3.1-Analytic Conic

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 83

เรขาคณิตวิเคราะห์ และภาคตัดกรวย

(Analytic Geometry and Conic Sections)

เอกสารประกอบการสอน และแบบฝึกทักษะ
เรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย

เรียบเรียงโดย

ถนอมศักดิ์ เหล่ากุล
ครูวิชาการ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

MWIT S

2016

Department of mathematics
Mahidol Wittayanusorn School
Edited : October 2016
ii
คำนำ

เอกสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือการสรุปเนื้อหาอย่างย่อ ในหัวข้อที่เกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์และ
ภาคตัดกรวย พร้อมกับตัวอย่างกิจกรรมสำหรับครูผู้สอนที่สามารถนำไปใช้เป็นตัวอย่างกิจกรรมการเรียนการ
สอน นอกจากนี้ยังได้รวบรวมโจทย์ปัญหาซึ่งรวบรวมมาจากข้อสอบเก็บคะแนน ข้อสอบกลางภาคและข้อสอบ
ปลายภาค วิชาคณิตศาสตร์ ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ความสำเร็จของการจัดทำเอกสารฉบับนี้สำเร็จได้
ด้วยความวิริยะ อุตสาหะของครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ที่ได้รวบรวมโจทย์ปัญหา พร้อมการทำเฉลยคำตอบ
สาขาวิชาคณิตศาสตร์หวังว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับครูผู้สอนที่จะนำไปปรับใช้ในการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอน และเป็นประโยชน์แก่นักเรียนสำหรับการฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา หากมีข้อ
ผิดพลาดประการใด โปรดแจ้งแก่ทางสาขาวิชาคณิตศาสตร์เพื่อการแก้ไขต่อไป

สาขาวิชาคณิตศาสตร์
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
iv
สารบัญ

1 ประวัติศาสตร์ของภาคตัดกรวย
(History of Conic Section) 1
1.1 การขยายความรู้ของชาวกรีกโบราณในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา . . . . . . . . . . . . . . . . . 2
1.2 แรงจูงใจใหม่สำหรับการศึกษาเส้นโค้ง . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 2
1.3 ผลงานของเคปเลอร์ ที่เกี่ยวกับภาคตัดกรวย . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 3

2 เรขาคณิตวิเคราะห์ (Analytic Geometry) 7


2.1 Analytic Geometry Activities . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 8
2.1.1 Line Activities . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 8
2.1.2 Circle Activities . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 9
2.2 สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 10
2.2.1 ระยะห่างระหว่างจุดสองจุด . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 10
2.2.2 จุดกึ่งกลางระหว่างจุดสองจุด . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 10
2.2.3 จุดแบ่งส่วนของเส้นตรงออกเป็นอัตราส่วน m : n . . . . . . . . . . . . . . . . 11
2.2.4 ความเอียง . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 12
2.2.5 มุมระหว่างเส้นตรงสองเส้น . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 12
2.2.6 ระยะห่างระหว่างจุดกับเส้น . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 13
2.2.7 ระยะระหว่างเส้นตรงสองเส้น . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 14
2.2.8 วงกลม . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 17
2.3 โจทย์ฝึกทักษะและตัวอย่างข้อสอบ : เรขาคณิตวิเคราะห์ . . . . . . . . . . . . . . . . . 19

3 พาราโบลา (Parabola) 25
3.1 Parabola Activities . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 26
3.1.1 การสร้างรูปพาราโบลา แบบที่ 1 : วิธีการพับกระดาษ (foading method) . . . . 26
vi สารบัญ

3.1.2 การสร้างรูปพาราโบลา แบบที่ 2 : วิธีใช้เส้นตรงและวงกลม (line and circle method) 27


3.1.3 การสร้างรูปพาราโบลา แบบที่ 3 : วิธีใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก (rectangular method) 28
3.1.4 Parabola Problem . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 29
3.2 สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับพาราโบลา . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 30
3.2.1 พาราโบลาที่มีจุดยอดที่จุดกำเนิด และแกนสมมาตรคือแกน Y . . . . . . . . . . 30
3.2.2 พาราโบลาที่มีจุดยอดที่จุดกำเนิด และแกนสมมาตรคือแกน X . . . . . . . . . . 31
3.2.3 พาราโบลาที่มีจุดยอดที่ (h, k) และแกนขนานกับแกน Y . . . . . . . . . . . . . 31
3.2.4 พาราโบลาที่มีจุดยอดที่ (h, k) และแกนขนานกับแกน X . . . . . . . . . . . . . 32
3.2.5 คอร์ดของพาราโบลา . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 32
3.2.6 สมบัติการสะท้อนของพาราโบลา (Reflective Properties of a Parabola) . . . . . 33
3.3 โจทย์ฝึกทักษะและตัวอย่างข้อสอบ : พาราโบลา (Parabola) . . . . . . . . . . . . . . . . 35

4 วงรี (Ellipse) 39
4.1 Ellipse Activities . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 40
4.1.1 การสร้างรูปวงรี แบบที่ 1 : วิธีการพับกระดาษ (foading method) . . . . . . . . 40
4.1.2 การสร้างรูปวงรี แบบที่ 2 : วิธีใช้วงกลมสองวง (two circle method) . . . . . . 41
4.1.3 การสร้างรูปวงรี แบบที่ 3 : วิธีใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก (rectangular method) . . . 42
4.1.4 Ellipse Problem . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 44
4.2 สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับวงรี . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 45
4.2.1 สมการรูปมาตรฐานของวงรี ที่มีจุดศูนย์กลางที่จุดกำเนิด . . . . . . . . . . . . . 45
4.2.2 สมการรูปมาตรฐานของวงรี ที่มีจุดศูนย์กลางที่ (h, k) . . . . . . . . . . . . . . 46
4.2.3 ลาตัสเรกตัมของวงรี . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 46
4.2.4 เส้นไดเรกตริกซ์ของวงรี . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 47
4.2.5 สมการเส้นสัมผัสวงรี (Tangent line to an ellipse) . . . . . . . . . . . . . . . 47
4.2.6 สมบัติการสะท้อนของวงรี (Reflective Properties of an Ellipse) . . . . . . . . 49
4.3 โจทย์ฝึกทักษะและตัวอย่างข้อสอบ : วงรี (Ellipse) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 50

5 ไฮเพอร์โบลา (Hyperbola) 53
5.1 Hyperbola Activities . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 54
5.1.1 การสร้างรูปไฮเพอร์โบลา แบบที่ 1 : วิธีพับกระดาษ (foading method) . . . . . 54
5.1.2 การสร้างรูปไฮเพอร์โบลา แบบที่ 2 : วิธีใช้รูปวงกลม (the circle method) . . . . 55
สารบัญ vii

5.1.3 การสร้างรูปไฮเพอร์โบลา แบบที่ 3 : วิธีใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก (rectangular method) 56


5.1.4 Hyperbola Problem . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 57
5.2 สรุปสาระสำคัญ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 59
5.2.1 สมการรูปมาตรฐานของไฮเพอร์โบลา . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 59
5.2.2 สมการเส้นกำกับกราฟของไฮเพอร์โบลา . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 60
5.2.3 ลาตัสเรกตัมของไฮเพอร์โบลา . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 60
5.2.4 สมการเส้นสัมผัสไฮเพอร์โบลา (Tangent Line to an Hyperbola) . . . . . . . . 61
5.3 โจทย์ฝึกทักษะและตัวอย่างข้อสอบ : ไฮเพอร์โบลา (Hyperbola) . . . . . . . . . . . . . 62

6 Special Properties of Conics 65


6.1 Classifying Conic Section . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 65
6.1.1 ความเยื้องศูนย์กลางของภาคตัดกรวย (eccentricity of conics) . . . . . . . . . 65
6.1.2 ดิสคริมิแนนต์ของภาคตัดกรวย . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 66
6.2 A Point Inside and Out . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 67
viii สารบัญ
สารบัญรูป

1.1 เคปเลอร์’s idea of continuous transformation of conic sections . . . . . . . . . . . 3

1.2 การสร้างรูปไฮเพอร์โบลา (a), วงรี (b) และพาราโบลา (c) . . . . . . . . . . . . . . . . . 4

2.1 ระยะห่างระหว่างจุดสองจุด . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 10

2.2 จุดกึ่งกลางระหว่างจุดสองจุด . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 10

2.3 จุดแบ่งอัตราส่วนของเส้นตรง . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 11

2.4 ความเอียงของเส้นตรง . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 12

2.5 มุมระหว่างเส้นตรงสองเส้น . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 12

2.6 ระยะห่างระหว่างจุดกับเส้น . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 13

2.7 ระยะห่างระหว่างเส้นตรง . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 14

2.8 รูปสามเหลี่ยม ABC . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 15

2.9 เส้นตรง l สัมผัสกับวงกลม . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 16

2.10 วงกลม . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 17

2.11 เส้นสัมผัสวงกลม . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 18

3.1 พาราโบลา . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 30

3.2 พาราโบลาที่มีจุดยอดที่จุดกำเนิด และแกนสมมาตรคือแกน Y . . . . . . . . . . . . . . . 30

3.3 พาราโบลาที่มีจุดยอดที่จุดกำเนิด และแกนสมมาตรคือแกน X . . . . . . . . . . . . . . . 31

3.4 พาราโบลาที่มีจุดยอดที่ (h, k) และแกนขนานกับแกน Y . . . . . . . . . . . . . . . . . 31

3.5 พาราโบลาที่มีจุดยอดอยู่ที่ (h, k) และแกนขนานกับแกน X . . . . . . . . . . . . . . . 32

3.6 ความยาวของลาตัสเรกตัม . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 32

3.7 สมบัติสะท้อนของพาราโบลา . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 33

4.1 ส่วนประกอบต่าง ๆ ของวงรี . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 45


x สารบัญรูป

4.2 วงรี . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 45
4.3 วงรี ที่มีจุดศูนย์กลางที่ (h, k) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 46
4.4 ลาตัสเรกตัมของวงรี . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 46
4.5 เส้นไดเรกตริกซ์ของวงรี . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 47
4.6 เส้นสัมผัสวงรี . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 47
4.7 สมบัติสะท้อนของวงรี . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 49

5.1 ไฮเพอร์โบลาและส่วนประกอบต่างๆ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 59
5.2 เส้นกำกับกราฟของไฮเพอร์โบลา . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 60
5.3 ลาตัสเรกตัมของไฮเพอร์โบลา . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 60
5.4 เส้นสัมผัสไฮเพอร์โบลา . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 61

6.1 จุดภายใน และจุดภายนอกพาราโบลา . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 67


6.2 จุดภายใน และจุดภายนอกวงรี . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 68
6.3 จุดภายใน และจุดภายนอกไฮเพอร์โบลา . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 68
บทที่ 1

ประวัติศาสตร์ของภาคตัดกรวย
(History of Conic Section)

Interest in ancient Greek knowledge increased gradually in the fifteenth and


sixteenth centuries, especially in Italy, the leading country of Europe’s culture and
science of the time. Latin translations of Greek works on conic sections and other
curves – Apollonius and Pappus in particular appeared in several editions. Although
some original works were also published in the sixteenth century, no significant progress
in the study of conic sections had been made until the work of เคปเลอร์. His contribution
influenced the further development of projective geometry and can be regarded as the
transition from ancient to modern geometry.
(ที่มา : WDS’05 Proceedings of Contributed Papers, Part I, 198202, 2005.)
ประวัติศาสตร์ของภาคตัดกรวย
2 (History of Conic Section)

1.1 การขยายความรู้ของชาวกรีกโบราณในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา

เรื่องภาคตัดกรวยได้มีการคาดคะเนว่าเริ่มคิดค้นโดยเมแนชมุส สมาชิกของสำนักเพลโต ณ กรุงเอเธนส์


ในยุคนั้นได้มีการตัดกรวยหลายๆ แบบด้วยระนาบที่ตั้งฉากกับแกนกลางของกรวยมุมแหลม มุมฉาก หรือ
มุมป้าน นอกจากนี้ความรู้เกี่ยวกับภาคตัดกรวยยังได้รับการพิจารณาโดยผู้เฒ่าอริสเทอุสและยูคลิด ปัจจุบัน
งานของพวกเขาได้สูญหายไปแล้ว งานของอาคิมิดีสประกอบไปด้วยผลลัพธ์ที่สำคัญบางประการที่เกี่ยวข้องกับ
คุณสมบัติของภาคตัดกรวย โดยเฉพาะอย่างยิ่งของพาราโบลา นักบันทึกโบราณเรื่องภาคตัดกรวยที่นับได้ว่า
ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คืออโพโลนิอุสแห่งแพกา งานที่มีชื่อเสียงของเขา "Conics" ประกอบด้วยหนังสือ 8 เล่ม และ
ข้อเสนอ 487 ข้อ อโพโลนิอุสยังได้เพิ่มศัพท์เกี่ยวกับวงรี พาราโบลา และไฮเพอร์โบลา และเสนอการตัดกรวย
ด้วยระนาบที่ไม่จำเป็นต้องตั้งฉากกับแกนกลางของกรวย โดยภาพตัดที่เกิด จะขึ้นอยู่กับมุมเอียงของระนาบที่
ตัดกรวย ในบรรดานักเขียนยุคโบราณที่เกี่ยวข้องกับภาคตัดกรวยนั้น ยังมีปับปุสแห่งอเล็กชานเดรีย นักเรขา
คณิตผู้ยิ่งใหญ่คนสุดท้ายของอาณาจักรกรีก งานหลักของเขาเป็นที่รู้จักในชื่อ "Collection" นับว่ามีค่าอย่างยิ่ง
เนื่องจากเขาได้บันทึกลำดับที่มาและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่บรรพบุรุษของเขาได้คิดค้นขึ้น ปับปุสยังได้
เสนอศัพท์เกี่ยวกับโฟกัสและไดเรกตริกของไฮเพอร์โบลาอีกด้วย
ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับภาคตัดกรวยเกือบจะว่างเปล่าหลังจากยุคของปัปปุสจนกระทั่งคริสศตวรรษที่ 15
ต่อมาในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการได้มีความสนใจในการนำความรู้กรีกโบราณกลับคืนมาซึ่งรวมไปถึงความรู้ทาง
ด้านภาคตัดกรวยและส่วนโค้งอื่นๆ หนังสือ 4 เล่มแรกของอโพโลนิอุส "Conics" ในภาษากรีกได้ตกทอดมา
ถึงปัจจุบัน อีกสามเล่มในภาษาอาราบิค แต่เล่มสุดท้ายได้สูญหายไป เป็นที่น่าเสียดายที่ผลงานของปับปุสที่
แต่เดิมมี 8 เล่มได้ตกทอดมายังปัจจุบันอย่างไม่สมบูรณ์นัก
หนังสือ 4 เล่มแรกของอโพโลนิอุส ฉบับภาษาละตินที่แปลโดย จิอันบาทติสตา "Memo" ปรากฏในเวนิซ
ในปี 1537 และได้กลายเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับฟรานซิสโก เมาโรลิโน แห่งเมสซินา ที่ต้องการจัดพิมพ์หนังสือ
"Conics" ของอโพโลนิอุส และยังต้องการที่จะรื้อฟื้นหนังสือเล่มที่ 5 และ 6 ซึ่งไม่มีแปลในภาษากรีกอีกด้วย
หนังสือเล่มที่ 5−7 ฉบับภาษาอาราบิกนั้น เพิ่งจะถูกพบในคริสตศตวรรษที่ 17 อับราฮัม เอคเชลเลนซิสเป็น
ผู้แปลหนังสือมาจากภาษาอาราบิก และจัดพิมพ์โดยจิอาโคโม อัลฟอนโซ โบเรลลี หากแต่หนังสือ "Conics"
ฉบับจัดพิมพ์ใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดในคริสศตวรรษที่ 16 คือฉบับที่อิงจากการแปลโดยเฟเดริโค คอมมานดิโน
ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไข แปล และจัดพิมพ์หนังสือเรียนคณิตศาสตร์กรีกแบบคลาสสิก
ภายใต้ความอนุเคราะห์จากดยุคแห่งเออบิโน ผลงานชิ้นแรกที่มีการจัดพิมพ์ของคอมมานดิโน คือการแปลงาน
ของอาคิมิดีส ซึ่งรวมไปถึง "Quadrature of the Parabola" และ "On Spirals" นอกจากนี้ คอมมานดิโน
ยังแปลผลงานของปับปุส ซึ่งถูกตีพิมพ์โดยศิษย์ของเขา กิลโดบาลโด เดล มอนเต ในปี ค.ศ. 1588

1.2 แรงจูงใจใหม่สำหรับการศึกษาเส้นโค้ง

นอกเหนือจากการค้นหาภูมิปัญญาของคนในสมัยโบราณแล้ว ความสนใจครั้งใหม่ในเรขาคณิต มาจากการ


ประยุกต์ใช้หลักการทางเรขาคณิตในงานศิลปะ ระบบทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมุมมองของการเวลา มีพื้น
ฐานมาจากผลงานของ Leone Battista Alberti (1404−1472) และได้รับการพัฒนามาโดยศิลปินหลาย ๆ คน
สมบัติต่าง ๆ ของภาคตัดกรวยยังได้รับการศึกษาในบริบทนี้อีกด้วย และความรู้เกี่ยวกับภาคตัดกรวยได้รับ
ความสนใจมากยิ่งขึ้นในการศึกษาปัญหาทางด้านออฟติก รวมถึงทำงานของเลนส์และกระจก
1.3 ผลงานของเคปเลอร์ ที่เกี่ยวกับภาคตัดกรวย 3

ความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา คือการปฏิวัติความรู้ทางดาราศาสตร์ ผล
งานของนิโคลัส โคเปอร์นิคัส (1473−1543) คือ De Revolutionibus Orbium Coelestium (On the
Revolution of the Heavenly Spheres) ที่เผยแพร่ในปี ค.ศ.1543 ได้แนะนำแนวคิดเกี่ยวกับโลกที่เคลื่อน
ที่รอบดวงอาทิตย์ ทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสได้รับการคัดค้านอย่างมากในตอนเริ่มต้น แต่ก็ได้รับการยอมรับ
อย่างกว้างขวางในช่วงปลายศตวรรษที่ 17
ในการค้นหาเส้นทางการค้าใหม่ไปยังภูมิภาคเอเชีย ซึ่งส่งผลให้เกิดการสำรวจทางภูมิศาสตร์ที่ตามมา ได้กระ
ตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการทำแผนที่ การพัฒนาเกี่ยวกับการจัดทำแผนที่ได้รับอิทธิพลมาจาก
ผลงานของ Johannes Werner วิทยาการใหม่ๆ ที่สำคัญที่สุดของการกำหนดจุดพิกัดในยุคฟื้นฟูศิลป วิทยา
ได้ค้นพบโดย Gerhard Kremer หรือที่เรียกว่า Mercator (1512−1594) ภาพฉายแบบ Mercator คือแผน
ที่รูปทรงกระบอกแสดงเส้นขนานและเส้นเมอริเดียนเป็นเส้นตรง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้ นำทาง

1.3 ผลงานของเคปเลอร์ ที่เกี่ยวกับภาคตัดกรวย

เคปเลอร์ ได้กล่าวว่ามีภาคตัดกรวย 5 แบบด้วยกัน คือ วงกลม วงรี พาราโบลา ไฮเพอร์โบลา และเส้นตรง


และได้กล่าวว่าจากรูปทรงหนึ่งๆ ของภาคตัดกรวย สามารถที่จะเปลี่ยนเป็นแบบอื่นๆ ได้ทั้งหมดโดยวิธีเปลี่ยน
แปลงแบบต่อเนื่อง เส้นตรงและพาราโบลาต่างก็เป็นรูปแบบหนึ่งของไฮเพอร์โบลา พาราโบลาและวงกลมเป็น
รูปแบบหนึ่งของวงรี พาราโบลาจะเป็นภาคตัดกรวยที่อยู่ระหว่าง ภาคตัดกรวยแบบอนันต์ (ไฮเพอร์โบลา และ
เส้นตรง) และภาคตัดกรวยแบบจำกัด (วงกลม และวงรี) ภาคตัดกรวยทั้งหมด สามารถมองเป็นรูปทางเรขา
คณิตที่มีความแตกต่างระหว่างอัตราส่วนของเส้นโค้งกับเส้นตรง

รูปที่ 1.1: เคปเลอร์’s idea of continuous transformation of conic sections

เคปเลอร์ เป็นคนแรกที่ได้ใช้คำว่าโฟกัสในภาคตัดกรวย โฟกัสของวงกลมจะปรากฏที่จุดศูนย์กลาง (F )


วงรีจะมีโฟกัสสองจุด คือจุด F และจุด G ซึ่งเป็จจุดที่มีระยะห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะเท่ากัน ดังรูปที่
1.1
ประวัติศาสตร์ของภาคตัดกรวย
4 (History of Conic Section)

ถ้าตรึงโฟกัส F และให้โฟกัส G เลื่อนไปเป็นระยะอนันต์ วงรีจะกลายเป็นพาราโบลา ถ้าเลือนโฟกัสที่ปรากฏ


อยู่บนอีกด้านของแกน พาราโบลาก็จะกลายเป็นไฮเพอร์โบลา และถ้าเลื่อนโฟกัสเข้าใกล้กันแล้วไฮเพอร์โบลา
ก็จะกลายเป็นเส้นตรง
เคปเลอร์ ได้สมมติว่าภาคตัดกรวยทุกแบบมีโฟกัสสองจุด ในกรณีของวงกลมและเส้นตรงโฟกัสทั้งสอง
จุดจะอยู่ที่ตำแหน่งเดียวกัน นอกจากนี้แล้วเขายังได้กำหนดให้ระยะห่างระหว่างโฟกัสมากกว่าศูนย์และเป็น
ระยะจำกัดในกรณีของวงรีและไฮเพอร์โบลา และเป็นระยะอนันต์ในกรณีของพาราโบลา โดยที่โฟกัสที่สอง
ของพาราโบลาจะอยู่ที่จุดอนันต์ ซึ่งเรียกจุดนั้นว่า blind (caecus) focus เส้นตรงที่ผ่าน blind focus และ
ตัดกราฟของพาราโบลาที่จุดใดๆ คือเส้นที่ขนานกับแกนของพาราโบลา
เคปเลอร์ ได้พิจารณาถึงคอร์ดโฟกัส M N ที่ตั้งฉากกับแกน และส่วนของเส้นตรง F A ที่อยู่บนแกน
ความหมายของความยาวครึ่งคอร์ด F M คือค่าพารามิเตอร์ p ให้ d เป็นความยาวของ F A นั่นคือ d เป็น
ระยะจากโฟกัสไปยังจุดยอด เคปเลอร์ได้กล่าวว่าถ้า p = d แล้วจะได้รูปวงกลม ถ้า p > d > p/2 แล้วจะได้
รูปวงรี ถ้า p = 2d จะได้รูปพาราโบลา และ ถ้า p > 2d แล้วจะได้รูปไฮเพอร์โบลา ซึ่งผลที่ได้จากการกำหนด
ดังกล่าว เคปเลอร์ได้ใช้ค่าความเยื้องศูนย์กลางในการอธิบายภาคตัดกรวย โดยที่กำหนดให้ e แทนความเยื้อง
ศูนย์กลาง จะได้ว่า p/d = 1 + e ซึ่งเราสามารถใช้ค่า e ในการจำแนกชนิดของภาคตัดกรวย ดังตารางที่ 1.1

ภาคตัดกรวย ความเยื้องศูนย์กลาง
วงกลม d=p e=0
วงรี p/2 < d < p 0<e<1
พาราโบลา d = p/2 e=1
ไฮเพอร์โบลา d < p/2 e>1
เส้นตรง d=0 e=∞

ตารางที่ 1.1: ชนิดของภาคตัดกรวยที่จำแนกตามค่าความเยื้องศูนย์กลาง

รูปที่ 1.2: การสร้างรูปไฮเพอร์โบลา (a), วงรี (b) และพาราโบลา (c)


1.3 ผลงานของเคปเลอร์ ที่เกี่ยวกับภาคตัดกรวย 5

เคปเลอร์ ได้อธิบายวิธีการสร้างรูปไฮเพอร์โบลา รูปวงรี และรูปพาราโบลา โดยใช้เชือก หมุด และปากกา


ในกรณีการสร้างรูปไฮเพอร์โบลาและรูปวงรี เคปเลอร์ได้อ้างถึงหนังสือเล่มที่สามของ Apollonius ที่ปรากฏ
ในหน้า 51−52 โดยกำหนดให้ F, G เป็นโฟกัสของไฮเพอร์โบลา และ A เป็นจุดยอด ใช้เส้นตรงที่สามารถ
ยืดได้สองเส้นขึงจากจุด F และ G ไปยังจุด A หลังจากนั้นตรึงปากกาไว้ที่ปลายเชือกทั้งสองเส้นที่ปลายเชือก
ด้านจุด A ถ้าออกแรงยืดเชือกทั้งสองเส้นด้วยแรงที่เท่าๆ กัน (เชือกทั้งสองเส้นยืดออกด้วยระยะที่เพิ่มเท่าๆ
กัน) แล้วลงจุดร่วมคือจุด B และ C ซึ่งทำให้ได้ว่า GA − F A = GB − F B = GC − F C รอยปากกาที่ได้
จะเป็นรูปไฮเพอร์โบลา ดังรูปที่ 1.2 (a)
ในการวาดรูปวงรีนั้นจะง่ายกว่าการวาดรูปไฮเพอร์โบลา โดยที่จุดปลายของเชือกจะตรึงไว้ที่โฟกัส F, G
ซึ่งจะมีความยาวเป็น AF + AG หน่วย เมื่อ A เป็นจุดยอด ดังรูปที่ 1.2 (b) เราสามารถวาดรูปวงรีได้โดย
ใช้ปลายปากกา ขึงเชือกให้ตึงแล้วเลื่อนปากกาไปรอบ ๆ โฟกัส จะได้ว่าทางเดินของรอยของปากกาก็จะเป็น
รูปวงรี
สำหรับการสร้างพาราโบลา เคปเลอร์ ได้ใช้กระบวนการสร้างที่คล้ายๆ กับการสร้างไฮเพอร์โบลาและวงรี
โดยให้ F เป็นโฟกัส A เป็นจุดยอด และเส้นตรง AF เป็นแกนของพาราโบลา E เป็นจุดใดๆ บนแกนของ
พาราโบลา ดังรูปที่ 1.2 (c) ปักหมุดที่โฟกัส F และยืดเส้นตรงไปยังจุด A หลังจากนั้นจึงยืดไปยังจุด E วาง
ปากกาไว้ที่จุด A เลื่อนจุดปลายเชือกที่จุด E ไปตามเส้นที่ตั้งฉากกับแกน และในขณะเดียวกันเลื่อนปากกา
จากจุดปลายที่ A โดยที่เส้นเชือกนั้นยังคงขนานกับแกนพาราโบลา รอยของปากกาที่เกิดขึ้นจะเป็นพาราโบลา
ประวัติศาสตร์ของภาคตัดกรวย
6 (History of Conic Section)
บทที่ 2

เรขาคณิตวิเคราะห์ (Analytic Geometry)

In classical mathematics, analytic geometry, also known as coordinate geometry,


or Cartesian geometry, is the study of geometry using a coordinate system. This contrasts
with synthetic geometry.
Analytic geometry is widely used in physics and engineering, and is the
foundation of most modern fields of geometry, including algebraic, differential, discrete
and computational geometry.
Usually the Cartesian coordinate system is applied to manipulate equations for
planes, straight lines, and squares, often in two and sometimes in three dimensions.
Geometrically, one studies the Euclidean plane (two dimensions) and Euclidean space
(three dimensions). As taught in school books, analytic geometry can be explained
more simply: it is concerned with defining and representing geometrical shapes in a
numerical way and extracting numerical information from shapes’ numerical definitions
and representations. The numerical output, however, might also be a vector or a shape.
That the algebra of the real numbers can be employed to yield results about the linear
continuum of geometry relies on the Cantor Dedekind axiom.
(ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Analytic−geometry)
8 เรขาคณิตวิเคราะห์ (Analytic Geometry)

2.1 Analytic Geometry Activities

2.1.1 Line Activities

Problem L1. จงหาสมการเส้นตรง l หรืออธิบายที่มาของสมการเส้นตรงในระบบพิกัดฉาก

Problem L2. ในทำนองเดียวกับ Problem L1. แต่อธิบายด้วยวิธีที่แตกต่างกัน

Y
l

X
2.1 Analytic Geometry Activities 9

2.1.2 Circle Activities

Problem C1. สมมติว่าเราวาดวงกลมโดยใช้วงเวียน เหรียญ หรือวัสดุที่มีรูปร่างกลม แล้วลืมลงจุดศูนย์


กลางของวงกลมไว้ หรือไม่ทราบจุดศูนย์กลางตั้งแต่ตอนแรก จงหาจุดศูนย์กลางของวงกลมที่วาดโดยไม่
สามารถพับกระดาษได้

Problem C2. เราทราบว่า (x − a)2 + (y − b)2 = r2 เป็นสมการวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่ (a, b) รัศมียาว


r หน่วย ถ้ากระจายกำลังสองและจัดรูปใหม่จะได้สมการ x2 + y 2 − 2ax − 2by + (a2 + b2 − r2 ) = 0
หรือ x2 + y 2 + f x + gy + h = 0 เมื่อ f = −2a, g = −2b และ h = a2 + b2 − r2 นั่นคือสมการวง
กลมจะเขียนได้อีกรูปแบบหนึ่งคือ x2 + y 2 + f x + gy + h = 0 ซึ่งเราเรียกว่าสมการรูปทั่วไปของวงกลม
คำถาม สมการกำลังสอง 2 ตัวแปรที่อยู่ในรูป x2 + y 2 + f x + gy + h = 0 จะเป็นสมการวงกลมหรือไม่
10 เรขาคณิตวิเคราะห์ (Analytic Geometry)

2.2 สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์

2.2.1 ระยะห่างระหว่างจุดสองจุด

จากรูปที่ 2.1 กำหนดให้ P (x1 , y1 ) และ Q(x2 , y2 )


Y
Q(x , y )
2 2 เป็นจุดบนระนาบ ระยะห่างระหว่าง P และ Q
เขียนแทนด้วย P Q โดยใช้ทฤษฎีบทของพีทากอรัส
)
d(P
,Q
|y2 -y1|
จะได้ว่า
p
PQ = (x2 − x1 )2 + (y2 − y1 )2
P(x , y )1 1
|x2 -x1| R(x , y )
2 1
J

รูปที่ 2.1: ระยะห่างระหว่างจุดสองจุด

ตัวอย่าง 2.2.1 จงหาระยะระหว่างจุด P (−2, 1) และ Q(3, 4)

แนวคิด จากสูตรระยะห่างระห่างจุดสองจุด P Q = (x2 − x1 )2 + (y2 − y1 )2 จะได้ว่า


p

p p √ √
PQ = (3 − (−2))2 + (4 − 1)2 = 52 + 32 = 25 + 9 = 34

ดังนั้นระยะระหว่างจุด P และ Q เท่ากับ 34 หน่วย
J

2.2.2 จุดกึ่งกลางระหว่างจุดสองจุด

จากรูปที่ 2.2 กำหนดให้ P (x1 , y1 ) และ Q(x2 , y2 )


Y
เป็นจุดบนระนาบ ให้ M เป็นจุดกึ่งกลางบนส่วน
ของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่าง P และ Q พิกัดของ
Q(x , y )
2 2 M คือ
 
|y2 -y| x 1 + x 2 y1 + y 2
x,y) M= ,
M( 2 2
|x2 -x| S(x , y)
2
J
|y -y1|

P(x , y )
1 1 |x -x1| R(x, y ) 1

รูปที่ 2.2: จุดกึ่งกลางระหว่างจุดสองจุด


2.2 สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์ 11

ตัวอย่าง 2.2.2 จงหาจุดกึ่งกล่างระหว่าง (−5, −3) และ (9, 3)

แนวคิด ให้ M เป็นจุดกึ่งกลางที่ต้องการหา จากสูตรจุดกึ่งกลางระหว่างระหว่างจุดสองจุด จะได้ว่า


   
(−5) + 9 (−3) + 3 4 0
M= , = , = (2, 0)
2 2 2 2

ดังนั้นจุดกึ่งกลางคือ (2, 0)
J

2.2.3 จุดแบ่งส่วนของเส้นตรงออกเป็นอัตราส่วน m : n

จากรูปที่ 2.3 กำหนดให้ T (x, y) เป็นจุดที่แบ่งส่วน


Y
ของเส้นตรง P Q ออกเป็นอัตราส่วน จะได้ว่า
 
mx2 + nx1 my2 + ny1
Q(x , y ) T (x, y) = , )
2 2
m+n m+n
n
J

x,y)
T(
m

P(x , y )
1 1 R(x, y )1
S(x , y)
2

รูปที่ 2.3: จุดแบ่งอัตราส่วนของเส้นตรง

ตัวอย่าง 2.2.3 กำหนดให้ P (1, 7) และ Q(6, −3) จงหาพิกัดซึ่งแบ่งส่วนของเส้นตรง P Q ออกเป็น


อัตราส่วน 2 : 3

แนวคิด ให้ T (x, y) เป็นจุดแบ่งที่ต้องการหา จะได้ว่า


 
(2)(6) + (3)(1) (2)(−3) + (3)(7)
(x, y) = , )
2+3 2+3
 
12 + 3 (−6) + 21
= , )
5 5
 
15 15
= , = (3, 3)
5 5

ดังนั้นจุดแบ่งที่ต้องการหาคือ (3, 3)
J
12 เรขาคณิตวิเคราะห์ (Analytic Geometry)

2.2.4 ความเอียง

ความเอียงของเส้นตรง (inclination) คือค่าบวกของมุม θ (0 ≤ θ ≤ π) ที่วัดทวนเข็มนาฬิกาจากแกน


X ไปยังเส้นตรงเส้นนั้น
Y Y Y Y

O=0

O O O
X X X X
O O O O

Horizonal Line Vertical Line Acute angle Obtuse angle

รูปที่ 2.4: ความเอียงของเส้นตรง

จากรูปที่ 2.4 ถ้าเส้นตรงมีความเอียง θ จะได้ว่า ความชันของเส้นตรงคือ m = tan θ เมื่อ θ 6= 90◦ และ

1. ถ้า θ = 0◦ แล้วเส้นตรงนั้นจะเป็นเส้นในแนวนอน (horizontal line)

2. ถ้า θ = 90◦ แล้วเส้นตรงนั้นจะเป็นเส้นในแนวตั้ง (vertical line) ซึ่งไม่นิยามค่าของความชัน

3. ถ้า 0◦ < θ < 90◦ แล้วเส้นตรงนั้นจะทำมุมแหลมกับแกน X และค่าของความชันมีค่าเป็นบวก

4. ถ้า 90◦ < θ < 180◦ แล้วเส้นตรงนั้นจะทำมุมป้านกับแกน X และค่าของความชันมีค่าเป็นลบ


J

2.2.5 มุมระหว่างเส้นตรงสองเส้น

จากรูปที่ 2.5 กำหนดให้ L1 และ L2 เป็นเส้นตรง


Y
ที่ไม่ตั้งฉากกัน โดยมีความชันเป็น m1 และ m2
L1
ตามลำดับ และ θ เป็นมุมระหว่างเส้นตรงทั้งสอง
L2
จะเห็นว่า θ = θ1 − θ2 ดังนั้น
O
tan θ = tan(θ1 − θ2 )

จะได้ว่า
O2 O1
X
O tan θ1 − tan θ2 m1 − m2
tan θ = =
1 + tan θ1 tan θ2 1 + m1 m2

รูปที่ 2.5: มุมระหว่างเส้นตรงสองเส้น เมื่อ 1 + m1 m2 6= 0


J
2.2 สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์ 13

π 1
ตัวอย่าง 2.2.4 ถ้ามุมระหว่างเส้นตรงสองเส้นคือ และความชันของเส้นตรงเส้นหนึ่งคือ
4 2
จงหาความชันของเส้นตรงอีกเส้นหนึ่ง

1 m1 − m2
และ θ = π
แนวคิด ให้ m1 = , m2 = m จาก tan θ =

2 1 + m1 m2 4
จะได้ว่า
1

m −

π
2
1 = tan =
4 1
1 + m
2
1 1
m− m−
ดังนั้น 2 = 1 หรือ 2 = −1 นั่นคือ m = 3 หรือ m = − 1 J
1 1 3
1+ m 1+ m
2 2

2.2.6 ระยะห่างระหว่างจุดกับเส้น

จากรูปที่ 2.6 กำหนดให้ P (x1 , y1 ) เป็นจุดใดๆ และ


Y
L : Ax + By + C = 0 เป็นเส้นตรงบนระ-
นาบ
เดียวกัน ระยะจาก P ไปยัง L คือระยะจาก P ไปยัง
P(x1, y1) Q(x2 , y2 ) ซึ่งเป็นจุดบน L* *ระยะจากจุดไปยังเส้น
คือระยะที่สั้นที่สุด ซึ่ง
d จะได้ว่าเส้นตรงที่ลากผ่าน P และ Q คือ ก็คือความยาวของส่วน
ของเส้นตรงที่ลากจาก
B
Q(x2, y2) y − y1 = (x − x1 ) (2.1) จุดนั้นไปตั้งฉากกับ
A เส้นตรง
X
O จาก Q เป็นจุดบนเส้นตรง L จะได้ว่า เส้นตรงสองเส้นที่ตั้ง
ฉากกัน ผลคูณของ
L : Ax+By+C=0
Ax2 + By2 + C = 0 (2.2) ความชันจะเท่ากับ −

รูปที่ 2.6: ระยะห่างระหว่างจุดกับเส้น

และเนื่องจาก Q เป็นจุดบนเส้นตรง P Q จาก (2.1) จะได้ว่า

B
y2 − y1 = (x2 − x1 ) (2.3)
A

ดังนั้นจาก (2.2) และ (2.3) จะได้ว่า

B(Bx1 − Ay1 ) − AC
x2 =
A2 + B 2
A(−Bx1 + Ay1 ) − BC
y2 =
A2 + B 2
14 เรขาคณิตวิเคราะห์ (Analytic Geometry)

 
B(Bx1 − Ay1 ) − AC A(−Bx1 + Ay1 ) − BC
ดังนั้นพิกัดของจุด Q คือ ,
A2 + B 2 A2 + B 2
จะได้ระยะระหว่าง P และ Q คือ
p
P Q = (x2 − x1 )2 + (y2 − y1 )2
s 2  2
B(Bx1 − Ay1 ) − AC A(−Bx1 + Ay1 ) − BC
= − x 1 + − y 1
A2 + B 2 A2 + B 2
s
A2 (Ax1 + By1 + C)2 + B 2 (Ax1 + By1 + C)2
=
(A2 + B 2 )2
|Ax1 + By1 + C|
= √
A2 + B 2
J

ตัวอย่าง 2.2.5 จงหาระยะระหว่างจุด (3, 5) กับเส้นตรง 3x − 4y − 26 = 0

แนวคิด จากสูตรระยะห่างระหว่างจุดกับเส้น จะได้ว่า


| Ax1 + By1 + C | | (3)(3) + (−4)(−5) − 26 | 3
d= √ = p =
2
A +B 2 2
3 + (−4) 2 5
J

2.2.7 ระยะระหว่างเส้นตรงสองเส้น

จากรูปที่ 2.7 กำหนด L1 ; Ax + By + C1 = 0


Y Ax+By+C1=0
และ L2 ; Ax + By + C2 = 0 เป็นเส้นตรงสองเส้น
ที่ขนานกัน นั่นคือเส้นตรงทั้งสองมีความชันเท่ากัน
(0, y1) ระยะห่างระหว่างเส้นตรงที่ขนานกันที่จุดใดๆ
d ก็จะมีระยะห่างเท่ากัน โดยไม่เป็นการเสียนัยทั่วไป
Ax+By+C2=0 ถ้าวัดระยะจากจุด (0, y1 ) ของเส้นตรง L1 ไปยัง
เส้นตรง L2 ก็คือระยะห่างระหว่างเส้นตรงทั้งสอง
X โดยใช้สูตรระยะห่างระหว่างจุดกับเส้น
|Ax + By + C2 |
d= √
A2 + B 2

แทนค่า (x1 , y1 ) = (0, y1 ) จะได้ว่า


รูปที่ 2.7: ระยะห่างระหว่างเส้นตรง
|A(0) + By1 + C2 | |By1 + C2 | |C2 − C1 | |C1 − C2 |
d= √ = √ =√ =√
A2 + B 2 A2 + B 2 A2 + B 2 A2 + B 2
J
2.2 สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์ 15

ตัวอย่าง 2.2.6 จงหาระยะระหว่างเส้นตรง 3x − 4y + 7 = 0 กับเส้นตรง 3x − 4y + 5 = 0

แนวคิด จากสูตรระยะระหว่างเส้นตรงสองเส้นซึ่งขนานกัน จะได้ว่า


|C1 − C2 | |7 − 5| 2
d= √ =p =
A2 + B 2 32 + (−4)2 5
J

ตัวอย่าง 2.2.7 กำหนดเส้นตรง l : 3x + 4y + 2 = 0 จงหาสมการเส้นตรงทั้งหมดที่เป็นไปได้ที่ขนานกับ l


และมีระยะห่างจาก L เท่ากับ 3 หน่วย

แนวคิด สมการเส้นตรงที่ต้องการจะอยู่ในรูปของ 3x + 4y + c = o เมื่อ c เป็นจำนวนจริง


|C1 − C2 |
จากสูตรระยะห่างระหว่างจุดกับเส้น d = √ จะได้ว่า
A2 + B 2
|c − 2| |c − 2|
3= √ =
2
3 +4 2 5

จะได้ว่า |c − 2| = 15 ดังนั้น c = 17 หรือ c = −13


เพราะฉะนั้นสมการเส้นตรงทั้งหมดที่เป็นไปได้ คือ 3x + 4y + 17 = 0 และ 3x + 4y − 13 = 0
J

ตัวอย่าง 2.2.8 จากรูปที่ 2.8 จงหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม ABC

C(1, 8)

B(8, 6)

X
A(2, 0)

รูปที่ 2.8: รูปสามเหลี่ยม ABC

√ √ √
แนวคิด พิจารณา AB = (8 − 2)2 + (6 − 0)2 = 36 + 36 = 72 = 6 2 หน่วย
p
y2 − y1 6−0
ความชันของเส้นตรงที่ผ่านจุด A และ B คือ = =1
x2 − x1 8−2
ดังนั้นสมการเส้นตรงที่ผ่านจุด A และ B คือ

y − y1 = m(x − x1 )
y − 0 = 1(x − 2)
y = x − 2 หรือ x − y − 2 = 0
16 เรขาคณิตวิเคราะห์ (Analytic Geometry)

หาความสูง (h) ของรูปสามเหลี่ยม ABC จากจุดยอด C มายังฐาน AB ได้โดยใช้สูตรระยะห่างระหว่าง


จุดกับเส้น จะได้ว่า

| Ax1 + By1 + C | | (1)(1) + (−1)(8) + (−2) | 9


h= √ = p =√
2
A +B 2 2
1 + (−1) 2 2

1 √
 
9
นั่นคือพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม ABC เท่ากับ (6 2) √ = 27 ตาราหน่วย
J
2 2

ตัวอย่าง 2.2.9 จากรูปที่ 2.9 กำหนดให้ l เป็นเส้นตรงที่ผ่านจุด (8, 1) และสัมผัสวงกลม x2 + y 2 = 20


จงหาความชันของเส้นตรง l
Y

(8, 1)
X

รูปที่ 2.9: เส้นตรง l สัมผัสกับวงกลม


แนวคิด สมมติให้ m เป็นความชันของเส้นตรงที่สัมผัสวงกลม และจากจุด (8, 1) เป็นจุดบนเส้นตรง
หาสมการเส้นตรงได้ดังนี้

y − y1 = m(x − x1 )
y − 1 = m(x − 8)
y = mx − 8m + 1 หรือ mx − y + (1 − 8m) = 0

เนื่องจากระยะจากจุดกำเนิดมายังจุดสัมผัสวงกลมเท่ากับรัศมีของวงกลม ซึ่งเท่ากับ 20 หน่วย
√ |1 − 8m| 1 19
จะได้ว่า 20 = √ จากการแก้สมการ จะได้ m = − ,
m2 + 1 2 22
1
แต่จากรูปความชันของเส้นสัมผัสติดลบ นั่นคือ m = −
J
2
2.2 สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์ 17

2.2.8 วงกลม

วงกลม (circle) คือเซตของจุดทุกจุดบนระนาบซึ่ง


Y
อยู่ห่างจากจุดคงที่จุดหนึ่งเป็นระยะทางเท่ากัน
เรียกจุดคงที่นั้นว่าจุดศูนย์กลางของวงกลม ให้เป็น
P(x,y) (h, k) และเรียกระยะคงที่นั้นว่า รัศมีของวงกลม
ถ้าให้ r เป็นรัศมีของวงกลมจะได้สมการรูปมาตร-
ฐานของวงกลมคือ
C(h,k)
(x − h)2 + (y − k)2 = r2
X
O
ถ้ากระจาย (x − h)2 + (y − k)2 = r2
จะได้ x2 + y 2 + Dx + Ey + F = 0
รูปที่ 2.10: วงกลม เมื่อ D, E, F เป็นจำนวนจริง ซึ่งเรียกว่าสมการรูป
ทั่วไป

ถ้า h = k = 0 คือวงกลมที่มีจุดศูนย์กลาง ที่จุดกำเนิด แล้วจะได้สมการรูปมาตรฐานของวงกลม คือ

x2 + y 2 = r 2
J

ตัวอย่าง 2.2.10 จงหาสมการรูปทั่วไปของวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่ (3, 4) และรัศมีเท่ากับ 5 หน่วย

แนวคิด จากสมการรูปมาตรฐานของวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่ (h, k) และรัศมี r หน่วย คือ

(x − h)2 + (y − k)2 = r2

จะได้ว่า

(x − 3)2 + (y − 4)2 = 52
หรือ (x2 − 6x + 9) + (y 2 − 8y + 16) = 25
x2 + y 2 − 6x − 8y = 0

ดังนั้นสมการรูปทั่วไปของวงกลม คือ x2 + y 2 − 6x − 8y = 0
J
18 เรขาคณิตวิเคราะห์ (Analytic Geometry)

จากสมการรูปมาตรฐานของวงกลม (x − h)2 + (y − k)2 = r2 จะได้ว่า x2 + y 2 + Dx + Ey + F = 0


ในทางกลับกันถ้าเรามีสมการ x2 + y 2 + ax + by + c = 0 แล้วจะสรุปได้หรือไม่ว่าเป็นสมการของวงกลม
พิจารณา

x2 + y 2 + ax + by + c = 0
(x2 + ax) + (y 2 + by) = −c
 2 !
a2 b2
  a 2 
2 2 b
x + ax + + y + by + = −c + +
2 2 4 4

หรือ
b 2 a2 + b2 − 4c
 
 a 2 1p 2
x+ + y+ = = a + b2 − 4c
2 2 4 2

ดังนั้น ถ้า a2 + b2 − 4c ≤ 0 สมการ x2 + y 2 + ax + by + c = 0 จะไม่ใช่สมการวงกลม

สมการเส้นสัมผัสวงกลม (The Tangent to the Circle)

พิจารณาสมการวงกลม x2 + y 2 = r2
Y
ซึ่งมีจุดศูนย์กลางที่จุดกำเนิด รัศมีเท่ากับ r หน่วย
ดังรูปที่ (2.11) และให้ P (x1 , y1 ) เป็นจุดบนวง-
A กลม จะได้ว่า x21 + y12 = r2

P y1
พิจารณาความชันของ OP จะเท่ากับ และ
x1
เราทราบว่า OP ⊥AB ดังนั้นความชันของ AB
X x1
O B เท่ากับ −
y1
เพราะฉะนั้นสมการเส้นตรง AB คือ
x1
รูปที่ 2.11: เส้นสัมผัสวงกลม y − y1 = −
y1
(x − x1 )

หรือ x1 x + y1 y = x21 + y12 ในทำนองเดียวกัน


ถ้าวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่ (h, k) จะได้สมการเส้นสัมผัสวงกลมที่จุด (x1 , y1 ) คือ

(x1 − h)(x − h) + (y1 − k)(y − k) = r2

∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗∗
2.3 โจทย์ฝึกทักษะและตัวอย่างข้อสอบ : เรขาคณิตวิเคราะห์ 19

2.3 โจทย์ฝึกทักษะและตัวอย่างข้อสอบ : เรขาคณิตวิเคราะห์

1. ระยะห่างระหว่างเส้นตรง 3x − 4y = 1 กับเส้นตรง 3x − 4y = 10 เท่ากับกี่หน่วย


(Q2,MATH30103,2553)

2. จงหาพิกัดของจุดบนแกน Y ซึ่งอยู่ห่างจากเส้นตรง 4x + 3y − 6 = 0 เป็นระยะ 3 หน่วย


(Q2,MATH30103,2553)

3. กำหนดให้ L : 3x−4y+12 = 0 จงหาสมการเส้นตรงที่ขนาน และอยู่ห่างจาก L เป็นระยะ


3 หน่วย (Q2,MATH30103,2553)

4. ให้ V เป็นจุดตัดของเส้นตรง 2x − 5y + 3 = 0 กับเส้นตรง x − 3y − 7 = 0 จงหาสมการ


รูปทั่วไปของเส้นตรงที่ตั้งฉากกับเส้นตรง 4x + y − 1 = 0 และผ่านจุด V
(Q2,MATH30103,2553)

5. ถ้า A(−1, 5), B(1, 9) และ C(5, 17) เป็นจุด 3 จุด บนระนาบ แล้วจะสามารถลากเส้นตรง
หนึ่งเส้นผ่านจุดทั้งสามจุดนี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด (Q2,MATH30103,2553)

6. ถ้า A(−1, 4) B(3, 6) และ C(−1, −1) เป็นจุดยอดของรูปสามเหลี่ยม แล้วขนาดของมุม


B เท่ากับกี่องศา (Q2,MATH30103,2553)

7. กำหนดจุด A(−4, −2) และ B(8, 6) จงหาพิกัดของจุดทั้งหมดบน AB ซึ่งแบ่ง AB


ออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน (Q2,MATH30103,2553)

8. จงหาสมการรูปทั่วไปของเส้นตรงที่ผ่านจุดตัดของเส้นตรง 3x + 4y − 1 = 0 กับเส้นตรง
x + y − 11 = 0 และมีระยะจากจุดกำเนิดไปยังเส้นตรงนี้เป็นระยะมากสุด
(Final,MATH30103,2553)

√ √
9. มุมระหว่างเส้นตรง y = (2 − 3)x + 5 และ y = (2 + 3)x − 7 เท่ากับกี่องศา
(Q2,MATH30103,2554)


10. กำหนดให้ l1 และ l2 เป็นเส้นตรง ถ้ามุมเอียงของ l1 เท่ากับ และมุมระหว่าง l1 และ
4
l2 เท่ากับ arctan 2 แล้วความชันของ l2 ที่เป็นไปได้ทั้งหมดเท่ากับเท่าใด
(Q2,MATH30103,2554)

11. กำหนดให้ A(−9, −5), B(3, 8) และ C(−11, 3) เป็นจุด 3 จุดบนระนาบ จงหาความชัน
ของเส้นตรงที่ผ่าน B และผ่านจุดกึ่งกลางระหว่าง A กับ C (Q2,MATH30103,2554)
20 เรขาคณิตวิเคราะห์ (Analytic Geometry)

12. จงหาค่าคงที่ k ที่ทำให้เส้นตรง 4x + 3y + k = 0 อยู่ห่างจากจุด (0, 7) เป็นระยะทาง


3 หน่วย (Q2,MATH30103,2554)

13. จงหาสมการรูปทั่วไปของเส้นตรงที่ผ่านจุด (2, 1) และขนานกับเส้นตรงที่ผ่านจุด (1, 1)


และ (−4, 3) (Q2,MATH30103,2554)

14. ถ้า A(1, 1), B(2, −3) และ C(a, b) เป็นจุดบนเส้นตรงเดียวกัน และ AC = 3AB
แล้วจงหาค่าของ |a − b| (Q2,MATH30103,2554)

15. กำหนดให้ l1 เป็นเส้นตรงที่ผ่านจุด A(−1, 1) และ B(3, 5), l2 เป็นเส้นตรงที่ตั้งฉากกับ


l1 ผ่านจุดกึ่งกลางของ A กับ B ถ้า P เป็นจุดบนเส้นตรง l2 ซึ่งอยู่บนแกน X แล้วระยะ
ห่างระหว่างจุด P กับเส้นตรง l1 ยาวกี่หน่วย (Q2,MATH30103,2554)

16. กำหนดให้ A และ C เป็นจำนวนจริงซึ่ง AC > 0 ให้ l1 และ l2 เป็นเส้นตรงที่มีสมการ


เป็น 8x + 6y − 7 = 0 และ Ax − 3y + C = 0 ตามลำดับ ถ้า l1 ขนานกับ l2 และ l2
อยู่ห่างจากจุด (1, 5) เป็นระยะ 8 หน่วย แล้ว AC มีค่าเท่าใด (Q2,MATH30103,2554)

17. จงหาพิกัดบนเส้นตรง 3x + 5y + 7 = 0 และอยู่ห่างจากเส้นตรง 2x + 3y + 4 = 0



เป็นระยะ 13 หน่วย (Q2,MATH30103,2554)

18. จงหาพิกัดของจุดที่อยู่ห่างเส้นตรง x + y − 1 = 0 และ x + y − 5 = 0 เป็นระยะทาง


เท่ากัน และอยู่บนเส้นตรง l เมื่อเส้นตรง l ตั้งฉากกับเส้นตรงทั้งสองและผ่านจุด (−9, 0)
(Final,MATH30103,2554)

19. จงหาสมการรูปทั่วไปของเส้นตรงที่ผ่านจุดตัดของเส้นตรงที่มีสมการ 3x + 5y = 7 กับ


x − 7y = 11 และขนานกับเส้นตรง 2x + 3y = 1 (Final,MATH30103,2554)

20. ให้ l เป็นเส้นตรงที่ผ่านจุด (0, 1) และ (3, 5) จงหาสมการรูปทั่วไปของเส้นตรงที่ขนาน


กับ l และมีระยะห่างจาก l เท่ากับความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม
x2 + y 2 + 2x − 4y − 4 = 0 (Q2,MATH30103,2554)

กำหนดเส้นตรง L1 : 2x + 3y − 12 = 0 และ L2 : 2x + y − 8 = 0 มุมระหว่าง L1 กับ


21.
L2 เท่ากับกี่องศา
(Final,MATH30103,2554)

22. จงหาสมการรูปทั่วไปของเส้นตรงที่ขนานกับเส้นตรง y−x = 8 และผ่านจุดตัดของเส้นตรง


x + 2y + 3 = 0 กับเส้นตรง 3x + 4y + 7 = 0
2.3 โจทย์ฝึกทักษะและตัวอย่างข้อสอบ : เรขาคณิตวิเคราะห์ 21

23. ถ้ากำหนดให้เสาไฟฟ้าแรงสูงสองต้นมีตำแหน่งในระนาบพิกัดฉากเป็น (−1, 2) และ


(3, −1) ตามลำดับ สมชายยืนอยู่ในตำแหน่งพิกัด (5, 5) แล้วตำแหน่งที่ สมชายยืน
อยู่ห่างจากเส้นตรงที่ผ่านเสาไฟฟ้าทั้งสองกี่หน่วย

24. จงหาสมการรูปทั่วไปของเส้นตรงที่ขนานกับเส้นตรง 3x − 2y + 5 = 0 และตัดแกน X


กับแกน Y ทำให้เกิดรูปสามเหลี่ยมที่มีพื้นที่ 27 ตารางหน่วย

25. กำหนดให้ P เป็นจุดบนเส้นตรง x − 2y + 1 = 0 ซึ่งอยู่ห่างจากจุด (−4, 2) และ (0, −2)


เป็นระยะเท่ากัน จงหาจุดบนเส้นตรง y = x ที่ห่างจาก P เป็นระยะทางที่สั้นที่สุด

26. กำหนดให้ a เป็นจำนวนจริงที่สอดคล้องกับสมการเส้นตรง ax + 6y − 10 = 0


จงหาค่าของ a ที่ทำให้เส้นตรงสัมผัสกับวงกลม x2 + y 2 + 4x − 6y + 9 = 0

27. วงกลมรูปหนึ่งมีจุดศูนย์กลางที่ (0, 0) ถ้า A เป็นจุดที่วงกลมตัดกับแกน X และอยู่ห่าง


จาก B(1, 4) และ C(7, −4) เป็นระยะทางเท่ากันแล้วรัศมีของวงกลมวงนี้ยาวกี่หน่วย


28. จงหาสมการรูปทั่วไปของเส้นตรง ซึ่งอยู่ห่างจากจุดกำเนิด 3 2 หน่วย และตั้งฉากกับ
เส้นตรงที่มีความเอียงเท่ากับ 135◦ (Final,MATH30103,2555)

29. จงหาสมการของเส้นตรงที่ตั้งฉากกับเส้นตรง 4x + 3y − 7 = 0 และอยู่ห่างจากจุด (1, 5)


เป็นระยะ 2 หน่วย (Final,MATH30103,2555)

30. จงหาค่าของ k ที่ทำให้เส้นตรง (k − 3)x − (4 − k 2 )y + k 2 − 7k + 6 = 0 ขนานกับแกน X

x y
31. จงหาจุดบนแกน Y ที่อยู่ห่างจากเส้นตรง + = 1 เป็นระยะ 4 หน่วย
3 4

32. จงหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมที่ปิดล้อมด้วยเส้นตรง y − x = 0, x + y = 0 และ x − k = 0

33. จงหาสมการเส้นตรงที่ผ่านจุด (3, 2) และทำมุม 45◦ กับเส้นตรง x − 2y = 3

34. จงหาระยะห่างระหว่างเส้นตรง 4x + 7y + 5 = 0 ไปยังจุด (1, 2) บนเส้นตรง 2x − y = 0

35. จงหาสมการของเส้นตรงที่ผ่านจุด P และตั้งฉากกับวงกลม x2 + y 2 + kx + 2y − 24 = 0


ที่ผ่านจุด (−2, −4) เมื่อ P คือจุดที่แบ่ง AB ออกเป็นอัตราส่วน 3 : 1 โดยมี A และ B
เป็นจุดตัดแกน X และแกน Y ตามลำดับของเส้นตรง x + 2y − 4 = 0
(Q1,MATH30104,2557)
22 เรขาคณิตวิเคราะห์ (Analytic Geometry)

36. วัตถุระเบิดชิ้นหนึ่งถูกวางอยู่ที่พิกัด (−2, 1) ในระบบพิกัดฉาก ทหารเก็บกู้ระเบิดอยู่ที่พิกัด


(3, 2) เดินสำรวจวัตถุระเบิดบนเส้นตรง y = 2x − 4 ถ้าทหารอยู่ใกล้ระเบิด จะได้ยินเสียง
เตือนจากเครื่องตรวจจับความดังตามระยะทางที่อยู่ใกล้ กล่าวคือถ้าอยู่ใกล้มากเสียงเตือนจะ
ดังมาก จงหาพิกัดที่ทหารจะได้ยินเสียงเตือนดังที่สุด (Midterm,MATH30104,2557)

37. ให้ C เป็นวงกลมที่ผ่านจุด A1 (8, −2), A2 (6, 2) และ A3 (3, −7) ซึ่งสอดคล้องกับเงื่อนไข
ข้อ a) และ b) ดังต่อไปนี้
a) C ตัดกับเส้นตรง x + 1 = 0 ที่จุด P และ Q โดยที่ Q เป็นจุดในจตุภาคที่ 3
b) C ตัดกับเส้นตรง x − 6 = 0 ที่จุด R และ S โดยที่ R เป็นจุดในจตุภาคที่ 1
จงหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม P QRS (Final,MATH30107,2558)

38. If the line 2x − 3y − 6 = 0 is reflected in the line y = −x, find the equation of
the image line.

39. If A(3, 5) and B(11, 11) are fixed points, find the point(s) P on the x−axis
such that the area of the triangle ABP equals 30.

40. Given the circles x2 + y 2 = 4 and x2 + y 2 − 6x + 2 = 0, find the length of their


common chord.

41. A line has slope −2 and is a distance of 2 units from the origin. What is the area
of the triangle formed by this line and the axes?

42. A vertical line divides the triangle with vertices O(0, 0), C(9, 0) and D(8, 4) into
two regions of equal area. Find the equation of the line.

43. Find all values of c such that the line y = x+c is tangent to the circle x2 +y 2 = 8.

44. Find all values of k so that the circle with equation x2 + y 2 = k 2 will intersect
the circle (x − 5)2 + (y + 12)2 = 49 in exactly one point.

45. A circle intersects the axes at A(0, 10), O(0, 0) and B(8, 0). A line through
P (2, −3) cuts the circle in half. What is the y intercept of the line?

46. If triangle ABC has vertices A(0, 0), B(3, 3) and C(−4, 4), determine the
equation of the bisector of ∠CAB.
2.3 โจทย์ฝึกทักษะและตัวอย่างข้อสอบ : เรขาคณิตวิเคราะห์ 23

47. What are the length and the slope of the tangent(s) from the origin to the circle
(x − 3)2 + (y − 4)2 = 4?

48. Find the equation of the set of points equidistant from C(0, 3) and D(6, 0).

49. The point A is on the line 4x + 3y − 48 = 0 and the point B is on the line
x + 3y + 10 = 0. If the midpoint of AB is (4, 2), find the co-ordinates of A
and B.

50. In quadrilateral KW AD, K is at the origin, D is on the positive x−axis and A


and W are in the first quadrant. The midpoints of KW and AD are M and N
1
respectively. If M N = (AW + DK) prove that W A is parallel to KD.
2

∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗∗
24 เรขาคณิตวิเคราะห์ (Analytic Geometry)
บทที่ 3

พาราโบลา (Parabola)
The earliest known work on conic sections was by Menaechmus in the fourth
century BC. He discovered a way to solve the problem of doubling the cube using
parabolas. (The solution, however, does not meet the requirements imposed by compass
and straightedge construction). The area enclosed by a parabola and a line segment,
the so−called "parabola segment", was computed by Archimedes via the method of
exhaustion in the third century BC, in his The Quadrature of the Parabola. The name
"parabola" is due to Apollonius who discovered many properties of conic sections. It
means "application", referring to "application of areas" concept, that has a connection
with this curve, as Apollonius had proved. The focusdirectrix property of the parabola
and other conics is due to Pappus.

Galileo showed that the path of a projectile follows a parabola, a consequence of


uniform acceleration due to gravity. The idea that a parabolic reflector could produce an
image was already well known before the invention of the reflecting telescope. Designs
were proposed in the early to mid seventeenth century many mathematicians including
Ren Descartes, Marin Mersenne, and James Gregory. When Isaac Newton built the first
reflecting telescope in 1668, he skipped using a parabolic mirror because of the difficulty
of fabrication, opting for a spherical mirror. Parabolic mirrors are used in most modern
reflecting telescopes and in satellite dishes and radar receivers.

(ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Parabola)
26 พาราโบลา (Parabola)

3.1 Parabola Activities

กิจกรรมต่อไปนี้เป็นตัวอย่างกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจนิยามของพาราโบลา

3.1.1 การสร้างรูปพาราโบลา แบบที่ 1 : วิธีการพับกระดาษ (foading method)

วัสดุ/อุปกรณ์ กระดาษขนาด A5 (A4 พับครึ่ง), ดินสอ หรือปากกา และไม้บรรทัด

วิธีการดำเนินกิจกรรม

1. ให้ลงจุด F บนกระดาษโดยอยู่ห่างจากขอบล่างของกระดาษประมาณ 2 เซนติเมตร และลงจุดบนขอบ


ล่างของกระดาษให้ห่างกันพอสมควร (เพื่อที่จะใช้เป็นจุดอ้างอิงในการพับ)

2. พับกระดาษโดยให้จุดที่อยู่บนขอบล่างไปทับกับจุด F แล้วคลี่รอยพับออก และขีดเส้นทับรอยพับให้


ชัดเจน ดังรูป

F F F

(1) (2) (3)

3. สังเกตรอยพับที่เกิดขึ้น ว่าทำไมรอยพับที่เกิดขึ้นจึงรวมกันเป็นรูปพาราโบลา โดยอาจเขียนรูปเพิ่มเติม


เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ดังนี้

P Crease

F
Q
directric
G

4. จากรูปด้านบนจะเห็นว่ารอยพับทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะรวมกันเป็นรูปพาราโบลา จากการสังเกตจากรูปที่
วาดขึ้นเพิ่มเติม จะพบว่า △F P Q ∼ △GP Q เมื่อ F คือโฟกัสของพาราโบลา P คือจุดที่อยู่บน
พาราโบลา G คือจุดที่อยู่บนเส้นไดเรกตริกซ์ (เส้นขอบล่างของกระดาษที่พับ) และจะได้ว่า P F = P G
นั่นหมายถึงระยะห่างจากจุดใด ๆ บนพาราโบลากับโฟกัส จะเท่ากับระยะจากจุดนั้นไปยังเส้นไดเรก-
ตริกซ์ ซึ่งก็คือนิยามของพาราโบลา

⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆
3.1 Parabola Activities 27

3.1.2 การสร้างรูปพาราโบลา แบบที่ 2 : วิธีใช้เส้นตรงและวงกลม (line and circle method)

วัสดุ/อุปกรณ์ กระดาษ Construction parabola by line and circle method, ดินสอ หรือปากกา และไม้-
บรรทัด

วิธีการดำเนินกิจกรรม

1. จากกระดาษกราฟดังรูปด้านล่าง ให้ F เป็นจุด


ศูนย์กลางของวงกลมวงชั้นในสุด โดยที่วงกลม
ในชั้น ถัดมาไปจะมีรัศมีเพิ่มขึ้นที่ละหนึ่งหน่วย
และเส้นในแนวนอนก็ห่างกันหนึ่งหน่วยเช่นกัน F

แล้วลากเส้นตรงเส้นหนึ่งให้เป็นเส้นไดเรกตริกซ์ Directrix

ดังรูป

2. ลงจุดซึ่งเป็นจุดที่อยู่ห่างจากจุด F และห่างจาก
P
เส้นไดเรกตริกซ์เป็นระยะเท่ากัน แล้วลากเส้นโค้ง
เชื่อมระหว่างแต่ละจุด จะปรากฎดังรูป
T

Directrix
S Q

3. จากรูปจะเห็นว่า F P = QP และ F T = T S นั่นคือระยะจากโฟกัส F ไปยังจุดใด ๆ บนพาราโบลา


จะเท่ากับระยะจากจุดนั้นไปยังเส้นไดเรกตริกซ์ ซึ่งก็คือนิยามของพาราโบลานั่นเอง

⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆
28 พาราโบลา (Parabola)

3.1.3 การสร้างรูปพาราโบลา แบบที่ 3 : วิธีใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก (rectangular method)

วัสดุ/อุปกรณ์ กระดาษ Draw Parabola by Rectangular Method, ดินสอ หรือปากกา และไม้บรรทัด

วิธีการดำเนินกิจกรรม

1. แบ่งกระดาษในแนวตั้งและแนวนอนออกเป็นส่วน B 7 6 5 4 3 2 1 C

เท่า ๆ กัน ดังรูปด้านล่าง แบ่งด้าน BC และด้าน 1


Y C ออกเป็น 8 ส่วนเท่า ๆ กัน แล้วลากเส้นจาก 2
จุด X ไปยังจุดแบ่ง ดังรูป 3
4
5
6
7
X Y

2. ลงจุดตรงจุดตัดของเส้นที่ลากเชื่อมหมายเลขเดียวกัน B 7 6 5 4 3 2 1 C

เช่นหมายเลข 1 ในแนวตั้งตัดกับเส้นหมายเลข 1 1
ในแนวนอน แล้วลากเส้นเชื่อม และทำซ้ำในทำนอง 2

เดียวกัน บนรูปสี่เหลี่ยม XY DA จะได้ดังรูป 3


4

3. จากรูป (อธิบายการเกิดรูปพาราโบลา) 5
6
7
X Y

⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ A⋆ ⋆ ⋆ ⋆ D
3.1 Parabola Activities 29

3.1.4 Parabola Problem

Problem P1. : กำหนดแผ่นปาเป้ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 4 ตารางหน่วย (ดังรูป) จงหาความน่าจะเป็น


ของลูกดอกที่ปาจะอยู่ใกล้กับจุดศูนย์กลางมากกว่าอยู่ใกล้ขอบของแผ่นปาเป้า

x=-1 x=1

y=1

X
O

y=-1
30 พาราโบลา (Parabola)

3.2 สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับพาราโบลา

พาราโบลา คือเซตของจุดบนระนาบซึ่งมีระยะ
Axis
จากเส้นไดเรกตริกซ์ (directrix) กับโฟกัส (focus)
เป็นระยะเท่ากัน
P
F
จากรูปที่ 3.1 ถ้า P เป็นจุดบนพาราโบลา จะ-
ได้ว่า P F = P Q เมื่อ P เป็นโฟกัส และ
V
Q เป็นจุดบน เส้นไดเรกตริกซ์ เส้นตรงที่ลากผ่าน
Directrix
Q F และตั้งฉาก กับเส้นไดเรกตริกซ์เรียกว่าแกนสม-
รูปที่ 3.1: พาราโบลา มาตร หรือแกน ของพาราโบลา (axis)และ V ซึ่ง-
เป็นจุดตัดของ
พาราโบลากับแกน เรียกว่าจุดยอด (vertex)*
*สังเกตว่าโฟกัสจะอยู่ภาย
ในพาราโบลา และเส้นได
เรกตริกซ์จะอยู่นอกพารา
โบลา 3.2.1 พาราโบลาที่มีจุดยอดที่จุดกำเนิด และแกนสมมาตรคือแกน Y

axis axis
Q y = -p
0
P(x, y)
F(0, p)
x-axis
F(0, p)
x-axis P(x, y)
0
y = -p
Q
p>0 p>0

รูปที่ 3.2: พาราโบลาที่มีจุดยอดที่จุดกำเนิด และแกนสมมาตรคือแกน Y

จากรูปที่ 3.2 ในกรณีที่ p > 0 จะเห็นว่า (0, p) เป็นโฟกัส y = −p เป็นเส้นไดเรกตริกซ์ แกน Y เป็น
แกนสมมาตร และ (0, 0) เป็นจุดยอด จากนิยามของพาราโบลา จะได้ว่า P F = P Q
พิจารณา P F = x2 + (y − p)2 และ P Q = (y + p)2
p p

จะได้ว่า
p p
P F = P Q : x2 + (y − p)2 = (y + p)2

ยกกำลังสองทั้งสองข้าง จะได้ว่า

x2 + y 2 − 2py + p2 = y 2 + 2py + p2
x2 = 4py

นั่นคือ x2 = 4py เป็นสมการรูปมาตรฐานของพาราโบลาที่มีจุดยอดที่จุดกำเนิด แกน Y เป็นแกนสมมาตร


และ y = −p เป็นเส้นไดเรกตริกซ์ ในกรณีที่ p < 0 จะได้กราฟของพาราโบลาเป็นรูประฆังคว่ำ
J
3.2 สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับพาราโบลา 31

3.2.2 พาราโบลาที่มีจุดยอดที่จุดกำเนิด และแกนสมมาตรคือแกน X

y-axis y-axis
x= -p
Q(-p, y) P(x, y)

F(p, 0) 0 axis
axis 0 F(p, 0)

P(x, y) Q(-p, y) x= -p
p<0 p>0

รูปที่ 3.3: พาราโบลาที่มีจุดยอดที่จุดกำเนิด และแกนสมมาตรคือแกน X

จากรูปที่ 3.3 จะได้ y 2 = 4px เป็นสมการรูปมาตรฐาน โดยที่ (p, 0) เป็นโฟกัส x = −p เป็นสมการ


ไดเรกตริกซ์ แกน X เป็นแกนสมมาตร และ (0, 0) เป็นจุดยอด
J

3.2.3 พาราโบลาที่มีจุดยอดที่ (h, k) และแกนขนานกับแกน Y

axis : x=0 axis : x=h


(x-h)=4p(y-k)

x=4py F(h, k+p)

(h, k)
F(0, p)
y=k-p

x-axis
0
y=-p

รูปที่ 3.4: พาราโบลาที่มีจุดยอดที่ (h, k) และแกนขนานกับแกน Y

จากรูปที่ 3.4 กราฟของ x2 = 4py เลื่อนไปในแนวนอน h หน่วย และเลื่อนไปในแนวตั้ง k หน่วย


จะได้สมการของกราฟรูปใหม่คือ (x − h)2 = 4p(y − k) เป็นสมการรูปมาตรฐาน โดยที่ (h, k + p)
เป็นโฟกัส y = k − p เป็นสมการไดเรกตริกซ์ x = h เป็นแกนสมมาตร และ (h, k) เป็นจุดกำเนิด
J
32 พาราโบลา (Parabola)

3.2.4 พาราโบลาที่มีจุดยอดที่ (h, k) และแกนขนานกับแกน X

x= h-p
y-axis
x= -p

axis : y=k
(h,, k) F(h+p, k)

axis : y=0
(0, 0) F(p, 0)

รูปที่ 3.5: พาราโบลาที่มีจุดยอดอยู่ที่ (h, k) และแกนขนานกับแกน X

จากรูปที่ 3.5 กราฟของ y 2 = 4px เลื่อนไปในแนวนอน h หน่วย และเลื่อนไปในแนวตั้ง k หน่วย


จะได้สมการของกราฟรูปใหม่คือ (y − k)2 = 4p(x − h) เป็นสมการรูปมาตรฐาน โดยที่ (h + p, k)
เป็นโฟกัส x = h − p เป็นสมการไดเรกตริกซ์ h = k เป็นแกนสมมาตร และ (h, k) เป็นจุดกำเนิด
J

3.2.5 คอร์ดของพาราโบลา

1. คอร์ด (Chord) คือส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดสองจุดใดๆ ที่อยู่บนพาราโบลา

2. คอร์ดโฟสัส (Focal chord) คือคอร์ดที่ผ่านโฟกัสของพาราโบลา

3. ลาตัสเรกตัม (Latus rectum) คือคอร์ดที่ผ่านโฟกัสและตั้งฉากกับแกนของพาราโบลา

y-axis

p pQ

2p
x-axis
F(p, 0)

x=-p

รูปที่ 3.6: ความยาวของลาตัสเรกตัม

จากรูปที่ 3.6 จะเห็นว่า F Q = |2p| เมื่อ p คือระยะโฟกัส ดังนั้นความยาวของลาตัสเรกตัมเท่ากับ


|4p|
3.2 สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับพาราโบลา 33

3.2.6 สมบัติการสะท้อนของพาราโบลา (Reflective Properties of a Parabola)

สมบัติการสะท้อน เป็นสมบัติที่สำคัญข้อหนึ่ง-
y-axis
P ของพาราโบลา ซึ่งกล่าวว่าถ้าปล่อยลำแสงจากโฟ-
β กัส ของพาราโบลาไปกระทบจพื้นผิวที่เป็นรูปพารา-
โบลา แล้วลำแสงจะสะท้อนเป็นเส้นตรงขนานกับ-
Q α axis แกนของ พาราโบลา หรือในทางกลับกันถ้ามีแสง-
0 F(p, 0)
ที่มากระทบกับพื้นผิวของพาราโบลา แล้วแสงจะสะ-
ท้อนผ่าน โฟกัสเสมอ (α = β) ดังแสดงในรูปที่
4.7

รูปที่ 3.7: สมบัติสะท้อนของพาราโบลา

สำหรับการพิสูจน์สามารถทำได้โดยพิจารณาพาราโบลา y 2 = 4px เมื่อ p คือระยะโฟกัส และกำหนด


พิกัด P (pm2 , 2pm) และ Q(−pm2 , 0) เมื่อ m เป็นจำนวนจริงใด ๆ

พิจารณา
p
FP = (pm2 − p)2 + (2pm)2
p
= p2 m4 − 2p2 m2 + p2 + 4p2 m2
p
= p m4 − 2m2 + 1 + 4m2
p
= p m4 + 2m2 + 1
p
= p (m2 + 1)2
= p(m2 + 1)

∴ F P = p(m2 + 1) (3.1)

และจากสมการพาราโบลา y 2 = 4px โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับอนุพันธ์ จะได้ความชันของสมการเส้นสัมผัส


p
พาราโบลาที่จุด (x, y) ใด ๆ คือ ± √ ดังนั้นความชันของสมการเส้นสัมผัสที่จุด P (pm2 , 2pm) คือ
px
p p 1
p = =
p(pm2 ) pm m

ดังนั้นสมการเส้นสัมผัสพาราโบลาที่จุด P (pm2 , 2pm) คือ


1
y − 2pm = (x − pm2 )
m
x
y − 2pm = − pm
m
ym − 2pm2 = x − pm2

ดังนั้นสมการเส้นสัมผัสคือ x − ym + pm2 = 0
ต่อไปหาจุดตัดแกน X ของสมการโดยให้ y = 0 จะได้จุดตัดแกน X คือ (−pm2 , 0)
34 พาราโบลา (Parabola)

จะได้ว่า OQ = pm2 ดังนั้น F Q = OQ + OF = pm2 + p = p(m2 + 1) = P F


นั่นคือ F P = F Q เพราะฉะนั้น α = β
J
3.3 โจทย์ฝึกทักษะและตัวอย่างข้อสอบ : พาราโบลา (Parabola) 35

3.3 โจทย์ฝึกทักษะและตัวอย่างข้อสอบ : พาราโบลา (Parabola)

1. จงหาสมการรูปทั่วไปของเส้นตรงที่ผ่านจุด (2, 3) และขนานกับเส้นสัมผัสกราฟ y = x2 − 1


ที่จุด (−1, 0) (Q2,MATH30103,2553)

2. จงหาสมการรูปมาตรฐานของพาราโบลาที่มีแกนสมมาตรขนานกับแกน X มีจุดยอดอยู่ที่
(4, −1) และโฟกัสอยู่บนเส้นตรง x + y − 6 = 0 (Q2,MATH30103,2553)

3. ถ้า P (−6, −5) เป็นจุดอยู่บนระนาบเดียวกับพาราโบลา y 2 + 12x − 2y + 37 = 0 แล้วจุด


P อยู่ใกล้โฟกัสหรือเส้นไดเรกตริกซ์มากกว่ากัน (Q2,MATH30103,2553)

4. ถ้าพาราโบลา x2 − 8x + 12y + 28 = 0 มีจุดยอดที่ A และ BC เป็นลาตัสเรกตัมของ


พาราโบลา จงหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม ABC (Q2,MATH30103,2553)

5. จงหาสมการรูปทั่วไปของสมการเส้นสัมผัสพาราโบลา y 2 = 9x ที่จุด (1, 3)


(Q2,MATH30103,2553)

6. จงหาสมการรูปมาตรฐานของพาราโบลาที่มีจุดยอดอยู่บนเส้นตรง y = 2x มีเส้นตรง y = 2
เป็นแกนสมมาตรและผ่านจุด (3, −2) (Final,MATH30103,2553)

7. กำหนดให้ P เป็นพาราโบลาที่มีโฟกัส F (5, 0) และ L เป็นเส้นตรงที่ผ่านจุด (0, −1)


และมีความชันเท่ากับ −1 ถ้า L สัมผัสพาราโบลาที่จุด A แล้ว |F A| ยาวกี่หน่วย
(Final,MATH30103,2553)

8. จงหาสมการรูปมาตรฐานของพาราโบลาที่มีจุด (1, 6) และ (1, −2) เป็นจุดปลายของ


ลาตัสเรกตัม (Final,MATH30103,2553)

9. ถ้าพาราโบลา y 2 − 8y + 8x − 8 = 0 มี V เป็นจุดยอด และมีส่วนของเส้นตรง AB


เป็นลาตัสเรกตัม แล้วพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม ABV เท่ากับกี่ตารางหน่วย
(Final,MATH30103,2553)

10. พาราโบลารูปหนึ่งมีจุดยอดอยู่ที่จุด (2, 1) และมี x = y − 1 เป็นสมการไดเรกตริกซ์


จงหาโฟกัสของพาราโบลานี้ (Final,MATH30103,2553)

11. จงหาสมการรูปมาตรฐานของพาราโบลาซึ่งมีกราฟสอดคล้องกับเงื่อนไขต่อไปนี้
(1) แกนของพาราโบลาตัดกับไดเรกตริกซ์ที่จุด (−5, 3)
(2) ลาตัสเรกตัมของพาราโบลาอยู่ห่างจากแกน Y เป็นระยะ 3 หน่วย
(Q2,MATH30103,2554)
36 พาราโบลา (Parabola)

12. จงหาสมการรูปมาตรฐานของพาราโบลาที่มีจุดยอดอยู่ที่จุดกำเนิดและผ่านจุด (3, −6)


(Q2,MATH30103,2554)

13. ไฟสปอร์ตไลท์ดวงหนึ่งมีจานสะท้อนแสงเป็นทรงพาราโบลาโดยมีระยะจากขอบจานถึงก้นจาน
ลึก 5 นิ้ว และมีระยะจากโฟกัสถึงจุดยอดยาว 2 นิ้ว จงหารัศมีของขอบจานของสปอร์ตไลท์
ดวงนี้ (Q2,MATH30103,2554)

14. จงหาสมการรูปทั่วไปของเส้นสัมผัสพาราโบลา x2 = 2y ที่จุด (4, 8)


(Q2,MATH30103,2554)

15. ให้ P เป็นพาราโบลาที่มีโฟกัสอยู่บนแกน X และสมาการไดเรกตริกซ์คือ x − 5 = 0 จงหา


สมการรูปมาตรฐานของวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดยอดของ P และตัดกับ P ที่จุด
(1, 4) (Q2,MATH30103,2554)

16. จงหาสมการเส้นไดเรกตริกซ์ของพาราโบลาที่มีโฟกัสที่ (3, 1) แกนสมมาตรขนานแกน X


และจุดยอดอยู่บนเส้นตรง 2x − 2y − 3 = 0 (Final,MATH30103,2554)

x
17. จงหาสมการรูปมาตรฐานของพาราโบลาที่มีโฟกัสอยู่ที่ (5, −1) จุดยอดอยู่บนเส้นตรง y =
2
และเส้นไดเรกตริกซ์ ขนานกับแกน X (Final,MATH30103,2554)

18. กล้องโทรทัศน์ลิกส์ (Lick Telescope) มีกระจกเงาเป็นผิวสะท้อนโค้งรูปทรงพาราโบลอยด์


มีระยะโฟกัสยาว 600 นิ้ว โดยจะวางบนพื้นระนาบให้จานหงายขึ้น ถ้าขอบกระจกเป็นรูป
วงกลม และมีเส้นผ่านจุดศูนย์กลางยาว 120 นิ้ว แล้วขอบกระจก จะอยู่สูงจากพื้นกี่นิ้ว
(Final,MATH30103,2554)

19. ถ้าพาราโบลารูปหนึ่งมีเส้นไดเรกตริกซ์ผ่านจุดตัดของวงกลม x2 + y 2 = 12 กับ


x2 + y 2 − 8x + 4 = 0 และมีโฟกัสที่ (−1, 4) แล้วความยาวลาตัสเรกตัมยาวกี่หน่วย
(Final,MATH30103,2554)

20. จงหาสมการรูปทั่วไปของพาราโบลาที่มี (3, 2) เป็นโฟกัส และสมการไดเรกตริกซ์คือ x = −5

21. จงหาสมการรูปทั่วไปของพาราโบลาที่ผ่านจุด (3, 0), (2, 2) และ (5, 8) และแกนของ


พาราโบลาขนานกับแกน Y

 
1
22. กำหนดให้ a, t เป็นจำนวนจริง P t, และ Q(3, t) เป็นจุดสองจุดบนพาราโบลา
9
y = ax2 จงหาสมการไดเรกตริกซ์ของพาราโบลาดังกล่าว
3.3 โจทย์ฝึกทักษะและตัวอย่างข้อสอบ : พาราโบลา (Parabola) 37

23. ถ้า l เป็นสมการเส้นสัมผัสพาราโบลา y 2 − 4x − 16 = 0 ที่จุด A(0, 4) จงหาพื้นที่ของ


รูปสามเหลี่ยม F AB เมื่อ F คือโฟกัสของพาราโบลา และ B คือจุดตัดของ l กับแกนของ
พาราโบลา

24. กำหนดให้ F เป็นโฟกัส และ P (4, 4) เป็นจุดบนพาราโบลา x2 = 4y ถ้าลากส่วนของ


เส้นตรงจากจุด (2, 0) ไปตั้งฉากกับ F P ที่จุด B แล้ว F B ยาวกี่หน่วย

25. กำหนดให้ P เป็นพาราโบลาซึ่งมี y = x เป็นสมการไดเรกตริกซ์ และมี (2, −1) เป็นโฟกัส


จงหาความยาวลาตัสเรกตัมของพาราโบลา P (Q2,MATH30103,2555)

26. จานรับสัญญาณดาวเทียมมีลักษณะเป็นพาราโบลอยด์อยู่บนพื้นระนาบ ถ้าจานดาวเทียมนี้


มีขอบจานกว้าง 10 ฟุต และขอบจานอยู่สูงจากจุดยอด 5/3 ฟุต แล้วโฟกัสอยู่ห่างจากจุด
ยอดกี่ฟุต (Q2,MATH30103,2555)

27. จงหาสมการเส้นสัมผัสพาราโบลา x2 = 4y + 8 ที่จุด (−4, 2) (Q2,MATH30103,2555)

28. ให้ B เป็นจุดยอด และ F เป็นโฟกัสของพาราโบลา y 2 = 12x ถ้า A เป็นจุดบนกราฟ


พาราโบลา ที่ทำให้ AF ยาว 8 หน่วย แล้ว AB ยาวกี่หน่วย (Final,MATH30103,2555)

29. จงหาสมการเส้นตรงที่ผ่านจุด (1, 5) และผ่านโฟกัสของพาราโบลา y 2 − 6y − 4x + 13 = 0


(Final,MATH30103,2555)

30. จงหาสมการรูปมาตรฐานของพาราโบลาซึ่งมีกราฟ ดังรูป

(0, 5)

(-5, 0)
X

(Final,MATH30103,2555)
38 พาราโบลา (Parabola)

31. กำหนดให้วงกลม x2 + y 2 = 8 ตัดกับจุดยอดของพาราโบลาที่จุด Q ที่มีลาตัสเรกตัมยาว


8 หน่วย ดังรูป ถ้าแกน Y เป็นไดเรกตริกซ์ จงหาสมการรูปทั่วไปของพาราโบลา

(0, 0) X

(Final,MATH30103,2555)

∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗∗
บทที่ 4

วงรี (Ellipse)

In mathematics, an ellipse is a curve on a plane surrounding two focal points such


that the sum of the distances to the two focal points is constant for every point on the
curve. As such, it is a generalization of a circle, which is a special type of an ellipse
that has both focal points at the same location. The shape of an ellipse is represented
by its eccentricity, which for an ellipse can be any number from 0 to arbitrarily close to
but less than 1.

Ellipses are the closed type of conic section: a plane curve that results from the
intersection of a cone by a plane. Ellipses have many similarities with the other two
forms of conic sections : the parabolas and the hyperbolas, both of which are open and
unbounded. The cross section of a cylinder is an ellipse, unless the section is parallel to
the axis of the cylinder.

Analytically, an ellipse can also be defined as the set of points such that the ratio
of the distance of each point on the curve from a given point (called a focus or focal
point) to the distance from that same point on the curve to a given line (directrix) is a
constant, called the eccentricity of the ellipse.
(ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Ellipse)
40 วงรี (Ellipse)

4.1 Ellipse Activities

กิจกรรมต่อไปนี้เป็นตัวอย่างกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจนิยามของวงรี

4.1.1 การสร้างรูปวงรี แบบที่ 1 : วิธีการพับกระดาษ (foading method)

วัสดุ/อุปกรณ์ กระดาษรูปวงกลม, ดินสอ หรือปากกา และไม้บรรทัด

วิธีการดำเนินกิจกรรม

1. ให้ C เป็นจุดศูนย์กลางของวงกลม และ F เป็นจุดที่อยู่บริเวณภายในวงกลม พับกระดาษจากจุด


ที่อยู่บนขอบของเส้นรอบวงไปทับกับจุด F ดังรูป
crease

C C

F F
F

2. ทำซ้ำกับทุก ๆ จุด ที่อยู่บนเส้นรอบวงของวงกลม จะได้รอยพับรอยพับที่รวมกันเป็นรูปวงรี ดังรูป


crease

C C P
G

Q
F F

3. สังเกตรอยพับที่เกิดขึ้น โดยอาจจะเขียนรูปเพิ่มเติมให้ชัดเจนขึ้น
จากวิธีการพับ และรอยพับที่เกิดขึ้น จะเห็นว่า △F P Q ∼ △GP Q ซึ่งทำให้ F P = GP
และจาก CG เป็นรัศมีวงกลมซึ่งคงที่ โดยที่ CG = CP + P G แต่ F P = GP
นั่นคือ CG = CP + P F หมายความว่าจุดใด ๆ บนวงรี (P ) จะมีผลรวมของระยะจากจุดนั้น
ไปยังจุดคงที่สองจุด (C และ F ) เท่ากับค่าคงที่ (CG : รัศมีวงกลม)

⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆
4.1 Ellipse Activities 41

4.1.2 การสร้างรูปวงรี แบบที่ 2 : วิธีใช้วงกลมสองวง (two circle method)

วัสดุ/อุปกรณ์ กระดาษ Draw Ellipse by two circle method, ดินสอ หรือปากกา และไม้บรรทัด

วิธีการดำเนินกิจกรรม

1. ลงจุดบนเส้นรอบวงของวงกลมวงนอก โดยให้มี
ระยะห่างเท่าๆ กัน แล้วลากส่วนของเส้นตรงจาก
จุด C ไปยังจุดบนวงกลมวงนอก และหาจุดตัด
ของส่วนของเส้นตรงกับวงกลมวงใน ดังรูป
C

2. ให้ E และ F เป็นจุดตัดของเส้นตรง l กับวงกลม


l
วงในและวงนอก ตามลำดับ หาจุดตัดของเส้นตรง F

ที่ลากผ่านจุด E และขนานกับแกนแนวนอน กับ E P


เส้นตรงที่ลากผ่านจุด F และขนานกับแกนแนวตั้ง
θ
ให้เป็นจุด P และทำซ้ำกับทุก ๆ คู่จุดบนวงกลมวงใน C A
และวงกลมวงนอก แล้วลากเส้นเชื่อมระหว่าง จุดที่ได้
ดังรูป

3. จากวิธีการสร้างและจุดตัดรวมกันเป็นรูปวงรี สามารถแสดงได้ว่าสำหรับแต่ละจุด P (x, y) ใดๆ บนจุด


จุดตัดที่เกิดขึ้น จะสอดคล้องกับสมการของวงรี ดังนี้ สมมติให้เส้นตรง l ทำมุมกับแกน X เท่ากับ θ
รัศมีของวงลมกลมวงในและวงนอกเท่ากับ b และ a ตามลำดับ จากวิธีการสร้างจะได้ว่า
CA x AP y
△CAF ∼ = △EP F ทำให้ได้ว่า cos θ = = และ sin θ = =
CF a CE b
x2 y 2
ดังนั้น 2 + 2 = cos θ + sin θ = 1 นั่นคือสำหรับจุด P ใดๆ ที่ได้จากกระบวนการสร้างข้างต้น
2 2
a b
สอดคล้องกับสมการวงรี

⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆
42 วงรี (Ellipse)

4.1.3 การสร้างรูปวงรี แบบที่ 3 : วิธีใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก (rectangular method)

วัสดุ/อุปกรณ์ กระดาษ Draw Ellipse by Rectangular Method, ดินสอ หรือปากกา และไม้บรรทัด

วิธีการดำเนินกิจกรรม

1. จากกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบ่ง RO และ RB ออกเป็น B S


8 ส่วนเท่าๆ กัน แล้วลากส่วนของเส้นตรง จากจุด Q ผ่าน
7
6
จุดแบ่งบน RO และลากส่วนของเส้นตรงจากจุด S ผ่านจุด 5
4
แบ่งบน RB 3
2
1
R 1 2 3 4 5 6 7 O

A Q

2. ลงจุดตัดของเส้นที่เป็นจุดแบ่งที่สมนัยกัน เช่นจุดตัดของเส้น B S
7
ที่ลากผ่านหมายเลข 1 จากจุด Q และจุดตัดของเส้นที่ลาก 6

ผ่านหมายเลข 1 จากจุด S แล้วลากเส้นเชื่อมจุดเหล่านั้น


5
4

ดังรูป
3
2
1
R 1 2 3 4 5 6 7 O

A Q
3. ทำซ้ำขั้นในทำนองเดียวกันกับอีก 3 ส่วนที่เหลือ จะได้รูปวงรี ดังรูป
B S G
7
6
5
4
3
2
1
R T
1 2 3 4 5 6 7 O

A Q D
4.1 Ellipse Activities 43

4. จากวิธีการสร้างและจุดตัดรวมกันเป็นรูปวงรี สามารถ S G
P3
แสดงได้ว่า แต่ละจุดจะสอดคล้องกับสมการของวงรี
D3
โดยอาจกำหนดจุดเพิ่มเติม เพื่อแสดงการพิสูจน์ โดย P2
D2
กำหนดให้ O เป็นจุดกำเนิด T = (a, 0), S = (0, b),
Q = (0, −b) และ G = (a, b) สมมติแบ่งด้าน OT P 1 D1

และ T G ออกเป็น n ส่วนเท่าๆ กัน โดยให้จุดแบ่ง O A3 A2 A1


T
ของด้าน T G (เริ่มจากจุด T ) คือ D1 , D2 , D3 , . . . ,
Dk , . . . , Dn−1 และจุดแบ่งของด้าน OT (เริ่มจากจุด T )
คือ A1 , A2 , A3 , . . . , Ak , . . . , An−1 ให้ (x, y) เป็นพิกัด
ของจุด Pk ซึ่งเป็นจุดตัดของ QAk และ QDk
Q D

จากการกำหนดข้างต้น จะได้ว่า Ak = ((1 − k/n)a, 0) และ Dk = (a, (k/n)b)


จะได้ สมการเส้นตรงที่ผ่านจุด Q และ Ak คือ nbx + (k − n)ay = ab(n − k)
ยกกำลังสองทั้งสองข้างจะได้ (nbx)2 + 2nbx(k − n)ay + (k − n)2 (ay)2 = (ab)2 (n − k)2
และสมการเส้นตรงที่ผ่านจุด S และ Dk คือ (n − k)bx + any = abn
ยกกำลังสองทั้งสองข้างจะได้ (n − k)2 (bx)2 + 2(n − k)bxany + (any)2 = (abn)2
ต้องการหาจุดตัดของเส้นตรงทั้งสอง จะได้ว่า
n2 + (n − k)2 b2 x2 + n2 + (k − n)2 a2 y 2 = a2 b2 (n − k)2 + n2
  

x2
และหารตลอดด้วย a2 b2 (n − k)2 + n2 จะได้ว่า 2 + yb2 = 1
 2

a
⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆
44 วงรี (Ellipse)

4.1.4 Ellipse Problem

Problem E1. : จงแสดงว่าถ้า AB เป็นคอร์ดใดๆ ที่ผ่านจุดศูนย์ O กลางของวงรี ดังรูป แล้ว AO = OB

F1 C F2

Problem E2. : สมมติว่าเราวาดรูปวงรีรูปหนึ่ง แล้วลืมลงจุดศูนย์กลางของวงรี ให้แสดงวิธีหาจุดศูนย์กลาง


ของวงรี
4.2 สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับวงรี 45

4.2 สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับวงรี

E E

B1
R R

V2 V1
F2 O F1

R R
B2

E E

รูปที่ 4.1: ส่วนประกอบต่าง ๆ ของวงรี

วงรี คือเซตของจุดทุกจุดบนระนาบซึ่งผลบวกของระยะจากจุดเหล่านี้ไปยังจุดคงที่สองจุดมีค่าคงที่
1. จุดคงที่สองจุดเรียกว่าโฟกัส เขียนแทนด้วย F1 และ F2

2. จุดกึ่งกลางระหว่างจุด F1 และ F2 เรียกว่าจุดศุนย์กลาง เขียนแทนด้วย O

3. จุดที่ส่วนของเส้นตรง F1 F2 ตัดวงรี เรียกว่า จุดยอด เขียนแทนด้วย V1 V2

4. ส่วนของเส้นตรง V1 V2 เรียกว่าแกนเอก

5. ส่วนของเส้นตรงที่ผ่านจุด O และตั้งฉากกับแกนเอกตัดวงรีที่จุด B1 B2 เรียกว่าแกนโท

6. ส่วนของเส้นตรงที่ผ่านโฟกัสและตั้งฉากกับแกนเอกเรียกว่า ลาตัสเรกตัม เขียนแทนด้วย RR′

7. ส่วนของเส้นตรง DD′ และ EE ′ เรียกว่า ไดเรกตริกซ์


J

4.2.1 สมการรูปมาตรฐานของวงรี ที่มีจุดศูนย์กลางที่จุดกำเนิด

Y
จากรูปที่ 4.3 ถ้าให้ผลบวกของระยะจากจุด P
ถึงจุด F1 และ F2 เท่ากับ 2a ดังนั้น 2a > 2c > 0
P(x,y)
x2 y2
จะได้ P F1 + P F2 = 2a นั่นคือ 2 + 2 =1
a a − c2
X เนื่องจาก 2a > 2c > 0 จะได้ a > c > 0
V2 F2(-c,0) O F1(c,0) V1
ดังนั้นให้ a2 − c2 = b2 เป็นจำนวนจริงบวก
จะได้สมการรูปมาตรฐานของวงรีคือ

x2 y 2
+ 2 =1
รูปที่ 4.2: วงรี a2 b
46 วงรี (Ellipse)

• ถ้าให้ y = 0 จะได้ x = ±a นั่นคือ วงรีตัดแกน X ที่จุด (±a, 0) แสดงว่าพิกัดของจุด V1 และ V2


คือ (a, 0) และ (−a, 0) ตามลำดับและควายาวของแกนเอก เท่ากับ 2a

• ถ้าให้ x = 0 จะได้ y = ±b นั่นคือ วงรีตัดแกน Y ที่จุด (0, ±b) แสดงว่าพิกัดของจุด B1 และ B2


คือ (0, b) และ (0, −b) ตามลำดับ และควายาวของแกนเอก เท่ากับ 2b
J

4.2.2 สมการรูปมาตรฐานของวงรี ที่มีจุดศูนย์กลางที่ (h, k)


Y
E D

V2 V1
F2 (h, k) F1

B
E D
X
O

รูปที่ 4.3: วงรี ที่มีจุดศูนย์กลางที่ (h, k)

พิจารณาวงรีที่มีจุดศูนย์กลางที่ (h, k) และแกนเอกขนานกับแกน X โดยใช้การเลื่อนแกนให้จุดกำเนิด


(x − h)2 (y − k)2
ของแกน X ′ , Y ′ อยู่ที่จุด (h, k) จะได้ว่า สมการวงรีคือ + = 1 สมการไดเรกตริกซ์ คือ
a2 b2
a
(x − h) = ±
e

ในทำนองเดียวกัน วงรีที่มีจุดศูนย์กลางที่ (h, k) และแกนเอกขนานกับแกน Y จะมีสมการของวงรีคือ


(x − h)2 (y − k)2 a
สมการไดเรกตริ ก ซ์ คอ

J
+ = 1 (y − k) = ±
b2 a2 e

4.2.3 ลาตัสเรกตัมของวงรี

Y
ลาตัสเรกตัมของวงรีคือ ส่วนของเส้นตรงที่มี
จุดปลายอยู่บนวงรี ตั้งฉากกับแกนเอกและผ่าน
R(c,y)
โฟกัส จากรูปที่ 4.4 จะเห็นว่า RR′ เป็นลาตัสเรก-
ตัม
X
V2 F2(-c,0) O F1(c,0) V1 เนื่องจาก R(c, y) เป็นจุดบนวงรี ดังนั้นแทนค่า
x2 y 2
x = c และ y = y ในสมการ 2 + 2 = 1
R a b
จะได้ว่า
รูปที่ 4.4: ลาตัสเรกตัมของวงรี 2b2
RR′ =
a
J
4.2 สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับวงรี 47

4.2.4 เส้นไดเรกตริกซ์ของวงรี

Y เส้นไดเรกตริกซ์ของวงรี คือเส้นตรงที่ทำให้
E D
อัตราส่วนของระยะจากจุดใด ๆ บนวงรีไปยังโฟกัส
P(x,y) ต่อระยะจากจุดใด ๆ บนวงรีไปยังเส้นตรงนั้นเป็นค่า
R
คงที่ (จะเรียกค่าคงที่นั้นว่าค่าความเยื้องศูนย์กลาง)
X จากรูปที่ 4.5 ถ้าให้ DD′ เป็นเส้นไดเรกตริกซ์ ซึ่ง
S2 F1(-c,0) O F2(c,0)
ขนานกับแกน Y และมีระยะจากจุดกำเนิดเท่ากับ
S1

OS1 ดังนั้นสมการเส้นตรง DD′ คือ x = OS1


E D จากความสัมพันธ์ P F1 + P F2 = 2a จะได้ว่า
รูปที่ 4.5: เส้นไดเรกตริกซ์ของวงรี

p p
(x + c)2 + y 2 + (x − c)2 + y 2 = 2a
p p
(x − c)2 + y 2 = 2a (x + c)2 + y 2
p
(x − c)2 + y 2 = 4a2 − 4a (x + c)2 + y 2 + (x + c)2 + y 2
p
4a (x + c)2 + y 2 = 4a2 + 4cx
p c
∴ F1 P = (x + c)2 + y 2 = a + x
a
c
และจะได้ว่า F2 P = a − x
a
F2 P a − ex
ถ้าให้ e คือค่าความเยื้องศูนย์กลาง จะได้ว่า e = =
PR OS1 − x
e a
ดังนั้น OS1 = นั่นคือ x = เป็นสมการไดเรกตริกซ์ของวงรี
a e

ในทำนองเดียวกัน วงรีที่มีแกน Y เป็นแกนเอก ศูนย์กลางที่จุดกำเนิด จุดยอดที่ (0, ±a) โฟกัสที่


a
(0, ±c) จะมีสมการไดเรกตริกซ์คือ y = ±
J
e

4.2.5 สมการเส้นสัมผัสวงรี (Tangent line to an ellipse)

x2 y 2
Y จากสมการวงรี + 2 = 1 จะได้ว่า
a2 b
Q(x1+h,y1+k)
b2 x 2 + a 2 y 2 = a 2 b2 (4.1)
P(x1,y1)

O
X ให้ P (x1 , y1 ) และ Q(x1 + h, y1 + k) เป็นจุด
บนวงรี ถ้าต้องการหาสมการเส้นสัมผัสวงรีที่จุด P
ทำได้ดังนี้
Tangent line

จาก P เป็นจุดบนวงรี จากสมการ (4.1) จะได้ว่า


รูปที่ 4.6: เส้นสัมผัสวงรี
b2 x21 + a2 y12 = a2 b2 (4.2)
48 วงรี (Ellipse)

และจาก Q เป็นจุดบนวงรี จากสมการ (4.1) จะได้ว่า

b2 (x1 + h)2 + a2 (y1 + k)2 = a2 b2


b2 (x21 + 2hx1 + h2 ) + a2 (y12 + 2ky1 + k 2 ) = a2 b2

จะได้
b2 x21 + 2b2 hx1 + b2 h2 + a2 y12 + 2a2 ky1 + a2 k 2 = a2 b2 (4.3)

นำ (4.3)-(4.2) จะได้ 2b2 hx1 + b2 h2 + 2a2 ky1 + a2 k 2 = 0


k 2b2 x1 − b2 h
จะได้ k(2a2 y1 + a2 k) = −(2b2 x1 − b2 h)h ดังนั้น = − 2
h 2a y1 + a2 k
k
แต่เนื่องจาก เป็นความชันของส่วนของเส้นตรง P Q และถ้าสมมติให้ m เป็นความชันของเส้นสัมผัส เรา-
h
k
จะเห็นว่า เมื่อ h และ k มีค่าเข้าใกล้ 0 จะได้ว่า m =
h
เพราะฉะนั้น
k 2b2 x1 − 0 b2 x 1
m= =− 2 =− 2
h 2a y1 + 0 a y1

สมมติให้ สมการเส้นสัมผัสวงรีที่จุด P คือ y − y1 = m(x − x1 ) จะได้ว่า

−b2 x1
y − y1 = (x − x1 )
a 2 y1
a2 y1 (y − y1 ) = −b2 x1 (x − x1 )
a2 y1 y − a2 y1 = −b2 x1 x + b2 x21
a2 y1 y + b2 x1 x = b2 x21 + a2 y1
a 2 y 1 y + b2 x 1 x = a 2 b2

xx1 yy1
ดังนั้น จะได้ว่า + 2 = 1 เป็นสมการเส้นสัมผัสวงรีที่จุด (x1 , y1 )
J
a2 b

ตัวอย่าง 4.2.1 จงหาสมการเส้นสัมผัสวงรี x2 + 3y 2 = 57 ที่จุด (3, 4)

x2 y2
แนวคิด จากสมการวงรี x2 + 3y 2 = 57 จะได้ + =1
57 19
3x 4y
นั่นคือ a2 = 57, b2 = 19 ดังนั้นสมการเส้นสัมผัสวงรีคือ = 1 หรือ x + 4y − 19 = 0
J
+
57 19
4.2 สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับวงรี 49

4.2.6 สมบัติการสะท้อนของวงรี (Reflective Properties of an Ellipse)

Y สมบัติที่สำคัญข้อหนึ่งของวงรี คือสมบัติการ
สะท้อน ซึ่งกล่าวว่า ถ้าคลื่นเสียงหรือแสง ที่ปล่อย
α
P(x,y) จากโฟกัสจุดหนึ่งของวงรีจะสะท้อนจากพื้นผิวที่เป็น
β
Tangent line รูปวงรีไปยังโฟกัสอีกจุดหนึ่ง จากรูปที่ 4.7 ถ้า-
F1(-c,0) O F2(c,0)
X คลื่นถูก
ปล่อยจากจุด F1 คลื่นจะเคลื่อนที่ไปกระทบกับผิว
ของวงรีแล้วสะท้อนผ่าน F2 เสมอ ซึ่งจะแสดงว่า
สมบัติข้อนี้เป็นจริง โดยการแสดงว่าค่าของมุมตก
รูปที่ 4.7: สมบัติสะท้อนของวงรี กระทบจะเท่ากับค่าของมุมสะท้อนเสมอ (α = β)

x2 y 2
ให้ P (x, y) เป็นจุดบนวงรี + 2 = 1 เมื่อ a > b และกำหนด m1 คือความชันของ P F1
a2 b
m2 คือความชันของ P F2 และ m3 คือความชันของเส้นสัมผัสที่จุด P
y y b2 x
จะได้ว่า m1 = , m2 = และ m3 = − 2 (ใช้ความรู้เรื่องอนุพันธ์ของฟังก์ชัน)
x+c x−c a y
m3 − m1 m2 − m3
เนื่องจาก tan α = และ tan β = (มุมระหว่างเส้นตรงสองเส้น)
1 + m1 m3 1 + m2 m3

พิจารณา
m3 − m1
tan α =
1 + m1 m3
−b2 x/a2 y − y/(x + c)
=
1 + (y/(x + c))(−b2 x/a2 y)
−b2 x(x + c) − a2 y 2
=
a2 y(x + c) − b2 xy
−b2 x2 − b2 cx − a2 y 2
=
a2 xy + a2 cy − b2 xy
−b2 cx − (x2 b2 + a2 y 2 )
=
xy(a2 − b2 ) + a2 cy
−b2 cx − a2 b2
=
xyc2 + a2 cy
−b2 (cx + a2 )
=
cy(cx + a2 )
−b2
=
cy
−b2
ในทำนองเดียวกัน จะได้ว่า tan β =
cy
นั่นคือ tan α = tan β
เพราะฉะนั้น α = β
J

∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗∗
50 วงรี (Ellipse)

4.3 โจทย์ฝึกทักษะและตัวอย่างข้อสอบ : วงรี (Ellipse)

4(x − 1)2 (y − 1)2


1. ให้ m, n เป็นความยาวแกนเอกและความยาวแกนโทของวงรี + =1
9 25
ตามลำดับ จงหาค่าของ m − n

2. จงหาสมการรูปมาตรฐานของวงรีที่มีแกนขนานกับแกนพิกัด ซึ่งผ่านจุด (12, −1), (−4, 5),


(−2, −2) และ (10, 6)

3. จงหาสมการรูปทั่วไปของเส้นตรงที่มีความชันเป็นลบ ผ่านจุด (1, −1) และผ่านโฟกัสของวงรี


x2 + 5y 2 − 2x + 20y + 16 = 0

(x − 1)2 (y + 2)2
4. จงหาพื้นที่ที่มากที่สุดของวงกลมซึ่งบรรจุอยุ่ในวงรี + =1
9 25

5. จงหาสมการรูปมาตรฐานของวงรี ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิด และมีจุดยอดจุดหนึ่งเป็นจุด


2
ศูนย์กลางของวงกลม x2 + y 2 + 6x + 4 = 0 และวงรีนี้ มีความเยื้องศูนย์กลางเท่ากับ
3

x2 y 2
6. จงหาระยะห่างระหว่างเส้นสัมผัสวงรี + = 1 ซึ่งขนานกับเส้นตรง 4x − 2y + 23 = 0
30 24

7. จงหาสมการรูปทั่วไปของวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่จุดเดียวกับจุดศูนย์กลางของวงรี
9x2 + 25y 2 + 18x − 100y − 116 = 0 และมีรัศมีเท่ากับระยะจากจุดปลายแกนเอก
จุดหนึ่งไปยังจุดปลายแกนโทจุดหนึ่ง

8. โต๊ะสนุกเกอร์ทำเป็นรูปวงรีมีสมการเป็น 12x2 + 16y 2 − 192 = 0 ณัฐวางลูกบิลเลียดในแนว


ตั้งฉากกับแกนเอก ดังรูป F1 , F2 เป็นจุดโฟกัสของวงรี ถ้าณัฐแทงลูกบิลเลียดไปตามแนว
ลูกศรกระทบขอบโต๊ะที่จุด A แล้วลูกบิลเลียดกระเด้งออกไปกระทบขอบโต๊ะอีกครั้งหนึ่งที่จุด
B แล้วจงหาพิกัดของจุด B

F1 F2

9. จงหาสมการรูปมาตรฐานของวงรี ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุด (1, 2) และมีโฟกัสจุดหนึ่งอยู่ที่จุด


(−4, 2) และกราฟผ่านจุด (4, −2) (Final,MATH30103,2553)
4.3 โจทย์ฝึกทักษะและตัวอย่างข้อสอบ : วงรี (Ellipse) 51

10. วงรีรูปหนึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดศูนย์กลางของวงกลม x2 + y 2 − 2x − 4y − 20 = 0
มีโฟกัสจุดหนึ่งอยู่ที่ โฟกัสของพาราโบลา y 2 − 4y − 12x + 16 = 0 และผลบวกของระยะ
จากจุดใดๆ บนวงรีไปยังโฟกัสทั้งสองเท่ากับ 10 หน่วย จงหาสมการรูปมาตรฐานของวงรีนี้
(Final,MATH30103,2553)

11. ดาวเทียมดวงหนึ่งโคจรรอบโลกเป็นรูปวงรี มีจุดศูนย์กลางของโลกเป็นโฟกัสจุดหนึ่ง สังเกต


ตามแนวตั้งพบว่าจุดที่ดาวเทียมไกลจากโลกมากที่สุด 2, 500 ไมล์ และไกล้โลกมากที่สุด
1, 000 ไมล์ และรัศมีของโลกยาว 4, 000 ไมล์ จงหาสมการวงโคจรของดาวเทียมดวงนี้

(ตอบในรูปมาตรฐานและกำหนด 3250 ≈ 57.01) (Final,MATH30103,2553)

12. จงหาความเยื้องศูนย์!กลางของวงรีที่มีจุดศูนย์กลางที่ (0, 0) จุดยอดจุดหนึ่งเป็น (0, 8) และ



16 2
ผ่านจุด 2, (Final,MATH30103,2554)
3

13. วงรีวงหนึ่งมีจุดศูนย์กลางร่วมกับจุดศูนย์กลางของวงกลม x2 + y 2 − 2x − 6y − 15 = 0
และสัมผัสกับวงกลมที่จุดยอดของวงรี ถ้าแกนเอกของวงรีนี้ขนานกับแกน X และมีโฟกัส
จุดหนึ่งอยู่ที่จุด (−3, 3) แล้วจงหา
(1) พิกัดของจุดศูนย์กลางของวงรี
(2) พิกัดของจุดยอดของวงรี
(3) พิกัดของจุดโฟกัสของวงรี
(4) ความยาวแกนเอก และความยาวแกนโท
(5) สมการรูปทั่วไปของวงรี
(Final,MATH30103,2553)

14. วงรีรูปหนึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดตัดของเส้นตรง L1 : x − y − 3 = 0 กับ x + y − 1 = 0


มีจุดปลายแกนโทจุดหนึ่งอยู่ที่ตัดกับเส้นตรง l1 กับแกน X และมีโฟกัสจุดหนึ่งอยู่ที่จุดตัด
ของเส้นตรง l2 กับแกน Y จงหาความยาวแกนเอกของวงรีรูปนี้ (Final,MATH30103,2554)

15. จงหาสมการรูปมาตรฐานของวงรีที่มีจุดศูนย์กลางอยู่บนเส้นตรง x + 1 = 0 มีแกนโทยาว


6 หน่วย และจุดยอดจุดหนึ่งอยู่ที่จุดยอดของพาราโบลา x2 − 8x − 2y + 20 = 0
(Final,MATH30103,2555)

16. จงหาความยาวของลาตัสเรกตัมของวงรี 4x2 + 36y 2 + 40x − 72y + 127 = 0


(Final,MATH30103,2555)

17. กำหนดให้ A, B เป็นจุดตัดของเส้นตรง y = x กับวงรี 9x2 + 4y 2 − 36x − 24y + 36 = 0


ถ้า F และ F ′ เป็นโฟกัสของวงรี จงหาค่าของ AF + AF ′ + BF + BF ′
(Final,MATH30103,2555)
52 วงรี (Ellipse)

18. สวนดอกไม้ทำเป็นรูปวงรีมีสมการเป็น 16x2 + 9y 2 − 32x − 560 = 0 โดย F คือโฟกัส


ของวงรี V คือจุดยอดจุดหนึ่งของวงรี และ C คือจุดศูนย์กลางของวงรี ต้องการปลูกหญ้า
เพื่อประดับสวนดอกไม้ในส่วนที่แรเงา ดังรูป

ถ้าหน่วยที่ใช้เป็นเมตรและเสียเงินค่าปลูกหญ้าตารางเมตรละ 20 บาท แล้วต้องจ่ายเงินค่า


ปลูกหญ้าทั้งหมดเท่าใด (Final,MATH30103,2554)

19. จากรูปเป็นกราฟของวงรีที่มีจุดปลายแกนเอกคือจุด (1, 8) และ (1, −2) และส่วนที่แรเงา


เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีด้านประกอบมุมฉากอยู่บนแกนเอกและแกนโทของวงรี ถ้าส่วนที่แรเงา
มีพื้นที่เท่ากับ 15 ตารางหน่วย จงหาสมการรูปมาตรฐานของวงรี (Final,MATH30103,2555)

Y
(1, 8)

(1, -2)

20. วงรีรูปหนึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุด (2, 3) จุดยอดหนึ่งอยู่ที่ (−1, 3) ถ้า P (3, 5) เป็นจุดบน


2
วงรี และเส้นตรง L ที่มีความชันเท่ากับ ผ่านจุด P และโฟกัสของวงรี แล้วจงหาสมการ
3
รูปมาตรฐานของวงรี พร้อมทั้งระบุโฟกัส ความยาวแกนเอก ความยาวแกนโท และความ
เยื้องศูนย์กลาง (Final,MATH30103,2555)

∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗∗
บทที่ 5

ไฮเพอร์โบลา (Hyperbola)
In mathematics, a hyperbola (plural hyperbolas or hyperbolae) is a type of smooth
curve, lying in a plane, defined by its geometric properties or by equations for which it is
the solution set. A hyperbola has two pieces, called connected components or branches,
that are mirror images of each otherand resemble two infinite bows. The hyperbola is
one of the four kinds of conic section, formed by the intersection of a plane and a double
cone. (The other conic sections are the parabola, the ellipse, and the circle; the circle is
a special case of the ellipse). If the plane intersects both halves of the double cone but
does not pass through the apex of the cones, then the conic is a hyperbola.

1
Hyperbolas arise in many ways: as the curve representing the function f (x) =
x
in the Cartesian plane, as the appearance of a circle viewed from within it, as the path
followed by the shadow of the tip of a sundial, as the shape of an open orbit (as distinct
from a closed elliptical orbit), such as the orbit of a spacecraft during a gravity assisted
swing by of a planet or more generally any spacecraft exceeding the escape velocity of
the nearest planet, as the path of a single apparition comet (one travelling too fast ever
to return to the solar system), as the scattering trajectory of a subatomic particle, and so
on. (ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Hyperbola)
54 ไฮเพอร์โบลา (Hyperbola)

5.1 Hyperbola Activities

กิจกรรมต่อไปนี้เป็นตัวอย่างกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจนิยามของไฮเพอร์โบลา

5.1.1 การสร้างรูปไฮเพอร์โบลา แบบที่ 1 : วิธีพับกระดาษ (foading method)

วัสดุ/อุปกรณ์ กระดาษรูปวงกลม, ดินสอ หรือปากกา และไม้บรรทัด

วิธีการดำเนินกิจกรรม

1. ให้ C เป็นจุดศูนย์กลางของวงกลม F เป็นจุดที่อยู่ภายนอก


วงกลม และให้ G เป็นจุดๆ หนึ่งบนวงกลม พับกระดาษโดย
ให้จุด G ไปทับกับจุด F กรีดให้เรียบเพื่อให้เกิดรอยพับอย่าง
ชัดเจน แล้วคลี่ออก ดังรูป C

2. ทำซ้ำในทำนองเดียวกันกับทุกๆ จุด ที่อยู่บนเส้นรอบวงของ


วงกลม ซึ่งจะเกิดรอยพับ และสังเกตรอยพับที่เกิดขึ้นจะเป็น crease
G
รูปไฮเพอร์โบลา เขียนรูปเพื่อแสดงรอยพับเพิ่มเติมให้ชัดเจน
ดังรูป
3. จากวิธีการพับและรอยพับที่เกิดขึ้น จะเห็นว่า F
△GP Q ∼ = △F P Q ซึ่งทำให้ P F = P G จะได้ว่า
P F = P C + CG นั่นคือ |P F − P C| = CG
ซึ่ง CQ เป็นค่าคงที่ค่าหนึ่ง (รัศมีของวงกลม)
ดังนั้นระยะจากจุดใดๆ บนไฮเพอร์โบลากับจุดคงที่สองจุด
P
เท่ากับค่าคงที่ นั่นก็คือนิยามของไฮเพอร์โบลา นั่นเอง C
G

Q crease

⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆
5.1 Hyperbola Activities 55

5.1.2 การสร้างรูปไฮเพอร์โบลา แบบที่ 2 : วิธีใช้รูปวงกลม (the circle method)

วัสดุ/อุปกรณ์ กระดาษ Hyperbola Constructions : The circle Method, ดินสอ และไม้บรรทัด

วิธีการดำเนินกิจกรรม

1. จากกราฟลงจุด C1 และ C2 บนกระดาษ ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางวงเล็กสุด แล้วลงจุดซึ่งมีผลต่างของ


ระยะทางจากจุดนั้นไปยังจุด C1 กับจุดนั้นไปยัง C2 เท่ากับ 4 หน่วย แล้วลากเส้นเชื่อมจะได้กราฟ
รูปไฮเพอร์โบลา ดังรูป

C1

C2

2. จากรูปจะเห็นว่าผลต่างของระยะทางจากจุดนั้นไปยังจุด C1 กับจุดนั้นไปยัง C2 มีระยะเท่ากัน


ซึ่งก็คือนิยามของไฮเพอร์โบลา

⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆
56 ไฮเพอร์โบลา (Hyperbola)

5.1.3 การสร้างรูปไฮเพอร์โบลา แบบที่ 3 : วิธีใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก (rectangular method)

วัสดุ/อุปกรณ์ กระดาษ Draw Hyperbola by Rectangular Method, ดินสอ และไม้บรรทัด

วิธีการดำเนินกิจกรรม

1. จากกระดาษดังรูป แบ่งด้าน XC และ CZ ออกเป็นส่วน ๆ เท่ากัน และจากจุด F ลากเส้นไปยัง


จุดแบ่งบนด้าน CZ และลากเส้นจากจุด G ไปยังจุดแบ่งบนด้าน XC พร้อมกับหาจุดตัดของเส้นที่
สมนัยกัน คือจุดตัดของเส้นที่ลากไปยังหมายเลขเดียวกัน ดังรูป

B H X C
7 6 5 4 3 2 1

1
2
3
4
5
6
7
Z
F G

A I Y D

2. ทำซ้ำในทำนองเดียวกันกับส่วนที่เหลือ แล้วลากเส้นโค้งเชื่อมจุดตัดในแต่ละส่วน จะได้รูปไฮเพอร์โบลา


ดังรูป

B H X C
7 6 5 4 3 2 1

1
2
3
4
5
6
7
Z
F G

A I Y D

3. สรุปความสัมพันธ์ที่ได้

⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆
5.1 Hyperbola Activities 57

5.1.4 Hyperbola Problem

Problem H1. : A ship is traveling on a course parallel to and 60 miles from a straight shoreline.
Two transmitting stations, S1 and S2 , are located 200 miles apart on the shoreline. By timing
radio signals from the stations, the ship’s navigator determines that the ship is between the two
stations and 50 miles closer to S2 than to S1 . Find the distance from the ship to each station.
Round answers to one decimal place.
58 ไฮเพอร์โบลา (Hyperbola)

Loran navigation : One inportant application of hyperbolas concerns guidance systems, such
as LORAN (LOng RAnge Navigation). LORAN is a radio−communication system that can be
used to determine the location of a ship at sea, and the basis of LORAN is an understanding of
hyperbolic curves.
Plotting all points so that these distances remain constant produces two branches, p1 and p2 ,
of a hyperbola with foci S1 and S2 , and two branches, q1 and q2 , of a hyperbola with foci S2 and
S3 . It is easy to tell which branches the ship is on by comparing the signals from each station.
The intersection of a branch of each hyperbola locates the ship and the computer expresses this
in terms of longitude and latitude.

Problem H2. : Suppose two LORAN radio transmitters are 26 miles apart. A ship at sea receives
signals sent simultaneously from the two transmitters and is able to determine that the difference
between the distance from the ship to each of the transmitters is 24 miles. By positioning the two
transmitters on the y−axis, each 13 miles from the origin, find the equation for the hyperbola that
describes the set of possible locations for the ship.
5.2 สรุปสาระสำคัญ 59

5.2 สรุปสาระสำคัญ

ไฮเพอร์โบลา คือ เซตของจุดบนระนาบ ซึ่งผลต่างของระยะจากจุดเหล่านี้ไปยังจุดคงที่สองจุดมีค่า


คงที่ จุดคงที่สองจุดนั้นเรียกว่า โฟกัส (focus)* จุดกึ่งกลางระหว่างโฟกัสเรียกว่า จุดศูนย์กลาง (center) *Hyperbolas are

จุดที่เกิดจากเส้นตรงที่ตัดผ่านโฟกัสกับไฮเพอร์โบลาเรียกว่าจุดยอด(vertex) ส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่าง called confocal if


they have the same
จุดยอดทั้งสองเรียกว่าแกนตามขวาง (transverse axis) ส่วนของเส้นตรงที่ผ่านจุดศูนย์กลางและตั้งฉากกับ foci.
แกนตามขวางเรียกว่า แกนสังยุค (conjugate axis) เส้นตรงที่ผ่านโฟกัสและตั้งฉากกับแกนตามขวางมี 2
เส้นเรียกว่า ลาตัสเรกตัม (latus rectum)

รูปที่ 5.1: ไฮเพอร์โบลาและส่วนประกอบต่างๆ

5.2.1 สมการรูปมาตรฐานของไฮเพอร์โบลา

แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้


กรณีที่ 1 ไฮเพอร์โบลาที่มีจุดศูนย์กลางที่จุดกำเนิด
x2 y 2
กรณีแกนตามขวางทับแกน X สมการรูปมาตรฐานคือ − = 1 เมื่อไฮเพอร์โบลาตัดแกน X ที่จุด
a2 b2
(±a, 0) และจะได้ว่า ความยาวของแกนตามขวางเท่ากับ 2a และความยาวของแกนสังยุคเท่ากับ 2b

y 2 x2
กรณีแกนตามขวางทับแกน Y สมการรูปมาตรฐานคือ − = 1 เมื่อไฮเพอร์โบลาตัดแกน Y ที่จุด
a2 b2
(0, ±a) และจะได้ว่า ความยาวของแกนตามขวางเท่ากับ 2a และความยาวของแกนสังยุคเท่ากับ 2b

กรณีที่ 2 ไฮเพอร์โบลาที่มีจุดศูนย์กลางที่ (h, k)


กรณีแกนตามขวางขนานกับแกน X สมการรูปมาตรฐานคือ
(x − h)2 (y − k)2
− =1
a2 b2

กรณีแกนตามขวางขนานกับแกน Y สมการรูปมาตรฐานคือ
(y − k)2 (x − h)2
− =1
a2 b2
J
60 ไฮเพอร์โบลา (Hyperbola)

5.2.2 สมการเส้นกำกับกราฟของไฮเพอร์โบลา

รูปที่ 5.2: เส้นกำกับกราฟของไฮเพอร์โบลา

สมการเส้นกำกับพาราโบลาเมื่อแกนตามขวางขนานกับแกน X คือ
b
y = k ± (x − h)
a

สมการเส้นกำกับพาราโบลาเมื่อแกนตามขวางขนานกับแกน Y คือ
a
y = k ± (x − h)
b

5.2.3 ลาตัสเรกตัมของไฮเพอร์โบลา

y-axis
ลาตัสเรกตัมของไฮเพอร์โบลา คือส่วนของ
เส้นตรงซึ่งมีจุดปลายอยู่บนกราฟของไฮเพอร์โบลา
ที่ลากผ่านโฟกัส และตั้งฉากกับแกนตามขวาง

x-axis
F1(-c, 0) F2(c, 0)

รูปที่ 5.3: ลาตัสเรกตัมของไฮเพอร์โบลา


5.2 สรุปสาระสำคัญ 61

5.2.4 สมการเส้นสัมผัสไฮเพอร์โบลา (Tangent


Line to an Hyperbola)
x2 y 2
จากสมการไฮเพอร์โบลา − 2 = 1 จะได้ว่า
y-axis a2 b
Q(x1+h, y1+k)
b2 x 2 − a 2 y 2 = a 2 b2 (5.1)

P(x1, y1) ให้ P (x1 , y1 ) และ Q(x1 + h, y1 + k) เป็นจุด


x-axis บนไฮเพอร์โบลา ถ้าต้องการหาสมการเส้นสัมผัส
ไฮเพอร์โบลาที่จุด P ทำได้ดังนี้
จาก P เป็นจุดบนไฮเพอร์โบลา และสมการ (5.1)
จะได้ว่า
รูปที่ 5.4: เส้นสัมผัสไฮเพอร์โบลา b2 x21 − a2 y12 = a2 b2 (5.2)

ในทำนองเดียวกัน Q เป็นจุดบนไฮเพอร์โบลา จากสมการ (5.1) จะได้ว่า

b2 (x1 + h)2 − a2 (y1 + k)2 = a2 b2


b2 (x21 + 2hx1 + h2 ) − a2 (y12 + 2ky1 + k 2 ) = a2 b2

จะได้
b2 x21 + 2b2 hx1 + b2 h2 − a2 y12 − 2a2 ky1 − a2 k 2 = a2 b2 (5.3)

นำ (5.3)-(5.2) จะได้ 2b2 hx1 + b2 h2 − 2a2 ky1 − a2 k 2 = 0


k 2b2 x1 + b2 h
จะได้ k(2a2 y1 + a2 k) = (2b2 x1 + b2 h)h ดังนั้น = 2
h 2a y1 + a2 k
k
แต่เนื่องจาก เป็นความชันของส่วนของเส้นตรง P Q และถ้าสมมติให้ m เป็นความชันของเส้นสัมผัส เรา-
h
k
จะเห็นว่า เมื่อ h และ k มีค่าเข้าใกล้ 0 จะได้ว่า m =
h
เพราะฉะนั้น
k 2b2 x1 + 0 b2 x 1
m= = 2 = 2
h 2a y1 + 0 a y1

สมมติให้ สมการเส้นสัมผัสไฮเพอร์โบลาที่จุด P คือ y − y1 = m(x − x1 ) จะได้ว่า

b2 x1
y − y1 = (x − x1 )
a 2 y1
a2 y1 (y − y1 ) = b2 x1 (x − x1 )
a2 y1 y − a2 y1 = b2 x1 x + b2 x21
b2 x1 x − a2 y1 y = b2 x21 − a2 y12
b2 x1 x − a2 y1 y = a2 b2
xx1 yy1
ดังนั้น จะได้ว่า − 2 = 1 เป็นสมการเส้นสัมผัสไฮเพอร์โบลาที่จุด (x1 , y1 )
J
a2 b
∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗∗
62 ไฮเพอร์โบลา (Hyperbola)

5.3 โจทย์ฝึกทักษะและตัวอย่างข้อสอบ : ไฮเพอร์โบลา (Hyperbola)

1. "ไอเพอร์โบลาที่มีเส้นกำกับตั้งฉากกันเรียกว่าไฮเพอร์โบลามุมฉาก" จงหาสมการรูปมาตรฐาน
ของไฮเพอร์โบลามุมฉากที่มีโฟกัสอยุ่ที่จุด (6, 1) และ (−2, 1) (Final,MATH30102,2552)

2. จงหาจำนวนจริงบวก k ที่ทำให้ไฮเพอร์โบลา x2 −ky 2 +2x+2ky+1 = 0 มีความเยื้องศูนย์



กลางเท่ากับ 26 (Final,MATH30102,2552)

3. วิถีโคจรของดาวหางเป็นรูปไฮเพอร์โบลา โดยมีดวงอาทิตย์อยู่ที่โฟกัส และดาวหางจะอยู่ใกล้


ดวงอาทิตย์มากสุดบริเวณจุดยอดของไฮเพอร์โบลา เมื่อเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างดาวหางและ
ดวงอาทิตย์ ตั้งฉากกับแกนตามขวางของไฮเพอร์โบลาพบว่าดาวหางอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์
20 ล้านไมล์ ถ้ากำหนดให้จุดกำเนิดเป็นจุดศูนย์กลางของไฮเพอร์โบลา และระยะทางที่ดาว
หางอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเท่ากับ 8 ล้านไมล์ จงหาสมการรูปมาตรฐานของวงโคจรของ
ดาวหางมา 1 สมการ (Final,MATH30102,2552)

4. จงหาสมการรูปมาตรฐานของไฮเพอร์โบลาที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ (−2, 3) แกนตามขวาง


ขนานกับแกน Y ซึ่งยาว 6 หน่วย และมีความยาวโฟกัสเท่ากับ 8 หน่วย
(Final,MATH30102,2553)

5. จงหาผลบวกของระยะจากจุด (−3, 1) ไปยังจุดยอดทั้งสองของไฮเพอร์โบลา


x2 − y 2 + 2x + 2 = 0 (Final,MATH30102,2553)

6. จงหาสมการเส้นกำกับกราฟของไฮเพอร์โบลา 9x2 − 16y 2 − 18x − 64y − 199 = 0


(Final,MATH30102,2553)


7. จงหาสมการรูปมาตรฐานของวงรีที่มีโฟกัสที่ (± 2, 0) และมีแกนเอกเป็นแกนตามขวาง
ของไฮเพอร์โบลา 16x2 − 18y 2 = 288 (Final,MATH30103,2553)

8. จงหาสมการรูปมาตรฐานของไฮเพอร์โบลา ที่มีโฟกัสอยู่ที่ (1, −2) กับ (7, −2) และ


5
ความชันของสมการเส้นกำกับเส้นหนึ่งเท่ากับ (Final,MATH30102,2554)
4

9. จงหาสมการรูปทั่วไปของเส้นกำกับไฮเพอร์โบลาที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ (2, 2) จุดยอดหนึ่ง


อยู่ที่ (2, −2) และโฟกัสห่างจากจุดยอด 1 หน่วย (Final,MATH30102,2554)

10. จงหาความเยื้องศูนย์กลางของไฮเพอร์โบลา ที่มีจุดยอดอยู่ที่ (2, 5) กับ (2, −1) และมี


สมการเส้นกำกับเป็น 3x − 4y + 2 = 0 และ 3x + 4y − 14 = 0 (Final,MATH30102,2554)
5.3 โจทย์ฝึกทักษะและตัวอย่างข้อสอบ : ไฮเพอร์โบลา (Hyperbola) 63

11. กระจกที่มีภาคตัดขวางเป็นรูปไฮเพอร์โบลา จะใช้ในกล้องโทรทรรศน์ กระจกนี้มีสมบัติว่า


ถ้าตกกระทบผ่านจุดโฟกัสจุดหนึ่ง แล้วจะสะท้อนไปยังโฟกัสอีกจุดหนึ่ง ดังรูป กำหนดให้

โฟกัสของภาคตัดขวางของกระจกมีพิกัด (2, 0) และผ่านจุด 2, 3/3 จงหาพิกัดของจุด


ยอดของภาคตัดขวางดังกล่าว

Y
 3 
2, 
 3 

X
( 2, 0) (2, 0)

(Final,MATH30102,2553)

12. กำหนดให้ 2x2 + 16y 2 + 4x − 64y + 34 = 0 และ 2x2 − 9y 2 − 4x + 36y − 52 = 0


เป็นสมการของวงรี และไฮเพอร์โบลา ตามลำดับ ข้อความต่อไปนี้ ข้อใดบ้างเป็นจริง
ก.) กราฟทั้งสองตัดกัน 2 จุด
ข.) กราฟทั้งสองมีจุดศูนย์กลางร่วมกัน
ค.) กราฟทั้งสองมีระยะห่างของโฟกัสเท่ากัน
ง.) ความยาวแกนโทของวงรี เท่ากับความยาวของแกนสังยุคของไฮเพอร์โบลา
(Final,MATH30102,2554)

13. กำหนดสมการพหุนามดีกรี 2 ดังต่อไปนี้ ซึ่งมีกราฟเป็นภาคตัดกรวย จงระบุว่ากราฟของ


สมการในแต่ละข้อเป็นกราฟของวงกลม พาราโบลา วงรี หรือไฮเพอร์โบลา
(Final,MATH30102,2554)

ก) x2 + y 2 − 4x − 6y − 3 = 0
ข) 2x2 − 4y 2 + 8x + 4y + 15 = 0
ค) x2 − 4x − 8y + 2 = 0
ง) 4x2 + 3y 2 + 8x − 24y + 40 = 0

14. วงรี 4x2 + 9y 2 − 8x + 36y + 4 = 0 ถ้าไฮเพอร์โบลารูปหนึ่ง มีจุดศูนย์กลางร่วมกับจุด


ศูนย์กลางของวงรี จุดยอดอยู่ที่จุดปลายแกนโทของวงรี และโฟกัสจุดหนึ่ง อยู่ที่ (1, −6)
แล้วจงหาสมการรูปทั่วไป (Final,MATH30102,2554)

15. จงหาสมการรูปมาตรฐานของไฮเพอร์โบลาที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุด (1, 1) แกนสังยุคขนาน


กับแกน Y ระยะระหว่างโฟกัสทั้งสองยาวเป็น 2 เท่าของความยาวแกนตามขวาง และ
ไฮเพอร์โบลานี้ผ่านจุด (21, 31) (Final,MATH30102,2555)
64 ไฮเพอร์โบลา (Hyperbola)


16. จงหาสมการรูปมาตรฐานของไฮเพอร์โบลาที่มีโฟกัสอยู่ที่ (± 28, 0) และมีแกนตามขวาง
เป็นแกนเอกของวงรี 3x2 + 4y 2 = 36 (Final,MATH30102,2555)

17. จงหาสมการรูปมาตรฐานของไฮเพอร์โบลาที่มีจุด (9, 3) และ (13, 3) เป็นโฟกัสทั้งสอง


และมีความเยื้องศูนย์กลางเท่ากับ 2 (Final,MATH30102,2555)

18. ให้ F เป็นโฟกัสที่อยู่ในจตุภาคที่ 1 และ B เป็นจุดปลายของแกนสังยุคที่อยู่ในจตุภาคที่ 2


ของไฮเพอร์โบลา 16y 2 − 9x2 − 64y + 54x − 161 = 0 จงหาสมการรูปทั่วไปของเส้นตรง
ซึ่งขนานกับ F B และผ่านจุดศูนย์กลางของไฮเพอร์โบลา (Final,MATH30102,2555)

∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗∗
บทที่ 6

Special Properties of Conics

6.1 Classifying Conic Section

6.1.1 ความเยื้องศูนย์กลางของภาคตัดกรวย (eccentricity of conics)


a
ให้ a > 0 และ c > 0 ซึ่ง e 6= 1 กำหนด c = a · e, d = และ F (c, 0) เป็นโฟกัสของภาคตัดกรวย
e
a
d = เป็นเส้นไดเรกตริกซ์ (เรียก e ว่าความเยื้องศูนย์กลางของภาคตัดกรวย (eccentricity of conic))* *Eccentricities of
e Orbits of the Plan
The orbits of the pl
ทฤษฎีบท 6.1.1 เซตของจุด {P : P F = eP d} บนระนาบ จะเป็นวงรีเมื่อ e < 1 เป็นพาราโบลาเมื่อ are ellipse with the
e = 1 และเป็นไฮเพอร์โบลาเมื่อ e > 1 at one focus.
Planet e
Mercury 0.206
พิสูจน์ โดยใช้หลักการแปลงอย่างง่าย เราสามารถแปลงให้ d เป็นเส้นบนแกน Y และโฟกัส F คือจุด (1, 0) Venus 0.007
ถ้าให้ P (x, y) เป็นจุดใด ๆ บนภาคตัดกรวย Earth 0.017
Mars 0.093
พิจารณา
Jupiter 0.048
Saturn 0.056
P F = eP d
p Uranus 0.046
(x − 1)2 + y 2 = e|x| Neptune 0.010
Pluto 0.248
(x − 1)2 + y 2 = e2 x2 (6.1)

หรือเขียนใหม่ได้เป็น

(1 − e2 )x2 − 2x + y 2 = −1
1 1
(1 − e2 )x2 − 2x + 2
+ y2 = 2
−1
 1 − e 1 − e
2x 1 1
(1 − e2 ) x2 − + + y2 = −1
1 − e2 (1 − e2 )2 1 − e2
 2
1 1
2
(1 − e ) x − 2
+ y2 = −1 (6.2)
1−e 1 − e2
66 Special Properties of Conics

 
1
• จากสมการ (1) ถ้า e = 1 จะได้ว่า −2x + 1 + y2 = 0 หรือ y2 = −2 x − ซึ่งเป็นพาราโบลา
2

• จากสมการ (2) ถ้า e < 1 จะได้ว่า 1 − e2 > 0 ซึ่งเป็นสมการวงรี

• จากสมการ (2) ถ้า e > 1 จะได้ว่า 1 − e2 < 0 ซึ่งเป็นสมการไฮเพอร์โบลา

⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆

6.1.2 ดิสคริมิแนนต์ของภาคตัดกรวย

สมการกำลังสองที่มีสองตัวแปร x และ y สามารถเขียนได้ในรูปของ

Ax2 + Bxy + Cy 2 + Dx + Ey + F = 0

สมการของวงกลม พาราโบลา วงรี หรือไฮเพอร์โบลา สามารถเขียนได้ในรูปของสมการกำลังสองที่มี


สองตัวแปรได้เสมอ ในทางกลับกันสมการกำลังสองก็จะมีกราฟเป็นหนึ่งในกราฟของภาคตัดกรวย ดังนั้น
ถ้าเราสามารถจำแนกได้ว่า สมการกำลังสองที่กำหนดให้มีกราฟเป็นรูปอะไร โดยที่เราไม่จำเป็นต้องจัดรูป
ให้เข้ากับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งของภาคตัดกรวยก็จะเป็นเรื่องที่ดี
ดิสคริมิแนนต์ (Discriminant of Conic) ของสมการ Ax2 + Bxy + Cy 2 + Dx + Ey + F = 0
คือค่าของ B 2 − 4AC ถ้าเราทราบว่าสมการกำลังสองที่กำหนดให้เป็นภาคตัดกรวย แล้วเราจะสามารถใช้
ดิสคริมิแนนต์ในการจำแนกชนิดของภาคตัดกรวยได้ดังนี้

1. ถ้า B 2 − 4AC < 0 แล้วจะเป็นกราฟของวงรี

2. ถ้า B 2 − 4AC = 0 แล้วจะเป็นกราฟของพาราโบลา

3. ถ้า B 2 − 4AC > 0 แล้วจะเป็นกราฟของไฮเพอร์โบลา

ตัวอย่าง 6.1.2 จงใช้ Discriminant ตรวจสอบว่ากราฟของสมการต่อไปนี้เป็นกราฟของอะไร


(a) x2 + 3xy + 3y 2 = −7y − 4 (b) 4x2 + 4xy + y 2 = 3x − 1 (c) y 2 − 4x2 = 0

แนวคิด

(a) B 2 − 4AC = 32 − 4(1)(3) = −3 < 0 ∴ มีกราฟเป็นวงรี

(b) B 2 − 4AC = 42 − 4(4)(1) = 0 ∴ มีกราฟเป็นพาราโบลา

(c) B 2 = 4AC = 02 − 4(4)(1) = 16 > 0 ∴ มีกราฟเป็นไฮเพอร์โบลา

⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆
6.2 A Point Inside and Out 67

6.2 A Point Inside and Out

พาราโบลา วงรี และไฮเพอร์โบลา มีสมบัติประการหนึ่งที่เกี่ยวกับระยะจากจุดภายใน และจุดภายนอก


ไปยังโฟกัส หรือไปยังเส้นไดเรกตริกซ์ที่เหมือนๆ กัน ดังต่อไปนี้

พาราโบลา: ระยะจากจุดที่อยู่ภายในพาราโบลาไปยังโฟกัสจะน้อยกว่าระยะจากจุดนั้นไปยังเส้นไดเรกตริกซ์
และระยะจากจุดที่อยู่ภายนอกพาราโบลาไปยังโฟกัสจะมากกว่าระยะจากจุดนั้นไปยังเส้นไดเรกตริกซ์

y-axis
X
W

F Z
S
x-axis
0
directrix
T Y

รูปที่ 6.1: จุดภายใน และจุดภายนอกพาราโบลา

จากรูปที่ 6.1 ถ้า X เป็นจุดภายในของพาราโบลา จะได้ว่า XF < XY และถ้า S เป็นจุดที่อยู่


ภายนอกของพาราโบลา จะได้ว่า SF > ST ซึ่งสามารถแสดงได้ ดังนี้

พิสูจน์ จากรูปที่ 6.1 ให้ X เป็นจุดภายในของพาราโบลา และ Z เป็นจุดตัดของเส้นที่ลากจากจุด X ไปตั้ง-


ฉาก
กับเส้นไดเรกตริกซ์ โดยอสมการสามเหลี่ยม จะได้ว่า XF < XZ + ZF และจากนิยามของพาราโบลา จะ-
ได้ว่า F Z = ZY นั่นคือ XF < XZ + ZY = XY
และให้ S เป็นจุดที่อยู่ภายนอกของพาราโบลา W เป็นจุดตัดของเส้นที่ลากตั้งฉากจากเส้นไดเรกตริกซ์
ผ่านจุด S กับพาราโบลา จากอสมการสามเหลี่ยมจะได้ว่า SF + SW > F W = W T = W S + ST ดังนั้น
J
SF > ST

วงรี: ผลรวมของระยะจากจุดที่อยู่ภายในวงรีไปยังโฟกัสทั้งสองจะน้อยกว่าความยาวของแกนเอก และผล


รวมของระยะจากจุดที่อยู่ภายนอกวงรีไปยังโฟกัสทั้งสองจะมากกว่าความยาวของแกนเอก

จากรูปที่ 6.2 ถ้า X เป็นจุดภายในของวงรี จะได้ว่า XF1 + XF2 < AB และถ้า S เป็นจุดภายนอก-
ของวงรี จะได้ว่า XF1 + XF2 > AB ซึ่งสามารถแสดงได้ ดังนี้

พิสูจน์ จากรูปที่ 6.2 ให้ X เป็นจุดภายในของวงรี Y คือจุดตัดของวงรี กับเส้นตรงที่ลากจากจุด F1 ผ่านจุด


X พิจารณารูปสามเหลี่ยม XF2 Y จากอสมการสามเหลี่ยม จะได้ว่า XF2 < XY + Y F2 และจะได้ว่า
68 Special Properties of Conics

F1 F2
A B

รูปที่ 6.2: จุดภายใน และจุดภายนอกวงรี

F1 X + XF2 < F1 X + XY + Y F2 = F1 Y + Y F2 = AB นั่นคือ F1 X + XF2 < AB


และให้ S เป็นจุดที่อยู่ภายนอกของวงรี T คือจุดตัดของวงรี กับเส้นตรงที่ลากจากจุด F1 ไปยังจุด S
พิจารณารูปสามเหลี่ยม SF2 T จากอสมการสามเหลี่ยม จะได้ว่า T F2 < T S + SF2 และจะได้ว่า
F1 S + SF2 = F1 T + T S + SF2 > F1 T + F2 T = AB นั่นคือ F1 S + SF2 > AB
J

ไฮเพอร์โบลา: ผลต่างของระยะจากจุดใดๆ ที่เป็นจุดภายในไฮเพอร์โบลา ไปยังโฟกัสทั้งสองจะมีค่ามากกว่า


ระยะจากจุดใดๆ ที่อยูภ
่ ายนอกไฮเพอร์โบลา

X P

F1 F2

รูปที่ 6.3: จุดภายใน และจุดภายนอกไฮเพอร์โบลา

จากรูปที่ 6.3 ถ้า X เป็นจุดภายในของไฮเพอร์โบลา และ Q เป็นจุดภายในของไฮเพอร์โบลาจะได้ว่า


|XF1 − XF2 | > |QF1 − QF2 | ซึ่งสามารถแสดงได้ ดังนี้

พิสูจน์ จากรูปที่ 6.3 ให้ X เป็นจุดภายในของไฮเพอร์โบลา และ Q เป็นจุดภายในของไฮเพอร์โบลา P เป็น-


จุดใดๆ บนไฮเพอร์โบลา และ Y เป็นจุดตัดของไฮเพอร์โบลา กับส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่าง F1 กับ-
จุด Q จะได้ว่า F1 Q = F1 Y + Y Q โดยอสมการสามเหลี่ยม จะได้ว่า F2 Q < F2 Y + Y Q และจะได้ว่า
J
F2 Q − F1 Q < F2 Y + Y Q − (F1 Y + Y Q) = F2 Y − F1 Y

⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆⋆
เฉลยแบบฝึกหัด

เรขาคณิตวิเคราะห์ 19. 2x + 3y − 5 = 0

1.
9 20. 4x − 3y − 27 = 0 และ
5 4x − 3y + 33 = 0
2. (0, −3) และ (0, 7)  
4
21. arctan
3. 3x − 4y − 3 = 0 และ 7
3x − 4y + 27 = 0 22. x − y = 0

4. x − 4y − 24 = 0 23. 6 หน่วย

5. ผ่าน เพราะความชันโดยมีจุด B เป็นจุดร่วม 24. 3x − 2y − 18 = 0 และ


เท่ากัน 3x − 2y + 18 = 0

25. (−2, −2)


 
2
6. arctan
3 5
26. −
7. 43x − 32y − 2873 = 0 2
27. 4
8. (−1, 0), (2, 2) และ (5, 4)
28. x − y + 6 = 0 และ
9. 60 องศา x−y−6=0
1
10. ,3 29. 3x − 4y + 27 = 0 และ
3
11. −36 และ −6 3x − 4y + 7 = 0

30. 3
12. 2x + 5y − 9 = 0    
8 32
9 31. 0, − , 0,
13. 3 3
13
32. k 2 ตารางหน่วย
14. 15
√ 33. 3x − y = 7, x + 3y = 9
15. 3 2 √
23 65
16. 84 34. หน่วย
18
35. 5x + 4y − 11 = 0
17. (−64, 37), (66, −41)  
8 4
18. (−3, 6) 36. ,−
5 5
70 Special Properties of Conics

37. 42 10. (3, 0)

38. 3x − 2y − 6 = 0 11. (y − 3)2 = 16(x + 1) และ



19
 
41
 (y − 3)2 = 4(x + 4)
39. ,0 , − ,0
5 3 3
12. x2 = − y และ y 2 = 12x
√ 2
40. 2 3 √
13. 2 10 นิ้ว
41. 5
14. 4x − y − 8 = 0
42. 3
15. (x − 3)2 + y 2 = 20
43. −4, 4
16. x = 2
44. 6
 
5
17. (x − 5)2 = −14 y −
2
45. (0, 1)
18. 1.5
46. x = 0
19. 6
√ 9
47. lenght : 21, slope :
4 20. y 2 − 4y − 16x − 12 = 0
48. 4x − 2y − 9 = 0 21. 2x2 − 12x − y + 18 = 0
49. (6, 8), (2, −4) 22. y = −
9
4
50. −
23. 10 ตารางหน่วย

⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗⊗ 24. 1

พาราโบลา 25. 3 2 หน่วย
15
26.
1. 2x + y − 7 = 0 4
27. 2x + y + 6 = 0
2. (y + 1)2 = 12(x − 4)

28. 85
3. เท่ากัน
29. 2x + y − 7 = 0
4. 18 ตารางหน่วย
30. y 2 = 5(x + 5)
5. 3x − 2y + 3 = 0
31. y 2 − 4y − 8x + 20 = 0
6. (y − 2)2 = 8(x − 1)
⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗⊗
7. 6
วงรี
8. (y − 2)2 = 8(x + 1) และ
(y − 2)2 = −8(x − 3) 1. 7
(x − 4)2 (y − 2)2
9. 8 2. + =1
100 25
6.2 A Point Inside and Out 71

3. x + 2y + 1 = 0 ⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗⊗

4. 9π ไฮเพอร์โบลา
x2 y2 (x − 2)2 (y − 1)2
5. + =1 1. − =1
9 5 8 8

24 5 2. k = 25
6.
5 x2 y2
3. − = 1 และ
256 320
 
26 9
7. ,− y 2 x 2
7 7 − =1
256 320
8. x2 + y 2 + 2x − 4y − 29 = 0 (y − 3)2 (x + 2)2
4. − =1
(x − 1)2 (y − 2)2 9 7
9. + =1 √
45 20 5. 2 + 8
(x − 1)2 (y − 2)2
10. + =1 6. 3x − 4y − 11 = 0 และ
25 16
3x + 4y + 5 = 0
11. (1) (1, 3)
x2 y2
(2) (−4, 3), (6, 3) 7. + =1
(3) (−3, 3), (5, 3) 18 16
(4) แกนเอก : 6 หน่วย 8.
41(x − 4)2 41(y + 2)2
− =1
แกนโท : 6 หน่วย 144 255
(5)9x2 + 25y 2 − 18x − 150y + 9 = 0 9. 4x − 3y − 2 = 0 และ
4x + 3y − 14 = 0
y2 x2
12. + =1 √
57502 57012 10. ( 3, 0)

7 11. ก), ง)
13.
4
√ 5
14. 2 10 หน่วย 12.
3
15. 1440 บาท 13. ก) วงกลม
ข) ไฮเพอร์โบลา
(x + 1)2 (y − 2)2
16. + =1 ค) พาราโบลา
25 9
1 ง) วงรี
17.
3 14. x2 − 3y 2 − 2x − 12y + 1 = 0
18. 12
(x − 1)2 (y − 1)2
(x − 1)2 (y −3)2 15. − =1
19. + =1 100 300
9 25
x2 y2
(x − 2)2 (y − 3)2 16. − =1
20. + =1 12 16
9 5
(x − 11)2 (y − 3)2
โฟกัส : (0, 3), (4, 3) 17. − =1
1 3
ความยาวแกนเอก : 6 หน่วย
√ 18. 5x − 4y − 7 = 0
ความยาวแกนโท : 2 5 หน่วย
2
ความเยื้องศูนย์กลาง : ⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗ ⊗⊗
3
72 Special Properties of Conics
บรรณานุกรม

[1] Max A. Sobel and Norbert Lerner, Algebra and Trigonometry, 5th ed., A Simon&Schuster
Company, 1995.

[2] National council of educational research and training, Mathematics : Textbook for class
XI, 2006.

[3] Ron Larson and David C. Falvo, Precalculus, 8th ed., Brooks/cole cengage learning, 2007.

[4] วรรณา ไชยวิโน, แคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ 2. สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, กรุงเทพฯ.

[5] บบทดสอบรายวิชา ค30103 ความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส 4


หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2552

[6] บบทดสอบรายวิชา ค30107 คณิตศาสตร์ 4


หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2556

∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗∗

You might also like