คู่มือการเลือกใช้รถขุด

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 71

ชุดความรู้

การเลือกใช้รถขุด

ฝ่ายรถขุด
สานักเครื่องจักรกล
กรมชลประทาน
“ในท้ องที่ซึ่งมีหนองและบึงนั้น สามารถเก็บน้าในฤดูน้าหลากไว้
ได้ ทาให้ มีนา้ ใช้ ในยามหน้ าแล้ งเหมือนอา างเก็บน้า เมื่อหนอง บึงอยูา
ในสภาพตืน้ เขินอาจใช้ การไมา ได้ ดังแตา กาอน และพืน้ ที่หลายสา วน
ถู ก ครอบครองไปโดยไมา เ ป็ นธรรมผลสุ ด ท้ า ยความทุ ก ข์ ย าก
เนื่องจากขาดแคลนนา้ ของชุมชนก็เกิดขึน้ ”
พระราชดํ า ริ พระบาทสมเด็ จ พระ
เจ้าอยูห่ วั

เรื่ อง : การขุดลอกหนอง บึง

ที่ ม า : หนัง สื อ อัน เนื่ อ งมาจาก


คานา
การเลือกใช้ รถขุด เป็ นการรวบรวมเอาองค์ความรู ้จากผูท้ ี่ปฏิบตั ิงานด้านการใช้รถขุด
โดยคณะทํางานทีมงานจัดการความรู ้ ของฝ่ ายรถขุด ศูนย์ปฏิบตั ิการเครื่ องจักรกล ที่ 1-7
สํานักเครื่ องจักรกล กรมชลประทาน เป็ นเนื้อหาที่มีความหลากหลาย ซึ่งได้รวบรวมมาจาก
ประสบการณ์ของการทํางาน และมาจากคําสอบถาม คําบอกเล่า ข้อคิดข้อเขียนของผูท้ ี่เคย
ปฏิบตั ิงานเกี่ยวกับการใช้รถขุด นํามาเขียนเป็ นลายลักษณ์อกั ษร ส่ วนหนึ่งของเนื้อหาได้มา
จากข้อมูลในตํารา หนังสื อ และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถขุด รวบรวมนําเอามา
เรี ยบเรี ยงเป็ นรู ปเล่ม มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดนําเอาประสบการณ์ต่างๆ จากการทํางาน
เกี่ยวกับใช้รถขุด ให้กบั ผูท้ ี่จะปฏิบตั ิงานรุ่ นหลัง หรื อผูส้ นใจทัว่ ไป ได้ศึกษาหรื อนําวิธีต่างๆ
ไปปฏิบตั ิและเกิดประโยชน์ในการทํางานได้อย่างแท้จริ ง

เนื้อหาสาระในเล่มจะแยกออกเป็ น 4 ส่ วน ซึ่งประกอบด้วย ส่ วนที่ 1 เป็ นความรู ้พ้นื ฐาน


เกี่ยวกับคลอง ส่ วนที่ 2 เป็ นความรู ้พ้นื ฐานเกี่ยวกับรถขุด ส่ วนที่ 3 เป็ นการเลือกใช้รถขุด
และ ส่ วนที่ 4 เป็ นเทคนิคและวิธีการใช้รถขุด พร้อมยกตัวอย่างการเลือกใช้รถขุดให้มีความ
เหมาะสมกับลักษณะงาน เทคนิควิธีการขนย้ายรถขุด การแก้ไขปัญหาเมื่อรถขุดติดหล่มหรื อ
จม มีท้ งั รู ปภาพประกอบคําอธิบายไว้เป็ นเพื่อความเข้าใจสําหรับนําไปใช้งานพอสังเขป

คณะทํางานทีมงานจัดการความรู ้ ของฝ่ ายรถขุด หวังว่าคงเป็ นความรู ้ที่จะเป็ น ประโยชน์ต่อ


ผูท้ ี่ปฏิบตั ิงานเกี่ยวกับงานขุดลอกคลองหรื องานที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถขุด และ ผูท้ ี่สนใจ
ทัว่ ไป

คณะทางานทีมงานจัดการความรู้ ฝา ายรถขุด
สารบัญ
หน้ า

สา วนที่ 1 : ความรู้ พนื้ ฐานเกีย่ วกับคลอง


 คลอง 2
 ทางนํ้าชลประทาน ตามมาตรา 5 3
สา วน 2 : ความรู้ พนื้ ฐานเกีย่ วกับรถขุด
 รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ตกั เข้าแขนสั้น (HB-CM) 12
 รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ตกั เข้าแขนยาว (HB-LR) 14
 รถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็กปุ้ งกี๋ตกั เข้า (MB) 15
 รถขุดชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ลาก (DL-CM) 17
 รถขุดชนิดโป๊ ะเหล็กปุ้ งกี๋ลาก (MD) 19
 รถขุดปั้นจัน่ ชนิดล้อยางติดอุปกรณ์ยกติดปุ้ งกี๋ขดุ ได้ (DL-WM) 20
สา วนที่ 3 : การเลือกใช้ รถขุด
 ปัจจัยทัว่ ไปที่นาํ มาประกอบการพิจารณาเพื่อกําหนดเลือกใช้ 22
 ลักษณะงานกับการเลือกใช้รถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็กบุง้ กี๋ตกั เข้า (MB) 23
 ลักษณะงานกับการเลือกใช้รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบแขนยาว (HB-LR) 27
 ลักษณะงานกับการเลือกใช้ รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบแขนสั้น (HB-CM) 29
 ลักษณะงานกับการเลือกใช้รถขุดชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ลาก (DL-CM) 32
สา วนที่ 4 : เทคนิคและวิธีการใช้ รถขุด
 ตัวอย่างการเลือกใช้รถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็กปุ้ งกี๋ตกั เข้า (MB) 36
 ตัวอย่างการเลือกใช้รถขุดไฮดรอลิกชนิดปุ้ งกี๋ตกั เข้าแขนสั้น (HB-CM) 39
 ตัวอย่างการเลือกใช้รถขุดไฮดรอลิกชนิดปุ้ งกี๋ตกั เข้าแขนยาว (HB-LR) 40
 การเลือกใช้รถขุดกับลักษณะคลอง 41
 วิธีการขุดคลองส่ งนํ้าและปั้นขอบคันคลอง 44
 วิธีการนําดินที่ติดค้างออกจากปุ้ งกี๋ 46
 วิธีการวางตําแหน่งรถขุดเพื่อการขุดทอยดิน 47
 การขุดลอกแนวกลางคลองโดยรถขุดตีนตะขาบ 49
 วิธีการขุดคลองและการวางดิน 50
 การขนย้ายรถขุด 51
 การแก้ไขปัญหาเมื่อรถขุดติดหล่มหรื อจมในขณะทํางาน 58
 ตารางขีดความสามารถโดยเฉลี่ยของรถขุดแต่ละชนิด 63
สา วนที่ 1

ความรู้ พนื้ ฐานเกีย่ วกับคลอง


2

คลอง
“คลอง” คือ ทางนํ้าหรื อลํานํ้าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรื อขุดขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกับ
แม่น้ าํ หรื อทะเล หรื อลํานํ้าที่ขดุ ขึ้นเพื่อใช้ในการคมนาคมขนส่ ง โดยเชื่อมการติดต่อระหว่าง
แม่น้ าํ หรื อน่านนํ้าให้สะดวกขึ้นหรื อขุดเพื่อช่วยในการชลประทาน เช่น ช่วยในการระบาย
นํ้าการชลประทาน หรื อส่ งนํ้าเพื่อการอุปโภคบริ โภค การเกษตรกรรม หรื อใช้สาํ หรับเป็ น
เส้นทางในการขนส่ งทางนํ้า ปัจจุบนั ในประเทศไทย คลองในฐานะที่เป็ นเส้นทางการขนส่ ง
ทางนํ้าเริ่ มมีใช้ลดน้อยลง เนื่องจากการเพิ่มของถนน

โดยนัยดังกล่าว คลองจึงแบ่งได้เป็ น 2 ชนิด คือ คลองธรรมชาติ และคลองขุด ตัวอย่าง


ของคลองธรรมชาติในประเทศไทยมีอยูห่ ลายแห่ง โดยเฉพาะในภาคตะวันออก และภาคใต้
ส่ วนใหญ่เป็ นลํานํ้าสั้นๆไหลลงสู่ ทะเลโดยตรง หรื ออาจเป็ นส่ วนหนึ่งของลํานํ้าสายใหญ่ที่
ไหลลงสู่ ทะเลก็ได้ในกรณี ของคลองขุดนั้นเกิดขึ้นโดยมีวตั ถุประสงค์ต่างๆ ดังนี้

1. ขุดเป็ นคลองลัดเพื่อเชื่อมลํานํ้าตอนที่ไหลโค้งตวัด หรื อเชื่อมแม่น้ าํ 2 สายเข้า


ด้วยกัน เพื่อช่วยให้การคมนาคมขนส่ งทางนํ้ามีความสะดวกรวดเร็วยิง่ ขึ้น
2. ขุดเป็ นคลองคูเมืองเพื่อเป็ นแนวป้ องกันจากศัตรู ผรู ้ ุ กราน อยูถ่ ดั จากกําแพงเมือง
ออกมา เช่น คลองคูเมืองด้านตะวันออกของกรุ งธนบุรี และคูคลองเมือง 3 ชั้น
ด้านตะวันออกของเกาะรัตนโกสิ นทร์ในกรุ งเทพฯ
3. เพื่อใช้เป็ นทางระบายนํ้า และป้ องกันอุทกภัยจากนํ้าท่วมและนํ้าขัง
4. เพื่อใช้ในการชลประทานสําหรับพื้นที่เกษตรกรรม
5. เพื่อใช้ในกิจการประปา สําหรับการอุปโภคและบริ โภคนํ้าสะอาดของประชาชนที่
อาศัยอยูใ่ นเมืองและเขตชุมชนใหญ่ๆ
3

วัตถุประสงค์ในการขุดคลองข้างต้นนั้น บางครั้งเป็ นการขุดคลองเพื่อประโยชน์อย่าง


ใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ในสมัยโบราณ ส่ วนใหญ่เป็ นการขุดคลองด้วยเหตุผลข้อที่ 1
หรื อข้อที่ 2 ในช่วงต่อมามีวตั ถุประสงค์ขอ้ ที่ 3 และข้อที่ 4 เข้ามาเกี่ยวข้อง ส่ วน
วัตถุประสงค์ขอ้ ที่ 5 นั้น เป็ นการขุดเพื่อการประปาในสมัยใหม่เพื่อสนองความต้องการของ
เมืองใหญ่ๆ ในด้านการมีน้ าํ ที่สะอาดสําหรับการอุปโภคและบริ โภค
“การชลประทาน” หมายความว่า กิจการที่รัฐบาลจัดทําเพื่อส่ งนํ้าจากทางนํ้าหรื อ
แหล่งนํ้าไปใช้ในการเพาะปลูก และหมายความถึงการป้ องกันการเสี ยหายแก่การ
เพาะปลูกอันเกี่ยวกับนํ้า กับทั้งรวมถึงการคมนาคมทางนํ้าซึ่งอยูใ่ นเขตชลประทานนั้นด้วย
บทนิยามคําว่า "การชลประทาน" นี้ถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนแล้ว โดยมาตรา 3 แห่ง
พ.ร.บ. ฯลฯ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2507 และมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. ฯลฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.
2518 โดยลําดับ
“ทางนา้ ชลประทาน” หมายความว่า ทางนํ้าที่รัฐมนตรี ได้ประกาศตามความในมาตรา
5 ว่าเป็ นทางนํ้าชลประทาน
ทางนํ้าของระบบชลประทาน ตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485
มาตรา 5 มีขอ้ กําหนดที่เกี่ยวข้องกับทางนํ้าชลประทาน บัญญัติไว้ใน หมวด 1 บททัว่ ไปซึ่ง
แบ่งออก4ประเภท คือ
ประเภท 1 ทางนํ้าที่ใช้ในการส่ ง ระบาย กัก หรื อกั้นนํ้า เพื่อการชลประทาน
ประเภท 2 ทางนํ้าที่ใช้ในการคมนาคม แต่มีการชลประทานร่ วมอยูด่ ว้ ยเฉพาะภายใน
เขตที่ได้รับประโยชน์จากการชลประทาน
ประเภท 3 ทางนํ้าที่สงวนไว้ใช้ในการชลประทาน ในภายภาคหน้า เช่น แหล่งต้นนํ้า
ลําธาร เหนือระบบชลประทาน เป็ นต้น
ประเภท 4 ทางนํ้าอันเป็ นอุปกรณ์แก่การชลประทาน อันเป็ นอุปกรณ์แก่การ
ชลประทาน เช่น แหล่งนํ้าธรรมชาติ และอ่างเก็บนํ้า เป็ นต้น
4

แสดงรายละเอียดคลองที่ขุดลอกโดยรถขุดของกรมชลประทาน ที่ประกาศทางนํ้าชลประทานตามมาตรา 5

แสดงรายละเอียดคลองที่ขุดลอกโดยรถขุดของกรมชลประทาน ที่ประกาศทางนํ้าชลประทานตามมาตรา 5
ประเภท 4
5

แสดงรายละเอียดคลองที่ขุดลอกโดยรถขุดของกรมชลประทาน ที่ประกาศทางนํ้าชลประทานตามมาตรา 5
ประเภท 1

การขุดคลองชลประทาน การพัฒนาทางด้านชลประทานโดยการสร้างเขื่อนขนาด
ใหญ่ ซึ่ งมีอ่างเก็บนํ้า และคลองส่ งนํ้าทําให้ในปั จจุบนั มีการขุดคลองชลประทานเพื่อส่ งนํ้า
เข้า ไปในพื้ น ที่ ก ารเกษตรในจัง หวัด ต่ า งๆ เพิ่ ม มากขึ้ น คลองเหล่ า นี้ มัก เรี ย กว่ า คลอง
ชลประทานสายนั้นสายนี้ โดยไม่มีชื่อบุคคลเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย และมีวตั ถุประสงค์
เพื่อการชลประทานโดยเฉพาะ ไม่ใช่ เพื่อการสัญจรทางนํ้า ตัวคลองมักขุดเป็ นเส้นตรง มี
ขนาดไม่ใหญ่และไม่ลึกมาก คลองชลประทานบางแห่ งอาจก่อสร้างเป็ นทางนํ้าโบกทับด้วย
ซีเมนต์หรื อคอนกรี ตเพื่อป้ องกันการสู ญเสี ยนํ้าจากการไหลซึมลงสู่ ใต้ดิน
6

ลักษณะมิตทิ ั่วไปของคลองที่ขุดลอกโดยรถขุด

ลักษณะและมิติของคลองที่ขุดลอกโดยรถขุด ของกรมชลประทาน ส่ วนใหญ่จะมี


ลักษณะและมิติความกว้างของคลองโดยเฉลี่ยตั้งแต่ 4 ถึง 25 เมตร ความลึกในการขุดเฉลี่ย
ไม่เกิน 3 เมตร และเป็ นไปตามมาตรา 5 ซึ่ งมีวตั ถุประสงค์เพื่อการส่ งนํ้า ระบาย กักเก็บ กั้น
นํ้า เพื่อการชลประทาน หรื ออาจเป็ นแหล่งนํ้าธรรมชาติ และอ่างเก็บนํ้า

แสดงรายละเอียดขนาดและมิติโดยทัว่ ไปของคลองที่ขดุ ลอกโดยรถขุดของกรมชลประทาน


7

คลองระบายน้า เป็ นคลองที่


ขุ ด ขึ้ นมี ว ัต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ การ
ระบายนํ้าไม่ให้เกิดการท่วมขังใน
บริ เวณที่ราบลุ่ม เมื่อมีฝนตกหนัก
ในฤดูฝน โดยทําหน้าที่เป็ นแหล่ง
รั บ นํ้ าจากพื้ น ดิ น ระบายลงสู่
แม่น้ าํ สายต่างๆ คลองที่ทาํ หน้าที่
ในการระบายนํ้า ตามปกติ ม ัก มี
การสร้างประตูน้ าํ ไว้ที่ปากคลอง
เพื่ อ ควบคุ ม การไหลของนํ้า ใน
ปริ มาณและตามระยะเวลาตามที่
แสดงลักษณะโดยทัว่ ไปของคลองที่ขดุ ลอกโดยรถขุด
ต้องการ
ประกาศทางนํ้าชลประทานตามมาตรา 5 ประเภท 1
เป็ นคลองระบายนํ้า
คลองธรรมชาติ เป็ นคลองที่
เกิ ดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิ ดจาก
การไหลของนํ้า จากที่ สู ง ลงสู่ ที่
ราบลุ่ม หรื อลงสู่ ทะเล โดยเฉพาะ
อย่ า งยิ่ ง ในภาคตะวัน ออกและ
ภาคใต้ เช่ น คลองกระแส ใน
จัง หวัด ระยอง คลองใหญ่ ใน
จังหวัดตราด คลองปากนคร ใน
จัง หวัด นครศรี ธรรมราช และ
คลองนาทวี ในจัง หวัด สงขลา
เ ป็ น แ ห ล่ ง อ า ศั ย แ ล ะ กํ า เ นิ ด
สิ่ งมีชีวติ มากมาย โดยเฉพาะปลา

แสดงลักษณะโดยทัว่ ไปของคลองที่ขดุ ลอกโดยรถขุด ประกาศทาง


นํ้าชลประทานตามมาตรา 5 ประเภท 4 เป็ นคลองธรรมชาติ
8

คลองสา งน้า เป็ นคลองที่


ขุ ด ขึ้ น มี วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ เ พื่ อ
ต้อ งการนํา นํ้า จากแม่ น้ ํา ส่ ง เข้า
ไปตามคลองส่ งนํ้า แล้วกระจาย
นํ้าไปสู่ ในเรื อกสวนไร่ นาต่างๆ
ที่ต้ งั อยู่ห่างจากลําแม่น้ าํ ทั้งเป็ น
เพื่อการเกษตร หรื อการประมง
ซึ่ ง วัตถุ ป ระสงค์น้ ี ก็ ตรงกับ การ
ชลประทานในปัจจุบนั

แสดงลักษณะโดยทัว่ ไปของคลองที่ขดุ ลอกโดยรถขุด ประกาศ


ทางนํ้าชลประทานตามมาตรา 5 ประเภท 1 เป็ นคลองส่ งนํ้า

คลองธรรมชาติ เ ชื่ อม
แหลา งน้า เป็ นคลองที่ขุดขึ้ นมี
วัตถุ ประสงค์เพื่อการนํา นํ้า จาก
แหล่ งนํ้าขนาดใหญ่ เช่ น แม่น้ าํ
ทะเลสาบ เข้าไปเพื่อการอุปโภค
บริ โภค หรื อการเกษตร ซึ่ งเป็ น
แหล่ ง เพาะเลี้ ย งและจับ สัตว์น้ ํา
มาบริ โภคเป็ นอาหารของคน
ท้องถิ่นเป็ นอย่างดี

แสดงลักษณะโดยทัว่ ไปของคลองที่ขดุ ลอกโดยรถขุด ประกาศทางนํ้า


ชลประทานตามมาตรา 5 ประเภท 4 เป็ นคลองธรรมชาติเชื่อมแหล่งนํ้า
สา วนที่ 2

ความรู้ พนื้ ฐานเกีย่ วกับรถขุด


10

รถขุด
“รถขุด” เป็ นเครื่ องจักรกลขนาดหนัก ใช้ในการทํางานแทนแรงงานคน ซึ่ งเกี่ยวกับ
งานดิน งานก่อสร้าง หรื องานอื่นๆ ที่แรงงานคนไม่สามารถทําได้ หรื อเกินขีดความสามารถ
ที่จะใช้แรงงานคนทํางานให้สาํ เร็จได้ ทั้งนี้ข้ ึนอยูก่ บั ผูใ้ ช้พิจารณานําไปใช้กบั งานประเภทใด
การใช้เครื่ องจักรกลรถขุดในกิจกรรมงานขุดลอกคลองประเภทต่างๆ ต้องศึกษาทําความ
เข้าใจลักษณะการใช้งานของรถขุดแต่ละชนิดให้เข้าใจเสี ยก่อน เพื่อจะได้นาํ รถขุดไปใช้งาน
ได้ถูกต้อง
ลักษณะการปฏิบัติงานของรถขุด แบ่งออกเป็ น 3 ลักษณะ คือ
1. งานขุดลอกคลองธรรมชาติ เป็ นการขุดลอกคลองธรรมชาติ ขุดลอกคลองส่ งนํ้า
ขุดลอกคลองระบายนํ้า และคูคลองหนองบึงทัว่ ไป ซึ่ งลักษณะของดินจะเป็ นดิน
อ่อน ดินเลน
รถขุดทีเ่ หมาะสมกับการขุดลอกคลองธรรมชาติ คือ
- รถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็กปุ้ งกี๋ตกั เข้า (Marsh Backhoe)
- รถขุดชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ลาก (Dragline Excavator)
- รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ตกั เข้า (Hydraulic Backhoe Excavator)
2. งานดินขุดธรรมดา (งานเขือ่ น) เป็ นการขุดดินธรรมดา ดินอ่อน ดินที่ได้มีการ
เตรี ยมหรื อรวมกองไว้จากบ่อยืมดิน เพื่อตักใส่ รถบรรทุกเทท้ายลําเลียงไปยัง
บริ เวณก่อสร้างเพื่อถมตัวเขื่อน
รถขุดทีเ่ หมาะสมกับการขุดลอกงานดินขุดธรรมดา (งานเขือ่ น) คือ

- รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ตกั เข้า (Hydraulic Backhoe Excavator)


- รถขุดชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ลาก (Dragline Excavator)
11

3. งานดินขุดยาก เป็ นงานลักษณะเดียวกับงานขุดลอกคลองธรรมชาติและงานขุด


ธรรมดา แต่ลกั ษณะวัสดุหรื อดินที่ขดุ เป็ นวัสดุที่ขุดยาก เช่น หินกรวด ลูกรัง ลูกรัง
ปนแร่ หินปูน ดินเหนียวแห้งอัดตัว หินกาบหรื อหิ นที่กะเทาะออกเป็ นแผ่นๆ หิน
ที่ระเบิดแล้ว และดินดาน
รถขุดทีเ่ หมาะสมกับการขุดลอกงานดินขุดยาก คือ
- รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ตกั เข้า (Hydraulic Backhoe Excavator)

การขุดลอกแหล่งนํ้าธรรมชาติดว้ ยรถขุด เช่ น ขุดลอกคลองธรรมชาติ ขุดลอกคลอง


ส่ งนํ้า ขุดลอกคลองระบายนํ้า ขุดลอกอ่างเก็บนํ้า โดยทัว่ ไปจะใช้รถขุด 3 ประเภท
1. รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ตกั เข้า (Hydraulic Backhoe Excavator)
2. รถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็กปุ้ งกี๋ตกั เข้า (Marsh Backhoe)
3. รถขุดชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ลาก (Dragline Excavator)

1. รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบปุ้ งกีต๋ กั เข้ า (Hydraulic Backhoe)


X)Excavator)
รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ตกั เข้า Hydraulic Backhoe Excavator ใช้สาํ หรับ
ขุดลอกคลองได้หลายขนาด ตั้งแต่คลองซอยขนาดเล็กไปจนถึงคลองที่มีความกว้างมาก
เพราะมีท้ งั ชนิดแขนสั้น (Standard Boom) และชนิดแขนยาว (Long Reach) ขนาดความจุ
ปุ้ งกี๋ต้ งั แต่ 0.4 – 2.5 ลูกบาศก์เมตร เป็ นที่นิยมใช้เพราะมีความคล่องตัวในการทํางานสู ง ใช้
กับงานที่มีความหลากหลายได้ ใช้ได้ท้ งั งานขุดลอกคลองธรรมชาติ งานดินขุดธรรมดา และ
งานดินขุดยาก
12

1.1 รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบปุ้งกีต๋ ักเข้ าแขนสั้ น


Hydraulic Backhoe Excavator (Standard Boom)

แสดงลักษณะใช้รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ตกั เข้า [HB-CM] กับงานขุดลอกคลองและงานก่อสร้าง

รถขุดชนิ ดนี้เป็ นรถขุดที่ใช้สาํ หรับงานขุด – ตัก ทํางานได้อย่างคล่องตัว มีสมรรถนะ


และประสิ ทธิ ภาพสู ง ลักษณะของบูมถูกออกแบบมาให้มีความแข็งแรงสู งสามารถขุดดินที่
อัดแน่นได้ดี มีบทบาทในงานก่อสร้างและงานขุดลอกคลองทุกชนิด เป็ นรถขุดที่ทาํ งานด้วย
ระบบไฮดรอลิ กทั้งหมด ง่ ายต่อการควบคุ ม สะดวกในการเคลื่ อนย้าย รถขุดประเภทนี้
ต้องการดูแลบํารุ งรักษาที่ดี
ลักษณะระยะการยืดแขนของรถขุดเป็ น
ข้ อ จํา กั ด หรื อความสามารถในการ
ทํางานได้ดี มีท้ งั ระยะความสู งในแนวตั้ง
ระยะไกลในแนวราบ และระยะความลึก
ในแนวดิ่ง เป็ นสิ่ งที่ผใู้ ช้รถขุดควรทราบ
เพื่อจะได้เลือกใช้รถขุดให้เหมาะสมกับ
ลักษณะงาน

แสดงลักษณะระยะการยืดแขนที่เหมาะสมในการขุดของรถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบ
ปุ้ งกี๋ตกั เข้า ชนิดแขนสั้น Hydraulic Backhoe Excavator (Standard Boom) [HB-CM]
13

แสดงลักษณะใช้รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ตกั เข้า [HB-CM] กับงานขุดลอกคลองส่ งนํ้า


ผนังคอนกรี ต

การเลือกใช้งานรถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ตกั เข้า ชนิดแขนสั้น Hydraulic


Backhoe Excavator (Standard Boom) [HB-CM] ให้เหมาะสม คล่องตัว รวดเร็ว และใช้งาน
ได้ดีอย่างมีประสิ ทธิภาพ ควรจะเป็ นงานขุดเปิ ดหน้าดิน งานปรับเกลี่ยปรับภูมิทศั น์ งานขุด
ขนย้ายดิน หรื องานตักดินใส่ รถบรรทุก งานปั้นคันดิน งานขุดบ่อก่อสร้าง งานขยายปาก
คลอง งานขุดลอกคลองธรรมชาติที่มีขอบคันคลองไม่สูงมาก เช่น คลองส่ งนํ้า ระยะการทิ้ง
ดินขุดมีระยะไม่ไกลมากนัก

รถขุดชนิดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ตกั เข้า ชนิดแขนสั้น

[Hydraulic Backhoe Excavator]

อักษรย่อกรมชลประทานใช้เรี ยกประเภท : HB-CM

ตัวอย่างการเรี ยก : รถ. 459


14

1.2 รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบปุ้งกีต๋ ักเข้ าแขนยาว

Hydraulic Backhoe Excavator (Long Reach)

แสดงลักษณะรถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบบุง้ กี๋ตกั เข้าแขน


ยาว Hydraulic Backhoe Excavator (Long Reach) [HB-LR]

รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ตกั เข้า Hydraulic Backhoe Excavator แขนยาว


เหมาะสมสําหรับคลองธรรมชาติมีขอบคันคลองสู ง ที่รถขุดชนิดแขนมาตรฐานไม่สามารถ
ขุดถึงก้นคลองได้หรื อคลองที่มีความกว้าง เช่น ปากคลอง คลองระบายนํ้า และดินที่ขุดควร
จะเป็ นดินอ่อน ดินเลน ตะกอนดิน ตะกอนทราย ใช้กาํ ลังในการขุดไม่มาก พื้นที่ควรจะเป็ น
พื้นที่โล่ง ไม่มีสิ่งกีดขวางระยะการทิ้งดินขุด สามารถทิ้งได้ในระยะไกล

รถขุดชนิดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ตกั เข้า แขนยาว

[Hydraulic Backhoe Excavator Long Reach]

อักษรย่อกรมชลประทานใช้เรี ยกประเภท : HB-LR

ตัวอย่างการเรี ยก : รถ. 777


15

2. รถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็กปุ้ งกีต๋ กั เข้ า (Marsh Backhoe)


X)Excavator)

แสดงลักษณะรถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็กปุ้ งกี๋ตกั เข้า (Hydraulic Marsh Backhoe Excavator)


[MB]

การเลื อ กใช้ร ถขุ ด ไฮดรอลิ ก ชนิ ด โป๊ ะเหล็ ก ปุ้ งกี๋ ต ัก เข้า มี ค วามจุ ข นาดปุ้ งกี๋ 0.6
ลูกบาศก์เมตร โดยทัว่ ไปจะเป็ นการเลือกใช้กบั การขุดลอกคลองธรรมชาติ ที่ลกั ษณะความ
กว้างของปากคลองประมาณ 8 -12 เมตร เช่น คลองส่ งนํ้า คลองธรรมชาติ ที่มีวชั พืชปกคลุม
บริ เวณคันคลองบางช่วงของคลองจะมีขอบคันคลองสู งรถขุดชนิดแขนมาตรฐานไม่สามารถ
ขุดถึงก้นคลองได้

สําหรับการเลือกใช้รถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็กปุ้ งกี๋ตกั เข้า ให้เหมาะสมและใช้งาน


ได้ดีอย่างมีประสิ ทธิภาพ รวดเร็ว ควรจะมีลกั ษณะดังนี้

1. ลักษณะดินที่ขุด ควรจะเป็ นดินอ่อน ดินเลน ตะกอนดิน ตะกอนทราย ใช้กาํ ลังใน


การขุดไม่มาก
2. ลักษณะงานที่เหมาะสม คือ พื้นที่บริ เวณขอบคันคลองมีสิ่งกีดขวางไม่สามารถใช้
รถขุดประเภทอื่นๆ ขุดได้ระยะความลึกของนํ้าหรื อดิ นที่มีสภาพเป็ นดิ นพรุ ไม่
ควรเกิน 2 เมตร
3. ระยะการทิ้งดินขุด สามารถทิ้งได้ในระยะไม่ไกลมากนัก
16

ข้ อควรคานึง

1. การเลือกใช้รถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็กปุ้ งกี๋ตกั เข้า มีอุปกรณ์ประกอบจํานวน


มาก ต้องใช้เครื่ องจักรเครื่ องมือ และบุคลากรเจ้าหน้าที่ ในการขนย้ายเพื่อเข้าไป
ทํางาน ทําให้ตอ้ งเสี ยค่าใช้จ่ายในการขนย้ายอุปกรณ์
2. ในระหว่างการขุดลอกคลอง หากมีจุดเชื่อมต่อระหว่างคันคลอง เช่น สะพาน
ถนน ท่อนํ้า หรื อสิ่ งกีดขวางอื่นๆ จําเป็ นต้องนํารถขุดข้ามสิ่ งกีดขวางดังกล่าว ก็
จะทําให้เกิดการสึ กหรอหรื อเกิดการชํารุ ดของรถขุดได้ง่าย
3. ควรเลือกใช้รถขุดชนิดนี้กบั ลักษณะดินอ่อน ดินเลน ตะกอนดิน ตะกอนทราย ที่
ใช้กาํ ลังในการขุดไม่มาก เนื่องจากตัวของโป๊ ะเหล็กถูกออกแบบมาให้ลอยนํ้าได้
และไม่มีเสายึดในขณะทําการขุด หากใช้กาํ ลังในการขุดมากๆ ก็จะทําให้ตวั รถ
เกิดการหมุนตัวได้

รถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็กปุ้ งกี๋ตกั เข้า

[Hydraulic Marsh Backhoe Excavator]

อักษรย่อกรมชลประทานใช้เรี ยกประเภท : MB

ตัวอย่างการเรี ยก : รถ. 590


17

3. รถขุดชนิดปุ้ งกีล๋ าก (Dragline Excavator)

รถขุดชนิดปุ้ งกี๋ลาก จะขุดดินโดยการใช้น้ าํ หนักปุ้ งกี๋ที่โยนออกไปเป็ นตัวกดดิน และ


ลากเข้าหาตัวรถขุด มุมปุ้ งกี๋จะจิกดินเป็ นมุม และใช้ลวดสลิงลากเข้าหาตัวรถ จากนั้นก็หมุน
ตัวรถไปทิ้งดินในทิศทางที่ตอ้ งการ

3.1 รถขุดชนิดตีนตะขาบปุ้งกีล๋ าก (Dragline Excavator Crawler Mounted)

แสดงลักษณะรถขุดชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ลาก (Dragline Excavator Crawler Mounted)

รถขุดชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ลาก ที่ใช้ในการขุดลอกคลองที่มีขนาดกว้างมากๆ มีความจุ


ปุ้ งกี๋ต้ งั แต่ 0.75-2.50 ลูกบาศก์เมตร การทํางานรถขุดชนิ ดนี้ จะทํางานตํ่ากว่าระดับตัวรถ
ความแม่นยําในการขุดมีน้อย เหมาะสําหรับคลองธรรมชาติ หรื อคลองที่มีลกั ษณะความ
กว้างของปากคลองประมาณ 12 เมตร เช่น คลองระบายนํ้า ขอบคลองที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง เป็ น
พื้นที่โล่ง พื้นที่ของขอบคันคลองมีความกว้างเพียงพอสําหรับให้รถขุดเดินบนคันคลองได้
18

การเลือกใช้รถขุดชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ลาก ให้เหมาะสมและใช้งานและมีประสิ ทธิภาพ


รวดเร็ว ควรจะมีลกั ษณะดังนี้

1. ลักษณะดินที่ขดุ ควรจะเป็ นดินแข็งปานกลาง ดินเหนียวใช้กาํ ลังในการขุดไม่มาก


2. ลักษณะงานที่เหมาะสม คือ งานขุดเปิ ดหน้าดิ น งานขุดทอยดิ น หรื องานขยาย
ปากคลอง
3. พื้นที่บริ เวณขอบคันคลองไม่มีสิ่งกีดขวาง เป็ นพื้นที่โล่ง
4. ระยะการขุดจะขุดได้ลึก ทิ้งดินขุดได้ในระยะไกล

รถขุดชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ลาก

[Dragline Excavator Crawler Mounted]

อักษรย่อกรมชลประทานใช้เรี ยกประเภท : DL-CM

ตัวอย่างการเรี ยก : รถ. 245


19

3.2 รถขุดชนิดโป๊ ะเหล็กปุ้ งกีล๋ าก (Marsh Dragline)

แสดงลักษณะรถขุดชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ลาก (Marsh Dragline)

รถขุดชนิ ดโป๊ ะเหล็กปุ้ งกี๋ลาก ลักษณะของตัวรถจะวางไว้บนแท่นบนโป๊ ะเหล็ก มี


ความจุปุ้งกี๋ 0.4 ลูกบาศก์เมตร ลักษณะการทางานคล้ายกับรถขุดตีนตะขาบบุง้ กี๋ลาก เพียงแต่
นาระบบไฮดรอลิ กมาใช้แ ทน ส่ วนแท่ นล่ า งท าเป็ นโป๊ ะเหล็กเพื่อ ให้ลอยน้ าได้ใ นขณะ
ปฏิบตั ิงานขุด สามารถเคลื่อนย้ายได้ ซึ่ งรถขุดประเภทตีนตะขาบไม่สามารถลงไปขุดหรื อ
ทางานได้
ปัจจุบนั รถขุดประเภทนี้ที่มีใช้อยูใ่ นหน่วยงานของกรมชลประทานได้ถูกดัดแปลงเป็ น
รถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็กปุ้ งกี๋ตกั เข้า (Marsh Backhoe) เกือบทั้งหมด สื บเนื่องจากของเดิม
มีอายุการใช้งานมานาน อุปกรณ์อะไหล่หายาก ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแต่ละครั้งสู งมาก สานัก
เครื่ องจักรกล กรมชลประทานจึงมีนโยบายให้ปรับปรุ งดัดแปลงขึ้นใหม่ เพื่อให้เกิดความ
เหมาะสมสาหรับการใช้งาน
รถขุดชนิดโป๊ ะเหล็กปุ้ งกี๋ลาก [Marsh Dragline]

อักษรย่อกรมชลประทานใช้เรี ยกประเภท : MD

ตัวอย่างการเรี ยก: รถ. 450


20

4. รถขุดปั้นจัน่ ชนิดล้ อยางติดอุปกรณ์ ยกติดปุ้ งกี๋

(Dragline Crawler and Truck crane Mounted)

แสดงลักษณะรถขุดปั้ นจัน่ ชนิดล้อยางติดอุปกรณ์ยกติดปุ้ งกี๋

( Dragline Crawler and Truck crane Mounted) (DL-TM)


รถขุดปั้นจัน่ ชนิดล้อยางติดอุปกรณ์ยกติดปุ้ งกี๋ขดุ ได้ (DL-TM) สามารถติดตั้งปุ้ งกี๋
ขนาด 0.6 ลูกบาศก์เมตรได้ และสามารถยกนํ้าหนักได้ 25 ตัน ลักษณะการทํางานเป็ นรถ
สําหรับยกของที่ติดตั้งบนรถบรรทุก ซึ่งมีขีดจํากัดในการยกของได้หนัก 25 ตัน โดยมีตะขอ
เป็ นตัวเกี่ยวของขณะยก และกางขาออก ให้ออกเพื่อช่วยรับนํ้าหนักแทนล้อ ในบางกรณี ที่
จําเป็ นต้องนําไปขุดดินก็สามารถเปลี่ยนจากตะขอมาเป็ นการใส่ ปุ้งกี๋แทน เช่นใช้ในงาน
ก่อสร้าง งานดิน ที่มีปริ มาณงานไม่มากนัก เพราะสะดวกในการวิง่ เคลื่อนย้ายไปไหนมา
ไหนได้ เพื่อความรวดเร็วของการทํางาน
รถขุดปั้นจัน่ ชนิดล้อยางติดอุปกรณ์ยกติดปุ้ งกี๋

[Dragline Crawler and Truck crane Mounted]

อักษรย่อกรมชลประทานใช้เรี ยกประเภท : DL-TM

ตัวอย่างการเรี ยก: รถ. 418


สา วนที่ 3

การเลือกใช้ รถขุด
22

การเลือกใช้ รถขุด

การเลื อ กใช้ ชนิ ด ของเครื่ องจัก รกลรถขุ ด ไม่ ส ามารถจํา กัด ขอบเขตเป็ น
ลักษณะเฉพาะได้ เนื่ องจากมีเหตุปัจจัยหรื อองค์ประกอบอย่างอื่นที่จะต้องนํามาพิจารณา
เพื่ อ เลื อ กใช้เ ครื่ อ งจัก รให้มี ค วามเหมาะสมกับ ลัก ษณะคลองที่ ขุ ด ลอกทํา ให้ป ระหยัด
ค่าใช้จ่าย และไม่สูญเสี ยเวลา

ปัจจัยทัว่ ไปทีน่ ามาประกอบการพิจารณาเพือ่ กาหนดเลือกใช้


รถขุด
1. มิติทวั่ ไปของคลอง เช่น ความกว้าง ความยาว ความลึก ของคลองที่ขุดลอก ต้องมี
การทําการตรวจสอบมิติของคลองเสี ยก่อน ก่อนจะตัดสิ นใจเลือกใช้เครื่ องจักรชนิด
ใดเข้าไปทํางาน
2. สภาพของดินในบริ เวณคลองที่ขุด เนื่องจากสภาพดินของแต่ละพื้นที่ แต่ละภาคไม่
เหมือนกัน เช่น ดินพรุ ดินทราย ดินเหนียว ดินแข็ง-อ่อน เป็ นดินขุดยากหรื อดินขุด
ง่าย
3. สภาพของสิ่ งแวดล้อม รอบข้างของคลองที่ขุด สิ่ งกีดขวางต่างๆ เช่ น ต้นไม้ใหญ่
สะพาน ท่อนํ้า ถนน แหล่งชุมชน เครื่ องมือการประมง ทําให้เกิดความไม่สะดวกใน
การทํางาน
23

ลักษณะงานกับการเลือกใช้

รถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็กปุ้งกีต๋ ักเข้ า [MB]

แสดงลักษณะงานขุดลอกปากอ่าวหรื อปากคลอง เป็ นการขุดตะกอนดิน หรื อตะกอนทรายที่


เกิดจากการทับถมของดินเนื่ องจากการพัดพาของคลื่นซึ่ งรถขุดประเภทอื่นไม่สามารถลงไปขุด
ลอกได้ จําเป็ นต้องใช้รถขุดประเภท Marsh Backhoe

ปั ญหาตะกอนดิน หรื อตะกอนทราย เป็ นปั ญหาหนึ่ ง ที่เกิดขึ้นในโครงการชลประทาน


หลายแห่ ง ทั้งในระบบส่ งนํ้า และระบบระบายนํ้า ตะกอนทรายจะเกิดขึ้นบริ เวณหน้าฝาย
ทดนํ้า ปากคลองส่ งนํ้า หน้าโรงสู บนํ้า และมีตะกอนบางส่ วนไหลปนไปกับนํ้า เข้าสู่ คลอง
ส่ งนํ้า ขณะที่ในระบบระบายนํ้า คลองระบายนํ้าหลายแห่ ง ที่ระบายนํ้าออกสู่ ทะเลทาง
ภาคใต้ ฝั่งตะวันออกมีตะกอนทราย ตกจมปิ ดปากคลอง ทําให้น้ าํ ระบายออกไม่ สะดวก
เกิดปัญหานํ้าท่วมและนํ้าเสี ย กรมชลประทานต้องใช้งบประมาณในการขุดลอกเป็ นจํานวน
มากทุกปี
24

แสดงลักษณะงานขุดลอกคลองที่มีสิ่งกีดขวาง เครื่ องมือการประมง

งานขุดลอกคลองที่มีสิ่งกีดขวาง เครื่ องมือการประมง ลักษณะที่มีความจําเป็ นต้องนํา


รถขุดลงไปขุดในคลอง เนื่องจากบริ เวณบนคันคลองทั้งสองฝั่งมีสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สิน
ของผูท้ ี่ อ าศัยบริ เ วณริ มคลอง เพื่ อให้ไม่ ใ ห้เ กิ ดผลกระทบ หรื อเกิ ดผลกระทบน้อยที่ สุ ด
เลือกใช้รถขุดประเภท Marsh Backhoe ทําการขุดลอก และสิ่ งที่ควรทําก่อนการขุดลอกก็
ควรแจ้ง หรื อประสานงานทําความเข้าใจกับเจ้าของเครื่ องมือประมงเพื่อเก็บอุปกรณ์การ
ประมงออกเสี ยก่อน ก่อนจะขุดลอกและควรขุดด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะการหมุนตัว
รถขุด หรื อเดินเข้าออกซึ่งอาจจะทําให้เกิดความเสี ยหายได้ต่อเครื่ องมือการประมงได้
25

แสดงลักษณะงานขุดลอกป่ าพรุ และคลองที่มีวชั พืชขึ้นปกคลุม

งานขุดลอกคลอง หนอง บึง ซึ่งเป็ นป่ าพรุ เลือกใช้รถขุดประเภท Marsh Backhoe ทํา
การขุดลอก ซึ่งรถขุดประเภทอื่นไม่สามารถลงไปขุดได้ หากมีความจําเป็ นต้องใช้รถขุด
ชนิดอื่น ก็ตอ้ งใช้ท่อนไม้หรื อไม้หมอนรองพื้น หรื ออาจจะใช้แผ่นเหล็กรองก็ได้ เพื่อไม่ให้
รถขุดจมในระหว่างขุด

แสดงลักษณะงานขุดลอกตะกอนทรายท้องคลอง
ของรถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็ก Marsh Backhoe

จากภาพเป็ นงานขุดลอกคลอง โดยใช้รถขุด Marsh Backhoe ซึ่ งเป็ นการนํารถขุดลง


ไปอยูใ่ นตําแหน่งกลางคลอง เพื่อทําการขุดลอกตะกอนดินบริ เวณที่กลางคลอง และวางดิน
ขุดไว้เกือบจะถึงคัน เนื่องจากคลองมีความกว้างมากจําเป็ นไม่สามารถที่จะวางดินให้ถึงคัน
คลองได้ จําเป็ นต้องขุดทอยดิน และใช้รถขุดไฮดรอลิ กชนิดตีนตะขาบปุ้ งกี๋ตกั เข้า แขนสั้น
ขุดทอยพร้อมปรับแต่งคันคลอง ซึ่งเป็ นการใช้รถขุดทํางานร่ วมกัน
26

แสดงลักษณะงานขุดลอกคลองและวัชพืชรากหยัง่ ลึก

จากภาพเป็ นงานขุดลอกคลองที่มีวชั พืชรากหยัง่ ลึก โดยใช้รถขุด Marsh Backhoe ซึ่ ง


มีการนํารถขุดลงไปอยูใ่ นตําแหน่งกลางคลอง เพื่อทําการขุดลอกคลองและวัชพืชได้พร้อม
กัน เมื่อขุดดินแล้วนําดินไปวางไว้บนคันคลองได้ท้ งั สองข้าง

การเลือกใช้รถขุด Marsh Backhoe กับลักษณะงานเช่ น ต้องตรวจสอบขนาดความ


กว้างของคลอง เพื่อให้เหมาะสมกับการวางตัวรถ จะทําให้มีความสะดวก รวดเร็ ว และ
ประหยัด ความกว้างของคลองควรจะประมาณ 12 เมตร
27

ลักษณะงานกับการเลือกใช้

รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบปุ้งกีต๋ ักเข้ าแขนยาว [HB-LR]

แสดงลักษณะงานขุดลอกคลองระบายนํ้า

จากภาพเป็ นงานขุดลอกคลองระบายน้ า เป็ นคลองที่มีความกว้างและลึก ซึ่งรถขุดชนิด


แขนสั้นไม่สามารถขุดได้ถึง จึงเหมาะกับรถขุดชนิดแขนยาวเพราะสามารถยืดแขนขุดไปได้
ไกลและขุดได้ลึกถึงท้องคลอง สามารถขุดทอยดินได้ไกล ทํางานได้รวดเร็ว

การขุดและปรับแต่งคันคลอง เราต้องปรับพื้นที่บริ เวณขอบคันคลองก่อนที่จะขุดและ


วางแนวรถขุดให้อยูใ่ นแนวเดียวกับปากคลองเพื่อจะได้ขดุ ปรับแต่งคันคลองได้
28

แสดงลักษณะงานขุดลอกคลองธรรมชาติที่คนั คลองมีสิ่งกีดขวางทาง
น้ า
จากภาพเป็ นงานขุดลอกคลองที่มีส่ิ งกีดขวางบริ เวณช่วงคอสะพาน หรื อท่อลอดซึ่งทํา
ให้น้ าํ ไหลผ่านไม่สะดวก การขุดเปิ ดช่องทางนํ้าไหลทําได้โดย ใช้รถขุดไฮดรอลิกชนิด
ตีนตะขาบปุ้ งกี๋ตกั เข้าแขนยาว โดยการขุดล้วงเอาตะกอนดินใต้สะพานออก ในกรณี น้ ีรถขุด
ชนิดแขนสั้นไม่สามารถขุดได้ถึง จึงเหมาะกับรถขุดชนิดแขนยาวเพราะสามารถยืดแขนขุด
ไปได้ไกลและสามารถขุดได้ลึกถึงใต้ทอ้ งสะพาน

ลักษณะงานการขุดเช่นนี้ ต้องใช้ผขู ้ บั มีความชํานาญ และต้องการความแม่นยําสู ง

แสดงลักษณะงานขุดลอกแหล่งนํ้าที่มีวชั พืชรากหยัง่ ลึก

งานลักษณะดังกล่าวเป็ นงานที่เก็บวัชพืชที่มีรากหยัง่ ลึก ไม่เกิน 50 เซนติเมตร ใช้


ปุ้ งกี๋ตกั ผักหรื อวัชพืชส่ วนใหญ่จะใช้ปุ้งกี๋แบบโปร่ ง โดยใช้รถขุดชนิดแขนยาว และ
วัชพืชส่ วนใหญ่จะเป็ นผักกระฉูด
29

ลักษณะงานกับการเลือกใช้

รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบปุ้งกีต๋ ักเข้ าแขนสั้ น [HB-CM]

แสดงลักษณะงานขุดลอกคลองส่ งนํ้า
งานขุดลอกคลองส่ งน้ าเป็ นงานขุดลอกที่มีอยูเ่ ป็ นส่ วนใหญ่ของการขุดลอก คลอง
ประเภทนี้โดยทัว่ ไปจะใช้รถขุดชนิดแขนสั้น ซึ่งเหมาะสาหรับคลองที่มีความกว้างไม่
เกิน 15 เมตร สามารถทางานได้คล่องตัว และรวดเร็ว

แสดงลักษณะงานขุดร่ องแกน (งานสร้างเขื่อน) งานเรี ยงหิน(งานก่อสร้าง)


การใช้ร ถขุด ชนิ ด แขนสั้ นส าหรั บ งานก่ อ สร้ า งเป็ นการเลื อ กใช้ร ถขุด ที่ มี ค วาม
เหมาะสม เนื่ องจากงานก่อสร้ างเป็ นงานที่มีความหลากหลาย ต้องการความคล่องตัว
และลักษณะของดิ นที่ ขุดส่ วนใหญ่จะเป็ นดิ นแข็ง จาเป็ นต้องใช้ปุ้งกี๋หรื อบูมที่ มีความ
แข็งแรงสู ง รถขุดไฮดรอลิกชนิดแขนสั้นจึงเหมาะสมในการทางานประเภทนี้
30

แสดงลักษณะงานช่วยเหลือและป้ องกันอุทกภัย

งานช่วยเหลือและป้ องกันอุทกภัย เป็ นงานที่ใช้เครื่ องจักรกลที่มีความคล่องตัวสู ง


สําหรับการแก้ไขให้ความช่วยเหลือราษฎร เมื่อเกิดเหตุการณ์ข้ ึน รถขุดไฮดรอลิกชนิด
ตีนตะขาบปุ้ งกี๋ตกั เข้าแขนสั้น เป็ นเครื่ องมือที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา เช่น งานขุดเปิ ดทางนํ้า
งานขุด ยก ลากหรื อทําลายสิ่ งกีดขวางการไหลของนํ้า เมื่อเกิดเหตุการณ์อุทกภัย

แสดงลักษณะงานช่วยเหลือและป้ องกันอุทกภัย
31

แสดงลักษณะงานช่วยเหลือและ
ป้ องกันอุทกภัย เป็ นการใช้รถขุดชนิดแขน
สั้น [HB-CM] ขนย้ายวัสดุเพื่อทําคันกั้นนํ้า
ล้นคันขอบคลอง เป็ นการช่วยป้ องกันอุทกภัย
32

ลักษณะงานกับการเลือกใช้

รถขุดชนิดตีนตะขาบปุ้งกีล๋ าก Dragline [DL-CM]

แสดงลักษณะงานขุดคลองระบายนํ้า

การใช้รถขุดชนิด Dragline กับลักษณะงานขุดลอกคลองระบายนํ้า งานขุดเปิ ดหน้าดิน


หรื องานขุดทอยดิน เป็ นการเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม และรถขุดจะทํางานได้ดี
เนื่องจากคลองระบายนํ้าเป็ นคลองที่มีความกว้าง พื้นที่บริ เวณคลองส่ วนใหญ่แล้วจะโล่งไม่
มีสิ่งกีดขวาง หรื อการขุดทอยดิน รถขุดชนิดนี้สามารถขุดทอยดินได้ในระยะที่ไกลกว่ารถ
ขุดประเภทอื่น อีกทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่าย และทํางานได้รวดเร็วอีกด้วย

ก่อนจะทําการขุดลอกคลอง ต้องปรับเกลี่ยแนวคันคลองให้เสมอก่อน เพื่อให้รถขุด


เดิ นในระหว่างขุด และพื้นของแนวเดินรถต้องมีความแข็งพอที่จะรับนํ้าหนักตัวรถขุดได้
หากเป็ นดินอ่อนก็ควรจะใช้แผ่นเหล็ก หรื อท่อนไม้ สําหรับรองตัวรถป้ องกันการยุบตัวของ
ดินในขณะขุด
33

แสดงลักษณะงานขุดลอกคลองส่ งนํ้า

รถขุดชนิด Dragline ที่มีใช้ในปัจจุบนั สําหรับงานขุดลอกของกรมชลประทาน มี 2


ขนาด แบ่งตามลักษณะของความจุปุ้งกี๋ คือ ขนาดความจุปุ้งกี๋ 0.57 ลูกบาศก์เมตร และขนาด
ความจุปุ้งกี๋ 1.15 ลูกบาศก์เมตร สําหรับงานขุดลอกคลองส่ งนํ้า ที่ตอ้ งใช้รถขุดชนิด
Dragline ส่ วนใหญ่จะใช้รถขุดขนาดความจุปุ้งกี๋ 0.57 ลูกบาศก์เมตร เพราะคลองส่ งนํ้ามี
ความกว้างไม่มากนัก

ก่อนจะทําการขุดรถขุดชนิดนี้ตอ้ งปรับเกลี่ยแนวคันคลองให้เสมอก่อน เพื่อให้รถขุด


เดินในระหว่างขุด และวางรถขุดกับแนวปากคลองที่จะขุดให้มีระยะที่เหมาะสมในการขุด
เพื่อจะได้ขดุ ดินมาตั้งวางเป็ นคันพร้อมปรับเกลี่ยดินขุดให้เรี ยบร้อย

แสดงการทํางานของรถขุด Dragline
34

แสดงลักษณะงานขุดลอกคลองธรรมชาติ

การใช้รถขุดชนิด Dragline กับลักษณะงานขุดลอกคลองธรรมชาติ อาจจะเสี ยเวลา


และค่อนข้างยุง่ ยากบ้าง เนื่องจากสภาพคลองธรรมชาติส่วนมากจะมีตน้ ไม้ หรื อสิ่ งกีดขวาง
จํานวนมาก จําเป็ นต้องขุดปรับแต่งทางเดินของรถขุดก่อน หรื ออาจมีสิ่งปลูกที่พกั ที่ของผู ้
อาศัยบริ เวณริ มคลอง ซึ่งจะเป็ นอุปสรรคในการทํางาน
สา วนที่ 4

เทคนิคและวิธีการใช้ รถขุด
36

การเลือกใช้ รถขุดประเภทไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็กปุ้งกีต๋ ักเข้ า (MB)

ลัก ษณะสภาพแวดล้ อ มทั่ ว ไปของ


คลอง เป็ นคลองระบายนํ้าที่มีวชั พืชขึ้น
ปกคลุมตลอดสาย ความกว้างของปาก
คลองประมาณ 10 เมตร ระดับความ
ลึ ก ของนํ้า เฉลี่ ย ประมาณ 1 เมตร
บริ เ วณคัน คลองมี ส ายส่ ง ไฟฟ้ าแรง
เคลื่อนสู ง สายส่ งไฟฟ้ าแรงเคลื่อนตํ่า
และเสารั้ วลวดหนามพร้ อ มต้น ไม้
ตลอดแนวขุดลอก
37

ข้อจากัดการเลือกใช้รถขุด
DL

HB-CM HB-LR

MB

ตัวอยาางการพิจารณาเปรียบเทียบลักษณะสภาพสิ่ งแวดล้อมกับข้ อจากัดการใช้ งานของรถ


ขุด

สภาพสิ่งแวดล้ อม รถขุดไฮดรอลิค รถขุดไฮดรอลิค รถขุดไฮดรอลิค รถขุดตีนขะขาบ


ชนิดแขนสั้น ชนิดแขนยาว ชนิดโป๊ ะเหล็ก ชนิดปุ้ งกีล๋ าก
[HB-CM] [HB-LR] [MB] [DL]
ทําไม่ได้ ทําไม่ได้ ทําไม่ได้ ทําไม่ได้
ต้ น ไ ม้ , เ ส า รั้ ว , (รถขุดไม่สามารถเดิน (รถขุดไม่สามารถ (รถขุดไม่สามารถ (รถขุดไม่สามารถ
กาแพง ขุดบนขอบคัน เดินขุดบนขอบคัน เดินขุดบนขอบคัน เดินขุดบนขอบ
คลองได้) คลองได้) คลองได้) คันคลองได้)
ทําได้
ถนน,เสาไฟฟ้า,สาย ทําไม่ได้ ทําไม่ได้ (วางรถขุดตําแหน่ง ทําไม่ได้
สา งแรงเคลือ่ นสู ง, (ติดสายส่ งไฟฟ้ า (ติดสายส่ งไฟฟ้ า กลางคลองขุดลอก (ติดสายส่ งไฟฟ้ า
แรงเคลื่อนตํ่า) แรงเคลื่อนตํ่า,แรง คลองทั้งดินและ แรงเคลื่อนตํ่า,แรง
แรงเคลือ่ นตา่
เคลื่อนสู ง) วัชพืชพร้อมปรับ เคลื่อนสู ง)
เกลี่ยแนวคันคลอง
ไปพร้อมกัน
38

จากภาพก่อนการขุดลอก คลองมีความ
กว้างของปากคลองประมาณ 8 -12 เมตร มี
สิ่ ง กี ด ขวางเป็ นอุ ป สรรคในการขุด ลอก
เช่ น เสากํ า แพงรั้ ว ต้ น ไม้ เสาสายส่ ง
ภาพก่อนขุดลอก ไฟฟ้ าแรงสู ง สายส่ ง ไฟฟ้ าแรงเคลื่ อ นตํ่า
ถนน ซึ่ งต้องนําไปประกอบการพิจารณา
เลื อกใช้เครื่ องจักรให้เหมาะสมกับสภาพ
พื้นที่ในการขุด เพราะถ้าไม่นาํ มาพิจารณา
จะทําให้เป็ นปัญหาอุปสรรคในการทํางาน

จากภาพกํา ลัง ขุด เป็ นการเลื อกใช้ร ถ


ขุ ด ไ ฮ ด ร อ ลิ ก ช นิ ด โ ป๊ ะ เ ห ล็ ก [MB]
ภาพกําลังขุดลอก
เนื่องจากเป็ นการแก้ไขปัญหาอุปสรรคจาก
สิ่ งกีดขวาง ซึ่ งรถขุดชนิดอื่นๆ ไม่สามารถ
จะเดินขุดบนคันหรื อปากคลองได้ท้ งั สอง

จากภาพหลังการขุด เป็ นการขุดลอก


ทั้งตะกอนดิน และวัชพืช วางดินขุดไว้บน
คัน คลองพร้ อ มปรั บ เกลี่ ย ให้ เ รี ยบร้ อ ย
สวยงาม
ภาพหลังการขุดลอก
39

การเลือกใช้ รถขุดประเภทไฮดรอลิกชนิดปุ้งกีต๋ ักเข้ าแขนสั้ น (HB-CM)

ลักษณะคลองส่ งนํ้าขนาดเล็กเป็ นผนัง


คอนกรี ตมี ว ั ช พื ช ขึ้ นปกคลุ ม ทํ า ให้
ขัดขวางทางการไหลของนํ้า ไม่ สามารถ
ส่ งนํ้าให้กบั เรื อกสวนไร่ นา และผูใ้ ช้น้ ํา
ได้

เพื่อความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ วต่อ


การทํา งาน ไม่ ท าํ ให้ค ัน คลองและแนว
ผนั ง คอนกรี ตชํา รุ ดหรื อเกิ ด พัง ได้ จึ ง
เลื อกใช้รถขุดไฮดรอลิ ก ชนิ ดตี นตะขาบ
ปุ้ งกี๋ ต ั ก เข้ า (Hydraulic Backhoe
Excavator) ชนิ ดแขนสั้นขนาดเล็ก เข้า
ทํางาน
40

การเลือกใช้ รถขุดประเภทไฮดรอลิก ชนิดปุ้งกีต๋ ักเข้ าแขนยาว (HB-LR)

ลั ก ษ ณ ะ ค ล อ ง เ ป็ น ป า ก ค ล อ ง
ธรรมชาติ ระบายนํ้าเชื่ อมต่อกับแหล่งเก็บ
นํ้า(ทะเลสาบ) สภาพเป็ นดินเลน ที่เกิดจาก
การพัดพาของคลื่นนําเอาตะกอนดินมาทับ
ถมเป็ นสันเนิ นสู งปิ ดปากคลอง ทําให้การ
ระบายนํ้าไม่สามารถระบายได้ดี ส่ งผลให้
เกิดนํ้าท่วมขังในฤดูน้ าํ หลาก และยังทําให้
ชาวประมงไม่สามารถออกหาปลาได้

สภาพดิ น รอบบริ เ วณคัน คลองและ


รอบข้างโดยทัว่ ไปเป็ นดินอ่อน และเป็ นป่ า
พรุ

การแก้ไขปั ญหาด้วยการขุดลอกปาก
คลองโดยเลื อ กใช้ร ถขุ ด ไฮดรอลิ ก ชนิ ด
ตีนตะขาบบุ ้ง กี๋ ตกั เข้าแขนยาว ขุดลอก
ตะกอนดิน โดยวางตําแหน่งรถขุดไว้บนฝั่ง
คันคลอง และขุดลอกทีละฝั่ง

การเลือกใช้ชนิดรถขุดไฮดรอลิกชนิ ด
ตีนตะขาบบุง้ กี๋ ตกั เข้าแขนยาว เพื่อทําการ
ขุดลอกปากคลอง เป็ นขุด ลอกเพื่อ แก้ไ ข
ปั ญหาเฉพาะหน้า บรรเทาความเดือดร้อน
ให้ก ับ ประชาชน ความเหมาะสมควรจะ
เป็ นรถขุดชนิดโป๊ ะเหล็ก [MB]
41

การเลือกใช้ รถขุดกับประเภทของคลอง

กรณี ของการขุดลอกคลองที่มีความกว้างประมาณ 24 เมตร ซึ่ งรถขุดไฮดรอลิกชนิ ด


แขนสั้นไม่สามารถขุดได้ จําเป็ นต้องเลือกใช้รถขุดชนิดแขนยาว (HB-LR) และจําเป็ นต้องขุด
ทั้งสองฝั่ง เฉลี่ยขุดลอกฝั่งละ 12 เมตร โดยใช้รถขุดชนิดแขนยาว จํานวน 2 คัน วางตําแหน่งรถ
ขุดไว้ฝ่ังละคัน โดยขุดท้องคลองและปากคลองพร้อมกับปรับแต่งขอบคันคลองไปพร้อมกัน
เป็ นการเพิ่มความรวดเร็ วในการทํางาน (ดังภาพ)

กรณี ของการขุดลอกคลองที่มีความกว้างประมาณ 20 เมตร ซึ่งจะเลือกใช้รถขุดไฮดรอลิก


ชนิดแขนสั้น [HB-CM] และรถขุดชนิดแขนยาว (HB-LR) ทํางานร่ วมกันโดยต้องการวางดินขุดที่
มีปริ มาณไม่เท่ากัน (ดังภาพ)
42

กรณี ของคลองที่มีความกว้างประมาณ 10 เมตร และต้องการปรับเกลี่ยขอบคันคลอง


ทั้งสองฝั่ง การเลือกใช้รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบแขนสั้น (HB-CM) ซึ่งจําเป็ นต้องใช้ถึง
จํานวน 2 คัน หรื อใช้คนั เดียวแต่ขดุ ทั้งสองฝั่ง โดยการขุดทีละฝั่ง

ถ้าเลือกใช้รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบแขนยาว (HB-LR] จํานวน 1 คัน วางตัวรถ


ไว้บนขอบฝั่งคลองข้างเดียว ขุดเปิ ดร่ องนํ้าพร้อมปรับเกลี่ยแต่งขอบคันคลองได้ท้ งั สองฝั่งใน
คราวเดียวกัน จะเป็ นการประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งค่าขนย้าย ค่าจ้างแรงงาน (ดังภาพ)

การเลือกใช้รถขุดกับการเก็บวัชพืชหรื อสิ่ งอื่นที่ปิดกั้นขวางทางคลองระบายนํ้าที่มี


ผนังเป็ นคอนกรี ต จะเลือกใช้รถขุดชนิดแขนสั้นหรื อแขนยาวขึ้นอยูก่ บั ขนาดความกว้างของ
คลอง ก่อนจะขนย้ายรถขุดเข้าไปทํางานควรตรวจสอบสภาพและลักษณะงานก่อน

จากภาพเป็ นการเลือกใช้รถขุดชนิดแขนยาวตักวัชพืชใส่ รถบรรทุกเพื่อขนย้ายไปทิ้ง


เป็ นลักษณะงานช่วยเหลือและป้ องกันอุทกภัย
43

ในลักษณะการทํางานของรถขุดบางครั้งรถขุดไม่สามารถทํางานได้ จําเป็ นต้อง


ปรับแก้หรื อแก้ไขวิธีการทํางาน เพื่อให้งานที่ออกมาเป็ นไปตามข้อกําหนดหรื อแผนงาน
ดังภาพการเลือกใช้รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบแขนยาว (HB-LR) ขุดลอกคลองและ
เก็บวัชพืชหรื อสิ่ งอื่นที่ปิดกั้นขวางทางระบายนํ้า กับงานขุดลอกคลองธรรมชาติ บางช่วง
ของคลองจะมีความกว้าง ที่รถขุดไม่สามารถขุดล้วงถึงได้ จําเป็ นต้องใช้กาํ ลังคนเข้าช่วย
เพื่อความรวดเร็ วในการทํางาน
44

วิธีการขุดคลองสา งนา้

แสดงลักษณะสภาพเดิมของคลองก่อนที่จะขุด เป็ นคูระบายนํ้าเล็กๆ ถูกออกแบบให้


เป็ นคลองระบายนํ้าที่มีความกว้างของปากคลอง 20 เมตร ท้องคลองกว้าง 8 เมตร และขอบคัน
คลองกว้าง 4 เมตร

แสดงลักษณะการวางตําแหน่งรถขุดให้เหมาะสมกับการขุดลอกคลอง โดยใช้รถ
ขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบ แบบแขนสั้น [HB-CM] ขุดเปิ ดแนวท้องคลองและแนวขอบคัน
คลอง ก่อน 1 ครั้ง

ส่ วนด้านฝั่งขวาใช้รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบ แบบแขนยาว [HB-LR] โดยวาง


แนวตัวรถขุดไว้บนถนนลาดยาง
45

แสดงลักษณะการใช้รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบ แบบแขนสั้น [HB-CM] ขุดเปิ ด


ดินแนวท้องคลองและแนวขอบคันคลอง ครั้งที่ 2 พร้อมปรับเกลี่ยดินที่ขดุ วางไว้จากขุดครั้งที่
1

ส่ วนด้านฝั่งขวาใช้รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบ แบบแขนยาว [HB-LR] ขุดวางดิน


แนวขอบคลองพร้อมเกลี่ยปรับ และแต่งความลาดชันของขอบคลองไปด้วย

แสดงลักษณะการขุดขยายแนวคันคลองระบายนํ้า เป็ นการขุดที่มีการทิ้งดินหรื อวางดิน


ขุดได้ฝั่งเดียว (ฝั่งรถขุดชนิดแขนสั้นทํางาน) เนื่ องจากอีกฝั่งเป็ นถนนลาดยางไม่สามารถวางดิน
ที่ขดุ ได้ (ฝั่งเดียวกับรถขุดชนิ ดแขนยาวทํางาน)

การขุดท้องคลอง และการสร้างคันดินพร้อมปรับเกลี่ยแต่งลาดชัน จึงเป็ นงานของรถขุด


ชนิดแขนสั้น ในการทํางานจึงต้องคํานึงถึงการวางตําแหน่งของรถขุดให้ดีและมีความเหมาะสม
คล่องตัวในการทํางาน พนักงานขับต้องมีประสบการณ์ เข้าใจในขั้นตอนการทํางานเป็ นอย่างดี
46

วิธีการนาดินทีต่ ิดค้ างออกจากปุ้งกี๋

ดินที่ติดค้างปุ้ งกี๋ส่วนใหญ่แล้วจะเป็ นดินเหนียว เมื่อขุดดินแล้วทิ้งดินไม่หมดส่ วน


หนึ่งยังคงติดอยูก่ บั ปุ้ งกี๋ เมื่อขุดหลายๆครั้งดินก็จะพอกติดกับปุ้ งกี๋เพิ่มมากขึ้น บางครั้งติดค้าง
จนไม่สามารถขุดดินได้อีก จําเป็ นต้องขุดหรื อเขี่ยออกจากตัวปุ้ งกี๋

ให้นาํ หรื อหาขอนไม้ที่มีอยูใ่ นบริ เวณใกล้เคียง ใช้ปุ้งกี๋ตกั ยกขอนไม้ข้ ึน แล้วปักลงดิน


ในแนวเอียงตามความเหมาะสม จากนั้นจึงนําปุ้ งกี๋แก่วงไปมา เพื่อเขี่ยเอาดินที่ติดอยูก่ บั ปุ้ งกี๋
ออก (ดังแสดงในภาพ)
47

วิธีการวางตาแหนา งรถขุดเพือ่ การขุดทอยดิน

แสดงลักษณะการวางตําแหน่งรถขุด เพื่อขุดขยายความกว้างของคลองที่ตอ้ งขุดทอย


ดิน 2 ครั้ง โดยใช้รถขุดชนิด Dragline

ตําแหน่งที่ 1 วางรถขุดตําแหน่งที่ตอ้ งขุดขยายความกว้างของคลอง โดยนําดินที่ขุดวาง


ไว้บริ เวณพื้นที่ดา้ นหลังแนวขุดโดยทิง้ ดินให้ได้ระยะไกลที่สุด

ตําแหน่งที่ 2 เป็ นการวางรถขุดให้เหมาะสมกับการขุดขยายความกว้างของคลอง และ


ขุดทอยดินที่รถขุดตําแหน่งที่ 1 ขุดวางไว้

หมายเหตุ การวางตําแหน่งรถขุดให้เหมาะสม หรื อระยะใกล้ไกลในการขุดทอยดิน ขึ้นอยูก่ บั


ขีดความสามารถในการขุด ตามขนาด และชนิดของรถขุด
48

การขุดทอยดินเป็ นวิธีการหนึ่งในการเคลื่อนย้ายดินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดย
ใช้รถขุดเป็ นเครื่ องมือในการขนย้าย ทั้งนี้ ดินที่ขุดขึ้นแต่ละครั้งเมื่อวางลงแล้วจะมีการ
ขยายตัวของดิน ที่เรี ยกกันว่า “ดินฟู”

ในกรณี ของการขุดทอยโดยรถขุดเป็ นลักษณะของพื้นที่คลองที่ขุดนั้นมีความกว้าง


เกินขอบเขตที่รถขุดสามารถขุดได้ถึงตามระยะที่กาํ หนด เช่น โดยปกติการเลือกใช้รถขุดแต่
ละชนิด ขนาด ต้องมีความเหมาะสมกับความกว้างของคลอง ซึ่ งส่ วนใหญ่แล้วจะมีลกั ษณะ
การขุดครั้งเดียวแล้ววางดินบนคันคลองพร้อมปรับเกลี่ยเสร็จเรี ยบร้อย

แต่การขุดทอยดินเป็ นไปเพื่อนําดินที่ขดุ ขึ้นแล้ว ส่ งไปวางในพื้นที่กาํ หนดวางดินขุด


ซึ่งบางครั้งต้องขุด 2-3 ครั้ง หรื ออาจจะขนย้ายด้วยรถบรรทุก
49

การขุดลอกแนวกลางคลองโดยรถขุดตีนตะขาบ

การใช้รถขุดชนิ ดแขนสั้นกับลักษณะงานที่มีขอบคันคลองมีความสู งชันมาก รถขุดไม่


สามารถเดินขุดบนคันคลอง และไม่สามารถขุดได้ถึงท้องคลองได้ จําเป็ นต้องนํารถขุดลงไปขุด
ในตําแหน่งกลางคลอง การที่จะนํารถขุดลงไปขุดตําแหน่งกลางคลองได้ตอ้ งตรวจสอบสภาพ
ดินที่ทอ้ งคลองก่อน จะต้องมีสภาพเป็ นดินแข็งพอจะรับนํ้าหนักของตัวรถได้
50

วิธีการขุดลอกคลองและการวางดินขุด

แสดงลักษณะการขุดวางดินแนวไหล่คนั คลอง

แสดงลักษณะการขุดวางดินแนวบนคันคลอง

แสดงลักษณะการขุดวางดินแนวไหล่คนั คลอง
51

การขนย้ ายรถขุด

การขนย้ายรถขุดและอุปกรณ์เป็ นขั้นตอนหรื อกระบวนการหนึ่งของการปฏิบตั ิงาน


เกี่ยวกับงานรถขุด ซึ่งการขนย้ายรถขุดแต่ละชนิดมีข้ นั ตอนการปฏิบตั ิไม่เหมือนกัน มีวธิ ีที่
แตกต่างกันไปตามชนิดและขนาดของรถขุด

แสดงลักษณะขนย้ายรถขุดไฮดรอลิกชนิดแขนยาว [HB-LR] ด้วยรถบรรทุกลากจูง

แสดงลักษณะขนย้ายรถขุดไฮดรอลิกชนิดแขนสั้น [HB-CM] ด้วยรถบรรทุกลากจูง


52

แสดงลักษณะขนย้ายรถขุดชนิด Dragline [DL-CM] ด้วยรถบรรทุกลากจูง

การขนย้ ายรถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็ก [MB]

การขนย้ายรถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็ก ค่อนข้างจะมีความยุง่ ยากพอสมควร


เนื่องจากมีอุปกรณ์หรื อชิ้นส่ วนประกอบหลายชิ้น จําเป็ นต้องใช้รถยกหรื อเครน ในการยก
ถอดประกอบชิ้นส่ วนต่างๆ และใช้เจ้าหน้าที่จาํ นวนมาก ในการถอดประกอบเคลื่อนย้ายแต่
ละครั้ง

การขนย้ายรถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็ก [MB] ต้องถอดชิ้นส่ วนประกอบตัวรถ


ออกเป็ น 2 ส่ วน เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้าย คือ

1. ส่ วนที่เป็ นตัวรถ จํานวน 1 ชิ้น


2. ส่ วนที่เป็ นโป๊ ะเหล็ก จํานวน 2 ชิ้น

เครื่ องจักรเครื่ องมือที่ใช้ในการขนย้ายรถขุดชนิดโป๊ ะเหล็ก มีดงั ต่อไปนี้

1. รถติดตั้งปั้นจัน่ หรื อรถเครน ขนาด 25 ตัน จํานวน 1 คัน


2. รถบรรทุกเทเลอร์ จํานวน 1 คัน
3. รถบรรทุกกระบะ 6 ล้อ ขนาด 6 ตัน จํานวน 1 คัน
53

แสดงลักษณะขนย้ายรถขุดชนิดโป๊ ะเหล็ก [MB] ด้วยรถบรรทุก

แสดงลักษณะเจ้าหน้าที่ทาํ การขนย้ายรถขุดชนิดโป๊ ะเหล็ก [MB]

รถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็ก [MB] มีน้ าํ หนักรวมประมาณ 20 ตัน การขนย้ายจึง


จําเป็ นต้องถอดแยกส่ วนประกอบออก เป็ นส่ วนๆ ออกเป็ น 3 ชิ้น เพื่อความสะดวกในการ
ขนย้าย จําเป็ นต้องใช้รถยกหรื อเครน รวมทั้งเจ้าหน้าที่และบุคลากรจํานวนมาก
54

แสดงลักษณะแยกชิ้นส่ วนของรถขุดชนิดโป๊ ะเหล็ก [MB] เพื่อสะดวกในการขนย้าย

หลังจากการถอดแยกชิ้นส่ วนของรถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็ก [MB] ออกเป็ น 2


ส่ วน แล้ว คือ ส่ วนที่เป็ นตัวรถ และส่ วนที่เป็ นโป๊ ะเหล็ก (มี 2 ลูก) หรื อรวมเป็ น 3 ชิ้น จึงจะ
ทําการขนย้ายได้

แสดงลักษณะแยกชิ้นส่ วนของรถขุดชนิดโป๊ ะเหล็ก [MB] เพื่อสะดวกในการขนย้าย

ในการขนย้ายต้องใช้โซ่หรื อลวดสลิงสําหรับผูกคล้องกับชุดตัวรถหรื อชุดโป๊ ะเหล็ก


ใช้รถติดตั้งปั้นจัน่ หรื อรถเครนยกชุดตัวรถวางไว้ส่วนหน้าของหางพ่วงรถบรรทุกเทเลอร์
และชุดโป๊ ะเหล็ก ซึ่งถอดแยกออกจากกันจํานวน 1 ลูก ยกวางไว้ส่วนหลังของหางพ่วง
รถบรรทุกเทเลอร์ และใช้ปุ้งกี๋ของชุดตัวรถวางกดทับไว้บนชุดโป๊ ะเหล็กพร้อมโซ่ผกู รัดกับ
ตัวรถบรรทุกเพื่อป้ องกันการเคลื่อนที่ ส่ วนชุดโป๊ ะเหล็กอีก 1 ลูก จะบรรทุกขนย้ายด้วย
รถบรรทุกกระบะ 6 ล้อ แทนรถบรรทุกเทเลอร์
55

แสดงลักษณะการยกชิ้นส่ วนและอุปกรณ์ของรถขุดชนิดโป๊ ะเหล็ก [MB] เพื่อประกอบตัวรถขุด

การขนย้ายเมื่อถึงจุดกําหนดที่จะนํารถขุดลงมาเพื่อประกอบ ยังมีความจําเป็ นต้องใช้


รถยกหรื อรถเครน เพื่อยกรถขุดลงจากรถบรรทุกเทเลอร์ และยกประกอบอีกครั้ง ก่อนที่จะ
ยกรถขุดลงมาประกอบ ต้องตรวจสอบบริ เวณพื้นที่ นอกจากจะมีพ้ืนโล่งสําหรับจะนํารถขุด
ลงแล้ว จะต้องมีพ้ืนว่างสําหรับรถยกหรื อรถเครนเพื่อการยกชิ้นส่ วนและอุปกรณ์ของรถขุด
ด้วย

แสดงลักษณะการยกชิ้นส่ วนและอุปกรณ์ของรถขุดชนิดโป๊ ะเหล็ก [MB] เพื่อประกอบตัวรถขุด


56

แสดงลักษณะการประกอบชิ้นส่ วนและอุปกรณ์ของรถขุดชนิดโป๊ ะเหล็ก [MB] ที่สมบูรณ์


เรี ยบร้อยพร้อมใช้งาน
การประกอบรถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็ก [MB] ต้องคํานึงถึงความปลอดภัยเป็ น
อันดับแรก และต้องเพิ่มความระมัดระวังในการยก และการประกอบอุปกรณ์ชิ้นส่ วนทุก
ขั้นตอน พื้นที่สาํ หรับใช้เป็ นลานประกอบต้องกว้างเพียงพอ และต้องหาพื้นที่บริ เวณที่ใกล้
กับคลองที่ขดุ มากที่สุด เนื่องจากรถขุดชนิดโป๊ ะเหล็กไม่เหมาะสําหรับการเดินบนบกใน
ระยะไกล เพราะอาจจะทําให้ชุดโซ่เดินรถและแผ่นตะขาบเกิดการชํารุ ดเสี ยหายได้
57

แสดงลักษณะการขนย้ายรถขุดชนิดโป๊ ะเหล็ก [MB] โดยไม่ตอ้ งถอดแยกอุปกรณ์ชิ้นส่ วน


ประกอบ

การขนย้ายรถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็ก [MB] ที่ไม่ตอ้ งถอดแยกชิ้นส่ วน โดยการ


นํารถขุดขึ้นทางด้านข้างหางลากพ่วงของรถบรรทุกเทเลอร์ ต้องมีเนินดินสําหรับรถขุดเดิน
ขึ้น หรื อตําแหน่งรถบรรทุกต้องอยูร่ ะดับตํ่ากว่ารถขุด และวางตัวรถขุดให้อยูใ่ นลักษณะ
แนวขวางกับตัวรถบรรทุก (ดังภาพ) ขณะที่นาํ รถขุดลงจะต้องนําลงทางด้านข้างของหางลาก
พ่วงของรถบรรทุกเทเลอร์เช่นกัน

การขนย้ายในลักษณะนี้ เป็ นการขนย้ายในระยะทางสั้นๆ หรื อใกล้ๆ ซึ่งอาจต้องปิ ด


ช่องเส้นทางการจราจร และต้องกระทําด้วยความระมัดระวังเป็ นอย่างมาก
58

การแก้ ไขปัญหาเมื่อรถขุดติดหลามหรือจมในขณะทางาน

ภาพแสดงการช่วยเหลือรถขุด ซึ่ งเกิดฝนตกนํ้าป่ าไหลหลากพัดเอาดินคันคลองจุดที่รถ


ขุดกําลังทํางาน ดินเกิดการเคลื่อนตัวทําให้รถขุดจมนํ้า เครื่ องยนต์ดบั ไม่สามารถช่วยเหลือ
ตัวเองได้ จําเป็ นต้องใช้รถขุดโป๊ ะเหล็ก และรถขุดปุ้ งกี๋ลากชนิดแขนสั้นเข้าช่วยเหลือ
59

ภาพแสดงรถขุดตกหลุมดินพรุ ขณะนํารถขุดเดินเข้าไปยังจุดปฏิบตั ิงานซึ่งสภาพ


พื้นที่เป็ นหลุมหรื อบ่อมีวชั พืชขึ้นปกคลุมมีน้ าํ ท่วมขัง ไม่สามารถเห็นพื้นดินได้ในขณะเดิน
รถขุด จึงทําให้รถขุดเดินพลาดตกบ่อ

กรณี น้ ีควรใช้ความระมัดระวังในการเดินรถในพื้นที่ ที่มีน้ าํ ท่วมขัง และวัชพืชขึ้นปก


คลุมหรื อควรตรวจสอบพื้นที่ให้มีความมัน่ ใจ หรื ออาจจะใช้แผ่นเหล็กปูรองพื้นก่อนจะนํารถ
ขุดเดินในพื้นที่น้ าํ ท่วมขัง
60

ภาพแสดงรถขุดชนิ ดโป๊ ะเหล็กจม ขณะปฏิบตั ิงาน เนื่องจากโป๊ ะเหล็กเกิดรอยรั่ว ทํา


ให้น้ าํ ไหลเข้าสู่ ภายในโป๊ ะเหล็กและเกิดการจมลงได้

กรณี น้ ีควรหมัน่ ตรวจสอบสภาพโป๊ ะเหล็กบ่อยๆ หากพบข้องบกพร่ องมีรอยรั่วให้รีบ


ดําเนินการซ่อมแซมหรื อแก้ไขทันที ก่อนที่จะนําไปใช้งาน

ภาพแสดงรถขุดชนิด Dragline ขณะปฏิบตั ิงาน เนื่องจากขอบคันคลองเป็ นดินอ่อนไม่


สามารถรองรับนํ้าหนักรถขุดได้ ต้องใช้ขอนไม้หรื อไม้หมอนรองช่วงล้อเพื่อให้รถขุดได้ไต่ข้ ึน
จากหล่มได้
61

ตัวอยา างลาดับการแก้ไขปัญหาเมื่อรถขุดติดหลามในขณะทางาน

ภาพแสดงรถขุดชนิด Dragline ติดหล่มหรื อจมขณะปฏิบตั ิงาน เนื่องจากขอบคันคลอง


เป็ นดินอ่อนไม่สามารถรองรับนํ้าหนักรถขุดได้

ภาพแสดงขั้นตอนการนํารถขึ้นจากหล่ม

จากภาพเป็ นใช้รถขุดไฮดรอลิกชนิดแขนสั้น ขุดดินด้านข้างฝั่งที่สูงกว่าออก เพื่อ


ต้องการปรับเกลี่ยให้ตวั รถขุดที่จม อยูใ่ นตําแหน่งตั้งตรงแนวดิ่ง เพื่อจะไม่ให้รถขุดพลิก
ล้มในขณะลากหรื อยกขึ้น
62

ภาพแสดงขั้นตอนการนํารถขึ้นจากหล่ม

เมื่อปรับเกลี่ยดินด้านข้างฝั่งที่สูงกว่าออกพอได้ระดับแล้ว จึงผูกลวดสายสลิงเข้ากับรถ
ขุด ที่ตาํ แหน่งของชุ ดล้อรถขุดทั้งสองข้าง และใช้รถเครนที่จดั เตรี ยมไว้ดึงรถขุดขึ้นจากหล่ม
63

ตารางขีดความสามารถโดยเฉลีย่ ของรถขุดแตา ละชนิด

ขนาดปุ้ งกี๋ ขีดความสามารถ


ชนิดรถขุด (ลูกบาศก์ เมตร) ในการขุดโดย หมายเหตุ
เฉลีย่ ตา อชั่วโมง
(ลูกบาศก์ เมตร)

รถขุดไฮดรอลิกชนิดตีนตะขาบ 0.4 20 - 40
ปุ้ งกี๋ตกั เข้า แขนสั้น ค่าขีดความสามารถโดย
Hydraulic Backhoe Excavator เฉลี่ยที่ระบุ ขึ้นอยูก่ บั
(Standard Boom) 0.6 30 - 50
- ลักษณะของงานที่ขดุ
- สภาพความพร้อมการ
1 50 - 65 ใช้งานของเครื่ องจักร
- สมรรถนะของ
รถขุดไฮดรอลิกคชนิดตีนตะขาบ เครื่ องจักรแต่ละยีหอ้
ปุ้ งกี๋ตกั เข้า แขนยาว 0.4 20 - 40 - องค์ประกอบอื่นๆ เช่น
Hydraulic Backhoe Excavator ความชํานาญของ
(Long Reach) พนักงานขับ

รถขุดไฮดรอลิกชนิดโป๊ ะเหล็ก 0.6 30 - 50


ปุ้ งกี๋ตกั เข้า (Marsh Backhoe)

รถขุดตีนตะขาบชนิดปุ้ งกี๋ลาก 0.6 20 - 50


(Dragline Excavator Crawler
Mounted)
1.2 50 - 65
บรรณานุกรม

สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เล่ม


ที่ 33. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุ งเทพ : โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน โดย
พระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั , 2556

ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พระราชบัญญัติการชลประทาน


หลวง พ.ศ. 2485. http://irre.ku.ac.th/imdex.php?option=com_

content&view=article&id=131:waterlaw2485=39:waterlaw&Itemid=99 (27
กรกฎาคม 2557)

ปริ ญญา กมลสิ นธุ และ กัญญา อินทร เกลี้ยง. การศึกษาวิจยั ระบบขับไล่ ตะกอนทราย.
สํานักวิจยั และพัฒนา กรมชลประทาน. http://www2.rid.go.th/research/
vijai_rid/ rde/doc/doc06.pdf (12 กรกฎาคม 2557)

สํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ . อัน
เนื่องพระราชดําริ . พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุ งเทพฯ : บริ ษทั รุ่ งศิลป์ การพิมพ์ (1977)
จํากัด, 2547

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี . คลอง. http://th.wikipedia.org/wiki (20 กรกฎาคม 2557)

วีระศักดิ์ กรัยวิเชียร. เครื่ องจักรกลงานก่อสร้าง. --กรุ งเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน่ , 2544

ศูนย์ปฏิบตั ิการเครื่ องจักรกลที่ 7. การจัดการงานขุดลอกคลองโดยรถขุด ดําเนิ นการเอง. (28


สิ งหาคม 2557)

ฝ่ ายรถขุดที่ 7. บันทึกองค์ความรู ้รถขุด. (28 สิ งหาคม 2557)

You might also like