รายงานการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอ

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 50

รายงานการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน

นวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยห้องเรียนออนไลน์
โดยใช้ Google Classroom และ สือ่ เทคโนโลยี
วิชาภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

สุนันทา สิ้นโศรก
ครู

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
โรงเรียนทรายมูลวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 1


เอกสารประกอบการประเมินนวัตกรรมโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน
ประจำปีการศึกษา 2563

1. ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ นางสาวสุนันทา นามสกุล สิ้นโศรก


เกิดวันที่ 11 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 อายุ 26 ปี
ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน ครู ขั้นเงินเดือน 18,620 บาท
สถานที่ปฏิบัติงาน โรงเรียนทรายมูลวิทยา ตำบลทรายมูล อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร
ตั้งอยู่เลขที่ 142 หมู่ที่ 16 ตำบลทรายมูล อำเภอทรายมูล
จังหวัดยโสธร 35170
โทรศัพท์ 045 - 787063
ที่อยู่ปัจจุบัน เลขที่ 159 หมู่ที่ 5 ตำบลคูเมือง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร 35130
โทรศัพท์ 080 – 1594292
วุฒิการศึกษา
- วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาเอก ภาษาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม
ดำรงตำแหน่ง ครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง ครูผู้ช่วย โรงเรียนทรายมูลวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๘ (ศรีสะเกษ – ยโสธร)

๒. ประเภทนวัตกรรม นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน
ชื่อนวัตกรรม นวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยห้องเรียนออนไลน์โดยใช้ Google
Classroom และ สื่อเทคโนโลยี วิชาภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 2


รูปแบบการผลิตนวัตกรรม

ชื่อนวัตกรรม นวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยห้องเรียนออนไลน์
โดยใช้ Google Classroom และ สื่อเทคโนโลยี
วิชาภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

รูปแบบ นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน
นวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยห้องเรียนออนไลน์ โดยใช้ Google Classroom และ สื่อ
เทคโนโลยี คือ การใช้วิธีการเชิงระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีการเรียนการสอนแบบใหม่
ๆ ที่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนและการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนให้มีคุณภาพขึ้น จัดการ
เรียนรู้โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ และจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และสื่อ
เทคโนโลยี
นวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต
และสื่อเทคโนโลยี โดยการใช้เว็ปไซต์ แอปพลิเคชัน และโปรแกรมพัฒนาสื่อเทคโนโลยี ดังนี้

ข้าพเจ้าจึงได้ศึกษา ค้นหาวิธีการ และนวัตกรรมจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เป็นสำคัญ มาใช้ในการ


พัฒ นาเทคนิ ค/นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ท ำให้นักเรียนมีบทบาทในการเรียนรู้ เป็นฝ่ายลงมือ
ปฏิบัติ (active learner) และสามารถคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ผลงานได้ (active ability)

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 3


ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การศึ ก ษาเป็ น องค์ ป ระกอบสำคั ญ ในการพั ฒ นาทรัพ ยากรมนุ ษ ย์ ท างด้ าน สติ ปั ญ ญา


ร่ า งกาย และจิ ต ใจและยั ง เป็ น เครื่ อ งมื อ ในการสร้ า งกำลั ง คนของประเทศให้ มี คุ ณ ภาพและ
ประสิทธิภาพ ทันต่อความเจริญก้าวหน้าทางด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
ดังนั้นการศึกษาจึงมีความสำคัญต่อคนทุกเพศทุกวัย ทุกอาชีพ เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานในการประกอบ
อาชีพ การพั ฒ นาคนในสั งคม และการพั ฒ นาให้ ป ระเทศชาติ เจริญ ก้ าวหน้ าต่ อ ไป ในปั จ จุ บั น
การศึกษาถือเป็นตัวเร่งที่สำคัญที่สุดในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ใน
สั งคม ซึ่งการพั ฒ นาที่ เด่น ที่ สุ ดอันเนื่องมากจากผลของการศึกษาในปัจจุบั นคือ ความก้าวหน้ า
ทางด้านวิทยาศาสตร์แ ละเทคโนโลยี มีผลทำให้โลกในปัจจุบันก้าวไปสู่ยุคที่เรียกว่า “เทคโนโลยี
สารสนเทศ” การเจริญเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลต่อความก้าวหน้าทางวิทยาการทุกด้าน
ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงาน ด้านการแพทย์ การพาณิชย์ธุรกิจ บันเทิง การสื่อสาร และการศึกษา
ในด้านการศึกษานั้น โดยจะมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายของการเรียนการสอน คือ การที่นักเรียนเกิดการ
เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล แต่การที่จะทำให้ได้และดีนั้น ต้องอาศัยเทคนิควิธีและ
ปัจจัยหลายประการ ระบบการเรียนการสอนในปัจจุบันจึงต้องมาเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ซึ่งนับวัน
จะมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตคนเรามากขึ้น
กลยุ ท ธ์ แ ละแนวทางการดำเนิ น งานตามยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาการศึ ก ษาของ
กระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) กำหนดไว้อย่างชัดเจน รวมถึงนโยบายของรัฐ
ด้านการเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อีกทั้งในศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาขึ้นจนเป็น
สิ่งที่ใช้งานง่ายและใกล้มนุษย์มากขึ้น ทำให้เกิดนวัตกรรมการจัดการศึกษาจากระบบการเรียนการ
สอนเดิมที่ครูผู้สอนยืนสอนและเขียนกระดานพร้อมการบรรยาย ปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีเป็น
แหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน นวัตกรรม และสื่อการเรียนรู้มีคุณภาพและมาตรฐาน นักเรียนสามารถ
เข้าถึงได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ สามารถจัดการศึกษาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มี
คุณภาพเพิ่มขึ้น ตามยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่ง
การเรียนรู้ ข้อ 3.4 ของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579 เพื่อส่งเสริมกระบวนการ
เรีย นให้ กับ นั กเรีย นในสภาพแวดล้ อมที่เสมื อนจริง ประกอบกั บ การใช้ก ระบวนการส่ งเสริม ให้
นั ก เรี ย นเกิ ด ความร่ ว มมื อ ในการเรี ย นรู้ แ บบ Collaborative Learning โดยนั ก เรี ย นสามารถมี
ปฏิสัมพันธ์กับครูผู้สอนหรือกลุ่มนักเรียนด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดหรือทำงานร่วมกันได้ ผ่าน
การสร้างเนื้อหาการอ่านและการเขียน รวมทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูล การแสวงหาและการนำเสนอ
ความรู้ในรูปแบบของดิจิทัลผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดการจดจำและแรงจูงใจในการ
เรียนรู้ของนักเรียนมากขึ้นด้วยการนวัตกรรมทางการศึกษา
ในปั จจุ บั น การนำ “เทคโนโลยีด้านการศึกษา” หรือ “Educational Technology” มา
ช่วยบริหารจัดการระบบการเรียนการสอนให้อยู่บนระบบ Cloud หรือ CloudComputing (คลาวด์

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 4


คอมพิวติ้ง) ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับการทำงานของผู้ใช้งานในทุก ๆ ด้าน และ
ใช้ออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักเรียน ทั้ง
ทักษะด้านดิจิทัล การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การสร้างความร่วมมือ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งการ
เรียนผ่านระบบ Cloud นี้ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง และออกจากกรอบของการ
เรียนรู้ที่จำกัดเฉพาะในห้องเรียน ช่วยให้การนำเสนอเนื้อหาการเรียนการสอนที่มีความน่าสนใจขึ้น
และสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างนักเรียนและครูได้มากขึ้น
ด้ว ยเหตุนี้ เองจึ งได้ มี การผลิ ต สื่ อต่ าง ๆ ขึ้น มามากมายเพื่ อใช้ ในการเรียนการสอน ซึ่ ง
บทเรียนผ่าน Platform ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย การเรียนการสอนผ่าน Platform จะมีความสมบูรณ์
แบบได้จำเป็นต้องมีบทเรียนผ่าน Platform เพราะบทเรียนผ่าน Platform นั้นเป็นบทเรียนที่อาศัย
คุณ สมบั ติ และทรัพยากรที่มีอยู่บนอินเตอร์เน็ตมาเป็นสื่ อกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ เพื่ อ
ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ จากการศึกษาถึงเครื่องมือที่สนับสนุนการ
เรีย นการสอนที่ต อบสนองและสอดคล้ องกั บลั ก ษณะการเรียนรู้ของนั กเรียนยุคปั จจุบั น พบว่า
Google Classroom เป็ น สื่อสำคัญในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะเสริมการเรียนรู้และ
พัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้และเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้
ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ ประชาชนในประเทศสมควรอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้ในเรื่อง
ภาษาไทยในระดับแตกฉาน เพราะภาษาไทยเป็นเครื่องมือสื่อสารและถ่ายทอดวัฒนธรรมของชาติ
ทางหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงได้มีการรณรงค์ เรื่องการใช้ภาษา ให้เยาวชนไทยรัก
และหวงแหนภาษาไทยและวัฒ นธรรมไทย เพื่อกระตุ้นและปลุ กจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้
ตระหนักและร่วมมือร่วมใจกัน ทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย วัฒ นธรรมไทย ให้ เป็น
สมบัติอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป (ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา, 2547) แม้ว่า
หลักสูตรจะให้ความสำคัญเรื่องการสร้างคำ แต่จากการศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
พบว่าการเรียนการสอนในเรื่องนี้ ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร โรงเรียนทรายมูลวิทยา จังหวัด
ยโสธร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๘ ได้ ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ตาม
นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมุ่งเน้นกระบวนการความคิดและปฏิบัติ ส่งเสริมการจัดการ
เรียนการสอนวิชาภาษาไทย แต่ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของ
นั ก เรี ย น ยั งอยู่ ในระดับ ที่ ไม่น่ าพอใจมากนั ก เนื่ อ งจากว่าคะแนนเฉลี่ ย (Mean) วิช าภาษาไทย
เท่ากับ 53.90 ซึ่งเป็นระดับผลการทดสอบที่ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยในระดับขนาดโรงเรียน (54.05)
ระดับสังกัด (55.91) และระดับ ประเทศ (55.14) และมีคะแนนมาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 4
หลักการใช้ภ าษาไทย เท่ากับ 46.58 ซึ่งเป็นระดับผลการทดสอบที่ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยในระดับ
สังกัด (47.41) และระดับประเทศ (74.05) แสดงให้เห็นว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีผลการ
ทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) อยู่ในเกณฑ์ไม่ดีเท่าที่ควร อาจเกิดจากสาเหตุ
หลายประการซึ่ง (สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์, 2538) ได้กล่าวสรุปถึงปัญหาในการ
สอนหลักภาษาไว้ว่า “หลักภาษาไทยเป็นวิชาที่เกิดปัญหากับครูผู้สอนและนักเรียนเป็นอย่างมาก

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 5


เนื่องจากเนื้อหาวิชาภาษาไทยนั้นมีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวและซับซ้อน” และสรุปปัญหาในการสอนวิชา
ภาษาไทย ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไว้ว่า “ทั้งครูและนักเรียนไม่เห็นประโยชน์และความสำคัญของวิชา
ภาษาไทย โดยครูมีความเห็ นว่า วิชานี้สอนยากจึงไม่ช อบสอน นักเรียนเองก็ไม่ชอบเรียนเพราะ
เนื้อหายาก ไม่สนุก ไม่น่าสนใจและปัญหาที่ประสบมากคือ การสอนเนื้อหาวิชาหลักภาษาไทย ส่วน
ใหญ่จะเกิดจากการขาดแคลนอุปกรณ์การสอนรวมทั้งครูมีวิธีสอนที่ไม่เร้าความ สนใจ” นอกจากนั้น
ปัญหาของนักเรียนในด้านการเรียนไวยากรณ์ไทย คือนักเรียนขาดความสนใจที่จะศึกษาลักษณะ
ของเสี ย ง ซึ่ งเป็ น หน่ ว ยที่เล็ กที่ สุ ด เมื่อ นำเสี ยงมาประกอบกัน เข้าจะเกิ ดเป็ น พยางค์ พยางค์ ใด
สามารถใช้สื่อความหมายได้จะถือว่าเป็นคำ ทั้งนี้ลักษณะสำคัญประการหนึ่งในภาษาไทย คือ การ
สร้างคำ เพื่อนำมาใช้ในการสื่อสาร การสร้างคำนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะช่วยให้ภาษามีคำต่าง
ๆ ใช้สื่อสารได้อย่างครอบคลุม และเพียงพอ ดังนั้น นักเรียนจึงควรศึกษาวิธีการสร้างคำเพื่อที่จะ
สามารถสร้างคำใช้ในภาษาไทย ได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางภาษา
จากความเป็น มาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าจึงสนใจและหาวิธี
ส่งเสริมความสามารถในการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียน โดยนำเทคโนโลยี Google Apps for
Education มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สามารถสร้าง
ความปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับนักเรียน รวมถึงระบบการส่งและจัดเก็บผลงานต่าง ๆ ข้าพเจ้าได้
ศึกษา Google Classroom และมีความต้องการที่จะสร้างบทเรียนและพัฒนาเทคนิคการเรียนการ
สอนด้วยนวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom เรื่อง การสร้างคำ สำหรับ นักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เป็น สื่อเพื่อส่งเสริมให้ นักเรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในเนื้อหา
และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้ใช้ นักเรียนโรงเรียนทรายมูลวิทยา อำเภอทราย
มู ล จั งหวั ด ยโสธร เป็ น กลุ่ ม ตั ว อย่า งในการใช้ น วั ต กรรมชุ ด นี้ ซึ่ งผลที่ ได้ จากการใช้น วัต กรรม
ห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ในครั้งนี้จะเป็นแนวทางนำเทคโนโลยี Google Apps for
Education มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 6


การออกแบบนวัตกรรม

ข้ า พเจ้ า ได้ ศึ ก ษา ค้ น หาวิ ธี ก าร และนวั ต กรรมจั ด การเรี ย นรู้ พบว่ า การใช้


นวัตกรรมช่วยแก้ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ของครูสอน ดังนี้
1. ปั ญ หาเกี่ย วกับ วิธีการจัดการเรียนรู้ ปัญ หาที่มักพบอยู่เสมอคือ ครูส่ว นใหญ่ ยังคงยึด
รูปแบบวิธีการสอนแบบบรรยายโดยครูเป็นศูนย์กลางที่เน้นการพูดบรรยายถ่ ายทอดเนื้อหาสาระ
มากกว่าสอนในรูปแบบอื่น การสอนด้วยวิธีการแบบนี้ท ำให้นักเรียนเป็นฝายรับรู้ (passive learner)
ซึ่งจะมีผลให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่มีความสามารถในเชิงการคิด ประดิษฐ์สร้างสรรค์ผลงานได้น้อย
(passive ability) มักเป็นคนประเภทบริโภคนิยม บรรยากาศของการสอนแบบบรรยายนอกจากจะ
ทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้นความคิดและสติปัญหาของ
นักเรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย แต่ถ้าครูผู้สอนได้ศึกษา ค้นหาวิธีการหรือนวัตกรรมจัดการ
เรียนรู้ที่เน้นผู้เป็นสำคัญ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่ท ำให้นักเรียนมีบทบาทในการเรียนรู้มากขึ้น
และเป็นฝ่ายลงมือปฏิบัติมากขึ้น (active learner) ก็จะทำให้ นักเรียนมีคุณลักษณะที่สามารถคิด
ประดิษฐ์สร้างสรรค์ผลงานได้มากขึ้น (active ability) ดังนั้น การนำนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการ
เรียนรู้จึงช่วยแก้ปัญหาเรื่องวิธีการจัดการเรียนรู้
2. ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาซึ่งในบางรายวิชามีเนื้อหาสาระการเรียนรู้มากและบางวิชามี
เนื้อหาเป็นนามธรรม ยากแก่การเข้าใจ โดยเฉพาะวิชาภาษาไทย เรื่อง หลักภาษา ดังที่ (สุจริต เพียร
ชอบ และสายใจ อิน ทรัมพรรย์ , 2538) ได้กล่าวสรุปถึงปัญ หาในการสอนหลักภาษาไว้ว่า “หลั ก
ภาษาไทยเป็นวิชาที่เกิดปัญหากับครูผู้สอนและนักเรียนเป็นอย่างมาก เนื่องจากเนื้อหาวิชาภาษาไทย
นั้ น มี ก ฎเกณฑ์ ที่ ต ายตั ว และซั บ ซ้ อ น” และสรุป ปั ญ หาในการสอนวิ ช าภาษาไทย ในงานวิ จั ย ที่
เกี่ยวข้องไว้ว่า “ทั้งครูและนั กเรียนไม่เห็ นประโยชน์และความสำคัญ ของวิชาภาษาไทย โดยครูมี
ความเห็นว่า วิชานี้สอนยากจึงไม่ชอบสอน นักเรียนเองก็ไม่ชอบเรียนเพราะเนื้อหายาก ไม่สนุก ไม่
น่าสนใจและปัญหาที่ประสบมากคือ การสอนเนื้อหาวิชาหลักภาษาไทย ส่วนใหญ่จะเกิดจากการขาด
แคลนอุปกรณ์การสอนรวมทั้งครูมีวิธีสอนที่ไม่เร้าความ สนใจ” จึงจำเป็นจะต้องนำนวัตกรรมเข้ามา
ช่วยในการจัดการเรียนรู้ เช่น การใช้ชุดการเรียนการสอน บทเรียนคอมพิว เตอร์ช่วยสอน (CAI)
บทเรียนการ์ตูน การเรียนแบบร่วมมือ
3. ปั ญ หาเกี่ย วกับ สื่อ อุปกรณ์ การจัดการเรียนรู้ ในบางเนื้อหามีสื่ อ อุปกรณ์ การจัดการ
เรี ย นรู้ เป็ น จำนวนน้ อย ไม่ เพี ย งพอต่อ การนำไปใช้ เพื่ อ ทำให้ นั ก เรียนเกิด ความรู้ค วามเข้าใจใน
เนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้และผลิตสื่ อการ
จัดการเรียนรู้ใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้เพียงพอเหมาะสมกับสภาพของนักเรียนจึง
จะทำให้การจัดการเรียนรู้บรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 7


ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย จึงจำเป็นที่จะต้องใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการจัดการ
เรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ ข้าพเจ้าจึงต้องแสวงหาและพัฒนานวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการ
จัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความ
แตกต่างกันในหลายลักษณะ บางคนมีความสนใจในการเรียนและเรียนรู้ได้เร็ว ในขณะที่บางคนขาด
แรงจูงใจในการเรียน จึงไม่ให้ความสนใจต่อการเรียนและเรียนรู้ได้ช้า ดังนั้น ข้าพเจ้า จึงพยายาม
ศึกษาหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด
ของนักเรียน ให้สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพซึ่งจะต้องใช้นวัตกรรมการจัดการ
เรียนรู้มาช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและมีคุณภาพ
จากความสำคัญและประโยชน์ของนวัตกรรมทางการศึกษาที่กล่าวมาจะพบว่านวัตกรรมทาง
การศึกษามีความสำคัญ ต่อการนำมาแก้ปัญหาหรือพัฒ นานักเรียน อีกทั้งยังเป็นสื่อการสอนและ
วิ ธี ก ารสอนใหม่ ๆ ที่ ค รู น ำมาใช้ พั ฒ นานั ก เรี ย นโดยเน้ น ที่ ค วามแตกต่ า งระหว่ า งบุ ค คล เน้ น
ความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นหลัก นวัตกรรมจะทำให้นักเรียนเข้าบทเรียนหรือเนื้อหา
มากขึ้น โดยสามารถพัฒนาทั้งด้านความรู้ ทักษะ และด้านเจตคติของนักเรียนทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนมี
ผลการเรียนรู้เป็นไปตามมาตรฐานที่หลักสูตรกำหนด
ข้าพเจ้าจึงได้ออกแบบนวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยห้องเรียนออนไลน์โดยใช้ Google
Classroom และ สื่อเทคโนโลยี วิชาภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำ สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4 เพื่อปัญหาในการสอนวิชาภาษาไทย ช่วยให้การนำเสนอเนื้อหาการเรียนการสอนที่มีความน่าสนใจ
ขึ้น เปลี่ยนเนื้อหาการเรียนรู้ที่ซับซ้อน ยุ่งยากน่าเบื่อ ให้เป็นเรื่องง่ายที่สนุก และน่าสนใจ ให้นักเรียน
สามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ออกจากกรอบของการเรียนรู้ที่จำกัดเฉพาะในห้องเรียน และสร้าง
การมีส่วนร่วมระหว่างนักเรียนและครูได้มากขึ้น

ภาพการเรียนรู้ผ่านห้องเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Classroom และการสื่อสารประชุมทางไกล


ผ่าน google meet

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 8


การผลิตนวัตกรรม

ภาพขั้นตอนการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยห้องเรียนออนไลน์
โดยใช้ Google Classroom และ สื่อเทคโนโลยี วิชาภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 9


จากภาพขั้นตอนการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยห้องเรียนออนไลน์
โดยใช้ Google Classroom และ สื่อเทคโนโลยี วิชาภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ข้างต้น ข้าพเจ้าได้ดำเนินการออกแบบและสร้างนวัตกรรมตามขั้นตอน ดังนี้
1. การวิเคราะห์เนื้อหาบทเรียนก่อนสร้างนวัตกรรม
2. ขั้นตอนการสร้างชั้นเรียน ด้วย Google Classroom
3. ขั้นตอนการจัดการรายวิชาใน Google Classroom
4. ขั้นตอนการใช้งานนวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom
5. ขั้นตอนการใช้งานสื่อเทคโนโลยีในชั้นเรียน

1. การวิเคราะห์เนื้อหาบทเรียนก่อนสร้างนวัตกรรม

1.1 วิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย
จากการศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย พบว่า การ
เรียนการสอนหลักภาษา เรื่องการสร้างคำ ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร โรงเรียนทรายมูลวิทยา
จังหวัดยโสธร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๘ ได้ ดำเนินการจัดการเรียนการสอน
ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมุ่งเน้นกระบวนการความคิดและปฏิบัติ ส่งเสริมการ
จัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย แต่ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
ของนักเรียน ยังอยู่ในระดับ ที่ไม่น่าพอใจมากนัก เนื่องจากว่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) วิชาภาษาไทย
เท่ากับ 53.90 ซึ่งเป็ นระดับ ผลการทดสอบที่ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยในระดับขนาดโรงเรียน (54.05)
ระดับสังกัด (55.91) และระดับประเทศ (55.14) และมีคะแนนมาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 4
หลักการใช้ภาษาไทย เท่ากับ 46.58 ซึ่งเป็นระดับผลการทดสอบที่ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยในระดับสังกัด
(47.41) และระดับประเทศ (74.05) แสดงให้เห็นว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีผลการทดสอบ
ทางการศึกษาระดับ ชาติขั้นพื้ นฐาน (O-NET) อยู่ในเกณฑ์ไม่ดีเท่าที่ควร อาจเกิดจากสาเหตุห ลาย
ประการซึ่ง (สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์, 2538) ได้กล่าวสรุปถึงปัญหาในการสอน
หลักภาษาไว้ว่า “หลักภาษาไทยเป็นวิชาที่เกิดปัญหากับครูผู้สอนและนักเรียนเป็นอย่างมาก เนื่องจาก
เนื้อหาวิชาภาษาไทยนั้นมีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวและซับซ้อน” และสรุปปัญหาในการสอนวิชาภาษาไทย
ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไว้ว่า “ทั้งครูและนักเรียนไม่เห็นประโยชน์และความสำคัญของวิชาภาษาไทย
โดยครูมีความเห็นว่า วิชานี้สอนยากจึงไม่ชอบสอน นักเรียนเองก็ไม่ชอบเรียนเพราะเนื้อหายาก ไม่
สนุก ไม่น่าสนใจและปัญหาที่ประสบมากคือ การสอนเนื้อหาวิชาหลักภาษาไทย ส่วนใหญ่จะเกิดจาก
การขาดแคลนอุป กรณ์ การสอนรวมทั้งครูมีวิธีส อนที่ ไม่เร้าความ สนใจ” นอกจากนั้น ปัญ หาของ
นักเรียนในด้านการเรียนไวยากรณ์ไทย คือนักเรียนขาดความสนใจที่จะศึกษาลักษณะของเสียง ซึ่ง
เป็ น หน่ ว ยที่ เล็ ก ที่ สุ ด เมื่ อ นำเสี ย งมาประกอบกัน เข้าจะเกิ ด เป็ น พยางค์ พยางค์ใดสามารถใช้ สื่ อ

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 10


ความหมายได้จะถือว่าเป็ นคำ ทั้งนี้ลักษณะสำคัญประการหนึ่งในภาษาไทย คือ การสร้างคำ เพื่อ
นำมาใช้ในการสื่อสาร การสร้างคำนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะช่วยให้ภาษามีคำต่าง ๆ ใช้สื่อสาร
ได้อย่างครอบคลุม และเพียงพอ ดังนั้นนักเรียนจึงควรศึกษาวิธีการสร้างคำเพื่อที่จะสามารถสร้างคำ
ใช้ในภาษาไทย ได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางภาษา

ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


ปีการศึกษา 2562 ซึ่งปัจจุบัน (ปีการศึกษา 2563) เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 92

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 11


1.2 ขั้นตอนการวิเคราะห์เนื้อหาและออกแบบบทเรียน
ข้ าพเจ้ า ได้ ศึ ก ษาหลั ก สู ต ร วิ เคราะห์ ห ลั ก สู ต ร วิเคราะห์ ม าตรฐานการเรี ย นรู้
วิเคราะห์นักเรียน จัดหน่วยการเรียนรู้ย่อย เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ และจัดทำ
แผนการจัดการเรียนรู้ มีขั้นตอน ดังนี้
1) ปัญหาที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย จากการสัมภาษณ์ครูผู้สอน
และรายงานการประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาด้ านภาษาไทยปี ก ารศึ ก ษา 2563 ของนั ก เรี ย นชั้ น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทรายมูลวิทยา
2) ศึกษารายละเอียดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระการ
เรี ย นรู้ ภ าษาไทย ช่ ว งชั้ น ที่ 4 สาระที่ 4 มาตรฐาน ท 4.1 : เข้ าใจธรรมชาติ ข องภาษาและหลั ก
ภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังงานของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษาและรักษาภาษาไทย
ไว้เป็ น สมบั ติของชาติศึกษาเนื้ อหาเรื่องการสร้างคำจากหนังสื อ ตำรา เอกสาร คู่มือการสอนวิช า
ภาษาไทย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องการวิเคราะห์เนื้อหาของบทเรียนและกำหนดเป็นรายละเอียดดังนี้

จากการวิเคราะห์เนื้อหาทั้งหมดแบ่งออกเป็น 6 เรื่อง จากนั้นจึงเขียนผลการเรียนรู้


ที่คาดหวังและนำไปเขียนเป็นกรอบในการสร้างนวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 12


นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 13
นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 14
นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 15
2. ขั้นตอนการสร้างชั้นเรียน ด้วย Google Classroom

Classroom เป็นบริการสาหรับ Google Apps for Education ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือที่


มีป ระสิ ทธิภ าพ ได้ รับ การออกแบบมาเพื่ อช่วยให้ ผู้ ส อนสามารถสร้างและเก็บ งานได้ โดยไม่ต้อ ง
สิ้นเปลืองกระดาษ มีคุณลักษณะที่ช่วยประหยัดเวลา เช่น สามารถทาสำเนาของ Google เอกสาร
สำหรับนักเรียนแต่ละคนได้โดยอัตโนมัติ โดยระบบจะสร้างโฟลเดอร์ของไดร์ฟสำหรับแต่ละงานและ
นักเรียนแต่ละคนเพื่อช่วยจัดระเบียบให้นักเรียนสามารถติดตามว่ามีอะไรครบกำหนดบ้างในหน้างาน
และเริ่มทางานได้ด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว ผู้ส อนสามารถดูได้อย่างรวดเร็วว่าใครทางานเสร็จ
หรือไม่เสร็จ บ้ าง ตลอดจนสามารถแสดงความคิดเห็ นและให้ คะแนนโดยตรงได้แบบเรียลไทม์ใน
Google Classroom

ประโยชน์ของการใช้งาน Google Classroom

1) ตั้งค่าได้ง่าย สามารถเพิ่มนักเรียนได้โดยตรง หรือแชร์รหัสเพื่อให้นักเรียนเข้าชั้น


เรียนได้ การตั้งค่า ใช้เวลาไม่นาน
2) ประหยัดเวลา กระบวนการของงานเรียบง่าย ไม่สิ้นเปลืองกระดาษ ทำให้ครูผู้สอน
สร้าง ตรวจ และให้คะแนนงานได้อย่างรวดเร็ว
3) ช่วยจัดระเบียบ นักเรียนสามารถดูงานทั้งหมดของตนเองได้ในหน้างาน และเนื้อหา
สาหรับชั้นเรียนทั้งหมดจะถูกจัดเก็บในโฟลเดอร์ภายใน Google ไดร์ฟโดยอัตโนมัติ
4) สื่อสารกันได้ดียิ่งขึ้น Classroom ทำให้ผู้สอนสามารถส่งประกาศและเริ่มการพูดคุย
ในชั้นเรียนได้ทันที นักเรียนสามารถแชร์แหล่งข้อมูลกันหรือตอบคำถามในสตรีมได้
5) ประหยัดและปลอดภัย เช่นเดียวกับบริการอื่น ๆ ของ Google Apps for
Education คือ Classroom จะไม่แสดงโฆษณา ไม่ใช้เนื้อหาหรือข้อมูลของนักเรียนในการโฆษณา
และให้บริการฟรีสำหรับมหาวิทยาลัย

การสร้างชั้นเรียน Google Classroom

สำหรับการใช้งาน Google Classroom ในบทบาทของครูผู้สอนนั้นสามารถทำได้ดังนี้


1) สร้างชั้นเรียนออนไลน์สำหรับรายวิชานั้น ๆ ได้
2) เพิ่มรายชื่อนักเรียนจากบัญชีของ Google เข้ามาอยู่ในชั้นเรียนได้
3) สามารถกำหนดรหัสผ่านให้นักเรียนนาไปใช้เพื่อเข้าชั้นเรียนเองได้

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 16


4) สามารถตั้งโจทย์ มอบหมายการบ้านให้นักเรียนทำ โดยสามารถแนบไฟล์และ
กำหนดวันที่ส่งการบ้านได้
5) นักเรียนเข้ามาทำการบ้านใน Google Docs และส่งเข้า Google Drive ของผู้สอน
โดยจะจัดเก็บไฟล์งานให้อย่างเป็นระบบภายใต้ Folder “Classroom”
6) สามารถเข้ามาดูจานวนนักเรียนที่ส่งการบ้านภายในกำหนดและยังไม่ได้ส่งได้
7) ตรวจการบ้านของนักเรียนแต่ละคน พร้อมทั้งให้คะแนนและคำแนะนำได้
8) สามารถเชิญผู้สอนท่านอื่นเข้าร่วมในชั้นเรียนเพื่อร่วมกันจัดการเรียนการสอนได้
9) ปรับแต่งรูปแบบของชั้นเรียนตามธีม หรือจากภาพส่วนตัวได้
10) สามารถใช้งานบนมือถือ ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ได้
สำหรับ Google Classroom ครูผู้สอนไม่จำเป็นต้องรู้วิธีการเขียนโค้ดหรือสร้าง
เว็บไซต์หรือสับสนกับขั้นตอนมากมายที่ต้องใช้ในการสร้างชั้นเรียน สำหรับ Google Classroom
เป็นเรื่องง่ายในการสร้างชั้นเรียนเพียงแค่คลิกที่ปุ่มและการเพิ่มข้อความบางส่วน

ขั้นตอนการสร้างชั้นเรียน ด้วย Google Classroom

1. เข้าสู่ Google Classroom ที่ https://classroom.google.com/ ด้วย Browser


Google Chrome
2. ดำเนินการ login ด้วย user ทีโ่ รงเรียนทรายมูลวิทยาสร้างให้
sunanta.s@obec.moe.go.th (รูปที่ 1)
3. ใส่ password ที่ได้จากผู้ดูแลระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโรงเรียนทรายมูลวิทยา
แล้วกด Sign in (รูปที่ 2)

ใส่ e-mail >


< คลิก Password

< คลิก Sing in


คลิก next >

(รูปที่ 1) (รูปที่ 2)

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 17


4. เมื่อเข้าสู่ Google Classroom ครั้งแรก จะต้องดำเนินการเลือกบทบาทในการใช้ใช้
งาน โดยสามารถเลือกได้ในส่วนของ What’s your role at your school? คลิกเลือก Teacher ใน
กรณีเป็นผู้สอนหรือผู้สร้างรายวิชา คลิกเลือก Student ในกรณีเป็นนักเรียน เมื่อเลือกบทบาทเสร็จ
สิ้นให้กดปุ่ม Submit

หมายเหตุ : การใช้งาน Google Classroom จะต้องระวังตอนเลือกว่าสถานะ เพราะ


ถ้าเลือกผิดจะไม่สามารถแก้ไขเองได้ จะต้องให้ Admin แก้สิทธิ์ให้ (Admin ของระบบ Google ของ
มหาวิทยาลัยบูรพา)
5. ปรากฏหน้าต่างของ Google Classroom คลิกเครื่องหมาย + ที่มุมบนด้านขวา
แล้วเลือกสร้างชั้นเรียน (Create Class)

6. กรอกข้อมูลในการสร้างชั้นเรียน
- ชั้นเรียน (Class name) ชื่อชั้นเรียน หรือชื่อวิชา
- ห้อง (Section) ชื่อห้องเรียน กลุ่มเรียน หรือเวลาเรียน
- รายละเอียด (Subject) รายละเอียดสั้น ๆ ของชั้นเรียน
หรือวิชา
7. เมื่อทำการกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้วให้ดำเนินการคลิก สร้าง
(CREATE)

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 18


หน้าจอการทำงานของ Google Classroom

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 19


3. ขั้นตอนการจัดการรายวิชาใน Google Classroom

1) สร้ า งไฟล์ สื่ อ การสอนด้ ว ยโปรแกรม Microsoft PowerPoint และ


Microsoft word โดยบันทึกหรือแปลงไฟล์ของเป็น PDF และ JPEG

การสร้างสื่อเทคโนโลยี ต้องคำนึงถึงหลักการสร้างสื่อนำเสนองานที่ดี
ซึ่งมีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ดังนี้
1) ความเรียบง่าย : จัดทำสไลด์ให้ดูเรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ใช้
สีอ่อนเป็นพื้นหลัง เพื่อเวลาอ่านจะไม่รบกวนสายตา
2) มี ค วามคงตั ว : เป็ น สิ่ งสำคั ญ ที่ สุ ด ในการนำเสนอสไลด์ ซึ่ ง เป็ น
เนื้อหาในเรื่องเดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบสไลด์
3) ใช้ความสมดุล : การออกแบบส่วนประกอบของสไลด์ให้มีลักษณะ
สมดุลมีแบบแผน หรือ สมดุลไม่มีแบบแผนก็ได้
4) มีแนวคิดเดียวในสไลด์แต่ละแผ่น : ข้อความและสภาพที่บรรจุใน
สไลด์แผ่นหนึ่ง ๆ ต้องเป็นเนื้อหาแต่ละแนวคิดเท่านั้น
5) สร้างความกลมกลืน : ใช้แบบอักษรและภาพกราฟิกให้เหมาะสม
กับลักษณะของเนื้อหาใช้แบบอักษรอ่านง่าย และใช้สีที่ดูแล้วสบายตา
6)แบบอักษร : ไม่ใช้อักษรมากกว่า 2 แบบในสไลด์เรื่องหนึ่ง โดยใช้
แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบหนึ่งเป็นเนื้อหา
7) เนื้ อ หา และจุ ด นำข้ อ ความ : ข้ อ ความในสไลด์ ค วรเป็ น เฉพาะ
หั วข้อ หรื อเนื้ อหาสำคัญ เท่านั้ น และควรนำเสนอเป็น แต่ล ะย่อหน้ า โดยอาจมีจุดนำข้อความอยู่
ข้างหน้า เพื่อแสดงให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น
8) เลือกใช้กราฟิกอย่างระมัดระวัง : การใช้กราฟิกอย่างเหมาะสมจะ
สามารถเพิ่มการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล
9) เนื้อหา : สั้น กระชับ เข้าใจง่าย นำเสนอเพียงสาระสำคัญของเรื่อง
อ่านศึกษาเข้าใจได้ง่าย

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 20


ตัวอย่างสื่อการสอน ที่สร้างด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 21


2) ตกแต่งภาพ สร้างตั ว การ์ตู น ด้ วยโปรแกรม Adobe Photoshop และ
โปรแกรม Adobe illustrator

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 22


3) สร้างแบบทดสอบด้วยโปรแกรม Google Form

ก่อนเรียน หลังเรียน
นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 23
การสร้างแบบทดสอบด้วยโปรแกรม Google Form จะต้องมีไฟล์เอกสารข้อมูลของชุดแบบทดสอบ
ที่จัดทำในโปรแกรม Microsoft word เพื่อความสะดวกต่อการจัดทำที่รวดเร็วขึ้น

แบบทดสอดสอบก่อนเรียน
เรื่อง การสร้างคำ
1 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่คำมูล 5 ข้อใดแยกสนธิได้ถูกต้อง
ก) กระดาษ ก) นิล + อุบล = นิโลตบล
ข) หมอดู ข) หัสดี + อาภรณ์ = หัสดาภรณ์
ค) ปลวก ค) จักขุ + อาพาธ = จักขุอาพาธ
ง) นาฬิกา ง) มาลี + อาภรณ์ = มาลียาภรณ์
2 ข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อเสียงทุกคำ 6 ข้อใดไม่เป็นข้อแตกต่างระหว่างคำประสมและ
ก) หนุงหนิง เหนะหนะ ซ่อนเร้น คำสมาส
ข) เกะกะ ทุบตี อบรม ก) ความหมาย
ค) ทิ้งขว้าง ดูแล เลี้ยงดู ข) ที่มาของคำ
ง) กะรุ่งกะริ่ง กะวีกระวาด หลุกหลิก ค) จำนวนคำที่มาประสมกัน
3 คำว่า"หัตถาจารย์"เมื่อแยกสนธิแล้วจะได้คำใด ง) การแปลความหมายของคำ
ก) หัตย + อาจารย์ 7 ข้อใดไม่ใช่คำประสม
ข) หัตถา + อาจารย์ ก) ลูกประคำ
ค) หัตถี + อาจารย์ ข) ลูกแก้ว
ง) หัตถ + อาจารย์ ค) ลูกเล่น
4 ข้อใดไม่ไช่คำสมาสทุกคำ ง) ลูกแมว
ก) ครุศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จริยศาสตร์ 8 คำซ้ำในข้อใดที่มีความหมายจางลง
ข) พระหัตถ์ พระบาท พระสงฆ์ ก) ดำด๊ำดำ
ค) อุทกภัย วาตภัย ทุพภิกขภัย ข) ดำ
ง) พระเขนย พระอู่ พระพุทธเจ้า ค) ด๊ำดำ
ง) ดำ ๆ

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 24


9 คำซ้ำในข้อใดบอกควานหมายเน้นหนัก 15 ข้อใดเป็นคำสระสนธิ
ก) ดูดี ๆ ก) ยโสธร
ข) หน้าตาซ้วยสวย ข) ชลนัยน์
ค) พูดค่อย ๆ ค) สงสาร
ง) เรื่องวุ่น ๆ ง) ราโชวาท
10 คำซ้ำในข้อใดที่ไม่ถูกต้อง 16 ข้อใดเป็นลักษณะของคำสมาส
ก) เธอไปดูที่ ๆ เชียงใหม่ ก) คำประสมคำบาลีหรือสันสกฤต
ข) ทำอะไรเป็นเด็ก ๆ ไปได้ ข) คำประสมที่มาจากภาษาบาลีและคำไทย
ค) พูดซ้ำ ๆ หน่อยฟังไม่รู้เรื่อง ค) คำไทยประสมกันตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป
ง) เร็ว ๆ เข้าสิเธอเดี๋ยวก็ไม่ทันหรอก ง) คำที่ประสมคำบาลีกับคำภาษาอื่น
11 คำซ้อนในข้อใดที่เป็นคำไทยกับคำที่มาจาก 17 คำประสมในข้อใดไม่ใช่คำไทยแท้
ภาษาอื่น ก) เครื่องจักร
ก) แบบแปลน เขียวขจี ข) ม้าน้ำ
ข) ขีดเขียน มัวหมอง ค) เนื้อแท้
ค) รูปถ่าย ภาพวาด ง) ต้นไม้
ง) เหลืองลออ บอบช้ำ 18 ข้อใดเป็นคำสมาส
12 ข้อใดเป็นคำสมาสที่เกิดจากคำบาลีและ ก) กรมหลวง
สันสกฤต ข) วิทยาธร
ก) สัมมาอาชีพ ค) พระโขนง
ข) ราชทัณฑ์ ง) จันทร์เพ็ญ
ค) วัฒนธรรม 19 ข้อใดเขียนผิดหลักนิคหิตสนธิ
ง) พลเมือง ก) สํ + อาคม = สังคม
13 ข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อเสียง ข) สํ + ฐาน = สัณฐาน
ก) เคียดแค้น ค) สํ + กร = สังกร
ข) ข้อคิด ง) สํ + สรรค์ = สังสรรค์
ค) ขัดแย้ง 20 คำซ้ำในข้อใดมีความหมายเป็นสำนวน
ง) ข้อเขียน ก) ชั่วๆ ดี ๆ ก็ลูกเราจะทำอย่างไรดี
14 ข้อใดไม่ใช้คำซ้อนเพื่อเสียง ข) วุ่น ๆ วาย ๆ อยู่อย่างนี้ เมื่อไหร่จะเริ่มต้นทำ
ก) สะอึกสะอื้น เสียที
ข) จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน ค) อะไร ๆ ก็ไม่รู้สักอย่างน่าเบื่อจริง
ค) กระจุกกระจิก ง) อาหารจานนี้จืด ๆ ชืด ๆ อย่างไรไม่รู้
ง) ละเอียดลออ

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 25


21 ข้อใดเป็นคำซ้อนที่มีความหมายตรงกันข้าม 26 คำประสมในข้อใดเป็นคำไทยแท้
ก) เท็จจริง ก) เทพเจ้า
ข) ดอกดวง ข) ยานอวกาศ
ค) ซอกซอย ค) การคมนาคม
ง) ค่ำคืน ง) ทางด่วน
22 "วิเทโศบาย"แยกสนธิ ได้อย่างไร 27 ข้อใดเป็นคำมูล
ก) วิเทศ + โอบาย ก) ต้นตำหรับ
ข) วิเทศ + โศบาย ข) ต้นหน
ค) วิเทศ + อบาย ค) แม่พิมพ์
ง) วิเทศ + อุบาย ง) กระถาง
23 ข้อใดไม่ได้อ่านอย่างคำสมาส 28 ข้อใดเป็นคำสนธิทุกคำ
ก) ทศนิยม ก) อนามัย กาญจนามัย มโนมัย
ข) สวัสดิการ ข) มหรรณพ กิติยากร รังสิโยภาส
ค) บรรษัท ค) ฤทธิเดช ศัสตราวุธ พหุปการ
ง) สารคดี ง) มเหศวร สินธุนาวา อุตุนิยม
24 ข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อความหมายทุกคำ 29 คำประสมในข้อใดมีความหมายโดยใน
ก) ลุกลน ซุกซน หนทาง ก) เดือดร้อน
ข) เยาะเย้ย ถากถาง ถดถอย ข) ใจคอ
ค) ยอกย้อน เร่อร่า ระราน ค) เรือจ้าง
ง) หยาบคาย ขัดถู เดือนร้อน ง) ใจหิน
25 คำซ้ำในข้อใดเกิดจากคำช้อนเพื่อเสียง 30 ข้อใดเป็นคำมูล 4 พยางค์
ก) พูดอ้อ ๆ แอ้ ๆ ไม่ชัดถ้อยชัดคำใครจะรู้เรื่อง ก) ลักปิดลักเปิด
ข) นับอย่างไรก็ไม่รู้ขาด ๆ เกิน ๆ ไม่พอดีเสียที ข) น้ำจิตน้ำใจ
ค) ข้าวสุก ๆ ดิบ ๆ ทานเข้าไปเดี๋ยวก็ปวดท้องหรอก ค) กัลปังหา
ง) ชัว่ ๆ ดี ๆ ก็พี่น้องกัน อภัยเสียเถอะ ง) สับสนวนเวียน

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 26


แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน
เรื่อง การสร้างคำ
1 ข้อใดเป็นคำมูล 4 พยางค์ 6 คำซ้ำในข้อใดเกิดจากคำช้อนเพื่อเสียง
ก) สับสนวนเวียน ก) ชัว่ ๆ ดี ๆ ก็พี่น้องกัน อภัยเสียเถอะ
ข) กัลปังหา ข) ข้าวสุก ๆ ดิบ ๆ ทานเข้าไปเดี๋ยวก็ปวดท้อง หรอก
ค) น้ำจิตน้ำใจ ค) นับอย่างไรก็ไม่รู้ขาด ๆ เกิน ๆ ไม่พอดีเสียที
ง) ลักปิดลักเปิด ง) พูดอ้อ ๆ แอ้ ๆ ไม่ชัดถ้อยชัดคำใครจะรู้เรื่อง
2 คำประสมในข้อใดมีความหมายโดยใน 7 ข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อความหมายทุกคำ
ก) ใจหิน ก) หยาบคาย ขัดถู เดือนร้อน
ข) เรือจ้าง ข) ยอกย้อน เร่อร่า ระราน
ค) ใจคอ ค) เยาะเย้ย ถากถาง ถดถอย
ง) เดือดร้อน ง) ลุกลน ซุกซน หนทาง
3 ข้อใดเป็นคำสนธิทุกคำ 8 ข้อใดไม่ได้อ่านอย่างคำสมาส
ก) มเหศวร สินธุนาวา อุตุนิยม ก) สารคดี
ข) ฤทธิเดช ศัสตราวุธ พหุปการ ข) บรรษัท
ค) มหรรณพ กิติยากร รังสิโยภาส ค) สวัสดิการ
ง) อนามัย กาญจนามัย มโนมัย ง) ทศนิยม
4 ข้อใดเป็นคำมูล 9 "วิเทโศบาย"แยกสนธิ ได้อย่างไร
ก) กระถาง ก) วิเทศ + อุบาย
ข) แม่พิมพ์ ข) วิเทศ + อบาย
ค) ต้นหน ค) วิเทศ + โศบาย
ง) ต้นตำหรับ ง) วิเทศ + โอบาย
5 คำประสมในข้อใดเป็นคำไทยแท้ 10 ข้อใดเป็นคำซ้อนที่มีความหมายตรงกันข้าม
ก) ทางด่วน ก) ค่ำคืน
ข) การคมนาคม ข) ซอกซอย
ค) ยานอวกาศ ค) ดอกดวง
ง) เทพเจ้า ง) เท็จจริง

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 27


11 คำซ้ำในข้อใดมีความหมายเป็นสำนวน 16 ข้อใดเป็นคำสระสนธิ
ก) อาหารจานนี้จืด ๆ ชืด ๆ อย่างไรไม่รู้ ก) ราโชวาท
ข) อะไร ๆ ก็ไม่รู้สักอย่างน่าเบื่อจริงเสียที ข) สงสาร
ค) วุ่น ๆ วาย ๆ อยู่อย่างนี้ เมื่อไหร่จะเริ่มต้นทำ ค) ชลนัยน์
ง) ชัว่ ๆ ดี ๆ ก็ลูกเราจะทำอย่างไรดี ง) ยโสธร
12 ข้อใดเขียนผิดหลักนิคหิตสนธิ 17 ข้อใดไม่ใช้คำซ้อนเพื่อเสียง
ก) สํ + สรรค์ = สังสรรค์ ก) ละเอียดลออ
ข) สํ + กร = สังกร ข) กระจุกกระจิก
ค) สํ + ฐาน = สัณฐาน ค) จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน
ง) สํ + อาคม = สังคม ง) สะอึกสะอื้น
13 ข้อใดเป็นคำสมาส 18 ข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อเสียง
ก) จันทร์เพ็ญ ก) ข้อเขียน
ข) พระโขนง ข) ขัดแย้ง
ค) วิทยาธร ค) ข้อคิด
ง) กรมหลวง ง) เคียดแค้น
14 คำประสมในข้อใดไม่ใช่คำไทยแท้ 19 ข้อใดเป็นคำสมาสที่เกิดจากคำบาลีและ
ก) ต้นไม้ สันสกฤต
ข) เนื้อแท้ ก) พลเมือง
ค) ม้าน้ำ ข) วัฒนธรรม
ง) เครื่องจักร ค) ราชทัณฑ์
15 ข้อใดเป็นลักษณะของคำสมาส ง) สัมมาอาชีพ
ก) คำที่ประสมคำบาลีกับคำภาษาอื่น 20 คำซ้อนในข้อใดที่เป็นคำไทยกับคำที่มาจาก
ข) คำไทยประสมกันตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป ภาษาอื่น
ค) คำประสมที่มาจากภาษาบาลีและคำไทย ก) เหลืองลออ บอบช้ำ
ง) คำประสมคำบาลีหรือสันสกฤต ข) รูปถ่าย ภาพวาด
ค) ขีดเขียน มัวหมอง
ง) แบบแปลน เขียวขจี

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 28


21 คำซ้ำในข้อใดที่ไม่ถูกต้อง 26 ข้อใดแยกสนธิได้ถูกต้อง
ก) เร็ว ๆ เข้าสิเธอเดี๋ยวก็ไม่ทันหรอก ก) มาลี + อาภรณ์ = มาลียาภรณ์
ข) พูดซ้ำ ๆ หน่อยฟังไม่รู้เรื่อง ข) จักขุ + อาพาธ = จักขุอาพาธ
ค) ทำอะไรเป็นเด็ก ๆ ไปได้ ค) หัสดี + อาภรณ์ = หัสดาภรณ์
ง) เธอไปดูที่ ๆ เชียงใหม่ ง) นิล + อุบล = นิโลตบล
22 คำซ้ำในข้อใดบอกควานหมายเน้นหนัก 27 ข้อใดไม่ไช่คำสมาสทุกคำ
ก) เรื่องวุ่น ๆ ก) พระเขนย พระอู่ พระพุทธเจ้า
ข) พูดค่อย ๆ ข) อุทกภัย วาตภัย ทุพภิกขภัย
ค) หน้าตาซ้วยสวย ค) พระหัตถ์ พระบาท พระสงฆ์
ง) ดูดี ๆ ง) ครุศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จริยศาสตร์
23 คำซ้ำในข้อใดที่มีความหมายจางลง 28 คำว่า"หัตถาจารย์"เมื่อแยกสนธิแล้วจะได้คำใด
ก) ดำ ๆ ก) หัตถ + อาจารย์
ข) ด๊ำดำ ข) หัตถี + อาจารย์
ค) ดำ ค) หัตถา + อาจารย์
ง) ดำด๊ำดำ ง) หัตย + อาจารย์
24 ข้อใดไม่ใช่คำประสม 29 ข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อเสียงทุกคำ
ก) ลูกแมว ก) กะรุ่งกะริ่ง กะวีกระวาด หลุกหลิก
ข) ลูกเล่น ข) ทิ้งขว้าง ดูแล เลี้ยงดู
ค) ลูกแก้ว ค) เกะกะ ทุบตี อบรม
ง) ลูกประคำ ง) หนุงหนิง เหนะหนะ ซ่อนเร้น
25 ข้อใดไม่เป็นข้อแตกต่างระหว่างคำประสมและ 30 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่คำมูล
คำสมาส ก) นาฬิกา
ก) การแปลความหมายของคำ ข) ปลวก
ข) จำนวนคำที่มาประสมกัน ค) หมอดู
ค) ที่มาของคำ ง) กระดาษ
ง) ความหมาย

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 29


4. ขั้นตอนการใช้งานนวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom

ข้าพเจ้าชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรมห้องเรียน
ออนไลน์โดยใช้ Google Classroom วิชาภาษาไทยพื้นฐาน เรื่องการสร้างคำ สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้นักเรียนทำการเข้าชั้นเรียน โดยใช้รหัสเข้าชั้นเรียนที่ข้าพเจ้าได้สร้างขึ้น

รหัส
ชั้นเรียน

จากนั้นให้นักเรียนศึกษาคำอธิบายรายวิชา ตัวชี้วัดในรายวิชา

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 30


และทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่องการสร้างคำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 4 ผ่าน
Google Form

คลิกเพื่อ
ขยายเนื้อหา

คลิกเพื่อเริ่มทำ
แบบทดสอบ
เมื่อนักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนแล้ว ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาความรู้ เรื่อง การสร้างคำ
คำมูล คำซ้อน คำซ้ำ คำประสม คำสมาส และคำสนธิ ในห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom โดย
ไม่จำกัดสถานที่ในการศึกษาเรียนรู้ นักเรียนสามารถศึกษาบทเรียนได้ด้วยตนเอง เมื่อใด เวลาใดก็ได้
นักเรียนมีอิสระที่จะได้เรียนรู้ หากมีความสงสัยสามารถสอบถามครูผู้สอนได้ในช่องแสดงความคิดเห็นใน
บทเรียนนั้น ๆ

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 31


5. ขั้นตอนการใช้งานสื่อเทคโนโลยีในชั้นเรียน

นวัตกรรมการเรียนการสอนด้ว ยห้ องเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Classroom


และ สื่อเทคโนโลยี วิชาภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดทำขึ้น
นี้ ใช้ Google Classroom สำหรับการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ นักเรียนสามารถเข้าศึกษา
ความรู้ได้อย่างอิสระ ไม่จำกัดสถานที่ หรือเวลาในการเรียนรู้
ด้านสื่อเทคโนโลยี ข้าพเจ้าได้ผลิตสื่อการเรียนรู้ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
ในการสร้างสรรค์สื่อ เพื่อใช้ในห้องเรียนออนไลน์และในห้องเรียนจริง โดยการนำสื่อการเรียนรู้นั้น
เชื่อมโยงกับแอปพลิเคชัน แอปพลิเคชันต่าง ๆ มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน
ดังนี้

https://quizizz.com เป็ น เว็ บ ไซต์ ห นึ่ ง ที่ ช่ ว ยสร้ า งแบบทดสอบออนไลน์ e-Testing


ครูผู้สอนสามารถเข้าใช้งาน สร้างแบบทดสอบได้ฟรี นักเรียนสามารถทำแบบทดสอบผ่านอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ Notebook Tablet หรือ Smart Phone ที่เชื่อมต่อระบบ Internet นักเรียนทราบ
ผลการสอบทันที และผู้สอน ได้รับรายงาน (Report) ผลการสอบและบันทึกลงเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

ข้าพเจ้าได้นำ Quizizz มาประยุกต์ใช้กับการทำข้อสอบก่อนเรียน หลังเรียนเพื่อวัดผลการ


เรียนรู้ของนักเรียน หรือจัดกิจกรรมการสอบแบบเกมเพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการเรียน อีกทั้ง
เพื่อช่วยให้สถาบันการศึกษาประหยัด ค่าใช้จ่ายจากการเตรียมสอบ และเป็นการใช้เทคโนโลยีได้
อย่างเกิด ประโยชน์ ช่วยให้ลดเวลาในการทำข้อสอบและจัดชุดทดสอบอีกทั้งจะทราบจุดบกพร่อง
การเรียนของนักเรียนแต่ละคนในแต่ละเนื้อหา ว่า นักเรียนไม่เข้าใจในเนื้อหาการเรียนเรื่องใด เพื่อ
นำมาปรับปรุงแก้ไข กระบวนการจัดการเรียนการสอนได้ดียิ่งขึ้น ในด้านของนักเรียนเอง ก็จะได้
ทราบข้อมูลและประเมินตนเองได้ว่าไม่เข้าใจเนื้อหาตรง ส่วนใดเพื่อจะได้กลับไปทบทวน และทำ
ความเข้าใจในเนื้ อหานั้ น อีกครั้งหนึ่ง เสมือนการสร้างแรงจูงใจในการเรียน และให้ นักเรียนต้อง
เตรียมพร้อมในการเรียนอยู่เสมอ

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 32


1.1) การเข้าใช้งาน QUIZIZZ
ขั้นตอนการทำงานของ Quizizz มีขั้นตอน ดังนี้
1.1.1) ลงทะเบียนใช้งาน โดยเริ่มจากการสมัครสมาชิก โดยเข้าไปที่เว็บไซต์
https://quizizz.com แล้วคลิกปุ่ม Login เลือกClick Here เพื่อสมัครเข้าสู่ระบบหรือ Login โดย
ใช้Google Account กรอกข้อมูลต่าง ๆ ให้เรียบร้อยและคลิกปุ่ม Next หลังจากนั้นเลือกสถานภาพ
และกรอกรายละเอียดเพิ่มเติมหลังจากนั้นกดปุ่ม Next จากนั้นจะปรากฏหน้าจอ Select your
occupation ให้เลือก Teacher และกรอกข้อมูลรายละเอียดรูปแบบการเรียนการสอนตามที่
โปรแกรมถามให้ถูกต้อง

1.1.2) เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่ม + Create new quiz จะเข้าสู่


หน้าต่างการสร้างชุดแบบทดสอบ Quiz Info โดยเราสามารถตั้งชื่อแบบทดสอบว่าวิชาใด เพิ่ม
รูปภาพตัวอย่างของแบบทดสอบหรือรายวิชา ตั้งค่าภาษา ตั้งค่าการแชร์แบบทดสอบ อีกทั้งยัง
สามารถ Import ไฟล์ CSV ได้ด้วย หลังจาก ตั้งค่า เรียบร้อย แล้ว คลิกปุ่ม Done
หน้าต่างการสร้างข้อสอบ ทางด้านซ้ายมือจะเป็นการกำหนดข้อสอบในแต่ละข้อ
โดยสามารถเพิ่ม/ลด จำนวน ข้อ การแก้ไขข้อสอบแต่ละข้อ แถบกลางจะเป็นแถบที่ใช้กำหนดคำถาม
คำตอบของข้อสอบในข้อนั้น ๆ ส่วน แถบด้านขวามือจะเป็นหน้าต่าง QUESTION PREVIEW สำหรับ
ดู ภาพรวมของคำถาม

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 33


1.2) การ QUIZIZZ ไปใช้ในห้องเรียน
การใช้ QUIZIZZ ในการจัดการเรียนรู้ ในขั้นตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียน
ข้าพเจ้าได้แจ้งรายละเอียดการใช้งาน QUIZIZZ และแจ้ง Code รหัสข้อสอบให้นักเรียนทุกคนทราบ
แล้ว นักเรียนจะเข้าทำข้อสอบ โดยไปที่ join.quizizz.com โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์
สื่อสารอื่น เช่น iPhone, iPad หรือ Tablet ได้โดยการโหลดแอปพลิเคชัน Quizizz Student ที่
เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว คลิกเข้าแอปพลิเคชัน จากนั้นใส่รหัสข้อสอบแล้ว
คลิกปุ่ม Process ใส่ชื่อผู้สอบ คลิกปุ่ม JOIN GAME เมื่อใส่ชื่อผู้สอบแล้วโปรแกรมขึ้นชื่อผู้เข้าสอบ
และขึ้นคำว่า Waiting for game to be Started รอครูผู้สอนเปิดห้องสอบ เมื่อมีนักเรียนเข้ามา

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 34


Join ในห้องสอบแล้ว ที่หน้าจอของเครื่องครูผู้สอนจะมีขื่อนักเรียนปรากฏขึ้นมา ถ้านักเรียนเข้ามา
ครบทุกคนแล้ว ผู้สอนก็คลิกปุ่ม Start Game เพื่อเริ่มการทำแบบทดสอบ เมื่อนักเรียนทำ
แบบทดสอบเสร็จแล้ว ระบบจะจัดอันดับให้นักเรียนว่าได้อันดับที่เท่าไร คะแนนเท่าไร ซึ่งนักเรียน
สามารถดูผลการสอบแสดงว่าถูกผิดกี่ข้อได้ โดยคลิกที่ข้อความ CLICK TO REVIEW

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 35


นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 36
Plickers (Paper + Clicker) เป็นเครื่องมือในการช่วยสอนสำหรับเก็บข้อมูลของนักเรียน
โดยจะมีกระดาษเป็ น โค้ดให้ นั กเรียนถือ ซึ่งกระดาษดังกล่ าวจะมีด้านที่ต่างกันทั้ ง 4 ด้าน และมี
ตัวเลขเฉพาะของนักเรียนแต่ละคนอยู่ที่มุมกระดาษ
ข้ า พเจ้ า ใช้ Plickers ในการเรี ย นการสอนโดยได้ ส ร้ า ง
คำถาม/แบบทดสอบผ่านทาง plickers.com แล้วนำมาใช้ใน
กิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน โดยเปิด คำถามที่ได้
สร้างขึ้นผ่านทาง plickers.com ให้นักเรียนได้รับทราบ และ
ร่วมกันตอบคำถาม โดยการชูกระดาษโค้ดในด้าน A, B ,C
หรือ D ตามที่คิดว่าถูกต้อง จากนั้น ข้าพเจ้าจะใช้สมาร์ทโฟน
เปิ ด แอป Plickers (สามารถดาวน์ โหลดได้ ทั้ งใน iOS และ
Android) เพื่ อ เชื่อ มโยงข้ อ มู ล จากเว็บ plickers.com แล้ ว
เปิดกล้องเพื่อสแกนโค้ดที่นักเรียนถือ

เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม plickers จะทำการแสดงผลของคำตอบตามที่โค้ดที่นักเรียนถือในทันที


โดยระบบจำทำการเก็บรวบรวมเป็นสถิติไว้ในเว็บ plickers.com เพื่อนำไปพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
ต่อไป

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 37


การนำ plickers มาใช้ในชั้นเรียน ข้าพเจ้าได้จัดทำสื่อกระดาษซึ่งเป็นโค้ด จากแอปพลิเคชัน
นำมาจัดตกแต่งให้สวยงาม น่าสนใจ ด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop Adobe Illustrator และ
Microsoft Word เคลือบกระดาษแข็งเพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวก คงทน และใช้ได้นาน

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 38


ClassDojo เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูผู้สอนสามารถติดตามคุณลักษณะ (Character
Strength) หรือ พฤติกรรมของนักเรียน ได้ดี และ มีฟังก์ชันการบริหารจัดการชั้นเรียนที่หลากหลาย
การสร้างห้องเรียนออนไลน์ ด้วย ClassDoJo คือ การสร้างห้องเรียนออนไลน์ให้ครูผู้สอน
นักเรียน และผู้ปกครอง สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างทั่วถึง ผ่านห้องเรียนออนไลน์ ที่ครูได้สร้าง
ขึ้น โดยการเพิ่มชื่อนักเรียนเข้าสู่ชั้นเรียนที่สร้างไว้

ข้าพเจ้าได้นำแอปพลิเคชัน ClassDoJo มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน โดย


ใช้แอปพลิเคชันนี้ในการเช็คเวลาเรียน ให้คะแนนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน รวมทั้งการใช้
ฟังก์ชันภายในแอปพลิเคชันในการบริหารจัดการชั้นเรียน เช่น การสุ่มรายชื่อนักเรียนเพื่อทำกิจกรรม
ตอบคำถาม การจัดกลุ่มนักเรียนแบบสุ่มผ่านแอปฯ การจับเวลาในการทำกิจกรรม เป็นต้น

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 39


นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 40
3. ความมีคุณค่า คุณประโยชน์ของนวัตกรรม (Value)
3.1 มีเอกสารรายงานผลการนำไปใช้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ข้าพเจ้าได้นำผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับนวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยห้องเรียน
ออนไลน์ โดยใช้ Google Classroom และ สื่อเทคโนโลยี วิชาภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำ สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ไปเผยแพร่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ การประชุมกลุ่มสาระฯ และ PLC
กลุ่ มสาระฯ เผยแพร่ป ระชาสั มพั นธ์ของโรงเรียนในการอบรมทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อการพัฒ นา
คุณภาพการศึกษา เผยแพร่ไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ผ่านทางสื่อออนไลน์ และหนังสือนำส่งทางราชการ
รายละเอียดดังนี้

ชื่อรายงานวิจัย นวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยห้องเรียนออนไลน์ โดยใช้ Google


Classroom วิชาภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำ สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4
โดย นางสาวสุนันทา สิ้นโศรก
ตำแหน่ง ครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ปีการศึกษา 2563

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 41


บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเทคนิคการเรียนการสอน เรื่อง การสร้างคำ ใน
รายวิช าภาษาไทยพื้น ฐานของนั กเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้นวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์
Google Classroom ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้น มัธ ยมศึกษาปี ที่ 4 ต่อการจั ดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้นวัตกรรมห้ องเรียนออนไลน์
Google Classroom เรื่อง การสร้างคำ ในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 5 โรงเรียนทรายมูลวิทยา อำเภอทราย
มูล จั งหวัดยโสธร ปี การศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ ม (Cluster or
Area Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติพื้นฐานและทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยมีดังนี้
1) ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยห้องเรียน
ออนไลน์ โดยใช้ Google Classroom เรื่อง การสร้างคำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตาม
เกณฑ์ 80/80 ผลปรากฏว่า นวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom มีประสิทธิภาพ
เท่ากับ 82.08/82.00 แสดงว่านวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ที่ได้สร้างขึ้นมี
ประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
2) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อนวัตกรรมการเรียนการสอนด้วย
ห้องเรียนออนไลน์ โดยใช้ Google Classroom เรื่อง การสร้างคำ แบ่งเป็น 4 ด้านผลการวิจัยพบว่า
ด้านเนื้ อหา มีค่ าเฉลี่ ย เท่ ากั บ 3.51 ซึ่ งเป็ น ความพึ งพอใจ ที่ จัด อยู่ ในระดั บ มากที่ สุ ด ด้านการ
ออกแบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.43 ซึ่งเป็นความพึงพอใจที่จัดอยู่ในระดับมาก ด้านรูปแบบการนำเสนอ
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.53 ซึ่งเป็นความพึงพอใจ ที่จัดอยู่ในระดับมากที่สุดและด้านประโยชน์ มีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 3.69 ซึ่งเป็นความพึงพอใจที่จัดอยู่ในระดับมากที่สุด

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การศึ ก ษาเป็ น องค์ ป ระกอบสำคั ญ ในการพั ฒ นาทรัพ ยากรมนุ ษ ย์ ท างด้ าน สติ ปั ญ ญา
ร่ า งกาย และจิ ต ใจและยั ง เป็ น เครื่ อ งมื อ ในการสร้ า งกำลั ง คนของประเทศให้ มี คุ ณ ภาพและ
ประสิทธิภาพ ทันต่อความเจริญก้าวหน้าทางด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
ดังนั้นการศึกษาจึงมีความสำคัญต่อคนทุกเพศทุกวัย ทุกอาชีพ เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานในการประกอบ
อาชี พ การพั ฒ นาคนในสั งคม และการพั ฒ นาให้ ป ระเทศชาติ เจริญ ก้ าวหน้ าต่ อ ไป ในปั จ จุ บั น
การศึกษาถือเป็นตัวเร่งที่สำคัญที่สุดในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ใน
สั งคม ซึ่งการพั ฒ นาที่ เด่น ที่ สุ ดอันเนื่องมากจากผลของการศึกษาในปัจจุบั นคือ ความก้าวหน้ า
ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลทำให้โลกในปัจจุบันก้าวไปสู่ยุคที่เรียกว่า “เทคโนโลยี
สารสนเทศ” การเจริญเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลต่อความก้าวหน้าทางวิทยาการทุกด้าน

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 42


ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงาน ด้านการแพทย์ การพาณิชย์ธุรกิจ บันเทิง การสื่อสาร และการศึกษา
ในด้านการศึกษานั้น โดยจะมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายของการเรียนการสอน คือ การที่นักเรียนเกิดการ
เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล แต่การที่จะทำให้ได้และดีนั้น ต้องอาศัยเทคนิควิธีและ
ปัจจัยหลายประการ ระบบการเรียนการสอนในปัจจุบันจึงต้องมาเกี่ยวข้องกั บเทคโนโลยี ซึ่งนับวัน
จะมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตคนเรามากขึ้น
กลยุทธ์และแนวทางการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของ
กระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) กำหนดไว้อย่างชัดเจน รวมถึงนโยบายของรัฐ
ด้านการเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อีกทั้งในศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาขึ้นจนเป็น
สิ่งที่ใช้งานง่ายและใกล้มนุษย์มากขึ้น ทำให้เกิดนวัตกรรมการจัดการศึกษาจากระบบการเรียนการ
สอนเดิมที่ครูผู้สอนยืนสอนและเขียนกระดานพร้อมการบรรยาย ปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีเป็น
แหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน นวัตกรรม และสื่อการเรียนรู้มีคุณภาพและมาตรฐาน นักเรียนสามารถ
เข้าถึงได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ สามารถจัดการศึกษาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มี
คุณภาพเพิ่มขึ้น ตามยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่ง
การเรียนรู้ ข้อ 3.4 ของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579 เพื่อส่งเสริมกระบวนการ
เรียนให้กับนักเรียนในสภาพแวดล้อมที่เสมือนจริง ประกอบกับการใช้กระบวนการส่งเสริมให้
นักเรียนเกิดความร่วมมือในการเรียนรู้แบบ Collaborative Learning โดยนักเรียนสามารถมี
ปฏิสัมพันธ์กับครูผู้สอนหรือกลุ่มนักเรียนด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดหรือทำงานร่วมกันได้ ผ่าน
การสร้างเนื้อหาการอ่านและการเขียน รวมทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูล การแสวงหาและการนำเสนอ
ความรู้ในรูปแบบของดิจิทัลผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดการจดจำและแรงจูงใจในการ
เรียนรู้ของนักเรียนมากขึ้นด้วยการนวัตกรรมทางการศึกษา
ในปัจจุบันการนำ “เทคโนโลยีด้านการศึกษา” หรือ “Educational Technology” มาช่วย
บริห ารจัด การระบบการเรี ย นการสอนให้ อยู่บ นระบบ Cloud หรือ CloudComputing (คลาวด์
คอมพิวติ้ง) ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับการทำงานของผู้ใช้งานในทุก ๆ ด้าน และ
ใช้ออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักเรียน ทั้ง
ทักษะด้านดิจิทัล การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การสร้างความร่วมมือ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งการ
เรียนผ่านระบบ Cloud นี้ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง และออกจากกรอบของการ
เรียนรู้ที่จำกัดเฉพาะในห้องเรียน ช่วยให้การนำเสนอเนื้อหาการเรียนการสอนที่มีความน่าสนใจขึ้น
และสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างนักเรียนและครูได้มากขึ้น
ด้ ว ยเหตุ นี้ เองจึ งได้ มี ก ารผลิ ต สื่ อ ต่ า ง ๆ ขึ้ น มามากมายเพื่ อ ใช้ ในการเรีย นการสอน ซึ่ ง
บทเรียนผ่าน Platform ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย การเรียนการสอนผ่าน Platform จะมีความสมบูรณ์
แบบได้จำเป็นต้องมีบทเรียนผ่าน Platform เพราะบทเรียนผ่าน Platform นั้นเป็นบทเรียนที่อาศัย
คุณ สมบั ติ และทรั พยากรที่มีอยู่ บนอิน เตอร์เน็ตมาเป็นสื่ อกลางที่ ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ เพื่ อ
ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ จากการศึกษาถึงเครื่องมือที่สนับสนุนการ

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 43


เรี ย นการสอนที่ ต อบสนองและสอดคล้ องกับ ลั ก ษณะการเรีย นรู้ของนั กเรีย นยุค ปั จ จุบั น พบว่ า
Google Classroom เป็ น สื่ อสำคัญ ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ จะเสริมการเรียนรู้และ
พัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้และเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้
ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ ประชาชนในประเทศสมควรอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้ในเรื่อง
ภาษาไทยในระดับแตกฉาน เพราะภาษาไทยเป็นเครื่องมือสื่อสารและถ่ายทอดวัฒนธรรมของชาติ
ทางหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงได้มีการรณรงค์ เรื่องการใช้ภาษา ให้เยาวชนไทยรัก
และหวงแหนภาษาไทยและวัฒ นธรรมไทย เพื่ อกระตุ้น และปลุ กจิตสำนึกของคนไทยทั้ งชาติให้
ตระหนั กและร่วมมือร่วมใจกัน ทำนุบำรุง ส่ งเสริม และอนุรักษ์ภ าษาไทย วัฒ นธรรมไทย ให้ เป็น
สมบั ติอัน ล้ำค่าของชาติให้ คงอยู่คู่ช าติไทยตลอดไป (ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา, 2547) แม้ว่า
หลักสูตรจะให้ความสำคัญเรื่องการสร้างคำ แต่จากการศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
พบว่าการเรียนการสอนในเรื่องนี้ ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร โรงเรียนทรายมูลวิทยา จังหวัด
ยโสธร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๘ ได้ ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ตาม
นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมุ่งเน้นกระบวนการความคิดและปฏิบัติ ส่งเสริมการจัดการ
เรียนการสอนวิชาภาษาไทย แต่ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของ
นักเรียน ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจมากนัก เนื่องจากว่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) วิชาภาษาไทย เท่ากับ
53.90 ซึ่งเป็นระดับผลการทดสอบที่ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยในระดับขนาดโรงเรียน (54.05) ระดับสังกัด
(55.91) และระดับประเทศ (55.14) และมีคะแนนมาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 4 หลักการใช้
ภาษาไทย เท่ากับ 46.58 ซึ่งเป็นระดับผลการทดสอบที่ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยในระดับสังกัด (47.41)
และระดับประเทศ (74.05) แสดงให้เห็นว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีผลการทดสอบทาง
การศึ ก ษาระดั บ ชาติ ขั้ น พื้ น ฐาน (O-NET) อยู่ ในเกณฑ์ ไม่ ดี เท่ าที่ ค วร อาจเกิ ด จากสาเหตุ ห ลาย
ประการซึ่ง (สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์, 2538) ได้กล่าวสรุปถึงปัญหาในการสอน
หลั ก ภาษาไว้ ว่ า “หลั ก ภาษาไทยเป็ น วิ ช าที่ เกิ ด ปั ญ หากั บ ครู ผู้ ส อนและนั ก เรีย นเป็ น อย่ างมาก
เนื่องจากเนื้อหาวิชาภาษาไทยนั้นมีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวและซับซ้อน” และสรุปปัญหาในการสอนวิชา
ภาษาไทย ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไว้ว่า “ทั้งครูและนักเรียนไม่เห็นประโยชน์และความสำคัญของวิชา
ภาษาไทย โดยครูมีความเห็ น ว่า วิช านี้ส อนยากจึงไม่ช อบสอน นักเรียนเองก็ไม่ช อบเรียนเพราะ
เนื้อหายาก ไม่สนุก ไม่น่าสนใจและปัญหาที่ประสบมากคือ การสอนเนื้อหาวิชาหลักภาษาไทย ส่วน
ใหญ่จะเกิดจากการขาดแคลนอุปกรณ์การสอนรวมทั้งครูมีวิธีสอนที่ไม่เร้าความ สนใจ” นอกจากนั้น
ปัญหาของนักเรียนในด้านการเรียนไวยากรณ์ไทย คือนักเรียนขาดความสนใจที่จะศึกษาลักษณะของ
เสียง ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด เมื่อนำเสียงมาประกอบกันเข้าจะเกิดเป็นพยางค์ พยางค์ใดสามารถใช้
สื่อความหมายได้จะถือว่าเป็นคำ ทั้งนี้ลักษณะสำคัญประการหนึ่งในภาษาไทย คือ การสร้างคำ เพื่อ
นำมาใช้ในการสื่อสาร การสร้างคำนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะช่วยให้ภาษามีคำต่าง ๆ ใช้สื่อสาร
ได้อย่างครอบคลุม และเพียงพอ ดังนั้นนักเรียนจึงควรศึกษาวิธีการสร้างคำเพื่อที่จะสามารถสร้างคำ
ใช้ในภาษาไทย ได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางภาษา

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 44


จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจและหาวิธีส่งเสริม
ความสามารถในการเรี ย นวิ ช าภาษาไทยของนั ก เรี ย น โดยนำเทคโนโลยี Google Apps for
Education มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สามารถสร้าง
ความปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับ นักเรียน รวมถึงระบบการส่งและจัดเก็บผลงานต่าง ๆ ผู้วิจัยได้
ศึกษา Google Classroom และมีความต้องการที่จะสร้างบทเรียนและพัฒนาเทคนิคการเรียนการ
สอนด้วยนวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom เรื่อง การสร้างคำ สำหรับ นักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เป็นสื่อเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในเนื้อหา และ
มีผ ลสั มฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้ นักเรียนโรงเรียนทรายมูลวิทยา อำเภอทรายมูล
จั งหวั ดยโสธร เป็ น กลุ่ ม ตัว อย่ างในการวิจัย ซึ่ งผลที่ ได้ จากการวิจัย ในครั้งนี้ จ ะเป็ น แนวทางนำ
เทคโนโลยี Google Apps for Education มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน
ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อพัฒนาเทคนิคการเรียนการสอน เรื่อง การสร้างคำ ในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐานของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้นวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ให้มี
ประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอน โดยใช้น วัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom เรื่อง การสร้างคำ ในรายวิช า
ภาษาไทยพื้นฐาน

สมมติฐานการวิจัย
1. นวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom วิชาภาษาไทยพื้นฐาน เรื่องการสร้าง
คำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
80 ตัวแรก หมายถึง คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดระหว่าง
เรียนด้วยนวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom เรื่องการสร้างคำ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยคิดเป็นร้อยละ80
80 ตัวหลัง หมายถึง คะแนนเฉลี่ยของที่นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วย
นวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom เรื่องการสร้างคำ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยคิดเป็นร้อยละ80
2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้นวัตกรรมห้องเรียน
ออนไลน์ Google Classroom เรื่อง การสร้างคำ ในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน อยู่ในระดับมากขึ้นไป

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 45


ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น ได้แก่ นวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom วิชาภาษาไทยพื้นฐาน
เรื่องการสร้างคำ
ตัวแปรตาม ได้แก่ ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้นวัตกรรม
ห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom เรื่อง การสร้างคำ ในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน

ขอบเขตการวิจัย
ประชากรที่ ใช้ ในการวิ จั ย ครั้ ง นี้ เป็ น นั ก เรี ย นชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 4 ปี ก ารศึ ก ษา 2563
โรงเรียนทรายมูลวิทยา อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ซึ่งมีทั้งหมด 5 ห้อง มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด
159 คน
กลุ่ ม ตัวอย่ างที่ ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น นักเรียนชั้นมัธ ยมศึกษาปีที่ 4 ปี การศึกษา 2563
โรงเรียนทรายมูลวิทยา อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร จำนวน 1 ห้องเรียน คือ ห้อง 4/5 มีนักเรียน
จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster or Area Sampling) โดยการสุ่มแบบกลุ่มนี้
ใช้ในลักษณะของแต่ละกลุ่มจะต้องไม่แตกต่างกันมาก หรือมีลักษณะคล้ายคลึงกัน และเมื่อได้กลุ่มที่
ต้องการแล้ว จึงทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างเพียง 1 ไม่ต้องไปกระจายทุกกลุ่ม

คำจำกัดความในการวิจัย
1. นวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom หมายถึง ระบบจัดการชั้นเรียนแบบ
ออนไลน์ที่มีสื่อการเรียนรู้ ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง เสียง และภาพวีดิทัศน์ โดยมีการออกแบบกิจกรรม
สร้ างชิ้น งาน การส่ งงาน การชิ้น เก็บงาน การบั นทึกคะแนน การทดสอบออนไลน์ รวมทั้งการมี
ปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนแบบออนไลน์
2. การพั ฒ นา หมายถึ ง กระบวนการของการเปลี่ ย นแปลง คื อ การทำให้ ลั ก ษณะเดิ ม
เปลี่ ย นไปมี จุ ด มุ่ งหมายในการทำให้ ลั ก ษณะใหม่ ที่ น ำมาแทนที่ นั้ น ดี ก ว่ าลั ก ษณะแบบเก่ าและ
เหมาะสมที่ จ ะทำการผลิ ตสื่ อ บทเรีย นคอมพิ ว เตอร์ผ่ านเว็บ เพื่ อ ใช้ ส ำหรับ หาประสิ ท ธิภ าพของ
บทเรียน
3. การสร้ า งคำ หมายถึ ง การนำพยางค์ ห รื อ คำ มาประสมกั น แล้ ว ให้ ค วามหมายนั้ น
เปลี่ ย นแปลงไป หรื อ คงความหมายเดิ ม แต่ ท ำให้ ค วามหมายนั้ น ชั ด เจนยิ่ ง ขึ้ น การสร้ า งคำ
ประกอบด้วยพยางค์หรือความหมายพยางค์ที่มีความหมายอาจเป็นพยางค์เดียวหลายพยางค์ ก็ได้เมื่อ
พิจารณาถึงแบบสร้างของคำ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ คำมูลและคำที่สร้างขึ้นจากคำมูล
4. ความพึ งพอใจ หมายถึ ง ความรู้ สึ ก หรือ เจตคติ ที่ ดี ข องนั ก เรี ย นที่ มี ต่ อ การเรีย นด้ ว ย
นวัตกรรมห้ องเรี ย นออนไลน์ Google Classroom วิช าภาษาไทย เรื่องการสร้างคำ ที่ ได้รับ การ
ตอบสนองทั้งทางด้านวัตถุและด้าน จิตใจ ทำให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในทางการเรียนมากยิ่งขึ้น

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 46


กรอบแนวคิดในการวิจัย
การพัฒนานวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom เป็นการเรียนผ่าน เครือข่าย
คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างโอกาสทางการเรียนรู้และตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี
โดยนำระบบการจัดการเรียนการสอนผ่าน Google Classroom มาผสมผสานให้เข้ากับกระบวนการ
เรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ โดยยึดกรอบแนวคิดในการวิจัยดังนี้
การพัฒนานวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์
Google Classroom เรื่องการสร้างคำ วิชา
ภาษาไทยพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 นวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์
Google Classroom เรื่องการสร้างคำ
การพัฒนานวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน
Google Classroom สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
- การพัฒนา
- องค์ประกอบของนวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ ความพึงพอใจ คือ ความรู้สึกหรือ
- โครงสร้างของนวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ เจตคติดีของนักเรียน ที่มีต่อการเรียน
- คำศัพท์เกี่ยวกับนวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ ด้วยนวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์
- การนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน Google Classroom เรื่องการสร้างคำ

ความพึงพอใจในการเรียนรู้
- ความหมายของความพึงพอใจ
- แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับความพึงพอใจ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้นวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom เรือ่ ง การสร้างคำ ในรายวิชา
ภาษาไทยพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพ
2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ Google
Classroom เรื่อง การสร้างคำ ในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
3. เป็นแนวทางในการพัฒนาเทคนิคการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์
Google Classroom ที่เหมาะสมสำหรับเรื่องอื่น ๆ ในรายวิชาภาษาไทย และวิชาอื่น ๆ ต่อไป

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 47


3.2 มีเอกสารเผยแพร่เป็นรูปธรรมเป็นที่ยอมรับตรวจสอบได้
ข้าพเจ้าได้นำผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับนวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยห้องเรียน
ออนไลน์ โดยใช้ Google Classroom และ สื่อเทคโนโลยี วิชาภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำ สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ไปเผยแพร่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ การประชุมกลุ่มสาระฯ และ PLC
กลุ่มสาระฯ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนในการอบรมทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อการพัฒนา
คุณภาพการศึกษา เผยแพร่ไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ผ่านทางสื่อออนไลน์ และหนังสือนำส่งทางราชการ

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 48


3.3 มีรายงานการเผยแพร่หรือการยืนยันประโยชน์ของนวัตกรรมต่อการเรียนการสอน
ข้าพเจ้าได้นำนวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยห้องเรียนออนไลน์ โดยใช้ Google
Classroom และ สื่อเทคโนโลยี วิชาภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4 ไปเผยแพร่ผ่านหน่วยงานต่าง ๆ โรงเรียนในสหวิทยาเขตยศสุนทร และโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัด
ยโสธร ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทั้งวิธีการที่ง่ายต่อการนำไปใช้ นวัตกรรมที่น่าสนใจ และเป็น
ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 49


นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน : นางสาวสุนันทา สิน้ โศรก ครู โรงเรียนทรายมูลวิทยา 50

You might also like