Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 5

บทความทางวิชาการ

การฟื น
้ ฟู ก จ
ิ การ
ภายใต้พระราชบัญญัติล้มละลาย
ผู้เขียน
นายอนุรักษ์ นิยมเวช
ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง
และการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา*

เป็ น ที่ ท ราบกั น ดี ว่ า ปั ญ หาเศรษฐกิ จ ในปั จ จุ บั น ได้ ส่ ง ผลกระทบต่ อ สภาพการทำธุ ร กิ จ และ


สถานะทางการเงินของกิจการเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและเล็กที่ประสบปัญหา
ในการจัดหาแหล่งสินเชื่อจากสถาบันการเงิน  กิจการจำนวนไม่น้อยอยู่ในภาวะขาดสภาพคล่อง
ทางการเงิ น และไม่ ส ามารถชำระหนี้ ไ ด้ และบางรายอาจถึ ง ขั้ น ที่ อ ยู่ ใ นสภาพหนี้ สิ น ล้ น พ้ น ตั ว
(Insolvent)
แนวทางในการแก้ไขปัญหาทางการเงินนัน้ โดยทัว่ ไปก็ได้แก่ การหาแหล่งสินเชือ่ หรือเงินทุนใหม่
เพื่อเพิ่มเงินหมุนเวียนในกิจการ ตลอดจนการเจรจาประนอมหนี้หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับบรรดา
เจ้าหนี้
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบบ่อยครั้งในการแก้ไขปัญหาทางการเงินของกิจการที่อยู่ในสภาพ
หนี้สินล้นพ้นตัวก็คือ บางครั้งกิจการที่อยู่ในสถานะดังกล่าวยังพอมีความสามารถที่จะดำเนินธุรกิจ
ต่อไปและสร้างกระแสเงินสดได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้การค้าและ
เจ้าหนี้การเงินได้ตามเงื่อนไขเดิม ซึ่งเป็นไปได้ยากที่กิจการที่อยู่ในสถานะเช่นนี้จะหาแหล่งสินเชื่อ
หรือเงินทุนใหม่ได้ หรือถ้าหาได้ก็อาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เบ็ดเสร็จ และสุดท้ายก็จำเป็นที่จะต้อง
เจรจาประนอมหนี้หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับบรรดาเจ้าหนี้
ในการเจรจาประนอมหนี้หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับบรรดาเจ้าหนี้ ลูกหนี้จะต้องขอเจรจา
ทำความตกลงกับเจ้าหนี้แต่ละรายด้วยตนเอง ซึ่งแม้ว่าลูกหนี้จะสามารถทำความตกลงกับเจ้าหนี้
บางรายได้สำเร็จ ก็อาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เบ็ดเสร็จนัก และการที่ลูกหนี้จะขอให้เจ้าหนี้ทุกราย
มาเจรจาทำความตกลงร่ ว มกั น ก็ เ ป็ น ไปได้ ย ากมาก เพราะต้ อ งอาศั ย ความสมั ค รใจของเจ้ า หนี้
ทุก ๆ ราย อีกทัง้ ข้อเสนอในการปรับปรุงโครงสร้างหนีก้ ต็ อ้ งได้รบั ความตกลงยินยอมจากเจ้าหนีท้ กุ ราย
*น.บ. (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; เนติบัณฑิต เนติบัณฑิตยสภา; น.ม. มหาวิทยาลัย
ฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ; Master of Management ศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุลนิติ ก.ค. - ส.ค. ๕๓ 85
การฟื้นฟูกิจการภายใต้พระราชบัญญัติล้มละลาย

ซึง่ ก็เป็นไปได้ยากอีกเช่นกันทีจ่ ะให้เจ้าหนีท้ กุ รายเห็นชอบกับข้อเสนอในการปรับปรุงโครงสร้างหนีข้ องลูกหนี้


เพราะเจ้าหนี้แต่ละรายก็ย่อมมีผลประโยชน์และเหตุผลความจำเป็นต่างกันไป เจ้าหนี้แม้ว่าจะมีหนี้
หรือเสียงข้างน้อยก็ไม่ถูกผูกพันให้ต้องยินยอมตามความต้องการของเจ้าหนี้ที่มีหนี้หรือเสียงข้างมาก
เจ้าหนี้ที่ไม่ประสงค์จะเจรจาประนอมหนี้กับลูกหนี้ก็สามารถไปดำเนินการฟ้องร้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง
หรือคดีล้มละลายได้ ซึ่งก็จะมีผลกระทบต่อการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้อื่น ๆ ทันที  ทั้งนี้
อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า อุปสรรคและข้อจำกัดทั้งหลายดังกล่าวเกิดจากการที่กระบวนการเจรจา
ประนอมหนีห้ รือปรับปรุงโครงสร้างหนีด้ งั กล่าวไม่มสี ภาพบังคับหรือหลักเกณฑ์ให้เจ้าหนีต้ อ้ งปฏิบตั ติ าม
กระบวนการทั้งหมดจึงขึ้นอยู่กับความตกลงยินยอมของเจ้าหนี้เอง
“กระบวนพิจารณาเกีย่ วกับการฟืน้ ฟูกจิ การของลูกหนี”้ ภายใต้หมวด ๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติ
ล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑
เป็นกระบวนการทางกฎหมายอย่างหนึ่งที่จะช่วยลดอุปสรรคและข้อจำกัดในการปรับปรุงโครงสร้าง
กิจการและหนี้ของลูกหนี้ที่อยู่ในภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว เพื่อให้ลูกหนี้สามารถแก้ไขปัญหาการชำระหนี้
และดำเนินกิจการต่อไปได้ ในขณะที่เจ้าหนี้ก็จะได้รับชำระหนี้มากกว่าการไปฟ้องร้องลูกหนี้เป็น
คดีแพ่งหรือคดีล้มละลาย (ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การยึดอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้หรือการชำระบัญชีเพื่อ
ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้) โดยไม่กระทบถึงสิทธิเหนือหลักประกันต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิม และหากการฟื้นฟู
กิจการของลูกหนีเ้ ป็นผลสำเร็จ ทุกฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้องจะได้รบั ประโยชน์ไม่วา่ จะเป็นตัวลูกหนีเ้ องทีส่ ามารถ
แก้ไขปัญหาทางการเงินและดำเนินกิจการต่อไปได้ พนักงานลูกจ้างและคู่ค้าของลูกหนี้ที่ต้องพึ่งพิง
กิจการของลูกหนี้ และบรรดาเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้มากกว่ากรณีที่ลูกหนี้ต้องล้มละลาย
นอกจากนี้ กระบวนการฟื้ น ฟู กิ จ การยั ง เป็ น ผลดี ต่ อ เศรษฐกิ จ และสั ง คมโดยรวมของประเทศ
เพราะกระบวนการนี้ ส ามารถช่ ว ยไม่ ใ ห้ กิ จ การต่ า ง ๆ  ที่ มี ช่ อ งทางฟื้ น ฟู กิ จ การต้ อ งล้ ม ละลายไป
โดยไม่จำเป็น ซึง่ การล้มละลายของกิจการใดกิจการหนึง่ ย่อมส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะกิจการ
ขนาดใหญ่ที่มีการจ้างงานหรือมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลเป็นจำนวนมาก
มาตรการและขั้ น ตอนหลั ก ในกระบวนการฟื้ น ฟู กิ จ การตามพระราชบั ญ ญั ติ ล้ ม ละลาย
เริ่มต้นที่การสร้างสภาวะการพักการชำระหนี้โดยผลของกฎหมาย (Automatic Stay) กล่าวคือ 
เมื่อศาลล้มละลายมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้จะได้รับ
ความคุ้มครองจากการถูกฟ้องร้องบังคับคดีในทางแพ่ง และการงดให้บริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ
ภายใต้เงือ่ นไขทีก่ ฎหมายกำหนด และตัวลูกหนีเ้ องก็ถกู ห้ามมิให้ชำระหนีห้ รือก่อหนีแ้ ละกระทำการใด ๆ
ในทางที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สิน นอกจากการดำเนินการที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจตามปกติ

86 จุลนิติ ก.ค. - ส.ค. ๕๓
บทความทางวิชาการ

วัตถุประสงค์และประโยชน์ของสภาวะการพักชำระหนี้ มีอยู่หลายประการ ได้แก่


(๑) การสงวนและรักษาทรัพย์สนิ ของลูกหนีเ้ อาไว้ เพือ่ ให้ลกู หนีย้ งั คงสามารถใช้ในการประกอบ
ธุรกิจได้ต่อไป และรวบรวมไปจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการแทนที่จะปล่อยให้
เจ้าหนี้ไปฟ้องร้องบังคับคดีกันเอาเองซึ่งอาจจะมีผลกระทบถึงการประกอบธุรกิจของลูกหนี้และก่อ
ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างเจ้าหนี้
(๒) ให้โอกาสและระยะเวลาช่วงหนึ่งแก่ลูกหนี้ในการพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหาของกิจการ
ตลอดจนการเจรจาหาทางออกร่วมกับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับ
เพื่อชำระหนี้
(๓) การบรรเทาภาวะวิกฤตทางการเงินเป็นการชั่วคราว เพื่อให้ลูกหนี้สามารถดำเนินกิจการ
ต่อไปได้
(๔) ให้เจ้าหนี้และลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายภายใต้สภาวะการพัก
ชำระหนี้ตามรายละเอียดดังจะได้กล่าวต่อไป
เมื่อศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ พร้อมทั้งแต่งตั้งบุคคลที่ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้
เสนอให้เป็นผู้ทำแผนแล้ว ผู้ทำแผนจะเข้ามามีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สิน
ของลูกหนี้และบรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ (ยกเว้นสิทธิในการรับเงินปันผล)
เจ้ า หนี้ ทุ ก รายจะต้ อ งนำหนี้ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ก่ อ นวั น ที่ ศ าลมี ค ำสั่ ง ให้ ฟื้ น ฟู กิ จ การมายื่ น ขอรั บ ชำระหนี้
ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อรวบรวมและสรุปภาระหนี้สินทั้งหมด
ที่ลูกหนี้มีอยู่ โดยเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้ทำแผนอาจขอตรวจและโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ที่ตนเห็นว่า
ไม่ถูกต้องได้ ในกรณีดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะสอบสวนแล้วมีคำสั่งยกคำขอหรืออนุญาต
ให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนตามจำนวนที่ถูกต้อง
ผู้ทำแผนที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง (ลูกหนี้อาจได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ทำแผนเองก็ได้) จะต้อง
จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการให้แล้วเสร็จและยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา ๓ เดือน
นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษา โดยจะดำเนินการควบคู่ไปกับขั้นตอนการยื่น
คำขอรับชำระหนี้ข้างต้น
ผูท้ ำแผนจะต้องจัดทำแผนฟืน้ ฟูกจิ การโดยมีรายการอย่างน้อยตามทีก่ ฎหมายกำหนด ซึง่ รายการ
สำคัญก็ได้แก่ รายละเอียดของสินทรัพย์และหนีส้ นิ ของลูกหนี้ หลักการและวิธกี ารฟืน้ ฟูกจิ การ แนวทาง
การแก้ปญ ั หาสภาพคล่องชัว่ คราวระหว่างการปฏิบตั ติ ามแผน ระยะเวลาดำเนินการตามแผน (ไม่เกิน ๕ ปี)
รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารแผน เป็นต้น ผู้ทำแผนจะต้องจัดเจ้าหนี้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามหลักเกณฑ์
ที่กฎหมายกำหนด และกำหนดวิธีการชำระหนี้หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับเจ้าหนี้แต่ละกลุ่ม
ตามความเหมาะสม เช่น การยืดกำหนดเวลาชำระหนี้ การลดจำนวนหนี้ การแปลงหนี้เป็นทุน
การตีโอนหลักประกัน เป็นต้น โดยพิจารณาจากทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่ ประมาณการกระแสเงินสด
ที่ลูกหนี้จะได้รับ และจำนวนหนี้ที่เจ้าหนี้นำมายื่นคำขอรับชำระหนี้และได้รับคำสั่งอนุญาตให้ได้รับ
ชำระหนีด้ งั กล่าวข้างต้น ทัง้ นี้ เจ้าหนีม้ ปี ระกันจะยังคงมีสทิ ธิเหนือหลักประกันทีเ่ จ้าหนีม้ อี ยู่ และเจ้าหนี้
(ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ประเภทใด) จะต้องได้รับชำระหนี้ไม่ต่ำกว่ากรณีที่ลูกหนี้ล้มละลาย อาจกล่าวได้ว่า
จุลนิติ ก.ค. - ส.ค. ๕๓ 87
การฟื้นฟูกิจการภายใต้พระราชบัญญัติล้มละลาย

เนื้อหาหลักของแผนฟื้นฟูกิจการนั้นที่จริงแล้วก็มีลักษณะเป็นไปในทำนองเดียวกับสัญญาปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ทั่ว ๆ ไป
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับแผนฟื้นฟูกิจการจากผู้ทำแผนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
จะนัดประชุมเจ้าหนีเ้ พือ่ ปรึกษาลงมติวา่ จะยอมรับแผนฟืน้ ฟูกจิ การหรือไม่ มติยอมรับแผนฟืน้ ฟูกจิ การ
จะต้องเป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
ในกรณีที่ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรายงานมติ
ดังกล่าวต่อศาล เพือ่ ขอให้ศาลมีคำสัง่ ว่าจะเห็นชอบกับแผนฟืน้ ฟูกจิ การหรือไม่ เมือ่ ศาลเห็นว่า แผนฟืน้ ฟู
กิจการมีรายการครบถ้วนและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดแล้ว ศาลจะมีคำสั่ง
เห็นชอบด้วยแผนฟืน้ ฟูกจิ การ และแจ้งคำสัง่ ไปยังผูท้ ำแผนและผูบ้ ริหารแผน (ตามทีเ่ สนอชือ่ ไว้ในแผนฯ)
ผู้บริหารแผนจะเข้ามามีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้และบรรดาสิทธิ
ตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ (ยกเว้นสิทธิในการรับเงินปันผล) แทนที่ผู้ทำแผนตั้งแต่ผู้บริหาร
แผนทราบคำสั่งดังกล่าว
แผนฟื้นฟูกิจการซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้วจะมีผลผูกมัดเจ้าหนี้ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องมี
การจัดทำสัญญาและลงนามระหว่างลูกหนีแ้ ละเจ้าหนีท้ กุ รายเหมือนกรณีการเจรจาจัดทำสัญญาปรับปรุง
โครงสร้างหนี้โดยทั่วไป โดยในระหว่างระยะเวลาดำเนินการตามแผนซึ่งไม่เกิน ๕ ปีนั้น ผู้บริหารแผน
จะเป็นผู้ดำเนินการให้ลูกหนี้ปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งโดยหลักก็ได้แก่ การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
และดำเนินการทีเ่ กีย่ วข้องตามทีก่ ำหนดไว้ในแผนฟืน้ ฟูกจิ การ จนกว่าการฟืน้ ฟูกจิ การจะได้ดำเนินการ
เป็นผลสำเร็จตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อการฟื้นฟูกิจการเป็นผลสำเร็จตามแผนแล้ว
ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการเพื่อให้ผู้บริหารของลูกหนี้กลับมามีอำนาจจัดการกิจการและ
ทรัพย์สนิ ของลูกหนี้ และผูถ้ อื หุน้ ของลูกหนีก้ ลับมีสทิ ธิในฐานะผูถ้ อื หุน้ ตามกฎหมายต่อไป หลังจากนัน้
ลูกหนี้ก็จะดำเนินธุรกิจไปตามปกติโดยไม่ต้องตกอยู่ในการควบคุมดูแลของศาล และไม่ได้รับความ
คุ้มครองภายใต้สภาวะการพักชำระหนี้ (Automatic Stay) อีกต่อไป
อนึ่ง การที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนไว้ไม่เกิน ๕ ปี (อาจขอขยายได้ไม่เกิน
๒ ครั้ง ครั้งละไม่เกิน ๑ ปี) นั้น ไม่ได้หมายความว่า ลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ตามแผนให้หมดภายใน
ระยะเวลาดังกล่าว ระยะเวลาดำเนินการตามแผนเป็นเพียงกรอบระยะเวลาที่ผู้บริหารแผนจะต้อง
ดำเนินการอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างตามแผนให้เป็นผลสำเร็จตามที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดไว้เท่านั้น
เช่น แผนฟื้นฟูกิจการอาจกำหนดให้ลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นเวลา ๑๐ ปี และวางเงื่อนไข
ว่าการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการให้ถือว่าเป็นผลสำเร็จเมื่อลูกหนี้สามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
ครบถ้วนตามงวดการชำระที่ถึงกำหนดในช่วง ๕ ปี ดังนี้ หากผู้บริหารแผนสามารถดำเนินการดังกล่าว
ได้เป็นผลสำเร็จ ศาลก็สามารถมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการได้ โดยลูกหนี้ยังคงต้องผูกพันที่จะต้อง
ชำระหนี้ส่วนที่เหลือตามแผนฟื้นฟูกิจการภายหลังจากนั้นให้แก่เจ้าหนี้ต่อไปจนครบ

88 จุลนิติ ก.ค. - ส.ค. ๕๓
บทความทางวิชาการ

จากที่กล่าวมาโดยสรุปข้างต้น จะเห็นได้ว่า มาตรการและขั้นตอนต่าง ๆ ในการฟื้นฟูกิจการ


ในภาพรวมและโดยจุดมุ่งหมายนั้นมิได้แตกต่างไปจากหลักการปรับปรุงโครงสร้างกิจการและหนี้
ในทางธุรกิจโดยทัว่ ไป เพียงแต่กฎหมายได้สร้างสภาพบังคับและหลักเกณฑ์ตามกฎหมายขึน้ ให้ทกุ ฝ่าย
ได้ถือปฏิบัติเพื่อลดอุปสรรคที่จะเกิดจากการปรับโครงสร้างหนี้นอกกระบวนการฟื้นฟูกิจการ
เมื่ อ ได้ ท ราบวั ต ถุ ป ระสงค์ แ ละประโยชน์ ข องการฟื้ น ฟู กิ จ การตามกฎหมายล้ ม ละลายแล้ ว
เราจะมาพิจารณากันต่อไปเป็นประการสุดท้ายว่า ลูกหนี้ที่สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ
ต้องมีลักษณะอย่างใดบ้าง และบุคคลใดบ้างที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลล้มละลายให้ฟื้นฟูกิจการ
ของลูกหนี้ พระราชบัญญัตลิ ม้ ละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ได้กำหนดไว้วา่ ลูกหนีท้ จี่ ะเข้าสูก่ ระบวนการ
ฟื้ น ฟู กิ จ การจะต้อ งเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งมีหนี้สินล้น พ้นตัวและเป็นหนี้
ต่อเจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมเป็นจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า ๑๐ ล้านบาท (ไม่ว่าหนี้นั้น
จะถึ ง กำหนดชำระแล้ ว หรื อ ในอนาคตก็ ต าม) อี ก ทั้ ง มี เ หตุ อั น สมควรและมี ช่ อ งทางที่ จ ะฟื้ น ฟู
กิจการได้ โดยบุคคลซึ่งมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่มีลักษณะดังกล่าว
ได้ แ ก่ ตั ว ลู ก หนี้ เ อง, เจ้ า หนี้ ค นเดี ย วหรื อ หลายคนรวมกั น ซึ่ ง มี จ ำนวนหนี้ แ น่ น อนไม่ น้ อ ยกว่ า
๑๐ ล้านบาท, ธนาคารแห่งประเทศไทย (ในกรณีทลี่ กู หนีเ้ ป็นสถาบันการเงิน), สำนักงานคณะกรรมการ
กำกั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ (ในกรณี ที่ ลู ก หนี้ เ ป็ น บริ ษั ท หลั ก ทรั พ ย์ ) และสำนั ก งาน
คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นบริษัทวินาศภัย
หรือบริษัทประกันชีวิต) อย่างไรก็ตาม บุคคลดังกล่าวจะยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
ไม่ได้ในกรณีที่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดไปแล้ว หรือศาลหรือนายทะเบียนได้มี
คำสั่งให้เลิกหรือเพิกถอนทะเบียนนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ หรือได้มีการจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลที่เป็น
ลูกหนี้ หรือนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ได้เลิกไปด้วยเหตุอื่น ทั้งนี้ไม่ว่าการชำระบัญชีจะแล้วเสร็จหรือไม่ 

จุลนิติ ก.ค. - ส.ค. ๕๓ 89

You might also like