Seminar2 +poin

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 22

วงจรกำเนิดสัญญาณอลวนด้วยแบบจำลองการกระตุกรูปแบบ

กระแสโดยใช้โอทีเอ
Jerk Model Current-mode Chaotic Oscillator based
on OTA

คุณานนต์ คะระวานิช
รศ.ดร.พิพัฒน์ พรหมมี

Mr.Khunanon Karawanich
Assoc. Prof. Dr.Pipat Prommee

บทคัดย่อ
บทความนีนำ
้ เสนอวงจรกำเนิดสัญญาณอลวน (Chaos) โดยใช้โครงสร้าง
ตามแบบจำลอง Jerk ของ Sportt ร่วมกับฟั งก์ชันไม่เป็ นเชิงเส้น Signum ในการ
กำเนิดสัญญาณจะทำได้โดยการปรับค่าสัมประสิทธิเ์ พียงหนึ่งค่า การ
ออกแบบวงจรกำเนิดสัญญาณอลวน จะทำงานในรูปแบบกระแสโดยใช้โอ
ทีเอ และ ตัวเก็บประจุเท่านัน
้ ไม่มีการใช้ความต้านทาน สามารถปรับค่า
ได้ทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีองค์ประกอบหลักสามส่วน ได้แก่ อินทีเกร
เตอร์แบบไม่สูญเสีย วงจรกรองความถี่ต่ำผ่านอันดับสอง และฟั งก์ชันไม่
เป็ นเชิงเส้น ซึ่งวงจรสามารถปรับค่าเงื่อนไขการกำเนิดสัญญาณได้จาก
ตัวประกอบคุณภาพ (Quality Factor) ของวงจรกรองความถี่ต่ำผ่านอันดับสอง
การจำลองการทำงานของวงจรด้วยโปรแกรม PSpice และโปรแกรม MATLAB

พบว่า วงจรสามารถแสดงการเกิดสัญญาณอลวน (Chaos) ได้ และ ยังพบว่า


คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พฤติกรรมของสัญญาณมีช่วงการทำงานทวีค่าที่แน่นอนสอดคล้องกับผล
จากวงจร โดยยืนยันได้จากกราฟ Bifurcation และ Poincare Map

Abstract
This paper describes a chaotic oscillator circuit based on Jerk model and nonlinear function. The
signum function is deployed to realize the chaotic oscillator which controlled by using a single
parameter. The OTA and grounded capacitors are used without the resistors for achieving the chaotic
oscillator. The circuit consists of main three parts, lossless integrator, biquadratic low-pass filter, and
nonlinear function circuits. The condition of chaos signal can be electronically tuned through the
quality factor of biquadratic low-pass filter. The simulation results are incorporated by PSpice and
MATLAB which found that the chaos signal can be generated agree well to the theory. The chaos
behavior can also be proved by bifurcation diagram and Poincare Map. The signal output has doubling
periods according to the circuit results.

---------------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------
* นักศึกษาปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
** อาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้ า คณะวิศวกรรมศาสตร์
1.บทนำ

วงจรอิเล็กทรอนิกส์วงจรแรกของ Chua แสดงการเกิดสัญญาณอลวน


(Chaos) ถูกค้นพบในห้องวิจัยซึ่งยังไม่มีการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ [1] โดยมี
การใช้สมการอนุพันธ์อันดับหนึ่ง (Ordinary Differential Equations) สามสมการ ต่อ
มาวงจรกำเนิดสัญญาณอลวนแบบโคลพิทส์ (Chaotic Colpitts Oscillator) ได้นำ
เสนอโดย Kennedy [2] ค้นพบว่าวงจรเกิดสัญญาณรูปแบบไซน์สามารถเกิด
สัญญาณอลวน (Chaos) ได้ จากนัน
้ Elwakil และ Kennedy ได้ใช้ กระบวนการกึ่ง
ระบบ มาดัดแปลงวงจรกำเนิดสัญญาณไซน์เป็ นวงจรกำเนิดสัญญาณ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
อลวน (Chaos) โดยมีวงจรกำเนิดสัญญาณไซน์เป็ นวงจรหลักและมีการใช้
อุปกรณ์แบบไม่เชิงเส้นต่อจากภายนอก เป็ นอุปกรณ์จัดเก็บพลังงาน (ตัว
เหนี่ยวนำและตัวเก็บประจุ) และไดโอด [3] นอกจากนีย
้ ังมีวงจรกำเนิด
สัญญาณอลวน (Chaos) อีกหลายวงจร เช่น วงจรกำเนิดสัญญาณแบบ Wein-

bridge [3] วงจรเกิดสัญญาณ Twin-T [4] วงจรกำเนิดสัญญาณด้วย CFOA (Current

Feedback OPAMP) [5] เป็ นต้น จะเห็นได้ว่ามีการคิดค้นวงจรที่สามารถเกิด


สัญญาณอลวน (Chaos) ได้อย่างหลากหลาย จากวงจรกำเนิดสัญญาณอลวน
(Chaos) ในแบบต่างๆที่กล่าวมา วงจรของ Elwakil และ Kennedy เป็ นที่น่าสนใจ
เนื่องจากมีการปรับเงื่อนไขการกำเนิดสัญญาณที่ง่ายและมีอุปกรณ์ไม่เชิง
เส้นที่แยกเป็ นอิสระ ทำให้ลดความซับซ้อนต่อการสร้างวงจร ในบทความนี ้
จึงเลือกใช้รูปแบบการกระตุก (Jerk) ของ Sportt [6-7] ที่มก
ี ารสร้างในรูปแบบ
เดียวกัน มีการนำเสนอวงจรกำเนิดสัญญาณอลวน (Chaos) โดยใช้สมการ
อนุพันธ์อันดับสามเพียงสมการเดียวในรูปแบบ Jerk กับค่าสัมประสิทธิ ์ k ซึง่
มีสมการ ดังนี ้

d 3x d 2 x dx
k 2   G ( x)
dt 3 dt dt (1)

รูปแบบของ Jerk มาจากกลไกที่มี x เป็ นค่าการขจัด และ อนุพันธ์อันดับ


 dx   d2x 

ต่างๆ เทียบกับเวลาของ x คือ ความเร่ง , ความเร็ว และ การกระ


   2 
 dt   dt 

d x
3

ตุก และ ตัวอย่างฟั งก์ชันไม่เชิงเส้น G(x) ที่ใช้ในรูปแบบ ที่สามารถ


 3
 dt  Jerk

เป็ นไปได้เช่น ฟั งก์ชันค่าสัมบูรณ์ (Absolute) ฟั งก์ชัน (tanh(x)) หรือ ฟั งก์ชัน


เครื่องหมาย (sgn(x)) ดังสมการที่ (2)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
 x 2 ; K  0.6  7  
 
G ( x )   2 tanh  x   x ; K  0.19  6 
sgn  x   2 x ; K  1 8 
  (2)

จากสมการที่ (2) เป็ นฟั งก์ชันไม่เชิงเส้นที่ Sportt นำมาใช้กับรูปแบบของ


Jerk บางส่วนมีการใช้ CFOA (Current Feedback OPAMP) [8] ต่อร่วมกับความ
ต้านทาน และ ตัวเก็บประจุ เป็ นโครงสร้างตัวดึงดูดอลวน (Chaotic Attractor)

และ โครงสร้างตัวดึงดูดอลวนใน 6 รูปแบบ [9] ซึง่ วงจรดังกล่าวมาในอดีต


ไม่สามารถปรับค่าทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
บทความนีนำ
้ เสนอ กำเนิดสัญญาณอลวน (Chaos) โดยใช้วงจรโอทีเอ
(OTA: Operational Transconductance Amplifier) และ ตัวเก็บประจุ (Capacitor) โดยใช้
โครงสร้างรูปแบบ Jerk และ ยกฟั งก์ชัน Signum มาร่วมกับสมการอนุพันธ์
อันดับสาม โดยวงจรสามารถปรับเงื่อนไขของฟั งก์ชันไม่เชิงเส้น G(x) และ
ตัวดึงดูดอลวน (Attractor) ได้ทางอิเล็กทรอนิกส์ และ เป็ นอิสระต่อกัน โดย
แสดงผลการเกิดสัญญาณอลวน (Chaos) ทัง้ การจำลองผลจาก MATLAB และ
PSpice เปรียบเทียบกัน

2.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

2.1 แบบจำลอง Jerk

Sportt ได้นำเสนอรูปแบบการทำงานของระบบพลวัตแบบสามมิติ ซึ่ง


สามารถแสดงการเกิดสัญญาณอลวน (Chaos) ได้ สมการ Jerk มีฟังก์ชันไม่เชิง
เส้นที่สามารถปรับค่าคงที่ได้ง่ายเนื่องจากเป็ นอิสระ และสามารถปรับค่า
สัมประสิทธิจ์ ากค่า k เพียงค่าเดียว ลดความซับซ้อนในการนำไปใช้กับ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรูปแบบ Jerk ถูกนำเสนอครัง้ แรกโดย Sportt ใน
ปี ค.ศ.2000
บทความนีม
้ ีการสร้างวงจรกำเนิดสัญญาณอลวน (Chaos) ที่มีต้นแบบจาก
รูปแบบ Jerk ของ Sportt ตามที่อธิบายไว้ในสมการที่ (1) มีการใช้ค่า
สัมประสิทธิเ์ พียงหนึ่งค่า และ ฟั งก์ชันไม่เชิงเส้น G(x) ซึง่ เมื่อปรับเปลี่ยนค่า
ฟั งก์ชันไม่เชิงเส้นนี ้ ก็จะสามารถปรับเปลี่ยนรูปการการเกิดสัญญาณอลวน
ได้โดยง่าย โดยโครงสร้าง Jerk ของ Sportt สามารถแสดงด้วยตัวแปรสถานะ
(State) ทั่วไป ดังแสดงในรูปที่ 1 [10]

y
x
w Scope

1 1 1
z as y bs x cs w
Integrator2 Integrator1 Integrator3

Gain k
nonlinear
function
 
 G  w

รูปที่ 1 แบบจำลอง Jerk ที่มีค่าสัมประสิทธิ ์ k


เมื่อพิจารณาแบบจำลอง Jerk รูปที่ 1 เฉพาะสถานะ x-z สามารถนำมา
เขียนใหม่ได้ดังรูปที่ 2 และ พบว่าประพฤติตัวเป็ นไบควอเดรติกฟั งก์ชันใน
รูปตัวกรองความถี่ต่ำผ่าน (LPF) อันดับสองดังสมการที่ (3)

x 1

w abs 2  kbs  1 (3)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
w  z 1 y 1 x

  as bs
Integrator2 Integrator1
Gain

รูปที่ 2 บล็อกไดอะแกรมแยกส่วนของแบบจำลอง Jerk

ระบบไม่เชิงเส้นแบบสามมิติรูปแบบ Jerk สามารถอธิบายด้วยสมการ


อนุพันธ์สามัญ (Ordinary Differential Equations) ดังต่อไปนี ้

dw 
 x, 
dt

dx 
 y, 
dt 
dy 
 kz  y  Aw  B sgn( w), 
dt  (4)

โดยที่ k คือ ตัวประกอบในการปรับเงื่อนไขการกำเนิดสัญญาณ ค่า A

และ B คือ ค่าคงที่เงื่อนไขของฟั งก์ชันไม่เชิงเส้น ซึง่ ค่า A=1 และ B=0.3 มี


การกำหนดค่าเงื่อนไขเริ่มต้น  w0 , x0 , y0    0.6, 0.3, 0  ตามลำดับ

2.2 ฟั งก์ชันไม่เป็ นเชิงเส้น

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ฟั งก์ชันไม่เชิงเส้น ที่สามารถนำมาใช้กับรูปแบบ Jerk มีหลายแบบด้วยกัน
ดังที่กล่าวไว้ในหัวข้อ 1 โดยฟั งก์ชันไม่เชิงเส้นที่ใช้ในบทความนีจ
้ ะใช้
ฟั งก์ชัน Signum ซึ่งเป็ นฟั งก์ชันที่ประกอบจากฟั งก์ชันสัญลักษณ์ และ
ฟั งก์ชันเชิงเส้น โดยในรูปที่ 3 เป็ นฟั งก์ชันไม่เชิงเส้นอิสระปรับเงื่อนไขได้
ด้วยตัวแปร A และ B สำหรับกำเนิดสัญญาณอลวน (Chaos) โครงสร้าง Jerk

G  x   Ax  B sgn  x 
A 1 G(x)
B  0.3
0.3

-0.3 0.3
x

-0.3

รูปที่ 3 ตัวอย่างฟั งก์ชันไม่เชินเส้น Signum

2.3 Bifurcation diagram

ในการเกิดสัญญาณอลวน (Chaos) ในระบบพลวัต มีผลทางทฤษฎีอธิบาย


การเกิดสัญญาณอลวน (Chaos) หลายวิธี เช่น Poincare map, LE (Lyapunov

Exponent), Bifurcation Diagram เป็ นต้น ซึ่งในบทความจะนำเสนอผลของการแยก


ไปสองทาง (Doubling) โดยทำให้เกิดเป็ นการแยกไม่ซ้ำรูปแบบ (Bifurcation)

เพื่อพิสูจน์การเกิดสัญญาณอลวน (Chaos) โดยใช้ทฤษฎีจากสมการ Logistic

map ดังนี ้

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
xn 1  kxn  1  xn 
(5)
1

xn 0.5

0
0 1 2 3 4

รูปที่ 4 แผนภาพการแยกไปสองทางของ Logistic Map

รูปที่ 4 เป็ นแผนภาพของสมการที่ (5) และเมื่อนำมาเขียนอยู่ในรูปแบบ


ตัวแปรสถานะ 3 มิติ (Dimension) ในโปรแกรม MATLAB สำหรับสมการ Jerk

จะสามารถเขียนได้เป็ น

wn 1  xn , 

xn 1  yn , 
yn 1  kzn  yn  wn  0.3sgn wn , 
(6)

2.4 Poincare Map

ทฤษฎีนถ
ี ้ ูกคิดค้นโดย Henri Poincare ในปี 1854 โดยเริ่มจากการใช้ศึกษาการ
เปลี่ยนแปลงวงโคจรของดาวเคราะห์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวงโคจรของดาว
เคราะห์ที่เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในแต่ละปี ในบทความนีจ
้ ึงนำทฤษฎี
Poincare Map มาแสดงผลในการเกิดสัญญาณอลวน (Chaos) ในรูปแบบวงโคจร

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
แบบจุด (Poincare Map)[11] เพื่อให้สามารถเห็นผลการทดลองได้ชัดเจนและ
เข้าใจง่ายยิ่งขึน
้ โดยใช้ทฤษฎีจากสมการ Poincare ดังนี ้

xn 1  P ( xn ) (7)

s
P(x)

รูปที่ 5 แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของวงโคจรผ่านระนาบ Poincare

จากรูปที่ 5 S คือ พื้นที่ส่วน Poincare ที่เป็ น 1 มิติ (Dimension) พื้นผิวนีจ


้ ะเป็ น
แนวตัดขวางกับวิถีวงโคจร ที่เกิดจากจุด x ผ่านไป P(x) ผลที่ได้มาจากจุด
ตัดของวิถีแต่ละเส้น โดยในบทความใช้สมการ Jerk ในรูปแบบตัวแปร
สถานะ 3 มิติ (Dimension) ดังสมการที่ (6) มาเขียนในโปรแกรม MATLAB

3. การสร้างวงจรกำเนิดสัญญาณอลวน
ในส่วนการสร้างวงจรกำเนิดสัญญาณอลวนโดยใช้หลักการดังรูปที่ 1 นัน

วงจรที่ต้องใช้เป็ นหลักคือ อินทีเกรเตอร์แบบไม่สูญเสีย ซึ่งสามารถสร้างได้
จากโอทีเอดังแสดงในรูปที่ 6 มีฟังก์ชันถ่ายโอน ดังสมการที่ (8) และ (9)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Iin
IO1 IO1
Iin gm gm
IO2 C
sC IO2

รูปที่ 6 วงจรอินทีเกรเตอร์แบบไม่สูญเสีย

I o1 g m

I in sC (8)
Io2 g
 m
I in sC (9)

จากบล็อกไดอะแกรมแยกส่วนของแบบจำลอง Jerk รูปที่ 2 นัน


้ มี
คุณสมบัติเป็ นวงจรกรองความถี่ต่ำผ่านอันดับสอง ที่สามารถปรับค่าตัว
ประกอบคุณภาพได้อย่างเป็ นอิสระกับความถี่ตอบสนอง สามารถ
ออกแบบได้โดยใช้โอทีเอและตัวเก็บประจุ ดังแสดงดังรูปที่ 7 มีฟังก์ชันถ่าย
โอนกระแสดังสมการที่ (10)

IB3

gm3
Iin IB1

C1 gm1 IB2

C2 gm2
Iout

รูปที่ 7 วงจรกรองความถี่ต่ำผ่านอันดับสอง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
g m1 g m 2

I out C1C2

I in g  g g
s 2   m 3  s  m1 m 2
 C1  C1C2
(10)

IOA
Iin IB

gm5 B·IB
A Iout
gm6
IOB

รูปที่ 8 วงจรฟั งก์ชัน Signum สร้างจากโอทีเอ

จากบล็อกไดอะแกรมของแบบจำลอง Jerk รูปที่ 1 จำเป็ นต้องมีวงจร


กำเนิดฟั งก์ชันไม่เป็ นเชิงเส้น G(x) ซึ่งสามารถสร้างได้จากโอทีเอ 2 ตัวดัง
แสดงในรูปที่ 8 โดย OTA5 ทำหน้าที่เป็ นวงจรตามกระแส (Current Follower)

ส่วน OTA6 ต่อร่วมกับเอาต์พุตของ OTA5 ทำหน้าที่เป็ นวงจรเปรียบเทียบ


กระแส (Current Comparator) เพื่อให้วงจรทำงานเป็ นฟั งก์ชันไม่เป็ นเชิงเส้น
G ( w)  wn  0.3sgn wn ตามรูปที่ 3 ซึ่งสามารถทำได้โดยปรับกระแสไบอัสของ
OTA5 และ OTA6 เท่ากับ IB และ 0.3IB ตามลำดับ สมการกระแสของวงจรรูปที่
8 สามารถสรุปได้เป็ น

I OA  I in (11)
VA  Vsat sgn( I in ) (12)
I OB  0.3I B sgn( Iin ) (13)
I out  I in  0.3I B sgn( I in )
(14)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
IB3 IB
gm3 B·IB gm5
IB1 gm6
IB2
C1 gm1
IB4
C2 gm2
IO1 C3 gm4
IO2
IO3

รูปที่ 9 วงจรกำเนิดสัญญาณอลวนรูปแบบกระแสโดยใช้ OTA

เมื่อนำวงจรย่อยรูปที่ 6-8 มาต่อร่วมกันตามบล็อกไดอะแกรมของแบบ


จำลอง Jerk รูปที่ 1 จะได้เป็ นวงจรกำเนิดสัญญาณอลวนซึ่งสามารถปรับค่า
เงื่อนไขการกำเนิดสัญญาณ และ ค่าคงที่ฟังก์ชันไม่เชิงเส้นได้ทาง
อิเล็กทรอนิกส์ และ เป็ นอิสระต่อกัน โดยสัญญาณอลวนเอาต์พุตที่
ตำแหน่งต่างๆ สามารถนำออกจากเอาต์พุตของ OTA1, OTA2 และ OTA4

4. ผลการทดลอง
ในการยืนยันการทำงานของวงจรที่นำเสนอจะแบ่งออกเป็ น 2 ส่วนคือ
ผลการจำลองการทำงานด้วย PSpice ผลการจำลองการทำงาน ด้วย MATLAB

4.1 ผลจำลองการทำงาน PSpice

ในการจำลองการทำงานด้วยโปรแกรม PSpice มีผลการทดลอง 4 ส่วน


วงจรอินทีเกรเตอร์แบบไม่สูญเสีย วงจรกรองความถี่ต่ำผ่านอันดับสอง
วงจรฟั งก์ชันไม่เป็ นเชิงเส้น และ วงจรรวมในการเกิดสัญญาณอลวน โดย
OTA ที่ใช้จะเป็ นวงจร CMOS-OTA หลายเอาต์พุตอย่างง่าย [10] โดยใช้แบบ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
จำลอง TSMC 0.25m และ แรงดันไฟเลีย
้ ง 1.2V ส่วนกระแสไบอัส IB=100A

ทุกตัว ยกเว้น OTA6 กำหนดให้กระแสไบอัส BIB=30A ตัวเก็บประจุทุกตัว


เท่ากับ 50nF รูปที่ 8 และ 9 แสดงผลการตอบสนองทางขนาดของ วงจรอิน
ทีเกรเตอร์แบบไม่สูญเสีย และ วงจรกรองความถี่ต่ำผ่านอันดับสอง ตาม
ลำดับ ซึ่งพบว่าผลการตอบสนองทางความถี่จะมีค่าประมาณ 1kHz เท่ากัน
เนื่องจากใช้ ค่า C และ กระแสไบอัสเท่ากัน และ เมื่อสามารถปรับค่า
IB3=kIB ต่ำลงจะพบว่าค่า Q (Quality factor) ของวงจรกรองความถี่ต่ำผ่านจะมีค่า
สูงขึน
้ แต่ไม่กระทบต่อความถี่ตอบสนอง สอดคล้องกับทฤษฎีทุกประการ
ส่วนรูปที่ 12 เป็ นวงจรฟั งก์ชัน Signum พบว่ามีความสอดคล้องกับทฤษฎีเป็ น
อย่างดี

50

25
Gain (dB)

-25

-50
10Hz 100Hz 1.0KHz 10KHz 100KHz
Frequency
รูปที่ 10 ผลการตอบสนองของวงจรอินทีเกรเตอร์แบบไม่สูญเสีย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
40

IB1=IB2=100mA

IB3=30mA
0 IB3=50mA
IB3=100mA

Gain (dB)
-40

-80
10Hz 100Hz 1.0KHz 10KHz 100KHz
Frequency
รูปที่ 11 ผลการตอบสนองของวงจรกรองความถี่ต่ำผ่านอันดับสอง

100uA

50uA
Iout

0A

-50uA

-100uA
-100uA -50uA 0A 50uA 100uA

Iin
รูปที่ 12 กระแสเอาต์พุตของวงจรฟั งก์ชัน Signum

รูปที่ 13 และ 14 เป็ นการจำลองการเกิดสัญญาณอลวน (Chaos) ด้วย


โปรแกรม PSpice รูปที่ 14 เป็ นการแสดงผล IO1, IO2, IO3 กับแกนเวลา และ
ระนาบ x, y ของ IO2, IO3 และ IO2, IO1 ตามลำดับ โดยปรับ k=0.5

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
50uA
IO1

0A

-50uA
50uA
IO2

0A

-50uA
100uA
IO3
0A

-100uA
0s 5ms 10ms 15ms 20ms 25ms 30ms

Time
รูปที่ 13 สัญญาณอลวน (Chaos) ทีตำ
่ แหน่ง IO1, IO2 และ IO3

100uA 50uA

50uA
IO1
IO3

0A 0A

-50uA

-100uA -50uA
-50uA -25uA 0A 25uA 50uA -50uA 0A 50uA
IO2 IO2
รูปที่ 14 ตัวดึงดูดอลวน (Chaos Attractor) ระนาบ IO2, IO3 และ IO2, IO1

4.2 ผลจำลองการทำงาน Bifurcation

ในส่วนผลการทดลองเพื่อพิสูจน์การเกิดสัญญาณอลวน (Chaos) ใช้


สมการที่ (6) เป็ นสมการ state ในรูปแบบ 3 มิติ (Dimension) นำมาเขียนกราฟ
ช่วงทวีค่า (Doubling period) ได้ใน Bifurcation Diagram ด้วยโปรแกรม MATLAB โดย
กำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรสเตททัง้ สาม (w0, x0, y0)=(0.6, 0.3, 0) ตามลำดับ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
จากรูปที่ 15 เป็ นการพล็อตตำแหน่ง w, x, และ y เทียบกับแกนพารามิเตอร์
k โดยกำหนดค่าคงที่ A=1 และ B=0.3 จากผลการทดลองจะสังเกตได้ว่า ช่วง
0.8 ถึง 0.75 เป็ นช่วงเริ่มต้นของเวลาที่เอาต์พุตจะเกิดการทวีค่า (Period

doubling: period-2 cycle) และ เมื่อเกิดค่าที่ไม่ซ้ำกันในหนึง่ ช่วงเวลา จากช่วง k มี


ค่าระหว่าง 0.7 ถึง 0.3 ซึง่ ในช่วงนีน
้ ั่นเอง ระบบจะแสดงพฤติกรรมความ
อลวน (Chaos) ได้อย่างชัดเจน

1.2 1.2
1 1
0.8 0.8
0.6 0.6
w 0.4 x 0.4
0.2 0.2
0 0
-0.2 -0.2
-0.4 -0.4
0.3 0.4 0.5 0.6 0.7 0.8 0.3 0.4 0.5 0.6 0.7 0.8
k k
1.2
1
0.8
0.6
0.4
y
0.2
0
-0.2
-0.4
0.3 0.4 0.5 0.6 0.7 0.8
k
รูปที่ 15 แผนภาพการแยกไปสองทาง (The Bifurcation diagram)

4.3 ผลจำลองการทำงานเปรียบเทียบการแสดงผล ตัวดึงดูดอลวน


(Chaos Attractor) และแผนภาพการแยกไปสองทาง (The Bifurcation diagram)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
รูปที่ 16 แสดงผลการเกิดแผนภาพการแยกไปสองทางของตำแหน่ง w

โดยมีค่าพารามิเตอร์ k เป็ นพารามิเตอร์หลักในการควบคุมการเกิด


สัญญาณอลวน โดยรูปที่ 17(a) แสดงผลเมื่อค่าพารามิเตอร์ k  0.9 ตัวดึงดูด

ยังไม่เกิดการบิดเบีย
้ วและมีความเสถียรของวงโคจรเพียงเล็กน้อย รูปที่
17(b) แสดงผลเมื่อค่าพารามิเตอร์ k  0.85 วงโคจรมีความเสถียรและใกล้เข้า

สู่ช่วงเกิดการทวีค่า (Period doubling) รูปที่ 17(c) แสดงผลเมื่อค่าพารามิเตอร์ k

อยู่ในช่วง 0.75 ถึง 0.8 เกิดการทวีค่า (Period doubling: period-2 cycle) โดยตัวดึงดูด

เริ่มเกิดการบิดเบีย
้ วและเกิดค่าที่ไม่ซ้ำกันในหนึ่งช่วงเวลา การลดลงของ
ค่าพารามิเตอร์ k ทำให้เกิดพฤติกรรมการกำเนิดสัญญาณที่บิดเบีย
้ วในช่วง
เวลาหนึง่ ซึ่งส่งผลให้ช่วงเส้นทางการทวีค่า (Period Doubling Route) เกิดเป็ นตัว
ดึงดูดอลวน (Chaos)[12] รูปที่ 17(d) แสดงผลเมื่อค่าพารามิเตอร์ k  0.7 แสดง

ภาพตัวดึงดูดอลวน (Chaos Attractor)


1
0.8
0.6

0.4
w
0.2

0
-0.2
-0.4
0.3 0.4 0.5 0.6 0.7 0.8 0.9 1
k
รูปที่ 16 แผนภาพการแยกไปสองทางของตำแหน่ง w โดยมีพารามิเตอร์ k

ควบคุม

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
20uA 40uA

(a) (b)

w 0A 0A

-20uA -40uA
-5uA 0A 5uA -30uA 0uA 30uA
80uA 80uA

(c) (d)

40uA 40uA

w 0A 0A

-40uA -40uA

-80uA -80uA
-40uA -20uA 0A 20uA 40uA -40uA -20uA 0A 20uA 40uA

x x

รูปที่ 17 แสดงภาพลำดับเฟสการเกิดตัวดึงดูดอลวน (Chaos Attractor) ระนาบ w

– x โดยใช้การปรับพารามิเตอร์ k

4.4 ผลจำลองการทำงาน Poincare Map


เป็ นผลจำลองการทำงานเพื่อยืนยันผล เพิ่มความแม่นยำในการศึกษาการ
เกิดความอลวน (Chaos) ด้วยลักษณะวงโคจรแบบจุด [13]

รูปที่ 18 (a) ถึง (d) แสดงลำดับการเปลี่ยนแปลงของแผนภาพ Poincare ใช้

สมการที่ (6) เป็ นสมการ state ในรูปแบบ 3 มิติ (Dimension) มาเขียนด้วย

โปรแกรม MATLAB กำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรสเตททัง้ สาม (w0, x0,

y0)=(0.6, 0.3, 0) ตามลำดับและกำหนดค่าคงที่ A=1 และ B=0.3 โดยรูปที่ 18 (a)

แสดงลักษณะวงโคจรเมื่อมีการปรับพารามิเตอร์ k  0.9 เป็ นลักษณะวง

โคจรที่ยังไม่เกิดความเสถียร ได้สัญญาณดังรูปที่ 19 (a) รูปที่ 18 (b) แสดง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ลักษณะวงโคจรเมื่อมีการปรับพารามิเตอร์ k  0.85 เป็ นช่วงที่เริ่มเกิดความ

เสถียรของวงโคจร มีรูปคลื่นของสัญญาณที่คงที่ จะได้สัญญาณรูป sine ดัง


รูปที่ 19 (b) รูปที่ 18 (c) แสดงลักษณะวงโคจรเมื่อมีการปรับค่าพารามิเตอร์ k
อยู่ในช่วง 0.75 ถึง 0.8 มีการแบ่งวงโคจรเพิ่มแบบยกกำลัง (Exponential) ใน
หนึง่ ช่วงเวลา หรือที่เรียกว่า ช่วงเกิดการทวีค่า (Period doubling) ได้สัญญาณ

ดังรูปที่ 19 (c) รูปที่ 18 (d) แสดงลักษณะวงโคจรเมื่อมีการปรับค่า


พารามิเตอร์ k อยู่ในช่วง 0.7 ถึง 0.3 โดยจะมีลักษณะความเป็ นอลวน (Chaos)

ชัดที่สุด ที่ค่าพารามิเตอร์ k  0.5 และจะได้สญ


ั ญาณความเป็ นอลวน (Chaos)
ดังรูป 19 (d)

0.8 0.6
(a) (b)

0.4

w 0 0

-0.4

-0.8 -0.6
-0.8 -0.4 0 0.4 0.8 -0.6 0 0.6

0.8 0.6
(c) (d)

0.4
0.4

0.2

w 0
0

-0.4
-0.2

-0.8 -0.4
-0.8 -0.4 0 0.4 0.8 1 -0.6 -0.4 -0.2 0 0.2 0.4 0.6

x x

รูปที่ 18 แสดงแผนภาพวงโคจรแบบจุด (Poincare Map) ระนาบ w – x

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
20uA 20uA

(a) (b)

10uA 10uA

0uA 0uA

-10uA -10uA
0ms 0.2ms 0.4ms 0.6ms 0.8ms 1ms 0ms 0.2ms 0.4ms 0.6ms 0.8ms 1ms

60uA 80u
A
(c) (d)

0uA 0uA

-60uA -80uA
0ms 4ms 8ms 12ms 16ms 20ms 0ms 4ms 8ms 12ms 16ms 20ms
Time

รูปที่ 19 ลำดับการเกิดสัญญาณอลวน (Chaos) ทีตำ


่ แหน่ง IO3

5.บทสรุป

บทความนีนำ
้ เสนอวงจรกำเนิดสัญญาณอลวน (Chaos) ใช้อุปกรณ์โอทีเอ
และ ตัวเก็บประจุ (Capacitor) โดยออกแบบด้วยแบบจำลอง Jerk ของ Sportt

และ ฟั งก์ชันไม่เป็ นเชิงเส้น Signum จากผลการทดลองด้วยโปรแกรม PSpice

และ MATLAB แสดงให้เห็นว่า วงจรสามารถกำเนิดสัญญาณอลวน (Chaos)

ได้ ยืนยันผลด้วยแผนภาพการแยกไปสองทาง (Bifurcation diagram) และ


แผนภาพวงโคจรแบบจุด (Poincare Map)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เอกสารอ้างอิง
[1] J. S. Ramos, “Introduction to Nonlinear Dynamics of Electronic Systems: Tutorial”, Nonlinear
Dynamics Vol.44, pp.3–14, 2006.
[2] M. P. Kennedy, “Chaos in the Colpitts oscillator”, IEEE Trans. Circuit Syst.-I, Vol.41, pp.771–
774, 1994.
[3] A. S. Elwakil, and M. P. Kennedy, “A Semi-Systematic Procedure for Producing Chaos from
Sinusoidal Oscillators Using Diode-Inductor and FET-Capacitor Composites,” IEEE Trans.
Circuit Syst.-I, Vol.47, pp.582-590, 2000.
[4] A. S. Elwakil, and A. M. Soliman, “Two twin-T based op amp oscillators modified for Chaos”, J.
Franklin Inst, Vol.335B, pp.771-787, 1998.
[5] A. S. Elwakil, and A. M. Soliman, “Chaotic oscillators derived from sinusoidal oscillators based
on the current feedback opamp,” Analog Integr Circuits Signal Process., Vol.24, pp.239-251,
2000.
[6] J. C. Sprott, “Simple chaotic systems and circuits,” American. J. Phys. Vol.68, No.8, pp.758-763,
2000.
[7] J. C. Sprott, “A New Class of Chaotic Circuit,” Physics Letters A, vol. 266, pp.19-23, 2000.
[8] B. Srisuchinwong, C.-H. Liou, and T. Klongkumnuankan, Prediction of Dominant Frequencies of
CFOA-Based Sprott’s Sinusoidal and Chaotic Oscillators, Word Scientific Publishing, pp.331-
337, 2009.
[9] T. Siriburanon,B. Srisuchinwong, T. Nontapradit, Compound Structures of Six New Chaotic
Attractors in a Solely-Single-Coefficient Jerk Model with Arctangent Nonlinearity, Proc. of
Chinese Control and Decision Conference (CCDC 2010), Xuzhou, China, pp.985-990, 26-28
May, 2010.
[10] E. Saising and P. Prommee, "Fully Tunable all-pass filter using OTA and its application,” Proc. of
39th International Conference on Telecommunications and Signal Processing (TSP2016), Vienna,
Austria, 27-29 June 2016.
[11] Juan C.Albahaca, "Analytical and Numerical Study of the Poincare Map with Applications on the
Computation of Periodic Orbits", U.U.D.M. Project Report, UPPSALA University, 2015
[12] Steven H.Strogatz, B.:Nonlinear dynamics and chaos: with applications to physics biology
chemistry and engineering, Perseus Books, pp.241-260, 1994
[13] Steven H.Strogatz, B.:Nonlinear dynamics and chaos: with applications to physics biology
chemistry and engineering, Perseus Books, pp.278-283, 1994

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

You might also like