Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 10

โรงเรียนกวดวิชาวีซ่า 1

วีซ่า พาคุณสู่ความสาเร็จ Tel. 093-9625956

เอกสารประกอบการเรียน วิชา วิทยาศาสตร์ ม.2


เรื่อง การเคลื่อนที่ (Motion)

ครูสุกฤษฏิ์ เมธาประสิทธิ์ (ครูรอง)

ม. 2 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง การเคลื่อนที่ By ครูรอง


โรงเรียนกวดวิชาวีซ่า 2
วีซ่า พาคุณสู่ความสาเร็จ Tel. 093-9625956

การเคลื่อนที่ (Motion)

การเคลื่อนที่ คือ การที่วัตถุมีการเปลี่ยนตาแหน่งเมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่


อย่างน้อยต้องประกอบด้วยตาแหน่งและเวลา ลักษณะการเคลื่อนที่อาจแบ่งได้หลายแบบ เช่น

1. พิจารณาจากแนวทางการเคลื่อนที่
- การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง
- การเคลื่อนที่ในแนวเส้นโค้ง
2. พิจารณาจากการวางตัวของวัตถุ
- การเคลื่อนที่แบบเลื่อนตาแหน่ง
- การเคลื่อนที่แบบหมุน
3. การเคลื่อนที่แบบสั่น
- การเคลื่อนที่แบบกลับไปกลับมาซ้ารอยเดิม เช่น การแกว่งชิงช้า การแกว่งลูกตุ้มนาฬิกา

การบอกตาแหน่งของวัตถุ
การเคลื่อนที่ของวัตถุ ตาแหน่งของวัตถุจะมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงต้องมีการบอกตาแหน่งของ
วัตถุเพื่อความชัดเจน การบอกต าแหน่งของวัตถุนั้นจะต้องเทียบกับ จุดอ้างอิง หรือ ต าแหน่งอ้างอิง
(reference point) ซึ่งควรจะต้องเป็นจุดหรือตาแหน่งที่อยู่นิ่ง
B A

จากภาพ เป็นการบอกตาแหน่งบนเส้นจานวน โดยเราจะใช้เลข 0 เป็นตาแหน่งอ้างอิง


ระยะห่างของวัตถุจากตาแหน่งอ้างอิง (0) ไปทางขวามีทิศทางเป็นบวก (+)
ระยะห่างของวัตถุจากตาแหน่งอ้างอิง (0) ไปทางซ้ายมีทิศทางเป็นลบ (-)

จะได้ว่า จุด A อยู่ที่ตาแหน่ง +2 เทียบกับจุด 0


จุด B อยู่ที่ตาแหน่ง -3 เทียบกับจุด 0

ม. 2 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง การเคลื่อนที่ By ครูรอง


โรงเรียนกวดวิชาวีซ่า 3
วีซ่า พาคุณสู่ความสาเร็จ Tel. 093-9625956

ระยะทาง (Distance)
การเคลื่อนที่แบบเลื่อนตาแหน่ง ถ้าเราทราบตาแหน่งเริ่มต้น เส้นทางการเคลื่อนที่ และตาแหน่ง
สุดท้ายของการเคลื่อนที่ ก็จะสามารถหา “ระยะทาง” ได้จากความยาวตามเส้นทางการเคลื่อนที่นั้น
ระยะทางใช้สัญลักษณ์ “ S ” เป็นปริมาณสเกลาร์ ไม่ต้องบอกทิศทาง มีหน่วยเป็นเมตร (m)
การกระจัด (Displacement)
เมื่อวัตถุมีการเคลื่อนที่จากตาแหน่งหนึ่งไปยังอีกตาแหน่งหนึ่ง การบอกตาแหน่งใหม่เทียบกับ
ตาแหน่งเดิม เพื่อให้เข้าใจได้ถูกต้องชัดเจน ต้องบอกทั้งระยะทางและทิศทาง ปริมาณที่บอกให้ทราบถึงการ
เปลี่ยนตาแหน่งนี้เรียกว่า “การกระจัด”
การกระจัดใช้สัญลักษณ์ “ s⃑ ” เป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็นเมตร (m)
การกระจัด หาได้จากเส้นตรง ที่เขียนหัวลูกศรกากับ โดยลากจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสุดท้ายของการ
เคลื่อนที่ ความยาวของเส้นตรงแทนขนาดของการกระจัด และทิศที่หัวลูกศรชี้จะแทนทิศของการกระจัด

สรุป
ระยะทางขึ้นอยู่กับเส้นทางการเคลื่อนที่ การกระจัดไม่ขึ้นอยู่กับเส้นทางการเคลื่อนที่ แต่จะขึ้นอยู่กับ
ตาแหน่งเริ่มต้น และตาแหน่งสุดท้าย

ข้อสังเกต : 1. การเคลื่อนที่โดยทั่ว ๆ ไป ระยะทางจะมากกว่าการกระจัดเสมอ


2. เมื่อวัตถุเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง การกระจัดจะมีขนาดเท่ากับระยะทาง

ตัวอย่าง วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่ตามเส้นรอบรูปสี่เหลี่ยม ABCD จงหาระยะทางและการกระจัด เมื่อวัตถุมีการ


เคลื่อนที่ตามเส้นรอบรูป

D 4 เมตร C
1. จาก A ไป B
3 เมตร

2. จาก A ไป B และ B ไป C
3 เมตร

3. จาก A ไป B, B ไป C และ C ไป D
A 4 เมตร B

ม. 2 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง การเคลื่อนที่ By ครูรอง


โรงเรียนกวดวิชาวีซ่า 4
วีซ่า พาคุณสู่ความสาเร็จ Tel. 093-9625956

ปริมาณทางฟิสิกส์
แบ่งได้ 2 ประเภท
1. ปริมาณสเกลาร์ (Scalar quantity) คือ ปริมาณที่บอกแต่ขนาดอย่างเดียวก็ได้ความหมาย
สมบูรณ์ ไม่ต้องบอกทิศทาง เช่น ระยะทาง มวล เวลา พลังงาน ฯลฯ
2. ปริมาณเวกเตอร์ (Vector quantity) คือ ปริมาณที่ต้องบอกทั้งขนาดและทิศทางจึงจะได้
ความหมายที่สมบูรณ์ เช่น การกระจัด แรง ฯลฯ

ปริมาณเวกเตอร์
สัญลักษณ์ของปริมาณเวกเตอร์ การแสดงขนาดและทิศทางของปริมาณเวกเตอร์จะใช้ลูกศรแทน
โดยขนาดของปริมาณเวกเตอร์แทนด้วยความยาวของลูกศรตามอัตราส่วนที่เหมาะสม และทิศทางของ
ปริมาณเวกเตอร์แทนด้วยทิศทางของหัวลูกศร โดยการเขียนสัญลักษณ์ของปริมาณเวกเตอร์ จะใช้ตัวอักษร
ที่มีลูกศรครึ่งบนชี้จากซ้ายไปขวา หรืออาจจะใช้ตัวอักษรทึบแสดงปริมาณเวกเตอร์ก็ได้

รูป แสดงขนาดและทิศทางของเวกเตอร์ A ( ⃑A⃑ ) ขนาด 3 หน่วย ไปทิศทางขวา

เวกเตอร์ที่เท่ากัน
หมายถึง เวกเตอร์ 2 เวกเตอร์มีขนาดเท่ากัน และทิศไปทางเดียวกัน

รูป แสดงเวกเตอร์ที่เท่ากัน

เวกเตอร์ที่ตรงข้ามกัน
หมายถึง เวกเตอร์ 2 เวกเตอร์มีขนาดเท่ากัน แต่ทิศทางตรงข้ามกัน

รูป แสดงเวกเตอร์ทตี่ รงข้ามกัน

ม. 2 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง การเคลื่อนที่ By ครูรอง


โรงเรียนกวดวิชาวีซ่า 5
วีซ่า พาคุณสู่ความสาเร็จ Tel. 093-9625956

การบวกลบเวกเตอร์
การบวกหรือลบเวกเตอร์ เป็นการหา “เวกเตอร์ลัพธ์” (ส่วนใหญ่มักใช้ ⃑R⃑ เป็นสัญลักษณ์) สามารถ
ทาได้ 2 วิธี
1. วิธีการวาดรูป 2. วิธีการคานวณ (เรียนในเรื่องแรงลัพธ์)

การหาเวกเตอร์ลัพธ์โดยการวาดรูปแบบหางต่อหัว มีวิธีการดังนี้
1. เขียนลูกศรเวกเตอร์ตัวแรกตามขนาดและทิศทางที่กาหนด
2. นาหางลูกศรของเวกเตอร์ตัวที่ 2 ที่โจทย์กาหนด ต่อหัวลูกศรของเวกเตอร์ตัวแรก
3. ถ้ามีเวกเตอร์ย่อย ๆ อีก ให้นาเวกเตอร์ต่อ ๆ ไป มาทาตามข้อ 2 จนครบทุกเวกเตอร์
4. แรงลัพธ์หาได้โดยการลากลูกศรจากหางเวกเตอร์ตัวแรกไปยังหัวลูกศรของเวกเตอร์ตัวสุดท้าย

ตัวอย่าง จงหาเวกเตอร์ลัพธ์ของเวกเตอร์ (แบบหางต่อหัว)

วิธีทา

จากรูปทั้งสอง จะเห็นได้ว่า P ⃑ และ R ⃑ มีขนาดและทิศทางเดียวกัน แสดงว่าในการบวก


เวกเตอร์สามารถสลับที่การบวกของเวกเตอร์ได้

การหาเวกเตอร์ลัพธ์โดยการสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน (หางต่อหาง) (สาคัญ..!!)


นิยมหาเวกเตอร์ลัพธ์ของเวกเตอร์ทั้งสองที่ทามุมต่อกัน และทิศทางต้องไม่ขนานเป็นแนวเดียวกัน
มีวิธีการดังนี้
1. นาหางเวกเตอร์ทั้งสองทามุมต่อกันตามที่กาหนด
2. ลากเส้นประ ให้อยู่ตรงข้ามและขนานกับเวกเตอร์ทั้งสอง จนเกิดรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
3. ลากหางเวกเตอร์ลัพธ์ เริ่มจากบริเวณที่หางเวกเตอร์ทั้งสองมาต่อกัน แล้วหัวลูกศรไปชนกับมุม
ตรงข้ามบริเวณที่เส้นประ ชนกัน

ม. 2 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง การเคลื่อนที่ By ครูรอง


โรงเรียนกวดวิชาวีซ่า 6
วีซ่า พาคุณสู่ความสาเร็จ Tel. 093-9625956
ตัวอย่าง จงหาเวกเตอร์ลัพธ์ของเวกเตอร์ (แบบหางต่อหาง)

วิธีทา

หมายเหตุ : ในทางฟิสิกส์ไม่มีการลบเวกเตอร์ แต่มีการบวกเวกเตอร์ตรงข้าม ซึ่งให้ผลลัพธ์เหมือน


การลบเวกเตอร์

ตัวอย่าง

( ** การบวกเวกเตอร์ตรงข้ามไม่มีสมบัติการสลับที่ )

ม. 2 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง การเคลื่อนที่ By ครูรอง


โรงเรียนกวดวิชาวีซ่า 7
วีซ่า พาคุณสู่ความสาเร็จ Tel. 093-9625956

อัตราเร็วและความเร็ว
อัตราเร็ว (Speed)
เมื่อวัตถุมีการเคลื่อนที่ ปริมาณที่จะบอกได้ว่าวัตถุนั้นเคลื่อนที่เร็วมากหรือน้อย คือ อัตราเร็ว ซึ่ง
โดยทั่ว ๆ ไปอัตราเร็ว หมายถึง ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา เป็นปริมาณสเกลาร์ มีหน่วย
เป็น เมตรต่อวินาที (m/s) สัญลักษณ์ คือ v อัตราเร็วแบ่งได้ 3 ประเภท

1. อัตราเร็วเฉลี่ย (Vเฉลี่ย) หมายถึง ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา

เมื่อ ∆s คือ ระยะทางเคลื่อนที่ได้ หน่วยเป็นเมตร (m)


∆t คือ ช่วงเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ หน่วยเป็นวินาที (s)
Vเฉลี่ย คือ อัตราเร็วเฉลี่ย หน่วยเป็นเมตรต่อวินาที (m/s)

2. อัตราเร็วขณะใดขณะหนึ่ง (Vt) คือ อัตราเร็ว ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรืออัตราเร็วที่จุดใดจุดหนึ่ง


หมายถึง ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา เมื่อช่วงเวลาที่เคลื่อนที่น้อยมาก ๆ (เข้าใกล้ 0)

3. อัตราเร็วคงที่ (V) เป็นการบอกให้ทราบว่าวัตถุมีการเคลื่อนที่อย่างสมา่ เสมอ ไม่ว่าจะพิจารณาใน


ช่วงเวลาใด ๆ หาได้จากระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในเวลาหนึ่งหน่วย

ข้อสังเกต : ถ้าวัตถุเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่ อัตราเร็วเฉลี่ย อัตราเร็วขณะใดขณะหนึ่งจะมีค่าเท่ากับ


อัตราเร็วคงที่นั้น

ในการขับรถยนต์ รถยนต์จะเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วต่างกัน จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่


หนึ่ง เพราะมีการเปลี่ยนอัตราเร็วอยู่ตลอดเวลา ดังนัน้ ในการเดินทางจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่
อีกแห่งหนึ่งนัน้ เราจึงต้องหา “อัตราเร็วเฉลี่ย”

ม. 2 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง การเคลื่อนที่ By ครูรอง


โรงเรียนกวดวิชาวีซ่า 8
วีซ่า พาคุณสู่ความสาเร็จ Tel. 093-9625956

ความเร็ว (Velocity)
เมื่อวัตถุมีการเคลื่อนที่ ตาแหน่งของวัตถุจะเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงตาแหน่งของวัตถุอาจ
บอกให้ทราบได้ว่าวัตถุเคลื่อนที่อย่างไร เร็วหรือช้า โดยกาหนดว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงการกระจัด หรือ
การกระจัดที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลา คือ ความเร็ว
เนื่องจากการกระจัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ ความเร็วจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ ด้วยหน่วยของความเร็ว
เป็นเมตรต่อวินาที (m/s) สัญลักษณ์ของความเร็วแทนด้วย v⃑⃑ ความเร็วแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. ความเร็วเฉลี่ย ( ⃑⃑เฉลี่ย
v ) หมายถึง การกระจัดของวัตถุที่เปลี่ยนไปในเวลาหนึ่งหน่วย เขียน
สมการได้ว่า

2. ความเร็วขณะใดขณะหนึ่ง ( v⃑⃑t ) คือ ความเร็ว ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือความเร็วที่จุดใดจุดหนึ่ง


หมายถึง การกระจัดที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา เมื่อช่วงเวลาที่เคลื่อนที่น้อยมาก ๆ (เข้าใกล้ 0)

3. ความเร็วคงที่ ( v⃑⃑ ) เป็นการบอกให้ทราบว่า วัตถุมีการเคลื่อนที่อย่างสม่าเสมอในแนวเส้นตรง


ไม่ว่าจะพิจารณาในช่วงเวลาใด ๆ หาได้จากการกระจัดที่เปลี่ยนไปในเวลาหนึ่งหน่วย

ข้อสังเกต : ถ้าวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ ความเร็วเฉลี่ย ความเร็วขณะใดขณะหนึ่งจะมีค่าเท่ากับ


ความเร็วคงที่นั้น

หมายเหตุ : ในกรณีที่วัตถุเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง พบว่า การกระจัดจะมีค่าเท่ากับระยะทาง ดังนั้นขนาด


ของความเร็วเฉลี่ยจะเท่ากับอัตราเร็วเฉลี่ย

ตัวอย่าง วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่จาก A ไป D ตามแนว A ไป B ไป C และไป D ใช้เวลา 20 วินาที จงหา

B 50 m C 1. ระยะทาง
40 m 30 m
2. การกระจัด
3. อัตราเร็วเฉลี่ย
A D 4. ความเร็วเฉลี่ย
100 m

ม. 2 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง การเคลื่อนที่ By ครูรอง


โรงเรียนกวดวิชาวีซ่า 9
วีซ่า พาคุณสู่ความสาเร็จ Tel. 093-9625956

โจทย์ทบทวน
1. รถโดยสารคันหนึ่งวิ่งวนเป็นวงกลม ได้ระยะทาง 600 เมตร ครบ 1 รอบพอดี ใช้เวลา 100 วินาที รถ
คันนี้วิ่งด้วยอัตราเร็วและความเร็วเท่าใด

2. ชายคนหนึ่งเดินทางตรงเป็นระยะ 150 เมตร ใช้เวลา 20 วินาที จากนั้นเดินกลับทางเดิมเป็นระยะ 50


เมตร ใช้เวลา 5 วินาที จึงหยุด จงหาอัตราเร็วเฉลี่ยและความเร็วเฉลี่ยของชายคนนี้

3. ชายคนหนึ่งวิ่ง 100 เมตร ด้วยอัตราเร็วคงตัว 5 เมตรต่อวินาที แล้วเดินด้วยอัตราเร็วคงตัว 2 เมตร


ต่อวินาที อีก 60 เมตร จงหาอัตราเร็วเฉลี่ย

4. นาย ก ขับรถจากหาดใหญ่ไปสงขลาด้วยอัตราเร็ว 60 km/h แล้วทาธุระอยู่สงขลา 1 h จากนั้นขับรถ


กลับหาดใหญ่ด้วยอัตราเร็ว 80 km/h ถ้าถนนจากหาดใหญ่ถึงสงขลาเป็นเส้นตรงยาว 30 km นาย ก ขับ
รถด้วยอัตราเร็วเฉลี่ยกี่ km/h

ม. 2 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง การเคลื่อนที่ By ครูรอง


โรงเรียนกวดวิชาวีซ่า 10
วีซ่า พาคุณสู่ความสาเร็จ Tel. 093-9625956
5. รถไฟขบวนหนึ่งแล่นด้วยอัตราเร็วเฉลี่ย 80 km/h จากกรุงเทพฯ ไปนครสวรรค์ที่อยู่ห่างกัน 300 km
ถ้าออกเดินทางเวลา 8:00 น. จะถึงปลายทางเวลาเท่าใด

6. ขนาดความเร็วเฉลี่ยในหน่วย m/s ของการวิ่งเป็นแนวตรงไปทางขวา 40 m ในเวลา 6 s แล้วหัน


กลับมาวิ่งเป็นแนวตรงไปทางซ้ายอีก 10 m ในเวลา 4 s เป็นเท่าใด

7. รัตน์ใจซ้อมวิ่งรอบสนามซึ่งมีความยาวเส้นรอบวง 400 m ครบรอบใช้เวลา 50 s จงหาอัตราเร็วเฉลี่ย


และความเร็วเฉลี่ยของรัตน์ใจ

8. รถยนต์คันหนึ่งเคลื่อนที่ในแนวตรงโดยมีระยะทาง และเวลาสัมพันธ์กันดังตาราง
เวลา (s) 0 2 4 6 8 10
ระยะทาง (m) 0 6 12 18 24 30
อัตราเร็วเฉลี่ยในช่วง 0 ถึง 10 s เป็นเท่าใด

-----------------------------------------------------

ม. 2 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง การเคลื่อนที่ By ครูรอง

You might also like