Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 3

พระพุทธศาสนา ป.

สรุปพุทธประวัติ
พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า “เจ้าชายสิทธัตถะ” เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนาง
สิริมหามายา กษัตริย์ผู้ครองกุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระองค์ประสูติได้ 7 วัน พระมารดาก็สิ้นพระชนม์ พระนาง
ปชาบดีโคตมีผู้เป็นน้าได้เลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะ ต่อมาเจ้าชายสิทธตถะได้ทรงศึกษาศิลปวิทยาการหลายแขนง
จากสานักอาจารย์วิศวามาติ สามารถเล่าเรี ยนวิชาต่าง ๆ จนจบในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อมีพระชนมายุ 16
พรรษา ได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราหรือพิมพา พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะและนางอมิตา
แห่งกรุงเทวทหะ เมื่อพระชนมายุ 29 พรรษาในวันที่ พระรุลประสูติ เจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกผนวช ทรง
ศึกษาในสานักของอาฬารดาบส และอทดาบสจนสาเร็จฌานขั้นสูง แต่ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางที่จะพ้นทุกข์จึงได้
ทรงบาเพ็ญทุกรกิริยาด้วยพระองค์เองที่ตาบลอุรุเวลาเสนานิคม โดยมีปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ โกณฑัญญะ
วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิคอยมาเฝ้าดูแล พระองค์ได้ทรงทรมานพระวรกายด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ก็ไม่
สามารถค้นพบวิธีพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกทรมานพระวรกายและหันกลับมาบาเพ็ญเพียรทางจิต
ในวั น ขึ้ น 15 ค่ า เดื อน 6 พระสิทธั ต ถะได้ ต รั สรู้ เ ป็ น พระสัม มาสัม พุทธเจ้ าขณะมี พระชนมายุ 35
พรรษา ทรงตรัสรู้อริยสัจ 4 หรือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ หลั งจากนั้น พระองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
แก่ปัญจวัคคีย์ เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี เมื่อปัญจวัคคีย์ได้
สาเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว พระองค์ได้เสด็จไปสั่งสอนประชาชนตามเมืองต่าง ๆ รวมระยะเวลาที่พระองค์ทรง
เผยแผ่ พ ระพุ ท ธศาสนานานถึ ง 45 ปี ก่ อ นที่ จ ะเสด็ จ ดั บ ขั น ธปริ นิ พ พาน ในวั น ขึ้ น 15 ค่ า เดื อ น 6 รวม
พระชนมายุได้ 80 พรรษา

โปรดพระพุทธบิดา (เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์)
พระเจ้าสุทโธทนะผู้เป็นพระราชบดา ทราบว่าพระสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ทรงมีความ
ยินดี จึงส่งข้าราชบริพารถึง 10 คณะไปกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเพื่อเสด็จโปรดพระองค์และประยูรญาติ
ที่กรุงกบิลพัสดุ์ พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบรับที่จะเสด็จมายังกรุ งกบิลพัสดุ์ ทาให้พระเจ้าสุทโธทนะทรงยินดี
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงกรุงกบิลพัสดุ์พร้อมทั้งพุทธสาวกจานวน 20,000 รูป ในวันรุ่งขึ้นพระพุทธเจ้าพร้อม
ทั้งสาวกได้ออกบิณฑบาตตามถนนในเมืองกบิลพัสดุ์ที่พระองค์ทรงทาเป็นปกติ เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทราบข่าว
ก็ทรงอับอายที่เป็นพระราชโอรสบิณฑบาตขออาหารจากชาวบ้าน จึงเสด็จไปห้ามปราม แด่พระพุทธเจ้าทรง
อธิบายและทรงแสดงธรรมโปรดพระราชบิดาและประยูรญาติจนเกิดดวงตาเห็นธรรมในการเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์
ครั้งนี้ พระพุทธองค์ได้รับสั่งให้พระสารีบุตรทาการบรรพชาให้พระราชโอรสราหุล แต่เนื่องจากพระราชโอรส
พระพุทธศาสนา ป.5

ราหุลมีพระชนมายุเพียง 7 พรรษา ยังไม่ถึง 20 พรรษาบริบูรณ์ จึงบวชเพียง “สามเณร” ด้วยเหตุนี้สามเณร


ราหุลจึงเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา
เมื่อครั้งพระเจ้าสุทโธทนะทรงประชวรหนัก พระพุทธเจ้าทรงทราบข่าวจึงเสด็จมาโปรดพระพุทธบิดาที่
กรุงกบิลพัสดุ์อีกครั้ง พระองค์ได้แสดงธรรมโปรดพระพุทธบิ ดาจนบรรลุอรหัตผล แต่เพราะพระเจ้าสุทโธทนะ
ชรามากเกินไป และพระอาการประชวรหนักมากขึ้น หลังจากบรรลุอรหัตผลไม่กี่วันก็นิพพาน

พุทธกิจที่สาคัญของพระพุทธเจ้า
พุทธกิจ หมายถึง กิจที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบั ติ หรือทรงบาเพ็ยอยู่เป็นประจาตลอดระยะเวลา 45 ปี
หลังจากที่ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งในแต่ละวันพระองค์ทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของชาวโลก หรือ
เราเรียกว่า โลกัตถจริยา อยู่ 5 เวลา ดังนี้
1. เวลาเช้ามืดก่อรรุ่งสาง ทรงตื่นจากบรรทม หลังจากทรงชาระพระพุทธสรีระแล้วทรงทาสมาธิเพื่อ
ตรวจพิจารณาถึงบุคคล และสถานที่ที่จะเดินทางไปแสดงพระธรรมเทศนา จากนั้นพระองค์ก็จะเสด็จโปรด
2. เวลาเช้า ทรงเสด็จออกบิณฑบาต ทรงรับอาหารตามแต่ผู้ใจบุญจะถวายแล้ว กลับ ที่พักเพื่ อฉั น
อาหารแล้วทรงบาเพ็ญพาวนาต่อ
3. เวลาบ่าย ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนที่มาเฝ้า
4. เวลาเย็น ทรงประทานพระโอวาทแก่พระสงฆ์สาวกในการนี้จะทรงตอบปัญหาและอธิบายธรรม
ต่าง ๆ แก่เหล่าพระภิกษุสงฆ์
5. เวลาเที่ยงคืน หรือเวลาดึง จะทรงสนทนาธรรม หรือฟังและตอบปัญหาแก่เทวดา พระราชา หรือ
บุคคลชั้นสูงที่มาเฝ้า หลังจากนั้นพระองค์ก็ จะทรงพักผ่อนบรรทมหลับ โดยทรงกาหนดพระสติในการที่จะตื่น
บรรทม

จูฬเสฏฐิชาดก (จูฬเศรษฐีชาดก)
เป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติที่เกิดในตระกูลเศรษฐีมีนามว่า จุลกเศรษฐี ซึ่งเป็นผู้มีความ
ฉลาดรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
ในเรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่งจุลกเศรษฐีได้เดินทางจะไปเฝ้าพระราชา ผ่านมาเห็นหนูตายอยู่กลางถนน ได้
พิจารณาแล้วกล่าวแก่เด็กรับใช้ของตนว่า หนูตายตัวนี้ถ้าใครเก็บไปจะทาให้ผู้นั้นมีเงินมีทองในภาคภาค หน้า
เด็กรับใช้ที่มีนามว่า จูฬันเตวาสิกได้ยิน จึงเก็บซากหนูแล้วนาไปขายให้แก่คนเลี้ยงแมว ได้เงินมาเล็กน้อย แล้ว
นาเงินนั้นไปซื้อน้าหวานมาคอยแจกให้แก่คนเก็บดอกไม้และคนเก็บอกไม้ได้ตอบแทนค่าน้าหวานโดยการนาเอา
ดอกไม้มาให้แก่จูฬันเตวาสิก จูฬันเตวาสิกได้นาดอกไม้ไปขาย และทาอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีเงินเพิ่มขึ้น
มีวันหนึ่งเกิดลมพายุพัดต้นไม้ในสวนหลวงล้มเป็นจานวนมาก ทาให้เขาเข้าไปรับอาสาเก็บกิ่งไม้แล้วนาไปทา
ฟืน โดยชวนให้เด็กเลี้ยงโคมาช่วยขนฟืน และให้น้าหวานเป็นสิ่งตอบแทน แล้วเขาก็นาฟืนไปขายให้แก่พวกช่าง
ปั้นหม้อ จนได้เงินจานวนมาก ต่อมาจึงไปเหมาสินค้าจากเรือสาเภา แล้วนามาขายให้พ่อค้าอื่นจนกลายเป็น
พระพุทธศาสนา ป.5

เศรษฐี มีนามว่า จูฬกะเศรษฐี และเพื่อเป็นการตอบแทนพระคุณของจุลกเศรษฐีผู้เป็นเจ้านายเดิมที่ทาให้ตนได้


เป็นเศรษฐี จึงได้นาทรัพย์ครึ่งหนึ่งไปมอบให้แก่นายเก่าเป็นการตอบแทน พร้อมกั บเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่ทาให้
ตนเองร่ารวยขึ้นมาให้ฟัง จุลกเศรษฐีได้ฟังแล้วคิดว่าชายผู้นี้มีสติปัญญา มีความขยันหมั่นเพียร และมีความ
กตัญญู จึงยกธิดาให้เป็นภรรยา พร้อมทั้งยกทรัพย์สินของตนให้ด้วย เพื่อให้ไปสร้างครอบครัว
ข้อคิดที่ได้จากชาดกเรื่องนี้ คือ ผู้ใช้ปัญญา รู้จักคิดไตร่ตรอง ย่อมตั้งตัวได้ แม่จะมีทุนที่น้อยเมื่อ
เริ่มต้นก็ตาม

วัณณาโรหชาดก
เป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์เมื่อเสวยชาติเป็นรุกขเทวดาอยู่ในป่า และในป่าแห่งนี้มีราชสีห์กับเสือ
โคร่งคู่หนึ่งอยู่ด้วยกันในถ้าของภูเขาในป่านั้น พร้อมกันนั้นก็มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งอาศัยอยู่ใกล้ ๆ คอยรับใช้สัตว์
ทั้งสอง และคอยกินเศษอาหารของสัตว์ทั้งสอง ต่อมาสุนัขจิ้งจอกเกิดความคิดว่า เกิดมาไม่เคยกินเนื้อราชสีห์
และเสือเลย ถ้าทาให้สัตว์ทั้งสองนี้เกิดผิดใจกัน ทะเลาะกันจนเกิดการต่อสู้กันจนตาย ก็จะทาให้ตนเองได้มี
โอกาสกินเนื้อราชสีห์ และเสือแน่ ๆ เมื่อคิดได้ดังนั้นแล้วก็ไปถูดยุยงให้สัตว์ทั้งสองเกิดความเข้าใจผิดกัน แต่
เนื่องจากสัตว์ทั้งสองมีจิตใจหนักแน่นไม่ฟังคายุยงของสุนัขจิ้งจอก แต่กลับมาพูดคุย และสอบถามกัน และ
ตักเตือนกันว่า ผู้ที่เป็นเพื่อนกัน จะต้องมีใจคอที่มั่นคงหนักแน่นต่อกัน และสัตว์ทั้งสองก็รักษาความเป็นมิตรต่อ
กัน ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกเห็นว่า แผนการยุแหย่ของตนไม่ได้ผล จึงรีบหนีไปอยู่ที่อื่น
ข้อคิดที่ได้จากชาดกเรื่องนี้ คือ ผู้ที่เป็นเพื่อนกัน ต้องมีความหนักแน่น เชื่อใจ ไม่เชื่อในคายุแหย่ของผู้
ไม่หวังดี

You might also like