Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 76

ประชุมพงษาวดารภาคที่ ๑๙

จดหมายเหตุหอสาตราคม
แลเรื่ องเสด็จทอดพระเนตรสุริยปุ ราคาที่หว้ ากอ
เมื่อรัชกาลที่ ๔

พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้ าจอมมารดา โหมด ในรัชกาลที่ ๔


เมื่อปี วอก พ.ศ. ๒๔๖๓
____________

พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไทย ถนนรองเมือง
คานา
พระเจ้ าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรี ชา มีรับสัง่ มา
ยังกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณสาหรับพระนครว่า ทรงพระ
ศรัทธาจะพิมพ์หนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้ าจอม
มารดาโหมด รัชกาลที่ ๔ เจ้ าจอมมารดาของพระองค์ทา่ นสักเรื่ อง
๑ ให้ กรรมการหอพระสมุด ฯ ช่วยเลือกหาเรื่ องหนังสือถวาย
ข้ าพเจ้ าจึงได้ รวบรวมจดหมายเหตุครัง้ รัชกาลที่ ๔ จัดเปนหนังสือประ
ชุมพงษาวดารภาคที่ ๑๙ ถวายกรมหมื่นวิวิธวรรณปรี ชา ทรงพิมพ์
ตามพระประสงค์
เรื่ องหนังสือที่พิมพ์ในประชุมพงษาวดารภาคที่ ๑๙ นี ้ ๓ เรื่ อง
ด้ วยกัน คือ จดหมายเหตุหอสาตราคมเรื่ อง ๑ จดหมายเหตุของ
เจ้ าพระยาทิพากรวงศ์ เรื่ องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้ าเจ้ าอยูห่ วั
เสด็จทอดพระเนตรสุริยอุปราคาที่หว้ ากอเรื่ อง ๑ แปลจดหมายเหตุ
ของเซอร์ แฮรี ออด เจ้ าเมืองสิงคโปร์ ขึ ้นมาเฝ้าพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้ าเจ้ าอยูห่ วั ที่หว้ ากอเรื่ อง ๑ จะอธิบายพอให้ ทราบเค้ า
เงื่อนของจดหมายเหตุทงั ้ ๓ เรื่ องนันเปนดั ้ งนี ้ คือ
๑) จดหมายเหตุหอสาตราคมนัน้ ประเพณีมีมาแต่โบราณ
กาหนดเปนน่าที่ของนายเสน่ห์ห้ มุ แพรมหาดเล็กคน ๑ แล นายสุจินดา
หุ้มแพรมหาดเล็กคน ๑ เปนพนักงานจดหมายเหตุตา่ ง ๆ
(๒)
อันราชสานัก เก็บรักษาไว้ ในหอสาตราคม ประเพณีอนั นี ้ได้
ทราบว่ายังมีอยูเ่ มื่อในรัชกาลที่ ๔ จะมีติดต่อมาแต่โบราณฤๅเปน
การเลิกกันไปเสียแล้ วคราว ๑ พึง่ มาโปรดให้ กลับมีขึ ้นใหม่เมื่อ
ในรัชกาลที่ ๔ ข้ อนี ้หาทราบไม่ เพราะข้ าพเจ้ าไม่เคยเห็นจดหมาย
เหตุหอสาตราคม ได้ เคยถามข้ าราชการเก่า ๆ ก็ยงั ไม่พบผู้ใด
ที่ได้ เคยเห็น จนปี มะแม พ.ศ. ๒๔๖๒ นี ้ หอพระสมุด ฯ ได้ สมุด
ดาเก่า ๆ มาแต่ที่แห่ง ๑ หลายเล่มด้ วยกัน มีจดหมายเหตุหอ
สาตราคมครัง้ รัชกาลที่ ๔ เมื่อปี มะแม พ.ศ. ๒๔๐๒ กับปี วอก พ.ศ.
๒๔๐๓ อยูใ่ นนันตอน ้ ๑ ได้ สืบถามข้ าราชการครัง้ รัชกาลที่ ๔ ซึง่ ยัง
มีอยูใ่ นเวลานี ้ บอกว่าพระยามหาอามาตย์ ( หรุ่น ศรี เพ็ญ ) เปนนาย
เสน่ห์อยูใ่ นเวลานัน้ แลนายสุจินดานัน้ ชื่อหรั่ง ภายหลังได้ เปน
จมื่นราชานุบาล เห็นจะอยูใ่ น ๒ คนนี ้ที่เปนผู้จด ข้ าพเจ้ าเข้ าใจ
ว่าผู้ที่ไม่เคยเห็นจดหมายเหตุหอสาตราคม เห็นจะมีมากด้ วยกัน
จึงได้ เอามาพิมพ์ไว้ ให้ เปนประโยชน์ทางความรู้
๒) จดหมายเหตุเจ้ าพระยาทิพากรวงศ์ เรื่ องเสด็จ
ทอดพระเนตรสุริยอุปราคาที่หว้ ากอ เมื่อปี มะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ นัน้
ท่านเรี ยงไว้ แต่ยอ่ ๆ ที่เอามาพิมพ์ในสมุดเล่มนี ้ เพราะจะให้ เข้ า
ใจความในจดหมายเหตุของเซอร์ แฮรี ออดแจ่มแจ้ งดีขึ ้น การที่
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้ าเจ้ าอยูห่ วั เสด็จไป ทอดพระเนตรสุริย
อุปราคาที่หว้ ากอในระดูฝน จนเปนเหตุให้ ประชวรแลสวรรคต
ครัง้ นัน้ ผู้ที่
(๓)
เกิดภายหลังฤๅเกิดทันแต่ยงั เปนเด็กอยู่ เช่นตัวข้ าพเจ้ า เคยปรารภ
กันว่าเพียงแต่จะดูสรุ ิยอุปราคา เหตุใดจึงเสด็จลงไปฝ่ าอันตราย
แลความลาบากถึงเพียงนัน้ พึง่ มาได้ ฟังคาชี ้แจงภายหลังว่า
สุ ริ ย อุปราคาที่จะเห็นได้ หมดดวงในประเทศนี ้ ไม่เคยมีมาแต่ก่อน
จนถึงในตาราโหรของไทยว่าสุริยอุปราคา ไม่มีที่จะหมดดวงได้
ครัง้ นันพระบาทสมเด็
้ จพระจอมเกล้ าเจ้ าอยูห่ วั ทรงคานทราบ
ก่อนใคร ๆ ในประเทศนีวา่ ในปี มะโรงสุริยอุปราคาจะมีห มดดวง
แลจะเห็นได้ ในเมืองไทยนี ้ ดารัสบอกพวกโหรก็ไม่มีใครลงเนื ้อ
เห็นด้ วย สมเด็จเจ้ าฟ้ากรมพระยาบาราบปรปั กษ์ เคยตรัสเล่าว่า
แม้ พระองค์ทา่ นเองก็ไม่ทรงเชื่อว่าจะเห็นหมดดวง แต่เกรง
พระไทยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้ าเจ้ าอยูห่ วั ก็ต้องยอมจะไป
ทอดพระเนตรด้ วย ที่เสด็จลงไปทอดพระเนตรที่ตาบลหว้ ากอในแขวง
จังหวัดประจวบคิรีขนั ธ์นนั ้ เพราะปรากฎในทางคานวณว่าจะเห็น
ได้ หมดดวงที่ตรงนัน้ ถ้ าดูอยูใ่ นกรุงเทพ ฯ นี ้หาเห็นหมดดวงไม่
เล่ากันว่าจนวันมีสรุ ิยอุปราคา โหรที่ลงไปตามเสด็จก็ยงั ไม่เชื่อ
ว่าจะเห็นหมดดวง พอเงากินปิ ดขอบพระอาทิตย์หมดดวง
พระยาโหราธิบดี เถื่อน เวลานันยั ้ งเปนหลวงโลกทีป้อง “ พลุบ ”
เต็มเสียงน่าพระที่นงั่ ด้ วยความยินดี สิ ้นกลัว เพราะความเลื่อม
ใสในวิชาที่ได้ ร่ าเรี ยน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้ าเจ้ าอยูห่ วั
(๔)
ได้ ทรงศึกษาชานาญในโหราศาสตร์ จึงมิได้ ทรงเกรงความ
ลาบากที่จะทอดพระเนตรสุริยอุปราคาครัง้ นัน้
๓) จดหมายเหตุของเซอร์ แฮรี ออด เจ้ าเมืองสิงคโปร์ นนเห็
ั้ น
จะเปนเลขานุการที่มาด้ วยเปนผู้เรี ยบเรี ยง ขึ ้นตามคาสัง่ ของเซอร์
แอรี ออด หมอบรัดเลได้ สาเนามาพิมพ์ไว้ ในหนังสือบางกอกคาเลน
ดา เล่มคฤศตศก ๑๘๗๐ ข้ าพเจ้ าได้ วานนักเรี ยนคน ๑ แปลออกเป
นภาษาไทยสาหรับพิมพ์ในสมุดเล่มนี ้ จดหมายเหตุของเซอร์ แฮรี ออด
นี ้ ต้ องอ่านด้ วยทรงไว้ ในใจว่า เปนของฝรั่งแต่งตามความคิด
แลความเห็นของฝรั่งตังแต่ ้ ต้นจนปลาย อ่านโดยกาหนดไว้ ใน
ใจเช่นนี ้จึงจะน่าอ่านดี
อนึง่ มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้ าเจ้ าอยูห่ วั ทรง
ฉายที่นา่ พลับพลา เวลาเซอร์ แฮรี ออดเฝ้าปรากฎอยู่ สมเด็จ
พระเจ้ าบรมวงศ์เธอ เจ้ าฟ้ากรมพระยาภาณุพนั ธุวงศ์วรเดช ได้
โปรดประทานอนุญาตให้ จาลองมาไว้ ในหอพระสมุด ฯ จึงได้ ให้
ถ่ายพระบรมรูปนันมาพิ้ มพ์ไว้ ในสมุดเล่มนี ้ด้ วย.

สภานายก
หอพระสมุดวชิรญาณ
วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓

เนื ้อเรื่ องใช้ ฉบับพิมพ์ ครัง้ ที่ ๒


ซึง่ ๔๙ หน้ าแรกเหมือนฉบับพิมพ์
ครัง้ แรก
หน้ า ๕๐ - ๕๘ เพิ่มเติมในการพิมพ์
ครัง้ ที่ ๒
ประชุมพงศาวดารภาค ๑๙
จดหมายเหตุหอสาตราคม
กับ
จดหมายเหตุเรื่ องสุริยอุปราคา ปี มะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑
ฉบับพิมพ์ครัง้ ที่ ๒
มีพระบรมราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๔ เพิ่มใหม่
นายพันโท พระประเทศสวามิภักดิ์

พิมพ์ในการกุศล เมื่อปี วอก พ.ศ. ๒๔๖๓

พิมพ์ที่โรงพิมพ์บารุงนุกลู กิจ
(ผ.ท.บ.)
นางเภาลุศนันทน์
เกิดปี มะแม พ.ศ. ๒๔๐๒ ถึงแก่กรรมวันที่ ๑๐ มินาคม พ.ศ. ๒๔๖๒
อายุ ๖๐ ปี
คานา
พันโท พระประเทศสวามิภกั ดิ์ ( ดาลูศ ลุศนันทน์ ) จะทา
การปลงศพสนองคุณนางเภา ลุศนันท์ ผู้เปนมารดา มีศรัทธาจะ
พิมพ์หนังสือเปนของแจกเนื่องในการกุศลทักษิณานุปทานซึง่ จะบา
เพ็ญนันสั
้ กเรื่ อง ๑ มาหารื อกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ สาหรับ
พระนคร ถึงเรื่ องหนังสือ ซึง่ จะพิมพ์ ว่าอยากจะได้ เปนหนังสือใน
พวกโบราณคดี ข้ าพเจ้ าจึงได้ ชกั ชวนให้ พิมพ์หนังสือประชุม
พงศาวดารภาคที่ ๑๙ อิกครัง้ ๑ ด้ วยเห็นว่าจะพอใจแก่บรรดาผู้ที่จะ
ได้ รับแจกทัว่ ไปไม่เลือกหน้ า เพราะเหตุใดจึงได้ เห็นดังนันจะ

อธิบายต่อไป คือ
หนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๙ นี ้ เดิมหอพระสมุด ฯ ได้
รวบรวมจดหมายเหตุหอสาตราคมเรื่ อง ๑ จดหมายเหตุเรื่ อง
พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้ าเจ้ าอยูห่ วั เสด็จไปทอดพระเนตร
สุริยอุปราคาที่ตาบลหว้ ากอ แขวงจังหวัดประจวบคิรีขนั ธ์ เมื่อ
ปี มะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ เรื่ อง ๑ ถวายพระเจ้ าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธ
วรรณปรี ชา ทรงพิมพ์แจกในงานศพเจ้ าจอมมารดาโหมด
รัชกาลที่ ๔ เมื่อเดือนเมษายนปี นี ้ พอแจกหนังสือนันได้ ้ วนั หนึง่
หม่อมอนุวตั ร



วรพงศ์ ( ม.ร.ว.สิงหนัท ปราโมทย์ ณ กรุงเทพ ) ก็นาหนังสือ
ประกาศเปนพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้ า
เจ้ าอยูห่ วั ทรงชี ้แจงเรื่ องสุริยอุปราคาคราวนันมาให้ ้ แก่หอพระสมุด ฯ
ว่าต้ นฉบับเปนหนังสือของพระเจ้ าบรมวงศ์เธอชัน้ ๒ กรมขุนวร
จักธรานุภาพมีตกค้ างอยู่ หม่อมอนุวตั รไม่เห็นมีในหนังสือ
ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๙ นึกว่าที่ในหอพระสมุด ฯ เห็นจะยังไม่มี
ประกาศฉบับนี ้จึงมีแก่ใจนามาให้ ข้ าพเจ้ าขอบใจหม่อมอนุวตั รเปนอัน
มาก แต่ร้ ูสกึ เสียดายที่ไม่ได้ มาทันพิมพ์กบั จดหมายเหตุ เรื่ องสุ
ริยอุปราคา ที่พิมพ์ครัง้ แรก เพราะในประกาศพระราชนิพนธ์ทรง
ชี ้แจงถึงลักษณ
สุริยอุปราคาคราวนัน้ แจ่มแจ้ งชัดเจนยิ่งกว่าที่ปรากฎในจดหมาย
เหตุฉบับอื่นทุกฉบับ แลเปนหนังสือสาคัญโดยที่เปนพระราชนิพนธ์
ในพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้ าเจ้ าอยูห่ วั ทรงเมื่อเสด็จกลับจาก
ทอดพระเนตรสุริยอุปราคาคราวนัน้ ก่อนเวลาเสด็จสวรรคตไม่ช้านัก
สมควรจะต้ องพิมพ์ไว้ ให้ ปรากฎอยู่กบั จดหมายเหตุสรุ ิ ยอุปราคาคราว
ปี มะโรงด้ วย จดหมายเหตุนนจึ ั ้ งจะไม่บกพร่อง ข้ าพเจ้ าได้ ตงใจแต่
ั้
ได้ พระราชนิพนธ์มาจากหม่อมอนุวตั ร ว่าจะหาโอกาศพิมพ์ประชุม
พงศาวดารภาคที่ ๑๙ อิกสักครัง้ ๑ ให้ บริบรู ณ์ ความประสงค์อนั นี ้ยังมี
เหตุอื่นประกอบอิกสถาน ๑ ด้ วยหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๙
มีผ้ ชู อบอ่านกันมาก ผู้ที่ไม่ได้ รับแจกในงาน

พระเมรุวดั เทพศิรินทร์ พากันมาถามหาที่ในหอพระสมุด ฯ เนือง ๆ
ไม่ขาด จึงเห็นว่าถ้ าพิมพ์ขึ ้นใหม่อิกครัง้ ๑ ผู้ที่ยงั ไม่ได้ รับแจก
ครัง้ ก่อนก็จะพอใจ ถึงผู้ที่ได้ รับแจกครัง้ ก่อนแล้ ว ได้ ฉบับพิมพ์
ใหม่ ซึง่ มีพระราชนิพนธ์ เพิ่มเติมขึ ้นอีกเรื่ อง ๑ ก็จะพอใจเหมือนกัน
ด้ วยเหตุดงั กล่าวมานี ้ ข้ าพเจ้ าจึงชักชวนให้ พิมพ์ประชุมพงศาวดาร
ภาคที่ ๑๙ นายพันโท พระประเทศสวามิภกั ดิเ์ ห็นชอบด้ วยจึงได้ พิมพ์
สมุดเล่มนี ้ขึ ้น
ทีนี ้จะอธิบายถึงจดหมายเหตุตา่ ง ๆ ซึง่ พิมพ์ในประชุม
พงศาวดาร ภาคที่ ๑๙ นี ้ต่อไป
จดหมายเหตุที่พิมพ์ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๙ นี ้ ๔ ฉบับ
ด้ วยกันคือ จดหมายเหตุหอสาตราคมฉบับ ๑ จดหมายเหตุของ
เจ้ าพระยาทิพากรวงศ์ เรื่ องพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้ า
เจ้ าอยูห่ วั เสด็จทอดพระเนตรสุริยอุปราคาที่หว้ ากอฉบับ ๑ แปล
จดหมายเหตุของเซอแฮรี ออด เจ้ าเมืองสิงคโปร์ ขึ ้นมาเฝ้า
พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้ าเจ้ าอยูห่ วั ที่หว้ ากอฉบับ ๑ กับ
ประกาศพระราชนิพนธ์เรื่ องสุริยอุปราคาเมื่อปี มะโรงสัมฤทธิศก ซึง่
กล่าวมาข้ างต้ นแล้ วฉบับ ๑ จะอธิบายพอให้ ทราบเค้ าเงื่อนของ
จดหมายเหตุเหล่านันก่ ้ อน
๑) จดหมายเหตุหอสาตราคมนัน้ ประเพณีมีมาแต่โบราณ
กาหนดเปนน่าที่ของนายเสน่ห์ห้ มุ แพรมหาดเล็กคนหนึง่ แลนาย

สุจินดาหุ้มแพรมหาดเล็กคนหนึง่ เปนพนักงานจดหมายเหตุตา่ ง ๆ
อันมีในราชสานักเก็บรักษาไว้ ในหอสาตราคม ประเพณีอนั นี ้ได้
ทราบว่ายังมีอยูใ่ นเมื่อในรัชกาลที่ ๔ จะมีติดต่อมาแต่โบราณฤๅเปน
การเลิกกันไปเสียแล้ วคราวหนึง่ พึง่ มาโปรดให้ กลับมีขึ ้นใหม่เมื่อ
ในรัชกาลที่ ๔ ข้ อนี ้หาทราบไม่ เพราะข้ าพเจ้ าไม่เคยเห็นจดหมาย
เหตุหอสาตราคม ได้ เคยถามข้ าราชการเก่า ๆ ก็ยงั ไม่พบผู้ใดที่
ได้ เคยเห็น จนปี มะแม พ.ศ. ๒๔๖๒ หอพระสมุด ฯ ได้ สมุดดา
เก่า ๆ มาแต่ที่แห่งหนึง่ หลายเล่มด้ วยกัน มีจดหมายเหตุหอสาตราคม
ครัง้ รัชกาลที่ ๔ เมื่อปี มะแม พ.ศ. ๒๔๐๒ กับปี วอก พ.ศ. ๒๔๐๓ อยู่
ในนันตอน
้ ๑ ได้ สืบถามข้ าราชการครัง้ รัชกาลที่ ๔ ซึง่ ยังมีอยูใ่ น
เวลานี ้ ได้ ความว่าพระยามหาอามาตย์ หรุ่น ศรี เพ็ญ เปนนาย
เสน่ห์อยูใ่ นเวลานัน้ แลนายสุจินดานันชื ้ ่อ หรั่ง ภายหลังได้ เปน
จมื่นราชานุบาล เห็นจะอยูใ่ น ๒ คนนี ้ที่เปนผู้จด ข้ าพเจ้ าเข้ าใจว่า
ผู้ที่ไม่เคยเห็นจดหมายเหตุหอสาตราคม เห็นจะมีมากด้ วยกัน จึง
ได้ เอามาพิมพ์ไว้ ให้ เปนประโยชน์ทางความรู้
๒) จดหมายเหตุของเจ้ าพระยาทิพากรวงศ์ เรื่ องสุริยอุปราคา
เมื่อปี มะโร ง พ.ศ. ๒๔๑๑ นัน้ ท่านเรี ยงไว้ แต่ยอ่ ๆ ที่เอามาพิมพ์
ในสมุดเล่มนี ้ เพราะจะให้ ผ้ อู า่ นเข้ าใจความในเบื ้องต้ น ว่าเหตุใด
พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้ าเจ้ าอยูห่ วั จึงได้ เสด็จไปทอดพระ

เนตรสุริ ย อุป ราคาที่ ห ว้ า กอในฤดูฝ น จนเปนเหตุใ ห้ ป ระชวรแล
สวรรคต เพราะผู้ที่เกิดภายหลังฤๅเกิดทันแต่ยงั เปนเด็กอยู่ - เช่น
ตัวข้ าพเจ้ า เคยปรารภกันว่าเพียงแต่จะดูสรุ ิ ยอุปราคา ไยจึงได้ เสด็จ
ลงไปฝ่ าอันตรายแลความลาบากถึงเพียงนัน้ พึง่ มาได้ ฟังคาชี ้แจง
ภายหลังว่าสุริยอุปราคาที่จะเห็นได้ หมดดวง ในประเทศนี ้ไม่เคยมีมา
แต่ก่อน จนถึงในตาราโหรของไทยว่าสุริยอุปราคาไม่มีที่จะหมด
ดวงได้ ครัง้ นันพระบาทสมเด็
้ จ ฯ พระจอมเกล้ าเจ้ าอยูห่ วั ทรงคา
นวณทราบก่อนใคร ๆ ในประเทศนี ้ว่า ในปี มะโรงสุริยอุปราคาจะมี
หมดดวง แลจะเห็นได้ ในเมืองไทยนี ้ ดารัสบอกพวกโหรก็ไม่มี
ใครลงเนื ้อเห็นด้ วย สมเด็จเจ้ าฟ้ากรมพระยาบาราบปรปั กษ์เคย
ตรัสเล่าว่า แม้ พระองค์ทา่ นเองก็ไม่ทรงเชื่อว่าจะเห็นหมดดวง
แต่เกรงพระไทยพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้ าเจ้ าอยู่หวั ก็ต้อง
ยอมจะไปทอดพระเนตรด้ วย ที่เสด็จลงไปทอดพระเนตรที่ตาบล
หว้ ากอในแขวงจังหวัดประจวบคิรีขนั ธ์นั ้ เพราะปรากฎในทางคา
นวณว่าจะเห็นได้ หมดดวงที่ตรงนัน้ ถ้ าอยูใ่ นกรุงเทพ ฯ นี ้หาเห็น
หมดดวงไม่ เล่ากันว่าจนวันมีสรุ ิยอุปราคาโหรที่ลงไปตามเสด็จ
ก็ยงั ไม่เชื่อว่าจะเห็นหมดดวง พอเงากินปิ ดขอบพระอาทิตย์หมด
ดวง พระยาโหราธิบดี เถื่อน เวลานันยั
้ งเปนหลวงโลกทีปร้ อง
“พลุบ” เต็มเสียงน่าพระที่นงั่ ด้ วยความยินดีจนสิ ้นกลัว เพราะความ

เลื่อมใสในวิชาที่ได้ ร่ าเรี ยน พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้ า
เจ้ าอยูห่ วั ได้ ทรงศึกษาชานาญในโหราศาสตร์ จึงมิได้ ทรงเกรง
ความลาบากที่จะทอดพระเนตรสุริยอุปราคาครัง้ นัน้
๓) จดหมายเหตุของเซอแฮรี ออดเจ้ าเมืองสิงคโปร์ นนั ้ เห็น
จะเปนเลขานุการที่มาด้ วย เปนผู้เรี ยบเรี ยงขึ ้นตามคาสัง่ ของเซอแฮรี
ออด หมอบรัดเลได้ สาเนามาพิมพ์ไว้ ในหนังสือบางกอกคาเลนดา
เล่มคฤศตศก ๑๘๗๐ ข้ าพเจ้ าได้ วานหลวงอนุมานราชธน ( ยง เสถียร
โกเศศ ) แปลออกเปนภาษาไทยสาหรับพิมพ์ ในสมุดเล่มนี ้
จดหมายเหตุของเซอแฮรี ออดนี ้ต้ องอ่านด้ วยทรงไว้ ในใจว่า เปนของ
ฝรั่งแต่งตามความคิดแลความเห็นของฝรั่งตังแต่ ้ ต้นจนปลาย อ่าน
โดยกาหนดไว้ ในใจเช่นนี ้จึงจะน่าอ่านดี
๔) ประกาศที่ทรงพระราชนิพนธ์ นนั ้ มีคาเล่ากันมาว่า เมื่อ
พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้ าเจ้ าอยู่หวั เสด็จกลับจากหว้ ากอ
มาถึงพระนคร มีรับสั่งถามผู้ที่ดูสุริยอุปราคาทางกรุ งเทพ ฯ นีว้ ่า
เห็นเปนอย่างไรบ้ าง พากันทูลเลื่อนเปื อ้ นไปต่าง ๆ เปนต้ นว่าพระ
โหรา
ธิบดี ชุม เจ้ ากรมโหร กราบทูลว่า “เหลืออยูส่ กั นิ ้วหนึง่ ” ดังนี ้เปน
ต้ น จึงทรงพระราชนิพนธ์อธิบายถึงสุริยอุปราคาครัง้ นันที้ ่ได้ เห็น
ที่หว้ ากอเปนอย่างไร ให้ ทราบกันตามที่จริง แลมีรับสัง่ ให้ คดั ลอก
บอกกันต่อ ๆ ไป ดังปรากฎอยูใ่ นประกาศนัน้

อนึง่ มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้ าเจ้ าอยู่หวั ทรง
ฉายที่ น่าพลับพลาหว้ ากอเวลาเซอแฮอรี ออดเฝ้าปรากฎอยู่ สมเด็จ
พระบรมวงค์เ ธอ เจ้ าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุวงค์วรเดช ได้
โปรดประทานอนุญาตให้ จาลองมาไว้ ในหอพระสมุด ฯ จึงได้ ให้
ถ่ายพระบรมรูปนันมาพิ้ มพ์ไว้ ในสมุดเล่มนี ้ด้ วย
ข้ าพเจ้ าขออนุโมทนากุศลบุญราษี ทกั ษิ ณานุปทาน ซึ่งนายพัน
โทพระประเทศสวามิภักดิ์ ได้ ปลงศพสนองคุณมารดาด้ วยความ
กตัญํูกตเวที แลได้ พิมพ์หนังสือเรื่ องนี ้ให้ ได้ อ่านกันแพร่ หลาย
หวังใจว่าท่านทังหลายที
้ ่ได้ รับ สมุดหนังสือเรื่ องนี ้ไปอ่านคงจะพอใจ
แลอนุโมทนาด้ วยทัว่ กัน

สภานายก
หอพระสมุดวชิรญาณ
วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๓
จดหมายเหตุหอสาตราคม
ปี วอก พ.ศ. ๒๔๐๓


ฯ ๔ ค่าจุลศักราช ๑๒๒๑ ปี มะแมเอก ศก เสด็จออก
ณ วัน ๑ ๑๒
พระที่นงั่ ดุสิตมหาปราสาท พระราชพิธีตรุษ กรมหมื่นบวรรังษี
ทรงจุดเทียนไชย มีพร้ อมด้ วยเครื่ องดนตรี มีแตรสังข์เปนต้ น แล้ ว
ทรงปฏิบตั ิพระสงฆ์ เวลาบ่ายโมงเศษเสด็จขึ ้น เวลาบ่าย ๔ โมง
เสด็จออกประทับพระที่นงั่ ดุสิตมหาปราสาท ทรงฟั งสวดพุทมนต์
พอเวลาพลบเสด็จขึ ้นพระที่นงั่ สีตลาภิรมย์

วัน ๕ ฯ ๕ ค่า ปี วอกยังเป็ นเอกศก เสด็จออกพระที่นงั่ อมริ นทร
วินิจฉัย ทรงปฏิบตั ิพระสงฆ์ แล้ วสดัปกรณ์พระบรมอัฐิ ถวาย
ไตรจีวรแก่พระสงฆ์ ๒๐ รูป เวลาเช้ า ๕ โมงเสด็จขึ ้น เวลาบ่าย
๕ โมงเสด็จ ออกพระที่ นั่ง ดุสิ ตมหาปราสาท โปรดให้ เลี ย้ งโต๊ ะ พวก
อังกฤษแลข้ าราชการทังปวง ้ ให้ มีลคร เวลา ๕ ทุม่ แล้ วเสด็จขึ ้น

วัน ๒ ฯ ๕ ค่า เสด็จออกพระที่นงั่ อนันตสมาคมเวลา ๘ ทุ่ม
เศษ พระเจ้ าน้ องยาเธอ กรมหมื่นถาวรยศ กราบบังคมทูล
ด้ วยโรคปั จจุบนั มีโดยชุม จึงมีพระบรมราชโองการ ให้ พระเจ้ า
น้ องยาเธอ กรมหมื่นวรจักรจัดแจงกรมหมอมาเตรี ยมไว้ ในพระ
มหาราชวัง เวลา ๑๐ ทุม่ เสด็จขึ ้น


๕ ๙
วัน ๒ ฯ ๕ ค่า ปี วอกยังเปนเอก ศก พระยาศรี เสาราชกราบ
บังคมทูล ด้ วยพระยาปลัดราชบุรีถึงแก่กรรม เวลา ๑๐ ทุม่
เสด็จขึ ้น
๕ ๙
วัน ๒ ฯ ๕ ค่า ปี วอกยังเปนเอก ศก เสด็จออกพระที่นงั่ อนันต-
สมาคมเวลาเช้ า ๓ โมง เวลาเช้ า ๕ โมงเสด็จขึ ้น โปรดให้ มีลคร
สมโภชพระเจ้ าลูกเธอ พระองค์อณุ ากรรณข้ างใน จนเวลาบ่าย
๕ โมงรับสัง่ โปรดให้ เลิก
๙ ๙
วัน ๖ ฯ ๕ ค่า ปี วอกยังเปนเอก ศก เสด็จออกพระที่นงั่ อนันต-
สมาคมเวลา ๘ ทุม่ เศษ พระพรหมบริรักษ์นาเรื่ องความขึ ้นกราบ
บังคมทูล ด้ วยหม่อมเจ้ าวรลักษณตังอ้ ้ ายนักโทษหนีไปจากเรื อนจา
ในระหว่างโทษ หม่อมเจ้ าวรลักษณ์ตงให้ ั ้ เปนนายกองเกลี ้ยกล่อม
คนไว้ เปนอันมากที่พระพุทธบาท ให้ ทรงทราบแล้ ว ไม่ทรงพระ
กรุณาโปรด จึงส่งให้ พระพรหมบริรักษ์จาหม่อมเจ้ าวรลักษณ ให้
รับพระราชอาญาต้ องมาจาไว้ ณทิมสนม แต่อ้ายนักโทษที่เปนนายก
องนัน้ รับสัง่ ให้ สกั หน้ าส่งไปจาไว้ ที่ณคุก บุตรภรรยาอ้ ายนัก -
โทษรับสัง่ ให้ สง่ ไปเปนวิเสศโรงสี อ้ ายอีผ้ มู ีชื่อที่ร้ ูเห็นเปนใจยินดี
ด้ วยอ้ ายนักโทษรับสัง่ ให้ ลงพระราชอาญาจาไว้ ณคุกบ้ าง เปนวิเสศ
โรงสีบ้าง พระพรหมบริรักษ์เปนผู้ต้นรับสัง่
๙ ๙
วัน ๖ ฯ ๕ ค่า ปี วอกยังเปนเอก ศก เสด็จออกพระที่นงั่ อนันต-
สมาคมเวลาบ่าย ๓ โมงเศษ หม่อมราโชไทยนาหนังสืออังกฤษ

มเกาถวายฝากทูลเกล้ าทูลกระหม่อมถวาย เวลาบ่าย ๕ โมง
เย็นเสด็จขึ ้น

วัน ๖ ๒ฯ ๕ ค่า ปี วอกยังเปนเอก ศก เสด็จพระราชดาเนินพระ
ที่นั่ง ทรงธรรมทุ่งท้ องสนามหลวง ทรงปฏิบัติพ ระสงฆ์ฉันเพน แล้ ว
โปรดให้ ส ดัปกรณ์ พระสงฆ์ ๓๐ รู ป แล้ วทรงถวายผ้ านิสี ทนสังเค็ด
๓๐ ผืน เวลาบ่ายโมงเศษเสด็จ พระราชดาเนินกลับพระมหาราชวัง
เวลาบ่าย ๔ โมงเศษ เสด็จพระราชดาเนินประทับพระที่นงั่ พลับพลา
น่าพระเมรุ ทรงโปรยทาน แล้ วทรงพระกรุ ณาโปรดให้ ผ้ หู ญิง
ฝรั่งขี่ม้าราทวนถวายน่าพระที่นงั่ ๒ คู่ ข้ าราชการในพระบวร
ราชวังคูห่ นึง่ เวลายามเศษทรงจุดดอกไม้ แล้ วเสด็จพระราชดาเนิน
กลับยังพระมหาราชวัง

วัน ๖ ๒ฯ ๕ ค่า ปี วอกยังเปนเอก ศก เวลาบ่าย ๔ โมงเศษ
เสด็จพระราชดาเนินพระที่นงั่ พลับพลา น่าโรงโขนทุง่ ท้ องสนามหลวง
ทอดพระเนตรผู้หญิงฝรั่ง แลข้ าราชการในพระบวรราชวังขี่ม้ารา
ทวนถวายน่าพระที่นงั่ พระยาราชวรานุกลู นาเจ้ าอุปราชเมืองน่าน
เฝ้าถวายบังคม ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานเสื ้อครุย ๓ เสื ้อ
ผ้ าลาย ๓ ผ้ า เวลายามเศษเสด็จพระราชดาเนินกลับพระมหาราชวัง

วัน ๖ ๒ฯ ๕ ปี วอกยังเปนเอก ศก เวลาบ่าย๔โมงเศษ อสุนี-
บาตตกถูกพระเจดีย์วดั บวรนิเวศ

วัน ๑ ๑๐
ฯ ๕ ค่า เวลาเช้ า ๓ โมงเศษ เสด็จพระราชดาเนิน
ยังพระอุโบสถวัดพระศรี รัตนศาสดาราม ทรงปฏิบตั พิ ระสงฆ์ ๓๐ รูป
แล้ วทรงถวายเครื่ องไทยทานต่าง ๆ เวลาบ่ายโมงเศษเสด็จพระ
ราชดาเนินมาประทับทอดพระเนตรแรด ที่โรงช้ างน่าประตูวิเศษไชยศรี
แล้ วเสด็จพระราชดาเนินกลับพระมหาราชวัง
๔ ๑๐
วัน ๒ ฯ ๖ ค่า ปี วอกโท ศก เวลาเช้ า ๓ โมงเศษ เสด็จ
พระราชดาเนินประทับพระที่นงั่ พลับพลาทุง่ ท้ องสนามหลวง ทรง
ปฏิบตั พิ ระสงฆ์ ๑๗ รูป แล้ วทรงถวายผ้ าสบงแลธูปเทียน แล้ ว
โปรดให้ มีลครสมโภชนังคัลพิธีแรกนา ทรงทอดพระเนตรอยูจ่ นเวลา ๕
โมงเย็น แล้ วเสด็จพระราชดาเนินกลับยังพระมหาราชวัง
๘ ๑๐
วัน ๖ ฯ ๖ ค่า ปี วอกโท ศก เวลาบ่าย ๓ โมงเศษ เสด็จออก
พระที่นงั่ อนันตสมาคม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ า ฯ ทรงตังหมื ้ ่น
จาเนียรภูษา ข้ าหลวงเดิมเปนขุนราชสมัติ นายเวรกรมพระมาลา
ภูษา ถือศักดินา ๖๐๐ พระราชทานถมปั กล่องจวน ทาราชการ
ฉลองพระเดชพระคุณตามตาแหน่ง
๙ ๑๐
วัน ๗ ฯ ๖ ค่า ปี วอกโท ศก เวลาบ่าย ๓ โมงเศษ เสด็จออก
พระที่นงั่ อนันตสมาคม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ า ฯ พระราชทาน
เงินตรา ๑๐ ตาลึงเปนรางวัลแก่นายพึ่ง ปลัดกรมช่างสลัก เวลา
บ่าย ๔ โมงเศษเสด็จขึ ้น

๙ ๑๐
วัน ๗ ฯ ๖ ค่า ปี วอกโท ศก เวลาบ่าย ๕ โมงเศษ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้ าเจ้ าอยูห่ วั เสด็จออกจากพระมหาราชวัง
เสด็จพระราชดาเนินทางชลมารค ทรงเรื อพระที่นงั่ กลไฟมณี
เมขลาใช้ จกั รไปยังกรุงเก่า พร้ อมด้ วยข้ าราชการฝ่ ายน่าแลฝ่ ายใน
ตามเสด็จ
๗ ๑๐
วัน ๗ ฯ ๑๑ ค่า ปี วอกโท ศก สวดมนต์ในพระที่นงั่ บรมพิมาน
ฉลองพระพุทธรูป ๗ องค์ เวลาเช้ า ๘ ค่าฉัน มีดอกไม้ พมุ่
ดอกไม้ กระถาง
๑๔ ๑๐
วัน ๑๑ ฯ ๑๒ ค่า ปี วอกโท ศก เวลา ๔ ทุม่ กลางคืน เสด็จ
ออกที่ประทับราชวรดิษฐทอดพระเนตรเรื อถวายลาทอดพระกฐิ น เรื อ
ดัง้ ๓ คู่ เรื อชลพิมานไชยใส่ผ้าไตร เรื อบุษบกพิศาลเปนเรื อพระ
ที่นงั่ เรื อวิมานอมริ นทร์ พระที่นงั่ รอง เรื อทินกรส่องศรี เปนเรื อประ-
เทียบ เรื อมณีจกั รพรรดิเปนเรื อประเทียบ เรื อกราบ ๒ ลาใส่อา่ ง
มังกร จุดเทียนใหญ่ทกุ ลาตลอดศีศะจนท้ าย ลอยลงไปสุด
ทุน่ แล้ วกลับขึ ้นมาแล้ วลงไป เรื อผ้ าไตรผู้หญิงพายแล้ วเห่ แล้ ว
ทรงลอยประทีปหลวงจนหมด เสด็จไปทอดพระกฐิ นวัดชิโนรสาราม
แล้ วเสด็จกลับขึ ้น ๗ ทุม่
๑๕ ๑๐
วัน ๒ ฯ ๑๒ ค่าปี วอกโท ศก ทรงธรรมบนพระที่นงั่ อนันต-
สมาคมกัณฑ์ ๑ แล้ วเสด็จออกทางพระที่นงั่ อมรินทรวินิจฉัย ทรง
ลอยประทีปตามเคย

๒ ๑๐
วัน ฯ ๒ ค่า ปี วอกโท ศก มีลครให้ แขกเมืองดู

วัน ๔ ฯ ค่า ไฟไหม้ วดั ราชบุรณ กุฎิขรัวหมอหลัง ๑ เสด็จ
ทรงม้ าพระที่นงั่ กับข้ าราชการตามเสด็จเปนอันมาก เสด็จกลับมา
พระราชทานเงินตราคนละ ๑ บาท สิ ้นเงิน ๕๐๐ บาท ทัว่ กันทุกคน

ณ วัน ๓ ฯ ๓ ค่า เวลาบ่าย ๔ โมงเศษ เสด็จพระราชดาเนิน
ทรงม้ าพระที่นงั่ ทอดพระเนตรเมรุ ที่วดั บวรนิ เวศ เวลาพลบค่าเสด็จ
กลับมาถึงพระบรมมหาราชวังแล้ วเสด็จขึ ้น
๑๐
ณ วัน ๒ ฯ ๓ ค่า ฝรั่งเมืองเดนมาร์ กเข้ าเฝ้า ขุนนาง
ข้ าราชการใส่เสื ้อต่าง ๆ เฝ้า
๑๑
ณ วัน ๓ ฯ ๓ ค่า เวลาบ่าย ๔ โมง เสด็จออกพระที่นงั่
อนันตสมาคม ขุนนางข้ าราชการเฝ้าตามตาแหน่ง เวลา ๕ โมง
เสด็จพระราชดาเนินไปประทับอยู่น่าเกยพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ มี
ราชการถวายฎีกาเรื่ อง ๑ พระราชทานให้ เจ้ าพระยาธรรมาธิกรณ์
ตัดสิน แล้ วเสด็จขึ ้น
ณ วัน ๓ ๓ฯ ๓ ค่า เวลาบ่าย ๓ โมง ออกขุนนางณพระที่นงั่
อนันตสมาคม ทรงตังขุ ้ นนาง นายใบ นายท้ าย นายร่องน ้า
๓ คน พระราชทานเสื ้อผ้ าเงินเบี ้ยหวัด แล้ วเสด็จพระราชดาเนิน
ทรงม้ าพระที่นงั่ แล้ วเสด็จกลับมารับฎีกา เวลาพลบเสด็จขึ ้น
ณ วัน ๓ ๑๐ ฯ ๓ ค่า เวลาบ่ายโมง ๑ เสด็จออกพระที่นงั่ อนันต-
สมาคม เจ้ าลาวเข้ าเฝ้า แล้ วผู้หญิงฝรั่งเข้ าเฝ้า แล้ วเสด็จกลับ

พาเข้ า ไปข้ างใน เวลา ๑๐ ทุ่ม ทรงพระราชสาส์ นตอบไปเมื อ ง
อเมริกายังหาจบไม่
ณ วั น ๓ ๗ฯ ๔ ค่ า เสด็ จ ออกพ ระที่ นั่ ง อนั น ตสมาคม
ทอดพระเนตรเครื่ องราชบรรณาการที่จะส่งไปเมืองฝรั่งเศส แล้ ว
สมเด็จเจ้ าฟ้ามหาลากราบบังคมทูลว่าช้ างเผือกล้ ม
ณ วัน ๑ ๗ฯ ๔ ค่า ที่กรุงเทพ ฯ ในพระมหาราชวังปื นใหญ่ลนั่
เวลา ๕ โมงเศษ เสด็จขึ ้น
ฯ ๔ ค่า เวลาเช้ าโมง ๑ เสด็จพระราชดาเนินม้ า
ณ วัน ๑ ๑๔
พระที่นงั่ ไปโสกันต์พระวรวงศ์เธอ ๔ องค์ ในพระบวรราชวัง ประทับ
พระที่ นั่ง พุท ไธสวรรย์ แล้ ว เสด็ จ กลับ มาประทับ พระที่ นั่ง ดุสิ ต มหา
ปราสาท โสกันต์หม่อมเจ้ า ๗ องค์ เสด็จขึ ้น
ณ วัน ๒ ๑๕ฯ ๔ ค่า เวลาพลบ กงซุลฝรั่งเศสมาเฝ้าที่เก๋ง
เทพยสถาน
๑ ๑๐
ณ วัน ๓ ฯ ๕ ค่า ปี ระกายังเปนโท ศก เวลาเช้ าเสด็จออก
พระที่ นั่ง อมริ น ทรวิ นิ จ ฉั ย ปฏิ บัติ พ ระสงฆ์ แ ล้ วถวายไทยทาน
พระราชาคณะถานารวม ๒๗ รูป แล้ วสดัปกรณ์ ๑๐๐ แล้ วเสด็จไป
ประทับที่เก๋งราชานุราชอาศน์ แล้ วเสด็จกลับทางประตูสนามราช
กิจ เข้ าข้ างใน เวลาค่าเสด็จ ออกพระที่ นั่ง ดุสิตมหาปราสาท
พระราชทานเครื่ องเลีย้ งโต๊ ะกงซุลทุกประเทศตามบรรดาเข้ ามาอยู่ใน
กรุงเทพ ฯ มีลครข้ างในเรื่ องรามเกียรดิ ๒ ยามเศษเสด็จขึ ้น

เสด็จออกพระที่นงั่ อนันตสมาคม ทรงพระราชนิพนธ์พระราชสาส์น
จนเวลา ๙ ทุม่ เศษเสด็จขึ ้น
๒ ๑๐
ณ วัน ๔ ฯ ๕ ค่า ปี ระกายังเปนโท ศก อยู่ เลี ้ยงทูตฝรั่งเศส
เวลาเย็น เวลาทุม่ เสด็จวัดพระศรี รัตนศาสดาราม สวดพิธีถือน ้า
เวลา ๑๐ ทุม่ ไฟไหม้ สาเพ็งตรอกอาแดงแฟง
๒ ๑๐
ณ วัน ๔ ฯ ๕ ค่า ปี ระกายังเปนโท ศก ผู้วา่ การแทนกงซุล
ชื่อไวสเกานลีโดอิกแซกดิลนออิศเกาว์ ได้ พากัปตันชื่อโตยอน เรื อ
รบกลไฟของสมเด็จพระเจ้ ากรุงฝรั่งเศสยิโรนเด กับขุนนางอื่นใน
เรื อรบนัน้ ๕ นาย กับบาดหลวงลุยอิศเปนล่ามเข้ ามาเฝ้าทูลลออง
ธุลีพระบาท แล้ วจะได้ รับทูตานุฑตู ออกไปจนกรุงปารี ส เข้ าเฝ้า
ณ พระที่นงั่ อนันตสมาคม
๔ ๑๐
ณ วัน ๖ ฯ ๕ค่า ปี ระกายังเปนโท ศก เวลาเช้ าโมง ๔ โมง เสด็จ
ออกพระที่นงั่ สุทไธสวรรย์ ปฏิบตั พิ ระสงฆ์พระราชพิธีคเชนทรัศว-
สนาน พอพระฉันแล้ ว พวกทูตานุทตู เข้ าเฝ้าทูลลา แล้ วพระราช-
ทานเครื่ องยศตามถานาศักดิ์ผ้ ใู หญ่ผ้ นู ้ อยเปนอันมาก แล้ วเสด็จ
ขึ ้นบ่าย ๒ โมง เวลาเย็นแห่ตามเคย แล้ วมีพระบรมราชโองการ
สัง่ ให้ กรมม้ าผูกเครื่ องม้ าอย่างฝรั่งเศส แลเครื่ องอื่น ๆ เปนหลาย
เครื่ อง กรมม้ าก็ไม่ผกู ตามรับสัง่ ให้ กรมถาวรวรยศทอดพระเนตร
สัง่ ตารวจลงพระราชอาญาคนละ ๑๐ ที


รุ่งขึ ้น ณ วัน ๗ ฯ ๕ ค่า มีพระบรมราชโองการให้ ตงกระบวนั้
แห่ หมายเวลา ๓ โมง เสด็จออกพระที่นงั่ อนันตสมาคม ทรงพระราช
สาส์นที่จะไปฝรั่งเศส แล้ วเสด็จพระที่นงั่ สุทไธสวรรย์
ทอดพระเนตรกระบวนแห่ แล้ วโปรยทาน แล้ วเอาช้ างมาพาน
เวลาพลบเสด็จขึ ้น เวลาค่า ๕ ทุม่ เศษเสด็จออกพระที่นงั่ เย็นทรงเครื่ อง
ใหญ่ แล้ วทรงพระราชนิพนธ์ พระราชสาส์นที่จะไปถึงสังโตปาปามิ
คาบริ - สุทธ เวลา ๗ ทุม่ เสด็จขึ ้น
๑๓
วัน ๓ ๙ฯ ๑ ค่า ปี กุญเบญจ ศก เวลาบ่าย ๓ โมงเศษ เสด็จ
ออกณพระที่นงั่ อนันตสมาคม หลวงศักดิเ์ สนีอา่ นบอกถวายเรื่ อง
นายสังสมุทมุนี มีพระบรมราชโองการดารัสเหนือเกล้ า ฯ สัง่ ให้ มี
ท้ องตราขึ ้นไปถอดหลวงนายสิทธิ จมื่นรัตนโกษา แล้ วให้ เอาตัว
หลวงสิทธิ จมื่นรัตนโกษากับนายสุดใจมหาดเล็กลงมา ณ กรุง -
เทพ ฯ ครัน้ เวลา ๒ ทุม่ เศษ เสด็จออกณพระที่นงั่ อนันตสมาคม
มีพระบรมราชโองการโปรดให้ พระยาอภัยรณฤทธิ์ ขึ ้นไปเปน
ตระลาการชาระหลวงนายสิทธิ กับจมื่นรัตนโกษา นายสุดใจ
มหาดเล็ก ที่กรุงเก่า แล้ วทรงแต่งหมายประกาศทองเหรี ยญ
ทองแป ครัน้ เวลา ๘ ทุม่ เศษเสด็จขึ ้น
๑๓
ฯ ๑๐ ค่า ปี กุญเบญจ ศก เวลาบ่าย ๕ โมงเศษเสด็จ
ณ วัน ๔ ๑๐
โดยทางชลมารคไปพระราชทานเพลิงศพพระยามหานุภาพ ณ วัด
อรุณ ฯ เวลาพลบค่าก็เสด็จกลับ

๑๐
๑๓
วัน ๔ ๑๑
ฯ ๙ ค่า ปี กุญเบญ ศก ฉลองเรื อพระที่นงั่ พระบรม
ราชวรฤทธิ มีพระสวดพระพุทธมนต์ ๑๐ รู ป เวลาทุ่มเศษสวดพระ
พุทธมนต์จบแล้ ว มีลครชันเล็ ้ กเรื่ องอิเหนาบนพระที่นงั่ ราชกิจวินิจฉัย
ท่าราชวรดิษฐ พร้ อมด้ วยพระราชวงศานุวงศ์ข้าทูลลอองธุลีพระ
บาทผู้ใหญ่ผ้ นู ้ อยฝ่ ายน่าฝ่ ายใน มีแ ขกเมืองลาวเจ้ าเมืองน่านเฝ้า
ทูล ลอองธุ ลี พ ระบาท พระราชทานเลี ย้ งสุร าเครื่ อ งบริ โ ภคต่า ง ๆ
ตลอดไปจนเพน
ครัน้ รุ่ งขึ ้นวัน ๕ ๑๒ฯ ๙ ค่า ทรงประเคนเลี ้ยงโต๊ ะพระสงฆ์
๑๐ รูปแล้ ว ทรงถวายไทยทานต่าง ๆ พระฉันแล้ วมีลครเล่นเรื่ อง
อิเหนา สมโภชเรื อพระที่นงั่
๓ ๑๓
วัน ๓ ฯ ๑๐ ค่า ปี กุญเบญจ ศก เวลาบ่าย ๓ โมง เสด็จออก
พระที่นั่งอนันตสมาคม พระยาราชวรนุกูลเอาชามศิลาเล็ก ๆ
น้ อ ย ๆ หลายส ารั บ เข้ า มาถวาย เวลาเย็ น เสด็จ พระราชด าเนิ น ไป
ทอดพระเนตรช้ างที่เจ็บ เสด็จประทับที่โรงช้ าง แล้ วเสด็จกลับ
ออกไปห้ างฝรั่ง แล้ วเสด็จกลับรับฎีกา แล้ วเสด็จขึ ้นข้ างใน

วัน ๔ ฯ ๑๐ ค่า เวลาเช้ ามีพระบรมราชโองการให้ เจ้ าพนัก-
งานพระคลังมหาสมบัตแิ จกเบี ้ยหวัดแก่ข้าราชการ
๑๐ ๑๓
วัน ๓ ฯ ๑๐ ค่า ปี กุญเบญจ ศก เวลาบ่าย ๒ โมงเศษ เสด็จ
ออก ณ พระที่นงั่ อนันตสมาคม พร้ อมด้ วยข้ าราชการเจ้ าต่างกรมหา
กรมมิได้ แล้ วมีพระบรมราชโองการให้ เจ้ าพนักงานแจกเบี ้ยหวัด
๑๑
๑๓
วัน ๒ ๑ฯ ๑๐ ค่า ปี กุญเบญจ ศก เวลาบ่าย ๔ โมงเศษ เสด็จ
ออกพระที่นงั่ อนันตสมาคม ประโคม ข้ าทูลลอองธุลีพระบาทพร้ อม
จี น เอาผ้ า ม่ว งดอกมาถวาย พระเจ้ า ลูก เธอชิ ง กัน กริ ว้ สั่ง ให้ เ ขี ย น
ประกาศ ฝรั่งห้ างเอาสิ่งของที่ทรงสัง่ เปนเงินบ้ างกาไหล่บ้างมา
ถวายทอดพระเนตร แล้ วรับสัง่ ให้ พนักงานคลังคิดราคาให้ แล้ ว
รับสัง่ ให้ หากรมหมื่นวรจักรด้ วยพระบังคน
๑๓
วัน ๔ ๓ฯ ๑๐ ค่า ปี กุญเบญจ ศก เวลา ๕ โมงเศษ เสด็จออก
พระที่นงั่ อนันตสมาคม ทาขวัญนาคองค์ศรี สวัสดิ์เจ้ าเขมรที่พระที่
นัง่ อนันตสมาคม เวลากลางคืนปื นใหญ่กระสุน ๓ นิ ้วมาถึงด้ วย
๑๓
วัน ๒ ๘ฯ ๑๐ ค่า ปี กุญเบญจ ศก เสด็จออกพระที่นงั่ อนันต-
สมาคม เวลาบ่าย ๓ โมงเศษแล้ วเสด็จไปตึกที่ฝรั่งเช่า กลับเย็น
กริว้ มาลาภูษา
๑๓
ฯ ๑๐ ค่า ปี กุญเบญจ ศก เวลาบ่าย ๕ โมง เสด็จพระราช
วัน ๔ ๑๐
ด าเนิ น พระราชทานเพลิ ง ที่ ศ พพระยามหานุภ าพ กริ ว้ พวกทิ ง้ ลูก
กัลปพฤกษ์ ยงั ไม่มีพระบรมราชโองการให้ ทิ ้งไปทิ ้งเสียก่อน รับสัง่
ให้ ลงพระราชอาญาคนละ ๒๐ ที เวลาทุม่ เศษ เสด็จกลับพระราชวัง
ฯ ๑๐ ค่า มีพระบรมราชโองการให้ เจ้ า
ครัน้ รุ่ งขึ ้น ณ วัน ๕ ๑๑
พนักงานจัดการเปนของหลวงอิกวันหนึง่ เกณฑ์เจ้ าพนักงานให้
ครบทุกพนักงานเบนการกวดขันเเขงเเรง เวลาบ่าย ๓ โมงเศษ
เสด็จพระราชดาเนินทางชลมารคอิกเวลาหนึง่ มีของเครื่ องไทยทาน
๑๒
ต่าง ๆ เปนของหลวง มีลูกกัลปพฤกษ์ เปนต้ น ครัน้ เวลา ๔ โมง
เศษเสด็จ กลับประทับสวนนันทอุทยาน แล้ วเวลาเย็นเสด็จกลับพระ
มหาราชวัง
ฯ ๑๐ ค่า เวลาเช้ า ทรงปฏิบตั พิ ระในพระ
ครัน้ รุ่งขึ ้นวัน ๖ ๑๒
ที่นงั่ ไพศาลทักษิณ พิธีพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้ านภาไลย
๑๓
จดหมายเหตุเสด็จหว้ ากอ
ปี มะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้ าเจ้ าอยูห่ วั ได้ ทรงคานวณไว้


๑๘
แต่เมื่อปี ขาลอัฐศกว่า ในปี มะโรงสัมฤทธิ ศก จุลศักราช ๑๒๓๐
จะมีสรุ ิยปุ ราคาจับหมดดวงเมื่อเดือน ๑๐ ขึ ้นค่า ๑ ซึง่ ยากนักที่จะได้
เห็นในพระราชอาณาจักร ด้ วยวิธีโหราสาตรได้ ทรงสะสมมานาน
ตามสารัมภ์ไทยสารัมภ์มอญ แต่ตาราอเมริ กนั ฉบับเก่าแลตารา
อังฤกษเปนหลายฉบับ ได้ ทรงคานวณสอบสวนต้ องกัน ได้ ทรง
๑๑ ๐ ๔๑
กะการตามในแผนที่วา่ จะมีเปนแน่ ทวีปขิยอุดร องสา  ลิดา
๔๐ ๕๐
พิลพิ เปนตวันตกกรุงเทพพระมหานครเพียง ลิดา เวลา กับใน
กรุงเทพพระมหานครเพียง ๓ นาทีกบั ๒๐ วินาที ได้ ทรง
พิจารณาเลอียดถ้ วนถี่แล้ ว ว่าพระอาทิตย์จะจับหมดดวง แลจะ
เห็นบนน่าแผ่นดินไปไกลถึง ๑๓๐ ลิดา ต่อ ลิดา
๑๔๐
ที่ตาบลหว้ ากอแขวง
เมืองประ
จวบคิรีขนั ธ์ ตรงเกาะจานเข้ าไปเปนท่ามกลางที่มืดหมดดวง
ขึ ้นมาข้ างบนถึงเมืองปราณบุรี ลงไปข้ างใต้ ถึงเมืองชุมพร ได้
ทราบการเปนแน่ดงั นี ้แล้ ว จึงมีพระบรมราชโองการดารัสสัง่
เจ้ าพระยาศรี สรุ ิ ยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหม ให้ จดั การจ้ างคนใน
หัวเมืองเพ็ชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคิรีขนั ธ์ เมือง
๑๔
กาเนิดนพคุณ เมืองประทิว แลนายงานหลายนาย ให้ จดั การทา
ค่ายหลวงแลพลับพลาที่ประทับแรมที่ตาบลหว้ ากอ ตรงเกาะจาน
เข้ าไปใต้ คลองวาฬลงไปทาง ๒๔ เส้ น แล้ วโปรดให้ แต่งคาประ-
กาศตีพิมพ์แจกให้ ทราบทัว่ กัน.
ในครัง้ นี ้พวกนักปราชญ์ฝรั่งเศสได้ ทราบว่าสุริยปุ ราคาจะมีใน
พระราชอาณาจักรแผ่นดินสยาม มีหนังสือมาถึงกงสุลฝรั่งเศส
ที่อยูใ่ นพระนครนี ้ให้ กราบทูลขอพระราชทานอนุญาต ที่จะเข้ ามาดู
สุริยปุ ราคาก็โปรดพระราชทานตามประสงค์ พวกฝรั่งเศสมา
เที่ยวค้ นหาที่จะดูเปนหลายตาบล ค้ นลงไปถึงเมืองชุมพรก็ไม่ได้
ตาบลซึง่ จะชี ้ให้ ตรงที่กึ่งทางกลางพระอาทิตย์ ครัน้ เมื่อท่านสมุ
หพระกลาโหมกะการให้ ตงที ั ้ ่คา่ ยหลวงที่ตาบลหว้ ากอ ตรงเกาะจาน
เข้ าไป พวกนักปราชญ์ฝรั่งเศสจึงมาขอตังโรงที ้ ่จะดูนนแห่ ั้ ง ๑
ต่าลงไปข้ างใต้ พลับพลาที่คา่ ยหลวงทาง ๑๘ เส้ น ตังเครื ้ ่ องกล้ อง
ใหญ่น้อยหลายอย่าง ประมาณ ๕๐ คันเศษ.
ครัน้ ณ วันศุกร เดือน ๙ แรม ๔ ค่า เวลาเช้ า ๔ โมง ๕๐ นาที
เสด็จพระราชดาเนินโดยเรื อพระที่นงั่ อรรคราชวรเดช ออกจากท่า
นิเวศวรดีษฐ ใช้ จกั รไปถึงเมืองสมุทรปราการเวลาเที่ยงแล้ ว ๑๕
นาที ทอดสมออยู่ ๓ ชัว่ โมงเศษ เวลาบ่าย ๔ โมง ๑๕ นาทีใช้
จักรออกจากที่ทอดสมอแล้ วข้ ามสันดอนตกน ้าลึก ๓ วา เย็น ๕ โมง
๔๓ นาทีแล้ ว ยิงสุลตรับ ๓ นัด เรื อสยามมูปสดัมภ์ก็ยิงรับ ๑๒ นัด
จนถึงเวลา ๖ โมง ๑๒ นาที.
๑๕
รุ่ งขึ ้นวันเสาร์ เดือน ๙ แรม ๕ ค่า เวลาย่ารุ่ งแล้ วถึงเขา
สามร้ อยยอด ใช้ จกั รไปเวลา ๔ โมงเช้ าถึงเกาะหลัก เวลาเที่ยง
ถึงที่ทอดสมอน่าค่ายหลวงตาบลหว้ ากอ ที่ตรงนัน้ นา้ ลึก ๘ ศอก
อยู่ใต้ คลองวาฬเหนือเกาะจาน แต่อากาศมืดคลุ้ม มีแต่เมฆ
คลุมไปทุกทิศทุกแห่งไม่เ ห็นแดดแลเดือนดาวเลย พระอาทิตย์
พระจันทร์ เห็นบ้ างราง ๆ บาทนาฬิกาหนึ่งบ้ างกึ่งบาทบ้ าง แลที่ ทอด
เรื อน่าค่ายหลวง ที่ตรงตาบลหว้ ากอนัน้ คลื่นใหญ่ เรื อโคลงอยู่
เสมอ เรื อพระที่นงั่ ทอดสมออยู่ที่น่าค่ายหลวงประมาณ ๖ ชั่วโมง
ครัน้ เวลาย่าค่ามีพระบรมราชโองการดารั สสั่งให้ ถอยเรื อ พระที่นั่ง
กลับไปทอดประทับแรมอยู่ที่อ่าวมะนาว อันเปนที่ ลับบังลมไม่มี
คลื่ น ใหญ่ เหนื อ ที่ พ ลับ พลาไปทางประมาณ ๒๐๐ เส้ น เศษ ทอด
ประทับแรมอยู่ ๒ วัน.
ณ วันจันทร์ เดือน ๙ แรม ๗ ค่าเวลาเย็น เสด็จพระราชดา-
เนิ น ขึ น้ จากเรื อพระที่ นั่ ง อรรคราชวรเดชขึ น้ ฝั่ งทรงม้ าพระที่ นั่ ง
ตังแต่
้ อ่าวมะนาวลงไปถึงพลับพลาค่ายหลวง ตาบลหว้ ากอเวลาย่า
ค่าเรื อพระที่นงั่ ก็ถอยลงไปทอดอยูท่ ี่นา่ ค่ายหลวงห่างฝั่ งประมาณ ๒๐
เส้ นเศษ เรื ออัคเรศรัตนศน์ เรื อสยามมูปสดัมภ์ แลเรื ออื่น ๆ
ก็ทอดล้ อมวงอยูช่ นนอกพร้ ั้ อมกัน.
รุ่งขึ ้น ณ วันอังคาร เดือน ๙ แรม ๘ ค่า เวลาเช้ า ๓ โมงเศษ
ได้ พระฤกษ์ยกเสาธงแลฉัตร ชักธงพระจอมเกล้ าขึ ้นที่พลับพลา
๑๖
ค่ายหลวง รั บสั่ง ให้ ประโคม แล้ วทรงจุดปื นใหญ่ด้วยพระหัดถ์
สลุตธงสลับกันกับทหารปื นใหญ่ฝ่ายละนัดครบ ๒๑ นัดทัง้ ๒ ข้ าง
ปื นเรื อสยามมูปสดัมภ์ได้ ยิงอิก ๒๑ นัด รวมเปน ๖๓ นัด เวลา
บ่าย ๑ โมง พวกนักปราชญ์ ฝรั่งเศสมาเฝ้าที่พลับพลา ๘ นาย
พระราชทานทองคาบางสพานทุกนาย.
รุ่งขึ ้น ณ วันพุฒ เดือน ๙ แรม ๙ ค่า เวลาย่าค่า พวกออฟิ -
เซอร์ ในเรื อรบ ๑๒ นายขึ ้นมาเฝ้าที่พลับพลา พระราชทานทองคา
บางสพานทุกนาย.
ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๙ ค่า เวลาเช้ ากัปตันนาย
เรื อรบฝรั่ ง เศสขอเชิ ญ สมเด็จ พระเจ้ าลูกยาเธอ เจ้ าฟ้าจุฬ าลงกรณ์
กรมขุนพินิตประชานารถให้ เสด็จลงไปเที่ยวในเรื อรบ โปรดเกล้ า ฯ
ให้ พณหัวเจ้ าท่านเจ้ าพระยาศรี สุริยวงศ์ลงไปด้ วย กัปตันจัดการ
รับเสด็จเหมือนอย่างรับกระษัตริ ย์ในประเทศยุโรป มีทหารทอดกรี บ
แลยืนเพลา แล้ วยิงปื นใหญ่รับ ๒๑ นัด ทหารประจุปืนปั ศตันลุก
ขึ ้นลากกระชากเอาแขนขาดตายคน ๑ ครัน้ เวลาค่อนเที่ยงทรง
วัดแดดสอบแผนที่ที่ตงค่ ั ้ ายหลวง ครั น้ เวลาบ่าย ๕ โมงเศษ
เสด็จพระราชดาเนินไปที่ โรงนักปราชญ์ ฝรั่งเศสมาตังอยู ้ ่ เวลา
จวนค่าเสด็จกลับ.
ณ วันศุกร เดือน ๙ แรม ๑๑ ค่า เวลาเช้ า ๓ โมงเศษ
๑๗
มิศเตอร์ อาลบาสเตอร์ ผู้ว่าราชการแทนกงสุลอังกฤษขึ ้นไปเฝ้า
ที่พลับพลา โปรดให้ ยิงปื นรับ ๗ นัด.
ณ วันเสาร์ เดือน ๙ แรม ๑๒ ค่า เวลาเช้ า ๓ โมง เรื อ
เจ้ าพระยามาถึงที่ค่ายหลวง ได้ ทรงรับหนังสือข่าวต่าง ๆ หลาย
ฉบับ กับของที่สั่ง ไปจัดซือ้ มาแต่เมืองลอนดอนสาหรับแจกในการ
พระราชพิธีโสกันต์อิกมาก๑.
ณ วันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๓ ค่า เซอร์ แฮรี ออด เจ้ า
เมืองสิงคโปร์ มาด้ วยเรื อกลไฟ ๓ ลา ถึงหว้ ากอเวลา ๓ โมงเช้ า
โปรดให้ หลวงพิเศษพจนการ ๒ เปนข้ าหลวงไปเยี่ยมเยียน.
ครั น้ ณ วันจันทร์ เดือน ๙ แรม ๑๔ ค่า เจ้ าเมืองสิงคโปร์
ขึ ้นมาเฝ้าที่พลับพลาค่ายหลวง โปรดให้ ยิงปื นสลุตรับ ๑๑ นัด ให้
พระราชทานทองคาบางสพาน ตังแต่ ้ เจ้ าเมืองสิงคโปร์ แลพวกออฟิ
เซอร์ ที่ขึ ้นมาเฝ้าทุกคน แล้ วให้ ไปอยูท่ ี่เรื อนพัก ซึง่ ทาไว้ รับเขา.
รุ่ งขึ ้น ณ วันอังคาร เดือน ๑๐ ขึ ้นค่า ๑ เวลา ๒ โมงเช้ า
เจ้ าพนั ก งานเตรี ย มกล้ องใหญ่ น้ อย เครื่ อ งทรงทอดพระเนตร
สุริยปุ ราคา เวลาเช้ า ๔ โมง ๓ นาที เสด็จออกทรงกล้ อง แต่ท้องฟ้า
เปนเมฆฝนคลุมไปในด้ านตวันออกไม่เห็นอะไรเลย ต่อเวลา ๔ โมง
๑๖ นาที เมฆจึงจางสว่างออกไปเห็นดวงพระอาทิตย์ไร ๆ แลดู
๑ คือ เตรียมการโสกันต์สมเด็จเจ้ าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์.
๒ ชื่อหวาด บุนนาค ในรัชกาลที่ ๕ ได้ เปนพระยาอรรคราชนารถภักดี.


๑๘
พอรู้วา่ จับแล้ ว จึงประโคมเสด็จสรงมุรธาภิเศก ครัน้ เวลา ๕ โมง
๒๐ นาที แสงแดดอ่อนลงมา ท้ องฟ้าตรงดวงพระอาทิตย์สว่างไม่
มีเมฆเลย ที่อื่นแลเห็นดาวใหญ่ด้านตวันตก แลดาวอื่น ๆ มาก
หลายดวง เวลา ๕ โมง ๓๖ นาที ๒๐ วินาที จับสิ ้นดวง เวลานัน้
มืดเปนเหมือนกลางคืนเวลาพลบค่า คนที่นงั่ ใกล้ ๆ ก็แลดูไม่
รู้จกั หน้ ากัน พระราชทานเงินแจกพระราชวงศานุวงศ์ แล
ข้ าราชการผู้ใหญ่ผ้ นู ้ อย ซึ่งตามเสด็จพระราชดาเนินออกไปทัว่ กัน .
รุ่งขึ ้น ณ วันพุฒ เดือน ๑๐ ขึ ้น ๒ ค่า เวลาเช้ า ๓ โมงเศษ
เจ้ าเมืองสิงคโปร์ ขอถ่ายพระรูป แล้ วโปรดให้ มีลครข้ างในให้ พวก
อังกฤษแลฝรั่งเศสดู ให้ พาภรรยาเจ้ าเมืองสิงคโปร์ เข้ าไปข้ างใน
ได้ พระราชทานทองแลก๊ าศพระเจ้ าลูกเธอฝ่ ายในทุกพระองค์ เวลา
บ่าย ๓ โมง ๑๕ นาที เสด็จลงเรื อพระที่นงั่ อรรคราชวรเดช พวก
ทหารปื นใหญ่ยิงสลุตส่งเสด็จ ๒๑ นัด ทหารที่ยิงปื นปั ศตันลุกขึ ้น
ลากพุง่ ออกมากระชากเอาแขนขาดไปข้ างหนึง่ ตายในที่นนั ้ เรื อ
พระที่นงั่ ออกจากที่ทอดน่าค่ายหลวง ใช้ จกั รมากรุงเทพมหานคร.
๑๙
เรื่ อง เซอร์ แฮรี ออด เจ้ าเมืองสิงคโปร์
ไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้ าแผ่ นดินสยามในรั ชกาลก่ อน
ที่ตาบลหัววาน
เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๘๖๘ ( ปี มะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ )

สมเด็จพระเจ้ าแผ่นดินสยาม ( คือ พระบาทสมเด็จพระจอม


เกล้ าเจ้ าอยู่หวั ) พระองค์นี ้คนทังหลายย่
้ อมทราบกันดีว่าพระองค์
ทรงเชี่ยวชาญในวิทยาศาสตร์ ทรงใฝ่ พระราชหฤทัยอย่างยิ่งใน
เรื่ องสูริยปุ ราคาอันได้ ทรงคานวณไว้ ว่าจะปรากฎขึ ้นในวันที่ ๑๘ สิง-
หาคม และโดยที่เส้ นสูนย์ของอุปราคาจะผ่านมาใกล้ ที่สุดณะตา-
บลหัววาน เปนหมูบ่ ้ านอยูใ่ นพระราชอาณาเขตรสยาม ทางฝั่ งทเล
ตวันออกของแหลมมลายู ตรงเส้ นวิตถันดร ( แลตติดจูต ) ๑๑ องศา
๓๘ ลิปดาทิศเหนือ และเส้ นทีรฆันดร ( ลองติดจูต ) ๙๙ องศา ๓๙
ลิ ป ดาทิ ศ ตวั น ออก อยู่ เ กื อ บชิ ด เชิ ง เขาหลวงสู ง ๔๒๓๖ ฟิ ต
อัน เปนที่ บ นพื น้ โลกซึ่ ง อุ ป ราคาจะปรากฎหมดดวงนานที่ สุ ด ด้ ว ย
พระองค์ตงพระราชหฤทั
ั้ ยจะเสด็จพระราชดาเนินไปยังที่นนั ้ และทรง
เลือกสรรสถานที่ประทับในที่ใกล้ แ ถบนันเพื ้ ่อทอดพระเนตรสิ่งอันจะ ได้
ปรากฎขึ ้นในโลกนี ้ จึงเสด็จพร้ อมด้ วยพระบรมวงศานุวงศ์ข้า
ทูลลอองธุลีพระบาทมุขมาตยมนตรี โดยเสด็จ เปนพระราชบริพาร
๒๐
เสด็จ พระราชดาเนินยัง หัววานในต้ นเดือนสิง หาคม ทรงพระกรุ ณ า
โปรดเกล้ า ฯ ให้ ตงที ั ้ ่ประทับ ( ค่ายหลวง ) ที่ริมฝั่ งทเลลงไปทาง
ทิศใต้ ๒-๓ ไมล์ ตรงเส้ นสูนย์แห่งวิถีดวงอาทิตย์ และทรง
พระกรุณาโปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ รัฐบาลฝรั่งเศส
ส่งพวกตรวจการวิทยาศาสตร์ อนั ได้ จดั ส่งมาจากกรุงปารี ศ มาเฝ้า
ยังที่นนั ้ เพื่อดูอุปราคาให้ ใกล้ ที่สุดและซึ่งอุปราคาจะจับอยู่นาน
ที่สดุ ด้ วย.
สมเด็จพระเจ้ าแผ่นดินสยามยังทรงพระกรุ ณาเอื ้อเฟื อ้ แนะนา
นายอัลบาสเตอร์ ผู้รัง้ ตาแหน่งกงสุลของพระนางเจ้ ากรุงเครต
บริเตนประจากรุงสยามว่า บางทีทา่ นเซอร์ แฮรี ออดผู้วา่ ราชการ
สเตรต์สเสต็ลเมน์ต จะรู้ สึกเต็มใจถื อเอาโอกาศที่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้ าอยู่หวั เสด็จประทับอยู่ในรวางที่ไม่ส้ ูห่างไกลจากเมืองสิงคโปร์
นัก มาเฝ้าที่ตาบลหัววานจะได้ ดอู ุปราคาได้ เหมาะที่สุด และกระทา
ความคุ้นเคยกับพระบาทสมเด็จพระเจ้ าอยู่หวั และพระบรมวงศานุวงศ์
ข้ าราชการด้ วย แลยังทรงพระกรุณามีพระราชดารัสเพิ่มเติมว่า
มีพระราชประสงค์ใคร่ ทรงพบปะเซอร์ แฮรี ออด แลจะทรงต้ อนรับ
เพื่อให้ ได้ รับความศุขสมแก่เกียรติยศทุกอย่าง ก็ในขณะนัน้
มีเรื่ องที่เซอร์ แฮรี ออดจะต้ องไปพบกับรายาเมืองปาหัง แลเมื องตรัง
กานูทางฝ่ ายตวันออกแหลมมลายูอยู่ด้วย ครัน้ ทราบว่าถ้ ายืด
ระยะทางของตนยาวออกไปอิกหน่อยก็สามารถดูอปุ ราคา ได้ ชดั
๒๑
เจนและได้ เฝ้ากระทาความคุ้นเคย กับสมเด็จพระเจ้ าแผ่นดิน และ
พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการกรุงสยาม เซอร์ แฮรี ออดจึงตอบ
ไปยังกงสุลทันที ขอให้ นาความขึ ้นกราบบังคมทูลพระบาทสม-
เด็จพระเจ้ าอยู่หวั ว่า ท่านรู้สึกเปนเกียรติยศในการที่ทางพระมหา
กรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ เ ชิ ญ นี ย้ ิ่ ง นัก จะขึน้ ไปเฝ้ าตามพระราช
ประสงค์
การที่ เ ซอร์ แฮรี อ อดจะไปหัววานครั ง้ นี ม้ ี เ วลาที่ จ ะจัด เตรี ย ม
ตรวจการวิทยาศาสตร์ ในสิ่ งที่จะปรากฎขึน้ ในโลกเนื่องด้ วยอุป -
ราคานี น้ ้ อยนัก ได้ อาศรัยความช่วยเหลือของนายพันตรี แมกแนร์
นายช่างประจาเมือง ( โคโลเนียล อินชิเนียร์ ) จึงจัดหาได้
เครื่ องมือต่าง ๆ เท่าที่พอจะหาได้ โดยตังใจว่ ้ าจะไม่ให้ เสียโอกาศ
ที่จะใช้ เครื่ องมือเหล่านี ้ให้ เปนประโยชน์
ครัน้ ถึงวันที่ ๑๒ สิงหาคม เวลาค่าท่านเจ้ าเมืองลงเรื อ “ไปโห”
เปนเรื อราชการประจ าหัวเมื องประเทศราช ออกจากเมื องสิง คโปร์
พร้ อมด้ วยนายพันตรี แมกแนร์ กรมทหารปื นใหญ่หลวง นายร้ อย
เอกมอยเสย์ กรมทหารช่างหลวง นาย ห.ฟ. เปลา เลขานุการ
ส่ว นตัว และนายร้ อยโท ช.ท. คัม มิ น ส์ นายทหารคนสนิ ท
คุณหญิ งออร์ ด ได้ ตามท่านเจ้ าเมืองมาด้ วย ตังแต่ ้ ออกจากเมือง
สิงคโปร์ มาแล้ วไม่มีคลื่นลม นับว่าได้ เดิรทางมาสดวก ในคืนวันที่ ๑๕
สิงหาคม เรื อกลไฟท่านเจ้ าเมือง ขึ ้นไปถึงได้ ทอดสมอใต้ หวั วาน
๒๒
ลงมาประมาณ ๔๕ ไมล์ เช้ าวันรุ่งขึ ้นจึงเลื่อนขึ ้นไปที่ตาบลหัววาน
พบเรื อหลวง ( ฝรั่งเศส ) สารถิ์ และเรื อเฟรลอง เรื อหลวง
สยามอิมเพรกนะบล ( ยงยศอโยชฌิยา ) เรื อสยามสับปอรเตอร์ (
สยามู-
ปสดัมภ์ ) เรื อเจ้ าพญา (ลานี ้ไม่ใช่เรื อหลวง เปนเรื อค้ าขายของ
พระยาพิณสณฑ์เจ้ าสัวยิ ้ม ) เรื อพระที่นงั่ ( อรรคราชวรเดช ) เรื อปื น
ขนาดเล็กและเรื ออื่น ๆ อิกหลายลา เรื อหลวง ( อังกฤษ ) สเตล
ไลต์ ในบังคับบัญชาของนายนาวาเอก เอดีย์ และเรื อ กราสหอป-
เปอร์ ในบังคับบัญชาของนายเรื อเอก ฟิ ลปอต ก็ได้ มาถึงในเช้ า
รุ่งขึ ้น นายนาวาเอก เอดีย์ ซึ่งเดินทางจะไปเมืองฮ่องกงได้ รับคา
ชักชวนของท่านเจ้ าเมือง จึงแปรทางมาประสงค์ ให้ มีเรื อรบอังกฤษ
มาอยูด่ ้ วยในโอกาศนัน้ เพื่อชักธงแสดงความยินดียิงสลุตตอบ
สถานที่ซึ่งสร้ างไว้ เปนที่พกั อาศรัยเปนที่ อยู่ริมหาดตอนหนึ่ง
ซึ่ง เปนที่ ป่าไม้ อยู่ก่อน มาแผ้ วโก่นโค่นสร้ างในคราวนี แ้ ล้ วปลูก
พลับพลาแลทาเนี ยบเปนอันมากส าหรั บข้ าราชการต่าง ๆ ในราช
ส านัก แลแขกเมื อ งชาวยุโ รปพัก อาศรั ย สมเด็จ พระเจ้ า แผ่น ดิ น
ประทับในค่ายหลวง ตาหนักที่ประทับทาด้ วยไม้ ชวั่ คราวเปนตา-
หนัก ๓ ชัน้ ด้ วยธรรมเนี ยมไทยผู้มี ศักดิ์ต่ าจะอยู่ในที่ สูง กว่า
ไม่ได้ หรื อในส่วนพระเจ้ าแผ่นดินจะอยูใ่ นที่เสมอกันกับใคร ๆ ก็ไม่ได้
ทาเนียบแห่งอื่นปลูกเปนเรื อนชันเดี ้ ยว แต่ยกพื ้นในประดนสูงพ้ น
จากพื ้นดินสัก ๓ ฟิ ตทุกหลัง ทาเนียบเหล่านี ้สร้ างด้ วยไม้ ไผ่ผา่ ซีก
๒๓
แทบทังหมด
้ มุงด้ วยจากบ้ างใบตาลแห้ งบ้ างตามนิยมของประเทศ
ทาเนียบหมู่หนึ่ง ก็มีรัว้ ทาด้ วยกิ่งไม้ อย่างเรี ยบร้ อยล้ อมรอบมิดชิด
มองไม่เห็น และในบริ เวณหรื อลานทาเนียบมีโรงที่อยู่สาหรับ
คนใช้ และบริวารเปนอันมาก
ท่านเจ้ าเมืองกับคณะที่มาด้ วยมี นายพันตรี แมกแนร์ นาย
ร้ อยเอก มอยเสย์ กรมทหารช่างหลวง นายร้ อยโท คัม มิ น์
สนายทหารคนสนิท นายนาวาเอก เอดีย์ นายเรื อเอก ออสโบน
กับนายทหารราชนาวีองั กฤษอื่น ๆ อิกหลายนาย ขึ ้นบกเวลาเช้ า
วันที่ ๑๗ นัน้ มีทหารกองปื นใหญ่สนามซึ่งสมเด็จพระเจ้ าแผ่นดิน
โปรดให้ ม าจากกรุ ง เทพ ฯ ตัง้ ยิง สลุตรั บ นายอัลบาสเตอร์ ผู้รั ง้
กงสุล ของพระนางเจ้ ากรุ งเครตบริ เตนประจากรุ งเทพ ฯ กับคณะ
พวกกงสุลแลข้ าราชการสยามบางคนก็พากันมา ต้ อนรับพาไปยังที่
พักของท่านเจ้ าพระยาศรี สุริยวงศ์ ที่สมุหพระกระลาโหม ( สมเด็จ
เจ้ าพระยาบรมมหาศรี สรุ ิ ยวงศ์ ช่วง บุนนาค ) หรื ออย่างที่เรี ยกกันว่า
อรรคมหาเสนาบดี ตามธรรมเนียมของชาวสยาม แขกเมือง
ต้ องไปหาเสนาบดี กระทรวงต่างประเทศก่อน ภายหลัง จึง ไปเยี่ ยม
อรรคมหาเสนาบดี ถ้ าผู้นนั ้ มี ยศศักดิ์เพี ยงพอกันก็ จะได้ นาขึน้ เฝ้ า
พระเจ้ าแผ่นดิน แต่โดยเหตุที่เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ
( พระเจ้ าบรมวงศ์เธอชัน้ ๒ กรมขุนวรจักร ฯลฯ ) พักอยู่ห่างจาก
ที่พกั กระลาโหมไปไกล และด้ วยความเอื ้อเฟื อ้ ของท่านกระลาโหม
๒๔
ท่านได้ จดั การต้ อนรับ เซอร์ แฮรี ออด เสียพร้ อมกันทังสองท่
้ าน
ในเวลาเดียวณะบ้ านที่พกั ของท่านสมุหพระกระลาโหม
ท่านกระลาโหมผู้นีม้ ี อายุประมาณ ๕๕ ปี (ตามความจริ ง
๖๐ ปี ) รู ปทรงออกจะเตี ้ย ดวงตาคมมีสง่า อุปนิไสยใจฅอของ
ท่านผู้นี ้ เซอร์ ยอนเบาริง ได้ พรรณนาไว้ ในหนังสือเรื่ องที่ เซอร์ -
ยอนเบาริง เปนราชทูตมากรุงสยามเมื่อ ( ค.ศ.) ๑๘๕๕ ซึง่ ว่า
“ อัธยาศรัยในส่วนตัวของท่านอรรคมหาเสนาบดีนนั ้ น่าชม
มาก ท่านเปนคนสาคัญที่สดุ ของคฤหบดีสกุลมหาศาลใน
พระราชอาณาจักร เปนคนสาคัญที่ยกย่องพระเจ้ าแผ่นดิน
พระองค์นี ้ขึ ้นครองราชสมบัติ ป้องกันความมุง่ หมายของ
พระราชบุตรในรัชกาลก่อนมิให้ สาเร็จได้ จึงได้ ทรงพระ
กรุณาตังแต่
้ งให้ เปนอรรคมหาเสนาบดี ท่านได้ กล่าวกับ
ข้ าพเจ้ าหลายครัง้ หลายหนว่า ถ้ าทางดาเนินการของข้ าพเจ้ า
เปนไปเพื่อช่วยราษฎรให้ หลุดพ้ นจากความกดขี่บีบคัน้ และให้
ประเทศพ้ นจากการผูกขาดปิ ดประตูค้าแล้ ว ท่านจะร่วมมือ
ทาการด้ วยข้ าพเจ้ า และถ้ าข้ าพเจ้ าทาการไปสาเร็จ ชื่อ
เสียงของข้ าพเจ้ าก็จกั ปรากฎไปตลอดยุคกาล ท่านได้ แสดง
ข้ อเสียหายต่าง ๆ ให้ ข้าพเจ้ าฟั งมิได้ ปกปิ ดอย่างไร และ
มักกล่าวด้ วยวาจาไพเราะเฉียบขาด ถ้ าท่านเปนผู้มนั่ คงต่อ
น่าที่จริงแล้ ว ท่านก็เปนผู้ที่รักชาติอ์ ย่างเอกและมีปัญญา
๒๕
สว่างอย่างยิ่ง อันจะได้ เคยพบปะในโลกภาคบูรพทิศนี ้ ” คา
ของเซอร์ ยอนเบาริงนี ้ จะกล่าวให้ ถกู ต้ องยิ่งกว่าได้ โดยยาก
ท่านกระลาโหมได้ รับตาแหน่งบริ บรู ณ์ลว่ งมา ๑๓ปี นับตั ้งแต่เวลา
ที่เซอร์ ยอนเบาริ งได้ เขียนเรื่ องที่อ้ างนี ้ ก็ต้องถือว่าท่านเปนผู้
รักชาติอ์ ย่างสูงและเรื องปั ญญา ท่านมีอานาจสิทธิ์ขาดเพราะเปน
ที่ ถูกพระอัธ ยาศรั ยของพระเจ้ า แผ่นดิน ไม่ทรงจัด ทาสิ่ง ไร
ก่ อ นที่ ท่ า นลงความเห็ น พ้ องด้ ว ย ท่ า นก็ ไ ด้ รั ก ษาราชการ
บ้ านเมืองอย่างพอดีพองามและด้ วยความปรี ชาสามารถ คอยเอา
ใจใส่ ใ นเรื่ อ งต่ า ง ๆ ทัง้ สิ น้ ที่ เ ปนไปในประเทศอื่ น ๆ โดยเลอี ย ด
ท่านเปนผู้ผกู พันรักใคร่ชาวอังกฤษอย่างประจักษ์แจ้ ง พูดภาษา
นันได้
้ คล่องแคล่วมาก มีกิริยามารยาตรสุภาพ และตรงไป
มาในที่ออกความเห็นของท่าน และแสดงวิริยะยอดยิ่งในเรื่ องทากิจ
ธุระของมหาชน
ท่านกระลาโหมเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศออกมาต้ อนรับ
ท่านเจ้ าเมืองกับพวกในคณะ ณะปากทางจะเข้ าไปบริ เวณบ้ านและ
นาเข้ าไปในบ้ าน จัดหาที่นั่งให้ พ วกที่ มา เลี ย้ งนา้ ชาและเครื่ องดื่ม
ท่านเสนาบดีกบั ผู้วา่ ราชการได้ สนทนากันอยูน่ าน รวางนันตระ

เตรี ยมการที่พระเจ้ าแผ่นดินจะเสด็จออกรับเจ้ าเมือง กับพวกที่มา
จากเมืองสิงคโปร์ มิศเตอร์ อัลบาสเตอร์ ผู้แทนกงสุลเปนผู้พูด
ภาษาไทยได้ คล่องนันเปนล่ ้ าม แต่โดยมากท่านกระลาโหมตอบ

๒๖
เซอร์ แ ฮรี อ อด โดยไม่ ต้ อ งให้ น าย อัล บาสเตอร์ ช่ ว ย เสนาบดี
กระทรวงต่างประเทศนัน้ ได้ เข้ าสนทนาด้ วยน้ อย เรื่ องที่ สนทนา
หารื อกันเลยไปถึงเรื่ องอาวุธปื น ท่านกระลาโหมนาเอาตัวอย่าง
ปื นสไนเดอร์ ปื นมอนต์สตอม และปื นที่บนั จุท้ายอย่างใหม่อื่น ๆ
ออกมา แสดงให้ เห็นว่าตัวท่านเองเปนผู้ชานาญในเรื่ องกลไก
ของอาวุธเหล่านันได้
้ ดี
ในตอนนี ้เปนครัง้ แรกที่เราได้ สงั เกตเห็นการถือธรรมเนียมอย่าง
เคร่งครัดของชาวสยาม ในเรื่ องผู้ที่มียศต่ากว่าจะยืนอยู่ตอ่ หน้ า
ผู้ที่มียศสูงกว่าไม่ได้ เพราะผู้น้อยทังหมดนั ้ ่งหรื อหมอบอยู่กับพืน้
และคนใช้ เมื่อถือถาดน ้าเครื่ องดื่มเข้ ามาเลี ้ยง ต้ องเขยิบเลื่อน
ไปบนพื ้นด้ วยเข่า ( คลานเข่า ) เปนการแปลกอยู่ที่ได้ เห็นกริ ยา
อาการของชาวสยามเปลี่ ยนได้ ทันที เวลาเมื่ ออยู่ภ ายนอกยัง ไม่
ทราบว่าท่านผู้ใดอยู่ข้ างใน ก็ เดินไปมากันตามสบายใจ แต่พ อเห็น
ท่านกระลาโหมเข้ า พวกผู้น้อยก็ยอบตัวลงท่าคุกเข่าทันที ประสาน
มือไว้ ตรงหน้ าและก้ มหน้ าลงกับพื น้ หมอบอยู่ตามบันดาศักดิ์
ของตนนิ่งอยู่ ต่อเมื่อท่านพูดด้ วย จึงตอบด้ วยความเคารพ
และกราบกรานเช่นเดียวกัน แม้ เมื่อจะออกไปโดยธรรมดาต้ อง
ลุกขึ ้นเดินจะยืดตัวให้ ตรงก็ไม่ได้ ต้ องระวังตัวให้ ยอบอยูเ่ สมอ
๒๗
เมื่ อเจ้ าเมื องสิง คโปร์ รออยู่สักหน่อย ก็ ได้ รับคาบอกว่า
พระเจ้ าแผ่นดินเสด็จออกคอยต้ อนรับอยู่ แล้ วพวกเราก็พากันไป
ยังพลับพลาอันเปนพระราชวังชัว่ คราว
ตรงปากทางจะเข้ า ไปในบริ เ วณพระราชฐาน มี ก องทหาร
เกียรติยศเข้ าแถวกระทาคานับ และเมื่อเข้ าไปพระราชฐาน มี
เจ้ าพนักงานผู้ใหญ่ส องสามนายออกมารั บ แล้ วพร้ อมกับด้ วย
ท่านกระลาโหม และเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศและในพวกคณะ
ได้ นาหน้ าเราเข้ าไปยังท้ องพระโรง ห้ องนี ้เห็นจะยาวราว ๘๐ ฟิ ต
และกว้ าง ๓๐ ฟิ ต เปนด้ านทางตวันออกของวัง ( พลับพลา)
มีพระทวารสองข้ าง กับทังมี ้ พระทวารที่ตรงกลาง ทางด้ านยาว
ซึ่งเปนทางที่ได้ นาเราเข้ าไปอิกช่องหนึ่ง เมื่อเข้ าไปข้ างในเห็น
ท้ องพระโรงทังหมดเต็
้ มไปด้ วย ( ข้ าราชการ ) ชาวสยามหมอบ
อยู่กบั พื ้น มือ ( ประสาน ) ตรงไปทางพระเจ้ าแผ่นดิน ซึ่งเสด็จ
ประทับอยู่บนพระเก้ าอี ้อันตังอยู ้ ่บนราชบัลลังก์ ยกขึ ้นสูงจากพื ้น
ราว ๓ ฟิ ต และใกล้ ชิดกับพระทวารทางที่จะเข้ าไปข้ างในของวัง
( พลับพลา ) ที่ยกพื ้นกับรัว้ ลูกกรงทังเสาและผนั
้ งห้ องพระโรง
ดาดด้ วยผ้ าสีแดง และทางเบือ้ งพระหัดถ์ ขวาของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้ าแผ่นดิน มีโต๊ ะเล็กเต็มไปด้ วยหีบทองและภาชนะบันจุ
พระศรี พระโอสถ พระสุธารศ และสิ่งเครื่ องราชูประโภคต่าง ๆ ทาง
ในรวางพระทวารน่าและที่ประทับกันไว้ เปนช่องว่างสาหรับแขกเมือง
๒๘
เฝ้าและ ๒ ข้ างช่องนี ใ้ นระยะประมาณครึ่ ง ทาง ท่านเสนาบดี
ผู้ใหญ่ ทงั ้ สองท่านหมอบเฝ้าอยู่ ตามแบบประเพณี ของพระราชฐาน
ตาแหน่งที่เฝ้าของแขกเมืองอยู่ในแถวรวางข้ าราชการเหล่านี ้ เพราะ
ไม่ ย อมอนุ ญ าตให้ ใครเข้ าใกล้ ชิ ด พระเจ้ าแผ่ น ดิ น ยิ่ ง ไปกว่ า
ข้ าราชการชันผู ้ ้ ใหญ่ของพระองค์ ด้ วยประเพณีเปนฉนี ้ พวกเรา
จึงหยุดอยูท่ ี่นนั ้ แต่พระเจ้ าแผ่นดินทรงพระกรุณาโปรดกวักพระหัดถ์
ทัน ที ใ ห้ เซอร์ แ ฮรี อ อด เข้ า ไปเฝ้ าถึ ง ที่ ป ระทับ และเมื่ อ
พระราชทานพระราชหัดถ์มาสัมผัสแล้ ว รับสัง่ ให้ พวกของ เซอชแฮรี
ออด เข้ าเฝ้าถวาตัวต่อไป เจ้ าพนักงานผู้หนึ่งเรี ยกว่าสนองพระ
โอษฐ์ ของพระเจ้ าแผ่นดิน ก็ดาเนิรเรื่ องกราบทูลเบิกด้ วยเสียงดัง
ถึงเรื่ องราวและความประสงค์ของท่านผู้ว่าราชการที่มาเฝ้า แต่
ต่อมาสักครู่ พระเจ้ าแผ่นดินมีรับสั่งว่าพอแล้ ว และตรั สเป
นภาษาอัง กฤษว่า พระองค์ ทรงพระราชหฤทัยที่ ไ ด้ ท รง
ต้ อนรับผู้วา่ ราชการเมืองสิงคโปร์ และรับสัง่ ถึงทางพระราชไมตรี
อันมีอยู่อย่างสนิทสนมในรวางประเทศของพระองค์และ ประเทศเคร
ตบริเตนแลมีพระราชหฤทัยหวังว่าพระราชไมตรี นี ้คงถาวรอยูส่ ืบไป
เมื่อจบกระแสพระราชดารัสแล้ ว พระเจ้ าแผ่นดินเสด็จลง
จากพระที่นงั่ ประทับยังพระที่อิกแห่งหนึ่ง ( คือ เกย ) ซึ่ง
ยกขึน้ ไว้ นอกพระราชสถานน่าพระทวารทางเข้ า ทรงพระกรุ ณาฯ
โปรดให้ ช่างถ่ายรูปที่เราพามาด้ วยทังกล้ ้ องถ่ายรูป ๑ ครัน้
เสร็จการ
๑ คือ รูปที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี ้

(ผ.ท.บ.)
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้ าเจ้ าอยูห่ วั
ฉายที่นา่ พลับพลาที่หว้ ากอ วันเสด็จออกรับ เซอแฮรี่ ออด
เจ้ าเมืองสิงคโปร์ วันที่ ๑๖ สิงหาคม ปี มโรง พ.ศ. ๒๔๑๑
๒๙
เฝ้า ฯ แล้ ว เมื่อจะกราบบังคมทูลลามา ก็มีพิธีอย่างเดียวกัน
กับเมื่อเข้ าเฝ้า แล้ ว พระเจ้ าแผ่นดินทรงแสดงพระราชประสงค์จะ
ให้ ทา่ นผู้วา่ ราชการเข้ าเฝ้าเปนพิเศษในตอนเย็นวันนันด้ ้ วย
ครัน้ เฝ้าแล้ ว เราก็มายังทาเนียบซึ่งได้ จัดเตรี ยมไว้ สาหรับ
พวกเราพัก ได้ พบคุณหญิง ออด และ นายเปลา ซึ่งขึ ้นบก
มาภายหลังเราในเวลาไม่ช้ านักคอยอยู่ที่ทาเนียบแล้ ว ทาเนียบที่
พักนี ้ยาวประมาณ ๑๔๐ ฟิ ต และ กว้ าง ๕๐ ฟิ ต เปน ๒ หลังโดด
หลังใหญ่ มีห้องโถงอยู่กับพืน้ อาจจุคนในเวลาเลี ย้ งกันได้ ๔๐ หรื อ
๕๐ คน และ ๒ ข้ างยกพื ้นขึ ้นสูงประมาณ ๓ ฟิ ต ทาเปนห้ องเล็ก ๆ
เปนแถว เบ็ดเสร็ จด้ วยกัน ๑๒ ห้ อง สาหรับเปนที่พกั อาศรัย
ของพวกผู้ว่ า ราชการ มุม สุด เปนสถานที่ เ ล็ ก ๆ หลัง หนึ่ ง มี
ห้ องนอน ๒ ห้ องและห้ องแต่งตัว ๒ ห้ อง มีรเบียงเปนห้ องนัง่ เล่น
สาหรับรั บแขกได้ สบาย เรื อนตอนนี ต้ ีฝาและยกพืน้ ด้ วยไม้ จริ ง
นอกนันท ้ าด้ วยไม้ ไผ่ซีกทังสิ ้ ้น
เมื่ อ ผู้ว่า ราชการมาถึ ง พระภาษี ส มบัติบ ริ บูร ณ์ ข้ า ราชการ
สยามกับนายเล่าพ่อยิ ้ม ( ที่จริ งเปนคนเดียวกัน ) ซึ่งรับน่าที่จดั
อาหารเลีย้ งแขกเมือง มาคอยรับรองและแจ้ งให้ ท่านเจ้ าเมือง
ทราบว่า ถ้ าต้ องการโต๊ ะส าหรับเลีย้ งมากน้ อยกี่ คนสุดแล้ วแต่จ ะ
เชิ ญ มา จะได้ จั ด หามาให้ ตามเวลาที่ ก าหนดไว้ และแสดง
ความหวังว่าคงไม่มีอะไรขาดเหลือใน การปฏิบตั ิเพื่อให้ ท่านเจ้ า
เมืองและ

๓๐
พวกได้ รับความสบาย แล้ วนาเอาพ่อครัวฝรั่ งเศสเข้ ามาให้ ร้ ู จัก
พร้ อมด้ วยชาวอิตลี ๑ คน และลูกมือชาวเมื องอิกหลายคน ซึ่ง
ได้ รับคาสัง่ ให้ คอยระวัง ปฏิบตั ิความประสงค์ทกุ อย่างของพวกแขก
เมื อ งที่ ม า และการเลี ย้ งดูไ ด้ จัด หามาเลี ย้ งอย่า งฟุ่ มเฟื อย
บริ บูรณ์ บรรดาของอร่ อยที่ อาจจะหามาถึงแถบประเทศแถวนี ก้ ็ ไ ด้
พยายามสืบเสาะหามาจากเมืองสิงคโปร์ และกรุงเทพ ฯ และการ
ทากับเข้ าก็ทาอย่างประณีต มีทงเหล้ ั ้ าและน ้าองุ่นต่าง ๆ น ้าแขง
ก็บริ บูรณ์ อาจจกล่าวได้ ว่าไม่มีอะไรที่ต้องการอิก นายนาวาเอก
เอดีย์ กับนายทหารเรื ออิกหลายนาย นายอัลบาศเตอร์ และนาง
อับาสเตอร์ นางแคมบ์เบล ภรรยาหมอในสถานกงสุลกับทัง้
พวกคณะกงสุ ล ก็ ไ ด้ มาเข้ าพวกด้ วยอย่ า งสนิ ท สนมกั บ พวกเรา
แท้ จริงพวกที่มา ไม่มีใครได้ นึกคาดว่าจะได้ พบที่พกั อาศรัยอันอุดม
เช่นนี ้ในป่ าแห่งประเทศสยามเลย
วัน ที่ ล่ ว งไปวัน นัน้ เปนเวลาจัด เตรี ย มการที่ จ ะดูอุป ราคาใน
วันรุ่ ง ขึน้ และท่านเจ้ าเมื องได้ รับเยี่ ยมจากท่านกระหลาโหมและ
ข้ าราชการสยามผู้ใหญ่ในแผ่นดิน ในวันนันเมื ้ ่อเวลาค่าประมาณ ๙
ล.ท.ท่านเจ้ าเมืองกับพวกที่มาด้ วยทังชายหญิ ้ ง ทังหมดได้
้ รับเชิญ
ให้ ไ ปที่ ค่า ยหลวง เมื่ อ ไปถึ ง ตรงทางที่ จ ะเข้ า ในท้ อ งพระโรง
พระเจ้ าแผ่นดินทรงพระกรุณาโปรดเสด็จออกมาทรงต้ อนรับ และ
ทรงพาเข้ าไปในพระห้ องที่เฝ้ารโหฐานแห่ง ๑ ทรงแนะนาให้ ร้ ูจกั
กับข้ าราชการฝ่ ายในและพระองค์เจ้ าหญิงซึง่ ยังทรงพระเยาว์

๓๑
ในขณะนี ้สมเด็จพระเจ้ าแผ่นดินไม่มีพระมเหษี พระมเหษี
พระองค์ก่อนได้ สิ ้นพระชนม์เสียเมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๒ และแม้ พระ
เจ้ าแผ่นดินจะมีบาทบริจาริกาเปนอันมาก ก็ยงั ไม่มีใครที่ได้ ทรง
ยกย่องตังขึ้ ้นในตาแหน่งพระมเหษี ส่วนพระราชกุมารและพระ
ราชกุมารี มีจานวนในรวาง ๖๐ หรื อ ๗๐ พระองค์ ที่ทรงพระชนม์
พรรษาแก่กว่าทังหมด ้ ๔ พระองค์ คือ พระเจ้ าลูกเธอ พระองค์เจ้ า
ยิ่งเยาวลักษณ์ พระเจ้ าลูกเธอ พระองค์เจ้ าทักษิณชา และพระ
เจ้ าลูกเธอ พระองค์เจ้ าโสมาวดี มีพระชนมายุในราว ๑๖ พรรษา
ทุกพระองค์ และสมเด็จพระเจ้ าลูกยาเธอ เจ้ าฟ้าจุฬาลงกรณ์
มีพระชนมายุราว ๑๕ พรรษา ย่อมเปนที่เข้ าใจกันว่า พระองค์นี ้
จักได้ เปนผู้สืบราชสมบัติ ด้ วยเวลานี ้ไม่มีพระเจ้ าแผ่นดินที่ ๒ แต่
ก็ยงั ไม่แน่ทีเดียวว่าเปนเช่นนัน้ เพราะในกรุงสยามแม้ จะถือกันว่า
พระราชโอรสผู้เปนมกุฎราชกุมารเปนทายาท ที่จะสืบพระราชวงศ์ก็ดี
แต่ใช่วา่ ตาแหน่งจักตกแก่พระราชโอรสพระองค์ ใหญ่เสมอไปหา
มิได้ พระเจ้ าแผ่นดินมีพระราชอานาจสิทธิ์ขาดที่จะทรงเลือกตังแต่ ้ ง
ใครเปนรัชทายาทของพระองค์ก็ได้ ถึงกระนันที
้ ่พระองค์จกั ทรง
กระทาไปโดยขัดต่อความนิยม ของข้ าราชการผู้เปนมุขมนตรี ก็
ไม่ได้ มีตวั อย่างเช่นครัง้ พระเจ้ าแผ่นดินในรัชกาลที่ลว่ งแล้ ว
มา
( หมายว่ารัชกาลที่ ๓ ) มีพระราชประสงค์จะให้ พระราชบุตรของ
พระองค์เปนผู้รับราชสมบัติ แต่พวกสกุลใหญ่ของท่านผู้สาเร็จ

๓๒
ราชการแผ่นดินทัง้ ๒ (คือ สมเด็จพระยาบรมมหาประยุรวงศ์
และสมเด็จเจ้ าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ์ ) ได้ ขดั ต่อการที่จะทรง
ตังแต่
้ งนัน้ และพระเจ้ าแผ่นดินปั จจุบนั นี ้อันเปนรัชทายาทแท้
ของพระราชบิดาของพระองค์ก็ได้ ( ขึ ้นรับราชสมบัติ ) แทนที่ซงึ่
พระเจ้ าแผ่นดินรัชกาลก่อนได้ ทรงมุ่งหมายไว้ โดยมิได้ เกิดการ
จลาจลอย่างไร สมเด็จพระเจ้ าลูกยาเธอ เจ้ าฟ้าจุฬาลงกรณ์เป
นพระราชกุมารที่ทรงพระปั ญญาเฉลียวฉลาดยิ่งนัก พระรูปทรง
สูงแลท่วงทีกล้ าหาญเกินแก่พระชนมายุ ส่วนพระเจ้ าลูกเธอ
พระองค์หญิง ๓ พระองค์ ที่มีพระชนมายุสงู กว่าก็ทรงพระโฉมศุภ
ลักษณ์ เสียแต่เสวยหมากถ้ าไม่ย้อมพระทนต์ (ให้ ดา ) ตามธรรม
เนียมของชาวสยาม แล้ วต้ องชมว่าเปนสัตรี ที่ทรงกัลยาณีเลิศลักษณ
ทีเดียว พระกิริยามารยาตรก็น่าชมและตรัสภาษาอังกฤษได้ ทกุ
พระองค์ แท้ จริงพระราชโอรสพระราชธิดาโดยมากตรัส
ภาษาอังกฤษได้ เพราะพระเจ้ าแผ่นดินทรงจัดหาพระพี่เลี ้ยงเปน
ชาวอังกฤษไว้
เมื่อได้ ทรงแนะนาให้ ทา่ นเจ้ าเมืองกับพวกผู้หญิงรู้จกั กับฝ่ าย
ในแล้ ว โปรดให้ พวกเรานัง่ ลงรอบโต๊ ะที่กลางห้ อง
พระราชทานเลี ้ยงน ้าชากาแฟและขนมหวาน เมื่ออยูไ่ ด้ สกั ครึ่ง
นาฬิกาพวกเราก็ลงจากห้ อง ( ซึง่ อยูบ่ นชันสู
้ งของวัง พลับพลา )
กลับออกมายังท้ องพระโรงซึ่งมีการเต้ นรา ( ระบา ) วิธีออกจะ
คล้ าย

๓๓
คลึงกับเต้ นรานัจ ( นฤตย์ ) ในอินเดีย ผู้เต้ นราเปนสัตรี รุ่น ๆ ของ
หลวงหลายคนแต่งตัวอย่างวิจิตร และได้ รับความฝึ กฝนพิเศษสา-
หรับการนี ้ ดนตรี ใช้ เครื่ องของสยาม มีขลุ่ยกลองกระจับปี่ ชนิด
หนึ่งอย่างกระจับปี่ คีตา ( เห็นจะเปนจะเข้ ) และเครื่ องดนตรี ทา
ด้ วยไม้ แผ่นแบน ๆ ตีด้วยไม้ เปนปุ่ มเสียงดังฟั งก็เพราะดี ( ระนาด )
ประมาณ ๑๑ ล.ท. พระเจ้ าแผ่นดินทรงพระกรุ ณาโปรด
พระราชทานโอกาศให้ พวกเรากราบบังคมลากลับมา
รุ่งเช้ าวันที่ ๑๘ สิงหาคม เปนวันที่จะมีสรุ ิ ยอุปราคา แต่ถ้า
มีเมฆปรากฎก้ อนหนามาทาง ทิศตวันตกเฉี ยงใต้ และเปนอ
ย่างนี ้เรื่ อยมาไม่ขาดจน ๙ นาฬิกา ก็มีฝนตกลงมาประปราย
ดวงอาทิตย์ซึ่งขึ ้นอยู่ถึงเวลานี ้พยับมัวทีเดียว และอากาศก็ออก
จะปรวนแปรมาก จนนึก กัน ว่า มี ค วามหวัง น้ อ ยในที่ อ ากาศอาจจะ
เปลี่ยนไปอย่างใดอย่างหนึง่ ได้ ก่อนเที่ยง แต่อย่างไรก็ดี ล่วง
มาประมาณนาฬิกา ๑ ก็มีลมพัดมาทางทิศตวันตกเฉี ยงใต้ แรงขึน้
ถึงเวลา ๑๐ นาฬิกา ๕ นาที สังเกตเห็นเมฆเกลื่อนออกจากกัน
ทีละน้ อย ๆ ไปทางด้ านตวันตก ต่อมาไม่ช้าอากาศทางด้ านนัน้
เริ่ มแจ่มกระจ่างขึน้ และถึงเวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๕ นาที ดวง
อาทิตย์ซึ่งแต่แรกบดบังหมดดวงก็สว่างจ้ า แต่ขณะนันอุ้ ปราคา
จับขอบทางตวันตกไปเกื อบส่วนหนึ่งของขนาดกว้ างแห่งดวงอาทิตย์
แล้ ว เพราะฉนันเราไม่
้ สามารถจะจดเวลาแท้ ที่อปุ ราคาเริ่มจับ ซึง่

๓๔
คาดไว้ วา่ จะจับในเวลา ๑๐ นาฬิกา ๔ นาที อากาศแต่นนมาค่ ั้ อย
ปรกติ เมฆที่ลงมาต่าหรื อเมฆฝน ( นิมบัส ) ก็สญ
ู หายไปหมด
และอากาศตอนส่วนสูงสุดในท้ องฟ้าก็แจ่มสว่าง แต่เห็นเมฆบาง
ตอนที่เหนื อขอบฟ้าขึน้ มา ๓๐ องศา เปนชนิดมีสัณฐานปุยยาว
และเปนก้ อนโต ( เฟอร์ รูสกุมลุ สั ) เพราะฉนันแสดงให้
้ เห็นเปนที่
พอใจว่า อย่างน้ อยอากาศคงจะแจ่มอยู่อิกนาน
เครื่ องมือที่พวกเราพอจะหาเอามาได้ คือ กล้ องส่องดูไกล

ชนิดของคันแคน มีปากช่องกว้ าง ๔ นิ ้ว หนึ่งกล้ อง กล้ องส่อง


ดูไ กลที่ ฉ ายกลับ มี ปากช่องกว้ าง ๓ นิว้ กับมี แรงฉายดูไ ด้ ไกล

กว้ างขวางหนึ่งกล้ อง เครื่ องกาหนดความหนักเบาของอากาศ
( พาโรเมตร ) สาหรับเขาอย่างประณีตหนึง่ เครื่ อง เครื่ องอันนิ-
รอยด์พาโรเมตรอย่างดีที่สุด ๒ เครื่ อง เครื่ องวัดความหนาว
ร้ อนขนาดต่าง ๆ กัน ๓ เครื่ อง และนาฬิกาอย่างเดินเที่ยงตรง
๑ เรื อน
น่าที่ซึ่งกะให้ ในคณะส่วนฝ่ ายอังกฤษ คือ นายพันตรี แมก-
แนร์ กรมทหารปื นใหญ่หลวง เปนผู้ตรวจดูผลของอุปราคาใน
เวลาใกล้ จะหมดดวง หรื อถ้ าสามารถก็ให้ สาวหาสิ่งที่ปรากฎขึ ้น
ในท้ องฟ้า ตามที่เรี ยกว่า เบลลีเบกส จะมีหรื อไม่ และให้ พรรณ-
นาเรื่ องสาหรับคราวประชุมของสมาคมดาราศาสตร์ นายร้ อยเอก
มอยเสย์ กรมทหารช่างหลวง มีนา่ ที่สาหรับจดเวลาและน่าที่กะ

๓๕
วัดเครื่ องวัดอากาศตลอดเวลาอุปราคา ท่านเจ้ าเมืองเองส่อง
กล้ องดูไกลสองตา ตรวจดูสณ ั ฐานและตาแหน่งของรัศมีที่เปน
ลาพุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอาจ เห็นด้ วยตา
ได้ และเวลาที่ปรากฎเห็น ส่วนพวกในคณะนอกนันรั ้ บธุระสังเกต
ดูผลต่าง ๆ อันจักปรากฎขึ ้นเนื่องด้ วยอุปราคาในทางอากาศทางทเล
และประเทศที่ใกล้ เคียง
โอกาศครั ง้ แรกที่ สุด ที่ ไ ด้ ก าหนด คือ สัง เกตดูจุด ดาในดวง
อาทิตย์ซงึ่ ได้ สงั เกตเห็นในเวลา ๑๐ นาฬิกา ๔๕ นาที ดังแสดง
ไว้ ในแผนที่แล้ ว การกะจดเครื่ องวัดอากาศซึ่งได้ เริ่ มจดเปนระยะละ
๑ ชัว่ นาฬิกา เริ่ มตังแต่
้ เวลาพระอาทิตย์ขึ ้น ก็ได้ จดทุก ๆ ชัว่ ๑๐
นาทีตงแต่ั ้ เวลาสุริยอุปราคาจับครัง้ แรก กับได้ ตกลงไว้ ก่อนน่ากับ
หมอ ลองฟิ ล์ด ประจา ร.ร.ล. เสตลไลต์ ให้ เปนผู้จดขนาดความ
หนาวร้ อนของอากาศน ้าทเลตลอดเวลาอุปราคา
เพลา ๑๐ นาฬิกา ๑๐ นาที หรื อก่อนอุปราคาจะจับหมดดวง
๒๐ นาที สังเกตเห็นได้ ชดั มากถึงความเปลี่ยนแปลงแห่งสีท้องฟ้า
ในด้ านทิศใต้ ซึ่งเดิมเปนสีน ้าเงินใส ได้ เปลี่ยนเปนสีม่วงแก่
แล้ วแปรเปนสีตะกัว่ แก่ และมีเมฆชนิดมีสณ ั ฐานเปนก้ อนใหญ่
ซึ่งแตกออกจากกันหลายก้ อนในทางนัน้ ลอยเด่นอยู่ข้างบน
ต่อมาสักครู่ ขณะเงามืดของดวงจันทร์ คอ่ ยบดบังดวงอาทิตย์หรื อใน
เวลา ๑๑ นาฬิกา ๒๐ นาที ท้ องฟ้าทังหมดก็
้ ดาคล ้าลงและวัตถุ

๓๖
ต่าง ๆ ซึ่งอยู่ไกลก็ปรากฎรู ปมัวลง ทเลก็เปลี่ยนจากสีเขียวเปนสี
ม่วงแก่ และเรื อกาปั่ นซึ่งทอดอยู่ห่างจากฝั่ งในระยะ ๓ ไมล์ก็เห็น
ไม่ได้ ชดั เครื่ องวัดอากาศในบัดนี ้ลดลงได้ ๖ องศาจากขนาด
ความหนาวร้ อนของอากาศ รู้ สึ ก อากาศเย็ น อย่า งประจัก ษ์
ด้ วยกันทุกคน เวลา ๑๑ นาฬิกา ๒๕ นาที มีความมืดจัด วัตถุ
ที่อยูบ่ นบกแต่ไกลแทบสังเกตไม่ได้ ต้ นไม้ ในที่ใกล้ บ้านก็มืดเป
นก้ อนดา ดวงดาวก็ปรากฎขึ ้นทางสูงสุดของขอบฟ้าทางโน้ นทางนี ้
เรื อกาปั่ นในทเลก็หายไปมองไม่เห็น ในเวลาดวงอาทิตย์มืดหมดซึ่ง
ปรากฎในเวลา ๑๑ นาฬิกา ๓๐ นาที มีความมืดมากจนรู ปหน้ าคน
ซึง่ อยูใ่ นระยะ ๒-๓ ฟิ ตก็สงั เกตไม่ได้ และการคาดคเนระยะทางว่า
ใกล้ ไกลเพียงไรก็ดเู หมือนหมดไปด้ วย เครื่ องวัดอากาศก็มองดู
ไม่เห็น นอกจากมีแสงไฟส่องให้ ใกล้ ท้ องฟ้ามีดาว-พราวเหมือน
ในเวลาสนธยาอย่างจัดแห่งราตรี
นายพั น ตรี แมกแนร์ ได้ คอยสั ง เกตอย่ า งลเอี ย ดดูข อบ
พระจันทร์ คอ่ ยล ้าเข้ าในมณฑลดวงอาทิตย์จนมืดหมดดวง และไม่
สังเกตเห็นว่าขอบดวงจันทร์ หรื อขอบดวงอาทิตย์ จะหลุดเลื่อนออก
เปนดวงสว่างเล็ ก ๆ อย่างที่ นายเบลลี ได้ พ รรณนาไว้ เวลา ๑๐
นาฬิกา ๒๘ นาที ๓๐ วินาที นายพันเอก แมกแนร์ ได้ เห็นรัศมี
เปนลาพุ่งออกมาจากขอบดวงจันทร์ ๒ แห่งเข้ าไปยังขอบดวงอาทิตย์
อย่างชัด ดังได้ แสดงไว้ ในแผนที่ แต่รัศมีเปนลาพุง่ ออกมา

๓๗
นี ้ปรากฎอยู่ไม่นานกว่า ๒ หรื อ ๓ วินาที แสงอาทิตย์ซึ่งเปนรู ป
แหว่งแคบ ๆ เล็ก ๆ ก็เห็นเปนเส้ นเดียวตลอดเรื่ อยไปจนแสง
สว่างของอาทิตย์ครัง้ หลังที่สดุ ได้ หมดไป
การสังเกตในตอนนี ้ อย่างที่ได้ ตกลงกันมาแต่แรกแล้ ว
ท่านเจ้ าเมืองเปนผู้รับธุระ ท่านได้ สงั เกตเห็นเหมือนดวงอาทิตย์มืด
หมดดวง มีรัศมีสว่างปรากฎขึ ้นโดยรอบดวงจันทร์ มีรัศมีเปนลา
พุง่ ออกมาด้ วยเปนสีแดงจัด สว่างอยูเ่ สมอตรงที่ ( ก ) ดังแจ้ ง
ไว้ ในแผนที่ตอ่ ท้ ายนี ้ แทบอยูใ่ นเส้ นสูนย์ของดวงจันทร์ เมื่อดูจาก
ทิศใต้ ตรง ( ข ) มีแสงเปนเส้ นสีคล้ ายคลึงกัน ในเบื ้องสุดนัน้
ไม่ประจักษ์ชดั เจนเหมือนอย่าง ( ก ) นัก รัศมีที่เปนลาพุง่
ออกมาเหล่านี ้ ดูเหมือนจะพุง่ ออกมาจากดวงจันทร์ เข้ าไปในรัศมีที่
ล้ อมรอบ เวลา ๑๑ นาฬิกา ๓๑ นาที คือ ล่วงมาสักนาที ๑
รัศมีที่เปนลาพุง่ ออกมาที่ ( ก ) ลดขนาดความยาวลงบ้ างเล็กน้ อย
แต่ออกจะดาจัดที่ ( ข ) มีรูปชัดดีกว่าแลดูเหมือนจะปรากฎอยูน่ าน
กว่า แต่สงั เกตไม่เห็นแปรสี ถึงตอนนี ้สังเกตเห็นว่ามีแสงดาคล ้า
พุง่ ออกมาจาก มณฑลดวงจันทร์ หลายแห่งแผไปใน ระยะที่วา่ งไกล
มาก แลดูเหมือนเปนอะไรดูไม่ชดั คล้ ายกับเงา ฉายเข้ าไป
ในระยะที่วา่ ง ได้ สงั เกตเห็นสิ่งเหล่านี ้สิ่งหนึง่ ตลอดเวลาอุปราคา
ก็เพราะด้ วยมีเวลาปรากฎอยูน่ านเท่านัน้ คือที่ ( ข ) เวลา ๑๑
นาฬิกา ๓๒ นาที ความยาวที่ ( ก ) ลดลง เบื ้องสุดของ ( ข )

๓๘
ก็กาหนดได้ ชดั ขึ ้น ( ข ) มีอาการเปลี่ยนแปลงก็แต่น้อย เวลา ๑๑
นาฬิกา ๓๓ นาที ( ก ) สูญหายไป ( ข ) ลุถงึ ความเต็มเปี่ ยม
เปนที่สดุ ก็เริ่มลดหายไปในรวางระยะเวลานัน้ ( ข ) ถ้ าจะ
เปลี่ยนไปบ้ าง ก็ได้ ทวีขึ ้นเล็กน้ อย เวลา ๑๑ นาฬิกา ๓๔ นาที
( ข ) ยังคงลดถอยลงอิก และสังเกตดูเหมือนว่าเข้ าไปติดฝั งอยู่
กับดวงจันทร์ อันเปนรูปที่สงั เกตไม่เห็นในเวลา ( ก ) หายไป (
ข )ยังอยูอ่ ย่างเดิม ตรง ( ค ) รัศมีที่เป็ นลาพุง่ ออกมาซึง่ คูก่ บั ( ก )
อย่างชัด ตรงที่เส้ นสูนส์ได้ แตกออกคล้ าย ( ก ) มาก แต่ความ
ยาวออกจะน้ อยและเปนสีจาง แท้ จริงขาดความสว่างเรื องความ
ลึกแลความแปรสี ซึง่ มีปรากฎอยู่ที่ ( ก ) เวลา ๑๑ นาฬิกา
๓๕ นาที ( ข ) ยังคงลดถอยลงอิก และที่เข้ าไปฝั งอยูใ่ นดวง
จันทร์ ก็ออกลึกลง ( ข ) ลดลงแต่มีสว่ นน้ อย ส่วน ( ค ) ดูเหมือน
จะทวีขึ ้นแต่วา่ น้ อยนัก และไม่ถึงขนาดอย่างที่สดุ ของ ( ก ) สัก
เวลาเดียว สีของ ( ข ) ดูไม่แปร คล้ าย ( ค ) มากกว่า ( ก )
ตลอดไป รวางนี ้ นายอัลบาสเตอร์ รัง้ กงสุลประจากรุงสยาม
ก็ได้ เฝ้าตรวจดูดวงอาทิตย์ด้วยกล้ องดูไกล ๒ ตา ผลที่ได้ สงั เกต
ไว้ เมื่อเทียบกันดูเหมือนจะตรงกันในข้ อใหญ่ที่ท่านเจ้ าเมืองได้
สังเกตไว้ แต่นายอัลบาสเตอร์ คิดว่ารัศมีที่เปนลาพุง่ สออกมาที่
( ข ) ไม่สว่างเรื องเท่ากับ ( ก ) เมื่อเห็นในตอนแรก มีสีเหลือง
ประจักษ์แจ้ งมาก นายอัลบาสเตอร์ เห็นว่าริมขอบปราฎกชัดเด่น

๓๙
กว่ารัศมีมีที่เปนลาพุง่ ออกมาอื่น ๆ แลดูเหมือนจะพุง่ ออกมาจาก
ดวงจันทร์ คล้ ายกับเขาสัตว์สนั ้ ๆ ที่เปนสี นายแคนเนดี แห่งสถาน
กงสุล ซึง่ เปนผู้สงั เกตดูอปุ ราคาด้ วยเหมือนกัน ยืนยันการสังเกต
ตรวจดูเหล่านี ้เกือบทุกอย่าง แต่นายแคนเนดี สังเกตว่า ( ค )
เมื่อปรากฎในตอนแรกเปนสีเขียวจัด ซึง่ ค่อยเปลี่ยนเปนสีเนื ้อคน
อย่างอ่อน ลักษณอันนี ้ที่ นายพันตรี แมกแนร์ และผู้อื่นก็ได้
สังเกตเห็นด้ วย
เปนที่นา่ เสียใจมาก ที่เราไม่มีเครื่ องโปลาริสโคปหรื อเครื่ อง
อย่างใดอย่างหนึง่ สาหรับพิสจู น์แสงสว่าง ที่ฉายพุง่ ลงมาถึงพิภพใน
รวางอุปราคาหมดดวง อาศรัยแต่กล้ องส่องชนิดแก้ วสามเหลี่ยม
อย่างธรรมดา จึงสังเกตได้ วา่ แสงสว่างในเวลา ๑๐ นาฬิกาที่
ฉายเข้ ามาในกระจกสามเหลี่ยมของกล้ องส่องเปนสีแดง สีน ้าเงิน
และสีเขียว รวางอุปราคาจับหมดดวงเปนสีแดงอย่างเดียว สี
จาปา ( โอเรนช์ ) และสีเหลืองก็อาจสาวเห็นได้ บ้าง แต่บางทีก็
ไม่ควรจะยึดถือตามความสังเกตนี ้
อุปราคาจับหมดดวงในเวลานี ้กินเวลาได้ ๖ นาฑีกบั ๔๕ นาฑี
แล้ ว ทันใดนันก็
้ มีแสงสว่างจัดพุง่ แปลบออกมาจากดวงอาทิตย์
เหมือนแสงสว่างเรื องอย่างจัด รัศมีที่อยูร่ อบดวงและรัศมีที่เปนลา
พุง่ ออกมาก็อนั ตรธานไปทันที

๔๐
การที่ดวงอาทิตย์กลับปรากฎขึ ้นอิก ก็ได้ คอยสังเกตดูอย่าง
ถี่ถ้วนโดยใช้ กล้ องส่องขนาดใหญ่ แต่ถึงพิจารณาลเอียดที่สดุ
ก็ไม่สามารถพบเห็นอไรแปลกพิเศษในดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ใน
เวลานัน้
เรามีความเสียใจไม่สามารถสาววิถีของเงาแห่งอุปราคา เพราะ
แม้ จะไปทางด้ านตวันตกก็เห็นที่ขอบฟ้าเพียงเล็กน้ อย แม้ กระนัน้
ทางด้ านตวันออกอากาศจะได้ โปร่งและแจ่ม และเปนการแปลกที่
ไม่สงั เกตเห็น
แต่นี ้อุปราคาก็เริ่มคลาย และคลายไปจนโมกขบริสทุ ธิ ใน
เวลา ๑ นาฬิกา ๓๗ นาฑีกบั ๔๕ วินาฑี
ในเย็นวันนัน้ พวกเราพากันมีความแปลกใจด้ วยได้ รับข่าว
อย่างปั จจุบนั ทันด่วนว่า พระเจ้ าแผ่นดินจะทรงพระกรุณาโปรดเสด็จ
มาทรงเยี่ยมตอบท่านเจ้ าเมือง ท่านกระลาโหมซึง่ ดูเหมือนจะ
ได้ รับข่าวเรื่ องมีพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้ า อยูห่ วั ใน
เวลาอันน้ อยอย่างเดียวกับ เซอแฮรี ออด และตกตลึงมาก
เหมือนกับพวกเราในข้ อที่ทรงประพฤติ แปลกจากธรรมเนียมประเพณี
ของชาวสยามนี ้ ก็เข้ ามาอยู่ด้วยกับผู้ว่าราชการเพื่อคอยรับเสด็จ ไม่มี
เวลาจะจัดเตรี ยมการอย่างไรได้ และพวกเราก็จาเปนต้ อง
แต่งตัวอยู่อย่างธรรมดา พระบาทสมเด็จพระเจ้ าอยู่หวั เสด็จมาถึง
เวลา ๕ ล.ท. ทรงพระเก้ าอี ้หรื อแท่นสันมี้ คนหาม ๘ คน ( พระ
ราชยาน )

๔๑
เสด็จประทับไคว่พระบาททางข้ างน่า ( ขัดสมาธิ์ ) มีพระเจ้ าลูกเธอ
เล็ก ๆ ๒ พระองค์ประทับสองข้ าง แตร ๑ วงและกองทหารเกียรติยศ
๑ กองมีปืนใหญ่ภเู ขา ๒ บอกนาเสด็จ สองข้ างมีเจ้ านายหลาย
พระองค์ทรงพระดาเนิรด้ วยพระบาทตามเสด็จ กับมีพระเจ้ าลูกเธอ
โดยเสด็จด้ วยรถหลายพระองค์ มีข้าราชการและบริ วารเปนอันมาก
ที่ตรงทางจะเข้ าทาเนียบ ได้ จดั ตังพระเก้
้ าอี ้ไวแต่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้ าอยูห่ วั เสด็จเลยเข้ าไปในทาเนียบทีเดียว เสด็จพระราชดาเนิรไป
ยัง ห้ องของผู้ว่าราชการตอนมุมเรื อนชันบนและเสด็
้ จประทับในที่รวาง
เซอ แฮรี กับคุณหญิง ออด ข้ าราช-การในราชสานักก็หมอบเฝ้า
กันอยู่บนพื ้นต่า เว้ นแต่ทา่ นกระลาโหมนัน้ ( เอกเขนก ) ตะแคง
อย่างเคารพอยู่ ณะคัน่ บันไดข้ างล่างที่จะขึ ้นไปยังพื ้นเรื อนที่ยกไว้
พระเจ้ าแผ่นดินมีพระราชหฤทัยยินดี ด้ วยทรงคานวณเวลา
อุปราคาได้ ถกู ต้ องแน่นอน มีรับสัง่ สนทนาอยูน่ าน ตรัสเปนภาษา
อังกฤษ ทรงแสดงความหวังพระราชหฤทัยว่าท่านเจ้ าเมืองคง
พอใจในการที่มาคราวนี ้ และการที่ต้อนรับจะบริบรู ณ์ทกุ อย่าง
ส่วนพระเจ้ าลูกยาเธอเล็ก ๆ นันสาลวนเพลิ ้ นด้ วยทอดพระเนตรสมุด
รูปถ่าย เมื่อเสด็จประทับอยูส่ กั ครึ่งหนึง่ นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระ
เจ้ าอยูห่ วั ก็เสด็จพระราชดาเนิรกลับ ได้ มีรับสัง่ ให้ พวกเราไปเฝ้า
ใน เย็นวันนันเพื ้ ่อดูลครอิกครัง้ หนึง่

๔๒
ครัน้ เวลาค่าประมาณ ๑๐ นาฬิกา ท่านเจ้ าเมืองกับพวกใน
คณะจึงพากันไปยังพลับพลา พระเจ้ าแผ่นดินเสด็จออกอยู่แล้ ว
ประทับทอดพระเนตรลครชนิดหนึง่ ซึง่ สัตรี รุ่น ๆ แต่งตัวอย่าง
ฉูดฉาดมากเปนผู้เล่น ค่าวันนี ้มีนายทหารเรื อรบฝรั่งเศสและพวก
ฝรั่งเศสผู้มาตรวจสุริยอุปราคาเฝ้าด้ วยหลายนาย กับทังชาวยุ
้ โรป
ที่รับราชการในรัฐบาลสยามด้ วยหลายคน มีกปั ตันบุช เจ้ าพนักงาน
ประจาตาแหน่งเจ้ าท่ากรุงเทพ ฯ กัปตัน วัลรอนด์ ผู้บงั คับการเรื อ

รบหลวง อิมเปรกนะ บล ( ยงยศอโยชฌิยา ) สวมเครื่ องแบบคล้ าย
คลึงกับราชนาวี ( อังกฤษ ) มาก ลครที่เล่นวันนี ้ดูเหมือนพระเจ้ า
แผ่นดินพอพระราชหฤทัยมาก เล่นจับรบาชนิดหนึง่ ราให้ เข้ ากับ
จังหวะดนตรี ของประเทศดังได้ กล่าวไว้ แล้ ว นอกจากดนตรี วงนี ้
พระเจ้ าแผ่นดินยังมีแตรวงอย่างดีแบบยุโรปวงหนึง่ และท่านกระลาโหม
ก็มีวงหนึง่ ซึง่ ท่านมีความเอื ้อเฟื อ้ จัดส่งมาเล่นในเวลาพวกเรากิน
อาหารตอนเย็นในวันต้ นที่เรามาถึง และได้ เล่นเพลงเต้ นราและ
เพลงขับได้ อย่างน่าชมที่สดุ เมื่อดูลครได้ สกั ครู่ พระเจ้ าแผ่นดินมี
รับสัง่ ให้ เรี ยกผู้เปนตัวลครเล่นต่าง ๆ เข้ ามาใกล้ แล้ วทรงอธิบายถึง
ลักษณะตัวเรื่ องประทาน เซอ แฮรี ออด ทรงแจ้ งว่าผู้เล่นเปนใครด้ วย
ทุกคราวไป เปนการแปลกอยูท่ ี่ได้ ทราบว่าผู้ที่เล่นนันโดยมากเปน

ธิดาของผู้ว่าราชการหัวเมืองต่าง ๆ และธิดาข้ าราชการ

๔๓

ของพระเจ้ าแผ่นดิน ๑ ธรรมเนียมเมืองไทยดูเหมือนบุตรหญิงเขา


ไม่ถือกันว่ามีราคาค่างวดอะไรนัก และจะยินดีที่จะปล่อยปละไปให้
พ้ นเสียได้ โดยเอาเข้ าไปฝากไว้ ในพระบรมมหาราชวัง พระเจ้ า
แผ่นดินโปรดการมโหรสพเหล่านี ้ ในวิธีราดูเหมือนพระองค์ทรง
ชานิชานาญจริง ๆ และเราได้ ทราบว่า บางคราวพระองค์ทรงสาราญ
พระราชหฤทัย เสด็จประทับทอดพระเนตรอยูจ่ นดึกดื่น ในคราวนี ้
พระบาทสมเด็จพระเจ้ าอยูห่ วั ทรงรับว่าพระองค์มีความเหน็ดเหนื่อย
ด้ วยราชกิจที่ได้ ทรงกระทาเมื่อตอนกลางวัน ที่ทอดพระเนตรอุปราคา
และพระราชทานโอกาศให้ เรากราบถวายบังคมลามาแต่หวั ค่า
ครัน้ รุ่งขึ ้นวันที่ ๑๗ สิงหาคม มีพระบรมราชโองการ ให้ พวก
เราไปยังพลับพลา ได้ พยายามฉายพระบรมรูปและรูปพวกในคณะ
ผู้วา่ ราชการไว้ อิก เพื่อเปนที่รฦกในการที่ได้ มานี ้ แต่เครื่ อง
ถ่ายชารุด ความพยายามแห่งคนฉายรูปของเราในคราวนี ้จึงไม่
สาเร็จประโยชน์เหมือนคราวอื่น ๆ
แล้ วพระเจ้ าแผ่นดินพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้
เซอ แฮรี กบั คุณหญิง ออด เข้ าไปลาข้ าราชการฝ่ ายใน พระเจ้ า
แผ่นดินเสด็จทรงนาไป นายนาวาเอก เอดีย์ และนายพันตรี แมกแนร์

๑ ตัวลครที่เซอแฮรี ออดกล่าวถึงนี ้ เปนลครชันเด็ ้ กในเวลานัน้ ที่วา่ เปนธิดา


ข้ าราชการหัวเมือง คือเจ้ าจอมมารดาแสงรัชกาลที่ ๔ ธิดาพระยาไชยวิชิต
(ช่วง) วันนนัเเต่
้ งเปนนายโรงเอก ที่วา่ เปนธิดาข้ าราชการ คือ เจ้ าจอมมารดา
ทับทิมรัชกาลที่ ๔ ธิดาพระยาบาเรอภักดิ์ ( ดิศ ) วันนันแต่ ้ งเปนนางเอก.
๔๔
นันก็
้ โปรดให้ เข้ าไปด้ วย เมื่อเข้ าไปถึงข้ างในได้ พบปะเหล่าผู้
เปนประธานฝ่ ายใน แต่งกายด้ วยผ้ าทองอย่างงามมาก ประดับเครื่ อง
อาภรณ์แลพราวตา พระองค์เจ้ าหญิงที่ทรงพระเจริญเปนผู้ทรงเลี ้ยง
เครื่ องดื่ม และพระเจ้ าแผ่นดินได้ มีพระราชดารัสเปนภาษาอังกฤษกับ
ท่านเจ้ าเมืองอยูน่ าน ได้ ทรงแสดงความพอพระราชหฤทัยบ่อย ๆ
ถึงที่ได้ ทรงกระทาความคุ้นเคยกับ เซอ แฮรี แลคุณหญิง ออด
ทรงหวังว่าพระราชไมตรี อย่างสนิทสนมในรวาง ๒ ประเทศจะดารงอยู่
สืบไป แล้ วทรงอธิบายตอบข้ อที่ เซอ แฮรี ออด กราบทูล
ถามถึงเรื่ องพระเจ้ าแผ่นดินที่สองแห่งกรุงสยามว่าด้ วยอย่างไร และเหตุ
ไรจึงตังแต่
้ งขึ ้นไว้ ขณะเมื่อท่านเจ้ าเมืองเฝ้าพระเจ้ าแผ่นดินอยูน่ นั ้
พระเจ้ าลูกเธอทังพระองค์
้ เจ้ าหญิงและพระองค์เจ้ าชายได้ ทรงต้ อนรับ
พวกที่ไปกับท่านเจ้ าเมืองที่ในท้ องพระโรง ทรงแจกก๊ าศและพระรูปถ่าย
แก่พวกเหล่านัน้ และทรงแสดงความหวังในที่พระเจ้ าแผ่นดิน
คงจะได้ เสด็จประพาศเมืองสิงคโปร์
เมื่อพวกเรากราบถวายบังคมลามา พระเจ้ าแผ่นดินได้ ทรง
ประทานพระหัดถ์ให้ สมั ผัสทังหมด้ และเมื่อท่านเจ้ าเมืองทูลลาก็
ทรงแสดงความหวังพระหฤไทยว่า เซอ แฮรี จะสามารถมาเฝ้าถึงใน
กรุงเทพ ฯ สักวันหนึง่ และมีรับสัง่ ถามว่า ถ้ าพระองค์จะเสด็จ
เมืองสิงคโปร์ ท่านเจ้ าเมืองจะมีความยินดีต้อนรับเสด็จฤๅไม่ ท่าน
เจ้ าเมืองกราบทูลสนองว่า ไม่มีสิ่งไรจะทาให้ มีความปลื ้มใจยิ่งกว่า
ที่จะได้ รับพระราชทานเกียรติยศ ในที่พระบาทสมเด็จพระเจ้ าอยูห่ วั จะ
เสด็จพระราชดาเนิรไปเยี่ยมเยียนเมืองสิงคโปร์
๔๕
ครัน้ พวกเราออกจากวัง ( พลับพลา ) มา พระเจ้ าแผ่นดินก็
เสด็จลงเรื อพระที่นงั่ กลับกรุงเทพพระมหานคร ขณะเมื่อพระเจ้ า
แผ่นดินเสด็จห่างออกจากฝั่ งทเลแล้ ว บรรดาข้ าราชการสยาม
คณะกงซุลและชาวยุโรปอื่น ๆ ต่างก็ลงเรื อไฟต่าง ๆ ที่จดั ให้ ไว้
ใช้ ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้ าอยูห่ วั มายังพระนครกรุงเทพ ฯ
เรื อ สเตล ไลต และเรื อ กราสหอปเปอร์ ก็ออกไปเมือง ฮ่องกง เรื อ
เฟรลอง ไปเมืองไซ่ง่อน เรื อสารถิ ใช้ เปนเรื อสาหรับบันทุกพวก
นักดาราศาสตร์ และเครื่ องมือวิทยาศาสตร์ เรื อไปโห มีทา่ นเจ้ า
เมืองกับพวกก็ออกจากอ่าวไปในเวลาก่อนมืดหน่อยหนึง่ และฝั่ ง
ทเลซึง่ ในเวลาก่อนน่านี ้ ๒-๓ นาฬิกาเต็มไปด้ วยฝูงชน ก็คืนคง
สูส่ ภาพแห่งความเปลี่ยวเปล่าตามเคยในเร็วพลัน
ถ้ าจะจบบรรยายเรื่ องนี ้เสีย โดยมิได้ ชมถึงการที่พระเจ้ า
แผ่นดินสยามและข้ าราชการของพระองค์ ได้ ละขนบธรรมเนียมเก่า
อันเปนเครื่ องถ่วงความเจริญ เพื่อพระราชทานเกียรติยศแก่ทา่ นเจ้ า
เมืองในครัง้ นี ้ด้ วยนันหาควรไม่
้ ( อังกฤษ ) ผู้ที่ค้ นุ เคยกับไทย และ
ขนบธรรมเนียมของไทย ได้ สงั เกตเห็นว่า ที่ในราชสานักจะได้
เปลี่ยนแปลงเปนอย่างหมดจดเช่นทรงรับแขกเมืองครัง้ นี ้ แต่ก่อน
มามิได้ เคยปรากฎ เปนต้ นว่าเปิ ดพระราชมณเฑียรพระราชทาน
โอกาศให้ แขกเมืองเข้ าไปได้ ไม่ห้ามหวง และโปรดให้ พบกับ
ฝ่ ายในให้ ออกมารับแขกเมืองโดยเปิ ดเผย ส่วนเจ้ านายในราช

๔๖
สกุลที่ทรงพระเยาว์ ก็ทรงยอมให้ สมาคมกับแขกเมืองชาวอังกฤษ
ได้ อย่างกิริยาเปนฉันทมิตรสนิทสนม เรื่ องราวของคณะทูตต่าง ๆ
และจดหมายเหตุของผู้ที่ได้ เข้ ามาเยี่ยมเยือนกรุงสยามแต่ก่อน มี
แต่บนั ทึกเรื่ องร้ องทุกข์ที่ถกู ขัดขวางไม่ยอมให้ กระทา ความคุ้นเคย
พูดจากับราชสานัก แลมีการหวงห้ ามตามขนบธรรเนียมและพิธี
ของชาวสยามมากมาย นาย ครอฟอร์ ดก็ดี รายาปรุก และ
เสอร ยอน เบาริงก็ดี ก็ได้ กล่าวความเหล่านี ้ไว้ และท่านเหล่านัน้
ได้ เล่าเรื่ องราวอย่างยืดยาวว่าธรรมเนียมการกีดกันต่าง ๆ เช่นนัน้
มีอยูท่ วั่ ไป จนกระทาความขัดข้ องแก่พวกในคณะ ของท่านมากมาย
แม้ แต่เรื่ องเหน็บกระบี่เข้ าเฝ้าก็ต้องถูกห้ ามปราม แต่ในคราวนี ้ไม่มี
การแสดงให้ แขกเมืองรู้สึกอย่างเช่นนันเลย ้ พระเจ้ าแผ่นดินและ
ขุนนางของพระองค์กลับสมาคมกับแขกเมือง อย่างยอมให้ อิศระ
เท่ากับเปนผู้เสมอกัน และดูเหมือนจะมุง่ ให้ คล้ อยตามธรรมเนียมของ
แขกที่มาหา การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ ้นในชนชาติที่ไม่เคยยอม
เปลี่ยนแปลงดังนี ้ ดูเปนเครื่ องหมายว่าความไม่ยอมเขยื ้อนออก
จากที่ของพลเมืองนัน้ ยังอาจมีทางจะได้ รับความคล้ อยไปตามชาติ
ที่มีความเจริญ เพราะความคุ้นเคยกับประเทศที่มีความเจริญ
ต่อไปในวันน่า
ชาวสยามโดยปรกติ เปนคนมีอธั ยาไศรยสงบเสงี่ยมและน่า
คบหา ทังเฉลี
้ ยวฉลาดและว่องไว แต่ดชู อบสนุกมากกว่าทาการ

๔๗
งาน ไม่เปนผู้ชอบความวิวาทฤๅจะเห็นชอบในการเปลี่ยนแปลง
และกล่าวกันว่านิสยั ใจคอของชาวสยามเกลียดชัง ความไม่สจุ ริต
ชาวสยามมีรูปพรรณสัณฐานเตี ้ย พวกผู้หญิงโดยมากดูเหมือน
หาที่สงู กว่า ๕ ฟิ ตขึ ้นไปก็โดยยาก เครื่ องนุง่ ห่มผู้ชายใช้ เสื ้อกระ
บอกหลวม ๆ ( ที่จริงนิยมเสื ้อที่คบั ) มีแขนและตัวยาวลงมาถึงเอว
และขัดดุมจนถึงคอ ( ไม่เปิ ดแปะคอเสื ้อ ) กับมีน่งุ เปนผ้ าทอของ
พื ้นเมืองยาวประมาณ ๓ หลาและกว้ าง ๑ หลา พันรอบเอวแล้ ว
ม้ วนเอามาไว้ ในหว่างขา (โจงกระเบน ) ได้ เพื่อให้ รูปอย่างกางเกง
( นิกเกอรบอกเกอร์ ) น่องและเท้ าปล่อยไว้ ให้ เปลือย ( ไม่สวม
ถุงน่องรองเท้ า ) แต่ผ้ มู ีบนั ดาศักดิ์ ถ้ าจะออกนอกบ้ านมักใช้ สวม
รองเท้ าฤารองเท้ าแตะ พวกผู้หญิงแต่งตัวคล้ ายพวกผู้ชายมาก
ถ้ าไม่ใช้ เสื ้อกระบอกก็ถนัดใช้ ผ้าห่มคลุมพาดบ่า ( สไบเฉียง ) เปนเครื่
องคลุมร่างกายได้ บางส่วนเท่านัน้ ทังผู
้ ้ หญิงผู้ชายใช้
โกนศีศะเหลือไว้ แต่เบื ้องบนเปนกระเปาะ ( ผมมหาดไทย ผมปี ก )
ประมาณยาวขนาดเท่ากันกับแปรงปั ดผ้ าธรรมดา ซึ่งดูก็แปลกอยู่
เขากล่าวกันว่า ผู้ชายและผู้หญิงไว้ ผมผิดกัน แต่ฝ่ายเราสังเกต
ไม่ออก เว้ นแต่จะเปนด้ วยผู้ชายประจงในเรื่ องโกนมากกว่า เด็ก
เล็ก ๆ เอาผมไว้ จนอายุได้ ๑๐ ฤๅ ๑๑ ขวบ ก็โกนเสีย ในการ
โกนผมมีพิธีใหญ่โต และถ้ าเปนเจ้ าก็มีการสมโภชอย่างเอิกเกริก
สมเด็จพระเจ้ าแผ่นดินทรงชี ้ให้ เซอ แฮรี ออด ดูเจ้ าชายพระองค์

๔๘

หนึง่ ซึง่ พระองค์มีรับสัง่ จะได้ โกน ( โสกันต์ ) ในปี น่า และ
ทรงเชิญให้ หิส เอกษเลนศิ มากรุงเทพ ฯ เพื่อดูพระราชพิธี ซึง่
ทรงรับรองแก่ หิส เอกษเลนศิ ว่าจะเปนงานใหญ่น่าดูมาก
ประเพณีแปลกของกรุงสยามมีอย่างหนึง่ คือมีพระเจ้ าแผ่นดิน
สองพระองค์พร้ อมกัน แต่ในเวลานี ้ไม่มีพระเจ้ าแผ่นดินที่ ๒ เพราะ
พระองค์หลังเสด็จสวรรคตเสียเมื่อปี ( ค.ศ. ) ๑๘๖๖ เหตุแล
พงษาวดารของการที่มีพระเจ้ าแผ่นดินที่ ๒ นี ้ดูเหมือนไม่ใคร่เข้ าใจ
กันโดยมาก จึงเห็นควรจะนาพระบรมราชาธิบายซึง่ สมเด็จพระเจ้ า
แผ่นดินได้ ทรงพระกรุณาพระราชทานเมื่อ เซอ แฮรี ออด กราบ
ทูลถามนันมากล่้ าวไว้ ด้วย ความว่าพระเจ้ าแผ่นดินที่ ๒ เปน
ผู้ซงึ่ คนทังหลายเข้
้ าใจกันว่ามีสิทธิในราชสมบัติ ถัดจากพระเจ้ า
แผ่นดินที่ได้ พร้ อมกันถวายราชสมบัติ เมื่อพระเจ้ าแผ่นดินเสด็จ
สวรรคตถ้ ามีพระเจ้ าแผ่นดินที่ ๒ อยูใ่ นขณะนัน้ ข้ าราชการก็มกั
ถวายราชสมบัติแก่พระเจ้ าแผ่นดินที่ ๒ และตังเจ้ ้ านายองค์ที่มีสิทธิดี
ที่สดุ ขึ ้นเปนพระเจ้ าแผ่นดินที่ ๒
ถ้ าพระเจ้ าแผ่นดินที่ ๒ เสด็จทิวงคต พระเจ้ าแผ่นดินที่ ๑ จะ
ทรงตังใดเปนแทนได้
้ แต่ไม่ใคร่จะเปนธรรมเนียมที่จะต้ องทา
เช่นนัน้ มักปล่อยตาแหน่งให้ วา่ งอยูจ่ นพระเจ้ าแผ่นดินที่ ๑ เสด็จ
สวรรคต อานาจของพระเจ้ าแผ่นดินที่ ๒ นันดู ้ เหมือนแล้ วพระ

๑ คือสมเด็จเจ้ าฟ้ ากรมพระจักรพรรดิพงศ์

๔๙
ราชหฤทัยของพระเจ้ าแผ่นดินที่ ๑ จะพระราชทานอย่างไร แต่
เดิมมาดูเหมือนพระเจ้ าแผ่นดินที่ ๒ มีอานาจมากกว่าในชันหลั ้ งที่
ล่วงมานี ้ ความประสงค์ที่ตงแบบธรรมเนี
ั้ ยมมีพระเจ้ าแผ่นดิน
ที่ ๒ นี ้ แท้ จริงคือจะป้องกันความแตกร้ าวในเมื่อพระเจ้ าแผ่นดินเสด็จ
สวรรคต เพราะการรับราชสมบัตติ ้ องเปนทางทายาทในพระราช
วงศ์ และการเลือกผู้ซงึ่ จะเปนพระเจ้ าแผ่นดินก็อาศรัยความ
พร้ อมเพรี ยงของขุนนางผู้ใหญ่ทงปวง ั้ จึงเห็นได้ ชดั ว่าเมื่อเลือก
พระเจ้ าแผ่นดินแล้ ว ถ้ าตังรั้ ชทายาทได้ ด้วย ก็จะมิใคร่มี
ช่องทางน้ อยที่จะเกิดการวิวาท อันจะเปนภัยต่อสันติศขุ ของ
บ้ านเมืองของประเทศ

๕๐

กระแสรั บสั่งรั ชกาลที่ ๔


เรื่ องสุริยอุปราคา เมื่อปี มโรง พ.ศ. ๒๔๑๑
ต้ นฉบับของกรมขุนวรจักรธรานุภาพ
หม่อมอนุวตั รวรพงศ์ สิงหนัท ในพระองค์เจ้ าปรี ดา
ให้ หอพระสมุด ฯ เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓

มี พ ระบรมราชโอ ง การมารพ ระบั ณ ฑู ร สิ ง หนาท ใ น


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหากุฎพระจอมเกล้ าเจ้ าอยู่หวั โปรด

เกล้ า ฯ ให้ จดหมายเหตุที่บงั เกิดมี เมื่อเวลาสุริยปุ ราคาเปนในวัน ๓ ฯ
๑๘
๑๐ ค่า ปี มโรงสัมฤทธิ ศก ไว้ ให้ ทา่ นทังปวงทราบดั
้ งนี ้ :-
ที่ค่ายหลวงหว้ ากอ เปนที่ทรงพระราชดาริ ห์ว่าจะเปนที่ ควร
จะเห็ น เปนกลางคราธสุริ ยุป ราคาสิ น้ ดวง แล้ ว มี พ ระบรมราช
โองการดารัสสั่ง ให้ ไปตังแต่
้ งไว้ เปนที่ประทับนันมี
้ กาหนด ลอง
ชิตตูด ๙๙ องศา ๔๐ ลิบดา ๒๐ พิลิพ คิดมาแต่ที่ครู คริ นวิช เปน
ทิศตวันตกกรุ งเทพ ฯ ไปเพียง ๔๙ ลิบดากับ ๔๐ พิลิพ เวลาผิดกัน
กับกรุงเทพ ฯ ๓ นาทีกบั ๑๖ วินาทีเศษเล็กน้ อย มีลาติตดุ ขิปทุวิ

๕๑
เหนือ ๑๑ องศา ๔๑ ลิปดา ๔๐ พิลิพเปนข้ างใต้ กรุ งเทพ ฯ ลงไป
๒ องสา ๓ ลิบดา ๒๙ พิลิพ
ที่ ค่า ยหลวงหว้ ากอ ทรงพยากรณ์ ว่าจะจับทิ ศพายัพ เวลา
๑๐ นาฬิกากับ ๖ นาทีแต่เที่ยงคืน แต่เกิดเมฆฝนดามืดมิดปิ ด
เสียหมดไม่เห็นเลยเมื่อแรกจับ อยู่มาจนเวลา ๑๐ นาฬิกากับ
๔๖ นาที เมฆจึงจางออกไปเห็นดวงพระอาทิตย์ไร ๆ แลดูพอรู้ว่า
จับแล้ วสักส่วนหนึ่ง ยังเหลือสักสองส่วนดวงพระอาทิตย์ เมื่อนัน้
จึงได้ ประโคมสรงมุรธาภิเศก ในระหว่างนันเมฆขาวด
้ าปิ ดดวง
พระอาทิตย์ เห็นบ้ างในระวาง ๆ ไม่เห็นบ้ าง คราธ คือที่แหว่ง
ไม่หันไปทิศไหน เดินตรงไปทีเดียว เมื่อเวลาสรงพระมุรธาภิเศก
แล้ วนาฬิกาได้ ๑๑ นาฬิกากับ ๕ นาทีแต่เที่ยงคืน จึงได้ ทรงประเคน
สารั บพระสงฆ์ รั บ สั่ง ว่า ยัง อิ กกึ่ ง นาฬิ ก าจึ ง จะสิ น้ ดวงให้ รีบ ฉัน เถิ ด
คราธก็ตรงเข้ าไปแต่ทิศพายัพ เหลือข้ างทิศอาคเณย์ เมื่อเวลา
๑๑ นาฬิกากับ ๒๕ นาทีแดดไม่ร้อน แสงร้ อนอ่อนมาก คนร้ อง
กันว่าเหมือนเดือนหงาย ครัน้ ถึง ๓๐ นาที ดวงพระอาทิตย์เหลือน้ อย
ถ้ าจะคิดดวงพระอาทิตย์แบ่งสัก ๑๒ ส่วน จะเหลืออยู่ไม่ถึงส่วน ๑
เมื่ อ นัน้ ท้ อ งฟ้ าตรงดวงพระอาทิ ต ย์ ไ ปจนข้ า งตวัน ตก เปนต้ น ลม
สว่างไม่มีเมฆเลยทีเดียว คนร้ องว่าหมดแล้ ว เห็นดาวแล้ วอื ้อ
อึงมาก แต่ที่จริ งยังไม่หมด ไปหมดต่อ ๑๑ นาฬิกา ๓๖ นาที
๒๒ วินาที

๕๒
เมื่อดวงพระอาทิตย์เหลือน้ อย ดูในกล้ องก็เห็นเปนเส้ นขอบ
โอบวงมืดอยู่ เพราะดูด้วยกล้ องที่กาบังด้ วยกระจกสี แต่ดดู ้ วยตา
เปล่าวงขอบนันรั้ ดกลมเข้ ามาดูเหมือนดวงดาว แต่รัดเล็กเข้ าไป
ทุกทีเหมือนตัวหิ่งห้ อยแล้ วจึงหายไป มีแต่สีขาวหลัวคล้ ายเมฆขาว
ล้ อมรอบวงดาอยู่ ครัน้ ดวงพระอาทิตย์ลบั หายไป นาฬิกาคนถือดู
ก็ไม่เห็นมืดเหมือนกลางคืน ครัน้ ไปประมาณนาที ๑ ฤๅยังไร
ไม่แน่เพราะไม่เห็นนาฬิกา ในกล้ องแลเห็นเปนกิ่งงางอน ๆ ช้ อน
ไปข้ างทิศตวันออกของดวงดาที่ทบั พระอาทิตย์อยู่ จมอยูใ่ นแสง
ขาวหลัว ๆ รอบดวงดานัน้ เมื่อส่องด้ วยกล้ องใหญ่ คล้ าย ๆ กิ่ง
ลัน่ ทมฤๅการัง เขากวางปลายป้าน ๆ ไม่แหลม แต่ดเู ห็นว่าเปน
ของมีตวั แท้ จะเปนรัศมีบนั ดาลนันหามิ
้ ได้ ของก็ไม่ควรจะเห็น
เพราะแสงขาวชักให้ เห็นออกมา เหมือนกะแปะที่วางไว้ ในถ้ วยใหญ่
คนอยูท่ ี่ข้างหนึง่ ขอบถ้ วยยังไม่เห็นแล้ ว ครัน้ น ้าเทลงในถ้ วยถึง
กะแปะไม่ลอยขึ ้นไม่กระเทือนไป คนไม่ได้ ชะเง้ อขึ ้นก็เห็นได้ ด้วย
กาลังเงาน ้าชัก ครัน้ ล่วงไปอิกสัก ๓ นาที จวนดวงพระอาทิตย์จะผุด
ออกข้ างทิศพายัพ ก็เห็นเปนเงาเช่นนันเคี
้ ยงติดกันเปนคูอ่ อกข้ าง
ทิศพายัพอิก ของเดิมก็ไม่หายไป ครัน้ ล่วงมาสัก ๕ นาทีเศษ
เห็นเปนฟั นเลื่อยที่วงดาน้ อย ๆ ข้ างทิศประจิมค่อนหรดีในดวง
ดานัน้ ครัน้ แล้ วพระอาทิตย์ผดุ ออกมา มีรัศมีเปนแสงสว่างเห็น
นาฬิกาได้ ขณะนันนาฬ ้ ิกาได้ ๑๑ นาฬิกา กับ ๔๓ นาที ๗ วินาที

๕๓
ถูกต้ องกับที่ทรงพยากรณ์ไว้ ไม่คลาศเลย พ้ นนันไปไม่
้ ได้ ทรง
กาหนด เพราะแสงพระอาทิตย์กล้ าหนักขึ ้นทุกที ได้ ทอดพระเนตร
ต่อเมื่อจวนจะหลุดคราธ ก็คงอยูท่ ิศอาคเณย์ จนหลุดบ่ายโมง ๑
กับ ๙ นาที เกินที่ทรงพยากรณ์ไปนาที ๑
การครัง้ นี ้ได้ ทรง ปฏิญญาการฉลองการบูชาแก่เทวดารักษา
พระราชวังแลพระนคร แลเทวดาเจ้ าป่ า ขอให้ ท้องฟ้าสว่างในระวาง
บาทนาฬิกาเดียว เทวดาอารักษ์ ทงในกรุ ั้ ง ฯ นอกกรุง ฯ ดูเหมือน
ช่วยทาให้ สาเร็จดังพระราชประสงค์ ควรขอบใจเทวดาที่ฟังพระราช
ปฏิญญา ทาให้ สมพระราชประสงค์เปนอัศจรรย์ เทวดาได้ เครื่ อง
สังเวยลางคราวเล็กน้ อยดอก ยังรับอาสาทาให้ สาเร็จพระราชประสงค์
ได้ เห็นด้ วยในพระราชดาริ ห์ ก็ทา่ นผู้เปนพระราชวงศานุวงศ์
ข้ าราชการผู้ใหญ่ผ้ นู ้ อยฝ่ ายน่าฝ่ ายใน ได้ รับพระราชทานเบี ้ยหวัด
ตามยศถาบันดาศักดิ์ แลพระราชาคณะถานานุกรมเปรี ยญเล่า ก็
ได้ รับนิตยภัตรมากกว่าเทพยดานันอิ ้ ก แต่ไม่มีใครคิดฉลองพระ
เดชพระคุณเอาใจใส่ให้ ละเอียดกาหนดให้ แน่ ให้ สมพระราชประสงค์
บ้ างเลย
ที่กรุงเทพ ฯ ทรงคานวณกะการแล้ วเปนแน่ ว่าเห็นจะจับ
ทิศพายัพ เวลา ๑๐ นาฬิกากับ ๗ นาทีเศษ แล้ วคราธจะค่อยเร่ไป
ทิศประจิม ทิศหรดี จนทิศทักษิณ จะจับมากที่สดุ แหว่งข้ างทิศทักษิณ
เหลือข้ างทิศอุดร น้ อยเปนที่สดุ ดวงพระอาทิตย์แบ่ง ๑๒ ส่วน จะ

๕๔
จับเสียสัก ๑๑ ส่วนเศษ จะเหลืออยูส่ ่วนหย่อน ๆ เมื่อเวลา
ตี ๑๑ นาฬิกากับ ๔๔ นาทีเปนที่สุด แล้ วคราธจะเร่ แต่ทักษิ ณไป
อาคเณย์ คายออกหลุดทิศอาคเณย์ เวลาบ่าย ๑ โมงกับ ๑๒ นาที
การนี เ้ ปนแต่การทรงคานวณไม่ไ ด้ เ ห็น แต่ที่จ ะเปนก็ คงจะไม่คลาศ
กาหนดนี ้นัก แต่ผ้ ูอยู่รักษาพระนครรักษาพระราชวัง ใจสกปรกเห
ม่นเหม่นักไม่ละการใจไพร่ ถึงพูดด้ วยก็ ไม่พ อใจฟั ง ไม่เอาใจใส่
พอใจพูดถึงแต่เวลาจับว่าจับโมงนัน้ บาทนี ้ ถูกของโหรนายนี ้
นายโน้ นเท่านันแล้
้ ว ก็มวั แต่จะเอาเงินแจกฤๅจะเอกเขนกทายศ
คนผู้ใหญ่ไต่สงู ไม่เอาใจใส่การละเอียดถามใครก็ไม่ได้ ความ
อนึ่งเมื่อแรกจับนัน้ ถึงพอใจพูดกันว่าจับบาทนันโมงนั ้ น้ ก็พูด
โง่ ๆ เซอะ ๆ ด้ วยเหตุสองประการ ประการหนึ่ง คือนาฬิกาก็
ไม่ได้ ตรวจตรา ตังวั
้ ดวาด้ วยเครื่ องมือแล้ วคานวณสอบสวนให้
ถูกต้ องกับเวลาพระอาทิตย์ เปนแต่เห็นว่าสว่างแล้ วก็ย่ารุ่ ง นับ ถือ
ว่าเปนต้ นวัน ไม่ได้ เหยียบชันค ้ านวณก่อนเวลาจับนันไม่
้ ชอบกลเลย
เปนแต่ไว้ ให้ หวั พันแลไพร่ หลวงชาวนาฬิกา สมมุติว่าเปนผู้ร้ ู
แต่ชื่อ เปนแต่ที่นบั ถื อของพระสงฆ์แก่ ๆ ชาววัดมักพูดกัน พนักงาน
นาฬิกาหลวงนัน้ เขาชื่อพันทิวาทิตย์ พันพินิตจันทรา เขาดูเวลา
พระอาทิตย์พระจันทร์ ทงกลางวั
ั้ นกลางคืน เขาผลัดกันตื่นอยู่
ไม่หลับ นับเม็ดในขันนาฬิกาว่ากี่บาทต่อกี่บาทไม่คลาศเลย ใคร

๕๕
จะสู้เขาได้ นาฬิกาในพระราชวังแน่กว่าที่ไหน ๆ หมด พระสงฆ์
ผู้ใหญ่ ๆ มักพูดกันอย่างนี ้ ถึงพวกโหรนี ้แต่ละนาย ๆ บวชแก่วดั
มาหลาย ๆ ปี ใจหยาบคายโล้ เ ล้ เ ฉิ น เช่ย อย่า งนี เ้ หมื อ นกับ ชาววัด
สาหรับจะมานัง่ รับนัง่ ออ ชมยศคนที่อยากอวดยศ ทาปั น้ ปึ่ งขึงโส
ไว้ เ ปนตัวเปนผู้ใหญ่ผ้ ูเ ฒ่าเปล่า ๆ ไม่เอาใจใส่ในการเปนวิสัยของ
ความรู้ วิทยา เปนการละเอียดการประหลาด ควรเปนที่สงั เกต
จดหมายเหตุไ ว้ เ ปนตัว อย่างสื บไปภายน่า ก็ เ พราะนาฬิ กาตัง้ ไม่แ น่
อย่างว่ามานี ้อย่างหนึ่ง เปนที่ให้ ผิดจากจริ งอิกอย่างหนึ่งเพราะดูด
วงพระอาทิตย์ ด้ วยการดูหยาบคายนัก คือตังขั
้ นน ้าลงดูบ้าง
เอากระจกฉายดูบ้าง ป้องหน้ าดูบ้าง เอากระจกเงาฤๅแว่นตาลนควัน
ไต้ ควันเทียนดูบ้าง เครื่ องมือหยาบคายสกปรกอย่างนี ้ แรกจับ
แต่น้อยก็ไม่เห็น ได้ มีพระบรมราชโองการทรงดารัสยืนยันว่า
แต่ครัง้ หลัง ๆ มามีผ้ ูดูสุริยุปราคาด้ วยแว่นส าหรั บวัดแดด มี กระจก
เขี ย วกระจกแดงต่า ง ๆ กัน กล้ อ งส่อ งมี ก ระจกเขี ยวกระจกแดง
เหลืองต่าง ๆ บังตาบ้ าง เห็นว่าจับแล้ วบอกแก่โหร ๆ ก็เอามือ
ป้องหน้ าดูเถียงว่ายังไม่จบั ช้ าอยู่หลาย ๆ นาที จึงยอมให้ ประโคม
ว่าจับ ตังแต่
้ นี ้ไปการหยาบ ๆ ไพร่ ๆ สกปรก อย่างใจชาววัดคนมา
แต่วดั เช่นนี ้ ให้ พวกโหรคิดเงื อดงดเสีย จงเอาใจใส่การให้ ละเอียด
ตามพนัก งานของตัว อย่ า รั บ เบี ย้ หวัด เสี ย เปล่ า ให้ ล อกเอา
จดหมายเหตุนี ้ไว้ สาหรับกรมสาหรับตัวสืบต่อไปทุกนายทุกคน

๕๖
พระเจ้ าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ
ท้ าวสมศักดิ์ ( เนย )
ท้ าวโสภานิเวศ ( ลิ ้ม )
ท้ าวอินทรสุริยา
ท้ าวทรงกันดาล ( ศรี )
ท้ าวพิพฒ ั น์โภชา
ท้ าวศรี สตั ยานุรักษ์
ท้ าวรักษามณเฑียร
เจ้ าพระยายมราช ( แก้ ว )
พระยาสีหราชเดโชไชย ( พิณ )
พระยาราชสุภาวดี ( ปาน )
พระยาอภัยรณฤทธิ์ ( เฉย )
พระยาพิไชยสงคราม
พระยาราชสัมภารากร
พระยาพระกฤษณรักษ์
พระยาราชวังสรรค์
พระยาประจักษ์ วรวิไสย
พระยาฤทธิไกรเกรี ยงหาญ
พระยาจ่าแสนบดี ( ขลิบ )
พระยาเวียงใน

๕๗
พระยาไพบูลย์สมบัติ ( เอี่ยม )
พระยาภักดีสงคราม
พระยาเทพมณเฑียร
พระวิชิตมนตรี
พระมหาบุรีรมย์
พระกัลยาภักดี
จมื่นมหาดเล็ก
พระพิไชยสรเดช
พระชนะรณชิต
พระศรี ยศประเทศมนตรี
พระพิเดชสงคราม
พระพิพากษานานาประเทศ
พระศรี เสนา
หลวงพิพิธมณเฑียร
หลวงนังคัลกิจบรรหาร
หลวงประชาฤทธิฦๅไชย
หลวงวิสตู รสมบัติ
ขุนอักษรสมบัติ เสมียนตรา
ขุนธนศักดิ์

๕๘
สมิงสิทธิราชา
ขุนรุดอักษร เสมียนตรา
นายหัศบาเบอ ( ชา )
รายนามข้ างบนนี ้ ในต้ นฉบับที่ได้ มาหาปรากฎว่า เกี่ยวข้ อง
แก่เรื่ องที่ประกาศอย่างไรไม่ สันนิฐานว่าเห็นจะเปนผู้ที่ได้ มาคัด
เอาจดหมายเหตุไปตามกระแสรับสัง่ ผู้เปนต้ นรับสัง่ จึงจดนาม
ลงไว้

You might also like