Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 3

1

ใบงานโครงงานที่ 1 การเรียนรู้วัฒนธรรมโดยใช้โครงงานเป็นฐาน
(โครงร่างโครงงาน)
วิชา GE 151 144 พหุวัฒนธรรม
(Project – Based - Learning)
กลุ่มที่ 2 Section 22 สมาชิกกลุ่ม 9 วันที่ทำใบงาน 12 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 5.50 น.

1. นางสาวชวพร สีพรมติ่ง รหัส 613210706-8 เลขที่ในใบลงชื่อ 1

2. นายณัฐชนน โคตพันธ์ รหัส 623220066-2 เลขที่ในใบลงชื่อ 11

3. นายธนาธิป โมหา รหัส 623220068-8 เลขที่ในใบลงชื่อ 12

4. นายสหรัถ เหลาชำนิ รหัส 623220081-6 เลขที่ในใบลงชื่อ 22

5. นายคเณศ ศรีวิชา รหัส 623220186-2 เลขที่ในใบลงชื่อ 25

6. นางสาวสิรินพร วิบูลยานนท์ รหัส 623220239-7 เลขที่ในใบลงชื่อ 30

7. นายอภิรักษ์ หงษาคำ รหัส 623220240-2 เลขที่ในใบลงชื่อ 31

8. นางสาวศมนรต รื่นพากเพียร รหัส 623220238-9 เลขที่ในใบลงชื่อ 29

9. นางสาวพิชชา ขุนสิทธิ์ รหัส 613220173-0 เลขที่ในใบลงชื่อ 2

คำชี้แจง : 1) ให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนความเห็นกับสมาชิกในกลุ่มจากประเด็นคำถามที่กำหนดให้

ประเด็นคำถาม : ให้นักศึกษาเขียนรายละเอียดโครงงานที่ประสงค์ทำการศึกษา โดยพิจารณาจากเนื้อหาที่


ได้ศึกษาในรายวิชานี้หรือที่เกี่ยวข้องกับสังคมพหุวัฒนธรรม อันได้แก่ ความคิด ความเชื่อ อนุวัฒนธรรมหรือ
ประเพณี ทั ้ ง นี้ แ นวทางการศึ ก ษามุ่ งเน้น ความสั มพันธ์ข องกลุ่ ม คนที่ มี ค วามแตกต่ า งหลากหลายทาง
วัฒนธรรม
2

1. ชื่อ/หัวข้อโครงงาน
การศึกษาวัฒนธรรมในการฟังเพลงของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ดนตรีเป็นศิลปะที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยอาศัยเสียงเป็นสื่อถ่ายทอดความรู้สึกของศิลปิน กลายเป็น บท
เพลงที่มีความแตกต่างกันไป ดนตรีเป็นศิลปะที่ถูกนําไปแปลความหมายต่างๆมากมาย นักภาษาศาสตร์
ให้ความหมายของดนตรี ว่ า เป็น ภาษาของอารมณ์ ใช้สื่อ สารได้ ทั ้ง ด้ านศิ ล ปะหรื อ สุน ทรี ยศาสตร์
การสื่อสารความบันเทิง งานพิธีต่างๆ (สุกรี เจริญสุข , 2532) โดยดนตรีนั้นมีวิวิฒนาการพัฒนาขึ้นตาม
ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปและมีความสําคัญไม่น้อยไปกว่าศิลปะประเภทอื่นๆ เป็นรากฐานที่แสดงถึง
ความเจริญของประเทศชาติอย่างหนึ่งที่ควรตระหนักและส่งเสริมให้ดํารงสืบต่อไป ดังบทเสภาสามัคคี
เสวก ตอนวิศวกรรมา บทที่ 2 กล่าวว่า “แต่ชาติใดรุ่งเรืองเมืองสงบ ว่างการรบอริพลอันล้นหลาม
ย่อมจํานงศิลปาสง่างาม เพื่ออร่ามเรืองระยับประดับประดา” อันแสดงถึงความเจริญของประเทศที่
สัมพันธ์กับความเจริญของศิลปะ(พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ, 2558)
นับตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบันดนตรีจะมีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์อย่างมากตั้งแต่เริ่มแรกของ
การกําเนิดชีวิตจนกระทั่งถึงตาย จะเห็นว่าในตลอดชีวิตของคนจะต้องมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ
ทั้งนี้จะเป็นไปตามความเชื่อ วัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตของมนุษย์แต่ละชนชาติ ดนตรีมีส่วนเสริ มสร้ าง
ความเข้มแข็งความสุขความสนุกสนาน เพื่อให้มนุษย์คลายจากความกลัว ความกังวล ความเหน็ดเหนื่อย
หรือความทุกข์ทั้งปวง ดนตรีนับว่ามีคุณค่าต่อชีวิตมนุษย์มากมาย และยังคงแทรกซึมในทุกอนูชีวิตถึงแม้
สังคมในปัจจุบันถูกกระแสโลกาภิวัฒน์เข้ามามีอิทธิพลทำให้ เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอย่ าง
รวดเร็ว เกิดความเป็นพหุวัฒนธรรมสูงมากขึ้น ดนตรีจึงถูกเปลี่ยนแปลงไป ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับ
ดนตรีอย่างเห็นได้ชัดคือ รูปแบบการรับชมรับฟังดนตรีที่หลากหลายขึ้น เช่น ดนตรีสด การฟังเพลงจาก
แหล่งออนไลน์ และอื่นๆ
ด้วยเหตุนี้ ทางคณะผู้จัดทําจึงมีความสนใจในศึกษาพฤติกรรมการรับฟังรับชมดนตรีของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศึกษา ทัศนคติในการรับชมรับฟัง ดนตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
รวมถึงวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมในการรับฟังรับชมดนตรีของนักศึกษา
มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น ให้ เ กิ ด การเรี ย นรู ้ ค วามเป็ น พหุ ว ั ฒ นธรรมจากถิ ่ น กำเนิ ด ของคนภายใน
มหาวิทยาลัยที่แตกต่างกันผ่านรูปแบบการรับชมรับฟังดนตรีเพื่อเป็นประโยชน์แก่คณะผู้จัดทําซึ่งกําลัง
ศึ ก ษาเกี ่ ย วข้ อ งกั บ การดนตรี แ ละสุ น ทรี ย ศาสตร์ รวมไปถึ ง เป็ น ประโยชน์ ต ่ อ ผู ้ ท ี ่ ส นใจศึ ก ษา
ในภายภาคหน้า
3

3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับฟังรับชมดนตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
3.2 เพื่อศึกษาทัศนคติในการรับชมรับฟังดนตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
3.3 เพื ่ อ หาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งทั ศ นคติ แ ละพฤติ ก รรมในการรั บ ฟั ง รั บ ชมดนตรี ข องนั ก ศึ ก ษา
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

4. ขอบข่ายของโครงงาน
4.1 พื้นที่/สถานที่เก็บข้อมูล : มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4.2 ประเด็นหลักที่ศึกษา
- แนวคิดเกี่ยวกับดนตรี
- แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค
- แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรม
-แนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติ

5. ระยะเวลาในการทำโครงงาน
เดือบกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน พ.ศ.2564

6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงาน
6.1 ได้ศึกษาและเก็บข้อมูลพฤติกรรมการรับฟังรับชมดนตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
6.2 ได้ศึกษาและเก็บข้อมูลทัศนคติในการรับชมรับฟังดนตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
6.3 สร้ า งความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งทั ศ นคติ แ ละพฤติ ก รรมในการรั บ ฟั ง รั บ ชมดนตรี ข องนั ก ศึ ก ษา
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

You might also like