Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 14

แผนการจัดการเรียนรูท้ ี่ 4

กลุม่ สาระการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาวิทยาศาสตร์ 6 รหัสวิชา ว23102 ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 3


หน่วยการเรียนรูท้ ี่ 5 เรือ่ ง ปฏิกริ ยิ าของกรดกับเบส เวลา 1 ชัว่ โมง สอนวันที่ ………/….……/…………
1. มาตรฐานการเรียนรู/้ ตัวชีว้ ดั
ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับโครงสร้าง
และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสารการเกิดสารละลาย
และการเกิดปฏิกิริยาเคมี

2. ตัวชีว้ ดั
ม.3/6 อธิบายปฏิกิริยาการเกิดสนิมของเหล็กปฏิกิริยาของกรดกับโลหะ ปฏิกิริยาของกรดกับเบส และ
ปฏิ กิ ริย าของเบสกั บ โลหะ โดยใช้ ห ลั ก ฐานเชิ ง ประจั ก ษ์ แ ละอธิ บ ายปฏิ กิ ริ ย าการเผาไหม้ การเกิ ด ฝนกรด
การสังเคราะห์ด้วยแสง โดยใช้สารสนเทศ รวมทั้งเขียนสมการข้อความแสดงปฏิกิริยาดังกล่าว

3. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
สารในชี วิ ต ประจำวั น มี ห ลายประเภท ถ้ า จำแนกสารโดยใช้ ส มบั ติ ค วามเป็ น กรด-เบสเป็ น เกณฑ์
จะจำแนกได้เป็นสารที่มีสมบัติเป็นกรด เบส หรือกลาง เราสามารถนำความรู้เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีของกรดกับเบส
ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น ในกรณีที่กระเพาะอาหารมีกรดในปริมาณมากเกินไป ต้องกินยาลดกรด ซึ่งมีสมบัติ
เป็นเบส เพื่อช่วยทำปฏิกิริยากับกรด ทำให้ความเป็นกรดลดลง ในกรณีของดินเปรี้ยว ซึ่งเป็นดินที่มีความเป็น
กรดมากเกินไป ไม่เหมาะกับการเพาะปลูก การเติมปูน ขาวที่มีสมบัติเป็ นเบสจะช่วยลดความเป็นกรดในดิ น
นอกจากกรดและเบสจะทำปฏิกิริยาเคมีกันแล้ว ทั้งกรดและเบสต่างก็สามารถทำปฏิกิริยากับสารอื่นได้

4. จุดประสงค์การเรียนรู้
1) อธิบายปฏิกิริยาของกรดกับเบสได้ (K)
2) ใช้ทักษะการสังเกต โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสารเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีของกรดและเบสได้ (P)
3) ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้อุปกรณ์การทำกิจกรรมได้ (A)

5. กิจกรรมการเรียนรู้
ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycles: 5Es)
ขัน้ ที่ 1 กระตุน้ ความสนใจ (Engagement)
1) ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียน เพื่อนำเข้าสู่เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีรอบตัว โดยให้นักเรียนทำ
กิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียน โดยเลือกตอบว่าถูกหรือผิด ดังนี้
- สารที่เข้าทำปฏิกิริยาเคมีเป็นสารตั้งต้น ส่วนสารใหม่ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมีเป็น
ผลิตภัณฑ์
- อะตอมของสารตั้งต้นจะไม่สูญหายไประหว่างการเกิดปฏิกิริยาเคมี แต่อะตอมจะจัด
เรียงตัวเปลี่ยนไปเกิดเป็นสารใหม่
- ปฏิกิริยาเคมีที่มีการถ่ายโอนความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบจัดเป็นปฏิกิริยาคาย
ความร้อน
2) ครูตรวจสอบการทำกิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียน ถ้าไม่ ถูกต้องให้ แก้ไขความเข้าใจ
คลาดเคลื่อนของนักเรียน เพื่อให้ นักเรียนมีความรู้พื้นฐานที่ถูกต้องและเพียงพอที่ จะเรียนเรื่องปฏิกิริยาเคมี
รอบตัว และอภิปรายร่วมกัน
3) ครูเพิ่มเติม ความสนใจของนักเรียน เกี่ยวกับสมบัติ ความเป็นกรด-เบสของสาร โดยสาธิต
วิธีการทดสอบระดับความเป็นกรด-เบสของสารตัวอย่าง เช่น น้ำเปล่า น้ำหวาน น้ำมะนาว น้ำส้มสายชู เป็นต้น
ด้วยกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ประกอบการอภิปราย
ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
4) ครูเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมที่ 5.4 เรื่องปฏิกิริยาของกรดกับเบส โดยใช้คำถามว่า ทราบหรือไม่
ว่าแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ในยาลดกรด ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารได้อย่างไร
5) นักเรียนอ่านชื่อกิจกรรม จุดประสงค์ และวิธีดำเนินกิจกรรม
6) ขณะที่นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรม ครูเดินสังเกตการทำกิจกรรมของนักเรียนแต่ละกลุ่ม
และให้คำแนะนำ ถ้านักเรียนมีข้อสงสัยในประเด็นต่าง ๆ ที่อาจเป็นปัญหา
ขัน้ ที่ 3 ขัน้ อธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
7) นักเรียนบันทึกการทำกิจกรรมลงในแบบบันทึกการค้นคว้ากิจกรรมที่ 5.4 เรื่องปฏิกิริยาของ
กรดกับเบส โดยสรุปผลของกิจกรรมและตอบคำถามท้ายกิจกรรม
ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
8) นักเรียนเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส จาก
https://phet.colorado.edu/sims/html/ph-scale-basics/latest/ph-scale-basics_th.html
ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน (Evaluation)
9) ครูตรวจสอบการส่งแบบบันทึกการค้นคว้าของนักเรียนและให้คะแนนประเมินตามเกณฑ์
การประเมิน (Rubrics Score)

6. สือ่ การเรียนรู/้ แหล่งเรียนรู้


- ชุดสาธิตกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ และตัวอย่างกรด-เบส
- ใบกิจกรรมที่ 5.4 เรื่องปฏิกิริยาของกรดกับเบสเป็นอย่างไร
- แบบบันทึกการค้นคว้ากิจกรรมที่ 5.4 เรื่องปฏิกิริยาของกรดกับเบสเป็นอย่างไร
- https://phet.colorado.edu/sims/html/ph-scale-basics/latest/ph-scale-basics_th.html

7. การวัดและการประเมิน
ตัวชีว้ ดั /ผลการเรียนรู้ วิธกี ารวัด เครือ่ งมือวัด เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน
อธิบายปฏิกิริยาของกรดกับ - การตอบคำถาม - ข้อคำถาม - ได้ไม่น้อยกว่า 2 คะแนน
ตัวชีว้ ดั /ผลการเรียนรู้ วิธกี ารวัด เครือ่ งมือวัด เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน
เบสได้ (K) - ตรวจการตอบคำถาม - คำถามท้ายกิจกรรมที่ 5.4 ระดับคุณภาพดี ถือว่า
ท้ายกิจกรรมที่ 5.4 เรื่องปฏิกิริยาของกรดกับ ผ่านการประเมิน
เบสเป็นอย่างไร ด้านความรู้
ใช้ทักษะการสังเกตโดยสังเกต - ตรวจการทำแบบ - แบบบันทึกการค้นคว้า - ได้ไม่น้อยกว่า 2 คะแนน
การเปลี่ยนแปลงของสารเมื่อ บันทึกการค้นคว้า กิจกรรมที่ 5.4 ระดับคุณภาพดี ถือว่า
เกิดปฏิกิริยาเคมีของกรดและ กิจกรรมที่ 5.4 เรื่องปฏิกิริยาของกรดกับ ผ่านการประเมิน
เบส (P) เบสเป็นอย่างไร ด้านกระบวนการ

ตระหนักถึงความสำคัญของ - สังเกตการใช้งาน - เกณฑ์การประเมินการใช้ - ได้ไม่น้อยกว่า 2 คะแนน


การใช้อุปกรณ์การทำกิจกรรม อุปกรณ์ในกิจกรรม งานอุปกรณ์ในกิจกรรม ระดับคุณภาพดี ถือว่า
ได้ (A) ของนักเรียน ของนักเรียน ผ่านการประเมิน
ด้านเจตคติ
7.1 เกณฑ์การประเมินผลนักเรียน เกณฑ์การประเมิน (Rubrics Score)
ค่าน้ำหนัก
ประเด็นการประเมิน แนวทางการให้คะแนน
คะแนน
การให้คะแนนตอบ 3 ตอบคำถามท้ายกิจกรรมที่ 5.4 ถูกต้อง จำนวน 3 ข้อ
คำถามท้าย 2 ตอบคำถามท้ายกิจกรรมที่ 5.4 ถูกต้อง จำนวน 2 ข้อ
กิจกรรมที่ 5.4 1 ตอบคำถามท้ายกิจกรรมที่ 5.4 ถูกต้อง จำนวน 1 ข้อ หรือ ไม่ถูกต้อง
การให้คะแนนการบันทึก บันทึกผลจากการสังเกตและอธิบายปฏิกิริยาของกรดกับเบส โดยบันทึก
แบบบันทึกการค้นคว้า การเปลี่ยนแปลงของสารเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ครบถ้วน ตามความเป็น
3
กิจกรรมที่ 5.4 จริงโดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว ลงในแบบบันทึกการค้นคว้าได้
ชัดเจน ถูกต้อง ครบทุกประเด็นสอดคล้องกับเนื้อหาในกิจกรรม
บันทึกผลจากการสังเกตและอธิบายปฏิกิริยาของกรดกับเบส โดยบันทึก
2 การเปลี่ยนแปลงของสารเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นลงในแบบบันทึก
การค้นคว้าได้ถูกต้อง แต่ไม่ครบทุกประเด็น ยังมีข้อผิดพลาด
บันทึกผลจากการสังเกตและอธิบายปฏิกิริยาของกรดกับเบส โดยบันทึก
1 การเปลี่ยนแปลงของสารเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นลงในแบบบันทึก
การค้นคว้าไม่ถูกต้อง มีข้อผิดพลาดต้องแก้ไข
การให้คะแนน ใช้งานอุปกรณ์การทดลองในกิจกรรมได้ถูกวิธี หยิบ เคลื่อนย้ายอุปกรณ์
การใช้งานอุปกรณ์ 3 อย่างระมัดระวัง ไม่หยอกล้อหรือแกล้งเพื่อนขณะกำลังใช้งานอุปกรณ์
ในกิจกรรม และหลังการใช้งานอุปกรณ์มีการเก็บรักษาอย่างถูกวิธี
2 ใช้งานอุปกรณ์การทดลองในกิจกรรมได้ถูกวิธี หยิบ เคลื่อนย้ายอุปกรณ์
อย่างระมัดระวัง ไม่หยอกล้อหรือแกล้งเพื่อนขณะกำลังใช้งานอุปกรณ์
แต่หลังการใช้งานอุปกรณ์ไม่มีการเก็บรักษาอย่างถูกวิธี หรือไม่เก็บ
อุปกรณ์เข้าตู้เก็บอุปกรณ์ตามประเภทของอุปกรณ์
ใช้งานอุปกรณ์การทดลองในกิจกรรมได้ แต่ขณะหยิบ เคลื่อนย้ายอุปกรณ์
1 หรือกำลังใช้งานอุปกรณ์ จะหยอกล้อหรือแกล้งเพื่อน อาจทำให้อุปกรณ์
เสียหายได้ และหลังการใช้งานอุปกรณ์ไม่มีการเก็บรักษาอย่างถูกวิธี
7.2 ระดับคุณภาพ
คะแนนรวมเฉลี่ย 6.00 - 5.00 หมายถึง ดีมาก
คะแนนรวมเฉลี่ย 4.00 - 3.00 หมายถึง ดี
คะแนนรวมเฉลี่ย 2.00 - 1.00 หมายถึง พอใช้
8. ข้อเสนอแนะ
...........................................................................................................................................................................

บันทึกผลหลังการสอน

1. ผลการสอน
 สอนได้ตามแผนการจัดการเรียนรู้
 สอนไม่ได้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ เนื่องจาก ..........................................................................
.......................................................................................................................................................
2. ผลการเรียนของนักเรียน
 จำนวนนักเรียนที่ผ่านการประเมิน .......................... คน คิดเป็นร้อยละ ...............................
 จำนวนนักเรียนที่ไม่ผ่านการประเมิน ...................... คน คิดเป็นร้อยละ ...............................
 อื่น ๆ .............................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
3. ปัญหาและอุปสรรค
 กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ไม่เหมาะสมกับเวลา ควรปรับปรุงในเรื่อง.........................................
 มีนักเรียนทำใบงาน/ใบกิจกรรมไม่ทันตามกำหนดเวลา คือ.........................................................
 มีนักเรียนที่ไม่สนใจเรียนคือ..........................................................................................................
 อื่น ๆ .............................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
4. ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
 ควรนำแผนไปปรับปรุง เรื่อง ......................................................................................................
.......................................................................................................................................................
 แนวทางแก้ไขนักเรียนที่ไม่ผ่านการประเมิน ..................................................................................
.......................................................................................................................................................
 แนวทางแก้ปัญหานักเรียนที่ไม่สนใจเรียนคือ.................................................................................
 ไม่มีข้อเสนอแนะ

ลงชื่อ ........................................... ผู้บันทึก


(นางสาวณัฎฐ์รฎา ยงศิริ)
ครูผู้สอน

บันทึกหลังการสอน ตามแผนการจัดการเรียนรู้ฉบับนี้ ได้รับการพิจารณาจากกลุ่มงานวิชาการแล้ว

ลงชื่อ ...........................................
(นางพันณี จิตรวิเศษสม)
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้

ลงชื่อ ...........................................
(นางพันณี จิตรวิเศษสม)
ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
แบบบันทึกการประเมินคุณภาพการเรียนรูข้ องนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 3
รายวิชาวิทยาศาสตร์พนื้ ฐาน (ว23102) หน่วยการเรียนรูท้ ี่ 5 ปฏิกริ ยิ าเคมีและวัสดุในชีวติ ประจำวันI
แผนการจัดการเรียนรูท้ ี่ 4 เรือ่ ง ปฏิกริ ยิ าของกรดกับเบส .
คำชี้แจง: ทำเครื่องหมาย ✓ ในช่องค่าน้ำคะแนนแต่ละด้านตามจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยประเมินตามเกณฑ์
(Rubrics Score)

ด้านกระบวนการ
ด้านความรู้ (K) ด้านเจตคติ (A)
(P)
ระดับคุณภาพ
คะแนนรวม

เลข ชื่อ-นามสกุล/
ค่าน้ำหนัก ค่าน้ำหนัก ค่าน้ำหนัก
ที่ รหัสนักเรียน
คะแนน คะแนน คะแนน
3 2 1 3 2 1 3 2 1
1 เกรียงไกร บุญประกอบ
2 กชกร รักษาแดน
3 กฤตเมท รักษาแดน
4 กฤษณะ เสือวงษ์
5 เฉลิมพล จั่นศรี
6 นิติภูมิ กาเหว่าทอง
7 ภัทรพล ฮวดตี๋
8 ศักดิ์ดา สุภผล
9 ศุภากร อังกาบเอี่ยม
10 อนุชา เลาะมิน
11 อาทิวราห์ ลีรุ่งเรือง
12 ขจาริน แสวงทอง
13 ฉัตรมิญตรา บุญอยู่
14 ดวงรัตน์ พานิชดี
15 นนทวัล บัวจร
16 วัชรินทร์ ฝุ่นทอง
17 วิมลรัตน์ ดลสุข
18 ศิริพร แสวงทอง
19 สรวีย์ อินทรพงษ์
20 กัญญา ภูแข็ง
21 นิภัทร์ จันทร์เพ็ญ
22 ภูริภัทร เขียวเรือง
23 ปภาวี บุญมี
24 เนาวรัตน์ แก้วคำปา

เกณฑ์การพิจารณาคุณภาพ
- คะแนนรวมเฉลี่ย 6.00 - 5.00 หมายถึง ดีมาก
- คะแนนรวมเฉลี่ย 4.00 - 3.00 หมายถึง ดี
- คะแนนรวมเฉลี่ย 2.00 - 1.00 หมายถึง พอใช้

ต้องได้คะแนนเฉลีย่ ทุกประเด็นการประเมิน ไม่ตำ่ กว่า 2.00 แสดงระดับคุณภาพ ดี ขึน้ ไปเท่านัน้


ถึงจะผ่านการเรียนรูต้ ามตัวชีว้ ดั

ผลการประเมินการเรียนรูข้ องนักเรียน
ผู้เรียนที่ ผ่าน ตัวชี้วัด
มีจำนวน…………………………คน คิดเป็นร้อยละ………………………………………………..
ผู้เรียนที่ ไม่ผ่าน ตัวชี้วัด
มีจำนวน…………………………คน คิดเป็นร้อยละ………………………………………………..
1)………………………………………………........……….สาเหตุ……………….........................................................
2)………………………………………………........……….สาเหตุ……………….........................................................
3)………………………………………………........……….สาเหตุ……………….........................................................
4)………………………………………………........……….สาเหตุ……………….........................................................
5)………………………………………………........……….สาเหตุ……………….........................................................
สือ่ การเรียนรูแ้ ผนการจัดการเรียนรูท้ ี่ 4: สื่อสถานการณ์จำลอง

สถานการณ์จำลองค่าความเป็นกรด-เบส (pH)

สื่อสถานการณ์จำลองค่าความเป็นกรด-เบส (pH) ตรวจสอบค่า pH ของของเหลวในชีวิตประจำวัน เช่น


กาแฟ น้ำลาย และสบู่ และบอกได้ว่าของเหลวนั้นเป็นกรด เบส หรือกลาง สำรวจและค้นคว้าว่าเมื่อเพิ่มปริมาณ
ของเหลวหรือเจือจางของเหลวด้วยน้ำจะส่งผลต่อค่า pH อย่างไร

แหล่งทีม่ า: เว็บไซต์อ้างอิง https://phet.colorado.edu/sims/html/ph-scale-


basics/latest/ph-scale-basics_th.html
(เจ้าของผลงาน PhET University of Colorado.)
สือ่ การเรียนรูแ้ ผนการจัดการเรียนรูท้ ี่ 4: ใบกิจกรรมที่ 5.4

ใบกิจกรรมที่ 5.4 เรือ่ งปฏิกริ ยิ าของกรดกับเบสเป็นอย่างไร

กิจกรรมที่ 5.4 ปฏิกริ ยิ าของกรดกับเบสเป็นอย่างไร?


จุดประสงค์ สังเกตและอธิบายปฏิกิริยาของกรดกับเบส
วัสดุอปุ กรณ์ วัสดุที่ใช้ต่อกลุ่ม
1. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือสารละลาย 5 cm3
โซดาไฟ ความเข้มข้นประมาณ 0.6 โมลต่อลิตร
2. สารละลายกรดแอซีติกหรือน้ำส้มสายชู 5 cm3
ความเข้มข้นร้อยละ 5 โดยมวลต่อปริมาตร
3. กระบอกตวงขนาด 10 cm3 2 ใบ
4. หลอดทดลองขนาดใหญ่ 2 หลอด
5. ที่วางหลอดทดลอง 1 อัน
6. กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ 1 กล่อง
7. แท่งแก้วคน 1 แท่ง
8. กระจกนาฬิกา 1 อัน
9. แว่นตานิรภัย เท่าจำนวนนักเรียนในกลุ่ม
10. ถุงมือยาง เท่าจำนวนนักเรียนในกลุ่ม
วิธดี ำเนินกิจกรรม 1. รินสารละลายกรดแอชีติกและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ อย่างละ
5 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในหลอดทดลองแต่ละหลอด สังเกตลักษณะสาร
ทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารแต่ละชนิดด้วยกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์
สังเกตสีของกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ ระบุค่าพีเอช และบันทึกผล
2. รินสารละลายกรดแอชีติกลงในหลอดทดลองที่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์
ใช้แท่งแก้วคนให้เข้ากัน ทดสอบความเป็นกรด-เบส ด้วยกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเตอร์
สังเกตลักษณะสาร สีของกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ ระบุค่าพีเอช และบันทึกผล
การเตรียมตัว • การเตรียมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้นประมาณ 0.6 โมลต่อลิตร
ล่วงหน้าสำหรับครู ปริมาตร 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร (สำหรับ 8 กลุ่ม) เตรียมโดยรินสารละลาย
โซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้นร้อยละ 50 โดยมวลต่อปริมาตร ปริมาตร 2 ลูกบาศก์
เซนติเมตร ลงในภาชนะ แล้วเติมน้ำจนมีปริมาตรรวมเป็น 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร
• ครูสามารถใช้น้ำส้มสายชูความเข้มข้นร้อยละ 5 โดยมวลต่อปริมาตร โดยไม่ผสมน้ำ
(น้ำส้มสายชูสามารถหาซื้อได้ทั่วไป)
ข้อเสนอแนะในการ หลังจากผสมสารละลายกรดและสารละลายเบสเข้าด้วยกัน ควรคนสารละลายให้ทั่ว
ทำกิจกรรม ก่อนนำไปทดสอบด้วยกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์

คำถามท้ายกิจกรรม

1. เมื่อรินสารละลายกรดแอซีตกิ ลงในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ พบการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร และ


สมบัติความเป็นกรด-เบสของสารเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
2. เมื่อรินสารละลายกรดแอซีตกิ ลงในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ เกิดปฏิกิริยาเคมีหรือไม่ ทราบได้อย่างไร
3. จากกิจกรรม สรุปได้ว่าอย่างไร
สือ่ การเรียนรูแ้ ผนการจัดการเรียนรูท้ ี่ 4: แบบบันทึกการค้นคว้ากิจกรรมที่ 5.4

แบบบันทึกการค้นคว้ากิจกรรมที่ 5.4 เรือ่ งปฏิกริ ยิ าของกรดกับเบสเป็นอย่างไร


ชื่อ-นามสกุล..........................................................................................ชัน้ .................เลขที่...........กลุม่ ที่............

 ตารางบันทึกผล
สีของกระดาษยูนเิ วอร์ซลั
สาร ลักษณะของสาร ค่าพีเอช
อินดิเคเตอร์
สารละลายกรดแอซีตกิ
สารละลายโซเดียม
ไฮดรอกไซด์
สารละลายกรดแอซีตกิ
+ สารละลายโซเดียม

 คำถามท้ายกิจกรรม
1. เมื่อรินสารละลายกรดแอซีติกลงในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ พบการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร
และสมบัติความเป็นกรด-เบสของสารเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

ตอบ ………………..………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………..………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………..………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………..………………………………………………………………………………………………………………………………………………

2. เมื่อรินสารละลายกรดแอซีติกลงในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ เกิดปฏิกิริยาเคมีหรือไม่ ทราบได้อย่างไร

ตอบ ………………..………………………………………………………………………………………………………………………………………………

3. จากกิจกรรม สรุปได้ว่าอย่างไร

ตอบ ………………..………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………..………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………..………………………………………………………………………………………………………………………………………………
แนบท้ายแผนการจัดการเรียนรูท้ ี่ : การให้คะแนนด้านกระบวนการ (P)

แนวทางบันทึกการค้นคว้ากิจกรรมที่ 5.4 เรือ่ งปฏิกริ ยิ าของกรดกับเบสเป็นอย่างไร

 ตารางบันทึกผล
สีของกระดาษยูนเิ วอร์ซลั
สาร ลักษณะของสาร ค่าพีเอช
อินดิเคเตอร์

สารละลายกรดแอซีตกิ ของเหลว ใส ไม่มีสี แดงส้ม 3

สารละลายโซเดียม
ของเหลว ใส ไม่มีสี น้ำเงิน 13
ไฮดรอกไซด์

สารละลายกรดแอซีตกิ ของเหลว ใส ไม่มีสี ส้มเหลือง 7


+ สารละลายโซเดียม

หมายเหตุ บันทึกค่าพีเอชของสารตามสีของกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ ซึ่งอาจแตกต่างจากค่าพีเอช


ที่ระบุไว้ในตารางบันทึกผล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารละลายที่ใช้
แนบท้ายแผนการจัดการเรียนรูท้ ี่ 4: การให้คะแนนด้านความรู้ (K)

เฉลยใบกิจกรรมที่ 5.4 เรือ่ งปฏิกริ ยิ าของกรดกับเบสเป็นอย่างไร

เฉลยคำถามท้ายกิจกรรม

1. เมือ่ รินสารละลายกรดแอซีตกิ ลงในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ พบการเปลีย่ นแปลงหรือไม่ อย่างไร และ


สมบัติความเป็นกรด-เบสของสารเปลีย่ นแปลงไปอย่างไร
แนวคำตอบ เมื่อสังเกตด้วยตาเปล่าจะไม่พบการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อนำไปวัดค่าพีเอช จะพบการ
เปลี่ยนแปลง โดยสารละลายที่ได้มีค่าพีเอชสูงกว่าสารละลายกรดที่เป็นสารตั้งต้น หรือมีความเป็นกรดลดลง
และมีค่าพีเอชต่ำกว่าสารละลายเบสที่เป็นสารตั้งต้น หรือมีความเป็นเบสลดลง

2. เมือ่ รินสารละลายกรดแอซีตกิ ลงในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ เกิดปฏิกริ ยิ าเคมีหรือไม่ ทราบได้อย่างไร


แนวคำตอบ เกิดปฏิกิริยาเคมี เนื่องจากสารที่ได้มีค่าพีเอชเปลี่ยนแปลงไป

3. จากกิจกรรม สรุปได้วา่ อย่างไร


แนวคำตอบ เมื่อเติมสารละลายกรดลงในสารละลายเบส กรดจะทำปฏิกิริยากับเบส ทำให้สารละลาย
ที่ได้มีค่าพีเอชอยู่ระหว่างค่าพีเอชของสารละลายกรดและสารละลายเบสตั้งต้น

You might also like