Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 7

หน่ วยการเรียนรู้ ที่ 1 การศึกษาค้ นคว้ าประวัติศาสตร์ ท้องถิน่

รายวิชา ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สั งคมศึกษา ศาสนา และ


วัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 เวลาเรียน 4 ชั่วโมง

1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วดั
ส 4.1 ป.5/1 สื บค้นความเป็ นมาของท้องถิ่นโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย
ป.5/2 รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อตอบคำถามทางประวัติศาสตร์ อย่างมีเหตุผล

2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
การศึกษาประวัติศาสตร์ทอ้ งถิ่น ควรค้นคว้าและรวบรวมหลักฐานข้อมูลต่างๆ ให้หลากหลายและครบ
ถ้วนมากที่สุด เพื่อให้ขอ้ มูลความน่าเชื่อถือและใกล้เคียงความจริ งมากที่สุด

3. สาระการเรียนรู้
3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1) วิธีการสื บค้นความเป็ นมาของท้องถิ่นอย่างง่ายๆ
2) แหล่งข้อมูลและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยูใ่ นท้องถิ่นที่เกิดขึ้นตามช่วงเวลาต่างๆ เช่น
เครื่ องมือเครื่ องใช้ อาวุธ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ตำนานท้องถิ่น คำบอกเล่า
3) การตั้งคำถามทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความเป็ นมาของท้องถิ่น เช่น มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น
ในช่วงเวลาใด เพราะสาเหตุใด และมีผลกระทบอย่างไร

3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิน่
-
4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
4.1 ความสามารถในการสื่อสาร
4.2 ความสามารถในการคิด
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
4.3 ความสามารถในการใช้ ทักษะชีวิต
- กระบวนการสื บค้นข้อมูล
5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1
1. ใฝ่ เรี ยนรู้
2. มุ่งมัน่ ในการทำงาน
3. รักความความเป็ นไทย

6. ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)
การสื บค้นข้อมูลเกี่ยวกับความเป็ นมาของท้องถิ่นของตน
7. การวัดและการประเมินผล
7.1 การประเมินก่อนเรียน
 นักเรี ยนทำแบบทดสอบก่อนเรี ยน หน่วยการเรี ยนรู ้ที่ 1
7.2 การประเมินระหว่ างการจัดกิจกรรมการเรี ยนรู้
1) ใบงานที่ 1.1 เรื่ อง วิธีการสื บค้นความเป็ นมาของท้องถิ่น
2) ประเมินการนำเสนอผลงาน
3) สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
7.3 การประเมินหลังเรียน
 นักเรี ยนทำแบบทดสอบหลังเรี ยน หน่วยการเรี ยนรู ้ที่ 1
7.4 การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)
 ประเมินการสื บค้นข้อมูลเกี่ยวกับความเป็ นมาของท้องถิ่นของตน

การประเมินชิ้นงาน / ภาระงาน (รวบยอด)


แบบประเมินการสืบค้ นข้ อมูลเกีย่ วกับความเป็ นมาของท้ องถิ่นของตน

คำอธิบายระดับคุณภาพ / ระดับคะแนน
รายการประเมิน
ดี (3) พอใช้ (2) ปรับปรุง (1)
1. การสื บค้ นข้ อมูล สื บค้นข้อมูลโดยใช้วิธีการทาง สื บค้นข้อมูลโดยใช้วิธีการทาง สื บค้นข้อมูลโดยใช้วิธีการทาง
โดยใช้ วธิ ีการทาง ประวัติศาสตร์ ครบทั้ง 5 ขั้น ประวัติศาสตร์ มากกว่า 3 ขั้น ประวัติศาสตร์ น้อยกว่า 3 ขั้น

2
ประวัติศาสตร์ ตอน และมีความถูกต้อง ตอน และมีความถูกต้อง ตอน และมีความถูกต้อง
ชัดเจน ชัดเจน ชัดเจนเป็ นบางส่วน

2. การเขียนบันทึก บันทึกรายละเอียดของข้อมูล บันทึกรายละเอียดของข้อมูล บันทึกรายละเอียดของข้อมูล


ข้ อมูล ได้ถูกต้อง มีความชัดเจนดีมาก ได้ถูกต้องเป็ นส่ วนมาก ได้เพียงบางส่ วน
และครบทุกขั้นตอน และครบทุกขั้นตอน และไม่ครบทุกขั้นตอน

3. การนำเสนอ นำเสนอผลงานได้อย่าง นำเสนอผลงานได้น่าสนใจ นำเสนอผลงานไม่น่าสนใจ


ผลงาน สร้างสรรค์ น่าสนใจ เหมาะ เหมาะสมกับข้อมูล และเหมาะสมกับข้อมูลที่
สมกับข้อมูลที่สืบค้น ที่สืบค้น สื บค้นเพียงบางส่วน

เกณฑ์ การตัดสิ นคุณภาพ


ช่ วงคะแนน ระดับคุณภาพ
7-9 ดี
4-6 พอใช้
1-3 ปรับปรุ ง

8. กิจกรรมการเรียนรู้
 นักเรี ยนทำแบบทดสอบก่อนเรี ยน หน่วยการเรี ยนรู ้ที่ 1

กิจกรรมที่ 1 การศึกษาค้นคว้าประวัตศิ าสตร์ ท้องถิ่น เวลา 4 ชั่วโมง


(วิธีสอนแบบกรณีศึกษา วิธีสอนโดยเน้ นกระบวนการ : กระบวนการสืบค้น )

1. ครู เล่าตำนานหมู่บา้ นชาติเจริ ญ อ. เขมราฐ จ. อุบลราชธานี ให้นกั เรี ยนฟัง


2. ครู อธิบายให้นกั เรี ยนเข้าใจว่า ในหมู่บา้ น หรื อในแต่ละท้องถิ่นย่อมมีเรื่ องเล่าที่มีความเป็ นมาที่
แตกต่างกัน
3. ครู เลือกนักเรี ยนออกมาเล่าประวัติหมู่บา้ น ตำนาน ในท้องถิ่นของนักเรี ยน หรื อตำนานของท้อง
ถิ่นต่างๆ ที่นกั เรี ยนเคยได้ยนิ มา

3
4. ให้นกั เรี ยนศึกษาความรู้ เรื่ อง วิธีการสื บค้นความเป็ นมาของท้องถิ่น จากหนังสื อเรี ยน เพื่อจะได้มี
ความรู้ ความเข้าใจ จากนั้นครู อธิบายวิธีการสื บค้นความเป็ นมาของท้องถิ่นเพิ่มเติม
5. ครู นำภาพตัวอย่างหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาแสดงหน้าชั้นเรี ยน ให้นกั เรี ยนสามารถ
มองเห็นได้อย่างชัดเจน จากนั้นครู สุ่มเรี ยกนักเรี ยนบอกชื่อ หรื อสถานที่จากภาพที่ครู นำมาแสดง
6. ให้นกั เรี ยนช่วยกันบอกวิธีการสื บค้นความเป็ นมาของท้องถิ่น
7. ครู อธิบายวิธีการสื บค้นความเป็ นมาของท้องถิ่น ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน
8. ให้นกั เรี ยนรวมกลุ่มกัน กลุ่มละ 5 คน เพื่อร่ วมกันศึกษาความรู ้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทาง
ประวัติศาสตร์ท้ งั 5 ขั้นตอน
9. ให้แต่ละกลุ่มร่ วมกันอภิปรายและสรุ ปความรู ้ในแต่ละขั้นตอน และจดบันทึกข้อมูลลงในสมุด
10. ครู ต้ งั ประเด็นคำถามเพื่อประเมินความรู ้ความเข้าใจของนักเรี ยนแต่ละกลุ่ม
11. ให้นกั เรี ยนทำใบงานที่ 1.1 เรื่ อง วิธีการสื บค้นความเป็ นมาของท้องถิ่น
12. ให้นกั เรี ยนแต่ละกลุ่มร่ วมกันอภิปรายว่า การนำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ในการศึกษา
ประวัติศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร แล้วเขียนบันทึกความรู ้ลงในสมุด
13. ให้นกั เรี ยนแต่ละกลุ่มส่ งตัวแทนออกมาสรุ ปความรู ้ที่ได้จากการอภิปราย
14. ให้นกั เรี ยนแต่ละกลุ่มร่ วมกันสื บค้นข้อมูลเกี่ยวกับความเป็ นมาของท้องถิ่นของตน โดยใช้วิธีการ
ทางประวัติศาสตร์ แล้วนำเสนอข้อมูลโดยวิธีการที่สร้างสรรค์ต่างๆ 1 วิธี
15. ครู ช้ ีแจงเกี่ยวกับรายละเอียดของงานที่ได้มอบหมายให้นกั เรี ยนทำ และเปิ ดโอกาสให้นกั เรี ยน
สอบถามข้อสงสัย จากนั้นนักเรี ยนและครู ร่วมกันกำหนดระยะเวลาในการส่ งและนำเสนอผลงาน

 นักเรี ยนทำแบบทดสอบหลังเรี ยน หน่วยการเรี ยนรู ้ที่ 1

9. สื่ อ/แหล่งการเรียนรู้
9.1 สื่อการเรียนรู้
1) หนังสื อเรี ยน ประวัติศาสตร์ ป.5
2) ตำนานหมู่บา้ น
3) ภาพหลักฐานทางประวัติศาสตร์
4) ใบงาน
9.2 แหล่ งการเรียนรู้
1) ห้องสมุด
2) ผูป้ กครอง / ผูร้ ู้ / ผูนำ
้ ชุมชน
4
แบบทดสอบก่ อน-หลังเรียน หน่ วยการเรียนรู้ ที่ 1

คำชี้แจง : กา  คำตอบทีถ่ ูกที่สุด

1. ข้อใด ไม่ ใช่ วิธีการทางประวัติศาสตร์


ก. การตีความข้อมูล ข. การรวบรวมข้อมูล
ค. การตรวจสอบข้อมูล ง. การสร้างแบบจำลอง

2. ข้อใดคือขั้นตอนแรกของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ก. การตีความข้อมูล ข. การรวบรวมข้อมูล
ค. การกำหนดหัวข้อเรื่ องที่จะศึกษา ง. การตรวจสอบข้อมูลและพิสูจน์ขอ้ เท็จจริ ง

3. แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ขอ้ ใดอยูใ่ นภาคอีสาน


ก. ถ้ำผีแมน ข. พระปฐมเจดีย ์
ค. เมืองศรี มโหสถ ง. เครื่ องปั้ นดินเผาบ้านเชียง

4. ข้อใดเป็ นหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ก. ภาพเขียนสี ที่ผาแต้ม ข. ศิลาจารึ กวัดเชียงมัน่
ค. หลักศิลาจารึ ก สมัยสุ โขทัย ง. จดหมายเหตุกรุ งศรี อยุธยา

5
5. ข้อใด ไม่ ใช่ หลักฐานที่เป็ นลายลักษณ์อกั ษร
ก. จารึ ก ข. ตำนาน
ค. โบราณวัตถุ ง. พงศาวดาร

6. เรื่ องราวที่เกิดขึ้นในอดีต และมีการเล่าสื บต่อกันมา จัดเป็ นหลักฐานประเภทใด


ก. จารึ ก ข. ตำนาน
ค. โบราณวัตถุ ง. พงศาวดาร

7. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในข้อใด แตกต่ างจากข้ออื่น


ก. จารึ ก ข. รู ปถ่าย
ค. โบราณวัตถุ ง. โบราณสถาน

8. ข้อใด ไม่ ใช่ วิธีการตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์


ก. การตีความข้อมูล
ข. การเปรี ยบเทียบข้อมูล
ค. การนำข้อมูลมาเขียนบันทึก
ง. การให้ผเู้ ชี่ยวชาญมาช่วยวิเคราะห์ขอ้ มูล

9. ข้อใดจัดเป็ นหลักฐานชั้นต้น
ก. รู ปถ่าย ข. ตำนาน
ค. หนังสื อ ง. นิทาน

10. ข้อใดไม่จดั ว่าเป็ นการแบ่งประเภทหลักฐานทางประวัติศาสตร์


ก. หลักฐานชั้นต้น - หลักฐานชั้นรอง
ข. หลักฐานที่เกิดขึ้นก่อน - เกิดขึ้นหลัง
ค. หลักฐานที่เป็ นตัวอักษร - หลักฐานที่ไม่เป็ นตัวอักษร
ง. หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ - สมัยประวัติศาสตร์

เฉลย แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1


ข้ อ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

6
เฉลย ง ค ง ก ค ข ก ค ก ข

You might also like