เคมี อ.อร

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 16

1

บทที่ 1
บทนำ
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ผิวแห้ง เกิดจากการที่มีน้ำในผิวหนังชั้นหนังกำพร้าลดลง โดยปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดภาวะผิวแห้ง ได้แก่
เพศ อายุที่มากขึ้น โรคผิวหนัง พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น การอาบน้ำร้อน อากาศที่แห้งและเย็น
เป็นต้น ประชาชนส่วนใหญ่จึงมีปัญหาผิวแห้ง เนื่องจากขาดความชุ่มชื้น ซึ่งจะส่งให้ผิวหนังมีความแห้งกร้าน
มองเห็นร่องของผิว บางคนที่มีอาการผิวหนังแห้งมากๆ ผิวหนังอาจมีอาการแดงลอกเป็นขุย แตกลาย โดยมัก
พบบริเวณ แขน ขา และมือ นอกจากนี้ยังมีอาการแสบคัน หากเกาก็อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่
ผิวหนังได้อีกด้วย
จากปัญหาเหล่านี้ มนุษย์จึงพยายามหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการนำผักหรือผลไม้ที่มีสรรพคุณช่วย
เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิว ซึ่งได้แก่ส้ม แอปเปิ้ล สัปปะรด มะเขือเทศ และฝรั่ง มาทำเป็นครีมสำหรับพอก โดยนำ
ผักหรือว่าผลไม้ดังกล่าว มาคั้นให้เหลือแต่น้ำและนำไปผสมกับน้ำผึ้ง จากนั้นนำไปพอกผิว ทิ้งไว้สักพักและล้าง
ออก ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้เองที่บ้าน ไม่ต้องเตรยมอุปกรณ์มากมาย หรือใช้วิธีการทำที่ซับซ้อนและ
ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวได้อีกด้วย
2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน
2.1 เพื่อศึกษากระบวนการการทำครีมที่สามารถให้ความชุ่มชื้นจากผักหรือผลไม้ทั้งหมด 5 ชนิด
2.2 เพื่อนำส้ม แอปเปิ้ล สัปปะรด มะเขือเทศ และฝรั่ง มาแปรรูปให้เกิดประโยชน์
2.3 เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการให้ความชุ่มชื้นของผักและผลไม้ชนิดต่างๆ ดังนี้
• ศึกษาความเต่งตึงของผิวแอปเปิ้ล หลังจากที่ทาส่วนผสมที่ได้จากผักหรือผลไม้ทั้งหมด 5 ชนิด
• ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเนื้อแอปเปิ้ล หลังจากที่ทาส่วนผสมที่ได้จากผักหรือผลไม้ทั้งหมด 5
ชนิด
3. สมมติฐาน
3.1 แอปเปิ้ลสามารถให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวได้ดีที่สุด
3.2 ส่วนผสมจากผักหรือผลไม้ที่ให้ความชุ่มชื้นที่ทำขึ้นจากการทดลองครั้งนี้ สามารถนำไปใช้และแก้ไข
ปัญหาผิวแห้งในชีวิตประจำวันได้จริง
4. ตัวแปร
4.1 ตัวแปรต้น : ความชุ่มชื้นที่ได้จากผลไม้ทั้ง 5 ชนิด ได้แก่ ส้ม แอปเปิ้ล สัปปะรด มะเขือเทศ และฝรั่ง
4.2 ตัวแปรตาม : การเปลี่ยนแปลงของสี, ผิว และ เนื้อของแอปเปิ้ล
4.3 ตัวแปรควบคุม : ชนิดของน้ำผึ้ง และ ระยะเวลาในการทดลอง
2

5. ขอบเขต
ศึกษาและเปรียบเทียบการให้ความชุ่มชื้นของผักและผลไม้รวมกันทั้งหมด 5 ชนิด
3

บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาโครงงาน เรื่อง ครีมผัก ผลไม้ให้ความชุ่มชื้น ผู้จัดทำได้รวบรวมแนวคิดต่างๆ
จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
1. ส้ม

( รูปที่ 1 )
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantium Linn.
วงศ์ : Rutaceae
ผลไม้ที่ให้รสชาติเปรี้ยวนำและตามด้วยอมหวาน สรรพคุณของส้มมีกลิ่นหอมของเปลือกซึ่งนำไปสกัดน้ำมัน
หอมระเหยได้
สรรพคุณของส้ม ส้มเป็นผลไม้สุขภาพชนิดหนึ่ง ที่มีสรรพคุณและประโยชน์ที่ดีมากมาย โดยสามารถใช้ได้ทั้ง
เนื้อส้มและน้ำมันละเลยจากในส่วนของเปลือกส้ม เช่น
-เนื้อส้ม ช่วยให้เจริญอาหาร มีวิตามินซีป้องกันโรคลักปิดลักเปิด ช่วยรักษาเหงือก ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่
สึกหรอในร่างกาย
-เปลือกส้ม ใช้เป็นยาบำรุงใช้ทาใบหน้าใช้ป้องกันและรักษาสิวฝ้า
4

2. มะเขือเทศ

( รูปที่ 2 )
ชื่อสามัญ : Tomato
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lycopersicon Esculentum Mill.
วงศ์ : มะเขือ ( SOLANACEAE )
สรรพคุณของมะเขือเทศ
มะเขือเทศอุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารมากมายหลายชนิด และที่โดดเด่นที่สุด ก็คือวิตามิน
ซีและวิตามินเอที่พบได้มากในมะเขือเทศ แถมยังเป็นวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย มีสารจำพวกไล
โคปีน ที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดความเสี่ยงโรคร้ายต่างๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อการเสื่อมของร่างกายได้ดี
เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ข้อเสื่อม โรคหลอดเลือด และโรคตาต้อกระจก เป็นต้น มีส่วนช่วยในการป้องกันโรค
ความดันโลหิตสูง แก้แผลร้อนในช่องปาก เป็นยาช่วยดับร้อนถอนพิษ และสามารถบรรเทาอาการของโรคหัวใจ
ได้อย่างดีเยี่ยมและเป็นสุดยอดสารอาหารผิวที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านความงาม ยังมีคุณสมบัติต้านโรค
มะเร็ง อุดมไปด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ
5

3. แอปเปิ้ล

( รูปที่ 3 )
ชื่อสามัญ : Apple
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Malus domestica
วงศ์ : Rosaceae
สรรพคุณแอปเปิ้ล
แอปเปิ้ลมีวิตามิน และกรดอินทรีย์หลายชนิดที่สามารถออกฤทธิ์ทางยาได้ อาทิเช่น
-ผล ป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยให้ผิวพรรณดูขาว และเปล่งปลั่งขึ้น เปลือกที่ฝานจากผลนำมาวางทับบนใบหน้า
สำหรับช่วยลดขจัดเซลล์ผิวที่เสื่อมให้หลุดออกได้ง่าย และยังช่วยลดกระฝ้าได้ด้วย ช่วยกระตุ้นการทำงานของ
ระบบการยืดหด และการคล้ายตัวของกล้ามเนื้อให้เป็นปกติ ช่วยลดอาการหงุดหงิด ช่วยผ่อนคลาย
ความเครียดแก้อาการอ่อนเพลียของร่างกาย ช่วยลดไขมันสะสม ช่วยให้ร่างกายได้สัดส่วน กระตุ้น และเสริม
ภูมิคุ้มกัน แล้วยังช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ช่วยป้องกัน และบรรเทาอาการโรคเบาหวาน
-เมล็ด (มีรสขม) ช่วยขับพยาธิและช่วยทำให้อาเจียน
6

4. ฝรั่ง

( รูปที่ 4 )
ชื่อสามัญ : Guava
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psidium guajava L.
วงศ์ : MYRTACEA
สรรพคุณฝรั่ง
ฝรั่งมีสารแทนนินอยู่มาก สารนี้มีฤทธิ์ฝาดสมานน้ำมันหอมระเหยในใบฝรั่ง สารแทนนินในฝรั่งยัง
ยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรค ช่วยสมานท้องและลำไส้ โดยช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะลำไส้ และช่วย
ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน และยังช่วยอาการเกร็งตัวของลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องบรรเทาลงได้ แก้ปวดเบ่ง
• ใบ - แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด ใช้ใบ 2-3 ใบเคี้ยวๆ ระงับกลิ่นปาก แก้ฝี
เป็นยาล้างแผล ดูดหนองและถอนพิษบาดแผล แก้เหงือกบวม แก้พิษเรื้อรัง แก้ปวดเนื่องจากเล็บขบ แก้แพ้ยุง
• ผลอ่อน - แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน ระงับกลิ่นปาก แก้บิดมูกเลือด มีไวตามินซีมาก เป็นกันหรือแก้โรค
เลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด) บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ
• ผลสุก - มีสารเพ็กตินอยู่มาก ใช้รับประทานเป็นยาระบายได้
7

5. สัปปะรด

( รูปที่ 5 )
ชื่อสามัญ : Pineapple
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ananas comosus (L.) Merr.
วงศ์ : Bromeliaceae
สรรพคุณสัปปะรด
• ราก - แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี แก้หนองใน แก้มุตกิดระดูขาว แก้ขัดข้อ
• หนาม - แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน ไข้พา ไข้กาฬ
• ใบสด - เป็นยาถ่าย ฆ่าพยาธิในท้อง ยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
• ผลดิบ - ใช้ห้ามโลหิต แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ฆ่าพยาธิ และขับระดู
• ผลสุก - ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และบำรุงกำลัง ช่วยย่อยอาหาร แก้หนองใน มุตกิด กัดเสมหะในลำคอ
• ไส้กลางสับปะรด - แก้ขัดเบา
• เปลือก - ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี
• จุก - ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้หนองใน มุตกิดระดูขาว
• แขนง - แก้โรคนิ่ว
• ยอดอ่อนสับปะรด – แก้นิ่ว
8

6. น้ำผึ้ง

( รูปที่ 6 )
ชื่อสามัญ (Common or English name) : Bee
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) : Apis mellifera L.
ประโยชน์ทางเครื่องสำอาง : เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น
ประโยชน์ทางยา : ใช้สมานแผล ทำให้สร้างเนื้อเยื่อใหม่ได้เร็วขึ้นต้านเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus
aureus , Micrococcus flavus, Sarcina lutea, Bacillus cereus, Bacillus subtilis โดยเฉพาะ เมื่อ
เตรียมสารสกัดน้ำผึ้งด้วย แอลกอฮอล์ อะซีโตน หรืออีเธอร์ จะทำให้ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียแรงขึ้น มีการใช้
น้ำผึ้งในการรักษาแผลไฟลวก ผิวหนังอักเสบและผื่นคันต่างๆ ต้านเชื้อรา เมื่อทดลองกับเชื้อรา 10 ชนิด
พบว่าสามารถยับยั้ง และฆ่าเชื้อราได้
9

บทที่3
วิธีการดำเนินงาน
3.1 วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำโครงงาน
1. น้ำผึ้ง 1 หลอด
2. แอปเปิ้ลจำนวน 3 ลูก
3. ส้มจำนวนครึ่งลูก
4. มะเขือเทศจำนวน 1 ลูก
5. สับปะรดจำนวน 1 ลูก
6. ฝรั่งจำนวน 1 ลูก
3.2 ขั้นตอนการทดลอง
1. ใช้แอปเปิ้ลในการทดลอง
1.1 นำแอปเปิ้ลมาหั้นเป็นซีกเล็กๆจำนวน 5 ชิ้น
1.2 นำจำนวนแอปเปิ้ล 3 ชิ้นแรกมาปั่นให้ละเอียดพอประมาณ
1.3 นำแอปเปิ้ลที่ปั่นแล้วผสมกับน้ำผึ้งจำนวน 2 ช้อนชา โดยใช้อัตราส่วนของแอปเปิ้ล 3 ช้อนโต๊ะ ผสม
และคนให้เข้ากัน
1.4 นำแอปเปิ้ล 2 ชิ้นที่เหลือมาทำการทดลอง โดยนำเอาสัดส่วนที่ผสมไว้มาทาลงบนแอปเปิ้ลชิ้นแรกให้
ทั่ว ส่วนแอปเปิ้ลชิ้นที่สองไม่ต้องทา หลังจากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง

( รูปที่ 7) ( รูปที่ 8 ) ( รูปที่ 9 )


แอปเปิ้ลมาหั่นเป็นซีกเล็กๆ 5 ชิ้น แอปเปิ้ลที่ปั่นเสร็จแล้วโดยยังไม่ได้ทำการผสมน้ำผึ้ง
10

( รูปที่ 10 ) ( รูปที่ 11 ) ( รูปที่ 12 )


แอปเปิ้ลที่ทำการผสมน้ำผึ้งแล้ว แอปเปิ้ลชิ้นแรกที่ทำการทาสัดส่วนที่ผสมแล้ว กับ
แอปเปิ้ลชิ้นที่สองที่ไม่ได้ทำการทา

( รูปที่ 13 ) ( รูปที่ 14 )
ผลที่ได้หลังจากทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง
2. ใช้ส้มในการทดลอง
2.1 นำส้มจำนวนครึ่งลูกมาปั่นให้ละเอียดพอประมาณ
2.2 นำส้มที่ปั่นแล้วผสมกับน้ำผึ้งจำนวน 2 ช้อนชา โดยใช้อัตราส่วนของส้ม 3 ช้อนโต๊ะ ผสมและคนให้
เข้ากัน
2.3 หลังจากนั้นนำแอปเปิ้ลมาหั่นเป็นซีกเล็กๆจำนวน 2 ชิ้น
2.4 นำสัดส่วนส้มที่ผสมแล้วมาทาลงบนแอปเปิ้ลชิ้นแรกให้ทั่ว ส่วนแอปเปิ้ลชิ้นที่สองไม่ต้องทา
หลังจากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง

( รูปที่ 15 ) ( รูปที่ 16)


ส้มที่ปั่นเสร็จแล้วโดยยังไม่ได้ทำการผสมน้ำผึ้ง ส้มที่ทำการผสมน้ำผึ้งแล้ว
11

( รูปที่ 17 ) ( รูปที่ 18 ) ( รูปที่ 19 )


นำแอปเปิ้ลมาหั่นไว้เป็น 2 ชิ้น แอปเปิ้ลชิ้นแรกที่ทำการทาสัดส่วนที่ผสมแล้ว กับ
แอปเปิ้ลชิ้นที่สองที่ไม่ได้ทำการทา

( รูปที่ 20 ) ( รูปที่ 21 )
ผลที่ได้หลังจากทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง
3. ใช้มะเขือเทศในการทดลอง
3.1 นำมะเขือเทศจำนวน 1 ลูกมาหั่นเป็นลูกเต๋าชิ้นเล็กๆ
3.2 นำมะเขือเทศที่หั่นเป็นลูกเต๋าแล้วมาปั่นให้ละเอียดพอประมาณ
3.3 นำมะเขือเทศที่ปั่นแล้วผสมกับน้ำผึ้งจำนวน 2 ช้อนชา โดยใช้อัตราส่วนของมะเขือเทศ 3 ช้อนโต๊ะ
ผสมและคนให้เข้ากัน
3.4 หลังจากนั้นนำแอปเปิ้ลมาหั่นเป็นซีกเล็กๆจำนวน 2 ชิ้น
3.5 นำสัดส่วนมะเขือเทศที่ผสมแล้วมาทาลงบนแอปเปิ้ลชิ้นแรกให้ทั่ว ส่วนแอปเปิ้ลชิ้นที่สองไม่ต้องทา
หลังจากนั้นทื้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง

( รูปที่ 22 ) ( รูปที่ 23 ) ( รูปที่ 24 ) ( รูปที่ 25 )


มะเขือเทศ 1 ลูกหั่นเป็นลูกเต๋าชิ้นเล็กๆ มะเขือเทศที่หั่นเป็นลูกเต๋าแล้วมาปั่นให้ละเอียด
12

( รูปที่ 26 ) ( รูปที่ 27 )
มะเขือเทศที่ผสมกับน้ำผึ้งแล้ว นำแอปเปิ้ลมาหั่นไว้เป็น 2 ชิ้น

( รูปที่ 28 ) ( รูปที่ 29 ) ( รูปที่ 30 )


แอปเปิ้ลชิ้นแรกที่ทำการทาสัดส่วนที่ผสมแล้ว ผลที่ได้หลังจากทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง
กับแอปเปิ้ลชิ้นที่สองที่ไม่ได้ทำการทา

4. ใช้สับประรดในการทดลอง
4.1 นำสับประรดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
4.2 นำสับประรดที่หั่นไว้มาปั่นให้ละเอียดพอประมาณ
4.3 นำสับประรดที่ปั่นแล้วผสมกับน้ำผึ้งจำนวน 2 ช้อนชา โดยใช้อัตราส่วนของสับประรด 3 ช้อนโต๊ะ
ผสมและคนให้เข้ากัน
4.4 หลังจากนั้นนำแอปเปิ้ลมาหั่นเป็นซีกเล็กๆจำนวน 2 ชิ้น
4.5 นำสัดส่วนสับประรดที่ผสมแล้วมาทาลงบนแอปเปิ้ลชิ้นแรกให้ทั่ว ส่วนแอปเปิ้ลชิ้นที่สองไม่ต้องทา
หลังจากนั้นทื้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง

( รูปที่ 31 ) ( รูปที่ 32 )
นำสับประรดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ สับประรดที่ปั่นเสร็จแล้วโดยยังไม่ได้ทำการผสมน้ำผึ้ง
13

( รูปที่ 33 ) ( รูปที่ 34 )
สับประรดที่ผสมกับน้ำผึ้งแล้ว นำแอปเปิ้ลมาหั่นไว้เป็น 2 ชิ้น

( รูปที่ 35 ) ( รูปที่ 36 ) ( รูปที่ 37 )


แอปเปิ้ลชิ้นแรกที่ทำการทาสัดส่วนที่ผสมแล้ว ผลที่ได้หลังจากทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง
กับแอปเปิ้ลชิ้นที่สองที่ไม่ได้ทำการทา

5. ใช้ฝรั่งในการทดลอง
5.1 นำฝรั่งมาหั่นเป็นซีกเล็กๆจำนวน 3 ชิ้น
5.2 นำฝรั่งที่หั่นไว้มาปั่นให้ละเอียดพอประมาณ
5.3 นำฝรั่งที่ปั่นแล้วผสมกับน้ำผึ้งจำนวน 2 ช้อนชา โดยใช้อัตราส่วนของฝรั่ง 3 ช้อนโต๊ะ ผสมและคนให้
เข้ากัน
5.4 หลังจากนั้นนำแอปเปิ้ลมาหั่นเป็นซีกเล็กๆจำนวน 2 ชิ้น
5.5 นำสัดส่วนฝรั่งที่ผสมแล้วมาทาลงบนแอปเปิ้ลชิ้นแรกให้ทั่ว ส่วนแอปเปิ้ลชิ้นที่สองไม่ต้องทา หลังจาก
นั้นทื้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง

( รูปที่ 38 ) ( รูปที่ 39 )
ฝรั่งหั่นเป็นซีกเล็กๆจำนวน 3 ชิ้น ฝรั่งที่ปั่นเสร็จแล้วโดยยังไม่ได้ทำการผสมน้ำผึ้ง
14

( รูปที่ 40 ) ( รูปที่ 41 )
ฝรั่งที่ผสมกับน้ำผึ้งแล้ว นำแอปเปิ้ลมาหั่นไว้เป็น 2 ชิ้น

( รูปที่ 42 ) (รูปที่ 43 ) ( รูปที่ 44 )


แอปเปิ้ลชิ้นแรกที่ทำการทาสัดส่วนที่ผสมแล้ว ผลที่ได้หลังจากทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง
กับแอปเปิ้ลชิ้นที่สองที่ไม่ได้ทำการทา
15

บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
การศึกษาความชุ่มชื้นของผิวแอปเปิ้ลหลังจากทาส่วนผสมของผักและผลไม้รวมกันทั้งหมด 5 ชนิด
3. 4. 2.

1. 5. 6.
( รูปที่ 45 )
1. แอปเปิ้ลชิ้นที่ทาส่วนผสมจากแอปเปิ้ลจะสังเกตุผล ได้ว่า รอยช้ำค่อนข้างมากตรงบริเวณขอบๆของ
แอปเปิ้ล
2. แอปเปิ้ลชิ้นที่ทาส่วนผสมจากส้มจะสังเกตุผล ได้ว่า เปลือกยังมีความเต่งตึง เนื้อบริเวณกลางเริ่มมีรอย
ช้ำ
3. แอปเปิ้ลชิ้นที่ทาส่วนผสมจากมะเขือเทศจะสังเกตุผล ได้ว่า เปลือกมีความเต่งตึง เนื้อมีรอยช้ำ
เล็กน้อยถึงน้อยที่สุด
4. แอปเปิ้ลชิ้นที่ทาส่วนผสมจากสับประรดจะสังเกตุผล ได้ว่า เปลือกรอบๆเหี่ยวเกือบทั้งหมดรอยช้ำ
ค่อนข้างมาก
5. แอปเปิ้ลชิ้นที่ทาส่วนผสมจากฝรั่งจะสังเกตผล ได้ว่า เปลือกมีรอยเหี่ยวและเนื้อมีรอยซ้ำเล็กน้อย
บริเวณขอบ
6. แอปเปิ้ลที่ไม่ได้ทำการทาส่วนผสมของผลไม้ทั้ง 5 ชนิดจะสังเกตุผล ได้ว่า เปลือกเหี่ยวย่นมีรอยช้ำทั่ว
ทั้งชิ้น เนื้อมีรอยแตกอย่างเห็นได้ชัด
16

ตารางแสดงผลความชุ่มชื้นของผิวแอปเปิ้ลหลังจากทาส่วนผสมของผักและผลไม้รวมกันทั้งหมด 5 ชนิด
ชนิดของผักและผลไม้ ผลการทดลองเมื่อผ่านไป 3 ชั่วโมง
เปลือก เนื้อ
รอยช้ำค่อนข้างมากตรง
แอปเปิ้ล บริเวณขอบๆของแอป -
เปิ้ล
ส้ม เปลือกยังมีความเต่งตึง ผิวบริเวณกลางเริ่มมี
รอยช้ำ
มะเขือเทศ เปลือกมีความเต่งตึง มีรอยช้ำเล็กน้อยถึงน้อย
ที่สุด
สับประรด เปลือกรอบๆเหี่ยวเกือบ มีรอยช้ำค่อนข้างมาก
ทั้งหมด
เปลือกมีรอยเหี่ยว และ
ฝรั่ง รอยซ้ำเล็กน้อยบริเวณ -
ขอบ
แอปเปิ้ลที่ไม่ได้ทาส่วนผสม เปลือกเหี่ยวย่นมีรอยช้ำ เนื้อมีรอยแตกอย่างเห็น
ทั่วทั้งชิ้น ได้ชัด

You might also like