Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 11

1

ใบความรู้และแบบฝึ กหัดเรื่อง ราชาธิราช (ตอน


สมิงพระรามอาสา)

1. ความเป็ นมา
วรรณคดีเรื่อง ราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา
เป็ นการทำสงครามระหว่างพม่ากับมอญ เดิมต้นฉบับเป็ นภาษามอญ
แต่เนื่องจากเนื้อเรื่องมีความสนุกน่าสนใจ
ให้ข้อคิดมากมายจึงได้มีนักปราชญ์ชาวไทยแปลและเรียบเรียงเป็ นภาษา
ไทย
ตัง้ แต่ก่อนเสียกรุงเสียอยุธยาครัง้ สุดท้าย
รัชกาลที่ ๑ ทรงมีพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
แปลและเรียบเรียงให้เรียบร้อยเสร็จสมบูรณ์อีกครัง้

2. ผู้เรียบเรียง เจ้าพระยาพระคลัง (หน)


ประวัติและผลงาน
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในแผ่น
ดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
เคยรับราชการเป็ นหลวงสรวิชิต แล้วไปเป็ นนายด่านเมืองอุทัยธานี ใน
สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ ได้เลื่อนตำแหน่ง
เป็ นพระยาพิพัฒน์โกษา และเป็ นเจ้าพระยาพระคลัง (หน)ผลงานที่สำคัญ
ของท่านได้แก่ ราชาธิราช สามก๊ก ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก (กัณฑ์
กุมาร และกัณฑ์มัทรี) บทมโหรีเรื่องกากี ลิลิตเพชรมงกุฎ และอิเหนาคำ
ฉันท์ ท่านถึงแก่ อสัญกรรมเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๘
2

๓ . ลักษณะคำประพันธ์ เป็ นวรรณคดีร้อยแก้วแนวนิทานอิง


ประวัติศาสตร์(พงศาวดารมอญ)

๔. จุดประสงค์ในการแต่ง
รัชกาลที่ ๑ มีพระราชประสงค์ที่จะใช้วรรณคดีเรื่องนีใ้ ห้เกิดประโยชน์
และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้า ทูลละอองธุลี
พระบาท จะได้จดจำไว้เป็ นคติบำรุงสติปัญญา

๕. เนื้อเรื่องย่อ
เมื่อพระเจ้าราชาธิราชขึน
้ ครองกรุงหงสาวดี ได้ทำสงครามกับ
พระเจ้าฝรั่งมังศรีฉะวา แห่งกรุงรัตนบุระอังวะ(หรือกรุงอังวะนั่นเอง) จาก
สาเหตุเมืองพะสิมแข็งเมือง ไม่ยอมขึน
้ ต่อพระเจ้าราชาธิราช พระเจ้า
ราชาธิราชจึงยกทัพไปปราบ เจ้าเมืองพะสิมหนีไปพึ่งเจ้าเมืองทราง
ทวย(อ่านว่า ซาง-ทวย) เจ้าเมืองทรางทวยจับเจ้าเมืองพะสิมส่งไปถวาย
พระเจ้าราชาธิราช พระเจ้าราชาธิราชทรงให้ประหารเจ้าเมืองพะสิม
พระเจ้าฝรั่งมังศรีฉะวาจึงหาเหตุตีกรุงหงสาวดีเพราะต้องการแผ่พระราช
อำนาจ แต่กองทัพของพระเจ้าฝรั่ง มังศรีฉะวา ถูกกองทัพ
พระเจ้าราชาธิราชตีแตกกลับไป เป็ นเหตุให้พระเจ้าฝรั่งมังศรีฉะวาทรง
อัปยศอดสูจนทรงพระประชวรและเสด็จ สวรรคต พระราชโอรสขึน
้ ครอง
ราชย์ต่อมา ทรงพระนามว่าพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง หรือพระเจ้ามณเฑียรทอง
พระเจ้าราชาธิราชกับพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง ได้ทำสงครามกันต่อมา
ครัง้ หนึ่ง มังรายกะยอฉะวา(พระราชโอรสของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง)
ยกทัพมาตีเมืองหงสาวดี ครัง้ นัน
้ สมิงพระราม ทหารมอญผู้มี
ฝี มือในการรบเป็ นเยี่ยม มีความองอาจเข้มแข็ง บังคับช้าง,ม้า ได้ชำนาญ
ได้ขี่ช้างพลายประกายมาศ ออกทำสงคราม ช้างพลายประกายมาศตก
3

หล่ม มังรายกะยอฉะวาจึงจับ สมิงพระรามได้ และนำไป


จองจำไว้ในกรุงอังวะในฐานะเชลย
พระเจ้ากรุงต้าฉิงแห่งประเทศจีนยกทัพมาล้อมกรุงอังวะ ให้
ขุนนางชื่อโจเปี ยว ถือพระราชสานส์และเครื่องราชบรรณาการ ไปยังกรุง
รัตนบุระอังวะ โดยต้องการให้พระเจ้ามณเฑียรทอง ออกไปถวายบังคม
และขอให้ส่งทหารออกมาขี่ม้ารำทวนต่อสู้กันตัวต่อตัวกับกามะนีทหาร
เอกของเมืองจีน ถ้าฝ่ ายกรุงรัตนบุระอังวะแพ้ต้องยกเมืองให้ฝ่ายจีน แต่
ถ้าฝ่ ายจีนแพ้จะยกทัพกลับทันทีโดยมิทำอันตรายประชาชนแต่อย่างใด
เมื่อพระเจ้ามณเฑียรทองได้แจ้งความในพระราชสาสน์ก็ทรงดีพระทัยด้วย
เหตุสงครามครัง้ นีเ้ ป็ นสงครามธรรมยุติ ที่ประชาชนจะมิได้รับอันตราย จึง
ให้เสนาอำมาตย์ประกาศหาผู้ที่จะอาสาออกไปรบกับกามะนี ถ้าสามารถ
รบชนะกามะนีทหารเอกของเมืองจีนจะโปรดเกล้าฯ แต่งตัง้ ให้เป็ นพระ
มหาอุปราชและแบ่งสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง เมื่อสมิงพระรามทราบข่าวจากผู้
คุมคุก ก็คิดตึกตรองว่า หากจีนชนะศึกครัง้ นี ้ จีนคงยกทัพไปตีเมืองหงสาว
ดีของตนต่อไปแน่ ควรคิดป้ องกันไว้ก่อนจึงอาสาออกรบ แม้แรกๆ จะ
เกรงว่าการอาสารบนีจ
้ ะเป็ น "หาบสองบ่า อาสาสองเจ้า" ก็ตาม โดยขอ
พระราชทานม้าฝี เม้าดีตัวหนึ่ง และได้เลือกม้าของหญิงหม้าย สมิง
พระรามนำม้าออกไปฝึ กหัด ให้ร้จ
ู ักทำนองรบรับจนคล่องแคล่วสันทัดดี
พร้อมทัง้ ทูลขอ ขอเหล็กและตะกรวยผูกข้างม้า
ในระหว่างการรบ สมิงพระรามเห็นว่า กามะนีมีความชำนาญด้าน
การรบเพลงทวนมาก และสวมหุ้มเกราะไว้แน่นหนา สมิงพระรามจึงใช้
อุบายว่าให้แต่ละฝ่ ายแสดงท่ารำให้อีกฝ่ ายรำตามก่อนที่จะต่อสู้กัน ทัง้ นี ้
เพื่อจะคอยหาช่องทางที่จะแทงทวนให้ถูกตัวกามะนีได้ เมื่อได้หลอกล่อให้
กามะนีรำตามในท่าต่าง ๆ จึงได้เห็นจุดอ่อนคือช่องใต้รักแร้กับบริเวณ
เกราะซ้อนท้ายหมวกที่เปิ ดออกได้ สมิงพระรามจึงหยุดรำและให้ต่อสู้กัน
โดยทำทีว่าสู้ไม่ได้ ขับม้าหนีของกามะนีเหนื่อย เมื่อได้ทีก็สอดทวนแทง
4

ซอกใต้รักแร้แล้วฟั นย้อนกลีบเกราะตัดศีรษะของกามะนีขาด แล้วเอาขอ


เหล็กสับใส่ตะกรวยโดยไม่ให้ตกดิน นำมาถวายพระเจ้ามณเฑียรทอง
5

เมื่อฝ่ ายจีนแพ้ พระเจ้ากรุงจีนก็สั่งให้ยกทัพกลับตามสัญญา


พระเจ้ามณเฑียรทองพระราชทาน
ตำแหน่งมหาอุปราชและพระราชธิดา ให้เป็ นบาทบริจาริกาแก่สมิง
พระรามตามที่ได้รับสั่งไว้ซึ่งสมิงพระรามขอคำสัญญาจากพระเจ้า
มณเฑียรทองว่า " ไม่ให้ใครเรียกตนว่า เชลย มิเช่นนัน
้ ตนจะกลับกรุงหง
สาวดีทันที " พระเจ้ามณเฑียรทอง ก็ให้คำรับปากว่า ถ้าใครเรียกสมิง
พระรามว่าเชลย ก็จะฆ่าเสียทัง้ โคตร เมื่อสมิงพระรามมี โอรส พระเจ้า
กรุงอังวะก็โปรดพระราชนัดดามาก จึงอุ้มออกราชการเสมอ วันหนึ่ง พระ
โอรสซุกซนเอื้อมมือไปจับพระเศียร พระเจ้ามณเฑียรทองจึงพลัง้
พระโอษฐ์ออกมาว่า "อ้ายลูกเชลยนี่ช่างกล้าหาญนัก " สมิงพระรามได้ยิน
ดังนัน
้ ก็น้อยใจจึงแต่งจดหมายไว้ให้พระธิดาและหนีกลับกรุงหงสาวดีใน
วันนัน
้ เมื่อกลับไปถึงกรุงหงสาวดี พระเจ้าราชาธิราชก็เลีย
้ งต้องรับสมิง
พระรามเป็ นเวลา เจ็ดวันเจ็ดคืน และ โปรดฯ ให้สมิงพระรามดำรง
ตำแหน่งเจ้าเมืองวาน

๖. การพิจารณาคุณค่า
๑. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ มีการใช้สำนวนโวหารสูง แม้จะใช้ประโยค
ยาวแต่ใช้ถ้อยคำภาษาและ
การเข้าประโยคที่สละสลวย
๑.๑ การใช้สำนวนเปรียบเทียบที่คมคาย เช่น" พระเจ้ากรุงจีนยก
มาครัง้ นีอ
้ ุปมาดังฝนตกห่าใหญ่ตกลงน้ำนองท่วมป่ าไหลเชี่ยวมาเมื่อวสันต
ฤดูนน
ั ้ หาสิง่ ใดจะต้านทานมิได้" หมายถึง กองทัพของพระเจ้ากรุงจีน
เป็ นกองทัพที่ยิ่งใหญ่ไม่มีใครสามารถต้านทานได้
๑.๒ ใช้คำคมให้คติเตือนใจ เช่น "เรารักสัตย์ยิ่งกว่าทรัพย์ อย่าว่าแต่
สมบัติมนุษย์นเี ้ ลย ถึงท่านจะเอาทิพยสมบัติของสมเด็จอมรินทร์มายกให้
6

เรา เราก็มิได้ปรารถนา" หมายถึง คนที่รักษาคำพูดถึงแม้จะนำทรัพย์อัน


มีค่ามาให้ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำพูดที่เคยให้ไว้ได้"

๒. คุณค่าด้านสังคม ค่านิยม และความเชื่อ


๒.๑ ความเชื่อถือในเรื่องฤกษ์ เช่น ตอนพระเจ้ากรุงต้าฉิง ยกทัพ
มายังกรุงรัตนบุระอังวะก็ต้องรอให้
ฤกษ์ดีก่อนจะยกทัพมาได้
๒.๒ ขนบธรรมเนียมในการส่งเครื่องราชบรรณาการไปเพื่อ
ตอบแทน เมื่ออีกฝ่ ายหนึ่งประพฤติปฏิบัติตามที่ฝ่ายตนร้องขอ หรือส่ง
เครื่องราชบรรณาการไปเพื่อขอให้อีกฝ่ ายหนึง่ ทำตามที่ตนเองขอเช่น การ
ส่งพระราชสาสน์จากพระเจ้ากรุงต้าฉิง เพื่อจะให้พระเจ้าอังวะอยู่ใน
อำนาจออกมาถวายบังคมและต้องการจะดูทหารรำทวนขี่ม้าสู้กัน
๑.เครื่องราชบรรณาการจากเมืองจีน “แพรลายมังกรร้อยม้วน
แพรลายทองร้อยม้วน กับเครื่องยศประดับหยกอย่างกษัตริย์ปสำรับหนึ่ง”
๒. เครื่องราชบรรณาการจากเมืองรัตนบุระอังวะ “ผ้า
สักหลาด ๒๐ พับ นอระมาด ๕๐ ยอด น้ำดอกไม้เทศ ๓๐ เต้า ช้าง
พลายผูกเครื่องทองช้างหนึ่ง”
7

๒.๓ การรักษาสัจจะของบุคคลที่อยู่ในฐานะกษัตริย์ เช่น การรักษาคำ


พูดของพระเจ้ากรุงต้าฉิงเมื่อกามะนีแพ้ก็ยกทัพกลับไปโดยไม่ทำอันตราย
แก่ผู้ใดเลย ตามที่ได้พูดไว้
๒.๔ ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เช่น สมิงพระรามแม้จะ
อาสารบให้กับพระเจ้าอังวะ แต่โดยใจจริงแล้วก็ทำเพื่อบ้านเมืองของตน
และยังคงจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ของตน
๒.๕ การปูนบำเหน็จรางวัลให้แก่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ
เป็ นการสร้างกำลังใจและผูกใจคนไว้ได้ ดังตอนที่พระเจ้าอังวะให้เหตุผล
ต่อสมิงพระราม เมื่อสมิงพระรามไม่รับบำเหน็จจากการอาสารบ"อนึ่งเรา
เกรงคนทัง้ ปวงจะครหานินทาได้ ท่านรับอาสากู้พระนครไว้มีความชอบ
เป็ นอันมากมิได้รับบำเหน็จรางวัลสิ่งใด นานไปเบื้องหน้าถ้าบ้านเมืองเกิด
การจราจล หรือข้าศึกมาย่ำยีเหลือกำลังก็จะไม่มีผู้ใดรับอาสาอีกแล้ว"ด้วย
เหตุผลของพระเจ้าอังวะข้างต้น สมิงพระรามจึงต้องรับรางวัลในครัง้ นี ้

๗. ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
1. คนดีมีความสามารถแม้อยู่ในเมืองศัตรูก็ยังมีคนเชิดชูได้เสมอ
2. ผู้เป็ นกษัตริย์ย่อถือความสัตย์เป็ นสิ่งประเสริฐที่สุด
3. ความประมาทเป็ นหนทางแห่งความตาย เช่น กามะนี
4. ผู้ทีทำกิจโดยอาศัยปฏิภาณไหวพริบและความสามารถเฉพาะตนจะ
ประสบความสำเร็จในชีวิตได้
5. บ้านเมืองที่ประกอบไปด้วยกษัตริย์ ที่อยู่ในความสัตย์ เสนาอำมาตย์
มีความสามัคคี เชื่อฟั งผู้บังคับบัญชา และทหารที่มีความสามารถใน
การรบจัดเป็ นบ้านเมืองที่แข็งแกร่ง เป็ นที่เกรงขามของประเทศ
ทั่วไป และจะสามารถดำรงเอกราชไว้ตราบนานเท่านาน
8

ตารางเพิ่มความเข้าใจ

เมือง พระมหากษัตริย์ ทหารเอก


กรุงหงสาวดี (มอญ) พระเจ้าราชาธิราช สมิงพระราม
กรุงรัตนบุระอัง พระเจ้ามณเทียร ไม่มี
วะ(พม่า) ทอง,พระเจ้าฝรั่งมัง
ฆ้อง,พระเจ้ากรุงอังวะ
กรุงต้าฉิง(จีน) พระเจ้ากรุงต้าฉิง หรือ กามะนี
พระเจ้ากรุงจีน
ชื่อ ด.ญ.พิชาวีร์ นามสกุล แก้ วมาตร์ ชันม
้ 1|6 เลขที่31 9

แบบฝึ กทักษะพัฒนาการเรียนรู้

๑. ตัวละครต่อไปนีเ้ ป็ นตัวละครฝ่ ายใด ให้นักเรียนเขียนใส่


ตารางให้ถูกต้อง
พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง สมิงพระราม ผู้คุม
คุก โจเปี ยว
พระเจ้ากรุงต้าฉิง ช้างพลายประกายมาศ กามะนี
หญิงม่ายเจ้าของม้า
พระเจ้ามณเฑียรทอง พระเจ้าราชาธิราช พระธิดา
พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
กรุงหงสาวดี กรุงรัตนบุระอังวะ กรุงจีน

พระเจ้าราชธิราช พระเจ้าฝรั่งมัง โจเปี ยว


ฆ้อง

สมิงพระราม พระเจ้ามณเฑียร พระเจ้ากรุงต้าฉิง


ทอง

ช้างพลาย พระธิดาพระเจ้า กามะนี


ประกายมาศ ฝรั่งมังฆ้อง

หญิงม่ายเจ้าของ ผู้คุมคุก โจเปี ยว


ม้า
10

3. ยกตัวอย่างสำนวนสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง
ราชาธิราชตอนสมิงพระรามอาสา
จับปลาสองมือ ปลาหมอตายเพราะปาก

๓. ให้นักเรียนบอกเครื่องราชบรรณการของกษัตริย์แห่ง
กรุงจีนและกรุงรัตนบุระอังวะ

……กรุ งจีงนกรร้
แพรลายมั ……… อย ……กรุ งรัตนบุระอัง.....
ผ้าสักหลาด
ม้วน แพรลายทอง
ร้อยม้วน กับเครื่อง ๒๐ พับ นอระมาด
๕๐ ยอด น้ำดอกไม้
ยศประดับหยกอย่า
งกษัตริย์ปสำรับหนึ่ง เทศ ๓๐ เต้า ช้าง
พลายผูกเครื่องทอง
ช้างหนึ่ง
ชื่อ ด.ญ.พิชาวีร์ นามสกุล แก้ วมาตร์ ชัน้ ม.1|6 เลขที่ 31 11

กิจกรรมบูรณาการความรู้

เรื่องราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา
คำชีแ
้ จง ให้นักเรียนติดภาพของตนในการอาสา
ทำความดีแล้วบอกประโยชน์หลังจากทำกิจกรรมนัน
้ แล้ว

ประโยชน์ที่ได้รับ
บ้านสะอาด น่าอยู่
ใช้เวลาว่างให้เป็ นประโยชน์

You might also like