Strategic Peacebuilding - For Class

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 18

จุดเชื่อมระหวางการสรางเสริมสันติภาพแนวทางตาง ๆ

ความยุติธรรมเชิง
การจัดการปกครอง การแปลงเปลี่ยน สมานฉันทและ
และการกําหนด ความขัดแยง ความยุติธรรมใน
ระยะเปลี่ยนผาน ระบบกฎหมาย
นโยบาย
และกระบวนการ
การแทรกแซงทาง ยุติธรรม
กําลังทหารและ
การปรับเปลี่ยน
บทบาททหาร การคุมครอง
สิ่งแวดลอม

การเยียวยา
บาดแผลทางใจ การสรางเสริมสันติภาพ
• คุณคา
สิทธิมนุษยชน
• ทักษะ
• การวิเคราะห
การวิจัยและ • กระบวนการ
การประเมินผล
ความชวยเหลือ
ทางมนุษยธรรม
กิจกรรมเคลื่อนไหว
และการผลักดัน การเตือนภัย
เชิงนโยบาย ลวงหนาและ
การตอบสนองตอ
การรักษาสันติภาพ ความรุนแรง
การศึกษา โดยพลเรือน
การพัฒนาเศรษฐกิจ และทหาร
สังคมและการเมือง

1
บทที่ 6
ภาพรวมของกระบวนการสรางเสริมสันติภาพ
การสรางเสริมสันติภาพจําเปนตองมีแนวทางที่แตกตางหลากหลาย แนวทางเหลานี้ที่รวมอยูใน
จุดเชื่อมการสรางเสริมสันติภาพ (peacebuilding nexus) สามารถจัดกลุมตามความสนใจในภาระหนาที่
เฉพาะไดเปน 4 ประเภท ดังนี้
การตอสูกับความขัดแยงโดยไรความรุนแรง (Waging Conflict Nonviolently)
นักรณรงคและนักเคลื่อนไหวทั้งหลายพยายามแสวงหาการสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงดวยการ
เพิ่มอํานาจของกลุมในการทํางานกับประเด็นปญหาและทําใหสภาพเงื่อนไขที่จําเปนสุกงอมเพื่อการแปลง
เปลี่ยนความสัมพันธ
การลดความรุนแรงทางตรง (Reducing Direct Violence)
ความพยายามในการลดความรุนแรงทางตรงมีเปาหมายในการจํากัดยับยั้งผูกอความรุนแรง ปองกัน
และบรรเทาความเดือดรอนเฉพาะหนาของเหยื่อผูไดรับผลกระทบจากความรุนแรง และสรางพื้นที่ปลอดภัย
สําหรับกิจกรรมสรางเสริมสันติภาพ เมื่อกระบวนการนี้เกิดขึ้น กระบวนการอื่น ๆ จึงจะสามารถทํางานรับมือ
กับสาเหตุรากเหงาของความรุนแรงได
การแปลงเปลี่ยนความสัมพันธ (Transforming Relationships)
สําหรับสันติภาพที่จะมาแทนที่ความรุนแรงแลว ความสัมพันธนั้นจําเปนตองถูกสรางขึ้นมาใหมดวย
การใชชุดกระบวนการตาง ๆ ซึ่งทํางานกับบาดแผลฝงใจ แปลงเปลี่ยนความขัดแยงและทําใหเกิดความยุติธรรม
ขึ้น กระบวนการเหลานี้ชวยใหคนเรามีโอกาสในการสรางแนวทางแกปญหาในการตอบโจทยตอความตองการ
พื้นฐานของตนไดอยางยั่งยืนในระยะยาว
การสรางเสริมศักยภาพหรือขีดความสามารถ (Building Capacity)
ความพยายามในการสรางเสริมสันติภาพในระยะยาวมักใชประโยชนจากความสามารถตาง ๆ ที่มีอยู
แลวในการตอบสนองตอความตองการพื้นฐานและสิทธิ ความพยายามเหลานี้ไดแก การปองกันยับยั้งความ
รุนแรงผานการศึกษาและการอบรม การพัฒนา การแปลงเปลี่ยนและปรับเปลี่ยนบทบาทของทหาร และการ
วิจัยและการประเมินผล กิจกรรมเหลานี้มุงหมายที่จะสรางเสริมใหเกิดโครงสรางที่เปนธรรมซึ่งจะชวย
สนับสนุนสันติวัฒนธรรมที่ยั่งยืน

2
แผนที่การสรางเสริมสันติภาพ

การตอสูกับความขัดแยงโดย การสรางเสริมศักยภาพหรือ
ไรความรุนแรง ขีดความสามารถ
• การติดตามตรวจสอบและผลักดัน • การฝกอบรมและการศึกษา
เชิงประเด็น • การพัฒนา
• ปฏิบัติการสันติวิธี • การปรับเปลี่ยนบทบาทและ
• การปองกันโดยพลเรือน (civilian- องคกรทหาร
based defense) • การวิจัยและการประเมินผล

การลดความรุนแรงทางตรง
• ระบบกฎหมายและความยุติธรรม การแปลงเปลี่ยนความสัมพันธ
• ความชวยเหลือทางมนุษยธรรม • การเยียวยาบาดแผลทางใจ
• การรักษาสันติภาพ • การแปลงเปลี่ยนความขัดแยง
• การแทรกแซงทางการทหาร • ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท
• ขอตกลงการหยุดยิง • ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผาน
• พื้นที่สันติภาพ/ พื้นที่ปลอดภัย • การจัดการปกครองและการ
• โครงการเตือนภัยความรุนแรง กําหนดนโยบาย
ลวงหนา

ในขณะที่ตัวแสดงมากมายไดเขาไปมีสวนกับการสรางเสริมสันติภาพในหลากหลายประเภท แผนที่
ขางตนไดเนนถึงเปาหมายเฉพาะของแนวทางสรางเสริมสันติภาพที่แตกตางกัน แนวทางเหลานี้มักเกิดขึ้นใน
ขณะเดียวกัน ดําเนินอยูอยางตอเนื่องและมีความเกี่ยวของอิงอาศัยกัน ในสี่บทถัดไปเราจะการเขาไปสํารวจถึง
วัตถุประสงคและหนาที่การทํางานของวงกลมแตละประเภทเพื่อแสดงใหเห็นวาแนวทางเหลานี้ชวยสราง
คุณูปการโดยหนุนเสริมระหวางกันสําหรับการสรางเสริมสันติภาพไดอยางไร

3
บทที่ 11
การออกแบบเชิงยุทธศาสตรสําหรับการสรางเสริมสันติภาพ
ไมกี่วันหลังจากเหตุการณโศกนาฏกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 สามีกับลูกสาวของดิฉัน และ
ตัวดิฉันเองไดเดินทางไปยังประเทศฟจิเพื่อชวยอํานวยกระบวนการในการประชุมสันติภาพแหงชาติ จาก
ความรูสึกที่ถาโถมจากเหตุการณในประเทศของดิฉันเอง ดิฉันพบกับความรูสึกที่ยากลําบากในการรางคํากลาว
ตอนรับอันเปยมไปดวยความหวังตอผูเขารวม ในชวงทาย[ของการประชุม] ดิฉันไดอางคํากลาวจากคนทํางาน
สันติภาพชาวละตินอเมริกาเกี่ยวกับการปลูกตนไมใหญ (planting date trees) กลาวโดยสรุป ขอความที่อาง
มานั้นกระตุนใหคนเราเพาะปลูกเมล็ดพันธุเสียตั้งแตตอนนี้เพื่อใหมีตนไมใหญที่ออกดออกออกผลใหกับคนรุน
ถัดไป
การปลูกเมล็ดพันธุแหงสันติภาพจําเปนตองมียุทธศาสตร ภารกิจสําคัญของการสรางเสริมสันติภาพ
ไดแก การตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งที่เราจําเปนตองทําเพื่อใหความฝนดังกลาวเปนจริง การจินตนาการวาใครจะเปน
ผูปลูกเมล็ดพันธุและหลอเลี้ยงความฝนนั้นขึ้นมา และเสนอวาการเพาะปลูกนั้นควรเกิดขึ้นเมื่อใด ที่ไหนและ
อยางไร เพื่อนรวมงานและที่ปรึกษาของฉันอยาง จอหน พอล เลเดอรัคใชชุดกรอบความคิดเชิงยุทธศาสตรใน
การตดสินใจเกี่ยวกับคําถามที่วา อะไร ใคร เมื่อใดและอยางไรในการสรางเสริมสันติภาพ i งานของเขาชวย
0

สรางกรอบในการจัดระบบความคิดสําหรับบทนี้ ภายในแตละหัวขอยอยตอไปนี้ เราจะนําเสนอเครื่องมือใน


รูปแบบที่หลากหลายเพื่อชวยใหคนทํางานสันติภาพสามารถตัดสินใจไดอยางมียุทธศาสตร เครื่องมือแตละ
อยางมีทั้งจุดแข็งและจุดออนในตัวของมันเอง ดังนั้นเครื่องมือเหลานี้จะทํางานไดดีที่สุดเมื่อใชรวมกับเครื่องมือ
อื่น ๆ ดวย

“อะไร” ทางยุทธศาสตร (The Strategic “What”)


คนทํางานสันติภาพตัดสินใจทําเรื่องตาง ๆ กันอยางไร เครื่องมือการวิเคราะหมากมายที่มีประโยชน
สําหรับการออกแบบอยางมียุทธศาสตรใหเกิดกลุมความรวมมือของงานสรางเสริมสันติภาพในดานตาง ๆ ซึ่ง
อยูบนพื้นฐานของทรัพยากรที่มีอยู ความตองการและประเด็นสําคัญที่มีความสามารถในการดึงพลังงานและ
ความสนใจของผูคนเขามารวมกันได เราจะทบทวนอยางคราวเกี่ยวกับเครื่องมือแตละชนิดในสวนนี้

ขีดความสามารถของทองถิ่นเพื่อการสรางเสริมสันติภาพ (Local Capacity for Peacebuilding)


การใหความสนใจในเรื่องขีดความสามารถหรือทรัพยากรในทองถิ่นเพื่อสันติภาพถือเปนขั้นตอนที่
สําคัญประการแรก คนในทองถิ่นเทานั้นที่จะสามารถสรางแผนที่เดินทาง (road map) สําหรับอนาคตของ
พวกเขาเองได เปนเรื่องสําคัญที่จะตองระบุบงชี้วาคนในทองถิ่น หนางานหรือโครงการ ระบบ สัญลักษณ
ทัศนคติและธรรมเนียมประเพณีอะไรบางที่ชวยเชื่อมโยงผูคนและรักษาโครงสรางความสัมพันธตาง ๆ

4
(architecture of relationships) ในการสนับสนุนสันติภาพ ii การใหความสําคัญกับขีดความสามารถของ
1

ทองถิ่นสําหรับการสรางเสริมสันติภาพมีเปาหมายพัฒนาตอยอดและหนุนเสริมสิ่งที่ทําไดดีอยูแลว และลด
ความเสียหายหรือความลมเหลวที่อาจเกิดขึ้นของกิจกรรมสรางเสริมสันติภาพซึ่งริเริ่มโดยคนนอกพื้นที่
แนวทางนี้มองวัฒนธรรมทองถิ่นเปนทรัพยากรสําหรับสันติภาพ เปนความพยายามหาทางเรียนรูจากอดีตและ
ตั้งขอทาทายอยางจริงจังเพื่อใหตัวแสดงในการสรางเสริมสันติภาพทั้งหมดตอบสนองตอวัฒนธรรมทองถิ่น
แนวทางที่สองสําหรับการระบุวาอะไรสามารถสรางเสริมสันติภาพไดบาง คือ กระบวนการที่รูจักกันวา
การสืบคนอยางเห็นคุณคา (appreciative inquiry) หรือการประเมินบนพื้นฐานทรัพยากรที่มีอยู (assets-
based assessment) วิธีการนี้เห็นคุณคาและประเมินในสิ่งที่เกิดขึ้นหรือมีอยูแลวดวยการตั้งคําถามใน
ประเด็นสําคัญที่ชวยใหคนเราคิดเกี่ยวกับสถานการณของตนในแนวทางใหม แทนที่จะสนใจกับปญหา
แนวทางเชิงบวกตอการสรางเสริมสันติภาพที่ชวยใหคนเราคิดเกี่ยวกับสถานการณของตนในแนวทางใหม
แทนที่จะสนใจกับปญหา แนวทางเชิงบวกตอการสรางเสริมสันติภาพคนหาความสําเร็จและจุดแข็งที่สามารถ
นํามาพัฒนาตอยอดและสนับสนุนไดผานการแทรกแซงในการสรางเสริมสันติภาพ iii กรณีที่คลายคลึงกัน
2

ระเบียบวิธีแนวทางการฟง (Listening Project Methodology) ใชการสัมภาษณแบบไมคกุ คาม (non-


threatening interview) และกระบวนสนทนาเพื่อชวยเปดโอกาสผูคนไดแสดงออกถึงมุมมองทัศนะและแนว
ทางแกไขประเด็นปญหาในชุมชนของตน

การประเมินความตองการ (Need Assessment)


แนวทางการประเมินความตองการชวยใหชุมชนไดอภิปรายพูดคุยถึงความตองการของตน ใน
ขณะเดียวกันชวยเปดเผยทางเลือกอันหลากหลายสําหรับการตอบสนองตอความตองการดังกลาว การ
ประเมินความตองการสามารถชวยใหชุมชนระบุไดวาพวกเขาจําเปนตองสรางเสริมศักยภาพหรือขีด
ความสามารถของตนในสวนไหน และพวกเขาสามารถตอบสนองตอความตองการของตนไดอยางไร แผนที่
ความรุนแรงในหนา 17 ชวยใหชุมชนเรียกชื่อความรุนแรงชนิดตาง ๆ ที่ตนมีประสบการณได แผนที่การสราง
เสริมสันติภาพในหนา 19 สามารถใชเปนเครื่องมือประเมินความตองการสําหรับชุมชน เพื่อใหชุมชนประเมิน
ไดวาการเขาแทรกแซงหรืองานสรางเสริมสันติภาพในรูปแบบไหนที่เกิดขึ้นในชุมชนแลว และอะไรบางที่เรา
สามารถพัฒนาใหเปนสวนหนึ่งของยุทธศาสตรการสรางเสริมสันติภาพ

ปจจัยเชื่อมความสัมพันธและปจจัยสรางความแตกแยก (Connectors and Dividers)


แตละชุมชนมีชุดรูปแบบของระบบ สถาบัน ทัศนคติ คุณคา ประสบการณ สัญลักษณและโอกาส
สถานการณทั้งที่เชื่อมความสัมพันธและสรางความแตกแยกใหกับผูคน ปจจัยเชื่อมความสัมพันธ เชน เพลง
หรือภาษาที่ใชรวมกัน ทําหนาที่เปนสะพานเชื่อมระหวางผูคนในความขัดแยง ปจจัยสรางความแตกแยก
อยางเชน โฆษณาชวนเชื่อในการทําสงครามหรืออคติทางชาติพันธุ มีสวนสนับสนุนใหเกิดความขัดแยง

5
ยุทธศาสตรการสรางเสริมสันติภาพจะตองสนับสนุนและทําใหมีปจจัยเชื่อมความสัมพันธเพิ่มขึ้น และหามหรือ
หยุดยั้งไมใหเกิดปจจัยสรางความแตกแยก iv
3

การวางกรอบประเด็น (Framing)
การสรางเสริมสันติภาพจําเปนตองมีทางเลือกเชิงยุทธศาสตรเกี่ยวกับวิธีการวางกรอบประเด็นใน
แนวทางที่สามารถจัดตั้งหรือขับเคลื่อนใหผูคนดําเนินการบางอยาง กรอบความคิดนั้นเปรียบเหมือนกับแวนตา
ที่มีเลนสแตกตางกัน กรอบคิดเหลานี้ชวยใหเรามีภาษา การอุปมาและทฤษฎีตาง ๆ ในการทําความเขาใจใน
ประเด็นใหญ ๆ ที่ซับซอน คานธีถือเปนผูชํานาญในการวางกรอบคิด ซึ่งจัดการกับเปาหมายในการยกเลิก
อาณานิคมผานชุดของประเด็นเล็ก ๆ หลากหลายประเด็น เชน สิทธิของชาวอินเดียในการผลิตเกลือไดเอง
หรือสิทธิในการสวมใสเสื้อผาตามธรรมเนียมดั้งเดิม สําหรับหลายคนแลว การพูดถึงเรื่องสันติภาพและการ
ปรองดองคืนดีสื่อนัยถึงการประนีประนอมและการยอมใหกับอีกฝาย การพูดถึงการสรางเสริมสันติภาพใน
ประเด็นยุทธศาสตรสําหรับความมั่นคงในระยะยาวหรือการปองกันการกอการรายบางครั้งเปนประเด็นที่ขาย
ไดงายหรือเขาใจงาย การหากรอบคิดหรือชองทางเขาที่ดีที่สุดในการอธิบายประเด็นจะชวยสรางผลกระทบ
อยางมากตอวิธีที่ผูคนจะตอบสนองกับมัน บางครั้งการวางกรอบประเด็นสามารถทําไดดีที่สุดในลักษณะที่เปน
กลาง โดยพยายามเรียกรองการสนับสนุนจากทุกฝายทางการเมือง
ความคิดเกี่ยวกับการวางกรอบประเด็นนั้นเกี่ยวพันกับแนวคิดของจอหน พอล เลเดอรัคในเรื่อง
“สถานการณปจจุบัน” (presenting situation) ซึ่งเปนวิกฤตการณหรือดานใดดานหนึ่งของความขัดแยงที่ทํา
ใหเราสนใจ v สถานการณปจจุบัน เชน กรณีการขมขืนในชุมชน ทําใหคนเราตระหนักถึงปญหา มันเปน
4

จุดเริ่มตนใหเราพูดถึงปญหาซึ่งอาจมีรากเหงาและประวัติศาสตรที่ลึกซึ้งกวานั้น เชน การนําเสนอภาพผูหญิงใน


สื่อและทัศนคติที่มีอคติกีดกันทางเพศ
การโนมนาวใจและการบังคับ (Persuasion and Coercion)
กระบวนการสรางเสริมสันติภาพใชทั้งวิธีการเชิงโนมนาวใจและเชิงบังคับในการสรางการเปลี่ยนแปลง
การตัดสินใจใชการโนมนาวใจ การบังคับหรือใชทั้งสองวิธีในยุทธศาสตรการสรางเสริมสันติภาพจําเปนตองใช
การวิเคราะหสถานการณอยางรอบคอบ
วิธีการโนมนาวใจเปนการเชื้อเชิญใหผูคนเปลี่ยนแปลงดวยการใชเหตุผลจูงใจใหพวกเขาเห็นถึง
ประโยชนของการกระทําดังกลาว แนวทางนี้เกิดขึ้นดวยการทบทวนตนเอง (self-reflection) การสราง
ความสัมพันธและการแลกเปลี่ยนประสบการณและความคิด เมื่อคนเราเต็มใจเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงความคิด
และพฤติกรรมของตนอันเปนผลจากการเรียนรูผานการเจรจาตอรองและการสานเสวนาแลว พวกเขามี
แนวโนมที่จะรูสึกยินดีกับการเปลี่ยนแปลงมากกวา และการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมดังกลาวมีความเปนไปได
ที่จะดํารงอยูในระยะยาว

6
แตการโนมนาวใจเพียงอยางเดียวก็อาจไมไดผลเสมอไป ดังที่มารติน ลูเธอร คิง จูเนียรไดกลาวไววา
“เสรีภาพไมเคยเปนสิ่งที่ผูกดขี่เต็มใจจะให มันเปนสิ่งทีผูถูกกดขี่ตองเรียกรองใหไดมา” การบังคับเปนการบีบ
ใหผูคนเปลี่ยนแปลงดวยการทําใหพวกเขา “เจ็บปวด” ผานการกีดกันใหโดดเดี่ยว แรงกดดันหรือการใชอํานาจ
บังคับทั้งในทางสังคม จิตใจ การเมือง เศรษฐกิจหรือทางรางกาย ในขณะที่ความรุนแรงโดยตัวมันเองเปน
แนวทางบังคับรูปแบบหนึ่ง แตก็ยังมีแนวทางสันติวิธีในการผลักดันใหเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู ยุทธศาสตรการ
สรางเสริมสันติภาพในเชิงบังคับครอบคลุมถึงการที่นักสิทธิมนุษยชนที่ผลักดันขับเคลื่อนใหเกิดความละอาย
ดวยการแทรกแซงทางเศรษฐกิจหรือการคว่ําบาตร และพลเรือนรักษาสันติภาพที่พยายามบังคับใหกลุมตาง ๆ
หยุดสูรบกัน
แตการบังคับเพียงอยางเดียวไมไดชวยแกไขปญหาหรือนําพาสันติภาพอยางยั่งยืนใหเกิดขึ้นได และ
ยุทธศาสตรเชิงบังคับบางรูปแบบอาจสงผลเสียหายแทน การใชแนวทางเชิงบังคับและเชิงโนมนาวใจ
จําเปนตองมีการตัดสินใจที่เฉียบแหลมและรูจังหวะเวลาที่แมนยํา เราจะกลับมาดูเรื่องนี้อีกครั้งในหัวขอ
“เมื่อใดทางยุทธศาสตร” (strategic when)

ระดับของการเปลี่ยนแปลง (Level of Transformation)


เลเดอรัคเสนอความเห็นวา การสรางเสริมสันติภาพจําเปนตองสงเสริมการแปลงเปลี่ยนทั้งในระดับ
บุคคล ระดับความสัมพันธ ระดับวัฒนธรรมและระดับโครงสราง vi 5

• การเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล ไดแก ทัศนคติและความรูใหมที่เกิดขึ้นกับปจเจกบุคคลในบริบท


• การเปลี่ยนแปลงระดับความสัมพันธ ไดแก ความสัมพันธใหมหรือความสัมพันธที่ดีขึ้นระหวางกลุม
ภายในบริบท
• การเปลี่ยนแปลงระดับวัฒนธรรม ไดแก คุณคาในการสนับสนุนสันติภาพที่เขมแข็งหรือไดรับการ
สงเสริมมากขึ้น
• การเปลี่ยนแปลงระดับโครงสราง ไดแก สถาบัน นโยบายใหม ๆ และ/หรือผูนําใหม

7
ระดับของการแปลงเปลี่ยน (Levels of Transformation)

ระดับโครงสราง

ระดับวัฒนธรรม

ระดับความสัมพันธ

ระดับบุคคล

โครงการหรือกิจกรรมสรางเสริมสันติภาพในแตละดานอาจไมไดทํางานตอบโจทยในทุกระดับขางตน
อยางไรก็ดี ยุทธศาสตรการสรางเสริมสันติภาพที่ประสานรวมมือกันจะทํางานตอบโจทยกับทุกระดับผานหนา
งานหรือโครงการที่หลากหลาย ตัวอยางเชน ในประเทศรวันดา บางกลุมใหความสนใจกับงานดานการเยียวยา
บาดแผลฝงใจระดับบุคคลและโครงการสงเสริมขันติธรรมหรือการอดทนอดกลั้นในการอยูรวมกัน (tolerance
program) ซึ่งมีเปาหมายชวยใหผูคนไดคิดทบทวนเกี่ยวกับทัศนคติของตนเอง กลุมอื่นไดจัดโครงการสาน
เสวนาเพื่อสรางเสริมความสัมพันธระหวางกลุมในระดับชุมชน องคกรสรางเสริมสันติภาพระดับนานาชาติ
อยาง Search for Common Ground มุงสนใจในการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ดวยการจัดทํารายการ
ละครวิทยุที่เนนความสําคัญของคุณคาและทักษะเพื่อสันติ ประการสุดทาย องคการสหประชาชาติและ
องคการเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity) [ปจจุบัน คือ สหภาพแอฟริกา (African Union)
– ผูแปล] ทํางานเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสรางดวยการสรางผูนําชุดใหมที่สามารถทํางานรวมกันขามเสนขีด
แบงทางชาติพันธุและความขัดแยงได งานวิจัยบางชุดแสดงใหเห็นวาโครงการที่มุงหมายการเปลี่ยนแปลง
ระดับบุคคลจะมีสวนสนับสนุนตอการสรางเสริมสันติภาพอยางยั่งยืนก็ตอเมื่อโครงการเหลานี้เชื่อมโยงอยาง
ชัดเจนกับเปาหมายในการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสราง vii
6

“ใคร” ทางยุทธศาสตร (The Strategic “Who”)


การสรางเสริมสันติภาพเปนความรับผิดชอบของทุกคน การเลือกวาจะดึงใครเขาสูกระบวนการสราง
เสริมสันติภาพนั้นจําเปนตองใชการตัดสินใจอยางมียุทธศาสตรมากขึ้น

8
การทูตหลายระดับ (Multi-Track Diplomacy)
รัฐบาลมีหนาที่รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงใหกับพลเมืองของตน แต
รัฐบาลนั้นไมไดรับผิดชอบหรือมีความสามารถในการสรางเสริมสันติภาพแตเพียงผูเดียว ในชวงสงครามเย็น
ความพยายามที่ไมไดมาจากภาครัฐจํานวนมากในการสรางเสริมความสัมพันธระหวางสหภาพโซเวียตและ
ประเทศโลกตะวันตกชวยสรางความนาเชื่อถือใหกับบทบาทการสรางเสริมสันติภาพของปจเจกบุคคลและตัว
แสดงในภาคประชาสังคม ความพยายามที่ไมไดมาจากภาครัฐเหลานี้ถูกเรียกวาเปน ระดับที่ 2 (Track II) และ
ชวยหนุนเสริมระดับที่ 1 (Track I) หรือการทูตระดับรัฐ
แนวคิดวาดวยการทูตหลายระดับยอมรับถึงความหลากหลายของตัวแสดงในระดับที่ 2 ซึ่งไดแก
สื่อมวลชน คนทํางานแกไขความขัดแยง นักธุรกิจ องคกรหรือผูนําทางศาสนา พลเมือง นักวิจัย นักการศึกษา
ผูหญิง เยาวชนและโครงสรางผูนําดั้งเดิม viii
7

ผูนําดั้งเดิม เชน ผูเฒา หัวหนาเผาและกษัตริยยังดํารงอยูในชุมชนมากมายทั่วโลกและมีธรรมเนียม


ปฏิบัติ พิธีกรรมและขนบประเพณีสําหรับการสรางเสริมสันติภาพในชุมชน ตัวอยางเชน ในหมูเกาะแปซิฟกใต
หลายแหง เปนไปไมไดเลยที่เราจะกีดกันผูเฒา หัวหนาเผาและกษัตริยทองถิ่นออกจากกระบวนการสรางเสริม
สันติภาพระหวางกลุมชาติพันธุตาง ๆ คนทองถิ่นเคารพนับถือผูมีอํานาจในทองถิ่นเหลานี้เทียบเทาหรือไมก็
มากกวาเจาหนาที่รัฐ ในสังคมตะวันตก ผูนําศาสนาหรือผูนําชุมชนทองถิ่นอาจมีบทบาทคลายคลึงกัน การ
ยอมรับวามีตัวแสดงหลากหลายในการสรางสันติภาพแสดงถึงความจําเปนในการประสานงานและสรางความ
รวมมือกันระหวางระดับตาง ๆ

คนสําคัญกับมวลชนสรางการเปลี่ยนแปลง (Key People and Critical Masses)


“ใคร” ทางยุทธศาสตรในการสรางเสริมสันติภาพจําเปนตองกําหนดวาตัวแสดงใดสามารถกระตุนให
เกิดการเปลี่ยนแปลงอยางมีนัยสําคัญ เลเดอรัคใชอุปมา 2 แบบในการอธิบายวาคนสําคัญสามารถขับเคลื่อน
ผูคนจํานวนมากเพื่อสันติภาพไดอยางไร ix
8

คนสําคัญเปรียบเหมือนกับยีสตที่ใชในการทําขนมปง ปริมาณของยีสตนั้นมีนอยเมื่อเปรียบเทียบกับ
แปง แตยีสตทําใหแปงฟูขึ้นมาเปนขนมปงได ยีสตนั้นมีความสามารถในการทําใหเกิดความเปลี่ยนแปลงที่
ยิ่งใหญได
คนสําคัญอาจเปรียบไดกับกาลักน้ําไดอีก กาลักน้ําทํางานไดโดยยายน้ําจํานวนนอยผานเขาสายยาง
ดวยการดูดขึ้นมา เมื่อของน้ําจํานวนนอยนั้นถูกดึงขึ้นมาแลว น้ําสวนที่เหลือจะไหลตามมาซึ่งเปนการ
เคลื่อนยายน้ําจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะ

9
การกําหนด “ใคร” ทางยุทธศาสตรจําเปนตองมีการวิเคราะหวาคนหรือกลุมใดที่สามารถกระทําการ
ไดเหมือนกับน้ําแรกที่ผานสายยางในกาลักน้ําหรือยีสตในการทําขนมปง บางครั้งเราเรียกผูนําเหลานี้วาเปน
ผูนําทางความคิด (opinion makers) เนื่องจากพวกเขามีอิทธิพลตอความคิดเห็นของผูสนับสนุนติดตาม
ผูนําสําคัญมีความสําคัญสําหรับการสรางเสริมสันติภาพใน 2 ลักษณะ ประการแรก พวกเขาอาจมี
อํานาจและโอกาสในการตัดสินใจในเรื่องสําคัญที่จะสามารถลดความรุนแรงและตอบโจทยตอความตองการ
พื้นฐานได ประการที่สอง พวกเขาอาจจะสามารถใชอิทธิพลของตนในการทําใหเกิดมวลชนสรางการ
เปลี่ยนแปลง (critical mass) ซึ่งผูคนมากมายรับเอาความคิดและการแกไขปญหาที่วาการเปลี่ยนแปลงนั้น
เปนสิ่งจําเปนที่หลีกเลี่ยงไมได สื่อ การศึกษาและกระบวนการอื่น ๆ สามารถชวยสรางใหเกิดมวลชนสรางการ
เปลี่ยนแปลงที่มุงมั่นตั้งใจตอการสรางเสริมสันติภาพ
ขีดความสามารถในการทํางานแนวดิ่งและแนวระนาบ (Vertical and Horizontal Capacity)
ตัวแสดงในการสรางเสริมสันติภาพดําเนินงานในหลากหลายระดับของสังคม เลเดอรัคใชแผนภูมิ
พีระมิดในการนําเสนอใหเห็นภาพดังกลาว x ในแตละระดับของพีระมิด มีผูคนที่มีความสามารถในการสราง
9

แรงบันดาลใจและนําพาความพยายามเปลี่ยนแปลงสังคม ในระดับสูง องคการสหประชาชาติ รัฐบาลของ


ประเทศตาง ๆ และองคกรนําทางศาสนา อยางเชน สภาคริสตจักรโลก (World Council of Churches) เขา
รวมในกระบวนการอยางเปนทางการในการพูดคุย เจรจาตอรองและไกลเกลี่ยเพื่อทํางานตอบโจทยตอความ
ขัดแยง เชน วิกฤตการณทางการเมือง ในระดับกลางของพีระมิด องคกรตาง ๆ และภาคธุรกิจในระดับชาติ
และระดับภูมิภาคไดนําพานโยบายและโครงการริเริ่ม เชน การจัดใหมีประสานงานรวมมือกันเพื่อความ
ชวยเหลือบรรเทาทุกขสําหรับวิกฤตมนุษยธรรม ในระดับรากหญาหรือระดับชุมชน กลุมทองถิ่นตาง ๆ ได
ดําเนินโครงการบรรเทาทุกขและโครงการพัฒนา การรักษาสันติภาพโดยพลเรือน การสานเสวนา การเยียวยา
บาดแผลฝงใจ โครงการฝกอบรมและการศึกษา รวมถึงโครงการอื่น ๆ

รัฐบาลระดับสูง กลุมธุรกิจขนาดใหญ ผูนํา


ศาสนาในเวทีระดับชาติและระดับนานาชาติ

ผูนําในระดับกลางของประเทศ องคกรและ
กลุมธุรกิจในระดับภูมิภาค

ผูนําในระดับรากหญาในกลุม เยาวชน กลุม


ผูหญิง กลุม ศาสนา กลุมธุรกิจและองคกร
ทองถิ่นอื่น ๆ

10
ตัวอยางเชน ในวิกฤตการณดานมนุษยธรรมที่ประเทศซูดานในปค.ศ. 2004 ตัวแสดงมากมายใน
หลากหลายระดับมีสวนเขาไปทํางานเกี่ยวของกับประเด็นดังกลาว ความพยายามสรางเสริมสันติภาพใน
ระดับสูงนั้นรวมถึงการรองขอเปนการสวนตัวของโคฟ อันนาน (Kofi Annan) เลขาธิการองคการ
สหประชาชาติในขณะนั้นตอรัฐบาลซูดานใหเขาไปจัดการและยอมรับถึงปญหาความอดอยากที่แพรไปทั่ว ใน
ระดับกลาง กลุมตาง ๆ เชน องคกรออกซแฟม (Oxfam) และองคกรกาชาดสากลพยายามระดมทรัพยากรทั้ง
ในระดับนานาชาติและระดับภูมิภาคและประสานความรวมมือสําหรับความชวยเหลือบรรเทาทุกขในขณะนั้น
ในระดับทองถิ่น องคกรพัฒนาเอกชนรากหญาและคริสตจักรทองถิ่นทํางานรวมกันเพื่อสงความชวยเหลือ
บรรเทาทุกขและตั้งคายเพื่อแจกจายอาหารใหกับประชาชน
เลเดอรัคเสนอหลักการสําคัญ 4 ประการสําหรับการทํางานในสามระดับขางตน ดังนี้ xi 10

1. ขีดความสามารถในการทํางานแนวระนาบ (horizontal capacity) สําหรับการสรางเสริม


สันติภาพ คือ ชุดความสัมพันธภายในแตละระดับของพีระมิดขางตนซึ่งจะชวยใหผูนําสามารถ
ประสานงานระหวางกันในงานสรางเสริมสันติภาพขามผานเสนขีดแบงของความขัดแยง ชาติพันธุ
ศาสนาและความแตกแยกทางสังคมอื่น ๆ ได โครงการสรางเสริมสันติภาพสวนใหญในปจจุบัน
สงเสริมขีดความสามารถในการทํางานแนวระนาบเชนนี้ ตัวอยางเชน การสานเสวนาระดับ
ประชาชนตอประชาชน (people-to-people dialogue) ระหวางพลเมืองจากอินเดีย ปากีสถาน
และแคชเมียรไดพัฒนาวิสัยทัศนและขีดความสามารถในการทํางานรวมกันเพื่อการเปลี่ยนแปลง
เมื่อคนเหลานี้ไดมารวมกันเพื่อแบงปนประสบการณจากความรุนแรงของตน ผลของ
กระบวนการสานเสวนาระดับรากหญาเชนนี้ ชุมชนทองถิ่นไดเรียนรูถึงแนวทางในการตอบสนอง
ตอวิกฤตตาง ๆ เพื่อปองกันมิใหเกิดความรุนแรงขึ้น อีกตัวอยางหนึ่ง กลุมผูหญิงชาวมุสลิมและ
ชาวคริสตในกรุงไนโรบี ซึ่งอยูในชุมชนแออัดที่ใหญที่สุดของประเทศเคนยาไดพบปะกันเปน
ประจําเพื่อแลกเปลี่ยนขอมูลเกี่ยวกับความขัดแยงที่รุนแรงซึ่งมีแนวโนมจะเกิดขึ้นในชุมชนของตน
และวางแผนแนวทางในการแทรกแซงโดยทันทีเพื่อระงับความตึงเครียดดังกลาว
2. ขีดความสามารถในการทํางานแนวดิ่ง (vertical capacity) สําหรับการสรางเสริมสันติภาพ คือ
ชุดของความสัมพันธระหวางผูนําระดับสูง ระดับกลางและระดับรากหญาซึ่งยอมรับถึงบทบาท
สนับสนุนตอการสรางเสริมสันติภาพที่แตกตางกันและพึ่งพาซึ่งกันและกัน ผูคนที่อยูในทุกระดับ
เริ่มยอมรับถึงความจําเปนในการมีความสัมพันธกับคนที่ทํางานในระดับอื่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
ตัวอยางเชน องคการสหประชาชาติเริ่มหันมาสนใจมากขึ้นในการทํางานกับองคการระดับภูมิภาค
และองคกรหุนสวนในระดับรากหญาในการจัดตั้งเครือขายเตือนภัยลวงหนาเพื่อสงสัญญาณใหกับ
ชุมชนระหวางประเทศถึงความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
3. คนที่อยูในระดับกลาง อยางเชน นักธุรกิจและผูนําศาสนามีความเปนไปไดอยางมากที่จะมี
ความสัมพันธและสามารถเขาถึงทั้งคนที่อยูในระดับสูงและระดับรากหญา การทํางานกับคนใน
ระดับกลางจึงจําเปนตองมีการวางแผนอยางมียุทธศาสตรเพื่อสงเสริมใหเกิดความรวมมือขาม

11
ระดับในแนวดิ่ง เครือขายแอฟริกาตะวันตกเพื่อการสรางเสริมสันติภาพ (West African
Network of Peacebuilding) ถือเปนตัวอยางขององคกรในระดับกลางที่สามารถเขาถึงทั้ง
ประชาชนในระดับรากหญากับกลุมตาง ๆ ที่ทํางานเพื่อการเปลี่ยนแปลง และรัฐบาลระดับสูงกับ
ทูตองคการสหประชาชาติ
4. การบูรณาการระหวางการทํางานแนวดิ่งและแนวระนาบ (vertical and horizontal
integration) คือ ชุดของความสัมพันธระหวางบุคคล เครือขาย และองคกรซึ่งชวยใหผูคนในทุก
ระดับสามารถทํางานรวมกันเพื่อสันติภาพ การสรางเสริมสันติภาพอยางมียุทธศาสตรสงเสริม
การบูรณาการเชนนี้ในทุกระดับของพีระมิดเนื่องจากเปนความพยายามในการสรางสันติภาพอัน
เปนธรรมในสังคมที่แตกแยก ในสหรัฐอเมริกา การบูรณาการผูนําในการสรางสันติภาพทั้งใน
แนวดิ่งและแนวระนาบจําเปนตองมี กลุมรากหญาที่ทํางานเพื่อสรางความปรองดองคืนดีระหวาง
คนเชื้อชาติผิวสีตาง ๆ (racial reconciliation) ที่เชื่อมสัมพันธกับกลุมในระดับรากหญาอื่น ๆ
และหนวยงานภาครัฐ องคกรศาสนาและองคกรธุรกิจตาง ๆ ในระดับกลางและในระดับสูงเพื่อ
ออกแบบแนวทางเชิงระบบตอความขัดแยงที่มีประวัติศาสตรอันยาวนานนี้

กลุมแนวคิดสายกลางและกลุมแนวคิดหัวรุนแรง (Moderates and Extremists)


การสรางเสริมสันติภาพจําเปนตองดึงทั้งกลุมแนวคิดสายกลางและกลุมหัวรุนแรงเขามารวมดวย ทั้ง
ผูนําที่กอความรุนแรงและผูนําที่สนับสนุนสันติภาพอยูแลวจําเปนตองมีสวนรวมในกระบวนการสรางเสริม
สันติภาพ โครงการสันติภาพจํานวนมากเปดโอกาสใหเพียงกับพวกที่มีใจใฝสันติภาพเขารวมเทานั้น ผูนําที่
นิยมความรุนแรงมักถูกละเลยเนื่องจากคนเหลานี้มักถูกมองวาเปน “ตัวปวน” (spoiler) ที่สามารถปลนชิง
บิดเบือนหรือแมแตปฏิเสธกระบวนการสันติภาพได ทวาหากพวกเขาไมไดเขามารวมในกระบวนการแลว มี
โอกาสทําใหงานสรางเสริมสันติภาพในดานตาง ๆ ประสบผลสําเร็จนอยลง

คนในและคนนอก (Insiders and Outsiders)


ความขัดแยงที่รุนแรงสวนใหญทั่วโลกมีทั้งคนในและคนนอกที่ทํางานเพื่อสรางสันติภาพ คนเหลานี้มี
สวนรวมสรางเสริมสันติภาพในแนวทางที่แตกตางกันไป คนใน หมายถึง คนที่ใชชีวิตอยูในชุมชนที่เกิดความ
ขัดแยงและเรียกพื้นที่นั้นวาเปนบานของตน โดยทั่วไป คนในจะอุทิศตนกับการทํางานในระยะยาวและมีสวน
ไดสวนเสียมากกวา ในกรณีที่การสรางเสริมสันติภาพจะสําเร็จหรือลมเหลว คนเหลานี้มีความเขาใจใน
วัฒนธรรมทองถิ่น บริบท ความขัดแยงตาง ๆ และทรัพยากรหรือตนทุนที่กอใหเกิดสันติภาพในทองถิ่นอยาง
ลึกซึ้งกวา เปนไปไดมากที่พวกเขาจะไดรับความเชื่อมั่นและความไววางใจจากประชาชนในทองถิ่นและพวก
เขามีเครือขายความสัมพันธที่กวางขวางกวา
คนนอก หมายถึง คนและองคกรที่เดินทางเขาไปยังพื้นที่ความขัดแยงเปนการเฉพาะเพื่อรวมสราง
เสริมสันติภาพ เปนไปไดที่คนนอกจะมีทรัพยากรทางเศรษฐกิจและการเมืองมากกวา ทรัพยากรดังกลาวเอื้อ
12
ใหความขัดแยงนั้นและแนวทางที่คนในทองถิ่นทํางานสรางเสริมสันติภาพเปนที่รับรูมากขึ้นในระดับนานาชาติ
คนนอกชวยใหมีอิทธิพลตออํานาจทั้งในระดับประเทศและระหวางประเทศในการทํางานตอบโจทยตอความ
ขัดแยงและหาแหลงทุนสนับสนุนทางการเงิน นอกจากนี้ คนนอกยังสามารถเพิ่มความปลอดภัยและเสรีภาพ
ทางการเมืองเพื่อใหคนในดําเนินงานจากการเดินทางติดตามไปพรอมกับคนในเพื่อปองกันการตอบโตดวยการ
ใชความรุนแรง คนเหลานี้ยังชวยสรางพื้นที่และสนับสนุนใหเกิดโครงการแปลงเปลี่ยนความขัดแยง ความ
ยุติธรรมเชิงสมานฉันทและการเยียวยาบาดแผลฝงใจอีกดวย xii11

“เมื่อใด” ทางยุทธศาสตร (The Strategic “When”)


ความขัดแยงเปนพลวัต ซึ่งเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลาและขับเคลื่อนเหมือนกับกระแสคลื่นและเปน
วงจร การสรางเสริมสันติภาพพยายามหาทางปองกันและทํางานกับความขัดแยงที่รุนแรง การสรางเสริม
สันติภาพจึงจําเปนตองเกิดขึ้นทั้งในชวงกอนความรุนแรง ระหวางความรุนแรงและภายหลังความรุนแรง
แผนภูมิดานลางนําเสนอแนวทางที่การสรางเสริมสันติภาพอยางมียุทธศาสตรจําเปนตองใชรูปแบบการ
ดําเนินงานหลากหลายที่สอดคลองกับแตละชวงเวลา

20 - 50 ป 5 – 10 ป 12 เดือน 12 เดือน 5 – 10 ป 20 - 50 ป

ชวงกอนความรุนแรง ชวงความรุนแรง ชวงหลังความรุนแรง

ชวงกอนความรุนแรง
กอนที่ความรุนแรงจะปะทุขึ้น มักจะมีความรุนแรงเชิงโครงสรางดํารงอยู คนกลุมใดกลุมหนึ่งหรือคน
จากหลายกลุมอาจรับรูถึงการจัดสรรทรัพยากรที่ไมเปนธรรมหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น โครงการ
สรางเสริมสันติภาพในเชิงปองกัน (preventive peacebuilding) เปนการเขาแทรกแซงกอนที่ความรุนแรง
ขนาดใหญจะเกิดขึ้น โครงการเตือนภัยลวงหนาและการตอบสนองตอความรุนแรงมีเปาหมายในการเฝาระวัง
ความขัดแยงในระยะเริ่มแรกและสงสัญญาณเตือนภัยใหกับชุมชนนานาชาติ รัฐบาลและองคกรภาคเอกชน
ตางๆ กอนที่ความรุนแรงจะเริ่มขึ้น ดวยการขับเคลื่อนผลักดันเชิงประเด็นและปฏิบัติการทางยุทธวิธีรูปแบบอื่น
นักเคลื่อนไหวสันติวิธีสามารถตอสูกับความขัดแยงดวยการเรียกรองความสนใจทั้งภายในประเทศและระหวาง
ประเทศใหหันมาใสใจตอประเด็นสําคัญตาง ๆ รวมทั้งความตองการในการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสราง ผูนําทั้ง
ในระดับนานาชาติ ระดับชาติและระดับชุมชนสามารถรวมมือกันเพื่อสงเสียงและทํางานตอบโจทยตอประเด็น

13
ปญหาตามวิถีประชาธิปไตย ดวยการโนมนาวใจใหผูคนเชื่อวาการเจรจานั้นเปนแนวทางที่ดีที่สุดในการแกไข
ความขัดแยงมากกวาการใชความรุนแรง

ชวงความรุนแรง
ในหวงเวลาที่ความรุนแรงทางตรงเกิดขึ้น โครงการสรางเสริมสันติภาพที่เสริมขึ้นมาในชวงนี้
จําเปนตองทํางานตอบโจทยกับทั้งเหยื่อและผูกระทําความรุนแรง หนวยงานใหความชวยเหลือระหวาง
ประเทศและในทองถิ่นจําเปนตองสรางที่พักพิงสําหรับผูอพยพหรือเหยื่อจาก
ความขัดแยงจะถึงเวลา
“สุกงอม” สําหรับการ ความรุนแรงอื่น ๆ กลุมที่กอความรุนแรงจําตองถูกยับยั้งดวยกองกําลังรักษา
เจรจา ก็ตอเมื่ออํานาจ สันติภาพหรือตํารวจ และไดรับการฝกฝนมิใหไปกอความรุนแรงไดอีกใน
ของทั้งสองฝายคอนขาง อนาคต ผูนําในทุกระดับจําเปนตองสรางโอกาสโดยเรงดวนเพื่อใหผูคนสราง
สมดุลกันและเกิดการรับรู เสริมความสัมพันธกันทั้งขามกลุมและภายในกลุมเสนขีดแบงในความขัดแยง
ตอประเด็นปญหาสําคัญ อีกทั้งยังทํางานตอบโจทยตอความตองการพื้นฐานที่อยูเบื้องลึกของทุกกลุม
อยางกวางขวาง ในความขัดแยง ผูนําเหลานี้จะตองทํางานเพื่อหาทางออกที่นาพอใจรวมกัน
ตอปญหาเฉพาะหนา หากความรุนแรงยังคงดําเนินตอไปอีกหลายเดือนหรือเปนป ๆ โครงการสรางเสริมขีด
ความสามารถในระยะยาวจําเปนตองเกิดขึ้นเพื่อฝกอบรมกับผูคนในเรื่องสิทธิมนุษยชน การแปลงเปลี่ยนความ
ขัดแยง ความยุติธรรมเชิงสมานฉันทและประเด็นอื่น ๆ

ชวงหลังความรุนแรง
ภายหลังจากสงคราม สังคมจําเปนตองปลดอาวุธกองกําลังหรือผูติดอาวุธและนําพาคนเหลานี้กลับคืน
สูสังคมปกติ ทํางานกับบาดแผลฝงใจจากความรุนแรงและสรางสาธารณูปโภคพื้นฐานขึ้นมาใหม โครงการ
สรางเสริมขีดความสามารถจะชวยใหสังคมไดพัฒนาใหเกิดการศึกษาดานสันติภาพและสิทธิมนุษยชนอยาง
ตอเนื่อง สรางโอกาสในการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ และใชทุนในการวิจัยเพื่อสรางโครงสรางทาง
ประชาธิปไตยที่เขาถึงรากฐานทางวัฒนธรรม

การประเมินภาวะสุกงอมของความขัดแยง (Evaluating Conflict Conflict)


การรูวาเมื่อใดเปนจังหวะเวลาที่เหมาะสมสําหรับการเขาแทรกแซงในความขัดแยงจําเปนตอง
วิเคราะหวาผูคนตระหนักถึงประเด็นปญหาแคไหน และแตละกลุมมีอํานาจมากนอยเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบ
กับกลุมอื่น ๆ การเจรจาตอรองหาไดเกิดขึ้นอยูตลอดเวลา บางครั้งกลุมที่อยูในอํานาจก็ปฏิเสธที่จะเจรจากับ
อีกฝาย
ตัวอยางเชน ขบวนการสิทธิพลเมืองในสหรัฐอเมริกา ชุมชนอเมริกันคนผิวดําไรซึ่งอํานาจอยางมาก
เมื่อเทียบกับรัฐชนผิวขาวและรัฐบาลประเทศตาง ๆ ขบวนการสิทธิพลเมืองใชวิธีการตาง ๆ ทั้งการเดินขบวน

14
ประทวง การประทวงโดยสงบนิ่ง การยาตราและการนั่งครองพื้นที่ (sit-in) เพื่อใหประชาชนทั่วไปรับรูถึงความ
ไมเปนธรรมที่ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันตองเผชิญและแสดงใหเห็นถึงพลังอํานาจของชุมชนคนผิวดํา เปน
เวลากวาหลายปที่ขบวนการสิทธิพลเมืองจะทําใหความขัดแยง “สุกงอม” ถึงขั้นผูนําชนผิวขาวจะหันมาสนใจ
และเจรจาตอรองกับชาวอเมริกันชนผิวดําเพื่อตอบสนองตอขอกังวลที่คนเหลานี้เรียกรอง ผลจากการเจรจา
และคดีความในศาลเปนจํานวนมากทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงแกไขกฎหมายแบงแยกสีผิว กฎหมายสิทธิ
พลเมืองไดรับการบัญญัติขึ้นและชาวอเมริกันผิวขาวจํานวนมากเริ่มเขาใจและทาทายตอทัศนคติและโครงสราง
การเหยียดเชื้อชาติผิวสีที่เกิดขึ้น
แผนภูมิในหนานี้ นําเสนอวิธีการที่ชวยใหเราตัดสินใจไดวาความขัดแยงนั้นสุกงอมสําหรับการเขา
แทรกแซงหรือไม xiii ในมุมดานลางฝงซายของเสนกราฟแสดงถึงภาวะอํานาจที่ไมสมดุลและความตระหนักรูตอ
12

ความขัดแยงที่อยูในระดับต่ํา กลยุทธของนักเคลื่อนไหวคือการใชทั้งแนวทางบังคับและการโนมนาวใจควบคู
กันไปในการตอสูกับความขัดแยงโดยสันติวิธี หากกลยุทธดังกลาวไดผล จะชวยใหอํานาจเปลี่ยนแปลงสูจุดที่
สมดุลมากขึ้น ผูคนตระหนักถึงประเด็นปญหามากขึ้น และสาเหตุรากเหงาของความขัดแยงและความรุนแรง
ไดรับการจัดการแกไข ขณะที่ความสัมพันธไดกอตัวขึ้นผานการสานเสวนา การเจรจาตอรองและการไกลเกลี่ย

อํานาจ กระบวนการโนมนาวใจ
สมดุล เชน การสานเสวนา
การเจรจาตอรอง และ
กลยุทธการบังคับเพื่อ การไกลเกลี่ย
สรางสมดุลอํานาจ

การตอสูกับความ กลยุทธการโนมนาวใจเพื่อ
อํานาจไม ขัดแยงโดยสันติวิธี สรางความตระหนักรู
สมดุล
ความ ความ
ตระหนักรูต่ํา ตระหนักรูส ูง

วันสัญลักษณ (Symbolic Dates)


วันบางวันมีความหมายในเชิงสัญลักษณ การเปดตัวโครงการใหมในการสรางเสริมสันติภาพ การลง
นามขอตกลงสันติภาพหรือการเขามาของกองกําลังรักษาสันติภาพสามารถใชประโยชนจากนัยเชิงสัญลักษณ
ของวันได กลุมนักสิทธิมนุษยชนใชสัญลักษณของวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1960 จากเหตุการณสังหารหมูเมือง
ชารเปอวิลล ประเทศแอฟริกาใต เพื่อขับเคลื่อนประเด็นวันขจัดลัทธิเหยียดเชื้อชาติสากล

15
“ที่ไหน” ทางยุทธศาสตร (The Strategic “Where”)
การสรางเสริมสันติภาพอยางมียุทธศาสตรจําเปนตองวิเคราะหถึงสถานที่หรือพื้นที่เชิงสัญลักษณและ
มีความสัมพันธทางสังคมซึ่งชวยสนับสนุนการสรางเสริมความสัมพันธใหเกิดขึ้นอีกดวย หากวาโครงการสราง
เสริมสันติภาพมุงเนนที่เยาวชนแลว สถานที่สําคัญสําหรับการทํางานนาจะเปนโรงเรียน สนามฟุตบอลและ
สนามเด็กเลน ผูหญิงตองการรวมกลุมขับเคลื่อนกันในสถานที่ที่พวกเธอไดพบปะกับผูหญิงคนอื่น ใน
วัฒนธรรมของประเทศกําลังพัฒนาหลายแหง ผูหญิงมีบทบาทสําคัญในตลาดและไดระดมผูหญิงคนอื่นมารวม
ประทวงในเรื่องสําคัญในพื้นที่ดังกลาว
ผูไกลเกลี่ยจากรัฐบาลนอรเวยไดพาตัวแทนผูเจรจาจากอิสราเอลและปาเลสไตนไปยังบานพักตาก
อากาศในชนบท โดยใหตัวแทนทั้งสองฝายทํากิจกรรมรวมกันทั้งรับประทานอาหารอยางเปนกันเองและเดินปา
ดวยกัน การสรางบรรยากาศเชิงสัญลักษณเชนนี้ชวยสงเสริมใหคูเจรจาเห็นวาความเปนมนุษยรวมกันถือเปน
องคประกอบสําคัญสําหรับการทูตในทุกระดับ

“อยางไร” ทางยุทธศาสตร (The Strategic “How”)


การสรางเสริมสันติภาพจะเกิดขึ้นไดอยางไร อะไรคือหลักการสําคัญของเรื่องนี้ อะไรบางเปน
สิ่งจําเปนสําหรับการประสานรวมมือกันของตัวแสดงและกิจกรรมตาง ๆ ในการสรางเสริมสันติภาพ หลักการ
ตอไปนี้ชี้แนะถึงขั้นตอนหรืองานพื้นฐานที่สําคัญสําหรับการออกแบบยุทธศาสตรสรางเสริมสันติภาพ
หลักการสําหรับแนวปฏิบัติในการสรางเสริมสันติภาพอยางมียุทธศาสตร
1. สะทอนทบทวนเกี่ยวกับคุณคา (reflect on values) การสรางเสริมสันติภาพจําเปนตองมีการ
สะทอนทบทวนอยูเสมอทั้งในระดับบุคคลและองคกร มีการสรางความเขาใจเกี่ยวกับคุณคาชี้นํา
(guiding values) และประเมินวางานสรางเสริมสันติภาพนั้นไดตอบสนองคุณคาดังกลาวอยางไร
2. วิเคราะหความขัดแยงและความรุนแรง (analyze conflict and violence) การสรางเสริม
สันติภาพจําเปนตองวิเคราะหอยางตอเนื่องวาอะไรคือทรัพยากรที่สําคัญจําเปนสําหรับสันติภาพ
รวมทั้งสาเหตุปจจัยตาง ๆ และพลวัตการเปลี่ยนแปลงของความขัดแยงและความรุนแรง
3. ตอบสนองตอความตองการและสิทธิขั้นพื้นฐาน (address basic needs and rights) การ
สรางเสริมสันติภาพชวยใหผูคนตอบสนองความตองการและสิทธิขั้นพื้นฐานของตนได ในขณะที่
ยอมรับถึงความตองการและสิทธิขั้นพื้นฐานของผูอื่นดวย
4. วางแผนระยะยาว (plan long term) การสรางเสริมสันติภาพพยายามไปใหไกลกวาการทํางาน
ในระยะสั้นหรือการตอบสนองตอวิกฤต เพื่อไปใหถึงการออกแบบเปลี่ยนแปลงสังคมในระยะเวลา
เปนป ๆ หรือเปนทศวรรษ

16
5. แปลงเปลี่ยนระบบเปนองครวม (transform whole system) การสรางเสริมสันติภาพ
ครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับบุคคล ระดับความสัมพันธ ระดับวัฒนธรรมและระดับ
โครงสราง
6. ประสานรวมมือแนวทางและตัวแสดงตาง ๆ (coordinate approaches and actors) การ
สรางเสริมสันติภาพจําเปนตองมีการประสานรวมมือกันของแนวทางตาง ๆ ซึ่งสะทอนถึง
ภาระหนาที่ ความเปนเจาของ ความรับผิดชอบและการมีสวนรวมจากตัวแสดงที่แตกตาง
หลากหลาย
7. ระบุชี้อํานาจและสรางอํานาจ (identify and create power) อํานาจนั้นดํารงอยูใน
ความสัมพันธทุกรูปแบบ การสรางเสริมสันติภาพจําเปนตองใหทุกคนตระหนักรูถึงอํานาจของตน
และใหใชอํานาจนั้นโดยสันติวิธีเพื่อตอบสนองความตองการพื้นฐานของตนในขณะที่เคารพผูอื่น
ไปพรอมกัน
8. เสริมสรางอํานาจใหกับผูอื่น (empower others) การสรางเสริมสันติภาพชวยเสริมความ
เขมแข็งและตอยอดความพยายามในการทํางานของคนในทองถิ่น อีกทั้งเสริมสรางอํานาจให
ผูอื่นไดกระทําการ การสรางเสริมสันติภาพนั้นอยูบนพื้นฐานของหลักประชาธิปไตยอยางมีสวน
รวมและการกําหนดใจตนเอง (self-determination)
9. เห็นวัฒนธรรมเปนทรัพยากรที่สําคัญ (see culture as a resource) คุณคาทางวัฒนธรรม
ธรรมเนียมประเพณีและพิธีกรรมตาง ๆ สามารถเปนแหลงทรัพยากรที่สําคัญสําหรับการสราง
เสริมสันติภาพ
10. สรางนวัตกรรมและใชความคิดสรางสรรค (innovate and use creativity) การสรางเสริม
สันติภาพใชวิธีการอันหลากหลายในการสื่อสารและเรียนรูมากกวาพึ่งพาอยูกับเพียงแคการใช
คําพูดหรือการสานเสวนา เพื่อพัฒนาแนวทางแกไขที่สรางสรรคตอปญหาตาง ๆ อันซับซอน

17
เชิงอรรถ
i
บทนี้พึ่งพาแนวคิดสวนใหญจาก John Paul Lederach, Building Peace: Sustainable Reconciliation in Divided
Societies (U.S. Institute of Peace, 1997), และเอกสารทีไ่ มไดตพี ิมพในเรื่องการสรางเสริมสันติภาพอยางมียุทธศาสตร
ii
Mary B. Anderson and Lara Olson, Confronting War: Critical Lessons for Peace Practitioners (Cambridge,
Mass: Collaborative for Development Actions, Inc., 2003).
iii
Positive Approaches to Peacebuilding: A Resource for Innovators, ed. Cynthia Sampson et al.
(Washington, D.C.: Pact Publications, 2003).
iv
Mary B. Anderson, Do No Harm: How Aid Can Support Peace-or War (Boulder: Lynne Reinner, 1999).
v
John Paul Lederach, The Little Book of Conflict Transformation (Intercourse, Penn.:Good Books, 2003),
34.
vi
John Paul Lederach ไดปรับปรุงจาก Maire Dugan ใน “From Issues to Systems” in Mediation and
Facilitation Manual (Mennonite Conciliation Resources, 2000).
vii
Anderson and Olson, 2003.
viii
Louise Diamond and John McDonald, Multi-Track Diplomacy: A Systems Approach to Peace
(Bloomfield, Conn.: Kumarian Press, 1999).
ix
John Paul Lederach, “Strategic Concepts and Capacities for Justpeace” (Handout for Fundamentals of
Peacebuilding class, Eastern Mennonite University, 1999).
x
John Paul Lederach, Building Peace: Sustainable Reconciliation in Divided Societies (U.S. Institute of
Peace, 1997)
xi
John Paul Lederach, “Strategic Concepts and Capacities for Justpeace” (Handout for Fundamentals of
Peacebuilding class, Eastern Mennonite University, 1999).
xii
Anderson and Olson, 2003.
xiii
ปรับปรุงจาก Adam Curle, Making Peace (London: Tavistock Press, 1971).

18

You might also like