Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 77

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๓

เรื่องตานานการเกณฑ์ ทหาร กับเรื่องตานานกรมทหารราบที่ ๔

จอมพล สมเด็จพระเจ้ าบรมวงศ์ เธอ เจ้ าฟ้าภาณุรังษีสว่ างวงศ์

กรมพระยาภาณุพนั ธุวงศ์วรเดชฯผู้บงั คับการพิเศษกรมทหารราบที่ ๔

โปรดให้ พิมพ์ประทานในงานฉลองโล่ห์ที่จงั หวัดราชบุรี

เมื่อปี ระกา พ.ศ. ๒๕๖๔

พิมพ์ ท่โี รงพิมพ์ โสภณพิพรรฒธนากร


จอมพล สมเด็จพระเจ้ าบรมวงศ์เธอ เจ้ าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
กรมพระยาภานุพนั ธุวงศ์วรเดช ผู้บงั คับการพิเศษกรมทหารบกราบที่๔
คานา
การยิงปื นแข่งขันในทหารบกประจําพ.ศ.๒๔๖๔นี ้กรมทหารบก
ราบที่ ๔ ได้ รับพระราชทานรางวัลโล่ห์หลวงสําหรับยิงปื นยาวชนะ จะ
มีการฉลองโล่ห์ตามประเพณีที่ผ้ ูชนะได้ เคยทําเปนเกี ยรติยศมาแต่ก่อน
จอมพล สมเด็จพระเจ้ าบรมวงศ์เธอ เจ้ าฟ้าภาณุรังษี สว่างวงศ์
กรมพระยาภาณุพนั ธุวงศ์วรเดช ราชองครักษ์ จเรทหารทัว่ ไป พระองค์
ทรงเปนผู้บังคับการพิเศษกรมทหารบกราบที่ ๔ จะเสด็จไปทรงกระทํา
การฉลองในงานนั ้นณจังหวัดราชบุรีมีพระประสงค์จะทรงพิมพ์หนังสือไป
ประทานเปนของแจกสําหรั บงานเหมื อนอย่างได้ เคยทรงเรี ยบเรี ยงเรื่ อง
ตํานานกรมทหารบกราบที่ ๔ พิมพ์ ประทานในงานฉลองธงไชยสําหรั บ
กรมเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๗ อิกสักครั ง้ ๑จึงมี รับสั่งมายังหอพระสมุดวชิรญาณ
สําหรับพระนคร ให้ กรรมการเลือกหาเรื่ องหนังสือซึง่ เนื่องด้ วยการทหารบก
พิมพ์ถวายตามพระประสงค์
เมื่อหอพระสมุดฯ ได้ ทราบกระแสรับสัง่ แล้ ว เลือกค้ นหนังสือ
เก่าหาพบเรื่ องที่จะเหมาะแก่พระประสงค์ไม่ ข้ าพเจ้ าจึงคิดเรี ยบเรี ยง
เรื่ องตํานานการเกณฑ์ทหารไทยแต่โบราณขึ ้นถวายแทน ได้ พิมพ์ใน
สมุดนี ้กับเรื่ องตํานานกรมทหารบกราบที่ ๔ ซึ่งสมเด็จพระเจ้ าบรมวงศ์
เธอ ฯ ได้ ทรงแก้ ไขสําหรั บพิมพ์ใหม่ในครัง้ นี ้ รวมเปน ๒ เรื่ องด้ วยกัน
จัดเปนหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๓ ให้ เข้ าชุดกับหนังสือเรื่ อง
ชนิดเดียวกัน ซึง่ หอพระสมุด ฯ ได้ พิมพ์มาแต่ก่อน

สภานายก
หอพระสมุดวชิรญาณ
วันที่ ๑๐ มกราคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๔
สารบาน
ตํานานการเกณฑ์ทหารไทย น่า ๑
ว่าด้ วยต้ นเหตุการเกณฑ์ทหารไทยโบราณ ” ๒
ว่าด้ วยพงศาวดารตอนไทยมาจากเมืองเดิม ” ๓
ว่าด้ วยพงศาวดารตอนไทยมาสูแ่ ดนสยาม ” ๑๐
ว่าด้ วยพงศาวดารตอนไทยตังประเทศสยาม
้ ” ๑๒
ว่าด้ วยพงศาวดารตอนกรุงศรี อยุธยา ” ๑๕
ว่าด้ วยเรื่ องพงศาวดารตอนจัดวิธีการทหาร ” ๑๙
ว่าด้ วยเรื่ องพงศาวดารตอนทหารสมเด็จพระนเรศวร ” ๓๕
ว่าด้ วยเรื่ องพงศาวดารตอนตังกองทหารชาวต่
้ างประเทศ ” ๔๐
ว่าด้ วยเรื่ องพงศาวดารตอนกรุงศรี อยุธยาถึงความเสื่อม ” ๔๓
ว่าด้ วยลักษณเกณฑ์ทหารอย่างโบราณ ” ๔๗
ตํานานกรมทหารบกราบที่ ๔ ” ๕๕
ตานานการเกณฑ์ ทหารไทย

การเกณฑ์คนเปนทหารเห็นจะมี เปนประเพณีมาแต่ดกึ ดําบรรพ์


เพราะธรรมดามนุษย์ไม่เลือกว่าชาติใดภาษาใด ถ้ ารวมกันมีอาณาเขตร
อยูเ่ ปนอิศระแล้ วก็จําต้ องมีกําลังสําหรับต่อสู้สตั รู หาไม่ก็ไม่พ้นที่จะถูก
มนุษย์จําพวกอื่นแย่งชิงอาณาเขตร ฤๅกดขี่บีบคันเอาไว้ ้ ในอํานาจมิได้
เปนอิศระ ด้ วยเหตุนนการเกณฑ์ั้ ทหารเปนพนักงานสําหรับต่อสู้สตั รู
จึงเปนการจําเปนของมนุษยซึง่ อยากมีอิศระทุกชาติด้วยกัน ตังแต่ ้ ดกึ
ดําบรรพ์มาจนตราบเท่าทุกวันนี ้ แลยังจะต้ องมีตอ่ ไปภายน่าไม่แลเห็น
ว่าจะมีที่สดุ ถึงว่านา ๆ ประเทศได้ คดิ ตังสั ้ นนิบาตชาติเพื่อป้องกัน
มิให้ เ กิดสงครามก็ดี ฤๅคิดปฤกษาหาทางเลิกรบพุ่ง ด้ วยการจํากัด
เครื่ องรบก็ดี ก็จะได้ แต่เพียงลดจํานวนทหารมิให้ มากมายเหมือนแต่
ก่อน แต่ที่จะเลิกทหารทีเดียวนันหาได้้ ไม่
ก็แลการเกณฑ์ทหารนัน้ ไม่วา่ วิธีของชาติใด ฤๅเปนวิธีเกณฑ์
ในสมัยใด ถ้ าว่าโดยเค้ ามูลก็เปนอย่างเดียวกันทังนั ้ น้ คือเลือกสรร
เอาคนหนุ่ม ฉกรรจ์ อันเปนเวลามี กํ าลัง มากมาเปนทหารประการ ๑
จัด การควบคุม ให้ เ รี ยกออกรบพุ่ง พรั กพร้ อมกันได้ โ ดยเร็ วประการ๑
ฝึ กหัดลัทธิ ใ ห้ เ ข้ ม แขงในการรบประการ ๑ แต่กระบวรที่ จัดการ
เหล่านี ้ต่างประเทศจัดต่างกัน ตามความสามารถแลเหตุการณ์
ในพงศาวดาร



ประเทศนัน้ ๆ ที่มนุษย์ชาวดงบางชาติกําหนดให้ บรรดาชายทังปวง ้
เปนแต่พนักงานสําหรับรบพุ่ง ให้ ผ้ หู ญิงเปนพนักงานประกอบกิจการ
หาเลี ้ยงผู้ชายดังนี ้ก็เปนวิธีเกณฑ์ทหารอย่าง ๑ ฝ่ ายประเทศที่เจริญ
อาริ ย ภาพก็ ใช้ วิธี เ กณฑ์ เ ปนอย่างอื่ นตามสมควรแก่ความเจริ ญของ
บ้ านเมือง ดังเช่นจํากัดเวลาให้ ชายฉกรรจ์ต้องเปนทหารแต่เพียงระยะ
อันหนึ่งแล้ วปลดปล่อยให้ พ้นน่าที่บางชาติอาจจะหาคนรับจ้ างเปนทหาร
ได้ พอต้ องการ ก็เกณฑ์เก็ บเงินจากพลเมืองมาจ้ างชายฉกรรจ์แต่ที่มีใจ
สมัคเอามาเปนทหาร แต่ในหนังสือนี ้มิได้ มีประสงค์จะกล่าวถึงลักษณ
เกณฑ์ ทหารประเทศอื่ น จะอธิ บายเฉภาะวิธี เกณฑ์ทหารไทยใน
สยามประเทศของเรานี ้ แต่จําต้ องบอกไว้ เสียก่อน ว่าหนังสือเก่าซึง่ จะ
ได้ อธิบายถึงวิธีการเกณฑ์ทหารไทยแต่โบราณไว้ โดยชัดเจนนันหามี ้ ไม่
แต่เค้ าเงื่อนมีปรากฎอยูใ่ นที่ตา่ ง ๆ คือในหนังสือพงศาวดารบ้ าง
ในกฎหมายแลทําเนียบบ้ าง ข้ าพเจ้ าตรวจเก็บเอามาประกอบกับความ
สันนิฐานแต่งหนังสือเรื่ องนี ้ขึ ้นโดยอัตโนมัติ เพราะฉนันความที
้ ่อธิบาย
ต่อไปอาจจะผิดพลังมิ ้ มากก็น้อย ขอให้ ทา่ นทังหลายที
้ ่อา่ นหนังสือนี ้
จงใส่ใจไว้ ด้วย
ว่ าด้ วยต้ นเหตุการเกณฑ์ ทหารไทยแต่ โบราณ
ลักษณการเกณฑ์ทหารไทยแต่โบราณ สังเกตตามเค้ าเงื่อนที่
มีปรากฎอยู่ หลักของวิธีเกณฑ์บงั คับบันดาไทยที่เปนชายฉกรรจ์ให้ เป
นทหารทุก คนมาแต่ดัง้ เดิม การเปลี่ ย นแปลงในวิ ธี เ กณฑ์ ท หารซึ่ ง
ปรากฎ
.

มาในพงศาวดาร เปนแต่แก้ ไขส่วนพลความเปนครัง้ เปนคราว หัน
หาความสดวกในเวลาที่บ้านเมืองมีเหตุการณ์ตา่ งกัน ส่วนหลักของ
วิธีเกณฑ์ยงั คงอยูท่ กุ เมื่อ ส่วนลักษณวิธีการควบคุมทหารไทยนัน้
ดูเ หมื อ นชัน้ เดิ ม จะเอาสกุล วงศ์ เ ปนหลัก เปนต้ น ว่ า ถ้ าหัว น่ า สกุ ล
สังกัดเปนทหารหมู่ไหน ลูกหลานของผู้นนที
ั ้ ่มีตอ่ มาก็สงั กัดอยู่ใน
หมูน่ นั ้
ตามกัน วิธีควบคุมโดยกําหนดเอาท้ องที่ ๆ ตัวคนอยู่เปนหลักของการ
ควบคุม เปนวิธีเกิดขึ ้นต่อชันหลั ้ ง เหตุใดไทยเราจึงใช้ วิธีเกณฑ์
แลควบคุมทหารแต่โบราณเช่นกล่าวมาดูเหมือนพอจะพิจารณาเห็นได้
โดยเรื่ องพงศาวดารของไทย เพราะฉนั ้นจะนําเรื่ องพงศาวดารมาอธิบาย
พอให้ เห็นเค้ าความประกอบกับวิธีการทหารเปนชัน้ ๆ ไป
๑) ว่ าด้ วยพงศาวดารตอนไทยมาจากเมืองเดิม
แดนดินที่เปนสยามประเทศนี ้ เดิมทีเดียวได้ เปนที่อยูข่ องชน ๓
ชาติ ซึง่ พูดภาษาคล้ ายคลึงกัน คือพวกขอม ( ซึง่ เรี ยกกันบัดนี ้
ว่าเขมร ) อยูข่ ้ างใต้ ตอนแผ่นดินตํ่าในลุมแม่นํ ้าโขง ที่เปนแดน
กรุงกัมพูชาเดี๋ยวนี ้ชาติ ๑ พวกลาว ( คือชนชาติที่เรี ยกกันในปั จจุบนั นี ้
ว่าละว้ า ) อยูต่ อนกลาง คือในลุม่ แม่นํ ้าเจ้ าพระยานี ้ ตลอดไปทาง
ตวันออกจนในลุ่มแม่นํ ้าโขงตอนแผ่นดินสูง ( คือมณฑลนครราชสิมา
และมณฑลอุดรร้ อยเอ็จอุบลบัดนี ้ ) ชาติ ๑ พวกมอญอยู่ทางตวันตก
เฉียงเหนือตอนลุม่ แม่นํ ้าสลวิน ตลอดไปจนถึงลุม่ แม่นํ ้าเอราวดีข้างตอน
ใต้ ที่เปนแดนประเทศพม่าบัดนี ้ชาติ ๑ แดนดินที่กล่าวมานี ้

ชาวอินเดียแต่โบราณเรี ยกกันว่า “สุวรรณภูมิ” เพราะเหตุเปนที่มี
บ่อทอง อยูม่ าเมื่อราว พ.ศ. ๓๐๐ มีชาวอินเดียครัง้ ถือพระพุทธศาสนา
พากันมาตังภู ้ มิลําเนาในสุวรรณภูมินี ้ พวก ๑ มาขึ ้นที่แดนมอญแล้ ว
หาที่ตงภู
ั ้ มิลําเนาเปนลําดับมาจนในแดนลาว (ถึงท้ องที่ซงึ่ เปนมณฑล
ราชบุรีแลมณฑลนครไชยศรี บดั นี ้ ) อิกพวก ๑ แล่นเรื ออ้ อมแหลม
มลายูไปตังภู ้ มิลําเนาในประเทศจาม ซึ่งเปนเมืองญวนเดี๋ยวนี ้ ในสมัย
นันประเทศอิ
้ นเดียได้ ถึงความเจริ ญรุ่งเรื องมาแล้ วช้ านาน พวกชาว
อินเดียที่มาตังภู
้ มิลําเนาในประเทศนี ้ รอบรู้วิชาต่างๆ ยิ่งกว่า
พวกพวกแลลาวมอญซึง่ เปนชาวเมืองเดิม ก็สามารถแสดงคุณวิเศษ
ให้ พวกชาวเมื อ งนิ ย มนับ ถื อ จนยกย่ อ งยอมให้ เปนครู บ าอาจารย์
พระพุทธศาสนาจึงได้ มาประดิษฐานในประเทศนี ้ ยังมีเจดีย์สถาน คือ
พระปฐมเจดีย์เปนต้ น อันเปนของเกิดขึ ้นในชันนั ้ นปรากฎอยู
้ ่หลาย
แห่ง
ต่อมาอิกประมาณ ๔๐๐ ปี มีชาวอินเดียมาตังภู ้ มิลําเนาทางปากนํ ้า
โขงในแดนขอมอิกพวก ๑ พวกที่มาทีหลังนี ้ถือศาสนาพราหมณ์
มาได้ เปนภัศดาของนางพระยาเมืองขอม เปนเหตุให้ ราชวงศ์ขอม
กลายเปนเชื ้อชาติชาวอินเดีย แต่นนก็ ั ้ บงั คับให้ พวกขอมรับประพฤติ
ลัทธิศาสนาและประเพณีตามคติพราหมณ์ปนกับพระพุทธศาสนาซึง่ พวก
ชาวอินเดียที่มาก่อนได้ มาสอนให้ นบั ถือกันแพร่หลายแล้ วนัน้ การถือ
พระพุทธศาสนากับไสยศาสตรจึงปะปนกันแต่ นั ้นมา เมื่อพวกชาวอินเดีย
อันฉลาดรอบรู้วิชาการต่างๆ ดีกว่าพวกชาวเมืองเดิมดังกล่าวมาแล้ ว

ได้ ปกครองเมื องขอม ก็ ส ามารถจะแผ่อํานาจเหนื อชนชาติอื่นขยาย
อาณาเขตรขอมต่อออกไปโดยลําดับ จนได้ ดนิ แดนของพวกลาวทังที ้ ่
ในลุม่ แม่นํ ้าเจ้ าพระยาแลในลุ่มแม่นํ ้าโขงเปนอาณาเขตรขอม พวกลาว
ต้ องตกอยู่ในอํานาจขอมหลายร้ อยปี ตลอดสมัยนี ้พวกขอมพากันเข้ า
มาตังบ้
้ านอยูใ่ นแดนลาว ยังมีเทวสถานฤๅที่เรี ยกกันเปนสามัญว่าปราง
บ้ างกู่บ้าง ซึงพวกขอมสร้ างไว้ ด้วยศิลา ตามท้ องที่ที่ได้ ตงเมื
ั ้ อง
ปรากฎอยู่จนบัดนี ้หลายแห่ง ที่เปนเมื องใหญ่เทวสถานก็สร้ างเปนขนาด
ใหญ่ เมืองน้ อยก็สร้ างเปนขนาดย่อม ข้ อนี ้เปนเค้ าเงื่อนให้ ร้ ูลกั ษณ
การที่พวกขอมปกครองแดนลาวในสมัยนันได้ ้ อย่าง ๑ คือที่ในลุ่มแม่นํ ้า
เจ้ าพระยานี ้ ตังเมื
้ องลพบุรีเปนเมืองหลวงปกครองเขตรแดนข้ างตอน
ใต้ เปนมณฑล ๑ เรี ยกกันว่าแดนละโว้ เหนือขึ ้นไปตังเมื ้ องศุโขไทย
ปกครองเขตรแดนข้ างตอนเหนืออิกมณฑล ๑ เรี ยกกันว่าแดนสยาม
ทางแดนลาวในลุม่ แม่นํ ้าโขงมีจํานวนเมืองที่พวกขอมขึ ้นมาตั ้งมากกว่า ใน
ลุม่ แม่นํ ้าเจ้ าพระยานี ้ สังเกตตามขนาดเทวสถานที่ยงั ปรากฎ อยู่
ดูเหมือนจะจัดการปกครองเปน ๒ มณฑล คือมณฑลทางตวันตกตัง้
เมืองพิมายเปนเมืองหลวงมณฑล ๑ มณฑลทางตวันออกตังเมื ้ อง
สกลนครเปนเมืองหลวงมณฑล๑ อาณาเขตรที่พวกขอมมาตังปกครอง ้
เองนันในลุ
้ ม่ แม่นํ ้าเจ้ าพระยามีเทวสถานขอมปรากฎเพียงเมืองชะเลียง
( คือเมืองสวรรคโลก ) เปนเหนือที่สดุ ในลุม่ แม่นํ ้าโขงนันได้ ้ ยินว่า
มีเทวสถานขอมปรากฎอยูเ่ พียง เมืองเวียงจันทร์ เปนที่สดุ ข้ างฝ่ ายเหนือ

แต่เขตรแดนของพวกขอมในสมัยเมื่อมีอํานาจมากยังต่อขึ ้นไปทางฝ่ าย
เหนือ ตลอดมณฑลภาคพายัพแลแดนเมื องหลวงพระบางบัดนี ้ จน
ข้ ามไปถึงฝั่ งแม่นํ ้าโขงฟากโน้ น เหตุใดจึงมิได้ มีเทวสถานของขอม
ปรากฎอยู่ ข้ อนี ้สันนิฐานว่าเห็นจะเปนแต่เมืองที่พวกลาวยอมเสียส่วย
ต่อขอม พวกขอมหาได้ ไปตังปกครองเองไม่
้ ความสันนิฐานข้ อนี ้ก็สม
ด้ วยเรื่ องพงศาวดารที่ปรากฎมา ว่าพระยาขอมเมืองละโว้ (ลพบุรี )
ให้ นางจามเทวีราชธิดาขึ ้นไปครองเมืองหริภญ ุ ไชย (เมืองลําพูน )
เห็นได้ วา่ เปนวิธีการที่พวกขอม ขยายอํานาจเอาเมืองส่วยเปนเมือง
ปกครองเองต่อออกไป แต่เรื่ องนางจามเทวีเปนการชันหลั ้ ง นาง
จามเทวีขึ ้นไปเมื่ออํานาจขอมในลุ่มแม่นํ ้าเจ้ าพระยาจวนจะเสื่อมอยู่แล้ ว
พวกขอมขยายการปกครองขึ ้นไปได้ ถึงเมืองหริ ภุญไชยไม่ช้านานเท่าใด
พระเจ้ าอนุรุธมหาราช ฤๅเรี ยกอิกอย่างหนึง่ ว่าพระเจ้ าอโนรธามังช่อ
ซึ่ง ครองเมื อ งพุก ามในประเทศพม่าก็ ปราบปรามเมื องมอญไว้ ไ ด้ ใ น
อํานาจ แล้ วยกกองทัพมาตีเมืองลาว ปราบปรามทังพวกขอมแล

ลาวในลุม่ แม่นํ ้าเจ้ าพระยาไว้ ในอํานาจพม่าประมาณร้ อ ยปี พออํานาจ
พม่าอ่อนลงก็ถึงสมัยซึง่ ชนชาติไทยลงมาเปนใหญ่ในประเทศนี ้
ชนชาติไทยนั ้นแต่เดิมตั ้งบ้ านเมืองอยู่ในประเทศที่เปนแดนจีนข้ าง
ฝ่ ายใต้ บดั นี ้ คือมณฑลที่เรี ยกกันว่าฮุนหนํา กุยจิ๋ว กวางใส กวางตุ้ง
๔ มณฑล นี ้เปนบ้ านเมืองเดิมของไทย ปกครองกันอยูเ่ ปนอิศระ
หลายพวกหลายเหล่า (แม้ ทกุ วันนี ้ก็ยงั มีไทยพูดภาษาเดียวกับเราอยู่

ใน ๔มณฑลนันเปนอั ้ นมาก ) ครัน้ จีนมีอํานาจขึ ้นก็คอ่ ยรุกแดนไทยมา
โดยอันดับ ความที่กล่าวในเรื่ องสามก๊ กว่าขงเบ้ งทําสงครามปราบปราม
พวกฮวนนัน้ ที่แท้ ก็คือการที่จีนรุกแดนไทยนันเอง ้ เมื่อไทย
ถูกจีนรุ กรานเดือดร้ อน พวกที่ไม่อยากอยู่ในอําานจจีนจึงพากันอพยพ
มาหาบ้ านเมืองอยู่ใหม่ตงแต่ ั ้ เมื่อราว พ.ศ. ๘๐๐ มาหาที่ตงภู ั ้ มิลําเนา
อยู่ทางทิศตวันตกได้ หลายแห่ง เมื่อความนัน้ ปรากฎก็มีพวกไทยทิง้
เมืองเดิม ติดตามกันเรื่ อยมาพวก ๑ ไปรวบรวมกันตังบ้ ้ านเมืองเปน
ภูมิลําเนาอยูใ่ นมี่ลมุ่ แม่นํ ้าสลวิน พวกนี ้ต่อมาได้ นามว่า “ไทยใหญ่

ฤๅที่เรี ยกอิกอย่างหนึง่ ว่าเงี ้ยวในบัดนี ้ อิกพวก ๑ อพยพแยกลงมาทาง
ทิศใต้ มาตังบ้้ านเรื อนเปนภูมิลําเนาอยูต่ อนลุม่ แม่นํ ้าโขง พวกนี ้
ได้ นามว่า “ ไทยน้ อย “ คือไทยพวกเรานี ้แล ไทย ๒ พวกที่กล่าวมานี ้
ต่างมีเจ้ านายเปนชาติไทยด้ วยกันเองปกครองแยกกันเปนหลายอาณาจักร
เมืองที่พวกไทยใหญ่ไปตังทางลุ
้ ่มแม่นํ ้าสลวินได้ นามสืบมาว่า “ สิบเก้ า
เจ้ าฟ้า “ ส่วนเมืองที่พวกไทยน้ อยมาตังทางทิ
้ ศใต้ ได้ นามว่า “ สิบสอง
เจ้ าไทย “ (เรี ยกกันเปนสามัญตามสําเนียงชาวเมืองว่าสิบสองจุไทย
อยู่เหนือเมืองหลวงพระบางเดี๋ยวนี ้ ) ตอนต่อไปทางตวันตกได้ นามว่า
“สิบสองปั นนา “ (คือเมืองเชียงรุ้งเปนต้ น ) อาณาจักรไทยทังปวงนี ้ ้
เปนอิศระแก่กนั บ้ าง เปนสัมพันธมิตรบ้ านพี่เมืองน้ องเกี่ยวเนื่องกันบ้ าง
เปนไปตามเวลาที่ผ้ เู ปนใหญ่ในอาณาเขตรนันๆ ้ มีอภินิหารมากแลน้ อย
หาได้ ปกครองรวบรวมกันเปนประเทศใหญ่ยงั่ ยืนไม่ อยูม่ าจนประมาณ

พ.ศ. ๑๔๐๐ พวกไทยน้ อยที่ตงอยู ั ้ ่ในแว่นแคว้ นสิบสองเจ้ าไทยมีคน
สําคัญเปนเจ้ าเมืองแถง เรี ยกกันว่า “ขุนบรม “ สามารถชักนําพวกไทย
น้ อยให้ ขยายอาณาเขตรรุกแดนขอมลงมาข้ างใต้ ได้ เขตรแดนข้ าม
แม่นํ ้าโขงมาทางฝั่ งขวา แต่นนพวกไทยน้ั้ อยก็พากันขยายภูมิลําเนา
ต่อลงมา จึงเกิดเปนแดนไทยขึ ้นทางริ มแม่นํ ้าโขงอิก ๒ มณฑล ทาง
ตวันออกได้ ชื่อว่าแดน “ลานช้ าง “ เพราะมีช้างชุมหาช้ างใช้ เปนพาหนะ
ได้ ง่าย มณฑลทางตวันตกเรี ยกว่าแดน “ลานนา “ เพราะ
มีที่ราบ สําหรับทําไร่ นามาก ๑ ตังเมื ้ องเซ่า (คือเมืองหลวงพระบาง
เดี๋ยวนี ้ ) เปนเมืองหลวงในแดนลานช้ าง ส่วนแดนลานนานันเดิ ้ มตัง้
เมืองไชย (เรี ยกตามสําเนียงในพื ้นเมืองไจ ) เปนเมืองหลวง
แล้ วจึงสร้ างเมืองเชียงแสนเปนเมืองหลวงในแดนลานนาต่อมา เมื่อ
ไทยลงมาตังใน ้ ๒มณฑลนัน้ พวกขอมพยายามขึ ้นไปขับไล่ ต้ อง
รบพุง่ กันอยูช่ ้ านานจึงได้ มณฑลทัง้ ๒ นันเปนสิ
้ ทธิ์แก่ไทย
เรื่ องพงษาวดารในตอนนี ้ส่อให้ เห็นว่า เหตุใดไทยจึงใช้ ประเพณี
บังคับบรรดาชายไทยให้ เปนทหาร แลเหตุใดจึงใช้ สกุลวงศ์เปนหลักของ
การควบคุมทหาร เหตุเพราะไทยขยายเขตรแดนลงมาครัง้ นันความมุ ้ ่ง
หมายจะมาตั ้งภูมิลําเนาเอาเปนที่อยู่ มิใช่จะตั ้งหน้ ามาเที่ยวปล้ นทรัพย์

๑ ในหนังสือพงศาวดารมักเรียกว่า ล้ านช้ าง อธิบายในพงศาวดารเหนือว่า


เมื่อเกิดพระยาแกรกเปนผู้มีบญ
ุ ขี่ม้าเหาะมา พระยาโคตระบองเจ้ าเมืองขอมเห็นเข้ าเอา
ตะบองขว้ างพระยาแกรก ตะบองไปตกถูกช้ างในมณฑลนันตาย
้ ๑,๐๐๐,๐๐๐ ตัว จึง
ได้ นามว่าล้ านช้ าง พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้ าเจ้ าอยูห่ วั ทรงพระราชดําริห์เห็น
ว่าชื่อลานนาทางนี ้มีเปนหลักอยู่ ชื่อทางโน้ นคงเปนลานช้ างเปนคูก่ นั มาแต่เดิม


จับเชลยไปใช้ สอยเหมือนอย่างเช่น ที่พม่ามาตีกรุ งศรี อยุทธยาเมื่อชัน้
หลังพวกไทยที่ลงมาครัง้ นันย่ ้ อมมาเปนพวกๆ ที่รวมใจเปนอันหนึ่งอัน
เดียวกันในพวก ๑ คงร่วมเชื ้อสายวงศ์สกุลอันเดียวกันเปนพื ้น มาตัง้
ภูมิลําเนาที่ไหนก็ตงบ้ ั ้ านเรื อนอยู่ด้วยกัน พวกที่มาด้ วยกันนันนั
้ บถือใคร
มาก คนนันก็ ้ ได้ เปนเจ้ าหมู่ รองลงมาใครเปนหัวน่าในครัวเรื อน
ไหนก็ควบคุมลูกหลานว่านเครื อของตน ทังในเวลาอยู ้ เ่ ปนปรกติแลเวลา
รวบรวมกันไปทําการสงคราม ครัน้ ได้ ภมู ิลําเนาแห่งใดเปนที่มนั่
แล้ ว ยังต้ องคอยป้องกันสัตรู ที่พยายามจะขับไล่ เพราะฉนัน้ กํ าลังมี
เท่าใดต้ องเตรี ยมไว้ เต็มที่อยู่เสมอ ด้ วยเหตุนีก้ ็จําเปนอยู่เองที่จะต้ อง
บังคับบรรดาชายให้ เปนทหารทุกคน แลให้ ควบคุมกันโดยวงศ์สกุล ทํา
นองการทหารที่ เ ปนอยู่ ใ นหมู่ไ ทยชัน้ สมัย นัน้ เมื่ อ พวกไหนไปตัง้
ภูมิลําเนาอยู่ในตําบลใด ผู้ที่เปนหัวน่าของพวกนันก็ ้ จะเปนทังนาน

บ้ าน
แลนายกองทหารทัง้ ๒ สถาน ขึ ้นอยูใ่ นเมืองซึง่ เปนเจ้ าของอาณาเขตร
นัน้ เวลาเจ้ าเมืองจะต้ องการกําลังไปรบพุ่งที่แห่งใด ก็สงั่ นายบ้ านให้
เกณฑ์ กําลัง ไปเข้ ากองทัพ เอาเครื่ องสาตราวุธ ยุธ ภัณฑ์ พ าหะนะแล
สเบียงอาหารของตนไปเองทังสิ ้ ้น ผลประโยชน์ที่ได้ ในการไปรบ
นัน้ ถ้ ามีไชยชนะก็ได้ สว่ นแบ่งทรัพย์สมบัตขิ องข้ าศึก แลได้ ตวั ข้ า
ศึกซึง่ จับเปนเชลยมาใช้ สอย เปนพระเพณีมีแต่ดงเดิ ั ้ มมาดังนี ้


๑๐
๒) ว่ าด้ วยพงศาวดารตอนไทยมาสู่แดนสยาม
เรื่ องพงศาวดารต่ อมามีเนือ้ ความในหนังสือตานาน
โยนกว่ า อยู่มา
มี ค นสํ า คัญ เกิ ด ขึน้ ในพวกไทยที่ ม าตัง้ อยู่ใ นแดนลานนาอิ ก คนหนึ่ ง
เรี ยกว่า “ ท้ าวมหาพรหม ” เปนเจ้ าเมืองเชียงแสน สามารถขับไล่พวก
ขอมชิงเอาดินแดนได้ ต้องลงมาในตอนลุม่ แม่นํ ้าเจ้ าพระยา จนถึงเมือง
ชะเลียง ( คือเมืองสวรรคโลก ) ๑ ได้ ที่มนั่ ในแดนสยามเปนทีแรกเมื่อ
ราว พ.ศ.๑๗๐๐ในสมัยนันพม่ ้ าเมืองพุกามเสื่อมอํานาจ พวกขอมกลับ
ได้ ปกครองเมืองลาวในลุม่ แม่นํ ้าเจ้ าพระยาอิก แต่อํานาจขอมก็อ่อนลง
ไม่เหมือนแต่ก่อน คงเปนด้ วยเหตุนี ้ขอมจึงต้ องทําไมตรี ดีกับไทยยอม
ยกดินแดนตอนลุ่มแม่นํ ้าเจ้ าพระยาให้ ไทยปกครองเปนประเทศราชลง
มาจนเมืองชะเลียง ต่อมาเมื่อใกล้ จะถึง พ.ศ.๑๘๐๐ พวกขอม
กับไทยเกิดรบกันขึน้ อิก ไทยมี ไชยชนะพระร่ วงก็ ได้ เปนใหญ่ในแดน
สยาม (คือ มณฑลพิศณุโลก กับมณฑนครสวรรค์บดั นี ้ ) ครอง
เมืองศุโขไทยเปนราชธานี มีพระนามเรี ยกในศิลาจารึ กว่า “ พ่อขุนศรี
อินทราทิต ” เปนต้ นราชวงศ์ ซึง่ ครองกรุงสุโขไทยสืบมา
การที่ไทยลงมาได้ แดนสยามเปนหัวต่อข้ อสําคัญในพงศาวดาร ผิด
กับเมื่อได้ แดนลานนาแลลานช้ าง เหตุด้วยแดนลานนากับลานช้ างนัน้
เปนแต่เมืองส่วยของขอม พวกลาวปกครองอยูต่ ามประเพณีดงเดิ ั้ ม
แต่แดนสยามเปนเมืองที่พวกขอมได้ ไปตังภู ้ มิลําเนาปกครองมาหลาย
๑ ในหนังสือตํานานโยนกว่าท้ าวมหาพรหมขับไล่ขอมลงมาจากเมืองกําแพงเพ็ชรแต่
หลักฐานมเพยงมาถึงเมืองสวรรคโลก

๑๑
ร้ อยปี พลเมืองมีทงขอมทัั้ งลาว
้ แลพวกเชื ้อสายอันเกิดแต่ชน ๒ ชาติ
นันปะปนกั
้ น ถือขนบธรรมเนียมตามแบบอย่างซึ่งพวกขอมได้ รับรู้มาแต่
ชาวอินเดียดังกล่าวมาแล้ ว เมื่อไทยลงมาได้ แดนสยาม มาได้ เปนใหญ่
ในบ้ านเมืองอันมีวิธีการปกครองเปนระเบียบแบบแผนไม่ เหมือนกับเมือง
ลาวตอนเหนือ เพราะเหตุนี ้เมื่อไทยได้ มารู้เห็นขนบธรรมเนียมของพวก
ขอม เห็นอย่างใดดีก็รับประพฤติตาม เพื่อให้ สดวกแก่การปกครอง
แลโดยเลื่อมใสต่อประโยชน์ของการนัน้ ๆ ประเพณี แลภาษาของไทย
เมืองใต้ จึงจับแผกผิดกับไทยเมืองเหนือที่อยู่ทางแดนลานนา แลลาน
ช้ างเปนเดิมแต่นีม้ า แต่การที่ เกิดแผกผิดกันนัน้ ค่อยเกิดค่อยเปนมา
โดยอัน ดั บ มิ ไ ด้ ร วดเร็ ว ข้ อ นี จ้ ะพึ ง สัง เกตเห็ น ได้ ในหนัง สื อ โบราณจะ
ยกตัว อย่ างเช่ น ศิล าจารึ ก ของพระเจ้ ารามคําแหงอัน เปนรั ช กาลที่ ๓ ใน
ราชวงศ์พระร่ วง จารึ กเมื่อราว พ.ศ. ๑๘๔๐ คําจารึ กนันยั ้ งเปนภาษา
ไทยเก่ามีคําขอมเช่นว่า “ บําเรอ” แล ”พนม” เปนต้ น เจือปนไม่
มากนัก
ถึงประเพณีในราชสํานักที่ปรากฎในจารึ กนัน้ ดูก็เปนทํานองประเพณี
อย่างไทยอยู่เปนพื ้น ดังเช่นให้ ผกู สายกระดึง่ ไว้ ที่ประตูวงั ใคร “ เจ็บ
ท้ องข้ องใจ” จะใคร่เพ็ดทูลร้ องทุกข์เมื่อใดก็ให้ ไปชักสายกระดึง่ เปน
สัญญาถึงพระองค์ได้ ทกุ เมื่อดังนี ้เปนต้ น อิกอย่าง ๑ เช่นทําพระแท่น
มนังศิลาตังไว้
้ ในดงตาล ให้ พระเถระนัง่ แสดงธรรมแก่สปั รุษในวัน
ธรรมสวนะ พระเจ้ า แผ่นดินเสด็จ ประทับบนพระแท่นมนัง คศิลาว่า
ราชการกลางดงตาลนั ้นในวันอื่นๆ อันนี ้ดูน่าจะเปนประเพณีเดิมของพวก
ไทย

๑๒
ครัน้ ต่อมาอิกประมาณ๖๕ ปี ถึงรัชกาลที่๕ ในราชวงศ์พระร่วง พระเจ้ า
ธรรมราชาลิไทยทําศิลาจารึ กอิก คราวนี ้จารึ กมีทงภาษาไทยแลภาษา
ั้
ขอม ประเพณี ในราชสํานักที่ปรากฎในจารึกชันนี ้ ้ก็ปรากฎการพิธีขอม
เข้ าในราชประเพณีมีพิธีราชาภิเศกเปนต้ น เห็นได้ วา่ ไทยรับลัทธิ
ต่างๆ แต่พวกขอมยิ่งขึ ้นโดยลําดับมา การที่ทหารไทยเปนกรม
ต่างๆ เห็นจะเกิดขึ ้นในชันนี ้ ้ แต่มีเฉภาะในราชธานี ที่หา่ งออกไป
ก็คงเปนอยูอ่ ย่างเดิม
๓) ว่ าด้ วยพงศาวดารตอนไทยตัง้ ประเทศสยาม
ลักษณที่ไทยขยายอาณาเขตรลงมาข้ างใต้ ตามที่กล่าวมา ใน
ชั ้นแรกมีเค้ าเงื่อนว่าความมุ่งหมายเปนข้ อสําคัญเพียงจะตั ้งบ้ านเมืองอยู่
ให้ เปนอิศระแก่ตน ความข้ อนี ้เห็นได้ โดยแผนที่ เช่นแว่นแคว้ นสิบเก้ า
เจ้ าฟ้าก็ดี สิบสองเจ้ าไทยก็ดี แลสิบสองปั นนาก็ดี ไทยตังบ้ ้ านเมือง
หลายอาณาเขตรในมณฑลที่อันน้ อย ถึงชันเมื ้ ่อมาตังเปนอิ
้ ศระอยู่ใน
แดนลานนา พระเจ้ าเม็งรายกับพระเจ้ างําเมืองตังราชอาณาจั้ กรเปน
อิศระแก่กนั อยู่ที่เมืองเชียงใหม่แห่ง ๑ แลที่เมืองพเยา (อันเปนเมือง
ขึ ้นของเมืองนครลําปางบัดนี ้ ) แห่ง ๑ ก็อยู่ในแดนดินน้ อย เห็นได้ ว่า
ถือตามประเพณีเดิมของไทย ไทยพวกพระร่วงที่ลงมาได้ แดนสยาม
ชั ้นเดิมก็ปกครองอาณาเขตร อย่างเดียวกับพวกไทยที่ตั ้งเปนอิศระในแดน
ลานนา คือถื อเอาการที่ควบคุมกันให้ มั่นคงในเขตรที่อันน้ อยเปนสําคัญ
กว่าที่จะขยายอาณาเขตรให้ ใหญ่โต ข้ อนี ้เห็นได้ ด้วยปรากฎว่ามี

๑๓
อาณาเขตรเมืองฉอดเปนอิศระอยู่ใกล้ ๆ (คือที่ อยู่ด่านแม่สอดแขวง
เมืองตากทางทิศตวันตก ) แลขุนสามชนเจ้ าเมืองฉอดสามารถยก
กองทัพมาตีถึงเมืองตากในเวลาเมื่อพระเจ้ าศรี อินทราทิตครองกรุงศุโข
ไทย ต้ องรบพุง่ กันเปนโกลาหล พวกชาวศุโขไทยเกือบจะพ่ายแพ้
หากมีนกั รบสําคัญเปนราชโอรสที่ ๓ ของพระเจ้ าศรี อินทราทิตเข้ าชนช้ าง
ชนะขุนสามชนเจ้ าเมืองฉอด พวกชาวศุโขไทยจึงมีไชย ครัน้ ราชโอรส
องค์นนได้
ั ้ เสวยราชย์ครองแดนสยามเปนรัชกาลที่ ๓ ทรงพระนามว่า
พระเจ้ ารามกํ า แหงมี อ านุภ าพมากจึ ง ขยายอาณาเขตรออกไปกว้ า ง
ขวางทางทิศเหนือได้ เมืองแพร่เมืองน่านตลอดไปจนแม่นํ ้าโขง ทางทิศ
ตวันออกได้ แดนขอมทางฝ่ ายเหนือ (ที่เปนมณฑลอุดรบัดนี ้ ) ไปจน
เมือง
เวียงจันท์คํา ทางทิศใต้ ได้ บ้านเมืองเปนราชอาณาเขตรลงไปจนสุด
แหลมมลายู ทางทิศตวันตกได้ หวั เมืองมอญทังปวงไปจนถึ
้ งเมือง
หงษาวดี พระเจ้ ารามกํ า แหงเปนพระเจ้ าราชาธิ ร าชผู้ ตัง้ สยาม
ประเทศเปนของไทยสืบมาจนบัดนี ้แต่เมื่อครัง้ พระเจ้ ารามกําแหงนั ้นแดน
ลานนายังเปนสิทธิ์ อยู่แก่ไทยพวกอื่น พระเจ้ าเม็งรายครองเมือง
เชียงใหม่
มีอาณาเขตรขึ ้นไปจนเมืองเชียงรายเชียงแสนเปนอิศระอยู่ก๊ก ๑ พระ
เจ้ างําเมืองครองพเยา (เข้ าใจว่ามีอาณาเขตรลงมาจนเมืองนคร
ลําปาง)เปนอิศระอยู่อิกก๊ ก๑ ในพงศาวดารฝ่ ายเหนือว่าพระเจ้ าเม็งราย
พระเจ้ างําเมืองเปนมหามิตรสนิทสนมกับพระเจ้ ารามกําแหงเห็นจะเปน
โดยถือว่าเปนว่านเครื อเชื ้อไทยพวกเดียวกันมาแต่เดิม ส่วนทางตวันออก
ข้ างตอนใต้ ( คือเมืองลพบุรีแลมณฑลปราจิณบุรีมณฑลจันทบุรีบดั นี ้

๑๔
ทังมณฑลร้
้ อยเอ็จมณฑลอุบลแลมณฑลนครราชสิมา ) ยังคงเปน
อาณาเขตรขอม เห็นจะเปนเพราะพระเจ้ าแผ่นดินขอมที่พระนครหลวง
ขอไว้ โดยทางไมตรี พระเจ้ ารามกําแหงจึงหาได้ ไปรุกราญไม่
เมื่อพระเจ้ ารามคําแหงแผ่ราชอาณาเขตรได้ กว้ างใหญ่ไพศาลถึง
ปานนัน้ คงต้ องจัดวางระเบียบการปกครองพระราชอาณาเขตรเปน
อย่างใดอย่างหนึ่ง แลลักษณการปกครองพระราชอาณาเขตรครัง้ พระ
เจ้ ารามคําแหงนัน้ สังเกตตามเค้ าเงื่อนอันมีอยูใ่ นที่ตา่ งๆ ดูเหมือน
จะเปนเช่นนี ้ คือกําหนดท้ องที่เปนเขตร ๓ ชัน้ ราชธานีเปนเขตรชันใน ้
เมืองรายรอบราชธานีเปนชันกลาง้ เมืองชันนอกออกไปเปนประเทศราช

วิธีปกครองราชธานีนั ้นก็ปกครองโดยรู ปลักษณการที่ปกครองตําบลตาม
แบบเดิมดังได้ กล่าวมานั ้นเอง คือพระเจ้ าแผ่นดินเปนทั ้งเจ้ าเมืองแลเปน
จอมพลกองทัพหลวง บรรดาชายฉกรรจ์ในราชธานีก็เปนทังพลเมื ้ อง
แลทหารในกองทัพหลวง เว้ นแต่คนต่างชาติตา่ งภาษาไม่เอาเปนทหาร
ด้ วยไม่ไว้ ใจ ราชการทังฝ่
้ ายทหารแลพลเรื อนบันดามีใช้ ทหารทําทังนั
้ น้
เมืองชันกลางนั
้ น้ พระเจ้ าแผ่นดินทรงตังเจ้
้ านายเชื ้อพระวงศ์ฤๅท้ าว
พระยาที่มีบําเหน็จความชอบออกไปครองปกครองตามพระราชกําหนด
กฎหมายซึ่งตังขึ้ ้นในราชธานี เปนแต่จดั ระเบียบการปกครองแยกไป
เมืองหนึง่ เปนส่วนหนึง่ ต่างหาก ถ้ ามีสงครามรี พ้ ลอยูใ่ นเมืองไหน
ก็รวมเข้ ากองทัพเมื องนัน้ แล้ วแต่ราชธานี จะมีคําสั่ง ให้ ยกไปแต่โดย
ลําพังฤๅให้ ไปสมทบเข้ ากระบวนทัพหลวง เมืองชันนอกที ้ ่เปนเมือง

๑๕
ประเทศราชนัน้ เพราะเหตุที่มักเปนเมืองต่างชาติต่างภาษา ยอมให้
เจ้ านายของชนชาตินัน้ ๆ ปกครองตามประเพณี ของชาตินนั ้ ๆเองเป
นต่างภาษายอมให้ เจ้ านายของชนชาตินนั ้ ๆ เอง เปนแต่ให้ ส่งเครื่ อง
ราชแต่ให้ ส่งเครื่ องราชบรรณาการ มีต้นไม้ ทองเงินเปนต้ น กับส่วย
สิ่งของ
ต่างๆอันมีมากในเมืองนัน้ ๆ มาถวายเปนกําหนดมิให้ ขาด แม้ มี
กาสงครามจะเกณฑ์กองทัพให้ ยกมาช่วยราชการ ก็มกั เกณฑ์แต่
ที่เปนศึกใหญ่ โดยปรกติต้องการเพียงให้ เมืองชันนอกรั
้ กษาชาย
พระราชอาณาเขตรมิให้ ประเทศอื่นมารุกราญยิ่งกว่าอย่างอื่น เข้ าใจว่า
ระเบียบการปกครองเช่นว่ามานี ้ จะจัดตังแต่
้ ครัง้ พระเจ้ ารามคําแหงเปน
ต้ นมา
๔) ว่ าด้ วยพงศาวดารตอนกรุงศรีอยุธยา
ได้ เปนใหญ่ ในประเทศสยาม
ราชอาณาเขตรกรุ ง ศุโ ขไทยอัน แผ่ ไ พศาลเมื่ อ ครั ง้ พระเจ้ า
รามคําแหงนัน้ แม้ จะได้ วางวิธีการปกครองอย่างใดก็ดี ที่แท้
นันคง

เปนปรกติอยู่ได้ ด้วยความยําเกรงพระเดชานุภาพของพระเจ้ ารามคําแหง
เปนข้ อสําคัญยิ่งกว่าอย่างอื่น ข้ อนี ้เห็นได้ โดยเรื่ องพงศาวดารตอน
ต่อมา พอพระเจ้ ารามคําแหงสวรรคต พระยาเลอไทย ๑ ราชโอรส
ได้ รับรัชทายาทเปนรัชกาลที่ ๔ ในราชวงศ์พระร่ วง หัวเมืองมอญที่
เปนประเทศราชก็เป็ นขบถ กองทัพกรุ งศุโขไทยออกไทยออกไปปราบปราม

๑ เคยสําคัญนามนี ้ว่า “ เลือไทย” ครัน้ ตรวจสอบศิลาจารึกเห็นเปนอักษร ล แน่


หาใช่ ส ไม่ เพราะฉนันจึ
้ งเปนเลือไทย คําว่าเลือเปนคําเดียวกับเลอ เช่นใช้ กนั ในชัน้ หลัง
มาว่าเลอสรวงเปนต้ น จึงใช้ วา่ เลอไทยในที่นี ้เพื่อให้ เข้ าใจง่าย

๑๖
เอาไชยชนะไม่ได้ หัวเมืองมอญจึงเลยเปนอิศระแต่นนมา ั้ หัวเมือง
ไทยทางข้ างเหนือ เช่นเมืองเวียงคําก็เห็นจะพลอยเปนอิศระ
ในคราวนี ้ด้ วย แต่หวั เมืองไทยที่เปนชันกลางอยู ้ ท่ างใต้ นนั ้ เห็น
จะเปนราชธานียงั คงขึ ้นกรุงศุโขไทยอยูอ่ ย่างเดิม
เมืองขึ ้นที่อยูข่ ้ างตอนใต้ ในครัง้ พระเจ้ ารามคําแหงนัน้ มีชื่อ
ปรากฎอยู่ในศิลาจารึกของพระเจ้ ารามคําแหง คือ เมืองแพรก (เมือง
สรรค์บดั นี ้ ) ๑ เมืองสุวรรณภูมิ (เรี ยกแปลเปนภาษาไทยว่าเมือง
อูท่ อง เดี๋ยวนี ้เปนร้ างอยูใ่ นแขวงอําเภอจรเข้ สามพันจังหวัด
สุพรรณบุรี )๑ เมืองราชบุรี ๑ เมืองเพ็ชรบุรี ๑ เมืองนครศรี ธรรมราช
๑ เมืองอูท่ องเปนเมืองสําคัญยิ่งกว่าเมืองอื่น เพราะเปนเมืองเก่าตังมา ้
แต่ก่อนพวกขอมเข้ ามาเปนใหญ่ (รุ่นเดียวกับเมืองนครปฐม แต่เมือง
นครปฐมนันร้ ้ างไปเสียก่อน คงเหลืออยูแ่ ต่เมืองอูท่ อง ) ทําเลที่มีไร่นาบ
ริ บูรณ แลอยู่ใกล้ ปากนํ ้ามีทางไปมากับนา ๆ ประเทศได้ สดวก เปน
เหตุให้ มีกําลังกว่าเมืองเพ็ชรบุรีราชบุรีแลเมืองสรรค์ ซึ่งอยู่ใกล้ เคียงกัน
จึงเปนที่ยําเกรงของเจ้ าเมืองเหล่านัน้ เมื่อครัง้ พระเจ้ ารามคําแหงเห็น
จะให้ เจ้ าเมืองอู่ทองรักษาราชอาณาเขตรที่ต่อแดนขอมทางเมืองละโว้
แต่การที่รุกแดนขอมทางนี ้ไม่ปรากฎในจารึกของพระเจ้ ารามคําแหง จึง
ประมาณว่าเห็นจะเปนในสมัยเมื่อพระเจ้ าเลอไทยครองกรุงศุโขไทยใน
รัชกาลที่ ๔ เจ้ าเมืองอูท่ องจึงชิงแดนขอมทาง
ตวันออกได้ ทงเมื
ั ้ องลพบุรีแลหัวเมืองทังปวงอั
้ นอยูใ่ นมณฑลปราจิณบุรี

๑๗
บัดนี ้ ขยายแดนเมืองอูท่ องต่อมาทางตวันออก ได้ ปากนํ ้าของเมือง
เหนือ คือปากนํ ้าเจ้ าพระยาเปนต้ น ไว้ ในอาณาเขตรทังหมด ้ พอ
พระเจ้ าเลอไทยสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๐ พระเจ้ าอู่ทองก็ย้ายมาอยู่
เมืองอโยธยา ต่อมาอิก ๓ ปี ก็สร้ างกรุงศรี อยุธยาตังเปนอิ
้ ศระไม่ยอม
ขึ ้นต่อพระเจ้ าธรรมราชาลิไทยราชโอรสของพระเจ้ าเลอไทย ซึ่งได้ ครอง
กรุงศุโขไทยเปนรัชกาลที่ ๕ ในราชวงศ์พระร่วง เมื่อพระเจ้ าอู่ทอง
ประกาศเปนอิศระนันพวกเจ้
้ าเมืองทางฝ่ ายใต้ ตังแต่
้ เมืองสวรรค์ลงมา
อ่อนน้ อมเปนพรรคพวกของพระเจ้ าอู่ทองหมดทุกเมือง พระเจ้ าอู่
ทองมีกําลังมากจนสามารถตีเมืองนครหลวง ๑ อันเปนราชธานีของ
ประเทศขอมได้ ก็ได้ หัวเมืองขอมที่ต่อติดกับเขตรแดนกรุ งศรี อยุธยา
(คือมณฑลนครราชสิมาแลมณฑลจันทบุรีบดั นี ้ ) มาไว้ ในราชอาณา
เขตร พระเจ้ าธรรมราชาลิไทยกรุ งศุโขไทยเห็นจะเอากรุ งศรี อยุธยาไว้
ในอํานาจไม่ได้ แต่ก่อน จึงยอมเปนไมตรี อย่างเปนบ้ านพี่เมืองน้ องกับ
กรุงศรี อยุธยา ๒ ทํานองเช่นกรุงศุโขไทยเคยเปนไมตรี กบั เมืองเชียงใหม่
มาแต่ก่ อ น แต่นัน้ ไทยที่ ม าเปนใหญ่ ใ นประเทศนี ก้ ็ แ ยกกันเปน ๒
อาณาจักร ๓ เรี ยกกันเปนสามัญว่าเมืองเหนือก๊ ก ๑ เมือง

๑ เมืองนครหลวงนี ้ขอมเรียกว่า “นครธม “


๒ ทางไมตรีระหว่าง ๒ พระนครตอนนี ้ ในบานแพนกกฎหมาย (ลักษณลักพา )
ครัง้ พระเจ้ าอูท่ องกล่าวว่า “เมืองท่านเปนอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ ว “ ดังนี ้.
๓ ในจดหมายเหตุจีนว่า เดิมเสียมก๊ ก (แดนสยาม ) อยู่ข้างเหนือ โหลฮกก๊ ก
(แดนละโว้ ) อยูข่ ้ างใต้ แล้ วรวมกันจีนจึงเรียกว่า “ เสียมโหลก๊ ก”

๑๘
ใต้ ก๊ก ๑แต่วา่ เปนไมตรี ปรองดองกันมาเพียงตลอดรัชกาลพระเจ้ าธรรม
ราชาลิไทยแลพระเจ้ าอูท่ อง ซึง่ ทรงพระนามประกาสิต ว่าสมเด็จพระ
รามาธิ บ ดี อัน เปนปฐมกระษั ต ริ ย์ ใ นกรุ ง ศรี อ ยุธยา ครั น้ กระษั ต ริ ย์ ๒
พระองค์ นัน้ สวรรคตทางไมตรี ก็ข าดกัน เกิ ด สงครามขึน้ ในระหว่า ง
สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พงัว) ที่ ๑ ซึ่งได้ ครองกรุงศรี อยุธยากับ
พระมหาธรรมราชาไสยฦาไทยราชโอรสของพระเจ้ าธรรมราชาลิไทยซึ่ง
ได้ เสวยราชย์ครองราชย์ครองศุโขไทย รบกันอยู่ ๗ ปี พวกกรุงศุโขไทยสู้
กําลังกรุงศรี อยุธยาไม่ได้ ต้องยอมแพ้ เมื่อ พ.ศ. ๑๙๒๑ สมเด็จพระ
บรมราชาธิราชจึงแบ่งแดนราชอาณาจักรฝ่ ายเหนือออกเปน ๒ มณฑล
ตังเมื
้ องกํ าแพงเพ็ชรเปนเมืองหลวงปกครองหัวเมื องทางลําแม่นํา้ พิง
มณฑล ๑ ให้ เมืองศุโขไทยคงเปนเมืองหลวงปกครองหัวเมืองทาง
ลําแม่นํ ้าแควใหญ่มณฑล ๑ แต่นนราชอาณาจั
ั้ กรกรุงศุโขไทยก็ลดลง
เปนแต่ประเทศราชขึ ้นกรุงศรี อยุธยา เจ้ านายเชื ้อราชวงศ์พระร่วงยังได้
ปกครองเปนประเทศราชต่ อ มาอิ ก ประมาณ ๕๐ ปี ครั น้ ถึ ง แผ่น ดิ น
สมเด็จพระบรมราชาธิราช (สามพระยา ) ที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๗ ไม่มี
เจ้ านายในราชวงศ์พระร่ วงซึง่ จะสามารถปกครองบ้ านเมืองต่อไป สมเด็จ
พระบรมราชาธิ ราชจึงทรงอภิเศกพระราเมศวรราชโอรสซึ่งจะรั บรั ชทายาท
ให้ เปนพระมหาอุปราชขึ ้นไปครองหัวเมืองทังปวงอยู
้ ่ณเมืองพิศณุโลก
รวมการปกครองพระราชอาณาจักรทังปั ้ กษ์ ใต้ ฝ่ายเหนือเปนอันหนึ่งอัน
เดียวกันแต่นนมา
ั้

๑๙
๕ ) ว่ าด้ วยเรื่องพงศาวดารตอนจัดวิธีการทหาร
ความในหนังสือพระราชพงศาวดารยุตติ ้ องกับกฎหมายเก่า
ปรากฎว่าการจัดตังแบบแผนกระทรวงทะบวงการทหารพลเรื
้ อนพึง่ จัด
ต่อเมื่อแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ราชโอรสของสมเด็จพระ
บรมราชา
ธิราชสามพระยาซึง่ เสวยราชย์เมื่อพ.ศ. ๑๙๙๑ ก่อนนันหาปรากฎ

ว่า
จัดอย่างใดไม่ แต่เมื่อพิเคราะห์ตามเรื่ องพงศาวดารจําเดิมแต่พระเจ้ า
อูท่ องตังเปนเอกราชมา
้ กรุงศรี อยุธยาได้ ทําสงครามเนือง ๆ ที่เปน
ศึกใหญ่ก็หลายครัง้ เช่นไปตีนครธมราชธานีขอม ตีกรุงศุโขไทย
แลขึ ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ ถ้ าทหารไทยในครัง้ นันไม่
้ มีแบบแผนวิธีจดั การ
ควบคุม ตลอดจนยุทธวิธีเปนอย่างดีแล้ ว ที่ไหนจะสามารถทําสงคราม
ได้ ไชยชนะดังปรากฎมาในเรื่ องพงศาวดาร จึงสันนิฐานว่า
พวกชาวกรุงศรี อยุธยาครัง้ นัน้ เห็นจะได้ แบบอย่างทังวิ ้ ธีการทหารแล
พลเรื อนของขอมมาพิจารณาเปรี ยบเทียบกับของไทย เลือกสรรเอา
ที่ดีทง๒ฝ่
ั ้ ายปรุงประสมกันเปนวิธีการของชาวกรุงศรี อยุธยา จึงสามารถ
รบพุง่ เอาไชยชนะได้ ทงพวกขอมแลไทยพวกอื
ั้ ่นๆ ทังนี ้ ้ก็เปนธรรมดา
เพราะพวกชาวกรุงศรี อยุธยาอยูใ่ กล้ ชิดติดต่อกับแดนขอมมาแต่เดิมแล้ ว
ตีได้ ราชธานีขอม ได้ ผ้ คู นมาเปนอันมาก คงมีผ้ รู ้ ูราชประเพณี
แลตําหรับตําราวิชาการต่างๆ ของขอมมาอยูใ่ นกรุงศรี อยุธยามาก
ด้ วยกัน ชาวกรุงศรี อยุธยาจึงสามารถล่วงรู้ประเพณีการต่าง ๆ ของ
พวกขอม การอันใดเห็นว่าดีก็เลือกสรรเอามาใช้ เปนแบบอย่างตาม
นิยม

๒๐
ข้ อนี ้ยังมีเค้ าเงื่อนที่จะเปนอุทาหรณ์ให้ เห็นได้ จนในเวลาปั จจุบนั นี ้ เปน
ต้ นว่าลวดลายการช่างของไทยเราก็ได้ แต่ขอม แม้ ภาษาที่เรา
พูดกันก็มีภาษาขอมเจือปนเปนอันมาก โดยเฉภาะภาษาที่เราเรี ยกว่า
“ ราชาศัพท์ “ ซึ่งมักเข้ าใจกันว่าเปนภาษาสูงสําหรับเจ้ านาย ที่แท้ นนั ้
ก็มิใช่อื่น คือเอาคําพูดของขอมมาใช้ นนั่ เอง มูลเหตุที่ใช้ ราชาศัพท์
คงเปนเพราะเมื่อได้ พวกข้ าราชการขอมเข้ ามารับราชการในกรุ งศรี อยุธยา
พวกนัน้ มาเพททูลเจ้ านายตามแบบอย่างซึ่งเคยใช้ ในราชประเพณี กรุ งขอม
ข้ าราชการไทยเอาเยี่ยงอย่างมาประพฤติตาม เพราะฉนันวิ ้ ธีใช้ ราชา
ศัพท์จึงเปนแต่ภาษาสําหรับผู้น้อยเพททูลเจ้ านายซึ่งเปนผู้ใหญ่ ส่วน
ผู้ใหญ่เช่นพระเจ้ าแผ่นดินก็ดี ฤๅแม้ แต่เปนเจ้ านายที่รองลงมาก็ดี ที่
จะตรัสใช้ ราชาศัพท์สําหรับพระองค์เอง เช่น “ฉันจะเสวย” ฤๅ
“ฉันหาวบรรธม” ฤๅแม้ แต่จะเรี ยกอวัยวะของพระองค์เองโดยราชาศัพท์
เช่นว่า “พระขนงแลพระขนองของฉัน ” ดัง นีห้ าไม่ ย่อมตรัสใช้
ภาษาไทยอย่างสามัญอยู่เปนนิจ ข้ อนี ้ยกมาพอให้ เห็นเปนตัวอย่างว่า
ไทยเรานิยมแบบอย่ างขอมแต่ชนั ้ นัน้ เลยเปนมรฎกตกต่อมาจนกาล
บัดนี ้ ถ้ าว่าแต่เฉภาะการทหาร ดูเหมือนประเพณีที่แบ่งราชการเปน
ฝ่ ายทหารแลฝ่ ายพลเรื อนจะมีมาแต่แรกตั ้งกรุ งศรี อยุธยาแล้ ว แต่จะเป
นแบบอย่างได้ มาจากประเพณีขอมฤๅไทยคิดขึ ้นเอง ข้ อนี ้หาทราบชัด
ไม่ ลักษณการที่แบ่งเปนฝ่ ายทหารพลเรื อนนั ้น ถ้ าว่าโดยใจความก์ คือ
กํ า หนดกอง ทหารไว้ ป ระจํ า น่า ที่ สํ า หรั บ ทํ า การทหาร เช่ น การ
ปราบปรามเสี ้ยนศัตรู

๒๑
ที่จะเกิดขึ ้น แลรักษาเครื่ องสรรพาวุธตลอดรักษาพระองค์พระเจ้ า
แผ่นดินส่วน ๑ กองทหารอิกส่วน ๑ ให้ ทําการฝ่ ายพลเรื อน เปนพ
นักงานปกครองท้ องที่ (เช่นตํารวจนครบาล ) บ้ าง เปนพนักงานทําการ
ต่างๆ ในพระราชวังบ้ าง เปนพนักงานรักษาคลังต่าง ๆ บ้ าง แลเปน
พนักงานดูแลทํานุบํารุงการทําไร่นาบ้ าง แต่การที่แบ่งเปนฝ่ าย
ทหารแลพล
เรื อนดังกล่าวนี ้ เฉภาะสําหรับในเวลาบ้ านเมืองเปนปรกติ ถ้ าถึง
เวลามีการทัพศึกก็สมทบกันเปนทหารหมด หาได้ เลิกการเกณฑ์ชาย
ฉกรรจ์เปนทหารทุกคนไม่
ตามเรื่ องพงศาวดารที่ได้ กล่าวมาแล้ วกรุงศรี อยุธยาพึ่งรวบรวม
อาณาเขตรทังปั ้ กษ์ ใต้ ฝ่ายเหนือเข้ าเปนอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ตอ่ เมื่อใน
แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราช (สามพระยา) แต่สมเด็จพระบรม
ราชาธิ ราชพระองค์นนั ้ สวรรคตเสีย มิทันจะได้ ทรงจัดตังแบบแผนวิ
้ ธี
ปกครองพระราชอาณาเขตรที่รวมกัน พระราเมศวรราชโอรสซึ่ง
ได้ รับ
รัชทายาท ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ จึงทรงจัดการ
ต่อมา ดังปรากฎในหนังสือพงศาวดารแลกกฎหมายเก่า แลการที่จั ด
ครัง้ สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถนัน้ พิเคราะห์ดโู ดยลักษณการเปน
๓ อย่าง คือตังทํ ้ าเนียบน่าที่กระทรวงทะบวงการอย่าง ๑ ตังกํ ้ าหนด
ยศศักดิอ์ ย่าง ๑ แลตังทํ ้ าเนียบหัวเมืองอย่าง ๑ เกี่ยวแก่การทหาร ทัง้
๓ อย่าง จะอธิบายเปนลําดับไป
ทําเนียบกระทรวงทะบวงการที่ตัง้ ขึ ้นนัน้ ในหนังสือพระราช
พงศาวดารกล่าวความแต่โดยย่อว่า “เอาทหารเปนสมุหพระกลาโหม

๒๒
เอาพลเรื อนเปนสมุหนายก เอาขุนเมืองเปนพระนครบาล เอาขุน
วังเปนพระธรรมาธิกรณ์ เอาขุนคลังเปนพระโกษาธิบดี เอาขุน
นาเปนพระเกษตรา (ธิบดี ) “ ดังนี ้ ก็คือเอาการที่ราชการ
เปนฝ่ าย
ทหารพลเรื อนเเต่ก่อนนัน้ ตังเปนหลั
้ กจัดระเบียบกระทรวงทะบวงการ
ฝ่ ายพลเรื อนให้ มีอรรคหาเสนาบดีที่สมุหนายกกรมมหาดไทยเปนหัวน่า
ราชการฝ่ ายพลเรื อนทังปวงคน
้ ๑ แลเอาหัวน่าพนักงานการพลเรื อน
ที่มีประจําพระนครมาแต่ก่อน ยกขึ ้นเปนเสนาบดีชนรองลงมาในฝ่
ั้ าย
พลเรื อนอิก ๔ คน เรี ยกว่าจตุสดมภ์ มีนามแลน่าที่ตา่ งกัน คือ
พระนครบาลตําแหน่งบัญชาการรักษาสันติศขุ ในจังหวัดพระนครคน ๑
พระธรรมาธิกรณ์ตําแหน่งบัญชาการ ในพระราชสํานักแลการศาลยุติธรรม
คน ๑ พระโกษาธิบดีตําแหน่งบัญชาการคลังเก็บส่วยรักษาพระราชทรัพย์
คน ๑ พระเกษตราธิการตําแหน่งบัญชาการทํานุบํารุงกสิกรรม สะสม
สเบียงอาหารแลเก็บอากรอันเกิดแต่ที่ดินคน ๑ ฝ่ ายทหารก็ให้ มีอรรค
มหาเสนาบดีที่สมุหกลาโหมคน ๑ เปนตําแหน่งหัวน่าข้ าราชการ
ทังปวงในฝ่
้ ายทหาร มีเสนาบดีเปนชันแม่
้ ทพั ประจําการรองลงไป คือ
ตําแหน่งสีหราชเดโช แลตําแหน่งท้ ายนํ ้าเปนแม่นํ ้าทัพใหญ่ รองลงมา
มีนายกองพลทหารช้ าง คือ ตําแหน่งเพทราชา แลตําแหน่งสุรินทราชา

แลนายกองพลทหารราบ คือตําแหน่งพิไชยสงคราม ตําแหน่งราม
กําแหง ตําแหน่งพิไชยชาญฤทธิ์ ตําแหน่งวิชิตณรงค์เปนต้ น ทําเนียบ

๑ มีจดหมายเหตุ ชาวต่างประเทศกล่าวว่ากรมช้ างพึ่งยกมาเปนฝ่ ายพลเรื อน


เมื่อแผ่นดินพระเจ้ าปราสาททอง

๒๓
นามข้ าราชการซึง่ ใช้ เรี ยกประจําสําหรับตําแหน่งเช่นว่าสมุหพระกลาโหม
มีนามว่าเจ้ าพระยามหาเสนาบดีแลสมุหนายกมีนามว่า เจ้ าพระยาจักรี
ศรี องครักษ์ เปนต้ น ก็เกิดขึ ้นในคราวนี ้ แต่ข้าราชการตลอดจนพลไพร่
ทังฝ่
้ ายทหาร แลพลเรื อนยังคงเปนทหารทําการรบพุ่งในเวลามีการศึก
สงครามอยูเ่ หมือนอย่างเดิม แลวิธีเกณฑ์คนคงยังเปนอย่างเดียวกัน
ทังฝ่้ ายทหารพลเรื อนตลอดมา
การตังทํ
้ าเนียบยศนัน้ เรี ยกในหนังสือพระราชพงศาวดารว่าตัง้
ทําเนียบศักดินา คือตังอั ้ ตราในกฏหมายว่าบุคคลมียศชันใด ้ จะมีที่นา
ได้ เท่าใด เปนต้ นแต่กําหนดว่าไพร่พลเมืองคน ๑ จะมีได้ เพียง ๑๐ ไร่
เปนอย่างมาก ผู้ที่มียศสูงขึ ้นไปก็มีนา่ ได้ โดยอัตราจํานวนไร่มากขึ ้น
ไปโดยลําดับ จนถึงเจ้ าพระยาเสนาบดีมีได้ คนละ ๑๐,๐๐๐ ไร่ แล
มหาอุปราชมีนาได้ ๑๐๐,๐๐๐ ไร่ เปนอย่างมากที่สุด อันวิธีกําหนด
จํานวนนาสําหรับผู้มียศต่าง ๆ กันนี ้ได้ ยินว่าประเพณีจีนก็มี เพราะฉนัน้
การที่ตงทํั ้ าเนียบศักดินาเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ จะได้
เค้ าเงื่อนมาแต่จีนฤๅจะคิดขึ ้นใหม่ในประเทศนี ้หาทราบชัดไม่ แต่เมื่อ
พิจารณาดูทําเนียบศักดิตามที่กําหนดไว้ ในกฎหมาย เห็นว่าไม่ใช่
แต่กําหนดให้ มีไร่นาได้ คนละเท่าใดเท่านัน้ ที่แท้ ทําเนียบศักดินานัน้
ตัว ชัน้ ยศข้ า ราชการในสมัย นัน้ อย่ างที่ กํ าหนดเปนนายพลนายพัน นาย
ร้ อย ฤๅที่ กํ า หนดเปนมหาอํ า มาตย์ แ ลรองอํ า มาตย์ ใ นปั จจุ บั น นี ้
แล
ปลาดที่เกือบจะตรงกันทีเดียว จะลองเทียบพอให้ เห็นเปนตัวอย่าง

๒๔
ชันที
้ ่ ๑ ศักดินา ๑๐,๐๐๐ เทียบด้ วยนายพลเอก
ชันที
้ ่ ๒ ศักดินา ๕,๐๐๐ เทียบด้ วยนายพลโท
ชันที
้ ่ ๓ ศักดินา ๓,๐๐๐ เทียบด้ วยนายพลตรี
ชันที
้ ่ ๔ ศักดินา ๒,๐๐๐ เทียบด้ วยนายพันเอก
ชันที้ ่ ๕ ศักดินา ๑,๐๐๐ เทียบด้ วยนายพันโท
ชันที ้ ่ ๖ ศักดินา ๘๐๐ เทียบด้ วยนายพันตรี
ชันที ้ ่๗ ศักดินา ๖๐๐ เทียบด้ วยนายร้ อยเอก
ชันที ้ ่
๘ ศักดินา ๔๐๐ เทียบด้ วยนายร้ อยโท
ชันที ้ ่
๙ ศักดินา ๒๐๐ เทียบด้ วยนายร้ อยตรี
ตําแหน่งที่ศกั ดินาในทําเนียบที่อยูใ่ นระหว่างชันคื
้ อศักดินา๒,๔๐๐
ฤๅ ๑,๕๐๐ แล ๕๐๐มีบ้าง แต่ไม่เปนพื ้นเหมือนอัตราที่ยกมาเรี ยงไว้ นี ้
อาจจะเปนของเพิ่มขึ ้นภายหลังก็เปนได้ ในทําเนียบศักดินาบ่งความ
ให้ เห็นชัด ว่าแต่โบราณมิได้ ถือเอาบันดาศักดิ์ ซึง่ เปนพระหลวงขุน
เปนสํ าคัญ เท่ากับศักดินา ข้ อนีจ้ ะสัง เกตเห็นได้ ในทํ าเนี ยบ ถ้ าเปน
ตําแหน่งอันอยูใ่ นน่าที่สําคัญแล้ ว ถึงจะเปนออกญาถือเปนพระศักดินา
ก็คงสูง ถ้ าน่าที่ไม่สําคัญศักดินาคงตํ่า ส่วนศักดินาพระราชวงศ์นนั ้
มีบานแพนกในทําเนียบบอกชัดว่าตังขึ ้ ้นภายหลัง จึงเปนพิเศษส่วนหนึง่
การจัดทําเนียบหัวเมืองนัน้ แต่ครั ง้ กรุ งศุโขไทยเปนราชธานี
กําหนดเมืองขึ ้นเปน ๓ชันคื ้ อเมืองชันในการปกครองรวมอยู
้ ่ในราชธานี
เมืองชันกลางการปกครองจั
้ ดเปนแพนกต่างหากเฉภาะเมือง เมืองชัน้

๒๕
นอกเปนเมื องประเทศราช เมื่ อกรุ ง ศรี อยุธ ยาแรกเปนใหญ่ มณฑล
กรุงศุโขไทยยังเปนประเทศราช แม้ เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราช
สาม
พระยาให้ พระราเมศวรราชโอรสขึ ้นไปครอง ก็ครองเปนอย่างประเทศราช
ครัน้ ถึงแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ เพราะพระองค์ได้ เคย
ทรงครองมณฑลฝ่ ายเหนือเมื่อยังเปนพระราเมศวร จึงให้ เลิก
วิธีปกครองอย่างเช่นเปนประเทศราชเสีย ให้ หวั เมืองเหนือต่างขึ ้นตรง
ต่อพระนครศรี อยุธยาอย่างหัวเมืองชันกลางเรี
้ ยกว่า “ เมืองพระยา
มหานคร“เจ้ าเมืองต้ องถือนํ ้าพระพิพฒ ั นสัจจาเหมือนข้ าราชการทังปวง ้
ว่าโดยลักษณการปกครองหัวเมืองที่จดั เมื่อครัง้ แผ่นดินสมเด็จพระบรม
ไตรโลกนารถ มีเค้ าเงื่อนอยูใ่ นทําเนียบเก่า ทํานองการเห็นจะเปน
เช่นนี ้ คือขยายอํานาจการปกครองของราชธานี ให้ กว้ างขวางออก
ไป บรรดาหัวเมืองชัน้ กลางที่ปกครองเปนแพนกหนึ่งต่างหากอยู่แต่
ก่อน เช่นเมืองสุพรรณบุรีเปนต้ น เมืองใดซึง่ สามารถจะเอาไว้ ใน
การปกครองของราชธานีได้ เอามาเปนหัวเมืองชันใน ้ ตรวจตราว่า
กล่าว จากราชธานีทงหมดั้ เมืองที่อยูห่ า่ งออกไป จะตรวจตราว่ากล่าว
จากราชธานีไม่ถึง จึงจัดเปนเมืองพระยามหานคร ให้ ผ้ วู ่าราชการมี
อํานาจบังคับบัญชาการสิทธิ์ขาดเปนเมือง ๆ มีชื่อเมืองพระยามหานคร
ปรากฎอยู่ในต้ นกฎมณเฑียรบาล คือ เมืองนครราชสิมา๑เมืองนคร
ศรี ธรรมราช ๑ เมืองตะนาวศรี ๑ เมืองทวาย ๑ กับเมืองซึง่ แยกออก


๒๖
จากมณฑลราชธานีฝ่ายเหนือ คือเมืองพิศณุโลก ๑ เมืองสุโขไทย ๑
เมืองสวรรคโลก ๑ เมืองกําแพงพ็ชร ๑ รวมคงเปนหัวเมืองชันกลาง ้
อยู่แต่ ๘ เมื อง เมืองภายนอกนัน้ ออกไปก็ให้ เปนประเทศราชคงอยู่
อย่างแต่ก่อน การปกครองหัวเมืองที่จดั เมื่อครัง้ สมเด็จพระบรมไตร
โลกนารถนัน้ ตามเหตุการณ์ที่ปรากฎในเรื่ องพงศาวดาร ได้ ผล
ทังเปนการดี
้ แลเปนการร้ าย ที่เปนการดีคือราชธานีกําลังรี พ้ ลขึ ้น
กวาแต่ก่อนเปนอันมาก เพราะเหตุที่เจ้ าน่าที่ทงฝ่ ั ้ ายทหารแลพลเรื อน
ที่ได้ จดั ตังขึ
้ ้น จัดการแพนกของตนติดต่อแต่ราชธานีตลอดออกไปจนถึง
หัวเมืองปวงอันกําหนดว่าเปนเมืองชันใน ้ ๑ ที่ผลเปนการร้ ายนัน้
คือพวกพระยามหานครทางเมืองเหนือเกิดแย่งอํานาจกัน ในที่สดุ
พระยายุธิศฐิ ระเจ้ าเมืองสวรรคโลกเปนขบถ เอาเมืองไปขึ ้นต่อพระเจ้ าติ
โลกราชเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระบรมโลกนารถต้ องทํ าสงคราม
อยู่หลายปี จึงได้ เมืองกลับคืนมา ทรงเห็นว่าที่ด่วนเลิกมณฑลราชธานี
ฝ่ ายเหนื อผิ ดไป จึง เสด็จ ขึน้ ไปครองเมื องพิศณุโลกรวมเปนเมื องเป
นมณฑลราชธานีดงั แต่ก่อน แต่นนก็ ั ้ กลับมีเจ้ านายเปนพระมหาอุปราช
ไปครองเมืองพิศณุโลกต่อมาอีกช้ านาน

๑ การที่แยกหัวเมืองชันในให้
้ ขึน้ มหาดไทยบ้ าง กลาโหมแลกรมท่าบ้ าง เปนการ
จัดชันหลั
้ ง แต่ก่อนราชการกระทรวงไหนกระทรวงนันบั ้ งคับตลอดถึงหัวเมืองชันใน

๒๗
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ซึง่ เปนราชโอรสของสมเด็จพระบรมไตร
โลกนารถ ทรงสามารถการปกครองทํานองเดียวกับสมเด็จพระ
ราชบิดา ได้ เสวยราชย์ครองกรุงศรี อยุธยาตังแต่้ พ.ศ. ๒๐๓๔ อยู่จน
พ.ศ. ๒๐๗๒ เปนเวลา ๓๘ ปี แม้ ว่างศึกสงครามตลอดรัชกาลก็จริ งแต่
ปรากฎทังในหนั
้ งสือพระราชพงศาวดารแลในกฎหมายเก่ายุติต้องกันว่า
ได้ ทรงจัดนัน้ อิกหลายอย่าง แลเปนการฝ่ ายทหารเปนพื น้ กล่าวใน
หนังสือพระราชพงศาวดารแต่โดยย่อว่า ทําตําราพิไชยสงครามอย่าง ๑
ทําสารบาญชีอย่าง ๑ ทําพิธีตามหัวเมืองอย่าง ๑
ตําราพิไชยสงครามของสมเด็จพระรามาธิบดีที่๒ยังมีปรากฎอยู่
บัดนี ้ แต่กฎอาญาศึก (อันรวมไว้ ในลักษณขบถศึก )๑ นอก
จากนันจะมี
้ อะไรอิกบ้ างหาทาบชัดไม่ ด้ วยตําราพิไชยสงครามที่มีอยู่
บัดนี ้เปนของรวบรวมชันหลั้ งและชําระแก้ ไขมาเสียหลายคราว ของ
เดิมเห็นจะไม่เหลือเท่าใดนัก
การทําสารบาญชีนนั ้ คือ จัดวิธีทําบาญชีรีพ้ ลให้ เรี ยกคนเข้ า
กระบวรทัพ สดวกขึน้ แลบางที จ ะถึ ง แก้ ไ ขระเบี ยบการควบคุม ผู้ค น
เปนหมวดกองแลกรมต่ า งๆ ด้ วย เรื่ องทํ า บาญชี รี พ้ ลนี ้
ทํานองแต่

๑ ในกฎหมายฉบับพิมพ์ว่าตัง้ เมื่อปี ขาล จุลศักราช ๗๙๖ ผิดไป ที่ถกู นัน้ ปี


ขาล
จุลศักราช ๘๕๖ (พ.ศ.๒๐๓๗ ) รู้ ได้ เพราะในกฎหมายเรื่ องนีก้ ล่าวถึงศักดิน า
อันเปน
ของตังในแผ่
้ นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ต้ องเปนกฎหมายภายหลังตังศั ้ กดินา
อยูเ่ อง
๒๘
ก่อนมากลาโหมจะเปนพนักงานทําบาญชีคนฝ่ ายทหาร มหาดไทยเป
นพนักงานทําบาญชี คนฝ่ ายพลเรื อน แยกกันอยู่การไม่เรี ยบร้ อย
จึง
ตังกรมพระสุ
้ รัสวดีขึ ้นเปนพนักงานทําบาญชีพลทังฝ่ ้ ายทหารพลเรื อน
เลยเปนแบบแผนสืบมาจนชันกรุ ้ งรัตนโกสินทรนี ้ น่าที่กรมพระสุรัสวดีไม่
แต่เฉภาะทําบาญชีพลเดียว เปนทังพนั
้ กงานเร่งรัดตรวจตรา
ให้ ผ้ บู งั คับกรมต่างๆ ขวนขวายหาผู้คนเข้ าทะเบียนแลเปนพนักงาน
กะเกณฑ์รีพ้ ลในเวลามีการทัพศึกด้ วย จึงเปนกรมสําคัญกรม ๑
ที่เรี ยกในหนังสือพระราชพงศาวดารว่าทําพิธีทกุ เมืองนันคงเปน ้
การจัดระเบียบกองทหารตามหัวเมือง เนื่องด้ วยการสารบาญชีที่ได้
กล่าวมา ข้ อนี ้เค้ าเงื่อนอยูใ่ นทําเนียบตําแหน่งกรมการหัวเมืองชัน้
เดิม มีตําแหน่งสัสดีเปนพนักงานกรมพระสุรัสวดีอยูป่ ระจําทุกเมือง
แต่ตําแหน่งขุนพลขุนมหาดไทยมีแต่เมืองพระยามหานคร เมืองชัน้
ในหามีไม่ คงเปนเพราะรี พ้ ลเมืองชันในจั ้ ดระเบียบเข้ ากองทัพหลวง
ในราชธานี แต่เมืองพระยามหานครนันจั ้ ดระเบียบเปนกองทัพต่างหาก
ตามลัก ษณการที่ ก ล่ า วมาแล้ ว ชัน้ นี จ้ ัด ลงตํ า ราให้ ร้ ู จํ า นวนพลแล
กระบวรทัพหัวเมืองได้ ในราชธานีอยูเ่ สมอ จึงเรี ยกว่าทําพิธีทวั่ ทุก
หัวเมือง
ในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่๒มีการสําคัญในฝ่ ายทหารอิก
อย่ า ง ๑ เหตุด้ ว ยฝรั่ ง โปร์ ตุเ กศแล่น เรื อ อ้ อ มแหลมอาฟริ ก ามาถึ ง
ประเทศทางตวันออก มาได้ เมืองชายทเลในอินเดียแลเมืองมละกา
๒๙
ในแหลมมลายูเปนที่มนั่ แล้ วเข้ าลาขอเปนไมตรี กบั ไทย เมื่อ
พ.ศ. ๒๐๖๑ เพื่อจะไปมาค้ าขายกับกรุงศรี อยุธยา สมเด็จพระรามา
ธิบดีโปรดพระราชทานอนุญาตให้ มาค้ าขายตามประสงค์ จึงมีฝรั่ง
โปร์ ตเุ กศเข้ ามาอยูใ่ นเมืองไทยแต่นนั ้ พวกโปร์ ตเุ กศเปนผู้นําวิธีใช้
ปื นไฟแลวิชาทหารอย่างฝรั่งเข้ ามาให้ ไทยเปนทีแรก
เรื่ องตํานานการใช้ ปืนนี ้ ในหนังสือพงศาวดารเหนืออ้ างว่าที่
เมืองสวรรคโลกมีปืนใหญ่ใช้ ลูกดินเผามาแต่ก่อนพระร่ วง แลหนังสือ
พระราชพงศาวดารก็กล่าวว่า เมื่อครัง้ สมเด็จพระราเมศวรไปตีเมืองเชียง
ใหม่ ได้ เอาปื นใหญ่ยิงกําแพงเมืองจนหักทําลาย แต่ในตํานานของ
ฝรั่ง ๑ ว่าปื นใหญ่พงึ่ มีใช้ ในยุโรปเมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๘ อิกประการ ๑
ในพงสาวดารของประเทศที่ใกล้ เคียงกับเมืองเรา ก็หาปรากฎเปนหลัก
ฐานว่าประเทศใดมีปืนไฟใช้ เมื่อก่อนพวกโปร์ ตเุ กศมาถึงไม่ ที่แท้
เพราะพวกโปร์ ตเุ กศมีปืนไฟใช้ รบพุ่ง จึงสงครามชิงเอาบ้ านเมืองของ
พวกชาวตวันออกได้ จึงเห็นว่าปื นที่กล่าวในพงศาวดารของเราว่ามีมา
แต่ก่อนนันเห็
้ นจะมิใช่ปืนไฟ อันศัพท์วา่ “ ปื น “ แต่โบราณ
เปนชื่อสําหรับเรี ยกอาวุธซึง่ สามารถจะส่งเครื่ องประหารได้ ไกล ศร
ก็เรี ยกว่าปื น มีอุทาหรณ์เช่นตรารู ปพระนารายน์ถือศรสําหรับพระมหา
อุปราชแต่ก่อน เรี ยกว่าตรานารายน์ทรงปื นฉนี ้เปนต้ น เมื่อเกิดปื นอย่าง
ใหม่จงึ ได้ เกิดคําประกอบสําหรับเรี ยกว่าให้ ตา่ งกัน เรี ยกปื นอย่าง

๑ มีในหนังสือเอนไซโคลปี เดียบริตะนิกะ
.
๓๐
ใหม่วา่ ปื นไฟเพราะใช้ ยิงด้ วยไฟ เรี ยกธะนูกทุ ณ ั ฑ์ซงึ่ เปนปื นอย่างเก่าว่า
ปื นยา เพราะลูกอาบยาพิษ แต่ดินปื นนันได้ ้ ยินว่าเปนของจีนคือทําขึ ้น
ก่อน ฝรั่งได้ ไปจากจีน
การทหารที่จดั เมื่อครัง้ สมเด็จพระรามาธิบดีที่๒ แม้ ไม่สามารถ
จะทราบรายการถ้ วนถี่ได้ ในปั จจุบนั ก็ดี แต่เห็นได้ โดยเรื่ องพงศาวดาร
ว่าการที่จัดนั ้นจัดดีได้ ประโยชน์ จริ งด้ วยต่อมาถึงแผ่นดินสมเด็จพระไชย
ราชาธิราช ราชบุตรของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ซึ่งเสวยราชย์เมื่อ
พ.ศ. ๒๐๗๗ มังตราพม่าเจ้ าเมืองตองอูปราบปรามรามัญประเทศไว้ ได้
ในอํานาจ แล้ วราชาภิเศกทรงพระนามว่าพระเจ้ าหงษาวดีตะเบงชเวตี ้มี
อานุภาพขึ ้นทางตวันตก ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงกรานปลายแดนไทย

สมเด็จพระไชยราชาธิราชยกกองทัพหลวงออกไป ได้ รบกับพระเจ้ า
หงษาวดีเปนสามารถ กองทัพน่ามอญพ่ายแพ้ แตกหนี ไทย
ได้ อาณาเขตรคืนหมด มีจดหมายเหตุ ๒ ปรากฎว่าในสงครามครัง้ ที่
กล่าว พวกโปร์ ตเุ กศที่เข้ ามาค้ าขายอยูใ่ นกรุงศรี อยุธยาได้ รับอาสา
ไปในกองทัพหลวง๑๒๐คน ไปรบพุ่งมีความชอบสมเด็จพระไชยราชา
ธิราชจึงพระราชทานที่ในตําบล บ้ านดินทางฝั่ งตวันตกข้ างเหนือคลอง

๑ เมืองนี ้ไทยเรี ยกว่าเชียงกรานมาแต่โบราณมอญเรี ยกว่าเดิงกราย์น ใน


หนังสือพระราชพงศาวดารตอนแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวร เรี ยกตามสําเนียงพม่าว่า
เมืองแครง อยู่ทางลุ่มแม่นํ ้าสลวินต่อแดนเมืองตาก
๒ จดหมายเหตุของปิ นโตโปร์ ตเุ กศ
๓๑
ตะเคียน ให้ พวกโปร์ ตเุ กศตังภู
้ มิลําเนาอยูป่ ระจําในกรุงศรี อยุธยา
แต่นนมา
ั้ เข้ าใจว่าเปนครัง้ ที่จะรับชาวต่างประเทศเปนทหารอาสา
ในคราวนี ้ จึงเปนเยี่ยงอย่างที่จะเกิดพวกอาสายี่ปนแลอาสาจามในชั
ุ่ นหลั
้ ง
ถึงแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชอนุชาของสมเด็จพระไชย
ราชาธิราช ได้ เสวยราชย์เมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๑ พระเจ้ าหงษาวดีตะเบงชเวตี ้
ซึ่งรบแพ้ สมเด็จพระไชยราชาธิราชที่เมืองเชียงกราน รวบรวมกําลังเป
นกองทั พ ใหญ่ ย กเข้ ามาด่ า นพระเจดี ย์ ส ามองค์ หมายจะมาตี
พระนครศรี อยุธยาลบล้ างความอัปรยศอดสู ฝ่ ายกรุ งศรี อยุธยาแต่ก่อนมา
เคยแต่ไปรบบุกรุกประเทศอื่น ครัง้ นี ้ทําสงครามต่อสู้ข้าศึกซึ่งยกกองทัพ
ใหญ่เข้ ามาโดยมุง่ หมายจะตีราชธานีเปนทีแรก ตามความที่ปรากฎ
ในเรื่ องการสงครามครั ง้ นี ้ ไทยต่อสู้ แขงแรงน่าชม แม้ พ ระสุริโยไทย
อรรคมเหษี ก็แต่งพระองค์เปนชายออกสงคราม ถึงเข้ าชนช้ างกับข้ าศึก
โดยลําพังพระองค์ แก้ ไขพระราชสามีในเวลาเสียทีข้าศึก ยอมสละพระ
ชนมชีพด้ วยความภักดีกระบวรยุทธวิธีของไทยในครัง้ นี ้ เมื่อออกไป ต่อสู้
ข้ าศึกที่เมืองสุพรรณบุรีเห็นว่าจะรั บไม่ อยู่ ชิงถอยทัพกลับเข้ ามาตั ้งมัน่ ที่
พระนครศรี อยุธยาได้ โดยมิได้ โดยมิได้ พา่ ยแพ้ ครัน้ ข้ าศึกเข้ ามาตังประชิ
้ ด
อยู่ ให้ กองทัพหัวเมืองเหนือลงมาตีโอบหลัง ข้ าศึกจําต้ อง
ถอยทัพกลับไปแลเสียรี พ้ ลเปนอันมาก ล้ วนส่อให้ เห็นว่าวิชาการทหาร
ของไทยในสมัยนันไม่ ้ เลวเลยทีเดียว เมื่อข้ าศึกเลิกทัพกลับไปแล้ วก็มิได้
ประมาท เอาความคุ้นเคยที่ได้ ในการสงครามนัน้ จัดข้ อ
ที่ยงั บกพร่องในวิธีทหารไทยคิดแก้ ไขเปน หลายอย่าง มีปรากฎใน
๓๒
หนังสือพระราชพงศาวดารโดยย่อแต่พอรู้ลกั ษณการ คือรื อ้ ป้อมปราการ
ตามหัวเมืองซึง่ เห็นไม่เปนไชยภูมิในการต่อสู้ข้าศึก เช่นเมืองสุพรรณ
บุรีเปนต้ นเสียหมดทุกอย่าง แล้ วสร้ างป้อมปราการขึ ้นใหม่ในที่มีไชยภูมิ
เช่นพระนครศรี อยุธยาแลเมืองพิศณุโลกศุโขไทยเปนต้ น ให้ มนั่ คง
แขงแรงกว่ า แต่ ก่ อ น ให้ สํ า รวจสั ม โนครั ว แลแก้ ไขวิ ธี เ รี ย กคนขึ น้
ทะเบียนเปนทหาร อันเรี ยกว่าเลขสมสังกัดพรรค์ ดังจะอธิบายในวิธี
เกณฑ์ ทหารไทยต่อไปข้ างน่า แล้ วตัง้ เมืองชัน้ เพิ่มเติม ขึน้ อิก
หลายเมือง
คือ เมืองนนทบุรีเมืองสาครบุรีแลเมืองนครไชยศรี เปนต้ น สําหรับเปนที่
รวบรวมคนในเวลามีการทัพศึกให้ ได้ รวดเร็ วขึ ้นกว่าแต่ก่ อน ช้ างม้ า
พาหะนะสําหรับใช้ ในการศึกษาก็หาเพิ่มเติมขึ ้นให้ มาก มีการที่จดั ในตอนนี ้
อย่าง ๑ ซึ่งเปนการแปลกใหม่ กล่าวไว้ ในหนังสือพระราชพงศาวดาร
แต่วา่ “แปลงเรื อแซเปนเรื อไชยแลเรื อศีร์ษะสัตว์ตา่ ง ๆ “ ที่แท้ นนั ้
คือคิดสร้ างเรื อรบขึ ้นเปนทีแรก ด้ วยแต่ก่อนมาใช้ เรื อยางอย่างที่เรี ยกว่า
เรื อแซ เปนแต่พาหนะสําหรับบรรทุกผู้คนแลเครื่ องยุทธภัณฑ์ในเวลายก
ทัพไปทางแม่นํ ้าลําคลอง ครัน้ มีข้าศึกเข้ ามาตังติ ้ ดพระนคร
ศรี อยุธยามีแม่นํ ้าล้ อมรอบ จึงเริ่ ใช้ วิธีเอาปื นลงเรื อไปเที่ยวยิงข้ าศึก
มิให้ อาจรุกกระชันพระนครเข้
้ ามา เห็นได้ ประโยชน์ดีจงึ ได้ คดิ แปลง
เรื อแซ คือเสิมกราบทําแท่นที่ตงปืั ้ นใหญ่ไว้ สําหรับใช้ รบข้ าศึก เรื อ
รูปสัตว์ เช่นเรื อครุ ธแลเรื อกระบี่ที่ยงั มีอยู่ทุกวันนี ้ก็มีปืนใหญ่อยู่หวั เรื อ
ทุกลํา คงเปนแบบแผนมาแต่ครัง้ แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
จึงนับว่าเรื อรบไทยมีขึ ้นครัง้ นันเปนแรกที
้ ่ปรากฎในหนังสือพงศาวดาร แต่
๓๓
การทัง้ ปวงที่ตระเตรี ยมดังกล่าวมา หาเปนคุณแก่ไทยดังประสงค์ไม่
เพราะพเอิญบุรุษพิเศษขึ ้นข้ างฝ่ ายข้ าศึก คือพระเจ้ าหงษาวดีบเุ รงนอง
อันนับในพงศาวดารว่าเปนมหาราชองค์ ๑ เดิมเปนพระญาติแลเปนแม่
ทัพคนสําคัญของเจ้ าหงษาวดีตะเบงชเวตี ้ ได้ เคยมาตีเมืองไทย
มารู้ภมู ิลําเนาบ้ านเมือง แลคุ้นเคยกับวิธียทุ ธของไทยไปเจนใจ ครัน้
ได้ เสวยราชย์พยายามแผ่ราชอาณาเขตรกว้ างขวางไปทุกทิศ มีอํานาจ
ตลอดมาถึงเมืองไทยใหญ่สิบเจ้ าเก้ าเจ้ าฟ้าแลเมืองเชียงใหม่ ได้ กําลัง
รี พ้ ลมากกว่าครัง้ พระเจ้ าหงษาวดีตะเบงชเวตี ้อิกเปนอันมาก พระจ้ า
หงษาวดีบุเ รงนองเห็นจะตีเ มื องไทยได้ สํ าเร็ จ จึง แกล้ ง ขอช้ างเผื อ ก
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพอให้ เปนเหตุ ครัน้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ไม่ยอมประทานก็ยกกองทัพมา ความขัดข้ องอันใดซึ่งเปนเหตุให้ เสียที
ไทยเมื่อครัง้ พระเจ้ าหงษาวดีตะเบงชเวตี ้ยกมาคราวก่อน พระเจ้ าหงษาวดี
บุเรงนองคิดแก้ ไขมาทุกข้ อ คือ ข้ อที่ ไทยเคยตัง้ รับที่ ราชธานีแล้ วให้
กองทัพเมืองเหนือลงมาตีโอบหลัง คราวนี ้พระเจ้ าหงษาวดีบเุ รงนอง
คิดเปลี่ยนทางเดินทัพเข้ ามาตีหวั เมือ งเหนือตัดกําลังที่จะช่วยเสียก่อน
แล้ วจึงมาตีราชธานี ข้ อที่ขดั สนเสบียงอาหารเมื่อคราวก่อน คราวนี ้
ได้ เมืองเชียงใหม่ไว้ อํานาจแล้ ว ให้ เมืองเชียงใหม่สง่ เสบียงไม่ต้อง
ขนข้ ามเข้ าภูเขามาเหมือนแต่ก่อน ข้ อที่กรุงศรี อยุธยามีแม่นํ ้าล้ อมรอบ
ข้ าศึกมาทางบกไม่สามารถจะเข้ าไปใกล้ พระนครได้ พระเจ้ าหงษาวดี


๓๔
บุเรงนองพยายามขนปื นใหญ่อย่างมีกําลังอาจจะยิงได้ ไกลกว่าแต่ก่อนมา
ด้ วยหลายร้ อยกระบอกแลจ้ างพวกโปร์ ตเุ กศมาเปนทหารปื นใหญ่ ๔๐๐
คน แล้ วเกณฑ์เรื อเมืองเชียงใหม่ลงมาจัดเปนกระบวรทัพเรื อเพิ่มขึ ้นอิก
ทัพ๑ ศึกหงษาวดีครัง้ นี ้ดูเหมือนฝ่ ายไทยจะไม่ได้ คาดว่าข้ าศึกจะยกเข้ า
มาทางตากอันเปนทางอ้ อม จึงมิได้ จดั กองทัพกรุงเตรี ยมไปช่วย
เมืองเหนือให้ ทนั ท่วงที ถึงกระนันก็ ้ ปรากฎว่าไทยต่อสู้แขงแรง พระยาศุ
โขไทยต่อสู้จนตัวตายในจึงเสียเมืองแก่ข้าศึก พระเจ้ าหงษาวดี
ฃไปตีเมืองพิศณุโลกก็ตีไม่ได้ ต้ องล้ อมไว้ จนข้ างในเมืองหมดสะเบียง
อาหารแลเกิดไข้ ทรพิษขึ ้น พระมหาธรรมราชาจึงได้ ยอมแพ้ กองทัพเรื อ
รบที่สร้ างใหม่ในกรุงศรี อยุธยายกขึ ้นไป ได้ รบกับข้ าศึกที่ราวปากนํ ้าโพธิ์
แต่ทานกําลังเรื อของข้ าศึกไม่ไหว ด้ วยปื นใหญ่ของข้ าศึกมีกําลัก
ว่าต้ องล่าถอยลงมา เมื่อกองทัพพระเจ้ าหงษาวดีลงมาถึงชานพระ
นครศรี อ ยุธ ยา ก็ เ อาปื นใหญ่ ยิง เข้ า ไปถึ ง ในพระนคร ถูก บ้ า นเรื อ น
พังทลายแลผู้ล้มตายลงทุกวัน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเห็นจะสู้ไม่ไหว
จึงยอมเปนไมตรี ประทานช้ างเผือกแลรับข้ อขอร้ องในการอย่างอื่นตาม
ประสงค์ของพระเจ้ าหงษาวดี การสงครามครัง้ นี ้ปรากฎว่าแพ้ ชนะกัน
ด้ วยปื นใหญ่เปนครัง้ แรกที่ปรากฎในพงศาวดารไทย แต่การที่สมเด็จ
พระมหาจักรพรรดิยอมประทานช้ างเผือกไปครัง้ นั ้นไม่ตดั ความรํ าคาญได้
จริงด้ วยพระเจ้ าหงษาวดีประสงค์จะเอาเมืองไทยไปเปนเมืองขึ ้น เมื่อยัง
ไม่ได้ เปนเมืองขึ ้นก็ตั ้งหน้ าใช้ อบุ ายยุยงพระมหาธรรมราชาเจ้ าเมืองพิศณุ
๓๕
โลก ซึ่งเปนราชบุตรเขยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ให้ แตกร้ าวกับ
กรุงศรี อยุธยาจนเกิดเปนอริ กันขึ ้นเอง ลงที่สดุ พระมหาธรรมราชาก็พา
พวกชาวเมืองเหนือไปเปนพรรคพวกพม่ามอญพระเจ้ าหงษาวดีเห็นได้ ที
จึ ง ยกกองทั พ ใหญ่ ม าตี ก รุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา คราวนี ท้ ั ง้ ไทยถอยกํ า ลั ง
เสี ย เปรี ย บข้ าศึ ก ไม่ มี ป ระตู ที่ จ ะได้ ไชยชนะแล้ วยั ง ต่ อ สู้ แขงแรง
ตระเตรี ยมการรักษาพระนครไว้ ครบครัน พระเจ้ าหงษาวดีมาตังล้ ้ อม
พระนครให้ เ ข้ า ตีหักเอาเท่าใดก็ ไ ม่ไ ด้ จนสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ
ประชวรสวรรคต สมเด็จพระมหินทราธิราช ราชโอรสได้ ผ่านพิภพใน
เวลาข้ าศึกกําลังล้ อมพระนครเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๑ พระเจ้ าหงสาวดีให้
พระยาจักรี เข้ าไปเปนไส้ ศกึ สมเด็จพระมหินทราธิราชไม่ร้ ูเท่าจึงเสียพระ
นคร พระเจ้ า หงษาวดีได้ กรุ งศรี อยุธายาแล้ วให้ กวาดรี พ้ ลแลเครื่ อง
สาตราวุธเอาไปเมืองหงษาวดีเสียเปนอันมากเหลือคนไว้ แต่ ๑๐,๐๐๐
แล้ วอภิเศกให้ พระมหาธรรมราชาครอบครองกรุงศรี อยุธยาต่อมา กําลัง
กองทัพ ไทยที่ จัดวางแบบแผนมาโดยลําดับ ตัง้ แต่ครัง้ พระเจ้ าอู่ทอง
นับว่าเปนหมดเพียงนี ้ในเรื่ องพงศาวดาร
๖) ว่ าด้ วยเรื่องพงศาวดารตอนทหารสมเด็จพระนเรศวร
เมื่อครัง้ พระเจ้ าหงษาวดีบเุ รงนองตีเมืองพิศณุโลกคราวศึกเรื่ อง
ช้ างเผือก พระมหาธรรมราชาต่อสู้จนสิ ้นกําลังจึงต้ องยอมแพ้ ฝ่ าย
พระเจ้ า หงษาวดี ก็ ย กย่ อ งยอมให้ เ กี ย รติ ย ศตามประเพณี ส งคราม
ให้ พระมหาธรรมราชาถือนํ ้ากระทําสัตย์แล้ ว ปล่อยให้ คงครองบ้ านเมือง
๓๖
อยู่อย่างเดิม ครัน้ เมื่อเสร็ จศึกพระเจ้ าหงษาวดีจะเลิกทัพกลับไป ตรัส
ขอพระนเรศวรโอรสพระองค์ใหญ่ของพระมหาธรรมราชาไปเลี ้ยงเปนราช
บุตรบุญธรรม ๑ พระมหาธรรมราชาก็ถวาย เมื่อพระนเรศวร
เสด็จไปเมืองหงษาวดีนนพระชัั้ ณษาได้ ๙ ขวบ เสด็จอยูใ่ นราช
สํานักพระเจ้ าหงษาวดี ๖ ปี ทรงทราบภาษาแลนิสยั ของพม่ารามัญเจน
พระหฤไทย ครัน้ พระเจ้ าหงษาวดีตีได้ กรุ งศรี อยุธยา อภิเศกพระมหา
ธรรมราชาขึ ้นครองราชสมบัติ ในคราวนี ้พระมหาราชาถวายพระสุวรรณ
เทวีพี่นางของสมเด็จพระนเรศวรเปนมเหษี พระเจ้ าหงษาวดี
จึงให้ สมเด็จพระนเรศวรกลับมาอยูเ่ มืองไทย เพื่อจะได้ ช่วยพระราชบิดา
ปกครองราชอาณาเขตร สมเด็จพระนเรศวรพระชัณษาได้ ๑๕ ปี
พระราชบิดาให้ ขึน้ ไปครองเมืองเหนืออยู่ณเมืองพิศณุโลก แลครัง้ นัน้
เมืองไทยต้ องเปนประเทศราชนี ้พระเจ้ า หงษาดีอยู่ ๑๕ ปี ไปมาถึงกัน
กับเมืองหงษาวดีอยูเ่ ปนนิจ แม้ สมเด็จพระนเรศวรเห็นจะได้ เสด็จ
ไปเนือง ๆ จึงปรากฎว่าไทยได้ รับขนบธรรมเนียมแต่เมืองหงษาวดี
มาใช้ เปนประเพณีหลายอย่าง คือจุลศักราชแลกฎหมายมนูสารเปนต้ น
ก็ปรากฎเค้ าเงื่ อนว่าใช้ ในตอนนี ้ ส่ วนการทหารนัน้ เชื่ อได้ เปนแน่ว่า
สมเด็จพระนเรศวรคงได้ เอาพระไทยใส่ศกึ ษาแบบอย่างวิชาการทหารพม่า
มาตังแต่
้ ยงั พระเยาว์ ด้ วยพระองค์มีอปุ นิสยั เปนนักรบ แลทหาร

๑ การขอราชโอรสข้ างฝ่ ายผู้แพ้ ไปเลี ้ยงเปนราชบุตรบุญธรรมเปนประเพณีใช้ กันใน


สมัยนันแทบทุ
้ กประเทศ ที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิรับนักพระสุโทนักพระสุทนั ราชโอรสเจ้ ากรุง
กัมพูชามาเลี ้ยงเปนบุตรบุญธรรมก็เช่นเดียวกัน ที่เแท้ เปนตัวจํานํานันเอง

.

๓๗
ของพระเจ้ าหงษาวดีในสมัยนันก็ ้ ถือกันทัว่ ไปว่าหาชาติอื่นสู้มิได้ (เห็น
จะนับถือกันคล้ าย ๆ กับนับถือทหารเยอรมันเมื่อ ก่อนเกิดมหาสงคราม)
ความที่กล่าวนี ้มีเค้ าเงื่อนอยูใ่ นหนังสือพิไชยสงครามของเก่าที่ยงั มีฉบับ
อยูบ่ ดั นี ้ ข้ อนิตสิ าตรเปนต้ นดูคล้ ายกับพม่า แลมีรูปแผนที่เมือง
พิ ศ ณุ โ ลก บอกระยะทางที่ จ ะไปเมื อ งใดใกล้ ไ กลเท่า ใด ติด อยู่ใ น
หนังสือพิไชยสงคราม ส่อให้ เห็นว่า คงเปนของสมเด็จพระนเรศวรทรง
คิดทําขึ ้นเพื่อจะแก้ ไขตําราพิไชยสงครามของไทยให้ ดีทนั สมัย (ทํา
นองเดียวกับที่กรมเสนาธิการคิดแบบเผยยุทธวิธี แต่ตําราพิไชยสง
ครามไทยที่มีอยูบ่ ดั นี ้ มีรอยแก้ ชนหลั
ั ้ งมาอิก หาใช่ของสมเด็จพระ
นเรศวรทังนั ้ นไม่
้ ) ว่าโดยย่อ เชื่อได้ วา่ วิธีการทหารไทยมาจัดใหม่เมื่อ
ครัง้ สมเด็จพระนเรศวรอิกครัง้ ๑ แต่การทหารไทยที่ จัดครัง้ พระเจ้ าอู่ทองกับ
ครัง้ สมเด็จพระนเรศวรผิดกันเปนข้ อสําคัญโดยเหตุการณ์บ้านเมือง
ต่างกัน เมื่อครัง้ พระเจ้ าอูท่ องเปนเวลากรุงศรี อยุธยากําลังเจริญ การที่
จัดไม่มีผ้ ใู ดขัดขวาง ก็ตงหน้ ั ้ ามุง่ หมายขยายอํานาจแลอาณาเขตรให้
กว้ างขวางต่อออกไปภายเดียว แต่ครัง้ สมเด็จพระนเรศวรเปนเวลา
บ้ านเมืองตกตํ่าต้ องอยู่ในอํานาจของสัตรู กํ าลังรี พ้ ลก็มีเหลืออยู่น้อย
ความมุ่งหมายแม้ แต่เพียงที่จะให้ ไทยกลับเปนอิศระ แก่ตนดังแต่ก่อนก็มี
สัตรูซงึ่ กําลังมากกว่าคอยขัดขวางทางที่จะให้ สําเร็ จดังประสงค์จึงลําบาก
ยิ่งนัก จะสามารถทําได้ แต่ด้วยอุบาย ๒ ประการ คือ ต้ องคิดอ่าน
ให้ คนน้ อยสู้คนมากได้ ประการ ๑ ต้ องคอยทีทําต่อในเวลาที่มีโอกาศ
๓๘
เหมาะแก่การประการ ๑ สมเด็จพระนเรศวรทรงดําเนินในอุบายทัง๒ ้
้ ต้นจนตลอดเรื่ องที่ปรากฎในพระราช พงศาวดาร
ประการที่กล่าวมานี ้ตังแต่
เรื่ องสงครามของสมเด็จพระนเรศวรเปนเรื่ องน่าฟั งมิร้ ูเบื่อ แต่มิใช่
ต้ องเรื่ องของหนังสือนี ้จึงจะยกไว้ ไม่พรรณา แลเชื่อว่าท่านทังหลาย

ที่ได้ รับหนังสือนี ้ไป ก็เห็นจะได้ เคยอ่านกันเจนใจแล้ วโดยมากถ้ า
ใครอยากจะอ่านอิกขอแนะนําให้ อ่านในหนังสือเรื่ องพงศาวดารเรารบพม่า
เล่ ม ๑ ซึ่ ง ว่ า ด้ วยรบเมื่ อ ครั ง้ กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา เพราะเรื่ อ งราวแล
คําอธิบายบริ บูรณกว่าในหนังสืออื่นที่มีอยู่บดั นี ้ จะกล่าวในที่นี ้แต่โดย
ย่อพอให้ ร้ ู เรื่ องราว คือ สมเด็จพระนเรศวรทรงพยายามฝึ กหัดจัด
ทหาร
อยู๑่ ๕ ปี ในระหว่างนันคงทํ
้ าดีตอ่ พระเจ้ าหงษาวดีบเุ รงนองมิให้ มีเหตุ
ระแวงสงสัย พอพระเจ้ าหงษาวดีบเุ รงนองสิ ้นพระชนม์ มังไชยสิงห์
ราชโอรสผู้เปนพระมหาอุปราชาได้ รับรัชทายาท ทรงพระนามว่าพระเจ้ า
หงษาวดีนนั ทบุเรง ผู้คนไม่นบั ถือยําเกรงเหมือนพระเจ้ าหงษาวดี
บุเรงนอง สมเด็จพระนเรศวรได้ โอกาศก็ประกาศเมืองไทยเปนอิศระ
ภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๗ ขับไล่พวกพม่าที่มากํากับกลับไปหมด พระเจ้ า
หงษาวดีก็ให้ กองทัพมาปราบปรามหลายครัง้ สมเด็จพระนเรศวรก็ตี
แตกไปทุกที จนถึงพระเจ้ าหงษาวดียกกองทัพใหญ่มาเอง ก็มาเสียที
สมเด็จ พระนเรศวรต้ องเลิกทัพกลับไป สมด็จพระนเรศวรเสด็จผ่าน
พิภพเมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๓ ต่อมาพระเจ้ าหงษาวดีให้ พระมหาอุปราชายก
กองทัพมาอิกก็มาสิ ้นชีพเพราะชนช้ างกับสมเด็จพระนเรศวร แต่นนั ้
๓๙
พระเจ้ าหงษาวดีก็เข็ดขยาด สมเด็จพระนเรศวรได้ ทีจงึ ยกออกไปตีเมือง
หงษาวดีบ้าง ได้ หวั เมืองมอญตลอดไปจนเมืองหงษาวดี พระเจ้ าหงษา
วดีต้องอพยบหนีไปอาไศรยเมืองตองอู ผเลยไปสิน้ พระชนม์อยู่ที่
นัน้ วิธีทําสงครามของสมเด็จพระนเศวรที่ใช้ กําลังคนน้ อยต่อสู้คนมาก
ได้ เพราะเอาพระองค์ออกน่านําพลเข้ ารบประจั นบานเอง ดังเช่นเมื่อ
ครัง้ ทรงคาบพระแสงดาบนําพลเข้ าปี นค่ายพระเจ้ าหงษาวดี ครัง้ นันถึ ้ ง
พระเจ้ าหงษาวดีออกพระโอษฐว่า “พระนเรศวรทําสงครามกล้ าหาญ
เกินนัก เหมือนเอาพิมเสนมาแลกเกลือ” ดังนี ้ เพราะไม่เคยมี
ประเพณีที่นายทัพพม่าฤๅไทยจะออกนําพลด้ วยตนเองมาแต่ ก่อน ดูเปน
วิธีที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประพฤติขึ ้นในสมัยนันอิ ้ กประการ๑ สมเด็จ
พระนเรศวรไม่ยอมให้ ข้าศึกมีโอกาศทําได้ ก่อน ข้ อนี ้มีตวั อย่างดังเช่น
ครัง้ พระเจ้ าหงษาวดีให้ พระยาพสิมกับพระเจ้ าเชียงใหม่ยกมา๒ทาง ให้
มาสมทบกันตีพระนครศรี อยุธยา พอพระยาพสิมยกลวงแดนไทยเข้ ามา
ทางตวันตก สมเด็จพระนเรศวรก็ชิงไปตีเสียที่เมืองสุพรรณมิให้ ทนั พระ
เจ้ าเชียงใหม่ลงมาถึง แล้ วจึงยกไปตีกองทัพเมืองเชียงใหม่ที่ปากนํา้
บางพุดซาทางข้ างเหนือ ข้ าศึกไม่สามารถจะรวมกําลังกันได้ ก็
พ่ายแพ้ ไปทัง้ ๒ ทาง แต่วิธีการสงครามของสมเด็จพระนเรศวรนัน้
ถ้ าไม่ได้ ทว่ งทีก็ไม่ทํา ดังเช่นครัง้ พระเจ้ าหงษาวดียกกองทัพใหญ่
มาเอง สมเด็จพระนเรศวรเห็นข้ าศึกมีกําลังมากยกมาพรักพร้ อมกัน
ก็ไม่ออกรบ เปนแต่รักษาพระนครมัน่ ไว้ แต่งแต่กองโจรให้ เที่ยวคอยตี
๔๐
ลําเลียงสเบียงอาหารมิให้ สง่ มาถึงกองทัพข้ าศึกได้ สดวก จนเข้ าศึก
ขัดสนสเบียงอาหารเกิดความไข้ เจ็บไข้ ขึ ้นในกองทัพพอเห็นข้ าศึกรวนเร
ก็ออกปล้ นทัพกระหนํ่าไปทุกวัน มิให้ ข้าศึกรู้ ตวั ว่าจะปล้ นทัพไหนทาง
ไหนเมื่อใด ต้ องระวังตัวไม่มีเวลาที่จะพักผ่อนนอนใจได้ ไม่ช้าพระเจ้ า
หงษาวดีก็ต้องเลิกทัพกลับไป กระบวนศึกของสมเด็จพระนเรศวรนับ
ว่าเปนวิธีใหม่มีขึ ้นในยุทธวิธีไทย ได้ เปนแบบแผนใช้ สืบมาจนครัง้ กรุ ง
ธนบุรี แลในชันกรุ้ งรัตนโกสินทร เมื่อพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธ
ยอดฟ้าจุฬาโลก กับกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทรบพม่าหลาย
คราว แต่สว่ นวิธีการกะเกณฑ์ผ้ แู ลวิธีจดั หมวดกองกรมทหารครัง้ สมเด็จ
พระนเรศวร จะแก้ ไ ขแบบเดิม ประการใดหาปรากฎไม่ ปรากฎแต่
ลักษณปกครองหัวเมือง เลิกมณฑลฝ่ ายเหนือแลเมืองพระยา
มหานคร จัดหัวเมืองเปนเมืองขึ ้นกรุง ฯ ทังนั ้ น้ กําหนดเมืองเปน
ชันเมื
้ องเอกเมืองโทเมืองตรี แลเมืองชันใน ้ (เรี ยกกันว่าเมืองจัตวา )
เมืองชันเอกโทตรี
้ มีเมืองน้ อยขึ ้นมากบ้ างน้ อยบ้ าง การปกครองรวม
เปนส่วนเฉภาะเมือง (คล้ ายมณฑลทุกวันนี ้ ) เมืองชันในเจ้ ้ าน่าที่
ต่าง ๆ ปกครองจากราชธานีเหมือนอย่างเดิม
๗)ว่ าด้ วยเรื่องพงศาวดารตอนตัง้ กองทหารชาวต่ างประเทศ
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงทําสงครามกู้อิศรภาพแลมีชยั ชนะพระ
เจ้ าหงษาดีครัง้ นัน้ พระเกียรติยศเลื่องลือแพร่หลายไปในนานาประเทศ
เปนเหตุให้ ตา่ งชาติตา่ งภาษาพากันนิยมไทย ที่หนีความ
๔๑
เดือดร้ อนมาพึง่ พระบารมี เช่นพวกมอญพวกจามแลพวกมลายูเปนต้ นก็มี
ที่เข้ ามาค้ าขายเช่นพวกแขกชาวอินเดีย แขกชาวเอเชียแลฝรั่ง
ชาวฮอลันดาเปนต้ นก็มี มีความปรากฎในจดหมายเหตุจีนว่าในสมัยนัน้
ประเทศจีนเกิดเปนอริ กบั ยี่ปนุ่ แลว่าสมเด็จพระนเรศวรรับจะให้ กองทัพ
ไทยไปช่วยจีนตีเมืองยี่ปนุ่ แต่จะไม่ได้ ไปเพราะเหตุไรหากล่าวต่อไป
ไม่ แต่ไปปรากฎในจดหมายเหตุทางเมืองยี่ปนว่ ุ่ า ยี่ปนได้ ุ่ มาเปน
ไมตรี กบั ไทยในครัง้ นัน้ แลมีพวกยี่ปนมาค้
ุ่ าขายถึงเมืองไทยแต่ครัง้ นัน้
เปนต้ นมา สมเด็จพระนเรศวเสวยราชย์อยู่ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคต
เมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๘ สมเด็จพระเอกาทศรถราชอนุชาได้ รับรัชทายาท
ก็มีพระเกียรติยศเปนที่ยําเกรงของนานาประเทศต่อมา ด้ วยพระองค์ได้
ทรงทําสงครามเปนคูพ่ ระราชหฤทัย ของสมเด็จพระเชษฐาธิราชปรากฎ
พระเกียรติยศมาด้ วยกันแต่เมื่อถึงแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถผลร้ าย
อันเกิดแต่การสงครามจับปรากคือที่กําลัง บ้ านเมืองร่ อยหรอลง เพราะ
ธรรมดาทําสงครามถึงจะมีชัยชนะผู้คนพลทหารย่อมล้ มตายมิมากก็น้อย
ทุกคราวไป ถ้ าการสงครามทําติดต่อช้ านานผู้คนก็ยิ่งเปลืองไปทุกที เมื่อ
แผ่ น ดิ น สมเด็จ พระเอกาทศรถจํ านวนทหารไทยน้ อ ยลงด้ วยเหตุนัน้ จึ ง
ยอมรับพวกชาวต่างประเทศที่เข้ ามาตังภู
้ มิลําเนาพึ่ งพระบาระมีอยู่ใน
พระนคร บรรดามีใจสมัคให้ เข้ าเปนทหาร เรี ยกว่าทหารอาสาคือ
กรม อาสายี่ปนเปนต้
ุ่ น กรมทหารอาสาจาม แลพวกเชื ้อสายฝรั่งโปร
ตุเกศ
๔๒
ที่จดั เปนกรมทหารแม่นปื น ก็เห็นจะมีขึ ้นในสมัยนี ้ แลบางทีจะมีกรม
อาสาพวกชาติอื่นอิก มีจดหมายเหตุของพวกฮอลันดาปรากฎว่าเจ้ า
ออเรนชซึง่ ครองประเทศฮอแลนด์ ได้ ส่งปื นใหญ่มาถวายสมเด็จพระเอกา
ทศรถชุดหนึ่ง อยู่มามีการทัพได้ โปรดให้ พวกฮอลันดาเข้ ากองทัพไป
สําหรั บประจํ าปื นราชบรรณการเข้ าใจว่ากองทหารอาสาซึ่ง เปนชาว
ต่า งประเทศเกิ ด มี ขึ น้ เมื่ อ แผ่ น ดิ น สมเด็ จ พระเอกาทศรถเปนที แ รก
เพราะ
ฉนันวิ ้ ธีการทหารอย่างแขกฝรั่งแลยี่ปนก็ ุ่ คงมีแซกแซงเข้ ามาบ้ างในสมัย
นัน้ มีการแปลกปรากฎในตอนนี ้อย่างหนึง่ ที่ไทยทําปื นได้ เอง จะ
เปนปื นใหญ่ฤๅปื นเล็กข้ อนี ้สงสัยอยู่ แต่ได้ ส่งเปนของบรรณาการตอบ
แทนไปยังเมืองยี่ปนุ่ มีสําเนาหนังสือโชคุณผู้สําเร็จราชการแผ่นดิน
ยี่ปนตอบสรรเสริ
ุ่ ญปื นไทย แลว่าจะใคร่ได้ รับพระราชทานเพิ่มเติม
อิกดังนี ้นับว่าเกียรติยศการทหารไทยที่เกิดขึ ้นในครัง้ สมเด็จพระนเรศวร
ยังมีตอ่ มาตลอดรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ จนสวรรคตเมื่อ
พ.ศ. ๒๑๖๓ แต่นนั ้ ก็จบั เกิดเหตุร้ายในเมืองไทย เพราะแย่งชิงราช
สมบัติติดต่อกันมาหลายครัง้ ตั ้งแต่แผ่นดินเจ้ าฟ้าศรี เสาวภาคยราชโอรส
ของสมเด็จพระเอกาทศรถ จนสิ ้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์ พวกข้ าง
แพ้ ถกู ฆ่าฟั นก็หมดสิ ้นนายทหารไทยเปลืองไปทุกที แม้ พวกไพร่พลฝ่ าย
ไหนแพ้ ก็ถกู ลดศักดิใ์ ห้ เลวลง เปนเหตุให้ ผ้ คู นเกิดระอา
น่าที่ทหาร การทหารจึงต้ องอาไศรยพวกทหารอาสาชาวต่างประเทศ
ยิ่งขึ ้นทุกที เมื่อถึงแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์ ได้ ทําสงครามชนะ

๔๓
พม่าก็จริง แต่แม่ทพั นายกองที่เปนคนสําคัญ เปนชาวต่างชาติเข้ า
เจือปนเปนอันมาก ในที่สดุ ถึงหาคนอังกฤษแลฝรั่งเศสมาใช้ เปนทหาร
การเปนประโยชน์อยู่เพียงในแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์ด้วยพระองค์ทรง
พระปรี ชาสามารถในรัฏฐาภิปาลโนบายครัน้ สิ ้นรัชกาลเมื่อพ.ศ. ๒๒๓๑
ก็เกิดวุน่ จวนจะเสียแก่ฝรั่งต่างประเทศ หากว่าไทยรวมกันเข้ า
เปนกําลังของพระเพทราชา จึงสามารถขับไล่ทหารฝรั่งไปจากบ้ านเมือง
ได้ .
๘) ว่ าด้ วยเรื่องพงศาวตอนกรุงศรีอยุธยาถึงความเสื่อม
ตามเรื่ องพงศาวดาร การที่พระเพทราชาคิดกําจัดทหารฝรั่ง
ซึง่ เข้ ามาอยูใ่ นเมืองไทยเมื่อสมเด็จพระนารายน์สวรรคตนัน้ เดิมคิด
จะถวายราชสมบัติแก่เจ้ าฟ้าอภัยทศราชอนุชา เพราะสมเด็จพระนารายน์
ไม่มีพระราชโอรส ถ้ าเปนไปได้ ดงั พระเพทราชาประสงค์แต่เดิม การ
ต่อมาก็เห็นจะไม่ว่นุ วายใหญ่หลวง แต่หลวงสรศักดิ์บตุ รพระเพทราชา
มักใหญ่ใฝ่ สูง จะใคร่ได้ ราชสมบัตแิ ก่ตนในภายหลัง จึงให้ ลอบ

ปลงพระชนม์พระราชอนุชาสมเด็จพระนารายน์ เสียทัง๒พระองค์ ้ ให้
หมดรัชทายาทที่จะสืบพระราชวงศ์มาเด็จพระนารายน์ฝืนใจให้ พระเพท
ราชาต้ องตั ้งตัวเปนพระเจ้ าแผ่นดิน ครัน้ พระเพทราชาขึ ้นครองราชสมบัติ
คนทังหลายโดยมากก็
้ ลงเนื ้อเห็นว่าพระเพทราชาคิดขบถ การที่ทํามา
๑ ที่ในหนังสือพระราชพงศาวดาร กล่าวว่าเจ้ าฟ้าอภัยทศ เปนพระราชโอรส
สมเด็จพระนารายน์นนผิ
ั ้ ดตามจดหมายเหตุทกุ ฉบับในครัง้ นันว่
้ าเปนราชอนุชา แลมี
พระราชอนุชาอิกพระองค์๑รวมเปน ๒ พระองค์ด้วยกัน

๔๔
หาได้ คดิ จะกําจัดแต่ศตั รูบ้านเมืองโดยสุจริตไม่ ผู้ที่ได้ เข้ าเปนพวก
พากันเอาใจออกหากเสียเปนอันมาก ที่เปนเจ้ าเมืองมีกําลังเช่นเมือง
นครราชสิมาแลเมืองนครศรี ธรรมราชก็ตงแขงเมื ั้ อง ไม่ยอมเข้ ามา
ถือนํ ้ากระทําสัตย์ตอ่ พระเพทราชาเกิดกระด้ างกระเดื่องทัว่ ไปในครัง้ นัน้
ตลอดจนถึงราษฎรพลเมือง มีเรื่ องปรากฎเปนตัวอย่างอยู่ ในหนังสือ
พระราชพงศาวดาร ว่ามหาดเล็กของเจ้ าฟ้าทศที่ถกู ปลงพระชนม์
คน ๑ ชื่อว่าธรรมเฐี ยร ออกไปยังเมืองนครนายก ไปหลอกลวงพวก
ชาวเมืองว่าตัวเปนเจ้ าฟ้าอภัยทศหนีรอดออกไปได้ ก็มีพวกชาวเมือง
เชื่อถือพากันมาเข้ าด้ วย อ้ ายธรรมเฐี ยรจึงเข้ ามาตังซ่ ้ องสุมรี พ้ ลที่
เมืองสระบุรี ผู้คนที่ไม่ร้ ูความจริงก็พากันอ้ ายธรรมเฐี ยรเปน
อันมาก ด้ วยความซื่อตรงต่อพระราชวงศ์ จนรวมคนได้ เปนกองทัพ
ยกเข้ ามาตังติ
้ ดพระนครศรี อยุธยา แต่มาพ่ายแพ้ ในเวลารบพุ่ง ในครัง้
นันพระเพทราชากั
้ บหลวงสรศักดิ์ไม่ร้ ู ว่าศัตรู จะมีอยู่ที่ไหนบ้ าง สงสัย
ใครก็ ฆ่าเสี ย แม้ จ นหลานชายซึ่ง ยกขึน้ เปนกรมพระราชวัง หลัง แล
เจ้ าพระยาสุรสงครามซึ่งเปนคู่คิดกันมาแต่ก่อนก็ ถูกกํ าจัด พระเพท
ราชาต้ องปราบปรามเสี ้ยนศัตรูอยู่หลายปี จึงราบคาบผลของการครัง้ นัน้
ตลอดไปจนถึงต้ องแก้ ไขประเพณีการปกครองบ้ านเมือง โดยไม่
วางใจในข้ าราชการเหมือนอย่างแต่ก่อน ยกเปนตัวอย่างดังเช่นการ
ปกครองหัวเมือง แต่ก่อนมาราชการกระทรวงไหนกระทรวงนัน้
ว่ากล่าวออกไปหัวเมือง เปลี่ยนเปนแบ่งหัวเมืองฝ่ ายเหนือให้ ขึ ้น
๔๕
มหาดไทย หัวเมืองปั กษ์ใต้ ให้ ขึ ้นกลาโหม ให้ เจ้ าน่าที่มีอํานาจ
พอไล่เลี่ยกัน ระเบียบราชการในกรุง ฯ หลวงสรศักดิซ์ งึ่ ได้ เปน
กรมพระราชวังบวร ฯ มหาอุปราช ก็ตงทํ ั ้ าเนียบขุนนางวังน่าเพิ่มเติมขึ ้น
เพื่อเปนกําลังรักษาพระองค์แยกออกไปอิกฝ่ าย๑ว่าโดยย่อแบบแผนวิ ธี
ราชการก่ อ นนัน้ มา ตัง้ ขึ น้ ด้ ว ยความมุ่ ง หมายต่ อ สู้ ศัต รู ภ ายนอก
เปลี่ยนแปลงมาเปนความมุ่งหมายต่อสู้ศตั รูภายในก็เปนธรรมดาที่จะมี
ผลไปข้ างความเสื่อมทราม แลผลนันก็ ้ แลเห็นในไม่ช้า พอสิ ้นรัชกาล
พระเจ้ าท้ ายสระเมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๕ เจ้ าฟ้าพรพระมหาอุปราชราชอนุชา
กับเจ้ าฟ้าอภัยเข้ าฟ้าปรเมศวร์ ราชโอรสแย่งราชสมบัตกิ นั พวกวังน่ากับ
พวกวัง หลวงเกิ ด รบกันขึน้ กลางเมื อ ง ฆ่า ฟั นกัน เปนเบื อ พระมหา
อุปราชมีไชยชนะ พวกวังหลวงถูกกําจัดพินาศไปในคราวนันอิ ้ ก กําลัง
บ้ านเมืองก็อ่อนแอลงอิกชัน้ ๑ ข้ อนี ้มีความปรากฏในเรื่ องพงศาวดาร
แลจดหมายเหตุครั ง้ แผ่นดินเจ้ าฟ้ าพร ซึ่งเสวยราชย์ทรงพระนามว่า
พระมหาธรรมราชา (ที่ ๒) แต่เรี ยกกันเปนสามัญในชันหลั ้ งว่า
พระเจ้ าบรมโกษฐ์ ให้ แลเห็นเปนอุทาหรณ์ หลายเรื่ อง เช่นครัง้ หนึ่ง
เสด็จไปประพาศเมืองลพบุรีทางในกรุง ฯ พวกจีนรวมกันสัก ๓๐๐ คน
บังอาจถึงเข้ าปล้ นพระราชวังหลวง อิกครัง้ หนึ่งจะทําพระเมรุกลางเมือง
กระบวรแห่ขาดจํานวนไปเพียง ๖๐ คน ถึงเสนาบดีนําความขึ ้นกราบ
บังคมทูลขอเรี ยนพระราชปฏิบตั ิ ต้ องโปรด ฯ ให้ ชกั คนที่อยู่ประจําน่าที่
เอาไปเปนเกณฑ์แห่ดงั นี ้ การทหารในสมัยนันเห็ ้ นจะเสื่อมทรามลง
๔๖
กว่าแต่ก่อนเปนอันมาก ประเพณีการทหารบางอย่างอันเปนปรปั กษ์
แก่ยทุ ธวินยั ดังเช่นยอมให้ ไพร่พลเสียเงินจ้ างคนเข้ าเวรรับราชการ
แทนตัวได้ นนเปนต้
ั้ น ก็เห็นจะมีขึ ้นในสมัยนี ้ โดยจะมีเหตุอนั ใดอันหนึ่ง
เกิดขึ ้น ดังเช่นมูลนายไม่สามารถจะติดตามเอาตัวคนมารับราชการ
ได้ เต็มจํานวน จึงเห็นประโยชน์ในการที่จะผ่อนผันเอาใจไพร่แล้ วก็เลย
เปนธรรมเนียมต่อมา เพราะในระยะเวลา ๗๐ ปี ตังแต่ ้ แผ่นดินสมเด็จ
พระเพทราชามาจนสิ ้นรัชกาลพระเจ้ าบรมโกษฐ์ ตา่ งประเทศที่ใกล้ เคียง
กับเมืองไทยพากันซุดโทรมด้ วยเรื่ องรบพุ่งกันบ้ างเกิดจลาจลภายในบ้ าง
ทังพม่
้ ามอญลาวเขมร เมืองไทยปราศจากเหตุที่จะต้ องกริ่ งเกรงศัตรู
ต่างประเทศ ยิ่งมาถึงเมื่อแผ่นดินพระเจ้ าบรมโกษฐ์ มีแต่ตา่ งประเทศ
มาอ่อนน้ อมฤๅมาขอเปนไมตรี กบั กรุงศรี อยุธยา ภายในก็สิ ้นเสี ้ยนศัตรู
ราบคาบทัว่ พระราชอาณาเขตร จึงยกย่องกันมาแต่ก่อนว่า เมื่ อแผ่นดิน
พระเจ้ าบรมโกษฐ์ นนบ้ั ้ านเมืองรุ่งเรื อง มักอ้ างกันในสมัยเมื่อแรกตังกรุ
้ ง
รัตนโกสินทรว่าเปน “ครัง้ บ้ านเมืองดี “ ดังนี ้ เพราะต่อมาถึง
แผ่นดินพระเจ้ าเอกทัศพระที่นงั่ สุริยามรินทร์ ครองกรุงศรี อยุธยา การ
ทัง้ ปวงเลวทรามหนักลงไป เมื่ อมีศึกพม่าเข้ ามาการที่ต่อสู้เลวทราม
เช่นหลงเชื่อวิทยาคุณเปนใหญ่ยิ่งกว่ายุทธวิธี จึงเสียกรุงศรี อยุธยา
แก่พม่าข้ าศึก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๐ ด้ วยประการฉนี ้ เล่าเรื่ องพงศาวดาร
ที่เกี่ยวแลการเกณฑ์ทหารมาพอให้ แลเห็นเหตุการณ์
๔๗
ว่ าด้ วยลักษณเกณฑ์ ทหารอย่ างโบราณ
ข้ าพเจ้ าได้ กล่าวไว้ ข้างต้ นหนังสือนี ้ ว่าไม่มีหนังสือเก่าเรื่ องหนึ่ง
เรื่ องใดที่จะได้ แสดงวิธีเกณฑ์ทหารไทยอย่างโบราณไว้ ชดั เจน การที่
เรี ยบเรี ยงหนังสือเรื่ องนี ้ ข้ าพเจ้ าตรวจเห็นเค้ าเงื่อนอันมีอยู่ในหนังสือ
ต่าง ๆ คือ พงศาวดาร กฏหมาย แลทําเนียบเก่าเปนต้ น คิดเรี ยบ
เรี ยงขึ ้นตามอัตโนมัติ เพราะฉนันอาจจะวิ ้ ปลาศพลาดพลังได้ ้ ขอบอก
ซํา้ สํ าหรั บที่ จ ะอธิ บายวิธี เ กณฑ์ ทหารต่อไปนี อ้ ิกครัง้ ๑ อิกประการ ๑
วิธีการทหารไทยได้ จัดการแก้ ไขเปลี่ยนแปลงมาตามเหตุการณ์ หลาย
ครัง้ หลายคราว การอย่างใดจะได้ จดั ในคราวไหนเพียงใด ทราบ
แน่ไป
กว่าในเรื่ องพงศาวดารที่ได้ กล่าวมาแล้ วนันไม่ ้ ได้ จําต้ องรวมแสดงแต่
พอแลเห็นรูปลักษณการดังจะกล่าวต่อไปนี ้
๑) ว่ าด้ วยบุคคลที่ต้องเปนทหาร
การเกณฑ์ทหารแต่โบราณกําหนดบุคคลเปน ๔ พวก คือ ไทย
พวก ๑ นักบวชพวก ๑ คนต่างชาติพวก ๑ ทาษพวก ๑
บรรดาชายไทยไม่วา่ ยศศักดิฤ์ ๅสกุลอย่างใดต้ องเปนทหารทังนั ้ น้
เชื ้อสายคนชาติอื่นอันเกิดในประเทศนี ้นับว่าเปนไทย แต่คนชาติไทย
ที่ตกเปนทาษไม่นบั ว่าเปนไทยในวิธีเกณฑ์ทหาร
นักบวชนัน้ ไม่ว่าบวชในพระพุทธสาสนาฤๅไสยสาตร ยกเว้ น
ไม่เกณฑ์เปนทหาร ความข้ อนี ้มีเรื่ องกล่าวในหนังสือพระราชพงศาวดาร
๔๘
ว่า เมื่อครัง้ แผ่นดินสมเด็จพระนารายน์ เจ้ าพระยาวิชเยนทร์ ให้ สกึ
พระภิกษุสามเณรออกมารับราชการ (ทหาร) แต่มีจดหมายเหตุของ
ฝรั่งแต่งไว้ ในครัง้ นันว่
้ า มีคนหลีกเลี่ยงราชการทหารออกบวชเปน
พระภิกษุสามเณรมากนัก สมเด็จพระนารายน์โปรดให้ หลวงสรศักดิ์เป
นแม่กองพิจารณาเลือกสึกเสียเปนอันมากดังนี ้ น่าจะจริ งอย่างฝรั่งว่า
เพราะวิชเยนทร์ เ ปนคฤศตัง สมเด็จพระนารายน์เห็นจะไม่โปรดให้ มี
อํานาจเหนือพระภิกษุสามเณรในพระพุทธสาสนา
คนต่างประเทศแต่โบราณกําหนดเปน ๓จําพวกคือ(๑) จําพวก
ที่ไปมาค้ าขายชัว่ คราว เปนแต่เรี ยกใช้ ฤๅเรี ยกเงินแทนแรงเปนครัง้ เปนค
ราวไม่เกณฑ์เปนทหาร (๒) จําพวกที่มาตังภู ้ มิลําเนาอยู่ประจําในพระ
นครถ้ าใครสมัคก็ยอมรับเปนทหารอาสา (๓) จําพวกลูกหลานเชื ้อสาย
ของชาวต่างประเทศอันเกิดในเมืองไทย (เช่นพวกเชื ้อสายโปร์ ตเุ กศ
ที่อยูก่ ฎีจีน) เกณฑ์เหมือนกับไทย
คนที่เปนทาษเปนเชลยนัน้ จะเปนไทยฤๅเปนคนชาติอื่นก็ตาม
ถือว่าเปนคนชั ้นเลวคล้ ายกับปสุสตั วสําหรับแต่จะเปนบ่าวไพร่ จึงเปนแต่
เกณฑ์ใช้ แรง ไม่ให้ มีศกั ดิเ์ ปนทหาร
(๒) กาหนดเวลารับราชการ
การเกณฑ์ ทหารนับว่าคนอายุ ๑๘ ปี ถึงกํ าหนดจะต้ องเปนทหาร
ต้ องรับราชการอยูจ่ นอายุ ๖๐ ปี จึงปลดปล่อย แต่ถ้ามีลกู ชายเข้ ารับ
ราชการ๓ คน ก่อนพ่ออายุ ๖๐ ปี ก็ปลดปล่อยดุจกัน กําหนดเช่นกล่าวนี ้

๔๙
อนุโลมถึงบุคคลจําพวกซึ่งมีน่าที่รับราชการอย่างอื่น เช่นเสียเงินแทน
แรงเปนต้ น อันมิต้องเปนทหารด้ วย
การที่เข้ าทะเบียนเกณฑ์นนั ้ เมื่ออายุยงั อยู่ในระหว่าง๑๘ปี ไป
หา ๒๐ ปี เรี ยกว่าไพร่สม ให้ มลู นายฝึ กหัดไปก่อนยังมิต้องรับราชการ
เมื่ออายุพ้น ๒๐ ปี แล้ วจึงยกขึ ้นเปนตัวทหาร เรี ยกว่าไพร่หลวง
ไพร่หลวงมีนา่ ที่ต้องมาอยูป่ ระจําราชการปี ละ๖เดือนเปนนิจกําหนด
นี ้ภายหลังลดลงมาเปนปี ละ๔เดือน(มาถึงกรุงรัตนโกสินทรลงลดคงแต่ปี
ละ ๓ เดือน)
เมื่อเกิดวิธียอมให้ ไพร่เสียเงินจ้ างคนรับราชการแทนตัวได้ ในเวลา
ปรกติไพร่หลวงต้ องเสียค่าจ้ างเดือนละ๖ บาท ทาษเพียงปี ละ ๖ สลึง
(คือบาท ๑ กับ ๕๐ สตางค์) เงินค่าจ้ างคนแทนเช่นนี ้ ชันแรกเห็ ้ นจะ
ให้ มลู นายจัดจ้ างคนแทนจริง ๆ แต่ชนหลั ั ้ งมารัฐบาลยอมรับเงินนัน้
ในเวลาบ้ านเมืองเปนปรกติ จึงเลยเรี ยกว่าค่าราชการ มีเงินอิกประเภท
๑ เรี ยกว่าส่วย เกิดแต่รัฐบาลยอมให้ ไพร่พลอันอยู่ห่างไกล แต่อยู่ในที่
เกิดสิ่งของซึง่ ต้ องการใช้ ในราชการ ยกตัวอย่างเช่นดิน
ประสิวอันต้ องการใช้ ทําดินปื นเปนต้ น จึงยอมใหไพร่พลซึ่งตังภู ้ มิลําเนา
อยู่ตามหมู่เขาหาดินประสิวตามถํ ้ามาส่งเปนส่วยแทนตัวมารับราชการได้
มีส่วยต่าง ๆ ซึ่งตังขึ
้ ้นในครัง้ กรุ งศรี อยุธยาเปนราชธานีมากมายหลาย
อย่าง ครัน้ นานมาก็ยอมให้ สง่ เปนเงินแทนดินประสิวได้ อย่างเดียวกับ

๕๐
ค่าราชการ แต่อตั ราตํ่ากว่า อยู่ราวปี ละ ๖ บาท แต่การที่ยอมให้ เสีย
ค่าราชการแลส่วยแทนรับราชการดังกล่าวมานี ้ ยอมเฉภาะแต่เวลาที่
บ้ านเมืองเปนปรกติ ถ้ ามีการทัพศึกก็เกณฑ์เรี ยกตัวมารับราชการ
๓) การควบคุมรีพ้ ล
ลักษณการควบคุมทหารไทยแต่โบราณ กําหนดเอาครัวเรื อน
เปนชันตํ ้ ่าเบื ้องต้ นของการควบคุม เปนประเพณีมีมาเก่าแก่แต่ดงเดิ ั้ ม
คูก่ บั ข้ อที่เกณฑ์ไทยทุกคนให้ ต้องเปนทหาร เพราะฉนันจึ้ งถือเปน
หลักว่าบิดาสัง กัดอยู่ก รมไหนบุต รหลานต้ อ งอยู่กรมนัน้ ตามกันการ
ควบคุมต่อขึ ้นมาอิกชันหนึ ้ ง่ เรี ยกว่ากองคือหลายครัวเรื อนรวมกัน หลาย
กองรวมกันกําหนดว่าเปนกรม บรรดากรมนันมี ้ ชื่อเรี ยกต่าง ๆ กัน
โดยพระราชบัญ ญัติ เช่นเรี ยกว่า กรมตํา รวจ แลกรมฝี พายเปนต้ น
เพราะกรมเปนหลักของการทําทเบียนหมายหมู่ผ้ คู น กรมจึงต้ องมีแต่เฉ
ภาะที่ลงชื่อไว้ ในทําเนียบ ถ้ าแลมิได้ มิพระราชบัญญัตจิ ะรวบรวม
คนตังกรมขึ
้ ้นใหม่ไม่ได้ ความข้ อนี ้ยังมีอทุ าหรณ์เห็นได้ ในการตัง้
กรมเจ้ านาย ที่แท้ นนั ้ คือประกาศพระราชบัญญัติให้ ตงกรมทหารขึ ั้ น้
ใหม่ เรี ยกนามว่า “กรมโยธาทิพ” ฤๅ “กรมเทพามาตย์” เปน
ต้ น แลโปรดให้ ขึน้ อยู่ในเจ้ านายพระองค์นนั ้ ๆ นามกรมเปนแต่นาม
สําหรับเรี ยกกรมทหาร อย่างเดียวกับเช่นเรี ยกว่ากรทหมารราบที่ ๔
ที่ ๕ ทุกวันนี ้ มิใช่พระนามของเจ้ านาย เพราะฉนันแต่
้ โบราณเมื่อขาน
พระนามเจ้ านายต่างกรม จึงใช้ คํา “เจ้ า” นําน่านามกรม เช่น

๕๑
ว่า “เจ้ ากรมหมื่นสุรินทรรักษ” ดังนี ้เปนต้ น หมายความว่าเปนเจ้ า
ของทหารกรมสุรินทรรักษนัน.้
บรรดากรมทังปวงกรม
้ ๑ มีเจ้ ากรมเปนผู้บงั คับการคน ๑ ปลัด
กรมเปนผู้ชว่ ยคน ๑ แลสมุห์บาญชีเปนผู้ทําบาญชีพลคน ๑ แลมี
นายกองรองลงมา (เรี ยกว่าขุนหมื่น) สําหรับดูแลควบคุมไพร่พล
ในกรมนัน้ มากบ้ า งน้ อ ยบ้ า ง พวกขุน หมื่ น มัก อยู่ต ามท้ อ งที่ ซึ่ง เป็ น
ภูมิ ลํ า เนาของไพรพล เพราะวิ ธี ก ารควบคุม คนแต่โ บราณไม่ ไ ด้ ใ ช้
กําหนดท้ องที่เปนหลัก จึงไม่อาไศรยกํานันผู้ใหญ่บ้านพนักงานปกครอง
ท้ องที่ถึงไพร่ พลจะไปอยู่ที่ไหน ๆ ก็ต้องอยู่ในปกครองนายกองของตน
นายกองเปนผู้เรี ยกหาไพร่ พลในเวล ต้ องการตัวเข้ ามารับราชการ
การ
ควบคุมคนในกรม เจ้ ากรมเปนผู้รับผิดชอบทังที ้ ่จะต้ องควบคุมผู้คนที่ลง
ทเบียนแล้ ว แลที่จะต้ องสืบสาวเอาลูกหมูค่ นในกรม แลเกลี ้ย
กล่อมหาคนที่หลบเลี่ยงลอยตัวอยู่มาขึ ้นทเบียนเพิ่มเติม อย่าให้ จํานวน
คนในกรมของตนลดน้ อยถอยลงได้ แต่จํานวนที่จะกําหนดเปนอัตรา
ว่า กรม ๑ แลกอง ๑ จะต้ องมีคนมากน้ อยเท่าใดนันหาปรากฏไม่
้ กรม
ทหารแต่โบราณนันดู้ เหมือนจะกําหนดเปน ๔ ชัน้ คือกรมพระ เช่น
กรมตํารวจในซ้ ายขวา เจ้ ากรมเปนพระมหาเทพพระมหามนตรี นี ้ เปน
ต้ น เปนกรมชันที
้ ่ ๑ กรมหลวง เช่นกรมตํารวจนอกขวาซ้ าย เจ้ ากรม
เปนหลวงราชนรินทร หลวงอินทรเดชะนี ้เปนต้ น เปนกรมชันที้ ่ ๒ กรม
ขุนเช่นกรมทนายเลือกขวาซ้ าย เจ้ ากรมเปนขุนภักดีอาสา ขุน

๕๒
โยธาภักดีนี ้เปนต้ น เปนกรมชันที
้ ่ ๓ กรมหมื่น เช่นกรมแตรขวาซ้ าย
เจ้ ากรมเปนหมื่นเสน่ห์ราชา หมื่นจินดาราชนี ้เปนต้ น เปนกรม
ชัน้ ที่ ๔ ลักษณที่จัดกรมชื่อเดียวกันเปนกรมขวาแลกรมซ้ าย ดูเปน
ทํานองเดียวกับจัดกรม ๑ เปน ๒ กองพัน เพราะฉนันที ้ ่เปนกรมชันสู
้ ง
เช่นกรมคชบาลแลกรมตํารวจเปนต้ น จึงมีตําแหน่งจางวางเปนนายพล
บังคับรวมกันอิกชัน้ ๑แต่กรมชันตํ้ ่านันไม่
้ มีตําแหน่งจางวางในทําเนียบ
เห็นจะเปนเพราะจํานวนพลน้ อย ฤๅแต่เดิมมีแล้ วเลิกเสียเพราะเหตุนนั ้
ก็เปนได้ .
ในเวลามีการทัพศึกลักษณกะเกณฑ์รีพ้ ลเกณฑ์เรี ยกเปนกรม ๆ
เกณฑ์ไปหมดทังกรมฤๅแบ่
้ งเกณฑ์ แต่สว่ นหนึง่ ตามควรแก่เหตุการณ์
ไปจัดเข้ าเปนกองทัพอิกชัน้ ๑ระเบียบการควบคุมทหารอย่างโบราณ
เข้ าใจว่าเปนอย่างกล่าวมานี ้.
๔) ลักษณจัดประเภททหาร
ทหารไทยแต่โบราณมีแต่ทหารบก ทหารเรื อหามีไม่ เรื อรบที่
สร้ างขึ ้นอย่างเรื อพาย ก็ใช้ ทหารบกเปนทังพลพายแลพลรบด้
้ วยในตัว
ถ้ ายกกองทัพ ไปทางทเลใหญ่ ก็เ อาทหารบกบรรทุกเรื อไปรบพุ่ง พวก
เดิน เรื อ เปนพลเรื อ นไม่นับ ในทหาร ประเพณี ใ นยุโ รป แม้ ป ระเทศ
อังกฤษ แต่เดิมทีเดียวก็มีแต่ทหารบกทํานองเดียวกัน ทหารเรื อเปนของ
เกิดขึ ้นต่อชันหลั
้ ง

๕๓
ทหารบกตามตําราพราหมณ์ กําหนดเปน ๔ เหล่า คือพลช้ าง
เหล่า ๑ พลม้ าเหล่า ๑ พลรถเหล่า ๑ พลราบเหล่า ๑ เรี ยบรวมกัน
ว่าจตุรงค์เสนา ทหารไทยแต่โบราณก็จดั ประเภทต่างกันเปน ๔ เหล่า
คือ ทหารช้ างเหล่า ๑ ทหารม้ าเหล่า ๑ ทหารราบเหล่า ๑ ทหารช่าง
เหล่า ๑ ไม่มีทหารรถ เห็นจะเปนเพราะมิใคร่มีที่ใช้ ในการรบ
แลทหารปื นใหญ่นนรวมอยู
ั้ ่ในทหารราบ หาได้ แยกออกเปนเหล่าหนึ่ง
ต่างหากไม่
กรมทหารทังปวงแบ่
้ งสังกัดเปนฝ่ ายทหารพวก๑เปนฝ่ ายพลเรื อน
พวก ๑ กรมพวกฝ่ ายทหารขึน้ อยู่ในกลาโหม รับราชการทหารซึ่ง มี
ประจําอยูเ่ ปนนิจ กรมพวกฝ่ ายพลเรื อนขึ ้นอยู่ในมหาดไทย รับราชการ
ต่าง ๆ อันเปนการพลเรื อนซึ่ง มีประจํ าอยู่เปนนิจ ถ้ าเวลามี การศึก
สงครามก็สมทบกันทังกรมฝ่ ้ ายทหารแลฝ่ ายพลเรื อน
อนึง่ กรมทหารทังปวงนั
้ นจั
้ ดเปนทหารสําหรับรักษาพระองค์พวก ๑
คือ กรมช้ างต้ น กรมม้ าต้ น กรมตํารวจ แลกรมช่างทหารใน เปนต้ น
อิกพวก ๑ เปนทหารสําหรับราชการสามัญ เช่นกรมคชบาล กรม
อัศวราช กรมอาสาหกเหล่า แลกรมช่างสิบหมู่ เปนต้ น.
พนักงานบัญชาการทหารทังปวง(ทํ
้ านองน่าที่เสนาธิการในบัดนี ้)
นัน้ สมเด็จพระเจ้ าแผ่นดินเปนประธาน รองลงมาก็อรรคมหาเสนาบดี
ที่สมุหนายก กับอรรคมหาเสนาบดีที่สมุหกลาโหม ในกรมมหาด
ไทยแลกลาโหม มีเจ้ าพนักงานสําหรับการต่าง ๆ ในกระบวรทัพเปน

๕๔
หลายแพนก คื อ แพนกพล มี ทัง้ ๒ กรม แพนกช่า ง แพนกม้ า
แพนกทาง ๓ แพนกนี ้อยูใ่ นมหาดไทย แพนกเรื อ แพนกตําหนัก
(ที่สํานัก) แพนกเครื่ องสรรพยุทธ ๓ แพนกนี ้อยู่ในกลาโหม
กรมพระสุรัสวดีเปนพนักงานทําทเบียนบาญชีพลทังในกรุ ้ งแลหัวเมือง
ส่วนหัวเมืองนัน้ เจ้ าเมืองมักเปนนายทหารทังนั
้ น้ แต่มทหารเมืองชันใน

รวมการปกครองอยู่ใ นกองทัพราชธานี ส่วนหัวเมืองเอก โท ตรี จัด
กระบวรพลเปนกองทัพ เฉภาะเมื องนัน้ ๆ เจ้ าเมืองเปนนายพลผู้
บัญชาการกองทัพเมืองนัน้ ๆ ด้ วย ระเบียบกระบวรทัพในราชธานี
กําหนดเปน ๓ ทัพ คือพระมหาอุปราชเปนทัพน่า สมเด็จพระเจ้ า
แผ่นดินเปนทัพหลวง กรมพระราชวังหลังเปนทัพหลัง กองทัพหัวเมือง
เอก โท ตรี เปนกองอิศระ แล้ วแต่ในราชธานีจะสัง่ ให้ ยกไปแต่โดย
ลําพัง ฤๅให้ มาสมทบกองทัพราชธานี ลักษณการทหารแต่โบราณ
ปรากฏเค้ าเงื่ อ นว่า จัด โดยแบบแผนดัง ได้ แ สดงมา เรี ย บเรี ยงเรื่ อ ง
ตํานานการเกณฑ์ทหารไทยแต่โบราณยุตคิ วามเพียงนี ้.

๕๕
ตานานกรมทหารบกราบที่ ๔

กรมทหารบกราบที่ ๔ ปรากฎตามตําแหน่งแลนามกรมที่มีมาโดย
ลําดับ นับว่าเปนกรมที่สืบเนื่องเชื ้อสายมาแต่โบราณกาล อุบตั ิ
เดิมก็คือกรมทหารที่ได้ แต่งตั ้งขึ ้นตามระเบียบแบบยุทธวิธีอย่างยุโรปเปน
เริ่มแรกแต่ครัง้ กรุงทวาราวดีศรี อยุธยาโบราณ ตามพระราชพงษาวดาร
ก็ดี ในธรรมเนียบศักดินาทหารเดิมครัง้ กรุงเก่าก็ดี ปรากฎมีนามกรม
นี ้อยู่ว่า “กรมเกณฑ์หดั อย่างฝรั่ง ” ซึ่งพระพิพิธเดชะเปนเจ้ ากรมนัน้
กรมนี ้ย่อมมีอยูแ่ ล้ วหลายชัว่ รัชกาล ในกรุงเก่าแต่เมื่อสมัยแรกมีชาว
โปรตุเกตเข้ ามาเปนครูทหารเปนเดิมมา แลไม่ต้องมีความสงไสยว่า
ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์มหาราชเจ้ า กรมเกณฑ์หดั อย่างฝรั่งนี ้จะ
ไม่ได้ มีอยูแ่ ลไม่รุ่งเรื องยิ่ง เหตุวา่ ในรัชกาลนันมี
้ นายทหารฝรั่งเศส
ได้ เข้ ามาเปนครูทหารอยูเ่ ปนอันมาก เมื่อพ้ นสมัยวิไชเยนทร์ แล้ ว ต่อมา
ในรัชกาลกรุ งเก่าชัน้ หลังๆ ความเปนไปของกรมนีน้ ่าจะเปลี่ยนแปลง
เสื่อมทรามไปตามสมัย ถึงอย่างไร ๆ ก็ดีนามกรมนี ้ยังคงปรากฎแล
มีนามอยูต่ ามเดิม เมื่อยังคงมีนามอยูเ่ ช่นนัน้ ก็ต้องเข้ าใจว่ายังเปนกรม
ทหารกรมหนึ่ง ซึ่ง มี ระเบียบยุ ทธวิธี อย่างยุโรปสื บเชื อ้ สายกรมเดิม ที่
เปนมาแล้ วแต่กาลก่อน แม้ จะลดหย่อนด้ วยระเบียบแบบแผนเดิมไป
ประการใดก็ดี นามกรมเกณฑ์หดั อย่างฝรั่งนี ้ยังคงมีอยู่จน
ตลอดสมัยกรุงศรี อยุธยาโบราณ แต่เปนธรรมดาอยู่เองเมื่อกรุงเก่า
ถึงซึง่ พินาศ

๕๖
ลง กรมทหารนี ้ก็คงต้ องเสื่อมสูญระงับไปชัว่ คราว ครัน้ ถึงสมัยตัง้
กรุงธนบุรีแล้ ว กรมเกณฑ์หดั อย่างฝรั่งนี ้ก็ได้ ตงขึ ั ้ ้นอิก เมื่อนาม
เช่นนี ้ยังคงเดิมอยู่ ก็ต้องเปนกรมทหารที่ได้ มีระเบียบยุทธวิธีอย่างยุโรป
เช่นเคยมี มาแต่ครัง้ กรุ ง เก่า แต่ ย่อมต่างรู ปต่างวิธี ตามที่จ ะหาครู บา
อาจารย์ได้ ในสมัยนัน้ อย่างไร ๆ ก็ดีกรมทหารอย่างยุโรปคงมีอยู่
ในรัชกาลกรุงธนบุรีนนแล้ ั ้ วเปนแน่ เช่นปรากฎชัดว่ามีฝรั่งรับราชการ
ที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ แลในการเกณฑ์ ทพั หรื อแห่แหนในสมัยนัน้ กล่าวว่า
“ให้ เกณฑ์ทหารใส่เสื ้อเกราะแลหมวกถือปื น” ดังนี ้เปนต้ น ทหารเช่น
นี ้ตามซึ่งเข้ าใจว่าเปนกรมเกณฑ์หดั อย่างฝรั่งนัน้ ได้ มีติดต่อตลอดมา
จนถึ ง สมั ย กรุ งรั ต นโกสิ น ทร์ นี ้ แต่ ร ะเบี ย บความเปนไปย่ อ ม
เปลี่ยนแปลงไปตามกาล เหตุว่าในรัชกาลกรุ งธนบุรีก็ดี ในรัชกาล
กรุงรัตนโกสินทร์ ชันก่้ อน ๆ ก็ดี เปนสมัยเกี่ยวพันธ์กระชันชิ ้ ดอยู่ในการ
สงคราม ย่อมเปนการยากที่จะหาเวลาแลครู บาอาจารย์จัดการบํารุ ง
กรมทหารตามยุทธวิธีอย่างใหม่ให้ รุ่งเรื องยิ่งขึ ้นได้ ต้ องอาศรัยใช้
กํ าลัง ทหารตามยุท ธวิธี อย่างเก่ าอยู่เ ปนหลัก ความเปนไปของกรม
เกณฑ์หดั อย่างฝรั่งนัน้ จึงมีระเบียบแบบแผนเก่าใหม่ปะปนระคนกันไป
จนเสื่อมทรามสืบต่อมาตามลําดับ ภายหลังนับว่ากรมนี ้กลายเปนกรม
ทหารอย่างเก่าไปกรมหนึ่ง จะมีเชื ้อสายเหลืออยู่ก็แต่เวลาเข้ ากระบวน
แห่แหนยังแต่งตัวอยู่เปนอย่างฝรั่งต่อมา ครัง้ ถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อพระ
พุทธศักราช ๒๓๗๔ มีนายทหารบกนอกราชการของอังกฤษที่

๕๗
อินเดียผู้หนึ่งชื่อนอกส์มียศเปนนายร้ อยเอกซึ่งเรี ยกกันในเวลานันว่้ ากับ
ตันนอกส์ (กับตันนอกส์ผ้ นู ี ้ ภายหลังได้ เปนเอเยนต์แลกงซุลเยเนราล
อังกฤษประจํากรุงสยาม แลเมื่อกลับออกไปบ้ านเมืองแล้ วได้ เปน
ขุนนางอังกฤษมีบรรดาศักดิ์เปนเซอร์ คือ เซอร์ ทอมัสยอช นอกส์ นัน) ้
กับตันนอกส์เข้ ามาทางพระเจดีย์สามองค์แลเมืองกาญจนบุรีถึงกรุ งเทพฯ
เพื่อจะหาการทํา กระทรวงกระลาโหมนําความขึ ้นกราบบังคมทูลพระ
กรุณา พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ พระนัง่ เกล้ าเจ้ าอยู่หวั ทรง
พระกรุ ณาโปรดว่าเปนนายทหาร จึงโปรดเกล้ า ฯ ให้ เจ้ าหมื่นไวยวรนา
รถ คือ ภายหลังได้ เปนสมเด็จเจ้ าพระยาบรมมหาศรี สรุ ิ ยวงษ์ ในรัชกาล
ที่ ๕ นัน้ รับรองเลี ้ยงดูไว้ เพื่อจะได้ เปนครู ฝึกหัดทหาร ขณะนันเปน้
เวลาทรงพระราชดําริ ห์ ที่ จะจัดการกรมทหารอย่างยุโรปให้ รุ่งเรื อง
ยิ่งขึ ้น จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้ า ฯ สัง่ เจ้ าพระยาพระคลัง
ว่าที่ สมุหพระกระลาโหม คื อ สมเด็ จ เจ้ า พระยาบรมมหาประยุร วงษ์
ในรัชกาลที่ ๔ นัน้ เก็บบุตร์ หมู่รามัญเมืองนครเขื่อนขันธ์ เมืองประทุม
ธานี,
มาฝึ กหัดเปนทหารซีป่ายเช่นอย่างที่สมเด็จพระเจ้ าน้ อ งยาเธอ เจ้ าฟ้า
กรมขุนอิศเรศรังสรรค์, คือพระบาทสมเด็จพระปิ่ นเกล้ าเจ้ าอยู่หวั ได้
ทรงจัดบุตร์ หมู่ญ วนฝึ กหัดเปนทหารซี ป่ายไว้ บ้างแล้ วนัน้ (ในที่ นีข้ อ
อธิ บ ายว่า คํ า ซี ป่ ายนี ม้ าแต่ชื่ อ ทหารชาวอิ น เดี ย เรี ย กว่ า “สิ ป าหิ ”
อังกฤษซึง่ เปนเจ้ าของเรี ยกว่า “เซปอย” เมื่อรัชกาลที่ ๒ รัฐบาลอินเดีย

๕๘
แต่งให้ ข้าราชการอังกฤษชื่อ ครอฟอร์ ด ซึง่ เรี ยกกันว่า การะฝั ด เข้ ามา
ขอทําสัญญาในหมูเ่ ครื่ องราชบรรณาการที่สง่ เข้ ามาทูลเกล้ า ฯ ถวายนัน้
มีเครื่ องแต่งตัวทหารอย่างซีป่ายด้ วย ๑๒ สํารับ เมื่อสมเด็จเจ้ าฟ้า
กรมขุนอิศเรศทรงจัดญวนเปนทหารได้ เอาอย่างเครื่ องแต่งตัวซีป่า
บรรณาการนันมาใช้้ จึงเรี ยกร้ องกันว่าทหารซีป่าย แต่ทหารญวน
พวกนี ้ไม่เกี่ยวแก่ตํานานกรมทหารบกราบที่ ๔เพราะมีตําแหน่งแลน่าที่
ลักษณวิชาอาการเปนเหล่าทหารปื นใหญ่แพนกหนึง่ ต่างหาก) ส่วนบุตร์
หมูร่ ามัญที่กล่าวแล้ วนัน้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ า ฯ ให้ เจ้ าหมื่น
ไวยวรนารถ ซึง่ ได้ เลื่อนที่ขึ ้นเปนพระยาศรี สรุ ิ วงษ์ จางวางมหาดเล็กควบคุม
บังคับบัญชาจัดขึ ้นเปนทหารอีกพวกหนึง่ แต่งตัวอย่างซีป่ายเรี ยกว่า“ทหาร
อย่างยุโรป” ให้ กบั ตันนอกส์เปนครูฝึกหัดชนิดทหารราบ มีระเบียบ
ยุทธวิธีแลคําบอกทหารอย่างอังกฤษมีพลทหารที่ฝึกหัดประจําการ
ประมาณ ๑๐๐๐ เศษ แบ่งเปน ๔ ผลัดเข้ าเดือน ๑ ออก ๓ เดือน
โรงทหารตังอยุ ้ ท่ ี่บ้านพระยาศรี สรุ ิยวงษ์ณฝั่ งแม่นํ ้าฟากตวันตก มีสนาม
ฝึ กหัดอยูข่ ้ างวัดบุบผาราม กองทหารอย่างยุโรปที่ได้ ตงขึ ั ้ ้นใหม่นี ้
นับว่าเปนกรมที่มีตําแหน่งแลน่าที่แทนกรมเกณฑ์หดั อย่างฝรั่งเดิมที่
เสื่อมทรามไปนัน้
ครั น้ ถึง ปี ๒๓๙๔พระบาทสมเด็จ พระรามาธิ บ ดีที่ ๔ พระจอม
เกล้ า
เจ้ าอยูห่ วั ได้ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ า ฯ
ให้ พระยาศรี สรุ ิยวงษ์ผ้ บู ญั ชาการทหารอย่างยุโรปนันเปนเจ้ ้ าพระยาที่
สมุหพระกระลาโหม แลให้ ข้ามฟากมาอยูท่ ี่บ้านเจ้ าพระยาบดินทรเดชา
(สิงห์) ซึง่ บัดนี ้เปนหมูต่ กึ แถวริมถนนเยาวราชแลคลองโอ่งอ่างฝั่ ง

๕๙
ตวันออก กองทหารนันจึ ้ งได้ ย้ายมาตังอยู้ ่ณที่นนั ้ แลได้ ปลูกโรงทหาร
แลทําสนามฝึ กหัดใหญ่โตขึ ้นมาก ลําดับนันโปรดเกล้
้ า ฯ ให้ จดั เลข
หมู่ ล าวแลเขมรในในกระทรวงกระลาโหม แลเลขหมู่ ล าวกรุ ง ใน
กระทรวงมหาดไทย มาเพิ่มเติมเปนทหารฝึ กหัดยุทธวิธีอย่างยุโรป ขึ ้น
อีก ๒ พวก อยู่ในความบัง คับบัญชาเจ้ าพระยาศรี สุริยวงษ์ ต่อมา
จนถึงปี ๒๓๙๘โปรดเกล้ าฯให้ พระเจ้ าบรมวงษ์ เธอ(ชัน้ ๒) กรมหลวง
มหิศวรินทรามเรศร์ ซึ่งในเวลานันดํ ้ ารงพระยศเปนพระเจ้ าพี่ยาเธอทรง
บังคับบัญชา แลให้ ย้ายกองทหารอย่างยุโรปทัง้ ๓ พวกนันมาตั ้ งอยู
้ ่ณ
ท้ องสนามไชย อันต่อมาได้ มีโรงทหารเปนตึกแถวเรี ยงรายติดต่อกัน
ขึ ้นหลายหลัง แลได้ โปรดเกล้ า ฯ ให้ จดั ขุนหมื่นสิบยกในกรมต่าง ๆ สิบ
ชักหนึ่งคนมาเปนทหารอิกพวกหนึ่งเรี ยกว่ากองเกณฑ์หดั รวมเปนท
หารอย่างยุโรปมีขึ ้นในครัง้ นัน้ ๔ กอง เรี ยกว่ากองทหารอย่างยุโรป
(เดิม) ๑ กองทหารมหาดไทย ๑ กองทหารกระลาโหม ๑ กอง
ทหารเกณฑ์หดั ๑ รวม ๔ กอง เปนกรมตรงกับนามกรมเกณฑ์หัดอย่าง
ฝรั่งนันเอง
้ แต่เรี ยกว่า “กรมทหารน่า ” คําว่าทหารน่ามาแต่
สําหรับแห่นํากระบวนเสด็จอยู่ข้างน่า แลอิกนัยหนึ่งเปนกรมทหาร
นอกจากกรมทหารรักษาพระองค์ที่มีน่าที่ต้องไปกระทําราชการก่อน ครัน้ ถึง
ปี ๒๔๐๕ โปรดเกล้ า ฯ ให้ พระเจ้ าบรมวงษ์ เธอ (ชัน้ ๒ ) กรมขุนวร
จักรธรานุภาพแต่เมื่อยังเปนพระเจ้ าน้ องยาเธอทรงบังคับบัญชากรมนี ้
ต่อมาได้ ปี ๑ โปรดเกล้ า ฯ ให้ พระยาอัพภันตริกามารย์ (ดิศ) แต่เมื่อ

๖๐
ยังเปนพระยาบําเรอภักดิเ์ ปนผู้บญ
ั ชาการ ประมาณกึ่งปี ก็เปลี่ยนเปนพ
ระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ คือเจ้ าพระยามหิ นทรศักดิธํารงภายหลังนัน้
ลําดับนี ้ได้ เปลี่ยนกระบวนยุทธวิธีแลคําบอกทหารเปนแบบฝรั่ งเศสชัว่ คราว
เหตุว่ามีครู ทหารใหม่เปนชาติฝรั่ งเศสชื่ อละมาช ซึ่งโปรดเกล้ า ฯ ให้
เปนหลวงอุปเทศทวยหาญนันมาฝึ ้ กหัดจัดการ แต่ไม่ช้านานนักก็กลับ
เปลี่ ย นเปนแบบอัง กฤษอิ ก เพราะมี เ หตุห ลวงอุ ป เทศต้ อ งออกจาก
ราชการ จึงโปรดเกล้ า ฯ ให้ เจ้ าหมื่นไวยวรนารถ คือเจ้ าพระยาสุรวงษ์
ไวยวัฒน์เปนผู้บญ ั ชาการ ได้ ใช้ นายทหารในกรมทหารน่า ซึ่งใน เวลา
นั ้นเรี ยกว่านายดาบอันได้ รับวิชาความรู้ อย่างอังกฤษแต่เดิมเปนครู
ทหาร เจ้ าหมื่นไวยวรนารถได้ เปนพระยาสุรวงษ์ ไ วยวัฒน์บงั คับบัญชา
ต่อมาจนถึงสิ ้นรัชกาลที่ ๔
ค รั ้น ถึ ง ปี ๒ ๔ ๑ ๑ พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ร า ม า ธิ บ ดี ที่ ๕
พระจุลจอมเกล้ าเจ้ าอยู่หวั ได้ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงพระ
กรุ ณาโปรดเกล้ า ฯ ให้ พระยาสุรวงษ์ ไวยวัฒน์เปนเจ้ าพระยาที่สมุห
พระกระลาโหม แต่ยังคงได้ บงั คับบัญชากรมทหารน่านี ้อยู่ แลได้ เปน
ผู้จดั การบํารุงกรมทหารนี ้ ให้ รุ่งเรื องยิ่งขึ ้นด้ วยกําลังแลวิชา มีความอุสา
หะจัดหาครูบาอาจารย์มาวงแบบแผนแลฝึ กหัดยุทธวิธีเพิ่มเติม ถึงได้ มี
การประชุมพลสวนสนามแลประลองยุทธ์ ถวายทอดพระเนตร์ น่าท้ อง
สนามไชยอยู่เนื อง ๆ ครัน้ ถึงปี ๒๔๑๔ ทรงพระราชดําริ ห์เห็นว่า กรม
ทหารน่ามี ความเจริ ญรุ่ งเรื องเปนหลักฐานแล้ ว สมควรที่ จะให้ มี
ตําแหน่งนายทหารประจํา

๖๑
กรมสมตามแบบแผนกองทหาร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้ า ฯ ให้
พระยาพิไชยสงคราม (อํ่า) แต่เมื่อยังเปนพระอินทรเทพเปนผู้บงั คับการ
ในชันแรกมี
้ นายทหารสัญญาบัตรขึ ้นบ้ างตามสมควร นอกนันเปน ้
นายทหารที่ เรี ยกว่านายดาบเช่นแต่เดิม มา แลโปรดเกล้ า ฯ ให้ กรม
ทหารรักษาพระองค์คือกรมทหารบกราบที่ ๒บัดนี ้ แลกรมทหารล้ อมวัง
คือกรมทหารบกราบที่ ๑๑ บัดนี ้ เข้ าสมทบกรมทหารน่าอยู่ในความ
บังคับบัญชาอันเดียวกัน แม้ แต่กรมทหารฝี พายคือกรมทหารบกราบ
ที่ ๓ บัดนี ก้ ็ นับเนื่ องเกี่ ยวพันธ์ อยู่เ หมื อนกัน เหตุว่าพระอินทรเทพ
เวลานันก็้ ได้ เปนผู้บงั คับบัญชากรมฝี พายอยูด่ ้ วย ภายหลังกรมทหารน่า
ได้ จดั ตังกองทหารม้
้ าขึ ้นอิกกองหนึง่ เมื่อปี ๒๔๑๕ เพราะฉนันในสมั
้ ยนี ้
กรมนี จ้ ึง นับ ว่าคล้ า ยคลึง ดุจ กองพลหรื อกองทัพ อัน หนึ่ง ครั น้ ถึง ปี
๒๔๑๗ โปรดเกล้ า ฯ ให้ ตงแต่ ั ้ งนายทหารสัญญาบัตรบังคับกองแล
กระทํ า การกองขึน้ เปนอัต รา มี ย ศแลตํ า แหน่ง ทหารเรี ยกตามแบบ
อังกฤษ แลเปลี่ยนแปลงเครื่ องอาวุธยุทธาภรณ์ หลายอย่าง การ
ปกครองแลรู ปการของกองทหารเรี ยบร้ อยขึน้ ตามลําดับ ในสมัยนีไ้ ด้
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ า ฯให้ จอมพลสมเด็จพระเจ้ าบรมวงศ์เธอเจ้ าฟ้า
กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช แต่เมื่อยังดํารงพระอิศริ ยยศเปนสม
เด็จพระเจ้ าน้ องยาเธอเจ้ าฟ้าภาณุรังษี สว่างวงศ์ รับพระเกียรติศกั ดิ์เปน
นายทหารพิเศษ แต่งเครื่ องยศนายพันเอก ซึ่งในเวลานันเรี ้ ยกว่า “ออ
เนอรารี คอลอเนล” นัน,้ สมเด็จพระเจ้ าน้ องยาเธอพระองค์นนั ้

๖๒
ได้ ท รงเกี่ ย วข้ อ งแก่ ก รมทหารน่านัน้ เปนเริ่ ม ต้ น มาแต่ปี ๒๔๒๑
ส่วนผู้บงั คับการกรม คือ พระยาพิไชยสงคราม (อํ่า) นันเรี ้ ยกว่า
“คอลอเนล อิน ชิฟ”
ครัน้ ถึงปี ๒๔๒๓ โปรดเกล้ าฯ ให้ เจ้ าพระยานรรัตนราชมานิต แต่
เมื่ อ ยัง เปนพระยาเปนผู้บัง คับการมาได้ ปี ๑ เปลี่ ยนเปนนายพลโท
เจ้ าพระยาสุรศักดิม์ นตรี แต่เมื่อยังเปนเจ้ าหมื่นไวยวรนารถ มียศเรี ยกว่า
“คอลอเนล” คือนายพันเอกนัน้ ในปี ๒๔๒๔ นี ้ ระเบียบการปกครอง
ในกรมทหารน่าดีขึน้ แลตัง้ อยู่ในความเจริ ญรุ่ งเรื องทัง้ กํ าลัง แลวิช า
เพราะเหตุว่าได้ รับพระบรมราชูประถัมภ์แลความสามารถของผู้บงั คับ
การ ได้ เริ่ มสร้ างโรงทหารน่าขึ ้นเปนตึกใหญ่ ซึ่งภายหลังปรากฎนามว่า
ศาลายุทธนาธิการแลที่เปนศาลากระทรวงกระลาโหมอยู่บดั นี ้ ในสมัยนี ้
ถึงแม้ วา่ ได้ โปรดเกล้ า ฯ ให้ แยกกรมทหารรักษาพระองค์ กรมทหารล้ อม
วัง แลกรมทหารฝี พายออกจากความบังคับ บัญ ชากรมทหาร น่าไปเปนก
รมอิศระมีผ้ บู งั คับการเฉภาะกรมหนึง่ ๆ แล้ วนันก็
้ ดี ก็ได้ โปรดเกล้ า ฯ ให้
กรมทหารน่ารับเลขไพร่หลวงแลบุตรหมู่ไม่ว่าหมู่ใดกระทรวงใดที่สมัคร
เข้ ามาเปนทหารในกรมนี ้ มีกําหนด ๕ ปี พ้ นน่าที่ประจําการมีคนสมัค
เข้ ารับราชการเพิ่มขึ ้นเปนอันมาก, มีพวกลาวทรงดําเมืองเพ็ชร์ บรุ ี เปน
ต้ น พวกนี ้เรี ยกว่า “กองทหารสมัค” มีหลายกอง รวมทังกอง ้
ทหารที่มีอยูแ่ ต่เดิมด้ วย จึงยังจัดตังเปนกองทหารได้
้ หลายกองพันมี
กําลังไม่ลดถอย ทังมี ้ ทหารม้ าเดิมซึง่ ได้

๖๓
จัดการเปนกองใหญ่ขึ ้น แลแยกจัดเปนกองดับเพลิงอิกแพนก ๑ แล
เพิ่มกองทหารช่างขึ ้นด้ วย กรมนีก้ ็นับว่าเปนกรมทหารใหญ่กรมหนึ่ง
ทํานองอย่างกองผสม ส่วนระเบียบยุทธวิธีก็เปลี่ยนแปลงหลายอย่าง มี
ชาวต่ า งประเทศเปนครู ท หารหลายชาติ มี ช าวอิ ต าเลี ย นเปนต้ น
เครื่ องอาวุธยุทธาภรณ์ก็เปลี่ยนแปลงใหม่เปนลําดับตลอดม ปี ๒๔๒๘
เจ้ าหมื่นไวยวรนารถเปนแม่ทพั ไปปราบปรามพวกฮ่อ โปรดเกล้ า ฯ ให้
นายบุษย์แต่เมื่อเปนหลวงสิทธิ์นายเวรมหาดเล็กเปนผู้บงั คับการแทน
ครั น้ ถึ ง ปี ๒๔๓๐ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ ตัง้ กรม
ยุทธนาธิการขึ ้น สําหรับบังคับบัญชากรมทหารอย่างใหม่ทวั่ ไป พระ
บรมวงษานุวงษ์ ข้าราชการที่สําคัญ ๆ อันเปนผู้บงั คับการกรมทหารต่าง
ๆ อยูใ่ นเวลานัน้ ได้ รวมมารับราชการตําแหน่งใหญ่ในกรมยุทธนาธิการ
เจ้ าหมื่นไวยวรนารถซึ่งได้ เปนพระยาสุรศักดิ์มนตรี ขึ ้นแล้ วในเวลานั ้นก็ได้
เปนเช่นนันด้
้ วยผู้หนึง่ ลําดับนันกรมยุ
้ ทธนาธิการได้ จดั การเปลี่ยนแปลง
แบบแผนหลายอย่าง เปนต้ นว่าตัดเติมอัตรากองทหารแลเปลี่ยนยศ
ตําแหน่งตลอดจนคําบอกทหารเปนภาษาไทย แลแก้ ไขระเบียบยุทธวิธี
ใหม่ในกองทหารให้ เหมือนกัน ทัว่ ไป สมัยนี ้กรมทหารน่าจึงเปนกองพัน
ทหารราบกองหนึ่งเรี ยกว่า “กองทหารน่า “หลวงสิทธิ์ นายเวร ได้ เปนผู้
บังคับการ ต่อมาจนถึงปี ๒๔๓๑เปลี่ยนเปนนายพลตรี พระเจ้ าบรม
วงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ แต่เมื่อยังเปนพระเจ้ าน้ องยาเธอ
กรมหมื่น ถึงปี ๒๔๓๓ นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา

๖๔
(กิ่ม) แต่เมื่อยังไม่ได้ เปนพระยา ปี ๒๔๓๕ นายพลโท พระเจ้ าบรม
วงษ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช แต่เมื่อยังเปนพระเจ้ าน้ องยาเธอกรม
หมื่น ในลําดับนี ้จนถึงปี ๒๔๓๖มีเหตุขบั ขันที่ต้องส่งทหารในกรมนี ้แยก
ย้ ายเข้ ากองทัพแลกองทหารพิเศษต่างๆไปกระทําสงครามแลรักษาพระ
ราชอาณาเขตรหลายตําบล จนไม่สามารถจะมีทหารตังอยู ้ ่เปนกองใหญ่
ได้ เหตุว่าในสมัยนันยั ้ งเกณฑ์คนเปนทหารได้ แต่เฉภาะหมู่ เฉภาะ
กรม ทังเปนพวกทหารสมั
้ คเสียโดยมาก เมื่อเสร็ จราชการแล้ วก็ต้อง
ปลดปล่อยจากราชการประจําตามประกาศ ส่วนคนหมู่ เดิมก็ร่วงโรย
บอบชํ ้าจําเปนต้ องทอดให้ พกั ผ่อนชัว่ คราว คงจัดให้ มีแต่กองทหารน้ อย
ตังประจํ
้ าการอยู่ ณ เมืองราชบุรีกอง ๑ มีนายทหารผู้น้อย บังคับการ
อยูเ่ รี ยกว่า “กองทหารมณฑลราชบุรี”
ครัน้ ถึงปี ๒๔๔๐ ได้ รวบรวมผู้คนจัดเปนกองพันขึ ้นอีกตั ้งอยู่ณศาลา
ยุทธนาธิการตามเดิม ส่วนกองทหารที่เมืองราชบุรีก็คงยังมีอยูด่ ้ วย
สมัยนี ้นายพัน เอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (กิ่ม) แต่เมื่อยังเปนนาย
พันโท แลเปนผู้ที่มีความอุสาหะรวบรวมผู้คนในชั ้นหลังนี ้เปนผู้บงั คับการ
ได้ ปี ๑ ถึงปี ๒๔๔๑ โปรดเกล้ า ฯ ให้ นายพลโท พระยาพหลโยธิ น
(นพ พหลโยธิน) แต่เมื่อยังเปนนายร้ อยเอก หลวงศิลปสารสราวุธ
เปนผู้บงั คับการปี ๒๔๔๒ เปลี่ยนเรี ยกนามกองทหารเปนกรมโดยลําดับ
เลขทั่วไป กองทหารน่าได้ นามว่า “กรมทหารบกราบที่ ๔” ถึงปี
๒๔๔๔ ยกกรมนี ้, จากศาลายุทธนาธิการไปตังอยู ้ ณ ่ โรงทหารสวนดุสิต

๖๕
ประจํารักษาราชการแทนกองทหารรักษาพระองค์ ซึ่งได้ เปลี่ยนนามเป
นกรมทหารบกราบที่ ๒นันในปี ้ เดียวกันนี ้เปนสมัยแรกตังกองพลประจํ
้ า
มณฑลต่าง ๆ โปรดเกล้ า ฯ ให้ หลวงศิลปสารสราวุธ (นพ พหลโยธิน )
ซึ่งได้ เปนนายพันตรี พระศรี ณรงค์วิไชยขึน้ แล้ วนัน้ เปนผู้บญ ั ชาการ
กองพลทหารบกที่ ๔ มีกรมทหารบกราบที่ ๔ ตังอยู ้ ่เปนหลักของกอง
พลนี ้ อันได้ มีศกั ดิเปนกองพลอิศระสืบมา ส่วนกรมทหารบกราบ
ที่ ๔ นายพันตรี พระศรี ณรงค์วิไชยก็ยงั เปนผู้บงั คับการอยู่ด้วย ถึงปี
๒๔๔๕ นายพันตรี หลวงโหมหักปั จจนึก (พุ่ม) เปนผู้บงั คับการ ในปี
เดียวกันเปลี่ยนเปนนายพันเอก พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นชาญไชย
บวรยศ แต่เมื่อเปนนายพันโทพระองค์เจ้ ากาญจโนภาศรัศมี สมัยนี ้
กรมบัญชาการกองพลทหารบกที่ ๔ ยังตังอยู ้ ่ณโรงทหารกรมทหารบก
ราบที่ ๔ ที่สวนดุสิต เปนแต่จัดแบ่งกองทหารในกรมนีม้ าตังประจํ ้ า
อยู่ณ เมื อ งราชบุ รี ติ ด ต่ อ กั บ กองทหารเดิ ม ที่ มี อ ยู่ แ ล้ ว ณที่ นี ใ้ ห้ ม ากขึ น้
ครัน้ ถึงปี ๒๔๔๖กรมบัญชาการกองพลทหารบกที่๔ แลกรมทหารบกราบ
ที่ ๔ ได้ ยกจากสวนดุสิตออกมาตังอยู
้ ณ ่ เมืองราชบุรี มีโรงทหารใหญ่โต
ตามแบบใหม่ ตังอยู
้ ใ่ นกําแพงเมืองฟากแม่นํ ้าฝั่ งตวันออกดังเช่นเปนอยู่
บัดนี ้, ในปี ๒๔๔๖นี ้นายพลโท พระยาเทพอรชุณ (อุ่ม อินทรโยธิน)
แต่เมื่อเปนนายพันตรี หลวงสรสิทธยานุการเปนผู้บงั คับการ แลเปลี่ยน
กันต่อมาตามลําดับ,คือในปลายปี นันนายพั
้ นเอก พระยาวิเศษสิงหนาท

๖๖
(ยิ่ง จุลานนท์) แต่เมื่อเปนนายพันตรี หลวงรัดรณยุทธ ปี ๒๔๔๘
นายพันโท พระสรวิเศษเดชาวุธ (หม่อมราชวงษ์ วิง) แต่เมื่อยังเปนห
ลวงแลนายพันตรี ปี ๒๔๕๑ นายพันโท พระศักดิเสนี (หม่อมหลวง
อุดมเสนีวงศ์) ปี ๒๔๕๓นายพันตรี หลวงรามเดชะ (ตาด สุวรรณวาสี)
ปี ๒๔๕๕ นายพันตรี หลวงเสนีพิทกั ษ์ (สาย บุณยรัตพันธ์ ) แต่เมื่อ
ยังเปนนายร้ อยเอกขุนศัสตรยุทธพิไชย (เปนผู้รัง้ ), ในปี เดียวกัน
นายพันตรี หลวงโจมจัตรุ งค์ (นาก), ปี ๒๔๕๗ นายพันโท หลวงไกร
กรี ธา (ปลัง่ วิภาตะโยธิน) แต่เมื่อยังเปนนายพันตรี ขุนแผลงผลาญ
ปี ๒๔๕๘ นายพันโท พระมหาณรงค์เรื องเดช (แปลก จุลกัณห์) แต่
เมื่ อยัง เปนนายร้ อยเอก หลวงกํ าแหงรณรงค์ เปนผู้รัง้ แล้ วได้ เปนผู้
บังคับการต่อมาจนถึงบัดนี ้ อนึ่งในปี ๒๔๕๔ เมื่อทรงพระกรุณาโปรด
เกล้ า ฯ ให้ พระบรมวงษานุวงษ์ ที่เปนทหารดํารงตําแหน่งผู้บงั คับการพิเศษ
กรมทหารต่างๆสมเด็จพระเจ้ าบรมวงศ์เธอ เจ้ าฟ้ากรมพระยาภานุพนั ธุ
วงศ์วรเดชได้ รับตําแหน่งเปนผู้บงั คับการพิเศษกรมทหารบกราบที่ ๔ นี ้
เพราะเหตุที่ได้ เ กี่ ยวข้ องมียศเปนนายทหารพิเศษในกรมนีม้ าแต่กาล
ก่อน ความเปนไปของกรมนี ้แม้ จะมีเวลายิ่งแลหย่อนอย่างไรก็ดี ก็ควร
น่าพิศวง ทังมี
้ พระบรมวงษานุวงษ์ ข้าราชการที่สําคั ญ ๆ ได้ เกี่ยวข้ อง
อยู่ก็มาก เมื่อได้ พิจารณาโดยเลอียดแล้ วก็จะเห็นได้ ว่าเปนกรมทหาร
สําคัญกรมหนึง่

๖๗
เมื่ อ ว่ า ถึ ง ฐานะแห่ ง กองพลทหารบกที่ ๔ ซึ่ ง ภายหลัง กรม
ทหารบกราบที่ ๔ ได้ สังกัดอยู่นนั ้ เดิมเปนกองพลอิศระ ต่อมาเมื่อปี
๒๔๕๖ ยกไปรวมอยู่ในความบัง คับบัญชากองทัพ น้ อยทหารบกที่ ๑
ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ น ายพลโท พระยาพหลโยธิ น (นพ
พหลโยธิ น) ซึ่งในขณะนัน้ เปนนายพลตรี พระยาพหลพลพยุหเสนาผู้
บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๔ ไปเปนสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครราช
สิมา เปลี่ยนนามบรรดาศักดิเ์ ปนพระยากําแหงสงคราม โปรดเกล้ า ฯ
ให้ นายพลโท พระเจ้ าบรมวงศ์ เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช แต่เมื่ อ
ยังเปนนายพลตรี และกรมหมื่ นอยู่นั ้น ไปเปนผู้บัญชาการแทนพระยา
พหลพลพยุหเสนาอยู่ชวั่ คราว แล้ วกลับมาเปนผู้บญ ั ชาการกรมพระคช
บาล โปรดเกล้ า ฯ ให้ นายพลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ (ผาด
เทพหัสดิน ณ กรุงเทพ) ไปเปนผู้บญ
ั ชาการกองพลทหารบกที่ ๔
กลับฐานะเปนกองพลอิศ ระต่อไปตามเดิม ในปี เดี ยวกันนัน้ ครั น้ ถึง ปี
๒๔๖๐ พระยาพิ ไ ชยชาญฤทธิ์ ต้อ งออกไปกระทํ า การติดต่อกับราช
สัมพันธมิตรร่วมศึก ในทวีปยุโรปชัว่ คราว โปรดเกล้ า ฯ ให้ นายพลตรี
พระยาอมรวิสยั สรเดช (พิน โรหิตะพินทุ) แต่เมื่อยังเปนนายพันเอกไป
ทําการแทน, ถึงปี ๒๔๖๒พระยาพิไชยชาญฤทธิ์กลับเข้ ามารับกราชการ
ตามตํ า แหน่ง เดิม ในปี เดี ย วกัน นี ท้ รงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯให้ ย้ า ย
ไปเปนสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์อีกเล่า โปรดเกล้ า ฯ ให้ นาย
พลตรี หม่อมเจ้ าทศศิริวงศ์เปนผู้บญ ั ชาการกองพลทหารบกที่ ๔ สืบ
มาจนถึงบัดนี ้

๖๘
เมื่อจะกลับกล่าวถึงตําแหน่งแลน่าที่ของกรมทหารบกราบที่ ๔
นีท้ ี่ มีม าแต่ก่อนแล้ วตามลําดับ ก็ นับว่าเปนกรมทหารกรมหนึ่ง ซึ่ง ได้
กระทําความดีมีประโยชน์ในราชการแผ่นดินอยูม่ ากหลาย ตังแต่

สมัย กรุ ง ทวาราวดี แ ลกรุ ง ธนบุรี ต ลอดถึ ง กรุ ง รั ต นโกสิ น ทรในชัน้ ต้ น
นอกจากน่าที่สําหรับฝึ กหัดยุทธวิธีอย่างยุโรปตามนามกรมซึ่งปรากฎ
เดิมว่ากรมเกณฑ์หดั อย่างฝรั่งนันแล้ ้ ว เมื่อเวลามีสงครามคราวใด
ก็ไม่
เปนที่สงไสยเลยว่าจะไม่ต้องไปสู่ที่สนามรบ เมื่อเวลาสงบศึกก็ย่ อม
รักษาสถานที่ราชการต่าง ๆ ตลอดจนเข้ ากระบวนแห่แหนทุกอย่างไป
ถึงได้ เปลี่ยนรูปแลนามกรมในรัชกาลหลัง ๆ ต่อมาแล้ ว ตําแหน่ง
แลน่าที่ก็มีอยูเ่ ช่นเดิม บรรดากรมทหารอย่างใหม่ทงหลาย ั้ ไม่มี
กรมใดที่ จ ะได้ ไปกระทํ า ราชการขับ ขัน แลสู่ส นามรบมากยิ่ ง กว่ ากรม
ทหาร บกราบที่ ๔ นี ้ ตามที่ จ ะกล่า วให้ ชัด เจนได้ ใ นชัน้ หลัง ๆ
ดังต่อไปนี ้
๑) เมื่อปี ๒๓๙๕ ได้ เข้ ากระบวนทัพไปกับพระเจ้ าบรมวงษ์ เธอ
(ชัน้ ๒) กรมหลวงวงษาธิราชสนิทแต่เมื่อยังเปนพระเจ้ าน้ องยาเธอใน
รัชกาลที่ ๔ ในราชการศึกณเมืองเชียงตุง ถึงแม้ แต่ในเวลานันยั
้ ง
เปนกรมพึ่งก่ อ ร่ า งสร้ างตัวแรกฝึ กหัด อันยังไม่ ได้ จัด ระเบี ยบมุลนายได้
ควบคุมกันเปนหลักฐานก็ดี ก็ได้ เริ่ มต้ นไปราชการสงคราม มีแต่นาย
ดาบบังคับการไปกับกับตันนอกส์ผ้ เู ปนครูกํากับไปด้ วย
๒) เมื่อปี ๒๔๑๕ ได้ เข้ ากระบวนทัพไปกับพระยาฤทธิไกรเกรี ยง
หาญ (เสือ) ซึง่ เปนกองน่าเจ้ าพระยามุขมนตรี (เกด) เปนแม่ทพั ,
ปราบปรามจลาจลแลจัดราชการหัวเมืองเขมรในพระราชอาณาเขตร

๖๙
๓) เมื่อปี ๒๔๑๘ นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (กิ่ม)
แต่เมื่อยังเปนเมเยอร์ หลวงทวยหาญรักษาคุมกองทหารเข้ ากองทัพ
เจ้ าพระยามหินทรศักดิธํารงไปปราบปรามพวกฮ่อณเมืองหนองคาย เมื่อ
แม่ทพั กลับกรุงเทพฯแล้ วได้ เข้ ากองทัพพระยามหาอํามาตย์(ชื่น) ต่อไป
๔) เมื่อปี ๒๔๒๖ กับตันขุนรุดรณไชยคุมกองทหารเข้ ากองทัพ
เจ้ าพระยาศรี ธรรมาธิราช (เวก) แต่เมื่อยังเปนพระยาราชวรานุกลู ไป
ปราบปรามพวกฮ่อณทุง่ เชียงคํา
๕) เมื่อปี ๒๔๒๘เข้ ากระบวนทัพนายพลโท เจ้ าพระยาสุรศักดิ์
มนตรี แต่เมื่อยังเปนคอลอเนลเจ้ าหมื่นไวยวรนารถ ไปปราบปราม
พวกฮ่อณแขวงหัวพันห้ าทังหกแลสิ
้ บสองจุไทย
๖) เมื่อปี ๒๔๓๐ เข้ ากระบวนทัพนายพลโท เจ้ าพระยาสุรศักดิ์
มนตรี แต่เมื่อยังเปนพระยาแลนายพลตรี ไปปราบปรามพวกฮ่ออิก
ครัง้ หนึ่ง, กองทัพได้ ตงรั
ั ้ กษาการอยู่ณเมืองหลวงพระบางราชธานี แล
เขตรแขวงในมณฑลนันประมาณ ้ ๒ ปี พระยาสุรศักดิ์แม่ทพั กลับ
กรุงเทพ ฯ แล้ ว นายพลตรี พระยาฤทธิรงค์รณเฉท แต่เมื่อยังเปน
นายพันเอกพระพลัษฎานุรักษ์ บงั คับการกองทัพต่อมารวมประมาณ ๗ ปี
จึงได้ กลับกรุงเทพ ฯ
๗) เมื่อปี ๒๔๔๕นายพันตรี หลวงประจันสิทธิการ (จําปา) คุม
กองทหารเข้ ากระบวนทัพพร้ อมด้ วยกองทหารกรมอื่น ๆ ซึ่งนายพลโท
เจ้ าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เปนแม่ทพั ไปปราบปรามพวกเงี ้ยวณมณฑล
พายัพจนเสร็จราชการ

๗๐
๘) เมื่อปี ๒๔๖๑ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ าฯ ให้ กระทรวงกระลา
โหมจัดกองทหารอาสาสมัคออกไปในงานมหาสงครามมณทวีปยุโรป,
นอกจากนายพลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ (ผาด เทพหัสดิน ณ
กรุงเทพ) ซึง่ เปนผู้บญ
ั ชาการกองพลทหารบกที่ ๔ อยูใ่ นขณะนัน้ ได้
ออกไปเปนหัวน่ากองทูตทหารทําการติดต่อกับราชสัมพันธมิตรร่วมศึก
นันแล้
้ ว, มีจํานวนนายและพลทหารในกรมทหารบกราบที่๔ ได้ เข้ ากอง
ทหารอาสาสมัคออกไปรับราชการสงครามเปนเกียรติยศสําหรับกองของ
ตนด้ วย
ตามที่ยกขึ ้นกล่าวนี ้เฉภาะแต่คราวที่สําคัญ ๆ อันเกี่ยวด้ วยการ
ทัพศึก นอกจากนี ้ทหารกรมนี ้ต้ องเข้ าผสมกองทหารพิเ ศษไปราชการ
ต่าง ๆ ก็มีอีกเปนหลายคราว ทังที ้ ่ได้ แต่งแต่กองน้ อย ๆ ไปปราบปราม
พวกเหล่าร้ ายที่กําเริ บต่าง ๆ ก็มีอีกมาก เช่นปราบปรามอังยี ้ ่ณมณฑล
นครไชยศรี แลราชบุรี แลในกรุงเทพ ฯเมื่อปี ๒๔๓๒ เปนต้ น บางสมัย
ต้ องไปเปนกําลังระงับจับโจรผู้ร้ายณหัวเมืองมณฑลต่าง ๆ เช่นใน
มณฑลป ราจิ ณ ที่ เ มื อ งชลบุรี เ ปนต้ น อนึ่ ง เมื่ อ สมัย ยัง ไม่ มี ก อง
ตํารวจภูธรแลยังไม่ได้ ตงกองพลประจํ
ั้ ามณฑลต่าง ๆ อย่างเช่นทุก
วันนี ้ กรมทหารบกราบที่ ๔ ได้ มีน่าที่ไปกระทําการแทน ถึงต้ อง
แต่งทหารเปนกองน้ อย ๆ แยกย้ ายไปประจําอยู่ณหัวเมืองก็หลาย
มณฑล ใช่แต่เฉภาะในหัวเมือง แม้ แต่ในกรุงเทพ ฯ พระมหานคร
กรมทหารบกราบที่ ๔ ก็เคยมีนา่ ที่จดั พลทหารออกรักษาการพระนคร
แทนพลตระเวน ซึ่ ง แต่ก่ อ นยัง เรี ย กว่ า ไปลิศ ก็ ค ราวหนึ่ง ในระวางปี
๒๔๒๓ นั ้น,ยังน่าที่อื่น ๆ เช่นแห่แหน

๗๓
มาแล้ วหลายรัชสมัย บรรพบุรุษในกรมของเราได้ กระทําความดีแล
เคยมี ความเหนื่ อยยากกรากกรํ ามาปานใด เราทัง้ หลายต้ องตัง้ ใจ
กระทําราชกิจติดต่อมิให้ เสื่อมทรามแลเสียนามของกรมที่ได้ มีความดี
มาแล้ ว แลที่ได้ มีธงไชยอันควรเชิดชูอยู่ คือในหมูธ่ งอย่างใหม่ใน
รัชกาลที่ ๕ ซึง่ กรมทหารราบทังหลายได้ ้ รับพระราชทานครัง้ แรก
เมื่อปี ๒๔๓๕ ธงไชยกรมทหารบกราบที่ ๔ ก็เปนธงเดียวที่ได้ เคยปลิว
ไปสูส่ นามรบ แลได้ จบั ธงของข้ าศึกอันเปนเชลยมาได้ ไว้ เปนพยาน
อยู่ก็มีมาก เราต้ องรักษานิติ , ของกรมแลกระทําน่าที่อนั พึงมีพึงเปน
โดยแขงแรง เพื่ อเชิดชูเกี ยรติศกั ดิ์ของกรมไว้ , เมื่อมีความย่นย่อท้ อใจ
หรื อหวาดเสียวประการใด ก็จงแลดูชายธงไชยของกรมอันได้ มีความ
ศักดิส์ ิทธิ์มาแล้ วเปนเครื่ องหมายยึดมัน่ นําใจให้ ระลึกถึงพระเดชพระคุณ
พระบาทสมเด็จพระเจ้ าอยู่หวั เช่นกระแสรับสัง่ ของพระอินทร์ ที่ปรากฎ
ในธชัคคสูตรว่า
“มเมว ตัส์มึ สมเย ธชัค์คํ อุล์โลเกย์ยาถ มมํ หิโว ธชัค์คํ อุล์
โล กยตํ ยัม์ภวิส์สติ ภยํ วา ฉัม์ภิตตั ์ตํ วา โลมหํโส วา โส
ปหิยิส์สติ”
แปลตรงตามศัพท์ภาษามคธมีความว่า
“ในการนันท่้ านทังหลายพึ
้ งแลดูชายธงของเรานัน่ เทียวเพราะว่า
เมื่อท่านทังหลายแลดู
้ ชายธงของเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาด
สดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้ าก็ดี อันจักมี อันนันจั ้ กหายไป” ดังนี ้
ตามคําพระบาฬีที่อ้างมาแล้ ว ขอความสวัสดีมีไชย จงมีแก่
กรมทหารบกราบที่ ๔ ทุกเมื่อเทอญ.

You might also like