Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 2

Zoltán Kodály เป็นนักประพันธ์เพลงชาวฮังกาเรี่ยน นักดนตรีชาติพันธุ์วิทยา นักดนตรีศึกษาศาสตร์

ภาษาศาสตร์ และนักปรัชญาดนตรี เขาเป็นที่รู้จักในวงกว้างและระดับนานาชาติเนื่องจากเขาได้คิดค้นการเรียน


การสอนดนตรีของตัวเองชื่อ Kodály Method
Zoltán Kodály (เกิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ปี 1882 ที่เมือง Kecskemet ประเทศ Hungary และเสีย
ชีวิตเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 1967 ที่เมือง Budapest ประเทศ Hungary) เขาได้เริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่ยังเล็กโดย
โดยเครื่องดนตรีที่เล่นเป็นชิ้นแรกคือ Violin จบการศึกษาจาก Eötvös Loránd University, Franz Liszt
Academy of Music, Budapest (Budapest Academy of Music) ขณะที่ในปี 1905 เขาได้เดินทางไปเก็บข้อ
มูลของเพลงพื้นบ้านและดนตรีชาติพันธุ์โดยใช้ phonograph cylinders ซึ่งทำหน้าที่คล้ายแผ่นเสียงแต่มี
ลักษณะภายนอกเป็นทรงกระบอกกลมยาว ต่อมาในปี 1906 เขาได้เขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้านและ
ดนตรีชาติพันธ์ุในประเทศ Hungary โดยใช้ชื่อหัวข้อวิจัยว่า “Strophic Construction in Hungarian Folk
song” ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง Kodály ได้พบกับเพื่อนนักดนตรีและนักประพันธ์เพลงร่วมชาติคือ Béla
Bartók ซึ่ง Kodály ได้เรียนรู้วิธีการเก็บรวมรวมเพลงพื้นบ้านต่างๆ จาก Bartók และเขาทั้ง 2 คนกลายเป็นเพื่อ
รักกันและเป็นตัวแทนทางดนตรีซึ่งกันและกัน
ดนตรีของ Kodály มีลักษณะประจำชาติในวงแคบกว่า ไม่กว้างเท่ากับของ Bartók ผลงานของ Kodály
ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ Psalmus hungaicus for tenor, chorus and orchestra (1923) และ Singspiel ซึ่งเป็น
Hungarian folk opera เรื่อง Háry János (1926) ซึ่งใช้ plainchant, polyphony แบบสมัย Renaissance,
Baroque และดนตรีในเพลงพื้นบ้านและดนตรีชาติพันธ์ุของชาว Hungarian ในการประพันธ์
ซึ่งเมื่อเขาจบการศึกษาจาก Franz Liszt Academy of Music เขาได้นำการสอนดนตรีในระบบใหม่ที่
เรียกว่าระบบ Solfeggio คือการสอนดนตรีให้แก่เด็ก โดยใช้ 2 วิธีคือ
1. Ear Training คือการฝึกโสตประสาทการรับฟังเพราะเขาเชื่อว่าการเรียนดนตรีต้องเป็นตามธรรม
ชาติ คือ การรับฟังจะมาก่อนการมองเห็น “Ears before Eyes” เมื่อเด็กทำได้เขาก็พยายามเพิ่มรายละเอียดขึ้น
2. Sight Singing คือ การอ่านและร้องโน้ตที่เห็นออกมาเป็นเสียงต่างๆ โดยใช้ระบบ solemnization.
ของ Guido คือการตั้งชื่อโน้ตขึ้นมา แล้วร้องออกมาเป็นเสียง Do Re Mi โดยใช้ระบบ Movable Do คือการ
ย้าย Do ไปเรื่อยๆ ทำให้สอนง่าย ซึ่งการสอนแบบน้จะทำให้เด็กร้องเป็นเร็วแต่มีข้อเสียคือ เด็กจะไม่สามาเป็น
Perfect pitch ได้
อิทธิพลของ Kodály ที่มีผลต่อการศึกษาในวงการดนตรีศึกษาเป็นส่วนใหญ่ เช่นหลักการสอนเด็กโด
ยการใช้ระบบ solfège เพลงร้อง เกมส์ดนตรี และแบบฝึกหัดที่แยกเป็นลำดับขั้นตอนเช่น
1. Movable-do solfege
2. System of hand signs
3. Rhythmic Syllables
4. Rhythm and movement
5. Child-developmental
6. Rhythm sequence and notation
7. Melodic sequence and pentatonic
ซึ่งได้ถูกนำไปใช้ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างแพร่หลาย

การเรียนการสอน Kodály Pedagogy ในประเทศไทยโดยส่วนตัวข้าพเจ้าแล้ว ได้เรียนการเรียนการ


สอน Kodály Pedagogy อย่างไม่ได้ตั้งใจในโรงเรียนตอนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นโดยเริ่มจากการเรียน
โดยใช้ Hand signs ในการเรียนการสอนวิชาดนตรี และห่างหายไปนานจาก Kodály Pedagogy เป็นระยะ
เวลาค่อนข้างนาน และได้กลับมาเรียนรู้กระบวนการการเรียนการสอน Kodály Pedagogy อีกครั้งหนึ่งตอน
มัธยมปลาย ช่วงกำลังจะเตรียมสอบเข้าเพื่อเข้ารับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหรือปริญญาตรี โดยใช้สอบ
ในรายวิชา Ear Trainning โดยที่ยังไม่รู้ว่าสิ่งที่กำลังเรียนรู้อยู่เป็นการเรียนการสอนแบบ Kodály Pedagogy
และต่อมาได้เข้าศึกษาในอุดมศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีจึงได้เข้ามาเรียนในรายวิชา Ear Trainning จึงได้รู้ว่าที่
ผ่านมาเราได้รับการเรียนรู้การเรียนการสอน Kodály Pedagogy อย่างไม่ตั้งใจมาตลอด ในช่วงที่กำลังศึกษา
ในระดับปริญญาตรีนั้นได้เรียนการ Rhythmic Dictation, Melodic Dictation และโดยใช้ระบบ Movable-Do
เป็นหลักในการเรียนรู้โดยใช้เวลารวมในการเรียนรู้ 5 ภาคเรียนโดยมีหนังสือประกอบการเรียนคือ Choral
Method หรือ reading exercises จำนวน 1 เล่มต่อ 1 ภาคเรียนโดยเริ่มจาก 333, 77, 66, 55, 44 ตามลำดับ
จนจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ได้เข้าทำงานในโรงเรียนมัธยมได้นำประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนของ
วงดุริยางค์บ้างตัวอย่างเช่นการ Dictation และการร้องโดยการอ่าน Movable-do ด้วยทำให้นักเรียนสามา
รถเล่นโน้ตใ้ห้จังหวะและมี Intonation ที่ดีขึ้นค่อนข้างมากเป็นระยะเวลา 8 ปี ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มเข้ารับการศึกษา
ต่อในระดับปริญญาโทจึงมีความสนใจด้านการเรียนการสอนใบแบบ Kodály Pedagogy มากขึ้นทำให้เลือก
เรียนวิชา Kodály Pedagogy Seminar ในการเข้าศึกษาในภาคการศึกษาแรกที่เริ่มเรียนการศึกษาระดับปริ
ญญาโท เพราะเล็งเห็นว่าจำเป็นในการเรียนเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการศึกษาเอกภาควิชาการอำนวย
เพลง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากกับการใช้ในการ Score Reading ทำให้การอ่าน Score เร็วยิ่งขึ้นอย่างมาก

Reference

คณะกรรมการการจัดการความรู้ วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ องค์ความรู้ด้านการเรียนการ


สอน : การสอนดนตรีของ Zoltán Kodály กับการเรียนการสอนรายวิชาดนตรีในระดับมหาวิทยาลัย

Max Wade-Matthews The World Encyclopedia of Musical Instruments. Published by


Hermes House, an imprint of Annes publishing Ltd, 2014, 108 Great Russell Street, London
WC1B 3 NA; info@anness.com

J. Peter Burkholder, Donald Jay Grout, Claude V. Palisca (2019) A History of Western


Music. Published by W. W. Norton & Company

You might also like