย กลุ่มงานวิชาการและคลังความรู้ กองวิชาการและแผนงาน
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

Position-5.indd 2 9/13/19 16:05


(3)

สารจากอธิบดี

หนั ง สื อ เล่ ม นี้ จั ด ท� ำ ขึ้ น เพื่ อ รวบรวมสาระส� ำ คั ญ ของประเด็ น วิ ช าการที่ มี ก ารอภิ ป รายและเสวนา
ในการประชุ ม วิ ช าการประจ� ำ ปี ก ารแพทย์ แ ผนไทย การแพทย์ พื้ น บ้ า น และการแพทย์ ท างเลื อ กแห่ ง ชาติ
ครั้งที่ 16 ซึ่งปีนี้ชูประเด็นการนวดไทยและสมุนไพรไทยเป็นประเด็นหลัก เนื่องด้วยการนวดไทยถือว่าเป็น
ภูมิปัญญาที่ควรอนุรักษ์ และเป็นศาสตร์ในการดูแลสุขภาพที่ส�ำคัญของคนไทยมากว่า 600 ปี และในปีนี้
เป็นโอกาสอันดีที่กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม ได้มีโอกาสเสนอ
ให้การนวดไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมต่อองค์การยูเนสโก้ด้วย ดังนั้น เพื่อให้มรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรมอันทรงคุณค่าได้สืบทอดไปถึงลูกหลาน ตลอดจนสามารถสร้างงาน และสร้างเศรษฐกิจของชาติได้
จึ ง เป็ น ที่ ม าของการเสวนา เรื่ อ ง มาตรฐานของการนวดไทย การพั ฒ นามาตรฐานผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารด้ า นการ
นวดไทย รวมทั้ ง มี ป ระเด็ น เกี่ ย วกั บ การจั ด การเรี ย นการสอนการนวดไทยในหลั ก สู ต รการแพทย์ แ ผนไทย
ในการประชุมครั้งนี้ด้วย
ส�ำหรับสมุนไพรไทย การประชุมวิชาการในครั้งนี้ ได้มีการเสวนาในหลายประเด็น อาทิ สถานการณ์
การค้า รสนิยมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย และการพัฒนาสมุนไพรในตลาดจีน อินเดีย เมียนมาร์ และเวียดนาม
การพัฒนาเมืองสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สมุนไพรต้นแบบ การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาฯ ซึ่งเป็นการถ่ายทอดมุมมอง
จากผู้ที่มีประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาเกี่ยวกับสมุนไพรที่อยู่ในกระแสความสนใจ
ของประชาชนทั่วไป เช่น กัญชา และเห็ดที่เป็นยาและอาหาร
ในนามของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ขอขอบคุณคณะอนุกรรมการวิชาการ
และคณะท�ำงาน ที่ได้ก�ำหนดแนวทาง ประเด็นหลัก รูปแบบ รวมถึงการติดตาม ก�ำกับ จัดประชุมวิชาการ
จนส�ำเร็จลุล่วง ขอขอบคุณนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน ที่ได้กรุณาสละเวลาในการศึกษาประเด็นหลัก
แต่ละหัวข้อจนได้ผลการศึกษาที่สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ และขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ท�ำให้การจัดงานประชุม
วิ ช าการฯ ในครั้ ง นี้ ส� ำ เร็ จ ไปด้ ว ยดี หวั ง ว่ า หนั ง สื อ เล่ ม นี้ จ ะเป็ น ประโยชน์ ใ นการพั ฒ นาการแพทย์ แ ผนไทย
การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก และสมุนไพร และเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการในระดับชาติต่อไป


นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ
อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

Position-5.indd 3 9/13/19 16:05


(4)

บรรณาธิการแถลง

การประชุมวิชาการประจ�ำปี การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ


ในปีนี้ จัดขึ้นพร้อมกับงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติฯ ครั้งที่ 16 ภายใต้ธีมงาน “สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย”
โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ เป็นเวทีสอื่ สารให้ประชาชนได้รจู้ กั ประโยชน์และคุณค่าของสมุนไพรและการนวดไทย สามารถ
น�ำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมและก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้ ดังนั้น ประเด็นวิชาการที่
น�ำเสนอในงานประชุมวิชาการฯ ครัง้ นี้ จึงเป็นหัวข้อทีเ่ กีย่ วข้องกับการพัฒนาและการต่อยอดภูมปิ ญ
ั ญาด้านสมุนไพร
และการนวดไทย จ�ำนวน 14 หัวข้อ
การจัดท�ำหนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมเนื้อหาวิชาการของการเสวนาทั้งหมด 14 หัวข้อ โดยมีการจัดเป็น
หมวดหมู่ได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ คือ เน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติด้วยผลิตภัณฑ์
สมุนไพรและการนวดไทย ซึ่งประเด็นที่มีการเสวนา ได้แก่ สถานการณ์การค้า รสนิยมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย
และการพัฒนาสมุนไพรในตลาดจีน อินเดีย เมียนมาร์ และเวียดนาม อุตสาหกรรมสารสกัดสมุนไพรสู่ตลาดโลก
เมืองสมุนไพร และผลิตภัณฑ์สมุนไพรต้นแบบ
กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยหัวข้อ
ของการเสวนามีความสอดคล้องกับภารกิจการส่งเสริมและพัฒนาวิชาการด้านสมุนไพร การแพทย์แผนไทย และ
การแพทย์พนื้ บ้าน ได้แก่ การพัฒนามาตรฐานผูใ้ ห้บริการการนวดไทย การรับรองและก�ำหนดสถานะของหมอพืน้ บ้าน
ทิศทางการพัฒนาการศึกษาแพทย์แผนไทย การคุม้ ครองและการใช้ประโยชน์จากภูมปิ ญ ั ญาการแพทย์แผนไทย และ
การวิจัยต�ำรับยาแผนไทย
กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการเพื่อน�ำการแพทย์แผนไทยไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ กลไกการเฝ้าระวัง
ความปลอดภัยในการใช้สมุนไพรโดยมีประชาชนเป็นส่วนร่วม การบูรณาการแพทย์แผนไทยเข้าสูร่ ะบบบริการสุขภาพ
และการบูรณาการคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ
กลุม่ ที่ 4 ประเด็นวิชาการร่วมสมัย ซึง่ ได้แก่ กัญชา: โอกาสและความท้าทาย และเห็ดเป็นอาหารและยา
ซึ่งแต่ละประเด็นดังกล่าวได้รับความสนใจจากนักวิชาการและประชาชนเป็นอย่างดี โดยเฉพาะหัวข้อเรื่องกัญชาที่
พบว่ามีผู้เข้ารับฟังจากหลากหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งกลุ่มเกษตรกร ผู้ป่วย นักวิชาการ นักวิจัย และบุคลากรทาง
การแพทย์
หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งบุคลากรทางการแพทย์ นักวิชาการ นักวิจัย ผู้ประกอบการ
และผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง อนึ่งหากมีข้อผิดพลาดประการใดที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ ขอน้อมรับค�ำชี้แนะ
ที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป

Position-5.indd 4 9/13/19 16:05


(5)

รายนามผู้จัดท�ำเฉพาะบท

กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
1.1 สถานการณ์การค้า รสนิยมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย และการพัฒนาสมุนไพรในตลาดจีน อินเดีย
เมียนมาร์ และเวียดนาม
รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
1.2 อุตสาหกรรมสารสกัดสมุนไพรสู่ตลาดโลก
ดร.บังอร เกียรติธนากร บริษัท อุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย-จีน จ�ำกัด (TCFF)
1.3 เมืองสมุนไพร: โอกาสและการพัฒนา
ดร.ภญ.มณฑกา ธีรชัยสกุล, ภก.ณัฐวุฒิ ปราบภัย, อัปสร บุตรดา
กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
วัฒนศักดิ์ ศรรุ่ง ส�ำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
นพ.สรรพงศ์ ฤทธิรักษา กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
1.4 ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ: โอกาสและการพัฒนา
รศ.ดร.ภญ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ส�ำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
2.1 การพัฒนามาตรฐานผู้ให้บริการด้านการนวดไทยของประเทศไทย
ดร.ภก.ยงศักดิ์ ตันติปิฎก หน่วยวิจัยระบบภูมิปัญญาสุขภาพ
2.2 หมอพื้นบ้านกับอนาคตสุขภาพชุมชนไทย
ภราดร สามสูงเนิน, สมัคร สมแวง, อังคณา บุญทวี, อิศรา พงพานิชย์
กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
เสาวณีย์ กุลสมบูรณ์ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2.3 อนาคตการวิจัยต�ำรับยาแผนไทย
ดร.ภญ.มณฑกา ธีรชัยสกุล กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข

ผศ.ดร.นพ.กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.4 ทิศทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการแพทย์แผนไทยอย่างยั่งยืน (ในระดับอุดมศึกษา)
ดร.ปราวรี ภูนีรับ, สมเด็จ กาติ๊บ, ผศ.ดร.รวิวรรณ์ เจริญทรัพย์
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ส�ำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

Position-5.indd 5 9/13/19 16:05


(6)

2.5 ผลกระทบของกรอบการเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับทรัพยากร
พันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม ต่อกฎหมายคุ้มครองและ
ส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
ดร.ปวริศร เลิศธรรมเทวี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง
กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการเพื่อน�ำการแพทย์แผนไทยไปใช้ประโยชน์
3.1 กลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้สมุนไพรโดยมีประชาชนเป็นส่วนร่วม
ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี
นส.ภ.พงศธร วายโสกา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นศ.ภ.ภาวนา วัฒนกูล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3.2 การบูรณาการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพในอนาคต
เกษม เผียดสูงเนิน สาธารณสุขอ�ำเภอล�ำสนธิ จังหวัดลพบุรี
3.3 บูรณาการคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ
ชัชชัย ศิลปสุนทร ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มที่ 4 ประเด็นวิชาการร่วมสมัย
4.1 กัญชา: แนวทางการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และการควบคุมการน�ำไปใช้ประโยชน์
ส�ำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
4.2 เห็ดเป็นยาและอาหาร
ศ.ดร.สายสมร ล�ำยอง, ดร.นครินทร์ สุวรรณราช คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ธิติยา บุญประเทือง ศูนย์พนั ธุวศิ วกรรมและเทคโนโลยีชวี ภาพแห่งชาติ

Position-5.indd 6 9/13/19 16:05


(7)

สารบัญ

สารจากอธิบดี (3)
บรรณาธิการแถลง (4)
รายนามผู้จัดท�ำเฉพาะบท (5)

กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
1.1 สถานการณ์การค้า รสนิยมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาสมุนไพรในตลาดจีน
อินเดีย เมียนมาร์ และเวียดนาม 2
1.2 อุตสาหกรรมสารสกัดสมุนไพรสู่ตลาดโลก 13
1.3 เมืองสมุนไพร: โอกาสและการพัฒนา 19
1.4 ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ: โอกาสและการพัฒนา 30

กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
2.1 การพัฒนามาตรฐานผู้ให้บริการด้านการนวดไทยของประเทศไทย 42
2.2 หมอพื้นบ้านกับอนาคตสุขภาพชุมชนไทย 48
2.3 อนาคตการวิจัยต�ำรับยาแผนไทย 61
2.4 ทิศทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการแพทย์แผนไทยอย่างยั่งยืน (ในระดับอุดมศึกษา) 72
2.5 ผลกระทบของกรอบการเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับ
ทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม
ต่อกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย 81

กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการเพื่อน�ำการแพทย์แผนไทยไปใช้ประโยชน์
3.1 กลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้สมุนไพรโดยมีประชาชนเป็นส่วนร่วม 103
3.2 การบูรณาการการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบสุขภาพในอนาคต 110
3.3 บูรณาการคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ 116

กลุ่มที่ 4 ประเด็นวิชาการร่วมสมัย
4.1 กัญชา: แนวทางการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และการควบคุมการน�ำไปใช้ประโยชน์ 125
4.2 เห็ดเป็นยาและอาหาร 136

Position-5.indd 7 9/13/19 16:05


(8)

สารบัญตาราง
ตารางที่ 1.1 มูลค่าการส่งออกขมิ้นชันของจีนไปตลาดส�ำคัญ 3
ตารางที่ 1.2 มูลค่าการน�ำเข้าขมิ้นชันของจีนจากตลาดส�ำคัญ 3
ตารางที่ 1.3 ข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตั้งแต่ปี 2555-2559 7
ตารางที่ 1.4 ตัวชี้วัดในการประเมินผลลัพธ์ตามปีงบประมาณ 23
ตารางที่ 2.1 สรุปการควบคุมก�ำกับการนวดไทยในระดับต่าง ๆ 46
ตารางที่ 2.2 เปรียบเทียบล�ำดับการตั้งค�ำถามทางการวิจัยของการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์ดั้งเดิม 65
ตารางที่ 2.3 เสนอล�ำดับขั้นตอนการวิจัยทางคลินิกของการแพทย์ดั้งเดิม 66
ตารางที่ 3.1 ระบบการรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของผู้ป่วยโดยตรง 105
ตารางที่ 4.1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และถิ่นที่พบของกัญชาชนิดต่าง ๆ 125
ตารางที่ 4.2 การก�ำกับดูแลการใช้กัญชาในทางการแพทย์เพื่อการศึกษาวิจัยและอุตสาหกรรม
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้กัญชาในการศึกษาวิจัยและการใช้ในทางการแพทย์ 130
ตารางที่ 4.3 ต�ำรับยาน�ำร่อง 16 ต�ำรับ ที่มีกัญชาเป็นองค์ประกอบ 131

สารบัญภาพ
ภาพที่ 1.1 สัดส่วนมูลค่าการส่งออกขมิ้นชันของจีนไปยังประเทศส�ำคัญปี 2559 3
ภาพที่ 1.2 สามอันดับแรกของประเทศที่น�ำเข้าสมุนไพรในปริมาณมากระดับโลก, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 14
ภาพที่ 1.3 ข้อมูลมูลค่าการน�ำเข้าและส่งออกจากพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized System) 15
ภาพที่ 1.4 การพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพรในอนาคต และสมุนไพรเป้าหมาย 16
ภาพที่ 1.5 กลไกการขับเคลื่อนเมืองสมุนไพร 20
ภาพที่ 1.6 แนวโน้มมูลค่าผลิตภัณฑ์สมุนไพร 4 กลุ่ม 25
ภาพที่ 1.7 แสดงมูลค่าการจ่ายยาสมุนไพรเปรียบเทียบระหว่างของ (ก) เมืองสมุนไพรทั้ง 13 จังหวัด และ
(ข) ภาพรวมของประเทศ 26
ภาพที่ 2.1 งานศึกษาระบบการแพทย์พหุลักษณ์ของ Kleinman, 1980 49
ภาพที่ 2.2 การขับเคลื่อนงานการแพทย์พื้นบ้านที่ผ่านมาได้ ก�ำหนดการท�ำงาน ด้วยกระบวนการการจัดการความรู้
แนวคิดเชิงปฏิบัติ 3 ประเด็นหลัก และ 10 ประเด็นย่อย 50
ภาพที่ 2.3 แนวทางการประเมินและรับรองสถานภาพ หมอพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมและพัฒนาในระบบ 52
ภาพที่ 2.4 จ�ำนวนหมอพื้นบ้านที่ได้การรับรองในระดับวิชาชีพและระดับจังหวัด 56
ภาพที่ 2.5 สถานการณ์แนวทางการประเมินและรับรองหมอพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมและพัฒนาในระบบ 56
ภาพที่ 2.6 การน�ำการวินิจฉัยทางการแพทย์แคมโป (ยกตัวอย่าง ภาวะหมดประจ�ำเดือน) เป็นเกณฑ์การวินิจฉัย
เพื่อคัดอาสาสมัครเข้าสู่การทดลอง จากนั้นจึงค่อยสุ่มแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง 64
ภาพที่ 2.7 ขั้นตอนกระบวนการวิจัยส�ำหรับยาจากสมุนไพรทั้งรูปแบบสมุนไพรเดี่ยวและสมุนไพรต�ำรับ 66
ภาพที่ 2.8 แสดงข้อเสนอกรอบขั้นตอนการวิจัยการแพทย์แผนไทย 68
ภาพที่ 2.9 ห่วงโซ่การวิจัยการแพทย์แผนไทยและการวิจัยยาจากสมุนไพร (กฤษณ์และมณฑกา, 2559) 69
ภาพที่ 3.1 แผนด�ำเนินงานบูรณาการข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในเบื้องต้น ระยะ 5 ปี 123

Position-5.indd 8 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 1

กลุ่มที่ 1

ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
1.1 สถานการณ์การค้า รสนิยมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย
และการพัฒนาสมุนไพรในตลาดจีน อินเดีย เมียนมาร์ และเวียดนาม
1.2 อุตสาหกรรมสารสกัดสมุนไพรสู่ตลาดโลก
1.3 เมืองสมุนไพร: โอกาสและการพัฒนา
1.4 ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ: โอกาสและการพัฒนา

Position-5.indd 1 9/13/19 16:05


2 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

สถานการณ์การค้า รสนิยมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย
และการพัฒนาสมุนไพรในตลาดจีน อินเดีย เมียนมาร์ และเวียดนาม

รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช
ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

1. ความเป็นมา หลักการ และเหตุผล


รายงานฉบับนี้ เป็นการน�ำเสนอ “สถานการณ์การค้าและรสนิยมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยในตลาดจีนและ
เวียดนาม” ใน 4 ชนิด คือ ขมิ้นชัน ไพล บัวบก และกระชายด�ำ โดยเน้นไปที่ตลาดจีนและเวียดนามเป็นหลัก
ซึ่งเป็น 2 ตลาดที่มีศักยภาพทั้งการผลิตและก�ำลังซื้อ แต่ส�ำหรับเวียดนามนั้นเป็นการน�ำเสนอเฉพาะรสนิยมของ
ผูบ้ ริโภค ในบัวบกและกระชายด�ำเท่านัน้ เป็นเพราะข้อมูลทีม่ อี ยูอ่ ย่างจ�ำกัด ข้อมูลส่วนใหญ่ทนี่ ำ� เสนอในรายงานฉบับนี้
ได้มาจากโครงการวิจัย เรื่อง “โครงการจัดท�ำยุทธศาสตร์และฐานข้อมูลสมุนไพร ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ
การตลาดสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูปสู่สากล (2560)” โดยส�ำนักงานยุทธศาสตร์และนโยบายการค้า
(สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ที่ได้มอบหมายให้ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็น
ผู้วิจัย นอกจากจะน�ำเสนอสถานการณ์และรสนิยมแล้ว ส่วนสุดท้ายจะเป็นการน�ำเสนอข้อเสนอแนะส�ำหรับการท�ำ
ตลาดสมุนไพรในประเทศจีน โดยรายละเอียดเป็นดังต่อไปนี้

2. นโยบายและมาตรการที่ด�ำเนินการในปัจจุบัน
2.1 ผลิตภัณฑ์ขมิ้นชัน
สถานการณ์การค้า ประเทศจีนเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคขมิ้นชันที่ส�ำคัญอีกประเทศหนึ่ง โดยในปี
2559 ส่งออกขมิ้นชันแห้ง เป็นมูลค่า 96,407,654,002 บาท ซึ่งส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน
ร้อยละ 65.6 ของการส่งออกขมิ้นชันแห้งของจีนทั้งหมด รองลงมาเป็นการส่งออกไปฮ่องกง มาเลเซีย และ
สหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 11.0, 10.7 และ 3.8 ตามล�ำดับ (ตารางที่ 1)
เมื่อพิจารณาในด้านการน�ำเข้าขมิ้นชันแห้งเข้ามาในประเทศจีน พบว่า มีการน�ำเข้าจากประเทศอินเดีย
เป็นส่วนใหญ่นับตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา โดยในปี 2559 มีปริมาณการน�ำเข้าขมิ้นชัน ทั้งหมด 20,494,807 บาท
ซึ่งเป็นการน�ำเข้ามาจากอินเดียเกือบทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 99.61 ของมูลค่าการน�ำเข้าทั้งหมด

Position-5.indd 2 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 3

อื่นๆ
สหรัฐอเมริกา เนเธอรแลนด 6.4%
3.8% 2.4%

มาเลเซีย
10.7%

ฮองกง
11.1% ญี่ปุน
65.6%

ภาพที่ 1.1 สัดส่วนมูลค่าการส่งออกขมิ้นชันของจีนไปยังประเทศส�ำคัญปี 2559


ที่มา: The Global Trade Atlas (GTA) 2017

ตารางที่ 1.1 มูลค่าการส่งออกขมิ้นชันของจีนไปตลาดส�ำคัญ


มูลค่าการส่งออกขมิ้นชัน (บาท) สัดส่วน
ประเทศ 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 การส่งออก
ปี 2559
ญี่ปุ่น 58,767,219 101,805,656 47,281,762 43,474,420 74,500,650 46,350,025 63,271,993 65.6
ฮ่องกง 1,454,569 13,005,875 11,377,944 8,625,560 22,048,334 4,683,229 10,671,616 11.0
มาเลเซีย 9,656,015 23,358,881 15,633,017 15,205,539 9,316,695 11,897,827 10,294,227 10.7
สหรัฐอเมริกา 1,511,307 338,134 71,234 235,835 1,732,323 1,951,960 3,683,863 3.8
เนเธอร์แลนด์ 1,815,265 NA NA NA NA 1,612,027 2,303,169 2.4
อื่น ๆ 123,433,197 23,835,607 1,324,268 698,064 6,437,440 17,293,149 6,182,786 6.4
โลก 196,637,572 162,344,153 75,688,225 68,239,418 114,035,442 83,788,217 96,407,654 100.0
ที่มา: The Global Trade Atlas (GTA) 2017
หมายเหตุ: NA หมายถึง ไม่พบข้อมูล

ตารางที่ 1.2 มูลค่าการน�ำเข้าขมิ้นชันของจีนจากตลาดส�ำคัญ

มูลค่าการน�ำเข้าขมิ้นชัน (บาท) สัดส่วน


ประเทศ การน�ำเข้า
2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 ปี 2559
อินเดีย 672,496 6,259,873 25,963,755 32,311,780 64,365 6,579,672 20,415,065 99.61
ไทย 0 0 0 0 0 0 76,057 0.37
สหรัฐอเมริกา 0 0 0 0 3,809 321 3,685 0.02
อื่น ๆ 3,394,915 5,318,492 765,627 3,326,257 0 2,196,783 0 0.00
โลก 4,067,411 11,578,365 26,729,382 35,638,037 68,174 8,776,776 20,494,807 100.0
ที่มา: The Global Trade Atlas (GTA) 2017
หมายเหตุ: น�ำเสนอเฉพาะตัวเลขมูลค่าเนื่องจากปริมาณการน�ำเข้ามีน้อย, NA หมายถึง ไม่พบข้อมูล

Position-5.indd 3 9/13/19 16:05


4 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ส�ำหรับคู่แข่งที่ส�ำคัญของไทยในตลาดจีน ในส่วนของวัตถุดิบ คือ อินเดีย เนื่องจากมีการน�ำเข้า


ขมิ้นชันจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไทยมีมูลค่าการส่งออกไปจีนเพียง ร้อยละ 0.37 ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับ
อินเดีย ประกอบกับอินเดียเป็นผู้ผลิตขมิ้นชันรายใหญ่ของโลกอีกด้วย ส�ำหรับคู่แข่งด้านผลิตภัณฑ์จากขมิ้นชันนั้น
ส่วนใหญ่เป็นคู่แข่งภายในจีนเอง ทั้งผลิตภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร รวมไปถึงเครื่องส�ำอาง เนื่องจากจีน
เป็นประเทศที่อยู่คู่กับสมุนไพรมาเป็นเวลาหลายพันปี มีสมุนไพรมากมายหลายชนิด และมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจาก
สมุนไพรหลากหลายเช่นกัน ประกอบกับชาวจีนเองก็ให้ความเชื่อมั่นในสมุนไพรของจีนเองมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
ถือเป็นอุปสรรคส�ำคัญที่สินค้าสมุนไพรของไทยจะเข้าไปยึดตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรในจีน รวมไปถึงกฎระเบียบที่
ค่อนข้างเข้มงวดของจีน ที่กีดกันการน�ำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
รสนิยมและแนวโน้มของผูบ้ ริโภคในจีน ขมิน้ ชันเป็นสมุนไพรอีกชนิดทีไ่ ด้รบั ความนิยมในจีน เนือ่ งจากจีน
เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคขมิ้นชันที่ส�ำคัญ ซึ่งผู้บริโภคจีนรู้จักขมิ้นชันเป็นอย่างดีมาช้านานและที่ส�ำคัญคือ
ใช้รักษาโรคต่าง ๆ ตามแพทย์แผนโบราณมาอย่างยาวนานจนเป็นที่ยอมรับและจัดอยู่ในต�ำรายาหลายขนาน โดย
ในจีนในต�ำรายาจีน เรียกขมิ้นชันว่า เจียวหวง (ภาษาจีนกลาง) หรือเกียอึ้ง (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) นิยมใช้ขมิ้นชัน
เพื่อรักษาอาการปวดท้อง ท้องมาน และดีซ่าน ส่วนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากขมิ้นชันที่เป็นที่นิยมของชาวจีน ได้แก่
ผลิตภัณฑ์สปา และผลิตภัณฑ์ ที่ใช้ในชีวิตประจ�ำวันทั่วไป (Home Use Product) เช่น สบู่ แชมพู ครีมบ�ำรุงหน้า
และผิวกาย เป็นต้น ส�ำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากขมิ้นชันถือว่าเป็นสินค้าค่อนข้างใหม่ส�ำหรับผู้บริโภค
ชาวจีน เนื่องจากผู้ประกอบการจะรู้จักขมิ้นชันว่าเป็นยาที่น�ำมาเข้าต�ำรับยาสมุนไพร อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์
เสริมอาหารทุกชนิดทีจ่ ำ� หน่ายในจีน จะต้องผ่านการตรวจสอบจาก State Food and Drug Administration (SFDA) 
ก่อนจึงจะสามารถจ�ำหน่ายได้ในประเทศจีน

2.2 ไพล
สถานการณ์การค้าในจีน ไพลและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไพลของไทย มีโอกาสขยายตัวได้มากในจีน
และญี่ปุ่น โดยส�ำหรับจีนนั้น พบว่าเป็นที่นิยมมากเนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนมีความนิยมในธุรกิจสปา ส่งผลให้
ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นที่นิยมตามไปด้วย โดยส�ำหรับตลาดจีนแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมมาก คือ
น�้ำมันเหลืองไพลและยาหม่องไพล เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีราคาไม่แพงมากนัก สามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อย
ได้ดี อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าดังกล่าวไปในจีนยังพบอุปสรรคด้านการขึ้นทะเบียน อย. ในจีนที่มีกระบวนการ
ขั้นตอน และระยะเวลาในการขอขึ้นทะเบียนนาน กระทบต่อต้นทุนของผู้ส่งออกที่สูงขึ้น ผู้ประกอบการจ�ำเป็นต้อง
ร่วมมือกับบริษัทผู้น�ำเข้าชาวจีน เพื่อร่วมมือกันยื่นขอขึ้นทะเบียน อย. ที่จะท�ำให้การส่งออกสินค้าไปจีนสะดวก
มากขึน้ แต่เนือ่ งจากการแสวงหาบริษทั ร่วมทุนชาวจีนทีม่ คี วามซือ่ ตรงและเชือ่ ถือได้เป็นเรือ่ งยาก ผูส้ ง่ ออกหลายราย
จึงส่งออกผ่านระบบ E-Commerce ที่ยังไม่มีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าและปริมาณจ�ำหน่ายไม่มากนัก
รวมถึงการขายในรูปของฝากให้แก่นกั ท่องเทีย่ วทีเ่ ข้ามาเทีย่ วในไทย ส�ำหรับคูแ่ ข่งของไพลและผลิตภัณฑ์แปรรูปจาก
ไพลในตลาดจีน มีคู่แข่งจากประเทศอื่น ๆ ไม่มากนัก หากแต่คู่แข่งหลัก คือ ผลิตภัณฑ์ของจีนเอง เนื่องจากจีนเป็น
ตลาดที่มีความนิยมสินค้าสมุนไพรเป็นอย่างมาก มีโรงงานและบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรหลากหลายรูปแบบ
และราคาไม่แพง ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของจีนเป็นทีน่ ยิ มของตลาด อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ของจีนยังมีจดุ อ่อน
ในด้านความน่าเชือ่ ถือของสรรพคุณทีร่ ะบุไว้ทผี่ ลิตภัณฑ์ เนือ่ งจากสินค้าของจีนหลากหลายยีห่ อ้ ไม่มมี าตรฐาน ท�ำให้
ความนิยมบริโภคสินค้าจีนมีแนวโน้มหันไปบริโภคสินค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้าสมุนไพรไทย นอกจากนี้
ผลิตภัณฑ์ที่วางขายอยู่ในตลาดจีน มีความเสี่ยงในการถูกลอกเลียนแบบอีกด้วย

Position-5.indd 4 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 5

ส�ำหรับการส่งออกไพลของไทยนั้น ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในรูปของผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปแล้ว อาทิ


น�้ำมันหอมระเหย โดยมีการส่งออกประมาณร้อยละ 20 ของที่ผลิตได้ในประเทศ ส่วนใหญ่ส่งออกไปจีนมากที่สุด
รองลงมา คือ อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งในตลาดส่งออกเหล่านี้ยังคงมีแนวโน้มต้องการสินค้าจาก
ไทยเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากยังไม่เพียงพอและความต้องการบริโภคยังขยายตัว นอกเหนือจากการส่งออกในรูปของวัตถุดบิ
ขั้นกลาง ในข้างต้นแล้วยังมีการส่งออกในรูปของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไพลอื่น ๆ อาทิ น�้ำมันเหลืองและยาหม่อง
มีการส่งออก ร้อยละ 30 ของปริมาณที่ผลิตได้ทั้งหมด ตลาดส่งออกที่ส�ำคัญยังคงเป็นจีน รองลงมา คือ
สหภาพรวมถึงยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และตะวันออกกลาง ส่วนลูกประคบก็เป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับ
ความนิยมมากจากตลาดต่างประเทศ พบว่ามีสัดส่วนการส่งออกประมาณ ร้อยละ 60 โดยส่งออกไปญี่ปุ่นมากที่สุด
รองลงมา คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี) และประเทศอื่น ๆ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย
ออสเตรเลีย บาห์เรน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นต้น
รสนิยมและแนวโน้มของผู้บริโภคในจีน ตลาดหลักของสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรของไทยนั้น
ได้แก่ จีน ด้วยขนาดของตลาดที่มีขนาดใหญ่ ประกอบกับเป็นประเทศที่ให้ความส�ำคัญกับสมุนไพร รวมทั้งยัง
เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคชาวจีนมีความคุ้นเคย และบริโภคอย่างแพร่หลาย โดยผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไพลที่เป็นที่นิยมของ
ชาวจีนและเป็นตลาดหลัก ได้แก่ น�้ำมันเหลืองไพล/น�้ำมันไพล รวมทั้งยาหม่องไพล โดยชาวจีนจะนิยมน�้ำมันเหลือง
ไพล/น�้ำมันไพล และยาหม่องไพล ที่ค่อนข้างร้อน เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย และฟกช�้ำ เป็นต้น ผ่านการ
นวดตามร้านนวดแผนโบราณ ร้านนวดโดยทั่ว ๆ ไป หรือแม้แต่การซื้อกลับไปใช้นวดด้วยตนเอง นอกจากนี้ปัจจุบัน
ยังมีกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้ามาเที่ยวในไทย นิยมซื้อน�้ำมันเหลืองไพล/น�้ำมันไพล และยาหม่องไพลเป็น
ของฝาก ของที่ระลึก จึงถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการขยายตลาดผลิตภัณฑ์ไพลในตลาดจีน นอกจากนี้ ปัจจุบัน
ผู้บริโภคชาวจีนมีฐานะดีขึ้น จึงมีแนวโน้มการบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าผลิตภัณฑ์สมุนไพร
จากไทยก็เป็นที่นิยม แต่เนื่องจากประเทศจีน มีการผลิตสินค้าปลอมเป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งเป็นที่หวาดระแวงของ
ผู้บริโภคชาวจีนเองด้วย ท�ำให้ผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าจากช่องทางที่น่าเชื่อถือ
จีนเป็นประเทศที่มีการผลิตสินค้าปลอมจ�ำนวนมาก เป็นที่หวาดระแวงของผู้บริโภคทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพร ดังนั้น การเลือกซื้อสินค้าจึงจ�ำเป็นต้องพิจารณายี่ห้อและ
แหล่งจ�ำหน่ายเพื่อท�ำให้เกิดความแน่ใจในตัวผลิตภัณฑ์ว่าเป็นของแท้ มิใช่ของปลอม
อย่างไรก็ตาม การประกาศ 18 โครงการส�ำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ “Made in China 2025 (พ.ศ.
2568)” ประจ�ำปี 2559 อาจเป็นอุปสรรคของสมุนไพรไทย คือ กระทรวงอุตสาหกรรมและสารสนเทศจีน
ประกาศ 18 โครงการส�ำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ “Made in China 2025 (พ.ศ. 2568) ประจ�ำปี 2559 
โดยโครงการที่สอดคล้องกับนโยบาย “Made in China 2025” ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับเงินสนับสนุนจ�ำนวน
ร้อยละ 30-50 ของการลงทุนทั้งหมด ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวกับสมุนไพร คือ การสร้างฐานผลิตยาสมุนไพรจีน
และยกระดับคุณภาพยาสมุนไพรจีน โดยจีนจะสร้างฐานผลิตยาสมุนไพรจีนที่คุณภาพดีและยาสามัญประจ�ำบ้าน
รวมทัง้ สร้างฐานผลิตยาสมุนไพรจีนทีข่ าดแคลนและใกล้สญ ู หายไป ตลอดจนสร้างแพลตฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพ
ยาสมุนไพรที่สามารถให้บริการแก่บริษัทยาสมุนไพรจีน 100 แห่งขึ้นไป แต่ทั้งนี้ด้วยคุณภาพและสรรพคุณของ
ไพลจากประเทศไทยที่เป็นที่ยอมรับในสายตาผู้บริโภคชาวจีน ท�ำให้ยังคงมีโอกาสในการจ�ำหน่ายสมุนไพรชนิดนี้ใน
ตลาดจีน

Position-5.indd 5 9/13/19 16:05


6 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

2.3 บัวบก
รสนิยมและแนวโน้มของผู้บริโภคในจีน ถือเป็นตลาดขนาดใหญ่และมีความคุ้นเคยกับบัวบกและรู้
ถึงสรรพคุณของบัวบกดีอยู่แล้ว แต่ด้วยปริมาณความต้องการที่มีมากของจีน ท�ำให้ด้านการผลิตบัวบกออกมา
ตอบสนองตลาดนั้นยังไม่เพียงพอ จึงเป็นโอกาสที่ส�ำคัญที่จะน�ำบัวบกของไทยที่มีสรรพคุณทางยาและการบ�ำรุง
สุขภาพไปท�ำตลาดยังประเทศจีน และด้วยการสืบค้นข้อมูล เชิงลึกจากกลุม่ เกษตรกรผูป้ ลูกใบบัวบก พบว่า นักธุรกิจ
จีนได้เข้ามาติดต่อขอซื้อใบบัวบกเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้บัวบกเป็นสมุนไพรที่มีแนวโน้มเติบโตได้ในตลาดจีน
นอกจากนี้ จากการสืบค้นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบัวบก พบว่า มีการน�ำบัวบกไปผลิตเป็นชาเพื่อชงดื่มบ�ำรุง
ร่างกาย ขณะเดียวกันประเทศจีนเองเป็นประเทศทีน่ ยิ มการบริโภคชาเป็นอย่างมาก หรือนับได้วา่ เป็นเครือ่ งดืม่ หลัก
ของคนจีนก็ว่าได้ โดยในแต่ละปีจีนต้องน�ำเข้าผลิตภัณฑ์ชาจากต่างประเทศเป็นจ�ำนวนมาก จากการสืบค้นพบว่า
ตั้งแต่ปี 2555-2559 ผลิตภัณฑ์ชาเฉลี่ย 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวเฉลี่ย ร้อยละ 13.59 ท�ำให้ประเทศจีน
มีแนวโน้มที่น่าสนใจที่จะน�ำมาเป็นตลาดหลักของการจัดท�ำยุทธศาสตร์บัวบกในครั้งนี้
ในด้านรูปแบบการบริโภคเครื่องดื่มของชาวจีนนั้น มีความแตกต่างจากผู้บริโภคชาวไทยเล็กน้อย โดยชา
หรือชาสมุนไพรเป็นเครื่องดื่มที่คู่กับประเทศจีนมาอย่างยาวนาน เพราะชาวจีนเชื่อว่าชาหรือชาสมุนไพรช่วยในเรื่อง
ของการย่อยอาหารและคลายร้อน ท�ำให้ผู้บริโภคในทุกกลุ่มของจีน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มวัยรุ่น วัยท�ำงาน หรือวัยชรา
ยังคงนิยมและมีนิสัยชอบดื่มชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลส�ำคัญ ๆ ที่มีการรวมญาติ หรือแม้กระทั่งการซื้อชา
เป็นของขวัญของที่ระลึก

ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีชาหลากหลายประเภทและหลากหลายรสชาติ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคน


ทุกวัย ถึงอย่างไรผู้บริโภคชาวจีนยังคงชอบบริโภคชาที่ไม่มีรสชาติหวานและเย็นจนเกินไป เพราะด้วยธรรมชาติของ
ภูมิอากาศของประเทศที่มีอาการเย็นเกือบทั้งปี อีกทั้งคนจีนยังนิยมรับประทานอาหารที่มัน ๆ ท�ำให้ต้องดื่มชาร้อน
ที่มีรสชาติอ่อน เพื่อลดความมันในอาหารที่รับประทานเข้าไป และส�ำหรับวัยรุ่นหรือผู้บริโภคยุคใหม่จะเน้น
การใส่ใจในเรื่องของสุขภาพมากขึ้น และมีนิสัยนิยมบริโภคชาสมุนไพรที่มีการปรุงแต่งกลิ่นหรือท�ำจากผลไม้
นอกจากนี้ จีนประสบกับปัญหาเรื่องคุณภาพของสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ท�ำให้ผู้บริโภค
ชาวจีนหันมาให้ความส�ำคัญอย่างยิง่ กับคุณภาพของสินค้า ประกอบกับรายได้เฉลีย่ ของคนจีนปรับตัวสูงขึน้ อย่างก้าว
กระโดดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ท�ำให้ผู้บริโภคชาวจีนเต็มใจและพร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อแลกกับคุณภาพของสินค้า
รวมถึงหันมาสนใจสินค้าน�ำเข้ามากยิ่งขึ้น โดยมักจะเลือกสินค้าน�ำเข้าที่มีการระบุฉลากเป็นภาษาจีน ดังนั้น สิ่งที่น่า
จับตามองเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวจีนในปัจจุบัน คือ ความกังวลและใส่ใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้น ท�ำให้
ความต้องการเครื่องดื่มประเภทไม่มีแอลกอฮอล์ได้รับความนิยมมากขึ้น
รสนิยมและแนวโน้มของผู้บริโภคในเวียดนาม ตลาดเวียดนามมีวิถีชีวิตใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะสินค้า
เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ พบว่า เวียดนามเป็นตลาดขนาดใหญ่ด้วยจ�ำนวนประชากร
มากถึง 88.78 ล้านคน และในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจเวียดนามมีการขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เพื่อก�ำหนดกลยุทธ์
ด้านการตลาดในการเข้าสู่ตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในเวียดนาม โดยควรมุ่งเน้นการน�ำผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรม
ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีจ�ำหน่ายในเวียดนาม (Product Differentiate) เพื่อสร้างความแตกต่าง อาทิ ชาพร้อมดื่มบรรจุ
กระป๋องระดับพรีเมี่ยม เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ กลุ่มผู้บริโภคสมุนไพรในเวียดนามส่วนใหญ่ คือ ผู้ใหญ่
วัยกลางคน และผู้สูงอายุ
ดังนั้นตลาดเวียดนามมีความเหมาะสมที่จะน�ำผลิตภัณฑ์จากบัวบกที่เป็นผลิตภัณฑ์ชาไปท�ำตลาด ณ
ประเทศเวียดนาม เนือ่ งจากเมือ่ ท�ำการสืบค้นข้อมูล พบว่า พฤติกรรมของคนเวียดนามนัน้ ยังมีความนิยมในการดืม่ ชา

Position-5.indd 6 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 7

ตารางที่ 1.3 ข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตั้งแต่ปี 2555-2559


ข้อมูล 2555 2556 2557 2558 2559
มูลค่า GDP (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 155,820 171,222 186,204 193,241 202,615
GDP Growth rate (%) 14.96 9.88 8.75 3.78 4.85
จ�ำนวนประชากร (คน) 88,809,200 89,759,500 90,728,900 91,713,300 92,701,100
รายได้ต่อคน (ดอลลาร์สหรัฐฯ/คน) 1,754.55 1,907.56 2,052.32 2,107.01 2,185.69
มูลค่าน�ำเข้าชาจากไทย (ดอลลาร์สหรัฐฯ) 15,609 811,242 2,226,870 447,703 931,511
อัตราการเปลี่ยนแปลงการน�ำเข้าชาไทย (%) - 5097.27 174.50 -79.90 108.06
ที่มา: The World Bank, สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2560

โดยเฉพาะชาสมุนไพรที่มีสรรพคุณบ�ำรุงร่างกาย และเมื่อสืบค้นข้อมูลการส่งออกชาจากไทยไปเวียดนาม พบว่า


เวียดนามเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งในการส่งออกชาของไทย ดังข้อมูลการส่งออกชาของไทย ดังแสดงในตารางที่ 1.3
นอกจากนี้ ตลาดเวียดนามยังมีลักษณะการบริโภคคล้ายคลึงกับตลาดจีนและมีความคุ้นเคยกับสินค้า
ของไทย โดยคนเวียดนามมีพฤติกรรมนิยมดืม่ ชาเหมือนกับชาวจีน ซึง่ ถือเป็นโอกาสทีผ่ ลิตภัณฑ์บวั บกทีน่ ำ� มาแปรรูป
เป็นชาและเป็นผลิตภัณฑ์เป้าหมายในครั้งนี้ และเมื่อพิจารณาจากการส่งออกชาของไทย พบว่า เวียดนามเป็นตลาด
ส่งออกหลักของไทย ในปี 2559 ไทยส่งออกชาไปยังเวียดนามคิดเป็นมูลค่า 931,511 ดอลลาร์สหรัฐฯ และขยายตัว
เฉลีย่ ตัง้ แต่ปี 2555-2559 ร้อยละ 1,324.99 ซึง่ ถือเป็นอัตราการขยายตัวทีส่ งู ทีส่ ดุ ในบรรดาคูค่ า้ ชาของไทย เวียดนาม

2.4 กระชายด�ำ
สถานการณ์การค้าในจีน สถานการณ์การค้าในประเทศเป้าหมายของกระชายด�ำ จ�ำแนกตามตลาดหลัก
คือ จีน และตลาดรอง คือ เวียดนาม พบว่า จีนมีการน�ำเข้ากระชายด�ำจากประเทศไทยบ้างแต่เป็นส่วนน้อยมาก
กระชายด�ำที่จีนต้องการ คือ มีสีด�ำสนิท โดยน�ำเข้าในรูปของสารสกัดและอบแห้ง เพื่อน�ำไปเป็นส่วนประกอบของ
การผลิตสมุนไพร ส�ำหรับเวียดนามก็เช่นกัน อาจมีการน�ำเข้าบ้างแต่ยิ่งมีสัดส่วนที่น้อยมาก และไม่ได้มีสม�่ำเสมอ
ส�ำหรับคูแ่ ข่งของผลิตภัณฑ์กระชายด�ำไทยในจีน ไม่ใช่คแู่ ข่งทีส่ ง่ ออกผลิตภัณฑ์กระชายด�ำโดยตรง แต่เป็น
คูแ่ ข่งโดยอ้อมจากสมุนไพรน�ำเข้าประเภทอืน่ รวมไปถึงการแข่งขันจากการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศของ
จีนเองด้วย เนือ่ งจากจีนเป็นประเทศทีม่ กี ารปลูกพืชสมุนไพรหลากหลายชนิดและมีการพัฒนาศักยภาพสินค้าสมุนไพร
ที่ขึ้นชื่อในโลก อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการน�ำเข้าสมุนไพรของจีน ในปี 2559 จีนน�ำเข้าสมุนไพรจาก
ไทยเป็นอันดับที่ 9 ใกล้เคียงกับเกาหลีที่อยู่ในอันดับที่ 8 แต่กระนั้น ยังมีมูลค่าห่างไกลมากกับสหรัฐอเมริกาที่อยู่ใน
ล�ำดับที่ 1 เมือ่ กล่าวเฉพาะคูแ่ ข่งในกลุม่ อาเซียนด้วยกันพบว่ายังมีมลู ค่าสูงกว่าอินโดนีเซียและเวียดนามอยูพ่ อสมควร
เช่นเดียวกันกับคู่แข่งของผลิตภัณฑ์กระชายด�ำไทยในเวียดนาม ซึ่งไม่ใช่คู่แข่งโดยตรง แต่เป็นผลิตภัณฑ์
สมุนไพรน�ำเข้าประเภทอืน่ เมือ่ พิจารณาจากมูลค่าการน�ำเข้าสมุนไพรของเวียดนามในปี 2559 มีการน�ำเข้าสมุนไพร
จากไทยเป็นอันดับที่ 5 และยังมีมูลค่าห่างไกลมากกับจีนที่อยู่ในล�ำดับที่ 1 และอินเดียที่อยู่ในล�ำดับที่ 2 กล่าว
เฉพาะคู่แข่งในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน พบว่ามีคู่แข่งคือสิงคโปร์ที่อยู่ในล�ำหับที่ 6 และอินโดนีเซียที่อยู่ในล�ำดับที่ 7
รสนิยมและแนวโน้มของผู้บริโภคในจีน ด้วยสมญานามของกระชายด�ำ คือ ไวอากร้าธรรมชาติ และ
กระชายด�ำไทยมีชื่อเสียงโดดเด่นระดับโลก ยากจะหากระชายด�ำจากประเทศอื่นเสมอเสมือน คุณสมบัตินี้ของ
กระชายด�ำ จึงค่อนข้างดึงดูดใจผู้บริโภคในประเทศจีน ซึ่งมีรสนิยมและแนวโน้มในการบริโภคอาหารที่ให้พลัง

Position-5.indd 7 9/13/19 16:05


8 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ทางเพศสูง อย่างไรก็ตาม ชาวจีนมีพฤติกรรมในการซื้อสินค้าสมุนไพรจากความคุ้นเคย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จาก


การให้ทดลองชิมรส
โดยแท้จริงแล้ว เครื่องดื่มสมุนไพรบ�ำรุงสุขภาพเป็นสินค้าไทยอีกชนิดหนึ่งที่ชาวจีนนิยม อย่างไรก็ตาม
ผลตอบรับที่ดีต้องมาจากการได้ชิมรสชาติ เช่น ในกรณีของกาแฟกระชายด�ำ มีรสชาติที่ดี หากมีโอกาสในการ
เข้าร่วมงานแสดงสินค้าต่าง ๆ ต้องเน้นการให้ชิมฟรีโดยไม่เสียดาย เพราะผู้บริโภคชาวจีนนั้นเมื่อชิมแล้วถูกใจก็
จะเหมาซื้อกันไปคนละหลาย ๆ กล่อง หรือกรณีของรสชาติเครื่องดื่มที่เป็น functional drink ของกระชายด�ำ
ควรตอบโจทย์ดา้ นรสชาติของผูบ้ ริโภคในประเทศจีนได้อย่างลงตัว คนจีนไม่ชอบเครือ่ งดืม่ ทีม่ รี สหวาน ในขณะทีก่ าร
ดับความฝาดของสมุนไพรกระชายด�ำนัน้ ต้องอาศัยการใส่นำ�้ ตาลไม่วา่ จะเป็นกลูโคสหรือฟรุกโตสก็ตาม หากมีรสชาติ
ที่หวานเกินไปชาวจีนจะไม่นิยม เมื่อได้มีการทดลองชิมสินค้าแล้วไม่ถูกใจอันมาจากความไม่คุ้นเคย และจะไม่เรียก
หาสินค้านั้น ๆ อีก ซึ่งก็อาจหมดโอกาสทางการตลาดต่อไป โดยสรุปแล้วผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกระชายด�ำต้องไม่เผ็ด
และไม่หวานจัดจึงจะถูกจริตผู้บริโภคชาวจีน แต่ถ้ารสชาติพอดี คือ ไม่หวานและไม่เผ็ดเกินไปจะท�ำให้ดื่มง่าย
คล่องคอ อีกทั้งราคาถูกลงได้เพราะไม่ต้องใส่น�้ำตาล ลูกค้าเองก็ตัดสินใจซื้อได้ง่ายในราคาที่ไม่สูงนัก ประกอบกับ
การท�ำบรรจุภัณฑ์ให้ดูดี น่าซื้อและมีความสะดวกต่อการบริโภคในชีวิตประจ�ำวันที่เร่งรีบ หรือสามารถซื้อเพื่อเป็น
ของฝากญาติมิตรได้ดี ก็จะตอบโจทย์รสนิยมและแนวโน้มของผู้บริโภคในประเทศจีนได้
ส�ำหรับเครื่องดื่มกระชายด�ำที่มีแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์กระชายด�ำ มีรสชาติที่ตรงตามรสนิยมการบริโภค
ของคนจีน เพราะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีรสชาติไม่แรง คือ มีรสไม่เข้มมากเกินไป โดยคนจีนมีนิสัยนั่งคุยไปดื่ม
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไป อย่างไรก็ตามรสชาติที่แตกต่างสามารถสร้างจุดขายได้ แต่ก็ต้องกลมกลืนกับรสนิยมคอ
นักดื่มชาวจีนด้วย
รสนิยมและแนวโน้มของผู้บริโภคในเวียดนาม พฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อสินค้าของชาวเวียดนาม
มีความแตกต่างกันไปในแต่ละพืน้ ทีข่ องประเทศ เช่น เวียดนามตอนใต้พจิ ารณาราคาสินค้าเป็นส�ำคัญ ขณะทีเ่ วียดนาม
ตอนกลางให้ความส�ำคัญกับคุณภาพสินค้า ส่วนเวียดนามตอนเหนือค่อนข้างระวังเรื่องค่าใช้จ่ายโดยพิจารณาถึง
ประโยชน์ใช้สอยและความคงทนเป็นส�ำคัญ
ปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวเวียดนามมีรสนิยมการบริโภคที่เปลี่ยนไป แนวโน้มการบริโภค คือ มีความต้องการ
สินค้าระดับกลางถึงบนมากขึ้น นอกจากนี้ กลุ่มวัยแรงงานของเวียดนามค่อนข้างอ่อนไหวต่อกระแสความนิยมใน
ตลาดโลก ในกรณีของอาหารเพื่อสุขภาพดังเช่นสมุนไพรนั้น ผู้บริโภคเพศชาย สนใจมองหาผลิตภัณฑ์ที่ดื่มแล้วช่วย
ให้ร่างกายแข็งแรง ลดอาการร้อนใน ให้พลังงาน และผลิตภัณฑ์ที่สร้างภาพลักษณะความเป็นชาย ซึ่งผลิตภัณฑ์
สมุนไพรกระชายด�ำจากไทยสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเพศชายในเวียดนามได้ด้วยคุณลักษณะ
ดังทีก่ ล่าว ส�ำหรับพฤติกรรมการบริโภคเครือ่ งดืม่ เพือ่ สุขภาพของเวียดนาม ยังนิยมบริโภคผลิตภัณฑ์ภายในประเทศทีม่ ี
ราคาถูกและมีคณ ุ ภาพทางสรรพคุณทีค่ อ่ นข้างต�ำ่ หากผูผ้ ลิตผลิตภัณฑ์กระชายด�ำไทยทีม่ รี าคาไม่สงู นักแต่มสี รรพคุณที่
โดดเด่น ดังเช่นเครือ่ งดืม่ ทีเ่ ป็น functional drink จะมองเห็นโอกาสตรงนี้ ก็นา่ สนใจหาทางเจาะตลาดซึง่ อาจเป็นในรูป
ส่งออกหรือการเข้าสู่ตลาดด้วยวิธีการอื่น เช่นสร้างการรับรู้ว่าเป็นสินค้าที่ต้องซื้อจากเมืองไทย
จากการที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่น่ารับประทานและมีคุณภาพดีกว่า และสามารถตอบโจทย์ด้านรสนิยมคน
เวียดนาม ผลิตภัณฑ์ชากระชายด�ำจัดได้ว่าเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในตลาดเวียดนาม เนื่องจากมีลักษณะตรงตาม
รสนิยมของคนเวียดนามที่นิยมดื่มน�้ำชากับน�้ำแข็ง ประกอบกับการเร่งสร้างการยอมรับและเพิ่มคุณค่าในเรื่องการ
บ�ำรุงสุขภาพและพละก�ำลังให้ประจักษ์ ส�ำหรับตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรของเวียดนามนั้น ผลิตภัณฑ์
ที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดประมาณ ร้อยละ 30 คือ โสมเกาหลี ดังนั้นถ้าคนเวียดนามได้ตระหนักว่ากระชายด�ำ
ของไทยมีคุณภาพเทียบเท่าโสมเกาหลี ผ่านการประชาสัมพันธ์ในเรื่องนี้ ก็มีแนวโน้มในการเข้าสู่ตลาดเวียดนามได้

Position-5.indd 8 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 9

2.5 ข้อเสนอแนะในการน�ำผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่ตลาดจีน
(1) ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยควรมีพื้นที่วางขายให้ท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาเที่ยวเมืองไทยได้เห็นและได้ทดลอง
ใช้ตามร้านค้าต่าง ๆ ในเมืองไทย
(2) ไทยควรมีตลาดนัด แผ่นเห็ด สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อให้เกิดการพบกันระหว่างผู้ซื้อและ
ผู้ขายทุกระดับ แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ต้องสร้างความมั่นใจให้เกิดกับผู้ใช้คนไทยก่อนว่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยใช้แล้ว
ดีจริง
(3) ไทยควรมีการเจรจากับจีนเรื่องการเปิดตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยในตลาดจีน เพราะปัจจุบันยาจีน
เข้ามาขายในไทยเยอะมาก แต่ในขณะที่ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของไทยไม่สามารถเข้าไปขายในประเทศจีนได้เนื่องจาก
ติดปัญหาเรื่องกฎระเบียบที่เข้มงวดมากของจีน
(4) หากไทยต้องการยกระดับอุตสาหกรรมสมุนไพรเพื่อสร้างมูลค่าให้เพิ่มขึ้นนั้นต้องปรับโครงสร้าง
การผลิตทั้งระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภค โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับคือ ระดับตลาดสมุนไพร
ทีม่ กี ารซือ้ ขายกันทุกวัน เช่น ตลาดสมุนไพร Qingping ทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในกว่างโจว ระดับร้านค้าตามท้องถนนทีผ่ บู้ ริโภค
สามารถหาซื้อและดื่มกินบ�ำรุงสุขภาพได้เลย เช่น กรณีร้านขายชื่อว่า “Liang Cha” ในกว่างโจว ระดับร้าน
ยาสมุนไพรไทยที่ขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรหลากหลายมาก ระดับห้างสรรพสินค้าที่สามารถสู้กับแบรนด์ดัง ร้านขาย
เครื่องดื่มสมุนไพร
(5) ในโรงพยาบาลต้องสนับสนุนให้มีการใช้ยาสมุนไพรให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน เหมือนกับที่จีน
ท�ำในขณะนี้ที่มีโรงพยาบาลรักษาด้วยยาสมุนไพร และโรงพยาบาลที่มีการรักษาทั้งแผนปัจจุบันและสมุนไพร
(6) ตัง้ มหาวิทยาลัยแพทย์แผนไทยเพือ่ ผลิตบุคคลกรทีเ่ ชีย่ วชาญเกีย่ วกับสมุนไพรไทยเหมือนมหาวิทยาลัย
“Guangzhou University of Chinese Medicine” ของจีน
(7) ติดต่อเว็บไซต์จนี ทีข่ ายสินค้าเฉพาะ เช่น เว็บไซต์อาหาร ได้แก่ www.yhd.com และ www.jmall.com
ส่วนเครื่องส�ำอางและเสื้อผ้า คือ www.vip.com, www.lefeng.com, www.jumei.com และ www.jd.com
(8) เอาร้านสปาไทยในจีนเป็นตัวน�ำเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคจีนมีโอกาสได้เห็นและทดสอบใช้ผลิตภัณฑ์
สมุนไพรไทย ตั้งศูนย์หรือสถาบันฝึกอบรมเทอราปิส (Therapist: หมอนวดแผนโบราณ) ในประเทศจีน
(9) เจรจาจีนให้อนุญาตเทอราปิสเข้ามาท�ำงานในจีน (ปัจจุบันไม่อนุญาตให้ท�ำ)
(10) ตั้งศูนย์หรือสถาบันฝึกอบรมเทอราปิส (Therapist: หมอนวดแผนโบราณ) ในจีน
(11) การน�ำเข้าสมุนไพรในจีน ต้องเน้นสินค้าที่มีความแตกต่าง แปลกใหม่ จะมีโอกาสสูง
(12) สินค้าประเภทเครื่องส�ำอางที่จะน�ำเข้ามาขายในจีน ห้ามโฆษณาสรรพคุณเกินจริง
(13) จะระบุว่าขาวขึ้น แก้สิว แก้ฝ้าไม่ได้ แต่ระบุส่วนประกอบ ระบุสิ่งที่ได้รับได้ เช่น วิตามิน A B C

Position-5.indd 9 9/13/19 16:05


10 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

3. ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเมียนมาร์
3.1 การพัฒนาสมุนไพรเมียนมาร์
รัฐบาลเมียนมาร์ก�ำลังผลักดันสมุนไพรเพื่อสร้างรายได้จากต่างประเทศที่น่าสนใจมาก การแพทย์
แผนโบราณของเมียนมาร์ มีมาตัง้ แต่ยคุ สมัยอาณานิคม (1885) โดยมีพนื้ ฐานมาจาก 2 ความคิด คือ พุทธศาสนากับ
อายุรเวดะ (Ayurvedic Concept) แบ่งเป็น 4 ระบบ คือ The Desana system อาศัยหลักพุทธศาสนาใน
การอบรมสั่งสอน ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ความร้อนและความเย็น The Bhesijja system ใช้หลักการ
แพทย์อายุรเวทของอินเดีย The Netkhatta system เป็นการแพทย์แบบโหราศาสตร์ ระบบจักรวาล เวลาของ
การเกิดและอายุและ The Vijjadhara system เป็นระบบการแพทย์เกี่ยวกับภาวะทางจิตบ�ำบัด และฝึกสมาธิ
ส่วนประเทศไทยมีการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์แผนจีน
ในขณะที่ระบบการแพทย์โบราณของอินเดียมี 5 ระบบ อายุรเวท (Ayurveda มาจากภาษาสันสกฤต
ayur คือ ชีวิต veda คือ ความรู้) สิทธา ยูนานิ โยคะ และ โฮมีโอพาธีย์ และที่ส�ำคัญอินเดียเป็นประเทศที่
มีพืชสมุนไพรที่ขึ้นทะเบียนมากที่สุดในโลกถึง 250,000 ชนิด โดยมีการใช้สมุนไพรในอายุรเวท 2,000 ชนิด
สิทธา 1,300 ชนิด ยูนานิ 1,000 ชนิดและ โฮมีโอพาธีย์ 800 ชนิด (ข้อมูลบางแหล่งบอกว่าอายุรเวทอินเดียเกิดเมื่อ
2,200 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ 2nd Century B.C. แต่ข้อมูล University of Cambodia 2014 บอกว่าเกิดมา 5,000 ปี
แล้ว) อินเดียมีการใช้สูตรต�ำรับยาเพื่อรักษาโรคมากถึง 25,000 สูตร (ที่มา: Evidence-Based Complementary
and Alternative Medicine Volume 2013) จีนใช้แพทย์แผนโบราณว่า “Traditional Chinese Medicine:
TCM สมัย Huang Di Nei Jing หมอโบราณของจีน ในปี 475 B.C. หรือ 2,491 ปีมาแล้ว ต่อมาเรียกว่า
Yin-Yang สปป.ลาวเรียกการแพทย์แผนโบราณว่า “ยาภูมิเมืองลาว (Ya Phurn Meuang Lao)” มีพื้นฐานมา
จากพุทธศาสนาและอินเดีย
ในขณะทีก่ ารแพทย์โบราณของกัมพูชาเริม่ มาตัง้ แต่สมันยุคอังกอร์ (Angkor Era, 800-1431 A.D.) 1,200 ปี
เรียกว่า “Kru Khmer” มีอิทธิพลมาจากจีนและอินเดีย ประเทศไทยมีพืชสมุนไพร 800-1,500 ชนิด ในขณะที่พืช
สมุนไพรของเมียนมาร์ที่รวบรวมโดย กระทรวงสาธารณสุขมี 59 ชนิด ได้แก่ ส้มป่อย หอมหัวใหญ่ ว่านหางจระเข้
ข่า ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร น้อยหน่า หมาก มะเฟือง และสะเดา เป็นต้น

3.2 การค้าสมุนไพรเมียนมาร์
ตั้งแต่ปี 2553-2559 ส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปีจนไปถึง 400 ล้านบาทสูงกว่าการส่งออกขมิ้นชันของไทยอยู่
ที่ 13 ล้านบาท ปี 2559 บริษัท “Shinihonseiyaku” ที่ผลิตเครื่องส�ำอาง อาหารสุขภาพและยาของญี่ปุ่นได้มา
เช่าพื้นที่ปลูกสมุนไพรที่เมืองผาอัน (Hpa-An) เมืองเอกของรัฐกะเหรี่ยง (Kayin State) และเมือง Pin O Lwin
เพื่อลดการน�ำเข้าสมุนไพรจากจีนรวม 30 ชนิด ได้แก่ ขิง และอบเชย เป็นต้น คาดว่าจะส่งออกไปญี่ปุ่นปีละ
2,000 ตัน นอกจากสมุนไพรเมียนมาร์ ถูกผลักดันจากรัฐบาลแล้ว ปกติเราจะรู้สึกผลิตภัณฑ์สมุนไพรของเมียนมาร์
คือ “Tanaka” แต่แรงผลักส�ำคัญที่ท�ำให้อุตสาหกรรมสมุนไพรเมียนมาร์ไปสู่ตลาดโลก คือ บริษัท FAME
Pharmaceuticals Industry ตั้งโดย Dr.Khin Maung Lwin ตั้งมา 23 ปีที่แล้ว เป็นบริษัทผลิตภัณฑ์สมุนไพร
แห่งแรกและแห่งเดียวของเมียนมาร์ที่ได้มาตรฐานตั้งแต่การปลูกและผลิตภัณฑ์ ในระดับการปลูกนั้นผ่าน FAME
Organic Pham ที่ตั้งอยู่ที่เมือง Pin O Lwin เขตมัณฑะเลย์ ซึ่งได้มาตรฐาน USDA Organic, IFOAM, Organic
Myanmar และ Australia Certificate Organic

Position-5.indd 10 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 11

นอกจากนี้ยังมีพืชสมุนไพรที่ไม่เป็นออร์แกนิกอีกด้วย ส่วนระดับการแปรรูปเป็นโรงงานที่ผลิตภัณฑ์ก็ได้
มาตรฐานมากมาย เช่น ISO, GMP, Solar Cell Award เป็นต้น ตั้งที่เขตอุตสาหกรรม “Hlaing Tha Yar” เป็น
อุตสาหกรรมทีใ่ หญ่และเก่าแก่ทสี่ ดุ ของเมียนมาร์ เพราะมีพนื้ ทีม่ ากทีส่ ดุ จ�ำนวน 4,000 ไร่ โดยเป็นพืน้ ทีอ่ ตุ สาหกรรม
2,717 ไร่ และยังเป็นเขตอุตสาหกรรมให้ยคุ แรกทีไ่ ด้กอ่ สร้างขึน้ เมือ่ ปี 1995 ปัจจุบนั มีโรงงาน 600 โรงงาน ส่วนใหญ่
เป็นโรงงานเสือ้ ผ้า อาหาร และสินค้าอุปโภคบริโภค มีจา้ งคนงานทัง้ หมด 60,000 คน และห่างจากตัวใจกลางสนามบิน
ย่างกุ้ง 15 กิโลเมตร บริษัท FAME ส่งออก สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และก�ำลังส่งออกไปสหรัฐฯ
เพราะผ่านมาตรฐาน FDA ของสหรัฐฯ แล้ว นอกจากนี้ยังมี FAME Clinic คลินิกรักษาผสมผสานระหว่างสมัยใหม่
กับแผนแพทย์โบราณ และมี Organic Tour Program เพื่อพาไปชมการจัดการสวน พืชสมุนไพร ค่าเข้าชมคนละ
5,000 จัต หรือ 120 บาท ส�ำหรับผลิตภัณฑ์มีหลากหลายและมากมายและ บอกสรรพคุณชัดเจนว่าแก้อะไร เช่น
ต่อต้านโรคมะเร็ง เบาหวาน ความดัน บ�ำรุงกระดูก สมอง ตา ช่วยย่อยอาหาร และครีมรักษาผิว เป็นต้น

3.3 นโยบายและการพัฒนาสมุนไพรเมียนมาร์ ปัจจุบันรัฐบาลเมียนมาร์ได้ท�ำ


(1) โรงพยาบาลแพทย์แผนโบราณ 14 แห่ง ส่วนใหญ่ตั้งในย่างกุ้ง 43 คลินิกแพทย์โบราณระดับอ�ำเภอ
194 คลินิกระดับเมือง
(2) มีก ารตั้งหน่วยงานส่งเสริม แพทย์ ท างเลื อ ก (Traditional Medicine Promotion Office)
ในปี 1953 สังกัด ก.สาธารณสุข
(3) ตั้งระดับหน่วยงานบริหารแพทย์โบราณระดับประเทศ เขต อ�ำเภอ และเมือง
(4) หน่วยงานพัฒนาบุคคลกรด้านแพทย์ทางเลือก ตั้งสถาบันแพทย์ทางเลือก ผลิตปีละ 100 คน
และตั้งมหาวิทยาลัยแพทย์แผนโบราณที่ มัณฑะเลย์ เมื่อ 19 ธ.ค. 2544 ผลิตบัณฑิตปีละ 250 คน ดีกรี Bachelor
of Myanmar Traditional Medicine (BMTM)

4. อุตสาหกรรมสมุนไพรอินเดีย
4.1 อินเดียต้นต�ำรับสมุนไพร
อินเดียก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพรที่หลากหลายและยาวนานพอ ๆ กับจีน
เลยทีเดียว และอินเดียก็เป็นประเทศที่มีการใช้แพทย์ทางเลือก (Alternative Medicine) ในการรักษาโรคอย่าง
กว้างขวาง ซึ่งก็มีมานานหลายพันปี ได้แก่ การแพทย์อายุรเวท (Ayurveda Medicine) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ
อินเดีย การแพทย์สิทธา (Siddha Medicine) อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ รวมทั้งการแพทย์ที่ได้รับมาจาก
ต่างประเทศ เช่น Unani medicine ที่เป็นของชาวมุสลิม และโฮมีโอพาธีย์ (Homeopathy) ที่ก�ำเนิดมาจาก
ประเทศเยอรมัน และโยคะ เป็นต้น และที่ส�ำคัญอินเดียเป็นประเทศที่มีพืชสมุนไพรที่ขึ้นทะเบียนมากที่สุดในโลก
ถึง 250,000 ชนิด โดยมีการใช้สมุนไพรในอายุรเวท 2,000 ชนิด สิทธา 1,300 ชนิด อูนานิ 1,000 ชนิด และ
โฮมีโอพาธีย์ 800 ชนิด และอินเดียมีการใช้สตู รต�ำรับยาเพือ่ รักษาโรคมากถึง 25,000 สูตร (ทีม่ า: Evidence-Based
Complementary and Alternative Medicine Volume 2013)
เหตุผลดังกล่าวท�ำให้อุตสาหกรรมสมุนไพรอินเดีย จึงได้รับความนิยมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
อินเดียปลูกสมุนไพรมากบริเวณเทือกเขาหิมาลัย (Himalayas) โดยเฉพาะรัฐอุตตราขัณฑ์ (Uttaranchal) ที่ถูกวาง
ให้เป็น “รัฐสมุนไพรของอินเดีย (Herb State)” เพราะมีสถาบันพัฒนาและวิจัยสมุนไพร (The Herbal Research

Position-5.indd 11 9/13/19 16:05


12 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

and Development Institute; HRDI) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาล ที่มีเกษตรกรเป็นสมาชิก 20,000 คน และ


สนับสนุนด้านต้นทุนการผลิต 50% รวมทั้งปัจจัยการผลิต นอกจากนี้ยังปลูกในรัฐต่าง ๆ เช่น Gujarat, Rajasthan,
Maharashtra, Madhya Pradesh และ Assam และ Tamil Nadu ซึ่งมีสมุนไพรส�ำคัญ ได้แก่ กะเพรา (Holy
Basil) ขมิ้นชัน (Turmeric) ใบกระวาน (Bay Leaf) ผักชี (Coriander) ลูกซัด (Methi) กระเทียม (garlic) พืช
จ�ำพวกสะระแหน่ (Mint) ขิง (Ginger) ต้นสมุย หมุย หรือใบแกง (Curry Leaf Tree) ซินนามอน (Cinnamon)
นอกจากนี้ยังปลูกในรัฐอรุณาจัลประเทศ (Arunachal Pradesh) ได้แก่ สมุนไพร โกฐ (Picrorhiza Kurroa) และ
ระย่อมน้อย (Rauvalfia Serpentina) รัฐหิมาจัลประเทศ (Himachal Pradesh) ได้แก่สมุนไพร ว่านน�้ำ (Acorus
Calamus) และตังกุย (Angelica Glauca) และรัฐเมฆกัลยา (Meghalaya) ได้แก่ สมุนไพรควินิน (Cinchona
Ledgeriana) และ มะแว้งนก (Solanum Khasianum)

4.2 การค้าสมุนไพรอินเดีย
ในปี 2559 อินเดียน�ำเข้าสมุนไพรจากออสเตรเลียสัดส่วน ร้อยละ 23.7 เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 10.5
และอัฟกานิสถาน ร้อยละ 9.1 ตามล�ำดับ น�ำเข้าจากไทย 45,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 0.06 ส่วนสารสกัด
จากสมุนไพร ปี 2559 อินเดียน�ำเข้าจากจีนคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 25.3 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 22.5 และบราซิล
ร้อยละ 12.5 ตามล�ำดับ ส่วนไทยน�ำเข้าเพียง 66,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็น ร้อยละ 0.09 ของมูลค่าการ
น�ำเข้าสารสกัดของอินเดียจากทั่วโลก ส่วนการส่งออกนั้นอินเดียส่งออกสมุนไพรมูลค่า 270.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 9.1 (เพิ่มขึ้นจากปี 2012 ร้อยละ 37.1) โดยส่งออกไปยังประเทศ สหรัฐอเมริกา เยอรมัน
และปากีสถาน ตามล�ำดับ ส่วนไทยสัดส่วนร้อยละ 0.9
ในขณะที่สารสกัดจากสมุนไพรอินเดียส่งออกไปทั่วโลกเป็นอันดับที่ 2 รองจากจีนเช่นกัน โดยส่งออกไป
สหรัฐอเมริกามากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 47.7 จีน ร้อยละ 9.5 และเยอรมันนี ร้อยละ 4.8 ตามล�ำดับ ส่วนไทย
อยู่ล�ำดับที่ 21 คิดเป็น ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าการส่งออกสารสกัดของอินเดียไปทั่วโลก บริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์
สมุนไพรมี 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มยอดขายเกิน 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ได้แก่ บริษัท Biotique,
บริษัท Himalaya Drug Company, บริษัท Shahnaz Hussain, และบริษัท VLCC กลุ่มที่ 2 มียอดขายอยู่
ระหว่าง 10-80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี โดยผลิตและจ�ำหน่ายสินค้าเครือ่ งส�ำอางธรรมชาติระดับกลางถึงระดับสูง
จ�ำหน่ายผ่านสปาและร้านเสริมสวย ได้แก่ บริษัท Lotus, บริษัท Blossom Kochhar, บริษัท Fab India,
บริษัท Forest Essentials, บริษัท The Body Shop เป็นต้น และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มบริษัทขนาดเล็ก มียอดขาย
ต�่ำกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี เป็นผู้ผลิตรายเล็กแต่ส่วนใหญ่จะเป็นผู้น�ำเข้า มีอยู่ 40 บริษัท ตลาด
สหภาพยุโรปได้กลายเป็นตลาดส่งออกส�ำคัญของอินเดีย เพราะเป็นตลาดที่ผู้บริโภคให้ความส�ำคัญกับผลิตภัณฑ์
จากธรรมชาติมากที่สุด โดยบริษัท Shanaz กับบริษัท Himalaya เป็น 2 บริษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด
ในการส่ ง ออกจากอิ น เดี ย ส่ ว นสิ น ค้ า เครื่ อ งส� ำ อางธรรมชาติ ข องอิ น เดี ย ที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มมากที่ สุ ด คื อ
เครื่องส�ำอางที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผิวพรรณหรือที่เราเรียกว่า “Skin Care” ทั้งนี้ ในด้านการจัดจ�ำหน่าย
ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 80 เป็นการจัดจ�ำหน่ายโดยผ่านช่องทางค้าปลีก ส่วนที่เหลือเป็นการจัดจ�ำหน่ายในระบบ
ขายตรงถึงผู้บริโภค

Position-5.indd 12 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 13

อุตสาหกรรมสารสกัดสมุนไพรสู่ตลาดโลก

ดร.บังอร เกียรติธนากร
บริษัท อุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย-จีน จ�ำกัด (TCFF)

1. ความเป็นมา หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุด 8 อันดับแรกของโลก
รองจากประเทศเอกวาดอร์และอินโดนีเซีย ประเทศไทยมีพืชสมุนไพรที่นามาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ประมาณ
1,800 ชนิด (species) หรือประมาณ 10% ของโลก
แนวโน้มการตลาดของผลิตภัณฑ์สมุนไพร
สภาพการณ์ปัจจุบัน
• มีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ ผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย
• มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการรักษาคุณสมบัติและคุณลักษณะเฉพาะของสมุนไพรไว้
• ปรับปรุงรูปแบบให้มีความหลากหลายและเหมาะสมกับการบริโภคสมัยใหม่มากขึ้น
• มูลค่าอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพิ่มขึ้น 13% ในปี 2559 โดยมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า
39.2 พันล้านบาท
การคาดการณ์แนวโน้ม
• ตระหนักรู้ถึงประโยชน์เพิ่มขึ้น
• ใช้อย่างแพร่หลายในประเทศ
• ให้ความสนใจผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติมากขึ้น
• มูลค่าทางการตลาดเพิ่มขึ้น 8% ต่อปี
กระแสเสริมสุขภาพ
• กระแสสุขภาพ (Health Conscious)
• โครงสร้างประชากรโลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
• พฤติกรรมการบริโภคที่มากเกินต้องการและอาหารที่อร่อยมักไม่ดีต่อสุขภาพ
• วิถีชีวิตที่เป็นไปด้วยความเร่งรีบท�ำให้ต้องการความสะดวกในการบริโภคและอุปโภค
• มลภาวะจากสิ่งแวดล้อมส่งผลให้ร่างกายมนุษย์ได้รับสารพิษมากขึ้น
• ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ท�ำให้ค้นพบว่าอาหารเครื่องส�ำอางสามารถป้องกันโรค ชะลอวัยหรือลด
ความเสี่ยงจากการเกิดโรคได้

Position-5.indd 13 9/13/19 16:05


14 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

อุตสาหกรรมสมุนไพรในปัจจุบัน
1. วัตถุดิบ 5. ยา
2. สารสกัด 6. การเกษตร
3. เครื่องส�ำอาง 7. ผลิตภัณฑ์สัตว์
4. อาหารและอาหารเสริม 8. สปา
การแปรรูปสมุนไพร
1. น�้ำมันหอมระเหย ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องส�ำอางและสปา
2. สมุนไพรบดผง ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารส�ำเร็จรูปและยา
3. สารสกัด ได้แก่ อุตสาหกรรมเสริมอาหารและเครื่องส�ำอาง
การสร้างมูลค่าเพิ่มสามารถท�ำได้ในหลายอุตสาหกรรม โดยประเทศไทยมีเกษตรกร 12,028 ราย
พบว่ามีโรงงานแปรรูปเบื้องต้น 158 โรงงาน และโรงงานระดับอุตสาหกรรม 9 โรงงาน
มูลค่าทางการตลาด ของตลาดเครื่องส�ำอางมีมูลค่า 2,000 ล้านบาท โดยมีผู้ผลิต 303 ราย วิสาหกิจ
ชุมชน 522 ราย และไม่เข้าข่าย จ�ำนวน 1,000 ราย ตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 80,000 ล้านบาท ซึ่งมีผู้ผลิต
21 ราย และยาสมุนไพร 4,731 ล้านบาท ผู้ผลิต 21 ราย
การน�ำเข้าสมุนไพรทั่วโลก พบว่า มีหลาย ๆ ประเทศน�ำเข้าสมุนไพรจากนอก อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา
น�ำเข้าสมุนไพรจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ อินเดียและเม็กซิโกตามล�ำดับ โดย
ประเทศไทยส่งออกให้กับสหรัฐอเมริกาเป็นอับดับที่ 51 ประเทศญี่ปุ่น น�ำเข้าสมุนไพรจากสาธารณรัฐประชาชนจีน
เป็นอันดับหนึ่ง รองมาเป็นสหรัฐอเมริกา และอินเดีย ตามล�ำดับ ดังจะเห็นได้ว่า สหรัฐอเมริกา น�ำเข้าสมุนไพรเป็น
อันหนึ่งของโลก แต่ก็ส่งออกสมุนไพรให้กับประเทศต่าง ๆ ติดหนึ่งในสามอันดับแรกของประเทศที่น�ำเข้าสมุนไพรใน
ปริมาณมากทั้งสิ้น
ข้อมูลการน�ำเข้าสมุนไพรของโลก

ภาพที่ 1.2 สามอันดับแรกของประเทศที่น�ำเข้าสมุนไพรในปริมาณมากระดับโลก, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

Position-5.indd 14 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 15

ในขณะที่ประเทศที่สามารถส่งออกสมุนไพรเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน


สหรัฐอเมริกา อินเดีย เยอรมัน และฝรั่งเศส ตามล�ำดับ
ประเทศไทยน�ำเข้าสมุนไพรจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ บราซิล อินเดีย
สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ตามล�ำดับ ในขณะที่ส่งออกสมุนไพรให้กับประเทศญี่ปุ่นเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ
สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง เวียดนาม และเกาหลีใต้ ตามล�ำดับ
ตลาดอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสมุนไพรของประเทศไทยส่วนมากจะเป็นการส่งออกวัตถุดิบ ซึ่งมีมูลค่า
ทางเศรษฐกิจต�่ำ ในขณะที่ประเทศที่น�ำเข้าสมุนไพรจากประเทศไทยได้น�ำสมุนไพรไปแปรรูป เป็นสารสกัดเพิ่ม
มูลค่าแล้วส่งกลับมาขายให้กับประเทศไทย ตัวอย่างสมุนไพรที่ต่างประเทศรับซื้อ เช่น บุก ประเทศไทยส่งบุกให้
กับประเทศญี่ปุ่นปีละหลายล้านบาท ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นส่งสารสกัด Glucomannan ที่สกัดได้จากบุกกลับมา
ขายให้กับประเทศไทยมีมูลค่าหลายร้อยล้านบาท ส่วนหนึ่งเนื่องจากประเทศไทย ยังขาดเทคโนโลยีการสกัด ซึ่งยัง
ตามประเทศอื่น ๆ อยู่มาก

ภาพที่ 1.3 ข้อมูลมูลค่าการน�ำเข้าและส่งออกจากพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized System)

Position-5.indd 15 9/13/19 16:05


16 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

2. นโยบายและมาตรการที่ด�ำเนินการปัจจุบัน
ข้อสัง่ การของนายกรัฐมนตรี ในแผนแม่บทสมุนไพร ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560-2564) “ให้กระทรวงสาธารณสุข
ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยงข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ พัฒนาพืชสมุนไพรให้สามารถใช้
ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรไทย”
รัฐบาลส่งเสริมการพัฒนาพืชสมุนไพร สนับสนุนให้เข้าสู่ระบบสุขภาพและระบบเศรษฐกิจ แบบครบวงจร
ในระดับจังหวัด มาตรการส�ำคัญ
1. พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบให้ได้คุณภาพมาตรฐาน Good Agricultural Practice (GAP)/Good
Agricultural and Collection Practices (GACP)/Organic
2. พัฒนาคุณภาพโรงงานผลิตยา/ผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐาน GMP
3. สนับสนุนงานวิจัยด้านสมุนไพร
4. ขยายช่องทางการตลาด
5. สร้างความเข้มแข็งก�ำลังคน/เครือข่าย
6. พัฒนาระบบฐานข้อมูลสมุนไพร
7. ผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพรในอนาคต ต้องวางแผนการพัฒนาให้ครอบคลุมกับผลิตภัณฑ์แต่ละ
ประเภท โดยอาจสามารถจัดได้เป็น 5 กลุ่ม คือ น�้ำหอม เภสัชภัณฑ์ อาหารเพื่อสุขภาพ สารชีวภัณฑ์ก�ำจัดแมลง
และอาหารสัตว์

ภาพที่ 1.4 การพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพรในอนาคต และสมุนไพรเป้าหมาย

Position-5.indd 16 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 17

3. การด�ำเนินการมาตรฐานสารสกัดในประเทศไทย
แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560-2564) ก�ำหนดให้มีการ
ส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพือ่ การรักษาโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ และเสริมสร้างพืน้ ฐานการพัฒนาการแพทย์แผนไทย
และสมุนไพรไทยให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพของประเทศในระยะยาว รัฐบาลได้ให้ความส�ำคัญของการพัฒนา
สมุนไพรไทยซึ่งเป็นภูมิปัญญาและทรัพยากรที่ส�ำคัญของประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการส่งเสริม และอนุรักษ์
ภูมิปัญญาและเพื่อพัฒนาการผลิตและการใช้สมุนไพรอย่างมีคุณภาพเต็มประสิทธิภาพและครบวงจร
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้ท�ำความร่วมมือกับส�ำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรม (สมอ.) จัดท�ำร่างมาตรฐานสารสกัดสมุนไพรและน�้ำมันหอมระเหยให้เป็นมาตรฐานกลาง เพื่อส่งเสริม
ให้เกิดการน�ำไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมต่อไป โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมผลิตผลของสมุนไพรไทยให้มี
ศักยภาพและได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาดทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ การก�ำหนดมาตรฐานสมุนไพร
จึงเป็นสิ่งส�ำคัญที่ต้องเร่งด�ำเนินการเพื่อพัฒนาสมุนไพรให้มีประสิทธิภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปจาก
สมุนไพรไทย โดยได้ด�ำเนินการจ�ำนวน 10 ชนิด ได้แก่
1. มาตรฐานสารสกัดขมิ้นชันผง ที่มีสารเคอร์คูมินอยด์รวมไม่น้อยกว่า 80% โดยมวล
2. มาตรฐานสารสกัดโอลีโอเรซินของขมิ้นชัน ที่มีสารเคอร์คูมินอยด์รวมไม่น้อยกว่า 20% โดยมวล
3. มาตรฐานสารสกัดฟ้าทะลายโจร
4. มาตรฐานน�้ำมันตะไคร้บ้าน
5. มาตรฐานน�้ำมันตะไคร้หอม
6. มาตรฐานน�้ำมันผิวมะกรูด
7. มาตรฐานน�้ำมันใบมะกรูด
8. มาตรฐานน�้ำมันดอกกานพลู
9. มาตรฐานน�้ำมันไพล
10. มาตรฐานน�้ำมันโหระพา

4. สภาพปัญหา/ข้อจ�ำกัดและโอกาสในการพัฒนา
4.1 สถานภาพปัญหา & ทางแก้: การผลิตสมุนไพรในประเทศ
ปัญหาด้านต้นน�้ำ
• ขาดแคลนพันธุ์ดี (ผลผลิตสูง/สารส�ำคัญมาก)
• ขาดแคลนหัวพันธุ์/ส่วนขยายพันธุ์
• ราคาหัวพันธุ์/ส่วนขยายพันธุ์ มีราคาสูง
• ผลผลิตต�่ำ
• คุณภาพผลผลิตไม่สม�่ำเสมอ
• ปริมาณสารออกฤทธิ์ต�่ำ
• การปนเปื้อนจุลินทรีย์/โลหะหนัก

Position-5.indd 17 9/13/19 16:05


18 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ปัญหาด้านกลางน�้ำ
• การสูญเสียในกระบวนการ เก็บเกี่ยว
• ปริมาณสารส�ำคัญไม่สม�่ำเสมอ/ต�่ำกว่ามาตรฐาน
• ขาดเทคโนโลยี องค์ความรู้ในการแปรรูป พัฒนากระบวนการผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่แข่งขันได้ในระดับ
โลก
ปัญหาด้านปลายน�้ำ
• ขาดข้อมูลวิทยาศาสตร์สนับสนุน การตรวจสอบคุณภาพและประสิทธิภาพของสมุนไพร แต่ละชนิด
• ขาดการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ
• ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน
การแก้ปัญหาด้านต้นน�้ำ
• การปรับปรุงพันธุ์ดี
• ขยายพันธุ์ดีด้วย tissue Culture
• ก�ำหนดเขตส่งเสริมการปลูก ที่เหมาะสม (G X E)
• ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่
• ส่งเสริมการปลูกด้วยระบบ GAP/โรงเรือน/Plant Factory
การแก้ปัญหาด้านกลางน�้ำ
• การเก็บเกี่ยวในระยะที่เหมาะสม
• วิธีการเก็บรักษาที่เหมาะสมเพื่อควบคุมคุณภาพให้สม�่ำเสมอ
การแก้ปัญหาด้านปลายน�้ำ
• จัดให้มีข้อมูลวิทยาศาสตร์ รองรับสรรพคุณของสมุนไพร
• ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์
• สร้างโรงงานกลาง เพื่อรับจ้างพัฒนานวัตกรรม/ผลิตผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน

บรรณานุกรม
คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภานิตบิ ญ ั ญัตแิ ห่งชาติ. ปัญหาของพืชสมุนไพร. [อินเตอร์เน็ต]. 2554 [5 มกราคม
62]; ที่มา: http://www.senate.go.th/ w3c/senate/pictures/comm/55/ปัญหาของพืชสมุนไพร.PDF.
Formula Botanica. Natural and Organic Beauty Market to reach $22bn by 2024. [อินเตอร์เน็ต]. 2560
[10 มกราคม 62]; ที่มา: https://formulabotanica.com/ global-organic-beauty-market-22bn-2024/

Position-5.indd 18 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 19

เมืองสมุนไพร: โอกาสและการพัฒนา

ดร.ภญ.มณฑกา ธีรชัยสกุล และคณะ


กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

1. ความเป็นมาและความส�ำคัญ
รัฐบาลให้ความส�ำคัญและก�ำหนดให้การพัฒนาสมุนไพรเป็นวาระแห่งชาติโดยเห็นชอบให้มีการพัฒนา
สมุนไพรอย่างครบวงจรตามแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย พ.ศ. 2560-2564 ฉบับที่ 1
พ.ศ. 2560-2564 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลักซึ่งในยุทธศาสตร์ที่ 4 ของแผนแม่บทฯ กล่าวถึง การสร้าง
ความเข้มแข็งของการบริหารและนโยบายของภาครัฐเพื่อการขับเคลื่อนสมุนไพรไทยอย่างยั่งยืน ได้ก�ำหนดให้การ
พัฒนาเมืองสมุนไพร (Herbal City) เป็น 1 ใน 6 มาตรการส�ำคัญและเปนการถ่ายทอดมาตรการและแผนงาน
จากแผนแม่บทแหงชาติฯ ลงไปสู่การพัฒนาในระดับภูมิภาค โดยมุ่งเนนใหเกิดการพัฒนาสมุนไพรอย่างครบวงจร
ตั้งแต่ตนทาง กลางทาง และปลายทาง ทั้งการปลูกสมุนไพร การแปรรูป และการท�ำเปนผลิตภัณฑที่สามารถ
น�ำไปใชประโยชนได้หลากหลาย สร้างมูลคาทางเศรษฐกิจ และสร้างการเติบโตของชุมชนอย่างยั่งยืนโดยอาศัยกลไก
ประชารัฐและความร่วมมือจากทุกภาคสวนอันเป็นกลไกส�ำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองสมุนไพร (Herbal
City) ในพื้นที่จังหวัด โดยคัดเลือกจังหวัดที่มีความพรอมเพื่อพัฒนาให้เป็นเมืองสมุนไพร (Herbal City) และ
สงเสริมการพัฒนาเมืองสมุนไพร (Herbal City) ใหเป็นบริบทของประเทศ ซึ่งในมาตรการตามแผนแม่บทฯ
เน้นการพัฒนาของจังหวัดที่/กลุ่มจังหวัดที่มีความพรอม ใหเป็นเมืองสมุนไพร (Herbal City) โดยเริ่มจากการ
พัฒนาระยะที่ 1 (ปี 2560) คือ การพัฒนา 4 จังหวัด น�ำร่องเป็นต้นแบบเมืองสมุนไพรทั้ง 4 ภูมิภาค (จังหวัด
เชียงราย จังหวัดสกลนคร จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสุราษฎร์ธานี) ต่อมาจึงเป็นการพัฒนาระยะที่ 2
(ปี 2561) คือ การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่มีความพร้อมอีก 9 จังหวัดส่วนขยาย (จังหวัดพิษณุโลก จังหวัด
อุทัยธานี จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดจันทบุรี จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอํานาจเจริญ
และจังหวัดสงขลา) และสุดท้าย การพัฒนาในระยะที่ 3 (ปี 2562) คือ การพัฒนาจังหวัดส่วนขยายเพิ่มขึ้นอีก 1
จังหวัด (จังหวัดอุดรธานี)

2. กลไกการด�ำเนินงานและการประเมินผลลัพธ์
โดยภาพรวมการพั ฒ นาเมื อ งสมุ น ไพรจะมี อ งค์ ป ระกอบหลั ก ทั้ ง สิ้ น 5 องค์ ป ระกอบ (ภู มิ ป ั ญ ญา
สู่อัตลักษณ์ ประชารัฐสามัคคี ลดความเหลื่อมล�้ำ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และผลกระทบทางธุรกิจ) และมีล�ำดับ
ขั้นตอนของความส�ำเร็จในการพัฒนาทั้งหมด 4 ขั้นตอน (รู้จักตนเอง, ร่วมวางแผนด�ำเนินการ, เร่งรีบสร้างโอกาส
และรุ่งเรืองยั่งยืน) มีกลไกการขับเคลื่อนในรูปของคณะอนุกรรมการ/คณะท�ำงานดังแสดงในแผนภาพที่ 1 กล่าว
คือ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานด�ำเนินการตามข้อสั่งการด้วย
คณะอนุกรรมการทั้งสิ้น 6 คณะ โดย 1 ใน 6 คณะนั้น มีคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเมืองสมุนไพรซึ่งมี
ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานและปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานร่วม จากนั้นจึงมีค�ำสั่งแต่งตั้ง

Position-5.indd 19 9/13/19 16:05


20 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

กลไกการขับเคลื่อนเมืองสมุนไพร

คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแหงชาติ

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเมืองสมุนไพร

คณะทํางานขับเคลื่อนโครงการพัฒนา
เมืองสมุนไพร

คณะกรรมการโครงการพัฒนาเมืองสมุนไพร
ระดับจังหวัด
ภาพที่ 1.5 กลไกการขับเคลื่อนเมืองสมุนไพร

คณะท�ำงานขับเคลื่อนโครงการเมืองสมุนไพรโดยให้อธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน และ


อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานร่วม และให้จังหวัดเมือง
สมุนไพรมีค�ำสั่งคณะกรรมการโครงการพัฒนาเมืองสมุนไพรระดับจังหวัดโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานและ
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นเลขานุการ
กลไกดังกล่าวเป็นการด�ำเนินงานตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30
มิถุนายน 2560 ณ ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
การประชุม เห็นชอบโครงการพัฒนาเมืองสมุนไพร (Herbal City) และให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน
เมืองสมุนไพร มีขอบเขตการดําเนินงาน การพัฒนาสมุนไพรที่ครบวงจรตั้งแต่ระดับนโยบายถ่ายทอดมาเป็นการ
ดําเนินงานในระดับจังหวัด
ภารกิจการด�ำเนินงานเพือ่ การขับเคลือ่ นเมืองสมุนไพรสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ การด�ำเนินงาน
โดยหน่วยงานส่วนกลางและการด�ำเนินงานโดยหน่วยงานส่วนภูมิภาค มีล�ำดับขั้นตอนและหน้าที่ในการด�ำเนินงาน
ดังนี้

2.1 หน่วยงานส่วนกลาง
1) ศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดทําโครงการพัฒนาเมืองสมุนไพรเสนอผู้บริหารระดับสูง
ของกระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบ
2) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเมืองสมุนไพร โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน และ
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานร่วม และมีรองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้รับ
มอบหมาย เป็นเลขานุการ มีองค์ประกอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน
คณะอนุกรรมการ และคณะทํางานที่เกี่ยวข้อง โดยมีอ�ำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) ขับเคลื่อนเมืองสมุนไพร (Herbal City) ให้เป็นเมืองแห่งการพัฒนาสมุนไพรไทยอย่างครบวงจร
(2) ด�ำเนินโครงการพัฒนาเมืองสมุนไพรสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ

Position-5.indd 20 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 21

(3) ก�ำกับ ติดตาม และประเมินผลโครงการพัฒนาเมืองสมุนไพร


(4) น�ำเสนอความก้าวหน้าโครงการพัฒนาเมืองสมุนไพรต่อคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ
(5) แต่งตั้งคณะท�ำงานที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
(6) งานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติมอบหมาย
3) แต่งตัง้ คณะทํางานขับเคลือ่ นโครงการพัฒนาสมุนไพร โดยมีอธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
เป็นประธาน และอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานร่วม
และมีผู้แทนจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เป็นองค์ประกอบ อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มหาวิทยาลัย และมีกรมการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือกเป็นเลขานุการ
4) สนับสนุนคณะอนุกรรมการและคณะท�ำงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้จัดทําแนวทางการพัฒนาเมืองสมุนไพร
ในระยะเริ่มต้นตามประเด็น ดังนี้
(1) กําหนดรูปแบบการร่วมทุนแบบผสมระหว่างงบประมาณจากส่วนกลางกับงบประมาณของพื้นที่
(2) กําหนดรูปแบบการบรรจุแผนงาน/โครงการเข้าเป็นแผนพัฒนาจังหวัด
(3) กําหนดรูปแบบของการมีส่วนร่วมของสถาบันการศึกษาในพื้นที่
(4) กําหนดรูปแบบการดําเนินงานร่วมกับโครงการประชารัฐและระบบสหกรณ์
(5) กาํ หนดรูปแบบการประสานงานกับสภาหอการค้าไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพือ่
ผลักดันให้เป็น Demand–Supply Model
(6) กําหนดกลไกการกลั่นกรองความเหมาะสมและคุ้มค่าของการใช้งบประมาณ
(7) พิ จ ารณากลั่ น กรองความเหมาะสมความคุ  ม ค า ของแผนงาน/โครงการและกรอบคํ า ขอ
งบประมาณ
(8) กําหนดชนิดและปริมาณผลผลิตวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพ เชื่อมโยงกับวิสาหกิจชุมชนและ
ภาคเอกชน
(9) กําหนดเปาหมายการผลิตในระดับโรงงานสารสกัด
(10) กําหนดเปาหมายการพัฒนาสินคา OTOP สมุนไพร
(11) กําหนดแผนการบูรณาการงบประมาณการทองเที่ยวกับแผนพัฒนาจังหวัด
(12) กําหนดแผนการบริหารจัดการโครงการพัฒนาเมืองสมุนไพร
(13) กําหนดภารกิจ บทบาทหนาที่และความรับผิดชอบของกระทรวงและหนวยงานที่เกี่ยวของ
(14) การกําหนดรูปแบบของการขยายผลการพัฒนาเมืองสมุนไพรไปสู่จังหวัดอื่น ๆ
5) สนับสนุนงบประมาณและองคความรูที่เกี่ยวของกับการพัฒนาเมืองสมุนไพร
6) จัดกิจกรรมประชาสัมพันธและเปดตัวโครงการพัฒนาเมืองสมุนไพร (Herbal City)
7) ประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณการทํางานของเครือขายการพัฒนาเมืองสมุนไพร
8) ติดตาม ประเมินผลการดําเนินงาน และสรุปเสนอตอคณะกรรมการ/อนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง

Position-5.indd 21 9/13/19 16:05


22 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

2.2 หน่วยงานสวนภูมิภาค
1) แตงตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเมืองสมุนไพรระดับจังหวัดมีองคประกอบจาก
หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข  อ งทั้ ง ภาครั ฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยผู  ว  า ราชการจั ง หวั ด เป น ประธาน
นายแพทยสาธารณสุขจังหวัด หรือบุคคลที่ผูวาราชการจังหวัดมอบหมายเปนเลขานุการ
2) จัดทําแผนยุทธศาสตรพฒ ั นาเมืองสมุนไพรระดับจังหวัด แผนงบลงทุนและแผนปฏิบตั กิ ารตามแนวทาง
เป้าหมาย ผลลัพธท่ีสําคัญของโครงการที่สอดคลองกับบริบทของพื้นที่ และผลักดันเพื่อบรรจุเขาเปนแผนพัฒนา
จังหวัด
3) จัดทํากิจกรรมพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบสมุนไพร
(1) กําหนดชนิดวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับวิสาหกิจชุมชน (SMEs)
เครือข่ายหมอพื้นบาน ถิ่นกําเนิดสมุนไพร และภาคเอกชนได
(2) สงเสริมสนับสนุนกลุมผูเพาะปลูกและผูแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร จัดการฝกอบรมการเพาะปลูก
สมุนไพรใหไดตามเกณฑมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practice)
(3) จัดตั้งศูนยเพาะชําและพัฒนาตนกลาพันธุสมุนไพร
(4) จัดตั้งตลาดกลางวัตถุดิบสมุนไพรเพื่อประสานขอมูลการผลิตวัตถุดิบสมุนไพร
(5) จัดตั้งศูนย์แปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร
(6) สงเสริมและสนับสนุนการจัดการความรู การอนุรักษ คุมครองภูมิปญญา การผลิตและพัฒนา
บุคลากรด้านต่าง ๆ
4) จัดทํากิจกรรมขยายชองทางการใชประโยชน เพิ่มมูลคา และนําสมุนไพรไปใชทุกภาคสวน
(1) สงเสริม สนับสนุนกลุมวิสาหกิจชุมชนในการผลิต แปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร เปนผลิตภัณฑ
สมุนไพรชุมชน (OTOP สมุนไพร)
(2) สงเสริม สนับสนุนกลุม วิสาหกิจชุมชนในการผลิต แปรรูปวัตถุดบิ สมุนไพร เปน ผลิตภัณฑอาหาร
สัตวหรือยาสัตว หรือเปนวัตถุดิบสมุนไพรเขาสูระบบหวงโซอุปทานในอุตสาหกรรมอื่น ๆ
(3) จัดตั้งศูนยสาธิตจําหนายและกระจายสินคาผลิตภัณฑสมุนไพรชุมชน
5) สงเสริมการใชสมุนไพรในระบบบริการสุขภาพ
(1) เพิม่ มูลคา การใชย าสมุนไพรในโรงพยาบาลและหนว ยบริการ สาธารณสุขใหม คี วามสอดคล้องกับ
แผนการพัฒนาบริการการแพทยแผนไทยและการแพทยผสมผสาน (Service Plan สาขาการแพทยแผนไทยฯ
ของจังหวัด)
(2) พั ฒ นาปรั บ ปรุ ง ระบบการผลิ ต และกระจายยาสมุ น ไพรให มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ มี ร าคาต้ น ทุ น
ต่อหน่วย (Unit Cost) ทีเ่ หมาะสม โดยการผลิตยาสมุนไพรแบบรวมศูนยเพือ่ ใหเกิดประสิทธิภาพการผลิตเชิงปริมาณ
(Economy of Scale)
6) ส  ง เสริ ม การวิ จั ย และพั ฒ นาบุ ค ลากร โดยร ว มมื อ กั บ มหาวิ ท ยาลั ย และสถาบั น การศึ ก ษาทํ า
การศึกษาวิจัยเพื่อ
(1) พัฒนาผลิตภัณฑเพิ่มมูลคา พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ บรรจุภัณฑ

Position-5.indd 22 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 23

(2) การรับรองสรรพคุณ การใชประโยชนของสมุนไพรในดานตาง ๆ ให้มากขึ้น


(3) พัฒนาชองทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ
(4) ประเมินความคุมคาของการลงทุน
(5) เพื่อพิสูจนความปลอดภัยและสรรพคุณของยาสมุนไพร เพื่อสรางความเชื่อมั่น และเพิ่มการใช้
ยาสมุนไพรในกลุมบุคลากรทางการแพทยและสาธารณสุขสาขาอื่น ๆ
(6) บูรณาการงานวิจัยในระดับภูมิภาค
7) ประชุมคณะกรรมการขับเคลือ่ นโครงการพัฒนาเมืองสมุนไพรระดับจังหวัด เพือ่ ติดตามความก้าวหน้า
การด�ำเนินงาน
8) สรุปและรายงานผลการด�ำเนินงานตอคณะอนุกรรมการพัฒนาเมืองสมุนไพร ตามรายละเอียด
เป้าหมายผลลัพธ์ที่ส�ำคัญ แนวทางการดําเนินงานและหนวยงานที่รับผิดชอบ โดยรูปแบบการประเมินผล
ในช่วง 2 ปีของการด�ำเนินงานที่ผ่านมาจะอยู่ในรูปของตัวชี้วัดซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะคือ ปี 2560-2561
และปี 2562 ดังแสดงในตารางที่ 1.4

ตารางที่ 1.4 ตัวชี้วัดในการประเมินผลลัพธ์ตามปีงบประมาณ


ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ปีงบประมาณ 2560-2561 ปีงบประมาณ 2562
ต้นทาง 1. มีกลุ่มแกนน�ำด้านสมุนไพร อย่างน้อย 1 กลุ่ม 1. มีฐานข้อมูลผู้ปลูก พื้นที่ปลูกสมุนไพร
(น�ำร่องและส่วนขยาย)
2. มีฐานข้อมูล ผู้ปลูก/ผู้จ�ำหน่าย/พื้นที่ปลูก/แปรรูป/ 2. มีแหล่งรวบรวมและขยายสมุนไพรพันธุ์ดี
ปริมาณวัตถุดิบสมุนไพรที่ได้มาตรฐานของจังหวัด
(น�ำร่องและส่วนขยาย) 3. จ�ำนวนของเกษตรกรรายใหม่ที่ได้รับการถ่ายทอด
ความรู้ เรือ่ ง GAP/Organic สมุนไพร ปีละ 30 ราย
3. มีพื้นที่เพาะปลูกสมุนไพรที่ได้มาตรฐานจากแปลง 4. การส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในพื้นที่ที่ได้รับ
ปลูกมาตรฐาน GAP/ GACP/Organic จ�ำนวนรวม การรับรอง Organic อย่างน้อย 1 แหล่ง
1,000 ไร่/ปี (น�ำร่อง)
4. มีข้อมูลความต้องการวัตถุดิบสมุนไพร/ผลิตภัณฑ์ 5. มีแผนข้อมูลความต้องการวัตถุดิบสมุนไพร/
สมุนไพรของจังหวัดเมืองสมุนไพร (Demand & ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของจังหวัดเมืองสมุนไพร
Supply Matching) (น�ำร่องและส่วนขยาย) (Demand & Supply Matching)
กลางทาง 5. มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพิ่มขึ้น (น�ำร่อง) 6. มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเด่นในจังหวัด
5.1 ผลิตภัณฑ์สมุนไพร Product Champion เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 ผลิตภัณฑ์
(ไพล กระชายด�ำ ขมิ้นชัน บัวบก)
อย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์
5.2 ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเด่นในจังหวัด
อย่างน้อย 2 ผลิตภัณฑ์
6. มี/เตรียมการเข้าสู่ โรงงานแปรรูปและผลิต
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรผ่านการรับรองมารฐาน GMP
อย่างน้อย 1 แห่ง (ทั้งภาครัฐและเอกชน) (น�ำร่อง
และส่วนขยาย)

Position-5.indd 23 9/13/19 16:05


24 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ตารางที่ 1.4 ตัวชี้วัดในการประเมินผลลัพธ์ตามปีงบประมาณ (ต่อ)


ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ปีงบประมาณ 2560-2561 ปีงบประมาณ 2562
ปลายทาง 7. เพิ่ม/จัดตั้ง จ�ำนวน Shop/ Outlet อย่างน้อย 7. มีแผนการตลาดและการประชาสัมพันธ์ และ
ปีละ 1 แห่ง (น�ำร่องและส่วนขยาย) ขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายตามแผน
8. บุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการสมุนไพรได้รับ 8. ร้อยละของผู้ป่วยนอกทั้งหมดที่ได้รับบริการ
การอบรมด้านแผนธุรกิจ (Business Plan) ตรวจ วินิจฉัย รักษาโรค และฟื้นฟูสภาพ
(น�ำร่องและส่วนขยาย) ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือก ร้อยละ 18.5
9. ร้อยละผู้ป่วยนอกได้รับบริการด้านการแพทย์ 9. ร้อยละมูลค่าการใช้ยาสมุนไพรต่อยาแผนปัจจุบัน
แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐาน เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 20 (น�ำร่องและส่วนขยาย)
- 10. มีข้อมูลมูลค่าการตลาดของผลิตภัณฑ์สมุนไพร
รวมในจังหวัดมากกว่าค่าเฉลี่ย

3. นโยบายและมาตรการที่ด�ำเนินการปัจจุบัน
จากผลการประเมินแนวโน้มมูลค่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศไทยเปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2559 ถึง
ปี 2564 (รายละเอียดดังแสดงในภาพที่ 1.6 แสดงแนวโน้มมูลค่าผลิตภัณฑ์สมุนไพร 4 กลุ่ม) พบว่า มูลค่า
ของผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นทุกปีโดยอาหารเสริมจะมีอัตราการเติบโตมากที่สุดคือร้อยละ 11.5 ขณะที่
เครื่องส�ำอางจะเป็นกลุ่มที่มีอัตราโตน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 7 ซึ่งสะท้อนให้เห็นโอกาสในการพัฒนาสมุนไพร
ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นเป็นอย่างมาก เนื่องจากสมุนไพรเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ยังมีโอกาสขยายตัวทาง
เศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง
ภาพที่ 1.7 แสดงให้เห็นมูลค่าการจ่ายยาสมุนไพรเปรียบเทียบระหว่างของ (ก) เมืองสมุนไพรทั้ง 13
จังหวัด และ (ข) ภาพรวมของประเทศ โดยมูลค่าการจ่ายยาสมุนไพรใน 13 จังหวัดเมืองสมุนไพรเปรียบเทียบ
ระหว่างปีงบประมาณ 2560 และปีงบประมาณ 2561 ของภาพรวมเมืองสมุนไพร 13 จังหวัด และแบบเปรียบเทียบ
ข้อมูลระหว่าง 4 จังหวัดเมืองสมุนไพรน�ำร่อง และ 9 จังหวัดส่วนขยาย สะท้อนให้เห็นว่าภาพรวมของการสั่งจ่าย
สมุนไพรใน 13 จังหวัดนั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 3.94 (จาก 249.50 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2560 เป็น
259.74 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2561) โดยมูลค่าการสั่งจ่ายยาสมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ในกลุ่ม 9 จังหวัด
ส่วนขยาย กล่าวคือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.68 (จาก 151.27 ล้านบาทในปี 2560 ปรับสูงขึ้นเป็น 171.97 ล้านบาท
ในปี 2561) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับร้อยละของมูลค่าการสั่งจ่ายยาสมุนไพรที่เพิ่มขึ้นในภาพรวมของประเทศ คือ
ร้อยละ 1.79 (จาก 1,221.53 ล้านบาทในปี 2560 ปรับสูงขึ้นเป็น 1,243.77 ล้านบาทในปี 2561) จะเห็นได้ว่า
มูลค่าการสัง่ จ่ายยาสมุนไพรในจังหวัดทีถ่ กู ก�ำหนดเป็นเมืองสมุนไพรมีอตั ราเพิม่ ของมูลค่าการสัง่ จ่ายยาสมุนไพรอย่าง
ชัดเจน
ปัญหาด้านปลายทาง
1. มูลค่าการใช้ยาสมุนไพรในสถานบริการสาธารณสุขลดลง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีปัญหาในระบบ
การสนับสนุนยาสมุนไพรให้แก่หน่วยบริการท�ำให้การด�ำเนินงานไม่ต่อเนื่องกัน

Position-5.indd 24 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 25

ภาพที่ 1.6 แนวโน้มมูลค่าผลิตภัณฑ์สมุนไพร 4 กลุ่ม

2. สหกรณ์สมุนไพรขาดการด�ำเนินงานต่อเนื่องและการบริหารวัตถุดิบสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพ
3. ไม่มีข้อมูลมูลค่าการตลาดของผลิตภัณฑ์สมุนไพรรวมของจังหวัดพิษณุโลก ของปีงบประมาณ 2560
ในการน�ำมาเปรียบเทียบผลงานกับปีงบประมาณ 2561 และไม่ได้เขียนโครงการของบประมาณจากงบภาคเหนือใน
ปีงบประมาณ 2561 ให้สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก ส�ำรวจข้อมูลทางการตลาดและพฤติกรรมการบริโภค
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อใช้วางแผนในการพัฒนาการผลิต
4. นโยบายด้านการพัฒนางานแพทย์แผนไทยจากหน่วยงานผู้ก�ำหนดนโยบายยังขาดความชัดเจน
และต่อเนื่อง รวมถึงการจัดสรรงบประมาณที่เร่งรัดและทยอยจัดสรรหาให้วางแผนการปฏิบัติงานได้ประสิทธิภาพ
ค่อนข้างน้อย
5. การสื่อสารด้านแผนธุรกิจ (Business Plan) จากกรมการแพทย์แผนไทยฯ ล่าช้า และขาดความ
ชัดเจนจากกรมฯ ในเรื่องฐานมูลค่าการตลาดของผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ปัญหาอื่นๆ
1. ผู้ปฏิบัติของแต่ละเขตสุขภาพขาดประสบการณ์ ขาดความรู้ความเข้าใจในนโยบายหรือกิจกรรม
ดังกล่าว เนื่องจากไม่ใช่ภารกิจหลักของหน่วยงาน
2. การด�ำเนินงานในระดับพื้นที่ด้านการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการด�ำเนินงานเมือง
สมุนไพร Herbal City มีความส�ำเร็จแตกต่างกันเนื่องจากบริบท หรือความสนใจในงานมีความแตกต่างกัน
3. หน่วยงานที่ปฏิบัติขาดบุคลกรในการด�ำเนินงานกิจกรรมดังกล่าว เนื่องจากเป็นภาระงานที่นอกเหนือ
จากงานประจ�ำ
4. ขาดการบูรณาการของหน่วยงานในการขับเคลื่อนโครงการเมืองสมุนไพร
5. หน่วยงานอื่น ๆ ยังไม่ได้รับการถ่ายทอดโครงการเมืองสมุนไพรจากหน่วยงานต้นสังกัด ส่งผลให้
5.1 บางหน่วยงานไม่มีแผนงาน/โครงการ ไม่ได้ของบประมาณ
5.2 บางหน่วยงานมีการท�ำแผนงาน/โครงการ แต่ต้นสังกัดไม่ทราบเกี่ยวกับโครงการพัฒนาเมือง
สมุนไพร ไม่มียุทธศาสตร์รองรับ ท�ำให้ไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุน

Position-5.indd 25 9/13/19 16:05


26 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

(ก) มูลค่าการสั่งจ่ายยาสมุนไพรของเปรียบเทียบของเมืองสมุนไพรทั้ง 13 จังหวัด

(ข) ภาพมูลค่าการสั่งจ่ายยาสมุนไพรของประเทศเปรียบเทียบระหว่างปีงบประมาณ 2559, 2560 และ 2561


ภาพที่ 1.7 แสดงมูลค่าการจ่ายยาสมุนไพรเปรียบเทียบระหว่างของ (ก) เมืองสมุนไพรทั้ง 13 จังหวัด และ
(ข) ภาพรวมของประเทศ

Position-5.indd 26 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 27

5.3 ตัวชี้วัด ถ้าแจ้งหน่วยงานอื่นโดยสาธารณสุข หน่วยงานอื่นไม่เห็นความส�ำคัญ ไม่ได้ด�ำเนินการ


ตามตัวชี้วัด
5.4 การเชิญหน่วยงานอืน่ ร่วมประชุม ถ้าเชิญโดยสาธารณสุข หน่วยงานอืน่ ไม่เห็นความส�ำคัญไม่เข้า
ร่วมประชุม
5.5 การเชิญประชุม ถ้าให้เบิกค่าใช้จ่ายจากต้นสังกัด บางหน่วยงานไม่มีงบประมาณในเรื่องนี้
จะไม่ได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมประชุม

บรรณานุกรม
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. รายงานการใช้สมุนไพรในสถานบริการสาธารณสุข. เอกสารประกอบการ
ประชุมคณะอนุกรรมการการใช้ยาสมุนไพรในประเทศ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2561. นนทบุรี.
กระทรวงสาธารณสุข. แบบรายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. [สืบค้น 25 ตุลาคม 2561].
ที่มา http://bie.moph.go.th/cockpit/
กระทรวงสาธารณสุข. มูลค่าการจ่ายยาสมุนไพร รายปีงบประมาณ ปีงบประมาณ 2561. [สืบค้น 30 ตุลาคม 61];
ที่มา https://hdcservice.moph.go.th.
กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2561. [สืบค้น 30 ตุลาคม 61]; ที่มา https://hdcservice.moph.go.th.
ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. โครงการจัดท�ำยุทธศาสตร์และฐานข้อมูลสมุนไพรภาย
ใต้โครงการเพิ่มศักยภาพการตลาดสมุนไพร และผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูปสู่สากลผลการส�ำรวจ. กรุงเทพฯ:
ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ; 2561.
ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองสมุนไพร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:
พุ่มทอง; 2559.

Position-5.indd 27 9/13/19 16:05


28 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ภาคผนวก: Roadmap ในการท�ำงาน


Chain Stage 1 (2560) Stage 2 (2561) Stage 3 (2562–2564)
Demand 1. แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน 1. พัฒนาฐานขอมูลในรูปเว็บไซต 1. การรวมกลุ่มของวิสาหกิจที่ตั้งอยู
เมืองสมุนไพรในพื้นที่ พรอมเผยแพร ในทองถิ่นหรือพื้นที่ใกลเคียง
2. จัดท�ำแผนยุทธศาสตรและแผน 2. บูรณาการของขอมูลในภาคสวน กัน (Cluster) ในระดับภาคเพื่อ
ปฏิบัติการพัฒนา เมืองสมุนไพร ต่าง ๆ ที่มีสวนในการพัฒนา พัฒนาศักยภาพทุกด้านใหใหญ่ขึ้น
จังหวัด… เกษตรกรรม (การตลาดมูลคา
3. การพัฒนาระบบฐานขอมูลกลาง คุณสมบัติทางยา ขอมูลการเก็บ
ของขอมูลสมุนไพร (Demand เกี่ยวที่เหมาะสม)
supply) สาระส�ำคัญ Zoning 3. การพัฒนารูปแบบกลไกการ
by agri map ขับเคลื่อนเมืองสมุนไพรด้วยกลไก
4. ศึกษา วิจัย ขอมูลทางการตลาด ประชารัฐ (รัฐภาคประชาชน
ที่มีความตองการทางสมุนไพร ภาคเอกชน) อย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งในและต่างประเทศ (วัตถุดิบ,
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร, อาหารเสริม
ฯลฯ)
Raw materials 5. ส�ำรวจ วิเคราะห์ศักยภาพ พื้นที่/ 4. สงเสริมเกษตรกรปลูกสมุนไพร 2. มีวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพได้
กลุ่มผู้ปลูก/ขอมูลเกษตร (GAP/ อินทรีย (Smart Farmer การน�ำ มาตรฐาน เพียงพอต่อความ
เกษตรอินทรีย)/เกษตรชีววิถี/ เทคโนโลยีมาช่วยเกษตรกร, ตองการ
องคความรู/หมอพื้นบ้าน/ สายพันธุสมุนไพรที่มีคุณภาพ) 3. มีผลติภัณฑ์สมุนไพรจ�ำหน่ายใน
จ�ำนวนปา/ทรัพยากร (หาจุดเดน วิสาหกิจชุมชน/สหกรณ
อัตลักษณ เพื่อจ�ำนวนในการน�ำ
ไปท�ำการตลาด แผนการตลาด)
6. สร้างภาคีเครือข่าย หาแนวร่วม
กลุ่มผู้ปลูก เกษตรกร และความ
ร่วมมือระหว่างหน่วยงาน พรอม
ทั้งอบรมให้ความรู มาตรฐานการ
ปลูกการแปรรูป ลดการใช
สารเคมี และสงเสริมการปลูก
ทดแทน สู่การพัฒนาการเกษตร
มาตรฐาน GAP ในพื้นที่
7. คัดเลือกสมุนไพรเดนในจังหวัด
และประมาณการ ความตองการ
การใชสมุนไพร
8. จัดท�ำเกษตรพันธะสัญญา
(Contract farming)

Position-5.indd 28 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 29

Chain Stage 1 (2560) Stage 2 (2561) Stage 3 (2562–2564)


Research & 9. ร่วมท�ำขอตกลง (MOU) งานวิจัย 5. สนับสนุนการจัดตั้งศูนยวิจัยที่ได้ 4. น�ำงานวิจัยมาพัฒนาเป็น
Development สมุนไพรร่วมกันระหว่างจังหวัด มาตรฐานมี เครื่องมือวิเคราะห์ที่ นวัตกรรมใหม่เพิ่มขึ้น
and และมหาวิทยาลัยใกลเคียง มีประสิทธิภาพพัฒนา ขยาย
Technology 10. พัฒนาต่อยอดภูมิปัญญา/พัฒนา หองปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐาน
สมุนไพรเดนในพื้นที่/พัฒนา เพื่อรองรับ ผลิตภัณฑ์ภาพ
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ/ผลิต (การตรวจและควบคุมคุณภาพ)
อาหารสัตว์จากสมุนไพร 6. บูรณาการระหว่างหน่วยงาน/
11. พัฒนางานวิจัยใหม่ และทบทวน ผู้เชี่ยวชาญ ส�ำหรับ ถายทอด
งานวิจัยที่ไม่สมบูรณ องคความรู ใหค�ำแนะน�ำ ท�ำวิจัย
12. พัฒนาและขยายห้องปฏิบัติการ และ เผยแพร่ผลงานวิจัยใหกบั
ที่ได้รับมาตรฐาน เพื่อรองรับ ผู้ประกอบการน�ำไปตอยอดสร้าง
ผลิตภัณฑ์คุณภาพ และพัฒนาผลผลิต
7. วิจัยและพัฒนารูปแบบยา เพื่อ
สะดวกต่อการใชประโยชนและ
ผลขางเคียง
Manufac-turing 13. มีมาตรฐานการผลิต แปรรูป 8. พัฒนาโรงตาก/นวัตกรรมการ 5. พัฒนาสารสกัดเพิ่มมูลค่า
ศักยภาพผูปลูก ผูผลิต GMP แปรรูปสมุนไพรเบื้องตน (On ผลิตภัณฑ์ (ยา อาหารเสริม
site) เพื่อเพิ่มมลูคา และเข้าสู่ เครื่องส�ำอาง)
การผลิตภาคอุตสาหกรรม 6. ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์
9. สิทธิประโยชนทางภาษีและ เขาสู่มาตรฐานสากล
การยกเวนอากรขาเขา ส�ำหรับ
เครื่องจักร (BOI)
Regulation 14. พัฒนาสถานประกอบการดาน 10. ปรับปรุง/แกไขการ 7. การคุมครองสิทธิทางปัญญาของ
สุขภาพทั้งภาครัฐ และเอกชน ประกาศใชผังเมืองโดยเพิ่ม ผลิตภัณฑ์และรูปแบบบริการ
ใหไดมาตรฐาน กระบวนการสกัดและแปรรูป 8. พัฒนาระบบการจัดการความ
สมุนไพร เสี่ยงตลอด value chain
Marketability
Marketability 15. สร้างการรับรูแ้ ละประชาสัมพันธ์ 11. มีมาตรการสงเสริมการใชใน 9. มีกองทุนการใชยาสมุนไพรระดับ
การน�ำสมุนไพรไปใชประโยชน ชุมชน เชน ตลาด กลุม เขต/จังหวัด เพื่อสงเสริมการใช
16. พัฒนาแหล่งทองเที่ยวเชิง เขมแข็งมีรายไดเขากลุม ทดแทนยาแผนปจจุบันไดใน
สุขภาพ/spa/ศูนยเรียนรู มีเครือข่ายเกษตรกร และอื่น ๆ ราคาถูก
บอกเลาเรื่องราวที่เป็นพื้นถิ่น ทั้งประเทศ 10. มีร้านจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์
Herb Health Heritage 12. สร้างตราสินค้า จดสิทธิบัตร สมุนไพรสุขภาพ เพิ่ม
17. สงเสริมและสนับสนุนการให เพิ่มมูลคา/พัฒนา ยกระดับ ผลิตภัณฑอาหารเสริมเวชสําอาง
บริการแพทยแผนไทย ใน ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ เชื่อมโยง ผูผลิตและผูขาย
สถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ 13. จัดตั้งศูนยใหความรู
ผูประกอบการใหม

Position-5.indd 29 9/13/19 16:05


30 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ: โอกาสและการพัฒนา

รศ.ดร.ภญ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์
ส�ำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

1. ความเป็นมา หลักการและเหตุผล
จากกระแสความนิยมผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติมากขึ้น ท�ำให้คนจ�ำนวนไม่น้อยที่เจ็บป่วยได้หันมา
นิยมใช้ยาจากธรรมชาติหรือสมุนไพรทดแทนยาแผนตะวันตกที่มาจากการสังเคราะห์ทางเคมีซึ่งมีราคาแพง และมี
ผลข้างเคียงมากกว่ายาจากสมุนไพร ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ดีที่คนไทยจะหันมาใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพจาก
สมุนไพรกันมากขึ้น แทนการพึ่งพายาแผนปัจจุบันเพียงอย่างเดียว เพราะจะช่วยลดการน�ำเข้าจากต่างประเทศ
และลดการเสียดุลการค้าของประเทศ นอกจากนีต้ ลาดโลกมีความต้องการผลิตภัณฑ์สขุ ภาพจากสมุนไพรในปริมาณ
มาก จึงเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยซึ่งมีทรัพยากรสมุนไพรที่มีคุณภาพดีอยู่เป็นจ�ำนวนมาก จะได้วิจัยและพัฒนา
ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรของไทยให้มีคุณภาพทัดเทียมกับของต่างประเทศ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
แทนการส่งออกแต่วัตถุดิบสมุนไพรซึ่งมีมูลค่าการตลาดต�่ำ เพื่อช่วยน�ำรายได้เข้าประเทศอีกทางหนึ่งด้วย[1]
ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากโดยเฉพาะพืช จากข้อมูลของ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าพันธุ์พืชในประเทศไทยที่ทราบชื่อวิทยาศาสตร์แล้วกว่า 2 หมื่นชนิด ในจ�ำนวน
นี้ถูกน�ำมาใช้ประโยชน์เป็นสมุนไพรเพียงแค่ 1,800 ชนิด ที่กระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ เพราะฉะนั้น
ประเทศไทยยังมีโอกาสอีกมากที่จะน�ำพืชสมุนไพรมาพัฒนาเป็นยารักษาโรคหรือส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ
เช่น เวชส�ำอาง หรือผสมในเครื่องดื่มให้เป็นเครื่องดื่มดูแลสุขภาพ เป็นต้น[2]
จากงานวิจัยของ “โครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยเพื่อลด
ผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า AFTA ด้วยสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ” ในปี 2552 ได้มีข้อสรุปว่า
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีศักยภาพที่จะรุกสู่ตลาดส่งออก ได้แก่ เครื่องส�ำอางสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สปาฯ และผลิตภัณฑ์
เสริมอาหารจากสมุนไพร ซึ่งเป็นสาขาที่มีศักยภาพค่อนข้างสูง ผู้ประกอบการมีความเข้มแข็งพอสมควร และ
เป็นผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับจากตลาดต่างประเทศ ปัจจุบันแนวโน้มของผลิตภัณฑ์สมุนไพรก็ยังเป็นแนวทาง
เดียวกัน ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ตลาดเครื่องส�ำอางในประเทศไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
จากแรงหนุนทั้งฝั่งอุปสงค์และอุปทาน หลังจากที่ในปี 2560 ตลาดเครื่องส�ำอางไทยมีมูลค่าประมาณ 2.51
แสนล้านบาท แยกเป็นตลาดในประเทศ 1.68 แสนล้านบาท เติบโตร้อยละ 7.8 (YoY) โดยมีผลิตภัณฑ์ดูแลผิว
(Skincare) ครองส่วนแบ่งตลาดเครื่องส�ำอางมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.8 ขณะเดียวกันการส่งออก
เครื่องส�ำอางไทยไปยังตลาดโลกมีมูลค่าประมาณ 0.83 แสนล้านบาท โดยมีตลาดส่งออกหลักที่ส�ำคัญ ได้แก่
อาเซียน ญี่ปุ่น และจีน ตลาดเครื่องส�ำอางที่มีแนวโน้มเติบโตในระยะต่อไป จะมีความหลากหลายและซับซ้อน
มากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสทางธุรกิจส�ำหรับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ อาทิ ตลาดเครื่องส�ำอางที่เจาะกลุ่ม
เป้าหมายโดยเฉพาะ เช่น กลุ่มเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเพศชาย หรือเครื่องส�ำอางที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ
หรือออร์แกนิก และยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องส�ำอางของไทยได้รับความนิยมใน
ต่างประเทศ เนื่องจากความเชื่อมั่นในคุณภาพมาตรฐานการผลิตและความปลอดภัย ประกอบกับการมีวัตถุดิบผลิต

Position-5.indd 30 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 31

เครือ่ งส�ำอางโดยเฉพาะวัตถุดบิ ทีม่ าจากธรรมชาติ รวมถึงความหลากหลายของประเภทเครือ่ งส�ำอาง ซึง่ มีเอกลักษณ์


และนวัตกรรมการผลิตที่ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคหลากหลาย[3]
จากแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพร ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564 ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 4
ยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งของการบริหารและนโยบายของภาครัฐ เพื่อการขับเคลื่อนสมุนไพรอย่างยั่งยืน ใน
มาตรการที่ 5 ได้กล่าวถึงการส่งเสริมและพัฒนาสมุนไพรโดยได้ก�ำหนด Champion Products เพื่อให้เป็นสมุนไพร
ทีม่ ศี กั ยภาพของประเทศและเพือ่ ให้เกิดทิศทางทีช่ ดั เจนในการวางแผนพัฒนาสมุนไพรให้ครบวงจรและสามารถพัฒนา
เป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดและสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ ซึ่งการพิจารณาคัดเลือก Champion Products
แบ่งออกเป็น 3 มิติ คือ มิติด้านศักยภาพ มิติด้านความต้องการ และมิติความน่าสนใจในอนาคต ซึ่งที่ผ่านมามี
การพิจารณาคัดเลือกสมุนไพรกว่า 10 ชนิด ได้แก่ กระชายด�ำ ไพล บัวบก ขมิ้นชัน กวาวเครือขาว มะขามป้อม
กระชาย พริก ฟ้าทะลายโจร กระเจี๊ยบแดง หญ้าหวาน และว่านหางจระเข้ ในปีงบประมาณ 2560 กระทรวง
สาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องกับการขับเคลือ่ นโครงการตามแผนบูรณาการขับเคลือ่ นสมุนไพรเพือ่ เศรษฐกิจ
ได้คัดเลือกสมุนไพร 4 ชนิด คือ กระชายด�ำ ไพล บัวบก ขมิ้นชัน เป็น Champion Products น�ำร่อง[4]
ในปี 2562 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้เตรียมวางแผนการพัฒนาสมุนไพร
Champion Products ชนิดต่อไป เพื่อส่งเสริมเป็นสมุนไพรต้นแบบต่อไป โดยจะพิจารณาสมุนไพรที่ได้รับการ
คัดเลือกมาก่อนแล้ว ได้แก่ กวาวเครือขาว มะขามป้อม กระชาย พริก ฟ้าทะลายโจร กระเจี๊ยบแดง หญ้าหวาน
และว่านหางจระเข้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าสมุนไพรดังกล่าวแต่ละชนิดจะมีศักยภาพทั้ง 3 มิติที่น่าสนใจ

2. นโยบายและมาตรการที่ด�ำเนินการปัจจุบัน
วั น ที่ 7 กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ. 2562 ที่ ป ระชุ ม สภานิ ติ บั ญ ญั ติ แ ห่ ง ชาติ (สนช.) ลงมติ เ ห็ น ชอบร่ า ง
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.... ใช้เป็นกฎหมาย ด้วยเสียงเอกฉันท์ และให้ร่างกฎหมาย
มีผลใช้บังคับ หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 60 วัน โดยเนื้อหามีสาระส�ำคัญคือ การก�ำหนดให้ผู้ผลิต
จ�ำหน่าย หรือ น�ำเข้า ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งรวมถึงยาแผนไทย ยาพัฒนาจากสมุนไพร ยาแผนโบราณ เพื่อ
บ�ำบัด รักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วยของมนุษย์ ต้องขอใบอนุญาตผลิต จ�ำหน่าย และน�ำเข้า จากหน่วยงาน
ราชการที่เกี่ยวข้องตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีก�ำหนด ทั้งนี้ยังก�ำหนดให้มีคณะกรรมการก�ำกับ จ�ำนวน 2 คณะ ได้แก่
คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ (เพื่อก�ำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรแห่งชาติ)
และคณะกรรมการผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งเมื่อ พ.ร.บ.นี้มีผลบังคับใช้จะเกิดประโยชน์กับการส่งเสริมอนุรักษ์
สมุนไพรไทย ส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาแผนไทยและผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างกว้างขวาง และผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย
ทั้งที่เป็นยาแผนไทย ยาพัฒนาจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ จะมีคุณภาพ มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับ
ประเทศและระดับสากล เพือ่ ความมัน่ คงและการพึง่ พาตนเอง และเกิดการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศอย่างยัง่ ยืน
ตามแนวนโยบายของรัฐบาลและแผนยุทธศาสตร์ชาติ[5]
รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โดยได้มีข้อสั่งการให้กระทรวง
สาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาพืชสมุนไพรไทยให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็น
ที่ยอมรับ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร จึงเป็นที่มาของแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการ
พัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564 ประกอบวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย สถานการณ์ ยุทธศาสตร์
มาตรการ และแผนงานต่าง ๆ ที่ครอบคลุมการพัฒนาสมุนไพรไทยตั้งแต่ ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อ

Position-5.indd 31 9/13/19 16:05


32 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ให้ 5 ปี ข้างหน้า ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบสมุนไพรคุณภาพและผลิตภัณฑ์สมุนไพรชั้นน�ำของ


ภูมิภาคอาเซียน และมูลค่าของวัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 เท่าตัว
อันจะน�ำมาสู่ความมั่นทางสุขภาพและความยั่งยืนทางเศรษฐกิจไทยต่อไป และเพื่อให้เกิดทิศทางที่ชัดเจนในการ
วางแผนพัฒนาสมุนไพรให้ครบวงจรเป็นรายชนิด จึงได้ก�ำหนดสมุนไพร Champion Products ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่
สร้างรายได้ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ซึ่งแนวทางการด�ำเนินงานประกอบด้วย การส�ำรวจข้อมูลสมุนไพร ก�ำหนด
เกณฑ์การพิจารณาสมุนไพร Champion Products ตามสภาพการณ์ปัจจุบันและอนาคต และมีการทบทวนทุก
3 ปี หรือที่เหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมามีการพิจารณาคัดเลือกสมุนไพรกว่า 10 ชนิด ได้แก่ กระชายด�ำ ไพล บัวบก
ขมิ้นชัน กวาวเครือขาว มะขามป้อม กระชาย พริก ฟ้าทะลายโจร กระเจี๊ยบแดง หญ้าหวาน และว่านหางจระเข้
และในปี ง บประมาณ 2560 กระทรวงสาธารณสุ ข ร่ ว มกั บ หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การขั บ เคลื่ อ นโครงการ
ตามแผนบูรณาการขับเคลื่อนสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ ได้คัดเลือกสมุนไพร 4 ชนิด คือ กระชายด�ำ ไพล บัวบก
ขมิ้นชัน เป็น Champion Products น�ำร่อง [4] จากแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย
ทุกหน่วยงานได้ร่วมมือกันพัฒนาและส่งเสริมสมุนไพรให้มีการใช้และสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนและ
ประเทศชาติ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จัดงานมหกรรมสมุนไพร
ทุกปี เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รู้จักสมุนไพรและใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง และยังจัดในแต่ละภาคของ
ประเทศ ซึง่ จะเป็นการส่งเสริมภูมปิ ญ
ั ญาและนวัตกรรมด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พนื้ บ้านไทย ทีด่ ำ� เนินการ
มาอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดและชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งตอบสนองการด�ำเนินงานตาม
แนวทางประชารัฐของรัฐบาล
กระทรวงพาณิชย์ได้ท�ำแผนผลักดันการส่งออกสินค้าสมุนไพรไทยตามนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน ที่
ต้องการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้อย่างยั่งยืน และพัฒนาสินค้าส่งออกรายการใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดโลก เพราะ
เล็งเห็นว่าสมุนไพรก�ำลังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก เพราะผู้บริโภคเริ่มให้ความส�ำคัญกับการบ�ำรุงสุขภาพหรือ
รักษาสุขภาพด้วยวิถีธรรมชาติมากขึ้น และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี จึงเป็นโอกาสในการส่งออกสมุนไพรไทยได้
เพิ่มขึ้น ทั้งสมุนไพรสด และผลิตภัณฑ์ กระทรวงฯ ก�ำลังจัดท�ำแผนผลักดันการส่งออกสมุนไพรไทย เพราะ
ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มมูลค่าส่งออก แต่ยังช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากแทนที่เกษตรกรจะเพาะปลูกพืช
อย่างเดียว แต่สามารถปลูกสมุนไพรแซมในไร่นา เพื่อหารายได้เสริมได้ด้วย และอาจเป็นรายได้หลักในอนาคต
หลังจากที่ตลาดต้องการมากขึ้น โดยในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ท�ำหน้าที่เป็นสื่อกลางด้านข้อมูลตลาด ส่งเสริม
การค้า พัฒนาบรรจุภัณฑ์ สร้างแบรนด์ระดับโลก และธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งสร้างช่องทางจ�ำหน่ายทั้ง
offline และ online[6]
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2542 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศรายการ “ยาสามัญประจ�ำบ้านแผน
โบราณ” 27 รายการ ซึ่งจะครอบคลุมโรคพื้นฐานได้ และปี พ.ศ. 2549 คณะกรรมการแห่งชาติด้านยาได้ยกร่าง
บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ. 2549 [บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)] ซึ่งได้บรรจุต�ำรับยา
แผนไทย 11 ต�ำรับ ยาสมุนไพรเดี่ยว 9 ต�ำรับ และในปี 2555 คณะกรรมการแห่งชาติด้านยาได้ยกร่างบัญชียา
จากสมุนไพร พ.ศ. 2558 ซึ่งมีต�ำรับยาที่เพิ่มขึ้นเป็น 74 ต�ำรับ และส�ำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติได้ยกร่าง
กลุ่มอาการที่สามารถใช้บริการการแพทย์แผนไทยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และการสั่งใช้ยาสมุนไพร
ซึ่งต้องเป็นไปตามรายการในบัญชียาหลักแห่งชาติและบัญชียาสามัญประจ�ำบ้าน จะเห็นได้ว่ารัฐมีนโยบายให้
การสนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรอย่างเด่นชัด[7]

Position-5.indd 32 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 33

จากนโยบายและมาตรการที่ด�ำเนินการปัจจุบันข้างต้น จะเป็นการส่งเสริมสมุนไพรไทยให้เป็นที่รู้จักของ
คนในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสมุนไพร Champion Products ทั้งที่ได้น�ำร่องไปแล้ว คือ
สมุนไพร 4 ชนิด กระชายด�ำ ไพล บัวบก และขมิ้น และสมุนไพรที่จะก�ำหนดต่อไปที่จะเป็น Next Champion
Products ได้แก่ กระเจี๊ยบแดง หญ้าหวาน ว่านหางจระเข้ กระชาย ฟ้าทะลายโจร มะขามป้อม กวาวเครือขาว
และพริก ซึง่ สมุนไพรแต่ละชนิดจะมีคณุ สมบัตแิ ละคุณค่าทีจ่ ะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ตา่ ง ๆ กัน ไม่วา่ จะเป็นผลิตภัณฑ์
เครื่องส�ำอางสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องดื่มสมุนไพร หรือยารักษาโรค

3. สภาพปัญหา/ข้อจ�ำกัดและโอกาสในการพัฒนา
กระเจี๊ยบแดง Rosella, sour tea, Jamaican sorel, roselle, sorrel, red sorrel
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa L. วงศ์ MALVACEAE
ส่วนที่ใช้ กลีบเลี้ยงของดอกหรือกลีบที่เหลือที่ผล ใบ
สรรพคุณ ใช้เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือดและช่วยลดน�้ำหนัก ลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ
สารประกอบ 15%-30% ประกอบด้วยกรดต่าง ๆ ได้แก่ กรด citric, malic, tartaric และ allo-
hydroxycitric acid lactone สารอื่น ๆ ได้แก่ alkaloids, L-ascorbic acid, anthocyanins (delphinidin-3-
sambubioside, cyaniding-3-sambubioside), beta-carotene, beta-sitosterol, polysaccharides (arabins
และ arabinogalactans), quercetin, gossypetin และน�้ำตาล galactose, arabinose, glucose, xylose,
mannose และ rhamnose[8-9]
มิติการพัฒนา กระเจี๊ยบมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องส�ำอาง
สมุนไพร และเป็นยารักษาโรค
มิตกิ ารพัฒนาเป็นเครือ่ งดืม่ กระเจีย๊ บทุกส่วน ไม่วา่ เป็นกลีบเลีย้ ง ใบ ผล หรือราก มีสารทีเ่ ป็นประโยชน์
กับร่างกายมากมาย เช่น กรดต่าง ๆ วิตามิน เกลือแร่ และสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้การรับประทาน
เครื่องดื่มกระเจี๊ยบมีความปลอดภัย[9]
มิตกิ ารพัฒนาเป็นเครือ่ งส�ำอางสมุนไพร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้พฒ ั นาผลิตภัณฑ์
เครื่องส�ำอางของกระเจี๊ยบ (กลีบเลี้ยง) ในรูปแบบของ เจลอาบน�้ำ ครีม โลชั่น[10] นักวิจัยประเทศญี่ปุ่นได้ศึกษาพบ
ว่า สารสกัดจากใบกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ซึ่งจะน�ำไปพัฒนาเป็นเครื่องส�ำอางแก้ฝ้าได้[11]
มิติการพัฒนาเป็นยารักษาโรค จากงานวิจัยในคนพบว่าชาชงกระเจี๊ยบมีผลในการลดความดันโลหิตได้ดี
กว่าชาด�ำ แต่มีฤทธิ์น้อยกว่ายากลุ่ม ACE-inhibitors[8,12] นอกจากนี้กระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ลดไขมันและน�้ำตาลในเลือด
ขับพยาธิและต้านจุลชีพ[9,13]
หญ้าหวาน Stevia, candyleaf, sweet leaf, sugarleaf
ชื่อวิทยาศาสตร์ Stevia rebaudiana วงศ์ ASTERACEAE
ส่วนที่ใช้ ใบ
สรรพคุณ สารให้ความหวานที่ไม่ก่อให้เกิดพลังงาน ใบหญ้าหวานนั้นมีความหวานมากกว่าน�้ำตาลถึง
10-15 เท่า สาร Stevioside ให้ความหวานมากกว่าน�้ำตาลถึง 200-300 เท่า สามารถน�ำไปใช้ในด้านอุตสาหกรรม
ต่าง ๆ เช่น เครื่องดื่ม ยาสมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ

Position-5.indd 33 9/13/19 16:05


34 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

สารประกอบ สารกลุ่ม diterpene glycosides (0.3% dulcoside, 0.6% rebaudioside C, 3.8%


rebaudioside A และ 9.1% stevioside)[14]
มิติการพัฒนา มีศักยภาพสูงในการพัฒนาเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร ยาสมุนไพรส�ำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
และเด็ก และผลิตภัณฑ์สุขภาพส�ำหรับผู้ที่ต้องการลดน�้ำหนัก
มิติการพัฒนาเป็นเครื่องดื่ม เนื่องจากหญ้าหวานเป็นพืชที่ให้ความหวานมากกว่าน�้ำตาลทราย และไม่
ก่อเกิดพลังงานมากในวงการธุรกิจเครื่องดื่มจะใช้หญ้าหวานทดแทนน�ำ้ ตาล ซึ่งธุรกิจเครื่องดื่มมีมูลค่าที่สูงมาก ใน
ตลาดต่างประเทศจะมีผลิตภัณฑ์หญ้าหวานในรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น crytals stevia, stevia extract powder,
stevioside, stevia liquid extract, stevia dark liquid concentrate, stevia pure powder extract และ
stevia tablet[14]
มิติการพัฒนาเป็นยารักษาโรค มีงานวิจัยพบว่า การดื่มน�้ำสกัดหญ้าหวาน จะช่วยลด plasma glucose
concentrations และสาร steviol และ stevioside มีผลต่อ beta cells ในตับอ่อนในการกระตุ้นการหลั่ง
insulin จะเห็นได้ว่าหญ้าหวานมีศักยภาพในการน�ำมาใช้กับผู้ป่วยเบาหวานชนิด type 2 diabetes และผู้ป่วย
phenylketonuria นอกจากนี้สารสกัดหญ้าหวานยังมีฤทธิ์ลดระดับ cholesterol, triglyceride, low-density
lipoproteincholesterol และเพิ่มระดับ high-density lipoprotein-cholesterol[14]

ว่านหางจระเข้ Aloe, Aloe vera, Aloin


ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe vera วงศ์ ASPHODELACEAE
ส่วนที่ใช้ ยาง และวุ้น
สรรพคุณ ว่านหางจระเข้เป็นพืชที่มีการใช้มานานหลายศตวรรษ ในหลายประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น กรีซ
อียิปต์ เม็กซิโก ในการรักษาแผลไฟไหม้ น�้ำร้อนลวก แผลสด ช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน ช่วยบ�ำรุง
ผิวพรรณ ช่วยท�ำให้ผิวพรรณเนียนนุ่ม ดูชุ่มชื้น ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมความดันโลหิตและ
เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร หรือใช้เป็นยาระบาย[15]
สารประกอบ ส่วนวุ้นประกอบด้วยสารกลุ่ม polysaccharides (glucomannan และ acemannan)
ส่วนยางประกอบด้วยสารกลุ่ม anthraquinones
มิตกิ ารพัฒนา ว่านหางจระเข้มศี กั ยภาพในการพัฒนาเป็นเครือ่ งส�ำอางสมุนไพร ยารักษาโรค (โดยเฉพาะ
ท�ำให้แผลหายเร็วขึ้น หรือเป็นยาระบาย) เครื่องดื่ม
มิติการพัฒนาเป็นเครื่องส�ำอางสมุนไพร วุ้นว่านหางจระเข้มีการน�ำมาใช้ในเครื่องส�ำอาง ผลิตภัณฑ์ให้
ความชุ่มชื้นกับผิวหนัง ป้องกันผิวหนังถูกท�ำลายด้วยรังสีจากแสงแดด หรือใช้ในผลิตภัณฑ์ส�ำหรับเส้นผม ท�ำให้ผม
ดกด�ำขึ้น
มิตกิ ารพัฒนาเป็นยารักษาโรค วุน้ ว่านหางจระเข้ซงึ่ ประกอบด้วยสาร polysaccharides (glucomannan
และ acemannan) สาร glucomannan มีฤทธิ์ในการสมานแผลได้ดี โดยมีกลไกสร้าง collagen กระตุ้นการเจริญ
ของ fibroblast ลดการอักเสบ สาร acemannan ช่วยกระตุ้นการเจริญของ periodontal ligament cell วุ้น
ว่านจระเข้ยงั มีฤทธิร์ กั ษาผิวหนังและเนือ้ เยือ่ ทีผ่ ดิ ปกติเนือ่ งจากสัมผัสกับรังสีหรือจากยาคีโม แผลไฟไหม้นำ�้ ร้อนลวก
รักษาโรคกระเพาะและล�ำไส้ (Irritable bowel syndrome, IBS) ลดระดับน�้ำตาลในเลือด และต้านเชื้อจุลชีพ[16-17]

Position-5.indd 34 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 35

กระชาย Fingerroot, Chinese ginger, Chinese keys, Galingale


ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia rotunda วงศ์ ZINGIBERACEAE
ส่วนที่ใช้ เหง้า
สรรพคุณ บ�ำรุงก�ำลังและเสริมสมรรถภาพทางเพศ วงการแพทย์แผนไทยว่าเป็น “โสมไทย” ซึ่งน่าจะ
พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร นอกจากนี้ในต่างประเทศก็มีการใช้เป็นยารักษา rheumatism, muscle pain,
febrifuge, gout, gastrointestinal (ขับลม ปวดท้อง และอาหารไม่ย่อย) เหง้าสดใช้รักษาฟันผุ ผิวหนังอักเสบ
แก้หวัด แก้ไอ ท้องเสีย และใช้เป็นยาขับปัสสาวะ[18]
สารประกอบ สารกลุ่ม flavonoid derivatives, chalcone derivatives, esters, kawains, terpenes
และ terpenoids น�้ำมันหอมระเหย (ประกอบด้วย camphor, linalool, camphene, a-pinene, a-terpineol,
a-phellandrene, g-terpinene, methyl 3-phenylpropionate)[18]
มิติการพัฒนา ซึ่งน่าจะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และยารักษาโรค
มิติการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ลดความอ้วน มีงานวิจัยพบว่าสาร
panduratin A, เป็นสาร novel natural AMP-activated protein kinase (AMPK) activator ซึ่งมีกลไกช่วย
ลดไขมันในเลือด ไขมันพอกตับ และสามารถพัฒนาใช้กบั อาการผิดปกติของระบบเมแทบอลิซมึ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
บ�ำรุงร่างกาย ท�ำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น[18]
มิติการพัฒนาเป็นยารักษาโรค น�้ำมันหอมระเหย สารสกัดแอลกอฮอล์ สารกลุ่ม flavonoids จาก
กระชายมีฤทธิ์ต้านเชื้อ Helicobacter pylori ที่ท�ำให้กระเพาะอาหารอักเสบ และเป็นมะเร็งได้ มีฤทธิ์ต้านเชื้อ
ปรสิตในผู้ป่วย HIV เชื้อก่อโรคปริทันตท�ำให้ฟันผุ หรือเชื้อที่ท�ำให้ตกขาว กระชายยังมีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
ต้านการอักเสบ สารส�ำคัญกลุ่ม flavonoids มีฤทธิ์ลดน�้ำตาลในเลือด (การศึกษาในหลอดทดลอง) ซึ่งมีศักยภาพ
ในการพัฒนาเป็นยารักษาโรคเบาหวานในอนาคต[19]

ฟ้าทะลายโจร Kariyat, king of bitters


ชื่อวิทยาศาสตร์ Andrographis paniculata Nees วงศ์ ACANTHACEAE
ส่วนที่ใช้ ใบ
สารประกอบ สารกลุม่ diterpene lactones ได้แก่ andrographolide, deoxyandrographolide, 11,
12-didehydro-14-deoxyandrographolide, neoandrographolide, andrographiside, deoxyandrographiside
และ andropanoside[20]
มิติการพัฒนา ฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรทีม่ กี ารใช้มานานในประเทศทางตะวันออก เช่น ประเทศเกาหลี
จีน ไทย อินเดีย แพทย์อายุรเวทใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโรคทางเดินอาหาร โรคตับ และหวัด ประเทศจีนถือว่า
ฟ้าทะลายโจรเป็นยาเย็นใช้ลดไข้ และหวัด ปัจจุบันประเทศทางตะวันตกเริ่มใช้เป็นยาแก้หวัด (common cold)
แก้ท้องเสีย จึงน่าจะพัฒนาเป็นยาต้านหวัดได้ ทั้งนี้ยังมีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการสร้าง
ภูมิคุ้มกันในร่างกาย ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมไปถึงช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวให้จับกิน
เชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย จะเห็นได้ว่าในตลาดจะมีผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรเป็นยาแก้หวัด เช่น Cold Combat (R)
ของบริษัท Blackmore[21] Kalmcold® ของบริษัท Nutrisan[22]
มิติการพัฒนาเป็นยารักษาโรค มีงานวิจัยในคนหลายฉบับที่พบว่า ฟ้าทะลายโจรใช้รักษาโรคทางเดิน
หายใจส่วนบนได้ และมีความปลอดภัย การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดแอลกอฮอล์ของฟ้าทะลายโจรมี
ฤทธิ์ปกป้องตับ[20,23]

Position-5.indd 35 9/13/19 16:05


36 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

มะขามป้อม Indian gooseberry, Emblica, Amla


ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica L. วงศ์ EUPHORBIACEAE
ส่วนที่ใช้ ผล
สารประกอบ สารกลุ่ม phenolic ได้แก่ ellagic acid, gallic acid, quercetin, kaempferol,
corilagin, geraniin, furosin, gallotanins, emblicanins, flavonoids, glycosides, และ proanthocyanidins
นอกจากนี้ยังมี vitamin C สูง
มิติการพัฒนา มะขามป้อมมีศักยภาพในการจะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องส�ำอาง เครื่องดื่ม และยา
รักษาโรค ทั้งนี้ เพราะว่ามะขามป้อมมีการใช้ในคัมภีร์อายุรเวท อาหรับ ธิเบต อียิปต์ และมีงานวิจัยค่อนข้างมาก
เกี่ยวกับฤทธิ์ immunomodulatory, anti-inflammatory, antiulcer, hepatoprotective, และ anticancer
มิตกิ ารพัฒนาเป็นยารักษาโรค สารสกัดน�ำ้ และสารสกัดแอลกอฮอลล์ของมะขามป้อมมีฤทธิต์ า้ นการอักเสบ
ต้านจุลชีพ ต้านเซลล์มะเร็ง ฤทธิ์ปกป้องตับและไต ลดไขมันและน�้ำตาลในเลือด[25-26]
มิติการพัฒนาเป็นเครื่องส�ำอางสมุนไพร มะขามป้อมมีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ สร้าง collagen
มีฤทธิ์สมานผิวที่ถูกท�ำลายเนื่องจากแสง UVB และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง[24-25]

กวาวเครือขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pueraria candollei var. mirifica (Airy Shaw & Suvat.) Niyomdham
วงศ์ FABACEAE
ส่วนที่ใช้ ราก
สารประกอบ สารกลุ่ม isoflavone aglycones (miroestrol, deoxymiroestrol, daidzein,
genistein, และ kwakfurin), สารกลุ่ม isoflavone glycosides (daidzin, genistin, และ puerarin), และ
สารกลุ่ม coumestans (coumestrol, mirificoumestan, mirificoumestan hydrate, และ mirificoumestan
glycol) และน�้ำมันหอมระเหย[26-28]
มิตกิ ารพัฒนา กวาวเครือขาวมีศกั ยภาพในการจะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครือ่ งส�ำอาง และยารักษาโรค ทัง้ นี้
เนือ่ งจากกวาวเครือขาวมีสารส�ำคัญทีม่ ฤี ทธิค์ ล้ายฮอร์โมนเพศหญิง จึงมีผลิตภัณฑ์เครือ่ งส�ำอางทีใ่ ส่สารสกัดกวาวเครือ
ขาวเพื่อท�ำให้ผิวพรรณเต่งตึง หน้าอกเต่งตึง หรือการใช้เป็นยาอายุวัฒนะทั้งผู้ชายและผู้หญิง
มิติการพัฒนาเป็นเครื่องส�ำอางสมุนไพร ครีมสารสกัดแอลกอฮอล์กวาวเครือขาวมีผลลดรอยเหี่ยวย่นใน
ผู้หญิงวัยหมดประจ�ำเดือนหลังจากการทา 1-2 สัปดาห์[29] การศึกษาในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดแอลกอฮอล์
กวาวเครือขาวมีฤทธิ์ anti-elastase, anti-collagenase และ antioxidant[30-31] สนับสนุนการพัฒนาเป็น
เครื่องส�ำอางต้านรอยเหี่ยวย่น
มิตกิ ารพัฒนาเป็นยารักษาโรค มีการศึกษาในผูห้ ญิงวัยหมดประจ�ำเดือนทีม่ อี าการร้อนวูบวาบ เหงือ่ ออก
กลางคืน พบว่าการรับประทานผงกวาวเครือ 50, 100 มิลลิกรัม มีส่วนช่วยให้อาการดังกล่าวดีขึ้น และไม่ก่อเกิด
พิษ[27] การป้อนสารสกัดแอลกอฮอล์ของกวาวเครือขาวขนาด 50 and 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน�้ำหนักตัว ในหนู
ที่ตัดรังไข่พบว่า มีฤทธิ์คล้าย estrogen ในการช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น[32] การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลัน
พบว่ามีค่า LD50 มีค่ามากกว่า 16 กรัม/กิโลกรัมน�้ำหนักตัว และการศึกษาความเป็นพากึ่งเรื้อรังพบว่า ขนาดของ
กวาวเครือ 100 และ 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน�้ำหนักตัว/วัน มีผลท�ำให้หนูมีอัตราการเจริญเติบโตและการกิน
อาหารลดลง ส่วนขนาดที่ป้อนให้หนู 10 และ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน�้ำหนักตัว ไม่มีผลต่อระบบเลือดหรือค่าทาง

Position-5.indd 36 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 37

ชีวเคมี ส่วนการศึกษาความปลอดภัยในอาสาสมัครผู้หญิงในวัยที่ยังมีประจ�ำเดือนการรับประทานผงกวาวเครือขาว
ขนาด 100-600 มิลลิกรัม เป็นเวลา 7 วัน หลังจากมีประจ�ำเดือนแล้ว 2 อาทิตย์ ไม่พบความผิดปกติของระดับ
ฮอร์โมน การท�ำงานของไต ค่าเคมีของเลือด เม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ยังพบว่าการรับประทาน
ผงกวาวเครือขาวขนาด 100-600 มิลลิกรัม มีผลท�ำให้หน้าอกมีขนาดใหญ่ขึ้น[28] จากการศึกษาในอาสาสมัครหญิง
วัยหมดประจ�ำเดือนรับประทานยาเม็ดกวาวเครือผงปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 2 เดือน พบว่ามีค่า
HDL cholesterol เพิ่มขึ้น และค่า LDL cholesterol ลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม[33]

พริก
ชือ่ วิทยาศาสตร์ Capsicum annuum L. (ชือ่ พ้อง Capsicum frutescens L., Capsicum frutescens
var. frutescens, Capsicum minimum Mill.) วงศ์ SOLANACEAE
ส่วนที่ใช้ ผล
สารประกอบ สารกลุ่ม capsaicinoids [capsaicin (trans-8-methyl-N-vanillyl-6-nonenamide),
dihydrocapsaicin, และ nordihydrocapsaicin), flavonoids[34-35], สารสี red-colored (carotenoids:
xanthophylls, capsanthin, และ capsorubin)[34-36]
มิติการพัฒนา
มิติการพัฒนาเป็นยารักษาโรค ขี้ผึ้งสารสกัดพริกมีผลช่วยผู้ป่วยที่เป็น rheumatoid arthritis ที่ปวด
และมือไม่มีแรง[34] พริกและสาร capsaicinoids ปรับสมดุลระบบ metabolism และ hormone function,
ปรับระดับ blood glucose, ลดการดื้อของ insulin และ leptin, ต้าน LDL-cholesterol oxidation และ
ป้องกันมะเร็ง (เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ) สาร capsaicinoids มีฤทธิ์ช่วยลดน�้ำหนัก โดยมีกลไก ลด
ad libitum energy intake เพิ่ม thermogenesis และ energy expenditure และการรับประทานสาร
capsaicinoids ขนาด 10 mg เป็นเวลา 7 วัน ไม่ก่อความผิดปกติของค่าเคมีเลือด[36] พริกและสาร capsaicinoids
มีฤทธิ์ต้านการปวดผ่านกลไกที่มีผลต่อ receptor TRPV1 ผลิตภัณฑ์พริก (capsaicin (0.025-0.1% wt/wt)
มีการน�ำมาใช้เป็นยารักษา neuropathic pain[37]
มิติการพัฒนาเป็นสีจากสมุนไพร สารสีแดง-ส้มจากพริกถือได้ว่าเป็นสารสีที่ได้จากธรรมชาติ มีความ
ปลอดภัย สามารถสกัดได้จากส่วนเนื้อผลของพริก สารสีเหล่านี้เป็น precursor ของวิตามินเอ และเป็นสารที่มี
ฤทธิต์ า้ นอนุมลู อิสระ เป็นสารสีทสี่ ามารถน�ำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครือ่ งส�ำอางและอาหาร สารสีเหล่านีส้ ามารถใช้ตวั
ท�ำลายทีไ่ ม่มขี วั้ สกัดได้ แต่ไม่คอ่ ยปลอดภัยถ้ามีตวั ท�ำละลายตกค้าง ซึง่ วิธที ดี่ ใี นการสกัดคือการใช้ CO2 supercritical
fluid extraction ซึ่งมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม[36]

บทสรุป
จากข้อมูลของสมุนไพรทัง้ 8 ชนิด ได้แก่ กระเจีย๊ บแดง หญ้าหวาน ว่านหางจระเข้ กระชาย ฟ้าทะลายโจร
มะขามป้อม กวาวเครือขาว และพริก ซึ่งสมุนไพรแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติและคุณค่าที่จะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
ต่าง ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องส�ำอางสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องดื่มสมุนไพร หรือยารักษาโรค
จึงน่าที่จะสนับสนุนให้เป็นสมุนไพร Next Champion Products ส�ำหรับประเทศไทยในปีถัดไป โดยจะต้องสร้าง
ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการผลักดันให้เป็น Next Champion Products โดย

Position-5.indd 37 9/13/19 16:05


38 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะต้องสนับสนุนองค์ความรู้ในการผลิตสมุนไพรดังกล่าวแบบ organic กระทรวง


อุตสาหกรรมร่วมกับกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ส่งเสริมองค์ความรู้ในการวิจัยและพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ของสมุนไพรดังกล่าวอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน และกระทรวงพาณิชย์ ส่งเสริมการขายทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมให้มีการใช้อย่างแพร่หลายทั้งสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน
การบูรณาการทุกภาคส่วนจะส่งส่งเสริมสมุนไพรให้เป็นความมัง่ คงทางสุขภาพ และความมัง่ คัง่ ทางเศรษฐกิจของชาติ

เอกสารอ้างอิง

1. Thaiherbmedicine. [Internet]. Available online from: https://thaiherbmedicine.wordpress.com/


2. ส� ำ นั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพ. [อิ น เตอร์ เ น็ ต ]. ที่ ม า:http://www.thaihealth.or.th/
Content/43547
3. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. ตลาดบิวตี้ยังแจ๋ว เกาะเทรนด์ธุรกิจท�ำเงิน. ข้อมูลวิจัย; ตุลาคม 2561
4. กระทรวงสาธารณสุขและองค์กรภาครัฐ-เอกชน. แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1
พ.ศ. 2560-2564. บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จ�ำกัด, 2560.
5. สยามรัฐออนไลน์. สนช.ผ่านร่างกม.สมุนไพร ออกกฎห้ามผลิต-จ�ำหน่าย-น�ำเข้า หากไม่ขออนุญาต. [อินเตอร์เน็ต].
2562. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562]. ที่มา: https://siamrath.co.th/n/64469
6. ไทยรัฐฉบับพิมพ์. สมุนไพรไทยเจาะตลาดโลก สั่ง “ทูตพาณิชย์” ท�ำแผนส่งออกเพิ่มรายได้. [อินเตอร์เน็ต]. 2560
[เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2562]. ที่มา: https://www.thairath.co.th/content/836573
7. คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ
พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ; 2558.
8. Tori Hudson, ND. Hibiscus Sabdariffa: A Research Review of Its Uses and Safety. [Inntert]. Available
online from: https://www.todaysdietitian.com/whitepapers/Hibiscus_Sabdariffa.pdf
9. Singh P, Khan M, Hailemariam H. Nutritional and health importance of Hibiscus sabdariffa: a
review and indication for research needs. J Nutr Health Food Eng. 2017;6(5):125-8.
10. กรุงเทพธุรกิจ. “กระเจี๊ยบ” สรรพคุณไกลต้น. [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2562]. ที่มา:
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/597192 6 สิงหาคม 2557
11. Sawabe A, Nesumi C, Morita M, Matsumoto S, Matsubara Y, et al. Glyocsides in African dietary
leaves, Hibiscus subdariffa. J Oleo Sci. 2005;54(3):185-91.
12. Wahabi HA, Alansary LA, Al-Sabban AH, Glasziuo P. The effectiveness of Hibiscus sabdariffa in
the treatment of hypertension: A systematic review. Phytomedicine. 2010;17:83-6.
13. Hajifaraji M, Matlabi M, Ahmadzadeh-Sani F, Mehrabi Y, Salem Rezaee M, Hajimehdipour H, et
al. Effects of aqueous extract of dried calyx of sour tea (Hibiscus sabdariffa L.) on polygenic
dyslipidemia: A randomized clinical trial. Avicenna J Phytomed. 2018;8(1):24-32.
14. Goyal SK, Samsher, Goyal RK. Stevia (Stevia rebaudiana) a bio-sweetener: A review. Int J Food
Sci Nutr. 2010;61(1):1-10.
15. Web MD. Vitamins & Supplement > ALOE. [Inntert]. Available online from: https://www.webmd.
com/vitamins/ai/ingredientmono-607/aloe

Position-5.indd 38 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 1 ประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 39

16. Zagórska-Dziok M, Furman-Toczek D, Dudra-Jastrzebska M, Zygo K, Stanisławek A, Kapka-Skrzypczak


L. Evaluation of clinical effectiveness of Aloe vera –a review. J Pre-Clin Clin Res. 2017;11(1):
86-93.
17. Medical News Today. Nine health benefits and medical uses of Aloe vera. [Internet]. 2017
Available online from: https://www.medicalnewstoday.com/articles/265800.php
18. Tan EC, Lee YK, Chee CF, Heh CH, Wong SM, Thio LP, et al. Boesenbergia rotunda: from
ethnomedicine to drug discovery. J Evid Based Complementary Altern Med. 2012, Article ID
473637, 25 pages doi:10.1155/2012/473637.
19. Potipiranun T, Adisakwattana S, Worawalai W, Ramadhan R, Phuwapraisirisan P. Identification of
pinocembrin as an anti-glycation agent and a-glucosidase inhibitor from Fingerroot (Boesenbergia
rotunda): The tentative structure–activity relationship towards MG-Trapping activity. Molecules
2018;23:3365; doi:10.3390/molecules23123365.
20. European Medicines Agency Science Medicines Health. Assessment report on Andrographis
paniculata Nees, folium. [Internet]. 2014 Available online from: https://www.ema.europa.eu/
documents/herbal-report/final-assessment-report-andrographis-paniculata-nees-folium-first-version_
en.pdf
21. Blackmores. Andrographis: east meets west. [Internet]. 2011 Available from: https://www.blackmores.
com.au/cold-flu-and-immunity/andrographis-east-meets-west
22. Nutrisan Nutraceuticals. Kalmcold. [Internet]. Available online from: https://nutrisan.com/en/
products/respiratory/kalmcold/
23. Melchior J, Palm S, Wikman G. Controlled clinical study of standardized Andrographis paniculata
extract in common cold - a pilot trial. Phytomedicine. 1996;3(4):315-8.
24. Drugs.com. Emblica. [Internet]. Available online from: https://www.drugs.com/npp/emblica.html
25. Watson RR. (Ed.): Foods and dietary supplements in the prevention and treatment of disease
in older adults. DOI: http://dx.doi.org/10.1016/B978-0-12-418680-4.00003-8
26. Yagi N, Nakahashi H, Kobayashi T, Miyazawa M. Characteristic chemical components of the
essential oil from white kwao krua (Pueraria mirifica). J Oleo Sci. 2013:62(3):175-9.
27. Chandeying V, Lamlertkittikul S. Challenges in the conduct of Thai herbal scientific study: efficacy
and safety of phytoestrogen, Pueraria mirifica (kwao keur kao), phase I, in the alleviation of
climacteric symptoms in perimenopausal women. J Med Assoc Thai. 2007;90(7):1274-80.
28. Alexander G. Review of the Efficacy, Safety and Applications, of Pueraria candollei var. mirifica
Airy Shaw root: A Unique Thai Botanical Medicine with Potential as a U.S. Dietary Supplement
for Oral and Topical Use. [Internet]. Available online from: http://puresterolpm.com/wp-content/
uploads/sites/40/2017/04/B.-Review-of-the-Efficacy-Safety-and-Applications.pdf
29. Sirisa-Ard P, Peerakam N, Huy NQ, On TV, Long PT, Intharuksa A. Development of anti-wrinkle
cream from Pueraria candollei var. mirifica (Airy Shaw and Suvat.) Niyomdham, “Kwao Krua Kao”
for menopausal women. Int J Pharm Pharm Sci. 2018;10(7):16-21.

Position-5.indd 39 9/13/19 16:05


40 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

30. Chattuwatthana T, Okello E. Anti-collagenase, anti-elastase and antioxidant activities of Pueraria


candollei var. mirifica root extract and Coccinia grandis fruit juice extract: An In vitro study.
EJMP. 2015;5(4):318-27.
31. Yingngam B, Rungseevijitprapa W. Molecular and clinical role of phytoestrogens as anti-skin-ageing
agents: A critical overview. Phytopharmacol. 2012;3(2):227-44.
32. Inthanuchit KS, Udomuksorn W, Kumarnsit E, Vongvatcharanon S, Vongvatcharanon U. Treatment
with Pueraria mirifica extract prevented muscle atrophy and restored muscle strength in
ovariectomized rats. Sains Malaysiana. 2017;46(10):1903-11.
33. Okamura S, Sawada Y, Satoh T, Sakamoto H, Saito Y, Sumino H, et al. Pueraria mirifica
phytoestrogens improve dyslipidemia in postmenopausal women probably by activating estrogen
receptor subtypes. Tohoku J Exp Med. 2008;216:341-51.
34. Seca S, Geada L, Cabrita AS, Greten HJ. Topical effects of Capsicum frutescens on hand pain
in patients with rheumatoid arthritis: A case report. J Tradit Med Clin Natur. 2017;6:207. doi:
10.4172/2573-4555.1000207.
35. Deshpande J, Jeyakodi S, Juturu V. Tolerability of capsaicinoids from Capsicum extract in a
beadlet form: A pilot study. J Toxicol. 2016, Article ID 6584649, 8 pages.
36. Richins RD, Hernandez L, Dungan B, Hambly S, Holguin FO, O’Connell MA. A “Green” extraction
protocol to recover red pigments from hot Capsicum fruit. Hortscience. 2010;45(7):1084-7.
37. Fattori V, Hohmann MSN, Rossaneis AC, Pinho-Ribeiro FA, Verri Jr WA. Capsaicin: Current understanding
of its mechanisms and therapy of pain and other pre-clinical and clinical uses. Molecules 2016;
21:844; doi:10.3390/molecules21070844.

Position-5.indd 40 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 41

กลุ่มที่ 2

ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับ
การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
2.1 การพัฒนามาตรฐานผู้ให้บริการด้านการนวดไทยของประเทศไทย
2.2 หมอพื้นบ้านกับอนาคตสุขภาพชุมชนไทย
2.3 อนาคตการวิจัยต�ำรับยาแผนไทย
2.4 ทิศทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการแพทย์แผนไทยอย่างยั่งยืน (ในระดับอุดมศึกษา)
2.5 ผลกระทบของกรอบการเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา
ที่เกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทาง
วัฒนธรรมดั้งเดิม ต่อกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

Position-5.indd 41 9/13/19 16:05


42 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

การพัฒนามาตรฐานผู้ ให้บริการด้านการนวดไทยของประเทศไทย

ดร.ภก.ยงศักดิ์ ตันติปิฎก
หน่วยวิจัยระบบภูมิปัญญาสุขภาพ

1. ความเป็นมา หลักการและเหตุผล
บทความนี้ ต ้ อ งการน� ำเสนอสภาพปั ญ หาที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ มาตรฐานผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารด้ า นการนวดไทยของ
ประเทศไทย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการนวดไทยและการนวดเพื่อสุขภาพซึ่งมีความเป็นมาที่แตกต่างกัน มีกฎระเบียบที่
ใช้ในการควบคุมแตกต่างกัน มีปัญหามาตรฐานหลักสูตรที่แตกต่างกัน เกิดความซ้อนทับและคลุมเครือเกี่ยวกับ
ขอบเขตของการปฏิบัติงาน เกิดความสับสนในการรับรู้ของประชาชน และความลักลั่นในการควบคุมก�ำกับ โอกาส
ในปี พ.ศ. 2562 นี้ นวดไทย (Nuad Thai) ได้รับการเสนอเพื่อขอขึ้นทะเบียนจารึกในรายการตัวแทนมรดก
ทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage)
คณะอนุกรรมการวิชาการ งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครัง้ ที่ 16 จึงเห็นสมควรให้มหี อ้ งการประชุมวิชาการประจ�ำปี
เพื่อให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสในการก�ำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน โดยมอบหมายให้
ผู้เขียนเป็นผู้น�ำเสนอบทความนี้เพื่อเป็นข้อมูลน�ำเข้าสู่การอภิปรายในการประชุมดังกล่าว
โดยทีก่ อ่ นการประชุมวิชาการประจ�ำปี ได้มกี ารจัดประชุมย่อยเพือ่ ปรึกษาหารือในระดับผูป้ ฏิบตั งิ านเกีย่ วกับ
แนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนามาตรฐานผู้ให้บริการด้านการนวดไทยของประเทศไทย ผู้เขียนได้นำ� ประเด็น
ที่มีปรึกษาหารือเหล่านั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเขียนบทความนี้ด้วยแล้ว

ความเป็นมาและสภาพปัญหา
ก่อนจะท�ำความเข้าใจสภาพปัญหาเกีย่ วกับมาตรฐานผูใ้ ห้บริการด้านการนวดไทยของประเทศไทย จ�ำเป็น
ต้องกล่าวถึงความเป็นมาเกีย่ วกับผูใ้ ห้บริการด้านการนวดไทยตามทีม่ กี ฎหมายรับรองในประเทศ ซึง่ เกีย่ วข้องกับความ
เป็นมาของ “การนวดไทย” และ “การนวดเพื่อสุขภาพ”

การนวดไทย
การนวดไทย เป็ น ผลผลิ ต จากการฟื ้ น ฟู ก ารนวดไทยในทศวรรษ 2530 ซึ่ ง ด� ำ เนิ น การโดยองค์ ก ร
ภาคประชาสังคมด้านสุขภาพ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และองค์กรวิชาชีพ ซึ่งเริ่มด้วยการฟื้นฟูพัฒนาการนวด
แผนโบราณ เพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในงานสาธารณสุขมูลฐาน แล้วขยายไปสู่การพัฒนาใน
ด้านต่าง ๆ ได้แก่ การศึกษาวิจัยประสิทธิผลของการนวดไทย การพัฒนารูปแบบการน�ำการนวดไทยไปใช้ในระบบ
บริการสาธารณสุขของรัฐ การน�ำการนวดไทยไปใช้ในการฟืน้ ฟูเด็กพิการ การพัฒนาผูน้ วด ซึง่ เป็นผูพ้ กิ ารทางสายตา
การพัฒนากฎหมายเพือ่ ให้การนวดไทยเป็นสาขาหนึง่ ของการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย การสังคายนาและ
พัฒนาต�ำราการนวดไทย การจัดท�ำมาตรฐานวิชาชีพด้านการนวดไทย เป็นต้น ปัจจุบัน การนวดไทยมีนิยามปรากฏ
ในกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย การให้บริการต้องกระท�ำโดยผูป้ ระกอบวิชาชีพการแพทย์
แผนไทยหรื อ การแพทย์ แ ผนไทยประยุ ก ต์ ในคลิ นิ ก การแพทย์ แ ผนไทยตามกฎหมายว่ า ด้ ว ยสถานพยาบาล

Position-5.indd 42 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 43

การขับเคลื่อนการพัฒนาการนวดไทยจึงเป็นแรงขับที่มาจากความต้องการพัฒนาทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพ
จากภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาติ[1]

การนวดเพื่อสุขภาพ
การนวดเพือ่ สุขภาพ เป็นผลผลิตของการน�ำการนวดไปใช้ในภาคธุรกิจบริการ ซึง่ แตกแขนงมาจากการนวด
ในสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ หรือที่รู้จักกันในชื่อสถานอาบอบนวด ซึ่งมีภาพลักษณ์เกี่ยวข้อง
กับการค้าบริการทางเพศ การขับเคลื่อนการนวดเพื่อสุขภาพมีแรงขับมาจากการมองเห็นศักยภาพของบริการนวด
ที่สามารถสร้างรายได้และเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเติบโตเป็นอย่างมากในภาคบริการและการท่องเที่ยว ปัจจุบัน
การนวดเพื่อสุขภาพมีนิยามปรากฏในกฎหมายว่าด้วยสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ การให้บริการต้องกระท�ำโดย
ผู้ให้บริการนวด (ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพ) แต่เป็นผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรหรือประกาศนียบัตรผ่านการอบรมตามหลักสูตร
ที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพรับรอง ซึ่งมีหลักสูตรนวดไทยเพื่อสุขภาพเป็นหนึ่งในหลักสูตรด้านการบริการเพื่อ
สุขภาพที่มีการรับรอง[1]

2. นโยบายและมาตรการที่ด�ำเนินการปัจจุบัน
ประเภทของผู้ให้บริการด้านการนวดไทย
ประเภทของผู้ให้บริการด้านการนวดไทยของประเทศไทยเกี่ยวข้องกับการนวดไทยในระดับวิชาชีพ และ
การนวดเพื่อสุขภาพซึ่งเป็นการนวดในภาคธุรกิจบริการ ดังนี้
1. ผู้ให้บริการด้านการนวดไทยในระดับวิชาชีพ ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ.
2556 ผู้ที่สามารถประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ด้านการนวดไทย ประกอบด้วย
1.1 ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ด้านการนวดไทย
1.2 ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ด้านเวชกรรมไทย
1.3 ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
1.4 ผู ้ ช ่ ว ยแพทย์ แ ผนไทย ซึ่ ง เป็ น ผู ้ ที่ ไ ด้ รั บ การยกเว้ น ตามมาตรา 31(5) และ 31(6) แห่ ง
พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556[2-4]
2. ผู้ให้บริการนวดเพื่อสุขภาพในสถานประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติสถาน
ประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 ซึ่งผ่านการอบรมนวดไทยเพื่อสุขภาพ 150 ชม. หรือหลักสูตรนวดไทยเพื่อ
สุขภาพส�ำหรับผู้พิการทางสายตา 255 ชม. หรือ หลักสูตรนวดไทยเพื่อสุขภาพ 100 ชม. ต่อยอด 60/80 ชม.
(เทียบเท่าหลักสูตรนวดไทยเพื่อสุขภาพ 150 ชม.)

หลักสูตรการนวดไทย
ปัจจุบัน หลักสูตรการนวดไทยที่ได้รับการรับรองจากสภาการแพทย์แผนไทย ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพ
การแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 มี 2 หลักสูตร คือ
1. หลักสูตรวิชาชีพการนวดไทย 800 ชม.
2. หลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 330 ชม.

Position-5.indd 43 9/13/19 16:05


44 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ส่วนหลักสูตรการนวดไทยที่ได้รับการรับรองตามประกาศคณะกรรมการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
เรื่อง หลักเกณฑ์การรับรองวุฒิบัตรหรือประกาศนียบัตรที่ผู้ด�ำเนินการหรือผู้ให้บริการได้รับจากสถาบันการศึกษา
หน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ พ.ศ. 2559 ตามพระราชบัญญัตสิ ถานประกอบการเพือ่ สุขภาพ พ.ศ. 2559 มีหลักสูตร
มาตรฐาน 3 หลักสูตร คือ
1. หลักสูตรนวดไทยเพื่อสุขภาพ 150 ชม.
2. หลักสูตรนวดไทยเพื่อสุขภาพส�ำหรับผู้พิการทางสายตา 255 ชม.
3. หลักสูตรนวดไทยเพื่อสุขภาพ 100 ชม. ต่อยอด 60/80 ชม. (เทียบเท่าหลักสูตรนวดไทยเพื่อสุขภาพ
150 ชม.)

3. สภาพปัญหา/ข้อจ�ำกัดและโอกาสในการพัฒนา
วิเคราะห์ปัญหา
1. ความซ้อนทับและสับสนระหว่างการนวดไทยกับนวดเพื่อสุขภาพ
1.1 ในด้านการรับรู้ของสาธารณะ
ยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาถึงการรับรู้ของสาธารณะต่อการนวดไทยและนวดเพื่อสุขภาพ แต่จากข่าวสารใน
สื่อสารมวลชน พออนุมานได้ว่ายังมีความสับสนและคลุมเครือระหว่างการนวดไทยกับนวดเพื่อสุขภาพ การนวด
ประเภทต่าง ๆ ที่มีให้บริการในสถานประกอบการโดยเฉพาะนวดฝ่าเท้า ซึ่งมักปรากฏเป็นเมนูนวด ในร้านนวด
แผนไทยด้วย และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพก็ถอื ว่าเป็นส่วนหนึง่ ของ “นวดแบบไทย” อีกทัง้ ป้ายสถานประกอบการ
นวดต่าง ๆ มักระบุว่าเป็นนวดแผนไทย และบางแห่งยังรับนวดแก้อาการต่าง ๆ เป็นการเฉพาะด้วย ท�ำให้ขอบเขต
ของการนวดซ้อนทับกับการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย เพราะเป็นการนวดเพื่อการแก้ไขอาการความ
เจ็บป่วยหรือบ�ำบัดโรค เช่นเดียวกับคลินิกการแพทย์แผนไทยของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
1.2 ในด้านหลักสูตรการอบรม
การมีหลักสูตรการนวดไทยเพื่อสุขภาพ 150 ชม. อยู่ในการนวดเพื่อสุขภาพ โดยหัวข้อวิชาการอบรมใน
หลักสูตรการเรียนการสอนส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับหลักสูตรการนวดไทยในระดับวิชาชีพ เช่น วิชาทฤษฎีการแพทย์
แผนไทย วิชาเภสัชกรรมไทยเบื้องต้น วิชาประวัติ องค์ความรู้ และการประยุกต์ใช้การนวดไทย วิชาเส้นประธาน
วิชาการนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น แต่จ�ำนวนชั่วโมงเรียนมีน้อยกว่า และมีบางวิชาที่เกี่ยวข้องกับการ
ตรวจรักษาเพิ่มเติมเข้ามาอีก เช่น การตรวจร่างกายเบื้องต้น การนวดไทยแก้ไขอาการที่พบบ่อย ซึ่งท�ำให้มีความ
สับสนได้ว่า ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อสุขภาพ สามารถตรวจร่างกายผู้รับบริการ และนวดบ�ำบัดอาการ
ซึ่งเป็นการกระท�ำที่เข้าข่ายการประกอบวิชาชีพได้หรือไม่เพียงใด หรือ การเรียนวิชาเส้นประธาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับ
หลักวิชาในการตรวจและบ�ำบัดโรคลม ซึ่งมีเส้นประธานทั้งสิบเป็นแนวทางในการตรวจวินิจฉัยและบ�ำบัด เป็น
การเรียนการสอนเพื่ออะไร เป็นต้น
2. มาตรฐานหลักสูตรที่แตกต่างและไม่เชื่อมโยงกัน
การที่กฎหมายรับรองให้มีหลักสูตรการนวดทั้งในระดับอาชีพและวิชาชีพ ท�ำให้มีหน่วยงานที่ท�ำหน้าที่
รับรองหลักสูตรหรือสถาบันการฝึกอบรมที่ขออนุญาตจัดการฝึกอบรมเป็นคนละหน่วยงานกัน ดังนี้

Position-5.indd 44 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 45

หลักสูตรวิชาชีพการนวดไทย 800 ชม. และหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 330 ชม. ตามพระราชบัญญัติ


วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 สภาการแพทย์แผนไทยเป็นหน่วยงานรับรองสถาบันการฝึกอบรมและ
หลักสูตร
หลักสูตรนวดไทยเพื่อสุขภาพ 150 ชม. ตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นหน่วยงานรับรองหลักสูตร
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ หลักสูตรวิชาชีพการนวดไทย 800 ชม. หลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 330 ชม.
และหลักสูตรนวดไทยเพื่อสุขภาพ 150 ชม. ไม่มีความเชื่อมโยงหรือสามารถน�ำผลการอบรมจากหลักสูตรหนึ่ง
ไปใช้เพื่ออบรมต่อเนื่องกับหลักสูตรที่สูงกว่า (จ�ำนวนชั่วโมงมากกว่า) ได้ หรือผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรที่สูงกว่าไม่
สามารถใช้ผลการอบรมนั้นกับหลักสูตรที่ต�่ำกว่าได้ ต้องเข้ารับการอบรมใหม่ทั้ง ๆ ที่ได้ผ่านการอบรมในวิชาต่าง ๆ
มาแล้วเป็นส่วนใหญ่ แม้จะมีความพยายามที่จะน�ำปัญหานี้เข้าสู่การปรึกษาหารือระหว่างสภาการแพทย์แผนไทย
กับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพแล้ว แต่ยังมีปัญหาในการเทียบเคียงหลักสูตรอยู่ เพราะมีบางวิชาอาจมีเนื้อหา
แตกต่างกัน หรือจ�ำนวนชั่วโมงเรียนยังแตกต่างกัน
สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ท�ำให้ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถปรับมาตรฐานการนวดให้เป็นมาตรฐานระดับชาติ
ที่เกิดจากการตกลงร่วมกันของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ และไม่สามารถท�ำให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะของ
ผู้ให้บริการนวดที่ต่อเนื่องกันได้
3. ความลักลั่นของการควบคุมก�ำกับ
การมีหลักสูตรการนวดทั้งระดับอาชีพและระดับวิชาชีพ มีหน่วยงานควบคุมก�ำกับแยกจากกัน ท�ำให้
มีความลักลั่นในการปฏิบัติ กล่าวคือ ในการนวดไทยระดับวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือ
ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มี professional autonomy ที่จะรับผิดชอบและตัดสินใจกับการ
จัดการกับผูป้ ว่ ยโดยใช้ความรูข้ องตนเองตามทีไ่ ด้ฝกึ หัดอบรมทางวิชาชีพมาได้โดยอิสระ ภายใต้มาตรฐานวิชาชีพและ
จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ โดยมีสภาการแพทย์แผนไทยเป็นองค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพ มีการลงโทษทางวิชาชีพ
เมื่อกระท�ำผิดข้อจ�ำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ หรือประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพ
การแพทย์แผนไทย โดยการลงโทษสูงสุดคือ การเพิกถอนใบอนุญาต การประกอบวิชาชีพ ส่วนผูช้ ว่ ยแพทย์แผนไทย
ไม่มี professional autonomy เพราะต้องประกอบวิชาชีพภายใต้การควบคุมของผูป้ ระกอบวิชาชีพในสถานบริการ
สาธารณสุของรัฐ หรือคลินิกการแพทย์แผนไทย/คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยมีข้อจ�ำกัดหรือขอบเขตที่
สามารถท�ำการนวดบ�ำบัดและฟืน้ ฟูสขุ ภาพได้ในระดับหนึง่ ตามทีก่ ำ� หนดในระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560
ยังไม่มีจรรยาบรรณหรือมารยาทที่จะต้องยึดถือปฏิบัติตามในเชิงบังคับ แต่อนุโลมว่าให้ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ
แห่งการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย แต่หากมีการฝ่าฝืน ยังไม่มีบทลงโทษทางวิชาชีพ เช่น การพักหรือ
เพิกถอนใบอนุญาต
ส่วนการนวดไทยระดับอาชีพ ผู้ให้บริการนวดไม่ถือว่ามี professional autonomy แต่เป็นผู้ให้บริการ
นวดตามที่ได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ไม่ต้องอยู่ภายใต้
การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพ แต่ต้องให้บริการนวดในสถานประกอบการนวดเพื่อสุขภาพที่ได้รับอนุญาต ยัง
ไม่มีความชัดเจนในข้อกฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานการประกอบอาชีพและมารยาทของผู้นวด ที่มีผลเชิงบังคับให้
ผู้ให้บริการนวดต้องปฏิบัติตาม หรือมีบทลงโทษเมื่อผู้ให้บริการนวดผู้นั้นกระท�ำผิดมาตรฐานหรือมารยาท อีกทั้งยัง
ไม่มีการควบคุมการปฏิบัติงานโดยผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพหรือผู้ที่มีความรู้โดยเฉพาะในการคัดกรองผู้มารับ
บริการนวด ท�ำให้อาจมีปัญหาการให้บริการนวดกับผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ควรให้บริการนวด

Position-5.indd 45 9/13/19 16:05


46 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ตารางที่ 2.1 สรุปการควบคุมก�ำกับการนวดไทยในระดับต่าง ๆ


Professional Under ข้อจ�ำกัดและ จรรยาบรรณ บทลงโทษ
ผู้ให้บริการ องค์กรควบคุม
autonomy supervision เงื่อนไข เชิงบังคับ ทางวิชาชีพ
ผู้ประกอบวิชาชีพการ มี ไม่มี ยังไม่มี มี สภาการแพทย์ มี
แพทย์แผนไทย/ ต้องจัดท�ำเป็น แผนไทย
ประยุกต์ ข้อบังคับสภาฯ
ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ไม่มี มี มีตามระเบียบ ไม่มี หน่วยงาน ไม่มี
กระทรวงฯ ราชการ
ที่มอบหมาย
ผู้ให้บริการนวดเพื่อ ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี กรม สบส. ไม่มี
สุขภาพ

การควบคุมผูใ้ ห้บริการนวดให้ปฏิบตั ใิ นขอบเขตตามทีก่ ฎหมายก�ำหนด จึงขึน้ อยูก่ บั การควบคุมก�ำกับและ


ติดตามหลังการอนุญาตให้เป็นสถานประกอบนวดเพื่อสุขภาพของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายเท่านั้น ในกรณีที่
ผู้ให้บริการนวดปฏิบัติการนวดเพื่อแก้อาการแก่ผู้รับบริการในสถานประกอบการนวดเพื่อสุขภาพ ถือว่าผู้ให้บริการ
นวดกระท�ำผิดพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 ซึ่งการจะด�ำเนินคดี ตามความผิดนี้ ต้อง
ด�ำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย โดยใช้กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ไม่สามารถใช้
พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 ตั้งข้อหาหรือกล่าวโทษ ได้โดยตรง
จากตารางจะเห็นได้ว่า การควบคุมก�ำกับผู้ให้บริการนวดเพื่อสุขภาพเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ช่วยแพทย์
แผนไทย ยังขาดการควบคุมโดยผูท้ มี่ คี วามรูค้ วามสามารถทีส่ งู กว่า ส่วนการควบคุมก�ำกับผูใ้ ห้บริการนวดเพือ่ สุขภาพ
และผูช้ ว่ ยแพทย์แผนไทยเมือ่ เปรียบเทียบกับผูป้ ระกอบวิชาชีพ ยังไม่มขี อ้ จ�ำกัดและมารยาทในการนวดทีเ่ ป็นระเบียบ
ซึ่งจะมีผลต่อการลงโทษเมื่อฝ่าฝืนระเบียบนั้น

4. ข้อเสนอเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ
จากการวิเคราะห์ปัญหาข้างต้น บทความมีข้อเสนอเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติเพื่อพัฒนามาตรฐานผู้ให้
บริการนวดไทยของประเทศดังต่อไปนี้
1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมกันก�ำหนดสมรรถนะ (competency) ของผู้ให้บริการนวดไทย ทั้ง 3
ประเภทให้สอดคล้องกัน โดยผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยควรมีสมรรถนะทั้งในด้านการบ�ำบัดรักษา ฟื้นฟู
สุขภาพ ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ ระดับผู้ช่วยแพทย์แผนไทยควรมีสมรรถนะด้านการส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟู
สุขภาพในบางโรค ส่วนระดับผู้ให้บริการนวดเพื่อสุขภาพควรมีสมรรถนะด้านการส่งเสริมสุขภาพเท่านั้น เมื่อมี
การก�ำหนดสมรรถนะ ของผูใ้ ห้บริการนวดไทยของประเทศแบบขัน้ บันไดแล้ว ผูท้ มี่ สี มรรถนะในขัน้ ทีส่ งู กว่าจะสามารถ
ปฏิบตั งิ านด้านการนวดไทยทีต่ อ้ งการผูม้ สี มรรถนะต�ำ่ กว่าได้ โดยไม่จำ� เป็นต้องฝึกอบรมซ�ำ้ และผูท้ มี่ สี มรรถนะในขัน้
ที่ต�่ำสามารถศึกษาอบรมเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มสมรรถนะให้สูงขึ้นได้ โดยไม่ต้องฝึกอบรมซ�้ำในส่วนที่ได้ผ่านการฝึกอบรม
มาแล้ว

Position-5.indd 46 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 47

2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรร่วมกันปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนและการฝึกอบรมผู้ให้บริการ
ด้านการนวดไทยของประเทศ คือผู้ให้บริการนวดเพื่อสุขภาพ ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย และผู้ประกอบวิชาชีพ
การแพทย์แผนไทย ให้มีความเชื่อมโยงและสามารถศึกษาอบรมต่อเนื่องได้ เพื่อเพิ่มสมรรถนะให้สูงขึ้นตามข้อ 1
3. สภาการแพทย์แผนไทย ควรเร่งรัดการจัดท�ำข้อบังคับว่าด้วยข้อจ�ำกัดและเงื่อนไขในการประกอบ
วิชาชีพการแพทย์แผนไทยด้านการนวดไทย จัดท�ำมาตรฐานการประกอบวิชาชีพด้านการนวดไทยของผู้ประกอบ
วิชาชีพการแพทย์แผนไทยด้านการนวดไทย และจัดท�ำมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ช่วยแพทย์แผนไทยให้มีความ
ชัดเจน และก�ำหนดกรรมวิธกี ารนวดทีอ่ นุญาตให้ผชู้ ว่ ยแพทย์แผนไทยใช้ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐหรือคลินกิ
การแพทย์แผนไทย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพควรจัดท�ำมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการนวดเพื่อสุขภาพ
และก�ำหนดกรรมวิธีการนวดที่อนุญาตให้ผู้ให้บริการนวดเพื่อสุขภาพใช้ในสถานประกอบการนวดเพื่อสุขภาพ
4. สภาการแพทย์แผนไทยควรจัดท�ำมารยาทของผู้ช่วยแพทย์แผนไทย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
ควรจัดท�ำมารยาทของผู้ให้บริการนวดเพื่อสุขภาพ และพัฒนากลไกในการควบคุมดูแลให้มีการรักษามารยาทอย่าง
เคร่งครัด
5. สภาการแพทย์แผนไทย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือก ควรร่วมกันพัฒนาระบบการก�ำกับดูแลผูใ้ ห้บริการด้านการนวดไทย โดยเฉพาะผูใ้ ห้บริการนวดเพือ่ สุขภาพ
ซึ่งยังไม่มีการควบคุมโดยผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ซึ่งยังไม่มีการจัดท�ำทะเบียนและ
ยังไม่มีข้อมูลรายชื่อผู้ประกอบวิชาชีพที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพของผู้ช่วยแพทย์แผนไทยในสถานบริการ
สาธารณสุขของรัฐหรือคลินิกการแพทย์แผนไทย

เอกสารอ้างอิง
1. ยงศักดิ์ ตันติปิฎก และส�ำลี ใจดี. (บรรณาธิการ). ต�ำราการนวดไทย เล่ม 1. ปรับปรุงครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ
สาธารณสุขกับการพัฒนา; 2559.
2. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การ
บริหารส่วนต�ำบลกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอื่นตามที่มีกฎหมายก�ำหนด
หรือสภากาชาดไทย มอบหมายให้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นผู้ประกอบ
วิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.
2560, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134, ตอนพิเศษ 65 ง, 1-2.
3. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยบุคคลซึ่งปฏิบัติงานในสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลกระท�ำ
การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ในความควบคุมของ
ผูป้ ระกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผูป้ ระกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ พ.ศ. 2560, ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม 134, ตอนพิเศษ 65 ง, 3-4.
4. ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับรองหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย
พ.ศ. 2561, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135, ตอนพิเศษ 35 ง, 16-23.

Position-5.indd 47 9/13/19 16:05


48 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

หมอพื้นบ้านกับอนาคตสุขภาพชุมชนไทย

ภราดร สามสูงเนิน และคณะ


กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

1. ความเป็นมา หลักการและเหตุผล
1.1 ความส�ำคัญและความจ�ำเป็น
การแพทย์ดั้งเดิมเป็นองค์ประกอบที่ส�ำคัญของระบบสุขภาพ แต่มักจะได้รับการประเมินคุณประโยชน์
ต�่ำกว่าที่ควร องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้จัดท�ำยุทธศาสตร์การแพทย์ดั้งเดิม
มาอย่างต่อเนื่อง ตามมติของสมัชชาอนามัยโลกว่าด้วยการแพทย์ดั้งเดิม (WHA62.31)(13) ได้จัดท�ำยุทธศาสตร์
การแพทย์ดั้งเดิมขององค์การอนามัยโลก พ.ศ. 2557-2566 โดยมีเป้าหมายส�ำคัญ 2 ประการคือ (1) สนับสนุน
ให้ประเทศสมาชิกน�ำศักยภาพของการแพทย์ดั้งเดิมและการแพทย์เสริมมาใช้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ การอยู่ดี
มีสุขและการบริการสุขภาพที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง (2) ส่งเสริมการใช้การแพทย์ดั้งเดิมและการแพทย์เสริม
อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิผล โดยมีการควบคุมก�ำกับดูแลผลิตภัณฑ์เวชปฏิบตั ิ และผูป้ ระกอบวิชาชีพ การจะบรรลุ
เป้าหมาย 2 ประการ จ�ำเป็นต้องด�ำเนินงานยุทธศาสตร์ 3 เรื่อง ได้แก่ (1) สร้างฐานความรู้และก�ำหนดนโยบาย
ระดับชาติ (2) สร้างเสริมความปลอดภัยและคุณภาพประสิทธิผล โดยพัฒนากฎระเบียบในการก�ำกับดูแล (3) ส่งเสริม
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยการบูรณาการการบริการการแพทย์ดงั้ เดิมและการแพทย์เสริม และการดูแล
สุขภาพด้วยตนเองเข้าสู่ระบบสุขภาพแห่งชาติ
กรณีสังคมไทยถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 55
“รัฐต้องด�ำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมี
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้าน
การแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด” ประกอบกับพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556
ระบุสาระส�ำคัญของกฎหมายไว้ถึงการรับรองการแพทย์พื้นบ้านไทย และหมอพื้นบ้าน ซึ่งสอดคล้องกับการ
ขับเคลื่อนภารกิจของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

2.2 สถานการณ์และบทเรียนการฟื้นฟูภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพชุมชน
บทน�ำ
ภูมปิ ญ
ั ญาพืน้ บ้านด้านสุขภาพนับเป็นวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชน มีความ
หลากหลายทั้งชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมย่อยในสังคมไทยเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ตกผลึกจากการสังเกต ทดลองใช้
คัดเลือก กลั่นกรอง และสั่งสมสืบทอดจากคนรุ่นก่อนสู่คนรุ่นหลัง เป็นสิ่งสะท้อนระบบความคิด ความเชื่อ และ
แนวทางการดูแลชีวิตและสุขภาพ เป็นความรู้และเทคโนโลยีที่เรียบง่าย สามารถเข้าถึง ใช้ประโยชน์ สามารถ
พึ่งตนเอง อันเป็นแบบแผนการดูแลสุขภาพของตนเองบนฐานแนวคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียง

Position-5.indd 48 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 49

กระแสแนวคิดการฟื้นฟูเรื่องภูมิปัญญาด้านสุขภาพ กลับมาสู่ระบบการดูแลสุขภาพของสังคมไทยอย่าง
เป็นทางการ โดยกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรพัฒนาเอกชนในช่วงกว่าสามทศวรรษ ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ส�ำคัญ
ที่การจัดการระบบการดูแลสุขภาพได้เปิดโอกาสให้ความรู้แบบอื่นที่ไม่ใช่ความรู้แบบวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือ
ความรู้แบบการแพทย์ชีวภาพ (Biomedicine) ในที่นี้คือภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพที่เป็นระบบการดูแลระบบ
สุขภาพของประชาชน ด้วยการส่งเสริมงานสาธารณสุขมูลฐาน (Primary Health Care: PHC) การฟื้นฟูภูมิปัญญา
พื้นบ้านด้านสุขภาพเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสุขภาพชุมชน โดยการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการสาธารณสุข
มูลฐานในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 4 จากการขับเคลื่อนงานดังกล่าว และงานวิจัย “การศึกษา
ศักยภาพหมอพืน้ บ้านในงานสาธารณสุขมูลฐาน” มีขอ้ ค้นพบทีส่ ำ� คัญ คือภูมปิ ญ ั ญาพืน้ บ้านด้านสุขภาพ ไม่ใช่เฉพาะ
“สมุนไพร” เท่านัน้ แต่ได้เรียนรูถ้ งึ หมอพืน้ บ้าน องค์ความรูก้ ารแพทย์พนื้ บ้านทีม่ กี ารใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ
ใน 3 ลักษณะ คือ
(1) การดูแลสุขภาพยามปกติ (Indigenous system of health/wellness) ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาที่
ใช้ประโยชน์ในการดูแลชีวิตด�ำเนินไปได้อย่างปกติและสมดุล เช่น การบริโภคพืชผักพื้นบ้าน อาหารพื้นบ้าน
(2) การรักษาสุขภาพ/ความเจ็บป่วยด้วยตนเอง (Indigenous self-care) องค์ความรู้ที่เป็นการรักษา
สุขภาพตนเอง และการดูแลความเจ็บป่วยในครอบครัวและญาติ โดยมิได้พึ่งพาผู้อื่น เช่น การดูแลสตรีหลังคลอด
การใช้ยากลางบ้าน (มีห่อยา ร่วมยา หรือต�ำรับยาประจ�ำครอบครัว)
(3) การแพทย์พื้นบ้าน (Indigenous or Folk Medicine) องค์ความรู้ และเทคโนโลยีส่วนนี้ “หมอ
พื้นบ้าน” เป็นผู้ปฏิบัติการส�ำคัญ และท�ำงานเชื่อมโยงกับระบบนิเวศน์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีลักษณะเป็นการผสม
ผสานการเรียนรู้ของความรู้ที่หลากหลายไม่ยึดติดอยู่กับความรู้ชนิดใดชนิดหนึ่งอย่างเดียว เป็นความรู้ที่ขึ้นกับการ
เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ (Situated knowledge) การสะสมบทเรียน กระบวนการเรียนรู้ วิธีการในการ
ดูแลสุขภาพเชื่อมโยงกับบริบทเฉพาะท้องถิ่นที่ได้ถูกหล่อหลอมและพัฒนาเป็นวัฒนธรรมสุขภาพของแต่ละท้องถิ่น
ที่มีความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะวัฒนธรรม (Identify) ท�ำให้เราเรียนรู้ว่าในแต่ละสังคมจะมีรูปแบบและวิธีการดูแล
สุขภาพที่หลายกหลาย และทับซ้อนกันมากกว่าหนึ่งวิธีการเสมอ ดังนั้น การท�ำความเข้าใจการดูแลสุขภาพ และ
การดูแลความเจ็บป่วยในแต่ละสังคมจึงต้องมองเงื่อนไขปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกอย่างวิเคราะห์ให้เห็น
ความเชื่อมโยงบนฐานความคิดแบบองค์รวม

ระบบการแพทย
พื้นบาน
(Folk sector)

ระบบการแพทย ระบบการแพทย
แบบวิชาชีพ ของประชาชน
(Professional (Popular sector)
sector)

ภาพที่ 2.1 งานศึกษาระบบการแพทย์พหุลักษณ์ของ Kleinman, 1980

Position-5.indd 49 9/13/19 16:05


50 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

กรอบแนวคิดการทํางาน 10

การสงเสริมและการพัฒนาการใชประโยชน

การสงเสริมและพัฒนา
การวิจัยประสิทธิผล และประสิทธิภาพตอยอด
9 8
การบูรณาการการแพทยพื้นบาน ระบบการสงตอ การฟนฟูและการสงเสริม
ในระบบบริการสุขภาพภาพรัฐ การดูแลสุขภาพในระดับชุมชน

• งานวิจัยในงานประจํา (R to R) • การวิจัยการปฏิบัติการเพื่อทองถิ่น
• การศึกษาวิจัย การวิจัยและพัฒนา (Community-based Action
research)
5

กระบวนการ
7 6
การจัดการ
การรับรองสิทธิ กระบวนการสืบทอด
• การรวบรวม
หมอพื้นบาน ความรู/การเรียนรู
• การจัดการระบบ
• การสังคายนา

2 3
1

ความสัมพันธของหมอ
ความสัมพันธทางสังคม สถานะองคความรู
หมอพื้นบาน • เการแพทยพื้นบาน
• ประเพณี
• วัฒนธรรม ประสบการณเชิงปฏิบัติ
• ผูรูทองถิ่นดานตาง ๆ • การแพทยพื้นบาน
4 แบบพิธีกรรม/ศาสนธรรม

ปา/ระบบนิเวศ

ภาพที่ 2.2 การขับเคลื่อนงานการแพทย์พื้นบ้านที่ผ่านมาได้ ก�ำหนดการท�ำงาน ด้วยกระบวนการการจัดการความรู้


แนวคิดเชิงปฏิบัติ 3 ประเด็นหลัก และ 10 ประเด็นย่อย

ระบบการแพทย์แบบพหุลักษณ์ในสังคมไทย ประกอบด้วยระบบย่อย 3 ส่วน (1) ระบบการแพทย์ของ


ประชาชน (Popular sector) (2) ระบบการแพทย์พื้นบ้าน (Indigenous or Folk sector) และ (3) ระบบการ
แพทย์แบบวิชาชีพ (Professional sector) องค์ความรู้และวิถีปฏิบัติของการแพทย์พื้นบ้าน มีความสัมพันธ์กับ
วัฒนธรรมท้องถิ่น มีอัตลักษณ์ มีการผสมผสานกับการแพทย์แบบอื่น มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่องเป็นภูมิปัญญาที่
สืบทอดผ่านประสบการณ์ตรง และสะสมเรียนรู้จากการปฏิบัติภายใต้บริบทของสังคมวัฒนธรรมเฉพาะ ดังนั้นการ
แพทย์พื้นบ้านมีความจริง และวิธีการพิสูจน์ความจริงทั้งเหมือน และแตกต่างไปจากการแพทย์แผนไทย และแบบ
วิทยาศาสตร์
ความสัมพันธ์ของหมอพืน้ บ้าน ทีบ่ อกลักษณะหรือธรรมชาติของความรูก้ ารแพทย์พนื้ บ้าน ว่าหมอพืน้ บ้าน
 คือผู้สะสมความรู้และประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพ ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับชุมชน  มิติของเครือข่ายทาง
สังคมกับผู้รู้ท้องถิ่นต่าง ๆ ในชุมชน วัฒนธรรม ประเพณี และระบบนิเวศน์ท้องถิ่น/ป่า  สถานะองค์ความรู้ของ
การแพทย์พื้นบ้าน  จัดได้ 2 กลุ่มหลัก คือ การแพทย์แบบประสบการณ์เชิงปฏิบัติ (Secular sub-sector) และ
แบบพิธกี รรม (sacred sub-sector) ความสัมพันธ์ดงั กล่าว จึงท�ำให้การแพทย์พนื้ บ้านมีเอกลักษณ์ หรือมีอตั ลักษณ์
(Identify) เฉพาะลักษณะของความรู้ส่วนนี้เป็นเชิงประสบการณ์ และความรู้แฝงในตัวบุคคล ประเพณี วัฒนธรรม

Position-5.indd 50 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 51

เป็นความรู้โดยนัย (Tacit knowledge) ดังนั้นกระบวนการจัดการความรู้ ส่วนที่จะให้ความส�ำคัญ ด้านการวิจัยเชิง


คุณภาพ โดยอาศัยแนวคิดแบบเชิงซ้อน (Multiple perspective) การศึกษาเชิงปริมาณเป็นส่วนประกอบ
กระบวนการจัดการความรู้ภาพรวม จากภาพที่ 2.2 กระบวนการประกอบด้วยประเด็นย่อย  การ
รวบรวมจัดระบบ และการสังคายนา  ระบบการสืบทอดความรู้ การเรียนรู้  การรับรองสิทธิของ
หมอพื้นบ้าน มีการออกแบบในระบบงานการปฏิบัติงานวิจัย ขึ้นกับจังหวะของการขับเคลื่อนงาน เช่น การจัดการ
ความรู้ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านในการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้เรียนรู้และผู้บันทึกความรู้ สื่อ นักวิจัยที่
เป็นแพทย์แผนไทย การรับรองสิทธิของหมอพื้นบ้าน จัดการความรู้ทั้งในลักษณะ โครงการขับเคลื่อนทางนโยบาย
ในลักษณะการพัฒนารูปแบบ และการผลักดันกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบรับรอง
สิทธิหมอพื้นบ้าน
กระบวนการจัดการความรู้ภาพรวม จากภาพที่ 2.2 ในมิติการส่งเสริมการพัฒนา ดังนี้  การฟื้นฟู
และส่งเสริมการดูแลสุขภาพในระดับชุมชน (Community self-care) ออกแบบกระบวนการจัดการความรู้ แบบ
การวิจัย ปฏิบัติการเพื่อท้องถิ่น (Community-based Action research) เน้นการเสริมพลัง (Empowerment)
ในชุมชนหมอพืน้ บ้านและภาคี เป็นนักวิจยั หลัก มีนกั วิชาการเป็นผูเ้ อือ้ อ�ำนวย (Facilitator) เช่น การขับเคลือ่ นงาน
สมุนไพรพืน้ บ้านและอาการท้องถิน่ เน้นพัฒนาทีมงานและผูร้ หู้ มอพืน้ บ้านในท้องถิน่ มีการปฏิบตั งิ านค้นคว้า รวบรวม
ความรูใ้ นท้องถิน่ ตนเอง เพือ่ ฟืน้ ฟูการใช้ประโยชน์และสืบทอด  การบูรณาการการแพทย์พนื้ บ้านในระบบบริการ
สุขภาพภาครัฐ (Integration in primary care) ประเด็นด้านสุขภาพ 7 ประเด็นออกแบบกระบวนการการจัดการ
ความรู้ด้วยการวิจัย 3 ลักษณะ คือ
1. การวิจัยและพัฒนา
2. การวิจัยคลินิก การดูแลรักษากระดูกหักโดยหมอพื้นบ้าน
3. การวิจัยในงานประจ�ำ (Routine to research: R to R) วิธีวิทยานี้ได้รับความสนใจมาก โดยเฉพาะ
หน่วยงานบริการสุขภาพ มีการส่งเสริมให้บุคคลได้ตั้งค�ำถาม จากการปัญหาการท�ำงานในระบบและออกแบบ
กระบวนการแก้ปัญหา เกิดความรู้จากการท�ำงาน  การส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์ ต่อยอด มีการ
คัดเลือกต�ำรับยารักษามะเร็งเต้านม ของหมอพื้นบ้านจังหวัดชุมพร ศึกษาวิจัยต่อในการวิจัยในห้องปฏิบัติการโดย
ความร่วมมือของสถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การวิจัยต�ำรับยาพื้นบ้านดูแลสตรีหลังคลอด
ในโรงพยาบาลชุมชน 4 แห่ง

2. ผลของการด�ำเนินการขับเคลื่อนงานภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพชุมชน
ส่วนที่ 1 การขับเคลื่อนด้านนโยบาย
ด้วยการแพทย์พื้นบ้าน เป็นระบบการแพทย์ภาคประชาชน การฟื้นฟูส่งเสริม การใช้ประโยชน์ในการ
ดูแลสุขภาพชุมชนโดยอาศัยกรอบแนวคิดที่ได้กล่าวข้างต้น ผลการท�ำงานที่ผ่านมาจ�ำแนกได้ 4 ด้าน ประกอบด้วย
(1) การพัฒนาด้านนโยบาย (2) การจัดการความรู้และการวิจัย: บทเรียนการรวบรวมศึกษาองค์ความรู้เชิงปฏิบัติ
ด้านภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน (3) การจัดการความรู้และการวิจัยการแพทย์พื้นบ้าน: บทเรียนด้านกระบวนการ
และวิธีการ และ (4) เครือข่ายการแพทย์พื้นบ้าน 6 ประเทศลุ่มน�้ำโขง: ความร่วมมือนานาชาติ เพื่อการขับเคลื่อน
ทิศทางการพัฒนา

Position-5.indd 51 9/13/19 16:05


52 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

165 คน
** ที่ไดรับใบประกอบโรคศิลปะตาม
กระบวนการประเมินรับรอง พรบ. 2542 ม.33 (1)(ค)**

การสงเสริมและพัฒนาการแพทยพื้นบานในระบบสุขภาพชุมชน
สถานภาพ และสมาชิกสภาการแพทยแผนไทย
ตามมาตรา 12(2)(ค)***

และพัฒนาตอยอดในระบบบริการสุขภาพ
องคความรูและผลการรักษาเชิงลึก
หมอพื้นบาน 2,742 คน
รับรองหมอพื้นบานตามระเบียบ
59,414 คน

ประเมินผล
พระราชบัญญัติระเบียบ กรมพัฒนาการแพทยแผนไทยและ
สํานักทะเบียนกลาง
บริหารราชการแผนดิน การแพทยทางเลือกวาดวยการออก
(27 มี.ค. 2561)
พ.ศ. 2535 มาตรา 32 หนังสือรับรองหมอพื้นบาน
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
*** (จํานวน 44 จังหวัด; ณ 14 ก.ค. 2558)
จัดทํา (ราง) ระเบียบ
กระทรวงสาธารณสุข วาดวยการอนุญาตใหบุคคล
ทางการประกอบโรคศิลปะโดยอาศัย
* พระราชบัญญัติคุมครองและสงเสริมภูมิปญญาการแพทยแผนไทย พ.ศ. 2542 ความรูการแพทยพื้นบานไทย ****
** พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 มาตรา 33(1) (ค)
*** พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทยแผนไทย พ.ศ. 2556
**** พระราชบัญญัติสุขภาพแหงชาติ พ.ศ. 2550 การสงเสริมและพัฒนาการแพทย
***** พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแหงชาติ พ.ศ. 2545 พื้นบานระดับสาธารณสุขมูลฐาน
(PHC ➡ กองทุนสุขภาพตําบล)*****
ภาพที่ 2.3 แนวทางการประเมินและรับรองสถานภาพ หมอพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมและพัฒนาในระบบ

การขับเคลื่อนงานแต่ละด้าน ประกอบด้วยประเด็นย่อยที่มีความส�ำคัญต่อการพัฒนางานการแพทย์
พื้นบ้านดังนี้
1. การพัฒนาด้านนโยบาย มีการขับเคลื่อนใน 6 ประเด็น ที่เกิดความรู้เชิงประจักษ์ ที่มีความส�ำคัญต่อ
การสร้างและพัฒนากลไก รองรับการฟื้นฟูและส่งเสริมการแพทย์พื้นบ้านในระบบสุขภาพชุมชนดังนี้
ประเด็น 1.1 การพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบทีเ่ กีย่ วข้อง การรับรองการแพทย์พนื้ บ้านในระดับวิชาชีพ
ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 มาตรา 33 (1)(ค) โดยใช้การประเมินจากความรู้ความ
สามารถและการอุทิศตนในการดูแลสุขภาพในชุมชน ปัจจุบันมีจ�ำนวน 165 คน และการรับรองหมอพื้นของแต่ละ
จังหวัด โดยอาศัยระเบียบกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555 ปัจจุบันมี
จ�ำนวน 2,742 คน ในพื้นที่ 44 จังหวัด ดังภาพที่ 2.3
ประเด็น 1.2 การจัดการความรู้หมอพื้นบ้านโดยความร่วมมือของสถานบันอุดมศึกษาที่มีการเรียน
การสอนแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้ประสานความร่วมมือกับ 19 สถาบัน
รวบรวมองค์ความรู้หมอพื้นบ้าน 1,550 คน ในพื้นที่ 35 จังหวัด 5 ภูมิภาค สนับสนุนงบประมาณโดย กองทุน
ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยจัดกลุ่มหมอพื้นบ้านตามความช�ำนาญได้ 7 กลุ่ม คือ (1) หมอนวดพื้นบ้าน (2) หมอ
รักษาอัมพฤกษ์ อัมพาต (3) หมอรักษากระดูกหัก (4) หมอเด็กและสตรี (5) หมอยาสมุนไพร (6) หมอรักษา
อาการทางผิวหนัง และ (7) หมอรักษาสัตว์พิษกัดและงูกัดจากการท�ำงานดังกล่าว ท�ำให้สถาบันการศึกษาได้พัฒนา
แผนงานด้านการจัดการเรียนรูต้ อ่ เนือ่ ง เช่น การน�ำต�ำรับยาหมอพืน้ บ้านในการดูแลแผลเบาหวานโดยมีหมอพืน้ บ้าน
รักษาร่วมกัน และการส่งข้อมูลให้นายทะเบียนจังหวัด เพื่อใช้ประโยชน์ในการรับรองหมอพื้นบ้าน เป็นต้น

Position-5.indd 52 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 53

ประเด็น 1.3 การจัดการสุขภาพชุมชนโดยกลุ่มและเครือข่ายหมอพื้นบ้านในรูปแบบ “ศูนย์เรียนรู้การ


แพทย์พื้นบ้าน” จากการส�ำรวจของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. 2559 พบว่ามีกลุ่มหรือ
ชุมชนที่มีการด�ำเนินงานด้านการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์แผนไทยในชุมชน 620 กลุ่ม ในพื้นที่ 76 จังหวัด
การด�ำเนินการส่งเสริมในลักษณะกลุม่ หรือชมรม กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้มกี ารด�ำเนินการ
น�ำร่องเรื่อง “ศูนย์เรียนรู้การแพทย์พื้นบ้านไทย” ซึ่งมีบทบาทในการจัดบริการสุขภาพประชาชนในชุมชน การ
ถ่ายทอดความรู้
ประเด็น 1.4 กองทุนสุขภาพพื้นที่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (กองทุนสุขภาพต�ำบล): ต้นทุน
และแนวโน้มการก่อรูปกองทุนสุขภาพชุมชนด้วยระบบภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน มีองค์กรส่วนท้องถิ่นและ
เทศบาล จ�ำนวน 7,760 แห่ง (ร้อยละ 97.79) เข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพพื้นที่ ซึ่งมีผลดีต่อการด�ำเนินงาน
คือ การสนับสนุนให้กลุม่ หรือองค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอืน่ ในพืน้ ทีด่ ำ� เนินงานเพือ่ สร้างสุขภาพและป้องกันโรค
และการฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก พื้นที่ต้นแบบหรือชุมชนที่ทำ� งานเชิงรุกที่
ตื่นตัวทั้งหมด ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพต�ำบล
ประเด็น 1.5 การรับรองสิทธิหมอพื้นบ้าน: รูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาการแพทย์พื้นบ้านในระบบ
สุขภาพชุมชน

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้ด�ำเนินการและสนับสนุนการรับรองสิทธิหมอพื้นบ้าน
2 รูปแบบ คือ
รูปแบบที่ 1 การรับรองสิทธิทางกฎหมายของหมอพื้นบ้านแบบวิชาชีพโดยคณะกรรมการวิชาชีพสาขา
การแพทย์แผนไทย
รูปแบบที่ 2 การรับรองสิทธิหมอพื้นบ้านแบบมีส่วนร่วมของชุมชนภายใต้ ระเบียบกรมพัฒนาการ
แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกว่าด้วยการออกหนังสือรับรองหมอพื้นบ้าน ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555 โดย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก หรือส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ
หมอพื้นบ้านที่ดี มีคุณธรรมและยังให้การดูแลรักษาจนเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนภายใต้หลักการการกระจาย
อ�ำนาจ และการมีส่วนร่วม รายละเอียดจะได้กล่าวต่อไป
สรุปการขับเคลื่อนงานด้านนโยบายทั้ง 5 ประเด็นข้างต้นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดความรู้
และข้อมูลเชิงประจักษ์ที่จะผลักดันงานต่อไปด้วยฐานความรู้

ส่วนที่ 2 การจัดการความรู้และการวิจัย: บทเรียน การรวบรวมศึกษาองค์ความรู้เชิงปฏิบัติ


ด้านภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน
กระบวนการจัดการความรูแ้ ละการวิจยั ภาพรวมเป็นการจัดหมวดหมูก่ ารด�ำเนินงานจัดการความรูแ้ ละการ
วิจัยจากการปฏิบัติจริง โดยอาศัยหลักแนวคิดจากการท�ำงาน แผนภาพที่ 2 โดยมีเป้าหมาย 2 หลักประเด็น คือ
(1) เพือ่ ฟืน้ ฟูและส่งเสริมการดูแลสุขภาพในระดับชุมชน (Community self-care) ออกแบบกระบวนการ
เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อท้องถิ่น (Community-based Action research: CBAR) เน้นการเสริมพลัง
(Empowerment) ให้ชุมชน หมอพื้นบ้านและภาคีเป็นนักวิจัยหลัก มีนักวิชาการ นักวิจัยเป็นผู้เอื้ออ�ำนวย
(Facilitator) เช่น การขับเคลื่อนงานสมุนไพรพื้นบ้านและอาหารท้องถิ่น เน้นพัฒนาทีมงานและผู้รู้ หมอพื้นบ้าน
ในท้องถิ่น มีการปฏิบัติงาน ค้นคว้า รวบรวมความรู้ในท้องถิ่นตนเอง เพื่อฟื้นฟูการใช้ประโยชน์ และสืบทอด

Position-5.indd 53 9/13/19 16:05


54 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

(2) การบูรณาการการแพทย์พื้นบ้านในระบบบริการสุขภาพภาครัฐ (Integration in primary care)


ด้วยประเด็นสุขภาพ 8 ประเด็น ออกแบบกระบวนการวิจัย 3 ลักษณะคือ
(1) การวิจัยและพัฒนา งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นวิจัยและพัฒนา
(2) การวิจัยคลินิก เช่น การวิจัยภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการรักษากระดูกหัก การวิจัยต�ำรับยาพื้น
บ้าน ในการดูแลสตรีหลังคลอด
(3) การวิจัยในงานประจ�ำ (Routine to Research: R to R) วิธีวิทยานี้ได้รับความสนใจมาก โดย
เฉพาะหน่วยบริการสุขภาพ มีการส่งเสริมให้ผปู้ ฏิบตั งิ าน ตัง้ ค�ำถามจากการท�ำงานในระบบและออกแบบกระบวนการ
แก้ปัญหา เกิดความรู้จากการท�ำงาน และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ต่อยอด มีการคัดเลือกต�ำรับยาเพื่อวิจัยในคลินิก
ประเด็นสุขภาพ 8 ประเด็นที่ท�ำงานจัดการความรู้และการวิจัยมีดังนี้
(1) สมุนไพรพื้นบ้านและอาหารท้องถิ่น: ความมั่นคงระบบสุขภาพชุมชนเป็นงานวิจัยปฏิบัติการเพื่อ
ท้องถิ่น CBAR
(2) ภูมปิ ญั ญาหมอพืน้ บ้านในการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (หมอต�ำแย): การผสมผสานการใช้ประโยชน์ใน
การดูแลแม่และเด็กร่วมกับระบบสุขภาพปฐมภูมิ
(3) ภูมปิ ญ
ั ญาหมอพืน้ บ้านและการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรูเ้ พือ่ พัฒนาศักยภาพหมอพืน้ บ้านดูแลกระดูก
หักในชุมชน
(4) ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการรักษาสัตว์พิษกัด งูกัด กับความร่วมมือระหว่างระบบการแพทย์
แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย และหมอพื้นบ้านในโรงพยาบาลชุมชน
(5) ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านกับการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน
(6) ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านในการดูแลรักษาผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต: ระบบสุขภาพใกล้บ้านของ
ผู้ป่วยติดเตียง
(7) ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง: องค์ความรู้ที่สามารถต่อยอดเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง
(8) ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการส่งเสริมดูแลผู้สูงอายุอย่างมีวัฒนพลัง

2.1 ผลการจัดการความรู้
(1) เกิดนวัตกรรมด้านวิธีวิทยาการวิจัยทางคลินิก กรณีหมอพื้นบ้านรักษากระดูกหัก โดยความร่วมมือ
ของอาจารย์ที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและเครือข่ายนักวิจัย 14 กรณี 9 จังหวัด พัฒนาเครื่องมือ
และวิธีการประเมินผลการรักษาของหมอพื้นบ้าน
(2) เกิดชุดความรู้ ส�ำหรับการขับเคลื่อน ด้านนโยบายการแพทย์พื้นบ้าน 5 ชุด เช่น การรับรอง
สถานภาพหมอพื้นบ้าน พัฒนากฎหมายและกฎระเบียบ เกณฑ์การประเมินและการรับรองสถานภาพ หมอพื้นบ้าน
การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในการจัดการความรู้หมอพื้นบ้าน พัฒนารูปแบบศูนย์เรียนรู้
การแพทย์พื้นบ้านไทย
(3) เกิดชุดความรู้ “การแพทย์พื้นบ้าน” จากการจัดการความรู้และการวิจัย 8 ชุด พัฒนาและจัดท�ำคู่มือ
แนวทางปฏิบัติงานการแพทย์พื้นบ้าน ส�ำหรับเจ้าหน้าที่ 8 ชุด และจัดท�ำคู่มือส�ำหรับประชาชน เกี่ยวกับสมุนไพร
และผักพื้นบ้าน ส�ำหรับดูแลสุขภาพ 8 ชุด
(4) พัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ หมอพื้นบ้านในระบบดิจิทัลภายใต้โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ
องค์ความรู้ดิจิทัลภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของประเทศไทย (Thai Traditional Digital Knowledge Library:
TTDKL) จ�ำนวน 4,000 ราย

Position-5.indd 54 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 55

2.2 การน�ำไปใช้
(1) การออกแบบการท�ำงาน การจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วม เช่น การวิจัยปฏิบัติการเพื่อท้องถิ่น
(Community-based Action research) การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การวิจัย
การวิจัยในงานประจ�ำ (Routine to Research: R to R) ทุกการท�ำงานให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างทีมวิจัย ทีมงาน
สหวิชาชีพกับหมอพื้นบ้าน มีผลการท�ำงานได้เรียนรู้ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านเชิงประจักษ์ เกิดความเข้าใจระหว่าง
กันหลายกรณี การพัฒนา การบูรณาการ การดูแลรักษาสุขภาพในพื้นที่ต่อเนื่อง เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ต�ำบลส�ำโรงโคกเพชร จังหวัดสุรินทร์ เทศบาลต�ำบลโคกม่วง จังหวัดพัทลุง มีการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดร่วม
กับหมอพื้นบ้าน เป็นต้น
(2) ภาพลักษณ์ต่อตนเองของหมอพื้นบ้าน “มีความภูมิใจ” ที่เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพให้การยอมรับ
การออกหนังสือรับรองหมอพื้นบ้านของเจ้าหน้าที่ ท�ำให้รู้สึกว่า “เขาไม่ใช่หมอเถื่อน”
(3) เกิดรูปแบบความร่วมมือ ระหว่างเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพกับหมอพื้นบ้านร่วมกันดูแลสุขภาพ ตาม
ศักยภาพของหมอพื้นบ้านหลายลักษณะ เช่น เชิญหมอพื้นบ้านร่วมรักษาในโรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพต�ำบล มีระบบส่งต่อผู้ป่วยระหว่างหมอพื้นบ้านกับโรงพยาบาล

2.3 การขับเคลื่อนภารกิจด้านนโยบาย
(1) สถานการณ์ด้านกฎหมายและกฎหมายว่าด้วยการรับรองสิทธิหมอพื้นบ้านทั้งระดับวิชาชีพและระดับ
ท้องถิ่น
(2) การด�ำเนินการเรือ่ งกองทุนสุขภาพพืน้ ที่ (กองทุนสุขภาพต�ำบล) ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
(3) ผลการรับรองหมอพืน้ บ้าน ระดับวิชาชีพ 165 คน และรับรองสถานภาพในระดับพืน้ ที่ จ�ำนวน 2,742
คน ในพื้นที่ 44 จังหวัด ดังภาพที่ 2.4

2.4 สถานการณ์และแนวทางการประเมินและรับรองหมอพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมและพัฒนา


ในระบบสุขภาพ
กฎหมายและกฎระเบียบทีก่ ล่าวข้างต้นมีความส�ำคัญทีเ่ ป็นกลไกการสนับสนุน และรองรับการส่งเสริมและ
พัฒนาหมอพืน้ บ้านให้มบี ทบาทและมีสว่ นร่วมในการดูแลสุขภาพชุมชน และประสานความร่วมมือบูรณาการในระบบ
การดูแลสุขภาพในระดับปฐมภูมิ ดังภาพที่ 2.5

Position-5.indd 55 9/13/19 16:05


56 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ภาพที่ 2.4 จ�ำนวนหมอพื้นบ้านที่ได้การรับรองในระดับวิชาชีพและระดับจังหวัด

ภาพที่ 2.5 สถานการณ์แนวทางการประเมินและรับรองหมอพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมและพัฒนาในระบบ

Position-5.indd 56 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 57

3. สรุปภาพรวม
3.1 การฟื้นฟูและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของการแพทย์ดั้งเดิมในระบบสุขภาพขององค์การอนามัยโลก
(World health Organization: WHO) จากการมีการจัดท�ำยุทศาสตร์การพัฒนาที่ชัดเจนพร้อมกับการเรียกร้อง
ให้ประเทศสมาชิกได้น�ำใช้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวในการท�ำงาน เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความรู้ภูมิปัญญาของ
การแพทย์ดั้งเดิมในประเทศสมาชิก บูรณาการการดูแลสุขภาพประชาชนได้อย่างปลอดภัยด้วยแนวคิดสุขภาพแบบ
องค์รวม (Holistic Health) และมีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
3.2 บทเรียนและประสบการณ์การขับเคลื่อนงาน การแพทย์พื้นบ้านของไทย จากการท�ำงานที่กล่าวข้าง
ต้น ยืนยันให้เห็นถึง บทบาท การด�ำรงอยู่ของการแพทย์พื้นบ้าน ในการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพชุมชน ทั้งใน
ระดับชุมชน (Community) และการบูรณาการดูแลสุขภาพในระบบสุขภาพระดับปฐมภูมิ และทุตยิ ภูมิ (Integration
with Primary Care and Secondary Care)
3.3 ประเด็นการด�ำเนินการทีผ่ า่ นมาของไทย ทัง้ ด้านนโยบาย และประเด็นสุขภาพ มีความส�ำคัญต่อการ
ขับเคลือ่ นภายใต้กรอบแนวความคิดการท�ำงาน มีความสัมพันธ์เชือ่ มโยงกันทัง้ ระบบ ตามแผนภาพที่ 2 ทีค่ รอบคลุม
3 ประเด็นหลักคือ (1) ทิศทางการใช้ประโยชน์ในระบบสุขภาพ (2) ความเข้าใจธรรมชาติหรือสภาวะของภูมิปัญญา
การแพทย์พื้นบ้าน และ (3) กระบวนการจัดการความรู้จากการปฏิบัติงาน
3.4 หมอพื้นบ้าน คือปัจจัยส�ำคัญ เพราะเป็นความรู้ในตัวบุคคล (Tacit knowledge) ที่ประกอบด้วย
วิถีคิด วิถีปฏิบัติการดูแลสุขภาพประชาชน ที่ต้องใช้กระบวนการจัดการความรู้ เพื่อรวบรวมจัดระบบ สร้างความรู้
ใหม่จากการปฏิบัติการให้แสดงผลเชิงประจักษ์ ดังนั้น การพัฒนาให้มีกฎระเบียบ กฎหมาย รองรับ “หมอพื้นบ้าน”
ทั้งในระดับ “วิชาชีพ” และ “ระดับพื้นที่” แบบมีส่วนร่วม จะเป็นกลไกให้หมอพื้นบ้านได้มีส่วนในการดูแลสุขภาพ
ประชาชนด้วยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน ซึ่งรวมถึงทรัพยากรและเทคโนโลยีท้องถิ่นที่ง่าย ประหยัด ประชาชน
เข้าถึงได้ อันเป็นหัวใจส�ำคัญของการดูแลสุขภาพด้วยวิถีที่พอเพียง ชุมชนสามารถพึ่งตนเอง จัดการตนเองได้
อันเป็นหลักประกันของความมั่นคงของระบบสุขภาพชุมชน

เอกสารอ้างอิง
1. Jutthaphutti A. Health service system and education system of Traditional medicine in ASEAN.
Bangkok: Translate from Traditional Medicine and Health Care Coverage; 2012.
2. Jutthaphutti A. WHO congress on traditional medicine 6-9 November 2008 Beijing, China. Nonthaburi:
Department for Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry of Public Health; 2008.
3. Bureau of Sanatorium and of Healing, Department of Health Service Support, Ministry of Public
Health. The Practice of the art of Healing Act B.E. 2542 (1999). Bangkok: Royal Gazette: The war
Veterans Organization of Thailand Press; 2009.
4. Central Registrar’s office, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. Bureau
of protection of Thai traditional medicine wisdom and herb. [Internet]. 2010. [cited 2010 Dec
21]. Available from: http://ptmk.dtam.moph.go.th/reg/summary.
5. Gerard BK, Gemma BF. Traditional, complementary and alternative medicine: policy and public
health perspectives. London: Imperial College Press; 2007.

Position-5.indd 57 9/13/19 16:05


58 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

6. Legal Division, Department for Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry of Public Health.
The Protection and promotion of traditional Thai medicine wisdom Act B.E. 2542 (1999) and
Related Laws. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand Press; 2009.
7. Office of the national Economics and Social Development Board. 2006. Estimated cost for
education and public health in five years’ time. [Internet]. 2006. [cited 2009 Jul 20]. Available
from http://www.ssnet.doae.go.th/ssnet2/knowledgebase/KB_NOK/Ex_Health/index.html.
8. Thai Traditional Medicine Working Group, Department for Development of Thai Traditional and
Alternative Medicine, Ministry of Public Health. Thai Traditional Medicine. Bangkok: the express
transportation organization of Thailand Press (ETO);…
9. Yu Yan Ren Ke. Medicine and health care among Chinese ethnic minorities. China: China
Intercontinental Press; 2006
10. กมลทิพย์ สุวรรณเดช. บันทึกภูมปิ ญ ั ญาหมอพืน้ บ้าน ภาคใต้. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พนื้ บ้าน กรมพัฒนาการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2555
11. ฉันทนา กระภูฤทธิ์, วนิดา ขุมแร่, ภัททิรา ทองศรี, มนตรี ด�ำรงศักดิ์, ธนิดา ขุนบุญจันทร์, สิริลดา พิมพา, และคณะ,
รายการการศึกษา เรื่อง ประสิทธิผลของหมอพื้นบ้านในการรักษาไหล่ติดทางคลินิก กรณีศึกษาหมอสุนทร นิ่มน้อม.
กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข;
2557.
12. ชัชวาล ชูลา, วุฒิชัย พระจันทร์ และสุวิไล วงศ์ธีรสุต. ภูมิปัญญาพื้นบ้าน: ศักยภาพชุมชนบ้านโคกสวาย ในการ
คุ้มครองและประโยชน์เพื่อดูแลสุขภาพ. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2552.
13. ดารณี อ่อนชมจันทร์ และเสาวณีย์ กุลสมบูรณ์. การนวดพื้นบ้านไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์
พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2552.
14. ดารณี อ่อนชมจันทร์. แนวทางส�ำหรับผู้ปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพแม่และเด็กด้วยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน.
กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข;
2554.
15. ดารณี อ่อนชมจันทร์. องค์ความรู้โต๊ะบิแด (หมอต�ำแย) ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พื้นไทย
บ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2550.
16. ธนิดา ขุนบุญจันทร์. สมุนไพรพื้นบ้านลดความเสี่ยง โรคเบาหวาน ตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ:
กองการแพทย์พื้นไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2554
17. ธนิ ด า ขุ น บุ ญ จั น ทร์ . สมุ น ไพรพื้ น บ้ า นลดความเสี่ ย ง โรคมะเร็ ง ตามภู มิ ป ั ญ ญาของหมอพื้ น บ้ า นกรุ ง เทพฯ:
กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข; 2554.
18. ธนิดา ขุนบุญจันทร์. สมุนไพรพื้นบ้านลดความเสี่ยง โรคหัวใจและหลอดเลือด ตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน.
กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข;
2554.
19. ธนิดา ขุนบุญจันทร์. เห็ดเป็นยา เพื่อสุขภาพ ตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
20. ธนิดา ขุนบุญจันทร์. เห็ดเป็นอาหาร เพือ่ สุขภาพ ตามภูมปิ ญ ั ญาของหมอพืน้ บ้าน. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พนื้ บ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารสุข; 2554.
21. ธนิดา ขุนบุญจันทร์. เห็ดเศรษฐกิจ เพือ่ สุขภาพ ตามภูมปิ ญ ั ญาของหมอพืน้ บ้าน. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พนื้ บ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารสุข; 2554.

Position-5.indd 58 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 59

22. ธนิดา ขุนบุญจันทร์, ฉันทนา กระภูฤทธิ์, สิริลดา พิมพา, กฤษณะ คตสุข, อาภากร เตชรัตน์, ละเอียด ปานทอง,
และคณะ. คูม่ อื หมอพืน้ บ้านในการรักษาผูป้ ว่ ยกระดูกหักและการฟืน้ ฟูสภาพผูป้ ว่ ยหลังการรักษา. กรุงเทพฯ: กองการ
แพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
23. ธนิ ด า ขุ น บุ ญ จั น ทร์ , ฉั น ทนา กระภู ฤ ทธิ์ , สิ ริ ล ดา พิ ม พา, กฤษณะ คตสุ ข , นภั ส กร คงไทย, และคณะ.
รายงานการศึกษา เรื่อง ประสิทธิผลของหมอพื้นบ้านในการรักษาผู้ป่วยกระดูกหัก. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์
พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
24. ธนิดา ขุนบุญจันทร์, ฉันทนา กระภูฤทธิ์, สิริลดา พิมพา, กฤษณะ คตสุข, นภัสกร คงไทย, และคณะ. ประสิทธิผล
ของหมอพื้นบ้านในการรักษาผู้ป่วยกระดูกหัก. นนทบุรี กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
25. ธนิดา ขุนบุญจันทร์, สิริลดา พิมพา, ฉันทนา กระภูฤทธิ์, อาภากร เตชรัตน์, ละเอียด ปานทอง, อาทิตย์ กระออมแก้ว
และคณะ. รายงานการวิจัยการศึกษาสถานการณ์การใช้ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง. กรุงเทพฯ:
กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
26. ปัฐยาวดี แจงเชือ้ , และภราดร สามสูงเนิน. ภูมปิ ญ ั ญาพืน้ บ้าน: ศักยภาพชุมชนชากไทย ในการคุม้ ครองและประโยชน์
เพื่อดูแลสุขภาพ. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข; 2552.
27. ภราดร สามสูงเนิน และคณะ. ครอบครัวฉัน รู้ทันโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนา
การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2553.
28. ภราดร สามสูงเนิน และวรพจน์ ภูจ่ นิ ดา. คูม่ อื ประกอบระเบียบกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองหมอพื้นบ้าน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2555.
29. ภราดร สามสูงเนิน และสมัคร สมแวง. บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ:
กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2555.
30. รัชนี จันทร์เกษ, ปารณัฐ สุขสุทธิ์, มาลี สิทธิเกรียงไกร, วรรณา จารุสมบูรณ์, และสุพัตรา สันทนานุการ. เรียนรู้และ
เข้าใจหมอพืน้ บ้าน. กรุงเทพฯ: กลุม่ งานการแพทย์พนื้ บ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข; 2548.
31. รุจินาถ อรรถสิษฐ และคณะ. แนวทางการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านส�ำหรับ
ผู้ปฏิบตั ิงาน. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข; 2553.
32. รุจินาถ อรรถสิษฐ, เสาวณีย์ กุลสมบูรณ์ และอรจิรา ทองสุกมาก. รูปแบบการใช้ภูมิปัญญาโต๊ะบิแด ในการดูแล
สุขภาพแม่และเด็กในชุมชนและภาครัฐ. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2550.
33. รุจนิ าถ อรรถสิษฐ. การดูแลรักษาโรคเบาหวาน ด้วยภูมปิ ญ ั ญาการแพทย์พนื้ บ้าน. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พนื้ บ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2553.
34. รุจินาถ อรรถสิษฐ. ผักพื้นบ้านและอาหารพื้นบ้าน มิติสุขภาพและเศรษฐกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์
พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
35. วิชัย โชควิวัฒน และสันติสุข โสภณสิริ. พ่อหนานอินสม สิทธิตัน หมอไทยดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. 2557 กรุงเทพฯ:
คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

Position-5.indd 59 9/13/19 16:05


60 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

36. วิชิต เปานิล. การศึกษาคุณค่าและมูลค่าของสมุนไพรพื้นบ้านต่อการพัฒนาระบบการผลิตยาสมุนไพรและเศรษฐกิจ


ชุมชน. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.
37. วิฑูรย์ เลี่ยนจ�ำรูญ การศึกษาความเคลื่อนไหวของกระแสโลกาภิวัฒน์และความหลากหลายทางชีวภาพ กรุงเทพฯ:
กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2551.
38. วิทเชษฐ พิชยั ศักดิ,์ สุรชัย ปัญญาพฤทธิพ์ งศ์, ยลชัย จงจิระศิร,ิ ศักดิส์ ทิ ธิ์ มหารัตนวงศ์. คูม่ อื หมอพืน้ บ้านในการรักษา
ผู้ป่วยกระดูกหัก และการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังการรักษา. นนทบุรี: กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
39. ศิริวรรณ นาคมุข, นฤมล สุขพันธ์, และสุวิไล วงศ์ธีรสุต. ภูมิปัญญาพื้นบ้าน: ศักยภาพชุมชนทุ่งตาเซะ ในการคุ้มครอง
และประโยชน์เพื่อดูแลสุขภาพ. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2552.
40. กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. องค์ความรู้
การดูแลอัมพฤกษ์ อัมพาตของหมอพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จ�ำกัด.
2554 หน้า 13-22.
41. สุพัตรา สันทนานุการ และคณะ บทเรียนศูนย์เรียนรู้การแพทย์พื้นบ้าน ปี 2546-2548. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์
พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2552.
42. สุพัตรา สันทนานุการ และเสาวณีย์ กุลสมบูรณ์. บทเรียนศูนย์เรียนรู้การแพทย์พื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์
พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2552
43. สุพิน ภูสง่า, อาทิตย์ เลิศล�้ำ, และพจีกาญจน์ จิระเสถียรพงศ์. ภูมิปัญญาพื้นบ้าน: ศักยภาพชุมชนเหล่ากลาง ในการ
คุ้มครองและประโยชน์เพื่อดูแลสุขภาพ. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2552.
44. เสาวณีย์ กุลสมบูรณ์ และประกอบ อุบลขาว. คูม่ อื การประเมินหมอพืน้ บ้าน. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์
พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
45. เสาวณีย์ กุลสมบูรณ์ และรุจนิ าถ อรรถสิษฐ. การศึกษาและพัฒนาการรับรองสถานภาพทางกฎหมายของหมอพืน้ บ้าน.
กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข;
2555.
46. เสาวณีย์ กุลสมบูรณ์ และรุจินาถ อรรถสิษฐ. รายงานวิจัย เรื่อง สถานภาพและทิศทางการวิจัยภูมิปัญญาพื้นบ้าน
ด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข; 2550.
47. เสาวณีย์ กุลสมบูรณ์, สิริรักษ์ อารทรากร และอรจิรา ทองสุกมาก. แผนพัฒนาการแพทย์พื้นบ้าน พ.ศ. 2555-2559.
กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข;
2555.
48. เสาวณีย์ กุลสมบูรณ์. สถานการณ์และความเคลือ่ นไหวด้านการพัฒนาการแพทย์พนื้ บ้านไทย ประเทศไทย. กรุงเทพฯ:
กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2555.
49. อรจิรา ทองสุกมาก และสมัคร สมแวง. บันทึกภูมปิ ญ ั ญาหมอพืน้ บ้าน ภาคกลาง. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พนื้ บ้านไทย
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2555.
50. อรพินท์ ครุฑนาค. บันทึกภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนา
การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2555.
51. อัมพาพรรณ พงศ์ผลาดิสัย และเอกชัย ปัญญาวัฒนานุกูล. การศึกษา สังเคราะห์ และจัดระบบองค์ความรู้การแพทย์
พื้นบ้านในการรักษาสัตว์พิษกัดและงูกัด. กรุงเทพฯ: กองการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2554.

Position-5.indd 60 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 61

อนาคตการวิจัยต�ำรับยาแผนไทย

ดร.ภญ.มณฑกา ธีรชัยสกุล และคณะ


กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

1. ความเป็นมา หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันกระแสของความนิยมด้านการใช้สมุนไพรและการแพทย์ดั้งเดิมมีแนวโน้มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลประเทศไทยได้ให้ความส�ำคัญด้านงานการแพทย์แผนไทย
และสมุนไพรไทยเพิ่มมากขึ้นมาโดยตลอด รวมทั้งการให้บริการแพทย์แผนไทยในระบบบริการของกระทรวง
สาธารณสุขทีส่ ามารถเบิกจ่ายจากระบบประกันสุขภาพตามสิทธิประโยชน์ของส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นแรงสนับสนุนให้เกิดการจัดบริการแพทย์แผนไทยและการใช้ยาจากสมุนไพร เพิ่ม
มากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งไปกว่านั้นจากรายงานสมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย ในชีวิตคนไทย ปี 2557 ส�ำรวจความเห็น
5,800 ครัวเรือนทั่วประเทศพบว่า ร้อยละ 80 ของกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยอย่างยิ่งว่ายาแผนไทยสามารถน�ำมาใช้
รักษาอาการระยะแรกได้และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้อย่างมาก ในทางตรงกันข้ามงานวิจัยหลายชิ้น
แสดงให้เห็นว่า บุคลากรทางการแพทย์แผนปัจจุบนั กลับไม่มคี วามมัน่ ใจต่อการใช้ยาแผนไทยและเห็นว่าควรมีขอ้ มูล
การวิจัยทางคลินิกที่น่าเชื่อถือมากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยมองว่าความรู้ด้านสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย
ยังคงกระจัดกระจาย อีกทัง้ ขาดข้อมูลยืนยันทางวิชาการถึงสรรพคุณของยาแผนไทยในการรักษาโรค สะท้อนให้เห็น
ถึงการส่งต่อข้อมูลและช่องว่างของการวิจัยของสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย
ประเทศไทยมีการด�ำเนินการศึกษาสถานการณ์งานวิจัยด้านสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยหลายระยะ
สะท้อนให้เห็นปริมาณงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้องมีจำ� นวนเพิม่ มากขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ประเภทงานวิจยั ทีม่ ปี ริมาณการท�ำวิจยั
สูงสุดคือ งานวิจัยทางด้านสมุนไพรและต�ำรับยาคิดเป็นอัตราส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ส่วนงานวิจัยด้านอื่น ๆ เช่น
งานวิจัยเชิงระบบ งานวิจัยด้านองค์ความรู้และการวินิจฉัยตามแนวการแพทย์แผนไทย ยังมีปริมาณน้อย อีกทั้งจาก
รายงานสถานการณ์งานวิจัยด้านสมุนไพรของ วัจนา ตั้งความเพียร และคณะปี 2559 ที่สรุปว่างานวิจัยสมุนไพร
ไทยกระจุกตัวอยู่ที่งานวิจัยพื้นฐาน แต่กลับไม่เอื้อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพสมุนไพร ขณะที่การวิจัยประยุกต์ที่มุ่ง
วิจัยสมุนไพรเพื่อใช้ประโยชน์ทางคลินิกยังมีปริมาณน้อยและกระจัดกระจายไม่เชื่อมต่อกับรายการสมุนไพรที่มีการ
ศึกษาฤทธิ์พื้นฐานไว้แล้ว ท�ำให้การพัฒนาสมุนไพรไม่สามารถสนับสนุนให้เกิดการส่งต่อไปถึงผู้บริโภค หรือใช้เพื่อ
การรักษาโรคทางคลินิกได้อย่างแท้จริง สะท้อนถึงภาพของใหญ่ของประเทศที่การวิจัยด้านสมุนไพรและแพทย์แผน
ไทยไม่ครบห่วงโซ่ ขาดการส่งต่อ และขาดการท�ำงานวิจยั แบบทีมทีบ่ รู ณาการความเชีย่ วชาญระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
หากพิจารณาจากห่วงโซ่ของการพัฒนายาจากสมุนไพรอาจมีกระบวนการขัน้ ตอนทีเ่ กีย่ วข้องมากมายได้แก่
(1) การวิจัยพื้นฐาน (Ethnomedicinal research, Phytochemistry research, Physiochemistry
research, Pharmacognostic research) การวิจัยเพื่อจัดท�ำมาตรฐานวัตถุดิบและการวิจัยทางพรีคลินิก (งานวิจัย
ทางพิษวิทยาและงานวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา)

Position-5.indd 61 9/13/19 16:05


62 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

(2) การวิจยั ประยุกต์ (การวิจยั ทางคลินกิ ) เพือ่ ยืนยันประสิทธิภาพประสิทธิผล ความปลอดภัยของสมุนไพร


(3) งานวิจยั สนับสนุนทีจ่ ำ� เป็น (งานวิจยั เชิงระบบและนโยบาย เพือ่ การน�ำไปใช้ประโยชน์ในระบบบริการ
สุขภาพของประเทศ) งานวิจยั ทีจ่ ำ� เป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพรของประเทศ (การวิจยั ด้านเทคโนโลยีเพือ่
การพัฒนาสมุนไพร การวิจัยด้านการตลาดเพื่อส่งเสริมการใช้ การวิจัยด้านกฎหมาย กฎระเบียบ รวมถึงการวิจัย
ความต้องการของผูบ้ ริโภค) แสดงให้เห็นความเชือ่ มโยงความจ�ำเป็นทีต่ อ้ งวิจยั ให้ครบวงจรตามมาตรฐานจึงจะสามารถ
น�ำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ในทางตรงกันข้ามการวิจัยทางการแพทย์ดั้งเดิม (Traditional Medicine) อาจมีขั้นตอน
และกระบวนการที่แตกต่างออกไป มีหลายครั้งที่มีการถกเถียงถึงขั้นตอนและกระบวนการทางการวิจัยที่เหมาะสม
ส�ำหรับการวิจัยการแพทย์ดั้งเดิม กล่าวถึงกระบวนการวิจัยแบบ Reverse Pharmacology เป็นต้น อีกทั้งขั้นตอน
และกระบวนการวิจยั ทางการแพทย์แผนไทยก็ยงั คงเป็นอุปสรรคส�ำคัญทีท่ ำ� ให้การพัฒนา ทางการแพทย์แผนไทยยัง
คงกระจัดกระจาย ขาดความเป็นเอกภาพและความต่อเนื่อง เพื่อให้มีการพัฒนาต่อเนื่องทั้งระบบจ�ำเป็นต้องมีการ
พิจารณาตั้งแต่แรกเริ่มการด�ำเนินการพัฒนาโครงร่างงานวิจัยว่าเหมาะสมถูกต้องตามระเบียบวิธีและจริยธรรมการ
วิจัยหรือไม่ หลังจากท�ำแล้วผลการศึกษาสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในวงการวิชาการและบริการ รวมถึง
ขัน้ ตอนการขึน้ ทะเบียนต�ำรับยาแห่งชาติ หรือประกาศเชิงนโยบายเพือ่ ขยายฐาน ผูใ้ ห้บริการ เพือ่ ประชาชนสามารถ
เข้าถึงบริการและรับประโยชน์จากการศึกษาวิจัยได้อย่างแท้จริง

2. นโยบายและสถานการณ์ปัจจุบัน
จากการทีร่ ฐั บาลมีนโยบายผลักดันให้เกิดการพัฒนาสมุนไพรไทยและการแพทย์แผนไทย ซึง่ เป็นภูมปิ ญ ั ญา
และทรัพยากรที่ส�ำคัญของประเทศสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย และสามารถ
สร้างมูลค่าเพิม่ ให้แก่ยาและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร สร้างความสามารถในการแข่งขัน เป็นทีย่ อมรับในระดับชาติและ
ระดับสากล จึงเป็นที่มาของแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564 เพื่อ
ให้เกิดการพัฒนาสมุนไพรไทยทั้งระยะต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ซึ่งจะน�ำไปสู่การส่งออกวัตถุดิบสมุนไพร
ที่มีคุณภาพ ตลอดจนยาและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรในระดับชั้นน�ำของภูมิภาคอาเซียน อันจะน�ำมาซึ่งรายได้แก่
ประเทศอย่างมหาศาลก่อให้เกิดความมั่นคง และความยั่งยืนของเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้ การวิจัยและนวัตกรรมถือ
เป็นกลไกส�ำคัญในการขับเคลื่อนการด�ำเนินการดังกล่าวรวมถึงท�ำให้ประเทศสามารถปรับตัวรองรับผลกระทบที่
จะเกิดขึ้นจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก สอดคล้องกับกระทรวงสาธารณสุขมียุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี
ด้านสาธารณสุข ประกอบได้ด้วยยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศ 4 ด้าน โดยมีแผนงานเรื่องการเน้นการพัฒนางาน
วิจัย และนวัตกรรมด้านสุขภาพตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่
ส�ำคัญ คือ จ�ำนวนต�ำรับยาแผนไทยแห่งชาติที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา
การแพทย์แผนไทย และจ�ำนวนงานวิจยั สมุนไพร/งานวิจยั การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกทีน่ ำ� มาใช้จริง
ทางการแพทย์ หรือการตลาด
โดยภาพรวมของการวิจัยทางสมุนไพร การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก
แสดงให้เห็นทิศทางการวิจัยกว่าร้อยละ 70 มุ่งเน้นไปที่ตัวผลิตภัณฑ์ อาทิเช่น ยา และเวชภัณฑ์ เป็นต้น โดยงาน
วิจยั ทางด้านสมุนไพรและต�ำรับยาคิดเป็นอัตราส่วนมากกว่าร้อยละ 50 งานวิจยั ทางการแพทย์แผนไทยก็มที ศิ ทางไป
ในแนวเดียวกันและมีงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้องกับระบบบริการประมาณร้อยละ 18 โดยงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้องกับการอภิบาล
ระบบ การเงินและค่าใช้จ่าย รวมไปถึงด้านก�ำลังคนยังมีปริมาณน้อยซึ่งไม่แตกต่างจากสถานการณ์เดิมที่รายงาน
การวิจัยอื่น ๆ ระบุไว้

Position-5.indd 62 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 63

ด้านกลุ่มอาการและโรคที่ได้รับความสนใจในการท�ำวิจัยทางการแพทย์แผนไทย อาการปวดโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งกล้ามเนื้อและข้อเป็นอาการล�ำดับแรกที่มีการวิจัยยืนยันมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการนวดลดอาการ
ปวดกล้ามเนื้อในต�ำแหน่งต่าง ๆ และการใช้ยาสมุนไพรต�ำรับเพื่อบรรเทาอาการปวดข้อเข่า ขณะที่อาการ/โรค
ในระบบสืบพันธ์ได้รับความสนใจเป็นล�ำดับรองลงมา ซึ่งในกลุ่มนี้มีทั้งการนวดและประคบกระตุ้นน�้ำนม การ
นวดเพื่อให้มดลูกเข้าอู่ รวมไปถึงการใช้ยาสมุนไพรต�ำรับกระตุ้นน�้ำนม และการขับน�้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอด
เป็นต้น ส่วนในล�ำดับ 3, 4 และ 5 มีสัดส่วนของการท�ำวิจัยไม่ต่างกันมากนัก ได้แก่ การวิจัยแพทย์แผนไทยกับ
อาการ/โรคในระบบประสาท อาทิเช่น การนวดฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง การนวดลดอาการชาในผู้ป่วย
เบาหวาน การวิจยั แพทย์แผนไทยกับโรคมะเร็งซึง่ เป็นการวิจยั ยาสมุนไพรต�ำรับเพือ่ ใช้รกั ษาผูป้ ว่ ยมะเร็งทัง้ หมด และ
ล�ำดับที่ห้าคือ การวิจัยแพทย์แผนไทยกับอาการ/โรคระบบต่อมไร้ท่อ เป็นการวิจัยยาสมุนไพรต�ำรับกับการรักษา
เบาหวาน อย่างไรก็ดี หัวข้อการวิจัยยังคงมีลักษณะกระจัดกระจาย ซึ่งอาจมีส่วนท�ำให้งานวิจัยแพทย์แผนไทยเกือบ
ทั้งหมดไม่มีผล (Impact) ในการเปลี่ยนแปลงสังคมมากนัก อีกทั้งถูกระบุจากบุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่ว่า
ไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มากพอ ทว่าปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นปรากฏการณ์
ที่สอดคล้องกันในหลายประเทศทั่วโลก

ขั้นตอนการวิจัยการแพทย์แผนไทย
ขั้นตอนการวิจัยทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ดั้งเดิมเป็นสิ่งที่มีการถกเถียงมาโดยตลอด เนื่อง
ด้วยองค์ความรู้ทางการแพทย์ดั้งเดิมมีพื้นฐานปรัชญาของการรักษาบ�ำบัดผู้ป่วยที่แตกต่างจากปรัชญาและการ
วิเคราะห์ของการแพทย์แผนปัจจุบันอย่างมาก กล่าวคือ การแพทย์ดั้งเดิมมักจะมุ่งเน้นการวิเคราะห์โรคและความ
เจ็บป่วยจากหลายระบบพร้อมกัน (องค์รวม) ขณะที่การแพทย์แผนปัจจุบันเน้นการแยกส่วนและการวิเคราะห์โรค
แบบเฉพาะเจาะจง เป็นผลให้เกิดการตั้งค�ำถามว่า ขั้นตอนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดของแพทย์แผน
ปัจจุบันจะสามารถน�ำมาใช้ในการวิจัยกับการแพทย์ดั้งเดิมได้ดีเพียงไร จ�ำเป็นต้องมีการสังเคราะห์ขั้นตอนการวิจัย
พร้อมล�ำดับขั้นตอนการวิจัยที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสามารถน�ำมาใช้ประโยชน์กับการวิจัยทาง
การแพทย์ดั้งเดิมได้
จากรายงานของ Kenji Watanabe และคณะ กล่าวถึงสถานการณ์และกระบวนการวิจัยทางการแพทย์
ดั้งเดิมของญี่ปุ่นหรือ“Kampo Medicine” ว่าด้วยกรอบกระบวนการวิจัยทางคลินิกในปัจจุบันท�ำให้การศึกษา
วิ จั ย ทางคลิ นิ ก ของยาแคมโปถู ก วิ เ คราะห์ ต ามกรอบความคิ ด ของการวิ นิ จ ฉั ย โรคตามแนวคิ ด ของการแพทย์
แผนปัจจุบนั ซึง่ เมือ่ น�ำผลการศึกษาวิจยั ยาแคมโประหว่างปี ค.ศ. 1986-2008 มีงานวิจยั ทางคลินกิ ของยาแคมโปทัง้
สิ้น 320 รายงาน จากฐาน Cochrane, PubMed และ ICHUSHI (Japan Medical Abstracts Society) เมื่อ
สกัดข้อจ�ำกัดต่าง ๆ ออกไปท�ำให้เหลืองานวิจยั ทางคลินกิ จ�ำนวน 135 รายงาน น�ำเข้าสูก่ ระบวนการวิเคราะห์ พบว่า
มีขนาดของกลุ่มตัวอย่างแตกต่างกันสูงมากคือ จาก 4 คน ถึง 2,069 คน ซึ่งมากกว่า 2 ใน 3 ของการวิจัย
ทางคลินิกมีจ�ำนวนอาสาสมัครน้อยกว่า 100 คน และคุณภาพของงานวิจัยเกือบทั้งหมดจัดอยู่ในระดับคุณภาพต�่ำ
อีกทั้งเมื่อแบ่งการวิจัยตามการวินิจฉัยโรคของการแพทย์แผนปัจจุบัน พบว่า โรคที่ได้รับการศึกษาวิจัยมีความ
กระจัดกระจายอย่างมาก และที่ส�ำคัญที่สุดคณะผู้วิจัยระบุว่า ไม่มีงานวิจัยชิ้นใดเลยที่ระบุการรักษาด้วยยาแคมโป
ตามหลักการวินิจฉัยโรคตามแนวคิดของการแพทย์แคมโป ทั้งหมดเป็นการวิจัยยาแคมโปตามแนววินิจฉัยโรคของ
การแพทย์แผนปัจจุบัน มีเพียงงานวิจัยชิ้นเดียวที่มีการใช้ยาแคมโป 7 สูตร ดังนั้นผู้วิจัยจึงสรุปว่า กระบวนการวิจัย
ทางคลินกิ ทีเ่ ป็นมาตรฐานของการวิจยั ในปัจจุบนั อาจไม่ใช่วธิ กี ารวิจยั ทีเ่ หมาะสมทีส่ ดุ กับการแพทย์แคมโป เนือ่ งจาก
การแพทย์แคมโปมีการวินิจฉัยผู้ป่วยที่เฉพาะรายและแตกต่างออกไป กล่าวคือ แม้ว่าผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่า

Position-5.indd 63 9/13/19 16:05


64 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

เป็นโรคเดียวกันตามการวินิจฉัยทางการแพทย์แผนปัจจุบัน อาจได้รับยาแคมโปคนละชนิดกัน ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้


รับการวินิจฉัยว่าเป็นคนละโรคกันตามการวินิจฉัยทางการแพทย์แผนปัจจุบันอาจได้รับยาแคมโปชนิดเดียวกันก็ได้
แสดงให้เห็นว่าการแพทย์แคมโปมีการรักษาที่ละเอียดและพิจารณาผู้ป่วยซับซ้อนกว่าการแพทย์แผนปัจจุบัน ยัง
ผลให้ผู้วิจัยเสนอกระบวนการวิจัยส�ำหรับการแพทย์แคมโปว่า มีอีกหลายค�ำตอบที่การแพทย์แคมโปควรต้องตอบ
และอาจเป็นประโยชน์มากกว่าการพุ่งเป้าการวิจัยไปที่การประเมินผลการรักษาตามมาตรฐานของการแพทย์แผน
ปัจจุบันเพราะข้อเท็จจริงแสดงให้เห็นว่า ยาแคมโปปรากฏอยู่ในร้านขายยาทั่วไปและได้ถูกน�ำไปใช้ประโยชน์ใน
ประเทศญี่ปุ่นมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงเสนอว่า หลายค�ำถามที่ส�ำคัญสามารถตอบได้ด้วยการ
ท�ำวิจัยแบบสังเกตการณ์โดยติดตามข้อมูลไปข้างหน้า (Prospective observational study) อาทิเช่น ใครคือ
ผู้ได้รับประโยชน์จากยาแคมโปนี้ ยาแคมโปตัวนี้น�ำไปใช้เพื่อการรักษาโรคอะไร ถูกน�ำไปใช้อย่างไร ปลอดภัย
หรือไม่ และผลการรักษามีแนวโน้มเป็นอย่างไร โดยคณะผูว้ จิ ยั เสนอว่าการติดตามประเมินประสิทธิผลของยาแคมโป
นั้น ๆ ควรได้รับการประเมินทั้งจากผู้ป่วยและผู้ให้การรักษา ส่วนการวัดผลการรักษาแบบการวิจัย เชิงทดลอง อาจ
เป็นการวิจัยที่ถูกพิจารณาด�ำเนินการในล�ำดับถัดมาโดยคณะผู้วิจัยเสนอว่า เป็นเรื่องจ�ำเป็นที่การวิจัยแบบทดลอง
ทางคลินกิ ของการแพทย์แคมโปควรถูกออกแบบให้มกี ารวินจิ ฉัยตามแบบการแพทย์แคมโปควบคูก่ นั ไปด้วย โดยอาจ
พิจารณารูปแบบการท�ำวิจัยที่มีความเหมาะสมมากกว่าการวิจัยแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม (Randomize control trial)
ทั่ว ๆ ไป อาทิเช่น การวิจัยแบบ N of one trial เป็นต้น นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยน�ำเสนอรูปแบบการวิจัยที่เพิ่ม
การวินิจฉัยทางการแพทย์แคมโปดังแสดงในภาพที่ 2.6 ซึ่งรูปแบบการวิจัยที่คณะผู้วิจัยน�ำเสนอนี้เคยมีการน�ำไป
ศึกษาวิจัยกับการแพทย์ดั้งเดิมอื่น ๆ มาแล้ว อาทิเช่น การแพทย์โฮมีโอพาธีย์ เป็นต้น
สอดคล้องกับข้อเสนอจากการรายงานของ Francesco Cardini และคณะ (2006) กล่าวถึงความแตกต่าง
ของตรรกะและการตั้งค�ำถามทางการวิจัยของการแพทย์ดั้งเดิมและการแพทย์แผนปัจจุบัน ดังแสดงในตารางที่ 2.2

ภาพที่ 2.6 การน�ำการวินิจฉัยทางการแพทย์แคมโป (ยกตัวอย่าง ภาวะหมดประจ�ำเดือน)


เป็นเกณฑ์การวินิจฉัยเพื่อคัดอาสาสมัครเข้าสู่การทดลอง จากนั้นจึงค่อยสุ่มแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง

Position-5.indd 64 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 65

ตารางที่ 2.2 เปรียบเทียบล�ำดับการตั้งค�ำถามทางการวิจัยของการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์ดั้งเดิม


Conventional Treatment Traditional Treatment
(1) Requirements for Strong physioathological basis (“it Widespread and enduring use
consideration could work”) in clinical practice (“it seems to
work”)
(2) Next step Evaluation of safety and efficacy Pragmatic evaluation of safety and
(“does it work in experimental effectiveness (“does it work in
settings?”) clinical practice?”)
(3) Next step (if found safe and Introduction in clinical practice; Evaluation of efficacy; research
useful at step 2) evaluation of effectiveness on mechanism (“has it specific
(“does it work in clinical actions? why and how does it
practice?”) work?”)

จากตารางที่ 2.2 จะเห็ น ว่ า ข้ อ เท็ จ จริ ง และสภาวะแวดล้ อ มของการแพทย์ ดั้ ง เดิ ม และการแพทย์
แผนปัจจุบันมีความแตกต่างกัน การแพทย์ดั้งเดิมมักเป็นสิ่งที่ใช้กันอยู่กว้างขวางและมีมานานในชุมชนหรือ
สังคมหนึ่ง ๆ ขณะที่การแพทย์แผนปัจจุบันเกิดขึ้นจากทฤษฎีและสมมติฐานซึ่งเป็นเหตุเป็นผลแสดงให้เห็นกลไก
ความสัมพันธ์ได้ ดังนั้นการตั้งค�ำถามเพื่อการประเมินการแพทย์ทั้งสองแบบจึงแตกต่างกัน กล่าวคือ การแพทย์แผน
ปัจจุบันจึงจัดการทดลองเพื่อทดสอบประสิทธิผลและความปลอดภัยตามทฤษฎีที่คิดขึ้น ขณะที่การแพทย์ดั้งเดิม
เป็นการประเมิน เพื่อบอกประสิทธิภาพและความปลอดภัยของเครื่องมือดังกล่าวในสถานการณ์ที่เป็นจริงมากกว่า
ในรายงานฉบับเดียวกันเสนอขั้นตอนการด�ำเนินการทางวิจัยทางคลินิกของการแพทย์ดั้งเดิมดังแสดงใน
ตารางที่ 2.3 คณะผู้วิจัยเสนอให้มีการเริ่มต้นกระบวนการวิจัยโดยรวบรวม ส�ำรวจข้อมูลและทบทวนวรรณกรรม
พื้นฐาน อาทิเช่น การศึกษาทางพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน รายงานกรณีศึกษา ฯลฯ จากนั้นจึงด�ำเนินการประมวล
ข้อมูลด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพเบื้องต้นในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเล็กโดยมีข้อบ่งใช้ที่ชัดเจน ซึ่งอาจจะ
ใช้กระบวนการศึกษาแบบสังเกตการณ์และติดตามผลไปข้างหน้าหรือจะเป็นการศึกษาน�ำร่องและวิจัยทดลองแบบ
สุ่มและมีกลุ่มควบคุมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่เป็นไปได้ จากนั้นจึงเริ่มท�ำการศึกษาเปรียบเทียบทั้งประสิทธิภาพ ความ
ปลอดภัย และการถ่ายทอดเพื่อการน�ำไปใช้ประโยชน์โดยเสนอให้ศึกษาวิจัยในหลายสถานที่พร้อมกัน จากนั้นจึง
ค่อยเป็นการศึกษาวิจัยเพื่อลงลึกถึงการตอบค�ำถามเรื่องกลไกการออกฤทธิ์หรือเติมเต็มความรู้พื้นฐานอื่น ๆ หากยัง
ขาดอยู่และจึงมีการติดตามความปลอดภัยของการใช้การแพทย์ดั้งเดิมในระยะยาว
นอกจากนี้มีรายงานการสังเคราะห์แนวทางการวิจัยยาจากสมุนไพรในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการแพทย์
ดั้งเดิมจากประเทศสมาชิกในอาเซียน กล่าวคือ เสนอการศึกษาวิจัยเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ
1) การศึกษาวิจัยการน�ำไปใช้ประโยชน์ (Study of use pattern) อาทิเช่น การศึกษาการใช้ประโยชน์
แบบพฤกษศาสตร์พนื้ บ้านหรือการศึกษาแนวระบาดวิทยาเพือ่ เห็นทีม่ าทีไ่ ปของการน�ำสมุนไพรดังกล่าวมารักษาโรค
เป็นต้น
2) การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัย (Study of safety and efficacy) ซึ่งหากเป็นกลุ่มยา
สมุนไพรต�ำรับดั้งเดิม ควรเริ่มต้นการศึกษาจากการสังเกตการณ์ก่อนแล้วจึงตามด้วยการวิจัยทางคลินิกโดยสามารถ
เริ่มที่การวิจัยทางคลินิกระยะที่ 2 ได้เลย ขณะที่หากเป็นยาสมุนไพรเดี่ยวอาจจ�ำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่การวิจัยทางพรี
คลินิก ไปสู่การวิจัยทางคลินิกระยะที่ 1 และ 2 เรื่อยไปตามล�ำดับขั้น รายละเอียดในภาพที่ 2.7

Position-5.indd 65 9/13/19 16:05


66 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ตารางที่ 2.3 เสนอล�ำดับขั้นตอนการวิจัยทางคลินิกของการแพทย์ดั้งเดิม


Phase Purpose Tool
I Documentation and description of a traditional Surveys, ethnomedical research, case studies
treatment and review of the available observational data
II Preliminary evaluation of safety, effectiveness Observational, prospective, pragmatic,
and transferability on a small group of intercultural pilot study – randomized and
subjects with a defined indication controlled, if feasible – oriented to set up an
RCT protocol
III Comparative evaluation of safety, effectiveness Pragmatic multicenter RCT, versus
and transferability conventional treatment or no treatment (if no
treatment is available)
IVa Research on efficacy and on mechanism of Explanatory RCT, basic science research
action
IVb Surveillance after acceptance in the new Long term follow up, pharmacological
clinical setting either as an additional surveillance, risk-benefit studies
option for patients or as integrated part of
conventional clinical practice

ภาพที่ 2.7 ขั้นตอนกระบวนการวิจัยส�ำหรับยาจากสมุนไพรทั้งรูปแบบสมุนไพรเดี่ยวและสมุนไพรต�ำรับ

Position-5.indd 66 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 67

การสังเคราะห์ขั้นตอนการวิจัยการแพทย์แผนไทย
การแพทย์แผนไทยจัดเป็นการแพทย์ดงั้ เดิมของประเทศไทย ซึง่ มีแนวคิดและปรัชญาในการรักษาคล้ายคลึง
กับการแพทย์ดงั้ เดิมของประเทศอืน่  ๆ กล่าวคือ เป็นการแพทย์ทมี งุ่ เน้นการรักษาเฉพาะราย มีแนวทางการวิเคราะห์
ความเจ็บป่วยแบบเฉพาะโดยแพทย์แผนไทยใช้สมุฏฐานวินิจฉัยเป็นที่ตั้งแห่งโรค ในการรักษา ทางการแพทย์
แผนไทยจะไม่ใช้ยาเดี่ยวในการรักษาโรคแต่มักจะใช้ยาในรูปของต�ำรับยา (มีสมุนไพรหลายตัวในหนึ่งต�ำรับ) โดย
ในทางเวชปฏิบัติแผนไทยจะมีการปรับยาและเครื่องยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน ดังนั้น จึงเผชิญปัญหาแบบ
เดียวกันกับการแพทย์ดั้งเดิมอื่นในกระบวนการและขั้นตอนการวิจัยทางคลินิก เพราะหากประเมินประสิทธิผลของ
ยาสมุนไพรต�ำรับตามกรอบวินิจฉัยโรคแบบแพทย์แผนปัจจุบัน อาจยังผลให้ไม่สามารถยืนยันประสิทธิผลของยา
สมุนไพรต�ำรับนั้น ๆ ครอบคลุมตามองค์ความรู้เดิมได้จริง
การสังเคราะห์ขั้นตอนการวิจัยทางการแพทย์แผนไทยโดยน�ำเอาข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมร่วม
กับการอภิปรายจากผู้ทรงคุณวุฒิและการอภิปรายของทีมวิจัย และข้อมูลสถานการณ์เป็นปัจจัยน�ำเข้าหลักในการ
น�ำเสนอขั้นตอนการวิจัยทางการแพทย์แผนไทยพร้อมทดลองด�ำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนที่ก�ำหนดขึ้น
จากนั้ น คณะผู้วิจัยจึงมีก ารอภิปรายและตกผลึ ก ข้ อ สรุ ปร่ วมกั นสาระที่ ส อดคล้ อ งกั นกั บรายงาน การวิ จั ย ใน
ต่างประเทศที่กล่าวถึงขั้นตอนการวิจัยทางการแพทย์ดั้งเดิมดังนี้
1. การแพทย์แผนไทยเป็นการแพทย์แบบองค์รวมที่มีการวิเคราะห์ผู้ป่วยแบบเฉพาะรายการจ่ายยา
สมุนไพรไทยในรูปของต�ำรับ เป็นการสั่งจ่ายรายบุคคลจึงจะมีประสิทธิผล ดังนั้นกระบวนการวิจัย จึงไม่ควรวัดแค่
ผลจากยาต�ำรับยา แต่ควรต้องมีกระบวนการทางเวชกรรมไทยประกอบอยู่ในหลักการด้วย
2. การวัดผลหรือปัจจัยที่ถูกวัด (Parameter) ซึ่งเป็นผลจากการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทย อาจจะ
เป็นการรักษาด้วยยาสมุนไพรต�ำรับ การนวดไทย ฯลฯ ไม่ควรวัดแค่ตัวชี้วัดที่เป็นวัตถุวิสัย (Objective) ตามมาตร
วัดของการแพทย์แผนปัจจุบันเพียงอย่างเดียว ควรต้องมีมาตรวัดที่เป็นอัตวิสัย (Subjective) ด้วย
3. การแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์พื้นบ้านเป็นการแพทย์ที่มีอยู่หรือคงอยู่ในสังคมมาและถูกน�ำมาใช้
ประโยชน์เป็นระยะเวลานานแล้ว ไม่ใช่สงิ่ ทีถ่ กู สร้างขึน้ มาใหม่ ดังนัน้ กระบวนการวิจยั ทีม่ งุ่ เน้นการอธิบายเพือ่ สือ่ สาร
ให้เกิดความเข้าใจทั้งต่อการแพทย์ดั้งเดิมนั้น ๆ ความเป็นอยู่ของชุมชน และวัฒนธรรมที่อิงอาศัยประโยชน์จากการ
รักษาดังกล่าว ยังเป็นสิ่งจ�ำเป็น
4. การท�ำงานวิจัยแค่มุ่งกระโดดไปวัดผลลัพธ์ของการรักษาที่เป็นวัตถุวิสัยภายใต้กรอบการวินิจฉัยโรค
ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน อาจไม่ใช่ค�ำตอบที่ดีส�ำหรับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย
ดั ง นั้ น จากเวที อ ภิ ป รายของผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ร ่ ว มกั บ การอภิ ป รายท� ำ ให้ เ กิ ด ข้ อ เสนอต่ อ กรอบแนวทาง
และขั้นตอนการด�ำเนินการวิจัยทางการแพทย์แผนไทย ดังแสดงในภาพที่ 2.8

Position-5.indd 67 9/13/19 16:05


68 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

Socio-cultural study
การวิจัยเชิงพรรณนาที่อธิบายถึงที่มาและที่ไปของการรักษา

Observational study for safety and efficacy


การศึกษาโดยติดตามขอมูลดานการใช การรักษา
และประโยชนของการรักษา

Outcome assessment
การศึกษาที่เนนการวัดผลการรักษา เปนการประเมินผลลัพธจากการใหการรักษา

Post-marketing surveillance
การติดตามและรายงานความปลอดภัยของการรักษานั้น ๆ
ในระยะยาวอยางเปนระบบ

ภาพที่ 2.8 ข้อเสนอกรอบขั้นตอนการวิจัยการแพทย์แผนไทย

จากภาพที่ 2.8 การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านควรมีล�ำดับขั้นของการวิจัยโดยเริ่มต้นจาก


1) Socio-cultural study คือ การวิจัยเชิงพรรณนาที่อธิบายถึงที่มาและที่ไปของการรักษาอาทิ ทฤษฎี
การรักษา ตัวยาต�ำรับที่จะศึกษา ประวัติของการน�ำไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น โดยควรบรรยายให้เห็นความส�ำคัญ
ทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับการแพทย์ดั้งเดิมนั้น ในที่นี่คือแพทย์แผนไทย ต�ำรับยาไทยหรือเทคนิควิธีการนวด
แบบนั้น ๆ โดยอาจใช้แนวทางและวิธีการศึกษาทางด้านชาติพันธุ์การแพทย์เป็นกรอบทฤษฎี
2) Observational study for safety and efficacy คือ การศึกษาโดยติดตามข้อมูลด้านการใช้ การ
รักษา และประโยชน์ที่ได้รับ จาก ชุมชน/โรงพยาบาล/สถานที่ ที่มีการน�ำต�ำรับยาหรือหัตถการนวดไปใช้ประโยชน์
เป็นการประเมินความปลอดภัย ประโยชน์ และประสิทธิผลเบื้องต้นของต�ำรับยาหรือการนวดนั้น ๆ โดยอาจใช้กลุ่ม
ตัวอย่างตั้งแต่การรายงานเป็นกรณีศึกษาจนกระทั่งถึงกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่
3) Outcome assessment คือ การศึกษาที่เน้นการวัดผลการรักษา ใช้การประเมินผลลัพธ์ที่เรียกว่า
outcome process ซึ่งจะต้องท�ำการวัดทั้ง ก) แบบวัตถุวิสัย (objective) เช่น การวัดค่าตัวแปรด้วยเครื่องมือ
ประเภทต่าง ๆ การวัดผลที่ต้องไม่ให้ผู้รักษาและผู้ป่วยทราบ ฯลฯ และ ข) แบบอัตวิสัย (subjective) ซึ่งควรต้อง
มีกระบวนการด�ำเนินการเพื่อให้แบบวัดอัตวิสัยที่ได้มาตรฐาน
4) Post-marketing surveillance คือ การส�ำรวจและเฝ้าระวังความปลอดภัยหลังการใช้โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งด้านยาสมุนไพรต�ำรับซึ่งเน้นที่การติดตามความปลอดภัยในระยะยาวเป็นหลัก

Position-5.indd 68 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 69

ภาพที่ 2.9 ห่วงโซ่การวิจัยการแพทย์แผนไทยและการวิจัยยาจากสมุนไพร (กฤษณ์และมณฑกา, 2559)

ห่วงโซ่อย่างง่ายของการวิจัยการแพทย์แผนไทยเปรียบเทียบกับการวิจัยสมุนไพรทั้งระบบจากข้อมูล
สถานการณ์งานวิจัยและขั้นตอนการวิจัยการแพทย์แผนไทย ข้อเสนอดังแสดงในภาพที่ 2.9
ภาพที่ 2.9 แสดงห่วงโซ่อย่างง่ายของการวิจัยทั้งการแพทย์แผนไทยและการวิจัยยาจากสมุนไพร โดย
แบ่งระยะของห่วงโซ่เป็น 4 ระยะ กล่าวคือ หากเป็นการวิจัยยาจากสมุนไพร ห่วงโซ่อย่างง่ายของการวิจัยยาจาก
สมุนไพรประกอบด้วย การวิจัยทางเกษตรและตัวสมุนไพร การวิจัยในมนุษย์ การวิจัยทางการตลาด และการวิจัย
ในกลุ่มผู้บริโภค กล่าวคือ การวิจัยต้นน�้ำที่เกี่ยวกับพืชตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยว จัดท�ำและการควบคุมคุณภาพ
และมาตรฐาน จนถึงการศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิผลในสัตว์ จากนั้นจึงเข้าสู่ระยะที่ 2 ที่เป็นการทดลอง
ทางคลินิกซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การท�ำวิจัยทางคลินิกระยะที่ 1 ถึง 3 จากนั้นจึงเป็นการน�ำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด
และมีการติดตามผลของการใช้ ซึ่งคือ การวิจัยทางคลินิกระยะที่ 4 จากนั้นจึงไปสู่การวิจัยที่สัมพันธ์กับความ
ต้องการทางการตลาด (การวิจัยระยะที่ 5) อาทิเช่น ความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรม, โรค/ความเจ็บป่วยใน
อนาคตที่สมุนไพรน่าจะช่วยได้ เป็นต้น ขณะที่หากเป็นการวิจัยทางการแพทย์แผนไทยหรือต�ำรับยา การวิจัยทั้ง 4
ระยะประกอบด้วยการวิจัยพื้นฐาน, การวิจัยทางคลินิก, การวิจัยบริการ และการวิจัยเชิงระบบโดยจุดเริ่มต้นของ
การวิจยั พืน้ ฐานทีก่ ล่าวถึงการวิจยั ทางสังคมและวัฒนธรรมทีเ่ ล่าถึงความเป็นมาของกระบวนการรักษาดัง้ เดิมนัน้ อัน
จะครอบคลุมทัง้ มิตขิ องความเชือ่ สุขภาพ ความเป็นอยูใ่ นชีวติ ประจ�ำวัน และการใช้ประโยชน์จากการรักษาดัง้ เดิมนัน้
จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการรายงานความปลอดภัยและประโยชน์ที่สังเกตเห็นจากการใช้จริงในชุมชนจัด
เป็นการบริการรูปแบบหนึง่ ซึง่ อาจอยูใ่ นสถานบริการทางการแพทย์หรือไม่กไ็ ด้ จากนัน้ จึงเข้าสูก่ ระบวนการประเมิน
ผลลัพธ์ทางคลินกิ ซึง่ ควรครอบคลุมทัง้ มิตทิ เี่ ป็นวัตถุวสิ ยั และอัตวิสยั ขัน้ ตอนต่อไป จึงเป็นการท�ำงานวิจยั ทีพ่ ฒ
ั นาการ
บูรณาการกระบวนการรักษาดั้งเดิมนั้นเข้าสู่ระบบริการของประเทศ ท้ายที่สุด จึงเป็นการศึกษาวิจัย เชิงระบบทั้ง
ด้านการเงิน ก�ำลังคน และระบบข้อมูลที่จ�ำเป็น ซึ่งหากวิเคราะห์ถึงการลงทุนด้านการวิจัย ในสภาพการณ์ปัจจุบัน
สะท้อนให้เห็นว่า หากเป็นการวิจยั ยาจากสมุนไพรเดีย่ วจะมีการลงทุนเยอะมากในส่วน ต้นทางของการวิจยั ในระยะ
ยกลางทางและปลายทางจะเริม่ ทยอยลดลงเรือ่ ย ๆ เนือ่ งจากโอกาสทีจ่ ะได้ยาใหม่จากกระบวนการวิจยั สมุนไพรนัน้ มี

Position-5.indd 69 9/13/19 16:05


70 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ได้น้อย ขณะที่หากเป็นการวิจัยทางการแพทย์แผนไทยที่ใช้ต�ำรับยาดั้งเดิม การลงทุนการวิจัยจะมีมากในระยะที่ 2


และ 3 ซึ่งเป็นการสังเกตจากการปฏิบัติและน�ำความรู้ดั้งเดิมนั้นเข้าสู่ระบบการประมวลผลลัพธ์ เพราะการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านเป็นสิ่งที่มีการปฏิบัติจริงอยู่ในชุมชนต่าง ๆ อยู่ก่อนแล้ว

3. สภาพปัญหา/ข้อจ�ำกัดและโอกาสในการพัฒนา
ประเด็นแรก อาจกล่าวถึง ปัญหามาตรฐานการด�ำเนินการศึกษาวิจัยต�ำรับยาแผนไทย ซึ่งเป็นผลเนื่อง
มาจากยังไม่มหี ลักเกณฑ์ทดี่ ใี นการวิจยั และการติดตามตรวจสอบการด�ำเนินการวิจยั ทีเ่ ป็นมาตรฐานเดียวกัน และส่ง
ผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลทั้งทางด้านประสิทธิผลและความปลอดภัยของต�ำรับยาไทย อันเนื่องมาจากปรัชญา
และการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น ขั้นตอนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดของแพทย์แผน
ปัจจุบนั จึงอาจไม่สามารถน�ำมาใช้ในการวิจยั กับการแพทย์ดงั้ เดิมได้ อีกทัง้ รวมไปถึงงานวิจยั ด้านอืน่  ๆ เพือ่ ให้ครบห่วง
โซ่ทสี่ ามารถน�ำงานวิจยั ไปใช้ได้จริงมักไม่ได้ถกู ด�ำเนินการ ไม่วา่ จะเป็นการวิจยั เชิงระบบ บุคลากรหรือนโยบาย เป็นต้น
ประการทีส่ อง คือ ปัญหามาตรการทางกฎหมายทีใ่ ช้ในการควบคุมยา เนือ่ งจากการจัดประเภทของยาเป็น
แผนปัจจุบนั และแผนโบราณรวมทัง้ หลักเกณฑ์การขึน้ ทะเบียนต�ำรับยาไม่เอือ้ อ�ำนวยต่อการน�ำยาทีว่ จิ ยั และพัฒนาใน
ประเทศมาผลิตและจ�ำหน่ายเท่าทีค่ วร การขึน้ ทะเบียนต�ำรับยาแผนไทยหรือยาแผนโบราณยังท�ำได้ยากและใช้ระยะ
เวลาค่อนข้างนาน นอกจากนี้การน�ำยาแผนโบราณมาท�ำเป็นผลิตภัณฑ์แบบใหม่ ๆ เช่น สูตรยาน�้ำมันส�ำหรับนวด
ซึ่งเดิมวิธีใช้คือ นวด ชุบ หรือ พอก พอน�ำมาบรรจุขวดเป็นสเปรย์อัดแก๊ส ให้มีรูปแบบที่ทันสมัย ก็ไม่สามารถขึ้น
ทะเบียนยาแผนโบราณได้ ต้องขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบันที่มีส่วนผสมของสมุนไพร เป็นต้น
อย่างไรก็ดี โอกาสในการแก้ไขมีอยู่มากเนื่องจากทั้งกระแสสุขภาพของประชาชนในปัจจุบัน และรัฐบาล
มีนโยบายชัดเจนในการสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเต็มรูปแบบ ปัญหาประการแรก อาจต้องมีการ
น�ำเสนอหลักเกณฑ์ ขัน้ ตอนการด�ำเนินการส�ำหรับงานวิจยั ต�ำรับยาแผนไทย ดังทีก่ ล่าวมาแล้วข้างต้น ให้เป็นมาตรฐาน
เดียวกันและประกาศแก่คณะกรรมการที่พิจารณางานวิจัยซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแต่จบมาทางด้านแผนปัจจุบันจึงอาจไม่มี
ความเข้าใจในยาแผนไทยมากพอ ให้ได้รับทราบและมีแนวทางในการพิจารณาโครงการวิจัยต่าง ๆ เพื่อเอื้อต่อการ
พัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพตามหลักวิชาการ น�ำไปสู่ผลการศึกษาที่มีความน่าเชื่อถือ เห็นถึงประสิทธิผลและความ
ปลอดภัยของต�ำรับยาอย่างชัดเจน ก่อนส่งต่อไปยังฝ่ายรับขึน้ ทะเบียนยา เพือ่ ให้เป็นต�ำรับของชาติ สามารถขยายผลสู่
ระบบบริการสาธารณสุขได้อย่างกว้างขวาง ซึง่ ในประเด็นทีส่ องเอง ทางส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
ที่เป็นหน่วยงานหลักในการรับขึ้นทะเบียนยา อาจจ�ำเป็นต้องมีการปรับแก้กฎหมายหรือ ผ่อนปรนการขึ้นทะเบียน
ต�ำรับยาแผนไทยและแผนโบราณให้มีความรวดเร็วขึ้น แต่กฎเกณฑ์การพิจารณาในเรื่องของความปลอดภัย ความ
คุม้ ครองต่อประชาชนก็ยงั ต้องมีอยูเ่ ช่นเดิม จึงจะสามารถท�ำให้งานวิจยั ต�ำรับยาแผนไทยมีอนาคตต่อไปได้อย่างยัง่ ยืน

Position-5.indd 70 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 71

เอกสารอ้างอิง
1. Bodeker G, Ong CK, Grundy C, Burford G, Shine K. WHO Global Atlas of Traditoional, Complementary
and Alternative Medicine. World Health Organization: Switzerland. 2005.
2. ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คูม่ อื บริหารงบกองทุนพัฒนาระบบการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปีงบประมาณ 2554. กฤช ลี่ทองอิน, บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท
สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จ�ำกัด; 2553.
3. มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และ ณัฏฐาภรณ์ เลียมจรัสกุล. สมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย ในชีวตคนไทย. ส�ำนักงานกองทุน
สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. เชียงใหม่: ล๊อคอินดีไซน์เวิร์ค; 2557.
4. อรุณพร อิฐรัตน์ และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้สมุนไพรและการดูแลแพทย์แผนไทยของแพทย์
แผนปัจจุบนั ในโรงพยาบาล. เสนอต่อแผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะทีด่ ี (นสธ.) สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2557.
5. คัคนางค์ โตสงวน และคณะ. ความเห็นของบุคลากรสาธารณสุขต่อยาจากสมุนไพรและนโยบายส่งเสริมการใช้ยาจาก
สมุนไพรในสถานบริการสาธารณสุข. วาสารวิจัยระบบสาธารณสุข. ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ต.ค.-ธ.ค. 2554.
6. วัจนา ตั้งความเพียร และคณะ. (ร่าง) รายงานสถานการณ์งานวิจัยด้านสมุนไพร: เอกสารประกอบการประชุมการ
จัดท�ำแผนกลยุทธ์งานวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย 5 ปี ระหว่างวันที่ 28-29 กรกฎาคม 2559 ณ โรงแรมบางแสน
เฮอร์ริเทจ. เอกสารอัดส�ำเนา. สถาบันวิจัยการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก:
กรุงเทพมหานคร.
7. Pathak N. Reverse pharmacology of Ayurvedic drugs includes mechanisms of molecular
actions. Journal of Ayurveda and Integrative Medicine 2011; 2(2): 49-50.
8. Joon SY. Reverse Pharmacology Applicable for Botanical Drug Development-Inspiration from the
Legacy of Traditional Wisdom. Journal of Traditional and Complementary Medicine 2011; 1(1):
5.
9. Langevin HM, Badger GJ, Povolny BK, et al. Yin scores and yang scores: a new method for
quantitative diagnostic evaluation in traditional Chinese medicine research. The Journal of
Alternative and Complementary Medicine 2004; 10(2): 389-395.
10. ส�ำนักข้อมูลและประเมินผล. รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์
ทางเลือก 2554-2556. สมชัย นิจพานิช, บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย.
2556.
11. Willow J.H.Liu, Editor. Traditional herbal medicine research methods.New Jersey: John & Sons;
2011.
12. Watanabe K, Matsuura K, Gao P, et al. Traditional Japanese Kampo Medicine: Clinical Research
between Modernity and Traditional Medicine-The State of Research and Methodological Suggestions
for the Future. Evidence-based Complementary and Alternative Medicine: eCAM. 2011; 2011:513842.
doi:10.1093/ecam/neq067.
13. Cardini F, Wade C, Regalia AL, et al. Clinical research in traditional medicine: Priorities and
methods. Complementary Therapies in Medicine 2006; 14 (4): 282-287..
14. มณฑกา ธีชัยสกุล, กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ และคณะ. ขั้นตอนการวิจัยการแพทย์แผนไทย: ข้อเสนอและสถานการณ์
การวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย, กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพิมพ์พุ่มทอง; 2560.

Position-5.indd 71 9/13/19 16:05


72 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ทิศทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการแพทย์แผนไทยอย่างยั่งยืน
(ในระดับอุดมศึกษา)

ดร.ปราวรี ภูนีรับ และคณะ


สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
ส�ำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

1. ความเป็นมา หลักการและเหตุผล
อันด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้มีการก�ำหนดในมาตรา 55 “รัฐต้อง
ดําเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้
พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณภาพ การป้องกันโรค ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านแพทย์
แผนไทยให้เกิดประโยชน์สงู สุด” รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงได้มนี โยบายในการปฏิรปู
การแพทย์แผนไทย โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้เป็นหน่วยงานในการด�ำเนินการขับเคลือ่ น
การปฏิรูปใน 3 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นด้านอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ (herbal industry)
ระบบบริการการแพทย์แผนไทย (service) และระบบการศึกษาการแพทย์แผนไทย (education) ซึ่งประเด็นใน
การปฏิรปู การศึกษาการแพทย์แผนไทย มีแนวทางทีจ่ ะด�ำเนินการทัง้ หมด 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร
การแพทย์แผนไทยระดับปริญญาตรี การพัฒนาหลักสูตรเพิ่มพูนทักษะวิชาชีพแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทย
ประยุกต์ การพัฒนาแหล่งฝึกภาคปฏิบัติและประสบการณ์วิชาชีพ การพัฒนาต�ำราอ้างอิงมาตรฐาน (standard
textbook) ด้านการแพทย์แผนไทย และการพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่อง
ในประเด็นด้านการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการแพทย์แผนไทยระดับปริญญาตรี เป็นประเด็นที่ได้มี
การอภิปรายกันมาอย่างต่อเนื่องในกลุ่มเครือข่ายสถาบันการศึกษาทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทย
ประยุกต์ รวมถึงหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ยังคงมีหลายมุมมองในการหาแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตร
การแพทย์แผนไทย ในสภาวะที่ระบบการศึกษานั้นเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์และสถานะของสังคมใน
ยุคปัจจุบนั ซึง่ มีการเปลีย่ นแบบพลวัต และสถาบันการศึกษาจะเดินหน้ายกระดับการจัดการศึกษาเพือ่ สร้างหมอไทย
4.0 ทีท่ นั โลก ทันสมัย และทันเทคโนโลยี ในทางการแพทย์แผนไทยนัน้ ได้อย่างไร อีกทัง้ จะเดินหน้ายกระดับหลักสูตร
การเรียนการสอนทางการแพทย์แผนไทยอย่างไร ให้ผลิตหมอไทยให้มีประสิทธิผลเชี่ยวชาญในศาสตร์บูรณาการ
องค์ความรู้สมัยใหม่ ท�ำงานในระบบสาธารณสุขอย่างมืออาชีพ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การปฏิรูปนั้นเกิดกระแสอย่าง
เป็นรูปธรรมและมีเวทีในการแลกเปลี่ยน รวมทั้งการรับฟังข้อคิดเห็นต่าง ๆ ดังนั้น มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจึง
เห็นว่าควรมีการจัดประชุมวิชาการในประเด็นดังกล่าว เพื่อได้มีเวทีในการเสวนาแลกเปลี่ยนแนวความคิดจาก
หลากหลายภาคส่วนในวงกว้าง เพื่อได้มุมมองแนวความคิด ในการปฏิรูปการศึกษาทางการแพทย์แผนไทย
พร้อมทั้งเป็นการจุดประกายทางความคิดให้สถาบันการศึกษาได้แนวความคิดในการน�ำกลับไปพัฒนาหลักสูตรให้มี
คุณภาพทางวิชาการและวิชาชีพเพื่อสร้างหมอไทยที่มีคุณภาพสู่สังคม

Position-5.indd 72 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 73

2. นโยบายและมาตรการที่ด�ำเนินการปัจจุบัน
การด�ำเนินการโครงการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต โดยกรมการแพทย์
แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
ขั้นที่ 1 วันที่ 6 กรกฎาคม 2561
มีคำ� สัง่ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ที่ 883/2561 เรือ่ ง แต่งตัง้ คณะกรรมการและคณะ
ท�ำงานขับเคลื่อนการปฏิรูปการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ ปี 2561-2564 (คณะท�ำงาน โครงการ
พัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต และเพิม่ พูนทักษะวิชาชีพแพทย์แผนไทย และโครงการพัฒนาแหล่ง
ฝึกภาคปฏิบัติของแพทย์แผนไทยฝึกหัด และแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา)
ขั้นที่ 2 วันที่ 22 มิถุนายน 2561
มีประชุมคณะท�ำงานโครงการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิตและเพิ่มพูนทักษะวิชาชีพ
แพทย์แผนไทย และโครงการพัฒนาแหล่งฝึกภาคปฏิบตั ขิ องแพทย์แผนไทยฝึกหัด และแหล่งฝึกประสบการณ์วชิ าชีพ
ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 1/2561 มีข้อเสนอให้ขอข้อมูลสมรรถนะของบัณฑิตแพทย์แผนไทยที่ผู้ใช้บัณฑิต
ต้องการและให้สถาบันศึกษาร่วมระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางหรือร่างปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม
ขั้นที่ 3 วันที่ 13 กรกฎาคม 2561
จัดประชุมหารือแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาด้านการแพทย์แผนไทยเฉพาะกิจ ประเด็น “สมรรถนะ
แพทย์แผนไทยที่พึงประสงค์” ซึ่งมีผู้ใช้บัณฑิตในระบบสาธารณสุข เป็นตัวแทนจาก ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลสอง
จังหวัดแพร่ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ส�ำนักงานสาธารณสุข
จังหวัดสุราษฎร์ธานี โรงพยาบาลอู่ทอง โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลสงขลา โรงพยาบาลวัฒนานคร มีข้อคิด
เห็นสรุปได้ดังนี้
1. แพทย์แผนไทยหลังจากจบการศึกษา และเข้าสู่การท�ำงานในสถานบริการสาธารณสุข พบว่ามีปัญหา
ในการสื่อสารเพื่อวางแผนการรักษาร่วมกันระหว่างแพทย์แผนไทยกับสหวิชาชีพอื่น เช่น ประสิทธิผลของหัตถาการ
และยาแผนไทยเพื่อใช้ดูแลผู้ป่วย
2. ปัญหาการขาดทักษะการดูแลผู้ป่วยใน (IPD) เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาส่วนใหญ่มุ่งเน้นการ
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพเฉพาะเวชปฏิบัติผู้ป่วยนอกเท่านั้น การเรียนการสอนแพทย์แผนไทยทั้ง 4 ยังไม่มีการ
พัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทยเกี่ยวกับผู้ป่วยในให้ชัดเจน ก่อนบรรจุเนื้อหาการดูแลผู้ป่วยในเข้าไป
ในหลักสูตรการแพทย์แผนไทย เนื่องจากการท�ำแนวทางเวชปฏิบัติในผู้ป่วยนอกที่ชัดเจนและน�ำร่องการดูแลรักษา
ผู้ป่วยอย่างมีระบบ รวมทั้งมีแนวทางการติดตามประเมินผลผู้ป่วยชัดเจน จะเป็นปัจจัยส�ำคัญในการจัดการเรียน
การสอนและการฝึกประสบการณ์การวิชาชีพในผู้ป่วยในได้
3. ปัญหาขาดองค์ความรู้ด้านยาแผนปัจจุบันและการอ่านผล การตรวจจากห้องปฏิบัติการ เนื่องจาก
ผู้ป่วยที่มีประวัติการรับยาแผนปัจจุบันบางตัวหรือมีโรคประจ�ำตัวอยู่ หากแพทย์แผนไทยจ�ำหน่ายยาแผนไทย
โดยมิทราบ Drug interaction ของยาแผนไทย และข้อห้าม/ข้อระวังของการใช้ยาแผนไทยในผูป้ ว่ ย ทีม่ โี รคประจ�ำตัว
จะท�ำให้เกิดปัญหาได้ เช่น การให้กลุ่มยารสร้อนในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง
4. การจัดบริการผดุงครรภ์แผนไทย พบว่าการดูแลมารดาระยะตั้งครรภ์ (ANC) ไม่สามารถประเมิน
มารดาและทารกในครรภ์ได้ และการดูแลระยะรอคลอดแพทย์แผนไทยไม่สามารถใช้ศกั ยภาพในการดูแลอาการปวด
ในระยะรอคลอดได้เต็มที่ เนื่องจากขาดประสบการณ์ในการบริบาล

Position-5.indd 73 9/13/19 16:05


74 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

5. เนื้อหาในหลักสูตรการแพทย์แผนไทยมีเนื้อหาการเรียนที่มีหลายส่วน แต่เรียนเฉพาะเนื้อหาพื้นฐาน
โดยไม่ได้ลงลึก จึงท�ำให้แพทย์แผนไทยมีองค์ความรู้ที่ไม่ลึกซึ้งตามไปด้วย
6. ด้านเวชกรรมไทย แพทย์แผนไทยส่วนใหญ่ขาดทักษะการตรวจ วินิจฉัย และรักษาโรคตามแนวทาง
การแพทย์แผนไทยอย่างแท้จริง แต่กลับใช้แนวทางการประเมินการรักษาด้วยแนวทางการแพทย์แผนปัจจุบัน เช่น
การดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง แพทย์แผนไทยไม่สามารถใช้ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยในการประเมินอาการได้ แต่
กลับใช้การประเมิน ADL Index ในการประเมินผู้ป่วยซึ่งเป็นองค์ความรู้ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน
7. แพทย์แผนไทยไม่ได้มคี วามรูเ้ กีย่ วกับ drug interaction ระหว่างยาแผนไทยและยาแผนปัจจุบนั มาก
พอจึงท�ำให้มีปัญหาในการจ่ายยาควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน
8. ขาดทักษะการบริการจัดการคลินิกและการบริหารโครงการพัฒนาแผนงานในชุมชน การดูแลสุขภาพ
ในชุมชน (community medicine) ซึ่งเป็นสิ่งส�ำคัญของแพทย์แผนไทยต้องน�ำไปใช้จริงในหน่วยบริการ
9. ประเด็นอาจารย์ผู้สอนด้านการแพทย์แผนไทยควรได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ทักษะในการจัดการ
เรียนการสอน ในการเป็นอาจารย์เพื่อสามารถจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาแพทย์แผนไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปสมรรถนะแพทย์แผนไทยที่พึงประสงค์ ดังนี้
ด้านเวชกรรมไทย
- ทักษะการตรวจประเมิน การรักษาผู้ป่วยนอก
- ความรู้ ทักษะการตรวจประเมินผู้ป่วยก่อนและหลังการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เช่น
การจับชีพจร
- ทักษะให้การรักษาด้วยการแพทย์แผนไทย
- ความรู้และทักษะการรักษาผู้ป่วยในร่วมกับสหวิชาชีพ
- ความรู้เกี่ยวกับระบบการท�ำงานในแผนกผู้ป่วยใน
- ความรู้ในการประเมินภาวะเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อน ระดับความรุนแรงของโรคของผู้ป่วยใน เพื่อการ
ตัดสินใจในการรักษาด้านการแพทย์แผนไทยร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบัน
- ความรู้และทักษะการดูแลผู้ป่วยในด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
- การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจประเมินผู้ป่วยและการให้การรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยแก่
สหวิชาชีพและผู้ป่วย เช่น หลักการและเหตุผลในการรักษาด้วยการนวด หรือจ่ายยาสมุนไพรแก่ผู้ป่วย
- ทักษะการวินิจฉัยแยกโรค
- การวินิจฉัยโรคโดยใช้ศาสตร์การแพทย์แผนไทย
- การเทียบเคียงโรคทางแผนปัจจุบัน
- ความรู้ ทักษะ เรื่องการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
- ทักษะการประเมินผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อโรคติดต่อ เช่น โรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางผิวหนัง ทางระบบ
หายใจ
- ความรู้และทักษะการอ่านผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการประเมินภาวะคนไข้
ใช้ประกอบการตัดสินใจในการให้การรักษาหรือส่งต่อผู้ป่วย
- ทักษะการคัดกรองภาวะความเสี่ยงทางคลินิก เพื่อการส่งต่อผู้ป่วย
- ทักษะการประเมินความรุนแรง/อาการ เพื่อส่งต่อผู้ป่วย
- ความรู้ ทักษะการใช้ความช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะวิกฤต (first aid)

Position-5.indd 74 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 75

- ความแม่นย�ำในองค์ความรูด้ า้ นการแพทย์แผนไทย เพือ่ ความมัน่ ใจในการรักษาและการสือ่ สารให้ขอ้ มูล


ที่ชัดเจนแก่สหวิชาชีพและผู้ป่วย
- ความรู้และทักษะการรักษาแผลประเภทต่าง ๆ เบื้องต้น เช่น แผลสด แผลกดทับ
- ความรู้เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคทางแพทย์แผนปัจจุบัน
ด้านเภสัชกรรมไทย
- ทักษะการใช้ยาต�ำรับ
- ทักษะการตั้งต�ำรับยา การปรุงยาเฉพาะราย
- ความรู้เรื่อง Drug interaction
- ความรู้เกี่ยวกับการบริหารคลังยาและวัตถุดิบสมุนไพร (สมุนไพรแห้ง)
- ความรู้และทักษะการ identify สมุนไพร
- การให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับยาสมุนไพรแก่แพทย์แผนปัจจุบันเพื่อส่งเสริมการสั่งจ่ายยาสมุนไพร และ
สร้างความมั่นใจในการให้การรักษาร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบัน
ด้านการนวดไทย
- ทักษะการตรวจประเมิน วินิจฉัยและให้การรักษาด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย
- ความรู้เกี่ยวกับการประเมินผู้ป่วยที่มีภาวะไม่เหมาะแก่การท�ำหัตถการ เช่น กระดูกหัก กระดูกพรุน
หมอนรองกระดูกเคลื่อน
ด้านผดุงครรภ์ไทย
- ทักษะการดูแลผู้ป่วยระยะก่อนคลอด ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
- ทักษะการตรวจครรภ์ การประเมินการตั้งครรภ์ของมารดาในแผนก ANC
ความรู้ทั่วไป
- ความรู้ ทักษะการบริหารจัดการ เช่น การนิเทศ การควบคุมก�ำกับงาน
- การท�ำงานในชุมชนร่วมกับสหวิชาชีพ (community medicine)
- ทักษะการสื่อสาร ประสานงาน
- ภาวะความเป็นผู้น�ำ
- ความรู้ ทักษะการท�ำวิจัย R2R
- ทักษะการประยุกต์น�ำข้อมูลหรือความรู้มาใช้ปฏิบัติจริง
- ความรู้เกี่ยวกับการท�ำงานของสหวิชาชีพ
ขั้นที่ 4 วันที่ 24 กรกฎาคม 2561
จัดประชุมหารือแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาด้านการแพทย์แผนไทยเฉพาะกิจ ประเด็น “ร่าง การ
พัฒนาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยระดับปริญญาตรีแนวใหม่” ซึง่ มีผแู้ ทนจากสถาบันศึกษาแพทย์แผนไทยและแพทย์
แผนไทยประยุกต์เข้าร่วมประชุม โดยมีประเด็นที่ส�ำคัญ ดังนี้ ประธานได้เสนอให้มีสถาบันการศึกษาเพื่อน�ำร่องใน
การใช้หลักสูตร 5 ปี โดยพบว่าการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาการแพทย์แผนไทยระยะเวลาน้อย จึงท�ำให้ขาดความ
มั่นใจในการตรวจรักษา ซึ่งเสนอให้มีการปรับปรุงหลักสูตรโดย ให้มีการฝึกปฏิบัติแบบ internship ตามแบบแพทย์
แผนปัจจุบัน ควรเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับการประเมินสภาพผู้ป่วยฉุกเฉิน เพื่อการบริหารจัดการส่งต่อได้อย่างถูกต้อง
การพัฒนาทักษะการปรุงยาเฉพาะราย รวมถึงความรู้ของ drug interaction ของยาปรุงเฉพาะรายและการใช้ยา
สมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบัน อีกทั้งยังขาดการท�ำงานร่วมกับสหวิชาชีพ

Position-5.indd 75 9/13/19 16:05


76 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ขั้นที่ 5 วันที่ 27-28 สิงหาคม พ.ศ. 2561


การประชุมเชิงปฏิบัติการ (ร่าง) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยระดับปริญญาตรี
แนวใหม่ ผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย ประธานหลักสูตร อาจารย์ประจ�ำหลักสูตร และอาจารย์ผู้เกี่ยวข้องกับ
การบริการจัดการหลักสูตรจากสถาบันการศึกษาทีเ่ ปิดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาการแพทย์แผนไทยและสาขา
แพทย์แผนไทยประยุกต์ จ�ำนวน 26 สถาบัน ผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับทราบเกี่ยวกับสภาพปัญหาการปฏิบัติงาน
ของบัณฑิตแพทย์แผนไทยจากข้อคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิตในการประชุมหารือประเด็นสมรรถนะแพทย์แผนไทย
เมือ่ วันที่ 13 กรกฎาคม 2561 และได้รบั การทบทวนความรูเ้ กีย่ วกับหลักการทัว่ ไปในการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี
เพื่อผลิตบุคลากรแพทย์แผนไทย
ผูเ้ ข้าร่วมประชุมได้รว่ มกันวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาการปฏิบตั งิ านของบัณฑิตแพทย์แผนไทย จากข้อคิด
เห็นของผู้ใช้บัณฑิต โดยมีความเห็นว่า หลักสูตรการแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ตาม
มคอ.1 มีสาระครบถ้วนแล้ว แต่อาจต้องเพิม่ การฝึกประสบการณ์วชิ าชีพ เพือ่ เสริมสร้างความช�ำนาญและความมัน่ ใจ
ของบัณฑิต โดยสถาบันการศึกษาจะต้องพิจารณาจัดท�ำหรือทบทวนผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้ครอบคลุมประเด็น
ปัญหา และตรวจสอบระบบการจัดการศึกษาที่เป็นอยู่ เพื่อให้มั่นใจว่าบัณฑิตที่ส�ำเร็จการศึกษาบรรลุผลการเรียนรู้
ทีค่ าดหวังและมีสมรรถนะตามทีก่ ำ� หนด ซึง่ สรุปแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาหลักสูตรตามข้อเสนอแนะผูเ้ ข้าร่วม
การประชุมได้ ดังนี้
สาระและวิธีการสอน
- การจัดการเรียนการสอนควรให้น�้ำหนักการแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการโรคที่พบบ่อย ระบุเป็น
หัวข้อให้ชัดเจนในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง
- ในการวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วย ควรจัดให้มีสหวิชาชีพร่วมอภิปรายด้วยตามความเหมาะสม
- ปรับสาระรายวิชาเภสัชวิทยา เรื่อง drug interaction
- อบรมเรื่องการควบคุมการติดเชื้อก่อนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
- เพิ่มทักษะการค้นหาข้อมูลวิชาการ งานเวชศาสตร์เชิงประจักษ์ และงานวิจัย
- เพิ่มการฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้นักศึกษามีโอกาสฝึกคิด วิเคราะห์ วางแผน เขียนโครงการเพื่อ
ส่งเสริมการดูแลสุขภาพระดับชุมชนมากขึ้น
- เตรียมความพร้อมของนักศึกษาด้านการเรียนรู้การให้นโยบายของรัฐบาลอาจารย์ผู้สอน
- ฝึกอบรมหรือพัฒนาทักษะของอาจารย์ผู้สอนให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้ง 4 ด้าน
- ฝึกอบรมการสอนทางคลินิกให้กับอาจารย์ผู้สอน
แหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
สถาบันการศึกษา
- ขอให้สถาบันการศึกษาท�ำหนังสือประสานและขอความอนุเคราะห์โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวง
สาธารณสุขเพื่อรับฝึกประสบการณ์วิชาชีพผ่านส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และส�ำเนาแจ้งให้
โรงพยาบาลทราบ
- ขอให้สถาบันการศึกษาได้ร่วมก�ำหนดเกณฑ์การคัดเลือกแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
- สถาบั น การศึ ก ษาควรจั ด ให้ นั ก ศึ ก ษาได้ เ รี ย นรู ้ เ กี่ ย วกั บ บริ บ ทและการบริ ห ารงานของแหล่ ง ฝึ ก
ประสบการณ์วิชาชีพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

Position-5.indd 76 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 77

กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
- เสนอให้กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาแหล่งฝึก
ประสบการณ์วิชาชีพ
- เสนอให้กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกประสานความร่วมมือกับแหล่งฝึกประสบการณ์
วิชาชีพและสถาบันการศึกษาเพื่อก�ำหนดค่าตอบแทนแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่เป็นมาตรฐาน
เดียวกัน
อื่น ๆ
- สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของวิชาชีพแพทย์แผนไทยในระบบบริการสุขภาพของผู้ใช้บัณฑิต
ประเด็นการเพิ่มระยะเวลาหลักสูตรเป็น 5 ปี นั้น ที่ประชุมมีความเห็นว่าต้องมีความพร้อมก่อน ซึ่งจะ
ต้องพิจารณาปัจจัยอืน่  ๆ ให้รอบคอบว่าจะส่งผลกระทบอย่างไร และในการด�ำเนินการไม่ควรน�ำร่องใช้หลักสูตรเพียง
1-2 แห่งเท่านั้น แต่ควรได้รับความร่วมมือจากสถาบันทุกแห่ง โดยมีประเด็นที่ต้องพิจารณาก่อนการตัดสินใจ เช่น
อัตราเงินเดือนจะเพิ่มขึ้นจากหลักสูตร 4 ปี หรือไม่ มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่มีความพร้อมจ�ำนวนเพียงพอ
ต่อการรับนักศึกษาหรือไม่ และการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะด�ำเนินการในช่วงปีการศึกษาที่ 4 หรือ 5
ทั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนงานในประเด็นการพัฒนาและปรังปรุงหลักสูตรการแพทย์แผนไทยระดับปริญญาตรี
ตามแผนการปฏิรูปการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจด้านการแพทย์แผนไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่ประชุมมีความเห็นว่า ควรด�ำเนินการพัฒนาแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพและพัฒนาอาจารย์ผู้สอนเป็นอันดับ
แรกโดยขอให้กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกเป็นผู้ด�ำเนินการและเป็นผู้ประสานหลัก รวมถึงการสร้าง
ความเข้าใจเกีย่ วกับสมรรถนะวิชาชีพของแพทย์แผนไทยแก่ผใู้ ช้บณั ฑิต โดยสถาบันการศึกษาจะด�ำเนินการปรับสาระ
และวิธีการสอนให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ควบคู่กันไปด้วยเพื่อแก้ปัญหาการปฏิบัติงานของบัณฑิตแพทย์แผนไทย
ในเบื้องต้นและเตรียมความพร้อมส�ำหรับการพัฒนาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยระดับปริญญาตรีในอนาคต
การแพทย์แผนไทย (service) และระบบการศึกษาการแพทย์แผนไทย (education) โดยประเด็นปฏิรูป
ด้านการศึกษาการแพทย์แผนไทย (education) เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงหลักสูตรการแพทย์แผนไทย การพัฒนา
ต�ำราอ้างอิงมาตรฐาน (standard textbook) ด้านการแพทย์แผนไทย ที่พัฒนาศูนย์การศึกษาต่อเนื่องด้านการ
แพทย์แผนไทย (CTME) และการพัฒนาแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการแพทย์แผนไทย และเนื่องจากใน
ระยะที่ผ่านมาผู้ใช้บัณฑิตสถานบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ให้ข้อคิดเห็นถึงสมรรถนะของแพทย์
แผนไทยที่มีศักยภาพไม่เพียงพอ รวมถึงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการแพทย์แผนไทยไม่มากเท่ากับวิชาชีพ
อื่นในระบบสุขภาพ เช่น แพทย์ และพยาบาลวิชาชีพ ท�ำให้บัณฑิตขาดทักษะในการท�ำงานร่วมกับวิชาชีพอื่น ๆ
ส่งผลให้แพทย์แผนไทย ขาดการยอมรับและเชื่อมั่นจากสหวิชาชีพ จึงเสนอแนวคิดในการจัดท�ำหลักสูตรการแพทย์
แผนไทยแนวใหม่ ก�ำหนดระยะเวลา 5 ปี ด�ำเนินการโดยมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ซึ่งควรเพิ่มเติมเนื้อหาใน
ระดับ (Pre-Clinic) ได้แก่ การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เช่น การตรวจเลือด (CBC, blood
sugar, LFT) การเอ็กซเรย์ การท�ำอัลตราซาวด์ และในระดับ clinic ได้แก่ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การ
ตรวจวินิจฉัยสั่งการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน การจัดบริการในคลินิก
ครอบครัว (primary care cluster) และการแพทย์พื้นบ้าน ซึ่งขึ้นอยู่กับที่ตั้งของมหาวิทยาลัย แต่อย่างไร
ก็ตามเห็นควรหารือกับคณะท�ำงานฯ เพื่อหาแนวทางพัฒนาหลักสูตรแพทย์แผนไทยที่มีคุณภาพ ส่งผลให้บุคลากร
การแพทย์แผนไทยสามารถปฏิบัติงานได้ตามสมรรถนะที่ต้องการ และเป็นที่ยอมรับของสหวิชาชีพโดยเน้นย�้ำ
ว่าการปรับปรุงหลักสูตรดังกล่าว มุ่งเน้นให้เกิดสมรรถนะทางการบริการเพิ่มมากขึ้น โดยเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นมานั่น
อาจออกแบบหลักสูตรเพื่อสนองตอบการจัดการรูปแบบใหม่ เช่น primary care cluster หรือทักษะการดูแล

Position-5.indd 77 9/13/19 16:05


78 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ผูป้ ว่ ยฉุกเฉินในกรณีจำ� เป็น รวมถึงการน�ำร่องปรับปรุงหลักสูตรการแพทย์แผนไทยเป็น 5 ปี นัน้ สถาบันการศึกษาไม่


จ�ำเป็นต้องน�ำร่องพร้อมกันทัง้ หมด แต่หากด�ำเนินการน�ำร่องการใช้หลักสูตร 5 ปี แล้วได้ผลดีจะท�ำให้สภาการแพทย์
แผนไทย น�ำไปต่อยอดรับรองหลักสูตรต่อไป โดยเสนอแนวทางอื่น ๆ ควบคู่กับการพัฒนาหลักสูตร เช่น การ
ขอปรับมาตรฐาน/ประเมินค่างานต�ำแหน่งแพทย์แผนไทยที่จบหลักสูตรใหม่ การน�ำร่องการผลิตแพทย์แผนไทย
หลักสูตร 5 ปี ในสถาบันการศึกษา 2-3 แห่ง การก�ำหนดเงื่อนไขการชดใช้ทุนรัฐบาล (สัญญาฝ่ายเดียว)
การก�ำหนดเงื่อนไขสถาบันการศึกษาหลักสูตรใหม่ตามมาตรฐานวิชาชีพ รวมถึงการขอสนับสนุนการของบประมาณ
ให้สถาบันการศึกษาเพื่อน�ำร่องหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต 5 ปี โดยอาจเตรียมจัดท�ำค�ำของบประมาณผ่าน
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ เพื่อขอสนับสนุนการของบประมาณขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาด้านการแพทย์
แผนไทย เช่น การสนับสนุนงบประมาณจัดการเรียนการสอน ชั้นปีที่ 5 การจัดท�ำสื่อการเรียนการสอน การพัฒนา
อาจารย์/อาจารย์พเี่ ลีย้ ง และสนับสนุนการฝึกประสบการณ์วชิ าชีพ เป็นต้น และร่วมกับการฝึกทักษะวิชาชีพ ระยะเวลา
ประมาณ 9-12 เดือน โดยกระทรวงสาธารณะสุข (5+1 ปี) รายละเอียดตามเอกสารประกอบการประชุม

2. นโยบายและมาตรการที่ด�ำเนินการปัจจุบัน
จากการด�ำเนินการที่ผ่านมาของกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก รวบรวมประเด็นจากทั้ง
ผู้ใช้บัณฑิต และผู้ผลิตบัณฑิต ซึ่งเป็นข้อมูลในการปฏิรูปการศึกษาทางการแพทย์แผนไทย ซึ่งยังคงต้องด�ำเนินการ
การหาแนวทางในเชิงปฏิบตั นิ นั้ ต่อไป สถาบันการศึกษาจึงจ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องเข้ามาร่วมกันเสนอข้อคิดเห็นและ
แนวทางในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ซึง่ มหาวิทยาลัยแม่ฟา้ หลวงเห็นความส�ำคัญในการปฏิรปู
การศึกษาแพทย์แผนไทย จึงได้ร่วมในการจัดเสวนาในหัวข้อ ทิศทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการแพทย์แผนไทยอย่าง
ยั่งยืน (ในระดับอุดมศึกษา) วันที่ 6 มีนาคม 2562 ณ ห้อง symposium 5 จะเป็นการร่วมเสวนาและแสดงความ
คิดเห็นจากผูเ้ ข้าร่วมประชุมในวงกว้างทีน่ อกเหนือจากคณะท�ำงาน ซึง่ จะเป็นประโยชน์ในการน�ำข้อมูลให้คณะท�ำงาน
ได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบในการด�ำเนินงานต่อไป

3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนหลักสูตร
การแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ในระดับอุดมศึกษา
1. กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มีพนั ธกิจในการพัฒนาวิชาการด้านการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก โดยคุม้ ครอง อนุรกั ษ์และส่งเสริมภูมปิ ญั ญาการแพทย์แผนไทย ส่งเสริมและพัฒนาการจัดระบบ
ความรู้ และสร้างมาตรฐานด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกให้ทดั เทียมกับการแพทย์แผนปัจจุบนั และ
น�ำไปใช้ในระบบสุขภาพอย่างมีคณ ุ ภาพและปลอดภัย เพือ่ เป็นทางเลือกแก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพ ซึง่ ในปี พ.ศ.
2561 มีคำ� สัง่ แต่งตัง้ คณะกรรมการและคณะท�ำงานขับเคลือ่ นการปฏิรปู การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเพือ่ เศรษฐกิจ
ปี 2561-2564 ซึ่งมีคณะท�ำงานโครงการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต และเพิ่มพูนทักษะวิชาชีพ
แพทย์แผนไทย และโครงการพัฒนาแหล่งฝึกภาคปฏิบตั ขิ องแพทย์แผนไทยฝึกหัด และแหล่งฝึกประสบการณ์วชิ าชีพ
ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา
2. คณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการส�ำนักงานคณะกรรมการการ
อุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ข้อ 1 ก�ำหนดให้ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีภารกิจ
เกี่ยวกับการจัดและส่งเสริมการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยค�ำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการ

Position-5.indd 78 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 79

ของสถานศึกษาระดับปริญญา โดยให้มีอ�ำนาจหน้าที่ในการจัดท�ำข้อเสนอนโยบายและมาตรฐานการอุดมศึกษาและ
แผนพัฒนาการอุดมศึกษารวมทัง้ ด�ำเนินงานด้านความสัมพันธ์ระดับอุดมศึกษากับต่างประเทศ จัดท�ำหลักเกณฑ์และ
แนวทางการสนับสนุนทรัพยากร และการจัดตั้ง จัดสรรงบประมาณอุดหนุนสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชน
ประสานและส่งเสริมการด�ำเนินงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศักยภาพนักศึกษารวมทั้งผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส
และผู้มีความสามารถพิเศษในระบบอุดมศึกษาและประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่
และสนับสนุนการพัฒนาประเทศ เสนอแนะเกี่ยวกับการจัดตั้ง ยุบ รวม ปรับปรุง และยกเลิกสถาบันอุดมศึกษา
และวิทยาลัยชุมชน รวมถึงด�ำเนินการเกี่ยวกับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการอุดมศึกษาตามที่
คณะกรรมการการอุดมศึกษามอบหมาย รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลและจัดท�ำสารสนเทศด้านการอุดมศึกษา
3. สภาการแพทย์แผนไทย มีอ�ำนาจหน้าที่ ขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบ
วิชาชีพการแพทย์แผนไทย และผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร
หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพการแพทย์แผนไทยของสถาบันต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก รับรองหลักสูตร
ส�ำหรับการฝึกอบรมเป็นผู้ช�ำนาญการในด้านต่าง ๆ ของวิชาชีพการแพทย์แผนไทยของสถาบันที่ท�ำการฝึกอบรม
ดังกล่าว เป็นต้น ซึง่ ในปัจจุบนั มีสถาบันทีผ่ า่ นการรับรองหลักสูตรแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ใน
ระดับอุดมศึกษา จ�ำนวนทั้งสิ้น 29 สถาบัน ประกอบด้วยสถาบันที่จัดการศึกษาระดับปริญญาหรือประกาศนียบัตร
เทียบเท่าปริญญา สาขาการแพทย์แผนไทย 19 สถาบัน และสถาบันทีจ่ ดั การศึกษาระดับปริญญาหรือประกาศนียบัตร
เทียบเท่าปริญญาสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ 10 สถาบัน

ล�ำดับ สถาบันที่จัดการศึกษาระดับปริญญาสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
1 สถานการณ์แพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
2 สถานการณ์แพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3 วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
4 คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา
5 วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
6 ส�ำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
7 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
8 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
9 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
10 วิทยาลัยนานาชาติพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ล�ำดับ สถาบันที่จัดการศึกษาระดับปริญญาสาขาการแพทย์แผนไทย
1 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
2 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
3 คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
4 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา สถาบันสมทบ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
5 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี สถาบันรวมผลิต มหาวิทยาลัยบูรพา
6 วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
7 คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
8 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยปทุมธานี
9 คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

Position-5.indd 79 9/13/19 16:05


80 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ล�ำดับ สถาบันที่จัดการศึกษาระดับปริญญาสาขาการแพทย์แผนไทย
10 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
11 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง
12 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรนิ ธร จังหวัดพิษณุโลก สถาบันสมทบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
13 วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก จังหวัดนนทบุรี สถาบันสมทบ มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
14 วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
15 วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
16 หลักสูตรการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
17 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
18 คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
19 คณะแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

เอกสารอ้างอิง
1. สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จํากัด;
2560.
2. ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่
10 (พ.ศ. 2550-2554). [ออนไลน์]. 2549 [6 มกราคม 2562]; ที่มา: http://www.nesdb.go.th/download/
article/article_20160323112418.pdf.
3. สภาการแพทย์แผนไทย. รายชื่อสถาบันที่จัดการศึกษาระดับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญา สาขา
การแพทย์แผนไทยทีส่ ภาการแพทย์แผนไทยรับรองตามพระราชบัญญัตวิ ชิ าชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556. นนทบุร:ี
สภาการแพทย์แผนไทย; 2556.
4. สภาแพทย์แผนไทย. รายชือ่ สถาบันทีจ่ ดั การศึกษาระดับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญา สาขาการแพทย์
แผนไทยที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรองตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ พ.ศ. 2556. นนทบุรี:
สภาการแพทย์แผนไทย; 2556.
5. กรมการแพทย์ แ ผนไทยและการแพทย์ ท างเลื อ ก. แต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการและคณะท� ำ งานขั บ เคลื่ อ นการปฏิ รู ป
การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ ปี 2561-2564. นนทบุรี: กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือก; 2560.
6. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. รายงานการประชุมหารือแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาด้าน
การแพทย์แผนไทยเฉพาะกิจ “สมรรถนะแพทย์แผนไทยที่พึงประสงค์” ครั้งที่ 1/2561. 13 กรกฎาคม 2561; ห้อง
ประชุมกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. นนทบุรี: กรมการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก; 2561.
7. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. รายงานการประชุมจัดประชุมหารือแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษา
ด้านการแพทย์แผนไทยเฉพาะกิจ ประเด็น “ร่าง แนวทางการพัฒนาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยระดับปริญญาตรี
แนวใหม่” ครั้งที่ 1/2561. 24 กรกฎาคม 2561; ห้องประชุมสถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก; 2561.
8. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. รายงานการประชุมจัดประชุมหารือแนวทางการพัฒนาการจัดการ
ศึกษาด้านการแพทย์แผนไทยเฉพาะกิจ ประเด็น “ร่าง แนวทางการพัฒนาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยระดับปริญญาตรี
แนวใหม่” ครั้งที่ 2/2561. 27-28 สิงหาคม 2561; ห้องประชุมตักศิลา สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ชั้น 7
อาคารปิยมหาราชการุณย์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Position-5.indd 80 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 81

ผลกระทบของกรอบการเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วย
ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม
ต่อกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
ดร.ปวริศร เลิศธรรมเทวี
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง

1. ความเป็นมา หลักการ และเหตุผล


ประเทศไทยเป็นประเทศที่มั่งคั่งในทรัพยากรพันธุกรรม และมีความหลากหลายทางชีวภาพที่สูงมากแห่ง
หนึ่งของโลก จัดเป็นอันดับ 8 ของโลก[1]ความมั่งคั่งในทรัพยากรดังกล่าวนับเป็นทุนทางเศรษฐกิจที่เป็นจุดแข็งและ
เป็นโอกาสของประเทศ และเป็นประเด็นที่มีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของชุมชนทั้งการรักษาและใช้ประโยชน์จาก
ทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources, GR) การแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม (Traditional Cultural
Expression, TCE) และภูมิปัญญาท้องถิ่น[2] (Traditional Knowledge, TK) อย่างไรก็ตาม มีรายงานที่แสดงถึง
ปัญหาอุปสรรคของการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดังกล่าว อาทิ การฉกฉวยทรัพยากรและภูมปิ ญ ั ญาไปใช้ประโยชน์
ในเชิงพาณิชย์ หรือการน�ำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ประเด็นดังกล่าวนี้ มีกรณีอุทาหรณ์เกิดขึ้นในประเทศไทย
หลายครั้ง อาทิ การจดสิทธิบัตรสารสกัดจากเปล้าน้อย (Plao Noi) หรือการจดสิทธิบัตรกวาวเครือ อันเป็นผลมา
จากการขาดระบบการคุ้มครองและการบริหารจัดการเชิงกฎหมายที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ[3-4]
คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญา
ท้องถิ่นและการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิมขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO Intergovernmental
Committee on Intellectual Property and Genetic Resources, Traditional Knowledge and Traditional
Cultural Expression, IGC)[5] จัดตั้งขึ้นภายใต้องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวาง
กรอบนโยบายใน 3 เรื่องส�ำคัญ ได้แก่
(1) ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเกี่ยวกับองค์ความรู้ ทักษะและนวัตกรรมความคิดในท้องถิ่นหรือในแต่ละ
ประเทศที่ตกทอดมาจากอดีตหลายชั่วอายุคนจนกลายเป็นแบบแผนประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาเป็นเอกลักษณ์
เฉพาะถิ่น[6-7]
(2) ด้านการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งหมายถึงการแสดงออกถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นมรดกทาง
วัฒนธรรมดั้งเดิมของสังคม ซึ่งมีการวางกรอบให้มีการปกป้องในฐานะที่เป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่จับต้องไม่ได้
(Intangible Cultural Heritage, ICH)[8] อันเป็นประเด็นส�ำคัญที่อยู่ภายใต้การดูแลของ UNESCO และ
(3) ด้านทรัพยากรพันธุกรรมเกี่ยวข้องกับวัตถุธรรมชาติที่มีถิ่นฐานเฉพาะพื้นที่และชุมชน โดยเป็นการ
แสวงหาแนวทางการคุ้มครอง ส่งเสริมและปกป้องสิทธิของผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรพันธุกรรม[9]โดยเฉพาะเรื่องการ
เข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ (ABS) ตามกรอบของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
(Convention on Biological Diversity, CBD)[10] พิธีสารนาโกยา (Nagoya Protocol) และสนธิสัญญาระหว่าง
ประเทศว่าด้วยพันธุกรรมพืชขององค์การอาหารและการเกษตร (FAO)[11]

Position-5.indd 81 9/13/19 16:05


82 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

การวางกรอบนโยบายทั้งสามประเด็นดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทยทั้งในเรื่องการเตรียม
ความพร้อม การก�ำหนดนโยบายและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ตลอดจนการวางระบบบริหารจัดการภายในประเทศ
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีความประสงค์ให้ท�ำ
การศึกษาวิจัยเพื่อศึกษากรอบการเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับทรัพยากร
พันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม เพื่อน�ำผลการศึกษามาใช้ประโยชน์ใน
การเตรียมความพร้อม การก�ำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ รวมทัง้ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องรองรับ
ประเด็นดังกล่าว และในการศึกษาจ�ำเป็นต้องมีที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกฎหมาย โดยเฉพาะ
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายสิ่งแวดล้อม เข้ามาร่วมด�ำเนินการจึงจะท�ำให้
การด�ำเนินงานของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกบรรลุผลต่อไป จึงเป็นที่มาและความส�ำคัญของ
การศึกษาในครั้งนี้

2. กรอบกติการะหว่างประเทศที่ส�ำคัญ
2.1 กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ (International Environmental Law)
ความตกลงระหว่างประเทศที่ถือได้ว่ามีความส�ำคัญที่สุดเมื่อกล่าวถึงประเด็นเรื่องทรัพยากรพันธุกรรม
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิมคือ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทาง
ชีวภาพ ค.ศ. 1992 (United Nations Convention on Biological Diversity: CBD)[12] และเอกสารกฎหมาย
สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศอีก 3 ฉบับ ได้แก่ พิธีสารนาโกยาว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่ง
ปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมที่เป็นธรรมและเท่าเทียม ค.ศ. 2010 (Nagoya Protocol on
Access to Genetic Resources and the Fair and Equitable Sharing of Benefits Arising from their
Utilization: Nagoya Protocol) สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพยากรชีวภาพด้านพืชเพื่อการเกษตรและ
การอาหาร (International Treaty on Plant Genetic Resources for Food and Agriculture: ITPGRFA)[13]
และอนุสัญญาเพื่อต่อต้านการเกิดทะเลทรายในประเทศที่ประสบภัยแล้งรุนแรงและ/หรือการเกิดทะเลทราย
โดยเฉพาะในแอฟริกา ค.ศ. 1994 (United Nations Convention to Combat Desertification in Those
Countries Experiencing Serious Drought and/or Desertification, Particularly in Africa: UNCCD)[14]
2.1.1 อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
อนุสญ ั ญา CBD มีบอ่ เกิดจากการประชุมสหประชาชาติวา่ ด้วยสิง่ แวดล้อมและการพัฒนา (United Nations
Conference on Environment and Development: UNCED) ในปี ค.ศ. 1992 ที่นครริโอ เดอ จาเนโร
ประเทศบราซิล[15] CBD ตราขึน้ เพือ่ ไปสูเ่ ป้าประสงค์ทสี่ ำ� คัญในการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน (Sustainable Development)[16]
โดย CBD เป็นเอกสารกฎหมายระหว่างประเทศฉบับแรกของโลกที่มีสภาพบังคับ ที่ให้การรับรองสิทธิของชุมชน
ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ การสงวน การรักษาและการคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
อาจกล่าวได้ว่า อนุสัญญา CBD จึงเปรียบเสมือนกับรัฐธรรมนูญของกฎหมายทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญา
ท้องถิ่นและการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม
สาระส�ำคัญของ CBD คือมีการรับรองหลักการเรื่องอ�ำนาจอธิปไตยแห่งรัฐเหนือทรัพยากรธรรมชาติ[17]
รัฐประชาคมจึงมีอ�ำนาจโดยชอบธรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศในการที่จะใช้ประโยชน์หรือจัดการทรัพยากร

Position-5.indd 82 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 83

ธรรมชาติภายในรัฐตนได้อย่างอิสระ หลักการดังกล่าวได้กลายมาเป็นจารีตประเพณีของกฎหมายระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม อ�ำนาจอธิปไตยเช่นว่านั้น อาจถูกจ�ำกัดในกรณีที่เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับรัฐประชาคมตาม
หลักการว่าด้วย “ความเป็นห่วงของมวลมนุษยชาติ”
ยิ่งกว่านั้น CBD ได้ให้การรับรองสิทธิของชุมชนเป็นครั้งแรก การรับรองสิทธิดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความ
ส�ำคัญแห่งสิทธิของชุมชนในฐานะเป็นผู้ใช้ทรัพยากรพันธุกรรม โดย CBD ได้รับรองและให้การคุ้มครองว่าชุมชน
พื้นเมืองและชุมชนในฐานะเป็นเจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น เอกชนผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นเจ้าของมิได้ตามหลักการว่าด้วย
มรดกของมวลมนุษยชาติ CBD[18] ก�ำหนดหลักการส�ำคัญไว้หลายประเด็นเกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญา
ท้องถิ่นและการแสดงออกทางวัฒนธรรม ได้แก่ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยส�ำคัญ
ทีช่ ว่ ยส่งเสริมและรักษาสิง่ แวดล้อมอย่างยัง่ ยืน[19] การสนับสนุนเพือ่ ให้มกี ารใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ
ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยัง่ ยืน โดยรัฐสมาชิกจะต้องด�ำเนินการก�ำหนดแนวนโยบายดังกล่าวตามพันธกรณี
ที่ CBD ได้วางไว้ และจะต้องเป็นไปในลักษณะที่ก่อให้เกิดการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง มาตรา 8(j) แห่งอนุสัญญาดังกล่าวได้บัญญัติไว้ว่า
ภาคีสมาชิก จะต้องให้ความเคารพ สงวนและรักษาภูมิปัญญา นวัตกรรม และ
แนวปฏิบัติของชนพื้นเมืองและชุมชนด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์และ
ใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน และสนับสนุนการต่อยอดองค์ความรู้ดังกล่าว เพื่อเกิดการแบ่งปัน
ผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม
ขอบเขตและสาระส�ำคัญการคุ้มครองดังกล่าวมีความเกี่ยวพันกับประเด็นเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น[20] และ
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช[21] กฎหมายคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์[22] อย่าง
ใกล้ชิด ประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าวในวันที่ 29 มกราคม 2004 (พ.ศ. 2547) มีพันธกรณีภายใต้ CBD
ที่จะต้องปฏิบัติตามกรอบอนุสัญญา CBD โดยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติ
คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 ตราขึ้นเพื่อรองรับพันธกรณีภายใต้ CBD
2.1.2 พิธีสารนาโกยา (Nagoya Protocol)
พิธีสารนาโกยาว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพและการแบ่งปันผลประโยชน์จากความหลากหลายทาง
ชีวภาพอย่างเป็นธรรมและเที่ยงธรรม หรือ “พิธีสารนาโกยา” (Nagoya Protocol on Access to Genetic
Resources and the Fair and Equitable Sharing of Benefits Arising from the Biological Diversity:
Nagoya Protocol)[23] เป็นเอกสารอีกฉบับที่มีความส�ำคัญกับประเด็นการวิจัย โดยพิธีสารนาโกยาเป็นเอกสารที่
ก�ำหนดแนวทางในการปรับใช้หลักการของอนุสัญญา CBD ในภาคปฏิบัติในเรื่อง “การแบ่งปันผลประโยชน์จาก
ทรัพยากรชีวภาพ อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม” ซึ่งเป็น 1 ใน 3 หลักการและวัตถุประสงค์ส�ำคัญของ CBD
พิธีสารดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2014 และมีรัฐประชาคมให้สัตยาบัน 50 ประเทศ รวม
ทั้งประเทศไทยซึ่งร่วมลงนามตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)
ความส�ำคัญของพิธีสารนาโกยา คือการสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับแนวปฏิบัติว่าด้วยการ “เข้าถึงและ
แบ่งปันผลประโยชน์” เกี่ยวกับทรัพยากรชีวภาพอันเป็นหลักการที่รองรับใน CBD และ ITPGRFA ดังกล่าว
ข้างต้น พิธีสารดังกล่าวก�ำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยก�ำหนดให้รัฐสมาชิกด�ำเนินการใน
3 ประเด็นดังต่อไปนี้

Position-5.indd 83 9/13/19 16:05


84 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

1. จัดตั้งองค์กรระดับชาติ (National Focus Points: NFPs) หรือองค์กรระดับรัฐอื่น (Competent


National Authorities: CNAs) เพือ่ ท�ำหน้าทีเ่ ป็นองค์กรกลางในการประสานงานในการให้ขอ้ มูล การก�ำหนดอนุญาต
การศึกษาวิจัยและให้ความร่วมมือเกี่ยวกับประเด็นด้านทรัพยากรชีวภาพ
2. ด�ำเนินการจัดท�ำ Clearing House เกีย่ วกับการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ
ทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นฐานข้อมูล (database) ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ อาทิ กฎระเบียบที่เกี่ยวกับการเข้าถึง
แหล่งทรัพยากรชีวภาพภายในประเทศสมาชิก กฎหมายเกีย่ วกับการแบ่งปันผลประโยชน์ จากทรัพยากรชีวภาพทาง
เศรษฐกิจ และข้อมูลเกีย่ วกับหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรหลักทีท่ ำ� หน้าทีด่ แู ลประเด็นเกีย่ วกับความหลากหลายทาง
ชีวภาพ
3. การเสริมสร้างขีดความสามารถภาครัฐ (capacity building) ในการออกกฎระเบียบ หรือตรากฎหมาย
ที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนและคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพ
การเสริมสร้างขีดความสามารถภาครัฐดังกล่าวข้างต้น พิธีสารฯ เปิดโอกาสให้รัฐสมาชิก ด�ำเนินการตรวจ
สอบและประเมินผลภายในถึงความส�ำคัญและความต้องการว่ารัฐจะด�ำเนินการส่งเสริมขีดความสามารถภาครัฐใน
ประเด็นเรื่องใด อาทิ
- การพัฒนาระบบกฎหมายที่เกี่ยวกับ ABS
- การพัฒนาองค์กรหรือสถาบันระดับชาติเกี่ยวกับประเด็นทรัพยากรชีวภาพ
- การส่งเสริมและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความส�ำคัญของทรัพยากรชีวภาพ
- การแลกเปลี่ยนทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านชีวภาพ
- สนับสนุนด้านการเงินเกี่ยวกับการศึกษาประเด็นต่าง ๆ ด้านทรัพยากรชีวภาพ ด้วยกองทุนสิ่งแวดล้อม
โลก (Global Environment Fund: GEF)
2.1.3 สนธิสัญญา ITPGRFA
นอกเหนือจากอนุสัญญา CBD และพิธีสารนาโกยายังมีสนธิสัญญา ITPGRFA ซึ่งเป็นเอกสารกฎหมาย
ระหว่างประเทศที่ส�ำคัญอีกฉบับ โดยมีวิวัฒนาการมาจากกรอบระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพยากรชีวภาพ ด้านพืช
(1983 International Undertaking for Plant Genetic Resources: IU)[24] เป็นเอกสารที่ไม่มีสภาพบังคับ
ขององค์การอาหารและการเกษตร (FAO) โดยก่อนที่ ITPGRFA จะมีผลใช้บังคับ IU เป็นเอกสารส�ำคัญที่ก�ำหนด
หลักเกณฑ์ของประชาคมโลกในการใช้ทรัพยากรชีวภาพพืช มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นกลไกในการส่งเสริม และ
สนับสนุนการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพ วัตถุประสงค์ของ IU ที่ส�ำคัญคือการสนับสนุน
ให้ประชาคมโลกตระหนักถึงความส�ำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และชุมชน
การเกษตรในการคุ้มครองและรักษาทรัพยากรพันธุกรรมซึ่งเป็นองค์ประกอบส�ำคัญใช้ในการผลิตอาหารและใน
กระบวนการทางการเกษตร อย่างไรก็ตาม IU เป็นกฎหมายระหว่างประเทศแบบ Soft Law ไม่มีสภาพบังคับ
ให้รัฐประชาคมต้องปฏิบัติตาม ฉะนั้น จึงเกิดการปรับปรุงข้อด้อยของ IU ในปี ค.ศ. 2001 เกิดสนธิสัญญาระหว่าง
ประเทศที่มีสภาพบังคับท�ำหน้าที่ควบคุมดูแลประเด็นด้านทรัพยากรชีวภาพภายใต้ ITPGRFA[25]
ภายหลังการประกาศใช้ในวันที่ 29 มิถุนายน 2004 มีประเทศให้สัตยาบันเป็นภาคีสมาชิกสนธิสัญญา
ดังกล่าว 55 ประเทศ และอีก 50 ประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคีในภายหลัง ประเทศไทยยังมิได้เข้าร่วมเป็นภาคี
สนธิสัญญาดังกล่าว ท่าทีและสถานะของประเทศไทยที่มีต่อ ITPGRFA ยังอยู่ในสถานะประเทศผู้สังเกตการณ์
สนธิสัญญา ITPGRFA ให้ความส�ำคัญกับประเด็นในเรื่องของการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับทรัพยากร
พันธุกรรมด้านพืช ซึง่ เป็นการเน้นย�ำ้ ถึงความส�ำคัญของสิทธิชมุ ชนในความเป็นเจ้าของภูมปิ ญ
ั ญาทีแ่ ท้จริงตามที่ CBD

Position-5.indd 84 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 85

ได้เคยให้การรับรองไว้ รวมตลอดทั้งให้ความส�ำคัญกับการแบ่งปันผลประโยชน์อันอาจจะเกิดจากการใช้ประโยชน์
จากทรัพยากรชีวภาพทั้งปวง สนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและชุมชนการเกษตรในการตัดสินของภาครัฐ
ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นการด�ำเนินการตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนตามครรลองของหลักประชาธิปไตยใน
สิ่งแวดล้อม[26] ยิ่งกว่านั้น ITPGRFA ให้ความส�ำคัญกับการคุ้มครองสิทธิของเกษตรกร (Farmers’ Rights) ตามที่
ปรากฏในมาตรา 9 ซึ่งบัญญัติให้รัฐสมาชิกก�ำหนดมาตรการดังต่อไปนี้
1. คุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือองค์ความรู้ดั้งเดิมที่เกี่ยวกับทรัพยากรชีวภาพพืชเพื่อการเกษตรและ
การอาหาร
2. รับรองสิทธิในการมีส่วนร่วมของชุมชนการเกษตรในการได้รับการแบ่งปันประโยชน์จากการใช้
ทรัพยากรชีวภาพอย่างเท่าเทียม
3. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับ ในประเด็นที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ และการใช้
ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพพืชอย่างยั่งยืน เพื่อการอาหารและการเกษตร
จากบทบัญญัตมิ าตรา 9 ของสนธิสญ ั ญา ITPGRFA จะเห็นได้วา่ เป็นเอกสารฉบับแรกทีก่ ล่าวถึงการเกษตร
อย่างยัง่ ยืน มีการผสมผสานหลักการของ CBD ในเอกสารดังกล่าว และยิง่ กว่านัน้ ITPGRFA ให้ความส�ำคัญกับประเด็น
เรื่อง “สิทธิของเกษตรกร” อย่างเป็นรูปธรรม กล่าวคือ สนธิสัญญา ITPGRFA ให้การรับรองสิทธิของเกษตรกรใน
การเก็บ เพาะปลูก แลกเปลี่ยน การขายเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการเพาะปลูกมาก่อน จะเห็นได้ว่า ITPGRFA มีการกล่าว
ถึงประเด็นเรื่องสิทธิของเกษตรกรว่าเกี่ยวข้องกับทรัพยากรชีวภาพ เพิ่มเติมครอบคลุมยิ่งกว่าอนุสัญญา CBD

2.2 กฎหมายทรัพย์สนิ ทางปัญญาระหว่างประเทศ (International Intellectual Property Law)


2.2.1 ข้อตกลงทางการค้าที่เกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
ข้อตกลงทางการค้าที่เกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา หรือ “ข้อตกลงทริปส์” (Agreement on
Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS Agreement) เป็นหนึ่งในข้อตกลงในการ
จัดตั้งองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ก่อให้เกิดการสร้างมาตรฐานขั้นต�่ำในการคุ้มครอง
สิทธิในทรัพย์สนิ ทางปัญญาทัว่ โลก โดยทรัพย์สนิ ทางปัญญาทีไ่ ด้รบั ความคุม้ ครองภายใต้ขอ้ ตกลงทริปส์ ประกอบด้วย
8 สาขา ได้แก่ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คุ้มครองพันธุ์พืช ออกแบบผลิตภัณฑ์
ผังภูมวิ งจรรวม และความลับทางการค้า จะเห็นได้วา่ ข้อตกลงทริปส์มไิ ด้กล่าวถึงเรือ่ งของ “ภูมปิ ญ
ั ญาท้องถิน่ ” หรือ
เรื่อง “การแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม” ไว้แต่ประการใด สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะ สิ่งที่จะได้รับความคุ้มครอง
ทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องมีความใหม่ (new) ประเด็นนี้จึงเป็นสาเหตุส�ำคัญที่บรรดารัฐประชาคม โดยเฉพาะ
กลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนาในความพยายามที่จะสร้างกฎระเบียบในระดับระหว่างประเทศให้ความคุ้มครองเรื่องของ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีลักษณะและสภาพบังคับดังเช่นข้อตกลงทริปส์
2.2.2 กรอบการเจรจา WIPO IGC
ส�ำหรับกรอบการเจรจา WIPO IGC เป็นความพยายามของบรรดารัฐสมาชิกทีจ่ ะสร้างบรรทัดฐานระหว่าง
ประเทศในเรื่องการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ขาดหายไปในข้อตกลง ทริปส์ โดยรัฐสมาชิกได้เพิ่มเติมสาระส�ำคัญ
ของกติกาเป็น 3 สาขาให้ครอบคลุมประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น (Traditional
Knowledge: TK) ทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources: GR) และการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม
(Traditional Cultural Expression: TCE) ปัจจุบันกรอบ WIPO IGC ยังอยู่ระหว่างการเจรจาและไม่เป็นที่ยุติ

Position-5.indd 85 9/13/19 16:05


86 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

กรอบการเจรจา WIPO IGC อย่างไรก็ตามกรอบการเจรจาดังกล่าวมีความส�ำคัญต่อประเด็นเรื่องการคุ้มครองและ


ส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และการศึกษาวิเคราะห์ในครั้งนี้

3. กรอบการเจรจาระหว่างประเทศ WIPO IGC


3.1 ที่มาที่น�ำไปสู่การเจรจากรอบ WIPO IGC
ปัจจุบันกรอบการเจรจาด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและ
การแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิมภายใต้ WIPO IGC อยู่ในระหว่างการเจรจาหาข้อยุติ ประเด็นที่น�ำมาสู่การ
เจรจาภายใต้ WIPO IGC มีผลเหตุมาจากการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งสรุปปัจจัยที่น�ำมาสู่การเจรจา WIPO IGC
ได้อย่างน้อย 4 ประการ
ประการแรก องค์การการค้าโลก (WTO) ก่อให้เกิดการสร้างมาตรฐานขั้นต�่ำในการคุ้มครองทรัพย์สินทาง
ปัญญาทั่วโลกภายใต้ข้อตกลงทริปส์ (TRIPS Agreement) โดยข้อตกลง ทริปส์กล่าวเฉพาะประเด็นด้านทรัพย์สิน
ทางปัญญาที่เกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรม (IP-related GR) แต่มิได้กล่าวถึงเรื่องของการคุ้มครองภูมิปัญญา
ท้องถิ่น หรือการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้แต่ประการใด เนื่องจากทั้งสองประเด็นเป็นสิ่งที่มิอาจได้รับความ
คุม้ ครองในระบบกฎหมายทรัพย์สนิ ทางปัญญา[27] ยิง่ กว่านัน้ ประเด็นเรือ่ งทรัพย์สนิ ทางปัญญาทีเ่ กีย่ วพันกับทรัพยากร
พันธุกรรมยังเกิดกรณีปญ ั หาเกีย่ วกับการฉกฉวยทรัพยากร (Misappropriation) หรือการน�ำทรัพยากรตามธรรมชาติ
ซึง่ ชุมชนเป็นผูอ้ นุรกั ษ์ สงวนหรือรักษาไว้ตงั้ แต่บรรพบุรษุ ไปขอรับความคุม้ ครองทางทรัพย์สนิ ทางปัญญา โดยเฉพาะ
การจดทะเบียนสิทธิบัตร[28]
ประการที่สอง ประเทศที่เป็นสมาชิก WTO รวมทั้งประเทศไทย เป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญา CBD ซึ่ง
เป็นกรอบกติกาส�ำคัญที่เกี่ยวกับ GR TK และ TCE ก�ำหนดให้รัฐสมาชิกปรับใช้มาตรการในการคุ้มครอง ส่งเสริม
และป้องกันทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม พันธกรณีดังกล่าว
ยังขาดประสิทธิภาพในการบังคับให้ภาคีสมาชิกปฏิบัติตาม[29]
ประการทีส่ าม กรอบกติการะหว่างประเทศทีเ่ กีย่ วข้องกับประเด็น TK GR หรือ TCE ซึง่ มีอยูก่ ระจัดกระจาย
หลายฉบับ ขอบเขตวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองมีความแตกต่างกัน และมีจ�ำนวนภาคีสมาชิกไม่เท่ากัน กรณีนี้จึงส่ง
ผลให้การบังคับใช้กฎหมายภายในของแต่ละประเทศแตกต่างกันตามการเข้าเป็นภาคีสมาชิกของแต่ละประเทศ และ
ขาดความเป็นเอกภาพในระดับระหว่างประเทศ[30]
ประการสุดท้าย ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศก�ำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา (Least Developed
Countries: LDCs) ยังเผชิญความกดดันจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วภายใต้การจัดท�ำเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคี
(Free Trade Agreements: FTAs)[31] ที่บรรจุหลักการและขยายขอบเขตการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
เกินกว่ามาตรฐานขั้นต�่ำที่ก�ำหนดไว้ในข้อตกลงทริปส์ หรือที่เรียกว่า “TRIPS-Plus”[32]

3.2 ประเด็นที่ถูกหยิบยกและเค้าโครงกรอบการเจรจา WIPO IGC


ปัจจุบนั กรอบการเจรจา WIPO IGC ว่าด้วยทรัพย์สนิ ทางปัญญาทีเ่ กีย่ วกับทรัพยากรพันธุกรรม ภูมปิ ญ
ั ญา
ท้องถิ่นและการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม ยังไม่ได้ข้อยุติระหว่างสมาชิกและอยู่ระหว่างการเจรจา แม้การ
เจรจาเพื่อจัดท�ำกรอบกติกาดังกล่าวยังไม่ได้ข้อยุติ แต่สมาชิกได้ตกผลึกในประเด็นสาระส�ำคัญที่ก่อให้เกิดร่าง
ข้อบทภายใต้ WIPO IGC ในประเด็นดังกล่าวแล้ว ซึ่งประกอบไปด้วยสาระส�ำคัญ 10 ประการดังต่อไปนี้

Position-5.indd 86 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 87

รายละเอียดนิยามค�ำศัพท์ที่ส�ำคัญ (List of Terms)


I. ค�ำปรารภ หรือ อรัมภบท (Preamble) ซึง่ เป็นเสมือนหลักการและเหตุผลของการจัดท�ำกรอบกติกา
ดังกล่าว
II. วัตถุประสงค์ (Policy Objectives) ของกรอบความตกลง
III. สาระส�ำคัญเกี่ยวกับสิ่งที่จะได้รับความคุ้มครอง (Subject-matters)
IV. การเปิดเผยแหล่งที่มา (Disclosure of Origin)
V. มาตรการป้องกัน (Defensive Measures)
VI. การจัดท�ำฐานข้อมูล (Database)
VII. ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างร่างข้อบทกับความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ อาทิ Patent
Cooperation Treaty (PCT) และ Patent Law Treaty (PLT)
VIII. ความร่วมมือเกี่ยวกับมาตรการพรมแดน (Transboundary Measures)
IX. ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค ความร่วมมือและการเสริมสร้างขีดความสามารถ (Technical
Assistance, Cooperation and Capacity-Building)
ส�ำหรับกลุ่มที่มีบทบาทส�ำคัญในการผลักดันให้เกิดร่างข้อบทดังกล่าว สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอย่าง
ชัดเจน ได้แก่ กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป และกลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนา
อย่าง อินเดีย ประเทศสมาชิกอาเซียน และหลายประเทศในทวีปอเมริกาใต้ สรุปประเด็นการเจรจาได้ดังนี้
3.2.1 การก�ำหนดวัตถุประสงค์ของกรอบกติกา (Policy Objectives)
วัตถุประสงค์ส�ำคัญของกรอบกติกาภายใต้ WIPO IGC ประกอบด้วย 4 หลักการที่ส�ำคัญ ได้แก่
(1) การก่ อ ให้ เ กิ ด ความโปร่ ง ใสและประสิ ท ธิ ภ าพในการจดทะเบี ย นทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญา (2) การป้ อ งกั น
การน�ำภูมิปัญญาไปใช้โดยมิได้รับอนุญาต (3) การส่งเสริมการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้สอดคล้องกับกรอบ
ความตกลงระหว่างประเทศฉบับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และ (4) การป้องกันและลดปริมาณการจดทะเบียนสิทธิบัตรที่
ผิดพลาด โดยกลุ่มการเจรจาWIPO IGC มีท่าทีต่อหลักการทั้งสี่ประการข้างต้น ที่แตกต่างกันดังนี้
ท่าทีของกลุม่ ประเทศพัฒนาแล้ว ไม่สนับสนุนการใช้คำ� ว่า “การขโมย/ยักยอก” หรือ “Misappropriation”
โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเสนอให้ตัดค�ำว่า “Misappropriation” ออกจากการก�ำหนดวัตถุประสงค์ของกรอบความ
ตกลงทีก่ �ำลังเจรจา เนื่องจากขัดกับกฎหมายภายในประเทศของอเมริกา และเสนอให้ใช้คำ� ว่า “การน�ำไปใช้โดยมิได้
รับอนุญาต” (Unauthorized Access/Use) แทนที่ค�ำดังกล่าว
ท่ า ที ข องกลุ ่ ม ประเทศก� ำ ลั ง พั ฒ นา ส� ำ หรั บ กลุ ่ ม ประเทศก� ำ ลั ง พั ฒ นาเน้ น ย�้ ำ เรื่ อ ง “การฉกฉวย”
(Misappropriation) และต้องการให้ค�ำดังกล่าวไปปรากฏอยู่ในกรอบความตกลงที่ก�ำลังเจรจาภายใต้ WIPO IGC
บางประเทศ อาทิ อินเดีย และนามิเบียยังเสนอให้มีการใช้ค�ำว่า “โจรสลัดชีวภาพ” (Bio-piracy) แทนที่ค�ำว่า
Misappropriation และบางประเทศ อาทิ ฟิลิปปินส์และ แอฟริกาใต้ เสนอให้ใส่ประเด็นเรื่องการเข้าถึงและแบ่ง
ปันผลประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมในลักษณะเดียวกับอนุสัญญา CBD ไว้ในกรอบกติกาของ WIPO IGC
จะเห็นได้วา่ ประเด็นเรือ่ งการก�ำหนดวัตถุประสงค์ของร่างกรอบความตกลงภายใต้ WIPO IGC มีความเห็น
ที่แตกต่างกันในเรื่องนิยามค�ำศัพท์ โดยเฉพาะการใช้ค�ำว่า “Misappropriation” “Bio-Piracy” และค�ำว่า
“Unauthorized Access/Use” ประเด็นดังกล่าวจะได้นำ� ไปวิเคราะห์วา่ ประเทศไทยควรวางท่าที (Position) เกีย่ ว
กับประเด็นดังกล่าวอย่างไรในบทต่อไป

Position-5.indd 87 9/13/19 16:05


88 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

3.2.2 สิ่งที่จะได้รับความคุ้มครอง (Protectable Subject-Matters)


ประเด็นเรื่อง “สิ่งที่จะได้รับความคุ้มครอง” (Protectable Subject-Matters) ภายใต้กรอบความตกลง
WIPO IGC เป็นอีกประเด็นที่ส�ำคัญ โดยประกอบด้วย 3 ประเด็นส�ำคัญในการถกเถียงระหว่างสมาชิก ได้แก่
1. การคุม้ ครองทรัพยากรพันธุกรรมควรจะคุม้ ครองเฉพาะในระบบกฎหมายสิทธิบตั ร หรือทรัพย์สนิ ทาง
ปัญญาทุกประเภทที่เกี่ยวข้อง
2. การขยายความคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมให้ครอบคลุมถึงเรื่องอนุพันธุ์ (Derivatives)
3. ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ประเด็นเรื่อง “สิ่งที่จะได้รับความคุ้มครอง” (Subject-Matters) มีความเกี่ยวพันกับเรื่องลักษณะ
ของทรัพยากรพันธุกรรมทีจ่ ะได้รบั ความคุม้ ครองตามกฎหมาย และกฎหมายในเรือ่ งใดจะคุม้ ครองประเด็น GR เหมาะ
สมที่สุด ประเด็นเรื่องอนุพันธุ์ (Derivatives) และประเด็นเรื่องทรัพยากรพันธุกรรมที่มีความเกี่ยวพันกับภูมิปัญญา
ท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นอีกประเด็นที่จะได้มีการวิเคราะห์ในบทต่อไปว่าประเทศไทยควรวางท่าทีและมาตรการรองรับใน
เรื่องนี้อย่างไร ให้มีความเหมาะสม

ท่าทีของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐอเมริกา และยุโรปมีท่าทีที่ชัดเจน


ในการเสนอให้กล่าวถึงการคุ้มครองเรื่องของ GR กล่าวไว้ในระบบกฎหมายสิทธิบัตรเท่านั้น และไม่สนับสนุนในเรื่องการ
คุ้มครองไปถึงอนุพันธุ์ (Derivatives) เนื่องจากเรื่องของอนุพันธุ์กลุ่มประเทศกลุ่มพัฒนามองว่า หลายประเทศเป็นภาคี
อนุสญั ญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุม้ ครองพันธุพ์ ชื ใหม่ (UPOV Convention) มีกลไกทางกฎหมายภายในในการรองรับ
ประเด็นดังกล่าวภายใต้กฎหมายทรัพย์สนิ ทางปัญญาว่าด้วยการคุม้ ครองพันธุพ์ ชื อยูแ่ ล้ว เรือ่ งการคุม้ ครองอนุพนั ธุใ์ นระบบ
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา จึงอยู่ในขอบเขตของกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช มากกว่าจะเป็นเรื่องสิทธิบัตร
ท่าทีของกลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนา ส�ำหรับกลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนาต้องการให้มีการนิยามสิ่งที่จะได้รับความ
คุ้มครองตามกฎหมาย ที่เปิดกว้างไม่เจาะจงแต่ระบบสิทธิบัตร จะท�ำให้การคุ้มครองเรื่องทรัพยากรพันธุกรรมมีความ
สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

3.2.3 การเปิดเผยแหล่งที่มา (Disclosure of Origins)


ประเด็นเรือ่ งการเปิดเผยแหล่งทีม่ า (Disclosure of Origins) เป็นประเด็นส�ำคัญทีห่ ลายประเทศเห็นควร
ว่าควรมีข้อก�ำหนดทางกฎหมาย โดยเฉพาะในกฎหมายสิทธิบัตร และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการเปิดเผยแหล่งที่มา
ของสิ่งที่น�ำมาขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร และทรัพย์สินทางปัญญาในประเภทอื่น ๆ อาทิ พันธุ์พืชหรือภูมิปัญญา
ท้องถิ่นในลักษณะต่าง ๆ ประเด็นเรื่องการเปิดเผยแหล่งที่มาสรุปท่าทีของแต่ละกลุ่มได้ดังนี้

ท่าทีของกลุม่ ประเทศพัฒนาแล้ว ไม่เห็นด้วยกับการเปิดเผยแหล่งทีม่ า และเห็นว่าการเปิดเผยแหล่งที่มาควรมี


ลักษณะเป็นแบบสมัครใจเปิดเผย (Voluntary Disclosure) และจะเป็นการสร้างอุปสรรคทางการค้าอันขัดต่อวัตถุประสงค์
หลักของข้อตกลงทริปส์ (TRIPS Agreement) ที่วางหลักไว้ว่าการคุ้มครองและบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาจะ
ต้องไม่กอ่ ให้เกิดอุปสรรคและการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้ บางประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกาและญีป่ นุ่
มองว่าการก�ำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ในกฎหมาย (สิทธิบัตร) ก่อให้เกิดความล่าช้าในการตรวจสอบค�ำขอ (สิทธิบัตร)
ซึ่งปกติใช้เวลานานอยู่แล้ว และส่งผลต่อการน�ำสินค้าเข้าสู่ตลาดต่อไป
ท่าทีของกลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนา กลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนา อาทิ อินเดีย ไทย บราซิล แอฟริกาใต้ เป็นต้น
ต้องการให้มีการเปิดเผยแหล่งที่มาแบบบังคับไว้ในกฎหมายภายใน (Mandatory Disclosure) เพื่อป้องกันประเด็นเรื่อง
การขโมยทรัพยากรพันธุกรรม และภูมิปัญญาของประเทศตนเอง

Position-5.indd 88 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 89

จากท่าทีของทั้งสองกลุ่ม จึงสรุปแนวทางเกี่ยวกับการเปิดเผยแหล่งที่มา (Disclosure of Origins) ได้เป็น


2 แนวทาง กล่าวคือ (1) ก�ำหนดในลักษณะสมัครใจ (Voluntary Disclosure) กับ (2) ก�ำหนดเป็นเงื่อนไขหนึ่ง
ในกฎหมายภายใน (Mandatory Disclosure) ซึ่งเป็นอีกประเด็นที่ส�ำคัญ ที่ประเทศไทยควรพิจารณาว่าจะวางท่า
ทีอย่างไรให้เหมาะสม โดยในบทต่อไปจะได้วิเคราะห์ถึงข้อดีและข้อเสียของแนวทางทั้งสองประการต่อไป
3.2.4 รายละเอียดและสาระส�ำคัญของการเปิดเผยแหล่งที่มา
ประเด็นการเปิดเผยแหล่งที่มาน�ำไปสู่ประเด็นเกี่ยวกับเนื้อหาและรายละเอียดว่าการเปิดเผยแหล่งที่มา
ควรจะมีเนื้อหาและสาระส�ำคัญอย่างไร

ท่าทีของกลุม่ ประเทศพัฒนาแล้ว สหรัฐอเมริกา ซึง่ เป็นผูน้ ำ� ในการเจรจา มองว่าการเปิดเผยแหล่งทีม่ าจะขัดกับ


หลักการของข้อตกลงทริปส์ โดยเฉพาะเรื่องเงื่อนไขของค�ำขอจดทะเบียนสิทธิบัตร ในมาตรา 29 “Conditions on
Patent Applications” จึงเสนอให้มีการตัดเรื่องการเปิดเผยแหล่งที่มา (Disclosure of Origins) ไปไว้เป็นข้อยกเว้นและ
ข้อจ�ำกัด (ให้เป็นความสมัครใจของผู้ยื่นค�ำขอ) เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการก�ำหนดกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ
ท่าทีของกลุม่ ประเทศก�ำลังพัฒนา ต้องการให้มกี ารก�ำหนดเงือ่ นไขทางกฎหมายเกีย่ วกับการเปิดเผยแหล่งทีม่ า
และเสนอให้การเปิดเผยดังกล่าวครอบคลุมไปยัง Country of Origin และ Sources of GR และองค์ประกอบของสิ่งที่
น�ำมาขอรับความคุ้มครองตามกฎหมาย

ประเด็นเรือ่ งรายละเอียดและเนือ้ หาของการเปิดเผยแหล่งทีม่ า เป็นอีกประเด็นทีป่ ระเทศไทยควรพิจารณา


ว่า หากมีการก�ำหนดเงือ่ นไขทางกฎหมายให้มกี ารเปิดเผยแหล่งทีม่ าของสิง่ ทีข่ อรับการคุม้ ครองตามกฎหมาย ควรจะ
มีสาระส�ำคัญและเนือ้ หาอย่างไรจึงจะเหมาะสมส�ำหรับประเทศไทย โดยจะน�ำมุมมองของแต่ละฝ่ายไปใช้เป็นฐานใน
การวิเคราะห์ และก�ำหนดท่าทีที่เหมาะสมส�ำหรับประเทศไทย อันจะได้กล่าวไว้ในบทต่อไป
3.2.5 การก�ำหนดข้อยกเว้นและข้อจ�ำกัดเกี่ยวกับการเปิดเผยแหล่งที่มา
ส�ำหรับเรือ่ งการก�ำหนดข้อยกเว้นและข้อจ�ำกัดเกีย่ วกับการเปิดเผยแหล่งทีม่ า เป็นอีกประเด็นทีถ่ กู หยิบยก
ในการเจรจาภายใต้ WIPO IGC และแต่ละประเทศมีมุมมองที่แตกต่างกัน

ท่าทีของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เสนอให้มีการก�ำหนดข้อยกเว้นและข้อจ�ำกัดในการเปิดเผยแหล่งที่มาให้มาก
ที่สุด เพื่อสร้างความยืดหยุ่นของกรอบความตกลงระหว่างประเทศ
ท่าทีของกลุม่ ประเทศพัฒนาแล้ว เห็นด้วยว่าควรมีการก�ำหนดข้อยกเว้นและข้อจ�ำกัดเรือ่ งการเปิดเผยแหล่งทีม่ า
แต่อยากให้เพิ่มเติมประเด็นเรื่อง “ประโยชน์สาธารณะ” (Public Interests) เข้าไว้ในข้อยกเว้นดังกล่าว

กรอบการเจรจาในประเด็นนี้จึงเกี่ยวกับ การก�ำหนดข้อยกเว้นและข้อจ�ำกัดของการเปิดเผยแหล่งที่มา
และเรือ่ งข้อยกเว้นเพือ่ คุม้ ครองประโยชน์สาธารณะ และเป็นอีกประเด็นทีป่ ระเทศไทยควรทบทวนท่าทีวา่ จะด�ำเนิน
มาตรการรองรับเชิงนโยบายในเรื่องนี้อย่างไรอันจะได้วิเคราะห์ต่อไป

Position-5.indd 89 9/13/19 16:05


90 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

3.2.6 มาตรการทางกฎหมายกรณีไม่ปฏิบัติตามข้อก�ำหนดเรื่องการเปิดเผยแหล่งที่มา

ท่าทีของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ไม่ต้องการให้มีมาตรการบังคับทางกฎหมายกรณีไม่ปฏิบัติตามข้อก�ำหนด
เรื่องการเปิดเผยแหล่งที่มา เนื่องจากเห็นว่าเรื่องดังกล่าวควรเป็นการสมัครใจ (Voluntary Disclosure) อยู่แล้ว
ท่าทีของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกา อาทิ ไนจีเรีย นามิเบีย และกาน่า
ต้องการให้มีการก�ำหนดบทลงโทษ (Criminal Sanctions) เพื่อป้องปรามมิได้เกิดกรณีไม่ปฏิบัตติ าม และควรมีมาตรการ
เยียวยาผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง (เจ้าของ TK หรือ TCE) และควรก�ำหนดแนวทางการเพิกถอนสิทธิบัตรที่มีการรับจด
ทะเบียนผิดพลาด

ประเด็นเรื่องการไม่ปฏิบัติตามข้อก�ำหนดเรื่องการเปิดเผยแหล่งที่มา (Failure to Disclosure) เป็นอีก


ประเด็นที่สมาชิกเจรจา ซึ่งจะน�ำไปวิเคราะห์ว่าประเทศไทยควรมีท่าทีในเรื่องดังกล่าวอย่างไร และควรด�ำเนินการ
เชิงนโยบายและกฎหมายภายในรองรับการเจรจาในเรื่องดังกล่าว อันจะได้กล่าวในบทต่อไป
3.2.7 สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาส�ำหรับ “ทรัพยากรพันธุกรรม”
และ “อนุพันธุ์”

ประเด็นเรือ่ ง “สิทธิทจี่ ะได้รบั ความคุม้ ครองตามกฎหมายทรัพย์สนิ ทางปัญญา” ส�ำหรับ “ทรัพยากรพันธุกรรม”


และ “อนุพันธุ์” เป็นอีกประเด็นที่กลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนา ต้องการให้สร้างความชัดเจนว่า ทรัพยากรพันธุกรรมและ
อนุพนั ธุต์ า่ งๆ ถือว่าเป็นสิง่ ทีม่ อี ยูต่ ามธรรมชาติและไม่สามารถขอรับการคุม้ ครองในระบบกฎหมายทรัพย์สนิ ทางปัญญาได้
ประเด็นนี้จะได้น�ำไปวิเคราะห์เพื่อก�ำหนดท่าทีส�ำหรับประเทศไทยในบทต่อไปเช่นกัน

3.2.8 การสร้างสิทธิเฉพาะ (Sui Generis Rights) กับเจ้าของ TK และ TCE


ประเด็นเรื่องการสิทธิเฉพาะกับเจ้าของ TK และ TCE มีความชัดเจนกว่าประเด็นอื่น ๆ ข้างต้น หลาย
ประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว มองว่าควรจะมีการสร้างสิทธิเฉพาะส�ำหรับเจ้าของ TK และ TCE ใน
ลักษณะแบบเดียวกับการให้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Exclusive Rights) สาเหตุส�ำคัญมาจากกรณีที่ว่าระบบ
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่ปรากฏในปัจจุบันมิได้ให้การคุ้มครองเรื่อง TK หรือ TCE เนื่องจากเป็นสิ่งที่มิได้รับ
ความคุ้มครอง ตามกฎหมาย เพราะไม่ผ่านเรื่อง “ความใหม่” (Novelty Requirements) และเมื่อพิจารณาหลัก
เกณฑ์และเงื่อนไขการได้มาซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาทุก ๆ ประเภท จะพบว่าเรื่องของ TK และ TCE มิอาจได้
รับความคุม้ ครอง ในระบบกฎหมายทรัพย์สนิ ทางปัญญาแต่อย่างใด อาทิ กฎหมายสิทธิบตั ร ซึง่ มีการก�ำหนดเงือ่ นไข
ส�ำคัญว่า สิง่ ประดิษฐ์ทจี่ ะได้รบั ความคุม้ ครองจะต้องมีความใหม่ กล่าวคือ ไม่เคยปรากฏมาก่อน มีขนั้ ของนวัตกรรม
และ มีประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม หรือกรณีกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ส�ำคัญว่าสิ่งที่จะได้รับความคุ้มครอง
ลิขสิทธิ์จะต้องมีการแสดงออกทางความคิดและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Originality) กรณีนี้จึงไม่ครอบคลุมกับ
กรณี TK และ TCE นักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาต่างมองว่า ระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในปัจจุบันให้
ความคุ้มครองไม่เพียงพอต่อเรื่องของ TK และ TCE ฉะนั้น

Position-5.indd 90 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 91

แนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือการสร้างสิทธิเฉพาะ (Sui Generis Rights) ให้แก่เจ้าของ TK และ


TCE ดังกล่าว เป็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอีกประเภทหนึ่ง การสร้างสิทธิเฉพาะดังกล่าว อาจเป็นการก�ำหนดให้
สิทธิในหลากหลายระดับก็ได้ ตั้งแต่การให้สิทธิแก่บุคคล ชุมชน หรือรัฐ

จะเห็นได้วา่ ประเด็นเรือ่ งการสิทธิเฉพาะส�ำหรับเจ้าของ TK และ TCE มีความสัมพันธ์กบั พระราชบัญญัติ


คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 อย่างเด่นชัด
3.2.9 การก�ำหนดข้อตกลงในการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ (ABS Agreement) ที่เกิดจาก
ทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการแสดงออกทางวัฒนธรรม

ท่าทีของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว มองว่าเรื่อง ABS Agreement จะสร้างความยุ่งยากในทางปฏิบัติต่อ


ผู้ตรวจค�ำขอทรัพย์สินทางปัญญา (สิทธิบัตร)
ท่าทีของกลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนา เห็นว่าควรให้ส�ำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาภายในแต่ละประเทศเป็น
หน่วยงานท�ำหน้าที่ ประสานเรื่องการจัดท�ำข้อตกลง ABS Agreement

กล่าวได้ว่า ประเด็นเรื่องการก�ำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ (Access and


Benefit Sharing) ที่เกิดจากทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม เป็น
ประเด็นทีส่ บื เนือ่ งมาจากความต้องการของกลุม่ ประเทศก�ำลังพัฒนาในการท�ำให้อนุสญ
ั ญา CBD และพิธสี าร Nagoya
Protocol มีผลในทางภาคปฏิบัติ และเป็นผลมาจากความต้องการในเรื่องการเปิดเผยแหล่งที่มา (Disclosure of
Origins) โดยการเปิดเผยแหล่งที่มามีวัตถุประสงค์ส�ำคัญเพื่อตอบแทนเจ้าของ GR, TK และ TCE ที่แท้จริง ซึ่งใน
กรณีนี้คือชุมชนต่าง ๆ ด้วยการก�ำหนดข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ ประเด็นดังกล่าวจะได้น�ำไปศึกษาเพื่อหาท่าที
ที่เหมาะสมและแนวทางในการจัดการเชิงนโยบายส�ำหรับประเทศไทยต่อไป
3.2.10 การจัดท�ำฐานข้อมูล (GR, TK & TCE Database)
ในเรือ่ งการจัดท�ำฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรม ภูมปิ ญ
ั ญาท้องถิน่ และการแสดงออกทางวัฒนธรรมดัง้ เดิม
(GR, TK, TCE Database) คงเป็นประเด็นเดียวที่ทุก ๆ ประเทศเห็นพ้องกันว่าควรมีการจัดท�ำฐานข้อมูลดังกล่าว
เพื่อป้องกันการจดทะเบียนคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะสิทธิบัตรที่ผิดพลาด โดยการสร้างแหล่งข้อมูล
ที่ชัดเจน และท�ำลายเรื่องความใหม่ของสิ่งประดิษฐ์ท่ีน�ำทรัพยากรพันธุกรรมมาใช้ในการจดทะเบียนทรัพย์สินทาง
ปัญญา (สิทธิบัตร) อย่างไรก็ตาม การจัดท�ำฐานข้อมูลเกี่ยวกับ GR, TK และ TCE ยังมีท่าทีระหว่างกลุ่มประเทศ
ที่พัฒนาแล้วกับก�ำลังพัฒนาที่แตกต่างกันในรายละเอียดและควรที่จะพิจารณา กล่าวคือ

มุมมองของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว เห็นว่าควรมี Database จัดให้ส�ำหรับการตรวจค้นค�ำขอสิทธิบัตร เพื่อ


ป้องกันข้อผิดพลาดในเรื่องการออกใบอนุญาตสิทธิบัตร
มุมมองของกลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนา เห็นด้วยกับการจัดท�ำฐานข้อมูลดังกล่าว แต่แสดงความกังวลเกี่ยวกับ
การรักษาความลับ (Confidentiality) ของข้อมูลดังกล่าว รวมถึงปัญหาการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตและ
ผิดกฎหมาย หรือกรณีการลักลอบเข้าฐานข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูล รวมตลอดทั้งข้อจ�ำกัดในเรื่องงบประมาณในการ
จัดท�ำฐานข้อมูลดังกล่าว

Position-5.indd 91 9/13/19 16:05


92 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

4. ผลกระทบต่อระบบกฎหมายไทยที่เกี่ยวกับกรอบ WIPO IGC


4.1 ระบบกฎหมายคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์ท้องถิ่น
จากกรอบเจรจาภายใต้ WIPO IGC สู่ประเด็นเรื่องผลกระทบของกรอบการเจรจาดังกล่าวต่อระบบ
กฎหมายไทย แม้กรอบกติกาภายใต้ WIPO IGC จะยังไม่มีผลบังคับใช้ แต่กล่าวได้ว่าประเด็นเรื่องการคุ้มครอง
ภูมปิ ญ
ั ญาท้องถิน่ เป็นเรือ่ งส�ำคัญส�ำหรับประเทศไทยทีจ่ ำ� เป็นจะต้องมีระบบจัดการและมาตรการรองรับเพือ่ ปกป้อง
คุ้มครองและรักษาภูมิปัญญามิให้ถูกฉกฉวยเอาไปใช้ประโยชน์ดังตัวอย่างที่เคยปรากฏมาก่อน อาทิ กรณี การจด
ทะเบียนสิทธิบตั รกวาวเครือ หรือการจดสิทธิบตั รเปล้าน้อย[33] อันเป็นเหตุผลส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ประเทศไทย ตรากฎหมาย
ขึ้นฉบับหนึ่งเพื่อเป็นการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองและ
ส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 ส่วนนี้จะกล่าวถึงผลกระทบของกรอบการเจรจาระหว่างประเทศ
ภายใต้ WIPO IGC ที่มีต่อกฎหมายดังกล่าว โดยจะให้ความส�ำคัญกับผลกระทบที่จะเกิดต่อกฎหมายไทยทั้งใน
มุมมองของการป้องกัน (Defensive Measures) และการส่งเสริมภูมิปัญญา รวมตลอดทั้งการแนวทาง ในการ
ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวสู่ภาคประชาชนซึ่งจะได้ท�ำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไป

4.2 การวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
การเจรจากรอบกติกาภายใต้ WIPO IGC เกี่ยวข้องกับประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับทรัพยากร
พันธุกรรม (IP-GR) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (TK) และการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม (TCEs) มีผลกระทบที่โดยตรง
ต่อพระราชบัญญัตคิ มุ้ ครองและส่งเสริมภูมปิ ญ ั ญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 กฎหมายทีอ่ ยูภ่ ายใต้กรมการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวเป็นกฎหมายเพียงไม่กฉี่ บับในโลกทีใ่ ห้การคุม้ ครอง และ
ส่งเสริมเรือ่ งเกีย่ วกับองค์ความรูด้ า้ นการแพทย์[34] ซึง่ บรรดานักวิชาการอ้างว่าการตรากฎหมายดังกล่าว มีวตั ถุประสงค์
ส�ำคัญเพือ่ ให้ความคุม้ ครองภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ และองค์ความรูด้ งั้ เดิมของชุมชนภายในประเทศเป็นตัวอย่างของระบบ
กฎหมายที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตามแนวทางและกรอบพันธกรณีที่อนุสัญญา CBD ได้วางหลักไว้ สรุปสาระ
ส�ำคัญพระราชบัญญัตคิ มุ้ ครองและส่งเสริมภูมปิ ญ ั ญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 และผลกระทบทีจ่ ะเกิดขึน้ จาก
กรอบเจรจาภายใต้ WIPO IGC ได้ดังต่อไปนี้
4.2.1 การขึ้นทะเบียนต�ำรับและต�ำรายาแผนไทย
หมวด 2 แห่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 เป็น
บทบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการรับรองและการขึ้นทะเบียนต�ำรับหรือต�ำรายาแผนไทย โดยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
ที่ได้รับการคุ้มครองจะเกี่ยวข้องกับสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย หรือเกี่ยวกับต�ำรับยาแผนไทยหรือต�ำรา
ยาแผนไทย ซึ่งแบ่งระดับการคุ้มครองออกเป็น 3 ระดับ ตั้งแต่
1) ภูมิปัญญาของชาติ
2) ภูมิปัญญาทั่วไป และ
3) ภูมิปัญญาส่วนบุคคล
จะเห็นได้วา่ กฎหมายดังกล่าวให้สทิ ธิการคุม้ ครอง (Property Rights) เป็นสามระดับตัง้ แต่ระดับปัจเจกชน
(Individual) ระดับชุมชน (Communities) และระดับชาติ (State) และก่อให้เกิดระบบการคุ้มครองสิทธิ ใน
ทางทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง กล่าวได้ว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวมีความสอดคล้องรองรับแนวปฏิบัติของ
อนุสัญญา CBD และกรอบเจรจาภายใต้ WIPO IGC อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องการก�ำหนดให้สมาชิก

Position-5.indd 92 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 93

ด�ำเนินการคุม้ ครองและให้สทิ ธิการคุม้ ครองตามกฎหมายส�ำหรับเจ้าของภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ (TK Holders) อาจกล่าว


ได้วา่ พระราชบัญญัตคิ มุ้ ครองและส่งเสริมภูมปิ ญ ั ญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 เป็นตัวแบบของระบบกฎหมาย
(Sui Generis Model) แก่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
การประกาศขึ้นทะเบียนต�ำรับและต�ำรายาแผนไทย กฎหมายก�ำหนดให้รัฐมนตรีเป็นผู้มีอ�ำนาจ ในการ
ประกาศก�ำหนดต�ำรับยาแผนไทย หรือต�ำราการแพทย์แผนไทยที่มีประโยชน์หรือมีคุณค่าในทางการแพทย์หรือ
สาธารณสุขพิเศษ หรือที่พ้นอายุการคุ้มครองสิทธิ เป็นต�ำรับยาแผนไทยทั่วไปหรือต�ำรายาแผนไทยทั่วไป แล้วแต่
กรณี จะเห็นได้ว่า การก�ำหนดต�ำรับและต�ำรายาแผนไทยทั่วไปมีลักษณะเป็นเพียงการขึ้นทะเบียนแสดงความเป็น
เจ้าของภูมิปัญญาดังกล่าว เพื่อป้องกันการน�ำภูมิปัญญาไปใช้ในการแสวงหาประโยชน์โดยมิควรชอบ อาทิ การน�ำ
ภูมิปัญญาไปจดทะเบียนสิทธิบัตรเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว[35] เป็นต้น
ส�ำหรับต�ำรับและต�ำรายาแผนไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นต�ำรับและต�ำรายาแผนไทยของชาติแล้ว
ผู้ใดประสงค์ที่จะน�ำต�ำรับยาดังกล่าวไปขอขึ้นทะเบียนต�ำรับยา และขออนุญาตผลิตตามกฎหมายว่าด้วยตัวยา
หรือน�ำไปศึกษาค้นคว้าทดลองเพื่อปรับปรุงและพัฒนาเป็นต�ำรับใหม่ หรือเพื่อน�ำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้า
จะต้องยื่นค�ำขออนุญาตใช้ประโยชน์ต่อสถาบันการแพทย์แผนไทย
ในส่วนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองต�ำรับและต�ำรายาแผนไทยส่วนบุคคล เจ้าของภูมิปัญญาที่ข้ึนทะเบียนสิทธิ
ในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคลดังกล่าวมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว (exclusive rights) ในต�ำรับและต�ำรา
ยาแผนไทยที่ได้ขึ้นทะเบียน สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (IP rights) แบบเดียวกันกับสิทธิที่ได้
รับความคุ้มครองในสาขาอื่น ๆ ดังกล่าวมาข้างต้นทั้งสิ้น โดยกฎหมายก�ำหนดให้ผู้ขอจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญา
การแพทย์แผนไทยส่วนบุคคลดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้คิดค้นต�ำรับยาแผนไทย หรือต�ำราการแพทย์แผนไทย
2. เป็นผู้ปรับปรุงหรือพัฒนาต�ำรับยาแผนไทย หรือต�ำราการแพทย์แผนไทย
3. เป็นผู้สืบทอดต�ำรับยาแผนไทย หรือต�ำราการแพทย์แผนไทย
ต�ำรับยาและต�ำรายาแผนไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว ผู้ขอขึ้นทะเบียนสิทธิดังกล่าว มีสิทธิแต่เพียง
ผู้เดียวเกี่ยวกับองค์ความรู้ดังกล่าวที่ขึ้นทะเบียน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การขายหรือจ�ำหน่ายด้วยประการใด ๆ
ปรับปรุง หรือพัฒนาต�ำรับยาแผนไทย หรือภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วสิทธิดังกล่าว
มีระยะเวลาคุ้มครองที่มากครอบคลุมตลอดอายุของผู้ทรงสิทธิ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่วันที่
ผูท้ รงสิทธิถงึ แก่ความตาย ระยะเวลาการคุม้ ครองสิทธิดงั กล่าว มีลกั ษณะแบบเดียวกับการคุม้ ครองงานอันมีลขิ สิทธิ[36]

นักวิชาการหลายท่าน อาทิ รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ควรพจน์ ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความเหมาะสมในการ
ก�ำหนดระยะเวลาคุ้มครองดังกล่าวว่ามีความเหมาะสม (optimum) และสอดคล้องกับหลักการทางเศรษฐศาสตร์
(economic analysis) แล้วหรือยัง
อย่างไรก็ตาม สิทธิแต่เพียงผูเ้ ดียวของผูท้ รงสิทธิในภูมปิ ญ
ั ญาการแพทย์แผนไทยดังกล่าวมีขอ้ ยกเว้นส�ำหรับ
(1) การกระท�ำเพื่อประโยชน์ในทางการศึกษา ค้นคว้า หรือทดลอง
(2) การเตรียมยาเฉพาะรายตามใบสั่งแพทย์ โดยผู้ประกอบโรคศิลปะแผนไทย และ
(3) การผลิตยาเพื่อยังชีพแบบพื้นบ้าน หรือการผลิตยาโดยสถานพยาบาลของรัฐ
4.2.2 หลักการต่างตอบแทน
หลักการต่างตอบแทน (Reciprocity) เป็นการปรับใช้หลักการเรือ่ ง “การปฏิบตั เิ ยีย่ งคนชาติ” (National
Treatment) ซึ่งเป็นอีกประเด็นที่อยู่ในการเจรจาภายใต้ WIPO IGC ก�ำหนดให้รัฐภาคีต่าง ๆ ให้การคุ้มครอง

Position-5.indd 93 9/13/19 16:05


94 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ภูมิปัญญาแก่ประเทศอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกับที่ให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของภูมิปัญญาฯ ภายในชาติของตนเองโดย


หลักการดังกล่าวปรากฏในมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.
2542 ซึ่งบัญญัติว่า
“บุคคลซึ่งมีสัญชาติของประเทศ ที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทยได้รับการคุ้มครอง
สิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในประเทศนั้นได้ อาจขอจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการ
แพทย์พื้นเมืองของประเทศนั้นที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศของตน เพื่อขอรับการคุ้มครองตาม
พระราชบัญญัตินี้ได้ การขอจดทะเบียน การออกหนังสือส�ำคัญแสดงการจดทะเบียนและการ
เพิกถอนการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ก�ำหนด
โดยกฎกระทรวง”
จะเห็นได้ว่า มาตรา 43 เป็นการน�ำหลักเรื่อง “หลักการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ” (National Treatment)
มาปรับใช้กับกรณีการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นบทบัญญัติที่ยังปรากฏในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ
ทุกฉบับ อาทิ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พระราชบัญญัติ
คุ้มครองแบบผังภูมิวงจรรวม พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
และพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช การน�ำหลักดังกล่าวมาปรับใช้ในมาตรา 43 กฎหมายคุ้มครองและส่งเสริม
ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มีขึ้นเพื่อเป็นการต่างตอบแทน (Reciprocity) ประเทศที่ให้การคุ้มครองในลักษณะ
เดียวกับประเทศ ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปคือว่า ประเทศใดบ้างที่ให้การคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์พื้นเมือง
ในลักษณะเดียวกับประเทศไทย
กล่าวได้ว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยฯ เป็นกฎหมายที่มีลักษณะ
เฉพาะ (Unique) นักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาให้ข้อสังเกตว่า เป็นกฎหมายเพียงไม่กี่ฉบับในโลก และจากการ
ส�ำรวจพบว่าประเทศทีม่ กี ารให้การคุม้ ครองภูมปิ ญ
ั ญาท้องถิน่ 34 ประเทศ แต่ละประเทศมีระบบกฎหมายและสาระ
ส�ำคัญของกฎหมาย TK ที่แตกต่างกัน และบางประเทศอยู่ระหว่างการร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว
กล่าวโดยสรุป การให้ความคุ้มครองส�ำหรับสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์พื้นเมืองของต่างประเทศ เป็น
การปฏิบัติตามหลักเรื่องการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) ซึ่งจะส่งเสริมให้ประเทศไทยสามารถ น�ำ
ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยไปขึ้นทะเบียนในต่างประเทศได้มากถึง 34 ประเทศ ประเด็นนี้ประเทศไทยควรมีการ
ทบทวนออกกฎระเบียบทีเ่ กีย่ วข้องเพือ่ อนุญาตให้ประเทศอืน่  ๆ ทีใ่ ห้การคุม้ ครองในลักษณะเดียวกันกับประเทศไทย
สามารถเข้ามาขึน้ ทะเบียนการคุม้ ครองได้เช่นเดียวกับประเทศไทย ซึง่ กรณีนกี้ อ่ ให้เกิดผลดีตอ่ ประเทศหลายประการ
กล่าวคือ
ประการแรก การศึกษาและวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้สามารถท�ำได้มากขึ้นโดยอาศัยการศึกษาจาก
หลักฐานภูมิปัญญาที่มีการขึ้นทะเบียน
ประการที่สอง การเพิ่มประสิทธิภาพของฐานข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาฯ เพื่อใช้ในการตรวจค�ำขอ
จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาต่าง ๆ มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะไม่จ�ำกัดแต่เฉพาะภูมิปัญญาของไทย
แต่ยังรวมถึงองค์ความรู้จากต่างประเทศเป็นข้อมูลเดียวกัน
ประการที่สาม การให้สิทธิคุ้มครองแก่ภูมิปัญญาท้องถิ่นยังหมายถึงการปฏิบัติตามหลักการต่างตอบแทน
ซึ่งประเทศที่ไทยให้สิทธิในการขึ้นทะเบียนดังกล่าว ย่อมต้องให้สิทธิเช่นเดียวกลับคืนแก่ประเทศไทย ตามหลักการ
ปฏิบัติเยี่ยงคนชาติและต่างตอบแทน

Position-5.indd 94 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 95

ประเด็นเรื่องหลักการต่างตอบแทนซึ่งอนุญาตให้เจ้าของภูมิปัญญาของต่างประเทศสามารถเข้ามา
จดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาดังกล่าวได้เป็นประเด็นที่ไทยควรทบทวนออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องรองรับต่อไป
4.2.3 การคุ้มครองสมุนไพรไทย
นอกเหนือจากการคุ้มครองสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริม
ภูมปิ ญ
ั ญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 ยังมีบทบัญญัตทิ ใี่ ห้ความคุม้ ครองในเรือ่ งสมุนไพรไทยเป็นการเฉพาะ โดย
ปรากฏในหมวด 3 “การคุ้มครองสมุนไพร” (มาตรา 44-65) ประเด็นเรื่องการคุ้มครองสมุนไพรมีความเชื่อมโยง
กับกรอบการเจรจาของ WIPO IGC ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรม (IP-GR) โดยตรง
ในการคุม้ ครองสมุนไพร รัฐมนตรีโดยค�ำแนะน�ำของคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตนิ มี้ อี ำ� นาจประกาศ
ก�ำหนด ประเภท ลักษณะ ชนิด และชื่อของสมุนไพรที่มีค่าต่อการศึกษา หรือวิจัย หรือมีความส�ำคัญทางเศรษฐกิจ
หรืออาจจะสูญพันธุ์ให้เป็นสมุนไพรควบคุมได้ ฉะนั้น การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรควบคุมจะต้องได้รับอนุญาตก่อน
การด�ำเนินการ การบัญญัตกิ ฎหมายในลักษณะดังกล่าวเป็นการป้องกันการฉกฉวยทรัพยากรพันธุกรรมไปใช้ประโยชน์
โดยเฉพาะการน�ำไปจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เป็นมาตรการที่รองรับสาระส�ำคัญของกรอบการเจรจา WIPO
IGC เป็นอย่างดี
ส�ำหรับกรณีเพือ่ ประโยชน์ในการอนุรกั ษ์ และบริเวณทีถ่ นิ่ ก�ำเนิดของสมุนไพรทีม่ รี ะบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ
หรือมีความหลากหลายทางชีวภาพ หรืออาจได้รับผลกระทบจากการกระท�ำของมนุษย์ได้โดยง่าย รัฐมนตรี โดย
ค�ำแนะน�ำจากคณะกรรมการจัดท�ำแผนปฏิบัติการ สามารถเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีจัดท�ำ “แผน
จัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพร” การจัดท�ำแผนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ส�ำคัญเพื่อควบคุมการเข้าถึงแหล่งสมุนไพรอัน
เป็นการสงวนรักษาและอนุรักษ์ไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ ฉะนั้น กฎหมายจึงมีบทบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใด ยึดถือ หรือ
ครอบครองทีด่ นิ หรือปลูกสร้างหรือก่อสร้างสิง่ หนึง่ สิง่ ใด หรือตัดโค่น แผ้วถาง เผา หรือท�ำลายต้นไม้ หรือพฤกษชาติ
อื่น หรือท�ำลายความหลากหลายทางชีวภาพ หรือระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ หรือการกระท�ำอื่นที่ส่งผลเสียต่อ
ทรัพยากรในพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรดังกล่าว
จะเห็นได้ว่า สาระส�ำคัญของกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยมีความครบถ้วน
และรองรับกรอบพันธกรณีภายใต้ CBD และรวมถึงกรอบกติกา WIPO IGC ที่ยังอยู่ระหว่างการเจรจาเป็นอย่างดี
ทั้งประเด็นเรื่องการก�ำหนดสิทธิเฉพาะ (Sui Generis Rights) ให้แก่เจ้าของ TK และ TCEs การสร้างข้อมูลเพื่อ
เป็นฐาน (Check Point) ในการตรวจสอบค�ำขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะเรื่องสิทธิบัตร และการ
ส่งเสริมให้เกิดการน�ำภูมปิ ญั ญาไปใช้ประโยชน์ ภายหลังทีไ่ ด้รบั การขึน้ ทะเบียนตามกฎหมาย ฉะนัน้ ประเด็นส�ำคัญที่
จ�ำเป็นต้องพิจารณามิใช่สาระส�ำคัญของกฎหมายแต่เกีย่ วข้องกับมาตรการทางการบริหาร (Administrative Action)
และมาตรการจัดการทางกฎหมาย (Legal Management) ขององค์กรบังคับใช้กฎหมายกรณีนี้จึงต้องพิจารณา
ผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

4.3 ประเด็นเกี่ยวกับองค์กรบังคับใช้กฎหมาย
ผลกระทบที่เกิดจากกรอบเจรจา WIPO IGC เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ซึ่งมีประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างน้อยสี่ประการ กล่าวคือ
4.3.1 การจัดท�ำฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับภูมิปัญญา (TK Database)
4.3.2 บทบาทของกรมฯ ในการเป็น Check Point
4.3.3 การเพิ่มขีดความสามารถของบุคคลากรภายในกรมฯ
4.3.4 การสร้างความเข้าใจแก่ภาคประชาชนในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น

Position-5.indd 95 9/13/19 16:05


96 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

4.3.1 การจัดท�ำฐานข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญา (TK Database)


วัตถุประสงค์ส�ำคัญของการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เป็นประเด็นส�ำคัญในการเจรจาภายใต้กรอบ
WIPO IGC คือปกป้อง คุ้มครองและป้องกันการฉกฉวยภูมิปัญญาไปใช้ประโยชน์โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือ
มิได้รับอนุญาตจากเจ้าของภูมิปัญญาที่แท้จริง พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
พ.ศ. 2542 มีลักษณะเช่นเดียวกัน ฉะนั้น การวางนโยบายดังกล่าวจึงเป็นการปรับใช้มาตรการเชิงรับ (Defensive
Strategy) ซึ่งประสิทธิภาพของมาตรการดังกล่าวขึ้นอยู่กับการรวบรวมข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีความครบถ้วนและ
มีรายละเอียดที่สมบูรณ์ ฉะนั้น ผลกระทบประการแรกที่มีต่อกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก คือ
บทบาทของกรมในการแสวงหาข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการด�ำเนินงานของกรมฯ อาทิ ข้อมูลเกี่ยวกับ
สมุนไพร ข้อมูลต�ำรับต�ำรายาแผนไทย หรือองค์ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
การรวบรวมข้อมูลดังกล่าว คงหลีกเลี่ยงมิได้ที่จะต้องจัดท�ำเป็นภาษาอังกฤษ และมีการแบ่งประเภทของ
ข้อมูล รวมถึงเงื่อนไขและมาตรการอนุญาตในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลดังกล่าว ประเด็นนี้ กรมการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก จึงต้องทบทวนความสมบูรณ์ของฐานข้อมูลดังกล่าว นอกจากนี้ องค์การทรัพย์สินทาง
ปัญญาโลก (WIPO) ยังสนับสนุนให้สมาชิกเชื่อมโยงฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละประเทศสมาชิกเข้าด้วย
กันเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบค�ำขอการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา โดยน�ำฐานข้อมูลที่ได้บรรจุไว้ในฐาน
ข้อมูลของ WIPO ปัจจุบัน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอยู่ระหว่างด�ำเนินการจัดท�ำฐานข้อมูล
ดังกล่าว ซึ่งกรณีนี้อาจก�ำหนดให้มีคณะท�ำงาน (Working Committee) เพื่อจัดท�ำฐานข้อมูลดังกล่าว โดยอาจ
แบ่งกลุ่ม (Sub-Committee) ตามประเภทของข้อมูลที่จะน�ำมาบรรจุไว้ในฐานข้อมูล อันจะส่งผลต่อความรวดเร็ว
ในการจัดเก็บ รวบรวมข้อมูลต่อไป
4.3.2 บทบาทของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในฐานะเป็น Check Point
ผลกระทบส�ำคัญอีกประการที่มีต่อกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกคือบทบาทของกรม
ในฐานะที่เป็น Check Point ในการตรวจสอบการกระท�ำที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
หรือการน�ำภูมปิ ญ
ั ญาท้องถิน่ มาใช้ประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือมิได้รบั อนุญาตจากผูเ้ ป็นเจ้าของภูมปิ ญ ั ญา
ดังกล่าว กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อาจจะต้องปรับปรุงโครงสร้างองค์กรด้วยการเพิ่ม
หน่วยงานเฉพาะที่ท�ำหน้าที่เป็น Check Point ดังกล่าว ซึ่งจะสอดคล้องรองรับกับเรื่องการเปิดเผยแหล่งที่มา
(Disclosure of Origin) ของสิ่งที่น�ำมาจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
การก�ำหนดเรื่องการเปิดเผยแหล่งที่มา (Disclosure of Origin) โดยกฎหมายเพียงอย่างเดียวคงมิท�ำให้
การป้องกันการฉกฉวยภูมิปัญญาฯ มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร กรณีนี้ต้องอาศัยกลยุทธ์เชิงรุก (Offensive Strategy)
ขององค์กรบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวท�ำหน้าทีต่ รวจสอบ สืบค้น และตัดสินใจในเรือ่ งดังกล่าว ฉะนัน้ กรมการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอาจต้องปรับบทบาทจากฐานะเดิมคือเป็นผูร้ บั จดทะเบียนภูมปิ ญ ั ญาฯ เป็น Check
Point ความถูกต้องของภูมิปัญญาฯ และการกระท�ำผิดที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญา ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง
โดยการเพิม่ หน่วยงานเฉพาะท�ำหน้าทีด่ งั กล่าว ซึง่ ต้องประสานงานควบคูก่ บั หน่วยงานอืน่ ภายในประเทศทีท่ ำ� หน้าที่
เป็นนายทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งกรณีนี้คือกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ การปรับและเพิ่ม
บทบาทดังกล่าวของกรมฯ ยังหมายถึงการยกระดับฐานะของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และ
ความยอมรับจากภาคประชาชนมากยิ่งขึ้น ซึ่งกรณีนี้มีนัยส�ำคัญถึงปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น และงบประมาณที่ย่อม
เพิ่มมากขึ้นตามลักษณะของงาน อัตราก�ำลังคนและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรมฯ ที่ต้องเพิ่มขึ้น

Position-5.indd 96 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 97

4.3.3 การเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร (Capacity-Building)


การเพิม่ ขีดความสามารถขององค์กร (Capacity-Building) ทัง้ ด้านการปฏิบตั งิ าน ระบบการจัดการภายใน
และทรัพยากรบุคคลเป็นอีกประเด็นที่ส�ำคัญ การปรับบทบาทของกรมให้เป็น Check Point และการรวบรวม
ข้อมูลเกี่ยวกับ TK เพื่อจัดท�ำฐานข้อมูลระดับประเทศที่เชื่อมโยงเข้ากับฐานข้อมูลของ WIPO จ�ำเป็นต้องอาศัย
ทรัพยากรบุคคลทีม่ ศี กั ยภาพสูง กล่าวคือ มีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจ�ำเป็นจะต้องมีบคุ คลากร
ที่มีความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นหลากหลายสาขา และบุคคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการทาง
ธุรกิจเพื่อส่งเสริมให้เกิดการน�ำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ยิ่งขึ้น กรณีนี้จึงต้องอาศัยการเพิ่มขีด
ความสามารถขององค์กรโดยเฉพาะทรัพยากรบุคคล ซึ่งสามารถกระท�ำได้โดยการจัดฝึกอบรม (Training) สัมมนา
(Seminar) และกิจกรรม (Workshop) หรือการศึกษาดูงานต่างประเทศ ซึ่งต้องมีการจัดท�ำเป็นระยะ และมีความ
หลากหลายทั้งด้านเนื้อหาและกระบวนการ
การศึกษาอบรมถือได้ว่าเป็นส่วนส�ำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร ด้วยการพัฒนาทรัพยากร
บุคคลภายในองค์กรย่อมเป็นการส่งเสริมศักยภาพขององค์กรยิ่งขึ้น ปัจจุบันการศึกษาอบรมมิได้จ�ำกัดอยู่เฉพาะ
การศึกษาในชั้นเรียน แต่หมายถึงการศึกษาอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ตัวอย่างของหน่วยงานราชการที่มีการ
อบรมพัฒนาบุคคลากร อาทิ โครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคคลากรของส�ำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เกีย่ วกับกฎหมายประชาคมอาเซียน แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวขององค์กรฝ่ายนิตบิ ญ ั ญัตใิ นการรองรับกระบวนการ
ทางกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไปภายใต้การรวมกลุ่มระดับภูมิภาค เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการตื่นตัวของ
หน่วยงานภาครัฐที่ส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรเป็นอย่างดี กรณีนี้ กรมการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือกควรมีการจัดฝึกอบรม หรือการศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นต่อไป
4.3.4 การสร้างความเข้าใจแก่ภาคประชาชน
นอกเหนือจากประเด็นทั้งสามประการข้างต้น ผลกระทบส�ำคัญที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการเจรจา
ภายใต้กรอบ WIPO IGC คือความจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องสร้างความเข้าใจเกีย่ วกับกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศสูภ่ าคประชาชน
ประเด็นนีเ้ กีย่ วข้องกับบทบาทของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกทีจ่ ะต้องให้ความรูแ้ ก่ภาคประชาชน
ทีถ่ กู ต้อง บ่อยครัง้ ทีป่ ระเด็นระหว่างประเทศถูกน�ำมาเป็นประเด็นทางการเมือง และประชาชน ขาดความเข้าใจเกีย่ ว
กับกฎหมายระหว่างประเทศ ประเด็นนี้กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จึงควรจัดให้มีช่องทางใน
การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) แก่ภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งน่าจะสร้างความเข้าใจแก่ภาคประชาชนทั้งในเรื่อง
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและกฎหมายระหว่างประเทศได้ต่อไป

5. บทสรุป
บทความนี้กล่าวถึง กรอบการเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับทรัพยากร
พันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิมภายใต้ WIPO IGC ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจา
เพื่อหาข้อยุติระหว่างประเทศสมาชิกในการจัดท�ำเอกสารกฎหมายระหว่างประเทศที่มีความเป็นเอกภาพในเรื่อง
การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่นดังกล่าวมีความคาบเกี่ยวหลายประเด็นตั้งแต่
ทรัพยากรพันธุกรรม องค์ความรู้ดั้งเดิมที่เปลี่ยนผ่านจากรุ่นสู่รุ่น หรือการแสดงออกทางความรู้ (วัฒนธรรม)
ดังกล่าว และประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ส่งผลให้การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวพันกับเอกสารกฎหมาย
ระหว่างประเทศมากมายหลายฉบับ

Position-5.indd 97 9/13/19 16:05


98 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ในระดับระหว่างประเทศ ประเด็นเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น มิได้ถูกบรรจุไว้ในเวทีการเจรจาการค้าระหว่าง


ประเทศ โดยเฉพาะภายในกรอบและขอบเขตขององค์การการค้าโลก (WTO) ที่มีข้อตกลงทางการค้าที่เกี่ยวกับสิทธิ
ในทรัพย์สินทางปัญญา หรือ “ข้อตกลงทริปส์” (TRIPS Agreement) ก�ำหนดมาตรฐานขั้นต�่ำในเรื่องการคุ้มครอง
ทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ ข้อตกลงทริปส์มิได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้แต่อย่างใด จึง
เกิดประเด็นข้อขัดแย้งกับกรอบกติการะหว่างประเทศหลาย ๆ ฉบับ อาทิ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทาง
ชีวภาพ (CBD) ซึง่ เป็นกฎหมายระหว่างประเทศฉบับหลักในเรือ่ งดังกล่าว และมีจำ� นวนภาคีสมาชิกให้การรับรองอย่าง
กว้างขวาง น�ำไปสู่การหาข้อยุติและจัดท�ำกรอบกฎหมายระหว่างประเทศที่ให้การคุ้มครองในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภายใต้ WIPO IGC เพื่อให้บรรดาสมาชิกน�ำไปอนุวัติการเป็นกฎหมายภายใน โดยการเจรจา WIPO IGC เริ่มต้น
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งบรรจุหลักการส�ำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศหลาย ๆ ฉบับเข้าด้วยกัน
ตั้งแต่ อนุสัญญา CBD พิธีสารนาโกยา (Nagoya Protocol) เอกสารขององค์การอาหารและการเกษตร (FAO)
เอกสารของ UNESCO ทีเ่ กีย่ วกับการคุม้ ครองมรดกทางภูมปิ ญ ั ญา เป็นต้น โดยมีสาระส�ำคัญหลายประการ กล่าวคือ
ประการแรก กล่าวถึงเรื่องการก�ำหนดสิทธิเฉพาะ (Sui Generis Rights) เพื่อคุ้มครองผู้เป็นเจ้าของ
ภูมิปัญญา
ประการที่สอง กรอบกติกา WIPO IGC ก�ำหนดเรื่องการเปิดเผยแหล่งที่มา (Disclosure of Origin)
ของสิ่งที่น�ำมาขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาการขโมยทรัพยากรพันธุกรรม และ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ประการทีส่ าม ก�ำหนดเรือ่ งการจัดท�ำฐานข้อมูล (Database) ทีบ่ รรจุขอ้ มูลและสาระส�ำคัญของภูมปิ ญั ญา
ที่มีอยู่ภายในแต่ละประเทศสมาชิก เพื่อเชื่อมระบบกับฐานข้อมูลสากลภายใต้ WIPO อันจะน�ำไปสู่ระบบ การ
ตรวจสอบ (Check Point) ที่มีประสิทธิภาพทั่วโลก
ประการทีส่ ี่ การจัดท�ำมาตรการทางกฎหมายกรณีไม่ปฏิบตั ติ ามเรือ่ งการเปิดเผยแหล่งทีม่ า ซึง่ WIPO IGC
เปิดกว้างให้สมาชิกสามารถออกแบบได้ โดยสมาชิกอาจก�ำหนดโทษในทางอาญา หรือทางแพ่งตามความต้องการ
ของรัฐสมาชิก
ประการที่ห้า ก�ำหนดเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเชิงพาณิชย์
โดยก�ำหนดให้สมาชิกออกแบบข้อก�ำหนดหลักเกณฑ์เรื่องข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ (ABS Agreement) และ
หน่วยงานรับผิดชอบที่เหมาะสม

6. ข้อเสนอแนะที่ ได้จากการวิจัย
ส�ำหรับข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยเกี่ยวข้องกับผลกระทบที่อาจเกิดจากกรอบการเจรจาภายใต้ WIPO
IGC ต่อระบบกฎหมายไทยและมาตรการทางการบริหารที่ควรเตรียมการรองรับ โดยกรอบกติกา WIPO IGC
ดังกล่าวมีความเกี่ยวพันและส่งผลกระทบต่อระบบกฎหมายไทยหลายฉบับ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติคุ้มครองและ
ส่งเสริม ภูมปิ ญ
ั ญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 ซึง่ เป็นกฎหมายทีป่ ระเทศไทยตราขึน้ เพือ่ ป้องกันปัญหาการฉกฉวย
ภูมปิ ญ
ั ญาและทรัพยากรพันธุกรรม ดังตัวอย่างทีเ่ คยปรากฏมาก่อนในอดีต อาทิ กรณีการจดทะเบียนสิทธิกวาวเครือ
หรือเปล้าน้อย เป็นต้น โดยผลกระทบที่เกิดจากกรอบกติกา WIPO IGC ต่อกฎหมายฉบับดังกล่าวเกี่ยวข้อง ทั้งด้าน
บทบัญญัตแิ ห่งกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย ซึง่ เกีย่ วข้องโดยตรงกับการปฏิบตั หิ น้าทีข่ องกรมการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก กล่าวคือ

Position-5.indd 98 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 99

ในด้านผลกระทบต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กรอบ WIPO IGC ก�ำหนดให้สมาชิกออกแบบมาตรการ


ภายใน เรื่องการให้สิทธิเฉพาะแก่ผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญา กรณีนี้พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา
การแพทย์แผนไทยสอดคล้องรองรับพันธกรณีดังกล่าวอยู่แล้ว เนื่องจากมีการให้ความคุ้มครองเจ้าของภูมิปัญญา
การแพทย์แผนไทยในสามระดับที่ส�ำคัญ ได้แก่ ระดับชาติ ระดับชุมชน และระดับปัจเจกชน อันเป็นการให้สิทธิ
การคุ้มครอง ตามกฎหมายลักษณะเดียวกันกับการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
กรอบกติกา WIPO ยังก�ำหนดในเรื่องการเปิดเผยแหล่งที่มาของสิ่งที่น�ำมาขอจดทะเบียนทรัพย์สิน
ทางปัญญาโดยเฉพาะสิทธิบัตร และองค์กรที่ท�ำหน้าที่ในการตรวจตราประเด็นดังกล่าว กรณีนี้พระราชบัญญัติ
คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยฯ มีข้อก�ำหนดบังคับให้ผู้ที่น�ำภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่ององค์
ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยไปขอรับความคุ้มครอง จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐหรือเจ้าของภูมิปัญญาก่อน และ
จะต้องจัดท�ำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาดังกล่าว อันจะเห็นได้ว่า
พระราชบัญญัติของไทยมีมาตรการรองรับกรอบกติกา WIPO IGC อย่างเห็นได้ชัด ประเด็นที่จ�ำเป็นต้องพิจารณา
คือองค์กรที่ท�ำหน้าที่เป็นผู้ตรวจตรา ซึ่งกรณีส�ำหรับประเทศไทยเกี่ยวพันกับหน่วยงานทางราชการส�ำคัญสอง
หน่วยงาน ได้แก่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งท�ำหน้าที่เป็นนายทะเบียน ตรวจสอบค�ำขอการจดทะเบียนทรัพย์สิน
ทางปัญญาประเภทต่าง ๆ กับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวได้ว่า บทบาทและหน้าที่ส�ำคัญ
ที่กรอบกติกา WIPO IGC ก�ำหนดให้ประเทศสมาชิกด�ำเนินการคือหน่วยงานที่จะต้องมาปฏิบัติหน้าที่ในการ
ปกปักรักษาภูมปิ ญ ั ญา มิให้ถกู ฉกฉวยน�ำไปใช้ประโยชน์โดยมิควรชอบด้วยกฎหมาย กรณีจงึ ควรเป็นบทบาทของกรม
การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ซึง่ มีองค์ความรูด้ า้ นภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ ดีทสี่ ดุ ของไทยหน่วยงานหนึง่ จึงควร
มีการปรับบทบาทดังกล่าวให้เป็นหน่วยสืบค้น ตรวจสอบและตรวจตรา (Check Point) เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
นอกจากนี้ การเตรียมการเรื่องมาตรการทางกฎหมายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นจาก
กรอบกติกา WIPO IGC ยังหมายถึงการเตรียมความพร้อมขององค์กรและบุคลากร รวมตลอดทั้งความเข้าใจ
เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวในภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคประชาชน ซึ่งกรณีนี้ควรจัดให้มีการอบรม สัมมนาหรือ
การศึกษา ดูงานต่างประเทศส�ำหรับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพื่อเพิ่มมุมมองเกี่ยวกับ
กฎหมายระหว่างประเทศ ทักษะและองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น อันจะน�ำไปสู่การ
พัฒนาศักยภาพ ของบุคคลากรในองค์กรและการยกระดับความสามารถของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือกสู่ระดับสากลต่อไป
นอกเหนือจากข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ ประเด็นเรื่องการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นมิได้
จ�ำกัดอยู่เฉพาะเวทีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) แต่ยังแผ่ขยาย
ไปสู่เวทีการเจรจาการค้าอื่น ๆ และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ฉะนั้น การศึกษาวิจัยในขั้นต่อไป
ควรจะให้ความส�ำคัญกับประเด็นเรื่องการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นในเวทีการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ
ภายใต้กรอบ การเจรจาหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิค (Trans-Pacific Partnership: TPP) กรอบ
ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP)
และรวมทั้งประเด็น เรื่องการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้กรอบของประชาคมอาเซียน ความสอดคล้องของ
ระบบกฎหมายไทยในเรือ่ งดังกล่าว และท่าทีของบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนทีม่ ตี อ่ ประเด็นการคุม้ ครองภูมปิ ญ ั ญา
ท้องถิน่ เพือ่ การสร้างความร่วมมือระดับภูมภิ าคอาเซียน อันเป็นการเพิม่ อ�ำนาจการต่อรองในการเจรจาระดับระหว่าง
ประเทศยิ่งขึ้นต่อไป

Position-5.indd 99 9/13/19 16:05


100 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

บรรณานุกรม
1. ปวริศร เลิศธรรมเทวี, การปรับปรุงกฎหมายทรัพยากรชีวภาพเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงาน
พัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), 2558.
2. Halewood M. ‘Indigenous and Local Knowledge in International Law: A Preface to Sui Generis
Intellectual Property Protection’ (1999) 44 McGill Law Journal, 953.
3. Robinson D, Kuanpoth J, ‘The Traditional Medicines Predicament: A Case Study of Thailand’
Journal of World Intellectual Property 2009; 11(5): 375.
4. Lertdhamtewe P. Plant variety protection in Thailand: the need for a new coherent framework.
Journal of Intellectual Property Law and Practice 2013; 8(1): 33-42.
5. World Intellectual Property Organization (WIPO). [internet]. Available at: http://www. wipo.int/tk/
en/igc/
6. Panizzon M. Legal Perspectives on Traditional Knowledge: The Case for Intellectual Property
Protection. Journal of International Economic Law 2004; 7(2): 371, 385.
7. Gervais D. Traditional Knowledge & Intellectual Property: A TRIPS Compatible Approach. Michigan
State Law Review (2005: 137.
8. Gervais D. Spiritual But Not Intellectual? The Protection of Sacred Intangible Traditional Knowledge.
Cardozo Journal of International and Comparative Law 2003; 11: 467.
9. Girsberger M. The Protection of Traditional Plant Genetic Resources for Food and Agriculture and
the Related Know-How by Intellectual Property Rights in International Law: The Current Legal
Environment. Journal of World Intellectual Property 1998; 1(6): 1017.
10. United Nations Convention on Biological Diversity, opened for signature 5 June 1992, 31 UNTS
818 (entered into force 29 December 1993).
11. International Treaty on Plant Genetic Resources for Food and Agriculture, Rome 3 November
2001, Doc. Y3159/E.
12. United Nations Convention on Biological Diversity, opened for signature 5 June 1992, 31 UNTS
818 (entered into force 29 December 1993) (CBD).
13. International Treaty on Plant Genetic Resources for Food and Agriculture, Rome, 3 November
2001, Doc. Y3159/E (ITPGRFA).
14. United Nations Convention to Combat Desertification in Those Countries Experiencing Serious
Drought and/or Desertification, Particularly in Africa, opened for signature 17 June 1994, 1954
UNTS 3; 33 ILM 1328 (entered into force December 1996).
15. Connelly J Smith G. Politics and the Environment: From Theory to Practice. London and New
York: Routledge 2003: 65-68.
16. ปวริศร เลิศธรรมเทวี. หลักและทฤษฎีสิ่งแวดล้อมในกฎหมายระหว่างประเทศ. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ 2558; 44(3): 442-467.
17. ธนิต ชังถาวร และคณะ. โครงการศึกษาสถานภาพเรื่องการจัดการการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากการ
ใช้ทรัพยากรชีวภาพในองค์กรวิจัย และพัฒนาในประเทศไทย: กรณีศึกษาทรัพยากรชีวภาพพืช. โครงการพัฒนา
องค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย. สิงหาคม 2552: 1-3.
18. Cullet P. Plant Variety Protection in Africa: Towards Compliance with the TRIPS Agreement Journal
of African Law 2001; 45: 97, 118.

Position-5.indd 100 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 2 ประเด็นการพัฒนาเพื่อยกระดับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 101

19. Manley R. Developmental Perspectives on the TRIPs and Traditional Knowledge Debate Macquarie
Journal of International and Comparative Environmental Law 2006; 3: 113, 121.
20. ธนิต ชังถาวร และคณะ. รายงานการศึกษากรอบความคิดการคุม้ ครองภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ไทย. กรมทรัพย์สนิ ทางปัญญา
กระทรวงพาณิชย์. เมษายน 2550: 82.
21. Lertdhamtewe P. Thailand’s plant protection regime: a case study in implementing TRIPS. Journal
of Intellectual Property Law and Practice 2012; 7(3): 186-189.
22. Lertdhamtewe P. The Protection of Geographical Indications in Thailand. Journal of World
Intellectual Property 2014; 17(3): 114-115.
23. Nagoya Protocol on Access to Genetic Resources and the Fair and Equitable Sharing of Benefits
Arising from their Utilization to the Convention on Biological Diversity, (Nagoya, 29 October 2010)
(Nagoya Protocol).
24. International Undertaking for Plant Genetic Resources, Res. 8/83, Report of the Conference of
Food and Agriculture Organization, 22nd Sess., 5-23 November 1983, Doc. C83/REP (1983).
25. Chiarolla C. Plant Patenting, Benefit Sharing and the Law Applicable to the Food and Agriculture
Organisation Standard Material Transfer Agreement. Journal of World Intellectual Property 2008;
11(1): 1, 3-5.
26. ปวริศร เลิศธรรมเทวี. การรับรองสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. ดุลพาห 2557;
65(3): 1-45.
27. Manley R. Developmental Perspectives on the TRIPs and Traditional Knowledge Debate. Macquarie
Journal of International and Comparative Environmental Law 2006; 3(1): 113-115.
28. Robinson D, Kuanpoth J. The Traditional Medicines Predicament: A Case Study of Thailand
Journal of World Intellectual Property 2009; 11(5): 375.
29. Vivas-Eugui D. Bridging the Gap on Intellectual Property and Genetic Resources in WIPO’s
Intergovernmental Committee (IGC) (ICTSD Programme on Innovation, Technology and Intellectual
Property, January 2012: 9.
30. Thathong S. Lost in Fragmentation: The Traditional Knowledge Debate Revisited Asian Journal
of International Law 2014; 4(2): 359-389.
31. ปวริศร เลิศธรรมเทวี และ อัครวัฒน์ เลาวัณย์ศิริ. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับระบบกฎหมายไทย. กรุงเทพฯ:
ส�ำนักพิมพ์วิญญูชน. 2557.
32. สุรวุธ กิจกุศล และปวริศร เลิศธรรมเทวี. บทวิเคราะห์ความตกลงทางการค้าในระดับภูมิภาคว่าด้วยการคุ้มครอง
ทรัพย์สินทางปัญญา: ประโยชน์และผลกระทบต่อระบบกฎหมายไทย วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
กาฬสินธุ์ 2559; 5(1): 207-233.
33. Thathong S. Rethinking Strategies in Legal Protection of Traditional Knowledge-A Case Study of
Thailand. Journal of the Thai Justice System 2009; 2(2): 97.
34. ปวริศร เลิศธรรมเทวี. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์วิญญูชน. 2559. บทที่ 6
สหวิชากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา.
35. Robinson D, Kuanpoth J. The Traditional Medicines Predicament: A Case Study of Thailand.
Journal of World Intellectual Property 2009; 11(5): 375-392.
36. Kuanpoth J. Legal protection of traditional knowledge: A Thai perspective. Tech Monitor 2007;
34-40.

Position-5.indd 101 9/13/19 16:05


102 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

กลุ่มที่ 3

ประเด็นการจัดการเพือ่ น�ำการแพทย์แผนไทย
ไปใช้ประโยชน์
3.1 กลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้สมุนไพรโดยมีประชาชนเป็นส่วนร่วม
3.2 การบูรณาการการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบสุขภาพในอนาคต
3.3 บูรณาการคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ

Position-5.indd 102 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการเพื่อนำ�การแพทย์แผนไทยไปใช้ประโยชน์ 103

กลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้สมุนไพร
โดยมีประชาชนเป็นส่วนร่วม

ดร.ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว และคณะ


โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี

1. ความเป็นมา หลักการ และเหตุผล


สถานการณ์การใช้สมุนไพรในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพร เนื่องจากเล็งเห็นว่าภูมิปัญญาการใช้สมุนไพร
ที่มีอย่างยาวนานนั้น สามารถน�ำมาใช้ในการดูแลสุขภาพเพื่อลดการน�ำเข้าของยาแผนปัจจุบันจากต่างประเทศ
ได้ในระดับประเทศมีบัญชียาจากสมุนไพร จ�ำนวน 73 รายการ ที่ถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ แต่ถึงกระนั้น
ในโรงพยาบาลต่าง ๆ ก็ยังมีการใช้ยาจากสมุนไพรไม่มากนัก จากการศึกษาของพนิดา โนนทิง และคณะ[1] ได้ท�ำการ
ส�ำรวจการใช้สมุนไพรในปี 2556 พบว่าโรงพยาบาลมีรายการยาสมุนไพรเฉลีย่ 16.06 รายการ เป็นยาสมุนไพรเดีย่ ว
แบบแคปซูลมากที่สุด 4.15 รายการ รองลงมาคือเป็นยาใช้ภายนอก 3.55 รายการ
สถานการณ์ขา้ งต้นมีความแตกต่างจากสถานการณ์การใช้สมุนไพรในภาคประชาชนทีม่ กั จะปรากฏข่าวสาร
ทางสื่อต่าง ๆ เสมอ จากการศึกษาของรวงทิพย์ ตันติปิฎก และคณะ[2] พบว่า แบบแผนพฤติกรรมในการใช้ยาจาก
สมุนไพรของประชาชนมีความหลากหลาย ส่วนใหญ่เป็นการใช้สมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบัน โดยผู้ป่วยส่วนมาก
ยอมรับว่าไม่ได้บอกเรื่องการปรับลดการใช้ยาให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ โดยยังคงรับยามาเก็บไว้ที่บ้าน ผู้ป่วย
ส่วนใหญ่เชื่อว่า การใช้ยาแผนปัจจุบันเป็นระยะเวลายาวนาน จะเกิดการสะสมของยาที่เป็นสารเคมี ในร่างกายและ
เป็นพิษต่อไต ในทางตรงกันข้าม ผู้ป่วยให้ความเชื่อถือต่อฤทธิ์ของยาสมุนไพรที่ตนเองรับประทาน และคิดว่าไม่มี
อันตราย เพราะเป็นเพียงใบไม้เท่านั้น จึงกล้าทดลองใช้ และไม่เคยคิดว่าจะมีปัญหายาตีกันระหว่างสมุนไพรกับยา
แผนปัจจุบนั เพราะเป็นการรักษากันคนละทาง โดยแหล่งของข้อมูลวิธกี ารใช้สมุนไพร มาจากการบอกต่อกันมา และ
มาจากการโฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ มากกว่ามาจากผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในระบบบริการสุขภาพหรือสถาบันการศึกษา ซึ่ง
สถานการณ์ในประเทศไทยสอดคล้องกับหลายประเทศ เช่น แคนาดาพบว่าประชาชนมีความสนใจในการใช้สมุนไพร
เนื่องจากกระแสการป้องกันสุขภาพ การโฆษณาของสื่อต่าง ๆ มีความกังวล ในการบริโภคยาสังเคราะห์[3] และ
มักไม่เปิดเผยถึงการใช้สมุนไพรกับแพทย์[4] หรือในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ประชาชนมักจะใช้ยาจากสมุนไพร
ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน[5,6]
นอกจากนั้นการศึกษาของ สุกิจ ไชยชมพู และคณะ[7] พบปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สมุนไพรในการรักษาโรค
ของคนไทย ดังนี้
1. รายได้มีความสัมพันธ์แบบผกผันกับพฤติกรรมการใช้สมุนไพร กล่าวคือ ผู้ที่มีรายได้น้อย มีการใช้
สมุนไพรมาก กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้มากกลับมีพฤติกรรมการใช้สมุนไพรน้อย

Position-5.indd 103 9/13/19 16:05


104 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

2. ทัศนคติต่อการใช้สมุนไพรรักษาโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรรักษาโรค
กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าการรับประทานพืชสมุนไพรเป็นประจ�ำช่วยท�ำให้มีสุขภาพดี มีความเชื่อมั่นว่า
การรักษาด้วยสมุนไพรท�ำให้หายจากโรคทีเ่ ป็นอยู่ สมุนไพรเหมาะในการน�ำมารักษาโรคเมือ่ เจ็บป่วยและรูส้ กึ สบายใจ
ผ่อนคลายเมื่อเลือกรักษาโรคด้วยสมุนไพร
3. การใช้สมุนไพรในชีวิตประจ�ำวันมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้สมุนไพร เพราะการใช้
บ่อย ๆ ท�ำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ถึงประโยชน์ของสมุนไพร แหล่งสมุนไพรที่น�ำมาใช้ได้สะดวก มีความ
สัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรรักษาโรค จากการศึกษาพบว่าร้านขายสมุนไพร คือ สถานที่สะดวก
ที่สุดในการน�ำสมุนไพรมาใช้ รองลงมา คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล เนื่องจากมีความสะดวกในการ
เข้าถึงแหล่งขายยาสมุนไพร
4. การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรรักษาโรค โดยกลุม่ ตัวอย่าง
ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัวให้ใช้สมุนไพรรักษาโรคมากที่สุด

2. นโยบายและมาตรการที่ด�ำเนินการปัจจุบัน
ระบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้สมุนไพร
ระบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้สมุนไพร เป็นส่วนหนึ่งของระบบเฝ้าระวังความปลอดภัย
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในประเทศไทยระบบการเฝ้าระวังอยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัย
ด้านผลิตภัณฑ์สขุ ภาพ (Health Product Vigilance Center; HPVC) ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา HPVC
ได้รับข้อมูลจากสถานพยาบาลภาครัฐและเอกชนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รายงานที่ได้รับจะถูกส่งต่อไปยังฐาน
ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกด้วย โดย HPVC มีขอบเขตการด�ำเนินงานที่ส�ำคัญ ได้แก่ รวบรวม วิเคราะห์ และ
ประเมินรายงานเหตุการณ์ไม่พงึ ประสงค์ ตรวจจับสัญญาณและประเมินความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างเหตุการณ์ไม่
พึงประสงค์ที่พบกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สนับสนุนข้อมูลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง และ
ส่งเสริม สนับสนุนการด�ำเนินงานของเครือข่ายเฝ้าระวังผ่านกลไกต่าง ๆ[8] แต่ถึงแม้จะมีระบบการเฝ้าระวังของ
ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่เชื่อมต่อกับสถานพยาบาลต่าง ๆ แต่ก็ยังพบว่าอาการไม่พึงประสงค์
ของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรหรือสมุนไพรมักไม่ค่อยได้ถูกรายงาน ตามที่เห็นเป็นข่าวปรากฏในสื่อต่าง ๆ จึงท�ำให้
กระบวนการวิเคราะห์ ประเมินและแก้ไขปัญหาไม่สามารถท�ำได้อย่างเป็นระบบ
ปัจจุบันในหลายประเทศ ได้แก่ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ ราชอาณาจักรสวีเดน สหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา แคนานดา และออสเตรเลีย รวมทัง้ มีมาเลเซีย ประเทศเพือ่ นบ้านได้รเิ ริม่ น�ำระบบ Patient Reporting
หรือ Consumer Reporting มาใช้ในการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยระบบดังกล่าว
เป็นระบบทีผ่ ใู้ ช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สขุ ภาพ หรือในบางกรณีอาจรวมถึงผูด้ แู ลผูป้ ว่ ยหรือผูป้ กครองของเด็ก เป็นผูร้ ายงาน
การเกิดอาการอันไม่พงึ ประสงค์ไปยังหน่วยงานทีด่ แู ลระบบติดตามความปลอดภัยจากการใช้ยา โดยมีระบบรายงาน
ที่แตกต่างกันดังแสดงในตารางที่ 3.1[9]

Position-5.indd 104 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการเพื่อนำ�การแพทย์แผนไทยไปใช้ประโยชน์ 105

ตารางที่ 3.1 ระบบการรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของผู้ป่วยโดยตรง


Direct of indirect reporting System
Country Reporting Method
to regulators commenced
Australia Indirect Telephone to pharmacists 2003
Denmark Direct Hard copy and eform 2003
The Netherlands Direct Electronic 2003
Indiret via DGV consumer Electronic 2004
group scheme
Sweden Indirect, via KILEN Electronic, telephone, e-mail, 1978
hard copy
USA Direct Electronic, paper based and 1993
telephone
Canada Direct Telephone 2003
The UK Direct Electronic, paper based and 2005
telephone
Malaysia Direct Electronic and paper based 2007

โดยในประเทศเหล่านี้หลังจากน�ำระบบดังกล่าวมาใช้ พบว่าผู้ป่วยให้ความร่วมมืออย่างดีต่อการรายงาน
และมีแนวโน้มการรายงานที่สูงขึ้น ส่วนปริมาณและคุณภาพของรายงานจากผู้ป่วยนั้นมีความหลากหลาย ซึ่งอาจ
เป็นผลมาจากวิธีการศึกษาหรือประชากรที่แตกต่างกันไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการรายงานอาการ
ไม่พึงประสงค์ที่ตนเห็นว่ามีความสัมพันธ์กับการใช้ยา ซึ่งมีทั้งที่สอดคล้องและแตกต่างกับรายงานจากบุคลากร
ทางสุขภาพ ซึ่งจากมุมมองของผู้ป่วยช่วยให้สามารถค้นพบอาการไม่พึงประสงค์บางอย่างที่บุคลากรทางสุขภาพ
มองข้ามไป เช่น อาการอันไม่พึงประสงค์ชนิดไม่รุนแรงแต่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย อันอาจน�ำไปสู่ปัญหา
ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา รวมทั้งการค้นพบอาการไม่พึงประสงค์จากยาใหม่ได้รวดเร็วกว่าบุคลากรทางการแพทย์
แต่อย่างไรก็ตามการรายงานโดยผู้ป่วยยังมีข้อจ�ำกัด ได้แก่ ผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ไม่รุนแรงอาจขาดแรง
จูงใจในการรายงาน ในกรณีทเี่ กิดอาการไม่พงึ ประสงค์รนุ แรงก็อาจจะไม่สามารถรายงานได้ดว้ ยตนเอง รวมทัง้ ความ
รู้ของประชาชนก็มีผลต่อการรายงาน กล่าวคือ ผู้ป่วยอาจคิดว่าอาการไม่พึงประสงค์ ที่เกิดขึ้นเป็นอาการที่เกิดจาก
โรคและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็อาจจะไม่รายงานเข้ามา[9]
มีตัวอย่างของการศึกษาเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการรายงานอาการไม่พึงประสงค์ของ
ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติในประเทศแคนาดา เนื่องจากประชาชนมีความสนใจในการใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้เพิ่มขึ้น แต่ยังพบ
รายงานอาการไม่พึงประสงค์ค่อนข้างต�่ำ โดยมีข้อเสนอให้ร้านจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นแหล่งในการรายงาน
อาการไม่พึงประสงค์ เนื่องจากในประเทศแคนาดานั้นบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมีกลยุทธ์ในการสร้างความ
ภักดีต่อสินค้า โดยให้ผู้บริโภคสามารถคืนผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ตนเองใช้แล้วไม่พอใจแก่บริษัทผู้ผลิตได้โดยผ่าน
ร้านจ�ำหน่าย ซึ่งปกติเองนั้นพนักงานขายจะต้องแนบเหตุผลของการขอคืนสินค้าและที่อยู่ของลูกค้าไปให้กับบริษัท
ด้วยจึงจะได้รับเงินคืน นักวิจัยจึงมีข้อเสนอให้ขยายกระบวนการนี้ไปสู่การรายงานอาการไม่พึงประสงค์ ด้วยการให้
พนักงานขายเพิ่มข้อมูลบางประเด็น เช่น ยาและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในขณะนั้น โดยอาจจะจ�ำเป็นต้องมีการอบรมความรู้
พืน้ ฐานทีเ่ กีย่ วข้องกับการรายงานอาการไม่พงึ ประสงค์ เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพในการรายงาน นอกจากนัน้ ยังมีขอ้ เสนอ

Position-5.indd 105 9/13/19 16:05


106 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ให้ทำ� ความเข้าใจกับผูบ้ ริโภคว่ามีสทิ ธิร์ ายงานอาการไม่พงึ ประสงค์ไปทีก่ ระทรวงสาธารณสุขได้โดยตรง หรือหากเกิด


อาการไม่พึงประสงค์แล้วไม่แน่ใจให้ไปพบแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อให้รายงานไปยังกระทรวงสาธารณสุข[10]
การศึกษาการเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance) ในร้านยาของประเทศแคนาดา พบว่า อาการ
ไม่พึงประสงค์สูงขึ้น โดยผู้ป่วยที่รับประทานผลิตภัณฑ์ธรรมชาติควบคู่กับยาแผนปัจจุบันมีโอกาสเกิดอาการ
ไม่พึงประสงค์สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามอัตราการรายงานของเภสัชกรในร้านยายังขึ้นกับภาระงานที่เภสัชกรมีด้วย
หากมีภาระงานสูงก็จะมีการรายงานอาการไม่พึงประสงค์ต�่ำ[3]
ในประเทศไทยมีเครือข่ายตาไวที่เป็นการท�ำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและประชาชน ได้พัฒนาระบบ
รายงานผ่าน Application ที่เรียกว่า TaWai for Health version 1.0 โดยระบบรายงานประกอบด้วย 3 หัวข้อ
คือ 1. ระบบเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ 2. ผลิตภัณฑ์ต้องสงสัยและยาชุด และ 3. การโฆษณาเกินจริง โดย
ให้ประชาชนร่วมเป็นผู้รายงานเข้าระบบ ปัญหาที่รายงานจะได้รับการแก้ไขจากเภสัชกรประจ�ำอ�ำเภอในเขตพื้นที่
รายงานที่รับผิดชอบ และข้อมูลทั้งหมดจะถูกรวบรวมเป็นฐานข้อมูลและแสดงผลทั้งในรูปแบบสถิติและระบาด
วิทยา เพื่อน�ำเสนอต่อส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สู่การแก้ปัญหาเชิงระบบและผลักดันเชิงนโยบาย
ต่อไป โดยในปัจจุบันมีการใช้งานระบบนี้ในเขตบริการสุขภาพที่ 10 และ 12 เท่านั้น และทีมผู้พัฒนาก�ำลังเร่งสร้าง
ระบบ TaWai for Health version 2 ที่มีประสิทธิภาพที่สามารถท�ำงานได้ในหลายพื้นที่มากขึ้น[11]

ตัวอย่างระบบการจัดการความไม่ปลอดภัยจากการใช้สมุนไพร
1. ขี้เหล็ก
จากทีม่ รี ายงานภาวะตับอักเสบจากผลิตภัณฑ์ขเ้ี หล็ก โดยผูป้ ว่ ยมีทงั้ ทีแ่ สดงและไม่แสดงอาการ แต่ทงั้ สอง
กรณีมีค่าการท�ำงานของตับที่ผิดปกติมาที่ HPVC และได้มีการสืบค้นข้อมูลพบว่ามีความสัมพันธ์กับการรับประทาน
ยาสมุนไพรขี้เหล็ก โดยมีจ�ำนวน 5 ราย ที่เกิดภาวะตับอักเสบเฉียบพลันจากการรายงานของแพทย์ระบบทางเดิน
อาหาร หลังจากหยุดยาสมุนไพรขี้เหล็กเม็ด พบว่าภาวะตับอักเสบดังกล่าวหายเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์ และมี
ผู้ป่วย 1 ราย ได้กลับไปรับประทานสมุนไพรดังกล่าวอีกครั้ง พบว่าท�ำให้เกิดภาวะตับอักเสบขึ้นอีก ส�ำนักงานคณะ
กรรมการอาหารและยาได้มมี ติให้แจ้งข้อมูลแก่บคุ ลากรทางการแพทย์และเฝ้าระวังการใช้สมุนไพรขีเ้ หล็กอย่างใกล้ชดิ
และเมือ่ มีการศึกษาเพิม่ ด้านความเป็นพิษเรือ้ รัง ในสัตว์ทดลองของผลิตภัณฑ์ทมี่ สี ว่ นประกอบของใบขีเ้ หล็กและสาร
barakol พบว่าท�ำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับแม้ใช้ในขนาดที่ใช้ในคน ความรุนแรงสัมพันธ์กับขนาดที่ใช้ เมื่อหยุดยา
มีแนวโน้มหายเป็นปกติ การรับประทานยาขี้เหล็กในรูปแบบสารสกัดหรือแคปซูลท�ำให้เกิดพิษแตกต่างจากการรับ
ประทานเป็นอาหารเนื่องจากพบว่าการต้มใบขี้เหล็กทิ้งน�้ำหลายครั้งท�ำให้สาร anhydrobarakol ลดลงได้ แต่การ
ผลิตยาดังกล่าวไม่ได้มีการต้มน�้ำทิ้งตามที่เคยมีการใช้มาแต่ภูมิปัญญาไทยดั้งเดิมจึงท�ำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับได้
จากข้อมูลดังกล่าวได้น�ำไปสู่การยกเลิกทะเบียนยาขี้เหล็กโดยสมัครใจ ในปี 2545[8]
2. ไคร้เครือ
ไคร้เครือมีสาร aristolochic acid ซึ่ง HPVC ได้รับรายงานการเกิดภาวะไตอักเสบ[12] โดยมีการศึกษา
ความเป็นพิษของ aristolochic acid ในหนูทดลอง หนูไมซ์ (mice) พบว่า aristolochic acid สามารถท�ำให้
เกิดความเป็นพิษต่อไตในหนูไมซ์แบบเฉียบพลันอย่างรุนแรงได้[13] เนื่องจากมีความเป็นพิษต่อไตและท�ำให้เกิด
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะในมนุษย์ได้ (urothelial malignancy) ทั้งนี้ aristolochic acid ซึ่งเป็นสารที่สามารถ
พบได้ ในพืชสกุล Aristolochia ถูกจัดให้เป็นสารก่อมะเร็ง human (class I) carcinogen ตาม World Health
Organization International Agency for Research on Cancer, 2002[14] ปัจจุบันไคร้เครือได้ถูกตัดออกจาก

Position-5.indd 106 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการเพื่อนำ�การแพทย์แผนไทยไปใช้ประโยชน์ 107

ต�ำรับยาแผนไทยในบัญชียาหลักแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2554 จ�ำนวน 10 ต�ำรับ ได้แก่ ยาหอมนวโกฐ ยาหอม


แก้ลมวิงเวียน ยาหอมอินทจักร์ ยาธาตุบรรจบ ยาประสะกานพลู ยาประสะเจตพังคี ยามันทธาตุ ยาวิสัมพยาใหญ่
ยาเขียวหอม และยาอ�ำมฤควาที[14]
3. ฟ้าทะลายโจร
นับตั้งแต่ยาฟ้าทะลายโจรได้รับการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ เมื่อปี 2542 เป็นต้นมา HPVC ก็ได้รับ
รายงานที่เกี่ยวข้องกับผื่นแพ้ยาอย่างรุนแรงของยาชนิดนี้ และในขณะเดียวกันก็พบว่าฐานข้อมูล WHO vigiBase
ก็มีรายงานในลักษณะเดียวกันในประเทศออสเตรเลียและสวีเดนด้วย การด�ำเนินการตรวจจับสัญญาณ (signal)
โดยวิเคราะห์ข้อมูลในฐานข้อมูล Thai VigiBase พบว่าตั้งแต่ปี 2544-2554 มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากยา
สมุนไพรฟ้าทะลายโจรรวม 154 ฉบับ เกิดอาการไม่พึงประสงค์ทั้งสิ้น 199 อาการ ในจ�ำนวนนี้เป็นอาการรุนแรง
19 ฉบับ เป็นรายงานที่ท�ำให้ผู้ป่วยต้องเข้านอนโรงพยาบาล 17 ฉบับ และคุกคามหรืออันตรายถึงชีวิต 2 ฉบับ
อาการที่พบ เช่น ผื่นลมพิษ (angioedema) แน่นหน้าอก ภาวะช็อกจากการแพ้ (anaphylactic shock) เป็นต้น
อาการส่วนใหญ่ (12 ฉบับ) เกิดในวันแรกของการรับยา นอกจากนีก้ ารประยุกต์แนวคิดทางระบาดวิทยาเพือ่ ตรวจจับ
สัญญาณความเสีย่ ง ผลทีไ่ ด้นบี้ ง่ ชีว้ า่ anaphylactic shock เป็น potential signal ซึง่ สอดคล้องกับผลการประเมิน
ของคณะท�ำงานประเมินสัญญาณอันตรายจากการใช้ยาที่พิจารณาข้อมูลด้านคลินิกของรายงานแต่ละฉบับใน
รายละเอียด (case by case review) ได้ข้อสรุปว่า ภาวะ serious hypersensitivity เป็นสัญญาณความเสี่ยง
ของยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ส�ำหรับข้อกังวลที่ว่าภาวะดังกล่าวอาจเกิดจากคุณภาพของวัตถุดิบที่ปนเปื้อนสาร
ก่อการแพ้รุนแรงนั้น พบว่า รายงานที่ได้รับไม่ได้เกิดจากผลิตภัณฑ์ที่มาจากแหล่งผลิตเดียวกัน แต่มีหลากหลาย
ชื่อการค้าและแหล่งผลิตทั้งจากผู้ประกอบการและสถานพยาบาลผลิตตามหลักเกณฑ์และวิธีที่ดีในการผลิต (GMP)
นอกจากนี้ อาการเหล่านี้ไม่ได้พบเพียงแค่ในประเทศไทย ยังพบในประเทศออสเตรเลียและสวีเดนอีกด้วย จึงได้มี
การสื่อสารข้อมูลดังกล่าวออกไปต่อบุคลากรทางการแพทย์ และก�ำหนดให้มีการแสดงข้อก�ำหนดในฉลากยาด้วย[15]

3. สภาพปัญหา/ข้อจ�ำกัดและโอกาสในการพัฒนา
ข้อเสนอเพื่อพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้สมุนไพร โดยมีประชาชนเป็นส่วนร่วม
จากการทบทวนสถานการณ์การเฝ้าระวังความปลอดภัยของสมุนไพรทัง้ ในและต่างประเทศอาจจะสามารถ
น�ำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยของการใช้สมุนไพรที่เหมาะสมในประเทศไทยได้
แต่อย่างไรก็ตามการใช้สมุนไพรในประเทศไทยมีความแตกต่างจากประเทศอื่น คือ มีการใช้สมุนไพรในรูปแบบที่
เตรียมด้วยตนเองค่อนข้างมาก นอกเหนือจากการใช้ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ส�ำเร็จรูป โดยการใช้เหล่านี้เกิดจากญาติ
และเพื่อนสนิทที่แนะน�ำมา ดังนั้นระบบการเฝ้าระวังที่พัฒนาขึ้นควรครอบคลุมการใช้สมุนไพรในลักษณะนี้ด้วย
โดยอาจก�ำหนดมาตรการที่ส�ำคัญ ดังต่อไปนี้
1. เป็นกลไกทีเ่ กิดจากการท�ำงานร่วมกันของภาครัฐ บุคลากรทางการแพทย์ ประชาชน นักวิชาการ และ
องค์กรสาธารณประโยชน์
2. การสร้างความรอบรู้ด้านสมุนไพรให้กับประชาชน การควบคุมก�ำกับการให้ข้อมูลทางสุขภาพให้เป็น
ไปอย่างเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกใช้สมุนไพรได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น
3. การควบคุมและก�ำกับให้มีผลิตภัณฑ์ส�ำเร็จรูปที่มีคุณภาพในท้องตลาด ตั้งแต่การก�ำหนดมาตรฐาน
วัตถุดิบ การผลิต เนื่องจากคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ดีอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์

Position-5.indd 107 9/13/19 16:05


108 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

4. การเพิ่มพูนทักษะการจ�ำแนกและรายงานอาการไม่พึงประสงค์ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่
แพทย์ เภสัชกร พยาบาล (โดยอาจมีทักษะความช�ำนาญที่แตกต่างกัน)
5. การพัฒนาช่องทางทีส่ ะดวกและง่ายแก่ประชาชนทีส่ ามารถรายงานอาการไม่พงึ ประสงค์ได้ดว้ ยตนเอง
6. การสนับสนุนการศึกษาวิจยั เพือ่ ส่งเสริมข้อมูลในการเฝ้าระวังความปลอดภัยของสมุนไพร ยกตัวอย่าง
เช่น การศึกษาวิจยั แบบ cohort study ในการติดตามอาการไม่พงึ ประสงค์ของสมุนไพรชนิดหนึง่ ซึง่ อาจเป็นสมุนไพร
ที่มีการน�ำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย หรือ การศึกษาวิจัยถึงอันตรกิริยาระหว่างยาแผนปัจจุบันกับยาสมุนไพร
ซึ่งอาจส่งผลต่อการเกิดความเสี่ยงที่ไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยได้

เอกสารอ้างอิง
1. พนิดา โนนทิง, สุวิชชา เจริญพร, น้องเล็ก คุณวราดิศัย, แสวง วัชระธนกิจ, อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล. สถานการณ์
และปัญหาอุปสรรคการใช้สมุนไพร ในโรงพยาบาลของรัฐ. The 5th Annual Northeast Pharmacy Research
Conference of 2013 “Pharmacy Profession Moving Forward to ASEAN Harmonization”. Faculty
of Pharmaceutical Sciences, Khon Kaen University, Thailand. 2013 February 16-17.
2. รวงทิพย์ ตันติปิฏก, ยงศักดิ์ ตันติปิฎก, ผกากรอง ขวัญข้าว, พินิต ชินสร้อย, ปิยะนุช ทิมคร, วสันต์ ชูชัยมงคล
และคณะ. รายงานการศึกษาบทบาทและสมรรถนะเภสัชกรด้านสมุนไพรในโรงพยาบาลและส�ำนักงานสาธารณสุข
จังหวัดในกระทรวงสาธารณสุข. 2561.
3. Necyk C, Tsuyuki RT, Boon H, Foster BC, LeGatt D, Cembrowski G, et al. Pharmacy study of
natural health product adverse reactions (SONAR): a cross-sectional study using active surveillance
in community pharmacies to detect adverse events associated with natural health products and
assess causality. BMJ Open 2014; 4:e003431.
4. Walji R. Reporting Adverse Drug Reactions Associated with Herbal Products: Consumer, Health
Food Store Personnel and Pharmacist Perspectives. Thesis: University of Toronto. 2008.
5. Eisenberg DM, Davis RB, Ettner SL, Appel S, Wilkey S, Van Rompay M, et al. Trends in alternative
medicine use in the United States, 1990-1997: results of a follow-up national survey. JAMA.
1998; 280: 1569-75.
6. Tsen LC, Segal S, Pothier M, Bader AM. Alternative medicine use in presurgical patients.
Anesthesiology. 2000; 93: 148-51.
7. สุกิจ ไชยชมภู, พูนสุข ช่วยทอง, วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์, สุนันท์ ศลโกสุม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้
สมุนไพรรักษาโรคของประชาชน ในเขต 11 กระทรวงสาธารณสุข. วารสารเกื้อการุณย์; 2555; 19(2): 60-73.
8. ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ, วิมล สุวรรณเกศาวงษ์. ระบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพประเทศไทย
Health Product Vigilance System in Thailand. นนทบุรี: ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2559.
9. นทพร ชัยพิชิต, นฤมล เจริญศิริพรกุล. ระบบการรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของผู้ป่วยโดยตรง:
การด�ำเนินงานนานาชาติ, วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2554; 2: 257-66.
10. Walji R, Boon H, Barnes J, Austin Z. Adverse Event Reporting for Herbal Medicines: A Result of
Market Forces. Healthcare Policy. 2009; 4(4): 77-90.

Position-5.indd 108 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการเพื่อนำ�การแพทย์แผนไทยไปใช้ประโยชน์ 109

11. ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ตาไว รูท้ นั สุขภาพ (Tawai for Health Application) เครือ่ งมือและระบบการ
จัดการความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สขุ ภาพและการโฆษณา. ข่าวสารด้านยาและผลิตภัณฑ์สขุ ภาพ. 2561; 21(3):3-6.
12. กฤษณา กองทรัพย์. โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร การแก้ปัญหาการใช้ยากลุ่มเสี่ยงที่เป็นภัยคุกคามสุขภาพใน
ชุมชน; วันที่ 21 มิถุนายน 2561; ห้องประชุมศรีหริภุญชัย ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลล�ำพูน. ล�ำพูน
2561.
13. Sato N, Takahashi D, Chen S, Tsuchiya R, Mukoyama T, Yamagata S, et al. Acute nephrotoxicity
of aristolochic acids in mice. Journal of Pharmacy and Pharmacology. 2004; 56(2): 221-9.
14. World Health Organization International agency for research on cancer. IARC monographs on the
evaluation of carcinogenic risks to humans. Lyon: IARCPress. 2002.
15. ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. การพัฒนาเครื่องมืออัตโนมัติเพื่อตรวจจับสัญญาณ (Automatic Signal
Detection Tool). การประชุมวิชาการงานเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้ยาเรื่อง Pharmacovigilance:
partnership for patient safety. 2-3 กรกฎาคม 2551.

Position-5.indd 109 9/13/19 16:05


110 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

การบูรณาการการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบสุขภาพในอนาคต

เกษม เผียดสูงเนิน
สาธารณสุขอ�ำเภอล�ำสนธิ จังหวัดลพบุรี

1. ความเป็นมา หลักการและเหตุผล
การแพทย์พื้นบ้านของไทย เป็นการดูแลสุขภาพที่มีมาแต่ดั้งเดิมพร้อม ๆ กับการก�ำเนิดของชาติไทย เกิด
จากการเรียนรู้ธรรมชาติ ลองผิดลองถูก และจดจ�ำบอกเล่าสืบต่อกันมา มีความแตกต่างกันไปตามสิ่งแวดล้อมทาง
ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความเชื่อต่าง ๆ การแพทย์แผนไทยเป็นระบบการดูแลสุขภาพแบบ
องค์รวมทัง้ กาย จิต สังคม และสิง่ แวดล้อม ประกอบด้วย 5 สาขา ได้แก่ เภสัชกรรมไทย เวชกรรมไทย การนวดไทย
การผดุงครรภ์ไทย และการแพทย์พื้นบ้านไทย ครอบคลุม 4 มิติ คือ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค
การบ�ำบัดรักษาโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพ
อ�ำเภอล�ำสนธิ จังหวัดลพบุรี เป็นพื้นที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับภาคอีสาน โดยทิศตะวันออกติดกับอ�ำเภอ
เทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ และอ�ำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ประชาชนส่วนใหญ่ย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัด
ชัยภูมิ และจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะจังหวัดนครราชสีมา ท�ำให้มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับทางภาคอีสาน
รวมทั้งเรื่องของการแพทย์พื้นบ้าน โดยชาวอีสานจะเชื่อเรื่องผี เชื่อว่าผู้มีอิทธิฤทธิ์ยิ่งใหญ่ คือ ผีแถน หรือผีฟ้า
พญาแถน เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งให้ก�ำเนิดดิน น�้ำ ลม ไฟ โลกและมนุษย์ และผีที่ใกล้ชิดชาวอีสานมากที่สุด คือ ผีปู่
ตา หรือนิยมเรียกอีกอย่างว่า ผีตาปู่ ซึ่งถือว่าเป็นผีบรรพบุรุษที่คอยปกปักรักษาลูกหลาน คอยช่วยเหลือชาวบ้าน
ที่มีความทุกข์ร้อน ชาวบ้านจะสร้างศาลปู่ตาไว้ที่ป่าใกล้บ้าน เรียกว่า ป่าปู่ตา เป็นป่าที่ศักดิ์สิทธิ์ แต่ในปัจจุบัน
นิยมสร้างไว้กลางหมู่บ้าน เป็นศูนย์รวมให้ชาวบ้านได้มีกิจกรรม บูชากราบไหว้ สักการะได้สะดวก ทั้งเป็นกิจกรรม
ที่ท�ำร่วมกันประจ�ำปี และบนบานศาลกล่าวส่วนบุคคล นอกจากนี้ชาวอีสานยังเชื่อเรื่องขวัญ ว่าเป็นศูนย์รวมชีวิต
แต่มองไม่เห็น สัมผัสได้ มีการท�ำพิธีสู่ขวัญหรือเรียกขวัญ เพื่อสร้างก�ำลังใจในการด�ำเนินชีวิต ในพิธีชาวบ้านจะ
รวมกันส่งพลังให้ถึงบุคคลที่พวกเขาช่วยกันเรียกขวัญกลับมา เป็นสัญลักษณ์ว่า ชุมชนระดมจิตใจมาช่วยส่งเสริมให้
ผู้ที่เจ็บป่วย หรือที่มีปัญหา กลับมาสมบูรณ์หรือมีความสุขอีกครั้ง หมอพื้นบ้านอีสาน สามารถจ�ำแนกตามลักษณะ
ของการรักษาอันเนื่องมาจากสาเหตุของโรค แบ่งได้ดังนี้ 1) หมอที่รักษาผู้ป่วยอันเนื่องมาจากสาเหตุของโรคที่เป็น
ธรรมชาติ ได้แก่ หมอรากไม้ หมอเป่า หมอน�้ำมนต์ หมอน�้ำมัน เป็นต้น 2) หมอที่รักษาด้วยพิธีกรรมหรือสาเหตุ
ของโรคเนื่องจากสิ่งที่เหนือธรรมชาติ ได้แก่ โรคจากผีต่าง ๆ เจ้าที่เจ้าทาง หรือการปฏิบัติตนที่ละเมิดฝ่าฝืน
ท�ำนองคลองธรรมของครอบครัว ชุมชน การรักษาจะต้องมีพิธีกรรม หมอเหล่านี้ได้แก่ หมอพระ หมอผีฟ้า
หมอสู่ขวัญ เป็นต้น 3) หมอต�ำแย ซึ่งจะท�ำหน้าที่เกี่ยวกับดูแลเกี่ยวกับการคลอดลูกและดูแลหลังการคลอด
ปัจจุบัน ได้มีการฟื้นฟูการแพทย์แผนไทยอย่างกว้างขวาง หลังจากที่การแพทย์แผนไทยถูกปล่อยปะ
ละเลยมานาน จนกลายเป็นเพียงการรักษาคนไข้แบบนอกระบบ เพราะพระราชบัญญัติการแพทย์เพื่อควบคุม

Position-5.indd 110 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการเพื่อนำ�การแพทย์แผนไทยไปใช้ประโยชน์ 111

การประกอบโรคศิลปะ ซึ่งประกาศเมื่อปี พ.ศ. 2466 มีผลโดยตรง ท�ำให้การแพทย์แผนไทยเป็นสิ่งผิดกฎหมาย


หมอยาไทยทั้งหมด ทั้งหมอหลวงและหมอเชลยศักดิ์ (หมอพื้นบ้าน) ต่างได้ละทิ้งอาชีพแพทย์แผนไทย กลาย
เป็นหมอนอกระบบที่เรียกว่า การแพทย์แผนโบราณ ซึ่งหมายถึง ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยการสังเกต ความ
ช�ำนาญอันได้บอกเล่าต่อกันมา หรืออาศัยต�ำราอันมีมาแต่โบราณ โดยมิได้ด�ำเนินไปในทางวิทยาศาสตร์ การที่
พระราชบัญญัติให้ค�ำจ�ำกัดความว่าไม่เป็นวิทยาศาสตร์นี้เอง ท�ำให้การแพทย์แผนไทยไม่ได้รับความสนใจจาก
วงการสาธารณสุขไทย ต้องด�ำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยวและขาดการสนับสนุน ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชด�ำเนินวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในครั้ง
นั้นได้ทรงปรารภว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นแหล่งรวบรวมต�ำราแพทย์แผนไทยอยู่แล้ว ท�ำไมไม่จัดให้มี
โรงเรียนสอนการแพทย์แผนไทย ในวิชาเวชกรรมผดุงครรภ์ หัตถเวช และเภสัชกรรม เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้สนใจ
ต้องการศึกษา ท�ำให้คณะกรรมการวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทยที่ยัง
หลงเหลืออยู่ได้รับสนองพระราชปรารภ และได้จัดท�ำหลักสูตร โรงเรียนแพทย์แผนโบราณขึ้นในนาม โรงเรียน
แพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทย ต่อมาส�ำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีการวางแผน
ทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา และการสาธารณสุข ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7
(พ.ศ. 2535-2539) โดยระบุว่า การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีจะต้องส่งเสริมให้มีการพัฒนาภูมิปัญญา
การรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้าน เช่น การแพทย์แผนไทย การใช้สมุนไพร การนวดผสมผสานกับบริการแพทย์
แผนปัจจุบนั จนกระทัง่ วันที่ 26 มีนาคม 2536 กระทรวงสาธารณสุขได้มกี ารจัดตัง้ สถาบันการแพทย์แผนไทย เทียบเท่า
หน่วยงานระดับกอง โดยมีบทบาทเป็นศูนย์กลางการพัฒนา การประสานสนับสนุน และให้ความร่วมมือด้าน
การแพทย์แผนไทยของกระทรวงสาธารณสุข อีกทั้งงานด้านการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยี ประกอบกับ
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในสมัยนั้น ได้ก�ำหนดไว้ในนโยบายการบริหารงานของ
กระทรวงสาธารณสุข เป็น 1 ใน 16 เรือ่ ง โดยก�ำหนดไว้เป็นนโยบายข้อที่ 10 โดยระบุวา่ ส่งเสริมการใช้แพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือกในระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับ ขณะนี้ก็มีหลายหน่วยงาน รวมทั้งมหาวิทยาลัย ได้ให้
ความร่วมมืออย่างดี มีการระดมทั้งนักวิชาการที่มีความรู้ด้านการวิจัยสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย ก�ำหนดชนิด
สมุนไพร เพื่อรักษาอาการเบื้องต้น รวมทั้งมีการพัฒนาเทคโนโลยี การผลิตยาสมุนไพร ประสานการวิจัย
อ�ำเภอล�ำสนธิ ได้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขตามนโยบายของ
กระทรวงสาธารณสุข โดยได้มกี ารส่งผูส้ นใจเข้ารับการอบรมตามหลักสูตรการนวดไทย อบรมบุคลากรผูป้ ฏิบตั งิ านใน
สถานบริการสาธารณสุขหลักสูตรการนวดไทยและการใช้ยาสมุนไพร ระยะเวลา 5 วัน และจัดบริการแพทย์แผนไทย
ในสถานบริการสาธารณสุข จัดให้มกี ารประเมินมาตรฐานการให้บริการการแพทย์แผนไทยของหน่วยบริการ ซึง่ สภาพ
ปัญหาด้านการแพทย์แผนไทยในสถานบริการของรัฐในปัจจุบนั โดยเฉพาะในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล พบว่า
การเข้าถึงระบบบริการการแพทย์แผนไทยของประชาชนค่อนข้างต�่ำ ความพร้อมของบุคลากรทางด้านการแพทย์
แผนไทยมีความจ�ำเป็น และจะต้องมีการพัฒนาบุคลากรการแพทย์แผนปัจจุบัน ให้มีความรู้ ความเข้าใจแนวคิด
ของการแพทย์แผนไทย และต้องสร้างการยอมรับ การพัฒนาน�ำการแพทย์แผนไทยบูรณาการเข้ากับการแพทย์แผน
ปัจจุบัน และมีการพัฒนาความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยอย่างต่อเนื่อง ด้านของการบริการเวชภัณฑ์แพทย์แผนไทย
พบว่ายังมีไม่เพียงพอในการให้บริการ ประเทศไทยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อเคมีภัณฑ์และยาแผนปัจจุบัน
ค่อนข้างสูง แพทย์แผนไทยและเภสัชกรรมไทยไม่สามารถจัดระบบบริการเภสัชกรรมยาแผนไทยและสมุนไพรได้
ครอบคลุม ด้านการวินิจฉัยและรักษาโรคทั้งแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนปัจจุบันจะต้องก�ำหนดแนวทางวินิจฉัย
และกระบวนการรักษาร่วมกัน และก�ำหนดช่องทางส่งต่อระหว่างกันอย่างชัดเจน

Position-5.indd 111 9/13/19 16:05


112 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

การด�ำเนินงานแพทย์แผนไทยของอ�ำเภอล�ำสนธิในปัจจุบันนั้น ได้ร่วมมือและประสานงานกับหลาย
หน่วยงานด้วยกัน ได้แก่ ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรีได้มีบทบาทในการมอบนโยบาย และสนับสนุนบุคลากร
งบประมาณบางส่วน สนับสนุนวิชาการและแนวทางการด�ำเนินงานที่ชัดเจน การนิเทศติดตามเพื่อการพัฒนา
การสนับสนุนจากส�ำนักงานสาธารณสุขอ�ำเภอล�ำสนธิและโรงพยาบาลล�ำสนธิ ในเรื่องวิชาการ เวชภัณฑ์ การนิเทศ
ติดตาม สนับสนุนการจัดบริการ สถานบริการในเขตอ�ำเภอล�ำสนธิ (รพ. และ รพ.สต.) ในการจัดบริการ
แพทย์แผนไทยตามเกณฑ์มาตรฐาน การประสานงานกับเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา ต�ำบลกุดตาเพชร
อ�ำเภอล�ำสนธิ จังหวัดลพบุรี เพื่อเปิดเส้นทางในการศึกษาและอนุรักษ์สมุนไพร การประสานกลุ่มเกษตรกรผู้สนใจ
ในการปลูกสมุนไพรคุณภาพ เป็นต้น

2. นโยบายและมาตรการที่ด�ำเนินการปัจจุบัน
ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี ได้น�ำนโยบายการพัฒนาและสนับสนุนการจัดบริการแพทย์แผนไทยสู่
สถานบริการสาธารณสุขในจังหวัด เพือ่ ให้ประชาชนมีทางเลือกในการดูแลสุขภาพ โดยให้บริการทัง้ นวดเพือ่ การรักษา
การส่งเสริมสุขภาพ การอบสมุนไพร การประคบสมุนไพร และการดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอด ท�ำให้สถานบริการ
สาธารณสุขมีการพัฒนาทั้งทางด้านบุคลากรและด้านการบริการ เพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการและเกิดความ
พึงพอใจมากที่สุด (ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี, 2556) โดยมี รพ.สต.ในจังหวัดลพบุรี จ�ำนวน 133 แห่ง
เปิดให้บริการนวดไทยจ�ำนวน 76 แห่ง (ร้อยละ 57.2) และให้บริการโดยการใช้ยาแผนไทย จ�ำนวน 133 แห่ง
(ร้อยละ 100) โดยมีการประเมินมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทย 3 ระดับ คือ 1) รพ.สต.ประเมินตนเอง
ทุกปี 2) การประเมินจากส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี 2 ปีต่อครั้ง 3) การประเมินมาตรฐานงานบริการ
แพทย์แผนไทยจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยการสุม่ ประเมิน 2 ปีตอ่ ครัง้ และพบว่า รพ.สต.
ในจังหวัดลพบุรที เี่ ปิดให้บริการแพทย์แผนไทย 133 แห่ง ได้รบั การประเมินมาตรฐานของหน่วยบริการ โดยส�ำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัดลพบุรี จ�ำนวน 93 แห่ง (ร้อยละ 69.9) อยู่ในระดับดีเยี่ยม (คะแนน 90-100) จ�ำนวน 2 แห่ง
(ร้อยละ 2.2) ระดับดีมาก (คะแนน 80-89.9) จ�ำนวน 20 แห่ง (ร้อยละ 21.5) ระดับดี (คะแนน 70-79.9) จ�ำนวน 23 แห่ง
(ร้อยละ 24.7) ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับพื้นฐาน (คะแนน 60-69.9) จ�ำนวน 48 แห่ง (ร้อยละ 51.6) และ รพ.สต.
ไม่ได้ประเมินตนเอง จ�ำนวน 40 แห่ง (สุกัญญา คุ้มโพธิ์, 2558) นอกจากนี้ ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี
ยังมีนโยบายด้านอืน่  ๆ ในการด�ำเนินงานแพทย์แผนไทย ได้แก่ การส่งเสริมการเข้าถึงยาสมุนไพรและบริการด้านแพทย์
แผนไทย โดยการกระตุน้ ให้สถานบริการได้มกี ารจ่ายยาสมุนไพร มีการเพิม่ กรอบบัญชียาสมุนไพรให้สถานบริการทีม่ ี
แพทย์แผนไทยต้องมียาสมุนไพรอย่างน้อย 30 รายการ และในสถานบริการทีไ่ ม่มแี พทย์แผนไทยต้องมียาสมุนไพรใช้
อย่างน้อย 10 รายการ ให้สถานบริการมีการเพิม่ การสัง่ จ่ายยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบนั ในการพัฒนาศักยภาพ
บริการ ได้มกี ารอบรมหลักสูตรแพทย์แผนไทยเวชปฏิบตั ิ (5 วัน) การพัฒนาศักยภาพการใช้ยาสมุนไพรและการรักษา
โรค NCDs (2 วัน) จัดท�ำ CPG ด้านการแพทย์แผนไทย พัฒนาการแพทย์แผนไทยใน Intermediate care ward
พัฒนาคลินิก OPD คู่ขนาน มีการจัดท�ำโครงการสืบสานภูมิปัญญาโอสถพระนารายณ์สู่ลพบุรีเมืองแห่งสมุนไพร
ส�ำหรับส�ำนักงานสาธารณสุขอ�ำเภอล�ำสนธิ มีการด�ำเนินงานด้านการแพทย์แผนไทยเพื่อตอบสนองต่อ
นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี ดังนี้
1. ส่งเสริมให้มกี ารด�ำเนินงานด้านแพทย์แผนไทย โดยจัดให้มบี ริการแบบผสมผสานด้านการแพทย์แผนไทย
ร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบันในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล จัดให้มีระบบการเยี่ยมบ้านโดยผู้ช่วยนักแพทย์
แผนไทยร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ และบริการเชิงรุกในชุมชน ตามสภาพปัญหาของพื้นที่

Position-5.indd 112 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการเพื่อนำ�การแพทย์แผนไทยไปใช้ประโยชน์ 113

2. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย สามารถดูแลสุขภาพตนเองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อให้ประชาชนมีการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ
3. มีการพัฒนายาสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนมาปรับใช้ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล เช่น การท�ำ
ลูกประคบสมุนไพร
4. สนับสนุนให้มีการอบรมเพิ่มทักษะทางวิชาการให้กับเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานแพทย์แผนไทยตาม
สมรรถนะ
5. สนั บ สนุ น อบรมเพิ่ ม เติ ม เพื่ อ ฟื ้ น ฟู ค วามรู ้ ใ ห้ กั บ ผู ้ ช ่ ว ยนั ก แพทย์ แ ผนไทยให้ ไ ด้ ม าตรฐานตามที่
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกก�ำหนดไว้
จากการที่ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรีได้มีการส�ำรวจ พบว่า ขมิ้นชันของจังหวัดลพบุรีมีสารส�ำคัญ
ทีอ่ อกฤทธิท์ างยา คือ สารเคอร์ควิ มินอยด์ (curcuminoid) สูงถึงร้อยละ 10 ซึง่ หาได้ยากในประเทศไทยและในโลก
ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรีได้ร่วมกับส�ำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี และองค์การเภสัชกรรม ท�ำการส่งเสริม
เกษตรกรในพืน้ ทีอ่ ำ� เภอเมือง อ�ำเภอพัฒนานิคม และอ�ำเภอล�ำสนธิ ในการปลูกขมิน้ ชันในรูปแบบการท�ำสัญญาซือ้ ขาย
ล่วงหน้า และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการปลูกมันส�ำปะหลัง ข้าวโพด ที่มีการใช้ยาฆ่าแมลงเป็นส่วนใหญ่ เป็นการ
ปลูกสมุนไพรอินทรีย์ ส่งผลให้ประชาชน มีสขุ ภาพดี ปลอดภัยจากการใช้ยาฆ่าแมลง สร้างรายได้และความมัน่ คงแก่
เกษตรกรน�ำรายได้เข้าสู่จังหวัดลพบุรีจ�ำนวนกว่า 12 ล้านบาท และเตรียมขยายผลในการปลูกขมิ้นชันและสมุนไพร
อื่น ๆ อาทิ มะแว้งต้น มะแว้งเครือ ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นอ้อย อัญชัน กะเพราแดง พญายอ บัวบก ฯลฯ ในพื้นที่
จังหวัดลพบุรีต่อไป ส�ำนักงานสาธารณสุขอ�ำเภอล�ำสนธิจึงด�ำเนินการส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรที่มีความสนใจปลูก
พืชสมุนไพร ได้แก่ ขมิ้นชัน โดยมีการส่งเสริมการปลูกขมิ้นชันแบบเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่อ�ำเภอล�ำสนธิ มีการแบ่ง
กลุ่มผู้ปลูกเป็น 2 ต�ำบล คือ ต�ำบลกุดตาเพชร และต�ำบลล�ำสนธิ มี 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวังเชื่อม กลุ่มหนองพรม
กลุ่มกุดตาเพชร และกลุ่มล�ำสนธิ รวมผู้ปลูกทั้งสิ้น 40 ราย เริ่มด�ำเนินการปลูกขมิ้นชันในปี 2561 และจะเก็บ
ผลผลิตในปี 2563 ส่งผลผลิตให้กับองค์การเภสัชกรรม จ�ำนวน 24 ตันแห้ง เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้
จากการขายขมิ้นชันอีกทางหนึ่ง
พัฒนางานแพทย์แผนไทย เพื่อรองรับการประเมินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลติดดาว (รพ.สต.
ติดดาว) ในเรื่อง
- การจ่ายยาสมุนไพร อย่างน้อย 10 รายการ
- จัดให้มีบริการนวดไทย โดยผู้ช่วยแพทย์แผนไทยที่ผ่านการอบรมอย่างน้อย 330 ชั่วโมง
- จัดให้มีเครื่องมือ อุปกรณ์ด้านการแพทย์แผนไทยให้ครบถ้วนตามเกณฑ์มาตรฐาน รพ.สต. ติดดาว
- จัดท�ำ CPG การแพทย์แผนไทย โรคทีเ่ ป็นปัญหาส�ำคัญอย่างน้อย 3 เรือ่ ง (ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
เป็นผู้จัดท�ำและใช้เป็นแนวทางเดียวกันทั้งจังหวัด)
- ส�ำหรับ รพ.สต. size L ต้องจัดให้มีแพทย์แผนไทยและให้บริการ เวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย
นวดไทย และผดุงครรภ์ไทย

Position-5.indd 113 9/13/19 16:05


114 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

3. สภาพปัญหา/ข้อจ�ำกัดและโอกาสในการพัฒนา
จากการด�ำเนินงานด้านแพทย์แผนไทยทีผ่ า่ นมาหลายปีในเขตอ�ำเภอล�ำสนธิ ได้มคี วามพยายามด�ำเนินงาน
ให้ตอบสนองต่อนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี พบว่า ในอ�ำเภอล�ำสนธิมี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลในความรับผิดชอบของส�ำนักงานสาธารณสุขอ�ำเภอล�ำสนธิ จ�ำนวน 7 แห่ง และ
มีโรงพยาบาลชุมชน 1 แห่ง มีการจัดบริการแพทย์แผนไทยในสถานบริการเพียง 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 37.5
(โรงพยาบาล 1 แห่ง รพ.สต. 2 แห่ง) ใน 3 แห่งนี้มีนักแพทย์แผนไทยเพียง 1 คน ซึ่งประจ�ำอยู่ที่โรงพยาบาล
ชุมชน (โรงพยาบาลล�ำสนธิ) ส�ำหรับ รพ.สต. อีก 2 แห่ง เป็นผู้ช่วยนักแพทย์แผนไทยที่ผ่านการอบรม 372 ชั่วโมง
ตามมาตรฐานที่กรมการแพทย์แผนไทยก�ำหนดไว้ จะเห็นได้ว่าอ�ำเภอล�ำสนธินั้นมีข้อจ�ำกัดทางด้านบุคลากรที่มี
อยู่น้อยไม่เพียงพอต่อการด�ำเนินงาน ถึงแม้จะมีความพยายามสรรหาบุคคลที่มีความพร้อมและเหมาะสมเข้ารับ
การอบรมตามหลักสูตรอยู่เสมอ แต่ก็มีปัญหาที่บุคลากรปฏิบัติงานได้ไม่นานก็มักจะลาออกเพื่อไปหางานท�ำใหม่ที่มี
ค่าตอบแทนที่มากกว่า ท�ำให้การด�ำเนินงานด้านการแพทย์แผนไทยในสถานบริการหลายแห่งต้องสะดุด ไม่ต่อเนื่อง
การเริ่มต้นใหม่นั่นหมายถึงต้องสรรหาบุคคลและส่งเข้ารับการอบรมใหม่ และเมื่อเกิดเหตุการณ์ซ�้ำอีก จึงท�ำให้
เจ้าหน้าที่ รพ.สต. หมดความพยายาม งานด้านแพทย์แผนไทยจึงไม่เกิดในสถานบริการบางแห่ง และส่งผลท�ำให้ขาด
โอกาสในการพัฒนางานด้านแพทย์แผนไทย ทางด้านโครงสร้างของสถานบริการ (ไม่มีห้องที่เหมาะสม) ตลอดจน
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ไม่พร้อม ประกอบกับการขาดงบประมาณ หรือมีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการน�ำมาพัฒนา
และจัดบริการทางด้านแพทย์แผนไทยก็เป็นอีกหนึ่งข้อจ�ำกัดที่ท�ำให้งานแพทย์แผนไทยไม่ก้าวหน้า ประเด็นการใช้
ยาสมุนไพรในเครือข่ายบริการสาธารณสุขอ�ำเภอล�ำสนธินั้น ยังมีการใช้ยาสมุนไพรไม่ครบ 10 ชนิด จึงท�ำให้ไม่
ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดในเรื่อง ร้อยละมูลค่าการใช้ยาสมุนไพรต่อยาแผนปัจจุบันเพิ่มขึ้น ซึ่งในเรื่องการจัดหายาสมุนไพร
สนับสนุน รพ.สต. นั้นได้มีการพูดคุยในการประชุม คปสอ.ล�ำสนธิและได้มีข้อตกลงในการจัดหายาสมุนไพรให้เพียง
พอและครบถ้วนแล้ว
ส�ำหรับข้อเสนอแนะในการด�ำเนินงาน ผู้บริหารควรให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาการแพทย์แผนไทย
โดยเน้นการบูรณาการเข้ากับการแพทย์แผนปัจจุบัน และก�ำหนดนโยบายอย่างชัดเจน ควรมีการสรรหาบุคลากร
ด้ า นการแพทย์แผนไทยไปปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทุ ก ระดั บ มี ก ารก� ำ หนดกรอบอั ต ราก� ำ ลั ง และภาระงาน
แพทย์แผนไทยและก�ำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการแพทย์แผนไทยอย่างชัดเจน มีการพัฒนาบุคลากร
ด้านการแพทย์แผนไทยอย่างต่อเนื่อง ก�ำหนดนโยบายและสนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรในสถานบริการอย่างจริงจัง
ตลอดจนมีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อใช้ในการพัฒนางานแพทย์แผนไทยให้มากขึ้น จึงจะสามารถพัฒนางาน
ด้านการแพทย์แผนไทยให้เทียบเท่าแพทย์แผนปัจจุบันและด�ำเนินการร่วมกันได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง
1. เสวย อุค�ำพันธ์. แนวทางการพัฒนาการให้บริการการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต�ำบล กรณีศึกษา
รพ.สต. อ�ำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์, มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์. 2556.
2. สุกัญญา คุ้มโพธิ์. ความพร้อมของการให้บริการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล จังหวัดลพบุรี.
วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2558.
3. ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุร.ี รายงานผลการประเมินมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและสนับสนุนการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556, ลพบุรี. 2556.

Position-5.indd 114 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการเพื่อนำ�การแพทย์แผนไทยไปใช้ประโยชน์ 115

ภาคผนวก
ส่งเสริมภูมิปัญญาและอนุรักษ์
พัฒนาระบบบริการ พัฒนาระบบข้อมูล
งานแพทย์แผนไทย
1. ส่งเสริมให้สถานบริการจัดบริการ 1. พัฒนาและปรับปรุงการลงข้อมูล 1. สนับสนุนการเปิดเส้นทางศึกษา
แพทย์แผนไทยผสมผสานแพทย์แผน HDC โดย สมุนไพรในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ปัจจุบัน - mapping รหัสยาสมุนไพรให้ถูก ซับลังกา อ.ล�ำสนธิ จ.ลพบุรี
2. สนับสนุนให้สถานบริการได้รับการ ต้อง 2. พัฒนาทีม “เจ้าบ้านน้อย”
ประเมินมาตรฐานงานบริการแพทย์ - บันทึก Diagnosis ให้ตรงกับยา (มัคคุเทศก์) โดยการอบรมเพิ่มความรู้
แผนไทยและผ่านเกณฑ์อย่างน้อยใน สมุนไพรทีจ่ ่าย และทักษะเรื่องสมุนไพรอย่างต่อเนื่อง
ระดับ “ดีมาก” ในปี 2562 - Update program HosXp ให้ 3. ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรอินทรีย์
3. ส่งเสริมการเข้าถึงยาสมุนไพรและ เป็น version ปัจจุบัน “ขมิ้นชัน” แก่กลุ่มเกษตรกรผู้สนใจ
จัดหายาสมุนไพรใช้ในสถานบริการ ในพื้นที่อ�ำเภอล�ำสนธิอย่างต่อเนื่อง
ให้เพียงพอ และครบตามเกณฑ์ที่ 4. ขยายและส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร
ก�ำหนด ในปี 2562 คุณภาพชนิดอื่นตามที่ตลาดต้องการ
4. เพิ่มการประชาสัมพันธ์ และสร้าง 5. ส่งเสริมการใช้และอนุรักษ์สมุนไพร
ความตระหนักในงานบริการแพทย์
แผนไทย ทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่
สาธารณสุขและประชาชน

Position-5.indd 115 9/13/19 16:05


116 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

บูรณาการคลังข้อมูลทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทย

ชัชชัย ศิลปสุนทร
ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1. ความเป็นมา หลักการ และเหตุผล


ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งชนิดพันธุ์ พันธุกรรม และระบบนิเวศ เป็นปัจจัยส�ำคัญ
ในการด�ำรงชีวิตของประชาชนทั้งทางด้านอาหาร ยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ หรือบ�ำรุงสุขภาพอนามัย เครื่องใช้ไม้สอย
และเป็นฐานการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ อีกทั้งยังมีการ
ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพในวัฒนธรรมและประเพณีที่สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น คุณค่าและความรู้
ได้น�ำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน โดยเฉพาะพืชสมุนไพรมีการพัฒนาต่อยอดด้วยเทคโนโลยีและองค์ความรู้
สมัยใหม่ ท�ำให้สมุนไพรไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เครื่องดื่ม สปา
และผลิตภัณฑ์ ยาแผนโบราณตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย อย่างไรก็ตาม การสูญเสียความหลากหลาย
ทางชีวภาพในประเทศไทยยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการใช้ประโยชน์ และการพึ่งพาทรัพยากรในธรรมชาติ
โดยขาดการค�ำนึงถึงขีดจ�ำกัดและศักยภาพการฟื้นตัว ซึ่งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพทั้งการสูญเสีย
แหล่งที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ การลักลอบเก็บพืชป่าและการล่าสัตว์ป่า การรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น มลพิษ
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เหล่านี้ล้วนเป็นแรงกดดันต่อความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่อย่าง
จ�ำกัด
การขับเคลื่อนบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และเสริมสร้างสมรรถนะการด�ำเนินงานของ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศ เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ ปกป้อง คุ้มครอง และใช้
ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยัง่ ยืน ปัจจัยพืน้ ฐานส�ำคัญเชิงยุทธศาสตร์ทมี่ คี วามส�ำคัญในล�ำดับแรก ๆ
ในการบริหารจัดการ คือ เครือ่ งมือ/กลไก ซึง่ ได้แก่ระบบข้อมูลทีม่ คี ณ
ุ ภาพและองค์ความรูท้ เี่ กีย่ วข้องกับความหลาก
หลายทางชีวภาพทีถ่ กู ต้องและเป็นปัจจุบนั เนือ่ งจากการด�ำเนินการด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
มีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานที่มีภารกิจเฉพาะเรื่องที่มาจากภาคส่วนหลัก ได้แก่ ภาครัฐ ประชาคมวิจัย ภาค
เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และชุมชนท้องถิ่น โดยหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมีทั้งหน่วยงานส่วนกลางมากกว่า 30
แห่ง จากกระทรวงหลัก ได้แก่
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบโดยตรงในส่วนที่เกี่ยวกับการรักษาทรัพยากร
ดูแลสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์พืชและสัตว์ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ ส�ำนักงานนโยบายและแผน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
กรมป่าไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ส�ำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และสร้างงานวิจัยเพื่ออนุรักษ์
ความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนการค้นหานวัตกรรมในมิติใหม่ ๆ โดยมีหน่วยงานที่มีพันธกิจเกี่ยวข้อง
ได้แก่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส�ำนักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

Position-5.indd 116 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการเพื่อนำ�การแพทย์แผนไทยไปใช้ประโยชน์ 117

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สร้างประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ จึงมีหน่วยงานวิชาการ


ทีท่ ำ� การวิจยั และรวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว กรมหม่อนไหม
กรมประมง กรมปศุสัตว์ และส�ำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
กระทรวงสาธารณสุข มีการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพโดยเฉพาะพืชสมุนไพร และสาร
อินทรีย์จากพืช สัตว์ต่าง ๆ ตั้งแต่ขนาดใหญ่ลงไปถึงสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น จุลินทรีย์ ที่มีอยู่ในประเทศไทย เป็น
จ�ำนวนมากมาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือก และองค์การเภสัชกรรม
กระทรวงศึกษาธิการ ให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียน นักศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจ และจิตส�ำนึก
ให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจและหวงแหนความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นสมบัติอันล�้ำค่าของประเทศไทย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ส�ำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยมีมหาวิทยาลัยรัฐเป็นผู้ด�ำเนินงานวิจัย
สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ และหน่วยงานสนับสนุน อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวง
การต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวัฒนธรรม หน่วยงานทีไ่ ม่ได้สงั กัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง
อาทิ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(อพ.สธ.) ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ รวมถึงหน่วยงานส่วนท้องถิ่นอีกจ�ำนวนมาก ดังนั้น ข้อมูลความ
หลากหลายทางชีวภาพจึงถูกรวบรวมไว้ในหลายที่ตามลักษณะโครงสร้างตามภารกิจและวัตถุประสงค์ การเชื่อมโยง
และบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานท�ำได้ยากเนื่องจากข้อมูลไม่เป็นเอกภาพและมาตรฐานเดียวกัน นอกจากนี้
ข้อมูลมีความซ�ำ้ ซ้อนและการนับซ�ำ้ ไม่เป็นปัจจุบนั และขาดการอ้างอิงของแหล่งทีม่ า บางหน่วยงาน ไม่มกี ารเผยแพร่
ข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แต่มีเป็นเอกสาร การเก็บตัวอย่างมีทั้งแบบมีชีวิต ตัวอย่างแห้ง เนื้อเยื่อ เมล็ด
บางหน่วยงานไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้หรือเข้าถึงได้เพียงระดับหนึ่ง เนื่องจากชั้นความลับของข้อมูลหรือเฉพาะ
กลุม่ ผูใ้ ช้ทไี่ ด้รบั สิทธิซงึ่ ต้องมีการระบุชอื่ ผูใ้ ช้และรหัสผ่านเท่านัน้ ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและองค์ความรู้
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจึงกระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ ตามหน้าที่และภารกิจ ข้อมูลมีการจัดเก็บไม่เป็นระบบ
และยังไม่สมบูรณ์ อีกทั้งยังไม่มีศูนย์รวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ของประเทศ ท�ำให้ข้อมูลไม่ได้น�ำมาใช้
ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทั้งในเชิงอนุรักษ์และ การพัฒนาให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจเพื่อ
สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศตามวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี
จากสถานการณ์ดังกล่าว ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้พัฒนาคลัง
ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในการบูรณาการข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยง
แลกเปลีย่ นข้อมูลทีแ่ ยกส่วนกันอยูร่ ะหว่างหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องซึง่ เป็นเจ้าของข้อมูล ในรูปแบบทีแ่ ตกต่างกัน และมี
รายละเอียดต่างกันตามภารกิจและวัตถุประสงค์ให้เป็นคลังข้อมูลกลางระดับชาติอย่างเป็นระบบ และครอบคลุมข้อมูล
ความหลากหลายทางชีวภาพในทุกด้านทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ การใช้ประโยชน์ขอ้ มูลร่วมกันของทุกภาคส่วนให้สามารถเข้า
ถึงและใช้ประโยชน์ขอ้ มูลและองค์ความรูท้ เี่ กีย่ วข้องร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและ
เกิดประโยชน์สูงสุดในการอนุรักษ์ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม รวมถึงก�ำหนดทิศทาง
การบริหารจัดการที่เป็นเอกภาพและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรม อีกทั้งจะเป็นกลไกที่จะช่วยสนับสนุนการ
ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
แผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558-2564 และแผนปฏิบัติการจัดการความ
หลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2560-2564 ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และบรรลุเป้าหมายระดับชาติที่ก�ำหนด และยังเป็น
การด�ำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. 2561-2565) เรื่อง ความ
หลากหลายทางชีวภาพ ให้บงั เกิดผลเป็นรูปธรรม รวมถึงสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการก้าวไปสูป่ ระเทศไทย 4.0

Position-5.indd 117 9/13/19 16:05


118 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ความเข้าใจร่วมกัน ความร่วมมือ การสนับสนุนและเข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนการบูรณาการข้อมูลความ


หลากหลายทางชีวภาพของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งจ�ำเป็น ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานด�ำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศฯ ร่วมกับกรมการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก ก�ำหนดจัดการเสวนาและระดมความคิดเห็นในการพัฒนาคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ
ของประเทศที่สามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยน ตอบสนองต่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลของทุกภาคส่วน และ
การให้บริการของคลังข้อมูลฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการด�ำเนินงานของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการน�ำไปใช้
คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประเทศในเชิงทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีประเด็นเสวนาประกอบด้วย
1) กระบวนการได้มาของข้อมูลขนาดใหญ่ในยุคดิจทิ ลั เพือ่ การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
2) การบูรณาการข้อมูลตลอดห่วงโซ่ จากความหลากหลายทางชีวภาพ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
3) Standard with good and fair
4) ก้าวต่อไปการพัฒนาคลังข้อมูลโดยประชาชนมีส่วนร่วม

2. นโยบายและมาตรการที่ด�ำเนินการในปัจจุบัน
ยุ ท ธศาสตร์ นโยบาย และแผนระดั บ ชาติ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ เรื่ อ งข้ อ มู ล ความหลากหลายทางชี ว ภาพ
มีสาระส�ำคัญสรุปได้ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2561 เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ที่ก�ำหนดกรอบ และแนวทางการพัฒนาประเทศให้หน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วนใช้เป็นกรอบการด�ำเนินงาน เพื่อ
บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ตามที่ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
เสนอ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง 2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความ
สามารถในการแข่งขัน 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (4) ยุทธศาสตร์ด้านการ
สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม (5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม และ (6) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยในยุทธศาสตร์
ที่ 1 ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงในเรื่องการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติทั้งทาง
บกและทางทะเล โดยการสร้างความตระหนักรูใ้ ห้แก่ประชาชนในเรือ่ งการให้ความส�ำคัญกับฐานทรัพยากรธรรมชาติ
และแนวพระราชด�ำริในการอนุรักษ์ พัฒนา ฟื้นฟูท้องถิ่นและดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและมีส่วนร่วมในการ
ด�ำเนินการอย่างแท้จริง และยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อมในเรื่องการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียวมุ่งเน้นการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจให้
เติบโตและมีความเป็นธรรมบนความสมดุลของฐานทรัพยากรธรรมชาติดว้ ยเศรษฐกิจชีวภาพ โดยมีเป้าหมายสูส่ งั คม
ที่มีระดับคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น[1]

2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)


คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2559 เห็นชอบกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ตามที่ส�ำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ซึ่งยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากร

Position-5.indd 118 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการเพื่อนำ�การแพทย์แผนไทยไปใช้ประโยชน์ 119

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน


มีเป้าหมายคือ ทุนทางธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมสามารถสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
มีความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน และน�้ำ โดยก�ำหนดแนวทางการพัฒนาที่มีความส�ำคัญสูงและสามารถผลักดัน
สู่การปฏิบัติไว้โดยการรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สร้างสมดุลของการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและ
เป็นธรรม ใช้ประโยชน์จากทุนธรรมชาติโดยค�ำนึงถึงขีดจ�ำกัดและศักยภาพในการฟื้นตัว รักษาความมั่นคงของฐาน
ทรัพยากร สร้างสมดุลระหว่างการอนุรกั ษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยัง่ ยืนและเป็นธรรม รวมทัง้ ผลักดันแนวทางการ
ประเมินมูลค่าของระบบนิเวศ และการสร้างรายได้จากการอนุรักษ์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเพิ่ม
ขึน้ โดยการอนุรกั ษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยัง่ ยืน ปกป้องและอนุรกั ษ์ทรัพยากรพันธุกรรม
อนุรักษ์พันธุกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น สนับสนุนธนาคารพันธุกรรมที่มีการด�ำเนินการอยู่แล้วอย่างเป็นระบบ
ทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ การสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรชีวภาพ และให้มีการแบ่งปัน
ผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม เชือ่ มโยงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชวี ภาพใหม่กบั กระบวนการพัฒนาสินค้าชุมชนหนึง่ ต�ำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยค้นหาเอกลักษณ์และศักยภาพที่แท้จริงของทรัพยากรชีวภาพ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของ
ท้องถิ่น เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีนวัตกรรมและมีมูลค่าสูง[2]

3. แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. 2561-2565)


คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2561 เห็นชอบแผนการปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้าน รวมถึง
แผนการปฏิรปู ประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ตามทีส่ ำ� นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ โดยให้ทกุ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง พิจารณาจัดท�ำแผนงาน/โครงการทีอ่ ยูร่ ะหว่างการ
ด�ำเนินงานของหน่วยงาน และเป็นแผนการด�ำเนินงานของหน่วยงานในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) ให้สอดคล้อง
เชื่อมโยงกับแผนการปฏิรูปประเทศ และส่งไปยัง สศช. ภายใน 3 เดือน[3]
แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก�ำหนดให้มีการด�ำเนินการระหว่าง
ปี พ.ศ. 2561-2565 ประกอบด้วยประเด็นปฏิรูป ได้แก่ ทรัพยากรทางบก ทรัพยากรน�้ำ ทรัพยากรทางทะเล
และชายฝั่ง ความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อม และระบบบริหารจัดการ โดยในประเด็นปฏิรูปเรื่องความ
หลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วยประเด็นปฏิรูปหลัก 6 เรื่อง ได้แก่ 1) ปฏิรูปกลไกด้านความหลากหลาย
ทางชีวภาพทั้งระดับชาติและพื้นที่ 2) ปฏิรูประบบการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 3) ปฏิรูประบบ
ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ เพื่อการอนุรักษ์ คุ้มครอง ใช้ประโยชน์ และแบ่งปันผลประโยชน์
ที่เป็นธรรม 4) ปฏิรูประบบและเครือข่ายฐานทรัพยากรท้องถิ่นให้ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมถึงเครือข่ายระดับ
ประเทศและอาเซียน 5) ปฏิรูประบบบุคลากรด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และ 6) ปฏิรูประบบกลไกรองรับ
การใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน โดยในประเด็นการปฏิรูปที่ 3 ก�ำหนดให้มี
การพัฒนาและเชื่อมโยงฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ โดยให้มีศูนย์ข้อมูลกลางด้านความหลากหลาย
ทางชีวภาพ เพือ่ ให้หน่วยงานและชุมชนสามารถเข้าถึงใช้แหล่งข้อมูลและตัวอย่างความหลากหลายทางชีวภาพ และ
น�ำไปใช้ประโยชน์เพื่อต่อยอดสร้างองค์ความรู้ส�ำหรับการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ การแบ่งปันผลประโยชน์
อย่างเป็นธรรม การบริหารจัดการ การตอบสนองพันธกรณีและความตกลงระหว่างประเทศ ความร่วมมือในระดับ
ภูมิภาค และการก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 การจัดล�ำดับความส�ำคัญของข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ
ที่มีอยู่ในปัจจุบันที่มีความส�ำคัญต่อประเทศ การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และการจัดท�ำบัญชีรายการ
ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งตัวอย่าง[4,5]

Position-5.indd 119 9/13/19 16:05


120 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

4. (ร่าง) ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)


ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ โดยในยุทธศาสตร์ที่ 1 การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างความมั่งคั่ง
ทางเศรษฐกิจ ได้ก�ำหนดวัตถุประสงค์ให้เกิดการวิจัยพัฒนาน�ำความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยไปสู่
เชิงเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และในยุทธศาสตร์ที่ 2 การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการ
พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมในเรื่องการบริหารจัดการน�้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม
ได้กำ� หนดแผนงานวิจยั และนวัตกรรมทีส่ ำ� คัญด้านการบริหารจัดการทรัพยากรและสิง่ แวดล้อม ทีม่ งุ่ เน้นการวิจยั และ
นวัตกรรมเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม หยุดยั้งการ
สูญเสียชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในภาวะถูกคุกคามหรือใกล้สูญพันธุ์ การยกระดับฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างบูรณาการ เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานใน
การเฝ้าระวังเตือนภัย และการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ[6]

5. แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564


แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 มีนาคม
2560 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ โดยในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพก�ำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 1 การ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและเป็นธรรม โดยมีเป้าหมาย คือ ให้ฐานทรัพยากรธรรมชาติและ
ความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการส่งเสริมทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างสมดุล เป็นธรรม และ
เกิดความมัน่ คง และได้กำ� หนดแผนงานความหลากหลายทางชีวภาพไว้ภายใต้กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า และยั่งยืน มีเป้าหมาย คือ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความคุ้มค่า และยั่งยืน โดยมีกลยุทธ์เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรชีวภาพ
อย่างยั่งยืน ประกอบด้วยแผนงานการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการเพิ่มมูลค่าในการพัฒนา
เศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรชีวภาพ

6. แผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558-2564


และแผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2560-2564[7]
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2558 เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทบูรณาการจัดการความ
หลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558-2564 และเป้าหมายระดับชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ โดย
แผนแม่บทฯ ก�ำหนดยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 บูรณาการคุณค่าและการจัดการความหลากหลาย
ทางชีวภาพโดยการมีสว่ นร่วมในทุกระดับ ยุทธศาสตร์ที่ 2 อนุรกั ษ์และฟืน้ ฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ยุทธศาสตร์
ที่ 3 ปกป้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประเทศ และบริหารจัดการเพื่อเพิ่มพูนและแบ่งปันผลประโยชน์จากความ
หลากหลายทางชีวภาพ โดยสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจสีเขียว และยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาองค์ความรู้และ
ระบบฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นมาตรฐานสากล
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลาย
ทางชีวภาพ พ.ศ. 2560-2564 เพื่อขับเคลื่อนการด�ำเนินการตามแผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลาย
ทางชีวภาพ พ.ศ. 2558-2564 โดยแผนปฏิบัติการประกอบด้วย ยุทธศาสตร์หลัก 4 ด้าน และแผนปฏิบัติการ 10
เรื่อง โดยในยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาองค์ความรู้ และระบบฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็น

Position-5.indd 120 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการเพื่อนำ�การแพทย์แผนไทยไปใช้ประโยชน์ 121

มาตรฐานสากล ก�ำหนดให้มีการจัดการองค์ความรู้และระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ โดยก�ำหนด


เป้าหมายให้มีกลไกในการบูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ให้สามารถน�ำมา
ใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการจัดท�ำคลังข้อมูลทรัพยากรชีวภาพ และฐานข้อมูลเฉพาะด้านความ
หลากหลายทางชีวภาพให้เป็นระบบและเชื่อมต่อกัน[8]

3. โอกาสในการพัฒนา
การบูรณาการข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศจากหน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุน
ที่เกี่ยวข้อง จะท�ำให้มีข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการสนับสนุนการวางแผน การตัดสินใจในระดับนโยบายทั้งเชิงเศรษฐกิจ
สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของรัฐ การคุ้มครอง ฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัย ลดภัยคุกคามและจัดการชนิดพันธุ์
ต่างถิน่ การแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมและยุตธิ รรม การบริหารจัดการอย่างยัง่ ยืน การปกป้องทรัพย์สนิ ของ
ประเทศในเชิงทรัพย์สนิ ทางปัญญา โดย ผูบ้ ริหาร สามารถจัดท�ำนโยบายและแผนการบริหารจัดการความหลากหลาย
ทางชีวภาพของประเทศไทยด้วยข้อมูลขนาดใหญ่ นักอนุรักษ์ และผู้ดูแลกฎหมาย มีข้อมูลเพื่อพิทักษ์ ปกป้อง
คุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ จัดการทรัพย์สินทางปัญญา เกษตรกร มีข้อมูลสนับสนุนการเพิ่มผลผลิต
ทางด้านการเกษตร นักวิจัย สามารถติดตามข้อมูลงานวิจัย เพื่อพัฒนาต่อยอดงานวิจัยในอนาคต ผู้ประกอบการ
มีข้อมูลเพื่อพัฒนาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากความหลากหลายทางชีวภาพ ชุมชน มีเครื่องมือในการจัดเก็บ ดูแล
ปกปักรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ เข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ เพือ่ สร้างเศรษฐกิจและรายได้ แบ่งปันผลประโยชน์
ที่เป็นธรรม
ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของ
หน่วยงานต่าง ๆ ให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพระดับประเทศอย่างเป็นเอกภาพ ได้ก�ำหนด
แผนด�ำเนินงานในเบื้องต้น (ระยะ 5 ปี) ประกอบด้วย
1) จัดท�ำสถาปัตยกรรมองค์กรระบบนิเวศให้เป็นแบบส�ำหรับบูรณาการระบบสารสนเทศที่ต่างกันให้
ท�ำงานร่วมกันได้ โดยค�ำนึงถึงการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และความมั่นคงทางไซเบอร์
2) จัดท�ำมาตรฐานรายการข้อมูลร่วมที่ครอบคลุม และรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลส�ำหรับการบูรณาการ
ตามสถาปัตยกรรมองค์กรฯ ตามที่ก�ำหนด
3) พัฒนาบุคลากรที่มีความรู้เชิงบูรณาการและทักษะเชิงปฏิบัติ ด้านสถาปนิก ISE Information
Modeling มาตรฐานข้อมูล และนักวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการบริหารจัดการโครงการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ขนาดใหญ่ที่ยืดหยุ่นรวดเร็ว
4) พัฒนาเครื่องมือในการติดตาม ก�ำกับ และประเมินผล ตลอดจนควบคุมคุณภาพของข้อมูล
5) พัฒนาคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและการให้บริการ

Position-5.indd 121 9/13/19 16:05


122 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

เอกสารอ้างอิง
1. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับส�ำหรับเผยแพร่). กรุงเทพฯ.
2560.
2. ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12.
กรุงเทพฯ. 2560.
3. ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. แผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทาง
ชีวภาพ พ.ศ. 2558-2564. กรุงเทพฯ. 2558.
4. ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. แผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ. 2560.
5. ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564.
กรุงเทพฯ. 2560.
6. คณะอนุกรรมการด้านนโยบายและยุทธศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (ร่าง) ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ. 2561.
7. ส�ำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เรื่อง ปฏิรูปการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
(ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ. 2560.
8. ส�ำนักงานเลขานุการคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. แผนการปฏิรูปประเทศ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. 2561-2565). กรุงเทพฯ. 2561.

Position-5.indd 122 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการเพื่อนำ�การแพทย์แผนไทยไปใช้ประโยชน์ 123

ภาคผนวก

ภาพที่ 3.1 แผนด�ำเนินงานบูรณาการข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในเบื้องต้น ระยะ 5 ปี

Position-5.indd 123 9/13/19 16:05


124 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

กลุ่มที่ 4

ประเด็นวิชาการร่วมสมัย
4.1 กัญชา: แนวทางการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
และการควบคุมการน�ำไปใช้ประโยชน์
4.2 เห็ดเป็นยาและอาหาร

Position-5.indd 124 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 4 ประเด็นวิชาการร่วมสมัย 125

กัญชา: แนวทางการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
และการควบคุมการน�ำไปใช้ประโยชน์

ส�ำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

1. ความเป็นมา หลักการและเหตุผล
กัญชาเป็นพืชในวงศ์ Canabaceae เป็นไม้ล้มลุก ต้นตั้งตรง ล�ำต้นเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย มีขน มีทั้งต้นแยก
เพศ เป็นต้นดอกเพศผู้ ต้นดอกเพศเมีย และต้นดอกสมบูรณ์เพศ ใบที่อยู่ใกล้ยอดเรียงแบบบันไดเวียน มีหูใบ 2 อัน
เป็นรูปเส้นด้ายติดอยู่ที่โคนก้านใบยาวประมาณ 0.5 ซม. ตั้งตรง ไม่ร่วงง่าย แผ่นใบเป็นแฉก 5-7 แฉก แต่ละแฉก
เป็นรูปหอก ปลายแฉกแหลมเป็นติ่ง ขอบหยัก ก้านใบมีขน ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อตามง่ามใบและยอด ดอกมีกลีบ
เพียงชั้นเดียว จ�ำนวน 5 กลีบ ไม่ติดกัน กลีบรูปขอบขนาน ดอกตัวเมีย ออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบและยอด แต่ละ
ดอกมีใบประดับสีเขียวเข้ม คล้ายกาบและมีขนเป็นต่อมหุ้มอยู่ ไม่มีกลีบดอก ผลรูปไข่ หรือรูปรี เกลี้ยง มีใบประดับ
หุ้มอยู่ 2 ใบ กัญชาที่น�ำไปใช้ทางการแพทย์ คือ ต้นกัญชาเพศเมีย เนื่องจากสารส�ำคัญของกัญชาพบมากในส่วน
ของ trichome หรือขนที่ท�ำหน้าที่สะสมสารบริเวณช่อดอกเพศเมีย
กัญชามีทั้งหมด 3 ชนิดได้แก่ Cannabis sativa L., C. indica Lam., C. rudralis Janisch ซึ่งมี
ความแตกต่างกันในเรื่องลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และถิ่นที่พบดังตารางที่ 4.1
นอกจากกัญชาแต่ละชนิดและสายพันธุ์มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (phynotype) แตกต่างกันแล้ว ยังมี
ความแตกต่างในเรือ่ งสารเคมีทเี่ ป็นองค์ประกอบ (chemotype) โดยเฉพาะชนิดและปริมาณสารกลุม่ แคนนาบินอยด์
(cannabinoids) ซึง่ พบหลายชนิดในกัญชาและมีฤทธิท์ างชีวภาพมากมาย แต่สารแคนนาบินอยด์ทมี่ คี วามส�ำคัญและ
มีบทบาททางการแพทย์มากที่สุด คือ delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) และ cannabidiol (CBD) โดย
พบว่า กัญชาชนิด C. sativa L. มีปริมาณ THC สูงกว่า CBD ส่วนชนิด C. indica Lam. มีปริมาณ CBD
สูงกว่า THC โดยสาร THC เป็นส่วนประกอบหลักที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ท�ำให้เกิดอารมณ์เคลิ้มสุข คลายกังวล
สงบประสาท เซื่องซึม และมีฤทธิ์เป็นยาแก้ปวด ต้านอาเจียน ลดการอักเสบ ในขณะที่ CBD มีฤทธิ์ระงับอาการวิตก
กังวลต้านการชัก และเป็นสารที่ไม่มีฤทธิ์เสพติด จากความแตกต่างของชนิดและปริมาณสาร cannabinoid ท�ำให้

ตารางที่ 4.1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และถิ่นที่พบของกัญชาชนิดต่าง ๆ


สายพันธุ์ C. sativa L. C. indica Lam. C. rudralis Janisch
ถิ่นที่พบ พบบริเวณเส้นศูนย์สูตร ภูมิประเทศ พบในเขตหนาว เช่น ประเทศ พบในเขตหนาวเย็น ใกล้ขั้วโลก เช่น
แบบร้อนชื้น ชอบแดดจัด อัฟกานิสถาน อิหร่าน สหพันธรัฐรัสเซีย
ลักษณะต้น ต้นสูง 1.5-7.5 ม. กิ่งโปร่ง ใบเรียว ต้นสูงไม่เกิน 1.5 ม. ไม่แตกกิ่งก้าน ต้นขนาดเล็ก ใบขนาดเล็ก ดอก
ยาว ช่อดอกโปร่งยาว ใบใหญ่ กว้าง สีเขียวเข้ม ช่อดอก ขนาดเล็ก ออกดอกง่ายและออกดอก
แน่น เร็ว นิยมน�ำไปท�ำต้นพันธุ์เพื่อท�ำ
ลูกผสม

Position-5.indd 125 9/13/19 16:05


126 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

กัญชาแต่ละชนิดและสายพันธุม์ คี วามเหมาะสมกับการน�ำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคแตกต่างกัน โดยกัญชาทีพ่ บ


ในประเทศไทยเป็นชนิด C.sativa L. ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้ในถิ่นร้อนชื้น บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร เช่น ประเทศไทย
เม็กซิโก โคลัมเบีย จาไมก้า เป็นต้น
กัญชาถูกน�ำมาใช้เพือ่ ประโยชน์ทางการแพทย์มาช้านาน และมีหลักฐานว่าถูกน�ำมาใช้ในยาแผนไทยตัง้ แต่
สมัยสมเด็จพระนารายณ์ การรวบรวมข้อมูลจากต�ำราการแพทย์แผนไทย เช่น ต�ำราโอสถพระนารายณ์ ต�ำรา
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ พบว่ามีต�ำรับยาที่ใช้กัญชาเป็นส่วนประกอบมากกว่า 90 ต�ำรับ โดยแบ่งออกได้เป็น 4
กลุ่มใหญ่ คือ ยาส�ำหรับอาการในระบบทางเดินอาหาร ยาส�ำหรับใช้แก้ลมหรืออาการสวิงสวาย ยาช่วยให้นอนหลับ
และยาบ�ำรุงร่างกาย
ในต่างประเทศมีการน�ำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ ในรูปแบบของยาเม็ด เจลาตินแคปซูล และยาสเปรย์พน่
ในช่องปากและใต้ลิ้นเพื่อต้านการอาเจียน กระตุ้นความอยากอาหาร ป้องกันอาการคลื่นไส้ที่เกิดจากยารักษามะเร็ง
บรรเทาอาการนอนไม่หลับ รักษาอาการปวดเส้นประสาทอย่างรุนแรง และเพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยเอดส์ ซึ่ง
แนวทางการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ในปัจจุบัน อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. การใช้ประโยชน์ในการรักษาซึ่งมีข้อมูลทางวิชาการที่สนับสนุนชัดเจน เช่น
- ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบ�ำบัด
- โรคลมชักที่รักษาได้ยากในเด็กและโรคลมชักที่ดื้อยา
- ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- ภาวะปวดประสาทที่ใช้วิธีการรักษาอื่นไม่ได้ผล
2. การใช้ประโยชน์ในการควบคุมอาการ ซึ่งควรมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนหรืองานวิจัยเพิ่มเติม
ในประเด็นความปลอดภัยและประสิทธิผลเพื่อสนับสนุนการน�ำมาใช้ เช่น
- โรคพาร์กินสัน
- โรคอัลไซเมอร์
- โรควิตกกังวลทั่วไป
- ผู้ป่วยที่ต้องดูแลแบบประคับประคอง
- ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
3. การใช้สารสกัดกัญชาในการรักษา แต่ยังขาดข้อมูลจากงานวิจัยสนับสนุนที่ชัดเจนเพียงพอในด้าน
ความปลอดภัยและประสิทธิผล ซึง่ ต้องศึกษาวิจยั ในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองก่อนน�ำมาศึกษาวิจยั ในมนุษย์ เช่น
การรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ
อย่างไรก็ตามการใช้กัญชาในรูปแบบของการสูบเป็นระยะเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการเสพติด
และหากมีการน�ำมาใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ โดยการสูบแบบต่อเนื่องจะท�ำให้เกิด
ปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ และมะเร็งในระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งก่อให้
เกิดความผิดปกติต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ กระบวนการเรียนรู้และการจดจ�ำ นอกจากนี้กัญชายังมีผลท�ำให้
เกิดความผิดปกติต่อภาวะทางจิต ดังนั้นกัญชาจึงถูกจัดให้เป็นพืชเสพติดและผิดกฎหมายในหลาย ๆ ประเทศรวมถึง
ประเทศไทย อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีการศึกษาและมีหลักฐานทางวิชาการรองรับการใช้ประโยชน์ของกัญชาทาง
การแพทย์ ท�ำให้บางประเทศยอมรับการใช้กญ ั ชามากขึน้ จึงได้มกี ารผ่อนปรนโดยการแก้ไขเพิม่ เติมกฎหมาย อนุญาต
ให้ประชาชนใช้กญ ั ชาทางการแพทย์หรือเพือ่ การนันทนาการได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกา
ได้ออกกฎหมายอนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ส่วนในประเทศไทยแต่เดิมมี พ.ร.บ.
ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งจัดให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จําหน่าย นําเข้า

Position-5.indd 126 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 4 ประเด็นวิชาการร่วมสมัย 127

ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง เว้นแต่รัฐมนตรีจะได้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเป็นราย ๆ ไป


แต่เมื่อมีความต้องการน�ำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ จึงต้องมีการทบทวนและปรับแก้กฎหมาย โดยได้แก้ไข
สาระส�ำคัญ คือ กัญชายังจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 แต่อนุญาตให้มีการปลูก ผลิต จ�ำหน่าย และ
ครอบครองเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์เท่านั้น และต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ
เป็นรายกรณีไป โดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 นี้ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2562

2. นโยบายและมาตรการที่ด�ำเนินการปัจจุบัน
ปัจจุบันการน�ำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างกว้างขวาง ท�ำให้
เกิดกระแสและการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมในการน�ำมาใช้ เนื่องจากกัญชาเป็นพืชที่มีทั้งประโยชน์และ
โทษ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการน�ำกัญชามาใช้ประโยชน์ทาง
การแพทย์ เพื่อเสนอแนะนโยบายและแผนการพัฒนาการน�ำกัญชามาใช้ประโยชน์ฯ และการศึกษาวิจัยพัฒนา/
วางระบบการน�ำกัญชามาใช้ประโยชน์ให้ครบวงจร การปลูก-ปรับปรุงสายพันธุ์-ผลิตสารส�ำคัญ-พัฒนาผลิตภัณฑ์-
การใช้ประโยชน์-การควบคุมการใช้ โดยมีหลักการเบื้องต้นการน�ำกัญชามาใช้ประโยชน์ในยุคปัจจุบัน (1) ตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐมาตรา 55 รัฐต้องด�ำเนินการให้ประชาชน
ได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พ้ืนฐานเกี่ยวกับการส่งเสริม
สุขภาพและการป้องกันโรค และส่งเสริม และสนับสนุนให้มกี ารพัฒนาภูมปิ ญ ั ญาด้านแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์
สูงสุด บริการสาธารณสุขตามวรรคหนึ่ง ต้องครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม และป้องกันโรค การรักษา
พยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพด้วยรัฐต้องพัฒนาการบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง (2) การวิจัยพัฒนายืนยันประสิทธิผลความปลอดภัยของต�ำรับยา (2.1) การวิจัยทางปริคลินิก (พิษวิทยา
เพือ่ ยืนยันความปลอดภัย) (2.2) การวิจยั ระดับคลินกิ ตามมาตรฐานจริยธรรมการวิจยั ในมนุษย์ดา้ นการแพทย์ดงั้ เดิม
ที่องค์การอนามัยโลกก�ำหนด (การวิจัยทั้งสูตรต�ำรับ การน�ำหลักฐานบันทึก หรือประสบการณ์การใช้มาอ้างอิง)
เพื่อยืนยันประสิทธิผลการใช้ในผู้ป่วย และ (3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อสนับสนุนการใช้
ทางการแพทย์ ตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ การปลูก การเก็บเกี่ยว การแปรรูปเบื้องต้น เช่น บดเป็นผง การสกัด
เช่น สกัดเป็นน�้ำมัน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลา
นานและมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันปรากฏผลวิจัยว่าสารสกัดจากกัญชา
มีประโยชน์ทางการแพทย์มากมาย ท�ำให้มีผู้ป่วยบางส่วนลักลอบใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรคมานานหลายปีแล้ว
ทั้งผลิตใช้เองและผลิตในเชิงพาณิชย์ เป็นผลให้มีราคาแพง และอาจไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการแพทย์และต�ำรับยา
จึงได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เพื่อเปิดโอกาสให้สามารถน�ำกัญชาไปท�ำการศึกษา
วิจัยเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และสามารถน�ำไปใช้ในการรักษาภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์ได้ โดยใน
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฉบับแก้ไขนี้เป็นฉบับที่ 7 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.
2562 กัญชายังจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 แต่มีสาระส�ำคัญที่แก้ไข คือ
1. ห้ามมิให้ผลิต น�ำเข้า หรือส่งออก เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตเฉพาะกรณีจ�ำเป็นเพื่อประโยชน์
ของทางราชการ การแพทย์ การรักษาผู้ป่วย การศึกษาวิจัยและพัฒนา ทั้งนี้รวมถึงการเกษตรกรรม พาณิชยกรรม
วิทยาศาสตร์ หรืออุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์

Position-5.indd 127 9/13/19 16:05


128 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

2. ห้ามมิให้ผใู้ ดจ�ำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเว้นแต่ได้รบั ใบอนุญาต ไว้ในครอบครองค�ำนวณเป็นสาร


บริสุทธิ์ตามจ�ำนวนที่ก�ำหนด ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจ�ำหน่าย ยกเว้นมีไว้ในครอบครองไม่เกินจ�ำนวน
ที่จ�ำเป็นส�ำหรับใช้รักษาโรคเฉพาะตัว หรือส�ำหรับใช้ประจ�ำในการปฐมพยาบาล หรือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในเรือ
เครื่องบิน หรือยานพาหนะอื่นใดที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ
3. ผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตได้เมื่อผู้ขออนุญาตเป็น (1) สภากาชาดไทยหรือหน่วยงานของรัฐ
ที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์
ให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม และเกษตรกรรม ให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และ
เภสัชกรรม ป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด (2) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม
การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
(3) สถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยและจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์
(4) ผูป้ ระกอบวิชาชีพเกษตรกรรมทีร่ วมกลุม่ กันเป็นวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพือ่ สังคม สหกรณ์การเกษตร ซึง่ อยูภ่ าย
ใต้ความร่วมมือและก�ำกับดูแล้วของผู้ขออนุญาต ตาม (1) หรือ (3) ทั้งนี้ผู้ประกอบวิชาชีพเกษตรกรรมสามารถร่วม
ผลิตและพัฒนาสูตรต�ำรับยาแผนโบราณหรือยาสมุนไพรได้ภายใต้การก�ำกับดูแล้วของผูข้ ออนุญาต ตาม (1) หรือ (3)
4. ผู้รับอนุญาตมีหน้าที่ท�ำตามกฎหมายก�ำหนด เช่น จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่
ผลิตแสดงว่าเป็นสถานที่ผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 มีการวิเคราะห์ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่ผลิต
ขึ้นก่อนน�ำออกจากสถานที่ผลิต มีฉลากและเอกสารก�ำกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 หรือค�ำเตือน หรือข้อควร
ระวัง มีการแยกเก็บยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เป็นสัดส่วน และต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบในกรณี
ที่ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ถูกโจรกรรม สูญหาย หรือถูกท�ำลาย เป็นต้น
5. ห้ามโฆษณายาเสพติดให้โทษประเภท 5 เว้นแต่เป็นการโฆษณาต่อผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับอนุญาต
และเป็นเอกสารก�ำกับยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุ
6. ห้ามมิให้ผใู้ ดเสพเว้นแต่การเสพนัน้ เป็นการเสพเพือ่ การรักษาโรคตามค�ำสัง่ ของผูป้ ระกอบวิชาชีพ ทีไ่ ด้
รับใบอนุญาต หรือเป็นการเสพเพื่อการศึกษาวิจัย ทั้งนี้ ต�ำรับยาที่เสพได้ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศก�ำหนด
7. ก�ำหนดหน้าที่ของทายาท ผู้ครอบครอง หรือผู้จัดการมรดก และอ�ำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในกรณี
ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตจ�ำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดประเภท 5 ตายก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ แสดงความ
จ�ำนงต่อผู้อนุญาตเพื่อขอประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาตนั้นต่อไปภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย ใน
กรณีทไี่ ม่แสดงความจ�ำนงเพือ่ ขอประกอบกิจการต่อ ให้ทายาทผูค้ รอบครองนัน้ ท�ำลายหรือจ�ำหน่ายยาเสพติดให้โทษ
ในประเภท 5 ที่เหลืออยู่แก่ผู้รับอนุญาตอื่นตามประเภทนั้น หรือผู้ซึ่งผู้อนุญาตเห็นสมควร
8. ผู้ใดมีไว้ครอบครองเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ การรักษาผู้ป่วย การรักษาโรคเฉพาะตัว หรือการ
ศึกษาวิจัย ก่อนที่ พ.ร.บ. นี้ ใช้บังคับ ไม่ต้องรับโทษส�ำหรับการกระท�ำนั้น เมื่อด�ำเนินการขอนิรโทษ โดยยื่นค�ำขอ
รับใบอนุญาตต่อเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้ ใช้บังคับ ในกรณีไม่
ได้รับอนุญาตให้ยาเสพติดให้โทษนั้นตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขหรือให้ทำ� ลาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศก�ำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยา
เสพติดให้โทษ
นอกจากนีม้ กี ารก�ำหนดมาตรการในการก�ำกับดูแลการใช้ประโยชน์ของกัญชา ตัง้ แต่การปลูก จ�ำหน่าย น�ำ
เข้า ส่งออก การแปรรูป การผลิต การวิจัย การน�ำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และการมีไว้ในครอบครอง จะต้อง
ได้รบั อนุญาตจากหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบในส่วนกลางหรือส่วนภูมภิ าคดังตารางที่ 1 และทางส�ำนักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา หรือ อย. ได้วางแนวทางการปฏิบัติส�ำหรับผู้รับอนุญาตเพื่อใช้ประโยชน์ของกัญชาทางการแพทย์

Position-5.indd 128 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 4 ประเด็นวิชาการร่วมสมัย 129

- (ร่าง) แนวทางการพิจารณาอนุญาตให้ปลูกกัญชา
- (ร่าง) แนวทางการปฏิบัติด้านการจัดเตรียมสถานที่ การเก็บรักษา และการควบคุมการใช้ส�ำหรับ
ผู้ขอรับอนุญาตปลูก
- (ร่าง) แนวทางการปฏิบัติด้านการจัดเตรียมสถานที่ การเก็บรักษา และการควบคุมการใช้ส�ำหรับ
ผู้ขอรับอนุญาตผลิต น�ำเข้า จ�ำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง
- (ร่าง) หลักเกณฑ์เพื่อศึกษาวิจัยทางคลินิกของกัญชาทางการแพทย์
นอกจากนี้ยังมีการก�ำหนดแนวทางและขั้นตอนการน�ำสารสกัดจากกัญชามาใช้ทางการแพทย์ ได้แก่

แนวทางการควบคุมการสั่งใช้สารสกัดจากกัญชา
1. การใช้กัญชาทางการแพทย์ของผู้ป่วย
- การรักษาปกติ (standard pathway: approved drugs)
- การศึกษาวิจัย (clinical trials: unapproved drugs)
- การรักษากรณีจ�ำเป็นส�ำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย (ช่องทางพิเศษ) (special access scheme:
unapproved drugs)
2. ใช้ในโรค/ภาวะ ที่มีข้อบ่งใช้ เพื่อเสริมจากการรักษาด้วยวิธีตามมาตรฐาน
3. สถานบริการสุขภาพต้องขึน้ ทะเบียนกับหน่วยงานทีก่ ำ� กับดูแล เพือ่ ควบคุม ก�ำกับการใช้สารสกัดจาก
กัญชาให้มีประสิทธิภาพ
4. ต้องคัดกรอง วินจิ ฉัย และประเมินทางคลินกิ ผูป้ ว่ ย ว่ามีขอ้ บ่งใช้ และจ�ำเป็นต้องใช้สารสกัดจากกัญชา
ในการรักษา
5. มีระบบติดตามผลการรักษา และเฝ้าระวังอาการข้างเคียงของสารสกัดจากกัญชา รวมถึง การน�ำสาร
สกัดจากกัญชาไปใช้ที่ไม่ตรงวัตถุประสงค์ในการรักษา
6. แพทย์ผู้สั่งใช้
- ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม และที่ได้รับวุฒิบัตร/อนุมัติบัตรแพทย์เฉพาะทางใน
โรคที่มีข้อบ่งใช้
- ผ่านหลักสูตรการอบรมการใช้สารสกัดจากกัญชาในทางการแพทย์
- ขึ้นทะเบียน และได้รับอนุญาตให้เป็นผู้สั่งใช้สารสกัดจากกัญชาได้
- บันทึกการสัง่ ใช้สารสกัดจากกัญชา โดยระบุรายละเอียดสถานบริการสุขภาพ แพทย์ผสู้ งั่ ค�ำสัง่ การ
ใช้ยา รายละเอียดผู้ป่วย
7. ผู้ป่วยต้องขึ้นทะเบียน รับทราบผลดี/ผลเสียก่อนตัดสินใจเข้ารับการรักษาด้วยความสมัครใจ โดยให้
ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร
8. จัดตั้งศูนย์การควบคุมการใช้ทางการแพทย์ เพื่อติดตามผลทางคลินิก โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ได้แก่ กรมการแพทย์ (สถาบันประสาทวิทยา สถาบันมะเร็งแห่งชาติ) กรมสุขภาพจิต กรมการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก ฯลฯ
9. จัดท�ำแนวทางและประเด็นการก�ำกับ/ติดตามการใช้ โดยส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาท�ำ
หน้าที่ก�ำกับการเบิก-จ่าย ติดตาม ควบคุมการน�ำสารสกัดจากกัญชาไปใช้

Position-5.indd 129 9/13/19 16:05


Position-5.indd 130
ั ชาในทางการแพทย์เพือ่ การศึกษาวิจยั และอุตสาหกรรม หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องกับการควบคุมการใช้กญ
ตารางที่ 4.2 การก�ำกับดูแลการใช้กญ ั ชาในการศึกษาวิจยั และการใช้ในทางการแพทย์

การควบคุม การพิจารณาอนุญาต การตรวจสอบและเฝ้าระวัง


ล�ำดับ กระบวนการ Input output
ขออนุญาต ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค
1 การปลูก ปลูกโดยเมล็ดพันธุ์หรือ วัตถุดิบสมุนไพร: ต้น ใบ ผลิตหรือน�ำเข้า อย./กรมวิชาการ ศอ.ปส.(จ)/คกก. ที่ อย./กรมศุลกากร/ อย./สสจ/ต�ำรวจ/
เนื้อเยื่อโรงเรือนระบบปิด ดอก ช่อดอก - ผู้รับอนุญาต เกษตร ผจว.มอบหมาย ต�ำรวจ/ปปส. ปปส./กรมวิทย์ฯ
130 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

2 แปรรูป วัตถุดิบสมุนไพร: วั ต ถุ ดิ บ สมุ น ไพรพร้ อ มใช้ ผลิตหรือน�ำเข้า อย. ศอ.ปส.(จ)/คกก. ที่ อย./กรมศุลกากร อย./สสจ/ต�ำรวจ/
การสกัด ส่วนต่าง ๆ สารสกัด/น�้ำมันกัญชา ซึ่ง - ผู้รับอนุญาต ผจว.มอบหมาย ปปส/กรมวิทย์ฯ
ผ่านการตรวจ วิเคราะห์
3 ศึกษาวิจัยใน สารสกัด/น�้ำมันกัญชา ข้อมูลด้านเภสัชวิทยาและ ครอบครอง อย./คกก.จริยธรรม ศอ.ปส.(จ)/คกก. ที่ อย./ อย./สสจ
สัตว์ทดลอง* พิษวิทยา - ผู้รับอนุญาต (EC) ผจว.มอบหมาย คณะกรรมการ
จริยธรรม
4 พัฒนาต�ำรับ/ สารสกัด/น�้ำมันกัญชา ผลิตภัณฑ์ส�ำเร็จรูปต้นแบบ ผลิตหรือน�ำเข้า อย./กรมศุลกากร ศอ.ปส.(จ)/คกก. ที่ อย./กรมศุลกากร อย./สสจ/ต�ำรวจ/
ผลิตภัณฑ์ ขนาดการใช้ วิธีใช้ และ - ผู้รับอนุญาต ผจว.มอบหมาย ปปส/กรมวิทย์ฯ
ส�ำเร็จรูป ข้อบ่งใช้
5 ศึกษาวิจัย ผลิตภัณฑ์ส�ำเร็จรูปต้นแบบ ข้อมูลด้านประสิทธิภาพ ผลิต/น�ำเข้า/ครอบครอง อย./คกก. อย. อย./สสจ.
ด้านคลินิก* และความปลอดภัย เพื่อการศึกษาวิจัยทาง จริยธรรม (EC)
คลินิก
- ผู้รับอนุญาต/สถาบันวิจัย
6 การรับรอง ข้อมูลด้านคุณภาพ ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ ขอรับรองต�ำรับ อย.
ต�ำรับ** ประสิทธิภาพและความ ประสิทธิภาพและความ - ผู้รับอนุญาต
ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ปลอดภัยได้รับการรับรอง
ส�ำเร็จรูป ต�ำรับ
7 ใช้ประโยชน์ ผลิตภัณฑ์ส�ำเร็จรูปที่ได้รับ ประกาศกระทรวงฯ จ�ำหน่าย อย. อย. อย./สสจ.
ทางการแพทย์ การอนุมัติต�ำรับ ยาเสพติดให้โทษ ประเภท - ผูป้ ระกอบวิชาชีพ
5 ที่ให้เสพ เวชกรรมหรือแพทย์แผน
ไทยที่มีใบอนุญาตเพื่อ
บ�ำบัดรักษาผู้ป่วยของตน
หมายเหตุ: ศอ.ปอ. (จ) คือ ศูนย์อ�ำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่รับผิดชอบด้านยาเสพติดเป็นผู้อ�ำนวยการศูนย์ฯ

9/13/19 16:05
กลุ่มที่ 4 ประเด็นวิชาการร่วมสมัย 131

แนวทางการด�ำเนินงานการน�ำภูมิปัญญากัญชามาใช้ประโยชน์
ด�ำเนินการ 2 แนวทาง ควบคู่กันดังนี้ แนวทาง 1 การน�ำภูมิปัญญามาใช้ควบคู่กับการวิจัย AUR (Actual
Use Research) ภายใต้เงื่อนไข:
1. สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยฯ ก�ำหนดรายชื่อต�ำรับยาและจัดท�ำแนวทาง
เวชปฏิบัติ
2. ให้กระท�ำโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแผนไทยหรือแผนไทยประยุกต์
3. ให้ด�ำเนินการในสถานพยาบาลประเภทโรงพยาบาลและคลินิก ของรัฐและเอกชน
4. กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยฯ จัดท�ำรายงานผลการใช้ส�ำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
ต่อส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมการแพทย์แผนไทยฯ
5. กองพัฒนายาแผนไทยและสมุนไพร กรมการแพทย์แผนไทยฯ พัฒนาผลิตภัณฑ์กญ ั ชาในรูปแบบต�ำรับ
ยาแผนไทยส�ำเร็จรูป (ยาลูกกลอน ยาเม็ด ยาน�้ำ ยาทา ยาน�้ำมัน ยาผง)
โดยกรมการแพทย์แผนไทยฯ ได้คัดเลือกกลุ่มยาน�ำร่อง 16 ต�ำรับ ที่มีหลักฐานการใช้และระบุส่วน
ประกอบแน่ชัด เสนอต่อกระทรวงสาธารณสุขเพื่อพิจารณาและประกาศใช้ โดยยา 16 ต�ำรับ มีรายละเอียด
ดังตารางที่ 4.3

ตารางที่ 4.3 ต�ำรับยาน�ำร่อง 16 ต�ำรับ ที่มีกัญชาเป็นองค์ประกอบ


ล�ำดับ ชื่อต�ำรับ สรรพคุณ
1. ยาศุขไสยาศน์ ช่วยให้นอนหลับเจริญอาหาร ฟื้นฟูก�ำลังของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
2. ยาน�ำ้ มันสนั่นไตรภพ ช่วยลดอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก มะเร็งตับในระยะเริ่มต้น และ
ช่วยแก้กษัยเหล็ก หรืออาการท้องแข็งเป็นดานซึ่งส่วนหนึ่งก็คือโรคมะเร็ง
3. ยาท�ำลายพระสุเมรุ บรรเทาอาการเกร็งกล้ามเนื้อ แขนขาอ่อนแรง ชา ในผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยในต�ำรา
จริง ๆ จะเขียนว่าแก้ลมชัก ปากเบี้ยว ตาแหก ซึ่งทั้ง 3 อาการเป็นอาการรวมของอัมพฤกษ์
อัมพาตจากเส้นเลือดในสมองแตก
4. ยาทัพยาธิคุณ ลดอาการมือชาเท้าชาในผูป้ ว่ ยโรคเบาหวาน และใช้รกั ษาอาการมือเท้าบวมในผูป้ ว่ ยมะเร็งตับ
5. ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง แก้ลมขึ้นเบื้องสูง
6. ยาแก้นอนไม่หลับหรือ แก้ไข้ผอมเหลือง ตัวสั่น เสียงสั่น ไม่มีก�ำลัง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ
ยาแก้ไข้ผอมเหลือง
7. ยาไพสาลี บ�ำบัดโรคลม (แก้สารพัดโรค กล่อน หืดไอ จุกเสียด ลมสลักอก ลมมักให้หาวเรอ ให้ราก
สะอึก ลมสะแกเวียน นอนไม่หลับ ลมปวดมวนในท้อง เป็นป้างเป็นจุกผามม้ามย้อย)
8. ยาทาริดสีดวงทวารหนัก รักษาหัวริดสีดวงทวารหนัก รักษาโรคผิวหนัง
และโรคผิวหนัง
9. ยาแก้ลมแก้เส้น บรรเทาอาการปวดตึงกล้ามเนือ้ ตามร่างกาย ลดอาการชาบริเวณมือและเท้า มือเท้าอ่อนก�ำลัง
10. ยาอไภยสาลี บ�ำบัดโรคทางลม (ลม 80 จ�ำพวก แก้โลหิต 20 จ�ำพวก แก้ริดสีดวง 20 จ�ำพวก)
11. ยาอัมฤตโอสถ บรรเทาอาการกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นรัดรึง มือเท้าชา ผอมแห้งแรงน้อย อันเนื่องมาจากความ
เสื่อมความผิดปกติของร่างกาย
12. ยาแก้โรคจิต ลดความกังวลในจิตใจ และความเครียดในระบบประสาท ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น

Position-5.indd 131 9/13/19 16:05


132 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ตารางที่ 4.3 ต�ำรับยาน�ำร่อง 16 ต�ำรับ ที่มีกัญชาเป็นองค์ประกอบ (ต่อ)

ล�ำดับ ชื่อต�ำรับ สรรพคุณ


13. ยาแก้สัณฑฆาต บรรเทาอาการท้องผูกเป็นพรรดึก อาการปวดเมื่อยทั่วร่างกาย มือชาเท้าชา ปัสสาวะเป็น
กล่อนแห้ง เลือด ปวดศีรษะ หน้ามืดวิงเวียน จุกเสียดท้องแน่นหน้าอก อันเกิดจากโทสันฑฆาตและ
กล่อนแห้ง
14. ยาอัคคินีวคณะ แก้คลื่นเหียนอาเจียน 4 ประการ ช่วยเจริญอาหาร บ�ำรุงธาตุทั้ง 4 ชูก�ำลัง
15. ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย แก้อาการทางลม คลายอาการที่ท�ำให้เจ็บปวดตึงบริเวณปลายมือปลายเท้าแล้วอาการลาม
ขึ้นมาบริเวณต้นคอให้คอแข็ง ท�ำให้เคลื่อนไหวคอไม่ได้
16. ยาไฟอาวุธ แก้ลมจุกเสียด แก้ป้างแก้ม้าม แก้ดานเสมหะให้ปวดมวนท้อง แก้อุจจาระเป็นมูกเลือด
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง แก้ไอผอมเหลือง

ในขณะนีท้ างกรมการแพทย์แผนไทยฯ ได้วางแผนการผลิตยาแผนไทยทีม่ กี ญ


ั ชาปรุงผสมอยู่ เป็น 2 ส่วน คือ
1. การผลิตส�ำหรับการวิจัยกัญชาทั้ง 16 ต�ำรับ แบบ Actual Use Research ในผู้ป่วยจริง ต�ำรับละ
1,000 ราย
2. การผลิตเครื่องยาผสมกัญชากลาง เบื้องต้น 3 ต�ำรับ
- เรือนช่อดอก : พริกไทย อัตราส่วน 1:1
- ใบ : พริกไทย อัตราส่วน 1:0.25
- ก้าน : บอระเพ็ด อัตราส่วน 1:1
ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2562 ระบุว่าแพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ สามารถน�ำ
กัญชามาใช้รักษา โดยสามารถสั่งใช้ยาต�ำรับที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ ทั้ง 16 ต�ำรับ และอนุญาตให้น�ำกัญชา
ไปปรุงยาเฉพาะบุคคล แต่ก่อนที่แพทย์แผนไทยจะได้รับอนุญาตให้สามารถสั่งจ่ายยากัญชา ต้องผ่านหลักสูตร
การอบรมของกรมการแพทย์แผนไทย และสอบประเมินผ่านตามเกณฑ์จึงจะได้รับอนุญาตให้สั่งใช้ยากัญชาได้ซึ่ง
ในขณะนี้ทางกรมการแพทย์แผนไทยฯ ได้ยื่นร่างหลักสูตรการอบรมไปยังคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดเพื่อขอ
อนุมัติ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และความผิดทางกฎหมาย ความรู้พื้นฐานของสมุนไพร
การวิจัยเก็บข้อมูลเฝ้าระวังความปลอดภัยการใช้ต�ำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาโดยวิธี Actual Use Research
(AUR) และหลักการปรุงยาเฉพาะราย หากผ่านการพิจารณา ทางกรมการแพทย์แผนไทยจะเปิดจัดอบรมแก่
แพทย์แผนไทยส่วนกลาง (ครู ก) ในเดือนเมษายน 2562
นอกจากนี้การวิจัยการใช้ประโยชน์ของกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทยนั้นยังมีโครงการวิจัยทั้ง
การศึกษาทางคลินิก ในสัตว์ทดลอง และในหลอดทดลองเกี่ยวกับการน�ำกัญชามารักษาโรคต่าง ๆ ได้แก่ โรคมะเร็ง
โรคระบบประสาท เช่น โรคลมชักที่รักษายากและดื้อยากันชัก โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาการปวดจากปลาย
ประสาท และโรคทางจิตเวช เป็นต้น

แนวทางการใช้สารสกัดจากกัญชาเพื่อการวิจัย
สารสกัดจากกัญชาในทุกรูปแบบ
1. ต้องปราศจากสารอันตรายที่อาจปะปน อาทิ สารโลหะหนัก เชื้อรา
2. เป็นผลิตภัณฑ์จากการผลิตครั้งเดียวกันทั้งหมด

Position-5.indd 132 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 4 ประเด็นวิชาการร่วมสมัย 133

3. ทราบปริมาณ และอัตราส่วนที่แน่นอนของสารส�ำคัญ
4. ผู้วิจัยหลักต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในโรค/ภาวะที่ท�ำการศึกษาวิจัย
5. มีความพร้อมในการดูแลอาสาสมัคร หากเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
6. ผู้วิจัยต้องขึ้นทะเบียนการใช้สารสกัดจากกัญชา
7. มีระบบควบคุมสารสกัดจากกัญชาเป็นอย่างดี
องค์การเภสัชกรรมเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ได้ท�ำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์
โดยจัดท�ำโครงการผลิตสารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข
ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ
- ระยะที่ 1 R&D Phase วิจัยและพัฒนาวิธีการสกัดและผลิตภัณฑ์ยาส�ำหรับการศึกษาทางคลินิก
เบื้องต้น (กันยายน 2561-ต่อเนื่อง)
- ระยะที่ 2 Pilot Phase การผลิตสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ในระดับกึง่ อุตสาหกรรม (ตุลาคม 2561-
ต่อเนื่อง)
- ระยะที่ 3 Industrial Phase การผลิตสารกัญชาทางการแพทย์ในระดับอุตสาหกรรม (มกราคม 2562-
ต่อเนื่อง)
โดยเริ่มจากศึกษาวิจัยการปลูกกัญชา เพื่อลดการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงและโลหะหนัก และได้คัดเลือกมา
3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ที่มี THC สูง สายพันธุ์ที่มี CBD สูง และสายพันธุ์ที่มี THC:CBD ในอัตราส่วน 1:1 เลือก
การปลูกในอาคาร และใช้ระบบปลูกแบบรากลอย (aeroponics) ใช้เวลาปลูกจนเก็บเกี่ยวเป็นระยะเวลาประมาณ
4 เดือน และด�ำเนินการตามหลัก 7 G เพื่อควบคุมคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานสากล ดังนี้
1. GAP: Good Agricultural Practices หลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติด้านการเพาะปลูกที่ดี
2. GLP: Good Laboratory Practices หลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติด้านห้องปฏิบัติการที่ดี
3. GMP: Good Manufacturing Practice หลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาที่ดี
4. GCP: Good Clinical Practices หลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติด้านการวิจัยทางคลินิกที่ดี
5. GDP: Good Distribution Practices หลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติด้านการจัดส่งยาที่ดี
6. GSP: Good Security Practices หลักเกณฑ์มาตรฐานด้านการปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ดี
7. GIP: Good Information Practices หลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติข้อมูลสารสนเทศที่ดี
ขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการศึกษาในระยะที่ 1 ซึ่งเริ่มมีการเพาะปลูกไปเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2562
โดยคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์จากสารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์ในรูปของ sublingual drop (น�้ำมันหยด
ใต้ลิ้น) จ�ำนวนประมาณ 2,500 ขวดแรกที่เตรียมจากกัญชาปลูกเอง จะพร้อมใช้ในเดือนกรกฏาคม 2562 เพื่อ
ใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับความคงสภาพของผลิตภัณฑ์ และการศึกษาทางคลินิกน�ำร่องในผู้ป่วยที่เป็นโรคบางชนิด
และในระยะถัดไปทางองค์การเภสัชกรรมยังได้มีโครงการปลูกกัญชาทางการแพทย์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม (Pilot
Phase) ระยะที่ 2 ที่ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี จะมีทงั้ ปลูกในอาคารและแบบโรงเรือน เพือ่ วิจยั และพัฒนาสายพันธุท์ ใี่ ห้
สารส� ำ คั ญ สู ง และทนต่ อ โรคต่ า ง ๆ และในระยะที่ 3 เป็ น การผลิ ต สารสกั ด กั ญ ชาทางการแพทย์ ใ นระดั บ
อุตสาหกรรม (Industrial Phase) โดยเริ่มปลูกและผลิตสารสกัดระดับอุตสาหกรรมแบบครบวงจรในพื้นที่
อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี

Position-5.indd 133 9/13/19 16:05


134 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

3. สภาพปัญหา/ข้อจ�ำกัดและโอกาสในการพัฒนา
ปัจจุบันประชาชนมีความสนใจเรื่องของการน�ำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เนื่องจากการให้รับ
ข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ ว่ากัญชาสามารถรักษาโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็งให้หายได้ซึ่งจริง ๆ แล้วยังไม่มี
ข้อมูลสนับสนุนการรักษามะเร็งที่เพียงพอ ดังนั้นควรมีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ทางการแพทย์ที่ถูกต้อง
เพื่อให้ประชาชนได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์และโทษของกัญชา สายพันธุ์กัญชา ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับ
การปลูก ผลิต น�ำเข้า จ�ำหน่าย ครอบครอง และการใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ เนื่องจากปัจจุบัน
ประเทศไทยได้มีการปรับแก้ไข พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ซึ่งกัญชายังจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 แต่
อนุญาตให้มีการปลูก ผลิต จ�ำหน่าย และครอบครองเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์เท่านั้น และต้องได้รับอนุญาตจาก
คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษเป็นรายกรณีไป
นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีปัญหาเรื่องของวัตถุดิบกัญชาที่น�ำมาใช้ในการวิจัย และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
ดังนั้นการใช้กัญชาส�ำหรับรักษาโรคต่าง ๆ ส�ำหรับการแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทย ในประเทศไทยยังต้อง
ได้รับการศึกษาเพิ่มเติม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมการแพทย์
แผนไทยฯ องค์การเภสัชกรรม สถานศึกษาที่มีการศึกษาวิจัยและการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชกรรม และ
เกษตรกรรม ได้ร่วมกันศึกษาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาจากกัญชาทั้งที่เป็นยาเดี่ยวและต�ำรับเพื่อใช้ในการรักษา
โรค โดยด�ำเนินการศึกษาตั้งแต่การปลูก คัดเลือกพันธุ์ การศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาหรือบรรเทาอาการ
ของยาในผู้ป่วย เป็นต้น
ดังนัน้ โอกาสของการน�ำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์อาจจะต้องใช้เวลาในการวิจยั และพัฒนาอีกสัก
ระยะ ประกอบกับหน่วยงานและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการพิจารณาการน�ำกัญชามาใช้
ประโยชน์ทางการแพทย์ คณะกรรมการขับเคลือ่ นการใช้ประโยชน์จากกัญชา ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กรมการแพทย์แผนไทยฯ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เพื่อด�ำเนินการสร้างเครื่องมือหรือ
กฎเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ รวมถึงยกร่างกฎกระทรวงต่าง ๆ เพื่อรองรับ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฉบับใหม่
เพื่อป้องกันการใช้ในทางที่ผิด
ในอนาคตไม่ช้านี้ผู้ป่วย โรคภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบ�ำบัด โรคลมชักรักษายากในเด็กและโรคลมชัก
ที่ดื้อต่อยารักษา ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาการปวดประสาทที่รักษาด้วยวิธีต่าง ๆ
ไม่ได้ผล โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ โรคปลอกประสาทอักเสบ โรควิตกกังวล ผู้ป่วยที่ดูแลแบบประคับประคอง
ผู้ป่วยมะเร็ง จะสามารถได้รับการรักษาเสริมด้วยผลิตภัณฑ์ยากัญชา ทั้งนี้แพทย์ผู้ท�ำการรักษาเห็นชอบ และเร่งเห็น
ว่าผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์ เพิ่มคุณภาพชีวิต และปลอดภัยจากการใช้ยาดังกล่าว รวมถึงการใช้ยาต�ำรับที่มีกัญชา
เป็นส่วนประกอบในการแพทย์แผนไทย 16 ต�ำรับ ที่กรมการแพทย์แผนไทยฯ ก�ำหนดให้เป็นยาน�ำร่อง โดยแพทย์
แผนไทยหรือแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่ได้รับอนุญาต สามารถสั่งจ่ายและน�ำกัญชาไปปรุงยาเฉพาะบุคคลได้
ในการสัมมนา กัญชา: โอกาสและความท้าทายของประเทศไทย วันที่ 7 มีนาคม 2562 มีประเด็นปัญหา
ที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับกัญชาแต่ประชาชน และผู้ที่สนใจทราบดังนี้
- การใช้ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์ที่มีงานวิจัยรองรับ ใช้รักษาโรคหรือบรรเทาอาการใดบ้าง
- สายพันธุ์กัญชา สารส�ำคัญและกลไกการออกฤทธิ์ในการรักษาโรค
- ข้อควรระวังในการใช้ และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ต� ำ รั บ ยาของการแพทย์ แ ผนไทยมี กั ญ ชาเป็ น องค์ ป ระกอบ ต� ำ รั บ ยาที่ ไ ด้ รั บ การสนั บ สนุ น โดย
กรมการแพทย์แผนไทยฯ

Position-5.indd 134 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 4 ประเด็นวิชาการร่วมสมัย 135

- ความก้าวหน้าในการด�ำเนินการเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนายาหรือต�ำรับยาที่มีกัญชาในประเทศไทย
- ปัญหาและอุปสรรคในด�ำเนินการวิจัยการใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์
- สาระส�ำคัญของ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 เกี่ยวกับการใช้กัญชา
- นโยบายหรือแนวทางการควบคุมกัญชาในทางการวิจัยและการแพทย์
- หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขออนุญาตการปลูก การท�ำวิจัย และการใช้กัญชา รวมถึงแนวทาง
ปฏิบัติในการขออนุญาต
- คุณสมบัติของผู้ที่สามารถสั่งจ่ายและได้รับการรักษาด้วยยาที่มีกัญชาเป็นองค์ประกอบ

เอกสารอ้างอิง
1. พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562. เล่ม 136 ตอนที่ 19 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 กุมภาพันธ์
2562.
2. ลีนา ผู้พัฒนพงศ์. สมุนไพรไทย ตอนที่ 2. กรุงเทพฯ: หจก. นิวธรรมดาการพิมพ์, 2522:180 หน้า.
3. ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ และ โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ. ประโยชน์และโทษที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กัญชาในทาง
การแพทย์และการเปิดเสรีการใช้กัญชา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2561;12(1):71-94.
4. วีรยา ถาอุปชิค และนุศราพร เกษสมบูรณ์. การใช้กัญชาทางการแพทย์. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2560;13
(supplement): 228-40.
5. ส�ำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุตธิ รรม และส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กระทรวงสาธารณสุข. สรุปการสัมมนา โครงการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในการใช้ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์.
กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี, 14 พฤศจิยายน 2561.
6. ชาญชัย เอื้อชัยกุล. พืชกัญชา: ประโยชน์ โทษและข้อเสนอการพัฒนาการก�ำกับดูแล [อินเตอร์เนต]. เข้าถึงเมื่อ
17 ธันวาคม 2561. เข้าถึงได้จาก http://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php? option=article_detail
&subpage=article_detail&id=354
7. อนันต์ชัย อัศวเมฆิน. จะปลดล็อคกัญชาทางการแพทย์ได้อย่างไร. เอกสารประกอบการสัมมนาโครงการสร้างการรับรู้
และความเข้าใจในการใช้ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์. กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี, 14 พฤศจิกายน 2561.
8. ชยันต์ พิเชียรสุนทร แม้นมาส ชวลิต วิเชียร จีรวงส์. ค�ำอธิบายต�ำราพระโอสถพระนารายณ์. กรุงเทพฯ: บริษัท
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด, 2544: 777 หน้า.
9. ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. ต�ำรายารักษาโรคแผนโบราณ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ 2484: 68 หน้า.

Position-5.indd 135 9/13/19 16:05


136 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

เห็ดเป็นยาและอาหาร
ศ.ดร.สายสมร ล�ำยอง และคณะ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

1. ความเป็นมา หลักการและเหตุผล
เห็ด (mushroom) จัดอยูใ่ นอาณาจักรฟังไจ ในความหมายทางจุลชีววิทยาเป็นเชือ้ ราชัน้ สูง ซึง่ จัดจ�ำแนก
อยู่ในไฟลัมเบสิดิโอมายโคตา (phylum basidiomycota) และไฟลัมแอสโคมายโคตา (phylum ascomycota)
ดอกเห็ด มีรูปร่างหลากหลายซึ่งมาจากการรวมของเส้นใยราขนาดเล็กเกิดเป็นโครงสร้าง เพื่อสร้างโครงสร้างในการ
สืบพันธุ์ โครงสร้างเห็ดประกอบด้วย ก้านดอกเห็ด หมวกเห็ดโดยภายใต้หมวกอาจเป็น ครีบ ท่อ หรือฟันเลื่อย
อันเป็นแหล่งก�ำเนิดของสปอร์ ซึ่งเส้นใยและสปอร์มีขนาดเล็กมากต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ช่วยในการมองเห็น
ค�ำนิยามของ เห็ด ไม่ใช่พืช เห็ดอยู่ในอาณาจักร Fungi เนื่องจากไม่มีคลอโรฟีลช่วยในการสังเคราะห์แสงจึงต้อง
อาศัยอาหารจากการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุพบได้ในเห็ดกลุ่มย่อยสลาย เช่น เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เป็นต้น
หรืออาศัยสารอาหารจากพืชอาจเป็นเห็ดกลุม่ เอกโตไมคอไรซาทีอ่ าศัยพึง่ พากันระหว่างเห็ดและพืช ส่วนใหญ่เป็นเห็ด
ที่พบบนดินในฤดูฝน เช่น เห็ดระโงก เห็ดแดง เห็ดตับเต่าด�ำ เห็ดขมิ้น เห็ดเผาะ เป็นต้น รวมถึงเห็ดที่อาศัยอยู่กับ
แมลง เช่น เห็ดโคนอาศัยอยู่กับปลวก ซึ่งเป็นการแบ่งกลุ่มเห็ดตามสถานะและแหล่งอาหารของเห็ด
ประเทศไทยตั้งที่อยู่ในเขตร้อนชื้น มีภูมิอากาศเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดรา ถือได้ว่าเป็นแหล่ง
ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดราที่ดีที่สุดของโลกจากการรายงานของ Royal Botanical Garden, Kew
พบว่าประเทศไทยเป็นอันดับสามของโลกจากรายงานการค้นพบราชนิดใหม่ของโลก[1] รวมถึงการรายงานการค้นพบ
เห็ดราจากภาคเหนือของประเทศไทยปรากฎถึงร้อยละ 96 ของชนิดที่ค้นพบเป็นชนิดใหม่ของโลก[2] จากการค้นพบ
ดังกล่าวทั้งหมดคิดเป็นเพียงแค่ร้อยละ 6-10 ของเห็ดราที่คาดว่าจะพบจากประเทศไทย[3,4] จากการที่ประเทศไทย
มีความหลากชนิดของเห็ดสูงมาก[5] เห็ดป่าที่พบในประเทศไทยจึงมีทั้งชนิดที่รับประทานได้ และชนิดที่รับประทาน
ไม่ได้ โดยจะแบงตามคุณสมบัติ 1. เห็ดที่รับประทานได้ มีกลิ่น รส และสีแตกต่างกัน ซึ่งมีทั้งชนิดที่เพาะเลี้ยงได้
และเพาะเลี้ยงไม่ได้ 2. เห็ดพิษ สารพิษจากเห็ด เป็นสารที่เกิดจากกระบวนการทางสรีรวิทยาของเห็ด เมื่อคน
หรือสัตว์ได้รับสารเข้าไปในร่างกายจะก่อให้เกิดพยาธิสภาพ ท�ำให้เจ็บป่วยจนกระทั่งถึงแก่ชีวิตได้ เห็ดพิษบางชนิด
สามารถรับประทานได้หากรูจักวิธีการบริโภคที่ถูกตอง เนื่องจากมีพิษอ่อนโดยสารพิษจะถูกสลายด้วยความร้อน
เช่น เห็ดแดง หน้าม่อย เห็ดตีนแรด เป็นต้น รวมถึงการเกิดพิษเมื่อบริโภคเห็ดร่วมกับแอลกอฮอล์ และบางชนิด
ไม่อาจจะรับประทานได้เนื่องจากมีพิษรุนแรงซึ่งไม่สามารถใช้ความร้อนท�ำลายพิษได้ อาการที่เกิดจากการบริโภค
เห็ดพิษมีหลากกลุ่มอาการขึ้นอยูกับชนิดของเห็ด เห็ดพิษที่ท�ำให้เกิดอาการป่วยและรายงานการเสียชีวิตมากที่สุด
ไดแก เห็ดในสกุล Amanita ซึ่งพบว่ามีความหลายชนิดมากในประเทศไทย เชน เห็ดระโงกหิน เห็ดไขตายซาก
เห็ดสะเกล็ดดาว เป็นตน ดังนั้นในการรับประทานเห็ดต้องพึงระมัดระวังในการรับประทานเห็ดที่ไม่รู้จัก และไม่
แน่ใจจึงไม่ควรรับประทาน หรือเห็ดที่สามารถรับประทานได้ควรรับประทานแต่น้อย 3. เห็ดที่ใชประโยชนทางยา
เชน เห็ดหลินจือ เห็ดหอม กลุ่มถั่งเช่า เป็นต้น การน�ำมาใช้ได้ในหลายรูปแบบ เช่น รับประทานไดโดยตรง
เห็ดเหล่านีม้ คี ณ
ุ สมบัตทิ าํ ใหร า งกายแข็งแรง เชน เห็ดหลินจือ และเห็ดหอม มีรายงานพบว่าดอกเห็ดและสปอรม สี าร
ยับยั้งการเจริญของเชื้อไวรัสที่ทําใหเกิดโรคไขหวัดใหญ เนื้องอก (ในหนูทดลอง) รวมถึงยับยั้งการเพิ่มตัวของเซลล์
มะเร็งในห้องปฏิบัติการ 4. เห็ดที่มีคุณสมบัติอื่น เชน การน�ำมาท�ำสียอมของเห็ด กลุ่มเห็ดก้อนกรวด[6-8]

Position-5.indd 136 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 4 ประเด็นวิชาการร่วมสมัย 137

เห็ด เป็นแหล่งอาหารโปรตีนจากธรรมชาติ โดยปราศจากไขมัน พบว่า มีปริมาณน�้ำตาลและเกลือ


ค่อนข้างต�่ำ และยังเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี มีรสชาติและกลิ่นที่ชวนรับประทาน ซึ่งรสชาติที่โดดเด่นนี้ มาจากการ
สะสมกรดอะมิโนกลูตามิค โดยกรดอะมิโนนี้จะท�ำหน้าที่ช่วยกระตุ้นประสาทการรับรู้รสอาหารของลิ้นไวกว่าปกติ
และท�ำให้มีรสชาติคล้ายกับเนื้อสัตว์ นอกจากนี้เห็ดยังอุดมไปด้วยวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินบีรวม (ไรโบฟลาวิน)
และไนอาซิน ซึ่งจะช่วยควบคุมการท�ำงานของระบบย่อยอาหาร ในส่วนของเกลือแร่ เห็ดจัดเป็นแหล่งเกลือแร่ที่
ส�ำคัญ โดยมีส่วนประกอบของเกลือแร่ เช่น ซิลิเนียม ท�ำหน้าที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
มะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โปแตสเซียม ท�ำหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ สมดุลของน�้ำในร่างกาย
การท�ำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ส่วนทองแดงช่วยท�ำหน้าที่ช่วย
เสริ ม สร้ า งการท� ำ งานของธาตุ เ หล็ ก รวมถึ ง เห็ ด มี อ งค์ ป ระกอบของพฤกษเคมี ที่ ชื่ อ ว่ า “โพลี แ ซคคาไรด์ ”
(polysaccharide) ซึ่งจะท�ำงานร่วมกับแมกโครฟาจ (macrophage) ซึ่งเป็นเซลล์คุ้มกันขนาดใหญ่ที่ออกจาก
หลอดเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อและจะจับกับโพลีแซคคาไรด์ที่บริเวณกระเพาะอาหาร และส่งยังเซลล์คุ้มกันตัวอื่น ๆ
โดยจะช่วยกระตุ้นวงจรการท�ำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เสริมและช่วยเพิ่มปริมาณและประสิทธิภาพ
ของเซลล์คุ้มกันธรรมชาติ ให้ท�ำหน้าที่ท�ำลายเซลล์แปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมถึงพวกไวรัสและแบคทีเรีย
เห็ดที่มีปริมาณสารโพลีแซคคาไรด์สูง คือ เห็ดหอม เห็ดร่างแห เห็ดนางรม เห็ดหูหนู และเห็ดกระดุม รวมถึงเห็ด
ป่าบางชนิด เช่นเห็ดตับเต่าด�ำ กลุ่มเห็ดผึ้ง เห็ดแดง และเห็ดตาโล่ เป็นต้น และเห็ดอื่น ๆ ที่นิยมน�ำมารับประทาน
ได้แก่ เห็ดหลินจือ เห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดกระดุม เห็ดโคน และเห็ดเข็มทอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้เห็ด
เป็นยาได้อีกด้วย ซึ่งสรรพคุณทางยาของเห็ดมีมากมาย เช่น ช่วยควบคุมการท�ำงานของอวัยวะส�ำคัญต่าง ๆ เช่น
สมอง หัวใจ ปอด ตับ และระบบไหลเวียนของโลหิต เนื่องจากชาวจีนจัดเห็ดเป็นยาเย็น เพราะมีสรรพคุณช่วย
ลดไข้ เพิ่มพลังชีวิต ดับร้อนใน แก้ช�้ำใน บ�ำรุงร่างกาย ลดระดับน�้ำตาล และคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด
ลดความดัน ขับปัสสาวะ ช่วยให้หายหงุดหงิด บ�ำรุงเซลล์ประสาท รักษาอาการอัลไซเมอร์ และที่ส�ำคัญ คือ ช่วย
ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในห้องปฏิบัติการได้
ดังนั้น เมื่อนึกถึงอาหารและยา เห็ดจึงเป็นหนึ่งในวัตถุดิบจากธรรมชาติที่ในยุคปัจจุบันจะค�ำนึงถึงเสมอ
ด้วยความนิยมเหล่านี้กิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับเห็ดจึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจและถูกติดตาม ผลการศึกษา
เกี่ยวกับเห็ดในปัจจุบันท�ำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและเพิ่มขึ้นในท้องตลาด แต่ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารจาก
เห็ดป่าในประเทศไทยยังไม่ได้รบั ความสนใจเท่ากับเห็ดป่าจากต่างประเทศ เนือ่ งจากขาดข้อมูลพืน้ ฐานเริม่ จากอนุกรม
วิธาน คุณค่าทางโภชนาการ คุณสมบัติพื้นฐานทางเคมีและสรรพคุณหรือสารออกฤทธิ์ทางยา เมื่อข้อมูลดังกล่าว
มีน้อยส่งผลให้การพัฒนาเห็ดป่าของไทยไม่คืบหน้า ต่างจากเห็ดที่มาจากต่างประเทศ

2. ภาพรวมความส�ำคัญของประเด็นนั้น ๆ ที่ต้องด�ำเนินการท�ำ
เห็ดเป็นอาหารและยานั้นมีการน�ำมาใช้หลายรูปแบบ ยกตัวอย่างการน�ำมาใช้โดยตรงเช่น การบริโภค
ดอกเห็ดในรูปแบบต่าง ๆ โดยไม่มีการแปรรูป เช่น ต้ม ย�ำ ผัด ทอด นึ่ง ร่วมกับเนื้อสัตว์หรือผักเป็นต้น เห็ด
ในกลุ่มนี้รู้จักดีในนามของเห็ดจากฟาร์ม หรือ เห็ดป่า เห็ดจากฟาร์มในประเทศไทยมีจ�ำหน่ายไม่หลากชนิดใน
ท้องตลาด เกือบทั้งหมดเป็นสายพันธุ์ที่น�ำเข้าจากต่างประเทศ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดหูหนู เห็ดหอม
เป็นต้น ส่วนที่ไม่มีขายในตลาดและต้องเก็บเองโดยตรงจากป่า หรือ เห็ดป่า เช่น เห็ดไคล เห็ดผึ้ง เห็ดระโงก
เห็ดนกยูง เห็ดขิง เห็ดข่า เห็ดขมิ้น เห็ดตาโล่ เห็ดโคน และอีกมากมาย เห็ดป่าเป็นแหล่งรายได้และแหล่งอาหาร
ที่ส�ำคัญส�ำหรับผู้อาศัยโดยรอบป่า พบเฉพาะหน้าฝน ดอกเห็ดจะเปลี่ยนสกุลการขึ้นทุก 2-3 วัน ดอกเห็ดมีล�ำดับ

Position-5.indd 137 9/13/19 16:05


138 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

การขึ้น เช่น เห็ดระโงกขึ้นเป็นอันดับแรก ตามด้วยเห็ดผึ้ง เห็ดโคนอันดับสุดท้าย ส่วนเห็ดก่อจะขึ้นตลอดฤดูฝนแต่


สลับชนิดไป เช่น เห็ดก่อแดงขึน้ เป็นอันดับแรก ตามด้วยเห็ดก่อนกเอีย้ ง เป็นต้น ส่งผลถึงปริมาณและความหลากชนิด
ของเห็ดป่าทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงทุก ๆ 2-3 วัน เนือ่ งจากต้นทุนของการเก็บเพือ่ จ�ำหน่ายนัน้ ไม่มใี นเชิงการลงทุน ท�ำให้
ผูเ้ ก็บได้เม็ดเงินเต็มทีจ่ ากราคาขายโดยไม่มตี น้ ทุนให้หกั พบว่าในฤดูกาลราคาขายเห็ดป่า ราคาต�ำ่ สุด กิโลกรัมละ 100
บาท เช่น เห็ดก่อนกเอี้ยง (Russula cf. foetens Pers. 1796) ไปจนถึงราคาขายสูงสุด กิโลกรัมละ 1,200 บาท
เช่น เห็ดระโงกเหลือง (Amanita cf. zombiana Pegler & Piearce 1980) เป็นต้น ดังนั้น เห็ดป่ารับประทาน
ได้ จึงกลายเป็นรายได้ส�ำคัญของผู้คนที่อาศัยอยู่ร่วมกับป่าในฤดูฝน รายได้จากการเก็บเห็ดป่าขายได้ไม่น้อยกว่า
30,000-50,000 บาทต่อปี แบบไม่มีเม็ดเงินเป็นต้นทุน แต่ความจริงแล้วต้นทุนทางธรรมชาตินั้นสูงมากเนื่องจาก
เป็นการเก็บใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยตรงจากแหล่งผลิตคือ ป่าธรรมชาติ ดังนั้นป่าต้องมีความสมบูรณ์จึงจะผลิต
เห็ดได้อย่างต่อเนื่องหากป่าไม่สมบูรณ์เห็ดป่าจะหายไป
ความนิยมของเห็ดแต่ละชนิดสะท้อนคุณค่าทางโภชนาการ เช่น เห็ดก่อแดง ได้รับความนิยมสูงสุดใน
พื้นที่จังหวัดสกลนคร เมื่อน�ำมาเปรียบเทียบกับเห็ดป่าชนิดอื่นแล้ว เห็ดก่อแดงมีปริมาณน�ำ้ ตาลสูงที่สุด น�้ำตาล
1 กรัม/100 กรัมน�้ำหนักแห้ง ท�ำให้เกิดรสหวาน ชาวบ้านจึงชอบเก็บรับประทานเป็นอันดับหนึ่ง จากข้อมูลคุณค่า
ทางโภชนาการของเห็ดป่า เช่น เห็ดระโงกขาว (Amanita egregia) เห็ดระโงกเหลือง (Amanta cf. zombiana)
เห็ดเผาะหนัง (Astraeus cf. odoratus) เห็ดผึ้งข้าว (Boletus sp.) เห็ดก่อนกเอี้ยง (Russula cf. foetens)
เห็ดก่อแดง (Russula cf. nobilis) เห็ดโคน (Termitomyces sp.) เห็ดผึ้งแง้ (Tylopilus violatinctus) เห็ดผึ้ง
นกยูง (Xerocomus sp.) (ชื่อท้องถิ่นสกลนคร อ�ำนาจเจริญ) นั้นมีความแตกกัน เช่น เห็ดโคนให้ปริมาณโปรตีน
37% สูงทีส่ ดุ เมือ่ เทียบกับเห็ดทุกชนิดข้างต้น ในขณะทีเ่ ห็ดเผาะหนังให้ปริมาณคาร์โบไฮเดีรต 57% สูงสุดเมือ่ เทียบ
กับเห็ดทุกชนิดข้างต้น[9]
เห็ดเป็นยาในธรรมชาติ ถูกใช้ประโยชน์ผ่านหมอยาพื้นบ้าน ซึ่งมีความสามารถในการระบุชนิดของเห็ด
เหล่านี้เป็นอย่างดี หมอยาจะพิจารณาเห็ดที่จะน�ำมาใช้เป็นยาสมุนไพรร่วมกับชนิดของต้นไม้ที่เห็ดชนิดนั้นอาศัยขึ้น
เหตุจากต้นไม้ทเี่ ป็นแหล่งอาหารของเห็ดเหล่านีม้ สี ารเฉพาะในเปลือกไม้แต่ละชนิดทีส่ ง่ ผลถึงฤทธิ์ สรรพคุณของเห็ด
นัน้ หรือถึงอาจก่อให้เกิดพิษกับเห็ดทีเ่ กาะอาศัยหรือใช้ตน้ ไม้นนั้ เป็นอาหาร ถึงแม้เห็ดชนิดนัน้ สามารถรับประทานได้
หรือเป็นสมุนไพรแต่ขึ้นบนต้นไม้ที่มีเปลือกที่มีสารพิษ ท�ำให้สารที่ได้จากเห็ดนั้นอาจมีพิษตกค้างอยู่ภายในดอกเห็ด
หมอยาจะไม่เลือกเห็ดนั้นมาใช้เป็นยาสมุนไพร การใช้เห็ดเป็นยามาจากองค์ความรู้แบบ “มุขปาฐะ” หรือ ความ
รู้จากปากต่อปาก การสังเกต น�ำมาสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้รุ่นต่อรุ่น แบบไม่ได้จดบันทึกสืบต่อกันมาท�ำให้เกิดวิธี
การน�ำเห็ดจากท้องถิ่นนั้นมารักษาโรค ยาเหล่านี้ควรแก่การสืบทอดเพื่อพัฒนาต่อยอดศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการ
ออกฤทธิ์ของเห็ดเป็นยานั้นในอนาคต เพื่อให้เกิดการพัฒนาเป็นยาสมุนไพรไทย เพื่อการรักษาหรือป้องกันใน
เบื้องต้น[10]
สืบเนื่องจากคุณสมบัติของเห็ดป่าที่กล่าวข้างต้นมีมากมาย ส่งเสริมทั้งด้านสุขภาพ รักษาโรคและ
ความงาม จึงส่งผลให้ผลิตภัณฑ์จ�ำนวนมากในยุคปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับเห็ด จะเห็นแนวโน้มของผลิตภัณฑ์ได้
จากแบรนด์ทมี่ ชี อื่ เสียงระดับโลกในยุโรป อเมริกา ญีป่ นุ่ จีน รัสเซีย พบว่ามีเห็ดเป็นหนึง่ ในส่วนผสมของผลิตภัณฑ์
ที่วางขายในท้องตลาด ท�ำให้ผลิตภัณฑ์มีจุดเด่นเพิ่มขึ้น ไม่ต่างไปกับการมีพืชเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
เห็ดที่เป็นที่นิยมน�ำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ยุคปัจจุบัน เช่น ถั่งเช่า เห็ดหลินจือ เห็ดกระถินพิมาน และ
เห็ดชาก้า เป็นต้น จากความนิยมข้างต้นส่งผลให้ราคาขายวัตถุดิบเห็ดจากตลาดในประเทศและตลาดโลกมีราคา
สูงขึ้น ท�ำให้เกิดผู้ผลิตหลายระดับตั้งแต่ท้องถิ่นจนถึงอุตสาหกรรมต้องการมีส่วนแบ่งทางการตลาด สินค้าที่
เกิดขึ้นทั้งระดับท้องถิ่นและระดับอุตสาหกรรมจึงเดินเส้นทางการผลิตสินค้าไปในทิศทางเดียวกับสินค้าจากแบรนด์

Position-5.indd 138 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 4 ประเด็นวิชาการร่วมสมัย 139

ดังเพราะได้ท�ำการตลาดจากเห็ดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ข้อเท็จจริงคือ คุณภาพของวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อของ


ดอกเห็ด ปริมาณและคุณภาพของสารสกัดจากดอกเห็ด หรือจากเส้นใย ล้วนแต่เป็นเคล็ดลับในการผลิตสินค้าของ
แบรนด์ดังที่ยากจะเลียนแบบ
ในยุคปัจจุบนั ผูเ้ กีย่ วข้องกับกระบวนการผลิตระดับโลกต้องค�ำนึงถึงกฎหมายในประเทศ กฎหมายระหว่าง
ประเทศ และอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่มาของสายพันธุ์ที่น�ำมาใช้
ในการผลิตนั้นมีที่มาอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ไม่มีการลักลอบน�ำเข้า และมีการแบ่งปันผลประโยชน์ต่อ
ผู้ให้สายพันธุ์นั้นมาใช้อย่างไร ส่วนการผลิตในประเทศ เช่น การผลิตเชื้อเห็ดตามมาตรฐานสินค้าเกษตร ตามหลัก
ปฏิบัติส�ำหรับการผลิตเชื้อเห็ด (มกษ. 2507-2559) ของส�ำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ
การด�ำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุชีวภาพ ซึ่งหมายถึงหากผลิตสินค้าออกมาแล้วและมีบางกระบวนการผลิตที่
ไม่สอดคล้องกับข้อกฎหมายข้อใดข้อหนึ่ง อาจเสี่ยงให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจ ผิดกฎหมาย หรือเป็นปัญหาต่อ
การส่งต่อวัตถุดิบที่ผลิตแล้วนั้นไปยังขั้นการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นวัตถุดิบที่ไม่มีมาตรฐานและไม่เป็นไปตาม
กฎหมาย ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต เช่น รวมลิงค์หรือข้อกฎหมายที่
เกี่ยวข้องจะช่วยให้ผู้ผลิตเข้าใจในกฎระเบียบและข้อกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งจะท�ำให้การผลิตวัตถุดิบจากเห็ดนั้นเป็นไป
ตามมาตรฐานของประเทศไทยและสากลจะช่วยให้ป้องกันปัญหาที่จะตามมาในอนาคตได้
ผลิตภัณฑ์จากเห็ดโดยกลุ่มของอาหารและยา ไม่มีการก�ำหนดมาตรฐานปริมาณสารออกฤทธิ์ให้เกิด
ผลลัพธ์ (active ingredient) จากเห็ดอย่างชัดเจน ควรจะก�ำหนดว่าผลิตภัณฑ์ประเภทใด เช่น เครื่องดื่มที่มี
เห็ดเป็นองค์ประกอบ ครีมที่มีสารสกัดจากเห็ดเป็นองค์ประกอบ แคปซูลสารเสริมอาหารที่มีเห็ดเป็นองค์ประกอบ
สินค้าเหล่านี้ควรประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ให้เกิดผลลัพธ์จากเห็ดอย่างน้อยในปริมาณเท่าใดและปริมาณเท่าใดจะ
อยู่ในช่วงความปลอดภัยที่ผู้บริโภคสามารถใช้ได้ สังเกตได้จากผลิตภัณฑ์ที่วางขายในปัจจุบันพบการแจ้งปริมาณ
สารออกฤทธิ์ที่เกิดผลลัพธ์อย่างชัดเจนน้อยมาก สิ่งเหล่านี้เป็นอันตราย ส่งผลถึงการเกิดอันตรายในการบริโภค จึง
เป็นข้อด้อยของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวพันต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค อาจส่งผลถึงการปฏิเสธสินค้าหรือมีผลกระทบต่อ
การพิจารณาการเลือกซื้อสินค้าดังกล่าวได้ ซึ่งผลิตภัณฑ์จากเห็ดที่ระบุปริมาณสารออกฤทธิ์ให้เกิดผลลัพธ์ (active
ingredient) ที่ชัดเจนพบน้อยมากในท้องตลาด ผลิตภัณฑ์ที่พบการแจ้งมักจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ท�ำงานร่วมกับองค์กร
ของรัฐ จึงท�ำให้มีข้อมูลตัวเลขยืนยันชัดเจน สามารถระบุได้แต่ก็ยังไม่มีข้อควรระวังที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด
ผลกระทบในการบริโภคระยะยาวหรือใช้ผลิตภัณฑ์ในระยะยาว
ปัญหาข้างต้นมาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเห็ดของประเทศไทยที่จะแข่งขันกับตลาดโลก เนื่องจาก
ต้นทุนการควบคุมการผลิตและตรวจสอบสารส�ำคัญจากเห็ดให้มีปริมาณในช่วงปริมาณที่ยอมรับได้ในทุก lot
ของการผลิตเป็นเรื่องที่ใช้ต้นทุนสูง สินค้าจากชุมชน วิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กหรือ SMEs ที่มีศักยภาพไม่สามารถ
จะรองรับค่าใช้จ่ายเหล่านั้นได้ ส่งผลให้การยกระดับสินค้าขึ้นเป็นสินค้า premium grade ยังคงเป็นเพียงความ
ฝัน ดังนั้นการผลักดันให้เกิดการยอมรับผลิตภัณฑ์ที่มาจากเห็ดป่าของประเทศไทยที่มีศักยภาพ คุณสมบัติมากมาย
เหมาะกับการน�ำไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ในด้านต่าง ๆ เช่น สารเสริมอาหาร สมุนไพร เครื่องส�ำอางและยา
นั้นเป็นไปได้ยาก การยกระดับสินค้าเหล่านี้ไปสู่ตลาดโลกที่มีมาตรฐานหลายเรื่องเป็นตัวควบคุมคุณภาพของ
ผลิตภัณฑ์จึงจ�ำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน�้ำไปจนถึงปลายน�้ำ โดยเฉพาะเรื่องการ
ปนเปื้อนจากราชนิดอื่นที่ไม่ต้องการ ซึ่งอาจก่อให้เกิดสารพิษที่มาจากราชนิดอื่นที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ที่ส่ง
จ�ำหน่ายได้ ส่งผลต่อคุณภาพ สุขภาพของผู้บริโภค นั่นคือสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นงานวิจัยในประเทศไทย
ควรสนับสนุนทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ สนับสนุนการพัฒนาหรือปรับปรุงสายพันธุ์ให้มีคุณสมบัติที่
ตลาดต้องการ ศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานทางเคมีของสายพันธุ์ วิเคราะห์ฤทธิ์ของสายพันธุ์ ซึ่งรวมอยู่ในคุณสมบัติ

Position-5.indd 139 9/13/19 16:05


140 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ของวัตถุดิบจากเห็ดป่าไปจนจบกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์และสิ้นสุดที่กระบวนการหลังการผลิต เช่น packaging


ที่ช่วยยืดอายุสินค้าได้ หรือ ลดการปนเปื้อนของสินค้าได้ ซึ่งต้องใช้ผู้ช�ำนาญการหลายด้านให้เกิดการบูรณาการ
ร่วมของงานวิจัยเพื่อพัฒนาสินค้าจากเห็ดป่าจากประเทศไทย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของประเทศไทยก้าวไปสู่สากลอย่าง
มีมาตรฐานโลก

3. ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลท�ำให้ประเทศไม่พัฒนา
เห็ดป่าจากประไทยไม่ใช่ไม่มีศักยภาพในการพัฒนาทางทั้งทางการแพทย์ สารเสริมอาหาร หรือ
เครื่องส�ำอาง ความจริงเห็ดป่าของไทยที่สามารถแยกเชื้อเพื่อเลี้ยงต่อได้หรือไม่สามารถแยกเชื้อได้นั้นมีศักยภาพ
จ�ำนวนมากสะท้อนจากผลการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีที่ศึกษาทั้งจากเชื้อบริสุทธิ์เลี้ยงในระบบปิด และจากดอก
ที่น�ำมาเพาะและท�ำการเปิดดอกในโรงเรือนของเห็ดป่าไทย พบการสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพชนิดใหม่ของ
โลกและสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์จ�ำนวนมาก การพบสารออกฤทธิ์ชนิดใหม่นั้นไม่เพียงแต่พบจากเส้นใยที่น�ำ
มาเพาะเลี้ยงแต่กลับพบจากดอกเห็ดที่เพาะเลี้ยงในโรงเรือนเพื่อเปิดดอก ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิจัยไม่ได้คาดคิด เช่น
เห็ดกลุ่มหลินจือป่า Ganoderma austral และ G. orbiforme พบการสร้างสารออกฤทธิ์ชนิดใหม่จากดอกที่
น�ำเชื้อมาเปิดในโรงเรือน คือ 3,4-seco-27-norlanostane triterpene, ganoboninketal D, (24S)-3-oxo-
7α,24,25-trihydroxylanosta-8-ene[11,12] เป็นต้น สารที่นักวิจัยพบจากเห็ดป่าเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดทั้งสารชนิดใหม่
และสารออกฤทธิ์ที่มีประโยชน์คือ สารกลุ่ม Triterpenoids
เมื่อน�ำสารออกฤทธิ์ที่พบจากเห็ดป่าเหล่านี้มาทดสอบทางด้าน biological assay พบคุณสมบัติ
มากมาย ตัวอย่างสารออกฤทธิ์จากเห็ดป่าไทยที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งมะเร็งปากมดลูกที่มีสาเหตุมาจาก herpes
simplex virus type 1 เช่น เห็ดสกุล Inonotus พบสาร inonoalliacane B[13] สารใหม่ Fomitopsin D
(IC50 17 µg/mL) เห็ดกระด้าง Fomitopsis feei[14,15] และ Pinicolic acid A (IC50 15 µg/mL) จากเห็ด
กระด้างรูเหลี่ยม เช่น Flavodon flavus[16] เป็นต้น ตัวอย่างสารออกฤทธิ์จากเห็ดป่าไทยที่มีฤทธิ์ในการยับยั้ง
เชื้อเซลล์มะเร็งชนิด cancer cell-lines (KB, MCF-7, และ NCI-H187) ได้แก่ เห็ดดอกนิ่ม หรือเห็ดร่ม
เนื้อเจลลี่อย่างสกุล Resupinatus ในอดีตถูกรายงานเป็นเห็ดในสกุล Marasmiellus ในขณะนั้นพบว่าสร้างสาร
ใหม่ คือ marasmiellins A และ B (ที่ความเข้มข้น 50 µg/mL)[17] สาร russulanigrins A-C และสารใหม่
russulanigrin D จาก Russula nigricans หรือเห็ดถ่าน[18] และสารใหม่ Mycenadiols A-D จากเห็ดร่มดอก
ขนาดเล็ก เช่น Mycena pruinosoviscida ที่พบเมือกบนก้านและเรืองแสงขึ้นบนขอนไม้ ส่วน astraeusins
A-L และสารสกัดจากเห็ดเผาะหนัง A. ordoratus ที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งแต่ไม่ได้ระบุเรื่องของชนิด
เซลล์มะเร็งและปริมาณทีย่ บั ยัง้ ได้[19] ตัวอย่างสารออกฤทธิจ์ ากเห็ดป่าไทยทีม่ ฤี ทธิใ์ นการยับยัง้ เชือ้ mycobacterial
(Mycobacterium tuberculosis H37Ra) ที่เป็นสาเหตุของโรควัณโรค เช่น Ganoderma lanostanoids
จากเห็ดกลุ่มหลินจือ Ganoderma sp. สายพันธุ์ BCC 16642 มีคุณสมบัติในการต้านวัณโรค [20,21] สาร
porialbocin A ชนิดใหม่กลุ่ม cryptoporic acid derivative จากเห็ดกระด้างที่เคลือบบนกิ่งไม้ เช่น Poria
albocincta[22] และสาร russulanigrins A-D จาก Russula nigricans หรือเห็ดถ่าน[18] ตัวอย่างสารออกฤทธิ์
จากเห็ดป่าไทยทีม่ ฤี ทธิใ์ นการยับยัง้ เชือ้ Plasmodium falciparum K1 เป็นสาเหตุของโรคมาเลเรีย เช่น สาร
ออกฤทธิ์ชนิดใหม่คือ astraeusins M-Q (ที่ความเข้มข้น 3.0 µg/mL) จากเห็ดเผาะ Astraeus asiaticus[23] เช่น
เดียวกับ porialbocin A จากเห็ดกระด้างที่เคลือบบนกิ่งไม้ เช่น Poria albocincta[22] และสาร russulanigrins
A-C และสารใหม่ russulanigrin D จาก Russula nigricans หรือเห็ดถ่าน[18] และ tremulenediol A

Position-5.indd 140 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 4 ประเด็นวิชาการร่วมสมัย 141

(IC50 8.6 µg/mL) จากเห็ดกระด้างรูเหลี่ยมเช่น Flavodon flavus[16] ตัวอย่างสารออกฤทธิ์จากเห็ดที่เกี่ยวกับ


ระบบประสาท คือ Mycenadiols A และ B เป็นสาร diastereoisomers ที่มีความใกล้เคียงกับสารสังเคราะห์
คือ Centalun ที่ใช้ใน psycholeptic drug ที่มีผลด้านกล่อมประสาทและท�ำให้หลับ (hypnotic และ sedative)
ซึ่งยาในกลุ่มนี้ไม่ถูกน�ำมาใช้ในสถานพยาบาลแล้วมาจากเห็ดดอกขนาดเล็ก Mycena pruinosoviscida[24]
ตัวอย่างสารออกฤทธิ์จากเห็ดป่าไทยที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวก เช่น Bacillus cereus จากสาร
Fomitopsins E และ F (ที่ความเข้มข้นต�่ำสุด (MIC) 6.25 µg/mL) จากเห็ดกระด้างรูเหลี่ยม เช่น Flavodon
flavus[16], normarasmane ที่เป็นสารชนิดใหม่ คือ russulanigrin D สกัดโดยตรงจากดอกของเห็ดถ่านหรือ
Russula nigricans[18] และสารมีฤทธิ์ในการยับยั้งจุลชีพชนิดอื่น เช่น ราและแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคทั่วไป
เช่น สารใหม่จาก inonoalliacanes A-I ซึ่ง inonoalliacanes A และ B จากเห็ดสกุลเดียวกับเห็ดชาก้าของ
ต่างประเทศสกุล Inonotus[13], Mycenadiols A และ B จากเห็ดดอกขนาดเล็ก Mycena pruinosoviscida[24],
สารชนิดใหม่ กลุ่ม tetrahydrobenzofuran derivative คือ (6S,7S)-6,7-dihydroxy-3,6-dimethyl-
2-isovaleroyl-4,5,6,7-tetrahydrobenzofuran จากเห็ด Lentinus squarrosulus BCC 22366 หรือ
เห็ดขอนขาว[17] สารออกฤทธิ์พบสารออกฤทธิ์กลุ่ม marasmane sesquiterpenes ที่เป็นชนิดใหม่ คือ
russulanigrins A–C และกลุ่ม normarasmane ที่เป็นสารชนิดใหม่ คือ russulanigrin D  จากเห็ดถ่านหรือ
Russula nigricans[18], สารใหม่ คือ astraeusins A-L จากเห็ดเผาะหนัง A. ordoratus และสารออกฤทธิ์
อื่น ๆ จากเห็ดเผาะฝ้าและเห็ดเผาะหนัง Astraeus asiaticus และ A. ordoratus มีฤทธิ์เช่นเดียวกัน[19]
ตัวอย่างสารออกฤทธิ์ข้างต้นจากเห็ดป่านั้นพบคุณสมบัติที่มีประโยชน์มากมาย คุณสมบัติสารสกัด
ออกฤทธิ์ที่กล่าวข้างต้นได้จากการทดสอบเห็ดป่าโดยตรงจากดอกเห็ดและสกัดจากเชื้อบริสุทธิ์ที่แยกได้จากเห็ดป่า
มีที่มาจากป่าชุมชนและป่าอนุรักษ์ในประเทศไทย จะเห็นได้ว่าเห็ดเพียงไม่กี่ชนิดแสดงถึงศักยภาพในการต่อต้าน
จุลชีพทีก่ อ่ ให้เกิดโรคในมนุษย์จำ� นวนมากเหมาะกับการน�ำมาพัฒนาด้านสมุนไพร สารเสริมอาหารและเครือ่ งส�ำอาง
แต่ความจริงแล้วเห็ดจากป่าเมืองไทยที่ยังไม่ได้กล่าวถึง พบแล้วแต่ยังไม่ได้ท�ำการศึกษา แยกเชื้อแล้วแต่ยังไม่ได้ท�ำ
การศึกษาเนื่องจากไม่มีทุนสนับสนุน เห็ดเหล่านี้ยังมีอีกจ�ำนวนมาก ส่งผลให้เห็นว่างานวิจัยเห็ดในประเทศไทย
ขาดการสนับสนุนทุกระดับ ที่ส�ำคัญคือขาดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ขาดการวางเส้นทาง (road map)
หรือทิศทางงานวิจัยระยะยาว ไม่ต�่ำกว่า 10-20 ปี แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงด้านเห็ด เช่น ไต้หวัน
ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี ประเทศจีนพัฒนางานวิจัยเห็ดร่วม 50 ปี สามารถพัฒนาเห็ดได้เพียง 5 ชนิด แต่ประสบ
ผลส�ำเร็จทุกชนิด และในแต่ละชนิดมีงานวิจัยทุกมุมรองรับตั้งแต่ต้นน�้ำไปยังปลายน�้ำ โดยไม่ทอดทิ้งการผลิตระดับ
ท้องถิ่นส่งเสริมไปจนถึงระดับอุตสาหกรรม น่าแปลกใจที่ประเทศไทยนั้นมีความหลากหลายที่สูงเป็นอันดับสาม
ของโลก แต่กลับขาดแคลนงานวิจัยเกือบทุกด้าน ขาดแคลนก�ำลังคน ขาดแคลนความรู้ ขาดแคลนทุนวิจัย
ที่จะสนับสนุนให้เกิดบุคคลากรด้านงานวิจัยเห็ดให้มีคุณภาพ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา
ของการวิจัยเห็ดในประเทศไทยคือ ประเทศไทยไม่มีนักปรับปรุงพันธุ์เห็ด ต่างกับด้านพืชเศรษฐกิจ ทั้ง ๆ ที่
ภาครัฐกล่าวถึงความส�ำคัญของเห็ดเศรษฐกิจมาโดยตลอด แต่กลับขาดแคลนตัง้ แต่การคัดเลือก พัฒนาหรือปรับปรุง
สายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตลาดต้องการ หรือเหมาะสมต่อวัตถุประสงค์ในการเพาะเลี้ยง เช่นต้องการสร้าง
สารสกัดด้านใดด้านหนึ่งปริมาณมากเป็นต้น นักปรับปรุงพันธุ์จึงมีบทบาทมากกับสายพันธุ์ที่น�ำมาใช้เพื่อการเพาะ
เลี้ยงไม่ว่าจะด้วยวัตถุประสงค์ใด ถึงแม้ว่าประเทศไทยมีเห็ดที่มีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดได้ในหลายมิติ แต่ถ้า
ประเทศไทยขาดนักปรับปรุงพันธุ์เห็ดและงานวิจัยด้านเห็ด เห็ดคงไม่สามารถมาน�ำเศรษฐกิจของประเทศได้ และจะ
เติบโตแบบไม่มน่ั คง ดังนัน้ บุคคลากรด้านงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้อง หรือนักปรับปรุงพันธุจ์ งึ เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย
เพราะประเทศเราขาดแคลน

Position-5.indd 141 9/13/19 16:05


142 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ปัญหาอีกส่วนที่ชัดเจนของประเทศไทยคือ ขาดงานวิจัยพื้นฐาน ต่อยอด และบูรณาการด้านเห็ดป่า


อย่างจริงจังต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน งานวิจัยไทยไม่มีการวางแผนระยะยาว ประเทศไทยขาดการท�ำงาน
แบบบูรณาการคือไม่มีการรวมตัวท�ำงานเพื่องานวิจัยขนาดใหญ่ท่ีจะส่งผลกระทบต่อคนจ�ำนวนมาก ท�ำให้
งานวิจัยเห็ดไทยไปได้เพียงแค่นี้ทั้ง ๆ ที่มีศักยภาพด้านทรัพยากรอยู่ล�ำดับต้นของโลกแต่กลับไม่สนใจ สนับสนุน
เพียงงานวิจัยที่เห็นผลระยะสั้น เลือกทีมวิจัยไม่มีคุณภาพท�ำให้งานวิจัยไม่ได้รับการยอมรับในระดับสากล มาตรฐาน
การวิจัยต�่ำ หากมีการสนับสนุนและยกระดับด้านวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเห็ดป่าในทุกมิติ เช่นงานด้านอนุกรมวิธาน
พัฒนางานวิจัยให้เกิดการแยกเชื้อเห็ดป่าให้ส�ำเร็จในหลายกลุ่ม สนับสนุนงานวิจัยด้านการรักษาเชื้อเห็ดใน
ระยะยาว (อายุ 20 ปีขึ้นไป) พัฒนางานวิจัยหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของเชื้อเห็ดหรือ
เห็ดป่าแต่ละชนิด พร้อมเพือ่ คัดเลือกไปต่อยอด พัฒนางานวิจยั ด้านการเพาะเลีย้ งเห็ดป่าหรือเห็ดบ้านให้ได้มาตรฐาน
พัฒนางานวิจัยต่อยอดเชิงผลิตภัณฑ์ รวมถึงน�ำงานวิจัยหลายด้านที่กล่าวข้างต้นบูรณาการท�ำงานร่วมกันโดยใช้เห็ด
เป็นแกนและคัดเลือกเห็ดที่คาดว่าจะเป็นทรัพยากรในการน�ำเศรษฐกิจในอีก 20-30 ปีข้างต้น เช่น วิสัยทัศน์ของ
ประเทศไต้หวัน โดยใช้เห็ดน�ำเศรษฐกิจของประเทศ การพัฒนาที่กล่าวถึงขั้นต้นนั้นล้วนแต่ขาดแคลนเกือบทุกด้าน
ส�ำหรับประเทศไทย หรือมีก็น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เมื่อไม่มีการสนับสนุนงานวิจัยทั้ง
ระบบเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านการผลิต เด็กรุ่นใหม่จะไม่เห็นโอกาสทางอาชีพย้อนไปสู่โอกาสทางการ
ศึกษา ส่งผลให้เด็กรุ่นใหม่ไม่สนใจเรียนเกี่ยวกับเห็ด หางานที่เกี่ยวข้องกับเห็ด หรือต้องการพัฒนาศักยภาพ
ตนเองไปในงานด้านเห็ด เพราะไม่เห็นโอกาสที่น�ำมาเป็นอาชีพและเลี้ยงตนเองได้ ดังนั้นเมื่อให้เลือกหัวข้อวิจัย
และพัฒนาเด็กกลุ่มนี้ก็จะมองข้ามงานวิจัยด้านเห็ดไป เห็นอย่างอื่นส�ำคัญกว่าเห็ด ท�ำให้ไม่เกิดคนรุ่นใหม่ที่จะรับ
ช่วงต่อเข้าสู่วงการพัฒนางานวิจัยด้านเห็ดป่าของไทยเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น เช่น หมอ และวิศวกร ส่งผลกระทบ
ต่อโอกาสทีจ่ ะพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเห็ดป่าไทยสูอ่ ตุ สาหกรรมทางอาหารเสริมและยา อัตราการเติบโตด้านการพัฒนา
และวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้องกับเห็ดป่าไทยเมือ่ เทียบกับอัตราการเติบโตในด้านเดียวกันของต่างประเทศนัน้ เทียบกับไม่ตดิ เช่น
ประเทศจีน และประเทศญีป่ นุ่ เกาหลี และไต้หวัน ซึง่ มีการพัฒนาและวิจยั เชิงลึกของเห็ดป่าเพือ่ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
ต่าง ๆ เช่นเห็ดหลินจือ เห็ดชาก้า เห็ดไมตาเกะ และอีกมากมายเป็นต้น ดังนั้นอนาคตของเห็ดเป็นอาหารและ
ยาของประเทศไทยจึงยังคงลางเลือนหากขาดการสนับสนุนให้เกิดการวิจัยในทุกมิติและยังขาดบุคคลากรที่จะมา
ต่อยอดในการท�ำงาน สานต่องานวิจัยในอนาคตข้างต้น
เพือ่ ให้ผลิตภัณฑ์เห็ดของประเทศไทยก้าวไปสูส่ ากลอย่างมีมาตรฐานโลกดัง้ นัน้ การพัฒนาการใช้ประโยชน์
จากเห็ดสายพันธุ์ไทยจึงเป็นนโยบายของภาครัฐที่ต้องค�ำนึงถึง เพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่แข่งกับระดับโลกได้
การขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเห็ดของประเทศไทยนั้น สายพันธุ์ที่น�ำมาใช้ท้ังหมดมาจากการน�ำเข้าจาก
ต่างประเทศ (สามารถตรวจสอบได้จากแหล่งที่มีการขายสายพันธุ์เห็ดในประเทศทั้งหมดมีไม่กี่แหล่ง) การพัฒนา
ต่อยอดผลิตภัณฑ์เห็ดที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นตามแนวโน้มของโลกไปในทิศทางเดียวกับยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น และจีน
วัตถุดบิ ตัง้ ต้นเป็นวัตถุดบิ ทีม่ แี หล่งทีม่ าจากต่างประเทศ หากผลิตเป็นสินค้าแล้ว เอกลักษณ์ในเรือ่ งราวของวัตถุดบิ
ไม่มีที่มาจากประเทศไทย ส่งผลให้สินค้าไม่มีจุดเด่นไม่สามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุดิบเป็นของประเทศ
นั้นเองซึ่งสามารถสร้างเรื่องราวเพื่อท�ำให้สินค้ามีคุณค่ามากขึ้น ทางการตลาดได้ สินค้าจากประเทศไทยจะเสีย
เปรียบหากไม่สามารถมีเรื่องราวร้อยเรียงได้ ยกตัวอย่างเปรียบเทียบสินค้ามีชื่อเสียงของประเทศไทย มีประวัติที่มา
ชัดเจน เช่น กลุ่มกาแฟดอยช้าง กาแฟชะมด ที่มีเรื่องราวตั้งแต่ต้นตอสายพันธุ์กาแฟ กระบวนการผลิต รูปแบบ
ในการผลิต วิถีชุมชนและการคืนมูลค่าสู่ชุมชน สินค้าจึงมีเอกลักษณ์สามารถขายเรื่องราวประกอบกับผลิตภัณฑ์ได้
เป็นต้น

Position-5.indd 142 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 4 ประเด็นวิชาการร่วมสมัย 143

ปัญหาข้างต้นเรือ่ งของงานวิจยั และบุคลากร สะท้อนให้เห็นถึงการไม่เห็นความส�ำคัญของเห็ดรา เริม่ ตัง้ แต่


กระบวนการศึกษาเกี่ยวกับเห็ดราในสถาบันการศึกษา พบว่า มีหลักสูตรที่เรียนด้านเห็ดราในสถานศึกษาใน
ปัจจุบัน เช่น Mycology หรือ Mushroom น้อยมาก หากมีหลักสูตรส่วนมากจะเป็นหลักสูตรระดับปริญญาโท
หรือเอก มีเพียงไม่กี่มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรในระดับปริญญาตรีและเป็นวิชาบังคับ ประกอบกับสถาบัน
การศึกษาของประเทศไทยจ�ำนวนมากขาดอาจารย์ผู้ช�ำนาญการในสายอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับเห็ดรา
โดยเฉพาะด้านอนุกรมวิธาน ท�ำให้งานด้านอนุกรมวิธานที่มีมาตรฐานระดับสากลผลิตออกมาแต่ละปีน้อยมาก
ผลงานเหล่านั้นไม่ได้ถูกแปลและส่งกลับให้คนไทยอ่าน เน้นแต่การตีพิมพ์ระดับนานาชาติท�ำให้คนไทยยังขาด
องค์ความรู้เรื่องการระบุชื่อสายพันธุ์ของเห็ดราที่พบในประเทศไทย นอกจากข้อมูลที่เป็นคุณสมบัติและศักยภาพ
ของสายพั น ธุ ์ เ ห็ ด ราที่ พ บในประเทศไทย[1] มี น ้ อ ยมากหากเปรี ย บเที ย บกั บ ปริ ม าณเห็ ด ราที่ ค าดว่ า จะพบใน
ประเทศไทย[3,4] ส่งผลให้เห็ดของประเทศไทยไม่ถูกน�ำไปพัฒนาต่อยอดด้านการใช้ประโยชน์ทั้งในรูปของอาหาร
และยา[25] เป็นผลจากการขาดแคลนนักราวิทยาของไทยที่มีความเชี่ยวชาญที่สามารถเสริมความเข้มแข็ง เพิ่มขีดขั้น
ทางศักยภาพทางบุคลากรของประเทศไทย และเพิ่มองค์ความรู้พื้นฐานการน�ำไปใช้ประโยชน์ เช่น การทราบถึง
แหล่งที่มาของเห็ดที่จะสามารถน�ำไปใช้ในการทดลองเพื่อการต่อยอดในอนาคต การบ่งบอกชนิดเห็ดที่ถูกต้อง
และแม่นย�ำ ซึง่ ในปัจจุบนั นักวิจยั นักวิทยาศาสตร์ทไี่ ม่ใช่นกั ราวิทยาทีส่ นใจในการน�ำเห็ดมาทดลองศึกษาวิจยั มีความ
ผิดพลาดในการบ่งบอกชนิดเห็ดที่น�ำมาใช้ในการศึกษาวิจัยเนื่องจาก ขาดความช�ำนาญด้านอนุกรมวิธานหรือไม่มี
นักอนุกรมวิธานให้สอบถามหรือช่วยวิเคราะห์ แต่ใช้วธิ เี ทียบเห็ดจากสมุดภาพทีไ่ ม่มคี วามถูกต้อง พบว่าการเทียบ
ภาพเห็ดจากสมุดภาพจากต่างประเทศและฐานข้อมูลต่างประเทศท�ำให้เกิดความผิดพลาดในการบ่งบอกชือ่ สกุล
และชนิดอยู่เป็นประจ�ำ ต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์การวิเคราะห์เห็ดโดยต้องใช้ข้อมูลอ้างอิงหลายด้านประกอบ
เช่น สัณฐานวิทยาอย่างละเอียดและข้อมูลทางชีวโมเลกุล จึงระบุชนิดแบบมีความแม่นย�ำได้ แต่จากข้อมูล
ทีม่ ใี นประเทศไทยนัน้ มักจะพบแหล่งอ้างอิงแสดงข้อมูลทีผ่ ดิ ท�ำให้ผลงานวิจยั ทีห่ ยิบข้อมูลเหล่านัน้ มาอ้างอิงก็ผดิ
สืบเนื่อง ท�ำให้การระบุชนิดผิดตามไปด้วย และยังพบการอ้างอิงในงานวิจัยที่ตีพิมพ์หลายฉบับว่าเห็ดคือพืช
สามารถพบได้จากเว็บไซด์เผยแพร่ของหน่วยงานในประเทศ และบทความในวารสารในประเทศ เป็นข้อมูลที่
หน่วยงานรัฐในประเทศไทยควรสังคายนาได้แล้ว ดังนั้น การที่จะน�ำเห็ดไปใช้ในการศึกษาวิจัยต่อยอดควรได้รับ
การยืนยันชนิดจากนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานเพื่อใช้อ้างอิงอย่างถูกต้องในอนาคต อีกทั้งยังเป็น
การบูรณาการการท�ำงานร่วมกันของคนไทยในหลายสาขาอาชีพ ทุกแขนงของการวิจัยเพื่อให้ไทยเกิดความเข้มแข็ง
และสามารใช้การรวมตัวนีเ้ ป็นการขับเคลือ่ นงานวิจยั เพือ่ สนับสนุนองค์ความรูท้ สี่ งู ขึน้ โดยใช้เห็ดในการพัฒนาให้เกิด
มูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมถึงการใช้เห็ดที่เป็นฐานเศรษฐกิจ และทรัพยากรของประเทศให้เกิดประโยชน์อย่างมั่นคง
และเกิดความยั่งยืนในอนาคต
ความเข้าใจในเรื่องของชนิดของเห็ดป่าของคนประชาชนคนไทยเกิดจากความรู้แบบมุกปาฐะทั้งสิ้น ต�ำรา
ที่เกิดขึ้นในอดีตเป็นต�ำราเกิดจากการเทียบรูป ความรู้ที่มีข้อจ�ำกัดด้านเทคโนโลยีในการวิเคราะห์เนื่องจากการ
ขาดแคลนทุนในการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ระดับชนิดของเห็ดป่าในประเทศไทยยากมากและส่วนมากเป็นชนิดใหม่
จึงไม่สามารถให้ชอื่ ได้ ดังนัน้ ผลผลิตทีเ่ กิดขึน้ จากต�ำราเหล่านัน้ จึงยังเป็นข้อถกเถียงถึงความถูกต้องและเป็นจริง หาก
จะต้องพิสูจน์ความถูกต้องของหนังสือที่มีมาในอดีตไม่สามารถท�ำได้ เนื่องจากไม่มีตัวอย่างจากที่ระบุในหนังสือนั้น
เก็บไว้เป็นหลักฐาน มีหนังสือเพียงฉบับเดียวที่ปรากฏหลักฐานตัวอย่างแห้งเห็ดเก็บไว้เป็นหลักฐานเทียบเคียงเพื่อ
การศึกษาวิจัยต่อคือ Thai Mushroom and Other Fungi[26] ดังนั้น ในอนาคตการท�ำต�ำราที่กล่าวถึงชนิดของ
เห็ดจะต้องมีตัวอย่างอ้างอิงและฝากเก็บไว้เป็นหลักฐาน ณ พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยเพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่
ไม่ต้องเริ่มต้นจากการไม่มีตัวอย่างศึกษาอ้างอิง หรือต้องยืมจากประเทศอื่นเพื่อน�ำมาศึกษาเทียบเคียง หลักฐาน

Position-5.indd 143 9/13/19 16:05


144 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

การค้นพบที่เป็นทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทยเป็นสิ่งส�ำคัญที่ต้องมีไว้เป็นหลักฐาน และอ้างอิงในงานวิจัย
พืน้ ฐาน หรืองานวิจยั ใด ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง สถานทีส่ ามารถฝากตัวอย่างอ้างอิงในปัจจุบนั มีหลายที่ เช่น BIOTEC Bangkok
Herbarium (BBH) ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ, ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ
พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นต้น

4. ผลกระทบในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ เช่น เศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม


ผลกระทบทางเศรษฐกิจของเห็ดเป็นอาหารและยานั้นมีมาก ในปัจจุบันเห็ดเป็นอาหารและยาเป็น
ผลิตภัณฑ์จ�ำนวนมาก มีทั้งที่บริโภคโดยตรงคือซื้อในรูปของวัตถุดิบและน�ำไปบริโภค ไปจนถึงยาสมุนไพรที่มีเห็ด
เป็นองค์ประกอบหลัก หรือเป็นยาเดี่ยว มีราคาตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลักพันและหมื่นบาท ซึ่งจะเห็นว่าเห็ดก�ำลัง
จะเป็นวัสดุทางชีวภาพที่ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจได้อย่างดี เพราะค�ำว่าเห็ดเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวผู้บริโภค ดังนั้นศักยภาพ
การพัฒนาเศรษฐกิจจากเห็ดนั้นมีมากหากภาครัฐวางแผนระยะยาวและส่งแผนนั้นไปยังสถาบันการศึกษาและ
หน่วยวิจัย สายงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต้องผนึกก�ำลังด�ำเนินการวิจัยแบบบูรณาการนั่นคือการท�ำงานหลาย ๆ
ด้านไปพร้อม ๆ กัน ท�ำให้ระยะเวลาในการวิจัยนั้นสั้นลงส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนรากฐานของ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะท�ำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มานั้นมีรากฐานที่แข็งแรง มีแรงหนุนจากวิทยาศาสตร์ก�ำกับ
คุณภาพของสินค้าที่ผลิต เกิดความมั่นใจในสินค้าและงานวิจัยนั้นส่งผลให้เกิดเม็ดเงินในการลงทุนกับสินค้าในด้านนี้
เพือ่ ขับเคลือ่ นเศรษฐกิจของประเทศ เมือ่ เศรษฐกิจเกิดการขับเคลือ่ นแล้วห้ามลืมสนับสนุนหรือลงขันหยอดน�ำ้ มันลง
กองทุนวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยด้านเห็ด จะช่วยให้เกิดกลไกการท�ำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชนส่งผลให้เกิด
การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
เห็ดเป็นอาหารและยานั้นมีผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง ผลกระทบที่เห็นชัดมาจากการบริโภคชนิดที่
ถูกต้องและการบริโภคชนิดที่ผิด ก่อให้เกิดปัญหากับสุขภาพเป็นข่าวในทุกฤดูฝน คือ การบริโภคเห็ดพิษ ปัญหานั้น
อาจเล็กแค่ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ไปจนถึงตับ ไตวาย หัวใจล้มเหลว เสียชีวิต สิ่งเหล่านี้เป็นผลโดยตรงจาก
การไม่ทราบชนิดที่ถูกต้อง คิดว่าเป็นชนิดที่เคยรับประทาน หากเป็นเห็ดที่รับประทานได้นั้นแน่นอนส่งผลต่อ
สุขภาพที่ดี เพราะเห็ดนั้นมีคุณสมบัติในเชิงของยาและส่งเสริมสุขภาพ เช่น มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพต่อต้าน
จุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคกับมนุษย์ สารต้านมะเร็ง สารท�ำให้เลือดไหลเวียนได้ดี สารต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น หาก
รับประทานโดยตรงนอกจากฤทธิ์ข้างต้นสิ่งที่จะได้เพิ่มเติม คือ กากใย น�้ำตาลที่ดี ไขมันต�่ำเหมาะกับคนที่รักษา
สุขภาพ หากน�ำมาปรับปรุงเป็นสารเสริมอาหาร หรือสมุนไพรนั้นจะท�ำให้เห็ดเหล่านั้นกลายเป็น เห็ดเป็นยา
รวมไปถึงเกิดกลไกการป้องกันสุขภาพ ที่สืบเนื่องจากมาจากสรรพคุณต่าง ๆ ที่ค้นพบข้างต้น
เห็ดป่านั้นเกิดในป่าที่สมบูรณ์ เกิดในป่าที่ได้รับการปกป้อง และดูแลแบบอาศัยฟ้าฝน ซึ่งหากท�ำความ
เข้าใจกับวัฏจักรที่เกิดขึ้นของเห็ดป่าก็จะเข้าใจว่าหากเพียงแต่ดูแลป่าให้ดี ไม่ให้เกิดไฟป่า ถางหญ้าบ้าง ริดกิ่งใบ
ไม่ให้รกบ้าง เปิดแสงลงสู่พื้นดินบ้าง ก็จะพบกับเห็ดป่าได้ จากความเข้าใจดังกล่าวส่งผลให้เกิดการอยู่ร่วมกันของ
ชุมชนและป่าไม้ ควรจะเริ่มจากป่าหัวไร่ปลายนา ไปยังป่าครอบครัว ป่าชุมชน จะท�ำให้เกิดคลังอาหาร คลังอาชีพ
คือ เก็บเห็ดเพื่อการบริโภคและเก็บเห็ดเพื่อการค้าแบบชุมชน ส่งผลให้เกิดรายได้ เมื่อมีรายได้ ท�ำให้ครอบครัว
เป็นสุข เพราะเป็นรายได้ที่ไม่ได้ลงทุนในเม็ดเงิน เช่น พืชไร่ ที่ต้องมีการลงทุนและเก็บเกี่ยวในระยะสั้นกว่า
พื ช สวน แต่ เ ป็ น การลงแรง หากเกษตรกรท� ำ ความเข้ า ใจกั บ การปลู ก ป่ า ครอบครั ว คื อ ปลู ก ทุ ก อย่ า งที่ กิ น
ปลูกทุกอย่างที่ใช้ในพื้นที่ของตนเอง เช่น ปลูกพืชสวน พืชสมุนไพร พืชสวนครัว ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เพื่อให้เห็ด
อาศัย เช่น ต้นเต็งรัง ยางนา เป็นต้น เกษตรกรจะได้รายได้จากการเก็บเกี่ยวพืชในพื้นที่ของตนตลอดทั้งปีหมุนเวียน

Position-5.indd 144 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 4 ประเด็นวิชาการร่วมสมัย 145

ชนิดไป ส่งผลให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในครัวเรือน ก่อให้เกิดความสุขในครัวเรือนครอบครัวมีสุขภาพดีความ


เป็นอยู่ที่ยั่งยืน วิสัยทัศน์ประเทศไทย กล่าวไว้ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนา
แล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักปรัชญาที่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชด�ำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2517

5. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้น แต่ละหน่วยงานด�ำเนินการอะไร
หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องกับเห็ดเป็นอาหารและยานัน้ มีมากมายจากประเด็นทีก่ ล่าวมาข้างต้นทัง้ หมด โดยขอ
แบ่งออกเป็นประเด็นที่ส�ำคัญ 3 ประเด็นดังต่อไปนี้
ประเด็นเรื่องการศึกษาเกี่ยวกับเห็ดรา หน่วยงานภาครัฐทางด้านการศึกษาหากมีการเพิ่มเติมความรู้
ที่ถูกต้องและมีหลักสูตรที่ด้านราวิทยา Mycology หรือเห็ด Mushroom จะช่วยให้ประชาชน เกิดความเข้าใจ
พื้นฐานของเห็ด โดยเฉพาะบางเรื่องไม่ควรใช้เพียงความเชื่อที่ไม่มีการพิสูจน์อย่างแท้จริงทางวิทยาศาสตร์ เช่น
การรักษาคนที่บริโภคเห็ดพิษ เนื่องจากความรู้ด้านนี้เสี่ยงต่อชีวิตเป็นอย่างมาก หากได้รับพิษที่รุนแรงจะไม่สามารถ
ใช้ความรู้แบบดั้งเดิมรักษาได้เป็นต้น เสี่ยงต่อการสูญเสีย ความรู้ในมิติอย่างอื่น เช่น บทบาทของเห็ดราในธรรมชาติ
ในชีวิตประจ�ำวัน และการให้ชื่อของเห็ดรา วิธีการจ�ำแนกที่ถูกเป็นที่มาของชื่อ ต้องมีการตรวจสอบชนิดที่ชัดเจน
อย่างไร สิ่งเหล่านี้ควรแทรกในบทเรียนที่แยกออกต่างหากเพราะเนื้อหามีความละเอียดและซับซ้อน ไม่ควรแทรก
อยู่ในจุลชีววิทยาอีกต่อไป ควรแยกออกมาเป็นวิชาเดี่ยว คือ ราวิทยา Mycology เป็นต้น แต่ในปัจจุบันมีน้อยมาก
ที่บรรจุเป็นหลักสูตรในวิชาบังคับ ซึ่งท�ำให้ยากต่อการพัฒนาอนาคตของชาติในด้านนี้ เนื่องจากเด็กไม่เห็นภาพและ
ไม่เข้าใจศักยภาพของเห็ด จึงไม่สนใจน�ำมาเป็นอาชีพ หรือเป็นหัวข้อเรียนต่อ ท�ำให้ขาดก�ำลังคนในอนาคตที่จะน�ำ
วิชาความรู้ด้านเห็ดกลับมาพัฒนาประเทศ
ประเด็ น งานวิ จั ย งานวิ จั ย ในปั จ จุ บั น กระจายอยู ่ ใ นหน่ ว ยงานภาครั ฐ สถาบั น วิ จั ย และสถาบั น
อุดมศึกษา บางครั้งเป็นโครงการขนาดเล็กในโรงเรียน ซึ่งถ้าพิจารณาให้ดีแล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีจ�ำนวนมาก
แต่ไม่มีมาตรการที่ชัดเจนจากภาครัฐในการสนับสนุนงานวิจัยด้านเห็ดราอย่างต่อเนื่อง มีทิศทางและชัดเจน ทั้งที่
ประเทศไทยมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก แต่งานวิจัยผลิตออกมาจากคนไทยและจากประเทศไทย
น้อยมาก โดยเฉพาะงานวิจัยตั้งแต่ระดับพื้นฐาน คือ ส�ำรวจ รวบรวม แยกเชื้อ จ�ำแนกชนิด เก็บรักษาสายพันธุ์
คัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพ พัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ที่ต้องการ การค้นหาคุณสมบัติประจ�ำตัวของสายพันธุ์นั้น ๆ
เช่น คุณสมบัติทางเคมี เอ็นไซม์ สารออกฤทธิ์ต่าง ๆ การเพาะเลี้ยง การปรับเพาะเลี้ยง (optimization) เพื่อ
ให้สายพันธุ์นั้น ๆ สร้างสิ่งที่ต้องการ การวิจัยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ถนอมคุณสมบัติของเห็ด และยืดอายุในการเก็บ
รักษาเห็ดให้สด การแปรรูปเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มาตรฐานการผลิตและความสะอาดของทุกๆกระบวนการที่
เกีย่ วข้อง เป็นต้น สิง่ เหล่านีเ้ ป็นโจทย์วจิ ยั ทีต่ อ้ งน�ำมาคิดและท�ำให้เกิดการบูรณาการวิจยั ไปพร้อมกันเพือ่ ประหยัดเวลา
ยกตัวอย่างการพัฒนาข้าวของประเทศญีป่ นุ่ ซึง่ เริม่ ต้นจากข้าวเหนียวญีป่ นุ่ เป็นตัวตัง้ ในเชิงของวัตถุดบิ จากธรรมชาติ
ต่อจากนั้นเป็นการพัฒนาและวิจัยรอบด้านของข้าวญี่ปุ่น เกิดเป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ เช่น สายพันธุ์ส�ำหรับคนที่เป็น
เบาหวาน และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ข้าวเป็นองค์ประกอบหลักไม่ต�่ำกว่า 100 ชนิด บรรจุภัณฑ์ที่มีความสวยงาม
ประกอบด้วย เรื่องราวของข้าวในแต่ละท้องถิ่นที่ท�ำให้เกิดความสมบูรณ์เชิงการตลาดและเติมเต็มข้อมูลบน
บรรจุภัณฑ์อย่างสวยงาม เป็นต้น เห็ดไทยจะเป็นเช่นนี้ได้หากมีการวางแผนบูรณาการงานด้านเห็ด หาจุดอ่อน
จุดแข็งและแก้ไขจุดต่าง ๆ จะท�ำให้เห็นอนาคตงานวิจัยเห็ดไทย ส่งผลต่อการพัฒนาองค์ความรู้ ผลิตภัณฑ์ สินค้า
ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสร้างเสริม ศักยภาพทางเศรษฐกิจ สุขภาพและสังคมของประเทศได้

Position-5.indd 145 9/13/19 16:05


146 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

ประเด็นด้านกฎหมาย กฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบันกฎเกณฑ์ต่าง ๆ มีเพิ่มขึ้นจากการก้าวเข้า


สู่สังคมอาเซียน สังคมโลก หนีไม่พ้นการเชื่อมโยงระดับนานาชาติที่ต้องมีระเบียบและกฎเกณฑ์เพื่อไม่ให้เกิดการ
ละเมิด มีความเป็นธรรม ส่งเสริมการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ ดังนั้น การด�ำเนินงานด้านเห็ดหนีไม่พ้น
กฎเกณฑ์เหล่านี้ เนื่องจากก�ำลังท�ำงานกับทรัพยากรชีวภาพชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพในการพัฒนา แต่หน่วยงานที่
เกี่ยวข้องกับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ กระจายอยู่หลายที่มากจนนักวิจัย ผู้ประกอบการ และคณาจารย์ ไม่แน่ใจว่างานใด
เกี่ยวข้องกับระเบียบใด ดังนั้นหากหน่วยงานของรัฐมีพื้นที่ในการรวบรวมกฎระเบียบและรวบรวมหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องกับงานด้านเห็ดในทุกมิติ เหมือนเป็น One-Stop-Service หรืออย่างน้อยรวมลิงค์ข้อมูล จะเป็นประโยชน์
มากกับทุกคนที่ก�ำลังท�ำงานด้านเห็ด จะท�ำให้เกิดความระวังในข้อก�ำหนดต่าง ๆ และเตรียมรับมือกับข้อกฎหมาย
ได้ดี ยิ่งถ้าช่วยให้ทราบว่าต้องติดต่อหน่วยงานใด ก็จะท�ำให้งานในทุกมิติของเห็ดง่ายขึ้น ไม่ใช่ท�ำงานไปแล้ว
พบว่าตนเองก�ำลังกระท�ำผิดกฎหมาย ผิดกฎระเบียบด้านใดด้านหนึ่ง จนต้องล้มเลิก เสียเงินเสียทรัพย์สินที่
ลงทุนไปจ�ำนวนมาก ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ เกิดความไม่เชื่อมั่น เกิดความสับสน จนท�ำให้ไม่มีใครอยากท�ำ
กิจการ หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องเห็ด เช่น เห็ด ในอดีตถูกตีความว่าเป็นพืช จึงจัดเป็นหนึ่งในพืชซึ่งปรากฏใน
พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 กรมวิชาการเกษตร เป็นต้น หากในปัจจุบันทุกท่านทราบว่าเห็ด
ไม่ใช่พืช ไม่น่าจะมีใครทราบว่าเห็ดจะเกี่ยวข้องกับ พรบ.คุ้มครองพันธุ์พืช ดังกล่าวได้อย่างไรเป็นต้น ดังนั้น
การกระท�ำใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยในอนาคตนั้น ต้องมีการวิเคราะห์ความเกี่ยวพันธุ์ของหน่วยงานและ
กฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ ป้องกันการกระท�ำผิดกฎหมายหรือการละเมิดข้อกฎหมาย ตัวอย่างเช่น หากงานทีก่ ำ� ลัง
ด�ำเนินการอยู่เกี่ยวข้องกับองค์การบริหารส่วนต�ำบล ผู้เกี่ยวข้องจ�ำเป็นต้องไปตรวจสอบกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ
อบต. หรือหน่วยงานที่ใกล้เคียงเป็นต้น หากเกี่ยวข้องกับกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ต้องไปตรวจสอบข้อ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และจัดการให้เกิดการอนุญาตในข้อกฎหมายนั้น ๆ มิฉะนั้นการกระท�ำใด ๆ ในอนาคตจะ
สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิด หรือไม่เป็นผลทางกฎหมาย และไม่สามารถน�ำไปใช้ต่อได้ อาจมีผลทั้งจ�ำและปรับ ดังนั้น
ไม่วา่ จะเป็นการลงทุนทางงานวิจยั การลงทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ การท�ำตลาด ล้วนแต่ตอ้ งอยูภ่ ายใต้กฎหมายซึง่ มีทมี่ า
จากทรัพยากรที่น�ำมาใช้นั้นมีที่มาอย่างถูกต้องและเป็นไปตามข้อกฎหมายหรือไม่ เป็นประเด็นส�ำคัญ

6. นโยบายและมาตรการที่ด�ำเนินการปัจจุบัน
ภาครัฐต้องให้ข้อมูลครบถ้วนที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน รวมถึงกฎระเบียบต่าง ๆ เช่น ข้อกฎหมาย
ในประเทศ ข้อกฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญาที่มีผลตามกฎหมาย กฎกระทรวง พระราชบัญญัติ สิ่งเหล่านี้
เป็นเรื่องส�ำคัญจะต้องให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลอย่างละเอียด หรือโดยย่อได้ เพื่อให้เกิดการวางแผนในการท�ำงาน
ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการเรียน งานวิจัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างของภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น
อย่าคิดว่าการกระท�ำเพียงเล็กน้อยที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรเห็ดนั้นไม่เกี่ยวข้องกับใคร ในยุคปัจจุบันที่มีการ
เรียกร้องสิทธิ์น้ันทุกพื้นที่มีผู้ครอบครอง ดังนั้นต้องหาที่มาของผู้ครอบครองและท�ำการขออนุญาตการใช้ทรัพยากร
เห็ดนัน้ รวมถึงการแบ่งปันผลประโยชน์ทอี่ าจเกิดขึน้ ในอนาคตในรูปแบบต่าง ๆ ไม่วา่ จะเป็นรูปแบบของผลประโยชน์
แบบเม็ดเงิน หรือองค์ความรู้ นโยบายหนึ่งที่รัฐต้องบังคับให้ด�ำเนินการคือ การถ่ายทอดองค์ความรู้จากงาน
วิจัยกลับสู่ท้องถิ่นในรูปแบบที่ท้องถิ่นต้องการ บังคับให้เกิดการประสานงานมากขึ้นระหว่างทีมวิจัยและ
ท้องถิ่น ท�ำให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน จะท�ำให้งานวิจัยที่ยังไม่เป็นผลิตภัณฑ์นั้นจับต้องได้มากขึ้น องค์ความรู้ที่
จับต้องได้ ต้องถูกบันทึกและถ่ายทอดในแบบที่ควรถ่ายทอดเหมาะสมกับผู้รับการถ่ายทอด ไม่ใช่ต้องการแต่ระดับ
ขัน้ การตีพมิ พ์ทที่ ำ� ให้ยกระดับผลงานวิจยั ซึง่ คนในประเทศไทยได้ประโยชน์จากงานตีพมิ พ์ชนิ้ นัน้ น้อยมาก เนือ่ งจาก

Position-5.indd 146 9/13/19 16:05


กลุ่มที่ 4 ประเด็นวิชาการร่วมสมัย 147

มีคนอ่านงานวิจัยชิ้นนั้นเพียงไม่กี่คน เมื่ออ่านแล้วเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมีเพียงไม่กี่คน แต่หากมีผลงานทั้ง


สองด้าน คือ ผลงานตีพิมพ์ท่ีได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และผลงานการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้มาจาก
ทรัพยากรในท้องถิ่นนั้นกลับสู่ท้องถิ่นนั้น งานวิจัยชิ้นนั้นถือว่ามีคุณค่ามาก เพราะนอกจากได้รับการยอมรับใน
ระดับสากลซึ่งแสดงถึงคุณภาพของงานวิจัยชิ้นนั้น แล้วยังสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ออกมาในรูปแบบที่
น่าสนใจ และส่งต่อให้กับบุคคลในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานวิจัยชิ้นนั้น ข้อมูลเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการ
สนับสนุนงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นระดับต�ำบลซึ่งเป็นภารกิจ Quick win ระดับต�ำบลของกระทรวงมหาดไทย
เป็นส่วนหนึ่งในแผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558-2564 เรื่องพัฒนา
องค์ความรู้และระบบฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นมาตรฐานสากล สอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) ในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 13 ต.ค. 61 ที่รัฐให้ความส�ำคัญ
ในยุ ท ธศาสตร์ ที่ 4 ต้ อ งให้ บ รรลุ เ ป้ า หมายระดั บ ชาติ ด ้ า นความหลากหลายทางชี ว ภาพตามแผนแม่ บ ท
2558-2564 และสนองพระราชด�ำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในส่วนของฐานทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์
เช่นเดียวกัน

เอกสารอ้างอิง
1. Willis KJe. State of the World’s Fungi 2018: Kew Garden; 2018 Contract No.: Document Number.
2. Hyde KD, Norphanphoun C, Chen J, Dissanayake AJ, Doilom M, Hongsanan S, et al. Thailand’s
amazing diversity: up to 96% of fungi in northern Thailand may be novel. Fungal Diversity.
2018;93:215-39
3. Hawksworth DL. The fungal dimension of biodiversity; magnitude, sigificance, and conservation.
Mycological Research. 1991;95:641-55.
4. Baimai V. Biodiversity in Thailand. The Journal of the Royal Institute of Thailand. 2010;II:107-18.
5. Chandrasikul A, Suwanarit P, Sangwanit U, Lumyong S, Payapanon A, Sanoamuang N, et al. Checklist
of mushrooms (Basidiomycetes) in Thailand. Bangkok: Office of Naturall Resources and Environment
Policy and Planning; 2011.
6. Chandrasrikul A, Phanichapol D, Boonthavikoon T, Chalermpong A. Mushrooms in Thailand.
Thailand: The Royal Institute press; 2007. (in Thai).
7. Chandrasrikul A, Suwanarit P, Sangwanit U, Morinaga T, Nishizawa Y, Murakami Y. Diversity of
Mushrooms and Macrofungi in Thailand. 1st ed. Bangkok: Kasetsart University; 2008.
8. Boonpratuang T, Choeyklin R, Promkiam-on P, Teeyapan P. The identification of poisonous
mushrooms in Thailand during 2008-2012. In: Hed Thai. 2012. p. 6-13.
9. Boonpratuang T, Pobkwamsuk M, Anaphon S, Srikitkulchai P, Wongkanoun S, Wiriyathanawudhiwong
N, et al. Report on cytotoxic activity from wide mushroom from Sakon Nakorn Family Forest.
(unpublished). Bagkok: Biodiversity-Based Economy Development Office (Public Organization), (BBH)
BBH; 2018 September 15. Report No. 3.
10. Klinhom V, Klinhom O. 57 Medicinal Mushrooms of the Mortheast of Thailand (in Thai). Thai
Holistic Heath Foundation; 2005.

Position-5.indd 147 9/13/19 16:05


148 สมุนไพร นวดไทย อนาคตไทย

11. Isaka M, Chinthanom P, Mayteeworakoon S, Choowong W, Laoteng K, Choeyklin R. Lanostane


triterpenoids from cultivated fruiting bodies of the basidiomycete Ganoderma australe. Natural
Product Research 2017;32(9):1-6.
12. Isaka M, Chinthanom P, Mayteeworakoon S, Laoteng K, Suvannakad R, Choeyklin R. Lanostane
triterpenoids from cultivated fruiting bodies of the basidiomycete Ganoderma orbiforme.
Phytochemistry Letters. 2017;21:251-5.
13. Isaka M, Sappan M, Supothina S, Srichomthong K, Komwijit S, Boonpratuang T. Alliacane
sesquiterpenoids from submerged cultures of the basidiomycete Inonotus sp. BCC 22670.
Phytochemistry. 2017;136:175-81.
14. Isakaa M, Chinthanoma P, Suvannakada R, Thummarukcharoena T, Fengb T, Liub J-K. Fomitopsins
I and J, 24-methyl-lanostane triterpenoids from fruiting bodies of the wood-rot basidiomycete
Fomitopsis sp. Phytochemistry Letters. 2019;29:178-81.
15. Isaka M, Chinthanom P, Srichomthong K, Thummarukcharoen T. Lanostane triterpenoids from
fruiting bodies of the bracket fungus Fomitopsis feei. Tetrahedron. 2017;58:1758-61.
16. Isaka M, Palasarn S, Supothina S, Srichomthong K, Choeyklin R. Seco-Tremulanes from cultures
of the Basidiomycete Flavodon flavus BCC17421. Helvetica Chimica Acta. 2016;99(3):232-6.
17. Isaka M, Sappan M, Rachtawee P, Boonpratuang T. A tetrahydrobenzofuran derivative from the
fermentation broth of Lentinus squarrosulus BCC 22366. Phytochemistry Letters. 2011;4:106-8.
18. Isaka M, Yangchum A, Wongkanoun S, Kongthong S. Marasmane and normarasumane
sesquiterpenenoids from the edible mushroom Russula nigricans. Phytochemistry Letters.
2017;21:174-8.
19. Isaka M, Palasarn S, Srikitikulchai P, Vichai V, Komwijit S. Astraeusins A–L, lanostane triterpenoids
from the edible mushroom Astraeus odoratus. Tetrahedron. 2016;72:3288-95.
20. Isaka M, Chinthanom P, Sappan M, Danwisetkanjana K, Boonpratuang T, Choeyklin R. Antitubercular
lanostane triterpenes from cultures of the Basidiomycete Ganoderma sp. BCC 16642. Jounal of
Natural Product. 2016;79:161-9.
21. Isaka M, Chinthanom P, Sappan M, Supothina S, Vichai V, Danwisetkanjana K, et al. Antitubercular
activity of mycelium-associated Ganoderma lanostanoids. Journal of Natual Products. 2017;80:1361-9.
22. Isaka M, Chinthanom P, Danwisetkanjana K, Choeyklin R. A new cryptoporic acid derivative from
cultures of the basidiomycete Poria albocincta BCC 26244. Phytochemistry Letters. 2014;7:97-100.
23. Isaka M, Palasarn S, Sommai S, Veeranondha S, Srichomthong K, Kongsaeree P, et al. Lanostane
triterpenoids from the edible mushroom Astraeus asiaticus. Tetrahedron. 2017;73(12):1561-7.
24. Isaka M, Chinthanom P, Sappan M, Supothina S, Boonpratuang T. Phenylglycol metabolites
from cultures of the Basidiomycete Mycena pruinoso-viscida BCC 22723. Helvetica Chimica Acta.
2014;97:909-14.
25. Klinhom V, Klinhom U. 57 medicinal mushroom from Eastern forest. Bangkok: Thai Holistic Health
Foundation; 2005.
26. Ruksawong, P. Flegel T.W. Thai mushrooms and other fungi. National Science and Technology
Development Agency. Bangkok: 2001.

Position-5.indd 148 9/13/19 16:05

You might also like