Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 1

LIVE # $

คุณภาพชีวิต
กินหูฉลามผิดอะไรหนักหนา ทีกระเพาะปลายัง
กินได้
Nov 26, 2018 ( Last update Dec 25, 2018 19:29 )

-33%

แอป*อป+งออนไล0ยอด1ยม
Shopee

แคมเปญรณรงค์ ก ารลดละเลิ ก บริ โ ภค


หู ฉ ลามของ WildAid นํ า เสนอความโหด
ร้ า ยของการล่ า ฉลามเพื ่ อ ตั ด ครี บ แต่ ห ลาย
คนยั ง ตั ้ ง คํ า ถาม ฆ่ า ฉลามโหดร้ า ย ฆ่ า สั ต ว์
อื ่ น กิ น ไม่ โ หดร้ า ยหรื อ

ฉลามเป็นสัตว์ที่ถูกจับมาตัดครีบ และถูกทิ้งกลับสู่ทะเล
เพื่อรอเวลาตาย ฉลามที่เสียครีบไปจะไม่สามารถว่ายนํ้า
ต่อได้ ทําให้ไม่มีออกซิเจนไหลผ่านเหงือก จึงค่อยๆ
ขาดหายใจ และจมลงสู่ก้นทะเล นี่คือ ที่มาของหูฉลาม
หนึ่งชาม

ความโหดร้ายในการล่ามักเป็นแง่มุมที่ถูกถ่ายทอดออก
มาเสมอ เมื่อมีการรณรงค์ให้ลดและเลิกรับประทาน
หูฉลาม แต่คําถามที่มักจะตามมาเสมอกคือ ถ้าอย่างนั้น
การกินหมู กินไก่ หรือแม้กระทั่งปลาชนิดต่างๆ ดูจะโหด
ร้ายไม่ต่างกัน แล้วเราไม่ต้องกินมังสวิรัติกันไปตลอด
ชีวิตเลยหรือ

แม้การนําเสนอภาพของความน่าสงสารของสัตว์ร่วมโลก
จะเป็นการจุดประเด็นที่ทําให้คนสนใจได้มากกว่า แต่
เรื่องความสําคัญของฉลามต่อระบบนิเวศก็เป็นเรื่องที่
ต้องพูดถึง เพราะนี่คือคําตอบว่าทําไมเราถึงกินกระเพาะ
ปลาได้ แต่การกินหูฉลามจึงผิดหนักหนา

เราสงสารสัตว์ทุกชนิดเท่ากันไม่ได้

โดยธรรมชาติของระบบนิเวศจะมีผู้ล่าสูงสุด ผู้ล่าระดับ
รองลงมา และผู้ผลิต เช่นพืชที่สัตว์กินพืชกิน ฉลาม
ถือว่าเป็นผู้ล่าขั้นสูงสุดในระบบนิเวศทางทะเล มีบทบาท
ในการควบคุมประชากรของสิ่งมีชีวิตหรือว่าผู้ล่าระดับ
ตํ่าๆ เมื่อผู้ล่าสูงสุดอย่างฉลามหายไป สัตว์ที่เคยเป็น
อาหารของฉลามก็จะมีจํานวนเพิ่มมากขึ้นเพราะไม่มีใคร
ล่า และส่งผลกระทบต่อการกินในระบบที่ตํ่าลงไปเรื่อยๆ
ทําให้ระบบนิเวศเสียสมดุล

อุ ก กฤต สตภู ม ิ น ทร์ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและ


พัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน
ยกตัวอย่างว่า ในประเทศออสเตรเลียมีสถานที่ชื่ออ่าว
ฉลาม (Shark Bay) ซึ่งมีจํานวนฉลามอยู่เยอะ โดย
ฉลามกินพะยูนเป็นอาหาร ขณะที่พะยูนกินหญ้าทะเล ณ
ที่แห่งนี้เคยมีโครงการกําจัดฉลามออกไป เพื่อป้องกันไม่
ให้ฉลามมาทําร้ายนักท่องเที่ยว

“เขาเคยมีโปรแกรมที่จะกําจัดฉลามออกไป พอกําจัด
ฉลามออกไปแล้ว ประชากรพะยูนมันก็แฮปปี้สิ ไม่มีใคร
มากิน มันก็มีเยอะมากขึ้น พะยูนต้องกินหญ้าทะเล
ปริมาณหญ้าทะเลที่มันกินเนี่ย รองรับประชากรพะยูนที่
เพิ่มมากขึ้นไม่ได้ สุดท้ายหญ้าทะเลก็ลดความสมบูรณ์
ลงไป” ผอ.อุกกฤต กล่าวและเสริมว่าหากสมมติว่า
เหตุการณ์เป็นเช่นนั้นต่อไปเรื่อยๆ หญ้าทะเลเจริญ
เติบโตไม่ทัน ก็อาจจะหมดไปจากพื้นที่นั้นได้

อุ ก กฤต สตภู ม ิ น ทร์ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและ


พัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน

สัตว์ป่ามีบทบาทอันเหมาะควรในธรรมชาติของตัวเอง
หากเราสงสารพะยูนที่ถูกฉลามกินจึงกําจัดฉลาม แล้ว
เข้าไปแทรกแซงสมดุลระบบนิเวศ ก็จะส่งผลกระทบไล่
ตามมาเป็นลําดับ ในระยะสั้นพะยูนอาจจะเพิ่มมากขึ้น
แต่เมื่อหญ้าทะเลที่เป็นอาหารนั้นโตไม่ทัน พะยูนก็อาจ
จะขาดอาหารในที่สุด ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะฉลามถูก
กําจัดไป

ในระบบนิเวศอื่นๆ เองก็เช่นกัน หากฉลามหายไป ผู้ล่า


ชั้นรองลงมาอาจมีจํานวนมากขึ้น และกินปลาชนิดที่เป็น
อาหารของมนุษย์ทําให้อาหารของมนุษย์ลดลงได้เช่น
กัน ฉลามจึงมีความสําคัญแตกต่างจากสัตว์นํ้าชนิดอื่น
เนื่องจากเป็นผู้ล่าสูงสุดในห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศ
ทางทะเล เราจึงล่าฉลามในปริมาณเท่ากับสัตว์ทะเลอื่น
ไม่ได้

ADVERTISEMENT

!"อ$ลเ'มเ)ม

“พอมาดูในประเด็นของฉลาม จํานวนประชากรของเขา
มันถูกควบคุมอยู่แล้วในชีววิทยาการสืบพันธุ์ของเขา
เขาออกลูกปริมาณน้อย ทีหนึ่งไม่กี่ตัว อย่างที่ปลาชนิด
อื่นที่มีจํานวนเยอะๆ มันต้องมีกลไกในการสืบพันธุ์ที่
ออกลูก ออกไข่ สเปิร์มเยอะเป็นร้อยเป็นล้านฟอง เพื่อ
จะให้มีโอกาสในการรอดในธรรมชาติ เพราะฉะนั้นใน
เมื่อฉลามมีประชากรน้อยเมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่น แล้ว
เราไปล่าเขาเพิ่มเนี่ย ความเสี่ยงมันก็เลยเกิดขึ้น”

ความน่าสงสารกับการรณรงค์

แม้ความสําคัญที่แท้จริงของการรณรงค์เรื่องการลดและ
เลิกกินหูฉลามนั้นคือเรื่องความสําคัญของฉลามต่อ
ระบบนิเวศ แต่หากพูดเรื่องนี้ตรงๆ ก็คงยากที่จะทําให้
คนจํานวนมากสนใจได้ในทีเดียว องค์ ก รไวล์ ด เอด
ประเทศไทย (WildAid Thailand) จึงนําเสนอ
แคมเปญ #ฉลองไม่ฉลาม ผ่านคลิปวิดีโอ ‘เบื้องหลัง
งานแต่ง’ ที่นําเสนอความโหดร้ายในการฆ่าตัดครีบ
ฉลามเพื่อให้ได้หูฉลามสักชามมาเป็นอาหารในงานเลี้ยง

นุ ช หทั ย โชติ ช ่ ว ง ตัวแทนองค์กรไวล์ดเอด


ประเทศไทย เล่าว่า ก่อนจะสื่อสารแคมเปญ ทางไวล์ดเอ
ดก็สํารวจผู้บริโภคก่อนเช่นกันว่าแง่มุมใดจะทําให้คนหัน
มาสนใจประเด็นเรื่องปลาฉลาม และพบว่าการพูดถึงวิธี
การฆ่าตัดครีบบนเรือแล้วโดยโยนทิ้งลงทะเลเป็นจุดที่จะ
ทําให้คนไทยโดยทั่วไปหันมาสนใจประเด็นนี้ได้มากยิ่ง
ขึ้น และจากคอมเมนต์ที่ได้รับก็พบว่ายังมีคนอีกไม่น้อย
ที่ยังไม่ทราบถึงวิธีปฏิบัติต่อฉลามแบบนี้

“เวลาเราปล่อยตัวโฆษณารณรงค์ไป เขาก็มักจะมีคอม
เมนต์กลับมาว่า แล้วอย่างปลาชนิดอื่นล่ะ ทําไมไม่ไป
รณรงค์ ทําไมไม่สงสารปลาชนิดอื่นบ้าง แต่จุดหนึ่งที่เรา
พยายามจะสื่อสารออกไปจากโครงการฉลองไม่ฉลามก็
คือ ฉลามก็ทําหน้าที่คล้ายกับเสือในป่า ถ้าเกิดว่าเราเห็น
ข่าว แล้วเราไม่พอใจกับการที่มีคนฆ่าเสือ มีผลิตภัณฑ์
ของเสือวางขายตามท้องตลาด คุณไม่โอเค คุณเห็นแล้ว
ไม่อยากซื้อ เราก็อยากจะให้ทุกคนเห็นความสําคัญของ
ฉลามในแบบเดียวกัน เพราะว่าฉลามก็ถือเป็นสัตว์ที่มี
ความสําคัญต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมาก”

นุ ช หทั ย โชติ ช ่ ว ง ตัวแทนองค์กรไวล์ดเอด


ประเทศไทย

นุชหทัย อธิบายเพิ่มว่า ฉลามเป็นสัตว์ที่ไม่สามารถนําไป


ทําฟาร์มได้เหมือนสัตว์ชนิดอื่น เพราะเติบโตช้า ใช้เวลา
นานกว่าจะมีลูก จึงไม่สามารถเลี้ยงแบบสัตว์เศรษฐกิจ
อื่นๆ อย่างหมูหรือไก่ที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารได้

“ฉลามมันไม่เหมือนปลาอื่นๆ ที่เราบริโภคทั่วๆ ไป
แน่นอนค่ะว่าทุกชีวิตมีค่าหมด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ใดๆ
ก็ตาม โดนฆ่าก็เป็นชีวิตเหมือนกันหมด แต่ถ้าเป็นเรื่อง
ของสัตว์ป่า เราก็อยากจะมองในแง่ของความสําคัญของ
เขาในระบบนิเวศ”

หยุดซื้อ คือ หยุดฆ่า

ไวล์ดเอดคือองค์กรไม่แสวงผลกําไรที่มีสํานักงานที่
อเมริกา ซึ่งทําการรณรงค์โดยมุ่งเน้นไปที่การลดความ
ต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าต่างๆ โดยศึกษา
ข้อมูลสถิติผู้บริโภคและนําข้อมูลไปสื่อสารรณรงค์ผ่าน
สื่อต่างๆ ทั้งการแถลงข่าวและการทําแคมเปญร่วมกับ
บริษัทสื่ออื่นๆ อย่างการทําแคมเปญ ‘ฉลองไม่ฉลาม’
ร่วมกับเอเจนซีโฆษณา BBDO ก็เพราะสํารวจพบว่าผู้
บริโภคชาวไทยมักกินหูฉลามกันบ่อยที่สุดในงาน
แต่งงาน คิดเป็น 72 เปอร์เซ็นต์

เ4องห6งงานแ8งงาน - Making…

คลิป 'เบื้องหลังงานแต่ง' วิดีโอในแคมเปญฉลองไม่


ฉลาม

“สมมติถ้ารณรงค์ไปที่ผู้บริโภคต้นทางแล้ว ถ้าเกิดผู้
บริโภคมีความต้องการลดน้อยลง ไม่ต้องการที่จะซื้อ ไม่
ต้องการที่จะกินอีกแล้ว คนที่เขาลักลอบล่าสัตว์ป่าก็อาจ
จะมีแรงจูงใจน้อยลง ถ้าเกิดว่าคนไม่ซื้อ ราคาในตลาดก็
อาจจะลดลงไป อาจจะไม่เป็นแรงจูงใจให้คนที่ล่าต้องล่า
สัตว์ป่ามาแล้ว ไวล์ดเอดก็เลยอยากจะเน้นไปที่การ
รณรงค์ไปที่ผู้บริโภคเพราะเราเชื่อว่าถ้าเราหยุดซื้อ ก็จะ
หยุดฆ่าค่ะ” นุชหทัย อธิบาย

ADVERTISEMENT

ไวล์ดเอดในประเทศต่างๆ จะรณรงค์เรื่องต่างๆ กันไป


สําหรับหลักเกณฑ์ที่ทําให้รณรงค์สัตว์ชนิดใดนั้นมาจาก
การสํารวจว่าสัตว์ชนิดใดกําลังได้รับภัยคุกคาม และ
ประเทศใดส่งผลกระทบต่อสัตว์ชนิดนั้น

ผลสํารวจของทางไวล์ดเอดในปี 2560 พบว่าไทยมี


ความต้องการบริโภคหูฉลามค่อนข้างสูง จากการสํารวจ
ชาวไทย 866 คนในเขตเมืองทั่วประเทศ พบว่า คนไทย
57 เปอร์เซนต์ เคยหรือยังกินหูฉลามอยู่ โดยในจํานวน
นี้ 72 เปอร์เซ็นต์ กินหูฉลาม 2-5 ครั้งในช่วง 12 เดือนที่
ผ่านมา ในส่วนของคนที่ไม่เคยกินหูฉลามก็ระบุว่าใน
อนาคตต้องการกินหูฉลามกันถึง 61 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ใน
กรุงเทพมหานครมีร้านอาหารที่มีเมนูหูฉลามอย่างน้อย
ถึง 100 ร้าน

ประเทศไทยมีบทบาทอย่างสูงในการสนับสนุนการล่า
ฉลาม เนื่องจากในประเทศไทยมีความต้องการจะบริโภค
หูฉลามสูง สถิติในช่วงปี 2555 ถึง ปี 2559 จากศูนย์
อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร พบว่ามีการนําเข้า
ผลิตภัณฑ์หูฉลามถึง 451.57 ตัน

รสชาติที่ไม่คุ้มฆ่า

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงข้อ
เท็จจริงๆ เกี่ยวกับหูฉลาม โดยข้อมูลจากไวล์ดเอดเผย
ว่าคนไทย 85 เปอร์เซ็นต์ไม่ทราบว่าในปีหนึ่งมีฉลาม
กว่า 100 ล้านตัวถูกฆ่า และครีบของฉลามมากถึง 73
ล้านตัวถูกนําไปทําเป็นซุปหูฉลามหรือเมนูอื่นๆ แม้ว่า
ครีบของฉลามหรือที่เรียกว่าหูฉลามนั้นเป็นเพียงกระดูก
อ่อนที่ไม่มีสชาติในตัวเอง ความอร่อยที่คุ้นชินชวนลิ้มรส
นั้นมาจากซุปนํ้าแดงที่ผ่านการปรุงด้วยฝีมือของเชฟ
เท่านั้น

อินโฟกราฟิกข้อมูลเกี่ยวกับฉลาม และการล่าฉลาม
ของไวล์ดเอด

นอกจากนี้ ผอ.อุกกฤต ยังกล่าอีกว่าการล่าฉลามนั้น


เป็นการประมงที่ไม่คุ้มค่า “ในฉลามเอง มันจะมีการ
สะสมกรดยูริกอยู่ในเนื้อ เวลากรดยูริกสลายตัว กลิ่นมัน
จะฉุนเหมือนฉี่ นั่นคือเหตุผลหลักว่าทําไมคนไม่นิยม
บริโภคฉลาม”

ดังนั้นฉลามจึงมักถูกจับมาตัดครีบก่อนจะโยนทิ้งสู่ทะเล
เพื่อรักษาเนื้อที่เรือไว้สําหรับปลาชนิดอื่นที่เป็นเป้าหมาย
หรือครีบฉลามซึ่งมีมูลค่ามากกว่าตัวของมัน เพราะสิ่งที่
เก็บไว้บนเรือต้องมีมูลค่าสามารถนําไปขายได้ราคา

ฉลามจํานวนมากถูกฆ่าเพื่อตัดเอาแต่ครีบเท่านั้น

“ฉลามที่ถูกตัดครีบนั้นตายแน่นอน เพราะเสียครีบที่
ช่วยในการทรงตัวและการเคลื่อนที่ จึงว่ายนํ้าไม่ได้
ฉลามหลายๆ ชนิดส่วนใหญ่เขาจะต้องว่ายนํ้าอย่างต่อ
เนื่องเพราะว่าการที่ออกซิเจนจะเข้าไปต้องใช้การว่ายนํ้า
เพื่อให้นํ้าผ่านปากแล้วผ่านออกที่เหงือก ถ้าฉลามหยุด
ว่ายนํ้าจะขาดอากาศหายใจ เพราะฉะนั้นถ้าฉลามไม่มี
ครีบก็คือว่าคุณทําให้เขาขาดอากาศไปในตัว ก็จะดิ่งลง
ไปอยู่ก้นพื้นทะเล แล้วก็ตาย”

ผอ.อุกกฤต เสริมว่าการล่าฉลามลักษณะนี้เป็นความโหด
ร้าย ในขณะที่คนมักจะกลัวฉลามจึงไม่ใส่ใจกับการ
จัดการฉลามซึ่งดูเหมือนจะเป็นภัยของมนุษย์ แต่จาก
ข้อมูลที่ทราบบนโลกนี้คนที่ถูกฟ้าผ่าตายเยอะกว่าคนที่
ถูกฉลามกัดแล้วเสียชีวิต

“โอกาสมันไม่ได้เยอะ แต่พอมันเกิดแต่ละครั้งเนี่ย มัน


จะถูกทําให้เป็นข่าว ทําให้เกิดความน่ากลัวมากขึ้น”

การรณรงค์ที่ต้องวัดผลในระยะยาว

การรณรงค์ของไวล์ดเอดจะทําแคมเปญรณรงค์แคมเปญ
หนึ่งประมาณ 3 ปี แล้วจึงมีการวัดผลว่าผู้บริโภคได้เห็น
ข้อมูลที่สื่อสารไปไหม แล้วทําให้เกิดการหยุดบริโภคหรือ
เปล่า หรือว่าส่งผลอย่างไร

“แน่นอนว่าการรณรงค์คงจะไม่สามารถทําได้ในปีหนึ่ง
หรือสองปีแล้วจบ ก็คงจะเป็นการรณรงค์ไปเรื่อยๆ ในปี
หน้าเราอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเมสเสจ ข้อความ
รณรงค์ หรือปรับเปลี่ยนสื่อที่จะใช้ ก็คงจะต้องดูกันต่อ
ไปว่าผู้บริโภคเองมีการปรับเปลี่ยนการใช้สื่อยังไง เราก็
คงจะปรับเปลี่ยนข้อความรณรงค์หรือสื่อให้เข้ากับ
สถานการณ์ในปีหน้า”

การณรงค์นั้นอาจต้องใช้เวลายาวนานกว่านั้น ความ
สําเร็จของไวล์ดเอดประเทศจีนในการรณรงค์เรื่องฉลาม
นั้นมาจากการทําแคมเปญสื่อสารเรื่องหูฉลามในช่วง
กีฬาโอลิมปิกปี 2008 ที่ปักกิ่ง โดยชาวจีน 55
เปอร์เซ็นต์ จําการณรงค์เรื่องฉลามของไวล์ดเอดได้ และ
82 เปอร์เซ็นต์ในจํานวนนั้นบอกว่าได้เลิกหรือลดการ
บริโภคหูฉลามลง และในปี 2014 ผู้ค้าและสื่อรายงาน
ว่าการบริโภคหูฉลามในจีนลดลงราว 50 ถึง 70
เปอร์เซ็นต์

อินโฟกราฟิกผลสํารวจการบริโภคหูฉลามของไวล์ด
เอด

ชมคลิป

โพส$โดย Voice TV

Topic

คุณภาพชีวิต , ฉลาม , หูฉลาม , สิ่งแวดล้อม , ระบบ


นิเวศ , อาหาร , การรณรงค์

ADVERTISEMENT

สุดยอดกระบะ ที่มีกล้องมองภาพรอบคัน อยากรู้


เป็นยังไงคลิกเลย!
Nissan

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ที่ค่าบํารุงรักษาเท่า City


Car มีจริงหรือ? คลิกเลย
Nissan

กระบะแกร่ง เทคโนโลยีกล้องจัดเต็มรอบคัน
อยากรู้คลิก!
Nissan

MOST VIEWED

! READ " WATCH

1 'มิน อ่อง หล่าย' ตอบรับเข้าร่วมประชุม


'ผู้นําอาเซียน'
1.5K VIEWS

2 'พระพยอม' ขอบิณฑบาต ชีวิต 'เพนกวิน-


รุ้ง' เลิกอดอาหาร
1.2K VIEWS

3 ทหารเมียนมาตายนับ 100 ศพ หลัง


พยายามยึดพื้นที่คืนจาก 'กองทัพเอกราช
คะฉิ่น'
990 VIEWS

You might also like