สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดกระชายเหลือง

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 8

สาขาอุตสาหกรรมเกษตร การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56

สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารประกอบฟนอลิกของกระชายเหลืองดวยเอนไซมเพกติเนส
Optimal Condition for Phenolic Extraction from Fingerroot (Boesenbergia pandurata)
Using Pectinase Enzyme

ชัญญา บางโชคดี1* สุคันธรส ธาดากิตติสาร2 และ หทัยรัตน ริมคีรี1


Chanya Bangchokdee1*, Sukuntaros Tadakittisarn2 and Hatairat Rimkeeree1

บทคัดยอ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดฟนอลิกจากกระชายเหลืองดวยเอนไซม
เพกติเนส โดยใชวิธีประเมินพื้นผิวตอบสนอง พบวาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดกระชายเหลืองปริมาณ 4 g
ดวย เอทานอลที่ความเขมขน 40 % (w/v) ปริมาตร 300 mL ความเขมขนเอนไซมเพกติเนส 1% (w/v) ปริมาตร
40 µL เป น เวลา 85 min ได ป ริ ม าณสารประกอบฟ น อลิ ก 13.24 mg GAE/g DW มี ค า การต า นอนุ มู ล อิ ส ระ
(DPPH = 4.40 mg Trolox/g และ FRAP = 23.54 µmol Fe2+/g) สารสกั ด แห ง ของผงกระชาย ประกอบด ว ย
cardamonin 1.62 µg/mg pinocembrin 21.05 µg/mg pinostrobin 58.16 µg/mg 4-hydroxypanduratin A
0.55 µg /mg และ panduratin A 15.61 µg /mg ภายใต ส ภาวะเหลานี้สามารถสกั ดสารประกอบฟนอลิกได
13.24 mg GAE/g DW ซึ่ ง ได ใ กล เคี ย งกั บ ค าทํ า นายคื อ 13.94 mg GAE/g DW โมเดลนี้ ไ ด รั บ การตรวจสอบ
ภายใตสภาวะเหมาะสมเหลานี้

ABSTRACT
The aim of this research was to find optimal condition for phenolic extraction from fingerroot
using enzyme by Response Surface Methodology. The optimal condition of extraction was 300 mL of
40% (w/v) ethanol 40 µL of 1% (w/v) pectinase enzyme for 85 minutes. This condition gave amount of
phenolic content 13.24 mg GAE/g DW and showed antioxidant activities (DPPH=4.40 mg Trolox/g and
FRAP=23.54 µmol Fe2 + / g). HPLC showed that fingerroot extract had cardamonin 1.62 µg/mg
pinocembrin 21.05 µg/mg pinostrobin 58.16 µg/mg 4-hydroxypanduratin A 0.55 µg /mg and panduratin
A 15.61 µg /mg. Under these conditions, 13.24 mg GAE/g of total phenolic compounds were extracted
which was very close to the predicted value of 13.94 mg GAE/g. The model was validated at these
optimal points.

Key Words: fingerroot, phenolic compound, antioxidant, response surface methodology (RSM), optimization
*
Corresponding author; e-mail address: thatssochanya@gmail.com
1
ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร กรุงเทพฯ 10900
1
Department of Product Development, Faculty of Agro-Industry, Kasetsart University, Bangkok, 10900
2
สถาบันคนควาและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร กรุงเทพฯ 10900
2
Kasetsart Agricultural and Agro-Industrial Product Improvement Institute, Kasetsart University, Bangkok, 10900
696
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56 สาขาอุตสาหกรรมเกษตร

คํานํา
กระชายเหลืองจัดเปนพืชในวงศ Zingiberaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตรคือ Boesenbergia pandurata
(วิทย, 2539) เปนพืชลมลุกมีลําตนใตดินเรียกวาเหงา (rhizome) เนื้อในเหงาและรากมีสีเหลืองมีกลิ่นเฉพาะตัวที่
เปนเอกลักษณจัดเปนพืชสมุนไพรที่มีคุณประโยชนทางยามีคุณคาทางอาหารในประเทศไทยมีการเพาะปลูก
กระชายเหลืองกันอยางแพรหลายและยังเปนพืชเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศใหผลผลิตปริมาณมากในการเก็บ
เกี่ยวผลผลิตแตละครั้ง มีราคาไมแพง ปจจุบันจึงเริ่มมีความนิยมในการนํากระชายเหลืองมาเปนสวนประกอบ
ของอาหารทําเปน เครื่อ งดื่ มและยารัก ษาโรคเนื่องจากเปนสมุนไพรที่มี รสเผ็ ดรอนขมมี กลิ่นหอมรวมถึ ง ยั ง มี
สรรพคุณทางยาอีกมากมายอาทิเชน แกทองอืดทองเฟ อ อาการจุกเสียดแนนทอง โรคกระเพาะ ชวยขับลม
(กระทรวงสาธารณสุ ข , 2541) อี ก ทั้ ง ในกระชายยั ง มี ส มบั ติ ที่ สํ าคั ญ เช น ความสามารถการต านออกซิ เ ดชั่ น
ความสามารถในการยับยั้งการกอกลายพันธุ และความสามารถในการตานไวรัส จุลินทรีย เชื้อรา นอกจากนี้
สารประกอบหลักที่สําคัญที่พบในกระชายเหลืองสวนใหญจะอยูในกลุมของฟลาโวนอยด (กวิน, 2554)
กระชายเหลืองมีสารประเภทฟลาโวนอยดและอนุพันธเชนกลุมฟลาวาโนน ไดแก alpinetin pinostrobin
pinocembin และกลุมฟลาโวน ไดแก dimethoxyflavone 3,4,5,7-tetramethoxyflavone เปนตน (Mongkolsuk
and Dean,1964) และมีสารสําคัญ 6 ชนิดในกระชายสด คือ pinocembrin chalcone cardamonin pinostrobin,
4-hydroxypanduratin A และ panduratin A รวมทั้งทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเกิดสารกอกลายพันธุ
พบวาสารกลุมฟลาโวนอยดนี้สามารถยับยั้งการเกิดสารกอกลายพันธุไดดี (Trakoontivakorn et al., 2001)
การสกัดดวยเอนไซม (Enzyme extraction) มีรายงานการใชเอนไซมในการสกัดสารหลายชนิด เพื่อยอย
ผนังเซลลพืชจะชวยใหการสกัดสารประกอบฟนอลิกไดดีขึ้น Li et al. (2005) โดยจะทําลายโครงสรางทําให
องคประกอบภายในถูก ปลดปล อยออกมา เอนไซมเซลลูเลส เปนกลุมของเอนไซม ยอยเซลลูโลสไดกลู โ คส
บีตากลูโคซิเดส ยอยพันธะอัลฟา 1-4 ในเซลลูโลส ทําใหโพลีฟนอลถูกปลดปลอยออกมา การใชเอนไซมใน
กระบวนการสกัดสารนั้น ตองควบคุมมีสภาวะตางๆ ไดแก ความเขมขนของเอนไซม อัตราสวนระหวางของแข็ง
และของเหลว ระยะเวลา ที่อุณหภูมิ และพีเอชตางๆ เพื่อใหไดสภาวะในการสกัดที่เหมาะสมที่สุด
กระชายเหลืองเปนแหลงของสารออกฤทธิ์ที่ชวยตานออกซิเดชั่น สามารถยับยั้งการเกิดสารกอกลาย
พันธุ มีความสามารถในการตานไวรัส จุลินทรีย เชื้อรา งานวิจัยนี้มีจุดประสงคเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการ
สกัดสารประกอบฟนอลิกจากกระชายเหลืองรวมกับเอนไซม โดยใช Response Surface Methodology (RSM)
ในการวิเคราะหหา ปริมาตรตัวทําละลาย เวลา และความเขมขนของเอนไซม ในการสกัดที่เหมาะสมที่สุดเพื่อ
สรางโมเดล และทดสอบขอมูลที่ไดจากการวิเคราะห โดยเนนวิธีที่เปนมิตรตอสิ่งแวดลอม สารสกัดที่ไดจะมีการ
ปนเปอนนอยที่สุด

อุปกรณและวิธีการ
วัตถุดิบ
กระชายเหลืองสดจากอําเภอกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม อายุ 8 เดือน ซึ่งปลูกในวันที่ 27 พฤษภาคม
2557 และเก็บเกี่ยวผลผลิตในวันที่ 18 มกราคม 2558

697
สาขาอุตสาหกรรมเกษตร การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56

การเตรียมตัวอยาง
นํากระชายเหลืองสดมาอบแหงดวยเครื่องอบลมรอนที่อุณหภูมิ 50◦C เปนเวลา 48 ชั่วโมง บดและรอน
คัดขนาดใหไดอนุภาค 40-60 mesh

การหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารประกอบฟนอลิกจากกระชายเหลือง
การสกัดสารประกอบฟนอลิกโดยใชวิธีที่ดัดแปลงจาก ธนศักดิ์และคณะ (2551) ตามภาพที่ 1 จากนั้นใช
วิธีการประเมินพื้นผิวตอบสนอง (Response Surface Methodology; RSM) เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการ
สกั ด สารประกอบฟ น อลิ ก จากกระชายเหลื องโดยการวางแผนการทดลองแบบ Central composite design
(CCD) ศึกษา 3 ปจจัย ไดแก ความเขมขนของเอนไซม (%) เวลา (min) และปริมาตรตัวทําละลาย (mL) ที่ใชใน
การสกัด กําหนดใหแตละปจจัยใน CCD มี 5 ระดับ คือ -α -1 0 +1 และ +α มีทั้งหมด 20 การทดลอง และการ
ทดลองที่จุดตรงกลาง 6 ซ้ํา ดังแสดงในตารางที่ 1
ผงกระชาย 3 g เติมเอทานอลที่ความเขมขน 40 % (w/v) ปริมาตร 100 mL และ ความ
เขมขนเอนไซมเพกติเนส 1% (w/v) ปริมาตร 30 µL

เขยาดวยเครื่อง shaking water bath ที่ความเร็ว 150 rpm ณ อุณหภูมิ 50°C เปนเวลา 120 min

กรองดวยระบบสุญญากาศ

เก็บรักษาตัวอยางที่อุณหภูมิ -20°C และนําไปวิเคราะหตอไป


ระเหยตัวทําละลายดวยเครื่องระเหยแหงภายใตสภาวะสุญญากาศ

Figure 1 The process of fingerroot solvent extraction


Table 1 Factors and levels of phenolic extraction using central composite design (CCD)
Levels
Factors Variables
-α -1 0 +1 +α
Solvent (mL) X1 32 100 200 300 368
Time (min) X2 0 49 120 191 240
Enzyme (%) X3 0 0.6 1.0 1.6 2.0

การวิเคราะหสารสําคัญและฤทธิ์ทางชีวภาพ
- วิเคราะหและวัดปริมาณสารประกอบฟนอลิก โดยวิธีของ Lim et al. (2007) เติมตัวอยางสารสกัดใสใน
หลอดทดลองปริมาตร 300 ไมโครลิตรใสสารละลาย Folin – Ciocalteuเจือจาง 10 เทา 1.5 มิลลิลิตร
เติมสารละลายโซเดียมคารบอเนต 7.5% (w/v) 1.2 มิลลิลิตรนําไปผสมดวยเครือ่ งผสมสารละลาย 10
วินาทีจากนั้นเก็บไวในที่มืด 30 นาทีนําสารละลายไปวัดคาการดูดกลืนแสงดวยเครื่องสเปคโตรโฟโต
มิเตอรที่ความยาวคลื่น 765 นาโนเมตรและนําคาที่วัดไดเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานของสารละลาย
กรดแกลลิก
698
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56 สาขาอุตสาหกรรมเกษตร

- วิเคราะหและวัดปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด โดยวิธีของ Wolfe et al. (2003) โดยนําสารสกัดจาก


กระชายเหลื อ ง 300 ไมโครลิ ต ร เติ ม ลงในหลอดทดลองที่ มี น้ํ า กลั่ น อยู 1200 ไมโครลิ ต รใส
โซเดียมไนไตรทรอยละ 5 ปริมาตร 90 ไมโครลิตร ทิ้งไวเปนเวลานาน 5 นาที จากนั้นเติมอลูมิเนียมคลอ
ไรดรอยละ 10 ปริมาตร 90 ไมโครลิตร ทิ้งไว 6 นาที เติม โซเดียมไฮดรอกไซดความเขมขน 1 โมลาร
ปริมาตร 600 ไมโครลิตรและเติมน้ํากลั่นปริมาตร 720 ไมโครลิตรจากนั้นนําไปวัดคาดูดกลืนแสงที่ 510
นาโนเมตรนําคาที่ไดไปเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานเคทเทคินโดยคํานวณคาเปนมิลลิกรัมเคทเทคิน
ตอ 100 กรัมสารสกัด
- การวิเคราะหปริมาณสารกลุมฟนอลิกและความสามารถในการตานอนุมูลอิสระ โดยการตรวจสอบ
คุณสมบัติตานอนุมูลอิสระ 2, 2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH Radical Scavenging Capacity
Assay) ทําการทดสอบโดยเตรียมสารละลาย DPPH ความเขมขน 1 มิลลิโมล ในเอทานอล และปรับให
มีคาการดูดกลืนแสง (Absorbance) เทากับ 0.650+0.020 ที่ความยาวคลื่น 517 นาโนเมตร ดวยเอทา
นอล นําสารทดสอบทีล่ ะลายในเมทานอลปริมาตร 50 ไมโครลิตร ผสมสารละลาย DPPH 2.95
มิลลิลิตร ผสมสารใหเขากันและทิ้งไวในที่มืด 30 นาที นําไปวัดคาการดูดกลืนแสงดวยเครื่อง
spectrophotometer ที่ความยาวคลื่น 517 นาโนเมตร และการทดสอบการตานออกซิเดชัน Ferric
reducing/antioxidant power (FRAP) assay โดยดัดแปลงวิธีของ Floegel et al. (2011) ทําการเจือ
จางสารทดสอบดวยเมทานอล นําสารทดสอบจํานวน 60 ไมโครลิตรใสลงในหลอดทดสอบ เติมน้ํา
จํานวน 180 ไมโครลิตร สาร FRAP reagent จํานวน 1.8 มิลลิลิตร ลงในหลอดทดลอง ทิ้งไวอุณหภูมิ 37
องศาเซลเซียสเปนเวลา 4 นาที นําไปวัดคาการดูดกลืนแสงดวยเครื่อง spectrophotometer ที่ความยาว
คลื่น 595 นาโนเมตร
- การวิเคราะหองคประกอบของสารสกัดกระชายดวย HPLC คอลัมนที่ใชคือ TSK gel super ODS ขนาด
5.0x100 มิลลิเมตร อนุภาค 2 ไมโครเมตร ปรับอุณหภูมิคอลัมนเทากับ 40 องศาเซลเซียสขณะวิเคราะห
เฟสเคลื่อนที่ไดแก A: 0.5% formic acid และ B: Acetonitrile โดยตัวอยางจะผานการวิเคราะหโดยใช
diode array detector ตรวจวัดคาการดูดกลืนคลื่น UV ที่ความยาวคลื่นระหวาง 200-600 นาโนเมตร
ในการแสดงผลการวิจัย จะเนนผลการทดลองจากการตรวจวัดดวยความยาวคลื่น 280 และ 340 นาโน
เมตร เนื่องจากเปนคาความยาวคลื่นที่ตรงกับคา λmax โดยรวมของสารตางๆ ที่สนใจมากที่สดุ การ
วิเคราะหสารสกัดแตละตัวอยางจะใชปริมาณเทากัน คือ 0.010 มิลลิกรัม (ความเขมขน 1 มิลลิกรัมตอ
มิลลิลติ ร ปริมาตร 10 ไมโครลิตร)
และ การหาปริมาณของสารทีส่ นใจ จะใชวิธีการทาง Quantitative HPLC ซึ่งทําโดยการเปรียบเทียบ
พื้นที่ใตพีคของสารตางๆ ในโครมาโตแกรมที่ไดจากการวิเคราะหตัวอยางสารสกัด เทียบกับกราฟ
มาตรฐาน (standard curve) ของพื้นที่ใตพีคตอปริมาณของสารมาตรฐาน (standard chemical) ชนิด
นั้นๆ โดยกราฟมาตรฐานจะทําขึ้นโดยหาพื้นที่ใตพีคทีช่ วงความเขมขนตางๆ ของสารที่สนใจ โดยนําสาร
มาตรฐานมาวิเคราะหดวย HPLC แยกตางหากทีละสาร และนําคาพื้นที่ใตพีคนั้นๆ มาพลอตเปนกราฟ

699
สาขาอุตสาหกรรมเกษตร การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56

เสนตรงคํานวณหาความชันของกราฟและจุดตัดแกน X เพื่อหาสมการมาตรฐานที่จะนําไปใชคํานวณ
ปริมาณสารที่สนใจแตละสารในตัวอยางสารสกัด

ผลและวิจารณผลการทดลอง
การหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดกระชายเหลืองโดยใชการประเมินพื้นผิวตอบสนอง (RSM)
วิธีการประเมินพื้นผิวตอบสนอง (RSM) เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารประกอบฟนอลิกจาก
กระชายเหลืองโดยการวางแผนการทดลองแบบ Central composite design (CCD) ศึกษา 3 ปจจัย ไดแก ความ
เขมขนของเอนไซม (%) เวลา (min) และปริมาตรตัวทําละลาย (mL) ที่ใชในการสกัด กําหนดใหแตละปจจัยใน
CCD มี 5 ระดับ คือ -α -1 0 +1 และ +α มีทั้งหมด 20 การทดลอง และการทดลองที่จุดตรงกลาง 6 ซ้ํา พบวา
ใหคาฟนอลิกตั้งแต 2.87 ถึง 14.58 mg GAE/g ผงกระชาย ดังแสดงในตารางที่ 2
Table 2 CCD and the response values for phenolic content and antioxidant activity of fingerroot
extraction
Factor TPC (mg DPPH FRAP
Run Volume (ml): Time (min): Enzyme (%): GAE/g DW) (mgTrolox/g) (µmol Fe2+)/g
x1 x2 x3
1 -1 (100) -1 (49) -1 (0.6) 6.07 1.39 12.05
2 -1 (100) 1 (191) -1 (0.6) 6.51 1.41 11.45
3 1 (300) -1 (49) -1 (0.6) 12.57 3.18 20.99
4 1 (300) 1 (191) -1 (0.6) 11.09 3.19 18.17
5 -1 (100) -1 (49) 1 (1.4) 5.43 1.38 12.10
6 -1 (100) 1 (191) 1 (1.4) 6.33 1.27 11.12
7 1 (300) -1 (49) 1 (1.4) 12.14 3.11 22.44
8 1 (300) 1 (191) 1 (1.4) 14.58 2.72 20.70
9 0 (200) -1.682(0) 0 (1.0) 11.58 2.72 15.91
10 0 (200) 1.682(240) 0 (1.0) 9.58 2.38 16.04
11 -1.682(32) 0 (120) 0 (1.0) 2.87 0.58 11.73
12 1.682(368) 0 (120) 0 (1.0) 15.04 4.40 23.54
13 0 (200) 0 (120) -1.682(0) 9.94 2.95 16.25
14 0 (200) 0 (120) 1.682(2.0) 11.16 2.84 16.08
15 0 (200) 0 (120) 0 (1.0) 12.66 1.92 15.11
16 0 (200) 0 (120) 0 (1.0) 11.51 3.42 19.33
17 0 (200) 0 (120) 0 (1.0) 12.66 3.13 16.52
18 0 (200) 0 (120) 0 (1.0) 11.84 2.70 15.26
19 0 (200) 0 (120) 0 (1.0) 11.82 2.73 15.58
20 0 (200) 0 (120) 0 (1.0) 13.83 3.04 15.67
700
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56 สาขาอุตสาหกรรมเกษตร

Table 3 The mathematical model and a coefficient showing the relationship between the
independent variables and total phenolic content
Variable Models R2 Model Lack of fit
significant significant
Total phenolic 1213.18 +336.12* X1 - 0.99 * X2 - 12.59* X3
- 45.06 * X1*X2 + 36.47*X1*X3 - 90.01*X2 *X3- 0.9513 33.51 ns
75.98 * X12 - 19.82 * X22 + 23.27 * X32
Note: ns = not significant
จากสมการของปริมาณฟนอลิก นํามาสรางเปนแผนภาพ Contour และ ภาพ 3 มิติ พบวา เมื่อพิจารณา
แผนภาพแบบ Contour และภาพ 3 มิติของปริมาณฟนอลิก พบวา ในชวงเวลา 100–170 min และความเขมขน
เอนไซมที่ 0.75 – 1.75% จะใหปริมาณฟนอลิกสูงโดยมีคาเทากับ 11.54 – 12.11 mg GAL/ g ผงกระชาย ดัง
ภาพที่ 2
A

Figure 2 Response 3D and contour plot corresponding to total phenolic content from the extraction
as a function of enzyme and extraction time at 200 mL of solvent. (A) Response 3D and
contour plot corresponding to total phenolic content from the extraction as a function of
enzyme and solvent at 120 min extraction time (B)

เมื่อนําแผนภาพมาซอนทับกัน (ภาพที่ 3) โดยกําหนดใหปริมาณฟนอลิกมีคาสูง แตใชเอนไซมและเวลา


ในการสกัดต่ํา เปนการประหยัดพลังงาน ตนทุน และเวลา พบวาสภาวะที่เหมาะสมคือ ใชเวลาในการสกัด 85
min โดยใชเอทานอลความเขมขน 40% ที่ปริมาตร 300 mL และความเขมขนเอนไซม 1.0% (w/v) จากสภาวะ
ดังกลาวสามารถสกัดสารประกอบฟนอลิกได 13.24 mg GAE/g DW ซึ่งไดใกลเคียงกับคาทํานายคือ 14.36 mg
GAE/g DW เมื่อใชผงกระชาย 4 g และความเขมขนเอนไซม 1% (w/v) เวลาสกัด 85 min ดังตารางที่ 4 การสกัด
สารประกอบฟนอลิกจากกระชายเหลืองเอทานอลความเขมขน 40% รวมกับเอนไซมเพกติเนสนั้นสามารถชวย
เพิ่มปริมาณสารประกอบฟนอลิกไดสูงกวาการใชตัวทําละลายอะซีโตน คือ 194.66 mg GAE/100 g fresh
weight ซึ่งสูงกวาเอทานอลที่ความเขมขน 80% เมทานอลที่ความเขมขน 80% และน้ํา (ธนศักดิ์, 2551) เนื่องจาก
เปนวิธีการที่ใชน้ําเปนตัวทําละลายหลัก จึงนับวาเปนวิธีที่เปนมิตรติอสิ่งแวดลอม สารสกัดที่ไดจะมีการปนเปอน
นอยที่สุด

701
สาขาอุตสาหกรรมเกษตร การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56

X2: Time (min)


X1: Volume (mL)
Figure 3 The superimposed contour plot showing the combined effect of 1% enzyme and the volume
of 40% ethanol 300 mL and 85 min of extraction time on 14.36 mg GAE/g DW of total
phenolic content of fingerroot
Table 4 The comparison of total phenolic content between prediction and experimental
Time (min) Volume (mL) Enzyme (%) TPC (mg GAE/g DW)
Prediction Experimental
85 300 1 14.368 13.24

ผลการวิเคราะหองคประกอบสารสําคัญในสารสกัดกระชายเหลือง
จากการวางแผนการทดลองแบบ CCD เมื่อไดคาวิเคราะหปริมาณสารประกอบฟนอลิกดวยเอนไซม
เพกติเนส จะเห็นวา สิ่งทดลองที่ 8 12 และ 20 จะมีปริมาณสารประกอบฟนอลิกและฟลาโวนอยดสูง เทากับ
14.58 15.04 และ13.83 mgGAE/g ผงกระชาย ตามลําดับ DPPH 1.35 4.4 และ 3.04 mgTrolox/g ตามลําดับ
และ FRAP เทากับ 10.8 23.54 และ 15.67 µmol(Fe2+)/g ตามลําดับ เมื่อวิเคราะหองคประกอบสารสกัดดวย
HPLC พบวาสิ่งทดลองที่ 8 12 และ 20 ประกอบดวยสารเหลานี้ ดังตารางที่ 5 ในการหาสภาวะที่เหมาะสม พบวา
ปริมาตรเอทานอลความเขมขน 40% เปนปจจัยที่มีผลตอปริมาณฟนอลิกมากที่สุด เมื่อใชเวลาในการสกัดนอย
ใชปริมาตรตัวทําละลายนอย และใชเอนไซมความเขมขนต่ํา แตสามารถสกัดใหสารประกอบฟนอลิกไดมาก
ประหยัดพลังงาน ตนทุน และเวลา ไดสภาวะที่เหมาะสมคือ ใชเวลาในการสกัด 85 min โดยมีเอทานอลความ
เขมขน 40%(w/v) ปริมาตร 300 mL และความเขมขนเอนไซม 1.0% (w/v)
Table 5 Total flavonoid content 1-6 from fingerroot extracted
Active ingredient (µg/mg)
Sample
1* 2 3 4 5 6**
F8 - 2.19±0.36a 23.39±2.18a 76.25±5.11a 0.99±0.67a 19.75±1.66a
F12 - 2.15±0.27a 22.74±1.52a 72.07±3.42ab 0.99±0.25a 20.79±2.94a
F20 - 1.78±0.36ab 21.63±1.92ab 62.99±2.78c 0.40±0.25ab 17.16±1.58ab
Note : * 1 = pinocembrin chalcone, 2 = cardamonin,3 = pinocembrin, 4 = pinostrobin, 5 = 4-hydroxypanduratin A,6 = panduratin A
** Not define (the area below Y intercept from standard curve)
a-c mean within a roll with different letters are significantly different (p≤0.05), A-B mean within a column with different
letters are significantly different (p≤0.05), The extract were diluted 1000 times.

สรุป
การหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารประกอบฟนอลิกจากกระชายเหลืองดวยเอนไซมเพกติ เนส
พบวา สภาวะที่เหมาะสมคือ ใชเวลาในการสกัด 85 min โดยมีปริมาตรเอทานอลความเขมขน 40% ปริมาตร 300
702
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56 สาขาอุตสาหกรรมเกษตร

mL และความเขมขนเอนไซมเพกติเนส 1.0% ตอผงกระชาย 4 g จากสภาวะดังกลาวสามารถสกัดสารประกอบฟ


นอลิกได 13.24 mg GAE/g ผงกระชาย ซึ่งไดใกลเคียงกับคาทํานายคือ 13.94 mg GAE/g DW ผลวิเคราะห
ปริ ม าณ สารฟลาโวนอยด ด ว ย HPLC พบว า ประกอบด ว ยcardamonin pinocembrin pinostrobin 4-
hydroxypanduratin A และpanduratin A 1.62 21.05 58.16 0.55 และ 15.61 µg /mg ตามลําดับ

กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณ สํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ที่สนับสนุนทุนวิจัยและสถาบันคนควาและ
พัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ที่ไดใหความกรุณาใชสถานที่
ในการทํางานวิจัยในครั้งนี้

เอกสารอางอิง
กระทรวงสาธารณสุข. 2541. ยาสมุนไพรสําหรับสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพฯ:โรงพิมพองคการทหารผาน
ศึก.
กวิน สุขสิงห. 2554. ผลของการทําแหงตอสารกลุมฟลาโวนอยดและความสามารถตานออกซิเดชั่นของ
สารสกัดกระชายเหลือง (Boesenbergia rotunda). ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.
ธนศักดิ์ แซเลี่ยว, ศศิธร จันทนวรางกูร., วรรณี จิรภาคยกุล. 2551. ผลของตัวทําละลายตอปริมาณ
สารประกอบฟนอลิกและความสามารถตานออกซิเดชันของกระชายเหลือง (Boesenbergia
pandurata). ภาควิชาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร
Floegel, A., D. Kim, S. Chung, S.I. Koo and O.K. Chun. 2011. Comparison of ABTS/DPPH assays to
measure antioxidant capacity in popular antioxidant-rich US foods. J. Food Compos. Anal
24:1043–1048.
Lim, Y.Y., T.T. Lim and J.J. Tee. 2007. Antioxidant properties of several tropical fruits: a comparative
study. Food Chemistry 103: 1003-8.
Mongkolsuk, S and F.M. Dean. 1964. Pinostrobin and alpinetin from Kaempferia pandurata. J. Chem.
Soc.46: 54–55.
Trakoontiwakorn, G., N. Kazuhiko, S. Hiroshi, T. Makiko, O.K. Mayumi, O. Hiroshi, Y. Mitsuru, N.
Tadahiro and T. Tojiro. 2001. Structural analysis of a novel antimutagenic compound, 4
hydroxypanduratin a, and the antimutagenic activity of flavonoids in a Thai spice, Fingerroot
(Boesenbergia pandurate Schult.) against mutagenic heterocyclic amines. J. Agric. Food
Chem. 49: 3046-3050.
Wolfe, K., X. Wu and R.H. Liu. 2003. Antioxidant activity of apple peels. J Agric Food Chem. 51: 609-
14.
Li, B.B., B. Smith and M.M. Hossain. 2005. Extraction of phenolics from citrus peels: II. Enzyme-
assisted extraction method. Sep Purif Technol. 48:189–196.
703

You might also like