ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 26

ระบบการเพิม่ ผลผลิตข้าว

System of Rice Intensification (SRI)

เอกสารเรื่อง ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว System of Rice Intensification (SRI) นี้


ได้รวบรวมข้อมูลจากองค์กร Association Tefy Saina (ATS) ประเทศมาดากัสการ์ และ
ข้อมูลจากประเทศศรีลังกา เป็นหลัก นอกจากนี้ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุม-กาจัดปูและหอยจาก
เครือข่าย Honeybee ประเทศอินเดีย และจาก Mindanao Baptist Rural Life Center,
ประเทศฟิลิปปินส์ ทางสมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม (ATA) ได้มีส่วนสาคัญในการแปล สาหรับ
ฉบับปรับปรุงนี้ ได้เพิ่มเติมข้อมูลจากเอกสารของคณะกรรมการคาทอลิคเพื่อการพัฒนา (คพน.)
และประสบการณ์การทานาโยนกล้าและการทดลองปลูกข้าวแบบต้นเดียวของอาจารย์เชาว์วัช หนูทอง
ทั้งนี้และทั้งนั้นเอกสารเล่มนี้สาเร็จลุล่วงได้ด้วยดีนั้น ต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ
อาจารย์ประจา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์ทรงวุฒิ พรห์มขัดแก้ว และ
เจ้าหน้าที่ส่งเสริมและบริการสังคม สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย เป็นอย่างสูง ที่ท่านได้ช่วยเหลือใน
เรื่องการตรวจเอกสารและเรียบเรียงใจความของเอกสารเพื่อให้ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจง่าย ได้ใจความ
ปัจจุบันได้มีการวิจัย และทดลองในพื้นที่ต่างๆ พอสมควร ทางคณะผู้เรียบเรียงเอกสารระบบการเพิ่ม
ผลผลิตข้าว System of Rice Intensification (SRI) จึงขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมใน
เอกสารเล่มนี้เป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้
บทนา
เกษตรกรของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นรายย่อย มีพื้นที่ทานาเฉลี่ย 5 ไร่ วัตถุประสงค์ของ
การปลูกข้าวจึงปลูกเพื่อบริโภคและจาหน่าย แนวทางการผลิตจึงเน้นการลดความเสี่ยง และให้ความ
สาคัญกับเสถียรภาพของการผลิต นอกจากนี้การเลือกใช้พันธุ์ข้าวมักจะเลือกข้าวที่มีคุณสมบัติในการ
หุงต้มดีดังนั้นข้าวขาวพันธุ์หอมมะลิ 105 และข้าวเหนียวพันธุ์ กข.6 จึงเป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับความนิยม
กระบวนการผลิตโดยอาศัยปุ๋ยเคมี ไม่ได้ทาให้ ผลผลิตข้าว เพิ่มขึ้นมากนัก แต่กลับทาให้ต้นทุนการ
ผลิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
ระบบการผลิตข้าวแบบ SRI หรือ System of Rice Intensification เป็นวิธีการที่ถูก
พัฒนาโดย Fr. Henri de Laulanie,S.J. ในขณะที่ทางานในประเทศมาดากัสก้าร์ ระหว่างปี
2502 - 2538 เพื่อปรับปรุงการผลิตข้าวและยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรในประเทศดังกล่าว
ต่อมาวิธีการดังกล่าวนี้ได้มีการขยายผลโดยหลายองค์กร โดยเฉพาะ Association Tefy Saina ที่
ประเทศมาดากัสการ์ และศูนย์ CIIFAD ของมหาวิทยาลัยคอร์เนล เอกสารภาษาไทยนี้แปลจากฉบับ
ภาษาอังกฤษซึ่งเรียบเรียงโดย Professor Dr.Norman Uphoff ผู้อานวยการศูนย์ CIIFAD
ระบบการผลิตข้าวแบบ SRI ให้ความสาคัญกับศักยภาพที่แท้จริงของต้นข้าว ดังนั้นในการ
ปลูกจึง พยายามที่จะสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ที่เอื้อต่อการแสดงศักยภาพของต้นข้าวอย่างเต็มที่ ตั้งแต่
การเตรียมกล้า อายุกล้า ที่ระยะ 8-12 วัน(2ใบ) ลักษณะของการเตรียมดิน วิธีการย้ายปลูกแบบตัว
L แทนการปักดา ใช้หนึ่งต้นต่อหลุม ระยะระหว่างหลุมที่เท่ากัน และการจัดการน้าโดยปล่อยให้หน้า
ดินแห้งและเปียกสลับกันจนกระทั่งถึงระยะก่อนออกรวงเล็กน้อยจึงปล่อยน้าท่วมประมาณ 1 – 2 ซม.
งานวิจัยและการยืนยันผลในพื้นที่เกษตรกรจากหลายประเทศพบว่า ระบบการผลิตข้าวแบบ
SRI สามารถเพิ่มผลผลิตได้อย่างมากโดยไม่ต้องใช้ปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิม เพียงแต่ปรับเปลี่ยน
วิธีการปลูก ผู้แปลเห็นว่าวิธีการนี้เป็นทางเลือกหนึ่งของการเพิ่มผลผลิตโดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต
และคิดว่าเหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อย ที่มีวิธีการปลูกข้าวแบบนาดา จึงได้นา วิธีนี้มาทดลองใน
ประเทศไทย และประยุกต์ใช้ให้ได้ผลที่ดีมากที่สุด ซึ่งหวังว่าท่านที่อ่านคู่มือนี้และนา ไปปฏิบัติแล้ว
โปรดช่วยแสดงข้อคิดเห็น และช่วยปรับปรุงเอกสารตลอดจนวิธีการผลิต เพื่อความก้าวหน้าและความ
ผาสุขของเกษตรกรไทย

ความเป็นมา
ทาอย่างไรจะช่วยให้ต้นข้าวเจริญเติบโตดีขึ้นและให้ผลผลิตมากขึ้น ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว
(S.R.I.) ได้ช่วยให้ชาวนาหลายร้อยคนในมาดากัสการ์เพิ่มผลผลิตได้อย่างน้อยหนึ่งเท่าตัว หากมีการ
จัดระบบอย่างดีให้แก่ต้นข้าว ดินและน้า ผลผลิตอาจเพิ่มเป็น 1,280–1,600 กก.ต่อ ไร่ หรือมากกว่า
นั้นได้ เอกสารนี้เป็นการแนะแนว เสนอแนวคิดพื้นฐานและแนวทางปฏิบัติที่จะทาให้การปรับปรุง
ผลผลิตเป็นไปอย่างที่กล่าวข้างต้น ข้อมูลนี้หาใช่เป็นสูตร ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามอย่างเป็นกลไกไม่ แต่
เป็นเสมือนเครื่องชี้ทาง สาหรับเกษตรกรใช้ทดสอบและประเมินผลวิธีใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ต้นข้าว
เจริญเติบโตให้ผลผลิตมากขึ้น หากเอกสารเล่มนี้และวิธีที่เสนอแนะช่วยให้ผลผลิตท่านเพิ่มขึ้นเราหวัง
ว่าท่านจะถ่ายทอดแนวความคิดและแนวทางปฏิบัตินี้ไปสู่เกษตรกรอื่นๆ เพื่อทุกครอบครัวและชุมชน
จะเจริญรุ่งเรืองและมั่นคงยิ่งๆขึ้นไป
เอส อาร์ ไอ ( S.R.I.) พัฒนาขึ้นในมาดากัสการ์ โดยชาวฝรั่งเศสชื่อ อองรี เดอ โลลานี ซึ่ง
ทางานร่วมกับเกษตรกรและเพื่อนร่วมงานชาวมาลากาซี ระหว่าง พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2538 เพื่อ
ปรับปรุงวิธีผลิตข้าว ด้วยความปรารถนาที่จะให้ชาวมาลากาซีมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและมีความสุข
มากขึ้น บัดนี้ ระบบดังกล่าวได้รับการศึกษาและประเมินผลจากนักวิทยาศาสตร์และเกษตรกร ผู้ปลูก
ข้าวจากหลายๆประเทศ
เอส อาร์ ไอ ( S.R.I.) เริ่มจากหลักปรัชญาที่ว่าต้ นข้าวต้องได้รับความเคารพและจุนเจือ
ประหนึ่งสิ่งมีชีวิตที่มีศักยภาพ ศักยภาพนี้จะนามาใช้ได้ก็ต่อเมื่อเราอานวยสภาวะที่ดี ที่สุดที่เอื้อต่อการ
เติบโตของพืช หากเราช่วยให้พืชเจริญเติบโตด้วยหนทางใหม่ที่ดีกว่า พืชก็จะตอบแทนความพยายาม
นั้นกลับคืนเป็นหลายเท่า เราจะไม่ป ฏิบัติต่อพืชเยี่ยงเครื่องจักรน้อยๆ ที่ถูกบังคับให้ทาสิ่งที่ฝืน
ธรรมชาติของตนเอง
สิ่งที่เกษตรกรนับร้อยในมาดากัสการ์ ตลอดจนประเทศอื่นๆทั่วโลกปฏิบัติกันมานับร้อยๆปี
เพื่อให้ข้าวเจริญเติบโต กลับทาให้ศักยภาพตามธรรมชาติของต้นข้าวลดลง ระบบใหม่ที่จะใช้ขยาย
ผลผลิตข้าวนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติระบบเดิม เพื่อนาศักยภาพสาคัญในต้นข้าวออกมาใช้
เพื่อเพิ่มผลผลิต ผลผลิตที่เกษตรกรแต่ละคนทาได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ การหว่าน
เมล็ดอย่างระมัดระวังในเวลาอันเหมาะสม การเตรียมดินและจัด การดินในนา การควบคุมน้า
คุณภาพดิน และพันธุ์ข้าวที่จะใช้ปลูก มีความเหมาะสมต่อสภาพการเจริญเติบโตหรือไม่
อย่าซื้อทั้งเมล็ดพืชและปุ๋ยเคมีใหม่เพิ่มเติม ข้อนี้จาเป็นสาหรับเกษตรกรที่ประสงค์จะได้ผลผลิต
เพิ่มขึ้นจานวนมาก โดยผลผลิตจะเพิ่มอย่างมาก หากปลูกข้าวด้วยหลักการ เอส อาร์ ไอ ( S.R.I.)
ซึ่งมีโครงสร้างต่างจากวิธีอื่นๆ ทั้งยังให้หน่อจานวนมากกว่าเดิม และให้รากที่แข็งแรงและหนาแน่นซึ่ง
สามารถดูดซับอาหารจากดินได้มากขึ้น ยิ่งกว่านั้น ต้นข้าวจะผลิตเมล็ดข้าวได้มากขึ้นด้วย เรา
สามารถทาให้ต้นข้าวมีโครงสร้างใหม่ และให้ผลผลิตมากขึ้นเช่นนี้ได้เสมอ แต่ศักยภาพนี้ไม่อาจดึง
ออกมาได้ด้วยวิธีการจัดการที่ดีที่สุดเพียงอย่างเดียว

การปฏิบัติตามหลักการของ เอส อาร์ ไอ ( S.R.I.)


เมื่อเกษตรกรปฏิบัติตามหลักการ เอส อาร์ ไอ ( S.R.I.) ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยได้มา
ก่อน เราขอยกตัวอย่างนาย โอโนเร อาร์ เกษตรกรซึ่งเริ่มทางานกับเทฟี ไซน่า (TEFY SAINA)ใน
ฤดูกาลผลิตปี 1994/1995 โดยใช้วิธีการ เอส อาร์ ไอ ( S.R.I.) ปลูกข้าวบนพื้นที่เพียง 1.5 ไร่
และ ได้ผลผลิต 1,500 กก/ไร่ ในปีแรก เมื่อเทียบกับ 320-480 กก/ไร่ ในฤดูผลิตก่อน ปีต่อมา
เขาขยายพื้นที่ เป็น 12.5 ไร่ และ 25 ไร่ ในเวลาต่อมาและยังคงได้ผลผลิตสูงขึ้น 2,032 กก และ
2,190 กก / ไร่
ผลการศึกษาในประเทศศรีลงั กาพบว่าข้าวในระบบ เอส อาร์ ไอ มีลกั ษณะดังนี้
1. มีระบบรากที่แข็งแรงและแทงลึกลงไปในดินได้มาก
2. ใน 1 ตารางเมตรปลูกข้าว 16 ต้น (หลุม)
3. ข้าว 1 หลุมจะแตกหน่อเฉลี่ยประมาณ 26 หน่อ
4. ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร มีรวงข้าว ประมาณ 400 รวง
5. หนึ่งรวงมีเมล็ด 396 เมล็ด เป็นเม็ดดี 340 เมล็ด (86%) และเมล็ดลีบ 54 เมล็ด (14%)
6. หนึ่งรวงได้น้าหนักข้าวประมาณ 5.75 กรัม

หลักการปฏิบตั ขิ องระบบ เอส อาร์ ไอ


เพือ่ ให้ได้ผลผลิตสูงอย่างไม่นา่ เชือ่ เกษตรกรควรปฏิบตั ดิ งั ต่อไปนี้

ก. การพัฒนาของระบบรากและกระตุน้ การแตกหน่อ
1. ย้ายต้นอ่อนเมื่ออายุ 8 - 12 วัน หรือมีใบเล็กๆสองใบแทงออกจากเมล็ดข้าว หากท่าน
ปลูกต้นกล้าที่แก่กว่า หรืออายุราว 3- 6 สัปดาห์ ศักยภาพในการผลิตหน่อจะลดลง
2. ปลูกต้นกล้าทีละต้น แทนการปลูกเป็นกระจุกๆ ละ 3 – 4 ต้นหรือมากกว่านั้นอย่างที่
นิยมทากัน

เมือ่ ปลูกต้นกล้าหลาย ๆ ต้นขึน้ ร่วมกัน รากแต่ละต้นจะทางานแข่งกัน ซึง่ เป็นปัญหา


เดียวกันกับ เมือ่ ต้นข้าวอยูใ่ กล้กบั วัชพืชซึง่ จะเกิดการแย่งอาหาร น้า และแสงแดด

ภาพแสดงการปรับตัวของต้นข้าว
ข. ธาตุอาหารสาหรับต้นข้าว
ในระบบ เอส อาร์ ไอ เน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจาก เอส อาร์ ไอ ให้ผลผลิตสูง จึงจา
เป็นต้องมีการทดแทนสารอาหารในดินที่ถกู ใช้ไป
ดินที่อุดมไปด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักจะมีโครงสร้างที่ดี ทาให้รากพืชเจริญเติบโตในดินได้ดี ซึ่งปุย๋
คอกจะปล่อยสารอาหารได้ช้ากว่าปุ๋ยทั่วไป ในระยะยาวจะทาให้ต้นพืชได้รับประโยชน์จากแหล่ง
อาหารนี้มาก รากต้นข้าวที่สมบูรณ์แข็งแรง สามารถดึงสารอาหารจากปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกได้ดี

ค. การควบคุมนา้
ก่อนข้าวจะตั้งท้องควรปล่อยให้พื้นนาแห้งสลับกับเปียก แต่ผิวดินต้องมีความชื้นประมาณ1– 2
เซนติเมตรอย่างสม่าเสมอ ที่เป็นเช่นนี้เพราะ

ข้าวไม่ใช่พืชน้า หากข้าวไม่ได้อยู่ใต้น้าจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าและข้าวสามารถดึงออกซิเจน
จากอากาศได้โดยตรง และเมื่อดินไม่ได้อุ้มน้าทาให้รากข้าวงอกยาวออกไป เพื่อหาอาหาร
แต่หากอยู่ ในน้ารากข้าวต้องสร้างถุงลมเล็ก ๆ เพื่อดูดออกซิเจนจากผิวดินซึ่งทา ให้การส่ง
อาหารไปสู่หน่อและใบถูกรบกวน

ง. การกาจัดวัชพืช
กาจัดวัชพืชครั้งแรกหลังปลูก 10 – 12 วัน และอีก 14 วัน ควรกาจัดวัชพืชอีกครั้ง ก่อนที่
ข้าวจะคุมพื้นที่ได้ ควรมีการกาจัดวัชพืชอย่างน้อย 3 ครั้ง

การจัดการให้ที่นาขังน้าและแห้งสลับกันทาให้มีวัชพืชมาก ควรมีการกาจัดเพื่อไม่ให้วัชพืช
แย่งอาหารกับต้นข้าว ได้มีการพัฒนาเครื่องกาจัดวัชพืชแบบกลไกง่าย ๆ ที่เรียกว่าคราด
หมุน ซึ่งในขณะที่ทาการกาจัดวัชพืชจะเป็นการพรวนดินไปในตัวซึ่งช่วยเพิ่มอากาศในดิน
และซากวัชพืชจะกลายเป็นปุ๋ยหมักสาหรับต้นข้าว
* พื้นที่ 1 ไร่ ใช้เวลาในการกาจัดวัชพืช 10 วัน
* การกาจัดวัชพืชแต่ละครั้งช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวได้ถึง 400 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งถือว่าคุ้ม

การเน่าเปื่อยของซากพืชในสภาวะน้าขังทา ให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งก่อให้เกิดความร้อนขึ้นไปใน
ชั้นบรรยากาศ ทาให้โลกร้อนขึ้น ดังนั้นการทานาแบบเอสอาร์ไอนั้นเป็นการรักษา
สิ่งแวดล้อมเพราะไม่ขังน้าในนาจึงช่วยลดการเกิดก๊าซมีเทน
เทคนิคการทานาแบบ เอส อาร์ ไอ
ก. การเตรียมที่นา
ในระบบ เอส อาร์ ไอ แนะนา ให้มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลักเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์
ของดิน ดังนั้น การไถนาทันทีที่เกี่ยวข้าวเสร็จจะดีที่สุด มันจะช่วยฆ่าแมลงและศัตรูพืชอื่น ๆ แม้
วัชพืช จะเติบโตแต่ก็จะถูกทาลายไปขณะทาให้ ดินเป็นโคลน
- อย่าปล่อยให้น้าท่วมนานอกฤดูกาลทานา ไม่เช่นนั้น ดินจะขาดอากาศ และแมลงศัตรูพืชที่
เป็นอันตรายจะเข้ามาอาศัย
การทาให้ดนิ เป็นโคลน
กาจัดวัชพืชอย่างระมัดระวังระหว่างการไถคราด
ถอนวัชพืชที่ไม่ตายออกทั้งรากให้หมดแปลง
จุดสาคัญ (ในการกาจัดวัชพืช)
ในการกาจัดวัชพืชครั้งแรกแต่เนิ่น ๆ ภายใน 10–15 วันหลังการปักดา นั้นสาคัญมาก
อย่าลืมปักต้นกล้าทดแทนต้นที่ตายหรือเสียหาย
ใช้นา้ ให้นอ้ ยทีส่ ดุ
เป็นการให้ออกซิเจนแก่รากต้นกล้า
ออกซิเจนกับราก
ต้นข้าวหายใจด้วยราก และออกซิเจนให้พลังงานแก่ต้นข้าว การให้ออกซิเจนแก่รากส่งผลดี
อย่างยิ่ง ต่อการเติบโตของต้นข้าว และจาเป็นต่อการเพิ่มผลผลิตให้อยู่ในอัตราสูง ซึ่งอาจจะสูงได้ถึง
1.28 ตันต่อไร่ หรือมากกว่านั้น
- ข้าวจะหายใจลาบากหากโดนน้าท่วม
- ต้นข้าวจะสลบเพราะขาดอากาศหายใจ
- รากจะไม่งอกเต็มที่
- จะเกิดกรดขณะที่ต้นข้าวย่อยอาหาร
- เนื้อเยื่อของรากจะกลายรูป (เปลี่ยนสภาพไป)
- ต้นข้าวต้องการให้น้าท่วมตื้น ๆ ก็ต่อเมื่อเริ่มออกรวง จนถึงระยะแรก ๆ ที่ข้าวเริ่มตั้งท้อง
การปรับปรุงคุณภาพดิน
• ปุ๋ยหมัก โดยทั่วไปการทา ปุ๋ยหมักมีขั้นตอนยุ่งยากและต้องพลิกกองปุ๋ยหมัก ปัจจุบันมีวิธีการทา
ปุ๋ยหมักโดยไม่ต้องพลิกกองปุ๋ยหมักแต่จะวางท่อนไม้ใผ่ไว้ในกองปุ๋ยหมักเป็นชั้นเพื่อช่วยในการระบาย
อากาศและความร้อนและควรเตรียมปุ๋ยหมักไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 - 3 เดือน
• ปุ๋ยพืชสด มีข้อดีคือไม่ต้องขนย้ายเหมือนปุ๋ยหมักเพียงหว่านเมล็ดพันธุ์ปุ๋ยพืชสดและเมื่อได้เวลาก็ทา
การไถกลบ ปุ๋ยพืชสดที่นิยมได้แก่ โสนอัฟริกา ใช้เมล็ดพันธุ์ 3 กก.ต่อไร่ และทาการไถกลบเมื่ออายุ
50 – 60 วัน ส่วนถั่วเขียวใช้เมล็ดพันธุ์ 7-8 กก.ต่อไร่และไถกลบเมื่ออายุ 40 – 45 วัน
• ปรับพื้นที่ให้เรียบและทา ร่องน้าที่ขอบคันนาเพื่อความสะดวกในการระบายน้าเข้า-ออก
• ปลูกพืชตระกูลถั่วหลังการทานาเพื่อเสริมรายรับและช่วยปรับปรุงดิน

จากประสบการณ์ทานาแบบ เอส อาร์ ไอ เน้นการใช้ปุ๋ยหมักเพราะปุ๋ยหมักมีส่วนประกอบ


ของธาตุอาหารหลายอย่างที่จาเป็นต่อการเจริญของพืช นอกจากจะได้รับจากซากพืชแล้วยัง
ได้รับจากซากสัตว์อีกด้วย

การไถกลบปุ๋ยพืชสดในช่วงที่ออกดอกหรือใกล้ออกดอกเพราะเป็นช่วงที่ปุ๋ยพืชสดได้มีการ
สะสมอาหารในตัวมากที่สุดและในช่วงที่ปุ๋ยพืชสดขึ้นควรระวังไม่ให้วัวควายเข้ามาในแปลงนา

การปรับทีน่ าและการทา ดินให้เป็นโคลน


สาหรับต้นกล้าอ่อน ๆ ไม่จาเป็นต้องให้โคลนลึกนัก ให้มีน้าน้อย ๆ
- โคลนไม่ควรเละเป็นน้า แต่ควรเหนียวข้น ไม่มีน้าขัง
- ที่นาควรราบเรียบสม่าเสมอ เพื่อให้น้าแผ่ไปถึงต้นกล้าได้ทุกต้น
- เริ่มทาให้ดินเป็นโคลนไปพร้อมกับเพาะต้นกล้า และทาไปเรื่อย ๆ ให้เสร็จตอนจะ ปักดาพอดี

ข. การเพาะกล้า
 ควรเพาะกล้าก่อนปลูก 8 –12 วัน
 การเตรียมแปลงกล้าให้ทา เหมือนแปลงผักให้มีการผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อให้ดนิ ร่วนซุย
เมื่อถอนกล้าไปปลูกรากข้าวจะได้การกระทบกระเทือนน้อย

ภาพแปลงเพาะกล้าขนาด 3 X 2 เมตร ซึง่ 1 แปลงเพาะเมล็ดได้ 250 - 300 กรัม ดังนั้นถ้ามี


พื้นที่ 1 ไร่ ใช้เมล็ด พันธุ์ข้าว 1 กิโลกรัมต้องเพาะในแปลงเพาะขนาดนี้ 4 แปลง
• แช่เมล็ดพันธุ์นาน 12-24 ชั่วโมงในน้าอุน่ 35-40 องศาเซลเซียสจะดีที่สุดหรือตามแบบที่เคยทามา
• หว่านเมล็ดพันธุ์ในโรงเพาะชา ให้หว่านไว้หลาย ๆ วัน เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีต้นกล้าอ่อนๆ มากพอที่
จะปลูกตลอดระยะเวลาของการปักดา
• โรงเพาะชา ควรจะเล็กและอยู่ใกล้แปลงที่จะปลูกข้าวมากที่สุด
• แปลงเพาะขนาด 2 X 3 ตารางเมตรใช้เมล็ด 250 - 300 กรัม ดังนั้นถ้ามีพื้นที่ 1 ไร่ ซึ่งต้องใช้
เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม จึงต้องใช้แปลงเพาะขนาดนี้ 4 แปลง หลังหว่านเมล็ดคลุมด้วยฟางหรือใบ
กระถินหรืออื่น ๆ ที่เหมาะสม
• อย่าให้น้าท่วมโรงเพาะชา แต่ให้มีความชื้นในดินเหมือนในโรงเพาะชาพันธุ์ผัก ทาทางระบายน้า
เล็ก ๆ เพื่อให้น้าไหลออก
• ในวันหนึ่ง ๆ ฝนควรจะตกอย่างเพียงพอ หากวันไหนฝนไม่ตก ให้รดน้าเช้าเย็น อย่ารดน้าขณะที่
แดดร้อนจัด
การเตรียมเมล็ดพันธุ์
• ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1 กิโลกรัมต่อไร่
• แช่เมล็ดพันธุ์ข้าวตามที่เคยทา มา หากมีปัญหาเรื่องบั่วขอแนะนา ให้แช่เมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยน้าสะเดา
• เมล็ดพันธุ์ 250-300 กรัม เพาะในพื้นที่ 6 ตารางเมตร 1 กิโลกรัมเพาะในพื้นที่ 24ตารางเมตร
ให้มีการรดน้าวันละครั้ง(หากฝนไม่ตก แต่ถ้าฝนตกต้องระบายน้าออกไปไม่ให้ขังอยูใ่ นแปลงนา)

ค. การขนย้ายกล้าออกจากแปลงเพาะชา อย่างระมัดระวัง
• ถอนต้นกล้าทีละ 2-3 ต้นเท่านั้น ให้ขนย้ายไปยังแปลงปลูกข้าวทันที แล้วปักดา ไม่เกินครึ่งชั่วโมง
หลังจากถอนต้นกล้า ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้รากต้นกล้าแห้ง
• ถอนต้นกล้าเบา ๆ ตรงโคนต้น ใช้เครื่องมือเล็ก ๆ เช่น เกรียง ขุดให้ลึกถึงใต้ราก ซึ่งจะเป็นการ
รบกวนต้นกล้าน้อยที่สุด
• คอยระวังอย่าให้ต้นกล้าหลุดออกจากเมล็ดพันธุ์ และให้มีดินเกาะรากไว้บ้าง
• ให้ถอนต้นกล้าและขนย้ายอย่างเบามือ อย่าให้ช้า อย่าล้างราก อย่าทิ้งไว้กลางแดด เท่านี้ยังไม่นับ
ว่าเน้นมากพอ เพราะต้นกล้าอ่อน ๆ เป็นสิ่งมีชีวิตที่บอบบางมาก หากต้นกล้าได้รับการ
สัมผัสเบา ๆ การเติบโตจะไม่ชะงัก และใบจะไม่เหลือง

จุดสาคัญ (ในการเพาะชา)
เพาะเมล็ดพันธุ์ไว้หลาย ๆ วัน
– อย่าสร้างโรงเพาะชาบนดินเค็ม หากที่นาเค็มให้ปักดา เมื่อต้นกล้ามีใบ 3-4 ใบ(15-17วัน)
– ให้โรงเพาะชา แห้งเกือบสนิท แต่ให้ดินชืน้ ไว้
– ถอนต้นกล้าเบาที่สุดเท่าทีจ่ ะทาได้
- อย่าลืมว่าต้องไม่ให้ต้นกล้าหลุดออกจากเมล็ดพันธุ์
ง. การดานาหรือปักดา ให้ตน้ กล้าอยูห่ า่ งกันพอสมควรและปักดาทีละต้น
• กล้าที่จะดา มีอายุประมาณ 8 – 12 วัน หรือ มีใบ 2 ใบ
• ในการปลูกให้ปลายรากอยู่ในแนวนอนอย่างสม่าเสมอ (ปลายรากจะชอนไชลงดินได้ง่ายและเป็น
การประหยัดพลังงานทา ให้ข้าวตั้งตัวได้เร็ว)
• ในการถอนมาแต่ละครั้งปลูกให้หมดภายใน 15-30 นาที เพื่อช่วยลดความเครียดให้กับต้นข้าว
• ปลูกในระยะห่างไม่น้อยกว่า 25 เซ็นติเมตรเท่า ๆ กัน
• ปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสเพื่อความสะดวกในการกาจัดวัชพืชระหว่างแถวและระหว่างต้น

ภาพ การปลูกข้าวแบบ เอส อาร์ ไอ


หลักการ : ปักดาต้นกล้าขณะที่เพิ่งแตกใบได้ 2 ใบ กล่าวคือ
- ระหว่าง 6 และ 11 วัน หลังจากแช่เมล็ดพันธุ์ในน้าอุ่น และอากาศชื้น
- ระหว่าง 7 และ 13 วัน หากที่นาสูงกว่าระดับน้าทะเล 500-1,000 เมตร
- ระหว่าง 8 และ 15 วัน หากที่นาสูงกว่าระดับน้าทะเล 1,000-1,500 เมตร
หากปักดา ต้นกล้านอกเหนือจากระยะเวลาที่กล่าวมานี้ ต้นข้าวที่จะงอกในแต่ละกอจะมีจานวนน้อย
เวลา 8-10 วัน เหมาะที่สุดในทุกสถานการณ์ แต่เกษตรกรควรทดลองดูว่า ควรใช้ระยะเวลาเท่าใด
จึงจะได้ผลผลิตมากที่สุดในสถานการณ์ของตน (เช่น หากสภาพ ดินเค็มขอแนะนา ให้ปักดา เมื่อ
ต้นกล้าแตกใบ 3-4 ใบ)

ง.1 ปักต้นกล้าทีละต้น
นี่คือกุญแจสาคัญ การปักต้นกล้าทีละหลายต้น จะทา ให้ต้นข้าวแย่งอาหารและแสงแดดกัน
ปักต้นกล้าแยกกัน ทีละต้น อย่าปักเป็นกา ๆ ทีละหลายต้น
ง.2 ปักต้นกล้าเป็นรูปตาราง (40 x 40 หรือ 33 x 33 หรือ 25 x 25 ตารางเซนติเมตร)
-ให้ต้นกล้าแต่ละต้นอยู่ห่างกัน เพื่อให้รากได้แผ่กว้างและได้รับแสงแดดมากขึ้น
- หาเชือกมาผูกปม ทุก 40 หรือ 33 หรือ 25 เซนติเมตร เพื่อบอกระยะ ขึงเชือกที่ผูกปมแล้ว
นี้ไว้ที่ด้านหนึ่งของแปลงข้าว
- ปักต้นกล้าลงตรงที่มีปมเชือก แรงงาน 1 คน ปักดา คนละ 2-4 เมตร
- เสร็จแล้วย้ายเชือกไปขึงขนานกับต้นกล้าแถวแรก และให้ห่างจากแถวแรก 40 หรือ 33
หรือ 25 เซนติเมตร แรงงานที่อยู่กลางกลุม่ ควรเป็นคนดูแลให้การปักกล้าเป็นแถวแนวไม่บิดเบี้ยว
ง.3 ข้อควรจา ในการปักดา เป็นรูปตาราง
1. เพื่อให้ปักดา ในแนวดิ่งได้เร็วขึ้น ให้ขึงเชือกที่ผูกปมแล้วอีกเส้น ให้ตั้งฉากกับเชือกเส้นแรกโดยขึง
ตรงกลางแปลงปลูกข้าว
2. การปักต้นกล้าให้ห่างกัน 40 x 40 เซนติเมตรจะเร็วกว่าปักห่างกัน 25 x 25 เซนติเมตร และ
เหมาะกับแปลงใหญ่ๆ นอกจากนั้น ยังง่ายต่อการกาจัดวัชพืช เน้นการประหยัดเมล็ดพันธุ์ ทาให้ข้าว
แตกกอใหญ่กว่า ซึ่งเป็นเป้าหมายและเป็นหลักฐานพิสูจน์ข้อได้เปรียบของการปลูกข้าวแบบมาลากาซี
3. การปักต้นกล้าเป็นรูปตาราง โดยมีช่องว่างกว้างและสม่าเสมอ ทาให้เกษตรกรกาจัดวัชพืชได้สอง
ทิศทาง คือเป็นมุมฉาก ตอนแรกขึ้นลงตามแนวตั้ง แล้วซ้ายขวาแนวนอน

ง.4 ปักดา อย่างเบามือ


- ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับโคนราก
- ปักต้นกล้าลงในโคลนเบา ๆ
- อย่าปักตรงลงไปแบบนี้ u แต่ให้ปักเฉียง ๆ แบบนี้ L
- ทั้งนี้ เพื่อให้รากงอกแผ่ไปตามแนวนอน ไม่งอกชี้ขึ้นข้างบน
- อย่าปักลึกเกินไป อย่าให้ลึกเกิน 1 – 2 เซนติเมตร
- เผื่อต้นกล้าไว้ปักที่ขอบแปลง เอาไว้แทนต้นกล้าที่อาจตายหรือเสียหาย
จุดสาคัญ (ในการปักดา )
อย่าปักลึกเกินไป
– ต้องไม่ลืมที่จะเผื่อต้นกล้าไว้ปักที่ขอบแปลง เอาไว้แทนต้นกล้าที่ตายหรือเสียหาย

จ. การควบคุมน้า ในแปลงนา
จ.1 การระบายน้า
การทา ให้นาแห้งต้องให้น้าสามารถออกจากนาได้
น้าที่ไหลเร็วจะเอาออกซิเจนออกไปมากกว่าน้าที่ค่อย ๆ ไหลออก หรือค่อย ๆ ลดลง
- ทาความสะอาดคูคลองระบายน้า ขุดเซาะออกให้กว้างขึ้น
- การวางท่อ หรือขุดคูรอบแปลงจะคุ้มค่าเพราะทา ให้น้าไหลออกง่ายขึ้น
จ.2 ใช้น้าให้น้อยที่สุด
- ขณะดานา ให้ใช้น้าแต่น้อย ให้มากพอที่จะทา ให้ดินเป็นโคลนเท่านั้น
- ขณะที่ข้าวแตกกอ ปล่อยให้แปลงข้าวแห้งลงไปในเนื้อดิน (ดูข้อต่อไป) ไม่ต้องกังวลเรื่องรอย
แตกบนผิวโคลน
- ให้น้าท่วมเฉพาะตอนที่ข้าวเริ่มออกรวง ปล่อยให้น้าท่วมตื้น ๆ จนถึงระยะที่ข้าวเริ่ม ตั้งท้อง
ให้น้าสูงเพียง 1-2 เซนติเมตร อย่าให้มากกว่านั้น อย่าให้น้าท่วมนาก่อนข้าวจะเริ่มออกรวง
- ทันทีที่ต้นข้าวเริ่มลู่ลงเพราะน้าหนักของเมล็ดข้าว ให้ปล่อยน้าออกจากนา จนกว่าจะแห้งและถึง
เวลาเก็บเกี่ยว
จ.3 การทานา ให้นาแห้ง (2-3 เดือนแรก)
เมื่อต้นกล้าเริ่มแตกหน่อ (เดือนแรก) ต้นข้าวต้องการเพียงความชื้น และการทา ให้แห้งก็มี
ผลดีต่อการเพิ่มผลผลิต ต่อไปนี้คือวิธีการพื้นฐาน 3 วิธี ที่ควรใช้ตามแต่สภาพภูมิอากาศและสภาพ
การระบายน้าออกจากนา
- เลื่อนเวลาการทดน้าเข้านา หลังจากปักดาแล้ว และระหว่าง 2 เดือนแรก อย่าเพิ่งทดน้าเข้า
นา ให้รดน้าก่อนการกาจัดวัชพืชเท่านั้น เพื่อให้ดินรักษาความชื้นไว้ได้ (ระหว่างนี้ดินควรจะค่อน
ข้างเปียก) วิธีนี้ดีที่สุดและง่ายมาก
- จัดการให้นาแห้งชั่วคราว ทุกสัปดาห์ หรือเมื่ออากาศอานวย ทาให้นาแห้งครั้งละ 2-6 วัน
- ให้ทดน้าเข้านาสูง 2 เซนติเมตร ทุกเช้า ทุกวัน อย่างสม่าเสมอ และปล่อยให้นาแห้งใน
ตอนบ่าย
ข้อควรจา ในการทาให้นาแห้ง
1. การจัดการน้าในรูปแบบนี้ช่วยลดการสูญเสียพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ซึ่งถูกผิวน้านิ่ง
ในนาสะท้อนออกไป ข้าวก็เช่นกันกับพืชอื่น ๆ ย่อมเติบโตอย่างรวดเร็วหากได้รับความอบอุ่นมากขึ้น
ดังนั้น หากนาข้าวไม่ถูกน้าท่วมจะดีกว่าจะได้อุ้มความอบอุ่นได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ได้ออกซิเจน
แก่รากมากขึ้นด้วย
2. นอกจากนั้น การประหยัดน้าก็เป็นสิ่งที่ดี และการใช้เวลานานในการทา ให้นาแห้งจะช่วยลดก๊าซ
มีเทนด้วย
3. ให้ระมัดระวัง หากนาข้าวเค็มหรือเป็นทราย
จุดสาคัญ (น้า)
การทา ให้นาแห้งนั้น ต้องให้แห้งลึกลงไปในดิน และมีรอยแตกบนผิวโคลน แต่อย่าลืมทดน้า
เข้านาทันทีที่ข้าวเริ่มออกรวง
ในช่วงที่ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ควรให้มีน้าขังในแปลงนาแต่มีการให้น้าโดยการปล่อยน้าเข้า
ออก ในบางครั้งควรปล่อยที่นาให้แห้งจนดินแตก การปล่อยให้ผืนนาแห้งเช่นนี้ช่วยให้ข้าวได้รับ
แสงแดดอย่างเพียงพอ เป็นผลให้ขบวนการสังเคราะห์แสงมีประสิทธิภาพสูงแต่เมื่อข้าวเริ่มออกรวงให้
ขังน้าไว้ในแปลงนา 1 – 2 เซนติเมตร และปล่อยน้าออกก่อนทาการเก็บเกี่ยว 20 วัน

ฉ. การดูแลรักษา
• การกาจัดวัชพืช เนื่องด้วยระบบ เอส อาร์ ไอ ใช้กล้าต้นอ่อนปลูกระยะห่างพอสมควรอีกทั้งไม่มี
การขังน้าในแปลงนาซึ่งสภาพที่นาเช่นนี้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของวัชพืช ดังนั้นควรมีการกาจัด
วัชพืชอย่างน้อย 3 ครั้ง เกษตรกรหลายคนใช้เครื่องทุ่นแรงในการกาจัดวัชพืช ที่ผลิตจากโรงงาน
หรือประดิษฐ์ขึ้นมา บางท่านถอนด้วยมือถ้าถอนด้วยมือ เมื่อถอนแล้วจะเหยียบฝังต้นวัชพืชลงใน
แปลงนาเพื่อเป็นปุ๋ยต่อไป
ตารางเวลาในการกาจัดวัชพืช
ครั้งที่ อายุข้าว (วัน)
1 10
2 25-30
3 55-60
4 แล้วแต่ความเหมาะสม

•ในการกาจัดวัชพืชต้องใช้เวลาและแรงงานมากพอสมควร แต่ในการกาจัดวัชพืชแต่ละครั้งช่วยให้ผล
ผลิตเพิ่มขึ้นในระดับที่คุ้มกับการลงทุน เพราะทาให้อากาศเข้าไปในดินได้มากซึ่งเป็นเหตุให้รากข้าว
ได้รับออกซิเจนโดยตรงมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว

ประโยชน์ในการกาจัดวัชพืช
แสดงประโยชน์ของการกาจัดวัชพืชโดยกล่าวถึงผลผลิตที่เกษตรกรในแอมบาโทวากี ซึ่งใช้
หลักการ เอส อาร์ ไอ (S.R.I.) ในฤดูกาล 1997– 1998 ได้รับ แล้วเปรียบเทียบผลผลิตกับจานวน
วัชพืชที่กาจัดออกไป ภายใต้เงื่อนไขการเจริญเติบโตในชุมชน (ซึ่งเป็นที่สูงและดินถ่ายเทน้าได้ดี) การ
จากัดวัชพืชมากกว่า 2 ครั้ง ให้ประโยชน์อย่างยิ่ง ทาให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 320 ต่อไร่ ต่อ
การกาจัดวัชพืชแต่ละครั้ง เกษตรกร 2 รายไม่กาจัดวัชพืชเลยได้ผลผลิต 960 กิโลกรัมต่อไร ขณะที่
เกษตรกร 8 ราย กาจัดวัชพืช 1 ครั้งเท่านั้น ได้ผลผลิต 1,232 กิโลกรัมต่อไรส่วนเกษตรกร อีก
27 ราย กาจัดวัชพืช 2 ครั้งได้ผลผลิตใกล้เคียงกันคือ 1,184 กิโลกรัมต่อไร่ แต่เกษตรกรจานวน
24 รายซึ่งกาจัดวัชพืช 3 ครั้งได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,456 กิโลกรัมต่อไร่ และเกษตรกร อีก 15 รายที่
กาจัดวัชพืช 4 ครั้งได้ผล 1,880 กิโลกรัมต่อไร่ ข้อมูลนี้เป็นเหตุผลใหเชื่อมัน่ ได้ว่าการกาจัดวัชพืช
มากครั้งเท่าที่กาหนดขั้นตา่ ไว้จะให้ผลผลิตดีกว่า

• การควบคุมและกาจัดศัตรูพชื
ปัญหาโรคและศัตรูพืชดูจะปรากฏน้อยในไร่นาที่ใช้ระบบ เอส อาร์ ไอ ( S.R.I.) อาจเป็น
เพราะการทาแปลงนาให้ชื้นน้อยลง เป็นที่รู้กันดีว่าต้นพืชที่แข็งแรงและสมบูรณ์กว่าสามารถต้านโรค
และศัตรูพืชได้ดีกว่า เกษตรกรที่ทานาแบบ เอส อาร์ ไอ มีวิธีการควบคุมป้องกันและกาจัดศัตรูและ
โรคพืชดังนี้
- แมลงและโรคบางชนิดใช้สารธรรมชาติเช่นสะเดาในการป้องกันและกาจัด
- ปูใช้เมล็ดมะขาม, ดอกทองกวาว, ยอดมันสาปะหลัง ,กับดัก
- หอยเชอรี่ใช้กับดักและสารซาโปนินที่มีในสมุนไพร
- การใช้น้าสกัดชีวภาพ
ภาพแสดงการกาจัดวัชพืชในนาข้าวด้วยเครื่องทุ่นแรงอย่างง่าย

• การใช้นา้ สกัดชีวภาพ
- น้าสกัดชีวภาพจากพืช(ผักบุ้ง,หน่อไม้,หยวกกล้วย,และพืชตระกูลถั่วอื่นๆที่มีการเจริญ
เติบโตเร็ว) ให้มีการฉีดพ่นช่วงที่ข้าวเจริญเติบโต
- น้าสกัดชีวภาพจากผลไม้(กล้วย,ฟักทอง,มะละกอ,ฯลฯ)ให้มีการฉีดพ่นช่วงข้าวท้องและเป็นรวง
- น้าสกัดชีวภาพจากปลาพ่นเพื่อช่ายเพิ่มธาตุไนโตรเจนในช่วงที่ข้าวเจริญเติบโต
• การจัดการหลังออกรวง
เอส อาร์ ไอ ( S.R.I.) เน้นความพยายามให้ต้นพืชเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและกระตุ้นให้ราก
และหน่อ งอกจานวนมาก ๆ ในระหว่างการเจริญเติบโต เราจะมาดูกันว่า ควรจะจัดการอย่างไรกับ
ต้นข้าว ระหว่างสัปดาห์และเดือนต่อๆ มา กลยุทธการจัดการน้าควรเปลี่ยนทันทีเมื่อดอกเริ่มออก
โดยคงระดับน้า ในแปลงนา (ประมาณ 2 เซ็นติเมตร)

• การใช้แรงงาน
เหตุผลประการหนึ่งที่เกษตรกรปฏิเสธไม่ใช้หลักการ เอส อาร์ ไอ ( S.R.I.) ก็คือ ต้องใช้
แรงงานมาก นี่เป็นเรื่องจริงในแง่ที่ว่าการเพิ่มผลผลิตข้าวต้องอาศัยงานที่ต้องทา และความพยายามใน
การจัดการที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการแรงงานที่เพิ่มขึ้นสาหรับวิธีการ เอส อาร์ ไอ
( S.R.I.) ไม่ได้หมายความว่าจะต้องลงทุนจ้างคนงานเพิ่มขึ้น ในอีกแง่หนึ่ง เกษตรกรจะพบว่าวิธีการ
เอส อาร์ ไอ ( S.R.I.) ใช้แรงงานน้อยกว่า
1. แรงงานที่เพิ่มขึ้นบางส่วนสาหรับวิธีการ เอส อาร์ ไอ ( S.R.I.) ก็เพื่อใช้ในการเรียนรู้ ซึ่งเป็น
การลงทุนที่น่าจะได้ผลตอบแทนคืนในฤดูแรก
2. ผลการศึกษาพบว่า ต้องใช้แรงงานทางานเพิ่มขึ้น 2 ใน 3 ส่วน ของเวลาปกติในปีแรกและปีที่
สอง แต่ เมื่อ เกษตรกรเริ่ ม คุ้น เคยกั บวิ ธีการแล้ ว ก็จ ะรู้สึก ผ่อ นคลายกั บ วิธีก ารเหล่า นั้ น
(โดยเฉพาะ การย้ายปลูก) ความต้องการแรงงานก็จะลดลง หนึ่งในสามส่วน
3. ข้อแตกต่างที่เด่นชัดในแง่ของการใช้แรงงานตามวิธีของ เอส อาร์ ไอ ( S.R.I.)กับวิธีปลูกข้าวแบบ
ที่ใช้อยู่ทั่วไปคือ ต้องใช้แรงงานอย่างหนักเพื่อการเก็บเกี่ยว แต่ก็ไม่มีเกษตรกรคนใดบ่นว่ามี
ผลผลิตข้าวที่ต้องขนจากนามาสีหลายรอบเหลือเกิน เพราะนั่นหมายความว่า ครอบครัวจะมีรายได้
เพิ่มมากขึ้นจากแรงงานที่ลงทุนไป
4. หากเกษตรกรมีกิจธุระอื่นต้องทา จนแรงงานไม่เพียงพอที่จะใช้เพื่อ เอส อาร์ ไอ ( S.R.I.) ก็ยัง
คงคุ้มค่าที่จะจ้างแรงงานภายนอกมาช่วย

บทสรุป
1. นายเดอ โลลานีเป็นผู้พัฒนาวิธี เอส อาร์ ไอ ( S.R.I.)ร่วมกับเกษตรกร เพื่อนและนักศึกษา
วัตถุประสงค์ เพื่อปรับคุณภาพและความมัน่ คงของชีวิตของประชาชนใน มาดากัสการ์ซึ่งเลี้ยงชีพจาก
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ประชาชนอื่นๆก็จะได้ประโยชน์ด้วยหากผลผลิตข้าวมีมากและราคาถูกลง
2. ขั้นตอนสาคัญที่จะทา ให้วิธี เอส อาร์ ไอ ( S.R.I.)สาเร็จคือ เกษตรกรต้องไตร่ตรองถึงการ
ปลูกข้าวด้วยวิธีใหม่ที่ต่างออกไป แม้ว่าความเข้าใจและวิธีการปลูกข้าวแบบเดิมได้ช่วยเลี้ยงประชาชน
นับพันล้านคนมานานนับศตวรรษ แต่ด้วยวิธีการจัดการแบบใหม่เกษตรกรสามารถได้รับผลผลิต
จานวนมากขึ้น คือจากทุกเมล็ดที่หว่านลงไป โดยปฏิบัติตามวิธีอย่างระมัดระวังและจัดเตรียมสภาพ
การปลูกที่ดีกว่า
3. ปัจจุบัน ยังคงมีการทดลองต่อไปเพื่อปรับปรุงวิธี เอส อาร์ ไอ ( S.R.I.)สา หรับการปลูกบนที่
สูงซึ่งไม่มีระบบชลประทาน การทดลองทีซ่ าฮามีนา พบว่าแต่ละเมล็ดให้ผลผลิตมากขึน้ 16 เท่าเมื่อ
เทียบกับแบบไร่เลื่อนลอยที่เผาแล้วย้ายทีป่ ลูกไปเรื่อยๆ ซึ่งปฏิบัติกันโดยทั่วไป ในระหว่างฤดูกาล ค.ศ.
1997-98 มีการทดลองปรับปรุงวิธีปลูกแบบ เอส อาร์ ไอ ( S.R.I.)บนที่สูง โดยใช้ปุ๋ยคอกแทน
การใช้ไฟเผา และปลูกในระยะห่าง 30 x 30 ซ.ม.ต่อเมล็ด และใช้พืชตระกูลถั่ว(ต้นเทโฟรเซีย และ
โครเทลาเรีย)ที่ตัดมาถมดิน เพื่อกันวัชพืชขึน้ ปรากฏว่าได้ผลผลิต 0.64ตัน ต่อไร่ เราคิดว่าวิธีนี้อาจ
เป็นประโยชน์ต่อการปลูกพืชอื่นๆได้ด้วย
สรุป
1. เลิกปักดา ในแปลงที่ถูกน้าท่วมนานเกินไป (ที่ดีที่สุดคือปักดา ก่อนที่กล้าจะครบ 4 ใบ
ไม่เช่นนั้นข้าวจะไม่ค่อยแตกกอ
2. ขณะถอนกล้า อย่าล้างรากต้นกล้า (รากจะแห้ง ปล่อยให้ดินเกาะรากไว้ดีกว่า)
3. ขณะถอนกล้า อย่าฟาดต้นกล้า (ทาอย่างนี้ก็เหมือนกับฟาดหัวเด็ก)
4. เมื่อถอนกล้าแล้วให้รีบปลูก อย่าทิ้งไว้ถึง 24 ชั่วโมง, 48 ชั่วโมง หรือแม้แต่ 3 วัน (กล้าจะ
เหลืองและเฉา ให้ปักดาภายใน 30 นาทีหลังจากถอนกล้าจะดีกว่า นี่อาจจะเป็นจุดสาคัญที่สุดก็ได้)
5. อย่าปักต้นกล้าลึกเกินไป (หากปักลึกเกิน 2 เซนติเมตร กล้าจะจาเป็นต้องสลัดรากของมันออก
แล้วงอกใหม่ขึ้นข้างบน และการเติบโตของต้นกล้าก็จะช้าไปอีก 2-3 สัปดาห์)
6. อย่าปักต้นกล้ากาละ 3-8 ต้น ( ต้นเดียว ก็พอแล้ว และดีกว่าด้วย หากปักเป็นกา ๆ ต้นกล้าจะ
แย่งอาหารและแสงสว่างกัน)
7. อย่ากาจัดวัชพืชด้วยมือ หรือถึงกับไม่กาจัดวัชพืช (ให้ใช้เครื่องกาจัดวัชพืชที่ใช้ด้วยมือ ซึ่งมี
ประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากนั้น ยังให้ออกซิเจนแก่ดินและราก และทาให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
อีก 160 กก. ต่อ ไร่ด้วย)
8. อย่าทดน้าเข้านาขณะที่ข้าวกาลังแตกกอ (รากและดินจะขาดออกซิเจนอย่างหนักให้ขยันจัดการ
เรื่องน้า และปล่อยให้ดินแห้งลงไปลึก ๆ ระหว่างที่ข้าวกาลังแตกกอ)
ผลิตให้มากขึ้นด้วยทรัพยากรที่น้อยลง : หนทางใหม่ในการเพาะปลูกข้าว
Achieving More with Less : A new way of rice cultivation

ดร. นอร์แมน อัพฮอฟฟ์ ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์และการพัฒนาชนบท ดารงตาแหน่งผู้อานวย


การสถาบันอาหาร เกษตรกรรมและการพัฒนานานาชาติของคอร์แนล (CIIFAD) ซึ่งเป็นสถาบัน
วิจัยที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาความอดอยากและการพัฒนาชนบททั่วโลก ได้กล่าวเกี่ยวกับระบบการเพิ่ม
ผลผลิตข้าวว่า เป็น ระบบการปลูกข้าวที่ใช้น้าน้อยกว่าปกติครึ่งหนึ่งแต่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว
โดยไม่ต้องพึ่งปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงหรือเมล็ดพันธุ์ข้าวจีเอ็มโอ และนี่อาจเป็นการปฏิวัติครั้งสาคัญของ
โลก เป็นการปฎิวัติระบบการผลิตข้าวที่มีเครือข่ายของชาวนาชาวไร่เป็นกาลังขับเคลื่อนสาคัญ

หนึ่งในวิก ฤติการณ์ โลกที่มีก ารถกเถี ยงกันมากคือปัญหาความมั่น คงด้านอาหาร (Food


security) เนื่องจากจานวนประชากรมนุษย์ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะที่พื้นที่เพาะปลูก
สาคัญหลายแห่งของโลกประสบกับภัยธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงจนทาให้ผลผลิต
ลดลงและเกิดภาวะขาดแคลนอาหารในหลายภูมิภาค บางประเทศเกิดความวุ่นวายถึงขั้นจลาจล การ
เพิ่มผลผลิตด้านการเกษตรจึงเป็นความท้าทายที่สุดอย่างหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ด้านการเกษตร แต่
ทั้งนี้ที่ผ่านมานับตั้งแต่การปฎิวัติเขียว (Green Revolution) มาตรการในการเพิ่มผลผลิตมัก
เน้นแต่เฉพาะด้านการพัฒนาสายพันธุ์ และมุ่งให้เกษตรกรพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอกโดยเฉพาะ
ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง รวมทั้งระบบชลประทาน ซึ่งแม้จะสามารถเพิ่มผลผลิตได้มหาศาลก็จริงแต่
ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆตามมามากมาย และก็ไม่ได้ทาให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร
รายย่อยส่วนใหญ่ดีขึ้นเท่าใดนัก
การปฏิ วั ติ ร ะบบการผลิ ต ข้ า วที่ ด ร.นอร์ แ มนพู ด ถึ ง คื อ ระบบการเพิ่ ม ผลผลิ ต ข้ า ว หรื อ
System of Rice Intensification (S.R.I.) ซึ่งเป็นระบบการปลูกข้าวที่ได้รับการพัฒนาขึ้น
ครั้งแรกโดยนักพัฒนาชุมชน และกลุ่มเกษตรกรในประเทศมาดากัสการ์ ดร.นอร์แมนเชื่อว่าระบบ
การปลู ก ข้ า วแบบนี้ จ ะสามารถเพิ่ ม ผลผลิ ต ข้ า วซึ่ ง เป็ น อาหารหลั ก ของคนกว่ า ครึ่ ง โลกได้อ ย่ า งมี
ประสิทธิภาพและช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกรได้ด้วย เขาเป็นหนึ่งในนักวิชาการที่เป็นหัว
เรี่ยวหัวแรงสาคัญในการส่งเสริมระบบการเพิ่มผลผลิตข้าวดังกล่าวให้เป็นที่รู้จักและมีการนาไปทดลอง
ปฎิบัติไปทั่วโลกโดยเฉพาะในหมู่เกษตรกรรายย่อยที่มีฐานะยากจน
ดร.นอร์แมนสรุปหลักการ S.R.I. ให้ฟังว่า “ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าวแบบนี้ถูกพัฒนาขึ้นมา
จากวิธีการทานาแบบดั้งเดิมที่ตกทอดกันมาหลายชั่วคน แต่เป็นระบบการปลูกข้าวที่ใช้น้าน้อยและ
สามารถเพิ่มผลผลิตได้โดยไม่ต้องพึ่งเทคโนโลยีขั้นสูง หัวใจสาคัญของ S.R.I. อยู่ที่การเข้าใจถึง
ศักยภาพโดยธรรมชาติของต้นข้าวแต่ละต้น ระบบนี้จึงปฎิรูปการจัดการต้นกล้าและสภาพแวดล้อม
เพื่อพัฒนาระบบรากของต้นข้าวให้แข็งแรงและเสริ มสร้ างภูมิคุ้ม กันตามธรรมชาติ เมื่ อจัดการ
สภาพแวดล้อมทุกอย่างได้ลงตัว ผลสาเร็จที่เห็นได้ชัดๆคือผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าและยังลดการ
ใช้น้าและปุ๋ยลงได้เกือบครึ่งหนึ่ง”
ข้อแตกต่างที่สาคัญของวิธีนี้ก็คือการย้ายต้นกล้าตั้งแต่ยังเล็กมากๆและใช้ต้นกล้าแค่หลุมละต้น
โดยปลูกอย่างทะนุถนอมห่างๆกันแทนที่จะปักหลุมละหลายๆต้นตามวิธีการเดิมๆ ส่วนน้าในนาก็ไม่
ใช้การท่วมขังแต่แค่รักษาให้มีความชุ่มชื้นตลอด ปรากฎว่าผลผลิตโดยเฉลี่ยของแปลงทดลองอยู่ที่ไร่ละ
1.28 ตัน “ผลที่ออกมาน่าประทับใจมากครับ นาข้าวทดลองให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นถึงสี่เท่า ประหยัดน้า
ไปได้กว่าครึ่ง และใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวแค่ประมาณหนึ่งในสิบจากที่เคยใช้ ”
นอร์แมนพบว่าจุดเด่นที่สาคัญของระบบการปลูกข้าวแบบ S.R.I. คือต้นข้าวจะมีระบบรากที่
แข็งแรงและใหญ่โตกว่าวิธีปกติแบบมาก การย้ายต้นกล้าตั้งแต่ยังเล็กและปลูกอย่างทะนุถนอมทาให้
รากต้นข้าวไม่ช้า การปลูกเพียงหลุมละต้นและเว้นระยะห่างกันก็ทาให้ต้นกล้าสามารถรับแสงแดดและ
เติบโตได้เต็มที่โดยไม่ต้องแย่งกันเอง เป็นหลักการเดียวกับเกษตรกรรมธรรมชาติที่นอกจากจะเน้น
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของพืชนั้นๆแล้ว ยังต้องสร้างสภาพแวดล้อมทั้งดิน น้า แร่ธาตุ
หมุนเวียนให้สมดุล เมื่อรากสมบูรณ์ต้นข้าวก็มีขนาดใหญ่ขึ้น มีรวงมากขึ้นและให้ผลผลิตมากขึ้น
นอกจากนี้คุณภาพของดินก็ดีขึ้นเพราะวิธีการดังกล่าวเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และการไถกลบเพื่อกาจัด
วัชพืชและช่วยให้ดินมีการระบายอากาศดีขึ้น
อุปสรรคสาคัญของวิธี S.R.I.
1. “มันฟังดูดีเกินไป” จนหลายคนไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ นักวิทยาศาสตร์การเกษตรหลายต่อ
หลายคนก็คิดอย่างนั้นจึงไม่คิดที่จะนาไปทดลองอย่างจริงจัง
2. แรงต้านจากนักวิชาการด้านข้าวบางกลุ่มโดยเฉพาะจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ(IRRI)
ซึ่งเป็นหัวหอกของการปฏิวัติเขียวหรือการเพิ่มผลผลิตด้วยการพัฒนาสายพันธุ์ข้าว
3. เป็นเรื่องไม่ง่ายที่จะเปลี่ยนเทคนิคการปลูกข้าวที่มีมาอย่างยาวนานจนกลายเป็นธรรมเนียม
ปฏิบัติ เช่นการใช้น้าท่วมนาเพื่อป้องกันวัชพืช การใช้เมล็ดพันธุ์ทานาน้าตมไร่ละ 25 – 30 กก.
ดร.นอร์แมนเองก็รู้สึกเคลือบแคลงไม่แตกต่างจากนักวิชาการคนอื่นๆในทีแรก แต่จากการที่
เขาได้ศึกษา เขารู้สึกว่าวิธีการดังกล่าวสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการเกษตรเชิงนิเวศ
(Agro-ecological approach) นั่นคือเมื่อพืชได้ใช้ศักยภาพที่มีอ ยู่ใ นตัว ให้เต็มที่ก็ย่อ มให้
ผลผลิตที่สูง ขึ้น วิธีการดังกล่าวยังประยุกต์เอาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดินและน้ามาใช้ในการ
จัดการการเกษตรอย่างเหมาะสม จากประสบการณ์และข้อมูลที่มีการทดสอบมากขึ้นเรื่อยๆในหลายๆ
พื้นที่ทั่วโลกทาให้เชื่อมั่นกับวิธีดังกล่าว
“ผมคิดว่าวิธีการนี้จะช่วยแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมได้อีกด้วย เพราะชาวนาชาวไร่ที่มีที่นา
ขนาดเล็กจะได้ประโยชน์สูงสุดจาก S.R.I. ระบบนี้ช่วยให้พวกเขาได้ผลผลิตสูงสุดจากพื้นที่เพาะปลูกที่
มีจากัด และยังลดการใช้น้าซึ่งในหลายพื้นที่เป็นทรัพยากรที่ขาดแคลน ลดรายจ่ายจากค่าเมล็ดพันธุ์
และค่าปุ๋ย”
“ไม่มีสูตรสาเร็จตายตัวสาหรับ S.R.I. เพราะแม้พื้นที่ต่างๆจะใช้หลักการเดียวกัน แต่ชาวนา
ยังต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดินและระบบนิเวศธรรมชาติในแต่ละท้องที่มาปรับปรุงใน
รายละเอียดจึงจะประสบผลสาเร็จสูงสุด จะว่าไปแล้วการทดลองเพื่อพัฒนาเทคนิคที่เหมาะสมจาก
การปฏิบัติในแต่ละพื้นที่นี่เอง ที่เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ช่วยให้ชุมชนเข้มแข็ง มีการสร้างเครือข่ายที่
ทาให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ การขยายตัวของขบวนการ S.R.I. เริ่มต้นจากกลุ่มคนรากหญ้า
เหล่านี้”
นอร์แมนเชื่อว่าเกษตรกรรากหญ้าและหน่วยงานที่นาหลักการนี้ไปทดลองปฏิบัติจะเพิ่มจานวน
ขึ้นอีกหลายเท่าตัวในอนาคต และหลักฐานจากภาคสนามจะเป็นบทพิสูจน์ข้อกังขาต่างๆได้เอง เขา
เสริมว่าวิธีการนี้ไม่ได้จากัดเฉพาะสาหรับเกษตรกรรายย่อยขนาดเล็กหรือเฉพาะการปลูกข้าวเท่านั้น
แต่ยังสามารถปรับใช้กับระบบการผลิตขนาดใหญ่และพืชผักชนิดอื่นๆได้ด้วย ผลการทดลองเบื้องต้น
ในรัฐโอริสสาของอินเดียพบว่าเกษตรกรที่นาเทคนิคการจัดการน้าแบบ S.R.I ไปประยุกต์ใช้ในการ
ปลูกผักสามารถเพิ่มผลผลิตในระดับที่น่าพอใจ
นอร์แมนบอกว่าสิ่งที่เขาอยากเห็น จากหลักการ S.R.I. ก็คือการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ทาลายสิ่งแวดล้อม เขายังเชื่อว่าระบบการปลูกข้าวที่เน้นการผสมผสานภูมิ
ปัญญาท้องถิ่นและความรู้ทางด้านนิเวศวิทยาแบบนี้จะช่วยให้เกษตรกรรับมือกับการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิ อากาศได้ดีขึ้นโดยเฉพาะในบริเวณที่อาจต้ องประสบกับภัยแล้งยาวนานและบ่ อยครั้งขึ้ น
นอกจากนี้ระบบการปลูกข้าวที่ไม่ใช้น้าขังยังจะช่ วยลดการผลิตก๊าซมีเ ทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก
สาคัญอีกตัวหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน
ดร.นอร์แมนในวัยใกล้ 70 ยังคงตั้งหน้าตั้งตาทางานอย่างแข็งขันและออกเดินทางเยี่ยมเยียน
เครือข่าวชาวนา S.R.I.อย่างสม่าเสมอ แม้จะทางานหนักแต่นอร์แมนยังอารมณ์ดี มีแววตาและรอยยิ้ม
ที่เหมือนเด็กๆ ก่อนจากกันเขาทิ้งท้ายว่า "ที่สุดแล้วการปฏิวัติขา้ วอาจจะไม่ได้แก้ปัญหาทุกอย่างในโลก
แต่ถ้าเราสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร และปรับปรุงความเป็นอยู่ของชาวนาชาวไร่ให้ดีขึ้นได้
ผมว่าโลกนี้ก็ยังพอมีความหวัง”
ขัน้ ตอนการเพาะกล้าการทานาแบบต้นเดีย่ ว โดย อ.เชาว์วชั หนูทอง
จากประสบการณ์เกือบ 10 ปี ในการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เป็นที่ปรึกษา
กรมพัฒนาที่ดินด้านเกษตรอินทรีย์และการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และกว่า 3 ปี ที่ได้ส่งเสริมระบบการ
ทานาโยนกล้า จนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วประเทศ จนได้รับฉายาว่าเป็น “วิศวกรชาวนา”

ในปลายปี พ.ศ. 2554 ได้เกิดมหาอุทกภัย น้าท่วมใหญ่ใน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี วันหนึ่งได้


สังเกตข้าวขึ้นมาเองต้นเล็กๆ หนึ่งต้น ในกระถางที่ปล่อยทิ้งไว้ และข้าวต้นนั้นได้แตกกอ ออกรวง ถึง
185 รวงและได้เก็บเกี่ยวได้น้าหนักประมาณ 1 กิโลกรัม ซึ่งถ้าคานวณเชิงวิศวกร ก็จะพบว่า ในพื้นที่
1 ไร่ หรือ 1600 ตารางเมตร เมื่อปลูกห่างเป็นระยะ 0.50 x 0.50 เมตร จะใช้พันธุ์ข้าวจานวน
เพียง 6400 เมล็ด หรือ ประมาณ 0.2 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ทาให้ได้ผลผลิตถึงประมาณ 6 ตันต่อไร่
ซึ่งเมื่อคานวณเชิงทฤษฎีแล้ว มีความเป็นไปได้ ก็เชื่อว่าในทางปฏิบัติก็ย่อมมีความเป็นไปได้ หรืออย่าง
น้อย ได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ จากทฤษฎี ก็จะทาให้ได้ผลผลิตประมาณ 3 ตันต่อไร่ จึงได้
เริ่มทาการทดลองปลูกข้าวในระบบต้นเดียวมาอีกหลายรุ่น ก็ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ

จากการวิเคราะห์ดินในกระถางซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.50 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 5


ตารางเมตร เป็นแปลงใช้ขยายพันธุ์แหนแดงและคัดพันธุ์ข้าว พบว่าดินมีอินทรียวัตถุ 8 เปอร์เซ็นต์ มี
ธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โพแทสเซียม เท่ากับ 0.3 : 1.8 : 0.5 สาเหตุที่ดินมี
ฟอสฟอรัสสูงนั้น เนื่องจากในการเลี้ยงขยายแหนแดง ต้องใช้แหล่งฟอสฟอรั สเป็นอาหารของแหนแดง
เช่น มูลค้างคาว มูลหมู กระดูกป่น และร็อคฟอสเฟต ซึ่งพอจะประมาณได้ว่า ฟอสฟอรัส มีผลทาให้
ข้าวแตกกอได้เป็นจานวนมาก
รุน่ ที่ 2 ทดลองปลูกห่าง 50 X 50 ซม. ไร่ละ 6400 ต้น ใช้พนั ธุข์ า้ ว 0.2 กก./ ไร่

ปลูกแบบต้นเดียว (S.R.I) ให้ผลไม่แตกต่างจากเดิมนัก

ขั้นตอนการปลูกข้าวต้นเดียวแบบประยุกต์

1. โรยดินเหนียวบดละเอียดรองก้นหลุมประมาณครึ่งหลุม แล้วหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวหลุมละ 1 เมล็ด


ลงในถาดนาโยนกล้า (434 หลุมต่อถาด) ถ้าระยะห่างการปลูก 0.5x0.5ม. ใช้ 15 ถาดต่อไร่
2. โรยดินเหนียวบดละเอียดปิดทับหน้าจนเต็มหลุม ปาดดินให้เสมอขอบปากหลุม แล้วจึงนาถาดไป
วางเรียงบนพื้นที่โล่ง ลาดเอียงเล็กน้อยหรือเป็นเนินหลังเต่า น้าไม่ขัง ใช้ตาข่ายพลาสติก (สแลนท์)
คลุมไว้ 5-6 วัน รดน้าวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

3. หลังเอาสแลนท์ออก ค่อยๆ รดน้าต่ออีก 4 – 5 วัน หรืออายุข้าว 8 – 12 วัน นาเอากล้าข้าวไป


ปลูกได้ โดยยกถาดพร้อมต้นกล้าไปแปลงนาและดึงต้นกล้าออกมาปักดาทันที
4. ย้ายต้นกล้าอ่อนเมื่ออายุ 8-12 วัน หรือมีใบเล็กๆ2-3ใบแทงออกจากเมล็ดข้าว หากปลูกกล้าต้น
ที่แก่กว่า หรืออายุราว 3-6 สัปดาห์ ศักยภาพในการแตกหน่อจะลดลง

5. ใช้เชือกขึงทาแนว โดยแต่ละแนวห่างกัน 0.50 , 0.40 หรือ 0.30 ม. และทาปุ่มเครื่องหมายตาม


แนวเชือก ให้ห่างเท่ากับระยะห่างระหว่างแนว เมื่อปักดาแล้วจะทาให้ ระยะห่างต้นข้าวเป็นรูปสี่เหลี่ยม
จตุรัส
6. ปลูกทีละต้น อย่างทะนุถนอม โดยดาให้ลึก 1 – 2 ซม. เมื่อปลูกกล้าหลายๆต้นขึ้นร่วมกัน ราก
แต่ละต้นจะทางานแข่งกัน ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกันกับเมื่อต้นข้าวอยู่ใกล้วัชพืชซึ่งจะเกิดการแย่งอาหาร
น้า และแสงแดด

7. เจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัดลพบุรี ร่วมกันปลูก ร่วมกันพิสูจน์ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2555


8. ดานาข้าวต้นเดียว ครั้งแรกในชีวิต ทุกคนสู้ ๆ ๆ

9. ใช้กล้าข้าวต้นเดียว อายุ 8 – 12 วัน หรือมีใบเล็กๆ 2 – 3 ใบ

10. เทคนิคการใช้น้าควบคุมวัชพืชโดยเริ่มเติมน้าสูง 5 ซม. หลังปักดา3 – 4 วัน นาน 20–25 วัน


11. ในแปลงนาที่ใช้เทคนิคน้าน้อย มีวัชพืชขึ้น ใช้ Rotary Weeder กาจัดหญ้าในร่องข้าวและยัง
ช่วยพรวนดินให้ข้าวอีกด้วย

12. ใช้แหนแดงปล่อยในนาข้าวหลังปลูก 10–15 วัน อัตรา 10–20 กก.ต่อไร่ ใช้เวลา10-15 วันจะ


ขยายตัวเต็มพื้นที่ จะช่วยคลุมวัชพืช เป็นปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยชีวภาพ(สาหร่ายเขียวแกมน้าเงิน)
13. แหนแดงช่วยรักษาความชุ่มชื้น ยามฝนทิ้งช่วง ย่อยสลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ (พืชสด) ที่ปลูกพร้อม
ข้าวได้ เป็นอาหารปลา, เป็ด และการใช้เทคนิคเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในนาข้าว จะช่วยกาจัดหอยเชอรี่

14. การใช้เทคนิค เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว ทาให้รากข้าวได้รับออกซิ เจน แตกกอดีขึ้น และยังช่วย


แก้ปัญหานาหล่มได้ดีอีกด้วย

You might also like