Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 2

นาย กิตติพงศ์ มหาเฮง เลขที่ 6 ชัน้ ม.

6/1

ฟิสิกส์ แม่เหล็กไฟฟ้า

มอเตอร์กระแสตรงทาให้เกิดโมเมนต์แรงคู่ควบอย่างไร ?
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงเป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ประกอบด้วยขดลวด
ทองแดงเคลือบน้ายา ที่พันรอบแกนสี่เหลี่ยมซึ่งติดอยู่กับแกนหมุนในสนามแม่เหล็ก ปลายทั้งสองของขดลวด
ต่อกับขั้วของแบตเตอรี่ เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวด ขดลวดจะเกิดโมเมนต์ของแรงคู่ควบกระทาให้ขดลวด
หมุนรอบแกนหมุน

เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดจะเกิดโมเมนต์ของแรงคู่ควบ ทาให้ระนาบของขดลวดหมุนและสปริงก้นหอย
บิด จนกระทั่งโมเมนต์ของแรงบิดกลับของสปริงก้นหอยเท่ากับโมเมนต์ของแรงคู่ควบที่กระท าบนขดลวด
ขดลวดก็จะหยุดหมุน ซึ่งมีผลให้เข็มหยุดนิ่งด้ว ย มุมเบนของเข็มชี้ทาให้ทราบค่าของโมเมนต์ของแรงคู่ค วบ M
ซึ่งนาไปหาค่าของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านขดลวดได้ ถ้าทราบขนาดของสนามแม่เหล็กB จานวนรอบ N ของขดลวด
พื้นที่ระนาบ A ของขดลวด และมุม θ ระหว่างระนาบของลวดกับสนามแม่เหล็ก จะพบว่า โมเมนต์ของแรงคู่
ควบที่กระทาต่อขดลวดขึ้นกับกระแสไฟฟ้าที่ผ่านขดลวด หลักการนี้นาไฟสร้างเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าที่มีค่า
น้อย ซึ่งเรียกว่า แกลแวนอมิเตอร์ ที่สามารถนาไปดัดแปลงเป็นแอมมิเตอร์และโวลต์มิเตอร์ได้

กัลวานอมิเตอร์
กัลวานอมิเตอร์ (Galvanometer) คือ เครื่องมือวัดพื้นฐานทางไฟฟ้าที่ประกอบด้วยขดลวดขนาดเล็ก
วางอยู่ระหว่างขั้วแม่เหล็กถาวร เนื่องจากกัลวานอมิเตอร์สามารถวัดค่ากระแสไฟฟ้าและความต่างศั กย์ได้ใน
ปริมาณน้อยเท่านั้น ถ้าผ่านกระแสไฟฟ้ าเข้าไปในกัลวานอมิเตอร์มากกว่าค่าสู งสุดที่มันจะรับได้ จะทาให้
กัลวานอมิเตอร์เสียหายได้ ดังนั้นในการใช้งานจึงจาเป็นต้องดักแปลงให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านกัลวานอมิเตอร์
มีค่าไม่เกินค่าสูงสุดที่มันรับได้เสมอ
นาย กิตติพงศ์ มหาเฮง เลขที่ 6 ชัน้ ม.6/1

แอมมิเตอร์
การดัดแปลงแกลแวนอมิเตอร์เป็น แอมมิเตอร์ เพื่อวัดกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดตามที่ต้องการ ทาได้โดย
นาตัวต้านทานที่เรียกว่า ชันต์ ซึ่งมีความต้านทาน มาต่อขนานกับแกลแวนอมิเตอร์ เพื่อแบ่งกระแสไฟฟ้าที่
ต้องการวัดเป็นสองส่วน คือส่วนหนึ่งที่ผ่านแกลแวนอมิเตอร์เท่ากับ ส่วนที่เหลือที่ผ่านชันต์เท่ากับ ดังรูป

เนื่องจากแกลแวนอมิเตอร์และชันต์ต่อขนานกัน ดังนั้นความต่างศักย์ระหว่างปลายของชันต์จะเท่ากับ ความ


ต่างศักย์ระหว่างขั้วของแกลแวนอมิเตอร์ หรือ

จะได้
---- (1)

ดังนั้นการสร้างแอมมิเตอร์จึงต้องใช้ชันต์ที่มีความต้านทาน ดังสมการ (1) มาต่อขนานกับแกลวานอมิเตอร์

โวลล์มิเตอร์
การดัดแปลงแกลแวนอมิเตอร์เป็น โวลต์มิเตอร์ เพื่อวัดความต่างศักย์สูงสุดที่ต้องการ ทาได้โดยนาตัว
ต้านทาน เรียกว่า มัลติพลายเออร์ ที่มีความต้านทาน มาต่ออนุกรมกับแกลแวนอมิเตอร์ เพื่อแบ่งความต่าง
ศักย์ที่ต้องการวัด ออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นความต่างศักย์ระหว่างปลายของมัลติพลายเออร์ อีกส่วน
หนึ่งเป็นความต่างศักย์สูงสุด ระหว่างขั้วของแกลแวนอมิเตอร์ ดังรูป
เนื่องจากแกลแวนอมิเตอร์และมัลติพลายเออร์ต่ออนุกรมกัน และ เป็น
กระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ผ่าน และ ดังนั้นความต่างศักย์สูงสุดที่ต้องการจะ
เท่ากับความต่างศักย์ระหว่างปลายของมัลติพลายเออร์บวก ความต่างศักย์
ระหว่างขั้วของแกลแวนอมิเตอร์ หรือ
---- (2)

ดังนั้นในการสร้างโวลต์มิเตอร์จะต้องนามัลติพลายเออร์ที่มีความต้านทาน ดังสมการ (2) มาต่ออนุกรม


กับแกลวานอมิเตอร์

You might also like