Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 16

[ฉบับราง]

สันติภาพ: ความรูฉบับพกพา
โอลิเวอร พี. ริชมอนด

แปลโดย รัฐวิศว เอื้อประชานนท


[ใชเปนเอกสารประกอบการเรียนหัวขอปรัชญาสงครามและสันติภาพ]

1
2
บทที่ 1: นิยามสันติภาพ

ในฐานะสันติภาพ ขาพเจามิไดถูกยกยองจากทั้งมนุษยและพระเจาในฐานะที่เปนแหลงที่มาที่
แทจริงและผูพิทักษสิ่งดีงามทั้งมวลเชนนั้นหรือ มีเรื่องใดบางที่เกี่ยวกับความรุงเรือง ความมั่นคง
หรือความสุขซึ่งไมสามารถบงบอกลักษณะของตัวขา ในทางกลับกัน สงครามนั้นมิใชผูทําลายลาง
ทุกสิ่งและเมล็ดพันธุแหงความชั่วรายฤา

เดสิเดอริอสุ อีราสมุส, บทรําพันแหงสันติภาพ

การใหนิยามเกี่ยวกับสันติภาพและมิติตาง ๆ ของเรื่องนี้เปนงานที่ยากยิ่ง มันไมไดมีความหมายเพียง


หนึ่งเดียว จุดเริ่มตนคือการนึกถึงความหมายในแบบแคบซึ่งมีนัยถึงการยุติความรุนแรงแตยังมิไดแกไขสาเหตุ
ที่อยูเบื้องลึกของมัน สถานการณปจจุบันในไซปรัสที่ซึ่งกองกําลังทางทหารของชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและ
เชื้อสายตุรกี หรือในเกาหลีซึ่งกองกําลังทางทหารของเกาหลีเหนือและเกาหลีใตเผชิญหนากันขามเสนเขต
ปลอดทหารในแตละวันสามารถอธิบายในฐานะที่เปนสันติภาพไดตามกรอบคิดดังกลาว ในทางตรงกันขาม
ความหมายในแบบกวางนาจะหมายถึงการทําใหเกิดขอตกลงสันติภาพ รัฐอยูอยางสงบสันติและสังคมตาม
ตนแบบสากลที่มีลักษณะเดียวกัน การถือกําเนิดของสหภาพยุโรปขึ้นมาจากซากปรักหักพังแหงสงครามโลก
ครั้งที่สองนาจะเปนตัวอยางที่ซึ่งรัฐตาง ๆ ที่มีรูปแบบคลายคลึงกันเกิดขึ้น ทายที่สุดความหมายของสันติภาพ
ในหลากหลายรูปแบบสื่อนัยถึงลักษณะการดํารงอยูรวมกันแตยอมรับความแตกตางไปพรอมกันของระบบ
สังคมและการเมืองที่แตกตางกัน บางทีขอตกลงสันติภาพระหวางอียิปตและอิสราเอลในป ค.ศ. 1978 ถือเปน
ตัวอยางที่ดีสําหรับแนวทางดังกลาว ซึ่งเปนกรณีที่รัฐและประชาชนของประเทศที่แตกตางกันโดยสิ้นเชิงที่ยังมี
ความไมลงรอยและความแตกตางอยางลึกซึ้งที่คางคากันในหลายเรื่องกลับมาปรองดองคืนดีกันไดในประเด็น
เฉพาะที่จํากัด อีกตัวอยางหนึ่งที่เสนอถึงสันติภาพอีกรูปแบบคือการถือกําเนิดขึ้นของประเทศติมอร-เลสเต
ตั้งแตการสิ้นสุดของการยึดครองประเทศโดยอินโดนีเซียในป ค.ศ. 1999 กรณีดังกลาวในบางลักษณะถือวา
เปนไปตามโมเดลตนแบบที่เสนอใหกับรัฐสมัยใหมซึ่งประกอบดวยประชาธิปไตย กฎหมาย สิทธิมนุษยชนและ
การพัฒนาในฐานะเปนกรอบคิดในการจัดการกับความขัดแยงผานสถาบันตาง ๆ กฎหมายและความเจริญมั่ง
คั่งของประเทศ กรณีนี้ยังรวบรวมธรรมเนียมปฏิบัติและระบบอํานาจการบริหารที่แตกตางซึ่งมีอยูในระดับ
ชุมชนทองถิ่ น ซึ่งได แก รู ป แบบการปกครองและกระบวนการแกไขความขัดแยงตามประเพณี ซึ่งรวมถึง
รู ป แบบที่ ใช โ ดยเหล า ผู อาวุ โ สในอดี ต กฎจารีตประเพณีที่มีมายาวนานและพิธีกรรมตามประเพณีในการ
ปรองดองคืนดีที่มีชื่อเสียงอยาง ‘ธารา บันดู’ (Tara bandu) เอาไวดวย ในปค.ศ. 2013 ประธานาธิบดีของ
ประเทศนี้ ย อมรั บ ถึ ง คุ ณค า ความสํ าคั ญ ของแนวทางดั ง กล าว โดยเฉพาะอย า งยิ่ งเมื่ อ พวกเขาใกล ชิ ด กั บ
วัฒนธรรมของประชาชนมากกวาระบบรัฐสมัยใหม และรัฐสภาของติมอรเองก็ไดอภิปรายถกเถียงกันในเรื่อง
ความเปนไปไดที่จะบรรจุแนวทางปฏิบัติเชิงวัฒนธรรมในการแกไขปญหาไวในระบบกฎหมายทางการดวย

3
ความหมายของสันติภาพในแตละรูปแบบเสนอถึงความมั่นคงและสิทธิตาง ๆ ของสังคมในระดับที่
แตกตางกัน กลาวคือ นิยามแบบแคบนั้นเปนเรื่องพื้นฐานแตคอนขางไมมั่นคงนัก สวนนิยามแบบกวางเปนเรื่อง
ที่ซับซอนกวาแตมีความยั่งยืนกวา และเปนแนวทางที่หลากหลายซับซอนหากแตมีเสถียรภาพ การเนนให
ความสําคัญกับสันติภพาในแตละแบบนั้นขึ้นอยูกับแกนคําถามที่วา เราจะทําใหเกิดสันติภาพดวยการเอาชนะ
ศัตรูของตนหรือไม เราจะทําใหคนเหลานั้นผสานกลืนทางวัฒนธรรมดวยการเปลี่ยนแปลงใหพวกเขามีลักษณะ
คลายคลึงกับ ชนกลุมที่มีอํานาจมากกวาหรื อวาดว ยการยอมรับ แล วจึ งค อยมาปรองดองกับความแตกตาง
ดังกลาว
อางตามโยฮัน กัลตุง หนึ่งในผูกอตั้งของสาขาสันติศึกษาสมัยใหม ‘สันติภาพเชิงลบ’ (negative
peace) มุ งหมายต อนิ ยามในแบบแคบ (ซึ่ งนาจะอธิบ ายไดดี ถึงสนธิสั ญญาสัน ติภาพที่ล มเหลวภายหลั ง
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) ‘สันติภาพเชิงบวก’ (positive peace) มุงหมายตอนิยามในแบบกวาง (ซึ่งนาจะ
อธิ บ ายได ดี ถึ ง สั น ติ ภ าพในยุ โ รปภายหลั ง สงครามโลกครั้ ง ที่ ส อง) แนวคิ ด ที่ เ พิ่ ง เกิ ด ขึ้ น ไม น านมานี้ คื อ
‘สันติภาพแบบผสม’ (hybrid peace) เปนสวนผสมของแนวทางอันหลากหลาย (นาจะเปนกรณีของประเทศ
เกิดใหมอยาง ติมอร-เลสเต หรือโคโซโว ภายหลังความขัดแยงในชวงปลายทศวรรษที่ 1990) ความเขาใจตอ
สันติภาพในความหมายแบบแคบชี้ใหเห็นถึงการปราศจากความรุนแรงที่ปรากฏเห็นไดชัด (อยางเชน สงคราม
หรือความขัดแยงที่ใชกําลังทางทหารอยางจํากัด) ทั้งในระดับระหวางรัฐหรือภายในรัฐเอง กรณีนี้อาจอยูใน
รูปแบบของการหยุดยิงหรือสงบศึก ขอตกลงในการจัดสรรอํานาจหรือเกิดขึ้นภายในระบบการเมืองที่เปนเผด็จ
การ เรื่องนี้แสดงใหเห็นวารัฐหรือกลุมในสังคมมีอํานาจหรืออิทธิพลอยูเหนือรัฐหรือกลุมอื่น ๆ ดวยการใช
ความรุนแรงหรือวิธีการที่แยบยลกวา นิยามในรูปแบบดังกลาวมีประโยชนในการทําใหเขาใจงาย แตทวา
สันติภาพเชิงลบเปนสิ่งที่เปราะบางอยูเสมอเนื่องจากมีพื้นฐานเกิดขึ้นจากโครงสรางดุลอํานาจที่เปลี่ยนแปลงอยู
เสมอในระบบการเมืองระหวางประเทศหรือภายในรัฐ ความรุนแรงที่ซอนอยูที่เรียกกันวา ‘ความรุนแรงเชิง
โครงสราง’ (structural violence) ซึ่งแฝงฝงอยูในระบบสังคม เศรษฐกิจและการเมืองกลับยังคงไมไดรับการ
จัดการแกไข นี่จึงเปนสิ่งที่สามารถอธิบายไดวาทําไม ภายหลังการหยุดยิงหรือสงบศึกหลายตอหลายครั้ง
ในชวงทศวรรษที่ 2000 กระบวนการสันติภาพในประเทศโคลอมเบียจึงลมเหลวในหลายครา นั่นเปนเพราะ
ประเด็นปญหาที่เปนแกนกลางของความขัดแยง โดยเฉพาะที่เกี่ยวของกับการจัดสรรที่ดิน ความยากจนและ
ความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจและสังคมกลับยังไมไดรับการจัดการแกไข ขอตกลงสันติภาพที่อยูบนพื้นฐานของ
ความเขาใจตอสันติภาพในความหมายแบบแคบอาจจะไมเปนที่พึงพอใจมากนักนอกเสียจากเปนการแกปญหา
ในระยะสั้น กองกําลังทางทหารหรือรัฐบาลเผด็จการอาจรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบรอยพื้นฐานได
อย า งเช น กรณี เ ยอรมั น ตะวั น ออกในยุ คสงครามเย็น แตท วาป ญ หาที่ บ กพรองในหลายเรื่ องเกี่ย วกั บ สิท ธิ
มนุษยชน การเปนตัวแทนในระบอบประชาธิปไตยและความเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงตกคางอยู
ประเด็นปญหาที่ตกคางดังกลาว ถือเปนสัญลักษณของความรุนแรงเชิงโครงสราง ซึ่งหมายถึง ความ
รุนแรงทางออมที่ถูกสรางขึ้นโดยโครงสรางที่กดขี่ของรัฐบาล กฎหมาย ระบบราชการ การคา การกระจาย

4
ทรัพยากร ชนชั้นทางสังคม หรือเนื่องจากความยากจนหรือปญหาดานสิ่งแวดลอม บางครั้งความรุนแรงเชิง
โครงสรางสามารถเกิดขึ้นไดแมแตในสังคมที่คอนขางมีความสงบสุขอยูแลว
ความเขาใจตอสันติภาพในความนิยามแบบแคบ รับเอามุมมองตอความขัดแยงแบบ ‘สภาวะที่ติดมา
ตามธรรมชาติ’ (inherency) ซึ่งมองวา ความรุนแรงนั้นแฝงฝงอยูในธรรมชาติของมนุษย เปนสวนหนึ่งทาง
ชีววิทยาของเราและดวยเหตุนี้จึงเปนลั กษณะเฉพาะในสังคม ประวัติศาสตรและในหมู รัฐตาง ๆ ในระดั บ
ระหวางประเทศ ความเห็นโตแยงดังกลาวมักถูกเชื่อมโยงกับการสังเกตพฤติกรรมของสัตว โดยเฉพาะสัตว
ตระกูลไพรเมตหรือวานร (แมวาการนําหลักฐานดังกลาวมาใชยังเปนที่ถกเถียงอยูก็ตาม) สันติภาพเชิงลบยัง
สามารถพูดถึงเรื่องความตึงเครียดตาง ๆ ที่ลัทธิทุนนิยมโลกสรางขึ้นมาสําหรับสังคมทั้งหลายที่ยุงเหยิงจาก
‘การทําลายลางที่สรางสรรค’ ของตัวทุนนิยมเอง เราทําอะไรกับเรื่องนี้ไมไดเลยนอกไปเสียจากพยายามที่จะ
ควบคุ ม ส ว นเกิ น ที่ เ ลวร า ยที่ สุ ด ของมั น มั น ง า ยที่ จ ะเห็ น ด ว ยกั บ จุ ด ยื น บางประการเมื่ อ เราหั น ไปมอง
ประวัติศาสตรที่มุงความสนใจตอหวงเวลาที่เห็นไดชัดและมักเปนเหตุการณรุนแรง อยางเชน สงครามระหวาง
ประเทศหรือสงครามกลางเมือง
หากวาความขัดแยงนั้นเปนลักษณะเฉพาะของมนุษยเนื่องจากมันฝงรากอยูในสภาวะธรรมชาติของ
มนุษยแลว คงจะทําอะไรไมไดเลยนอกไปเสียจากจะใชกําลังตอสูกันเพื่อสงเสริมผลประโยชนทางยุทธศาสตร
กรณีดังกลาวแสดงถึงมุมมองตอการเมืองแหงสงครามและสันติภาพอนุรักษนิยมและเปนมุมมองที่คอนขาง
ลาสมัย ความมั่นคงตามแนวทางนี้หมายถึงการสงวนรักษาสถานะตามลําดับชั้นของรัฐตาง ๆ ที่มีมากอนหนา
อธิปไตยทางดินแดนและดุลแหงอํานาจระหวางรัฐ ดังเชนในยุโรปสมัยศตวรรษที่ 19 และ ‘ระบบคอนเสิรต
แหงยุโรป’ 1 (Concert System) ภายหลังปค.ศ. 1815 มุมมองดังกลาวเปนทัศนคติตอสงครามและความ
ขัดแยง และความสัมพันธที่มีตอสันติภาพเชิงลบ (พรอมกับขอยกเวนอันทรงเกียรติตาง ๆ ) จากสมัยโบราณ
กาลอยางนอยจนกระทั่งถึงยุคเรืองปญญา (Enlightenment) บางทีจนกระทั่งถึงการเกิดขึ้นของลัทธิฟาสซิสต
ในตนศตวรรษที่ 20 สันติภาพดํารงอยูไดโดยสวนใหญในฐานะที่เปนสถานการณอันเจ็บปวดที่ตางไมสามารถ
เอาชนะกันไดระหวางผูปกครอง หรือเปนชัยชนะที่เด็ดขาด โดยเปนภาวะที่อยูระหวางสงครามตาง ๆ ที่เกิดขึ้น
บอยครั้งในขามผานหวงประวัติศาสตร (อาจเรื่องที่คอนขางงายจากมุมมองของเหลากษัตริย ราชินี จักรพรรดิ
และเผด็จการทั้งหลาย) ในประวัติศาสตรแลว มนุษยเราเปนเพียงเบี้ยใหกับผูมีอํานาจและผลประโยชนของคน
เหลานี้ มุมมองเชนนี้คอยถูกแทนที่อยางชา ๆ โดยแนวทางสันติภาพเชิงบวกตั้งแตยุคเรืองปญญาเปนตนมา
ความเข าใจตอสั นติภ าพในความหมายที่กว างขึ้นชี้ใหเห็นถึง ทั้งประเด็น เรื่องการปราศจากความ
รุนแรงที่เปดเผยระหวางรัฐและภายในรัฐ และเปาหมายในการสรางสภาวะเงื่อนไขตาง ๆ ใหสังคมดํารงอยูได
โดยปราศจากความกลัวและความยากจนภายในระบบทางการเมืองที่ไดรับการยอมรับในวงกวาง ความหมาย

1
ระบบคอนเสิรตแหงยุโรป (Concert of Europe) เปนระบบความสัมพันธระหวางประเทศในยุโรปภายหลังยุคนโปเลียน ซึ่งเกิดขึ้นจากการ
ประชุมใหญแหงกรุงเวียนนา (Congress of Vienna-1815) โดยชาติมหาอํานาจในยุโรปในสมัยนั้นไดแก อังกฤษ ออสเตรีย รัสเซียและป
รัสเซีย (เยอรมนัในปจจุบัน) ทําขอตกลงพันธมิตรรวมกันเพื่อที่จะรักษาดุลแหงอํานาจ (balance of power) ระหวางชาติตาง ๆ และ
สถานภาพดั้งเดิม (status quo) โดยเฉพาะระบอบกษัตริยผานการเจรจาทําขอตกลงตาง ๆ
5
นี้สื่อนัยถึงการตอบสนองความพึงพอใจเชิงสัมพัทธของปจเจกชนในสังคม เชนเดียวกันกับการเสถียรภาพใน
สถาบันทางการเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ ในรัฐและในภูมิภาค นิยามเชนนี้แสดงออกมาผานวลีเลื่องชื่ออยาง
คําวา ‘ชีวิตที่ดีงาม’ หรือ ‘สันติภาพอันสถาพร’ (Perpetual Peace) ที่มักถูกกลาวถึงโดยนักปรัชญาเลื่องชื่อ
ทั้งหลายตั้งแตอริสโตเติล (384 – 322 ปกอนคริสตกาล) ไปจนถึงอิมมานูเอล คานท นักปรัชญาเสรีชาว
เยอรมัน (ค.ศ.1724 – 1804) ประวัติศาสตรทางการเมืองหลังยุคเรืองปญญาโดยมาก โดยเฉพาะตั้งแต
สนธิสัญญาเวสตฟาเลียไดนําพาสันติภาพมาสูพื้นที่สวนใหญของยุโรปในปค.ศ. 1648 สะทอนใหเห็นถึงความ
พยายามในการพัฒนาการสรางกรอบสําหรับแนวคิดเรื่องสันติภาพในความหมายเชิงบวกอยางเปนวิทยาศาสตร
ดวยเหตุนี้ อาจจะเปนเพียงมายาคติที่วาความขัดแยงนั้นเปนสวนหนึ่งในสภาวะธรรมชาติของมนุษย
เรื่องราวของสันติภาพเชิงลบนี้ถูกเผยแพรออกไปผานการสังเกตอยางผิด ๆ ตอความรุนแรงของสัตวไพรเมต
และสมมติฐานแบบดารวินที่วาธรรมชาติของมนุษยนั้นมีแบบแผนเชนเดียวกับสัตวเหลานี้ ขอถกเถียงเชิง
แนวคิดสังคมแบบดารวิน (Social Darwinism) เชนนี้รับใชผลประโยชนของผูที่ถือครองทรัพยากรและอํานาจ
อยางกลุมชนชั้นนําหรือกลุ มอนุรั กษนิย ม ในทางตรงกัน ขาม แมแตในโลกของสัตว สัต วตระกูลไพรเมตก็
แสดงออกถึงแรงจูงใจใหเกิดระบบระเบียบทางสังคมและการทําใหเกิดสันติภาพ จึงเปนไปไดที่จะกลาวอางวา
แทจริงแลวการทําใหเกิดสันติภาพนั้นเปนกิจกรรมรวมที่พบไดมากที่สุดในประวัติศาสตรของมนุษยชาติ ดวยที่
ทุกสังคมมีประสบการณตอความขัดแยงในหลากหลายระดับ สังคมทั้งหมดไดพัฒนาวิธีการอันซับซอนสําหรับ
การทําใหเกิดสันติภาพ ตั้งแตสถาบันทางสังคมตาง ๆ ไปจนถึงกระบวนการทางกฎหมายและสถาบันการเมือง
การปกครองที่เปนทางการ ตรงกันขามกับมุมมองแบบสภาวะที่ติดมาตามธรรมชาติ ความขัดแยงและสงคราม
นั้นเปนพฤติกรรมที่เรียนรูกันได การกระทําของมนุษยสามารถปองกันหรือคลี่คลายความขัดแยงผานสถาบัน
ตาง ๆ การประนีประนอม ขอตกลง การกระจายจัดสรรทรัพยากรและการศึกษา มุมมองเชนนี้ไดชวยทําให
เกิดความพยายามในชวงศตวรรษที่ 20 ในการสรางสันติภาพเชิงบวกซึ่งมีนิยามถึงความมีเสถียรภาพ ความ
ยั่งยืนและความเปนธรรมทางสังคมในระยะยาว จากความเขาใจดังกลาวไดมีการพัฒนาแนวทางการไกลเกลี่ย
(mediation) ซึ่ งใช โ ดยประธานาธิ บ ดี คาร เตอรของสหรัฐ ฯ ภายหลังสงครามป ค.ศ. 1947 ในภูมิภ าค
ตะวันออกกลางระหวางอียิปตและอิสราเอล การรักษาสันติภาพ (peacekeeping) ดังที่เกิดขึ้นในไซปรัส
คองโกและประเทศอื่น ๆ อีกจํานวนมาก การแกไขความขัดแยงและการแปลงเปลี่ยนความขัดแยง (conflict
resolution and transformation) ที่ปจจุบันใชกันอยางแพรหลายในระดับภาคประชาสังคม และการสราง
เสริมสันติภาพ (peacebuilding) ที่ใชกันมาตั้งแตกัมพูชาไปจนถึงบอสเนียและเฮอรเซโกวีนาในชวงทศวรรษที่
1990 ยุทธศาสตรตาง ๆ นี้มักอยูบนพื้นฐานของหลักประกันดานความมั่นคง อยางเชน สหรัฐอเมริกาและ
องคการสนธิสัญญาปองกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต
เรื่องเลาทางประวัติศาสตรสาธารณะหรือที่เปนทางการมักถูกอิทธิพลครอบงําโดยชนชั้นนํา (กษัตริย
ราชินี จักรพรรดิ นักการเมือง ทหาร ผูนําศาสนา คนรวยและบอยครั้งเปนผูชาย) อยางไรก็ตาม ก็ยังมีบันทึก
ส ว นตั ว ที่ พู ด ถึ ง ประวั ติ ศ าสตร ใ นชี วิ ต ประจํ า วั น ซึ่ ง ช ว ยให ค วามเข า ใจที่ แ ตกต า งอย า งแยบคายกว า ต อ
ประวั ติ ศ าสตร แ ละสั งคมมนุ ษ ย ในบั น ทึ กสว นตั ว ดัง กลา ว สัน ติ ภ าพเชิง บวกมีป รากฏให เห็ น ได ซึ่งอยูใ น

6
ชีวิตประจําวันโดยอาจคลายคลึงกันกับแนวคิดวาดวย ‘ชีวิตที่ดีงาม’ ของอริสโตเติล แนวโนมของการทําให
เกิดสันติภาพในทางสังคมและที่เปน ‘ธรรมชาติในชีวิตประจําวัน’ อาจปรากฏใหเห็นไดไมชัดเจนเทากับ
เหตุการณที่ปะทุขึ้นจากความรุนแรง แตอยางไรก็ดีเรื่องราวดังกลาวเปนตัวแทนของกิจวัตรในชีวิตประจําวัน
และมีคุณูปการตอพัฒนาการของสถาบันทางการเมืองและสถาบันระหวางประเทศตาง ๆ ตั้งแตรัฐสภาไปจนถึง
ระบบองคการสหประชาชาติ
จากมุมมองนี้เอง พัฒนาการรวมสมัยในการขบคิดเกี่ยวกับสันติภาพไดขับเคลื่อนไปไกลเกินกวาเรื่อง
สันติภาพเชิงลบเพื่อมุงสูการสํารวจตรวจสอบวารูปแบบที่ปลดปลอยใหเปนอิสระ เกิดขึ้นไดในชีวิตประจําวัน
และเอาใจใสซึ่งกัน และกัน นั้นมี ลักษณะเปน อยางไรบางในบริ บททางสั งคมเฉพาะตาง ๆ ทั่ว โลก (เชน ใน
อัฟกานิสถานไปจนถึงไลบีเรีย) เชนเดียวกันในระบบการเมืองระหวางประเทศรวมสมัย กรณีดังกลาวกอใหเกิด
การปรับเปลี่ยน นิยามเกี่ยวกับความมั่นคงดั้งเดิมที่รัฐมีบทบาทในการรักษาความมั่นคงใหกับดินแดนและ
อธิปไตยดังที่แมกซ เวเบอร (ค.ศ. 1864 – 1920) หนึ่งในผูกอตั้งสาขาสังคมวิทยาไดใหความเห็นไว ในปจจุบัน
มุมมองดังกลาวถูกแทนที่ดวยนิยามความมั่นคงที่ใหความสําคัญกับมนุษยมากกวารัฐ

สันติภาพเชิงบวก
สันติภาพเชิงบวก ที่มาพรอมกับแนวคิดอยางเรื่อง ‘ความมั่นคงของมนุษย’ (ซึ่งโครงการพัฒนาแหง
สหประชาชาติ – UNDP ไดใหนิยามในป ค.ศ. 1994 วาหมายถึง ‘การปลอดจากความกลัวและการปลอดจาก
ความขาดแคลนหรือความตองการ’) นาจะไดรับความสําคัญมากกวาความมั่นคงของรัฐ และขอโตแยงที่วา
ความรุนแรงนั้นเกิดจากการเรียนรูมากกวาเปนภาวะที่ติดตัวตามธรรมชาติในสังคมสื่อนัยวาเราอาจแกไขความ
ขัดแยงไดอยางรวมมือกันและเห็นพองตองกัน ดังนั้นสันติภาพในแบบที่กวางขวางและครอบคลุมนาจะเกิดขึ้น
ได ความรุน แรงทางตรงและความรุนแรงเชิงโครงสรางสามารถขจัด ออกไปได สั นติภ าพเชนนี้ ไดรั บการ
ยอมรับในชีวิตประจําวันในหมูคนทั่วไปมิใชเพียงแตชนชั้นนําทางการเมืองและเศรษฐกิจที่คํานึงถึงผลประโยชน
ของตนเท านั้ น สถานการณ ดังกล า วได กา วขามความความสนใจดานความมั่น คงพื้ น ฐานเกี่ยวกับ อํานาจ
ดินแดนและทรัพยากรทางกายภาพและนําเสนอแนวคิดเรื่องสันติภาพที่ใกลเคียงกับชีวิตประจําวันซึ่งผูคน
โดยมากมีประสบการณในระบอบประชาธิปไตยเสรีที่พัฒนาแลวซึ่งความมั่นคง กฎหมาย ความสงบเรียบรอย
และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจคอนขางเปนเรื่องปกติหากเปรียบเทียบกับระบอบอื่นแลว ภายใตสภาวะเชนนี้
ความเป นธรรมทางสังคม (ซึ่งไดแกสิทธิ มนุษยชน การเปนตัวแทนทางประชาธิป ไตย ความเสมอภาคทาง
กายภาพในบางระดับและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ) สภาพพรอมรับผิด (accountability) ของรัฐและชนชั้นนํา
เชนเดียวกับสันติภาพระหวางรัฐอาจเกิดขึ้นได
นิยามสันติภาพที่มีคุณภาพสูงเชนนี้ยากที่จะประสบความสําเร็จภายหลังสงคราม เวนเสียแตกรณีของ
ประเทศที่ไดรับผลกระทบภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองหากมองกันในระยะยาวแลว มุมมองนี้ปฏิเสธขอ
โตแยงที่วาความขัดแยงนั้นเปนสิ่งที่ติดตัวมากับสภาวะธรรมชาติของมนุษย แลวมีในรัฐและสถาบันตาง ๆ แต
กลับเชื่อมั่นวาความขัดแยงนั้นสามารถแกไขคลี่คลายไดอยางเต็มศักยภาพโดยมนุษย รัฐและสถาบันทั้งหลาย
7
มนุษยเรามีความสามารถที่จะเขาใจวาทําไมความขัดแยงที่เกิดขึ้นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองตอความ
ขัดแยงหลากหลายรูปแบบ มนุษยที่ใฝสันติเหลานี้มิไดตกอยูใตการบงการของผูมีอํานาจ หากแตเขาไปมีสวน
รวมทางการเมืองในการรณรงคดานสันติภาพ สถาบันและโครงสรางตาง ๆ ในระดับทองถิ่นหรือชีวิตประจําวัน
เช น เดี ย วกั บ ในระดั บ ข า มชาติ ห รื อระหว า งประเทศ ความสํา คัญ ของแนวทางนี้ตั้ ง อยู บ นสมมติ ฐ านที่ ว า
ธรรมชาติ แ ละสาเหตุ ของความขั ดแย งเกิ ด ขึ้น จากพลวัตตาง ๆ มากมาย ซึ่ งอาจรวมถึ งพลวั ตทางสั งคม
เศรษฐกิจ การเมือง การทหารและทรัพยากร อยางเชน ประเด็นเรื่องอัตลักษณ ชนชั้น หรือความแตกตางทาง
ชาติ พัน ธุ สถาบั น ทางการเมื องที่ ไม เ ป น ธรรม อ อนแอและไมมีก ารเปน ตัว แทน หรือ การตอ สูแย งชิง ทาง
ทรัพยากรทั้งที่ดิน น้ํามัน แรหรือแรงงาน
สาเหตุอันหลากหลายและพัวพันอยูนี้ทําใหจําเปนตองมีการตอบสนองที่ซับซอนและมีหลากหลายมิติ
หากจะใหความขัดแยงไดรับการแกไขคลี่คลายไปได เนื่องจากวิธีคิดเชนนี้เอง สาขาวิชาดานความสัมพันธ
ระหว า งประเทศ รั ฐ ศาสตร การวิ จั ย สั น ติ ภ าพและความขั ด แย ง เช น เดี ย วกั บ นิ ติ ศ าสตร สั ง คมวิ ท ยา
มานุษยวิทยา การพัฒนาและเศรษฐศาสตร ทั้งหมดนี้มีความจําเปนอยางยิ่งยวดตอความเขาใจที่ครอบคลุม
และรอบดานมากขึ้นถึงเงื่อนไขสําคัญตาง ๆ สําหรับสันติภาพในยุคสมัยใหม
แนวคิดวาดวยสันติภ าพเชิงบวกเขามามีบทบาทสํ าคัญในกระบวนการทางนโยบายเนื่องจากเรื่อง
ดังกล าวสะทอนถึงความต องการที่เ พิ่ มขึ้ นของประชาชนสําหรับ การตอบสนองตอสิทธิและความตองการ
พื้นฐานของตน และสําหรับบริการสาธารณะที่จําเปนที่จัดไวใหเพื่อที่จะกาวขามความแตกตางทางอัตลักษณ
ศาสนา ด า นกายภาพ อุ ด มการณ แ ละพื้ น ที่ ดิ น แดนซึ่ ง มั ก เป น ตั ว จุ ด ชนวนความรุ น แรงอยู เ รื่ อ ยมาใน
ประวัติศาสตร แนวคิดดังกลาวมีอิทธิพลตอแนวทางในการทําความเขาใจและแนวทางการรับมือตอความ
ขัดแยงของรัฐและองคการระหวางประเทศหรือองคการระดับภูมิภาค เชน องคการสหประชาชาติ ธนาคารโลก
และแหลงทุนระหวางประเทศหรือรัฐบาลโดยเฉพาะประเทศในกลุมองคการความรวมมือทางเศรษฐกิจและ
การพัฒนา (OECD) และกลุมจี 20 เชนเดียวกับสหภาพยุโรป แนวทางนี้ไดให ‘ทิศทางในการขับเคลื่อน
นโยบาย’ ที่สําคัญยิ่งที่ชวยใหรัฐและองคกรเหลานี้สามารถตอบสนองความพึงพอใจของผูเลือกตั้งหรือพลเมือง
ของตนได
ประเด็น ทางเลื อกอื่ น ๆ นอกจากสัน ติภ าพเชิงบวกคือเรื่องที่วา แนวคิดวาดว ยสันติภ าพนั้น มีอยู
หลากหลายมิติขามผานวัฒนธรรม รัฐและสังคมตาง ๆ มากมายทั่วโลก สังคมสวนมากไมวาจะเปนสังคม
สมัยใหมหรือสังคมดั้งเดิมก็ตามนั้นมีนิยามของสันติภาพตามแบบฉบับของตน สิ่งเหลานี้มักทําใหเกิดนัยที่
แตกตางกันในนิยามของความปรองดองทางสังคม ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ สถาบันทางการเมืองและกฎหมาย
รวมถึ งความเคารพต อจารี ตประเพณี ทางประวัติศ าสตรและอัตลักษณดว ย การทําใหผูคนที่มีอัตลักษณ
แตกตางกันที่มีแนวทางปฏิบัติตอสันติภาพแตกตางกันสามารถอยูรวมกันไดนั้นจําเปนจะตองมีการเจรจาไกล
เกลี่ยระหวางกันและมีความรวมมือกันทั้งในระดับสังคม รัฐและระหวางประเทศ นี่นาจะเปนจุดตั้งตนในกาว
ถัดไปสําหรับทฤษฎีและแนวปฏิบัติทางสันติภาพที่จะขามเขาไปสูการแสวงหารูปแบบของสันติภาพที่กาวหนา
ขึ้นไปอีก
8
อยางไรก็ตาม สันติภาพนั้นมีการใหคําจํากัดความ คํานี้มักจะดึงดูดความสนใจความคิดและการกระทํา
รูปแบบใหมหรือสุดขั้ว (โดยพื้นเพ มักเปนสิ่งที่กลาหาญ) และนําไปสูการพัฒนาปรับปรุงสถาบันหรือแนวทาง
ปฏิ บั ติ ต า ง ๆ ถึ ง แม ว า มี ก ารถกเถี ย งทางความคิ ด และปรั ช ญาอั น ซั บ ซ อ นเกี่ ย วกั บ สั น ติ ภ าพตลอดช ว ง
ประวัติศาสตร สันติภาพมักถูกใหความหมายจากมุมมองทางอํานาจมากกวาความยุติธรรม
ประวั ติ ศ าสตร สั น ติ ภ าพในโลกตะวั น ตกและมั ก เป น ความคิ ด ที่ ‘มองยุ โ รปเป น ศู น ย ก ลาง’
(Eurocentric) ไดขามผานกาลเวลามาตั้งแตแนวคิดของนักปรัชญากรีกโบราณอยางเพลโตไปจนถึงการเกิดขึ้น
ขององคการนาโตภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งเปนประวัติศาสตรที่ใกลตัวของการบูรณาการยุโรปและ
ความพยายามที่จะพัฒนาความรวมมือภายในภูมิภาคระหวางศัตรูในอดีต กวาหลายปที่ผานมาที่ยังดํารงอยู
องคการสหประชาชาติ (ผานสมัชชาใหญหรือหนวยงานตาง ๆ) ไดเรียบเรียงและเผยแพรเอกสาร รายงานและ
มติที่อยูบนฐานของฉันทามติทั่วโลก สิ่งเหลานี้เปนเครื่องบงชี้ถึงยุทธศาสตรที่ออกแบบขึ้นมาในการรับมือกับ
ความสั ม พั น ธ ที่ เ ป น ปฏิ ป ก ษ กั น ระหว า งอํ า นาจและสั น ติ ภ าพ ไล ตั้ ง แต โครงการต า ง ๆ สํ า หรั บ ‘สั น ติ
วัฒนธรรม’ สิทธิในสันติภาพ ความจําเปนสําหรับ ‘ระเบียบทางเศรษฐกิจใหม’ สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและ
วัฒนธรรม ไปจนถึงแนวคิดเรื่องเอกราช การกําหนดใจตนเอง (self-determination) การพัฒนาและการสราง
เสริมสันติภาพ ทั้งหมดนี้เรียกรองใหเกิดความเสมอภาคในมิติดานอัตลักษณและเพศสภาพ สิทธิการกําหนดใจ
ตนเอง การมีสวนรวม ความรวมมือ ความเปนธรรมทางสังคมและการพัฒนา เอกสารเหลานี้ไดใหการรับรอง
อย า งเป น ทางการต อ สิ ท ธิ ท างวั ฒ นธรรม สิท ธิท างสั งคมและสิ ท ธิ ใ นการทํ า งาน รวมถึ งสิ ทธิ ในการเลื อ ก
อัตลักษณของตน ตัวแทนของประชาชนสวนใหญบนโลกไดลงนามในเอกสารเหลานี้ แตทวาฉันทามติทาง
การเมืองและทางวิชาการเชนนี้ยังถูกหลงลืมไปไดงาย ๆ ดวยเหตุนี้ พัฒนาการของแนวคิดเรื่องสันติภาพนั้นใช
เวลายาวนาน และแทนที่ สั น ติ ภ าพที่ มี ลั ก ษณะเพี ย งหนึ่ งเดี ย ว เป น เชิ ง บวกและเป น สากลจะเกิ ด ขึ้ น นั้ น
กระบวนการดังกลาวดูเหมือนจะนําไปสูระบบที่เชื่อมรอย ‘สันติภาพตาง ๆ’ (peaces) อันหลากหลายเขาไว
ดวยกัน กลาวโดยงายก็คือ กรณีนี้นาจะเห็นไดในระบบที่รัฐตาง ๆ อันหลากหลายดํารงอยูรวมกันในปจจุบัน
ตั้งแต รัฐ ประชาธิ ป ไตยเสรี ในตะวั นตกไปจนถึงรัฐทุน นิยมเผด็จการในจีน รัฐในภูมิภาคอาวเปอรเซีย หรือ
ประเทศที่พัฒนาประชาธิปไตยซึ่งมีองคประกอบของประชากรที่แตกตางกันทั้งทางดานอัตลักษณและศาสนา
ไดแก บราซิล แอฟริกาใต และประเทศอยางศรีลังกา กัมพูชาหรือโคลอมเบีย
ในยุ ค ร ว มสมั ย คํ า ที่ สื่ อ ถึ ง นั ย เชิ ง การกระทํ า มากขึ้ น อย า งเช น ‘การสร า งเสริ ม สั น ติ ภ าพ’
(peacebuilding) ‘การแกไขความขัดแยง’ (conflict resolution) ‘การสรางรัฐ’ (statebuilding) มักถูกใช
สลั บ กั น กั บ คํ า ว า ‘สั น ติ ภ าพ’ โดยเฉพาะในหมูนักวิช าการและผูกําหนดนโยบาย แนวความคิ ด สมั ย ใหม
เกี่ยวกับสันติภาพไดขยายออกไปกวาแคภาวะปราศจากความรุนแรง ภายในระบบขององคการสหประชาชาติ
ผูกําหนดนโยบายโดยทั่วไปเห็นพองกันวาพวกเขาควรพยายามที่จะทํางานตอบโจทยตอสาเหตุรากเหงาของ
ความขัดแยง สันติภาพยังมีความเชื่อมโยงกับการตอตานอยางแข็งขันตออิทธิพลครอบงําในรูปแบบที่แยบยล
อีกดวยและความเหลื่อมล้ํามักที่เกิดขึ้นจากทุนนิยมโลกาภิวัฒน (โดยเฉพาะอยางยิ่ง เนื่องจากบรรษัทขามชาติ

9
ที่ทําลงทุนดานสกัดทรัพยากรธรรมชาติมักเปนธุรกิจตน ๆ ที่เขาไปในประเทศภายหลังความขัดแยงหลังจาก
ขอตกลงสันติภาพเพื่อแสวงหาผลประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติในประเทศ)
มีเรื่องราวความยุงเหยิงวุนวายมากมายนับไมถวนยังคงดํารงอยูหากแตไมไดรับการใสใจซึ่งอยูชีวิตของ
เราทุกคนเนื่องจากสงครามในอดีต แตเรื่องราวของสันติภาพนั้นเปนสิ่งที่พบเห็นไดทุกแหงหากวัดกันในมิติ
เวลาทั้งหมดที่มนุษยเรามีประสบการณกับมัน ชวงเวลาแหงสันติภาพเกี่ยวของมิใชแตเพียงสภาวะปราศจาก
ความรุนแรงเทานั้น หากแตยังเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปในชีวิตประจําวันดวย สําหรับทัศนะที่ถูกฝกเพื่อมองหาความ
ขัดแยงทางการทหารแลว สันติภาพในแงมุมดังกลาวอาจไมใชเรื่องสลักสําคัญอะไร สันติภาพในมุมมองที่กวาง
ขึ้นซึ่ง นักบุญออกัสติน นักเทววิทยาชาวโรมันในชวงศตวรรษที่ 4-5 เรียกมันวา ‘ระเบียบแหงความสงบ
รมเย็น’ (tranquility of order) มักเปนสิ่งที่เราไมคอยเห็นคามากนัก สันติภาพนั้นเปนประสบการณของ
มนุ ษ ยชาติ ใ นมุ ม มองระยะยาวที่ สุ ด ถึ ง แม ว า มั น จะปรากฏหรื อ รู สึ ก ว า เป น เรื่ อ งสามั ญ เกิ ด ขึ้ น ทั่ ว ไปใน
ชีวิตประจําวันก็ตาม

แนวคิดทฤษฎีตาง ๆ เกี่ยวกับสันติภาพ
กระแสธารแหงความคิดที่สําคัญหลายสายไดมาบรรจบกันในแนวคิดทฤษฎีตาง ๆ เกี่ยวกับสันติภาพ
บางสนใจในดานรัฐธรรมนูญของรัฐ อีกสวนสนใจในบทบาทขององคการระหวางประเทศ บางสวนสนใจใน
ปรัชญาพื้นฐานดานสันติภาพและอีกสวนสนใจในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมดานสันติภาพที่เกิดขึ้นจาก
ผูคนในสังคม สันติภาพยังมีนัยสื่อถึงศาสนาอีกดวย ซึ่งเกิดขึ้นจากแนวทางที่ตางศาสนาปฏิบัติตอความรุนแรง
และสงเสริมความอดกลั้นยอมรับความตางตลอดชวงประวัติศาสตร มุมมองเชนนี้ขามผานแนวคิดตาง ๆ
อยางเชน ‘สงครามอันชอบธรรม’ (just war) การปกปองตนเอง การไมใชความรุนแรง (non-violence) และ
สันตินิยม (pacifism) ซึ่งยืมแนวคิดมาจากปรัชญาศาสนาคริสต พุทธและฮินดู
ทฤษฎี ทั่ ว ไป พลวั ต และหั ว ข อ บางเรื่ อ งที่ โ ดดเด น ในการอภิ ป รายถกเถี ย งเรื่ อ งสั น ติ ภ าพใน
ประวัติศาสตรไดปรากฏขึ้นอีกครั้งในทฤษฎี แนวทางที่เปนที่รูจักกันมากที่สุดในทฤษฎีการเมืองนั้นเรียกวา
แนวคิด สัจนิย มทางการเมือง (political realism) ผูที่มีสวนต อทฤษฎีนี้รวมถึงนั กเขีย นอยาง ซุน วู
(นักยุทธศาสตรการทหารและนักปรัชญาชาวจีนโบราณผูแตงตําราพิชัยสงคราม (The Art of War) ในชวง
600 ปกอนคริสตกาล) ธูซิดิดีส (Thucydides – นักประวัติศาสตรชาวกรีกโบราณในชวง 500 ปกอนคริสตกาล
ผูซึ่งอางถึงประเด็นเรื่องอํานาจเหนือศีลธรรมนั้นเปนสิ่งสําคัญในการสงครามเนื่องจากประสบการณของเขาใน
สงครามเพโลพอนนีเซียน (Peloponnesian War) ระหวางสปาตารและเอเธนส) และออกัสติน (นักปราชญ
และนักเทววิทยาชาวโรมันในยุคปลายจักรวรรดิโรมันในศตวรรษที่ 5) แนวคิดสัจนิยมมุงใหความสําคัญเปน
หลักกับอํานาจทางการทหาร (ภายหลัง รวมถึงอํานาจทางเศรษฐกิจ) ของรัฐตาง ๆ

10
มาคิอาเวลลี (Machiavelli) นักประวัติศาสตร นักการเมือง ทูตและนักปรัชญาชาวอิตาลีซึ่งมีฐาน
พํานักที่เมืองฟลอเรนซในสมัยฟนฟูศิลปวิทยา (Renaissance) ไดแสดงความกังวลวาสันติภาพอาจนํามาสู
ความไรระเบียบ ซึ่งจําเปนจะตองใชการตอบโตทางการทหาร (ใน เจาผูปกครอง (The Prince) หนังสือเลื่อง
ชื่อของเขาซึ่งตีพิมพประมาณ ค.ศ. 1532) ไวดังนี้
ผูปกครองที่ชาญฉลาดควรสังเกตในการปกครองในบางรูปแบบและไมควรนิ่งเฉยในชวงเวลา
แหงสันติ หากแตเพิ่มพูนทรัพยากรของตนดวยอุตสาหกรรมเพื่อใหเขาสามารถใชไดในคราว
เคราะหราย เพื่อที่วาหากโชคชะตาพลิกผันเขาจะไดเตรียมพรอมในการตานทานการโจมตีนั้น
ได (บทที่ 14)
อยางไรก็ตาม มุมมองรวมกันที่วาประวัติศาสตรในยุคโบราณนั้นถูกใหนิยามโดยการยอมรับวาสงคราม
นั้นเปนสิ่งที่ไมอาจหลีกเลี่ยงไดในสมัยนั้นนาจะเปนการเขาใจผิด แมแตมาคิอาเวลลีเองที่มักมีความใกลชิดกับ
อํานาจและผลประโยชนยังเชื่อวาการเลือกตั้งนั้นเปนสิ่งที่จําเปนและสันติภาพควรมีความเปนธรรมและเปน
เรื่องสมัครใจ
ภายหลัง ในปรัชญายุคเรืองปญญา หนังสือเรื่อง Leviathan (ค.ศ. 1651) ของโธมัส ฮอบสไดปูทาง
แนวคิดใหกับทฤษฎีสัญญาประชาคม (social contract theory) ซึ่งรวมถึงความตองการพื้นฐานสําหรับการมี
ตัวแทนทางการเมือง สิทธิป จเจกชนและแนวคิ ดเรื่องประชาสังคม จากพื้น ฐานประสบการณของเขาต อ
สงครามกลางเมืองในอังกฤษ ฮอบสไดเสนอขอถกเถียงเรื่องสัญญาประชาคมระหวางประชาชนกับรัฎฐาธิปตย
ที่มีอํานาจสมบูรณ (โดยเรียกวา เลวีอาธาน (Leviathan) ซึ่งเปนสัตวประหลาดในพระคัมภีรไบเบิ้ล) เขาเห็น
วา ในภาวะ ‘สงครามที่ทุกฝายตอสูห้ําหั่นกัน’ (war of all against all) จําเปนตองมีเลวีอาธานในรูปแบบของ
รัฐบาลกลางที่มีความเขมแข็ง
สันติภาพเปนที่เขาใจอยางคอนขางคับแคบในสํานักคิดแบบสัจนิยมซึ่งมีความหมายเพียงแคสภาวะ
ปราศจากความรุนแรงที่เปดเผยเทานั้น อยางไรก็ตามความรุนแรงเชิงโครงสรางอาจยังดํารงอยู นักวิชาการ
และบุคคลสําคัญทางดานนโยบายในยุคสมัยใหมในสํานักนี้ เชน เฮนรี คิสซิงเจอร (Henry Kissinger – เกิด
เมื่อ ค.ศ. 1923, นักวิชาการและรัฐมนตรีตางประเทศของสหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดีริชารด นิกสัน
และเจอรัลด ฟอรด) ซึ่งไดรับอิทธิพลจากประสบการณในสงครามโลกครั้งที่สองและระหวางสงครามเย็นมัก
เห็นสันติภาพโดยสวนใหญในฐานะเปนดุลแหงอํานาจระหวางรัฐตาง ๆ
แนวความคิดที่สําคัญอีกกระแสดึงมาจากการวิพากษอันเกาแกตอลัทธิทหารนิยมตามแนวทางของ
ขงจื้อ (นักปรัชญาชาวจีนในชวง 600 ปกอนคริสตกาล) ที่วาสงครามมิไดกอใหเกิดสันติภาพ รัฐบาลควรมุง
สนใจที่ความอยู ดีมีสุ ขของประชาราษฎร ห าใชการกอสงคราม ดว ยความชอบธรรมและเสน ห แรงดึ งดู ด
สันติภาพมักเปนแกนของเรื่องเลาประวัติศาสตรในทุกอารยธรรมเกี่ยวกับที่ทางของแนวคิดนี้บนโลก ในกรณี
ของจีน ขงจื้อเองไดกลาวไววา ‘ความสอดประสานอยางสันติ’ (pacific harmony) เปนสิ่งชวยยึดโยงสังคม
เขาไวดวยกัน เขาไดเสนอ คติพจนอันเลื่องชื่อที่วา สันติภาพนั้นแผขยายจากจิตใจของคนเราไปสูครอบครัว
11
แลวจึงไปสูสังคมและสูโลกตอมา ลัทธิเตายังไดเชื่อมโยงความสอดประสานกลมเกลียวทั้งในระดับภายใน
สังคมและสวนรวมเขาดวยกันซึ่งในกรณีนี้จําเปนตองมีบรรทัดฐานแหงการไมแทรกแซงอีกดวย แมแตในยุค
สงครามเจ็ดรัฐ (Warring States period)2 เสียงความเห็นที่เปนที่รูจักกันทั่วไดวิพากษวิจารณตอสงคราม
(และแนวคิ ด สั จ นิ ย มของซุ น วู ) ที่ ได รั บ การเชิ ดชู มากกวา คุณ ธรรมแหง สัน ติภ าพ การใหค วามสํ าคั ญ กั บ
‘คุณธรรมของพลเมือง’ (civil virtues) ของขงจื้อถือเปนเรื่องที่เปนที่รูจักกันมากที่สุด ในบรรดาคําสอนอัน
ทรงปญญา ขงจื้อไดใหความเห็นในคัมภีรหลุนอวี่ (Analects) ของเขาไววา “... จงชดเชยความเสียหายดวย
ความเปนธรรม และตอบแทนความเมตตาดวยความเมตตา” ในปจจุบันงานของขงจื้อถูกนํากลับมายกยองอีก
ครั้งในฐานะที่เปนสัญลักษณของ ‘การพัฒนาอยางสันติ’ ของจีน
จากกรีกโบราณไปจนถึงประวัติศาสตรจีนโบราณ สงครามถือเปนความยุงเหยิงของสภาวะระเบียบ
‘ตามธรรมชาติ’ และเปนสันติมากกวาทิศทางตรงกันขาม การเคารพ คุณธรรมของพลเมือง ความเปนเพื่อน
บานที่ดี ความรวมมือ จริยธรรม การคา การปกครองที่ดี สัมพันธญาติมิตรและสนธิสัญญาตาง ๆ ถือเปนแบบ
แผนสําคัญที่แสดงถึงสันติภาพในยุคแรกเริ่ม ลักษณะอีกประการของแนวคิดในยุคตน ๆ เกี่ยวกับสันติภาพ คือ
ความสัมพันธระหวางรัฐบาลและพลเมืองซึ่งมีมาตั้งแตสมัยเพลโต สันติภาพนั้นถือเปนผลประโยชนของ ‘ราชา
ปราชญ’ (philosopher-king) ผูซึ่งใชการตัดสินพิจารณาของตนเพื่อประโยชนสุขของคนทั้งมวลแมจะเปน
เรื่องที่ยากยิ่งก็ตามที ดังตามที่กลาวไวใน อุตมรัฐ (Republic) ของเพลโต นอกจากนี้ ในปรัชญากรีกโบราณ
ในชวงประมาณ 300 ปกอนคริสตกาล นักปรัชญาสํานักเอพิคิวรุสหรือลัทธิสุขนิยม (Epicureans) ตกผลึก
ความคิดในเรื่องความกังวลตอสภาพในชีวิตประจําวันสําหรับประชาชนทั่วไป และนักปรัชญาสํานักสโตอิก
(Stoics) ปฏิเสธตอกิเลสตัณหาตาง ๆ ทั้งความโลภ ความโกรธหรือราคะและเรียกรองใหมีวินัยในตนเองและ
สํานึกรวม (solidarity) แมแตในประวัติศาสตรยุคแรก ปจเจกชนทั้งหลายไดขับเคลื่อนเพื่อสรางสันติภาพและ
ตระหนักวาสภาวะแวดลอมในระดับทองถิ่นและสังคมของตนนั้นเปนเรื่องสําคัญ ซึ่งสันติภาพนั้นจําเปนตองมี
รูปแบบแนวทางที่แตกตางหลากหลายและมีมิติระหวางประเทศดวย
แนวคิ ดเหล า นี้ มีค วามเชื่ อ มโยงกั บ ประเด็ น เรื่ องความอุด มสมบู ร ณ และศั กดิ์ ศรี (โดยมี เ ทพี ไ อรี นี
(Eirene) เปนถือตัวแทนแหงสันติภาพของกรีกและมักถูกนําเสนอทางศิลปะในภาพของหญิงสาวโฉมงามผูเปน
บุตรีของเทพซูส (Zeus) ที่กําลังถือกรวยแหงความอุดมสมบูรณอยู) นอกจากนี้ยังมีการปฏิเสธตอการทํา
สงครามที่เสนอในเชิงยุทธศาสตรตาง ๆ ดวย ดังตัวอยางในบทละครตลกขบขันเรื่องลีซิสตราตา (Lysistrata)3
ของอริสโตเฟนีส (Aristophanes) ทายที่สุดก็ไดเกิดพัฒนาการทางประวัติศาสตรของการทําสนธิสัญญา
สันติภาพทางการทูตในสมัยกรีกโบราณที่สะทอนถึงความเขาใจตอเรื่องนี้ซึ่งกลายเปนเรื่องที่พัฒนาปรับปรุง
และแพรหลายมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมุงหมายที่จะสราง ‘สันติภาพรวม’ (common peace)

2
ยุคสงครามเจ็ดรัฐหรือยุครณรัฐ (Warring States period – ประมาณ 418/403 ปถึง 221 ปกอนคริสตกาล) เปนชวงเวลากวา 3 ศตวรรษ
หลังจากยุควสันตสารทที่รัฐหรือแควนตาง ๆ ในจีน 7 รัฐ ทําศึกสงครามเพื่อแยงชิงดินแดนและอิทธิพลความเปนใหญเหนือรัฐอื่น ยุคนี้สิ้นสุด
ลงในปที่ 221 กอนคริสตกาลหลังจากแควนฉินเอาชนะแควนอื่น ๆ และสามารถรวบรวมประเทศจีนไดเปนครั้งแรก [ผูแปล]
3
ลีซิสตราตา (Lysistrata) เปนบทละครตลกขบขันที่กลาวถึงบริบทของสงครามเพโลพอนนีเซียน โดยนําเสนอเรื่องราวของลีซิสตราตา หญิงที่
ออกมาเรียกรองใหผูหญิงทั้งเมืองปฏิเสธไมใหสามีของตนรวมรักดวย เพื่อตอรองใหสงครามที่กําลังเกิดขึ้นยุติลง [ผูแปล]
12
แนวคิดที่มาสนับสนุนกระบวนการนี้อีกอยางนํามาจากแนวคิดของออกัสติน นักปรัชญาศาสนาคริสตผู
ซึ่งครุ นคิ ด ทบทวนเกี่ ยวกั บ จารี ตทางประวัติศาสตรที่มีมายาวนาน แนวคิดดังกลาวเปน ที่รูจักกัน ในฐานะ
‘สงครามอันชอบธรรม’ (just war) ในหนังสือบทสรุปเทววิทยา (Summa Theologica) ออกัสตินไดเขียนไว
วา
สงครามอั นชอบธรรมสามารถอธิบ ายตามธรรมเนี ยมไดวาเปนการที่ผูใดผูหนึ่งลางแคนตอ
ความผิดเมื่อประเทศหรือรัฐจําตองถูกลงทัณฑสําหรับการปฏิเสธที่จะไมแกไขความผิดซึ่งกอ
โดยประชาชนของตน หรือไมยอมสงคืนสิ่งที่ยึดมาโดยไมชอบธรรม
ตอมาโธมัส อไควนัส (Thomas Aquinas – ค.ศ. 1225 – 74) ไดพัฒนาแนวคิดนี้ในเชิงรายละเอียด
สงครามนั้นถือวาเปนสิ่งที่ชอบธรรมหากวาเปนการปกปองตนเอง ลงโทษตอการรุกราน (แตมิไดเปนการแก
แคน) กระทําโดยผูมีอํานาจโดยชอบหรือถูกเลือกใชเปนวิธีสุดทาย โดยถึงที่สุดแลวควรเปนการสรางใหเกิด
สันติภาพ กรอบคิดดังกลาวยังคงดํารงอยูในความสัมพันธระหวางประเทศตราบจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งถูกนําเสนอ
ในรูปแบบใหมในฐานะของการแทรกแซงทางดานมนุษยธรรม (humanitarian intervention) และสงคราม
เพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบในบอสเนียและเฮอรเซโกวีนา ชวงทศวรรษที่ 1990 และตอมาในอิรักชวงทศวรรษที่
2000 ตามแนวคิดอันทรงอิทธิพลดังกลาว สงครามอันชอบธรรมนั้นชวยใหเกิดสันติภาพและสันติภาพเองเปน
ผลลัพธอันจําเปนและเปนไปโดยธรรมชาติจากสงคราม แนวคิดแบบสงครามอันชอบธรรมนี้มีอิทธิพลตอการ
อภิปรายโตเถียงทางการเมืองในปจจุบัน แมแตโดยออมในชวงการโจมตีอิรักในป ค.ศ. 2003
ทฤษฎีอยาง อุดมคตินิยม (idealism) และเสรีนิยม (liberalism) เกี่ยวของอยางใกลชิดกับการ
ถกเถีย งดังกล าวและมักเชื่อมโยงกับทฤษฎีของอิ มมานูเ อล คานท และแผนการของเขาเพื่ อ ‘สันติภาพอัน
สถาพร’
แนวคิดสันติภาพถูกทําใหมีคุณภาพยิ่งขึ้นดวยความคิดจากทฤษฎีมารกซิสตในเรื่องการกดขี่ อํานาจ
กับการตอสูทางชนชั้น การเอารัดเอาเปรียบและการปฏิวัติเปลี่ยนแปลง ซึ่งอยางนอยบางสวนถูกขับเคลื่อนโดย
ตัวแสดงในระดับทองถิ่นรากหญา เรื่องนี้ไดทําใหเกิดความรูความเขาใจเรื่องสันติภาพที่รวมถึงประเด็นความ
เปนธรรมทางสังคมและการปลดปลอย ซึ่งมีนัยสําคัญถึงคนยากคนจน ผูหญิงและเด็ก (ความคิดเกี่ยวกับการ
ปฏิวั ติเ ปลี่ ยนแปลงที่ใชความรุ นแรงซึ่งเกี่ ยวของกับทฤษฎีมารกซิสตบางกระแสแสดงใหเห็นถึงปมปญหา
สําหรับสันติภาพอยู) ความเขาใจแบบกรัมชีเกี่ยวกับศักยภาพในการสรางการขับเคลื่อนสําหรับตัวแสดงระดับ
รากหญาเพื่อสิทธิของตนถือเปนเรื่องที่สําคัญเชนกัน
เปนเรื่องสําคัญที่เราจะตั้งขอสังเกตถึงความแตกแยกในความเขาใจตอสันติภาพในบรรดาสํานักคิดตาง
ๆ ของสันติศึกษาทั่วโลก บางคนมองวาสันติภาพเปนปจจัยเกื้อหนุนใหเกิดการรักษาระเบียบโลกเสรีนิยมและ
ทุนนิยมซึ่งถือเปนสันติภาพเชิงลบสําหรับหลายคนที่อยูนอกซีกโลกเหนือ แนวทฤษฎีในเชิงวิพากษมากขึ้นเห็น
สันติภาพในมุมที่เชื่อมโยงกับความเปนธรรมทางสังคมและการปลดปลอย โดยหมายถึงสิทธิมนุษยชน ความ
เทาเทียม สํานึกรวม (solidarity) และความยั่งยืนซึ่งสิ่งเหลานี้จําเปนสําคัญสันติภาพเชิงบวก บางก็อางถึง
13
บรรทัดฐานและสถาบันแบบโลกตะวันตกที่มีอิทธิพลครอบงําอํานาจการเมืองระดับโลกซึ่งมักแลกดวยความ
สูญเสียของประชาชนทั่วไป เปนที่แนนอนวาสํานักคิดสวนใหญอางวาพวกเขามีเปาหมายสูสันติภาพเชิงบวก
ขอถกเถียงเหลานี้สวนมากวิพากษวิจารณแนวคิดสันติภาพแบบสัจนิยม นอกจากนี้ยังมีมุมมองหลังสมัยใหมที่
ชี้ใหเห็นถึงความจําเปนของความเปนธรรมทางสังคม ประชาธิปไตยแบบมีสวนรวม สิทธิมนุษยชน ความเทา
เทียมและการปกครองตนเอง มุมมองดังกลาวโดยทั่วไปวางอยูบนฐานที่วาไมมีมุมมองใดที่จะผูกขาดการให
ความหมายตอสันติภาพได ดวยเหตุนี้รูปแบบนิยามอันหลากหลายของสันติภาพจําเปนตองอยูรวมกัน
นักทฤษฎีเชิงวิพากษและหลังอาณานิคมหลายคนคาดการณลวงหนาไดถึงความตองการที่เพิ่มมากขึ้น
ในการใชแนวคิดเรื่องสันติภาพ บางคนใหความสําคัญกับสิทธิและความตองการพื้นฐานของมนุษย ปญหาตาง
ๆ ที่เกิดขึ้นจากทุนนิยมโลกาภิวัตน มุมมองอคติที่มีตอลัทธิเสรีนิยมและความสามารถของประชาชนในการ
ขับเคลื่อนมวลชนเพื่อความเปนธรรมทางสังคม ความเทาเทียมและเสรีภาพ นักทฤษฎีเหลานี้ไดแก เปาโล
แฟรเร (Paulo Freire) นักปรัชญาชาวบราซิล (ค.ศ. 1921-97) ผูเขียนเรื่องการศึกษาของผูถูกกดขี่
(Pedagogy of the Oppressed) ฟรานซ ฟานอน (Frantz Fanon) นักเขียนชาวฝรั่งเศสเชื้อสายอัลจีเรีย
(ค.ศ. 1925 – 61) ซึ่งงานของเขาไดสรางแรงบันดาลใจใหกับขบวนการตอตานอาณานิคมตาง ๆ โฮมี บาบา
(Homi Bhaba) นักทฤษฎีหลังอาณานิคม (ค.ศ. 1949 – ปจจุบัน) ผูซึ่งแสดงใหเห็นถึงกรอบคิดทางการเมือง
แบบผสมที่เกิดขึ้นจากแนวทางที่ประชาชนที่อยูภายใตอาณานิคมพยายามตอตานอํานาจประเทศอาณานิคม
และอมาตรยา เซ็น นักเศรษฐศาสตรชาวอินเดีย (ค.ศ. 1933 – ปจจุบัน) ผูที่ไดรับรางวัลโนเบลสาขา
เศรษฐศาสตรในป ค.ศ. 1998 และไดชวยสรางดัชนีการพัฒนามนุษยขององคการสหประชาชาติ (UN Human
Development Index) ซึ่งเปรียบเทียบอันดับสถานะการพัฒนาของแตละประเทศ มุมมองเชิงวิพากษมากขึ้น
ตอสันติภาพดังกลาวพยายามหาหนทางเปดโปงอํานาจและกลไกการทํางานของมัน อีกทั้งพยายามสถาปนา
การเมืองทั้งภายในประเทศและระหวางประเทศที่มีลักษณะเปนธรรมยิ่งขึ้น ซึ่งมีแนวโนมนําไปสูสันติภาพใน
เชิงบวกหรือแมแตสันติภาพแนวทางผสม
อยางไรก็ดียังมีอยูทฤษฎีหนึ่งที่มีอิทธิพลในการถกเถียงทางวิชาการสมัยใหมเรื่องสันติภาพ ทฤษฎี
สันติภาพแบบเสรีนิยม (liberal peace theory) เสนอแนะวา ประชาธิปไตยชวยรับประกันวาการเมืองภายใน
รัฐจะมีสันติภาพ พรอมกับการคาเสรีแนวทางนี้ใหหลักประกันวารัฐตาง ๆ จะไมทําสงครามระหวางกัน ตาม
ดวย ‘กฎ’ หนึ่งเดียวของความสัมพันธระหวางประเทศที่วารัฐประชาธิปไตยจะไมสูรบตอกัน (หากแตรวมมือ
และทําการคาระหวางกันแทน) แลวนั่นจึงนําไปสูระเบียบระหวางประเทศและระดับภูมิภาคที่คอนขางสงบสุข
มีสันติภาพแมวาอาจไมสมบูรณไปทุกเรื่องก็ตามที ขอถกเถียงเชนนี้มักถูกใชในการอธิบายถึงเสถียรภาพของ
ยุโรปชวงหลังสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งแตกตางจากประวัติศาสตรของยุโรปกอนหนานั้น
ในระดับระหวางประเทศ สันติภาพแบบเสรีนิยมไดรับการสนับสนุนโดยสถาบันระหวางประเทศตาง ๆ
ซึ่งในชวงศตวรรษที่ 20 ไดอํานวยใหเกิดความรวมมือระหวางรัฐในประเด็นปญหาตาง ๆ เชน การลดกําลัง
อาวุธและการควบคุมอาวุธ รวมถึงการสนับสนุนการคาเสรี อีกทั้งบรรทัดฐาน กฎระเบียบและกฎหมายตาง ๆ
ที่ใชรวมกัน ตั้งแตสิ้นสุดสงครามเย็นในปค.ศ. 1990 โลกตะวันตกไดกลาวย้ําถึงขอเสนอที่วา สันติภาพ
14
จําเปนตององคประกอบของรัฐประชาธิปไตยและใหความสําคัญกับสิทธิมนุษยชน การคาเสรี การยอมรับใน
อัตลักษณที่แตกตางหลากหลายอยางเปนสากลและการอยูรวมกันในระดับชุมชนทองถิ่น มีความเห็นพองกัน
ในทางการเมืองและทางวิชาการกับปจจัยเหลานี้โดยเฉพาะในซีกโลกเหนือ ในซีกโลกตอนใตความเห็นพอง
เชนนี้เริ่มขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ถึงแมวาจริงแลวมักไมไดรับประโยชนอยางเทาเทียมกันจากสภาวะเงื่อนไขทาง
เศรษฐกิจโลกก็ตาม
ความคิดเชนนี้ยังคงพัฒนาตอไปเรื่อย ๆ และไดรับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากนักคิดเสรีนิยมรวมสมัย
(ซึ่งไดแก นักวิชาการชาวอเมริกันอยาง จอหน รอลส (John Rawls) ไมเคิล วอลเซอร (Michael Walzer)
และไมเคิล ดอยล (Michael Doyle)) และผูกําหนดนโยบาย คนเหลานี้ยังไดสรางการเชื่อมโยงแนวคิด
สันติภาพเชิงเสรีของคานทกับความสามารถในการดําเนิน ‘สงครามอันชอบธรรม’ (หมายความวา สงครามซึ่ง
ที่มักเรียกกันวา ‘การแทรกแซงดานมนุษยธรรม’ หรือ ‘เปลี่ยนแปลงระบอบ’ อาจดํารงความชอบธรรมไดหาก
พวกเขาสนับสนุนการแพรขยายของอาวุธและปกปองสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐ)
สันติภ าพแบบเสรีนิยมมุงหมายสรางสมดุลระหว างผลประโยชน ของรั ฐและสังคมของรัฐทั้งหลาย
รักษาผลประโยชนของชนชั้นนําในบางระดับแตในสวนมากยังตองบรรเทาความกังวลตาง ๆ ของสังคมดวย
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในโครงสรางแหงสันติภาพที่ถูกกําหนดโดยองคการระหวางประเทศและกฎหมายระหวาง
ประเทศตาง ๆ แนวคิดนี้เปนตัวแทนของความสมดุลระหวางเสรีภาพ ความเปนธรรมทางสังคมและสราง
ระเบี ยบกฎเกณฑรว มกัน ซึ่งถู กออกแบบมาเพื่อปองกัน มิใหเ กิดสงครามและความขัด แยงภายในประเทศ
ความลมเหลวในการตอบสนองตอประเด็นตาง ๆ ในองคประกอบที่สําคัญเหลานี้ไมวาจะเปนองคประกอบ
เดียวหรือหลายองคประกอบอาจเปนการทําลายสันติภาพในนิยามแบบเชิงบวกได ถึงแมยังมีขอบกพรองอยู
แนวคิดนี้นาจะเปนตัวอยางของหนึ่งในรูปแบบนิยามวาดวยสันติภาพที่สลับซับซอนที่สุดในประวัติศาสตรก็
เปนได
กรอบคิดวาดวยสันติภาพแบบเสรีนิยมสามารถแตกยอยเปนแนวทางตามทฤษฎีและการปฏิบัติได
หลายกระแส ดังนี้
1. สันติภาพของผูชนะ (victors peace) ซึ่งเปนสันติภาพเชิงลบที่ถูกยัดเยียดโดยผูชนะในสงคราม
2. สันติภาพทางธรรมนูญ (constitutional peace) ซึ่งในแนวทางนี้ประชาธิปไตยและการคาเสรี
ถือไดวาเปนคุณลักษณะพื้นฐานในรัฐธรรมนูญของรัฐที่มีสันติภาพ (สงเสริมสันติภาพเชิงบวก)
3. สันติภาพเชิงสถาบัน (institutional peace) ในแนวทางนี้ สถาบันระหวางประเทศ อยางเชน
องคการสหประชาชาติ องคการทางดานการเงิ นการคลังระหวางประเทศ (เชน องคการตาม
ขอตกลงเบรตตันวูดส [ธนาคารโลกและองคการการเงินระหวางประเทศ – ผูแปล]) รัฐที่เปน
แหลงทุนสนับสนุน ดําเนินกิจกรรมเพื่อธํารงรักษาสันติภาพและความสงบเรียบรอยภายใตกรอบ
กฎหมายระหวางประเทศที่ไดตกลงรวมกัน (สงเสริมสันติภาพเชิงบวก)

15
4. สันติภาพของพลเมือง (civil peace) เปนแนวทางที่องคกรภาคประชาสังคม องคกรพัฒนา
เอกชนและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมทั้งภายในประเทศและขามชาติพยายามเปดเผยและ
แกไขข อผิ ดพลาดจากความไมเปนธรรมที่เกิดขึ้น ในอดีตหรือกระบวนการที่อาจมีความเสี่ย ง
นําไปสูสงครามได (สงเสริมสันติภาพเชิงบวก)
สถานการณอันเปราะบางในปจจุบันของระเบียบโลกหลังยุคสงครามเย็นไดเปดโอกาสใหเราไดตั้ง
คําถามกันอีกครั้งวาอะไรคือสันติภาพ มันควรจะเปนแนวทางสันติภาพแบบเสรีนิยมใหมตามแบบตะวันตก
หรือวามีทางเลือกอื่น ๆ ในศตวรรษที่ 21 นี้ ดูเหมือนวาสันติภาพแบบเสรีนิยมใหมจะเขามามีอิทธิพลตอการ
กําหนดนโยบายระหวางประเทศซึ่งใหความสําคัญกับการยกเลิกระเบียบกฎเกณฑภายในประเทศและการ
ปฏิรูปตลาดเสรี มากกวาเรื่องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย อยางไรก็ดี ยังมีความกังวลเกิดขึ้นอยูทั่วไปที่วา
แนวทางนี้ไมไดเปนไปตามมาตรฐานที่ตั้งไวสําหรับสันติภาพในลักษณะเชิงบวก

16

You might also like